ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ชาดก

เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๓

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทุกนิบาตชาดก

๑. ทัฬหวรรค

๑. ราโชวาทชาดก

ว่าด้วยวิธีชนะ

[๑๕๑] พระเจ้าพัลลิกราชทรงชนะความกระด้าง

ต่อผู้ที่กระด้าง ทรงชนะคนอ่อนด้วยความอ่อน

ทรงชนะคนดีด้วยความดี ทรงชนะคนไม่ดีด้วย

ความไม่ดี พระราชาพระองค์นี้เป็นเช่นนี้ ดูก่อน

นายสารถี ท่านจงหลีกทางถวายพระราชาของ

เราเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 2

[๑๕๒] พระเจ้าพาราณสีทรงชนะคนโกรธด้วย

ความไม่โกรธ ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดี ทรง

ชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ ทรงชนะคนพูดเหลาะ

แหละด้วยคำสัตย์ พระราชาพระองค์นี้เป็นเช่นนี้

ดูก่อนนายสารถี ท่านจงหลีกทางถวายพระราช

ของเราเถิด.

จบ ราโชวาทชาดกที่ ๑

อรรถกถาทัฬหวรรค

ทุกนิบาต

อรรถกถาราโชววาทชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อทรงประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรง

ปรารภโอวาทของพระราชา ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้น

ว่า ทฬฺห ทฬฺหสฺส ขิปติ ดังนี้.

โอวาทของพระราชานั้นจักมีแจ้งในเตสกุณชาดก. ในวัน

หนึ่งพระเจ้าโกศลทรงวินิจฉัยคดีเรื่องหนึ่ง ซึ่งวินิจฉัยไว้ไม่ดี

มีอคติ เสร็จแล้วเสวยพระกระยาหารเช้า ทั้ง ๆ ที่มีพระหัตถ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 3

เปียก เสด็จขึ้นทรงราชรถที่จัดไว้เรียบร้อยแล้ว เสด็จไปเฝ้า

พระศาสดา ทรงหมอบลงแทบพระบาทอันมีสิริดุจดอกปทุมบาน

ถวายบังคมพระศาสดา ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสปฏิสันถารกะพระเจ้าโกศลว่า ขอ

ต้อนรับมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนแต่ยังวัน. พระเจ้า

โกศลกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ข้าพระองค์วินิจฉัย

คดีเรื่องหนึ่งซึ่งวินิจฉัยไว้ไม่ดี จึงไม่มีโอกาส บัดนี้พิจารณาคดี

นั้นเสร็จแล้ว จึงบริโภคอาหารทั้ง ๆ ที่มือยังเปียก มาเฝ้าพระองค์

นี่แหละพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ขอถวายพระพรชื่อว่า

การวินิจฉัยโดยทานองคลองธรรมเป็นความดี เป็นทางสวรรค์

แท้. ก็ข้อที่มหาบพิตรได้โอวาทจากสำนักของผู้เป็นสัพพัญญู

เช่นตถาคต ทรงวินิจฉัยคดีโดยทานองคลองธรรมนี้ไม่อัศจรรย์

เลย การที่พระราชาทั้งหลายในกาลก่อน ทรงสดับโอวาทของ

เหล่าบัณฑิต ทั้งที่ไม่ใช่สัพพัญญู แล้วทรงวินิจฉัยคดีโดยทานอง

คลองธรรม เว้นอคติสี่อย่าง บำเพ็ญทศพิธราชธรรม ไม่ให้เสื่อม

เสีย เสวยราชสมบัติโดยธรรม บำเพ็ญทางสวรรค์ เสด็จไปแล้ว

นี่แหละน่าอัศจรรย์. พระเจ้าโกศลกราบทูลอาราธนา พระองค์จึง

ทรงนำเรื่องในอดีตมาเล่าถวาย.

ในอดีตครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ

พระอัครมเหสีของพระราชานั้น ได้รับการบริหารพระครรภ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 4

เป็นอย่างดี ทรงประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดา โดย

สวัสดิภาพ. ในวันขนานพระนาม พระชนกชนนีได้ทรงตั้งพระนาม

ของพระโพธิสัตว์ว่า พรหมทัตกุมาร.

พรหมทัตกุมารนั้น ได้เจริญวัยขึ้นโดยลำดับ เมื่อพระชนม์

ได้ ๑๖ พรรษา เสด็จไปเมืองตักกศิลา ทรงสำเร็จศิลปศาตร์

ทุกแขนง เมื่อพระชนกสวรรคตทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติ ครอบ

ครองราชสมบัติโดยทานองคลองธรรม ทรงวินิจฉัยคดีไม่ล่วง

อคติ มีฉันทาคติเป็นต้น. เมื่อพระองค์เสวยราชสมบัติโดยธรรม

อย่างนี้ มีพวกอำมาตย์ต่างก็วินิจฉัยคดีโดยธรรมเหมือนกัน.

เมื่อคดีทั้งหลายได้รับการวินิจฉัยโดยธรรม จึงไม่มีคดีโกงเกิดขึ้น

เพราะไม่มีคดีโกงเหล่านั้น การร้องทุกข์ ณ พระลานหลวง เพื่อ

ให้เกิดคดีก็หมดไป. พวกอำมาตย์นั่งบนบัลลังก์วินิจฉัยตลอดวัน

ไม่เห็นใคร มาเพื่อให้วินิจฉัยคดี ต่างก็ลุกกลับไป. สถานที่

วินิจฉัยคดีก็ถูกทอดทิ้ง.

พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า เมื่อเราครองราชสมบัติโดยธรรม

ไม่มีผู้คนมาให้วินิจฉัยคดี ไม่มีผู้มาร้องทุกข์ สถานที่วินิจฉัยคดี

ก็ถูกทอดทิ้ง. บัดนี้เราควรตรวจสอบโทษของตน ครั้นเรารู้ว่า

นี่เป็นโทษของเรา จักละโทษนั้นเสียประพฤติในสิ่งที่เป็นคุณ

เท่านั้น. จำเดิมแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์ก็ทรงสำรวจดูว่า จะมี

ใคร ๆ พูดถึงโทษของเราบ้างหนอ ครั้นไม่ทรงเห็นใคร ๆ กล่าว

ถึงโทษ ในระหว่างข้าราชบริพารภายใน ทรงสดับแต่คำสรรเสริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 5

คุณของพระองค์ถ่ายเดียว ทรงดำริว่า ชะรอยชนเหล่านี้ เพราะ

กลัวเราจึงไม่กล่าวถึงโทษ กล่าวแต่คุณเท่านั้น จึงทรงสอบข้า-

ราชบริพารภายนอก แม้ในหมู่ข้าราชบริพารเหล่านั้น ก็ไม่ทรง

เห็น จึงทรงสอบชาวเมืองภายในพระนคร ทรงสอบชาวบ้านที่

ทวารทั้งสี่นอกพระนคร แม้ในที่นั้นก็มิได้ทรงเห็นใคร ๆ กล่าวถึง

โทษ ทรงสดับแต่คำสรรเสริญของพระองค์ถ่ายเดียว จึงทรงดำริ

ว่า เราจักตรวจสอบชาวชนบท ทรงมอบราชสมบัติให้เหล่า

อำมาตย์ เสด็จขึ้นรถไปกับสารถีเท่านั้น ทรงปลอมพระองค์ไม่

ให้ใครรู้จัก เสด็จออกจากพระนคร พยายามสอบสวนชาวชนบท

จนเสด็จถึงภูมิประเทศชายแดน ก็มิได้ทรงเห็นใคร ๆ กล่าวถึง

โทษ ทรงสดับแต่คำสรรเสริญพระคุณ จึงทรงบ่ายพระพักตร์

สู่พระนคร เสด็จกลับตามทางหลวงจากเขตชายแดน.

ในเวลานั้น แม้พระเจ้าโกศลพระนามว่า พัลลิกะ ก็ทรง

ครอบครองราชสมบัติโดยธรรม ทรงตรวจสอบหาโทษในบรรดา

ข้าราชบริพารภายในเป็นต้น มิได้ทรงเห็นใคร ๆ กล่าวถึงโทษ

เลย ทรงสดับแต่คำสรรเสริญพระคุณของพระองค์เหมือนกัน

จึงทรงตรวจสอบชาวชนบท ได้เสด็จถึงประเทศนั้น.

กษัตริย์ทั้งสอง ได้ปะจันหน้ากันที่ทางเกวียนอันราบลุ่ม

แห่งหนึ่ง ไม่มีทางที่รถจะหลีกกันได้. สารถีของพระเจ้าพัลลิกะ

จึงพูดกะสารถีของพระเจ้าพาราณสีว่า " จงหลีกรถของท่าน "

สารถีของพระเจ้าพาราณสีก็ตอบว่า " พ่อมหาจำเริญ ขอให้ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 6

หลีกรถของท่านเถิด บนรถนี้มีพระเจ้าพรหมทัตมหาราช ผู้

ครอบครองราชสมบัติในกรุงพาราณสีประทับนั่งอยู่ " สารถี

อีกฝ่ายหนึ่งก็พูดว่า " พ่อมหาจำเริญ บนรถนี้พระเจ้าพัลลิกะ

มหาราชผู้ครอบครองราชสมบัติแคว้นโกศลก็ประทับนั่งอยู่

ขอท่านได้โปรดหลีกรถของท่าน แล้วให้โอกาสแก่รถของพระ-

ราชาของเราเถิด "

สารถีของพระเจ้าพาราณสีดำริว่า " แม้ผู้ที่นั่งอยู่ในรถนี้

ก็เป็นพระราชาเหมือนกัน เราจะควรทำอย่างไรดีหนอ " นึกขึ้น

ได้ว่า มีอุบายอย่างหนึ่ง เราจักถามถึงวัยให้รถของพระราชาหนุ่ม

หลีกไป แล้วให้พระราชทานโอกาสแก่พระราชาแก่ ครั้นตกลงใจ

แล้ว จึงถามถึงวัยของพระเจ้าโกศลกะสารถี แล้วกำหนดไว้

ครั้นทราบว่าพระราชาทั้งสองมีวัยเท่ากัน จึงถามถึงปริมาณ

ราชสมบัติ กำลัง ทรัพย์ ยศ ชาติ โคตร ตระกูล ประเทศ

ครั้นทราบว่า ทั้งสองฝ่ายเป็นผู้ครอบครองรัชสีมาประมาณ

ฝ่ายละสามร้อยโยชน์ มีกำลัง ทรัพย์ ยศ ชาติ โคตร ตระกูล

และประเทศเท่ากัน แล้วคิดต่อไปว่า เราจักให้โอกาสแก่ผู้มีศีล

จึงถามว่า " พ่อมหาจำเริญ ศีลและมารยาทแห่งพระราชาของ

ท่านเป็นอย่างไร " เมื่อเขาประกาศสิ่งที่เป็นโทษแห่งพระราชา

ของตน โดยนึกว่าเป็นคุณ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

พระเจ้าพัลลิกราชทรงชนะคนกระด้าง

ด้วยความกระด้าง ทรงชนะคนอ่อนโดยด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 7

อ่อนโยน ทรงชนะคนดีด้วยความดี ทรงชนะ

คนไม่ดีด้วยความไม่ดี พระราชาพระองค์นี้เป็น

เช่นนั้น ดูก่อนสารถีท่านจงหลีกทางถวายพระ

ราชาของเราเถิด.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ทฬฺห ทฬฺหสฺส ขิปติ ความว่า สารถี

ของพระเจ้าพัลลิกะชี้แจงว่า ผู้ใดเป็นคนกระด้าง มีกำลังควร

ชนะด้วยการประหารหรือด้วยวาจาอันกระด้าง ก็ใช้การประหาร

หรือวาจาอันกระด้างต่อผู้นั้น พระเจ้าพัลลิกะทรงใช้ความกระด้าง

ชนะผู้นั้นอย่างนี้. บทว่า พลฺลิโก เป็นชื่อของพระราชาพระองค์

นั้น. บทว่า มุทุนา มุทุ ความว่า พระเจ้าพัลลิกะทรงใช้ความ

อ่อนโยนชนะบุคคลอ่อนโยน ด้วยอุบายอันอ่อนโยน. บทว่า

สาธุมฺปิ สาธุนา เชติ อสาธุมฺปิ อสาธุนา ความว่า สารถีของ

พระเจ้าพัลลิกะชี้แจงต่อไปว่า ชนเหล่าใดเป็นคนดี คือเป็น

สัตบุรุษ พระองค์ทรงใช้ความดีชนะชนเหล่านั้น ด้วยอุบายอันดี.

ส่วนชนเหล่าใดเป็นคนไม่ดี พระองค์ก็ทรงใช้ความไม่ดีชนะชน

เหล่านั้น ด้วยอุบายที่ไม่ดีเหมือนกัน.

บทว่า เอตาทิโส อย ราชา ความว่า พระเจ้าโกศลของ

พวกเรา ทรงประกอบด้วยศีล และมารยาทเห็นปานนี้. บทว่า

มคฺคา อุยฺยาหิ สารถิ ความว่า สารถีของพระเจ้าพัลลิกะพูดว่า

ขอท่านจงหลีกรถของตนจากทางไปเสีย คือจงไปนอกทาง ให้

ทางแก่พระราชาของพวกเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 8

ลำดับนั้นสารถีของพระเจ้าพาราณสี กล่าวกะสารถีของ

พระเจ้าพัลลิกะว่า ท่านกล่าวถึงพระคุณของพระราชาของท่าน

หรือ เมื่อเขาตอบว่า ใช่แล้ว สารถีของพระเจ้าพาราณสีจึงกล่าว

ต่อไปว่า ผิว่าเหล่านี้เป็นพระคุณ สิ่งที่เป็นโทษจะมีเพียงไหน

สารถีของพระเจ้าพัลลิกะกล่าวว่า เหล่านี้เป็นโทษก็ตามเถิด

แต่พระราชาของท่านมีพระคุณเช่นไรเล่า สารถีของพระเจ้า

พาราณสีกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจงฟัง แล้วกล่าวคาถาที่สองว่า :-

พระเจ้าพาราณสีทรงชนะคนโกรธด้วย

ความไม่โกรธ ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดี ทรง

ชนะคนตระหนี่ด้วยการให้ ทรงชนะคนพูดเหลาะ

แหละด้วยคำสัตย์ พระราชาพระองค์นี้เป็นเช่น

นั้น ดูก่อนสารถีท่านจงหลีกทางถวายพระราชา

ของเราเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอตาทิโส ความว่า พระราชาทรง

ประกอบด้วยคุณเหล่านี้ ที่กล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า พึงชนะคน

โกรธด้วยความไม่โกรธ ดังนี้ อธิบายว่า พระราชาพระองค์นี้

พระองค์เองไม่โกรธ ทรงชนะบุคคลผู้โกรธด้วยความไม่โกรธ

พระองค์เองเป็นคนดี ทรงชนะคนไม่ดีด้วยความดี พระองค์เอง

เป็นผู้ทรงบริจาค ทรงชนะคนตระหนี่เหนียวแน่นด้วยการบริจาค

พระองค์เองตรัสความจริง ทรงชนะคนพูดเหลาะแหละด้วยคำจริง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 9

บทว่า มคฺคา อุยฺยาหิ ความว่า สารถีของพระเจ้าพาราณสี

กล่าวว่า ท่านสารถีผู้เป็นสหาย ขอได้โปรดหลีกจากทาง จง

ให้ทางแก่พระราชาของพวกเราผู้ประกอบด้วยคุณ คือศีลและ

มารยาทมีอย่างนี้ พระราชาของพวกเราสมควรแก่ทางดำเนิน.

เมื่อสารถีของพระเจ้าพาราณสีกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเจ้า

พัลลิกะ และสารถีทั้งสองก็เสด็จและลงจากรถปลดม้าถอยรถ

ถวายทางแด่พระเจ้าพาราณสี. พระเจ้าพาราณสี ถวายโอวาท

แด่พระเจ้าพัลลิกะว่า ธรรมดาพระราชาควรทรงกระทำอย่างนี้ ๆ

แล้วเสด็จไปกรุงพาราณสี ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้น ทรง

เพิ่มพูนทางสวรรค์ในเวลาสุดสิ้นพระชนม์.

แม้พระเจ้าพัลลิกะก็ทรงรับพระโอวาท ของพระเจ้า-

พาราณสี ทรงสอบสวนชาวชนบท เสด็จไปทั่วพระนคร ไม่เห็น

มีผู้กล่าวโทษของพระองค์ จึงกระทำบุญมีทานเป็นต้น ทรงเพิ่ม

พูนทางสวรรค์ ในเวลาสุดสิ้นพระชนม์.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาเพื่อทรงถวาย

โอวาทแด่พระเจ้าโกศล แล้วทรงประชุมชาดก

นายสารถีของพระเจ้าพัลลิกะ ครั้งนั้นได้เป็นพระโมค-

คัลลานะ พระเจ้าพัลลิกะ ได้เป็นพระอานนท์ สารถีของพระเจ้า

พาราณสี ได้เป็นพระสาริบุตร ส่วนพระราชาคือ ตถาคตเอง.

จบ อรรถกถาราโชวาทชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 10

๒. สิคาลชาดก

ว่าด้วยการทำโดยไม่พิจารณา

[๑๕๓] การงานเหล่านั้น ย่อมเผาบุคคลผู้มีการ

งานอันไม่ได้พิจารณาแล้ว รีบร้อนจะทาให้

สาเร็จเหมือนกับของร้อนที่บุคคลไม่พิจารณา

ก่อนแล้วใส่เข้าไปในปาก ฉะนั้น.

[๑๕๔] อนึ่ง ราชสีห์ได้แผดสีหนาทที่ภูเขาเงิน

สุนัขจิ้งจอกอยู่ในภูเขาเงินได้ฟังราชสีห์แผด

เสียงก็กลัวตาย หวาดกลัวหัวใจแตกตาย.

จบ สิคาลชาดกที่ ๒

อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ทรงปรารถนา

บุตรช่างกัลบกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่เมืองเวสาลี แล้วตรัสพระธรรม

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อสเมกฺขิตกมฺมนฺต ดังนี้

ได้ยินว่า บิดาของเราเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสถึงไตร-

สรณาคมน์ สมาทานศีล ๕ กระทำกิจทุกอย่าง เป็นต้นว่า ปลง

พระมัสสุ แต่งพระเกศา ตั้งกระดานสะกาแด่พระราชา พระมเหสี

พระราชกุมาร และพระราชกุมารี ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วย

การฟังธรรมของพระศาสดาเนือง ๆ. วันหนึ่งบิดาไปทำงาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 11

ในราชนิเวศน์ พาบุตรของตนไปด้วย. บุตรนั้น เห็นนางกุมาริกา

แห่งเจ้าลิจฉวีองค์หนึ่ง ในราชนิเวศน์นั้น ประดับประดาด้วย

เครื่องอลังการ เปรียบด้วยนางเทพอัปสร มีจิตปฏิพัทธ์ ครั้น

ออกจากราชนิเวศน์กับบิดาแล้วคิดว่า เมื่อเราได้นางกุมาริกานี้

จึงจักมีชีวิตอยู่ เมื่อไม่ได้เราจักตายเสียในที่นี้แหละ จึงอดอาหาร

นอนซมเซาอยู่บนเตียง.

ลาดับนั้น บิดาเข้าไปหาบุตรปลอบโยนว่า ลูกเอ๋ย ลูก

อย่าทำความพอใจยินดีในสิ่งที่ไม่สมควรเลย ลูกเป็นคนมีกำเนิด

ต่ำต้อย เป็นลูกช่างกัลบก ส่วนกุมาริกาของเจ้าลิจฉวี เป็นธิดา

กษัตริย์ สมบูรณ์ด้วยชาติ นางไม่สมควรแก่เจ้าดอก พ่อจักนำ

กุมาริกาอื่นที่เหมาะสมด้วยชาติแลโคตรมาให้ลูก. บุตรมิได้เชื่อ

ถ้อยคำของบิดา. ต่อมาญาติและมิตรสหาย คือ มารดา พี่ชาย

น้องสาว น้า อา ทั้งหมด ประชุมกันชี้แจงก็ไม่อาจให้ยินยอมได้.

เขาผอมซูบซีด นอนตายอยู่บนเตียงนั่นเอง บิดาของเขาครั้นทำ

ฌาปนกิจเสร็จแล้ว เมื่อความโศกสร่างลง คิดว่า เราจักถวาย

บังคมพระศาสดา จึงถือของหอม ดอกไม้เป็นต้น และเครื่องลูบไล้

เป็นอันมาก ไปป่ามหาวัน บูชาพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง

ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า อุบาสก เพราะอะไร

ท่านจึงไม่ปรากฏตลอดวัน เขาได้กราบทูลความนั้นให้ทรงทราบ

พระศาสดาตรัสว่า อุบาสก บุตรของท่านเกิดพอใจยินดีในสิ่ง

อันไม่สมควร แล้วถึงความพินาศ มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 12

บุตรของท่านก็ถึงความพินาศมาแล้ว เมื่อเขาทูลอาราธนา จึง

ทรงนำเรื่องในอดีตมา

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดราชสีห์ ณ ป่าหิมพานต์.

ราชสีห์นั้นมีน้องชายหก มีน้องหญิงหนึ่ง. ทั้งหมดอาศัยอยู่ ณ

ถ้ำทอง. อนึ่ง ที่รชฏบรรพตไม่ไกลจากถ้ำนั้นมีถ้ำผลึกอยู่ถ้ำหนึ่ง.

ที่ถ้ำผลึกนั้นมีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งอาศัยอยู่. ครั้นต่อมาพ่อแม่ของ

ราชสีห์ทั้งหลายได้ตายลง. ราชสีห์ผู้พี่เหล่านั้น จึงให้นางราชสีห์

ผู้น้องอยู่ในถ้ำทอง แล้วออกหาอาหาร นาเนื้อมาให้น้อง. สุนัข

จิ้งจอกเห็นนางราชสีห์นั้น ได้มีจิตปฏิพัทธ์. แต่เมื่อพ่อแม่ของ

นางราชสีห์ยังไม่ตาย สุนัขจิ้งจอกจึงไม่ได้โอกาส. ในเวลาที่

ราชสีห์พี่น้องทั้ง ๗ ออกไปหาอาหาร สุนัขจิ้งจอกจึงลงจากถ้ำ

แก้วผลึก ไปยังประตูถ้ำทอง กล่าววาจามีเลศนัย อันประกอบด้วย

โลกามิส เฉพาะหน้านางราชสีห์ว่า นี่แน่ะแม่ราชสีห์น้อย เรา

มีสี่เท้า แม้เจ้าก็มีสี่เท้า เจ้าจงเป็นภรรยาของเราเถิด เราจักเป็น

สามีของเจ้า เราทั้งสองจักสมสู่อยู่ร่วมกันอย่างบันเทิงใจ ตั้งแต่

นี้ไปเจ้าจงร่วมกับเราด้วยอำนาจกิเลส.

นางราชสีห์ฟังคำของสุนัขจิ้งจอกแล้วคิดว่า เจ้าสุนัขจิ้งจอก

นี้ เป็นสัตว์เลวทรามน่าขยะแขยง คล้ายตัวจัณฑาลในระหว่าง

สัตว์สี่เท้าทั้งหลาย พวกเราเท่ากับราชตระกูลชั้นสูง สุนัขจิ้งจอก

นี้พูดจาไม่งดงาม ไม่เหมาะสมกับเรา เราฟังถ้อยคำชนิดนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 13

จะมีชีวิตอยู่ไปทำไม เราจักกลั้นใจตายเสีย ครั้นแล้วนางราชสีห์

ฉุกคิดขึ้นว่า เราตายอย่างนี้ไม่สมควร รอให้พวกพี่ของเรากลับ

มาเสียก่อน เราเล่าเรื่องให้พี่ ๆ ฟังแล้วจึงจะตาย.

ฝ่ายสุนัขจิ้งจอก ครั้นไม่ได้คำตอบจากนางราชีสีห์ คิดว่า

นางไม่เยื่อใยในเราเสียแล้ว เสียใจกลับเข้าไปนอนในถ้ำแก้วผลึก.

ราชีสีห์ตัวหนึ่งฆ่ากระบือและช้างเป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่งกัดกินเนื้อ

และนำส่วนหนึ่งมาให้นางราชสีห์ผู้น้อง กล่าวว่า น้องเคี้ยวกิน

เนื้อเสียเถิด. นางราชสีห์ตอบว่า พี่ ฉันไม่กินดอก ฉันจะตายละ.

ราชสีห์ถามว่า ทำไมเล่าน้อง. นางได้เล่าเรื่องทั้งหมดให้ราชีสีห์

ผู้พี่ฟัง. ราชสีห์ถามว่า เดี๋ยวนี้สุนัขจิ้งจอกมันอยู่ที่ไหนเล่า นาง-

ราชีสีห์สำคัญสุนัขจิ้งจอกซึ่งนอนอยู่ในถ้ำแก้วผลึกว่า นอนอยู่

ในกลางแจ้ง จึงตอบว่า พี่ไม่เห็นหรือ สุนัขจิ้งจอกนี้นอนอยู่

กลางแจ้งใกล้เขารชฏบรรพต. ลูกราชสีห์ไม่รู้ว่ามันนอนในถ้ำ

แก้วผลึก สำคัญว่ามันนอนในกลางแจ้ง คิดว่า จักฆ่ามันเสีย

จึงวิ่งไปโดยกำลังเร็วของราชสีห์ ชนเอาถ้ำแก้วผลึกหัวใจวาย.

ลูกราชสีห์นั้น หัวใจวายถึงแก่ความตาย ล้มลงที่เชิงเขานั้นเอง.

ต่อมาราชสีห์อีกตัวหนึ่งมา. นางราชสีห์ก็บอกเรื่องราวแก่

ราชสีห์เหมือนอย่างเดิม. แม้ราชสีห์นั้นก็ทำอย่างเดียวกันนั้น

ถึงแก่ความตายล้มลงที่เชิงเขา. เมื่อพี่ทั้งหกตายหมด ราชสีห์-

โพธิสัตว์กลับมาภายหลัง. นางราชสีห์ก็เล่าเรื่องให้ราชสีห์-

โพธิสัตว์ฟัง เมื่อราชสีห์โพธิสัตว์ถามว่า เดี๋ยวนี้สุนัขจิ้งจอกนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 14

มันอยู่ที่ไหน นางก็บอกว่า มันนอนที่กลางแจ้งใกล้ยอดเขา

รชฏบรรพต. ราชสีห์โพธิสัตว์คิดว่า ธรรมดาสุนัขจิ้งจอกทั้งหลาย

ไม่มีที่อาศัยในกลางแจ้ง มันต้องนอนอยู่ในถ้ำแก้วผลึกเป็นแน่.

ราชสีห์โพธิสัตว์จึงเดินไปยังเชิงภูเขา เห็นพวกน้อง ๆ ตายหมด

หกตัว จึงกล่าวว่า ราชสีห์เหล่านี้คงจะไม่รู้ว่าสุนัขจิ้งจอกนอน

ในถ้ำแก้วผลึก เพราะไม่มีปัญญาตรวจสอบ เพราะความที่ตัวโง่

จึงชนถ้ำตาย. ขึ้นชื่อว่าการงานของผู้ไม่พิจารณาแล้ว รีบทำย่อม

เป็นอย่างนี้แหละ แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

การงานเหล่านั้น ย่อมเผาบุคคลผู้มีการ

งานอันมิได้พิจารณาแล้ว รีบร้อนจะทำให้สาเร็จ

เหมือนกับของร้อนที่บุคคลไม่พิจารณาก่อนแล้ว

ใส่เข้าไปในปาก ฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อสเมกฺขิตกมฺมนฺต ตุริตาภินิปาติน

ความว่า บุคคลใดประสงค์จะทำการงานใด มิได้พิจารณาคือ

มิได้สอบสวนโทษในการงานนั้น รีบร้อนตกลง ผลุนผลันปฏิบัติ

เพื่อรีบทาการงานนั้น การงานทั้งหลายเช่นนั้นย่อมเผาผลาญ

บุคคลผู้นั้น ผู้มิได้พิจารณาการงานรีบร้อนทำให้สำเร็จ คือ

ทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก. ถามว่าเหมือนอะไร. ตอบว่า

เหมือนของร้อนที่ใส่เข้าไปในปากฉะนั้น อธิบายว่า เหมือน

ผู้จะบริโภคไม่ได้พิจารณาว่า ของนี้เย็นของนี้ร้อน ใส่ คือ วาง

ของที่กลืนอันร้อนลงไปในปาก ย่อมลวกปากบ้าง คอบ้าง ท้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 15

บ้างทำให้เศร้าโศก ทำให้ลำบาก ฉันใด การงานทั้งหลายเหล่านั้น

ก็ฉันนั้น ย่อมเผาบุคคลเช่นนั้น.

ราชสีห์โพธิสัตว์นั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว จึงพูดว่า

น้อง ๆ ของเราไม่ฉลาดในอุบาย คิดว่าจักฆ่าสุนัขจิ้งจอก รีบร้อน

ผลุนผลันไปตัวเองจึงตาย ส่วนเราจักไม่ทำอย่างนั้น จักฉีกอก

สุนัขจิ้งจอก ซึ่งนอนสะดุ้งอยู่ในถ้ำแก้วผลึกให้จงได้. ราชสีห์

โพธิสัตว์สังเกตทางขึ้นลงของสุนัขจิ้งจอกเสร็จแล้ว จึงมุ่งหน้าไป

ทางนั้น บันลือสีหนาทสามครั้ง. อากาศกับผืนแผ่นดินได้มีเสียง

กึกก้องเป็นอันเดียวกัน. หัวใจสุนัขจิ้งจอกซึ่งนอนหวาดสะดุ้ง

อยู่ในถ้ำแก้วผลึก ก็แตกทำลาย. สุนัขจิ้งจอกถึงแก่ความตาย

ในที่นั้นเอง.

พระศาสดาตรัสว่า สุนัขจิ้งจอกตัวนั้นได้ยินราชสีห์แผด

เสียงอย่างนี้แล้วถึงแก่ความตาย เมื่อพระองค์ตรัสรู้แล้ว จึงตรัส

คาถาที่สองว่า :-

อนึ่ง ราชสีห์ได้แผดสีหนาทที่ภูเขาเงิน

สุนัขจิ้งจอกอยู่ในภูเขาเงินได้ฟังราชสีห์แผดเสียง

ก็กลัวตาย หวาดกลัว หัวแตกตาย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สีโห ได้แก่ราชสีห์ ๔ จำพวก คือ

ติณราชสีห์ ปัณฑุราชสีห์ กาฬราชสีห์ ไกรสรราชสีห์ (มีมือ

และเท้าแดง). ในราชสีห์เหล่านั้น ในที่นี้ประสงค์เอาไกรสร-

ราชสีห์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 16

บทว่า ทฺทร อภินาทยิ ความว่า ไกรสรราชสีห์นั้น

บันลือสีหนาทน่ากลัวดุจสำเนียงอสนิบาตฟาดลงสักร้อยครั้ง

คือ ได้กระทำรชฏบรรพตให้มีเสียงกึกก้องเป็นอันเดียวกัน.

บทว่า ททฺทเร วส ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกซึ่งอาศัยอยู่ในรชฏบรรพต

ติดกับถ้ำแก้วผลึก. บทวิา ภีโต สนฺตาสมาปาทิ ความว่า สุนัข

จิ้งจอกกลัวตาย ถึงความหวาดสะดุ้ง. บทว่า หทยญฺจสฺส อปฺผลิ

ความว่า หัวใจของสุนัขจิ้งจอกนั้นแตกเพราะความกลัว.

ราชสีห์โพธิสัตว์ ครั้นให้สุนัขจิ้งจอกถึงแก่ความตายแล้ว

จึงปกคลุมพวกน้อง ๆ ไว้ในที่แห่งหนึ่ง แล้วแจ้งการตายของ

ราชสีห์เหล่านั้นให้นางราชสีห์ผู้น้องรู้ ปลอบน้องอยู่อาศัยใน

ถ้ำทองจนสิ้นชีพแล้วก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึง

ทรงประกาศสัจธรรมประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจธรรม

อุบาสกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็น

บุตรช่างกัลบกในบัดนี้. นางราชสีห์ได้เป็นกุมาริกาแห่งเจ้า

ลิจฉวี น้อง ๆ ทั้งหกได้เป็นพระเถระรูปใดรูปหนึ่ง ส่วนราชสีห์

พี่ใหญ่ได้เป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 17

๓. สูกรชาดก

ว่าด้วยหมูท้าราชสีห์

[๑๕๕] ดูก่อนสหาย เราก็มี ๔ เท้า แม้ท่านก็มี

๔ เท้าจงกลับมาสู้กันก่อนเถิดสหาย ท่านกลัว

หรือจึงหนีไป.

[๑๕๖] ดูก่อนหมู ท่านเป็นสัตว์สกปรก มีขน

เหม็นเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ดูก่อนสหาย ถ้า

ท่านประสงค์จะสู้รบกับเรา เราก็จะให้ชัยชนะ

แก่ท่าน.

จบสูกรชาดกที่ ๓

อรรถกถาสูกรชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

พระเถระแก่รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า

จตุตปฺปโห อห สมฺม ดังนี้

ในวันหนึ่งเมื่อการฟังธรรมยังเป็นไปอยู่ในตอนกลางคืน

เมื่อพระศาสดาประทับยืน ณ แผ่นหินแก้วมณี ใกล้ประตูพระ-

คันธกุฏี ประทานสุคโตวาทแก่หมู่ภิกษุแล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฏี

พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรถวายบังคมพระศาสดา แล้วได้ไปยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 18

บริเวณของตน. พระมหาโมคคัลลานะก็ไปยังบริเวณของตน

เหมือนกัน พักอยู่ครู่หนึ่งจึงมาหาพระเถระ แล้วถามปัญหา.

พระธรรมเสนาบดีได้แก้ปัญหาที่พระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว ๆ

ได้ทำให้ชัดเจนดุจทำพระจันทร์ให้ปรากฏบนท้องฟ้า. แม้บริษัท

สี่ก็นั่งฟังธรรมอยู่. ณ ที่นั้นพระเถระแก่รูปหนึ่งคิดว่า หากเรา

จะเย้าพระสารีบุตร ถามปัญหาในท่ามกลางบริษัทนี้. บริษัทนี้

รู้ว่า ภิกษุนี้เป็นพหูสูต ก็จักกระทำสักการะและยกย่อง จึง

ลุกขึ้นจากระหว่างบริษัทเข้าไปหาพระเถระยืนอยู่ ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง แล้วกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสสาริบุตร ข้าพเจ้าจักถาม

ปัญหาข้อหนึ่งกะท่าน ขอจงให้โอกาสแก่เราบ้าง ขอท่านจงให้

การวินิจฉัยแก่ข้าพเจ้า โดยอ้อมก็ตาม โดยตรงก็ตาม ในการ

ติเตียนก็ตาม ในการยกย่องก็ตาม ในการวิเศษก็ตาม ในการไม่

วิเศษก็ตาม. พระเถระแลดูพระแก่นั้นแล้วคิดว่า หลวงตานี่

ตั้งอยู่ในความริษยา โง่ ไม่รู้อะไรเลย จึงไม่พูดกับพระแก่นั้น

ละอายใจวางพัดวีชนี ลงจากอาสนะเข้าไปยังบริเวณ. แม้พระ-

มหาโมคคัลลานเถระก็ได้เข้าไปยังบริเวณของตนเหมือนกัน.

พวกมนุษย์พากันลุกขึ้นประกาศว่า พวกท่านจงจับพระแก่

ใจร้ายนี้ ไม่ให้พวกเราได้ฟังธรรมอันไพเราะ แล้วก็พากัน

ติดตามไป พระเถระนั้นหนีไปตกในวัจจกุฏีเต็มด้วยคูถซึ่งมี

ไม้เลียงหักพังท้ายวิหาร ลุกขึ้นมาทั้งที่เปื้อนคูถ. พวกมนุษย์

เห็นดังนั้นพากันรังเกียจได้ไปเฝ้าพระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 19

พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นมนุษย์เหล่านั้น จึงตรัส

ถามว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านมาทำไมนอกเวลา.

พวกมนุษย์พากันกราบทูลเนื้อความให้ทรงทราบ. พระศาสดา

ตรัสว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ภิกษุแก่นี้ผยอง ไม่รู้กำลัง

ของตน ทำทัดเทียมกับผู้มีกำลังมาก แล้วก็เปื้อนคูถ มิใช่ใน

บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนภิกษุแก่นี้ก็เคยผยองไม่รู้กำลังของตน

ทำทัดเทียมกับผู้มีกำลังมากแล้วก็เปื้อนคูถ เมื่ออุบาสกอุบาสิกา

ทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ครั้งอดีต เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง-

พาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นราชสีห์อาศัยอยู่ในถ้ำ

ภูเขาใกล้หิมวันตประเทศ. ในที่ไม่ไกลภูเขานั้นมีสุกรเป็นอันมาก

อาศัยสระแห่งหนึ่งอยู่. พระดาบสทั้งหลายก็อาศัยสระนั้นอยู่

บนบรรณศาลา อยู่มาวันหนึ่งราชสีห์ฆ่าสัตว์มีกระบือและช้าง

เป็นต้น ตัวใดตัวหนึ่ง เคี้ยวกินเนื้อจนเพียงพอแล้ว ลงไปยังสระนั้น

ดื่มน้ำขึ้นมา. ขณะนั้นสุกรอ้วนตัวหนึ่งเที่ยวหาอาหารอยู่แถว

สระนั้น. ราชสีห์เห็นสุกรอ้วนตัวนั้น จึงคิดว่า สักวันหนึ่งเราจัก

กินเจ้าสุกรตัวนี้ แต่มันเห็นเราเข้าจะไม่มาอีก เพราะกลัวมัน

จะไม่กลับมา จึงขึ้นจากสระหลบไปเสียข้างหนึ่ง. สุกรมองดู

ราชสีห์คิดว่า ราชสีห์นี้พอเห็นเราเข้าก็ไม่อาจจะเข้าใกล้เพราะ

กลัวเรา จึงหนีไปเพราะความกลัว. วันนี้เราควรจะต้องต่อสู้กับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 20

ราชสีห์นี้ แล้วชูหัวร้องเรียกราชสีห์ให้มาต่อสู้กัน กล่าวคาถา

แรกว่า :-

ดูก่อนสหาย เราก็มี ๔ เท้า แม้ท่านก็มี

๔ เท้าจงกลับมาสู้กันก่อนเถิดสหาย ท่านกลัว

หรือจึงหนีไป.

ราชสีห์ได้ฟังคำท้าของสุกรนั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนสหาย

สุกร วันนี้เราไม่สู้กับท่าน แต่จากนี้ไป ๗ วัน จงมาสู้กันในที่นี้

แหละ แล้วก็หลีกไป. สุกรรื่นเริงเบิกบานใจว่า เราจักได้สู้กับ

ราชสีห์. จึงเล่าเรื่องนั้นให้พวกญาติฟัง. พวกญาติสุกรฟังแล้ว

พากันตกใจกลัวพูดขึ้นว่า เจ้าจะพาพวกเราทั้งหมดให้ถึงความ

ฉิบหายกันคราวนี้แหละ เจ้าไม่รู้จักกำลังของตัวจะหวังสู้กับ

ราชสีห์ ราชสีห์จักมาทำให้เราทั้งหมดถึงแก่ความตาย เจ้าอย่า

ทำกรรมอุกอาจนักเลย. สุกรสะดุ้งตกใจกลัวถามว่า คราวนี้เรา

จะทาอย่างไรดีเล่า. พวกสุกรต่างพากันพูดว่า นี่แน่ะสหาย เจ้า

จงไปในที่ถ่ายอุจจาระของพวกดาบสเหล่านี้ แล้วเกลือกตัวเข้า

ที่คูถเหม็น รอให้ตัวแห้งสัก ๗ วัน ถึงวันที่ ๗ จงเกลือกตัวให้

ชุ่มด้วยน้ำค้าง แล้วมาก่อนราชสีห์มา จงสังเกตทางลม แล้วยืน

เหนือลม ราชสีห์เป็นสัตว์สะอาดได้กลิ่นตัวเพื่อนแล้ว จักให้

เพื่อนชนะแล้วกลับไป. สุกรอ้วนได้ทำตามนั้น ในที่วันที่ ๗ ได้ไป

ยืนอยู่ ณ ที่นั้น. ราชสีห์ได้กลิ่นตัวมันเข้าก็รู้ว่าตัวเปื้อนคูถ

จึงกล่าวว่า ดูก่อนเพื่อนสุกร ท่านคิดชั้นเชิงดีมาก หากท่านไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 21

เปื้อนคูถ เราจักฆ่าท่านเสียตรงนี้แหละ แต่บัดนี้เราไม่อาจกัด

ตัวท่านด้วยปาก เหยียบตัวท่านด้วยเท้าได้ เราให้ท่านชนะแล้ว

จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

ดูก่อนสุกร เจ้าเป็นสัตว์สกปรก มีขน

เหม็นเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป ดูก่อนสหายหาก

ท่านประสงค์จะสู้กับเรา เราก็จะให้ชัยชนะแก่

ท่าน.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปูติโลโมสิ ได้แก่ ขนมีกลิ่นเหม็นเน่า

เพราะเปื้อนขี้. บทว่า ทุคฺคนฺโธ วายสิ ได้แก่ มีกลิ่นปฏิกูล

น่าเกลียดยิ่งนัก ฟุ้งไป. บทว่า ชย สมฺม ททามิ เต ได้แก่ เรา

ให้ท่านชนะ.

ราชสีห์ครั้นกล่าวว่าเราแพ้แล้ว เจ้าไปเสียเถิดดังนี้ แล้ว

ก็กลับจากที่นั้นเที่ยวแสวงหาอาหาร ดื่มน้ำในสระ เสร็จแล้วก็

กลับเข้าถ้ำภูเขาตามเดิม. แม้สุกรก็บอกแก่พวกญาติว่า เราชนะ

ราชสีห์แล้ว. พวกสุกรเหล่านั้น พากันตกใจกลัวว่าราชสีห์จะ

กลับมาสักวันหนึ่งอีก จักฆ่าพวกเราตายหมด จึงพากันหนีไปอยู่

ที่อื่น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงทรง

ประชุมชาดก. สุกรในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุแก่ในครั้งนี้ ส่วน

ราชสีห์ได้เป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสูกรชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 22

๔. อุรคชาดก

ว่าด้วยงูผู้มีคุณธรรมสูง

[๑๕๗] พระยานาคประเสริฐกว่างูทั้งหลาย ต้อง

การจะพ้นไปจากสำนักของข้าพเจ้าแปลงเพศ

เป็นก้อนแก้วมณี เข้าไปอยู่ภายในผ้าเปลือกไม้

นี้ ข้าพเจ้าเคารพยำเกรงเพศของพระคุณเจ้า ซึ่ง

เป็นเพศประเสริฐนัก แม้จะหิวก็ไม่อาจจะจับ

นาค ซึ่งเข้าไปอยู่ภายในผ้าเปลือกไม้นั้นออกมา

กินได้.

[๑๕๘] ท่านนั้นเคารพยำเกรงผู้มีเพศประเสริฐ

แม้จะหิวก็ไม่อาจจะจับนาคซึ่งเข้าไปอยู่ภายใน

ผ้าเปลือกไม้นั้นออกมากินได้ ขอท่านนั้นจงเป็น

ผู้อันพรหมคุ้มครอง ดำรงชีพอยู่สิ้นกาลนาน

เถิด อนึ่ง ขอภักษาหารอันเป็นทิพย์จงปรากฏ

แก่ท่านเถิด.

จบ อุรคชาดกที่ ๔

อรรถกถาอุรคชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรง

ปรารภการผูกเวรของคนมีเวร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 23

เริ่มต้นว่า อิธูรคาน ปวโร ปวิฏฺโ ดังนี้.

ได้ยินว่า มหาอามาตย์สองคนเป็นหัวหน้าทหารเป็น

เสวกของพระเจ้าโกศล เห็นกันและกันเข้าก็ทะเลาะกัน. การ

จองเวรของเขาทั้งสองเป็นที่รู้กันทั่วนคร. พระราชา ญาติและ

มิตรไม่สามารถจะทำให้เขาทั้งสองสามัคคีกันได้.

อยู่มาวันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงตรวจดูเผ่า

พันธุ์สัตว์ที่ควรแนะนำให้ตรัสรู้ ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติ-

มรรคของเขาทั้งสอง วันรุ่งขึ้น เสด็จสู่กรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต

พระองค์เดียวเท่านั้น ประทับยืนที่ประตูเรือนของคนหนึ่ง. เขา

ออกมารับบาตรแล้วนิมนต์พระศาสดาให้เสด็จเข้าไปภายในเรือน

ปูอาสนะให้ประทับนั่ง. พระศาสดาประทับนั่งแล้ว ตรัสอานิสงส์

แห่งการเจริญเมตตาแก่เขา ทรงทราบว่ามีจิตอ่อนแล้ว จึงทรง

ประกาคอริยสัจ. เมื่อจบอริยสัจ เขาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

พระศาสดาทรงทราบว่าเขาบรรลุโสดาแล้ว ให้เขาถือบาตรทรง

พาไปประตูเรือนของอีกคนหนึ่ง. อำมาตย์นั้นก็ออกมาถวาย

บังคมพระศาสดากราบทูลว่า ขอเชิญเสด็จเข้าไปเถิดพระเจ้าข้า

แล้วทูลเสด็จเข้าไปยังเรือนอัญเชิญให้ประทับนั่ง. อำมาตย์ที่

ตามเสด็จก็ถือบาตรตามเสด็จพระศาสดาเข้าไปพร้อมกับพระ-

ศาสดา. พระศาสดาตรัสพรรณนาอานิสงส์เมตตา ๑๑ ประการ

ทรงทราบว่าเขามีจิตสมควรแล้ว จึงทรงประกาศสัจธรรม.

เมื่อจบแล้ว อำมาตย์นั้นก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. อำมาตย์ทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 24

บรรลุโสดาบันแล้ว ก็แสดงโทษขอขมากันและกัน มีความ

สมัครสมานบันเทิงใจ มีอัธยาศัยร่วมกันด้วยประการฉะนี้.

วันนั้นเองเขาทั้งสองบริโภคร่วมกัน เฉพาะพระพักตร์ของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า.

พระศาสดาเสวยภัตตาหารเสร็จแล้วได้เสด็จกลับพระ-

วิหาร. อำมาตย์สองคนนั้นก็ถือดอกไม้ของหอมเครื่องลูบไล้และ

เนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น ออกไปพร้อมกับพระศาสดา.

เมื่อหมู่ภิกษุแสดงวัตรแล้ว พระศาสดาทรงประทานสุคโตวาท

แล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฏี

ในเวลาเย็นภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันถึงกถาแสดง

คุณของพระศาสดาในธรรมสภาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

พระศาสดาทรงฝึกคนที่ฝึกไม่ได้ พระตถาคตทรงฝึกมหาอำมาตย์

ทั้งสองซึ่งวิวาทกันมาช้านาน พระราชาและญาติมิตรเป็นต้น

ก็ไม่สามารถจะทำให้สามัคคีกันได้ เพียงวันเดียวเท่านั้น. พระ-

ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูล

ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้

ทาให้ชนทั้งสองเหล่านี้สามัคคีกันมิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน

เราก็ทำชนเหล่านี้ให้สามัคคีกัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมา

ตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 25

ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ

ในกรุงพาราณสี เมื่อเขาประกาศมีมหรสพในกรุงพาราณสี

ได้มีการประชุมใหญ่. พวกมนุษย์เป็นอันมากและเทวดา นาค

ครุฑ เป็นต้น ต่างประชุมกันเพื่อชมมหรสพ. ในสถานที่แห่ง

หนึ่งที่เมืองพาราณสีนั้น พญานาคจำพญาครุฑไม่ได้ จึงพาดมือ

ลงไว้เหนือจะงอยบ่าพญาครุฑ. พญาครุฑนึกในใจว่า ใครเอามือ

วางบนจะงอยบ่าของเรา เหลียวไปดูรู้ว่าเป็นพญานาค. พญานาค

มองดูก็จำได้ว่าเป็นพญาครุฑ จึงหวาดหวั่นต่อมรณภัย ออกจาก

พระนครหนีไปทางท่าน้ำ. พญาครุฑก็ติดตามไปด้วยคิดว่า จัก

จับพญานาคนั้นให้ได้.

ในสมัยนั้น พระโพธิสัตว์เป็นดาบสอาศัยอยู่ ณ บรรณศาลา

ใกล้ฝั่งแม่น้ำนั้น เพื่อระงับความกระวนกระวายในตอนกลางวัน

จึงนุ่งผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) วางผ้าเปลือกไม้ไว้ที่นอกฝั่ง

แล้วลงอาบน้ำ. พญานาคคิดว่า เราจักได้ชีวิตเพราะอาศัยบรรพชิต

นี้ จึงแปลงเพศเดิม เนรมิตเพศเป็นก้อนมณีเข้าไปอาศัยอยู่ใน

ผ้าเปลือกไม้. พญาครุฑติดตามไปเห็นพญานาคนั้นเข้าไปอาศัย

อยู่ในผ้าเปลือกไม้นั้น ก็ไม่จับต้องผ้าเปลือกไม้เพราะความ

เคารพ จึงปราศรัยกะพระโพธิสัตว์ว่า ท่านขอรับข้าพเจ้าหิวท่าน

จงเอาผ้าเปลือกไม้ของท่านไป ข้าพเจ้าจักกินพญานาคนี้ เพื่อ

ประกาศความนี้ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 26

พญานาคผู้ประเสริฐกว่างูทั้งหลาย ต้อง

การจะพ้นไปจากสำนักของข้าพเจ้าจึงแปลงเพศ

เป็นก้อนแก้วมณี เข้าไปอยู่ในผ้าเปลือกไม้

นี้ ข้าพเจ้าเคารพยำเกรงเพศของพระคุณเจ้า ซึ่ง

เป็นเพศประเสริฐนัก แม้จะหิวก็ไม่อาจจะจับ

พญานาคซึ่งเข้าไปอยู่ในผ้าเปลือกไม้นั้นออก

มากินได้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อิธูรคาน ปวโร ปวิฏฺโ ความว่า

พญานาคผู้ประเสริฐกว่างูทั้งหลาย เข้าไปอาศัยอยู่ในผ้าเปลือกไม้

นี้. บทว่า เสลสฺส วณฺเณน ความว่า พญานาคแปลงเพศเป็น

ก้อนแก้วมณี เข้าไปอาศัยอยู่ในผ้าเปลือกไม้. บทว่า ปโมกฺขมิจฺฉ

ความว่า พญานาคต้องการจะพ้นจากสำนักของข้าพเจ้า. บทว่า

พฺรหฺมญฺจ วณฺณ อปจายมาโน ความว่า ข้าพเจ้าบูชาเคารพ

ต่อท่านผู้มีเพศดังพรหม คือมีเพศประเสริฐ. บทว่า พุภุกฺขิโต

โน อิสฺหามิ โภตฺตุ ความว่า ข้าพเจ้าแม้จะหิวก็ไม่อาจจะกิน

พญานาคนั้นซึ่งเข้าไปอาศัยอยู่ในเปลือกไม้นั้นได้.

พระโพธิสัตว์ทั้ง ๆ ที่ยืนอยู่ในน้ำได้สรรเสริญพญาครุฑ

แล้วกล่าวคาถาที่สองว่า :-

ท่านเคารพยำเกรงผู้มีเพศอันประเสริฐ

แม้จะหิวก็ไม่อาจจะจับนาค ซึ่งเข้าไปอยู่ในผ้า

เปลือกไม้นั้นออกมากินได้ ขอท่านจงเป็นผู้อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 27

พรหมคุ้มครองแล้ว ดำรงชีวิตอยู่สิ้นกาลนาน

เถิด อนึ่ง ขอภักษาหารอันเป็นทิพย์จงปรากฏ

แก่ท่านเถิด.

ในบทเหล่านั้นบทว่า โส พฺรหฺมคุตฺโต ความว่า ท่านนั้น

เป็นผู้อันพรหมคุ้มครองรักษาแล้ว. บทว่า ทิพฺยา จ เต ปาตุภวนฺตุ

ภกฺขา ความว่า ขอภักษาหารอันควรแก่การบริโภคของทวยเทพ

จงปรากฏแก่ท่านเถิด. ท่านอย่าได้ทำปาณาติบาต กินเนื้อนาคเลย.

พระโพธิสัตว์ทั้ง ๆที่ยืนอยู่ในน้ำ กระทำอนุโมทนาแล้ว

ขึ้นนุ่งผ้าเปลือกไม้ พาสัตว์ทั้งสองไปอาศรม บทแสดงถึงคุณ

ของการเจริญเมตตา แล้วได้กระทำให้สัตว์ทั้งสองนั้นสามัคคีกัน.

ตั้งแต่นั้นมาสัตว์ทั้งสองนั้นก็มีความสมัครสมาน เบิกบานกันอยู่

ร่วมกันด้วยความสุข.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วประชุม

ชาดก. พญานาคและพญาครุฑในครั้งนั้นได้เป็นอำมาตย์ผู้ใหญ่

ทั้งสองในบัดนี้. ส่วนดาบสได้เป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาอุรคชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 28

๕. ภัคคชาดก

ว่าด้วยอายุ

[๑๕๙] ข้าแต่ท่านบิดา ขอท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี

ขอปีศาจจงอย่ากินฉันเลย ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี

เถิด.

[๑๖๐] แม้ท่านก็จงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี พวกปีศาจ

จงกินยาพิษ ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี.

จบ ภัคคาชาดกที่ ๕

อรรถกถาภัคคชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ ราชิการามซึ่งพระเจ้า-

ปเสนทิโกศล ให้จัดสร้างถวายใกล้พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

การจามของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้เริ่มต้นว่า ชีว

วสฺสสต ภคฺค ดังนี้.

ความพิสดารมีว่า วันหนึ่งพระศาสดาประทับนั่ง ณ ท่าม

กลางบริษัท ที่ราชิการาม ขณะแสดงธรรมทรงจามขึ้น.

ภิกษุทั้งหลายได้พากันส่งเสียงเอ็ดอึงว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงทรงพระชนม์เถิด ขอพระสุคตเจ้าจงทรงพระชนม์เถิด. เพราะ

เสียงนั้นได้ทำให้การแสดงธรรมหยุดลง. ลำดับนั้นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 29

เขากล่าวในเวลาจามว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด ดังนี้ เพราะเหตุ

ที่กล่าวดังนั้น คนนั้นจะพึงเป็นอยู่ หรือจะพึงตายเป็นไปได้ไหม.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เป็นไปไม่ได้พระพุทธเจ้าข้า. พระ-

ศาสดาตรัสต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอไม่ควรกล่าวใน

เวลาเขาจามว่า ขอให้ท่านเป็นอยู่เถิด. ผู้ใดกล่าว ผู้นั้นต้อง

อาบัติทุกกฏ. สมัยนั้นมนุษย์ทั้งหลาย กล่าวกะพวกภิกษุในเวลา

ที่ภิกษุเหล่านั้นจามว่า ขอให้พระคุณเจ้าทั้งหลายจงเป็นอยู่เถิด.

ภิกษุทั้งหลายตั้งข้อรังเกียจ ไม่พูดตอบ. พวกมนุษย์พากัน

ยกโทษว่า อย่างไรกันนี่ สมณศากยบุตรเมื่อเรากล่าวว่า ขอให้

พระคุณเจ้าจงเป็นอยู่เถิด ไม่พูดตอบเลย. จึงพากันไปกราบทูล

ความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระองค์จึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกคฤหัสถ์เขาถือมงคลกัน เมื่อคฤหัสถ์เขา

กล่าวว่า ขอพระคุณเจ้าจงเป็นอยู่เถิด เราอนุญาตให้กล่าวตอบว่า

ขอให้พวกท่านจงเป็นอยู่เถิด. ภิกษุทั้งหลายพากันกราบทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาการกล่าว

โต้ตอบว่าจงเป็นอยู่เถิด เกิดขึ้นเมื่อไร. พระศาสดาตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาการโต้ตอบกันว่า จงเป็นอยู่เถิด

เกิดขึ้นแต่โบราณกาล แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ตระกูล

หนึ่งในแคว้นกาสี. บิดาของพระโพธิสัตว์ ทำการค้าขายเลี้ยงชีพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 30

บิดาให้พระโพธิสัตว์ซึ่งมีอายุได้ ๑๖ ปี แบกเครื่องแก้วมณี

เดินทางไปในบ้านและนิคมเป็นต้น ครั้นถึงกรุงพาราณสีให้หุง

อาหารบริโภคใกล้เรือนของนายประตู เมื่อหาที่พักไม่ได้ จึงถาม

ว่า คนจนมาผิดเวลาจะพักได้ที่ไหน. ครั้นแล้วพวกมนุษย์พวก

เขาว่า นอกพระนครมีศาลาอยู่หลังหนึ่ง แต่ศาลานั้นมียักษ์

ยึดครอง ถ้าท่านต้องการก็จงอยู่เถิด. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า

มาเถิดพ่อ เราจะไป อย่ากลัวยักษ์ ฉันจะทรมานยักษ์นั้นให้

หมอบลงแทบเท้าของพ่อ แล้วก็พาบิดาไปในที่นั้น. ลำดับนั้นบิดา

ของพระโพธิสัตว์นอนบนพื้นกระดาน. ตนเองนั่งนวดเท้าให้บิดา.

ยักษ์ซึ่งสิงอยู่ที่ศาลานั้น อุปฐากท้าวเวสวัณอยู่ ๑๒ ปี

เมื่อจะได้ศาลานั้น ได้พรว่า บรรดามนุษย์ซึ่งเข้าไปยังศาลานี้

ผู้ใดกล่าวในเวลาที่เขาจามว่า ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด และผู้ใด

เมื่อเขากล่าวว่าจงเป็นอยู่เถิด แล้วกล่าวตอบว่าท่านก็เหมือนกัน

ขอให้เป็นอยู่เถิด เว้นคนที่กล่าวโต้ตอบเหล่านั้นเสีย ที่เหลือ

กินเสียเถิด. ยักษ์นั้นอาศัยอยู่ที่ขื่อหัวเสา คิดว่าจักให้บิดาพระ-

โพธิสัตว์จาม จึงโรยผงละเอียดลงด้วยอานุภาพของตน. ผง

ปลิวเข้าไปในดั้งจมูกของเขา. เขาจึงจามทั้งที่นอนอยู่เหนือพื้น

กระดาน. พระโพธิสัตว์มิได้กล่าวว่า ขอท่านจงเป็นอยู่เถิด.

ยักษ์จึงลงจากขื่อหมายจะกินเขา. พระโพธิสัตว์เห็นยักษ์ไต่ลง

จึงคิดว่า เจ้ายักษ์นี้เองทำให้บิดาของเราจาม เจ้านี่คงจะเป็น

ยักษ์กินคนที่ไม่กล่าวว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิดในเวลาเขาจาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 31

ตนนั้นจึงกล่าวคาถาแรกเกี่ยวกับบิดาว่า :-

ข้าแต่บิดา ขอท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี ขอ

ปีศาจจงอย่ากินฉันเลย ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี

เถิด.

ในบทเหล่านั้น พระโพธิสัตว์เรียกชื่อบิดาว่า ภคฺค. บทว่า

อปรานิ จ วีสติ ความว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด.

บทว่า มา ม ปิสาจา ขาทนฺตุ ความว่า ขอปีศาจจงอย่ากิน

ข้าพเจ้าเลย. บทว่า ชีว ตฺว สรโทสต ความว่า ขอให้ท่านจง

เป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด. อันที่จริง ๑๒๐ ปี เป็นการคาดคะเน แต่เป็น

แค่ ๑๐๐ ปีเท่านั้น. ในที่นี้ท่านประสงค์ ๑๐๐ ปี ให้เกินไปอีก

๒๐ ปี.

ยักษ์ได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้ว รำพึงว่า เราไม่

สามารถจะกินมาณพนี้ได้ เพราะเขากล่าวว่าขอให้ท่านจงเป็น

อยู่เถิด แต่เราจะกินบิดาของเขา ว่าแล้วก็ไปหาบิดา. บิดาเห็น

ยักษ์ตรงมาคิดว่า เจ้ายักษ์นี่คงจักเป็นยักษ์กินคนผู้ไม่กล่าวตอบ

ว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด เพราะฉะนั้นเราจักกล่าวตอบ แล้ว

กล่าวคาถาที่ ๒ เกี่ยวกับบุตรว่า :-

แม้ท่านก็จงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปี พวกปีศาจ

จงกินยาพิษ ท่านจงเป็นอยู่ ๑๒๐ ปีเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิส ปิสาจา ได้แก่ ปีศาจจงกินยาพิษ

ที่ร้ายแรง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 32

ยักษ์ได้ฟังดังนั้น คิดว่าเราไม่สามารถกินได้ทั้งสองคน

จึงถอยกลับ. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ถามยักษ์นั้นว่า ดูก่อนเจ้ายักษ์

เพราะเหตุไรเจ้าจึงกินคนที่เข้าไปยังศาลานี้เล่า. ยักษ์ตอบว่า

เพราะเราอุปฐากท้าวเวสวัณอยู่ถึง ๑๒ ปี แล้วได้พร. พระ-

โพธิสัตว์ถามว่า เจ้ากินได้ทุกคนหรือ. ยักษ์ตอบว่า ยกเว้นคนที่

กล่าวตอบว่า ขอให้ท่านจงป็นอยู่เถิด นอกนั้นเรากินหมด.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนยักษ์ เจ้ากระทำอกุศลไว้ในภพก่อน

เป็นผู้ร้ายกาจ หยาบคาย ชอบเบียดเบียนผู้อื่น แม้บัดนี้เจ้าก็

ยังทำกรรมเช่นนั้นอีก เจ้าจักเป็นผู้ชื่อว่ามืดมาแล้วมืดไป. เพราะ

ฉะนั้นตั้งแต่บัดนี้ไป เจ้าจงงดจากปาณาติบาตเป็นต้นเสีย พระ-

โพธิสัตว์ทรมานยักษ์นั้น แล้วขู่ด้วยภัยในนรก ให้ยักษ์ตั้งอยู่

ในศีลห้า ได้ทำยักษ์ให้เหมือนคนรับใช้.

วันรุ่งขึ้นพวกมนุษย์ซึ่งเดินทาง เห็นยักษ์และทราบว่า

พระโพธิสัตว์ทรมานยักษ์สำเร็จ จึงพากันไปกราบทูลแด่พระ-

ราชาว่า ขอเดชะมีมาณพคนหนึ่งทรมานยักษ์นั้นได้ทำให้เหมือน

เป็นคนรับใช้ พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้หาพระโพธิสัตว์

แล้วทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเสนาบดี. และได้พระราชทานยศใหญ่

แก่บิดาของเขา. พระราชาทรงกระทำยักษ์ให้ได้รับพลีกรรม

แล้วตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ กระทำบุญมีทานเป็นต้น

บำเพ็ญทางไปสวรรค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 33

พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า คำ

โต้ตอบว่า ขอให้ท่านจงเป็นอยู่เถิด ได้เกิดขึ้นแล้วในกาลนั้น

แล้วทรงประชุมชาดก

พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ บิดาได้เป็น

กัสสป ส่วนบุตรได้เป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาภัคคชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 34

๖. อลีนจิตตชาดก

ว่าด้วยกัลยาณมิตร

[๑๖๑] เสนาหมู่ใหญ่อาศัยเจ้าอลีนจิต มีใจรื่นเริง

ได้จับเป็นพระเจ้าโกศล ผู้ไม่อิ่มพระทัยด้วย

ราชสมบัติของพระองค์ฉันใด

[๑๖๒] ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตรเป็นที่

พึ่งอาศัย ปรารภความเพียร เจริญกุศลธรรม เพื่อ

บรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรม

เป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับ ก็

ฉันนั้น.

จบ อลีนจิตตชาดกที่ ๖

อรรถกถาอลีนจิตตชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุคลายความเพียรรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า อลีนจิตฺต นิสฺสาย ดังนี้.

เรื่องราวจักมีแจ้งในสังวรชาดกในเอกาทสกนิบาต. ภิกษุ

นั้นเมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุได้ยินว่า เธอคลาย

ความเพียรจริงหรือ กราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 35

ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อ

ก่อนเธอได้ทำความเพียรยึดเอาราชสมบัติในกรุงพาราณสี

ประมาณ ๑๒ โยชน์ ถวายราชกุมารหนุ่มเช่นกับชิ้นเนื้อมิใช่หรือ.

เหตุไรในบัดนี้ เธอบวชในพระศาสนาเห็นปานนี้ จึงคลายความ

เพียรเสียเล่า แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล ครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ

ในกรุงพาราณสี ได้มีบ้านช่างไม้อยู่ไม่ห่างจากกรุงพาราณสี.

พวกช่างไม้ ๕๐๐ คน อาศัยอยู่ ณ ที่นั้น พวกเขาเดินเรือขึ้น

เหนือน้ำแล้วพากันเข้าไปในป่า. ตัดฟันไม้เครื่องเรือนปรุง

ปราสาทต่างชนิด มีพื้นชั้นเดียวและสองชั้นเป็นต้น ณ ที่นั้นเอง

แล้วทำเครื่องหมายไว้ในไม้ทุกชิ้น ตั้งแต่เสา ขนไปยังฝั่งแม่น้ำ

บรรทุกเรือล่องมาถึงพระนครตามกระแสน้ำ ผู้ใดต้องการเรือน

ชนิดใดก็ปรุงเรือนชนิดนั้นแก่ผู้นั้น แล้วรับเอากหาปณะกลับไป

ขนเครื่องเรือนในที่นั้นมาอีก. เมื่อเขาเลี้ยงชีวิตอยู่อย่างนี้ คราว

หนึ่งเมื่อเขาตั้งค่ายตัดฟันไม้อยู่ในป่า ในที่ไม่ไกลนักมีช้างตัวหนึ่ง

เหยียบตอตะเคียนเข้า. ตอได้แทงเท้าช้างเข้า มันเจ็บปวดเป็น

กำลัง. เท้าบวมกลัดหนอง. ช้างได้รับทุกขเวทนาสาหัส ได้ยิน

เสียงตัดฟันไม้ของพวกช่างไม้ จึงหมายใจว่าเราจักมีความสวัสดี

เพราะอาศัยพวกช่างไม้เหล่านี้ แล้วเดินสามเท้าเข้าไปหาเขา

หมอบลงใกล้ ๆ. ช่างไม้เห็นช้างมีเท้าบวม จึงตรงเข้าไปใกล้

พบตออยู่ที่เท้าแล้วใช้มีดที่คมกรีดรอบตอ ใช้เชือกดึงตอออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 36

บีบหนอง เอาน้ำอุ่นชะ ไม่นานนักที่พวกเขารักษาแผลให้หาย

ด้วยใช้ยาที่ถูกต้อง. ช้างหายเจ็บปวดจึงคิดว่า เราได้ชีวิต เพราะ

อาศัยช่างไม้เหล่านี้ เราควรช่วยเหลือตอบแทนเขา. ตั้งแต่นั้นมา

เมื่อช่างไม้นำไม้มาถาก ช้างก็ช่วยพลิกให้ส่งเครื่องมือมีมีดเป็นต้น

ให้กับพวกช่างไม้. มันใช้งวงพันจับปลายเชือกสายบรรทัด.

ในเวลาบริโภคอาหาร พวกช่างไม้ต่างก็ให้ก้อนข้าวแก่มัน

คนละปั้น ให้ถึง ๕๐๐ ปั้น. อนึ่งช้างนั้นมีลูกขาวปลอด เป็น

ลูกช้างอาชาไนย. เพราะเหตุนั้นมันจึงคิดว่า เวลานี้เราก็แก่เฒ่า

เราควรให้ลูกแก่ช่างไม้เหล่านี้. เพื่อทำงานแทนเราแล้วเข้าป่าไป.

ช้างนั้นมิได้บอกแก่พวกช่างไม้เข้าป่านำลูกมากกล่าวว่า ช้างน้อย

เชือกนี้เป็นลูกของข้าพเจ้า พวกท่านได้ช่วยชีวิตของข้าพเจ้าไว้

ข้าพเจ้าขอให้ลูกนี้เป็นบำเหน็จค่าหมอของพวกท่าน ตั้งแต่นี้ไป

ลูกนี้จักทำการงานให้พวกท่าน แล้วจึงสอนลูกว่า ดูก่อนเจ้า

ลูกน้อย ตั้งแต่นี้ไปเจ้าจงทำการงานแทนเรา ครั้นมอบลูกน้อย

ให้พวกช่างไม้แล้ว ตัวเองก็เข้าป่าไป. ตั้งแต่นั้นมา ลูกช้างก็

ทำตามคำของพวกช่างไม้ เป็นสัตว์ว่านอนสอนง่าย กระทำกิจการ

ทั่วไป. แม้พวกช่างไม้ก็เลี้ยงดูลูกช้างน้อยด้วยอาหาร ๕๐๐ ปั้น

ลูกช้างน้อยทำงานเสร็จแล้วก็ลงแม่น้ำอาบเล่นแล้วก็กลับ. พวก

เด็กช่างไม้ก็จับลูกช้างน้อยที่งวงเป็นต้น เล่นกับลูกช้างทั้งในน้ำ

และบนบก. ธรรมดาชาติอาชาไนยทั้งหลาย จะเป็นช้างก็ตาม

ม้าก็ตาม คนก็ตาม ย่อมไม่ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะลงในน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 37

เพราะฉะนั้นลูกช้างนั้นจึงไม่ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงในน้ำ

ถ่ายแต่ริมฝั่งแม่น้ำภายนอกเท่านั้น. อยู่มาวันหนึ่ง ฝนตกลงมา

เหนือแม่น้ำ. ถูกช้างที่แห้งก็ไปสู่แม่น้ำ ได้ติดอยู่ที่พุ่มไม้

แห่งหนึ่งที่ท่ากรุงพาราณสี. ครั้งนั้นพวกควาญช้างของพระราชา

นำช้าง ๕๐๐ เชือกไปด้วยประสงค์จะให้อาบน้ำ. ช้างเหล่านั้น

ได้กลิ่นคูถของช้างอาชาไนยเข้า จึงไม่กล้าลงแม่น้ำสักตัวเดียว

ชูหางพากันหนีไปทั้งหมด. พวกควาญช้างจึงแจ้งเรื่องแก่นาย

หัตถาจารย์. พวกเขาคิดกันว่าในน้ำต้องมีอันตราย จึงทำความ

สะอาดน้ำเห็นคูถช้างอาชาไนยติดอยู่ที่พุ่มไม้ ก็รู้ว่านี่เองเป็นเหตุ

ในเรื่องนี้ จึงให้นำถาดมาใส่น้ำขยำคูถลงในถาดนั้นแล้วให้รด

จนทั่วตัวช้างทั้งหลาย. ตัวช้างก็มีกลิ่นหอม. ช้างเหล่านั้นจึง

ลงอาบน้ำกันได้. นายหัตถาจารย์ทูลเล่าเรื่องราวนั้นแด่พระราชา

แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะพระองค์ควรสืบหาช้างอาชาไนยนั้น

นำมาเถิดพระเจ้าข้า.

พระราชาเสด็จสู่แม่น้ำด้วยเรือขนาน เมื่อเรือขนานแล่น

ไปถึงตอนบน ก็บรรลุถึงที่อยู่ของพวกช่างไม้. ลูกช้างกำลัง

เล่นน้ำอยู่ได้ยินเสียงกลอง จึงกลับไปยืนอยู่กับพวกช่างไม้.

พวกช่างไม้ถวายการต้อนรับพระราชาแล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ

หากพระองค์มีพระประสงค์ด้วยไม้ เหตุไรต้องเสด็จมา จะทรง

ส่งคนให้ขนไปไม่ควรหรือพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่ง นี่แน่

พนาย เรามิได้มาเพื่อประสงค์ไม้ดอก แต่เรามาเพื่อต้องการช้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 38

เชือกนี้. พวกช่างไม้กราบทูลว่า ขอเดชะโปรดให้จับไปเถิด

พระเจ้าข้า. ลูกช้างไม่ปรารถนาจะไป. พระราชารับสั่งถามว่า

ช้างจะให้ทำอย่างไรเล่า พนาย. พวกเขากราบทูลว่า ขอเดชะ

ช้างจะให้พระราชทานค่าเลี้ยงดูแก่ช่างไม้พระเจ้าข้า. พระราชา

รับสั่งว่า ตกลงพนาย แล้วโปรดให้วางกหาปณะลงที่เท้าช้าง

ทั้ง ๔ ข้าง ที่งวงและที่หางแห่งละแสนกหาปณะ แม้เพียงนี้

ช้างก็ไม่ไป ครั้นพระราชทานผ้าคู่แก่ช่างไม้ทั้งหมด พระราชทาน

ผ้าสาฎกสำหรับทั้งนุ่งแก่ภรรยาช่างไม้ แม้เพียงนี้ก็ไม่ไป ต่อเมื่อ

พระราชทานเครื่องบริหารสำหรับเด็ก แก่เด็กชายหญิงที่เล่น

อยู่ด้วยกัน ลูกช้างจึงเหลียวไปดูพวกช่าง เหล่าสตรีและพวกเด็ก

แล้วเดินไปกับพระราชา. พระราชาทรงพาไปถึงพระนคร รับสั่ง

ให้ประดับพระนครและโรงช้าง ทรงให้ช้างกระทำปทักษิณ

พระนคร แล้วให้เข้าไปโรงช้าง ทรงประดับด้วยเครื่องประดับ

ทั้งปวง ทรงทำการอภิเษกยกขึ้นเป็นราชพาหนะ ทรงตั้งไว้ใน

ฐานะเป็นสหายของพระองค์ พระราชทานราชสมบัติกึ่งหนึ่ง

แก่ช้าง ได้ทรงกระทำการเลี้ยงดูเสมอด้วยพระองค์. ตั้งแต่ช้าง

มา ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์

ของพระราชาทั้งสิ้นเชิง.

ครั้นกาลเวลาผ่านไปอย่างนี้ พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิ

ในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระราชาพระองค์นั้น. ใน

เวลาที่พระนางทรงครรภ์แก่ พระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 39

หากพญาช้างพึงรู้ว่าพระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว หัวใจของ

พญาช้างก็จะต้องแตกทำลายไป ณ ที่นั้นเอง. ดังนั้นพวกคนเลี้ยง

ช้างจึงบารุงมิให้พญาช้างรู้ว่า พระราชาได้สวรรคตเสียแล้ว.

ฝ่ายพระเจ้ากรุงโกศล ซึ่งมีพระราชอาณาจักรใกล้เคียงกัน

ทรงสดับข่าวว่า พระราชาสวรรคตแล้ว ทรงดำริว่า นัยว่า

ราชสมบัติกรุงพาราณสีว่างผู้ครอง จึงยกกองทัพใหญ่ล้อม

พระนคร. ชาวพระนครพากันปิดประตูเมือง ส่งสาส์นถวาย

พระเจ้ากรุงโกศลว่า พระอัครมเหสีของพระราชาของพวก

ข้าพเจ้าทรงครรภ์แก่. พวกโหรทานายว่า จากนี้ไปเจ็ดวัน

พระอัครมเหสีจักคลอดพระโอรส พวกข้าพเจ้าจักขอรบในวันที่

เจ็ด จักไม่มอบราชสมบัติให้ ขอได้โปรดทรงรอไว้ชั่วเวลา

เพียงเท่านี้. พระเจ้ากรุงโกศลทรงรับว่า ตกลง ครั้นถึงวันที่เจ็ด

พระเทวีประสูติพระโอรส. ก็ในวันขนานพระนาม มหาชนได้

ขนานพระนามพระโอรสว่า อลีนจิตตราชกุมาร เพราะพระโอรส

ทรงบันดาลให้จิตท้อแท้ของมหาชนมีขวัญดีขึ้น. ตั้งแต่วันที่เจ็ด

พระโอรสประสูติ ชาวพระนครของพระองค์ก็สู้รบกับพระเจ้า

กรุงโกศล. เพราะขาดผู้นำ แม้จะมีกำลังต่อสู้มากมายเพียงไร

เมื่อต่อสู้ไปก็ถอยกำลังลงทีละน้อย ๆ. พวกอำมาตย์พากัน

กราบทูลความนั้นแด่พระเทวี แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า

เมื่อกาลังลดถอยลงอย่างนี้ พวกข้าพเจ้าเกรงว่าจะแพ้สงคราม.

มงคลหัตถีสหายของพระราชา มิได้รู้ว่าพระราชาสวรรคต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 40

พระโอรสประสูติพระเจ้ากรุงโกศลเสด็จมาทำสงคราม.

พวกข้าพเจ้าจะบอกให้พญาช้างนั้นรู้ดีไหมพระเจ้าข้า. พระเทวี

รับสั่งว่าดีแล้ว จึงตกแต่งพระโอรสให้บรรทมเหนือพระอู่บุด้วย

ภูษาเนื้อดี เสด็จลงจากปราสาท มีหมู่อำมาตย์แวดล้อม เสด็จ

ถึงโรงพญาช้างให้พระโพธิสัตว์บรรทมใกล้ ๆ พญาช้าง แล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนพญามงคลหัตถี พระสหายของท่านสวรรคตเสีย

แล้ว พวกข้าพเจ้ามิได้บอกเพราะเกรงว่าท่านจะหัวใจแตก

ทำลาย นี่คือพระราชโอรสแห่งพระสหายของท่าน พระเจ้าโกศล

เสด็จมาล้อมพระนคร ต่อสู้กับพระโอรสของท่าน ไพร่พลหย่อน

กำลัง ท่านอย่าปล่อยให้พระโอรสของท่านตายเสียเลย จงยึด

ราชสมบัติถวายแก่เธอเถิด. ขณะนั้นพญามงคลหัตถีก็เอางวง

ลูบคลำพระโพธิสัตว์ แล้วยกขึ้นประดิษฐานไว้เหนือกระพอง

ร้องไห้คร่ำครวญ แล้วางวางพระโพธิสัตว์ให้บรรทมบนพระหัตถ์

ของพระเทวี แล้วออกจากโรงช้างไป หมายใจว่าจักจับพระเจ้า

กรุงโกศล. ลำดับนั้นพวกอำมาตย์จึงสวมเกราะ ตกแต่งพญาช้าง

เปิดประตูพระนคร พากันห้อมล้อมพญาช้างนั้นออกไป. พญา-

มงคลหัตถีครั้นออกจากพระนครแล้ว ก็แผดเสียงโกญจนาถ

ยังมหาชนให้หวาดสะดุ้งพากันหนีทำลายค่ายข้าศึก คว้าพระเมาลี

พระเจ้ากรุงโกศลไว้ได้แล้วพามาให้หมอบลง ณ บาทมูลของ

พระโพธิสัตว์ ครั้นหมู่ทหารเข้ารุมล้อมเพื่อฆ่าพระเจ้ากรุงโกศล

พญาช้างก็ห้ามเสียแล้วถวายโอวาทว่า ตั้งแต่นี้ไปพระองค์อย่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 41

ประมาท อย่าสำคัญว่าพระกุมารนี้ยังเป็นเด็ก แล้วจึงกลับไป-

ตั้งแต่นั้นมาราชสมบัติทั่วชมพูทวีป ก็ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์

ของพระโพธิสัตว์. ขึ้นชื่อว่าข้าศึกปัจจามิตรอื่น ๆ ไม่สามารถ

จะเผชิญได้เลย.

พระโพธิสัตว์ได้รับการอภิเษกในเมื่อพระชนม์ได้ ๗

พระพรรษา ทรงพระนามว่า อลีนจิตตราช ทรงปกครองราช-

สมบัติโดยธรรม ทรงบำเพ็ญทางไปสวรรค์จนวาระสุดท้าย

พระชนม์ชีพ.

พระศาสดาทรงนำอดีตนี้มา เมื่อทรงบรรลุพระสัมมา-

สัมโพธิญาณ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

เสนาหมู่ใหญ่อาศัยเจ้าอลีนจิต มีใจรื่นเริง

ได้จับเป็นพระเจ้าโกศล ผู้ไม่ทรงอิ่มด้วยราช-

สมบัติฉันใด.

ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตรเป็นที่

พึ่งอาศัย ปรารภความเพียรเจริญกุศลธรรม เพื่อ

บรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรม

เป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับ ก็

ฉันนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อลีนจิตฺต นิสฺสาย ได้แก่อาศัย

พระอลีนจิตราชกุมาร. บทว่า ปหฏฺา มหตี จมู ความว่า เสนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 42

หมู่ใหญ่ต่างพากันรื่นเริงยินดีว่า เราได้ราชสมบัติสืบสายราช-

ประเพณีคืนมาแล้ว. บทว่า โกสล เสนาสนฺตฺฏฺ พระเจ้ากรุง-

โกศล ผู้ไม่ทรงอิ่มด้วยราชสมบัติของพระองค์ เสด็จมาด้วย

ทรงโลภในราชสมบัติของผูอื่น. บทว่า ชีวคาห อคาหยิ ความว่า

เสนานั้นขอให้พญาช้างจับเป็นพระราชาอย่าฆ่า. บทว่า เอว

นิสฺสยสมฺปนฺโน ความว่า เสนานั้นฉันใด กุลบุตรแม้อื่นซึ่ง

สมบูรณ์ด้วยนิสัยได้กัลยาณมิตรซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าก็ดี สาวก

ของพระพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี ให้เป็นที่พึ่งอาศัย

ก็ฉันนั้น. บทว่า ภิกขุ นี้เป็นชื่อของผู้บริสุทธิ์. บทว่า อารทฺธวีริโย

ได้แก่ เป็นผู้ประคองความเพียร คือประกอบด้วยความเพียรอัน

ปราศจากโทษสี่ประการ. บทว่า ภาวย กุสล ธมฺม ความว่า

เมื่อเจริญธรรมอันเป็นกุศล คือ ไม่มีอาลัย ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม

๓๗ ประการ. บทว่า โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา ได้แก่ เจริญธรรม

นั้นเพื่อบรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ ๔. บทว่า ปาปุเณ

อนุปุพฺเพ สพฺพสโยชนกฺขย ความว่า ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วย

อุปนิสัยอันเป็นกัลยาณมิตรนั้น เมื่อเจริญกุศลธรรมนี้ ตั้งแต่การ

เห็นแจ้งอย่างนี้ ก็จะบรรลุวิปัสสนาญาณโดยลำดับ และมรรคผล

เบื้องต่ำ ในที่สุดย่อมบรรลุพระอรหัต กล่าวคือการสิ้นสังโยชน์

ทั้งหมด เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นไปของ

สังโยชน์ ๑๐. อนึ่งเพราะสังโยชน์ทั้งหมดสิ้นไป เพราะอาศัย

พระนิพพาน ฉะนั้น พระนิพพานนั้นก็เป็นอันสิ้นสังโยชน์ทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 43

อธิบายว่า ภิกษุย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งหมด อัน

ได้แก่พระนิพพานด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวบยอดแห่งพระธรรมเทศนา

ด้วยอมตมหานิพพาน ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงทรงประกาศ

สัจธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วจึงทรงประชุมชาดก.

ในเมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้คลายความเพียร ได้บรรลุ

พระอรหัต. พระมารดาในครั้งนั้นได้เป็นพระมหามายา. พระบิดา

ได้เป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราช. พญาช้างซึ่งช่วยให้ได้ราช-

สมบัติ ได้เป็นภิกษุผู้คลายความเพียรรูปนี้. บิดาของพญาช้าง

ได้เป็นสาริบุตร. ส่วนอลีนจิตตราชกุมาร ได้เป็นเราตถาคต

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาอลีนจิตตชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 44

๗. คุณชาดก

ว่าด้วยมิตรธรรม

[๑๖๓] ผู้เป็นใหญ่ย่อมขับไล่ผู้น้อยได้ตามความ

ต้องการของตน นี่เป็นธรรมดาของผู้มีกำลัง นาง

มฤคีผู้มีฟันคมแหลมของท่านได้คุกคามบุตรและ

ภรรยาของเรา ขอท่านจงทราบเถิด ภัยเกิดแต่ที่

พึ่งแล้ว

[๑๖๔] ถ้าผู้ใดเป็นมิตรแม้จะมีกำลังน้อย แต่ตั้ง

อยู่ในมิตรธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นญาติ เป็นเผ่าพันธุ์

เป็นมิตรและเป็นสหายของเรา และนางมฤคี

ท่านอย่าดูหมิ่นสหายของเราอีกนะ เพราะว่า

สุนัขจิ้งจอกตัวนี้ให้ชีวิตเราไว้.

จบ คุณชาดกที่ ๗

อรรถกถาคุณชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

พระอานนทเถระได้ผ้าสาฎกพันผืน ตรัสพระธรรมเทศนานี้มี

คำเริ่มต้นว่า เยน กาม ปณาเมติ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 45

เรื่องพระเถระบอกธรรมภายในพระราชวังของพระเจ้า

กรุงโกศลมาแล้วในมหาสารชาดกในตอนหลัง

พระเถระเมื่อบอกธรรมอยู่ภายในพระราชวังของพระราชา

ได้มีผู้นำผ้าสาฎกพันผืน ราคาผืนละพันมาถวายแด่พระราชา

พระราชาได้พระราชทานผ้าสาฎก ๕๐๐ ผืนแก่พระเทวี ๕๐๐ นาง

ทุก ๆ นางเก็บผ้าสาฎกเหล่านั้นไว้ ในวันรุ่งขึ้นได้นำไปถวาย

แด่พระอานนทเถระ ตนเองห่มผ้าสาฎกเก่า ๆ ไปเฝ้าปฏิบัติ

พระราชาในตอนเช้า. พระราชาตรัสถามว่า เราให้ผ้าสาฎก

ราคาตั้งพันแก่พวกเจ้า เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่ห่มผ้าเหล่านั้น

มา. ขอเดชะฝ่าละอองทุลีพระบาท พวกหม่อมฉันได้ถวายผ้า

เหล่านั้นแก่พระเถระเสียแล้วเพคะ. พระอานนทเถระรับไว้

ทั้งหมดหรือ. รับไว้ทั้งหมดเพคะ. พระราชาทรงกริ้วพระเถระว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตจีวรเพียง ๓ ผืน พระอานนท-

เถระเห็นจักทาการค้าผ้า ท่านจึงรับผ้าไว้มากมายนัก เสวย

พระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว จึงเสด็จไปพระวิหาร เสด็จไปยัง

ที่อยู่ของพระเถระ ทรงนมัสการพระเถระ แล้วประทับนั่ง

ตรัสถามว่า พระคุณเจ้า พวกหญิงในเรือนของข้าพเจ้ายังฟังธรรม

หรือเรียนธรรมในสำนักของท่านอยู่หรือ. ยังฟังธรรมหรือเรียน

ธรรมอยู่ พวกหญิงเหล่านั้นเรียนสิ่งที่ควรเรียน ฟังสิ่งที่ควรฟัง

ถวายพระพร. พวกเธอฟังเท่านั้นหรือถวายผ้านุ่งผ้าห่มแก่พระ-

คุณเจ้าด้วย. ขอถวายพระพร วันนี้พวกหญิงเหล่านั้นได้ถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 46

ผ้าสาฎกราคาหนึ่งพันประมาณ ๕๐๐ ผืน. พระคุณเจ้ารับไว้หรือ.

ขอถวายพระพรอาตมารับไว้. พระคุณเจ้าพระศาสดาทรงอนุญาต

ผ้าไว้เพียง ๓ ผืน เท่านั้นมิใช่หรือ. ขอถวายพระพรถูกแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตจีวร ๓ ผืนเท่านั้นแก่ภิกษุรูป

หนึ่งโดยหลักการสำหรับใช้ แต่มิได้ทรงห้ามการรับ เพราะฉะนั้น

อาตมารับผ้านั้นไว้ก็เพื่อถวายแก่ภิกษุซึ่งมีจีวรเก่ารูปอื่น. ก็

ภิกษุเหล่านั้นได้ผ้าไปจากพระคุณเจ้าแล้ว จักทำอะไรกับ

จีวรผืนเก่า. ขอถวายพระพรจักทำจีวรผืนเก่าเป็นผ้าห่ม. พระ-

คุณเจ้า ผ้าห่มผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอถวายพระพรจัก

ทำเป็นผ้านุ่ง. พระคุณเจ้า ผ้านุ่งผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอ

ถวายพระพรจักทำเป็นผ้าปูนอน. พระคุณเจ้าผ้าปูนอนผืนเก่าเล่า

จักทาเป็นอะไร. ขอถวายพระพร จักทำเป็นผ้าปูพื้น. พระคุณเจ้า

ผ้าปูพื้นผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอถวายพระพรจักทำเป็น

ผ้าเช็ดเท้า. พระคุณเจ้าผ้าเช็ดเท้าผืนเก่าเล่า จักทำเป็นอะไร.

ขอถวายพระพร ธรรมดาของที่ถวายด้วยศรัทธาจะทาให้เสียไป

ไม่ควร เพราะฉะนั้นภิกษุทั้งหลายจักสับผ้าเช็ดเท้าผืนเก่า ผสม

กับดินเหนียวฉาบทาที่เสนาสนะ. พระคุณเจ้าของที่ถวายท่านแล้ว

ย่อมไม่ได้ความเสียหาย โดยที่สุดแม้กระทั่งผ้าเช็ดเท้าหรือ.

ขอถวายพระพรถูกแล้วแม้ผ้าที่ถวายอาตมาก็มิได้เสียหาย ย่อม

เป็นของใช้สอยทั้งนั้น. พระราชาทรงชื่นชมโสมนัสยิ่งนักรับสั่ง

ให้จ่ายผ้าอีก ๕๐๐ ผืนที่เก็บไว้ในพระตำหนักมาถวายพระเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 47

ครั้นทรงฟังอนุโมทนาแล้ว จึงทรงนมัสการพระเถระกระทำ

ประทักษิณ แล้วเสด็จกลับ.

พระเถระก็ได้ถวายผ้าสาฎก ๕๐๐ ผืนที่ได้มาครั้งแรกแก่

ภิกษุผู้มีจีวรเก่า. อนึ่งพระเถระมีสัทธิงวิหาริกอยู่ประมาณ

๕๐๐. บรรดาท่านเหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมีอุปการะแก่

พระเถระมาก เช่นกวาดบริเวณสถานที่ เข้าไปตั้งน้ำใช้น้ำฉัน

ถวายไม้สีฟัน น้ำล้างหน้าและน้ำสรง ชำระล้างวัจจกุฏี จัด

เรือนไฟและเสนาสนะ. นวดมือ นวดเท้า นวดหลังเป็นต้น. พระ-

เถระได้ถวายผ้า ๕๐๐ ผืน ที่ได้ครั้งหลังทั้งหมดแก่ภิกษุหนุ่ม

รูปนั้นด้วยเห็นเหมาะสมว่า ภิกษุหนุ่มรูปนี้เป็นผู้มีอุปการะมาก.

แม้ภิกษุรูปนั้นก็ได้สบงผ้าเหล่านั้นทั้งหมด ถวายแก่ภิกษุผู้ร่วม

อุปัชฌาย์ของตน.

ื ภิกษุทั้งหลายผู้ได้ผ้าสาฎกเหล่านั้นทั้งสิ้น ก็ตัดย้อม

แล้วนุ่งและห่มผ้ากาสายะอันมีสีดุจดอกกรรณิกา พากันเข้าไป

เฝ้าพระศาสดา นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ พระอริยสาวกชั้นโสดาบัน ยังมีการให้เห็นแก่หน้า

อยู่หรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระอริยสาวกให้เพราะเห็นแก่หน้านั้นไม่มี. ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระผู้เป็นธรรมภัณ-

ฑาคาริก (คลังธรรม) อุปัชฌายะของข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้

ผ้าสาฎก ๕๐๐ ผืนราคาหนึ่งพันแก่ภิกษุรูปเดียวเท่านั้น แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 48

ภิกษุหนุ่มรูปนั้นได้แบ่งผ้าที่ตนได้ให้แก่พวกข้าพระองค์พระ-

เจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์มิได้ให้

แก่ภิกษุเพราะเห็นแก่หน้า แต่ว่าภิกษุหนุ่มรูปนั้นมีอุปการะแก่

เธอมาก เพราะฉะนั้นเธอคิดเห็นด้วยอำนาจอุปการะของผู้อุปการะ

แก่ตนว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้มีอุปการะเราควรทำอุปการะตอบด้วย

อำนาจคุณและด้วยอำนาจการกระทำอันเหมาะสม จึงได้ให้

ด้วยความกตัญญูกตเวที ด้วยประการฉะนี้.

อันที่จริงบัณฑิตแต่ก่อนก็ยังทำอุปการะตอบแก่ผู้มี

อุปการะแก่ตนเหมือนกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรง

นำเรื่องในอดีตมาตรัสว่า

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นราชสีห์ อาศัยอยู่

ในถ้ำเขา. วันหนึ่งราชสีห์นั้นออกจากถ้ำยืนอยู่บนยอดเขามองดู

เชิงเขา. ได้มีสระใหญ่ล้อมรอบเชิงเขานั้น. ในที่ดอนแห่งหนึ่ง

ของสระนั้น มีหญ้าเขียวอ่อนเกิดขึ้นบนหลังเปือกตมอันแห้ง.

จำพวกเนื้อเล็ก ๆ เป็นต้นว่า กระต่าย แมว และสุนัขจิ้งจอก

เที่ยวและเล็มหญ้าเหล่านั้นบนหลังเปือกตมแห้ง. แม้ในวันนั้น

เนื้อตัวหนึ่งก็เที่ยวและเล็มหญ้านั้น. ราชสีห์คิดว่า จักจับเนื้อนั้น

กินเสีย จึงกระโดดลงจากยอดเขา วิ่งไปด้วยกำลังของราชสีห์.

เนื้อกลัวตายส่งเสียงร้องหนีไป. ราชสีห์ไม่สามารถยั้งความเร็ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 49

ไว้ได้ จึงตกจมลงไปเหนือเปือกตมแห้ง ไม่สามารถจะขึ้นได้.

ได้ยืนปักเท้าทั้งสี่เหมือนเสา อดอาหารอยู่เจ็ดวัน.

ลำดับนั้น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเที่ยวหาอาหาร ครั้นเห็น

ราชสีห์นั้นเข้าจึงหนีไปด้วยความกลัว. ราชสีห์เห็นสุนัขจิ้งจอก

จึงร้องเรียกแล้วพูดว่า พ่อมหาจำเริญสุนัขจิ้งจอกอย่าหนีเลย.

ข้าพเจ้าติดหล่ม. ช่วยข้าพเจ้าด้วยเถิด. สุนัขจิ้งจอกจึงวิ่งเข้าไป

หาราชสีห์แล้วพูดว่า ข้าพเจ้าจะช่วยยกท่านขึ้น แต่เมื่อข้าพเจ้า

ยกท่านขึ้นมาแล้ว ข้าพเจ้าเกรงว่าท่านจะกินข้าพเจ้าเสียนะซิ.

ราชสีห์พูดว่า อย่ากลัวเลย ข้าพเจ้าจะไม่กินท่านดอก. แต่ข้าพเจ้า

จักสนองคุณท่าน ท่านจงหาทางยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด. สุนัขจิ้งจอก

รับคำปฏิญญาของราชสีห์แล้ว จึงตะกุยเลนรอบเท้าทั้งสี่ ขุดเป็น

ลารางสี่ตอนของเท้าทั้งสี่แล้วทาให้น้ำไหลเข้าไป. น้ำไหลเข้าไป

ทำให้เลนอ่อน. ขณะนั้นสุนัขจิ้งจอกจึงเข้าไประหว่างท้องของ

ราชสีห์ ร้องบอกว่า พยายามเถิดนาย เอาศีรษะดุนท้อง. ราชสีห์

ออกกำลังโดดขึ้นจากหล่มวิ่งไปยืนอยู่บนบก.

ราชสีห์พักอยู่ครู่หนึ่ง จึงลงไปสู่สระอาบน้ำชำระโคลน

ตมหายเหนื่อยแล้ว จึงฆ่าควายได้ตัวหนึ่ง จึงเอาเขี้ยวฉีกเนื้อ

วางไว้ข้างหน้าสุนัขจิ้งจอกพร้อมกับพูดว่า กินเสียเถิดสหาย

เมื่อสุนัขจิ้งจอกกินแล้ว ตัวจึงกินภายหลัง. สุนัขจิ้งจอกกัดชิ้น

เนื้อชิ้นหนึ่งคายไว้. ราชสีห์ถามว่า ทำดังนี้เพื่อประสงค์อะไร

สหาย สุนัขจิ้งจอกตอบว่า ทาสีของข้าพเจ้ายังมีอยู่ ชิ้นนี้จัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 50

เป็นส่วนของเธอ. ราชสีห์กล่าวว่า เอาไปเถิด แม้ตนเองก็คาบ

เนื้อไปเพื่อนางราชสีห์ แล้วกล่าวว่า มาเถิดสหาย เราจักไปบน

ยอดเขา ไปยังที่อยู่ของนางสหายของเรา แล้วพากันไป ณ ที่นั้น

ให้นางราชสีห์กินเนื้อแล้วปลอบสุนัขจิ้งจอกและนางสุนัขจิ้งจอก

ว่า ตั้งแต่นี้ไป เราจักปฏิบัติท่าน แล้วนำไปยังที่อยู่ของตน ให้

สุนัขจิ้งจอกสองผัวเมียอยู่ในถ้ำอีกถ้ำหนึ่งใกล้ประตูถ้ำ. ตั้งแต่

นั้นมาเมื่อราชสีห์ไปหาอาหาร ก็ให้นางราชสีห์และนางสุนัข

จิ้งจอกอยู่เฝ้าถ้ำ ตนเองไปกับสุนัขจิ้งจอกฆ่าเนื้อต่างชนิด ทั้งสอง

ตัวกินเนื้อด้วยกัน ณ ที่นั้น แล้วนำมาให้นางราชสีห์และนาง

สุนัขจิ้งจอก. เมื่อกาลเวลาผ่านไป นางราชสีห์คลอดลูกออก

สองตัว. แม้นางสุนัขจิ้งจอกก็คลอดลูกออกสองตัวเหมือนกัน.

สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด อยู่กลมเกลียวกันเป็นอย่างดี. อยู่มาวันหนึ่ง

นางราชสีห์ได้เฉลียวใจว่า ราชสีห์นี้ดูรักนางสุนัขจิ้งจอกและ

ลูกสุนัขจิ้งจอกเสียเหลือเกิน ชะรอยราชสีห์นี้จะมีการเชยชม

กับนางสุนัขจิ้งจอกก็เป็นได้ จึงรักกันถึงอย่างนี้. ถ้ากระไร

เราจะเบียดเบียนคุกคามให้สุนัขจิ้งจอกหนีไปจากที่นี้ให้ได้.

ครั้นถึงเวลาที่ราชสีห์พาสุนัขจิ้งจอกไปหาอาหาร นางราชสีห์จึง

เบียดเบียนคุกคามนางสุนัขจิ้งจอกว่า ทำไมเจ้าจึงอยู่ในที่นี้

ไม่หนีไปเสีย. แม้ลูก ๆ ของนางราชสีห์ก็คุกคามลูก ๆ ของนาง

สุนัขจิ้งจอกเหมือนกัน. นางสุนัขจิ้งจอกจึงบอกเรื่องนั้นแก่สุนัข

จิ้งจอกแล้วกล่าวว่า เรารู้ไม่ได้ว่า นางราชสีห์นี้ได้ทำตามคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 51

ของราชสีห์ เราอยู่มานานแล้ว เรากลับไปที่อยู่ของเราเถิด.

สุนัขจิ้งจอกฟังคำของนางสุนัขจิ้งจอก จึงเข้าไปหาราชสีห์

กล่าวว่า นาย เราอยู่ในสำนักของท่านมานานแล้ว ธรรมดาผู้ที่อยู่

นาน ๆ นักย่อมไม่เป็นที่พอใจ ในเวลาที่เราออกไปหาอาหารกัน

นางราชสีห์เบียดเบียนขู่นางสุนัขจิ้งจอกว่า ทำไมเจ้าจึงอยู่ใน

ที่นี้ไม่หนีไปเสีย. แม้ลูกราชสีห์ก็คุกคามลูกสุนัขจิ้งจอก ผู้ใด

ไม่ชอบให้ผู้ใดอยู่ในสำนักตน ผู้นั้นพึงขับไล่เขาว่าจงไปเสียดีกว่า

รบกวนกันมีประโยชน์อะไร แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

ผู้เป็นใหญ่ย่อมขับไล่ผู้น้อยได้ตามความ

ต้องการของตน นี่เป็นธรรมดาของผู้มีกำลัง

นางมฤคีผู้มีฟันคมแหลมของท่าน ได้คุกคาม

บุตรภรรยาของเรา ขอท่านจงทราบเถิด ภัยเกิด

แต่ที่พึ่งแล้ว.

ราชสีห์ได้ฟังคำของนางสุนัขจิ้งจอกแล้ว จึงกล่าวกะนาง

ราชสีห์ว่า นี่แน่ะน้อง เมื่อครั้งกระโน้น เจ้ายังระลึกได้ไหมว่า

เราไปหาอาหาร พอถึงวันที่เจ็ดได้มากับสุนัขจิ้งจอก และนาง

สุนัขจิ้งจอกนี้. จำได้จ้ะ. เจ้ารู้ถึงเหตุที่เรามิได้มาตลอด ๗ วัน

หรือ. ไม่รู้จ้ะ. นี้แน่น้อง เราไปด้วยตั้งใจว่าจักจับเนื้อสักตัวหนึ่ง

แล้วพลาดลงไปติดหล่ม ไม่อาจจะขึ้นมาได้จากนั้นได้ยืนอดอาหาร

อยู่ ๗ วัน. เรารอดชีวิตมาได้เพราะอาศัยสุนัขจิ้งจอกนี้. สุนัข

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 52

จิ้งจอกนี้เป็นสหายช่วยชีวิตเรา. จริงอยู่ผู้สามารถจะตั้งอยู่ใน

ธรรมของมิตร ชื่อว่ามีกำลังน้อยไม่มีเลย. ตั้งแต่นี้ไป เจ้าอย่า

ได้หมิ่นสหายของเรา นางสุนัขจิ้งจอกและลูกน้อย แล้วราชสีห์

จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

ถ้าผู้ใดเป็นมิตร แม้จะมีกำลังน้อย แต่

ตั้งอยู่ในมิตรธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นญาติ เป็นเผ่า

พันธ์ เป็นมิตรและเป็นสหายของเรา แนะนาง

มฤคี ท่านอย่าดูหมิ่นสหายของเราอีกนะ เพราะ

ว่าสุนัขจิ้งจอกตัวนี้ให้ชีวิตเรา.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อปิ เจปิ ได้แก่ อปิศัพท์หนึ่งเป็น

อนุคคหัตถะ (อรรถว่า คล้อยตาม) ศัพท์หนึ่งเป็นสัมภาวนัตถะ

(อรรถว่ายกย่อง). ในศัพท์นั้นโยชนาแก้ว่า หากผู้ใดเป็นมิตร

แม้จะมีกำลังน้อย แต่ตั้งอยู่ในมิตรธรรม คือ หากสามารถตั้งอยู่

ได้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นญาติ เป็นเผ่าพันธุ์ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมิตรเพราะ

มีจิตเมตตาและชื่อว่าเป็นสหาย เพราะอยู่ร่วมกัน. บทว่า ทาินิ

มาติมญฺิโวฺห ความว่า ดูก่อนแม่ราชสีห์ผู้มีเขี้ยวงาม เจ้าอย่า

ดูหมิ่นสหายของเรา และนางสุนัขจิ้งจอกเลย เพราะสุนัขจิ้งจอก

ให้ชีวิตเราไว้.

นางราชสีห์ฟังคำของราชสีห์แล้วจึงขอโทษสุนัขจิ้งจอก

ตั้งแต่นั้นมาก็อยู่กลมเกลียวกันกับนางสุนัขจิ้งจอกนั้นพร้อมทั้งลูก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 53

แม้ลูกราชสีห์ก็เล่นหัวกับลูกสุนัขจิ้งจอก แม้เมื่อพ่อแม่ซึ่งชื่นชอบ

กันได้ล่วงลับไปแล้ว ก็ไม่ทำลายความเป็นมิตรต่อกัน อยู่กันอย่าง

รื่นเริงบันเทิงใจ. นัยว่าไมตรีของสัตว์เหล่านั้นมิได้แตกทำลาย

ได้เป็นไปชั่วเจ็ดตระกูล.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประกาศ

อริยสัจ ทรงประชุมชาดก.

ในเมื่อจบอริยสัจ ภิกษุบางพวกได้เป็นโสดาบัน บางพวก

ได้เป็นสกทาคามี บางพวกเป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็น

พระอรหัต. สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์. ส่วนราชสีห์

ได้เป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาคุณชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 54

๘. สุหนุชาดก

เปรียบเทียบม้า ๒ ม้า

[๑๖๕] การที่ม้าโกงสุหนุกระทำความรักกับม้า

โสณะนี้ ย่อมมีด้วยปกติที่ไม่เสมอกันก็หามิได้

ม้าโสณะเป็นเช่นใด แม้ม้าสุหนุก็เป็นเช่นนั้น

ม้าโสณะมีความประพฤติเช่นใด ม้าสุหนุก็มี

ความประพฤติเช่นนั้น

[๑๖๖] ม้าทั้งสองนั้น ย่อมเสมอกันด้วยการวิ่ง

ไปด้วยความคะนอง และด้วยกัดเชือกที่ล่ามอยู่

เป็นนิจ ความชั่วย่อมสมกับความชั่ว ความไม่

ดีย่อมสมกับความไม่ดี.

จบ สุหนุชาดกที่ ๘

อรรถกถาสุหนุชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

ภิกษุดุร้ายสองรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นยิท

วิสมสีเลน ดังนี้.

ความพิสดารมีว่า ในสมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งแม้ในพระ-

วิหารเชตวัน ได้เป็นผู้ดุร้ายหยาบคายอย่างสาหัส. ในชนบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 55

ก็ได้มีภิกษุรูปหนึ่งดุร้าย. ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุที่อยู่ในชนบทได้

ไปพระวิหารเชตวันด้วยกรณียกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง. บรรดา

สามเณรและภิกษุหนุ่มรู้ว่า ภิกษุชาวชนบทรูปนั้นดุร้าย จึงส่ง

ภิกษุรูปนั้นไปยังที่อยู่ของภิกษุรูปที่อยู่สำนักพระเชตวัน ด้วย

แตกตื่นว่า จักเห็นภิกษุดุร้ายสองรูปนั้นทะเลาะกัน. ภิกษุทั้ง

๒ รูปนั้น ครั้นเห็นกันและกันแล้วก็สามัคคีกัน อยู่ชื่นชมกันด้วย

ความรัก ได้กระทำกิจมีนวดมือ นวดเท้า และนวดหลังให้กัน

และกัน.

ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อน

อาวุโส ภิกษุดุร้ายสองรูป เป็นผู้ดุร้ายหยาบคายอย่างสาหัสต่อ

ผู้อื่น แต่ทั้งสองรูปนั้นมีความสามัคคีกัน ชื่นชมกันอยู่ด้วยความ

รักต่อกันและกัน. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้

เท่านั้น แม้เมื่อก่อนภิกษุสองรูปนี้ก็ดุร้าย หยาบคายอย่างสาหัส

แต่ครั้นเห็นกันแล้วก็สามัคคีกัน ชื่นชอบกันด้วยความรัก แล้ว

ทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์สำเร็จราชการในทุกอย่าง

เป็นผู้ถวายอรรถถวายธรรมแด่พระราชา. ส่วนพระราชาพระองค์

นั้น ปกติทรงละโมภพระราชทรัพย์อยู่หน่อย. พระองค์มีม้าโกง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 56

ชื่อมหาโสณะ คราวนั้นพวกพ่อค้าม้าชาวอุตตราบถนำม้ามา

๕๐๐ ตัว. พวกอำมาตย์กราบทูลถึงเรื่องที่ม้ามาถวายพระราชา

ให้ทรงทราบ. ก็แต่ก่อนพระโพธิสัตว์ตีราคาม้าให้ทรัพย์ไม่ทำ

ราคาให้ตก (ไม่ลดค่าม้า). พระราชาทรงเห็นพระโพธิสัตว์ไม่ต่อ

ราคาให้ลด จึงตรัสเรียกอำมาตย์คนอื่นมาแล้วตรัสว่า นี่แน่เจ้า

เจ้าจงตีราคาม้า และเมื่อจะตีราคาจงปล่อยม้ามหาโสณะเข้าไป

ในระหว่างม้าเหล่านั้นก่อน แล้วให้กัดม้าทำให้เป็นแผล ในเมื่อ

ม้าพิการ จงต่อราคาให้ลดลง. อำมาตย์นั้นรับพระราชบัญชา

ได้กระทำตามพระราชประสงค์. พ่อค้าม้าทั้งหลาย ไม่พอใจ

จึงเล่าถึงกิริยาที่อำมาตย์นั้นทำให้พระโพธิสัตว์ทราบ. พระ-

โพธิสัตว์ถามว่า ในเมืองของพวกท่าน ไม่มีม้าโกงบ้างหรือ.

มีจ้ะนายม้าโกงชื่อสุหนุดุร้ายหยาบคายมาก. ถ้าอย่างนั้นเมื่อท่าน

มาอีก จงนำม้านั้นมาด้วย. พวกพ่อค้าม้ารับคำ เมื่อพวกเขามาอีก

ได้นำม้าโกงนั้นมาด้วย.

พระราชาทรงสดับว่า พวกพ่อค้าม้ามารับสั่งให้เปิด

สีหบัญชรทอดพระเนตรม้าทั้งหลาย แล้วมีพระบัญชาให้ปล่อย

ม้ามหาโสณะ. พวกพ่อค้าม้าเห็นม้ามหาโสณะมา ก็ปล่อยม้า

สุหนุไป. ม้าทั้งสองประจัญหน้ากันต่างก็เลียร่างกายกันด้วย

ความชื่นชม. พระราชาจึงตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า ดูซิ ม้าโกง

สองตัวนี้ดุร้ายหยาบคายแสนสาหัสต่อม้าอื่น กัดม้าอื่นให้ได้รับ

การเจ็บป่วย บัดนี้มันเลียร่างกายกันและกันด้วยความชื่นชม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 57

นี่มันเรื่องอะไรกัน. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะข้าแต่

พระองค์ ม้าเหล่านี้มีปกติไม่เสมอกันหามิได้ มันมีปกติเสมอกัน

มีธาตุเสมอกัน แล้วได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า :-

การที่ม้าโกงสุหนุกระทำความรักกับม้า

โสณะนี้ ย่อมมีด้วยปกติที่ไม่เสมอกันหามิได้

ม้าโสณะเป็นเช่นใด แม้ม้าสุหนุก็เป็นเช่นนั้น

ม้าโสณะมีความประพฤติเช่นใด ม้าสุหนุก็มี

ความประพฤติเช่นนั้น

ม้าทั้งสองนั้น ย่อมเสมอกันด้วยการวิ่ง

ไปด้วยความคะนองและด้วยกัดเชือกที่ล่ามอยู่

เป็นนิจ ความชั่วย่อมสมกับความชั่ว ความไม่ดี

ย่อมสมกับความไม่ดี.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นยิท วิสมสีเลน โสเณน สุหนู สห

ความว่า สุหนุม้าโกง ทำกิริยาใดเสมอกับม้าโสณะ กิริยานี้มิใช่

เป็นไปโดยปกติไม่เสมอกับตน. ที่แท้ย่อมทำร่วมปกติเสมอกับ

ตน สัตว์ทั้งสองนี้ชื่อว่ามีปกติเสมอกัน มีธาตุเสมอกัน เพราะค่า

ที่ตนมีมารยาทเลวทราม มีปกติชั่วร้าย. บทว่า สุหนุปิ ตาทิโสเยว

ความว่า ม้าโสณะเป็นเช่นใด แม้ม้าสุหนุก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน.

บทว่า โย โสณสฺส สโคจโร ความว่า ม้าโสณะมีอารมณ์อย่างใด

ม้าสุหนุ ก็มีอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า ม้าโสณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 58

ชอบรังแกม้า เที่ยวกัดม้าฉันใด แม้ม้าสุหนุก็ฉันนั้น. พระโพธิสัตว์

แสดงข้อที่ม้าทั้งสองนั้นมีอารมณ์เสมอกันด้วยบทนี้. เพื่อจะ

แสดงถึงม้าทั้งสองนั้นมีมารยาททรามเป็นอารมณ์เหมือนกัน จึง

กล่าวคำว่า ปกฺขนฺทินา (วิ่งไป) เป็นต้น. บทว่า ปกฺขนฺทินา

ได้แก่ มีปกติวิ่งไป คือมีปกติวิ่งไปเป็นอารมณ์เหนือม้าทั้งหลาย.

บทว่า ปคพฺเภน ได้แก่มีปกติชั่วประกอบด้วยความคะนองกาย

เป็นต้น. บทว่า นิจฺจ ปกฺขนฺทินา ได้แก่มีปกติกัดและมีอารมณ์

ชอบกัดเชือกล่ามตัว. บทว่า สเมติ ปาป ปาเปน ความว่า ในม้า

สองตัวนั้นความชั่ว คือ ความมีปกติชั่วของตัวหนึ่ง ย่อมเหมือน

กันกับอีกตัวหนึ่ง. บทว่า อสตาสต ความว่า ความไม่ดีของอีก

ฝ่ายหนึ่ง ผู้ไม่สงบย่อมเข้ากันได้ คือเหมือนกันไม่ผิดแปลกกัน

กับอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่สงบ คือประกอบด้วยมารยาททรามเหมือน

คูถเป็นต้น เข้ากันได้กับคูถเป็นต้น.

ก็พระโพธิสัตว์ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงถวายโอวาท

พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาพระราชาไม่ควรโลภจัด

ไม่ควรทำสมบัติของผู้อื่นให้เสียหาย แล้วทูลให้ตีราคาม้าให้

ตามราคาที่เป็นจริง.

พวกพ่อค้าม้าได้ราคาตามที่เป็นจริง ต่างก็ร่าเริงยินดีพา

กันกลับไป. แม้พระราชาก็ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ แล้ว

เสด็จไปตามยถากรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 59

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม

ชาดก ม้าสองตัวในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุโหดร้ายสองรูปใน

ครั้งนี้ พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วนอำมาตย์บัณฑิตได้เป็น

เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสุหนุชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 60

๙. โมรชาดก

ว่าด้วยนกยูงเจริญพระปริตต์

[๑๖๗] พระอาทิตย์นี้ เป็นดวงตาของโลก เป็น

เจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอก กำลังอุทัยขึ้นมาทอ

แสงอร่ามสว่างไปทั่วปฐพี เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้า

ขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งทอแสงอร่าม

สว่างไปทั่วปฐพี ข้าพเจ้าอันท่านช่วยคุ้มกันแล้ว

ในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน พราหมณ์เหล่าใด

ผู้ถึงฝั่งแห่งเวทในธรรมทั้งปวง ขอพราหมณ์เหล่า

นั้นจงรับความนอบน้อมของข้าพเจ้า และขอจง

คุ้มครองข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอนอบน้อม

แด่พระโพธิญาณ ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่ท่าน

หลุดพ้นแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรม

ของท่านผู้หลุดพ้นแล้ว นกยูงนั้นเจริญพระปริตต์

นี้แล้วจึงเที่ยวไปแสวงหาอาหาร

[๑๖๘] พระอาทิตย์นี้ เป็นดวงตาของโลก เป็นเจ้า

แห่งแสงสว่างอย่างเอก มีสีทองส่องแสงสว่าง

ไปทั่วปฐพีแล้วอัสดงคตไป เพราะเหตุนั้น ข้าพ-

เจ้าขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีทองส่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 61

สว่างไปทั่วปฐพี ข้าพเจ้าอันท่านช่วยคุ้มครอง

แล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน พราหมณ์

เหล่าใดผู้ถึงฝั่งแห่งเวทในธรรมทั้งปวง ขอ

พราหมณ์เหล่านั้นจงรับความนอบน้อมของ

ข้าพเจ้า และขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้า

ขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ข้าพเจ้า

ขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ ข้าพเจ้าขอนอบ

น้อมแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว ข้าพเจ้าขอนอบน้อม

แด่วิมุตติธรรมของท่านผู้หลุดพ้นแล้ว นกยูงนั้น

เจริญพระปริตต์นี้แล้วจึงสำเร็จการอยู่.

จบ โมรชาดกที่ ๙

อรรถกถาโมรชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง

ปรารภภิกษุผู้กระสัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า

อุเทตยญฺจกฺขุมา เอกราชา ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลายนำภิกษุนั้นไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อพระองค์

ตรัสถามว่า เธอกระสันจริงหรือ ภิกษุกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า

เมื่อตรัสถามว่า เธอเห็นอะไรจึงกระสัน กราบทูลว่า เห็นมาตุคาม

คนหนึ่งซึ่งประดับตกแต่งกาย. พระศาสดารับสั่งกะภิกษุนั้นว่า

ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่ามาตุคามทำไมจักไม่รบกวนจิตคนเช่นเธอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 62

แม้บัณฑิตแต่ก่อน พอได้ยินเสียงมาตุคาม กิเลสที่สงบมาเจ็ดร้อยปี

ได้โอกาสยังกำเริบได้ทันที สัตว์ทั้งหลายแม้บริสุทธิ์ ยังเศร้าหมอง

ได้ แม้สัตว์ผู้เปี่ยมด้วยยศสูง ยังถึงความพินาศได้ จะกล่าวไป

ทำไมถึงสัตว์ผู้ไม่บริสุทธิ์ แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดนกยูง ในเวลาเป็น

ฟอง มีกระเปาะฟองคล้ายสีดอกกรรณิการ์ตูม ครั้นเจาะกระเปาะ

ฟองออกมาแล้ว มีสีดุจทองคำ น่าดู น่าเลื่อมใส มีสายแดงพาด

ในระหว่างปีก. นกยูงนั้นคอยระวังชีวิตของตน อาศัยอยู่ ณ

พื้นที่เขาทัณฑกหิรัญแห่งหนึ่ง ใกล้แนวเขาที่สี่เลยแนวเขาที่สาม

ไป. ตอนสว่างนกยูงทองจับอยู่บนยอดเขา มองดูพระอาทิตย์

กำลังขึ้น เมื่อจะผูกมนต์อันประเสริฐ เพื่อรักษาป้องกันตัว ณ

ภูมิภาคที่หาอาหาร จึงกล่าวคาถาเป็นต้นว่า :-

พระอาทิตย์ได้เป็นดวงตาของโลก เป็น

เจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอก กำลังอุทัยขึ้นมาทอ

แสงอร่ามสว่างไปทั่วปฐพี เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้า

ขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งทอแสงอร่าม

สว่างไปทั่วปฐพี ข้าพเจ้าอันท่านช่วยคุ้มกัน

แล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 63

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุเทติ ได้แก่พระอาทิตย์ขึ้นจาก

ทิศปราจีน. บทว่า จกฺขุมา ได้แก่ มีดวงตาด้วยดวงตาที่ให้แก่ประชาชน

เพราะกำจัดความมืด ทำให้ผู้อยู่ในจักรวาลทั้งสิ้นได้ดวงตา

บทว่า เอกราชา ความว่า ชื่อว่าเป็นเอกราช เพราะประเสริฐ

ที่สุด ในระหว่างสิ่งที่ทำให้โลกสว่าง ในจักรวาลทั้งสิ้น บทว่า

หริสฺสวณโณ คือมีสีดุจทอง อธิบายว่า มีสีงามยิ่งนัก. บทว่า

ปฐวิปฺปภาโส คือมีแสงสว่างเหนือแผ่นดิน. บทว่า ต ต นมสฺสามิ

คือข้าพเจ้าขอนอบน้อม คือไหว้ท่านผู้เจริญเช่นนั้น. บทว่า

ตยชฺช คุตฺตา วิหเรมุ ทิวส ได้แก่ ขอให้ท่านรักษาคุ้มครอง

ในวันนี้ ข้าพเจ้าพึงอยู่เป็นสุขตลอดวันนี้ ด้วยการอยู่ในอิริยาบถทั้งสี่.

พระโพธิสัตว์ครั้นนอบน้อมพระอาทิตย์ด้วยคาถานี้ อย่าง

นี้แล้ว จึงนมัสการพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จปรินิพพานไปแล้วใน

อดีต และพระคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยคาถาที่สองว่า :-

พราหมณ์เหล่าใด ผู้ถึงฝั่งแห่งเวทในธรรม

ทั้งปวง ขอพราหมณ์เหล่านั้น จงรับความนอบ

น้อมของข้าพเจ้า และขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าด้วย.

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ ขอนอบน้อมแด่ผู้

หลุดพ้นแล้ว ขอนอบน้อมแด่วิมุตติธรรมของท่าน

ผู้หลุดพ้นแล้ว นกยูงนั้นเชิญพระปริตรนี้แล้ว

จึงเที่ยวไปแสวงหาอาหาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 64

ในบทเหล่านั้นบทว่า เย พฺราหฺมณา ได้แก่พราหมณ์ผู้

บริสุทธิ์ลอยบาปเสียแล้วเหล่าใด. บทว่า เวทคู ความว่าชื่อว่า

ผู้รู้ไตรเพท เพราะถึงฝั่งแห่งพระเวท. อนึ่งเพราะถึงฝั่งด้วยพระเวท

บ้าง. แต่ในที่นี้มีอธิบายว่า พราหมณ์เหล่าใดกระทำสังขตธรรม

และอสังขตธรรมทั้งปวงที่ตนรู้แล้ว ปรากฏแล้ว ทำลายยอดมาร

ทั้งสาม ยังหมื่นโลกธาตุให้บรรลือ บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ

ที่ควงไม้โพธิล่วงฝั่งแห่งสงสารได้แล้ว. บทว่า เต เม นโม คือ

ขอพราหมณ์เหล่านั้นจงรับความนอบน้อมนี้ของข้าพเจ้า. บทว่า

เต จ ม ปาลยนฺตุ ความว่า อนึ่งขอท่านผู้เจริญเหล่านั้นที่ข้าพเจ้า

นอบน้อมแล้วอย่างนี้ จงรักษา คือ ดูแลคุ้มครองข้าพเจ้า. บทว่า

นมตฺถุ พุทฺธาน ฯเปฯ นโมวิมุตฺติยา ความว่า ขอความนอบน้อม

ของข้าพเจ้านี้ จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเสด็จปรินิพพาน

ล่วงไปแล้ว. คือขอจงมีแต่พระปรีชาตรัสรู้อันได้แก่ ญาณ

ในมรรคสี่ ผลสี่ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ขอจง

มีแด่พระองค์ผู้หลุดพ้นแล้วด้วยความหลุดพ้น คือพระอรหัตผล

ของพระองค์. และความหลุดพ้นห้าอย่างของพระองค์ คือ ตทังค-

วิมุตติ พ้นชั่วคราว ๑ วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยการข่มไว้ ๑ สมุจเฉท-

วิมุตติ พ้นเด็ดขาด ๑ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ ๑ นิสสรณ-

วิมุตติ พ้นด้วยออกไป ๑. ขอความนอบน้อมของข้าพเจ้านี้ จงมีแก่

ความหลุดพ้นห้าอย่างของพระองค์เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 65

หลายบทว่า อิม โส ปริตฺต กตฺวา โมโร จรติ เอลน นี้

พระศาสดาตรัสเมื่อได้บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณแล้ว. บทนั้นมี

อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นกยูงนั้นครั้นเจริญปริตรนี้

คือการป้องกันนี้แล้ว จึงเที่ยวไปแสวงหาอาหารนานาชนิด

เพื่อต้องการดอกไม้ผลไม้เป็นต้นในที่หาอาหารของตน.

นกยูงครั้นเที่ยวไปตลอดวันอย่างนี้แล้ว ตอนเย็นก็จับอยู่

บนยอดเขามองดูดวงอาทิตย์ซึ่งกำลังตก ระลึกถึงพระพุทธคุณ

เมื่อจะผูกมนต์อันประเสริฐอีก เพื่อรักษาคุ้มกันในที่อยู่จึงกล่าว

คำมีอาทิว่า อเปตย ดังนี้

ความว่า :-

ดวงอาทิตย์นี้เป็นดวงตาของโลก เป็น

เจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอกมีสีทองส่องแสงสว่าง

ไปทั่วปฐพีแล้วอัสดงคตไป เพราะเหตุนั้น ข้าพ-

จ้าจักขอนอบน้อมดวงอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีทอง

ส่องแสงสว่างไปทั่วปฐพี ข้าพเจ้าอันท่านคุ้ม

ครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน.

พราหมณ์เหล่าใด ผู้ถึงฝั่งแห่งเวท ใน

ธรรมทั้งปวง ขอพราหมณ์เหล่านั้น จงรับและจง

คุ้มครองข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แด่พระโพธิญาณ แด่ท่าน

ผู้หลุดพ้นแล้ว แด่วิมุตติธรรมของท่าน ผู้หลุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 66

พ้นแล้ว นกยูงนั้น ครั้นเจริญพระปริตรนี้แล้ว

จึงพักอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อเนติ ได้แก่ล่วงลับไป คือ ตกไป.

แม้บทว่า อิม โส ปริตฺต กตฺวา โมโร วาสมกปฺปยิ นี้ พระศาสดา

ก็ตรัสเมื่อบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้ว. บทนั้นมีอธิบายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นกยูงนั้นครั้นเจริญพระปริตร คือการป้องกันนี้

แล้ว จึงพักอยู่ ณ ที่อยู่นั้น. ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตรนี้ นกยูง

มิได้มีความกลัว ความสยดสยองตลอดคืนตลอดวัน.

ลำดับนั้นพรานชาวบ้านเนสาทคนหนึ่ง อยู่ไม่ไกลกรุง-

พาราณสีท่องเที่ยวไปในหิมวันตประเทศ เห็นนกยูงโพธิสัตว์

จับอยู่บนยอดเขาทัณฑกหิรัญ จึงกลับมาบอกลูก. อยู่มาวันหนึ่ง

พระนางเขมาพระเทวีของพระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงสุบินเห็น

นกยูงสีทองแสดงธรรม ขณะตื่นพระบรรทมได้กราบทูลสุบิน

แด่พระราชาว่า ขอเดชะข้าแต่พระองค์หม่อมฉันประสงค์จะฟัง

ธรรมของนกยูงสีทองเพคะ. พระราชาจึงมีพระดำรัสถามพวก

อำมาตย์. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า พวกพราหมณ์คงจะทราบ

พ่ะย่ะค่ะ พราหมณ์ทั้งหลายสดับพระราชปุจฉาแล้ว จึงพากัน

กราบทูลว่า ขอเดชะนกยูงสีทองมีอยู่แน่ พระเจ้าข้า พระราชา

ตรัสถามว่ามีอยู่ที่ไหนเล่า จึงกราบทูลว่า พวกพรานจักทราบ

พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้ประชุมพวกพรานแล้วตรัสถาม.

ครั้นแล้วบุตรพรานคนนั้นก็กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 67

นกยูงสีทองมีอยู่จริงอาศัยอยู่ ณ ทัณฑกบรรพต พระเจ้าข้า.

พระราชารับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงไปจับนกยูงนั้นมาอย่าให้ตาย.

พรานจึงเอาบ่วงไปดักไว้ที่ ณ ที่นกยูงหาอาหาร. แม้ในสถานที่

ที่นกยูงเหยียบ บ่วงก็หาได้กล้ำกรายเข้าไปไม่. พรานไม่สามารถ

จับนกยูงได้ ท่องเที่ยวอยู่ถึงเจ็ดปี ได้ถึงแก่กรรมลง ณ ที่นั้นเอง.

แม้พระนางเขมาราชเทวี เมื่อไม่ได้สมพระประสงค์ก็สิ้นพระชนม์.

พระราชาทรงกริ้วว่า พระเทวีได้สิ้นพระชนม์ลงเพราะอาศัย

นกยูง จึงให้จารึกอักษรไว้ในแผ่นทองว่า ในหิมวันตประเทศ

มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อทัณฑกบรรพต นกยูงสีทองตัวหนึ่งอาศัยอยู่

ณ ที่นั้น ผู้ได้กินเนื้อของมัน ผู้นั้นจะไม่แก่ไม่ตาย จะมีอายุยืน

แล้วเก็บแผ่นทองไว้ในหีบทอง. ครั้นพระราชาสวรรคตแล้ว

พระราชาองค์อื่นครองราชสมบัติ. ทรงอ่านข้อความในสุพรรณบัฏ

มีพระประสงค์จะไม่แก่ไม่ตาย จึงทรงส่งพรานคนอื่นไป ให้

เที่ยวแสวงหา. แม้พรานนั้นไปถึงที่นั้นแล้วก็ไม่สามารถจะจับ

พระโพธิสัตว์ได้ ได้ตายไปในที่นั้นเอง. โดยทานองนี้พระราชา

สวรรคตไปหกชั่วพระองค์ ครั้นถึงองค์ที่เจ็ดครองราชสมบัติ

จึงทรงส่งพรานคนหนึ่งไป. พรานนั้นไปถึงแล้วก็รู้ถึงภาวะที่

บ่วงมิได้กล้ำกรายแม้ในที่ที่นกยูงโพธิสัตว์เหยียบ และการที่

นกยูงโพธิสัตว์เจริญพระปริตรป้องกันตนก่อนแล้ว จึงบินไปหา

อาหาร จึงขึ้นไปยังปัจจันตชนบท จับนางนกยูงได้ตัวหนึ่ง ฝึก

ให้รู้จักฟ้อนด้วยเสียงปรบมือ และให้รู้จักขันด้วยเสียงดีดนิ้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 68

ครั้นฝึกนางนกยูงจนชำนาญดีแล้ว จึงพามันไป เมื่อนกยูงทอง

ยังไม่เจริญพระปริตรปักโคนบ่วงดักไว้ในเวลาเช้า ทำสัญญาณ

ให้นางนกยูงขัน. นกยูงทองได้ยินเสียงมาตุคาม ซึ่งเป็นข้าศึกแล้ว.

ก็เร่าร้อนด้วยกิเลสไม่อาจเจริญพระปริตรได้ จึงบินโผไปติด

บ่วง. พรานจึงจับนกยูงทองไปถวายพระเจ้าพาราณสี. พระราชา

ทอดพระเนตรเห็นรูปสมบัติของนกยูงทอง ก็ทรงพอพระทัย

พระราชทานที่ให้จับ. นกยูงทองโพธิสัตว์จับอยู่เหนือคอนที่เขา

จัดแต่งให้จึงทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเพราะเหตุไรจึงมีรับสั่งให้จับ

ข้าพเจ้า. พระราชาตรัสว่า ข่าวว่าผู้ใดกินเนื้อเจ้า ผู้นั้นจะไม่แก่ไม่

ตาย ข้าพเจ้าต้องการกินเนื้อเจ้า จะไม่แก่ไม่ตายบ้าง จึงให้จับ

เจ้ามา. นกยูงทองทูลว่า ข้าแต่มหาราช คนทั้งหลายกินเนื้อ

ข้าพเจ้าจะไม่แก่ไม่ตายก็ช่างเถิด แต่ข้าพเจ้าจักตายหรือ. รับ

สั่งว่าจริงเจ้าต้องตาย. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเมื่อข้าพเจ้า

ต้องตาย ผู้ที่กินเนื้อข้าพเจ้าแล้วทำอย่างไรจึงไม่ตายเล่า. รับสั่ง

ว่า เจ้ามีตัวเป็นสีทอง เพราะฉะนั้นมีข่าวว่า ผู้ที่กินเนื้อเจ้าแล้ว

จักไม่แก่ไม่ตาย. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพเจ้ามีสีทอง

เพราะไม่มีเหตุหามิได้ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ

ในนครนี้แหละ. ทั้งตนเองก็รักษาศีลห้า แม้ชนทั้งหลายทั่วจักรวาล

ก็ให้รักษาศีล ข้าพเจ้าสิ้นชีพแล้วก็ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์

ดำรงอยู่ในภพนั้นจนตลอดอายุ จุติจากนั้นแล้ว จึงมาเกิดใน

กำเนิดนกยูง เพราะผลแห่งอกุศลกรรมอื่น อีกอย่างหนึ่งแต่ตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 69

มีสีทองก็ด้วยอานุภาพศีลห้าที่รักษาอยู่ก่อน. รับสั่งถามว่า

เจ้าพูดว่า เจ้าเป็นเจ้าจักรพรรดิรักษาศีลห้า ตัวมีสีเป็นทอง

เพราะผลของศีล ข้อนี้ข้าพเจ้าจะเชื่อได้อย่างไร มีใครเป็นพยาน.

กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช มี. รับสั่งถามว่า ใครเล่า. กราบทูล

ว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อครั้งเป็นเจ้าจักรพรรดิ ข้าพเจ้านั่งรถ

สำเร็จด้วยแก้วเจ็ดประการ เที่ยวไปในอากาศ รถของข้าพเจ้า

นั้นจมอยู่ภายใต้ภาคพื้นสระมงคลโบกขรณี โปรดให้ยกรถนั้นขึ้น

จากสระมงคลโบกขรณีเถิด รถนั้นจักเป็นพยานของข้าพเจ้า.

พระราชารับสั่งว่า ดีละแล้วให้วิดน้ำออกจากสระโบกขรณี ยก

รถขึ้นได้จึงทรงเชื่อคำของพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์แสดง

ธรรมถวายพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมที่ปรุงแต่งทั้งหมด

ที่เหลือนอกจากพระอมตมหานิพพานแล้ว ชื่อว่าไม่เที่ยง มีความ

สิ้นและความเสื่อมเป็นธรรมดา เพราะมีแล้วกลับไม่มี ดังนี้แล้ว

ให้พระราชาดำรงอยู่ในศีลห้า. พระราชาทรงเลื่อมใสบูชา

พระโพธิสัตว์ด้วยราชสมบัติ ได้ทรงกระทำสักการะเป็นอันมาก.

นกยูงทองถวายราชสมบัติคืนแด่พระราชา พักอยู่ ๒-๓ วัน จึง

ถวายโอวาทว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงทรงไม่ประมาทเถิด

แล้วบินขึ้นอากาศไปยังภูเขาทัณฑกหิรัญ. ฝ่ายพระราชาดำรง

อยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์แล้ว ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น

เสด็จไปตามยถากรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 70

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสัน

ตั้งอยู่ในพระอรหัต. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในบัดนี้.

ส่วนนกยูงทองได้เป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาโมรชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 71

๑๐. วินีลกชาดก

ว่าด้วยหงส์ ๒ ตัว

[๑๖๙] หงส์ ๒ ตัว พาเราผู้ชื่อว่าวินีลกะไป

ฉันใด ม้าอาชาไนยก็พาพระเจ้าวิเทหราชผู้ครอง

เมืองมิถิลาให้เสด็จไป ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๗๐] แน่ะเจ้าวินีลกะ เจ้ามาคบมาเสพภูเขาอัน

มิใช่ภูมิภาคทำเลของเจ้า เจ้าจงไปเสพอาศัย

สถานที่ใกล้บ้านเถิด นั่นเป็นที่อยู่ที่อาศัยของ

แม่เจ้า.

จบ วินีลกชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาวินีลกชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันทรงปรารภ

พระเทวทัต เอาอย่างพระสุคต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า เอวเมว นูน ราชาน ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า เมื่อพระเทวทัตนอนแสดงท่าทาง

อย่างพระสุคตแก่พระอัครสาวกทั้งสองผู้มาสู่คยาสีสประเทศ

พระเถระทั้งสองครั้นแสดงธรรมแล้ว ก็พานิสิตของท่านมายัง

พระวิหารเวฬุวัน. พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 72

เทวทัตเห็นเธอทั้งสองแล้วได้ทำอย่างไร. กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ พระเทวทัตแสดงท่าทางอย่างพระองค์แล้วถึงความ

พินาศใหญ่. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสาริบุตร เทวทัตทำตาม

อย่างเรา ถึงความพินาศใหญ่มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อนก็

ถึงความพินาศ เมื่อพระเถระกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่อง

ในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าวิเทหะเสวยราชสมบัติในกรุง

มิถิลาแคว้นวิเทหะ พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดในพระครรภ์ของ

พระอัครมเหสีของพระเจ้าวิเทหะนั้น ครั้นเจริญวัยแล้ว ก็ทรง

ศึกษาศิลปศาสตร์ทุกชนิดในเมืองตักกสิลา เมื่อพระบิดาสวรรคต

แล้วจึงทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติ.

ในครั้งนั้น พญาหงส์ทองตัวหนึ่งได้อยู่ร่วมกับนางกา

ในบริเวณที่หาอาหาร. นางกาคลอดลูกออกมาเป็นตัวผู้. มันไม่

เหมือนแม่ไม่เหมือนพ่อ. เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงได้ตั้งชื่อว่า วินีลกะ

เพราะมันมีสีค่อนข้างคล้ำ. พญาหงส์ไปหาลูกบ่อย ๆ. อนึ่ง

พญาหงส์นั้นมีลูกหงส์น้อยอยู่สองตัว. ลูกหงส์น้อยเห็นพ่อมันไป

ถิ่นมนุษย์บ่อย ๆ จึงถามว่า พ่อทำไมพ่อจึงไปถิ่นมนุษย์บ่อยนัก.

พญาหงส์บอกว่า นี่แน่ะลูก ๆ พ่ออยู่ร่วมกับนางกาตัวหนึ่ง เกิด

ลูกด้วยกันหนึ่งตัว ชื่อวินีลกะ พ่อไปเยี่ยมมัน. ลูกหงส์ถามว่า

ก็พวกนั้นอยู่ถึงไหนเล่าพ่อ. พญาหงส์บอกว่า มันอยู่เหนือยอดตาล

ต้นหนึ่งในที่โน้น ไม่ไกลจากกรุงมิถิลาแคว้นวิเทหะ ลูกหงส์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 73

พูดว่า พวกฉันจักไปพาเขามานะพ่อ. พญาหงส์ห้ามว่า ขึ้นชื่อว่า

ถิ่นมนุษย์น่ารังเกียจ มีภัยรอบด้าน ลูกอย่าไปกันเลย พ่อจักไป

พามาเอง. ลูกหงส์หาเชื่อฟังคำพ่อไม่ จึงพากันไป ณ ที่นั้น

ตามเครื่องหมายที่พ่อบอก ให้วินีลกะจับเหนือคอนไม้อันหนึ่ง

แล้วช่วยกันเอาจะงอยปากคาบปลายไม้ บินผ่านมาทางกรุง

มิถิลา. ขณะนั้นพระเจ้ากรุงวิเทหะประทับบนราชรถ ซึ่งเทียม

ด้วยม้าสินธพขาวสี่ตัว ทรงทำประทักษิณพระนคร. วินีลกะ

เห็นดังนั้นนึกในใจว่า เราไม่ต่างอะไรกับพระเจ้าวิเทหะ พระเจ้า

วิเทหะ ประทับนั่งบนราชรถอันเทียมด้วยม้าสินธพสี่ตัว เสด็จ

เลียบพระนคร เราก็นั่งไปในรถอันเทียมด้วยหงส์. วินีลกะเมื่อ

กำลังไปทางอากาศกล่าวคาถาแรกว่า :-

ม้าอาชาไนยพาพระเจ้าวิเทหะผู้ครอง

เมืองมิถิลาให้เสด็จไป เหมือนหงส์สองตัวพาเรา

ผู้ชื่อว่าวินีลกะไปฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวเมว คือเหมือนกันนั่นแหละ.

บทว่า นูน เป็นนิบาตลงในปริวิตักกะ ย่อมเป็นไปในส่วนเดียว.

บทว่า เวเทห คือเป็นใหญ่ในแคว้นวิเทหะ. บทว่า มิถิลคฺคห

ได้แก่ ครอบครองเรือนมิถิลา คือบ้านมิถิลา. บทว่า อาชญฺา

ได้แก่ ม้าซึ่งรู้เหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า ยถา หส วินีลก ได้แก่

ม้าอาชาไนยพาพระเจ้าวิเทหะไป เหมือนหงส์เหล่านี้พาเรา ผู้

ชื่อวินีลกะไป ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 74

ลูกหงส์น้อยฟังคำของวินีลกะแล้วก็โกรธแม้ตั้งใจว่า จักให้

มันตกไปเสียในที่นี้ ก็เกรงจะถูกตำหนิเอาว่า เมื่อเราทำลงไป

อย่างนี้ พ่อของเราจะว่าอย่างไร จึงพามันไปหาพ่อแล้วเล่าให้

พ่อฟังถึงกิริยาที่มันกระทำ. พ่อหงส์โกรธมากตวาดว่า เจ้า

วิเศษกว่าลูกเราเทียวหรือ ข่มขี่ลูกเราเปรียบลูกเราเหมือนม้า

เทียมรถ เจ้าไม่รู้ประมาณตน ที่นี่ไม่ใช่พื้นเพของเจ้า เจ้าจง

ไปหาแม่เจ้าเถิด แล้วกล่าวคาถาที่สองว่า :-

แน่เจ้าวินีลกะ เจ้ามาคบมาเสพภูเขาอัน

มิใช่ภูมิภาคทำเลของเจ้า เจ้าจงไปเสพอาศัย

สถานที่ใกล้บ้านเถิด นั่นเป็นที่อยู่อาศัยของ

แม่เจ้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วินีลกะ เป็นคำเรียกนกวินีลกะ.

บทว่า ทุคฺค ภชสิ ได้แก่ ท่านคบแต่ซอกเขาอันเป็นที่อยู่ของนก

เหล่านี้. บทว่า อภูมึ ตาต เสวสิ ความว่า เจ้าเสพคือเข้าไปอาศัย

ภูเขาอันมิใช่พื้นเพของเจ้าซึ่งชื่อว่าซอกเขา. บทว่า เอต มาตาล-

ยนฺตุว ความว่า ที่ทิ้งหยักเยื่อ และที่ป่าช้าผีดิบชายบ้านนั่น

เป็นที่อยู่คือเป็นเรือน เป็นที่พักของแม่เจ้า เจ้าจงไปในที่นั้นเถิด.

ครั้นพญาหงส์คุกคามวินีลกะอย่างนี้แล้ว ก็สั่งลูกหงส์ว่า เจ้าจง

ไปปล่อยมันไว้ที่พื้นเพหยักเยื่อแห่งกรุงมิถิลา. ลูกหงส์ได้ทำ

ตามสั่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 75

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม

ชาดก. นกวินีลกะในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. ลูกหงส์

สองตัวได้เป็นอัครสาวกทั้งสอง. พ่อหงส์ได้เป็นอานนท์. ส่วน

พระเจ้าวิเทหะได้เป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาวีนิลกะชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ราโชวาทชาดก ๒. สิคาลชาดก ๓. สูกรชาดก

๔. อุรคชาดก ๕. ภัคคชาดก ๖. อลีนจิตตชาดก ๗. คุณชาดก

๘. สุหนุชาดก ๙. โมรชาดก ๑๐. วินีลกชาดก และอรรถกถา.

จบ ทัฬหวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 76

๒. สันถววรรค

๑. อินทสมานโคตตชาดก

ว่าด้วยการสมาคมกับสัตบุรุษ

[๑๗๑] บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมกับบุรุษ

ชั่วช้า ท่านผู้เป็นอริยะรู้ประโยชน์อยู่ ไม่พึงทำ

ความสนิทสนมกับอนารยชน เพราะอนารยชน

นั้น แม้อยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน ก็ย่อมทำบาป

กรรมดุจช้างผู้ทาลายล้างดาบสชื่ออินทสมาน-

โคตรฉะนั้น.

[๑๗๒] บุคคลพึงรู้บุคคลใดว่า ผู้นี้เช่นเดียวกับ

เรา โดยศีล ปัญญา และสุตะ พึงทำไมตรีกับ

บุคคลนั้นนั่นแล เพราะการสมาคมกับสัตบุรุษ

นามาซึ่งความสุขแท้.

จบ อินทสมานโคตตชาดกที่ ๑

อรรถกถาสันถววรรคที่ ๒

อรรถกถาอินทสมานโคตตชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

ภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 77

น สนฺถว กาปุริเสน กยิรา ดังนี้.

เรื่องภิกษุว่ายากนั้น จักมีแจ้งในคิชฌชาดกนวกนิบาต.

พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุแม้เมื่อก่อนเธอ

ก็ไม่เชื่อฟังคำของบัณฑิตทั้งหลาย เพราะเธอเป็นผู้ว่ายาก จึง

เหลวแหลกเพราะเท้าช้างตกมัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมา

ตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่

ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้น

เจริญวัยละฆราวาส ออกบวชเป็นฤาษี เป็นครูของเหล่าฤาษี

๕๐๐ อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ. ในครั้งนั้นบรรดาดาบส

เหล่านั้น ได้มีดาบสชื่ออินทสมานโคตร เป็นผู้ว่ายากไม่เชื่อฟัง.

ดาบสนั้นเลี้ยงลูกช้างไว้เชือกหนึ่ง. พระโพธิสัตว์ได้ทราบข่าว

จึงเรียกดาบสนั้นมาถามว่า เขาว่าเธอเลี้ยงลูกช้างไว้จริงหรือ.

ดาบสตอบว่าจริงขอรับอาจารย์ ข้าพเจ้าเลี้ยงลูกช้างไว้เชือกหนึ่ง

แม่มันตาย. พระโพธิสัตว์พูดเตือนว่า ขึ้นชื่อว่าช้าง เมื่อเติบโต

มักฆ่าคนเลี้ยง. เธออย่าเลี้ยงลูกช้างนั้นเลย. ดาบสกล่าวว่า ท่าน

อาจารย์ข้าพเจ้าไม่อาจทิ้งมันได้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้า

เช่นนั้นเธอจักได้รู้เอง. ดาบสเลี้ยงดูช้างนั้น ต่อมามันมีร่างกาย

ใหญ่โต. คราวหนึ่งพวกฤาษีพากันไปในที่ไกลเพื่อหารากไม้

และผลาผลในป่า แล้วพักอยู่ ณ ที่นั้น ๒-๓ วัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 78

ช้างก็ตกมันรื้อบรรณศาลาเสียกระจุยกระจาย ทำลาย

หม้อน้ำดื่ม โยนแผ่นหินทิ้ง ถอนแผ่นกระดานแขวนทิ้ง แล้วเข้า

ไปยังที่ซ่อนแห่งหนึ่งยืนคอยมองดูทางมาของดาบส ด้วยหวังว่า

จักฆ่าดาบสนั้นแล้วไป. ดาบสอินทสมานโคตรหาอาหารไว้ให้ช้าง

เดินมาก่อนดาบสทั้งหมด ครั้นเห็นช้างนั้น จึงเข้าไปหามันตาม

ความรู้สึกที่เป็นปกติ. ครั้นแล้วช้างนั้นออกจากที่ซ่อนเอางวง

จับฟาดลงกับพื้น เอาเท้าเหยียบศีรษะขยี้ให้ถึงความตาย แล้ว

แผดเสียงดังเข้าป่าไป. พวกดาบสที่เหลือจึงแจ้งข่าวนั้นให้พระ-

โพธิสัตว์ทราบ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ไม่ควรทำความคลุกคลี

กับคนชั่ว แล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-

บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมกับคนชั่ว

ท่านผู้เป็นอริยะ รู้ประโยชน์อยู่ไม่พึงทำความ

สนิทสนมกับอนารยชน เพราะอนารยชนนั้น

แม้อยู่ร่วมกันเป็นเวลานาน ก็ย่อมทำความชั่ว

ดุจช้างผู้ทำลายดาบสอินทสมานโคตรฉะนั้น

บุคคลพึงรู้บุคคลใดว่า ผู้นี้เช่นเดียวกับ

เรา ด้วยศีล ด้วยปัญญา และแม้ด้วยสุตะ พึงทำ

ไมตรีกับบุคคลผู้นั้นนั่นแหละ เพราะการสมาคม

กับสัตบุรุษนำมาซึ่งความสุขแท้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น สนฺถว กาปุริเสน กยิรา ความว่า

บุคคลไม่พึงทำความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา หรือความสนิท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 79

สนมด้วยความเป็นมิตร กับคนมักโกรธที่น่าชัง. บทว่า อริโย

ในบทว่า อริโยนริเยน ปชานมตฺถ ได้แก่ อริยะ ๔ จำพวก คือ

อาจารอริยะ ได้แก่อริยะในทางมารยาท ๑ ลิงคอริยะ อริยะใน

ทางเพศ ๑ ทัสสนอริยะ อริยะในทางความเห็น ๑ ปฏิเวธอริยะ

อริยะในทางรู้แจ้งแทงตลอด ๑. บรรดาอริยะเหล่านั้น อาจาร-

อริยะท่านประสงค์เอาในที่นี้. อธิบายว่า บุคคลผู้เป็นอริยะ

รู้จักประโยชน์ คือรู้จักผล ฉลาดในประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

ดำรงอยู่ในอาจาระ ไม่พึงทำความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา

หรือความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร กับคนที่มิใช่อริยะ คือ

คนทุศีลไม่มียางอาย. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะคน

ที่มิใช่อริยะนั้น แม้อยู่ร่วมกันนาน ก็มิได้คำนึงถึงการอยู่ร่วมกัน

นั้น ย่อมกระทำความชั่ว คือกระทำกรรมอันลามกเท่านั้น.

ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือนช้าง ฆ่าอินทสมานโคตร

ดาบสใดกระทำความชั่ว. ในบทเป็นต้นว่า ยเทว ปญฺา สทิโส

มม ความว่า พึงรู้จักบุคคลใดว่า ผู้นี้เหมือนเราโดยศีลเป็นต้น

พึงกระทำไมตรีกับบุคคลนั้นเท่านั้น การสมาคมกับด้วยสัตบุรุษ

ย่อมนำความสุขมาให้.

พระโพธิสัตว์สอนหมู่ฤาษีว่า ธรรมดาคนเราไม่ควรเป็น

ผู้สอนยาก ควรศึกษาให้ดีแล้วให้จัดการเผาศพอินทสมานโคตร-

ดาบส เจริญพรหมวิหาร ได้เข้าถึงพรหมโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 80

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม

ชาดก. อินทสมานโคตรในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุสอนยากนี้ใน

ครั้งนี้. ส่วนครูประจำคณะได้เป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาอินทสมานโคตรชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 81

๒. สันถวชาดก

ว่าด้วยความสนิทสนม

[๑๗๓] สิ่งอื่นที่จะชั่วช้ายิ่งขึ้นไปกว่าความสนิท

สนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับบุรุษเลวทราม

เป็นความชั่วช้า เพราะไฟนี้เราให้อิ่มหนำแล้ว

ด้วยสัปปิและข้าวปายาส ยังไหม้บรรณศาลาที่

เราทำได้ยากให้พินาศ.

[๑๗๔] สิ่งอื่นที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าความสนิท

สนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับสัตบุรุษเป็น

ความประเสริฐ สามามฤคิเลียปากราชสีห์ เสือ

โคร่งและเสือเหลืองได้ ก็เพราะความรักใคร่

สนิทสนมกัน.

จบ สันถวชาดกที่ ๒

อรรถกถาสันถวชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภการบูชาไฟ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

น สนฺถวสฺมา ปรมตฺถิ ปาปิโย.

เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในนังคุฏฐชาดกนั้นแล.

ภิกษุทั้งหลายเห็นชฏิลเหล่านั้นบูชาไฟ จึงทูลถามพระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 82

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชฏิลทั้งหลายประพฤติตบะผิด

มีประการต่าง ๆ ความเจริญในการนี้มีอยู่หรือหนอ. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความเจริญไร ๆ

ในการนี้เลย แม้โบราณบัณฑิตก็สำคัญว่ามีความเจริญ เพราะ

การบูชาไฟ จึงบูชาไฟเป็นเวลานาน ครั้นเห็นไม่มีความเจริญ

ในกรรมนั้น จึงเอาน้ำดับไฟ เอากิ่งไม้เป็นต้นฟาดมิได้กลับ

มาดูอีกต่อไป แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติอยู่ใน

เมืองพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์. มารดา

บิดาเก็บไฟวันเกิดของพระโพธิสัตว์ไว้แล้ว กล่าวกะพระโพธิสัตว์

เมื่อมีอายุได้ ๑๖ ปีว่า ลูกรัก ลูกจะรับเอาไฟวันเกิดไปบำเรอ

ไฟในป่า หรือจักเรียนไตรเพท เพราะปกครองสมบัติอยู่เป็น

ฆราวาส. พระโพธิสัตว์ตอบว่า ลูกไม่ต้องการอยู่เป็นฆราวาส

ลูกจักบำเรอไฟในป่ามุ่งหน้าต่อพรหมโลก แล้วจึงรับเอาไฟ

วันเกิดไหว้มารดาบิดา เข้าไปในป่า อาศัยอยู่ในบรรณศาลา

บำเรอไฟ. วันหนึ่งพระโพธิสัตว์นั้น ไปยังที่เชิญเลี้ยง ได้ข้าว

ปายาสกับสัปปิมา คิดว่า เราจักถวายข้าวปายาสนี้แก่มหาพรหม

จึงนำข้าวปายาสนั้นมา ตั้งใจว่าเราจะบูชาไฟ ให้พระเพลิงผู้เป็น

เจ้าดื่มข้าวปายาสผสมด้วยสัปปิก่อน แล้วสาดข้าวปายาสลงไป

ในไฟ. ข้าปายาสมียางมากพอใส่เข้าไปในไฟ ไฟก็ลุกมีเปลวพุ่ง

ขึ้นไหม้บรรณศาลา. พราหมณ์ทั้งกลัวทั้งตกใจก็หนีออกไปยืนอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 83

ภายนอกบ่นว่า ไม่ควรทำความสนิทสนมกับคนชั่ว บัดนี้ บรรณ-

ศาลาของเราซึ่งทำแสนยากถูกไฟเผาเสียแล้ว. จึงกล่าวคาถา

แรกว่า :-

สิ่งอื่นที่จะชั่วช้ายิ่งขึ้นไปกว่าความสนิท

สนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับบุรุษเลวทราม

เป็นความชั่วช้า เพราะไฟนี้เราให้อิ่มหนำแล้ว

ด้วยสัปปิและข้าวปายาส ยังไหม้บรรณศาลา

ที่เราทำได้ยากให้พินาศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น สนฺถวสฺมา ความว่า ความ

สนิทสนมมีสองอย่าง คือ ความสนิทสนมด้วยอำนาจตัณหา ๑

ความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร ๑ ไม่มีสิ่งอื่นที่จะเลวทราม

ต่ำช้ายิ่งไปกว่าความสนิทสนมสองอย่างนั้น. บทว่า โย สนฺถโว

กาปุริเสน ความว่า ไม่มีความสนิทสนมอื่นที่เลวทรามกว่าความ

สนิทสนมสองอย่างนี้กับคนชั่วช้าเลวทราม. ถามว่า เพราะเหตุไร.

ตอบว่า เพราะไฟที่เราเลี้ยงให้อิ่มหนำด้วยสัปปิและข้าวปายาส

ได้เผาบรรณศาลาที่เราสร้างไว้โดยลำบาก.

ครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว ก็คิดว่าเราไม่ต้อง

การด้วยสิ่งที่ทำลายมิตร จึงเอาน้ำดับไฟนั้นเสียแล้ว เอากิ่งไม้

ฟาด เข้าไปสู่ภายในป่าหิมพานต์ พบแม่เนื้อตัวหนึ่งชื่อสามา

เลียปากราชสีห์ เสือโคร่ง และเสือเหลือง จึงดำริว่า ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 84

ความประเสริฐอื่น นอกจากความสนิทสนมกับสัตบุรุษแล้ว

จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

สิ่งอื่นที่จะประเสริฐยิ่งไปกว่าความ

สนิทสนมเป็นไม่มี ความสนิทสนมกับบุรุษ

เป็นความประเสริฐ แม่สามามฤคีเลียปากราชสีห์

เสือโคร่งและเสือเหลืองได้ ก็เพราะความรักใคร่

สนิทสนมกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามามุข เลหติ สนฺถเวน

ความว่า แม่เนื้อสามาเลียปากสัตว์ทั้งสามเหล่านี้ด้วยความ

สนิทสนม คือด้วยความเสน่หา.

ครั้นพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปภายในป่า

หิมพานต์ บรรพชาเป็นฤาษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด

ครั้นสิ้นชีพก็เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม

ชาดก. เราได้เป็นดาบสในครั้งนั้น.

จบ อรรถกถาสันถวชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 85

๓. สุสีมชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าสุสีมะ

[๑๗๕] ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่าสุสีมะ

ช้างสีดำมีงาขาวประมาณ ๑๐๐ เชือกเศษนี้

ประดับด้วยข่ายทองเป็นของพระองค์ พระองค์

ทรงระลึกถึงการกระทำแห่งพระบิดา และ พระ

อัยยกาของพระองค์อยู่เนือง ๆ ตรัสว่าเราจะ

ให้ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็น

ความจริงหรือพระเจ้าข้า.

[๑๗๖] ดูก่อนพ่อมาณพ ช้างสีดำมีงาขาวประ

มาณ ๑๐๐ เชือกเศษนี้ประดับด้วยข่ายทองซึ่ง

เป็นของเรา เราระลึกถึงการกระทำแห่งพระบิดา

และพระอัยยกาอยู่เนือง ๆ พูดว่า เราจะให้ช้าง

เหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็นความ

จริง.

จบ สุสีมะชาดกที่ ๓

อรรถกถาสุสีมชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหารทรงปรารภ

การถวายทานตามความพอใจ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 86

ต้นว่า กาฬา มิคา เสตทนฺตา ตว อิเม ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า ในกรุงสาวัตถี บางคราวสกุลเดียว

เท่านั้นถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. บาง

คราวมากคนด้วยกันรวมกันถวายเป็นคณะ. บางคราวถวาย

ตามสายถนน. บางคราวชาวเมืองทั้งสิ้น ร่วมฉันทะกันถวายทาน.

แต่ในครั้งนี้ ชาวเมืองร่วมฉันทะกัน เตรียมถวายบริขารทุกชนิด

แบ่งออกเป็นสองพวก พวกหนึ่งพูดว่า พวกเราจักถวายทาน

พร้อมด้วยบริขารทุกชนิดนี้แก่อัญญเดียรถีย์ พวกหนึ่งพูดว่า

เราจักถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. เมื่อการ

โต้เถียงกันเป็นไปเนือง ๆ อย่างนี้ พวกสาวกอัญญเดียรถีย์ก็ว่า

ถวายแก่อัญญเดียรถีย์เท่านั้น พวกสาวกของพระพุทธเจ้าก็ว่า

ถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเท่านั้น ครั้นคำ

ที่ว่าเราจักกระทำมีมาก พวกที่พูดว่า เราจักถวายแด่ภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขก็มีมากเป็นธรรมดา ถ้อยคำของ

คนเหล่านั้นก็ยุติ. พวกสาวกของอัญญเดียรถีย์ไม่อาจจะทำ

อันตรายแก่ทานที่ควรถวายแด่พระพุทธเจ้าได้. ชาวเมืองจึง

นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พากันบำเพ็ญมหาทาน

ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้ถวายเครื่องบริขารทุกชนิด. พระ-

ศาสดาทรงกระทำอนุโมทนา ให้มหาชนตื่นด้วยมรรคผล แล้ว

จึงเสด็จไปยังเชตวันมหาวิหาร. เมื่อภิกษุสงฆ์แสดงวัตรจึง

เสด็จประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฏีประทานสุคโตวาท แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 87

เสด็จเข้าไปยังพระคันธกุฏี. ในตอนเย็นภิกษุทั้งหลายประชุม

สนทนาในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกสาวกของอัญญ-

เดียรถีย์ แม้พยายามจะทำอันตรายแก่ทานที่ควรถวายแด่พระ-

พุทธเจ้าก็ไม่อาจจะทำอันตรายได้. การถวายเครื่องบริขาร

ทั้งปวงนั้นมาถึงบาทมูลของพระพุทธเจ้าทั้งหมด. พระศาสดา

เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกของอัญญเดียรถีย์

เหล่านี้ ได้พยายามเพื่อทำอันตรายทานที่ควรแก่เรา มิใช่ในบัดนี้

เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็พยายาม อนึ่งเครื่องบริขารนั้นก็มาถึงแทบ

บาทมูลของเราทุกครั้งแล้ว ทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลที่กรุงสาวัตถี ได้มีพระราชาพระนามว่าสุสีมะ

ในครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพราหมณีของ

ปุโรหิตของพระองค์. เมื่อพระโพธิสัตว์มีอายุได้ ๑๖ ปี บิดาได้

ถึงแก่กรรม. อนึ่งปุโรหิตนั้นขณะยังมีชีวิตอยู่ได้เป็นผู้กระทำ

มงคลแก่ช้างของพระราชา. เขาได้เครื่องอุปกรณ์และเครื่อง

ประดับช้างทุกอย่างที่มีผู้นำมาในที่ทำการมงคลแก่ช้างทั้งหลาย.

ในการมงคลครั้งหนึ่ง ๆ ทรัพย์สินประมาณหนึ่งโกฏิเกิดขึ้นแก่

เขา. ต่อมาเมื่อเขาถึงแก่กรรมมหรสพในการมงคลช้างได้มาถึง.

พวกพราหมณ์อื่น ๆ เข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่

มหาราช มหรสพในการมงคลช้างได้มาถึงแล้ว ควรประกอบพิธี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 88

มงคล แต่บุตรของพราหมณ์ปุโรหิตยังเด็กนัก ไม่รู้ไตรเพท

ไม่รู้สูตรกล่อมช้าง พวกข้าพระพุทธเจ้าจักทำการมงคลช้าง

กันเองพระเจ้าข้า. พระราชาทรงรับว่าดีแล้ว. พวกพราหมณ์

ต่างพากันรื่นเริงยินดีเดินไปมาด้วยคิดว่า พวกเราไม่ให้บุตร

ปุโรหิตทำการมงคลช้าง จักทำเสียเองแล้วก็จะได้รับทรัพย์

ครั้นถึงวันที่สี่จักมีการมงคลช้าง เพราะฉะนั้นมารดาของพระ-

โพธิสัตว์สดับข่าวนั้น จึงเศร้าโศกคร่ำครวญว่า ขึ้นชื่อว่าการ

ทำการมงคลแก่ช้างเป็นหน้าที่ของเราเจ็ดชั่วตระกูลแล้ว วงศ์

ของเราจักเสื่อม และเราจักเสื่อมจากทรัพย์ด้วย. พระโพธิสัตว์

ถามว่า ร้องไห้ทำไมแม่ ครั้นได้ฟังเหตุการณ์นั้นแล้ว จึงปลอบว่า

แม่จ๋า แม่อย่าเศร้าโศกไปเลย บางทีลูกจักทำการมงคลเอง.

มารดาพูดว่า ลูกแม่ ลูกไม่รู้ไตรเพท ไม่รู้สูตรกล่อมช้าง ลูก

จักทำการมงคลได้อย่างไร. พระโพธิสัตว์ถามว่า แม่จ๋าเมื่อไร

เขาจักทำการมงคลช้างกัน. มารดาตอบว่า ในวันที่สี่จากนี้ไป

แหละลูก. พระโพธิสัตว์ถามว่า แม่จ๋า อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ

ไตรเพทสูตรกล่อมช้างอยู่ที่ไหนเล่าแม่. มารดาบอกว่า ลูกรัก

อาจารย์ทิศาปาโมกข์เช่นว่านี้ อยู่ในเมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ

สุดทางจากนี้ไปร้อยยี่สิบโยชน์. พระโพธิสัตว์ปลอบมารดาว่า

แม่จ๋า ลูกจะไม่ยอมให้วงศ์ของเราพินาศ พรุ่งนี้ลูกจะไปเมือง

ตักกสิลา เดินทางวันเดียวก็ถึงเรียนไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง

เพียงคืนเดียวเท่านั้น รุ่งขึ้นจะกับมาทำการมงคลช้างในวันที่สี่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 89

ในวันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์บริโภคอาหารแต่เช้า ออกเดินทาง

คนเดียว เพียงวันเดียวก็ถึงเมืองตักกสิลา เข้าไปไหว้อาจารย์

แล้วนั่งอยู่ข้างหนึ่ง. ลำดับนั้นอาจารย์ถามพระโพธิสัตว์ว่า เจ้า

มาจากไหนเล่าพ่อ. จากกรุงพาราณสีขอรับท่านอาจารย์. ต้อง

การอะไรเล่า. ต้องการเรียนไตรเพทและสูตรกล่อมช้างในสำนัก

ของท่านอาจารย์ขอรับ. ดีละ เรียนเถิดพ่อ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า

ท่านอาจารย์ขอรับ งานของกระผมค่อนข้างด่วนมาก แล้วก็เล่า

เรื่องทั้งหมดให้ทราบ กล่าวว่า กระผมมาเป็นระยะทางร้อยยี่สิบ

โยชน์ เพียงวันเดียวเท่านั้น วันนี้ขอท่านอาจารย์ให้โอกาสแก่

กระผมเพียงคืนเดียวเท่านั้น ในวันที่สามจากวันนี้จักมีการมงคล

ช้าง กระผมขอเรียนทุกวิชาเพียงแต่หัวข้ออย่างเดียวเท่านั้น

ครั้นอาจารย์ให้โอกาส จึงล้างเท้าอาจารย์วางถุงทรัพย์พันหนึ่ง

ไว้ข้างหน้าอาจารย์ ไหว้แล้วนั่งลงข้างหนึ่ง เริ่มศึกษา พออรุณ

ขึ้นก็เรียนจบไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง จึงถามว่า ยังมีสิ่งอื่น ๆ

อีกหรือท่านอาจารย์ เมื่ออาจารย์กล่าวว่า ไม่มีแล้ว จบหมดแล้ว

ยังสอบทานศิลปะให้อาจารย์ฟังว่า ท่านอาจารย์ในคัมภีร์นี้มี

บทขาดหายไปเท่านี้ มีที่เลอะเลือนเพราะสาธยายไปเท่านี้ ตั้งแต่

นี้ไปท่านพึงบอกอันเตวาสิกทั้งหลายอย่างนี้ เสร็จแล้วบริโภค

อาหารแต่เช้าตรู่ไหว้อาจารย์กลับไปกรุงพาราณสีเพียงวันเดียว

เท่านั้น แล้วไปไหว้มารดา เมื่อมารดาถามว่า เรียนศิลปะจบแล้ว

หรือลูก บอกว่า จบแล้วจ้ะแม่ ทำให้มารดาปลาบปลื้มมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 90

วันรุ่งขึ้นเขาเตรียมงานมหรสพมงคลช้างกันเป็นการ

ใหญ่ ประชาชนต่างจัดเตรียมช้างของตน ๆ สวมเครื่องประดับ

แล้วด้วยทองคำ ผูกธงแล้วด้วยทองคำ คลุมด้วยตาข่ายทอง.

ตกแต่งกันที่พระลานหลวง. พวกพราหมณ์ก็ประดับประดารอท่า

ตั้งใจว่า พวกเราจักทำการมงคลช้าง. แม้พระเจ้าสุสีมะก็ทรง

เต็มยศ ให้ข้าราชบริพารถือเครื่องอุปกรณ์เสด็จไปยังมงคล

สถาน. แม้พระโพธิสัตว์ก็ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องประดับ

อย่างเด็ก มีบริษัทของตนห้อมล้อมเป็นบริวาร ไปยังสำนัก

ของพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ได้ทราบข่าวว่า

พระองค์ทรงทำวงศ์ของข้าพระพุทธเจ้าและของพระองค์เอง

ให้พินาศแล้วได้รับสั่งว่า เราจะให้พราหมณ์อื่นทำการมงคล

ช้างแล้วมอบเครื่องประดับช้างและเครื่องอุปกรณ์ให้จริงหรือ

พระพุทธเจ้า แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงพระนามว่า สุสีมะ

ช้างสีดำมีงาขาวประมาณร้อยเชือกเหล่านี้ ประ

ดับด้วยข่ายทองเป็นของพระองค์ พระองค์ทรง

ระลึกถึงการกระทำของพระบิดาและพระอัยยกา

อยู่เนือง ๆ ตรัสว่า เราจะให้ช่างเหล่านี้แก่

พราหมณ์เหล่าอื่นดังนี้ เป็นความจริงหรือ

พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 91

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตเต ททามีติ สุสีม พฺรูสิ

ความว่า เราให้ช้างเหล่านี้แก่ท่าน คือในสำนักของท่าน. อธิบาย

ว่า เราจะให้ช้างซึ่งประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวงประมาณ

ร้อยเชือก จำพวกสีดำงาขาวแก่พราหมณ์เหล่าอื่น. ข้าแต่พระ-

ราชาสุสีมะ พระองค์ตรัสอย่างนี้เป็นความจริงหรือ. บทว่า

อนุสฺสร เปตฺติปิตามหาน ความว่า ทรงระลึกถึงการกระทำของ

พระบิดาและพระอัยยกาเนือง ๆ ในวงศ์ของข้าพระพุทธเจ้าและ

ของพระองค์เอง. ข้อนี้ท่านอธิบายว่า ข้าแต่มหาราช บิดาและ

ปู่ของข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายกระทำมงคลช้างแก่พระชนกและ

พระอัยยกาของพระองค์จนเจ็ดชั่วตระกูล พระองค์แม้ทรงระลึก

ได้อย่างนี้ ก็ยังทำวงศ์ของข้าพระองค์ทั้งหลายและของพระองค์

ให้พินาศ นัยว่ารับสั่งอย่างนี้จริงหรือ.

พระเจ้าสุสีมะทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์ จึงตรัสคาถา

ที่สองว่า :-

ดูก่อนมาณพ ช้างสีดำมีงาขาวประมาณ

ร้อยเชือกเหล่านี้ ประดับด้วยข่ายทองซึ่งเป็น

ของเรา เราระลึกถึงการกระทำของพระบิดา

และพระอัยยกาอยู่เนืองๆ พูดว่า ว่าเราจะให้

ช้างเหล่านั้นแก่พราหมณ์เหล่าอื่น ดังนี้ เป็น

ความจริง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 92

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตเต ททามิ ความว่า ดูก่อน

มาณพ เราพูดว่า เราจะให้ช้างเหล่านี้แก่พราหมณ์ทั้งหลาย

เป็นความจริงทีเดียว. อธิบายว่า เราพูดกะพราหมณ์เหล่านั้นว่า

เราจะให้ช้างเหล่านี้แก่พราหมณ์ทั้งหลายเป็นความจริง. บทว่า

อนุสฺสร ความว่า เรายังระลึกได้ถึงกิริยาของพระบิดาและพระ

เจ้าปู่อยู่เสมอ มิใช่ระลึกไม่ได้. พระราชารับสั่งอย่างนั้น โดย

ทรงชี้แจงว่า แม้เราระลึกได้ว่า บิดาและปู่ของเจ้ากระทำพิธี

มงคลช้าง แก่พระบิดาและพระอัยยกาของเรา ก็ยังพูดอย่างนี้

อีกเป็นความจริง.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ได้กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่

มหาราช เมื่อพระองค์ยังทรงระลึกถึงวงศ์ของพระองค์และของ

ข้าพระองค์ได้ เพราะเหตุไรพระองค์จึงทิ้งข้าพระองค์เสีย แล้ว

ให้ผู้อื่นกระทำการมงคลช้างเล่าพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า

นี่แน่เจ้าพวกพราหมณ์เขาบอกเราว่า นัยว่าเจ้าไม่รู้ไตรเพท

และสูตรกล่อมช้าง. เพราะฉะนั้นเราจึงให้พวกพราหมณ์อื่นทำ

พิธี. พระโพธิสัตว์บรรลือสีหนาทว่า ข้าแต่มหาราช บรรดา

พราหมณ์ทั้งหมดนี้ แม้สักคนหนึ่งผิว่าสามารถเจรจากับข้าพระองค์

ได้ในพระเวทก็ดี ในพระสูตรก็ดีมีอยู่ จงลุกขึ้นมา พราหมณ์

อื่นนอกจากข้าพระพุทธเจ้า ชื่อว่ารู้ไตรเพทและสูตรกล่อมช้าง

พร้อมด้วยวิธีทำการมงคลช้าง ไม่มีเลยทั่วชมพูทวีป. พราหมณ์

แม้สักคนหนึ่งก็ไม่สามารถลุกขึ้นเป็นคู่แข่งกับพระโพธิสัตว์ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 93

พระโพธิสัตว์ครั้นดำรงตระกูลวงศ์ของตนให้มั่นคงแล้ว จึงกระทำ

การมงคล ถือเอาทรัพย์เป็นอันมากกลับไปยังที่อยู่.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรมแล้ว ชนบางพวก

ได้เป็นโสดาบัน. บางพวกได้พระสกทาคามี บางพวกได้เป็น

พระอนาคามี บางพวกได้บรรลุพระอรหัต. มารดาในครั้งนั้นได้

เป็นมหามายาในครั้งนี้ บิดาได้เป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราช

พระราชาสุสีมะได้เป็นอานนท์ อาจารย์ทิศาปาโมกข์ ได้เป็น

โมคคัลลานะ ส่วนมาณพ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสุสีมชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 94

๔. คิชฌชาดก

ว่าด้วยสายตาแร้ง

[๑๗๗] เออก็ (เขากล่าวว่า) แร้งย่อมเห็นซากศพ

ทั้งหลายได้ถึงร้อยโยชน์ เหตุไรท่านมาถึงข่าย

และบ่วงจึงไม่รู้เล่า.

[๑๗๘] ความเสื่อมจะมีในเวลาใด สัตว์ใกล้จะ

สิ้นชีวิตในเวลาใดในเวลานั้น ถึงจะมาใกล้ข่าย

และบ่วงก็รู้ไม่ได้.

จบ คิชฌชาดกที่ ๔

อรรถกถาคิชฌชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

ภิกษุเลี้ยงมารดารูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า

ยนฺนุ คิชฺโฌ โยชนสต ดังนี้.

เรื่องจักมีแจ้งในสามชาดก

พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุได้ยินว่า

เธอเลี้ยงคฤหัสถ์จริงหรือ เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า

ตรัสถามว่า คฤหัสถ์เหล่านั้นเป็นใคร กราบทูลว่า มารดาบิดา

ของข้าพระองค์เองพระเจ้าข้า ทรงให้สาธุการว่า ดีแล้ว ดีแล้ว

ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธออย่าตำหนิโทษภิกษุนี้เลย แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 95

โบราณบัณฑิตทั้งหลายก็ได้ทำอุปการะแก่ผู้มิใช่ญาติด้วยอำนาจ

บุญคุณ ส่วนมารดาบิดาของภิกษุนี้เป็นภาระแท้ แล้วทรงนำ

เรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดพญาแร้ง เลี้ยงดูมารดา

บิดาอยู่ที่คิชฌบรรพต. ต่อมาคราวหนึ่ง เกิดพายุฝนใหญ่. แร้ง

ทั้งหลายไม่สามารถทนพายุฝนได้ จึงพากันบินหนีมากรุงพาราณสี

เพราะกลัวหนาว จับสั่นอยู่ด้วยความหนาว ณ ที่ใกล้กำแพง

และคูเมือง. ในเวลานั้นเศรษฐีกรุงพาราณสีออกจากเมืองจะไป

อาบน้ำเห็นแร้งเหล่านั้นกำลังลำบาก จึงจัดให้มารวมกันที่กำบัง

ฝนแห่งหนึ่ง ก่อไฟให้ผิง แล้วส่งไปยังป่าช้าโค หาเนื้อโคมาให้

พวกแร้งแล้วจัดการอารักขา. ครั้นพายุฝนสงบแร้งทั้งหลายก็

มีร่างกายกระปรี้กระเปร่า พากันบินกลับสู่ภูเขาตามเดิม. พวกแร้ง

จับกลุ่มปรึกษากัน ณ ที่นั้นว่า เศรษฐีกรุงพาราณสี ได้ช่วยเหลือ

พวกเรามา ควรตอบแทนผู้ที่ช่วยเหลือเรา เพราะฉะนั้นตั้งแต่

นี้ไป บรรดาพวกท่านผู้ใดได้ผ้าหรือเครื่องอาภรณ์ชนิดใด ผู้นั้น

พึงคาบสิ่งนั้นให้ตกลงกลางเวหาใกล้เรือนของเศรษฐีกรุงพาราณสี.

ตั้งแต่นั้นมาแร้งทั้งหลายคอยดูความเผลอเรอของพวกมนุษย์ที่

ตากผ้าและเครื่องอาภรณ์ไว้กลางแดด ต่างพากันโฉบเฉี่ยวไป

ฉับพลันเหมือนเหยี่ยวคาบชิ้นเนื้อ ทิ้งตกลงกลางอากาศใกล้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 96

เรือนของเศรษฐีกรุงพาราณสี. เศรษฐีรู้ว่าเป็นเครื่องอาภรณ์

ของแร้ง จึงให้เก็บอาภรณ์ทั้งหมดนั้นไว้เป็นส่วน ๆ.

มหาชนพากันไปกราบทูลพระราชาว่า แร้งทั้งหลายปล้น

เมือง. พระราชารับสั่งว่า พวกเจ้าจับแร้งได้แม้ตัวเดียวเท่านั้น

ก็จะได้ของคืนทั้งหมด แล้วให้วางบ่วงและข่ายดักไว้ในที่นั้น ๆ.

แร้งตัวที่เลี้ยงมารดาก็ติดบ่วง. ชนทั้งหลายก็จับแร้งนั้นนำไป

ด้วยคิดว่าจักถวายพระราชา. เศรษฐีกรุงพาราณสีกำลังเดิน

ไปเฝ้าพระราชา ครั้นเห็นมนุษย์พวกนั้นจับแร้งเดินไป จึงได้

ไปพร้อมกับเขาด้วยคิดว่า จักไม่ให้ผู้ใดรังแกแร้งตัวนี้. ชน

ทั้งหลายก็ถวายแร้งแด่พระราชา. พระราชาจึงตรัสถามว่า พวก

เจ้าปล้นเมืองคาบผ้าเป็นต้นไปหรือ. พญาแร้งกราบทูลว่า ข้าแต่

มหาราช จริงพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า พวกเจ้าเอาไปให้แก่ใคร.

กราบทูลว่า ให้แก่เศรษฐีกรุงพาราณสีพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า

เพราะเหตุไร. กราบทูลว่า เพราะเศรษฐีนั้นได้ให้ชีวิตแก่พวก

ข้าพระองค์ กระทำอุปการะตอบแก่ผู้มีอุปการะย่อมสมควร

อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น พวกข้าพระองค์จึงให้ไป. พระราชา

รับสั่งกะพญาแร้งว่า ได้ยินว่า แร้งทั้งหลายอยู่ไกลตั้งร้อยโยชน์

ย่อมเห็นซากศพ เพราะเหตุไร เจ้าจึงไม่เห็นบ่วงที่เขาดักจับตัว

แล้วตรัสคาถาที่ ๑ ว่า :-

เขากล่าวกันว่าแร้งย่อมเห็นซากศพได้

ถึงร้อยโยชน์ เหตุไรเจ้ามาถึงข่ายและบ่วงจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 97

ไม่รู้สึก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย เป็นเพียงนิบาต. บทว่า

เป็นนามัตถนิบาต. อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่าแร้งย่อมมองเห็นซากศพ

ซึ่งตั้งอยู่เกินร้อยโยชน์. บทว่า อาสชฺชาปิ แปลว่า เข้าใกล้

คือ มาถึง. พระราชาตรัสถามว่า เจ้าแม้มาถึงข่ายและบ่วงที่

เขาดักไว้จับตัว เพราะเหตุไร จึงไม่รู้สึกเล่า.

พญาแร้งสดับพระราชดำรัสแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ความเสื่อมจะมีในเวลาใด สัตว์ใกล้จะ

สิ้นชีวิตในเวลาใด ในเวลานั้นถึงจะมาใกล้ข่าย

และบ่วง ก็รู้ไม่ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปราภโว คือ ความพินาศ.

บทว่า โปโส คือสัตว์.

พระราชาครั้นทรงสดับคำของแร้งแล้ว จึงตรัสถาม

เศรษฐีว่า ดูก่อนมหาเศรษฐี แร้งทั้งหลายนำผ้าเป็นต้นมาที่

เรือนของท่านจริงหรือ. กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า. ตรัสถาม

ว่า ผ้าเป็นต้นเหล่านั้นอยู่ที่ไหน. กราบทูลว่า ขอเดชะข้าพระ-

พุทธเจ้าจัดผ้าเหล่านั้นไว้เป็นส่วน ๆ ข้าพระพุทธเจ้าจะให้แก่

ผู้ที่เป็นเจ้าของ ขอพระองค์ได้โปรดทรงปล่อยแร้งตัวนี้เถิด

พระเจ้าข้า. มหาเศรษฐีกราบทูลให้ปล่อยพญาแร้ง แล้วคืน

สิ่งของให้แก่ทุกคน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 98

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

อริยสัจ ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบอริยสัจ ภิกษุผู้เลี้ยงมารดา

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นอานนท์ใน

บัดนี้. เศรษฐีกรุงพาราณสีได้เป็นสารีบุตร. ส่วนแร้งเลี้ยง

มารดา คือเราตถาคตนี้แล

จบ อรรถกถาคิชฌชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 99

๕. นกุลชาดก

อย่าวางใจมิตร

[๑๗๙] ดูก่อนพังพอน ท่านได้ทำมิตรภาพกับงู

ผู้เป็นศัตรูแล้ว ไฉนจึงยังนอนแยกเขี้ยวอยู่อีก

เล่า ภัยที่ไหนจะมาถึงแก่ท่านอีก.

[๑๘๐] บุคคลพึงระแวงภัยในศัตรูไว้ แม้ในมิตร

ก็ไม่ควรวางใจ ภัยเกิดขึ้นแล้วจากมิตร ย่อมตัด

มูลรากทั้งหลายเสีย.

จบ นกุลชาดกที่ ๕

อรรถกถานกุลชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

การทะเลาะของเสณี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

สนฺธึ กตฺวา อมิตฺเตน ดังนี้.

เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในอุรคชาดก ในหนก่อน.

แม้ในเรื่องนี้พระศาสดาก็ตรัสว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย มหา-

อำมาตย์สองคนเหล่านี้ มิใช่เราทำให้สามัคคีกันในบัดนี้เท่านั้น

แม้เมื่อก่อนเราก็ได้ทำให้คนเหล่านี้สามัคคีกันเหมือนกัน แล้ว

ทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 100

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ในบ้าน

แห่งหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ได้เรียนคิลปะทุกแขนง ในกรุงตักกสิลา

สละเพศฆราวาสออกบวชเป็นฤาษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้

เกิด มีรากไม้และผลาผลในป่าเป็นอาหาร โดยการเที่ยวแสวง

หา พำนักอยู่ในหิมวันตประเทศ. ท้ายสุดที่จงกรมของพระ-

โพธิสัตว์ มีพังพอนอาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ใกล้จอมปลวก

นั้นมีงูอาศัยอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง. งูและพังพอนทั้งสองก็ทะเลาะกัน

ตลอดกาล. พระโพธิสัตว์กล่าวถึงโทษในการทะเลาะกันและ

อานิสงส์ในการเจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งสองนั้น แล้วสอนว่า ไม่

ควรทะเลาะกัน ควรอยู่กันด้วยความสามัคคี ได้ทำให้สัตว์

ทั้งสองนั้นสามัคคีกัน. ครั้นถึงเวลาที่งูออกไปข้างนอก พังพอน

ก็นอนอ้าปากหันหัวไปทางช่องโพลงจอมปลวก ท้ายที่จงกรม

หายใจเข้าออกหลับไป. พระโพธิสัตว์เห็นพังพอนนั้นนอนหลับ

เมื่อจะถามว่า ภัยอะไรเกิดขึ้นแก่เจ้า จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนพังพอน ท่านได้ทำมิตรภาพกับงู

ผู้เป็นศัตรู ไฉนจึงยังนอนแยกเขี้ยวอยู่อีกเล่า

ภัยที่ไหนจะมาถึงแก่ท่านอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺธึ กตฺวา คือทำความเป็น

มิตรกัน. บทว่า อณฺฑเชน งูซึ่งเกิดในกะเปาะไข่. เรียก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 101

พังพอนว่า ชลาพุชะ. ด้วยว่าพังพานนั้นเรียกว่าชลาพุชะเพราะ

เกิดในครรภ์ บทว่า วิวริย แปลว่า อ้าปาก.

พระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว พังพอนจึงบอกว่า พระคุณ-

เจ้า ขึ้นชื่อว่าศัตรูไม่ควรดูหมิ่น ควรระแวงไว้เสมอ แล้วกล่าว

คาถาที่ ๒ ว่า :-

บุคคลพึงระแวงภัยในศัตรูไว้ แม้ในมิตร

ก็ไม่ควรวางใจ ภัยเกิดขึ้นแล้วจากมิตร ย่อม

ตัดมูลรากทั้งหลายเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกยา ภยมุปฺปนฺน ได้แก่

ภัยไม่เกิดแก่ท่านจากโอกาสนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีภัย

ใครจัดว่าเป็นมิตร ผู้ที่คุ้นเคยจัดว่าเป็นมิตร เพราะฉะนั้น ภัย

ย่อมเกิดขึ้นจากมิตรนั้น ย่อมตัดแม้มูลรากนั้นเสีย อธิบายว่า

ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อกำจัดมูลราก เพราะค่าที่มิตรรู้โทษทั้งหมด

แล้ว.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้สอนพังพอนนั้นว่า เจ้าอย่า

กลัวเลย เราได้กระทำโดยที่ไม่ให้งูทำร้ายเจ้าแล้ว ตั้งแต่นี้ไป

เจ้าอย่าได้ระแวงงูนั้นเลย แล้วสอนให้เจริญพรหมวิหารสี่มุ่ง

ต่อพรหมโลก. แม้สัตว์เหล่านั้นก็ไปตามยถากรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 102

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุม

ชาดก. งูและพังพอนในครั้งนั้นได้เป็นมหาอำมาตย์สองคนใน

บัดนี้. ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถานกุลชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 103

๖. อุปสาฬหกชาดก

ด้วยคุณธรรมที่ไม่ตายไปจากโลก

[๑๘๑] พราหมณ์ชื่อว่าอุปสาฬหกทั้งหลาย ถูก

ญาติทั้งหลายเผาเสียในประเทศนี้ ประมาณ

หมื่นสี่พันชาติแล้ว สถานที่อันใคร ๆ ไม่เคย

ตายแล้ว ย่อมไม่มีในโลก

[๑๘๒] สัจจะ ๑ ธรรม ๑ อหิงสา ๑ สัญญมะ ๑

ทมะ ๑ มีอยู่ในบุคคลใด พระอริยะทั้งหลายย่อม

คบหาบุคคลนั้น คุณชาตินี้แลชื่อว่าไม่ตายในโลก.

จบ อุปสาฬหกชาดกที่ ๖

อรรถกถาอุปสาฬหกชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

พราหมณ์ผู้ถือความบริสุทธิ์ของป่าช้า ชื่ออุปสาฬหกะ.

มีเรื่องได้ยินมาว่า พราหมณ์นั้นเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก

แต่เพราะค่าที่ตนเป็นคนเจ้าทิฏฐิ จึงมิได้ทำการสงเคราะห์

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ประทับอยู่ ณ พระวิหารใกล้ ๆ. แต่

บุตรของเขาเป็นคนฉลาด มีความรู้. พราหมณ์บอกบุตรเมื่อ

ตัวแก่เฒ่าว่า นี่แน่ลูก เจ้าอย่าเผาพ่อในป่าช้าที่เผาคนเฉาโฉด

แต่ควรเผาพ่อในป่าช้าที่ไม่ปะปนกับใคร ๆ แห่งหนึ่ง. บุตรกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 104

ว่า พ่อจ๋าลูกไม่รู้จักที่ที่ควรเผาพ่อ ทางที่ดีพ่อพาลูกไปแล้ว

บอกว่าให้เผาตรงนี้. พราหมณ์พูดว่า ดีละลูกแล้วพาบุตรออก

จากเมืองขึ้นไปยังยอดเขาคิชฌกูฎ กล่าวว่าลูกตรงนี้แหละเป็น

ที่ที่ไม่เคยเผาคนเฉาโฉดอื่น. ลูกควรเผาพ่อตรงนี้แล้วก็เริ่ม

ลงจากภูเขาพร้อมกับลูก.

ในวันนั้นเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงตรวจดูเผ่าพันธุ์ผู้

ที่ควรโปรดได้ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติมรรคของ

พ่อลูกนั้น เพราะฉะนั้น จึงทรงถือเอาทางนั้นเสด็จไปยังเชิงภูเขา

ดุจพรานชำนาญทาง ประทับนั่งรอพ่อลูกลงจากยอดเขา. พ่อลูก

ลงจากภูเขาได้เห็นพระศาสดา. พระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถาร

ตรัสถามว่า จะไปไหนกันพราหมณ์. มาณพกราบทูลเนื้อความ

ให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นมาเถิด เราจะไป

ยังที่ที่บิดาของเจ้าบอกทรงพาพ่อลูกทั้งสองขึ้นสู่ยอดเขาตรัส

ถามว่า ที่ตรงไหนเล่า. มาณพกราบทูลว่า บิดาของข้าพระองค์

บอกว่า ระหว่างภูเขาสามลูกนี่แหละพระเจ้าข้า. พระศาสดา

ตรัสว่า ดูก่อนมาณพบิดาของเจ้ามิใช่ถือความบริสุทธิ์แห่งป่าช้า

ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนบิดาของเจ้าก็ถือความบริสุทธิ์แห่ง

ป่าช้า อนึ่งบิดาคนนี้บอกเจ้าว่าจงเผาเราตรงนี้แหละมิใช่เวลานี้

เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็บอกที่สำหรับเผาตนในที่นี้เหมือนกัน เมื่อ

เขากราบทูลอาราธนาจึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 105

ในอดีตกาล ที่กรุงราชคฤห์นี้แหละ ได้มีพราหมณ์ชื่อ

อุปสาฬหกะคนเดียวกันนี้แหละ และบุตรของเขาก็คนเดียวกันนี้.

ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้นมคธ

ครั้นจบศิลปศาสตร์แล้ว จึงออกบวชเป็นฤาษี ทำอภิญญาและ

สมาบัติให้เกิด เพลิดเพลินอยู่ด้วยฌานกรีฑา อาศัยอยู่ในหิมวันต-

ประเทศเป็นเวลาช้านาน แล้วจึงไปพักอยู่ ณ บรรณศาลาใกล้

ภูเขาคิชฌกูฎ เพื่อเสพของเค็มของเปรี้ยว. ในครั้งนั้น พราหมณ์

นั้นได้บอกกะบุตรทานองเดียวกันนี้แหละ เมื่อบุตรกล่าวว่า

พ่อจงบอกที่เช่นนั้นแก่ลูกเถิด. แล้วบอกที่นี้แหละ แล้วลงไปพบ

พระโพธิสัตว์พร้อมกับบุตร ได้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์. พระโพธิ-

สัตว์ถามทานองเดียวกันนี้แหละ. ครั้นฟังคำของมาณพแล้ว

จึงกล่าวว่า มาเถิดเราจะรู้ว่าที่ที่บิดาเจ้าบอกปะปนหรือไม่ปะปน

แล้วพาบิดาและบุตรขึ้นไปยอดภูเขา เมื่อมาณพกล่าวว่า ระหว่าง

ภูเขาสามลูกนี้แหละ เป็นที่ไม่ปะปน จึงตอบว่า ดูก่อนมาณพใน

ที่นี้แหละไม่มีปริมาณของผู้ที่ถูกเผา บิดาของเจ้านั่นเองเกิดใน

ตระกูลพราหมณ์เมืองราชคฤห์นี้แหละ ชื่ออุปสาฬหกะอย่าง

เดียวกัน ถูกเผาในระหว่างภูเขานี้มาแล้วถึงหมื่นสี่พันชาติ.

อันที่จริง สถานที่ที่ไม่ถูกเผาก็ดี สถานที่ที่ไม่ใช่ป่าช้าก็ดี สถานที่

ที่ศีรษะไม่ทอดลงก็ดี ไม่อาจหาได้ในแผ่นดิน แล้วกำหนดด้วย

ญาณอันรู้ถึงภพของสัตว์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อน (บุพเพนิวาสญาณ)

จึงกล่าวสองคาถาว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 106

พราหมณ์ชื่อว่า อุปสาฬหกะทั้งหลาย

ถูกญาติทั้งหลายเผาเสียในประเทศนี้ ประมาณ

หมื่นสี่พันชาติแล้ว สถานที่อันใคร ๆ ไม่เคย

ตายแล้วย่อมไม่มีในโลก. สัจจะ ธรรมะ อหิงสา

สัญญมะ และทมะมีอยู่ในบุคคลใด พระอริยะ

ทั้งหลายย่อมคบหาบุคคลนั้น คุณชาตินี้แลชื่อว่า

ไม่ตายในโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนามต ได้แก่ จริงอยู่สถานที่

อันไม่ตายท่านเรียกว่า อมตะด้วยการเปรียบเทียบ. เมื่อจะปฏิเสธ

ข้อนั้น จึงกล่าวว่า อนามต (ที่ที่ไม่เคยตาย). บาลี เป็น อมต

ก็มี อธิบายว่า ชื่อว่าที่อันไม่ใช่สุสาน อันเป็นที่ที่ใคร ๆ ไม่เคย

ตายไม่มีในโลก. บทว่า ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺมโมจ ได้แก่ ญาณ

คือสัจธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้น มีอริยสัจสี่เป็นพื้นฐาน และ

โลกุตรธรรม มีอยู่ในบุคคลใด. บทว่า อหึสา ได้แก่ การไม่

เบียดเบียน กิริยาที่ไม่เบียดเบียนต่อผู้อื่น. บทว่า สญฺโม ได้แก่

การสำรวมด้วยศีล. บทว่า ทโม ได้แก่การฝึกอินทรีย์. คุณชาติ

นี้แลมีอยู่ในบุคคลใด. บทว่า เอตทริยา เสวนฺติ ความว่า พระ-

อริยะทั้งหลาย ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ

สาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมเสพฐานะนี้คือ ย่อมเข้าไปหา ย่อม

คบบุคคลชนิดนี้. บทว่า เอต โลเกอนามต ได้แก่ คุณชาตินั้นชื่อว่า

อมตะ เพราะให้สำเร็จถึงความไม่ตาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 107

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่สองพ่อลูกอย่างนี้แล้ว เจริญ

พรหมวิหารสี่มุ่งต่อพรหมโลก. พระศาสดาทรงนำพระธรรม-

เทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม ทรงประชุมชาดก.

เมื่อจบสัจธรรม พ่อลูกทั้งสองตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

พ่อลูกในครั้งนั้นได้เป็นพ่อลูกในบัดนี้. ส่วนดาบสคือเราตถาคต

นี้แล.

จบ อรรถกถาอุปสาฬหกชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 108

๗. สมิทธิชาดก

ว่าด้วยการไม่รู้เวลาตาย

[๑๘๓] ดูก่อนภิกษุ ท่านยังไม่ทันได้บริโภคกาม

เลย มาเที่ยวภิกษาเสีย ท่านจะบริโภคกามเสีย

ก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาไม่ดีหรือ ดูก่อนภิกษุ

ท่านจงบริโภคกามเสียก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษา

เถิด เวลาบริโภคกามอย่าล่วงเลยท่านไปเสียเลย.

[๑๘๔] เรารู้เวลาตายไม่ได้โดยแท้ เวลาตายยัง

ปกปิดอยู่ หาปรากฏไม่ เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่

บริโภคกามแล้วเที่ยวภิกษาเวลากระทำสมณ-

ธรรมอย่าล่วงเลยเราไปเสีย.

จบ สมิทธิชาดกที่ ๗

อรรถกถาสมิทธิชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับ

อยู่ ณ พระวิหารตโปทาราม ทรงปรารภพระเถระชื่อสมิทธิ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อภุตฺวา ภิกฺขสิ ภิกขุ ดังนี้.

ความพิสดารว่า วันหนึ่งท่านสมิทธิเถระตั้งความเพียร

ตลอดคืนยังรุ่ง พอรุ่งสว่างก็ไปอาบน้ำ ผึ่งกายอันมีสีดุจทองคำ

ให้แห้ง แล้วนุ่งผ้ามือหนึ่งถือผ้าห่มยืนอยู่. พระเถระมีชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 109

สมิทธิ เพราะมีอัตภาพสมบูรณ์คล้ายรูปทอง อันนายช่างหล่อ

หลอมไว้อย่างงดงาม. ครั้งนั้นเทพธิดานางหนึ่งเห็นส่วนแห่งความ

งามในร่างกายของพระเถระก็มีจิตปฏิพัทธ์ พูดกับพระเถระ

อย่างนี้ว่า ท่านภิกษุ ท่านยังเด็กเยาว์วัย หนุ่มแน่นมีผมดำ

ประกอบด้วยความหนุ่ม ทั้งยังเจริญ มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส

ท่านเป็นเช่นนี้ไม่บริโภคกาม ประโยชน์อะไรด้วยการบรรพชา

จงบริโภคกามเสียก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยบวชบำเพ็ญสมณธรรม.

ครั้นแล้วพระเถระกล่าวกะเทพธิดาว่า แน่ะเทพธิดา เราไม่รู้

ความตายของเราว่า เราจักตายเมื่ออยู่ในวันโน้น เรากำหนด

เวลาไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจักบำเพ็ญสมณธรรม ในตอนยัง

เป็นหนุ่มแล้วจักทำที่สุดทุกข์. เทพธิดาครั้นไม่ได้การต้อนรับ

จากพระเถระก็หายไป ณ ที่นั่นเอง. พระเถระเข้าไปเฝ้าพระ-

ศาสดา แล้วกราบทูลเรื่องราวนั้นให้ทรงทราบ. พระศาสดา

ตรัสว่า ดูก่อนสมิทธิ ก็เทพธิดาเล้าโลมเธอมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น

แม้แต่ก่อนเทพธิดาทั้งหลาย ก็เล้าโลมนักบวชบัณฑิตเหมือนกัน

เมื่อทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ใน

กาสิกคาม ตำบลหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ได้เล่าเรียนศิลปศาสตร์

ทุกชนิด แล้วบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด อาศัย

สระแห่งหนึ่งอยู่ใกล้หิมวันตประเทศ. ดาบสนั้นบำเพ็ญเพียร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 110

อยู่ตลอดคืนยังรุ่ง ในเวลาอรุณขึ้นอาบน้าแล้วนุ่งผ้าเปลือกไม้

ผืนหนึ่ง จับผืนหนึ่งไว้ ยืนผึ่งสรีระให้แห้ง. ขณะนั้นเทพธิดา

นางหนึ่งมองดูอัตภาพอันมีรูปโฉมงดงามของพระดาบส มีจิต

ปฏิพัทธ์ จึงเล้าโลมพระโพธิสัตว์กล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนภิกษุ ท่านยังไม่ทันได้บริโภคกาม

เลย มาเที่ยวภิกษาเสีย ท่านจะบริโภคกามเสีย

ก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาไม่ดีหรือ

ดูก่อนภิกษุท่านจงบริโภคกามเสียก่อน

แล้วจึงเที่ยวภิกษาเถิด เวลาบริโภคกามอย่า

ล่วงเลยท่านไปเสีย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภุตฺวา ภิกฺขสิ ภิกฺขุ ความว่า ดูก่อน

ภิกษุ ท่านยังไม่บริโภควัตถุกาม เนื่องด้วยกิเลสกาม ในคราว

เป็นเด็กแล้วเที่ยวขอ. บทว่า น หิ ภุตฺวาน ภิกฺขสิ ความว่า

ท่านควรบริโภคกามคุณห้าแล้วจึงเที่ยวภิกษามิใช่หรือ ท่านยัง

ไม่บริโภคกามเลย เที่ยวขอภิกษาเสียแล้ว. บทว่า ภุตฺวาน ภิกฺขุ

ภิกฺขสฺสุ ความว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านบริโภคกามเสียแต่ยังเป็น

หนุ่มก่อน ภายหลังเมื่อแก่แล้วจึงขอเถิด. บทว่า มา ต กาโล

อุปจฺจคา ความว่า เวลาบริโภคกามนี้อย่าล่วงเลยท่านในเวลา

หนุ่มเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 111

พระโพธิสัตว์สดับคำของเทพธิดาแล้ว เมื่อจะประกาศ

อัธยาศัยของตน จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

เรารู้เวลาตายไม่ได้โดยแท้ เวลาตายยัง

ปกปิดอยู่ หาปรากฏไม่ เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่

บริโภคกามแล้วเที่ยวภิกษา เวลากระทำสมณ-

ธรรมอย่าล่วงเลยเราไปเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว ในบทว่า กาล โวห น

ชานามิ เป็นเพียงนิบาต. เราไม่รู้เวลาตายของตนอย่างนี้ว่า

เราควรตายในปฐมวัย หรือในมัชฌิมวัย หรือในปัจฉิมวัย. ดัง

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

บุคคลแม้เป็นอติบัณฑิต ก็ไม่รู้ถึงฐานะ

ห้าอย่างอันไม่มีนิมิตในชีวโลกนี้ คือ ชีวิต ๑

พยาธิ ๑ เวลา ๑ ที่ตาย ๑ ที่ไป ๑.

บทว่า ฉนฺโน กาโล น ทิสฺสติ ความว่า เพราะเราไม่

เห็นกาล กาลอันปกปิดนี้ คือไม่ปรากฏกาลอันตั้งอยู่อย่างปกปิด

ว่า เราควรตายเมื่อถึงวัยโน้น หรือ ในฤดูหนาวเป็นต้น. บทว่า

ตสฺมา อภุตฺวา ภิกฺขามิ ความว่า เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่บริโภค

กามคุณแล้วขอ. บทว่า มา ม กาโล อุปจฺจคา ความว่า เวลา

บำเพ็ญสมณธรรมอย่าล่วงเลยเราไป เพราะเหตุนั้น เราจึงบวช

บาเพ็ญสมณธรรมแต่ยังหนุ่ม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 112

เทพธิดาสดับคาพระโพธิสัตว์แล้วก็หายไป ณ ที่นั้นเอง.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม

ชาดก. เทพธิดาในครั้งนั้นได้เป็นเทพธิดานี้ในบัดนี้ เราได้เป็น

ดาบสในสมัยนั้น.

จบ อรรถกถาสมิทธิชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 113

๘. สกุณัคฆิชาดก

ว่าด้วยเหยี่ยวนกเขา

[๑๘๕] เหยี่ยวนกเขาบินโผลงด้วยกำลัง หมายใจ

ว่าจะเฉี่ยวเอานกมูลไถ ซึ่งจับอยู่ที่ชายดงเพื่อ

หาเหยื่อ โดยฉับพลัน เพราะเหตุนั้นจึงถึงความ

ตาย.

[๑๘๖] เรานั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุบาย ยินดีแล้ว

ในโคจรอันเนื่องมาแต่บิดา เห็นอยู่ซึ่งประโยชน์

ของตน จึงหลีกพ้นไปจากศัตรู ย่อมเบิกบานใจ.

จบ สกุณัคฆิชาดกที่ ๘

อรรถกถาสกุณัคฆิชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง

ปรารภพระสูตรว่าด้วยโอวาทของนก อันเป็นพระอัธยาศัยของ

พระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า เสโน พลสา

ปตมาโน ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า วันหนึ่งพระศาสดาตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลาย แล้วตรัสพระสูตรในมหาวรรคสังยุตต์นี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวไปในโคจรอันเป็นวิสัยของบิดา

ของตนแล้วตรัสว่า พวกเธอจงยกไว้ก่อนเถิด เมื่อก่อนแม้ดิรัจฉาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 114

ทั้งหลายก็ละวิสัยของตนแล้วเที่ยวไปในที่เป็นอโคจร ไปสู่เงื้อมมือ

ของข้าศึก แต่รอดจากเงื้อมมือข้าศึกได้ ก็ด้วยความฉลาดใน

อุบาย เพราะตนมีปัญญาเป็นสมบัติ แล้วทรงนำเรื่องในอดีต

มาเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกมูลไถ อาศัยอยู่

ในก้อนดินที่ทำการไถ. วันหนึ่งนกมูลไถนั้นละถิ่นที่หากินเดิม

ของตนไปท้ายดงด้วยคิดว่า จักหาอาหารในถิ่นอื่น ครั้งนั้นเหยี่ยว

นกเขาเห็นนกมูลไถกำลังหาอาหารอยู่ จึงโฉบจับเอามันไป. เมื่อ

มันถูกเหยี่ยวนกเขาพาไป จึงคร่ำครวญอย่างนี้ว่า เราเคราะห์

ร้ายมาก มีบุญน้อย เราเที่ยวไปในที่อโคจรอันเป็นถิ่นอื่น ถ้า

วันนี้เราเที่ยวไปในที่โคจรอันเป็นถิ่นบิดาของตนแล้ว เหยี่ยว

นกเขานี้ไม่พอมือเราในการต่อสู้. เหยี่ยวนกเขาถามว่า ดูก่อน

นกมูลไถที่หาอาหารอันเป็นถิ่นบิดาของเจ้าเป็นอย่างไร. นกมูลไถ

ตอบว่า คือที่ก้อนดินคันไถน่ะซิ. เหยี่ยวนกเขายังออมกำลัง

ของมันไว้ จึงได้ปล่อยมันไปโดยพูดว่า ไปเถิดเจ้านกมูลไถ แม้

เจ้าไปในที่นั้นก็คงไม่พ้นเราดอก. นกมูลไถบินกลับไปในที่นั้น

ได้ขึ้นไปยังดินก้อนใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวว่า มาเดี๋ยวนี้ซิเจ้าเหยี่ยว

นกเขา. เหยี่ยวนกเขามิได้ออมกาลังของมัน ลู่ปีกทั้งสองโฉบ

นกมูลไถทันทีทันใด. ก็เมื่อนกมูลไถรู้ว่าเหยี่ยวนี้มาถึงเราด้วย

กาลังแรง จึงบินหลบกลับเข้าไปในระหว่างก้อนดินนั้นเอง. เหยี่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 115

ไม่อาจยั้งความเร็วได้ จึงกระแทกอกเข้ากับก้อนดินในที่นั้นเอง.

เหยี่ยวอกแตกตาถลนตายทันที.

พระศาสดา ครั้นทรงแสดงเรื่องในอดีตนี้แล้ว จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้สัตว์เดียรัจฉานเที่ยวไปในที่อโคจร

อย่างนี้ ยังถึงเงื้อมมือข้าศึก แต่เมื่อเที่ยวไปในถิ่นหาอาหารอัน

เป็นของบิดาของตน ก็ยังข่มข้าศึกเสียได้ เพราะฉะนั้น แม้พวกเธอ

ก็จงอย่าเที่ยวไปในอโคจรซึ่งเป็นแดนอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อพวกเธอเที่ยวไปในอโคจรอันเป็นแดนอื่น มารย่อมได้ช่อง มาร

ย่อมได้อารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อโคจรอันเป็นแดนอื่นของ

ภิกษุคืออะไร คือกามคุณห้า กามคุณห้าเป็นไฉน กามคุณห้าคือ

รูปที่รู้ได้ด้วยตา ๑ เสียงที่รู้ได้ด้วยหู ๑ กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูก ๑

รสที่รู้ได้ด้วยลิ้น ๑ โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้แลเป็นอโคจรเป็นแดนอื่นของภิกษุ เมื่อทรงบรรลุ

อภิสัมโพธิญาณแล้วจึงตรัสคาถาแรกว่า :-

เหยี่ยวนกเขาบินโผลงด้วยกำลังหมายใจ

ว่าจะเฉี่ยวเอานกมูลไถ ซึ่งจับอยู่ที่ท้ายดง เพื่อ

หาเหยื่อโดยฉับพลัน เพราะเหตุนั้นจึงถึงความ

ตาย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า พลสา ปตมาโน ความว่า เหยี่ยว

โผลงด้วยกำลัง คือด้วยเรี่ยวแรงด้วยคิดว่า จักจับนกมูลไถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 116

บทว่า โคจรฏฺานิย ความว่า เหยี่ยวโฉบเอานกมูลไถ ซึ่งออก

จากแดนของตนเที่ยวไปท้ายดงเพื่อหาอาหาร. บทว่า อชฺฌปฺปตฺโต

ได้แก่โผลง. บทว่า เตนุปาคมิ ได้แก่ เหยี่ยวถึงแก่ความตาย

ด้วยเหตุนั้น.

ก็เมื่อเหยี่ยวตาย นกมูลไถจึงออกมายืนบนอกของเหยี่ยว

ด้วยมั่นใจว่าเราชนะข้าศึกได้แล้ว เมื่อจะเปล่งอุทานจึงกล่าว

คาถาที่สองว่า :-

เรานั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุบายยินดีแล้ว

ในโคจรอันเนื่องมาแต่บิดา เห็นอยู่ซึ่งประโยชน์

ของตน จึงหลีกพ้นไปจากศัตรู ย่อมเบิกบานใจ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า นเยน ได้แก่อุบาย. บทว่า อตฺถมตฺตโน

ได้แก่ ความเจริญ กล่าวคือความปลอดภัยของตน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง

ประกาศสัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุ

เป็นอันมากบรรลุโสดาปัตติผล เป็นต้น. เหยี่ยวในครั้งนั้นได้เป็น

เทวทัตในบัดนี้ ส่วนนกมูลไถ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสกุณัคฆิชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 117

๙ . อรกชาดก

ว่าด้วยการแผ่เมตตา

[๑๘๗] ผู้ใดแล ย่อมอนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง

ด้วยจิตเมตตาหาประมาณมิได้ ทั้งเบื้องบน เบื้อง

ต่ำและเบื้องขวาง โดยประการทั้งปวง.

[๑๘๘] จิตเกื้อกูลหาประมาณมิได้ เป็นจิตบริบูรณ์

อันผู้นั้นอบรมดีแล้ว กรรมใดที่เขาทำแล้วพอ

ประมาณ กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ในจิตนั้น.

จบ อรรถกถาชาดกที่ ๙

อรรถกถาชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภ

เมตตสูตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า โย เว เมตฺเตน

จิตฺเตน ดังนี้.

สมัยหนึ่งพระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อได้ส้องเสพเจริญเมตตาเจโตวิมุตติทำให้

มาก ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ไม่ให้ฟุ้งซ่าน สั่งสม

เริ่มไว้ด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ หลับเป็นสุข ๑

ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝันร้าย ๑ เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๑ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 118

ที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๑ เทวดาย่อมรักษา ๑ ไฟ ยาพิษ

ศัสตรา ไม่ล่วงเกิน ๑ จิตได้สมาธิเร็ว ๑ สีหน้าผ่องใส ๑ ไม่หลง

ทำกาลกิริยา ๑ เมื่อยังไม่บรรลุ ย่อมเข้าถึงพรหมโลกชั้นสูง ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อได้ส้องเสพอบรมเมตตาเจโตวิมุตติ ฯเปฯ

สั่งสมไว้ด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการเหล่านี้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุพึงอบรมเมตตาภาวนาซึ่งยึดอานิสงส์

๑๑ ประการเหล่านี้ เจริญเมตตาไปในสัตว์ทุกชนิด โดยเจาะจง

และไม่เจาะจง พึงมีจิตเกื้อกูลแผ่ไปยังสัตว์ทั้งที่มีจิตเกื้อกูล

พึงมีจิตเกื้อกูลแผ่ไปยังสัตว์ทั้งที่ไม่มีจิตเกื้อกูล พึงมีจิตเกื้อกูล

แผ่ไปยังสัตว์ทั้งที่มีอารมณ์เป็นกลาง พึงเจริญเมตตาในสรรพสัตว์

โดยเจาะจงและไม่เจาะจงอย่างนี้ พึงเจริญ กรุณา มุทิตา อุเบกขา

พึงปฏิบัติในพรหมวิหาร ๔ เพราะเมื่อทำอย่างนี้ แม้ไม่ได้มรรค

หรือผล ก็ยังมีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. แม้โบราณก-

บัณฑิตทั้งหลาย เจริญเมตตาตลอด ๗ ปี แล้วสถิตอยู่ในพรหม-

โลกนั่นเอง ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป แล้วทรงนำเรื่อง

ในอดีตมาเล่า.

ในอดีตกาล ในกัปหนึ่งพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูล

พราหมณ์ ครั้นเจริญวัยจึงละกามสุขบวชเป็นฤาษี เป็นครูชื่อ

อรกะ ได้พรหมวิหาร ๙ พำนักอยู่ในหิมวันตประเทศ. ครูอรกะ

มีบริวารมาก เมื่อจะสอนหมู่ฤๅษีจึงประกาศอานิสงส์เมตตาว่า

ธรรมดาบรรพชิตควรเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 119

เพราะเหตุชื่อว่าจิตเมตตานี้เมื่อถึงความเป็นจิตแน่วแน่แล้ว

ย่อมให้สำเร็จทางไปพรหมโลก ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ผู้ใดแลย่อมอนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง

ด้วยจิตเมตตาหาประมาณมิได้ ทั้งเบื้องบน เบื้อง

ต่ำและเบื้องขวาง โดยประการทั้งปวง จิตเกื้อกูล

หาประมาณมิได้ เป็นจิตบริบูรณ์อันผู้นั้นอบรม

ดีแล้ว กรรมใดที่เขาทำแล้วพอประมาณ กรรม

นั้นจักไม่เหลืออยู่ในจิตนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โย เว เมตฺเตน จิตฺเตน สพฺพโลกา-

นุกมฺปติ. ความว่า บรรดากษัตริย์เป็นต้น หรือสมณพราหมณ์

ผู้ใดผู้หนึ่ง มีจิตเมตตาอย่างแนบแน่น ย่อมอนุเคราะห์สัตวโลก

ทั่วไป. บทว่า อุทฺธ คือตั้งแต่เบื้องล่างของพื้นปฐพี จนถึง

พรหมโลกชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ. บทว่า อโธ คือเบื้องล่าง

ของปฐพี จนถึงอุสสทมหานรก. บทว่า ติริย คือในมนุษยโลก

ได้แก่ ในจักรวาลทั้งหมด อธิบายว่า เจริญเมตตาจิตอย่างนี้ว่า

ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดในที่ประมาณเท่านี้ จงอย่ามีเวร

อย่าเบียดเบียนกัน อย่ามีความคับแค้น จงมีความสุขรักษา

ตนเถิด. บทว่า อปฺปมาเณน คือชื่อว่าไม่มีประมาณเพราะยึด

สัตว์หาประมาณมิได้เป็นอารมณ์. บทว่า สพฺพโส คือโดยอาการ

ทั้งปวง. อธิบายว่า โดยอำนาจแห่งสุคติและทุคติทั้งปวงอย่างนี้

คือ เบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง. บทว่า อปฺปมาณ หิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 120

จิตฺต ได้แก่ จิตเกื้อกูลในสรรพสัตว์ที่อบรมทำให้ไม่มีประมาณ.

บทว่า ปริปุณฺณ คือไม่บกพร่อง. บทว่า สุภาวิต คือเจริญดีแล้ว.

บทนี้เป็นชื่อของจิตที่ไม่มีประมาณ. บทว่า ย ปมาณ กต กมฺม

ความว่า กรรมเล็กน้อย คือกรรมเป็นกามาวจรที่อบรมแล้ว

ด้วยอำนาจเมตตาภาวนามีอารมณ์เป็นที่สุด และด้วยอำนาจ

การถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างนี้ว่า กรรมใดไม่มีประมาณ

มีอารมณ์ไม่มีประมาณ. บทว่า น ต ตตฺราวสิสฺสติ. ความว่า

กรรมเล็กน้อยนั้น คือกรรมเป็นรูปาวจรซึ่งนับว่า จิตอันเกื้อกูล

ไม่มีประมาณนั้นไม่เหลืออยู่ในจิตนั้น. อธิบายว่า เหมือนน้ำน้อย

ที่ถูกห้วงน้ำใหญ่ไหลบ่าเข้ามา จะถูกห้วงน้ำนั้นพัดพาไปมิได้

ย่อมไม่เหลืออยู่ คือตั้งอยู่มิได้ภายในห้วงน้ำ ที่แท้ห้วงน้ำใหญ่

หุ้มห่อน้ำนั้นไว้ฉันใด กรรมอันเล็กน้อยก็ฉันนั้น ไม่มีโอกาสแห่ง

ผลที่กรรมเป็นของใหญ่จะกำหนดยึดไว้ได้ ย่อมไม่เหลืออยู่ คือ

ไม่ดำรงอยู่ ไม่สามารถให้ผลของตน ภายในกรรมอันเป็นของ

ใหญ่นั้นได้ ที่แท้กรรมอันเป็นของใหญ่เท่านั้น ย่อมหุ้มห่อกรรม

นั้น คือให้ผล.

พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวถึงอานิสงส์เมตตาภาวนาแก่

อันเตวาสิกทั้งหลายอย่างนี้แล้ว เป็นผู้ไม่เสื่อมจากฌาน จึง

บังเกิดในพรหมโลก มิได้กลับมายังโลกนี้อีกตลอด ๗ สังวัฏฏกัป

และวิวัฏฏกัป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 121

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง

ประมวลชาดก. หมู่ฤๅษีในครั้งนั้นได้เป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้.

ส่วนครูอรกะ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 122

๑๐. กกัณฏกชาดก

ว่าด้วยกิ้งก่าได้ทรัพย์

[๑๘๙] กิ้งก่าบนปลายเสาระเนียดนี้ ย่อมไม่

อ่อนน้อมเหมือนเมื่อวันก่อน ดูก่อนมโหสก ท่าน

จงรู้ว่ากิ้งก่ากระด้างเพราะเหตุไร.

[๑๙๐] กิ้งก่ามันได้ทรัพย์กึ่งมาสกซึ่งมันไม่เคย

ได้ จึงได้ดูหมิ่นพระเจ้าวิเทหราช ผู้ครองเมือง

มิถิลา.

จบ กกัณฏกชาดกที่ ๑๐

อรรถกถากกัณโชดกที่ ๑๐

กกัณฏกชาดกนี้มีคำเริ่มต้นว่า นาย ปุเร โอกฺกมติ จักมี

แจ้งในมหาอุมมังคชาดก

จบ อรรถกถากกัณฏกชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 123

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อินทสมานโคตตชาดก ๒. สันถวชาดก ๓. สุสีมชาดก

๔. คิชฌชาดก ๕. นกุลชาดก ๖. อุปสาฬหกชาดก ๗. สมิทธิ-

ชาดก ๘. สกุณัคฆิชาดก ๙. อรกชาดก ๑๐. กกัณฏกชาดก.

จบ สันถววรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 124

๓. กัลยาณธรรมวรรค

๑. กัลยาณธรรมชาดก

ผู้มีกัลยาณธรรม

[๑๙๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน กาลใด

บุคคลได้ธรรมสมัญญาในโลกว่า ผู้มีกัลยาณธรรม

กาลนั้น นรชนผู้มีปัญญาไม่พึงทำตนให้เสื่อม

จากสมัญญานั้นเสีย สัตบุรุษทั้งหลายย่อมถือไว้

ซึ่งธุระด้วยหิริและโอตตัปปะ.

[๑๙๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน สมัญญาว่า

มีกัลยาณธรรมในโลกนี้ มาถึงข้าพระพุทธเจ้า

แล้วในวันนี้ ข้าพระพุทธเจ้าพิจารณาเห็นสมัญญา

อันนั้น จึงได้บวชเสียในคราวนี้ ความพอใจใน

การบริโภคกามในโลกนี้ มิได้มีแก่ข้าพระพุทธเจ้า

เลย.

จบ กัลยาณธรรมชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 125

อรรถกถากัลยาณธรรมวรรคที่ ๓

อรรถกถากัลยาณธรรมชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง

ปรารภแม่ผัวหูหนวกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำ

เริ่มต้นว่า กลฺยาณธมฺโม ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า ในกรุงสาวัตถีมีกุฎุมพีคนหนึ่ง เป็น

คนมีศรัทธา เลื่อมใสถึงไตรสรณคมน์ ถือศีลห้า. วันหนึ่งเขาถือ

เภสัชมีเนยใสเป็นต้นเป็นอันมาก กับดอกไม้ของหอม และผ้า

เป็นต้น ไปด้วยคิดว่า จักฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาใน

พระวิหารเชตวัน. ในเวลาที่กุฎุมพีไป ณ ที่นั้น แม่ยายเตรียม

ของเคี้ยวของบริโภคประสงค์จะเยี่ยมลูกสาว ได้ไปยังเรือนนั้น.

แต่แม่ยายหูค่อนข้างตึง. ครั้นนางบริโภคร่วมกับลูกสาว

อิ่มหนำสำราญแล้ว จึงถามลูกสาวว่า นี่ลูก ผัวของเองอยู่ด้วย

ความรักบันเทิงใจไม่ทะเลาะกันดอกหรือ. ลูกสาวพูดว่า แม่พูด

อะไรอย่างนั้น คนที่เพียบพร้อมด้วยผัวและมารยาทเช่นลูกเขย

ของแม่ แม้บวชแล้วก็ยังหายาก. อุบาสิกาฟังคำลูกสาวไม่ถนัด

ถือเอาแต่บทว่าบวชแล้วเท่านั้น จึงตะโกนขึ้นว่า อ้าวทำไมผัว

ของเองจึงบวชเสียเล่า. บรรดาผู้อยู่เรือนใกล้เคียงทั้งสิ้น ได้ยิน

ดังนั้นพากันพูดว่า เขาว่ากุฎุมพีของพวกเราบวชเสียแล้ว. บรรดา

ผู้ที่เดินผ่านไปมาทางประตู ได้ยินเสียงของคนเหล่านั้น จึงถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 126

นั่นอะไรกัน. ชนเหล่านั้นตอบว่า เขาว่ากุฎุมพีในเรือนนี้บวช

เสียแล้ว.

ฝ่ายกุฎุมพีนั้นครั้นสดับธรรมของพระทศพลแล้ว ก็ออก

จากวิหารกลับเข้าเมือง. ขณะนั้นชายคนหนึ่งพบเข้าในระหว่าง

ทางจึงพูดว่า ข่าวว่าท่านบวช บุตรภรรยาบริวารในเรือนท่าน

พากันร้องไห้คร่ำครวญ. ทันใดนั้นเขาได้ความคิดขึ้นมาว่า

แท้จริงเรามิได้บวชเลย คน ๆนี้ว่าเราบวช เสียงดีเกิดขึ้นแล้ว

เราไม่ควรให้หายไป เราควรจะบวชในวันนี้แหละ เขาจึงกลับ

จากที่นั้นทันทีไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อรับสั่งถามว่า อุบาสก

ท่านทำพุทธุปัฏฐากเพิ่งกลับไปเดี๋ยวนี้เอง ไฉนจึงมาเดี๋ยวนี้อีก

จึงเล่าเรื่องถวายแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ธรรมดาเสียงดี

เกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรให้หายไปเสีย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์มี

ความประสงค์จะบวชจึงได้มา. ครั้นเขาบรรพชาอุปสมบทแล้ว

เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต. ได้ยินว่า เหตุการณ์

นี้ปรากฏเลื่องลือไปในคณะสงฆ์. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย

ประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลายกุฎุมพีชื่อโน้น

ได้เกิดความคิดขึ้นว่า เสียงดีเกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรให้หายไปแล้ว

จึงบรรพชา เวลานี้บรรลุพระอรหัตแล้ว. พระศาสดาเสด็จมา

ตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธอนั่งประชุมสนทนาเรื่องอะไร

กัน เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้บัณฑิตแต่ก่อน ได้ความคิดว่า เสียงดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 127

เกิดขึ้นแล้วไม่ควรให้เสียไป จึงพากันบวชแล้วทรงนำเรื่องใน

อดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่

ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี ครั้นเจริญ

วัยแล้วก็ได้รับตำแหน่งเศรษฐี เมื่อบิดาถึงแก่กรรม. วันหนึ่ง

เศรษฐีออกจากบ้าน ไปประกอบราชกรณียกิจ. ครั้งนั้น แม่ยาย

ของเศรษฐีได้ไปยังเรือนนั้นด้วยคิดว่า จักเยี่ยมลูกสาว. แม่ยาย

นั้นค่อนข้างหูตึงเรื่องทั้งหมดเหมือนกับเรื่องในปัจจุบัน. ชาย

คนหนึ่งเห็นเศรษฐีประกอบราชกรณียกิจเสร็จแล้วกลับมาเรือน

จึงพูดว่าในเรือนของท่านเกิดร้องไห้กันยกใหญ่ เพราะได้ข่าวว่า

ท่านบวชเสียแล้ว. พระโพธิสัตว์ได้ความคิดขึ้นว่า ธรรมดาเสียงดี

เกิดขึ้นแล้วไม่ควรให้หายไปเสีย จึงกลับจากนั้นไปเฝ้าพระราชา

เมื่อรับสั่งถามว่า ท่านมหาเศรษฐีท่านเพิ่งไปเดี๋ยวนี้เอง ทำไม

จึงกลับมาอีก จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ทั้ง ๆ ที่ข้าพระองค์

มิได้บวชเลย คนในเรือนโอดครวญกันพูดว่าบวชแล้ว เสียงดี

เช่นนี้เกิดขึ้นแล้ว ไม่ควรให้หายไป ข้าพระองค์จักบวชละ ขอ

พระราชทานอนุญาตให้ข้าพระองค์บวชเถิด เมื่อจะประกาศเนื้อ

ความนี้ จึงได้กล่าวคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชนกาลใด

บุคคลได้สมัญญาในโลกว่า ผู้มีกัลยาณธรรม กาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 128

นั้นนรชนผู้มีปัญญา ไม่พึงทำตนให้เสื่อมจาก

สมัญญานั้นเสีย สัตบุรุษทั้งหลายย่อมถือไว้ซึ่งธุระ

ด้วยหิริ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชนสมัญญาว่า

ผู้มีกัลยาณธรรมในโลกนี้ มาถึงข้าพระพุทธเจ้า

แล้วในวันนี้ ข้าพระพุทธเจ้าเห็นสมัญญาอันนั้น จึง

ได้บวชเสียในคราวนี้ ความพอใจในการบริโภค

ในโลกนี้ มิได้มีแก่ข้าพระองค์เลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณธมฺโม ได้แก่ ธรรมดี. บทว่า

สมญฺ อนุปาปุณาติ ความว่า ถึงโวหารบัญญัตินี้ว่า มีศีล มี

กัลยาณธรรม บวชแล้ว. บทว่า ตสฺมา น หิยฺเยถ ได้แก่ ไม่พึงให้

เสื่อมจากสมญานั้น. สัตบุรุษทั้งหลายย่อมยึดธุระไว้แม้ด้วยหิริ

ข้าแต่มหาราชขึ้นชื่อว่าสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมยึดธุรบรรพชา

นี้ไว้ได้ด้วยหิริ อันเกิดขึ้นในภายในบ้าง ด้วยโอตตัปปะอันเกิดขึ้น

ในภายนอกบ้าง. บทว่า อิธ มชฺช ปตฺตา ได้แก่ ผู้มีกัลยาณธรรม

ในโลกนี้ ได้มาถึงข้าพระองค์แล้วในวันนี้. บทว่า ตาห สเมกฺข

ความว่า ข้าพระองค์เพ่งดูคือเห็นสมญาอันได้แล้วด้วยคุณ. บทว่า

น หิ มตฺถิ ฉนฺโท แก้เป็น น หิ เม อตฺถิ ฉนฺโท แปลว่า

ข้าพระองค์ไม่มีความพอใจเลย. บทว่า อิธ กามโภเค คือ ในการ

บริโภคด้วยกิเลสกาม และด้วยวัตถุกามในโลกนี้.

พระโพธิสัตว์ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงขอพระบรม-

ราชานุญาตบรรพชา ไปสู่หิมวันตประเทศ บวชเป็นฤๅษียัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 129

อภิญญาและสมาบัติให้เกิด มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม

ชาดก พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้. ส่วน

เศรษฐีกรุงพาราณสี ในครั้งนั้น คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากัลยาณธรรมชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 130

๒. ทัททรชาดก

ราชสีห์กับสุนัขจิ้งจอก

[๑๙๓] ข้าแต่คุณพ่อผู้เป็นใหญ่ในมฤคชาติทั้ง

หลาย ใครหนอมีเสียงดังลั่น ย่อมทำให้ทัททร

บรรพตให้บรรลือสนั่นยิ่งนัก ราชสีห์ทั้งหลาย

ย่อมไม่อาจบรรลือโต้ตอบมันได้ นั่นเรียกว่า

สัตว์อะไร.

[๑๙๔] ลูกเอ๋ย นั่นคือสุนัขจิ้งจอก เป็นสัตว์เลว

ทรามต่ำช้ากว่ามฤคชาติทั้งหลาย มันหอนอยู่

ราชสีห์ทั้งหลายรังเกียจชาติของมัน จึงได้พากัน

นิ่งเฉยเสีย.

จบ ทัททรชาดกที่ ๒

อรรถกถาทัททรชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

พระโกกาลิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า โก นุ

สทฺเทน มหตา ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่าในกาลนั้นพวกภิกษุพหูสูต นั่งอยู่ ณ

พื้นหินอ่อนสีแดง สวดบทภาณวารในท่ามกลางสงฆ์เหมือนราชสีห์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 131

หนุ่มบรรลือสีหนาท เหมือนเทวดาบรรดาลให้น้ำคงคาในอากาศ

ให้ตกลง. เมื่อภิกษุเหล่านั้นกล่าวบทภาณวาร พระโกกาลิกะไม่รู้

ความโง่ของตน อวดภูมิว่าเราจักกล่าวบทภาณวารบ้าง จึงเข้าไป

ในระหว่างภิกษุทั้งหลาย เที่ยวประกาศในที่นั้น ๆ อ้างภิกษุสงฆ์

ว่า พวกภิกษุไม่ให้โอกาสเรากล่าวบทภาณวารบ้าง หากให้โอกาส

แก่เรา เราก็จักกล่าวบ้าง. คำพูดของพระโกกาลิกะได้ปรากฏ

ในหมู่ภิกษุ. พวกภิกษุคิดว่า จักทดลองพระโกกาลิกะดูก่อน

จึงกล่าวว่า ก่อนอาวุโสโกกาลิกะ วันนี้ท่านจงกล่าวบทภาณวาร

แก่สงฆ์เถิด. พระโกกาลิกะไม่รู้ความสามารถของตน จึงรับว่า

ตกลง จึงฉันข้าวยาคูเคี้ยวของเคี้ยวอันเป็นที่สบายของตน

บริโภคกับสูปะอันอร่อย. ครั้นพระอาทิตย์ตก เขาประกาศเวลา

ฟังธรรม หมู่ภิกษุประชุมกัน. พระโกกาลิกะนุ่งผ้ากาสาวะ

มีสีเหมือนโคลน ห่มจีวรมีสีเหมือนดอกกรรณิการ์เข้าไปยัง

ท่ามกลางสงฆ์ ไหว้พระเถระขึ้นสู่ธรรมาสน์ที่ประดับไว้อย่างดี

ในมณฑลแก้วที่ตกแต่งไว้ นั่งจับพัดวีชนีด้วยคิดว่า เราจักกล่าว

บทภาณวาร. ทันใดนั่นเองเหงื่อก็ไหลจากร่างกายของพระโกกาลิกะ

ความขลาดกลัวเข้าครอบงำ. ครั้นกล่าวบทต้นของคาถาแรกแล้ว

ก็ไม่เห็นบทเบื้องปลาย. พระโกกาลิกะงกงันลงจากธรรมาสน์

กระดากอาย ได้ออกไปจากท่ามกลางสงฆ์กลับที่อยู่ของตน.

ภิกษุพหูสูตรูปอื่นจึงได้กล่าวบทภาณวารต่อไป. ตั้งแต่นั้นภิกษุ

ทั้งหลายจึงรู้ว่าพระโกกาลิกะโง่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 132

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรม

ว่า อาวุโสทั้งหลาย ความโง่ของพระโกกาลิกะในชั้นแรกรู้ได้ยาก

แต่บัดนี้ได้ปรากฏชัดขึ้นมาแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่อง

อะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โกกาลิกะได้เผยความโง่ให้ปรากฏแล้ว

มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ได้เผยให้ปรากฏมาแล้ว ทรงนา

เรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดราชสีห์ ณ หิมวันต-

ประเทศ ได้เป็นราชาของราชสีห์มากมาย. พญาราชสีห์นั้นมี

ราชสีห์เป็นบริวารอยู่ไม่น้อยอาศัยอยู่ ณ ถ้ำเงิน. แม้สุนัข-

จิ้งจอกก็อาศัยอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ไม่ไกลจากถ้ำนั้น. อยู่มา

วันหนึ่ง ฝนตกขาดเม็ดแล้ว พวกราชสีห์ทั้งหมดก็พากันมาประชุม

ที่ประตูถ้ำของพญาราชสีห์ ต่างบรรลือสีหนาทเล่นหัวกัน. ใน

ขณะที่ราชสีห์เหล่านั้นบรรลือสีหนาทเล่นหัวกันอยู่อย่างนี้ สุนัข

จิ้งจอกตัวนั้นก็หอนขึ้น. พวกราชสีห์ได้ยินเสียงสุนัขจิ้งจอกนั้น

ก็กระดากใจ พากันนิ่งด้วยคิดว่า เจ้าสุนัขจิ้งจอกตัวนี้หอนแข่ง

กับพวกเรา. ในขณะที่ราชสีห์เหล่านั้นนิ่ง ราชสีห์น้อยลูกพญา-

ราชสีห์โพธิสัตว์ เมื่อจะถามบิดาว่า พ่อจ๋าพวกราชสีห์เหล่านี้

บรรลือสีหนาทเล่นหัวกัน ครั้นได้ยินเสียงของสัตว์นั้นพากันนิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 133

ด้วยความอาย สัตว์นั้นชื่ออะไร อวดอ้างตนด้วยเสียงของตน

ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

ข้าแต่พ่อผู้เป็นใหญ่ในมฤค ใครหนอมี

เสียงดังลั่น ทำทัททรบรรพตให้บรรลือลั่นยิ่งนัก

ราชสีห์ทั้งหลายไม่อาจบรรลือโต้ตอบมัน นั่น

เรียกว่าสัตว์อะไรหนอ.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อภินาเทติ ททฺทร ความว่า ใครหนอ

ทำทัททรบรรพตให้มีเสียงกึกก้องเป็นอันเดียว. ลูกราชสีห์

เรียกบิดาว่า มิคาภิภู. ในบทว่า มิคาภิภู นี้ มีอธิบายว่า ข้าแต่

พญาราชสีห์ผู้เป็นจอมมฤค ข้าพเจ้าขอถามท่าน สัตว์นั้นชื่ออะไร.

ครั้นบิดาฟังคำของลูกราชสีห์แล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ลูกเอ๋ย นั่นคือสุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์เลว

ทรามต่ำช้ากว่ามฤคชาติทั้งหลาย มันหอนอยู่

ราชสีห์ทั้งหลายรังเกียจชาติของมัน จึงได้พา

กันนิ่งเฉยเสีย.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ส ในบทว่า สมจฺฉเร เป็นเพียง

อุปสรรค. เอาความว่า อยู่เฉย. ท่านอธิบายไว้ว่า ราชสีห์ทั้งหลาย

นิ่งเฉย คืออยู่เฉย. ในคัมภีร์ทั้งหลาย เกจิอาจารย์เขียนว่า

สมจฺฉเร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 134

พระศาสดาครั้นตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โกกาลิกะ

มิได้เปิดเผยตนเองในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ได้เปิดเผยแล้ว

เหมือนกัน แล้วทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประชุมชาดก.

สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็นพระโกกาลิกะในครั้งนี้. ส่วนลูก

ราชสีห์ได้เป็นราหุล. พญาราชสีห์ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาทัททรชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 135

๓. มักกฏชาดก

ว่าด้วยพิง

[๑๙๕] คุณพ่อครับ มาณพนั่นมายืนพิงต้นตาลอยู่

อนึ่ง เรือนของเรานี้ก็มีอยู่ ถ้ากระไรเราจะให้

เรือนแก่มานพนั้น.

[๑๙๖] ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าเรียกมันมาเลย มันเข้ามา

แล้ว จะพึงประทุษร้ายเรือนของเรา หน้าของ

พราหมณ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์ หาเป็นเช่นนี้ไม่.

จบ มักกฏชาดกที่ ๓

อรรถกถามักกฏชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

ภิกษุหลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า

ตาต มาณวโก เอโส ดังนี้.

เรื่องราวจักมีแจ้งในอุททาลกชาดกในปกิณณกนิบาต.

ก็ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้มิใช่

หลอกลวงในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็เกิดเป็นลิงได้หลอกลวง

เพราะเรื่องไฟ แล้วตรัสนำเรื่องอดีตมาเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ หมู่บ้านกาสี ครั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 136

เจริญวัยเรียนศิลปศาสตร์ในเมืองตักกสิลา ดำรงตนเป็นฆราวาส.

ครั้นต่อมาพราหมณีภรรยาของพราหมณ์นั้นคลอดบุตรคนหนึ่ง

เมื่อบุตรวิ่งเที่ยวไปมาได้ พราหมณีก็ถึงแก่กรรม. พระโพธิสัตว์

กระทำฌาปนกิจนางแล้วคิดว่า เราจะอยู่ครองเรือนไปทำไม

จึงละพรรคพวกญาติมิตร ซึ่งพากันร่ำไห้พาบุตรเข้าไปยังป่า

หิมพานต์ บวชเป็นฤๅษีมีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร

พำนักอยู่ ณ ที่นั้น. วันหนึ่งเมื่อฝนตกในฤดูฝน พระโพธิสัตว์

ก่อไฟผิงนอนอยู่บนเครื่องลาดกระดาน. แม้บุตรของท่านซึ่ง

เป็นดาบสกุมาร ก็นั่งนวดเท้าของบิดา. มีลิงป่าตัวหนึ่งถูกความ

หนาวเบียดเบียน เห็นไฟที่บรรณศาลาของพระโพธิสัตว์ จึง

คิดว่า หากเราจักเข้าไปในบรรณศาลานี้ เขาจักร้องว่า ลิง

ลิง แล้วโบยนำเราออกไป เราก็จักไม่ได้ผิงไฟ เอาละบัดนี้เรา

มีอุบายอย่างหนึ่ง เราจะปลอมเป็นดาบสทำการลวงเข้าไป

จึงนุ่งผ้าเปลือกไม้ของดาบสที่ตายแล้วคนหนึ่ง ถือกระเช้า ขอ

และไม้เท้าอาศัยตาลต้นหนึ่งที่ประตูบรรณศาลายืนสั่นอยู่.

ดาบสกุมารเห็นมันก็ไม่รู้ว่าเป็นลิง จึงบอกแก่ดาบสว่า มีดาบสแก่

รูปหนึ่ง ถูกความหนาวเบียดเบียนคงจะมาขอผิงไฟ แล้วคิดว่า

ควรจะให้เข้าไปผิงยังบรรณศาลาหลังหนึ่ง เมื่อจะพูดกะบิดา

จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

พ่อจ๋า มาณพนั้นมายืนพิงต้นตาลอยู่ อนึ่ง

เรือนของเรานี้ก็มีอยู่ ถ้ากระไรเราจะให้เรือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 137

แก่มาณพนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มาณวโก เป็นชื่อของสัตว์. ท่าน

แสดงว่า พ่อจ๋า นั่นมาณพคือสัตว์ชนิดหนึ่ง คือดาบสรูปหนึ่ง.

บทว่า ตาลมูล อปสฺสิโต ได้แก่ยืนพิงต้นตาลอยู่. บทว่า อคาร-

กญฺจิท อตฺถิ ได้แก่ เรามีบ้านของนักบวชนี้ คือหมายถึงบรรณ-

ศาลา. บทว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งความเตือน. บทว่า

เทมสฺส คารก ความว่า เราจะให้เรือนดาบสนี้อยู่ส่วนหนึ่ง.

พระโพธิสัตว์ได้ยินคำของบุตรจึงลุกขึ้นไปยืนดูที่ประตู

บรรณศาลา รู้ว่าสัตว์นั้นเป็นลิง จึงบอกลูกว่า ลูกเอ๋ยธรรมดา

มนุษย์หน้าไม่เป็นอย่างนี้ดอก ลูกไม่ควรเรียกลิงเข้ามาในที่นี้

แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ลูกเอ๋ย เจ้าอย่าเรียกมันมาเลย มันเข้ามา

แล้ว จะทำลายเรือนของเรา หน้าของพราหมณ์

ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ไม่เป็นอย่างนี้ดอก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทูเสยฺย โน อคารก ความว่า เจ้า

สัตว์นี้แหละ เข้าไปในบรรณศาลานี้ จะทำลายเอาไฟเผาบรรณ-

ศาลาซึ่งทำได้ลำบากนี้เสีย หรือถ่ายอุจจาระเป็นต้น รดไว้.

บทว่า เนตาทิส ได้แก่หน้าของพราหมณ์ผู้มีศีลบริสุทธิ์ไม่เป็น

เช่นนี้.

พระโพธิสัตว์ ครั้นบอกว่านั่นลิงดังนี้แล้ว จึงคว้าคบไฟ

ได้ดุ้นหนึ่งตวาดว่า เจ้าจะอยู่ที่นี่ทำไม แล้วขว้างให้มันหนีไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 138

ลิงก็ทิ้งผ้าเปลือกไม้ วิ่งขึ้นต้นไม้เข้าป่าไป. พระโพธิสัตว์เจริญ

พรหมวิหาร ๔ ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ลิงในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุหลอกลวงในครั้งนี้ ดาบสกุมาร

ได้เป็นราหุล ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถามักกฏชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 139

๔. ทุพภิยมักกฏชาดก

ว่าด้วยการคบคนชั่ว

[๑๙๗] เราได้ให้น้ำเป็นอันมากแก่เจ้า ผู้ถูกความ

ร้อนแผดเผา หิวกระหายอยู่ บัดนี้เจ้าได้ดื่มน้ำแล้ว

ยังหลอกล้อเปล่งเสียงว่ากิกิอยู่ได้ การคบหากับ

คนชั่วไม่ประเสริฐเลย.

[๑๙๘] ท่านได้ยินหรือได้เห็นมาบ้างหรือว่า ลิง

ตัวไหนชื่อว่าเป็นสัตว์มีศีล เราจะถ่ายอุจจาระ

รดศีรษะท่านเดี๋ยวนี้แล้วจึงจะไป นี่เป็นธรรมดา

ของพวกเรา.

จบ ทุพภิยมักกฏชาดกที่ ๔

อรรถกถาทุพภิยมักกฏชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันทรงปรารภ

พระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อทมฺมิ เต วาริ

พหุตฺตรูป ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า วันหนึ่งภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนากัน

ในโรงธรรมถึงความอกตัญญู ความประทุษร้ายมิตรของพระ-

เทวทัต. พระศาสดารับสั่งว่า เทวทัตเป็นผู้อกัตญญูประทุษร้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 140

มิตร มิใช่ในบัดนี้เท่านั้นแม้เมื่อก่อนก็ได้เป็นเช่นนี้ แล้วทรง

นำเรื่องในอดีตมาเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ชาวบ้าน

กาสีแห่งหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ดำรงตนเป็นฆราวาส. ก็สมัยนั้น

ได้มีบ่อน้ำลึกบ่อหนึ่งอยู่ที่ทางใหญ่ชัน ในแคว้นกาสี สัตว์ดิรัจฉาน

ทั้งหลายข้ามไม่ได้. พวกมนุษย์ผู้ปรารถนาบุญเดินมาทางนั้น

ใช้กระบอกมีสายยาวตักน้ำใส่ขังเต็มรางแห่งหนึ่ง ให้สัตว์

ดิรัจฉานดื่ม รอบบ่อนั้นเป็นป่าใหญ่. ลิงเป็นอันมากอาศัยอยู่

ในป่านั้น. ต่อมาที่ทางนั้น ขาดผู้คนสัญจรไปมาสองสามวัน.

สัตว์ดิรัจฉานจึงไม่ได้ดื่มน้ำ. ลิงตัวหนึ่งกระหายน้ำเต็มที่

เที่ยวหาน้ำดื่มในที่ใกล้บ่อน้ำ. พระโพธิสัตว์เดินไปถึงทางนั้น

ด้วยกิจธุระอย่างหนึ่ง จึงตักน้ำในบ่อนั้นดื่มล้างมือและเท้า เห็น

ลิงตัวนั้น ทราบว่ามันกระหายน้ำ จึงตักน้ำใส่รางให้มันดื่ม

ครั้นให้เสร็จแล้ว คิดจะพักผ่อนจึงนอนลงที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.

ส่วนลิงครั้นดื่มน้ำแล้วนั่งอยู่ไม่ไกล ทาหน้าล่อกแล่กหลอกพระ-

โพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เห็นกิริยาของมัน จึงกล่าวว่า อ้ายวายร้าย

ลิงอัปรีย์ เมื่อเองกระหายน้ำเหน็ดเหนื่อยมา ข้าก็ให้น้ำเองดื่ม

บัดนี้เองทำหน้าล่อกแล่กหลอกข้าได้ น่าอนาถใจที่ข้าช่วยเหลือ

สัตว์ชั่ว ๆ ไม่มีประโยชน์เลย แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 141

ข้าได้ให้น้ำเป็นอันมากแก่เองผู้ถูกความ

ร้อนแผดเผาหิวกระหาย บัดนี้เจ้าได้ดื่มน้ำแล้ว

ยังหลอกล้อทำเสียงครอก ๆ อยู่ได้ การคบหา

กับคนชั่วไม่ประเสริฐเลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โสทานิ ปิตฺวาน กิกึ กโรสิ ความว่า

บัดนี้เจ้าดื่มน้ำที่ข้าให้แล้วยังทำหน้าล่อกแล่กส่งเสียงครอก ๆ

อยู่ได้. บทว่า น สงฺคโม ปาปชเนน เสยฺโย ความว่า การคบหา

กับคนชั่วไม่ดีเลย ไม่คบนั่นแหละดีกว่า.

ลิงผู้ประทุษร้ายมิตร ครั้นได้ยินดังนั้นแล้วจึงกล่าวว่า

ท่านอย่าสำคัญว่า เราทำเพียงเท่านี้แล้วจะเสร็จสิ้น บัดนี้เราจะ

ถ่ายคูถรดศีรษะท่านก่อนแล้วจึงไป แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ท่านได้ยินหรือได้เห็นมาบ้างหรือว่า ลิง

ตัวไหนชื่อว่าเป็นสัตว์มีศีล เราจะถ่ายอุจจาระ

รดศีรษะท่านเดี๋ยวนี้แล้วจึงจะไป นี้เป็นธรรมดา

ของพวกเรา.

ความย่อในคาถานั้นมีดังนี้ ท่านพราหมณ์ ท่านได้ยิน

หรือได้เห็นที่ไหนว่า ลิงรู้คุณคน มีมารยาท มีศีล มีอยู่. เรา

จะถ่ายคูถรดศีรษะท่านเดี๋ยวนี้แหละแล้วจึงจะไป. นี้เป็นธรรมดา

นี้เป็นสภาพโดยกำเนิดของพวกข้าพเจ้า ผู้ชื่อว่าเป็นลิง คือ

ถ่ายคูถรดหัวผู้มีอุปการะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 142

พระโพธิสัตว์ครั้นได้ยินดังนั้น จึงเตรียมจะลุกไป. ขณะ

นั้นเองลิงกระโดดจับกิ่งไม้ทาคล้ายจะห้อยโหน ถ่ายคูถรดศีรษะ

พระโพธิสัตว์แล้วร้องเข้าป่าไป. พระโพธิสัตว์อาบน้ำชำระกาย

แล้วจึงกลับไป.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตไม่รู้จักคุณ

มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ไม่รู้จักคุณที่เราทำไว้เหมือนกัน

แล้วทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรงประชุมชาดก. ลิงในครั้ง

นั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วนพราหมณ์ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาทุพภิยมักกฏชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 143

๕. อาทิจจุปัฏฐานชาดก

ว่าด้วยลิงไหว้พระอาทิตย์

[๑๙๙] ได้ยินว่า ในบรรดาสัตว์ทั้งปวง สัตว์ผู้

ตั้งมั่นอยู่ในศีลมีอยู่ ท่านจงดูลิงผู้ลามกยืนไหว้

พระอาทิตย์อยู่เถิด.

[๒๐๐] ท่านทั้งหลายไม่รู้จักปกติของมัน เพราะ

เหตุไม่รู้จึงได้พากันสรรเสริญ ลิงตัวนี้มันเผา

โรงไฟเสีย และทุบต่อยคนโทน้ำเสียสองใบ.

จบ อาทิจจุปัฏฐานชาดกที่ ๕

อรรถกถาอาทิจจุปัฏฐานชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภ

ภิกษุหลอกลวงรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า

สพฺเพสุ กิร ภูเตสุ ดังนี้.

เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณี. พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ แคว้นกาสี

ครั้นเจริญวัยศึกษาศิลปะในเมืองตักศิลา บวชเป็นฤๅษี ยัง

อภิญญาและสมาบัติให้เกิด มีบริวารมาก เป็นครูประจำคณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 144

อาศัยอยู่ป่าหิมพานต์. พระโพธิสัตว์อยู่ในป่าหิมพานต์นั้นเป็น

เวลานานจึงลงจากภูเขาเพื่อเสพของเค็มและของเปรี้ยว อาศัย

บ้านหนึ่งในชายแดนพักอยู่ที่บรรณศาลา. ขณะนั้นมีลิงโลน

ตัวหนึ่ง เมื่อคณะฤาษีไปภิกขาจารจึงมายังอาศรมบท ถอนหญ้า

ที่บรรณศาลา เทน้ำในหม้อน้ำทิ้ง ทุบคนโทน้ำ ถ่ายคูถไว้ที่

โรงไฟ. ดาบสทั้งหลายอยู่จำพรรษาแล้ว ดำริว่า บัดนี้ป่า

หิมพานต์บริบูรณ์ด้วยดอกไม้และผลไม้น่ารื่นรมย์ เราจะไป

ณ ที่นั้น จึงบอกลาชาวบ้านชายแดน. พวกมนุษย์กล่าวว่า

พระคุณเจ้าวันพรุ่งนี้พวกข้าพเจ้าจะนำภิกษามายังอาศรมบท

พระคุณเจ้าฉันอาหารแล้วจึงค่อยไป ในวันที่สองต่างก็นำของ

เคี้ยวของฉันเป็นอันมากไป ณ ที่นั้นอีก. ลิงโลนเห็นดังนั้นจึง

คิดว่า เราจักลวงให้มนุษย์เลื่อมใสให้นำของเคี้ยวของบริโภค

มาให้เรา. ลิงจึงทำเป็นเหมือนบำเพ็ญตบะและเหมือนจำศีล

ยืนนอบน้อมพระอาทิตย์ ในที่ไม่ห่างจากดาบส. พวกมนุษย์

เห็นดังนั้นจึงพากันกล่าวว่า ผู้อยู่ใกล้ผู้มีศีล ย่อมเป็นผู้มีศีล

แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

ในบรรดาสัตว์ทั้งปวง สัตว์ผู้ตั้งมั่นอยู่

ในศีลมีอยู่ ท่านจงดูลิงผู้ลามก ยืนไหว้พระ-

อาทิตย์อยู่เถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ สีลสมาหิตา ได้แก่ ผู้มีจิต

ตั้งมั่น คือประกอบด้วยศีลมีอยู่ อธิบายว่า ผู้มีศีลและผู้มีจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 145

ตั้งมั่น มีอารมณ์เดียวมีอยู่. บทว่า ชมฺม คือลามก. บทว่า

อาทิจฺจมุปติฏฺติ ความว่า ลิงยืนไหว้พระอาทิตย์อยู่.

พระโพธิสัตว์เห็นพวกมนุษย์เหล่านั้น สรรเสริญคุณของ

ลิงนั้นจึงกล่าวว่า พวกท่านไม่รู้ศีลและมารยาทของลิงโลนตัวนี้

แล้วเลื่อมใสในสิ่งไม่เป็นเรื่องเป็นราว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ท่านทั้งหลายไม่รู้จักปกติของมัน เพราะ

ไม่รู้จักพากันสรรเสริญ ลิงตัวนี้มันเผาโรงไฟเสีย

และทุบต่อยคนโทน้ำเสียสองใบ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนญฺาย แปลว่า ไม่รู้. บทว่า อูหน

ได้แก่การก่อเหตุที่ลิงชั่วนี้กระทำ. บทว่า กมณฺฑลู ได้แก่

คนโทน้ำ. พระโพธิสัตว์กล่าวโทษลิงอย่างนี้ว่า มันทุบคนโทน้ำ

เสียสองใบ.

พวกมนุษย์ครั้นรู้ว่า เป็นลิงหลอกลวงจึงคว้าก้อนดินและ

ไม้ขว้างไล่ให้มันหนีไป แล้วถวายภิกษาแก่หมู่ฤๅษี. แม้ฤาษี

ทั้งหลายก็พากันไปป่าหิมพานต์ ทำฌานไม่ให้เสื่อม ได้พรหมโลก

เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม

ชาดก. ลิงในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุลวงโลกนี้ หมู่ฤๅษีได้เป็น

พุทธบริษัท ส่วนครูประจำคณะ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาอาทิจจุปัฏฐานชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 146

๖. กฬายมุฏฐิชาดก

ว่าด้วยโลภมาก

[๒๐๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชน ลิงผู้เที่ยว

หาอาหารตามกิ่งไม้นี้ โง่เขลายิ่งนัก ปัญญาของมัน

ก็ไม่มี มันสาดถั่วทั้งกำเสียหมดสิ้น แล้วเที่ยว

ค้นหาถั่วเมล็ดเดียวที่ตกลงยังพื้นดิน.

[๒๐๒] ข้าแต่พระราชา พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่น

ที่โลภจัดก็ดี จะต้องละทิ้งของมากเพราะของ

น้อย เปรียบเหมือนวานรเสื่อมจากถั่วทั้งหมด

เพราะถั่วเมล็ดเดียว ฉะนั้น.

จบ กฬายมุฏฐิชาดกที่ ๖

อรรถกถากฬายมุฏฐิชาดกที่ ๖

พระราชาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง

ปรารภพระเจ้ากรุงโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า

ทาโล วตาย ทุมสาขโคจโร ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า สมัยหนึ่ง ในฤดูฝนทางชายแดน

ของพระเจ้ากรุงโกศลเกิดกบฎ พวกนักรบที่อยู่ ณ ชายแดน

นั้น ได้ทำการสู้รบถึงสองสามครั้ง ก็ไม่สามารถเอาชนะข้าศึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 147

ได้ จึงส่งข่าวทูลถวายพระราชาให้ทรงทราบ. พระราชาเสด็จ

ออกในฤดูฝนอันไม่ควรแก่เวลา จึงทรงจัดตั้งค่ายใกล้พระวิหาร

เชตวัน ทรงดำริว่า เราออกเดินทางในเวลาอันไม่สมควร ซอกเขา

และลำธารเป็นต้น เต็มไปด้วยน้ำ ทางเดินลำบาก เราจักเข้าเฝ้า

พระศาสดา พระองค์จักตรัสถามเราว่า มหาบพิตรจะเสด็จไป

ไหน ครั้นแล้วเราก็จักกราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ พระ-

ศาสดาจะทรงอนุเคราะห์เรา เฉพาะประโยชน์ในภายหน้าเท่านั้น

ก็หามิได้ แม้ประโยชน์ในปัจจุบันก็ทรงอนุเคราะห์เหมือนกัน

เพราะฉะนั้นหากเราไปจะไม่เจริญ พระองค์ก็จักตรัสว่า มหา-

บพิตรยังไม่ถึงเวลาเสด็จ หากจักมีความเจริญ พระองค์ก็จัก

ทรงนิ่ง. พระราชาจึงเสด็จเข้าพระวิหารเชตวัน แล้วถวายบังคม

พระศาสดา ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัส

ปฏิสันถารว่า เชิญเถิดมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหน

แต่ยังวัน. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ หม่อมฉันจะออกไป

ปราบกบฎชายแดน มาที่นี้ด้วยคิดว่า จักถวายบังคมพระองค์

แล้วจะไป. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร แม้แต่ก่อนพระราชา

ทั้งหลาย เมื่อจะยกทัพไปครั้นได้ฟังคำของบัณฑิตแล้ว ก็ไม่

เสด็จไปสู่กองทัพในเวลาอันไม่สมควร ครั้นพระราชาทูลอาราธนา

จึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นอำมาตย์สำเร็จราชกิจทั่วไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 148

เป็นธรรมานุสาสก (สอนธรรม) ของพระองค์. ครั้งนั้นทาง

ชายแดนของพระองค์เกิดกบฎ ทหารที่ชายแดนส่งสาส์นให้

ทรงทราบ. พระราชาเสด็จออกในฤดูฝน ตั้งพักค่าย ณ พระ-

อุทยาน. พระโพธิสัตว์ได้อยู่ใกล้ที่ประทับพระราชา. ขณะพวก

ทหารนำถั่วดำอาหารม้ามาใส่ไว้ในราง. บรรดาลิงในพระราช-

อุทยาน มีลิงตัวหนึ่งลงจากต้นไม้ ฉวยเอาถั่วดำจากรางนั้น

ใส่ปากจนเต็มแล้วยังคว้าติดมือไปอีก กระโดดขึ้นไปนั่งบนต้นไม้

เริ่มจะกิน เมื่อมันจะกินถั่วดำเม็ดหนึ่งหลุดจากมือตกลงไป

บนดิน มันจึงทิ้งถั่วดำทั้งหมดทั้งที่อยู่ในปาก และที่มือลงจาก

ต้นไม้มองหาถั่วดำนั้น ครั้นไม่เห็นมันจึงกลับขึ้นต้นไม้ใหม่

นั่งเศร้าโศกเสียใจ หน้าซึมอยู่บนกิ่งไม้ เหมือนแพ้คดีไปสักพันคดี.

พระราชาทอดพระเนตรเห็นกิริยาของลิงจึงตรัสเรียก

พระโพธิสัตว์แล้วตรัสถามว่า ดูซิ ท่านอาจารย์ ลิงมันทำอะไร

นั่น. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะข้าแต่มหาราช ผู้โง่เขลา

ไร้ปัญญา ไม่มองถึงของมาก มองแต่ของน้อย ย่อมกระทำเช่นนี้

แหละพระพุทธเจ้าข้า แล้วกล่าวคาถาแรกก่อนว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน ลิงผู้เที่ยว

หาอาหารตามกิ่งไม้นี้ โง่เขลายิ่งนัก ปัญญาของ

มันก็ไม่มี มันสาดถั่วทั้งกำ เสียหมดสิ้นแล้ว

เที่ยวค้นหาถั่วเมล็ดเดียวที่ตกลงบนพื้นดิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 149

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุมสาขโคจโร ได้แก่ลิง. เพราะ

ลิงนั้นหาอาหารบนกิ่งไม้. กิ่งไม้เหล่านั้นเป็นโคจร คือเป็นที่เที่ยว

สัญจรไปมาของมัน เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่าสัตว์ผู้เที่ยวไปตาม

กิ่งไม้. เรียกพระราชาว่า ชนินฺท เพราะพระราชา ชื่อว่าเป็น

จอมชน เพราะความเป็นใหญ่ยิ่ง. บทว่า กฬายมุฏฺึ ได้แก่

ลูกเดือยกำหนึ่ง. เกจิอาจารย์กล่าวว่า กาฬราชมาสมุฏฺึ บ้าง

(ถั่วดำ ถั่วราชมาส) บทว่า อวกิริย ได้แก่ สาดทิ้ง. บทว่า

เกวล คือ ทั้งหมด. บทว่า คเวสติ คือหาเมล็ดเดียวที่ตกลงบน

พื้นดิน.

ครั้นพระโพธิสัตว์กราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงเข้าไปยังที่นั้น

กราบทูลปราศัยกับพระราชา แล้วจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ข้าแต่พระราชา พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่น

ที่โลภจัดก็ดี จะต้องละทิ้งของมากเพราะของ

น้อย เหมือนลิงเสื่อมจากถั่วทั้งหมด เพราะถั่ว

เมล็ดเดียวแท้ ๆ.

ความย่อในคาถานั้นมีดังนี้ พระโพธิสัตว์ถวายโอวาทแด่

พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พวกเราก็ดี ชนเหล่าอื่นที่ถูกความ

โลภครอบงำก็ดี ทั้งหมดนั้นย่อมเสื่อมจากของมากเพราะของ

น้อย ด้วยว่าบัดนี้พวกเราจะเดินทางไปในฤดูฝนอันมิใช่กาล

สมควร ย่อมเสื่อมจากประโยชน์มาก เพราะเหตุประโยชน์เล็ก

น้อย. บทว่า กฬาเยเนว วานโร ความว่า เหมือนลิงตัวนี้แสวงหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 150

ถั่วเมล็ดเดียว เสื่อมแล้วจากถั่วเป็นอันมาก เพราะถั่วเมล็ดเดียว

นั้น ฉันใด แม้พวกเราในบัดนี้ก็ฉันนั้น กำลังจะไปในที่อันเต็ม

ไปด้วยซอกเขาและลำธารเป็นต้น โดยมิใช่กาลแสวงหาประโยชน์

เล็กน้อย แต่จักเสื่อมจากพาหนะช้าง พาหนะม้าเป็นต้นมากมาย

และหมู่นักรบ เพราะฉะนั้นไม่ควรไปในเวลาอันมิใช่กาล.

พระราชาสดับถ้อยคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้วเสด็จ

กลับจากที่นั้น เข้าสู่พระนครพาราณสีทันที. แม้พวกโจรได้

ข่าวว่า พระราชาเสด็จออกจากพระนคร โดยพระประสงค์จะ

ปราบปรามพวกโจร จึงพากันหนีออกจากชายแดน.

แม้ในปัจจุบันพวกโจรได้ยินข่าวว่า พระราชากรุงโกศล

เสด็จออก จึงพากันหนีไป. พระราชาสดับพระธรรมเทศนา

ของพระศาสดาแล้ว เสด็จลุกจากที่ประทับถวายบังคมพระผู้-

มีพระภาคเจ้า การทำประทักษิณ เสด็จกลับกรุงสาวัตถี.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์

บัณฑิต คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากฬายมุฏฐิชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 151

๗. ตินทุกชาดก

ว่าด้วยอุบาย

[๒๐๓] มนุษย์ทั้งหลายมีมือถือแล่งธนู ถือดาบ

อันคมแล้ว พากันมาแวดล้อมพวกเราได้โดยรอบ

ด้วยอุบายอย่างไรพวกเราจึงจะรอดพ้นไปได้.

[๒๐๔] ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะพึงเกิดมี

แก่มนุษย์ทั้งหลายผู้มีกิจมากเป็นแน่ ยังมีเวลา

พอที่จะเก็บเอาผลไม้มากินได้ ท่านทั้งหลาย จง

พากันกินผลมะพลับเถิด.

จบ ตินทุกชาดกที่ ๗

อรรถกถาตินทุกชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

พระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

ธนุหตฺถกลาเปหิ ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า พระศาสดาครั้นทรงสดับวาจา

พรรณาพระคุณแห่งปัญญาของพระองค์เหมือนในมหาโพธิชาดก

และอุมมังคชาดกแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต

มีปัญญามิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็มีปัญญาและฉลาด

ในอุบายเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 152

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดวานร มีวานรแปดหมื่น

เป็นบริวาร อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ. ใกล้หิมวันตประเทศนั้น

มีบ้านชายแดนแห่งหนึ่ง บางครั้งก็มีคนอยู่ บางครั้งก็ไม่มีคนอยู่

ในท่ามกลางหมู่บ้านนั้นมีต้นมะพลับต้นหนึ่ง กิ่งก้านและคาคบ

บริบูรณ์มีผลอร่อย. ฝูงลิงพากันมากินผลมะพลับนั้นในเวลาที่

ไม่มีคนอยู่. ครั้นต่อมาถึงคราวมีผลอีก บ้านนั้นได้กลับเป็นที่อยู่

ของมนุษย์เรียงรายไปด้วยต้นอ้อ ประกอบไปด้วยประตู. แม้

ต้นไม้นั้นก็ออกผลกิ่งลู่น้อมลง. ฝูงลิงคิดว่า เมื่อก่อนเรากินผล

มะพลับที่บ้านโน้น บัดนี้มะพลับต้นนั้นมีผลหรือยังหนอ บ้าน

มีคนอยู่หรือไม่หนอ ครั้นคิดดังนั้นแล้ว จึงส่งลิงไปตัวหนึ่ง โดย

กล่าวว่า เจ้าจงไปสืบดูที. ลิงนั้นไปสืบดูก็รู้ว่าไม้นั้นออกผล

และบ้านมีผู้คนจับจองอยู่จึงกลับมาบอกแก่พวกลิง. พวกลิง

ได้ฟังว่าต้นไม้นั้นออกผล เกิดความอุตสาหะว่าจักกินผลมะพลับ

อันโอชา จึงบอกความนั้นแก่พญาวานร. พญาวานรถามว่า

บ้านมีคนอยู่หรือไม่ มันบอกว่า มีจ้ะนาย. พญาวานรบอกว่า

ถ้าเช่นนั้นไม่ควรไป เพราะพวกมนุษย์มีเล่ห์กะเท่มาก. พวกลิง

กล่าวว่า เราจักกินตอนเที่ยงคืนในเวลาที่พวกมนุษย์หลับสนิท

ครั้นพญาวานรรับรู้แล้ว จึงลงจากป่าหิมพานต์ คอยเวลาที่

พวกมนุษย์หลับสนิท นอนอยู่บนหลังแผ่นหินใหญ่ไม่ไกลหมู่บ้าน

นั้น ครั้นมัชฌิมยามพวกมนุษย์หลับ จึงพากันขึ้นต้นไม้กินผลไม้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 153

ทีนั้นชายคนหนึ่งออกจากเรือนโดยจะไปถ่ายอุจจาระ ถึงท่าม

กลางบ้านเห็นฝูงลิงจึงตะโกนบอกพวกมนุษย์. พวกมนุษย์มาก

มาย สอดธนูและลูกศร ถืออาวุธต่าง ๆ ทั้งก้อนดินและท่อนไม้

เป็นต้น พอรุ่งสว่าง พากันยืนล้อมต้นไม้ด้วยหวังว่า จักจับ

ฝูงลิง.

ฝูงลิงแปดหมื่นตัวเห็นพวกมนุษย์ตกใจกลัวตาย พากัน

ไปหาพญาวานรด้วยคิดว่า นอกจากพญาวานรแล้ว ไม่มีผู้อื่น

จะเป็นที่พึ่งของพวกเราได้ แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

พวกมนุษย์มีมือถือธนูและแล่งธนู ถือดาบ

อันคมกริบ พากันมาแวดล้อมพวกเราไว้โดยรอบ

พวกเราจะพ้นไปได้ด้วยอุบายอย่างไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธนุหตฺถกลาเปหิ คือมีมือถือธนู

และแล่งธนู อธิบายว่า ถือธนูแลแล่งศรยืนล้อมอยู่. บทว่า

ปริกิณฺณมฺหา คือแวดล้อม. บทว่า กถ ได้แก่ พวกเราจักพ้นได้

ด้วยอุบายไรหนอ.

พญาวานรได้ฟังคำของพวกลิงเหล่านั้นแล้วปลอบพวก

ลิงว่า พวกเจ้าอย่ากลัวเลย ขึ้นชื่อว่าเหล่ามนุษย์มีการงานมาก

แม้วันนี้ก็เพิ่งมัชฌิมยาม บางทีเมื่อพวกมนุษย์ยืนล้อมเราด้วย

คิดว่าจักฆ่าพวกเรา กิจอื่นอันทำอันตรายแก่กิจนี้พึงเกิดขึ้น

แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 154

ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะพึงเกิด

แก่มนุษย์ผู้มีกิจมากเป็นแน่ ยังมีเวลาพอที่จะเก็บ

ผลไม้เอามากินได้ พวกท่านจงพากันกินผล

มะพลับเถิด.

บทว่า น เป็นเพียงนิบาต. ในบทนี้มีอธิบายว่า บางที.

ความต้องการอะไร ๆ อย่างอื่นพึงเกิดขึ้นแก่พวกมนุษย์ผู้มี

กิจมาก. บทว่า อตฺถิ รุกฺขสฺส อุจฺฉินฺน ความว่า ยังมีทางที่จะ

แย่งเอามากินได้ด้วยการฉุดกระชากผลของต้นไม้นี้. บทว่า

ขชฺช ตญฺเว ตินฺทุก ความว่า พวกเจ้า จงกินผลมะพลับกัน

เถิด คือ พวกเจ้ามีความต้องการเท่าใด จงกินเท่านั้น เราจักรู้

ในเวลาที่เขาประหารพวกเรา.

พระมหาสัตว์ปลอบฝูงลิงไว้. เพราะว่าเมื่อพวกมันเมื่อ

ไม่ได้การปลอบใจเช่นนี้ ทั้งหมดจะหัวใจแตกถึงแก่ความตาย.

พระมหาสัตว์ปลอบฝูงวานรอย่างนี้แล้วกล่าวว่า พวกเจ้าจับนับ

ลิงทั้งหมดที. เมื่อพวกมันนับก็ไม่เห็นวานรชื่อ เสนกะซึ่งเป็น

หลานของพญาวานร จึงแจ้งว่า เสนกะไม่มา. พญาวานร

กล่าวว่า หากเสนกะไม่มา พวกเจ้าไม่ต้องกลัว เสนกะนั้นจัก

ทำความปลอดภัยให้แก่พวกเจ้าในบัดนี้.

เสนกะหลับในเวลาที่ฝูงลิงมา ภายหลังตื่นขึ้นไม่เห็นใคร ๆ

จึงเดินตามรอยเท้ามา ครั้นเห็นพวกมนุษย์จึงรู้ว่า ภัยเกิดขึ้นแก่

ฝูงลิงเสียแล้ว จึงไปหาหญิงแก่ซึ่งตามไฟกรอด้ายอยู่ ณ ท้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 155

เรือนหลังหนึ่ง แล้วทำเป็นเด็กชาวบ้านเดินไปนา คว้าคบไฟ

ดุ้นหนึ่งวิ่งไปจุดบ้านซึ่งตั้งอยู่เหนือลม. พวกมนุษย์พากันผละ

พวกลิงไปดับไฟ. ลิงทั้งหลายก็พากันหนีเก็บผลไม้ได้ตัวละผล

เพื่อนำไปให้เสนกะแล้วพากันหนีไป.

พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม

ชาดก. เสนกะหลานพญาวานรในครั้งนั้นได้เป็นมหานามศากยะ

ในครั้งนี้ ฝูงลิงได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนพญาวานร คือเรา

ตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาตินทุกชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 156

๘. กัจฉปชาดก

ว่าด้วยเต่า

[๒๐๕] เราเกิดที่นี่ เติบโตที่นี่ เพราะเหตุนี้ เรา

จึงได้อาศัยอยู่ที่เปือกตม เปือกตมกลับทับถม

เราให้ทุรพล ดูก่อนท่านภัคควะ เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าจะขอกล่าวกะท่าน ขอท่านจงฟังคำของ

ข้าพเจ้าเถิด.

[๒๐๖] บุคคลได้รับความสุขในที่ใด จะเป็นใน

บ้านหรือในป่าก็ตาม ที่นั้นเป็นที่เกิด เป็นที่เติบโต

ของบุรุษผู้ร้จักเหตุผล บุคคลพึงเป็นอยู่ได้ในที่ใด

ก็พึงไปที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตนเสีย.

จบ กัจฉปชาดกที่ ๘

อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง

ปรารภผู้รอดจากอหิวาตกโรคคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนา

นี้มีคำเริ่มต้นว่า ชนิต เม ภวิต เม ดังนี้.

มีเรื่องเล่าว่าที่กรุงสาวัตถี ได้เกิดอหิวาตกโรคขึ้นใน

ตระกูลหนึ่ง. มารดาบิดาจึงบอกแก่บุตรว่า ลูก เจ้าอย่าอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 157

เรือนนี้เลย จงพังฝาหนีไปเสียในที่ใดที่หนึ่ง รักษาชีวิตไว้ภายหลัง

จึงค่อยกลับมา ขุดทรัพย์ซึ่งฝังไว้มีอยู่ในที่นี้ แล้วเก็บทรัพย์ไว้

เลี้ยงชีพให้เป็นสุขเถิด. บุตรรับคำของมารดาบิดาแล้วพังฝา

หนีไป เมื่อโรคของตนหายดีแล้วจึงกลับมาขุดเอาทรัพย์ที่ฝังไว้

อยู่ครองเรือนอย่างเป็นสุข. วันหนึ่งเขาให้คนถือเนยใสและ

น้ำมัน ผ้า เครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ไปวิหารเชตวัน ถวายบังคม

พระศาสดาแล้วนั่ง. พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเขาแล้ว

ตรัสถามว่า ได้ยินว่า อหิวาตกโรคเกิดขึ้นในเรือนของท่าน

ท่านทำอย่างไรจึงรอดมาได้. เขาได้กราบทูลเรื่องราวนั้นให้

ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก แม้แต่ก่อนชน

เหล่าใด เมื่อภัยเกิดขึ้นทำความอาลัยในที่อยู่ของตน ไม่ยอมไป

อยู่ที่อื่น ชนเหล่านั้นถึงสิ้นชีวิต แต่ชนเหล่าใดไม่ทำความอาลัย

ไปอยู่เสียที่อื่น ชนเหล่านั้นรอดชีวิตแล้วทรงนำเรื่องในอดีต

มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลช่างหม้อใกล้หมู่บ้าน

แห่งหนึ่ง ทำการปั้นหม้อเลี้ยงบุตรภรรยา. ในครั้งนั้น ใกล้

กรุงพาราณสี ได้มีสระใหญ่ต่อเนื่องเป็นอันเดียวกับแม่น้ำใหญ่

สระนั้นมีน้ำไหลถึงกันกับแม่น้ำในคราวน้ำมาก. เมื่อน้ำน้อย

ก็แยกกัน. ปลาและเต่าย่อมรู้ว่า ปีนี้ฝนดี ปีนี้ฝนแล้ง. ครั้นต่อมา

ปลาและเต่าที่เกิดในสระนั้นรู้ว่า ในปีนี้ฝนจะแล้ง ครั้นถึงเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 158

น้ำไหลต่อเนื่องกันเป็นอันเดียว จึงพากันออกจากสระไปสู่แม่น้ำ.

แต่เต่าตัวหนึ่ง ไม่ยอมไปด้วยคิดเสียว่านี้เป็นที่เกิดของเรา เป็น

ที่เติบโตของเรา เป็นที่ที่พ่อแม่ของเราเคยอยู่ เราไม่อาจจะละ

ที่นี้ไปได้. ครั้นถึงคราวหน้าแล้ง น้ำแห้งผาก. เต่านั้นขุดคุ้ยดิน

เข้าไปอยู่ในที่ที่ขนดินของพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ได้ไป

ณ ที่นั้นด้วยประสงค์ว่าจักเอาดิน จึงเอาจอบใหญ่ขุดดิน สับถูก

เต่าแล้วเอาจอบงัดมันขึ้นคล้ายก้อนดินทิ้งกลิ้งอยู่บนบก. เต่า

นั้นได้รับเวทนา จึงพูดคร่ำครวญว่า เราไม่อาจละที่อยู่ได้จึงถึง

ความพินาศอย่างนี้ แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เราเกิดที่นี่ เติบโตที่นี่ เพราะเหตุนี้ เรา

จึงได้อาศัยอยู่ที่เปือกตม เปือกตมกลับทับถมเรา

ให้ทุรพล ดูก่อนท่านภัคควะ เพราะเหตุนั้น

ข้าพเจ้าจะขอกล่าวกะท่าน ขอท่านจงฟังคำของ

ข้าพเจ้าเถิด บุคคลได้รับความสุขในที่ใด จะเป็น

ในบ้านหรือในป่าก็ตาม ที่นั้นเป็นที่เกิด เป็นที่

เติบโตของบุรุษผู้รู้จักเหตุผล บุคคลพึงเป็นอยู่

ได้ในที่ใดก็พึงไปในที่นั้น ไม่พึงให้ที่อยู่ฆ่าตน

เสีย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ชนิต เม ภวิต เม ได้แก่ นี้เป็นที่เกิด

ของเรา นี้เป็นที่เติบโตของเรา. บทว่า อิติ ปงฺเก อวสฺสยึ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 159

ว่า เราอาศัย คือ นอน คือสำเร็จการอยู่ในเปือกตมนี้ เพราะเหตุนี้.

บทว่า อชฺฌภวิ ได้แก่ ครอบงำคือให้ถึงความพินาศ. เรียก

ช่างหม้อว่า ภัคควะ ภัคควะนี้เป็นบัญญัตินามและโคตรของ

ช่างหม้อ. บทว่า สุข ได้แก่ ความสบายทางกายและทางจิต.

บทว่า ต ชนิต ภวิตญฺจ ได้แก่ นั้นเป็นที่เกิดและเป็นที่เติบโต.

บทว่า ปชานโต ได้แก่ ผู้รู้ประโยชน์มิใช่ประโยชน์คือ เหตุ

และมิใช่เหตุ. บทว่า น นิเกตหโต สิยา ความว่า ทำความอาลัย

ในที่อยู่แล้วไม่ไปในที่อื่นถูกที่อยู่ฆ่า ไม่ควรให้ถึงมรณทุกข์

เช่นนี้.

เต่าเมื่อพูดกับพระโพธิสัตว์อย่างนี้ก็ตาย. พระโพธิสัตว์

จับเอาเต่าไปแล้วให้ชาวบ้านทั้งหมดมาประชุมกัน เมื่อจะสอน

มนุษย์ทั้งหลาย จึงกล่าวอย่างนี้ว่า พวกท่านจงดูเต่านี้ ในขณะ

ที่ปลาและเต่าอื่น ๆ ไปสู่แม่น้ำใหญ่ เต่านี้ไม่อาจตัดความอาลัย

ในที่อยู่ของตนได้ ไม่ไปกับสัตว์เหล่านั้น เขาไปนอนยังที่ขนดิน

ของเรา ครั้นเราขนดินได้เอาจอบใหญ่สับหลังมันเหวี่ยงมันลง

บนบกเหมือนก้อนดิน เต่านี้จึงเปิดเผยกรรมที่ตนกระทำคร่ำครวญ

ด้วยคาถาสองคาถาแล้วก็ตาย มันทำความอาลัยในที่อยู่ของตน

ถึงแก่ความตาย แม้พวกท่านก็อย่าได้เป็นเช่นเต่าตัวนี้ ตั้งแต่

นี้ไป พวกท่านจงอย่ายึดด้วยอำนาจตัณหา ด้วยอำนาจเครื่อง

อุปโภคและบริโภคว่า รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ของเรา

บุตรของเรา ธิดาของเรา ทาสีและทาสเงินทองของเราแท้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 160

สัตว์ผู้เดียวนี้เท่านั้นวนเวียนไปในภพสาม. พระโพธิสัตว์ได้ให้

โอวาทแก่มหาชน ด้วยพุทธสีลา ด้วยประการฉะนี้. โอวาทนั้น

แผ่ไปทั่วชมพูทวีป ดำรงอยู่ตลอดเวลาประมาณเจ็ดพันปี.

มหาชนตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ ทำบุญมีทานเป็นต้น

ทำทางสวรรค์ให้บริบูรณ์ในคราวสิ้นอายุ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประกาศ

อริยสัจ ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบอริยสัจกุลบุตรนั้นตั้งอยู่ใน

โสดาปัตติผล. เต่าในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนช่าง

หม้อ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 161

๙. สตธรรมชาดก

ว่าด้วยสตธรรมมาณพ

[๒๐๗] อาหารที่เราบริโภค น้อยด้วย เป็นเดนด้วย

อนึ่ง เขาให้แก่เราโดยยากเต็มที เราเป็นชาติ

พราหมณ์บริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น อาหารที่เรา

บริโภคเข้าไปแล้วจึงกลับออกมาอีก.

[๒๐๘] ภิกษุใดละทิ้งธรรมเสีย หาเลี้ยงชีพโดย

ไม่ชอบธรรม ภิกษุนั้นก็ย่อมไม่เพลินด้วยลาภ

แม้ที่ได้มาแล้ว เปรียบเหมือนสตธรรมมาณพ

ฉะนั้น.

จบ สตธรรมชาดกที่ ๙

อรรถกถาสตธรรมชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภ

การแสวงหาไม่ควร ๒๑ อย่าง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เป็นต้นว่า ตญฺจ อปฺปญฺจ อุจฺฉิฏฺ ดังนี้.

เรื่องพิสดารมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่ง ภิกษุเป็นอันมากสำเร็จ

ชีวิตด้วยการแสวงหาไม่ควร ๒๑ อย่าง เป็นต้นว่า การเป็นหมอ

การเป็นทูต การส่งข่าว การรับใช้ การให้ไม้สีฟัน การให้ไม้ไผ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 162

การให้ดอกไม้ การให้ผลไม้ การให้จุณสำหรับทา การให้

ครุภัณฑ์ การให้ยา การให้ของบิณฑบาต. การแสวงหาไม่ควร

นั้น จักมีแจ้งในสาเกตชาดก.

พระศาสดาทรงทราบการเลี้ยงชีพของภิกษุเหล่านั้น

ทรงพระดำริว่า บัดนี้ภิกษุเป็นอันมากสำเร็จชีวิตด้วยการ

แสวงหาไม่ควร ครั้นสำเร็จชีวิตอย่างนี้แล้วจักไม่พ้นความเป็น

ยักษ์ ความเป็นเปรต จักเกิดเป็นโคเทียมแอก จักเกิดในนรก

เราควรกล่าวธรรมเทศนาสักอย่างหนึ่งอันเป็นอัธยาศัยของตน

เป็นปฏิภาณของตน เพื่อประโยชน์เพื่อความสุขของพวกเธอ

แล้วรับสั่งให้หมู่ภิกษุประชุมกัน ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ไม่ควรให้ปัจจัยเกิดขึ้นด้วยการแสวงหาไม่ควร ๒๑ อย่าง

เพราะบิณฑบาตที่เกิดขึ้นด้วยการแสวงหาไม่ควรเป็นเช่นกับ

ก้อนทองแดงร้อน เปรียบเหมือนยาพิษร้ายแรง จริงอยู่การ

แสวงหาไม่ควรนี้ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและสาวก

ของพระพุทธเจ้าติเตียน คัดค้าน เมื่อภิกษุบริโภคบิณฑบาต

อันเกิดขึ้นด้วยการแสวงหาอันไม่ควร จะไม่มีความร่าเริงหรือ

โสมนัสเลย เพราะว่าบิณฑบาตอันเกิดขึ้นอย่างนี้เป็นเช่นกับ

อาหารเดนของคนจัณฑาลในศาสนาของเรา การบริโภคบิณฑบาต

นั้น ย่อมเป็นเหมือนการบริโภคอาหารเดนของคนจัณฑาล ชื่อ

สตธรรมมาณพ แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 163

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดคนจัณฑาล ครั้น

เจริญวัยได้ตระเตรียมข้าวสารเป็นเสบียงและห่อข้าวเดินทาง

ไปทำกรณียกิจอย่างหนึ่ง. ในกาลนั้นในกรุงพาราณสีมีมาณพ

คนหนึ่ง ชื่อ สตธรรม เกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาลอุทิจจโคตร.

เขามิได้ตระเตรียมข้าวสารหรือห่อข้าวเดินทางไปด้วยกรณียกิจ

อย่างหนึ่ง. ทั้งสองได้มาพบกันที่ทางใหญ่. มาณพจึงถามพระ-

โพธิสัตว์ว่า ท่านเป็นชาติอะไร. มาณพบอกว่า เราเป็นคน

จัณฑาล แล้วถามมาณพว่า ก็ท่านเล่าเป็นชาติอะไร เขาบอกว่า

เราเป็นพราหมณ์อุทิจจโคตร. ดีแล้วเราไปด้วยกัน ทั้งสองก็

เดินทางร่วมกันไป. ได้เวลาอาหารเช้า พระโพธิสัตว์จึงนั่งใน

ที่ที่หาน้ำง่าย ล้างมือแก้ห่อข้าวแล้วกล่าวว่า มาณพบริโภค

ข้าวกันเถิด. มาณพตอบว่า ไม่มีเสียละเจ้าคนจัณฑาลที่เรา

จะต้องการอาหารของท่าน. พระโพธิสัตว์จึงว่าตามใจ แล้ว

แบ่งอาหารเพียงพอสำหรับตนไว้ในใบไม้อื่น ไม่ทำอาหารในห่อ

ให้เป็นเดน มัดห่อวางไว้ข้างหนึ่ง บริโภค ดื่มน้ำ จากนั้นก็

ล้างมือล้างเท้าถือเอาข้าวสารและอาหารที่เหลือ กล่าวว่าไปกัน

เถิดมาณพ แล้วก็เดินทางต่อไป. เขาพากันเดินทางไปตลอดวัน

ยังค่ำ ในตอนเย็น ทั้งสองพากันลงอาบน้ำในที่ที่น้ำบริบูรณ์

แห่งหนึ่ง เสร็จแล้วก็ขึ้น. พระโพธิสัตว์นั่งในที่สำราญ แล้วแก้

ห่ออาหาร ไม่ได้เชิญมาณพ เริ่มบริโภค. มาณพเหน็ดเหนื่อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 164

เพราะการเดินทางมาตลอดวัน เกิดความหิวโหย ได้แต่ยืนมอง

ด้วยคิดว่า หากเขาให้อาหารเรา เราก็จักบริโภค. ฝ่ายพระ-

โพธิสัตว์ ก็มิได้พูดอะไรบริโภคท่าเดียว. มาณพคิดว่า เจ้าคน

จัณฑาลนี้ไม่พูดกับเราเลย บริโภคจนหมด เราควรยึดเอาก้อน

อาหารไว้ ทิ้งเศษอาหารข้างบนเสีย แล้วบริโภคส่วนที่เหลือ.

มาณพได้ทำดังนั้น แล้วบริโภคอาหารเดน. ครั้นบริโภคเสร็จ

แล้วเท่านั้น ก็เกิดความร้อนใจอย่างแรงว่า เราทำกรรมอันไม่

สมควรแก่ชาติ โคตร ตระกูล และประเทศของตน เราบริโภค

อาหารเดนของคนจัณฑาล. ทันใดนั้นเองอาหารปนโลหิตก็พุ่ง

ออกจากปากของมาณพนั้น. เขาคร่ำครวญ เพราะความโศก

ใหญ่หลวงเกิดขึ้นว่า เราทำกรรมอันไม่สมควรเพราะเหตุ

อาหารเพียงเล็กน้อย แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

อาหารที่เราบริโภคน้อยด้วย เป็นเดนด้วย

อนึ่ง เขาให้แก่เราโดยยากเย็นเต็มที เราเป็นชาติ

พราหมณ์บริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้นอาหารที่เรา

บริโภคเข้าไปแล้ว จึงกลับออกมาอีก.

ในคาถานั้นมีความสังเขปดังต่อไปนี้ เราบริโภคอาหาร

ใดอาหารนั้นน้อยด้วยเป็นเดนด้วย คนจัณฑาลนั้นมิได้ให้อาหาร

แก่เราด้วยความพอใจของตน ที่แท้ถูกเรายึดจึงได้ให้ด้วยความ

ยาก คือ ด้วยความลำบาก เราเป็นพราหมณ์มีชาติบริสุทธิ์

ด้วยเหตุนั้นอาหารที่เราบริโภคจึงพลุ่งออกมาพร้อมกับโลหิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 165

มาณพคร่ำครวญอยู่อย่างนี้แล้วจึงคิดว่า เราทำกรรมอัน

ไม่สมควร ถึงอย่างนี้แล้วจะมีชีวิตอยู่ไปทำไม จึงเข้าป่าไป

ไม่แสดงตนแก่ใคร ๆ ถึงแก่กรรมลงอย่างน่าอนาถ.

พระศาสดาทรงแสดงเรื่องอดีตนี้แล้วตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะสตธรรมมาณพบริโภคอาหารเดนของ

คนจัณฑาลเป็นการบริโภคอาหารที่ไม่สมควรแก่ตน จึงมิได้

เกิดความร่าเริงยินดีฉันใด ผู้ใดบวชแล้วในศาสนานี้ก็ฉันนั้น

สำเร็จชีวิตด้วยการแสวงหาอันไม่สมควร บริโภคปัจจัยตามที่

ได้ ความร่าเริงยินดีมิได้เกิดแก่ผู้นั้น เพราะเขามีชีวิตเป็นอยู่

ที่น่าตำหนิ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงคัดค้าน ครั้นทรงบรรลุอภิสัม-

โพธิญาณแล้ว จึงตรัสพระคาถา ๒ คาถาว่า :-

ภิกษุใดละทิ้งธรรมเสีย หาเลี้ยงชีพโดย

ไม่ชอบธรรม ภิกษุนั้นก็ย่อมไม่เพลินด้วยลาภ

แม้ที่ตนได้มาแล้ว เปรียบเหมือนสตมาณพฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺม ได้แก่ ธรรม คืออาชีวปาริ-

สุทธิคีล. บทว่า นิรงฺกตฺวา ได้แก่ นำไปทิ้งเสีย. บทว่า

อธมฺเมน ได้แก่ มิจฉาชีพ กล่าวคือการแสวงหาไม่สมควร ๒๑

อย่าง อย่างนี้. บทว่า สตธมฺโม เป็นชื่อของมาณพนั้น. บาลีเป็น

สุตธมฺโม บ้าง. บทว่า น นนฺทติ ความว่า มาณพสตธรรม

ไม่ยินดีด้วยลาภนั้นว่า เราได้อาหารเดนของคนจัณฑาล ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 166

กุลบุตรผู้บวชในศาสนานี้ก็ฉันนั้น บริโภคลาภที่ได้มาด้วยการ

แสวงหาอันไม่สมควร ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่ยินดี ถึงความ

โทมนัสว่า เราเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีพที่พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ.

เพราะฉะนั้น ผู้ที่สำเร็จชีวิตด้วยการแสวงหาอันไม่สมควร

ควรเข้าป่าตายเสียอย่างอนาถดีกว่า เหมือนสตธรรมมาณพ

ฉะนั้น.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง

ประกาศอริยสัจ ๔ ทรงประชุมชาดก เมื่อจบอริยสัจ ภิกษุ

เป็นอันมากบรรลุโสดาปัตติผล เป็นต้น. บุตรคนจัณฑาลใน

ครั้งนั้น คือเราตถาคตในครั้งนี้แล.

จบ อรรถกถาสตธรรมชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 167

๑๐. ทุทททชาดก

ว่าด้วยคติของคนดีคนชั่ว

[๒๐๙] เมื่อสัตบุรุษทั้งหลายให้สิ่งของที่หายาก

ทำกรรมที่ทำได้ยาก อสัตบุรุษทั้งหลายย่อม

ทำตามไม่ได้ ธรรมของอสัตบุรุษรู้ได้ยาก.

[๒๑๐] เพราะเหตุนั้น คติจากโลกนี้ของสัตบุรุษ

และอสัตบุรุษจึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก

สัตบุรุษย่อมมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

จบ ทุทททชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาทุทททชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง

ปรารภการถวายทานเป็นคณะ. ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า ทุททท ททมานาน ดังนี้.

ได้ยินว่าในกรุงสาวัตถี บุตรกุฎุมพีสองสหายร่วมกัน

จัดแจงทานมีเครื่องบริขารครบ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุข ถวายมหาทานตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ได้ถวาย

บริขารทุกชนิด. ในคนเหล่านั้น คนที่เป็นหัวหน้าคณะ ถวาย

บังคมพระศาสดา นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง แล้วมอบถวายทานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 168

ข้าแต่พระองค์ในการถวายทานนี้ มีทั้งผู้ถวายน้อย ขอการถวาย

นี้ จงมีผลมากแก่ชนเหล่านั้นทั่วกันเถิดพระเจ้าข้า. พระศาสดา

ตรัสว่า อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย พวกท่านถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้วมอบให้อย่างนี้ เป็นการทำที่ยิ่งใหญ่

แล้ว แม้โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ก็ถวายทานมอบให้อย่างนี้

เหมือนกัน เมื่อเขาทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ ณ

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์แคว้นกาสี

ครั้นเจริญวัยได้เรียนศิลปะทุกอย่าง สำเร็จแล้วละฆราวาสบวช

เป็นฤๅษี เป็นครูประจำคณะอยู่ในหิมวันตประเทศเป็นเวลานาน

เที่ยวจาริกไปยังชนบท เพื่อเสพของเค็มและของเปรี้ยว ได้ไปถึง

กรุงพาราณสี พักอยู่ ณ พระราชอุทยาน รุ่งขึ้นจึงออกบิณฑบาต

พร้อมด้วยบริษัทตามประตูบ้าน. พวกมนุษย์พากันถวายภิกษา.

วันรุ่งขึ้นออกบิณฑบาต ณ กรุงพาราณสี. พวกมนุษย์พากัน

รักใคร่ ครั้นถวายภิกษาแล้ว จึงร่วมใจกันเป็นคณะเตรียมทาน

ถวายมหาทานแก่คณะฤๅษี. เมื่อเสร็จการถวาย ผู้เป็นหัวหน้า

คณะกล่าวอย่างนี้แล้วถวายทานโดยทานองนี้. พระโพธิสัตว์กล่าว

ว่า พวกท่านทั้งหลาย เมื่อมีจิตเลื่อมใส ทานชื่อว่าเล็กน้อยไม่มี

เมื่อจะทำอนุโมทนา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เมื่อสัตบุรุษทั้งหลายให้สิ่งที่ให้ยาก ทำ

กรรมที่ทำได้ยาก อสัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 169

ตามไม่ได้ ธรรมของสัตบุรุษรู้ได้ยาก. เพราะ

เหตุนั้น คติจากโลกนี้ของสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ

จึงต่างกัน อสัตบุรุษย่อมไปสู่นรก สัตบุรุษย่อม

มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุทฺทท ความว่า ชื่อว่าทานอันผู้

มิใช่บัณฑิต ประกอบด้วยอำนาจโทสะ มีโลภเป็นต้น ไม่อาจให้ได้

เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว ทุทฺทท ให้สิ่งที่ให้ได้ยาก. บทว่า

กุพฺพต ความว่า กรรมคือการให้นั้นก็เหมือนกัน ไม่สามารถ

ทาได้. บทว่า ทุกฺกร ได้แก่ ทาสิ่งที่ทาได้ยากนั้น. บทว่า อสนฺโต

ได้แก่ ชนผู้มิใช่บัณฑิต คือคนพาล. บทว่า นานุกุพฺพนฺติ คือ ทำ

ตามกรรมนั้นไม่ได้. บทว่า สต ธมฺโม ได้แก่ สภาพธรรมของบัณฑิต

ทั้งหลาย. นี้ท่านกล่าวหมายถึงการให้. บทว่า ทุรนนฺโย ได้แก่

ยากที่จะรู้ด้วยความเกี่ยวพันถึงผล ยากที่จะแนะนำ คือยากที่จะ

รู้ตามได้ว่า สภาพอย่างนี้เป็นผลวิบากของทานชนิดนี้. อีกประ-

การหนึ่ง บทว่า ทุรนฺนโย ได้แก่ ยากที่จะได้บรรลุ. อธิบายว่า

ชนผู้มิใช่บัณฑิตไม่ให้ทานแล้ว ไม่สามารถจะได้ผลทาน. บทว่า

นานา โหติ อิโต คติ ได้แก่ การถือปฏิสนธินั้นของสัตว์ผู้เคลื่อน

จากโลกนี้แล้วไปสู่ปรโลก ย่อมต่าง ๆ กัน. บทว่า อสนฺโต นิรย

อนฺติ. ได้แก่ ชนที่ไม่ใช่บัณฑิต เป็นคนทุศีลไม่ให้ทาน ไม่รักษา

ศีล ย่อมไปสู่นรก. บทว่า สนฺโต สคฺคปรายนา ความว่า ส่วน

ผู้เป็นบัณฑิต ให้ทานรักษาศีล กระทำอุโบสถ บำเพ็ญสุจริต ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 170

ย่อมมีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า คือย่อมเสวยสุขสมบัติอัน

ยิ่งใหญ่.

พระโพธิสัตว์ครั้นการทำอนุโมทนาอย่างนี้แล้ว พักอยู่

ณ ที่นั้นตลอดฤดูฝน เมื่อพ้นฤดูฝนก็ไปป่าหิมพานต์ ยังฌาน

ให้เกิด ไม่เสื่อมฌาน ก็ได้เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. หมู่ฤๅษีในครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้ ส่วน

ครูประจำคณะ คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาทุทททชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กัลยาณธรรมชาดก ๒. ทัททรชาดก ๓. มักกฏชาดก

๔. ทุพภิยมักกฏชาดก ๕. อาทิจจุปัฏฐานชาดก ๖. กฬายมุฏฐิ-

ชาดก ๗. ตินทุกชาดก ๘. กัจฉปชาดก ๙. สตธรรมชาดก

๑๐. ทุทททชาดก.

จบ กัลยาณธรรมวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 171

๔. อสทิสวรรค

๑. อสทิสชาดก

ว่าด้วยอสทิสกุมาร

[๒๑๑] เจ้าชายพระนามว่าอสทิสกุมาร เป็นนัก

ธนู มีกำลังมาก ยิงธนูให้ไปตกในที่ไกล ๆ ได้

ยิงไม่ค่อยพลาด สามารถทำลายของกองใหญ่ ๆ

ได้.

[๒๑๒] พระองค์ทรงทำการบให้ข้าศึกทั้งปวง

หนีไปแต่มิได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย ทรงทำพระ-

กนิษฐภาดาให้มีความสวัสดีแล้ว ก็เข้าถึงความ

สำรวม.

จบ อสทิสชาดกที่ ๑

อรรถกถาอสทิสวรรคที่ ๔

อรรถกถาอสทิสชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

มหาภิเนกษกรม (การออกเพื่อคุณยิ่งใหญ่) ตรัสพระธรรมเทศนา

นี้ มีคำเริ่มต้นว่า ธนุคฺคโห อสทิโส ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 172

เรื่องพิสดารมีอยู่ว่าวันหนึ่งภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกัน

ในโรงธรรมพรรณนามหาภิเนกขัมมบารมี. พระศาสดาเสด็จ

มาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกสู่มหาภิเนกษกรม

มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อนตถาคตก็สละเศวตฉัตรออกบวช

เหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ

พระอัครมเหสีของพระองค์. เมื่อพระราชกุมารประสูติโดย

สวัสดี ในวันขนานพระนาม พระชนกชนนีตั้งพระนามว่า อสทิส

ราชกุมาร. ครั้นถึงคราวที่พระโอรสเสด็จดำเนินไปมาได้ สัตว์

ผู้มีบุญอื่นก็ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระราชเทวี. เมื่อ

พระโอรสนั้นประสูติโดยสวัสดี ในวันขนานพระนาม พระชนก-

ชนนีตั้งพระนามว่า พรหมทัตกุมาร. ในพระราชกุมารทั้งสอง

พระองค์ พระโพธิสัตว์เมื่อมีพระชนม์ได้สิบหกพรรษา เสด็จไป

เมืองตักกสิลา ทรงศึกษาไตรเพทและศิลปะทุกชนิด อันเป็น

พื้นฐานของวิชาสิบแปดประการหาผู้เปรียบมิได้ในศิลปะยิงธนู

แล้วเสด็จกลับกรุงพาราณสี.

พระราชาเมื่อจะเสด็จสวรรคต ได้มีพระราชโองการว่า

ให้มอบราชสมบัติแก่อสทิสราชกุมาร ให้ตำแหน่งอุปราชแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 173

พรหมทัตกุมาร. แล้วก็เสด็จสวรรคต. เมื่อพระราชาเสด็จ

สวรรคตแล้ว เมื่อเขาจะมอบราชสมบัติให้ พระโพธิสัตว์ทรง

ปฏิเสธว่า เราไม่ต้องการราชสมบัติ จึงอภิเษกพรหมทัตราชกุมาร

ให้ครองราชสมบัติ. พระโพธิสัตว์รับสั่งว่า เราไม่ต้องการยศ

จึงไม่ทรงปรารถนาอะไรทั้งสิ้น. เมื่อพระเจ้าน้องยาเธอครอง

ราชสมบัติ พระโพธิสัตว์ก็ทรงสถิตย์อยู่โดยอาการเหมือน

พระราชาตามปกตินั่นเอง. พวกข้าทูลละอองธุลีพระบาท พากัน

กล่าวให้ร้ายพระโพธิสัตว์ในราชสำนักว่า อสทิสราชกุมาร

ทรงปรารถนาราชสมบัติ. พรหมทัตราชาก็ทรงเชื่อคำของพวก

เขา จึงมีพระทัยแตกแยก ทรงส่งราชบุรุษไปสำทับว่า พวกท่าน

จงจับพระเจ้าพี่ของเรา. ครั้งนั้น มีผู้หวังดีต่อพระโพธิสัตว์

คนหนึ่ง แจ้งเหตุการณ์นั้นให้ทรงทราบ. พระโพธิสัตว์ทรงกริ้ว

พระกนิษฐภาดา เสด็จไปยังแคว้นอื่น แล้วให้คนกราบทูลแด่

พระราชาว่ามีนักยิงธนูคนหนึ่งมายืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง.

พระราชารับสั่งถามว่า เขาต้องการค่าจ้างเท่าไร. กราบทูลว่า

ต้องการปีละหนึ่งแสนพระเจ้าข้า. รับสั่งว่า ดีแล้ว เข้ามาเถิด.

พระราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ซึ่งมายืนอยู่ ณ ที่ใกล้ว่า เจ้า

เป็นนักยิงธนูหรือ. กราบทูลว่า ถูกแล้วพระเจ้าข้า. รับสั่งว่า

ดีแล้ว จงรับราชการกับเรา. ตั้งแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์อยู่รับ

ราชการกับพระราชา. พวกนักยิงธนูรุ่นเก่าเห็นค่าใช้จ่ายที่

พระราชทานแก่พระโพธิสัตว์ จึงพากันยกโทษว่า ได้มากไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 174

อยู่มาวันหนึ่งพระราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน รับสั่ง

ให้กั้นฉากม่านใกล้แผ่นศิลามงคล บรรทมเหนือราชอาสน์ใหญ่

ใกล้ต้นมะม่วง ทอดพระเนตรดูเบื้องบนทรงเห็นมะม่วงพวงหนึ่ง

บนยอดไม้ ทรงดำริว่า ไม่มีใครสามารถขึ้นไปเอามะม่วงนี้ได้

รับสั่งให้หาพวกนายขมังธนูมา มีพระดำรัสว่า พวกเจ้าสามารถ

ใช้ลูกศรยิงมะม่วงพวงนี้ให้ตกได้หรือ. พวกนายขมังธนูกราบทูล

ว่า ขอเดชะข้อนี้ไม่เป็นการยากสาหรับพวกข้าพระองค์ ทั้ง

พระองค์ก็ได้ทรงเคยเห็นฝีมือของพวกข้าพระองค์มาหลายครั้ง

แล้ว แต่นายขมังธนูที่มาใหม่ได้ค่าใช้จ่ายมากกว่าพวกข้าพระองค์

ขอได้ทรงโปรดให้เขายิงเถิดพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้หา

พระโพธิสัตว์ แล้วตรัสถามว่า เจ้าสามารถยิงมะม่วงพวงนั้น

ให้ตกลงมาได้หรือ. กราบทูลว่า เมื่อได้ที่ว่างสักแห่งหนึ่งจัก

สามารถพระเจ้าข้า. รับสั่งถามว่า ที่ว่างตรงไหน. กราบทูลว่า

ที่ว่างภายในที่บรรทมของพระองค์พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่ง

ให้ย้ายที่พระบรรทมแล้วพระราชทานที่ว่างให้. พระโพธิสัตว์

ไม่มีธนูในพระหัตถ์. พระองค์ทรงเหน็บธนูไว้ในระหว่างพระภูษา

เสด็จเที่ยวไป เพราะฉะนั้นพระองค์จึงตรัสว่า ควรจะได้ผ้าม่าน

สักผืน. พระราชารับสั่งให้นำผ้าม่านมากั้น. พระโพธิสัตว์

เข้าไปภายในม่าน เปลื้องผ้าทรงชั้นนอกออก ทรงนุ่งผ้าแดง

ผืนหนึ่งผูกผ้าเคียนพุง คาดผ้าแดงผืนหนึ่งที่พระอุทร ทรงหยิบ

พระขรรค์พร้อมทั้งฝักออกจากถุง ทรงเหน็บไว้ด้านซ้าย ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 175

สวมเสื้อสีทองเหน็บกระบอกแล่งศรไว้ข้างหลัง ทรงถือเมณฑก-

มหาธนู พร้อมทั้งเครื่องประกอบ ทรงโก่งสายสีแก้วประพาฬ

ทรงสวมพระอุณหิส ทรงกวัดแกว่งลูกศรอันคมด้วยพระนขา

ทรงแหวกม่านเสด็จออกไปยังที่แผลงศร ดุจนาคกุมารตกแต่ง

กายชำแรกแผ่นดินออกมาฉะนั้น ครั้นพาดลูกศรแล้วจึงกราบทูล

พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์จะให้มะม่วงพวงนี้ตกลงมา

ด้วยลูกศรตอนขึ้นหรือลูกศรตอนลง พระเจ้าข้า. รับสั่งว่า

พ่อคุณเอ๋ย คนเป็นอันมากเขายิงลูกศรตอนขึ้น เราเคยเห็น แต่ยิง

ด้วยลูกศรตอนลงเราไม่เคยเห็น เจ้าจงยิงให้ตกด้วยลูกศรตอน

ลงเถิด. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ลูกศรนี้จักขึ้นไปไกล

จนกระทั่งถึงพิภพท้าวจาตุมหาราช แล้วจักลงมาเอง ขอพระองค์

จงอดพระทัยรอจนกว่าลูกศรจะลงมาเถิดพระเจ้าข้า. พระราชา

รับสั่งว่า ดีละ. ต่อมาพระโพธิสัตว์จึงกราบทูลพระราชาอีกว่า

ข้าแต่มหาราช ลูกศรนี้เมื่อขึ้นจักแหวกขึ้นไประหว่างกลางขั้ว

พวงมะม่วง การขึ้นไปจักไม่ส่ายไปข้างโน้น มาข้างนี้แม้เพียง

ปลายเกศา จักตกลงมาตามแนวถูกพวงมะม่วงแล้วจึงหล่น ขอ

พระองค์โปรดทอดพระเนตรเถิดพระเจ้าข้า. พระโพธิสัตว์จึง

ออกกำลังผาดแผลงไป. ลูกศรนั้นทะลุผ่านหว่างกลางขั้วมะม่วง

ขึ้นไป. พระโพธิสัตว์ทรงทราบว่า บัดนี้ลูกศรนั้นเห็นจักถึงพิภพ

ชั้นจาตุมหาราชแล้ว จึงทรงเร่งกำลังให้มากกว่าศรที่ยิงไปครั้ง

แรก แล้วทรงยิงไปอีกลูกหนึ่ง. ลูกศรนั้นจึงขึ้นไปกระทบท้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 176

ลูกศรเดิม ปัดให้กลับลง แล้วศรลูกที่สองก็เลยขึ้นไปถึงภพ

ดาวดึงส์. เทวดาทั้งหลายในภพนั้น ได้จับลูกศรนั้นไว้. เสียงแหวก

อากาศของลูกศรที่กลับ คล้ายกับเสียงสายฟ้า. เมื่อประชาชน

พูดกันว่า นั่นเสียงอะไร พระโพธิสัตว์จึงบอกว่าเสียงลูกศรกลับ

จึงปลอบมหาชนที่สะดุ้งกลัว เพราะเกรงว่าลูกศรจะตกลงถูก

ร่างกายของตน ๆ ว่าอย่ากลัวเลย แล้วพูดต่อไปว่า เราจักไม่ให้

ลูกศรตกถึงพื้นดิน. ลูกศรเมื่อขณะลงก็ไม่ส่ายไปข้างโน้น

ส่ายมาข้างนี้ ตกลงตามแนวตัดพวงมะม่วง. พระโพธิสัตว์ไม่ให้

พวงมะม่วงและลูกศรตกถึงพื้นดิน รับไว้บนอากาศ มือหนึ่งรับ

พวงมะม่วง มือหนึ่งรับลูกศร. มหาชนได้เห็นความอัศจรรย์นั้น

จึงพากันกล่าวว่า อย่างนี้พวกเราไม่เคยเห็น พากันสรรเสริญ

ส่งเสียงปรบมือ ดีดนิ้ว โบกผ้าเป็นจำนวนพัน. ทรัพย์ที่ราช-

บริษัทยินดีร่าเริงมอบให้แก่พระโพธิสัตว์ประมาณหนึ่งโกฏิ.

แม้พระราชาก็ได้พระราชทานทรัพย์เป็นอันมาก พระราชทาน

ยศอันยิ่งใหญ่ แก่พระโพธิสัตว์ ราวกับลูกเห็บตก. เมื่อพระราชา

พระองค์นั้นสักการะเคารพพระโพธิสัตว์ ซึ่งพำนัก ณ ที่นั้น

อย่างนี้. พระราชาเจ็ดพระนครครั้นทรงทราบว่า ข่าวว่า

อสทิสราชกุมารมิได้อยู่ในกรุงพาราณสี จึงพากันยกพลมาล้อม

กรุงพาราณสี แล้วส่งสาส์นถวายพระราชาว่า จะมอบราชสมบัติ

ให้ หรือจะรบ. พระราชาทรงกลัวมรณภัย ตรัสถามว่า พระเจ้า

พี่ของเราประทับอยู่ที่ไหน ครั้นทรงสดับว่า พระเจ้าพี่รับราชการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 177

อยู่กับกษัตริย์สามนตราชพระองค์หนึ่ง จึงทรงส่งทูตไปรับ

พร้อมกับมีพระดำรัสว่า เมื่อพระเจ้าพี่ของเราไม่เสด็จกลับมา

เราก็จะไม่มีชีวิตอยู่ได้ พวกเจ้าจงไป จงไปถวายบังคมแทบ

พระบาท แล้วขอให้ทรงยกโทษตามคำของเรา เชิญเสด็จกลับ

มาเถิด. พวกทูตพากันไปกราบทูลเรื่องราวถวายพระโพธิสัตว์

ให้ทรงทราบ. พระโพธิสัตว์กราบถวายบังคมลาพระราชา

พระองค์นั้น เสด็จกลับไปกรุงพาราณสี ทรงปลอบพระราชาว่า

อย่ากลัวเลย แล้วทรงจารึกอักขระลงที่ลูกศร ใจความว่า เรา

ชื่อว่า อสทิสราชกุมารกลับมาแล้ว จะยิงศรอีกลูกหนึ่งมาล้าง

ชีวิตของพวกท่านทั้งหมดเสีย ผู้ต้องการรอดชีวิตจงหนีไป เรา

จะไม่ให้เกิดโลหิตแม้แต่แมลงวันตัวเล็กดื่ม เสร็จแล้วจึงเสด็จ

ประทับที่ป้อมปราการ แผลงศรให้ตกลงบนสุวรรณภาชนะ

ประมาณ ๑ ศอกกำ ขณะที่พระราชาเจ็ดพระนครกำลังเสวยอยู่.

พระราชาเหล่านั้น ครั้นทอดพระเนตรเห็นอักขระที่ลูกศรแล้ว

ก็พากันตกพระทัยกลัวต่อมรณภัย ต่างพระองค์ก็เสด็จหนีไปสิ้น.

พระโพธิสัตว์ทรงขับพระราชาเจ็ดพระองค์ให้หนีไป โดยมิได้

ทรงทำให้เกิดโลหิตแม้แต่เพียงแมลงวันตัวเล็กดื่มอย่างนี้แล้ว

จึงลาพระกนิษฐภาดา สละกามบวชเป็นฤาษียังอภิญญาและ

สมาบัติให้เกิด เมื่อสิ้นพระชนม์ก็เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสทิสราชกุมาร

ทรงขับพระราชาเจ็ดพระนครให้หนีไป ทรงได้ชัยชนะสงคราม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 178

แล้วทรงผนวชเป็นฤาษีอย่างนี้ เมื่อทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ

แล้ว ได้ตรัสพระคาถาว่า :-

เจ้าชายพระนามว่าอสทิสราชกุมารเป็น

นักธนู มีกำลังมาก ยิงธนูให้ไปตกในที่ไกล ๆ

ได้ ยิงไม่พลาด สามารถทำลายของกองใหญ่ ๆ

ได้.

พระองค์ทรงทำการรบให้ข้าศึกทั้งปวง

หนีไป แต่มิได้เบียดเบียนใคร ๆ เลย ทรงทำ

พระกนิษฐภาดาให้มีความปลอดภัย แล้วก็เข้า

ถึงความสำรวม.

บทว่า อสทิโส ความว่า มิใช่ไม่เสมอเหมือนโดยพระนาม

เท่านั้น แม้พระกำลัง พระวิริยะและพระปัญญาก็ไม่มีผู้เสมอ

เหมือน. บทว่า มหพฺพโล คือทรงกำลังกายมาก. บทว่า ทูเร

ปาเหติ ความว่า ชื่อว่ายิงได้ไกล เพราะสามารถส่งลูกศรไป

จากภพจาตุมหาราชจนถึงภพดาวดึงส์ได้. บทว่า อกฺขณเวธี

คือ ยิงไม่ผิด. อีกอย่างหนึ่งสายฟ้าเรียกว่าอักขณะ. อธิบายว่า

ชั่วฟ้าแลบคราวหนึ่ง ยิงได้เจ็ดแปดครั้งด้วยแสงนั้น เพราะเหตุ

นั้นจึงเรียกว่ายิงได้เร็ว. บทว่า มหากายปฺปพาลิโน ได้แก่ ทำลาย

ของกองใหญ่ ๆ ได้. กองใหญ่มีเจ็ดอย่าง คือ กองหนัง กองไม้

กองโลหะ กองเหล็ก กองทราย กองน้ำ กองแผ่นกระดาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 179

ในกองเหล่านั้น คนอื่นเมื่อจะทำลายกองหนัง แม้หนังกระบือ

ก็ยิงทะลุ แต่พระโพธิสัตว์นั้นยิงหนังกระบือซ้อนกันตั้งร้อยแผ่น

ให้ทะลุได้. คนอื่นยิงกระดานไม้มะเดื่อหนาแปดนิ้ว ยิงกระดาน

ไม้ประดู่หนาสี่นิ้วทะลุได้ แต่พระโพธิสัตว์ยิงกระดานเหล่านั้น

มัดรวมกันหนาตั้งร้อยนิ้วทะลุได้ แผ่นทองหนาสองนิ้ว แผ่น

เหล็กหนาหนึ่งนิ้ว ก็เช่นเดียวกัน เกวียนบรรทุกทราย บรรทุก

กระดาน พระโพธิสัตว์ยิงเข้าส่วนหลังให้ทะลุออกได้ทางส่วนหน้า.

ตามปกติในน้ำ พระโพธิสัตว์ยิงศรแหวกได้ไกลสี่อุสุภะ. บนบก

ไกลแปดอุสุภะ พระโพธิสัตว์ทำลายของกองใหญ่ ๆ เหล่านี้ได้

จึงชื่อว่า ผู้ทำลายของกองใหญ่ได้ด้วยประการฉะนี้. บทว่า

สพฺพามิตฺเต ได้แก่ข้าศึกทั้งหมด. บทว่า รณ กตฺวา ได้แก่

ทำการรบให้ข้าศึกหนีไป. บทว่า น จ กิญฺจิ วิเหยิ คือ ไม่

เบียดเบียนใคร ๆ เลย. แต่ทรงต่อสู้กับข้าศึกเหล่านั้นด้วยใช้

ศรนั้นเอง ไม่ให้ลำบาก. บทว่า สญฺม อชฺฌุปาคมิ ได้แก่

เข้าถึงความสำรวมด้วยศีล คือ บรรพชา.

พระศาสดาครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ อย่างนี้

แล้ว ทรงประชุมชาดก. พระกนิษฐภาดาในครั้งนั้นได้เป็น

อานนท์ในครั้งนี้ ส่วนอสทิสกุมาร คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาอสทิสชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 180

๒. สังคามาวจรชาดก

ว่าด้วยช้างเข้าสงคราม

[๒๑๓] ดูก่อนกุญชร ท่านปรากฏว่า เป็นผู้เคย

เข้าสู่สงคราม มีความแกล้วกล้า มีกำลังมาก

เข้ามาใกล้เขื่อนประตูแล้ว เหตุไรจึงถอยกลับ

เสียเล่า.

[๒๑๔] ดูก่อนกุญชร ท่านจงหักลิ่มกลอน ถอน

เสาระเนียด และทำลายเขื่อนทั้งหลายแล้ว เข้า

ประตูให้ได้โดยเร็วเถิด.

จบ สังคามาวจรชาดกที่ ๒

อรรกถถาสังคามาวจรชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

พระนันทเถระ. ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สงฺคามา-

วจโร สูโร ดังนี้.

เรื่องพิสดารมีอยู่ว่า เมื่อพระศาสดาเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์

โดยเสด็จไปเป็นครั้งแรก ทรงให้นันทกุมารพระกนิษฐภาดา

ทรงผนวชแล้วเสด็จออกจากกรุงกบิลพัสดุ์ เสด็จไปประทับ ณ

กรุงสาวัตถีโดยลำดับ ท่านพระนันทะระลึกถึงวาจาที่นางชนปท-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 181

กัลยาณี ผู้สดับข่าวในคราวที่ท่านนันทะถือบาตรออกจากพระ-

ตำหนักกับพระตถาคตว่า นับว่านันทกุมารเสด็จไปพร้อมกับ

พระศาสดา แล้วมองดูทางหน้าต่างทั้ง ๆ ที่เกล้าผมได้ครึ่งเดียว

ร้องขึ้นว่า ข้าแต่พระเจ้าพี่กลับมาเร็ว ๆ จึงเกิดกระสัน ไม่มี

ความยินดี เกิดพระโรคผอมเหลืองมีพระกายสะพรั่งไปด้วย

เส้นเอ็น.

พระศาสดาทรงทราบเรื่องของพระนันทะแล้ว จึงทรง

ดำริว่า ถ้ากระไรเราจักให้นันทะดำรงอยู่ในอรหัตผล แล้ว

เสด็จไปยังที่อยู่ของพระนันทะ ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัด

เตรียมไว้ ตรัสถามว่า ดูก่อนนันทะ เธอไม่ยินดีในศาสนานี้

กระมัง. กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์มีจิตปฏิพัทธ์

นางชนปทกัลยาณี จึงไม่ยินดี. ตรัสถามว่า ดูก่อนนันทะ เธอเคย

จาริกไปป่าหิมพานต์หรือเปล่า. กราบทูลว่าไม่เคยไปเลยพระ-

พุทธเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ ถ้าเช่นนั้นเราไปกัน. กราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระพุทธเจ้าไม่มีฤทธิ์จะไปได้อย่างไร

พระพุทธเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนนันทะ เราจะพาเธอ

ไปด้วยกำลังฤทธิ์ของเราเอง แล้วทรงจับมือพระนันทะเหาะขึ้น

ไปสู่อากาศ ทรงแสดงถึงนาที่ถูกไฟไหม้แห่งหนึ่งในระหว่างทาง

แล้วทรงแสดงถึงนางลิงตัวหนึ่งซึ่งมีจมูกและหางด้วน มีขน

ถูกไฟไหม้ มีผิวเป็นริ้วรอย หุ้มห่อไว้เพียงแต่หนัง นั่งจับเจ่า

อยู่บนตอไฟไหม้ แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนนันทะ เธอเห็นลิงตัวนั้นไหม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 182

กราบทูลว่า เห็นพระพุทธเจ้าข้า. ตรัสว่า เธอจงกำหนดไว้ให้ดี.

ครั้นแล้วก็ทรงพาพระนันทะไปทรงชี้ให้ดูพื้นมโนสิลา ประมาณ

หกสิบโยชน์ สระใหญ่เจ็ดสระ มีสระอโนดาตเป็นต้น แม่น้ำใหญ่

ห้าสาย และเขาหิมพานต์อันน่ารื่มรมย์หลายร้อยลูก ซึ่งเรียง

รายไปด้วยเขาทอง เขาเงิน และเขาแก้วมณี แล้วตรัสถามว่า

ดูก่อนนันทะ เธอเคยเห็นภพดาวดึงส์หรือ กราบทูลว่า ไม่เคยเห็น

พระพุทธเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ เธอจงมาเราจักแสดงภพ

ดาวดึงส์แก่เธอ แล้วทรงพาไปถึงภพดาวดึงส์ ประทับนั่งเหนือ

มัณฑุกัมพลศิลาอาสน์. ท้าวสักกเทวราช พร้อมด้วยหมู่เทวดา

ในเทวโลกทั้งสอง ก็พากันเสด็จมาถวายบังคม ถวายบังคมแล้ว

นั่ง ณ ส่วนหนึ่ง. เหล่าเทพอัปสรประมาณ ๕๐๐ มีสีเท้าเหมือน

สีเท้านกพิราบ ผู้เป็นนางบำเรอ นับได้สองร้อยห้าสิบโกฏิ

ก็พากันมาถวายบังคมนั่งอยู่ข้างหนึ่ง.

พระศาสดาทรงให้พระนันทะดูนางอัปสร ๕๐๐ เหล่านั้น

บ่อย ๆ ด้วยอำนาจกิเลส ตรัสถามว่า นันทะ เธอเห็นนางอัปสร

สีเท้านกพิราบเหล่านี้ไหมเล่า. กราบทูลว่า เห็นพระพุทธเจ้าข้า.

ตรัสถามว่า นางอัปสรเหล่านี้งาม หรือนางชนปทกัลยาณีงาม.

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ นางลิงขนเกรียนเทียบกับนางนางชนปท-

กัลยาณีฉันใด นางชนปทกัลยาณีก็ฉันนั้น เมื่อเทียบกับนางอัปสร

เหล่านี้ (ก็เทียบได้เพียงนางลิง). ตรัสถามว่า นันทะบัดนี้เธอจัก

ทำอย่างไรเล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ทำกรรมอะไรจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 183

จะได้นางอัปสรเหล่านี้. ตรัสว่า บำเพ็ญสมณธรรมซิ. กราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ หากพระผู้มีพระภาคเป็นผู้รับรองเพื่อให้

นางเหล่านี้ ข้าพระพุทธเจ้าจักบำเพ็ญสมณธรรม. พระศาสดา

ตรัสว่า ดูก่อนนันทะ จงบำเพ็ญสมณธรรมเถิด เราจะเป็นผู้รับรอง

เธอ. พระเถระถือพระตถาคตเป็นผู้รับรองในท่ามกลางหมู่เทวดา

แล้วจึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ขอพระองค์อย่าทำให้เนิ่นช้า

นัก เชิญเสด็จมา ไปกันเถิด ข้าพระองค์จักบำเพ็ญสมณธรรม

พระศาสดาพาพระนันทะไป กลับไปสู่พระเชตวันอย่างเดิม.

พระเถระเริ่มบำเพ็ญสมณธรรม. พระศาสดาตรัสเรียกพระ-

ธรรมเสนาบดีมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร นันทะน้องชาย

ของเรา ได้ยึดเราเป็นผู้รับรอง เพราะเรื่องนางเทพอัปสรทั้งหลาย

ในท่ามกลางหมู่เทวดาในดาวดึงส์เทวโลก. โดยอุบายนี้แหละ

พระองค์ทรงแจ้งแก่ภิกษุที่เหลือโดยมากแก่อสีติมหาสาวก

เป็นต้นว่า พระมหาโมคคัลลานะเถระ พระมหากัสสปเถระ

พระอนุรุทธเถระ พระอานนท์ผู้เป็นคลังพระธรรม. พระธรรม-

เสนาบดีสารีบุตรเข้าไปหาพระนันทเถระกล่าวว่า ท่านนันทะ

นัยว่าท่านยึดเอาพระทศพลเป็นผู้รับรอง ณ ท่ามกลางหมู่เทวดา

ในดาวดึงส์เทวโลกว่า เมื่อได้นางเทพอัปสรจักบำเพ็ญสมณธรรม

จริงหรือ แล้วย้ำว่าเมื่อเป็นอย่างนี้การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ของท่าน ก็เกี่ยวข้องด้วยมาตุคาม มิใช่หรือ ท่านนั้นไม่ต่างอะไร

กับกรรมกรผู้รับจ้างทำการงานเพื่อต้องการสตรี ได้ทำให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 184

พระเถระละอายยอมจำนน. พระอสิติมหาสาวกและภิกษุที่เหลือ

ทั้งสิ้นได้ทำให้ท่านพระนันทะละอายโดยอุบายนี้. พระนันทะ

รำพึงว่า เราทำกรรมอันไม่สมควรหนอ แล้วประคองความเพียร

ให้มั่นคงด้วย หิริและโอตตัปปะ เจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระ-

อรหัต เข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระพุทธเจ้าขอถอนคำรับรองของพระองค์ แม้พระศาสดา

ก็ตรัสว่า ดูก่อนนันทะก็เธอบรรลุพระอรหัตเมื่อใด เมื่อนั้น

เราก็พ้นจากคำรับรอง.

ภิกษุทั้งหลาย ครั้นทราบความนี้แล้วจึงประชุมกันใน

โรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านพระนันทะรูปนี้ อดทนต่อคำสอน

ตั้งมั่นหิริและโอตตัปปะไว้ด้วยโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น แล้วบำเพ็ญ

สมณธรรมบรรลุพระอรหัต. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า

ภิกษุทั้งหลายพวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นันทะอดทน

ต่อคำสอนมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อน ก็อดทนต่อคำสอน

เหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคนฝึกช้าง ครั้น

เจริญวัยสำเร็จศิลปะฝึกช้าง แล้วรับราชการกับพระราชาผู้

เป็นศัตรูของพระเจ้าพาราณสีพระองค์หนึ่ง. พระโพธิสัตว์ฝึก

หัดช้างมงคลของพระราชานั้นไว้แล้วเป็นอย่างดี. พระราชานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 185

ทรงดำริว่า จักยึดราชสมบัติในกรุงพาราณสี จึงชวนพระ-

โพธิสัตว์เสด็จขึ้นช้างมงคล เสด็จไปล้อมกรุงพาราณสีด้วย

กองทัพใหญ่ แล้วทรงส่งสาส์นถึงพระราชาพรหมทัตว่า จะยก

ราชสมบัติถวายหรือจะรบ. พระราชาพรหมทัตตอบว่า เราจักรบ

แล้วรับสั่งให้พลนิกายประจำที่ประตูกำแพงและป้อมค่ายเตรียม

รบ. พระราชาผู้มีศัตรู เอาเกราะหนังสวมช้างมงคล แม้พระองค์

เองก็สวมหนังเสด็จขึ้นคอช้าง ทรงพระแสงขอคม ทรงไสช้าง

มุ่งสู่พระนครด้วยทรงหมายพระทัยว่า จักทำลายล้างพระนคร

ปราบปัจจามิตรให้ถึงสิ้นชีวิต และยึดเอาราชสมบัติให้จนได้.

ช้างมงคลเห็นทหารซัดทรายอันร้อนเป็นต้น ปล่อยหินยนต์และ

เครื่องประหารหลาย ๆ อย่าง ก็หวาดกลัวต่อความตายไม่อาจ

เข้าใกล้ได้จึงหลีกไป. ครั้งนั้นนายหัตถาจารย์เข้าไปหาช้างมงคล

พูดปลอบว่า เจ้าก็กล้าหาญเข้าสงคราม ชื่อว่าการล่าถอยอย่างนี้

ไม่สมควร เมื่อจะสอนช้างจึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ดูก่อนกุญชร ท่านปรากฏว่าเป็นผู้เคย

เข้าสงคราม มีความแกล้วกล้า มีกำลังมาก เข้า

มาใกล้เขื่อนประตูแล้ว เหตุไรจึงถอยกลับเสีย

เล่า.

ดูก่อนกุญชร ท่านจงหักลิ่มกลอนถอน

เสาระเนียดและทำลายเขื่อนทั้งหลายแล้วเข้า

ประตูให้ได้โดยเร็วเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 186

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิติ วิสฺสุโต ความว่า ท่านเป็นผู้

ปรากฏ คือ รู้กันทั่วไปอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเคยเข้าสู่สงคราม เพราะ

เข้าสงครามย่ำยีประหัตประหารต่อสู้กัน ชื่อว่า กล้าหาญ เพราะ

มีใจบึกบึน และชื่อว่ามีกำลัง เพราะสมบูรณ์ด้วยกำลัง. บทว่า

โตรณมาสชฺช ได้แก่ ถึงค่ายอันยันประตูเมืองแล้ว. บทว่า

ปฏิกฺกมสิ คือ นายหัตถาจารย์พูดว่า ไฉนจึงท้อถอย คือ เพราะ

เหตุไรจึงกลับ. บทว่า โอมทฺท ได้แก่จงบุกเข้าไป คือ จงรุดหน้า

เข้าไป. บทว่า เอสิกานิ จ อุพฺพห ความว่า เสาระเนียดที่เขาปัก

ไว้มั่นคง ลึกลงไปในแผ่นดิน ๑๖ ศอก ๘ ศอก ที่ประตูเมือง

มีอยู่ เจ้าจงขุด คือจงถอนเสาระเนียดนั้นโดยเร็วเถิด นาย

หัตถาจารย์ได้สั่งไว้. บทว่า โตรณานิ จ มทฺทิตฺวา คือ จงทำลาย

บานประตูนครเสีย. บทว่า ขิปฺปิ ปวิส คือ เจ้าจงรีบเข้าประตู

เมือง. เรียกช้างว่า กุญฺชร.

ช้างมงคลได้ฟังดังนั้น ก็หันกลับเพราะคำสอนของพระ-

โพธิสัตว์เพียงคำเดียวเท่านั้น แล้วใช้งวงพันเสาระเนียดถอนขึ้น

เหมือนดังถอนเห็ดฉะนั้น แล้วทำลายเสาค่าย ถอดกกลอน พัง

ประตูเมือง เข้าพระนครยึดราชสมบัติถวายพระราชา.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ช้างในครั้งนั้น ได้เป็นนันทะในครั้งนี้ พระราชาได้เป็น

พระนันทะ ส่วนนายหัตถาจารย์ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสังคามาวจรชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 187

๓. วาโลทกชาดก

ว่าด้วยน้ำหาง

[๒๑๕] (พระราชาตรัสถามว่า) ความเมาย่อมเกิด

แก่ลาทั้งหลาย เพราะดื่มกินน้ำหางมีรสน้อยเป็น

น้ำเลว แต่ความเมาย่อมไม่เกิดแก่ม้าสินธพ

เพราะดื่มกินน้ำมีรสอร่อยประณีต.

[๒๑๖] (พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า) ข้าแต่พระองค์

ผู้เป็นจอมชนสัตว์ ผู้มีชาติอันเลวทรามดื่ม

กินน้ำมีรสน้อย อันรสนั้นถูกต้องแล้วย่อมเมา

ส่วนสัตว์ผู้มีปกติทำธุระให้สำเร็จได้ เกิดใน

ตระกูลสูง ดื่มกินรสอันเลิศแล้ว ก็ไม่เมา.

จบ วาโลทกชาดกที่ ๓

อรรถกถาโลทกชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง

ปรารภคนกินเดน ๕๐๐ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

วาโลทก อปฺปรส นิหีน ดังนี้.

ได้ยินว่าในกรุงสาวัตถีมีอุบาสก ๕๐๐ มอบความห่วงใย

ในเรือนให้บุตรภรรยา แล้วเดินทางร่วมกันไปฟังพระธรรมเทศนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 188

ของพระศาสดา. ในอุบาสกเหล่านั้น บางพวกได้เป็นโสดาบัน

บางพวกได้เป็นสกทาคามี บางพวกได้เป็นอนาคามี ไม่มีเป็น

ปุถุชนแม้แต่คนเดียว. ประชาชนแม้เมื่อนิมนต์พระศาสดาก็เชิญ

อุบาสกเหล่านั้นร่วมด้วย. แต่คนรับใช้ ๕๐๐ ทำหน้าที่ให้ไม้

สีฟัน น้ำล้างหน้า ผ้า ของหอม และดอกไม้ของพวกเขา เป็น

คนกินเดนอาศัยอยู่. คนรับใช้เหล่านั้นบริโภคอาหารเช้าแล้วก็

พากันเข้านอน ครั้นตื่นขึ้นพากันไปยังแม่น้ำอจิรวดี โห่ร้อง

ปล้ำกันที่ฝั่งแม่น้ำ. อุบาสก ๕๐๐ เหล่านั้น มีเสียงน้อย มี

เอิกเกริกน้อย ขวนขวายแต่ที่หลีกเร้น. พระศาสดาทรงสดับ

เสียงอื้ออึงของพวกกินเดนเหล่านั้น จึงตรัสถามพระเถระว่า

ดูก่อนอานนท์ นั่นเสียงอะไร กราบทูลว่า เสียงคนกินเดน

พระพุทธเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ คนกินเดนเหล่านี้บริโภค

อาหารเดนแล้วพากันเกรียวกราวมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อน

คนพวกนี้ก็เกรียวกราวเหมือนกัน แม้อุบาสกเหล่านี้ พากันสงบ

ก็มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็พากันสงบเหมือนกัน เมื่อ

พระเถระกราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลอำมาตย์ ครั้น

เจริญวัยแล้วก็ได้เป็นผู้ถวายอรรถและธรรมของพระราชา.

ครั้นคราวหนึ่ง พระราชานั้นทรงสดับว่า ทางชายแดนเกิด

จลาจล จึงรับสั่งให้เตรียมม้าสินธพ ๕๐๐ เสด็จพร้อมด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 189

จตุรงคินีเสนา ครั้นปราบชายแดนให้สงบราบคาบแล้ว ก็เสด็จ

กลับกรุงพาราณสี มีพระราชโองการว่า ม้าสินธพลำบากมาก

พวกท่านจงให้น้ำผลจันทน์สดแก่ม้าเหล่านั้น. ม้าเหล่านั้นครั้น

ดื่มน้ำจันทน์หอมแล้วก็กลับโรงม้า พักผ่อนในที่ของตน ๆ. ก็

กากผลจันทน์ที่เหลือจากคั้นให้ม้าเหล่านั้น มีน้ำจันทน์ติดอยู่

เล็กน้อย. พวกมนุษย์จึงทูลถามพระราชาว่า บัดนี้พวกข้าพระองค์

จะทำอย่างไร. พระราชารับสั่งว่า เจ้าจงขยำเข้ากับน้ำ แล้ว

กรองด้วยผ้าเปลือกปอ พวกเธอจงให้แก่ลาที่นำอาหารมาให้

ม้าสินธพ. ลาทั้งหลายครั้นดื่มน้ำกากแล้วก็มึนเมา เที่ยววิ่งร้อง

อยู่แถวพระลานหลวง. พระราชาทรงเผยช่องพระแกล ทอด

พระเนตรไป ณ พระลานหลวง ตรัสเรียกพระโพธิสัตว์ ซึ่งเฝ้า

อยู่ใกล้ ๆ เมื่อจะตรัสถามว่า จงดูเถิด ลาเหล่านี้ดื่มน้ำกาก

เข้าไปมึนเมาแล้ว พากันร้องโดดโลดเต้นไปมา ส่วนม้าสินธพ

ซึ่งเกิดในตระกูลสินธพ แม้ดื่มน้ำจันทน์หอมก็ไม่มีเสียง สงบ

เงียบ ไม่เอะอะ อะไรเป็นเหตุหนอ จึงตรัสคาถาแรกว่า :-

ความเมาย่อมเกิดแก่ลาทั้งหลาย เพราะ

ดื่มกินน้ำหางมีรสน้อย เป็นน้ำเลว แต่ความเมา

ย่อมไม่เกิดแก่ม้าสินธพ เพราะดื่มกินน้ำมีรส

อร่อยประณีต.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วาโลทก ได้แก่ น้ำที่กรองด้วย

เส้นปอ. ปาฐะว่า วาลุทก บ้าง. บทว่า นิหีน คือ เลวตามสภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 190

ของน้ำมีรสเลว. บทว่า น สญฺชายติ ได้แก่ ความเมาย่อมไม่เกิด

แก่ม้าสินธพทั้งหลาย. พระราชาตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า อะไร

เป็นเหตุหนอ. พระโพธิสัตว์เมื่อจะกราบทูลเหตุแด่พระราชา

จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมชน สัตว์ผู้มีชาติ

อันเลวทราม ดื่มกินน้ำมีรสน้อย อันรสนั้นถูก

ต้องแล้วย่อมเมา ส่วนสัตว์ผู้มีธุระให้สำเร็จได้

เกิดในตระกูลสูง ดื่มกินรสอันเลิศแล้ว ก็ไม่เมา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เตน ชนินฺท ผุฏฺโ ความว่า ข้าแต่

ท่านผู้เป็นจอมชน คือ ข้าแต่กษัตริย์ผู้สูงศักดิ์ ลานั้นมีเลวเป็น

สภาพ เมื่อถูกความมีชาติเลวถูกต้องย่อมเมา. บทว่า โธรยฺหสีลี

ได้แก่มีธุระให้สำเร็จ คือ ชาติม้าสินธพ ถึงพร้อมด้วยมารยาท

มักนำธุระไป. บทว่า อคฺครส ความว่า ม้าสินธพแม้ดื่มรสน้ำ

ผลจันทน์ที่กลั่นกรองไว้แต่แรก ก็ไม่เมา.

พระราชาทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้ว รับสั่งให้

ไล่ลาออกจากพระลานหลวง ทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์

ทรงกระทำบุญมีทานเป็นต้นแล้วเสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ลา ๕๐๐ ในครั้งนั้น ได้เป็นคนกินเดนในครั้งนี้ ม้าสินธพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 191

๕๐๐ ได้เป็นอุบาสก พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วนอำมาตย์

บัณฑิต คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาวาโลทกชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 192

๔. คิริทัตตชาดก

ว่าด้วยการเอาอย่าง

[๒๑๗] (พระโพธิสัตว์กราบทูลพระราชาว่า) ม้า

ชื่อปัณฑวะของพระเจ้าสามะ ถูกคนเลี้ยงชื่อ

คิริทัตประทุษร้าย จึงละปกติเดิมของตน ศึกษา

เอาอย่างคนเลี้ยงม้านั่นเอง.

[๒๑๘] ถ้าบุรุษผู้บริบูรณ์ด้วยอาการอันงดงาม

สมควรแก่ม้านั้น ตบแต่งร่างกายงดงาม จับจูง

ม้านั้นที่บังเหียนพาเวียนไปรอบ ๆ สนามม้าไซร้

ไม่ช้าเท่าไร ม้านี้ก็จะละความเป็นกระจอกเสีย

ศึกษาเอาอย่างบุรุษนั้นเทียว.

จบ คิริทัตตชาดกที่ ๔

อรรถกถาทัตตชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ

ภิกษุคบพวกผิดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

ทูสิโต คิริทตฺเตน ดังนี้. เรื่องราวกล่าวไว้แล้วในมหิลามุขชาดก

ในหนหลัง.

ในเรื่องนี้พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

นี้คบพวกผิดมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนภิกษุนี้ก็คบพวกผิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 193

เหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่าสามะ ครองราชสมบัติ

อยู่ในกรุงพาราณสี. ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูล

อำมาตย์ ครั้นเจริญวัยก็ได้เป็นผู้สอนอรรถและธรรมของพระ-

ราชา. ก็พระราชามีม้ามงคลตัวหนึ่งชื่อ ปัณฑวะ. คนเลี้ยงม้า

ของพระองค์ชื่อ คิริทัต. เขามีขาพิการ. ม้าเห็นนายคิริทัตถือ

บังเหียนเดินไปข้างหน้า สำคัญว่าคนนี้สอนเราจึงเรียนตามเขา

กลายเป็นม้าขาพิการไป. นายคิริทัตจึงกราบทูลถึงความพิการ

ของม้าให้พระราชาทรงทราบ. พระราชาจึงทรงส่งแพทย์ไป

ตรวจอาการ. พวกแพทย์ไปตรวจดูก็ไม่เห็นโรคในตัวม้า จึง

กราบทูลพระราชาว่า พวกข้าพระพุทธเจ้าไม่พบโรคของม้า

พระเจ้าข้า. พระราชาจึงทรงส่งพระโพธิสัตว์ไปว่า ท่านจงไปดู

เหตุการณ์ของม้าในร่างกายนี้. พระโพธิสัตว์ไปตรวจดูก็รู้ว่า

ม้านั้นพิการเพราะเกี่ยวกับคนเลี้ยงม้าขาพิการ จึงกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระราชา เมื่อจะแสดงให้เห็นว่าเป็นอย่างนี้ เพราะ

โทษที่เกี่ยวข้องกัน จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ม้าชื่อปัณฑวะของพระเจ้าสามะถูกคน

เลี้ยงชื่อคิริทัตประทุษร้าย จึงละปกติเดิมของตน

ศึกษาเอาอย่างคนเลี้ยงม้านั่นเอง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า หโย สามสฺส ได้แก่ ม้ามงคลของ

พระเจ้าสามะ. บทว่า โปราณปกตึ หิตฺวา ได้แก่ละปกติเดิมอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 194

เป็นสมบัติของตนเสีย. บทว่า ตสฺเสว อนุวิธิยฺยติ ได้แก่ศึกษา

เอาอย่าง.

ลำดับนั้นพระราชาจึงรับสั่งถาม บัดนี้จะควรทำอย่างไร

แก่ม้านั้น. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ได้คนเลี้ยงม้าที่ดีแล้วจัก

เป็นเหมือนเดิมพระพุทธเจ้าข้า แล้วกล่าวคาถาที่สองว่า :-

ถ้าบุรุษผู้บริบูรณ์ด้วยอาการอันงดงาม

สมควรแก่ม้านั้น ตกแต่งร่างกายงดงาม จับจูง

ม้านั้นที่บังเหียนพาเวียนไปรอบ ๆ สนามม้า

ไม่ช้าเท่าไรม้าก็จะละความเป็นกระจอกเสีย

ศึกษาเอาอย่างบุรุษนั้นทีเดียว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตนุโช ได้แก่ เป็นผู้บังเกิดตาม คือ

สมควรแก่ม้านั้น บุรุษใดสมควรแก่ม้านั้น บุรุษนั้นชื่อว่าเป็น

ตัวอย่างของม้านั้น. ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า ข้าแต่มหาราช หาก

มีบุรุษผู้สมควรแก่ม้าอันถึงพร้อมด้วยมารยาทอันน่ารักนั้น

ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยมารยาทอันน่ารัก. บทว่า สิงฺคาราการกปฺปิโต

ความว่า บุรุษนั้นตกแต่งผมและหนวดด้วยอาการอันน่ารัก คือ

งดงาม จะพึงจับม้านั้นที่บังเหียนจูงเดินเวียนไปในบริเวณของม้า

ม้านี้จักละความพิการนี้เสียทันที จะเอาอย่าง คือสำเหนียกคน

เลี้ยงม้า คือจักตั้งอยู่ในความเป็นปกติโดยสำคัญว่า คนเลี้ยง

ม้าผู้น่ารักถึงพร้อมด้วยมารยาทนี้ให้เราเอาอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 195

พระราชารับสั่งให้ทำอย่างนั้น. ม้าก็ตั้งอยู่ในความปกติ.

พระราชาทรงโปรดปรานว่า ท่านผู้นี้รู้อัธยาศัยแม้กระทั่งสัตว์-

เดียรัจฉาน จึงได้พระราชทานยศแก่พระโพธิสัตว์เป็นอันมาก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. คิริทัตในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ม้าได้เป็นภิกษุ

ผู้คบพวกผิด พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วนอำมาตย์บัณฑิต คือ

เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาคิริทัตตชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 196

๕. อนภิรติชาดก

ว่าด้วยจิตขุ่นมัว-ไม่ขุ่นมัว

[๒๑๙] เมื่อน้ำขุ่นมัว ไม่ใส บุคคลย่อมไม่แลเห็น

หอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทรายและฝูงปลาฉันใด

เมื่อจิตขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์ตน

และประโยชน์ผู้อื่นฉันนั้น.

[๒๒๐] เมื่อน้ำไม่ขุ่นมัว ใสบริสุทธิ์ บุคคลย่อม

แลเห็นหอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทรายและฝูง

ปลาฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลก็ย่อมเห็น

ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นฉันนั้น.

จบ อนภิรติชาดกที่ ๕

อรรถกถาอนภิรติชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง

ปรารภกุมารพราหมณ์คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า ยโถทเก อาวิเล อปฺปสนฺเน ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถีมีกุมารพราหมณ์คนหนึ่ง เรียน

จบไตรเพทสอนมนต์พวกกุมารกษัตริย์และกุมารพราหมณ์เป็น

อันมาก. ต่อมาเขาอยู่ครอบครองเรือน ตกอยู่ในอำนาจ ราคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 197

โทสะ โมหะ คิดแต่เรื่อง ผ้า เครื่องประดับ ทาส ทาสี นา สวน

โค กระบือ บุตรและภรรยาเป็นต้น จึงมีจิตขุ่นมัว ไม่อาจสอบ

ทานมนต์โดยลำดับได้. มนต์ทั้งหลาย เลอะเลือนไปทั้งข้างหน้า

ข้างหลัง. วันหนึ่งเขาถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นหลายอย่าง

ไปพระเชตวันบูชาพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนหนึ่ง.

พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเขาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อน

มาณพ เธอยังสอนมนต์อยู่หรือ มนต์ของเธอยังคล่องอยู่หรือ.

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ เมื่อก่อนมนต์ของข้าพระองค์ยังคล่อง

ดีอยู่ ตั้งแต่ข้าพระองค์ครองฆราวาส จิตของข้าพระองค์ขุ่นมัว

ด้วยเหตุนั้นมนต์ของข้าพระองค์จึงไม่คล่องแคล่ว. ลำดับนั้น

พระศาสดาตรัสกะเขาว่า ดูก่อนมาณพ มิใช่แต่เวลานี้เท่านั้น

แม้เมื่อก่อนมนต์ของเธอคล่องแคล่วในเวลาจิตของเธอไม่ขุ่นมัว

แต่ในเวลาที่จิตขุ่นมัวด้วยราคะเป็นต้น มนต์ของเธอก็เลอะเลือน

เมื่อเขาทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล

ครั้นเจริญวัย ได้ไปเรียนมนต์ในเมืองตักกศิลา เป็นอาจารย์

ทิศาปาโมกข์ สอนมนต์กะขัตติยกุมารและพรหมณกุมารเป็น

อันมากในกรุงพาราณสี. พราหมณ์มาณพคนหนึ่งในสำนักของ

พระโพธิสัตว์นั้น ได้ศึกษาไตรเพทจนชำนาญ แม้แต่บทเดียว

ก็ไม่มีสงสัย ได้เป็นอาจารย์สอนมนต์. ต่อมาพราหมณ์มาณพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 198

อยู่ครองฆราวาส กลับมีจิตขุ่นมัว ไม่สามารถร่ายมนต์ได้ เพราะ

คิดแต่การครองเรือน. ครั้นอาจารย์ถามว่า มาณพ มนต์ของท่าน

ยังคล่องแคล่วอยู่หรือ เมื่อเขาตอบว่า ตั้งแต่ครองฆราวาสจิต

ของข้าพเจ้าขุ่นมัว ไม่สามารถร่ายมนต์ได้ จึงกล่าวว่า เมื่อจิต

ขุ่นมัวแล้ว มนต์ที่เรียนแม้เชี่ยวชาญก็เลือนได้ แต่เมื่อจิตไม่

ขุ่นมัว จะไม่มีเลอะเลือนเลย แล้วกล่าวคาถาสองคาถาว่า :-

เมื่อน้ำขุ่นมัว ไม่ใส บุคคลย่อมไม่แลเห็น

หอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทราย และฝูงปลา

ฉันใด เมื่อจิตขุ่นมัวบุคคลก็ย่อมไม่เห็นประโยชน์

ตนและประโยชน์ผู้อื่นฉันนั้น.

เมื่อน้ำไม่ขุ่น ใสบริสุทธิ์ บุคคลย่อมเห็น

หอยกาบ หอยโข่ง กรวด ทรายและฝูงปลา

ฉันใด เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุคคลย่อมเห็นประโยชน์

ตนและประโยชน์ผู้อื่นฉันนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาวิเล คือขุ่นด้วยเปือกตม. บทว่า

อปฺปสนฺเน คือไม่ใสเพราะขุ่นนั่นเอง. บทว่า สิปฺปิกสมฺพุก

ได้แก่ หอยกาบและหอยโข่ง. บทว่า มจฺฉคุมฺพ ได้แก่ ฝูงปลา.

บทว่า เอว อาวิลมุหิ ความว่า เมื่อจิตขุ่นมัวด้วยราคะเป็นต้น

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า อตฺตทตฺถ ปรตฺถ ได้แก่ ไม่เห็น

ประโยชน์ตน ไม่เห็นประโยชน์ผู้อื่น. บทว่า โส ปสฺสติ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 199

เมื่อจิตไม่ขุ่นมัว บุรุษนั้นย่อมเห็นประโยชน์ตนและประโยชน์

ผู้อื่นฉันนั้นเหมือนกัน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

อริยสัจ ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบอริยสัจ พราหมณ์กุมารตั้งอยู่

ในโสดาปัตติผล. มาณพในครั้งนั้นได้เป็นมาณพนี้แล ในครั้งนี้

ส่วนอาจารย์ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาอนภิรติชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 200

๖. ทธิวาหนชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าทธิวาหนะ

[๒๒๑] (พระเจ้าทธิวาหนะตรัสถามว่า) แต่ก่อน

มะม่วงต้นนี้บริบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส ได้รับ

การบำรุงอยู่เช่นเดิม เหตุไรจึงมีผลขื่นขมไปเล่า.

[๒๒๒] (พระโพธิสัตว์ทูลว่า) ข้าแต่พระเจ้า-

ทธิวาหนะ มะม่วงของพระองค์มีต้นสะเดาล้อม

อยู่ รากต่อรากเกี่ยวพันกัน กิ่งต่อกิ่งเกี่ยวประ-

สานกัน เหตุที่อยู่ร่วมกันกับต้นสะเดาที่มีรสขม

มะม่วงจึงมีผลขมไปด้วย.

จบ ทธิวาหนชาดกที่ ๖

อรรถกถาทธิวาหนชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง

ปรารภภิกษุคบพวกผิด ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า วณฺณคนฺธรโสเปโต ดังนี้. เรื่องราวข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว

ในหนหลัง.

ก็ในเรื่องนี้ พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ขึ้นชื่อว่าการอยู่ร่วมกับอสัตบุรุษ เป็นสิ่งเลวทราม ทำแต่ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 201

ฉิบหาย. ในการอยู่ร่วมกันนั้น อย่าว่าแต่อยู่ร่วมกันคนชั่วทำ

ความฉิบหายให้แก่มนุษย์เลย แม้เมื่อก่อนต้นมะม่วงซึ่งไม่มี

จิตใจ มีรสอร่อย เปรียบด้วยรสทิพย์ อาศัยอยู่ร่วมกับต้นสะเดา

ที่ไม่น่าพอใจ ไม่มีรสอร่อย ยังขมได้. แล้วทรงนำเรื่องอดีต

มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พราหมณ์สี่คนพี่น้องในแคว้นกาสี บวชเป็นฤๅษี

สร้างบรรณศาลา อาศัยอยู่ตามลำดับกันไปในหิมวันตประเทศ.

พี่ชายใหญ่ของพวกพราหมณ์ถึงแก่กรรมไป เกิดเป็นท้าวสักกะ.

ท้าวเธอทราบเหตุการณ์นั้น ล่วงไปเจ็ดแปดวันเป็นลำดับ ๆ

จะเสด็จไปดูแลดาบสเหล่านั้น วันหนึ่งเสด็จไปนมัสการดาบส

ผู้พี่ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ตรัสถามว่า ท่านต้องการอะไร

ดาบสนั้นเป็นโรคผอมเหลือง จึงถวายพระพรว่า อาตมาต้องการ

ไฟ. ท้าวสักกะจึงประทานพร้าโต้ให้. พร้าใส่ด้ามใช้ได้ทั้งมีด

ทั้งขวาน ชื่อว่าพร้าโต้. พระดาบสถวายพระพรว่า ใครจะใช้

พร้านี้หาฟืนมาให้อาตมาได้เล่า. ท้าวสักกะจึงรับสั่งกะดาบส

นั้นว่า หากพระคุณเจ้าต้องการฟืน ก็จงเอามือตบพร้าโต้นี้

แล้วสั่งว่า จงหาฟืนมาก่อไฟให้เรา พร้าโต้นั้นก็จะหาฟืนมา

ก่อไฟให้. ครั้นแล้วท้าวสักกะประทานพร้าโต้แก่ดาบสนั้นแล้ว

จึงเข้าไปหาดาบสรูปที่สอง ตรัสถามว่า ท่านต้องการอะไร.

ใกล้บรรณศาลาของดาบสนั้น เป็นทางเดินของช้าง. ดาบสถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 202

ช้างรบกวน จึงถวายพระพรว่า อาตมาลำบากเพราะช้าง ขอให้

ไล่มันไปเสียเถิด. ท้าวสักกะจึงทรงมอบกลองใบหนึ่งให้แก่

ดาบสนั้น แล้วรับสั่งว่า เมื่อพระคุณเจ้าตีกลองด้านนี้ ข้าศึก

จะหนีไป ตีด้านนี้ เขาจักมีเมตตาห้อมล้อมท่านด้วยจตุรังคินีเสนา

ครั้นประทานกลองใบนั้นแล้ว จึงเสด็จไปยังสำนักของดาบส

ผู้น้องแล้วตรัสถามว่า พระคุณเจ้าต้องการอะไร. แม้พระดาบส

รูปนั้นก็เป็นโรคผอมเหลือง เพราะฉะนั้น จึงถวายพระพรว่า

ต้องการนมส้ม. ท้าวสักกะจึงประทานหม้อนมส้มใบหนึ่งแก่

ดาบสนั้น แล้วมีรับสั่งว่า ถ้าพระคุณเจ้าต้องการก็จงรินหม้อนี้

จะเกิดเป็นแม่น้ำใหญ่ มีห้วงน้ำใหญ่ไหลไป ทั้งยังสามารถเอา

ราชสมบัติให้ท่านได้ ครั้นรับสั่งแล้วก็เสด็จกลับ.

ตั้งแต่นั้นมา พร้าโต้ก็ก่อไฟให้ดาบสผู้พี่. เมื่อดาบส

รูปที่สองตีกลอง ช้างก็หนี. ดาบสผู้น้องก็ฉันนมส้ม. ในครั้งนั้น

มีสุกรตัวหนึ่ง เที่ยวไปที่บ้านร้างแห่งหนึ่ง ได้พบแก้วมณีที่ทรง

อานุภาพ. มันจึงคาบแก้วมณีนั้น แล้วเหาะไปบนอากาศด้วย

อานุภาพของแก้วมณี ไปถึงเกาะแห่งหนึ่ง ท่ามกลางมหาสมุทร

คิดว่า เวลานี้เราควรอยู่ที่นี่ แล้วลงพักใต้ต้นมะเดื่อต้นหนึ่ง ใน

ที่อันสาราญ. วันหนึ่งมันวางแก้วมณีไว้ข้างหน้าแล้วก็หลับไป

ที่โคนต้นไม้นั้น.

ครั้งนั้นมนุษย์ชาวแคว้นกาสีคนหนึ่ง ถูกมารดาบิดา

ไล่ออกจากเรือนด้วยเห็นว่า เด็กคนนี้ไม่ช่วยเหลือเราเลย จึงไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 203

ถึงท่าเรือแห่งหนึ่ง สมัครเป็นกรรมกรของชาวเรือโดยสารเรือ

ไป ครั้นเรืออับปางกลางสมุทร จึงนอนบนแผ่นกระดานไปถึง

เกาะแห่งหนึ่ง เที่ยวแสวงหาผลไม้ ครั้นเห็นสุกรนั้นนอนหลับ

จึงค่อย ๆ ย่องเข้าไปลักเอาแก้วมณี แล้วเหาะขึ้นไปบนอากาศ

ด้วยอานุภาพของแก้วมณีนั้น แล้วกลับมานั่งลงบนต้นมะเดื่อ

คิดว่า ชะรอยสุกรนี้จะเที่ยวไปในอากาศด้วยอานุภาพของ

แก้วมณีนี้ แล้วมาพักอยู่ที่นี่ เราควรฆ่าสุกรนี้กินเนื้อเสียก่อน

แล้วจึงไปในภายหลัง. ชายนั้นจึงหักไม้ท่อนหนึ่งเหวี่ยงลงบนหัว

สุกร. สุกรตื่นขึ้นไม่เห็นแก้วมณีจึงกระสับกระส่ายวิ่งพล่าน

ไปมา. ชายที่นั่งบนต้นไม้หัวเราะ สุกรเหลือบเห็นเข้าก็เอาหัว

ชนต้นไม้นั้นตายทันที. ชายผู้นั้นจึงลงจากต้นไม้ก่อไฟย่างเนื้อ

สุกรกิน แล้วเหาะขึ้นไปบนอากาศไปถึงทางสุดของหิมวันต-

ประเทศ ครั้นเห็นอาศรมบทแล้วจึงเหาะลงที่อาศรมของดาบส

ผู้พี่ ได้อาศัยกระทำวัตรปฏิบัติดาบสอยู่สองสามวัน และได้เห็น

อานุภาพของพร้าโต้. ชายผู้นั้นจึงคิดว่า เราควรเอาพร้าเล่มนี้

เสีย จึงอวดอานุภาพแก้วมณีแก่ดาบส แล้วพูดว่า พระคุณเจ้า

จงเอาแก้วมณีนี้ แล้วให้พร้าโต้แก่ข้าพเจ้าเถิด. พระดาบสอยาก

จะเที่ยวไปบนอากาศบ้าง จึงรับเอาแก้วมณีแล้วให้พร้าโต้แก่

เขา. ชายผู้นั้นครั้นได้พร้าโต้ เดินไปได้สักหน่อยจึงตบพร้าโต้

สั่งว่า ดูก่อนพร้าโต้เจ้าจงตัดศีรษะดาบสเสียแล้วเอาแก้วมณี

มาให้เรา. พร้าโต้ก็ไปตัดศีรษะดาบสแล้วนำแก้วมณีมาให้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 204

เขาซ่อนพร้าโต้ไว้ในที่ที่ปกปิด แล้วเดินไปหาดาบสคนกลาง

พักอยู่สองสามวันก็ได้เห็นอานุภาพของกลอง จึงให้แก้วมณี

แลกกับกลอง แล้วให้พร้าโต้ตัดศีรษะดาบสรูปนั้นเสียเช่นนัย

ก่อน แล้วจึงเข้าไปหาดาบสคนสุดท้าย ก็ได้เห็นอานุภาพของ

หม้อนมส้ม จึงให้แก้วมณีแลกเอาหม้อนมส้ม แล้วให้ตัดศีรษะ

ดาบสนั้นเช่นนัยก่อน ถือเอาแก้วมณี พร้าโต้ กลอง หม้อนมส้ม

เหาะไปบนอากาศ แล้วลงพักไม่ไกลกรุงพาราณสี ฝากหนังสือ

ไปแก่บุรุษคนหนึ่งว่า พระเจ้ากรุงพาราณสีจะสู้รบกับเราหรือ

จะยอมให้ราชสมบัติแก่เรา. พระราชาทรงสดับสาส์นเท่านั้น

ก็เสด็จออกด้วยหมายพระทัยว่าจักจับโจร. ชายผู้นั้นจึงตีกลอง

ด้านหนึ่ง จตุรังคินีเสนาก็เข้ามาห้อมล้อม. เขาทราบอย่าง

แน่วแน่ว่า พระราชาตกอยู่ในเงื้อมมือของตนแล้ว จึงรินหม้อ

นมส้ม. เกิดเป็นแม่น้ำใหญ่ไหลท่วมท้น. มหาชนจมลงในนมส้ม

ไม่สามารถหนีออกไปได้. เขาจึงตบพร้าโต้สั่งว่าเจ้าจงไปตัด

ศีรษะพระราชามา. พร้าโต้ก็ไปตัดพระเศียรพระราชามาวาง

ไว้แทบเท้าของเขา. นักรบแม้คนเดียวก็ไม่อาจเงื้ออาวุธได้

เขาแวดล้อมด้วยพลนิกายใหญ่ยกเข้าสู่พระนคร ให้จัดทำพิธี

ปราบดาภิเษก เป็นพระราชาพระนามว่า ทธิวาหนะ ครอบครอง

ราชสมบัติโดยธรรม.

วันหนึ่งเมื่อพระราชาทธิวาหนะทรงสนานที่แม่น้ำใหญ่

ภายในมีข่ายกั้นเป็นวงล้อม มะม่วงสุกผลหนึ่งเป็นของเทวดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 205

ลอยมาติดข่าย. พนักงานทั้งหลายเมื่อยกข่ายขึ้น ก็เห็น

มะม่วงนั้นจึงนำไปถวายพระราชา. มะม่วงนั้นเป็นผลกลม

ประมาณเท่าหม้อใหญ่ มีสีดุจทองคำ. พระราชาตรัสถาม

พรานป่าว่า นี้ผลอะไร ครั้นสดับว่าเป็นผลมะม่วง จึงรับสั่ง

ให้ปลูกในพระราชอุทยานของพระองค์ แล้วให้รดด้วยน้ำนม.

ต้นไม้ได้เจริญเติบโตให้ผลในปีที่สาม. ต้นมะม่วงได้มีสักการะ

เป็นอันมาก. เขารดด้วยน้ำนม เจิมด้วยของหอมห้าชนิด ห้อย

พวงมาลัยตามประทีปด้วยน้ำมันหอม กั้นด้วยผ้าม่าน. เป็น

ผลไม้มีรสหวาน มีสีเหลืองดังทองคำ.

พระเจ้าทธิวาหนะจะทรงส่งผลมะม่วงไปถวายพระราชา

อื่น ๆ ใช้เงี่ยงกระเป็นแทงหน่อทิ้งออกเสียแล้วส่งไป เพราะ

เกรงว่าจะเกิดเป็นต้นขึ้น แล้วทรงส่งไป. เมล็ดมะม่วงที่พระราชา

เหล่านั้นเสวยแล้วให้เพาะก็ไม่งอก. เมื่อพระราชาเหล่านั้น

สอบถามว่า อะไรหนอเป็นเหตุในเรื่องนี้ ก็หาทราบเหตุนั้นไม่.

ครั้นแล้วพระราชาองค์หนึ่งรับสั่งหาคนเฝ้าพระอุทยานมาตรัส

ถามว่า เจ้าสามารถจะทำรสผลมะม่วงของพระเจ้าทธิวาหนะ

ให้เสียกลายเป็นรสขมได้หรือ เมื่อคนเฝ้าสวนกราบทูลว่า ได้

พระเจ้าข้า จึงรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นก็จงไป แล้วพระราชทาน

ทรัพย์พันหนึ่งส่งไป. เขาไปถึงกรุงพาราณสีแล้ว ให้กราบทูล

พระราชาว่า คนเฝ้าสวนคนหนึ่งมาเฝ้า เมื่อพระองค์รับสั่งว่า

ให้มาเฝ้าได้ เขาจึงไปถวายบังคมพระราชา เมื่อรับสั่งถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 206

เจ้าเป็นคนเฝ้าสวนหรือ เขากราบทูลว่าถูกแล้วพระเจ้าข้า แล้ว

ก็พรรณนาถึงความสามารถของตน. พระราชารับสั่งว่า จงไป

อยู่กับคนเฝ้าสวนของเราเถิด. ตั้งแต่นั้นมาทั้งสองคนก็ช่วยกัน

รักษาพระราชอุทยาน คนเฝ้าสวนคนใหม่มาอยู่ได้ไม่นาน ได้

ทำให้ต้นไม้ออกช่อในเวลามิใช่กาล ให้มีผลในเวลามิใช่ผล

ทำให้พระราชอุทยานน่ารื่นรมย์ยิ่งนัก. พระราชาทรงโปรดปราน

เขา รับสั่งให้ปลดคนเฝ้าสวนคนเก่าออกเสีย ได้พระราชทาน

หน้าที่เฝ้าสวนให้แก่เขาโดยเฉพาะ. เขาตระหนักแน่ว่า พระ-

ราชอุทยานอยู่ในเงื้อมมือของตนแล้ว จึงปลูกต้นสะเดา และ

เถาบรเพ็ดล้อมต้นมะม่วง. ต้นสะเดางอกงามขึ้นโดยลำดับ

รากต่อรากพันกัน กิ่งต่อกิ่งพาดทับกัน. เพราะความเกี่ยวพัน

กันกับไม้ที่ไม่น่ายินดี และปราศจากรสนั้น มะม่วงซึ่งมีผลหวาน

มาก่อน ก็กลับเป็นรสขมแล้วจึงหนีไป. พระเจ้าทธิวาหนะเสด็จ

ไปพระอุทยานเสวยผลมะม่วง ไม่อาจจะทรงกลืนเยื่อมะม่วง

ซึ่งตกถึงพระโอฐได้ คล้ายน้ำฝากสะเดา ต้องทรงขากถ่มทิ้ง

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็นผู้สอนอรรถและธรรมของพระองค์

พระราชาจึงปรึกษากะพระโพธิสัตว์ว่า ดูก่อนบัณฑิต ต้นไม้นี้

มิได้บกพร่องต่อการดูแลมาก่อนเลย เมื่อเป็นเช่นนั้น ผลของ

มันก็เกิดขมขึ้นมาได้ อะไรหนอเป็นเหตุ เมื่อจะรับสั่งถาม จึง

ตรัสคาถาแรกว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 207

แต่ก่อนมามะม่วงต้นนี้บริบูรณ์ด้วย

กลิ่น และรส ได้รับการบำรุงอยู่แต่เดิม เหตุไร

จึงมีผลขมไปได้.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะทูลแจ้งเหตุของมะม่วงนั้น

จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ข้าแต่พระเจ้าทธิวาหนะ มะม่วงของ

พระองค์ มีต้นสะเดาล้อมอยู่ รากต่อรากเกี่ยว

พันกัน กิ่งต่อกิ่งเกี่ยวประสานกัน เหตุที่อยู่ร่วม

กันกับต้นสะเดาที่มีรสขม มะม่วงจึงมีรสขม

ไปด้วย.

บทว่า ปุจิมนฺทปริวาโร แปลว่า ล้อมด้วยต้นสะเดา. บทว่า

สาขา สาข นิเวสเร คือกิ่งสะเดาพาดกิ่งมะม่วง. บทว่า

อสาตสนฺนิวาเสน ได้แก่ เพราะพาดกับต้นสะเดาอันมีรสขม.

บทว่า เตน อธิบายว่า เพราะเหตุนั้น มะม่วงนี้จึงมีรสเฝื่อน

มีรสปร่า มีรสขม.

พระราชาทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้ว รับสั่งให้

ตัดต้นสะเดาและเถาบรเพ็ดเสีย ให้ถอนรากขึ้นขนดินที่เสียรส

ไปทิ้ง ใส่แต่ดินมีรสดี ให้บำรุงต้นมะม่วงด้วยน้ำนมน้ำตาลกรวด

และน้ำหอม. เพราะปนกับรสดี มันจึงกลายเป็นต้นไม้มีรสหวาน

อย่างเดิม. พระราชาทรงมอบพระอุทยานแก่คนเฝ้าสวนคนเดิม

ทรงดำรงอยู่ตลอดพระชนม์แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 208

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. อำมาตย์บัณฑิตในครั้งนั้น คือเราตถาคตในครั้งนี้แล.

จบ อรรถกถาทธิวาหนชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 209

๗. จตุมัฏฐชาดก

ผู้เลวทราม ๔ อย่าง

[๒๒๓] ท่านทั้งสองพากันขึ้นไปบนค่าคบไม้อัน

สูง อยู่ในที่ลับแล้วปรึกษากัน เชิญท่านลงมา

ปรึกษากันในที่ต่ำเถิด พระยาเนื้อจักได้ฟังบ้าง.

[๒๒๔] สุบรรณกับสุบรรณเขาปรึกษากัน เทวดา

กับเทวดาเขาพูดกันในเรื่องนี้ จะมีประโยชน์

อะไรแก่สุนัขจิ้งจอกผู้เลวทราม ๔ อย่าง (สรีระ ๑

ชาติ ๑ เสียง ๑ คุณ ๑) เล่า แน่ะสุนัขจิ้งจอก

ผู้ชาติชั่ว เจ้าจงเข้าไปสู่โพรงเถิด.

จบ จตุมัฏฐชาดกที่ ๗

อรรถกถาจตุมัฏฐชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อุจฺเจ วิฏภิมารุยฺห ดังนี้.

มีเรื่องได้ยินว่าวันหนึ่ง เมื่อพระอัครสาวกสองรูป นั่ง

สนทนาปรารภการถามและการแก้ปัญหากัน พระแก่รูปหนึ่ง

ไปหาท่านนั่งเป็นรูปที่สาม กล่าวว่า นี่ท่าน ผมจะถามปัญหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 210

กะท่าน แม้ท่านก็จงถามข้อสงสัยของตนกะผมบ้าง. พระเถระ

รังเกียจพระแก่นั้น ลุกหลีกไป. พวกบริษัทที่นั่งเพื่อจะฟังธรรม

ของพระเถระ จึงพากันไปเฝ้าพระศาสดา ในเวลาที่การประชุม

ล้มเลิกไป เมื่อพระองค์ตรัสถามว่า ทำไมพวกเธอมาผิดเวลา

จึงกราบทูลเหตุนั้นให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรและโมคคัลลานะรังเกียจพระแก่นั้น ใช่

พูดจาด้วยแล้วหลีกไป มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อนก็พากัน

หลีกไป แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตวได้ถือกำเนิดเป็นรุกขเทวดา อยู่ใน

ราวป่า. ครั้งนั้นลูกหงส์สองตัวออกจากภูเขาคิชฌกูฏ จับที่

ต้นไม้นั้นแล้วไปหาอาหาร เมื่อบินกลับก็พักอยู่ที่ต้นไม้นั้นเอง

แล้วกลับไปภูเขาคิชฌกูฏ. เมื่อเวลาผ่านไป หงส์สองตัวก็มีความ

คุ้นเคยกับพระโพธิสัตว์. เมื่อบินผ่านไปมาต่างก็ชื่นชมสนทนา

ธรรมกันและกันแล้วก็หลีกไป. อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อหงส์ทั้งสอง

จับอยู่บนยอดไม้สนทนากับพระโพธิสัตว์. สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง

ยืนอยู่ใต้ต้นไม้นั้น เมื่อจะสนทนากับลูกหงส์เหล่านั้นจึงกล่าว

คาถาแรกว่า :-

ท่านทั้งสองพากันขึ้นไปบนค่าคบไม้อัน

สูง อยู่ในที่ลับแล้วปรึกษากัน เชิญท่านลงมา

ปรึกษากันในที่ต่ำเถิด พญาเนื้อจักได้ฟังบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 211

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺเจ วิฏภิมารุยฺห ความว่า พากัน

ขึ้นไปบนค่าคบไม้อันสูงตามปกติ คือ สูงกว่าบนต้นไม้นี้. บทว่า

มนฺตยวฺโห ได้แก่ ปรึกษากัน คือคุยกัน. บทว่า นีเจ โอรุยฺห

ได้แก่ เชิญลงมายืนปรึกษากันในที่ต่ำเถิด. บทว่า มิคราชาปิ

โสสฺสติ ได้แก่ สุนัขจิ้งจอกพูดยกตนเป็น พญาเนื้อ.

ลูกหงส์ทั้งสองรังเกียจ จึงพากันบินไปภูเขาคิชฌกูฏ.

ในเวลาที่หงส์สองตัวกลับไป พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ ๒

แก่สุนัขจิ้งจอกว่า :-

ครุฑกับครุฑเขาปรึกษากัน เทวดากับ

เทวดาเขาพูดกันในเรื่องนี้ จะมีประโยชน์อะไร

แก่สุนัขจิ้งจอก ผู้เลวทราม ๔ อย่าง (สรีระ ๑

ชาติ ๑ เสียง ๑ คุณ ๑) เล่า แน่ะสุนัขจิ้งจอกผู้

ชาติชั่ว เจ้าจงเข้าโพรงไปเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สุปณฺโณ แปลว่า สัตว์ผู้มีปีกงาม.

บทว่า สุปณฺเณน ได้แก่ ลูกหงส์ตัวที่สอง. บทว่า เทโว เทเวน

ได้แก่ สมมติลูกหงส์ทั้งสองนั้นเป็นเทวดาปรึกษากัน. บทว่า

จตุมุฏฺสฺส อธิบายตามตัวอักษรว่า สุนัขจิ้งจอกผู้เลวทราม คือ

บริสุทธิ์ด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ สรีระ ๑ ชาติ ๑ เสียง ๑ คุณ ๑.

พระโพธิสัตว์เมื่อจะติเตียนความไม่บริสุทธิ์ด้วยคำสรรเสริญ

จึงกล่าวอย่างนี้. ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า สุนัขจิ้งจอกชั่วช้า

คือ ลามกด้วยเหตุ ๔ ประการคืออะไร. บทว่า วิล ปวิส คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 212

พระโพธิสัตว์แสดงอารมณ์อันน่ากลัวนี้ เมื่อจะไล่สุนัขจิ้งจอก

ให้หนีไปจึงกล่าว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ภิกษุแก่ในครั้งนั้นได้เป็นสุนัขจิ้งจอกในครั้งนี้ ลูกหงส์

สองตัวได้เป็นสารีบุตรและโมคคัลลานะ ส่วนรุกขเทวดา คือเรา

ตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาจตุมัฏฐชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 213

๘. สีหโกฏฐุกชาดก

ตัวเหมือนราชสีห์แต่เสียงไม่เหมือน

[๒๒๕] ราชสีห์ตัวหนึ่ง นิ้วก็นิ้วราชสีห์ เล็บก็

เล็บราชสีห์ ยืนก็ยืนด้วยเท้าราชสีห์ มีอยู่ตัวเดียว

ในหมู่ราชสีห์ ย่อมบรรลือด้วยเสียงอีกอย่างหนึ่ง.

[๒๒๖] ดูก่อนเจ้าผู้เป็นบุตรแห่งราชสีห์ เจ้าอย่า

บรรลือเสียงอีกเลย จงมีเสียงเบา ๆ อยู่ในป่า

เขาทั้งหลายพึงรู้จักเจ้าด้วยเสียงนั่นแหละ เพราะ

เสียงของเจ้า ไม่เหมือนกับเสียงราชสีห์ผู้เป็น

บิดา.

จบ สีหโกฏฐุกชาดกที่ ๘

อรรถกถาสีหโกฏฐุกชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระโกกาลิกะตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

สีหงฺคุลี สีหนโข ดังนี้.

ได้ยินว่าวันหนึ่งพระโกกาลิกะ เมื่อพระผู้เป็นพหูสูตหลาย

รูปกำลังสนทนาธรรมกันอยู่ ตนเองประสงค์จะกล่าวบ้าง. เรื่อง

ทั้งหมดพึงพิสดารโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 214

พระศาสดาครั้นทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงรับสั่งว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย โกกาลิกะเปิดเผยด้วยเสียงของตนมิใช่ในบัดนี้

เท่านั้น แม้แต่ก่อนก็เปิดเผย แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นราชสีห์อยู่

อาศัยในหิมวันตประเทศ สมจรกับนางสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง

จึงได้ลูก. ลูกตัวนั้นเหมือนกับพ่อด้วยอาการเหล่านี้คือ นิ้ว เล็บ

สร้อยคอ สี และสัณฐาน แต่เสียงเหมือนแม่. อยู่มาวันหนึ่ง

เมื่อฝนตกขาดเม็ดแล้ว พวกราชสีห์. เมื่อเหล่าราชสีห์บรรลือ

สีหนาทเล่นหยอกกันอยู่ มันก็ต้องการบรรลือสีหนาทในระหว่าง

เหล่าราชสีห์นั้นบ้าง จึงเปล่งเสียงเหมือนแม่สุนัขจิ้งจอก. ครั้น

ฝูงราชสีห์ได้ฟังเสียงของมัน จึงพากันนิ่ง. ลูกราชสีห์ร่วมชาติ

ของพระโพธิสัตว์อีกตัวหนึ่ง ได้ยินเสียงของมันแล้ว จึงพูดว่า

พ่อราชสีห์ตัวนี้เหมือนเราด้วยสีเป็นต้น แต่เสียงของมัน ไม่ยัก

เหมือน มันเป็นสัตว์ประเภทไหน เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ราชสีห์ตัวนั้น นิ้วก็นิ้วราชสีห์ เล็บก็เล็บ

ราชสีห์ ยืนก็ยืนด้วยเท้าราชสีห์ มีอยู่ตัวเดียว

ในหมู่ราชสีห์ ย่อมบรรลือด้วยเสียงอีกอย่างหนึ่ง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สีหปาทปติฏฺิโต ได้แก่ ยืนด้วย

เท้าของราชสีห์นั่นเอง. บทว่า เอโก นทติ อญฺถา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 215

ตัวเดียวเท่านั้น ออกเสียงเหมือนสุนัขจิ้งจอก ไม่เหมือนพวก

ราชสีห์เหล่าอื่น ชื่อว่าบรรลือด้วยเสียงอีกอย่างหนึ่ง.

พระโพธิสัตว์ได้สดับคำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า ดูก่อนลูกสัตว์

นี้เป็นพี่น้องของลูก เป็นลูกของนางสุนัขจิ้งจอก มีรูปเหมือนเรา

มีเสียงเหมือนแม่ แล้วจึงเรียกลูกนางสุนัขจิ้งจอกมาสั่งสอนว่า

นี่แน่ลูก ตั้งแต่นี้ไป เมื่อเจ้าจะอยู่ในที่นี้ จงอยู่เงียบ ๆ ถ้าเจ้า

เปล่งเสียงอีก ราชสีห์ทั้งหลายจะรู้ว่าเจ้าเป็นสุนัขจิ้งจอก จึง

กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนเจ้าผู้เป็นบุตรราชสีห์ เจ้าอย่า

บรรลือเสียงอีกเลย จงมีเสียงเบา ๆ อยู่ในป่า

เขาทั้งหลายพึงรู้จักเจ้าด้วยเสียงนั้นแหละ เพราะ

เสียงของเจ้าไม่เหมือนกับเสียงราชสีห์ผู้เป็นพ่อ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ราชปุตฺต คือ ลูกพญาสีหมฤค.

ก็และลูกสุนัขจิ้งจอกนั้นครั้นฟังคำสอนนี้แล้วก็ไม่กล้าเปล่งเสียง

อีกต่อไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็น โกกาลิกะ ในครั้งนี้. ลูก

ราชสีห์ร่วมชาติได้เป็นราหุล ส่วนพญามฤค คือเราตถาคต

นี้แล.

จบ อรรถกถาสีหโกฏฐุกชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 216

๙. สีหจัมมชาดก

ลาปลอมเป็นราชสีห์

[๒๒๗] นี่ไม่ใช่เสียงบรรลือของราชสีห์ ไม่ใช่

เสียงบรรลือของเสือโคร่ง ไม่ใช่เสียงบรรลือ

ของเสือเหลือง ลาผู้ลามกคลุมตัวด้วยหนัง

ราชสีห์บรรลือเสียง.

[๒๒๘] ลาเอาหนังราชสีห์คลุมตัว เที่ยวกินข้าว

เหนียวนานมาแล้ว ร้องให้เขารู้ว่าเป็นตัวลา ได้

ประทุษร้ายตนเองแล้ว.

จบ สีหจัมมชาดกที่ ๙

อรรถกถาสีหจัมมชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระโกกาลิกะนั่นแล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า เนต สีหสฺส นทิต ดังนี้.

ในเวลานั้นพระโกกาลิกะประสงค์จะกล่าว สรภัญญะ.

พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลชาวนา ครั้นเจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 217

วัย หาเลี้ยงชีพด้วยกสิกรรมนั่นเอง. ในกาลนั้นมีพ่อค้าคนหนึ่ง

เที่ยวทำการค้าด้วยการบรรทุกสินค้าบนหลังลา. พ่อค้านั้นขน

สินค้าลงจากหลังลาในที่ที่ไปถึง แล้วเอาหนังราชสีห์คลุมลา

ปล่อยไปหากิน ที่นาข้าวสาลีและข้าวเหนียว. คนรักษานาเห็น

แล้ว ไม่อาจเข้าใกล้ด้วยเข้าใจว่าเป็นราชสีห์. อยู่มาวันหนึ่ง

พ่อค้านั้น พักอยู่ที่ประตูบ้านแห่งหนึ่ง หุงอาหารเช้า แต่นั้นจึง

เอาหนังราชสีห์คลุมหลังลา ปล่อยไปหากินในนาข้าวเหนียว.

พวกเฝ้านาเห็นมันเข้าก็ไม่อาจเข้าใกล้มันได้ ด้วยสำคัญว่า

เป็นราชสีห์ จึงพากันกลับไปเรือน. พวกชาวบ้านทั้งหมด ต่าง

ถืออาวุธ เป่าสังข์ รัวกลอง โห่ร้องไปยังที่ใกล้นา. ลากลัวตาย

จึงเปล่งเสียงเป็นเสียงลา. ครั้นพระโพธิสัตว์รู้ว่ามันเป็นลา จึง

กล่าวคาถาแรกว่า :-

นี่มิใช่เสียงบรรลือของราชสีห์ ไม่ใช่เสียง

บรรลือของเสือโคร่ง ไม่ใช่เสียงบรรลือของเสือ

เหลือง ลาผู้ลามกคลุมตัวด้วยหนังราชสีห์บรรลือ

เสียง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ชมฺโม แปลว่า ลามก. แม้พวก

ชาวบ้านก็รู้ว่ามันเป็นลา จึงพากันโบยให้ล้มลง กระดูกหัก

แล้วเอาหนังราชสีห์ไป. ครั้นพ่อค้านั้นมาเห็นลาถึงความบอบช้ำ

จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 218

ลาเอาหนังราชสีห์คลุมตัว เที่ยวหากิน

ข้าวเหนียวนานมาแล้ว ร้องให้เขารู้ว่าเป็นลา

ได้ประทุษร้ายตนเองแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ต เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า

ลานี้ไม่ให้เขารู้ว่าตัวเป็นลา จึงเอาหนังราชสีห์มาคลุม กิน

ข้าวเหนียวอ่อนมาเป็นเวลานาน. บทว่า รวมาโน ว ทูสยิ ความ

ว่า เมื่อร้องเสียงเป็นลาก็ประทุษร้ายตนเอง. มิใช่ความผิด

ของหนังราชสีห์.

เมื่อพ่อค้านั้นกล่าวอย่างนี้เสร็จแล้ว ลาก็นอนตายในที่

นั้นเอง. แม้พ่อค้าก็ทิ้งลากลับบ้าน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ลาในครั้งนั้นได้เป็นพระโกกาลิกะในครั้งนี้. ส่วนชาวนา

บัณฑิต คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสีหจัมมชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 219

๑๐. สีลานิสังสชาดก

ว่าด้วยอานิสงส์ศีล

[๒๒๙] จงดูผลของศรัทธา ศีล และจาคะ นี้เถิด

พระยานาคนิรมิตเพศเป็นเรือ พาอุบาสกผู้มี

ศรัทธาไป.

[๒๓๐] บุคคลพึงสมาคมกับสัตบุรุษทั้งหลายเถิด

พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษทั้งหลายเถิด

ด้วยว่าช่างกัลบกถึงความสวัสดีได้ ก็เพราะการ

อยู่ร่วมกับสัตบุรุษทั้งหลาย.

จบ สีลานิสังสชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาสีลานิสังสชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภอุบาสกผู้มีศรัทธาคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า นสฺส สทฺธาย สีลสฺส ดังนี้.

ได้ยินว่า อุบาสกนั้นเป็นอริยสาวกผู้มีศรัทธา เลื่อมใส

วันหนึ่งเดินไปยังพระวิหารเชตวัน ถึงฝั่งแม่น้ำอจิรวดีในตอนเย็น

เมื่อคนเรือจอดเรือไว้ที่ฝั่งไปฟังธรรม ไม่พายเรือที่ท่าน้ำ จึงยึด

ปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ให้มั่นลงสู่แม่น้ำ. เท้าของเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 220

หาจมน้ำไม่. เขาเห็นคลื่นเวลาเดินไปกลางน้ำ คล้ายกับเดิน

เหนือพื้นดิน. ครั้นปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ของเขาอ่อนลง.

เท้าของเขาก็เริ่มจะจม. เขาจึงประคองปีติมีพระพุทธเจ้าเป็น

อารมณ์ให้มั่น เดินไปหลังน้ำ ถึงพระเชตวัน ถวายบังคมพระ-

ศาสดา นั่ง ณ ส่วนหนึ่ง พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเขา

ตรัสถามว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านเดินทางมาถึงโดยเหน็ดเหนื่อย

น้อยกระมัง เมื่อเขากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ข้าพระองค์

ยึดเอาปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์ จึงได้ที่พึ่งเหนือหลังน้ำ

คล้ายกับเหยียบแผ่นดินมา จึงรับสั่งว่าอุบาสก มิใช่ท่านเท่านั้น

ที่ระลึกถึงพระพุทธคุณแล้วได้ที่พึ่ง แม้แต่ก่อนอุบาสกทั้งหลาย

ก็ระลึกถึงพระพุทธคุณได้ที่พึ่ง เมื่อเรืออับปางกลางสมุทร เมื่อ

เขาทูลอาราธนาจึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระอริยสาวกผู้เป็นโสดาบัน โดยสารเรือไปกับกุฎุมพีช่างกัลบก

คนหนึ่ง. ภรรยาของช่างกัลบกนั้นมอบหมายช่างกัลบกแก่เขา

ว่า นาย สุขทุกข์ของสามีของดิฉัน ขอมอบให้เป็นภาระของท่าน

ครั้นถึงวันที่เจ็ดเรือของกุฎุมพีช่างกัลบกอับปางลงในกลางสมุทร

ชนทั้งสองเกาะแผ่นกระดานแผ่นหนึ่ง ลอยมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง.

ช่างกัลบกนั้นจึงฆ่านกปิ้งกินแล้วให้อุบาสก. อุบาสกไม่ยอม

บริโภค โดยกล่าวว่า อย่าเลยสำหรับเรา. อุบาสกคิดว่า ในที่นี้

นอกจากพระรัตนตรัยแล้ว ไม่มีที่พึ่งอื่นสำหรับเรา. เขาจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 221

ระลึกคุณของพระรัตนตรัย. ลำดับนั้น เมื่อเขากำลังระลึกถึง

พญานาคซึ่งเกิดในเกาะนั้น จึงเนรมิตร่างของตนเป็นเรือลำใหญ่

มีเทวดาประจำสมุทรเป็นมาณพต้นหนเรือ. เรือเต็มไปด้วย

รัตนะเจ็ดประการ. เสากระโดงทั้งสาม สำเร็จด้วยแก้วมณีสี

อินทนิล ใบเรือสำเร็จด้วยทอง เชือกสำเร็จด้วยเงิน คันใบสำเร็จ

ด้วยทอง. เทวดาประจำสมุทรยืนอยู่บนเรือประกาศว่า ผู้จะไป

ชมพูทวีปมีไหม. อุบาสกตอบว่า เราจะไป. ถ้าเช่นนั้นจงมาขึ้น

เรือเถิด. อุบาสกขึ้นเรือแล้วเรียกช่างกัลบกขึ้นด้วย. เทวดา

ประจำสมุทรกล่าวว่า ได้แต่ท่านเท่านั้น คนนั้นไม่ได้. อุบาสก

ถามว่า เพราะเหตุไรเล่า. เทวดาประจำสมุทรตอบว่า เขา

ไม่มีคุณ คือศีลและอาจาระ เหตุเป็นดังนั้น ข้าพเจ้านำเรือมา

เพื่อท่าน มิใช่ผู้นี้. เอาละเราให้ส่วนแก่คนนี้ด้วยทานที่ตนให้

ด้วยศีลที่ตนรักษา ด้วยภาวนาที่ตนอบรม. ช่างกัลบกตอบว่า

ข้าพเจ้าขออนุโมทนา. เทวดากล่าวว่า ข้าพเจ้าจักพาไปเดี๋ยวนี้

แล้วอุ้มเขาพาไปทั้งสองคน ออกจากสมุทรไปถึงกรุงพาราณสี

ทางแม่น้ำ บันดาลให้ทรัพย์อยู่ในเรือนของเขาทั้งสอง ด้วย

อานุภาพของตน เมื่อจะกล่าวถึงคุณของการสังสรรค์กับบัณฑิต

ว่า ควรทำความสังสรรค์กับบัณฑิตทั้งหลาย หากว่าช่างกัลบก

คนนี้ไม่ได้สังสรรค์กับอุบาสกนี้ จักพินาศในท่ามกลางสมุทร

นั้นเอง จึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 222

จงดูผลของศรัทธา ศีล จาคะ นี้เถิด

พญานาคเนรมิตเพศเป็นเรือ พาอุบาสกผู้มี

ศรัทธาไป.

บุคคลพึงสมาคมกับสัตบุรุษเถิด พึงทำ

ความสนิทสนมกับสัตบุรุษเถิด ด้วยช่างกัลบก

ถึงความสวัสดีได้ก็เพราะการอยู่ร่วมกับสัตบุรุษ

ทั้งหลาย.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปสฺส ได้แก่ เรียกว่า จงดูเถิด

ไม่กำหนดใคร ๆ. บทว่า สทธาย คือด้วยโลกิยศรัทธา และ

โลกุตตรศรัทธา. แม้ในศีลก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า จาคสฺส

ได้แก่ บริจาคไทยธรรมและบริจาคกิเลส. บทว่า อย ผล ได้แก่

นี้เป็นผล คือเป็นคุณ เป็นอานิสงส์. อีกอย่างหนึ่งพึงเห็นความ

อธิบายในบทนี้อย่างนี้ว่า จงดูผลของการบริจาคเถิด พญานาค

นี้แปลงเพศเป็นเรือ. บทว่า นาวาย วณฺเณน คือด้วยสัณฐานเรือ.

บทว่า สทฺธ คือ มีศรัทธาตั้งอยู่ในพระรัตนตรัย. บทว่า สพฺภิเรว

คือ พวกบัณฑิตนั่นเอง. บทว่า สมาเสถ ได้แก่ พึงกระทำ

บทว่า สนฺถว ได้แก่ สนิทสนมฐานมิตร. แต่ไม่ควรทำความ

สนิทสนมด้วยตัณหากับใคร ๆ. บทว่า นหาปิโต ได้แก่ กุฎุมพี

ช่างกัลบก. บาลีว่า นฺหาปิโต ก็มี.

เทวดาประจำสมุทร ยืนอยู่บนอากาศ แสดงธรรมกล่าว

สอนอย่างนี้แล้ว จึงพาพญานาคกลับไปวิมานของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 223

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม แล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจธรรมอุบาสก

ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล. อุบาสกโสดาบันในกาลนั้น ครั้นเจริญ

มรรคให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปก็นิพพาน. พญานาคได้เป็นสารีบุตร ส่วน

เทวดาประจำสมุทร คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสีลานิสังสชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสทิสชาดก ๒. สังคามาวจรชาดก ๓. วาโลทกชาดก

๔. คิริทัตตชาดก ๕. อนภิรติชาดก ๖. ทธิวาหนชาดก ๗. จตุ-

มัฎฐชาดก ๘. สีหโกฏฐุกชาดก ๙. สีหจัมมชาดก ๑๐. สีลา-

นิสังสชาดก.

จบ อสทิสวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 224

๕. รุหกวรรค

๑. รุหกชาดก

[๒๓๑] ดูก่อนพ่อรุหกะ สายธนูถึงขาดแล้วก็ยัง

ต่อกันได้อีก ท่านจงคืนดีกันเสียกับภรรยาเก่า

เถิด อย่าลุอำนาจแก่ความโกรธเลย.

[๒๓๒] เมื่อป่านอ่อนยังมีอยู่ ช่างทำก็ยังมีอยู่

ข้าพระบาทจักกระทำสายอื่นใหม่ พอกันที

สำหรับสายเก่า.

จบ รุหกชาดกที่ ๑

อรรถกถารุหกวรรคที่ ๕

อรรถกถรุหกชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า อมฺโภ รุหกจฺฉินฺนาปิ ดังนี้. เรื่องราวจักมีแจ้งใน

อินทริยชาดกในอัฏฐกนิบาต.

ก็ในเรื่องนี้พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ

หญิงคนนี้ทำความพินาศให้แก่เธอ แม้เมื่อก่อนหญิงคนนี้ก็ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 225

ทำอาการให้เธออาย ในท่ามกลางบริษัทพร้อมทั้งพระราชา

แล้วออกจากเรือนไป แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงบังเกิดในครรภ์ของพระอัครมเหสี

ของพระองค์ ครั้นทรงเจริญวัย เมื่อพระชนกสวรรคตแล้ว

ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติ ทรงครองราชย์โดยธรรม. พระองค์

มีปุโรหิตคนหนึ่งชื่อ รุหกะ. ภรรยาของรุหกะชื่อ ปุรณีพราหมณี.

พระราชาพระราชทานม้า ประดับเครื่องอลังการแก่พราหมณ์.

เขาขี่ม้าไปทำราชการ. ลำดับนั้น ประชาชนผู้ยืนอยู่ในที่นั้น ๆ

เห็นเขานั่งบนหลังม้าที่ประดับแล้วผ่านไปมาอยู่ จึงสรรเสริญ

ม้าเท่านั้นว่า แม่เจ้าโวยม้านี้งามอย่างประหลาด. รุหกปุโรหิต

มาถึงเรือน ขึ้นเรือนเรียกภรรยามาพูดว่า นี่น้องม้าของเรา

งามเหลือเกิน ประชาชนที่ยืนอยู่ทั้งสองข้าง สรรเสริญแต่ม้า

ของเราเท่านั้น. ฝ่ายพราหมณีนั้นเป็นหญิง ค่อนข้างจะเป็น

ชาตินักเลง เหลาะแหละ เพราะฉะนั้นนางจึงตอบเขาอย่างนี้ว่า

นายท่านไม่รู้เหตุที่ทำให้ม้างาม ม้าตัวนี้งามเพราะอาศัยเครื่อง

ม้าที่ประดับไว้ที่ตัว. หากท่านประสงค์จะงามเหมือนม้า จง

ประดับเครื่องม้าแล้วขึ้นไป ระหว่างถนน แล้วซอยเท้าเหมือนม้า

ไปเฝ้าพระราชา. แม้พระราชาก็จักยกย่องท่าน แม้พวกมนุษย์

ก็จักสรรเสริญท่านเท่านั้น. รุหกปุโรหิตเป็นพราหมณ์ค่อนข้าง

บ้า ๆ บอ ๆ ฟังคำของพราหมณี ก็ไม่รู้ว่านางพูดกะเราเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 226

เหตุนี้ มุ่งแต่จะงามจึงได้ทำตามนั้น. พวกมนุษย์ที่เห็นต่างพากัน

พูดเย้ยหยันว่า อาจารย์งาม. ส่วนพระราชารับสั่งกะเขาเป็นต้น

ว่า อาจารย์จิตใจไม่ปกติไปแล้วหรือ เป็นบ้าไปแล้วหรือ แล้ว

ทรงทำให้ปุโรหิตละอาย.

ในกาลนั้นพราหมณ์ละอายว่า เราทำสิ่งอันไม่สมควรเสีย

แล้ว จึงเกรี้ยวกราดนางพราหมณีว่า เราถูกนางทำให้ได้อาย

ในระหว่างเสนากับพระราชานั้น เราจักโบยตีนางแล้วขับไล่นาง

ไปเสีย แล้วกลับไปเรือน นางพราหมณีนักเลงรู้ว่า สามีโกรธ

กลับมา จึงออกไปทางประตูเล็กก่อนแล้วไปพระราชวัง พัก

อยู่ในพระราชวังสี่ห้าวัน. พระราชาทรงทราบเหตุนั้น จึงรับ

สั่งให้เรียกปุโรหิตมาตรัสว่า อาจารย์ ธรรมดาสตรีย่อมมี

ความผิดได้เหมือนกัน ควรยกโทษให้นางเสียเถิด เพื่อให้ปุโรหิต

ยกโทษจึงตรัสคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนรุหกะ สายธนูถึงขาดแล้วก็ยังต่อ

กันได้อีก ท่านจงคืนดีเสียกับภรรยาเก่าเถิด อย่า

ลุอำนาจความโกรธเลย.

ความย่อในคาถานั้นมีดังนี้

รุหกะผู้เจริญ สายธนูแม้ขาดแล้ว ก็ยังยัง

คือทำให้ติดกันได้มิใช่หรือ ท่านก็เหมือนกันควร

สมัครสมานกับภรรยาเก่าเสียเถิด อย่าลุอำนาจ

ความโกรธเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 227

รุหกะได้สดับพระราชาดำรัสดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

เมื่อป่านอ่อนยังมีอยู่ ช่างทำก็ยังมีอยู่

ข้าพระบาทจักกระทำสายอื่นใหม่ พอกันที

สำหรับสายเก่า.

ใจความแห่งคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อป่านอ่อน

ยังมีและเมื่อช่างทำยังมี ข้าพระองค์จักทำสายอื่น ไม่ต้องการ

สายเก่าที่ขาดแล้วนี้ ไม่มีประโยชน์อะไรสำหรับข้าพระองค์.

ก็และครั้นปุโรหิตกราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงไล่นางพราหมณี

ออกไป นำนางพราหมณีอื่นมา.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม แล้วทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสัน

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. นางปุราณีในครั้งนั้น ได้เป็นภรรยาเก่า

ในครั้งนี้ รุหกะได้เป็น ภิกษุกระสัน ส่วนพระราชาพาราณสี

คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถารุหกชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 228

๒. สิริกาฬกัณณิชาดก

ว่าด้วยสิริกับกาฬกรรณี

[๒๓๓] หญิงที่มีรูปงาม ทั้งมีศีลาจารวัตร บุรุษ

ไม่พึงปรารถนาหญิงนั้น ท่านเชื่อไหมมโหสถ.

[๒๓๔] ข้าแต่มหาราชะ ข้าพระบาทเชื่อ บุรุษ

คงเป็นคนต่ำต้อย สิริกับกาฬกรรณีย่อมไม่สม

กันเลยไม่ว่าในกาลไหน ๆ.

จบ สิริกาฬกัณณิชาดกที่ ๒

อรรถกถาสิริกาฬกัณณิกชาดกที่ ๒

สิริกัณณิชาดกนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อิตฺถี สยา รูปวตี ดังนี้

จักมีแจ้งในมหาอุมมังคชาดก.

จบ อรรถกถาสิริกาฬกัณณิชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 229

๓. จุลลปทุมชาดก

ว่าด้วยการลงโทษหญิงชายทำชู้กัน

[๒๓๕] หญิงคนนี้แหละ คือหญิงคนนั้น ถึงเราก็

คือ บุรุษคนนั้น ไม่ใช่คนอื่น บุรุษคนนี้แหละที่

หญิงคนนี้อ้างว่า เป็นผัวของนางมาตั้งแต่เป็น

กุมารี ก็คือบุรุษที่ถูกตัดมือ หาใช่คนอื่นไม่ ขึ้น

ชื่อว่าหญิงทั้งหลายควรฆ่าเสียให้หมดเลย ความ

สัตย์ไม่มีในหญิงทั้งหลาย.

[๒๓๖] ท่านทั้งหลายจงฆ่าบุรุษผู้ชั่วช้าลามกราว

กับซากผี มักทำชู้กับภรรยาผู้อื่นคนนี้ เสียด้วย

สาก จงตัดหูตัดจมูกของหญิงผู้ปรนนิบัติผัวชั่ว

ช้าลามกคนนี้เสียทั้งเป็น ๆ เถิด.

จบ จุลลปทุมชาดกที่ ๓

อรรถกถาจุลลปทุมชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุผู้กระสัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อยเมว สา อหมฺปิ โส อนญฺโ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 230

เรื่องราวจักมีแจ้งในอุมมาทันตีชาดก.

ก็ในเรื่องนี้ ภิกษุนั้นเมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่า

เธอกระสันจริงหรือ กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า

ก็ใครทำให้เธอกระสันเล่า กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า

พระพุทธเจ้าเห็นมาตุคามคนหนึ่ง ตกแต่งอย่างสวยงาม แล้วตกอยู่

ในอำนาจกิเลสจึงกระสัน พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ขึ้นชื่อว่ามาตุคามมักอกตัญญู ประทุษร้ายมิตร มีดวงใจกระด้าง

แม้โบราณกบัณฑิต ให้ดื่มโลหิตที่เข่าขวาของตน บริจาคทาน

ตลอดชีวิด ยังไม่ได้ดังใจของมาตุคาม แล้วทรงนำเรื่องอดีตมา

ตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ทรงอุบัติในพระครรภ์ของพระ-

อัครมเหสีของพระองค์. ในวันขนานพระนาม ได้รับพระราชทาน

นามว่า ปทุมราชกุมาร. พระปทุมราชกุมาร ได้มีพี่น้องอีกหก

พระองค์. ทั้งเจ็ดพระองค์นั้น เจริญพระชนม์ขึ้นโดยลำดับ

ครองฆราวาส ทรงประพฤติเยี่ยงพระราชา.

อยู่มาวันหนึ่งพระราชาประทับทอดพระเนตรพระลาน-

หลวง ทรงเห็นพระราชกุมารพี่น้องเหล่านั้น มีบริวารมาก

พากันมาปฏิบัติราชการ ทรงเกิดความระแวงว่า ราชกุมาร

เหล่านี้จะพึงฆ่าเราแล้วชิงเอาราชสมบัติ จึงตรัสเรียกพระ-

ราชกุมารเหล่านั้นมารับสั่งว่า ลูก ๆ ทั้งหลาย พวกเจ้าจะอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 231

ในพระนครนี้ไม่ได้ จงไปที่อื่น เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้ว จงกลับมา

รับราชสมบัติอันเป็นของประจำตระกูลเถิด.

พระราชกุมารเหล่านั้น รับพระดำรัสของพระชนกแล้ว

ต่างทรงกันแสง เสด็จไปยังตำหนักของตน ๆ ทรงรำพึงว่า

พวกเราจักพาพระชายาไปหาเลี้ยงชีพ ณ ที่ใดที่หนึ่ง แล้วเสด็จ

ออกจากพระนคร ทรงดำเนินทางถึงที่กันดารแห่งหนึ่ง เมื่อไม่ได้

ข้าวและน้ำ ไม่สามารถจะกลั้นความหิวโหยไว้ได้ จึงตกลง

พระทัยปลงพระชนม์ของพระชายาของพระเจ้าน้อง ด้วยทรง

ดำริว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ก็จักหาหญิงได้ แล้วแบ่งเนื้อออกเป็น

สิบสามส่วนพากันเสวย. พระโพธิสัตว์เก็บไว้ส่วนหนึ่ง ในส่วน

ที่ตนและพระชายาได้ ทั้งสองเสวยแต่ส่วนเดียว. พระราชกุมาร

ทั้งหลายทรงปลงพระชนม์พระชายาทั้งหกแล้วเสวยเนื้อได้หกวัน

ด้วยประการฉะนี้.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงเหลือไว้วันละส่วนทุก ๆวัน เก็บ

ไว้ได้หกส่วน. ในวันที่เจ็ด เมื่อพูดกันว่าจักปลงพระชนม์พระ-

ชายาของพระเจ้าพี่. พระโพธิสัตว์จึงประทานเนื้อหกส่วนเหล่า

นั้นแก่น้อง ๆ แล้วตรัสว่า วันนี้พวกท่านจงเสวยหกส่วนเหล่านี้

ก่อน พรุ่งนี้จักรู้กัน ในเวลาที่พระราชกุมารน้อง ๆ เหล่านั้น

เสวยเนื้อแล้วหลับไปก็ทรงพาพระชายาหนีไป. พระชายานั้นเสด็จ

ไปได้หน่อยหนึ่งแล้วทูลว่า ข้าแต่พระภัสดา หม่อมฉันไม่อาจ

เดินต่อไปได้. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงทรงแบกพระชายา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 232

ออกจากที่กันดารไปในเวลารุ่งอรุณ. เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นพระนาง

ทูลว่า หม่อมฉันหิวเหลือเกิน. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า น้ำไม่มี

เลยน้อง. เมื่อพระนางพร่ำวิงวอนบ่อยเข้า ด้วยความสิเนหา

ต่อพระนาง จึงเอาพระขรรค์เชือดพระชานุ (เข่า) เบื้องขวา

แล้วตรัสว่า น้ำไม่มีดอกน้อง น้องจงนั่งลงดื่มโลหิตที่เข่าขวา

ของพี่. พระชายาได้กระทำตามพระประสงค์. ทั้งสองพระองค์

เสด็จถึงแม่น้ำใหญ่โดยลำดับ ทรงดื่ม ทรงอาบ และเสวยผลาผล

ทรงพักในที่สำราญ แล้วทรงสร้างอาศรมบทใกล้แม่น้ำแห่งหนึ่ง.

อยู่มาวันหนึ่ง ด้านเหนือแม่น้ำ ราชบุรุษลงโทษโจร

ผู้ทำผิดพระราชอาญา ตัด มือ เท้า หู และจมูก ให้นอนในเรือ

โกลนลำหนึ่ง เสือกลอยไปในเเม่น้ำใหญ่. โจรนั้นร้องเสียง

ครวญคราง ลอยมาถึงที่นั้น. พระโพธิสัตว์ทรงสดับเสียงร้อง

อันน่าสงสารของโจรนั้น ทรงดำริว่า เมื่อเรายังอยู่สัตว์ผู้ได้รับ

ความลำบากอย่าได้พินาศเลย จึงเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำ ช่วย

เขาขึ้นจากเรือ แล้วนำมายังอาศรมบท ได้ทรงกระทำการ

เยียวยาแผลด้วยการชำระล้างและทาด้วยน้ำฝาด. ฝ่ายพระชายา

ของพระองค์ครั้นทรงทราบว่า พระสามีทรงปรนนิบัติคนเลวทราม

ซึ่งลอยน้ำมาถึงปานนั้น ก็ทรงรังเกียจคนเลวทรามนั้น แสดง

กิริยากระฟัดกระเฟียดอยู่ไปมา. ครั้นแผลของโจรนั้นหายสนิท

แล้ว พระโพธิสัตว์จึงให้เขาอยู่ในอาศรมบทกับพระชายา ทรง

แสวงหาผลาผลจากดงมาเลี้ยงดูโจรและพระชายา. เมื่อทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 233

อยู่กันอย่างนี้ สตรีนั้นก็มีจิตปฏิพัทธ์ในบุรุษชั่วนั้น ประพฤติ

อนาจารร่วมกับเขา ต้องการจะฆ่าพระโพธิสัตว์ด้วยอุบายอย่าง

หนึ่ง จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า เมื่อหม่อมฉันนั่งบนบ่าของพระองค์

ออกจากทางกันดาร มองเห็นภูเขาลูกหนึ่งจึงบนบานว่า ข้าแต่

เทพเจ้าผู้สิงสถิตบนยอดเขา หากข้าพเจ้ากับพระสวามีปลอดภัย

ได้ชีวิต ข้าพเจ้าจักทำพลีกรรมแก่ท่าน บัดนี้เทวดานั้นทำให้

หม่อมฉันหวาดสะดุ้ง หม่อมฉันจะทำพลีกรรมแก่เทวดานั้น.

พระโพธิสัตว์ไม่ทรงทราบมายาทรงรับสั่งว่าดีแล้ว ทรงเตรียม

เครื่องเซ่น ให้พระชายาถือภาชนะเครื่องเซ่น ขึ้นสู่ยอดภูเขา.

ครั้นแล้วพระชายาจึงกราบทูลพระสวามีอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระ-

สวามี พระองค์ก็เป็นเทวดาของหม่อมฉัน ทั้งชื่อว่าเป็นเทวดา

ผู้สูงส่ง เบื้องแรกหม่อมฉันจักบูชาพระองค์ด้วยดอกไม้ในป่า

ก่อน และกระทำประทักษิณถวายบังคม จักทำพลีกรรมเทวดา

ในภายหลัง. พระนางให้พระโพธิสัตว์หันพระพักตร์เข้าหาเหว

ทรงบูชาด้วยดอกไม้ในป่า ทำเป็นปรารถนาจะทำประทักษิณ

ถวายบังคม สถิตอยู่ข้างพระปฤษฎางค์ แล้วทรงประหารที่

พระปฤษฎางค์ผลักไปในเหว ดีพระทัยว่าเราเห็นหลังข้าศึกแล้ว

จึงเสด็จลงจากภูเขา ไปหาบุรุษเลว. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ตกลง

จากภูเขากลิ้งลงไปตามเหว ติดอยู่ที่พุ่มไม้มีใบหนา ไม่มีหนาม

แห่งหนึ่ง เหนือยอดต้นมะเดื่อ. แต่ไม่สามารถจะลงยังเชิงเขาได้.

พระองค์จึงเสวยผลมะเดื่อ ประทับนั่งระหว่างกิ่ง. ขณะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 234

พญาเหี้ยตัวใหญ่ตัวหนึ่ง ขึ้นจากเชิงเขาชั้นล่าง กินผลมะเดื่อ

อยู่ ณ ที่นั้น. มันเห็นพระโพธิสัตว์ในวันนั้นจึงหนีไป. รุ่งขึ้น

มากินผลไม้ที่ข้างหนึ่งแล้วหนีไป. พญาเหี้ยมาอยู่บ่อย ๆ อย่างนี้

ก็คุ้นเคยกับพระโพธิสัตว์ ถามพระโพธิสัตว์ว่าท่านมาที่นี้ได้

อย่างไร เมื่อพระโพธิสัตว์บอกให้รู้แล้ว จึงกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น

ท่านอย่ากลัวเลย ให้พระโพธิสัตว์นอนบนหลังของตน ไต่ลง

ออกจากป่าให้สถิตอยู่ที่ทางใหญ่ แล้วส่งไปด้วยคำว่า ท่านจงไป

ตามทางนี้แล้วก็เข้าป่าไป. พระโพธิสัตว์ไปถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เมื่อ

อาศัยอยู่ในบ้านนั้น ก็ได้ข่าวว่าพระชนกสวรรคตเสียแล้ว จึง

เสด็จไปยังกรุงพาราณสี ทรงดำรงอยู่ในราชสมบัติอันเป็นของ

ประจำตระกูล ทรงพระนามว่า พระปทุมราชา ทรงครอบครอง

ราชย์โดยธรรม มิให้ราชธรรมกำเริบ รับสั่งให้สร้างโรงทาน

หกแห่งที่ประตูพระนครทั้งสี่กลางพระนคร และประตูพระราช-

นิเวศน์ ทรงบริจาคทรัพย์บำเพ็ญมหาทานวันละหกแสน.

หญิงชั่วแม้นั้นก็ให้ชายชั่วนั่งขี่คอออกจากป่า เที่ยว

ขอทานในทางที่มีคนรวบรวมข้าวยาคูและภัตรเลี้ยงดูชายชั่ว

นั้น. เมื่อมีผู้ถามว่าคนนี้เป็นอะไรกับท่าน นางก็บอกว่า ฉันเป็น

ลูกสาวของลุงของชายผู้นี้ เขาเป็นลูกของอาฉัน พ่อแม่ได้ยกฉัน

ให้ชายผู้นี้. ฉันต้องแบกสามีซึ่งต้องโทษเที่ยวขอทานเลี้ยงดูเขา

พวกมนุษย์ต่างพูดกันว่า หญิงนี้ปรนนิบัติสามีดีจริง. ตั้งแต่นั้น

มาก็พากันให้ข้าวยาคูและภัตรมากยิ่งขึ้น. คนอีกพวกหนึ่งพูด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 235

กันว่า ท่านอย่าเที่ยวไปอย่างนั้นเลย พระเจ้าปทุมราชเสวย

ราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี ทรงบริจาคทานเล่าลือกันไปทั่ว

ชมพูทวีป. พระเจ้าปทุมราชทรงเห็นแล้วจักทรงยินดีพระราชทาน

ทรัพย์เป็นอันมาก เจ้าจงให้สามีของเจ้านั่งในนี้พาไปเถิด แล้ว

ได้มอบกระเช้าหวายทำให้มั่นคงไปใบหนึ่ง. นางปราศจากยางอาย

ให้ชายชั่วนั่งลงในกระเช้าหวาย แล้วแบกกระเช้าเข้าไปกรุง-

พาราณสีเที่ยวบริโภคอาหารอยู่ในโรงทาน.

พระโพธิสัตว์ประทับเหนือคอคชสารที่ตกแต่งด้วยเครื่อง

อลังการ เสด็จถึงโรงทาน ทรงบริจาคทานด้วยพระหัตถ์เอง แก่

คนที่มาขอแปดคนบ้าง สิบคนบ้าง แล้วเสด็จกลับ. หญิงไม่มี

ยางอายนั้น ให้ชายชั่วนั่งในกระเช้าแล้วแบกกระเช้าผ่านไป

ในทางเสด็จของพระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นดังนั้น

จึงตรัสถามว่า นั่นอะไร. ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูลว่า ขอเดชะ

หญิงปฏิบัติสามีคนหนึ่ง พระเจ้าข้า. ลำดับนั้นพระองค์รับสั่ง

ให้เรียกนางมา ทรงจำได้ รับสั่งให้เอาชายชั่วออกจากกระเช้า

แล้วตรัสถามว่า ชายนี้เป็นอะไรกับเจ้า. นางกราบทูลว่า เขา

เป็นลูกของอาของหม่อมฉันเองเพคะ เป็นสามีที่พ่อแม่ยกหม่อมฉัน

ให้เขาเพคะ. พวกมนุษย์ไม่รู้เรื่องราวนั้นต่างพากันสรรเสริญ

หญิงผู้ไร้อายนั้นเป็นต้นว่า น่ารักจริง เธอเป็นหญิงปฏิบัติสามี.

พระราชาตรัสถามต่อไปว่า ชายชั่วผู้นี้เป็นสามีตบแต่งของเจ้า

หรือ. นางจำพระราชาไม่ได้จึงกล้ากราบทูลว่า เป็นความจริง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 236

เพคะ. พระราชาจึงตรัสว่า ชายผู้นี้เป็นโอรสของพระเจ้ากรุง-

พาราณสีหรือ เจ้าเป็นธิดาของพระราชาองค์โน้น มีชื่ออย่างโน้น

เป็นชายาของปทุมราชกุมาร ดื่มโลหิตที่เข่าของเราแล้วมีจิต

ปฏิพัทธ์ในชายชั่วผู้นี้ ผลักเราตกลงในเหว บัดนี้เจ้าบากหน้า

มาหาความตาย สำคัญว่า เราตายไปแล้ว จึงมาถึงที่นี่ ตรัสว่า

เรายังมีชีวิตอยู่มิใช่หรือ ตรัสเรียกอำมาตย์ทั้งหลาย แล้วรับสั่ง

ว่า ท่านอำมาตย์ทั้งหลาย พวกท่านถามเรา เราได้บอกพวกท่าน

ไว้อย่างนี้แล้วมิใช่หรือว่า น้องหกองค์ของเราได้ฆ่าสตรีหกคน

บริโภคเนื้อ. แต่เราได้ช่วยชายาของเราให้ปลอดภัยพาไปส่ง

แม่น้ำคงคาอาศัยอยู่ในอาศรมบท ได้ช่วยชายเลวคนหนึ่งที่ต้อง

ราชทัณฑ์มาเลี้ยงดู. หญิงคนนี้มีจิตปฏิพัทธ์ในชายชั่วนั้น ผลัก

เราตกลงไปในเหวภูเขา เรารอดชีวิตมาได้เพราะตนมีจิตเมตตา

หญิงที่ผลักเราตกจากเขามิใช่อื่นคือ หญิงชั่วคนนี้เอง และชายชั่ว

ที่ต้องราชอาญาก็มิใช่อื่น คือคนนี้นี่แหละ แล้วได้ตรัสคาถา

เหล่านี้ว่า :-

หญิงคนนี้แหละคือหญิงคนนั้น แม้เราก็

คือบุรุษคนนั้นมิใช่คนอื่น ชายคนนี้แหละที่หญิง

คนนี้อ้างว่าเป็นผัวของนางมาตั้งแต่เป็นกุมารี

ก็คือชายที่ถูกตัดมือ หาใช่คนอื่นไม่ ขึ้นชื่อว่า

หญิงทั้งหลายควรฆ่าให้หมดเลย ความสัตย์ไม่มี

ในหญิงทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 237

ท่านทั้งหลายจงฆ่าชายผู้ชั่วช้าลามกราว

กับซากผี มักทำชู้กับภรรยาผู้อื่นคนนี้เสีย ด้วย

สาก จงตัดหู ตัดจมูกของหญิงผู้ปรนนิบัติผัวชั่ว

ช้าลามกคนนี้เสียทั้งเป็น ๆ เถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยมาห โกมาริปติโก มมนฺติ ความว่า

หญิงนี้กล่าวว่า ชายนี้เป็นผัวของนางมาตั้งแต่เป็นกุมารี คือ

เป็นผัวตบแต่ง ก็คือหญิงคนนี้แหละ แม้เราก็คือบุรุษคนนั้น

มิใช่อื่น. บาลีว่า ยมาห โกมาริปติ ก็มี. เพราะท่านเขียนบทนี้

ไว้ในคัมภีร์ทั้งหลาย. ความก็อย่างเดียวกัน. แต่ในบทนี้พึงทราบ

ความคลาดเคลื่อนของคำ. ก็พระราชาตรัสคำใดไว้ คานั้นแหละ

มาแล้วในที่นี้. บทว่า วชฺฌิตฺถิโย ความว่า ขึ้นชื่อว่าหญิงทั้งหลาย

ควรฆ่าให้หมด.

บทว่า นตฺถิ อิตฺถีสุ สจฺจ ได้แก่ ชื่อว่าความสัตย์ในหญิง

เหล่านี้ไม่มีสักอย่างเดียว. บทว่า อิมญฺจ ชมฺม เป็นต้น ท่าน

กล่าวด้วยการลงโทษชายเหล่านั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ชมฺม

คือ ลามก. บทว่า มุสเลน หนฺตฺวา ได้แก่ เอาสากทุบตีทำให้

กระดูกหักเป็นชิ้น ๆ. บทว่า ลุทฺท คือ หยาบช้า. บทว่า ฉว

ได้แก่ คล้ายคนตาย เพราะไม่มีคุณธรรม. บทว่า น ในบทว่า

อิมิสฺสา จ น นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ท่านทั้งหลายจง

ตัดหู และจมูก ของหญิงนี้ ผู้ปรนนิบัติผัวชั่ว ไม่มียางอาย เป็น

คนทุศีลทั้ง ๆ ยังเป็นอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 238

พระโพธิสัตว์เมื่อไม่ทรงสามารถอดกลั้นความโกรธไว้ได้

แม้รับสั่งให้ลงอาญาแก่พวกเขาอย่างนี้ ก็มิได้ทรงให้กระทำ

อย่างนั้นได้. แต่ได้ทรงบรรเทาความโกรธให้เบาบางลง แล้ว

รับสั่งให้ผูกกระเช้านั้นจนแน่น โดยที่นางไม่อาจยกกระเช้า

ลงจากศีรษะได้ ขังชายชั่วนั้นไว้ในกระเช้าจนกระทั่งตาย.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสัน

ได้บรรลุโสดาปัตติผล พี่น้องทั้งหกในครั้งนั้นได้เป็นพระเถระ

องค์ใดองค์หนึ่งในครั้งนี้. ภรรยาได้เป็นนางจิญจมาณวิกา ชายชั่ว

ได้เป็นเทวทัต พญาเหี้ย ได้เป็นอานนท์ ส่วนปทุมราชา คือ

เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาจุลลปทุมชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 239

๔. มณิโจรชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าอธัมมิกราช

[๒๓๗] เทวดาทั้งหลาย (ผู้ดูแลรักษาชนผู้มีศีล

และคอยกีดกันคนชั่ว) ย่อมไม่มีอยู่ในโลกเป็น

แน่ หรือเมื่อกิจเห็นปานนี้เกิดขึ้น ย่อมพากันไป

ค้างแรมเสียเป็นแน่ อนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหลาย

อันเขาสมมติว่าเป็นผู้รักษาโลก ไม่มีอยู่ในโลก

นี้เป็นแน่ เมื่อชนทุศีลทั้งหลายกระทำกรรมอัน

สาหัส บุคคลผู้ห้ามปรามไม่มีอยู่เป็นแน่.

[๒๓๘] ในรัชสมัยของพระเจ้าอธรรมิกราช ฝน

ย่อมตกในเวลาอันไม่ควรจะตก ในเวลาที่ควร

จะตกก็ไม่ตก พระราชผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ย่อม

จุติจากฐานะคือสวรรค์ พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ใน

ธรรมนั้น ใช่ว่าจะได้รับความยากเข็ญด้วยเหตุ

มีประมาณเท่านั้นก็หาไม่.

จบ มณิโจรชาดกที่ ๔

อรรถกถามณิโจรชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเทวทัตผู้พยายามปลงพระชนม์ ตรัสพระธรรมเทศนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 240

นี้มีคำเริ่มต้นว่า น สนฺติ เทวา ปวสนฺติ ดังนี้.

พระศาสดาทรงสดับว่า พระเทวทัตพยายามปลงพระชนม์

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตพยายามฆ่าเรา ใช่ว่าใน

ครั้งนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ครั้งก่อนก็พยายามฆ่าเราเหมือนกัน

ถึงแม้พยายามก็ไม่สามารถฆ่าเราได้ แล้วทรงนำเรื่องอดีตมา

ตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคหบดี ที่หมู่บ้าน

ไม่ไกลจากกรุงพาราณสี. ครั้นเจริญวัย มารดาบิดาจึงได้นำ

กุลธิดามาจากกรุงพาราณสี. นางเป็นที่รัก มีรูปสวย น่าดู

ดุจเทพอัปสร ดุจบุบผลดา (ดอกไม้เถา) และดุจกินรีเยื้องกราย

ปฏิบัติสามีดี ถึงพร้อมด้วยศีลาจารวัตร มีชื่อว่า สุชาดา. การ

ปฏิบัติสามีก็ดี การปฏิบัติแม่ผัวก็ดี การปฏิบัติพ่อผัวก็ดี หญิง

นี้ทำจนเสร็จสิ้น ตลอดกาลเป็นนิจ. นางจึงเป็นที่รัก เป็นที่

โปรดปรานของพระโพธิสัตว์. ทั้งสองสามีภรรยามีใจชุ่มชื่น

รักเดียวใจเดียว อยู่ร่วมกันด้วยความสมัครสมาน.

อยู่มาวันหนึ่ง นางสุชาดาบอกแก่พระโพธิสัตว์ว่า อยาก

จะไปเยี่ยมมารดาบิดา. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดีละน้อง จงเตรียม

สะเบียงให้เพียงพอในการเดินทาง ให้ทอดของเคี้ยวต่างชนิด

แล้วบรรทุกของเคี้ยวเป็นต้น ลงบนยานน้อย นั่งข้างหน้ายาน

ขับไป ส่วนนางนั่งข้างหลัง. ทั้งสองไปใกล้พระนคร จึงปลด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 241

ยานอาบน้ำบริโภคอาหาร. เสร็จแล้วพระโพธิสัตว์ก็เทียมยาน

นั่งไปข้างหน้า. นางสุชาดา ผลัดผ้าตกแต่งร่างกายนั่งอยู่ข้างหลัง.

ในเวลาที่ยานเข้าไปภายในพระนคร พระเจ้าพาราณสี

ประทับบนคอคชสารตัวประเสริฐ. กระทำทักษิณพระนคร ได้

เสด็จมาถึงที่นั้น. นางสุชาดา ลงเดินด้วยเท้ามาข้างหลังยาน.

พระราชาทอดพระเนตรเห็นนาง ถูกรูปสมบัติของนางรัดรึง

พระทัย มีจิตปฏิพัทธ์ทรงส่งอำมาตย์คนหนึ่งไปด้วยพระดำรัสว่า

ท่านจงไป จงรู้ว่า นางมีสามีหรือยังไม่มี. ครั้นอำมาตย์ไปก็รู้

ว่า นางมีสามีแล้ว จึงกราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะ นางมี

สามีแล้วพระเจ้าข้า บุรุษที่นั่งอยู่บนยานเป็นสามีของนาง.

พระราชา ไม่อาจทรงอดกลั้นความมีพระทัยปฏิพัทธ์ได้ ทรง

เร่าร้อนไปด้วยกิเลส ทรงดำริว่า เราจักฆ่าเสียด้วยอุบายอย่าง

หนึ่ง แล้วยึดเอาหญิงนี้มา ทรงเรียกบุรุษคนหนึ่งมา แล้วตรัสว่า

เจ้าจงไป จงเอาปิ่นมณีนี้ไป ทำเป็นคนเดินถนน ซุกซ่อนไว้ในยาน

ของชายนี้แล้วกลับมา ทรงส่งปิ่นมณีให้ไป. เขาทูลรับพระดำรัส

จึงถือเอาปิ่นมณีนั้นไปวางไว้ในยานแล้วกลับมากราบทูลว่า

เสร็จแล้วพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ปิ่นมณีของเราหายไป.

พวกมนุษย์ ต่างพากันแตกตื่นเป็นโกลาหล. พระราชาตรัสว่า

ท่านทั้งหลายจงปิดประตูทุกด้าน ตัดการสัญจรไปมาค้นหาโจร.

พวกราชบุรุษได้ทำตามพระราชโองการ. พระนครเกิดเกรียว-

กราวกันไปทั่ว. บุรุษคนหนึ่งพาพวกเจ้าหน้าที่ไปหาพระโพธิ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 242

สัตว์ กล่าวว่า จงหยุดยานก่อนพ่อคุณ ปิ่นมณีของพระราชา

หายไป เราจักตรวจยาน เมื่อตรวจยาน ยึดปิ่นมณีที่ตนซ่อนไว้

จับพระโพธิสัตว์โบยด้วยมือและเท้า กล่าวหาว่าเป็นโจรลักปิ่นมณี

แล้วมัดแขนไพล่หลัง นำไปมอบแด่พระราชา กราบทูลว่า ชาย

ผู้นี้เป็นโจรลักปิ่นมณี พระเจ้าข้า. พระราชามีพระบัญชาว่า

จงตัดศีรษะมันเสีย. พวกราชบุรุษเอาหวายเฆี่ยนพระโพธิสัตว์

ยกละสี่ ๆ นาออกจากพระนครทางประตูขวา. แม้นางสุชาดา

ก็ทิ้งยานประคองแขนคร่ำครวญเดินรำพันตามไปข้างหลังว่า

ข้าแต่สามี ท่านได้รับทุกข์นี้เพราะอาศัยข้าพเจ้า. พวกราชบุรุษ

ให้พระโพธิสัตว์นอนหงายด้วยหมายใจว่า จักตัดศีรษะของพระ-

โพธิสัตว์นั้น. นางสุชาดาเห็นดังนั้น จึงรำลึกถึงคุณแห่งศีล

ของตน แล้วรำพันเป็นต้นว่า ชื่อว่า เทพเจ้าผู้สามารถห้าม

เหล่ามนุษย์มีนิสัยชั่วช้าสาหัส ซึ่งเบียดเบียนผู้มีศีลทั้งหลาย

ในโลกนี้ เห็นจะไม่มีแล้วหนอ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

เทพเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่มีอยู่ในโลกนี้

เป็นแน่ หรือเมื่อกิจเห็นปานนี้เกิดขึ้น ย่อมพา

กันไปค้างแรมเสียเป็นแน่ อนึ่ง สมณพราหมณ์

ทั้งหลายอันเขาสมมติว่า เป็นผู้รักษาโลก ไม่มี

อยู่ในโลกนี้เป็นแน่ เมื่อชนทุศีลกระทำกรรม

อันสาหัสบุคคลผู้ห้ามปรามไม่มีอยู่เป็นแน่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 243

ในบทเหล่านั้น บทว่า น สนฺติ เทวา ความว่า เทพเจ้า

ทั้งหลาย ผู้ดูแลผู้มีศีล และห้ามคนชั่วไม่มีอยู่ในโลกนี้เป็นแน่.

บทว่า ปวสนฺติ นูน ความว่า หรือเมื่อกิจเห็นปานนี้เกิดขึ้น เทพเจ้า

ทั้งหลาย ก็พากันไปค้างแรมเสีย คือ ไปอยู่ที่อื่นหมดเป็นแน่.

บทว่า อิธ โลกปาลา ความว่า แม้สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้มี

ศีล ผู้อนุเคราะห์ที่เขาสมมติว่าเป็นผู้รักษาโลก เห็นจะไม่มีอยู่

ในโลกนี้เป็นแน่. บทว่า สหสา กโรนฺตาน อสญฺตาน ได้แก่

คนทุศีล ผู้กระทำกรรมสาหัส คือกรรมหยาบช้า ไม่สอบสวน

ให้ถ่องแท้. บทว่า ปฏิเสธตาโร คือผู้ห้ามว่า ท่านทั้งหลายอย่า

ทำกรรมเห็นปานนี้ จะทำดังนี้ไม่ได้ ดังนี้คงไม่มีเลย.

เมื่อนางผู้สมบูรณ์ด้วยศีลคร่ำครวญอยู่อย่างนี้ อาสนะ

ที่ประทับนั่งของท้าวสักกเทวราชก็แสดงอาการร้อน. ท้าวสักกะ

ทรงรำพึงว่า ใครหนอหวังจะให้เราเคลื่อนจากตำแหน่งสักกะ

ครั้นทรงทราบเหตุนี้ว่า พระราชาพาราณสีทรงทำกรรม

หยาบยิ่งนัก ทำให้นางสุชาดาผู้สมบูรณ์ด้วยศีลลำบาก เราควร

จะไปในบัดนี้ จึงเสด็จลงจากเทวโลก บันดาลให้พระราชาลามก

ซึ่งประทับนั่งบนหลังคชสารเสต็จลงจากคชสาร ให้บรรทม

หงายเหนือเขียงสัญญาณ แล้วทรงอุ้มพระโพธิสัตว์ให้ทรงเครื่อง

อลังการพร้อมสรรพ ทรงเพศเป็นพระราชาประทับนั่งเหนือ

คอคชสาร. เพชฌฆาตผู้ยืนเงื้อขวานคอยจะตัดศีรษะ ก็ตัดเอา

พระเศียรของพระราชา. ในเวลาตัดนั่นเองจึงรู้ว่าเป็นพระเศียร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 244

ของพระราชา. ท้าวสักกเทวราชทรงแสดงพระกายให้ปรากฏ

เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ ทรงกระทำราชาภิเษกแก่พระราชา

ทรงตั้งตำแหน่งอัครมเหสีแก่นางสุชาดา.

พวกอำมาตย์ พราหมณ์ และคหบดีเป็นต้น เห็นท้าวสักก-

เทวราชแล้ว ต่างชื่นชมปรีดาว่า พระราชาผู้ปราศจากธรรม

สิ้นพระชนม์แล้ว บัดนี้พวกเราได้พระราชาผู้ทรงธรรม ซึ่ง

ท้าวสักกะทรงประทาน. ท้าวสักกะประทับอยู่บนอากาศ ทรง

ตรัสแก่บริษัททั้งหลายว่า พวกท่านได้พระราชาองค์นี้ที่ท้าว-

สักกะให้แล้ว. มีเทวดำรัสต่อไปว่า ดูก่อนมหาราช ตั้งแต่นี้ไป

ขอให้ท่านครองราชสมบัติโดยธรรมเถิด หากพระราชาไม่

ประกอบด้วยธรรม ฝนก็จะไม่ตกต้องตามฤดูกาล ภัยสามอย่าง

เหล่านี้คือ ภัยเกิดจากความอดหยาก ๑ ภัยเกิดจากโรค ๑ ภัย

เกิดจากศัตรู ๑ ก็จะบังเกิดขึ้นเมื่อจะถวายโอวาท จึงตรัส

คาถาที่ ๒ ว่า :-

ในรัชสมัยของพระเจ้าอธรรมิกราช ฝน

ย่อมตกในเวลาอันไม่ควรตก ในเวลาที่ควรตก

ก็ไม่ตก พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมนั้น ใช่ว่า

จะได้รับความยากเข็ญด้วยเหตุมีประมาณเท่านั้น

ก็หามิได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อกาเล ความว่า ในรัชสมัยของ

พระเจ้าอธรรมิกราช ฝนย่อมตกในกาลอันไม่ควร คือในเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 245

ข้าวสุกแล้วบ้าง ในเวลาเกี่ยวบ้าง ในเวลานวดเป็นต้นบ้าง.

บทว่า กาเล ความว่า แต่ไม่ตก ในเวลาประกอบการงานและ

ขวนขวายในการงาน ในเวลาหว่าน ในเวลาข้าวกล้า ข้าวอ่อน

ในเวลาข้าวตั้งท้อง. บทว่า สคฺคา จ จวติ านา ความว่า เคลื่อน

จากฐานะอันได้แก่สวรรค์ คือจากเทวโลก. จริงอยู่พระราชาผู้

ไม่ตั้งอยู่ในธรรมชื่อว่าเคลื่อนจากเทวโลก เพราะไม่ได้ลาภ

หรือเมื่อครองราชสมบัติอยู่บนสวรรค์ ก็ชื่อว่าเคลื่อนจากสวรรค์

นั้น. บทว่า นนุ โส ตาวตา หโต ความว่า พระราชาผู้ไม่ตั้ง

อยู่ในธรรมนั้น จะถูกกำจัดด้วยเหตุเพียงนี้เป็นแท้. อีกอย่างหนึ่ง

จักเดือดร้อนในมหานรกแปดขุม และในอุสสทนรกสิบหกขุม

นี้เป็นอธิบายในบทนี้.

ท้าวสักกะประทานโอวาทแก่มหาชนอย่างนี้แล้ว ได้เสด็จ

กลับไปยังเทวสถานของพระองค์. แม้พระโพธิสัตว์ก็ครองราช-

สมบัติโดยธรรม ทรงบำเพ็ญทางไปสวรรค์ให้บริบูรณ์.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรมในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัต

ในครั้งนี้ ท้าวสักกะได้เป็นอนุรุทธ นางสุชาดาได้เป็นมารดา

ราหุล ส่วนพระราชาที่ท้าวสักกะประทาน คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถามณิโจรชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 246

๕. ปัพพตูปัตถรชาดก

ว่าด้วยสระที่เชิงเขาลาด

[๒๓๙] สระโบกขรณีอันเกษม เกิดอยู่ที่เชิงเขา

ลาดน่ารื่นรมย์ สุนัขจิ้งจอกรู้ว่าสระนั้นอันราชสีห์

รักษาอยู่ แล้วลงไปดื่มน้ำได้.

[๒๔๐] ข้าแต่มหาราชะ ถ้าสัตว์ทั้งหลายที่มีเท้า

พากันดื่มน้ำในแม่น้ำใหญ่ แม่น้ำจะกลายเป็น

ไม่ใช่แม่น้ำเพราะเหตุนั้นก็หาไม่ ถ้าบุคคลทั้ง

สองนั้น เป็นที่รักของพระองค์ พระองค์ก็ทรง

งดโทษเสีย.

จบ ปัพพตูปัตถรชาดกที่ ๕

อรรถกถาปัพพตูปัตถรชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง

ปรารภพระเจ้าโกสล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

ปพฺพตูปตฺถเร รมฺเม ดังนี้.

ได้ยินว่าอำมาตย์คนหนึ่ง ของพระเจ้าโกสลก่อการร้าย

ขึ้นภายในพระราชวัง พระราชาทรงสอบสวน ทรงทราบเรื่อง

นั้นโดยถ่องแท้แล้ว จึงเสด็จไปยังพระเชตวันด้วยทรงดำริว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 247

จักกราบทูลพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วตรัสถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อำมาตย์คนหนึ่งก่อการร้ายขึ้นภายใน

พระราชวังของข้าพระองค์ จะควรทำอย่างไรแก่อำมาตย์ผู้นั้น

พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามพระราชานั้นว่า

มหาบพิตร ก็อำมาตย์ผู้นั้นมีอุปการะต่อพระองค์ และหญิงนั้น

เป็นที่รักของพระองค์หรือ กราบทูลว่า เป็นเช่นนั้นพระพุทธเจ้าข้า

อำมาตย์ผู้นั้นมีอุปการะยิ่งนัก ช่วยเหลือราชตระกูลทุกอย่าง

ทั้งหญิงนั้นก็เป็นที่รักของหม่อมฉัน มีพระพุทธดำรัสว่า มหา-

บพิตร ไม่ควรลงโทษในเสวกผู้มีอุปการะและในหญิงซึ่งเป็นที่รัก

ของพระองค์ แม้แต่ก่อนพระราชาทั้งหลายทรงสดับถ้อยคำของ

เหล่าบัณฑิต ก็ยังไม่ทรงวางพระทัยเป็นกลาง เมื่อพระราชา

ทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลอำมาตย์ ครั้น

เจริญวัย ก็ได้มีหน้าที่ถวายอรรถและธรรมของพระองค์. ครั้งนั้น

อามาตย์คนหนึ่งของพระราชา ก่อเหตุร้ายภายในพระราชวัง

พระราชาทรงทราบเรื่องนั้นโดยถ่องแท้ จึงทรงดำริว่า ทั้ง

อำมาตย์ก็มีอุปการะแก่เรามาก ทั้งหญิงนี้ก็เป็นที่รักของเรา

จะทำลายคนทั้งสองนี้ไม่ได้ เราจะถามปัญหากะอำมาตย์บัณฑิต

ถ้าจะต้องอดทนได้ เราก็จะอดทน ถ้าอดทนไม่ได้เราก็จะไม่

อดทน จึงตรัสเรียกหาพระโพธิสัตว์ให้อาสนะแล้วตรัสว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 248

บัณฑิต เราจักถามปัญหา เมื่อเขากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช

ข้าพระพุทธเจ้าจักแก้ปัญหา เมื่อจะตรัสถามปัญหาจึงตรัส

คาถาแรกว่า :-

สระโบกขรณีมีน้ำใสสะอาดเกิดอยู่ที่

เชิงเขาลาดน่ารื่นรมย์ สุนัขจิ้งจอกรู้ว่าสระนั้น

อันราชสีห์รักษาอยู่ แล้วลงไปอาบน้ำได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพตูปตฺถเร รมฺเม คือในที่เนิน

ตั้งลาดลงไปในเชิงเขาหิมพานต์. บทว่า ชาตา โปกฺขรณี สิวา

คือ สระโบกขรณีมีน้ำเย็นอร่อยเกิดแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง แม้

แม่น้ำที่ดาดาษไปด้วยดอกบัว ก็ชื่อว่าโบกขรณีเหมือนกัน.

อป ศัพท์ในบทว่า อปาปาสิ เป็นอุปสรรค ความว่า ได้ดื่มแล้ว

บทว่า ชาน สีเหน รกฺขิต ความว่า สระโบกขรณีนั้น สำหรับ

เป็นที่บริโภคของราชสีห์ อันราชสีห์รักษา. สุนัขจิ้งจอกนั้น

ทั้งที่รู้อยู่ว่า สระโบกขรณีนี้ราชสีห์รักษาก็ดื่ม ท่านเข้าใจว่า

อย่างไร สุนัขจิ้งจอกนั้นไม่กลัวราชสีห์หรือ จึงดื่มน้ำในสระ

โบกขรณีเห็นปานนี้ นี้เป็นข้ออธิบายในคาถานี้

พระโพธิสัตว์ทราบว่า อำมาตย์คนหนึ่งชะรอยจักก่อเหตุ

ร้ายขึ้นในภายในพระราชวังของพระราชานี้ จึงกล่าวคาถาที่

๒ ว่า :-

ข้าแต่มหารา ถ้าสัตว์ทั้งหลายที่มีเท้า

พากันดื่มน้ำในแม่น้ำใหญ่ แม่น้ำจะกลายเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 249

ไม่ใช่แม่น้ำ เพราะเหตุนั้นก็หามิได้ ถ้าบุคคล

ทั้งสองนั้นเป็นที่รักของพระองค์ พระองค์ก็ทรง

งดโทษเสีย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สาปทานิ ได้แก่ มิใช่สุนัขจิ้งจอก

อย่างเดียวเท่านั้น สัตว์มีเท้าทั้งหมด มีสุนัข ม้า แมว และเนื้อ

ก็ดื่มกิน. สัตว์ทั้งหลายย่อมดื่มน้ำในแม่น้ำอันชื่อว่า โบกขรณี

เพราะดาดาษไปด้วยดอกบัว. บทว่า น เตน อนที โหติ ความว่า

ก็สัตว์ทุกชนิดที่กระหาย ทั้งมีสองเท้าและสี่เท้าทั้งงูและปลา

ย่อมดื่มน้ำในแม่น้ำ. แม่น้ำนั้นจะชื่อว่า ไม่ใช่แม่น้ำเพราะเหตุนั้น

ก็หามิได้ ทั้งชื่อว่าเป็นแม่น้ำเดนก็หามิได้. ถามว่าเพราะเหตุไร

แก้ว่า เพราะเป็นของสาธารณ์แก่สัตว์ทั่วไป อนึ่ง แม่น้ำที่ใคร ๆ

ดื่มย่อมไม่เสียหาย ฉันใด แม้หญิงก็ฉันนั้น ล่วงละเมิดสามีด้วย

อำนาจกิเลส ไปอยู่ร่วมกับชายอื่นจะชื่อว่า มิใช่หญิงก็หามิได้.

ถามว่า เพราะเหตุไร. แก้ว่า เพราะเป็นของสาธารณ์แก่คน

ทั่วไป. ทั้งไม่ชื่อว่าเป็นหญิงเดน. ถามว่า เพราะเหตุไร. แก้ว่า

เพราะความเป็นผู้บริสุทธิ์ โดยเปรียบเหมือนน้ำ. บทว่า ขมสฺสุ

ยทิ เต ปิยา ความว่า หากว่าหญิงนั้นเป็นที่รักของพระองค์

และอำมาตย์นั้นเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พระองค์ ขอพระองค์

จงงดโทษแก่เขาทั้งสองเถิด คือทรงตั้งพระองค์ไว้เป็นกลาง.

พระมหาสัตว์ได้ถวายโอวาทแก่พระราชาอย่างนี้. พระ-

ราชาทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพระมหาสัตว์แล้วมีพระดำรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 250

ยกโทษแก่คนทั้งสองว่า ตั้งแต่นี้ไป เจ้าทั้งสองอย่าทำกรรมชั่ว

เช่นนี้อีก. พระราชาทรงทำบุญมีทานเป็นต้น เมื่อสิ้นพระชนม์

ทรงบำเพ็ญทางไปสวรรค์ให้บริบูรณ์.

แม้พระราชาโกสลได้ทรงสดับพระธรรมเทศนานี้แล้ว

ก็ทรงยกโทษให้คนทั้งสองเหล่านั้น วางพระองค์เป็นกลาง.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์

บัณฑิตได้เป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาปัพพตูปัตถรชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 251

๖. วลาหกกัสสชาดก

ว่าด้วยความสวัสดี

[๒๔๑] นรชนเหล่าใดไม่ทำตามโอวาทอันพระ-

พุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว นรชนเหล่านั้นจักต้อง

ถึงความพินาศ เหมือนพ่อค้าทั้งหลายถูกนาง

ผีเสื้อหลอกลวงให้อยู่ในอำนาจ ฉะนั้น.

[๒๔๒] นรชนเหล่าใด ทำตามโอวาทอันพระ-

พุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว นรชนเหล่านั้นจักถึงฝั่ง

สวัสดีดุจพ่อค้าทั้งหลายทำตามถ้อยคำอันม้า-

วลาหกกล่าวแล้ว ฉะนั้น.

จบ วลาหกัสสชาดกที่ ๖

อรรถกถาวลาหกัสสชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า เย น กาหนฺติ โอวาท ดังนี้.

ความย่อมีอยู่ว่า ภิกษุนั้นเมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุเธอกระสันจริงหรือ กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า

ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร กราบทูลว่า เพราะเห็นมาตุคามแต่งตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 252

งดงามคนหนึ่ง จึงกระสันด้วยอำนาจกิเลส. ลำดับนั้นพระศาสดา

ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรมดาหญิงเหล่านี้ เล้าโลม

ชายด้วย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และด้วยมารยาหญิง

กระทำให้อยู่ในอำนาจของตน เขาเรียกว่านางยักษิณี เพราะ

เล้าโลมชายด้วยกรีดกราย ครั้นรู้ว่าชายนั้นตกอยู่ในอำนาจแล้ว

ก็จะให้ถึงความพินาศแห่งศีล และความพินาศแห่งขนบประเพณี

จริงอยู่ แม้แต่ก่อนพวกนางยักษิณีเข้าไปหาพวกผู้ชายหมู่หนึ่ง

ด้วยมารยาหญิง แล้วเล้าโลมพวกพ่อค้าทำให้อยู่ในอำนาจของ

ตน ครั้นเห็นชายอื่นอีก ก็ฆ่าพวกพ่อค้าเหล่านั้นทั้งหมดให้ถึง

แก่ความตาย เคี้ยวกินหมุบ ๆ ทั้งมีเลือดไหลออกจากด้านคาง

ทั้งสองข้าง แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลที่เกาะตามพปัณณิ มีเมืองยักษ์ชื่อ สิริสวัตถุ.

พวกนางยักษิณีอาศัยอยู่ในเมืองนั้น. ในเวลาที่พวกพ่อค้าเรือ

อับปาง นางยักษิณีเหล่านั้น ก็พากันประดับตกแต่งร่างกาย

ให้ถือของเคี้ยวของบริโภค มีหมู่ทาสีแวดล้อม อุ้มทารกเข้าไป

หาพวกพ่อค้าเพื่อให้คนเหล่านั้นทราบว่า พวกเราก็มาที่อยู่ของ

มนุษย์ จึงแสดงกิจเป็นต้นว่า พวกมนุษย์ ฝูงโค สุนัข กำลัง

ทำกสิกรรม โครักขกรรม เป็นต้นในที่นั้น ๆ แล้วเข้าไปหา

พวกพ่อค้ากล่าวว่า เชิญดื่มข้าวยาคูนี้ เชิญบริโภคอาหารนี้

เชิญเคี้ยวของเคี้ยวนี้. พวกพ่อค้าที่ไหวพริบ บริโภคอาหาร

ที่นางยักษิณีเหล่านั้นให้แล้ว ๆ. ครั้นถึงเวลาที่พวกเขาเคี้ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 253

บริโภคดื่มเสร็จแล้วพักผ่อน ยักษิณีจึงถามว่า พวกท่านอยู่ที่ไหน

มาจากไหน จะไปไหน มาทำอะไรที่นี่ เมื่อพวกพ่อค้าตอบว่า

พวกเราเรืออับปาง จึงพากันมาที่นี่ นางยักษิณีกล่าวว่า ดีละ

พ่อคุณ แม้สามีของพวกเราก็ขึ้นเรือไป ล่วงไปสามเดือนแล้ว

ชะรอยเขาจักตายกันหมด แม้พวกท่านก็เป็นพ่อค้าเหมือนกัน

พวกเราจะเป็นหญิงรับใช้พวกท่าน แล้วเล้าโลมพวกพ่อค้า

เหล่านั้นด้วยมารยาหัวเราะและจริตของสตรี พาไปเมืองยักษ์

หากมีพวกมนุษย์ที่ถูกจับไปไว้ก่อน ก็จองจำมนุษย์เหล่านั้น

ด้วยโซ่กายสิทธิ์ขังไว้ในห้องคุมขัง กระทำมนุษย์ที่จับได้ภายหลัง

ให้เป็นสามีของตน แต่เมื่อไม่ได้มนุษย์เรืออับปางในที่พักของ

ตน ก็เที่ยววนเวียนอยู่ฝั่งสมุทร คือเกาะไม้ขานางฝั่งโน้น เกาะ

ไม้กากะทิงฝั่งนี้. นี่เป็นธรรมดาของพวกยักษิณี.

อยู่มาวันหนึ่ง พ่อค้าเรืออับปาง ๕๐๐ พากันขึ้นไปใกล้

เมืองของยักษิณี. ยักษิณีเหล่านั้นจึงไปหาพวกพ่อค้าเล้าโลม

แล้วนำมาเมืองยักษ์ ล่ามพวกมนุษย์ที่จับไว้ครั้งแรกด้วยโซ่

กายสิทธิ์ขังไว้ในที่คุมขัง หัวหน้านางยักษิณีก็ให้หัวหน้าพ่อค้า

เป็นสามี ยักษิณีที่เหลือก็ให้พ่อค้านอกนั้นเป็นสามี เป็นอัน

ยักษิณี ๕๐๐ ได้ทำให้พ่อค้า ๕๐๐ เป็นสามีของตนด้วยประการ

ฉะนี้.

ต่อมานางยักษิณีหัวหน้านั้น ครั้นเวลากลางคืน เมื่อ

พ่อค้าหลับ จึงลุกขึ้นไปฆ่ามนุษย์ทั้งหลายในเรือนคุมขัง กินเนื้อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 254

เสร็จแล้วก็กลับมา. แม้ยักษิณีที่เหลือก็ทำอย่างนั้นเหมือนกัน.

ในเวลาที่หัวหน้ายักษิณีกินเนื้อมนุษย์แล้วกลับมาร่างกายมักเย็น.

หัวหน้าพ่อค้าคอยสังเกตอยู่ ครั้นรู้ว่ามันเป็นยักษิณี จึงรำพึง

ต่อไปว่า หญิง ๕๐๐ เหล่านี้ น่าจะเป็นยักษิณี พวกเราควรจะ

หนีไปเสีย รุ่งเช้าเดินไปเพื่อล้างหน้า จึงบอกแก่พวกพ่อค้าว่า

หญิงเหล่านี้เป็นยักษิณี มิใช่หญิงมนุษย์ ในเวลาที่พวกอื่นเรือ

อับปางมา พวกมันจะให้คนเหล่านั้นเป็นสามีมันแล้วก็กินพวกเรา

เสีย. มาเถิดพวกเราพากันหนีไปเถิด. ในพวกพ่อค้าเหล่านั้น

พ่อค้าสองร้อยห้าสิบคนกล่าวว่า เราไม่อาจละทิ้งหญิงเหล่านี้

ไปได้ดอก พวกท่านไปกันเถิด พวกเราจักไม่หนีไปละ. หัวหน้า

พ่อค้าก็พาพวกพ่อค้าสองร้อยห้าสิบคน ซึ่งเชื่อฟังคำของตน

กลัวยักษิณีเหล่านั้นหนีไป. ก็ในเวลานั้นพระโพธิสัตว์บังเกิด

ในกำเนิดม้าวลาหก. ม้านั้นมีสีขาวปลอด มีศีรษะเหมือนกา

ผมเป็นปอย มีฤทธิ์เหาะเหินได้. ม้าวลาหกนั้นเหาะมาจากเขา

หิมพานต์ไปยังเกาะตามพปัณณิ บริโภคข้าวสาลีที่เกิดเองใน

เปือกตม ใกล้สระตามพปัณณินั้น แล้วกลับไป. อนึ่ง เมื่อเหาะไป

นั้นก็พูดเป็นภาษามนุษย์ ซึ่งได้อบรมมาด้วยความกรุณาสามครั้ง

ว่า มีผู้ประสงค์จะไปชนบทไหม มีผู้ประสงค์จะไปชนบทไหม

มีผู้ประสงค์จะไปชนบทไหม. พวกพ่อค้าเหล่านั้นได้ยินคำของ

ม้านั้น จึงพากันเข้าไปหาประคองอัญชลี กล่าวว่า พวกข้าพเจ้า

จักไปชนบท. ม้าบอกว่า ถ้าเช่นนั้น จงขึ้นหลังเราเถิด. ครั้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 255

พ่อค้าบางพวกก็ขึ้นหลัง. บางพวกก็จับหาง. บางพวกยืนประคอง

อัญชลี. พระโพธิสัตว์จึงพาพวกพ่อค้าทั้งหมด แม้ที่สุดพวกที่

ยืนประคองอัญชลีไปสู่ชนบท ด้วยอานุภาพของตน ให้ทุกคนอยู่

ในที่ของตน ๆ แล้วก็ไปที่อยู่ของตน. นางยักษิณีเหล่านั้นใน

เวลาที่พวกอื่นมาถึงก็ฆ่ามนุษย์สองร้อยห้าสิบคนที่ทิ้งไว้ในที่นั้น

กินเสีย.

พระศาสดา ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกพ่อค้าที่ตกอยู่ในอำนาจของยักษิณีได้สิ้น

ชีวิตลง พวกที่เชื่อคำของพญาม้าวลาหก ก็กลับไปอยู่ในที่ของตน ๆ

ฉันใด. ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ซึ่งไม่ทำตามโอวาท

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมถึงความทุกข์

ใหญ่ในอบายสี่ เป็นต้นว่า เครื่องจองจำห้าประการ และเครื่อง

กรรมกรณ์ ส่วนผู้ที่เชื่อฟังโอวาทย่อมบรรลุฐานะเหล่านี้ คือ

กุลสมบัติ ๓ สวรรค์ชั้นกามาพจร ๖ พรหมโลก ๒๐ แล้วทำ

ให้แจ้งอมตมหานฤพาน เสวยสุขเป็นอันมาก ครั้นพระองค์ตรัสรู้

อภิสัมโพธิญาณแล้ว จึงตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-

นรชนเหล่าใดไม่ทำตามโอวาทที่พระ-

พุทธเจ้าตรัสไว้ นรชนเหล่านั้นจักต้องถึงความ

พินาศ เหมือนพ่อค้าทั้งหลายถูกนางผีเสื้อหลอก

ลวงให้อยู่ในอำนาจฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 256

นรชนเหล่าใด ทำตามโอวาทอันพระ-

พุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว นรชนเหล่านั้นจักถึงฝั่ง

สวัสดี ดุจพ่อค้าทั้งหลาย ทำตามถ้อยคำที่ม้า-

วลาหกกล่าวแล้ว ฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เย น กาหนฺติ คือ ชนเหล่าใด

ไม่เชื่อคำสอน. บทว่า พฺยสน เต คมิสฺสนฺติ ได้แก่ ชนเหล่านั้น

จักถึงมหาพินาศ. บทว่า รกฺขสีหิว วาณิชา ได้แก่ เหมือนพ่อค้า

ที่ถูกนางยักษิณีเล้าโลมฉะนั้น. บทว่า โสตฺถิปาร คมิสฺสนฺติ

ได้แก่ จักถึงพระนิพพานโดยไม่มีอันตราย. บทว่า วลาเหเนว

วาณิชา ได้แก่ เหมือนพ่อค้าที่ม้าวลาหกกล่าวว่า จงมาเถิด

ก็เชื่อฟังม้านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอายอดแห่งพระธรรมเทศนา

ด้วยอมตมหานฤพานว่า ชนทั้งหลายผู้เชื่อฟังคำสอนของพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมถึงนิพพานอันเป็นฝั่งแห่งสงสารเหมือน

พ่อค้าเหล่านั้น ไปถึงฝั่งแห่งมหาสมุทรแล้วก็ได้ไปในที่ของตน ๆ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสัน

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ภิกษุอื่นหลายรูปได้บรรลุโสดาปัตติผล

สกิทาคามิผล อนาคามิผลและอรหัตผล. พ่อค้าสองร้อยห้าสิบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 257

คนที่เชื่อฟังคำของม้าวลาหกในครั้งนั้นได้เป็นพุทธบริษัทในครั้ง

นี้. ส่วนพญาม้าวลาหก คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาวลาหกัสสชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 258

๗. มิตตามิตตชาดก

อาการของผู้เป็นมิตรและมิใช่มิตร

[๒๔๓] ศัตรูเห็นเข้าแล้วไม่ยิ้มแย้ม ไม่แสดง

ความยินดีตอบ สบตากันแล้วเบือนหน้าหนีไม่

แลดูประพฤติตรงกันข้ามเสมอ.

[๒๔๔] อาการเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในศัตรู เป็น

เครื่องให้บัณฑิตเห็นและได้ฟังแล้ว พึงรู้ได้ว่า

เป็นศัตรู.

จบ มิตตามิตตชาดกที่ ๗

อรรถกถามิตตามิตตชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ทรงปรารภ

ภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น น

อุมฺหยเต ทิสฺวา ดังนี้.

ภิกษุรูปหนึ่งถือเอาเศษผ้าผืนหนึ่งด้วยความวิสาสะที่

พระอุปัชฌายะวางไว้ ด้วยคิดว่า เมื่อเราถือเอาแล้ว พระอุปัชฌายะ

ของเราจะไม่โกรธ แล้วทำเป็นถุงใส่รองเท้า ภายหลังจึงบอก

พระอุปัชฌายะ. ครั้นพระอุปัชฌายะถามภิกษุนั้นว่า เพราะเหตุ

ใดท่านจึงถือเอา เมื่อภิกษุนั้นตอบว่า ถือเอาโดยวิสาสะของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 259

พระคุณท่านด้วยคิดว่า เมื่อเราถือเอาแล้ว พระอุปัชฌายะจัก

ไม่โกรธขอรับ พระอุปัชฌายะจึงกล่าวว่า ชื่อว่าวิสาสะของคุณ

กับของผมเป็นอย่างไร แล้วโกรธลุกขึ้นตบ. การกระทำของ

พระอุปัชฌายะนั้นได้ปรากฏในพวกภิกษุ.

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรม

ว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินมาว่า ภิกษุหนุ่มรูปโน้น ได้ถือเอา

เศษผ้าของพระอุปัชฌายะโดยวิสาสะ แล้วทำเป็นถุงใส่รองเท้า

ครั้นพระอุปัชฌายะถามว่า ชื่อว่าวิสาสะของคุณกับของผมเป็น

อย่างไร แล้วโกรธลุกขึ้นตบ. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อ

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

นั้นไม่มีวิสาสะกับสัทธิวิหาริกของตน มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้

เมื่อก่อนก็ไม่มีวิสาสะเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้น

กาสี ครั้นเจริญวัยออกบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติ

ให้เกิดเป็นครูประจาคณะอาศัยอยู่ ณ หิมวันตประเทศ. ในหมู่

ฤๅษีนั้นมีดาบสรูปหนึ่งไม่เชื่อคำพระโพธิสัตว์ เลี้ยงลูกช้าง

กำพร้าไว้เชือกหนึ่ง. ครั้นลูกช้างเติบใหญ่ขึ้นได้ฆ่าดาบสนั้น

เสีย แล้วหนีเข้าป่าไป. หมู่ฤๅษีครั้นทำการฌาปนกิจศพดาบส

นั้นเสร็จแล้วจึงเข้าไปล้อมถามพระโพธิสัตว์ว่า พระคุณเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 260

ขอรับ ความเป็นมิตรหรือความเป็นศัตรู จะสามารถรู้ได้ด้วย

เหตุอะไร. พระโพธิสัตว์เมื่อจะบอกว่าด้วยเหตุนี้ ๆ จึงได้กล่าว

คาถาเหล่านี้ว่า :-

ศัตรูเห็นเข้าแล้ว ไม่ยิ้มแย้ม ไม่แสดง

ความยินดีตอบ สบตากันแล้วเบือนหน้าหนีไม่

แลดู ประพฤติตรงกันข้ามเสมอ. อาการเหล่านี้

มีปรากฏอยู่ในศัตรู เป็นเครื่องให้บัณฑิตเห็น

และได้ฟังแล้วพึงรู้ได้ว่าศัตรู.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น น อุมฺหยเต ทิสฺวา ความว่า ก็ผู้

ได้เป็นศัตรูของคนใด ผู้นั้นเห็นคนนั้นแล้ว ย่อมไม่ยิ้มแย้ม คือ

ไม่หัวเราะ ไม่แสดงอาการร่าเริง. บทว่า น จ น ปฏินนฺทติ

ได้แก่ แม้ได้ยินคำของเขา ย่อมไม่ชื่นชมบุคคลนั้น คือไม่พลอย

ยินดีว่า คำพูดของผู้นั้นดี เป็นสุภาษิต. บทว่า จกฺขูนิ จสฺส น

ททนฺติ ได้แก่ ตาต่อตา จ้องกันแล้วหลบหน้าเสียไม่มองดู คือ

เมินตาไปทางอื่นเสีย. บทว่า ปฏิโลมญฺจ วตฺตติ. ได้แก่ ไม่ชอบใจ

การกระทำทางกาย ทางวาจาของเขา คือถือตรงกันข้าม แสดง

กิริยาเป็นข้าศึก. บทว่า อาการา ได้แก่เหตุ. บทว่า เยหิ อมิตฺต

ความว่า เหตุที่บุคคลผู้เป็นบัณฑิตเห็นและได้ยินแล้ว พึงรู้ได้ว่า

ผู้นี้เป็นศัตรูของเรา. ส่วนความเป็นมิตรพึงรู้ได้จากอาการ

ตรงกันข้ามกับศัตรูนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 261

พระโพธิสัตว์ครั้นบอกเหตุแห่งความเป็นมิตรและเป็น

ศัตรูกันอย่างนี้แล้ว จึงเจริญพรหมวิหาร เข้าถึงพรหมโลก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ดาบสผู้เลี้ยงช้างในครั้งนั้น ได้เป็นสัทธิวิหาริกในครั้งนี้

ช้างได้เป็นพระอุปัชฌายะ หมู่บริษัทได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนครู

ประจำคณะ คือ เราตถาคต.

จบ อรรถกถามิตตามิตตชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 262

๘. ราธชาดก

เรื่องจริงเก่าไม่ดีไม่ควรพูด

[๒๔๕] ลูกรัก พ่อกลับมาจากที่ค้างเเรม กลับมา

เดี๋ยวนี้เอง ไม่นานเท่าไรนัก แม่ของเจ้าไม่ไป

คบทานบุรุษอื่นดอกหรือ.

[๒๔๖] ธรรมดาบัณฑิตไม่พูดวาจาที่ประกอบด้วย

ความจริง แต่ไม่ดี ขืนพูดไปจะต้องนอนอยู่

ดุจนกแขกเต้าชื่อว่าโปฏฐปาทะถูกเผานอนจมอยู่

ในเตาไฟ ฉะนั้น.

จบ ราธชาดกที่ ๘

อรรถกถาราธชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า ปวาสา อาคโต ตาต ดังนี้.

ได้ยินว่า พระศาสตาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อน

ภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง

พระเจ้าข้า ตรัสถามว่า เพราะเหตุไรเธอจึงกระสัน กราบทูลว่า

ข้าพระองค์เห็นหญิงงดงามคนหนึ่ง จึงกระสันเพราะอำนาจกิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 263

พระพุทธเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อน

ภิกษุ ธรรมดามาตุคามใคร ๆ ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้ แม้เมื่อก่อน

เขาวางยามประตูรักษาไว้ ยังไม่อาจรักษาไว้ได้ เธอจะต้องการ

มาตุคามไปทำอะไร แม้ได้แล้ว ก็ไม่อาจรักษาไว้ได้ แล้วทรง

นำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดนกแขกเต้า. ชื่อว่า

ราธะ. นกแขกเต้านั้นมีน้องชื่อโปฏฐปาทะ. พรานคนหนึ่งจับ-

นกแขกเต้าสองพี่น้องในขณะยังอ่อนอยู่ไปให้แก่พราหมณ์คนหนึ่ง

ในกรุงพาราณสี. พราหมณ์เลี้ยงดูนกแขกเต้าไว้ในฐานะบุตร.

แต่นางพราหมณีของพราหมณ์เป็นหญิงไม่รักษาเนื้อรักษาตัว

เป็นคนทุศีล. เมื่อพราหมณ์จะไปทำการค้าจึงเรียกลูกนกแขกเต้า

นั้นมาสั่งว่า แน่ะลูกพ่อ พ่อจะไปทำการค้า เจ้าทั้งสองคอยดูการ

กระทำของแม่เจ้าทั้งในเวลากลางวัน และกลางคืน พึงสืบดูว่า

มีชายอื่นไปมาหรือไม่ ครั้นมอบหมายนางพราหมณีกับลูกนก

แขกเต้าแล้วก็ไป. นางพราหมณีตั้งแต่พราหมณ์ออกไปแล้ว ก็

ประพฤติอนาจาร. คนที่มา ๆ ไป ๆ ทั้งกลางคืนกลางวัน ช่างมาก

มายเหลือเกิน นกโปฏฐปาทะเห็นดังนั้น จึงถามนกราธะว่า

พราหมณ์ได้มอบพราหมณีนี้แก่เราไว้แล้วจึงไป และนางพราหมณี

นี้ก็ทำการน่าอดสู เราจะว่าแกดีหรือ. นกราธะตอบว่า อย่าว่า

แกเลยน้อง. นกโปฏฐปาทะ ไม่เชื่อฟังคำของนกราธะ จึงไปต่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 264

นางพราหมณีว่า แม่ เพราะอะไร แม่จึงทำการน่าอดสูอย่างนี้.

นางพราหมณีอยากจะฆ่านกโปฏฐปาทะนักทำเป็นรัก เรียกมาพูด

ว่า นี่ลูกเจ้าก็เป็นลูกของแม่ ตั้งแต่นี้ไปแม่จักไม่ทำอีก มานี่ก่อน

ซิลูก พอนกโปฏฐปาทะมาก็ตะคอกว่า เจ้าพูดกะเรา เจ้าไม่รู้

ประมาณตน แล้วบิดคอเสียจนตายโยนลงไปในเตา. พราหมณ์

มาถึงพักผ่อนแล้วเมื่อจะถามพระโพธิสัตว์ว่า แน่ะพ่อราธะแม่

ของเจ้าทำอนาจารหรือเปล่า จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ลูกรัก พ่อกลับมาจากที่ค้างแรม กลับมา

เดี๋ยวนี้เอง ไม่นานเท่าไรนัก แม่ของเจ้าไม่ไป

คบหาบุรุษอื่นดอกหรือ.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า แน่ะพ่อราธะ พ่อกลับมา

จากที่ค้างแรม พ่อเพิ่งมาเดี๋ยวนี้เอง มาไม่นานนัก ด้วยเหตุนั้น

พ่อไม่รู้เรื่องราวจะขอถามเจ้า ดูก่อนลูก แม่ของเจ้าไม่คบหา

ชายอื่นดอกหรือ

นกราธะตอบว่า ข้าแต่พ่อธรรมดาบัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่

กล่าวคำจริงหรือไม่จริงที่ไม่ทำให้พ้นทุกข์ได้ เมื่อจะแจ้งให้ทราบ

จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ธรรมดาบัณฑิตไม่พูดวาจาที่ประกอบ

ด้วยความจริง แต่ไม่ดี ขืนพูดไปจะต้องนอนอยู่

ดุจนกแขกเต้าโปฏฐปาทะถูกเผานอนจมอยู่ใน

เตาไฟฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 265

ในบทเหล่านั้น บทว่า คิร คือ คำพูด. จริงอยู่ คำพูดท่าน

เรียกว่าคิระ เหมือนดังวาจาที่เปล่งออกในเวลานี้. ลูกนกแขกเต้า

นั้นมิได้คำนึงถึงเพศ จึงกล่าวอย่างนั้น. อธิบายความในคาถานี้

ดังนี้. ข้าแต่พ่อ ธรรมดาบัณฑิตจะไม่กล่าวแม้คำที่ประกอบด้วย

สัจจะคือ มีสภาพที่เป็นจริงและประกอบด้วยประโยชน์ แต่ไม่ทำ

ให้พ้นทุกข์และความจริงที่ไม่ดี คือ ไม่ทำให้พ้นทุกข์. บทว่า

สเยถ โปฏฺปาโทว มุมฺมเร อุปกูสิโต ความว่า เหมือนนก

โปฏฐปาทะ นอนไหม้อยู่ในเถ้ารึง ฉะนั้น. บาลีว่า อุปกุฏฺิโต

ก็มี ความอย่างเดียวกัน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสันตั้ง

อยู่ในโสดาปัตติผล. นกแขกเต้าโปฏฐปาทะในครั้งนั้นได้เป็น

อานนท์ในครั้งนี้ แต่นกแขกเต้าราธะ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาราธชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 266

๙. คหปติชาดก

ว่าด้วยการทวงในเวลาที่ยังไม่ถึงกำหนด

[๒๔๗] กรรมทั้งสองไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ

ก็หญิงคนนี้ลงไปในฉางข้าวแล้วพูดว่า เรายัง

ใช้หนี้ให้ไม่ได้

[๒๔๘] ดูก่อนนายบ้าน เพราะเหตุนั้น เราจึงพูด

กะท่าน ท่านมาทวงค่าเนื้อวัวแก่ ซูบผอม ซึ่ง

เราได้ทำสัญญาผลัดไว้ถึงสองเดือน ในคราว

เมื่อชีวิตของเราน้อยลำบากยากเข็ญ ในกาลยัง

ไม่ทันถึงกำหนดสัญญา กรรมทั้งสองนั้นไม่ถูก

ใจเราเสียเลย.

จบ คหปติชาดกที่ ๙

อรรถกถาคหปติชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุผู้กระสันเหมือนกัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า อุภย เม น ขมติ ดังนี้.

พระศาสดาเมื่อจะรับสั่ง จึงตรัสว่า ขึ้นชื่อว่ามาตุคาม

ดูแลไม่ไหว ทำความชั่วเข้าแล้ว ย่อมลวงสามีด้วยอุบายอย่างใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 267

อย่างหนึ่ง แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคหบดี แคว้นกาสี

ครั้นเจริญวัยได้ครองฆราวาส. ภรรยาของพระโพธิสัตว์นั้น

เป็นหญิงทุศีล ประพฤติอนาจารกับผู้ใหญ่บ้าน. พระโพธิสัตว์

ทราบระแคะระคาย จึงเที่ยวสืบ . ก็ในครั้งนั้นในระหว่างฤดูฝน

เมื่อข้าวปลูกยังไม่แก่ ก็เกิดความอดหยาก. ถึงเวลาที่ข้าวกล้า

ตั้งท้อง. ชาวบ้านทั้งหมดร่วมใจกัน ยืมโคแก่ตัวหนึ่งของผู้ใหญ่

บ้านมาบริโภคเนื้อ โดยสัญญาว่า จากนี้ไปสองเดือนเราเก็บเกี่ยว

แล้วจักให้ข้าวเปลือก.

อยู่มาวันหนึ่ง ผู้ใหญ่บ้านคอยโอกาส จึงเข้าไปยังเรือน

ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ออกไปข้างนอก. ในขณะที่ทั้งสองคน

นอนอย่างเป็นสุขนั่นเอง พระโพธิสัตว์ก็เข้าไปทางประตูบ้าน

หันหน้าไปทางเรือน. หญิงนั้นหันหน้ามาทางประตูบ้าน เห็น

พระโพธิสัตว์ คิดว่า นั่นใครหนอ จึงยืนมองดูที่ธรณีประตู ครั้น

รู้ว่าพระโพธิสัตว์นั่นเอง จึงบอกแก่ผู้ใหญ่บ้าน. ผู้ใหญ่บ้านกลัว

ตัวสั่น. หญิงนั้นจึงบอกผู้ใหญ่บ้านว่า อย่ากลัว ฉันมีอุบายอย่าง

หนึ่ง พวกเรายืมโคของท่านมาบริโภคเนื้อ ท่านจงทำเป็นทวง

เรียกค่าเนื้อ ฉันจะขึ้นไปยังฉางข้าวยืนอยู่ที่ประตูฉาง แล้วบอก

ท่านว่า ข้าวเปลือกไม่มี ท่านยืนอยู่กลางเรือน แล้วทวงบ่อย ๆ

ว่า พวกเด็ก ๆ ในเรือนของเราหิว ท่านจงให้ค่าเนื้อเถิด ว่าแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 268

นางก็ขึ้นไปยังฉางนั่งที่ประตูฉาง. ฝ่ายผู้ใหญ่บ้านยืนอยู่ที่กลาง

เรือนก็ร้องว่า จงให้ค่าเนื้อเรา. นางนั่งอยู่ที่ประตูฉาง พูดว่า

ในฉางไม่มีข้าวเปลือก เมื่อเก็บเกี่ยวแล้วเราจึงจะให้ ไปก่อนเถิด.

พระโพธิสัตว์เข้าไปยังเรือนเห็นกิริยาของคนทั้งสองก็

รู้ว่า นั่นคงเป็นอุบายของหญิงชั่วนี้ จึงเรียกผู้ใหญ่บ้านมาพูดว่า

นี่แน่ะท่านผู้ใหญ่ เมื่อเราจะบริโภคเนื้อโคแก่ของท่านก็บริโภค

โดยสัญญาว่า จากนี้ไปสองเดือน เราจึงจักให้ข้าวเปลือก ยังไม่

ล่วงไปถึงกึ่งเดือนเลยท่าน เพราะเหตุไรท่านจึงมาทวงในเวลานี้

ท่านมิได้มาด้วยเหตุนี้ น่าจะมาด้วยเหตุอื่นกระมัง เราไม่ชอบใจ

กิริยาของท่านเลย แม้หญิงนี้ก็เลวทรามเหลือหลาย รู้ว่าในฉาง

ไม่มีข้าวเปลือก ก็ยังขึ้นฉางบอกว่า ข้าวเปลือกไม่มี แม้ท่าน

ก็ทวงว่า จงให้เรา เราไม่ชอบการกระทำของท่านทั้งสองเลย

เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

กรรมทั้งสองไม่ควรแก่เรา เราไม่ชอบใจ

ก็หญิงคนนี้ ลงไปในฉางข้าวแล้วพูดว่า เรายัง

ใช้หนี้ให้ไม่ได้.

ดูก่อนผู้ใหญ่บ้าน เพราะเหตุนี้เราจึงพูด

กะท่าน ท่านมาทวงค่าเนื้อวัวแก่ ซูบผอม ซึ่งเรา

ได้ผลัดไว้ถึงสองเดือน ในคราวเมื่อชีวิตของเรา

น้อยลำบากยากเข็ญ ในกาลยังไม่ถึงกำหนด

สัญญา กรรมทั้งสองนั้นไม่ชอบใจเราเสียเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 269

ในบทเหล่านั้น บทว่า ต ต คามปติ พฺรูมิ ความว่า ท่าน

ผู้ใหญ่บ้าน เราพูดกะท่านด้วยเหตุนั้น. บทว่า กทเร อปฺปสฺมึ

ชีวิเต ความว่า ชื่อว่าชีวิตของเรายากจน คือ ค่นแค้น เศร้าหมอง

ฝืดเคือง กำลังน้อย ซูบผอม เมื่อชีวิตของ. เราเป็นถึงเช่นนี้. บทว่า

เทฺว มาเส สงฺคร กตฺวา มส ชรคฺคว กิส ความว่า เมื่อพวกเราจะ

รับเนื้อ ท่านก็ให้โคแก่ คือ โคชรา ซูบผอม ทุพพลภาพ แล้ว

ผลัดเพี้ยน คือกำหนดสองเดือนอย่างนี้ว่า สองเดือนล่วงแล้ว ท่าน

ควรชำระค่าเนื้อ. บทว่า อปฺปตฺตกาเล โจเทสิ ความว่า เมื่อ

ยังไม่ถึงเวลานั้นท่านก็มาทวงเสียแล้ว. บทว่า ตมฺปิ มยฺห น

รุจฺจติ ความว่า และหญิงชั่วช้าทุศีลผู้นี้รู้อยู่ว่า ภายในฉางข้าว

ไม่มีข้าวเปลือกทำเป็นไม่รู้ขึ้นไปบนฉางข้าว ยืนที่ประตูฉาง

พูดว่า เรายังใช้หนี้ให้ไม่ได้ อนึ่ง ท่านก็มาทวงเมื่อยังไม่ถึง

เวลา ทั้งสองอย่างนี้เราไม่ชอบใจเลย.

เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวซ้ำซากอยู่อย่างนี้ จึงจิกผมผู้ใหญ่

บ้านกระชากให้ล้มลงท่ามกลางเรือน แล้วด่าว่าด้วยคำเป็นต้นว่า

เจ้าทำร้ายของที่คนอื่นเรารักษาหวงแหนโดยถือว่า ฉันเป็นผู้ใหญ่

บ้าน แล้วทุบตีจนบอบช้ำ จับคอไสออกจากเรือน แล้วคว้าผม

หญิงชั่วร้ายนั้นให้ลงมาจากฉางตบตีขู่ว่าหากเจ้าทำเช่นนี้อีก

จักได้รู้กัน. ตั้งแต่นั้นมาผู้ใหญ่บ้านก็ไม่กล้ามองดูเรือนนั้น.

แม้หญิงชั่วนั้นก็ไม่อาจประพฤตินอกใจอีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 270

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสัน

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. คหบดีผู้ลงโทษผู้ใหญ่บ้าน คือเราตถาคต

นี้แล.

จบ อรรถกถาคหปติชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 271

๑๐. สาธุศีลชาดก

ว่าด้วยเลือกเอาผู้มีศีล

[๒๔๙] เราขอถามท่านพราหมณ์ว่า ๑. คนมีรูป

งาม ๒. คนอายุมาก ๓. คนมีชาติสูง ๔. คนมี

ศีลดี ๔ คนนั่น ท่านจะเลือกเอาคนไหน.

[๒๕๐] ประโยชน์ในร่างกายก็มีอยู่ ข้าพเจ้าขอทำ

ความนอบน้อมต่อท่านผู้เจริญวัย ประโยชน์ใน

บุรุษผู้มีชาติดีก็มีอยู่ แต่เราชอบใจศีล.

จบ สาธุศีลชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาสาธุศีลชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง

ปรารภพราหมณ์คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

สรีรทพฺย วุฑฺฒพฺย ดังนี้.

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นมีลูกสาวสี่คน. มีชายสี่คน

ต้องการลูกสาวเหล่านั้น. ในชายสี่คนนั้น คนหนึ่งรูปงาม

ร่างกายสมบูรณ์ คนหนึ่งอายุมากเป็นผู้ใหญ่ คนหนึ่งสมบูรณ์

ด้วยชาติ คนหนึ่งมีศีล. พราหมณ์คิดว่า เมื่อจะปลูกฝังลูกสาว

ควรจะให้แก่ใครหนอ ควรให้แก่คนรูปงามหรือ คนมีอายุ คน

สมบูรณ์ด้วยชาติ และคนมีศีล คนใดคนหนึ่งดี. แม้เขาจะพยายาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 272

คิดก็ไม่รู้แน่ จึงคิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจักทรงทราบเหตุ

นี้ เราจักทูลถามพระองค์แล้วยกลูกสาวให้แก่ผู้ที่สมควรใน

ระหว่างคนเหล่านั้น จึงได้ถือของหอมดอกไม้เป็นต้น ไปวิหาร

ถวายบังคมพระศาสดา นั่ง ณ ส่วนหนึ่ง กราบทูลความนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งแต่ต้น แล้วทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์

ควรจะให้แก่ใครในชายทั้งสี่เหล่านี้. พระศาสดาตรัสว่า แต่

ปางก่อนบัณฑิตทั้งหลายก็ยังถามปัญหานี้แก่พระองค์ แต่เพราะ

ยังอยู่ในหัวเลี้ยวหัวต่อของภพ จึงไม่อาจจดจำได้ เมื่อพราหมณ์

ทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์เรียนศิลปะ

ในเมืองตักกสิลา แล้วได้มาเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ในกรุง

ตักกสิลา. ครั้งนั้นพราหมณ์มีลูกสาวสี่คน. มีชายสี่คนต้องการ

ลูกสาวเหล่านั้น. พราหมณ์รำพึงว่า จะควรให้แก่ใคร เมื่อไม่

แน่ใจจึงคิดว่า เราจะต้องถามอาจารย์ แล้วให้แก่ผู้ที่ควรให้

จึงไปหาอาจารย์ เมื่อจะถามเรื่องนั้น จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

เราขอถามท่านพราหมณ์ว่า ๑. คนมีรูป

งาม ๒. คนอายุมาก ๓. คนมีชาติสูง ๔. คนมี

ศีล สี่คนนั้น ท่านจะเลือกเอาคนไหน.

ในบทเหล่านั้น พราหมณ์ประกาศคุณที่มีอยู่แก่ชายสี่คน

เหล่านั้น. ในคาถานี้มีอธิบายดังนี้ ชายสี่คนต้องการลูกสาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 273

สี่คนของข้าพเจ้า ในชายสี่คนนั้น คนหนึ่งมีรูปงาม คือมีร่างกาย

สมบูรณ์ มีความสง่า คนหนึ่งอายุมาก คือเป็นผู้ใหญ่ เจริญวัย

คนหนึ่งมีชาติสูง คือสมบูรณ์ด้วยชาติ เพราะเกิดมาดี คนหนึ่ง

มีศีล คืองดงามด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยศีล. บทว่า พฺราหฺมณนฺเต ว

ปุจฺฉาม ความว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ว่าจะให้ลูกสาวเหล่านี้แก่ชายคน

หนึ่งในสี่คนเหล่านั้น จึงขอถามท่านพราหมณ์. บทว่า กินฺนุ

เตส วณิมฺหเส ความว่า ชายสี่คนเหล่านั้น ข้าพเจ้าจะเลือก คือ

ต้องการคนไหนดี. คือพราหมณ์ถามอาจารย์ว่า ข้าพเจ้าจะให้

ลูกสาวเหล่านั้นแก่ใคร.

อาจารย์ฟังพราหมณ์นั้นแล้ว จึงตอบว่า คนมีศีลวิบัติแล้ว

แม้เมื่อมีรูปสมบัติก็น่าตำหนิ เพราะฉะนั้น รูปสมบัติหาเป็น

ประมาณไม่ เราชอบความเป็นผู้มีศีล เมื่อจะประกาศความนี้

จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ประโยชน์ในร่างกายก็มีอยู่ ข้าพเจ้าขอ

ทำความนอบน้อมต่อท่านผู้เจริญวัย ประโยชน์

ในชาติดีก็มีอยู่ แต่เราชอบใจศีล.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺโถ อตฺถิ สรีรสฺมึ ความว่า ความ

ต้องการ คือความวิเศษ ความเจริญในร่างกายที่สมบูรณ์ด้วย

รูป มีเหมือนกัน มิใช่เราว่าไม่มี. บทว่า วุฑฺฒพฺยสฺส นโม กเร

ความว่า แต่เราทำความนอบน้อมแก่ผู้เจริญวัย เพราะผู้เจริญวัย

ย่อมได้การกราบไหว้นับถือ. บทว่า อตฺโถ อตฺถิ สุชาตสฺมึ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 274

ความว่า ความเจริญในคนที่เกิดมาดีก็มี เพราะชาติสมบัติก็

ควรปรารถนาเหมือนกัน. บทว่า สีล อสฺมาก รุจฺจติ ได้แก่

แต่เราชอบใจคนมีศีลเท่านั้น. เพราะคนมีศีล สมบูรณ์ด้วย

มารยาท แม้จะขาด สรีรสมบัติ ก็ยังน่าบูชา น่าสรรเสริญ.

พราหมณ์ฟังคำของอาจารย์แล้วก็ยกลูกสาวให้แก่คนมีศีล

อย่างเดียว.

พระศาสดานำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม พราหมณ์ตั้ง

อยู่ในโสดาปัตติผล. พราหมณ์ในครั้งนั้นได้เป็นพราหมณ์ผู้นี้

แหละ ส่วนอาจารย์ทิศาปาโมกข์ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสาธุสีลชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. รุหกชาดก ๒. สิริกาฬกัณณิชาดก ๓. จุลลปทุมชาดก

๔. มณิโจรชาดก ๕. ปัพพตูปัตถรชาดก ๖. วลาหกัสสชาดก

๗. มิตตามิตตชาดก ๘. ราธชาดก ๙. คหปติชาดก ๑๐. สาธุ-

ศีลชาดก.

จบ รุหกวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 275

๖. นตังทัฬหวรรค

๑. พันธนาคารชาดก

ว่าด้วยเครื่องผูก

[๒๕๑] เครื่องผูกอันใด ที่ทำด้วยเหล็กก็ดี ทำด้วย

ไม้ก็ดี ทำด้วยหญ้าปล้องก็ดี นักปราชญ์ไม่กล่าว

เครื่องผูกนั้นว่า เป็นเครื่องผูกอันมั่นคง ความ

กำหนัดยินดีในแก้วมณีและกุณฑลก็ดี ความ

ห่วงใยในบุตรและภรรยาก็ดี.

[๒๕๒] นักปราชญ์กล่าวเครื่องผูกนั้นว่า เป็น

เครื่องผูกอันมั่นคง ทำให้สัตว์ตกต่ำ หย่อน แก้

ได้ยาก แม้เครื่องผูกนั้น นักปราชญ์ก็ตัดได้ไม่มี

ความห่วงใย ละกามสุข หลีกออกไปได้.

จบ พันธนาคารชาดกที่ ๑

อรรถกถานตังทัฬหวรรคที่ ๖

อรรถกถาพันธนาคารชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภเรือนจำ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น ต

ทฬฺห พนฺธนมาหุ ธีรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 276

ได้ยินว่าในครั้งนั้น. พวกราชบุรุษได้จับพวกโจร

ผู้ตัดช่องย่องเบา ฆ่าผู้คนในหนทาง ฆ่าชาวบ้านเป็นอันมาก นำ

เข้าถวายพระเจ้าโกศล. พระราชารับสั่งให้จองจำพวกโจรเหล่า

นั้น ด้วยเครื่องจำ คือ ขื่อคา เชือก และโซ่. ภิกษุชาวชนบท

ประมาณ ๓๐ รูป ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา จึงพากันมาเฝ้า

ถวายบังคม รุ่งเช้าออกบิณฑบาตผ่านเรือนจำเห็นพวกโจร

เหล่านั้น กลับจากบิณฑบาต เวลาเย็นเข้าเฝ้าพระตถาคต ทูล

ถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้พวกข้าพระพุทธเจ้าออกบิณฑบาต

ได้เห็นพวกโจรมากมายที่เรือนจำ ถูกจองจำด้วยขื่อคา และ

เชือกเป็นต้น ต่างก็เสวยทุกข์ใหญ่หลวง พวกโจรเหล่านั้น ไม่

สามารถจะตัดเครื่องจองจำเหล่านั้นหนีไปได้ ยังมีเครื่องจองจำ

อย่างอื่นที่มั่นคงกว่าเครื่องจองจำเหล่านั้นอีกหรือไม่ พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำเหล่านั้น

จะชื่อว่า เครื่องจองจำอะไรกัน ส่วนเครื่องจองจำ คือกิเลสได้แก่

ตัณหาในทรัพย์ ในข้าวเปลือก ในบุตรภรรยาเป็นต้น นี่แหละ

มั่นคงยิ่งกว่าเครื่องจองจำเหล่านั้นตั้งร้อยเท่าพันเท่า แต่เครื่อง

จองจำนี้แม้ใหญ่หลวง ตัดได้ยากอย่างนี้ บัณฑิตแต่ก่อนยังตัดได้

แล้วเขาไปหิมวันตประเทศ ออกบวชแล้วทรงนำเรื่องอดีตมา

ตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลคหบดียากจนตระกูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 277

หนึ่ง. ครั้นเจริญวัยแล้วบิดาได้ถึงแก่กรรม. พระโพธิสัตว์ได้ทำ

การรับจ้างเลี้ยงมารดา. ครั้งนั้นมารดาจึงได้ไปสู่ขอธิดาตระกูล

หนึ่งมาไว้ในเรือนให้พระโพธิสัตว์ทั้ง ๆ ที่ไม่ต้องการ แล้วนาง

ก็ถึงแก่กรรม.

ฝ่ายภรรยาของพระโพธิสัตว์ก็ตั้งครรภ์. พระโพธิสัตว์

ไม่รู้ว่านางตั้งครรภ์จึงบอกว่า ดูก่อนนาง เจ้าจงรับจ้างเขา

เลี้ยงชีวิตเถิด ฉันจักบวชละ. นางจึงกล่าวว่า ฉันตั้งครรภ์ เมื่อ

ฉันคลอดแล้ว พี่เห็นเด็กแล้วก็บวชเถิด. พระโพธิสัตว์ก็รับคำ

พอนางคลอด จึงบอกกล่าวว่า น้องคลอดเรียบร้อยแล้ว พี่จักบวช

ละ. นางจึงกล่าวว่า จงรอให้ลูกหย่านมเสียก่อนเถิด แล้วก็ตั้ง

ครรภ์อีก. พระโพธิสัตว์ดำริว่า เราไม่อาจให้นางยินยอมแล้ว

ไปได้ เราจะไม่บอกกล่าวนาง จะหนีไปบวชละ. พระโพธิสัตว์

มิได้บอกกล่าวนาง พอตกกลางคืนก็ลุกหนีไป. ครั้งนั้นเจ้าหน้าที่

ผู้ดูแลพระนครได้จับพระโพธิสัตว์นั้นไว้. พระโพธิสัตว์จึงบอกว่า

เจ้านาย ข้าพเจ้าเป็นผู้เลี้ยงมารดา โปรดปล่อยข้าพเจ้าเถิด

ครั้นให้เขาปล่อยแล้วก็ไปอาศัยในที่แห่งหนึ่ง ออกทางประตูใหญ่

นั้นเอง เข้าป่าหิมพานต์ บวชเป็นฤาษียังอภิญญาและสมาบัติ

ให้เกิด เพลิดเพลินอยู่ด้วยฌาน. พระโพธิสัตว์เมื่ออยู่ ณ ที่นั้น

เมื่อจะเปล่งอุทานว่า เราได้ตัดเครื่องจองจำ คือบุตรภรรยา

เครื่องจองจำ คือกิเลสที่ตัดได้ยากเห็นปานนี้แล้ว ได้กล่าวคาถา

เหล่านี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 278

เครื่องผูกอันใด ที่ทำด้วยเหล็กก็ดี ทำด้วย

ไม้ก็ดี ทำด้วยหญ้าปล้องก็ดี นักปราชญ์ไม่กล่าว

เครื่องผูกนั้นว่า เป็นเครื่องผูกอันมั่นคง ความ

กำหนัดยินดีในแก้วมณี และกุณฑลก็ดี ความ

ห่วงใยในบุตรและภรรยาก็ดี.

นักปราชญ์กล่าวเครื่องผูกนั้นว่า เป็น

เครื่องผูกอันมั่นคง ทำให้สัตว์ตกต่ำ ย่อหย่อน

แก้ได้ยาก แม้เครื่องผูกนั้นนักปราชญ์ก็ตัดได้

ไม่มีความห่วงใย ละกามสุข หลีกออกไปได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธีรา ความว่า ชื่อว่า ธีรา เพราะมี

ปัญญา เพราะปราศจากบาป. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีรา เพราะ

เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญานั้น ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-

พุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์. พึงทราบ

วินิจฉัยในบทว่า ยทายส เป็นต้น นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมไม่

กล่าวเครื่องจองจำที่ทำด้วยเหล็กอันได้แก่ โซ่ เครื่องจองจำ

ทำด้วยไม้อันได้แก่ ขื่อคา เครื่องจองจำทำด้วยเชือกที่ขวั้นเป็น

เชือกด้วยหญ้ามุงกระต่ายหรือด้วยอย่างอื่นมี ปอ เป็นต้น ว่า

เป็นเครื่องจองจำอันมั่นคง แน่นหนา. บทว่า สารตฺตรตฺตา ได้แก่

ความกำหนัดยินดี คือ ยินดีด้วยความกำหนัดจัด. บทว่า มณิ-

กุณฺฑเลสุ ได้แก่ ในแก้วมณีและแก้วกุณฑล หรือในแก้วกุณฑล

ประกอบด้วยแก้วมณี. บทว่า เอต ทฬฺห ความว่า นักปราชญ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 279

ทั้งหลายกล่าวว่า เครื่องจองจำอันเป็นกิเลสของผู้ที่กำหนัด

ยินดีในแก้วมณีและแก้วกุณฑล และของผู้ที่ห่วงใยในบุตรและ

ภรรยาว่า เป็นเครื่องจองจำอันมั่นคงแน่นหนา. บทว่า โอหาริน

ความว่า ชื่อว่า เครื่องจองจำทำให้ตกต่ำ เพราะชักนำลงใน

เบื้องต่ำ โดยฉุดให้ตกลงในอบาย ๔. บทว่า สิถิล ความว่า

ชื่อว่าเครื่องจองจำย่อหย่อน เพราะไม่ตัดผิวหนังและเนื้อ ไม่ทำ

ให้เลือดออกตรงที่ผูก ไม่ให้รู้สึกว่าเป็นเครื่องจองด้วย ยอม

ให้ทำการงานทั้งทางบกและทางน้ำเป็นต้น. บทว่า ทุปฺปมุญฺจ

ความว่า ชื่อว่าเครื่องจองจำแก้ได้ยาก เพราะเครื่องจองจำ คือ

กิเลสเกิดขึ้นแม้คราวเดียว ด้วยอำนาจตัณหาและโลภะ ย่อม

แก้หลุดได้ยาก เหมือนเต่าหลุดจากที่ผูกได้ยาก. บทว่า เอตมฺปิ

เฉตฺวาน ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องจองจำ คือกิเลสนั้น

แม้มั่นคงอย่างนี้ ด้วยพระขรรค์ คือญาณ ตัดห่วงเหล็กดุจช้าง

ตกมัน ดุจราชสีห์หนุ่มทำลายซี่กรง รังเกียจวัตถุกามและกิเลส

กาม ดุจพื้นที่เทหยากเยื่อ ไม่มีความห่วงใย ละกามสุขหลีกออก

ไป ก็และครั้นหลีกออกไปแล้ว เข้าป่าหิมพานต์บวชเป็นฤๅษี

ยังกาลเวลาให้ล่วงไปด้วยสุขเกิดแต่ฌาน.

พระโพธิสัตว์ครั้นทรงเปล่งอุทานนี้อย่างนี้แล้ว มีฌาน

ไม่เสื่อม มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 280

บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี

บางพวกได้เป็นพระอรหันต์. มารดาในครั้งนั้นได้เป็นพระนาง

มหามายาในครั้งนี้ บิดาได้เป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ภรรยา

ได้เป็นมารดาพระราหุล ส่วนบุรุษผู้ละบุตรและภรรยาออกบวช

คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาพันธนาคารชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 281

๒. เกฬิสีลชาดก

ว่าด้วยปัญญาสำคัญกว่าร่างกาย

[๒๕๓] หงส์ก็ดี นกกะเรียนก็ดี นกยูงก็ดี ช้างก็ดี

ฟานก็ดี ย่อมกลัวราชสีห์ทั้งนั้น จะถือเอาร่างกาย

เป็นประมาณไม่ได้ฉันใด.

[๒๕๔] ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ถ้าแม้เด็กมีปัญญา

ก็เป็นผู้ใหญ่ได้ คนโง่ถึงร่างกายจะใหญ่โต ก็เป็น

ผู้ใหญ่ไม่ได้.

จบ เกฬิสีลชาดกที่ ๒

อรรถกถาเกฬิสีชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภท่านพระลกุณฏกภัททิยะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำ

เริ่มต้นว่า หสา โกญฺจา มยุรา จ ดังนี้.

ได้ยินว่า ท่านลกุณฏกภัททิยะเป็นผู้ปรากฏชื่อเสียงใน

พระพุทธศาสนา มีเสียงเพราะเป็นผู้แสดงธรรมไพเราะ เป็น

พระมหาขีณาสพบรรลุปฏิสัมภิทา แต่ท่านตัวเล็กเตี้ยในหมู่พระ-

มหาเถระ ๘๐ องค์ คล้ายสามเณรถูกล้อเลียน. วันหนึ่งเมื่อท่าน

ถวายบังคมพระตถาคตแล้วไปซุ้มประตูพระเชตวัน. ภิกษุชาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 282

ชนบทประมาณ ๓๐ รูปไปยังพระเชตวันด้วยคิดว่าจักถวายบังคม

พระตถาคต เห็นพระเถระที่ซุ้มวิหาร จึงพากันจับพระเถระที่

ชายจีวร ที่มือ ที่ศีรษะ ที่จมูก ที่หู เขย่า ด้วยสำคัญว่าท่านเป็น

สามเณร ทำด้วยคะนองมือ ครั้นเก็บบาตรจีวรแล้วก็พากันเข้า

เฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง เมื่อพระศาสดาทรงกระทำ

ปฏิสันถารด้วยพระดำรัสอันไพเราะแล้วจึงทูลถามว่า ข้าแต่

พระองค์ ได้ยินว่ามีพระเถระองค์หนึ่งชื่อลกุณฏกภัททิยเถระ

เป็นสาวกของพระองค์ แสดงธรรมไพเราะ เดี๋ยวนี้พระเถระ

รูปนั้นอยู่ที่ไหนพระเจ้าข่า พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอประสงค์จะเห็นหรือ. กราบทูลว่า พระเจ้าข้า

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายใคร่จะเห็น. ตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุที่พวกเธอเห็นที่ซุ้มประตูแล้วพวกเธอคะนองมือจับที่ชาย

จีวรเป็นต้นแล้วมา ภิกษุรูปนั้นแหละคือ ลกุณฏกภัททิยะละ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ พระสาวกผู้ถึงพร้อม

ด้วยอภินิหาร ได้ตั้งความปรารถนาไว้เห็นปานนี้ เพราะเหตุใด

จึงมีศักดิ์น้อยเล่าพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า เพราะอาศัย

กรรมที่ตนได้ทำไว้ ภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนา ทรงนำเรื่องอดีต

มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสีพระโพธิสัตว์ได้เป็นท้าวสักกเทวราช. ในกาลนั้น

ใคร ๆ ก็ไม่อาจจะให้พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงเห็นช้าง ม้า หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 283

โคที่แก่ชรา พระองค์ชอบเล่นสนุก ทอดพระเนตรเห็นสัตว์เช่นนั้น

จึงรับสั่งให้พวกมนุษย์ต้อนไล่แข่งกัน เห็นเกวียนเก่า ๆ ก็ให้

แข่งกันจนพัง เห็นสตรีแก่รับสั่งให้เรียกมากระแทกที่ท้องให้

ล้มลง แล้วจับให้ลุกขึ้น ให้ขับร้องเพลง เห็นชายแก่ ๆ ก็ให้

หกคะเมนตีลังกาเป็นต้น บนพื้นดินดุจนักเล่นกระโดด เมื่อไม่

ทรงพบเห็นเอง เป็นแต่ได้สดับข่าวว่า คนแก่มีที่บ้านโน้น ก็รับสั่ง

ให้เรียกตัวมาบังคับให้เล่น. พวกมนุษย์ต่างก็ละอาย ส่งมารดา

บิดาของตนไปอยู่นอกแคว้น. ขาดการบำรุงมารดาบิดา. พวก

ราชเสวกก็พอใจในการเล่นสนุก. พวกตายไป ๆ ก็ไปบังเกิด

เต็มในอบาย ๔. เทพบริษัททั้งหลายก็ลดลง. ท้าวสักกะไม่ทรง

เห็นเทพบุตรเกิดใหม่ ทรงรำพึงว่า เหตุอะไรหนอ ครั้นทรงทราบ

เหตุนั้นแล้วดำริว่า เราจะต้องทรมานพระเจ้าพรหมทัต จึงทรง

แปลงเพศเป็นคนแก่ บรรทุกตุ่มเปรียง ๒ ใบ ใส่ไปบนยานเก่า ๆ

เทียมโคแก่ ๒ ตัว ในวันมหรสพวันหนึ่ง เมื่อพระเจ้าพรหมทัต

ทรงช้างพระที่นั่งตกแต่งด้วยเครื่องอลังการ เสด็จเลียบพระนคร

อันตกแต่งแล้ว ทรงนุ่งผ้าเก่าขับยานนั้นตรงไปเฉพาะพระพักตร์

พระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นยานเก่าเทียมด้วยโคแก่

จึงตรัสให้นำยานนั้นมา. พวกมนุษย์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่

เทวะยานอยู่ที่ไหน พวกข้าพระองค์มองไม่เห็น. ท้าวสักกะทรง

แสดงให้พระราชาเท่านั้นเห็น ด้วยอานุภาพของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 284

ลำดับนั้นเมื่อเกวียนไปถึงหมู่คนแล้ว ท้าวสักกะจึงทรง

ขับเกวียนนั้นไปข้างบน ทุบตุ่มใบหนึ่งรดบนพระเศียรของ

พระราชา แล้วกลับมาทุบใบที่สอง. ครั้นแล้วเปรียงก็ไหลลง

เปรอะเปื้อนพระราชาตั้งแต่พระเศียร. พระราชาทรงอึดอัด

ละอาย ขยะแขยง. ครั้นท้าวสักกะทรงทราบว่า พระราชาทรงวุ่นวาย

พระทัย ก็ทรงขับเกวียนหายไป เนรมิตพระองค์เป็นท้าวสักกะ

อย่างเดิม พระหัตถ์ทรงวชิราวุธ ประทับยืนบนอากาศ ตรัส

คุกคามว่า ดูก่อนอธรรมิกราชผู้ชั่วช้า ชะรอยท่านจะไม่แก่ละ

หรือ ความชราจักไม่กล้ำกรายสรีระของท่านหรือไร ท่านมัวแต่

เห็นแก่เล่นเบียดเบียนคนแก่มามากมาย เพราะอาศัยท่านผู้เดียว

คนที่ตายไป ๆ เพราะทำกรรมนั้นจึงเต็มอยู่ในอบาย พวกมนุษย์

ไม่ได้บำรุงมารดาบิดา หากท่านไม่งดทำกรรมนี้ เราจะทำลาย

ศีรษะของท่านด้วยจักรเพชรนี้ ตั้งแต่นี้ไปท่านอย่าได้ทำกรรม

นี้อีกเลย แล้วตรัสถึงคุณของมารดาบิดา ทรงชี้แจงอานิสงส์

ของการอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้สูงอายุ ครั้นทรงสอนแล้วก็เสด็จ

กลับไปยังวิมานของพระองค์. ตั้งแต่นั้นมาพระราชาก็มิได้

แม้แต่คิดที่จะทำกรรมนั้นอีกต่อไป. พระศาสดา ตรัสรู้แล้วได้

ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-

หงส์ก็ดี นกกะเรียนก็ดี ช้างก็ดี ฟานก็ดี

ย่อมกลัวราชสีห์ทั้งนั้น จะถือเอาร่างกายเป็น

ประมาณมิได้ ฉันใด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 285

ในหมู่มนุษย์ก็ฉันนั้น ถ้าแม้เด็กมีปัญญา

ก็เป็นผู้ใหญ่ได้ คนโง่ถึงร่างกายจะใหญ่โต ก็

เป็นผู้ใหญ่ไม่ได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปสทา มิคา ได้แก่เนื้อฟาน. อธิบาย

ว่า ทั้งเนื้อฟาน ทั้งเนื้อที่เหลือบ้าง. บาลีว่า ปสทมิคา ก็มี ได้แก่

เนื้อฟานนั่นเอง. บทว่า นตฺถิ กายสฺมิ ตุลฺยตา ความว่า ขนาด

ของร่างกายไม่สำคัญ ถ้าสำคัญไซร้ พวกช้างและเนื้อฟานซึ่งมี

ร่างกายใหญ่โต ก็จะพึงฆ่าราชสีห์ได้ ราชสีห์ก็จะพึงฆ่าได้แต่

สัตว์เล็ก ๆ เท่านั้น เช่น หงส์และนกยูงเป็นต้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น

สัตว์ที่ตัวเล็กเท่านั้นพึงกลัวราชสีห์ แต่สัตว์ใหญ่ไม่กลัว. แต่

เพราะข้อนี้เป็นไปไม่ได้ ฉะนั้นสัตว์เหล่านั้นทั้งหมด จึงกลัว

ราชสีห์. บทว่า สรีรวา ได้แก่ คนโง่ แม้ร่างกายใหญ่โต ก็ไม่

ชื่อว่าเป็นใหญ่. เพราะฉะนั้น ลกุณฏกภัททิยะ แม้จะมีร่างกาย

เล็ก ก็อย่าเข้าใจว่า เล็กโดยญาณ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรมบรรดาภิกษุ

เหล่านั้น บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระ-

สกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็นพระ-

อรหันต์. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นลกุณฏกภัททิยะ เธอได้

เป็นที่เล่นล้อเลียนของผู้อื่น เพราะค่าที่ตนชอบเล่นสนุกครั้งนี้.

ส่วนท้าวสักกะ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาเกฬิสีลชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 286

๓. ขันธปริตตชาดก

ว่าด้วยพระปริตป้องกันสัตว์ร้ายต่าง ๆ

[๒๕๕] ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางู

ชื่อว่า วิรูปักขะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับ

ตระกูลพญางูชื่อว่า เอราปถะ ขอไมตรีจิตของ

เราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่าฉัพยาปุตตะและ

ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า

กัณหาโคตมกะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์

ที่ไม่มีเท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่มี

๒ เท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่มี ๔ เท้า

ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์ที่มีเท้ามาก ขอ

สัตว์ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี ๔ เท้า

สัตว์ที่มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเราเลย ขอ

สัตว์ผู้ข้องอยู่ สัตว์ผู้มีลมปราณ สัตว์ผู้เกิดแล้ว

หมดทั้งสิ้นด้วยกัน จงประสบพบแต่ความเจริญ

ทั่วกัน ความทุกข์อันชั่วช้าอย่าได้มาถึงสัตว์ผู้ใด

ผู้หนึ่งเลย.

[๒๕๖] พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระคุณ

หาประมาณมิได้ บรรดาสัตว์เลื้อยคลาน คือ งู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 287

แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก และหนู

เป็นสัตว์ประมาณได้ เราได้ทำการรักษาตัวแล้ว

ป้องกันตัวแล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายจงพากันหลีก

ไป ข้าพเจ้านั่นขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ขอนอบน้อมพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗

พระองค์.

จบ ขันธปริตตชาดกที่ ๓

อรรถกถาขันธปริตตชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า วิรูปกฺเขหิ

เม เมตฺต ดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ งู

ตัวหนึ่งเลื้อยออกจากระหว่างไม้ผุได้กัดเข้าที่นิ้วเท้า. ภิกษุนั้น

มรณภาพในที่นั้นทันที. เรื่องที่ภิกษุนั้นมรณภาพได้ปรากฏไป

ทั่ววัด. ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ได้ยินว่า

ภิกษุรูปโน้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ ถูกงูกัดถึงแก่

มรณภาพ ณ ที่นั้นเอง. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

หากภิกษุรูปนั้นจักได้เจริญเมตตาแผ่ถึงตระกูลพญางูทั้งสี่แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 288

งูก็จะไม่กัดภิกษุนั้น. แม้ดาบสทั้งหลายซึ่งเป็นบัณฑิตแต่ปางก่อน

เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติ ก็ได้เจริญเมตตาในตระกูลพญางู

ทั้ง ๔ ปลอดภัยอันจะเกิดเพราะอาศัยตระกูลพญางูเหล่านั้น

แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ แคว้นกาสี

ครั้นเจริญวัย สละกามสุข ออกบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและ

สมาบัติให้เกิด สร้างอาศรมบทอยู่ที่คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่งในหิมวันต-

ประเทศ เพลิดเพลินในฌาน เป็นครูประจำคณะ มีหมู่ฤๅษี

แวดล้อมอยู่อย่างสงบ.

ครั้งนั้นที่ฝั่งคงคา มีงูนานาชนิดทำอันตรายแก่พวกฤาษี.

พวกฤๅษีโดยมากได้ถึงแก่กรรม. ดาบสทั้งหลายจึงบอกเรื่องนั้น

แก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เรียกประชุมดาบสทั้งหมด แล้ว

กล่าวว่า หากพวกท่านเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ งู

ทั้งหลายก็จะไม่กัดพวกเธอ เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้ไป พวกเธอ

จงเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ แล้วจึงตรัสคาถานี้ว่า :-

ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางู

ชื่อว่า วิรูปักขะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับ

ตระกูลพญางูชื่อว่า เอราปถะ ขอไมตรีจิตของเรา

จงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า ฉัพยาปุตตะ ขอไมตรี

จิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 289

พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงตระกูลพญางูทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว

จึงกล่าวว่า หากพวกท่านจักสามารถเจริญเมตตาในตระกูลพญางู

ทั้ง ๔ นั้น งูทั้งหลายก็จักไม่กัดไม่เบียดเบียนพวกท่าน. แล้ว

กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ขอไมตรีจิตของเรา จงมีกับสัตว์ที่ไม่มี

เท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สองเท้า ขอ

ไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สี่เท้า ขอไมตรีจิต

ของเราจงมีกับสัตว์มีเท้ามาก.

พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงเมตตาภาวนาโดยสรุปอย่างนี้แล้ว

บัดนี้เมื่อจะแสดงด้วยการขอร้องจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ขอสัตว์ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี

๔ เท้า สัตว์ที่มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเราเลย.

บัดนี้เมื่อจะแสดงการเจริญเมตตาโดยไม่เจาะจง จึงกล่าว

คาถานี้ว่า :-

ขอสัตว์ผู้ข้องอยู่ สัตว์ผู้มีลมปราณ สัตว์

ผู้เกิดแล้วหมดทั้งสิ้นด้วยกัน จงประสบพบแต่

ความเจริญทั่วกัน ความทุกข์อันชั่วช้า อย่าได้

มาถึงสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งเลย.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกท่านจงเจริญเมตตาไม่เฉพาะ

เจาะจงในสรรพสัตว์อย่างนี้ เพื่อให้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย

อีก จึงกล่าวว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 290

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระคุณ

หาประมาณมิได้ บรรดาสัตว์เลื้อยคลาน คือ

แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก และหนู เป็น

สัตว์ประมาณได้.

พระโพธิสัตว์แสดงว่า เพราะธรรมทั้งหลายอันทำประมาณ

มีราคะภายในของสัตว์เหล่านั้นยังมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์เลื้อยคลาน

เหล่านั้น จึงชื่อว่ามีประมาณ แล้วกล่าวว่าท่านทั้งหลายจงระลึก

ถึงคุณของพระรัตนตรัยอย่างนี้ว่า ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัย

อันหาประมาณมิได้ ขอสัตว์ทั้งหลายอันมีประมาณเหล่านี้ จงทำ

การปกป้องรักษาพวกเราทั้งกลางคืนกลางวันเถิด เพื่อแสดง

กรรมที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

เราได้ทำการรักษาตัวแล้ว ป้องกันตัวแล้ว

ขอสัตว์ทั้งหลาย จงพากันหลีกไป ข้าพเจ้าขอ

นอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนอบน้อม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์.

พระโพธิสัตว์ผูกพระปริตรนี้ให้แก่คณะฤๅษี. ก็พระปริตร

นี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้ในชาดกนี้ด้วยคาถาทั้งหลายตอนต้น

เพราะแสดงเมตตาในตระกูลพญานาคทั้งสี่ หรือเพราะแสดง

เมตตาภาวนาทั้งสอง คือ โดยเจาะจงและไม่เจาะจง ควรค้นคว้า

หาเหตุอื่นต่อไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 291

ตั้งแต่นั้นคณะฤๅษีตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์

เจริญเมตตารำลึกถึงพระพุทธคุณ. เมื่อฤาษีรำลึกถึงพระพุทธคุณ

อยู่อย่างนี้ บรรดางูทั้งหลายทั้งหมดต่างก็หลีกไป แม้พระโพธิสัตว์

ก็เจริญพรหมวิหาร มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. คณะฤๅษีในครั้งนั้นได้เป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้. ส่วน

ครูประจำคณะ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาขันธปริตตชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 292

๔. วีรกชาดก

ว่าด้วยโทษเอาอย่างผู้อื่น

[๒๕๗] ท่านวีรกะ ท่านเห็นนกที่ร้องเสียงเพราะ

มีสีเสมอด้วยสร้อยคอแห่งนกยูง ผู้เป็นผัวของ

ฉันชื่อว่าสวิษฐกะบ้างไหม.

[๒๕๘] นกสวิษฐกะ เมื่อทาตามภรรยาของปักษี

ผู้เที่ยวไปได้ทั้งทางน้ำและทางบก บริโภคปลาสด

เป็นนิจนั้น ถูกสาหร่ายพันคอตายเสียแล้ว.

จบ วีรกชาดกที่ ๔

อรรถกถาวีรกชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภการเอาอย่างพระสุคต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม

ต้นว่า อปิ วีรก ปสฺเสสิ ดังนี้.

ความย่อมีว่า เมื่อพระเถระทั้งหลายพาบริษัทของพระ-

เทวทัตมาเฝ้า พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร เทวทัต

เห็นพวกเธอแล้วได้ทำอย่างไร กราบทูลว่า พระเทวทัตเลียนแบบ

พระสุคตพระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เทวทัตทำตาม

อย่างเรา ถึงความพินาศมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อนก็ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 293

พินาศมาแล้ว พระเถระกราบทูลอาราธนา ทรงนำเรื่องอดีต

มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดกาน้ำ ในหิมวันต-

ประเทศ อาศัยสระแห่งหนึ่งอยู่. มีชื่อว่า วีรกะ. ในครั้งนั้น

ได้เกิดข้าวยากหมากแพงขึ้นในแคว้นกาสี. พวกมนุษย์ไม่สามารถ

ให้อาหารกา หรือกระทำการบวงสรวงยักษ์และนาคได้. กา

ทั้งหลายจึงออกจากแคว้นที่อดอยาก เข้าป่าไปโดยมาก. ในกา

เหล่านั้น มีกาตัวหนึ่งชื่อ สวิษฐกะอยู่เมืองพาราณสี พานางกา

ไปยังที่อยู่ของกาวีรกะ อาศัยสระนั้นอยู่ส่วนหนึ่ง. อยู่มาวันหนึ่ง

กาสวิษฐกะหาเหยื่ออยู่ในสระนั้น เห็นกาวีรกะลงสระกินปลา

แล้วขึ้นมาตากตัวให้แห้ง จึงคิดว่า เราอาศัยกาตัวนี้แล้วสามารถ

หาปลาได้มาก เราจักปรนนิบัติกาตัวนี้ แล้วเข้าไปหากาวีรกะ

นั้น เมื่อกาวีรกะถามว่า อะไรล่ะสหาย ตอบว่า นาย ข้าพเจ้า

อยากจะปรนนิบัติท่าน กาสวิษฐกะรับว่า ดีแล้ว ตั้งแต่นั้นมา

กาสวิษฐกะก็ปรนนิบัติกาวีรกะ.

ฝ่ายกาวีรกะกินปลาพออิ่มสำหรับตนแล้วก็คาบปลามา

ให้แก่สวิษฐกะ. ฝ่ายกาสวิษฐกะกินพออิ่มสำหรับตนแล้วก็ให้

ปลาที่เหลือแก่นางกา. ต่อมากาสวิษฐกะเกิดความทะนงตนขึ้น

มาว่า แม้กาน้ำตัวนี้ก็เป็นกาดำ แม้เราก็เป็นกาดำ แม้ตา

จะงอยปาก และเท้าของกาวีรกะนั้น และของเราก็ไม่ต่างกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 294

ตั้งแต่นี้ไปเราไม่ต้องการปลาที่กาตัวนี้จับมาให้เรา. เราจักจับ

เสียเอง. กาสวิษฐกะจึงเข้าไปหากาวีรกะนั้นกล่าวว่า สหาย

ตั้งแต่นี้ไป เราจะลงสระจับปลากินเอง แม้เมื่อกาวีรกะห้ามอยู่ว่า

สหาย เจ้ามิได้เกิดในตระกูลกาที่ลงน้ำจับปลากิน เจ้าอย่าพินาศ

เสียเลย. ก็มิได้เชื่อฟังคำ ลงสระดำน้ำแล้วก็ไม่โผล่ขึ้น ไม่สามารถ

จะแหวกสาหร่ายออกมาได้. ติดอยู่ภายในสาหร่าย โผล่แต่ปลาย

จงอยปากเท่านั้น. กาสวิษฐกะหายใจไม่ออกถึงแก่ความตายใน

น้ำนั่นเอง ครั้งนั้นนางกา ภรรยาของกาสวิษฐกะไม่เห็นกา

สวิษฐกะกลับมา จึงไปหากาวีรกะเพื่อจะรู้ความเป็นไป เมื่อ

จะถามว่า นาย กาสวิษฐกะไม่ปรากฏ เขาหายไปเสียที่ไหนเล่า

จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ท่านวีรกะ ท่านเห็นนกที่ร้องเสียงไพเราะ

มีสีเสมอด้วยสร้อยคอแห่งนกยูงผู้เป็นผัวของ

ฉัน ชื่อสวิษฐกะบ้างไหม.

กาวีรกะฟังดังนั้นแล้วจึงกล่าวว่า จ้ะข้ารู้ที่ที่ผัวของเจ้าไป

แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

นกสวิษฐกะ เมื่อทำตามภรรยาของปักษี

ผู้เที่ยวไปได้ทั้งทางน้ำและทางบก บริโภคปลาสด

เป็นนิจนั้น ถูกสาหร่ายพันคอตายเสียแล้ว.

นางกาได้ฟังดังนั้น ก็โศกเศร้าเสียใจกลับไปกรุงพาราณสี

ตามเดิม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 295

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุม

ชาดก. กาสวิษฐกะในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. ส่วนกา

วีรกะ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาวีรกชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 296

๕. คังเคยยชาดก

ว่าด้วยผู้ชอบโอ้อวด

[๒๕๙] ปลาชื่อคังเคยยะก็งาม และปลาชื่อยมุนา

ก็งาม แต่บุรุษ ๔ เท้า มีปริมณฑลเพียงดังต้นไทร

มีคอยาวหน่อยหนึ่ง ผู้นี้ ย่อมรุ่งเรืองยิ่งกว่าใคร

ทั้งหมด.

[๒๖๐] ท่านไม่บอกเหตุที่เราถาม เราถามอย่าง

หนึ่งท่านบอกเสียอย่างหนึ่ง คนสรรเสริญตนเอง

นี้ไม่ชอบใจเราเลย.

จบ คังเคยยชาดกที่ ๕

อรรถกถาคังเคยยชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุผู้เป็นสหายสองรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า โสภนฺติ มจฺฉา คงฺเคยฺยา ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุทั้งสองนั้นเป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี

บวชในศาสนาแล้ว มิได้บำเพ็ญอสุภภาวนา ชอบสรรเสริญรูป

เที่ยวพร่ำเพ้อแต่เรื่องรูป. วันหนึ่ง ภิกษุทั้งสองนั้นเกิดทุ่มเถียง

กันเรื่องรูปว่า ท่านงาม เราก็งาม เห็นพระเถระแก่รูปหนึ่งนั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 297

อยู่ไม่ไกล พูดว่า พระเถระรูปนี้จักรู้ว่าเรางามหรือไม่งาม จึง

เข้าไปหาท่านถามว่า ท่านขอรับ ผมทั้งสองนี้ใครงาม. พระเถระ

ตอบว่า เรานี้แหละงามกว่าพวกท่าน. ภิกษุหนุ่มทั้งสองรูป

คิดว่า หลวงตาแก่รูปนี้ไม่ตอบคำที่เราถาม กลับตอบคำที่เรา

ไม่ได้ถาม จึงบริภาษแล้วหลีกไป. กิริยาของภิกษุสองรูปนั้น

ได้ปรากฏในหมู่สงฆ์.

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรม

ว่า ได้ข่าวว่า พระเถระผู้เฒ่าได้ทำให้ภิกษุหนุ่มอวดรูปโฉม

ทั้งสองนั้นได้อาย. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหนุ่ม

สองรูปนี้มิใช่ยกยอรูปแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน เธอทั้งสอง

ก็เที่ยวพร่ำเพ้อรูปเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นรุกขเทวดาอยู่ที่ฝั่งคงคา.

ครั้งนั้นมีปลาสองตัวอยู่แม่น้ำคงคาตัวหนึ่ง อยู่แม่น้ำยมุนาตัวหนึ่ง

ทุ่มเถียงกันเรื่องรูป ณ ที่แม่น้ำคงคาและยมุนามาบรรจบกันว่า

เรางาม ท่านซิไม่งาม เห็นเต่าเกาะอยู่ที่แม่น้ำคงคา ไม่ไกลจาก

ที่นั้นเท่าไร คิดกันว่า เต่านี้คงจักรู้ว่า พวกเรางามหรือไม่งาม

จึงเข้าไปหาเต่านั้น แล้วถามว่า เต่าผู้เป็นสหาย ปลาตัวที่อยู่

แม่น้ำคงคางามหรือปลาตัวที่อยู่แม่น้ำยมุนางาม. เต่าตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 298

ปลาตัวที่อยู่แม่น้ำคงคาก็งาม ตัวที่อยู่แม่น้ำยมุนาก็งาม แต่เรา

งามยิ่งกว่าเจ้าทั้งสองเสียอีก เมื่อจะประกาศความนี้ จึงกล่าว

คาถาแรกว่า :-

ปลาชื่อคังเคยยะก็งาม และปลาชื่อว่า ยมุนา

ก็งาม แต่บุรุษ ๔ เท้ามีปริมณฑลเพียงดังต้นไทร

มีคอยาวหน่อยหนึ่งผู้นี้ ย่อมรุ่งเรืองกว่าใคร

ทั้งหมด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จตุปฺปทาย พระเถระกล่าวหมายถึง

ตัวท่านเองว่า บุรุษผู้นี้มี ๔ เท้า. บทว่า นิโคฺรธปริมณฺฑโล คือ

มีปริมณฑลเพียงดังต้นไทรที่เกิดดีแล้ว. บทว่า อีสกายตคีโว

คือมีคอยาวดุจงอนรถ. บทว่า สพฺเพว อติโรจติ ความว่า เต่า

ผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงกล่าวว่า ผู้นี้ย่อมรุ่งเรืองยิ่งกว่าใคร

ทั้งหมด คือเรานี่แหละงามเกินพวกท่านทั้งหมด.

ปลาฟังคำเต่าแล้วกล่าวว่า เจ้าเต่าชั่วพ่อตัวดี เจ้าไม่

ตอบคำที่เราถามกลับไปตอบเป็นอย่างอื่นเสียนี่ แล้วกล่าวคาถา

ที่ ๒ ว่า :-

ท่านไม่บอกเหตุที่เราถาม เราถามอย่าง

หนึ่งท่านบอกเสียอย่างหนึ่ง คนสรรเสริญตนเอง

นี้ ไม่ชอบใจเราเลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตปฺปสสโก ได้แก่ คนชอบ

สรรเสริญตัวเอง คือ ยกย่องตัวเอง. บทว่า นาย อสฺมาก รุจฺจติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 299

ความว่า เต่าชั่วตัวนี้ ไม่ชอบใจ คือไม่พอใจเราเลย.

ปลาทั้งสองตัวพ่นน้ำใส่เต่าแล้วก็ได้ไปยังที่อยู่ของตน

ตามเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม

ชาดก. ปลาสองตัวในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุหนุ่มสองรูปในครั้งนี้

เต่าได้เป็นภิกษุแก่ ส่วนรุกขเทวดาผู้เกิดที่ฝั่งคงคาผู้เห็นเหตุการณ์

โดยตลอด คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาคังเคยยชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 300

๖. กุรุงคมิคชาดก

ว่าด้วยการร่วมมือกัน

[๒๖๑] ดูก่อนเต่า เราขอเตือน ท่านจงกัดบ่วงอัน

มีเกลียวแข็งด้วยฟัน เราจักทำอุบายไม่ให้นาย

พรานมาถึงเร็วได้.

[๒๖๒] เต่าก็ลงน้ำไป กวางก็เข้าป่าไป นก

สตปัตตะไปถึงต้นไม้แล้ว ก็พาลูก ๆ ไปอยู่ใน

ที่ห่างไกล.

จบ กุรุงคมิคชาดกที่ ๖

อรรถกถากุรุงคมิคชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อิงฺฆ วทฺธมย ปาส ดังนี้.

ความย่อมีอยู่ว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาทรงสดับว่า พระ-

เทวทัตพยายามจะปลงพระชนม์พระองค์ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เทวทัตพยายามจะปลงชีวิตของเรา มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น

แม้เมื่อก่อนก็พยายามเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นกวางอาศัยอยู่ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 301

ละเมาะแห่งหนึ่ง ไม่ไกลสระแห่งหนึ่งในป่า. ไม่ไกลสระนั้นมี

นกชื่อสตปัตตะ จับอยู่ที่ยอดไม้ต้นหนึ่ง. ก็ที่สระมีเต่าอาศัยอยู่.

สัตว์ทั้งสามนั้นเป็นสหายกัน ต่างอยู่กันด้วยความรัก. ครั้งนั้น

พรานเนื้อคนหนึ่งท่องเที่ยวไปในป่า พบรอยเท้าพระโพธิสัตว์

ที่ท่าลงน้ำดื่ม จึงดักบ่วงมีเกลียวแข็งแรงราวกับโซ่เหล็ก แล้ว

กลับไป. พระโพธิสัตว์มาดื่มน้ำ ติดที่บ่วงแต่ยามต้น จึงร้องให้รู้

ว่าติดบ่วงเข้าแล้ว. นกสตปัตตะได้ยินเสียงพระโพธิสัตว์ จึงลง

จากยอดไม้ เต่าก็ขึ้นจากน้ำ ปรึกษากันว่า จะควรทำอย่างไรดี.

นกสตปัตตะจึงบอกเต่าว่า สหายท่านมีฟันจงแทะบ่วงนี้เถิด เรา

จะไปคอยกันไม่ให้พรานมาได้ ด้วยความพยายามที่เราทั้งสอง

ทำอย่างนี้ สหายของเราจักรอดชีวิต เมื่อจะประกาศเนื้อความ

นี้ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนเต่าเราขอเตือน ท่านจงกัดบ่วงอัน

มีเกลียวแข็งด้วยฟัน เราจักทำอุบายไม่ให้นาย

พรานมาถึงเร็วได้.

เต่าจึงเริ่มแทะเชือกหนัง นกสตปัตตะก็จับคอยอยู่บนต้นไม้

ไม่ไกลจากบ้านที่นายพรานอยู่. นายพรานถือหอกออกแต่เช้าตรู่.

นกรู้ว่านายพรานออกก็โฉบปรบปีก เอาปากจิกนายพรานผู้จะ

ออกทางประตูหน้า. นายพรานคิดว่าเราถูกนกกาฬกัณณีตีเข้า

ให้แล้ว จึงกลับไปนอนเสียหน่อยหนึ่ง แล้วลุกขึ้นถือหอกไปอีก.

นกรู้ว่านายพรานนี้ออกไปทางประตูหน้า บัดนี้คงจะออกไปทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 302

ประตูหลัง จึงไปจับที่เรือนด้านหลัง ฝ่ายนายพรานคิดว่า เมื่อ

เราออกทางประตูหน้าก็พบนกกาฬกัณณี บัดนี้เราจะออกทาง

ประตูหลัง จึงออกไปทางประตูหลัง. นกก็โฉบลงเอาปากจิกอีก.

นายพรานคิดว่า เราถูกนกกาฬกัณณีตีอีก. บัดนี้นกนี้คงไม่ให้

เราออก นอนรอจนอรุณขึ้น จึงถือหอกออกไปในเวลาอรุณขึ้น.

นกรีบไปบอกแก่พระโพธิสัตว์ว่า พรานกำลังเดินมา. ในขณะนั้น

เต่ากัดเชือกขาดยังเหลืออีกเกลียวเดียว. แต่ฟันของเต่าชักจะ

เรรวนจวนจะร่วง ปากก็ฟูมไปด้วยเลือด. พระโพธิสัตว์เห็น

บุตรนายพรานถือหอก เดินมาด้วยความเร็วดุจฟ้าแลบ จึงกัด

เกลียวนั้นขาดเข้าป่าไป. นกจับอยู่บนยอดไม้. แต่เต่าคงนอน

อยู่ในที่นั้นเอง เพราะบอบช้ำมาก. พรานเห็นเต่า จึงจับใส่

กระสอบแขวนไว้ที่ตอไม้ต้นหนึ่ง. พระโพธิสัตว์กลับมาดูรู้ว่า

เต่าถูกจับไปจึงคิดว่า เราจักให้ช่วยชีวิตสหาย จึงทำเป็นคล้าย

จะหมดกำลังแสดงตนให้พรานเห็น. พรานคิดว่า เนื้อนี้คงหมด

แรง เราจักฆ่ามันเสียแล้วถือหอกติดตามไป. พระโพธิสัตว์ไป

ไม่ไกลไม่ใกล้นัก ล่อพรานเข้าป่าไป. ครั้นรู้ว่าพรานไปไกล

แล้ว จึงเหยียบรอยเท้าลวงไว้ แล้วไปเสียทางอื่นด้วยความเร็ว

ราวกะลมพัด เอาเขายกกระสอบขึ้นแล้วทิ้งลงบนพื้นดิน ขวิด

ฉีกขาดนำเต่าออกมาได้. แม้นกสตปัตตะก็ลงจากต้นไม้. พระ-

โพธิสัตว์เมื่อจะให้โอวาทแก่สัตว์ทั้งสอง จึงกล่าวว่า เราได้ชีวิต

ก็เพราะอาศัยพวกท่าน กิจที่ควรทำแก่สหาย พวกท่านก็ได้ทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 303

แก่เราแล้ว บัดนี้พรานคงจะมาจับท่านอีก เพราะฉะนั้น สหาย

สตปัตตะท่านจงพาลูกเล็ก ๆ ของท่านไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด สหาย

เต่า แม้ท่านก็จงลงน้ำไปเถิด. สัตว์ทั้งสองได้ทำตาม.

พระศาสดาตรัสรู้แล้ว ตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

เต่าก็ลงน้ำไป กวางก็เข้าป่าไป นกสต-

ปัตตะไปถึงต้นไม้แล้ว ก็พาลูก ๆ ไปอยู่ในที่

ห่างไกล.

แม้พรานมายังที่นั้น ไม่เห็นใคร ๆ หยิบกระสอบที่ขาด

ขึ้นแล้วก็เสียใจ กลับเรือนของตน. สัตว์ทั้งสามสหายก็มิได้ตัด

ความสนิทสนมกันจนตลอดชีวิต แล้วต่างก็ไปกันตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. นายพรานในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ นกสตปัตตะ

ได้เป็นสารีบุตร เต่าได้เป็นโมคคัลลานะ ส่วนกวาง คือเราตถาคต

นี้แล.

จบ อรรถกถากุรุงคมิคชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 304

๗. อัสสกชาดก

ไม่รู้ของจริงเพราะมีสิ่งใหม่ ๆ ปิดไว้

[๒๖๓] ประเทศนี้ ข้าพเจ้าผู้มีความจงรักได้เที่ยว

เล่นอยู่กับพระเจ้าอัสสกะ ผู้เป็นพระสวามีที่รัก

ผู้มีความประสงค์ตามความใคร่.

[๒๖๔] ความสุขและความทุกข์เก่า ถูกความสุข

และความทุกข์ใหม่ปกปิดไว้ เพราะฉะนั้น หนอน

จึงเป็นที่รักของข้าพเจ้ายิ่งกว่าพระเจ้าอัสสกะอีก.

จบ อัสสกชาดกที่ ๗

อรรถกถาอัสสกชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า อยมสฺสกราเชน ดังนี้.

ความย่อมีว่า ภิกษุนั้นพระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัส

ถามว่าเพราะเหตุไร เธอจึงกระสัน กราบทูลว่า เพราะภรรยา

เก่าพระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนั้นมีความรักใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 305

เธอมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเธอก็ได้รับทุกข์ใหญ่หลวง

เพราะอาศัยหญิงนั้นเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลพระราชาพระนามว่า อัสสกะ ครองราชสมบัติ

อยู่ในนครชื่อว่า ปาฏลิแคว้นกาสี. พระองค์มีอัครมเหสีพระนาม

ว่าอุพพรี เป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระองค์ มีรูปโฉมงดงาม

น่าดู มีพระฉวีเหนือมนุษย์ แต่ยังไม่ถึงวรรณะทิพย์. พระนางได้

สิ้นพระชนม์ลง. พระราชาทรงโศกาดูร เสวยทุกข์โทมนัสยิ่งนัก

เพราะการสิ้นพระชนม์ของพระนางนั้น. พระองค์ให้เชิญพระศพ

ของพระนางลงในรางแล้วใส่น้ำมันหล่อไว้ ยกไปตั้งไว้ใต้พระ-

แท่นไสยาสน์ ทรงอดพระกระยาหารบรรทมกันแสงปริเทวนาการ.

พระราชมารดาพระราชบิดา หมู่พระญาติมิตรอำมาตย์ พราหมณ์

คหบดีเป็นต้น พากันทูลปลอบโยนเป็นต้นว่า อย่าทรงเศร้าโศก

ไปเลย มหาราช สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง ก็ไม่สามารถ

ให้พระองค์ยินยอมได้. พระองค์ทรงรำพันอยู่เช่นนั้นล่วงไป ๗ วัน.

ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็นดาบสสำเร็จอภิญญาห้าและสมาบัติ

แปด อยู่ในหิมวันตประเทศ เจริญอาโลกกสิณตรวจดูชมพูทวีป

ด้วยทิพยจักษุ เห็นพระราชาปริเทวนาการอยู่อย่างนั้น ดำริว่า

เราควรเป็นที่พึ่งของพระราชาพระองค์นั้น จึงเหาะไปบนอากาศ

ด้วยอิทธานุภาพ แล้วลงไปในพระอุทยานนั่งเหนือแผ่นมงคลสิลา

ราวกะว่า พระปฏิมาทองคำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 306

ครั้งนั้นมาณพพราหมณ์ชาวนครพาราณสีคนหนึ่ง ไป

พระอุทยานเห็นพระโพธิสัตว์จึงนั่งลงไหว้. พระโพธิสัตว์กระทำ

ปฏิสันถารกับมาณพนั้นแล้วถามว่า มาณพพระราชาทรงตั้งอยู่

ในธรรมหรือ. มาณพตอบว่า ขอรับพระคุณเจ้า พระราชาทรง

ตั้งอยู่ในธรรม แต่พระมเหสีของพระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว

พระองค์เชิญพระศพของพระนางไว้ในรางแล้วทรงบรรทม

พร่ำเพ้อรำพันวันนี้เป็นวันที่ ๗ พระคุณเจ้าจะไม่ช่วยพระราชา

ให้พ้นจากทุกข์บ้างหรือ เมื่อมีผู้มีศีล เช่นท่านสมควรจะให้

พระราชาเสวยทุกข์เช่นนั้นหรือ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อน

มาณพ เราไม่รู้จักพระราชา หากพระราชาจะเสด็จมาถามเรา

เรานี่แหละจะทูลบอกที่ที่พระมเหสีไปเกิด จะให้พระนางตรัส

สนทนากับพระราชาทีเดียว. มาณพนั้นกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า

ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้านั่งรออยู่ที่นี้ จนกว่ากระผมจะทูลเชิญ

พระราชาเสด็จมา มาณพรับปฏิญญาของพระโพธิสัตว์แล้ว ไป

เฝ้าพระราชา กราบทูลความนั้น แล้วทูลพระองค์ควรเสด็จไป

ยังสำนักของท่านผู้มีจักษุทิพย์. พระราชาทรงดีพระทัยที่จะได้

ทรงเห็นพระนางอุพพรี. เสด็จขึ้นรถไปอุทยาน ไหว้พระโพธิสัตว์

แล้วนั่ง ณ ส่วนหนึ่งถามว่า ได้ยินว่าท่านรู้ที่เกิดของพระเทวี

จริงหรือ. พระโพธิสัตว์ทูลว่า จริงพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า เกิด

ที่ไหน. ทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระนางทรงมัวเมาในรูป อาศัย

ความเมาไม่ทรงทำกรรมดี จึงไปเกิดในกำเนิดหนอนมูลโค. ตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 307

ว่า ข้าพเจ้าไม่เชื่อ. ทูลว่า ถ้าเช่นนั้น อาตมาจะแสดงแก่พระองค์

แล้วให้พูด. ตรัสว่า ดีแล้ว จงให้พระนางพูดเถิด. พระโพธิสัตว์

ได้ทำให้หนอนสองตัวมาด้วยอานุภาพของตน โดยอธิษฐานว่า

ขอให้หนอนสองตัวจงชำแรกก้อนโคมัยออกมาเบื้องพระพักตร์

ของพระราชา. หนอนสองตัวก็ออกมาตามนั้น. พระโพธิสัตว์

เมื่อจะแสดงพระเทวี จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระเทวี

อุพพรีนี้จากพระองค์ไปแล้ว เดินตามหลังหนอนโคมัยมา ขอ

พระองค์จงทอดพระเนตรเถิด. พระราชาตรัสว่า พระคุณเจ้า

ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า สัตว์ที่เกิดในกำเนิดหนอนโคมัยชื่ออุพพรี.

พระโพธิสัตว์ทูลว่า มหาบพิตร อาตมาภาพจะให้หนอนนั้นพูด.

ตรัสว่า ให้พูดเถิดพระคุณเจ้า.

พระโพธิสัตว์เมื่อจะให้หนอนพูดด้วยอานุภาพของตน จึง

เรียกว่า แน่ะนางอุพพรี. นางหนอนพูดเป็นภาษามนุษย์ว่า อะไร

เจ้าคะ. พระโพธิสัตว์ถามว่า ในอัตภาพที่ล่วงแล้วท่านเป็นอะไร.

ตอบว่า ข้าพเจ้าเป็นมเหสีของพระเจ้าอัสสกะ ชื่ออุพพรีเจ้าคะ.

ถามว่า ก็เดี๋ยวนี้พระราชาอัสสกะยังเป็นที่รักของเจ้าหรือว่า หนอน

โคมัยเป็นที่รักของเจ้า. ตอบว่า ท่านเจ้าขา พระราชาเป็นพระ-

สวามีของข้าพเจ้าในชาติก่อน ครั้งนั้นข้าพเจ้าเที่ยวชื่นชมรูป

เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะกับพระราชานั้นในอุทยานนี้ แต่เดี๋ยวนี้

ตั้งแต่ข้าพเจ้าไปต่างภพกันแล้ว พระราชาอัสสกะจะเป็นอะไรกับ

ข้าพเจ้าเล่า บัดนี้ข้าพเจ้าจะสังหารพระเจ้าอัสสกะ เอาพระโลหิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 308

ในพระศอของพระองค์มาล้างเท้าของหนอนโคมัยผัวของข้าพเจ้า

เสีย แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยภาษามนุษย์ในท่ามกลาง

บริษัทว่า :-

ประเทศนี้เราผู้มีความจงรักได้เที่ยวเล่น

อยู่กับพระเจ้าอัสสกะผู้เป็นพระสวามีที่รัก ผู้มี

ความประสงค์ตามความใคร่.

ความสุขและความทุกข์เก่า ถูกความสุข

และความทุกข์ใหม่ปกปิดไว้ เพราะฉะนั้นหนอน

จึงเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าพระเจ้าอัสสกะอีก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อยมสฺสกราเขน เทโส วิจริโต มยา

ความว่า อุทยานประเทศอันน่ารื่นรมย์นี้ เราเคยเที่ยวไปกับ

พระเจ้าอัสสกะ. คำว่า อนุ ในบทว่า อนุกามยกาเมน เป็น

เพียงนิบาต. ความว่า เราผู้มีความใคร่ต่อพระเจ้าอัสสกะนั้น

ได้เที่ยวเล่นกับพระเจ้าอัสสกะผู้ใคร่เรา. บทว่า ปิเยน ได้แก่

เป็นที่รักในอัตภาพนั้น. บทว่า นเวน สุขทุกฺเขน โปราณ อปิถิยฺยติ

ความว่า นางหนอนกล่าวว่า ท่านเจ้าขา สุขเก่าถูกสุขใหม่ปกปิด

ครอบงำ ทุกข์เก่าถูกทุกข์ใหม่ปกปิดครอบงำ นี้เป็นธรรมดา

ของโลก. บทว่า ตสฺมา อสฺสกรญฺาว กีโฏ ปิยตโร มม. ความว่า

เพราะสุขทุกข์เก่าถูกสุขทุกข์ใหม่ปกปิด ฉะนั้น หนอนจึงเป็นที่รัก

ของข้าพเจ้ายิ่งกว่าพระเจ้าอัสสกะร้อยเท่าพันเท่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 309

พระเจ้าอัสสกะได้สดับดังนั้นแล้ว ทรงแค้นพระทัย ยัง

ประทับอยู่ ณ ที่นั้น รับสั่งให้ย้ายศพพระเทวีออกไป ทรงสรง

สนานพระเศียร แล้วไหว้พระโพธิสัตว์ เสด็จเข้าพระนคร ทรง

อภิเษกสตรีอื่นเป็นอัครมเหสี ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ถวายโอวาทพระราชาให้ทรงหายโศกแล้ว ก็

ได้กลับไปยังป่าหิมพานต์.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสัน

ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระเทวีอุพพรีในครั้งนั้นได้เป็นภรรยา

เก่า (ของภิกษุนั้น) ในครั้งนี้ พระเจ้าอัสสกะได้เป็นภิกษุกระสัน

มาณพได้เป็นสารีบุตร ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาอัสสกชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 310

๘. สุงสุมารชาดก

ว่าด้วยผู้มีปัญญาไม่สมกับตัว

[๒๖๕] เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลหว้า

และผลขนุนทั้งหลาย ที่ท่านเห็นฝั่งสมุทร มะเดื่อ

ของเราต้นนี้ดีกว่า.

[๒๖๖] ร่างกายของท่านใหญ่โตก็จริง แต่ปัญญา

หาสมแก่ร่างกายนั้นไม่ ดูก่อนจระเข้ ท่านถูกเรา

ลวงเสียแล้ว บัดนี้ ท่านจงไปตามสบายเถิด.

จบ สุงสุมารชาดกที่ ๘

อรรถกถาสุงสุมารชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเทวทัตพยายามปลงพระชนม์พระองค์ ตรัสพระ-

ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อลเมเตหิ อมฺเพหิ ดังนี้

ความย่อมีว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาทรงสดับว่า พระ-

เทวทัตพยายามจะฆ่าพระองค์ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เทวทัตพยายามจะฆ่าเรามิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็พยายาม

เหมือนกัน แต่ก็ไม่สามารถทำแม้เพียงให้หวาดสะดุ้งได้ แล้ว

ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 311

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดวานร ในหิมวันต-

ประเทศ มีกำลังดุจช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง ร่างกาย

ใหญ่ มีความงามพร้อม อาศัยอยู่ที่ราวป่าตรงคุ้งแม่น้ำ. ในกาล

นั้น จระเข้ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำคงคา. ภรรยาของจระเข้

เห็นร่างกายพระโพธิสัตว์ แล้วเกิดแพ้ท้องอยากกินเนื้อหัวใจ

ของพระโพธิสัตว์ จึงบอกจระเข้สามีว่า ผัวจ๋า น้องอยากกินเนื้อ

หัวใจของพญาลิงนั้น. ผัวบอกว่า น้องจ๋า เราเป็นสัตว์เที่ยวไป

ในน้ำ ลิงเป็นสัตว์เที่ยวไปบนบก เราจะจับลิงนั้นได้อย่างไรเล่า.

เมียบอกว่า พี่จระเข้ต้องหาอุบายจับมาให้ได้ หากจับมาไม่ได้

น้องขอตาย. ผัวปลอบว่า อย่าคิดมากไปเลยน้อง พี่มีอุบายอย่าง

หนึ่ง พี่จะให้น้องกินหัวใจพญาวานรนั้นให้จงได้ จึงเข้าไปหา

พระโพธิสัตว์ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา แล้ว

นั่งพัก ณ ฝั่งคงคา กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพญาวานร ท่านเดี๋ยว

กินผลกล้วยในถิ่นนี้ เที่ยวไปในที่ที่เคยไปอย่างเดียวเท่านั้นหรือ

ที่ฝั่งคงคาฟากโน้นมีผลไม้อร่อย เป็นต้นว่า มะม่วงและชมพู่ ไม่

รู้จักวาย ท่านไม่ควรไปเคี้ยวกินผลาผลที่ฝั่งโน้นบ้างหรือ.

พญาวานรตอบว่า ท่านพญากุมภีล์ แม่น้ำคงคามีน้ำมาก ทั้ง

กว้างใหญ่ ข้าพเจ้าจะข้ามไปได้อย่างไรเล่า. จระเข้กล่าวว่า

หากท่านจะไป ข้าพเจ้าจะให้ท่านขึ้นหลังเราไป พญาวานรเชื่อ

จึงย่อมตกลง. เมื่อจระเข้กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงมาขึ้นหลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 312

เรา พญาวานรจึงขึ้นหลังจระเข้. จระเข้พาไปได้หน่อยหนึ่งก็

ดำน้ำจมลง พระโพธิสัตว์กล่าวว่า สหายท่านแกล้งทำให้เรา

จมน้ำ นี่เรื่องอะไรกัน. จระเข้ตอบว่า เรามิได้พาท่านไปตาม

ธรรมดาดอก แต่เมียของเราเกิดแพ้ท้อง อยากกินหัวใจท่าน

เราประสงค์จะให้เมียของเรากินหัวใจท่านต่างหาก. พญาวานร

กล่าวว่า สหายที่ท่านบอกมาก็ดีแล้ว หากหัวใจอยู่ในท้องของเรา

เมื่อเรากระโดดไปตามยอดไม้ หัวใจก็จะพึงแหลกลาญหมด.

จระเข้ถามว่า ก็ท่านเอาหัวใจไปไว้ที่ไหนเล่า. พระโพธิสัตว์ชี้

ให้ดูต้นมะเดื่อต้นหนึ่งไม่ไกลนัก มีผลสุกเป็นพวงแล้วกล่าวว่า

ท่านจงดูหัวใจของข้าพเจ้าแขวนไว้ที่ต้นมะเดื่อนั่น. จระเข้กล่าว

ว่า หากท่านให้หัวใจแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่ฆ่าท่าน. พญา-

วานรกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนำเราไปที่นั่นเถิด เราจะให้

หัวใจที่แขวนอยู่บนต้นมะเดื่อแก่ท่าน. จระเข้จึงพาพญาวานร

ไป ณ ที่นั้น. พระโพธิสัตว์จึงกระโดดจากหลังจระเข้ไปนั่งบน

ต้นมะเดื่อ กล่าวว่า สหายจระเข้หน้าโง่ เจ้าเข้าใจว่า ธรรมดา

หัวใจของสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้อยู่บนยอดไม้หรือ เจ้าเป็นสัตว์โง่

เราจึงลวงเจ้าได้ ผลาผลของเจ้าก็จงเป็นของเจ้าเถิด เจ้าก็ใหญ่

แต่ตัวเท่านั้น แต่หามีปัญญาไม่ เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้

ได้กล่าวคาถานี้ว่า :-

เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลชมพู่

และขนุนทั้งหลาย ที่ท่านเห็นฝั่งสมุทร ผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 313

มะเดื่อของเราต้นนี้ดีกว่า.

ร่างกายของท่านใหญ่โตก็จริง แต่ปัญญา

ไม่สมกับร่างกายเลย ดูก่อนจระเข้เจ้าถูกเราลวง

เสียแล้ว บัดนี้เจ้าจงไปตามสบายเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อลเมเตหิ ความว่า เราไม่ต้องการ

ผลไม้ที่ท่านเห็นบนเกาะ. บทว่า วร มยฺห อุทุมฺพโร คือ มะเดื่อ

ต้นนี้ของเราดีกว่า. บทว่า ตทูปิกา ความว่า เจ้ามีปัญญานิดเดียว

ไม่สมกับร่างกายของเจ้าเลย. บทว่า คจฺฉทานิ ยถาสุข ความว่า

เจ้าจงไปตามสบายเถิด อธิบายว่า อุบายที่เจ้าจะได้เนื้อหัวใจ

ไม่มีแล้ว.

จระเข้เป็นทุกข์เสียใจ ซบเซาดุจเสียพนันแพ้ไปตั้งพัน

ได้กลับไปที่อยู่ของตนตามเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. จระเข้ในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ นางจระเข้ได้

เป็นนางจิญจมาณวิกา ส่วนพญาวานร คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสุงสุมารชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 314

๙. กักกรชาดก

ว่าด้วยผู้ฉลาดเอาตัวรอดได้

[๒๖๗] ต้นหูกวางและสมอพิเภกทั้งหลายในป่า

เราเคยเห็นแล้วต้นไม้เหล่านั้น ย่อมเดินไปเหมือน

กับท่านไม่ได้.

[๒๖๘] ไก่ตัวเก่าที่แหกกรงหนีมานี้ เป็นไก่ฉลาด

ในบ่วงขนสัตว์ ย่อมหลีกไปและยังขันเย้ยเสีย

ด้วย.

จบ กักกรชาดกที่ ๙

อรรถกถากักกรชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุหนุ่มผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดี

สารีบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิฏฺา มยา

วเน รุกฺขา ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปนั้น เป็นผู้ฉลาดในการรักษา

ร่างกายของตน. ไม่ฉันของเย็นจัด ร้อนจัด เพราะเกรงว่าร่างกาย

จะไม่สบาย ไม่ออกไปข้างนอก เพราะเกรงว่าร่างกายจะกระทบ

หนาวและร้อน ไม่ฉันจังหันที่แฉะและเป็นท้องเล็น. เพราะภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 315

หนุ่มนั้นเป็นผู้ฉลาดในการรักษาร่างกาย จึงปรากฏไปในท่าม

กลางสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันว่า อาวุโสทั้งหลาย

ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปนั้นเป็นผู้ฉลาด ในการรักษาร่างกาย

เป็นอย่างดี. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุหนุ่มรูปนี้

มิใช่ฉลาดในการรักษาร่างกายในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเธอ

ก็เป็นผู้ฉลาดเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นรุกขเทวดาอยู่ในราวป่าใหญ่.

ครั้งนั้นมีพรานนกคนหนึ่ง อุ้มไก่ต่อตัวหนึ่ง ถือบ่วงและแร้ว

เที่ยวดักไก่ในป่าอยู่ เริ่มจะดักไก่ตัวหนึ่งซึ่งเป็นไก่ของตนมาก่อน

หนีเข้าป่าไป. ไก่ตัวนั้นเพราะเข้าใจในบ่วงจึงไม่ยอมเข้าติดบ่วง

ถอยหนีไปเรื่อย ๆ. นายพรานจึงเอากิ่งไม้และใบไม้คลุมกำบัง

ตนไว้ เลื่อนคันแร้วและบ่วงตามไปเรื่อย ๆ. ฝ่ายไก่อยากจะ

ให้นายพรานละอายใจ จึงพูดเป็นภาษามนุษย์ กล่าวคาถาแรกว่า :-

ต้นหูกวาง และสมอพิเภกทั้งหลายในป่า

เราเคยเห็นแล้ว ต้นไม้เหล่านั้นย่อมเดินไปเหมือน

กับท่านไม่ได้.

คาถานั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนสหายพราน เราเคยเห็นต้น

หูกวางและสมอพิเภกเป็นอันมากเกิดในป่านี้ ต้นไม้เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 316

ไม่เคลื่อน ไม่ก้าว ไม่เดินเหมือนท่านก้าวเคลื่อนเดินไปทางโน้น

ทางนี้ได้ฉะนั้น.

ก็และครั้นไก่นั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงได้หนีไปเสียที่อื่น.

ในเวลาที่ไก่หนีไป นายพรานจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ไก่ตัวเก่าที่แหกกรงหนีมาได้นี้ เป็นไก่

ฉลาดในบ่วงขนสัตว์ ย่อมหลีกไปและยังขันเย้ย

เสียด้วย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กุสโล วาลปาสาน ความว่า ไก่

ฉลาดในบ่วงขนสัตว์ ไม่ให้จับตัวได้ย่อมหนีไป และยังขันเย้ย

เสียด้วย ครั้นขันเย้ยแล้วไก่ก็หนีไป.

ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พรานก็เที่ยวไปในป่าจับไก่ตาม

ที่ดักได้กลับเรือน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. พรานในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. ไก่ได้เป็นภิกษุ

หนุ่มผู้ฉลาดในการรักษาร่างกาย ส่วนรุกขเทวดาผู้เห็นเหตุการณ์

อย่างประจักษ์ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากักกรชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 317

๑๐. กันทคลกชาดก

นกหัวขวานตายเพราะไม้แก่น

[๒๖๙] ดูก่อนผู้เจริญ ต้นไม้ที่มีใบละเอียดมี

หนามนี้เป็นต้นไม้อะไร เราเจาะเพียงครั้งเดียว

ทำให้สมองศีรษะแตกได้.

[๒๗๐] นกกันทคลกะตัวนี้ เมื่อเจาะหมู่ไม้อยู่ใน

ป่า ได้เคยเที่ยวเจาะแต่ไม้แห้งที่ไม่มีแก่น ภาย

หลังมาพบเอาต้นตะเคียนซึ่งมีกำเนิดเป็นไม้แก่น

อันเป็นที่ทำลายสมองศีรษะ.

จบ กันทคลชาดกที่ ๑๐

อรรถกถากันทคลกชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุเลียนเอาอย่างพระสุคต ตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า อมฺโภ โกนามย ลุทฺโท ดังนี้.

เรื่องย่อมีอยู่ว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาทรงสดับว่า พระ-

เทวทัตได้เลียนเอาอย่างพระสุคต จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เทวทัตเลียนอย่างเรา ถึงความพินาศ มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้

เมื่อก่อนเทวทัตก็ได้ถึงความพินาศมาแล้ว ทรงนำเรื่องอดีต

มาตรัสเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 318

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกหัวขวาน ใน

หิมวันตประเทศ. เที่ยวหาอาหารในป่าไม้ตะเคียน. นกหัวขวาน

นั้นมีชื่อว่าขทิรวนิยะ. มีนกสหายตัวหนึ่ง ชื่อกันทคลกะ. นก

กันทคลกะเที่ยวหากินอยู่ในป่าไม้ทองหลาง. วันหนึ่งนกกันทคลกะ

ได้ไปหานกขทิรวนิยะ. นกขทิรวนิยะดีใจว่าสหายของเรามาแล้ว

จึงพานกกันทคลกะเข้าไปยังป่าไม้ตะเคียน ใช้จงอยปากเคาะ

ลำต้นตะเคียน ได้ตัวสัตว์ออกจากต้นไม้นั้นมาให้. นกกันทคลกะ

จิกกินสัตว์ที่สหายให้แล้ว ๆ เล่า ๆ ดุจขนมอร่อย. เมื่อนก

กันทคลกะจิกกินอยู่นั้น จึงเกิดมานะขึ้นว่า นกขทิรวนิยะแม้นี้

ก็เกิดในกำเนิดนกหัวขวาน แม้เราก็เกิดในกำเนิดเดียวกัน ทำไม

เราจะต้องอาศัยเหยื่อที่เขาให้เล่า เราจักหาเหยื่อในป่าตะเคียน

เอง.

นกกันทคลกะกล่าวกะนกขทิรวนิยะว่า สหายท่าน อย่า

ลำบากเลย เรานี่แหละจักหากินในป่าตะเคียนเอง. ลำดับนั้น

นกขทิรวนิยะ จึงกล่าวว่า ดูก่อนสหายท่าน ด้วยการหากินใน

ป่าไม้ไม่มีแก่น เช่นไม้งิ้วและไม้ทองหลางเป็นต้น ส่วนไม้ตะเคียน

เป็นไม้แก่นแข็ง จะทำอย่างนั้นรู้สึกไม่พอใจเราเลย. นกกันทคลกะ

กล่าวว่า เรามิได้เกิดในกำเนิดนกหัวขวานดอกหรือ ไม่เชื่อคำ

ของนกขทิรวนิยะ ผลุนผลันไป เอาจงอยเคาะต้นตะเคียน. ทันใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 319

นั้นเองจงอยปากของนกกันทคลกะหักทันที ตาทะเล้น หัวแตก

ไม่อาจจับอยู่บนยอดไม้นั้นได้ ตกลงพื้นดิน กล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนผู้เจริญ ต้นไม้ที่มีใบละเอียด มี

หนามนี้เป็นต้นไม้อะไร เราเจาะเพียงครั้งเดียว

ทำให้สมองศีรษะแตกได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อมฺโภ โก นามย รุกฺโข ความว่า

ดูก่อนนกขทิรวนิยะผู้เจริญ ต้นไม้นี้ชื่อไม้อะไร. บาลีว่า โกนามโส

บ้าง. บทว่า สินฺนปตฺโต คือ ใบละเอียด. บทว่า ยตฺถ เอกปฺปหาเรน

ได้แก่ ด้วยการเจาะครั้งเดียวที่ต้นไม้. บทว่า อุตฺตมงฺค วิสาฏิต

ได้แก่ หัวแตก ไม่เพียงหัวเท่านั้น แม้จงอยปากก็หัก. นกกันทคลกะ

ไม่สามารถจะรู้จักต้นตะเคียนว่า เป็นต้นอะไร เพราะเจ็บปวดมาก

ได้รับเวทนาจึงพร่ำเพ้อด้วยคาถานี้.

นกขทิรวนิยะฟังคำเพ้อของนกกันทคลกะ แล้วจึงกล่าว

คาถาที่ ๒ ว่า :-

นกกันทคลกะ เมื่อเจาะหมู่ไม้อยู่ในป่า

ได้เคยเที่ยวเกาะแต่ไม้แห้งที่ไม่มีแก่น ภายหลัง

มาพบเอาต้นตะเคียนซึ่งมีกำเนิดเป็นไม้แก่นอัน

เป็นที่ทำลายสมองศีรษะ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อจาริ วตาย ได้แก่ นกกันทคลกะ

นี้ได้เที่ยวไป. บทว่า วิตุท วนานิ ความว่า เจาะ คือจิกไม้ไม่มีแก่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 320

เช่นงิ้ว ทองหลาง เป็นต้น. บทว่า กฏฺงฺครุกฺเขสุ ได้แก่ ไม้แห้ง.

บทว่า อสารเกสุ ได้แก่ ไม้ไม่มีแก่น มีทองหลางและงิ้วเป็นต้น.

บทว่า อถาสทา ขทิร ชาตสาร ความว่า ภายหลังมาพบต้นตะเคียน

มีแก่นออกมาตั้งแต่ยังเล็ก. บทว่า ยตฺถพฺภิทา ในบทว่า ยตฺถพฺ-

ภิทา คุรุโฬ อุตฺตมงฺค ได้แก่ เจาะคือจิกที่ต้นไม้ใด.

นกขทิรวนิยะ พูดกะนกกันทคลกะนั้นว่า ดูก่อนกันทคลกะ

ผู้เจริญ ต้นตะเคียนนี้เป็นไม้แก่นที่ทำลายสมองศีรษะ. นก-

กันทคลกะได้ถึงแก่ความตายในที่นั้นเอง.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. กันทคลกะในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วนนก

ขทิรวนิยะ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากันทคลกชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พันธนาคารชาดก ๒. เกฬิสิลชาดก ๓. ขันธปริตต-

ชาดก ๔. วีรกชาดก ๕. คังเคยยชาดก ๖. กุรุงคมิคชาดก

๗. อัสสกชาดก ๘. สุงสุมารชาดก ๙. กักกรชาดก ๑๐. กัน-

ทคลกชาดก.

จบ นตังทัฬหวรรคที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 321

๗. พีรณัตถัมภกวรรค

๑. โสมทัตตชาดก

ว่าด้วยอาการของผู้ขอ

[๒๗๑] ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นนิจ ได้ทำความ

เพียรอยู่ในป่าช้า ชื่อพีรณัตถัมภกะถึงหนึ่งปี ครั้น

เข้าประชุมบริษัท กลับกล่าวให้ผิดพลาดไป

ความเพียรย่อมป้องกันผู้ปราศจากปัญญาไม่ได้.

[๒๗๒] ดูก่อนพ่อโสมทัตต์ บุคคลผู้ขอ ย่อมประ-

สบอาการ ๒ อย่าง คือได้ทรัพย์ ๑ ไม่ได้ทรัพย์ ๑

เพราะว่าการขอมีอาการอย่างนี้เป็นธรรมดา.

จบ โสมทัตตชาดกที่ ๑

อรรถกถาพีรณัตถัมภกวรรคที่ ๗

อรรถกถาโสมทัตตชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระโลฬุทายีเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า อกาสิ โยคฺค ดังนี้.

เรื่องย่อมีว่า พระโลฬุทายีเถระนั้น ไม่สามารถจะกล่าว

คำแม้สักคำเดียวได้สำเร็จ ในระหว่างชนสองสามคน เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 322

ประหม่าครั่นคร้ามคิดจะพูดคำหนึ่งกลับไปพูดอีกคำหนึ่ง. ภิกษุ

ทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงเรื่องราวของพระเถระนั้น. พระศาสดา

เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุม

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบ

แล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลฬุทายีมิใช่เป็นผู้ประหม่า

ครั่นคร้ามแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็เป็นผู้ประหม่าครั่น-

คร้ามเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ตระกูล

หนึ่ง ในแคว้นกาสี ครั้นเจริญวัยเรียนศิลปะในเมืองตักกสิลา

ครั้นสำเร็จแล้วจึงกลับมาเรือน รู้ว่ามารดาบิดายากจนคิดว่า

เราจักกู้ตระกูลที่ตกต่ำ จึงอำลามารดาบิดาไปรับราชการใน

กรุงพาราณสี. พระโพธิสัตว์เป็นที่รักโปรดปรานของพระราชา.

ครั้งนั้นเมื่อบิดาของพระโพธิสัตว์ซึ่งไถนาเลี้ยงชีพด้วยโคสองตัว

โคตัวหนึ่งได้ตายไป. บิดาจึงไปหาพระโพธิสัตว์กล่าวว่า นี่แน่ะ

ลูก โคตายไปเสียตัวหนึ่งแล้ว เลยทำกสิกรรมไม่ได้ ลูกจงขอ

พระราชทานโคกะพระราชาสักตัวหนึ่งเถิด. พระโพธิสัตว์กล่าว

ว่า พ่อจ๋า ลูกรับราชการยังไม่นานนัก จะทูลขอโคในตอนนี้ยัง

ไม่สมควร พ่อทูลขอเองเถิด. พราหมณ์กล่าวว่า นี่ลูก ลูกไม่รู้

ว่าพ่อเป็นคนประหม่าครั่นคร้ามดอกหรือ ต่อหน้าคนสองสามคน

พ่อไม่อาจจะพูดได้ถูกต้องนัก หากพ่อจะไปเฝ้าทูลขอโค พ่อคง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 323

จะถวายโคตัวนี้เสียก็ได้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า จะอย่างไรก็ตาม

เถิดพ่อ ลูกไม่อาจทูลขอโคได้ เอาอย่างนี้เถิดพ่อ ลูกจะซักซ้อม

ให้พ่อเอง. พราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นลูกจงซ้อมพ่อให้ดีก็แล้ว

กัน. พระโพธิสัตว์พาบิดาไปป่าช้าชื่อพีรณัตถัมภกะ มัดฟ่อน

หญ้าไว้เป็นแห่ง ๆ สมมตินามแสดงแก่บิดาตามลำดับว่า นี้พระ-

ราชา นี้อุปราช นี้เสนาบดี แล้วกล่าวว่า พ่อจ๋าพ่อไปเฝ้าพระ-

ราชาแล้ว จงกราบถวายพระพรว่า ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ

เถิด แล้วจึงค่อยกล่าวคาถานี้ทูลขอโค จึงให้บิดาเรียนคาถาว่า :-

ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้ามีโค

สำหรับไถนาอยู่สองตัว ในโคสองตัวนั้นตายเสีย

ตัวหนึ่งแล้ว ขอพระองค์โปรดพระราชทานโค

ตัวที่สองเถิดพระเจ้าข้า.

พราหมณ์เรียนคาถานี้ได้คล่องแคล่วเป็นเวลาหนึ่งปี แล้ว

จึงบอกพระโพธิสัตว์ว่า โสมทัต ลูกพ่อ พ่อจำคาถาได้คล่องแล้ว

บัดนี้พ่อสามารถจะกล่าวได้ไม่ว่าในสำนักใด ๆ ลูกจงนำพ่อไป

เฝ้าพระราชาเถิด. พระโพธิสัตว์รับว่า ดีแล้วพ่อ จึงให้จัดหา

เครื่องบรรณาการนำบิดาไปเฝ้าพระราชา. พราหมณ์กราบทูล

ว่า ขอมหาราชเจ้าจงทรงพระเจริญเถิดพระเจ้าข้า แล้วทูลถวาย

เครื่องบรรณาการ. พระราชาตรัสว่า โสมทัต พราหมณ์ผู้นี้

เป็นอะไรกับเจ้า. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้าเป็นบิดาของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 324

ข้าพระพุทธเจ้า พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า มาธุระอะไร. ขณะนั้น

พราหมณ์ เมื่อจะกล่าวคาถาทูลขอโค จึงทูลว่า :-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้ามีโค

สำหรับไถนาอยู่สองตัว ในโคสองตัวนั้นตายเสีย

ตัวหนึ่งแล้ว ขอพระองค์โปรดรับตัวที่สองไป

เถิด พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงทราบว่า พราหมณ์พูดผิด ทรงพระสรวล

ตรัสถามว่า โสมทัต ในเรือนเจ้าเห็นจะมีโคหลายตัวซินะ. โสมทัต

กราบทูล ขอเดชะข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์พระราชทานแล้ว

ก็จักมีมากพระเจ้าข้า. พระราชาทรงโปรดปรานพระโพธิสัตว์

พระราชทานโค ๑๖ ตัว กับเครื่องประดับ และบ้านสำหรับ

อยู่เป็นรางวัลด้วย แล้วทรงส่งพราหมณ์ไปด้วยศยิ่งใหญ่.

พราหมณ์ขึ้นรถเทียมด้วยม้ามีขาวล้วน ได้ไปบ้านพร้อมด้วย

บริวารใหญ่. พระโพธิสัตว์นั่งไปในรถกับบิดา กล่าวว่า พ่อ

ลูกทำการซ้อมมาทั้งปี แต่พอถึงคราวเอาจริงเอาจังเข้า พ่อ

กลับทูลถวายโคของพ่อแด่พระราชาเสียนี่ แล้วกล่าวคาถา

แรกว่า :-

ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นนิจ ได้ทำความ

เพียรอยู่ในป่าช้าชื่อ พีรณัตถัมภกะถึงหนึ่ง

ครั้นเข้าประชุมบริษัทกลับกล่าวให้ผิดพลาดไป

ความเพียรย่อมป้องกันผู้ปราศจากปัญญามิได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 325

ในบทเหล่านั้น บทว่า อกาสิ โยคฺค ธุว อปฺปมตฺโต

สวจฺฉร วีรณตฺถมฺภกสฺมึ ความว่า พ่อจ๋า พ่อไม่ประมาทเป็น

นิจ ได้ทำการซักซ้อมที่ป่าช้าชื่อ พีรณัตถัมภกะถึงหนึ่งปี. บทว่า

พฺยากาสิ อญฺ ปริส วิคยฺห ความว่า ครั้นพ่อเข้าประชุม

บริษัท ได้ทำเป็นอย่างอื่น คือได้ทำพลาดไป ได้แก่เปลี่ยนแปลง

ไป. บทว่า น นิยฺยโม ตายติ อปฺปปญฺ ความว่า ความเพียร

ย่อมไม่ป้องกัน คือไม่รักษาบุคคลผู้มีปัญญาน้อยแม้ทำบ่อย ๆ ได้.

พราหมณ์ฟังคำของพระโพธิสัตว์ แล้วจึงกล่าวคาถา

ที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนพ่อโสมทัต บุคคลผู้ขอย่อมประสบ

อาการสองอย่างคือ ได้ทรัพย์ ๑ ไม่ได้ทรัพย์ ๑

เพราะว่าการขอมีอาการอย่างนี้เป็นธรรมดา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอว ธมฺมา หิ ยาจนา ได้แก่ เพราะ

การขอมีสภาพเป็นอย่างนี้.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลฬุทายีมิใช่

เป็นผู้ประหม่าครั่นคร้ามในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็เป็นผู้

ประหม่าครั่นคร้าม แล้วทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรง

ประชุมชาดก. บิดาของโสมทัตได้เป็นโลฬุทายี ส่วนโสมทัต

คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาโสมทัตตชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 326

๒. อุจฉิฏฐภัตตชาดก

นางพราหมณีหาชายชู้

[๒๗๓] อาการข้าวข้างบนเป็นอย่างหนึ่ง อาการ

ข้าวข้างล่างเป็นอย่างหนึ่ง ดูก่อนนางพราหมณี

ฉันขอถามท่านหน่อยเถิด เหตุไรข้าวข้างล่างจึง

เย็น ข้างบนจึงร้อนนิดหน่อย.

[๒๗๔] ดูก่อนท่านผู้เจริญ ฉันเป็นคนฟ้อนรำ

เที่ยวขอมาจนถึงที่นี่ ก็ชายชู้ของนางพราหมณี

นี้ ลงไปซ่อนอยู่ในยุ้ง ท่านเสาะหาผู้ใด ผู้นั้น

คือชายชู้ผู้นี้เอง

จบ อรรถกถาอุจฉิฏฐภัตตชาดกที่ ๒

อรรถกถาอุจฉิฏฐภัตตชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี

คำเริ่มต้นว่า อญฺโ อุปริโม วณฺโณ ดังนี้.

ความย่อมีว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อน

ภิกษุได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง

พระเจ้าข้า ตรัสถามว่า ใครทำให้เธอกระสัน กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 327

ภรรยาเก่าพระเจ้าข้า. ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า

ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้เป็นผู้ทำความเสื่อมเสียให้เธอ แม้ในครั้งก่อน

ได้ให้เธอบริโภคอาหารเหลือเดนของชายชู้ตน แล้วทรงนำเรื่อง

อดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคนฟ้อนรำที่ยากจน

เที่ยวขอภิกษาเขาเลี้ยงชีพตระกูลหนึ่ง ครั้นเติบใหญ่ เป็นคน

เข็ญใจ รูปชั่วเที่ยวขอภิกษาเลี้ยงชีพ. ในครั้งนั้น พราหมณีของ

พราหมณ์คนหนึ่งในหมู่บ้านแคว้นกาสี เป็นหญิงทุศีล ลามก

ประพฤตินอกใจผัว.

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพราหมณ์ไปทำธุระนอกบ้าน ชายชู้

ของพราหมณีเห็นได้โอกาสจึงเข้าไปเรือนนั้น. นางประพฤติ

นอกใจร่วมกับชายชู้แล้วกล่าวว่า เชิญบริโภคอาหารสักครู่หนึ่ง

จึงค่อยกลับไป จัดแจงหาอาหารคดข้าวร้อน ๆ พร้อมด้วยแกง

และกับ ให้ชายชู้นั้น กล่าวเชิญให้บริโภค นางเองยืนที่ประตู

คอยดูพราหมณ์กลับมา. พระโพธิสัตว์ยืนคอยขอก้อนข้าวอยู่ในที่

ชายชู้ของพราหมณ์บริโภค. ขณะนั้นพราหมณ์เดินตรงมาบ้าน.

พราหมณีเห็นพราหมณ์มา จึงรีบเข้าไปบอกว่า ลุกขึ้นเถิด

พราหมณ์กำลังมา แล้วให้ชายชู้ลงไปในยุ้งข้าวในเวลาที่พราหมณ์

เข้าไปนั่งแล้ว นางจึงเอาแผ่นกระดานไปให้ ให้น้ำล้างมือ

คดข้าวร้อน ๆ ไว้ข้างบนข้าวเย็นที่เหลือจากชายชู้บริโภค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 328

ให้พราหมณ์. พราหมณ์เอื้อมมือลงไปในข้าว เห็นข้าวข้างบน

ร้อน ข้างล่างเย็น จึงคิดว่าข้าวนี้คงเป็นข้าวเหลือเดนจากคนอื่น

กิน. พราหมณ์เมื่อจะถามพราหมณี จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

อาการข้าวข้างบนเป็นอย่างหนึ่ง อาการ

ข้าวข้างล่างเป็นอย่างหนึ่ง ดูก่อนพราหมณี ฉัน

ขอถามเจ้าหน่อยเถิด เหตุไรข้าวข้างล่างจึงเย็น

ข้างบนจึงร้อนนิดหน่อย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วณฺโณ คืออาการ. เพราะพราหมณ์

เมื่อจะถามความที่ข้าวข้างบนร้อน และข้างล่างเย็น จึงกล่าว

อย่างนี้. บทว่า กึ เหฏฺา กิญฺจ อุปริ ความว่า แน่ะนางธรรมดา

ข้าวที่คดข้างบนควรจะเย็น ข้างล่างควรจะร้อน แต่นี่ไม่เป็น

เช่นนั้น เพราะเหตุนั้นเราจึงถามเจ้าว่า เพราะเหตุไรข้าวข้างบน

จึงร้อน ข้างล่างจึงเย็น.

พราหมณีแม้เมื่อพราหมณ์ถามอยู่บ่อย ๆ ก็ยังนิ่งเฉย

เพราะเกรงว่ากรรมที่ตนทำไว้จะเปิดเผยขึ้น. ในขณะนั้น บุตร

คนฟ้อนมีความคิดว่า บุรุษที่ถูกให้นั่งในยุ้งคงจะเป็นชายชู้

บุรุษผู้นี้คงเป็นเจ้าของบ้าน. ส่วนพราหมณีไม่พูดอะไร ๆ

เพราะเกรงว่ากรรมที่ตนทำจะปรากฏ เอาเถิดเราจะประกาศ

กรรมของหญิงนี้ จักบอกถึงความที่ชายชู้ถูกซ่อนไว้ในยุ้งแก่

พราหมณ์. บุตรคนฟ้อนจึงบอกพฤติกรรมทั้งหมด ตั้งแต่พราหมณ์

ออกจากเรือนไป ชายชู้เข้าไปในเรือน ประพฤติล่วงเกินบริโภค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 329

อาหารอย่างดี พราหมณียืนคอยดูทางที่ประตู จนถึงชายชู้ถูก

ให้ลงยุ้ง แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนท่านผู้เจริญ ฉันเป็นคนฟ้อนรำ

เที่ยวขอมาจนถึงที่นี่ ก็ชายชู้ของพราหมณีนี้

ลงไปซ่อนอยู่ในยุ้ง ท่านเสาะหาผู้ใด ผู้นั้นคือ

ชายชู้ผู้นี้เอง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อห นโฏสฺมิ ภทฺทนฺเต ความว่า

นาย ข้าพเจ้าเป็นนักฟ้อนเป็นคนกำพร้า. บทว่า ภิกฺขโกสฺมิ

อิธาคโต ความว่า ข้าพเจ้าเที่ยวขอมาถึงที่นี่. บทว่า อย หิ

โกฏฺโมติณฺโณ ความว่า ก็ชายชู้ของหญิงนี้กำลังบริโภคอาหาร

อยู่ ลงไปเพราะกลัวท่าน จึงลงไปซ่อนอยู่ในยุ้ง. บทว่า อย

โส คเวสติ ความว่า เขาผู้นั้นแหละคือผู้ที่ท่านค้นหาอยู่ว่า ข้าว

เหลือเดนนี้เป็นของใครหนอ. ท่านจงจับมวยผมของชายชู้ผู้นั้น

แล้วโบยนำออกจากยุ้ง จงสั่งสอนเขาไม่ให้กระทำอย่างนี้อีก

พระโพธิสัตว์กล่าวแล้วก็หลีกไป. พราหมณ์ก็สั่งสอนคนทั้งสอง

ไม่ให้ทำความชั่วเช่นนี้อีกด้วยการขู่และตบตี เสร็จแล้วก็ไป

ตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 330

ตั้งอยู่ในโสดาบัน พราหมณีในครั้งนั้นได้เป็นภรรยาเก่าในครั้งนี้

พราหมณ์ได้เป็นภิกษุผู้กระสัน ส่วนบุตรคนฟ้อนรำคือ เราตถาคต

นี้แล.

จบ อรรถกถาอุจฉิฏฐภัตตชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 331

๓. ภรุราชชาดก

ประทุษร้ายผู้มีศีลย่อมวิบัติ

[๒๗๕] เราได้ฟังมาว่า พระราชาในภรุรัฐ ได้

ทรงประทุษร้ายต่อฤๅษีทั้งหลายแล้ว ทรงประสบ

ความวิบัติพร้อมทั้งแว่นแคว้น.

[๒๗๖] เพราะฉะนั้นแลบัณฑิตทั้งหลายจึงไม่

สรรเสริญการลุอำนาจแก่ฉันทาคติ บุคคลไม่ควร

จิตคิดร้าย ควรกล่าวแต่คำที่อิงความจริง.

จบ ภรุราชาดกที่ ๓

อรรถกถาภรุราชชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อิสีนมนฺตร กตฺวา ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า ลาภและสักการะได้เกิดขึ้นเป็น

อันมากแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. ดังที่พระธรรม-

สังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 332

บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชและบริขารทั้งหลาย

แม้ภิกษุสงฆ์ก็เหมือนอย่างนั้น แต่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

ทั้งหลาย ไม่มีใครสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม

ไม่ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชและบริขาร

ทั้งหลาย. พวกปริพาชกเหล่านั้น เสื่อมจากลาภและสักการะ

อย่างนี้ จึงประชุมลับปรึกษากันทั้งกลางวันและกลางคืนว่า

ตั้งแต่พระสมณโคดมอุบัติมา พวกเราเสื่อมจากลาภและสักการะ

พระสมณโคดมกลับได้ลาภและยศอย่างเลิศลอย สมบัตินี้เกิด

แก่พระสมณโคดมด้วยเหตุไรหนอ. ในหมู่ปริพาชกเหล่านั้น

พวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมอยู่ทำเลดีเป็นที่อุดม

สมบูรณ์ของชมพูทวีปทั้งสิ้น เหตุนั้นลาภสักการะจึงเกิดแก่

สมณโคดม. พวกที่เหลือกล่าวว่า นั่นก็มีเหตุผลอยู่ แม้พวกเรา

หากจะสร้างอารามเดียรถีย์ขึ้นที่หลังเชตวันมหาวิหาร ก็คงจัก

มีลาภอย่างนั้นบ้าง. พวกปริพาชกทั้งหมดลงความเห็นกันว่า

เอาเป็นอย่างนั้น จึงตกลงกันต่อไปว่า ก็ถ้าพวกเราจักไม่กราบทูล

พระราชาเสียก่อนสร้างอาราม พวกภิกษุก็จะขัดขวางได้ ธรรมดา

ผู้ได้สินบนแล้วจะไม่เขวไม่มี เพราะฉะนั้น เราจักถวายของ

กำนัลแด่พระราชา แล้วจักขอรับเอาที่สร้างอาราม จึงขอร้อง

พวกอุปฐากทั้งหลายรวบรวมทรัพย์ได้แสนหนึ่ง ถวายแด่พระ-

ราชา แล้วกราบทูลว่า มพาบพิตร อาตมาภาพทั้งหลายจักสร้าง

อารามเดียรถีย์ที่หลังเชตวันมหาวิหาร หากพวกภิกษุจักมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 333

ถวายพระพรแด่พระองค์ว่า จักไม่ยอมให้ทา ขอมหาบพิตร

อย่าเพิ่งให้คำตอบแก่ภิกษุเหล่านั้น.

พระราชาทรงรับคำเพราะความละโมภของกำนัล. พวก

เดียรถีย์ครั้นเกลี้ยกล่อมพระราชาแล้ว จึงเรียกช่างมาเริ่มการ

ก่อสร้าง. ได้มีเสียงเอ็ดอึงขึ้น. พระศาสดาจึงตรัสถามว่า อานนท์

นั่นอะไรกัน เสียงเอ็ดอึงอื้อฉาว. พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ พวกเดียรถีย์ให้สร้างอารามเดียรถีย์ขึ้นที่หลังพระ-

วิหารเชตวัน จึงมีเสียงขึ้น ณ ที่นั้น พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อน

อานนท์ ที่นั่นไม่สมควรแก่อารามเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ชอบ

เสียงเอ็ดอึง ไม่สามารถจะอยู่ร่วมกับพวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้

จึงให้ประชุมภิกษุสงฆ์แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

จงไปทูลพระราชาให้ทรงยับยั้งการสร้างอารามเดียรถีย์. ภิกษุ

สงฆ์ไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง. พระราชาทรงสดับว่าสงฆ์

มา ทรงดำริว่า พวกภิกษุคงจะมาเรื่องอารามเดียรถีย์ เพราะ

พระองค์รับสินบนไว้ จึงให้ไปบอกว่า พระราชาไม่ประทับอยู่

ในวัง. ภิกษุทั้งหลายจึงไปกราบทูลแด่พระศาสดา. พระศาสดา

ตรัสว่า พระราชาทรงทำอย่างนี้เพราะทรงรันสินบน จึงส่ง

พระอัครสาวกทั้งสองรูปไป. พระราชาทรงสดับว่า พระอัคร-

สาวกทั้งสองรูปมา จึงรับสั่งให้บอกไปเหมือนอย่างนั้น. พระ-

อัครสาวกทั้งสองมากราบทูลแด่พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า

ดูก่อนสารีบุตร คราวนี้พระราชาจักไม่ได้ประทับนั่งในพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 334

ราชมณเฑียร จักเสด็จออกข้างนอก รุ่งขึ้นในเวลาเช้าพระองค์

ทรงนุ่งถือบาตรจีวรเสด็จไปยังประตูพระราชวังกับภิกษุ ๕๐๐

รูป. พระราชาพอได้ทรงสดับเท่านั้นก็เสด็จลงจากปราสาท

รับบาตรนิมนต์พระศาสดาให้เสด็จเข้าไป แล้วทรงถวายข้าวยาคู

และภัตร ถวายบังคมพระศาสดา ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนา โดยปริยายข้อหนึ่งมาแสดง

แก่พระราชาแล้วตรัสว่า มหาบพิตร พระราชาแต่ครั้งก่อนก็

รับสินบนแล้วทำให้ผู้มีศีลทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน ไม่เป็น

เจ้าของแห่งแคว้นของตนได้ถึงความพินาศใหญ่หลวง พระราชา

กราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลมีพระราชาพระนามว่า ภรุราช เสวยราช-

สมบัติอยู่ในแคว้นภรุ. ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็นดาบส เป็น

ครูประจำคณะ. ได้อภิญญาห้าและสมาบัติแปด อยู่ในหิมวันต-

ประเทศมาช้านาน จึงแวดล้อมไปด้วยดาบส ๕๐๐ ลงจาก

หิมวันตประเทศ เพื่อต้องการอาหารรสเค็มและเปรี้ยว ได้ไป

ถึงภรุนครโดยลำดับ ออกบิณฑบาต ณ เมืองนั้น แล้วออกจาก

นครนั่งอยู่ที่โคนต้นไทรย้อย ซึ่งสมบูรณ์ไปด้วยสาขา และค่าคบ

ทางประตูด้านเหนือ กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว อาศัยอยู่ ณ โคน

ต้นไม้นั่นเอง. เมื่อคณะฤๅษีนั้นอยู่ ณ ที่นั้นล่วงไปครึ่งเดือน

ครูประจาคณะอื่นมีบริวาร ๕๐๐ มาเที่ยวขอภิกษาในนครนั้น

ครั้นออกจากนครแล้วนั่งอยู่ที่โคนต้นไทรย้อยเช่นเดียวกันทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 335

ประตูทิศใต้ กระทำภัตกิจแล้วอาศัยอยู่ ณ ที่นั้นเอง. คณะ

ฤๅษีทั้งสองเหล่านั้น พักอยู่ตามพอใจ ณ ที่นั้นแล้วก็กลับสู่

หิมวันตประเทศตามเดิม. เมื่อคณะฤๅษีเหล่านั้นไปแล้ว ต้นไทร

ทางประตูทิศใต้ก็แห้งโกร๋น เมื่อคณะฤๅษีเหล่านั้นมาอีกครั้ง

หนึ่ง คณะที่อยู่ต้นไทรทางทิศใต้มาถึงก่อนรู้ว่าต้นไม้ของตน

แห้งโกร๋น เที่ยวขอภิกษาออกจากนครไปโคนต้นไม้ทางทิศอุดร

กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ก็พักอยู่ ณ ที่นั้นเอง. ส่วนฤาษีอีก

พวกหนึ่งมาถึงทีหลัง เที่ยวภิกขาจารในนครแล้วไปยังโคนต้นไม้

เดิมของตน กระทำภัตกิจแล้วก็พักผ่อน. พวกฤๅษีทั้งสองคณะ

ก็ทะเลาะกันเพราะต้นไม้ว่า ต้นไม้ของเรา ต้นไม้ของเรา เลย

เกิดทะเลาะกันใหญ่. ฤๅษีพวกหนึ่งกล่าวว่า พวกท่านจะเอา

ที่ที่เราอยู่มาก่อนไม่ได้. พวกหนึ่งกล่าวว่า พวกเรามาถึงที่นี่

ก่อน พวกท่านจะเอาไม่ได้. พวกฤๅษีเหล่านั้นต่างทุ่มเถียงกัน

ว่า เราเป็นเจ้าของ เราเป็นเจ้าของ ดังนี้แล้วพากันไปราชตระกูล

เพื่อต้องการโคนต้นไม้. พระราชาทรงตัดสินให้คณะฤๅษีที่มา

อยู่ก่อนเป็นเจ้าของ. ส่วนฤๅษีอีกพวกหนึ่งคิดว่า พวกเราจะ

ไม่ยอมให้ใครว่าตนว่า ถูกพวกฤๅษีพวกนี้ให้แพ้ได้ จึงตรวจดู

ด้วยทิพยจักษุ เห็นเรือนรกหลังหนึ่งสำหรับพระเจ้าจักรพรรดิ

ทรงใช้สอย จึงนำมาถวายเป็นสินบนแด่พระราชา พากันถวาย

พระพรว่า มหาบพิตร ขอพระองค์จงตัดสินให้พวกอาตมาเป็นเจ้า

ของ พระราชาทรงรับสินบนแล้ว ทรงตัดสินให้ฤาษีทั้งสองคณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 336

เป็นเจ้าของว่า จงอยู่กันทั้งสองคณะเถิด. ฤๅษีอีกฝ่ายหนึ่งนำ

ล้อแก้วของเรือนรกนั้นมาถวายเป็นสินบน แล้วทูลว่า มหาบพิตร

ขอพระองค์ทรงตัดสินให้พวกอาตมาเป็นเจ้าของเถิด. พระราชา

ได้ทรงทำตามนั้น. คณะฤๅษีมีความร้อนใจว่า พวกเราละวัตถุ

กามและกิเลสกามออกบวช จะทะเลาะติดสินบนเพราะโคนต้นไม้

เป็นเหตุ เป็นการทำที่ไม่สมควร จึงรีบหนีออกไปสู่หิมวันต-

ประเทศตามเดิม. เทวดาที่สิงสถิตอยู่ ณ แคว้นภรุรัฐทั้งสิ้น

ต่างร่วมกันพิโรธพระเจ้าภรุราชว่า พระราชาทำให้ผู้มีศีล

ทะเลาะกัน เป็นการทำที่ไม่สมควร จึงบันดาลให้แคว้นภรุรัฐ

อันกว้างใหญ่ ๓๐๐ โยชน์กลายเป็นสมุทรไป ก่อให้เกิดความ

พินาศ. ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นถึงความพินาศ เพราะอาศัยพระเจ้า-

ภรุราชพระองค์เดียว ด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดาทรงนำเรื่องอดีตนี้มา พระองค์ตรัสรู้แล้ว

ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-

เราได้ฟังมาว่า พระราชาในภรุรัฐได้ทรง

ประทุษร้ายต่อฤๅษีทั้งหลายแล้ว ทรงประสบ

ความวิบัติพร้อมทั้งแว่นแคว้น.

เพราะฉะนั้นแล บัณฑิตทั้งหลาย จึงไม่

สรรเสริญการลุอานาจแก่ฉันทาคติ บุคคลไม่ควร

มีจิตคิดร้าย ควรกล่าวแต่คำที่อิงความจริง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 337

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิสีนมนฺตร กตฺวา ความว่า เปิดช่อง

ให้ด้วยอำนาจฉันทาคติ. บทว่า ภรุราชา คือพระราชาแคว้นภรุ.

บทว่า อิติ เม สุต ความว่า เราได้สดับเรื่องนี้มาก่อนแล้ว.

บทว่า ตสฺมา หิ ฉนฺทาคม ความว่า เพราะพระเจ้าภรุราชทรง

ถึงฉันทาคติ จึงวิบัติพร้อมทั้งแว่นแคว้น ฉะนั้นบัณฑิตทั้งหลาย

จึงไม่สรรเสริญการถึงฉันทาคติ. บทว่า อทุฏฺจิตฺโต ความว่า

บุคคลไม่ควรมีจิตคิดร้ายด้วยกิเลส ควรกล่าวคำจริง. บทว่า

สจฺจูปสญฺหิต ความว่า ควรกล่าวคำที่อิงสภาพ คือ อิงเหตุ อิงผล

เท่านั้น. ในชนเหล่านั้น พวกใดกล่าวคำจริง คัดค้านว่า ที่

พระเจ้าภรุราช ทรงรับสินบนนี้เป็นการทำที่ไม่สมควร ที่สำหรับ

ชนเหล่านั้นดำรงอยู่ ได้ปรากฏขึ้นเป็นเกาะพันหนึ่ง ในนาลิเกร-

ทวีป จนทุกวันนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า

มหาบพิตรไม่ควรเป็นผู้ลำเอียงด้วยฉันทาคติ ไม่ควรทำให้

บรรพชิตทั้งสองคณะทะเลาะกัน แล้วทรงประชุมชาดก. เรา

ตถาคตได้เป็นหัวหน้าคณะฤๅษีสมัยนั้น. พระราชา ในเวลาที่

พระตถาคตเสวยภัตตาหารเสร็จแล้วเสด็จกลับไป ได้ส่งพวก

ราชบุรุษให้ไปรื้ออารามเดียรถีย์. พวกเดียรถีย์ก็ตั้งไม่ติด

ฉะนี้แล.

จบ อรรถกถาภรุราชชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 338

๔. ปุณณนทีชาดก

ว่าด้วยการไม่ระลึกถึง

[๒๗๗] ชนทั้งหลายพูดถึงแม่น้ำที่เต็มแล้วว่า กา

ดื่มกินได้ก็ดี พูดถึงข้าวกล้าที่เกิดแล้วว่า กาซ่อน

อยู่ได้ก็ดี พูดถึงบุคคลที่รักกันไปสู่ที่ไกลว่า จะ

กลับมาถึงเพราะกาบอกข่าวก็ดี กานั้นเรานำมา

ให้ท่านแล้ว ขอเชิญบริโภคเนื้อกานั้นเถิด ท่าน

พราหมณ์.

[๒๗๘] คราวใด พระราชาทรงระลึกถึงเรา เพื่อ

จะส่งเนื้อกาให้เรา คราวนั้น เนื้อหงส์ก็ดี เนื้อ

นกกะเรียนก็ดี เนื้อนกยูงก็ดี เป็นของที่เรานำไป

ถวายแล้ว การไม่ระลึกถึงเสียเลยเป็นความ

เลวทราม.

จบ ปุณณนทีชาดกที่ ๔

อรรถกถาปุณณนทีชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระปัญญาบารมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า ปุณฺณ นทึ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 339

ความย่อมีว่าในวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากัน

ปรารภพระปัญญาของพระตถาคต ในโรงธรรมว่า อาวุโส

ทั้งหลาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระปัญญามาก มีพระปัญญา

ลึกซึ้ง มีพระปัญญาแจ่มใส มีพระปัญญาว่องไว มีพระปัญญา

แหลม มีพระปัญญาชำแรกกิเลส ทรงประกอบด้วยพระปัญญา

เฉลียวฉลาด. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่ใน

บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนตถาคตก็มีปัญญาฉลาดในอุบายเหมือน

กัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลปุโรหิต ครั้นเจริญ

วัย เรียนศิลปะสำเร็จทุกอย่าง ในเมืองตักกสิลา เมื่อบิดาล่วง

ลับไปแล้ว ได้ตำแหน่งปุโรหิต เป็นผู้สอนอรรถและธรรมของ

พระเจ้าพาราณสี. ครั้นต่อมา พระราชาทรงเชื่อคำของผู้ยุแหย่

ทรงพิโรธขับพระโพธิสัตว์ออกจากกรุงพาราณสี ด้วยพระดำรัส

ว่า เจ้าอย่าอยู่ในราชสำนักของเราเลย. พระโพธิสัตว์พาบุตร

ภรรยาไปอาศัยอยู่ ณ หมู่บ้านแคว้นกาสีแห่งหนึ่ง. ต่อมา พระ-

ราชาทรงระลึกถึงคุณของพระโพธิสัตว์ ทรงดำริว่า การที่เรา

จะส่งใคร ๆ ไปเรียกอาจารย์ไม่สมควร แต่เราจะผูกคาถาหนึ่ง

คาถา เขียนหนังสือ ให้ต้มเนื้อกา แล้วห่อหนังสือและเนื้อด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 340

ผ้าขาวประทับตราส่งไปให้ ผิว่า ปุโรหิตเป็นคนฉลาด อ่าน

หนังสือแล้วรู้ว่าเนื้อกาก็จักกลับมา ถ้าไม่รู้ก็จักไม่มา. ทรง

เขียนคาถานี้เริ่มต้นว่า ปุณฺณ นทึ ลงในใบลานว่า :-

ชนทั้งหลายพูดถึงแม่น้ำที่เต็มแล้วว่า การ

ดื่มกินได้ก็ดี พูดถึงข้าวกล้าที่เกิดแล้วว่า กาซ่อน

อยู่ได้ก็ดี พูดถึงคนที่รักกันไปสู่ที่ไกลว่า จะกลับ

มาถึงเพราะกาบอกข่าวก็ดี กานั้นเรานำมาให้

ท่านแล้ว ขอเชิญบริโภคเนื้อกานั้นเถิด ท่าน

พราหมณ์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺณ นทึ เยน จ เปยฺยมาหุ ความ

ว่าชนทั้งหลายกล่าวว่าแม่น้ำที่กาดื่มได้ ได้กล่าวถึงแม่น้ำที่เต็ม

แล้วกาดื่มได้ เพราะแม่น้ำที่ไม่เต็มไม่เรียกว่า กาดื่มได้. เมื่อใด

กายืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสามารถยืดคอลงไปดื่มได้ เมื่อนั้น ท่าน

กล่าวแม่น้ำนั้นว่า กาดื่มได้. คำว่า ยว ในบทว่า ชาต ว เยว

จ คุยฺหมาหุ เป็นเพียงเทศนา แต่ในที่นี้หมายเอาข้าวกล้าอ่อน

ที่เกิดงอกงามสมบูรณ์ทุกชนิด. ด้วยว่า ข้าวกล้านั้นเมื่อใดสามารถ

ปกปิดกาที่เข้าไปภายในได้ เมื่อนั้นชื่อว่า กาซ่อนอยู่ได้. บทว่า

ทูร คต เยน จ อวุหย ความว่า บุคคลเป็นที่รักจากไปไกลนาน ๆ

ย่อมพูดถึงกัน เพราะได้เห็นกามาจับหรือได้ยินเสียงกาส่งข่าว

ว่า กากา พูดกันอย่างนี้ว่า บุคคลชื่อนี้คงจักมา เพราะกาส่งข่าว.

บทว่า โส ตฺยาภโต ความว่า เนื้อนั้นเรานำมาให้ท่านแล้ว. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 341

หนฺท จ ภุญฺช พฺราหฺมณ ความว่า เชิญท่านพราหมณ์รับไป

บริโภคเถิด คือ บริโภคเนื้อกานี้.

พระราชาทรงเขียนคาถานี้ลงในใบลานแล้ว ทรงส่งไป

ให้พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์อ่านหนังสือแล้ว ก็ทราบว่า

พระราชาทรงต้องการพบเรา จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

คราวใดพระราชาทรงระลึกถึงเรา เพื่อ

จะส่งเนื้อกาให้เรา คราวนั้นเนื้อหงส์ก็ดี เนื้อนก

กะเรียนก็ดี เนื้อนกยูงก็ดี เป็นของที่เรานำไป

ถวายแล้ว การไม่ระลึกถึงเสียเลย เป็นความ

เลวทราม.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโต ม สรตี ราชา วายสมฺปิ ปหาตเว

ความว่า คราวใดพระราชาทรงได้เนื้อกามาย่อมระลึกถึงเรา

เพื่อจะส่งเนื้อกานั้นมาให้. บทว่า หสา โกญฺจา มยุรา จ ความว่า

แต่คราวใด เขานำเนื้อหงส์เป็นต้นมาถวาย พระองค์ได้เนื้อหงส์

เป็นต้นเหล่านั้น คราวนั้นไฉนพระองค์จึงไม่ระลึกถึงเรา. บทว่า

อสติเยว ปาปิยา ความว่าการได้เนื้ออะไรก็ตาม แล้วระลึกถึง

เป็นความดี แต่ไม่ระลึกถึงเสียเลย เป็นความลามกในโลก เหตุ

แห่งการไม่ระลึกถึงเสียเลยเป็นความเลวทราม แต่เหตุนั้นมิได้

มีแต่พระราชาของเรา พระราชายังทรงระลึกถึงเรา ทรงหวัง

การกลับของเรา เพราะฉะนั้นเราจะไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 342

พระโพธิสัตว์ได้เทียมยานไปเฝ้าพระราชา พระราชา

พอพระทัย แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตตามเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนปุโรหิต

คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาปุณณนทีชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 343

๕. กัจฉปชาดก

ตายเพราะปาก

[๒๗๙] เต่าพออ้าปากจะพูด ได้ฆ่าตนเองแล้ว

หนอ เมื่อตนคาบท่อนไม้ไว้ดีแล้ว ก็ฆ่าตนเสีย

ด้วยวาจาของตนเอง.

[๒๘๐] ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐสุดในหมู่นรชน

บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเห็นเหตุอันนี้แล้ว ควรเปล่ง

แต่วาจาที่ดี ไม่ควรเปล่งวาจานั้นให้ล่วงเวลาไป

ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตรเต่าผู้ล่วงถึงความ

พินาศเพราะพูดมาก.

จบ กัจฉปชาดกที่ ๕

อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุโกกาสิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อวธิ วต อตฺตาน ดังนี้. เรื่องราว จักมีแจ้งในมหาตักการิชาดก.

ก็ในครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โกกาลิกะมิใช่ฆ่าตัวเองด้วยวาจาในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน

ก็ฆ่าตัวตายด้วยวาจาเหมือนกัน จึงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 344

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลอำมาตย์ ครั้นเจริญ

วัย ได้เป็นผู้สอนอรรถและธรรมของพระองค์. แต่พระราชา

พระองค์ช่างพูด. เมื่อพระองค์ตรัสคนอื่นไม่มีโอกาสพูดได้เลย.

พระโพธิสัตว์ประสงค์จะปรามความพูดมากของพระองค์ จึงคิด

ตรองหาอุบายพักอย่างหนึ่ง. ก็ในกาลนั้นมีเต่าตัวหนึ่งอาศัยอยู่

ที่สระแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศ. มีลูกหงส์สองตัวหากิน จน

สนิทสนมกับเต่า. ลูกหงส์สองตัวนั้นครั้นสนิทสนมแน่นแฟ้น วัน

หนึ่งจึงพูดกับเต่าว่า เต่าสหายรัก ที่อยู่ในถ้ำทองที่พื้นภูเขา

จิตรกูฏ ในป่าหิมพานต์ของพวกเรา เป็นประเทศน่ารื่นรมย์

ท่านจะไปกับเราไหม. เต่าถามว่า เราจะไปได้อย่างไรเล่า.

ลูกหงส์กล่าวว่า เราจักพาท่านไป หากท่านรักษาปากไว้ได้

ท่านจะไม่พูดอะไรกะใคร ๆ เลย. เต่าตอบว่า ได้ พวกท่านพาเรา

ไปเถิด. ลูกหงส์ทั้งสองจึงให้เต่าคาบไม้อันหนึ่ง ตนเองคาบปลาย

ไม้ทั้งสองข้างบินไปในอากาศ. พวกเด็กชาวบ้านเห็นหงส์นำเต่า

ไปดังนั้น จึงตะโกนขึ้นว่า หงส์สองตัวนำเต่าไปด้วยท่อนไม้.

เต่าอยากจะพูดว่า ถึงสหายของเราจะพาเราไป เจ้าเด็กถ่อย

มันกงการอะไรของเจ้าเล่า จึงปล่อยท่อนไม้จากที่ที่คาบไว้ ใน

เวลาที่ถึงเบื้องบนพระราชนิเวศน์ในนครพาราณสี เพราะหงส์

พาไปเร็วมาก จึงตกในอากาศแตกเป็นสองเสี่ยง. ได้เกิดเอะอะ

อึงคะนึงกันว่า เต่าตกจากอากาศแตกสองเสี่ยง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 345

พระราชาทรงพาพระโพธิสัตว์ไป มีหมู่อำมาตย์แวดล้อม

เสด็จไปถึงที่นั้น ทอดพระเนตรเห็นเต่า จึงตรัสถามพระโพธิสัตว์

ว่า ดูก่อนท่านบัณฑิต ทำอย่างไรจึงได้ตกมา. พระโพธิสัตว์คิด

ว่า เราคอยมานานแล้ว ใคร่จะถวายโอวาทพระราชา เที่ยวตรอง

หาอุบายอยู่ เต่าตัวนี้คงจะคุ้นเคยกับหงส์เหล่านั้น พวกหงส์จึง

ให้คาบไม้ไปด้วยหวังว่า จะนำไปป่าหิมพานต์ จึงบินไปในอากาศ

ครั้นแล้วเต่าตัวนี้ได้ยินคำของใคร ๆ อยากจะพูดตอบบ้าง เพราะ

ตนไม่รักษาปาก จึงปล่อยท่อนไม้เสีย ตกจากอากาศถึงแก่

ความตาย จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาคนปากกล้า

พูดไม่รู้จบ ย่อมได้รับทุกข์เห็นปานนี้แหละ พระเจ้าข้า แล้วได้

กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

เต่าพออ้าปากจะพูด ได้ฆ่าตนเองแล้ว

หนอ เมื่อตนคาบท่อนไม้ไว้ดีแล้ว ก็ฆ่าตนเสีย

ด้วยวาจาของตนเอง. ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ

ในหมู่นรชน บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เห็นเหตุอันนี้

แล้ว ควรเปล่งแต่วาจาที่ดี ไม่ควรเปล่งวาจานั้น

ให้ล่วงเวลาไป ขอพระองค์ทรงทอดพระเนตร

เต่าผู้ถึงความพินาศเพราะพูดมาก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อวธิ วต ได้แก่ ได้ฆ่าแล้วหนอ.

บทว่า ปพฺยาหร ได้แก่ อ้าปากจะพูด. บทว่า สุคฺคหิตสฺมึ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 346

กฏฺสฺมึ ความว่า เมื่อท่อนไม้อันตนคาบไว้ดีแล้ว. บทว่า วาจาย

สกิยา วธิ ความว่า เต่าเมื่อเปล่งวาจาในเวลาไม่ควร เพราะ

ความที่ตนปากกล้าเกินไป จึงปล่อยที่ที่คาบไว้แล้ว ฆ่าตนเอง

ด้วยวาจาของตนนั้น. เต่าได้ถึงแก่ความตายอย่างนี้แหละ มิใช่

อย่างอื่น. บทว่า เอตมฺปิ ทิสฺวา คือเห็นเหตุนี้แหละ. บทว่า

นรวีรเสฏฺ ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ. มีความเพียรสูง

เป็นพระราชาผู้ประเสริฐด้วยความเพียรในนรชนทั้งหลาย.

บทว่า วาจ ปมุญฺเจ กุสล นาติเวล ความว่า บุรุษผู้เป็นบัณฑิต

พึงเปล่งวาจาที่เป็นกุศลอย่างเดียว ประกอบด้วยสัจจะเป็นต้น

คือพึงกล่าววาจาที่เป็นประโยชน์ ประกอบด้วยกาล ไม่พึงกล่าว

วาจาเกินเวลา เกินกาลไม่รู้จักจบ. บทว่า ปสฺสสิ ความว่า

พระองค์ทอดพระเนตรเห็นประจักษ์แล้วมิใช่หรือ. บทว่า

พหุภาณเนน แปลว่า เพราะพูดมาก. บทว่า กจฺฉป พฺยสน คต

คือ เต่าถึงแก่ความตายอย่างนี้.

พระราชาทรงทราบว่า พระโพธิสัตว์กล่าวหมายถึง

พระองค์ จึงตรัสว่า ท่านพูดหมายถึงเราใช่ไหม ท่านบัณฑิต.

พระโพธิสัตว์กราบทูลให้ชัดเจนว่า ข้าแต่มหาราช ไม่ว่าจะเป็น

พระองค์หรือใคร ๆ อื่น เมื่อพูดเกินประมาณย่อมถึงความพินาศ

อย่างนี้. พระราชาตั้งแต่นั้นมาก็ทรงงดเว้นตรัสแต่น้อย.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก เต่าในครั้งนั้นได้เป็นโกกาลิกะในครั้งนี้ ลูกหงส์สองตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 347

ได้เป็นพระมหาเถระสองรูป พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วน

อำมาตย์บัณฑิตได้เป็นเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากัจฉปชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 348

๖. มัจฉชาดก

ไฟราคะร้อนกว่าไฟอย่างอื่น

[๒๘๑] ไฟนี้ก็ไม่เผาเราให้เร่าร้อน แม้หลาวที่

นายพรานแหเสี้ยมเป็นอย่างดีแล้ว ก็ไม่ยังความ

ทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่เรา แต่การที่นางปลาเข้าใจว่า

เราไปหานางปลาตัวอื่นด้วยความยินดี อันนี้แหละ

จะเผาเราให้เร่าร้อน.

[๒๘๒] ไฟคือราคะนั้นแลย่อมเผาเราให้เร่าร้อน

อนึ่ง จิตของเราเองย่อมเผาเราให้เร่าร้อน พราน

แหทั้งหลาย ขอได้ปล่อยเราเถิด สัตว์ผู้ตกยาก

อยู่ในกาม ท่านไม่ควรฆ่าโดยแท้.

จบ มัจฉชาดกที่ ๖

อรรถกถามัจฉชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประ ทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า น มายมคฺคิ ตปติ ดังนี้.

เรื่องย่อมีว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ

ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 349

ตรัสถามว่า ใครทำให้เธอกระสัน กราบทูลว่า ภรรยาเก่า

พระเจ้าข้า. ลาดับนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ

หญิงนี้ทำความเสื่อมเสียให้แก่เธอ แม้เมื่อก่อนเธออาศัยหญิงนี้

ถึงกับถูกเสียบด้วยหลาวย่างในถ่านเพลิง ถูกกินเนื้อ ได้อาศัย

บัณฑิตจึงรอดชีวิตมาได้ แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระราชา. อยู่

มาวันหนึ่งชาวประมงยกปลาที่ติดตาข่ายตัวหนึ่ง วางไว้หลังหาด

ทรายอันร้อน เสี้ยมหลาวด้วยคิดว่าจะปิ้งปลานั้นที่ถ่านเพลิง

แล้วเคี้ยวกิน. ปลาร้องรำพันถึงนางปลา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ไฟนี้ก็ไม่เผาเราให้เร่าร้อน แม้หลาวที่

พรานแหเสี้ยมเป็นอย่างดีแล้วก็ไม่ยังความทุกข์

ให้เกิดขึ้นแก่เรา แต่การที่นางปลาเข้าใจว่า เรา

ไปหานางปลาตัวอื่นด้วยความยินดี อันนี้จะเผา

เราให้เร่าร้อน. ไฟคือราคะนั้นแล ย่อมเผาเรา

ให้เร่าร้อน พรานแหทั้งหลาย ขอได้ปล่อยเราเถิด

สัตว์ผู้ตกยากอยู่ในกาม ท่านไม่ควรฆ่า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า น มายมคฺคิ ความว่า ไฟนี้ย่อมไม่

เผาเรา คือไม่ทำให้เราเร่าร้อน ไม่ทำให้เราเศร้าโศก. บทว่า

น สูโล คือ แม้หลาวนี้พรานแหเสี้ยมไว้อย่างดีก็ไม่เผาเรา คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 350

ไม่ยังความโศกให้เกิดแก่เรา. บทว่า ยญฺจ ม มญฺเต มจฺฉี

ความว่า แต่นางปลาเข้าใจเราอย่างนี้ว่า เราไปหานางปลาอื่น

ด้วยความยินดีในกามคุณห้า นั่นแหละทำให้เราเร่าร้อน ทำให้เรา

เศร้าโศก เผาเรา. บทว่า โส ม ทหติ ความว่า ไฟคือราคะนั้น

ย่อมเผาเรา. บทว่า จิตฺตญฺจูปตเปติ ม ความว่า จิตของเรา

ประกอบด้วยราคะ ทำให้เราเร่าร้อน ลำบาก. บทว่า ชาลิโน

เรียกชาวประมง. ด้วยว่าชาวประมงเหล่านั้น ท่านเรียกว่า

ชาลิโน เพราะมีตาข่าย. บทว่า มุญฺจถยิรา ได้แก่ ปลาอ้อนวอน

ว่า ข้าแต่นาย โปรดปล่อยข้าพเจ้าเถิด. บทว่า น กาเม หญฺเต

กฺวจิ ความว่า สัตว์ที่ตั้งอยู่ในกาม ถูกกามชักนำไป ไม่ควรฆ่า

โดยแท้. ปลารำพันว่า คนเช่นท่านไม่ควรฆ่าปลานั้นเลย. อนึ่ง

ปลาผู้ติดตามหานางปลา เพราะเหตุกาม คนเช่นท่านควรฆ่า

โดยแท้.

ในขณะนั้นพระโพธิสัตว์ไปถึงฝั่ง ได้ยินปลานี้รำพัน จึง

เข้าไปหาชาวประมงให้ปล่อยปลานั้นไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสัน

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล นางปลาในครั้งนั้น ได้เป็นภรรยาเก่า

ในครั้งนี้ ภิกษุกระสันได้เป็นปลา ส่วนปุโรหิต คือ เราตถาคต

นี้แล.

จบ อรรถกถามัจฉชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 351

๗. เสคคุชาดก

การได้รับทุกข์จากผู้เป็นที่พึ่ง

[๒๘๓] สัตว์โลกทั้งปวง เป็นผู้พอใจในการเสพ

กาม ดูก่อนนางเสคคุ เจ้าเป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรม

ของชาวบ้าน ความที่เจ้าเป็นนางกุมารีถูกบิดา

จับมือในป่าชัฏ ร้องไห้อยู่ในวันนี้เป็นธรรมดา.

[๒๘๔] เมื่อฉันได้รับทุกข์แล้ว ผู้ใดพึงเป็นที่พึ่ง

ได้ ผู้นั้นคือบิดาของฉัน กลับมากระทำมิดีมิร้าย

ฉันในป่า ฉันจะคร่ำครวญหาใครในกลางป่าอีก

เล่า ผู้ใดเป็นที่พึ่งได้ ผู้นั้นกลับมาทำฉันถึงสาหัส.

จบ เสคคุชาดกที่ ๗

อรรถกถาเสคคุชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภอุบาสกผู้ขายผักผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า สพฺโพ โลโก ดังนี้. เรื่องราวพิสดารอยู่ในเอกนิบาต

นั้นแล้ว.

แม้ในทุกนิบาตนี้ พระศาสดาตรัสถามอุบาสกนั้นว่า ดูก่อน

อุบาสก ทำไมหายไปนานนัก. อุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 352

ลูกสาวของข้าพระองค์มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสเสมอ ข้าพระองค์

ลองทดลองดู แล้วจึงยกให้เด็กหนุ่มของตระกูลผู้หนึ่ง เพราะมัว

จัดการเรื่องนั้นอยู่ จึงไม่ได้โอกาสมาเฝ้าพระองค์. ลำดับนั้น

พระศาสดาตรัสกะอุบาสกนั้นว่า ดูก่อนอุบาสก ลูกสาวของท่าน

มิใช่เป็นผู้มีศีลในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน ก็มีศีล และท่านก็

ทดลองนางแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นรุกขเทวดา. ในกาลนั้น

อุบาสกขายผักผู้นี้แหละคิดจะทดลองลูกสาว จึงนำเข้าป่าแล้ว

จับมือทำเป็นต้องการด้วยอำนาจกิเลส. ลำดับนั้นอุบาสกได้กล่าว

กะลูกสาวผู้คร่ำครวญอยู่ด้วยคาถาแรกว่า :-

สัตว์โลกทั้งปวง เป็นผู้พอใจในการเสพ

กาม ดูก่อนแม่เสคคุ เจ้าเป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรม

ของชาวบ้าน ความที่เจ้าเป็นนางกุมารี ถูกบิดา

จับมือในป่าชัฏร้องไห้อยู่ในวันนี้เป็นธรรมดา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺโพ โลโก อตฺตมโน อโหสิ

ความว่า แน่ะแม่หนู สัตว์โลกทั้งสิ้นพอใจในการเสพกามนี้.

บทว่า เสคฺคุ เป็นชื่อของหญิงนั้น. ดูก่อนแม่เสคคุ เจ้าไม่ฉลาด

ในธรรมของชาวบ้าน. ท่านอธิบายว่า เจ้าไม่ฉลาดในธรรมของ

ชาวบ้าน คือ ในธรรมของคนถ่อยนี้. บทว่า โกมาริโก นาม

ตวชฺช ธมฺโม. ความว่า แม่หนู สภาพของเจ้านี้อย่างไร ในวันนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 353

ย ตว คหิตา ปวเน ปโรทสิ ความว่า อุบาสกถามว่า เจ้าถูกเรา

จับมือด้วยความเชยชมในป่านี้ เจ้าคร่ำครวญ คือ ไม่ยอม สภาพ

ของเจ้านี้ คือ อะไรกัน เจ้ายังเป็นเด็กหญิงอยู่หรือ.

กุมารีฟังคำนั้นแล้ว กล่าวว่า จริงจ้ะพ่อ ลูกยังเป็นเด็ก

หญิงอยู่ แล้วคร่ำครวญกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

เมื่อฉันได้รับทุกข์แล้ว ผู้ใดเป็นที่พึ่งได้

ผู้นั้นคือบิดาของฉัน กลับมาทำกรรมมิดีมิร้าย

ฉันในป่า ฉันจะคร่ำครวญหาใครในป่าได้อีกเล่า

ผู้ใดเป็นที่พึ่งได้ ผู้นั้นกลับมาทำฉันถึงสาหัส.

อุบาสกขายผักนั้น ลองใจลูกสาวในครั้งนั้นด้วยประการ

ฉะนี้แล้ว จึงพาไปบ้าน ยกให้เด็กหนุ่มแห่งตระกูล แล้วไปตาม

ยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม อุบาสกขายผัก

ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ลูกสาวในครั้งนั้นได้เป็นลูกสาวใน

ครั้งนี้นั่นเอง ส่วนรุกขเทวดาผู้ทำเหตุนั้นให้ประจักษ์ คือ เรา

ตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาเสคคุชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 354

๗. กูฏวาณิชชาดก

หนามยอกเอาหนามบ่ง

[๒๘๕] ท่านได้คิดอุบายตอบอุบายดีแล้ว ได้คิด

โกงตอบผู้โกงดีแล้ว ถ้าหนูทั้งหลายพึงกินผาลได้

เหตุไฉน เหยี่ยวทั้งหลายจะเฉี่ยวเด็กไปไม่ได้เล่า.

[๒๘๖] บุคคลที่โกงตอบคนโกง ย่อมมีอยู่แน่นอน

บุคคลที่ล่อลวงก็ย่อมมีอยู่เหมือนกัน ดูก่อนท่าน

ผู้มีบุตรหาย ท่านจักไม่ให้ผาลแก่เขา บุรุษผู้มี

ผาลหาย ก็จะไม่นำบุตรมาให้แก่ท่าน.

จบ กูฏวาณิชชาดกที่ ๘

อรรถกถากูฏวาณิชชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพ่อค้าโกงคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า สสฺส สาเถยฺยมิท ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า ชนสองคนคือพ่อค้าโกง และพ่อค้า

บัณฑิต ชาวเมืองสาวัตถี เดินทางไปด้วยกัน บรรทุกสินค้าเต็ม

เกวียน ๕๐๐ เล่ม เที่ยวทำการค้าจากทิศตะวันออกไปยังทิศต่าง ๆ

ครั้นได้กำไรมากก็กลับกรุงสาวัตถี. พ่อค้าบัณฑิตได้กล่าวกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 355

พ่อค้าโกงว่า สหายเรามาแบ่งสินค้ากันเถิด. พ่อค้าโกงคิดว่า

พ่อค้าคนนี้ลำบากด้วยการนอน การบริโภคอันแร้นแค้นมา

เป็นเวลานาน บริโภคอาหารมีรสเลิศต่าง ๆ ในเรือนของตน

จักตายเพราะอาหารไม่ย่อย ทีนั้นแหละสินค้าทั้งหมดอันเป็นส่วน

ของเขาก็จักเป็นของเราแต่ผู้เดียว จึงกล่าวว่า ฤกษ์และวันยัง

ไม่พอใจ พรุ่งนี้มะรืนนี้จึงค่อยรู้ แกล้งถ่วงเวลาไว้. พ่อค้าผู้เป็น

บัณฑิต แค่นให้เขาแบ่งได้แล้วจึงถือเอาของหอมและดอกไม้ไป

เฝ้าพระศาสดา บูชาพระศาสดาถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสถามว่า ท่านมาถึงเมื่อไร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้า มาได้ประมาณกึ่งเดือนพระเจ้าข้า.

ตรัสถามว่า เพราะเหตุไรจึงล่าช้าอย่างนี้ ไม่มาสู่ที่พุทธุปฐาก

เขากราบทูลให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า อุบาสกมิใช่ใน

บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน พ่อค้านี้ก็เป็นคนโกงเหมือนกัน อุบาสก

ทูลอาราธนาจึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลอำมาตย์ ครั้นเจริญ

วัย ได้เป็นอำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดีของพระองค์. ในครั้งนั้นมีพ่อค้า

สองคน คือพ่อค้าชาวบ้านกับพ่อค้าชาวกรุง เป็นมิตรกัน. พ่อค้า

ชาวบ้านฝากผาล ๕๐๐ ไว้แก่พ่อค้าชาวกรุง. พ่อค้าชาวกรุง

ขายผาลเหล่านั้นแล้วเก็บเอาเงินเสีย แล้วเอาขี้หนูมาโรยไว้ใน

ที่เก็บผาล ครั้นต่อมาพ่อค้าชาวบ้านนอกมาหากล่าวว่า ขอท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 356

จงคืนผาลให้เราเถิด พ่อค้าโกง กล่าวว่า ผาลของท่านถูกหนูกิน

หมดแล้ว จึงชี้ให้ดูขี้หนู. พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่า ถูกหนูกินแล้ว

ก็ช่างเถิด เมื่อหนูกินแล้วจะทำอย่างไรได้. จึงพาบุตรของพ่อค้า

โกงนั้นไปอาบน้ำให้เด็กนั้นนั่งอยู่ภายในห้องในเรือนของสหาย

ผู้หนึ่ง แล้วกล่าวว่า อย่าให้ทารกนี้แก่ใคร ๆ เป็นอันขาด แล้ว

ตนเองก็อาบน้ำกลับไปเรือนพ่อค้าโกง พ่อค้าโกงถามว่า ลูก

ของเราไปไหน. พ่อค้าบ้านนอกบอกว่า ในขณะที่เราวางบุตร

ของท่านไว้ริมฝั่งแล้วดำลงไปในน้ำ เหยี่ยวตัวหนึ่งบินมาเอา

กรงเล็บโฉบบุตรของท่าน แล้วบินไปสู่อากาศ แม้เราพยายาม

ปรบมือร้องก็ไม่สามารถให้มันปล่อยได้. พ่อค้าโกง กล่าวว่า

ท่านพูดโกหก เหยี่ยวคงไม่สามารถโฉบเอาเด็กไปได้ดอก. พ่อค้า

บ้านนอกกล่าวว่า สหายจะว่าถูกก็ถูก จะว่าไม่ถูกก็ถูก แต่เรา

จะทำอย่างไรได้ เหยี่ยวเอาบุตรของท่านไปจริง ๆ. พ่อค้าโกง

คุกคามพ่อค้าบ้านนอกว่า เจ้าโจรใจร้ายฆ่าคน คราวนี้เราจะไป

ศาล ให้พิพากษาลงโทษท่าน แล้วออกไป. พ่อค้าบ้านนอก

กล่าวว่า ทำตามความพอใจของท่านเถิด แล้วไปศาลกับพ่อค้า

โกงนั้น.

พ่อค้าโกงกล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่นาย พ่อค้าผู้นี้

พาบุตรของข้าพเจ้าไปอาบน้ำ เมื่อข้าพเจ้าถามว่าบุตรของเรา

ไปไหน เขาบอกว่า เหยี่ยวพาเอาไป ขอท่านได้โปรดวินิจฉัย

คดีของข้าพเจ้าเถิด. พระโพธิสัตว์ถามพ่อค้าบ้านนอกว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 357

พูดจริงหรือ. พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่า ข้าพเจ้าพาเด็กนั้นไปจริง

นาย. ถามว่า เหยี่ยวพาเด็กไปได้จริงหรือ. ตอบว่า จริงจ้ะนาย.

ถามว่า ก็ในโลกนี้ธรรมดาเหยี่ยวจะนำเด็กไปได้หรือ. พ่อค้า

บ้านนอกกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า เหยี่ยวไม่

สามารถพาเด็กไปในอากาศได้ แต่หนูเคี้ยวกินผาลเหล็กได้หรือ.

พระโพธิสัตว์ถามว่านี่เรื่องอะไรกัน. พ่อค้าบ้านนอกกล่าวว่า

ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าฝากผาลไว้ ๕๐๐ ที่เรือนของพ่อค้านี้ พ่อค้า

นี้บอกว่าผาลของท่านถูกหนูกินเสียแล้วชี้ให้ดูขี้หนูว่า นี้คือขี้

ของหนูที่กินผาลของท่าน ข้าแต่นาย ถ้าหนูกินผาลได้ แม้เหยี่ยว

ก็จักพาเอาเด็กไปได้ หากกินไม่ได้ แม้เหยี่ยวก็จะนำเด็กนั้นไป

ไม่ได้ พ่อค้านี้กล่าวว่า หนูกินผาลหมดแล้ว ท่านจงทราบเถิดว่า

ผาลเหล่านั้นถูกหนูกินจริงหรือไม่ ขอได้โปรดพิพากษาคดีของ

ข้าพเจ้าเถิด. พระโพธิสัตว์ทราบว่า พ่อค้าบ้านนอกนี้ คงจะ

คิดโกงแก้เอาชนะคนโกง จึงกล่าวว่า ท่านคิดดีแล้ว ได้กล่าว

คาถาเหล่านี้ว่า :-

ท่านได้คิดอุบายตอบอุบายดีแล้ว ได้คิด

โกงตอบผู้โกงดีแล้ว ถ้าหนูทั้งหลายพึงกินผาลได้

เหตุไฉนเหยี่ยวทั้งหลายจะเฉี่ยวเด็กไปไม่ได้เล่า.

บุคคลที่โกงตอบคนโกง ย่อมมีอยู่แน่นอน

บุคคลที่ล่อลวงก็มีอยู่เหมือนกัน ดูก่อนท่านผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 358

มีบุตรหาย ท่านจักไม่ให้ผาลแก่เขา บุรุษผู้มีผาล

หาย ก็จะไม่นำบุตรมาให้แก่ท่าน.

ในบทเหล่านี้ บทว่า สสฺส ความว่า การโกงแก้ผู้ที่โกง

โดยอุบายงุบงิบของผู้อื่นเสีย. บทว่า สาเถยฺยมิท สุจินฺติต ได้แก่

ความโกงนี้ท่านคิดแล้ว. บทว่า ปจฺโคฑฺฑิต ปฏิกูฏสฺส กูฎ

ความว่า การโกงตอบต่อบุคคลโกง ท่านจัดการแก้ดีแล้ว. อธิบาย

ว่าทำแก้ได้ขนาดที่เขาทำทีเดียว. บทว่า ผาล เจ อเทยฺยุ มูสิกา

ความว่า หากหนูกินผาลได้ ไฉนเหยี่ยวจะพาเด็กไปไม่ได้ เพราะ

ฉะนั้น เมื่อหนูกินผาลได้ ทำไมเหยี่ยวจะนำเด็กไปไม่ได้. บทว่า

กูฏสฺส หิ สนฺติ กูฏกูฎา ความว่า ท่านเข้าใจว่า เราถูกบุรุษ

ที่ให้หนูกินผาลโกง ก็การจะโกงแก้ผู้ที่โกงเช่นนี้ ยังมีอีกมาก

ในโลกนี้ คือการโกงตอบคนโกง ยังมีอยู่. บทว่า ภวติ ปโร

นิกติโน นิกตฺยา ความว่า บุคคลผู้ตลบแตลง ผู้ทำการล่อลวง

ยังมีอีกทีเดียว ดูก่อนบุรุษผู้บุตรหาย จงคืนผาลให้แก่บุรุษผู้

ผาลหายนี้เถิด ถ้าท่านไม่ให้ผาล เขาจักพาบุตรของท่านไป แต่

บุรุษนี้อย่าเอาผาลของท่านไปเลย ท่านจงให้ผาลแก่เขาเสียเถิด.

พ่อค้าโกงกล่าวว่า ข้าแต่นายข้าพเจ้ายอมคืนให้ ถ้าเขาจะคืน

บุตรให้ข้าพเจ้า. พ่อค้าบัณฑิตกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้าจะ

คืนบุตรให้ ถ้าเขาจะคืนผาลให้ข้าพเจ้า. พ่อค้าที่บุตรหายก็ได้

คืนบุตร พ่อค้าผาลหายก็ได้คืนผาล แล้วทั้งสองก็ไปตามยถากรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 359

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. พ่อค้าโกงในครั้งนั้นได้เป็นพ่อค้าโกงในครั้งนี้. พ่อค้า

บัณฑิตได้เป็นพ่อค้าบัณฑิตนี้แล ส่วนอำมาตย์ผู้วินิจฉัยคดี คือ

เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากูฏวณิชชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 360

๙. ครหิตชาดก

คนโง่เขลาย่อมเห็นแก่เงิน

[๒๘๗] มนุษย์ทั้งหลายผู้มีปัญญาเขลา ไม่เห็น

อริยธรรม พูดกันแต่ว่า เงินของเรา ทองของเรา

ดังนี้ ทั้งกลางคืนและกลางวัน.

[๒๘๘] ในเรือนหลังหนึ่ง มีเจ้าของเรือนอยู่ ๒ คน

ใน ๒ คนนั้น คนหนึ่งไม่มีหนวด แต่มีนมห้อย

ยาน เกล้ามวยผม และเจาะหู เขาซื้อมาด้วย

ทรัพย์มาก เจ้าของเรือนผู้นั้น ย่อมกล่าวเสียด

แทงคนในเรือนนั้น ตั้งแต่แรกมาอยู่.

จบ ครหิตชาดกที่ ๙

อรรถกถาครหิตชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุกระสันเพราะเบื่อหน่าย รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า หิรญฺ เม สุวณฺณ เม ดังนี้.

เรื่องย่อมีว่า ภิกษุนั้นไม่มีอารมณ์ยึดแน่วแน่เลย. ภิกษุ

ทั้งหลายนาภิกษุเบื่อหน่ายนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา. พระ-

ศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 361

จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร กราบทูลว่า เพราะ

อำนาจกิเลสพระเจ้าข้า. ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุ ธรรมดากิเลสแม้สัตว์เดียรฉานทั้งหลายในกาลก่อนก็

ติเตียน เธอบวชแล้วในพระศาสนาเช่นนี้ เหตุไฉนจึงกระสันด้วย

อำนาจกิเลสที่แม้สัตว์เดียรฉานก็ติเตียน ทรงนำอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดวานร ในหิมวันต-

ประเทศ. ชาวป่าผู้หนึ่งจับวานรนั้นมาถวายพระราชา. วานร

นั้นเมื่อได้อยู่ในพระราชวังเป็นเวลานาน ได้กลายเป็นสัตว์

เรียบร้อย. รู้กิริยาที่ประพฤติกันในหมู่มนุษย์เป็นอันมาก.

พระราชาทรงเลื่อมใสในจริยาวัตรของวานรนั้น รับสั่ง

หาพรานป่ามาตรัสว่า จงปล่อยวานรเสียในที่ที่จับได้. พราน

ได้ทำตามรับสั่ง. ฝูงวานรรู้ว่าพระโพธิสัตว์มา เมื่อเห็นพระ-

โพธิสัตว์นั้นจึงประชุมกันที่หลังแผ่นหินใหญ่ก้อนหนึ่ง ต่างชื่นชม

กับพระโพธิสัตว์แล้วถามว่า สหายท่านอยู่ที่ไหนมาเป็นเวลานาน.

ตอบว่า เราอยู่ในพระราชนิเวศน์ในกรุงพาราณสี.

ถามว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านพ้นมาได้อย่างไร. พระราชา

ทำเราให้เป็นลิงสำหรับล้อเล่น แล้วทรงเลื่อมใสในวัตรของเรา

จึงทรงปล่อยเรา. ลำดับนั้น วานรทั้งหลายพูดกะพระโพธิสัตว์ว่า

ท่านรู้กิริยาที่ประพฤติกับมนุษยโลก ขอท่านจงบอกแก่พวกเรา

ก่อน พวกเราประสงค์จะฟัง. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เธออย่าถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 362

กิริยาของมนุษย์กะเราเลย. พวกวานรกล่าวว่า บอกเถิดท่าน

พวกเราอยากฟัง. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่ามนุษย์เป็น

กษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม ล้วนกล่าวว่าของเรา ของเรา

ย่อมไม่รู้ถึงความไม่เที่ยง ความไม่มีอยู่ บัดนี้พวกเธอจงฟัง

การกระทำของคนอันธพาลเหล่านั้น. แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

คนทั้งหลายผู้มีปัญญาเขลา ไม่เห็นอริย-

ธรรม พูดกันแต่ว่า เงินของเรา ทองของเรา ดังนี้

ทั้งกลางคืนและกลางวัน.

ในเรือนหลังหนึ่ง มีเจ้าเรือนอยู่สองคน

ในสองคนนั้น คนหนึ่งไม่มีหนวด แต่มีนมห้อย

ยาน เกล้าผมมวย และเจาะหูเขาซื้อมาด้วยทรัพย์

มาก เจ้าของเรือนผู้นั้นย่อมกล่าวเสียดแทงคน

ในเรือนนั้น ตั้งแต่แรกมาอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า หิรญฺ เม สุวณฺณ เม นี้เป็นเพียง

หัวข้อเทศนา. ด้วยบททั้งสองนี้กินความรวมรัตนะทั้งสิบประการ

บุพพัณณชาติ อปรัณณชาติ ไร่นา เรือกสวนและสัตว์ ๒ เท้า

๔ เท้า ทุกอย่าง แล้วกล่าวว่า นี่ของเรา นี้ของเรา. บทว่า

เอสา รตฺติทิวา กตา ความว่า พวกมนุษย์พูดกันเป็นนิจทั้งกลางวัน

และกลางคืน มิได้รู้อย่างอื่นว่า เบญจขันธ์ไม่เที่ยงหรือเป็น

แล้วหาเป็นไม่ เที่ยวเพ้อรำพันอยู่อย่างนี้แล. บทว่า ทุมฺเมธาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 363

คือ มีปัญญาทราม. บทว่า อริยธมฺม อปสฺสต ความว่า ไม่เห็น

ธรรมของพระอริยเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นต้น หรือโลกุตตรธรรม

๙ อันประเสริฐไม่มีโทษ เขาไม่มีการพูดอย่างอื่นว่า ไม่เที่ยง

เป็นทุกข์. บทว่า คหปตโย ได้แก่ ผู้เป็นใหญ่ในเรือน. บทว่า

เอโก ตตฺถ ได้แก่ ในเจ้าของเรือนสองคนนั้น ท่านกล่าวหมาย

ถึง มาตุคามคนเดียว. บทว่า เวณิกโต คือ เกล้ามวยผม อธิบาย

ว่า มีทรงผมต่าง ๆ. บทว่า อโถ องฺกิตกณฺณโก ได้แก่ เจาะหู

คือหูมีรูเจาะ ท่านกล่าวหมายถึงมีหูห้อย. บทว่า กีโต ธเนน

พหุนา ความว่า คนที่ไม่มีหนวดมีนมยาน เกล้ามวยผม เจาะหู

เขาให้ทรัพย์มากแก่มารดาบิดา แล้วไถ่มาประดับตกแต่งยก

ขึ้นสู่ยานพาไปเรือนพร้อมด้วยบริวารใหญ่. บทว่า โส ต วิตุทเต

ชน ความว่า เจ้าบ้านคนนั้น ตั้งแต่มาก็ใช้หอก คือปากทิ่มแทง

คนในเรือนมีทาสและกรรมกรเป็นต้น ที่เรือนนั้นว่า เจ้าทาส

ใจร้าย แม่ทาสีใจร้าย เจ้าทำสิ่งนี้ไม่ทำสิ่งนี้ เจ้าตรวจตราผู้คน

ทำเหมือนอย่างนาย. วานรพระโพธิสัตว์ติเตียนชาวมนุษย์ว่า

ชาวมนุษย์ไม่สมควรอย่างยิ่งด้วยประการฉะนี้.

วานรทั้งหมดได้ฟังดังนั้น เอามือทั้งสองปิดหูจนแน่น

กล่าวว่า ท่านอย่าพูดเลย พวกเราฟังสิ่งไม่ควรฟัง. ติเตียนที่

นั้นว่า พวกเราฟังสิ่งที่ไม่ควรฟังในที่นี้แล้วพากันไปในที่อื่น.

นัยว่าหินดาดนั้น ได้ชื่อว่า ครหิตปิฏฐิปาสาณะ (หินดาดที่ถูก

ติเตียน)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 364

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุนั้นตั้งอยู่

ในโสดาปัตติผล ฝูงวานรในครั้งนั้นได้เป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้

ส่วนพญาวานร คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาครหิตชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 365

๑๐. ธัมมัทธชชาดก

ว่าด้วยผู้ถึงธรรมของสัตบุรุษ

[๒๘๙ ] ท่านอยู่เป็นสุขแล้ว ได้ออกจากแว่นแคว้น

มาสู่ป่าอันสงัดเงียบ ท่านนั้นนั่งซบเซาอยู่โคน

ต้นไม้แต่ผู้เดียว เหมือนคนกำพร้า.

[๒๙๐] เราอยู่เป็นสุขแล้ว ได้ออกจากแว่นแคว้น

มาสู่ป่าสงัดเงียบ ระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษอยู่

นั่งซบเซาอยู่ที่โคนต้นไม้แต่ผู้เดียว เหมือนคน

กำพร้า.

จบ ธัมมัทธชชาดกที่ ๑๐

อรรถกถาธัมมัทธชชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเทวทัตพยายามปลงพระชนม์พระองค์ ตรัสพระธรรม

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สุข ชีวิตรูโปว ดังนี้.

ความย่อว่า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัต

พยายามฆ่าเรา ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้เมื่อก่อนก็พยายาม

ฆ่าเราเหมือนกัน แต่ไม่อาจทำแม้เพียงความสะดุ้งสะเทือน จึง

นำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 366

ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า ยศปาณีเสวยราชสมบัติ

อยู่ในกรุงพาราณสี. มีเสนาบดีชื่อ กาฬกะ ในครั้งนั้นพระโพธิ-

สัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้ายศปาณีนั้น ชื่อ ธรรมธัช. ส่วน

กัลบกผู้แต่งพระศกของพระองค์ชื่อ ฉัตตปาณี. พระราชาทรง

ครองราชสมบัติโดยธรรม. แต่เสนาบดีของพระองค์ เมื่อจะ

วินิจฉัยคดีย่อมกินสินบน รับสินบนแล้วย่อมทำผู้ที่มิใช่เจ้าของ

ให้เป็นเจ้าของดุจคนคอยกินเนื้อสันหลังของผู้อื่น.

อยู่มาวันหนึ่ง มนุษย์คนหนึ่งถูกตัดสินให้แพ้คดีที่ศาล

ประคองแขนสะอึกสะอื้นออกจากศาล เห็นพระโพธิสัตว์กำลัง

ไปทำราชการ จึงซบลงที่เท้าพระโพธิสัตว์เล่าเรื่องที่ตนแพ้คดี

ว่า ข้าแต่นาย เมื่อคนเช่นท่านถวายอรรถและธรรมแด่พระราชา

ยังอยู่ กาฬกะเสนาบดีรับสินบนทำผู้ที่ไม่เป็นเจ้าของให้เป็น

เจ้าของ. พระโพธิสัตว์เกิดความสงสารกล่าวว่า มาเถิดพ่อหนุ่ม

เราจักวินิจฉัยคดีของท่านเอง แล้วพามนุษย์ผู้นั้นไปยังศาล

มหาชนประชุมกัน. พระโพธิสัตว์กลับตัดสินให้เจ้าของนั้นแหละ

เป็นเจ้าของ. มหาชนต่างแซ่ซร้องสาธุการ. เสียงนั้นได้อึกทึก

สนั่นไป. พระราชาทรงสดับเสียงนั้นตรัสถามว่า นั่นเสียงอะไร

ราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะ ธรรมธัชบัณฑิตตัดสินคดีที่

กาฬกะเสนาบดีตัดสินไว้ผิดให้ถูก นั่นเป็นเสียงแซ่ซร้องสาธุการ

ณ ที่นั้น พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาทรงโสมนัสตรัสให้หาพระ-

โพธิสัตว์มาตรัสถามว่า ท่านอาจารย์ได้ยินว่า ท่านตัดสินคดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 367

หรือ กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ถูกแล้วพระเจ้าข้าท่านกาฬกะ-

เสนาบดี ตัดสินไว้ไม่ดี ข้าพระพุทธเจ้าจึงวินิจฉัยเสียใหม่ แล้ว

ตรัสว่าตั้งแต่นี้ไป ขอให้ท่านจงตัดสินคดีเถิด เราจะได้สบายหู

ทั้งประชาชนจะได้มีความเจริญ แล้วทรงขอร้องว่า ท่านจงนั่งที่

ตัดสินคดี เพื่ออนุเคราะห์ต่อราษฎรเถิด แม้พระโพธิสัตว์ไม่

ปรารถนาก็ได้ทำตามพระประสงค์. ตั้งแต่นั้นมาพระโพธิสัตว์ก็

นั่ง ณ ที่ตัดสินคดี. กระทำผู้เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ. กาฬกะ-

เสนาบดี เมื่อไม่ได้รับสินบนตั้งแต่นั้นมาก็เสื่อมจากลาภ จึง

เพ็จทูลพระราชาให้บาดหมางพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่มหาราช

ธรรมธัชบัณฑิต ปรารถนาราชสมบัติของพระองค์. พระราชา

ไม่ทรงเชื่อ ทรงห้ามว่าท่านอย่าพูดอย่างนั้น เมื่อเสนาบดีกราบ

ทูลอีกว่า หากพระองค์ไม่ทรงเชื่อข้าพระองค์ ขอจงทรงคอย

ทอดพระเนตรทางพระแกลในเวลาที่ธรรมธัชบัณฑิตมาเถิด

ที่นั้นพระองค์จะทรงเห็นพระนครทั้งสิ้นถูกธรรมธัชบัณฑิต

กำไว้ในเงื้อมมือของตน พระราชาทอดพระเนตรขบวนพวกลูก

ความของธรรมธัชบัณฑิต ทรงเข้าใจว่าเป็นพวกของธรรมธัช-

บัณฑิตทั้งสิ้น ทรงแหนงพระทัย ตรัสถามว่า เราจะทาอย่างไร

เสนาบดี. กราบทูลว่า ขอเดชะควรฆ่าธรรมธัชบัณฑิตพระเจ้าข้า.

ตรัสว่า เรายังไม่เห็นโทษร้ายแรงจะฆ่าเขาอย่างไรได้. กราบทูล

ว่า มีอุบายอย่างหนึ่งพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่าอุบายอย่างไร.

กราบทูลว่า ขอพระองค์ทรงยกกรรมอันให้แก่ธรรมธัชบัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 368

นั้น แล้วฆ่าเขาผู้ไม่สามารถทำกรรมนั้นได้เสีย โดยความผิด

นั้นเถิดพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า ก็กรรมอันเหลือวิสัยของธรรมธัช-

บัณฑิตเป็นอย่างไร. กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ธรรมดาอุทยาน

ที่ปลูกสร้างในพื้นดินแข็งบำรุงอยู่ จะให้ผลใน ๓-๔ ปี ขอพระองค์

ตรัสเรียกธรรมธัชบัณฑิตนั้นมา แล้วตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต

เราประพาสอุทยานเก่ามานานแล้ว บัดนี้ประสงค์จะประพาส

อุทยานใหม่ พรุ่งนี้เราจะไปประพาสอุทยาน ท่านจงสร้างอุทยาน

ให้เราเถิด ธรรมธัชบัณฑิตนั้น คงสร้างไม่ได้เป็นแน่ ทีนั้นแหละ

พระองค์จักสำเร็จโทษธรรมธัชบัณฑิตเสีย. พระราชาตรัสเรียก

พระโพธิสัตว์มาตรัสตามที่กาฬกะเสนาบดีทูลอุบายทุกประการ.

พระโพธิสัตว์ทราบว่า พระราชาถูกกาฬกะเสนาบดีผู้

ไม่ได้รับสินบนเพ็จทูลยุยงแล้ว กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระองค์

สามารถจักรู้เอง กลับไปเรือน บริโภคโภชนะอย่างดี นอนคิด

ตรองอยู่บนที่นอน พิภพของท้าวสักกะได้แสดงอาการร้อน.

ท้าวเธอตรวจดูก็รู้ความคิดของพระโพธิสัตว์ รีบเสด็จมาเข้าห้อง

อันมีสิริประทับยืนอยู่บนอากาศ ตรัสถามว่า บัณฑิตท่านคิดอะไร

พระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านเป็นใคร ตอบว่าเราเป็นท้าวสักกะ

พระโพธิสัตว์จึงบอกว่า พระราชาให้ข้าพระองค์สร้างอุทยาน

ใหม่ ข้าพระองค์คิดว่า จักทำอย่างไรจึงจะสร้างได้ ท้าวสักกะ

ตรัสว่า บัณฑิตท่านอย่าคิดเลย เราจักเนรมิตอุทยานเช่นกับ

สวนนันทวันและจิตรลดาให้ท่าน ท่านจะให้สร้างที่ไหน. พระโพธิ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 369

สัตว์ทูลว่า ขอจงสร้างที่โน้นเถิด. ท้าวสักกะเนรมิตแล้วก็เสด็จ

กลับเทพนคร. รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์เห็นอุทยานโดยประจักษ์แล้ว

จึงไปกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช อุทยานสำหรับ

พระองค์สำเร็จแล้ว ขอจงเสด็จประพาสเถิด พระราชาเสด็จไป

ทอดพระเนตรเห็นอุทยานแวดล้อมด้วยปราการมีสีดังมโนสิลา

สูง ๑๘ ศอก มีประตูหอรบครบครัน ประดับด้วยรุกขชาติ

นานาพรรณ ผลิดอกออกผลสะพรั่ง จึงตรัสถามกาฬกะเสนาบดี

ว่า บัณฑิตได้ทำตามคำสั่งของเราแล้ว บัดนี้เราจะทำอย่างไร

ต่อไป. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บัณฑิตสามารถสร้าง

อุทยานได้โดยคืนเดียว จะไม่สามารถชิงราชสมบัติหรือ. พระ-

ราชาตรัสถามว่า บัดนี้เราจะทำอย่างไรต่อไป. กราบทูลว่า

จะให้ทำกรรมที่สุดวิสัยอย่างอื่น พระเจ้าข้า. ตรัสถาม กรรม

อะไร. กราบทูลว่า ขอจงโปรดให้สร้างสระโบกขรณีอันแล้ว

ด้วยแก้ว ๗ ประการ พระราชารับว่า ดีละ จึงตรัสเรียกพระ-

โพธิสัตว์มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอาจารย์ อุทยานท่านได้สร้าง

เสร็จแล้ว ท่านจงสร้างสระโบกขรณีอันแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ

อันสมควรแก่อุทยานนี้เถิด ถ้าไม่สามารถสร้างได้ ชีวิตท่าน

จะหาไม่. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์

สามารถจักสร้างถวายได้ พระเจ้าข้า. ลำดับนั้นท้าวสักกะจึง

เนรมิตสระโบกขรณีอันงดงามยิ่งมีท่าสนานร้อยหนึ่ง มีเขา

วงกตพันหนึ่ง ดาดาษไปด้วยดอกปทุมห้าสีเช่นกับสระโบกขรณี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 370

นันทา. รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์ได้ทำสระนั้นให้ประจักษ์แล้ว จึง

กราบทูลพระราชาว่า ขอเดชะข้าพระพุทธเจ้าสร้างสระโบก-

ขรณีเสร็จแล้วพระเจ้าข้า. พระราชาทอดพระเนตรเห็นสระ-

โบกขรณีนั้น จึงตรัสถามกาฬกะว่า เราจะทำอย่างไรต่อไป.

กราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์จงสั่งให้สร้างคฤหาสน์อันคู่ควร

แก่อุทยานเถิด. พระราชาตรัสว่า ท่านอาจารย์บัดนี้ท่านจงสร้าง

คฤหาสน์อันล้วนแล้วไปด้วยงาช้าง สมควรแก่อุทยานนี้ และ

สระโบกขรณีเถิด หากสร้างไม่ได้ชีวิตของท่านจะหาไม่. ครั้น

แล้วท้าวสักกะก็เนรมิตคฤหาสน์ให้แก่พระโพธิสัตว์. รุ่งขึ้น

พระโพธิสัตว์ทำคฤหาสน์นั้นให้ประจักษ์ แล้วกราบทูลแด่

พระราชา. พระราชาทอดพระเนตรเห็นคฤหาสน์นั้นแล้ว จึงตรัส

ถามกาฬกะว่า บัดนี้จะทำอย่างไรต่อไป. กราบทูลว่า ข้าแต่

มหาราช ขอพระองค์จงรับสั่งให้สร้างแก้วมณีอันสมควรแก่

คฤหาสน์นั้นเถิดพระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้พระโพธิสัตว์

มาหาตรัสว่า บัณฑิตท่านจงสร้างแก้วมณีอันสมควรแก่คฤหาสน์

ล้วนแล้วไปด้วยงานี้เถิด เราจักเที่ยวเดินด้วยแสงสว่างแห่ง

แก้วมณี หากท่านสร้างไม่ได้ ชีวิตของท่านจะไม่มี. ครั้งนั้น

ท้าวสักกะเนรมิตแก้วมณีให้พระโพธิสัตว์. รุ่งขึ้นพระโพธิสัตว์

กระทำแก้วมณีนั้นให้ประจักษ์ แล้วกราบทูลแด่พระราชา. พระ-

ราชาทอดพระเนตรเห็นแก้วมณีนั้น ตรัสถามกาฬกะ บัดนี้เรา

จะทำอย่างไรต่อไป. กาฬกะกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช เห็นจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 371

มีเทวดาคอยเนรมิตให้สิ่งที่ปรารถนาแก่พราหมณ์ธรรมธัชเป็น

แน่ คราวนี้สิ่งใดแม้เทวดาก็ไม่สามารถเนรมิตได้ ขอพระองค์

จงรับสั่งสิ่งนั้นเถิด แม้เทวดาก็ไม่สามารถเนรมิตมนุษย์ผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๔ ได้ เพราะฉะนั้น ขอพระองค์จงรับส่งกะธรรมธัชว่า

ท่านจงสร้างคนรักษาอุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ เถิด. พระราชา

ตรัสเรียกพระโพธิสัตว์มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอาจารย์ อุทยาน

สระโบกขรณีและปราสาท อันแล้วด้วยงา และแก้วมณีสำหรับ

ส่องแสงสว่างแก่ปราสาท ท่านสร้างให้แก่เราเสร็จแล้ว บัดนี้

ท่านจงสร้างคนรักษาอุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ ทำหน้าที่

รักษาอุทยานแก่เราเถิด หากท่านสร้างไม่ได้ชีวิตจะไม่มี. พระ-

โพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอจงยกไว้เป็นพนักงานเถิด เมื่อข้าพระองค์

ได้ จักรู้เอง จึงกลับไปบ้านบริโภคอาหารอย่างดีแล้ว นอนตื่น

ขึ้นในตอนรุ่ง นั่งคิดอยู่บนหลังที่นอนว่า ท้าวสักกเทวราชสามารถ

เนรมิตแต่สิ่งที่ตนเนรมิตได้ แต่คงไม่สามารถเนรมิตคนเฝ้า

อุทยานประกอบด้วยองค์ ๔ ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ การตายอย่าง

อนาถาในป่านั่นแลดีกว่าการตายในเงื้อมมือของผู้อื่น. พระ-

โพธิสัตว์มิได้บอกเล่าแก่ใคร ๆ ลงจากเรือนออกจากพระนคร

ทางประตูใหญ่ เข้าป่านั่งรำพึงถึงธรรมของสัตบุรุษ ณ โคน

ต้นไม้ต้นหนึ่ง. ท้าวสักกะทราบเหตุนั้น จึงแปลงเป็นพรานไพร

เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ เมื่อจะตรัสถามความนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์

ท่านเป็นผู้แบบบางประหนึ่งว่าจะไม่เคยเห็นทุกข์ยากมาก่อนเลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 372

ท่านอยู่เป็นสุขแล้ว ได้ออกจากแว่นแคว้น

มาสู่ป่าอันสงัดเงียบ ท่านนั้นนั่งซบเซาอยู่ที่

โคนต้นไม้แต่ผู้เดียว เหมือนคนกำพร้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สุข ชีวิตรูโปสิ ความว่า ท่านดำรง

อยู่ในความสุข เช่นกับมีชีวิตอยู่ด้วยความสุข คือดุจบริหาร

ให้มีความสุข. บทว่า รฏฺา คือ จากที่ที่วุ่นวายด้วยมนุษย์. บทว่า

วิวนมาคโต คือ เข้าป่าอันเป็นที่ไม่มีน้ำ. บทว่า รุกฺขมูเล คือ

ใกล้ต้นไม้. บทว่า กปโณ วิย ฌายสิ ความว่า ท่านนั่งซบเซา

อยู่ผู้เดียวเหมือนคนกำพร้า. ท้าวสักกะตรัสถามว่า ท่านคิดอะไร

พระโพธิสัตว์ได้สดับดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

เราอยู่เป็นสุขแล้ว ได้ออกจากแว่นแคว้น

มาอยู่ป่าสงัดเงียบ ระลึกถึงธรรมของสัตบุรุษ

อยู่ นั่งซบเซาอยู่ที่โคนต้นไม้แต่ผู้เดียว เหมือน

คนกำพร้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สต ธมฺม อนุสฺสร ความว่า ดูก่อน

สหาย นั่นเป็นความจริง เราอยู่เป็นสุขแล้ว ได้จากบ้านเมือง

มาสู่ป่า เราผู้เดียวเท่านั้นนั่งที่โคนต้นไม้ในป่านี้ ย่อมซบเซา

เหมือนคนกำพร้า ท่านได้ถามว่า ท่านคิดเรื่องอะไร ข้าพเจ้า

ขอตอบแก่ท่าน. บทว่า สต ธมฺม ความว่า ก็ข้าพเจ้านั่งอยู่ที่นี้

รำพึงถึงธรรมของสัตบุรุษผู้สงบ ผู้เป็นบัณฑิต คือพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 373

พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย แท้จริงโลกธรรม ๘

ประการนี้ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ

สุข ทุกข์ แต่สัตบุรุษทั้งหลาย ถูกโลกธรรม ๘ นี้ กระทบย่อม

ไม่หวั่น ไม่ไหว ธรรมของสัตบุรุษอันได้แก่ ความไม่หวั่นไหว

ในโลกธรรม ๘ นี้ ข้าพเจ้านั่งระลึกถึงธรรมนี้ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้นท้าวสักกะจึงตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์เมื่อ

เป็นเช่นนี้ เหตุใดท่านจึงนั่งอยู่ที่นี่เล่า. พระโพธิสัตว์ตอบว่า

พระราชารับสั่งให้หาบุคคลผู้รักษาสวนประกอบด้วยองค์ ๔

แต่ข้าพเจ้าไม่อาจหาบุคคลเช่นนั้นได้ จึงคิดว่าจะมีประโยชน์

อะไรด้วยความตายในเงื้อมมือของผู้อื่น เราจักเข้าป่าไปตาย

อย่างอนาถา จึงได้มานั่งอยู่ที่นี่. ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์

เราคือท้าวสักกะ เราเนรมิตสวนให้ท่านแล้ว แต่ไม่สามารถจะ

เนรมิตผู้รักษาสวนซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ได้. ช่างกัลบกผู้

แต่งพระศกของพระราชาท่านชื่อว่า ฉัตตปาณี เป็นผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๔ เมื่อมีความต้องการผู้รักษาสวน ท่านจงกราบทูล

ให้ทรงแต่งตั้งช่างกัลบกนั้นเป็นผู้รักษาสวนเถิด. ท้าวสักกเทวราช

ประทานโอวาทแก่พระโพธิสัตว์แล้ว ทรงปลอบโยนว่า อย่ากลัว

เลย แล้วเสด็จคืนสู่เทพบุรีของพระองค์. พระโพธิสัตว์ไปบ้าน

บริโภคอาหารแล้วไปถึงประตูพระราชวัง พบฉัตตปาณีที่ประตู

พระราชวังนั้น จับมือฉัตตปาณีแล้วถามว่า สหายฉัตตปาณีได้

ข่าวว่าท่านประกอบด้วยองค์ ๔ หรือ เมื่อฉัตตปาณีถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 374

ใครเป็นผู้บอกท่านว่า ข้าพเจ้าประกอบด้วยองค์ ๔. ตอบว่า

ท้าวสักกเทวราช. ถามว่า เหตุใดจึงบอก. พระโพธิสัตว์จึง

เล่าเรื่องทั้งหมดว่า บอกด้วยเหตุนี้. ฉัตตปาณีกล่าวว่า ถูกแล้ว

ข้าพเจ้าเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔. ลาดับนั้น พระโพธิสัตว์จึง

จับมือฉัตตปาณีไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช

ฉัตตปาณีนี้เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ เมื่อมีความต้องการผู้

รักษาสวน ขอจงทรงตั้งฉัตตปาณีนี้เป็นผู้รักษาสวนเถิด พระ-

เจ้าข้า. ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามฉัตตปาณีว่า ได้ยินว่าท่าน

เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ หรือ กราบทูลว่าถูกแล้ว พระเจ้าข้า

พระราชาตรัสถามว่า ท่านเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ คืออะไร

บ้าง. ฉัตตปาณีทูลว่า :-

ขอเดชะ ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ริษยา เป็นผู้

ไม่ดื่มน้ำเมา เป็นผู้ไม่ติดในความรัก เป็นผู้

ตั้งมั่นอยู่ในความไม่โกรธ.

ข้าแต่มหาราช ชื่อว่าความริษยาไม่มีแก่ข้าพระองค์ น้ำเมา

ข้าพระองค์ไม่เคยดื่ม ความรักก็ดี ความโกรธก็ดี ไม่เคยมีใน

ผู้อื่น ข้าพระองค์ประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้.

ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนฉัตตปาณี ท่าน

เป็นผู้ไม่ริษยาหรือ. กราบทูลว่า ขอเดชะ ถูกแล้วพระเจ้าข้า

ข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ริษยา. ท่านเห็นเหตุอะไรจึงเป็นผู้ไม่ริษยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 375

ฉัตตปาณีกราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรงโปรดสดับ

เถิด เมื่อจะกล่าวถึงเหตุของการไม่ริษยา จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่ราชะ ข้าพระพุทธเจ้าได้สั่งให้จองจำ

ปุโรหิต เพราะหญิงเป็นเหตุ ปุโรหิตนั้นให้ข้า-

พระองค์ตั้งอยู่ในประโยชน์แล้ว เพราะฉะนั้น

ข้าพระองค์จึงไม่ริษยา.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า ข้าพระองค์นี้แหละ เมื่อก่อน

เป็นพระราชาในกรุงพาราณสีนี้เอง เช่นกับพระองค์ ให้จองจำ

ปุโรหิต เพราะสตรีเป็นเหตุ คือ ครั้งหนึ่งช่างกัลบกฉัตตปาณี

นี้เป็นพระราชา ถูกพระเทวีผู้ลักลอบกับพวกข้าบาทมูล ๖๔ นาย

ผู้หวังจะให้พระโพธิสัตว์ ซึ่งไม่สนใจตนให้พินาศ ทูลยุยงให้

จองจำตามนัยที่มาแล้วในชาดกนี้ว่า :-

คนพาลแย้มพรายออกมาในที่ใด คนที่

ไม่ถูกจองจำ ก็ย่อมถูกจองจำในที่นั้น ส่วนนัก

ปราชญ์แย้มพรายออกมาในที่ใด ถึงคนที่ถูก

จองจำแล้ว ก็ย่อมหลุดออกมาได้ในที่นั้น.

ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ถูกจองจำนำไปเฝ้า จึงกราบทูล

โทษของพระเทวีตามเป็นจริง ได้รอดพ้นเอง ได้ทูลให้ปลดปล่อย

พวกข้าบาทมูลที่รับสั่งให้จองจำนั้นทั้งหมด ถวายโอวาทว่า

ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงทรงนิรโทษให้แก่พวกข้าบาทมูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 376

เหล่านั้น และพระเทวีเถิด พระเจ้าข้า. เรื่องราวทั้งหมดพึงทราบ

โดยพิสดารตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

ฉัตตปาณีหมายถึงความข้อนั้น จึงกล่าวว่า :-

ข้าแต่ราชะ เพราะหญิงเป็นเหตุ ฯลฯ

เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ริษยา.

ก็ในกาลนั้นพระราชาฉัตตปาณีนั้น คิดว่าเราละเลยสนม

หนึ่งหมื่นหกพัน คลอเคลียอยู่กับพระเทวีเพียงนางเดียวเท่านั้น

ด้วยอำนาจกิเลส ยังไม่สามารถจะให้นางอิ่มหนำได้ ขึ้นชื่อว่า

การโกรธต่อหญิงทั้งหลายที่ให้เต็มได้ยาก อย่างนี้ก็เช่นกับการ

โกรธผ้านุ่งที่เศร้าหมองว่า เหตุใดจึงเศร้าหมองและเป็นเช่นกับ

การโกรธอาหารที่บริโภคแล้วกลับเป็นคูถ ว่าทำไมจึงกลับเป็น

คูถ. ต่อแต่นี้ไปเราขออธิษฐานว่า ยังไม่บรรลุอรหัตตราบใด ขอ

ความริษยาจงอย่าเกิดแก่เราเพราะอาศัยกิเลสตราบนั้น. ตั้งแต่

นั้นมาพระราชามิได้ทรงริษยาเลย ฉัตตปาณีกัลบกกล่าวว่า

เพราะฉะนั้นข้าพระองค์จึงไม่ริษยา หมายถึงความข้อนี้.

ลาดับนั้นพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนท่านฉัตตปาณี ท่าน

เห็นอารมณ์อันใดจึงเป็นผู้ไม่ดื่มน้ำเมา. ฉัตตปาณีเมื่อจะกราบทูล

ถึงเหตุนั้นจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าเมาแล้ว

จึงได้กินเนื้อบุตร ข้าพระพุทธเจ้าถูกความโศก

ถึงบุตรนั้นกระทบแล้ว จึงเว้นการดื่มน้ำเมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 377

อธิบายความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเมื่อครั้งก่อน

ข้าพระองค์เป็นพระเจ้าพาราณสีเช่นเดียวกับพระองค์ ขาดน้ำเมา

เสียแล้วก็ไม่สามารถจะดำเนินชีวิตไปได้ แม้อาหารที่ไม่มีเนื้อ

ก็ไม่สามารถบริโภคได้. ที่พระนครไม่มีการฆ่าสัตว์ในวัน

อุโบสถ. พ่อครัวซื้อเนื้อมาเก็บไว้แต่วัน ๑๓ ค่ำแห่งปักษ์. เนื้อ

นั้นเก็บไว้ไม่ดี สุนัขจึงกินเสียหมด. พ่อครัวหาเนื้อในวันอุโบสถ

ไม่ได้ จึงปรุงอาหารมีรสเลิศต่าง ๆ สำหรับพระราชายกขึ้นไป

บนปราสาท แต่ไม่อาจนำเข้าไปได้ จึงเข้าไปเฝ้าพระเทวีกราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระเทวีวันนี้ข้าพระองค์หาเนื้อไม่ได้ จึงไม่อาจนำ

พระกระยาหารที่ไม่มีเนื้อเข้าไปถวายได้ ข้าพระองค์จะทำอย่างไร

ดี. พระเทวีตรัสว่า นี่แน่ะเจ้าโอรสของเราเป็นที่รักโปรดปราน

ของพระราชา. พระราชาทรงเห็นโอรสของเราแล้วก็จะทรง

จุมพิตสวมกอดโอรสนั้นเพลินจนไม่ทรงทราบว่า เนื้อมีหรือ

ไม่มีสำหรับพระองค์. เราจะแต่งตัวโอรสแล้วให้นั่งบนพระเพลา

ของพระราชา เวลาที่พระองค์ทรงหยอกล้อพระโอรส ท่านจึง

ค่อยนำพระกระยาหารเข้าไปถวาย. พระเทวีตรัสดังนั้นแล้ว

จึงตกแต่งพระราชกุมารโอรสของพระองค์ให้นั่งบนพระเพลา

ของพระราชา. ในเวลาที่พระราชาทรงหยอกล้อเล่นกับพระ-

โอรส พ่อครัวจึงนำพระกระยาหารเข้าไปถวาย. พระราชาทรง

เมาสุรา ไม่ทรงเห็นเนื้อในถาด จึงตรัสถามว่า เนื้ออยู่ที่ไหน

พ่อครัวกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์หาเนื้อไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 378

เพราะวันนี้เป็นวันอุโบสถ ไม่มีการฆ่าสัตว์ จึงตรัสว่า ชื่อว่า

เนื้อสำหรับเราหาได้ยากนักหรือ จึงทรงหักคอพระโอรสที่นั่ง

อยู่บนพระเพลา จนถึงสิ้นชีพิตักษัย โยนไปข้างหน้าพ่อครัว

ตรัสว่า จงไปปรุงมาโดยเร็ว. พ่อครัวได้ทำตามรับสั่ง. พระราชา

ได้เสวยพระกระยาหารด้วยเนื้อพระโอรสแล้ว. มิได้มีผู้สามารถ

ร่ำไห้ทัดทานแม้แต่คนเดียว เพราะกลัวพระราชา. พระราชา

ครั้นเสวยเสร็จแล้วเสด็จเข้าห้องบรรทม ทรงตื่นบรรทม

ตอนใกล้รุ่ง ทรงสร่างเมาแล้วรับสั่งว่า จงนำโอรสของเรามา.

ในกาลนั้นพระเทวีหมอบกันแสงร่ำไห้อยู่ ณ แทบพระบาท เมื่อ

พระราชาตรัสถามว่า กันแสงเรื่องอะไร กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์เมื่อวานนี้พระองค์ทรงฆ่าพระโอรสแล้วเสวยพระกระ-

ยาหารกับเนื้อพระโอรสเพคะ. พระราชาทรงกันแสงด้วยความ

โศกถึงพระโอรส ทรงเห็นโทษในการดื่มน้ำเมาว่า ทุกข์นี้เกิด

ขึ้นแก่เรา เพราะอาศัยการดื่มน้ำเมา แล้วทรงกำฝุ่นขึ้นมาทา

พระพักตร์ ทรงอธิษฐานว่า ตั้งแต่นี้ไปเรายังไม่บรรลุพระอรหัต

ตราบใด เราจักไม่ดื่มสุราอันทำความพินาศเช่นนี้ตราบนั้น.

ตั้งแต่นั้นมาพระองค์มิได้ทรงดื่มน้ำเมาอีกเลย. ฉัตตปาณีกัลบก

กล่าวคาถานี้ว่า ปมตฺโตห มหาราช หมายถึงความนี้.

ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามฉัตตปาณีว่า ฉัตตปาณีท่าน

เห็นอารมณ์อะไรหรือ จึงไม่มีความรัก. ฉัตตปาณีเมื่อจะทูลเหตุ

นั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 379

ข้าพระองค์เป็นพระราชาพระนามว่า

กิตวาส โอรสของข้าพระองค์ทำลายบาตรของ

พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วสิ้นชีวิต ข้าพระองค์ไม่

มีความรักเพราะโอรสนั้นเป็นเหตุ.

ความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเมื่อครั้งก่อนข้าพระองค์

เป็นพระราชาพระนามว่า กิตวาส ในกรุงพาราณสี. โอรสของ

ข้าพระองค์ได้ประสูติ. ครั้นประสูติแล้ว โหรเห็นลักษณะพระ-

โอรสแล้วทานายว่า ข้าแต่มหาราช พระอาญาไม่พ้นเกล้า พระ-

โอรสนี้จักอดน้ำสิ้นพระชนม์ พระเจ้าข้า. พระชนกชนนีทรง

ขนานนามพระโอรสนั้นว่า ทุฏฐกุมาร. กุมารนั้นครั้นเจริญวัย

แล้ว ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช. พระราชาโปรดให้พระกุมาร

ตามเสด็จ ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเสมอ. และเพราะเกรง

พระโอรสจะอดน้ำตาย จึงรับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีไว้ในที่นั้น ๆ

ภายในพระนครในประตูทั้งสี่ด้าน. รับสั่งให้สร้างมณฑปไว้

ตามสี่แยกเป็นต้น แล้วให้ตั้งตุ่มน้ำดื่มไว้. วันหนึ่งพระกุมารแต่ง

พระองค์เสด็จประพาสอุทยานแต่เช้าตรู่ พบพระปัจเจกพุทธเจ้า

ในระหว่างทาง. มหาชนเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วต่างก็กราบ

ไหว้สรรเสริญและประคองอัญชลีแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น.

พระกุมารนั้นคิดว่า พวกที่ไปกับคนเช่นเราพากันกราบไหว้

สรรเสริญประคองอัญชลีแด่สมณะโล้นนี้ ทรงพิโรธ ลงจากช้าง

เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัสถามว่า สมณะท่านได้ภัตตาหาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 380

แล้วหรือ พระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า ได้แล้วพระกุมาร. พระ-

กุมารจึงแย่งบาตรจากมือพระปัจเจกพุทธเจ้าทุ่มลงบนพื้นดิน

เหยียบย่ำยีภัตตาหารให้แหลกไป. พระปัจเจกพุทธเจ้าแลดูหน้า

พระกุมารนั้น คิดว่าสัตว์ผู้นี้ทีจะวอดวายเสียแล้วหนอ. พระ-

กุมารตรัสว่า สมณะเราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวาส มีนามว่า

ทุฏฐกุมาร ท่านโกรธเรา มองดูตาเรา จะทำอะไรเรา. พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า บาตรแตกแล้วจึงเหาะขึ้นสู่เวหาไปสู่เงื้อมเขา

นันทมูล ณ หิมวันตประเทศ เบื้องทิศอุดร. ขณะนั้นเองกรรมชั่ว

ของพระกุมารก็ให้ผลทันตา. พระกุมารมีพระวรกายเร่าร้อน

พลุ่งพล่าน ตรัสว่า ร้อนเหลือเกินล้มลง ณ ที่นั้นเอง. น้ำทั้งหมด

ที่มีอยู่ ณ ที่นั้น ๆ ก็เหือดแห้ง. สระทั้งหลายก็แห้งผาก. พระ-

กุมารสิ้นชีพิตักษัยในที่นั้นเอง ไปบังเกิดในนรกอเวจี.

พระราชาทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้ว ถูกความโศกถึงพระ-

โอรสครอบงำ ทรงดำริว่า ความโศกของเรานี้เกิดขึ้นแต่สิ่งที่

เรารัก หากเราจะไม่มีความรักแล้ว ความโศกก็จะไม่เกิดขึ้น

ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขึ้นชื่อว่าความรักในสิ่งใด ๆ ทั้งที่มีวิญญาณ

หรือไม่มีวิญญาณ อย่าได้เกิดขึ้นแก่เราเลย ทรงอธิษฐานดังนี้

แล้ว. ตั้งแต่นั้นไปก็ไม่มีความรักเลย. ฉัตตปาณีกล่าวคาถาว่า

กิตวาโส นามาห หมายถึงเนื้อความนั้น.

ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามฉัตตปาณีว่า ดูก่อนฉัตตปาณี

ท่านเห็นอารมณ์อันใดเล่า จึงเป็นผู้ไม่โกรธ. ฉัตตปาณีเมื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 381

กราบทูลความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

ข้าพระองค์เป็นดาบสชื่อว่าอรกะ เจริญ

เมตตาจิตเจ็ดปีอยู่ในพรหมโลก เจ็ดกัป เพราะ

ฉะนั้นจึงเป็นผู้ไม่โกรธ.

ความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เป็นดาบส

ชื่ออรกะ เจริญเมตตาจิต เจ็ดปี แล้วอยู่ในพรหมโลกถึงเจ็ด

สังวัฏฏกัป วิวัฏฏกัป ข้าพระองค์นั้นจึงไม่เป็นผู้ไม่โกรธ เพราะ

ประพฤติสั่งสมเมตตาภาวนาสิ้นกาลนาน.

เมื่อฉัตตปาณีกราบทูลองค์ ๔ ของตนอย่างนี้แล้ว พระ-

ราชาได้ทรงให้สัญญาที่นัดหมายไว้แก่บริษัท. ทันใดนั้นเอง

เหล่าอำมาตย์มีพราหมณ์และคหบดีเป็นต้น ต่างลุกฮือกันขึ้น

กล่าวว่า แน่ะ เจ้าคนกินสินบน โจรผู้ชั่วร้าย เจ้าไม่ได้กินสินบน

แล้ว จึงคิดจะฆ่าบัณฑิต ต่างช่วยกันจับมือและเท้ากาฬกะเสนาบดี

พาลงจากพระราชนิเวศน์ ทุบศีรษะด้วยก้อนหินและไม้ฆ้อน

คนละไม้คนละมือ จนถึงแก่ความตาย จึงจับเท้าลากไปทิ้งไว้ที่

กองหยากเยื่อ. ตั้งแต่นั้นมาพระราชาทรงครองราชสมบัติโดย

ธรรม ครั้นสวรรคตแล้วก็เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. กาฬกะเสนาบดีในครั้งนั้นได้เป็น เทวทัตในครั้งนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 382

ฉัตตปาณีอุบาสกได้เป็นสารีบุตร ส่วนธัมมัทธชปุโรหิต คือเรา

ตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาธัมมัทธชชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสมทัตตชาดก ๒. อุจฉิฏฐภัตตชาดก ๓. ภรุราชชาดก

๔. ปุณณนทีชาดก ๕. กัจฉปชาดก ๖. มัจฉชาดก ๗. เสคคุ-

ชาดก ๘. กูฏวาณิชชาดก ๙. ครหิตชาดก ๑๐. ธัมมัทธชชาดก.

จบ พีรณัตถัมภกวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 383

๘. กาสาววรรค

๑. กาสาวชาดก

ว่าด้วยผู้ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ

[๒๙๑] ผู้ใดยังมีกิเลสดุจน้ำฝาด ยังคายออกไม่ได้

ปราศจากทมะและสัจจะ จักนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด

ผู้นั้นย่อมไม่สมควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดเลย.

[๒๙๒] ส่วนผู้ใดคายกิเลสดุจน้ำฝาดแล้ว ตั้งมั่น

อยู่ในศีลทั้งหลาย ประกอบด้วยทมะและสัจจะ

ผู้นั้นแลย่อมสมควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดได้.

จบ กาสาวชาดกที่ ๑

อรรถกถากาสาววรรคที่ ๘

อรรถกถาสาวชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อนิกฺกสาโว กาสาว ดังนี้. แต่เรื่องเกิดขึ้นในกรุงราชคฤห์.

สมัยหนึ่งพระธรรมเสนาบดีอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหารกับ

ภิกษุ ๕๐๐ รูป. ครั้งนั้นพระเทวทัตห้อมล้อมไปด้วยบริษัท

ผู้ทุศีลสมควรแก่ตนอยู่ ณ คยาสีสประเทศ. สมัยนั้นชาวกรุง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 384

ราชคฤห์เรี่ยไรกันจัดเตรียมทาน. ครั้งนั้นมีพ่อค้าผู้มาเพื่อ

ทำการค้าขายผู้หนึ่ง ได้ให้ผ้ากาสาวะมีกลิ่นหอม มีค่ามาก ว่า

ท่านทั้งหลายจงจำหน่ายผ้าสาฎกนี้แล้วให้เรามีส่วนบุญร่วมด้วย

เถิด. ชาวพระนคร ถวายทานกันมากมาย. วัตถุทานทุกอย่างที่

ร่วมใจกันรวบรวมจัดครบเรียบร้อยแล้วด้วยกหาปณะทั้งนั้น.

ผ้าสาฎกผืนนั้นจึงได้เหลือ. มหาชนประชุมกันว่า ผ้าสาฎกมี

กลิ่นหอมผืนนี้เป็นของเกิน เราจะถวายผ้าผืนนั้นแก่รูปไหน

เราจักถวายแก่พระสารีบุตร หรือแก่พระเทวทัต. ในมนุษย์

เหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า จักถวายแก่พระสารีบุตรเถระ อีก

พวกหนึ่งกล่าวว่า พระสารีบุตรเถระอยู่ชั่ว ๒-๓ วันแล้วก็จะ

หลีกไปตามชอบใจ ส่วนพระเทวทัตอยู่อาศัยเมืองของเราแห่ง

เดียวเป็นประจำ ท่านองค์นี้แหละได้เป็นที่พึ่งของเราทั้งในงาน

มงคลและอวมงคล พวกเราจักถวายแก่พระเทวทัต. แม้พวกที่

กล่าวกันไปหลายอย่างนั้น พวกที่กล่าวว่า เราจักถวายแก่พระ-

เทวทัตมีมากกว่า. มหาชนจึงได้ถวายผ้านั้นแก่พระเทวทัต. พระ-

เทวทัตให้ช่างตัดผ้ากาสาวะมีกลิ่นหอมนั้นออก แล้วให้เย็บเป็น

สองชั้น ให้ย้อมจนมีสีดังแผ่นทองคำห่ม.

ในกาลนั้น ภิกษุประมาณ ๓๐๐ รูป ออกจากกรุงราชคฤห์

ไปยังกรุงสาวัตถี ถวายบังคมพระศาสดา พระศาสดาทรงทำ

ปฏิสันถารแล้วได้ทูลให้ทรงทราบเรื่องราว แล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ พระเทวทัตห่มผ้ากาสาวะอันเป็นธงชัยของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 385

พระอรหันต์อันไม่สมควรแก่ตนอย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตนุ่งห่มผ้ากาสาวะอันเป็นธงชัยของ

พระอรหันต์อันไม่สมควรแก่ตนในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้

เมื่อก่อนเทวทัตก็นุ่งห่มแล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัส

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลช้างที่ป่าหิมพานต์

ครั้นเติบใหญ่แล้วได้เป็นหัวหน้าโขลงมีช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก

เป็นบริวาร อาศัยอยู่ในราวป่า ครั้งนั้นมีมนุษย์เข็ญใจผู้หนึ่ง

อาศัยอยู่ในกรุงพาราณสี เห็นช่างกลึงงาที่ถนนช่างทำเครื่องงา

กำลังทำเครื่องงาต่าง ๆ มีกำไลงาเป็นต้น จึงถามว่า ท่านได้

งาช้างแล้วจักรับซื้อไหม. พวกช่างงาตอบว่า เรารับซื้อซิ.

มนุษย์เข็ญใจนั้นรับว่า ตกลง จึงถืออาวุธนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด

คลุมศีรษะยืนคอยอยู่ที่ทางช้างผ่าน ใช้อาวุธฆ่าช้างแล้วเอางา

มาขายที่เมืองพาราณสีเลี้ยงชีพ. ต่อมาคนเข็ญใจนั้นได้เริ่มฆ่า

ช้างบริวารของพระโพธิสัตว์ที่เดินล้าหลังช้างทั้งหมด. เมื่อช้าง

ขาดหายไปทุกวัน ๆ พวกช้างจึงแจ้งแก่พระโพธิสัตว์ว่า ช้าง

ขาดหายไปด้วยเหตุอะไรหนอ. พระโพธิสัตว์คอยสังเกตดู ก็

รู้ว่า บุรุษคนหนึ่งถือเพศอย่างพระปัจเจกพุทธเจ้ายืนอยู่ที่ริมทาง

ช้างผ่าน เจ้าคนนี้กระมังฆ่าช้าง เราจักคอยจับมัน วันหนึ่งจึง

ให้พวกช้างเดินไปข้างหน้าตน ตนเองเดินไปข้างหลัง. มนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 386

เข็ญใจ เห็นพระโพธิสัตว์จึงถืออาวุธตรงเข้าไป. พระโพธิสัตว์

ถอยหลังกลับมายืนอยู่ คิดว่า จักจับฟาดดินให้ตาย จึงยื่นงวง

ออกเห็นผ้ากาสายะที่มนุษย์นั้นนุ่งห่มอยู่ คิดว่า ผ้ากาสายะอัน

เป็นธงชัยของพระอรหันต์นี้เราควรทำความเคารพ จึงม้วนงวง

หดกลับแล้วกล่าวว่า นี่แน่ะเจ้าบุรุษ ผ้ากาสายะอันเป็นธงชัย

ของพระอรหันต์นี้ไม่สมควรแก่เจ้ามิใช่หรือ ไฉนเจ้าจึงห่มผ้า

ผืนนั้นเล่า ได้กล่าวคาถานี้ว่า

ผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและ

สัจจะ จักนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ผู้นั้นย่อมไม่สม

ควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดเลย. ส่วนผู้ใดคาย

กิเลสดุจน้ำฝาดแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีลทั้งหลาย

ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแลย่อมสม

ควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิกฺกสาโว ความว่า ท่านเรียก

กิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาดนั้นได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ มักขะ

(ความลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอท่าน) อิสสา (ความริษยา)

มัจฉริยะ (ความตระหนี่) มายา (เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (ความ

โอ้อวด) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ความถือตัว)

อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (ความมัวเมา) ปมาทะ (ความ

เลินเล่อ) อกุสลธรรมทั้งหมด ทุจจริตทั้งหมด กรรมที่นำไปสู่

ภพทั้งหมด กิเลสพันห้า นี่ชื่อว่า กสาวะกิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 387

กิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาดนั้น บุคคลใดยังละไม่ได้ ยังอาศัยอยู่

ยังไม่ออกจากสันดานของบุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่ามีกิเลสเพียง

ดังว่าน้ำฝาดอันยังไม่คายออก. บทว่า กาสาว ได้แก่ มีสีเหลือง

อันเป็นรสของน้ำฝาด เป็นธงชัยของพระอรหันต์. บทว่า โย

วตฺถ ปริทหิสฺสิ ความว่า ผู้ใดเป็นอย่างนี้จักใช้สรอย คือ

นุ่งและห่มผ้าชนิดนี้. บทว่า อเปโต ทมสจฺเจน ความว่า บุคคล

นั้นเป็นผู้ปราศจาก คือ ห่างไกลจากทมะอันได้แก่ การฝึก

อินทรีย์และปรมัตถสัจจะอันได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า น โส

กาสาวมรหติ ความว่า บุคคลนั้น ไม่คู่ควรผ้ากาสาวะอันเป็น

ธงชัยของพระอรหันต์ เพราะยังมีกิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาด ยัง

คายออกไม่ได้ จึงไม่สมควรแก่ผ้ากาสาวะนั้น. บทว่า โย จ

วนฺตกสาวสฺส ความว่า ส่วนบุคคลใด ชื่อว่าเป็นผู้มีกิเลสเพียง

ดังน้ำฝาดคายออกแล้ว เพราะกิเลสเพียงดังน้ำฝาดตามที่กล่าว

แล้วนั่น คายออกหมดแล้ว. บทว่า สีเลสุ สุสมาหิโต คือเป็นผู้

มั่นคงด้วยศีลในมรรคศีล และผลศีล คือตั้งมั่นในมรรคศีลและ

ผลศีลเหล่านั้น ดุจน้ำมาตั้งไว้. บทว่า อุเปโต ได้แก่ ถึงพร้อม

คือ ประกอบพร้อม. บทว่า ทมสจฺเจน คือ ด้วยทมะและสัจจะ

มีประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า ส เว กาสาวมรหติ ความว่า

บุคคลเห็นปานนี้นั้น ย่อมคู่ควรผ้ากาสาวะ อันเป็นธงชัยของ

พระอรหันต์นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 388

พระโพธิสัตว์กล่าวเหตุนี้แก่บุรุษนั้นอย่างนี้แล้ว ขู่ว่า

ตั้งแต่นี้ไป เจ้าอย่ามาที่นี่อีกเป็นอันขาด หากเจ้ามา เจ้าจะต้อง

ตายแล้วปล่อยให้หนีไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. บุรุษผู้ฆ่าช้างในดังนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วน

ช้างผู้เป็นหัวหน้าโขลง คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากาสาวชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 389

๒. จุลลนันทิยาชาดก

ผลของกรรมดีและกรรมชั่ว

[๒๙๓] ปาราสริยพราหมณ์ได้กล่าวคำใดไว้ว่า

ท่านอย่าได้กระทำกรรมชั่ว อันจะทำตัวท่านให้

เดือดร้อนในภายหลังนะ คำนี้นั้น เป็นถ้อยคา

ของท่านอาจารย์.

[๒๙๔] บุรุษทำกรรมเหล่าใดไว้ เขาย่อมเห็นกรรม

เหล่านั้นในตน ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำ

กรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด

ย่อมได้รับผลเช่นนั้น.

จบ จุลลนันทิยชาดกที่ ๒

อรรถกถาจุลลนันทิยชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อิท ตทาจริยวโจ ดังนี้.

ความย่อมีอยู่ว่า วันหนึ่งพวกภิกษุประชุมสนทนากันใน

โรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าพระเทวทัตเป็นผู้

กักขฬะหยาบช้า โผงผาง ประกอบการมุ่งปลงพระชนม์พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 390

สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กลิ้งศิลา ปล่อยช้างนาฬาคิรี มิได้มีแม้แต่

ขันติเมตตา และความเห็นอกเห็นใจ ในพระตถาคตเลย. พระ-

ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตกักขฬะ หยาบคาย ไร้

กรุณามิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเทวทัตก็กักขฬะ หยาบคาย

ไร้กรุณาเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นวานร ชื่อ นันทิยะ

อยู่ในหิมวันตประเทศ มีน้องชายชื่อว่า จุลลนันทิยะ ทั้งสอง

พี่น้องมีวานร ๘๔,๐๐๐ เป็นบริวาร ปรนนิบัติมารดาซึ่งตาบอด

อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ. วานรสองพี่น้องให้มารดาพักนอน

ที่พุ่มไม้ เข้าไปป่าหาผลไม้ที่มีรสอร่อยได้แล้ว ส่งไปให้มารดา.

ลิงที่นำมามิได้เอาไปให้มารดา. มารดาถูกความหิวครอบงำ

จนผอมซูบซีดเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์

จึงถามมารดาว่า แม่จ๋า ลูกส่งผลไม้มีรสอร่อยมาให้แม่ ไฉนแม่

จึงซูบผอมนักเล่า. มารดาตอบว่า ลูกเอ๋ย แม่ไม่เคยได้เลย.

พระโพธิสัตว์คิดว่า เมื่อเรายังปกครองฝูงวานรอยู่ แม่ของเรา

คงตายเป็นแน่ เราจะละฝูงวานรไปปรนนิบัติแม่เท่านั้น. พระ-

โพธิสัตว์จึงเรียกจุลลนันทิยะมากล่าวว่า นี่แน่ะ น้อง น้องจง

ปรกครองฝูงวานรเถิด พี่จักปรนนิบัติแม่เอง. ฝ่ายจุลลนันทิยะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 391

จึงกล่าวว่า พี่จ๋า น้องไม่ต้องการปกครองฝูงวานร น้องก็จะ

ปรนนิบัติแม่บ้าง. พี่น้องทั้งสองนั้นมีความเห็นเป็นอันเดียวกัน

ฉะนี้แล้ว จึงละฝูงวานรพามารดาออกจากหิมวันตประเทศ อาศัย

อยู่ที่ต้นไทรชายแดน ปรนนิบัติมารดา.

ครั้งนั้น มีพราหมณ์มาณพชาวกรุงพาราณสีผู้หนึ่ง เรียน

จบศิลปะทุกประการ ในสานักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ในเมือง

ตักกสิลา อาลาอาจารย์ว่า กระผมจักไป ฝ่ายอาจารย์ก็รู้ด้วยอานุภาพ

วิชชาในตนว่า มาณพนั้นเป็นคนกักขฬะ หยาบช้า โผงผาง จึง

สั่งสอนว่า แน่ะพ่อ เจ้าเป็นคนกักขฬะ หยาบช้า โผงผาง ถ้า

ขืนเป็นอย่างนี้จะไม่มีผลสำเร็จเช่นเดียวกันตลอดกาล ย่อมต้อง

พบความพินาศ ความทุกข์อย่างใหญ่หลวง ท่านอย่าได้เป็นคน

กักขฬะ หยาบช้า อย่าได้ทำกรรมอันให้เดือดร้อนในภายหลัง

เลย ดังนี้แล้วจึงส่งไป. พราหมณ์มาณพนั้นไหว้อาจารย์แล้วไป

สู่กรุงพาราณสี มีครอบครัวแล้ว เมื่อไม่สามารถจะเลี้ยงชีพด้วย

ศิลปะอย่างอื่น จึงคิดว่า เราจักยึดเอาคันธนูเป็นที่พึ่งเลี้ยงชีวิต

คือจักหากินทางเป็นพราน ออกจากกรุงพาราณสี อยู่ที่บ้าน

ชายแดน ผูกสอดธนูและแล่งธนูเสร็จแล้ว เข้าป่าล่าเนื้อนานา

ชนิด เลี้ยงชีพด้วยการขายเนื้อ. วันหนึ่งเขาหาอะไรในป่าไม่ได้

เลย กำลังเดินกลับพบต้นไทรอยู่ที่ริมเนิน คิดว่าน่าจะมีอะไร

อยู่ที่ต้นไทรนี้บ้าง จึงเดินตรงไปยังต้นไทร. ขณะนั้นวานร

สองพี่น้องนั่งอยู่ระหว่างค่าคบ ให้มารดาเคี้ยวกินผลไม้อยู่ข้างหน้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 392

เห็นพราหมณ์มาณพนั้นเดินมา คิดว่าถึงจะเห็นมารดาเรา ก็คง

จะไม่ทำอะไร จึงแอบอยู่ระหว่างกิ่งไม้. ฝ่ายบุรุษโผงผางผู้นั้น

มาถึงโคนต้นไม้แล้ว เห็นมารดาของวานรนั้นแก่ทุพพลภาพ

ตาบอด คิดว่า เราจะกลับไปมือเปล่าทำไม จักยิงนางลิงตัวนี้

เอาไปด้วย จึงโก่งธนูหมายจะยิงนางลิงแก่ตัวนั้น. พระโพธิสัตว์

เห็นดังนั้นจึงกล่าว พ่อจุลลนันทิยะบุรุษผู้จะยิงมารดาของเรา.

พี่จะสละชีวิตให้แทนมารดา เมื่อพี่ตายไปแล้ว น้องจงเลี้ยงดู

มารดาเถิด จึงออกจากระหว่างกิ่งไม้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญขอ

ท่านอย่าได้ยิงมารดาของเราเลย มารดาของเราตาบอด ทุพพลภาพ

เราจะสละชีวิตให้แทนมารดา ขอท่านอย่าได้ฆ่ามารดาเลย จง

ฆ่าเราเถิด รับปฏิญญาของบุรุษนั้นแล้ว จึงไปนั่งในที่ใกล้ลูกศร.

บุรุษนั้นปราศจากความกรุณา ยิงพระโพธิสัตว์ตกลง แล้วขึ้น

ธนูอีกเพื่อจะยิงมารดาของพระโพธิสัตว์ด้วย. จุลลนันทิยะเห็น

ดังนั้น คิดว่าบุรุษผู้นี้ใคร่จะยิงมารดาของเรา มารดาของเรา

แม้จะมีชีวิตอยู่วันเดียว ก็ยังได้ชื่อว่ารอดชีวิตแล้ว เราจักสละ

ชีวิตให้แทนมารดา จึงออกจากระหว่างกิ่งไม้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

ท่านอย่ายิงมารดาของเราเลย เราจักสละชีวิตให้แทนมารดา

ท่านยิงเราแล้วเอาเราสองพี่น้องไป จงไว้ชีวิตแก่มารดาของเรา

เถิด รับปฏิญญาของบุรุษนั้นแล้ว นั่งในที่ใกล้ลูกศร. บุรุษนั้นจึง

ยิงจุลลนันทิยะนั้นตกลง แล้วคิดว่าเราจักเอาไปเผื่อเด็ก ๆ ที่บ้าน

จึงยิงมารดาของวานรทั้งสองด้วยตกลง หาบไปทั้ง ๓ ตัว มุ่งหน้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 393

ตรงไปบ้าน. ครั้งนั้นสายฟ้าได้ตกลงที่บ้านของบุรุษชั่วนั้น ไหม้

ภรรยาและลูกสองคนพร้อมกับบ้าน เหลือแต่เพียงเสากับขื่อ.

ขณะนั้นบุรุษผู้หนึ่ง พบบุรุษชั่วนั้นที่ประตูบ้านนั่นเอง

จึงเล่าความเป็นไปให้ฟัง. บุรุษชั่วผู้นั้นถูกความเศร้าโศกถึง

บุตรและภรรยาครอบงำ ทิ้งหาบเนื้อและธนูกับแล่งไว้ตรงนั้น

เอง ปล่อยผ้า เปลือยกายประคองแขนร่ำไห้เข้าไปที่เรือน ขณะ

นั้น ขื่อหักตกลงมาถูกศีรษะแตก แผ่นดินแยกออกเป็นช่อง

เปลวไฟแลบขึ้นมาจากอเวจีมหานรก. บุรุษชั่วผู้นั้นกำลังถูก

แผ่นดินสูบ ระลึกถึงโอวาทของอาจารย์ได้ คิดว่าท่านปาราสริย-

พราหมณ์เห็นเหตุนี้ จึงได้ให้โอวาทแก่เรา ได้กล่าวคาถาสอง

คาถารำพันว่า :-

ปาราสริยพราหมณ์ได้กล่าวคำใดไว้ว่า

ท่านอย่าได้กระทำกรรมชั่ว อันจะทำตัวท่านให้

เดือดร้อนในภายหลังนะ คำนี้นั้นเป็นถ้อยคำของ

ท่านอาจารย์.

บุรุษทำกรรมเหล่าใดไว้ เขาย่อมเห็นกรรม

เหล่านั้นในตน ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำ

กรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด

ย่อมได้รับผลเช่นนั้น.

อธิบายแห่งคาถานั้นว่า ปาราสริยพราหมณ์ ได้กล่าวคำ

ใดไว้ว่า เจ้าอย่าได้ทำบาปนะ บาปใดเจ้าทำไว้ บาปนั้นจะเผา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 394

ผลาญท่านในภายหลัง นี่เป็นคำของท่านอาจารย์ บุรุษทากรรม

เหล่าใดไว้ทางกายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร เมื่อเขากลับ

ได้ผลของกรรมนั้น ย่อมพบกรรมเหล่านั้นเองในตน ผู้ทำกรรมดี

ย่อมเสวยผลดี แต่ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมเสวยผลชั่วช้าลามกไม่น่า

ปรารถนา แท้จริงแม้ในทางโลกบุคคลหว่านพืชเช่นใดไว้ ย่อม

นำไปซึ่งพืชนั้น คือย่อมเก็บผล ได้รับผล เสวยผล อันสมควร

แก่พืชนั้นเอง.

บุรุษผู้ชั่วช้านั้นคร่ำครวญอยู่อย่างนั้นเอง เข้าไปสู่แผ่นดิน

เกิดในอเวจีมหานรก.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตกักขฬะ

หยาบช้ามิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็กักขฬะ หยาบช้า

ไร้กรุณาเหมือนกัน แล้วทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาทรงประชุม

ชาดก. บุรุษพรานในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ อาจารย์

ทิศาปาโมกข์ได้เป็นสารีบุตร จุลลนันทิยวานรได้เป็นอานนท์

มารดาวานรได้เป็นมหาปชาบดีโคตมี ส่วนมหานันทิยวานร คือ

เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาจุลลนันทิยชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 395

๓. ปุฏภัตตชาดก

ว่าด้วยการคบ

[๒๙๕] บุคคลควรนอบน้อมต่อผู้ที่นอบน้อมตน

ควรคบกับผู้ที่คบตน ควรทำกิจตอบแทนแก่ผู้ที่

ช่วยทำกิจของตน ไม่ควรทำประโยชน์แก่ผู้

ปรารถนาความฉิบหายให้ และไม่ควรคบกับผู้

ที่ไม่คบตน.

[๒๙๖] บุคคลควรละทิ้งผู้ที่ละทิ้งตน ไม่ควรทำ

ความอาลัยรักใคร่ในบุคคลเช่นนั้น ไม่ควร

สมาคมกับผู้ที่เขาไม่ใฝ่ใจกับตน นกรู้ว่าต้นไม้

หมดผลแล้วก็ละทิ้งไปหาต้นไม้อื่น เพราะโลก

เป็นของกว้างใหญ่.

จบ ปุฏภัตตชาดกที่ ๓

อรรถกถาปุฏภัตตชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภกุฎุมพีคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

นเม นมนฺตสฺส ดังนี้.

ได้ยินว่า กุฎุมพีชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่ง ได้ทำการค้าขาย

กับกุฎุมพีชาวชนบทผู้หนึ่ง. กุฎุมพีชาวกรุงนั้นได้พาภรรยาของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 396

ตนไปหาผู้เก็บเงินของกุฎุมพีชาวชนบทนั้น. ผู้เก็บเงินบอกว่า

เราไม่สามารถจะให้ได้ จึงไม่ให้อะไรไป. กุฎุมพีชาวกรุงโกรธ

ไม่ยอมบริโภคอาหารออกไปเลย. ครั้งนั้นบุรุษผู้เดินทางทั้งหลาย

เห็นกุฎุมพีชาวกรุงผู้นั้นหิวโหยในระหว่างทาง จึงให้ห่อข้าวด้วย

บอกว่า ท่านจงแบ่งให้ภรรยาด้วย แล้วบริโภคเถิด. กุฎุมพีชาว

กรุงรับห่อข้าวแล้ว ไม่อยากให้ภรรยา จึงกล่าวว่า แน่ะน้อง

ตรงนี้เป็นถิ่นโจร น้องจงล่วงหน้าไปก่อน ส่งภรรยาไปแล้ว จึง

บริโภคอาหารจนหมด แล้วเอาห่อเปล่า ๆ มาพูดว่า น้องพวก

บุรุษเดินทางให้ห่อเปล่า ๆ ไม่มีข้าวเลย. ภรรยารู้ว่าสามีบริโภค

แต่ผู้เดียว ก็มีความน้อยใจ. ทั้งสองสามีภรรยาผ่านไปทางหลัง

พระเชตวันมหาวิหาร จึงแวะเข้าไปเชตวันมหาวิหารด้วยคิดว่า

จักดื่มน้ำ. แม้พระศาสดาก็ประทับนั่งคอยดูการมาของสามีภรรยา

นั้น ใต้ร่มเงาพระคันธกุฏี ดุจพราหมณ์ดักเนื้อฉะนั้น. สามีภรรยา

พบพระศาสดาแล้ว จึงเข้าไปถวายบังคมนั่งแล้ว. พระศาสดา

ทรงกระทำการปฏิสันถารกับสามีภรรยานั้น ตรัสถามว่า อุบาสิกา

สามีท่านเอาใจใส่ห่วงใยท่านดีอยู่หรือ. ภรรยากราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์มีความห่วงใยต่อเขา แต่เขาไม่มีความ

ห่วงใยต่อข้าพระองค์เลย วันอื่นยกไว้เถิด วันนี้เองสามีของ

ข้าพระองค์นี้ได้ข้าวห่อมาห่อหนึ่งในระหว่างทาง ไม่แบ่งให้

ข้าพระองค์ บริโภคเฉพาะตน. พระศาสดาตรัสว่า อุบาสิกา

ท่านเป็นผู้เอาใจใส่ห่วงใยสามีเสมอมา สามีของท่านนั้นไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 397

ห่วงใยท่านเลย แต่พอรู้คุณของท่าน เพราะอาศัยบัณฑิต ครั้งนั้น

จึงได้มอบความเป็นใหญ่ทั้งปวงให้ นางทูลอาราธนาขอให้เล่า

จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลอำมาตย์ ครั้นเจริญ

วัย ได้เป็นผู้สอนอรรถและธรรมของพระเจ้าพรหมทัต. ครั้งนั้น

พระราชาทรงระแวงโอรสของพระองค์ว่าจะกบฎต่อพระองค์

จึงทรงเนรเทศออกเสียจากอาณาจักรนั้น. พระโอรสนั้นพาชายา

ของตนออกจากนครไปอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านแคว้นกาสีแห่งหนึ่ง.

ครั้นต่อมาพระโอรสนั้นทราบข่าวว่า พระบิดาสวรรคตแล้ว

คิดว่า เราจักไปครองราชสมบัติอันเป็นสมบัติของตระกูล จึง

กลับมาสู่เมืองพาราณี ได้ข้าวห่อในระหว่างทาง โดยผู้ให้สั่งว่า

จงแบ่งให้ภรรยาบ้าง แล้วบริโภคเถิด ไม่ยอมให้ชายานั้น บริโภค

เสียเองทั้งหมด. นางเสียใจว่า บุรุษนี้ใจคอโหดร้ายจริงหนอ.

พระโอรสนั้นครองราชสมบัติในกรุงพาราณสีแล้ว ตั้งนาง

ไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี มิได้ประทานเครื่องสักการะและยกย่อง

อย่างอื่น โดยทรงเห็นว่า เท่านั้นก็พอแล้วสำหรับนาง แม้แต่คำว่า

เจ้าเป็นอยู่อย่างไร ก็มิได้ตรัสถามนางเลย. พระโพธิสัตว์คิดว่า

พระเทวีนี้มีอุปการะมาก มีความจงรักภักดีต่อพระราชา. แต่

พระราชามิได้สนพระทัยถึงพระนางแม้แต่น้อย. เราจักให้พระองค์

ทรงประทานเครื่องสักการะและยกย่องพระนาง จึงเข้าไปเฝ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 398

พระเทวี ไว้ระยะพอสมควรแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อตรัส

ถามว่า อะไรเล่าพ่อ จึงทูลเพื่อต่อเรื่องราวขึ้นว่า ข้าแต่พระเทวี

ข้าพระองค์รับราชการบำรุงพระองค์ไม่ควรจะให้ท่อนผ้าหรือ

ก้อนข้าวแก่มารดาบิดาผู้แก่เฒ่าบ้างเทียวหรือ. พระเทวีตรัสว่า

แม้ตัวเราเองยังไม่ได้อะไรเลย เราจะเอาอะไรให้ท่านเล่า ในเวลา

ที่ได้เราก็ให้ท่านมิใช่หรือ. แต่บัดนี้พระราชามิได้พระราชทาน

อะไรให้เรา. การพระราชทานอย่างอื่นจงยกไว้เถิด พระองค์

เมื่อกำลังเสด็จเพื่อจะรับราชสมบัติ ได้ข้าวห่อหนึ่งในระหว่าง

ทาง ยังมิได้ประทานแม้แต่อาหารแก่เรา พระองค์เสวยเสียเอง

หมด. พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระองค์จักกล้า

ทูลอย่างนี้ในสำนักพระราชาหรือ ตรัสว่า กล้าซิ พ่อคุณ จึงทูลว่า

ถ้าเช่นนั้น ในเวลาที่ข้าพระองค์เฝ้าอยู่ในราชสำนักวันนี้แหละ

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามขึ้น ขอพระนางจงตรัสอย่างนี้ วันนี้แหละ

ข้าพระองค์จักให้พระราชารู้สึกคุณของพระองค์. ครั้นทูลอย่างนี้

แล้วพระโพธิสัตว์จึงล่วงหน้าไปก่อน ยืนเฝ้าพระราชา. ฝ่าย

พระเทวีก็ไปยืนเฝ้าพระราชา.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์กราบทูลพระเทวีว่า ข้าแต่พระแม่

อยู่หัว พระแม่เจ้าทรงมีพระทัยจืดเหลือเกิน การที่พระแม่เจ้า

จะให้ท่อนผ้าหรือเพียงก้อนข้าวแก่มารดาบิดาไม่สมควรหรือ.

พระเทวีตรัสว่า เราเองยังไม่ได้อะไรจากพระราชา จักเอาอะไร

ให้ท่านเล่า. พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า พระองค์ได้ตำแหน่งอัคร-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 399

มเหสีมิใช่หรือ. พระเทวีตรัสว่า แน่ะพ่อ เมื่อไม่มีการยกย่อง

ตำแหน่งอัครมเหสีจักทำอะไรได้ พระราชาของท่านจักพระ-

ราชทานอะไรแก่เราในบัดนี้เล่า พระองค์ได้ข้าวห่อระหว่างทาง

ยังไม่พระราชทานให้สักหน่อย เสวยเสียเอง. พระโพธิสัตว์ทูล

ถามว่า ข้าแต่พระมหาราชได้ยินว่าอย่างนั้นหรือ. พระราชา

ทรงรับ พระโพธิสัตว์ทราบว่า พระราชาทรงรับแล้วจึงทูลว่า

ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าเช่นนั้นพระองค์จะมีประโยชน์อะไร ด้วย

การประทับอยู่ที่นี้ ตั้งแต่กาลไม่เป็นที่รักของพระราชา เพราะ

การร่วมกับผู้ไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ในโลก เมื่อพระองค์ประทับ

อยู่ที่นี้ การร่วมกับความไม่เป็นที่รักของพระราชาจักเป็นทุกข์.

ธรรมดาว่าสัตว์เหล่านี้ย่อมคบผู้ที่คบด้วย รู้ผู้ที่ไม่คบว่าเขาไม่

อยากคบ ก็พึงไปเสียที่อื่น ด้วยว่าที่อาศัยคือ โลกกว้างใหญ่

แล้วได้กล่าวคาถาว่า :-

บุคคลควรนอบน้อมต่อผู้ที่นอบน้อมตน

ควรคบกับผู้ที่คบตน ควรทำกิจตอบแทนแก่ผู้ที่

ช่วยทำกิจของตน ไม่ควรทำประโยชน์แก่ผู้

ปรารถนาความฉิบหายให้และไม่ควรคบกับผู้

ที่ไม่คบตน.

บุคคลควรละทิ้งผู้ที่ละทิ้งตน ไม่ควรทำ

ความอาลัยรักใคร่ในบุคคลเช่นนั้น ไม่ควร

สมาคมกับคนที่เขาไม่ใฝ่ใจกับตน นกรู้ว่าต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 400

หมดผลแล้ว ก็ละทิ้งไปหาต้นไม้อื่น เพราะโลก

เป็นของกว้างใหญ่

ในบทเหล่านั้นบทว่า นเม นมนฺตสฺส ภเช ภชนฺต ความว่า

บุคคลควรนอบน้อมตอบผู้ที่นอบน้อมตน คือควรคบผู้ที่คบตน

เท่านั้น. บทว่า กิจฺจานุกุพฺพสฺส กเรยฺย กิจฺจ ความว่า บุคคล

ควรช่วยทำกิจที่เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ช่วยทำกิจอันเกิดแก่ตน. บทว่า

จเช จชนฺต วนถ น กยิรา. ได้แก่ ควรละทิ้งผู้ที่ละทิ้งตน ไม่ควร

ทำความอาลัย กล่าวคือความเยื่อใยในผู้นั้นแม้แต่น้อย. บทว่า

อเปตจิตฺเตน ได้แก่ ผู้มีจิตเลื่อนลอย. บทว่า น สมฺภเชยฺย คือ

ไม่ควรสมาคมกับคนเช่นนั้น. บทว่า ทิโช ทุม ได้แก่ เหมือนนก

เมื่อก่อนต้นไม้ผลิผล เมื่อสิ้นผลแล้วก็รู้ว่าต้นไม้นี้ไม่มีผลแล้ว

ก็ทิ้งต้นไม้นั้นไปหาต้นไม้อื่น ฉันใดพึงแสวงต้นไม้อื่นฉันนั้น.

เพราะโลกนี้กว้างใหญ่ พระองค์จักได้บุรุษคนหนึ่งผู้มีความ

เสน่หาในพระองค์แน่แท้.

พระเจ้าพาราณสีทรงสดับดังนั้นแล้ว ได้พระราชทาน

อิสริยยศทั้งปวงแก่พระเทวี. ตั้งแต่นั้นมาก็อยู่กันอย่างพร้อม

เพรียงชื่นชม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม สามีภรรยา

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. สามีภรรยาในครั้งนั้นได้เป็นสองสามีภรรยา

ในครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์บัณฑิต คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาปุฏภัตตชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 401

๔. กุมภีลชาดก

คุณธรรมเครื่องให้เจริญ

[๒๙๗] ผู้ใดมีคุณธรรม อันเป็นเครื่องให้เจริญ

อย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ๑ ธรรม ๑

ธิติ ๑ จาคะ ๑ ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.

[๒๙๘] ส่วนผู้ใด ไม่มีคุณธรรมอันเป็นเครื่อง

ให้เจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ๑

ธรรม ๑ ธิติ ๑ จาคะ ๑ ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรู

ไม่ได้.

จบ กุมภีลชาดกที่ ๔

อรรถกถากุมภีลชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

ยสฺเสเต จตุ โร ธมฺมา ดังนี้.

พระโพธิสัตว์ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ผู้ใดมีคุณธรรมอันเป็นเครื่องให้ความ

เจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ๑ ธรรม ๑

ธิติ ๑ จาคะ ๑ ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 402

ส่วนผู้ใดไม่มีคุณธรรมอันเป็นเครื่องให้

เจริญอย่างยิ่ง ๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ๑ ธรรม ๑

ธิติ ๑ จาคะ ๑ ผู้นั้นย่อมล่วงพ้นศัตรูไม่ได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า คุณา ปรมภทฺทกา ความว่า ผู้ใด

ไม่มีคุณธรรมอันเจริญ ๔ ประการเหล่านี้ โดยเป็นหมู่เป็นหมวด

ผู้นั้นย่อมไม่อาจล่วงพ้นศัตรูไปได้. ข้อความทั้งหมดที่เหลือใน

ชาดกนี้พร้อมทั้งประชุมชาดก มีนัยดังกล่าวแล้วในกุมภีลชาดก

ในหนหลังแล.

จบ อรรถกถากุมภีลชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 403

๕. ขันติวรรณนชาดก

ต้องอดใจในคนที่หาคุณธรรมยาก

[๒๙๙] ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระบาท

มีบุรุษผู้ขวนขวายในกิจทุกอย่างอยู่คนหนึ่ง แต่

เขามีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง พระองค์จะทรงโปรด

ดำริในความผิดของเขานั้นเป็นประการใด พระ-

เจ้าข้า.

[๓๐๐] บุรุษเช่นนี้ของเราก็มีอยู่ในที่นี้ แต่บุรุษ

ผู้ประกอบด้วยองค์คุณหาได้ยาก เราจึงสู้อดใจ

เสีย.

จบ ขันติวรรณนชาดกที่ ๕

อรรถกถาขันติวรรณนชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อตฺถิ เม ปุริโส เทว ดังนี้.

ได้ยินว่า อำมาตย์ของพระเจ้าโกศลผู้หนึ่ง ผู้มีอุปการะ

มาก ได้ลอบเป็นชู้กับนางสนม. พระราชาแม้ทรงทราบก็ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 404

อดกลั้นนิ่งไว้ด้วยคิดว่า เป็นผู้มีอุปการะแก่เรา ได้กราบทูล

พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร แม้พระราชาใน

กาลก่อนก็ทรงอดกลั้นอย่างนี้เหมือนกัน พระเจ้าโกศลทูลอาราธนา

จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี อำมาตย์ผู้หนึ่งได้ลอบเป็นชู้กับนางสนมของ

พระองค์. แม้คนใช้ของอำมาตย์ก็ลอบเป็นชู้ในครอบครัวของเขา.

เขาไม่อาจอดกลั้นความผิดของคนใช้ได้ จึงพาตัวไปเฝ้าพระราชา

เพื่อจะถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ คนใช้ของข้าพระองค์คนหนึ่ง

เป็นผู้ทำกิจการทั้งปวง เขาได้เป็นชู้กับครอบครัวของข้าพระองค์

ข้าพระองค์ควรจะทำอะไรแก่เขา จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ข้าพระบาท

มีบุรุษผู้ขวนขวายในกิจการทุกอย่างอยู่คนหนึ่ง

แต่เขามีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง พระองค์จะทรงโปรด

ดำริในความผิดของเขานั้นเป็นประการใด พระ-

เจ้าข้า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส เจโกปราธตฺถิ ความว่า บุรุษ

นั้นมีความผิดอยู่ข้อหนึ่ง. บทว่า ตตฺถ ตฺว กินฺติ มญฺสิ ความว่า

พระองค์จะทรงดำริในความผิดของบุรุษนั้นในข้อนั้นว่าควรทา

อย่างไร ขอพระองค์จงทรงปรับสินไหมบุรุษนั้นตามสมควร

แก่ความผิดของเขาเถิด พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 405

พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

บุรุษเช่นนี้ของเราก็มีอยู่ในที่นี้ แต่บุรุษ

ผู้ประกอบด้วยองค์คุณหาได้ยาก เราจึงสู้อดใจ

เสีย.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า บุรุษผู้ประทุษร้าย เช่นนี้

คือมีอุปการะมาก มีอยู่ในเรือนของเราผู้เป็นพระราชา เป็น

สัตบุรุษ. ก็บุรุษนั้นมีอยู่ในที่นี้ เดี๋ยวนี้ก็ยังอยู่ในที่นี้แหละ แม้

เราผู้เป็นพระราชาก็ยังอดกลั้น เพราะบุรุษนั้นเป็นผู้มีอุปการะมาก.

บทว่า องฺคสมฺปนฺโน ความว่า ชื่อว่าบุรุษผู้ประกอบด้วยส่วน

แห่งคุณธรรม. ทั้งปวงหาได้ยาก ด้วยเหตุนั้น เราจึงสู้อดกลั้นเสีย

ในฐานะเห็นปานนี้.

อำมาตย์รู้ว่าพระราชาตรัสหมายถึงตน ตั้งแต่นั้นมาก็

ไม่กล้าเป็นชู้กับนางสนมอีก. แม้คนใช้ของอำมาตย์นั้น ก็รู้ว่า

พระราชาทรงว่ากล่าวตน ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่กล้าทำกรรมนั้นอีก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. พระราชาพาราณสีในครั้งนั้น คือเราตถาคตนี้เอง อำมาตย์

นั้นรู้ว่าพระราชากราบทูลแด่พระศาสดา ตั้งแต่นั้นมาก็ไม่อาจ

ทำกรรมนั้น.

จบ อรรถกถาขันติวรรณนชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 406

๖. โกสิยชาดก

ว่าด้วยผู้รู้กาลควรไม่ควร

[๓๐๑] การออกไปในเวลาอันสมควร เป็นความ

ดี การออกไปในเวลาอันไม่สมควร ไม่ดี เพราะ

ว่าคนผู้ออกไปโดยเวลาไม่สมควร ย่อมไม่ยัง

ประโยชน์อะไรให้เกิดได้ คนที่เป็นศัตรูเป็นอัน

มาก ย่อมทำอันตรายคนผู้ออกไปแต่ผู้เดียวใน

เวลาอันไม่สมควรได้ เหมือนฝูงการุมจิกนกเค้า

ฉะนั้น.

[๓๐๒] นักปราชญ์รู้จักวิธีการต่าง ๆ เข้าใจช่อง

ทางของคนเหล่าอื่น ทำพวกศัตรูทั้งมวลให้อยู่

ในอำนาจได้แล้ว พึงอยู่เป็นสุขเหมือนนกเค้า

ผู้ฉลาด ฉะนั้น.

จบ โกสิยชาดกที่ ๖

อรรถกถาโกสิยชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

กาเล นิกฺขมนา สาธุ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 407

พระเจ้าโกศลเสด็จออกในเวลาไม่สมควร เพื่อปราบปราม

ชายแดน. เรื่องนี้มีนัยดังที่กล่าวแล้วในหนหลังทั้งนั้น. ส่วน

พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพาราณสีเสด็จกรีฑาทัพออกใน

เวลาไม่สมควร ทรงยับยั้งกองทัพอยู่ที่อุทยาน. ในกาลนั้นมี

นกเค้าตัวหนึ่งเข้าไปซ่อนอยู่ในพุ่มไม้ไผ่. ฝูงกาต่างมาล้อมไว้

ด้วยคิดว่า จักจับนกเค้าตอนออก. นกเค้าไม่คอยรอจนถึงพระ-

อาทิตย์ตก จึงออกในกาลไม่สมควร พอขยับจะบินหนี. ทีนั้น

กาทั้งหลายจึงรุมกันจิกตีจนล่วงลง. พระราชาตรัสเรียกพระ-

โพธิสัตว์แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนท่านบัณฑิต พวกกาเหล่านี้จิกตี

นกเค้าตกลงด้วยเหตุใดหนอ. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่

มหาราชเจ้า นกเค้าออกจากที่อยู่ของตนในกาลไม่สมควร จึง

ได้รับความทุกข์เห็นปานนี้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ควรออกจากที่อยู่

ของตนในกาลไม่สมควร. เมื่อจะประกาศข้อความนี้ จึงกล่าว

คาถาทั้งสองนี้ว่า :-

การออกไปในเวลาอันสมควรเป็นความ

ดี การออกไปในเวลาอันไม่สมควรไม่ดี เพราะ

ว่าผู้ออกไปในเวลาไม่สมควร ย่อมไม่ยังประ-

โยชน์อะไรให้เกิดได้ คนที่เป็นศัตรูเป็นอันมาก

ย่อมทำอันตรายคนผู้ออกไปแต่ผู้เดียว ในเวลา

อันไม่สมควรได้เหมือนฝูงการุมจิกนกเค้าฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 408

นักปราชญ์รู้จักวิธีการต่าง ๆ เข้าใจช่อง

ทางของคนเหล่าอื่น ทำพวกศัตรูทั้งมวลให้อยู่ใน

อำนาจได้แล้ว พึงอยู่เป็นสุขเหมือนนกเค้าผู้ฉลาด

ฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กาเล นิกฺขมนา สาธุ ความว่า การ

ออกไปก็ดี การก้าวไปก็ดี ชื่อว่าการออกไป การออกไปในกาล

อันสมควรเป็นการดี การออกไปในกาลอันไม่สมควร ไม่ดี

เพราะฉะนั้น การออกไปก็ดี การก้าวไปก็ดี เพื่อจะไปในที่อื่น

จากที่อยู่ของตน ไม่ดี. ในบทสี่บทมีอาทิว่า อกาเลหิ พึงประกอบ

บทที่สามด้วยบทที่หนึ่ง บทที่สี่ด้วยบทที่สอง แล้วพึงทราบความ

อย่างนี้. ที่นั้นแลชนเป็นอันมาก คือคนที่เป็นศัตรูเป็นอันมาก

ล้อมคน ๆ เดียวผู้ออกไปหรือก้าวไปในเวลาอันไม่สมควร ยัง

คน ๆ เดียวให้ถึงความพินาศ. เปรียบเหมือนฝูงกาจิกนกเค้า

ผู้ออกไปหรือก้าวไปในเวลาอันไม่สมควรให้ถึงมหาพินาศ ฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น ให้ดูสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้น ใคร ๆ ไม่ควรออกไป

ไม่ควรก้าวไปจากที่อยู่ของตนในเวลาอันไม่สมควร. บทว่า

ธีโร ในคาถาที่สองได้แก่ บัณฑิต. บทว่า วิธิ ได้แก่ประเพณีที่

บัณฑิตแต่ก่อนได้วางไว้. บทว่า วิธาน ได้แก่ ส่วนหรือการจัด.

บทว่า วิวรานุคู ได้แก่ เดินตาม คือรู้. บทว่า สพฺพามิตฺเต ได้แก่

ศัตรูทั้งหมด. บทว่า วสีกตฺวา ได้แก่ ทำไว้ในอำนาจของตน.

บทว่า โกสิโยว คือ เหมือนนกเค้าผู้ฉลาดอื่นจากนกเค้าโง่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 409

ท่านอธิบายไว้ว่า ก็ผู้ใดแลเป็นบัณฑิตย่อมรู้วิธีการอันเป็นส่วน

ของวิธี กล่าวคือประเพณีที่โบราณกบัณฑิตวางไว้ว่า ในกาลนี้

ควรออกไป ควรก้าวไป ในกาลนี้ ไม่ควรออกไป ไม่ควรก้าวไป

หรือ การจัดแจงวิธีนั้น. ผู้นั้นชื่อว่า รู้จักวิธีการต่าง ๆ รู้ช่อง

ทางของคนอื่น คือ ศัตรูของตน เหมือนนกเค้าผู้ฉลาด ออกและ

ก้าวไปโดยกาลอันสมควรของตน คือตอนกลางคืน จิกหัวกาซึ่ง

นอนอยู่ ณ ที่นั้น ๆ ทำกาเหล่านั้นทั้งหมดให้อยู่ในอำนาจของตน

พึงอยู่เป็นสุข ฉันใด แม้บัณฑิตออกไป ก้าวไป ในกาลอันสมควร

ก็ฉันนั้น กระทำศัตรูของตนให้อยู่ในอำนาจ พึงมีความสุข ไม่มี

ทุกข์ ฉะนั้น.

พระราชาทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้วเสด็จกลับ

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดก.

พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์บัณฑิต

คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาโกสิยชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 410

๗. คูถปาณกชาดก

หนอนท้าช้างสู้

[๓๐๓] ท่านก็เป็นผู้กล้าหาญ มาพบกับเราผู้กล้า

หาญ อาจประหารได้ไม่ย่นย่อ มาซิช้าง ท่านจง

กลับมาก่อน ท่านกลัวหรือจึงได้หนีไป ขอให้

พวกคนชาวอังคะและมคธะได้เห็นความกล้าหาญ

ของเราและของท่านเถิด.

[๓๐๔] เราจักไม่ต้องฆ่าเจ้าด้วยเท้า งา หรือด้วย

งวงเลย เราจักฆ่าเจ้าด้วยคูถ หนอนตัวเน่า ควร

ฆ่าด้วยของเน่าเช่นกัน.

จบ คูถปาณกชาดกที่ ๗

อรรถกถาคูถปาณกชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

สูโร สูเรน สงฺคมฺม ดังนี้.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้นมีบ้านในนิคมแห่งหนึ่ง จากเชตวัน-

มหาวิหารประมาณโยชน์กับหนึ่งคาวุต. ที่บ้านนั้นมีสลากภัตร

และปักขิกภัตรเป็นอันมาก. มีบุรุษด้วนผู้หนึ่ง ชอบซักถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 411

ปัญหาอยู่ที่บ้านนั้น. บุรุษนั้นถามปัญหาภิกษุหนุ่มและสามเณร

ที่ไปรับสลากภัตรและปักขิกภัตรว่า พวกไหนดื่ม พวกไหน

เคี้ยวกิน พวกไหนบริโภค ทำให้ภิกษุและสามเณรเหล่านั้นไม่

สามารถตอบปัญหาได้ ให้ได้อาย. ภิกษุและสามเณรทั้งหลาย

จึงไม่ไปบ้านนั้นเพื่อรับสลากภัตรและปักขิกภัตร เพราะเกรง

บุรุษด้วนนั้น. อยู่มาวันหนึ่งภิกษุรูปหนึ่งไปโรงสลากถามว่า

ท่านผู้เจริญ สลากภัตรหรือปักขิกภัตรที่บ้านโน้นยังมีอยู่หรือ

เมื่อภิกษุผู้เป็นภัตถุทเทสก์กล่าวว่า ยังมีอยู่ ท่าน แต่ที่บ้านนั้น

มีบุรุษด้วนคนหนึ่ง คอยถามปัญหา ด่าว่าภิกษุสามเณรที่ไม่

สามารถแก้ปัญหาได้ จึงไม่มีใครอยากไปเพราะเกรงบุรุษด้วนนั้น

จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอจงให้ภัตรที่บ้านนั้นถึงผมเถิด ผม

จักทรมานบุรุษนั้น ทำให้หมดพยศ จะทำให้หนีไปเพราะเห็นผม

ตั้งแต่นั้นเลย. ภิกษุทั้งหลายรับว่า ดีละ จะให้ภัตรที่บ้านนั้น

ถึงแก่ท่าน ภิกษุนั้นจึงไปที่บ้านนั้นห่มจีวรที่ประตูบ้าน. บุรุษ

ด้วนเห็นภิกษุนั้น ก็ปรี่เข้าไปหาดังแพะดุ กล่าวว่า สมณะจงแก้

ปัญหาของข้าพเจ้าเถิด. ภิกษุนั้นกล่าวว่า อุบาสก ขอให้อาตมา

เที่ยวบิณฑบาตในบ้านรับข้าวยาคูมาศาลานั่งพักเสียก่อนเถิด.

บุรุษด้วนเมื่อภิกษุนั้นรับข้าวยาคู แล้วมาสู่ศาลานั่งพัก ก็ได้

กล่าวเหมือนอย่างนั้น. ภิกษุนั้นก็ผัดว่า ขอดื่มข้าวยาคูก่อน

ขอกวาดศาลานั่งพักก่อน ขอรับสลากภัตรมาก่อน ครั้นรับสลาก

ภัตรแล้ว จึงให้บุรุษนั้นถือบาตร กล่าวว่า ตามมาเถิด เราจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 412

แก้ปัญหาท่าน พาไปนอกบ้าน จีบจีวรพาดบ่า รับบาตรจากมือ

ของบุรุษนั้น ยืนอยู่. บุรุษนั้นกล่าวเตือนว่า สมณะจงแก้ปัญหา

ของข้าพเจ้า. ภิกษุกล่าวว่า เราจะแก้ปัญหาของท่าน แล้วผลัก

โครมเดียวล้มลง โบยตีดังจะบดกระดูกให้ละเอียด เอาคูถยัดปาก

ขู่สำทับว่า คราวนี้ตั้งแต่นี้ไป เราจะคอยสืบรู้ในเวลาที่ถาม

ปัญหาไร ๆ กะภิกษุที่มาบ้านนี้. ตั้งแต่นั้นบุรุษด้วนเห็นภิกษุ

แล้วก็หนี. ครั้นต่อมา การกระทำของภิกษุนั้นได้ปรากฏขึ้นใน

หมู่สงฆ์. ภิกษุทั้งหลาย จึงประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า

ดูก่อนอาวุโส ได้ยินว่า ภิกษุรูปโน้น เอาคูถใส่ปากบุรุษด้วน

แล้วก็ไป. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

นั้นจะรุกรานบุรุษด้วนด้วยคูถในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้เมื่อก่อน

ก็ได้รุกรานแล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลชาวอังคะและมคธทั้งหลาย ต่างก็ไปมาหาสู่

ยังแว่นแคว้นของกันและกัน. วันหนึ่งต่างเข้าไปอาศัยบ้านหลัง

หนึ่งที่พรมแดนของรัฐทั้งสอง ดื่มสุรา กินปลาเนื้อกันแล้ว ก็

เทียมยานออกเดินทางแต่เช้าตรู่. ในเวลาที่ชนเหล่านั้นไปกันแล้ว

หนอนกินคูถตัวหนึ่งได้กลิ่นคูถจึงมา เห็นสุราที่เขาทิ้งไว้ตรงที่

นั่งกัน จึงดื่มด้วยความกระหาย ก็เมาไต่ขึ้นบนกองคูถ. คูถสด ๆ

ก็ยุบลงหน่อยหนึ่ง เมื่อหนอนไต่ขึ้นไป. หนอนนั้นก็ร้องว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 413

แผ่นดินทานตัวเราไปไม่ได้. ขณะนั้นเองช้างตกมันตัวหนึ่งมาถึง

ที่นั้นได้กลิ่นคูถแล้วรังเกียจก็หลีกไป. หนอนเห็นช้างนั้นแล้ว

เข้าใจว่า ช้างนี้กลัวเราจึงหนีไป เราควรจะทำสงครามกับช้าง

นี้จึงร้องเรียกช้างนั้น กล่าวคาถาแรกว่า :-

ท่านก็เป็นผู้กล้าหาญ มาพบกับเราผู้กล้า

หาญ อาจประหารได้ไม่ย่นย่อ มาซิช้าง ท่านจง

กลับมาก่อน ท่านกลัวหรือจึงได้หนีไป ขอให้

พวกชาวอังคะและมคธะได้เห็นความกล้าหาญ

ของเราและของท่านเถิด.

เนื้อความแห่งคาถานี้ว่า ท่านก็เป็นผู้กล้าหาญมาพบกับ

เราผู้กล้าหาญ ผู้ไม่ย่อท้อทางความเพียร บากบั่น เป็นนักต่อสู้

เพราะสามารถในทางสู้รบ เหตุใดจึงไปเสียไม่ประสงค์การ

สงครามเล่า. การประหารกันสักทีเดียว ก็ควรกระทำมิใช่หรือ.

เพราะฉะนั้น ดูก่อนช้าง จงมาเถิด จงกลับก่อน ท่านกลัวตาย

ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น จะกลัวหนีไปเทียวหรือ ชาวอังคะและมคธ

ทั้งหลายผู้อยู่พรมแดนนี้ จงคอยดูความเก่งกาจ ความทรหด

อดทนของเราและของท่าน. ช้างนั้นแผดเสียงร้องได้ฟังคำของ

หนอนนั้นแล้ว จึงกลับไปหาหนอน เมื่อจะรุกรบหนอนนั้น ได้

กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 414

เราจักไม่ต้องฆ่าเจ้าด้วยเท้า งา หรือด้วย

งวงเลย เราจักฆ่าเจ้าด้วยคูถ หนอนตัวเน่า ควร

ฆ่าด้วยของเน่าเช่นกัน.

เนื้อความแห่งความคาถานั้นว่า เราจักไม่ฆ่าเจ้าด้วยเท้า

เป็นต้น แต่เราจักฆ่าเจ้าด้วยคูถจึงสมควรแก่เจ้า ก็และครั้นช้าง

กล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวต่อไปว่า สัตว์กินคูถเน่า ควรตายด้วย

ของเน่า.

ช้างจึงถ่ายคูถก้อนใหญ่ลงบนหัวหนอนนั้นแล้วถ่ายปัสสาวะ

รดยังหนอนให้ถึงแก่ความตายในที่นั้นเอง แผดเสียงเข้าป่าไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ตัวหนอนในครั้งนั้นได้เป็นบุรุษด้วนในครั้งนี้ ช้างได้เป็น

ภิกษุรูปนั้น ส่วนเทวดาผู้เกิดในไพรสณฑ์นั้น เห็นเหตุนั้นโดย

ประจักษ์ คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาคูถปาณกชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 415

๘. กามนีตชาดก

ผู้ถูกโรครักครอบงารักษายาก

[๓๐๕] เราปรารถนาระหว่างเมืองทั้ง ๓ คือ เมือง

ปัญจาละ ๑ เมืองกุรุยะ ๑ เมืองเกกกะ ๑ ดูก่อน

ท่านพราหมณ์ เราปรารถนาราชสมบัติทั้ง ๓

เมืองนั้นมากกว่าสมบัติที่เราได้แล้วนี้ ดูก่อน

พราหมณ์ ขอให้ท่านช่วยรักษาเราผู้ถูกความ

ใคร่ครอบงำด้วยเถิด.

[๓๐๖] อันที่จริง เมื่อบุคคลถูกงูเห่ากัด หมอ

บางคนก็รักษาได้ อนึ่ง บุคคลถูกผีเข้าสิง หมอ

ผู้ฉลาดก็ไล่ออกได้ แต่บุคคลผู้ถูกความใคร่

ครอบงำแล้ว ใคร ๆ ก็รักษาไม่หาย เพราะว่า

เมื่อบุคคลล่วงเลยธรรมขาวเสียแล้ว จะรักษา

ได้อย่างไร.

จบ กามนีตชาดกที่ ๘

อรรถกถากามนีตชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพราหมณ์ชื่อ กามนีตะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า ตโย คิรึ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 416

เรื่องราวทั้งปัจจุบันและอดีตจักมีแจ้งในกามชาดก ใน

ทวาทสนิบาต.

พระราชบุตรทั้งสองพระองค์นั้น พระองค์พี่ได้กลับมา

เป็นพระราชาในกรุงพาราณสี. พระองค์น้องได้เป็นอุปราช.

ทั้งสองพระองค์นั้น องค์พี่เป็นพระราชาเป็นผู้ไม่อิ่มในวัตถุกาม

และกิเลสกาม มีพระทัยโลภในทรัพย์สมบัติ. ในคราวนั้นพระ-

โพธิสัตว์เป็นท้าวสักกเทวราช ตรวจดูชมพูทวีป ทรงทราบว่า

พระราชานั้นมิได้ทรงอิ่มในกามทั้งสอง ทรงดาริว่า จักไปข่มขี่

พระราชานี้ให้ละอายพระทัย จึงทรงแปลงเป็นพราหมณ์มาณพ

เข้าเฝ้าพระราชา. เมื่อพระราชาตรัสถามว่า แน่ะมาณพ ท่าน

มาด้วยประสงค์อะไร. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์

พบนครสามนครน่ารื่นรมย์มีภิกษาหารสมบูรณ์ พรั่งพร้อมด้วย

ช้าง ม้า รถ พลนิกรและเงินทองเครื่องอลังการ แต่พระองค์

สามารถยึดนครทั้ง ๓ นั้นด้วยกำลังเล็กน้อยเท่านั้น ข้าพระองค์

จึงมาเพื่อรับอาสาไปตีเมืองทั้งสามถวายพระองค์. เมื่อตรัสถาม

ว่า เราจะไปกันเมื่อไรเล่ามาณพ. กราบทูลว่า ไปพรุ่งนี้พระ-

เจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นเราไปด้วยกัน ท่านมาแต่เช้า ๆ หน่อย

ท้าวสักกะตรัสว่า ดีแล้ว พระเจ้าข้า พระองค์จงเตรียมพลไว้

โดยเร็วแล้วเสด็จกลับวิมานของพระองค์.

รุ่งขึ้นพระราชารับสั่งให้เที่ยวตีกลองเรียกชุมนุมพล รับ

สั่งให้อำมาตย์ทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า เมื่อวานนี้มีพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 417

มาณพผู้หนึ่ง รับอาสาจะตีนครทั้งสามเอาราชสมบัติถวาย คือ

นครอุตตรปัญจาละ นครอินทปัตร นครเกกกะ เราจะพามาณพ

นั้นไปตีเอาราชสมบัติในนครทั้งสามนั้น. พวกท่านจงไปตามตัว

มาณพนั้นมาโดยเร็ว. พวกอำมาตย์ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์

พระองค์พระราชทานที่พักให้มาณพนั้น ณ ที่ไหน. ตรัสว่า

เราไม่ได้ให้ที่พักแก่เขา. กราบทูลถามว่า เสบียงอาหารพระองค์

พระราชทานหรือเปล่า ตรัสว่า เสบียงอาหารก็ไม่ได้ประทาน

ทูลถามว่า ข้าพระองค์จะไปตามตัวได้ที่ไหน. ตรัสว่า พวกท่าน

จงเที่ยวตามหาดูตามถนนในนครเถิด. พวกอำมาตย์เที่ยวตรวจ

ตราดูแล้วไม่พบ จึงกราบทูลว่า ไม่พบตัว พระเจ้าข้า เมื่อพระ-

ราชาไม่ได้ตัวมาณพมาก็เกิดความโศกเสียพระทัยว่า เราเสื่อม

จากอิสสริยสมบัติอันใหญ่หลวงอย่างนี้เสียแล้ว ดวงพระทัยก็

เร่าร้อน โลหิตที่ฉีดเลี้ยงหทัยก็กำเริบ จนเกิดสำรอกโลหิตออก

มา. บรรดาแพทย์ทั้งหลายก็ไม่สามารถจะรักษาได้. ถัดจากนั้น

มา ๓-๔ วัน ท้าวสักกเทวราชทรงตรวจดู ทรงทราบการประชวร

ของพระราชา ทรงดำริว่า จักช่วยรักษา จึงแปลงเป็นพราหมณ์

มาเยือนประตูพระราชวัง ให้กราบทูลว่ามีหมอพราหมณ์จะมา

รักษาพระองค์. พระราชาทรงสดับดังนั้นตรัสว่า หมอหลวง

ล้วนแต่ใหญ่โต ยังรักษาเราไม่ได้ ท่านจงจ่ายค่าป่วยการให้เขา

กลับไปเถิด. ท้าวสักกเทวราชได้สดับคำอำมาตย์มาบอกแล้ว

ตรัสว่า เราไม่ต้องการที่พักและค่าป่วยการแม้ค่าขวัญข้าวเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 418

ก็ไม่ขอรับ เราขออาสารักษาพระองค์. ขอพระราชาจงให้เรา

เฝ้าเถิด. พระราชาทรงสดับดังนั้น แล้วรับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นจง

มาเถิด. ท้าวสักกเทวราชเสด็จเข้าไปแล้ว ถวายบังคมยืน ณ

ส่วนข้างหนึ่ง. พระราชาตรัสถามว่า ท่านจะรักษาเราหรือ.

ทูลว่าอย่างนั้นพระเจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นจงรักษาเถิด.

กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอประทานโอกาส ขอพระองค์จง

บอกลักษณะของโรคแก่ข้าพระองค์ว่าเกิดเพราะเหตุอะไร เกิด

เพราะเสวยอะไร หรือได้ทอดพระเนตร หรือทรงสดับอะไร

พระราชาตรัสว่า แน่ะพ่อ โรคของเราเกิดเพราะได้ฟังข่าว

ทูลถามว่า พระองค์สดับข่าวอะไร. ตรัสว่าแน่ะพ่อ มีมาณพคน

หนึ่งมาบอกว่า จักรับอาสาตีเอาราชสมบัติในนครทั้งสามถวาย

เรา เราก็ไม่ได้ให้ที่พักหรือค่ากินอยู่แก่เขา เขาคงโกรธเราจึง

ไปเฝ้าพระราชาองค์อื่น. เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็เฝ้าแต่คิดอยู่ว่า

เราเสื่อมจากอิสสริยสมบัติอันใหญ่หลวงดังนี้ จึงได้เกิดโรคขึ้น

ถ้าท่านสามารถก็จงรักษาโรคอันเกิดเพราะจิตปรารถนาของ

เรา. เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

เราปรารถนาระหว่างเมืองทั้งสาม คือ

เมืองปัญจาละ ๑ เมืองกุรุยะ ๑ เมืองเกกกะ ๑

ดูก่อนท่านพราหมณ์ เราปรารถนาราชสมบัติ

ทั้งสามเมืองนั้นมากกว่าราชสมบัติที่เราได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 419

นี้ ดูก่อนพราหมณ์ ขอท่านรักษาเราผู้ถูกความ

ใคร่ครอบงำด้วยเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตโย คิรึ คือ นครทั้งสาม. เหมือน

สุทัสสนเทพนคร ท่านเรียกว่า สุทัสสคีรี เพราะจะรบยึดเอาได้

ยาก หวั่นไหวได้ยากในประโยคนี้ว่า สุทสฺสนคิริโน ทฺวาร เหต

ปกาสติ. เพราะฉะนั้น ในคาถานี้จึงมีเนื้อความดังนี้ เราต้องการ

นครสามนคร และแคว้นทั้งสามแคว้นในระหว่างนครเหล่านั้น.

เราต้องการหมดทั้งสามแว่นแคว้น อันมีนามว่า อุตตรปัญจาละ

ซึ่งมีนครชื่อว่า กปิละ แว่นแคว้นหนึ่ง มีนามว่า กุรุยะ ซึ่งมี

นครชื่อว่า อินทปัตร แว่นแคว้นหนึ่ง มีนามว่า เกกกะ ซึ่งมีนคร

ชื่อว่า เกกกะราชธานี แว่นแคว้นหนึ่ง. เราปรารถนาราชสมบัติ

ทั้งสามแว่นแคว้นนั้นยิ่งไปเสียกว่าราชสมบัติกรุงพาราณสี ซึ่ง

เราครองอยู่นี้. บทว่า ติกิจฺฉ ม พฺรหฺมณ กามนีต ความว่า

ท่านพราหมณ์ เราถูกวัตถุกามและกิเลสกามเหล่านั้นชักนำไป

แล้ว ถูกรบกวนประหัตประหารแล้ว ถ้าท่านอาจก็จงรักษาเรา

เถิด.

ลาดับนั้นท้าวสักกเทวราชจึงตรัสกะพระราชาว่า ข้าแต่

มหาราช พระองค์จะรักษาด้วยโอสถรากไม้เป็นต้นไม่หาย ต้อง

รักษาด้วยโอสถ คือญาณอย่างเดียว ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

อันที่จริงเมื่อบุคคลถูกงูเห่ากัด หมอบาง

คนก็รักษาได้ อนึ่ง บุคคลถูกผีสิง หมอผู้ฉลาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 420

ก็ไล่ออกได้ แต่บุคคลผู้ถูกความใคร่ครอบงำแล้ว

ใคร ๆ ก็รักษาไม่หาย เพราะว่าเมื่อบุคคลล่วง

เลยธรรมขาวเสียแล้ว จะรักษาได้อย่างไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กณฺหาหิ ทุฏฺสฺส กโรนฺติ เหเก

ความว่า อันที่จริงเมื่อบุคคลถูกงูเห่ามีพิษร้ายกัด หมอบางคน

ก็รักษาด้วยมนต์และด้วยโอสถให้หายได้. บทว่า อมนุสฺสวิฏฺสฺส

กโรนฺติ ปณฺฑิตา ความว่า หมอผีผู้ฉลาดจำพวกหนึ่ง เมื่อคนถูก

อมนุษย์มีผีและยักษ์เป็นต้น เข้าสิงแล้วย่อมทำการรักษาได้

ด้วยวิธีต่าง ๆ มีการเซ่นสรวง สวดพระปริตรและวางยาเป็นต้น

ให้หายได้. บทว่า น กามนีตสฺส กโรติ โกจิ ความว่า แต่คนที่

ถูกกามชักนำไปแล้ว คืออยู่ในอำนาจของกามเว้นบัณฑิตเสีย

ใคร ๆ อื่นก็ทำการรักษาไม่ได้ แม้จะรักษาก็ไม่สามารถจะ

รักษาให้หายได้. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะบุคคลที่

ก้าวล่วงเขตแดนสุกกธรรม คือ กุศลธรรม ตั้งอยู่ในอกุศลธรรม

เสียแล้ว จะรักษาด้วยมนต์และโอสถ เป็นต้นอย่างไรไหว คือ

ไม่อาจรักษาได้ด้วยมนต์และโอสถเป็นต้นนั้น.

พระมหาสัตว์แสดงเหตุนี้แด่พระราชาฉะนี้แล้ว ได้ตรัส

ให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ถ้าพระองค์จักได้

ราชสมบัติทั้งสามแคว้นนั้น เมื่อพระองค์เสวยราชทั้ง ๔ นคร

จะฉลองพระองค์ด้วยผ้าสาฎกทั้ง ๔ คู่ คราวเดียวกันได้อย่างไร

เล่าหนอ. จะเสวยทั้ง ๔ ถาดทอง จะบรรทมทั้ง ๔ พระแท่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 421

สิริไสยาสน์คราวเดียวกันได้อย่างไร. ข้าแต่มหาราช พระองค์

ไม่พึงเป็นไปในอำนาจตัณหา. ชื่อว่าตัณหานี้เป็นมูลรากของ

ความวิบัติ. เมื่อเจริญขึ้นผู้ใดทาให้งอกงาม ย่อมซัดบุคคลนั้น

ลงนรกทั้ง ๘ ขุม อุสสทนรก ๑๖ ขุม และอบายภูมิที่เหลือมี

ประเภทนานาประการ. พระมหาสัตว์แสดงธรรมขู่พระราชา

ด้วยภัยในนรกเป็นต้นอย่างนี้. ฝ่ายพระราชาฟังธรรมของพระ-

มหาสัตว์แล้วก็สร่างโศก หายพระโรคทันใดนั้นเอง. แม้ท้าว-

สักกะประทานโอวาทแด่พระราชาให้ดำรงอยู่ในศีลแล้วเสด็จ

กลับเทวโลก. ฝ่ายพระราชาตั้งแต่นั้นทรงบำเพ็ญบุญมีทาน

เป็นต้น เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม

ชาดก. พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพราหมณ์ชื่อ กามนีตะ ใน

ครั้งนี้ ส่วนท้าวสักกเทวราช คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากามนีตชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 422

๙. ปลายิชาดก

ว่าด้วยขับไล่ศัตรูแบบสายฟ้าแลบ

[๓๐๗] เมืองตักกสิลาถูกเขาล้อมไว้ทุกด้านแล้ว

ด้วยกองพลช้างตัวประเสริฐ ซึ่งร้องคำรนอยู่

ด้านหนึ่ง ด้วยกองทัพม้าตัวประเสริฐซึ่งคลุม

มาลาเครื่องครบอยู่ด้านหนึ่ง ด้วยกองพลรถ ดุจ

คลื่นในมหาสมุทรอันยังฝนคือลูกศรให้ตกลง

ด้านหนึ่ง ด้วยกองพลเดินเท้าถือธนูมั่นมีฝีมือยิง

แม่นอยู่ด้านหนึ่ง.

[๓๐๘] ท่านทั้งหลายจงรีบรุกเข้าไป และจงรีบ

บุกเข้าไป จงไสช้างให้หนุนเนื่องกันเข้าไปเลย

จงโห่ร้องให้สนั่นหวั่นไหวในวันนี้ ดุจสายฟ้า

อันซ่านออกจากกลีบเมฆคำรนอยู่ ฉะนั้น.

จบ ปลายิชาดกที่ ๙

อรรถกถาปลายิชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภปลายิปริพาชก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

คชคฺคเมเฆภิ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 423

ได้ยินว่า ปริพาชกนั้นท่องเที่ยวไปทั่วชมพูทวีป เพื่อการ

โต้วาทะ ไม่ได้รับการโต้ตอบวาทะอะไร แล้วจนลุถึงเมืองสาวัตถี

โดยลำดับ ถามมนุษย์ทั้งหลายว่า ใคร ๆ สามารถจะโต้ตอบ

วาทะกับเรามีบ้างไหม. พวกมนุษย์ต่างพากันสรรเสริญพระ-

พุทธองค์ว่า พระมหาโคดมผู้สัพพัญญูเลิศกว่าสัตว์สองเท้า

ทั้งหลาย ผู้เป็นใหญ่โดยธรรม ย่ำยีวาทะของผู้อื่น เป็นผู้สามารถ

จะโต้ตอบวาทะกับคนเช่นท่านแม้ตั้งพัน ปราชญ์ผู้มีวาทะขัดแย้ง

ที่เกิดขึ้นในชมพูทวีป แม้ทั้งสิ้นที่จะสามารถล่วงเลยพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้นมิได้มี. บรรดาวาทะทั้งปวงมาถึงบาท

มูลของพระองค์เป็นผุยผงไปดุจคลื่นสมุทรกระทบฝั่งฉะนั้น.

ปริพาชกถามว่า ก็เดี๋ยวนี้พระองค์ประทับอยู่ที่ไหน ได้ฟังว่า

ที่พระเชตวันมหาวิหาร กล่าวว่า เราจักไปประวาทะกับพระองค์

ในบัดนี้ แวดล้อมด้วยมหาชนไปสู่เชตวันมหาวิหาร พอเห็นซุ้ม

ประตูเชตวันมหาวิหาร ซึ่งพระราชกุมารพระนามว่า เชตะ ทรง

สละทรัพย์เก้าโกฏิสร้าง ถามว่า นี้คือปราสาทที่ประทับของ

พระสมณโคดมหรือ ได้ฟังว่า นี้คือซุ้มประตู กล่าวว่า ซุ้มประตู

ยังเป็นถึงเพียงนี้ คฤหาสน์ที่ประทับจะเป็นเช่นไร เมื่อมหาชน

กล่าวว่า ชื่อว่าพระคันธกุฏีประมาณไม่ถูก กล่าวว่า ใครจะ

โต้ตอบวาทะกับพระสมณโคดมเป็นถึงปานนี้ได้. จึงหนีไปจาก

ที่นั้นเอง. มนุษย์ทั้งหลายต่างอึงคะนึงกันจะเข้าไปยังพระเชต-

วันมหาวิหาร พระศาสดาตรัสถามว่า ทำไมจึงมากันผิดเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 424

กราบทูลความเป็นไปให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

อุบาสกทั้งหลาย ปริพาชกผู้นี้เห็นซุ้มประตูของเราก็หนีในบัดนี้

เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็หนีไปแล้วเหมือนกัน พวกมนุษย์

เหล่านั้นจึงทูลอาราธนา ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยราชสมบัติในเมืองตักกสิลา

ในแคว้นคันธาระ. พระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง

พาราณสี. พระเจ้าพรหมทัตนั้นทรงดำริว่า จักตีเมืองตักกสิลา

จึงยกพลนิกายใหญ่ไปตั้งมั่นอยู่ไม่ไกลจากเมืองตักกสิลา ทรง

ซักซ้อมเสนาว่า จงส่งกองช้างเข้าไปด้านนี้ ส่งกองม้าเข้าไป

ด้านนี้ ส่งกองรถเข้าไปด้านนี้ ส่งพลราบเข้าไปด้านนี้ เมื่อบุก

เข้าไปอย่างนี้แล้ว จงใช้อาวุธทั้งหลาย จงให้ห่าฝนลูกศรให้ตก

ดังหมู่วลาหกโปรยฝนลูกเห็บฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้ ได้ตรัส

สองคาถานี้ว่า :-

เมืองตักกสิลาถูกเขาล้อมไว้ทุกด้านแล้ว

ด้วยกองพลช้างตัวประเสริฐ ซึ่งร้องคำรนอยู่

ด้านหนึ่ง ด้วยกองพลม้าตัวประเสริฐ ซึ่งคลุม

มาลาเครื่องครบอยู่ด้านเหนือ ด้วยกองพลรถ

ดุจคลื่นในมหาสมุทรอันยังฝน คือลูกศรให้ตก

ลงด้านหนึ่ง ด้วยกองพลเดินเท้าถือธนูมั่น มีฝีมือ

ยิงแม่นอยู่ด้านหนึ่ง ท่านทั้งหลายจงรีบบุกเข้า

ไป และจงรีบบุกเข้าไป จงไสช้างให้หนุนเนื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 425

กันเข้าไปเลย จงโห่ร้องให้สนั่นหวั่นไหว ในวันนี้

ดุจสายฟ้าอันซ่านออกจากกลีบเมฆ คำรน อยู่

ฉะนั้น.

พระเจ้าพรหมทัตนั้นทรงตรวจพลปลุกใจเสนาให้คึกคัก

ฉะนี้แล้วเคลื่อนทัพไปถึงที่ใกล้ประตูนคร เห็นซุ้มประตูแล้ว

ตรัสถามว่า นี้คือพระราชมณเฑียรหรือ เมื่อเหล่าเสนากราบทูล

ว่า นี้คือซุ้มประตูนคร ยังเป็นถึงปานนี้ พระราชมณเฑียรจะเป็น

เช่นไร ได้สดับว่าเช่นกับเวชยันตปราสาท ตรัสว่า เราไม่อาจ

สู้รบกับพระราชาผู้ถึงพร้อมด้วยยศอย่างนี้ ได้ทอดพระเนตร

ซุ้มประตูแล้ว เสด็จหนีกลับสู่เมืองพาราณสี.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุม

ชาดก. พระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น ได้เป็นปลายิปริพาชกใน

ครั้งนี้ ส่วนพระราชาเมืองตักกสิลา คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาปลายิชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 426

๑๐. ทุติยปลายิชาดก

คนถูกความเร่าร้อนเผาจนไม่อาจสู้ข้าศึกได้

[๓๐๙] ธงสำหรับรถของเรามีมากมาย พลพาหนะ

ของเราก็นับไม่ถ้วน แสนยากที่ศัตรูจะหาญหัก

เข้าสู้รบได้ ดุจสาครยากที่ฝูงกาจะบินข้ามให้ถึง

ฝั่งได้ ฉะนั้น อนึ่ง กองพลของเรานี้ยากที่กองพล

อื่นจะหาญเข้าตีหักได้ ดุจภูเขาอันลมไม่อาจให้

ไหวได้ฉะนั้น วันนี้เราประกอบด้วยกองพลเท่านี้

อันกองพลเช่นนั้นยากที่ศัตรูจะหาญหักเข้ารุกราน

ได้.

[๓๑๐] ท่านอย่าพูดเพ้อถึงความที่ตนเป็นคนโง่

เขลาไปเลย คนเช่นท่านจะเรียกว่าผู้สามารถ

ไม่ได้ ท่านถูกความเร่าร้อน คือ ราคะ โทสะ

โมหะ และมานะเผารนอยู่เสมอ ไม่อาจจะกำจัด

เราได้เลย จะต้องหนีเราไป กองพลของเราจัก

ย่ำยีท่านหมดทั้งกองพล ดุจช้างเมามันขยี้ไม้อ้อ

ด้วยเท้า ฉะนั้น.

จบ ทุติยปลาชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 427

อรรถกถาทุติยปลายิชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภปลายิปริพาชก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

ธชมปริมิต อนนฺตปาร ดังนี้.

แต่ในเรื่องนี้ปริพาชกนั้นเข้าไปยังพระเชตวันมหาวิหาร.

ขณะนั้นพระศาสดาแวดล้อมด้วยมหาชนประทับนั่งบนธรรมาสน์

อันประดับประดาแล้วแสดงธรรมดุจลูกสีหะแผดเสียงสีหนาท

อยู่เหนือพื้นมโนสิลา. ปริพาชกเห็นพระรูปของพระทศพลมี

ส่วนสัดงามดังรูปพรหม. พระพักตร์มีสิริฉายดังจันทร์เพ็ญ และ

พระนลาฏดังแผ่นทองคำ กล่าวว่าใครจักอาจเอาชนะบุรุษผู้อุดม

มีรูปอย่างนี้ ได้หันกลับไม่ยอมเข้าหมู่บริษัทหนีไป. มหาชน

ไล่ตามปริพาชกแล้วกลับมากราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระ-

ศาสดา พระศาสดาตรัสว่า ปริพาชกนั้นเห็นพระพักตร์มี

ฉวีวรรณดังทองคำของเราหนีไปแล้วในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้

ในกาลก่อนก็ได้หนีไปแล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัส

เล่า.

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยราชสมบัติอยู่ในเมือง

พาราณสี พระเจ้าคันธารราชพระองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติ

อยู่ในเมืองตักกสิลา. พระเจ้าคันธารราชนั้น ดำริว่าจะไปตี

กรุงพาราณสี พรั่งพร้อมด้วยจตุรงคเสนา ยกทัพมาล้อมกรุง

พาราณสีไว้ ประทับยืนใกล้ประตูนครทอดพระเนตรดูพลพาหนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 428

ของพระองค์ คิดว่าใครจะอาจเอาชนะพลพาหนะมีประมาณเท่านี้

ได้. ได้กล่าวคาถาแรกสรรเสริญกองทัพของพระองค์ว่า :-

ธงสำหรับรถของเรามีมากมาย พลพาหนะ

ของเราก็นับไม่ถ้วน แสนยากที่ศัตรูจะหาญหัก

เข้าสู้รบได้ ดุจสาครยากที่ฝูงกาจะบินข้ามให้

ถึงฝั่งได้ฉะนั้น อนึ่ง กองพลของเรานี้ยากที่

กองพลอื่นจะหาญเข้าตีหักได้ ดุจภูเขาอันลมไม่

อาจให้ไหวได้ฉะนั้น วันนี้เราประกอบด้วยกอง

พลเท่านี้ อันกองพลเช่นนั้นยากที่ศัตรูจะหาญหัก

เข้ารุกรานได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธชมปริมิต ความว่า เฉพาะธงที่

ปักไว้ที่งอนพลรถของเรานี้เท่านั้น ก็นับไม่ถ้วนมากมายหลาย

ร้อย. บทว่า อนนฺตปาร ความว่า แม้พลพาหนะของเราดูสุด

สายตาเหลือที่จะคณานับได้ พลช้างมีเท่านี้ พลม้ามีเท่านี้ พลรถ

มีเท่านี้ พลราบมีเท่านี้. บทว่า ทุปฺปสห ได้แก่ ศัตรูทั้งหลาย

ไม่สามารถจะข่มขี่ย่ำยีได้. ถามว่าเหมือนอย่างอะไร ตอบว่า

เหมือนดังสมุทรสาครอันกาทั้งหลายแม้มาก ยากที่จะเอาชนะได้

ด้วยการแข่งความเร็ว หรือการบินข้ามฉะนั้น. บทว่า คิริมิว

อนิเลน ทุปฺปสโห ความว่า อนึ่ง พลนิกายของเรานี้ยากที่พล

นิกายอื่นจะรานรอนได้ ดุจภูเขาอันลมจะพัดให้โยกคลอนไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 429

ฉะนั้น. บทว่า ทุปฺปสโห อหมชฺช ตาทิเสน ความว่า เรานั้น

สะพรั่งด้วยกองพลเช่นนี้ ยากที่ศัตรูเช่นท่านจะชิงชัยได้ในวันนี้.

พระเจ้าคันธารราชตรัสหมายถึงพระโพธิสัตว์ ซึ่งประทับยืน

อยู่บนป้อม.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงแสดงพระพักตร์ของพระองค์

อันทรงสิริดุจจันทร์เพ็ญแก่พระเจ้าคันธารราชนั้น ทรงขู่ขวัญ

ว่า พระราชาผู้เป็นพาล อย่าพร่ำเพ้อไปเลย บัดนี้เราจักบดขยี้

พลพาหนะของท่านเสีย ให้เหมือนช้างซับมันเหยียบย่ำพงอ้อ

ฉะนั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ท่านอย่าพูดเพ้อถึงความที่ตนเป็นคนโง่

เขลาไปเลย คนเช่นท่านจะเรียกว่าผู้สามารถมิได้

ท่านถูกความเร่าร้อน คือ ราคะ โทสะ โมทะ และ

มานะเผารนอยู่เสมอ ไม่อาจจะกำจัดเราได้เลย

จะต้องหนีเราไป กองพลของเราจักย่ำยีท่านหมด

ทั้งกองพล ดุจช้างเมามันขยี้ไม้อ้อด้วยเท้าฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มา พาลิย วิปฺปลปิ ความว่า ท่าน

อย่าพร่ำเพ้อถึงความที่ตนเป็นพาลไปเลย. บทว่า น หิสฺส ตาทิส

บาลีว่า น หิสฺส ตาทิโส บ้าง ความว่า ด้วยว่าไม่มีบุคคลผู้คิด

ว่า พาหนะของเราสุดสายตา สามารถจะชิงราชสมบัติได้ดัง

เช่นท่าน. บทว่า วิทยฺหเส ความว่า ท่านถูกความเร่าร้อน คือ

ราคะ โทสะ โมหะ และมานะเผารนอยู่เสมอ. บทว่า น หิ ลภเส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 430

นิเสธก ความว่า ท่านจะไม่ได้การข่มขู่ครอบงำปราบปรามคน

เช่นเราได้เลย วันนี้เราจะให้ท่านหนีไปตามทางที่ท่านมานั่นเอง.

บทว่า อาสชฺชสิ ได้แก่เข้าไปใกล้. บทว่า คชมิว เอกจาริน

ได้แก่ ดุจช้างเมามันผู้เที่ยวไปโดดเดี่ยว. บทว่า โย ต ปทา

นฬมิว โปถยิสฺสติ ความว่า กองทัพของเราจักบดขยี้ท่านให้

แหลกไป เหมือนช้างเมามันบดขยี้ไม้อ้อแหลกรานด้วยเท้าฉะนั้น.

ฝ่ายพระเจ้าคันธารราชได้สดับคำของพระโพธิสัตว์ตรัส

ขู่ขวัญฉะนี้แล้ว ทอดพระเนตรดู ทรงเห็นพระนลาฎเช่นกับ

แผ่นทองคำ กลัวจะถูกจับ พระองค์จึงหันกลับหนีคืนสู่นครของ

พระองค์.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. พระเจ้าคันธารราชในครั้งนั้นได้เป็นปริพาชกในครั้งนี้.

ส่วนพระเจ้าพาราณสี คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาทุติยปลายิชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กาสาวชาดก ๒. จุลลนันทิยชาดก ๓. ปุฏภัตตชาดก

๔. กุมภีลชาดก ๕. ขันติวรรณนชาดก ๖. โกสิยชาดก ๗. คูถ-

ปาณกชาดก ๘. กามนีตชาดก ๙. ปลายิชาดก ๑๐. ทุติยปลายิ-

ชาดก.

จบ กาสาววรรคที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 431

๙. อุปาหนวรรค

๑. อุปาหนชาดก

อนารยชนย่อมใช้ศิลปะในทางผิด

[๓๑๑] รองเท้าที่คนซื้อมา เพื่อประโยชน์จะให้

สบายเท้า กลับนำเอาความทุกข์มาให้ รองเท้านั้น

ถูกแดดเผาบ้าง ถูกพื้นเท้าครูดสีบ้าง ก็กลับกัด

เท้าของผู้นั้นนั่นแหละ ฉันใด.

[๓๑๒] ผู้ใดเกิดในตระกูลต่ำ ไม่ใช่อารยชน เรียน

วิชาและศิลปมาจากสำนักอาจารย์ได้แล้ว ผู้นั้น

ย่อมฆ่าตนเองด้วยศิลปที่เรียนมาในสำนักของ

อาจารย์นั้น ฉันนั้น บุคคลนั้น บัณฑิตเรียกว่า

ไม่ใช่อารยชน เปรียบด้วยรองเท้าที่ทำไม่ดี

ฉะนั้น.

จบ อุปาหนชาดกที่ ๑

อรรถกถาอุปาหนวรรคที่ ๙

อรรถกถาอุปาหนชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

ยถาปิกตา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 432

ความย่อมีว่า ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า

อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตบอกคืนอาจารย์กลับเป็นปฏิปักษ์

เป็นศัตรูต่อพระตถาคต ได้ถึงความพินาศใหญ่. พระศาสดา

เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมิใช่บอกคืนอาจารย์เป็น

ปฏิปักษ์ต่อเราถึงความพินาศใหญ่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน

ก็เป็นปฏิปักษ์ต่อเราเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลนายหัตถาจารย์

ครั้นเจริญวัยแล้วก็สำเร็จหัตถีศิลปะ. ครั้งนั้นมีมาณพชาวกาสิคาม

ผู้หนึ่ง มาเรียนศิลปะในสำนักของพระโพธิสัตว์. ธรรมดาว่า

พระโพธิสัตว์ทั้งหลายเมื่อจะบอกศิลปะ ย่อมไม่ปิดบังวิชา ให้

ศึกษาวิชาตามที่ตนรู้มาโดยไม่มีเหลือ. เพราะฉะนั้นมาณพนั้น

จึงได้เรียนศิลปะความรู้ของพระโพธิสัตว์จนหมดสิ้นแล้วกล่าว

กะพระโพธิสัตว์ว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจักรับราชการ.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดีแล้วพ่อ จึงไปเฝ้ากราบทูลพระราชา

ว่า ข้าแต่มหาราชลูกศิษย์ของข้าพระองค์ปรารถนาจะรับราชการ

สนองพระเดชพระคุณ. พระ.ราชาตรัสว่าดีแล้ว จงรับราชการ

เถิด. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้นขอพระองค์ทรงโปรด

ตั้งเบี้ยหวัดแก่เขาเถิด. พระราชาตรัสว่า ลูกศิษย์ของท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 433

จะได้เบี้ยหวัดเท่ากับท่านไม่ได้ เมื่อท่านได้หนึ่งร้อย เขาก็ต้อง

ได้ห้าสิบ เมื่อท่านได้สองร้อย เขาก็ต้องได้หนึ่งร้อย. พระโพธิสัตว์

กลับมาบ้านบอกเรื่องนั้นแก่ลูกศิษย์. ลูกศิษย์กล่าวว่า ท่าน

อาจารย์ ข้าพเจ้ารู้ศิลปะเท่ากับท่าน ถ้าจะได้เบี้ยหวัดเท่ากับ

ท่านเหมือนกัน ข้าพเจ้าจะรับราชการ ถ้าไม่ได้จะไม่ขอรับ

ราชการ. พระโพธิสัตว์กราบทูลให้พระราชาทรงทราบ. พระ-

ราชาตรัสว่า ถ้าเขาทัดเทียมเท่ากับท่านทุกประการ สามารถ

แสดงศิลปะเท่ากับท่านทีเดียว ก็จะได้เท่ากัน. พระโพธิสัตว์

จึงบอกเรื่องนั้นแก่ลูกศิษย์. เมื่อลูกศิษย์กล่าวว่าดีแล้ว ข้าพเจ้า

จะแสดง จึงไปกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาตรัสว่า ถ้า

เช่นนั้นจงแสดงศิลปะกันพรุ่งนี้เถิด. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า

ดีแล้วพระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักแสดงกัน ขอพระองค์โปรดให้

ตีกลองป่าวร้องเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาได้ให้ตีกลองป่าวร้อง

ว่า พรุ่งนี้อาจารย์กับลูกศิษย์ทั้งสองจะแสดงศิลปะ ผู้ประสงค์

จะดูจงพากันมาดูที่สนามหลวง. อาจารย์คิดว่า ลูกศิษย์ของเรา

ยังไม่รู้ความฉลาดในอุบาย จึงจับช้างมาเชือกหนึ่ง ฝึกให้จดจำ

กลับวิธีโดยคืนเดียวเท่านั้น. อาจารย์ให้ช้างสำเหนียกอย่างนี้

คือ เมื่อบอกให้เดินก็ให้ถอย เมื่อบอกให้ถอยก็ให้เดิน บอกให้

เทาก็ให้ลุก เมื่อบอกให้ลุกก็ให้เทา เมื่อบอกให้จับก็ให้วาง เมื่อ

บอกให้วางก็ให้จับ. รุ่งขึ้นจึงขึ้นช้างเชือกนั้นไปที่สนามหลวง

ฝ่ายลูกศิษย์ก็ขึ้นช้างที่ถูกใจเชือกหนึ่งไป. มหาชนประชุมกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 434

แล้ว ทั้งสองคนได้แสดงศิลปะเท่า ๆ กันแล้ว. พระโพธิสัตว์จึง

ให้ช้างของตนทำสิ่งที่ตรงกันข้ามอีก. ช้างนั้นเมื่อบอกว่าจงไป

ก็ถอยกลับ เมื่อบอกว่าจงถอยกลับได้วิ่งไปข้างหน้า เมื่อบอกว่า

จงยืนขึ้นได้เทาลง เมื่อบอกว่าจงเทาก็ลุกยืน เมื่อบอกว่าจงหยิบ

ก็ทิ้งเสีย เมื่อบอกว่าจงทิ้งก็ได้หยิบ. มหาชนกล่าวว่า แน่ะศิษย์

ผู้ชั่วร้ายทำการแข่งดีกับอาจารย์ไม่รู้ประมาณตน เข้าใจว่า

รู้เสมอกับอาจารย์ ต่างก็เอาก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ประหาร

ให้ถึงแก่ความตายในที่นั้นเอง. พระโพธิสัตว์ลงจากช้างเข้าเฝ้า

พระราชากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขึ้นชื่อว่าศิลปะบุคคลย่อม

เรียนเพื่อความสุขแก่ตน แต่ศิลปะที่บุคคลบางคนเรียนแล้ว กลับ

นำความพินาศมาสู่ ดุจรองเท้าที่ทำไม่ดีฉะนั้น ได้กล่าวคาถา

สองคาถานี้ว่า :-

รองเท้าที่คนซื้อมาเพื่อประโยชน์จะให้

สบายเท้า กลับนำความทุกข์มาให้ รองเท่านั้น

ถูกแดดเผาบ้าง ถูกพื้นเท้าครูดสีบ้าง ก็กลับกัด

เท้าของผู้นั้นนั่นแหละ ฉันใด ผู้ใดเกิดในตระกูล

ต่ำไม่ใช่อารยชน เรียนวิชาและศิลปะมาจาก

สำนักอาจารย์ได้แล้ว ผู้นั้นย่อมฆ่าตนเองด้วย

ศิลปะที่เรียนมาในสำนักของอาจารย์นั้น ฉันนั้น

บุคคลนั้น บัณฑิตเรียกว่า ไม่ใช่อารยชนเปรียบ

ด้วยรองเท้าที่ทำไม่ดี ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 435

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทพฺพเห คือนำมา. บทว่า

ฆมฺมาภิตฺตา ตลสา ว ปีฬิตา ได้แก่ รองเท่านั้นถูกแดดเผาบ้าง

ถูกพื้นเท้าบีบบ้าง. บทว่า ตสฺเสว ความว่า รองเท้าที่ทำไม่ดี

ที่เขาซื้อมาสวมเท้าเพื่อความสบายเท้า ครั้นถูกแดดเผา ถูกพื้น

เท้าบีบย่อมกัดเท้าเป็นแผล. บทว่า ทุกฺกุลิโน ได้แก่ บุคคลผู้มี

ชาติทราม มิใช่บุตรของผู้มีตระกูล. บทว่า อนริโย คือ เป็น

อสัตบุรุษ ขาดหิริโอตตัปปะ. บทว่า วิชฺชญฺจ ได้แก่ เรียนเอา

วิทยฐานะทั้ง ๘ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า สุต

ได้แก่ สุตะคือปริยัติอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมกัดตัวเองด้วย

สูตรในสำนักอาจารย์นั้น. บทว่า โส ความว่า บุคคลผู้ใดเกิด

ในตระกูลต่ำ ไม่มีอารยธรรมเรียนวิชาและสูตะจากอาจารย์

บุคคลผู้นั้นย่อมกัดตนเองด้วยสุตะในสำนักอาจารย์นั้น ฉันนั้น.

บทว่า อนริโย วุจฺจตุปาหนุปโม คือ บัณฑิตเรียกว่าเป็นผู้ไม่มี

อารยธรรม เปรียบด้วยรองเท้าไม่ดี.

พระราชาทรงโปรดปรานประทานยศยิ่งใหญ่แก่พระ-

โพธิสัตว์.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง

ประชุมชาดก. ลูกศิษย์ในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วน

อาจารย์ คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาอุปาหนชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 436

๒. วีณาถูณชาดก

รักคนผิด

[๓๑๓] เรื่องนี้เจ้าคิดคนเดียว บุรุษเตี้ยค่อมผู้โง่

เขลานี้จะนำทางไปไม่ได้แน่ ดูก่อนเจ้าผู้เจริญ

เจ้าไม่สมควรจะไปกับบุรุษเตี้ยค่อมผู้นี้เลย.

[๓๑๔] ดิฉันเข้าใจว่าบุรุษค่อมเป็นผู้องอาจ จึง

ได้รักใคร่บุรุษค่อมผู้นี้ นอนตัวงออยู่ ดุจคันพิณ

ที่มีสายขาดแล้ว ฉะนั้น.

จบ วีณาถูณชาดกที่ ๒

อรรถกถาวีณาถูณชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภกุมาริกาผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

เอกจินฺติโต อยมตฺโถ ดังนี้.

ได้ยินว่า กุมาริกานั้นเป็นธิดาเศรษฐีผู้หนึ่ง ในกรุง

สาวัตถี เห็นเครื่องสักการะที่เขาทำแก่โคอุสภราชในบ้านของ

ตน จึงถามพี่เลี้ยงว่า แน่ะแม่ นั่นชื่อไร จึงได้เครื่องสักการะ

อย่างนี้. พี่เลี้ยงตอบว่า ชื่อโคอุสภราชจ้ะ. ครั้นวันหนึ่งนางยืน

อยู่ตรงหน้าต่างแลดูระหว่างถนนเห็นชายค่อมผู้หนึ่งคิดว่า โค

ที่เป็นใหญ่ในหมู่โคย่อมมีโหนกที่หลัง แม้มนุษย์ผู้เป็นใหญ่ก็คง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 437

มีโหนกเช่นเดียวกัน บุรุษผู้นี้คงเป็นบุรุษอุสภราชเป็นแน่ เรา

ควรเป็นบาทบริจาริกาของบุรุษนี้. นางจึงใช้ทาสีไปบอกแก่ชาย

ค่อมว่า ธิดาเศรษฐีอยากจะไปกับท่าน ท่านจงไปรออยู่ ณ ที่โน้น

แล้วถือเอาของมีค่าปลอมตัวไม่ให้ใครรู้จักลงจากปราสาทหนีไป

กับชายค่อมนั้น. ต่อมา การกระทำของธิดาเศรษฐีนั้นได้ปรากฏ

กันในนครและหมู่ภิกษุ. ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรม

ว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่าธิดาเศรษฐีชื่อโน้นหนีไปกับชายค่อม.

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวก

เธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้

ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธิดาเศรษฐีนั้น

มิใช่ปรารถนาชายค่อมในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ปรารถนา

เหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐีในตำบล

หนึ่ง ครั้นเจริญวัยแล้วมีครอบครัว เจริญด้วยบุตรธิดาทั้งหลาย

จึงได้ขอธิดาของเศรษฐีกรุงพาราณสีให้แก่บุตรของตน กำหนด

วันกันแล้ว. ธิดาเศรษฐีเห็นเครื่องสักการะ สัมมานะของโค

อุสภราชที่เรือนของตน จึงถามพี่เลี้ยงว่า สัตว์นี้ชื่ออะไร ได้

ฟังว่า โคอุสภราช ครั้นเห็นชายค่อมเดินอยู่ระหว่างถนน คิดว่า

ชายนี้คงเป็นบุรุษอุสภราช จึงถือห่อของมีค่าหนีไปกับชายค่อม

นั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์คิดว่าจักนำธิดาเศรษฐีมาเรือน จึงไปยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 438

กรุงพาราณสีกับบริวารเป็นอันมาก เดินทางไปทางนั้นเหมือน

กัน. ฝ่ายชายค่อมกับธิดาเศรษฐี ทั้งคู่นั้นเดินทางกันตลอดคืน.

ครั้งนั้น ชายค่อมซึ่งถูกความหนาวเบียดเบียนตลอดคืน ได้เกิด

โรคลมกำเริบขึ้นในร่างกาย ในเวลาอรุณขึ้น เกิดทุกขเวทนา

สาหัส. เขาจึงแวะลงจากทางทนทุกขเวทนานอนขดตัวดังคันพิณ.

ฝ่ายธิดาเศรษฐีก็นั่งอยู่ที่ใกล้เท้าของเขา. พระโพธิสัตว์เห็น

ธิดาเศรษฐีนั่งอยู่ที่ใกล้เท้าชายค่อมจำได้จึงเข้าไปหา. เมื่อจะ

สนทนากับธิดาเศรษฐี ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

เรื่องนี้เจ้าคิดคนเดียว บุรุษเตี้ยค่อมผู้

โง่เขลานี้จะนำทางไปไม่ได้แน่ ดูก่อนเจ้าผู้เจริญ

เจ้าไม่สมควรจะไปกับบุรุษเตี้ยค่อมผู้นี้เลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกจินฺติโต อยมตฺโถ ความว่า แน่ะ

แม่เจ้า คิดประโยชน์อันใดจึงได้หนีไปกับชายค่อมนี้ ประโยชน์

อันนั้นเจ้าคงจะคิดคนเดียว. บทว่า พาโล อปริณายโก ความว่า

เพราะว่าชายค่อมผู้เป็นพาลนี้ โดยที่มีปัญญาทรามถึงจะแก่ก็

ยังโง่ จะเป็นเมื่อไม่มีผู้อื่นพาไปก็ไม่สามารถจะพาไปได้. แน่ะ

นางผู้เจริญ เจ้าก็เกิดในตระกูลใหญ่มีรูปงามน่าเอ็นดู จึงไม่ควร

ไปกับชายค่อมผู้ต่ำต้อยเพราะเตี้ยนี้.

ลำดับนั้น ธิดาเศรษฐีฟังคำของพระโพธิสัตว์แล้ว กล่าว

คาถาที่ ๒ ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 439

ดิฉันเข้าใจว่าบุรุษค่อมเป็นผู้องอาจ จึงได้

รักใคร่บุรุษค่อมผู้นี้นอนตัวงออยู่ ดุจคันพิณที่มี

สายขาดแล้ว ฉะนั้น.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ข้าแต่ท่านเจ้า ข้าพเจ้าเห็น

โคอุสภราชตัวหนึ่ง คิดว่าโคที่เป็นใหญ่กว่าโคทั้งหลายมีโหนก

ที่หลัง แม้บุรุษนี้ก็มีโหนกนั้น คงจะเป็นบุรุษอุสภราช ข้าพเจ้า

เข้าใจชายค่อมว่าเป็นบุรุษอุสภราชจึงรักใคร่ ชายค่อมนี้นั้น

นอนตัวงออยู่เหมือนคันพิณที่สายขาดมีแต่ราง ฉะนั้น.

พระโพธิสัตว์ทราบว่า นางปลอมตัวหนีมาจึงให้อาบน้ำ

ตกแต่งตัวให้ขึ้นรถไปยังเรือนของตน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ธิดาเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นธิดาเศรษฐีในครั้งนี้นี่แหละ

ส่วนพระราชากรุงพาราณสี คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาวีณาถูณชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 440

๓. วิกัณณกชาดก

คนเห็นแก่อามิสย่อมเดือดร้อน

[๓๑๕] เจ้าปรารถนาในที่ใด ก็จงไปในที่นั้นเถิด

เจ้าเป็นผู้ถูกชะนักของเราแทงแล้ว เจ้าเป็นผู้โลภ

ด้วยอาหารแท้ เมื่อติดตามปลาทั้งหลายมาก็ถูก

อาหารมีเสียงกลองกำจัดเสียแล้ว.

[๓๑๖] บุคคลเห็นแก่โลกามิสแม้อย่างนี้ ชอบ

ประพฤติตามอำนาจของจิต ย่อมเดือดร้อน เขา

ย่อมเดือดร้อนอยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติและสหาย

ดุจจระเข้ผู้ติดตามปลาไปถูกแทง ฉะนั้น.

จบ วิกัณณกชาดกที่ ๓

อรรถกถาวิกัณณกชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุกระสันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า กาม

ยหึ อิจฺฉสิ เตน คจฺฉ ดังนี้.

ความย่อมีว่า ภิกษุรูปนั้นถูกนำไปยังธรรมสภา พระ-

ศาสดาตรัสถาม ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ กราบ

ทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า เธอกระสันเพราะเหตุใด.

กราบทูลว่า เพราะเหตุกามคุณ. ลำดับนั้นพระศาสดาจึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 441

ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า กามคุณเหล่านี้เช่นกับลูกชะนัก เมื่อได้ที่

ตั้งในหัวใจครั้งเดียว ย่อมให้ถึงความตายได้ทีเดียว เหมือนชะนัก

อันปักเข้าไปแล้ว ยังจระเข้ให้ถึงความตาย ฉะนั้นแล้วทรงนำเรื่อง

อดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี

โดยธรรม วันหนึ่งประพาสอุทยานเสด็จไปถึงฝั่งสระโบกขรณี.

พนักงานชำนาญในการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้น ก็ประกอบการ

ฟ้อนรำขับร้องถวาย. ปลาและเต่าทั้งหลายที่สระโบกขรณี ต่าง

ก็มารวมกันเพราะมีใจจดจ่ออยู่ในเสียงขับร้อง ว่ายน้ำตามพระ-

ราชาไป. พระราชาทอดพระเนตรเห็นฝูงปลาประมาณเท่าลำตาล

ตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลายว่า เหตุไรหนอ พวกปลาเหล่านี้จึง

เที่ยวตามเราไป. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ปลาเหล่านี้คอยรับใช้

พระองค์. พระราชาโปรดปรานว่า แม้ปลาเหล่านี้ก็ยังคอยรับใช้

เรา จึงทรงตั้งอาหารไว้ประจำวันของปลาเหล่านั้น. เจ้าหน้าที่

ต้องหุงข้าวสารหนึ่งอัมมณะทุก ๆ วัน. ต่อมาปลาทั้งหลายถึง

เวลาให้อาหารบางพวกก็มา บางพวกก็ไม่มา อาหารก็เสีย.

เขาจึงกราบทูลความนั้นแด่พระราชา. พระราชารับสั่งว่า ตั้งแต่

ไปจงตีกลองเวลาให้อาหาร. เมื่อพวกปลามารวมกันตามเสียง

กลองแล้วก็จงให้อาหารเถิด. ตั้งแต่นั้นพนักงานผู้จัดอาหาร

ให้ตีกลองแล้วจึงให้อาหารแก่พวกปลาที่มารวมกัน. แม้พวกปลา

เหล่านั้นก็มารวมกันกินอาหารตามสัญญาเสียงกลอง. เมื่อพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 442

ปลารวมกันกินอาหารอยู่อย่างนี้ มีจระเข้ตัวหนึ่งมากินปลา

เจ้าหน้าที่จัดอาหารจึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรง

สดับดังนั้น จึงรับสั่งว่า ท่านจงเอาชะนักแทงจระเข้ที่เข้ามาใน

เวลากินปลา แล้วจับตัวให้ได้. เขารับพระราชโองการแล้ว

กลับไปลงเรือคอยอยู่ ได้ใช้ชะนักแทงจระเข้ซึ่งเข้ามากินปลา

ชะนักเสียบติดหลังจระเข้นั้น จระเข้ได้รับทุกขเวทนา จึงหนี

พาเอาชะนักนั้นติดไปด้วย. เจ้าหน้าที่จัดอาหารทราบว่าแทงถูก

จระเข้แล้ว เมื่อจะว่ากะจระเข้นั้น จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

เจ้าปรารถนาในที่ใด ก็จงไปในที่นั้นเถิด

เจ้าเป็นผู้ถูกชะนักของเราแทงแล้ว เจ้าเป็นผู้โลภ

ด้วยอาหารแท้ เมื่อติดตามปลาทั้งหลายมาก็ถูก

อาหารมีเสียงกลองกำจัดเสียแล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กาม คือโดยส่วนเดียว. บทว่า

ยหึ อิจฺฉสิ เตน คจฺฉ ความว่า ท่านปรารถนาในที่ใด จงไปใน

ที่นั้นเถิด บทว่า มมฺมมฺหิ คือ ในที่ของเรา. บทว่า อนุพนฺธมาโน

ความว่า เจ้าเมื่อเขาให้อาหารด้วยสัญญาเสียงกลอง เป็นผู้โลภ

ติดตามปลาหวังจะกิน ก็ถูกอาหารมีเสียงกลองกำจัดเสียแล้ว.

แม้ในที่ที่ท่านไป ท่านก็จะไม่มีชีวิต.

จระเข้นั้นไปถึงที่อยู่ของตนแล้วก็ตาย.

พระศาสดาครั้นทรงแสดงชาดกนี้แล้ว ตรัสรู้แล้วได้

ตรัสคาถาที่ ๒ ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 443

บุคคลเห็นแก่โลกามิสแม้อย่างนี้ ชอบ

ประพฤติตามอำนาจของจิตย่อมเดือดร้อน เขา

ย่อมเดือดร้อนอยู่ในท่ามกลางหมู่ญาติและสหาย

ดุจจระเข้ผู้ติดตามปลาไปถูกแทง ฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โลกามิส ได้แก่ กามคุณ ๕ เพราะ

กามคุณ ๕ เหล่านั้น ชาวโลกถือว่าเป็นของน่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพึงพอใจ ฉะนั้น จึงเรียกว่า โลกามิส. บทว่า โอปตนฺโต

ความว่า บุคคลผู้เป็นไปตามโลกามิสนั้น เป็นผู้คล้อยตามอำนาจ

จิตด้วยอำนาจกิเลส ย่อมเดือดร้อนลำบากถึงความพินาศ บทว่า

โส หญฺติ ความว่า บุคคลนั้นยึดถือกามคุณ ๕ ว่าเป็นที่น่าพึง

พอใจ แล้วย่อมเดือดร้อนลำบากถึงความมหาพินาศ ในท่ามกลาง

ญาติและสหายทั้งหลาย ดุจจระเข้ที่ไล่ตามปลาถูกแทงด้วยชะนัก

ฉะนั้น ดังนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจจธรรม แล้วทรงประชุมชาดก. ครั้นจบสัจจธรรม ภิกษุ

กระสันตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ส่วนพระเจ้าพาราณสีในครั้งนั้น

คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาวิกัณณกชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 444

๔. อสิตาภุชาดก

โลภมากลาภหาย

[๓๑๗] พระองค์นั่นแหละ ได้กระทำเหตุอันนี้

ในบัดนี้ หม่อมฉันปราศจากความรักในพระองค์

แล้ว ความรักนั้นประสานกันอีกไม่ได้ ดุจงาช้าง

อันตัดขาดแล้วด้วยเลื่อย ฉะนั้น.

[๓๑๘] บุคคลผู้ปรารถนาเกินส่วน ย่อมเสื่อมจาก

ประโยชน์ เพราะความโลภเกินประมาณ และ

เพราะความเมาอันเกิดจากความโลภเกินประมาณ

เหมือนเราเสื่อมจากนางอสิตาภุ ฉะนั้น.

จบ อสิตาภุชาดกที่ ๔

อรรถกถาอสิตาภุชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภกุมาริกาคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

ตฺวเมวทานิมการี ดังนี้.

ได้ยินว่า ในตระกูลอุปฐากของพระอัครสาวกทั้งสอง

ตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถี มีกุมาริกาผู้หนึ่งมีรูปสวย ถึงพร้อม

ด้วยคามงามเป็นเลิศ. นางเจริญวัย ก็ได้ไปสู่ตระกูลซึ่งมีชาติ

เสมอกัน. สามีของนางไม่พอใจนางเป็นบางอย่าง จึงเที่ยวไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 445

ในที่อื่นตามใจชอบ. นางก็ไม่เอาใจใส่ในการที่สามีไม่ใยดีใน

ตนนั้น นิมนต์พระอัครสาวกทั้งสองมาถวายทานฟังธรรม ได้ตั้ง

อยู่ในโสดาปัตติผล. ตั้งแต่นั้นนางก็ปล่อยให้เวลาล่วงไปด้วย

ความสุขในมรรคและผล คิดว่า แม้สามีก็ไม่ยินดีเรา เราก็ไม่มี

การงานทางฆราวาส เราจักบวช จึงบอกมารดาบิดา ออกบวช

อรหัต. การกระทำของนางนั้นได้ปรากฏในหมู่ภิกษุ. ครั้นวันหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย

ธิดาของตระกูลโน้นเป็นหญิงแสวงหาประโยชน์ รู้ว่าสามีไม่ใยดี

ได้ฟังธรรมของพระอัครสาวก ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ยัง

บอกลามารดาบิดาออกบวชอีก บรรลุอรหัตแล้ว ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย กุมาริกานั้นเป็นผู้แสวงหาประโยชน์อย่างนี้. พระ-

ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้

ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลธิดาผู้นั้น

เป็นผู้แสวงหาประโยชน์ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน

ก็เป็นผู้แสวงหาประโยชน์เหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บวชเป็นฤาษียังอภิญญาและสมาบัติ

ให้เกิดแล้วอาศัยอยู่ ณ หิมวันตประเทศ. ในกาลครั้งนั้นพระเจ้า

พาราณสีเห็นความพรั่งพร้อมของบริวารของพรหมทัตกุมาร

ผู้เป็นโอรสของพระองค์ เกิดความระแวงพระทัย จึงเนรเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 446

โอรสออกจากแว่นแคว้น. พรหมทัตกุมารทรงพาพระเทวีของ

พระองค์พระนามว่า อสิตาภู เข้าไปสู่ป่าหิมพานต์เสวยปลา

เนื้อ และผลไม้พำนักอยู่ ณ บรรณศาลา. พรหมทัตกุมารนั้น

เห็นหางกินรีหางหนึ่ง มีจิตปฏิพัทธ์ คิดว่าจะเอานางกินรีนี้เป็น

ชายา จึงติดตามรอยเท้านางกินรีนั้นไป มิได้คำนึงถึงพระนาง

อสิตาภู. พระนางอสิตาภูเห็นพรหมทัตกุมารตามนางกินรีไป

ทรงดำริว่า พรหมทัตกุมารนี้ตามนางกินรีไปมิได้คำนึงถึงเรา.

เราจะต้องการอะไรจากพรหมทัตกุมารนี้ มีพระทัยคลายรัก

เข้าไปหาพระโพธิสัตว์ นมัสการแล้ว ให้บอกการบริกรรมกสิณ

แก่ตน เพ่งกสิณยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด นมัสการพระ-

โพธิสัตว์กลับมายืนอยู่ที่ประตูบรรณศาลาของตน. แม้พรหมทัต

ก็ติดตามนางกินรีไปเที่ยวหาก็มิได้พบแม้ทางที่นางกินรีนั้นไป

หมดหวังจึงกลับมุ่งหน้ามาสู่บรรณศาลา. พระนางอสิตาภูเห็น

พรหมทัตกุมารเสด็จกลับมา ลอยขึ้นสู่ไปสู่เวหา ยืนบนพื้นอากาศ

มีสีดังแก้วมณี ตรัสว่า ข้าแต่โอรสเจ้า ข้าพเจ้าได้ความสุขนี้

เพราะอาศัยท่าน แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

พระองค์นั่นแหละได้กระทำเหตุนี้ในบัดนี้

หม่อมฉันปราศจากความรักในพระองค์แล้ว

ความรักนั้นประสานกันอีกไม่ได้ ดุจงาช้างอัน

ตัดขาดแล้วด้วยเลื่อยฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 447

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตฺวเมวทานิมกริ ความว่า ข้าแต่

ท่านผู้เป็นอัยยบุตร พระองค์นั้นแหละ ละหม่อมฉันติดตามนางกินรี

ได้ทำเหตุนี้ในบัดนี้. บทว่า ย กาโม พฺยคมา ตยิ ท่านแสดงความ

ว่า ซึ่งเหตุที่ทำให้ความรักของเราในตัวท่านได้ไปแล้ว คือละได้

ด้วยวิกขัมภนปหาน เราถึงความพิเศษอันนี้ก็เพราะละความรัก

ได้แล้ว บทว่า โสย อปฺปฏิสนฺธิโก ความว่า ก็ความรักอันนั้น

จะกลับมาติดต่ออีกไม่ได้ คือไม่สามารถจะต่อได้ในบัดนี้. บทว่า

ขรา ฉินฺนว เรนุก ความว่า เปรียบเหมือนงาช้างที่ถูกเลื่อย

ตัดขาดเสียแล้ว จะต่อติดอีกไม่ได้ คือจะเชื่อมให้สนิทเหมือนเดิม

อีกไม่ได้ฉันใด อันการจะประสานจิตของเรากับท่านอีกย่อม

มีไม่ได้ฉันนั้น. ครั้นนางกล่าวฉะนี้แล้ว ได้เหาะไปในที่อื่น ทั้ง ๆ

ที่พรหมทัตกุมารนั้นแลดูอยู่นั่นเอง.

พรหมทัตกุมาร ครั้นนางไปแล้วก็คร่ำครวญกล่าวคาถา

ที่ ๒ ว่า :-

บุคคลผู้ปรารถนาเกินส่วนย่อมปราศจาก

ประโยชน์ เพราะโลภเกินประมาณ และเพราะ

ความเมาอันเกิดจากความโลภเกินประมาณ

เหมือนเราเสื่อมจากนางอสิตาภู ฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺริจฺฉา ความว่า ทะยานอยาก

หาที่สุดมิได้ กล่าวคือความปรารถนาในสิ่งนั้น ๆ เรียกว่าความ

แส่หา ความโลภที่เป็นไปเกิน เรียกว่า ความโลภจัด. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 448

อติโลภมเทน จ ได้แก่ ความมัวเมาด้วยความโลภจัดเพราะเป็น

เหตุให้เกิดความมัวเมาในบุรุษ. บทนี้ท่านอธิบายว่า บุคคลผู้

ปรารถนาในสิ่งนั้น ๆ ด้วยการแส่หา ย่อมเสื่อมจากประโยชน์

เพราะความโลภจัดและเพราะความมัวเมาด้วยความละโมภจัด

ดุจเราเสื่อมแล้วจากราชธิดา อสิตาภู ฉะนั้น.

พรหมทัตกุมารทรงคร่ำครวญด้วยคาถานี้แล้วประทับ

พระองค์เดียวอยู่ในป่า เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว จึงเสด็จไป

ครองราชสมบัติ.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ราชบุตรและราชธิดาในครั้งนั้น ได้เป็นชนทั้งสองในครั้ง

นี้ ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาอสิตาภุชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 449

๕. วัจฉนขชาดก

ว่าด้วยดาบสผู้มีเล็บงาม

[๓๑๙] ข้าแต่ท่านวัจฉนขะ เรือนทั้งหลายที่มีเงิน

และโภชนาหารบริบูรณ์ เป็นเรือนมีความสุข

ท่านบริโภคและดื่มในเรือนใด ไม่ต้องขวนขวาย

ก็ได้นอน.

[๓๒๐] บุคคลผู้เป็นฆราวาส ไม่มีมานะทำการ

งานก็ดี ไม่กล่าวคำมุสาก็ดี...ไม่ใช้อำนาจลงโทษ

ผู้อื่น การครองเรือนก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้

ใครเล่าจะครอบครองเรือนไม่ให้บกพร่อง ให้เกิด

ความยินดีได้แสนยากเล่า.

จบ วัจฉนขชาดกที่ ๕

อรรถกถาวัจฉนขชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภนักมวยปล้ำชื่อ โรชะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม

ต้นว่า สุขา ฆรา วจฺฉนขา ดังนี้.

ได้ยินว่า นักมวยปล้ำชื่อ โรชะ นั้นเป็นสหายของพระ-

อานนท์. วันหนึ่ง เขาส่งข่าวไปถึงพระเถระเพื่อนิมนต์พระเถระ

มา. พระเถระจึงทูลพระศาสดาไปหา. เขานิมนต์พระเถระให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 450

บริโภคอาหารที่มีรสเลิศต่าง ๆ แล้วนั่งอยู่ข้างหนึ่ง กระทำ

ปฏิสันถารกับพระเถระ เชื้อเชิญพระเถระด้วยกามคุณ อันเป็น

โภคะของคฤหัสถ์ กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าพระอานนท์ รัตนะ

ทั้งที่มีวิญญาณและหาวิญญาณมิได้ที่เรือนของกระผมมีมากมาย

กระผมจะแบ่งให้ท่านกึ่งหนึ่ง ท่านจงมาเถิด เราจะครอบครอง

เรือนอยู่ด้วยกันทั้งสอง. พระเถระแสดงโทษในกามคุณแก่เขา

ลุกจากอาสนะกลับไปยังวิหาร พระศาสดาตรัสถามว่า อานนท์

เธอพบกับโรชะแล้วหรือ กราบทูลว่า พบแล้วพระเจ้าข้า ตรัส

ถามว่า เธอพูดอะไรกับเขา กราบทูลว่า โรชะ เชื้อเชิญให้

ข้าพระองค์อยู่ครองเรือน ข้าพระองค์จึงแสดงถึงโทษในการ

ครองเรือนและในกามคุณแก่เขา พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า

ดูก่อนอานนท์ นักมวยปล้ำชื่อ โรชะ มิได้ชักชวนนักบวชให้อยู่

ครองเรือนในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนก็ได้ชักชวนแล้วเหมือน

กัน พระอานนทเถระทูลอาราธนา จึงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ในตำบล

หนึ่ง ครั้นเจริญวัย ออกบวชเป็นฤาษีอยู่ในหิมวันตประเทศ

เป็นเวลาช้านาน ได้ไปกรุงพาราณสีเพื่อเสพของเค็มของเปรี้ยว

พักอยู่ที่พระราชอุทยาน รุ่งขึ้นได้เข้าไปยังกรุงพาราณสี. ครั้ง

นั้นเศรษฐีกรุงพาราณสี เลื่อมใสในมารยาทของพระโพธิสัตว์

จึงนำไปสู่เรือนให้บริโภคแล้วรับเอาปฏิญญา เพื่อให้อยู่ในสวน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 451

ปรนนิบัติอยู่. ชนทั้งสองได้เกิดความรักความใคร่ต่อกันและกัน.

อยู่มาวันหนึ่ง เศรษฐีกรุงพาราณสีได้คิดอย่างนี้ด้วยความรัก

และความคุ้นเคยในพระโพธิสัตว์ว่า ชื่อว่าการบวชเป็นทุกข์

เรายังปริพาชก ชื่อว่า วัจฉนขะผู้เป็นสหายของเราให้สึก แล้ว

แบ่งสมบัติทั้งหมดออกกึ่งหนึ่ง แล้วให้แก่วัจฉนขปริพาชกนั้น

ทั้งสองก็จักอยู่ด้วยความปรองดองกัน. วันหนึ่งเศรษฐีนั้นในเวลา

สำเร็จภัตตกิจ ได้ทำปฏิสันถารอย่างอ่อนหวานกับวัจฉนขปริพาชก

แล้วกล่าวว่า พระคุณเจ้าวัจฉนขะ ชื่อว่าการบรรพชาเป็นทุกข์

ฆราวาสเป็นสุข มาเถิดท่าน เราทั้งสองปรองดองกัน บริโภค

กามกันอยู่เถิด แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

ข้าแต่ท่านวัจฉนขะ เรือนทั้งหลายที่มีเงิน

และโภชนาหารบริบูรณ์เป็นเรือนมีความสุข ท่าน

บริโภคและดื่มในเรือนใด ไม่ต้องขวนขวายก็

ได้นอน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สหิรญฺา คือถึงพร้อมด้วยรัตนะ ๗.

บทว่า สโภชนา คือมีของเคี้ยวของบริโภคมาก. บทว่า ยตฺถ

ภุตฺวา ปิวิตฺวา จ ได้แก่ บริโภค โภชนามีรสเลิศต่าง ๆ และ

ดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ ในเรือนซึ่งมีทั้งเงินและทั้งของบริโภค. บทว่า

สเยยฺยาสิ อนุสฺสุโก ความว่า ท่านไม่ต้องขวนขวายก็ได้นอน

บนที่นอนอันมีสิริที่ตกแต่งไว้แล้ว. ด้วยเหตุนั้นชื่อว่า การอยู่

ครองเรือนเป็นสุขอย่างยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 452

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ ฟังเศรษฐีแล้วจึงกล่าวว่า ดูก่อน

มหาเศรษฐี. ท่านเป็นผู้ติดอยู่ในกาม กล่าวคุณของฆราวาสและ

โทษของบรรพชา ก็เพราะความไม่รู้ เราจะกล่าวถึงโทษของ

ฆราวาสแก่ท่าน ท่านจงฟังในบัดนี้เถิด แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

บุคคลผู้เป็นฆราวาสไม่มีมานะทำการงาน

ก็ดี ไม่กล่าวคำมุสาก็ดี ไม่ใช้อำนาจลงโทษผู้อื่น

การครองเรือนก็ตั้งอยู่ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ใคร

เล่าจะครอบครองเรือนไม่ให้บกพร่อง ให้เกิด

ความยินดีด้วยแสนยากเล่า.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ฆรา นานีหมานสฺส ความว่า ขึ้น

ชื่อว่า ฆราวาสผู้ขาดมานะ ไม่พยายามทำการเพาะปลูกและเลี้ยง

สัตว์เป็นต้น ตลอดกาลไม่มี. อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่าเรือนจะตั้งอยู่

ไม่ได้. บทว่า ฆรา นาภณโต มุสา ความว่า ชื่อว่าเรือนจะมีอยู่

ไม่ได้ แม้ไม่ยอมกล่าวเท็จเพื่อประโยชน์ไร่นาเรือกสวนเงิน

และทองเป็นต้น. บทว่า ฆรา ฯเปฯ อนิกุพฺพโต ความว่า ผู้ไม่

ถือท่อนไม้ วางท่อนไม้เสียแล้ว ไม่รังแกผู้อื่น เรือนก็ตั้งอยู่ไม่ได้.

ส่วนผู้ใดมือถือท่อนไม้ลงโทษผู้อื่นมีทาสและกรรมกรเป็นต้น

ด้วยการฆ่า จองจำ ตัดอวัยวะและเฆี่ยนเป็นต้น ตามสมควรแก่

ความผิดข้อนั้น ๆ การครองเรือนของผู้นั้นแหละย่อมมั่นคงอยู่ได้.

บทว่า เอว ฉิทฺท ฯเปฯ ปฏิปชฺชติ ความว่า เมื่อไม่มีการต้อง

โกหกเป็นต้นเหล่านี้ เมื่อเปิดช่องแก่ความเสื่อมนั้น ๆ แม้ต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 453

ทำเป็นนิจซึ่งกิจของฆราวาสให้ครบพร้อมกันได้ยาก ให้น่ายินดี

ได้ยาก เพราะต้องทำเป็นนิจทีเดียว เราก็หมดความดิ้นรนคิดจัก

ครอบครองเรือนอันให้มีครบได้ยากยิ่ง ให้บริบูรณ์ได้ยากนั้น

ด้วยเหตุนั้น ใครเล่าจักครองเรือนนั้นได้.

พระมหาสัตว์กล่าวโทษของฆราวาสอย่างนี้แล้ว ได้กลับ

คืนอุทยานดังเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. เศรษฐีกรุงพาราณสีในครั้งนั้นได้เป็นนักมวยปล้ำชื่อ

โรชะ ในครั้งนี้ ส่วนวัจฉนขปริพาชก คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาวัจฉนขชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 454

๖. พกชาดก

นกเจ้าเล่ห์

[๓๒๑] นกมีปีกตัวนี้ดีจริง ยืนนิ่งดังดอกโกมุท

หุบปีกทั้ง ๒ ไว้ ง่วงเหงาซบเซาอยู่.

[๓๒๒] เจ้าทั้งหลายไม่รู้จักกิริยาของมัน พวกเจ้า

ไม่รู้จึงได้พากันสรรเสริญ นกตัวนี้ไม่ได้คุ้มครอง

รักษาพวกเราดอก เพราะเหตุนั้น นกตัวนี้จึงไม่

เคลื่อนไหวเลย.

จบ พกชาดกที่ ๖

อรรถกถาพกชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุโกหกรูปหนึ่ง ตรัสธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

ภทฺทโก วตาย ปกฺขี ดังนี้.

ความย่อมีอยู่ว่า พระศาสดาทรงเห็นภิกษุโกหกรูปหนึ่ง

ซึ่งถูกนำตัวมาเฝ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนี้มิใช่

โกหกในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็โกหก แล้วทรงนำเรื่องอดีต

มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นปลามีบริวารมากอาศัยอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 455

สระแห่งหนึ่งในหิมวันตประเทศ. ครั้งนั้นนีมีนกยางตัวหนึ่ง คิดว่า

จักกินปลา จึงยืนก้มหัวกางปีกทำเซื่อง ๆ มองดูปลาในที่ใกล้

สระ คอยดูปลาเหล่านั้นเผลอ. ขณะนั้นพระโพธิสัตว์แวดล้อม

ด้วยฝูงปลาเที่ยวหาเหยื่อกินไปถึงที่นั้น. ฝูงปลาเห็นนกยางนั้น

จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

นกมีปีกตัวนี้ดีจริงหุบปีกทั้งสองไว้ ง่วง

เหงาซบเซาอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มนฺทมนฺโท ว ฌายติ ได้แก่ นกยาง

ซบเซาอยู่ตัวเดียว เหมือนจะหมดแรง ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้อะไร

ทั้งนั้น.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์มองดูนกยางนั้น กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

เจ้าทั้งหลาย ไม่รู้จักกิริยาของมัน พวกเจ้า

ไม่รู้จึงพากันสรรเสริญ นกตัวนี้ไม่ได้คุ้มครอง

รักษาพวกเราดอก เพราะเหตุนั้นนกตัวนี้จึงไม่

เคลื่อนไหวเลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนญฺาย แปลว่าไม่รู้. บทว่า

อเมฺห ทิโช น ปาเลติ ความว่า นกนี้ไม่รักษา ไม่คุ้มครองพวก

เรา ครุ่นคิดอยู่แต่ว่าในปลาเหล่านี้ เราจะจิกตัวไหนกิน. บทว่า

เตน ปกฺขี น ผนฺทติ ด้วยเหตุนั้น นกตัวนี้จึงไม่เคลื่อนไหวเลย.

เมื่อพระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้ ฝูงปลาก็พ่นน้ำให้นกยาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 456

หนีไป.

พระคาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. นกยางในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุโกหกในครั้งนี้ ส่วนพญาปลา

คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาพกชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 457

๗. สาเกตชาดก

เหตุให้เกิดความรัก

[๓๒๓] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุไรหนอ

เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าก็เฉย ๆ

หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้าจิตก็เลื่อมใส.

[๓๒๔] ความรักนั้น ย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒

ประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน

ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน เหมือนดอก

อุบลและชลชาติ เมื่อเกิดในน้ำ ย่อมเกิดเพราะ

อาศัยเหตุ ๒ ประการ คือ น้ำและเปือกตม

ฉะนั้น.

จบ สาเกตชาดกที่ ๗

อรรถกถาสาเกตชาดกที่ ๗

พระศาสดา เมื่อประทับอาศัยเมืองสาเกตทรงปรารภ

สาเกตพราหมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โก นุ โข

ภควา เหตุ ดังนี้.

ส่วนเรื่องราวในชาดกนี้ ทั้งที่เป็นอดีตและปัจจุบันกล่าวไว้

ในเอกนิบาตในหนหลังแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 458

ก็ในเวลาที่พระตถาคตเสด็จไปสู่วิหาร ภิกษุทั้งหลายทูล

ถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชื่อว่า ความรักนี้ตั้งอยู่ได้อย่างไร

กล่าวคาถาแรกว่า :-

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุไรหนอ

เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าก็เฉย ๆ

หัวใจก็เฉย บางคนพอเห็นกันเข้าก็เลื่อมใส.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า อะไรหนอแลเป็นเหตุให้บุคคล

บางคนในโลกนี้ พอเห็นกันเข้าเท่านั้นหัวใจก็สงบนิ่งสนิท คือ

เยือกเย็นดังเอาน้ำหอมพันหม้อมารด บางคนไม่สงบ บางคน

พอเห็นกันเข้าเท่านั้นก็มีจิตผ่องใสอ่อนลมุนละไม เยื่อใยต่อกัน

ด้วยอำนาจความรัก บางคนก็ไม่เยื่อใยต่อกัน.

ลำดับนั้นพระคาสดาเมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งความรัก

แก่ภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้นด้วยเหตุสอง

ประการ คือ ด้วยการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑

ด้วยความเกื้อกูลต่อกันในปัจจุบัน ๑ เหมือน

ดอกอุบลเมื่อเกิดในน้ำย่อมเกิดเพราะอาศัยเหตุ

สองประการ คือน้ำละเปือกตม ฉะนั้น.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา

ความรักนี้ย่อมเกิดด้วยเหตุสองประการ คือได้เป็นมารดา บิดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 459

ธิดา บุตร พี่น้องชาย พี่น้องหญิง สามี ภรรยา หรือ สหายมิตร

กันในภพก่อน เคยอยู่ร่วมที่เคียงกันมา ความรักนั้นย่อมไม่ละ

คงติดตามไปแม้ในภพอื่น เพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน

อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง ความรักนั้นย่อมเกิดเพราะความเกื้อกูล

กันในปัจจุบันอันได้ทำในอัตภาพนี้. ความรักนั้นย่อมเกิดขึ้น

ด้วยเหตุสองประการฉะนี้ เปรียบเหมือนอุบลในน้ำฉะนั้น คือ

เหมือนอุบลและบุปผชาติที่เกิดในน้ำต่าง ๆ เกิดในน้ำก็ได้อาศัย

เหตุสองอย่าง คือน้ำและเปือกตมฉันใด ความรักก็ย่อมเกิดด้วย

เหตุสองประการนี้ฉะนั้น.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. พราหมณ์และพราหมณีในครั้งนั้นได้เป็นชนทั้งสองนี้

ในครั้งนี้ ส่วนบุตร คือเราตถาคตแล.

จบ อรรถกถาสาเกตชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 460

๘. เอกปทชาดก

ความเพียรทาให้เกิดประโยชน์หลายอย่าง

[๓๒๕] คุณพ่อครับ เหตุอย่างเดียวทำให้ได้

ประโยชน์หลายอย่างมีอยู่หรือไม่ ผมจะพึงทำ

ประโยชน์ให้สำเร็จด้วยเหตุใด ขอคุณพ่อจงบอก

เหตุนั้น ซึ่งรวบรวมประโยชน์ได้หลายอย่างแก่

ผมเถิด.

[๓๒๖] ลูกเอ๋ย เหตุอย่างหนึ่ง คือ ความขยัน

หมั่นเพียร ทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง ก็ความ

ขยันหมั่นเพียรนั้น ประกอบด้วยศีล ประกอบ

ด้วยขันติ อาจจะทำมิตรทั้งหลายให้ถึงความสุข

หรืออาจทำศัตรูทั้งหลายให้ถึงความทุกข์ได้.

จบ เอกปทชาดกที่ ๘

อรรถกถาเอกปทชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภกุฎุมพีคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อิงฺฆ เอก ปท ตาต ดังนี้.

ได้ยินว่า กุฎุมพีผู้หนึ่งชาวกรุงสาวัตถี. อยู่มาวันหนึ่ง

บุตรของเขานั่งอยู่บนตัก ได้ถามปัญหาชื่อว่า อัตถทวาร คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 461

ปัญหากล่าวถึงประตูไปสู่ประโยชน์. เขาคิดว่าปัญหานี้เป็น

พุทธวิสัย คนอื่นจักไม่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ จึงพาบุตรไปสู่

เชตวันมหาวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ. ทารกนี้นั่งอยู่บนตักของข้าพระองค์ ได้ถาม

ปัญหาชื่อ อัตถทวาร ข้าพระองค์ไม่ทราบปัญหานั้นจึงมา ณ ที่นี้

ข้าแต่พระองค์ขอพระองค์ตรัสบอกปัญหานี้เถิด. พระศาสดา

ตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก ทารกนี้เป็นผู้แสวงประโยชน์ในบัดนี้

เท่านั้นก็หามิได้ แม้เมื่อก่อนก็เป็นผู้แสวงหาประโยชน์ ได้ถาม

ปัญหานี้กะบัณฑิต. แม้โบราณกบัณฑิตก็ได้บอกแก่ทารกนั้น

แล้ว แต่เขากำหนดไว้ไม่ได้ เพราะไปสู่ภพขีดขั้นไว้ ทรงนำเรื่อง

อดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลเศรษฐี. ครั้งนั้น

กุมารน้อยผู้เป็นบุตรของพระโพธิสัตว์ถามขึ้นว่า ข้าแต่พ่อ

ขอพ่อจงบอกบทบทหนึ่งอันเป็นทางให้ถึงประโยชน์ไม่ใช่น้อย

เพียงเหตุเดียวเท่านั้นแก่ลูก ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

คุณพ่อครับ เหตุอย่างเดียวทำให้ได้

ประโยชน์หลายอย่างมีอยู่หรือไม่ ลูกจะพึงทำ

ประโยชน์ให้สำเร็จด้วยเหตุใด ขอคุณพ่อจงบอก

เหตุนั้น ซึ่งรวมประโยชน์ได้หลายอย่างแก่ผม

เถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 462

ลำดับนั้น บิดาเมื่อจะบอกแก่กุมารน้อยนั้นได้กล่าว

คาถาที่ ๒ ว่า :-

ลูกเอ๋ย เหตุอย่างหนึ่งคือความขยันหมั่น

เพียร ทำให้ได้ประโยชน์หลายอย่าง เพราะความ

ขยันหมั่นเพียรนั้น ประกอบด้วยศีล ประกอบ

ด้วยขันติ อาจทำมิตรทั้งหลายให้ถึงความสุข

หรืออาจทำศัตรูทั้งหลายให้ถึงความทุกข์ได้.

อธิบายความ บทบทหนึ่ง คือความขยันได้แก่ ความเพียร

อันประกอบด้วยญาณบุคคลผู้เฉลียวฉลาด ผู้ยังลาภให้เกิด

ประกอบด้วยบทมีประโยชน์มิใช่น้อย มีศีลเป็นต้น. ก็ความ

เพียรนี้นั้นประกอบด้วยอาจาระและศีล พรั่งพร้อมด้วยอธิวาสน-

ขันติ อาจสามารถจะยังมิตรทั้งหลายให้เป็นสุขได้ ให้เกิดความ

ทุกข์แก่อมิตรทั้งหลายได้. ก็ใครเล่าผู้ประกอบด้วยกุศล วิริยะ

พรั่งพร้อมด้วยญาณอันจะยังลาภให้บังเกิด ถึงพร้อมด้วยอาจาร-

ขันติ จะไม่สามารถยังมิตรให้เป็นสุข หรือยังอมิตรให้เป็นทุกข์

ได้.

พระโพธิสัตว์กล่าวแก้ปัญหาแก่บุตรฉะนี้. บุตรนั้นได้ยัง

ประโยชน์ของตนให้สำเร็จตามนัยที่บิดาบอก ดำรงชีพไปตาม

ยถากรรมแล้ว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ

สัจจธรรม ทรงประชุมชาดก. ครั้นจบสัจจธรรม บิดาและบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 463

ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล บุตรในครั้งนั้นได้มาเป็นบุตรคนนี้

นี่แหละ ส่วนเศรษฐีกรุงพาราณสี คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาเอกปทชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 464

๙. หริตมาตชาดก

ว่าด้วยผู้มีอิสรภาพ

[๓๒๗] ดูก่อนท่านผู้เป็นบุตรกบเขียว ปลาทั้ง

หลายรุมกัดฉันผู้มีพิษแล่นเร็ว เข้าไปยังปากลอบ

เรื่องนี้ท่านชอบใจหรือ.

[๓๒๘] บุรุษผู้มีอิสรภาพอยู่เพียงใด ก็ย่ำยีผู้อื่น

ได้อยู่เพียงนั้น คนอื่นมาย่ำยีตนคราวใด คราวนั้น

ผู้ที่ถูกย่ำยีก็ย่ำยีตอบบ้าง.

จบ หริตมาตชาดกที่ ๙

อรรถกถาหริตมาตชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภ

พระเจ้าอชาตศัตรู ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อาสีวิสมฺปิ ม สนฺต ดังนี้.

ความพิสดารมีว่า พระมหาโกศลพระราชบิดาของพระเจ้า

โกศล พระราชทานพระธิดาแก่พระเจ้าพิมพิสาร ได้ประทาน

หมู่บ้านกาสีเป็นค่าสรงสนานแก่พระธิดา. พระเทวีนั้นเมื่อ

พระเจ้าอชาตศัตรูกระทำปิตุฆาตกรรม ก็ได้สิ้นพระชนม์เพราะ

ความเสน่หาต่อพระราชาไม่นานนัก. พระเจ้าอชาตศัตรูแม้

เมื่อพระชนนีสิ้นพระชนม์ไปแล้ว ก็คงครองบ้านนั้นอยู่ตามเดิม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 465

พระเจ้าโกศลทรงดำริว่า เราจักไม่ให้หมู่บ้านอันเป็นของตระกูล

ของเราแก่โจรผู้ฆ่าบิดา จึงรบกับพระเจ้าอชาตศัตรู. บางคราว

พระเจ้าน้าก็ชนะ บางคราวพระเจ้าหลานก็ชนะ. แต่คราวใด

พระเจ้าอชาตศัตรูทรงชนะ คราวนั้นก็ทรงโสมนัส ปักธงชัย

บนรถ เข้าไปสู่พระนครด้วยยศอันยิ่งใหญ่. คราวใดทรงปราชัย

คราวนั้นก็ทรงโทมนัส ไม่ให้ใคร ๆ ทราบเลย เสด็จเข้าสู่

พระนคร. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรม

ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเจ้าอชาตศัตรูทรงชนะพระเจ้าน้า

แล้วดีพระทัย ทรงปราชัยก็ทรงโทมนัส.

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่

แต่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนพระเจ้าอชาตศัตรูนั้น ทรงชนะ

แล้วก็ดีพระทัย ทรงปราชัยแล้วก็ทรงโทมนัสเหมือนกัน แล้ว

ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดกบเขียว. ครั้งนั้น

มนุษย์ทั้งหลายได้ดักลอบเพื่อต้องการจะจับปลาในที่มีแม่น้ำ

และลำธารเป็นต้น. มีปลาเป็นอันมากเข้าไปติดอยู่ในลอบใบหนึ่ง.

ครั้งนั้นมีงูปลาตัวหนึ่ง จะกินปลาจึงเข้าไปสู่ลอบนั้น. ปลาเป็น

อันมากรวมกันเข้าไปกัดงูตัวนั้นจนเลือดออกนอง. งูปลาไม่เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 466

ที่พึ่ง กลัวตายจึงหนีออกทางปากลอบ ได้รับความเจ็บปวด

นอนอยู่บนพื้นน้ำ. ในขณะนั้น กบเขียวขึ้นไปเกาะบนหลักลอบ

งูเมื่อไม่ได้ที่จะตัดสินความ เห็นกบนอนอยู่บนหลักลอบนั้น

เมื่อจะถามว่า ดูก่อนสหายกบ กิริยาของพวกปลาเหล่านี้ ท่าน

พอใจบ้างไหม ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนท่านผู้เป็นบุตรกบเขียว ปลาทั้ง

หลายรุมกัดฉันผู้มีพิษแล่นเร็ว เข้าไปยังปากลอบ

เรื่องนี้ท่านชอบใจหรือ.

ลำดับนั้นกบเขียวจึงกล่าวกะงูว่า ดูก่อนสหาย ถูกแล้ว

ข้าพเจ้าพอใจ เพราะอะไร เพราะหากพวกปลามาถึงถิ่นของท่าน

ท่านก็ย่อมกิน ฝ่ายพวกปลาก็ย่อมกินท่านผู้ไปอยู่ถิ่นของตน

อันการจะอ่อนกำลังในถิ่นหากิน ในที่เป็นแดนของตน ๆ ย่อม

ไม่มี ได้กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

บุรุษผู้มีอิสรภาพอยู่เพียงใดก็ย่ำยีผู้อื่น

ได้อยู่เพียงนั้น คนอื่นมาย่ำยีตนคราวใด คราวนั้น

ผู้ที่ถูกย่ำยีก็ย่ำยีตอบบ้าง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิลุมฺปเตว ฯเปฯ อุปกปฺปติ ความว่า

ความมีอิสรภาพย่อมสำเร็จ ย่อมเป็นไปแก่บุรุษเพียงใด เขา

ย่อมย่ำยีผู้อื่นได้เพียงนั้น. อธิบายว่า บุรุษนั้นสามารถย่ำยีได้

ตลอดกาล. บทว่า ยทา จญฺเ วิลุมฺปนฺติ คือ คนอื่นที่มีอิสรภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 467

มาย่ำยีตนคราวใด. บทว่า โส วิลุตฺโต วิลุมฺปติ ความว่า คราว

นั้นผู้ย่ำยีนั้นย่อมถูกย่ำยี.

เมื่อพระโพธิสัตว์วินิจฉัยคดีแล้ว ฝูงปลารู้ว่างูปลาอ่อน

กำลัง คิดว่าจักจับศัตรูจึงกรูกันออกจากปากลอบทำให้งูปลา

ตายในที่นั้นเอง แล้วต่างก็หลีกไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. งูปลาในครั้งนั้นได้เป็นพระเจ้าอชาตศัตรูในครั้งนี้.

ส่วนกบเขียว คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาหริตมาตชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 468

๑๐. มหาปิงคลชาดก

ว่าด้วยพระเจ้าปิงคละผู้ร้ายกาจ

[๓๒๙] ชนทั้งปวงถูกพระเจ้าปิงคละเบียดเบียน

แล้ว เมื่อพระเจ้าปิงคละนั้นสวรรคตแล้ว ชนทั้ง

หลายก็ได้ความยินดี ดูก่อนนายประตู พระเจ้า

ปิงคละผู้ไม่มีพระเนตรดำ เป็นที่รักของท่านหรือ

เพราะเหตุไรจึงได้ร้องไห้หนอ.

[๓๓๐] พระเจ้าปิงคละผู้ไม่มีเนตรดำ จะเป็นที่รัก

ของข้าพเจ้าก็หามิได้ แต่ข้าพเจ้ากลัวว่าพระเจ้า

ปิงคละนั้นจะกลับเสด็จมาอีก พระเจ้าปิงคละ

เสด็จไปจากมนุษยโลกนี้แล้ว ก็จะเบียดเบียน

พระยามัจจุราช พระยามัจจุราชนั้นถูกพระเจ้า

ปิงคละเบียดเบียนแล้ว ก็จะพึงนำมาส่งมนุษยโลก

นี้อีก.

[๓๓๑] พระเจ้าปิงคละนั้น พวกเราช่วยกันเผา

แล้ว ด้วยฟืนพันเล่มเกวียน รดด้วยน้ำหลายร้อย

หม้อ พื้นที่ดินนั้นเราป้องกันไว้อย่างดีแล้ว ท่าน

อย่ากลัวเลย พระเจ้าปิงคละจักไม่เสด็จกลับมา

อีก.

จบ มหาปิงคลชาดกที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 469

อรรถกถามหาปิงคชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

สพฺโพ ชโน ดังนี้.

เมื่อพระเทวทัตผูกอาฆาตพระศาสดา จมลงไปในแผ่นดิน

ใกล้ซุ้มพระทวารพระเชตวันมหาวิหารล่วงไปได้เก้าเดือน ชาว

กรุงสาวัตถีและชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้น ต่างร่าเริงยินดีว่า พระ-

เทวทัตผู้เป็นเสี้ยนหนามของพระพุทธองค์ ถูกแผ่นดินสูบแล้ว

บัดนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงกำจัดศัตรูได้แล้ว. ชาวชมพูทวีป

ทั้งสิ้น และหมู่ยักษ์ ภูตและเทวดาทั้งหลาย ต่างก็พากันรื่นเริง

ยินดี กล่าวกันอย่างนั้นเหมือนกัน.

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรมว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เมื่อพระเทวทัตจมลงในแผ่นดิน มหาชน

ต่างก็ดีใจว่า พระเทวทัตผู้เป็นเสี้ยนหนามของพระพุทธองค์ถูก

แผ่นดินสูบแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเทวทัตตาย มหาชนยินดี ร่าเริง มิใช่ในบัดนี้

เท่านั้น แม้เมื่อก่อนมหาชนก็ยินดี ร่าเริงเหมือนกัน แล้วทรงนำ

เรื่องอดีตมาตรัสเล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 470

ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า มหาปิงคละ เสวย

ราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสีโดยอธรรม ไม่เรียบร้อย ทำ

บาปกรรมด้วยอคติมีฉันทาคติเป็นต้น รีดนาทาเร้นมหาชนด้วย

อาชญา ภาษีอากรริบเงินทองเป็นต้น ดุจท่อนอ้อยที่เครื่องยนต์

หีบอ้อยฉะนั้น. พระเจ้ามหาปิงคละนั้นเป็นผู้กักขละหยาบช้า

หุนหัน. ไม่มีแม้แต่เพียงความเอ็นดูในผู้อื่นเลย. ไม่เป็นที่รัก

ไม่เป็นที่พอใจของพวกสตรี บุตรธิดาในพระราชวัง แม้ของ

อำมาตย์ พราหมณ์และคหบดีเป็นต้น เปรียบเหมือนธุลีเข้าตา

เหมือนกรวดที่ก้อนข้าว และเหมือนหนามที่ตำส้นเท้าฉะนั้น.

ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เกิดเป็นโอรสของพระเจ้ามหาปิงคละ.

พระเจ้ามหาปิงคละเสวยราชสมบัติมานานแล้ว ก็เสด็จสวรรคต.

เมื่อพระเจ้าปิงคละเสด็จสวรรคตแล้ว ชาวกรุงพาราณสีทั้งสิ้น

ก็ร่าเริงยินดี ยิ้มแย้มแจ่มใสกันยกใหญ่ เผาศพพระเจ้ามหาปิงคละ

ด้วยฟืนพันเล่มเกวียน ดับเชิงตะกอนด้วยน้ำหลายพันหม้อ แล้ว

อภิเษกพระโพธิสัตว์ขึ้นครองราชย์ ต่างก็ร่าเริงยินดีว่า เราได้

พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรมแล้ว เที่ยวตีกลองแห่กันครึกครื้น

ตกแต่งพระนครด้วยธงทิวต่าง ๆ ทำประรำตามประตูบ้านทุก

ประตู นั่งกินเลี้ยงกันที่ปะรำอันได้ตกแต่งแล้ว มีพื้นโปรยปราย

ด้วยข้าวตอกและดอกไม้. แม้พระโพธิสัตว์ก็ประทับนั่งทรงยศ

อันยิ่งใหญ่ ท่ามกลางบัลลังก์ซึ่งกั้นด้วยเศวตฉัตร ณ ท้องพระโรง

อันประดับประดาแล้ว. พวกอำมาตย์ พราหมณ์ คหบดี และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 471

เจ้าพนักงานและยามประตูเป็นต้น ต่างก็ยืนแวดล้อมพระราชา

อยู่. ลำดับนั้นมียามประตูนายหนึ่งยืนอยู่ในที่ไม่ไกล ได้ถอนใจ

สะอื้นร้องไห้อยู่. พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นยามประตูนั้น

จึงถามว่า ดูก่อนยามประตู เมื่อพระบิดาของเราสวรรคตแล้ว

ชนทั้งปวงต่างก็ร่าเริงยินดีเที่ยวเล่นมหรสพกัน. ส่วนท่านกลับ

ยืนร้องไห้ เมื่อจะตรัสถามว่า พระบิดาของเราเป็นที่รัก. เป็นที่

ชอบใจของท่านนักหรือ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ชนทั้งปวงถูกพระเจ้าปิงคละเบียดเบียน

แล้ว เมื่อพระเจ้าปิงคละนั้นสวรรคตแล้ว ชน

ทั้งหลายต่างก็พากันยินดี ดูก่อนนายประตู

พระเจ้าปิงคละผู้ไม่มีพระเนตรดำ เป็นที่รักของ

ท่านหรือ เพราะเหตุไรท่านจึงร้องไห้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า หึสิโต ได้แก่ ถูกเบียดเบียนด้วย

อาชญาและภาษีอากรนานาประการ. บทว่า ปิงฺคเลน แปลว่า

มีตาเหลือง. นัยว่าพระเจ้าปิงคละนั้นมีพระเนตรทั้งสองข้าง

เหลือง มีสีเหมือนตานกพิราบ. จึงมีชื่อว่า ปิงคละ บทว่า

ปจฺจย เวทยนฺติ คือพากันยินดี. บทว่า อกณฺหเนตฺโต คือมี

พระเนตรเหลือง. บทว่า กสฺมา น ตฺว คือ ท่านร้องไห้ทำไม.

นายประตูนั้นฟังคำพระโพธิสัตว์จึงกราบทูลว่า ข้าพระองค์

มิได้ร้องไห้ เพราะพระเจ้ามหาปิงคละสวรรคต แต่ร้องไห้

เพราะเกรงว่า ศีรษะของข้าพระองค์เป็นสุขแล้ว เพราะพระเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 472

ปิงคละเมื่อเสด็จลงและเสด็จขึ้นปราสาท ทรงเขกศีรษะข้าพระองค์

เที่ยวละแปด เที่ยวละแปด ดุจเคาะด้วยฆ้อนของช่างทองฉะนั้น

พระองค์เสด็จไปสู่ปรโลกแล้ว จะเขกศีรษะพวกนายนิริยบาล

บ้าง พญายมบ้าง เหมือนกับเขกศีรษะข้าพระองค์ ทีนั้นพวก

นายนิริยบาลคิดว่า พระเจ้าปิงคละนี้เบียดเบียนพวกเรานัก

จักนำมาปล่อยคืนที่นี้อีก เมื่อเป็นเช่นนั้นพระองค์ก็จะพึงเขก

ศีรษะข้าพระองค์อีก เมื่อจะประกาศความนี้ จึงกล่าวคาถา

ที่ ๒ ว่า :-

พระเจ้าปิงคละผู้ไม่มีพระเนตรดำจะเป็น

ที่รักของข้าพระพุทธเจ้าก็หามิได้ แต่ข้าพระ-

พุทธเจ้ากลัวว่า พระเจ้าปิงคละนั้นจะกลับมาอีก

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์เมื่อจะตรัสปลอบใจนายประตู

ผู้นั้นว่า พระราชาพระองค์นั้นถูกเผาด้วยฟืนพันเล่มเกวียน

ถูกเอาน้ำรดตั้งร้อยหม้อ แม้บริเวณป่าช้าของพระราชานั้น ก็

ล้อมรั้วรอบแล้ว และตามปกติผู้ไปสู่ปรโลกแล้ว ก็ไปที่อื่นทีเดียว

เขาจะไม่กลับมาด้วยร่างกายนั้นอีก ท่านอย่ากลัวเลย จึงกล่าว

คาถานี้ว่า :-

พระเจ้าปิงคละนั้นพวกเราช่วยกันเผาแล้ว

ด้วยฟืนพันเล่มเกวียน รดด้วยน้ำหลายร้อยหม้อ

พื้นที่ดินนั้นเราป้องกันไว้อย่างดีแล้ว ท่านอย่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 473

กลัวเลย พระเจ้าปิงคละจักไม่เสด็จกลับมาอีก.

ตั้งแต่นั้นนายประตูก็ได้รับความโล่งใจ. พระโพธิสัตว์

เสวยราชสมบัติโดยธรรม ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น แล้ว

ก็เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. พระเจ้าปิงคละในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วน

พระโอรส คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถามหาปิงคลชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุปาหนชาดก ๒. วีณาถูณชาดก ๓. วิกัณณกชาดก

๔. อสิตาภุชาดก ๕. วัจฉนขชาดก ๖. พกชาดก ๗. สาเกต

ชาดก ๘. เอกปทชาดก ๙. หริตมาตชาดก ๑๐. มหาปิงคลชาดก.

จบ อุปาหนวรรคที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 474

๑๐. สิคาลวรรค

๑. สัพพทาฐชาดก

ผู้มีบริวารมากเป็นใหญ่ได้

[๓๓๒] สุนัขจิ้งจอกกระด้างด้วยมานะ มีความ

ต้องการด้วยบริวาร ได้บรรลุถึงสมบัติใหญ่

ได้เป็นราชาแห่งสัตว์มีเขี้ยวงาทั้งปวง ฉันใด.

[๓๓๓] ในหมู่มนุษย์ ผู้ใดมีบริวารมาก ผู้นั้น

ชื่อว่าเป็นใหญ่ในบริวารเหล่านั้น ดุจสุนัขจิ้งจอก

ได้เป็นใหญ่กว่าสัตว์มีเขี้ยวงา ฉะนั้น.

จบ สัพพทาฐิชาดกที่ ๑

อรรถกถาสิคาลวรรคที่ ๑๐

อรรถกถาสัพพทาฐชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

สิคาโล มานถทฺโธ จ ดังนี้.

พระเทวทัตยังพระเจ้าอชาตศัตรูให้เลื่อมใสแล้ว ก็ไม่

สามารถจะทำลาภสักการะที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งอยู่ได้นาน. ลาภ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 475

สักการะของพระเทวทัตได้หมดสิ้นไปตั้งแต่ครั้งที่ได้เห็นปาฏิหาริย์

กันในการปล่อยช้างนาฬาคิรีแล้ว. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย

ประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัต

ยังลาภสักการะให้เกิดขึ้นแล้ว ก็มิได้อาจจะให้ดำรงอยู่ได้นาน.

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวก

เธอสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรง

ทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตมิใช่ทำลาภ

สักการะที่เกิดแก่ตนให้หมดสิ้นไปในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน

ก็ได้หมดสิ้นไปแล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระองค์ เป็นผู้

จบไตรเพทและศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ. รอบรู้ปฐวีวิชัยมนต์.

ที่เรียกว่า ปฐวีวิชัยมนต์นั้น คือมนต์กลับใจให้หลง. อยู่มาวันหนึ่ง

พระโพธิสัตว์คิดว่าจักสาธยายมนต์นั้น จึงนั่งทำการสาธยาย

มนต์บนหินดาดที่เนินผาแห่งหนึ่ง. นัยว่ามนต์นั้นผู้มีใจวอกแวก

ความทรงจำไม่ดี ไม่สามารถจะให้สำเร็จได้. เพราะฉะนั้นปุโรหิต

นั้นจึงสาธยายในที่เช่นนั้น. ในเวลาที่ท่านปุโรหิตทำการสาธยาย

มีสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งนอนอยู่ในโพรงแห่งหนึ่ง ได้ยินมนต์นั้น

เหมือนกัน ได้ท่องจำจนแคล่วคล่อง. นัยว่าสุนัขจิ้งจอกตัวนั้น

ในอัตภาพอดีตถัดไป ได้เป็นพราหมณ์ผู้หนึ่ง ซึ่งแสดงแคล่วคล่อง

ปฐวีวิชัยมนต์. พระโพธิสัตว์ทำการสาธยายแล้วลุกไป กล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 476

มนต์ของเรานี้แคล่วคล่องหนอ. สุนัขจิ้งจอกออกจากโพรงกล่าว

ว่า ท่านพราหมณ์ผู้เจริญ มนต์นี้แคล่วคล่องแก่ข้าพเจ้ายิ่งกว่า

ท่านเสียอีก แล้ววิ่งหนีไป. พระโพธิสัตว์คิดว่า สุนัขจิ้งจอกนี้

จักทำอกุศลใหญ่หลวง จึงติดตามไปได้หน่อยหนึ่ง. สุนัขจิ้งจอก

ได้หนีเข้าป่าไป. สุนัขจิ้งจอกไปงับนางสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง เมื่อ

นางสุนัขจิ้งจอกถามว่า อะไรกันนี่ กล่าวว่า เจ้ารู้จักเราหรือไม่

รู้จัก. นางสุนัขจิ้งจอกตอบว่า รู้จักซิ. สุนัขจิ้งจอกนั้นร่าย

ปฐวีวิชัยมนต์บังคับสุนัขจิ้งจอกเป็นร้อย ๆ ไว้ในอำนาจ กระทำ

สัตว์ ๔ เท้า มีช้าง ม้า สิงห์ เสือ กระต่าย สุกรและเนื้อ

เป็นต้น ทั้งหมดไว้ในสำนักของตนและแล้วได้เป็นพญาสัตว์ ชื่อว่า

สัพพทาฐะ. นางสุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเป็นอัครมเหสี. ราชสีห์

ยืนอยู่บนหลังช้างสองเชือก. พญาสุนัขจิ้งจอกนั่งบนหลังราชสีห์

กับนางสุนัขจิ้งจอกผู้เป็นอัครมเหสี นับเป็นยศอันยิ่งใหญ่.

พญาสุนัขจิ้งจอกเมาด้วยยศมหันต์ เกิดความมานะคิดชิงราช-

สมบัติกรุงพาราณสี แวดล้อมด้วยสัตว์จตุบาททั้งปวง บรรลุ

ถึงที่ไม่ไกลจากกรุงพาราณสี. มีบริษัทบริวารได้ ๑๒ โยชน์.

พญาสุนัขจิ้งจอกตั้งอยู่ไม่ไกลนัก ส่งสาสน์ไปถึงพระราชาว่า

จงมอบราชสมบัติให้หรือจงรบ. ชาวกรุงพาราณสีต่างพากัน

สะดุ้งหวาดกลัว ปิดประตูพระนครตั้งมั่นอยู่. พระโพธิสัตว์

เข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์อย่า

กลัวเลย การต่อสู้ด้วยการรบกับสุนัขจิ้งจอกสัพพทาฐะ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 477

ภาระของข้าพระองค์เอง เว้นข้าพระองค์เสีย ไม่มีผู้อื่นสามารถ

รบกับมันได้ ปลอบใจพระราชากับประชาชนแล้ว คิดว่า สัพพ-

ทาฐะจะทำอย่างไรจึงจะยึดราชสมบัติ เราจักถามมันดูก่อน

จึงขึ้นป้อมที่ประตูเมืองถามว่า ดูก่อนสัพพทาฐะผู้สหาย ท่าน

จักทำประการใดจึงจะชิงเอาราชสมบัตินี้ได้. สัพพทาฐะตอบว่า

เราจะให้ราชสีห์เปล่งสีหนาททำให้มหาชนสะดุ้งตกใจกลัวเสียง

แล้วจักยึดเอาราชสมบัติ. พระโพธิสัตว์ก็รู้ว่า มีอุบายแก้ จึงลง

จากป้อมให้เที่ยวตีกลองประกาศว่า ชาวกรุงพาราณสีทั้งหมด

๑๒ โยชน์ จงเอาแป้งถั่วราชมาศปิดช่องหูเสีย. มหาชนฟังเสียง

ป่าวร้องพากันเอาแป้งถั่วราชมาศปิดช่องหูของตน และของสัตว์

๔ เท้าทั้งหมด จนกระทั่งแมวไม่ให้ได้ยินเสียงของผู้อื่น. ครั้งนั้น

พระโพธิสัตว์ขึ้นสู่ป้อมร้องเรียกอีกว่า ดูก่อนสัพพทาฐะ พญา-

สุนัขจิ้งจอกถามว่า อะไรเล่าพราหมณ์. กล่าวว่า ท่านจักทำ

อย่างไรอีกจึงจะชิงเอาราชสมบัตินี้ได้. ตอบว่าข้าพเจ้าจะให้

ราชสีห์เปล่งสีหนาทให้พวกมนุษย์ตกใจกลัว ให้ถึงแก่ความตาย

แล้วจึงจะยึดเอาราชสมบัติ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านไม่อาจ

ให้ราชสีห์เปล่งสีหนาทได้ เพราะพญาไกรสรสีหราชมีเท้าหน้า

เท้าหลังแดงงาม สมบูรณ์ด้วยชาติ จักไม่ทาตามคำสั่งของ

สุนัขจิ้งจอกแก่เช่นท่าน. สุนัขจิ้งจอกเป็นสัตว์ดื้อด้านอวดดี

กล่าวว่า ราชสีห์ทั้งหลาย ตัวอื่นจงยืนเฉย เรานั่งอยู่บนหลัง

ตัวใด จักให้ตัวนั้นแหละแผดเสียง. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 478

เช่นนั้น จงให้แผดเสียงเถิด ถ้าท่านสามารถ. พญาสุนัขจิ้งจอก

จึงให้สัญญาณด้วยเท้าแก่ราชสีห์ตัวที่ตนนั่งอยู่บนหลังว่า จง

แผดเสียง. ราชสีห์นั้นจึงเม้มปากเปล่งสีหนาทบนกะพองเศียร

ช้าง ๓ ครั้ง อย่างไม่เคยเปล่งมาเลย. ช้างทั้งหลายต่างสะดุ้ง

ตกใจ. สลัดสุนัขจิ้งจอกให้ตกไปที่โคนเท้า เอาเท้าเหยียบตัว

สุนัขจิ้งจอกนั้นแหลกละเอียดไป. สุนัขจิ้งจอกสัพพทาฐะถึงแก่

ความตาย ณ ที่นั้นเอง. ช้างเหล่านั้นได้ยินเสียงราชสีห์แล้ว ก็

กลัวภัย คือความตายต่างก็สับสนชุลมุนวุ่นวายแทงกันตาย ณ ที่นั้นเอง.

สัตว์ ๔ เท้าทั้งหมด แม้ที่เหลือมีเนื้อและสุกรเป็นต้น มีกระต่าย

และแมวเป็นที่สุด ยกเว้นราชสีห์ทั้งหลายเสีย ได้ถึงแก่ความตาย

ณ ที่นั้นเอง. ราชสีห์ทั้งหลายก็หนีเข้าป่าไป. กองเนื้อสัตว์

เกลื่อนไปทั้ง ๑๒ โยชน์. พระโพธิสัตว์ลงจากป้อมแล้ว ให้เปิด

ประตูพระนคร ให้ตีกลองเที่ยวประกาศไปในพระนครว่า ชาว

เมืองทั้งหมดจงเอาแป้งที่หูของตนออก มีความต้องการเนื้อก็จง

ไปเก็บเอามา. มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคเนื้อสด ที่เหลือก็ตาก

แป้งทำเป็นเนื้อแผ่นไว้. กล่าวกันว่า นัยว่าการทำเนื้อแผ่นตากแห้ง

เกิดขึ้นในครั้งนั้นเอง.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสอภิ-

สัมพุทธคาถาเหล่านี้แล้วทรงประชุมชาดกว่า :-

สุนัขจิ้งจอกกระด้างด้วยมานะ มีความ

ต้องการด้วยบริวาร ได้บรรลุถึงสมบัติใหญ่ ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 479

เป็นราชาแห่งสัตว์มีเขี้ยวงาทั้งปวง ฉันใด ใน

หมู่มนุษย์ผู้ใดมีบริวารมาก ผู้นั้นชื่อว่าเป็นใหญ่

ในบริวารเหล่านั้น ดุจสุนัขจิ้งจอกได้เป็นใหญ่

กว่าสัตว์มีเขี้ยวงาฉะนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มานถทฺโธ ได้แก่ สุนัขจิ้งจอก

กระด้างด้วยมานะเกิดขึ้นเพราะอาศัยบริวาร. บทว่า ปริวาเรน

อตฺถิโก คือ มีความต้องการด้วยบริวารให้ยิ่งขึ้นไป. บทว่า

มหตึ ได้แก่ สมบัติใหญ่. บทว่า ราชาสิ สพฺพทาิน คือ

ได้เป็นราชาแห่งสัตว์มีเขี้ยวงาทั้งหมด. บทว่า โส ฯเปฯ โหติ

ความว่า บุรุษผู้ถึงพร้อมด้วยบริวารนั้น ชื่อว่าเป็นใหญ่ใน

บริวารเหล่านั้น. บทว่า สิคาโล วิย ทาิน ได้แก่ ได้เป็นใหญ่

เหมือนสุนัขจิ้งจอกได้เป็นใหญ่กว่าสัตว์มีเขี้ยวงาฉะนั้น. ทีนั้น

เขาถึงความประมาท ก็ย่อมถึงความพินาศ เพราะอาศัยบริวาร

นั้น ดุจสุนัขจิ้งจอกฉะนั้น.

สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ พระราชา

ได้เป็นสารีบุตร ส่วนปุโรหิต คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสัพพทาฐชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 480

๒. สุนขชาดก

ผู้ฉลาดย่อมช่วยตัวเองได้

[๓๓๔] สุนัขตัวใดไม่กัดเชือกหนังให้ขาด สุนัข

ตัวนั้นโง่เขลามาก สุนัขควรจะเปลื้องตนเสียจาก

เครื่องผูก กินเชือกหนังเสียให้อิ่ม แล้วจึงค่อย

กลับไปยังที่อยู่ของตน.

[๓๓๕] คำที่ท่านกล่าวนี้ฝังอยู่ในหัวใจของข้าพเจ้า

อนึ่ง ข้าพเจ้ายังได้จำไว้ในใจแล้ว ข้าพเจ้าจะรอ

เวลา จนกว่าคนจะหลับ.

จบ สุนขชาดกที่ ๒

อรรถกถาสุนขชาดกที่ ๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภสุนัขกินอาหารที่ศาลานั่งพัก ใกล้ซุ้มรางน้ำ ตรัสพระ-

ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า พาโล วตาย สุนโข ดังนี้.

ได้ยินว่า พวกตักน้ำนำสุนัขนั้นมาเลี้ยงไว้ในที่นั้นตั้งแต่

เกิด. ครั้นต่อมาสุนัขนั้นได้กินอาหารในที่นั้นจนมีร่างกายอ้วนพี.

วันหนึ่งมีบุรุษชาวบ้านผู้หนึ่งมาถึงที่นั่น เห็นสุนัขจึงให้ผ้าสาฎก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 481

เนื้อดีและเงินแก่คนตักน้ำ แล้วเอาโซ่ผูกพาสุนัขไป. สุนัขนั้น

ถูกเขานำไปก็ไม่ดิ้นรน กินอาหารที่เขาให้เดินตามไปข้างหลัง.

บุรุษนั้นคิดว่าเดี๋ยวนี้สุนัขนี้รักเรา จึงแก้โซ่ออก. สุนัขพอเขา

แก้แล้วเท่านั้น วิ่งรวดเดียวถึงศาลานั่งพักตามเดิม. ภิกษุทั้งหลาย

เห็นสุนัขนั้น ทราบเหตุที่มันทำ จึงสนทนากันในโรงธรรมใน

ตอนเย็นว่า อาวุโสทั้งหลาย สุนัขที่ศาลานั่งพัก ฉลาดในการทำ

ให้พ้นจากเครื่องผูก พอเขาปล่อยเท่านั้นกลับหนีมาได้. พระ-

ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรง

ทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุนัขนั้นมิใช่ฉลาด

ในการทำให้พ้นจากเครื่องผูกในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ฉลาด

ในการทำให้พ้นจากเครื่องผูกเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีต

มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลที่มีสมบัติมากตระกูล

หนึ่งในแคว้นกาสี ครั้นเจริญวัยได้ครองฆราวาส. ครั้งนั้นมนุษย์

คนหนึ่งในกรุงพาราณสี ได้มีสุนัขอยู่ตัวหนึ่ง. สุนัขนั้นได้ก้อนข้าว

กินจนอ้วนท้วน. ชาวบ้านคนหนึ่งมากรุงพาราณสี เห็นสุนัขนั้น

จึงให้ผ้าสาฎกเนื้อดีและเงินแก่มนุษย์นั้น แล้วเอาสุนัขไป เอา

เชือกหนังล่าม ถือปลายเชือกเดินจูงไป จึงเข้าไปยังศาลาไม้อ้อ

แห่งหนึ่งใกล้ปากดง จึงผูกสุนัขไว้ นอนหลับบนแผ่นกระดาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 482

ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เดินผ่านดงไปทำธุระอย่างหนึ่ง เห็นสุนัข

นั้นถูกล่ามไว้จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

สุนัขตัวใด ไม่กัดเชือกหนังให้ขาด สุนัข

ตัวนั้นโง่เขลามาก สุนัขควรจะเปลื้องตนเสียจาก

เครื่องผูก กินเชือกหนังเสียให้อิ่ม แล้วจึงค่อย

กลับไปยังที่อยู่ของตน.

สุนัขได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

คำที่ท่านกล่าวนี้ ฝังอยู่ในหัวใจของ

ข้าพเจ้า อนึ่งข้าพเจ้ายังได้จำไว้ในใจแล้ว ข้าพเจ้า

จะรอเวลาจนกว่าคนจะหลับ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺิต เม มนสฺมึ เม ความว่า ท่าน

กล่าวคำใด คำนั้นเราตั้งใจไว้แล้ว คือเก็บไว้แล้วแต่ในใจของเรา.

บทว่า อโถ เม หทเย กต คือ แม้คำของท่านเราก็เก็บไว้ในใจ

ทีเดียว. บทว่า กาลญฺจ ปฏิกงฺขามิ คือ ข้าพเจ้ากำลังรอเวลา

อยู่. บทว่า ยาว ปสุปตุชฺชโน ความว่า ข้าพเจ้ารอเวลาจนกว่า

มหาชนจะหลับ. นอกเหนือไปจากนี้ สุนัขนี้คิดว่า ความปรารถนา

ของตนพึงเกิดขึ้นว่าจะหนี เพราะฉะนั้น ในตอนกลางคืนเมื่อ

คนหลับกันหมด เราจะกัดเชือกหนีไป.

สุนัขนั้นครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อมหาชนพากันหลับ

จึงกัดเชือกกินแล้วหนีไปยังเรือนของเจ้าของตนตามเดิม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 483

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. สุนัขในครั้งนั้นได้เป็นสุนัขในครั้งนี้ ส่วนบุรุษบัณฑิต

คือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสุนขชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 484

๓. คุตติลชาดก

ศิษย์คิดล้างครู

[๓๓๖] ข้าพระองค์ได้สอนให้ศิษย์ชื่อมุสิละ เรียน

วิชาดีดพิณ ๗ สาย มีเสียงไพเราะจับใจคนฟัง

เขากลับมาขันดีดพิณสู้ข้าพระองค์ ณ ท่ามกลาง

สนาม ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่ง

ของข้าพระองค์เถิด.

[๓๓๗] ดูก่อนสหาย ฉันจะเป็นที่พึ่งของท่าน ฉัน

เป็นผู้บูชาอาจารย์ ศิษย์จักไม่ชนะท่าน ท่านจัก

ชนะศิษย์.

จบ คุตติลชาดกที่ ๓

อรรถกถาคุตติลชาดกที่ ๓

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร ทรงปรารภ

พระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สตฺตตนฺตึ

สุมธุร ดังนี้.

ความย่อมีอยู่ว่า ในครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายกล่าวกะพระ-

เทวทัตว่า ดูก่อนพระเทวทัต พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอาจารย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 485

ของท่าน ท่านอาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เล่าเรียนพระไตรปิฎก

ยังฌาน ๔ ให้เกิดขึ้น การที่จะเป็นศัตรูต่อผู้ที่ชื่อว่าเป็นอาจารย์

ไม่สมควรเลย. พระเทวทัตกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระ-

สมณโคดมเป็นอาจารย์ของเราหรือ พระไตรปิฎกเราเรียนด้วย

กำลังของตนเองทั้งนั้นมิใช่หรือ ฌานทั้ง ๔ เราก็ทำให้เกิดด้วย

กำลังของตนทั้งนั้น บอกคืนอาจารย์แล้วฉะนี้. ภิกษุทั้งหลาย

สนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตบอกคืน

อาจารย์แล้วกลับเป็นศัตรูต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ถึงความ

พินาศแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ครั้นภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัต

มิใช่บอกคืนอาจารย์เป็นศัตรูต่อเรา แล้วถึงความพินาศในบัดนี้

เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ถึงความมหาวินาศแล้วเหมือนกัน ทรงนำ

เรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลนักขับร้อง. มารดา

บิดาตั้งชื่อว่า คุตติลกุมาร. กุมารนั้นครั้นเจริญวัย สำเร็จศิลปะ

การขับร้อง ได้เป็นนักขับร้องชั้นยอด ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ชื่อว่า

คุตติลคนธรรพ์. เขาไม่มีภรรยา เลี้ยงมารดาบิดาผู้ตาบอด. ใน

กาลนั้น พ่อค้าชาวกรุงพาราณสีไปค้าขายยังเมืองอุชเชนี เมื่อ

เขาป่าวร้องมีการมหรสพ จึงเรี่ยไรกันหาดอกไม้ของหอมและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 486

เครื่องลูบไล้ตลอดจนของเคี้ยวของบริโภคเป็นต้น เป็นอันมาก

ประชุมกัน ณ สนามกีฬา ให้ค่าจ้างแล้วกล่าวว่า พวกท่านจง

นานักร้องมาคนหนึ่งเถิด.

สมัยนั้นในกรุงอุชเชนี มีนักขับร้องชั้นเยี่ยม ชื่อมุสิละ.

พวกพ่อค้าจึงหาเขามาให้แสดงการขับร้องให้ตนชม. มุสิละ

เมื่อจะดีดพิณ ได้ขึ้นสายเสียงเอกดีดแล้ว. การดีดสีของเขานั้น

ได้ปรากฏดุจเสียงเกาเสื่อรำแพนแก่พวกพ่อค้าเหล่านั้น ผู้มีความ

ชินหูในการดีดสีของคุตติลคนธรรพ์ จึงมิได้แสดงอาการชอบใจ

แม้สักคนเดียว. มุสิละเมื่อพวกพ่อค้าเหล่านั้นไม่แสดงอาการพอใจ

คิดว่า เราเห็นจะดีดพิณขันตึงเกินไป จึงลดลงปานกลาง ดีด

ด้วยเสียงปานกลาง. พวกพ่อค้าเหล่านั้นก็คงเฉยอยู่ในเสียงพิณ

นั้น. ลำดับนั้นเขาคิดว่า พวกพ่อค้าเหล่านี้คงไม่รู้จักอะไร จึง

แกล้งทำเป็นไม่รู้เรื่องเสียเอง ดีดพิณหย่อน ๆ. พวกพ่อค้าก็

มิได้ว่าอะไร. มุสิละจึงกล่าวกะพ่อค้านั้นว่า ดูก่อนพ่อค้าผู้เจริญ

เมื่อข้าพเจ้าดีดพิณท่านไม่พอใจหรือ. พวกพ่อค้ากล่าวว่า ก็ท่าน

ดีดพิณอะไร พวกเรามิได้เข้าใจว่า ท่านขึ้นเสียงพิณดีดสี. มุสิละ

ถามว่า ก็ท่านรู้จักอาจารย์ที่เก่งกว่าข้าพเจ้าหรือ หรือไม่รู้สึก

ยินดีเพราะตนไม่รู้จักฟัง. พวกพ่อค้ากล่าวว่า เราเคยได้ฟัง

เสียงพิณคุตติลคนธรรพ์ที่กรุงพาราณสี เสียงพิณของท่านจึง

ฟังคล้ายเสียงสตรีกล่อมเด็ก. มุสิละกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นท่านจง

รับค่าจ้างที่ท่านให้คืนไปเถิด ข้าพเจ้าไม่ต้องการค่าจ้างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 487

ก็แต่ว่า เมื่อท่านจะกลับไปกรุงพาราณสี ช่วยพาข้าพเจ้าไปด้วย.

พวกพ่อค้าเหล่านั้นรับว่า ดีละ. ในเวลากลับได้พาเขาไปกรุง

พาราณสี บอกมุสิละว่า นี่คือที่อยู่ของคุตติลคนธรรพ์ แล้วเลยไป

ที่อยู่ของตน. มุสิละเข้าไปบ้านพระโพธิสัตว์ เห็นพิณคู่มือของ

พระโพธิสัตว์ จึงหยิบมาดีด. ลำดับนั้นมารดาบิดาของพระ-

โพธิสัตว์แลไม่เห็นมุสิละ เพราะตาบอด เข้าใจว่าเห็นจะหนู

กัดพิณ จึงกล่าวว่า หนูกัดพิณ. มุสิละจึงวางพิณไหว้มารดา

บิดาพระโพธิสัตว์. เมื่อท่านถามว่า มาแต่ไหน จึงกล่าวว่ามา

จากเมืองอุชเชนี เพื่อขอเรียนศิลปะในสำนักของท่านอาจารย์.

เมื่อมารดาบิดาพระโพธิสัตว์รับดีละ แล้วจึงถามว่า ท่านอาจารย์

อยู่ไหน ได้ฟังว่า ไม่อยู่จ้ะพ่อคุณ วันนี้จะกลับมา จึงนั่งอยู่ที่นั้น

เอง. ครั้นพระโพธิสัตว์กลับมาได้รับปฏิสันถารแล้ว จึงบอก

เหตุที่ตนมา. พระโพธิสัตว์รู้องค์วิชาทำนายลักษณะคน จึงรู้ว่า

มุสิละเป็นอสัตยบุรุษ ได้บอกปัดว่า ไปเถิดพ่อ ศิลปะไม่สำเร็จ

แก่ท่านดอก. มุสิละจับเท้ามารดาบิดาพระโพธิสัตว์ลูบไล้ให้

สงสารตนแล้วอ้อนวอนว่า ขอท่านจงช่วยให้พระโพธิสัตว์ถ่ายทอด

ศิลปะให้ข้าพเจ้าเถิด. พระโพธิสัตว์ถูกมารดาบิดาช่วยพูดบ่อย ๆ

ก็ไม่อาจขัดท่านได้ จึงสอนศิลปะให้. มุสิละไปราชนิเวศน์กับ

พระโพธิสัตว์. พระราชาทอดพระเนตรเห็นเขา ตรัสถามว่า นั่น

ใครน่ะท่านอาจารย์. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะ นี่คือ

อันเตวาสิกของข้าพระองค์. เขาจึงได้คุ้นเคยกับพระราชาโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 488

ลำดับ. พระโพธิสัตว์มิได้ปิดบังอำพรางวิชาให้ศึกษาตามแบบ

ที่ตนรู้มาจนจบ แล้วกล่าวว่า แน่ะพ่อ ท่านเรียนศิลปะจบแล้ว.

มุสิละคิดว่า ศิลปะเราก็ช่ำชองแล้ว ทั้งกรุงพาราณสีนี้ก็เป็น

นครเลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้น. แม้ถ้าอาจารย์แก่เราควรจะอยู่ใน

กรุงพาราณสีนี้แหละ. มุสิละจึงบอกอาจารย์ว่า ข้าพเจ้าจักรับ

ราชการ. อาจารย์กล่าวว่าดีแล้ว. เราจะกราบทูลพระราชา

จึงพาไปเฝ้าพระราชากราบทูลว่า อันเตวาสิกของข้าพระองค์

ปรารถนาจะรับราชการสนองพระคุณพระองค์ ขอพระองค์

จงพิจารณาเบี้ยหวัดให้เขา. เมื่อพระราชาตรัสว่า เขาจะได้กึ่ง

หนึ่งจากเบี้ยหวัดที่ท่านได้. จึงบอกเรื่องนั้นแก่มุสิละ. มุสิละ

กล่าวว่า เมื่อข้าพเจ้าได้รับเบี้ยหวัดเท่ากับท่าน จึงจะรับราชการ

เมื่อไม่ได้เท่าจะไม่ขอรับ. พระโพธิสัตว์ถามว่าเพราะเหตุไร.

มุสิละตอบว่า ข้าพเจ้ารู้ศิลปะที่ท่านรู้หมดมิใช่หรือ. พระโพธิสัตว์

กล่าวว่า ถูกแล้วท่านรู้ทั้งหมด. มุสิละกล่าวว่าเมื่อเป็นเช่นนั้น

เหตุไรพระราชาจึงพระราชทานแก่ข้าพเจ้ากึ่งหนึ่งเล่า. พระ-

โพธิสัตว์จึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาตรัสว่า ถ้าเขา

สามารถแสดงศิลปะทัดเทียมท่านก็จะได้เท่ากัน. พระโพธิสัตว์

ฟังพระดำรัสดังนั้น จึงบอกแก่มุสิละ เมื่อเขากล่าวว่า ดีละ

ข้าพเจ้าจักแสดง จึงกราบทูลแด่พระราชา เมื่อพระองค์ตรัสว่า

ดีแล้ว จงแสดงเถิดจะแสดงแข่งขันกันวันไหนเล่า กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราช ขอจงแข่งขันกันในวันที่ ๗ นับแต่วันนี้. พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 489

รับสั่งหาตัวมุสิละมาตรัสถามว่า ได้ยินว่าท่านจะทำการแข่งขัน

กับอาจารย์หรือ กราบทูลว่า ขอเดชะจริงพระเจ้าข้า แม้ทรง

ห้ามว่าอันการแข่งดีกับอาจารย์ไม่สมควรเลย. กราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราชช่างเถิด ขอให้ข้าพระองค์แข่งขันกับอาจารย์ใน

วันที่เจ็ดเถิด จักได้ทราบว่าคนไหนจักชนะ. พระราชารับสั่งว่า

ดีแล้ว รับสั่งให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องว่า ในวันที่เจ็ดนับแต่วันนี้

อาจารย์กับศิษย์จะแสดงศิลปะแข่งขันกันที่ประตูวัง ชาวเมือง

จงมาประชุมดูศิลปะกันเถิด. พระโพธิสัตว์คิดว่า มุสิละผู้นี้ยัง

หนุ่มแน่นมีกำลังแข็งแรง เราแก่ตัวถอยกำลังแล้ว. ธรรมดาว่า

กิริยาของคนแก่ย่อมไม่กระฉับกระเฉง. อนึ่ง ธรรมดาว่าลูกศิษย์

แพ้ก็ไม่แปลกอะไร แต่เมื่อลูกศิษย์ชนะเข้าไปตายเสียในป่ายัง

ดีกว่า ความละอายที่พึงจะได้รับ. พระโพธิสัตว์จึงเข้าไปป่า

แล้วก็กลับเพราะกลัวตายแล้วกลับไปอีกกลัวอาย. เมื่อพระโพธิ-

สัตว์กลับไปกลับมาดังนี้ จนล่วงไปได้ ๖ วัน ต้นหญ้าตายราบ

เกิดเป็นรอยทางเดินเท้าแล้ว. ขณะนั้นพิภพของท้าวสักกะแสดง

อาการร้อน. ท้าวสักกะทรงเล็งแลดูก็รู้เหตุการณ์นั้น ทรงดำริ

ว่า คุตติลคนธรรพ์ได้รับความทุกข์ใหญ่หลวงในป่า เพราะกลัว

อันเตวาสิก. เราควรจะเป็นที่พึ่งแก่เขา จึงรีบเสด็จไปยืนอยู่

ข้างหน้า ตรัสถามว่า ท่านอาจารย์ท่านเข้าป่าไปทำไม เมื่อ

พระโพธิสัตว์ถามว่าท่านเป็นใคร ตรัสว่าเราเป็นท้าวสักกะ.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์จึงทูลท้าวสักกะว่า ข้าแต่เทวราชเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 490

ข้าพระองค์ไปป่าก็เพราะกลัวแพ้อันเตวาสิก จึงกล่าวคาถาแรก

ว่า :-

ข้าพระองค์ได้สอนให้ศิษย์ชื่อ มุสิละ

เรียนวิชาดีดพิณ ๗ สาย มีเสียงไพเราะจับใจ

คนฟัง เขากลับมาขันดีดพิณสู้ข้าพระองค์ ณ ท่าม

กลางสนาม ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ขอพระองค์จงเป็น

ที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด.

ท้าวสักกะสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้วตรัสว่า อย่ากลัว

เลย เราจะช่วยต่อต้านป้องกันท่านเอง ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ว่า :-

ดูก่อนสหาย ฉันจะเป็นที่พึ่งของท่าน ฉัน

เป็นผู้บูชาอาจารย์ ศิษย์จักไม่ชนะท่าน ท่านจัก

ชนะศิษย์.

ท้าวสักกะตรัสว่า ก็และเมื่อท่านจะดีดพิณ ท่านจงเด็ด

เสียสายหนึ่ง ดีด ๖ สาย เสียงพิณของเจ้าจักเหมือนเดิม แม้

มุสิละก็จะเด็ดสายพิณ แต่เสียงพิณของเขาจักไม่เหมือนเดิม.

ขณะนั้นเขาจะถึงความปราชัย ครั้นทราบว่าเขาถึงความปราชัย

แล้ว ท่านพึงเด็ดแม้สายที่ ๒ สายที่ ๓ สายที่ ๔ สายที่ ๕

สายที่ ๖ สายที่ ๗ ดีดแต่คันพิณเปล่า ๆ เสียงจะออกจากเงื่อน

สายพิณที่เด็ดทิ้ง ดังไปทั่วกรุงพาราณสีทั้ง ๑๒ โยชน์ทั้งสิ้น

ท้าวสักกะตรัสอย่างนี้แล้ว จึงประทานห่วง ๓ ห่วงให้พระโพธิสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 491

แล้วตรัสว่า เมื่อเสียงพิณของท่านดังไปทั่วนครแล้ว ท่านจง

โยนห่วงจากจำนวนนี้ไปในอากาศห่วงหนึ่ง ลำดับนั้นนางอัปสร

๓๐๐ จักลงมาฟ้อนรำข้างหน้าท่าน ในเวลาที่นางอัปสรเหล่านั้น

ฟ้อนรำ ท่านพึงโยนห่วงที่ ๒ ไป ลำดับนั้นนางอัปสรอีก ๓๐๐

จะลงมาฟ้อนรำข้างหน้าพิณของท่าน จากนั้นพึงโยนห่วงที่ ๓ ไป

ลำดับนั้นนางอัปสรอีก ๓๐๐ จะลงมาฟ้อนรำบนลานสนามฟ้อน

แม้เราก็จักมาหาท่าน ท่านจงไปเถิด อย่ากลัวเลย.

พระโพธิสัตว์ได้กลับไปบ้านในเวลาเช้า. พวกชาวเมือง

ทำมณฑปที่ใกล้ประตูพระราชวัง ตกแต่งที่ประทับสำหรับ

พระราชา. พระราชาเสด็จลงจากปราสาทแล้วประทับนั่งกลาง

บัลลังก์ ณ มณฑปที่ประดับประดาแล้ว. สตรีตกแต่งแล้วหนึ่งหมื่น

และอำมาตย์ พราหมณ์ ชาวแว่นแคว้นเป็นต้น ต่างก็เฝ้าแหน

อยู่พร้อมพรั่ง. ชาวนครทั้งปวงชุมนุมกันแล้ว. ต่างจัดตั้งรถ

ซ้อนรถ เตียงซ้อนเตียงที่สนามหลวง. แม้พระโพธิสัตว์อาบน้ำ

ลูบไล้กายแล้ว บริโภคอาหารมีรสเลิศต่าง ๆ แล้ว ให้ถือพิณ

ไปนั่งบนอาสนะสำหรับตน. ท้าวสักกเทวราชมาสถิตอยู่ใน

อากาศโดยไม่ปรากฏกาย. พระโพธิสัตว์เท่านั้นเห็นท้าวสักก-

เทวราช. ฝ่ายมุสิละมานั่งบนอาสนะของตน. มหาชนแวดล้อม

แล้ว แม้ทั้งสองก็ดีดพิณตั้งแต่เริ่มเสมอกัน. มหาชนต่างโห่ร้อง

ยินดีด้วยการบรรเลงของทั้งสองคน. ท้าวสักกเทวราชสถิตอยู่

บนอากาศ บอกให้ได้ยินแต่พระโพธิสัตว์เท่านั้นว่า ท่านจงเด็ด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 492

พิณเสียสายหนึ่ง. พระโพธิสัตว์เด็ดพิณสายที่ ๑ ทิ้งแล้ว แม้

เด็ดสายที่ ๑ ออกแล้ว เสียงยังดังออกได้จากเงื่อนที่ขาดแล้ว

ดุจเสียงพิณเทพคนธรรพ์. ฝ่ายมุสิละก็เด็ดสายพิณบ้าง แต่เสียง

หาดังออกไม่. อาจารย์ได้เด็ดสายที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖

ที่ ๗. เมื่อดีดแต่คันพิณเปล่า ๆ เสียงยังดังตลบทั่วพระนคร

เสียงโห่ร้องและธงโบกสะบัดเป็นจำนวนพันได้เป็นไปแล้ว.

พระโพธิสัตว์ได้โยนห่วงที่ ๑ ไปในอากาศ ในคราวนั้นนางอัปสร

๓๐๐ นางลงมาขับฟ้อน เมื่อโยนห่วงที่ ๒ และที่ ๓ ไปแล้ว

นางอัปสรทั้ง ๙๐๐ ได้ลงมาฟ้อนรำตามนัยที่กล่าวแล้ว ขณะ

พระราชาได้ให้อิงคิตสัญญาโครงพระเศียรแก่มหาชน. มหาชน

ต่างพากันลุกขึ้นคุกคามมุสิละว่า ท่านแข็งข้อกับอาจารย์ พยายาม

ทำอาการตีเสมอ ท่านไม่รู้จักประมาณตน ทุบตีด้วยก้อนหิน

ต้นไม้เป็นต้น ที่ฉวยได้นั่นเองจนแหลกเหลว ให้ถึงแก่ความตาย

จับเท้าลากไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ. พระราชามีพระทัยยินดีพระ-

ราชทานทรัพย์เป็นอันมากแก่พระโพธิสัตว์ ดุจฝนลูกเห็บโปรย

ปรายลงมา. ชาวนครก็ให้เหมือนอย่างนั้น. แม้ท้าวสักกะทรง

ทำปฏิสันถารกับพระโพธิสัตว์ว่า ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าจะให้

มาตลีเทพบุตรเอารถเทียมม้าอาชาไนยหนึ่งพันมารับท่านภาย

หลัง. ท่านพึงขึ้นรถเวชยันต์เทียมม้าหนึ่งพันไปเทวโลกเถิด

ตรัสแล้วเสด็จกลับ. ครั้งนั้นเทพธิดาทั้งหลายได้ทูลถามท้าว-

สักกเทวราช ผู้เสด็จมาถึงประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 493

ว่า ข้าแต่เทวราช พระองค์เสด็จไปไหนมา. ท้าวสักกะตรัสเล่า

เหตุนั้นแก่พวกเทพธิดาโดยพิสดารแล้วพรรณนาศีล และคุณธรรม

ของพระโพธิสัตว์. พวกเทพธิดากราบทูลว่า ข้าแต่เทวราช

แม้พวกหม่อมฉันก็ใคร่จะเห็นท่านอาจารย์ ขอพระองค์จงให้

พามาที่นี่เถิด. ท้าวสักกเทวราชตรัสเรียกมาตลีเทพบุตรมาตรัส

ว่า แน่ะพ่อ นางเทพอัปสรอยากจะเห็นคุตติลคนธรรพ์ ท่านจง

ไปให้นั่งรถเวชยันต์พามาเถิด. มาตลีเทพบุตรรับเทวโองการ

ไปนำพระโพธิสัตว์มาแล้ว. ท้าวสักกะทรงชื่นชมกับพระโพธิสัตว์

ตรัสว่า ท่านอาจารย์พวกเทพกัญญาใคร่จะฟังการบรรเลงของ

ท่าน. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่เทวราช พวกข้าพระองค์

ชื่อว่าเป็นคนธรรพ์อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ เมื่อได้ค่ากำนัลจึงจะ

บรรเลง. ทัาวสักกะตรัสว่า จงบรรเลงเถิด เราจะให้ค่ากำนัล

แก่ท่าน. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ต้องการค่า

กำนัลอย่างอื่น ขอแต่ให้นางเทพธิดาเหล่านี้บอกกัลยาณธรรม

ของตนแก่ข้าพระองค์เถิด ถ้าอย่างนี้ข้าพระองค์จะบรรเลง.

ลำดับนั้นนางเทพธิดาทั้งหลายได้กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า พวก

ข้าพเจ้าจักบอกกัลยาณธรรมที่ทำไว้แก่ท่านในภายหลัง ขอท่าน

อาจารย์จงทำการบรรเลงก่อนเถิด. พระโพธิสัตว์ทำการบรรเลง

แก่เทพยดาทั้งหลายตลอด ๗ วัน. เสียงพิณนั้นเสนาะสนั่นยิ่ง

กว่าพิณทิพยคนธรรพ์. ครั้นครบ ๗ วัน พระโพธิสัตว์จึงเริ่ม

ถามเทพธิดาทั้งหลายถึงกัลยาณกรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 494

เทพธิดานางหนึ่งได้ถวายผ้าอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ครั้ง

ศาสนาพระกัสสปสัมสัมพุทธเจ้า ได้เกิดมาเป็นนางบริจาริกา

ของท้าวสักกเทวราช มีนางอัปสรหนึ่งพันเป็นบริวาร พระ-

โพธิสัตว์จึงถามนางเทพกัญญา ผู้ทรงพัสตราภรณ์อันล้ำเลิศ

ว่า ในภพก่อนท่านได้ทำกรรมอะไรไว้. อาการที่พระโพธิสัตว์

ถามและนางกล่าวตอบมาแล้วในวิมานวัตถุนั้นแล. ความใน

วิมานวัตถุนั้นพระโพธิสัตว์ถามว่า :-

ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีผิวพรรณ

งามล้ำ ยืนอยู่สว่างไสวไปทั่วทิศ ดุจดาวประจำ

รุ่ง เพราะกรรมอันใด ท่านจึงมีผิวพรรณเช่นนี้

เพราะกรรมอันใดอิฐผลจึงสัมฤทธิ์แก่ท่านใน

ที่นี้ ทั้งบังเกิดโภคทรัพย์ทั้งหลายแก่ท่าน อัน

น่าชื่นใจไม่ว่าอย่างไหน

ดูก่อนนางเทพีผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้า

ขอถามท่านครั้งเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงอย่างนี้

ทั้งผิวพรรณของท่านก็สว่างจ้าไปทุกทิศ.

นางเทพธิดานั้นตอบว่า :-

นารีนางหนึ่งได้ถวายผ้าอย่างดี นับว่า

เป็นผู้ล้ำเลิศในชายหญิงทั้งหลาย นางนั้นผู้ถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 495

สิ่งของอันน่ารักอย่างนี้ จึงเลื่อนฐานะได้ทิพย-

สมบัติอันน่าปลื้มใจ. เชิญชมวิมานของข้าพเจ้า

นั่นเถิด ข้าพเจ้าเป็นอัปสรผู้มีผิวพรรณอันน่ารัก

ล้ำเลิศกว่านางอัปสรเป็นจำนวนพัน จงเห็นวิบาก

ของบุญเถิด เพราะกรรมนั้นข้าพเจ้าจึงมีผิวพรรณ

เช่นนี้ เพราะกรรมนั้นอิฐผลจึงสัมฤทธิ์แก่

ข้าพเจ้าในที่นี้ ทั้งบังเกิดโภคทรัพย์ทั้งหลายแก่

ข้าพเจ้า ล้วนแต่น่ารักไม่ว่าอย่างไหน เพราะ

กรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

ทั้งผิวพรรณของข้าพเจ้าจึงสว่างจ้าไปทุกทิศ.

อีกนางหนึ่ง ได้ถวายดอกไม้สำหรับบูชาภิกษุผู้เที่ยว

บิณฑบาต. อีกนางหนึ่ง เมื่อเขาบอกว่า ขอท่านทั้งหลายจงถวาย

ของหอม. สำหรับเจิมที่พระเจดีย์เถิด ได้ถวายของหอมแล้ว.

อีกนางหนึ่งได้ถวายผลไม้มีรสอร่อย. อีกนางหนึ่งได้ถวายอาหาร

รสเยี่ยม. นางหนึ่งได้ถวายของสำหรับเจิมที่เจดีย์ของพระกัสสป-

ทศพล. นางหนึ่งได้ฟังธรรมในสำนักภิกษุ ภิกษุณี ผู้เดินทาง

และพักที่หมู่บ้าน. นางหนึ่งยืนอยู่ในน้ำได้ถวายน้ำแก่ภิกษุผู้

ฉันจังหันในเรือ. นางหนึ่งเมื่ออยู่ในครอบครัวไม่มักโกรธ ทำ

การปรนนิบัติพ่อผัวและแม่ผัว. นางหนึ่งต้องแบ่งส่วนที่ตนได้

ออกแจกจ่ายเสียก่อน จึงบริโภคทั้งเป็นผู้มีศีล. นางหนึ่งเป็นทาสี

อยู่บ้านผู้อื่น เป็นคนไม่โกรธ ไม่ถือตัว แบ่งส่วนที่ตนได้ออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 496

แจกจ่ายจึงได้มาเกิดเป็นนางบริจาริกาของท้าวสักกเทวราช

ความทั้งหมดนี้ อยู่ในคุตติลวิมานวัตถุ. นางเทพธิดา ๓๗ นาง

ได้ทำกรรมใด ๆ ไว้ จึงได้มาเกิดในเทวโลกนั้นทั้งหมด พระ-

โพธิสัตว์ซักถามได้กล่าวคาถาทั้งหลาย แสดงกรรมที่ตนได้

ทำไว้ ๆ. พระโพธิสัตว์ได้ฟังคำนั้นแล้วกล่าวว่า เป็นลาภของ

ข้าพเจ้าหนอ ข้าพเจ้าได้ดีแล้วหนอ ที่มาที่นี้ได้ฟังสมบัติที่ได้

มาด้วยกรรมแม้มีประมาณน้อย คราวนี้ตั้งแต่นี้ไป ข้าพเจ้ากลับ

ไปมนุษยโลกแล้ว จักทำแต่กุศลกรรมมีทานเป็นต้นเท่านั้น ได้

เปล่งอุทานดังนี้ว่า :-

วันนี้นับว่าเรามาดีแล้วหนอ เป็นฤกษ์งาม

ยามดีที่ได้มาเห็นนางเทพอัปสรทั้งหลาย ผู้มี

ผิวพรรณน่ารักใคร่ เราได้ฟังคำของนางเทพธิดา

นี้แล้ว จักทำกุศลให้มาก ด้วย ทาน การให้

สมจริยา ประพฤติชอบ สัญญม การสำรวม กับ

ทมะ การฝึกหัดตนอีกอย่างหนึ่ง ข้าพเจ้าจักต้อง

ไปเทวโลกนั้นให้ได้ เป็นที่ซึ่งไปแล้วไม่เสียใจ.

ครั้นครบ ๗ วันท้าวสักกเทวราชทรงบัญชาให้มาตลีเทพ-

สารถี พาพระโพธิสัตว์ให้นั่งรถไปส่งกรุงพาราณสีดังเดิม.

พระโพธิสัตว์ครั้นกลับมากรุงพาราณสีแล้ว ได้เล่าถึงเหตุการณ์

ที่ตนได้เห็นแล้วในเทวโลกให้พวกมนุษย์ฟัง. ตั้งแต่นั้นพวก

มนุษย์เหล่านั้นก็ตั้งหน้าอุตสาหะทำบุญกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 497

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. มุสิละในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ท้าวสักกะได้

เป็นอนุรุทธ พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วนคุตติลคนธรรพ์ คือ

เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาคุตติลชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 498

๔. วิคติจฉชาดก

ความปรารถนาไม่มีที่สิ้นสุด

[๓๓๘] บุคคลเห็นสิ่งใด ไม่ปรารถนาสิ่งนั้น อนึ่ง

บุคคลไม่เห็นสิ่งใด ย่อมปรารถนาสิ่งนั้น เราเข้า

ใจว่า บุคคลนั้นจักท่องเที่ยวไปอีกนาน อยาก

ได้สิ่งใด ก็จักไม่ได้สิ่งนั้นเลย.

[๓๓๙] บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น

ปรารถนาสมบัติอันใด ก็ติเตียนสมบัติที่ได้มา

นั้น เพราะขึ้นชื่อว่า ความปรารถนามีอารมณ์ไม่

สิ้นสุด เราขอกระทำความนอบน้อมแด่ท่านผู้

ปราศจากความปรารถนา.

จบ วิคติจฉชาดกที่ ๔

อรรถกถาวิคติจฉชาดกที่ ๔

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภปลายิปริพาชกผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม

ต้นว่า ย ปสฺสติ น ต อิจฺฉติ ดังนี้.

ได้ยินว่า ปริพาชกผู้นั้นไม่ได้คำตอบโต้ในสกลชมพูทวีป

ทั้งสิ้น จึงมากรุงสาวัตถี ถามว่าใครจะสามารถโต้วาทะกับเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 499

บ้าง ได้ฟังว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสามารถ จึงแวดล้อม

ด้วยมหาชนพากันไปเชตวันมหาวิหาร ทูลถามปัญหากะพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัทสี่.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแก้ปัญหาแก่ปริพาชกนั้น แล้ว

ตรัสถามว่า อะไรชื่อว่าหนึ่ง. ปริพาชกนั้นไม่สามารถแก้ปัญหา

ได้ จึงลุกหนีไป. บริษัทที่นั่งอยู่ต่างกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ปริพาชกถูกพระองค์ข่มด้วยปัญหาบทเดียวเท่านั้น พระศาสดา

ตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย เรามิได้ข่มปริพาชก

นั้นด้วยปัญหาบทเดียวในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเราก็ข่มได้

เหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้น

กาสี ครั้นเจริญวัย ละกามสมบัติกามคุณออกบวชเป็นฤๅษี

อยู่ในหิมวันตประเทศเป็นเวลานาน ต่อมาพระโพธิสัตว์ลงจาก

ภูเขาอาศัยหมู่บ้านตำบลหนึ่ง พำนักอยู่ ณ บรรณศาลาใกล้

แม่น้ำวน.

ลำดับนั้น ปริพาชกผู้หนึ่งไม่ได้วาทะโต้ตอบในชมพูทวีป

ทั้งสิ้น จึงไปถึงตำบลนั้นถามว่า มีใครบ้างหนอที่สามารถโต้ตอบ

วาทะกับเราได้ รู้ว่ามีทั้งได้ฟังถึงความอาจหาญของพระโพธิสัตว์

จึงแวดล้อมด้วยมหาชนไปยังที่อยู่ของพระโพธิสัตว์นั้น กระทำ

ปฏิสันถารนั่งอยู่. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์ถามปริพาชกนั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 500

ท่านจักดื่มน้ำแม่คงคา มีสีและกลิ่นอบอวลบ้างไหม. ปริพาชก

เมื่อจะเล่นสำนวน จึงกล่าวว่า อะไรคือคงคา คงคาทราย คงคาน้ำ

คงคาฝั่งนี้ หรือคงคาฝั่งโน้น. พระโพธิสัตว์กล่าวโต้ว่า ดูก่อน

ปริพาชกก็ท่านจะแยกน้ำกับทรายและฝั่งนี้ฝั่งโน้นออกเสียแล้ว

จักได้คงคาที่ไหนเล่า. ปริพาชกสิ้นปฏิภาณลุกหนีไป. เมื่อ

ปริพาชกหนีไป พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงธรรมแก่บริษัทที่นั่ง

อยู่ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

บุคคลเห็นฝั่งใด ไม่ปรารถนาสิ่งนั้น อนึ่ง

บุคคลไม่เห็นสิ่งใด ย่อมปรารถนาสิ่งนั่น เราเข้า

ใจว่า บุคคลนั้นจักท่องเที่ยวไปอีกนาน อยากได้

สิ่งใด ก็จักไม่ได้สิ่งนั้นเลย.

บุคคลได้สิ่งใด ไม่ยินดีด้วยสิ่งนั้น

ปรารถนาสมบัติอันใด ก็ติเตียนสมบัติที่ได้มา

นั้น เพราะขึ้นชื่อว่าความปรารถนามีอารมณ์ไม่

สิ้นสุด เราขอกระทำความนอบน้อมแด่ท่านผู้

ปราศจากความปรารถนา.

ในบทเหล่านั้น บทว้า ย ปสฺสติ ความว่า บุคคลเห็นน้ำ

เป็นต้น ก็ไม่ปรารถนาว่าเป็นแม่คงคา. บทว่า ยญฺจ น ปสฺสติ

ความว่า บุคคลไม่เห็นคงคาที่ไม่มีน้ำเป็นต้น นัยว่ายังปรารถนา

แม่คงคานั้น. บทว่า มญฺามิ จิร จริสฺสติ ความว่า ข้าพเจ้า

เข้าใจอย่างนี้ว่า ปริพาชกนี้แสวงหาแม่คงคา เห็นปานนี้จักเที่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 501

ไปอีกนาน หรือนัยหนึ่งเมื่อแสวงหาตนอันพ้นไปจากรูปเป็นต้น

เหมือนหาแม่คงคาที่ไม่มีน้ำเป็นต้น ฉะนั้น จักเที่ยวไปในสงสาร

สิ้นกาลนาน แม้เที่ยวไปสิ้นกาลนาน ก็ย่อมไม่ได้แม่คงคาหรือ

ตนตามที่ปรารถนา เมื่อได้น้ำเป็นต้น หรือรูปเป็นต้น ก็ย่อม

ไม่พอใจ เมื่อไม่พอใจในสิ่งที่ได้อย่างนี้ ปรารถนาสมบัติใด ๆ

ครั้นได้แล้วย่อมดูหมิ่นดูแคลนเสียด้วยคิดว่า จักมีประโยชน์

อะไรด้วยสมบัตินี้. ตัณหาอันชื่อว่าความปรารถนานี้ มีอารมณ์

หาที่สุดมิได้ เพราะดูหมิ่นสิ่งที่ได้แล้วไปปรารถนาอารมณ์อื่น ๆ.

ฉะนั้นบัณฑิตเหล่าใด เป็นผู้ปราศจากความปรารถนา มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้น เราทั้งหลายขอทำความเคารพนอบน้อมท่าน

บัณฑิตเหล่านั้น ดังนี้.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ปริพาชกในครั้งนั้นได้เป็นปริพาชกในครั้งนี้. ส่วน

ดาบส คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาวิคติจฉชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 502

๕. มูลปริยายชาดก

กาลเวลากินสัตว์พร้อมทั้งตัวเอง

[๓๔๐] กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวเอง

ด้วย ก็ผู้ใดกินกาล ผู้นั้นเผาตัณหาที่เผาสัตว์ได้

แล้ว.

[๓๔๑] ศีรษะของนรชนปรากฏว่ามีมาก มีผม

ดำยาวปกคลุมถึงคอ บรรดาคนทั้งหลายนี้ จะหา

คนผู้มีปัญญาสักคนก็ไม่ได้.

จบ มูลปริยายชาดกที่ ๕

อรรถกถามูลปริยายชาดกที่ ๕

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ สุภควัน อาศัยอุกกัฏฐธานี

ทรงปรารภ มูลปริยายสูตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม

ต้นว่า กาโล ฆสติ ภูตานิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในกาลนั้นมีพราหมณ์ ๕๐๐ จบไตรเพทแล้ว

ออกบวชในพระศาสดาเรียนพระไตรปิฎก เป็นผู้มัวเมาด้วยความ

ทะนงตนคิดว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้พระไตรปิฎก แม้เรา

ก็รู้พระไตรปิฎก เมื่อเป็นอย่างนี้ เรากับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 503

จะต่างกันอย่างไร จึงไม่ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ตั้งตนเป็นปฏิปักษ์.

อยู่มาวันหนึ่ง พระศาสดาเมื่อภิกษุเหล่านั้นประชุมกันในสำนัก

ของพระองค์ ตรัสมูลปริยายสูตรประดับด้วยภูมิ ๘. ภิกษุเหล่านั้น

กำหนดอะไรไม่ได้. จึงมีความคิดว่า พวกเราทะนงตนว่า ไม่มี

ใครฉลาดเท่ากับพวกเรา แต่บัดนี้พวกเราไม่รู้อะไรเลย ชื่อว่า

ผู้ฉลาดเช่นกับพระพุทธเจ้าย่อมไม่มี ชื่อว่าพระพุทธคุณน่า

อัศจรรย์. ตั้งแต่นั้นมาภิกษุเหล่านั้นก็หมดความทะนงตน สิ้น

ความหลงผิด ดังงูพิษที่ถูกถอนเขี้ยวแล้วฉะนั้น.

พระศาสดาประทับอยู่ ณ อุกกัฏฐธานี ตามพระสำราญ

แล้วเสด็จไปกรุงเวสาลี ตรัสโคตมกสูตรที่โคตมกเจดีย์. ทั้ง

หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว ภิกษุเหล่านั้นฟังโคตมกสูตรนั้นแล้ว

ได้บรรลุพระอรหัต. เมื่อจบมูลปริยายสูตร พระศาสดายังประทับ

อยู่ ณ อุกกัฏฐธานีนั่นเอง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันใน

โรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลายน่าอัศจรรย์พระพุทธานุภาพ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำให้ภิกษุเหล่านั้นเป็นพราหมณ์ออกบวช

มัวเมาด้วยความทะนงตนอย่างนั้น หมดความทะนงตนด้วย

มูลปริยายเทศนา.

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่

ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเราก็ได้ทำภิกษุเหล่านั้นผู้มีหัวรุนแรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 504

ด้วยความทะนงตนให้หมดความทะนงตนแล้ว ทรงนำเรื่องอดีต

มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้น

เจริญวัยสำเร็จไตรเพท เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์ สอนมนต์แก่

มาณพ ๕๐๐. มาณพทั้ง ๕๐๐ นั้น ครั้นเรียนจบศิลปะผ่านการ

ซักซ้อมสอบทานในศิลปะทั้งหลายแล้ว เกิดกระด้างด้วยความ

ทะนงตนว่า พวกเรารู้เท่าใด แม้อาจารย์ก็รู้เท่านั้นเหมือนกัน

ไม่มีความพิเศษกว่ากัน ไม่ไปสำนักอาจารย์ ไม่กระทำวัตร

ปฏิบัติ. ครั้นวันหนึ่งเมื่ออาจารย์นั่งอยู่โคนต้นพุทรา. พวกมาณพ

เหล่านั้นประสงค์จะดูหมิ่นอาจารย์จึงเอาเล็บมือเคาะต้นพุทรา

พูดว่า ต้นไม้นี่ไม่มีแก่น. พระโพธิสัตว์ก็รู้ว่าดูหมิ่นตน จึงกล่าว

กะอันเตวาสิกว่า เราจักถามปัญหาพวกท่านข้อหนึ่ง. มาณพ

เหล่านั้นต่างดีอกดีใจกล่าวว่า จงถามมาเถิด พวกผมจักแก้.

อาจารย์เมื่อจะถามปัญหา ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

กาลย่อมกินสัตว์ทั้งปวงกับทั้งตัวเองด้วย

ก็ผู้ใดกินกาล ผู้นั้นเผาตัณหาที่เผาแล้วได้แล้ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กาโล ได้แก่ เวลาเป็นต้น เช่น

เวลาก่อนอาหาร หลังอาหาร. บทว่า ภูตานิ นี้เป็นชื่อของสัตว์

กาลมิได้ถอนหนังและเนื้อเป็นต้นของสัตว์ไปกิน เป็นแต่ยังอายุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 505

วรรณและพละของสัตว์เหล่านั้นให้สิ้นไป ย่ำยีวัยหนุ่มสาว ทำ

ความไม่มีโรคให้พินาศ เรียกว่า กินสัตว์ คือ เคี้ยวกินสัตว์.

ก็กาลที่กินสัตว์อยู่อย่างนี้ ไม่เว้นใคร ๆ ย่อมกินหมดทั้งนั้น.

อนึ่งมิได้กินแก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น ย่อมกินแม้ตนเองด้วยกาล

ก่อนอาหาร ย่อมไม่เหลืออยู่ในเวลาหลังอาหาร. ในเรื่องเวลา

หลังอาหารเป็นต้น ก็นัยเดียวกัน. ที่ว่าสัตว์ผู้กินกาลนั้น หมาย

ถึงพระขีณาสพ. จริงอยู่พระขีณาสพนั้นเรียกว่าผู้กินกาล เพราะ

ยังกาลปฏิสนธิต่อไปให้สิ้นด้วยอริยมรรค. บทว่า ส ภูตปจนึ ปจิ

ความว่า พระขีณาสพนั้นเผา คือทำให้ไหม้เป็นเถ้าซึ่งตัณหาที่

เผาสัตว์ในอบาย ด้วยไฟคือญาณ.

พวกมาณพเหล่านั้นฟังปัญหานี้แล้ว ไม่มีผู้สามารถจะรู้

ได้แม้คนเดียว. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์จึงกล่าวกะมาณพเหล่า

นั้นว่า พวกท่านอย่าได้เข้าใจว่าปัญหานี้มีอยู่ในไตรเพท พวก

ท่านสำคัญว่าอาจารย์รู้สิ่งใด เราก็รู้สิ่งนั้นทั้งหมด จึงได้เปรียบ

เราเช่นกับด้วยต้นพุทรา พวกท่านมิได้รู้ว่า เรารู้สิ่งที่พวก

ท่านยังไม่รู้อีกมาก จงไปเถิด เราให้เวลา ๗ วัน จงช่วยกัน

คิดปัญหานี้ตามกาลกำหนด. มาณพเหล่านั้นไหว้พระโพธิสัตว์

แล้วกลับไปยังที่อยู่ของตน แม้คิดกันตลอด ๗ วันก็มิได้เห็น

ที่สุด มิได้เห็นเงื่อนงำแห่งปัญหา. ครั้นวันที่ ๗ จึงพากันมาหา

อาจารย์ไหว้แล้วนั่งลง เมื่ออาจารย์ถามว่า พวกท่านมีหน้าตา

เบิกบาน รู้ปัญหานี้หรือ กล่าวว่า ยังไม่รู้. พระโพธิสัตว์เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 506

จะตำหนิมาณพเหล่านั้นอีก จึงถามปัญหาที่ ๒ ว่า :-

ศีรษะของนรชนปรากฏว่ามีมาก มีผม

ดำยาว ปกคลุมถึงคอ บรรดาคนทั้งหลายนี้จะ

หาคนที่มีปัญญาสักคนก็ไม่ได้.

ความของคาถานั้นว่า ศีรษะคนปรากฎมีมากหลาย และ

ศีรษะเหล่านั้นมีผมดกดำประถึงคอ เอามือจับดูไม่เหมือนผลตาล

บุคคลเหล่านั้นไม่มีข้อแตกต่างกันด้วยธรรมเหล่านี้เลย. บทว่า

กณฺณวา คือผู้มีมีปัญญา. ก็ช่องหูจะไม่มีแก่ใคร ๆ ก็หามิได้.

พระโพธิสัตว์ติเตียนพวกมาณพเหล่านั้นว่า พวกท่านเป็น

คนโง่ มีแต่ช่องหูเท่านั้น ไม่มีปัญญา ฉะนี้แล้วจึงแก้ปัญหา

มาณพเหล่านั้นฟังแล้วกล่าวว่า ธรรมดาอาจารย์เป็นผู้ยิ่งใหญ่

อย่างน่าอัศจรรย์ขอขมาอาจารย์แล้วต่างก็หมดความทะนงตน

ปรนนิบัติพระโพธิสัตว์ตามเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง

ประชุมชาดก. มาณพทั้ง ๕๐๐ ในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุเหล่านี้

ส่วนอาจารย์คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถามูลปริยายชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 507

๖. พาโลวาทชาดก

ว่าด้วยคนมีปัญญาบริโภค

[๓๔๒] บุคคลผู้ไม่สำรวมประหารสัตว์ เบียด-

เบียนและฆ่าสัตว์ ให้ทานแก่สมณะใด สมณะ

นั้นบริโภคภัตเช่นนี้ ย่อมเข้าไปติดบาปด้วย.

[๓๔๓] ถ้าสมณะเป็นผู้มีปัญญา แม้จะบริโภค

ทานที่บุคคลผู้ไม่สำรวมฆ่าบุตรและภรรยาถวาย

ก็ไม่เข้าไปติดบาปเลย.

จบ พาโลวาทชาดกที่ ๖

อรรถกถาพาโววาทชาดกที่ ๖

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา เสด็จเข้า

ไปอาศัยกรุงเวสาลี ทรงปรารภสีหเสนาบดี ตรัสพระธรรม

เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า หนฺตฺวา ฆตฺวา วธิตฺวา จ ดังนี้.

ความย่อมีอยู่ว่า สีหเสนาบดีนั้นถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่าเป็นที่พึ่งแล้วนิมนต์ไปถวายภัตตาหารปรุงด้วยเนื้อ. พวก

นิครนถฟังข่าวแล้วไม่พอใจ ใคร่จะเบียดเบียนพระตถาคตเจ้า

จึงกล่าวใส่ไคล้ว่าพระสมณโคดมเสวยเนื้อที่เขาอุทิศถวายทั้งที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 508

ผู้อยู่. ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโส

ทั้งหลาย นิครนถนาฏบุตรกับพวกบริษัทเที่ยวใส่ไคล้ว่าพระ-

สมณโคดมเสวยเนื้อที่เขาอุทิศถวายทั้งที่รู้อยู่. พระศาสดาสดับ

เรื่องนั้นแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิครนถนาฏบุตร

นินทาเราเพราะบริโภคเนื้อที่เขาอุทิศถวายแต่ในบัดนี้เท่านั้น

ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ติเตียนแล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่อง

อดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ครั้น

เจริญวัยแล้วออกบรรพชาเป็นฤาษีมาจากป่าหิมพานต์ เพื่อ

ต้องการเสพรสเปรี้ยวเค็มในกรุงพาราณสี. รุ่งขึ้นจึงเที่ยว

ภิกษาจารไปในพระนคร. ครั้งนั้นกุฎุมพีผู้หนึ่งคิดว่า เราจัก

แกล้งดาบสให้ลำบาก จึงนิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือน นิมนต์ให้นั่ง

บนอาสนะที่จัดปูไว้แล้ว อังคาสด้วยปลาและเนื้อ ครั้นเสร็จ

ภัตกิจแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งตรัสว่า เนื้อนี้ข้าพเจ้าฆ่าสัตว์

ปรุงเป็นอาหารเฉพาะท่านโดยตรง ขออกุศลนี้อย่าได้มีแก่

ข้าพเจ้าเลย จงตกเป็นของท่านเถิดแล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

บุคคลผู้ไม่สำรวมประหารสัตว์ เบียด

เบียนและฆ่าสัตว์ให้ทานแก่สมณะใด สมณะ

นั้นบริโภคภัตรเช่นนี้ ย่อมเข้าไปติดบาปด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 509

พระโพธิสัตว์ฟังแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ถ้าสมณะผู้มีปัญญาแม้บริโภคทานที่บุคคล

ผู้ไม่สำรวม ฆ่าบุตรและภรรยาถวาย ก็ไม่เข้า

ไปติดบาปเลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภุญฺชมาโนปิ สปฺปญฺโ ความว่า

เนื้อของผู้อื่นที่บุคคลผู้ทุศีลแม้ฆ่าบุตรภรรยาให้แล้ว ยกไว้เถิด

ท่านผู้มีปัญญาผู้ถึงพร้อมด้วยคุณ มีขันติและเมตตาเป็นต้น

แม้บริโภคเนื้อนั้น ย่อมไม่แปดเปื้อนด้วยบาป.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่กุฎุมพีอย่างนั้นแล้ว ลุกจาก

อาสนะหลีกไป.

พระศาสดาทรงนาพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. นิครนถนาฏบุตรได้เป็นกุฎุมพี ส่วนดาบส คือเราตถาคต

นี้แล.

จบ อรรถกถาพาโลวาทชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 510

๗. ปาทัญชลิชาดก

ว่าด้วยปาทัญชลีราชกุมาร

[๓๔๔] ปาทัญชลีราชกุมาร ย่อมรุ่งเรืองกว่าเรา

ทั้งหมดด้วยพระปรีชาแน่นอน เมื่อเป็นเช่นนั้น

ทำไมจึงทรงเม้มพระโอฐอยู่เล่า จะทรงเห็นเหตุ

อย่างอื่นยิ่งกว่านี้เป็นแน่.

[๓๔๕] ปาทัญชลีราชกุมารพระองค์นี้ จะทรง

ทราบส่งที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม ส่งที่เป็น

ประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ก็หาไม่ ปาทัญ-

ชลีราชกุมารพระองค์นี้ นอกจากจะเม้มพระโอฐ

แล้ว ย่อมไม่ทรงทราบเหตุการณ์สักนิดหนึ่งเลย.

จบ ปาทัญชลีชาดกที่ ๗

อรรถกถาปาทัญชลิชาดกที่ ๗

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระโลฬุทายีเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า อทฺธา ปาทญฺชลี สพฺเพ ดังนี้.

ในวันหนึ่ง พระมหาสาวกทั้งสองวินิจฉัยปัญหาอยู่. ภิกษุ

ทั้งหลายฟังปัญหาต่างก็สรรเสริญพระเถระทั้งสอง. พระโลฬุ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 511

ทายีเถระนั่งอยู่ในระหว่างบริษัท ขัดคอขึ้นว่า พระมหาสาวก

เหล่านี้จะรู้อะไรทัดเทียมเราหรือ. พระเถระทั้งสองเห็นพระ-

โลฬุทายีเถระนั้นแล้ว จึงลุกจากอาสนะหลีกไป. บริษัทเลยแยก

ย้ายกัน. ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย พระโลฬุทายีติเตียนพระอัครสาวกทั้งสอง

แล้วขัดคอขึ้น. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายมิใช่ใน

บัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนโลฬุทายีก็ไม่รู้อะไร ๆ อย่างอื่นยิ่งกว่า

นั้น นอกจากขัดคอแล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ผู้สอนอรรถและ

ธรรมของพระองค์. ก็พระราชานั้นมีโอรสพระนามว่า ปาทัญชลี

มีพระทัยโลเล เชื่องช้า. ต่อมาพระราชาสวรรคต. พวกอำมาตย์

จัดการถวายพระเพลิง แล้วปรึกษากันว่าจักอภิเษกปาทัญชลี

ราชบุตรครองราชสมบัติ. แต่พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พระกุมารนี้

มีพระทัยโลเล เชื่องช้า พวกเราจักควรทูลองดูก่อน แล้วจึง

จักอภิเษกพระกุมารนั้น. พวกอำมาตย์จึงเตรียมการตัดสินความ

ให้พระกุมารประทับนั่งในที่ใกล้ ๆ เมื่อจะตัดสินคดี แกล้งตัดสิน

ไม่ถูก. ตัดสินให้ผู้มีใช่เจ้าของเป็นเจ้าของแล้วทูลพระกุมารว่า

ข้าแต่พระกุมาร พวกข้าพระองค์ตัดสินความชอบธรรมหรือไฉน.

พระกุมารเม้มพระโอฐ. พระโพธิสัตว์สำคัญว่า พระกุมารเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 512

จะทรงเฉลียวฉลาด คงจักทราบว่าตัดสินไม่ชอบ จึงกล่าวคาถา

แรกว่า :-

ปาทัญชลีราชกุมารย่อมรุ่งเรืองกว่าเรา

ทั้งหมด ด้วยพระปรีชาแน่นอน เมื่อเช่นนั้นทำไม

จึงทรงเม้มพระโอฐอยู่เล่า จะทรงเห็นเหตุอื่นยิ่ง

กว่านี้เป็นแน่.

ครั้นวันอื่นพวกอำมาตย์เหล่านั้นตระเตรียมการตัดสินความ

แล้ว ตัดสินความอีกเรื่องหนึ่งโดยชอบธรรม แล้วทูลถามว่า

ข้าแต่พระกุมาร ข้าพระองค์ตัดสินความถูกต้องแล้วหรือไฉน

พระกุมารทรงเม้มพระโอฐอีกเหมือนอย่างเดิม. ลำดับนั้น พระ-

โพธิสัตว์จึงทราบว่า พระกุมารนี้โง่เขลาจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ปาทัญชลีราชกุมารพระองค์นี้ จะทรง

ทราบสิ่งที่เป็นธรรม หรือไม่เป็นธรรม สิ่งที่เป็น

ประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ก็หาไม่ได้

ปาทัญชลีราชกุมารพระองค์นี้ นอกจากจะเม้ม

พระโอฐแล้ว ย่อมไม่ทรงทราบเหตุการณ์สักนิด

หนึ่งเลย.

พวกอำมาตย์รู้ว่า ปาทัญชลีราชกุมารทรงเหลวไหล จึง

อภิเษกพระโพธิสัตว์ขึ้นครองราชสมบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 513

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ปาทัญชลีราชกุมารในครั้งนั้น ได้เป็นพระโลฬุทายีใน

ครั้งนี้ ส่วนอำมาตย์บัณฑิต คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาปาทัญชลิชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 514

๘. กิงสุโกปมชาดก

คนไม่รู้ธรรมด้วยญาณย่อมสงสัยในธรรม

[๓๔๖] ท่านทุกคนเห็นต้นทองกวาวแล้ว ยังจะ

สงสัยในต้นทองกวาวนั้นเพราะเหตุไรหนอ ท่าน

ทั้งหลายหาได้ถามนายสารถีให้ถี่ถ้วนในที่ทั้งปวง

ไม่.

[๓๔๗] บุคคลเหล่าใดยังไม่รู้ธรรมทั้งหลาย ด้วย

ญาณทั้งปวง บุคคลเหล่านั้นแล ย่อมสงสัยใน

ธรรมทั้งหลาย เหมือนพระราชบุตร ๔ พระองค์

ทรงสงสยในต้นทองกวาว ฉะนั้น.

จบ กิงสุโกปมชาดกที่ ๘

อรรถกถากิงสุโกปมชาดกที่ ๘

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภกิงสุโกปมสูตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

สพฺเพหิ กึสุโก ทิฏฺโ ดังนี้

ได้ยินว่า ภิกษุ ๔ รูปเข้าไปเฝ้าพระตถาคตทูลขอกรรมฐาน

พระศาสดาทรงบอกกรรมฐานแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น

เรียนกรรมฐานไปสู่ที่พักกลางคืนที่พักกลางวัน. ในภิกษุเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 515

ภิกษุรูปหนึ่งกำหนดผัสสายตนะ ๖ บรรลุพระอรหัตแล้ว. รูปหนึ่ง

กำหนดขันธ์ ๕. รูปหนึ่งกำหนดมหาภูต ๔. รูปหนึ่งกำหนด

ธาตุ ๑๘. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลคุณวิเศษที่ตนบรรลุแด่พระ-

ศาสดา. ในบรรดาภิกษุเหล่านั้นมีรูปหนึ่งเกิดความปริวิตกว่า

กรรมฐานเหล่านั้นมีข้อแตกต่างกัน แต่นิพพานเป็นอย่างเดียว

กัน ภิกษุทั้งหมดบรรลุอรหัตได้อย่างไร. จึงทูลถามพระศาสดา

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุเธอก็ไม่ต่างกันกับพี่น้อง ๔ คน

ที่เห็นต้นทองกวาว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลอาราธนาว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงแสดงเหตุนี้แก่ข้าพระองค์เถิด

ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระองค์มีพระโอรส ๔ พระองค์. วันนี้โอรสทั้ง

๔ ตรัสเรียกสารถีมาตรัสว่า ดูก่อนสหาย พวกเราอยากเห็นต้น

ทองกวาว ท่านจงแสดงต้นทองกวาวมาให้พวกเราดูเถิด. สารถี

รับว่า ดีละ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักแสดง แต่ไม่แสดงแก่

ราชบุตรทั้ง ๔ พร้อมกัน ให้ราชบุตรองค์ประทับนั่งบนรถไป

ก่อน พาไปในป่าแล้วชี้ให้ดูต้นทองกวาวในเวลาสลัดใบว่า นี้

คือต้นทองกวาว. อีกองค์หนึ่งให้ดูในเวลาออกใบอ่อน อีกองค์

หนึ่งให้ดูเวลาออกดอก อีกองค์หนึ่งให้ดูในเวลาออกผล. ต่อมา

ราชบุตรทั้ง ๔ พี่น้องประทับนั่งพร้อมหน้ากัน จึงไต่ถามกัน

ขึ้นว่า ชื่อว่าต้นทองกวาวเป็นเช่นไร. องค์ที่หนึ่งตรัสว่า เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 516

ตอไหม้ไฟ องค์ที่สองตรัสว่า เหมือนต้นไทร องค์ที่สามตรัสว่า

เหมือนชิ้นเนื้อ องค์ที่สี่ตรัสว่า เหมือนต้นซึก. ทั้ง ๔ พระองค์

ไม่ตกลงตามคำของกันและกัน จึงไปเฝ้าพระบิดา ทูลถามว่า

ข้าแต่พระบิดา ชื่อว่าต้นทองกวาวเป็นอย่างไร. เมื่อพระราชา

ตรัสว่า พวกเจ้าว่ากันอย่างไรเล่า. จึงกราบทูลพระราชาตามที่

ถกเถียงกัน. พระราชาตรัสว่า พวกเจ้าแม้ทั้งสี่ได้เห็นต้นทองกวาว

แล้วเป็นแต่สารถีผู้แสดงต้นทองกวาว. พวกเจ้ามิได้ไต่ถามจารไน

ออกไปว่า ในกาลนี้ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร. ด้วยเหตุนั้นความ

สงสัยจึงเกิดขึ้นแก่พวกเจ้า ตรัสคาถาแรกว่า :-

ท่านทุกคนเห็นต้นทองกวาวแล้ว ยังจะ

สงสัยในต้นทองกวาวนั้น เพราะเหตุไรหนอ

ท่านทั้งหลายหาได้ถามสารถีให้ถี่ถ้วนในที่

ทั้งปวงไม่.

พระศาสดาทรงแสดงเหตุนี้แล้วตรัสว่า แน่ะภิกษุ เหมือน

อย่างพี่น้องทั้ง ๔ เกิดความสงสัยในต้นทองกวาว เพราะมิได้

ไต่ถามให้ถ้วนถี่ฉันใด แม้เธอสงสัยเกิดขึ้นในธรรมนี้ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน พระองค์ตรัสรู้แล้ว ได้ตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

บุคคลเหล่าใด ยังไม่รู้ธรรมทั้งหลาย ด้วย

ญาณทั้งปวง บุคคลเหล่านั้นแล ย่อมสงสัยใน

ธรรมทั้งปวง เหมือนพระราชบุตร ๔ พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 517

ทรงสงสัยในต้นทองกวาวฉะนั้น.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า เหมือนอย่างพี่น้องเหล่านั้น

สงสัยแล้ว เพราะไม่เห็นต้นทองกวาวทุกฐานะ ฉันใด ธรรม

ทั้งปวงแยกประเภทเป็นผัสสะ ๖ อายตนะ ขันธ์ ภูต และธาตุ.

ชนเหล่าใดไม่ได้ให้เกิดด้วยวิปัสสนาญาณทั้งปวง คือมิได้แทง

ตลอด เพราะยังไม่ได้บรรลุโสดาปัตติมรรค ชนเหล่านั้นย่อมสงสัย

ในธรรมมี ผัสสะ ๖ และอายตนะเป็นต้น เหมือนพี่น้องทั้งสี่

สงสัยในต้นทองกวาวต้นเดียวกันฉันนั้น.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. พระเจ้ากรุงพาราณสีในครั้งนั้น คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากิงสุโกปมสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 518

๙. สาลกชาดก

ว่าด้วยสาลกวานร

[๓๔๘] ดูก่อนพ่อสาลกวานร พ่อเป็นลูกคนเดียว

ของเรา อนึ่ง พ่อจักได้เป็นใหญ่แห่งโภคสมบัติ

ในตระกูลของเรา ลงมาจากต้นไม้เถิด มาเถิดพ่อ

เราจะพากันกลับไปบ้านของเรา.

[๓๔๙] ท่านสำคัญเราว่าเป็นสัตว์ใจดี จึงได้ตีเรา

ด้วยเรียวไม้ไผ่ เราพอใจอยู่ในป่ามะม่วงที่มีผล

สุก ท่านจงกลับไปบ้านตามสบายเถิด.

จบ สาลกชาดกที่ ๙

อรรถกถาสาลกชาดกที่ ๙

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภพระมหาเถระรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม

ต้นว่า เอกปุตฺตโก ภวิสฺสติ ดังนี้.

ได้ยินว่า พระมหาเถระนั้นให้กุมารน้อยบรรพชาแล้ว ทำ

ให้ลำบากอยู่ ณ พระเชตวันนั้น. สามเณรนั้นไม่สามารถจะทน

ความลำบากได้จึงสึก. พระเถระไปเกลี้ยกล่อมกุมารน้อยนั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 519

ดูก่อนกุมารน้อย จีวรของเธอคงเป็นของเธอตามเดิม แม้บาตร

ก็คงเป็นของเธอ ทั้งบาตรและจีวรก็คงเป็นของเธอ จงมาบรรพชา

เถิด. กุมารน้อยนั้น แม้กล่าวว่า ผมจักไม่บรรพชา ถูกพระเถระ

รบเร้าบ่อย ๆ เข้าก็บรรพชา ครั้งนั้นพระเถระได้ให้สามเณร

นั้นลำบากอีกตั้งแต่วันที่บวช. สามเณรทนความลำบากไม่ไหว

จึงสึกอีก แม้พระเถระเกลี้ยกล่อมอยู่หลายครั้งหลายครา ก็ไม่

ยอมบวช โดยกล่าวว่า หลวงพ่อไม่เห็นใจผม หลวงพ่อขาดผม

จะไม่สามารถเป็นไปได้เทียวหรือ ไปเถิดหลวงพ่อ ผมไม่บวชละ.

ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย

ทารกนั้นใจดีจริงหนอ ทราบอัธยาศัยของพระมหาเถระแล้วจึง

ไม่ยอมบวช. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนาด้วยเรื่องอะไรกัน เมื่อภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทารก

นั้นมิใช่มีใจดีแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็ใจดี เห็นโทษของ

พระเถระนั้นคราวเดียวเท่านั้น ไม่ยอมเข้าใกล้อีก ทรงนำเรื่อง

อดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน

กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลกุฎุมพี ครั้นเจริญวัย

เลี้ยงชีพด้วยการขายข้าวเปลือก. มีหมองูคนหนึ่ง หัดลิงตัวหนึ่ง

ให้ถือยาแล้วให้งูแสดงการละเล่นกับลิงนั่งเลี้ยงชีพ. เมื่อมีการ

โฆษณาแสดงมหรสพที่กรุงพาราณสี. หมองูนั้นประสงค์จะชม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 520

มหรสพ จึงมอบลิงนั้นไว้กับพ่อค้าขายข้าวเปลือกนั้น สั่งว่า

ท่านอย่าดูดายลิงตัวนี้ ครั้นชมมหรสพแล้วในวันที่ ๗ จึงไปหา

พ่อค้าถามว่า ลิงอยู่ที่ไหน. ลิงพอได้ยินเสียงเจ้าของรีบออกจาก

ร้านขายข้าวเปลือก. ลำดับนั้นหมองู จึงเอาไม้เรียวตีหลังลิง

พาไปสวนผูกไว้ข้างหนึ่ง แล้วหลับไป. ลิงรู้ว่าเจ้าของหลับ จึง

แก้เชือกที่ผูกออกหนีไปขึ้นต้นมะม่วง กินผลมะม่วงสุก แล้วทิ้ง

เมล็ดลงตรงหัวหมองู. หมองูตื่นแลดูเห็นลิงนั้นแล้ว จึงคิดว่า เรา

จักลวงเจ้าลิงนั้นด้วยถ้อยคำไพเราะ ให้มันลงจากต้นไม้แล้วจึง

จับมัน เมื่อจะเกลี้ยกล่อมลิงนั้น ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนพ่อสาลกวานร เจ้าเป็นลูกคนเดียว

ของพ่อ อนึ่ง พ่อจักได้เป็นใหญ่ในตระกูลของ

พ่อ ลงมาจากต้นไม้เถิด มาเถิดลูกพ่อ จะพากลับ

ไปบ้านของเรา.

ลิงได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ท่านสำคัญว่า เราเป็นสัตว์ใจดีจึงได้ตีเรา

ด้วยเรียวไม้ไผ่ เราพอใจอยู่ในป่ามะม่วงที่มี

ผลสุก ท่านจงกลับไปบ้านตามสบายเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นนุ ม สุหทโยติ มญฺสิ ความว่า

ท่านสำคัญเราว่าเป็นสัตว์มีใจดีมิใช่หรือ อธิบายว่า ท่านสำคัญ

ว่าลิงนี้เป็นสัตว์ใจดี. บทว่า ยญฺจ ม หนสิ เวฬุยฏฺิยา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 521

ท่านแสดงไว้ดังนี้ว่า ท่านดูหมิ่นเราด้วยเหตุใด และท่านเฆี่ยน

เราด้วยไม้เรียวด้วยเหตุใด เหตุนั้นเราจึงไม่กลับไป. เมื่อเป็น

เช่นนั้น เราจึงพอใจในป่ามะม่วงนี้ เชิญท่านกลับไปเรือนตาม

สบายเถิด. แล้วกระโดดเข้าป่าไป. แม้หมองูก็ไม่พอใจได้กลับ

ไปเรือนของตน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดก. ลิงในครั้งนั้นได้เป็นสามเณรในครั้งนี้ หมองูได้เป็นพระ-

มหาเถระ ส่วนพ่อค้าขายข้าวเปลือกคือ เราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถาสาลกชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 522

๑๐. กปิชาดก

เข้าใจว่าลิงเป็นฤๅษี

[๓๕๐] ฤๅษีผู้นี้ยินดีแล้วในความสงบและความ

สำรวม ท่านถูกภัยคือ ความหนาวเบียดเบียน

จึงมายืนอยู่ เชิญฤๅษีผู้นี้จงเข้ามายังบรรณศาลา

นี้เถิด จะได้บรรเทาความหนาวและความกระวน

กระวายให้หมดสิ้นไป.

[๓๕๑] นี้ไม่ใช่ฤๅษีผู้ยินดีในความสงบและความ

สำรวม เป็นลิงเที่ยวโคจรอยู่ตามกิ่งมะเดื่อ มัน

เป็นสัตว์ประทุษร้าย ฉุนเฉียวและมีสันดานลามก

ถ้าเข้ามาอยู่ยังบรรณศาลาหลังนี้ ก็จะพึงประทุษ

ร้ายบรรณศาลา.

จบ กปิชาดกที่ ๑๐

อรรถกถากปิชาดกที่ ๑๐

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง

ปรารภภิกษุโกหกรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น

ว่า อย อิสี อุปสมสญฺเม รโต ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 523

ได้ยินว่า ข้อที่ภิกษุนั้นเป็นผู้หลอกลวงได้ปรากฏในหมู่

ภิกษุ. ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อน

อาวุโสทั้งหลาย ภิกษุโน้นบวชในพระพุทธศาสนาอันเป็นที่นำ

สัตว์ออกจากภพ ยังบำเพ็ญวัตรของผู้หลอกลวงอีก. พระศาสดา

เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นมิใช่เป็นผู้หลอกลวง

แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็เคยเป็นผู้หลอกลวงเหมือนกัน

เกิดเป็นลิงได้ทำการหลอกลวงเพราะเหตุเพียงไฟเท่านั้น แล้ว

ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี พระโพธสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้นกาสี ครั้น

เจริญวัย ในเวลาที่บุตรเที่ยววิ่งเล่นได้ นางพราหมณีก็ถึงแก่

กรรม จึงอุ้มบุตรเข้าสะเอวไปป่าหิมพานต์บวชเป็นฤๅษี บวชบุตร

เป็นดาบสกุมาร อาศัยอยู่ในบรรณศาลา. ครั้นฤดูฝน ฝนตก

ไม่ขาดสาย มีลิงตัวหนึ่งถูกความหนาวเบียดเบียน เที่ยวเดิน

ตัวสั่นฟันกระทบกัน. พระโพธิสัตว์หาท่อนไม้ใหญ่ ๆ มาก่อไฟ

แล้วนอนบนเตียง. ฝ่ายบุตรชายก็นั่งนวดเท้าอยู่. ลิงนั้นนุ่งห่ม

ผ้าเปลือกไม้ของดาบสที่ตายไปแล้วรูปหนึ่ง ห่มหนังเสือเฉวียงบ่า

ถือหาบและน้ำเต้าปลอมเป็นฤๅษี มายืนหลอกลวงอยู่ที่ประตู

บรรณศาลา เพราะต้องการไฟ. ดาบสกุมารเห็นลิงนั้น จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 524

อ้อนวอนบิดาว่า ข้าแต่พ่อ มีดาบสผู้หนึ่งถูกความหนาวเบียดเบียน

ยืนสั่นอยู่ พ่อเรียกดาบสนั้นเข้ามา ณ ที่นี้เถิด เขาจะได้ผิงไฟ

ได้กล่าวคาถาแรกว่า :-

ฤๅษีผู้นี้ยินดีแล้วในความสงบและความ

สำรวม ท่านถูกภัยคือความหนาวเบียดเบียน จึง

มายืนอยู่ เชิญฤๅษีผู้นี้จงเข้ามายังบรรณศาลานี้

เถิด จะได้บรรเทาความหนาวและความกระวน

กระวายให้หมดสิ้นไป.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อุปสมสญฺเม รโต คือ ยินดีใน

ความสงบจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และในความสำรวมด้วยศีล. บทว่า

ส ติฏฺติ คือเขายืนอยู่. บทว่า สิสิรภเยน ได้แก่ เพราะกลัวความ

หนาวที่เกิดแต่ลมและฝน. บทว่า อทฺธิโต ความว่า เบียดเบียน

แล้ว. บทว่า ปวิสตุม ตัดบทเป็น ปวิสตุ อิม คือ เชิญเข้ามายัง

บรรณศาลานี้. บทว่า เกวล ได้แก่ ทั้งสิ้น คือ ไม่มีเหลือ.

พระโพธิสัตว์ฟังคำของบุตรจึงลุกขึ้นมอง รู้ว่าเป็นลิง

จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

นี่ไม่ใช่ฤๅษีผู้ยินดีในความสงบและความ

สำรวม เป็นลิงที่เที่ยวโคจรอยู่ตามกิ่งมะเดื่อ มัน

เป็นสัตว์ประทุษร้าย ฉุนเฉียว และมีสันดาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 525

ลามก ถ้าเข้ามาอยู่ยังบรรณศาลาหลังนี้ ก็จะพึง

ประทุษร้ายบรรณศาลา.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุมฺพรสาขโคจโร ได้แก่ เที่ยวอยู่

ตามกิ่งมะเดื่อ. บทว่า โส ทูสโก โรสโก จาปิ ชมฺโม ความว่า

ลิงเป็นสัตว์ชื่อว่า ประทุษร้ายเพราะประทุษร้ายที่ที่มันไปแล้ว ๆ

ชื่อว่า เป็นสัตว์ฉุนเฉียว เพราะกระทบกระทั่ง ชื่อว่า เป็นสัตว์

เลวทรามเพราะความเป็นผู้ลามก. บทว่า สเจ วเช ความว่า

หากลิงนั้นเข้ามาอยู่ยังบรรณศาลานี้ ก็จะพึงประทุษร้ายบรรณ.

ศาลาทั้งหมด ด้วยการถ่ายอุจจาระปัสสาวะรดและด้วยการเผา.

พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคว้าดุ้นฟืนติดไฟ

ออกมาขู่ให้ลิงตกใจกลัวแล้วให้หนีไป. ลิงกระโดดหนีเข้าป่าไป

ไม่ได้ม้าที่นั้นอีก. พระโพธิสัตว์ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด

สอนการบริกรรมกสิณแก่ดาบสกุมาร. ดาบสกุมารทำอภิญญาและ

สมาบัติให้เกิดขึ้นแล้ว. ดาบสทั้งสองนั้นมีฌานมิได้เสื่อม ได้มี

พรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น ตั้งแต่ครั้งก่อนภิกษุนี้ก็เป็นผู้

หลอกลวงเหมือนกัน แล้วทรงประกาศสัจจธรรม ทรงประชุม

ชาดก. ครั้นจบสัจจธรรม บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ทุกนิบาตชาดก เล่ม ๓ ภาค ๓ - หน้าที่ 526

พวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี. ลิงใน

ครั้งนั้นได้เป็นภิกษุหลอกลวงในครั้งนี้ บุตรได้เป็นราหุล ส่วน

บิดา คือเราตถาคตนี้แล.

จบ อรรถกถากปิชาดกที่ ๑๐

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัพพทาฐชาดก ๒. สุนขชาดก ๓. คุตติลชาดก

๔. วิคติจฉชาดก ๕. มูลปริยายชาดก ๖. พาโลวาทชาดก

๗. ปาทัญชีลชาดก ๘. กิงสุโกปมชาดก ๙. สาลกชาดก

๑๐. กปิชาดก.

จบ สิคาลวรรคที่ ๑๐

รวมวรรคที่มีในทุกนิบาตนี้ คือ

๑. ทัฬหวรรค ๒. สันถววรร ๓. กัลยาณธรรมวรรค

๔. อสทิสวรรค ๕. รุหกวรรค ๖. นตังทัฬหวรรค ๗. พีรณัต-

ถัมภกวรรค ๘. กาสาววรรค ๙. อุปาหนวรรค ๑๐. สิคาลวรรค.

จบ ทุกนิบาต