ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย ชาดก

เล่มที่ ๓ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เอกนิบาตชาดก

๑. อปัณณกวรรค

๑. อปัณณกชาดก

ว่าด้วยการรู้ฐานะและมิใช่ฐานะ

[๑] คนพวกหนึ่งกล่าวฐานะอันหนึ่งว่าไม่ได้ นัก

เดาทั้งหลาย กล่าวฐานะอันนั้นว่า เป็นที่สอง คนมี

ปัญญารู้ฐานะและมิใช่ฐานะนั้นแล้ว ควรถือเอาฐานะ

ที่ไม่ผิดไว้.

จบอปัณณกชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

ชาตกัฏฐกถา

อรรถกถาชาดก เอกนิบาต

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ทูเรนิทาน

ประณามคาถา

ข้าพเจ้าขอกราบไหว้พระพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ

สุดหาบุคคลผู้เปรียบปานมิได้ ผู้เสด็จขึ้นจากสาคร

แห่งไญยธรรม ผู้ทรงข้ามสงสารสาครเสียได้ด้วย

เศียรเกล้า พร้อมทั้งพระธรรมอันลึกซึ้ง สงบยิ่ง

ละเอียดยากที่คนจะมองเห็นได้ ที่ทำลายเสียได้ซึ่งภพ

น้อยและภพใหญ่ สะอาดอันเขาบูชาแล้ว เพราะพระ-

สัทธรรม อีกทั้งพระสงฆ์ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องข้อง ผู้สูง

สุดแห่งหมู่ ผู้สูงสุดแห่งทักขิไณยบุคคล ผู้มีอินทรีย์

อันสงบแล้ว หาอาสวะมิได้.

ด้วยการประณามที่ข้าพเจ้าได้กระทำแล้วต่อ-

พระรัตนตรัยด้วยความนับถือเป็นพิเศษนี้นั้น ข้าพเจ้า

อันผู้ที่เป็นนักปราชญ์ยิ่งกว่านักปราชญ์ ผู้รู้อาคม

[ปริยัติ] เป็นวิญญูชน มียศใหญ่ได้ขอร้องด้วยการ

เอาใจแล้ว ๆ เล่า ๆ เป็นพิเศษว่า ท่านขอรับ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

ควรจะแต่งอรรถกถาอปทาน [ชีวประวัติ] เพราะ

ฉะนั้นข้าพเจ้าจักแสดงการพรรณนาเนื้อความอันงาม

แห่งพระบาลีในพระไตรปิฎกทีเดียว พร้อมทั้งชีว-

ประวัติที่ยังเหลืออยู่ เรื่องราวอันดีเยี่ยมนี้ใครกล่าวไว้

กล่าวไว้ที่ไหน กล่าวไว้เมื่อไรและกล่าวไว้เพื่ออะไร

ข้าพเจ้าจักกล่าวเรื่องนั้น ๆ แล้ว ก็มาถึงวิธีเพื่อที่จะให้

ฉลาดในเรื่องนิทาน เพราะจะทำให้เล่าเรียนและทรง

จำได้ง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น เรื่องราวที่ท่านจัดให้แปลก

ออกไปตามที่เกิดก่อนและหลัง รจนาไว้ในภาษา

สิงหลของเก่าก็ดี ในอรรถกถาของเก่าก็ดี เมื่อมาถึง

วิธีนั้น ๆ แล้ว ย่อมไม่ให้สำเร็จประโยชน์ตามที่สาธุ-

ชนต้องการ เหตุนั้นข้าพเจ้าก็จักอาศัยนัยตามอรรถ

กถาของเก่านั้น เว้นไม่เอาเนื้อความที่ผิดเสีย แสดง

แต่เนื้อความที่แปลกออกไป กระทำการพรรณนา

เฉพาะแต่ที่แปลก ซึ่งดีที่สุดเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

เพราะเหตุที่ได้ปฏิญาณไว้แล้วว่า เรื่องราวอันดีเยี่ยมใครกล่าวไว้

กล่าวไว้ในที่ไหนและกล่าวไว้เมื่อไร และว่าข้าพเจ้าจักทำการพรรณนาเนื้อความ

ดังนี้ ก็การพรรณนาเนื้อความแห่งชีวประวัตินั้น เมื่อข้าพเจ้าแสดงนิทานสาม

อย่างเหล่านี้ คือ ทูเรนิทาน [นิทานในที่ไกล] อวิทูเรนิทาน [นิทานในที่ไม่

ไกลนัก] สันติเกนิทาน [นิทานในที่ใกล้] พรรณนาอยู่ก็จักเป็นที่เข้าใจได้

แจ่มแจ้ง เพราะคนที่ได้ฟัง ได้เข้าใจมาตั้งแต่ได้อ่านแล้ว เพราะฉะนั้นข้าพเจ้า

จึงจักแสดงนิทานเหล่านั้นพรรณนาชีวประวัตินั้น บรรดานิทานเหล่านั้น ก่อน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

อื่นควรทราบปริเฉท [ข้อความที่กำหนดไว้เป็นตอนๆ] เสียก่อน. กถามรรค

ที่เล่าเรื่องตั้งแต่พระะมหาสัตว์ได้ตั้งปรารถนาอย่างจริงจัง ณ เบื้องบาทมลของ

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าที่ปังกร จนถึงจุติจากอัตภาพเป็นพระเวสสันดร

แล้วไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต จัดเป็นทูเรนิทาน.

กถามรรคที่เล่าเรื่องทั้งแต่จุติจากภพสวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงบรรลุพระ-

สัพพัญญุตญาณที่ควงไม้โพธิ์ จัดเป็นอวิทูเรนิทาน.

ส่วนสันติเกนิทานมีปรากฏอยู่ในที่ต่าง ๆ ของพระองค์ที่เสด็จประทับ

อยู่ในที่นั้น ๆ ด้วยประการฉะนี้.

ทูเรนิทาน

ในนิทานเหล่านั้น ที่ชื่อทูเรนิทานมีดังต่อไปนี้ เล่ากันมาว่า ในที่สุด

สี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ ได้มีนครหนึ่งนามว่า อมรวดี ในนครนั้นมี

พราหมณ์ชื่อสุเมธอาศัยอยู่ เขามีกำเนิดดี มีครรภ์อันบริสุทธิ์ ทั้งทางฝ่ายมารดา

และฝ่ายบิดานับได้เจ็ดชั่วตระกูลใครจะดูถูกมิได้ หาผู้ตำหนิมิได้เกี่ยวกับเรื่อง

เชื้อชาติ มีรูปสวย น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยผิวพรรณอันงามยิ่ง เขา

ไม่การทำการงานอย่างอื่นเลย ศึกษาแต่ศิลปะของพราหมณ์ บิดาและมารดาของ

เขาได้ถึงแก่กรรมเสียตั้งแต่เขารุ่นหนุ่ม ต่อมาอำมาตย์ผู้จัดการผลประโยชน์นำ

เอาบัญชีทรัพย์สินมา เปิดห้องคลังที่เต็มไปด้วยทองเงินแก้วมณีและแก้วมุกดา

เป็นต้น บอกให้ทราบถึงทรัพย์ตลอดเจ็ดชั่วตระกูลว่า ข้าแต่กุมาร ทรัพย์สิน

เท่านี้เป็นของมารดา เท่านี้เป็นของบิดา เท่านี้เป็นของปู่ตาและทวดแล้วเรียน

ว่า ขอท่านจงจัดการเถิด สุเมธบัณฑิตคิดว่า ปู่เป็นต้นของเราสะสมทรัพย์นี้

ไว้แล้ว เมื่อจะไปสู่ปรโลกที่ชื่อว่าจะถือเอาทรัพย์เเม้กหาปณะหนึ่งติดตัวไปด้วย

หามีไม่ แต่เราควรการทำเหตุที่จะให้ถือเอาทรัพย์ไปด้วยได้ ดังนี้แล้วได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

กราบทูลแด่พระราชา ให้ตีกลองป่าวร้องไปในพระนครให้ทานแก่มหาชนแล้ว

ออกบวชเป็นดาบส ก็เพื่อที่จะให้เนื้อความนี้แจ่มแจ้งควรจะกล่าวสุเมธกถาไว้

ในที่นี้ด้วย แต่สุเมธกถานี้มีมาแล้วในพุทธวงศ์ติดต่อกัน แต่เพราะเล่าเรื่อง

ประพันธ์เป็นคาถาจึงไม่ใคร่จะแจ่มชัดดีนัก. เพราะฉะนั้นข้าพเจ้าจักกล่าว

พร้อมกับแสดงคำที่ประพันธ์เป็นคาถาแทรกไว้ในระหว่างๆ ในที่สุดแห่งสี่อสง-

ไขยยิ่งด้วยแสนกัป ได้มีพระนครมีนามว่า อมรวดี และอีกนามหนึ่งว่า อมร

อึกทึกไปด้วยเสียง ๑๐ เสียง ที่ท่านหมายถึงเสียงที่กล่าวไว้ในพุทธวงศ์ ว่า

ในสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป มีพระนครหนึ่ง

นามว่า อมร เป็นเมืองสวยงามน่าดู น่ารินรมย์

สมบูรณ์ด้วยข้าวและน้ำ อึกทึกไปด้วยเสียง ๑๐ เสียง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทสหิ สทฺเทหิ อวิวิตฺต ความว่า

อึกทึกไปด้วยเสียงเหล่านี้คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียง

ตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงสังข์ เสียงกังสดาล เสียงที่ ๑๐ ว่า

เชิญกิน เชิญขบเคี้ยว เชิญดื่ม ซึ่งท่านถือเอาเพียงเอกเทศหนึ่งแห่งเสียง

เหล่านั้นจึงกล่าวคาถานี้ไว้ในพุทธวงศ์ว่า

กึกก้องด้วยเสียงช้าง เสียงม้า เสียงกลอง เสียง

สังข์และเสียงรถ เสียงป่าวร้องด้วยข้าวและน้ำว่า เชิญ

ขบเคี้ยว เชิญดื่ม.

แล้วกล่าวว่า

พระนครอันสมบูรณ์ด้วยคุณลักษณะทุกประการ

เข้าถึงความเป็นพระนครที่มีสิ่งต้องการทุกชนิด สม -

บูรณ์ด้วยแก้วเจ็ดประการ ขวักไขว่ไปด้วยเหล่าชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

ต่าง ๆ มั่งคั่งเป็นดุจเทพนารี เป็นที่อาศัยอยู่ของเหล่า

ผู้มีบุญ. พราหมณ์ชื่อสุเมธ มีสมบัติสะสมไว้นั้นได้

หลายโกฏิ มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย เป็นผู้คง

แก่เรียน ทรงมนต์ได้มาก เรียนจบไตรเพท ถึงความ

สำเร็จบริบูรณ์ในลักขณศาสตร์ อิติหาสศาสตร์ และ

ในสัทธรรม.

ต่อมาวันหนึ่ง สุเมธบัณฑิตนั้น ไปในที่เร้น ณ พื้นปราสาทชั้นบนนั่ง

ขัดสมาธิคิดว่า นี่แน่ะบัณฑิตการเกิดอีก. ชื่อว่าการถือปฏิสนธิเป็นทุกข์ การแตก

ดับแห่งสรีระในที่ที่เกิดแล้ว ก็เป็นทุกข์เช่นกัน และเราก็มีการเกิดเป็นธรรมดา

มีความแก่เป็นธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดา มีความตายเป็นธรรมดา

ควรที่เราผู้เป็นเช่นนี้ จะแสวงหาพระมหานิพพานที่ไม่มีเกิด ไม่มีแก่ ไม่มีทุกข์

มีแต่สุข เยือกเย็น ไม่รู้จักตาย ทางสายเดียวที่พ้นจากภพมีปรกตินำไปสู่

พระนิพพานจะพึงมีแน่นอน ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เราเข้าไปสู่ที่เร้นนั่งแล้วในตอนนั้นได้คิดว่า ขึ้น

ชื่อว่า การเกิดใหม่เป็นทุกข์ การแตกดับแห่งสรีระก็

เป็นทุกข์ เรามีความเกิดเป็นธรรมดา มีความแก่เป็น

ธรรมดา มีความเจ็บป่วยเป็นธรรมดาเช่นกัน เราจัก

แสวงหาพระนิพพานที่ไม่แก่ ไม่ตาย เป็นแดนเกษม

ไฉนหนอเราไม่พึงมีเยื่อใย ไร้ความต้องการทิ้งร่างกาย

เน่าซึ่งเต็มไปด้ายทรากศพนานาชนิดนี้เสียได้ แล้วไป

ทางนั้นมีอยู่ จักมีแน่ ทางนั้นอันใคร ๆ ไม่อาจที่จะไม่

ให้มีได้ เราจักแสวงหาทางนั้น เพื่อพ้นจากภพให้ได้

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

ต่อจากนั้นก็คิดยิ่งขึ้นไปอีกอย่างนี้ว่า เหมือนอย่างว่า ชื่อว่าสุขที่เป็น

ปฏิปักษ์ต่อทุกข์มีอยู่ในโลกฉันใด เมื่อภพมีอยู่แม้สิ่งที่ปราศจากภพอันเป็นปฏิ-

ปักษ์ต่อภพนั้น ก็พึงมีฉันนั้น และเหมือนเมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความเย็นที่จะ

ระงับความร้อนนั้นก็ต้องมีฉันใด แม้พระนิพพานที่ระงับไฟมีราคะเป็นต้นก็

พึงมีฉันนั้น ธรรมที่ไม่มีโทษอันงามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อธรรมอันเป็นบาปอัน

ลามก ย่อมมีอยู่ฉันใด เมื่อชาติอันลามกมีอยู่ แม้พระนิพพานกล่าวคือความไม่

เกิด เพราะให้ความเกิดทุกอย่างสิ้นไป ก็พึงมีฉันนั้น ดังนี้ เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อทุกข์มีอยู่ ขึ้นชื่อว่าสุขก็ต้องมีฉันใด เมื่อ

ภพมีอยู่ แม้สภาพที่ปราศจากภพก็ควรปรารถนาฉัน

นั้น เมื่อความร้อนมีอยู่ ความเย็นอีกอย่างก็ต้องมี

ฉันใด ไฟสามอย่างมีอยู่ พระนิพพานก็ควรปรารถนา

ฉันนั้น เมื่อสิ่งชั่วมีอยู่ แม้ความดีงามก็ต้องมีฉันใด

ความเกิดมีอยู่ แม้ความไม่เกิด ก็ควรปรารถนาฉันนั้น

ดังนี้.

ท่านยังคิดข้ออื่น ๆ อีกว่า บุรุษผู้จมอยู่ในกองคูถเห็นสระใหญ่ดาดาษ

ไปด้วยดอกปทุมห้าสีแต่ไกล ควรที่จะแสวงหาสระนั้นด้วยคิดว่า เราควรจะไปที่

สระนั้นโดยทางไหนหนอ การไม่แสวงหาสระนั้น หาเป็นความผิดของสระนั้นไม่

แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันใด เมื่อสระใหญ่คืออมตนิพพานเป็น

ที่ชำระล้างมลทินคือกิเลสมีอยู่ การไม่แสวงหาสระนั้นไม่เป็นความผิดของสระ

ใหญ่คืออมตนิพพาน แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

อนึ่งบุรุษผู้ถูกพวกโจรห้อมล้อม เมื่อทางหนีมีอยู่ ถ้าเขาไม่หนีไป ข้อนั้นหา

เป็นความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นเท่านั้นฉันใด บุรุษผู้ถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

กิเลสห้อมล้อมจับไว้ได้แล้ว เมื่อทางอันเยือกเย็นเป็นที่ไปสู่พระนิพพานมีอยู่

แต่ไม่แสวงหาทางนั้น หาเป็นความผิดของทางไม่ แต่เป็นความผิดของบุคคลนั้น

เท่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน และบุรุษผู้ถูกพยาธิเบียดเบียน เมื่อหมอผู้รักษาความ

เจ็บป่วยมีอยู่ หากเขาไม่แสวงหาหมอนั้นให้รักษาความเจ็บป่วย ข้อนั้นหาเป็น

ความผิดของหมอไม่ แต่เป็นความผิดของบุรุษนั้นฉันใด ผู้ใดถูกพยาธิคือกิเลส

เบียดเบียน ไม่แสวงหาอาจารย์ผู้ฉลาดในการระงับกิเลสซึ่งมีอยู่ ข้อนั้นเป็น

ความผิดของผู้นั้นเท่านั้น หาเป็นความผิดของอาจารย์ผู้ทำกิเลสให้พินาศไม่

ฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

บุรุษผู้ตกอยู่ในคูถ เห็นสระมีน้ำเต็มเปี่ยม ไม่ไป

หาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของสระไม่ฉันใด

เมื่อสระคืออมตะในการที่จะชำระล้างมลทินคือกิเลส

มีอยู่ เขาไม่ไปหาสระนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของ

สระคืออมตะไม่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

คนผู้ถูกศัตรูกลุ้มรุมเมื่อทางหนีไปมีอยู่ไม่หนีไป

ข้อนั้นหาเป็นความผิดของทางไม่ฉันใด คนที่ถูกกิเลส

กลุ่มรุม เมื่อทางปลอดภัยมีอยู่ไม่ไปหาทางนั้น ข้อ

นั้น หาเป็นความผิดของทางที่ปลอดภัยนั้นไม่ ฉันนั้น

เหมือนกัน.

คนผู้เจ็บป่วยเมื่อหมอรักษาโรคมีอยู่ ไม่ยอมให้

รักษาความเจ็บป่วยนั้น ข้อนั้นหาเป็นความผิดของ

หมอนั้นไม่ ฉันใด คนผู้ได้รับทุกข์ถูกความเจ็บป่วย

คือกิเลสเบียดเบียนแล้ว ไม่ไปหาอาจารย์นั้น ข้อนั้น

หาเป็นความผิดของอาจารย์ผู้แนะนำไม่ ฉันนั้น

เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

ท่านยังนึกถึงแม้ข้ออื่น ๆ อีกว่า คนผู้ขอบแต่งตัวพึงทิ้งซากศพที่

คล้องไว้ที่คอไปได้อย่างมีความสุข ฉันใด แม้เราก็ควรทิ้งกายอันเน่านี้ไม่มี

อาลัยเข้าไปสู่นิพพานนครฉันนั้น ชายหญิงทั้งหลายถ่ายอุจจาระและปัสสาวะรด

บนพื้นที่อันสกปรกแล้ว ย่อมไม่เก็บใส่พกหรือเอาชายผ้าห่อไป ต่างรังเกียจ

ไม่มีอาลัยเลย กลับทิ้งไปเสียฉันใด แม้เราก็ควรจะไม่มีอาลัยทิ้งกายเน่านี้เสีย

เข้าไปสู่นิพพานนครอันเป็นอมตะฉันนั้น และนายเรือไม่มีอาลัยทิ้งเรือลำเก่า

คร่ำคร่าไปฉันใด แม้เราก็จะละกายอันเป็นที่หลั่งไหลออกจากปากแผลทั้งเก้านี้

ไม่มีอาลัยเข้าไปสู่นิพพานบุรี ฉันนั้น อนึ่ง บุรุษพาเอาแก้วนานาชนิดเดินทางไป

พร้อมกับโจร จึงละทิ้งพวกโจรเหล่านั้นเสีย เพราะกลัวจะเสียแก้วของตน

ถือเอาทางที่ปลอดภัย ฉันใด กรชกาย (กายที่เกิดจากธุลี) แม้นี้ ก็ฉันนั้น

เป็นเช่นกับโจรปล้นแก้ว ถ้าเราจักก่อตัณหาขึ้นในกายนี้ แก้วคือพระธรรม

อันเป็นกุศล คืออริยมรรคจะสูญเสียไป เพราะฉะนั้นควรที่เราจะละทิ้งกาย

อันเช่นกับโจรนี้เสีย แล้วเข้าไปสู่นิพพานนคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่าน จึง

กล่าวว่า

บุรุษปลดเปลื้องซากศพที่น่าเกลียด ซึ่งผูกไว้

ที่คอแล้วไป อยู่อย่างสุขเสรี อยู่ลำพังตนได้ ฉันใด

คนก็ควรละทิ้งร่างกายเน่า ที่มากมูลด้วยซากศพ

นานาชนิดไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร

ฉันนั้น.

ชายหญิงทั้งหลายถ่ายกรีสลงในที่ถ่ายอุจจาระทิ้ง

ไปอย่างไม่มีอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด

เราจะละทิ้งกายที่เต็มไปด้วยซากศพนานาชนิดนี้ไป

เหมือนคนถ่ายอุจจาระแล้วละทิ้งส้วมไปฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

เจ้าของละทิ้งเรือที่เก่าคร่ำคร่าผุพัง น้ำรั่วเข้าไป

ได้ ไม่มีความอาลัย ไม่มีความต้องการอะไร ฉันใด

เราจักละทิ้งกายนี้ที่มีช่องเก้าช่อง หลั่งไหลออกเป็น

นิตย์ เหมือนเจ้าของทิ้งเรือเก่าไป ฉะนั้น.

บุรุษไปพร้อมกับโจรถือห่อของไป เห็นภัยที่จะ

เกิดจากการตัดห่อของจึงทิ้งแล้วไปเสียฉันใด กายนี้

เปรียบเหมือนมหาโจร เราจักละทิ้งกายนี้ไปเพราะ

กลัวจะถูกตัดกุศล ฉันนั้นเหมือนกัน.

สุเมธบัณฑิตคิดเนื้อความประกอบด้วยเนกขัมมะนี้ ด้วยอุปมาต่าง ๆ

อย่างแล้ว สละกองแห่งโภคสมบัตินับไม่ถ้วนในเรือนของตน แก่เหล่าชนมี

คนกำพร้าและคนเดินทางไกลเป็นต้น ตามนัยที่กล่าวมาแล้วแต่หนหลัง ถวาย

มหาทานละวัตถุกามและกิเลสกามแล้ว ออกจากอมรนครคนเดียวเท่านั้น อาศัย

ภูเขาชื่อธรรมิกะในป่าหิมพานต์ สร้างอาศรม เนรมิตบรรณศาลาและที่จงกรม

เนรมิตขึ้นด้วยกำลังแห่งบุญของตน เพื่อจะละเว้นเสียจากโทษแห่งนิวรณ์ทั้ง

ห้า นำมาซึ่งกำลัง กล่าวคืออภิญญาที่ประกอบด้วยเหตุ อันเป็นคุณ ๘ อย่างตาม

ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เมื่อจิตมั่นคงแล้วอย่างนี้ ดังนี้ แล้วละทิ้งผ้า

สาฎกที่ประกอบด้วยโทษ ๙ ประการไว้ในอาศรมบทนั้น แล้วนุ่งห่มผ้าเปลือก

ไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๒ ประการบวชเป็นฤาษี. ท่านเมื่อบวชแล้วอย่างนี้

ก็ละบรรณศาลานั้น ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปหาโคน

ต้นไม้ซึ่งประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ เลิกละข้าวต่าง ๆ อย่างทั้งปวง หันมา

บริโภคผลไม้ที่หล่นจากต้นเอง เริ่มตั้งความเพียรด้วยอำนาจการนั่งการยืนและ

การจงกรม ในภายในเจ็ดวันนั่นเองก็ได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ท่านได้บรรลุ

กำลังแห่งอภิญญาตามที่ปรารถนาไว้นั้นด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

เราคิดอย่างนี้แล้วได้ให้ทรัพย์นั้นได้หลายร้อย

โกฏิ แก่คนยากจนอนาถา แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์

ในที่ไม่ไกลแห่งป่าหิมพานต์มีภูเขาชื่อธรรมิกะ เรา

สร้างอาศรมอย่างดีไว้ เนรมิตบรรณศาลาไว้อย่างดี

ทั้งยังเนรมิตที่จงกรมเว้นจากโทษ ๕ ประการไว้ใน

อาศรมนั้น เราได้กำลังอภิญญาประกอบด้วยองค์แปด

ประการ เราเลิกใช่ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙

ประการ หันมานุ่งผ้าเปลือกไม้อันประกอบด้วยคุณ

๑๒ ประการ เราเลิกละบรรณศาลาที่เกลื่อนกล่น

ไปด้วยโทษ ๘ ประการ เข้าไปสู่โคนไม้อันประกอบ

ด้วยคุณ ๑๐ ประการ เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูกโดย

ไม่มีส่วนเหลือเลย หันมาบริโภคผลไม้หล่นเองที่

สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอเนกประการ เราเริ่มตั้งความ

เพียรในที่นั่งที่ยืนและที่จงกรมในอาศรมบทนั้น ภาย

ในเจ็ดวันก็ได้บรรลุกำลังแห่งอภิญญา ดังนี้.

ในคาถานั้นด้วยบาลีนี้ว่า อสฺสโม สุกโต มยฺห ปณฺณสาล

สุมาปิต ท่านกล่าวถึงบรรณศาลาและที่จงกรมไว้ราวกะว่าสุเมธบัณฑิตสร้าง

ขึ้นด้วยมือของตนเอง แต่ในคาถานี้มีใจความดังต่อไปนี้ ท้าวสักกะทรงเห็น

ว่า พระมหาสัตว์จักเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์แล้ววันนี้จักถึงภูเขาชื่อธรรมิกะ จึง

รับสั่งเรียกวิสสุกรรมเทพบุตรว่า นี่พ่อ สุเมธบัณฑิตออกมาด้วยคิดว่า เราจัก

บวช ท่านจงเนรมิตที่อยู่ให้แก่พระมหาสัตว์นั้น วิสสุกรรมเทพบุตรนั้น รับพระ

ดำรัสของพระองค์แล้ว จึงเนรมิตอาศรมน่ารื่นรมย์ บรรณศาลาสร้างอย่างดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

ที่จงกรมน่าเบิกบานใจ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอาศรมบทนั้น ที่

สำเร็จด้วยอานุภาพแห่งบุญของพระองค์ จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตรที่ธรรมิก-

บรรพตนั้น อาศรมเราได้สร้างขึ้นอย่างดีแล้ว เนรมิตบรรณศาลาไว้อย่างดี

ทั้งยังเนรมิตที่จงกรมเว้นจากโทษ ๕ ประการไว้ใกล้อาศรมนั้นด้วย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกโต มยฺห แปลว่า เราสร้างอาศรม

ไว้อย่างดีแล้ว. บทว่า ปณฺณสาล สมมาปิต ความว่า แม้บรรณศาลาที่

มุงด้วยใบไม้เราก็สร้างไว้ดีแล้ว. บทว่า ปญฺจโทสวิวชฺชิต ความว่า ชื่อ

ว่าโทษของที่จงกรมมี ๕ อย่างเหล่านี้ คือ แข็งกระด้างและขรุขระ มีต้นไม้ภายใน

มุงไว้รกรุงรัง คับแคบมากนัก กว้างขวางเกินไป จริงอยู่ เมื่อบุคคลเดิน

จงกรมบนที่จงกรมมีพื้นดินแข็งกระด้างและขรุขระ เท้าทั้งสองจะเจ็บปวด

เกิดการพองขึ้น จิตจึงไม่ได้ความเเน่วแน่ และกรรมฐานก็จะวิบัติ แต่กรรม

ฐานจะถึงพร้อมเพราะอาศัยการอยู่สบาย ในพื้นที่อ่อนนุ่มและราบเรียบ เพราะ

ฉะนั้น พึงทราบว่า พื้นที่แข็งกระด้างและขรุขระเป็นโทษอันหนึ่ง. เมื่อต้นไม้

มีอยู่ภายในหรือท่ามกลาง หรือที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่ออาศัยความประมาท

เดินจงกรม หน้าผากหรือศีรษะก็จะกระทบ เพราะฉะนั้น มีต้นไม้ภายในจึง

เป็นโทษข้อที่ ๒. เมื่อเดินจงกรมบนที่จงกรมมุงไว้รกรุงรังด้วยหญ้าและเถาวัลย์

เป็นต้น ในเวลากลางคืนก็จะเหยียบสัตว์มีงูเป็นต้น ทำให้มันตาย หรือจะ

ถูกพวกมันกัดได้รับความเดือดร้อน เพราะฉะนั้น การที่มุงบังรกรุงรังจึงจัด

เป็นโทษข้อที่ ๓. เมื่อเดินจงกรมบนที่จงกรมแคบเกินไป จึงมีกำหนดโดย

กว้างเพียงศอกเดียวหรือครึ่งศอก เล็บบ้าง นิ้วมือบ้าง จะไปสะดุดเข้าแล้วแตก

เพราะฉะนั้น ความคับแคบเกินไปจึงเป็นโทษข้อที่ ๔. เมื่อเดินจงกรมบนที่

จงกรมกว้างขวางเกินไปจิตย่อมวิ่งพล่าน จะไม่ได้ความมีอารมณ์แน่วแน่

เพราะฉะนั้น การที่ที่กว้างขวางเกินไปจึงเป็นโทษข้อที่ ๕. ที่เดินจงกรมโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

ส่วนกว้างได้ศอกครึ่ง ในสองข้างมีประมาณศอกหนึ่ง ที่เดินจงกรมโดยส่วน

ยาวมีประมาณ ๖๐ ศอก มีพื้นอ่อนนุ่ม มีทรายโรยไว้เรียบเสมอ ก็ใช้ได้

เหมือนที่เดินจงกรมของพระมหินทเถระ. ผู้ปลูกฝังความเลื่อมใสให้ชาวเกาะที่

เจติยคิรีวิหารก็ได้เป็นเช่นนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราได้สร้างที่

เดินจงกรมไว้ในอาศรมนั้น อันเว้นจากโทษ ๕ ประการ.

บทว่า ปฏฺคุณสมุเปต คือประกอบด้วยสุขของสมณะ ๘ ประการ

ชื่อว่าสุขของสมณะ ๘ ประการนั้นมีดังนี้คือ ไม่มีการหวงแหนทรัพย์สินและ

ข้าว แสวงหาแต่บิณฑบาตที่ไม่มีโทษ บริโภคแต่บิณฑบาตที่เย็น ไม่มีการ

บีบบังคับราษฎร ในเมื่อพวกลูกหลวงทั้งหลายเที่ยวบีบบังคับราษฎรถือเอา

ทรัพย์มีค่าและเหรียญกษาปณ์ตะกั่วเป็นต้น ปราศจากความกำหนัดด้วยอำนาจ

ความพอใจในเครื่องอุปกรณ์ทั้งหลาย ไม่มีความกลัวภัยในเรื่องถูกโจรปล้น

ไม่ต้องไปคลุกคลีกับพระราชาและราชอำมาตย์ ไม่ถูกกระทบกระทั่งในทิศทั้ง

๔. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ผู้อยู่ในอาศรมนั้นสามารถที่จะประสบสุขของสมณะ

๘ อย่าง เหล่านี้ได้ฉันใด เราสร้างอาศรมนั้นประกอบด้วยคุณ ๘ อย่าง ฉันนั้น.

บทว่า อภิญฺาพลมาหรึ ความว่า ภายหลังเมื่อเราอยู่ในอาศรมนั้น กระ-

ทำบริกรรมในกสิณแล้ว เริ่มวิปัสสนาโดยความเป็นของไม่เที่ยงและโดยความ

เป็นทุกข์ เพื่อต้องการความเกิดขึ้นแห่งอภิญญาและสมาบัติ แล้วก็ได้กำลังแห่ง

วิปัสสนาอันทรงเรี่ยวแรง. อธิบายว่า เมื่อเราอยู่ในอาศรมนั้นสามารถนำกำลัง

นั้นมาได้ ฉันใด เราได้สร้างอาศรมนั้นกระทำให้เหมาะสมแก่กำลังแห่งวิปัสสนา

นั้น เพื่อประโยชน์แก่อภิญญา.

ในคาถานี้ว่า วสฏก ปชหึ ตตฺถ นวโทสมุปาคต มีคำที่จะ

กล่าวไปตามลำดับดังต่อไปนี้ ได้ยินว่าในกาลนั้น เมื่อวิสสุกรรมเทพบุตร

เนรมิตอาศรม ที่ประกอบด้วยกระท่อม ที่เร้น และที่เดินจงกรมโดยทางโค้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

ดาดาษไปด้วยต้นไม้ผลิดอกออกผล มีน้ำมีรสอร่อยน่ารื่นรมย์ ปราศจากสัตว์

ร้ายและนกมีเสียงร้องน่าสะพรึงกลัวต่าง ๆ ควรแก่การสงบสงัด จัดหาพะนัก

สำหรับพิงไว้ที่ที่สุดสองข้างแห่งที่เดินจงกรมอันตกแต่งแล้ว ตั้งแผ่นหินมีสี

ดังถั่วเขียวมีหน้าเสมอไว้ที่ตรงท่ามกลางที่เดินจงกรม ในภายในบรรณศาลา

เนรมิตสิ่งของทุกอย่างที่จะเป็นไปเพื่ออุปการะแก่บรรพชิตอย่างนี้คือ ชฎามณ-

ฑล (ชฎาทรงกลม) ผ้าเปลือกไม้ บริขารของดาบสมีไม้สามง่ามเป็นต้น ที่ซุ้ม

น่ามีหม้อน้ำดื่ม สังข์ตักน้ำดื่ม ขันตักน้ำดื่ม ที่โรงไฟมีกะทะรองถ่านและไม้

ฟืนเป็นต้น ที่ฝาผนังแห่งบรรณาศาลาเขียนอักษรไว้ว่า ใคร ๆ มีประสงค์จะ

บวชจงถือเอาบริขารเหล่านี้บวชเถิด แล้วไปสู่เทวโลก สุเมธบัณฑิตไปสู่ป่า

หิมพานต์ตามทางแห่งซอกเขา มองหาที่ผาสุกควรจะอาศัยอยู่ได้ของตน มองเห็น

อาศรมน่ารื่นรมย์ ที่วิสสุกรรมเทพบุตรเนรมิตไว้ อันท้าวสักกะประทานให้ที่

ทางไหลกลับแห่งแม่น้ำ จึงไปที่ท้ายที่เดินจงกรม มิได้เห็นรอยเท้าจึงคิดว่า

บรรพชิตแสวงหาภิกขาในบ้านใกล้ แล้วเหน็ดเหนื่อยจักมา เข้าไปสู่บรรณศาลา

แล้วนั่งแน่แท้ จึงรออยู่หน่อยหนึ่งคิดว่า บรรพชิตชักช้าเหลือเกิน เราอยาก

จะรู้นัก จึงเปิดประกุฏิในบรรณศาลาเข้าไปข้างใน ตรวจดูข้างโนนและข้าง

นี้ อ่านอักษรที่ฝาผนังแผ่นใหญ่แล้วคิดว่า กัปปิยะบริขารเหล่านั้นเป็นของเรา

เราจักถือเอาบริขารเหล่านั้นบวช จึงเปลื้องทิ้งผ้าสาฎกทั้งคู่ที่ตนนุ่งและห่มแล้ว

ไว้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เราเปลื้องทิ้งผ้าสาฎกไว้ในบรรณศาลานั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนสารีบุตร เราเข้าไปอย่างนี้แล้ว เปลื้องทิ้ง

ผ้าสาฎกอันประกอบด้วยโทษ ๙ ประการ ไว้ในบรรณศาลานั้น เพราะฉะนั้น

เราเมื่อจะเปลื้องทิ้งผ้าสาฎก จึงเปลื้องทิ้งไปเพราะเห็นโทษ ๙ ประการ. จริง

อยู่สำหรับผู้ที่บวชเป็นดาบส โทษ ๙ ประการย่อมปรากฏในผ้าสาฎก คือ มีค่า

มากเป็นโทษอันหนึ่ง. เกิดขึ้นเพราะเกี่ยวเนื่องกับคนอื่นหนึ่ง เศร้าหมองเร็ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

เพราะการใช้สอยหนึ่ง เศร้าหมองแล้วจะต้องชักและต้องย้อม การที่เก่าไป

เพราะการใช้สอยเป็นโทษอันหนึ่ง. ก็สำหรับผ้าที่เก่าแล้วจะต้องทำการชุนหรือ

ใช้ผ้าดาม การที่จะได้รับด้วยการแสวงหาอีกก็ยาก เป็นโทษอันหนึ่ง, ไม่

เหมาะสมกับการบวชเป็นดาบส เป็นโทษอันหนึ่ง. เป็นของทั่วไปแก่ศัตรู

เป็นโทษอันหนึ่ง. เพราะจะต้องคุ้มครองไว้โดยอาการที่ศัตรูจะถือเอาไม่ได้เป็น

เครื่องประดับประดาของผู้ใช้สอยเป็นโทษอันหนึ่ง. สำหรับผู้ถือเที่ยวไปเป็น

คนมักมากในสิ่งที่เป็นของใช้ประจำตัว เป็นโทษอันหนึ่ง. บทว่า วากจีร

นิวาเสสึ ความว่า ดูก่อนสารีบุตร ครั้งนั้นเราเห็นโทษ ๙ ประการเหล่านั้นจึง

เปลื้องทิ้งผ้าสาฎกนุ่งผ้าเปลือกไม้ คือใช้ผ้าเปลือกไม้ที่ฉีกหญ้ามุงกระต่ายให้

เป็นชิ้นน้อยใหญ่ถักเข้ากันกระทำขึ้น เพื่อประโยชน์จะใช้เป็นผ้านุ่งและผ้าห่ม.

บทว่า ทฺวาทสคุณมุปาคต คือประกอบด้วยอานิสงส์ ๑๒ ประการ

ก็ในผ้าเปลือกไม้มีอานิสงส์ ๑๒ ประการ คือราคาถูกดีสมควร นี้เป็นอานิสงส์อัน

หนึ่งก่อน สามารถทำด้วยมือตนเอง นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๒ จะเศร้าหมองช้า ๆ

ด้วยการใช้สอย แม้ซักก็ไม่ชักช้า นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๓ แม้จะเก่าไปเพราะการ

ใช้สอยก็ไม่ต้องเย็บ นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๔ เมื่อแสวงหาใหม่ก็ทำได้ง่าย นี้เป็น

อานิสงส์ที่ ๕ เหมาะกับการบวชเป็นดาบส เป็นอานิสงส์ที่ ๖ ผู้เป็นศัตรูไม่

ใช้สอย เป็นอานิสงส์ที่ ๗ เมื่อใช้สอยอยู่ก็ไม่เป็นที่ตั้งแห่งการประดับประดา

เป็นอานิสงส์ที่ ๘ จะนุ่งห่มก็เบา นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๙ แสดงว่ามักน้อยใน

ปัจจัยคือจีวร นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๑๐ การเกิดขึ้นแห่งเปลือกไม้ เป็นของชอบ

ธรรมและไม่มีโทษ เป็นอานิสงส์ที่ ๑๑ เมื่อผ้าเปลือกไม้แม้จะสูญหายไปก็ไม่

มีอาลัย นี้เป็นอานิสงส์ที่ ๑๒.

บทว่า อฏฺโทสสมากิณฺณ ปชหึ ปณฺณสาลก ความว่า เราละ

อย่างไร ได้ยินว่าสุเมธบัณฑิตนั้นเปลื้องผ้าสาฎกเนื้อดีทั้งคู่ออกแล้ว ถือเอาผ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

เปลือกไม้สีแดงเช่นกับพวงแห่งดอกอังกาบ ซึ่งคล้องอยู่ที่ราวจีวร แล้วนุ่ง

ห่มผ้าเปลือกไม้สีดังทองอีกผืนหนึ่งบนผ้าเปลือกไม้นั้น กระทำหนังเสือพร้อม

ทั้งเล็บเช่นกับสัณฐานของดอกบุนนาคพาดเฉวียงบ่า รวบชฎามณฑลแล้วสอด

ปิ่นปักผมทำด้วยไม้แข็งเข้าไปตรึงไว้กับมวย เพื่อทำให้ไม่ไหวติง ได้วางคนโท

น้ำมีสีดังแก้วประพาฬในสาแหรกเช่นกับพวงแก้วมุกดา ถือเอาหาบโค้งในที่

สามแห่ง คล้องคนโทน้ำไว้ที่ปลายหาบ ขอและตะกร้า ไม้สามง่ามเป็นต้น ไว้

ที่ปลายข้างหนึ่ง เอาหาบดาบสบริขารวางบนบ่า เอามือขวาถือไม้เท้าออกไป

จากบรรณศาลาเดินจงกรมอยู่ไปมาบนที่เดินจงกรม มีประมาณ ๖๐ ศอก มอง

ดูเพศของตนแล้วคิดว่า มโนรถของเราถึงที่สุดแล้ว การบรรพชาของเรางาม

จริงหนอ ขึ้นชื่อว่าบรรพชานี้อันท่านผู้เป็นธีรบุรุษทั้งปวง มีพระพุทธเจ้าและ

พระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญชมเชยแล้ว เครื่องผูกมัดของคฤหัสถ์

เราละแล้ว เรากำลังออกบวช เราออกบวชแล้วได้บรรพชาอันสูงสุด เราจัก

กระทำสมณธรรม เราจักได้สุขอันเกิดแต่มรรคผล ดังนี้แล้วเกิดความอุตสาหะ

วางหาบดาบสบริขารลง นั่งลงบนแผ่นหินมีสีดังถั่วเขียวเหมือนดังรูปปั้นทอง

ฉะนั้น ให้เวลากลางวันสิ้นไป เข้าไปสู่บรรณศาลาในเวลาเย็น นอนบนเสื่อ

ที่ถักด้วยแขนงไม้ข้างเตียงหวาย ให้ตัวได้รับอากาศพอสบาย แล้วตื่นขึ้นตอน

ใกล้รุ่ง คำนึงถึงการมาของตนว่า เราเห็นโทษในฆราวาสแล้วสละโภคสมบัติ

นับไม่ถ้วน ยศอันหาที่สุดมิได้ เข้าไปสู่ป่าแสวงหาเนกขัมมะบวช จำเดิมแต่นี้

ไปเราจะประพฤติตัวด้วยความประมาทหาควรไม่ เพราะแมลงวัน คือมิจฉาวิตก

ย่อมจะกัดกินผู้ที่ละความสงบสงัดเที่ยวไป บัดนี้ ควรที่เราจะพอกพูนความสงบ

สงัด ด้วยว่าเรามองเห็นการอยู่ครองเรือนโดยความเป็นของมีแต่กังวลจึงออก

มา บรรณศาลาน่าพอใจนี้ พื้นที่ซึ่งล้อมรั้วไว้ราบเรียบแล้วมีสีดังมะตูมสุก

ฝาผนังสีขาวมีสีราวกะเงิน หลังคาใบไม้มีสีดังเท้านกพิราบ เตียงหวายมีสีแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

เครื่องปูลาดอันงดงาม ที่อยู่พออยู่อาศัยได้อย่างผาสุก ความพร้อมมูลแห่ง

เรือนของเรา ปรากฏเหมือนจะมียิ่งกว่านี้ ดังนี้เลือกเฟ้นโทษของบรรณศาลา

อยู่ ก็ได้เห็นโทษ ๘ ประการ. จริงอยู่ในการใช้สอยบรรณศาลามีโทษ ๘

ประการ คือ จะต้องแสวงหาด้วยการรวบรวมขึ้นด้วยทัพสัมภาระที่มีน้ำหนัก

มากกระทำ เป็นโทษข้อหนึ่ง จะต้องช่อมแซมอยู่เป็นนิตย์ เพราะเมื่อหญ้า

ใบไม้และดินเหนียวร่วงหล่นลงมาจะต้องเอาของเหล่านั้น วางไว้ที่เดิมแล้ว ๆ

เล่า ๆ เป็นโทษข้อที่ ๒ ธรรมดาเสนาสนะจะต้องตกแก่คนแก่ก่อน เมื่อ

เขาเข้ามาให้เราลุกขึ้นในเวลาที่ไม่เหมาะ ความแน่วแน่แห่งจิตก็จะมีไม่ได้

เพราะฉะนั้น การที่ถูกปลุกให้ลุกขึ้นจึงเป็นโทษข้อที่ ๓ เพราะกำจัดเสียได้ซึ่ง

หนาวและร้อน ก็จะทำให้ร่างกายบอบบาง (ไม่แข็งแรง) เป็นโทษข้อที่ ๔

คนเข้าไปสู่เรือนอาจทำความชั่วอย่างใดอย่างหนึ่งได้ เพราะฉะนั้น การที่ปก

ปิดสิ่งน่าติเตียน เป็นโทษข้อที่ ๕ การหวงแหนด้วยคิดว่าเป็นของเรา เป็น

โทษข้อที่ ๖ ธรรมดาการมีเรือนแสดงว่าต้องมีภรรยา เป็นโทษข้อที่ ๗ เป็น

ของทั่วไปแก่ตนหมู่มาก เพราะเป็นสาธารณะแก่สัตว์มีเล็น เรือด และตุ๊กแก

เป็นต้น เป็นโทษข้อที่ ๘. บทว่า อิเม ความว่า พระมหาสัตว์เห็นโทษ

๘ ประการเหล่านี้ แล้วจึงเลิกละบรรณศาลา. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เราเลิกละบรรณศาลาที่เกลื่อนกล่นด้วยโทษ ๘ ประการ.

บทว่า อุปาคมึ รุกฺขมูล คุเณ ทสหุปาคต ความว่า พระมหา-

สัตว์กล่าวว่า เราห้ามที่มุงบัง เข้าหาโคนต้นไม้ที่ประกอบด้วยคุณ ๑๐ ประการ

ในข้อนั้น คุณ ๑๐ ประการมีดังต่อไปนี้ มีความยุ่งยากน้อยเป็นคุณข้อที่ ๑ เพราะ

เพียงแต่เข้าไปเท่านั้นก็อยู่ที่นั่นได้ เพราะฉะนั้นจึงไม่ต้องดูแลรักษา เป็นคุณ

ข้อที่ ๒ ก็ที่นั้น จะหัดกวาดก็ตาม ไม่ปัดกวาดก็ตาม ก็ใช้สอยได้อย่างสบาย

เหมือนกัน การที่ไม่ต้องบากบั่นนัก เป็นคุณข้อที่ ๓ ที่นั้น ปกปิดความนินทา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ไม่ได้ เพราะเมื่อคนทำความชั่วในที่นั้นย่อมละอาย เพราะฉะนั้น การปกปิด

ความนินทาไม่ได้ เป็นคุณข้อที่ ๘ โคนไม้เหมือนกับอยู่ในที่กลางแจ้ง ย่อม

ไม่ยังร่างกายให้อึดอัด เพราะฉะนั้นการที่ร่างกายไม่อึดอัดจึงเป็นคุณข้อ ๕

ไม่มีการต้องทำการหวงแหนไว้ เป็นคุณข้อที่ ๖ ห้ามเสียได้ซึ่งความอาลัยใน

บ้านเรือน เป็นคุณข้อที่ ๗ ไม่มีการที่จะต้องพูดว่า เราจักปัดกวาดเช็ดถู

พวกท่านจงออกไป แล้วก็ไล่ไปเหมือนในเรือนที่ทั่วไปแก่คนหมู่มาก เป็น

คุณข้อที่ ๘ ผู้อยู่ก็ได้รับความเอิบอิ่มใจ เป็นคุณข้อที่ ๙ ไม่ต้องอาลัยอาวรณ์

เพราะเสนาสนะคือโคนต้นไม้หาได้ง่ายไม่ว่าจะไปที่ไหน เป็นคุณข้อที่ ๑๐.

พระมหาสัตว์เห็นคุณ ๑๐ อย่างเหล่านั้น จึงกล่าวว่า เราเข้าอาศัยโคนต้นไม้

ดังนี้. พระมหาสัตว์กำหนดเหตุมีประมาณเท่านี้เหล่านั้นแล้ว วันรุ่งขึ้นก็เข้าไป

เพื่อภิกษา. ครั้งนั้น พวกมนุษย์ในบ้านที่ท่านไปถึงได้ถวายภิกษาด้วยความ

อุตสาหะใหญ่ ท่านทำภัตกิจเสร็จแล้วมายังอาศรม นั่งลงแล้วคิดว่า เราบวช

ด้วยคิดว่าเราจะไม่ได้อาหารก็หาไม่ ธรรมดาว่าอาหารที่อร่อยนี้ย่อมยังความ

เมาด้วยอำนาจมานะและความเมาในความเป็นบุรุษให้เจริญ และที่สุดแห่งทุกข์

อันมีอาหารเป็นมูลไม่มี ถ้ากระไรเราพึงเลิกละอาหารที่เกิดจากข้าวที่เขาหว่าน

และปลูก บริโภคผลไม้ที่หล่นเองดังนี้. จำเดิมแต่นั้นท่านกระทำอย่างนั้น

พากเพียรพยายามอยู่ในภายในสัปดาห์หนึ่ง ทำให้สมาบัติ ๘ และอภิญญา ๕

เกิดขึ้นได้แล้ว. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เราเลิกละข้าวที่หว่านที่ปลูกโดยเด็ดขาด มา

บริโภคผลไม้ที่หล่นเอง ที่สมบูรณ์ด้วยคุณเป็นอันมาก

เราเริ่มตั้งความเพียรในการนั่ง การยืน และการเดิน

จงกรมที่โคนต้นไม้นั้น ในภายในสัปดาห์หนึ่ง ก็ได้

บรรลุอภิญญาพละ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

เมื่อสุเมธดาบสบรรลุอภิญญาพละอย่างนี้แล้ว ให้เวลาล่วงไปด้วยสุข

อันเกิดจากสมาบัติ พระศาสดาทรงพระนามว่าที่ปังกร เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

แล้ว ในการถือปฏิสนธิ การอุบัติขึ้น การตรัสรู้และการประกาศพระธรรม-

จักร โลกธาตุหมื่นหนึ่งแม้ทั้งสิ้นหวั่นไหวสั่นสะเทือนร้องลั่นไปหมด บุรพ-

นิมิต ๓๒ ประการปรากฏขึ้นแล้ว. สุเมธบัณฑิตให้เวลาล่วงเลยไปด้วยสุขอัน

เกิดแต่สมาบัติ ไม่ได้ยินเสียงนั้นเลย ทั้งไม่ได้เห็นนิมิตแม้เหล่านั้นด้วย.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อเราบรรลุความสำเร็จในศาสนาเป็นผู้มีความ

ชำนิชำนาญอย่างนี้ พระชินเจ้าผู้เป็นโลกนายกทรง

พระนามว่าที่ปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว เมื่อพระองค์

ทรงถือกำเนิด เสด็จอุบัติขึ้น ตรัสรู้ แสดงพระธรรม

เทศนา เราเอิบอิ่มอยู่ด้วยความยินดีในณาน มิได้เห็น

นิมิตทั้ง ๔ เลย.

ในกาลนั้นพระทศพลทรงพระนามว่าทีปังกร มีพระขีณาสพสี่แสน

ห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับเสด็จถึงนครชื่อรัมมกะ เสด็จประทับ

ณ สุทัสนมหาวิหาร. พวกชาวรัมมกนครได้กล่าวว่า ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าทรง

พระนามว่าทีปังกร ผู้เป็นใหญ่กว่าสนณะ ทรงบรรลุอภิสัมโพธิอย่างยิ่ง ทรง

ประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงรัมมกนครแล้ว

เสด็จประทับอยู่ที่สุทัสนมหาวิหาร ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใสและเนยข้นเป็น

นี้ และผ้าเครื่องนุ่งห่ม มีมือถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น พระพุทธ

พระธรรม พระสงฆ์อยู่ ณ ที่ใด ก็หลั่งไหลพากันติดตามไป ณ ที่นั้น ๆ เข้า

ไปเฝ้าพระศาสดาแล้วถวายบังคม บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นแล้วนั่ง

ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาแล้วทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น

๑. บางแห่งเป็นรัมมนคร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

พากัน ลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป. ในวันรุ่งขึ้นต่างพากันตระเตรียมมหาทานประดับ

ประดานคร ตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาของพระทศพล ในที่มีน้ำเซาะก็เอา

ดินถมทำพื้นที่ดินให้ราบเสมอ โรยทรายอันมีสีดังแผ่นเงิน โปรยปรายข้าว

ตอกและดอกไม้ ปักธงชายและธงแผ่นผ้าพร้อมด้วยผ้าย้อมสีต่าง ๆ ตั้งต้น

กล้วยและหม้อน้ำเต็มด้วยดอกไม้เรียงรายเป็นแถว. ในกาลนั้นสุเมธดาบสเหาะ

จากอาศรมบทของตน มาโดยทางอากาศ เบื้องบนของพวกมนุษย์เหล่านั้น

เห็นพวกเขาร่าเริงยินดีกันคิดว่า มีเหตุอะไรกันหนอ จึงลงจากอากาศยืน ณ

ที่ควรข้างหนึ่ง ถามพวกเขาว่า ท่านผู่เจริญ พวกท่านพากันประดับ ประดา

ทางนี้เพื่อใคร ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

พวกมนุษย์มีใจยินดีนิมนต์พระตถาคต ในเขต

แดนแห่งปัจจันตประเทศแล้ว พากันชำระสะสางทาง

เสด็จดำเนินมาของพระองค์ สมัยนั้นเราออกไปจาก

อาศรมของตน สะบัดผ้าเปลือกไม้ไปมาแล้ว ที่นั้นก็

เหาะไปทางอากาศ.

เราเห็นชนต่างเกิดความดีใจ ต่างยินดีร่าเริง ต่าง

ปราโมทย์ จึงลงจากท่องฟ้าไต่ถามพวกมนุษย์ทันที่ว่า

มหาชนยินดีร่าเริงปราโมทย์ เกิดความดีใจ พวกเขา

ชำระสะสางถนนหนทางเพื่อใคร.

พวกมนุษย์จึงเรียนว่า ข้าแต่ท่านสุเมธผู้เจริญ ท่านไม่ทราบอะไร พระ-

ทศพลทีปังกรทรงบรรลุสัมโพธิญาณแล้ว ประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ

เสด็จจาริกมาถึงนครของพวกเราแล้ว เสด็จพำนักที่สุทัสนมหาวิหาร พวกเรา

นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นมา จึงตกแต่งทางนี้ ที่จะเป็นที่เสด็จมา

ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าพระองค์นั้น. สุเมธดาบสคิดว่า แม้เพียงคำประกาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

ว่า พระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากในโลก จะป่วยกล่าวไปไยถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระ-

พุทธเจ้า แม้เราก็ควรจะร่วมกับมนุษย์เหล่านั้นตกแต่งทางเพื่อพระทศพลด้วย.

ท่านจึงกล่าวกะพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่านตกแต่งทางนี้เพื่อ

พระพุทธเจ้า ขอจงให้โอกาสส่วนหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เราก็จักตกแต่งทางเพื่อ

พระทศพลพร้อมกับพวกท่าน พวกเขาก็รับปากว่า ดีแล้ว ต่างรู้ว่า สุเมธ-

ดาบสมีฤทธิ์ จึงกำหนดที่ว่างซึ่งมีน้ำเซาะให้กล่าวว่า ท่านจงแต่งที่นี้เถิด แล้ว

มอบให้ไป สุเมธดาบสยึดเอาปีติซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์คิดว่า เราสามารถ

จะตกแต่งที่ว่างนี้ด้วยฤทธิ์ได้ แต่เมื่อเราตกแต่งเช่นนี้ ใจก็จะไม่ยินดีนัก วัน

นี้เราควรจะกระทำการรับใช้ด้วยกาย ดังนี้แล้ว ขนดินมาเทลงในที่ว่างนั้น.

เมื่อที่ว่างแห่งนั้น ยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทศพลทีปังกร มีพระขีณาสพผู้ได้

อภิญญา ๖ มีอานุภาพมาก สี่แสนรูปห้อมล้อม เมื่อเหล่าเทวดาบูชาอยู่ด้วยของ

หอมและดอกไม้ทิพย์ เมื่อสังคีตบรรเลงอยู่ เมื่อเหล่ามนุษย์บูชาอยู่ด้วยของ

หอมและดอกไม้ เสด็จเยื้องกรายบนพื้นมโนสิลา ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิ

ได้ ประดุจราชสีห์ เสด็จดำเนินนาสู่ทางที่ตกแต่งประดับประดาแล้วนั้น.

สุเมธดาบสลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของพระทศพลผู้เสด็จดำเนินมาตาม

ทางที่ตกแต่งแล้ว ซึ่งถึงความเลิศด้วยพระรูปโฉม ประดับด้วยพระมหาปุริส-

ลักษณะ ๓๒ ประการ สวยงามด้วยพระอนุพยัญชนะ (ลักษณะส่วนประกอบ)

๘๐ ประการ แวดวงด้วยแสงสว่างมีประมาณวาหนึ่ง เปล่งพระพุทธรัศมีหนา

ทึบมีสี ๖ ประการออกนาดูประหนึ่งสายฟ้าหลายหลาก ในพื้นท้องฟ้ามีสีดุจแก้ว

มณี ฉายแสงแปลบปลาบอยู่ไปมาและเป็นคู่ ๆ กัน จึงคิดว่า วันนี้เราควร

กระทำการบริจาคชีวิตแด่พระทศพล เพราะฉะนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่า

ได้ทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงย่ำหลังของเรา เสด็จพร้อมกับพระขีณาสพ

สี่แสนเหมือนทรงเหยียบสะพานแก้วมณีเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

ความสุขแก่เราตลอดกาลนาน ดังนี้แล้วแก้ผมออก ลาดหนังเสือ ชฎาและผ้า

เปลือกไม้วางลงบนเปือกตม ซึ่งมีสีดำ อนบนหลังเปือกตมเหมือนสะพานแผ่น

แก้วมณี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พวกมนุษย์เหล่านั้น ถูกเราถามแล้วยืนยันว่า

พระพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระชินะเป็นพระโลกนายก

ทรงพระนานว่า ทีปังกร เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก

พวกเขาแล้วถางถนนหนทางเพื่อพระองค์ ปีติเกิดขึ้น

แล้วแก่เราทันใดเพราะได้ฟังคำว่า พุทโธ เราเมื่อกล่าว

อยู่ว่า พุทโธ พุทโธ ก็ได้เสวยโสมนัสแล้ว เรายืน

อยู่ในที่นั้นยินดี มีใจเกิดความสังเวชจึงคิดว่า เราจัก

ปลูกพืชไว้ในที่นั้น ขณะอย่าได้ล่วงเลยเราไปเสียเปล่า

ข้าพวกท่านจะแผ้วถางหนทางเพื่อพระพุทธเจ้า ก็จง

ให้ที่ว่างแห่งหนึ่งแก่เรา แม่เราก็จักแผ้วถาง ถนนหน

ทางที่นั้น พวกเขาได้ให้ที่ว่างแก่เราเพื่อจะแผ้วถางทาง.

เวลานั้นเรากำลังคิดอยู่ว่า พุทโธ พุทโธ แผ้ว

ถางทาง เมื่อที่ว่างของเราทำไม่เสร็จ พระมหามุนี

ทีปังกรผู้เป็นพระชินเจ้า พร้อมกับพระขีณาสพสี่แสน

ได้อภิพญา ๖ ผู้คงที่ปราศจากมลทินเสด็จดำเนินมา

ทางนั้น การต้อนรับต่าง ๆ ก็มีขึ้น กลองมากมาย

บรรเลงขึ้น เหล่าคนและเทวดาล้วนร่าเริง ต่างทำ

เสียงสาธุการลั่นไปทั่ว เหล่าเทวดาเห็นพวกมนุษย์และ

แม้เหล่ามนุษย์ก็เห็นเทวดา แม้ทั้งสองพวกนั้นต่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

ประคองอัญชลีเดินตามพระตถาคตไป เหล่าเทวดาที่

เหาะมาทางอากาศก็โรยปรายดอกมณฑารพ ดอกบัว

หลวง ดอกปาริฉัตรอันเป็นทิพย์ไปทั่วทุกทิศ เหล่าคน

ที่อยู่บนพื้นดินต่างก็ชูดอกจำปา ดอก (สัลลชะ) ดอก

กระทุ่ม ดอกกากะทิง ดอกบุนนาค ดอกการะเกดไปทั่ว

ทุกทิศ เราแก้ผมออก เปลื้องผ้าเปลือกไม้และหนัง

เสือ ในที่นั้นลาดลงบนเปือกตมนอนคว่ำหน้า พระ

พุทธเจ้าพร้อมด้วยศิษย์จงทรงเหยียบเราเสด็จไป อย่า

ได้เหยียบบนเปือกตมเลย ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์แก่เรา ดังนี้.

สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นแล ลืมตาทั้งสองเห็นพระ-

พุทธสิริของพระทศพลทีปังกรจึงคิดว่า ถ้าเราพึงต้องการ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวง

หมดแล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลส

ด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพล

ทีปังกรบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่งแล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้มหาชนข้าม

สงสารสาครได้แล้วปรินิพพานภายหลัง ข้อนี้สมควรแก่เรา ดังนี้แล้ว ต่อจาก

นั้น ประมวลธรรม ๘ ประการกระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็น

พระพุทธเจ้าแล้วนอนลง. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อเรานอนบนแผ่นดินได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

วันนี้เราเมื่อปรารถนาอยู่ก็พึงเผากิเลสของเราได้ จะมี

ประโยชน์ อะไรแก่เราเล่าด้วยการทำให้แจ้งธรรมในที่

นี้ด้วยเพศที่ใคร ๆ ไม่รู้จัก เราบรรลุพระสัพพัญญุต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

ญาณจักเป็นพระพุทธเจ้าในโลกพร้อมทั้งเทวโลก จะ

มีประโยชน์อะไรแก่เราด้วยลูกผู้ชาย ผู้มีรูปร่างแข็ง

แรงนี้ข้ามฝั่งไปคนเดียว เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ

แล้วจักให้มนุษย์พร้อมทั้งเทวดาข้ามฝั่ง ด้วยการกระ-

ทำอันยิ่งใหญ่ของเรา ด้วยลูกผู้ชายผู้มีรูปร่างแข็งแรง

นี้ เราบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จะให้เหล่าชน

มากมายข้ามฝั่ง เราตัดกระแสน้ำคือสงสาร ทำลาย

ภพทั้งสามแล้ว ขึ้นสู่ธรรมนาวา จักให้มนุษย์พร้อม

ทั้งเทวดาข้ามฝั่ง ดังนี้.

ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าอยู่ ความปรารถนาที่ยิ่ง

ใหญ่จะสำเร็จได้เพราะประมวลมาซึ่งธรรม ๘ ประการ คือความเป็นมนุษย์ ๑

ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑ การเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ การ

สมบูรณ์ด้วยคุณ ๑ การกระทำยิ่งใหญ่ ๑ ความพอใจ ๑.

จริงอยู่ เมื่อบุคคลดำรงอยู่ในภาวะแห่งความเป็นมนุษย์นั่นแหละ

ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาย่อมสำเร็จ ความปรารถนา

ของนาค ครุฑหรือเทวดาหาสำเร็จไม่ แม้ในภาวะแห่งความเป็นมนุษย์เมื่อเขา

ดำรงอยู่ในเพศบุรุษเท่านั้นความปรารถนาจึงจะสำเร็จ ความปรารถนาของหญิง

หรือบัณเฑาะก์กระเทยและอุภโตพยัญชนก ก็หาสำเร็จไม่ แม้สำหรับบุรุษความ

ปรารถนาของผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุที่จะบรรลุอรหัต แม้ในอัตภาพนั้นเท่านั้นจึง

จะสำเร็จได้ นอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้สำหรับผู้ที่สมบูรณ์ด้วยเหตุถ้าเมื่อปรารถนา

ในสำนักของพระพุทธเจ้าเท่านั้น ความปรารถนาจึงจะสำเร็จ เมื่อพระพุทธ.

เจ้าปรินิพพานแล้ว เมื่อปรารถนาในที่ใกล้เจดีย์หรือที่โคนต้นโพธิ์ ก็หา

สำเร็จไม่ แม้เมื่อปรารถนาในสำนักของพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของผู้ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

ดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตเท่านั้นจึงจะสำเร็จ ผู้ที่ดำรงอยู่ในเพศคฤหัสถ์หาสำเร็จ

ไม่ แม้ผู้เป็นบรรพชิต ความปรารถนาของผู้ที่ได้อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘

เท่านั้นจึงจะสำเร็จ ผู้ที่เว้นจากคุณสมบัตินี้ นอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้ผู้ที่สมบูรณ์

ด้วยคุณแล้วก็ตาม ความปรารถนาของผู้ที่ได้กระทำการบริจาคชีวิตของตนแด่

พระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่นี้เท่านั้น จึงจะสำเร็จ

ของตนนอกนี้หาสำเร็จไม่ แม้ผู้ที่จะสมบูรณ์ด้วยการกระทำอันยิ่งใหญ่แล้วยัง

จะต้องมีฉันทะอันใหญ่หลวง อุตสาหะ ความพยายามและการแสวงหาอันใหญ่

เพื่อประโยชน์แก่ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าอีก ความปรารถนาจึงจะ

สำเร็จ คนอื่นนอกจากนี้หาสำเร็จไม่.

ในข้อที่ฉันทะจะต้องยิ่งใหญ่นั้น มีข้ออุปมาดังต่อไปนี้. ก็ถ้าจะพึงเป็น

ไปอย่างนี้ว่า ผู้ใดสามารถที่จะใช้กำลังแขนของตนข้ามห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้น

ที่เป็นน้ำผืนเดียวกันหมดแล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า

ได้ หรือว่า ผู้ใดเดินด้วยเท้าสามารถที่จะเหยียบย่ำห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นที่

ปกคลุมด้วยกอไผ่แล้วถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้ หรือ

ว่าผู้ใดปักดาบทั้งหลายลงแล้วเอาเท้าเหยียบห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้นซึ่งเต็มไป

ด้วยฝักดาบสามารถที่จะถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้

หรือว่าผู้ใดเอาเท้าย่ำห้วงแห่งจักรวาลทั้งสิ้น ซึ่งเต็มไปด้วยถ่านมีเปลวเพลิง

ลุกโชติช่วงสามารถที่จะถึงฝั่งได้ ผู้นั้นย่อมได้บรรลุความเป็นพระพุทธเจ้าได้.

ผู้ใดไม่สำคัญเหตุเหล่านั้นแม้เหตุหนึ่งว่าเป็นของที่คนทำได้ยาก คิดแต่ว่าเราจัก

ข้ามหรือไปถือเอาซึ่งฝั่งข้างหนึ่งจนได้ ดังนี้ เขาผู้นั้นจัดว่าเป็นผู้ประกอบด้วย

ฉันทะอุตสาหะความพยายามและการแสวงหาอันใหญ่ ความปรารถนาของเขา

ย่อมสำเร็จ คนนอกนี้หาสำเร็จไม่. ก็สุเมธดาบสแม้จะประมวลธรรมทั้ง ๘

ประการเหล่านั้นได้แล้ว ยังการทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อความเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

พระพุทธเจ้าแล้วนอนลง. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรเสด็จ

มาประทับยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์

ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ชนิด ประหนึ่งว่า เปิดอยู่ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี ทอด

พระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า ดาบสนี้กระทำความ

ปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ

หรือไม่หนอ ทรงส่งพระอนาคตังสญาณใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า ล่วงสี่อสง-

ไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ยังประทับ

ยืนอยู่นั่นแหละทรงพยากรณ์แล้วด้วยตรัสว่า พวกท่านจงดาบสผู้มีตบะสูงนี้ ซึ่ง

นอนอยู่บนหลังเปือกตม. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า เห็นแล้วพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า

ดาบสนี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า นอนแล้ว

ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้

เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ก็ในอัตภาพนั้น ของเขา นครนามว่า

กบิลพัสดุ์จักเป็นที่อยู่อาศัย พระเทวีทรงพระนามว่ามายาเป็นพระมารดา พระ-

ราชาทรงพระนามว่าสุทโธทนะเป็นพระราชบิดา พระเถระชื่ออุปติสสะเป็น

อัครสาวก พระเถระชื่อโกลิตะเป็นอัครสาวกที่สอง พุทธอุปฐากชื่ออานนท์ พระ

เถรีนามว่าเขมาเป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่าอุบลวรรณาเป็นอัครสาวิกาที่สอง

เขามีญาณแก่กล้าแล้ว ออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าว

ปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ฝั่งเเม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑลจักตรัสรู้ที่

โคนต้นอัสสัตถพฤกษ์ ดังนี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้ง

ซึ่งโลก ผู้ทรงรับเครื่องบูชา ประทับยืน ณ เบื้องศีรษะ

ได้ตรัสคำนี้กะเราว่า พวกท่านจงดูดาบสผู้เป็นชฏิลผู้มี

ตบะสูงนี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในโลกในกัปที่นับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ไม่ถ้วนแต่กัปนี้ เขาเป็นตถาคตจะออกจากนครชื่อ

กบิลพัสดุ์ อันน่ารื่นรมย์ ตั้งความเพียร กระทำทุกร-

กิริยา นั่งที่โคนต้นอชปาลนี้โครธประคองข้าวปายาส

ไปยังแม่น้ำเนรัญชราในที่นั้น พระชินเจ้าพระองค์นั้น

ทรงถือข้าวปายาสไปที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา เสด็จถึงโคน

ต้นโพธิ์โดยทางที่เขาแต่งไว้ดีแล้ว ลำดับนั้นพระสัม-

พุทธเจ้าผู้ทรงมีพระยศใหญ่มิมีใครยิ่งกว่ากระทำประ-

ทักษิณโพธิมณฑลแล้ว จักตรัสรู้ที่โคนต้นโพธิ พระ-

มารดาผู้เป็นชนนีของเขาจักมีนามว่า มายา พระบิดาจัก

มีนามว่าสุทโธทนะ เขาจักมีนามว่า โคดม พระโกลิตะ

และอุปติสสะจักเป็นอัครสาวก ผู้หาอาสวะมิได้ปราศ

จากราคะแก้ว มีจิตอันสงบตั้งมั่น. อุปฐากนามว่า

อานนท์จักเป็นอุปฐากพระชินเจ้านั้น. นางเขมาและ

นางอุบลวรรณาจักเป็นอัครสาวิกา ผู้หาอาสวะมิได้

ปราศราคะแล้ว มีจิตสงบตั้งมั่น. ต้นไม้ที่ตรัสรู้ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จักเรียกกันว่า อัสสัตถพฤกษ์

ดังนี้.

สุเมธดาบสได้บังเกิดโสมนัสว่า นัยว่าความปรารถนาของเราจักสำเร็จ

ดังนี้ มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรแล้วต่างได้พากันร่าเริงยินดี

ว่า นัยว่าสุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า เป็นหน่อแห่งพระพุทธเจ้าและ

พวกเขาเหล่านั้นก็ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาว่าบุรุษเมื่อจะข้ามแม่น้ำ ไม่

สามารถข้ามโดยท่าโดยตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่าข้างใต้ฉันใด แม้พวกเราก็

ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผลในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ใน

กาลใดในอนาคตท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า ในกาลนั้นพวกเราพึงสามารถกระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

ให้แจ้งซึ่งมรรคและผลในที่ต่อหน้าของท่านดังนี้ ต่างพากันตั้งความปรารถนาไว้.

แม้พระทศพลทีปังกรทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ทรงบูชาด้วยดอกไม้ ๘ กำมือ

ทรงกระทำประทักษิณแล้วเสด็จหลีกไป แม้พระขีณาสพนับได้สี่แสนต่างก็พา

กันบูชาพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมและพวงดอกไม้ กระทำประทักษิณแล้ว

หลีกไป พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นจากที่นอนในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้ว คิดว่า

เราจักตรวจตราดูบารมีทั้งหลาย ดังนี้ จึงนั่งขัดสมาธิบนที่สุดของกองดอกไม้

เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งแล้วอย่างนี้ เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นได้ให้สาธุการ

กล่าวว่า ข้าแด่พระผู้เป็นเจ้าสุเมธดาบสในเวลาที่พระโพธิสัตว์เก่าก่อนทั้งหลาย

นั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่า เราจักตรวจตราบารมีทั้งหลาย ชื่อว่าบุรพนิมิตเหล่าใด

จะปรากฏ บุรพนิมิตเหล่านั้นแม้ทั้งหมดปรากฏแจ่มแจ้งแล้วในวันนี้ ท่าน

จักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวกเราก็รู้ข้อนั้น นิมิตเหล่านี้ปรากฏ

แก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว ท่านจงประคองความเพียร

ของตนให้มั่นดังนี้ กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ด้วยคำสรรเสริญนานาประการ.

เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

คนและเทวาดาได้ฟังคำนี้ ของพระพุทธเจ้าผู้หา

ผู้เสมอมิได้ ผู้ทรงแสวงหาคุณใหญ่ ต่างยินดีว่า ดาบส

นี้เป็นพืชและเป็นหน่อพระพุทธเจ้า เสียงโห่ร้องดัง

ลั่นไป มนุษย์พร้อมเทวดาในหมื่นโลกธาตุ ต่างปรบมือ

หัวเราะร่า ต่างประคองอัญชลีนมัสการ ถ้าพวกเรา

จักพลาดศาสนาของพระโลกนาถ ก็จักอยู่เฉพาะหน้า

ท่านผู้นี้ในกาลไกลในอนาคต มนุษย์เมื่อจะข้ามฝั่ง

พลาดท่าที่ตั้งอยู่เฉพาะหน้าก็จะถือเอาท่าข้างใต้ข้ามแม่-

น้ำใหญ่ต่อไปได้ฉันใด พวกเราแม้ทั้งหมดก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

เหมือนกัน ถ้าพ้นพระชินเจ้านี้ไปก็จักอยู่เฉพาะหน้า

ท่านผู้นี้ในกาลไกลในอนาคต พระพุทธเจ้าทรงพระ

นามว่า ทีปังกร ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ผู้ทรงรับเครื่องบูชา

ทรงกำหนดกรรมของเราไว้แล้ว จึงทรงยกพระบาท

เบื้องขวาเสด็จไป พระสาวกผู้เป็นพระชินบุตรเหล่า

ใดได้มีอยู่ในที่นั้น เหล่านั้นทั้งหมดได้ทำประทักษิณ

เรา. คน นาค คนธรรพ์ ต่างก็กราบไหว้แล้วหลีกไป

เมื่อพระโลกนายกพร้อมด้วยพระสงฆ์ล่วงทัศนวิสัย

ของเราแล้ว มีจิตยินดีและร่าเริง เราจึงลุกขึ้นจาก

อาสนะในบัดนั้น ครั้งนั้นเราสบายใจด้วยความสุข

บันเทิงใจด้วยความปราโมทย์ ท่วมท้นด้วยปีติ นั่งขัด

สมาธิอยู่ ที่นั้นเรานั่งขัดสมาธิแล้วคิดได้อย่างนี้ว่า เรา

เป็นผู้ชำนาญในฌาน ถึงความเต็มเปี่ยมในอภิญญาแล้ว

ในโลกตั้งพันฤๅษีที่เสมอกับเราไม่มี เราไม่มีใครเสมอ

ในฤทธิธรรม จึงได้ความสุขเช่นนี้ ในการนั่งขัด

สมาธิของเราเทวดาและมนุษย์ผู้อาศัยอยู่ในหมื่นจักร-

วาลต่างเปล่งเสียงบรรลือลั่นว่า ท่านจักเป็นพระพุทธ

เจ้าแน่นอน นิมิตใดจะปรากฏในการนั่งขัดสมาธิของ

พระโพธิสัตว์ในกาลก่อนนิมิตเหล่านั้น ก็ปรากฏแล้ว

ในวันนี้. ความหนาวก็เหือดหาย ความร้อนก็ระงับ

เหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า

แน่นอน โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็ปราศจากเสียง ไม่มี

ความยุ่งเหยิง เหล่านี้ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

พระพุทธเจ้าแน่นอน พายุใหญ่ก็ไม่พัด แม่น้ำลำคลอง

ก็ไม่ไหล เหล่านี้ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ

พุทธเจ้าแน่นอน ดอกไม้ทั้งหลายที่เกิดบนบกและเกิด

ในน้ำ ทั้งหมดต่างก็บานในทันใด ดอกไม้เหล่านั้น

ทั้งหมดก็ผลิตผลในวันนี้ รัตนะทั้งหลายที่ตั้งอยู่ใน

อากาศและตั้งอยู่บนพื้นดิน ต่างก็ส่องแสงในทันใด

รัตนะแม้เหล่านั้น ก็ส่องแสงในวันนี้ ท่านจักเป็นพระ-

พุทธเจ้าแน่นอน ดนตรีทั้งของมนุษย์และเป็นทิพย์ต่าง

บรรเลงขึ้นในทันใด แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ขับขานขึ้น

ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท้องฟ้ามี

ดอกไม้สวยงาม ก็ตกลงเป็นฝนในทันใด แม้เหล่านั้น

ก็ปรากฏในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

มหาสมุทรก็ม้วนตัวลง โลกธาตุหมื่นหนึ่งก็หวั่นไหว

แม้ทั้งสองอย่างนั้นก็ดังลั่นไปในวันนี้ ท่านจักเป็น

พระพุทธเจ้าแน่นอน พระอาทิตย์ก็ปราศจากเมฆ-

หมอก ดาวทั้งปวงก็มองเห็นได้ แม้เหล่านี้ ก็ปรากฏ

ในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน น้ำพุ่ง

ประทุขึ้นจากแผ่นดินโดยที่ฝนมิได้ตกเลย วันนี้น้ำก็

พุ่งประทุขึ้นในทันใดนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า

แน่นอน หมู่ดาวก็สว่างไสว ดาวฤกษ์ก็สว่างไสวใน

ท้องฟ้า พระจันทร์ประกอบด้วยวิสาขฤกษ์ ท่านจัก

เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน สัตว์ที่อาศัยอยู่ในโพรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

อาศัยอยู่ในซอกเขา ต่างถืออกมาจากที่อยู่ของตน

วันนี้แม้สัตว์เหล่านี้ก็ทิ้งที่อยู่อาศัย ท่านจักเป็นพระ-

พุทธเจ้าแน่นอน ความไม่ยินดีไม่มีแก่สัตว์ทั้งหลาย

เขาต่างถือสันโดษ วันนี้สัตว์แม้เหล่านั้นทั้งหมดก็ถือ

สันโดษ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้น

โรคทั้งหลายก็สงบระงับและความหิวก็พินาศไป วันนี้

ก็ปรากฏ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน คราวนั้น

ราคะก็เบาบาง โทสะโมหะก็พินาศ กิเลสเหล่านั้น

ทั้งปวงก็ปราศจากไป ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

คราวนั้นภัยก็ไม่มี แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ พวกเรารู้

ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

ธุลีไม่ฟุ้งขึ้นเบื้องบน แม้วันนี้ข้อนั้นก็ปรากฏ พวก

เรารู้ได้ด้วยนิมิตนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่

นอน กลิ่นที่ไม่พึงปรารถนาก็ถอยห่างไป มีแต่กลิ่น

ทิพย์ฟุ้งไปทั่ว วันนี้แม้กลิ่นก็ฟุ้งอยู่ ท่านจักเป็น

พระพุทธเจ้าแน่นอน เหล่าเทวดาทั้งสิ้นเว้นอรูป-

พรหมก็ปรากฏ วันนี้เทวดาแม้เหล่านั้นทั่งหมดก็มอง

เห็นได้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ขึ้นชื่อว่า

นรกมีเพียงใด ทั้งหมดนั้นก็เห็นได้ในทันใด แม้วันนี้

ก็ปรากฏทั้งหมด ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

คราวนั้นฝาผนัง บานประตู แผ่นหิน ไม่เป็นเครื่อง

กีดขวางได้ แม้สิ่งเหล่านั้นวันนี้ก็กลายเป็นที่ว่างหมด

ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน การจุติ การอุบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

ไม่มีในขณะนั้น วันนี้นิมิตเหล่านั้น ก็ปรากฏ ท่าน

จักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ท่านจงประคองความ

เพียรให้มั่นอย่าได้ลอยกลับ จงก้าวหน้าไป แม้พวก

เราก็รู้ข้อนั้น ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ดังนี้.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรและถ้อยคำของ

เทวดาในหมื่นจักรวาล เกิดความอุตสาหะโดยประมาณยิ่งขึ้นจึงคิดว่า ธรรมดา

พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ไม่มีเป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่า ก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตก สัตว์ที่

เกิดแล้ว จะต้องตาย เมื่ออรุณขึ้นพระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น ราชสีห์ที่ออกจากถ้ำที่

อาศัยจะต้องบันลือสีหนาท หญิงที่ครรภ์แก่จะต้องปลดเปลื้องภาระ [คลอด]

เป็นของแน่นอน จะต้องมีเป็นแน่แท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นของแน่นอนไม่ว่างเปล่าฉันนั้น เราจักเป็นพระพุทธเจ้า

แน่ ดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เราฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า และของ

เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสองฝ่ายแล้ว มีความร่าเริง

ยินดีเกิดปราโมทย์ จึงคิดขึ้นอย่างนี้ในคราวนั้นว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้เป็นพระชินเจ้าไม่มีพระดำรัส

เป็นสอง มีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ไม่มีพระดำรัสไม่จริง เราจะเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน

ก่อนดินที่ขว้างไปในท้องฟ้าย่อมตกบนพื้นดินแน่นอน

ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรงแม้ฉันใด พระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

ดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง เมื่อถึงเวลาราตรีสิ้น พระ-

อาทิตย์ก็ขึ้นแน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยง

ตรง ราชสีห์ที่ลุกขึ้นจากที่นอนจะต้องบันลือสีหนาท

แน่นอนฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง สัตว์

ผู้มีครรภ์จะต้องเปลื้องภาระ [หญิงมีครรภ์จะต้อง

ตลอด] ฉันใด พระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมแน่นอนและเที่ยงตรง ดังนี้.

สุเมธดาบสนั้น กระทำการตกลงใจอย่างนี้ว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้า

แน่นอน เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อตรวจตรา

ดูธรรมธาตุทั้งสิ้นโดยลำดับว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่ ณ ที่

ไหนหนอ เบื้องสูงหรือเบื้องต่ำในทิศใหญ่หรือทิศน้อย ดังนี้ ได้เห็น ทาน

บารมีข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำจึงกล่าว

สอนตนอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมี

ข้อแรกให้เต็ม เหมือนอย่างว่าหม้อน้ำที่คว่ำแล้วย่อมคายน้ำออกไม่เหลือไม่นำ

กลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร ภริยาหรือ

อวัยวะใหญ่น้อย ให้สิ่งที่เขาต้องการอยากได้ทั้งหมดแก่ผู้ขอที่มาถึงกระทำมิให้

มีส่วนเหลืออยู่จักได้นังที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ ท่านได้อธิษฐาน

ทานบารมีข้อแรกทำให้มั่นแล้ว เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เอาเถอะเราจะเลือกเฟ้นธรรม ที่กระทำให้เป็น

พระพุทธเจ้า ทางโน้นและทางนี้ทั้งเบื้องสูงและเบื้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ต่ำ ตลอดสิบทิศ ตราบเท่าถึงธรรมธาตุนี้ ครั้งนั่น

เมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่จึงได้เห็นทานบารมีที่เป็นทางใหญ่

เป็นข้อแรก ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน

ประพฤติสืบกันมาแล้ว ท่านจงยึดทานบารมีข้อที่ ๑

นี้ทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นทานบารมี หากท่าน

ปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ หม้อที่เต็มน้ำใครผู้ใดผู้-

หนึ่งคว่ำลงก็จะคายน้ำออกจนไม่เหลือ ไม่ยอมรักษา

ไว้ แม้ฉันใด ท่านเห็นยาจกไม่ว่าจะต่ำทราม สูงส่ง

และปานกลาง จงให้ทานอย่าให้เหลือไว้ เหมือน

หม้อน้ำที่เขาคว่ำลงฉันนั้นเถิด ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่ง ๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ

ให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นศีลบารมีข้อที่ ๒ ได้

มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญศีลบารมีให้

เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าเนื้อจามรีไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษา

หางของตนอย่างเดียว ฉันใด จำเดิมแต่นี้แม้ท่านก็ไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษา

ศีลอย่างเดียว จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ เขาได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่สอง

ทำให้มั่นแล้ว. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักหามีเพียงเท่านี้ไม่

เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้อย่างอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิ-

ญาณ ครั้งนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นศีลบารมีข้อ

๒ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนถือปฏิบัติเป็น

ประจำ ท่านจงยึดถือศีลบารมีข้อที่ ๒ นี้ กระทำให้มั่น

ก่อน จงถึงความเป็นศีลบารมี หากท่านปรารถนาจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

บรรลุโพธิญาณ จามรี หางคล้องติดในที่ไหนก็ตาม

ก็จะยอมตายในที่นั้น ไม่ยอมให้ทางหลุดลุ่ย ฉันใด

ท่านจงบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ ในภูมิทั้งสี่ จงรักษาศีล

ในกาลทุกเมื่อ เหมือนจามรีรักษาหาง ฉันนั้นเถิด

ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญอยู่ยิ่ง ๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้

เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นเนกขันมบารมีข้อที่ ๓ ได้

มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิตนับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมม-

บารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้อยู่ในเรือนจำ มิได้มีความรักใคร่ใน

เรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้เขาย่อมรำคาญอย่างเดียว และไม่อยากจะอยู่เลย

ฉันใด แม้ท่านก็จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไป

จากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อการออกบวช ฉันนั้นเหมือนกัน ท่านจักเป็นพระ-

พุทธเจ้าโดยอาการอย่างนี้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานเนกขัมมบารมีข้อที่สามมั่นแล้ว.

เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้

แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่ม

โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นเนก-

ขัมมบารมีข้อที่ ๓ ที่ท่านผู้แสวงทาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน

ทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำท่านจงยึดเนกขัมมบารมี

ข้อที่ ๓ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นเนกขัมม-

บารมี หากท่านปรารถนาจะบรรลุโพธิญาณ บุรุษผู้

อยู่ในเรือนจำนาน ลำบากเพราะทุกข์ มิได้เถิดความ

ยินดีในที่นั้น ย่อมแสวงหาทางที่จะพ้นไปฝ่ายเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

ฉันใด ท่านจงเห็นภพทั้งปวงเหมือนเรือนจำ จงตั้ง

หน้ามุ่งต่อการออกบวช เพื่อพ้นจากภพ ฉันนั้นเถิด

ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ

ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านั้นเลย เขาได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ ๔

ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญปัญญา

บารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใคร ๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคนชั้นเลว ชั้นปาน-

กลางและชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทุกคนแล้วถามปัญหา เหมือนอย่างว่า

ภิกษุผู้เที่ยวไปบิณฑบาตมิได้เว้นตระกูลไร ๆ ในบรรดาตระกูลที่แตกต่างกันมี

ตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับย่อมได้อาหารพอยังชีพโดย

พลัน ฉันใด. แม้ท่านก็เข้าไปหาบัณฑิตแล้วได้ถามอยู่ จักเป็นพระพุทธเจ้าได้

ฉันนั้น ดังนี้ เขาได้อธิษฐานกระทำปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ให้มั่น. เพราะเหตุ

นั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็พุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีเพียงเท่านี้แน่ เราจัก

เลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่บ่มโพธิญาณอีก ในกาล

นั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นปัญญาบารมีข้อที่ ๔

ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่ครั้งเก่าก่อน ทั้งหลายถือ

ปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดปัญญาบารมีข้อที่ ๔ นี้

กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นปัญญาบารมี หาก

ท่านปรารถนาที่จะบรรลุโพธิญาณ ภิกษุเมื่อขอเขาไม่

เว้นตระกูลสูงปานกลางและต่ำย่อมได้ภิกษาพอเลี้ยงชีพ

โดยอาการอย่างนี้ ฉันใด ท่านเมื่อไต่ถามชนผู้รู้ตลอด

กาลทุกเมื่อ ถึงความเป็นปัญญาบารมีจักบรรลุสัมโพธิ

ญาณได้ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ

ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นวิริยบารมีข้อที่ ๕

ได้มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญวิริย-

บารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าราชสีห์พระยามฤดูราชเป็นสัตว์มีความเพียร

มั่นในทุกอิริยาบถ ฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีความเพียรนั่น มีความเพียร

ไม่ย่อหย่อน จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ เขาได้อธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ ๕ กระทำ

ให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้

เลย เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม่เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม

โพธิญาณ ครั้งนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ก็ได้เห็นวิริย-

บารมีข้อที่ ๕ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่เก่าก่อนทั้ง

หลายถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดวิริยบารมีข้อที่

๕ นี้ กระทำให้มั่นก่อน จงถึงความเป็นวิริยบารมี

หากท่านปรารถนาบรรลุโพธิญาณ ราชสีห์พระยา-

มฤคราชมีความเพียรไม่ย่อหย่อน มีใจประคับประคอง

ตลอดเวลาฉันใด ท่านประคองความเพียรให้มั่นใน

ภพทั้งปวง ถึงความเป็นวิริยบารมีแล้ว จักบรรลุ

โพธิญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้.

ลำดับนั้นเมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้

เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นขันติบารมีข้อที่ ๖ ได้

มีความคิดว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญขันติบารมี

ให้เต็มเปี่ยม พึงเป็นผู้อดทนได้ทั้งในความนับถือทั้งในความดูหมิ่น เหมือน

อย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างลงบนแผ่นดิน แผ่นดิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

ย่อมไม่กระทำความชอบใจ ไม่กระทำความแค้นใจ มีแต่อดทนอดกลั้นเท่านั้น

ฉันใด แม้ท่านเมื่ออดทนได้ในความนับถือก็ดี ในความดูหมิ่นก็ดี จักเป็น

พระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานขันติบารมีข้อที่ ๖ เพราะทำให้มั่น

แล้ว เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้

เลย เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่ม

โพธิญาณ ครั้งนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นขันติ

บารมีข้อที่ ๖ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้ง

หลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำ ท่านจงยึดขันติบารมีข้อ

ที่ ๖ นี้ กระทำให้มั่นก่อน มีใจไม่ลังเลในข้อนั้น

จักบรรลุสัมโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดินย่อมทนต่อสิ่ง

ของที่เขาทิ้งลง สะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างทุกอย่าง ไม่

กระทำความแค้นใจมีแต่เอ็นดู ฉันใด แม้ท่านเป็นผู้

อดทนต่อความนับถือและความดูหมิ่นของตนทั้งปวง

ได้ ถึงความเป็นขันติบารมีแล้ว จักบรรลุโพธิญาณได้

ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำ

ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นสัจบารมีข้อที่ ๗

ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญ

สัจบารมีให้เต็มเปี่ยม อย่าได้กระทำการพูดเท็จทั้งรู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น

แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่าน เหมือนอย่างว่า ธรรดาดาว

ประกายพฤกษ์ในทุกฤดูหาเว้นทางโคจรของตนไม่ จะไม่โคจรไปในทางอื่น

โคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใด แม้ท่านไม่ละสัจจะ ไม่กระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

การพูดเท็จเด็ดขาด จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขาได้อธิษฐานสัจบารมี

ข้อที่ ๗ การทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้

เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็นเครื่องบ่ม

โพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น

สัจบารมีข้อที่ ๗ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อน

ทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำกันมา ท่านจงยึดสัจ-

บารมีข้อที่ ๗ นี้กระทำให้มั่นก่อน มีคำพูดไม่เป็นสอง

ในข้อนั้น จักบรรลุสัมโพธิญาณได้ ธรรมดาว่าดาว

ประกายพฤกษ์นั้นเป็นคันชั่ง (เที่ยงตรง) ในโลกพร้อม

ทั้งเทวโลก ย่อมไม่โคจรแวะเวียนไปนอกทาง ไม่ว่า

ในสมัยหรือในฤดูและปีใด ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น

เหมือนกัน อย่าเดินเฉไปจากทางในสัจจะทั้งหลาย ถึง

ความเป็นสัจบารมีแล้ว จักบรรลุสัมโพธิญาณ ดังนี้.

ลำดับนั้น เมื่อเขาใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยคิดว่า ธรรมที่กระทำ

ให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นอธิษฐานบารมีข้อที่

ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึง

บำเพ็ญอธิษฐานบารมี ท่านอธิษฐานสิงโตไว้ พึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐาน

นั้น เหมือนอย่างว่า ธรรมดาภูเขาเมื่อลมทั่วทุกทิศพัดกระทบอยู่ ย่อมไม่

สะเทือน ไม่หวั่นไหว ยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมของตน ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น

เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความตั้งใจมั่นของตน จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ดังนี้ เขา

ได้อธิษฐานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

ความจริง พุทธธรรมเหล่านี้ จักไม่มีอยู่เพียง

เท่านี้แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมแม้เหล่าอื่น ที่เป็น

เครื่องบ่มโพธิญาณ คราวนั้นเราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็

ได้เห็น อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่

แต่เก่าก่อนทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันก่อน

ท่านจงยึดอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ นี้ กระทำให้มั่นก่อน

ท่านเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในข้อนั้น แล้ว จักบรรลุสัมโพธิ-

ญาณ ภูเขาหินไม่หวั่นไหวตั้งมั่นแล้ว ย่อมไม่สะ-

เทือนด้วยลมกล้า ย่อมตั้งอยู่ในที่เดิมของตนเท่านั้น

ฉันใด ท่านจงไม่หวั่นไหวในความตั้งใจจริงตลอดกาล

ทุกเมื่อ ถึงความเป็นอธิษฐานบารมีแล้ว จักบรรลุ

สัมโพธิญาณ ดังนี้.

ลำดับนั้นเมื่อเขาได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้

เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย เขาได้เห็นเมตตาบารมีข้อที่ ๙ ได้

มีความคิดอย่างนี้ว่า. ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญ

เมตตาบารมีให้เต็มเปี่ยม ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล

พึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าน้ำย่อมกระทำให้เย็นแผ่

ซ่านไปเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีน้ำใจ

เป็นอันเดียวกัน ด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้งปวงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ดังนี้ เขา

ได้อธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าว

ว่า

ความจริงพุทธธรรมเหล่านี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้

แน่ เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

ญาณ คราวนั้นเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็น เมตตา

บารมีข้อที่ ๙ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้ง

หลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำกันมา ท่านจงยึดเมตตา

บารมีข้อที่ ๙ นี้ กระทำให้มั่นก่อน ถ้าท่านปรารถนา

จะบรรลุพระโพธิญาณ ก็จงเป็นผู้ไม่มีใครเสมอด้วย

เมตตา ธรรมดาน้ำย่อมแผ่ความเย็นไปให้คนดีและ

คนเลวเสมอกัน ชะล้างมลทินคือธุลีออกได้ฉันใด แม้

ท่านก็จงเจริญ เมตตาให้สม่ำเสมอ ไปในคนทั้งที่เกื้อกูล

และไม่เกื้อกูลฉันนั้นเถิด ท่านถึงความเป็นเมตตาบาร-

มีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ ดังนี้.

ต่อมาเมื่อเขาใคร่ครวญแม้ยิ่งขึ้นไปอีกด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็น

พระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้เลย จึงได้เห็นอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ ได้มี

ความคิดอย่างนี้ว่า ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญ

อุเบกขาบารมี พึงวางใจเป็นกลาง ในสุขก็ดีในทุกข์ก็ดี เหมือนอย่างว่า ธรรมดา

แผ่นดิน เมื่อคนทั้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง ย่อมวางใจเป็นกลางทีเดียว

ฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เมื่อวางใจเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็จักได้เป็นพระ-

พุทธเจ้า. เขาได้อธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ ทำให้มั่นแล้ว. เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า

ความจริง พุทธธรรมนี้จักไม่มีอยู่เพียงเท่านี้แน่

เราจักเลือกเฟ้นธรรมเหล่าอื่นที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ

คราวนั้น เราเมื่อเลือกเฟ้นอยู่ ก็ได้เห็นอุเบกบารมี

ข้อที่ ๑๐ ที่ท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่แต่เก่าก่อนทั้งหลาย

ถือปฏิบัติเป็นประจำสืบกันมา ท่านจงยืดอุเบกขาบารมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

ข้อที่ ๑๐ นี้ กระทำให้มั่นก่อน ท่านเป็นผู้มั่นคงประดุจ

ตราชู จักบรรลุพระสัมโพธิญาณ ธรรมดาแผ่นดิน

ย่อมวางเฉยต่อของที่ไม่สะอาดและของที่สะอาด ซึ่ง

เขาทิ้งลงไป เว้นขาดจากความโกรธและความยินดีต่อ

สิบทั้งสองนั้น ฉันใด แน่ท่านก็ฉันนั้น ควรเป็นประ-

ดุจตราชูในสุขและทุกข์ในกาลทุกเมื่อ ถึงความเป็น

อุเบกขาบารมีแล้ว จักบรรลุพระสัมโพธิญาณได้ ดังนี้.

ต่อนั้น เขาจึงคิดว่า พุทธการกธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณ มีเพียง

เท่านี้เท่านั้น ยกเว้นบารมี ๑๐ เสียธรรมเหล่าอื่นไม่มี บารมีทั้ง ๑๐ แม้เหล่า

นี้ แม้ในเบื้องสูง แม้ในอากาศก็ไม่มี ภายใต้แผ่นดินก็ดี ในทิศทั้งหลายมี

ทิศตะวันออกเป็นต้นก็ดี ก็ไม่มี แต่มีตั้งอยู่ภายในหทัยของเรานี้เองดังนี้.

เขาเมื่อเห็นว่าบารมีเหล่านั้นตั้งอยู่ในหทัยแล้ว จึงอธิษฐานบารมีแม้ทั้งหมด

กระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอน

ปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้นมาตั้งไว้ในตอนปลาย และยึดเอาตรง

กลางให้จบลงตรงข้างทั้งสอง ยึดที่ที่สุดข้างทั้งสองมาไห้จบลงตรงกลาง ยึดเอา

บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ คือ การบริจาคสิ่งของภายนอก

เป็นทานบารมี การบริจาคอวัยวะเป็นทานอุปบารมี การบริจาคชีวิตเป็น

ทานปรมัตบารมี ที่ตรงท่ามกลางแล้ว พิจารณาวกวนไปมาเหมือนคนหมุน

เครื่องยนต์หีบน้ำมัน ไปมาและพิจารณาคลุกเคล้าเข้าด้วยกัน เหมือนคนกวน

ระคนกระทำยอดภูเขาใหญ่สิเนรุให้เป็นมหาสมุทรในห้องจักรวาลฉะนั้น. เมื่อ

เขาพิจารณาบารมีทั้ง ๑๐ อยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม แผ่นดินใหญ่นี้ที่หนาได้สอง

แสนโยชน์ยิ่งด้วยสี่นหุต เป็นราวกะว่ามัดต้นอ้อที่ช้างเหยียบแล้วและเครื่องยนต์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

หีบอ้อยที่กำลังหีบอยู่ ร้องดังลั่นหวั่นไหวสะเทือนเลื่อนลั่นไปหมด หมุนคว้างไม่

ต่างอะไรกับวงล้อเครื่องปั่นหม้อและวงล้อของเครื่องยนต์บีบน้ำมัน เพราะเหตุ

นั้นท่านจึงกล่าวว่า

ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณในโลกนี้เพียงนี้

เท่านั้น ไม่นอกไปจากนี้ ยิ่งขึ้นไปกว่านี้ก็ไม่มี ท่าน

จงตั้งมั่นอยู่ในธรรมนั้น เมื่อเราไตร่ตรองธรรมเหล่านี้

พร้อมทั้งสภาวะกิจและลักษณะอยู่ ด้วยเดชแห่งธรรม

แผ่นดินพร้อมโลกธาตุหมื่นหนึ่งสั่นสะเทือนแล้ว ปฐพี

ก็ไหวร้องลั่น ดั่งเครื่องยนต์หีบอ้อยที่หีบอยู่ เมทนีดล

ก็เลื่อนลั่นประดุจดังวงล้อเครื่องยนต์บีบน้ำมัน ฉะนั้น

ดังนี้.

เมื่อมหาปฐพีไหวอยู่ ผู้คนที่อาศัยอยู่ในรัมมนครต่างมิสามารถทรงตัว

ยืนอยู่ได้ ประหนึ่งว่าศาลาหลังใหญ่ ที่ถูกลมบ้าหมู โหมพัดอย่างหนักพากัน

เป็นลมล้มลง ภาชนะของช่างหม้อมีหม้อน้ำเป็นต้น ที่กำลังทำอยู่ต่างกระทบกัน

และกันแตกเป็นจุรณวิจุรณไป มหาชนสะดุ้งกลัวจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว

ทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่ทราบข้อนั้นอย่างไรเลย

ว่า นี้นาคทำให้หมุนวน หรือว่าบรรดาภูตยักษ์และเทวดาพวกใดพวกหนึ่ง

ทำให้หมุนวน อีกประการหนึ่ง มหาชนแม้ทั้งหมดนี้ถูกทำให้เดือนร้อน ความ

ชั่วหรือความดีจักมีแก่โลกนี้ ขอพระองค์จงตรัสบอกเหตุนั้น แก่พวกข้า-

พระองค์เถิด. พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพวกเขาแล้วตรัสว่า พวกท่านอย่า

ได้กลัวเลย อย่าคิดอะไรเลย ภัยจากเหตุนี้ไม่มีแก่พวกท่าน วันนี้สุเมธบัณฑิต

เราพยากรณ์ให้แล้วว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดมในอนาคต

บัดนี้ เขาไตร่ตรองบารมีทั้งหลายอยู่ เมื่อเขาไตร่ครองอยู่ตรวจตราอยู่ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

เดชแห่ง ธรรม โลกธาตุทั้งสิ้นหมื่นหนึ่งสู่เทือนและร้องลั่นไปพร้อมกัน

ทีเดียวดังนี้ เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

ในที่อังคาสพระพุทธเจ้า บริษัทมีประมาณเท่าใด

บริษัทในที่นั้น มีประมาณเท่านั้น ต่างตัวสั่นอยู่ เป็นลม

ล้มลงบนแผ่นดิน หม้อน้ำหลายพันและหม้อข้าวหลาย

ร้อยเป็นจำนวนมาก ในที่นั้นต่างกระทบกระแทกกัน

แตกละเอียดไปหมด มหาชนต่างหวาดเสียวสะดุ้งกลัว

ภัย หัวหมุน มีใจว้าวุ่น จึงมาประชุมกัน เข้าไปเฝ้า

พระพุทธเจ้าทีปังกร กราบทูลว่าอะไรจักมีแก่โลก ดี

หรือชั่ว หรือโลกทั้งปวงจะถูกทำให้เดือดร้อน ขอ

พระองค์ผู้เป็นดวงตาของโลก จงทรงบรรเทาเหตุนั้น

คราวนั้นพระมหามุนีทีปังกรให้พวกเขาเข้าใจได้แล้ว

ด้วยตรัสว่า พวกท่านจงวางใจเสียเถิด อย่าได้

กลัวเลย ในการไหวของแผ่นดินนี้ วันนี้เราได้พยา-

กรณ์แล้ว ถึงบุคคลใดว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้า บุคคล

นั้นไตร่ตรองถึงธรรมที่พระชินเจ้าถือปฏิบัติมาแล้ว

แต่เล่าก่อน เมื่อเขาไตร่ตรองฟังธรรม อันเป็น

พุทธภูมิโดยไม่เหลือเพราะเหตุนั้น ปฐพีนี้พร้อมหมื่น

โลกธาตุในโลกพร้อมทั้งเทวโลกจึงไหวแล้ว ดังนี้.

มหาชนฟังพระดำรัสของพระตถาคตยินดีและร่าเริงแล้ว พากันถือเอา

ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ ออกจากรัมมนครเข้าไปหาพระโพธิสัตว์

บูชาด้วยดอกไม้เป็นต้น ไหว้กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปยังรัมมนครตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

เดิม ฝ่ายพระโพธิสัตว์ไตร่ตรองบารมีทั้งสิ้น กระทำความเพียรให้มั่น

อธิษฐานแล้ว ลุกจากอาสนะที่นั่ง. เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เพราะได้ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้า ใจเย็น

แล้วในทันใดนั้น ทุกคนเข้าไปหาเรา กราบไหว้แล้ว

อีก เรายึดมั่นพระพุทธคุณกระทำใจไว้ให้มั่น นมัสการ

พระทีปังกร ลุกจากอาสนะในกาลนั้น ดังนี้.

ลำดับนั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกันแล้ว บูชาพระโพธิ-

สัตว์ผู้ลุกจากอาสนะ ด้วยดอกไม้และของหอมอันเป็นทิพย์แล้ว ป่าวประกาศคำ

สรรเสริญอันเป็นมงคลเป็นต้นว่า ข้าแต่ท่านสุเมธดาบสผู้เป็นเจ้า วันนี้ท่าน

ตั้งปรารถนาอย่างใหญ่ที่บาทมูลของพระทศพลทีปังกร ขอความปรารถนาของ

ท่านจงสำเร็จโดยไม่มีอันตราย ความกลัวหรือความหวาดเสียวอย่าได้มีแก่ท่าน

โรคแม้แต่น้อยหนึ่ง อย่าได้เกิดในร่างกาย ขอท่านจงบำเพ็ญบารมีให้เต็มโดย

พลันแล้วบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ต้นไม้ที่จะเผล็ดดอกออกผล ย่อมเผล็ด

ดอกและออกผลตามฤดูกาลฉันใด แม้ท่านก็จงได้สัมผัสพระโพธิญาณอันอุดม

โดยพลัน อย่าได้ล่วงเลยสมัยนั้นเลยฉันนั้นเหมือนกัน เทวดาทั้งหลายครั้นป่าว

ประกาศอย่างนี้แล้ว ได้กลับไปยังเทวสถานของตน ๆ ตามเดิม ฝ่ายพระโพธิ-

สัตว์ผู้อันเทวดาสรรเสริญแล้วคิดว่า เราจักบำเพ็ญบารมี ๑๐ แล้ว ในที่สุดแห่ง

สี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปจักได้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ อธิษฐานกระทำความ

เพียรให้มั่นแล้ว เหาะขึ้นไปยังท้องฟ้า ไปสู่ป่าหิมพานต์ทันที. เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า

เหล่าเทวดาและมนุษย์ทั้งสองพวก ต่างโปรย-

ปรายดอกไม้อันเป็นทิพย์และอันเป็นของมนุษย์ แก่

เขาผู้กำลังลุกจากอาสนะ ทั้งเทวดาและมนุษย์สอง

ฝ่ายนั้นต่างก็ได้รับความยินดีทั่วหน้า ความปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

ของท่านยิ่งใหญ่ ขอท่านจงได้สิ่งนั้นตามที่ท่าน

ปรารถนาไว้ ขอสรรพเสนียดจัญไรจงแคล้วคลาดไป

ขอโรคภัยจงพินาศไป ขออันตรายจงอย่ามีแก่ท่านเถิด

ขอท่านจงได้รับสัมผัสพระโพธิญาณโดยพลัน ข้าแต่

ท่านมหาวีระ ขอท่านจงเบิกบานด้วยพุทธญาณเหมือน

ต้นไม้ที่มีดอกเมื่อถึงฤดูกาลก็เผล็ดดอกฉันนั้นเถิด

พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พึงบำเพ็ญบารมี ๑๐

ให้เต็มเปี่ยมฉันใด ข้าแต่ท่านมหาวีระ ขอท่านจงบำ-

เพ็ญบารมี ๑๐ ให้เต็มเปี่ยมฉันนั้นเถิด พระสัมพุทธเจ้า

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ตรัสรู้ที่โพธิมณฑลฉันใด ข้าแต่

ท่านมหาวีระ ขอท่านจงตรัสรู้ที่โพธิมณฑลของพระ-

ชินเจ้าฉันนั้น พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งทรง

ประกาศพระธรรมจักร ฉันใด ขอท่านจงประกาศ

พระธรรมจักรฉันนั้น พระจันทร์ในวันเพ็ญผ่องแผ้ว

ย่อมรุ่งโรจน์ฉันใด ขอท่านจงมีใจเต็มเปี่ยมรุ่งโรจน์

ในหมื่นโลกธาตุฉันนั้นเถิด พระอาทิตย์ที่พื้นจากราหู

แล้ว ย่อมแผดแสงด้วยความร่อนแรงฉันใด ขอท่าน

จงปลดเปลื้องเรื่องโลกีย์ออกแล้วสว่างไสวอยู่ด้วยสิริ

ฉันนั้นเถิด แม่น้ำใด ๆ ก็ตามย่อมไหลไปลงทะเล

ใหญ่ฉันใด ขอชาวโลกพร้อมทั้งเทวดาจงรวมลงที่

สำนักของท่านฉันนั้นเถิด ในกาลนั้นเขาอันเทวดา

และมนุษย์ชมเชยและสรรเสริญแล้วยึดมั่นบารมีธรรม

๑๐ เมื่อจะบำเพ็ญบารมีธรรมเหล่านั้น เข้าไปสู่ป่า

หิมพานต์แล้ว.

กถาว่าด้วยสุเมธดาบส จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

ฝ่ายชาวเมืองรัมมนครเล่าได้เข้าไปสู่นครแล้ว ถวายมหาทานแก่ภิกษุ

สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พวกเขาให้มหา-

ชนดำรงอยู่ในสรณะเป็นต้นแล้ว เสด็จออกจากรัมมนครไป ต่อจากนั้น

พระองค์ทรงดำรงอยู่ตลอดพระชนมายุขัย ทรงกระทำพุทธกิจครบทุกอย่างแล้ว

เสด็จดับขันธปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุโดยลำดับ คำที่ควรจะ

กล่าวในที่นั้นทั้งหมด พึงทราบตามนัยที่ท่านกล่าวไว้แล้วในพุทธวงศ์นั้นเถิด

จริงอยู่ท่านกล่าวไว้ในพุทธวงศ์นั้นว่า

ในกาลนั้น ชนเหล่านั้นอังคาสพระโลกนาถ

พร้อมทั้งพระสงฆ์แล้ว ได้ถึงพระศาสดาทีปังกรเป็น

สรณะ พระตถาคตยังคนบางคนให้ตั้งอยู่ในสรณะ

คมน์ บางพวกก็ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ อีกพวกก็ให้ตั้งอยู่

ในศีล ๑๐ ทรงประทานสามัญผลสูงสุด ๔ แต่บางคน

บางคนก็ทรงประทานธรรมที่ไม่มีสิ่งใดเสมอคือปฏิ-

สัมภิทา บางคนพระนราสภก็ทรงประทานสมบัติอัน

ประเสริฐ ๘ อย่าง บางคนก็ทรงมอบให้ซึ่งวิชชา ๓

อภิญญา ๖ พระมหามุนีทรงสั่งสอนหมู่ชนด้วยความ

พยายามนั้น ศาสนาของพระโลกนาถได้แผ่ไพศาล

แล้ว เพราะเหตุนั้น พระทีปังกรผู้เป็นผู้นำมีพระหนุ

ใหญ่ [ผึ่งผาย] มีพระวรกายเหมือนของโคอุสภะ

[สง่างาม] ทรงให้ชนเป็นอันมากข้ามถึงฝั่ง ทรงปลด

เปลื้องทุคติให้พระมหามุนีทอดพระเนตรเห็นชนที่พอ

จะตรัสรู้ธรรมได้แม้ในที่ไกลได้แสนโยชน์ ก็เสด็จไป

ถึงโดยขณะเดียว ให้เขาตรัสรู้ได้ ในการได้บรรลุมรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

ผล ครั้งแรก [ปฐมโพธิกาล] พระพุทธเจ้าให้สัตว์ตรัสรู้

ได้หนึ่งร้อยโกฏิ ในการได้บรรลุมรรคผลครั้งที่สอง

[มัชฌิมโพธิกาล] พระนาถะให้สัตว์ตรัสรู้ได้แสนโกฏิ

และการได้บรรลุมรรคผลครั้งที่สาม [ปัจฉิมโพธิกาล]

ได้มีแต่สัตว์เก้าสับพันโกฏิ ในเมื่อพระพุทธเจ้าได้ทรง

แสดงพระธรรมในเทวพิภพ การประชุมของพระ -

ศาสดาทีปังกรได้มีสามครั้ง การประชุมครั้งแรกมีชน

แสนโกฏิ อีกครั้งเมื่อพระชินเจ้าประทับอยู่วิเวกที่ยอด

เขานารทะ พระขีณาสพผู้ปราศจากมลทินร้อยโกฏิ

ประชุมกัน ในกาลใดพระมหาวีระประทับอยู่บนเขา

ในเมืองสุทัสนะ ในกาลนั้นพระมหามุนีทรงห้อมล้อม

ไปด้วยพระขีณาสพเก้าสิบพันโกฏิ เราในสมัยนั้น เป็น

ชฏิลผู้มีตบะกล้า เหาะไปในที่กลางหาวได้ ได้สำเร็จ

ในอภิญญา ๕ การตรัสรู้ธรรมได้มีแต่ชนนับได้เป็น

สิบพันยี่สิบพัน การตรัสรู้ของคนเพียงหนึ่งคน สอง

คน ไม่จำเป็นต้องนับ. ในกาลนั้น ศาสนาของพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร แผ่ไปกว้างขวาง

ชนรู้กันมากมาย มั่งคั่ง แพร่หลาย บริสุทธิผุดผ่อง

พระผู้ได้อภิญญา ๖ มีฤทธิ์มากนับได้สี่แสนห้อมล้อม

พระทีปังกรผู้ทรงรู้แจ้งโลกในกาลทุกเมื่อ ในสมัยนั้น

ใคร ๆ ก็ตามจะละภพมนุษย์ไป [ตาย] เขาเหล่านั้น

มิได้บรรลุอรหัต ยังเป็นเสขบุคคลจะต้องถูกเขาตำหนิ

ติเตียน พระพุทธศาสนาก็บานเบิกด้วยพระอรหันต์ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

คงที่ งามสง่าอยู่ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกด้วยพระ

ขีณาสพผู้ปราศจากมลทิน นครชื่อรัมมวดี กษัตริย์

ทรงพระนามสุเมธ เป็นพระชนก พระชนนีทรง

พระนามว่าสุเมธา ของพระศาสดาทีปังกร พระองค์

ทรงครองเรือนอยู่หมื่นปี มีปราสาทอย่างดีที่สุดอยู่

สามหลัง ชื่อรัมมะ สุรัมมะและสุภะ มีเหล่านารี

แต่งตัวสวยงามนับได้สามแสน มีพระจอมนารีพระ-

นามว่า ยโสธรา มีพระโอรสพระนามว่า อสุภขันธะ

พระองค์ทรงเห็นนิมิต ๔ อย่าง เสด็จออกบวช

ด้วยยานคือช้าง พระชินเจ้าทรงตั้งความเพียรอยู่

ไม่หย่อนกว่าหมื่นปี พระมุนีทรงบำเพ็ญเพียรทางใจ

ได้ตรัสรู้แล้ว พระมหาวีระทรงประกาศพระธรรมจักร

ที่ป่านันทวัน อันหนาแน่นไปด้วยสิริ ได้ทรงกระทำ

การย่ำยีเดียรถีย์ที่โคนต้นซึกอันน่ารื่นรมย์ มีพระอัคร-

สาวกคือ พระสุมังคละและพระติสสะ พระศาสดา

ทีปังกรมีพระอุปฐากนามว่า สาคระ มีพระอัครสาวิกา

คือ พระนางนันทาและพระนางสุนันทา ต้นไม้ตรัสรู้

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เรียกกันว่าต้น

ปิปผลิ พระมหามุนีที่ปังกรมีพระวรกายสูงได้ ๘๐ ศอก

พญาไม้สาละมีดอกบานสะพรั่ง เป็นต้นไม้ประจำทรีป

ดูงาม พระผู้แสวงหาพระคุณใหญ่นั้นมีพระชนมายุ

ได้แสนปี พระองค์ทรงพระชนม์อยู่เท่านั้นทรง

ให้เหล่าชนเป็นอันมากข้ามถึงฝั่ง [นิพพาน] พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

องค์พร้อมทั้งพระสาวก ให้พระสัทธธรรมสว่างไสว

แล้ว ให้มหาชนข้ามถึงฝั่ง รุ่งโรจน์อยู่ราวกะกองอัคคี

ปรินิพพานแล้ว. พระฤทธิ์ พระยศและจักรรัตนะที่

พระบาททั้งสอง ทุกอย่างก็อันตรธานไปหมด สังขาร

ทั้งหลายเป็นของว่างเปล่า ดังนี้ และหลังจากพระ-

ทีปังกร ก็มีพระนายกทรงพระนามว่า โกณฑัญญะ

ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศนับไม่ได้ มี

พระคุณหาประมาณมิได้ ยากที่ใครจะต่อกรได้.

ก็ในกาลต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทีปีงกร ล่วงมาได้หนึ่งอสงไขย

พระศาสดาทรงพระนามว่า โกณฑัญญะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว แม้การประชุม

สาวกของพระองค์ก็ได้มีสามครั้ง ในการประชุมครั้งแรกมีสาวกแสนโกฏิ ใน

ครั้งที่สองมีพันโกฏิ ในครั้งที่สามมีเก้าสิบโกฏิ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่าวิชิตาวี ได้ถวายมหาทานแด่พระภิกษุสงฆ์ มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุขนับได้แสนโกฏิ พระศาสดาทรงพยากรณ์พระโพธิสัตว์

ว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วทรงแสดงธรรม เขาฟังธรรมกถาของพระศาสดา

แล้วสละราชสมบัติออกบวช เขาเรียนพระไตรปิฎก ทำสมบัติ ๘ และ

อภิญญา ๕ ให้เกิดขึ้นแล้ว มีฌานไม่เสื่อมไปเกิดในพรหมโลก.

ก็สำหรับพระโกณฑัญญพุทธเจ้า พระนครนามว่า รัมมวดี กษัตริย์

พระนามว่า อานันทะ เป็นพระราชบิดา พระเทวีพระนามว่า สุชาดา เป็น

พระราชมารดา พระภัตทะและพระสุภัททะเป็นพระอัครสาวก พระพุทธอุป-

ฐากนามว่า อนุรุทธะ พระติสสาเถรีและพระอุปติสสาเถรี เป็นพระอัครสาวิกา

ต้นไม้ที่ตรัสรู้ชื่อ สาลกัลยาณี [ต้นขานาง] พระวรกายสูงได้ ๘๘ ศอก

ประมาณพระชนมายุได้แสนปี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

ในกาลต่อจากพระองค์ล่วงได้หนึ่งอสงไขย ในกัปเดียวกันนั่นแหละมี

พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น ๔ พระองค์คือ พระมังคละ พระสุมนะ พระเรวตะ

พระโสภิตะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า มังคละ ได้มีการประชุมสาวก

๓ ครั้ง ในการประชุมครั้งแรกได้มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ แสนโกฏิ ครั้งที่

๓ เก้าสิบโกฏิ ได้ยินว่าพระภาดาต่างพระมารดาของพระองค์ นามว่า อานันท-

กุมารได้เสด็จมายังสำนักของพระศาสดา เพื่อต้องการฟังธรรมพร้อมกับบริษัท

นับได้ ๙๐ โกฏิ พระศาสดาตรัสอนุบุพพิกถาแก่พระองค์ พระองค์พร้อมกับ

บริษัทได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา พระศาสดาทรงเล็งดูบุรพจริยา

ของกุลบุตรเหล่านั้น ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยเเห่งบาตรและจีวร อัน

สำเร็จด้วยฤทธิ์จึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวา ตรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุ

มาเถิด ในขณะนั้นนั่นเอง เขาทั้งหมดก็ทรงบาตรและจีวรอัน สำเร็จด้วยฤทธิ์

สมบูรณ์ด้วยอากัปกิริยาประดุจพระเถระมีพรรษาได้ ๖๐ ถวายบังคมพระศาสดา

ห้อมล้อมแล้ว นี้เป็นการประชุมของพระสาวกครั้งที่ ๓ ของพระองค์ พระรัศมี

จากพระสรีระของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์มีประมาณ ๘๐ ศอกเท่านั้นโดยรอบ

ฉันใด แต่ของพระมังคละหาเป็นฉันนั้นไม่ ส่วนพระรัศมีจากพระสรีระของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น แผ่ไปตลอดหมั่นโลกธาตุตั้งอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ ต้นไม้

แผ่นดิน ภูเขา และทะเล เป็นต้น โดยที่สุดจนชั้นหม้อข้าวเป็นต้น ได้เป็น

ประหนึ่งว่าปกคลุมไว้ด้วยแผ่นทองคำ อนึ่งประมาณพระชนมายุของพระองค์

ได้เก้าหมื่นปี ตลอดเวลาประมาณเท่านี้ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้น ไม่

สามารถที่จะส่องแสงด้วยรัศมีของตน การกำหนดเวลากลางคืนและกลางวัน

ไม่ปรากฏมี ตอนกลางวัน เหล่าสัตว์ท่องเที่ยวไปด้วยแสงสว่างของพระพุทธเจ้า

เท่านั้นเหมือนกับด้วยแสงสว่างของดวงอาทิตย์ ชาวโลกรู้กำหนดเวลากลางคืน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

และกลางวันได้ด้วยอำนาจแห่งดอกไม้ที่บานในเวลาเย็น และนกเป็นต้นใน

เวลาเช้า. ถามว่าก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายองค์อื่นไม่มีอานุภาพนี้หรือ ? แก้ว่า

ไม่มีหามิได้ จริงอยู่พระพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น เมื่อทรงมุ่งหวังอยู่ พึงแผ่

พระรัศมีไปได้ตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งหรือยิ่งกว่านั้น ก็พระรัศมีจากพระสรีระ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามังคละได้แผ่ไปตลอดโลกธาตุหมื่นหนึ่งตลอดกาลเป็น

นิตย์ทีเดียว เหมือนพระรัศมีเเค่วาหนึ่งของพระพุทธเจ้าองค์อื่น ด้วยอำนาจ

ความปรารถนาในกาลก่อน ได้ยินว่าในกาลที่ท่องเที่ยวไปเป็นพระโพธิสัตว์

พระองค์ดำรงอยู่ในอัตภาพเช่นกับพระเวสสันดร พร้อมด้วยบุตรและภริยา

อยู่ที่ภูเขาเช่นกับเขาวงกต ครั้งนั้น มียักษ์คนหนึ่งชื่อขรทาฐิกะได้ยินว่าพระ

มหาบุรุษมีอัธยาศัยชอบให้ทาน จึงเข้าไปหาด้วยเพศแปลงเป็นพราหมณ์แล้ว

ขอทารกสองคนกะพระมหาสัตว์ พระมหาสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราให้

ลูกน้อย ดังนี้แล้ว ยินดีร่าเริงทำให้แผ่นดินมีน้ำล้อมรอบไหวอยู่ ได้ให้ทารก

แม้ทั้งสองแล้ว ยักษ์ยืนพิงพะนักพิงในที่สุดแห่งที่จงกรม เมื่อพระมหาสัตว์

เห็นอยู่นั่นเองเคี้ยวกินทารกเหมือนกำรากไม้ ความโทมนัสแม้เท่าปลายเส้นผม

มิได้เกิดขึ้นแก่พระมหาบุรุษ เพราะมองดูยักษ์ แม้จะเห็นปากของมัน กำลัง

หลั่งสายเลือดออกมาอยู่ ดูราวกะว่าเปลวไฟในปากที่พออ้าขึ้น เมื่อเขาคิดอยู่

ว่า ทานอันเราให้ดีแล้วหนอ ปีติและโสมนัสอย่างใหญ่หลวงได้เกิดขึ้นทั่วตัว

เขาได้กระทำความปรารถนาว่า ด้วยผลแห่งทานของเรานี้ในอนาคต ขอรัศมีจง

ฉายออกโดยทำนองนี้นี่แหละ เพราะอาศัยความปรารถนานั้นของเขา รัศมีจึง

ฉายออกจากสรีระของเขาผู้เป็นพระพุทธเจ้าแผ่ซ่านไปตลอดที่เพียงนั้น บุรพ-

จริยาแม้อื่นอีกของพระองค์ก็ยังมี ได้ยินว่า พระองค์ในกาลเป็นพระโพธิสัตว์

เห็นเจดีย์ของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง คิดว่าเราควรบริจาคชีวิตแด่พระพุทธเจ้า

องค์นี้ จึงพันสรีระทั้งหมดโดยทำนองที่พันประทีปด้าม เอาเนยใสใส่จนเต็ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

ถาดทองคำนี้ค่าแสนหนึ่งสูงได้หนึ่งศอกกำ จุดไส้ตะเกียงพันหนึ่งในถาดนั้น

เอาศีรษะเทินถาดนั้นไว้ แล้วให้จุดไฟทั่วตัว กระทำประทักษิณเจดีย์ให้ล่วงไป

ตลอดคืนหนึ่ง เมื่อเขาแม้พยายามอยู่อย่างนี้จนถึงเวลาอรุณขึ้นความร้อนก็มิได้

ระคายเคืองแม้เพียงขุมขน ได้เป็นประหนึ่งว่าเข้าไปในห้องแห่งดอกบัวหลวง

จริงอยู่ ธรรมดาว่าธรรมนี้ย่อมรักษาคนผู้รักษาตนอยู่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ธรรมแลย่อมรักษาบุคคลผู้ปกติประพฤติธรรม

ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็น

อานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ผู้มีปกติ

ประพฤติธรรมย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

เพราะผลแห่งกรรมแม้นี้ แสงสว่างจากพระสรีระของพระผู้มีพระภาค

เจ้าพระองค์นั้น จึงแผ่ซ่านไปตั้งอยู่ตลอดหมื่นโลกธาตุ.

ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์ของพวกเรา เป็นพราหมณ์ชื่อ สุรุจิ คิดว่า

เราจักนิมนต์พระศาสดา จึงเข้าไปเฝ้าฟังธรรมกถาอันไพเราะแล้ว กราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้ขอพระองค์จงรับภิกษาในเรือนของข้าพระองค์

เถิด.

ดูก่อนพราหมณ์ ท่านมีความต้องการด้วยภิกษุมีประมาณเท่าไร ?

พระศาสดาตรัส.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุผู้เป็นบริวารของพระองค์มีประมาณเท่า

ไร ? พราหมณ์ทูลถาม.

ในคราวนั้น พระศาสดาทรงมีการประชุมเป็นครั้งแรกพอดี เพราะ

ฉะนั้นจึงตรัสว่า มีประมาณแสนโกฎิ. พราหมณ์จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้

เจริญ ขอพระองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์แม้ทั้งหมดจงทรงรับภิกษาของข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

เถิด. พระศาสดาทรงรับแล้ว. พราหมณ์ครั้นนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้นแล้ว

ไปสู่เรือนคิดว่า เราสามารถถวายข้าวต้มภัตและผ้าเป็นต้น แต่ภิกษุสงฆ์มี

ประมาณเท่านี้ได้ แต่ที่นั่งจักเป็นอย่างไร ดังนี้. ความคิดนั้นของเขาทำให้

เกิดความร้อนขึ้นแก่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวเทวราช ผู้ประทับยืนอยู่ใน

ที่สุดแห่งแปดหมื่นสี่พันโยชน์. ท้าวสักกะทรงดำริว่า ใครหนอแลต้องการจะ

ให้เราเคลื่อนจากอาสนะนี้ ทรงตรวจตราอยู่ด้วยทิพยจักษุ ทรงเห็นพระมหา

บุรุษ ทรงดำริว่า สุรุจิพราหมณ์นี้ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

คิดแล้ว เพื่อต้องการที่นั่ง ควรที่เราจะไปในที่นั้น ถือเอาส่วนบุญบ้าง จึงทรง

เนรมิตร่างเป็นเพศช่างไม้ มีมือถือมีดและ. ขวาน ได้ปรากฏตัวข้างหน้าของ

พระมหาบุรุษกล่าวว่า ใคร ๆ มีงานที่จะต้องจ้างทำบ้าง. พระมหาบุรุษเห็นเขา

แล้วจึงถามว่า ท่านจักทำงานอะไร ? เขากล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าศิลปะที่ข้าพเจ้า

ไม่รู้ไม่มี ผู้ใดจะให้เราทำงานใด เป็นบ้านก็ตาม มณฑปก็ตาม เรารู้ที่จะ

ทำงานนั้น แก่ผู้นั้น. พระมหาบุรุษกล่าวว่า ถ้ากระนั้นงานของเรามีอยู่. เขา

กล่าวว่า งานอะไรนะท่าน.

ภิกษุแสนโกฏิข้าพเจ้านิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ท่านจักกระทำ

มณฑปที่นั่งของภิกษุเหล่านั้นได้ไหม.

ข้าพเจ้าทำได้ ถ้าท่านจักสามารถให้ค่าจ้างแก่ข้าพเจ้าได้.

เราจักสามารถ พ่อ.

เขารับปากว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักกระทำ จึงไปตรวจดูที่ว่างแห่งหนึ่ง

ที่ว่างมีประมาณสิบสองโยชน์ ได้มีพื้นราบเรียบประหนึ่งมณฑลกสิณ. เขาคิด

ว่า ขอมณฑปสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ จงปรากฏขึ้นในที่มีประมาณเท่านี้

ในทันใดนั้น มณฑปก็แทรกแผ่นดินขึ้นมา. ที่เสาสำเร็จด้วยทองคำของปราสาท

นั้น มีหม้อน้ำสำเร็จด้วยเงินตั้งอยู่. ที่เสาสำเร็จด้วยเงิน มีหม้อน้ำสำเร็จด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

ทองคำ ที่เสาแก้วมณีมีหม้อน้ำสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ. ที่เสาสำเร็จด้วยแก้ว

ประพาฬ มีหม้อน้ำสำเร็จด้วยแก้วมณี. ที่เสาสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ มี

หม้อน้ำสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการเหมือนกัน. ต่อจากนั้นเขาก็มองดูด้วยคิดว่า

ขอน้ำข่ายกระดึง จงห้อยย้อยอยู่ตามระหว่างแห่งมณฑป พร้อมกับการมองดู

นั่นเอง ตาข่ายกระดึงก็ห้อยย้อยลงแล้ว เสียงอันไพเราะของตาข่ายกระดึงที่ถูก

ลมอ่อนรำเพยพัด ก็เปล่งเสียงออกมาราวกะว่าเสียงอันไพเราะแห่งดนตรี ซึ่ง

ประกอบด้วยองค์ ๕ จึงดูไม่ต่างอะไรกับเวลาที่ทิพยสังคีตบรรเลงอยู่. เขาคิด

ว่า ในระหว่าง ๆ ขอให้พวงของหอมและพวงดอกไม้จงห้อยย้อยลงมา พวง

ของหอมและพวงดอกไม้ก็ห้อยย้อยลงมาแล้ว. เขาคิดว่า ขออาสนะและแท่นที่

รองนั่งสำหรับภิกษุที่นับได้แสนโกฏิ จงแทรกแผ่นดินขึ้นมา. ในทันใดนั้นเอง

ต่างก็แทรกขึ้นมา เขาคิดว่า ที่ทุก ๆ มุม ขอให้หม้อน้ำแทรกขึ้นมามุมละใบ.

หม้อน้ำก็แทรกขึ้นมา เขาเนรมิตสิ่งต่าง ๆ มีประมาณเท่านี้ เสร็จแล้วจึงไปยัง

สำนักของพราหมณ์แล้วกล่าวว่า มานี่แน่ะท่าน ท่านจงตรวจดูมณฑปแล้วให้

ค่าจ้างแก่เรา. พระมหาบุรุษไปตรวจดูมณฑปแล้ว. เมื่อเขากำลังตรวจดูอยู่

นั่นแหละทั่วตัวได้สัมผัสกับปีติ ๕ ชนิดตลอดเวลา. ทีนั้นเมื่อเขามองดูมณฑป

อยู่ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า มณฑปนี้คนเป็นมนุษย์กระทำไม่ได้ แต่เพราะ

อาศัยอัธยาศัยของเรา คุณของเรา ภพของท้าวสักกะจะร้อนแน่นอน ก่อนนี้

ท้าวสักกเทวราชจักสร้างมณฑปนี้ขึ้น ดังนี้. เขาคิดว่า การถวายทานเพียงวัน

เดียวเท่านั้น ในมณฑปเห็นปานนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย เราจักถวายทาน

ตลอด ๗ วัน. จริงอยู่ทานภายนอก แม้มีประมาณสักเท่าไร ก็ไม่สามารถที่

จะทำความยินดีให้แก่พระโพธิสัตว์ได้ แต่ในเวลาที่เขาตัดศีรษะที่ประดับประดา

แล้ว ควักลูกตาทั้งสองข้างที่หยอดยาตาแล้ว ฉีกเนื้อหัวใจออกแล้วให้ไป

พระโพธิสัตว์จะมีความยินดีนักเพราะอาศัยการบริจาคนี้ เมื่อพระโพธิสัตว์แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

ของพวกเราสละกหาปณะห้าแสนทุกวัน ให้ทานอยู่ที่ประตูทั้ง ๔ และที่ท่าม

กลางพระนคร ในเรื่องสิวิราชชาดก ทานนั้นก็หาสามารถให้เกิดความยินดีใน

การบริจาคไม่. แต่ในกาลใด ท้าวสักกเทวราชปลอมตัวมาในรูปของพราหมณ์

ขอลูกตาทั้งสองข้างของเขา ในกาลนั้น เมื่อเขาควักลูกตาเหล่านั้น ให้อยู่นั่นแหละ

ความร่าเริงได้เกิดขึ้นแล้ว จิตมิได้เป็นอย่างอื่นแม้เท่าปลายเส้นผม. ขึ้นชื่อว่า

อิ่มใจเพราะอาศัยทานที่ให้แล้วโดยอาการอย่างนี้หามีแก่พระโพธิสัตว์ไม่. เพราะ

ฉะนั้น พระมหาบุรุษแม้นั้น จึงคิดว่า เราควรจะถวายทานแก่ภิกษุทั้งหลาย

นับได้แสนโกฏิตลอด ๗ วัน จึงให้พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

ประทับนั่งในมณฑปนั้น ได้ถวายทานชื่อควปานะตลอด ๗ วัน ที่เรียกว่า

ควปานะนั้นได้แก่ โภชนะที่เขาใส่นมจนเต็มหม้อใหญ่แล้ว ยกขึ้นตั้งบนเตาไฟ

ใส่ข้าวสารนิดหน่อยในน้ำนมที่ต้มสุกแล้วในหม้อต้ม แล้วปรุงรสด้วยน้ำผึ้ง

ผงน้ำตาลกรวดและเนยใสที่ต้มแล้ว ก็มนุษย์นี้แหละไม่สามารถที่จะเลี้ยงดูได้

แม้แต่เทวดาก็ต้องสลับกันจึงจะเลี้ยงดูได้. แม้ที่มีประมาณ ๑๒ และ ๑๓ โยชน์

ก็ไม่เพียงพอที่จะบรรจุภิกษุทั้งหลายได้เลย แก่ภิกษุเหล่านั้น นั่งได้ด้วยอานุภาพ

ของตน.

ในวันสุดท้าย เขาให้ล้างบาตรของภิกษุทุกรูปแล้ว ใส่เนยใส เนย

ข้น น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นจนเต็มบาตร เพื่อต้องการให้เป็นเภสัช พร้อม

ด้วยไตรจีวร ผ้าสาฎกที่เป็นจีวร ซึ่งภิกษุนวกะในหมู่สงฆ์ได้รับ ไปได้มีราคา

ถึงหนึ่งแสน. พระศาสดาเมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนาทรงใคร่ครวญดูว่า บุรุษ

นี้ได้ถวายมหาทานเห็นปานนี้ เขาจักได้เป็นอะไรหนอ ทอดพระเนตร

เห็นว่า เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม ในที่สุดแห่งสอง

อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปในอนาคต ดังนี้ จึงตรัสเรียกพระมหาบุรุษมาแล้ว

ทรงพยากรณ์ว่า ท่านล่วงกาลมีประมาณเท่านี้แล้ว จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

ทรงพระนามว่าโคดม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

พระมหาบุรุษได้ฟังคำพยากรณ์แล้วคิดว่า นัยว่าเราจักได้เป็นพระ-

พุทธเจ้า จะประโยชน์อะไรของเราด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวช จึง

ทอดทิ้งสมบัติเห็นปานนั้น ประดุจก้อนเขฬะ แล้วบวชในสำนักของพระศาสดา

ครั้น บวชแล้วเล่าเรียนพระพุทธวจนะ ให้อภิญญาและสมาบัติเกิดขึ้นแล้ว ใน

เวลาสิ้นอายุได้ไปบังเกิดในพรหมโลก.

ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ามังคละ มีชื่อว่า

อุตตระ แม้พระราชมารดาก็ทรงพระนามว่า อุตตรา แม้พระราชบิดาทรง

เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า อุตตระ พระอัครสาวกสององค์นามว่า สุเทวะ-

หนึ่ง ธรรมเสนะหนึ่ง พระอุปฐากนามว่า ปาลิตะ พระอัครสาวิกาสององค์

นามว่า สิมพลี ๑ นามว่า อโสกา ๑ ต้นไม้ตรัสรู้ ชื่อนาคพฤกษ์

(ต้นกากะทิง). พระสรีระสูงได้ ๘๘ ศอก. พระองค์ทรงดำรงพระชนม์ชีพอยู่

๙๐,๐๐๐ พรรษา ก็ปรินิพพาน. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นปรินิพ-

พานแล้ว จักรวาลหมื่นหนึ่งได้มืดเป็นอันเดียว โดยพร้อมกันทีเดียว. พวก

มนุษย์ทั้งหลายในจักรวาลทั้งสิ้นต่างร้องไห้คร่ำครวญกันไปหมด.

กาลภายหลังของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า

โกณฑัญญะ พระนายกทรงพระนามว่ามังคละ ทรง

ถือดวงประทีปธรรม กำจัดความมิดในโลกแล้วด้วย

ประการฉะนี้.

ในกาลภายหลังแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ปรินิพพาน

กระทำหมื่นโลกธาตุให้มืดอย่างนี้แล้ว พระศาสดาทรงพระนามว่า สุมนะ

เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. สาวกสันนิบาตแม้ของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาต

ครั้งแรก มีภิกษุเเสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ที่กาญจนบรรพตมีภิกษุเก้าสิบแสนโกฏิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

ครั้งที่ ๓ แปดสิบแสนโกฏิ. ในกาลนั้น พระมหาสัตว์ได้เป็นนาคราชนามว่า

อตุละมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก. พระยานาคนั้นได้ยินว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น

แล้ว มีหมู่ญาติห้อมล้อมแล้ว ออกจากนาคพิภพ ให้กระทำการบรรเลงถวาย

ด้วยทิพยดนตรี แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์บริวารแสนโกฎิ

ถวายผ้าคู่เฉพาะองค์แล้วตั้งอยู่ในสรณะ พระศาสดาแม้นั้นก็ทรงพยากรณ์เขา

ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระ

องค์นั้น ชื่อ เมขลา พระราชาทรงพระนามว่า สุทัตตะ เป็นพระราชบิดา

พระราชมารดาทรงพระนามว่า สิริมา พระอัครสาวกสององค์ นามว่าสรณะ

หนึ่ง นามว่าภาวิตัตตะหนึ่ง พระอุปรากนามว่า อุเทนะ พระอัครสาวิกาสอง

องค์นามว่า โสณาหนึ่ง นามว่าอุปโสณาหนึ่ง และต้นนาคพฤกษ์เป็นไม้

ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๙๐ ศอก ประมาณพระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี ด้วย

ประการฉะนี้.

กาลภายหลังของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า

มังคละ พระนายกทรงพระนามว่าสุมนะ หาผู้เสมอ

มิได้โดยธรรมทั้งปวง สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง.

ในกาลภายหลังแห่งพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า เรวตะ

ได้เสด็จอุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็ได้มีสามครั้ง ในสันนิบาต

ครั้งแรก นับไม่ได้ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ ก็เช่นกัน. ใน

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อ อติเทพ ฟังพระธรรมเทศนาของ

พระศาสดาแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะ ประคองอัญชลีเหนือศีรษะแล้ว ได้ฟัง

พระคุณในการละกิเลสของพระศาสดานั้น ได้กระทำการบูชาด้วยผ้าห่ม แม้

พระองค์ก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ก็พระนครของพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีชื่อว่า สุธัญญวดี แม้พระราชบิดาก็เป็นกษัตริย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

ทรงพระนามว่า วิปุละ พระราชมารดาทรงพระนามว่า วิมลา พระ อัคร-

สาวก ๒ องค์นามว่า วรุณะหนึ่ง นามว่า พรหมเทวะหนึ่ง พระอุปฐากนาม

ว่า สัมภวะ พระอัครสาวิกา ๒ องค์นามว่า ภัตทาหนึ่ง นามว่า สุภัททา

หนึ่ง และต้นนาคพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๐ ศอก ประมาณ

พระชนมายุได้ ๖๐,๐๐๐ ปี ด้วยประการนี้.

กาลภายหลังแห่งพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า

สุมนะ พระนายกทรงพระนานว่า เรวตะ เป็นพระ

ชินเจ้า หาผู้เปรียบปานมิได้ หาผู้เสมอมิได้ ไม่มี

ผู้เทียมทัน เป็นผู้สูงสุด ด้วยประการฉะนี้.

ในกาลภายหลังพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า โสภิตะ ได้

เสด็จอุบัติขึ้นในโลก. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็ได้มีสามครั้ง

ในสันนิบาตครั้งแรก ได้มีภิกษุร้อยโกฏิ ในครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ

ในครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ. ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์ชื่อว่า อชิตะ

ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะ ได้ถวายมหาทานแต่

พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขาว่า

จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นชื่อ

สุธรรม พระราชาทรงพระนามว่า สุธรรม ได้เป็นพระราชบิดา พระราช

มารดาทรงพระนามว่า สุธรรมา พระอัครสาวกนามว่าอสมะองค์หนึ่ง นามว่า

สุเนตตะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า อโนมะ พระอัครสาวิกา นามว่านกุลา

องค์หนึ่ง นามว่าสุชาดาองค์หนึ่ง ต้นนาคพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระ

สูงได้ ๕๘ ศอก ประมาณพระชามายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี ฉะนี้แล.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าเรวตะ พระ

นายกทรงพระนามว่าโสภิตะ มีพระทัยตั้งมั่น มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

ทัยสงบ หาผู้เสนอมิได้ หาผู้เปรียบปานมิได้ ด้วย

ประการฉะนี้.

ในกาลภายหลังของพระองค์ครั้นล่วงได้อสงไขยหนึ่ง ในกัปเดียวกัน

มีพระพุทธเจ้าสามพระองค์ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว คือพระอโนมทัสสี พระ-

ปทุมะ พระนารทะ สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี

มีสาวกสันนิบาตสามครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุแปดแสน ครั้งที่ ๒ เจ็ดสิบแสน ครั้ง

ที่ ๓ แปดสิบหกพันโกฏิ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นเสนาบดีของยักษ์

ตนหนึ่ง มีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก เป็นอธิบดีของยักษ์แสนโกฏิเป็นอันมาก.

เขาได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วจึงมา แล้วได้ถวายมหาทานแต่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. แม้พระศาสดาก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จัก

ได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี

ชื่อว่า จันทวดี พระราชาทรงพระนามว่า ยสวา เป็นพระราชบิดา พระราช.

มารดาทรงพระนามว่า ยโสธรา พระอัครสาวกนามว่า นิสภะองค์หนึ่ง นาม

ว่า อโนมะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าวรุณะ พระอัครสาวิกา นามว่าสุนทรี

องค์หนึ่ง นามว่าสุมนาองค์หนึ่ง อัชชุนพฤกษ์ (ต้นรกฟ้า) เป็นไม้ตรัสรู้

พระสรีระสูงได้ ๕๘ ศอก พระชนมาย ได้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โสภิตะ

พระสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้สูงสุด

แห่งทวีป มีพระยศอันประมาณมิได้ มีพระเดชยากที่

คนจะก้าวล่วงได้ ฉะนี้แล.

ในกาลภายหลังของพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า ปทุมะ

เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาต

ครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีสามแสน ครั้งที่ ๓ มีภิกษุผู้อยู่ในชัฎ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

แห่งป่ามหาวันในป่าที่มิใช่บ้านสองแสน. ในคราวนั้น เมื่อพระตถาคต

ประทับอยู่ในชัฏแห่งป่านั้น พระโพธิสัตว์เป็นราชสีห์ เห็นพระศาสดา

เข้านิโรธสมาบัติอยู่ มีจิตเลื่อมใสไหว้กระทำประทักษิณ เกิดปีติและโสมนัส

บันลือสีหนาทสามครั้ง ตลอดเจ็ดวันมิได้ละปีติมีพระพุทธเจ้าเป็นอารมณ์เพราะ

สุขอันเกิดจากปีตินั่นเองไม่ออกไปหากิน กระทำการบริจาคชีวิต ได้เข้าไปเฝ้า

ยืนอยู่. พระศาสดาเสด็จออกจากนิโรธสมาบัติเมื่อล่วงได้เจ็ดวันแล้ว ทอดพระ-

เนตรเห็นราชสีห์ ทรงดำริว่า เขาจักให้จิตเลื่อมใสแม้ในภิกษุสงฆ์แล้วไหว้

ขอภิกษุสงฆ์จงมา ในทันใดนั่งเองภิกษุทั้งหลายก็มา ราชสีห์ทำจิตให้เลื่อมใส

แล้วในพระสงฆ์. พระศาสดาทรงตรวจดูใจของเขาแล้ว ทรงพยากรณ์ว่า จัก

ได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าปทุมะ ชื่อ

จัมปกะ พระราชาทรงพระนามว่าปทุมะเป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรง

พระนามว่า อสมา พระอัครสาวกนามว่าสาละองค์หนึ่ง นามว่าอุปสาละองค์

หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าวรุณะ พระอัครสาวิกานามว่า รามาองค์หนึ่ง นามว่า

สุรามาองค์หนึ่ง โสณพฤกษ์เป็นต้น ไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๕๘ ศอก

พระชนมายุได้แสนปี ฉะนี้แล.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า อโนมทัสสี

พระสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมะ เป็นผู้สูงสุด

แห่งทวีป หาผู้เสมอมิได้ ไม่มีผู้ใดเปรียบปาน ฉะนี้

แล.

ในกาลภายหลังของพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า นารทะเสด็จ

อุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก

มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีภิกษุเก้าสิบแสนโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดสิบแสน

โกฏิ. ในกาลนั้นแม้พระโพธิสัตว์ก็ได้บวชเป็นฤๅษี เป็นผู้ปฏิบัติจนชำนาญใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

อภิญญา ๕ ในสมาบัติ ๘ ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

ได้กระทำการบูชาด้วยจันทน์แดง. แม้พระองค์ก็ได้พยากรณ์ฤาษีนั้น ว่าจักเป็น

พระพุทธเจ้าในอนาคต. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นชื่อธัญญวดี

กษัตริย์ทรงพระนามว่า สุเมธะเป็นราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า

อโนมา พระอัครสาวกพระนามว่าภัททปาละองค์หนึ่ง นามว่าชิตมิตะองค์หนึ่ง

พระอุปฐากนามว่าวาเสฏฐะ พระอัครสาวิกนามว่าอุตตราองค์หนึ่ง นามว่า

ผัคคุณีองค์หนึ่ง ต้นมหาโสณพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๘ ศอก

พระชนมายุ ๙๐,๐๐๐ ปี

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมะ พระ

สัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า นารทะ ผู้สูงสุดแห่งทวีป

หาผู้เสมอมิได้ หาผู้เปรียบปานมิได้ ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า นารทะ ในกัปหนึ่งในที่

สุดแห่งแสนกัปแต่นี้ ล่วงได้อสงไขยหนึ่ง พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งพระนามว่า

ปทุมุตตระ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง

ในครั้งแรก มีภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ ที่เวภารบรรพต มีภิกษุเก้าสิบแสนโกฏิ

ครั้งที่ ๓ มีภิกษุแปดสิบพันโกฏิ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นชฏิลนามว่า

มหารัฏฐิยะ ได้ถวายจีวรทานแก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข. แม้พระ

องค์ก็ได้พยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. ก็ในกาลแห่งพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าปทุมุตตระ พวกเดียรถีย์ยังมิได้มี. พวกเทวดาและมนุษย์ทั้ง

ปวง ได้ถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้นเป็นสรณะ พระนครของพระองค์นามว่าหังสวดี

กษัตริย์ทรงพระนามว่าอานันทะเป็นพระราชบิดา พระมารดาทรงพระนามว่า

สุชาดา พระอัครสาวกนามว่า เทวละองค์หนึ่ง นามว่าสุชาตะองค์หนึ่ง พระ

อุปฐากนามว่าสุมนะ พระอัครสาวิกานามว่า อมิตตาองค์หนึ่ง นามว่าอสมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

องค์หนึ่ง ต้นสาลพฤกษ์เป็นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๘ ศอก รัศมีจาก

พระสรีระพุ่งไปจดที่ ๑๒ โยชน์โดยรอบ พระชนมายุได้ แสนปี ฉะนี้แล.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า นารทะ พระ

สัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ผู้สูงสุดแห่ง

นระเป็นพระชินะ อุปมาด้วยสาครที่ไม่กระเพื่อม

ฉะนี้แล.

ในกาลต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ล่วงไปได้

สามหมื่นกัป ในกัปหนึ่งมีพระพุทธเจ้าสองพระองค์คือ พระสุเมธะและพระ-

สุราตะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระพุทธเจ้าทรงพระนาม

สุเมธะก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งที่ ๑ ในสุทัสสนนคร ได้มีพระขีณาสพร้อย

โกฏิ ครั้งที่ ๒ มีเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีแปดสิบโกฏิ. ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์

เป็นมาณพชื่อ อุตตระ สละทรัพย์แปดสิบโกฏิที่ฝั่งเก็บไว้ทั้งหมด ถวายมหา

ทานแต่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ฟังธรรมแล้วตั้งอยู่ในสรณะออก

บวช แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุเมธะ ชื่อสุทัสสนะ พระราชา

ทรงพระนามสุทัตตะ เป็นพระราชาบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่าสุทัตตา

พระอัครสาวกสององค์นามว่าสุมนะองค์หนึ่ง นามว่าสัพพกามะองค์หนึ่ง พระ

อุปฐากนามว่าสาตระ พระอัครสาวิกาสององค์ นามว่ารามาองค์หนึ่ง นามว่า

สุรามาองค์หนึ่ง มหานิมพพฤกษ์ต้นสะเดาใหญ่ เป็นต้น ไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระ

สูงได้ ๘๘ ศอก พระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี ฉะนี้แล

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ

พระนายกทรงพระนามว่า สุเมธะ หาผู้ที่จะต่อกรได้

ยาก มีพระเดชาแก่กล้า เป็นพระมุนีผู้สูงสุดในโลก

ทั้งปวง ฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า สุขาตะอุบัติขึ้น

แล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งที่ ๑ มีภิกษุ

หกหมื่น ครั้งที่ ๒ มีห้าหมื่น ครั้งที่ ๓ มีสี่หมื่น. ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็น

พระเจ้าจักรพรรดิ ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าฟังธรรม

แล้วถวายราชสมบัติในสี่ทวีป พร้อมด้วยรัตนะ ๗ ประการแต่สงฆ์ มีพระพุทธ.

เจ้าเป็นประมุข แล้วบวชในสำนักของพระศาสดา ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นต่างถือ

เอาเงินที่เกิดขึ้นของรัฐรับหน้าที่เป็นคนทะนุบำรุงวัด. ได้ถวายมหาทานแต่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขเป็นนิตย์. แม้พระศาสดาก็ทรงพยากรณ์เขา

ว่าจักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. พระนครของพระผู้มีภาคเจ้าพระองค์นั้น

มีชื่อว่า สุมังคละ พระราชาทรงพระนามว่า อุคคตะ เป็นพระราชบิดา พระ

ราชมารดาทรงพระนามว่า ประภาวดี พระอัครสาวกมีนามว่า สุทัสสนะองค์

หนึ่ง มีนามว่าสุเทวะองค์หนึ่ง พระอุปฐากมีนามว่านารทะ พระอัครสาวิกา

มีนามว่า นาคาองค์หนึ่ง มีนามว่า นาคสมาลาองค์หนึ่ง มหาเวฬุพฤกษ์ (ต้น

ไผ่ใหญ่) เป็นต้น ไม้ตรัสรู้ ได้ยินว่าต้นไม้นั้นไม่ใคร่มีรูโปร่ง ลำต้นแข็งแรง

มีกิ่งใหญ่พุ่งขึ้นเบื้องบนแลดูงดงาม ราวกะกำแววหางนกยูง. พระสรีระของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นสูงได้ ๕๐ ศอก พระชนมายุ ๙๐,๐๐๐ ปี ฉะนี้แล

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแหละ มีพระนายกทรงพระ-

นามว่าสุชาตะ ผู้มีพระหนุดังคางราชสีห์ (ผึ่งผาย)

มีพระวรกายดังโคอุสภะ (สง่างาม) หาผู้เปรียบนี้ได้

หาผู้ต่อกรได้ยาก ฉะนั้นแล.

ในกาลต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า ในกัปหนึ่งในที่สุดแห่งสิบแปดกัป

แต่นี้ มีพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นสามองค์คือ พระปิยทัสสี พระอัตถทัสสี

พระธรรมทัสสี. แม้สาวกสันนิบาตของพระปิยทัสสีก็มีสามครั้ง ครั้งแรกมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ภิกษุแสนโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ มีแปดสิบโกฏิ. ในกาลนั้น

พระโพธิสัตว์เป็นมาณพนามว่า กัสสปะ. เรียนจบเวททั้งสาม ได้ฟังพระธรรม

เทศนาของพระศาสดา ได้บริจาคทรัพย์แสนโกฏิสร้างสังฆาราม ตั้ง อยู่ในสรณะ

และศีลแล้ว ที่นั้นพระศาสดาทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

เมื่อล่วงไปพันแปดร้อยกัป. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนาม

อโนปมะ พระราชาทรงพระนามว่า สุทินนะ เป็นพระราชบิดา พระราช

มารดาทรงพระนามว่า จันทา พระอัครสาวกนามว่า ปาลิตะองค์หนึ่ง นามว่า-

สัพพทัสสีองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า โสภิตะ พระอัครสาวิกานามว่า สุชาตา

องค์หนึ่ง นามว่า ธรรมทินนาองค์หนึ่ง กกุธพฤกษ์ (ต้นกุ่ม) เป็นไม้ที่

ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๐ ศอก พระชนมายุได้ ๙๐,๐๐๐ ปี.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สุชาตะ

พระปิยทัสสี ผู้เป็นพระโลกนาถ ผู้เป็นพระสยัมภู ยาก

ที่ใครจะต่อกรได้ หาใครเสมอมิได้ ผู้มีพระยศใหญ่

ฉะนั้นแล.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า อัตถทัสสี

เสด็จอุบัติขึ้นแล. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาต

ครั้งแรก มีภิกษุเก้าล้านแปดแสน ครั้งที่ ๒ แสนแปด ครั้งที่ ๓ ก็เท่ากัน

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นดาบสผู้มีฤทธิ์มากชื่อว่า สุสิมะ นำฉัตรดอก

มณฑารพ มาจากเทวโลก บูชาพระศาสดา แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขา

ว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้า นาม

ว่า โสภิตะ พระราชาทรงพระนามว่า สาคระ เป็นพระราชบิดา พระ-

ราชมารดาทรงพระนามว่า สุทัสสนา พระอัครสาวกนามว่า สันตะองค์หนึ่ง

นามว่า อุปสันตะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า อภยา. พระอัครสาวิกานามว่า

ธรรมาองค์หนึ่ง นามว่า สุธรรมาองค์หนึ่ง จัมปกพฤกษ์ (ต้นจัมปา)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้. พระสรีระสูงได้ ๘๘ ศอก รัศมีจากพระสรีระแผ่ไปโดย

รวมประมาณโยชน์หนึ่ง ตั้งอยู่ตลอดเวลา พระชนมายุได้ แสนปี.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแล พระนาราสภ อัตถทัสสี

ทรงกำจัดความมืดอย่างใหญ่แล้ว บรรลุพระสัมโพธิ-

ญาณอันอุดม.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า ธรรมทัสสี

เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ครั้งแรกมีภิกษุ

ร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ เจ็ดสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ เเปดสิบโกฏิ. ในครั้งนั้น พระ

มหาสัตว์ เป็นท้าวสักกเทวราช ได้กระทำการบูชา ด้วยดอกไม้มีกลิ่นอันเป็น

ทิพย์ และด้วยเครื่องดนตรีทิพย์ แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้

เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนาม

ว่า สรณะ พระราชาทรงพระนามว่า สรณะ เป็นพระราชบิดา พระราช-

มารดาทรงพระนามว่า สุนันทา พระอัครสาวกนามว่า ปทุมะองค์หนึ่ง นาม

ว่า ปุสสเทวะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า สุเนตตะ พระอัครสาวิกานามว่า

เขมาองค์หนึ่ง นามว่า สัพพนามาองค์หนึ่ง ต้นรัตตกุรวกพฤกษ์เป็นไม้ตรัสรู้.

ต้นพิมพชาละ (ไม้มะกล่ำเครือ) ก็เรียก. ก็พระสรีระของพระองค์สงได้ ๘๐

ศอก พระชนมายุได้ แสนปี.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแหละ พระธรรมทัสสี ผู้มี

พระยศใหญ่ ทรงกำจัดความมืดมนอนธการแล้ว รุ่ง-

โรจน์อยู่ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก.

ในกาลต่อจากพระองค์ ในกัปหนึ่งในที่สุดแห่งเก้าสิบกัปแต่กัปนี้ พระ-

พุทธเจ้าพระองค์เดียวทรงพระนามว่า สิทธัตถะ เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวก

๑. บาลีพุทธวงศ์ เป็น ติมพชาละ (ไม้พลับ)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

สันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุแสนโกฏิ

ครั้งที่ ๒ เก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ แปดสิบโกฏิ. ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เป็น

ดาบส นามว่า มังคละ มีเดชกล้าสมบูรณ์ด้วยอภิญญาพละ ได้นำผลหว้า

ใหญ่มาถวายแด่พระตถาคต. แม้พระศาสดาเสวยผลไม้นั้นแล้ว ได้ทรงพยากรณ์

พระโพธิสัตว์ว่า ในที่สุดแห่งกัปเก้าสิบสี่กัป ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า.

พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่า เวภาระ พระราชาทรง

พระนามว่า ชยเสนะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า

สุผัสสา พระอัครสาวกนามว่า สัมพละองค์หนึ่ง นามว่า สุมิตตะองค์หนึ่ง

พระอุปฐากนามว่า เรวตะ พระอัครสาวิกานามว่า สิจลาองค์หนึ่ง นามว่า

สุรามาองค์หนึ่ง กัณณิกพฤกษ์ เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๖๐ ศอก

พระชนมายุได้ แสนปี.

หลังจากพระธรรมทัสสี พระโลกนายกทรงพระ-

นามว่าสิทธัตถะ ทรงกำจัดความมืดเสียสิ้น เหมือน

ดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นมาแล้ว ฉะนั้น.

ในกาลต่อจากพระองค์ ในที่สุดแห่งกัปที่เก้าสิบสอง มีพระพุทธเจ้า

เสด็จอุบัติขึ้นสององค์ในกัปหนึ่งคือ ทรงพระนามว่าติสสะ ทรงพระนามว่า

ปุสสะ สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ติสสะ มีสาวกสันนิบาต

สามครั้ง ในครั้งแรกมีภิกษุร้อยโกฏิ ครั้งที่ ๒ มีเก้าสิบโกฏิ ครั้งที่ ๓ มี

แปดสิบโกฏิ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นกษัตริย์มีโภคสมบัติมาก มียศ

ใหญ่นามว่า สุชาตะ ทรงผนวชเป็นฤาษี ถึงความเป็นผู้มีฤทธิ์มาก ได้สดับ

ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ถือเอาดอกมณฑารพ ดอกบัวหลวงและ

ดอกปาริฉัตรอันเป็นทิพย์มาบูชาพระตถาคต ผู้ประทับอยู่ในท่ามกลางบริษัท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

สี่ ในอากาศได้กระทำเพดานดอกไม้ไว้. แม้พระศาสดาพระองค์นันก็ทรง

พยากรณ์เขาว่า ในกัป ที่เก้าสิบแต่กัปนี้ จักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระนครของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น นามว่า เขมะ กษัตริย์ทรงพระนามว่า ชนสันธะ

เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า ปทุมา พระอัครสาวกนาม

ว่า พรหมเทวะองค์หนึ่ง นามว่าอุทยะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า สัมภวะ

พระอัครสาวิกา นามว่าปุสสาองค์หนึ่ง นามว่า สุทัตตาองค์หนึ่ง อสนพฤกษ์

(ต้นประดู่ลาย) เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๖๐ ศอก พระชนมายุได้

แสนปี.

กาลต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าสิทธัตถะ

ก็มาถึงพระนายกผู้เลิศในโลก ทรงพระนามว่าติสสะ

หาผู้เสมอมิได้ หาผู้เปรียบมิได้ ทรงมีศีลหาที่สุดมิได้

ทรงมีพระยศนับไม่ได้.

กาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า ปุสสะ เสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรก มี

ภิกษุหกสิบแสน ครั้งที่ ๒ ห้าสิบแสน ครั้งที่สาม สามสิบสองแสน. ใน

กาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า วิชิตาวี ทรงสละราช-

สมบัติอันใหญ่ แล้วผนวชในสำนักของพระศาสดา ทรงเล่าเรียนพระไตรปิฎก

แล้วทรงแสดงธรรมกถาแก่มหาชน ทรงบำเพ็ญศีลบารมี. แม้พระปุสสะก็

พยากรณ์เขาว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า. พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น นามว่า กาสี พระราชาทรงพระนามว่า ชยเสนะ เป็นพระราชบิดา

พระราชมารดาทรงพระนามว่า สิริมา พระอัครสาวกนามว่า สุรักขิตะองค์

หนึ่ง นามว่า ธรรมเสนะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า โสภิยะ. พระอัคร-

สาวิกานามว่า จาลาองค์หนึ่ง นามว่า อุปจาลาองค์หนึ่ง อามลกพฤกษ์ (ต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

มะขามป้อม) เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๕๘ ศอก พระชนมายุ

๙๐,๐๐๐ ปี.

ในมัณฑกัปนั้นนั่นแหละ ได้มีพระศาสดาผู้

ยอดเยี่ยมหาผู้เทียมมิได้ ไม่เป็นเช่นกับใคร ผู้เป็น

พระนายกผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงพระนามว่า ปุสสะ.

กาลต่อจากพระองค์ ในกัปที่เก้าสิบเจ็ดแต่กัปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่า วิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว. แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มี

สามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุหกสิบแปดแสน ครั้งที่ ๒ มีเก้าสิบเจ็ด

แสน ครั้งที่ ๓ มีแปดหมื่น. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระยานาคนาม

ว่า อตุละ มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ได้ถวายตั่งใหญ่ทำด้วยทองคำขจิต

ด้วยแก้ว เจ็ดประการ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้พระองค์ท่านก็ได้ทรงพยากรณ์

เขาว่า ในกัปที่เก้าสิบเอ็ดแต่กัปนี้ ท่านจักได้เป็นพระพุทธเจ้า. พระนครของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น นามว่า พันธุมดี พระราชาทรงพระนามว่า พันธุมะ

เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระนามว่า พันธุมดี พระอัครสาวก

นามว่าขันธะองค์หนึ่ง นามว่า ติสสะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า อโศกะ

พระอัครสาวิกานามว่า จันทาองค์หนึ่ง นามว่า จันทมิตตาองค์หนึ่ง ปาตลิ-

พฤกษ์ (ต้นแคฝอย) เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๘๐ ศอก พระ-

รัศมีจากพระสรีระแผ่ออกไปจด ๗ โยชน์ พระชนมายุ ๘๐,๐๐๐ ปี.

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ปุสสะ

พระสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดในทวีป ทรงพระนามว่า

วิปัสสี ผู้มีพระจักษุ ได้เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก.

ในกาลต่อจากพระองค์ ในกัปที่สามสิบเอ็ดแต่กัปนี้ ได้มีพระพุทธเจ้า

สองพระองค์คือ พระสิขีและพระเวสสภู. แม้สาวกสันนิบาตของพระสิขีก็มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

สามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกมีภิกษุแสนหนึ่ง ครั้งที่ ๒ มีแปดหมื่น ครั้ง

ที่ ๓ มีเจ็ดหมื่น. ในกาลครั้งนั้น พระโพธิสัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า

อรินทมะ ได้ถวายมหาทานพร้อมด้วยจีวรแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข ถวายช้างแก้วซึ่งตกแต่งด้วยแก้วเจ็ดประการ ได้ถวายกัปปิยะภัณฑ์

ทำให้มีขนาดเท่าตัวช้าง. แม้พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขาว่า จักได้เป็นพระ

พุทธเจ้าในกัปที่สามสิบเจ็ดแต่กัปนี้ พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น มีนามว่า อรุณวดี กษัตริย์นามว่า อรุณะ เป็นพระราชบิดา พระราช-

มารดาทรงพระนามว่า ปภาวดี พระอัครสาวกนามว่า อภิภูองค์หนึ่ง นาม

ว่า สัมภวะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่า เขมังกระ พระอัครสาวิกานามว่า

เขมาองค์หนึ่ง นามว่า ปทุมาองค์หนึ่ง ปุณฑรีกพฤกษ์ (ต้นมะม่วง)

เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๓๗ ศอก พระรัศมีจากพระสรีระแผ่ซ่าน

ไปจด ๓๐๐ โยชน์ พระชนมายุได้ ๓๗,๐๐๐ ปี

ในกาลต่อจากพระวิปัสสี พระสัมพุทธเจ้าผู้สูง

สุดในทวีป เป็นพระชินเจ้าทรงพระนามว่า สิขี หา

เสมอมิได้ หาบุคคลเปรียบปานมิได้.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า เวสสภู เสด็จ

อุบัติขึ้น แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีสามครั้ง ในสันนิบาตครั้งแรกได้มี

ภิกษุแปดล้าน ครั้งที่ ๒ มีเจ็ดล้าน ครั้งที่ ๓ มีหกล้าน ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์

เป็นพระราชาทรงพระนามว่า สุทัสนะ ถวายมหาทานพร้อมทั้งจีวร แด่พระ-

สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วทรงผนวชในสำนักของพระองค์ได้เป็นผู้

สมบูรณ์ด้วยอาจารคุณ มากไปด้วยความยำเกรงและปีติในพระพุทธรัตนะ แม้

พระองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์พระองค์ว่า ในกัปที่สามสิบเอ็ดแต่กัปนี้ จักได้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

พระพุทธเจ้า ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นนามว่า อโนมะ

พระราชาทรงพระนามว่า สุปปติตะ เป็นพระราชบิดา พระราชมารดาทรงพระ

นามว่า ยสวดี พระอัครสาวกนามว่า โสณะองค์หนึ่ง นามว่า อุตตระองค์หนึ่ง

พระอุปฐากนามว่า อุปสันตะ พระอัครสาวิกานามว่า รามาองค์หนึ่ง นามว่า

สมาลาองค์หนึ่ง สาลพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๖๐ ศอก

พระชนมายุได้ ๖๐,๐๐๐ ปี

ในมัณกัปนั้นนั่นแล พระชินเจ้าผู้หาใครเสมอ

มิได้ หาใครเปรียบปานมิได้ ทรงพระนามว่า เวสสภู

เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก.

ในกาลต่อจากพระองค์ในกัปนี้มีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นสี่พระองค์ คือ

พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ของพวกเรา สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กกุสันธะ มี

สาวกสันนิบาตครั้งเดียว ในสาวกสันนิบาตนั้นนั่นแหละมีภิกษุสี่หมื่น ในกาล

นั้นพระโพธิสัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า เขมะ ถวายมหาทานพร้อมด้วย

จีวรและเภสัชมียาหยอดดาเป็นต้น แก่พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขสดับ

พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ทรงผนวช แม้พระศาสดาพระองค์นั้นก็ได้

ทรงพยากรณ์เขาไว้แล้ว ก็พระนครของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

กกุสันธะนามว่า เขมะ พราหมณ์นามว่า อัคคิทัตตะ เป็นพระบิดา นาง

พราหมณีนามว่า วิสาขา เป็นพระมารดา พระอัครสาวกนามว่าวิธุระองก์หนึ่ง

นามว่า สัญชีวะองค์หนึ่ง พระอุปฐากนามว่าพุทธิชะ พระอัครสาวิกานามว่า

สาขาองค์หนึ่ง นามว่า สารัมภาองค์หนึ่ง มหาสิริสพฤกษ์ [ต้นซึกใหญ่] เป็น

ต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๔๐ ศอก พระชนมายุได้ ๔๐,๐๐๐ ปี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

ต่อจากพระเวสสภูก็มาถึง พระสัมพุทธเจ้าผู้เป็น

ใหญ่ในทวีป ทรงพระนามว่า กกุสันธะ หาคนเทียบ

เคียงมิได้ ยากที่ใครๆ จะต่อกรได้.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่า โกนาคมนะ

เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีครั้งเดียว ในสันนิบาตนั้น

ได้มีภิกษุสามหมื่นรูป ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็นพระราชาทรงพระนามว่า

ปัพพตะ มีหมู่อำมาตย์แวดล้อมเสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา สดับพระ-

ธรรมเทศนาแล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ถวายมหาทานแล้ว

ถวายผ้าปัตตุณณะ [ผ้าไหม] จีนปฏะ [ผ้าขาวในเมืองจีน] ผ้าไหมผ้ากัมพล

และผ้าเปลือกไม้เนื้อดี รวมทั้งผ้าที่ทอด้วยทองคำ แล้วทรงผนวชในสำนัก

ของพระศาสดา แม้พระองค์ก็ทรงพยากรณ์เขาไว้ พระนครของพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าพระองค์นั้น นามว่า โสภวดี พราหมณ์นามว่า ยัญญทัตตะ เป็น

พระบิดา นางพราหมณ์นามว่า อุตตรา เป็นพระมารดา พระอัครสาวกนามว่า

ภิยโยสะองค์หนึ่ง นามว่าอุตตระองค์หนึ่ง อุทุมพรพฤกษ์ [ต้นมะเดื่อ] เป็น

ต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระสูงได้ ๒๐ ศอก พระชนมายุได้ ๓๐,๐๐๐ ปี.

ต่อจากพระกกุสันธะ พระสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่า

นระทรงพระนามว่า โกนาคมนะ ผู้เป็นพระชินเจ้า ผู้

เป็นพระโลกเชษฐ์พระนราสภ.

ในกาลต่อจากพระองค์ พระศาสดาทรงพระนามว่ากัสสปะเสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้ว แม้สาวกสันนิบาตของพระองค์ก็มีครั้งเดียวเท่านั้น ในสันนิบาตนั้นมี

ภิกษุสองหมื่น ในคราวนั้นพระโพธิสัตว์เป็นมาณพชื่อ โชติปาละ เรียนจบ

ไตรเทพ เป็นผู้มีชื่อเสียงทั้งบนแผ่นดินและกลางหาว ได้เป็นมิตรของช่างหม้อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

ชื่อฆฏิการะ เขาพร้อมกับช่างหม้อนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมกถาแล้ว

บวชลงมือทำความเพียร เล่าเรียนพระไตรปิฎก ดูงดงามในพระพุทธศาสนา

เพราะถึงพร้อมด้วยวัตรปฏิบัติ พระศาสดาก็ได้ทรงพยากรณ์เขาไว้แล้ว พระ

นครอัน เป็นที่ประสูติของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีนามว่า พาราณสี พราหมณ์

นามว่า พรหมทัต เป็นพระบิดา นางพราหมณีนามว่า ธนวดี เป็นพระ-

มารดา พระอัครสาวกนามว่า ติสสะองค์หนึ่ง นามว่า ภารทวาชะองค์หนึ่ง

พระอุปฐากนามว่า สัพพมิตตะ พระอัครสาวิกานามว่าอนุลาองค์หนึ่ง นามว่า

อุรุเวลาองค์หนึ่ง ต้นนิโครธพฤกษ์ [ต้นไทร] เป็นต้นไม้ตรัสรู้ พระสรีระ

สูงได้ ๒๐ ศอก พระชนมายุได้ ๒๐,๐๐๐ ปี

ต่อจากพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า โกนาคมนะ

พระสัมพุทธเจ้า ผู้สูงสุดกว่านระ ทรงพระนามว่า

กัสสปะ ผู้เป็นพระชินเจ้า เป็นพระธรรมราชา ทรงทำ

โลกให้สว่าง.

ก็ในกัปที่พระทศพลทีปังกรเสด็จอุบัติขึ้น แม้พระพุทธเจ้าจะมีถึง

สามองค์ พระโพธิสัตว์ไม่ได้รับการพยากรณ์จากสำนักพระพุทธเจ้าเหล่านั้น

เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเหล่านั้น ท่านจึงมิได้แสดงไว้ในที่นี้ แต่ในอรรถ-

กถา เพื่อที่จะแสดงพระพุทธเจ้าทั้งหมดจำเดิมแต่กัปนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้

ไว้ว่า

พระสัมพุทธเจ้าเหล่านี้คือ พระตัณหังกร พระ-

เมธังกรและพระสรณังกร พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า

พระโกณฑัญญะผู้สูงสุดกว่านระ พระมังคละ พระสุ-

มนะ พระเรวตะ พระมุนีโสภิตะ พระอโนมทัสสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

พระปทุมะ พระนารทะ พระปทุมุตตระ พระสุเมธะ

พระสุชาตะ พระปิยทัสสีผู้มีพระยศใหญ่ พระอัตถ-

ทัสสี พระธรรมทัสสี พระสิทธัถะผู้เป็นโลกนายก

พระติสสะ พระปุสสสัมพุทธเจ้า พระวิปัสสี พระสิขี

พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ และ

พระนายกกัสสปะ ล้วนทรงมีราคะกำจัดได้แล้ว มี

พระหทัยตั้งมั่นทรงกำจัดความมืดอย่างใหญ่หลวงได้

ประหนึ่งดวงอาทิตย์เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว ลุกโพลงอยู่

ราวกะว่ากองไฟ เสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมทั้งสาวก

ดังนี้.

ในเรื่องนั้น พระโพธิสัตว์ของพวกเราสร้างคุณงามความดีในสำนัก

ของพระพุทธเจ้ายี่สิบสี่องค์ มีพระทีปังกรเป็นต้น มาถึงตลอดสี่อสงไขยยิ่งด้วย

แสนกัป ต่อจากพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ไม่มีพระพุทธเจ้า

องค์อื่น เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์นี้ ก็พระโพธิสัตว์ได้รับคำพยากรณ์ ใน

สำนักของพระพุทธเจ้ายี่สิบสี่องค์ มีพระทีปังกรเป็นต้นด้วยประการฉะนี้ เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เพราะประมวลธรรม ๘ ประการ คือ ความ

เป็นมนุษย์ ความสมบูรณ์ ด้วยเพศ ด้วยเหตุ การได้พบ

พระศาสดา การบรรพชา การถึงพร้อมด้วยคุณ การ

กระทำยิ่งใหญ่ ความพอใจ ความปรารถนาที่ตั้งใจจริง

ย่อมสำเร็จได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

พระมหาสัตว์ผู้ได้กระทำความปรารถนาที่ตั้งใจจริงไว้แทบบาทมูลของ

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร ประมวลธรรม ประการเหล่านี้ มาแล้ว

กระทำอุตสาหะว่า เอาเถอะ เราจะเลือกเฟ้นธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า

จากที่โน้น บ้างที่นี้บ้าง ได้เห็นพุทธการกธรรมมีทานบารมีเป็นต้น ด้วยกล่าวว่า

ในกาลเมื่อเราเลือกเฟ้นอยู่ได้เห็นทานบารมีเป็นข้อแรก เขาบำเพ็ญธรรมเหล่า

นั้น อยู่มาจนถึงอัตภาพเป็นพระเวสสันดร และเมื่อมาถึงก็ได้มาบรรลุอานิสงส์

สำหรับพระโพธิสัตว์ผู้ได้กระทำความปรารถนาที่ตั้งใจจริง ดังที่ท่านพรรณนา

ไว้มากมายว่า

นรชนผู้สมบูรณ์ด้วยองค์คุณทุกประการผู้เที่ยง

ต่อโพธิญาณ ตลอดสงสารอันมีระยะกาลยาวนาน แม้

นับด้วยร้อยโกฎิกัป จะไม่เกิดในอเวจี แม้ในโลกันตร-

นรกก็เช่นกัน แม้เมื่อเกิดในทุคติ จะไม่เกิดเป็นนิช-

ฌามตัณหิกเปรต ขุปปิปาสาเปรต กาลกัญชิกาสูร

ไม่เป็นสัตว์ตัวเล็ก ๆ เมื่อจะเกิดในมนุษย์ ก็ไม่เป็น

คนบอดแต่กำเนิด ไม่เป็นคนหูหนวก ไม่เป็น

คนใบ้ ไม่เกิดเป็นสตรี ไม่เป็นอุภโตพยัญชนก (คน

สองเพศ) และกะเทย นรชนผู้เที่ยงต่อโพธิญาณจะไม่

มีใจติดพันในสิงใด พ้นจากอนันตริยกรรม เป็นผู้มี

โคจรสะอาดในที่ทั้งปวง ไม่ซ่องเสพมิจฉาทิฏฐิ เพราะ

เห็นผลในการกระทำกรรม แม้จะอยู่ในพวกสัตว์ทั้ง

หลายก็ไม่เกิดเป็นอสัญญีสัตว์ ในพวกที่อยู่ในสุทธา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

วาส ก็ไม่มีเหตุไปเกิด เป็นสัตบุรุษน้อมใจไปในเนก-

ขัมมะ ปลดเปลื้องภพน้อยใหญ่ออก ประพฤติแต่

ประโยชน์แก่โลก มุ่งบำเพ็ญบารมีทุกประการเที่ยวไป.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมีอยู่นั่นแหละ อัตภาพที่บำเพ็ญทาน

บารมีคือในกาลเป็นพราหมณ์ชื่อ อกิตติ ในกาลเป็นพราหมณ์ชื่อสังขะ ใน

กาลเป็นพระราชาทรงพระนามว่า ธนัญชยะ ในกาลเป็นพระเจ้ามหาสุทัสสนะ

ในกาลเป็นมหาโควินทะ ในกาลเป็นนิมิมหาราช ในกาลเป็นจันทกุมาร ใน

กาลเป็นวิสัยหเศรษฐี ในกาลเป็นพระเจ้าสิวิราช ในกาลเป็นพระเวสสันดรก็

เหลือที่จะนับได้ แต่ทานบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้กระทำการบริจาคตน ใน

สสบัสณฑิตชาดก อย่างนี้ว่า

เราเห็นเขาเข้ามาเพื่อขอ จึงได้บริจาคตัวของตน

สิ่งที่เสมอด้วยทานของเราไม่มี นี้เป็นทานบารมีของ

เรา ดังนี้.

จัดเป็น ปรมัตถบารมีแน่นอน.

ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่บำเพ็ญศีลบารมี คือ ในกาลเป็นสีลวนาคราช

ในกาลที่เป็นจัมเปยยนาคราช ในกาลที่เป็นภูริทัตตนาคราช ในกาลที่เป็น

ฉัททันตนาคราช ในกาลเป็นชัยทิสราชบุตร ในกาลที่เป็นอลีนสัตตุกุมาร

ก็เหลือที่จะนับได้ แต่ศีลบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้ทำการบริจาคตน ใน

สังขปาลชาดกอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

เราเมื่อถูกทิ่มแทงอยู่ด้วยหลาว แม่จะถูกตีซ้ำ

ด้วยหอกก็มิได้โกรธเคืองลูกผู้ใหญ่บ้านเลย นี้เป็นศีล

บารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็น ปรมัตถบารมีแน่นอน.

ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่พระโพธิสัตว์สละราชสมบัติอย่างใหญ่บำเพ็ญ

เนกขัมบารมีคือ ในกาลที่เป็นโสมนัสกุมาร ในกาลที่เป็นหัตถิปาลกุมาร ในกาล

ที่เป็นอโยฆรบัณฑิต ก็เหลือที่จะนับได้. แต่เนกขัมมบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้

ทิ้งราชสมบัติออกบวช เพราะเป็นผู้ปราศจากเครื่องข้องในจูฬสุตโสมชาดก

อย่างนี้ว่า

เราละทิ้งราชสมบัติอย่างใหญ่หลวง ที่อยู่ใน

เงื้อมมือแล้วไปดุจก้อนเขฬะ เมื่อเราสละแล้ว ไม่มี

ความข้องอยู่เลย นี้เป็นเนกขัมมบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็น ปรมัตถบารมีแน่นอน.

ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่บำเพ็ญปัญญาบารมีคือ ในกาลที่เป็นวิธูร-

บัณฑิต ในกาลที่เป็นมหาโควินทบัณฑิต ในกาลที่เป็นขุททาลบัณฑิต ในกาล

ที่เป็นอรกบัณฑิต ในกาลที่เป็นโพธิปริพพาชก ในกาลที่เป็นมโหสถบัณฑิต

ก็เหลือที่จะนับได้ แต่ปัญญาบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้แสดงงูที่อยู่ข้างในกระ-

สอบ ในกาลที่เป็นเสนกบัณฑิต ในสัตตุภัตตชาดกอย่างนี้ว่า

เราเมื่อใคร่ครวญอยู่ด้วยปัญญา ปลดเปลื้อง

พราหมณ์ให้พ้นจากทุกข์ได้ ผู้ที่เสมอด้วยปัญญาของ

เราไม่มี นี้เป็นปัญญาบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็น ปรมัตถบารมีแน่นอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

ก็เช่นเดียวกัน อัตภาพที่บำเพ็ญแม้วิริยบารมีเป็นต้น ก็เหลือที่จะ

นับได้. แต่วิริยบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้ข้ามมหาสมุทร ในมหาชนกชาดก

อย่างนี้ว่า

ในท่ามกลางน้ำเราไม่เห็นฝั่งเลย พวกมนุษย์ลูก

ฆ่าตายหมด ความเป็นอย่างอื่นแห่งจิตไม่มีเลย นี้เป็น

วิริยบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็น ปรมัตถบารมี.

ขันติบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้อดกลั้นทุกข์หนัก เพราะทำเป็นเหมือนกับ

ไม่มีจิตใจในขันติวาทีชาดก อย่างนี้ว่า

เราไม่โกรธในพระเจ้ากาสิกราช ผู้ทุบตีเราผู้

เหมือนกับไม่มีจิตใจ ด้วยขวานอันคมกริบ นี้เป็น

ขันติบารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

สัจบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้สละชีวิตคามรักษาอยู่ซึ่งสัจจะ ในมหา

สุตโสมชาดก อย่างนี้ว่า

เราเมื่อตามรักษาอยู่ซึ่งสัจวาจา สละชีวิตของเรา

ปลดเปลื้องกษัตริย์ ๑๐๑ พระองค์ได้แล้ว นี้เป็นสัจ-

บารมีของเรา ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อธิษฐานบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ถึงกับสละชีวิตอธิษฐานวัตร ใน

มูคปักขชาดก อย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

มารดาบิดามิได้เป็นที่เกลียดชังของเรา ทั้งยศ

ใหญ่เราก็มิได้เกลียดชัง แต่พระสัพพัญญุตญาณเป็นที่

รักของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงอธิษฐานวัตร ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

เมตตาบารมีของพระโพธิสัตว์ผู้ไม่เหลียวแลแม้แต่ชีวิต ยังคงมีเมตตาอยู่

ในเอกราชชาดก อย่างนี้ว่า

ใคร ๆ ก็ทำให้เราสะดุ้งไม่ได้ ทั้งเรา มิได้หวาด

ต่อใคร ๆ เราไม่แข็งกระด้างเพราะกำลังเมตตา จึง

ยินดีอยู่ในป่าเขาทุกเมื่อ ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

อุเบกขาบารมีของพระโพธิสัตว์ ผู้ไม่ประพฤติล่วงอุเบกขา เมื่อพวก

เด็กชาวบ้าน แม้จะก่อให้เกิดทุกข์และสุขด้วยการถ่มน้ำลายใส่เป็นต้นบ้าง ด้วย

การนำดอกไม้และของหอมมาให้บ้าง ในโลมหังสชาดกอย่างนี้ว่า

เราหนุนซากศพเหลือแต่กระดูกสำเร็จการนอน

ในป่าช้า พวกเด็กต่างพากันกระโดดจากสนามวัวแล้ว

แสดงรูปต่าง ๆ เป็นอันมาก ดังนี้.

จัดเป็นปรมัตถบารมี.

ความสังเขปในที่นี้มีเพียงเท่านี้. ส่วนโดยพิศดารพึงถือใจความนั้นจาก

จริยาปิฎก. พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีอย่างนี้แล้ว ดำรงอยู่ในอัตภาพเป็น

พระเวสสันดร กระทำบุญใหญ่ อันเป็นเหตุให้แผ่นดินใหญ่ไหวอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

แผ่นดินนี้ไม่มีจิตใจ ไม่รับรู้สุขทุกข์ แม้แผ่น-

ดินนั้นก็ได้ไหวแล้วถึง ๗ ครั้ง เพราะอำนาจแต่งทาน

ของเรา ดังนี้

ในเวลาสิ้นสุดแห่งอายุ จุติจากนั้นได้ไปเกิดในดุสิตพิภพ. จำเดิมแต่

บาทมูลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร จนถึงพระโพธิสัตว์นี้เกิดใน

ดุสิตบุรี ข้อนั้นพึงทราบว่า ชื่อทูเรนิทาน.

อวิทูเรนิทาน

ก็เมื่อพระโพธิสัตว์อยู่ในดุสิตบุรีนั่นแล ความแตกตื่นเรื่องพระพุทธ-

เจ้าได้บังเกิดขึ้นแล้ว. จริงอยู่ ในโลกย่อมมีโกลาหล ๓ อย่างเกิดขึ้นคือ

โกลาหลเรื่องกัป ๑ โกลาหลเรื่องพระพุทธเจ้า ๑ โกลาหลเรื่องพระ

เจ้าจักรพรรดิ ๑

พวกเทวดาชั้นกามาวจรที่ชื่อว่าโลกพยุหะทราบว่า เหตุที่จะเกิด

เมื่อสิ้นกัปจักมีโดยล่วงไปได้แสนปีนั้น ดังนี้ ต่างมีศีรษะเปียก สยายผมมีหน้า

ร้องไห้ เอามือทั้งสองเช็ดน้ำตา นุ่งผ้าแดง มีรูปร่างแปลก เที่ยวเดิน

บอกกล่าวไปในเมืองมนุษย์ว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย โดยกาลล่วงไป

แห่งแสนปีแต่นี้ เหตุที่จะเกิดเมื่อสิ้นกัปจักมีขึ้น แม้โลกนี้ก็จักพินาศไป แม้

มหาสมุทรก็จักพินาศ แผ่นดินใหญ่นี้และพญาแห่งภูเขาสิเนรุ จักถูกไฟไหม้

จักพินาศไป ความพินาศจักมีจนถึงพรหมโลก ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย

ขอพวกท่านจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาจงบำรุงมารดาบิดา จงเป็น

ผู้นอบน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลดังนี้ นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องกัป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

พวกเทวดาชื่อว่าโลกบาลทราบว่า ก็โดยล่วงไปแห่งพันปี พระสัพพัญญู

พุทธเจ้าจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ดังนี้ แล้วพากันเที่ยวป่าวร้อง นี้ชื่อว่าโกลา-

หลเรื่องพระพุทธเจ้า.

เทวดาพวกนั้นแหละทราบว่า โดยล่วงไปแห่งร้อยปีพระเจ้าจักรพรรดิ

จักเสด็จอุบัติขึ้นพากันเที่ยวป่าวประกาศว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย โดย

ล่วงไปแห่งร้อยปีแต่นี้ พระเจ้าจักรพรรดิจักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ดังนี้.

นี้ชื่อว่าโกลาหลเรื่องพระเจ้าจักรพรรดิ.

โกลาหลทั้งสามประการนี้นับว่าเป็นของใหญ่. บรรดาโกลาหลทั้งสาม

นั้น เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นได้ฟังเสียงโกลาหลเรื่องพระพุทธเจ้าแล้ว จึง

ร่วมประชุมพร้อมกันทราบว่า สัตว์ชื่อโน้นจักเป็นพระพุทธเจ้า เข้าไปหาเขา

แล้วต่างจะอ้อนวอนและเมื่ออ้อนวอนอยู่ก็จะอ้อนวอนในเมื่อบุรพนิมิตเกิดขึ้น

แล้ว. ก็ในกาลนั้นเทวดาแม้ทั้งปวง พร้อมกับท้าวจาตุมมหาราช ท้าวสักกะ

ท้าวสุยาม ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมมานรดี ท้าวปรนิมมิตวสวัตดี และท้าวมหา-

พรหม ในแต่ละจักรวาลมาประชุมพร้อมกันในจักรวาลหนึ่ง แล้วพากันไปยัง

สำนักของพระโพธิสัตว์ ในภพดุสิตต่างอ้อนวอนว่า "ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์

ท่านเมื่อบำเพ็ญบารมีสิบ ก็มิได้ปรารถนาสมบัติของท้าวสักกะ สมบัติของมาร

สมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ สมบัติของพรหมบำเพ็ญ แต่ท่านปรารถนาพระ

สัพพัญญุตญาณบำเพ็ญแล้ว เพื่อต้องการจะขนสัตว์ออกจากโลก ข้าแต่ท่านผู้

นิรทุกข์ บัดนี้ถึงเวลาที่ท่านจะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ถึงสมัยที่ท่านจะเป็นพระ

พุทธเจ้าแล้ว".

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ยังไม่ให้ปฏิญาณแก่เทวดาทั้งหลาย จะตรวจดู

มหาวิโลกนะ คือที่จะต้องเลือกใหญ่ ๕ ประการคือ กาล ทวีป ประเทศ ตระกูล

และการกำหนดอายุของมารดา. ใน ๕ ประการนั้น พระโพธิสัตว์จะตรวจดูกาล

ก่อนว่า เป็นกาลสมควรหรือไม่สมควร. ในข้อนั้นกาลแห่งอายุที่เจริญขึ้นถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

แสนปีจัดว่า เป็นกาลไม่สมควร. เพราะเหตุไร. เพราะในกาลนั้น ชาติชราและ

มรณะไม่ปรากฏแก่สัตว์ทั้งหลาย และพระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ที่จะพ้นจากไตรลักษณ์ไม่มี เมื่อพระองค์ตรัสว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา พวก

เขาก็จะคิดว่า พระองค์ตรัสข้อนั้นทำไม แล้วจะไม่เห็นเป็นสำคัญว่าควรจะฟัง

ควรจะเชื่อ ต่อนั้นก็จะไม่มีการตรัสรู้ เมื่อไม่มีการตรัสรู้ศาสนาก็จะไม่เป็นสิ่งนำ

ออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้น จึงเป็นกาลที่ยังไม่ควร. แม้กาลแห่งอายุหย่อน

กว่าร้อยปี ก็จัดเป็นกาลที่ยังไม่ควร. เพราะเหตุไร. เพราะในกาลนั้น สัตว์

ทั้งหลายมีกิเลสหนา และโอวาทที่ให้แก่ผู้มีกิเลสหนาจะไม่ตั้งอยู่ในที่เป็นโอวาท

โอวาทนั้น ก็จะพลันปราศไปเร็วพลันเหมือนรอยไม้เท้าในน้ำฉะนั้น เพราะฉะนั้น

แม้กาลนั้น ก็จัดได้ว่าเป็นกาลไม่ควร. กาลแห่งอายุต่ำลงมาตั้งแต่แสนปี สูงขึ้น

ไปตั้งแต่ร้อยปี จัดเป็นกาลอันควร. และในกาลนั้นก็เป็นกาลแห่งอายุร้อยปี.

ที่นั้นพระมหาสัตว์ก็มองเห็นว่าเป็นกาลที่ควรจะเกิดได้แล้ว. ต่อจากนั้นเมื่อจะ

ตรวจดูทวีปก็ตรวจดูทวีปใหญ่ ๔ ทวีป เห็นทวีปหนึ่งว่า ในทวีปทั้งสามพระพุทธ

เจ้าทั้งหลายย่อมไม่เสด็จอุบัติขึ้น เสด็จอุบัติขึ้นในชมพูทวีปเท่านั้น. ต่อจากนั้น

ก็ตรวจดูประเทศว่า ธรรมดาชมพูทวีปกว้างใหญ่มาก มีปริมาณถึงหมื่นโยชน์

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นในประเทศไหนหนอ. จึงมองเห็นมัชฌิม

ประเทศ. ชื่อว่ามัชฌิมประเทศ คือประเทศที่ท่านกล่าวไว้ในวินัยอย่างนี้ว่า ใน

ทิศตะวันออกมีนิคมชื่อกชังคละ ที่อื่นจากนิคมนั้นเป็นที่กว้างขวาง อื่นไปจาก

ที่นั้น เป็นชนบทตั้งอยู่ในชายแดน ร่วมในเป็นมิชฌิมประเทศ ในทิศใต้ มีแม่น้ำ

ชื่อสัลลวดี ต่อจากนั้น เป็นชนบทตั้งอยู่ชายแดน ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ ใน

ทิศทักษิณมีนิคมชื่อเสตกัณณิกะ ต่อจากนั้นเป็นชนบทตั้งอยู่ในชายแดน ร่วม

ในเป็นมัชฌิมประเทศ ในทิศตะวันตก มีพราหมณคามชื่อถูนะ ต่อจากนั้นเป็น

ชนบทตั้งอยู่ในชายแดน ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ ในทิศเหนือ มีภูเขาชื่อ

อุสีรธชะ ต่อจากนั้นเป็นชนบทตั้งอยู่ในชายแดน ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

มัชฌิมประเทศนั้นโดยยาววัดได้สามร้อยโยชน์ โดยกว้างได้สองร้อยห้าสิบโยชน์

โดยวงรอบได้เก้าร้อยโยชน์. ในประเทศนั้น พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระอัครสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ และกษัตริย์พราหมณ์คฤหบดีมหาศาล ผู้มี

ศักดาใหญ่เหล่าอื่นย่อมเกิดขึ้น และนครชื่อว่ากบิลพัสดุ์นี้ก็ตั้งอยู่ในมัชฌิมประ-

เทศนี้ พระโพธิสัตว์จึงได้ถึงความตกลงใจว่า เราควรจะไปเกิดในนครนั้น.

ต่อจากนั้นพระโพธิสัตว์เมื่อจะเลือกตระกูล จึงเห็นตระกูลว่า มารดาพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ย่อมไม่เสด็จอุบัติในตระกูลแพศย์ หรือในตระกูลศูทร แต่จะเสด็จ

อุบัติในตระกูลกษัตริย์หรือในตระกูลพราหมณ์ที่โลกยกย่อง สองตระกูลนี้เท่านั้น

ก็บัดนี้มีตระกูลกษัตริย์ที่โลกยกย่องแล้ว เราจักเกิดในตระกูลนั้น พระเจ้าสุท-

โธทนมหาราช จักเป็นพระราชบิดาของเราดังนี้. ต่อจากนั้นเมื่อจะเลือกมารดา

ก็เห็นว่า ธรรมดาพระพุทธมารดาย่อมไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักเลงสุรา แต่จะ

เป็นผู้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัป จำเดิมแต่เกิดจะมีศีล ๕ ไม่ขาดเลย และ

พระเทวีทรงพระนามว่า มหามายา นี้ทรงเป็นเช่นนี้ พระนางจะทรงเป็น พระ-

ราชมารดาของเรา ดังนี้ เมื่อตรวจดูว่า ก็พระนางจะทรงมีพระชนมายุเท่าไร

ก็เห็นว่ามีอายุเกินกว่า ๑๐ เดือนไป ๗ วัน.

พระโพธิสัตว์ตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการนี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว

คิดว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ถึงกาลอันควรของเราแล้วที่จะเป็นพระพุทธเจ้า

เมื่อจะกระทำการสงเคราะห์เทวดาทั้งหลายจึงให้ปฏิญญาแล้วกล่าวว่า ขอพวก

ท่านไปได้ ส่งเทวดาเหล่านั้นกลับไป มีเทวดาชั้นดุสิตห้อมล้อมแล้ว ไปสู่

นันทวันในดุสิตบุรี. จริงอยู่ นันทวันมีอยู่ในทุกเทวโลกทีเดียว. เทวดาใน

นันทวันในเทวโลกนั้น กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านจงจุติจากนันทวัน

นี้ไปสู่สุคติเถิด เที่ยวคอยเตือนให้พระมหาสัตว์รำลึกถึงโอกาสแห่งกุศลกรรมที่

เคยกระทำไว้ครั้งก่อน. พระโพธิสัตว์อันพวกเทวดาผู้คอยเตือนให้รำลึกถึงกุศล

กรรมห้อมล้อมแล้วอย่างนี้ เที่ยวไปอยู่ในเทวโลกนั้น จุติแล้วถือเอาปฏิสนธิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

ในพระครรภ์ของพระมหามายาเทวี ก็เพื่อที่จะให้ชัดแจ้งถึงวิธีที่พระโพธิสัตว์

ถือปฏิสนธิ มีถ้อยคำที่จะบรรยายตามลำดับ ดังนี้

ได้ยินว่า ในกาลนั้นในนครกบิลพัสดุ์ได้มีงานนักขัตฤกษ์ เดือน ๘

กันอย่างเอิกเกริก มหาชนเล่นงานนักขัตฤกษ์กัน ฝ่ายพระนางมหามายาเทวี

อีก ๗ วันจะถึงวันบุรณมี ทรงร่วมเล่นงานนักขัตฤกษ์แต่ไม่มีการดื่มสุรากัน

มีแต่จัดดอกไม้ของหอมและเครื่องประดับ ในวันที่ ๗ ทรงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่

ทรงสนานด้วยน้ำหอม ทรงสละพระราชทรัพย์สี่แสน ถวายมหาทานแล้ว

ทรงแต่งพระองค์ด้วยเครื่องประดับครบทุกอย่าง เสวยพระกระยาหารอย่างดี

ทรงอธิษฐานองค์อุโบสถ เสด็จเข้าห้องอันมีสิริ บรรทมบนพระสิริไสยาสน์

ก้าวลงสู่นิทรารมณ์ ได้ทรงพระสุบินนี้ว่า นัยว่าท้าวมหาราชทั้ง ๔ ยก

พระนางขึ้นพร้อมกับพระแท่นที่บรรทมทีเดียว ไปยังป่าหิมพานต์ แล้ววาง

บนพื้นแผ่นศิลามีประมาณ ๖๐ โยชน์ ภายใต้ต้นสาละใหญ่มีประมาณ ๗ โยชน์

ได้ยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. ที่นั้นเหล่านางเทวีของท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้น ต่าง

พากันมานำพระเทวีไปยังสระอโนดาต ให้สรงสนานเพื่อที่จะชำระล้างมลทิน

ของมนุษย์ออก ให้ทรงนุ่งห่มผ้าทิพย์ ลูบไล้ด้วยของหอมทิพย์ ประดับประ-

ดาด้วยดอกไม้ทิพย์ ในที่ไม่ไกลจากที่นั้น มีภูเขาเงินอยู่ลูกหนึ่ง ภายในภูเขา

นั้นมีวิมานทอง พวกเขาก็ตั้งพระแท่นที่บรรทมอันเป็นทิพย์ บ่ายพระเศียร

สูงขึ้นทางปราจีนทิศ (ตะวันออก) ทูลให้บรรทมในวิมานทองนั้น พระโพธิ-

สัตว์เป็นพระยาช้างตัวประเสริฐสีขาวผ่อง เดินเที่ยวไปที่ภูเขาทองลูกหนึ่ง ใน

ที่ไม่ไกลแต่ที่นั้น เดินลงจากภูเขาทองนั้น ขึ้นไปยังภูเขาเงิน มาทางด้านอุตตร

ทิศ (ทิศเหนือ) เอางวงอันมีสีราวกะว่าพวงเงินจับดอกปทุมชาติสีขาว เปล่ง

โกญจนาท เข้าไปยังวิมานทอง กระทำประทักษิณแท่นบรรทมของพระราช-

มารดา ๓ รอบแล้ว ปรากฏเหมือนกับว่าทะลุทางด้านเบื้องขวาเข้าไปในพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

อุทรของพระนาง. พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิ ในวันนักขัตฤกษ์เดือน ๘ หลัง

ด้วยประการฉะนี้.

ในวันรุ่งขึ้นพระเทวีทรงตื่นบรรทมแล้ว กราบทูลถึงพระสุบินนั้นแด่

พระราชา พระราชารับสั่งให้เชิญพราหมณ์ชั้นหัวหน้า ๖๔ คนเข้าเฝ้า ให้

จัดปูลาดอาสนะมีค่ามากบนพื้นที่ฉาบด้วยโคมัยสด มีเครื่องสักการะอันเป็น

มงคลกระทำด้วยข้าวตอกเป็นต้น ให้ใส่ข้าวปายาสอย่างเลิศ ซึ่งปรุงด้วยเนย

ใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดลงจนเต็มถาดทองและเงิน เอาถาดทองและเงิน

ครอบแล้ว ถวายให้พวกเขาอิ่มหนำ พร้อมกับถวายผ้าห่มและแม่โคแดงเป็นต้น

ที่นั้น เมื่อพวกพราหมณ์เหล่านั้น อิ่มหนำด้วยของที่ต้องการทุกอย่างแล้ว จึง

ตรัสบอกพระสุบิน แล้วตรัสถามว่า จักมีอะไรเกิด. พวกพราหมณ์กราบทูล

ว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าทรงวิตกอะไรเลย พระเทวีทรงตั้งพระครรภ์

แล้ว และพระครรภ์ที่ตั้งขึ้นนั้น เป็นครรภ์บุรุษ มิใช่ครรภ์ของสตรี พระองค์

จักมีพระราชบุตร ถ้าพระราชบุตรนั้นทรงอยู่ครองเรือน จักได้เป็นพระเจ้า

จักรพรรดิ ถ้าเสด็จออกจากเรือนบวชจักได้เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ทรงมีกิเลส

ประดุจหลังคาอันเปิดแล้วในโลก.

ก็ในขณะที่พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในพระคัพโภทรของพระมารดา

นั่นแหละ ตลอดหมื่นโลกธาตุก็ไหวหวั่นสะเทือนเลื่อนลั่นขึ้นพร้อมกันทันที.

บุรพนิมิต ๓๒ ประการปรากฏขึ้นแล้ว. ในหมื่นจักรวาลได้มีแสงสว่างสุดจะ

ประมาณแผ่ซ่านไป. พวกคนตาบอดต่างก็ได้ตาดีขึ้น ดูประหนึ่งว่ามีประสงค์

จะดูพระสิรินั้นของพระโพธิสัตว์นั้น. พวกคนหูหนวกก็ฟังเสียงได้ พวกคนใบ้

ก็พูดจาได้ พวกคนค่อมก็มีตัวตรงขึ้น คนง่อยเปลี้ยเสียขาก็เดินด้วยเท้าได้.

สัตว์ทั้งปวงที่ถูกจองจำก็พ้นจากเครื่องจองจำมีขื่อคาเป็นต้น. ในนรกทุกแห่ง

ไฟก็ดับ. ในเปรตวิสัยความหิวกระหายก็สงบระงับ. เหล่าสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่

มีความกลัวภัย. โรคและไฟกิเลสมีราคะเป็นต้นของสัตว์ทั้งปวงก็สงบระงับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

สัตว์ทั้งปวงต่างมีวาจาน่ารัก ม้าทั้งหลายต่างก็ร้อง ช้างทั้งหลายต่างก็ร้อง

ด้วยอาการอันอ่อนหวาน. บรรดาดนตรีทุกชนิดต่างก็เปล่งเสียงกึกก้องของตน

ได้เอง ไม่ต้องมีใครตีเลย เครื่องอาภรณ์ที่สวมอยู่ที่มือของมนุษย์ทั้งหลาย

ร้องขึ้นได้ ทิศทุกทิศต่างก็แจ่มใสไปทั่ว สายลมอ่อนเย็นที่จะให้เกิดสุขแก่

สัตว์ทั้งหลายก็พัดโชยมา. เมฆที่มิใช่กาลก็ให้ฝนตก. แม้จากแผ่นดิน น้ำก็ชำ-

แรกไหลออกมา เหล่านกก็ไม่บินไปในอากาศ แม่น้ำก็นิ่งไม่ไหล น้ำใน

มหาสมุทรก็มีรสอร่อย พื้นทั่วไปทุกแห่งก็ดาดาษด้วยดอกบัวหลวงมี ๕ สี.

ดอกไม้ทุกชนิดที่เกิดบนพื้นดินและเกิดในน้ำต่างก็บานไปทั่ว. ที่ลำต้นต้นไม้ก็

มีดอกปทุมลำต้นบาน ที่กิ่งก็มีดอกปทุมกิ่งบาน ที่เถาวัลย์ก็มีดอกปทุมเถาวัลย์

บาน. ที่พื้นดินก็มีดอกปทุมมีก้านชำแรกพื้นหินโผล่ขึ้นเบื้องบน ๆ แห่งละ ๗

ดอก ในอากาศก็มีดอกปทุมห้อยย้อยเกิดขึ้น ฝนดอกไม้โปรยปรายไปโดย

รอบ ๆ ทิพยดนตรีต่างก็บรรเลงขึ้นในอากาศ. ทั้งหมื่นโลกธาตุเป็นประดุจ

พวงมาลัยที่เขาจับเหวี่ยงให้หมุนแล้วปล่อยไป ดูราวกะว่ากำดอกไม้ที่เขาจับบีบ

เข้าแล้วมัดให้รวมกัน และเป็นเสมือนที่นอนดอกไม้ที่ประดับประดาและตก-

แต่งแล้ว มีดอกไม้เป็นพวงเดียวกัน เหมือนพัดวาสวีชนีที่กำลังโบกสะบัดอยู่

อบอวลไปด้วยกลิ่นของดอกไม้และธูป ได้เป็นโลกธาตุที่ถึงความงามสุดยอด

แล้ว.

จำเดิมแต่ปฏิสนธิของพระโพธิสัตว์ ผู้ถือปฏิสนธิแล้วอย่างนี้ เพื่อที่

จะป้องกันมิให้เกิดอันตรายแก่พระโพธิสัตว์ และพระราชมารดาของพระโพธิ

สัตว์ เทวบุตร ๔ องค์ มีมือถือพระขรรค์คอยให้การอารักขา ความคิดเกี่ยว

กับราคะในบุรุษทั้งหลาย มิได้เกิดแต่พระราชมารดาของพระโพธิสัตว์. พระ-

นางมีแต่ถึงความเลิศด้วยลาภและความเลิศด้วยยศ มีความสุข มีพระวรกาย

ไม่ลำบาก และทอดพระเนตรเห็นพระโพธิสัตว์ ซึ่งอยู่ในพระคัพโภทร

ประดุจด้ายสีขาวที่ร้อยไว้ในแก้วมณีที่ใสแจ๋ว ธรรมดาคัพโภทรที่พระโพธิสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

อาศัยอยู่เป็นเช่นกับท้องของเจดีย์ สัตว์อื่นไม่สามารถจะอาศัยอยู่หรือบริโภค

ได้ เพราะฉะนั้น พระราชมารดาของพระโพธิสัตว์จึงสวรรคต แล้วไป

อุบัติในดุสิตบุรี ในเมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติแล้วได้ ๗ วัน หญิงอื่นไม่ถึง

๑๐ เดือนบ้าง เลยไปบ้าง นั่งคลอดบ้าง นอนตลอดบ้าง ฉันใด พระราช-

มารดาของพระโพธิสัตว์หาเป็นฉันนั้นไม่. แต่พระนางจะบริบาลพระโพธิสัตว์

ไว้ในพระคัพโภทรสิ้น ๑๐ เดือน แล้วประทับยืนตลอด และก็ข้อนี้เองเป็น

ธรรมดาของพระราชมารดาของพระโพธิสัตว์ แม้พระนางมหามายาเทวีทรง

บริบาลพระโพธิสัตว์ในพระคัพโภทรสิ้น ๑๐ เดือน ประดุจบริบาลน้ำมันไว้

ด้วยบาตรฉะนั้น มีพระครรภ์แก่เต็มที่แล้ว มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปยัง

เรือนพระญาติ จึงกราบทูลพระเจ้าสุทโธทนมหาราชว่า ข้าแต่สมมติเทพ

หม่อมฉันปรารถนาจะไปยังนครเทวหะที่เป็นของตระกูล. พระเจ้าสุทโธทนะ

ทรงรับว่าได้ แล้วรับสั่งให้ปราบทางจากพระนครกบิลพัสดุ์จนถึงเทวทหนคร

ให้ราบเรียบดีแล้ว ประดับประดาด้วยต้นกล้วย หม้อเต็มด้วยน้ำ ธงชายและ

ธงแผ่นผ้า ให้พระเทวีประทับนั่งในพระวอทอง ให้อำมาตย์พันคนหามไป ทรง

ส่งไปพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก. ก็ในระหว่างพระนครทั้งสองแม้ชาวพระ

นครทั้งสอง ก็มีสาลวันอันเป็นมงคล ชื่อว่าลุมพินีวัน. ในสมัยนั้น สาลวัน

ทั้งปวงได้มีดอกไม้บานเป็นอย่างเดียวกัน ตั้งแต่โคนต้นจนถึงปลายกิ่ง. จาก

ระหว่างกิ่งและระหว่างดอก มีฝูงนกห้าสี มีสีดั่งแมลงภูจำนวนมากมาย เที่ยว

บินร้องประสานเสียง ลุมพินีวันทั้งสิ้นจึงเป็นเช่นกับจิตรลดาวัน ดูประหนึ่ง

เป็นมณฑลของพื้นที่มาร่วมดื่มกัน. พระเทวีได้เกิดมีพระประสงค์จะทรงเล่น

กีฬาในสาลวัน เพราะทอดพระเนตรเห็นลุมพินีวันนั้น. พวกอำมาตย์พาพระ-

เทวีเข้าไปยังสาลวัน พระนางได้ทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปยังโคนต้นสาละ

อันเป็นมงคลแล้ว ทรงจับที่กิ่งต้นสาละ กิ่งต้นสาละก็น้อมลง ประดุจยอด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

หวายที่ถูกรมให้ร้อนแล้ว พระหัตถ์พระเทวีพอจะเอื้อมถึงได้. พระนางทรง

เหยียดพระหัตถ์ออกจับกิ่ง.

ก็ในขณะนั้นนั่นเองลมกันมัชวาตของพระนางเกิดปั่นป่วน ทีนั้น

มหาชนแวดวงพระวิสูตรแก่พระนางแล้วก็หลีกไป. เมื่อพระนางทรงจับกิ่งต้น

สาละประทับยืนอยู่นั่นแหละ ได้ทรงประสูติแล้ว. ในขณะนั้นนั่นเอง

ท้าวมหาพรหมผู้มีจิตบริสุทธิ์ ๔ องค์ ก็มาถึงพร้อมกับถือข่ายทองมาด้วย เอา

ข่ายทองนั้นรับพระโพธิสัตว์ วางไว้ตรงพระพักตร์ของพระราชมารดา พลาง

ทูลว่า ข้าแต่พระเทวี ขอพระองค์จงดีพระทัยเถิด พระราชบุตรของพระองค์

มีศักดาใหญ่อุบัติขึ้นแล้ว เหมือนอย่างว่า สัตว์เหล่าอื่นเมื่อตลอดออกจากท้อง

มารดาย่อมแปดเปื้อนด้วยสิงปฏิกูลอันไม่สะอาดตลอดออกมาฉันใด พระโพธิ-

สัตว์หาเป็นฉันนั้นไม่ ก็พระโพธิสัตว์นั้นเหยียดมือและเท้าสองข้างออกยืนตรง

ดุจพระธรรมกถึกลงจากธรรมาสน์ และดุจบุรุษลงจากบันได มิได้แปดเปื้อน

ด้วยของไม่สะอาดใด ๆ ที่มีอยู่ในครรภ์มารดา เป็นผู้สะอาดบริสุทธิ์รุ่งโรจน์

อยู่ประดุจแก้วมณีที่เขาวางไว้บนผ้ากาสิกพัสตร์ ตลอดออกมาจากครรภ์มารดา

แม้เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้วก็ตาม สายธารแห่งน้ำสองสายก็พลุ่งออกมาจากอากาศ

โสรจสรงพระสรีระของพระโพธิสัตว์และพระมารดาทำให้อบอุ่นสบาย เพื่อเป็น

เครื่องสักการะแก่พระโพธิสัตว์และพระมารดา ต่อนั้นท้าวมหาราช ๘ องค์ได้

รับพระโพธิสัตว์นั้น จากมือของพรหมผู้ยืนเอาข่ายทองรับอยู่ ด้วยเครื่องปู

ลาดที่ทำด้วยหนังเสือดาวที่มีสัมผัสอ่อนนุ่มซึ่งสมมติกันว่าเป็นมงคล พวก

มนุษย์จึงเอาพระยี่ภู่ผ้าทุกูลพัสตร์รับจากมือของท้าวมหาราชเหล่านั้น พอพ้น

จากมือของพวกมนุษย์ พระโพธิสัตว์ก็ประทับยืนบนแผ่นดินทอดพระเนตรดู

ทิศตะวันออก จักรวาลนับได้หลายพันได้เป็นที่โล่งเป็นอันเดียวกัน พวกเทวดา

และมนุษย์ในที่นั้นต่างพากัน บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น กราบทูลว่า

ข้าแต่ท่าน บุรุษคนอื่นในที่นี้เช่นกับท่านไม่มี คนที่ยิ่งกว่าท่านจักมีแต่ที่ไหน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

พระโพธิสัตว์มองตรวจดูตลอดทิศให้ทิศเล็กแม้ทั้ง ๑๐ คือทิศใหญ่ ๔ ทิศเล็ก

๔ เบื้องล่าง เบื้องบน ก็มิได้ทรงมองเห็นใครที่เช่นกับคนทรงดำริว่า นี้เป็น

ทิศเหนือ แล้วได้เสด็จไปโดยย่างพระบาท ๗ ก้าว มีท้าวมหาพรหมกั้นเศวต-

ฉัตร ท้าวสุยามเทวบุตรถือพัดวาลวีชนี และเทวดาเหล่าอื่นมีมือถือเครื่อง

ราชกกุธภัณฑ์ที่เหลือเดินตามเสด็จ ต่อจากนั้นประทับยืนที่พระบาทที่ ๗ ทรง

เปล่งอาสภิวาจา [วาจาแสดงความยิ่งใหญ่] เป็นต้นว่า เราเป็นผู้เลิศของโลก

ทรงบรรลือสีหนาทแล้ว.

จริงอยู่พระโพธิสัตว์ เพียงตลอดออกมาจากครรภ์มารดาเท่านั้น ก็เปล่ง

วาจาได้ในสามอัตภาพเท่านั้นคือ ในอัตภาพเป็นมโหสถ ในอัตภาพเป็นพระ-

เวสสันดร ในอัตภาพนี้. นัยว่าในอัตภาพเป็นมโหสถเมื่อพระโพธิสัตว์ตลอด

ออกจากครรภ์มารดาเท่านั้น ท้าวสักกเทวราชเสด็จมา ทรงวางแก่นจันทน์ที่

มือแล้วเสด็จไป พระโพธิสัตว์กำแก่นจันทร์นั้นไว้ในกำมือตลอดออกมา. ทีนั้น

มารดาจึงถามเขาว่า แน่ะพ่อ ลูกถืออะไรมา. ข้าแต่แม่ ยาครับ พระโพธิสัตว์

ตอบ. เพราะเหตุที่ถือเอายามา คนทั้งหลายจึงตั้งชื่อใให้แก่เขาว่า โอสถทารก[เด็ก

ถือยา] ชนทั้งหลายจึงถือเอายานั้นใส่ไว้ในตุ่ม โอสถนั้นนั่นแหละได้เป็นยารักษา

โรคสารพัดให้หายได้ แก่คนตาบอดและหูหนวกเป็นต้น ที่พากันมา ๆ ต่อมา

เพราะถือเอาคำที่พูดกันว่า โอสถนี้มีคุณมาก โอสถนี้มีคุณมาก เขาจึงได้เกิดมีชื่อ

ขึ้นอีกว่า มโหสถ. ส่วนในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร พระโพธิสัตว์เพียงตลอด

ออกจากครรภ์ของมารดา ก็เหยียดแขนออก พลางกล่าวว่า ข้าแต่แม่ ในเรือน

มีทรัพย์บ้างไหม ลูกจะให้ทาน แล้วตลอดออกมาทีนั้น พระมารดาของพระโพธิ-

สัตว์นั้นกล่าวว่า แน่ะพ่อ ลูกเกิดในตระกูลที่มีทรัพย์ ว่าแล้วให้วางถุงเงินพัน

หนึ่งไว้แล้ว จึงวางมือของลูกไว้บนฝ่ามือของพระองค์ ในอัตภาพเป็นพระโพธิ

สัตว์บรรลือสีหนาทแม้นี้ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

พระโพธิสัตว์เพียงแต่ว่าตลอดออกจากครรภ์มารดาเท่านั้น ก็เปล่งวาจา

ได้ในสามอัตภาพโดยอาการอย่างนี้. เหมือนอย่างว่าในขณะถือปฏิสนธิฉันใด

แม้ในขณะอุบัติขึ้นก็ฉันนั้น. บุรพนิมิต ๓๒ ประการก็ได้ปรากฏขึ้น ก็ใน

สมัยที่พระโพธิสัตว์ของพวกเราอุบัติ แล้วในลุมพินีวัน ในสมัยนั้นนั่นแล พระ-

เทวีผู้เป็นพระราชมารดาของพระราหุล ฉะนั้นอำมาตย์ กาฬุทายีอำมาตย์

ราชกุมารอานนท์ พระยาม้ากัณฐกะ มหาโพธิพฤกษ์ ชุมทรัพย์ ๔ ขุมก็เกิดขึ้น

พร้อมกัน บรรดาชุมทรัพย์เหล่านั้น ขุมทรัพย์หนึ่งมีประมาณคาวุตหนึ่ง ขุมหนึ่ง

ประมาณกึ่งโยชน์ ขุมหนึ่งมีประมาณ ๓ คาวุต ขุมหนึ่งมีประมาณโยชน์หนึ่ง

เพราะฉะนั้น จึงรวมเป็นสหชาต ๗ อย่างเหล่านี้. พวกชาวเมืองลองนครต่างได้

พาพระโพธิสัตว์กลับ ไปยังนครกบิลพัสดุ์เลยทีเดียว ในวันนั้นนั่นเอง ชุมนุม

เทวดาในดาวดึงสพิภพต่างร่าเริงยินดีว่า พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทน-

มหาราช อุบัติแล้วในนครกบิลพัสดุ์ พระราชกุมารนี้จักประทับนั่งที่ลานต้น

โพธิแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้าดังนี้ แล้วพากันโบกสะบัดผ้า [แสดงความยินดี]

เล่นสนุกกัน.

ในสมัยนั้นมีดาบสผู้คุ้นเคยกับตระกูลของพระเจ้าสุทโธทนมหาราชได้

สำเร็จสมาบัติ ๘ ชื่อกาลเทวละ เขาฉันเสร็จสรรพแล้วจึงเหาะไปยังดาวดึงส์

พิภพ เพื่อพักผ่อนในเวสากลางวัน นั่งพักผ่อนกลางวันในที่นั้น เห็นเทวดา

เหล่านั้น จึงถามว่าเพราะเหตุไรพวกท่านจึงมีใจยินดีเล่นสนุกกันอย่างนี้ ขอ

ได้โปรดบอกเหตุนั้นแก่อาตมภาพด้วย พวกเทวดาได้บอกเหตุนั้นว่า ข้าแต่

ท่านผู้นิรทุกข์ พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะอุบัติขึ้นแล้ว ในกาลนั้น

พระองค์จักประทับนั่งที่ลานแห่งต้นโพธิแล้วจักเป็นพระพุทธเจ้าประกาศพระ-

ธรรมจักร พวกข้าพเจ้าต่างยินดีเพราะเหตุนี้ว่า พวกเราจักได้เห็นพระพุทธลีลา

อันหาที่สุดมิได้ และจักได้ฟังพระธรรมของพระองค์ ดาบสนั้นฟังคำของเหล่า

เทวดาแล้ว ลงจากเทวโลกทันทีเข้าไปยังพระราชนิเวศน์ นั่งบนอาสนะที่เขาปู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

ไว้แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ได้ยินว่าพระราชโอรสของพระองค์อุบัติ

แล้ว อาตมภาพอยากเห็นพระองค์ พระราชามีรับสั่งให้พาพระราชกุมารผู้ประ-

ดับประดาตกแต่งแล้วมา ทรงอุ้มไปเพื่อให้นมัสการดาบส พระบาททั้งสอง

ของพระโพธิสัตว์กลับไปประดิษฐานอยู่บนชฎาของดาบส จริงอยู่บุคคลอื่น

ที่ชื่อว่าพระมหาสัตว์จะพึงไหว้โดยอัตภาพนั้นไม่มี ถ้าคนผู้ไม่รู้พึงวางศีรษะ

ของพระโพธิสัตว์ที่บาทมูลของดาบส ศีรษะของดาบสนั้น พึงแตกออก ๗ เสี่ยง

ดาบสคิดว่า การทำคนของเราให้พินาศไม่สมควร จึงลุกจากอาสนะแล้ว

ประคองอัญชลีแก่พระโพธิสัตว์ พระราชาทอดพระเนตรเห็นเหตุอัศจรรย์นั้น

จึงทรงไหว้บุตรของตน. ดาบสระลึกได้ชาติ ๘๐ กัป คือ ในอดีต ๔๐ กัป ใน

อนาคต ๔๐ กัป เห็นลักษณสมบัติของพระโพธิสัตว์จึงใคร่ครวญดูว่า เธอจักได้

เป็นพระพุทธเจ้าหรือไม่หนอ ทราบว่า จักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยมิต้องสงสัย

คิดว่า พระราชบุตรนี้เป็นอัจฉริยบุรุษจึงได้กระทำความยิ้มแย้มให้ปรากฏ ต่อ

นั้นจึงใคร่ครวญดูว่า เราจักได้ทันเห็นความเป็นพระพุทธเจ้านี้หรือไม่หนอ ก็

เห็นว่า เราจักไม่ได้ทันเห็น จักดายเสียก่อนในระหว่างนั้นแหละ แล้วจักไป

บังเกิดในอรูปภพที่พระพุทธเจ้าตั้งร้อยพระองค์ก็ดี ตั้งพันพระองค์ก็ดี ไม่สา-

มารถที่จะเสด็จไปเพื่อให้ตรัสรู้ได้ แล้วคิดว่า เราจักไม่เห็นอัจฉริยบุรุษผู้เป็น

พระพุทธเจ้าเห็นปานนี้ และเราจักมีความเสื่อมใหญ่ ดังนี้แล้วร้องไห้ลั่นไป.

พวกมนุษย์เห็นแล้วจึงเรียนถามว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา เมื่อตะกี้นี้เอง

หัวเราะแล้วกลับปรากฏร้องไห้อีกเล่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อันตรายอะไรจักเกิด

แก่พระลูกเจ้าของพวกเราหรือหนอ. ดาบสตอบว่า พระองค์ไม่มีอันตรายจักได้

เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย.

พวกมนุษย์ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงร้องไห้ลั่นไป.

ดาบสตอบว่า เราเศร้าโศกถึงตนว่า จักไม่ได้ทันเห็นพระมหาบุรุษผู้เป็นพระ-

พุทธเจ้า เห็นปานนี้ ความเสื่อมใหญ่จักมีแก่เราดังนี้ จึงได้ร้องไห้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

ต่อจากนั้น ดาบสใคร่ครวญอยู่ว่า ในวงญาติของเรามีใครบ้างจักได้

เห็นความเป็นพระพุทธเจ้านั้น ได้มองเห็นนาลกทารกผู้เป็นหลาน เขาจึงไปยัง

เรือนของน้องสาว ถามว่า นาลกะ. บุตรของเจ้าอยู่ไหน. ข้าแต่พระคุณเจ้า เขา

อยู่ในเรือน น้องสาวตอบ. จงเรียกเขามาที ให้เรียกมาแล้ว. ดาบสพูดกะเขาผู้

มายังสำนักของตนว่า นี่แน่ะพ่อ พระราชโอรสอุบัติแล้วในตระกูลของพระเจ้า

สุทโธทนมหาราชเป็นหน่อพุทธางกูร พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อล่วงได้

๓๕ ปี เจ้าจักได้เห็นพระองค์ เจ้าจงบวชในวันนี้ทีเดียว. เด็กเกิดในตระกูลนี้

ทรัพย์ได้ ๘๗ โกฏิ คิดว่า ลุงคงจักไม่ชักชวนเราในสิ่งที่ไม่มีประโยชน์ทันใด

นั้นนั่นเองให้คนซื้อผ้ากาสาวพัสตร์ และบาตรดินจากตลาด ให้ปลงผมและ

หนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ประคองอัญชลีบ่ายหน้าไปทางพระโพธิสัตว์ ด้วย

กล่าวว่า บุคคลผู้สูงสุดในโลกพระองค์ใด ข้าพเจ้าขอบวชอุทิศบุคคลนั้น แล้ว

กราบด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เอาบาตรใส่ถุง คล้องที่จะงอยบ่าแล้วไปยังหิม-

วันตประเทศบำเพ็ญสมณธรรม ท่านเข้าไปเฝ้าพระตถาคตผู้ได้บรรลุพระอภิ-

สัมโพธิครั้งแรก ทูลขอให้พระองค์ทรงแสดงนาลกปฏิปทา แล้วเข้าไปยังป่า

หิมพานต์อีก บรรลุพระอรหัตปฏิบัติข้อปฏิปทาอย่างเคร่งครัด รักษาอายุมาได้

ตลอด ๗ เดือน ยืนพิงภูเขาทองอยู่นั่นแหละ ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสส

นิพพานธาตุ.

ในวันที่ ๕ พระประยูรญาติทั้งหลายคิดว่าในวันที่ ๕ พวกเราจักโสรจ-

สรงเศียรเกล้าพระโพธิสัตว์ แล้วเฉลิมพระนามแด่พระองค์ดังนี้ แล้วฉาบทา

พระราชมณเฑียรด้วยคันธชาติ ๔ ชนิด โปรยดอกไม้มีข้าวดอกเป็นที่ ๕ ให้

หุงข้าวปายาสล้วนๆ แล้วนิมนต์พรหมณ์ผู้เรียนจบไตรเพทจำนวน ๑๐๘ คน

ให้นั่งในพระราชมณเฑียร ให้ฉันโภชนะอย่างดี ถวายสักการะมากมายแล้ว

ถามว่า อะไรหนอจักมี แล้วให้ตรวจดูพระลักษณะ บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

พราหมณ์ ๘ คนเหล่านี้คือ พราหมณ์ชื่อรามะ

ชื่อธชะ ชื่อลักขณะ ชื่อสุชาติมันตี ชื่อโภชะ ชื่อ

สุยานะ ชื่อโกณฑัญญะ ชื่อสุทัตตะ ในครั้งนั้นพวก

เขาได้เป็นพราหมณ์ ๘ คน ผู้เรียนจบเวทางคศาสตร์

ทั้ง ๖ พยากรณ์มนต์แล้ว.

ได้เป็นผู้ตรวจดูพระลักษณะ แม้พระสุบินในวันที่ถือปฏิสนธิ พราหมณ์

เหล่านี้แหละก็ได้ตรวจดูแล้ว บรรดาพราหมณ์ทั้ง ๘ นั้น ๗ คนยกสองนิ้ว

พยากรณ์เป็นสองทางว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้ เมื่ออยู่ครองเรือน

จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อบวชจักได้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ ต่างพา

กันบอกถึงสมบัติอันมีสิริของพระเจ้าจักรพรรดิ. แต่มาณพชื่อโกณฑัญญะโดย

โคตร เด็กกว่าพราหมณ์เหล่านั้นทุกคน พิจารณาดูความสมบูรณ์แห่งพระ-

ลักษณะของพระโพธิสัตว์ ชูนิ้วมือนิ้วเดียวเท่านั้นแล้วพยากรณ์อย่างเดียวว่า

พระโพธิสัตว์นี้ไม่มีเหตุที่จะดำรงอยู่ในท่ามกลางเรือน จักได้เป็นพระพุทธเจ้า

ผู้ทรงปราศจากกิเลสประดุจหลังคาโดยส่วนเดียวเท่านั้น. จริงอยู่โกณฑัญญ-

พราหมณ์นี้เป็นผู้สร้างความดียิ่งมาแล้ว เป็นสัตว์ที่จะเกิดเป็นภพสุดท้าย มี

ปัญญาเหนือกว่าคนทั้ง ๗ ได้เห็นคติเดียวเท่านั้นว่า สำหรับผู้ที่ประกอบ

ด้วยลักษณะเหล่านั้น ไม่มีฐานะที่จะดำรงอยู่ในท่ามกลางเรือน จักต้องเป็นพระ-

พุทธเจ้าอย่างไม่ต้องสงสัย เพราะฉะนั้น เขาจึงชูนิ้วขึ้นนิ้วเดียว แล้วพยากรณ์

อย่างเดียว. ต่อมา พวกพราหมณ์เหล่านั้น กลับไปยังเรือนของตน แล้วต่าง

พากันเรียกบุตรมาบอกว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย พวกเราแก่แล้วจะทันได้เห็น

พระราชบุตรของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณหรือ

ไม่ก็ไม่รู้ พวกเจ้าเมื่อพระราชกุมารนี้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว พึงบวช

ในศาสนาของพระองค์เถิด ชนแม้ทั้ง ๗ คนเหล่านั้น ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุขัย

ก็ตายไปตามยถากรรม โกณฑัญญมาณพเท่านั้น ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ (ยังมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

ชีวิตอยู่). เมื่อพระมหาสัตว์เติบโตเจริญวัยขึ้นแล้ว เสด็จออกพระมหาภิเนษ-

กรมณ์ เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศตามลำดับ ทรงเกิดพระดำริว่า ภูมิภาคนี้

น่ารื่นรมย์จริงหนอ สถานที่นี้เหมาะที่จะบำเพ็ญเพียร สำหรับกุลบุตรผู้มีความ

ต้องการความเพียร ดังนี้แล้วเสด็จเข้าจำพรรษา ณ ที่นั้น เขาได้ฟังข่าวว่า

พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหาบุตรของพราหมณ์เหล่านั้น พูดอย่าง

นี้ว่า ได้ทราบข่าวว่า พระสิทธีตถกุมารทรงผนวชแล้ว พระองค์จักได้เป็น

พระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย ถ้าบิดาของพวกท่านยังมีชีวิตอยู่ พวกเขาพึง

ออกบวชในวันนี้แน่ หากพวกท่านพึงต้องการเช่นนั้นบ้าง มาซิ เราจักบวช

ตามพระมหาบุรุษนั้น พวกเขาทุกคนไม่สามารถที่จะมีความเห็นเป็นเอกฉันท์

กันได้. สามคนไม่บวช. สี่คนนอกนี้บวชตั้งให้โกณฑัญญพราหมณ์เป็นหัวหน้า

ชนทั้ง ๕ คนเหล่านั้น จึงได้มีชื่อว่า พระปัญจวัคคีย์เถระ.

ก็ในกาลนั้น พระราชาตรัสถามว่า บุตรของเราเห็นอะไรจึงจักบวช

พวกอำมาตย์กราบทูลว่า บุพนิมิต ๔ (ลางบอกเหตุล่วงหน้า). ตรัสถามว่า

อะไรบ้าง ๆ กราบทูลว่า คนแก่เพราะชรา คนเจ็บป่วย คนตาย บรรพชิต

พระราชาตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป พวกท่านอย่าได้ให้นิมิตเห็นปานนี้ เข้าไป

สำนักแห่งบุตรของเรา เราไม่ต้องการให้บุตรเราเป็นพระพุทธเจ้า เราต้อง

การอยากจะเห็นบุตรของเรา ครอบครองราชสมบัติที่เป็นใหญ่และปกครอง

ทวีปใหญ่ทั้ง ๔ ซึ่งมีทวีปเล็กสองหมื่นเป็นบริวาร ห้อมล้อมไปด้วยบริษัท

มีปริมณฑลได้สามสิบหกโยชน์ ท่องเที่ยวไปในพื้นนภากาศ. ก็แล เมื่อ

พระองค์ตรัสอย่างนั้นแล้ว ทรงมีรับสั่งให้วางอารักขาไว้ในที่ทุก ๆ คาวุต ใน

ทิศทั้งสี่ เพื่อจะห้ามมิให้บริษัท ๔ ประการเหล่านั้น เข้ามายังคลองจักษุของ

พระกุมาร ก็ในวันนั้น เมื่อตระกูลพระญาติแปดหมื่นประชุมกันในที่มงคลสถาน

พระญาติแต่ละพระองค์ต่างยินยอมยกบุตรให้ แต่ละคนว่า พระราชกุมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

สิทธัตถะนี้จะเป็นพระพุทธเจ้าหรือพระราชาก็ตาม พวกเราจักให้บุตรคนละคน

แม้ถ้าจักเป็นพระพุทธเจ้า ก็จักมีสมณกษัตริย์ไห้เกียรติและห้อมล้อม แม้ถ้า

เป็นพระราชา ก็จักมีขัตติยกุมารให้เกียรติและห้อมล้อม เที่ยวไป. ฝ่าย

พระราชาก็ทรงตั้งนางนม ล้วนมีรูปทรงชั้นเยี่ยม ปราศจากสรรพโทษทุก

ประการแก่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ทรงเจริญวัยด้วยบริวารอเนกอนันต์

ด้วยส่วนแห่งความงามอันยิ่งใหญ่.

ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาได้มีพระราชพิธีวัปปมงคล (แรกนาขวัญ)

วันนั้น พวกชาวนครต่างประดับประดา พระนครทุกหนทุกแห่งดุจดังเทพวิมาน

เหล่าพวกทาสและกรรมกรทั้งหมด ต่างนุ่งห่มผ้าใหม่ ประดับประดาด้วยของ

หอมและดอกไม้ ประชุมกันในราชตระกูล. ในพระราชพิธีมีการเทียมไถถึง

พันคัน ก็ในวันนั้น ไถ ๑๐๘ อันหย่อนหนึ่งคัน (๑๐๗ คัน) หุ้มด้วยเงิน

พร้อมด้วยโคผู้ ตะพาย และเชือก. ส่วนที่งอนพระนังคัลของพระราชา

หุ้มด้วยทองคำสุกปลั่ง. เขาของโคผู้ ตะพาย เชือก และปฏัก ก็หุ้มด้วย

ทองคำทั้งนั้น. พระราชาทรงพร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก เสด็จออกจากพระ

นครทรงพาพระราชโอรสไปด้วย. ในที่ประกอบพระราชพิธี มีต้นหว้าอยู่ต้น

หนึ่ง มีใบหนาแน่น มีเงาทึบ. ภายใต้ต้นหว้านั้นนั่นแหละ พระราชาทรง

รับสั่งให้ปูลาดพระแท่นบรรทมของพระราชโอรส เบื้องบนให้ผูกเพดานปัก

ด้วยดาวทองคำ ให้แวดวงด้วยปราการพระวิสูตร วางอารักขา ส่วนพระองค์

ก็ทรงประดับประดาด้วยเครื่องสรรพอลงกรณ์ มีหมู่อำมาตย์แวดล้อม ได้เสด็จ.

ไปยังที่จรดพระนังคัล ในที่นั้น พระราชาทรงถือพระนังคัลทองคำ พวก

อำมาตย์ถือคันไถเงิน ๑๐๗ คัน พวกชาวนาต่างพากัน ถือคันไถที่เหลือ. เขา

เหล่านั้นต่างถือคันไถไถไปข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้าง. แต่พระราชาทรงไถไปจาก

ด้านในสู่ด้านนอก จากด้านนอกสู่ด้านใน. ในที่นั้นมีมหาสมบัติ. นางนมที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

นั่งห้อมล้อมพระโพธิสัตว์อยู่ ต่างพากันออกมาข้างนอก จากภายในพระวิสูตร

ด้วยคิดว่า พวกเราจะดูสมบัติของพระราชา. พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรดู

ข้างโน้นและข้างนี้ ไม่ทรงเห็นใครจึงเสด็จลุกขึ้นโดยเร็ว ทรงนั่งขัดสมาธิ

กำหนดลมหายใจเข้าออก ทำปฐมฌานให้เกิดขึ้นแล้ว. พวกนางนมพากัน

เที่ยวไปในระหว่างเวลากินอาหาร ชักช้าไปหน่อยหนึ่ง. เงาของต้นไม้ที่เหลือ

ชายไป ส่วนเงาของต้นไม้นั้นตั้งเป็นปริมณฑลตรงอยู่. พวกนางนมคิดได้ว่า

พระลูกเจ้าประทับอยู่พระองค์เดียว จึงรีบเปิดพระวิสูตรขึ้น เข้าไปข้างใน

เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่งขัดสมาธิบนแท่นบรรทม และปาฏิหาริย์นั้น จึง

ไปกราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระราชกุมารประทับนั่งอย่างนี้

เงาของต้นไม้เหล่าอื่นชายไป ของต้นหว้าตั้งเป็นปริมณฑลตรงอยู่อย่างนี้.

พระราชารีบเสด็จมา ทอดพระเนตรเห็นปาฏิหาริย์จึงตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ นี้เป็น

การไหว้เจ้าครั้งที่สอง แล้วทรงไหว้ลูก.

ต่อมา พระโพธิสัตว์มีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษาโดยลำดับ พระ-

ราชาทรงมีรับสั่งให้สร้างปราสาทสามหลังเหมาะสมกับสามฤดู คือ หลังหนึ่งมี

๙ ชั้น หลังหนึ่งมี ๗ ชั้น หลังหนึ่งมี ๕ ชั้น และให้จัดหาหญิงฟ้อนรำไว้

สี่หมื่นคน พระโพธิสัตว์มีหญิงฟ้อนรำแต่ตัวสวยห้อมล้อมอยู่เป็นประหนึ่ง

เทพเจ้าผู้ห้อมล้อมอยู่ด้วยหมู่นางอัปสร ฉะนั้น ถูกบำเรออยู่ด้วยดนตรี ไม่มี

บุรุษเลย ทรงเสวยสมบัติใหญ่ ประทับอยู่ในปราสาทเหล่านั้นตามคราวแห่ง

ฤดู. ส่วนพระราหุลมารดาได้เป็นพระอัครมเหสีของพระองค์. เมื่อพระองค์

เสวยมหาสมบัติอยู่ วันหนึ่งได้มีพูดกันขึ้นในระหว่างหมู่พระญาติอย่างนี้ว่า

พระสิทธัตถะทรงขวนขวายอยู่แต่การเล่นเท่านั้น มิได้ทรงศึกษาศิลปะใด ๆ

เลย เมื่อเกิดสงความขึ้นจักทำอย่างไรกัน. พระราชาทรงมีรับสั่งให้เรียกพระ-

โพธิสัตว์มาแล้วตรัสว่า นี่แน่ะพ่อ พวกญาติ ๆ ของลูกพูดกันว่า พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

สิทธัตถะมิได้ศึกษาศิลปะใด ๆ เลย เที่ยวขวนขวายแต่การเล่น ดังนี้ ลูกจะ

เห็นว่าถึงกาลอันควรหรือยัง พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์

ไม่มีกิจที่จะต้องศึกษาศิลปะ ขอพระองค์ได้โปรดให้ตีกลองป่าวร้องไปในพระ

นคร เพื่อให้มาดูการแสดงศิลปะของข้าพระองค์ แต่นี้อีก ๗ วันข้าพระองค์ก็

จักแสดงศิลปะแก่พระญาติทั้งหลาย. พระราชาได้ทรงกระทำตามเช่นนั้น. พระ-

โพธิสัตว์รับสั่งให้ประชุมเหล่านายขมังธนูที่สามารถยิงได้ดังสายฟ้าแลบ ยิงขน

หางสัตว์ได้ ยิงต้านลูกศรได้ ยิงตามเสียงได้ และยิงลูกศรตามลูกศรได้

แล้วได้ทรงแสดงศิลปะ ๑๒ อย่าง ที่พวกนายขมังธนูเหล่าอื่นไม่มีแก่พระญาติ

ทั้งหลาย ในท่ามกลางมหาชน ข้อนั้นพึงทราบตามนัยที่มีมาในสรภังคชาดก

นั้นเถิด ในคราวนั้น หมู่พระญาติของพระองค์ได้หมดพระทัยสงสัยแล้ว.

ต่อมาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์มีพระประสงค์จะเสด็จยังภูมิภาคในพระ

อุทยานจึงตรัสเรียกสารถีมาตรัสว่า จงเทียมรถ เขารับพระดำรัสว่าดีแล้ว จึง

ประดับประดารถชั้นดีที่สุด มีด่ามากด้วยเครื่องอลังการทุกชนิด เทียมม้าสินธพ

อันเป็นมงคล ซึ่งมีสีดุจกลีบดอกบัวขาว ๔ ตัวเสร็จแล้วไปทูลบอกแด่พระโพธิ-

สัตว์ พระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นรถอันเป็นเช่นกับเทววิมานทรงบ่ายพระพักตร์

สู่พระอุทยาน เทวดาทั้งหลายคิดว่า กาลที่จะตรัสรู้ของพระสิทธัตถราชกุมาร

ใกล้เข้ามาแล้ว พวกเราจักแสดงบุพนิมิต เเล้วแสดงเทวบุตรคนหนึ่งทำให้

เป็นคนแก่หง่อม มีฟันหัก มีผมหงอก มีหลังโกงดุจกลอนเรือน มีตัวโค้งลง

มีมือถือไม้เท้า เดินงก ๆ เงิน ๆ อยู่ พระโพธิสัตว์และสารถีก็ได้ทอดพระเนตร

เห็นและแลเห็นภาพนั้น. ทีนั้นพระโพธิสัตว์ตรัสถามตามนัยที่มีมาในอุปทาน

นั่นแหละว่า นี่แน่ะสหายผู้เจริญชายคนนี้ชื่ออะไรกันนะ แม้แต่ผมของเขาก็ไม่

เหมือนของผู้อื่นดังนี้ ทรงสดับคำของสารถีแล้ว ทรงมีพระทัยสังเวชว่า นี่แน่ะ

ผู้เจริญ น่าติเตียนจริงหนอความเกิดนี้ ความแก่จักต้องปรากฏแก่สัตว์ผู้เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

แล้วอย่างแน่นอน ดังนี้แล้ว เสด็จกลับจากพระอุทยานเสด็จขึ้นสู่ปราสาท

ทีเดียว พระราชาตรัสถามว่า เพราะเหตุไรบุตรของเราจึงกลับเร็วนัก พวก

อำมาตย์ทูลว่า เพราะทอดพระเนตรเห็นคนแก่ พระเจ้าข้า พระราชาตรัสว่า

พวกเจ้าพูดว่า ลูกของเราเห็นคนแก่แล้วจักบวช เพราะเหตุไร จึงมาทำลาย

เราเสียเล่า จงรีบจัดหาละครมาแสดงแก่บุตรของเรา เธอเสวยสมบัติอยู่จักไม่

ระลึกถึงการบรรพชา แล้วให้เพิ่มอารักขามากขึ้น วางไว้ทุก ๆ ครั้งโยชน์ในทุก

ทิศ. ในวันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์ก็เสด็จไปยังพระอุทยานเหมือนเดิม ทอดพระ

เนตรเห็นคนเจ็บที่เทวดาเนรมิตขึ้น จึงตรัสถามโดยนัยก่อนนั่นแหละ ทรงมี

พระหฤทัยสังเวชแล้วกลับในรูปสู่ปราสาท. ฝ่ายพระราชาก็ตรัสถามแล้วทรงจัด

แจงตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ ทรงวางอารักขาเพิ่มขึ้นอีก ในที่มี

ประมาณ ๓ คาพยุตโดยรอบ. ต่อมาอีกวันหนึ่งพระโพธิสัตว์เสด็จไปยังพระ-

อุทยานเหมือนเดิม ทอดพระเนตรเห็นคนตายที่เทวดาเนรมิตขึ้น ตรัสถามโดย

นัยก่อนนั่นแหละ มีพระหฤหัยสังเวชแล้ว เสด็จกลับในรูปสู่ปราสาทอีก ฝ่าย

พระราชาก็ตรัสถามแล้วทรงจัดแจงตามนัยทีกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ ทรง

วางอารักขาเพิ่มขึ้นอีกในที่ประมาณโยชน์หนึ่งโดยรอบ. ก็ในวันหนึ่งต่อมาอีก

พระโพธิสัตว์เสด็จไปสู่พระอุทยาน ได้ทอดพระเนตรเห็นบรรพชิตนุ่งห่มเรียบ

ร้อย มีเทวดาเนรมิตขึ้นเช่นเดิมนั่นแหละ จึงตรัสถามสารถีว่า นี่แน่ะเพื่อน

คนนั้นเขาเรียกชื่ออะไรนะ สารถีไม่ทราบถึงบรรพชิตหรือคนที่ทำให้เป็น

บรรพชิตเลย เพราะไม่มีการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็จริง แต่ด้วยอานุภาพ

แห่งเทวดาจึงกราบทูลว่า คนนั้นเขาเรียกชื่อว่าบรรพชิตพระเจ้าข้า แล้ว

พรรณนาคุณแห่งการบวช พระโพธิสัตว์ให้รู้สึกเกิดความพอพระทัยในบรรพชิต

ได้เสด็จไปยังพระอุทยานในวันนั้น. แต่ท่านผู้กล่าวทีฆนิกายกล่าวว่า พระ-

โพธิสัตว์ได้เสด็จไปทอดพระเนตรเห็นนิมิตทั้ง ๔ ในวันเดียวเท่านั้น พระโพธิ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

สัตว์เสด็จเทียวเตร่ตลอดวัน ทรงสระสนานในสระโบกขรณีอันเป็นมงคล เมื่อ

พระอาทิตย์อัสดงแล้ว ประทับนั่งบนแผ่นศิลาอันเป็นมงคลมีพระประสงค์จะ

ประดับประดาพระองค์ ทีนั้นพวกบริจาริกาของพระองค์พากันถือผ้ามีสีต่าง ๆ

เครื่องอาภรณ์ต่างชนิดมากมาย และดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ มายืน

ห้อมล้อมอยู่โดยรอบ ในขณะนั้น อาสนะที่ประทับนั่งของท้าวสักกะได้เกิดร้อน

ขึ้นแล้ว ท้าวเธอทรงใคร่ครวญดูว่า ใครหนอมีประสงค์จะให้เราเคลื่อนจาก

ที่นี้ ทอดพระเนตรเห็นกาลที่จะต้องประดับประดาพระโพธิสัตว์ จึงตรัสเรียก

วิสสุกรรมเทพบุตรมาตรัสว่า ดูก่อนวิสสุกรรมผู้สหาย วันนี้สิทธัตถราชกุมาร

จักเสด็จออกมหาภิเนษกรมน์ในเวลาเที่ยงคืน นี้เป็นเครื่องประดับอันสุดท้าย

ของพระองค์ ท่านจงไปยังพระอุทยานพบพระมหาบุรุษแล้ว จงประดับด้วย

เครื่องประดับทุกชนิด วิสสุกรรมเทพบุตรทูลรับ พระดำรัสว่าดีแล้ว เข้าไปหา

ในขณะนั้นนั่นเองด้วยเทวานุภาพ แปลงเป็นช่างกัลบกของพระองค์ทีเดียว

แล้วรับเอาผ้าโพกจากมือของช่างกัลบก มาพันพระเศียรของพระโพธิสัตว์พระ-

โพธิสัตว์ทรงทราบด้วยสัมผัสแห่งมือเท่านั้นว่า ผู้นี้มิใช่มนุษย์เขาเป็นเทวบุตร

พอพันผ้าโพกเข้า ผ้าพันผืนก็ปลิวสูงขึ้นโดยอาการเหมือนแก้วมณี ที่พระเมาลี

บนพระเศียร เมื่อพันอีกก็เป็นผ้าพันผืน เพราะฉะนั้น เมื่อพันสิบครั้ง ผ้า

หมื่นผืนก็ปลิวสูงขึ้น. ไม่ควรคิดว่า พระเศียรเล็กผ้ามีมาก ปลิวสูงขึ้นได้อย่างไร

ก็บรรดาผ้าเหล่านั้นผืนที่ใหญ่ที่สุด มีประมาณเท่าดอกสามลดา (เถาจิงจ้อ)

ที่เหลือนอกนี้มีประมาณเท่าดอกกุตุมพกะ พระเศียรของพระโพธิสัตว์หนา

แน่นด้วยศก เป็นเหมือนดอกสารภีที่แน่นทึบด้วยเกสร ต่อมาเมื่อพวกนักดนตรี

แสดงปฏิภาณของตน ๆ อยู่ เมื่อพวกพราหมณ์กล่าวยกย่องด้วยคำเป็นต้นว่า

ข้าแต่พระจอมนรินทร์ ขอพระองค์จงทรงชำนะเถิด และเมื่อพวกสารถีและ

มาฆตันธกะเป็นต้น กล่าวยกย่องอยู่ด้วยถ้อยคำอันเป็นมงคล คำชมเชยและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

คำป่าวประกาศนานัปการแก่พระโพธิสัตว์ผู้ประดับประดาแล้วด้วยเครื่องประดับ

สารพัด พระองค์ก็เสด็จขึ้นยังพระราชรถอันประเสริฐ ซึ่งประดับด้วยเครื่อง

ประดับทุกอย่าง.

ในสมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงสดับข่าวว่า พระราชมารดา

ของพระราหุล ทรงประสูติพระราชโอรสแล้ว จึงทรงส่งข่าวสารไปด้วยตรัสว่า

พวกเธอจงบอกความดีใจของเราแก่ลูกด้วย พระโพธิสัตว์ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว

ตรัสว่า ราหุลเกิดแล้ว เครื่องจองจำเกิดแล้ว พระราชาตรัสถามว่า ลูกของเรา

พูดอะไรบ้าง ทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า จำเดิมแต่นี้หลานของเราจงมีชื่อ

ว่า ราหุลกุมาร เถิด ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นยังพระราชรถอันประเสริฐ

เสด็จเข้าพระนครด้วยพระยศอันยิ่งใหญ่ด้วยพระสิริโสภาคย์อันน่ารื่นรมย์ใจยิ่ง

นัก ในสมัยนั้นพระนางกิสาโคตมีขัตติยกัญญา เสด็จอยู่ ณ พื้นปราสาทชั้นบน

ทอดพระเนตรเห็นพระรูปสิริของพระโพธิสัตว์ ผู้ทรงกระทำประทักษิณพระ

นครอยู่ ทรงเกิดพระปีติและโสมนัส จึงทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

หญิงใดเป็นมารดาของพระกุมารนี้ หญิงนั้นดับ

ทุกข์ได้ ชายใดเป็นบิดาของพระกุมารนี้ ชายนั้นดับ

ทุกข์ได้ พระกุมารนี้เป็นพระสวามีของหญิงใด หญิง

นั้นดับทุกข์ได้

พระโพธิสัตว์สดับคำเป็นคาถานั้นแล้ว ทรงดำริว่า พระนางกิสา-

โคตมีนี้ตรัสอย่างนี้ว่า หทัยของมารดา หทัยของบิดา หทัยของภริยา ดูเห็น

อัตภาพเห็นปานนี้อยู่ ย่อมดับทุกข์ได้ เมื่ออะไรหนอดับ หทัยจึงชื่อว่าดับทุกข์

ได้ ทีนั้น พระโพธิสัตว์ผู้มีน้ำพระทัยคลายกำหนัดแล้วในกิเลสทั้งหลาย ได้ทรง

มีพระดำริว่า เมื่อไฟคือราคะดับ ขึ้นชื่อว่าความดับทุกข์ก็มีได้ เมื่อไฟคือโทสะ

ดับ ขึ้นชื่อว่าความดับทุกข์ก็มีได้ เมื่อไฟคือโมหะดับ ขึ้นชื่อว่าความดับทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

ก็มีได้ เมื่อความเร่าร้อนทั้งหลายในกิเลสทั้งปวงมีฐานะและทิฏฐิเป็นต้น ดับ

แล้ว ขึ้นชื่อว่าความดับทุกข์ก็มีได้ พระนางให้เราได้ฟังคำที่ดี ความจริงเรา

ก็กำลังเที่ยวแสวงหานิพพานอยู่ เราควรจะทิ้งฆราวาสออกไปบวชและแสวงหา

นิพพานเสียวันนี้ทีเดียว แล้วทรงปลดสร้อยไข่มุกมีค่าพันหนึ่งจากพระศอก

ส่งไปมอบให้แก่พระนางกิสาโคตมี ด้วยทรงดำริว่า นี้จงเป็นอาจริยภาค

[ค่าเล่าเรียนของครู] สำหรับพระนางเถิด. พระนางเกิดปีติและโสมนัสว่า

สิทธัตถราชกุมารมีจิตรักใคร่ในเรา จึงส่งบรรณาการมาให้.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ เสด็จขึ้นสู่ปราสาทของพระองค์ ด้วยพระสิริโสภาคย์

อันใหญ่หลวง เสด็จบรรทมบนพระสิริไสยาสน์ ในทันใดนั่งเอง เหล่าสตรีผู้

ประดับประดาด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ได้ศึกษามาดีแล้วในเรื่องการฟ้อนและ

การขับเป็นต้น ทั้งมีรูปโฉมเลอเลิศ ประดุจดังนางเทพกัญญา ถือเอาดนตรี

นานาชนิดมาล้อมวงเข้าแล้วบำเรอพระโพธิสัตว์ให้รื่นรมย์ ต่างพากันแสดงการ

ฟ้อนรำขับร้องและการบรรเลง พระโพธิสัตว์เพราะเหตุที่พระองค์ทรงมีพระทัย

คลายกำหนัดแล้วในกิเลสทั้งหลาย จึงมิตรงอภิรมย์ในการฟ้อนรำเป็นต้น ครู่

เดียวก็ทรงเข้าสู่นิทรา พวกสตรีเหล่านั้นคิดว่า พวกเราแสดงการฟ้อนรำ

เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระราชกุมารใด พระราชกุมารนั้นทรงเข้าสู่นิทรา

แล้ว บัดนี้ จะลำบากไปเพื่ออะไร ต่างพากันวางเครื่องดนตรีที่ถือไว้ ๆ ลง

แล้วก็นอนหลับไป ควงประทีปน้ำมันหอมยังคงลุกไหม้อยู่ พระโพธิสัตว์ทรง

ตื่นบรรทม ประทับนั่งขัดสมาธิบนพระแท่นบรรทม ได้ทอดพระเนตรเห็นสตรี

เหล่านั้น นอนหลับทับเครื่องดนตรีอยู่ บางพวกมีน้ำลายไหล มีตัวเปรอะเปื้อน

ด้วยน้ำลาย บางพวกกัดฟัน บางพวกกรน บางพวกละเมื่อ บางพวกอ้าปาก บาง

พวกผ้านุ่งหลุดลุ่ย ปรากฏให้เห็นอวัยวะสตรีเพศที่น่าเกลียด พระโพธิสัตว์ทอด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

พระเนตรเห็นอาการผิดปกติของสตรีเหล่านั้น ได้ทรงมีพระทัยคลายกำหนัด

ในกามทั้งหลายเป็นอย่างมาก พื้น [ปราสาท] ใหญ่นั้นประดับประดาตกแต่งแล้ว

แม้จะเป็นเช่นกับพิภพของท้าวสักกะ ได้ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์นั้น ประหนึ่ง

ว่าป่าช้าผีดิบ ที่กองเต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ ที่เขาทิ้งไว้ ภพสามปรากฏ

ประหนึ่งว่าเรือนที่ไฟลุกไหม้ พระอุทานจึงมีขึ้นว่า วุ่นวายจริงหนอ ขัดข้อง

จริงหนอ พระทัยทรงน้อมไปในการบรรพชาเหลือเกิน.

พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า ควรเราจะออกมหาภิเนษกรมน์เสียวันนี้ที

เดียว จึงเสด็จลุกขึ้นจากที่บรรทม ไปยังที่ใกล้ประตูตรัสว่า ใครอยู่ในที่นี้

นายฉันนะนอนเอาศีรษะหนุนธรณีประตูอยู่ทูลตอบว่า ข้าแต่พระลุกเจ้า ข้าพระ-

องค์ฉันนะ. นี่แน่ะฉันนะ วันนี้เรามีประสงค์จะออกมหาภิเนษกรมน์ จงจัดหา

ม้าให้เราตัวหนึ่ง เขาทูลรับว่าได้พระเจ้าข้า แล้วเอาเครื่องแต่งม้าไปยังโรงพัก

ม้า เมื่อดวงประทีปน้ำมันหอมลุกโพลงอยู่ เห็นพระยาม้ากัณฐกะยืนอยู่บนภูมิ

ภาคน่ารื่นรมย์ ภายใต้เพดานที่ขึงไว้โดยรอบ คิดว่า วันนี้เราควรจัดม้า

กัณฐกะตัวนี้แหละถวาย จึงจัดม้ากัณฐกะถวาย ม้ากัณฐกะนั้นเมื่อเขาจัดเตรียม

อยู่ได้รู้ว่า การจัดเตรียมเราคราวนี้กระชับแน่นจริงไม่เหมือนกับการจัดเตรียม

ในเวลาเสด็จไปทรงเล่นในพระราชอุทยานในวันอื่นเป็นต้น วันนี้พระลูกเจ้า

ของเราคงจักทรงมีพระประสงค์จะเสด็จออกมหาภิเนษกรมน์ ทีนั้นมีใจยินดี

จึงร้องเสียงดังลั่นไปหมด เสียงนั้นพึงดังลั่นกลบทั่วพระนครทั้งสิ้น แต่เทวดา

คอยปิดกั้นไว้มิให้ใคร ๆ ได้ยิน ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงใช้นายฉันนะไปแล้ว

ทรงดำริว่า เราจักดูลูกเสียก่อน จึงเสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับนั่งขัดสมาธิ ไป

ยังที่บรรทมของพระมารดาของพระราหุล เปิดพระทวารห้องแล้ว ในขณะนั้น

ประทีปที่เต็มด้วยน้ำมันหอมยังคงลุกไหม้อยู่ แม้พระราหุลมารดาก็บรรทมวาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

พระหัตถ์บนพระเศียรของพระโอรส บนที่บรรทมอันเกลื่อนกล่นไปด้วยดอก

มะลิซ้อนและดอกมะลิลาเป็นต้น ประมาณ ๑ อัมมณะ [มาตราตวงข้าวสารมีน้า-

หนัก ๑๑ โทณะ (ทะนาน)] พระโพธิสัตว์ประทับยืนวางพระบาทบนธรณี

ประตูนั่นแหละ ทอดพระเนตรดูแล้วทรงดำริว่า ถ้าเราจักจับมือพระเทวีออก

แล้วจับลูกของเรา พระเทวีจักตื่น เมื่อเป็นเช่นนี้อันตรายแห่งการไปจักมีแก่

เรา แม้เราเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ก็จักมาเยี่ยมลูกได้ ดังนี้จึงเสด็จลงจากพื้น

ปราสาทไป ก็คำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรกถาชาดกว่า ตอนนั้นพระราหุลกุมาร

ประสูติได้ ๗ วัน ไม่มีในอรรกถาที่เหลือ เพราะฉะนั้น พึงถือเอาคำนี้

นี่แหละ.

พระโพธิสัตว์เสด็จลงจากพื้นปราสาทโดยประการนี้แล้ว ไปใกล้ม้าแล้ว

ตรัสว่า นี่แน่ะพ่อกัณฐกะ วันนี้เจ้าจงให้เราข้ามฝั่งสักคืนหนึ่งเถิด เราอาศัย

เจ้าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว จักให้โลกพร้อมทั่งเทวโลกข้ามฝั่งด้วย. ทีนั้นพระ-

โพธิสัตว์ก็ทรงกระโดดขึ้นหลังม้ากัณฐกะ. ม้ากัณฐกะโดยยาววัดได้ ๑๘ ศอก

เริ่มแต่คอประกอบด้วยส่วนสูงก็เท่ากัน สมบูรณ์ด้วยกำลังและความเร็ว ขาวล้วน

ประดุจสังข์ที่ขัดสะอาดแล้ว. ถ้าม้ากัณฐกะนั้นพึงร้องหรือย่ำเท้า เสียงก็จะดังกลบ

ทั่วพระนครหมด เพราะเหตุนั้นเทวดาจึงกั้นเสียงร้องของม้านั้น โดยอาการที่

ใคร ๆ จะไม่ได้ยิน ด้วยอานุภาพของตน. พระโพธิสัตว์เสด็จขึ้นสู่ หลังม้าตัว

ประเสริฐ ทรงให้นายฉันนะจับทางของม้าไว้เสด็จถึงที่ใกล้ประตูใหญ่ตอนเที่ยง

คืน ก็ในกาลนั้นพระราชาทรงดำริว่า พระโพธิสัตว์จักไม่สามารถเปิดประตู

พระนครออกไปได้ ไม่ว่าในเวลาใด ๆ จึงรับสั่งให้กระทำบานประตูสองบาน

แต่ละบาน บุรุษพันคนจึงจะเปิดได้ด้วยประการฉะนี้. พระโพธิสัตว์ทรง

สมบูรณ์พระกำลังยิ่ง ทรงมีพระกำลัง เมื่อเทียบกับช้างก็นับได้พันโกฏิ เมื่อ

เทียบกับบุรุษ ก็ทรงมีพระกำลังนับได้สิบแสนโกฏิ. เพราะฉะนั้นพระองค์จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

ทรงดำริว่า ถ้าประตูไม่เปิด วันนี้เรานั่งอยู่บนหลังม้ากัณฐกะนี่แหละจักเอาขา

อ่อนหนีบม้ากัณฐกะแล้ว กระโดดข้ามกำแพงซึ่งสูงได้ ๑๘ ศอกไป. นายฉันนะ

ก็คิดว่า ถ้าประตูไม่เปิด เราจักให้พระลูกเจ้าประทับนั่งที่คอของเราแล้วเอา

แขนขวาโอบรอบม้ากัณฐกะที่ท้อง กระทำให้อยู่ในระหว่างรักแร้ จักกระโดด

ข้ามกำแพงไป แม้ม้ากัณฐกะก็ติดว่า ถ้าประตูไม่เปิดเราจักยกนายของเราทั้ง ๆ

ที่นั่งอยู่บนหลังนี่แหละ พร้อมกันทีเดียวกับนายฉันนะผู้จับทางยืนอยู่ กระโดด

ข้ามกำเเพงไป ถ้าประตูจะไม่มีใครเปิดให้ บรรดาคนทั้งสามคนใดคนหนึ่งคง

จะทำสมกับที่คิดไว้แน่เเท้เทวดาผู้สิงอยู่ที่ประตูเปิดประตูให้.

ในขณะนั้นนั่นเอง มารผู้มีบาปมาด้วยคิดว่า เราจักให้พระโพธิสัตว์

กลับ แล้วยืนอยู่ในอากาศทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ผู้เจริญ ท่านอย่าออกไป

ในวันที่ ๗ นับเเต่วันนี้ไปจักรรัตนะจักปรากฏแก่ท่าน ท่านจักครอบครองราช

สมบัติแห่งทวีปใหญ่ทั้ง ๔ มีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์

ท่านจงกลับเสียเถิด. จึงตรัสถามว่า ท่านเป็นใคร. มารตอบว่า เราเป็น

วสวัตดีมาร. ตรัสว่า ดูก่อนมาร เราทราบว่าจักรรัตนะจะปรากฏแก่เรา เราไม่

มีความต้องการด้วยราชสมบัตินั้น เราจักไห้หมื่นโลกธาตุบรรลือแล่นแล้วเป็น

พระพุทธเจ้า. มารกล่าวว่า นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ในเวลาที่ท่านทรงดำริ

ถึงกามวิตกก็ดี พยาบาทวิตกก็ดี วิหิงสาวิตกก็ดี เราจักรู้ดังนี้ คอยแสวงหา

ช่องอยู่ ติดตามพระองค์ไปประดุจเงา.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์มิได้มีความอาลัยละทิ้งจักรพรรดิราชสมบัติอันอยู่ใน

เงื้อมพระหัตถ์ ประหนึ่งทิ้งก้อนเขฬะเสด็จออกจากพระนครด้วยสักการะอันใหญ่

ก็แหละในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ เดือน ๘ เมื่อนักขัตฤกษ์ในเดือนอุตตรา-

สาฬหะ เดือน ๘ หลัง กำลังดำเนินไปอยู่ ครั้น เสด็จออกจากพระนครแล้ว มี

พระประสงค์จะแลดูพระนคร. ก็แหละเมื่อพระโพธิสัตว์นั้นมีความคิดพอเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ขึ้นเท่านั้น ปฐพีประหนึ่งจะทูลว่า ข้าแต่พระมหาบุรุษ พระองค์ไม่ต้องหันกลับ

มากระทำการทอดพระเนตรดอก จึงแยกหมุนกลับ ประดุจจักรของนายช่างหม้อ.

พระโพธิสัตว์ประทับยืนบ่ายพระพักตร์ไปทางพระนคร ทอดพระเนตรดูพระ-

นครแล้วทรงแสดงเจดีย์สถานเป็นที่กลับของม้ากัณฐกะ ณ ที่นั้น ทรงกระทำม้า

กัณฐกะให้บ่ายหน้าต่อหนทางที่จะเสด็จ ได้เสด็จไปแล้วด้วยสักการะอันยิ่งใหญ่

ด้วยความงามสง่าอันโอฬาร. ได้ยินว่า ในกาลนั้นเทวดาทั้งหลายชูคบเพลิง

๖๐,๐๐๐ อันข้างหน้าพระโพธิสัตว์นั้น ข้างหลัง ๖๐,๐๐๐ อัน ข้างขวา ๖๐,๐๐๐

อัน ข้างซ้าย ๖๐,๐๐๐ อัน. เทวดาอีกพวกหนึ่ง ชูคบเพลิงหาประมาณมิได้ ณ

ที่ขอบปากจักรวาล. เทวดา กับนาคและครุฑเป็นต้นอีกพวกหนึ่ง เดินบูชา

ด้วยของหอม ดอกไม้ จุรณและธูปอันเป็นทิพย์. พื้นท้องฟ้านภาดลได้ต่อ

เนื่องกันไปไม่ว่างเว้นด้วยดอกปาริชา และดอกมณฑารพ เหมือนเวลามีเมฆฝน

อันหนาทึบ ทิพยสังคีตทั้งหลายได้เป็นไปแล้ว. ดนตรีหกหมื่นแปดพันชนิด

บรรเลงขึ้นแล้วโดยทั่ว ๆ ไป. กาลย่อมเป็นไป เหมือนเวลาที่เมฆคำรามใน

ท้องมหาสมุทร และเหมือนเวลาที่สาครมีเสียงกึกก้องในต้องภูเขายุคนธร.

พระโพธิสัตว์ เมื่อเสด็จไปอยู่ด้วยสิริโสภาคย์นี้ ล่วงเลยราชอาณาจักร

ทั้ง ๓ โดยราตรีเดียวเท่านั้น เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำอโนมานที่ในที่สุดหนทาง ๓๐

โยชน์. ถามว่า ก็ม้าสามารถจะไปให้ยิ่งกว่านั้นได้หรือไม่ ? ตอบว่า สามารถ

ไปได้ เพราะม้านั้นสามารถเที่ยวไปตลอดห้วงจักวาลโดยไม่มีขอบเขตอย่างนี้

เหมือนเหยียบวงแห่งกงล้อที่สอดอยู่ในดุมแล้ว กลับมาก่อนอาหารเช้า บริโภค

อาหารที่เขาจัดไว้สำหรับตน. ก็ในกาลนั้น ม้าดึงร่างอันทับถมด้วยของหอมและ

ดอกไม้เป็นต้น ซึ่งเทวดา นาค และครุฑเป็นต้น ยืนอยู่ในอากาศแล้วโปรยลงมา

ท่วมจนกระทั่งอุรุประเทศขาอ่อน เเล้วตลุยชัฏแห่งของหอมและดอกไม้ไป จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

ได้มีความล่าช้ามาก เพราะฉะนั้นม้าจึงได้ไปเพียง ๓๐ โยชน์เท่านั้น พระโพธิ-

สัตว์ประทับยืนที่ฝั่งแม่น้ำแล้วตรัสถามนายฉันนะว่า แม่น้ำนี้ชื่ออะไร ? นาย

ฉันนะกราบทูลว่า ชื่ออโนมานทีพะยะค่ะ. พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า บรรพชา

แม้ของเราก็จักไม่ทราม จึงเอาส้นพระบาทกระตุ้นให้สัญญาณม้า. ม้าได้โดดข้าม

แม่น้ำอันกว้างประมาณ ๘ อุสภะไปยืนที่ฝั่งโน้น พระโพธิสัตว์เสด็จลง

จากหลังม้าประทับยืนที่เนินทรายอันเหมือนแผ่นเงิน ตรัสเรียกนายฉันนะมา

ว่า ฉันนะผู้สหาย เธอจงพาเอาอาภรณ์และม้าของเราไป เราจักบวช ณ ที่นี้

แหละ. นายฉันนะกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็จักบวช

กับพระองค์ พระเจ้าข้า. พระโพธิสัตว์ตรัสห้ามถึง ๓ ครั้งว่า เธอยังบวชไม่

ได้ เธอจะต้องไป แล้วทรงมอบเครื่องอาภรณ์และม้ากัณฐกะให้นายฉันทะรับ

ไปแล้ว ทรงดำริว่า ผมทั้งหลายของเรานี้ ไม่สมควรแก่สมณะ ทรงดำริ

ต่อไปว่า ผู้อื่นที่สมควรจะตัดผมของพระโพธิสัตว์ ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น

เราจักตัดด้วยพระขรรค์นั้นด้วยตนเอง จึงเอาพระหัตถ์ขวาจับพระขรรค์ เอา

พระหัตถ์ซ้ายจับพระจุฬา (จุก) พร้อมกับพระโมลี (มวยผม) แล้วจึงตัดออก

เส้น พระเกศาเหลือประมาณ ๒ องคุลีเวียนขวาแนมติดพระเศียร พระเกศา

ได้มีประมาณเท่านั้น จนตลอดพระขนมชีพ. และพระมัสสุ (หนวด) ก็ได้มี

พอเหมาะพอควรกับพระเกศานั้น ชื่อว่ากิจด้วยการปลงผมและหนวดมิได้มีอีก

ต่อไป. พระโพธิสัตว์จับพระจุฬาพร้อมด้วยพระโมลีทรงอธิษฐานว่าถ้าเราจักได้

เป็นพระพุทธเจ้าไซร้ พระโมลีจงตั้งอยู่ในอากาศ ถ้าจักไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า

จงตกลงบนภาคพื้น แล้วทรงโยนขึ้นไปในอากาศ ม้วนพระจุฬามณีนั้นไปถึง

ที่ประมาณโยชน์หนึ่งแล้วได้คงอยู่ในอากาศ. ท้าวสักกเทวราชตรวจดูด้วยทิพย-

จักษุ จึงเอาผอบแก้วประมาณโยชน์หนึ่งรับไว้ นำไปประดิษฐานไว้ในพระเจดีย์

ชื่อว่าจุฬามณีในภพชั้นดาวดึงส์ เหมือนดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

อัครบุคคลผู้เลิศได้ตัดพระโมลีอันอบด้วยกลิ่น

หอมอันประเสริฐแล้ว โยนขึ้นไปยังเวหา ท้าววาสวะ

ผู้มีพระเนตรตั้งพันเอาผอบทองอันประเสริฐทูนพระ

เศียรรับไว้แล้ว.

พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริอีกว่า ผ้ากาสิกพัสตร์เหล่านั้นไม่สมควรแก่

สมณะสำหรับเรา. ลำดับนั้น ฆฏิการมหาพรหมผู้เป็นสหายเก่าในครั้งพระ-

กัสสปพุทธเจ้า มีความเป็นมิตรยังไม่ถึงพุทธันดร คิดว่า วันนี้สหายของเรา

ออกมหาภิเนษกรมณ์ เราจักถือเอาสมณบริขารของสหายเรานั้นไป จึงได้นำ

เอาบริขาร ๘ เหล่านั้นคือ

บริขารเหล่านี้คือ ไตรจีวร บาตร มีด เข็ม

รัดประคด เป็น ๘ กับผ้ากรองน้ำ ย่อมควรแก่ภิกษุ

ประกอบความเพียร.

ไปให้ พระโพธิสัตว์ทรงนุ่งห่มธงชัยแห่งพระอรหัตแล้ว ถือเพศบรรพชา

อันสูงสุด จึงทรงส่งนายฉันนะไปด้วยพระดำรัสว่า ฉันนะ เธอจงทูลถึง

ความไม่มีโรคป่วยไข้แก่พระชนกเเละชนนี ตามคำของเราด้วยเถิด. นายฉันนะ

ถวายบังคมพระโพธิสัตว์ กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป. ส่านม้ากัณฐกะยืนฟัง

คำของพระโพธิสัตว์ซึ่งตรัสกับนายฉันนะ คิดว่า บัดนี้ เราจะไม่มีการได้เห็น

นายอีกต่อไป เมื่อละคลองจักษุไป ไม่อาจอดกลั้นความโศกไว้ได้ เมื่อหทัย

แตก ตายไปบังเกิดเป็นกัณฐกเทวบุตรในภพดาวดึงส์. ครั้งแรก นายฉันนะ

ได้มีความโศกเพียงอย่างเดียว แต่เมื่อม้ากัณฐกะตายไป นายฉันนะถูกความ

โศกครั้งที่สองบีบคั้น ได้ร้องไห้คร่ำครวญเดินไป.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ครั้นบรรพชาแล้ว ได้ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิด

จากการบรรพชา ตลอดสัปดาห์ ในอนุปิยอัมพวันซึ่งมีอยู่ในประเทศนั้นนั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

แล แล้วเสด็จดำเนินด้วยพระบาทสิ้นหนทาง ๓๐ โยชน์ โดยวันเดียวเท่านั้น

แล้วเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ ก็แหละครั้นเสด็จเข้าไปแล้ว เสด็จเที่ยวบิณฑ-

บาตรไปตามลำดับตรอก. พระนครทั้งสิ้นได้ถึงความตื่นเต้น เพราะได้เห็น

พระรูปโฉมของพระโพธิสัตว์ เหมือนตอนช้างธนบาลเข้าไปกรุงราชคฤห์ และ

เหมือนเทพนครตอนจอมอสูรเข้าไปฉะนั้น. ลำดับนั้น ราชบุตรทั้งหลายมา

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุคคลชื่อเห็นปานนี้เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในพระ-

นคร ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทราบเกล้าว่า ผู้นี้ชื่อไร จะเป็นเทพ มนุษย์

นาค หรือครุฑ พระราชาประทับยืนที่พื้นปราสาททอดพระเนตรเห็นพระมหา-

บุรุษ เกิดอัศจรรย์ไม่เคยเป็น ทรงสั่งพวกราชบุรุษว่า แน่ะพนาย ท่านทั้ง

หลายจงไปพิจารณาดู ถ้าจักเป็นอมนุษย์ เขาออกจากพระนครแล้วจักหายไป

ถ้าเป็นเทวดาจักเหาะไป ก็ถ้าเป็นนาคจักดำดินไป ถ้าเป็นมนุษย์จักบริโภค

ภิกษาหารตามที่ได้. ฝ่ายพระมหาบุรุษแล รวบรวมภัตอันสำรวมกันแล้วรู้ว่า

ภัตมีประมาณเท่านี้พอสำหรับเรา เพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป เสด็จออกจาก

พระนครทางประตูที่เสด็จเข้ามานั่นแล บ่ายพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก

ประทับนั่งที่ร่มเงาของปัณฑวบรรพต เริ่มเพื่อเสวยพระกระยาหาร. ลำดับนั้น

พระอันตะไส้ใหญ่ของพระมหาบุรุษได้ถึงอาการจะออกมาทางพระโอษฐ์. ลำดับ

นั้น พระโพธิสัตว์ทรงอึดอัดกังวลพระทัยด้วยอาหารอันปฏิกูล เพราะด้วยทั้ง

อัตภาพนั้น พระองค์ไม่เคยเห็นอาหารเห็นปานนั้น แม้ด้วยพระเนตร จึง

ทรงโอวาทตนด้วยพระองค์เองอย่างนี้ว่า ดูก่อนสิทธัตถะ เธอเกิดในสถานที่มี

โภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ด้วยโภชนะแห่งข้าวสาลีมีกลิ่นหอม ซึ่งเก็บไว้ ๓ ปี

ในตระกูลอันมีข้าวและน้ำหาได้ง่ายมาก ได้เห็นบรรพชิตผู้ทรงผ้าบังสุกุลรูป

หนึ่งแล้วคิดว่า เมื่อไรหนอ แม้เราก็จักเป็นผู้เห็นปานนั้นเที่ยวบิณฑบาต

บริโภค กาลนั้น จักมีไหมหนอสำหรับเรา จึงออกบวช บัดนี้ เธอจะทำข้อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

นั้นอย่างไร ครั้นทรงโอวาทพระองค์อย่างนี้แล้ว ไม่ทรงมีอาการอันผิดแผก

ทรงเสวยพระกระยาหาร ราชบุรุษทั้งหลายเห็นความเป็นไปนั้นแล้ว จึงไป

กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ พระราชาได้สดับคำของทูตเท่านั้น รีบเสด็จ

ออกจากพระนคร เสด็จไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์ ทรงเลื่อมใสเฉพาะใน

พระอิริยาบถเท่านั้น จึงทรงมอบความเป็นใหญ่ให้แก่พระโพธิสัตว์. พระ-

โพธิสัตว์ตรัสว่า มหาบพิตร อาตมภาพไม่มีความต้องการวัตถุกามหรือกิเลสกาม

ทั้งหลาย อาตมภาพปรารถนาปรมาภิสัมโพธิญาณ จึงออกบวช. พระราชา

แม้จะทรงอ้อนวอนเป็นอเนกประการ ก็ไม่ได้น้ำพระทัยของพระโพธิสัตว์นั้น

จึงตรัสว่า พระองค์จักได้เป็นพระพุทธเจ้าแน่แล้ว ก็พระองค์ได้เป็นพระพุทธ

เจ้าแล้ว พึงเสด็จมายังแคว้นของหม่อมฉันก่อน นี้เป็นความย่อในที่นี้ ส่วน

ความพิศดาร พึงตรวจดูศัพท์ในบรรพชาสูตรนี้ว่า เราจักสรรเสริญการบวช

เหมือนผู้มีจักษุบวชแล้ว ดังนี้ ในอรรถกถา แล้วพึงทราบเถิด.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงให้ปฏิญญาแก่พระราชาแล้ว เสด็จจาริกไปโดย

ลำดับ เข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร และอุทกดาบสรามบุตร ทำสมาบัติ

ให้บังเกิดแล้ว ทรงดำริว่า นี้มิใช่ทางเพื่อจะตรัสรู้ จึงยังไม่ทรงพอพระทัย

สมาบัติภาวนาแม้นั้น มีพระประสงค์จะเริ่มตั้งมหาปธานความเพียรใหญ่ เพื่อ

จะทรงแสดงเรี่ยวแรงและความเพียรของพระองค์แก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก

จึงเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลา ทรงพระดำรัสว่า ภูมิภาคนิน่ารื่นรมย์หนอ จึง

เสด็จเข้าอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลานั้น ทรงเริ่มตั้งมหาปธานความเพียรใหญ่. บรรพ-

ชิต ๕ รูป มีโกณฑัญญะเป็นประธานแม้เหล่านั้นแล พากันเที่ยวภิกขาจารไป

ในคาน นิคม และราชธานีได้ถึงทันพระโพธิสัตว์ ณ ตำบลอุรุเวลานั้น. ลำดับ

นั้น บรรพชิตทั้ง ๕ รูปนั้น อุปัฏฐากพระโพธิสัตว์นั้นผู้เริ่มตั้งมหาปธานความ

เพียรตลอด ๖ พรรษา ด้วยวัตรปฏิบัติมีการกวาดบริเวณเป็นต้น ด้วยหวังใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้าในบัดนี้ และได้เป็นผู้อยู่ในสำนักของพระโพธิสัตว์

นั้น.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า จักกระทำทุกรกิริยาให้ถึงที่สุด

จึงทรงยับยั้งอยู่ด้วยข้าวสารเพียงเมล็ดงาหนึ่งเป็นต้น ได้ทรงกระทำการตัด

อาหารเสียโดยประการทั้งปวง. ฝ่ายเทวดาก็นำเอาโอชะใส่เข้าไปทางขุมพระโลมา

ทั้งหลาย ครั้นเมื่อพระโพธิสัตว์นั้น มีพระวรกายอันถึงความอ่อนเปลี้ยอย่างยิ่ง

เพราะความเป็นผู้ที่ไม่มีพระกระยาหารนั้น พระวรกายอันมีฉวีวรรณดุจทอง

ได้มีพระฉวีวรรณคำไป พระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ก็ได้ถูกปกปิดไม่

ปรากฏ. ในกาลบางคราว เมื่อทรงเพ่งฌานอันไม่มีลมปราณ ถูกเวทนา

ใหญ่หลวงครอบงำ ทรงวิสัญญีสลบล้มลงในที่สุดที่จงกรม. ลำดับนั้น เทวดา

บางพวกกล่าวถึงพระโพธิสัตว์นั้นว่า พระสมณโคดมกระทำกาลกิริยาแล้วเทวดา

บางพวกกล่าวว่า นี้เป็นธรรมเครื่องอยู่ของพระอรหันต์ทีเดียว บรรดาเทวดา

เหล่านั้น เหล่าเทวดาผู้พูดว่า พระสมณโคดมได้กระทำกาลกิริยาแล้วนั้น พากัน

ไปกราบทูลแก่พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชว่า พระราชโอรสของพระองค์สวรรคต

แล้ว. พระเจ้าสุทโธทนะมหาราชตรัสว่า บุตรของเรายังไม่เป็นพระพุทธเจ้าจะ

ยังไม่ตาย. เทวดาเหล่านั้นกราบทูลว่า พระโอรสของพระองค์ไม่อาจเป็นพระ-

พุทธเจ้า ทรงล้มลงที่พื้นสำหรับบำเพ็ญเพียรสวรรคตแล้ว. พระราชาทรงสดับ

คำนี้จึงตรัสห้ามว่า เราไม่เชื่อ ชื่อว่าบุตรของเรายังไม่บรรลุโพธิญาณแล้ว

กระทำกาลกิริยา ย่อมไม่มี. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระราชาจึงไม่ทรงเชื่อ ?

ตอบว่า เพราะพระองค์ได้ทรงเห็นปาฏิหาริย์ทั้งหลาย ในวันที่ให้ไหว้พระกาล-

เทวลดาบส และที่ควงไม้หว้า. พระโพธิสัตว์ทรงกลับได้สัญญาลุกขึ้นได้อีก

เมื่อพระมหาสัตว์ลุกขึ้นแล้ว เทวดาเหล่านั้นมากราบทูลแก่พระราชาว่า ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

มหาราช พระราชโอรสของพระองค์ไม่มีพระโรคแล้ว. พระราชาตรัสว่า เรา

ย่อมรู้ว่าบุตรของเราไม่ตาย.

เมื่อพระมหาสัตว์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ๖ พรรษา กาลเวลา

ได้เป็นเหมือนขอดปมในอากาศ. พระมหาสัตว์นั้นทรงพระดำริว่า ชื่อว่าการ

ทำทุกรกิริยานี้ ไม่ใช่ทาง (บรรลุ) จึงเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในคามและ

นิคมทั้งหลาย เพื่อต้องการอาหารหยาบ แล้วนำอาหารมา ครั้งนั้น

มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของพระโพธิสัตว์นั้นได้กลับเป็นปกติ พระกาย

ได้มีพระฉวีวรรณดุจทองคำ พระภิกษุปัญจวัคคีย์พากันคิดว่า พระมหาบุรุษ

นี้แม้กระทำทุกรกิริยาถึง ๖ ปี ก็ไม่สามารถแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณได้

บัดนี้ เที่ยวบิณฑบาตไปในบ้านเป็นต้น นำอาหารหยาบมา จักสามารถ

ได้อย่างไร พระมหาบุรุษนี้กลายเป็นผู้มักมากคลายความเพียร ชื่อการคาด

คะเนถึงคุณวิเศษจากสำนักของพระมหาบุรุษนี้แห่งพวกเรา ก็เหมือนคนผู้จะ

สรงสนานศีรษะคิดคาดคะเนเอาหยาดน้ำค้างฉะนั้น พวกเราจะประโยชน์อะไร

ด้วยพระมหาบุรุษนี้ จึงพากันละพระมหาบุรุษ ถือเอาบาตรและจีวรของ

ตน ๆ เดินทางไปประมาณ ๑๘ โยชน์ เข้าไปยังป่าอิสิปตนะ.

ก็สมัยนั้นแล ทาริกาชื่อว่า สุชาดา บังเกิดในเรือนของเสนากุฎุมพี

ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม พอเจริญแล้ว ได้กระทำความปรารถนาที่ต้นไทร

แห่งหนึ่งว่า ถ้าเราไปยังเรือนสกุลที่มีชาติเสมอกัน จักได้บุตรชายในครรภ์แรก

เราจักทำพลีกรรม โดยบริจาคทรัพย์แสนหนึ่งแก่ท่านทุกปี ๆ ความปรารถนา

อันนั้นของนางก็สำเร็จแล้ว. เมื่อพระมหาสัตว์นั้นกระทำทุกรกิริยา. เมื่อครบ

ปีที่ ๖ บริบูรณ์ นางสุชาดานั้นประสงค์จะพลีกรรมในวันเพ็ญเดือน ๖. และก่อน

หน้านั้นแหละ ได้ปล่อยโคนม ๑,๐๐๐ ตัว ให้ท่องเที่ยวอยู่ในป่าชะเอม ให้โคนม

๕๐ ตัว ดื่มน้ำนมองโคนม ๑,๐๐๐ ตัวนั้น แล้วให้โคนม ๒๕๐ ตัว ดื่มน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

นมของโคนม ๕๐๐ ตัวนั้น นางปรารถนาน้ำนมข้นและมีโอชะจึงได้กระทำการ

หมุนเวียนให้โคดื่มน้ำนมตราบเท่า ๘ ตัว ดื่มน้ำนมของแม่โคนม ๑๖ ตัวนั้น

อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. เช้าตรู่วันวิสาขบูรณมี นางสุชาดานั้นลุกขึ้นในเวลา

ใกล้รุ่งแห่งราตรี ให้รีดนมโคนม ๘ ตัวนั้น. ลูกโคทั้งหลายยังไม่ได้ไปถึง

เต้านมเหล่านั้น แต่พอนำภาชนะใหม่เข้าไปใกล้เต้านมเท่านั้น ธารน้ำนมก็

ไหลออกตามธรรมดาของตน นางสุชาดาได้เห็นความอัศจรรย์นั้น จึงตักน้ำ

นมด้วยมือของตนเองใส่ลงในภาชนะใหม่แล้วก่อไฟด้วยมือของตนเอง เริ่มจะ

หุง เมื่อกำลังหุงข้าวปายาสนั้นนั่นแหละ ฟองใหญ่ ๆ ตั้งขึ้นไหลวนเป็นทักษิณา

วัฏ. แม้หยาดสักหยดหนึ่งก็ไม่หกออกภายนอก ควันไฟแม้มีประมาณน้อยก็ไม่

ตั้งขึ้นจากเตา สมัยนั้น ท้าวจตุโลกบาลมาถือการอารักขาที่เตา. ท้าวมหา-

พรหมกั้นฉัตร ท้าวสักกะนำดุ้นฟืนมาใส่ไฟให้ลุกโพลงอยู่. จริงอยู่ เทวดา

ทั้งหลายรวบรวมโอชะอันเข้าไปสำเร็จแก่เทวดา และมนุษย์ทั้งหลายใน

ทวีปทั้ง ๔ อันมีทวีปน้อยสองพันเป็นบริวาร ใส่เข้าไปในข้าวปายาสนั้นด้วย

เทวานุภาพของตน ๆ เหมือนบุคคลคั้นรวงผึ้งอันติดอยู่ที่ท่อนไม้ แล้วถือเอา

แต่น้ำหวานฉะนั้น.

จริงอยู่ในเวลาอื่น ๆ เทวดาทั้งหลายใส่โอชะในคำข้าว ก็แต่ว่าในวัน

ตรัสรู้และวันปรินิพพาน ใส่โอชะในหม้อเลยทีเดียว.

นางสุชาดาได้เห็นความอัศจรรย์มิใช่น้อย ซึ่งปรากฏแก่ตนในที่นั้น

โดยวันเดียวเท่านั้น จึงเรียกนางปุณณาทาสีมาพูดว่า แน่ะแม่ปุณณา วันนี้เทวดา

ของเราทั้งหลายน่าเลื่อมใสยิ่งนัก ในกาลมีประมาณเท่านี้ เราไม่เคยเห็นความ

อัศจรรย์เห็นปานนี้ เธอจงรีบไปดูแลเทวสถานโดยเร็ว. นางปุณณาทาสีนั้น รับ

คำของนางสุชาดานั้นแล้ว ได้รีบด่วนไปยังโคนต้นไม้. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ทรงเห็นมหาสุบิน ๕ ประการ ในตอนกลางคืนนั้น ทรงใคร่ครวญอยู่ จึงทรง

กระทำสันนิษฐานว่า วันนี้ เราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พอ

ราตรีนั้นล่วงไป ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระ คอยเวลาภิกขาจารอยู่ พอ

เช้าตรู่ จึงเสด็จมาประทับนั่งที่โคนไม้นั้น ทรงกระทำโคนไม้ทั้งสิ้นให้สว่างไสว

ด้วยรัศมีของพระองค์.

ลำดับนั้น นางปุณณาทาสีนั้นมา ได้เห็นพระโพธิสัตว์ประทับนั่ง

ที่โคนไม้ทอดพระเนตรดูโลกธาตุด้านทิศตะวันออก. และเพราะได้เห็น

ต้นไม้ทั้งสิ้นมีสีดังสีทอง ด้วยพระรัศมีอันซ่านออกจากพระสรีระของพระ

โพธิสัตว์นั้น นางจึงได้คิดดังนี้ว่า วันนี้ เทวดาของเราทั้งหลาย เห็นจะลง

จากต้นไม้มานั่งเพื่อจะรับพลีกรรมด้วยมือของตนเองทีเดียว จึงเป็นผู้ถึงความ

สลดใจ รีบไปบอกเนื้อความนั้น แก่นางสุชาดา. นางสุชาดาได้ฟังคำของนาง

ปุณณาทาสีนั้น แล้วก็ดีใจจึงกล่าวว่า วันนี้ ตั้งแต่บัดนี้ไปเจ้าจงดำรงอยู่ในฐานะ

ธิดาคนใหญ่ของเรา แล้วได้ให้เครื่องประดับทั้งปวงอันสมควรแก่ธิดา. ก็เพราะ

เหตุที่ในวันจะบรรลุความเป็นพระพุทธเจ้า การได้ถาดทองมีค่าแสนหนึ่งจึงจะ

ควร เพราะฉะนั้น นางสุชาดานั้นจึงทำความคิดให้เกิดขึ้นว่า จักใส่ข้าวปายาส

ในถาดทองจึงให้คนใช้นำถาดทองมีค่าแสนหนึ่งออกมา ประสงค์จะใส่ข้าวปายาส

ในถาดทองนั้น จึงรำพึงถึงโภชนะที่ลุกแล้ว. ข้าวปายาสทั้งหมดก็กลิ้งไป

ประดิษฐานอยู่ในถาด เหมือนน้ำกลิ้งจากใบบัวฉะนั้น ข้าวปายาสนั้นได้

มีปริมาณเต็มถาดหนึ่งพอดี. นางจึงเอาถาดทองใบอื่น ครอบถาดใบนั้น แล้ว

เอาผ้าขาวห่อ ประดับร่างกายด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เอาถาดนั้นทูน

บนศีรษะของตน เดินไปยังโคนต้นไทรนั้นด้วยอานุภาพใหญ่ แลดูพระโพธิ-

สัตว์ เกิดความโสมนัสเป็นกำลัง สำคัญว่าเป็นเทวดา จึงค้อมกายลงเดินไปจำ

เดิมแต่ที่ได้เห็น ปลงถาดลงจากศีรษะแล้ว เปิดฝาเอาสุวรรณภิงคารใส่น้ำอันอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

ด้วยดอกไม้หอมแล้วได้เข้าไปยืนอยู่ใกล้ ๆ พระโพธิสัตว์. บาตรดินที่ท้าวฆฏิ-

การมหาพรหมถวาย ไม่ห่างพระโพธิสัตว์มาตลอดกาลนานมีประมาณเท่านี้ ได้

หายไปในขณะนั้น. พระโพธิสัตว์เมื่อแลไม่เห็นบาตร จึงเหยียดพระหัตถ์ขวา

ออกรับ. นางสุชาดาจึงวางถาดทองข้าวปายาสในพระหัตถ์ของพระมหาบุรุษ.

พระมหาบุรุษทอดพระเนตรดูนางสุชาดา. นางสุชาดากำหนดอาการแล้วจึงทูลว่า

ข้าแต่เจ้า ขอท่านจงถือเอาสิ่งที่ข้าพเจ้าบริจาคแก่ท่านไปเถิด ไหว้แล้วทูลว่า

มโนรถความปรารถนาจงสำเร็จแก่ท่านเหมือนดังสำเร็จแก่ข้าพเจ้าเถิด นางไม่

ห่วงอาลัยถาดทองอันมีค่าแสนหนึ่ง เป็นเหมือนภาชนะดินเก่า หลีกไปแล้ว.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์เสด็จลุกขึ้นจากที่ประทับทรงทำประทักษิณต้นไม้

ถือถาดเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในวันที่พระโพธิสัตว์หลายแสนจะตรัสรู้

มีท่าชื่อว่าสุปติฏฐิตะ (สุประดิษฐ์) เป็นสถานที่เสด็จลงสรงสนาน จึง

ทรงวางถาดที่ฝั่งแห่งท่าชื่อว่าสุปติฏฐิตะนั้น เสด็จลงสรงสนานเสร็จแล้วทรงนั่ง

ธงชัยแห่งพระอรหัตอันเป็นเครื่องนุ่งห่มของพระพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์

ทรงนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก ทรงกระทำปั้นข้าว ๔๙ ปั้นประมาณ

เท่าจาวตาลสุกจาวหนึ่ง ๆ แล้วเสวยมธุปายาสมีน้ำน้อยทั้งหมด. ก็เป็นอย่าง

นั้น ข้าวมธุปายาสนั้นได้เป็นอาหารอยู่ได้ตลอด ๗ สัปดาห์ สำหรับพระโพธิ

สัตว์นั้น ผู้จะได้เป็นพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่โพธิมัณฑ์ ประเทศเป็นที่ผ่อง

ใสแห่งพระปัญญาเครื่องตรัสรู้. ในกาลมีประมาณเท่านั้น ไม่มีอาหารอย่างอื่น

ไม่มีการสรงสนาน ไม่มีการชำระพระโอษฐ์ ไม่มีการถ่ายพระบังคนหนัก ทรง

ยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุข มรรคสุขและผลสุขเท่านั้น. ก็พระโพธิสัตว์ครั้นเสวยข้าว

ข้าวปายาสนั้นแล้ว จับถาดทองทรงอธิษฐานว่า ถ้าเราจักได้เป็นพระพุทธเจ้าใน

วันนี้ไซร้ ถาดของเราใบนี้ จงลอยทวนกระแสน้ำไป ถ้าจักไม่ได้เป็น จง

ลอยไปตามกระแสน้ำ ครั้นทรงอธิษฐานแล้วได้ลอยถาดไป. ถาดนั้นลอยตัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

กระแสน้ำไปถึงกลางแม่น้ำ ณ ที่ตรงกลางแม่น้ำนั่นแลได้ลอยทวนกระแสน้ำไป

สิ้นสถานที่ประมาณ ๘๐ ศอก เปรียบเหมือนม้าซึ่งเพียบพร้อมด้วยฝีเท้าอันเร็ว

ไวฉะนั้น แล้วจมลงที่น้ำวนแห่งหนึ่งจมลงไปถึงภพของกาลนาคราช กระทบถาด

เครื่องบริโภคของพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์ มีเสียงดังกริ๊ก ๆ แล้วได้วางรอง

อยู่ใต้ถาดเหล่านั้น. กาลนาคราชครั้นได้สดับเสียงนั้นแล้ว กล่าวว่า เมื่อวานนี้

พระพุทธเจ้าทรงบังเกิดแล้วองค์หนึ่ง วันนี้บังเกิดอีกองค์หนึ่ง จึงได้ยืนกล่าว

สดุดีด้วยบทหลายร้อยบท. ได้ยินว่า เวลาที่มหาปฐพีงอกขึ้นเต็มท้องฟ้า

ประมาณหนึ่งโยชน์สามคาวุต ได้เป็นเสมือนวันนี้ หรือวันพรุ่งนี้ แก่กาล

นาคราชนั้น.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงพักผ่อนกลางวันอยู่ในสาลวันอันมีดอกบานสะพรั่ง

ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เวลาเย็น ในเวลาดอกไม้ทั้งหลายหลุดจากขั้ว ได้เสด็จบ่ายหน้า

ไปยังโพธิพฤกษ์ ตามหนทางกว้างประมาณ ๘ อุสภะ ซึ่งเทวดาทั้งหลายตก

แต่งไว้ ดุจราชสีห์เยื้องกรายฉะนั้น นาค ยักษ์และสุบรรณเป็นต้น ได้บูชาด้วย

ของหอมและดอกไม้เป็นต้นอันเป็นทิพย์ หมื่นโลกธาตุได้มีกลิ่นหอมเป็นอัน

เดียวกัน มีระเบียบดอกไม้เป็นอันเดียวกัน และมีเสียงสาธุการเป็นอันเดียวกัน

สมัยนั้นพราหมณ์ชื่อโสตถิยะ เป็นคนหาบหญ้า ถือหญ้าเดินสวนทางมา รู้

อาการของมหาบุรุษจึงได้ถวายหญ้า ๘ กำ พระโพธิสัตว์รับหญ้าแล้วเสด็จขึ้นสู่

โพธิมัณฑ์ ได้ประทับยืนในด้านทิศใต้ผินพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ขณะนั้น

จักรวาลด้านทิศใต้ทรุดลง ได้เป็นประหนึ่งว่าจรดถึงอเวจีเบื้องล่าง จักรวาล

ด้านทิศเหนือลอยขึ้น ได้เป็นประหนึ่งจรดถึงภวัคคพรหมในเบื้องบน พระ-

โพธิสัตว์ทรงดำริว่า ที่ตรงนี้เห็นจะไม่เป็นสถานที่ที่จะให้บรรลุพระสัมโพธิญาณ

จึงการทำประทักษิณ เสด็จไปยังด้านทิศตะวันตกได้ประทับยืนผินพระพักตร์

ไปทางทิศตะวันออก. ลำดับนั้น จักรวาลด้านทิศตะวันตกได้ทรุดลง ได้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

ประหนึ่งว่าจรดถึงอเวจีในเบื้องล่าง จักรวาลด้านเว้นออกลอยขึ้น ได้เป็น

ประหนึ่งว่าจรดถึงภวัคคพรหมในเบื้องบน นัยว่า ในที่ที่พระมหาบุรุษนั้น

ประทับยืนแล้ว ๆ มหาปฐพีได้ยุบลงและฟูขึ้น เหมือนล้อเกวียนใหญ่ซึ่งติด

อยู่ในดุมถูกคนเหยียบริมขอบวงของกงล้อฉะนั้น พระโพธิสัตว์ทรงดำริว่า

สถานที่นี้เห็นจะไม่เป็นสถานที่ให้บรรลุพระสัมโพธิญาณ จึงกระทำประทัก-

ษิณ เสด็จไปทางด้านทิศเหนือประทับยืนผินพระพักตร์ใปทางด้านทิศใต้.

ลำดับนั้นจักรวาลด้านทิศเหนือได้ทรุดลง ได้เป็นประหนึ่งจรดถึงอเวจีในเบื้อง

ล่าง จักรวาลด้านทิศใต้ลอยขึ้น ได้เป็นประหนึ่งจรดถึงภวัคคพรหมในเบื้องบน

พระโพธิสัตว์ทรงพระดำริว่า แม้สถานที่นี้ก็เห็นจะไม่ใช่สถานที่เป็นที่ตรัสรู้

พระสัมโพธิญาณ จึงทรงกระทำประทักษิณ เสด็จไปยังด้านทิศตะวันออก ได้

ประทับยืนผินพระพักตร์ไปทางด้านทิศตะวันตก. ก็สถานที่ตั้งบัลลังก์ของพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง มีอยู่ในด้านทิศตะวันออก สถานที่นั้นจึงไม่หวั่นไหว

ไม่สั่นสะเทือน พระมหาสัตว์ทรงทราบว่า สถานที่นี้ เป็นที่อันพระพุทธเจ้าทั้ง

ปวงไม่ทรงละ เป็นสถานที่ไม่หวั่นไหว เป็นสถานที่กำจัดกรงคือกิเลสจึงทรง

จับปลายหญ้าแล้วเขย่าให้สั่น. ทันใดนั่งเอง ได้มีบัลลังก์ ๑๔ ศอก หญ้าแม้

เหล่านั้นก็คงตั้งอยู่ โดยการลาดเห็นปานนั้นซั้งช่างเขียนหรือช่างฉาบแม้ผู้ฉลาด

ยิงก็ไม่สามารถจะเขียนหรือฉาบทาได้.

พระโพธิสัตว์ผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก โดยให้ลำต้นโพธิ์อยู่

เบื้องพระปฤษฎางค์ เป็นผู้มีพระมนัสมั่นคง ทรงนั่งคู้อปราชิตบัลลังก์ซึ่งแม้

สายฟ้าจะผ่าลงตั้ง ๑๐๐ ครั้งก็ไม่แตกทำลาย โดยทรงอธิษฐานว่า

เนื้อ และเลือดในสรีระนี้แม้ทั้งสิ้นจงเหือดแห่งไป

จะเหลือแต่หนังเอ็น และกระดูก ก็ตามที่.

เราไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณบนบัลลังก์นี้แหละ จักไม่ทำลายบัลลังก์นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

สมัยนั้น เทวปุตตมารคิดว่า สิทธัถกุมารประสงค์จะก้าวล่วงอำนาจของ

เรา บัดนี้ เราจักไม่ให้สิทธัตถกุมารนั้นล่วงพ้นไปได้ จึงไปยังสำนักของพล

มารบอกความนั้น ให้โห่ร้องอย่างมารแล้วพาพลมารออกไป ก็เสนามารนั้น

มีข้างหน้ามาร ๑๒ โยชน์ ข้างขวาและข้างซ้ายข้างละ ๑๒ โยชน์ ส่วนข้างหลัง

เสนามารตั้งจรดขอบจักรวาลสูงขึ้นด้านบน ๙ โยชน์ ซึ่งเมื่อบันลือขึ้น เสียง

บันลือจะได้ยินเหมือนเสียงแผ่นดินทรุดตั้งแต่ที่ประมาณพันโยชน์ ลำดับนั้น

เทวปุตตมารขึ้นขี่ข้างชื่อคีรีเมขสูง ๑๕๐ โยชน์ นิรมิตแขนพันแขนถืออาวุธ

นานาชนิด แม้ในบริษัทมารนอกนี้ มาร ๒ คนจะไม่ถืออาวุธเหมือนกัน เป็น

ผู้มีหน้าต่างๆ คนละอย่างกันพากันมา เหมือนดังจะท่วมทับพระมหาสัตว์ ก็

เทวดาในหมื่นจักรวาลได้ยืนกล่าวชมเชยพระมหาสัตว์ ส่วนท้าวสักกเทวราชได้

ยืนเป่าสังข์วิชัยยุตร ได้ยินว่า สังข์นั้นมีขนาด ๑๒๐ ศอก เพื่อให้เก็บลมไว้

คราวเดียวแล้วเป่า จะมีเสียงอยู่ถึง ๔ เดือนจึงจะหมดเสียง มหากาลนาคราช

ได้ยืนกล่าวสรรเสริญคุณเกินกว่าร้อยบท ท้าวมหาพรหมได้ยืนกั้นเศวตฉัตร

แต่เมื่อพลมารเข้าไปใกล้โพธิมัณฑ์ บรรดาเทวดาเป็นต้นเหล่านั้น แม้คน

หนึ่งก็ไม่อาจดำรงอยู่ได้ ต่างพากันหนีไปเฉพาะในที่ที่ตรงหน้า ๆ กาลนาคราช

ดำดินลงไปยังนาคภพอันมีมณเฑียรประมาณ ๕๐๐ โยชน์นอนเอามือทั้งสองปิด

หน้า ท้าวสักกะเอาสังข์วิชัยยุตรไว้ข้างหลัง ได้ยืนอยู่ที่ขอบปากจักรวาล. ท้าว-

มหาพรหมจับปลายเศวตฉัตรไปยังพรหมโลกทันที แม้เทวดาคนหนึ่งซึ่งว่าผู้

สามารถดำรงอยู่มิได้มี พระมหาบุรุษพระองค์เดียวเท่านั้น ประทับนั่งอยู่.

ฝ่ายมารก็กล่าวกะบริษัทของคนว่า พ่อทั้งหลาย ชื่อว่าบุรุษอื่นเช่นกับ

สิทธัตถะโอรสของพระเจัาสุทโธทนะ ย่อมไม่มี พวกเราจักไม่อาจทำการสู้รบ

ซึ่งหน้า พวกเราจักสู้รบทางด้านหลัง. ฝ่ายพระมหาบุรุษก็เหลียวดูแม้ทั้ง ๓ ด้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

ได้ทรงเห็นแต่ความว่างเปล่า เพราะเทวดาทั้งปวงพากันหนีไปหมด ได้ทรง

เห็นพลมารหนุนเนื่องเข้ามาทางด้านเหนืออีก ทรงพระดำริว่า ชนนี้มีประมาณ

เท่านี้ มุ่งหมายเราผู้เดียวกระทำความพากเพียรพยายามอย่างใหญ่หลวง. ในที่นี้

ไม่มีบิดามารดา บุตร ธิดา พี่น้องชาย หรือญาติไร ๆ อื่น มีแต่บารมี ๑๐ นี้เท่านั้น

จะเป็นเช่นกับบุตรแลบริวารชนของเราไปตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้น เราจะ

กระทำบารมีให้เป็นโล่ แล้วประหารด้วยศัสตราคือบารมีนั่นแหละ กำจัดหมู่พล

นี้เสียจึงจะควร จึงทรงนั่งระลึกถึงบารมีทั้ง ๑๐ อยู่ ลำดับนั้นเทวปุตตมารได้

บันดาลมณฑลประเทศแห่งลมให้ตั้งขึ้น ด้วยคิดว่า เราจักให้สิทธัตถะหนี

ไปด้วยลมนี้ทีเดียว ขณะนั้นเองลมอันต่างด้วยลมทิศตะวันออกเป็นต้นได้ตั้งขึ้น

แม้สามารถทำลายยอดเขาขนาดกึ่งโยชน์ ๑ โยชน์ ๒ โยชน์ และ ๓ โยชน์ถอน

รากไม้ กอไม้ และต้นไม้เป็นต้น กระทำตามและนิคมรอบด้านให้เป็น

จุรณวิจุรณไปได้ ก็มีอานุภาพอันเดชแห่งบุญของมหาบุรุษจัดเสียแล้ว พอมา

ถึงพระโพธิสัตว์ก็ไม่อาจทำแม้สักว่าชายจีวรให้ไหว ลำดับนั้นเทวปุตตมาร ได้

บันดาลให้ห่าฝนใหญ่ตั้งขึ้นด้วยหวังว่าจักให้น้ำท่วมตาย ด้วยอานุภาพของเทว-

ปุตตมารนั้น เมฆฝนอันมีหลืบได้ร้อยหลืบพันหลืบเป็นต้นเป็นประเภทตั้งขึ้น

ในเบื้องบนแล้วตกลงมา แผ่นดินได้เป็นช่องๆ ไปด้วยกำลังแห่งสายธารน้ำฝน

มหาเมฆลอยมาทางด้านบนป่าไม้ และต้นไม้เป็นต้น ก็ไม่อาจให้น้ำสักเท่า

หยาดน้ำค้างหยดให้เปียกที่จีวรของพระมหาสัตว์ แต่นั้น ได้บันดาลให้ห่าฝน

หินตั้งขึ้น ยอดภูเขาใหญ่ ๆ คุกรุ่นเป็นควันลุกเป็นเปลวไฟ ลอยมาทางอากาศ

พอถึงพระโพธิสัตว์ ก็กลับกลายเป็นกลุ่มดอกไม้ทิพย์ แต่นั้นได้บันดาลให้ห่า

ฝนเครื่องประหารตั้งขึ้น ศัสตราวุธมีดาบ หอก และลูกศรเป็นต้น มีคมข้าง

เดียวบ้าง มีคมสองข้างบ้าง คุกรุ่นเป็นควัน ลุกเป็นเปลวไฟ ลอยมาทาง

อากาศ พอถึงพระโพธิสัตว์ก็กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ แต่นั้นได้บันดาลให้ห่าฝน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

ถ่านเพลิงตั้งขึ้น ถ่านเพลิงทั้งหลายมีสีดังดอกทองกวาว ลอยมาทางอากาศ

กลายเป็นดอกไม้ทิพย์โปรยปรายลงแทบบาทมูลของพระโพธิสัตว์ แต่นั้นได้

บันดาลให้ห่าฝนเถ้ารึงตั้งขึ้น เถ้ารึงร้อนจัดมีสีดังไฟลอยมาทางอากาศ กลาย

เป็นฝุ่นไม้จันทน์ตกลงแทบบาทมูลของพระโพธิสัตว์ แต่นั้น ได้บันดาลให้ห่า

ฝนทรายตั้งขึ้น ทรายทั้งหลายละเอียดยิบ คุเป็นควันลุกเป็นไฟ ลอยมาทาง

อากาศ กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ตกลงแทบบาทมูลของพระโพธิสัตว์ แต่นั้น จึง

บันดาลห่าฝนเปือกตมให้ตั้งขึ้น เปือกตมคุเป็นควันลุกเป็นไฟ ลอยมาทาง

อากาศ กลายเป็นเครื่องลูบไล้ทิพย์ตกลงที่บาทมูลของพระโพธิสัตว์ แต่นั้นได้

บันดาลความมืดให้ตั้งขึ้นด้วยคิดว่า เราจักทำให้ตกใจกลัวด้วยความมืดนี้แล้ว

ให้สิทธัตถะหนีไป ความมืดนั้นเป็นความมืดตื้อประดุจประกอบด้วยองค์ ๔

[คือแรม ๑๔ ค่ำ ป่าชัฏ เมฆทึบ และเที่ยงคืน] พอถึงพระโพธิสัตว์ก็อันตร-

ธานไป เหมือนความมืดที่ถูกขจัดด้วยแสงสว่างแห่งพระอาทิตย์ มารไม่อาจทำ

ให้พระโพธิสัตว์หนีไปด้วยลม ฝน ห่าฝนหิน ห่าฝนเครื่องประหาร ห่าฝน

ถ่านเพลิง ห่าฝนเถ้ารึง ห่าฝนทราย ห่าฝนเปือกตม และห่าฝนคือความมืด

รวม ๙ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้ จึงสั่งบริษัทนั้นว่า แน่ะพนาย พวกท่าน

จะหยุดอยู่ทำไม จงจับสิทธัตถกุมารนี้ จงฆ่า จงทำให้หนีไป ส่วนตนเอง

นั่งบนคอช้างคีรีเมข ถือจักราวุธเข้าไปใกล้พระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า สิทธัตถะ

ท่านจงลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้ บัลลังก์นี้ไม่ถึงแก่ท่าน บัลลังก์นี้ถึงแก่เรา พระ-

มหาสัตว์ได้ฟังคำของมารนั้น จึงได้ตรัสว่า ดูก่อนมาร ท่านไม่ได้บำเพ็ญ

บารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ ทั้งไม่ได้บริจาคมหาบริจาค ๕

ไม่ได้บำเพ็ญญาตัตถจริยา โลกัตถจริยาและพุทธัตถจริยา บัลลังก์นี้จึงไม่ถึง

แก่ท่าน บัลลังก์นี้ได้ถึงแก่เรา. มารโกรธอดกลั้นกำลังความโกรธไว้ไม่ได้จึง

ขว้างจักราวุธใส่พระมหาสัตว์ เมื่อพระมหาสัตว์นั้นทรงรำพึงถึงบารมี ๑๐ ทัศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

อยู่ จักราวุธนั้น ได้ตั้งเป็นเพดานดอกไม้อยู่ในส่วนเบื้องบน ได้ยินว่าจักราวุธ

นั้นคมกล้านัก มารนั้นโกรธแล้วขว้างไปในที่อื่น ๆ จะตัดเสาหินแต่งทึบเป็น

อันเดียวไปเหมือนตัดหน่อไม้ไผ่ แต่บัดนี้ เมือจักราวุธนั้น กลายเป็นเพดาน

ดอกไม้ตั้งอยู่ บริษัทมารนอกนี้คิดว่า สิทธัตถกุมารจักลุกจากบัลลังก์หนีไปใน

บัดนี้ จึงพากันปล่อยยอดเขาหินใหญ่ ๆ ลงมา เนื้อพระมหาบุรุษทรงรำพึงถึง

บารมี ๑๐ ทัศ แม้ยอดเขาหินเหล่านั้นก็ถึงภาวะเป็นกลุ่มดอกไม้ตกลงยังภาค

พื้นเทวดาทั้งหลายผู้ยืนอยู่ที่ขอบปากจักรวาล ยืดคอชะเง้อศีรษะออกดูด้วยคิด

กันว่า ท่านผู้เจริญ อัตภาพอันถึงความงามแห่งพระรูปโฉมของสิทธัตถกุมาร

ฉิบหายเสียแล้วหนอ สิทธัตถกุมารจักทรงกระทำอย่างไรหนอ.

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษตรัสว่า บัลลังก์ได้ถึงแก่เราในวันที่พระโพธิ-

สัตว์ทั้งหลายบำเพ็ญบารมีแล้วตรัสรู้ยิ่ง ดังนี้ แล้วตรัสกุมารผู้ยืนอยู่สืบไปว่า

ดูก่อนมาร ใครเป็นสักขีพยานในความที่ท่านให้ทานแล้ว. มารเหยียดมือไป

ตรงหน้าหมู่มาร โดยพูดว่า มารเหล่านั้นมีประมาณเท่านี้เป็นพยาน. ขณะนั้น

เสียงของบริษัทมารซึ่งเป็นไปว่า เราเป็นพยาน เราเป็นพยาน ดังนี้ ได้เป็น

เช่นกับเสียงแผ่นดินทรุด. ลำดับนั้น มารจึงกล่าวกะพระมหาบุรุษว่า ดูก่อน

สิทธัตถะ. ในภาวะที่ท่านให้ทาน ใครเป็นสักขีพยาน พระมหาบุรุษตรัสว่า

ก่อนอื่น ในภาวะที่ท่านให้ทาน พลมารทั้งหลายผู้มีจิตใจเป็นพยาน แต่

สำหรับเรา ใคร ๆ ผู้มีจิตใจชื่อว่าจะเป็นพยานให้ ย่อมไม่มีในที่นี้ ทานที่

เราให้แล้วในอัตภาพอื่น ๆ จงยกไว้ ก็ในภาวะที่เราดำรงอยู่ในอัตภาพเป็น

พระเวสสันดรแล้ว ได้ให้สัตตสตกมหาทาน ให้สิ่งของอย่างละ ๗๐๐ มหา-

ปฐพีอันหนาทึบนี้ แม้จะไม่มีจิตใจก็เป็นสักขีพยานให้ก่อน จึงทรงนำออก

เฉพาะพระหัตถ์ขวา จากภายในกลีบจีวร แล้วทรงเหยียดพระหัตถ์ชี้ลงตรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

หน้ามหาปฐพี พร้อมกับตรัสว่า ในคราวที่เราดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระ-

เวสสันดรแล้วให้สัตตสตกมหาทาน ท่านได้เป็นพยานหรือไม่ได้เป็น. มหา-

ปฐพีได้ดั่งสนั่นหวั่นไหวประหนึ่งท่วมทับพลมาร ด้วยร้อยเสียงพันเสียงว่า

ในกาลนั้น เราเป็นพยานท่าน แต่นั้น มหาปฐพีได้กล่าวว่า ท่านสิทธัตถะ

ทานที่ท่านให้แล้ว เป็นมหาทาน เป็นอุดมทาน เมื่อพระมหาบุรุษพิจารณา

ไป ๆ ถึงทานที่ได้ให้โดยอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ช้างคีรีเมขสูง ๑๕๐ โยชน์

ก็คุกเข่าลง. บริษัทของมารต่างพากันหนีไปยังที่ศานุทิศ. ชื่อว่ามารสองตน

จะไปทางเดียวกัน ย่อมไม่มี ต่างละทิ้งเครื่องประดับศีรษะ และผ้าที่นุ่งห่ม

หนีไปเฉพาะทิศทั้งหลายตรง ๆ หน้า. ลำดับนั้น หมู่เทพทั้งหลายเห็นมาร

และพลมารหนีไปแล้ว กล่าวกันว่า มารปราชัยพ่ายแพ้แล้ว สิทธัตถกุมารมี

ชัยชนะแล้ว พวกเรามากระทำการบูชาความมีชัยกันเถิด ดังนี้ พวกนาคก็

ประกาศแก่พวกนาค พวกครุฑก็ประกาศแก่พวกครุฑ พวกเทวดาก็ประกาศ

แก่พวกเทวดา พวกพรหมก็ประกาศแก่พวกพรหม พวกวิชชาธร (ก็ประกาศ

แก่พวกวิชชาธร) ต่างมีมือถือของหอมและดอกไม้เป็นต้นมายังโพธิบัลลังก์

สำนักของพระมหาบุรุษ. ก็เมื่อมารและพลมารเหล่านั้น หนีไปอย่างนี้แล้ว

ในกาลนั้น หมู่นาคมีใจเบิกบาน ประกาศความ

ชนะของพระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า ก็พระพุทธเจ้า

ผู้มีสิรินี้ทรงมีชัยชำนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยพ่ายแพ้

แล้ว.

แต่หมู่ครุฑก็มีใจเบิกบาน ประกาศความชนะ

ของพระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า ก็พระพุทธเจ้าผู้มี

พระสิรินี้ทรงมีชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยพ่ายแพ้

แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

ในกาลนั้น หมู่เทพมีใจเบิกบาน ประกาศความ

ชนะของพระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า ก็พระพุทธเจ้า

ผู้มีสิรินี้ทรงมีชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามกปราชัยพ่ายแพ้

แล้ว.

ในกาลนั้น แม้หมู่พรหมก็มีใจเบิกบาน. ประกาศ

ความชนะของพระมเหสีเจ้า ณ โพธิมัณฑ์ว่า ก็พระ-

พุทธเจ้าผู้มีพระสิรินี้ทรงมีชัยชนะ ส่วนมารผู้ลามก

ปราชัยพ่ายแพ้แล้ว แล.

เทวดาในหมื่นจักรวาลที่เหลือ บูชาด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่อง

ลูบไล้เป็นต้น ได้ยืนกล่าวสดุดีมีประการต่าง ๆ เมื่อพระอาทิตย์ยังทอแสงอยู่

อย่างนี้นั่นแล พระมหาบุรุษทรงขจัดมารและพลมารได้แล้ว อันหน่อโพธิพฤกษ์

ซึ่งตกลงเหนือจีวร ประหนึ่งกลีบแก้วประพาฬแดง บูชาอยู่ ทรงระลึกได้

บุพเพนิวาสญาณในปฐมยาม ทรงชำระทิพยจักษุในมัชฉิมยาม ทรงยังญาณ

ให้หยั่งลงในปฏิจจสมุปบาทในปัจฉิมยาม ครั้งเมื่อพระมหาบุรุษนั้น ทรงพิจารณา

ปัจจยาการอันประกอบด้วยองค์ ๑๒ โดยอนุโลมและปฏิโลมด้วยอำนาจวัฏฏะ

และวิวัฏฏะ หมื่นโลกธาตุหวั่นไหว ๑๒ ครั้ง จนจรดน้ำรองแผ่นดินเป็นที่สุด

ก็พระมหาบุรุษทรงยังหมื่นโลกที่ให้บันลือลั่นหวั่นไหวแล้ว ได้ทรงรู้แจ้ง

แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ในเวลาอรุณขึ้น เมื่อพระมหาบุรุษนั้นทรง

บรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว หมื่นโลกธาตุทั้งสิ้นได้มีการประดับตกแต่งแล้ว

รัศมีของธงชัยและธงปฏากที่ยกขึ้น ณ ปากขอบจักรวาลทิศตะวันออก กระทบ

ถึงขอบปากจักรวาลทิศตะวันตก ที่ยกขึ้น ณ ชอบปากจักรวาลทิศตะวันตกก็

เหมือนกัน กระทบถึงขอบปากจักรวาลทิศตะวันออก ที่ยกขึ้น ณ ขอบปาก

จักรวาลทิศเหนือ กระทบถึงขอบปากจักรวาลทิศใต้ ที่ยกขึ้น ณ ขอบปาก

จักรวาลทิศใต้ กระทบถึงขอบปากจักรวาลทิศเหนือ ส่วนรัศมีของธงชัยและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

ธงปฏากที่ยกขึ้น ณ พื้นปฐพี ได้ตั้งอยู่จรดพรหมโลก. รัศมีที่ตั้งอยู่ในพรหม

โลก ก็ตั้งถึงพื้นปฐพี. ต้นไม้ดอกในหมื่นจักรวาลก็ผลิดอก ต้นไม้ผล

ก็ได้เต็มไปด้วยพวงผล ปทุมชนิดลำต้นก็ออกดอกที่ลำต้น ปทุมชนิดกิ่งก้านก็

ออกดอกที่กิ่งก้าน ปทุมชนิดเครือเถาก็ออกดอกที่เครือเถา ปทุมชนิดห้อยก็

ออกดอกในอากาศ ปทุมชนิดเป็นช่อได้เจาะทำลายช่อหินตั้งขึ้นซ้อน ๆ

กันช่อละ ๗ ชั้น หมื่นโลกธาตุได้หนุนไป เหมือนกลุ่มด้ายที่คลายออกและ

เหมือนเครื่องปูลาดที่จัดวางไว้ดีแล้วฉะนั้น. โลกันตนรกกว้าง ๕๐๐ โยชน์ใน

ระหว่างจักรวาลทั้งหลาย ไม่เคยสว่างด้วยแสงพระอาทิตย์ ๗ ดวง ก็ได้มีแสง

สว่างไสวเป็นอันเดียวกันมหาสมุทรลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ได้กลายเป็นน้ำหวาน

แม่น้ำทั้งหลายไม่ไหล คนบอดแต่กำเนิดแลเห็นรูป คนหนวกแต่กำเนิดได้ยิน

เสียง คนง่อยเปลี้ยแต่กำเนิดเดินได้ กรรมกรณ์ทั้งหลายมีเครื่องจองจำเป็นต้น

แห่งบรรดาเครื่องจองจำคือขื่อเป็นต้น ได้ขาดหลุดไป. พระมหาบุรุษอัน

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชาด้วยสมบัติอัน ประกอบด้วยสิริหาปริมาณมิได้ ด้วย

ประการอย่างนี้ เมื่ออัจฉริยธรรมอันน่าอัศจรรย์ทั้งหลายมีประการต่าง ๆ ปรากฏ

แล้ว ได้แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ จึงทรงเปล่งอุทานที่พระพุทธเจ้าทั้ง

ปวงมิได้ทรงละว่า

เราเมื่อแสวงหานายช่าง (คือตัณหา) ผู้กระทำ

เรือน เมื่อไม่ประสบ ได้ท่องเที่ยวไปยังสงสารมิใช่

น้อย ความเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ ดูก่อนนายช่างผู้

กระทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักทำเรือนไม่ได้

อีกต่อไป ซี่โครงทั้งปวงของท่าน เราหักแล้ว ยอด

เรือนเรากำจัดแล้ว จิต (ของเรา) ถึงวิสังขาร (นิพพาน)

แล้ว เราได้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

ฐานะมีประมาณท่าน เริ่มแต่ดุสิตบุรีจนกระทั่งบรรลุพระสัพพัญญุต-

ญาณที่โพธิมัณฑ์นี้ พึงทราบว่า ชื่ออวิทูเรนิทาน ด้วยประการฉะนี้.

สันติเกนิทาน

ก็สันติเกนิทาน ท่านกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่

ในที่นั้น ๆ อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันอัน

เป็นอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี (และว่า) ประทับ

อยู่ในกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้กรุงเวสาลี ดังนี้ สันติเกนิทานย่อมมีได้

ในที่นั้น ๆ นั่นเอง. ท่านกล่าวไว้อย่างนั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น สันติเกนิทาน

นั้นพึงทราบอย่างนั้น จำเดิมแต่ต้นไป.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ชัย เปล่งอุทานนี้แล้ว ได้มี

พระดำริดังนี้ว่า เราแล่นไปถึงสี่อสังไขยกับแสนกัป ก็เพราะเหตุบัลลังก์นี้ เรา

ตัดศีรษะอันประดับ แล้วที่ลำคอแล้วให้ทานไปตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ก็เพราะ

เหตุบัลลังก์นี้ เราควักนัยน์ตาที่หยอดดีแล้ว (และ) ควักเนื้อหัวใจให้ไปให้บุตร

เช่นชาลีกุมาร ให้ธิดาเช่นกับกัณหาชินากุมารี และให้ภรรยาเช่นพระมัทรีเทวี

เพื่อเป็นทาสของตนอื่น ๆ เพราะเหตุบัลลังก์นี้. บัลลังก์นี้เป็นบัลลังก์ชัย เป็น

บัลลังก์ประเสริฐของเรา ความดำริของเราผู้นั่งบนบัลลังก์นี้ ยังไม่บริบูรณ์เพียง

ใด เราจักไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้ จึงทรงนั่งเข้าสมาบัติหลายแสน

โกฏิอยู่ ณ บัลลังก์นั้นนั่นแหละตลอดสัปดาห์ ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุขโดยบัลลังก์

เดียว ตลอดสัปดาห์ ครั้งนั้น เทวดาบางเหล่าเกิดความปริวิตกขึ้นว่า แม้

๑. สัปดาห์ที่ ๑ หลังจากตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

วันนี้ พระสิทธัตถะก็ยังมีกิจที่จะต้องทำอยู่หรือหนอ เพราะยังไม่ละความอาลัย

ในบัลลังก์. พระศาสดาทรงทราบความวิตกของเทวดาทั้งหลาย เพื่อจะทรง

ระงับความปริวิตกของเทวดาเหล่านั้น จึงทรงเหาะขึ้นยังเวหาส ทรงแสดง

ยมกปาฏิหาริย์. จริงอยู่ ยมกปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำ ณ มหาโพธิมัณฑ์ก็ดี

ปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำในสมาคมพระญาติก็ดี ปาฏิหาริย์ที่ทรงกระทำในสมาคม

ชาวปาตลีบุตรก็ดี ทั้งหมดได้เป็นเหมือนยมกปาฏิหาริย์ที่ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์.

พระศาสดาครั้นทรงระงับความปริวิตกของเทวดาทั้งหลายด้วยปาฏิ-

หาริย์นี้แล้ว จึงประทับยืนทางด้านทิศเหนือเยื้องไปทางทิศทะวันออกนิดหน่อย

ทรงพระดำริว่า เราได้รู้แจ้งพระสัพพัญญุตญาณบนบัลลังก์นี้หนอ จึงทอด

พระเนตรทั้งสองโดยไม่กระพริบ มองดูบัลลังก์อันเป็นสถานที่บรรลุผลแห่ง

บารมีที่ทรงบำเพ็ญมาตลอดสี่อสงไขยแสนกัป ทรงยับยั้งอยู่หนึ่งสัปดาห์.

สถานที่นั้น จึงชื่อว่า อนิมิสเจดีย์

ลำดับนั้น ทรงนิรมิตที่จงกรมในระหว่างบัลลังก์ และที่ที่ประทับยืน

แล้วทรงจงกรมในรัตนจงกรมอันยาวจากตะวันออกไปตะวันตก ทรงยับยั้งอยู่

หนึ่งสัปดาห์. สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์.

แต่ในสัปดาห์ที่ ๔ เทวดาทั้งหลายนิรมิตเรือนแก้วในด้านทิศพายัพ

จากต้นโพธิประทับนั่งบนบัลลังก์ในเรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาพระอภิธรรม

ปิฎกและสมันตปัฏฐานอันนี้นัยในเรือนแก้วนี้ โดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่หนึ่ง

สัปดาห์. ส่วนนักอภิธรรมกล่าวว่า เรือนอันล้วนแล้วด้วยแก้ว ชื่อว่า

รัตนฆระเรือนแก้ว สถานที่ทรงพิจารณาปกรณ์ทั้ง ๗ พระคัมภีร์ ก็ชื่อว่า

รัตนฆรเรือนแก้ว. ก็เพราะเหตุที่ปริยายแม้ทั้งสองนี้ย่อมใช้ได้ในที่นี้ ฉะนั้น

๑. สัปดาห์ที่ ๒ นับแต่ตรัสรู้ ๒. สัปดาห์ที่ ๓ นับแต่ตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

คำทั้งสองนี้ควรเธอถือทีเดียว. ก็จำเดิมแต่นั้นมา สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตน-

ฆรเจดีย์.

พระศาสดาทรงยับยั้งอยู่ ณ ที่ใกล้ต้นโพธิ์นั่นเอง ตลอด ๔ สัปดาห์

ด้วยอาการอย่างนี้ ในสัปดาห์ที่ ๕ จึงเสด็จจากควงโพธิพฤกษ์เข้าไปยังต้น

อชปาลนิโครธ ทรงนั่งพิจารณาพระธรรมและเสวยวิมุตติสุขอยู่ ณ ต้นอช-

ปาลนิโครธ แม้นั้น.

สมัยนั้น เทวปุตรมารติดตามอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ แม้จะเพ่ง

มองหาช่องทางอยู่ ก็ไม่ได้เห็นความพลั้งพลาดอะไร ๆ ของพระสิทธัตถะนี้ จึง

ถึงความโทมนัสว่า บัดนี้สิทธัตถะนี้ล่วงพ้นวิสัยของเราแล้ว จึงนั่งที่หนทาง

ใหญ่คิดถึงเหตุ ๑๖ ประการ จึงขีดเส้น ๑๖ เส้นลงบนแผ่นดิน คือคิดว่า เรา

ไม่ได้บำเพ็ญทานบารมีเหมือนสิทธัตถะนี้แล้วขีดลงไปเส้นหนึ่ง. อนึ่ง คิดว่า

เราไม่ได้บำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี

สัจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี เหมือนสิทธัตถะนี้

ด้วยเหตุนั้น เราจึงไม่เป็นเหมือนสิทธัตถะนี้ แล้วขีดเส้น (ที่ ๒ ถึง) ที่ ๑๐.

อนึ่ง คิดว่า เราไม่ได้บำเพ็ญบารมี ๑๐ อันเป็นอุปนิสัยแก่การแทงตลอด

อาสยานุสยญาณ อินทริยปโรปริยญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ ยมกปาฏิ-

หาริยญาณ อนาวรณญาณ และสัพพัญญุญาณ อันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น เหมือน

ดังสิทธัตถะนี้ ด้วยเหตุนั้นเราจึงไม่เป็นเหมือนดังสิทธัตถะนี้ แล้วขีดเส้น (ที่

๑๑ ถึง) ที่ ๑๖ เมื่อเทวปุตตมารนั้นนั่งขีดเส้น ๑๖ เส้น อยู่บนทางใหญ่ เพราะ

เหตุเหล่านั้น ด้วยประการอย่างนี้แล้ว สมัยนั้น ธิดามารทั้ง ๓ คือ นางตัณหา

นางอรดีและนางราคา กล่าวกันว่า บิดาของพวกเราไม่ปรากฏ บัดนี้ อยู่ที่

๑. สัปดาห์ที่ ๔ นับแต่ตรัสรู้ ๑. สัปดาห์ที่ ๕ นับแต่ตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

ไหนหนอ จึงมองหาอยู่. ได้เห็นเทวปุตรมารนั้น ได้รับความโทมนัสขีดแผ่น

ดินอยู่ จึงพากันไปยังสำนักของบิดาถามว่า ท่านพ่อ เพราะเหตุไร ท่านพ่อจึง

เป็นทุกข์ หม่นหมองใจ. เทวปุตรมารกล่าวว่า ลูกเอ๋ย มหาสมณะนี้ล่วงพ้น

อำนาจของเราเสียแล้ว พ่อคอยดูอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ยังไม่อาจเห็น

ช่องโอกาสของมหาสมณะนี้ ด้วยเหตุนั้น พ่อจึงเป็นทุกข์หม่นหมองใจ. มารธิดา

กล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น คุณพ่ออย่าได้เสียใจ พวกข้าพเจ้าจักกระทำ

มหาสมณะนั้น ให้อยู่ในอำนาจของตน แล้วจักพามา. เทวปุตรมารกล่าวว่า

ลูกเอ๋ย ใคร ๆ ไม่อาจทำมหาสมณะนี้ให้อยู่ในอำนาจ บุรุษผู้นี้ตั้งอยู่ใน

ศรัทธาอันไม่หวั่นไหว. ธิดามารกล่าวว่า ท่านพ่อ พวกข้าพเจ้าเป็นลูกผู้หญิง

นะ พวกข้าพเจ้าจักเอาบ่วงคือราคะเป็นต้น ผูกมหาสมณะให้มั่นแล้วนำมาให้

เดี๋ยวนี้ ท่านพ่ออย่าคิดไปเลย. กล่าวแล้วธิดามารทั้ง ๓ นั้น จึงจากที่นี้เข้าไป

หาพระผู้มีพระภาคเจ้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ พวกข้าพระบาทจักบำเรอ

เท้าของพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ลืมพระเนตรแลดู มีพระมนัสน้อม

ไปในธรรมเครื่องสิ้นไปแห่งอุปธิอันยอดเยี่ยม และประทับนั่งเสวยสุขอันเกิด

แต่วิเวกเท่านั้น. ธิดามารคิดกันอีกว่าความประสงค์ของพวกผู้ชายไม่เหมือนกัน

ผู้ชายบางคนรักหญิงกุมารีรุ่นสาว บางคนรักหญิงผู้อยู่ในปฐมวัย บางคนรักหญิง

ผู้ตั้งอยู่ในมัชฌิมวัย บางคนรักหญิงผู้ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย ถ้ากระไร พวกเรา

ควรประเล้าประโลมด้วยรูปนานาประการ จึงนางหนึ่ง ๆ นิรมิตอัตภาพเป็น

ร้อย ๆ อัตภาพ โดยเป็นรูปหญิงรุ่นเป็นต้น เป็นหญิงยังไม่ตลอด

เป็นหญิงคลอดคราวเดียว เป็นหญิงตลอด ๒ คราว เป็นหญิงกลางคนและเป็น

หญิงรุ่นใหญ่ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง ๖ ครั้ง แล้วกล่าวว่า ข้าแต่

พระสมณะ พวกข้าพระบาทจักบำเรอบาทของพระองค์. พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

ไม่ทรงใส่พระทัยถึงข้อแม้นั้น โดยประการที่ทรงน้อมไปในธรรมเครื่องสิ้นไป

แห่งอุปธิอันยอดเยี่ยม. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงเห็นธิดามารเหล่านั้นเข้ามาหาโดย ภาวะเป็นหญิงผู้ใหญ่จึงทรงอธิษ-

ฐานว่า หญิงเหล่านี้จงเป็นผู้มีฟันหัก ผมหงอกอย่างนี้ ๆ. คำของเกจิอาจารย์

นั้น ไม่ควรเชื่อถือ. เพราะพระศาสดาจะไม่ทรงกระทำการอธิษฐานเห็นปาน

นั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกท่านจงหลีกไป พวกท่านผู้เช่นไร

จึงพากันพยายามอย่างนี้ ชื่อว่ากรรมเห็นปานนี้ควรกระทำเบื้องหน้าของตนผู้

ยังไม่ปราศจากราคะเป็นต้น แต่ตถาคตละราคะ โทสะ โมหะได้แล้ว จึง

ทรงพระปรารภถึงการละกิเลสของพระองค์. ทรงแสดงธรรมตรัสพระคาถา ๒

คาถาในพระธรรมบท พุทธวรรค ดังนี้ว่า

ความชนะอันผู้ใดชนะแล้วไม่กลับแพ้อันใคร ๆ จะ

นำความชนะของผู้นั้นไปในโลกได้ ท่านทั้งหลายจักนำ

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ผู้ไม่มี

ร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร. พระพุทธเจ้าพระองค์ใด

ไม่มีตัณหาอันเป็นดุจข่ายส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ เพื่อ

จะนำไปในที่ไหน ๆ ท่านทั้งหลายจักนำพระพุทธเจ้า

พระองค์นั้นผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ผู้ไม่มีร่องรอย ไป

ด้วยร่องรอยอะไร.

ธิดามารเหล่านั้นกล่าวคำเป็นต้นว่า นัยว่า บิดาของพวกเราพูดจริง

พระอรหันต์สุคตเจ้าเป็นผู้ที่จะนำไปไม่ได้ง่าย ๆ ในโลกด้วยราคะ แล้วได้พากัน

ไปยังสำนักของบิดา.

๑. ขุ. ๒๕/ข้อ ๒๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ที่อชปาลนิโครธนั้น หนึ่งสัปดาห์

แล้วได้เสด็จไปที่โคนไม้มุจลินท์ ณ ที่นั้นฝนพรำเกิดขึ้น ๗ วัน พระองค์

อันพระยามุจลินทนาคราชวงด้วยขนด ๗ รอบ เพื่อป้องกันความหนาวเป็นต้น

เสวยวิมุตติสุขประหนึ่งประทับอยู่ในพระคันธกุฏีอันไม่คับแคบ ทรงยับยั้งอยู่

หนึ่งสัปดาห์แล้วเสด็จไปยัง ต้นราชายตนะ ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข

อยู่ ณ ที่ต้นราชายตนะแม้นั้นหนึ่งสัปดาห์ โดยลำดับกาลเพียงเท่านี้ สัปดาห์

ทั้งหลายก็ครบบริบูรณ์.

ในระหว่างนี้ไม่มีการชำระล้างพระพักตร์ ไม่มีการปฏิบัติพระสรีระ ไม่

มีกิจด้วยพระกระยาหาร ทรงยับยั้งอยู่ด้วยฌานสุข มรรคสุข และผลสุข. ครั้น

ในวันที่ ๔๙ อันเป็นวันสุดท้ายแห่งสัปดาห์ที่ ๗ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ประทับนั่งที่ต้นราชายตนะนั้น เกิดพระดำริขึ้นว่า จักสรงพระพักตร์. ท้าวสักกะ

จอมเทพได้ทรงนำผลสมอมาถวายด้วยพระองค์เอง. พระศาสดาเสวยผลสมอ

นั้น. ด้วยเหตุนั้นพระองค์จึงได้มีการถ่ายพระบังคนหนัก. ลำดับนั้น ท้าวสักกะ

นั่นแหละได้ถวายไม้ชำระพระทนต์ชื่อนาคลดา และน้ำล้างพระพักตร์แด่

พระศาสดานั้น. พระศาสดาทรงเคี้ยวไม้ชำระพระทนต์ ล้างพระพักตร์ด้วยน้ำใน

สระอโนดาต แล้วคงประทับนั่งที่โคนไม้ราชายตนะนั่นเอง.

สมัยนั้น พาณิช ๒ คน ชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ จากอุกกุลา-

ชนบทจะไปยังมัชฌิมประเทศด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม ถูกเทวดาผู้เป็นญาติ

สาโลหิตของตนปิดทางเกวียนไว้ ทำให้อุตสาหะในการมอบถวายอาหารแด่พระ-

ศาสดา จึงถือเอาข้าวสตูก้อนและขนมน้ำผึ้งแล้วได้เข้าไปใกล้พระศาสดา กราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ขอจงอนุเคราะห์รับอาหารนี้เถิด

แล้วยืนอยู่. ก็เพราะบาตรได้หายไปในวันรับข้าวมธุปายาสนั่นเอง พระผู้มีพระ-

๑. สัปดาห์ที่ ๖ นับแต่ตรัสรู้ ๒. สัปดาห์ที่ ๗ นับแต่ตรัสรู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

ภาคเจ้าจึงทรงพระดำริว่า พระตถาคตทั้งหลายย่อมไม่รับที่มือ เราจะรับ

อย่างไรหนอ.

ลำดับนั้น ท้าวมหาราชทั้งสี่ จากทิศทั้งสี่ รู้พระดำริของพระผู้มี

พระภาคเจ้านั้น จึงน้อมบาตรอันสำเร็จด้วยแก้วอินทนิลเข้าไปถวาย. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงปฏิเสธบาตรเหล่านั้น. ท้าวมหาราชจึงน้อมนำบาตร ๔ ใบ อัน

สำเร็จด้วยหินมีสีดังถั่วเขียวเข้าไปถวาย. เพื่อจะทรงอนุเคราะห์เทวบุตรแม้ ๘

องค์ จึงทรงรับบาตรทั้ง ๔ ไปแล้ววางซ้อน ๆ กัน ทรงอธิษฐานว่า จงเป็น

บาตรใบเดียว. บาตรแม้ทั้ง ๔ จึงไม่มีรอยปรากฏอยู่ที่ขอบปากบาตร รวมเป็น

บาตรใบเดียวกัน โดยประมาณบาตรขนาดกลาง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ

อาหารที่บาตรอันล้วนด้วยศิลาที่เห็นประจักษ์นั้น เสวยแล้ว ทรงกระทำ

อนุโมทนา. พาณิช ๒ คนพี่น้อง ถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมเป็นสรณะ

ได้เป็นทเววาจิกอุบาสกผู้เปล่งวาจาถึงสรณะทั้งสอง. ลำดับนั้น เมื่อพาณิชทั้ง

สองนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงโปรดประทานฐานะที่

จะพึงปรนนิบัติอย่างหนึ่งแก่ข้าพระองค์ทั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเอา

พระหัตถ์ขวาลูบพระเศียรของพระองค์แล้วประทานพระเกศธาตุทั้งหลายให้ไป

พาณิชทั้งสองนั้นจึงให้ก่อพระเจดีย์บรรจุพระเกศธาตุไว้ภายใน ณ เมืองของตน.

จำเดิมแต่นั้น แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จไปยังต้น อชปาลนิโครธ

อีก ทรงประทับนั่งที่โคนต้นนิโครธ. ลำดับนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น

พอประทับที่โคนต้นนิโครธนั้นเท่านั้น ก็ทรงพิจารณาความที่ธรรมซึ่งพระองค์

ทรงบรรลุแล้วเป็นธรรมลึกซึ้ง ทรงพระดำริว่า ธรรมนี้พระพุทธเจ้าทั้งปวง

ประพฤติสั่งสมไว้แล้ว เราได้บรรลุแล้วแล จึงเกิดความตรึกอันถึงอาการคือ

ความไม่ประสงค์ที่จะแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น. ลำดับนั้น ท้ววสหัมบดีพรหม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

ตรัสว่า ผู้เจริญทั้งหลาย โลกจักฉิบหายละหนอ ท่านผู้เจริญ โลกจัก

ฉิบทายละหนอ แล้วทรงพาท้าวสักกะ ท้าวสุยามะ ท้าวสันดุสิต ท้าวสวัตดี

และท้าวมหาพรหมจากหมื่นจักรวาล ไปเฝ้าพระศาสดาทูลอาราธนาให้ทรง

แสดงธรรม โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

โปรดทรงแสดงธรรม พระศาสดาทรงให้ปฏิญญาแก่ท้าวสหัมบดีพรหมนั้นแล้ว

ทรงพระดำริว่า เราจะแสดงธรรมครั้งแรกแก่ใครหนอ ทรงยังพระดำริให้เกิดขึ้น

ว่า อาฬารดาบสเป็นบัณฑิต อาฬารดาบสนั้นจักรู้ทั่วถึงธรรมนี้โดยเร็วพลัน

แล้วทรงตรวจดูอีก ได้ทรงทราบว่าอาฬารดาบสนั้น กระทำกาละได้ ๗ วันแล้ว

จึงทรงรำพึงถึงอุทกดาบส ได้ทรงทราบว่า แม้อุทกดาบสนั้นก็ได้ทำกาละ

ไปแล้วเมื่อพลบค่ำเย็นวานนี้ จึงทรงมนสิการปรารภถึงพระปัญจวัคคีย์ว่า

ภิกษุปัญจวัคคีย์มีอุปการะมากแก่เรา จึงทรงพระรำพึงว่า บัดนี้ ภิกษุปัญจ-

วัคคีย์นั้นอยู่ที่ไหนหนอ ได้ทรงทราบว่า อยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวง

เมืองพาราณสี จึงทรงพระดำริว่า เราจักไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น แล้ว

แสดงพระธรรมจักร จึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไปรอบ ๆ โพธิมัณฑ์เท่านั้น ๒-๓

วัน ทรงพระดำริว่า เราจักไปเมืองพาราณสีในวันอาสาฬหบูรณมี กลางเดือน ๘

พอในวันจาตุททสีขึ้น ๑๔ ค่ำ ในเวลาปัจจุสมัยใกล้รุ่ง เมื่อราตรีสว่างแล้ว

พอเช้าตรู่ก็ทรงถือบาตรจีวร เสด็จดำเนินไปสิ้นหนทาง ๑๘ โยชน์ ทรงพบ

อุปกาชีวก ในระหว่างทาง จึงตรัสบอกถึงความที่พระองค์เป็นพระพุทธเจ้า

แก่อุปกาชีวกนั้น แล้วได้เสด็จไปถึงป่าอิสิปคนมฤคทายวัน ในเย็นวันนั้นเอง.

พระเถระปัญจวัคคีย์ เห็นพระตถาคตเจ้าเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว จึง

ได้ทำกติกากันไว้ว่า ดูก่อนอาวุโส พระสมณโคดมนี้ เวียนมาเพื่อความเป็น

ผู้มักมากในปัจจัย มีกายสมบูรณ์ มีอินทรีย์ผ่องใส มีผิวพรรณดุจทองคำ

กำลังมาอยู่ เราจักไม่กระทำสามีจิกรรมมีอภิวาทเป็นต้น แก่พระสมณโคดมนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

แต่เธอประสูติในตระกูลใหญ่โต ย่อมควรจัดอาสนะไว้ ด้วยเหตุนั้น พวกเรา

จักปูลาดเพียงอาสนะไว้เพื่อเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงว่า ภิกษุ

ปัญจวัคคีย์นี้ คิดอย่างไรหนอ ก็ได้ทรงทราบความคิดด้วยพระญาณอันสามารถ

รู้วาระจิตของโลกพร้อมทั้งเทวโลก. ลำดับนั้น จึงทรงย่นย่อเอาเมตตาจิตอัน

สามารถแผ่ไปโดยไม่เจาะจง ในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง แล้วทรงแผ่เมตตา

จิตไป. พระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น โดยเฉพาะพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้นอันพระผู้มี

พระภาคเจ้าให้ถูกต้องด้วยเมตตาจิตแล้ว เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จเข้าไปใกล้

ไม่อาจดำรงอยู่ในกติกาของตน ได้พากันทำกิจทั้งมวลมีการอภิวาทและการ

ลุกรับเป็นต้น แต่ยังไม่รู้ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นพระสัมมาสันพุทธเจ้า

แล้ว จึงใช้วาจาเรียกโดยชื่อ และโดยคำว่า อาวุโส อย่างเดียว. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ให้รู้ว่าพระองค์เป็นพระ-

พุทธเจ้าแล้ว ด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าเรียกตถาคต

โดยชื่อ และโดยวาทะว่า อาวุโส เลย ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนี้ แล้วประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่ตกแต่งไว้

เมื่อกลุ่มดาวนักษัตรแห่งเดือนอุตตราสาฬหะ เดือน ๘ หลัง กำลังดำเนินไป

อยู่ ทรงห้อมล้อมด้วยพรหม ๑๘ โกฏิ ได้ตรัสเรียกพระเถระปัญจวัคคีย์มา

ทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร. บรรดาพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น พระ

อัญญาโกณฑัญญเถระส่งญาณไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนา ในเวลาจบ

พระสูตร ได้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผลพร้อมกับพรหม ๑๘ โกฏิ. พระศาสดา

ทรงเข้าจำพรรษา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้นนั่นเอง วันรุ่งขึ้น ประทับ

นั่งสั่งสอนพระวัปปเถระอยู่ในที่อยู่นั่นเอง พระเถระที่เหลือ ๔ รูปเที่ยวไป

บิณฑบาต. พระวัปปเถระได้บรรลุโสดาปัตติผลในเวลาเช้านั่นแล. ก็โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

อุบายนี้แหละ ทรงยังพระภัททิยเถระให้ดำรงอยู่โสดาปัตติผลในวันรุ่งขึ้น

พระมหานามเถระในวันรุ่งขึ้น และพระอัสสชิในวันรุ่งขึ้น รวมความว่า

ทรงยังพระเถระทั้งปวงให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ในดิถีที่ ๕ แห่งปักษ์

ได้เห็นพระเถระแม้ทั้ง ๕ ประชุมกันแล้วทรงแสดงอันตตลักขณสูตร ใน

เวลาจบเทศนาพระเถระแม้ทั้ง ๕ ดำรงอยู่ในพระอรหัต.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของยสกุลบุตร เขาเบื่อหน่ายละ

เรือนออกไปในตอนกลางคืน จึงตรัสเรียกว่า มานี่เถิด ยสะ แล้วให้ดำรงอยู่

ในพระโสดาปัตติผล ในตอนกลางคืนนั้นนั่นเอง. วันรุ่งขึ้นได้ให้ดำรงอยู่ใน

พระอรหัต ทรงยังคนอื่นอีก ๕๔ คนผู้สหายของพระยสะนั้น ให้บรรพชาด้วย

เอหิภิกขุบรรพชา แล้วให้บรรลุพระอรหัต. ก็เมื่อพระอรหันต์ ๖๑ องค์เกิด

ขึ้นในโลกด้วยประการอย่างนี้แล้ว พระศาสดาทรงออกพรรษา ปวารณาแล้ว

ทรงส่งภิกษุ ๖๐ องค์ไปในทิศทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไป ส่วนพระองค์เองเสด็จไปยังตำบลอุรุเวลา ในระหว่าง

ทางได้ทรงแนะนำภัตทวัคคีย์กุมาร ๓๐ คน ในชัฏป่าฝ้าย. บรรดาภัตทวัคคีย์-

กุมารเหล่านั้นคนท้ายสุดได้เป็นพระโสดาบัน คนเหนือสุดได้เป็นพระอนาคามี

พระองค์ทรงให้ภัตทวัคคีย์กุมารทั้งหมดแม้เหล่านั้นบรรพชา ด้วยความเป็น

เอหิภิกขุเหมือนกัน แล้วทรงส่งไปในทิศทั้งหลาย แล้วพระองค์ได้เสด็จไปยัง.

ตำบลอุรุเวลา ทรงแสดงปาฏิหาริย์ ๓๕๐๐ ปาฏิหาริย์ ทรงแนะนำชฎิล ๓ พี่

น้อง มีอุรุเวลกัสสปเป็นต้น มีบริวารหนึ่งพัน ให้บรรพชาด้วยความเป็น

เอหิภิกขุเหมือนกัน แล้วให้นั่งที่คยาสีสประเทศ ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัต ด้วย

อาทิตตปริยายเทศนา อันพระอรหันต์หนึ่งพันนั้นแวดล้อม ทรงพระดำริว่า

จักเปลื้องปฏิญญาที่ทรงให้ไว้แก่พระเจ้าพิมพิสาร จึงได้เสด็จไปยังลัฏฐิวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

อุทยานสวนตาลหนุ่ม ณ ชานพระนครราชคฤห์. พระราชาได้ทรงสดับจาก

สำนักของนายอุทยานบาลว่า พระศาสดาเสด็จมาแล้ว จึงทรงห้อมล้อมด้วย

พราหมณ์และคฤหบดี ๑๒ นหุต (คือ ๑๒ หมื่น) เข้าได้เฝ้าพระศาสดา เมื่อ

พื้นพระบาทอันวิจิตรด้วยจักรกำลังเปล่งแสงสุกสกาวขึ้น ประหนึ่งเพดาน

แผ่นทองคำ จึงทรงหมอบพระเศียรลงแทบพระบาทของพระตถาคตเจ้า แล้ว

ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งพร้อมกับบริษัท. ลำดับนั้น พราหมณ์และคฤหบดี

เหล่านั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระมหาสมณะประพฤติพรหมจรรย์ในท่าน

อุรุเวลกัสสป หรือว่าท่านอุรุเวลกัสสปประพฤติพรหมจรรย์ในพระมหาสมณะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกของพราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้น

จึงได้ตรัสกะพระเถระด้วยพระคาถาว่า

ท่านอยู่ในอุรุเวลา (มานาน) ซูบผอม (เพราะ

กำลังพรต) เป็นผู้กล่าวสอน (ประชาชน) เห็นโทษ

อะไรหรือ จึงละไฟ (ที่บูชา) เสีย ดูก่อนกัสสป เรา

ถามเนื้อความนี้กะท่าน อย่างไรท่านจึงละการบูชาไฟ

เสียเล่า.

ฝ่ายพระเถระรู้พระประสงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคาถานี้ว่า

ยัญทั้งหลายย่อมกล่าวสรรเสริญ รูป เสียง กลิ่น

รส และหญิงที่น่าใคร่ ข้าพระองค์รู้ว่า นี้เป็นมลทินใน

อุปธิทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ยินดีใน

การเซ่นสรวง และการบูชา ดังนี้.

เพื่อที่จะประกาศความที่ตนเป็นสาวก จึงซบศีรษะที่หลังพระบาทของพระคถา-

คต แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก ดังนี้แล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส ๗ ครั้ง

คือ ๑ ชั่วลำตาล ๒ ชั่วลำตาล จนประมาณ ๗ ชั่วลำตาล แล้วลงมาถวาย

บังคมพระตถาคตแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. มหาชนได้เห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้ว

พากัน กล่าวพรรณนาพระคุณของพระศาสดาว่า น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทรง

มีอานุภาพมาก แม้พระอุรุเวลกัสสป ชื่อว่ามีทิฏฐิเข็มแข็งอย่างนี้ สำคัญ

ตนว่าเป็นพระอรหันต์ ก็ถูกพระตถาคตทำลายข่ายคือทิฏฐิทรมานแล้ว. พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราทรมานพระอุรุเวลกัสสป แต่ในบัดนี้เท่านั้น ก็หา

มิได้ แม้ในอดีต พระอุรุเวลกัสสปนี้ก็ถูกเราตถาคตทรมานมาแล้วเหมือน

กัน แล้วตรัสมหานารทกัสสปชาดก ในเพราะเหตุเกิดเรื่องนี้ขึ้น แล้วทรง

ประกาศสัจจะทั้ง ๔. พระเจ้ามคธราชทรงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมกับ

บริวาร ๑๑ นหุต ส่วนอีกหนึ่งนหุตประกาศความเป็นอุบาสก. พระราชาทรง

ประทับอยู่ในสำนักของพระศาสดานั้นแล ทรงประกาศเหตุอันมาซึ่งความสบาย

พระทัย ๕ ประการ แล้วทรงถึงสรณะ ทรงนิมนต์เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ แล้ว

เสด็จลุกจากพระอาสน์ ทรงกระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเสด็จ

หลีกไป. วันรุ่งขึ้น พวกมนุษย์ชาวเมืองราชคฤห์แม้ทั้งสิ้นนับได้ ๑๘โกฏิ ทั้งที่

ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและทั้งที่ไม่ได้เห็นมีความประสงค์จะเห็นพระตถาคต

จึงได้จากกรุงราชคฤห์ไปยังลัฏฐิวันแต่เช้าตรู่. หนทาง ๓ คาวุตไม่เพียงพอ.

ลัฏฐิวันอุทยานทั้งสิ้น ได้แน่นขนัดไปหมด. มหาชนแลดูอัตภาพอันถึงความ

งามด้วยพระรูปโฉมของพระทศพล ไม่อาจกระทำให้อิ่มได้. ในฐานะทั้งหลาย

แม้เห็นปานนี้ พึงพรรณนาความสง่างามแห่งพระรูปกายแม้ทั้งสิ้นนี้อันมีประเภท

เป็นพระลักษณะ และพระอนุพยัญชนะของพระตถาคต ชื่อว่าวรรณรูป

(การพรรณนารูป). มหาชนผู้แลดู พระสรีระของพระทศพล อันถึงความงามด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

พระรูปโฉมแน่นขนัดไปหมดด้วยอาการอย่างนี้ จึงไม่มีโอกาสที่แม้ภิกษุรูปหนึ่ง

จะออกไปที่อุทยานและที่หนทาง. ได้ยินว่าวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรง

ขาดพระกระยาหาร การขาดพระกระยาหารนั้น อย่าได้มีเลย เพราะเหตุนั้น

อาสน์ที่ท้าวสักกะประทับนั่ง จึงแสดงอาการร้อน ท้าวสักกะนั้น ทรงพระรำพึง

อยู่ ได้ทรงทราบเหตุการณ์นั้น จึงทรงนิรมิตเพศเป็นมาณพน้อย กล่าวคำ

สดุดีอันปฏิสังยุตด้วยพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เสด็จลงตรง

เบื้องพระพักตร์ของพระทศพล ได้โอกาสด้วยเทวานุภาพ เสด็จนำไปข้างหน้า

กล่าวคุณของพระศาสดา ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้ามีวรรณะงาม ดุจลิ่มทองสิงคี

ผู้ทรงผูกแล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์พร้อมด้วยพระ

ปุราณชฏิล ผู้ฝึกตนได้แล้ว ผู้หลุดพ้นแล้ว. พระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้มีวรรณะงามดุจลิ่มทองสิงคี ผู้หลุดพ้น

แล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์พร้อมกับพระปุราณชฏิล

ผู้หลุดพ้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีวรรณะงามดุจ

ทองสิงคี ผู้ทรงข้ามแล้ว เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์พร้อม

กับพระปุราณชฏิล ผู้ข้ามพ้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ ๑๐ มีพระกำลัง ๑๐

ทรงรู้แจ้งธรรม ๑๐ และประกอบด้วยพระคุณ ๑๐ มี

บริวารพันหนึ่ง เสด็จเข้ากรุงราชคฤห์แล้ว.

มหาชนได้เห็นความสง่าแห่งรูปของมาณพน้อยแล้วคิดว่า มาณพน้อย

นี้มีรูปงามยิ่งนัก ก็มาณพน้อยนี้ เราไม่เคยเห็นเลย จึงกล่าวว่า มาณพน้อย

นี้มาจากไหน หรือมาณพน้อยของใคร. มาณพน้อยได้ฟังดังนั้น จึงกล่าว

คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

พระสุคตเจ้าพระองค์ใด ทรงฝึกพระองค์ได้ใน

ที่ทั้งปวง ทรงประเสริฐที่สุด ไม่มีบุคคลเปรียบเป็น

พระอรหันต์ในโลก เราเป็นคนรับใช้ของพระสุคตเจ้า

พระองค์นั้น.

พระศาสดาทรงดำเนินทางซึ่งมีโอกาสอันท้าวสักกะทรงกระทำแล้ว ทรงห้อม

ล้อมด้วยภิกษุพันหนึ่ง เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์. พระราชาทรงถวายมหา-

ทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ หม่อมฉันจักไม่อาจเป็นไปอยู่โดยเว้นรัตนะทั้งสาม หม่อมฉันจักมาเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาบ้างไม่ใช่เวลาบ้าง ก็ชื่อว่าลัฏฐิวันอุทยานไกลเกินไป

แต่อุทยานชื่อว่าเวฬุวันของหม่อมฉันนี้ ไม่ไกลเกินไปไม่ใกล้เกินไป เป็น

เสนาสนะสมบูรณ์ด้วยการคมนาคม สมควรแก่พระพุทธเจ้า ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจงทรงรับเวฬุวันนี้เถิด แล้วทรงเอาพระสุวรรณภิงคารตักน้ำอัน มีสีดัง

แก้วมณีอบด้วยดอกไม้และของหอม เมื่อจะทรงบริจาคพระเวฬุวันอุทยาน จึง

ทรงหลั่งน้ำให้ตกลงบนพระหัตถ์ของพระทศพล ในขณะทรงรับพระอาราม

มหาปฐพีได้หวั่นไหวอันเป็นเหตุให้รู้ว่า รากแก้วของพระพุทธศาสนาได้หยั่ง

ลงแล้ว. จริงอยู่ ในชมพูทวีปยกเว้นพระเวฬุวันเสีย ชื่อว่าเสนาสนะอื่นที่ทรง

รับแล้วแผ่นดินไหว ย่อมไม่มี. ฝ่ายในตามพปัณณิทวีป (คือเกาะลังกา)

ไม่มีเสนาสนะอื่นที่รับแล้วแผ่นดินไหว ยกเว้นมหาวิหาร. พระศาสดาครั้น

ทรงรับพระเวฬุวนารามแล้ว ทรงกระทำอนุโมทนาแก่พระราชา แล้วเสด็จลุก

จากอาสนะ ห้อมล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ได้เสด็จไปยังพระเวฬุวัน.

ก็สมัยนั้นแล ปริพาชกทั้งสอง คือสารีบุตรและโมคคัลลานะ

อาศัยกรุงราชคฤห์แสวงหาอมตธรรมอยู่. บรรดาปริพาชกทั้งสองนั้น สารีบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

เห็นพระอัสสชิเถระเข้าไปบิณฑบาต มีจิตเลื่อมใส จึงเข้าไปนั่งใกล้ ได้ฟัง

คาถาว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด ดังนี้

เป็นต้น ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ได้กล่าวคาถานั้นนั่นแหละแม้แก่โมคคัล-

ลานะปริพาชกผู้สหายของตน. ฝ่ายโมคคัลลานะปริพาชกก็ได้ดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผล. สหายแม้ทั้งสองนั้นลาสัญชัยปริพาชกแล้ว บวชในสำนักของพระ-

ศาสดาพร้อมด้วยบริวารของตน บรรดาสหายทั้งสองนั้น พระโมคคัลลานเถระ

บรรลุพระอรหัตโดย ๗ วัน พระสารีบุตรเถระบรรลุพระอรหัต โดยล่วงไป

กึ่งเดือน พระศาสดาทรงตั้งพระเถระแม้ทั้งสองไว้ในตำแหน่งอัครสาวก และ

ในวันที่พระสารีบุตรเถระบรรลุพระอรหัตนั่นแล ได้ทรงกระทำสาวกสันนิบาต

ประชุมพระสาวก.

ก็เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในพระเวฬุวันอุทยานนั้นนั่นแล พระเจ้า-

สุทโธทนมหาราชได้ทรงสดับว่า ข่าวว่า บุตรของเราประพฤติทุกรกิริยา ๖ ปี

บรรลุพระปรมาภิสัมโพธิญาณแล้ว ประกาศธรรมจักรอันบวร อาศัยเมือง

ราชคฤห์อยู่ในเวฬุวัน จึงตรัสเรียกอำมาตย์ผู้หนึ่งมาตรัสว่า มาเถิดพนาย

ท่านจงมีบุรุษพันหนึ่งเป็นบริวาร เดินทางไปกรุงราชคฤห์ กล่าวตามคำของ

เราว่า พระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระบิดาของพระองค์มีพระประสงค์จะพบ

แล้วจงพาบุตรของเรามา อำมาตย์ผู้นั้นรับพระดำรัสของพระราชาด้วยเศียร

เกล้าว่า อย่างนั้นพระพุทธเจ้าข้า เเล้วมีบุรุษหนึ่งพันเป็นบริวาร รีบเดิน

ทางไปประมาณ ๖๐ โยชน์ นั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔ ของพระทศพล แล้ว

เข้าไปยังวิหารในเวลาแสดงธรรม อำมาตย์นั้นคิดว่า พระราชสาสน์ของพระ-

ราชาที่ส่งมาจงงดไว้ก่อน แล้วยืนอยู่ท้ายสุดบริษัท ฟังพระธรรมเทศนาของ

พระศาสดา ตามที่ยืนอยู่นั่นแล ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมกับบุรุษบริวารหนึ่ง

พัน จึงทูลขอบรรพชา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

ทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้นเอง คนทั้งหมดทรงบาตรและจีวรอัน

สำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นประหนึ่งพระเถระมีพรรษา ๖๐ ฉะนั้น. ก็ธรรมดา

พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมมีตนเป็นกลาง จำเดิมแต่เวลาที่ได้บรรลุพระอรหัต

เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้กราบทูลสาสน์ที่พระราชาทรงส่งมา พระราชาตรัส

ว่า อำมาตย์ผู้ไปแล้วก็ยังไม่มา ข่าวสาสน์ก็ไม่ได้ฟัง มาเถอะพนาย ท่าน

จงไป แล้วทรงส่งอำมาตย์อื่นไปตามท่านองนั้นนั่นแล แม้อำมาตย์นั้น ไปแล้ว

ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งบริษัท โดยนัยก่อนนั่นแหละ ก็ได้นิ่งเสีย พระ

ราชาทรงส่งอำมาตย์ ๙ คน ซึ่งมีบริวารคนละหนึ่งพันไป โดยทำนองนี้นั่น

แล. อำมาตย์ทุกคนยังกิจของตนให้สำเร็จแล้ว ก็เป็นผู้นิ่งอยู่ ณ กรุงราชคฤห์

นั้นนั่นเอง. พระราชาไม่ได้อำมาตย์ผู้นำแม้มาตรว่า ข่าวสาสน์มาบอก จึง

ทรงพระดำริว่า ก็ชนมีประมาณเท่านี้ ไม่นำกลับมาแม้มาตรว่าข่าวสาสน์

เพราะไม่มีความรักในเรา ใครหนอ จักกระทำตามคำของเรา เมื่อทรงตรวจ

พลของหลวงทั้งหมด ก็ได้เห็นกาฬุทายีอำมาตย์. ได้ยินว่า กาฬุทายีนั้นเป็น

อำมาตย์ผู้จัดราชกิจทั้งปวงให้สำเร็จ เป็นคนวงใน มีความคุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง

เกิดวันเดียวกันกับพระโพธิสัตว์ เป็นสหายเล่นฝุ่นมาด้วยกัน. ลำดับนั้น

พระราชาตรัสเรียกกาฬุทายีอำมาตย์นั้นมาว่า พ่ออุทายี เราปรารถนาจะเห็น

บุตรของเรา จึงส่งบุรุษไป ๙ พัน แม้บุรุษสักคนหนึ่ง จะมาบอกมาตรว่า

ข่าวสาสน์ก็ไม่มี ก็อันตรายแห่งชีวิตของเรารู้ได้ยากนัก เรามีชีวิตอยู่ปรารถนา

จะเห็นบุตร ท่านจักอาจหรือหนอที่จะแสดงบุตรแก่เรา. กาฬุทายีอำมาตย์

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระพุทธเจ้าจักอาจ ถ้าจักได้บรรพชา.

พระราชาตรัสว่า (ดูก่อนพ่อ ท่านจะได้บวชหรือไม่ได้บวชก็ตาม จงแสดง

บุตรแก่เรา กาฬุทายีอำมาตย์นั้นรับพระดำรัสแล้ว ถือพระราชสาสน์ไปยัง

กรุงราชคฤห์ ยืนอยู่ท้ายบริษัทในเวลาที่พระศาสดาทรงแสดงพระธรรมเทศนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

ได้สดับธรรมแล้ว พร้อมทั้งบริวารก็บรรลุพระอรหัตผล ดำรงอยู่ในความ

เป็นเอหิภิกขุ.

ฝ่ายพระศาสดาได้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ประทับอยู่ ในป่าอิสิปตนมฤค-

ทายวัน ตลอดภายในพรรษาแรก ออกพรรษาปวารณาแล้วเสด็จไปยังตำบล

อุรุเวลา ประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลานั้น ตลอด ๓ เดือน ทรงแนะนำชฏิล ๓

พี่น้อง มีภิกษุพันหนึ่งเป็นบริวาร ในวันเพ็ญเดือนยี่ เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์

ประทับอยู่ ๒ เดือน. โดยลำดับกาลมีประมาณเท่านี้ เป็นเวลา ๕ เดือน สำหรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสด็จออกจากกรุงพาราณสี ฤดูเหมันต์ทั้งสิ้นล่วงไปแล้ว

จำเดิมแต่วันที่พระอุทายีเถระมาแล้ว เวลาได้ล่วงไป ๗๐๘ วัน ในวันเพ็ญ

เดือน ๔ พระอุทายีเถระนั้นคิดว่า ฤดูเหมันต์ก็ล่วงไปแล้ว ฤดูวสันต์กำลัง

ย่างเข้ามา พวกมนุษย์ถอนข้าวกล้าไปแล้ว ทำให้หนทางในที่ที่ตรงหน้า ๆ ชุ่ม

แผ่นดินดาดาษไปด้วยหญ้าเขียวสด ราวป่ามีดอกไม้บานสะพรั่ง หนทางเหมาะแก่

การที่จะเดิน กาลนี้เป็นกาลที่พระทศพลจะทรงกระทำการสงเคราะห์พระญาติ

ลำดับนั้น พระอุทายีเถระเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พรรณนาหนทาง

เสด็จเพื่อต้องการให้พระทศพลเสด็จไปยังพระนครของราชสกุล ด้วยคาถา

ประมาณ ๖๐ คาถาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ต้นไม้ทั้งหลายมี

ดอกแดงสะพรั่ง มีผลเต็มต้นสลัดใบแล้ว ต้นไม้เหล่า

นั้นสว่างไสวดุจมีเปลวไฟโชติช่วงอยู่ ข้าแต่พระมหา

วีระ ถึงสมัยที่เหมาะสมแก่การที่พระองค์จะรื่นรมย์

สถานที่ไม่เย็นจัด ไม่ร้อนจัด ไม่อัตคัดและอดอยาก

นัก พื้นภูมิภาคก็มีห้าแพรกอันเขียวสด ข้าแต่พระ

มหามุนี กาลนี้เป็นกาลสมควรแล้วที่จะเสด็จไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะอุทายีเถระว่า อุทายีเพราะเหตุไรหนอ

เธอจึงพรรณนาการไปด้วยเสียงอันไพเราะ พระอุทายีเถระกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าสุทโธทนมหาราช พระชนกของพระองค์ มีพระ

ประสงค์จะพบเห็นพระองค์ ขอพระองค์จงกระทำการสงเคราะห์แก่พระญาติ

ทั้งหลายเถิด พระศาสดาตรัสว่า ดีละอุทายี เราจักกระทำการสงเคราะห์พระ

ญาติ เธอจงบอกแก่ภิกษุสงฆ์ ภิกษุทั้งหลายจักได้บำเพ็ญคมิกวัตรสำหรับผู้

จะไป พระเถระรับพระพุทธดำรัสแล้วบอกแก่ภิกษุสงฆ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้อมล้อมด้วยภิกษุขีณาสพทั้งสิ้นสองหมื่นองค์

คือ ภิกษุผู้เป็นกุลบุตรชาวอังกะและมคธะหมื่นองค์ ภิกษุผู้เป็นกุลบุตรชาว

เมืองกบิลพัสดุ์หมื่นองค์ เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จเดินทางวันละหนึ่ง

โยชน์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า จักเสด็จจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุง

กบิลพัสดุ์ทาง ๖๐ โยชน์ โดยเวลา ๒ เดือน จึงเสด็จหลีกจาริกไปโดยไม่รีบ

ด่วน ฝ่ายพระเถระคิดว่า จักกราบทูลความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกมา

แล้ว จึงเหาะขึ้นสู่เวหาสไปปรากฏในพระราชนิเวศน์ของพระราชา. พระราชา

ทอดพระเนตรเห็นพระเถระแล้วทรงมีพระทัย นิมนต์ให้นั่งบนบัลลังก์อันควร

ค่ามาก ได้ทรงนำบาตรให้เต็มด้วยโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ที่เขาจัดเตรียมไว้

เพื่อพระองค์แล้วถวายไป พระเถระลุกขึ้นแสดงอาการจะไป พระราชาตรัสว่า

จงนั่งฉันเถิดพ่อ พระเถระทูลว่า มหาบพิตร อาตมภาพจักไปยังสำนักของพระ-

ศาสดาแล้วจักฉัน. พระราชาตรัสว่า พระศาสดาอยู่ที่ไหนละพ่อ พระอุทายีเถระ

ทูลว่า มหาบพิตร พระศาสดามีภิกษุ ๒ หมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกจาริกเพื่อ

จะเห็นพระองค์ พระราชาทรงดีพระทัยตรัสว่า ท่านฉันภัตตาหารนี้แล้วจงนำ

บิณฑบาตจากพระราชนิเวศนั้นไปถวายพระโอรสนั้น จนกว่าพระโอรสของเรา

จะถึงพระนครนี้. พระเถระรับแล้ว พระราชาอังคาสพระเถระแล้วอบบาตรด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

จุรณหอม บรรจุเต็มด้วยโภชนะอันอุดม แล้ววางไว้ที่มือของพระเถระ โดย

ตรัสว่า ท่านจงถวายพระตถาคต. พระเถระเมื่อชนชาววังทั้งปวงเห็นอยู่นั่นแล

ได้โยนบาตรขึ้นไปบนอากาศ ส่วนตนเองก็เหาะขึ้นสู่เวหาสนำบิณฑบาตไป

วาง เฉพาะที่พระหัตถ์ของพระศาสดาโดยตรง พระศาสดาเสวยบิณฑบาต

นั้น พระเถระได้นำบิณฑบาตมาทุกวัน ๆ โดยอุบายนี้. แม้พระศาสดาก็เสวย

บิณฑบาตเฉพาะของพระราชาเท่านั้น ในระหว่างเดินทาง ในเวลาเสด็จภัตกิจ

ทุก ๆ วัน แม้พระเถระก็กล่าวว่า วันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาสิ้นระยะ

ทางมีประมาณเท่านี้ วันนี้เสด็จมาสิ้นระยะทางมีประมาณเท่านี้ ได้กระทำราช

สกุลทั้งสิ้นให้มีความเลื่อมใสเกิดขึ้นในพระศาสดา โดยเว้นการได้เห็นพระ

ศาสดาด้วยธรรมีกถาอันสัมปยุตด้วยพุทธคุณ. ด้วยเหตุนั้นแหละ พระศาสดา

จึงสถาปนาพระอุทายีเถระนั้นไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระกาฬุทายีนั้นเป็นเลิศกว่าพระสาวกทั้งหลายของเราผู้ยังตระกูลไห้เลื่อมใส.

ฝ่ายเจ้าศากยะทั้งหลาย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงโดยลำดับแล้ว

ได้ปรึกษากันว่า พวกเราจักเห็นพระญาติผู้ประเสริฐของพวกเรา จึงประชุม

กันพิจารณาสถานที่เป็นที่ประทับ อยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า กำหนดกันว่า

อารามของเจ้านิโครธศากยะน่ารื่นรมย์ จึงให้กระทำวิธีการซ่อมแซมทุกอย่าง

ในอารามนั้น ถือของหอมและดอกไม้ เมื่อจะกระทำการต้อนรับ จึงส่งเด็ก

ชายและเด็กหญิงชาวบ้านหนุ่มสาว ซึ่งประดับด้วยเครื่องประดับทุกอย่างไป

ก่อน จากนั้นจึงส่งราชกุมารและราชกุมารีไป ตนเองบูชาด้วยของหอม ดอกไม้

และจุรณเป็นต้นอยู่ในระหว่างราชกุมารและราชกุมารีเหล่านั้น ได้พาพระผู้มี-

พระภาคเจ้าไปยังนิโครธารามนั้นเอง ในนิโครธารามนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

แวดล้อมด้วยพระขีณาสพ ๒ หมื่น ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาด

ไว้แล้ว. ธรรมดาเจ้าศากยะทั้งหลายผู้มีพระชาติมานะถือตัวจัด เจ้าศากยะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

เหล่านั้นทรงพระดำริว่า สิทธัตถกุมารเป็นเด็กกว่าเราทั้งหลาย เป็นพระกนิษฐา

เป็นพระภาคิไนย เป็นพระโอรส เป็นพระนัดดา ของเราทั้งหลาย จึงตรัส

กะราชะกุมารทั้งหลายที่หนุ่ม ๆ ว่า ท่านทั้งหลายจงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

พวกเราจักนั่งข้างหลังท่านทั้งหลาย.

เมื่อศากยะเหล่านั้นไม่ถวายบังคมประทับนั่งแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของเจ้าศากยะเหล่านั้น แล้วทรงพระดำริว่า พระ

ญาติทั้งหลายไม่ไหว้เรา เอาเถอะ เราจักให้พระญาติเหล่านั้นไหว้ จึงทรง

เข้าจตุตถฌานมีอภิญญาเป็นบาท ออกจากฌานแล้วเหาะขึ้นสู่เวหาส ปาน

ประหนึ่งโปรยธุลีพระบาทลงบนพระเศียร ของเจ้าศากยะเหล่านั้น ได้ทรงกระทำ

ปาฏิหาริย์เช่นเดียวกับยมกปาฏิหาริย์ที่ควงต้นฑามพพฤกษ์ พระราชาทรงเห็น

ความอัศจรรย์นั้นจึงตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในวันที่พระองค์ประสูติ

หม่อมฉันแม้ได้เห็นพระบาทของพระองค์ ซึ่งหม่อมฉันนำเข้าไปให้ไหว้กาล-

เทวลดาบสกลับไปประดิษฐานบนกระหม่อมของพราหมณ์ ก็ได้ไหว้พระองค์

นี้เป็นการไหว้ครั้งแรกของหม่อมฉัน ในวันวัปปมงคลแรกนาขวัญ. ก็ได้เห็น

ความเปลี่ยนแปลงของร่มเงาไม้หว้าของพระองค์ ผู้บรรทมอยู่บนที่บรรทมอัน

ประกอบด้วยสิริใต้ร่มเงาไม้หว้า ก็ได้ไหว้พระบาท นี้เป็นการไหว้ครั้งที่สอง

บัดนี้ แม้ได้เห็นปาฏิหาริย์นี้ ซึ่งไม่เคยเห็น จึงไหว้พระบาทของพระองค์

นี้เป็นการไหว้ครั้งที่สามของหม่อมฉัน. ก็เมื่อพระราชาถวายบังคมแล้ว แม้

เจ้าศากยะพระองค์หนึ่งชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะไม่ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วดำรงอยู่ ไม่ได้มี เจ้าศากยะทั้งปวงพากันถวายบังคมทั้งหมด พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงให้พระญาติทั้งหลายถวายบังคมด้วยประการดังนี้แล้ว จึงเสด็จ

ลงจากอากาศ ประทับนั่งบนพระอาสน์ที่ลาดไว้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

นั่งแล้ว สมาคมพระญาติอันถึงสุดยอดจึงได้มีขึ้น. เจ้าศากยะทั้งปวงเป็นผู้มี

พระทัยแน่วแน่ประทับนั่งแล้ว. ลำดับนั้น มหาเมฆได้ยังฝนโบกขรพรรษให้

ตกลงมา น้ำสีแดงมีเสียงไหลไปข้างล่าง และผู้ประสงค์จะให้เปียกจึงจะเปียก

ฝนโบกขรพรรษ แม้มาตรว่าหยาดเดียวก็ไม่ตกลงบนร่างกายของผู้ที่ไม่ประสงค์

จะให้เบียก. เจ้าศากยะทั้งปวงเห็นดังนั้น เกิดอัศจรรย์ไม่เคยเป็น จึงส่งสนทนา

กันว่า โอ ! น่าอัศจรรย์ โอ ! ไม่เคยมี พระศาสดาตรัสว่า ฝนโบกขรพรรษ

ตกลงในสมาคมแห่งพระญาติของเรา ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในอดีตก็ได้

ตกแล้ว จึงตรัสเวสสันดรชาดก เพราะเหตุเกิดเรื่องนี้. เจ้าศากยะทั้งปวงสดับ

พระธรรมเทศนาแล้ว เสด็จลุกขึ้นถวายบังคมแล้วหลีกไป. พระราชาหรือ

มหาอำมาตย์ของพระราชาแม้พระองค์เดียว ชื่อว่ากราบทูลว่า ขอพระองค์จง

รับภิกษาของข้าพระองค์ทั้งหลายในวันพรุ่งนี้ ดังนี้แล้วจึงเสด็จไป มิได้มีเลย.

วันรุ่งขึ้นพระศาสดาทรงแวดล้อมด้วยภิกษุสองหมื่นองค์ เสด็จเข้าไป

บิณฑบาตยังกรุงกบิลพัสด์. ไม่มีใคร ๆ จะไปนิมนต์หรือรับบาตร พระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับยืนที่เสาเขื่อน ทรงพระรำพึงว่า พระพุทธเจ้าในปางก่อน

ทั้งหลายเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครของตระกูลอย่างไรหนอ ได้เสด็จไป

ยังเรือนของอิสรชนโดยข้ามลำดับ หรือเสด็จเที่ยวจาริกไปตามลำดับตรอก

แต่นั้นไม่ได้ทรงเห็นแม้พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเสด็จไปโดยข้ามลำดับ แล้ว

ทรงพระดำริว่า นี้เท่านั้นเป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น นี้เป็นประเพณี

ของเรา แม้เราก็ควรจะยกไว้ในบัดนี้ และสาวกทั้งหลายของเราสำเหนียกตาม

เราอยู่นั่นแล จักบำเพ็ญบิณฑบาตจาริกวัตรต่อไป จึงเสด็จเที่ยวบิณฑบาตไป

ตามลำดับตรอก ตั้งแต่เรือนที่ตั้งอยู่ในที่สุดไป มหาชนเล่าลือกันว่า ได้ยินว่า

สิทธัตถกุมารผู้เป็นเจ้าเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว จึงเปิดหน้าต่างบนปราสาทชั้นที่ ๒

และชั้นที่ ๓ เป็นต้น ได้เป็นผู้ขวนขวายเพื่อจะดู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

ฝ่ายพระเทวีมารดาพระราหุล ทรงพระดำริว่า นัยว่าพระลูกเจ้าเสด็จ

เที่ยวไปด้วยวอทองเป็นต้น โดยราชานุภาพยิ่งใหญ่ในพระนครนี้แหละ บัดนี้

ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ถือกระเบื้องเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว จะ

งามหรือหนอ จึงทรงเปิดสีหสัญชรทอดพระเนตรตรวจดูอยู่ ได้เห็นพระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงยังถนนในพระนครให้สว่างไสวด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระอัน

รุ่งเรื่องด้วยความรุ่งเรื่องต่าง ๆ ไพโรจน์ด้วยพุทธสิริอันหาอุปมามิได้ ประดับ

ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สว่างด้วยพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ซึ่งตาม

ประชิดล้อมรอบด้วยพระรัศมีด้านละวา จึงทรงชมเชยตั้งแต่พระอุณหิสจนถึง

พื้นพระบาท ด้วยคาถาชื่อว่านรสีหะ ๘ ประการ มีอาทิอย่างนี้ว่า

พระผู้นรสีหะมีพระเกสาเป็นลอนอ่อนดำสนิท

มีพื้นพระนลาตปราศจากมลทินดุจพระอาทิตย์ มีพระ-

นาสิกโค้งอ่อนยาวพอเหมาะ ซ่านไปด้วยพระข่ายแห่ง

พระรัศมี ดังนี้.

แล้วจึงกราบทูลแด่พระราชาว่า พระโอรสของพระองค์เสด็จเที่ยวไปเพื่อก้อน

ข้าว. พระราชาทรงสลดพระทัย ทรงจัดผ้าสาฎกให้เข้าที่ด้วยพระหัตถ์

รีบด่วนเสด็จออกไปโดยเร็ว ประทับยืนเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงกระทำ

หม่อมฉันให้ได้อาย เพื่ออะไร จึงเสด็จเที่ยวไปเพื่อก้อนข้าว ทำไมพระองค์จึง

กระทำความสำคัญว่า ภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ไม่อาจได้ภัตตาหาร. พระ

ศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร อันนี้เป็นวงศ์ เป็นจารีตของอาตมภาพ. พระราชา

ตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันทั้งหลายมีวงศ์เป็นกษัตริย์มหาสมมติ.

ราชมิใช่หรือ ก็ในวงศ์กษัตริย์มหาสมมตราชนั้น แม้กษัตริย์พระองค์หนึ่งชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

เที่ยวไปเพื่อภิกขาจาร ย่อมไม่มี. พระศาสดาตรัสว่า มหาบพิตร ชื่อว่าวงศ์นี้

เป็นวงศ์ของพระองค์. แต่ชื่อว่าพุทธวงศ์นี้ คือ พระทีปังกร พระโกณฑัญญะ

พระกัสสปะ เป็นวงศ์ของอาตมภาพ และพระพุทธเจ้าอื่น ๆ นับได้หลายพัน

ได้สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยการภิกขาจารเท่านั้น ประทับยืนในระหว่างถนน

นั้นแล ตรัสพระคาถานี้ว่า

บุคคลไม่ควรประมาทในก้อนข้าว อันบุคคลพึง

ลุกขึ้นยืนรับ พึงประพฤติธรรมให้สุจริต บุคคลผู้

ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้ และในโลก

หน้า.

ในเวลาจบคาถา พระราชาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล, และได้สดับคาถานี้ว่า

บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติ

ธรรมนั้นให้ทุจริต ผู้ประพฤติธรรมเป็นปรกติย่อมอยู่

เป็นสุขทั้ง ในโลกนี้และในโลกหน้า ดังนี้.

ได้ดำรงอยู่ในสกทาคามิผล, ได้ทรงสดับธรรมปาลชาดก ได้ดำรงอยู่ในอนาคา-

มิผล, ในสมัยใกล้จะสวรรคต ทรงบรรทมบนพระที่บรรทมอันประกอบด้วย

สิริภายใต้เศวตฉัตร ได้บรรลุพระอรหัต. กิจในการตามประกอบความเพียร

โดยการอยู่ป่า ไม่ได้มีแก่พระราชา. ก็ครั้นทรงกระทำให้แจ้งเฉพาะโสดา-

ปัตติผลเท่านั้น ทรงรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนิมนต์พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพร้อมทั้งบริษัทให้เสด็จขึ้นสู่มหาปราสาท ทรงอังคาสด้วยขาทนียโภชนี-

ยาหารอันประณีต. ในเวลาเสร็จภัตกิจ นางสนมทั้งปวงยกเว้น พระมารดา

พระราหุลพากันมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็พระมารดาของพระราหุล

นั้น แม้ชนผู้เป็นบริวารจะกล่าวว่า พระองค์จงเสด็จไปถวายบังคมพระลูกเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

เถิด ก็ตรัสว่า ถ้าคุณของเรามีอยู่ไซร้ พระลูกเจ้าจักเสด็จมายังสำนักของเรา

ด้วยพระองค์เองที่เดียว เราจักถวายบังคมพระลูกเจ้านั้นผู้เสด็จมาเท่านั้น ครั้น

ตรัสดังนี้แล้ว ก็มิได้เสด็จไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระราชาถือบาตร

แล้วเสด็จไปยังห้องอันมีสิริของพระราชธิดา พร้อมกับพระอัครสาวกทั้งสอง

แล้วตรัสว่า พระราชธิดาเมื่อถวายบังคมตามชอบใจ ไม่พึงกล่าวคำอะไร ๆ

แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ เขาปูลาดไว้. พระราชธิดาเสด็จมาโดยเร็วจับข้อ

พระบาททั้งสอง เกลือกพระเศียรบนหลังพระบาท ถวายบังคมตามพระอัธยาศัย

พระราชาตรัสคุณสมบัติมีความรักและความนับถือมากในพระผู้มีพระภาคเจ้า

ของพระราชธิดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธิดาของหม่อมฉันได้ฟังข่าวว่า

พระองค์ทรงนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ตั้งแต่นั้นก็ทรงผ้ากาสาวะบ้าง ได้สดับว่า

พระองค์มีภัตหนเดียว ก็มีภัตหนเดียวบ้าง ทรงสดับว่าพระองค์ทรงละที่นั่ง

ที่นอนใหญ่ ก็ทรงบรรทมเฉพาะบนเตียงน้อยอันขึงด้วยแผ่นผ้า ทรงทราบว่า

พระองค์ทรงละเว้นจากของหอมมีดอกไม้เป็นต้น ก็ทรงงดเว้นดอกไม้และของ

หอมบ้าง เมื่อพระญาติทรงส่งข่าวมาว่า เราทั้งหลายจักปฏิบัติในญาติทั้งหลาย

ของตน ก็ไม่ทรงเหลียวแลแม้พระญาติสักองค์เดียว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระธิดาของหม่อมฉันเพียบพร้อมด้วยคุณสมบัติอย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า

มหาบพิตร ข้อที่พระราชธิดาอันพระองค์รักษาคุ้มครองอยู่ในบัดนี้ พึงรักษา

คุ้มครองตนในเมื่อญาณแก่กล้าแล้วนั้น ไม่น่าอัศจรรย์ เมื่อก่อนราชธิดานี้

ไม่มีการอารักขา ท่องเที่ยวอยู่ที่เชิงเขาก็รักษาคนอยู่ได้ในเมื่อญาณยังไม่แก่กล้า

ดังนี้ แล้วทรงบรรเทาความเศร้าโศกของพระราชธิดานั้น ตรัสจันทกินรีชาดก

ทรงให้โสดาปัตติผล แล้วลุกจากอาสนะเสด็จหลีกไป. ในวันที่สอง เมื่อวิวาห-

มงคลเนื่องในการเสด็จเข้าพระตำหนักอภิเษกของนันทราชกุมาร ดำเนินไปอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

พระศาสดาเสด็จไปยังตำหนักของนันทราชกุมารนั้น ทรงให้พระกุมารถือบาตร

มีพระประสงค์จะให้บวช จึงตรัสมงคลกถาแล้วเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีก

ไป นางชนบทกัลยาณีเห็นพระกุมารกำลังเสด็จไป จึงทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า

พระองค์ควรเสด็จกลับมาโดยด่วน แล้วทรงชะเง้อพระศอแลดู ฝ่ายพระกุมาร

นั้น ไม่อาจทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ขอพระองค์ทรงรับเอาบาตรไป ได้เสด็จ

ไปยังวิหารนั่นแล. นันทกุมารนั้นไม่ปรารถนาเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้

บรรพชาแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปกบิลพัสดุ์บุรีทรงให้นันทกุมารบวช

ด้วยประการฉะนี้.

ในวันที่ ๗ พระมารดาพระราหุลประดับพระกุมารแล้วส่งไปเฝ้าพระผู้

มีพระภาคเจ้าด้วยพระดำรัสว่า ลูกเอย เจ้าจงดูพระสมณะซึ่งมีรูปดังพรหม มี

วรรณะดังทองคำแวดล้อมด้วยสมณะ ๒ หมื่นองค์อย่างนั้น พระสมณะนี้เป็น

พระบิดาของเจ้า พระสมณะนั้น ได้มีขุมทรัพย์ใหญ่ จำเดิมแต่พระสมณะนั้น

ออกบวชแล้ว แม่ไม่เห็นขุมทรัพย์เหล่านั้นเจ้าจงไปขอมรดกกะพระสมณะนั้น

ว่า ข้าแต่พระบิดาข้าพระองค์เป็นกุมาร ได้รับอภิเษกแล้วจักเป็นพระเจ้าจักร-

พรรดิ ข้าพระองค์ต้องการทรัพย์ ขอพระองค์จงประทานทรัพย์แก่ข้าพระองค์

เพราะบุตรย่อมเป็นเจ้าของสิ่งของอันเป็นของบิดา. พระกุมารเสด็จไปยังสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทีเดียว กลับได้ความรักต่อพระบิดามีจิตใจร่าเริงนักกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระสมณะ ร่มเงาของพระองค์เป็นสุขแล้วได้ยืนตรัสถ้อยคำอย่างอื่น

อันสมควรแก่พระองค์เป็นอันมาก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงการทำภัตกิจแล้ว

ทรงกระทำอนุโมทนา แล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. ฝ่ายพระกุมารเสด็จติด

ตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปโดยตรัสว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงประทาน

มรดกแก่ข้าพระองค์ ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงประทานมรดกแก่ข้าพระ-

องค์. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไม่ให้พระกุมารกลับ. บริวารชนไม่ได้อาจเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

จะยังพระกุมารผู้เสด็จไปพร้อมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้กลับ. พระกุมารนั้น

ได้เสด็จไปยังพระอารามพร้อมกับพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยประการดังนี้. พระผู้

มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไป ทรงพระดำริว่า กุมารนี้ปรารถนาทรัพย์อันเป็น

ของบิดาซึ่งเป็นไปตามวัฏฏะมีความคับแค้น เอาเถอะ เราจะให้อริยทรัพย์ ๗

ประการซึ่งเราได้เฉพาะที่โพธิมัณฑ์แก่กุมารนี้ เราจะกระทำให้เป็นเจ้าของ

ทรัพย์มรดกอันเป็นโลกุตระ. แล้วตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาว่า สารีบุตร

ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้ราหุลกุมารบวช. ก็เมื่อพระกุมารบวชแล้ว ทุกข์มี

ประมาณยิ่งเกิดขึ้นแก่พระราชา. เมื่อไม่ทรงสามารถจะอดกลั้นความทุกข์นั้น

จึงทูลให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ. แล้วทรงขอพรว่า ข้าแต่พระองค์.

ผู้เจริญ ดังหม่อมฉันจะขอโอกาส พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไม่พึงบวชบุตรที่

บิดามารดายังไม่อนุญาต. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระดำรัสนั้นของพระราชา

นั้น ในวันรุ่งขึ้น เสวยพระกระยาหารเข้าในพระราชนิเวศน์ เมื่อพระราชา

ผู้ประทับนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งตรัสว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในคราวที่

พระองค์ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา เทวดาองค์หนึ่งเข้าไปหาหม่อมฉันกล่าวว่า

พระโอรสของพระองค์ทรงทำกาละแล้ว หม่อมฉันไม่เชื่อคำของเทวดานั้น ห้าม

เทวดานั้นว่า บุตรของเรายังไม่บรรลุพระโพธิญาณจะยังไม่ทำกาละ จึงตรัสว่า

บัดนี้ พระองค์จักทรงเชื่อได้อย่างไร แม้ในกาลก่อนเมื่อคนเอากระดูกแสดง

แล้วกล่าวว่า บุตรของท่านตายแล้ว พระองค์ก็ยังไม่เชื่อ แล้วตรัสมหาธรรม-

ปาลชาดก เพราะเหตุเกิดเรื่องนี้ขึ้น. ในเวลาจบพระคาถา พระราชาทรงดำรง

อยู่ในพระอนาคามิผล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระบิดาดำรงอยู่ในผลทั้ง ๓

ด้วยประการดังนี้แล้ว อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จไปกรุงราชคฤห์อีก

ทรงประทับอยู่ที่ป่าสีตวัน.

สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี เอาเกวียน ๕๐๐ เล่มบรรทุก

สินค้าไปยังเรือนของเศรษฐีผู้เป็นสหายที่รักของตนในกรุงราชคฤห์ ได้สดับว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในกรุงราชคฤห์นั้น ในเวลาใกล้รุ่งได้

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทางประตูที่เปิดด้วยอานุภาพของเทวดา ฟังธรรมแล้ว

ได้ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตตผล ในวันที่สอง ได้ถวายมหาทานแก่พระสงฆ์มี

พระพุทธ. เจ้าเป็นประธานได้ขอให้พระศาสดาทรงรับปฏิญญาที่จะเสด็จมาเมือง

สาวัตถี ในระหว่างทางได้ให้ทรัพย์แสนหนึ่งสร้างวิหาร (ระยะทางห่างกัน)โยชน์

หนึ่ง แล้วซื้อสวนของเจ้าเชตด้วยเงิน ๑๘ โกฏิ โดยการปูลาดกหาปณะจำนวน

โกฏิ (เต็มเนื้อที่) แล้วทำการก่อสร้างเสร็จ (คือ) ให้สร้างพระคันธกุฏีเพื่อพระ

ทศพลตรงกลาง แล้วให้สร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์ใจรายล้อมพระคันธกุฏีนั้น

ในภูมิภาคอันน่ารื่นรมย์ ด้วยการบริจาคเงิน ๑๘ โกฏิ คือ ให้สร้างเสนาสนะ

เช่นกุฏิหลังเดียว กุฏิสองหลัง กุฏิทรงหงส์เวียน ศาลาราย และปะรำเป็น

ต้นและสระโบกขรณี ที่จงกรม ที่พักกลางคืน และที่พักกลางวัน โดยเป็น

อาวาสสำหรับอยู่อาศัยเฉพาะผู้เดียว ตามลำดับ ๆ เพื่อพระเถระผู้ใหญ่ ๘๐

องค์ แล้วส่งทูตไปเพื่อต้องการให้พระทศพลเสด็จมา. พระศาสดาได้ทรงสดับ

คำของทูตแล้ว มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวาร. เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์

เสด็จถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับ. ฝ่ายมหาเศรษฐีแลเตรียมการฉลองพระวิหาร

ในวันที่พระตถาคตเสด็จเข้าพระเชตวันวิหาร ได้ตกแต่งประดับประดาบุตรด้วย

อลังการเครื่องประดับทั้งปวง แล้วส่งไปพร้อมกับกุมาร ๕๐๐ คนผู้ตกแต่ง

ประดับประดาแล้ว. บุตรเศรษฐีนั้นพร้อมทั้งบริวาร ถือธง ๕๐๐ คันอัน

เรื่องรองด้วยผ้าห้าสี ได้อยู่ข้างเบื้องพระพักตร์ของพระทศพล. ข้างหลังของ

กุมารเหล่านั้น มีธิดาเศรษฐี ๒ นาง คือ สุภัททา และจุลลสุภัททา พร้อม

กับกุมารี ๕๐๐ นาง ถือหม้อเต็มด้วยน้ำเดินออกไป. ข้างหลังของกุมารีเหล่านั้น

ภรรยาของท่านเศรษฐีประดับ ด้วยอลังการทั้งปวง พร้อมกับมาตุคาม ๕๐๐ นาง

ถือถาดเต็ม (ด้วยอาหาร) ออกไปเบื้องหลังของตนทั้งหมด ท่านมหาเศรษฐี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

เองนุ่งผ้าใหม่ พร้อมกับเศรษฐี ๕๐๐ คนผู้นุ่งผ้าใหม่ มุ่งไปเฉพาะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำอุบาสกบริษัทนี้ไว้ข้างหน้า เเวดล้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ทรงกระทำระหว่างป่าให้เป็นดุจสีแดงเรื่อ ๆ อันราดรด

ด้วยรสน้ำทอง ด้วยพระรัศมีแห่งพระสรีระของพระองค์ เสด็จเข้าสู่พระเชตวัน

วิหารด้วยพุทธลีลาอันต่อเนื่องกัน และด้วยพุทธสิริอันหาที่เปรียบมิได้. ลำดับ

นั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะปฏิบัติในพระวิหารนี้อย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนคฤหบดี ถ้าอย่างนั้นท่านจงถวายแก่ภิกษุสงฆ์ผู้ที่มาแล้ว ๆ ยังวิหาร

นี้เถิด ท่านมหาเศรษฐีรับพระพุทธฎีกาแล้วถือเต้าน้ำทองหลั่งน้ำลงบนพระหัตถ์

ของพระทศพล แล้วกล่าวถวายด้วยคำว่า ข้าพระองค์ขอถวายพระเชตวันวิหาร

นี้แก่สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานซึ่งมาแล้วทั้ง ๕ ทิศ. พระศาสดาทรงรับ

วิหารแล้ว เมื่อจะทรงกระทำอนุโมทนาได้ตรัสอานิสงส์ของการถวายวิหารว่า

เสนาสนะย่อมป้องกันเย็นและร้อนและแต่นั้น

ย่อมป้องกันเนื้อร้าย งู ยุง น้ำค้างและฝน แต่นั้น

ลมและแดดอันกล้าเกิดขึ้นแล้ว ย่อมบรรเทาไป

การถวายวิหารแก่สงฆ์ เพื่อเร้นอยู่ เพื่อความสุข

เพื่อเพ่งพิจารณา และเพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทั้ง

หลายสรรเสริญว่าเป็นทานอันเลิศ. เพราะเหตุนั้นแล

บุรุษบัณฑิตเมื่อเล็งเห็นประโยชน์ตนพึงสร้างวิหารอัน

รื่นรมย์ ให้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูตอยู่เลิศ. อนึ่ง

พึงถวายข้าว น้ำ ผ้า และเสนาสนะ แก่ท่านเหล่านั้น

ด้วยน้ำใจอันเลื่อมใส ในท่านผู้ซื่อตรง เขารู้ธรรมอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

ใดในโลกนี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะปรินิพพาน ท่าน

ย่อมแสดงธรรมนั้น อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวง

แก่เขา.

จำเดิมแต่วันที่สองไป ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเริ่มการฉลองวิหาร. การฉลอง

วิหารของนางวิสาขา ๔ เดือนเสร็จ แต่การฉลองวิหารของท่านอนาถบิณฑิก-

เศรษฐี ๙ เดือนจึงเสร็จ. หมดทรัพย์ไป ๘ โกฏิทีเดียว ท่านอนาถบิณฑิก-

เศรษฐีบริจาคทรัพย์นับได้ ๕๔ โกฏิ เฉพาะวิหารหลังเดียวเท่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้.

ก็ในอดีตกาล ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าวิปัสสี เศรษฐีนามว่า

ปุนัพพสุมิตต์ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำ แล้วให้สร้างสังฆารามประมาณ

หนึ่งโยชน์ ลงในที่นั้นนั่นแหละ ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าสิขี เศรษฐี

นามว่า สิริวัฑฒะ ซื้อที่โดยการปูลาดข่ายทองคำ แล้วให้สร้างสังฆาราม

ประมาณ ๓ คาวุตลงในที่นั้นนั่นแหละ. ในสมัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าเวสสภู

เศรษฐีนามว่า โสตถิยะซื้อที่โดยการปูลาดรอยเท้าช้างทองคำ แล้วให้สร้าง

สังฆารามประมาณกึ่งโยชน์ลงในที่นั้นนั่นแหละ ในสมัยแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

กกุสันธะ เศรษฐีนามว่า อัจจุตะ ซื้อที่โดยการปูลาดอิฐทองคำเหมือนกันแล้ว

ให้สร้างสังฆารามประมาณหนึ่งคาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ. ในสมัยแห่งพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมนะ เศรษฐีนามว่า อุคคะ ซื้อที่โดยการปูลาดเต่าทอง

คำ แล้วให้สร้างสังฆารามประมาณกึ่งคาวุต ลงในที่นั้นนั่นแหละ ในสมัยแห่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ เศรษฐีนามว่า สุมังคละ ซื้อที่โดยการปูลาดเต่าทอง

คำ แล้วให้สร้างสังฆารามประมาณ ๑๖ กรีส ลงในทีนั้นนั่นแหละ แต่ในสมัย

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย เศรษฐีนามว่า อนาถบิณฑิกะ ซื้อที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

โดยการปูลาดกหาปณะจำนวนโกฏิ แล้วให้สร้างสังฆารามประมาณ ๘ กรีส ลง

ในพื้นที่นั้นนั่นแหละ. ได้ยินว่า ที่นั้นเป็นสถานที่อันพระพุทธเจ้าทั้งปวงมิได้

ทรงละเลยแล้ว.

ตั้งแต่ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณที่มหาโพธิมัณฑ์ จนกระทั่งถึง

เตียงเป็นที่เสด็จมหาปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในสถานที่ใด

สถานที่นี้ ชื่อว่า สันติเกนิทาน ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนาชาดก

ทั้งปวง ด้วยอำนาจสันติเกนิทานนั้นแล.

จบนิทานกถาด้วยประการฉะนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

อรรถกถาชาดก

เอกนิบาต

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. อรรถกถาอปัณณวรรค

๑. อปัณณกชาดก

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครสาวัตถี ประทับอยู่

ในพระเชตวันมหาวิหาร ตรัสอปัณณธรรมเทศนานี้ก่อน. ถามว่า ก็เรื่อง

นี้เกิดขึ้นเพราะปรารภใคร ? ตอบว่า เพราะปรารภสาวกของเดียรถีย์สหาย

ของท่านเศรษฐี.

ความพิศดารมีว่า วันหนึ่ง ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ชักพาพวก

สาวกของอัญญเดียรถีย์ ๕๐๐ คน ผู้เป็นสหายของตน ให้ถือระเบียบดอกไม้

ของหอม เครื่องลูบไล้เป็นอันมาก และน้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และผ้าเครื่อง

ปกปิด ไปยังพระเชตวัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า บูชาด้วยของหอม

และดอกไม้เป็นต้น สละเภสัชและผ้าถวายแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วนั่ง ณ ส่วนสุด

ข้างหนึ่ง โดยเว้นโทษของการนั่ง ๖ ประการ สาวกของอัญญเดียรถีย์แม้เหล่า

นั้น ถวายบังคมพระตถาคตแล้ว แลดูพระพักตร์ของพระศาสดา อันงามสง่า

ดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ แลดูพระวรกายดุจกายพรหมอันประดับด้วยพระ

ลักษณะและพระอันพยัญชนะ แวดวงด้วยพระรัศมีด้านละวา แลดูพระพุทธ

รังสีอันหนาแน่นซึ่งเปล่งออกเป็นวง ๆ (ดุจพวงอุบะ) เป็นคู่ ๆ จึงนั่งใกล้ ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถาอันไพเราะ

วิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ ด้วยพระสุรเสียงประดุจเสียงพรหม น่าสดับฟัง ประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการ แก่สาวกของอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ปานประหนึ่งราชสีห์

หนุ่มบันลือสีหนาทบนพื้นมโนศิลา เหมือนเมฆฤดูฝนเลื่อนลั่นอยู่ เหมือน

ทำคงคาในอากาศให้หลั่งลงมา และเหมือนร้อยพวงแก้ว ฉะนั้น. สาวกของ

อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มีจิตเลื่อมใส

ลุกขึ้นถวายบังคมพระทศพล ทำลายสรณะของอัญญเดียรถีย์แล้ว ได้ถึงพระ-

พุทธเจ้าเป็นสรณะ. จำเดิมแต่นั้น พวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น มีมือถือของ

หอมและดอกไม้เป็นต้น ไปพระวิหาร ฟังธรรม ให้ทาน รักษาศีล กระทำ

อุโบสถกรรม พร้อมกับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นนิตยกาล. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จจากกรุงสาวัตถีกลับไปกรุงราชคฤห์อีกแล. ในเวลา

ที่พระตถาคตเสด็จไปแล้ว สาวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้นก็ได้ทำลายสระนั้น เสีย

กลับ ไปถึงอัญญเดียรถีย์เป็นสรณะอีก ดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นเค้ามูลเดิมของ

คนนั่นเอง ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งอยู่ ๗-๘ เดือน ได้เสด็จกลับไป

ยังพระเขตวันเหมือนเดิมอีก. ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็พาสาวกอัญญเดียรถีย์

เหล่านั้นไปเฝ้าพระศาสดาแม้อีก บูชาพระศาสดาด้วยของหอมและดอกไม้เป็น

ต้น ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พวกสาวกอัญญเดียรถีย์แม้เหล่านั้น

ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น ท่าน

อนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงความที่พวกสาวกอัญญ-

เดียรถีย์เหล่านั้น เมื่อพระตถาคตเสด็จหลีกจาริกไปแล้ว ได้ทำลายสรณะที่รับ

ไว้ กลับไปถืออัญญเดียรถีย์เป็นสรณะ ดำรงอยู่ในฐานะเดิมอีก. พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงเผยมณฑลพระโอษฐ์ ประดุจเปิดผอบแก้วอันเต็มด้วยของหอมต่าง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

อันมีกลิ่นหอมด้วยของหอมอันเป็นทิพย์ เพราะอานุภาพของวจีสุจริตที่ทรง

บำเพ็ญให้เป็นไปไม่ขาดสาย สิ้นโกฏิกปะนับไม่ถ้วน เมื่อจะทรงเปล่งพระสุร-

เสียงอันไพเราะ ตรัสถามว่า ได้ยินว่า พวกท่านผู้เป็นอุบาสก ทำลายสรณะ

๓ เสียแล้วถึงอัญญเดียรถีย์เป็นสรณะ จริงหรือ ? ลำดับนั้น เมื่อพวกสาวก

อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ไม่อาจปกปิดไว้ได้พากันกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า

พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ในโลกธาตุ เบื้องล่างจดอเวจี

มหานรก เบื้องบนจดภวัคคพรหม และตามขวางหาประมาณมิได้ ชื่อว่าบุคคล

เช่นกับพระพุทธเจ้าโดยพระคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ย่อมไม่มี บุคคลที่ยิ่งกว่า

จักมีมาแต่ไหน แล้วทรงประกาศคุณของพระรัตนตรัยที่ทรงประกาศไว้ด้วย

พระสูตรทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุ ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายมีประมาณเพียงใด

ไม่มีเท้าก็ตาม มี ๒ เท้าก็ตาม มี ๔ เท้าก็ตาม มีเท้ามากก็ตาม ฯลฯ พระตถาคต

เรากล่าวว่าเป็นเลิศของสัตว์ทั้งหลาย มีประมาณเพียงนั้น. (และพระสูตรว่า)

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้หรือโลกอื่น ฯลฯ รัตนะอัน

นั้น เสมอด้วยพระตถาคตเจ้าไม่มีเลย. (และพระสูตรว่า) เมื่อบุคคลรู้จักธรรมอัน

เลิศ เลื่อมใสแล้วโดยความเป็นของเลิศ เลื่อมใสแล้วในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ ฯลฯ

แล้วจึงตรัสว่า บุคคลจะเป็นอุบาสกหรืออุบาสิกาก็ตาม ผู้ถึงพระรัตนตรัยอัน

ประกอบด้วยอุดมคุณอย่างนี้ ชื่อว่าจะเป็นผู้บังเกิดในนรกเป็นต้น ย่อมไม่มี

อนึ่งพ้นจากการบังเกิดในอบายแล้ว ยังจะเกิด นั้นเทวโลกได้เสวยมหาสมบัติ

เพราะเหตุไร พวกท่านจึงพากันทำลายสรณะเห็นปานนี้ แล้วถึงอัญญเดียรถีย์

เป็นสรณะ กระทำกรรมอันไม่สมควรเลย.

ก็ในที่นี้ เพื่อจะแสดงถึงความที่บุคคลผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ

ด้วยอำนาจความหลุดพ้น และด้วยอำนาจเป็นรัตนะอันสูงสุด จะไม่มีการ

บังเกิดในอบายทั้งหลาย บัณฑิตพึงแสดงพระสูตรเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้ถึงพระพุทธเจ้าเป็น

สรณะ ชนเหล่านั้นจักไม่เข้าถึงอบายภูมิ ละร่างกาย

ของมนุษย์นี้ไปแล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์.

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้ถึงพระธรรมเป็นสรณะ

ชนเหล่านั้น จักไม่เข้าถึงอบายภูมิ ละร่างกายของ

มนุษย์นี้ไปแล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์.

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ได้ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ

ชนเหล่านั้น จักไม่เข้าถึงอบายภูมิ ละร่างกายของ

มนุษย์นี้ไปแล้ว จักยังกายเทพให้บริบูรณ์.

มนุษย์ทั้งหลายเป็นอันมาก ถูกภัย คุก คาม แล้ว

ย่อมถึงภูเขาบ้าง ป่าบ้าง อารามและต้นไม้ที่เป็นเจดีย์

บ้าง ว่าเป็นสรณะ นั่นแลมิใช่สรณะอันเกษม นั่น

มิใช่สรณะอันอุดม เขาอาศัยสิ่งนั้น เป็นสรณะแล้ว

ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง.

ส่วนผู้ใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระ-

สงฆ์ ว่าเป็นสรณะแล้ว เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยปัญญา

อันชอบ คือทุกข์ และตัณหาอันเป็นแดนเกิดขึ้นแห่ง

ทุกข์ (คือสมุทัย) และความก้าวล่วงทุกข์ (คือนิโรธ)

และมรรคมีองค์ ๘ อันไปจากข้าศึก ไห้ถึงพระ-

นิพพานเป็นที่เข้าไประงับทุกข์ นี้แลเป็นสรณะอัน

เกษม นี้เป็นสรณะอันอุดม เขาอาศัยสิ่งนี้แล้ว ย่อม

พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ดังนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

ก็พระศาสดาทรงแสดงธรรมมีประมาณเท่านี้เท่านั้น แก่พวกสาวก

อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ยังไม่สิ้นเชิง. อีกอย่างหนึ่งแล ได้ทรงแสดงธรรม

โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ชื่อว่าพุทธานุสสติกัมมัฏฐาน

ธัมมานุสสติกัมมัฏฐาน สังฆานุสสิตกัมมัฏฐาน ย่อมให้โสดาปัตติมรรค ย่อมให้

โสดาปัตติผล ย่อมให้สกทาคามิมรรค ย่อมให้สกทาคามิผล ย่อมให้อนาคามิมรรค

ย่อมให้อนาคามิผล ย่อมให้อรหัตมรรค ย่อมให้อรหัตผล ครั้นทรงแสดงธรรม

แล้วจึงตรัสว่า พวกท่านทำลายสรณะชื่อเห็นปานนี้ การทำกรรมอันไม่สมควร

แล้ว อนึ่งพุทธานุสสติกัมมัฏฐานเป็นต้น อันเป็นทางให้ถึงโสดาปัตติมรรคเป็นต้น

นี้พึงแสดงโดยพระสูตรทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเอก

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อ

คลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน ธรรมเอกเป็นไฉน ? คือพุทธานุสสติ ดังนี้. ก็แหละ พระผู้-

มีพระภาคเจ้าครั้นทรงโอวาทอุบาสกทั้งหลาย โดยประการต่าง ๆ อย่างนี้แล้ว

ได้ตรัสว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน มนุษย์ทั้งหลาย ถือเอา

สิ่งที่ไม่ใช่สรณะ ว่าเป็นสรณะ โดยการถือเอาด้วยการคาดคะเน โดยการถือ

เอาผิด ได้ตกเป็นภักษาหารของยักษ์ในทางกันดาร ซึ่งอมนุษย์หวงแหนแล้ว

ถึงความพินาศอย่างใหญ่หลวง ส่วนเหล่ามนุษย์ผู้ถือการยึดถือชอบธรรม ยึด

ถือความแน่นอน ยึดถือไม่ผิด ได้ถึงความสวัสดีในทางกันดารนั้นนั่นเอง

ครั้นตรัสแล้วได้ทรงนิ่งเสีย. ลำดับนั้นแล ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีลุกขึ้น

จากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวชมเชยแล้ว ประคองอัญชลี

เหนือเศียรเกล้า กราบทูลอย่างนี้ว่า บัดนี้ การที่พวกอุบาสกเหล่านั้น ทำลาย

สรณะอันอุดมแล้ว ถือสรณะยึดถือเอาด้วยการคาดคะเน ยึดถือเอาอย่างผิด ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

ปรากฏแก่ข้าพระองค์ก่อน ส่วนในปางก่อนพวกมนุษย์ผู้ยึดถือด้วยการคาดคะเน

มีความพินาศ และพวกมนุษย์ผู้ยึดถือโดยชอบธรรม มีความสวัสดีในทาง

กันดารที่อมนุษย์หวงแหนยังลี้ลับสำหรับข้าพระองค์ ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์

เลย ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงกระทำเหตุนี้

ให้ปรากฏ เหมือนยังพระจันทร์เต็มดวงให้เด่นขึ้นในอากาศฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี เราแลบำเพ็ญ

บารมี ๑๐ ทัศในกาลหาปริมาณมิได้ ได้แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ ก็เพื่อ

จะคัดความสงสัยของชาวโลกนั่นแล ท่านจงเงี่ยโสตฟังโดยเคารพ เหมือน

บุคคลเอาถาดทองคำบรรจุเต็มด้วยน้ำมันเหลวแห่งราชสีห์ฉะนั้น แล้วทรงยัง

สติให้เกิดแก่เศรษฐี แล้วได้ทรงกระทำเหตุการณ์แม้อันระหว่างภพปกปิดไว้

ให้ปรากฏ ดุจทำลายกลุ่มหมอกนำพระจันทร์เพ็ญออกมาฉะนั้น.

ในอดีตกาล ได้มีพระราชาพระนามว่าพรหมทัตอยู่ในพระนครพาราณสี

แคว้นกาสิกรัฐ. ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลพ่อค้าเกวียน ถึง

ความเจริญวัยโดยลำดับ ได้เที่ยวกระทำการค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม. พระ-

โพธิสัตว์นั้น บางครั้งจากต้นแดนไปยังปลายแดน บางครั้งจากปลายแดน

ไปยังต้นแดน. ก็ในเมืองพาราณสีนั้น แหละมีบุตรพ่อค้าเกวียนอีกคนหนึ่ง. บุตร

พ่อค้าเกวียนคนนั้น เป็นคนเขลา ไม่เป็นคนมีปัญญา ไม่ฉลาด ในอุบาย.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์มาเอาสินค้ามีค่ามากจากเมืองพาราณสีบันทุกเต็ม

เกวียน ๕๐๐ เล่ม ทำการเตรียมจะเดินทางแล้วพักอยู่. ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียน

ผู้เขลานั้นก็บันทุกเต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม อย่างนั้นเหมือนกัน แล้วทำการเตรียม

เดินทางพักอยู่. พระโพธิสัตว์คิดว่า ถ้าบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานี้จักไปพร้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

กับเราทีเดียวไซร้ เมื่อเกวียนพันเล่มไปพร้อมกัน แม้ที่ก็จักไม่พอเดิน ฟืน

และน้ำเป็นต้น ของพวกมนุษย์ก็ดี หญ้าของพวกโคก็ดี จักหาได้ยาก บุตรพ่อ

ค้าเกวียนผู้เขลานี้หรือเรา ควรจะไปข้างหน้า. พระโพธิสัตว์นั้นจึงเรียกบุตรพ่อค้า

เกวียนนั้นมาบอกเนื้อความนั้นแล้วกล่าวว่า เราทั้งสองไม่อาจไปรวมกัน ท่าน

จักไปข้างหน้าหรือข้างหลัง. บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นคิดว่า เมื่อเราไปข้างหน้าจะมี

อานิสงส์มาก เราจักไปโดยหนทางยังไม่แตกเลย. พวกโคจักได้เคี้ยวกินหญ้าที่ยัง

ไม่มีใครถูกต้อง พวกผู้คนจักมีผักอันเกื้อกูลแก่แกงซึ่งยังไม่ได้จับต้องน้ำจักใส

เราเมื่อไปตามชอบใจ จักตั้งราคาขายสินค้าได้. บุตรพ่อค้าเกวียนนั้นจึงกล่าว

ว่า สหายเราจักไปข้างหน้า. พระโพธิสัตว์ได้เห็นการไปข้างหลังว่ามีอานิสงส์มาก.

พระโพธิสัตว์นั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า คนเหล่านั้นเมื่อไปข้างหน้า จักกระทำ

ที่อันขรุขระในหนทางให้สม่ำเสมอ เราจักเดินทางไปตามทางที่คนเหล่านั้นไป

แล้ว เมื่อโคพลิพัทธ์ (คือโคใช้งาน) ซึ่งไปข้างหน้ากินหญ้าแก่และแข็ง โค

ทั้งหลายของเราจักเคี้ยวกินหญ้าอร่อยซึ่งงอกขึ้นใหม่ ผักซึ่งใช้ทำแกงของพวก

มนุษย์ ซึ่งงอกขึ้นจากที่ที่ถูกเด็ดเอาไปจักเป็นของอร่อย ในที่ที่ไม่มีน้ำ คน

เหล่านั้นจักขุดบ่อทำให้น้ำเกิดขึ้น เราจักดื่มน้ำในบ่อที่คนเหล่านั้นขุดไว้ ชื่อว่า

การตั้งราคาสินค้า เป็นเช่นกับการปลงชีวิตมนุษย์ เราไปข้างหลังจักขายสินค้า

ตามราคาที่คนเหล่านี้ตั้งไว้. พระโพธิสัตว์นั้นเห็นอานิสงส์มีประมาณเท่านี้จึง

กล่าวว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงไปข้างหน้าเถิด. บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลารับคำ

แล้ว จึงเทียมเกวียนทั้งหลายเป็นการใหญ่ ออกไปล่วงพ้นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์

ถึงปากทางกันดาร โดยลำดับ.

ชื่อว่ากันดารมี ๕ อย่าง คือ กันดารเพราะโจร ๑ กันดารเพราะสัตว์

ร้าย ๑ กันดารเพราะขาดน้ำ ๑ กันดารเพราะอมนุษย์ ๑ กันดารเพราะอาหารน้อย

๑. ในกันดาร ๕ อย่างนั้นทางที่พวกโจรซุ่มอยู่ชื่อว่ากันดารเพราะโจรทางที่สีหะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

เป็นต้น ชุกชุม ชื่อว่ากันดารเพราะสัตว์ร้ายอาศัยอยู่. สถานที่ที่ไม่มีน้ำอาบหรือ

น้ำกิน ชื่อว่ากันดารเพราะขาดน้ำ. ทางที่อมนุษย์สิงอยู่ ชื่อว่ากันดารเพราะมี

อมนุษย์สิงอยู่. สถานที่ซึ่งเว้นจากของควรเคี้ยวอันเกิดแต่หัว เป็นต้น ชื่อว่า

กันดารเพราะอาหารน้อย ในกันดาร ๕ อย่างนี้ กันดารนั้นหมายเอากันดาร

เพราะการขาดน้ำและกันดารเพราะมีอมนุษย์สิงอยู่. เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้า

เกวียนผู้เขลานั้นจึงตั้งตุ่มใหญ่ ๆ ไว้บนเกวียนทั้งหลาย บรรจุเติมด้วยน้ำ

เดินทางกันดาร ๖๐ โยชน์.

ครั้นในเวลาที่บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น ถึงท่ามกลางทางกันดาร ยักษ์

ผู้สิงอยู่ในทางกันดารคิดว่า เราจักให้พวกมนุษย์เหล่านี้ ทิ้งน้ำที่บันทุกมาเสีย

ทำให้กะปลกกะเปลี้ยแล้วกินมันทั้งหมด จึงนิรมิตยานน้อย น่ารื่นรมย์ เทียมด้วย

โคพลิพัทหนุ่มขาวปลอด ห้อมล้อมด้วยอมนุษย์ ๑๒ คน ชุ่มด้วยน้ำและโคลน

ถืออาวุธพร้อมทั้งโล่เป็นต้น ประดับดอกอุบลและโกมุท มีผมเปียกและผ้า

เปียกนั่งมาบนยานน้อยนั้น ประหนึ่งคนเป็นใหญ่มีล้อยานเปื้อนเปือกตม เดิน

สวนทางมา.

ฝ่ายพวกอมนุษย์ผู้เป็นบริวารของยักษ์นั้น เดินไปมาข้างหน้าและข้าง

หลัง มีผมเปียกและผ้าเปียก ประดับดอกอุบลและดอกโกมุท ถือกำดอกปทุม

และดอกบุณฑริก เคี้ยวกินเหง้าบัว มีหยาดน้ำและโคลนหยด ได้พากันเดินไป.

ก็ธรรมดาว่าพ่อค้าเกวียนทั้งหลาย ในกาลใด ลมพัดมาข้างหน้า ในกาลนั้น

จะนั่งบนยานน้อยห้อมล้อมด้วยคนอุปัฏฐาก หลีกเลี่ยงฝุ่นในหนทางไปข้างหน้า

ในกาลใด ลมพัดมาข้างหลัง ในกาลนั้น ก็หลีกไปทางข้างหลังโดยนัยนั้นนั่นแล.

ก็ในกาลนั้น ได้มีลมพัดมาข้างหน้า เพราะฉะนั้น บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น

จึงได้ไปข้างหน้า. ยักษ์นั้นเห็นบุตรพ่อค้าเกวียนนั้น กำลังมาอยู่ จึงให้ยานน้อย

ของตนหลีกลงจากทางได้ทำการปฏิสันถารกับบุตรพ่อค้าเกวียนนั้นว่า ท่าน

ทั้งหลายจะไปไหน. ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียนก็ยังยานน้อยของตนหลีกลงจากทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

ให้โอกาสเกวียนทั้งหลายไป แล้วยืน ณ ส่วนข้างหนึ่งกล่าวกะยักษ์ว่า ท่านผู้เจริญ

ฝ่ายพวกเรามาจากเมืองพาราณสี ส่วนท่านทั้งหลายประดับดอกอุบลและโกมุท

ถือดอกประทุมและบุณฑริกเป็นต้น เคี้ยวกินเหง้าบัว เปื้อนด้วยเปือกตม มีหยด

น้ำไหล พากันมา ในหนทางที่ท่านทั้งหลายมา ฝนตกหรือหนอ มีสระน้ำ

ดารดาษด้วยดอกอุบลเป็นต้นหรือ. ยักษ์ได้ฟังถ้อยคำของบุตรพ่อค้าเกวียนนั้น

แล้วจึงกล่าวว่า สหาย ท่านพูดอะไร ที่นั้น ราวป่าเขียวปรากฏอยู่ ตั้งแต่ที่นั้นไป.

ป่าทั้งสิ้นมีน้ำอยู่ทั่วไป ฝนตกเป็นประจำ แม้แต่ซอกเขาก็เต็ม (ด้วยน้ำ) ในที่

นั้น ๆ มีสระน้ำดารดาษด้วยดอกปทุม. เมื่อเกวียนทั้งหลายผ่านไปโดยลำดับ จึง

ถามว่า ท่านพาเกวียนเหล่านี้มา จะไปไหนกัน ? บุตรพ่อค้าเกวียนกล่าวว่า จะ

ไปยังชนบทชื่อโน้น . ยักษ์กล่าวว่า ในเกวียนเล่มนี้และเล่มนี้ มีสินค้าชื่ออะไร.

บุตรพ่อค้าเกวียนตอบว่า มีสินค้าชื่อโน้น และชื่อโน้น. ยักษ์กล่าวว่า เกวียนที่

มาข้างหลังเป็นเกวียนหนักมาก กำลังมาอยู่ ในเกวียนนั้น มีสินค้าอะไร. บุตร

พ่อค้าเกวียนกล่าวว่า ในเกวียนเล่มนี้มีน้ำ. ยักษ์กล่าวว่า ก่อนอื่นท่านทั้งหลาย

นำน้ำมาข้างหลังด้วย ได้การทำความเนิ่นช้าแล้ว ก็ตั้งแต่นี้ไป กิจด้วยน้ำย่อม

ไม่มี ข้างหน้ามีน้ำมาก ท่านทั้งหลายจงทุบตุ่ม เทน้ำทิ้งเสีย จงไปด้วยเกวียน

เบาเถิด. ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วจึงพูดว่า ท่านทั้งหลายจงไปเถอะ ความ

ชักช้าจะมีแก่พวกเรา แล้วเดินไปหน่อยหนึ่ง ถึงที่ที่คนเหล่านั้นมองไม่เห็น

ก็ได้ไปยังนครยักษ์ของตนนั้นแล.

ฝ่ายพ่อค้าเกวียนผู้เขลานั้น เพราะความที่คนเป็นคนเขลาจึงเชื่อคำของ

ยักษ์นั้น จึงให้ทุบตุ่มทั้งหลายทั้งทั้งหมดไม่เหลือน้ำแม้สักฟายมือเดียว

แล้วขับเกวียนไป ข้างหน้าชื่อว่าน้ำแม้มีประมาณน้อย มิได้มี. มนุษย์ทั้งหลาย

เมื่อไม่ได้น้ำดื่มพากันลำบากแล้ว คนเหล่านั้นพากันไปจนพระอาทิตย์อัสดง

จึงปลดเกวียน พักเกวียนให้เป็นวงแล้วผูกโคที่ล้อเกวียน. น้ำไม่มีแก่พวกโค

หรือข้าวยาคูและภัตก็ไม่มีแก่พวกมนุษย์. ฝ่ายพวกมนุษย์มีกำลังเปลี้ยลง ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

ใส่ใจพากันนอนหลับไปในที่นั้น ๆ. ในลำดับอันเป็นส่วนราตรี ยักษ์ทั้งหลายมา

จากนครยักษ์ ยังโคและมนุษย์ทั้งหมดนั้นแลให้ถึงแก่ความตาย แล้วกินเนื้อ

ของโคและมนุษย์เหล่านั้น ไม่ไห้เหลือแม้แต่กระดูก แล้วจึงพากันไป. ชน

เหล่านั้น แม้ทั้งหมดถึงความพินาศ เพราะอาศัยบุตรพ่อค้าเกวียนผู้โง่เขลาคน

เดียว ด้วยประการอย่างนี้ กระดูกมือเป็นต้นได้กระจัดกระจายไปในทิศน้อยทิศ

ใหญ่ เกวียน ๕๐๐ เล่มได้ตั้งอยู่ตามที่บรรทุกไว้เต็มอย่างเดิมแล.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์แล จำเดิมแต่วันที่บุตรพ่อค้าเกวียนโง่ออกไปแล้ว

ก็ยับยั้งอยู่ประมาณกึงเดือน จึงพากันออกจากพระนครพร้อมกับเกวียน ๕๐๐

เล่ม ถึงปากทางกันดารโดยลำดับ. พระโพธิสัตว์นั้นจึงยังตุ่มน้ำให้เต็ม ณ ปาก

ทางกันดารนั้น พาเอาน้ำเป็นอันมากไปให้เทียวตีกลองป่าวร้องภายในกองค่าย

ให้พวกชนประชุมกันแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านยังไม่

ขออนุญาตข้าพเจ้า อย่าได้เทน้ำ แม้สักเท่าซองมือหนึ่ง ชื่อว่าต้นไม้มีพิษ

ย่อมมีในทางกันดาร ใบไม้ดอกไม้หรือผลไม้ ท่านทั้งหลายไม่เคยกินในกาล

ก่อนมีอยู่ พวกท่านยังไม่ได้ไต่ถามแม้ข้าพเจ้าก็อย่าได้เคี้ยวกิน ครั้นให้โอวาท

แม้แก่คนทั้งหลายอย่างนี้แล้วจึงเดินทางกันดารด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม.

เมื่อพระโพธิสัตว์ถึงท่ามกลางทางกันดาร ยักษ์นั้นได้แสดงตนใน

หนทางสวนกันแก่พระโพธิสัตว์ โดยนัยก่อนนั่นแหละ พระโพธิสัตว์พอเห็น

ยักษ์นั้นเท่านั้น ได้รู้ว่าในทางกันดารนี้แหละ ไม่มีน้ำ นี้ชื่อว่ากันดารเพราะ

ไม่มีน้ำ อนึ่ง ผู้นี้ไม่มีท่าทีเกรงกลัว มีนัยน์ตาแดง แม้เงาของเขาก็ไม่ปรากฏ.

บุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลาให้ทิ้งน้ำหมดพากันลำบาก พร้อมทั้งบริษัทจักถูกยักษ์

นี้กินเสียแล้วโดยไม่ต้องสงสัย แต่ยักษ์นี้ เห็นจะไม่รู้ความที่เราเป็นบัณฑิต

และความที่เราเป็นผู้ฉลาดในอุบาย.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์นั้น กล่าวกะยักษ์นั้นว่า พวกท่านจงไปเถิด

พวกเราชื่อว่าเป็นพ่อค้า ยังไม่เห็นน้ำอื่นจะไม่ทิ้งน้ำที่บรรทุกเอามา แต่เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

ทั้งหลายจะทิ้งในที่ที่ได้เห็นแล้ว ทำเกวียนทั้งหลายให้เบาแล้วจักไป. ฝ่ายยักษ์

ไปได้หน่อยหนึ่ง เข้าถึงที่ที่มองไม่เห็น แล้วไปนครยักษ์ของตนทีเดียว. เมื่อ

ยักษ์ไปแล้ว คนทั้งปวงจึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์แล้วกล่าวว่า ข้าแต่เจ้านาย

คนเหล่านั้นกล่าวว่า นั่นแนวป่าเขียวปรากฏอยู่ จำเดิมแต่ที่นั้นไป ฝนจักตกเป็น

นิตย์ เป็นผู้สวมมาลัยดอกอุบลและโกมุท ถือกำดอกปทุมและบุณฑริก

เคี้ยวกินเหง้าบัว มีผ้าเปียก และมีผมเปียก มีหยาดน้ำและโคลนไหลหยดมา

พวกเราจักทิ้งน้ำ มีเกวียนเบาจะไปได้เร็ว. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้ฟังคำของคน

เหล่านั้นแล้วจึงให้พักเกวียน ให้คนทั้งหมดประชุมกันแล้วถามว่า พวกท่าน

เคยได้ฟังมาจากใคร ๆ หรือว่า ในที่กันดารนี้ มีสระน้ำหรือสระโบกขรณี.

คนทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่เจ้านาย ไม่เคยได้ยิน พระโพธิสัตว์กล่าวว่า นี้

ชื่อว่ากันดารเพราะน้ำไม่มี. บัดนี้ คนพวกหนึ่งพูดว่า เบื้องหน้าแต่แนวป่า

เขียวนั้น ฝนตก ธรรมดาว่าลมฝนจะพัดไปถึงที่มีประมาณเท่าไร ? คน

ทั้งหลายกล่าวว่า พัดไปได้ประมาณ ๓ โยชน์ ขอรับ เจ้านาย. พระโพธิสัตว์

ถามว่า ลมกับฝนกระทบร่างกายของบุคคลแม้คนหนึ่ง บรรดาพวกท่าน มี

อยู่หรือ ? คนทั้งหลายกล่าวว่า ไม่มีขอรับ. พระโพธิสัตว์ถามว่า ธรรมดา

ก้อนเมฆย่อมปรากฏในที่มีประมาณเท่าไร ? คนทั้งหลายกล่าวว่า ในที่ประมาณ

๓ โยชน์ ขอรับ. พระโพธิสัตว์ถามว่า ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใคร ๆ เห็น

ก้อนเมฆก้อนหนึ่ง มีอยู่หรือ ? คนทั้งหลายกล่าวว่า ไม่มีขอรับ.

พระโพธิสัตว์. ธรรมดาสายฟ้าปรากฏในที่มีประมาณเท่าไร ?

คนทั้งหลาย. ในที่ประมาณ ๔-๕ โยชน์ ขอรับ.

พระโพธิสัตว์. ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใคร ๆ ที่เห็นแสงสว่างของ

สายฟ้า มีอยู่หรือ ?

คนทั้งหลาย. ไม่มีขอรับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

พระโพธิสัตว์. ธรรมดาเสียงเมฆจะได้ยินในที่มีประมาณเท่าไร ?

คนทั้งหลาย. ในที่ ๑-๒ โยชน์ ขอรับ.

พระโพธิสัตว์. ก็บรรดาท่านทั้งหลาย ใครๆ ที่ได้ยินเสียงเมฆ มีอยู่

หรือ ?

คนทั้งหลาย. ไม่มีขอรับ.

พระโพธิสัตว์. ท่านทั้งหลายรู้จักคนเหล่านั้นหรือ ?

คนทั้งหลาย. ไม่รู้จักขอรับ.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า คนเหล่านั้นไม่ใช่มนุษย์ คนเหล่านั้นเป็นยักษ์

พวกมันจักมาเพื่อยุให้พวกเราทิ้งน้ำ กระทำให้อ่อนกำลังแล้วจะเคี้ยวกิน บุตร

พ่อค้าเกวียนผู้เขลาซึ่งไปข้างหน้า ไม่ฉลาดในอุบายเขาคงจักถูกยักษ์เหล่านี้ ให้

ทิ้งน้ำ ลำบากแล้วเคี้ยวกินเสียเป็นแน่ เกวียน ๕๐๐ เล่ม จักจอดอยู่ตามที่

บรรทุกไว้เต็มนั่นแหละ วันนี้ พวกเราจักเห็นเกวียนเหล่านั้น ท่านทั้งหลาย

อย่าได้ทิ้งน้ำแม้มาตรว่าฟายมือหนึ่ง จงรีบขับเกวียนไปเร็ว ๆ

พระโพธิสัตว์นั้นมาอยู่ เห็นเกวียน ๕๐๐ เล่ม ตามที่บรรทุกไว้เต็มนั่น

แหละ และกระดูกคางเป็นต้น ของมนุษย์ทั้งหลายและของเหล่าใด กระจัดกระจาย

อยู่ในทิศน้อยทิศใหญ่ จึงให้ปลดเกวียน ให้ตั้งกองค่ายโดยเอาเกวียนวงรอบ ให้

คนและโคกินอาหารเย็น ต่อเวลายังวันให้โคทั้งหลายนอนตรงกลางคนทั้งหลาย

ตนเองพาเอาคนผู้มีกำลังแข็งแรง มือถือดาบ ตั้งการอารักขาตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม

ยืนเท่านั้น (ไม่นอน) จนอรุณขึ้น. วันรุ่งขึ้น พระโพธิสัตว์ทำกิจทั้งปวงให้

เสร็จแต่เช้าตรู่. ให้โคทั้งหลายกินแล้วให้ทิ้งเกวียนที่ไม่แข็งแรงเสีย ให้ถือเอา

เกวียนที่แน่นหนา ให้ทิ้งสิ่งของที่มีราคาน้อยเสีย ให้ขนสิ่งของที่มีค่ามากขึ้น

ไปยังที่ตามที่ปรารถนา ๆ ขายสิ่งของด้วยมูลค่า ๒ เท่า ๓ เท่า ได้พาบริษัท

ทั้งหมดไปยังนครของตน ๆ นั่นแลอีก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

พระศาสดาครั้นตรัสธรรมกถานี้แล้วตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ในกาล

ก่อน คนผู้มีปกติยึดถือโดยการคาดคะเน ถึงความพินาศใหญ่หลวงด้วย

ประการอย่างนี้ ส่วนคนผู้มีปรกติยึดถือคามความจริง พ้นจากเงื้อมมือของ

พวกอมนุษย์ ไปถึงที่ที่ปรารถนา ๆ โดยสวัสดี แล้วกลับมาเฉพาะยังที่อยู่ของ

ตนแม้อีก เมื่อจะทรงสืบต่อเรื่องแม้ทั้งสองเรื่อง ทรงเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเองใน

อปัณณกธรรมเทศนานี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

คนพวกหนึ่งกล่าวฐานะไม่ผิด นักเดาทั้งหลาย

กล่าวฐานะนั้น ว่าเป็นที่สอง คนมีปัญญารู้ฐานะและ

มิใช่ฐานะนั้นแล้วควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปณฺณก ได้แก่ เป็นไปอย่างแน่นอน

คือ ไม่ผิด เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. บทว่า าน ได้แก่ เหตุ. จริงอยู่

ในเหตุ เพราะเหตุที่ผลชื่อว่าย่อมตั้งอยู่ เพราะมีความเป็นไปต่อเนื่องกับเหตุนั้น

ฉะนั้น ท่านจึงเรียกเหตุนั้นว่าฐานะ และพึงทราบประโยคของบทว่า าน

นั้นในประโยคมีอาทิว่า านญฺจ านโต อานญฺจ อานโต ฐานะโดย

ฐานะ และมิใช่ฐานะ.โดยมิใช่ฐานะ. ดังนั้น แม้ด้วยบททั้งสองว่า อปณฺณ-

กฏฺาน ท่านแสดงว่า เหตุใดนำมาซึ่งความสุขโดยส่วนเดียว เหตุนั้น

บัณฑิตทั้งหลายปฏิบัติแล้ว เหตุอันเป็นไปอย่างแน่นอน เหตุอันงาม ชื่อว่า

อปัณณกะไม่ผิด นี้เป็นเหตุอันไม่ผิด เป็นเหตุเครื่องนำออกจากทุกข์ ความ

ย่อในที่นี้ เพียงเท่านี้. แต่เมื่อว่าโดยประเภท สรณคมน์ ๓ ศีล ๕ ศีล ๘

ศีล ๑๐ ปาฏิโมกขสังวร อินทรีย์สังวร อาชีวปาริสุทธิศีล ปัจจยปฏิเสวนะ

การเสพปัจจัย จตุปาริสุทธิศีลแม้ทั้งหมด ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลาย ความรู้ประมาณในโภชนะ ชาคริยานุโยค ฌาน วิปัสสนา อภิญญา

สมาบัติ อริยมรรค อริยผล แม้ทั้งหมดนี้ เป็นฐานะอันไม่ผิด อธิบายว่า

ข้อปฏิบัติไม่ผิด ข้อปฏิบัติอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

ก็แหละ เพราะเหตุที่ฐานะอันไม่ผิดนี้ เป็นชื่อของข้อปฏิบัติเครื่อง

นำออกจากทุกข์ เพราะฉะนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงข้อ

ปฏิบัติอันไม่ผิดนั้น จึงตรัสพระสูตรนี้ว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นผู้

ปฏิบัติข้อปฏิบัติอันไม่ผิด เป็นผู้มีความเพียร และเป็นผู้ปรารภความเพียรนั้น

เพื่อความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ๓ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณใน

โภชนะ เป็นผู้ประกอบตามความเพียรเครื่องตื่นอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อย่างไรเล่า ภิกษุเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุ ย่อมไม่ถือเอาโดยนิมิต ฯลฯ ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์

ทั้งหลาย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว

บริโภคอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตก-

แต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ เพื่อให้ดำเนินไป เพื่องดเว้นการเบียดเบียน

เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ดังนั้น เราจะบำบัดเวทนาเก่า ไม่ให้เวทนาใหม่

เกิดขึ้น การยังชีวิตให้ดำเนินไป ความไม่มีโทษและการอยู่ผาสุก จักมีแก่เรา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ อย่างนี้และ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเครื่อง

ตื่นอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ชำระจิตจากธรรมเครื่อง

กางกัน ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน ชำระจิตจากธรรมเครื่องกาง

กั้น ด้วยการจงกรม ด้วยกาฟัง ตลอดปฐมยามแห่งราตรี สำเร็จสีหไสยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

โดยข้างเบื้องขวา เอาเท้าซ้อนเท้า มีสติสัมปชัญญะ ทำไว้ในใจถึงความ

สำคัญในการลุกขึ้น ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรีลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตจากธรรม

เครื่องกางกั้น ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี. ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความ

เพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่" ดังนี้.

ก็ในพระสูตรนี้ตรัสธรรม ๓ ประการ อปัณณกปฏิปทา คือข้อปฏิบัติ

ไม่ผิดนี้ ย่อมใช้ได้จนกระทั่งอรหัตผลทีเดียว. ในอปัณณกปฏิปทานนี้ แม้

อรหัตผลก็ย่อมชื่อว่าเป็นปฏิปทาแก่การอยู่ด้วยผลสมาบัติ และแก่ปรินิพพาน

ที่ไม่มีขันธ์ ๕ เหลือ. บทว่า เอเก ได้แก่ คนผู้เป็นบัณฑิตพวกหนึ่ง. แม้ใน

บทว่า เอเก นั้น ไม่มีการกำหนดลงไปอย่างแน่นอนว่า คนชื่อโน้น ก็

จริง แต่ถึงกระนั้น คำว่า เอเก ที่แปลว่า พวกหนึ่งนี้ พึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาเฉพาะพระโพธิสัตว์พร้อมทั้งบริษัท. บทว่า

ทุติย ที่สอง ในบทว่า ทุติย อาหุ ตกฺกิกา นักเดากล่าวว่าเป็นฐานะ

ที่สอง นี้ ได้แก่ เหตุแห่งการยึดถือเอาโดยการเดา คือเหตุอันไม่เป็นเครื่อง

นำออกจากทุกข์ ว่าเป็นที่สอง จากฐานะอันไม่ผิดที่หนึ่ง คือ จากเหตุอัน

เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์.

ก็ในบทว่า อาหุ ตกฺกิกา นี้ มีการประกอบความกับบทแรก ดัง

ต่อไปนี้ :- คนที่เป็นบัณฑิตพวกหนึ่ง มีพระโพธิสัตว์เป็นประธาน ถือเอา

ฐานะที่ไม่ผิด คือ เหตุอันเป็นไปอย่างแน่นนอน ได้แก่เหตุอันไม่ผิด เหตุ

อันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ส่วนนักคาดคะเน มีบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เขลา

เป็นประธานนั้น กล่าวคือ ได้ถือเอาฐานะที่เป็นไปโดยไม่แน่นอน คือ เหตุ

ที่ผิด ได้แก่ เหตุอันไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ซึ่งมีโทษ ว่าเป็นที่สอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

บรรดาชนทั้งสองพวกนั้น ชนที่ถือฐานะอันไม่ผิดนั้น เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาขาว

ส่วนชนที่ถือเหตุอัน ไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ กล่าวคือการยึดถือโดยคาด

คะเนเอาว่า ข้างหน้ามีน้ำ ว่าเป็นที่สองนั้น เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาคำ. ในปฏิปทา

สองอย่างนั้น ปฏิปทาขาว เป็นปฏิปทาไม่เสื่อม ส่วนปฏิปทาดำ เป็นปฏิปทา

เสื่อม เพราะฉะนั้น ชนผู้ปฏิบัติปฏิปทาขาว เป็นผู้ไม่เสื่อม ถึงแก่ความ

สวัสดี ส่วนชนผู้ปฏิบัติปฏิปทาดำ เป็นผู้เสื่อม ถึงแก่ความพินาศฉิบหาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่อนาถบิณฑิกคฤหบดี ถึงเนื้อความดังพรรณนามา

นี้แล้ว ตรัสพระดำรัสนี้ให้ยิ่งขึ้นว่า คนมีปัญญา รู้ฐานะ และมิใช่ฐานะนี้แล้ว

ควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิดไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตทญฺาย เมธาวี ความว่า กุลบุตร

ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันหมดจด สูงสุด ซึ่งได้นามว่า เมธา รู้คุณและโทษ

ความเจริญและความเสื่อม ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ฐานะและมิใช่ฐานะ

ในฐานะทั้งหลายกล่าวคือการยึดถือฐานะไม่ผิด และการยึดถือโดยการคาดคะเน

ทั้งสอง คือ ในฐานะที่ไม่ผิดและฐานะที่ผิด นี้.

บทว่า ต คณฺเห ยทปณฺณก ความว่า ควรถือเอาฐานะที่ไม่ผิด

คือที่เป็นไปโดยแน่นอน เป็นปฏิปทาขาว เป็นเหตุเครื่องนำออกจากทุกข์

กล่าวคือปฏิปทาอื่นไม่เสื่อมนั้นนั่นแหละไว้. เพราะเหตุไร ? เพราะภาวะมี

ความเป็นไปแน่นอนเป็นต้น . ส่วนนอกนี้ไม่ควรถือเอา. เพราะเหตุไร ? เพราะ

ภาวะมีความเป็นไปไม่แน่นอน. จริงอยู่ ชื่อว่าอปัณณกปฏิปทาน เป็นปฏิปทา

ของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระพุทธบุตรทั้งปวงแล. ก็พระพุทธ-

เจ้าทั้งปวง ตั้งอยู่เฉพาะในอปัณณกปฏิปทาบำเพ็ญบารมีทั้งหลายด้วยความเพียร

มั่น ชื่อว่าเป็นพระพุทธเจ้าที่ลานต้นโพธิ. แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ยังปัจเจก-

โพธิญาณให้เกิดขึ้น แม้พุทธบุตรทั้งหลายก็ตรัสรู้เฉพาะสาวกบารมีญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ทรงประทานกุศลสมบัติทั้ง ๓ กามาวจรสวรรค์

๖ และสมบัติในพรหมโลก แก่อุบาสกเหล่านั้น ด้วยประการดังนี้ ในที่สุดทรง

แสดงอปัณณกปฏิปทานี้ว่า ชื่อว่าปฏิปทาที่ไม่ผิด ให้อรหัตผล. ชื่อว่าปฏิปทา

ที่ผิด ให้การบังเกิดในอบาย ๔ และในตระกูลต่ำ ๕ แล้วทรงประกาศอริยสัจ

๔ โดยอาการ ๑๖ ให้ยิ่งในรูป. ในเวลาจบอริยสัจ ๘ อุบาสก ๕๐๐ คน

แม้ทั้งหมดนั้น ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.

พระศาสดา ครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงแสดงเรื่อง

๒ เรื่องสืบอนุสนธิกัน แล้วทรงประมวลชาดกมาแสดงทรงทำพระเทศนาให้จบ

ลงว่า บุตรพ่อค้าเกวียนผู้โง่เขลาในสมัยนั้น ได้เป็น พระเทวทัต ในบัดนี้

แม้บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนโง่นั้นก็ได้เป็นบริษัทของเทวทัต ในบัดนี้

บริษัทของบุตรพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิต ในครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทใน

บัดนี้ ส่วนบุตรของพ่อค้าเกวียนผู้เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต.

จบอปัณณกชาดกที่ ๑

๒. วัณณุปถชาดก

ว่าด้วยผู้ไม่เกียจคร้าน

[๒] ชนทั้งหลายผู้ไม่เกียจคร้าน ขุดภาคพื้นที่

ทางทราย ได้พบน้ำในทางทรายนั้น ณ ที่ลานกลางแจ้ง

ฉันใดมุนีผู้ประกอบด้วยความเพียรและกำลัง เป็นผู้

ไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ ฉันนั้น.

จบวัณณปุถชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

๒. อรรถกถาวัณณุปถชาดก

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับ อยู่ในพระนครสาวัตถี ตรัสพระธรรม

เทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อกิลาสุโน ดังนี้. ถามว่า ทรงปรารภใคร ? ตอบ

ว่า ทรงปรารภภิกษุผู้สละความเพียรรูปหนึ่ง.

ดังได้สดับมา เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในนครสาวัตถี มีกุลบุตร

ชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ไปพระเชตวันวิหาร สดับพระธรรมเทศนาในสำนัก

ของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส เห็นโทษในกามและอานิสงส์ในการออกจากกาม

จึงบวช อุปสมบทได้ ๕ พรรษา เรียนได้มาติกา ๒ บท ศึกษาการประพฤติ

วิปัสสนา รับพระกรรมฐานที่จิตของตนชอบ ในสำนักของพระศาสดาเข้าไป

ยังป่าแห่งหนึ่ง จำพรรษา พยายามอยู่ตลอดไตรมาสไม่อาจทำสักว่าโอภาสหรือ

นิมิตให้เกิดขึ้น. ลำดับนั้น ภิกษุนั้น ได้มีความคิดดังนี้ว่า พระศาสดาตรัสบุคคล

๔ จำพวก ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น เราคงจะเป็นปทปรมะ เราเห็นจะไม่มี

มรรคหรือผลในอัตภาพนี้ เราจักกระทำอะไรด้วยการอยู่ป่า เราจักไปยังสำนัก

ของพระศาสดา แลดูพระรูปของพระพุทธเจ้าอันถึงความงามแห่งพระรูปอย่าง

ยิ่ง ฟังพระธรรมเทศนาอันไพเราะอยู่ (จะดีกว่า) ครั้นคิดแล้วก็กลับมายัง

พระเชตวันวิหารนั่นแลอีก.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนเห็นและคบกัน กล่าวกะภิกษุนั้น

ว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านเรียนกรรมฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วไปด้วยหวัง

ใจว่า จักกระทำสมณธรรม แค่บัดนี้ มาเที่ยวรื่นรมย์ด้วยการคลุกคลีอยู่ กิจแห่ง

บรรพชิตของท่านถึงพูดแล้วหรือหนอ ท่านจะเป็นผู้ไม่มีปฏิสนธิแลหรือ

ภิกษุนั้น กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เราไม่ได้มรรคหรือผล จึงคิดว่าเราน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

จะเป็นอภัพพบุคคล จึงได้สละความเพียรแล้วมาเสีย. ภิกษุเหล่านั้น กล่าวว่า

ดูก่อนอาวุโส ท่านบวชในพระศาสนาพองพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรมั่นแล้ว

ละความเพียรเสีย กระทำสิ่งอันมิใช่เหตุแล้ว มาเถิดท่าน พวกเราจักแสดง

ท่านแด่พระตถาคต. ครั้นกล่าวแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้พาภิกษุนั้นไปยังสำนัก

ของพระศาสดา.

พระศาสดาพอทรงเห็นภิกษุนั้น จึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอเป็นผู้พาภิกษุผู้ไม่ปรารถนารูปนี้มาแล้ว ภิกษุนี้ทำอะไร. ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุนี้บวชในพระศาสนาอันเป็น

เครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ไม่อาจกระทำสมณธรรม ละความเพียรเสีย

มาแล้ว. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอละ

ความเพียรจริงหรือ. ภิกษุนั้น กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำ

ออกจากทุกข์เห็นปานนี้ ทำไมจึงไม่ให้เขารู้จักตนอย่างนี้ว่า เป็นผู้มักน้อย

หรือว่า เป็นผู้สันโดษหรือว่าเป็นผู้สงัด หรือว่าเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง หรือว่าเป็น

ผู้ปรารภความเพียร ให้เขารู้จักว่า เป็นภิกษุผู้ละความเพียร เมื่อครั้งก่อน

เธอได้เป็นผู้มีความเพียรมิใช่หรือ เมื่อเกวียน ๕๐๐ เล่ม ไปในทางกันดาร

เพราะทราย พวกมนุษย์และโคทั้งหลายได้น้ำดื่มมีความสุข เพราะอาศัยความ

เพียรซึ่งเธอผู้เดียวกระทำแล้ว เพราะเหตุไร บัดนี้ เธอจึงละความเพียรเสีย.

ภิกษุนั้น โลกกำลังใจด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.

ฝ่ายภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสนั้น จึงอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ความที่ความเพียรอันภิกษุนี้สละแล้ว ปรากฏแก่

ข้าพระองค์ทั้งหลายในบัดนี้แล้ว ก็ในกาลก่อน ความที่โคและมนุษย์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

ได้น้ำดื่มมีความสุขในทางกันดารเพราะทราย เหตุอาศัยความเพียรที่ภิกษุนี้

กระทำ ยังสลับสำหรับข้าพระองค์ทั้งหลาย ปรากฏแก่พระองค์ผู้ทรงบรรลุ

พระสัพพัญญตญาณเท่านั้น ขอพระองค์จงตรัสเหตุนี้แม้แก่ข้าพระองค์

ทั้งหลายเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังการเกิดสติให้เกิดแก่ภิกษุทั้งหลาย

เหล่านั้นด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง

แล้วได้ทรงกระทำเหตุการณ์อันระหว่างแห่งภพปกปิดไว้ให้ปรากฏ.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลพ่อค้าเกวียน. พระโพธิสัตว์นั้น

เจริญวัยแล้ว เที่ยวกระทำการค้าด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม. พระโพธิสัตว์นั้นเดิน

ทางกันดารเพราะทรายแห่งหนึ่งมีระยะประมาณ ๖๐ โยชน์. ก็ในทางกันดารนั้น

ทรายละเอียดกำมือไว้ยังติดอยู่ในมือ ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นมีความร้อน เหมือน

กองถ่านเพลิง ไม่อาจข้ามไปได้ เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์นั้นเมื่อดำเนิน

ทางกันดารนั้นจึงเอาเกวียนบรรทุกฟืน น้ำ น้ำมัน และข้าวสารเป็นต้น ไป

เฉพาะกลางคืน ในเวลาอรุณขึ้นกระทำเกวียนให้เป็นวงแล้ว ให้ทำปะรำไว้เบื้อง

บนทำกิจในเรื่องอาหารให้เสร็จแต่เช้าตรู่แล้วนั่งในร่มเงาจนหมดวัน เมื่อพระ-

อาทิตย์อัสดงแล้ว บริโภคอาหารเย็น เมื่อพื้นดินเกิดความเย็น จึงเทียม

เกวียนเดินทางไป การไปเหมือนกับการไปในทะเลนั่นแหละ ยอมจะมีในทาง

กันดารนั้น. ธรรมดาผู้กำหนดบท ควรจะมี เพราะเหตุนั้น พระโพธิสัตว์นั้น

จึงให้กระทำการประกอบการไปของหมู่เกวียนตามสัญญาของดวงดาว ในกาลนั้น

พ่อค้าเกวียนแม้นั้น เมื่อจะไปยังทางกันดารนั้น ตามทำนองนี้นั้นแล จึงไปได้

๕๙ โยชน์ คิดว่า บัดนี้ โดยราตรีเดียวเท่านั้น จักออกจากทางกันดารเพราะ

ทรายจึงบริโภคอาหารเย็น ใช้ฟืนและน้ำทั้งปวงให้หมดสิ้นแล้วจึงเทียมเกวียน

๑. คนนำทาง เช่นเดียวกับคนนำร่องในทางน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

ไป คนนำทางให้ลาดอาสนะในเกวียนเล่มแรก นอนดูดาวในท้องฟ้าบอกว่า

จงขับไปข้างนี้ จงขับไปข้างโน้น คนนำทางนั้นเหน็ดเหนื่อยเพราะไม่ได้หลับ

เป็นระยะกาลนาน จึงหลับ ไป เมื่อโคหวนกลับเข้าเส้นทางที่มาเดิม ก็ไม่รู้สึก

โคทั้งหลายได้เดินทางไปตลอดคืนยังรุ่ง. คนนำทางตื่นขึ้นในเวลาอรุณขึ้น

มองดูดาวนักษัตรแล้วกล่าวว่าจงกลับเกวียน จงกลับเกวียน และเมื่อคนทั้ง

หลายพากันกลับเกวียนทำไว้ตามลำดับ ๆ นั่นแล อรุณในรูปแล้ว มนุษย์ทั้ง

หลายพากันกล่าวว่า นี่เป็นที่ตั้งค่ายที่พวกเราอยู่เมื่อวานนี้ แม้ฟืนและน้ำของ

พวกเราก็หมดแล้ว บัดนี้พวกเราฉิบหายแล้ว จึงปลดเกวียนพักไว้โดยเป็นวง

กลมแล้วทำปะรำไว้เบื้องบน นอนเศร้าโศกอยู่ภายใต้เกวียนของตน ๆ พระ-

โพธิสัตว์คิดว่า เมื่อเราละความเพียรเสีย คนทั้งหมดนั้น จักพากันฉิบหาย พอ

เวลาเช้า จึงเที่ยวไปในเวลาที่ยังมีความเย็น เห็นกอหญ้าแทรกกอหนึ่งจึงคิดว่า

หญ้าเหล่านั้นจักเกิดขึ้น เพราะความเย็นของน้ำข้างล่าง จึงให้คนถือจอบมา ให้

ขุดลงยังที่นั้น คนเหล่านั้นขุดที่ (ลึกลงไป) ได้ ๖๐ ศอก. เมื่อคนทั้งหลาย

ขุดไปถึงที่มีประมาณเท่านี้ จอบได้กระทบหินข้างล่าง. พอจอบกระทบหิน

คนทั้งปวงก็พากันละความเพียรเสีย ฝ่ายพระโพธิสัตว์คิดว่า ภายใต้หินนี้จะพึง

มีน้ำ จึงลงไปยืนที่พื้นหิน ก้มลงเงี่ยหูฟังเสียง ได้ยินเสียงน้ำเบื้องล่าง จึง

ขึ้นมาบอกกะคนรับใช้ว่า ดูก่อนพ่อ เมื่อเธอละความเพียรเสีย พวกเราจัก

ฉิบหาย เธออย่าละความเพียร จงถือเอาค้อนเหล็กนี้ลงไปยังหลุม ทุบที่หินนี้

คนรับใช้นั้นรับคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว ไม่ละความเพียรในเมื่อคนทั้งปวง

ละความเพียรยืนอยู่จึงลงไปทุบหิน. หินแตก ๒ ซีกลงไปข้างล่างได้ตั้งขวาง

กระแสน้ำอยู่. เกลียวน้ำประมาณเท่าลำตาลพุ่งขึ้น. คนทั้งปวงพากันดื่มกิน

แล้วอาบ ผ่าเพลาและแอกเป็นต้นที่เหลือเพื่อหุงข้าวยาคูและภัตบริโภคและให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

โคกิน และเมื่อพระอาทิตย์อัสดง จึงผูกธงใกล้บ่อน้ำ แล้วได้พากันไปยัง

ที่ที่ปรารถนาแล้ว ๆ. คนเหล่านั้นขายสินค้าในที่นั้นแล้วได้ลาภ ๒ เท่า ๓ เท่า

จึงได้พากันไปเฉพาะที่อยู่ของตน ๆ. คนเหล่านั้นดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นจนชั่ว

อายุแล้วไปตามยถากรรม. ฝ่ายพระโพธิสัตว์กระทำบุญมีทานเป็นต้น ได้ไป

ตามยถากรรมเหมือนกัน.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้แล้ว ทรงเป็นผู้ตรัส

รู้ยิ่งเองเทียว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

ชนทั้งหลายผู้ไม่เกียจคร้าน ขุดภาคพื้นที่ทาง

ทราย ได้พบน้ำในทางทรายนั้น ณ ที่ลานกลางแจ้ง

ฉันใด มุนีผู้ประกอบด้วยความเพียรและกำลัง เป็นผู้

ไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ ฉันนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกิลาสุโน ได้แก่ ไม่เกียจคร้าน คือ

ปรารถนาความเพียร. บทว่า วณฺณุปเถ ความว่า ทราย ท่านเรียกว่า

วัณณะ ในทางทราย. บทว่า ขณนฺตา แปลว่า ขุดภาคพื้น. ศัพท์ว่า

อุท ในบทว่า อุทงฺคเณ นี้ เป็นนิบาต อธิบายว่า ในที่ลานกลางแจ้ง.

อธิบายว่า ในที่เป็นที่สัญจรไปของพวกมนุษย์ คือ ในภูมิภาคอันไม่ปิดกั้น.

บทว่า ตตฺล ความว่า ในทางทรายนั้น. บทว่า ปป อวินฺท แปลว่า ได้

น้ำ. จริงอยู่ น้ำท่านเรียกว่า ปปา เพราะเป็นเครื่องดื่ม อีกอย่างหนึ่ง

น้ำที่ไหลเข้าไป ชื่อว่า ปปา อธิบายว่า น้ำมาก. บทว่า เอว เป็นบททำความ

อุปมาให้สำเร็จ. บทว่า มุนี ความว่า ญาณ ท่านเรียกว่า โมนะ อีกอย่าง

หนึ่ง โมเนยยะอย่างใดอย่างหนึ่งในกายโมเนยยะ เป็นต้น ท่านเรียกว่า โมนะ

บุคคลที่เรียกว่า มุนี เพราะประกอบด้วยโมนะนั้น. ก็มุนีนี้นั้นมีหลายอย่างคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

อาคาริยมุนี อนาคาริยมุนี เสขมุนี อเสขมุนี ปัจเจกมุนี และมุนิมุนี.

บรรดามุนีเหล่านั้น คฤหัสถ์ผู้บรรลุผลรู้แจ้งศาสนา ชื่อว่า อาคาริยมุนี.

บรรพชิตเห็นปานนั้นแล ชื่อว่า อนาคาริยมุนี. พระเสขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า

เสขมุนี. พระขีณาสพ ชื่อว่า อเสขมุนี. พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า ปัจเจกมุนี.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มุนิมุนี. ก็ในอรรถนี้ เมื่อว่าโดยรวมยอด บุคคล

ผู้ประกอบด้วยปัญญา กล่าวคือพึงทราบว่ามุนี. บทว่า วิริยพลูปปนฺโน

ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเพียร และกำลังกายกับ กำลังญาณ. บทว่า อกิลาสุ

ความว่า ผู้ไม่เกียจคร้าน คือ ชื่อว่า ผู้ไม่เกียจไม่คร้าน เพราะประกอบ

ด้วยความเพียรอันประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

เนื้อและเลือดในร่างกายของเรานี้ทั้งหมด จง

เหือดแห้งไป จะเหลือแต่หนังเอ็น และกระดูก ก็

ตามที.

บทว่า วินฺเท หทยสฺส สนฺตึ ความว่า ย่อมประสพ คือ ได้เฉพาะ

อริยธรรม กล่าวคือฌาน วิปัสสนา อภิญญา และอรหัตมรรคญา อัน

ถึงการนับว่า สันติ เพราะกระทำความเย็นทั้งจิต และหทัยรูป. จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าสังวรรณนาการอยู่เป็นทุกข์ของคนผู้เกียจคร้าน และการอยู่

เป็นสุขของคนผู้ปรารภความเพียร ด้วยพระสูตรทั้งหลายมิใช่น้อย อย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เกียจคร้านเกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามก

ย่อมอยู่เป็นทุกข์ และทำประโยชน์คนอันยิ่งใหญ่ให้เสื่อมไป ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ส่วนบุคคลผู้ปรารภความเพียรสงัดจากกุศลธรรมอันลามก ย่อมอยู่

เป็นสุข และทำประโยชน์ตนอันยิ่งใหญ่ให้บริบูรณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การบรรลุประโยชน์ย่อมไม่มีด้วยความเพียรอันเลว. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

การอยู่เป็นสุขนั้นนั่นแหละที่บุคคลผู้ปรารภความเพียร ผู้ไม่ทำความยึดมั่น

ผู้เห็นแจ้ง จะพึงบรรลุได้ด้วยกำลังและความเพียร จึงตรัสว่า มุนีผู้ประกอบ

ด้วยความเพียรและกำลัง เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน พึงได้ความสงบใจ ฉันนั้น.

ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า พ่อค้าเหล่านั้นไม่เกียจคร้าน ขุดอยู่ในทางทราย

ย่อมได้น้ำ ฉันใด ภิกษุในศาสนานี้ก็ฉันนั้น เป็นผู้ฉลาด ไม่เกียจคร้าน

พากเพียรอยู่ ย่อมได้ความสงบใจอันต่างด้วยปฐมฌานเป็นต้น. ดูก่อนภิกษุ

ในกาลก่อน เธอนั้นกระทำความเพียรเพื่อต้องการทางน้ำ บัดนี้ เพราะเหตุไร

เธอจึงละความเพียรในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ เพื่อประโยชน์แก่

มรรคผลเห็นปานนี้.

พระคาสดาครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ อย่างนี้แล้ว จึงทรง

ประกาศสัจจะ ๔. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรดำรงอยู่ในพระอรหัต

อันเป็นผลอันเลิศ. แม้พระศาสดาก็ตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่อกัน ทรงประชุม

ชาดกแสดงว่า คนรับใช้ผู้ไม่ละความเพียร ค่อยหินให้น้ำแก่มหาชน ในสมัย

นั้น ได้เป็นภิกษุผู้ละความเพียรรูปนี้ ในบัดนี้ บริษัทที่เหลือในสมัยนั้น

เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนหัวหน้าพ่อค้าเกวียนได้เป็นเรา ดังนี้ ได้ให้

พระธรรมเทศนานี้จบลงแล้ว.

จบ วัณณุปถชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

๓. เสรีววาณิชชาดก

ว่าด้วยเสรีววาณิช

[๓] ถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรค คือ ความ

แน่นอนแห่งสัทธรรมในศาสนานี้ ท่านจะต้องเดือด

ร้อนใจในลายหลังสิ้นกาลนาน ดุจพาณิชชื่อเสรีวะผู้นี้

ฉะนั้น.

๓. อรรถกถาเสรีววาณิชชาดก

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุ

รูปหนึ่งผู้ละความเพียรเหมือนกัน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

อิธ เจ หิ น วิราเธสิ ดังนี้. ก็พระศาสดาทรงเห็นภิกษุนั้นถูกภิกษุทั้งหลาย

นำมาโดยนัยก่อนนั่นแล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอบวชในศาสนาอันให้

มรรคผลเห็นปานนี้ เมื่อละความเพียรเสีย จักเศร้าโศกตลอดกาลนาน เหมือน

เสรีววาณิชเสื่อมจากถาดทองอันมีค่าแสนหนึ่งฉะนั้น. ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอน

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงเรื่องนั้น ให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงการทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้ ให้ปรากฏ.

ในอดีตกาล ในกัปที่ ๕ แต่ภัทรกัปนี้ พระโพธิสัตว์ได้เป็นพ่อค้าเร่

ชื่อว่า เสรีวะ ในแคว้นเสริวรัฐ. เสรีววาณิชนั้น เมื่อไปเพื่อต้องการค้าขาย

กับพ่อค้าเร่ผู้โลเลคนหนึ่ง ชื่อว่า เสรีวะ ข้ามแม่น้ำชื่อว่า นีลพาหะ แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

เข้าไปยังพระนครชื่อว่า อริฏฐปุระ แบ่งถนนในนคร (ไปคนละทาง) กันแล้ว

เที่ยวขายสินค้าในถนนที่ประจวบกับคน. ฝ่ายวาณิชนอกนี้ยึดเอาถนนที่ประจวบ

เข้ากับคนเท่านั้น. ก็ในนครนั้น ได้มีตระกูลเศรษฐีตระกูลหนึ่ง เป็นตระกูล

เก่าแก่. บุตร พี่น้อง และทรัพย์สินทั้งปวง ได้หมดสิ้นไป. ได้มีเด็กหญิง

คนหนึ่งเหลืออยู่กับยาย. ยายหลานแม้ทั้งสองนั้น กระทำการรับจ้างคนอื่น

เลี้ยงชีวิต. ก็ในเรือน ได้มีถาดทองที่มหาเศรษฐีของยายกับหลานนั้น เคยใช้สอย

ถูกเก็บไว้กับภาชนะอื่น ๆ เมื่อไม่ได้ใช้สอยนานาน เขม่าก็จับ. ยายและหลาน

เหล่านั้น ย่อมไม่รู้แม้ความที่ถาดนั้นเป็นถาดทอง.

สมัยนั้น วาณิชโลเลคนนั้น เที่ยวร้องขายของว่า จงถือเอาเครื่อง

ประดับ จงถือเอาเครื่องประดับ ได้ไปถึงประตูบ้านนั้น. กุมาริกานั้นเห็นวาณิช

นั้นจึงกล่าวกะยายว่า ยาย ขอยายจงซื้อเครื่องประดับอย่างหนึ่งให้หนู. ยายกล่าว

ว่าหนูเอ๋ย เราเป็นคนจน จักเอาอะไรไปซื้อ. กุมาริกากล่าวว่า พวกเรามี

ถาดใบนี้อยู่ และถาดใบนี้ไม่เป็นอุปการะเกื้อกูลแก่พวกเรา จงให้ถาดใบนี้แล้ว

ถือเอา (เครื่องประดับ). ยายจึงให้เรียกนายวาณิชมาแล้วให้นั่งบนอาสนะ

ให้ถาดใบนั้นแล้ว กล่าวว่า เจ้านาย ท่านจงถือเอาถาดนี้ แล้วให้เครื่องประดับ

อะไร ๆ ก็ได้แก่หลานสาวของท่าน นายวาณิชเอามือจับถาดนั่นแล คิดว่าจัก

เป็นถาดทอง จึงพลิกเอาเข็มขีดที่หลังถาด รู้ว่าเป็นทอง จึงคิดว่า เราจักไม่

ให้อะไร ๆ แก่คนเหล่านี้ จักนำเอาถาดนี้ไป แล้วกล่าวว่า ถาดใบนี้จะมีราคา

อะไร ราคาของถาดใบนี้แม้กึ่งมาสกก็ยังไม่ถึง จึงโยนไปที่ภาคพื้นแล้วลุก

จากอาสนะหลีกไป.

พระโพธิสัตว์คิดว่า คนอื่นย่อมได้เพื่อจะเข้าไปยังถนนที่นายวาณิชนั้น

เข้าไปแล้วออกไป จึงเข้าไปยังถนนนั้นร้องขายของว่า จงถือเอาเครื่องประดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

ดังนี้ ได้ไปถึงประตูบ้านนั้นนั่นแหละ. กุมาริกานั้นกล่าวกะยายเหมือนอย่าง

นั่นแหละอีก. ลำดับนั้น ยายได้กล่าวกะกุมาริกานั้นว่า หลานเอ๋ย นายวาณิช

ผู้มายังเรือนนี้ โยนถาดนั้นลงบนภาคพื้นไปแล้ว บัดนี้ เราจักให้อะไรแล้ว

ถือเอาเครื่องประดับ. กุมาริกากล่าวว่า ยาย นายวาณิชคนนั้น พูดจาหยาบคาย

ส่วนนายวาณิชคนนี้ น่ารัก พูดจาอ่อนโยน คงจะรับเอา ยายกล่าวว่า ถ้า

อย่างนั้น จงเรียกเขามา กุมาริกานั้นจึงเรียกนายวาณิชนั้นมา. ลำดับนั้น ยาย

และหลานได้ให้ถาดใบนั้น แก่พระโพธิสัตว์นั้น ผู้เข้าไปยังเรือนแล้วนั่ง. พระ-

โพธิสัตว์นั้น รู้ว่าถาดนั้นเป็นถาดทอง จึงกล่าวว่า แม่ ถาดใบนี้มีค่าตั้งแสน

สินค้าอันมีค่าเท่าถาด ไม่มีในมือของเรา. ยายและหลานจึงกล่าวว่า เจ้านาย

นายวาณิชผู้มาก่อนพูดว่า ถาดใบนี้มีค่าไม่ถึงแม้กึ่งมาสก แล้วเหวี่ยงถาดลงพื้น

ไป แต่ถาดใบนี้จักเกิดเป็นถาดทอง เพราะบุญของท่าน พวกเราให้ถาดใบนี้

แก่ท่าน ท่านให้อะไร ๆ ก็ได้แก่พวกเรา แล้วถือเอาถาดใบนี้ไปเถิด. ขณะนั้น

พระโพธิสัตว์จึงให้กหาปณะ. ๕๐๐ ซึ่งมีอยู่ในมือ และสินค้าซึ่งมีราคา ๕๐๐

กหาปณะ ทั้งหมด แล้วขอเอาไว้เพียงเท่านี้ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ตาชั่งนี้กับ

ถุง และกหาปณะ ๘ กหาปณะแก่ข้าพเจ้า แล้วถือเอาถาดนั้นหลีกไป.

พระโพธิสัตว์นั้น รีบไปยังฝั่งแม่น้ำ ให้นายเรือ ๘ กหาปณะ แล้วขึ้น

เรือไป. ฝ่ายนายวาณิชพาล หวนกลับไปเรือนนั้นอีก แล้วกล่าวว่า ท่านจง

นำถาดใบนั้นมา เราจักให้อะไร ๆ บางอย่างแก่ท่าน. หญิงนั้นบริภาษนาย

วาณิชพาลคนนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านได้กระทำถาดทองอันมีค่าตั้งแสนของพวกเรา

ให้มีค่าเพียงกึ่งมาสก แต่นายวาณิชผู้มีธรรมคนหนึ่งเหมือนกับ นายท่านนั่นแหละ

ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่พวกเรา แล้วถือเอาถาดทองนั้นไปแล้ว นายวาณิชพาล

ได้ฟังดังนั้น คิดว่า เราเป็นผู้เสื่อมจากถาดทองอันมีค่าตั้งแสน วาณิชคนนี้

ทำความเสื่อมอย่างใหญ่หลวงแก่เราหนอ เกิดความโศกมีกำลัง ไม่อาจดำรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

สติไว้ได้ จึงสลบไป (พอฟื้น) ได้โปรยกหาปณะที่อยู่ในมือ และสิ่งของไว้

ที่ประตูเรือนนั่นแหละ ทิ้งผ้านุ่งผ้าห่ม ถือคันชั่งทำเป็นไม้ค้อน หลีกไปตาม

รอยเท้าของพระโพธิสัตว์ ไปถึงฝั่งแม่น้ำนั้น เห็นพระโพธิสัตว์กำลังไปอยู่

จึงกล่าวว่า นายเรือผู้เจริญ ท่านจงกลับเรือ พระโพธิสัตว์ห้ามว่า อย่ากลับ.

เมื่อนายวาณิชพาล แม้นอกนี้ เห็นพระโพธิสัตว์ไปอยู่นั้นแล เกิด

ความโศกมีกำลัง หทัยร้อน เลือดพุ่งออกจากปาก หทัยแตก เหมือนโคลน

ในบึงฉะนั้น. วาณิชพาลนั้น ผูกอาฆาตพระโพธิสัตว์ ถึงความสิ้นชีวิตลง ณ

ที่นั้นนั่นเอง. นี้เป็นการผูกอาฆาตในพระโพธิสัตว์ของพระเทวทัตเป็นครั้งแรก.

พระโพธิสัตว์การทำบุญมีทานเป็นต้น ได้ไปตามยถากรรม.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นตรัสพระธรรมเทศนาแล้ว ทรงเป็นผู้

ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้วแล ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

ถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรค คือความแน่นอน

แห่งพระสัทธรรมในศาสนานี้ท่านจะต้องเดือดร้อนใจ

ในภายหลัง สิ้นกาลนาน เหมือนวาณิชชื่อ เสริวะ

ผู้นี้ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ เจ น วิราเธสิ สทฺธมฺมสฺส

นิยานก ความว่า หากท่านพลาด คือ ถ้าท่านพลาดโสดาปัตติมรรคกล่าว

คือความแน่นอนแห่งพระสัทธรรมอย่างนี้ ในศาสนานี้ อธิบายว่า ท่านเมื่อ

ละความเพียร จะไม่บรรลุคือไม่ได้. บทว่า จิร ตุว อนุตปฺเปสิ ความว่า

เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านเมื่อเศร้าโศกคือร่ำไรอยู่ตลอดกาลนาน ชื่อว่าจักเดือด

ร้อนใจภายหลัง ในกาลทุกเมื่อ อีกอย่างหนึ่ง ในบทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ท่าน

เกิดในนรกเป็นต้น เสวยทุกข์มีประการต่าง ๆ ตลอดกาลนาน ชื่อว่าจักเดือด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

ร้อนใจภายหลัง คือชื่อว่าจักลำบาก เพราะความเป็นผู้ละความเพียร คือ

เพราะความเป็นผู้พลาดอริยมรรค. ถามว่า จักเดือดร้อนภายหลัง อย่างไร ?

ตอบว่า จักเดือดร้อนภายหลัง เหมือนนายวาณิชชื่อว่าเสรีวะผู้นี้ อธิบายว่า

เหมือนนายวาณิชผู้นี้ อันมีชื่ออย่างนี้ว่า เสรีวะ. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า

เมื่อก่อน วาณิชชื่อเสรีวะ ได้ถาดทองมีค่าหนึ่งแสน ไม่ทำความเพียรเพื่อจะ

ถือเอาถาดทองนั้น จึงเสื่อมจากถาดทองนั้น เดือดร้อนใจในภายหลัง ฉันใด

แม้เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่บรรลุอริยมรรคอันเช่นกับถาดทองที่เขาจัด

เตรียมให้ ในศาสนานี้ เพราะละความเพียรเสีย เป็นผู้เสื่อมรอบจากอริยมรรค

นั้น จักเดือดร้อนใจภายหลัง ตลอดกาลนาน ก็ถ้าจักไม่ละความเพียรไซร้ จัก

ได้โลกุตรธรรมแม้ทั้ง ๔ ในศาสนาของเรา เหมือนนายวาณิชผู้เป็นบัณฑิต

ได้เฉพาะถาดทองฉะนั้น.

พระศาสดาทรงถือเอายอดด้วยพระอรหัต ทรงแสดงพระธรรม.

เทศนานี้ แก่ภิกษุนี้อย่างนี้ แล้วทรงประกาศสัจจะทั้ง ๔. ในเวลาจบสัจจะ

ภิกษุผู้ละความเพียรดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ. แม้พระศาสดาก็ทรง

ตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่อกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า วาณิชพาลในกาลนั้น

ได้เป็นพระเทวทัตในบัดนี้ นายวาณิชผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเรา

เอง ทรงให้เทศนาจบลงแล้ว.

จบ เสรีวาณิชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

๔. จุลลกเศรษฐีชาดก

ว่าด้วยคนฉลาดตั้งตนได้

[๔] คนมีปัญญาเฉลียวฉลาด ย่อมตั้งตนได้ด้วย

ต้นทุนแม้น้อย ดุจคนส่อไฟน้อย ๆ ให้เป็นกองใหญ่

ฉะนั้น.

จบจุลลกเศรษฐีชาดกที่ ๔

๔. อรรถกถาจุลลกเศรษฐีชาดก

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ใน

ชีวกัมพวัน ทรงปรารภ พระจุลลปันถกเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้

มีคำเริ่มต้นว่า อปฺปเกนปิ เมธาวี ดังนี้. เบื้องต้น พึงกล่าวการเกิดขึ้น

และการบรรพชาของพระจุลลปันถกในอัมพวันนั้นก่อน. มีกถาตามลำดับดังต่อ

ไปนี้

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์มีธิดาของเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก ได้ทำความ

เชยชิดกับทาสของตนเองกลัวว่า แม้คนอื่นจะรู้กรรมนี้ของเรา จึงกล่าวอย่างนี้

ถ้าบิดามารดาของเราจักรู้โทษนี้ จักกระทำไห้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ พวก

เราจักไปอยู่ต่างประเทศ จึงถือของสำคัญที่จะถือไปได้ ออกทางประตูลับ

แม้ทั้งสองคนได้พากันไปด้วยคิดว่า จักไปยังที่ที่คนอื่นไม่รู้จัก แล้วอยู่ ณ ที่ใด

ที่หนึ่ง. เมื่อผัวเมียทั้งสองนั้นอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง เพราะอาศัยการอยู่ร่วมกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

ธิดาเศรษฐีก็ตั้งครรภ์. ธิดาเศรษฐีนั้นอาศัยครรภ์แก่ จึงปรึกษากับสามีแล้ว

กล่าวว่า ครรภ์ของเราแก่แล้ว ชื่อว่าการตลอดบุตรในที่ที่ห่างเหินจากญาติและ

พวกพ้อง ย่อมเป็นทุกข์แท้สำหรับเราทั้งสอง พวกเราจักไปเฉพาะยังเรือนของ

ตระกูล. สามีนั้นคิดว่า ถ้าเราจักไปบัดนี้ ชีวิตของเราจะไม่มี จึงผัดวันอยู่ว่า

จะไปวันนี้ จะไปวันพรุ่งนี้ ธิดาเศรษฐีนั้นคิดว่า สามีนี้เป็นคนโง่ไม่อุตสาหะ

ที่จะไป เพราะโทษของตนมีมาก ธรรมดาว่าบิดามารดามีประโยชน์เกื้อกูลโดย

ส่วนเดียวในบุตรธิดา สามีนี้จะไปหรือไม่ก็ตาม เราควรจะไป เมื่อสามีนั้นออก

จากเรือน นางจึงเก็บงำบริขารในเรือน บอกถึงความที่ในไปเรือนของตระกูล

แก่ชาวบ้านใกล้เคียง แล้วเดินทาง.

ลำดับนั้น บุรุษนั้นมาเรือนไม่เห็นนางจึงถามคนที่คุ้นเคย ได้ฟังว่า

ไปเรือนตระกูล จึงรีบตามไปทันในระหว่างทาง. ฝ่ายธิดาเศรษฐีนั้นก็ได้ตลอด

บุตรในระหว่างทางนั้นนั่นเอง สามีนั้น ถามว่า นางผู้เจริญ นี่อะไร. ฝ่ายธิดา

เศรษฐีนั้นกล่าวว่า บุตรคนหนึ่งเกิดแล้ว สามีกล่าวว่า บัดนี้ พวกเราจักทำ

อย่างไร. ธิดาเศรษฐีกล่าวว่า พวกเราจะไปเรือนของตระกูล เพื่อประโยชน์

แก่กรรมใด กรรมนั้นได้สำเร็จแล้วในระหว่างทางพวกเราจักไปที่นั้นทำอะไร

พวกเราจักกลับ แม้ทั้งสองคนเป็นผู้มีความคิดเป็นอันเดียวกันกลับแล้ว. ก็

เพราะทารกนั้น เกิดในระหว่างทาง บิดามารดาจึงตั้งชื่อว่า ปันถก ไม่นาน

เท่าไรนัก นางก็ตั้งครรภ์อื่นอีก เรื่องราวทั้งปวงพึงไห้พิศดารโดยนัยก่อนนั่น

แหละ ก็เพราะทารกแม้คนนั้นก็เกิดในหนทาง บิดามารดาจึงตั้งชื่อบุตรผู้เกิด

ที่แรกว่า มหาปันถก ตั้งชื่อบุตรคนที่สองว่า จุลลปันถก สามีภรรยานั้น

พาทารกแม้ทั้งสองคนมายังที่อยู่ของตนนั่นแล.

เมื่อสามีภรรยาทั้งสองนั้นอยู่ในที่นั้น มหาปันถกทารกได้ฟังคนอื่น ๆ

พูดว่าอา ว่าปู่ ว่าย่า จึงถามมารดาว่า แม่จ๋า พวกเด็กอื่น ๆ พูดว่าปู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

พูดว่าย่า ญาติของเราไม่มีหรือ. มารดากล่าวว่า จ้ะพ่อ ในที่นี้ ญาติของ

พวกเราไม่มี แต่ในพระนครราชคฤห์ พวกเรามีดาชื่อว่ามหาธนเศรษฐี ญาติของ

พวกเรามีอยู่ในเมืองราชคฤห์นั้นมาก มหาปันถกกล่าวว่า เพราะเหตุไร พวก

เราจึงไม่ไปที่เมืองราชคฤห์นั้นละแม่. นางไม่บอกเหตุที่คนมาแก่บุตร เมื่อบุตร

ทั้งสองรบเร้าถามอยู่ จึงกล่าวกะสามีว่า เด็กเหล่านั้นทำเราให้ลำบากเหลือเกิน

บิดามารดาเห็นพวกเราแล้วจักกินเนื้อเทียวหรือ มาเถิดพวกเราจักแสดงตระกูล

ของตาแก่เด็กทั้งหลาย. สามีกล่าวว่า เราจักไม่อาจไปประจัญหน้า แต่เราจัก

นำไป ภรรยากล่าวว่า ดีแล้ว พวกเด็ก ๆ ควรจะเห็นตระกูลของตานั่นแล

โดยวิธีอย่างใดอย่างหนึ่ง. ชนแม้ทั้งสองนั้นพาทารกทั้งสองไปถึงเมืองราชคฤห์

โดยลำดับ แล้วพักอยู่ในศาลาแห่งหนึ่งใกล้ประตูเมือง แล้วให้บอกบิดามารดา

ถึงความที่มารดาของทารกพาเอาทารก ๒ คนมา. ตายายเหล่านั้นได้ฟังข่าวนั้น

แล้วกล่าวว่า คนชื่อว่าไม่ใช่บุตร ไม่ใช่ธิดา ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลายผู้เที่ยว

อยู่ในสังสารวัฏ คนเหล่านั้นมีความผิดมากแก่พวกเรา คนเหล่านั้นไม่อาจเพื่อ

จะดำรงอยู่ในคลองจักษุของพวกเรา ชนแม้ทั้งสองจงถือเอาทรัพย์ชื่อมีประมาณ

เท่านี้ไปยังที่ที่ผาสุกเลี้ยงชีวิตอยู่เถิด แต่จงส่งทารกทั้งสองคนมาไว้ที่นี้. ธิดา

เศรษฐีถือเอาทรัพย์ที่บิดามารดาส่งมา แล้วส่งทารกทั้งสองให้ไปในมือของพวก

ทูตที่มานั่นแหละ. ทารกทั้งสองเจริญเติบโตอยู่ในตระกูลของตา.

บรรดาทารกทั้งสองนั้น จุลลปันถกยังเยาว์เกินไป ส่วนมหาปันถก

ไปฟังธรรมกถาของพระทศพลกับตา เมื่อมหาปันถกนั้น ฟังธรรมในที่พร้อม

พระพักตร์ของพระศาสดาเป็นนิตย์ จิตก็น้อมไปเพื่อบรรพชา. เขาจึงกล่าวกะ

ตาว่า ถ้าท่านยอมรับ กระผมจะบวช. ตากล่าวว่า เจ้าพูดอะไร พ่อ เจ้าเป็น

ที่รักของตา การบรรพชาเฉพาะของเจ้าเท่านั้น ดีกว่าการบรรพชา แม้ของ

ชาวโลกทั้งสิ้น ถ้าเจ้าอาจ จงบวชเถอะพ่อ. ครั้นรับคำแล้วจึงไปยังสำนักของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า ท่านมหาเศรษฐี ท่านได้ทารกนี้มาหรือ.

มหาเศรษฐีกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทารกนี้เป็นหลาน

ของข้าพระองค์ เขาพูดว่า จะบวชในสำนักของพระองค์ พระศาสดาจึงทรง

สั่งภิกษุผู้บิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งว่า เธอจงให้ทารกนี้บวช. พระเถระบอก

ตจปัญจกกรรมฐาน แก่มหาปันถกนั้นแล้วให้บวช มหาปันถกนั้นเรียนพุทธ-

วจนะเป็นอันมาก มีพรรษาครบบริบูรณ์แล้ว ได้อุปสมบทเป็นอุปสัมบัน

กระทำกรรมฐานโดยโยนิโสมนสิการ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

พระมหาปันถกนั้น ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌานและความสุขในมรรค

จึงคิดว่า เราอาจไหมหนอเพื่อจะให้สุขนี้แก่จุลลปันถก ลำดับนั้น ท่านมหา-

ปันถกจึงไปยังสำนักของเศรษฐีผู้เป็นตากล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ถ้าท่าน

ยินยอม อาตมภาพจักให้จุลลปันถกบวช. มหาเศรษฐีกล่าวว่า จงให้บวชเถิด

ท่านผู้เจริญ. พระเถระให้จุลลปันถกทารกบวชแล้ว ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐

สามเณรจุลลปันถก พอบวชแล้วเท่านั้น ได้เป็นคนเขลา สมดังที่ท่านกล่าวว่า

โดยเวลา เดือนไม่อาจเรียนคาถาเดียวนี้ว่า

ดอกบัวโกกนุทมีกลิ่นหอม ไม่ปราศจากกลิ่น

หอม พึงบานแต่เช้าฉันใด ท่านจงดูพระอังคีรสผู้

ไพโรจน์ เหมือนพระอาทิตย์ส่องแสงจ้าในอากาศ

ฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระจุลลปันถกนั้นบวชในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น

ผู้มีปัญญา ได้ทำการหัวเราะเยาะ ในเวลาทีภิกษุผู้เขลารูปหนึ่งเรียนอุเทศ.

ภิกษุนั้นละอาย เพราะการเย้นหยันนั้นจึงไม่เรียนอุเทศ ไม่ทำการสาธยาย.

เพราะกรรมนั้น พระจุลลปันถกนี้ พอบวชเท่านั้นจึงเกิดเป็นคนเขลา เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

ท่านเรียนบทเหนือ ๆ ขึ้นไป บทที่เรียนแล้ว ๆ ก็เลือนหายไป เมื่อท่าน

จุลลปันถกนั้นพยายามเรียนคาถานี้เท่านั้น ๔ เดือนล่วงไปแล้ว ลำดับนั้น

พระมหาปันถกจึงคร่าพระจุลลปันถกนั้น ออกจากวิหารโดยกล่าวว่า จุลลปันถก

เธอเป็นผู้อาภัพในพระศาสนานี้โดย ๘ เดือนไม่อาจเรียนคาถาเดียวได้ ก็เธอจัก

ทำกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไร จงออกไปจากวิหาร. พระจุลลปันถก

ไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ เพราะความรักในพระพุทธศาสนา.

ในคราวนั้น พระมหาปันถกได้เป็นพระภัตตุเทสก์ผู้แจกภัต. หมอ

ชีวกโกมารภัจถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากไปยังอัมพวันของตน บูชา

พระศาสดาฟังธรรมแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระทศพลแล้วเข้าไปหา

พระมหาปันถกถามว่า ท่านผู้เจริญในสำนักของพระศาสดา มีภิกษุเท่าไร ? พระ-

มหาปันถกกล่าวว่า มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป. หมอชีวกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

พรุ่งนี้ ท่านจงพาภิกษุ ๕๐๐ รูปมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ไปรับภิกษาใน

นิเวศน์ของผม. พระเถระกล่าวว่า อุบาสก. ชื่อว่าพระจุลลปันถกเป็นผู้เขลามี

ธรรมไม่งอกงาม อาคมภาพจะนิมนต์เพื่อภิกษุที่เหลือยกเว้น พระจุลลปันถกนั้น.

พระจุลลปันถกได้ฟังดังนั้น จึงคิดว่า พระเถระพี่ชายของเราเมื่อรับนิมนต์ เพื่อ

ภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ก็รับ กันเราไว้ภายนอก พี่ชายของเราจักผิดใจ

ในเราโดยไม่ต้องสงสัย บัดนี้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยพระศาสนานี้ เราจัก

เป็นคฤหัสถ์กระทำบุญมีทานเป็นต้นเลี้ยงชีวิต. วันรุ่งขึ้น พระจุลลปันถกนั้น

ไปแต่เช้าตรู่ด้วยคิดว่า จักเป็นคฤหัสถ์ ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทรงตรวจ

โลก ได้ทรงเห็นเหตุนั้นนั่นแล จึงเสด็จไปก่อนล่วงหน้า ได้ประทับยืนจง

กรมอยู่ที่ซุ้มประตู ใกล้ทางที่พระจุลลปันถกจะไป. พระจุลลปันถกเมื่อจะเดิน

ไปสู่เรือน เห็นพระศาสดาจึงเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระจุลลปันถกนั้นว่า จุลลปันถก ก็

เธอจะไปไหนในเวลานี้ พระจุลลปันถกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระพี่ชายฉุดคร่าข้าพระองค์ออก ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์จะไปด้วยคิดว่าจัก

เป็นคฤหัสถ์ พระศาสดาตรัสว่า จุลลปันถก ชื่อว่าการบรรพชาของเธอใน

สำนักของเรา เธอถูกพระพี่ชายฉุดคร่าออกไป เพราะเหตุไรจึงไม่มายังสำนัก

ของเรา มาเถิด เธอจะประโยชน์อะไรด้วยความเป็นคฤหัสถ์ เธอจักอยู่ใน

สำนักของเรา แล้วทรงพาพระจุลลปันถกไป ให้พระจุลลปันถกนั้นนั่งที่หน้ามุข

พระคันธกุฏี ตรัสว่า จุลลปันถก เธอจงผินหน้าไปทางทิศตะวันออก จงอยู่

ในที่นี้แหละ ลูบคลำผ้าท่อนเก่าไปว่า รโชหรณ รโชหรณ ผ้าเป็นเครื่อง

นำธุลีไป ผ้าเป็นเครื่องนำธุลีไป แล้วทรงประทานผ้าเก่าอันบริสุทธิ์ซึ่งทรง

ปรุงแต่งด้วยฤทธิ์ เมื่อเขากราบทูลเวลา (ภัตตาหาร) ให้ทรงทราบ จึงแวด

ล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังนิเวศน์ของหมอชีวกประทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาปู

ลาดแล้ว ฝ่ายพระจุลลปันถกมองดูพระอาทิตย์นั่งลบท่อนผ้าเก่านั้นว่า รโชหรณ

รโชหรณ เมื่อพระจุลลปันถกนั้น ลูบท่อนผ้าเก่านั้นอยู่ ผ้าได้เศร้าหมองไป

แต่นั้นพระจุลลปันถกจึงคิดว่า ท่อนผ้าเก่าผืนนั้นบริสุทธิ์อย่างยิ่ง แต่เพราะ

อาศัยอัตภาพนี้ จึงละปรกติเกิดเศร้าหมองอย่างนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ

จึงเริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมเจริญวิปัสสนา พระศาสดาทรงทราบว่า

จิตของจุลลปันถกขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว จึงตรัสว่า จุลลปันถก เธออย่ากระทำ

ความสำคัญว่า ท่อนผ้าเก่านั้น เท่านั้นเป็นของเศร้าหมองย้อมด้วยฝุ่นธุลี แต่

ธุลีคือราคะเป็นต้น เหล่านั้น มีอยู่ในภายใน เธอจงนำธุลีคือราคะเป็นต้นนั้น ไป

เสีย แล้วทรงเปล่งโอภาสเป็นผู้มีพระรูปโฉมปรากฏ เหมือนประทับ นั่งอยู่เบื้อง

หน้า ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

ราคะเรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่าธุลี

คำว่า ธุลีนี้เป็นชื่อของราคะ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละ

ธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้

ปราศจากธุลี โทสะ เรียกว่าธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียก

ว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโทสะ ภิกษุทั้งหลาย

เหล่านั้น ละธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของ

พระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี โมหะ เรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่น

ละอองไม่เรียกว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโมหะ

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ละธุลี นั้นได้แล้วย่อมอยู่ใน

ศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

ในเวลาจบคาถา พระจุลลปันถกบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

ปิฎกทั้งสามมาถึงแก่พระจุลลปันถกนั้น พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายเทียว.

ได้ยินว่า ในกาลก่อน พระจุลลปันถกนั้นเป็นพระราชากำลังทำ

ประทักษิณพระนคร เมื่อพระเสโทไหลออกจากพระนลาต จึงเอาผ้าสาฎกบริสุทธิ์

เช็ดพระนลาต ผ้าสาฎกได้เศร้าหมองไป พระราชานั้นทรงได้อนิจจสัญญา

ความหมายว่าไม่เที่ยง ว่าผ้าสาฎกอันบริสุทธิ์เห็นปานนี้ ละปกติเดิมเกิดเศร้า

หมองเพราะอาศัยร่างกายนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ด้วยเหตุนั้น ผ้าเป็น

เครื่องนำธุลีออกไปเท่านี้ เกิดเป็นปัจจัยแก่พระจุลลปันถกนั้น.

ฝ่ายหมอชีวกโกมารภัจน้อมนำน้ำทักษิโณทกเข้าไปถวายพระทศพล

พระศาสดาเอาพระหัตถ์ปิดบาตรโดยตรัสว่า ชีวก ในวิหารมีภิกษุอยู่มิใช่หรือ

พระมหาปันถกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในวิหารไม่มีภิกษุมิใช่หรือ

พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า ชีวก มีภิกษุ. หมอชีวกจึงส่งบุรุษไปโดยสั่งว่า

พนาย ถ้าอย่างนั้นท่านจงไป อนึ่ง จงรู้ว่าในวิหารมีภิกษุหรือไม่มี ขณะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

พระจุลลปันถกคิดว่า พี่ชายของเราพูดว่า ในวิหารไม่มีภิกษุ เราจักประกาศ

ความที่ภิกษุทั้งหลายมีอยู่ในวิหาร แก่พี่ชายของเรานั้น แล้วบันดาลให้อัมพวัน

ทั้งสิ้นเต็มไปด้วยภิกษุทั้งหลายเท่านั้น ภิกษุพวกหนึ่งทำจีวรกรรม ภิกษุพวก

หนึ่งทำกรรมคือย้อมจีวร ภิกษุพวกหนึ่งทำการสาธยาย ท่านนิรมิตภิกษุ

๑,๐๐๐ รูป ซึ่งเหมือนกันและกันอย่างนี้ บุรุษนั้นเห็นภิกษุมากมายในวิหาร

จึงกลับไปบอกหมอชีวกว่า ข้าแต่นาย อัมพวันทั้งสิ้นเต็มด้วยภิกษุทั้งหลาย ณ ที่

นั่นแหละ แม้พระเถระ

ก็นิรมิตอัตภาพตั้งพัน [ล้วนเป็น] พระปันถก

นั่งอยู่ในอัมพวันอันรื่นรมย์จนกระทั่งประกาศเวลา

[ภัต] ให้ทราบกาล.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะบุรุษนั้นว่า ท่านจงไปวิหาร กล่าวว่า

พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุชื่อว่า จุลลปันถก เมื่อบุรุษนั้นไปกล่าวอย่างนั้นแล้ว

ปากตั้งพันก็ตั้งขึ้นว่า อาตมะชื่อจุลลปันถก อาตมะชื่อจุลลปันถก บุรุษไป

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญนัยว่าภิกษุแม้ทั้งหมด ชื่อจุลลปันถกทั้งนั้น.

พระศาสดาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงไปจับมือภิกษุผู้พูดก่อนว่า อาตมะชื่อ

จุลลปันถก ภิกษุที่เหลือจะอันตรธานไป บุรุษนั้น ได้กระทำอย่างนั้น ทันใด

นั่นเอง ภิกษุประมาณพันรูปได้อันตรธานหายไป พระเถระได้ไปกับบุรุษนั้น

ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระศาสดาตรัสเรียกหมอชีวกมาว่า ชีวก ท่านจงรับ

บาตรของพระจุลลปันถก พระจุลลปันถกนี้จักกระทำอนุโมทนาแก่ท่าน. หมอ

ชีวกได้กระทำอย่างนั้น พระเถระบันลือสีหนาท ดุจราชสีห์หนุ่มยังปิฎกทั้ง ๓

ให้กำเริบ กระทำอนุโมทนา พระศาสดาเสด็จลุกขึ้นจากอาสนะ. มีภิกษุสงฆ์

เป็นบริวารเสด็จไปยังพระวิหาร เมื่อภิกษุทั้งหลายแสดงวัตรแล้ว เสด็จลุก

จากอาสนะประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ประทานโอวาทของพระสุด แก่

ภิกษุสงฆ์ แล้วตรัสบอกพระกรรมฐาน ทรงส่งภิกษุสงฆ์ไปแล้วเสด็จเข้าพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

คันธกุฎี อันตอบด้วยของหอมอันมีกลิ่นหอม ทรงเข้าสีหไสยา โดยพระปรัศว์

เบื้องขวา

ครั้นในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันรอบด้านในโรงธรรมสภา

นั่งเหมือนวงม่านผ้ากัมพลแดง ปรารภเรของพระคุณของพระศาสดาว่า อาวุโส

ทั้งหลาย พระมหาปันถกไม่รู้อัธยาศัยของพระจุลลปันถก ไม่อาจให้เรียนคาถา

เดียวโดยเวลา ๔ เดือน ฉุดออกจากวิหาร โดยกล่าวว่า จุลลปันถกนี้โง่เขลา

แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแก่พระ-

จุลลปันถกนั้น ในระหว่างภัตคราวเดียวเท่านั้น เพราะพระองค์เป็นพระธรรม

ราชาผู้ยอดเยี่ยม ปิฎกทั้งสามมาพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทีเดียว น่าอัศจรรย์ ชื่อว่า

พุทธพลังใหญ่หลวง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเป็นไปของ

เรื่องนี้ในโรงธรรมสภา ทรงพระดำริว่า วันนี้เราควรไป จึงเสด็จลุกขึ้นจาก

พุทธไสยา ทรงนุ่งผ้าสองชั้นอันแดงดี ทรงผูกรัดประคดประดุจสายฟ้าแลบ

ทรงห่มมหาจีวรขนาดพระสุคตเช่นกับผ้ากัมพลแดง เสด็จออกจากพระคันธกุฎี

อันมีกลิ่นหอม เสด็จไปยังโรงธรรมสภา ด้วยความงามอันเยื้องกรายดุจช้าง

ตัวประเสริฐอันซับมันและดุจราชสีห์ และด้วยพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ เสด็จ

ขึ้นบวรพุทธอาสน์ที่ลาดไว้ทรงเปล่งพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ ประการเสมือนทรงยัง

ท้องทะเลให้กระเพื่อม ประดุจพระอาทิตย์ทอแสงอ่อน ๆ เหนือยอดเขายุคนธร

ฉะนั้น ประทับนั่งท่ามกลางอาสนะ ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพอสักว่าเสด็จ

มา ภิกษุสงฆ์ได้งดการพูดจานิ่งอยู่แล้ว พระศาสดาทรงแลดูบริษัทด้วยพระ

เมตตาจิตอันอ่อนโยน ทรงพระดำริว่า บริษัทนี้งามเหลือเกิน การคะนองมือ

คะนองเท้า หรือเสียงไอเสียงจาม แท้ของภิกษุรูปเดียวก็มิได้มี ภิกษุแม้ทั้งปวง

นี้มีความเคารพด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า อันเดชของพระพุทธเจ้าคุก

คามแล้ว เมื่อเรานั่งไม่กล่าวแม้ตลอดกัป ภิกษุทั้งหลายจักไม่ตั้งถ้อยคำขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

กล่าวก่อน ชื่อว่าวัตรในการตั้งเรื่อง เราควรจะรู้ เราแหละจักกล่าวก่อนจึง

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรหมอันไพเราะ ตรัสว่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร เรื่องอะไรที่

พวกเธอพูดค้างไว้ในระหว่าง ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งอยู่ในที่นี้ ไม่กล่าวเดียรฉานกถาอย่างอื่น แต่นั่ง

พรรณนาพระคุณทั้งหลายของพระองค์เท่านั้นว่า อาวุโสทั้งหลาย พระมหา-

ปันถกไม่รู้อัธยาศัยของพระจุลลปันถก ไม่อาจให้เรียนคาถาเดียวโดย ๔ เดือน

ฉุดออกจากวิหารโดยกล่าวว่า พระจุลลปันถกนี้โง่เขลา แต่พระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าได้ประทานพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแก่พระจุลลปันถกนั้นในระหว่าง

ภัตครั้งเดียวเท่านั้น เพราะพระองค์ทรงเป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม น่า

อัศจรรย์ ชื่อว่าพระกำลังของพระพุทธเจ้าทั้งหลายใหญ่หลวงนัก พระศาสดา

ได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระ

จุลลปันถกบรรลุถึงความเป็นใหญ่ในธรรม ในธรรมทั้งหลายในบัดนี้ เพราะ

อาศัยเราก่อน แต่ในปางก่อน จุลลปันถกนี้ถึงความเป็นใหญ่ในโภคะ แม้ใน

โภคะทั้งหลาย ก็เพราะอาศัยเรา. ภิกษุทั้งหลายจึงทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาค

เจ้า เพื่อตรัสเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอัน

ระหว่างภพปกปิดไว้ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมืองพาราณสี

ในแคว้นกาสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี เจริญวัยแล้ว ได้รับ

ตำแหน่งเศรษฐี ได้ชื่อว่าจุลลกเศรษฐี จุลลกเศรษฐีนั้น เป็นบัณฑิตฉลาด

เฉียบแหลมรู้นิมิตทั้งปวง วันหนึ่ง จุลลกเศรษฐีนั้น ไปสู่ที่บำรุงพระราชา เห็น

หนูตายในระหว่างถนน คำนวนนักขัตฤกษ์ในขณะนั้นแล้ว กล่าวคำนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

กุลบุตรผู้มีดวงตาคือปัญญา อาจเอาหนูตัวนี้ไปกระทำการเลี้ยงดูภรรยาและ

ประกอบการงานได้.

กุลบุตรผู้ยากไร้คนหนึ่งชื่อว่า จูฬันเตวาสิก ได้ฟังคำของเศรษฐีนั้น

แล้วคิดว่า ท่านเศรษฐนี้ไม่รู้ จักไม่พูด จึงเอาหนูไปขายในตลาดแห่งหนึ่ง

เพื่อเป็นอาหารแมว ได้ทรัพย์กากณึกหนึ่ง จึงซื้อน้ำอ้อยด้วยทรัพย์หนึ่ง

กากณึกนั้น แล้วเอาหม้อใบหนึ่งตักน้ำไป เขาเห็นพวกช่างดอกไม้มาจากป่าจึง

ให้ชิ้นน้ำอ้อยคนละหน่อยหนึ่ง แล้วให้ดื่มน้ำกระบวยหนึ่งพวกช่างดอกไม้เหล่า

นั้น ได้ให้ดอกไม้คนละกำมือแก่เขา.

แม้ในวันรุ่งขึ้น เขาก็เอาค่าดอกไม้นั้นซื้อน้ำอ้อยและน้ำดื่มหม้อหนึ่ง

ไปยังสวนดอกไม้ทีเดียว พวกช่างดอกไม้ได้ให้กอดอกไม้ที่เก็บไปแล้วครึ่งกอ

แก่เขาในวันนั้นแล้วก็ไป ไม่นานนัก เขาก็ได้เงิน ๘ กหาปณะโดยอุบายนี้.

ในวันมีฝนเจือลมวันหนึ่ง ไม้แห้ง กิ่งไม้ และใบไม้เป็นอันมาก ใน

พระราชอุทยาน ถูกลมพัดตกลงมาอีก คนเฝ้าอุทยานไม่เห็นอุบายที่จะทิ้ง เขา

ไปในพระราชอุทยานนั้นแล้วกล่าวกะคนเฝ้าอุทยานว่า ถ้าท่านจักให้ไม้และ

ใบไม้เหล่านั้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักนำของทั้งหมดออกไปจากสวนนี้ของท่าน

คนเฝ้าอุทยานนั้นรับคำว่า เอาไปเถอะนาย. จูฬันเตวาสิกจึงไปยังสนามเล่นของ

พวกเด็กๆ ให้น้ำอ้อย ให้ต้นไม้และใบไม้ทั้งหมดออกไปโดยเวลาครู่เดียว ให้

กองไว้ที่ประตูอุทยาน ในกาลนั้น ช่างหม้อหลวงเที่ยวหาพื้นเพื่อเผาภาชนะ

ดินของหลวง เห็นไม้และใบไม้เหล่านั้นที่ประตูอุทยานจึงซื้อเอาจากมือของ

จูฬันเตวาสิกนั้น วันนั้นจูฬันเตวาสิกได้ทรัพย์ ๑๖ กหาปณะ และภาชนะ ๕

อย่างมีตุ่มเป็นต้น ด้วยการขายไม้.

เมื่อมีทรัพย์ ๒๔ กหาปณะ จูฬันเตวาสิกนั้นจึงคิดว่า เรามีอุบายนี้

แล้วตั้งตุ่มน้ำดื่มตุ่มหนึ่งไว้ในที่ไม่ไกลประตูพระนคร บริการคนหาบหญ้า ๕๐๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

คนด้วยน้ำดื่ม. คนหาบหญ้าแม้เหล่านั้น กล่าวว่า สหาย ท่านมีอุปการะมาก

แก่พวกเรา พวกเราจะการทำอะไรแก่ท่าน (ได้บ้าง) จูฬันเตวาสิกนั้น กล่าวว่า

เนื้อกิจเกิดขึ้นแก่เรา ท่านทั้งหลายจักกระทำ แล้วเที่ยวไปข้างโน้น ข้างนี้ ได้

กระทำความสนิทสนม โดยความเป็นมิตรกับคนผู้ทำงานทางบก และคน

ทำงานทางน้ำ.

คนทำงานทางบกบอกแก่จูฬันเตวาสิกนั้นว่า พรุ่งนี้ พ่อค้ามาจักพา

ม้า ๕๐๐ ตัวมายังนครนี้. นายจูฬันเตวาสิกนั้นได้ฟังคำของคนทำงานทางบก

นั้นแล้ว จึงกล่าวกะพวกคนหาบหญ้าว่า วันนี้ ท่านจงให้หญ้าแก่เราคนละ

กำ และเมื่อเรายังไม่ได้ขายหญ้า ท่านทั้งหลายอย่าขายหญ้าของตน ๆ คน

หาบหญ้าเหล่านั้นรับคำแล้วนำหญ้า ๕๐๐ กำ มาลงที่ประตูบ้านของจูฬันเตวา-

สิกนั้น. พ่อค้าม้าไม่ได้อาหารสำหรับม้าในพระนครทั้งสิ้น จึงให้ทรัพย์หนึ่ง

พันแก่จูฬันเตวาสิกนั้น แล้วถือเอาหญ้านั้นไป.

แต่นั้นล่วงไป ๒-๓ วัน สหายผู้ทำงานทางน้ำบอกแก่จูฬันเตวาสิก

นั้นว่า เรือใหญ่มาจอดที่ท่าแล้ว. จูฬันเตวาสิกนั้นคิดว่า มีอุบายนี้. จึงเอาเงิน

๘ กหาปณะไปเช่ารถ ซึ่งเพียบพร้อมด้วยบริวารทั้งปวง แล้วไปยังท่าเรือด้วย

ยศใหญ่ ให้แหวนวงหนึ่งเป็นมัดจำแก่นายเรือ ให้วงม่านนั่งอยู่ในที่ไม่ไกลสั่ง

คนไว้ว่า เมื่อพ่อค้าภายนอกมา พวกท่านจงบอก โดยการบอกประวิงไว้สามครั้ง.

พ่อค้าประมาณร้อยคนจากเมืองพาราณสีได้ฟังว่า เรือมาแล้ว จึงมาโดยกล่าว

ว่า พวกเราจะซื้อเอาสินค้า. นายเรือกล่าวว่า พวกท่านจักไม่ได้สินค้า พ่อค้า

ใหญ่ในที่ชื่อโน้น ให้มัดจำไว้แล้ว พ่อค้าเหล่านั้นได้ฟังดังนั้นจึงมายังสำนัก

ของจูฬันเตวาสิกนั้น. คนผู้รับใช้ใกล้ชิดจึงบอกความที่พวกพ่อค้าเหล่านั้นมา

โดยการบอกประวิงไว้สามครั้ง ตามสัญญาเดิม. พ่อค้าประมาณ ๑๐๐ คนนั้น ให้

ทรัพย์คนละพัน เป็นผู้มีหุ้นส่วนเรือกับจูฬันเตวาสิกนั้น แล้วให้อีกคนละพัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

ให้ปล่อยหุ้น ได้กระทำสินค้าให้เป็นของตน จูฬันเตวาสิกถือเอาทรัพย์สอง

แสนกลับมาเมืองพาราณสี คิดว่า เราควรเป็นคนกตัญญู จึงให้ถือเอาทรัพย์

แสนหนึ่งไปยังที่ใกล้จุลลกเศรษฐี. ลำดับนั้น จุลลกเศรษฐีจึงถามจูฬันเตวา-

สิกนั้นว่า ดูก่อนพ่อ เธอทำอะไรจึงได้ทรัพย์นี้. จูฬันเตวาสิกนั้น กล่าวว่า

ข้าพเจ้าตั้งอยู่ในอุบายที่ท่านบอก จึงได้ทรัพย์ภายใน ๔ เดือนเท่านั้น แล้ว

บอกเรื่องราวทั้งหมด ตั้งแต่หนูตายเป็นต้นไป. ท่านจุลลกมหาเศรษฐี ได้

ฟังคำของจูฬันเตวาสิกนั้นแล้วคิดว่า บัดนี้ เรากระทำทารกเห็นปานนี้ให้เป็น

ของเราจึงจะควร จึงให้ธิดาของคนผู้เจริญวัยแล้วกระทำให้เป็นเจ้าของทรัพย์

ทั้งสิ้น. เมื่อท่านเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว จูฬันเตวาสิกนั้น ก็ได้ตำแหน่งเศรษฐี

ในนครนั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ได้ไปตามยถากรรม.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้ ทรงเป็นผู้ตรัสรู้

พร้อมยิ่งที่เดียว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

บุคคลผู้มีปัญญารู้จักใคร่ครวญ ย่อมตั้งตนได้

ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุน แม้มีประมาณน้อย เหมือน

คนก่อไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปเกนปิ แปลว่า แม้น้อย คือ

แม้นิดหน่อย. บทว่า เมธาวี แปลว่า ผู้มีปัญญา. บทว่า ปาภเฏน

ได้แก่ ด้วยต้นทุนของสินค้า. บทว่า วิจกฺขโณ ได้แก่ ผู้ฉลาดในโวหาร.

บทว่า สมุฏฺาเปติ อตฺตาน ความว่า ยังทรัพย์และยศใหญ่ให้เกิดขึ้น

แล้วตั้งตน คือยังคนให้ตั้งอยู่ในทรัพย์และยศนั้น. ถามว่า เหมือนอะไร ?

ตอบว่า เหมือนคนก่อไฟกองน้อยให้เป็นกองใหญ่ อธิบายว่า บุรุษผู้เป็น

บัณฑิตใส่โคมัยและจุรณเป็นคนแล้วเป่าด้วยลมปาก ก่อไฟนิดหน่อยขึ้น คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

ให้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ทำให้เป็นกองไฟใหญ่ โดยลำดับ ฉันใด บัณฑิตก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ได้ทรัพย์อันเป็นต้นต้นแม้น้อย แล้วประกอบอุบายต่าง ๆ ย่อม

ทำทรัพย์และยศให้เกิดขึ้น คือให้เพิ่มขึ้น ก็แหละครั้น ให้เพิ่มขึ้นแล้วก็ดำรง

ตนไว้ในทรัพย์และยศนั้น ก็หรือว่า ย่อมตั้งตนไว้ คือ กระทำให้รู้กัน คือ

ให้ปรากฏ เพราะความเป็นใหญ่ในทรัพย์และยศนั้นนั้น แหละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย จุลลปันถกอาศัยเราแล้วถึงความเป็นใหญ่ในธรรม ในเพราะธรรม

ทั้งหลาย ในบัดนี้ ก็หามิได้ ส่วนในกาลก่อนก็อาศัยเราจึงถึงความเป็นใหญ่

ในโภคะ แม้เพราะโภคะทั้งหลาย แล้วตรัสเรื่อง ๒ เรื่อง สืบอนุสนธิกัน

แล้วทรงประชุมชาดกว่า จูฬันเตวาสิกในกาลนั้น ได้เป็นพระจุลลปันถกใน

บัดนี้ ส่วนจุลลกมหาเศรษฐีในกาลนั้น ได้เป็นเราเองแล.

จบ จุลลกมหาเศรษฐีชาดกที่ ๔

๕. ตัณฑุลนาฬิชาดก

ว่าด้วยราคาข้าวสาร

[๕] ข้าวสารทะนานทนึ่งมีราคาเท่าไร พระ-

นครพาราณสีทั้งภายในภายนอกมีราคาเท่าไร ข้าวสาร

ทะนานเดียวมีค่าเท่าม้า ๕๐๐ ตัวเที่ยวหรือ.

จบ ตัณฑุลนาฬิชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

อรรถกถาตัณฑุลนาฬิชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ พระ-

โลกฬุทายีเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กิมคฺฆตี

ตณฺฑุลนาฬิกา จ ดังนี้.

สมัยนั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตร ได้เป็นพระภัตตุเทสก์ของสงฆ์

เมื่อพระทัพพมัลลบุตรนั้น แสดงสลากภัตเป็นต้น แต่เช้าตรู่ บางคราวภัตดีก็

ถึงแก่พระอุทายีเถระ บางคราวภัตเลว. ในวันที่ได้ภัตเลว พระอุทายีเถระนั้น

กระทำโรงสลากให้อากูลวุ่นวาย กล่าวว่า พระทัพพะเท่านั้น รู้เพื่อให้สลาก

หรือ พวกเราไม่รู้หรือ. เมื่อพระอุทายีนั้นทำโรงสลากให้วุ่นวายอยู่. ภิกษุ

ทั้งหลายได้ให้กระเช้าสลากด้วยคำว่า เอาเถอะท่านนั่นแหละจงให้สลากเดี๋ยวนี้.

จำเดิมแต่นั้น พระอุทายีนั้นได้ให้สลากแก่สงฆ์. ก็แหละเมื่อจะให้ ย่อมไม่รู้

ว่า นี้ ภัตดีหรือภัตเลว หรือว่า ย่อมไม่รู้ว่า ภัตดีตั้งไว้ที่โรงโน้น ? ภัต

เลวตั้งไว้ที่โรงโน้น ? ย่อมไม่กำหนดว่า บัญชีแสดงยอดจำนวนอยู่ในโรงโน้น ?

ในเวลาที่ภิกษุทั้งหลายยืน ก็ขีดเส้น ที่พื้นหรือที่ข้างฝา มีอันให้รู้ว่า ในที่นี้

บัญชีที่ตั้งลำดับนี้ยืน ในที่นี้ บัญชีที่ตั้งลำดับนี้ยืน. วันรุ่งขึ้น ในโรงสลาก

มีภิกษุน้อยกว่าบ้าง มากกว่าบ้าง เมื่อภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นน้อยกว่า รอยขีด

ก็อยู่ต่ำ เมื่อภิกษุทั้งหลายมากกว่า รอยขีดก็อยู่สูง. พระอุทายีนั้น เมื่อไม่รู้

บัญชีที่ตั้งลำดับ จึงไห้สลากไปตามหมายรอยขีด.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะพระอุทายีนั้นว่า ดูก่อนอาวุโส

อุทายี ธรรมดารอยขีดจะอยู่ต่ำหรืออยู่สูงก็ตามเถอะ แค่ภัตดีดังอยู่ที่โรงโน้น

ภัตเลวตั้งอยู่ที่โรงโน้น. พระอุทายีเมื่อจะได้ตอบภิกษุทั้งหลายจงกล่าวว่า ถ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

เมื่อเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุไร รอยขีดนี้จึงตั้งอยู่อย่างนี้ เราจะเชื่อพวกท่าน

ได้อย่างไร เราเชื่อตามรอยขีดนี้. ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย

จึงกล่าวกะพระอุทายีนั้นว่า ดูก่อนอาวุโสอุทายี. เมื่อท่านให้สลากอยู่ ภิกษุ

ทั้งหลายพากันเสื่อมลาภ ท่านไม่สมควรให้สลาก จงออกไปจากโรงสลาก

แล้วฉุดคร่าออกจากโรงสลาก. ขณะนั้น ในโรงสลาก ได้มีความวุ่นวายมาก.

พระศาสดาได้ทรงสดับ ดังนั้นจึงตรัสถามพระอานนทเถระว่า อานนท์

ในโรงสลากมีความวุ่นวายมาก นั้นชื่อว่าเสียงอะไร. พระเถระได้กราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระตถาคต. พระศาสดาตรัสว่า อานนท์ อุทายีกระทำความเสื่อม

ลาภแก่คนอื่น เพราะความที่คนเป็นคนโง่ มิใช่บัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน

ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน. พระเถระทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อ

ตรัสเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพ

ปกปิดไว้ ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ได้มีพระราชาพระนามว่าพรหมทัต อยู่ในพระนคร

พาราณสี แคว้นกาสี. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายได้เป็นพนักงาน

ตีราคาของพระเจ้าพรหมทัตนั้น ได้ตีราคาช้างและม้าเป็นต้น และแก้วมณีกับ

ทองเป็นต้น ครั้นตีราคาแล้วให้มูลค่าอันสมควรแก่ภัณฑะนั่นแหละ. แก่เจ้า

ของภัณฑะทั้งหลาย แต่พระราชาทรงเป็นคนโลภ เพราะความเป็นผู้มักโลภ

พระราชานั้น จึงทรงดำริอย่างนี้ว่า พนักงานตีราคาคนนี้ เมื่อตีราคาอยู่อย่างนี้

ไม่นานนัก ทรัพย์ในวังของเราจักถึงความหมดสิ้นไป เราจักตั้งคนอื่นให้เป็น

พนักงานตีราคา พระราชานั้น ทรงให้เปิดสีหบัญชรทอดพระเนตรดูพระลาน-

หลวง ทรงเห็นบุรุษชาวบ้านคนหนึ่งผู้ทั้งเหลวไหลและโง่เขลา จึงทรงพระ-

ดำริว่า ผู้นี้จักอาจกระทำงานในตำแหน่งพนักงานตีราคาของเราได้ จึงรับสั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

ให้เรียกเขามา แล้วตรัสว่า พนาย เธอจักอาจทำงานในตำแหน่งพนักงานดี

ราคาของเราได้ไหม. บุรุษนั้นทูลว่า อาจ พะย่ะค่ะ พระราชาจึงทรงตั้งบุรุษ

เขลาคนนั้นไว้ในงานของผู้ตีราคา เพื่อต้องการรักษาทรัพย์ของพระองค์. ตั้ง

แต่นั้น บุรุษผู้โง่เขลานั้น เมื่อจะตีราคาช้างและม้าเป็นต้น กล่าวตีราคาเอา

ตามความชอบใจ ทำให้เสียราคา. เพราะเขาดำรงอยู่ในตำแหน่ง เขากล่าว

คำใด คำนั้นนั่นแลเป็นราคา. ครั้งนั้น พ่อค้าม้าคนหนึ่ง นำม้า ๕๐๐ ตัว

มาจากแคว้นอุตตราปถะ พระราชารับสั่งให้เรียกบุรุษนั้นมาให้ตีราคาม้า บุรุษ

นั้นได้ตั้งราคาน้ำ ๕๐๐ ตัว ด้วยข้าวสารทะนานเดียว ก็แหละครั้นตีราคาแล้ว

จึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงให้ข้าวสารหนึ่งทะนานแก่พ่อค้าม้า แล้วให้พัก

ม้าไว้ในโรงม้า.

พ่อค้าม้าจึงไปยังสำนักของพนักงานตีราคาคนเก่า บอกเรื่องราวนั้น

แล้วถามว่า บัดนี้ ควรจะทำอย่างไร ? พนักงานตีราคาคนเก่านั้นกล่าวว่า

ท่านทั้งหลายจงให้สินบนแก่บุรุษนั้นแล้วถามอย่างนี้ว่า ม้าทั้งหลายของพวก

ข้าพเจ้ามีราคาข้าวสารทะนานเดียวก่อน ข้อนี้รู้กันแล้ว แต่ข้าพเจ้าประสงค์

จะรู้ราคาของข้าวสารทะนานเดียว เพราะอาศัยท่าน ท่านจักอาจเพื่อยืนอยู่ใน

สำนักของพระราชาแล้วพูดว่า ข้าวสารหนึ่งทะนานนี้มีราคาชื่อนี้ ถ้าเขาพูดว่า

จักอาจ พวกท่านจงพาเขาไปยังสำนักของพระราชา แม้เราก็จักไปในที่นั้น.

พ่อค้ารับคำพระโพธิสัตว์แล้ว ให้สินบนแก่นักตีราคา แล้วบอกเนื้อความนั้น.

นักตีราคานั้นพอได้สินบนเท่านั้นก็กล่าวว่า เราจักอาจตีราคาข้าวสารหนึ่ง

ทะนานได้. พ่อค้าม้ากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเราจงพากันไปยังราชสกุล

แล้วได้พานักตีราคานั้นไปยังสำนักของพระราชา. พระโพธิสัตว์ก็ดี อำมาตย์

เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นก็ดี ได้พากันไปแล้ว พ่อค้าม้าถวายบังคมพระราชา

แล้วทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ได้ทราบว่าม้า ๕๐๐ ตัวมีราคา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

เท่าข้าวสารหนึ่งทะนาน แต่ข้าวสารหนึ่งทะนานนี้มีราคาเท่าไร ข้าแต่สมมติ-

เทพ ขอพระองค์ได้โปรดถามพนักงานตีราคา พระเจ้าข้า. พระราชาไม่ทราบ

ความเป็นไปนั้นจึงตรัสถามว่า ท่านนักตีราคาผู้เจริญ ม้า ๕๐๐ ตัวมีราคา

เท่าไร ? พนักงานตีราคากราบทูลว่า มีราคาข้าวสารหนึ่งทะนานพระเจ้าข้า

พระราชาตรัสถามว่า ช่างเถิด พนาย ม้าทั้งหลายมีราคาข้าวสารหนึ่งทะนาน

ก่อน แต่ข้าวสารหนึ่งทะนานนั้น มีราคาเท่าไร ? บุรุษโง่ผู้นั้นกราบทูลว่า

ข้าวสารหนึ่งทะนานย่อมถึงค่าเมืองพาราณสี ทั้งภายในและภายนอก พะยะค่ะ.

ได้ยินว่า ในกาลก่อน บุรุษโง่นั้นอนุวรรตตามพระราชา จึงได้ตี

ราคาม้าทั้งหลายด้วยข้าวสารทะนานหนึ่ง ได้สินบนจากมือของพ่อค้า กลับตีราคา

เมืองพาราณสีทั้งภายในและภายนอก ด้วยข้าวสารหนึ่งทะนานนั้น. ก็ในกาล

นั้น เมืองพาราณสีได้ล้อมกำแพงประมาณ ๑๒ โยชน์ แคว้นทั้งภายในและ

ภายนอกเมืองพาราณสีนี้ประมาณ ๓๐๐ โยชน์. บุรุษโง่นั้น ได้ตีราคาเมือง

พาราณสีทั้งภายในและภายนอกอันใหญ่โตอย่างนี้ ด้วยข้าวสารหนึ่งทะนาน

ฉะนี้.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าวสารหนึ่งทะนานมีราคาเท่าไร พระนคร

พาราณสีทั้งภายในภายนอกมีราคาเท่าไร ข้าวสาร-

ทะนานเดียว มีราคาเท่าม้า ๕๐๐ ตัวเที่ยวหรือ.

อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังดังนั้น จึงพากันตบมือหัวเราะทำการเยาะเย้ยว่า

เมื่อก่อน พวกเราได้มีความสำคัญว่า แผ่นดินและราชสมบัติ หาค่ามิได้ นัย

ว่าราชสมบัติในเมืองพาราณสีพร้อมทั้งพระราชาอันใหญ่โตอย่างนี้ มีค่าเพียง

ข้าวสารทะนานเดียว โอ! ความเพียบพร้อมของพนักงานตีราคา ท่านเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

พนักงานตีราคา ดำรงอยู่ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ณ ที่ไหนกัน ท่านเหมาะสม

แก่พระราชาของพวกเราทีเดียว. ครั้งนั้น พระราชาทรงละอาย ให้ฉุดคร่า

บุรุษโง่นั้นออกไป แล้วได้พระราชทานตำแหน่งพนักงานตีราคาแก่พระโพธิ-

สัตว์ตามเดิม. พระโพธิสัตว์ได้ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสเรื่อง ๒ เรื่อง

สืบอนุสนธิต่อกันไป แล้วทรงประชุมชาดกว่า พนักงานตีราคาผู้เป็นชาวบ้าน

โง่เขลาในกาลนั้น ได้เป็นพระโลฬุทายีในบัดนี้ พนักงานตีราคาผู้เป็นบัณฑิต

ในกาลนั้น ได้เป็นเราเอง.

จบ ตัณฑุลนาฬิชาดกที่ ๕

๖. เทวธรรมชาดก

ว่าด้วยธรรมของเทวดา

[๖] สัปบุรุษผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริและ

โอตตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันขาว ท่านเรียกกว่าผู้มี

ธรรมของเทวดาในโลก.

จบเทวธรรมชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

๖. อรรถกถาเทวธรรมชาดก

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ

ภิกษุผู้มีภัณฑะมาก จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า หิริโอตฺตปฺป-

สมฺปนฺนา ดังนี้.

ได้ยินว่า กุฎุมพีชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง เมื่อภรรยาตายก็บวชกุฎุมพี-

นั้น เมื่อจะบวชได้ให้ทำบริเวณ โรงไฟและห้องเก็บสิ่งของ ทำห้องเก็บสิ่ง

ของให้เต็มด้วยเนยใสและข้าวสารเป็นต้น สำหรับคนแล้วจึงบวช ก็แหละครั้น

บวชแล้ว ให้เรียกทาสของตนมา ให้หุงต้มอาหารตามชอบใจ แล้วจึงบริโภค

และได้เป็นผู้มีบริขารมาก ในเวลากลางคืน มีผ้านุ่งและผ้าห่มผืนหนึ่ง เวลา

กลางวัน มีอีกผืนหนึ่งอยู่ท้ายวิหาร วันหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นนำจีวรและเครื่อง

ปูลาดเป็นต้น ออกมาคลี่ตากไว้ในบริเวณ ภิกษุชาวชนบทมากด้วยกัน เทียว

จาริกไปตามเสนาสนะ ไปถึงบริเวณ เห็นจีวรเป็นต้น จึงถามว่า จีวรเป็นต้น

เหล่านั้นของใคร ? ภิกษุนั้นกล่าวว่า ของผมครับ ท่านผู้มีอายุ. ภิกษุเหล่านั้น

ถามว่า จีวรนี้ก็ดี ผ้านุ่งนี้ก็ดี เครื่องลำต้นก็ดี ทั้งหมดเป็นของท่านเท่านั้น

หรือ ? ภิกษุนั้นกล่าวว่า ขอรับ เป็นของผมเท่านั้น. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า

ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ไตรจีวรมิใช่หรือ ท่านบวชใน

ศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มักน้อยอย่างนี้ เกิดเป็นผู้มีบริวารมากอย่างนี้ มา

เถิดท่าน พวกเราจักนำไปยังสำนักของพระทศพล แล้วได้พาภิกษุนั้นไปยัง

สำนักของพระศาสดา พอทรงเห็นภิกษุนั้นเท่านั้นจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายเป็นผู้พาภิกษุผู้ไม่ปรารถนานั้น แลมาแล้วหรือ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้มีภัณฑะมากมีบริขารมาก พระเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอมีภัณฑะมากจริงหรือ ?

ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงพระเจ้าข้า. พระศาสดา

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ก็เพราะเหตุไรเธอจึงเป็นผู้มีภัณฑะมาก เรากล่าวคุณ

ของความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษ ความสงัด เเละการปรารภความ

เพียร มิใช่หรือ. ภิกษุนั้น ได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดาก็โกรธคิดว่า บัดนี้

เราจักเที่ยวไปโดยทำนองนี้ จึงทิ้งผ้าห่ม มีจีวรผืนเดียว ยืนอยู่ในท่ามกลาง

บริษัท. ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงอุปถัมภ์ภิกษุนั้นจึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุ เมื่อก่อน แม้ในกาลเนื้อเป็นผีเสื้อน่าผู้แสวงหาหิริโอตตัปปะ เธอแสวง

หาหิริโอตตัปปะอยู่ถึง ๑๒ ปี เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรในบัดนี้ เธอบวช

ในพระพุทธศาสนาอันเป็นที่เคารพต่างนี้ จึงทิ้งผ้าห่มในท่ามกลางบริษัท ละ

หิริโอตตัปปะยืนอยู่เล่า. ภิกษุนั้นได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา ได้ยังหิริ-

โอตัปปะให้กลับตั้งขึ้น. จึงห่มจีวรนั้นแล้วถวายบังคมพระศาสดานั่ง ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงยังเรื่องนั้น

ให้แจ่มแจ้ง. พระผู้พระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้

ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ได้มีพระราชาพระนามว่า พรหมทัต ในนครพาราณสี

ในแคว้นกาสี. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระอัคร-

มเหสีของพระเจ้าพรหมทัตนั้น . เมื่อครบทศมาส พระนางประสูติพระโอรส.

ในวันเฉลิมพระนามของพระโอรสนั้น พระญาติทั้งหลายได้ตั้งพระนามว่า

มหิสสาสกุมาร ในกาลที่พระกุมารนั้นทรงวิ่งเล่นได้ พระโอรสองค์อื่นก็

ประสูติ พระญาติทั้งหลายตั้งพระนามของพระโอรสนั้นว่า จันทกุมาร. ใน

เวลาที่พระจันทกุมารนั้นทรงวิ่งเล่นได้ พระมารดาของพระโพธิสัตว์ก็

สวรรคต พระราชาทรงตั้งพระสนมอื่นไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี. พระอัคร-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

มเหสีนั้น ได้เป็นที่รักเป็นที่โปรดปรานของพระราชา. พระอัครมเหสีแม้นั้น

ทรงอาศัยการอยู่ร่วมกันก็ประสูติพระโอรสองค์หนึ่ง. พระญาติทั้งหลายได้ตั้ง

พระนามของพระโอรสนั้นว่า สุริยกุมาร. พระราชาทรงเห็นพระโอรสแล้วมี

พระหฤทัยยินดีตรัสว่า นางผู้เจริญ เราให้พรแก่บุตรของเธอ. พระเทวีเก็บ

ไว้จะรับเอาในเวลาต้องการพรนั่น. เมื่อพระโอรสเจริญวัยแล้ว พระนางกราบ

ทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในกาลที่พระโอรสของหม่อมฉันประสูติ

พระองค์ทรงประทานพรไว้มิใช่หรือ ขอพระองค์จงประทานราชสมบัติแก่พระ-

โอรสของหม่อมฉัน. พระราชาทรงห้ามว่า พระโอรสสองพระองค์ของเรา

รุ่งเรื่องอยู่เหมือนกองเพลิง เราไม่อาจให้ราชสมบัติแก่โอรสของเธอ ทรงเห็น

พระนางอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ทรงพระดำริว่า พระนางนี้จะพึงคิดแม้กรรมอัน

ลามกแก่โอรสทั้งหลายของเรา จึงรับสั่งให้เรียกพระโอรสทั้งสองมาแล้วตรัสว่า

พ่อทั้งสอง ในเวลาที่สุริยกุมารประสูติ พ่อได้ให้พรไว้ บัดนี้มารดาของสุริย-

กุมารนั้นทูลขอราชสมบัติ พ่อไม่ประสงค์จะให้แก่สุริยกุมารนั้น ธรรมดา

มาตุคาม ผู้ลามกจะพึงคิดแม้สิ่งอันลามกแก่พวกเจ้า เจ้าทั้งสองต้องเข้าป่าต่อ

เมื่อพ่อล่วงไปแล้ว จงครองราชสมบัติในนครอันเป็นของมีอยู่ของตระกูล แล้ว

ทรงกันแสง คร่ำคราญจุมพิตที่ศีรษะแล้วทรงส่งไป. สุริยกุมารทรงเล่นอยู่ที่

พระลานหลวง เห็นพระโอรสทั้งสองนั้นถวายบังคมพระราชบิดาแล้วลงจาก

ปราสาท ทรงเห็นเหตุนั้น จึงคิดว่า แม้เราก็จักไปกับพระเจ้าพี่ทั้งสอง จึง

ออกไปพร้อมกับพระโอรสทั้งสองนั้นเอง พระโอรสเหล่านั้นเสด็จเข้าไปยังป่า

หิมพานต์.

พระโพธิสัตว์แวะลงข้างทางประทับนั่งที่โคนไม้ เรียกสุริยกุมารมาว่า

พ่อสุริยะ. เจ้าจะไปยังสระนั้น อาบและดื่มแล้วจงเอาใบบัวห่อน้ำดื่มมาแม้เพื่อ

เราทั้งสอง ก็สระนั้นเป็นสระที่ผีเสื้อน้ำตนหนึ่งได้พรจากสำนักของท้าวเวสวัณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

ท้าวเวสวัณตรัสกะผีเสื้อน้ำนั้นว่า เจ้าจะได้กินคนที่ลงยังสระนี้ ยกเว้นคนที่รู้

เทวธรรมเท่านั้น เจ้าจะไม่ได้กินคนที่ไม่ได้ลง ตั้งแต่นั้น รากษสนั้นจึงถาม

เทวธรรมกะคนที่ลงสระนั้น แล้วกินคนที่ไม่รู้เทวธรรม ลำดับนั้นแล สุริยกุมาร

ไปยังสระนั้นไม่ได้พิจารณาเลยลงไปอยู่ ลำดับนั้น รากษสนั้นจับสุริยกุมารนั้น

แล้วถามว่า ท่านรู้เทวธรรมหรือ ? สุริยกุมารนั้นกล่าวว่า เออ ฉันรู้ พระ-

จันทร์และพระอาทิตย์ ชื่อว่า เทวธรรม ลำดับนั้น รากษสนั้นจึงกล่าวกะสุริย

กุมารนั้นว่า ท่านไม่รู้จักเทวธรรม แล้วพาดำไปพักไว้ในที่อยู่ของตน ฝ่าย

พระโพธิสัตว์เห็นสุริยกุมารนั้นชักช้าอยู่ จึงส่งจันทกุมารไป แม้รากษสก็จับ

จันทกุมารนั้นแล้วถามว่า ท่านรู้เทวธรรมไหม ? จันทกุมารกล่าวว่า เออ ฉัน

รู้ ทิศทั้ง ๔ ชื่อว่าเทวธรรม รากษสกล่าวว่า ท่านไม่รู้เทวธรรม แล้วพา

จันทกุมารแม้นั้น ไปไว้ในที่อยู่ของตนนั้นนั่นแหละ. เมื่อจันทกุมารล่าช้าอยู่

พระโพธิสัตว์คิดว่า อันตรายอย่างหนึ่งจะพึงมี จึงเสด็จไปที่สระนั้นด้วยพระ-

องค์เอง เห็นรอยเท้าลงของพระอนุชาแม้ทั้งสองจึงดำริว่า สระนี้คงเป็นสระที่

รากษสหวงแหน จึงได้สอดพระขรรค์ถือธนูยืนอยู่. ผีเสื้อน้ำเห็นพระโพธิสัตว์

ไม่ลงน้ำ จึงแปลงเป็นเหมือนบุรุษผู้ทำงานในป่า กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า

บุรุษผู้เจริญท่านเหน็ดเหนื่อยในหนทาง เพราะเหตุไร จึงไม่ลงสระนี้ อาบ

ดื่ม กินเหง้าบัว ประดับดอกไม้ไปตามสบาย พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นรู้ว่า

ผู้นี้จักเป็นยักษ์ จึงกล่าวว่า ท่านจับน้องชายของเรามาหรือ. ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า

เออ เราจับมา. พระโพธิสัตว์ถามว่า เพราะเหตุไร. ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เราย่อม

ได้คนผู้ลงยังสระนี้. พระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านย่อมได้ทั้งหมดทีเดียวหรือ ?

ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เราได้ทั้งหมด ยกเว้นคนที่รู้เทวธรรม. พระโพธิสัตว์นั้นตรัส

ถามว่า ท่านมีความต้องการเทวธรรมหรือ ? ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เออมีความ

ต้องการ. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น เราจักบอกเทวธรรมแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

ท่าน. ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นท่านจงบอก เราจักฟังเทวธรรม. พระโพธิ-

สัตว์ตรัสว่า แต่เรามีตัวสกปรก. ยักษ์จึงให้พระโพธิสัตว์อาบน้ำ ให้ดื่มน้ำ ให้

ประดับดอกไม้ให้ลูบไล้ของหอม ได้ลาดบัลลังก์ให้ในท่ามกลางปะรำที่ประดับ

แล้ว. พระโพธิสัตว์ประทับนั่งบทอาสนะ ให้ยักษ์นั่งแทบเท้าแล้วตรัสว่า

ถ้าอย่างนั้นท่านจงเงี่ยโสตฟังพระธรรมโดยเคารพ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

สัปบุรุษผู้สงบระงับ ประกอบด้วยหิริและโอต-

ตัปปะ ตั้งมั่นอยู่ในธรรมอันขาว ท่านเรียกว่าผู้มี

เทวธรรมในโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิริโอตฺตปฺปสมฺปนฺนา แปลว่า ผู้

ประกอบด้วยหิริ และโอตตัปปะ บรรดาหิริและโอตตัปปะเหล่านั้น ที่ชื่อว่า

หิริ เพราะละอายแต่กายทุจริต เป็นต้น คำว่า หิริ นี้ เป็นชื่อของความ

ละอาย. ที่ชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะกลัวแต่กายทุจริตเป็นต้นนั้นนั่นแหละ คำว่า

โอตตัปปะนี้ เป็นชื่อของความกลัวแต่บาป บรรดาหิริและโอตตัปปะนั้น

หิริมีสมุฏฐานที่ตั้งขึ้นภายใน โอตตัปปะมีสมุฏฐานที่ตั้งขึ้นภายนอก. หิริ มีตน

เป็นใหญ่ โอตตัปปะมีโลกเป็นใหญ่ หิริดำรงอยู่ในสภาวะอันน่าละอาย โอต-

ตัปปะดำรงอยู่ในสภาวะอันน่ากลัว หิริมีลักษณะยำเกรง โอตตัปปะมีลักษณะ

โทษและเห็นภัย

บรรดาหิริและโอตตัปปะนั้น บุคคลย่อมยังหิริอันมีสมุฏฐานเป็นภาย

ใน ให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ เพราะพิจารณาถึงชาติกำเนิด ๑ พิจารณา

ถึงวัย ๑ พิจารณาถึงความกล้าหาญ ๑ พิจารณาถึงความเป็นพหูสูต อย่างไร ?

บุคคลพิจารณาถึงชาติกำเนิดก่อนอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้ ไม่เป็น

กรรมของคนผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ เป็นกรรมของตนผู้มีชาติต่ำมีพรานเบ็ดเป็นต้น

จะฟังการทำ บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยชาติเช่นท่านไม่ควรการทำกรรมนี้ แล้วไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

ทำบาปมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อร่ายังหิริให้ตั้งขึ้น อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงวัย

อย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้เป็นกรรมที่คนหนุ่ม ๆ พึงกระทำ กรรมนี้อัน

คนผู้ตั้งอยู่ในวัยเช่นท่านไม่ควรกระทำ แล้วไม่กระทำบาป มีปาณาติบาต

เป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น แม้อนึ่ง บุคคลพิจารณาถึงความเป็นผู้กล้าหาญ

อย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำบาปนี้ เป็นกรรมของคนผู้มีชาติอ่อนแอ กรรมนี้

บุคคลผ้สมบูรณ์ด้วยความกล้าหาญเช่นท่าน ไม่ควรกระทำ แล้วไม่กระทำบาป

มีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ฝูงชน อนึ่ง บุคคลพิจารณาความเป็น

พหูสูต อย่างนี้ว่าชื่อว่าการกระทำบาปนี้เป็นกรรมของตนอันธพาล กรรมนี้อัน

คนผู้เป็นพหูสูต เป็นบัณฑิตเช่นท่าน ไม่ควรการทำ แล้วไม่กระทำบาปมี

ปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ายังหิริให้ตั้งขึ้น บุคคลชื่อว่ายังหิริอันมีสมุฏฐานภาย

ในให้ตั้งขึ้นด้วยเหตุ ประการอย่างนี้. ก็แหละ ครั้น ให้ตั้งขึ้นแล้ว ยังหิริให้

เข้าไปในจิตไม่กระทำบาปด้วยคน หิริย่อมชื่อว่ามีสมุฏฐานภายในอย่างนี้.

โอตตัปปะชื่อว่า มีสมุฏฐานภายนอกอย่างไร ? บุคคลพิจารณาว่า ถ้า

ท่านจักทำบาปไซร้ ท่านจักเป็นผู้ถูกติเตียนในบริษัท ๔ และว่า

วิญญูชนทั้งหลายจักติเตียนท่านเหมือนชาวเมือง

ติเตียนของไม่สะอาด ดูก่อนภิกษุ ท่านอันผู้มีศีล

ทั้งหลายเว้นห่างแล้ว จักกระทำอย่างไร ดังนี้.

ย่อมไม่กระทำบาปกรรม เพราะโอตตัปปะอันตั้งขึ้นภายนอก โอตตัปปะย่อม

ชื่อว่ามีสมุฏฐานภายนอกอย่างนี้.

หิริชื่อว่ามีตนเป็นใหญ่อย่างไร กุลบุตรบางตนในโลกนี้ กระทำตน

ให้เป็นใหญ่ให้เป็นหัวหน้า ไม่กระทำบาปด้วยคิดว่า บุคคลผู้บวชด้วย ศรัทธา

เป็นพหูสูต มีวาทะ [คือสอน] ในการกำจัดกิเลสเช่นท่าน ไม่ควรกระทำบาป

กรรม หิริย่อมชื่อว่ามีตนเป็นให้อย่างนี้ ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

ตรัสว่า บุคคลนั้น กระทำคนนั่นแหละให้เป็นใหญ่ ละอกุศล เจริญกุศล

ละธรรมที่มีโทษ เจริญธรรมที่ไม่มีโทษ บริหารตนให้หมดจดอยู่.

โอตตัปปะชื่อว่ามีโลกเป็นใหญ่อย่างไร ? กุลบุตรบางตนในโลกนี้

กระทำโลกให้เป็นใหญ่ ให้เป็นหัวหน้า แล้วไม่กระทำบาปกรรม สมดังที่ตรัส

ไว้ว่า ก็โลกสันนิวาสนี้ให้แล อนึ่ง สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพย-

จักษุ รู้จิตของผู้อื่น อยู่ในโลกสันนิวาสอันใหญ่แล สมณพราหมณ์เหล่านั้น

ย่อมเห็นในที่ไกลบ้าง เห็นในที่ใกล้บ้าง รู้จิตด้วยจิตบ้าง สมณพราหมณ์แม้

เหล่านั้น ย่อมรู้เราอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรนี้ เขามี

ศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามกอยู่

เทวดาทั้งหลายผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของผู้อื่นมีอยู่ แม้เทวดาเหล่านั้น

ย่อมเห็นแต่ที่ไกลบ้าง ย่อมเห็นในที่ใกล้บ้าง ย่อมรู้ใจด้วยใจบ้าง แม้เทวดา

เหล่านั้นก็จักรู้เราว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรนี้ เขามีศรัทธา

ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตไม่มีเรือน เกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามก

อยู่ เขากระทำโลกนั่นแลให้เป็นใหญ่ ละอกุศลเจริญกุศล ละธรรมอัน

มีโทษเจริญ ธรรมอันไม่มีโทษ บริหารคนให้หมดจดอยู่ โอตตัปปะ

ย่อมชื่อว่ามีโลกเป็นใหญ่อย่างนี้.

ก็ในคำว่า หิริตั้งอยู่ในสภาวะน้ำละอาย โอตตัปปะตั้งอยู่ในสภาวะน่า

กลัว นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

อาการละอาย ชื่อว่า ความละอาย หิริตั้งอยู่โดยสภาวะอันนั้น ความ

กลัวแต่อบายชื่อว่า ภัย โอตตัปปะตั้งอยู่โดยสภาวะอันนั้น. หิริและโอตตัปปะ

แม้ทั้งสองนั้น ย่อมปรากฏในการงดเว้นทุกบาป จริงอยู่ บุคคลบางคนก้าวลง

สู่ธรรมคือความละอายอันเป็นภายใน ไม่กระทำบาปธรรม เหมือนกุลบุตรเมื่อ

จะถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ เป็นต้น เห็นคนหนึ่งอันควรละอาย พึงเป็นผู้ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

อาการละอาย ถูกอุจจาระ ปัสสาวะบีบคั้นจนอาจมเล็ดก็ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ

ไม่ได้ ฉะนั้น บุคคลบางคนกลัวภัยในอบายจึงไม่กระทำบาปกรรม ในข้อนั้น

มีความอุปมาดังต่อไปนี้:-

เหมือนอย่างว่า ในก้อนเหล็ก ๒ ก้อน ก้อนหนึ่งเย็น แต่เปื้อนคูถ

ก้อนหนึ่งร้อน ไฟติดโพลง. ในก้อนเหล็ก ๒ ก้อนนั้น บัณฑิตเกลียดไม่จับ

ก้อนเย็น เพราะก้อนเย็นเปื้อนคูถ ไม่จับก้อนร้อน เพราะกลัวไฟไหม้ฉันใด.

ในข้อที่ว่าด้วยหิริและโอตตัปปะนั้นก็ฉันนั้น พึงทราบการหยั่งลงสู่ลัชชีธรรมอัน

เป็นภายในแล้วไม่ทำบาปกรรม เหมือนบัณฑิตเกลียดก้อนเหล็กเย็นที่เปื้อนคูถ

จึงไม่จับ และพึงทราบการไม่ทำบาปเพราะกลัวภัยในอบาย เหมือนการที่บัณฑิต

ไม่จับก้อนเหล็กร้อน เพราะกลัวไหม้ฉะนั้น.

แม้บททั้งสองนี้ที่ว่า หิริมีลักษณะยำเกรง โอตตัปปะมีลักษณะกลัว

โทษและเห็นภัย ดังนี้ ย่อมปรากฏเฉพาะในการงดเว้นจากบาปเท่านั้น. จริง

อยู่. คนบางคนยังหิริอันมีลักษณะยำเกรงให้เกิดขึ้นด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ

พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยชาติ ๑ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่แต่ง

พระศาสดา ๑ พิจารณาถึงความเป็นใหญ่โดยทรัพย์มรดก ๑ และ

พิจารณาถึงความเป็นใหญ่แห่งเพื่อนพรหมจารี ๑ แล้วไม่ทำบาป.

คนบางคนยังโอตตัปปะอันมีลักษณะกลัวโทษและมักเห็นภัย ให้ตั้งขึ้น

ด้วยเหตุ ๔ ประการ คือ ภัยในการติเตียนตน ๑ ภัยในการที่คนอื่น

ติเตียน ๑ ภัยคืออาชญา ๑ และภัยในทุคติ ๑ แล้วไม่ทำบาป ในข้อ

ที่ว่าด้วยหิริโอตตัปปะนั้น พึงกล่าวการพิจารณาความเป็นใหญ่โดยชาติเป็นต้น

และภัยในการติเตียนตนเป็นต้น ให้พิสดาร ความพิศดารของการพิจารณา

ความเป็นใหญ่โดยชาติเป็นต้นเหล่านั้น ได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาอังคตตร-

นิกาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

บทว่า สุกฺกธมฺมสมาหิตา ความว่า กุศลธรรมที่ควรกระทำมีหิริ

โอตตัปปะนี้แหละเป็นต้น ไป ชื่อว่า สุกกธรรม ธรรมขาว เมื่อว่าโดยนัยที่

รวมถือเอาทั้งหมด สุกกธรรมนั้น ก็คือธรรมอันเป็นโลกิยะและโลกุตระอันเป็นไป

ในภูมิ ๔ ที่ประกอบแล้ว ประกอบพร้อมแล้วด้วยหิริและโอตตัปปะทั้งสองนั้น.

บทว่า สนฺโต สปฺปุริสา โลเก ความว่า ชื่อว่าผู้สงบระงับ เพราะกายกรรม

เป็นต้นสงบระงับแล้ว ชื่อว่า เป็นสัปบุรุษ เพราะเป็นบุรุษผู้งดงามด้วยความ

กตัญญูกตเวที. ก็ในบทว่า โลเก นี้ โลกมีหลายโลก คือ สังขารโลก สัตวโลก

โอกาสโลก ขันธโลก อายตนโลก และธาตุโลก. ในโลกเหล่านั้น สังขารโลก

ท่านกล่าวไว้ในประโยคนี้ว่า โลกหนึ่ง คือ สัตว์ทั้งปวงดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร ฯลฯ

โลก ๑๘ คือธาตุ ๑๘. โลกมีขันธโลกเป็นต้นรวมอยู่ใน สังขารโลกนั่นแหละ.

ส่วนสัตวโลกท่านกล่าวไว้ในประโยคมีอาทิว่า โลกนี้ โลกหน้า เทวโลก

มนุษยโลก.

โอกาสโลกท่านกล่าวไว้ในประโยคนี้ว่า

พันโลกธาตุมีประมาณเพียงที่พระจันทร์และ

พระอาทิตย์เวียนส่องสว่างไปทั่วทิศ อำนาจของพระ-

องค์ย่อมแผ่ไปในพันโลกธาตุนั้น.

บรรดาโลกเหล่านั้น ในที่นี้ประสงค์เอาสัตวโลก จริงอยู่ในสัตว์โลก

เท่านั้น มีสัปบุรุษเห็นปานนี้ สัปบุรุษเหล่านั้นท่านกล่าวว่า มีเทวธรรม. บทว่า

เทว ในบทว่า เทวธมฺมา นั้น เทพมี ๓ ประเภท คือ สมมติเทพ.

อุปบัติเทพ ๑ และวิสุทธิเทพ ๑ บรรดาเทพเหล่านั้น พระราชาและพระ-

ราชกุมารเป็นต้น ชื่อว่าสมมติเทพ เพราะชาวโลกสมมติว่าเป็นเทพ จำเดิม

แต่ครั้งพระมหาสมมติราช. เทวดาผู้อุปบัติในเทวโลก ชื่อว่า อุปบัติเทพ.

พระขีณาสพ ชื่อว่า วิสุทธิเทพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า พระราชา พระราชเทวี พระราชกุมาร

ชื่อว่าสมมติเทพ. เทพสูง ๆ ขึ้นไปตั้งแต่ภุมมเทวดาไป ชื่อว่า

อุปบติเทพ ? พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพ ชื่อ

ว่าวิสุทธิเทพ.

ธรรมของเทพเหล่านี้ ชื่อว่า เทวธรรม.

บทว่า วุจฺจเร แปลว่า ย่อมกล่าว จริงอยู่ กุศลธรรมทั้งหลายมีหิริ

โอตตัปปะเป็นมูล ชื่อว่า เป็นธรรมของเทพทั้ง ๓ ประเภทเหล่านี้ เพราะ

อรรถว่าเป็นเหตุแห่งกุศลสัมปทา แห่งการเกิดในเทวโลกและแห่งความหมดจด

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเทวธรรม แม้บุคคลผู้ประกอบด้วยเทวธรรมเหล่านั้น

ก็เป็นผู้มีเทวธรรม เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรม

เหล่านั้น ด้วยเทศนาอันเป็นบุคคลอธิษฐานจึงตรัสว่า สัปบุรุษผู้สงบระงับ

เรียกว่า ผู้มีเทวธรรมในโลก.

ยักษ์ครั้นได้ฟังธรรมเทศนานี้ มีความเลื่อมใสจึงกล่าวกะพระโพธิสัตว์

ว่า ดูก่อนบัณฑิต เราเลื่อมใสท่าน จะให้น้องชายคนหนึ่ง จะให้นำคนไหนมา.

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ท่านจงนำน้องชายคนเล็กมา. ยักษ์กล่าวว่า ดูก่อนบัณฑิต

ท่านรู้แต่เทวธรรมอย่างเดียวเท่านั้น แต่ไม่ประพฤติในเทวธรรมเหล่านั้น.

พระโพธิสัตว์ตรัสถามว่า เพราะเหตุไร ? ยักษ์กล่าวว่า เพราะเหตุที่ท่านเว้น

พี่ชายเสียให้นำน้องชายมา ชื่อว่าไม่กระทำกรรมของผู้อ่อนน้อมต่อผู้เจริญที่สุด.

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนยักษ์ เรารู้เทวธรรมทีเดียว และประพฤติใน

เทวธรรมเหล่านั้น เพราะว่าเราทั้งหลายเข้าบ้าน เพราะอาศัยน้องชายนี้ ด้วยว่า

พระมารดาของน้องชายนี้ ทูลขอราชสมบัติกะพระบิดาของพวกเรา เพื่อ

ประโยชน์แก่น้องชายนี้ แต่พระบิดาของพวกเราไม่ให้พรนั้น เพื่อจะทรง

อนุรักษ์พวกเรา จึงทรงอนุญาตการอยู่ป่า พระกุมารนั้นติดตามมากับพวกเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

แม้เมื่อพวกเรากล่าวว่า ยักษ์ในป่ากินพระกุมารนั้นเสียแล้ว ใคร ๆ จักไม่เชื่อ

ด้วยเหตุนั้น เรากลัวแต่ภัยคือการครหา จึงให้นำน้องชายคนเล็กนั้นนั่นแหละมา.

ยักษ์มีจิตเลื่อมใสให้สาธุการแก่พระโพธิสัตว์ว่า สาธุ สาธุ ท่านบัณฑิต ท่าน

รู้เทวธรรมทั้งปฏิบัติในเทวธรรมเหล่านั้น ดังนี้แล้ว จึงได้นำน้องชายแม้ทั้งสอง

คนมาให้. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสกะยักษ์นั้นว่า สหาย ท่านบังเกิดเป็น

ยักษ์มีเนื้อและเลือดของตนอื่นเป็นภักษา เพราะบาปกรรมที่คนทำไว้ในชาติ

ก่อน บัดนี้ ท่านยังกระทำบาปนั่นแลช้าอีก ด้วยว่าบาปกรรมจักไม่ให้พ้นจาก

นรกเป็นต้น เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นี้ไป ท่านจงละบาปแล้วการทำแต่กุศล. ก็

แหละได้สามารถทรมานยักษ์นั้น พระโพธิสัตว์นั้นครั้นทรมานยักษ์นั้นแล้ว

เป็นผู้อันยักษ์นั้นจัดแจงการอารักขาอยู่ในที่นั้นนั่นแล. วันหนึ่ง แลดูนักขัต-

ฤกษ์ รู้ว่าพระชนกสวรรคต จึงพายักษ์ไปเมืองพาราณสี ยึดราชสมบัติ

ประทานตำแหน่งอุปราชแก่พระจันทกุมาร ประทานตำแหน่งเสนาบดีแก่สุริย

กุมาร ให้สร้างที่อยู่ในที่อันน่ารื่นรมย์ให้แก่ยักษ์ ได้ทรงกระทำโดยประการที่

ยักษ์นั้นได้บูชาอันเลิศ ดอกไม้อันเลิศ. ของหอมอันเลิศ ผลไม้อันเลิศ และ

ภัตอันเลิศ. พระโพธิสัตว์ครองราชสมบัติโดยธรรมได้เสด็จไปตามยถากรรม

แล้ว.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ

ทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. แม้พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าก็ตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบอนุสนธิต่อกันไป แล้วทรงประชุมชาดกว่า

ผีเสื้อน้ำในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้มีภัณฑะมากในบัดนี้ สุริยกุมารได้เป็น

พระอานนท์ จันทกุมารได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนมหิสสาสกุมารผู้เป็นเชฏฐา

ได้เป็นเราเองแล.

จบ เทวธรรมชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

๗. กัฏฐหาริชาดก

[๗] ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ข้าพระบาท

เป็นโอรสของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่ง

หมู่ชน ขอพระองค์ได้ทรงโปรดชุบเลี้ยงข้าพระบาท

ไว้ แม้คนเหล่าอื่นพระองค์ยังทรงชุบเลี้ยงได้ ไฉนจะ

ไม่ทรงชุบเลี้ยงโอรสของพระองค์เองเล่า.

จบกัฏฐหาริชาดกที่ ๗

๗. อรรถกถากัฏฐหาริชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภพระนาง

วาสภขัตติยา จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปุตฺโต ตฺยาห

มหาราช ดังนี้.

เรื่องพระนางวาสภขัตติยา จักมีแจ้งในภัททสาลชาดก ทวาทสนิบาต.

ได้ยินว่า พระนางวาสภขัตติยานั้น เป็นพระธิดาของเจ้าศากยะมหานาม ประสูติ

ในครรภ์ของทาสีชื่อว่า นาคมณฑา (ต่อมา) ได้เป็นพระอัครมเหสีของพระ

เจ้าโกศล พระนางประสูติพระราชโอรส. ก็ภายหลัง พระราชาทรงทราบว่า

พระนางเป็นทาสีจึงทรงปลดจากตำแหน่ง แม้วิฑูฑภะผู้เป็นพระโอรสก็ถูก

ปลดจากตำแหน่งเหมือนกัน. แม่ลูกแม้ทั้งสองก็ตั้งอยู่ในพระราชนิเวศน์ของ

พระองค์นั่นแล. พระศาสดาทรงทราบเหตุนั้น ครั้นในเวลาเย็น ทรงห้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

ล้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ของพระราชา ประทับนั่งบน

อาสนะที่ปูลาดไว้แล้วตรัสว่า พระนางวาสภขัตติยาประทับอยู่ที่ไหน. พระราชา

จึงกราบทูลเหตุนั้นให้ทรงทราบ พระศาสดาตรัสถามว่า มหาบพิตร พระนาง

วาสภขัตติยาเป็นธิดาของใคร ? พระราชาทูลว่า เป็นธิดาของเจ้ามหานาม

พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า เมื่อพระนางวาสภขัตติยาเสด็จมา เสด็จมา

แล้วเพื่อใคร พระราชาทูลว่า เพื่อหม่อมฉัน พระเจ้าข้า พระศาสดาตรัส

ว่า มหาบพิตร พระนางวาสภขัตติยานี้ เป็นธิดาของพระราชาและมาเพื่อพระ

ราชา เพราะอาศัยพระราชานั่นแหละ จึงได้พระโอรส เพราะเหตุไร พระ-

โอรสนั้น จึงไม่ได้เป็นเจ้าของราชสมบัติอันเป็นของมีอยู่ของพระราชบิดา พระ

ราชาทั้งหลายในกาลก่อน ได้พระโอรสในครรภ์ของหญิงหาฟืน ผู้เป็นภรรยา

ชั่วคราว ก็ยังได้พระราชทานราชสมบัติแก่พระโอรส. พระราชาทรงขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเพื่อตรัสเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุ

อันระหว่างภพปกปิดไว้ ให้ปรากฏแล้ว.

ในอดีตกาล พระราชาพระนามว่า พรหมทัต ในกรุงพาราณสี

เสด็จไปพระราชอุทยานด้วยพระยศใหญ่ เสด็จเที่ยวไปในพระราชอุทยานนั้น

เพราะทรงยินดีดอกไม้และผลไม้ ทรงเห็นหญิงผู้หนึ่งผู้ขับเพลงไปพลางตัดฟืน

ไปพลางในป่าชัฎในพระราชอุทยาน ทรงมีจิตปฏิพัทธ์จึงทรงสำเร็จการอยู่

ร่วมกัน ในขณะนั้นเอง พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของหญิงนั้น

ทันใดนั้น ครรภ์นางได้หนักอึ้งเหมือนเต็มด้วยเพชร. นางรู้ว่าตั้งครรภ์จึงกราบ

ทูลว่า ข้าแค่สมมติเทพ หม่อมฉันตั้งครรภ์แล้ว เพคะ. พระราชาได้

ประทานพระธำมรงค์แล้วตรัสว่า ถ้าเป็นธิดาเจ้าจงจำหน่ายแหวนเลี้ยงดู ถ้า

เป็นบุตร เจ้าจงนำมายังสำนักของเราพร้อมกับแหวน ครั้นตรัสแล้วจึงเสด็จ

หลีกไป. ฝ่ายหญิงนั้นมีครรภ์แก่แล้วก็ตลอดพระโพธิสัตว์. ในเวลาที่พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

โพธิสัตว์นั้นแล่นอยู่ในสนามเล่น. มีคนกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเราถูกคนไม่มีพ่อ

ทุบตีแล้ว. พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้นจึงไปหามารดาถามว่า แม่จ๋า ใคร

เป็นพ่อของหนู ? มารดากล่าวว่า ลูกเอ๋ย เจ้าเป็นโอรสของพระเจ้าพาราณสี

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ก็พยานอะไร ๆ มีอยู่หรือจะแม่. มารดากล่าวว่า ลูก

เอ๋ย พระราชาประทานแหวนนี้ไว้แล้วตรัสว่า ถ้าเป็นธิดา พึงจำหน่ายเลี้ยงดู

กัน ถ้าเป็นบุตร พึงพามาพร้อมกับแหวนนี้ ดังนี้แล้วก็เสด็จไป. พระโพธิ-

สัตว์กล่าวว่า แม่จ๋า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร แม่จึงไม่นำฉันไปยังสำนัก

ของพระบิดา. นางรู้อัธยาศัยของบุตร จึงไปยังประตูพระราชวังให้คนกราบทูล

แก่พระราชาให้ทรงทราบ และเป็นผู้อันพระราชารับสั่งให้เข้าเฝ้า จึงเข้าไป

ถวายบังคมพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ผู้นี้เป็นโอรสของพระองค์

พระราชาแม้ทรงทราบอยู่ ก็เพราะทรงละอายในท่ามกลางบริษัทจึงตรัสว่า ไม่ใช่

บุตรของเรา. หญิงนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นี้พระธำมรงค์ของพระ-

องค์ พระองค์คงจะทรงจำพระธำมรงค์นี้ได้. พระราชาตรัสว่า แม้พระธำมรงค์

นี้ก็ไม่ใช่ธำมรงค์ของเรา. หญิงนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บัดนี้ เว้น

สัจกิริยาเสียคนอื่นผู้จะเป็นสักขีพยานของกระหม่อมฉันย่อมไม่มี ถ้าทารกนี้

เกิดเพราะอาศัยพระองค์ อันกระหม่อมฉันเหวียงขึ้นไปแล้ว จงอยู่ในอากาศ

ถ้าไม่ได้อาศัยพระองค์เกิด จงตกลงมาตายบนภาคพื้นดิน แล้วจับเท้าทั้งสอง

ของพระโพธิสัตว์เหวี่ยงไปในอากาศ. พระโพธิสัตว์นั่งคู้บัลลังก์ในอากาศ เมื่อ

จะกล่าวธรรมะแก่พระบิดาด้วยเสียงอันไพเราะ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

ข้าแต่พระราชาผู้เป็นใหญ่ ข้าพระบาทเป็น

โอรสของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ ผู้เป็นจอมแห่ง

หมู่ชน ขอพระองค์ได้ทรงโปรดชุบเลี้ยงข้าพระบาท

ไว้ แม้คนเหล่าอื่นพระองค์ยังทรงชุบเลี้ยงได้ ไฉนจะ

ในทรงชุบเลี้ยงโอรสของพระองค์เองเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺโต ตฺยาห ตัดบทเป็น ปุตฺโต

เต อห แปลว่า ข้าพระบาทเป็นโอรสของพระองค์. ก็ชื่อว่าบุตรนี้มี ๔

ประเภท คือ บุตรผู้เกิดในตน ๑ บุตรผู้เกิดในเขต ๑. อันเตวาสิก

ลูกศิษย์ ๑ และบุตรเขาให้ ๑.

บรรดาบุตร ๔ ประเภทนั้น บุตรผู้อาศัยคนเกิด ชื่อว่า บุตรผู้เกิดใน

ตน. บุตรผู้เกิดในที่ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ บนหลังที่นอน บนบัลลังก์และ

ที่อก ชื่อว่า บุตรผู้เกิดในเขต. บุคคลผู้เรียนศิลปศาสตร์ในสำนัก ชื่อว่า

ลูกศิษย์. บุตรที่เขาให้มาเลี้ยง ชื่อว่าบุตรที่เขาให้ คือ บุตรบุญธรรม.

แต่ในที่นี้ ท่านหมายเอาบุตรที่เกิดในตน จึงกล่าวว่าบุตร.

ที่ชื่อว่า พระราชา เพราะทำชนให้ยินดี ด้วยสังคหวัตถุ ๔. พระ-

ราชาผู้ใหญ่ชื่อว่า มหาราชา พระโพธิสัตว์เมื่อจะตรัสเรียกพระราชานั้น จึง

ตรัสว่า มหาราช ข้าแต่พระราชาผู้ใหญ่.

บทว่า ตฺว ม โปส ชนาธิป ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็น

ใหญ่ในหมู่มหาชน พระองค์จงชุบเลี้ยง คือ จงเลี้ยงดูข้าพระบาทอยู่เถิด.

อญฺเปิ เทโว โปเสติ ความว่า ชนเป็นอันมากเหล่าอื่น ได้แก่พวก

มนุษย์ผู้เลี้ยงช้างเป็นต้น และสัตว์ดิรัจฉานมีช้างและม้าเป็นต้น พระองค์ยัง

ทรงชุบเลี้ยงได้. ก็ศัพท์ว่า กิญฺจ ในบทว่า กิญฺจ เทโว สก ปช นี้

เป็นศัพท์นิบาตใช้ในความหมายว่า ติเตียน และความหมายว่า อนุเคราะห์.

พระโพธิสัตว์ทรงโอวาทว่า ประชาชนของพระองค์ คือข้าพระบาทผู้เป็นโอรส

ของพระองค์ พระองค์ไม่ทรงชุบเลี้ยง ดังนี้ ชื่อว่าย่อมติเตียน. เมื่อตรัสว่า

คนอื่นเป็นอันมาก พระองค์ทรงชุบเลี้ยงได้ดังนี้ ชื่อว่า ย่อมอนุเคราะห์ช่วย

เหลือ. ดังนั้นพระโพธิสัตว์แม้เมื่อจะทรงติเตียนจึงตรัสว่า ไฉนจะไม่ทรงชุบ

เลี้ยงโอรสของพระองค์เล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

เมื่อพระโพธิสัตว์ประทับนั่งในอากาศทรงแสดงธรรมอยู่อย่างนี้ พระ

ราชาได้ทรงสดับแล้ว จึงทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า จงมาเถิดพ่อ เราแหละ

จักชุบเลี้ยงเจ้า. มีมือตั้งพันเหยียดมาแล้ว พระโพธิสัตว์ไม่ลงในมือคนอื่น ลง

ในพระหัตถ์ของพระราชาเท่านั้น แล้วประทับนั่งบนพระเพลา พระราชาทรง

ประทานความเป็นอุปราชแก่พระโพธิสัตว์นั้น แล้วได้ทรงตั้งมารดาให้เป็น

อัครมเหสี. เมื่อพระบิดาสวรรคตแล้ว พระโพธิสัตว์นั้นได้เป็นพระราชาพระ

นานว่า กัฏฐวาหนะ เครื่องราชสมบัติ โดยธรรม ได้เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาทรงแสดงแก่พระเจ้าโกศล

แล้ว ทรงแสดงเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่ออนุสนธิ แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระ

มารดาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพระมหามายาเทวี พระบิดาในครั้งนั้นได้มาเป็น

พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ส่วนพระเจ้ากัฏฐวาหนราชในครั้งนั้น ได้เป็น

เราเองแล.

จบกัฏฐาหาริชาดกที่ ๗

๘. คามนิชาดก

ว่าด้วยไม่ใจเร็วด่วนได้

[๘] เออ ก็ความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่

ใจเร็วด่วนได้ เรามีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว ท่านจง

เข้าใจดังนี้เถิด พ่อคามนิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

๘. อรรถกถาคามนิชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเขตวันทรงปรารภภิกษุละความ

เพียร จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อปิ อตรนานาน ดังนี้.

ก็เรื่องปัจจุบันและเรื่องอดีตในชาดกนี้ จักมีแจ้งในสังวรชาดก เอกา-

ทสนิบาต ก็ในสังวรชาดกนั้น และชาดกนี้เรื่องเป็นเช่นเดียวกันเที่ยว แต่คาถา

ต่างกัน มีความย่อว่า คามนิกุมารตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ แม้จะเป็น

พระกนิษฐาของพระภาคาทั้งร้อยพระองค์ ก็เป็นผู้อันพระภาดาทั้งร้อยพระองค์

ห้อมล้อม ประทับนั่งบนบัลลังก์อันประเสริฐ ภายใต้เศวตฉัตร ทอดพระเนตร

ดูยศสมบัติของพระองค์ ทรงดีพระทัยว่ายศสมบัติของเรานี้ เป็นของอาจารย์

เรา จึงทรงเปล่งอุทานนี้ว่า

เออ ก็ความหวังในผล ย่อมสำเร็จแก่ผู้ไม่ใจเร็ว

ด่วนได้ เรามีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว ท่านจงเข้าใจ

ดังนี้เถิด พ่อคามนิ.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า อปิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อตรมา-

นาน ได้แก่ ผู้ตั้งอยู่ในโอวาทของบัณฑิตทั้งหลายไม่รีบด่วน กระทำการ

โดยอุบาย. บทว่า ผลาสาว สมิชฺฌติ ความว่า ความหวังในผลที่ปรารถนา

ไว้ ชื่อว่าย่อมสำเร็จแน่ เพราะความสำเร็จผลนั้น อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า

ผลาสา ได้แก่ ผลแห่งความหวัง คือ ผลตามที่ปรารถนาไว้ ย่อมสำเร็จ

ทีเดียว. ในบทว่า วิปกฺกพฺรหฺมจริโยสฺมิ นี้ สังคหวัตถุ ๔ ชื่อว่า

พรหมจรรย์เพราะเป็นความประพฤติอันประเสริฐ ก็พรหมจรรย์นั้น ชื่อว่าแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

กล้าแล้วทีเดียว เพราะได้เฉพาะยศสมบัติอันมีสังคหวัตถุนั้นเป็นมูล ยศที่สำเร็จ

แก่คามนิกุมารแม้นั้น ก็ชื่อว่าพรหมจรรย์ เพราะอรรถว่าประเสริฐ. ด้วยเหตุ

นั้นท่านจึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าเป็นผู้มีพรหมจรรย์แก่กล้าแล้ว. บทว่า เอว

ชานานิ คามนิ ความว่า ในที่บางแห่งบุรุษชาวบ้านก็ดี หัวหน้าชาวบ้าน

ก็ดี ชื่อว่า คามนิ ผู้ใหญ่บ้าน แต่ในที่นี้ หมายเอาตนเองซึ่งเป็นหัวหน้า

คนทั้งปวงจึงกล่าวว่า ดูก่อนนายบ้านผู้เจริญ ท่านจงรู้เหตุนี้อย่างนี้ว่า เรา

ก้าวล่วงพี่ชายร้อยคน ได้รับราชสมบัติใหญ่นี้ เพราะอาศัยอาจารย์ ดังนี้เปล่ง

อุทานแล้ว.

ก็เมื่อคามนิกุมารนั้น ได้ราชสมบัติแล้ว เมื่อเวลาล่วงไป ๒-๓ วัน

พี่ชายทุกคนได้ไปยังสถานที่อยู่ของตน ๆ พระเจ้าคามนิครองราชสมบัติ โดย

ธรรม แล้วเสด็จไปตามยถากรรม ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทำบุญแล้วได้ไปตามธรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประกาศ

อริยสัจทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต

แล พระศาสดาตรัส ๒ เรื่องสืบอนุสนธิต่อกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า

พระเจ้าคามนิในครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ส่วนอาจารย์ คือเราเองแล.

จบ คามนิชาดกที่ ๗

๙. มฆเทวชาดก

ว่าด้วยเทวทูต

[๙] ผมที่หงอกบนศีรษะของเรานี้ เกิดขึ้นนำ

เอาวัยไปเสีย เทวทูตปรากฏแล้ว บัดนี้ เป็นสมัย

บรรพชาของเรา.

จบ มฆเทวชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

๙. อรรถกถามฆเทวชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภการเสด็จ

ออกมหาภิเนษกรมณ์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อุตฺตมงฺครุหา

มยฺห ดังนี้. การเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์นั้นได้กล่าวไว้แล้วในนิทานกถาใน

หนหลังนั้นแล. ก็ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งพรรณนาการเสด็จออกบรรพชา

ของพระทศพล.

ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จมายังโรงธรรมสภา ประทับนั่งบนพุทธ-

อาสน์ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ

นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแด่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอย่างอื่น แต่นั่งพรรณนา

การเสด็จออกบรรพชาของพระองค์เท่านั้น พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ตถาคตออกเนกขัมมะในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ออก

เนกขัมมะแล้ว เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายจึงอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อตรัส

เรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิด

ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ในกรุงมิถิลา วิเทหรัฐ ได้มีพระราชาพระนามว่า

มฆเทวะ เป็นพระมหาธรรมราชาผู้ดำรงอยู่ในธรรม พระเจ้ามฆเทวะนั้น ทรง

ให้กาลเวลาอันยาวนานหมดสิ้นไปวันหนึ่ง ตรัสเรียกช่างกัลบกมาว่า ดูก่อน

ช่างกัลบกผู้สหาย ท่านเห็นผมหงอกบนศีรษะของเราในกาลใด ท่านจงบอก

แก่เราใน กาลนั้น ฝ่ายช่างกัลบกก็ได้ทำให้เวลาอันยาวนานหมดสิ้นไป วันหนึ่ง

เห็นพระเกศาหงอกเส้น หนึ่งในระหว่างพระเกศาทั้งหลาย้อนมีสีดังดอกอัญชัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

ของพระราชา จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระเกศาหงอกเส้น หนึ่งปรากฏ

แก่พระองค์. พระราชาตรัสว่า สหาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถอนผมหงอกนั้นของ

เราเอามาวางในฝ่ามือ เมื่อพระราชาตรัสอย่างนั้น ช่างกัลบกจึงเอาแหนบทอง

ถอนแล้วให้พระเกศาหงอกประดิษฐานอยู่ในฝ่าพระหัตถ์ของพระราชา ใน

กาลนั้น พระราชายังมีพระชนมายุเหลืออยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น

พระราชาได้ทรงเห็นผมหงอกแล้ว ก็ทรงสำคัญประหนึ่งว่าพระยามัจจุราชมา

ยืนอยู่ใกล้ ๆ และประหนึ่งว่าตนเองเข้ามาอยู่ในบรรณศาลาอันไฟติดโพลงอยู่

ฉะนั้น ได้ทรงถึงความสังเวช จึงทรงพระดำริว่า ดูก่อนมฆเทวะผู้เขลา เจ้า

ไม่อาจละกิเลสเหล่านั้นจนทราบเท่าผมหงอกเกิดขึ้น เมื่อพระเจ้ามฆเทวะนั้นทรง

รำพึงถึงผมหงอกที่ปรากฏแล้ว ความเร่าร้อนภายในก็เกิดขึ้น พระเสโทใน

พระสรีระไหลออก ผ้าสาฎกได้ถึงอาการที่จะต้องบิด (เอาพระเสโท) ออก

พระเจ้ามฆเทวะนั้นทรงพระดำริว่า เราควรออกบวชในวันนี้แหละ จึงทรง

ประทานบ้านชั้นดีอันเป็นที่ตั้งขึ้นแห่งทรัพย์เจ็ดพัน แก่ช่างกัลบก แล้วรับสั่ง

ให้เรียกพระโอรสพระองค์ใหญ่มาตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ผมหงอกปรากฏบนศีรษะ

ของพ่อแล้ว พ่อเป็นคนแก่แล้ว ก็กามของมนุษย์พ่อได้บริโภคแล้ว บัดนี้ พ่อ

จักแสวงหากามอันเป็นทิพย์ นี้เป็นกาลออกบวชของพ่อ เจ้าจงครอบครอง

ราชสมบัตินี้ ส่วนพ่อบวชแล้วจักอยู่กระทำสมณธรรมในอัมพวันอุทยานชื่อ

มฆเทวะ อำมาตย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระราชานั้นผู้มีพระประสงค์จะบวชอย่าง

นั้น แล้วทูลถามว่า ข้าแต่สมมติเทพอะไรเป็นเหตุแห่งการทรงผนวชของพระ-

องค์ พระราชาทรงถือผมหงอก ตรัสพระคาถานี้แก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า.

ผมที่หงอกบนศีรษะ ของเรานี้เกิดแล้ว เป็นเหตุ

นำวัยไป เทวทูตปรากฏแล้ว นี้เป็นสมัยแห่งการ

บรรพชาของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตมงฺครุหา ได้แก่ผม จริงอยู่ ผม

ทั้งหลายเรียกว่า อุตฺตมงฺครุหา เพราะงอกขึ้นบนเบื้องสูงแห่งอวัยวะมีมือและ

เท้าเป็นต้น คือว่า บนศีรษะ. บทว่า อิเม ชาตา วโยหรา ความว่า

พ่อทั้งหลาย จงดู ผมหงอกเหล่านั้นเกิดแล้ว ชื่อว่าเป็นเหตุนำเอาวัยไป เพราะ

นำเอาวัยทั้ง ๓ ไป โดยภาวะปรากฏผมหงอก. บทว่า ปาตุภูตา ได้แก่

บังเกิดแล้ว.

มัจจุ ชื่อว่า เทวะ ที่ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตแห่งเทวะนั้น

จริงอยู่ เมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏบนศีรษะ บุคคลย่อมเป็นเหมือนยืนอยู่ใน

สำนักของพญามัจจุราช เพราะฉะนั้น ผมหงอกทั้งหลายท่านจึงเรียกว่า ทูตของ

เทวะคือมัจจุ ที่ชื่อว่า เทวทูต เพราะเป็นทูตเหมือนเทวะ ดังนี้ก็มี เหมือน

อย่างว่า บุคคลย่อมเป็นเหมือนผู้อันเทวดาผู้มีทั้งประดับและตกแต่งแล้วยืนใน

อากาศกล่าวว่า ท่านจักตายในวันชื่อโน้น ฉันใดเมื่อผมหงอกทั้งหลายปรากฏ

แล้วบนศีรษะย่อมเป็นเช่นกับเทวดาพยากรณ์ฉันนั้น เหมือนกัน เพราะฉะนั้น

ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงกล่าวว่าเป็นทูตเหมือนเทพ ที่ชื่อว่าเทวทูต

เพราะเป็นทูตของวิสุทธิเทพทั้งหลาย ดังนี้ก็มี. จริงอยู่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์

ทอดพระนครเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต เท่านั้น ก็ถึงความ

สังเวช เสด็จออกบวช. สมดังที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนมหาบพิตร เพราะอาตมภาพเห็นคนแก่

คนป่วยไข้ได้ความทุกข์ คนตายอันถึงความสิ้นอายุ

และบรรพชิตผู้ครองผ้ากาสาวะ จึงได้บวช ดังนี้

โดยปริยายนี้ ผมหงอกทั้งหลาย ท่านจึงเรียกว่าเทวทูต เพราะเป็น

ทตแห่งวิสุทธิเทพทั้งหลาย. ด้วยบทว่า ปพฺพชฺชาสมโย มม นี้ ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

แสดงว่า นี้เป็นกาลแห่งการถือสมณเพศอันได้ชื่อว่าบรรพชา เพราะอรรถว่า

ออกจากความเป็นคฤหัสถ์ของเรา.

พระเจ้ามฆเทวะนั้น ครั้นตรัสอย่างนี้แล้วจึงสละราชสมบัติบวชเป็น

ฤาษีในวันนั้นเอง ประทับอยู่ในมฆอัมพวันนั้นนั่นแหละ เจริญพรหมวิหาร ๔

อยู่ ๘๔,๐๐๐ ปี ดำรงอยู่ในฌานอันไม่เสื่อม สวรรคตแล้วบังเกิดในพรหมโลก

จุติจากพรหมโลกนั้น ได้เป็นพระราชาพระนามว่า เนมิ ในกรุงมิถิลา

นั่นแหละอีก สืบต่อวงศ์ของพระองค์ที่เสื่อมลง จึงทรงผนวชในอัมพวันนั้นนั่น

แหละ เจริญพรหมวิหาร กลับไปเกิดในพรหมโลกตามเดิมอีก.

แม้พระศาสดาก็ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตออกมหา

ภิเนษกรมณ์ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ออกแล้วเหมือนกัน

ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประกาศอริยสัจ ๔ ในเวลา

จบอริยสัจ ภิกษุบางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี

บางพวก. ได้เป็นพระอนาคามี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ๒ เรื่องนี้สืบต่ออนุสนธิ

กันด้วยประการดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า ช่างกัลบกในครั้งนั้น ได้เป็น

พระอานนท์ในบัดนี้ บุตรในครั้งนั้น ได้เป็นพระราหุลในบัดนี้ ส่วนพระเจ้า

มฆเทวะได้เป็นเราตถาคตแล.

จบ มฆเทวชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

๑๐. สุขวิหาริชาดก

ว่าด้วยการอยู่เป็นสุข

[๑๐] ชนเหล่าอื่นไม่ต้องรักษาผู้ใดด้วย ผู้ได้ก็ไม่ต้อง

รักษาชนเหล่าอื่นด้วย ดูก่อนมหาบพิตร ผู้นั้นแล ไม่

เยื่อใยในกามทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุข.

จบสุขวิหารริชาดกที่ ๑๐

จบปัณณกวรรคที่ ๑

๑๐. อรรถกถาสุขวิหารริชาดก

พระศาสดาเมื่อทรงอาศัย อนุปิยนคร ประทับ อยู่ในอนุปิยอัมพวัน

ทรงปรารภพระภัตทิยเถระผู้มีปกติอยู่เป็นสุขจึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม

ต้นว่า ยญฺจ อญฺเ น รกฺขนฺติ ดังนี้. พระภัททิยเถระผู้มีปกติอยู่เป็น

สุข มีพระอุบาลีเป็นที่ ๗ บวชในสมาคมกษัตริย์ ๖ พระองค์ บรรดาพระ

เถระเหล่านั้น พระภัททิยเถระ พระกิมพิลเถระ พระภคุเถระ พระอุบาลีเถระ

บรรลุพระอรหัต พระอานนทเถระเป็นพระโสดาบัน พระอนุรุทธเถระเป็นผู้มี

ทิพยจักษุ พระเทวทัตเป็นผู้ได้ฌาน ก็เรื่องของกษัตริย์ทั้ง ๖ พระองค์ จัก

มีแจ้งในกัณฑหาลชาดกเพียงแต่อนุปิยนคร. ก็ท่านพระภัตทิยเถระรักษาคุ้ม

ครองพระองค์ในคราวเป็นพระราชา ก็ยังทรงเห็นภัยที่จะเกิดขึ้นแก่พระองค์ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

อันเขารักษาอยู่ด้วยการรักษามากมายดุจเทวดาจัดการรักษา และภัยที่จะเกิดแก่

พระองค์ผู้ทรงพลิกกลับไปมาอยู่บนพระที่บรรทมใหญ่ในปราสาทชั้นบน บัดนี้

บรรลุพระอรหัตแล้ว แม้จะอยู่ในที่ใดที่หนึ่งมีป่าเป็นต้น ก็พิจารณาเห็นความ

ที่พระองค์เป็นผู้ปราศจากภัย จึงเปล่งอุทานว่า สุขหนอ สุขหนอ ภิกษุ

ทั้งหลายได้ฟังดังนั้นจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระภัตทิยเถระ

พยากรณ์พระอรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภัตทิยะมีปกติอยู่เป็นสุขในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อนก็มีปกติอยู่เป็น

สุขเหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลายจึงทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อต้องการให้

ทรงประกาศเรื่องนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพ

ปกปิดไว้ ให้ปรากฏ ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นพราหมณ์มหาศาลผู้เกิดในตระกูลสูง เห็นโทษใน

กามทั้งหลายและอานิสงส์ในการออกบวช จึงละทิ้งการทั้งหลายเข้าป่าหิมพานต์

บวชเป็นฤาษี ทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดขึ้น แม้บริวารของพระโพธิสัตว์นั้น ได้

เป็นบริวารใหญ่ มีดาบสอยู่ ๕๐๐ รูป. ในฤดูฝน พระโพธิสัตว์นั้นออกจาก

ป่าหิมพานต์ แวดล้อมด้วยหมู่ดาบสเที่ยวจาริกไปในตามและนิคมเป็นต้น

บรรลุถึงเมื่องพาราณสี ทรงอาศัยพระราชาสำเร็จการอยู่ในพระราชอุทยาน ทรง

อยู่ในพระราชอุทยานนั้น ตลอด ๔ เดือนฤดูฝน แล้วทูลลาพระราชา. ลำดับ

นั้น พระราชาทรงอ้อนวอนพระโพธิสัตว์นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านก็แก่แล้ว

ท่านจะประโยชน์อะไรด้วยป่าหิมพานต์ ท่านจงส่งอันเตวาสิกทั้งหลายไปป่า

หิมพานต์แล้วอยู่เสียในที่นี้เถิด. พระโพธิสัตว์ทรงหอบดาบส ๕๐๐ รูป กับอัน

เตวาสิกผู้ใหญ่ แล้วส่งดาบสเหล่านั้นไปด้วยคำว่า ท่านจงไปอยู่ในป่าหิมพานต์

กับดาบสเหล่านี้ ส่วนเราจักอยู่ในที่นี้แหละ แล้วตนเองก็สำเร็จการอยู่ในพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

ราชอุทยานนั้นนั่นเอง ก็หัวหน้าอันเตวาสิกนั้นของพระโพธิสัตว์นั้น เป็น

ราชบรรพชิต ละราชสมบัติใหญ่ออกบวช กระทำกสิณบริกรรมได้สมาบัติ ๘.

หัวหน้าอันเตวาสิกนั้นอยู่ในป่าหิมพานต์กับดาบสทั้งหลาย มีความประสงค์

จะเห็นอาจารย์ จึงเรียกดาบสเหล่านั้นมาแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าได้

รำคาญ จงอยู่ในที่นี้แหละ เราเห็นอาจารย์แล้วจักกลับมา แล้วไปยังสำนัก

ของอาจารย์ ไหว้แล้วกระทำปฏิสันถาร ปูลาดเสื่อลำแพนผืนหนึ่งนอนอยู่ใน

สำนักของอาจารย์นั่นเอง. ก็สมัยนั้น พระราชาทรงพระดำริว่าจักเยี่ยมพระ-

ดาบส จึงเสด็จไปยังพระราชอุทยาน ไหว้แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ดาบสผู้

เป็นอันเตวาสิกแม้เห็นพระราชาก็ไม่ลุกขึ้น แต่นอนอยู่อย่างนั้นแลเปล่งอุทาน

ว่า สุขหนอ สุขหนอ. พระราชาทรงน้อยพระทัยว่า ดาบสนี้ แม้เห็นเราก็

ไม่ลุกขึ้น จึงตรัสกะพระโพธิสัตว์ว่า ท่านผู้เจริญ ดาบสนี้คงจักฉันตามต้อง

การ จึงสำเร็จการนอนอย่างสบายทีเดียวเปล่งอุทานอยู่. พระโพธิสัตว์ตรัสว่า

มหาบพิตร ดาบสนี้ เมื่อก่อนได้เป็นพระราชาองค์หนึ่งเช่นกับพระองค์ ดาบส

นี้นั้นคิดว่า เมื่อก่อนในคราวเป็นคฤหัสถ์ เราเสวยสิริราชสมบัติ แม้อันคน

เป็นอันมาก มีมือถืออาวุธคุ้มครองอยู่ ก็ยังไม่ได้ชื่อว่าความสุขเห็นปานนี้ จึง

ปรารภสุขในการบวช และสุขในฌานของตนแล้วเปล่งอุทานนี้ ก็แหละครั้น

ตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะตรัสธรรมกถาแก่พระราชาจึงตรัสคาถานี้ว่า

ชนเหล่าอื่นไม่ต้องรักษาผู้ใดด้วย และผู้ใดก็ไม่

ต้องรักษาชนเหล่าอื่นด้วย ดูก่อนมหาบพิตร ผู้นั้นแล

ไม่เยื่อใยในกามทั้งหลาย ย่อมอยู่เป็นสุข.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยฺจ อญฺเ น รกฺขนฺติ ความว่า

บุคคลเหล่าอื่นเป็นอันมาก ย่อมไม่รักษาบุคคลใด. บทว่า โย จ อญฺเ

น รกฺขติ ความว่า แม้บุคคลใดก็ไม่รักษาคนอื่นเป็นอันมาก ด้วยคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

เราผู้เดียวครองราชสมบัติ. บทว่า ส เว ราชสุข เสติ ความว่า ดูก่อน

มหาบพิตร บุคคลนั้นผู้เดียวไม่มีเพื่อน สงัดเงียบแล้ว เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย

ความสุขทางกายและทางจิต ย่อมนอนเป็นสุข. ก็คำว่า นอนเป็นสุขนี้ เป็นหัว

ข้อเทศนาเท่านั้น ย่อมนอนเป็นสุขอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ ก็บุคคลเห็นปาน

นี้ย่อยมเดิน ยืน นั่ง นอน เป็นสุข คือได้รับความสุขในทุกอิริยาบถที่เดียว

บทว่า กาเมสุ อนเปกฺขวา ความว่า ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลเห็นปานนี้

เว้นจากความเพ่งเล็งในวัตถุกามและกิเลสกาม คือประกาศจากฉันทราคะไม่มีตัณหา

ย่อมอยู่เป็นสุขทุกอิริยาบถ.

พระราชาได้ทรงสดับพระธรรมเทศนาแล้วมีพระทัยยินดี บังคมแล้ว

เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์นั่นเอง ฝ่ายอันเตวาสิกก็ไหว้พระอาจารย์แล้วไป

ยังป่าหิมพานต์เหมือนกัน ฝ่ายพระโพธิสัตว์อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ มีฌานไม่

เสื่อม กระทำกาละแล้วบังเกิดในพรหมโลก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัส ๒ เรื่อง

สืบต่ออนุสนธิกันแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า อันเตวาสิกในครั้งนั้นได้เป็น

พระภัททิยเถระ ส่วนครูของคณะคือเราเองแล.

จบสุขวิหาริชาดกที่ ๑๐

จบอปัณณกวรรคที่ ๑

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อปัณณกชาดก ๒. วัณณุปถชาดก ๓. เสรีววาณิชชาดก ๔.

จุลลกเศรษฐีชาดก ๕. ตัณฑุลนาฬิชาดก ๖. เทวธรรมชาดก ๗. กัฏฐหาริ-

ชาดก ๘. คามนิชาดก ๙. มฆเทวชาดก ๑๐. สุขวิหาริชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

๒. สีลวรรค

๑. ลักขณชาดก

ว่าด้วยผู้มีศีล

[๑๑] ความเจริญย่อมมีแก่ชนทั้งหลายผู้มีศีล

ประพฤติในปฏิสันถาร ท่านจงดูลูกเนื้อชื้อลักขณะ ผู้

อันหมู่แห่งญาติแวดล้อมกลับมาอยู่ อนึ่ง ท่านจงดู

ลูกเนื้อชื่อกาฬะนี้ ผู้เสื่อมจากพวกญาติกลับมาแต่ผู้

เดียว.

จบลักขณชาดกที่ ๑

๒. อรรถกถาสีลวรรค

๑. อรรถกถาลักขณชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระ

เวฬวันมหาวิหาร ทรงปรารภ พระเทวทัต จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า โหติ สีลวต อตฺโถ ดังนี้ เรื่องพระเทวทัตจนถึงการประกอบ

กรรมคือ การฆ่าอย่างหนัก จักมีแจ้งในกัณฑหาลชาดก เรื่องการปล่อยช้าง

ธนปาลกะ. จักมีแจ้งในจุลลหังสชาดก และการถูกแผ่นดินสูบ จักมีแจ้งใน

สมุททพาณิชชาดก ในทวาทสนิบาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

สมัยหนึ่ง พระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการ เมื่อไม่ได้จึงทำลายสงฆ์

พาภิกษุ ๕๐๐ ไปอยู่ที่คยาสีสประเทศ ครั้งนั้นญาณของภิกษุเหล่านั้น ได้ถึง

ความแก่กล้าแล้ว พระศาสดาทรงทราบดังนั้น จึงตรัสเรียกพระอัครสาวกทั้ง

สองมาว่า ดูก่อนสารีบุตรและโมคคัลลานะ ภิกษุ ๕๐๐ ผู้เป็นนิสิตของพวก

เธอ ชอบใจลัทธิของเทวทัตไปกับพระเทวทัตแล้ว ก็บัดนี้ญาณของภิกษุเหล่า

นั้นถึงความแก่กล้าแล้ว พวกเธอจงไปที่นั้นพร้อมกับภิกษุจำนวนมาก แสดง

ธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น ให้ภิกษุเหล่านั้นตรัสรู้มรรคผลแล้วจงพามา พระ-

อัครสาวกทั้งสองนั้นจึงไปที่คยาสีสประเทศนั้นนั่นแหละ แสดงธรรมแก่ภิกษุ

เหล่านั้น ให้ตรัสรู้ธรรมด้วยมรรคผลแล้ว วันรุ่งขึ้นเวลาอรุณขึ้น จึงพาภิกษุ

เหล่านั้นมายังพระเวฬุวันวิหารนั้นเทียว ก็แลในเวลาที่พระสารีบุตรเถระมา

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ ภิกษุทั้งหลายพากันสรรเสริญพระเถระ

แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเสนาบดี

พี่ชายใหญ่ของข้าพระองค์ทั้งหลาย อันภิกษุ ๕๐๐ แวดล้อมมาอยู่ งดงามเหลือ

เกิน ส่วนพระเทวทัตเป็นผู้มีบริวารเสื่อมแล้ว พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สารีบุตรอันหมู่ญาติแวดล้อมมาย่อมงดงาม แต่ในบัดนี้ เท่านั้นก็หามิได้

แม้ในกาลก่อนก็งดงามเหมือนกัน ฝ่ายพระเทวทัตเสื่อมจากหมู่ญาติในบัดนี้

เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เสื่อมมาแล้วเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายทูล

อ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อให้ทรงประกาศเรื่องนั้นให้แจ่มแจ้ง พระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้ ให้ปรากฏดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธพระองค์หนึ่ง ครองราชสมบัติในนคร

ราชคฤห์ ในแคว้นมคธ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิในกำเนิด

มฤคชาติ พอเติบโต มีเนื้อหนึ่งพันเป็นบริวารอยู่ในป่า พระโพธิสัตว์นั้นมี

ลูก ๒ ตัว คือ ลักขณะ และ กาฬะ. ในเวลาที่ตนแก่ พระโพธิสัตว์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

กล่าวว่า ลูกพ่อทั้งสอง บัดนี้ พ่อแก่แล้ว เจ้าทั้งสองจงปกครองหมู่เนื้อนี้ แล้ว

ให้บุตรและคนรับมอบเนื้อคนละ ๕๐๐ ตั้งแต่นั้น เนื้อแม้ทั่งสองก็ปกครอง

หมู่เนื้อ. ก็ในแคว้นมคธ ในสมัยข้าวกล้าอันเต็มไปด้วยข้าวกล้า อันตราย

ย่อมเกิดแก่เนื้อทั้งหลายในป่า เนื่องจากพวกมนุษย์ต้องการฆ่าพวกเนื้อที่มา

กินข้าวกล้า จึงขุดหลุมพรางปักขวาก ห้อยหินยนต์ [ฟ้าทับเหว] ดักบ่วงมีบ่วง

ลวงเป็นต้น เนื้อเป็นอันมากพากันถึงความพินาศ พระโพธิสัตว์รู้คราวที่เต็ม

ไปด้วยข้าวกล้า จึงให้เรียกลูกทั้งสองมากล่าวว่า พ่อทั้งสอง สมัยนี้เป็นสมัย

ที่เต็มแน่นไปด้วยข้าวกล้า เนื้อเป็นอันมากพากันถึงความพินาศ เราแก่แล้ว

จักยับยั้งอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง พวกเจ้าจงพาหมู่เนื้อของพวก

เจ้า เข้าไปยังเชิงเขาในป่าในเวลาเขาถอนข้าวกล้าแล้วจึงค่อยมา บุตรทั้งสอง

นั้นรับคำของบิดาแล้ว พร้อมด้วยบริวารพากันออกไป ก็พวกมนุษย์ทั้งหลาย

ย่อมรู้หนทางที่พวกเนื้อเหล่านั้นไปและมาว่า ในเวลานี้ พวกเนื้อกำลังลงจาก

ภูเขา ในเวลานี้กำลังขึ้นภูเขา มนุษย์เหล่านั้นพากันนั่งในที่กำลัง ณ ที่นั้น

แทงเนื้อเป็นอันมากให้ตาย ฝ่ายเนื้อกาฬะ เพราะความที่ตัวโง่ จึงไม่รู้ว่า เวลา

ชื่อนี้ควรไป จึงพาหมู่เนื้อไปทางประตูบ้าน ทั้งในเวลาเช้าและเวลาเย็น ทั้ง

เวลาพลบค่ำ และเวลาใกล้รุ่ง พวกมนุษย์ยืนและนั่งตามปรกตินั่นแล อยู่ใน

ที่นั้น ๆ ยังเนื้อเป็นอันมากให้ถึงความพินาศ เนื้อกาฬะนั้นให้เนื้อเป็นอันมาก

ถึงความพินาศ เพราะความที่ตนเป็นผู้โง่เขลาอย่างนี้ จึงเข้าป่าด้วยเนื้อมี

ประมาณน้อยเท่านั้น.

ส่วนเนื้อลักขณะเป็นบัณทิตมีปัญญา ฉลาดในอุบายรู้ว่า เวลานี้ควร

ไป เนื้อลักขณะนั้นไม่ไปทางประตูบ้าน ไม่ไปเวลากลางวันบ้าง ไม่ไปเวลา

พลบค่ำบ้าง เวลาใกล้รุ่งบ้าง พาหมู่เนื้อไปเวลาเที่ยงคืนเท่านั้น เพราะฉะนั้น

เนื้อลักขณะจึงไม่ทำเนื้อแม้ตัวหนึ่งให้พินาศเข้าป่าไปแล้ว เนื้อเหล่านั้นอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

ป่านั้น ๕ เดือน เมื่อพวกมนุษย์ถอนข้าวกล้าแล้ว จึงพากันลงจากภูเขา เนื้อ

กาฬะแม้ไปภายหลัง ก็ทำแม้เนื้อทั้งหมดให้ถึงความพินาศ โดยนัยก่อนนั่นแหละ

ผู้เดียวเท่านั้นมาแล้ว ส่วนเนื้อลักขณะแม้เนื้อตัวเดียวก็ไม่ให้พินาศ อันเนื้อ

๕๐๐ ตัวแวดล้อมมายิ่งสำนักของบิดามารดา ฝ่ายพระโพธิสัตว์เห็นบุตรทั้งสอง

มา เมื่อปรึกษาหารือกับนางเนื้อ จึงกล่าวคาถาว่า

ความจริงย่อมมีแก่คนทั้งหลายผู้มีศีล ผู้ประพฤติ

ในการปฏิสันถาร ท่านจงดูเนื้อชื้อลักขณะ ผู้อันใหม่

ญาติแวดล้อมกลับมาอยู่ อนึ่ง ท่านจงดู เนื้อชื่อกาฬะ

นี้ ผู้เสื่อมจากหมู่ญาติ ลับมาแต่ผู้เดียว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวต ความว่า ชื่อว่าผู้มีศีล คือ

สมบูรณ์ด้วยอาจาระ เพราะมีความสุขเป็นปกติ. บทว่า อตฺโถ ได้แก่

ความเจริญ. ปฏิสนฺถารวุตฺติน ชื่อว่า ผู้มีปกติประพฤติโนปฏิสันถาร เพราะ

มีปกติประพฤติในธรรมปฏิสันถาร และอามิสปฏิสันถารนั้น แก่ชนเหล่านั้น

ผู้มีปกติประพฤติในปฏิสันถาร ก็ในที่นี้ พึงทราบธรรมปฏิสันถารเช่นห้ามทำ

บาป การโอวาท และอนุศาสน์ เป็นต้น พึงทราบอามิสปฏิสันถารเช่นการให้

ได้ที่หากิน การบำรุงเฝ้าไข้ และการรักษาอันประกอบด้วยธรรม ท่านกล่าว

คำอธิบายนี้ไว้ว่า ชื่อว่าความเจริญย่อมมีแก่ชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้เพียบพร้อม

ด้วยอาจาระผู้ตั้งอยู่ในปฏิสันถาร ๒ เหล่านั้น บัดนี้ พระโพธิสัตว์เมื่อจะเรียก

มารดาของเนื้อเพื่อจะแสดงความเจริญนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ท่านจงดูเนื้อ

ชื่อลักขณะ ดังนี้ ในคำที่กล่าวนั้นมีความสังเขปดังนี้.

เธอจงดูบุตรของตนผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระและปฏิสันถาร ไม่ทำแม้เนื้อ

ตัวหนึ่งให้พินาศอันหมู่ญาติกระทำไว้ข้างหน้า คือห้อมล้อมมาอยู่ แต่เออ ก็เธอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

จงดูเนื้อชื่อกาฬะนี้ ผู้มีปัญญาเขลา ผู้ละเว้นจากสัมปทา คือ อาจาระและ

ปฏิสันถาร ผู้เสื่อมจากญาติทั้งหลาย ไม่เหลือญาติแม้สักตัวมาแต่ผู้เดียว.

ก็พระโพธิสัตว์ชื่นชมบุตรอย่างนี้แล้ว ดำรงอยู่ชั่วอายุ ได้ไปตาม

ยถากรรมแล้ว.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรอันหมู่ญาติห้อม

ล้อม ย่อมงดงามในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็งดงามเหมือนกัน

พระเทวทัตเสื่อมจากหมู่คณะในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เสื่อม

แล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสเรื่อง ๒

เรื่อง สืบอนุสนธิต่อกัน แล้วทรงประชุมชาดกว่า เนื้อกาฬะในครั้งนั้น

ได้เป็นเทวทัต แม้บริษัทของเนื้อกาฬะนั้น ในกาลนั้น ได้เป็น

บริษัทของพระเทวทัต เนื้อชื่อลักขณะในกาลนั้น ได้เป็นพระสารี-

บุตร แม้บริษัทของเนื้อลักขณะในกาลนั้น ได้เป็นพุทธบริษัท.

มารดาในครั้งนั้น ได้เป็นพระมารดาของพระราหุล ส่วนบิดาใน

ครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.

จบลักขณชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

๒. นิโครธมิคชาดก

ว่าด้วยการเลือกคบ

[๑๒] เจ้าหรือคนอื่นก็ตาม พึงคบหาแต่พระยา

เนื้อชื่อว่านี้โครธเท่านั้น ไม่ควรเข้าไปอาศัยอยู่

พระยาเนื้อชื่อว่าสาขะ ความตายในสำนักพระยาเนื้อ

นี้โครธประเสริฐกว่า การมีชีวิตอยู่ในสำนักพระยาเนื้อ

สาขะจะประเสริฐอะไร.

จบนิโครธมิคชาดกที่ ๒

๒. อรรถกถานิโครธมิคชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุณีผู้

เป็นมารดาของพระกุมารกัสสปเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

นิโคฺรธเมว เสวยฺย ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุณีนั้น ได้เป็นธิดาของเศรษฐีผู้มีทรัพย์มากในนคร

ราชคฤห์ มีกุศลมูลหนาแน่น มีสังขารอันย่ำยีแล้ว เป็นปัจฉิมภวิกสัตว์

(สัตว์ผู้มีภพสุดท้าย) อุปนิสัยแห่งพระอรหัตโพลงอยู่ในหทัยของนาง เหมือน

ประทีปโพลงอยู่ภายในหม้อ ฉะนั้น. ครั้งนั้น จำเดิมแต่กาลที่รู้จักตนแล้ว

ธิดาของเศรษฐีนั้น ไม่ยินดีในเรือน มีความประสงค์จะบวช จึงกล่าวกะบิดา

มารดาว่า ข้าแต่คุณพ่อและคุณแม่ จิตใจของข้าพเจ้าไม่ยินดีในฆราวาส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ข้าพเจ้ามีความประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์

ท่านทั้งหลายจงให้ข้าพเจ้าบวชเถิด. บิดามารดากล่าวว่า แม่ เจ้าพูดอะไร

ตระกูลนี้มีทรัพย์สมบัติมาก และเจ้าก็เป็นธิดาคนเดียวของเราทั้งหลาย เจ้าไม่

ควรจะบวช. นางแม้จะอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่ได้การบรรพชาจากสำนักของ

บิดามารดา จึงคิดว่า ช่างเถอะ เราไปตระกูลสามียังสามีให้โปรดปรานแล้วจัก

บวช. นางเจริญวัยแล้วไปยังตระกูลสามี เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมครองเหย้า.

เรือน. ลำดับนั้น เพราะอาศัยการอยู่ร่วม นางก็ตั้งครรภ์. นางไม่รู้ว่าตั้ง

ครรภ์. ครั้งนั้น เขาโฆษณางานนักขัตฤกษ์ในพระนคร ชาวพระนครทั้งสิ้น

พากันเล่นงานนักขัตฤกษ์. พระนครได้มีการประดับตกแต่งเหมือนดังเทพนคร

ก็เมื่อการเล่นนักขัตฤกษ์แม้จะใหญ่ยิ่งเพียงนั้น เป็นไปอยู่ นางก็ไม่ลูบไล้

ร่างกายของตน ไม่ประดับประดา เที่ยวไปด้วยเพศตามปกตินั่นเอง. ลำดับนั้น

สามีกล่าวกะนางว่า นางผู้เจริญ นครทั้งสิ้นอาศัยนักขัตฤกษ์ แต่เธอไม่ปฏิบัติ

ร่างกาย ไม่ทำการตกแต่ง เพราะเหตุไร. นางจึงกล่าวว่า ข้าแต่ลุกเจ้า

ร่างกายเต็มด้วยซากศพ ๓๒ ประการทีเดียว ประโยชน์อะไรด้วยร่างกายนี้ที่

ประดับแล้ว เพราะกายนี้ เทวดา พรหมไม่ได้นิรมิต ไม่ใช่สำเร็จด้วยทอง

ด้วยแก้วมณี ด้วยจันทน์เหลือง ไม่ใช่เกิดจากห้องแห่งดอกบุณฑริก ดอก

โกมุท และดอกอุบลเขียว แต่เต็มไปด้วยคูถ ไม่สะอาด ไม่ใช่เต็มด้วยอมฤต

โอสถ โดยที่แท้ เกิดในซากศพ มีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด มีการขัดสีและ

การนวดฟั้นเป็นนิตย์ และมีการแตกทำลายและการกระจัดกระจายไปเป็น

ธรรมดา รกป่าช้า อันตัณหายึดจับ เป็นเหตุแห่งความโศก เป็นวัตถุที่ตั้ง

แห่งความร่ำไร เป็นที่อยู่อาศัยแห่งโรคทั้งปวง เป็นที่รับเครื่องกรรมกร

ของเสียภายใน ไหลออกภายนอกเป็นนิตย์ เป็นที่อยู่ของหมู่หนอนหลายตระกูล

จะไปยังป่าช้า มีความตายเป็นที่สุด แม้จะเปลี่ยนแปลงไปในคลองจักษุของ

ชาวโลกทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

กายประกอบด้วยกระดูกและเอ็น ฉาบทาด้วย

หนังและเนื้อ เป็นกายที่ถูกผัวหนึ่งปกปิดไว้ ไม่

ปรากฏตามความเป็นจริง เต็มด้วยลำไส้ใหญ่ เต็มด้วย

ท้องด้วยตับ หัวไส้ เนื้อหัวใจ ปอด ไต ม้าม น้ำมูก

นำลาย เหงื่อ มันข้นเลือด ไขข้อ ดี และมันเหลว

เมื่อเป็นเช่นนั้น ของไม่สะอาดย่อมไหลออกจากช่อง

ทั้ง ๙ ของกายนั้นทุกเมื่อ คือ ขี้ตาไหลออกจากตา

ขี้หูไหลออกจากหู และน้ำมูกไหลออกจากจมูก บาง

คราวออกทางปาก ดีและเสมหะย่อมไหลออกจากกาย

เป็นหยดเหงื่อ เมื่อเป็นอย่างนั้นศีรษะของกายนั้นเป็น

โพรงเต็มด้วยมันสมอง คนพาลถูกอวิชชาห่อหุ้ม จึง

สำคัญโดยความเป็นของงดงาม กายมีโทษอนันต์

เปรียบเสมอด้วยต้นไม้พิษเป็นที่อยู่ของสรรพโรคล้วน

เป็นของทุกข์ ถ้ากลับเอาภายในของกายนี้ออกข้าง

นอก ก็จะต้องถือท่อนไม้คอยไล่กาและสุนัขเป็นแน่.

กายไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น เป็นดังซากศพ เปรียบ

เหมือนส้วม ผู้มีจักษุติเตียน แต่คนเขลาเพลิดเพลินอัน

หนังสดปกปิดไว้ไม้ทวาร ๙ แผลใหญ่ ของไม่สะอาด

มีกลิ่นเหม็น ไหลออกรอบด้าน ก็ในกาลใดกายนั้น

นอนตายขึ้นพองมีสีเขียวคล้ำ ถูกทอดทิ้งไว้ในสุสาน

ในกาลนั้น ญาติทั้งหลายย่อมไม่ห่วงอาลัย สุนัขบ้าน

สุนัขจิ้งจอกย่อมเคี้ยวกินกายนั้น และนกตะกรุม

หนอน กา แร้ง และสัตว์ทั้งปวงอื่น ๆ ย่อมเคี้ยวกิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

ก็ภิกษุผู้มีญาณในศาสนานี้นั่นแล ได้ฟังพระพุทธพจน์

แล้ว ย่อมรู้แจ้งกายนั้น ย่อมเห็นตามเป็นจริงแลว่า

ร่างกายนี้ฉันใด ร่างกายนั่นก็ฉันนั้น ร่างกายนั่นฉันใด

ร่างกายนี้ก็ฉันนั้น ข้าพเจ้าคายความเพลิดเพลินใน

กายทั้งกายในและภายนอกเสียแล้ว.

ข้าแต่พระลูกเจ้า ข้าพเจ้าจักประดับประดาร่างกายนี้ทำอะไร การกระทำความ

ประดับกายนี้ ย่อมเป็นเหมือนกระทำจิตรกรรมภายนอกหม้อ ซึ่งเต็มด้วยคูถ

เศรษฐีบุตรได้ฟังคำของนางดังนั้นจึงกล่าวว่า นางผู้เจริญ เธอเห็นโทษทั้งหลาย

อย่างนี้แห่งร่างกายนี้ เพราะเหตุไรจึงไม่บวช. นางกล่าวว่า ข้าแด่พระลูกเจ้า

ข้าพเจ้าเมื่อได้บวช จะบวชวันนี้แหละ. เศรษฐีบุตรกล่าวว่า ดีแล้ว ฉันจัก

ให้เธอบวช. แล้วบำเพ็ญมหาทาน กระทำมหาสักการะ แล้วนำไปสำนักของ

ภิกษุณีด้วยบริวารใหญ่ เมื่อจะให้นางบวช ได้ให้บวชในสำนักของภิกษุณีผู้

เป็นผูกฝ่ายของพระเทวทัต. นางได้บรรพชาแล้วมีความดำริเต็มบริบูรณ์ ดีใจ

แล้ว. ครั้งนั้น เมื่อครรภ์ของนางแก่แล้ว ภิกษุณีทั้งหลายเห็นความที่อินทรีย์

ทั้งหลายแปรเป็นอื่นไป ความที่หลังมือและเท้าบวม และความที่พื้นต้องใหญ่

จึงถามนางว่า แม่เจ้า เธอปรากฏเหมือนมีครรภ์ ที่อะไรกัน ? ภิกษุณีนั้น

กล่าวว่า แม่เจ้าทั้งหลาย ข้าพเจ้าก็ไม่รู้ว่า เหตุชื่อนี้ แต่ศีลของข้าพเจ้ายัง

บริบูรณ์อยู่. ลำดับนั้น ภิกษุณีเหล่านั้นจึงนำนางภิกษุณีนั้นไปยังสำนักของ

พระเทวทัต ถามพระเทวทัตว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า กุลธิดานี้ยังสามีให้โปรด

ปรานได้โดยยาก จึงได้บรรพชา ก็บัดนี้ ครรภ์ของนางปรากฏ ข้าพเจ้า

ทั้งหลายย่อมไม่รู้ว่ากุลธิดานี้ได้ตั้งครรภ์ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ หรือในเวลาบวช

แล้ว บัดนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายจะกระทำอย่างไร. เพราะความที่คนไม่รู้ และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

เพราะขันติ เมตตา และความเอ็นดูไม่มี พระเทวทัตจึงคิดอย่างนี้ว่า ความ

ครหานินทาจักเกิดแก่เราว่า ภิกษุณีผู้อยู่ในฝ่ายของพระเทวทัตมีครรภ์ แต่

พระเทวทัตกลับเพิกเฉยเสีย เราให้ภิกษุณีนี้สึกจึงจะควร. พระเทวทัตนั้นไม่

พิจารณา แล่นออกไปเหมือนกลิ้งก้อนหิน กล่าวว่า พวกท่านจงให้ภิกษุณี

นั้นสึก ภิกษุณีเหล่านั้นฟังคำของพระเทวทัตแล้ว ลุกขึ้นไหว้แล้วไปยังสำนัก

ลำดับนั้น ภิกษุณีสาวนั้นกล่าวกะภิกษุณีทั้งหลายว่า แม่เจ้าทั้งหลาย พระ

เทวทัตเถระไม่ใช่พระพุทธเจ้า การบรรพชาของเราในสำนักของพระเทวทัต

นั้น ก็หามิได้ก็บรรพชาของเราในสำนักของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบุคคล

เลิศขึ้นโลก อนึ่ง บรรพชานั้น เราได้โดยยาก ท่านทั้งหลายอย่าทำให้การ

บรรพชานั้นอันตรธานหายไปเสียเลย มาเถิดท่านทั้งหลาย จงพาเราไปยัง

พระเชตวัน ในสำนักของพระศาสดา ภิกษุณีทั้งหลายจึงพาภิกษุณีสาวนั้นไป

จากกรุงราชคฤห์สิ้นหนทาง ๔๕ โยชน์ถึงพระเชตวันมหาวิหารโดยลำดับถวาย

บังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.

พระศาสดาทรงพระดำริว่า ภิกษุณีนี้ตั้งครรภ์ในเวลาเป็นคฤหัสถ์โดย

แท้ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น พวกเดียรถีย์จักได้โอกาสว่า พระสมณโคดมพา

ภิกษุณีที่พระเทวทัตทิ้งแล้วเที่ยวไปอยู่ เพราะฉะนั้น เพื่อจะตัดถ้อยคำนี้ควร

จะวินิจฉัยอธิกรณ์นี้ในท่ามกลางบริษัทซึ่งมีพระราชา ในวันรุ่งขึ้น จึงให้ทูล

เชิญพระเจ้าโกศล และเชิญมหาอนาถบิณฑิกเศรษฐี จูฬอนาถบิณฑิกเศรษฐี

นางวิสาขามหาอุบาสิกา และตระกูลใหญ่ ๆ อื่น ๆ ที่มีชื่อเสียง ในเวลาเย็น

เมื่อบริษัททั้ง ๔ ประชุมกันแล้ว จึงตรัสเรียกพระอุบาลีเถระมาว่า เธอจงไป

ชำระกรรมของภิกษุณีสาวนี้ ในท่ามกลางบริษัท ๔. พระเถระทูลรับพระดำรัส

แล้ว จึงไปยังท่ามกลางบริษัท นั่งบนอาสนะที่เขาตกแต่งไว้เพื่อตน แล้วให้

เรียกนางวิสาขาอุบาสิกามาตรงเบื้องพระพักตร์ของพระราชา ให้รับอธิกรณ์นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

ว่า ดูก่อนวิสาขา ท่านจงไป จงรู้โดยถ่องแท้ว่า ภิกษุณีสาวนี้บวชในเดือน

โน้น วันโน้น แล้วจงรู้ว่าเธอได้มีครรภ์นี้ก่อนหรือหลังบวช มหาอุบาสิการับ

คำแล้วจึงให้วงม่าน ตรวจดูที่สุดมือ เท้า สะดือ และต้องของภิกษุณีสาว

ภายในม่าน นับเดือนและวัน รู้ว่านางได้ตั้งครรภ์ในภาวะเป็นคฤหัสถ์โดย

ถ่องแท้ จึงไปยังสำนักของพระเถระแล้วบอกเนื้อความนั้น. พระเถระได้กระทำ

ภิกษุณีนั้นให้เป็นผู้บริสุทธิ์ ในท่ามกลางบริษัท ๔. ภิกษุณีนั้นเป็นผู้บริสุทธิ์

แล้วไหว้ภิกษุสงฆ์และถวายบังคมพระศาสดา แล้วไปยังสำนักนั่นแล พร้อม

กับภิกษุณีทั้งหลาย ภิกษุณีนั้น อาศัยครรภ์แก่แล้ว ได้ตลอดบุตรมีอานุภาพ

มาก ผู้ตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ.

ครั้นวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปโดยใกล้ ๆ สำนักของภิกษุณี ได้

ทรงสดับเสียงทารก จึงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลาย. อำมาตย์ทั้งหลายรู้เหตุนั้น

จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ภิกษุณีสาวนั้น ตลอดบุตรแล้ว นั่นเสียงของ

บุตรภิกษุณีสาวนั้นนั่นเอง. พระราชาตรัสว่า แน่ะพนาย ชื่อว่าการปรนนิบัติ

ทารกเป็นเครื่องกังวลสำหรับภิกษุณีทั้งหลาย พวกเราจักปรนนิบัติทารกนั้น

พระราชาทรงไห้มอบทารกนั้นแก่หญิงฟ้อนทั้งหลาย ให้เติบโตโดยการบริหาร

ดูแลอย่างกุมาร. ก็ในวันตั้งชื่อกุมารนั้น ได้ตั้งชื่อว่ากัสสป ครั้งนั้น คน

ทั้งหลายรู้กันว่า กุมารกัสสป เพราะเจริญเติบโต ด้วยการบริหารอย่างกุมาร

ในเวลามีอายุได้ ๗ ขวบ กุมารกัสสปนั้นบวชในสำนักของพระศาสดา พอมี

อายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ก็ได้อุปสมบท เมื่อกาลเวลาล่วงไป ได้เป็นผู้กล่าวธรรม

อันวิจิตร ในบรรดาพระธรรมกถึกทั้งหลาย. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงตั้ง

พระกุมารกัสสนั้น ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กุมารกัสสปนี้ เป็นเลิศแห่งสาวกทั้งหลายของเรา ผู้กล่าวธรรมอัน

วิจิตร ภายหลังพระกุมารกัสสปนั้นบรรลุพระอรหัต ในเพราะวัมมิกสูตร. แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

ภิกษุณีผู้เป็นมารดาของพระกุมารกัสสปนั้น เห็นแจ้งแล้วบรรลุพระอรหัต.

พระกุมารกัสสปเถระปรากฏในพระพุทธศาสนา ประดุจพระจันทร์เพ็ญในท่าม

กลางท้องฟ้าฉะนั้น.

อยู่มาวันหนึ่ง พระตถาคตเสด็จกลับจากบิณฑบาต ภายหลังภัต

ประทานโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายแล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ภิกษุทั้งหลายรับ

พระโอวาทแล้ว ให้ภาคกลางวันหมดไปในที่เป็นที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน

ของตน ๆ ในเวลาเย็น ประชุมกันในโรงธรรมสภา นั่งพรรณนาพระพุทธคุณ

ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตทำคนทั้งสอง คือ พระกุมารกัสสป

เถระและพระเถรีให้พินาศ เพราะความที่ตนไม่รู้ และเพราะความไม่มี

ขันติและเมตตาเป็นต้น แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นปัจจัยแก่ท่านทั้งสอง

นั้น เพราะพระองค์เป็นพระธรรมราชา และเพราะทรงถึงพร้อมด้วยพระขันติ

พระเมตตา และความเอ็นดู. พระศาสดาเสด็จมายังโรงธรรมสภาด้วยพุทธลีลา

ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ด้วยเรื่องพระคุณของพระองค์เท่านั้น แล้วกราบทูลเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นปัจจัยและเป็นที่พึ่งแก่ชน

ทั้งสองนี้ ในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นแล้วเหมือนกัน.

ภิกษุทั้งหลายจึงทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อต้องการให้เรื่องนั้นแจ่ม

แจ้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดไว้ให้ปรากฏ

ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงถือปฏิสนธิตนกำเนิดมฤคชาติ. พระโพธิสัตว์เมื่อออกจาก

ท้องของมารดา ได้มีสีเหมือนดังสีทอง นัยน์ตาทั้งสองของเนื้อนั้น ได้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

เช่นกับลูกแก้วมณีกลม เขาทั้งคู่มีวรรณะดังเงิน หน้ามีวรรณะดังกองผ้ากัมพล

แดง ปลายเท้าหน้าและเท้าหลัง เหมือนทำบริกรรมด้วยรสน้ำครั้ง ขนหาง

ได้เป็นเหมือนขนจามรี ก็ร่างกายของเนื้อนั้นใหญ่มีขนาดเท่าลูกน้ำ เนื้อนั้นมี

บริวาร ๕๐๐. โดยชื่อ มีชื่อว่า นิโครธมิคราช สำเร็จการอยู่ในป่า. ก็ใน

ที่ไม่ไกลแห่งพระยาเนื้อนิโครธนั้น มีเนื้อแม้อื่นซึ่งมีเนื้อ ๕๐๐ เป็นบริวาร มีช่อ

ว่า สาขะ อาศัยอยู่ แม้เนื้อสาขะก็มีวรรณะดุจสีทอง. สมัยนั้น พระเจ้า

พาราณสีทรงขวนขวายในการฆ่าเนื้อ เว้นเนื้อไม่เสวย ทรงกระทำพวกมนุษย์

ให้ขาดการงาน ยังชาวนิคมและชนบททั้งปวงให้ประชุมกัน แล้วเสด็จไปฆ่า

เนื้อทุกวัน. พวกมนุษย์คิดกันว่า พระราชานี้ทรงทำพวกเราให้ขาดการงาน

ถ้ากระไร พวกเราวางเหยื่อของเนื้อไว้ในพระราชอุทยาน จัดน้ำดื่มไว้ให้

พร้อม ต้อนเนื้อเป็นอันมากให้เข้าไปยังพระราชอุทยานแล้วปิดประตูมอบถวาย

พระราชา มนุษย์เหล่านั้นทั้งหมดจึงปลูกผักที่เป็นเหยื่อของเนื้อไว้ในพระราช-

อุทยาน จัดน้ำดื่มไว้ให้พร้อม แล้วประกอบประตู ถือบ่วง มือถืออาวุธ

นานาชนิดมีค้อนเป็นต้น เข้าป่าแสวงหาเนื้อ คิดว่า พวกเราจักจับเนื้อทั้งหลาย

ที่อยู่ตรงกลาง จึงล้อมที่ประมาณ ๑ โยชน์ เมื่อร่นเข้ามาได้ล้อมที่เป็นที่อยู่

ของเนื้อนิโครธและเนื้อสาขะไว้ตรงกลาง ครั้น เห็นหมู่เนื้อนั้นจึงเอาไม้ค้อนดี

ต้นไม้ พุ่มไม้เป็นต้น และดีพื้นดิน ไล่หมู่เนื้อออกจากที่รกชัฎ พากันเงื้อ

อาวุธทั้งหลายมีดาบ หอกและธนูเป็นต้น บันลือเสียงดัง ต้อนหมู่เนื้อนั้นให้

เข้าพระราชอุทยานแล้วปิดประตู พากันเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อพระองค์เสด็จไปทรงฆ่าเนื้อเป็นประจำ ทรงทำการงาน

ของข้าพระองค์ทั้งหลายให้เสียหาย พวกข้าพระองค์ อันเนื้อทั้งหลายมาจากป่า

เต็มพระราชอุทยานของพระองค์ ตั้งแต่นี้ไป พระองค์จะได้เสวยเนื้อของมฤค

เหล่านั้น แล้วทูลลาพระราชาพากันหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

พระราชาได้ทรงสดับคำของมนุษย์เหล่านั้น แล้วเสด็จไปพระราช

อุทยาน ทอดพระเนตรเนื้อทั้งหลาย ทรงเห็นเนื้อสีทอง ๒ ตัว จึงได้-

พระราชทานอภัยแก่เนื้อทั้งสองนั้น ก็ตั้งแต่นั้นมา บางคราว เสด็จไปเอง

ทรงฆ่าเนื้อตัวหนึ่งแล้วนำมา บางคราว พ่อครัวของพระองค์ไปฆ่าแล้วนำมา

เนื้อทั้งหลายพอเห็นธนูเท่านั้น ถูกความกลัวแต่ความตายคุกคาม พากันหนี

ไป ได้รับการประหาร ๒-๓ ครั้ง ลำบากไปบ้าง ป่วยไปบ้าง ถึงความตาย

บ้าง หมู่เนื้อจึงบอกประพฤติเหตุนั้นแก่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ไห้เรียก

เนื้อสาขะมาแล้วกล่าวว่า ดูก่อนสหาย เนื้อเป็นอันมากพากันฉิบหาย เมื่อ

เนื้อมีอันจะต้องตายโดยส่วนเดียว ตั้งแต่นี้ไป ผู้จะฆ่าจงอย่าเอาลูกศรยิงเนื้อ

วาระของเนื้อทั้งหลายจงมีในที่แห่งค้อนของผู้พิพากษา วาระจงถึงแก่บริษัท

ของเราวันหนึ่ง จงถึงแก่บริษัทของท่านวันหนึ่ง เนื้อตัวที่ถึงวาระจงไปนอน

พาดหัวที่ไม้ค้อนของผู้พิพากษา แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น เนื้อทั้งหลายจักไม่กลัว

เนื้อสาขะรับคำแล้ว ตั้งแต่นั้นมา เนื้อที่ถึงวาระ จะไปนอนพาดคอที่ไม้ค้อน

พิพากษา พ่อครัวมาจับเอาเนื้อตัวที่นอนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแหละไป อยู่มาวัน

หนึ่ง วาระถึงแก่แม่เนื้อผู้มีครรภ์ตัวหนึ่งซึ่งเป็นบริษัทของเนื้อสาขะ แม่เนื้อ

นั้นเข้าไปหาเนื้อสาขะแล้วกล่าวว่า เจ้านาย ข้าพเจ้ามีครรภ์ ตลอดลูกแล้ว

พวกเราทั้งสองจะไปตามวาระ ท่านจงให้ข้ามวาระของข้าพเจ้าไปก่อน เนื้อ

สาขะกล่าวว่า เราไม่อาจทำวาระของเจ้าให้ถึงแก่เนื้อตัวอื่น ๆ เจ้าเท่านั้นจักรู้

ว่า เจ้ามีบุตร เจ้าจงไปเถอะ แม่เนื้อนั้น เมื่อไม่ได้ความช่วยเหลือจากสำนัก

ของเนื้อสาขะ จึงเข้าไปหาพระโพธิสัตว์บอกเนื้อความนั้น พระโพธิสัตว์นั้น

ได้ฟังคำของแม่เนื้อนั้นจึงคิดว่า ก็พระโพธิสัตว์ทั้งหลายในกาลก่อน เห็น

ทุกข์ของคนอื่น ย่อมไม่ห่วงใยชีวิตของตน ประโยชน์ของผู้อื่นจากประโยชน์

ตนนั่นแล เป็นสิ่งที่หนักกว่าสำหรับพระโพธิสัตว์เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

เหล่านก ปศุสัตว์ มฤคในป่าทั้งหมดย่อมเป็น

อยู่ด้วยตนเอง นักปราชญ์ทั้งหลายผู้สงบ ยินดีแล้ว

ในประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ ย่อมยังผู้อื่นให้เป็นอยู่ ก็

นักปราชญ์เหล่านั้น สละทรัพย์ อวัยวะ และชีวิต เพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูล เรานั้นเป็นผู้สามารถจักยังเหล่า

สัตว์เป็นอันมากพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามได้ด้วย ก็

ความไม่มีบุญ เพราะกายอันไร้สาระนี้ เราจักได้ลาภ

ของท่านอันยั่งยืนด้วยตนเองแน่.

ครั้น คิดดังนี้แล้วจึงกล่าวว่า เจ้าจงไปเถอะ เราจักให้วาระของเจ้าข้ามไป ครั้น

กล่าวแล้ว ตนเองก็ไปนอนกระทำศีรษะไว้ที่ไม้ค้อนพิพากษาพ่อครัวเห็นดังนั้น

จึงคิดว่า พระยาเนื้อผู้ได้รับ พระราชทานอภัยนอนอยู่ที่ไม้ค้อนพิพากษา เหตุ

อะไรหนอ จึงรีบไปกราบทูลแด่พระราชา พระราชาเสด็จขึ้นทรงรถในทันใด

นั้นเอง เสด็จไปด้วยบริวารใหญ่เห็นพระโพธิสัตว์จึงตรัสว่า พระยาเนื้อผู้สหาย

เราให้อภัยแก่ท่านไว้แล้วมิใช่หรือ เพราะเหตุไรท่านจึงนอนอยู่ ณ ที่นี้ พระยา

เนื้อกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช แม่เนื้อผู้มีครรภ์มากล่าวว่า ขอท่านจงยัง

วาระของฉันให้ถึงแก่เนื้อตัวอื่น ก็ข้าพระบาทไม่อาจโยนมรณทุกข์ของเนื้อตัว

หนึ่งไปเหนือเนื้อตัวอื่นได้ ข้าพระบาทนั้นจึงให้ชีวิตของตนแก่แม่เนื้อนั้น ถือ

เอาความตายอันเป็นของแม่เนื้อนั้นแล้วจึงนอนอยู่ ณ ที่นี้ ข้าแต่มหาราช ขอ

พระองค์อย่าได้ทรงระแวงเหตุอะไรๆ อย่างอื่นเลย พระราชาตรัสว่า ดูก่อน

สุวรรณมิคราชผู้เป็นนาย แม้ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย เราก็ไม่เคยเห็นคนผู้

เพียบพร้อมด้วยขันติ เมตตา และความเอ็นดูเช่นกับท่าน ด้วยเหตุนั้น เราจึง

เลื่อมใสท่านลุกขึ้นเถิด เราให้อภัยแก่ท่านและแก่แม่เนื้อนั้น พระยาเนื้อกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ข้าแต่พระผู้จอมคน เมื่อข้าพระบาททั้งสองได้อภัยแล้ว เนื้อที่เหลือนอกนั้น

จักกระทำอย่างไร พระราชาตรัสว่า นาย เราให้อภัยแม้แก่เนื้อที่เหลือด้วย

พระยาเนื้อกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช แม้เมื่อเป็นอย่างนั้นเนื้อทั้งหลายใน

พระราชอุทยานเท่านั้น จักได้อภัย เนื้อที่เหลือจักทรงกระทำอย่างไร พระราชา

ตรัสว่า นาย เราให้อภัยแก่เนื้อแม้เหล่านั้น พระยาเนื้อกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช

เบื้องต้น เนื้อทั้งหลายได้รับอภัย สัตว์ ๔ เท้าที่เหลือจักกระทำอย่างไร พระ

ราชาตรัสว่า นาย เราให้อภัยแก่สัตว์ ๔ เท้าแม้เหล่านั้น พระยาเนื้อกราบทูล

ว่า ข้าแต่มหาราช สัตว์ ๔ เท้าได้รับ พระราชทานอภัยก่อน หมู่นกจักกระทำ

อย่างไร พระราชาตรัสว่า นาย แม้หมู่นกเหล่านั้นเราก็ให้อภัย พระยาเนื้อ

กราบทูลว่า เบื้องต้น หมู่นกจักได้รับพระราชทานอภัย พวกปลาที่อยู่ในน้ำจัก

กระทำอย่างไร พระราชาตรัสว่า นาย แม้หมู่ปลาเหล่านั้น เราก็ให้อภัย

พระมหาสัตว์ทูลขออภัยแก่สรรพสัตว์กะพระราชาอย่างนี้แล้ว ได้ลุกขึ้นยืนให้

พระราชาคงอยู่ในศีล ๕ แล้วแสดงธรรมแก่พระราชาด้วยลีลาของพระพุทธเจ้า

ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงประพฤติธรรมในพระชนกชนนีในพระโอรส

พระธิดา ในพราหมณ์คฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบท เมื่อทรงประพฤติ

ธรรม ประพฤติสม่ำเสมออยู่ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกจักเข้าถึงสุคติโลก

สวรรค์ ดังนี้ แล้วอยู่ในอุทยาน ๒-๓ วัน ให้โอวาทแก่พระราชาแล้วอันหมู่

เนื้อแวดล้อมเข้าป่าแล้ว แม่เนื้อนมแม้นั้นตกลูกออกมาเช่นกับช่อดอกไม้ ลูก

เนื้อนั้น เมื่อเล่นได้ จะไปยังสำนักของเนื้อสาขะ. ลำดับนั้น มารดาเห็นลูกเนื้อ

นั้นกำลังจะไปยังสำนักของเนื้อสาขะนั้น จึงกล่าวว่า ลูกเอ๋ย ตั้งแต่นี้ไปเจ้า

อย่าไปยังสำนัก ของเนื้อสาขะนั้น เจ้าพึงไปยังสำนักของเนื้อนิโครธเท่านั้น เมื่อ

จะโอวาทจึงกล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

เจ้าหรือคนอื่นก็ตาม พึงคบหาแต่พระยาเนื้อ

ชื่อว่านิโครธเท่านั้น ไม่ควรเข้าไปอาศัยอยู่กับพระยา

เนื้อชื่อว่าสาขะ ความตายในสำนักของพระยาเนื้อชื่อ

ว่านิโครธประเสริฐกว่า การมีชีวิตอยู่ในสำนักพระยา

เนื้อสาขะ จะประเสริฐอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิโคฺรธเมว เสเวยฺย ความว่า ดูก่อน

พ่อ เจ้าหรือคนอื่นก็ตาม ผู้ใคร่ต่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ควรเสพหรือควร

คบหาแต่พระยาเนื้อชื่อว่านิโครธนั้น. บทว่า น สาข อุปสวเส ความว่า

แค่เนื้อชื่อว่าสาขะไม่ควรเจ้าไปอยู่ร่วม คือ ไม่ควรเข้าไปใกล้แล้วอยู่ร่วมได้

แก่ไม่ควรอาศัยเนื้อสาขะนั้นเลี้ยงชีวิต. บทว่า นิโคฺรธสฺมึ มต เสยฺโย

ความว่า แม้การตายอยู่แทบเท้าของพระยาเนื้อชื่อว่านิโครธประเสริฐกว่า คือ

ยอดเยี่ยมสูงสุด. บทว่า ยญฺเจ สาขสฺมิ ชีวิต ความว่า ก็ความเป็นอยู่

ในสำนักของเนื้อชื่อว่าสาขะนั้น ไม่ประเสริฐคือไม่ยอดเยี่ยมไม่สูงสุดเลย.

ก็จำเดิมแต่นั้น พวกเนื้อที่ได้อภัยพากันกินข้าวกล้าของพวกมนุษย์

มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจตีหรือไล่เนื้อทั้งหลายด้วยคิดว่า เนื้อเหล่านี้ได้รับพระ-

ราชทานอภัย จึงพากันประชุมที่พระลานหลวง กราบทูลความนั้นแด่พระราชา

พระราชาตรัสว่าเรามีความเลื่อมใสให้พรแก่พระยาเนื้อชื่อว่านิโครธ เราถึงจะ

ละราชสมบัติ ก็จะไม่ทำลายปฏิญญานั้น ท่านทั้งหลายจงไปเถิดใคร ๆ ย่อมไม่

ได้เพื่อจะประหารเนื้อทั้งหลายในแว่นแคว้นของเรา พระยาเนื้อนิโครธได้สดับ

เหตุการณ์นั้น จึงให้หมู่เนื้อประชุมกัน โอวาทเนื้อทั้งหลายว่า จำเดิมแต่นี้ไป

ท่านทั้งหลายอย่าได้กินข้าวกล้าของคนอื่น ดังนี้แล้ว บอกแก่มนุษย์ทั้งหลาย

ตั้งแต่นี้ไปมนุษย์ทั้งหลายผู้กระทำข้าวกล้า จงอย่าทำรั้วเพื่อจะรักษาข้าวกล้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

แต่จงผูกสัญญาด้วยใบไม้ปักนาไว้ ได้ยินว่า จำเดิมแต่นั้น จึงเกิดสัญญาใน

การผูกใบไม้ขึ้นในนาทั้งหลาย จำเดิมแต่นั้น ชื่อว่าเนื้อผู้ล่วงละเมิดสัญญาใน

การผูกใบไม้ ย่อมไม่มี. ได้ยินว่า ข้อนี้เป็นโอวาทที่พวกเนื้อเหล่านั้นได้จาก

พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์โอวาทหมู่เนื้ออย่างนี้แล้วดำรงอยู่ตลอดชั่วอายุ.

พร้อมกับเนื้อทั้งหลายได้ไปตามยถากรรมแล้ว. ฝ่ายพระราชาทรงตั้งอยู่ใน

โอวาทของพระโพธิสัตว์ ทรงกระทำบุญทั้งหลายได้เสด็จไปตามยถากรรมแล้ว.

พระศาสดาดำรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นที่พึ่งอาศัยของพระเถรี

และพระกุมารกัสสป ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้เป็นที่พึ่ง

อาศัยแล้วเหมือนกัน ก็ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงหมุนกลับ

เทศนาว่าด้วยสัจจะทั้ง ๔ ตรัสเรื่อง ๒ เรื่องสืบต่ออนุสนธิกัน แล้วทรง

ประชุมชาดกว่า เนื้อชื่อสาขะในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต แม้

บริษัทของเนื้อสาขะนั้น ก็ได้เป็นบริษัทของพระเทวทัตนั่นแหละ

แน่เนื้อนั้นในครั้งนั้น ได้เป็นพระเถรี ลูกเนื้อในครั้งนั้นได้เป็น

พระกุมารกัสสป พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วนพระยาเนื้อชื่อว่า

นิโครธ ได้เป็นเราเองแล.

จบนิโครธมิคชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

๓. กัณฑินชาดก

ว่าด้วยผู้ตกอยู่ในอำนาจหญิง

[๑๓] เราติเตียนบุรุษผู้มีลูกศรเป็นอาวุธ ยิง

ปล่อยให้เต็มกำลัง เราติเตียนชนบทที่มีหญิงเป็นผู้นำ

อนึ่ง สัตว์เหล่าใด ตกอยู่ในอำนาจของหญิงทั้งหลาย

สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตติเตียนแล้ว.

จบกัณฑินชาดกที่ ๓

๓. อรรถกถากัณฑินชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภการ

ประเล้าประโลมของภรรยาเก่า จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

ธิรตฺถุ กณฺฑิน สลฺล ดังนี้.

การประเล้าประโลมนั้น จักมีแจ้งในอินทรียชาดก อัฏฐกนิบาต. ก็พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้กะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อน

เธออาศัยมาตุคามนี้ ถึงความสิ้นชีวิต ร้องเรียกอยู่ที่พื้นถ่านเพลิงอันปราศจาก

เปลว ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงประกาศเรื่องนั้น

ให้แจ่มแจ้ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำเหตุอันระหว่างภพปกปิดให้

ปรากฏแล้ว. ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป เราจักไม่กล่าวถึงการที่ภิกษุทั้งหลายทูลอ้อน

วอน และความที่เหตุถูกระหว่างภพปกปิด จักกล่าวเฉพาะคำมีประมาณเท่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

ว่า อตีต อาหริ แปลว่า ทรงนำอดีตนิทานมาว่าดังนี้เท่านั้น. แม้เมื่อ

กล่าวคำมีประมาณเท่านี้ ก็พึงประกอบเหตุการณ์นี้ทั้งหมด คือ การทูลอาราธนา

การเปรียบเทียบเหมือนนำพระจันทร์ออกจากกลุ่มเมฆ และความที่เหตุถูก

ระหว่างภพปกปิดไว้ โดยนัยดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแหละ แล้วพึงทราบไว้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้ามคธครองราชสมบัติอยู่ในพระนครราชคฤห์

แคว้นมคธ ในสมัยข้าวกล้าของชนชาวมคธ พวกเนื้อทั้งหลายมีอันตรายมาก

เนื้อเหล่านั้น จึงเข้าไปยังเนินเขา. เนื้อภูเขาที่อยู่ในป่าตัวหนึ่ง ทำความสนิท

สนมกับลูกเนื้อตัวเมียชาวบ้านตัวหนึ่ง ในเวลาที่พวกเนื้อเหล่านั้น ลงจากเชิงเขา

กลับมายังชายแดนบ้านอีก ได้ลงมากับเนื้อเหล่านั้นนั่นแหละ. เพราะมีจิต

ปฏิพัทธ์ในลูกเนื้อตัวเมียนั้น. ลำดับนั้น ลูกเนื้อตัวเมียนั้นจึงกล่าวกะเนื้อ

ภูเขานั้นว่า ข้าแต่เจ้า ท่านแลเป็นเนื้อภูเขาที่เขลา ก็ธรรมดาชายแดน

ของบ้าน น่าระแวง มีภัยเฉพาะหน้า ท่านอย่าลงมากับพวกเราเลย. เนื้อภูเขา

นั้น ไม่กลับเพราะมีจิตปฏิพัทธ์ต่อลูกเนื้อตัวเมียนั้น ได้มากับลูกเนื้อตัวเมียนั้น

นั่นแหละ. ชนชาวมคธรู้ว่า บัดนี้ เป็นเวลาที่พวกเนื้อลงจากเนินเขา จึงยืน

ในซุ้มอันมิดชิดใกล้หนทาง ในหนทางที่เนื้อทั้งสองแม้นั้นเดินมา มีพราน

คนหนึ่งยืนอยู่ในซุ้มอันมิดชิด. ลูกเนื้อตัวเมียได้กลิ่นมนุษย์ จึงคิดว่า จักมี

พรานคนหนึ่งยืนอยู่ จึงทำเนื้อเขลาตัวนั้น ให้อยู่ข้างหน้า ส่วนตนเองอยู่ข้าง

หลัง. นายพรานได้ท่าเนื้อตัวนั้นให้ล้มลงตรงนั้นนั่นเอง ด้วยการยิงด้วยลูกศร

ครั้งเดียวเท่านั้น. ลูกเนื้อตัวเมียรู้ว่าเนื้อนั้นถูกยิง จึงโดดหนีไปโดยการไป

ด้วยกำลังเร็วปานลม. นายพรานออกจากซุ้มชำแหละเนื้อก่อไฟ ปิ้งเนื้ออร่อย

บนถ่านไฟอันปราศจากเปลว เคี้ยวกินแล้วดื่มน้ำ หาบเนื้อที่เหลือไปด้วย

ไม้คานมีหยาดเลือดไหล ได้ไปยังเรือน ให้พวกเด็ก ๆ ยินดีแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นเทวดาอยู่ในป่าชัฏแห่งนั้น พระ-

โพธิสัตว์นั้น เห็นเหตุการณ์นั้น จึงคิดว่า เนื้อโง่ตัวนี้ตาย เพราะอาศัยมารดา

เพราะอาศัยบิดาก็หาไม่ โดยที่แท้ตายเพราะอาศัยกาม จริงอยู่ เพราะกาม

เป็นนิมิตเหตุ สัตว์ทั้งหลายจึงถึงทุกข์นานัปการมีการตัดมือเป็นต้น ในสุคติ

และการจองจำ ๕ ประการเป็นต้นในทุคติ ชื่อว่าการทำทุกข์คือความตายให้

เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น ก็ถูกติเตียนในโลกนี้ แม้ชนบทใดมีสตรีเป็นผู้นำ จัดแจง

ปกครอง ก็ถูกติเตียน เหล่าสัตว์ผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาตุคาม ก็ถูกติเตียน

เหมือนกัน แล้วแสดงเรื่องสำหรับติเตียน ๓ ประการ ด้วยคาถา ๑ คาถา

เมื่อเทวดาทั้งหลายในป่าไห้สาธุการแล้วบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น

เมื่อจะยังไพรสณฑ์นั้น ให้บันลือขึ้นด้วยเสียงอันไพเราะ จึงแสดงธรรมด้วย

คาถานี้ว่า

เราติเตียนบุรุษผู้มีลูกศรเป็นอาวุธ ผู้ยิ่งไปเต็ม

กำลัง เราติเตียนชนบทที่มีหญิงเป็นผู้นำ อนึ่ง สัตว์

เหล่าใดตกอยู่ในอำนาจของหญิงทั้งหลาย สัตว์เหล่า

นั้น บัณฑิตก็ติเตียนแล้วเหมือนกัน.

ศัพท์ว่า ธิรตฺถุ ในคาถานั้น เป็นศัพท์นิบาต ใช้ในความหมายว่า.

ติเตียน. ในที่นี้ ศัพท์ว่า ธิรัตถุ นี้นั้น พึงเห็นว่าใช้ในการติเตียน ด้วย

อำนาจความสะดุ้งและความหวาดเสียวจริงอยู่ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ทั้งสะดุ้งและ

หวาดเสียว จึงกล่าวอย่างนั้น คนที่ชื่อว่า กัณฑี เพราะมีลูกศร. ซึ่งคนผู้

มีลูกศรนั้น. ก็ลูกศรนั้นเขาเรียกว่า สัลละ เพราะอรรถว่าเสียบเข้าไป

เพราะฉะนั้น ในคำว่า กณฺฑิน สลฺล จึงมีความหมายว่า ผู้มีลูกศร

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้มีสัลละเพราะมีลูกศร. ผู้มีลูกศรนั้น . ชื่อว่า คาฬทเวธี

ผู้ยิงไปเต็มแรง เพราะเมื่อจะให้การประหารอย่างแรงจึงยิงอย่างเต็มที่ โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

กระทำให้มีปากแผลใหญ่ ผู้ยิงไปอย่างเต็มที่นั้น ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ว่า

เราติเตียนคนผู้ประกอบด้วยอาวุธมีประการต่าง ๆ ชื่อว่า สัสละ ลูกศร เพราะ

วิ่งไปตรง ๆ โดยมีสันฐานดังโบโกมุทเป็นผล ผู้ยิงไปอย่างเต็มแรง. บทว่า

ปริณายิกา ได้แก่ เป็นใหญ่ คือ เป็นผู้จัดแจง. บทว่า ธิกฺกิตา แปลว่า

ติเตียนแล้ว. คำที่เหลือในคาถานี้ง่ายทั้งนั้น.

ก็เบื้องหน้าแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวคำแม้มีประมาณเท่านี้ จัก

พรรณนาคำที่ไม่ง่ายนั้น ๆ เท่านั้น. พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงเรื่องสำหรับติเตียน

๓ ประการ ด้วยคาถาเดียวอย่างนี้แล้ว ทำป่าให้บันลือขึ้นแล้วแสดงธรรม

ด้วยการเยื้องกรายดังพระพุทธเจ้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศ

สัจจะทั้งหลาย. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึก ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

พระศาสดาตรัสเรื่อง ๒ เรื่อง สืบต่ออนุสนธิกันแล้ว ทรงประชุมชาดก ก็

เบื้องหน้าแต่นี้ไป ข้าพเจ้าจะไม่กล่าวคำว่า ตรัสเรื่องสองเรื่อง นี้ จะ

กล่าวเฉพาะคำมีประมาณเท่านี้ว่า ทรงสืบต่ออนุสนธิ. ก็คำนี้แม้จะไม่กล่าว

ไว้ ก็พึงประกอบถือเอาโดยนัยดังกล่าวไว้ในหนหลังนั่นแล. เนื้อภูเขาใน

ครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุกระสันจะสึกในบัดนี้ ลูกเนื้อตัวเมียในครั้ง

นั้น ได้เป็นภรรยาเก่าในบัดนี้ ส่วนเทวดาผู้เห็นโทษในกามทั้งหลาย

ในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.

จบกัณฑินชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

๔. วาตมิคชาดก

ว่าด้วยอำนาจของรส

[๑๔] ได้ยินว่า สิ่งอื่นที่จะเลวยิ่งไปกว่ารสทั้งหลาย

ไม่มี รสเป็นสภาพเลวแม้กว่าถิ่นที่อยู่ แน่กว่าความ

สนิทสนม นายสัญชัยอุยยานบาล นำเนื้อสมัน ซึ่งอาศัย

อยู่ในป่าชัฏมาสู่อำนาจของตนได้ด้วยรสทั้งหลาย.

จบวาตมิคชาดกที่ ๔

๔. อรรถกถาวาตมิคชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภพระ-

จูฬปิณฑปาติกตสสเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น กิรตฺถิ

เรเสหิ ปาปิโย ดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อพระศาสดาทรงอาศัยพระนครราชคฤห์ ประทับอยู่ใน

พระวิหารเวฬุวัน.

วันหนึ่ง บุตรของตระกูลเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก ชื่อว่า ติสสกุมาร

ไปพระวิหารเวฬุวัน ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วประสงค์จะบวช

จึงทูลขอบรรพชา แต่บิดามารดายังไม่อนุญาต จึงถูกปฏิเสธ ได้การทำ

การอดอาหาร ๗ วัน แล้วให้บิดามารดาอนุญาต เหมือนดังพระรัฐบาลเถระ

ได้บวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว. พระศาสดาครั้นทรงให้ติสสกุมารนั้นบวช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

แล้ว ประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวันประมาณกึ่งเดือน แล้วได้เสด็จไปพระ-

วิหารเชตวัน ในพระเชตวันนั้น กุลบุตรได้สมาทานธุดงค์ ๑๓ เที่ยวไปบิณฑ-

บาตตามลำดับตรอกในนครสาวัตถี ยิ่งกาลเวลาให้ล่วงไป ใคร ๆ เรียกว่า

พระจูฬบิณฑปาติกติสสเถระ ได้เป็นผู้ปรากฏรู้กันทั่วไปในพระพุทธศาสนา

เหมือนพระจันทร์เพ็ญในพื้นท้องฟ้าฉะนั้น.

ในกาลนั้น เมื่อกาลเล่นนักขัตฤกษ์ยังดำเนินไปในนครราชคฤห์ บิดา

มารดาของพระเถระเก็บสิ่งของอันเป็นเครื่องประดับ อันมีอยู่ในครั้งพระเถระ

เป็นคฤหัสถ์ไว้ในผอบเงิน เอามาวางไว้ที่อกร้องไห้พลางพูดว่า ในการเล่น

นักขัตฤกษ์อื่นๆ บุตรของพวกเรานี้ประดับด้วยเครื่องประดับนี้เล่นนักขัตฤกษ์

พระสมณโคดมพาเอาบุตรน้อยนั้นของพวกเราไปยังพระนครสาวัตถี บัดนี้

บุตรน้อยของเราทั้งหลายนั้น นั่งที่ไหนหนอ ยืนที่ไหนหนอ. ลำดับนั้น นาง-

วัณณทาสีคนหนึ่งไปยังตระกูลนั้น เห็นภรรยาของเศรษฐีกำลังร้องไห้อยู่ จึง

ถามว่า แม่เจ้า ท่านร้องไห้ทำไม ? ภรรยาของเศรษฐีนั้นจึงบอกเนื้อความ

นั้น นางวัณณทาสีกล่าวว่า แม่เจ้า ก็พระลูกเจ้ารักอะไร ? ภรรยาเศรษฐี

กล่าวว่า รักของสิ่งโน้นและสิ่งโน้น. นางวัณณทาสีกล่าวว่า ถ้าท่านจะให้

ความเป็นใหญ่ทั้งหมดในเรือนนี้แก่ดิฉันไซร้ ดิฉันจักนำบุตรของท่านมา.

ภรรยาท่านเศรษฐีรับคำว่า ได้ แล้วให้สะเบียง ส่งนางวัณณทาสีนั้นไปด้วย

บริวารใหญ่ โดยพูดว่าท่านจงไปนำบุตรของเรามา ด้วยความสามารถของตน

นางวัณณทาสีนั้นนั่งในยานน้อยอันปกปิด ไปยังนครสาวัตถีถือเอาการอยู่อาศัย

ใกล้ถนนที่พระเถระเที่ยวภิกขาจาร ไม่ให้พระเถระเห็นพวกตนที่มาจากตระกูล

เศรษฐี แวดล้อมด้วยบริวารของตนเท่านั้น เมื่อพระเถระเข้าไปบิณฑบาต ได้

ถวายยาคูหนึ่งกระบวยและภิกษามีรส ผูกพันด้วยความอยากในรสไว้แต่เบื้องต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

แล้วให้นั่งในเรือนถวายภิกษาโดยลำดับ รู้ว่าพระเถระตกอยู่ในอำนาจของตน

จึงแสดงการว่าเป็นในนอนอยู่ภายในห้อง. ฝ่ายพระเถระเที่ยวไปตามลำดับ

ตรอก ในเวลาภิกขาจาร ได้ไปถึงประตูเรือน ชนที่เป็นบริวารรับบาตรของ

พระเถระแล้วนิมนต์พระเถระให้นั่งในเรือน. พระเถระนั่งแล้วถามว่า อุบาสิกา

ไปไหน ? ชนบริวารกล่าวว่า ท่านผู้เจริญอุบาสิกาเป็นไข้ปรารถนาจะเห็นท่าน

พระเถระถูกตัณหาในรสผูกพัน ทำลายการสมาทานวัตรของตน เข้าไปยังที่ที่

นางวัณณทาสีนั้นนอนอยู่ นางวัณณทาสีรู้เหตุแห่งการมาเพื่อตน จึงประเล้า

ประโลมพระเถระนั้น ผูกด้วยตัณหาในรส ให้สึกแล้วให้ตั้งอยู่ในอำนาจของ

ตน ให้นั่งในยาน ได้ไปยังนครราชคฤห์นั้นเอง ด้วยบริวารใหญ่. ข่าวนั้น

ได้ปรากฏแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา สนทนากันขึ้นว่า ได้ยิน

ว่า นางวัณณทาสีคนหนึ่ง ผูกพระจูฬบิณฑปาติกาติกติสสเถระด้วยตัณหา

ในรส แล้วพาไปแล้ว. พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังโรงธรรมสภา ประทับบน

อาสนะที่เขาตกแต่งไว้ แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่ง

สนทนากัน ด้วยเรื่องอะไร ? ภิกษุเหล่านั้นได้กราบทูลเรื่องราวนั้น. พระศาสดา

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ติดในรสตัณหา ตกอยู่ในอำนาจของ

นางวัณณทาสีนั้น ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ตกอยู่ในอำนาจ

ของนางเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาล ในพระนครพาราณสี ได้มีนายอุยยานบาลของพระเจ้า

พรหมทัต ชื่อว่าสัญชัย ครั้งนั้น เนื้อสมันตัวหนึ่งม้ายังอุทยานนั้น เห็น

นายอุยยานบาลคนเฝ้าอุทยานจึงหนีไป. ฝ่ายนายสัญชัยมิได้ขู่คุกคามเนื้อสมัน

นั้นให้ออกไป เนื้อสมันนั้น จึงมาเที่ยวในอุทยานนั้นนั่นแลบ่อย ๆ นายอุยยาน

บาลนำเอาดอกไม้และผลไม้มีประการต่าง ๆ มาจากอุทยานแต่เช้าตรู่ นำไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

เฉพาะพระราชาทุกวัน ๆ. ครั้นวันหนึ่ง พระราชาตรัสถามนายอุยยานบาลนั้น

ว่า ดูก่อนสหายอุยยานบาล เธอเห็นความอัศจรรย์อะไรๆ ในอุทยานบ้างไหม?

นายอุยยานบาลกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระบาทไม่เห็นสิ่งอื่น แต่ว่า

เนื้อสมันตัวหนึ่งมาเที่ยวอยู่ในอุทยาน ข้าพระบาทได้เห็นสิ่งนี้. พระราชาตรัส

ถามว่า ก็เธอจักอาจจับมันไหม ? นายอุยยานบาลกราบทูลว่า ข้าพระบาท

เมื่อได้น้ำผึ้งหน่อยหนึ่งจักอาจนำเนื้อสมันนี้มา แม้ยังภายในพระราชนิเวศน์

พระเจ้าข้า. พระราชาได้ให้น้ำผึ้งแก่นายอุยยานบาลนั้น. นายอุยยานบาลนั้น

รับน้ำผึ้งนั้นแล้วไปยังอุทยาน แอบเอาน้ำผึ้งทาหญ้าทั้งหลายในที่ที่เนื้อสมัน

เที่ยวไป. เนื้อสมันมากินหญ้าที่ทาด้วยน้ำผึ้ง ติดในรสตัณหา ไม่ไปที่อื่น

มาเฉพาะอุทยานเท่านั้น. นายอุยยานบาลรู้ว่าเนื้อสมันนั้นติดหญ้าที่ทาด้วยน้ำ

ผึ้ง จึงแสดงตนให้เห็นโดยลำดับ. เนื้อสมันนั้นครั้นเห็นนายอุยยานบาลนั้น

๒-๓ วันแรกก็หนีไป แค่พอเห็นเข้าบ่อย ๆ จึงคุ้นเคย ถึงกับกินหญ้าที่อยู่ใน

มือของนายอุยยานบาลได้โดยลำดับ. นายอุยยานบาลรู้ว่าเนื้อสมันนั้นคุ้นเคยแล้ว

จึงเอาเสือลำแพนล้อมถนนจนถึงพระราชนิเวศน์ แล้วเอากิ่งไม้หักปักไว้ในที่

นั้น ๆ สพายน้ำเต้าบรรจุน้ำผึ้ง หนีบกำหญ้า แล้วโปรยหญ้าที่ทาด้วยน้ำผึ้ง

ลงข้างหน้าเนื้อ. ได้ไปยังภายในพระราชนิเวศน์ทีเดียว เมื่อเนื้อเข้าไปภายใน

แล้ว คนทั้งหลายจึงปิดประตู เนื้อเห็นมนุษย์ทั้งหลายก็ตัวสั่นกลัวแต่มรณภัย

วิ่งมาวิ่งไป ณ พระลานในภายในพระราชนิเวศน์ พระราชาเสด็จลงจากปราสาท

ทอดพระเนตรเห็นเนื้อนั้นตัวสั่น จึงตรัสว่า ธรรมดาเนื้อย่อมไม่ไปยังที่ที่คน

เห็นตลอด ๗ วัน ย่อมไม่ไปยังที่ที่ถูกคุกคามตลอดชีวิต เนื้อสมันผู้อาศัย

ป่าชัฏอยู่เห็นปานนี้นั้นถูกผูกด้วยความอยากในรส มาสู่ที่เห็นปานนี้ ในบัดนี้

ผู้เจริญทั้งหลาย ชื่อว่าสิ่งที่ลามกกว่าความอยากในรส ย่อมไม่มีในโลกหนอ

แล้วทรงเริ่มตั้งธรรมเทศนาด้วยคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

ได้ยินว่า สิ่งอื่นที่จะเลวยิ่งไปกว่ารสทั้งหลายย่อม

ไม่มี รสเป็นสภาพเลวแม่กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่าความ

สนิทสนม นายสัญชัยอุยยานบาลนำเนื้อสมันซึ่งอาศัย

อยู่ในป่าชัฏนาสู่อำนาจของตนได้ ด้วยรสทั้งหลาย.

ศัพท์ว่า กิระ ได้ยินว่า ในคาถานั้น เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่าได้

ยินได้ฟัง. บทว่า รเสหิ กว่ารสทั้งหลาย ความว่า กว่ารสหวานและรส

เปรี้ยวเป็นต้น ที่พึงรู้ด้วยลิ้น. บทว่า ปาปิโย แปลว่า เลวกว่า. บทว่า อาวา-

เส วา สนฺถเวท วา แม้กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่าความสนิทสนม ความว่า

ความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจในถิ่นที่อยู่กล่าวคือสถานที่อยู่ประจำก็ดี ใน

ความสนิทสนมด้วยอำนาจความเป็นมิตรก็ดี ลามกแท้ แต่รสในการบริโภคที่

เป็นไปกับด้วยฉันทราคะนั่นแหละเป็นสภาพเลวกว่า แม้กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่า

ความสนิทสนมด้วยความเป็นมิตร ซึ่งมีการบริโภคด้วยฉันทราคะเหล่านั้น โดย

ร้อยเท่าพันเท่า เพราะอรรถว่า ต้องเสพเฉพาะเป็นประจำ และเพราะเว้น

อาหาร การรักษาชีวิตินทรีย์ก็ไม่มี พระโพธิสัตว์ทรงกระทำเนื้อความนี้ ให้

เป็นเสมือนเนื้อที่ตามมาด้วยดี จึงตรัสว่า ได้ยินว่าสภาพที่เลวกว่ารสทั้งหลาย

ย่อมไม่มี รสเป็นสภาพเลวกว่า แม้กว่าถิ่นที่อยู่ แม้กว่าความสนิทสนม บัดนี้

พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงว่ารสเหล่านั้นเลว จึงตรัสคำมีอาทิว่า วาตมิค ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คหนนิสฺสิต แปลว่า อาศัยที่เป็นป่ารกชัฏ ท่าน

กล่าวอธิบายไว้ว่า ท่านทั้งหลายจงดูความที่รสทั้งหลายเป็นสภาพเลว นาย

สญชัยอุยยานบาลนำเนื้อสมันชื่อนี้ ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าชัฏ ในราวป่า มาสู่อำนาจ

ของตนด้วยรสน้ำผึ้ง สิ่งอื่นที่เลวกว่า คือลามกกว่า ชื่อว่าเลวกว่ารสทั้งหลาย

ชึ่งมีการบริโภคด้วยฉันทราคะ ย่อมไม่มีแม้โดยประการทั้งปวง. พระโพธิสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

ตรัสโทษแห่งตัณหาในรส ด้วยประการดังนี้ ก็แหละครั้นตรัสแล้ว จึงทรงให้

ส่งเนื้อนั้นไปยังป่านั่นเอง.

พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นางวัณณทาสีนั้น ผูกภิกษุนั้นด้วย

ตัณหาในรส กระทำไว้ในอำนาจของตนในบัดนี้ เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาล

ก่อน ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่อ

อนุสนธิแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า นายสัญชัยในครั้งนั้น ได้เป็นนาง

วัณณทาสีคนนี้ เนื้อสมันในครั้งนั้น ได้เป็นพระจูฬบิณฑปาติภิกษุ

ส่วนพระเจ้าพาราณสีได้เป็นเราแล.

จบ วาตมิคชาดกที่ ๔

๕. ขราทิยชาดก

ว่าด้วยผู้ล่วงเลยโอวาท

[๑๕] ดูก่อนนางเนื้อขราทิยา ฉันไม่สามารถจะ

สั่งสอนเนื้อตัวนั้น ผู้มี ๘ กีบ มีเขาคดแต่โคนคนถึง

ปลายเขา ผู้ล่วงเลยโอวาทเสียตั้ง ๗ วันได้.

จบ ขราทิยชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

๕. อรรถกถาขราทิยชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายาก

รูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อฏฺขุร ขราทิเย

ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นว่ายากไม่รับโอวาท ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัส

ถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอว่ายากไม่รับโอวาทจริงหรือ ? ภิกษุ

นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า

แม้ในกาลก่อนเธอก็ไม่รับ โอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้ว่ายาก

จึงติดบ่วงถึงความสิ้นชีวิต แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นมฤคแวดล้อมด้วยหมู่เนื้ออยู่ในป่า ลำดับนั้น เนื้อ

ผู้เป็นน้องสาวมฤคนั้นแสดงบุตรน้อยแล้วให้รับเอาด้วยคำพูดว่า ข้าแต่พี่ชาย

นี้เป็นหลานของพี่ พี่จงให้เรียนมายาเนื้ออย่างหนึ่ง มฤคนั้นกล่าวกะหลานนั้น

ว่า ในเวลาชื่อโน้น เจ้าจงมาเรียนเอา เนื้อผู้หลานไม่มาตามเวลาที่พูดไว้

เมื่อล่วงไป ๗ วัน เหมือนดังวันเดียว เนื้อผู้เป็นหลานนั้นไม่ได้เรียนมายาของเนื้อ

ท่องเที่ยวไป จึงติดบ่วง ฝ่ายมารดาของเนื้อนั้น เข้าไปหามฤคผู้พี่ชายแล้วถามว่า

ข้าแต่พี่ พี่ไห้หลานเรียนมายาของเนื้อแล้วหรือ ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เจ้า

อย่าคิดเสียใจต่อบุตรผู้ไม่รับโอวาทสั่งสอนนั้น บุตรของเจ้าไม่เรียนเอา

มายาของเนื้อเอง เป็นผู้ไม่มีความประสงค์จะโอวาทเนื้อนั้นเลย ในบัดนี้ จึง

กล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

ดูก่อนนางเนื้อขราทิยา ฉันไม่สามารถจะสั่งสอน

เนื้อตัวนั้น ผู้มี ๘ กีบ มีเขาคดแค่โคนเขาจนถึงปลาย

เขา ผู้ล่วงเลยโอวาทเสียตั้ง ๗ วันได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺขุร ได้แก่ มีกีบ ๘ กีบ โดยเท้าข้าง

หนึ่งๆ มี ๒ กีบ พระโพธิสัตว์เรียกนางเนื้อนั้นโดยชื่อว่า ขราทิยา บทว่า

มิค เป็นคำรวมถือเอาเนื้อทุกชนิด. บทว่า วงฺกาติวงฺกิน ได้แก่ คดยิ่งกว่า

คด คือ คดตั้งแต่ที่โคนเขา คดมากขึ้นไปถึงปลายเขา ชื่อว่าผู้มีเขาคดแต่โคน

จนถึงปลายเขา เพราะเนื้อนั้นมีเขาเป็นเช่นนั้น. จึงชื่อว่าเขาคดแต่โคนจนถึง

ปลายเขา คือ มีเขาคดแต่โคนเขา จนถึงปลายเขานั้น. บทว่า สตฺตกาเลห-

ติกฺกนฺต ได้แก่ ผู้ล่วงเลยโอวาท โดยเวลาเป็นที่ให้โอวาท ๗ วัน. ด้วยบทว่า

น น โอวทิตุสฺสเห นี้ ท่านแสดงว่า เราไม่อาจให้โอวาทเนื้อผู้ว่ายากนี้

แม้ความคิดเพื่อจะโอวาทเนื้อนี้ ก็ไม่เกิดขึ้นแก่เรา.

ครั้งนั้น นายพรานฆ่าเนื้อที่ว่ายากตัวนั้นซึ่งติดบ่วง ถือเอาแต่เนื้อ

แล้วหลีกไป.

ฝ่ายพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอเป็นผู้ว่ายากแต่ในบัดนี้ เท่านั้น

ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้ว่ายากเหมือนกัน ครั้น ทรงนำพระเทศนานี้มา

สืบต่ออนุสนธิกันแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า เนื้อผู้เป็นหลานในกาลนั้น ได้

เป็นภิกษุผู้ว่ายากในบัดนี้ แม่เนื้อผู้เป็นน้องสาวในกาลนั้น ได้เป็น

พระอุบลวรรณา ในบัดนี้ ส่วนเนื้อผู้ให้โอวาทในกาลนั้น ได้เป็น

เราตถาคตแล.

จบ ขราทิยชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

๖. ติปัลลัตถมิคชาดก

ว่าด้วยเล่ห์กลลวงพราน

[๑๖] ดูก่อนน้องหญิง ฉันยังเนื้อหลานชายผู้มี ๘ กีบ

นอนโดยอาการ ๓ ท่า มีเล่ห์กุมารยาหลายอย่าง ดื่ม

กินน่าในเวลาเที่ยงดิน ไห้เล่าเรียนมายาของเนื้อดีแล้ว

โดยประการที่เนื้อหลานชายกลั้นลมทายใจได้ โดยช่อง

นาสิกข้างหนึ่งแนบติดอยู่กับพื้นดิน ทำเล่ห์กลลวง

นายพรานด้วยอุบาย ๖ ประการฉะนั้นแล.

จบติปัลลัตถมิคชาดกที่ ๖

๖. อรรถกถาติปัลลัตถมิคชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ใน พทริการาม นครโกสัมพี ทรงปรารภ

พระราหุลเถระ ผู้ใคร่ต่อการศึกษาจึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า

มิค ติปลฺลตฺถ ดังนี้.

ความพิศดารว่า กาลครั้งหนึ่ง เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปอาศัยเมือง

อาฬวีประทับอยู่ในอัคคาฬวเจดีย์ อุบาสก อุบาสิกา ภิกษุ และภิกษุณี จำนวน

มาก ไปวิหารเพื่อฟังธรรม. ตอนกลางวัน มีการฟังธรรม ก็เมื่อกาลเวลา

ล่วงไป อุบาสิกาและภิกษุณีทั้งหลายไม่ไป. มีแต่พวกภิกษุและอุบาสกทั้งหลาย

ตั้งแต่นั้น จึงเกิดมีการฟังธรรมตอนกลางคืน ในเวลาเสร็จสิ้นการฟังธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระพากันไปยังที่อยู่ของคนๆ ภิกษุหนุ่มกับพวกอุบาสก

นอนที่อุปัฏฐานศาลาคือ โรงฉัน. เมื่อพวกภิกษุหนุ่มและพวกอุบาสกเหล่านั้น

เข้าถึงความหลับ บางคนนอนกรนเสียงครืด ๆ นอนกัดฟัน บางคน นอน

ครู่เดียวแล้วลุกขึ้น. พวกอุบาสก เห็นประการอันแปลกของภิกษุหนุ่ม จึง

กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ก็ภิกษุใดนอนร่วมกับ

อนุปสัมบัน ภิกษุนั้นต้องอาบัติปาจิตตีย์ ดังนี้แล้วได้เสด็จไปยังนครโกสัมพี.

ในข้อที่ทรงบัญญัติสิกขาบทนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงกล่าวกะท่านราหุลว่า อาวุโส

ราหุล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้ว บัดนี้ ท่านจงรู้ที่อยู่

ของตน. ก็เมื่อก่อนภิกษุทั้งหลายได้สงเคราะห์ท่านราหุลนั้น ผู้มายังที่อยู่ของตน ๆ

เป็นอย่างดีเพราะอาศัยความเคารพื้นพระผู้มีพระภาคเจ้า และความที่ท่านราหุล

นั้นเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ได้ลาดเตียงเล็ก ให้จีวรเพื่อหนุนศีรษะ. แค่วันนั้น

แม้ที่อยู่ก็ไม่ได้ให้แล้วเพราะกลัวต่อสิกขาบท. ฝ่ายพระภัตรราหุลก็ไม่ไปยังสำนัก

ของพระทศพล ด้วยคิดว่า เป็นพระบิดาของเรา หรือของพระธรรมเสนาบดี

ด้วยคิดว่า เป็นอุปัชฌาย์ของเรา หรือของพระมหาโมคคัลลานะด้วยคิดว่า เป็น

อาจารย์ของเรา หรือของท่านพระอานนท์ด้วยคิดว่าเป็นอาของเรา ได้เข้าไปยัง

เวจกุฎีสำหรับถ่ายของพระทศพล ประดุจเจ้าไปยังวิมานของพรหม สำเร็จการ

อยู่แล้ว. ก็ประตูกุฎีสำหรับใช้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายที่ปิดสนิทนั้น กระทำ

การประพรมด้วยธูปหอม มีพวงของหอมและพวงดอกไม้ห้อย ตามประทีป

ตลอดคืนยังรุ่ง. ก็พระภัตรราหุลอาศัยสมบัติน้องกุฎีนั้น จึงเขาไปอยู่ใน

กุฎีนั้น. อนึ่งเพราะภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงรู้ที่อยู่ และเพราะความเป็น

ผู่ใคร่ต่อการศึกษาโดยเคารพในโอวาท จึงเข้าไปอยู่ในกฎีนั้น ก็ในระหว่าง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

ภิกษุทั้งหลายเห็นท่านผู้มีอายุนั้น มาแต่ไกล เพื่อต้องการจะทดลองท่านผู้มีอายุ

นั้น จึงทิ้งกำไม้กวาดหรือภาชนะสำหรับทั้งหยากเยื่อไว้ข้างใน. เมื่อท่านผู้มี

อายุนั้นมาถึง จึงกล่าวว่า อาวุโส ใครทิ้งสิ่งนี้. ในการการท่านนี้ เมื่อภิกษุบาง

พวกกล่าวว่า ท่านราหุสมาทางนี้. แต่ท่านราหุลนั้นไม่กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

ผมไม่รู้เรื่องนี้ กลับเก็บงำสิ่งนั้นแล้วขอขมาว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลาย

จงอดโทษแก่กระผม แล้วจึงไป. ท่านราหุลนี้เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาอย่างนี้.

ท่านราหุลนั้นอาศัยความเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษานั้นนั่นเอง จึงเข้าไปอยู่ในกุฎี

นั้น.

ครั้นเวลาก่อนอรุณทีเดียว พระศาสดาประทับยืนที่ประตูเวจกุฎีแล้ว

ทรงพระกาสะ (ไอ) ขึ้น ส่วนท่านผู้มีอายุนั้นก็ไอขึ้น พระศาสดาตรัสถามว่า

ใครนั่น ? ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ข้าพระองค์ราหุล แล้วออกมาถวายบังคม

พระศาสดาตรัสถามว่า ราหุล เพราะเหตุไรเธอจึงนอนที่นี้ ? พระราหุลกราบ

ทูลว่า เพราะไม่มีที่อยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยว่าเมื่อก่อน ภิกษุทั้งหลาย

การทำความสงเคราะห์แก่ข้าพระองค์ บัดนี้ไม่ให้ที่อยู่เพราะกลัวคนต้องอาบัติ

ข้าพระองค์นั้นคิดว่า ที่เป็นที่ไม่เบียดเสียดผู้อื่น ด้วยเหตุนี้ จึงนอนในที่นี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเกิดธรรมสังเวชขึ้นว่า เบื้องต้น ภิกษุทั้งหลาย

สละราหุลได้อย่างนี้ (ต่อไป) ให้เด็กในตระกูลทั้งหลายอื่นบวชแล้ว จักกระทำ

อย่างไร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ภิกษุทั้งหลายประชุมกัน แต่เช้าตรู่

แล้วตรัสถามพระธรรมเสนาบดีว่า สารีบุตร ก็เธอรู้ไหมว่า วันนี้ราหุลอยู่ที่

ไหน ? พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบ

พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า สารีบุตร วันนี้ราหุลอยู่ที่เวจกุฎี ดูก่อนสารี-

บุตร ท่านทั้งหลายเมื่อละราหุลได้อย่างนี้ (ต่อไปภายหน้า) ให้เด็กในตระกูล

ทั้งหลายเหล่าอื่นบวชแล้ว จักกระทำอย่างไร แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น กุลบุตรผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

บวชในพระศาสนานี้จักเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป ท่านทั้งหลายจงให้

อนุปสัมปันทั้งหลายอยู่ในสำนักของกองตนวันหนึ่ง สองวัน ในวันที่สามรู้ที่เป็นที่

อยู่ของอนุปสัมปันเหล่านั้นแล้วจงให้อยู่ภายนอก ดังนี้ แล้วทรงบัญญัติสิกขา-

บทอีก ทรงกระทำให้เป็นอนุบัญญัติข้อนี้.

สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา แล้วกล่าวคุณ

ของพระราหุลว่า ดูเอาเถิดท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ราหุลนี้ใคร่ต่อการศึกษาเป็น

กำหนด ชื่อว่าผู้ถูกภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงรู้ที่อยู่ของท่าน ก็ไม่โต้ตอบ

แม้ภิกษุรูปหนึ่งว่า เราเป็นโอรสของพระทศพล ท่านทั้งหลายเป็นใคร พวก

ท่านนั่นแหละจงออกไป ดังนี้แล้ว ได้สำเร็จการอยู่ในเวจกุฎี. เมื่อภิกษุเหล่า

นั้นพากันกล่าวอยู่อย่างนี้ พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังโรงธรรมสภาประทับนั่งบน

อาสนะที่ตกแต่งไว้แล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนึ่งสนทนากันด้วย

เรื่องอะไรหนอ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระ

องค์นั่งสนทนากันด้วยสิกขากามกถา ว่าด้วยควานใคร่ต่อการศึกษาของพระ

ราหุล มิใช่ด้วยเรื่องอื่นพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน แม้

บังเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาเหมือนกัน แล้วทรงนำ

อดีตนิทานมาดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราชพระองค์หนึ่งครองราชสมบัติอยู่ใน

พระนครราชคฤห์ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดมฤค อันหมู่มฤค

แวดล้อมอยู่ในบ่า. ครั้งนั้น แม่เนื้อผู้เป็นน้องสาวของพระโพธิสัตว์นั้นนำบุตร

น้อยของตนเข้าไปแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พี่ ท่านจงให้หลานของท่านนี้ ศึกษา

มารยาของเนื้อ. พระโพธิสัตว์รับคำแล้วกล่าวว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าจงไป ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

เวลาชื่อโน้น เจ้าจงมาศึกษา. เนื้อผู้เป็นหลานนั้นไม่ล่วงเลยเวลาที่ลุงบอกเข้า

ไปหาลุงนั้นแล้วศึกษามารยาของเนื้อ. วันหนึ่งเนื้อนั้น เที่ยวไปในป่า ติดบ่วง

จึงร้องบอกให้รู้ว่าคิดบ่วง หมู่เนื้อพากันหนีไปบอกแก่มารดาของเนื้อนั้นว่า

บุตรของท่านติดบ่วง. แม่เนื้อนั้นจึงไปยังสำนักของพี่ชายแล้วถามว่า พี่ท่าน

ให้หลานศึกษามารยาของเนื้อแล้วหรือ ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เจ้าอย่า

รังเกียจกรรมอันลามกอะไร ๆ ของบุตร เราให้บุตรของเจ้านั้นศึกษามารยาของ

เนื้ออย่างดีแล้ว บัดนี้ บุตรของเจ้านั้นละทิ้งบ่วงนั้นแล้วหนีไป จักกลับมา แล้ว

กล่าวคาถานี้ว่า

ดูก่อนน้องหญิง ฉันยังเนื้อหลานผู้ชายผู้มี ๘ กีบ

นอนโดยอาการ ๓ ท่า มีเล่ห์กลมารยาหลายอย่าง ดื่ม

กินน้ำในเวลาเที่ยงคืน ให้เล่าเรียนมารยาของเนื้อดีแล้ว

โดยประการที่เนื้อหลานชาย กลั้นลมหายใจได้ โดย

ช่องนาสิกข้างหนึ่งแนบติดอยู่กับพื้นดิน ทำเล่ห์กล

ลวงนายพราน ด้วยอุบาย ๖ ประการฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิค ได้แก่ เนื้อผู้เป็นหลาน. บทว่า

ติปลฺลตฺถ ความว่า การนอน เรียกว่า ปัลลัตถะ ชื่อว่าผู้มีการนอน ๓ ท่า

เพราะมีการนอนโดยอาการ ๓ อย่างคือ โดยข้างทั้งสอง และโดยอาการอย่าง

โคนอนตรงอีกอย่างหนึ่ง เพราะมีการนอน ๓ ท่า. ซึ่งเนื้อนั้นผู้มีการนอน ๓

ท่า. บทว่า อเนกมาย ได้แก่ มีมารยามาก คือมีการลวงมาก. บทว่า

อฏฺขุร ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกีบ ๘ กีบ โดยเท้าข้างหนึ่ง ๆ มี ๒ กีบ.

บทว่า อฑฺฒรตฺตาปปายึ ความว่า เนื้อชื่อว่าดื่มน้ำในเวลาเที่ยงคืน เพราะ

เลยยามแรกไปแล้ว ในเวลามัชฌิยาม จึงมาจากป่าแล้วดื่มน้ำ เพราะเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

จึงชื่อว่า ผู้ดื่มน้ำใจเวลาเที่ยงคืน. ซึ่งเนื้อนั้น. อธิบายว่า เนื้อผู้ดื่มน้ำในเวลา

เที่ยงคืน. เราให้เนื้อหลานชายของเราเรียนมารยาของเนื้อดีแล้ว. ถามว่า ให้

เรียนอย่างไร ? ตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง เราให้เรียนโดยประการที่เนื้อหลาน

ชายหายใจที่พื้นดิน โดยช่องนาสิกข้างหนึ่งลวงนายพรานด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ.

ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า ก็เราให้บุตรของเจ้าเรียนเอาแล้ว โดยประการที่

เนื้อหลานชายกลั้นลมในช่องจมูกด้านบนข้างหนึ่ง แล้วหายใจที่พื้นดินนั้นนั่น

แหละ โดยช่องจมูกด้านล่างข้างหนึ่งซึ่งแนบติดดิน จึงครอบงำ อธิบายว่า

จึงลวงนายพรานด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ คือโดยส่วน ๖ ส่วน. เล่ห์กล ๖

ประการเป็นไฉน ? เล่ห์กล ๖ ประการ คือโดยการเหยียด ๔ เท้านอนตะแคง

๑ โดยใช้กีบทั้งหลายตะกุยหญ้าและดินร่วน ๑ โดยทำลิ้นห้อยออกมา ๑ โดย

กระทำท้องให้พอง ๑ โดยการปล่อยอุจจาระ ๑ ปัสสาวะ ให้ลาดออกมา ๑ โดย

การกลั้นลม ๑. อีกนัยหนึ่ง ท่านแสดงว่า ดูก่อนน้องหญิง เราให้เนื้อหลาน

ชายนั้นเรียนมารยาของเนื้อ โดยประการที่เขาจะลวงทำให้นายพรานเกิดความ

หมายรู้ว่า เนื้อนี้ตายแล้วโดยเล่ห์กล ๖ ประการนี้ คือโดยตะกุยเอาดินร่วนมา

ไว้ตรงหน้า ๑ โดยการโน้มตัวไป ๑ โดยการเที่ยวรนไปทั้งสองข้าง ๑ โดย

การทำท้องให้พองขึ้น ๑ โดยการทำต้องให้แฟบลง ๑. อีกนัยหนึ่ง เราให้เนื้อ

หลานชายนั่นเรียนเอาแล้ว โดยประการที่เนื้อหลานชายนั้นหายใจที่พื้นดินโดย

ช่องจมูกข้างหนึ่ง ทำกลด้วยเล่ห์กล ๖ ประการ คือทำเล่ห์กลด้วยเหตุ ๖ ประ-

การซึ่งได้แสดงไว้ในนัยแม้ทั้งสอง อธิบายว่าจักกระทำเล่ห์กล คือจักลวงนาย

พราน. พระโพธิสัตว์เรียกเนื้อผู้เป็นน้องสาวว่า โภติ นางผู้เจริญ. ด้วยบทว่า

ภาคิเนยฺโย นี้ พระโพธิสัตว์ หมายถึงเนื้อหลานชายผู้ลวงด้วยเหตุ ๖ ประการ

ด้วยประการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

พระโพธิสัตว์เมื่อแสดงความที่เนื้อหลานชายเรียนมารยาของเนื้อดีแล้ว

จึงปลอบโยนเนื้อผู้น้องสาวให้เบาใจ ด้วยประการอย่างนี้ ลูกเนื้อแม้นั้นติด

บ่วง ไม่ดิ้นรนเลย นอนเหยียดเท้าทั้ง ๔ ไปทางด้านข้างที่ผาสุกมาก ณ ที่พื้น

ดิน เอากีบทั้งหลายนั่นแหละคุ้ยในที่ที่ใกล้ ๆ เท้าทั้ง ๔ ทำดินร่วนและหญ้าให้

กระจุยขึ้น ปล่อยอุจจาระปัสสาวะออกมาทำให้หัวตกลิ้นห้อย กระทำสรีระให้

เปรอะเปื้อนด้วยน้ำลาย ทำให้ตัวพองขึ้นด้วยการอั้นลม ทำนัยน์ตาทั้งสองให้

เหลือก ทำลมให้เดินทางช่องนาสิกล่าง กลั้นลมทางช่องนาสิกบน ทำหัวให้

แข็ง แสดงอาการของเนื้อที่ตายแล้ว ฝ่ายแมลงวันหัวเขียวก็ตอมเนื้อนั้น

กาทั้งหลายพากันแอบอยู่ในที่นั้น ๆ นายพรานมาเอามือดีดท้องคิดว่า เนื้อจัก

ติดบ่วงแต่เช้าตรู่นัก จึงเกิดจะเน่า (ขึ้นมา) จึงแก้เชือกที่ผูกเนื้อนั้นออก คิด

ว่า บัดนี้ เราจักแล่เนื้อนั้นในที่นี้แหละ เอาแต่เนื้อไป เป็นผู้ไม่สงสัย เริ่ม

เก็บเอากิ่งไม้และใบไม้. ฝ่ายลูกเนื้อลุกขึ้นยืนด้วยเท้าทั้ง ๔ สลัดกายเหยียด

คอ แล้วได้ไปยังสำนักของมารดาโดยเร็ว ประดุจเมฆฝนถูกลมพายุใหญ่พัด

ขาดไปฉะนั้น.

ฝ่ายพระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราหุลเป็นผู้ใคร่ต่อ

การศึกษาในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษา

เหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้ มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรง

ประชุมชาดกว่า ลูกเนื้อผู้เป็นหลานในครั้งนั้น ได้เป็นราหุลในบัดนี้

ฝ่ายมารดาในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณาในบัดนี้ ส่วนเนื้อ

ผู้เป็นลุงในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.

จบติปัลลัตถมิตชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

๗. มาลุตชาดก

ว่าด้วยความหนาวเกิดแต่ลม

[๑๗] ข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ตาม สมัยใดลมย่อมพัด

มา สมัยนั้นย่อมมีความหนาว เพราะความหนาวเกิด

แต่ลม ในปัญหาข้อนี้ ท่านทั้งสองซื่อว่าไม่แพ้กัน.

จบมาลุตชาดกที่ ๗

๗. อรรถกถามาลุตชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวันทรงปรารภบรรพชิต

ผู้บวช เมื่อแก่ ๒ รูป จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กาเฬ วา

ยทิ วา ชุณฺเห ดังนี้.

ได้ยินว่า บรรพชิตทั้งสองรูปนั้น อยู่ในป่าแห่งหนึ่ง ในโกศลชนบท

รูปหนึ่งชื่อ กาฬเถระ รูปหนึ่งชื่อ ชุณหเถระ อยู่มาวันหนึ่ง พระชุณหะ

ถามพระกาฬะว่า ท่านกาฬะผู้เจริญ ธรรมดาว่าความหนาวมีในเวลาไร ? พระ-

กาฬะนั้นกล่าวว่า ความหนาวมีในเวลาข้างแรม. อยู่มาวันหนึ่ง พระกาฬะถาม

พระชุณหะว่า ท่านชุณหะผู้เจริญ ธรรมดาว่าความหนาวย่อมมีในเวลาไร ?

พระชุณหะนั้น กล่าวว่า มีในเวลาข้างขึ้น พระแม้ทั้งสองรูปนั้นเมื่อไม่อาจตัด

ความสงสัยของตนได้ จึงพากันไปยังสำนักของพระบรมศาสดาถวายบังคมแล้ว

ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาว่าความหมายวย่อมมีในกาลไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

พระเจ้าข้า ? พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งสองนั้น แล้วตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เราก็ตอบปัญหานี้แก่เธอทั้งสองแล้ว แต่เธอ

ทั้งหลายกำหนดไม่ได้ เพราะอยู่ในสังเขปแห่งภพ แล้วทรงนำอดีตนิทานมา

ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ณ เชิงเขาแห่งหนึ่ง มีสัตว์ผู้เป็นสหายกันสองตัว คือ

ราชสีห์ตัวหนึ่ง เสือโคร่งตัวหนึ่ง อยู่ในถ้าเดียวกันนั่นเอง ในกาลนั้น แม้

พระโพธิสัตว์ก็บวชเป็นฤๅษี อยู่ที่เชิงเขานั้นเหมือนกัน ภายหลังวันหนึ่ง ความ

วิวาทเกิดขึ้นแก่สหายเหล่านั้น เพราะอาศัยความหนาว เสือโคร่งกล่าวว่า

ความหนาวย่อมมีเฉพาะในเวลาข้างแรม. ราชสีห์กล่าวว่า มีเฉพาะในเวลาข้าง

ขึ้น. สหายแม้ทั้งสองนั้น เมื่อไม่อาจัดความสงสัยของตน จึงถามพระโพธิสัตว์

พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ข้างขึ้นหรือข้างแรมก็ตาม สมัยใดลมย่อมพัดมา

สมัยนั้นย่อมมีความหนาว เพราะความหนาวเกิดแต่

ลม ในปัญหาข้อนี้ท่านทั้งสอง ชื่อว่าไม่แพ้กัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเฬ วา ยทิ วา ชุณฺเห ได้แก่

ในปักษ์ข้างแรม หรือในปักษ์ข้างขึ้น. บทว่า ยทา วายติ มาลุโต ความ

ว่า สมัยใด ลมอันต่างด้วยลมทิศตะวันออกเป็นต้น ย่อมพัดมา สมัยนั้น

ความหนาวย่อมมี. เพราะเหตุไร ? เพราะความหนาวเกิดแต่ลม อธิบายว่า

เพราะเหตุที่ เมื่อลมมีอยู่นั่นแหละ ความหนาวจึงมี, ในข้อนี้ปักษ์ข้างแรม

หรือปักษ์ข้างขึ้น ไม่เป็นประมาณ บทว่า อุโภตฺถมปราชิตา ความว่า

ท่านแม้ทั้งสองไม่แพ้กันในปัญหาข้อนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

พระโพธิสัตว์ให้สหายเหล่านั้นยินยอมกันด้วยประการอย่างนี้. ฝ่าย

พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เราก็ตอบปัญหานี้

แก่เธอทั้งหลายแล้ว ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศ

สัจจะทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ พระเถระแม้ทั้งสองเหล่านั้นก็ดำรงอยู่ใน

พระโสดาปัตติผล. แม้พระศาสดาก็ทรงสืบอนุสนธิแล้วประชุมชาดกว่า

เสือโคร่งในครั้งนั้น ได้เป็นพระกาฬะ ราชสีห์ในครั้งนั้น ได้เป็น

พระชุณหะ ส่วนดาบสผู้แก้ปัญหาในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.

จบมาลุตชาดกที่ ๗

๘. มตกภัตตชาดก

ว่าด้วยสัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์

[๑๘] ล่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติสมภพนี้เป็น

ทุกข์ สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะว่าผู้มีปกติฆ่าสัตว์

ย่อมเศร้าโศก.

จบมตกภัตตชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

๘. อรรถกถามตกภัตตชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภมตกภัตจึง

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เอวญฺเจ สตฺตา ชาเนยฺยุ ดังนี้.

ความพิสดารว่า ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลาย ฆ่าแพะเเป็นต้น เป็น

อันมาก ให้มตกภัตอุทิศญาติทั่งหลายที่ตายไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายเห็นมนุษย์

เหล่านั้นการทำอย่างนั้น จึงทูลถามพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้

มนุษย์ทั้งหลายทำสัตว์มีชีวิตเป็นอันมากให้ถึงความสิ้นชีวิต แล้วให้ชื่อว่า

มตกภัต ความเจริญในการให้มตกภัตนี้มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า ? พระศาสดาตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าความเจริญอะไร ๆ ในปาณาติบาต แม้ที่เขากระทำ

ด้วยคิดว่า พวกเราจักให้มตกภัต ดังนี้ ย่อมไม่มี แม้ในกาลก่อน บัณฑิต

ทั้งหลายนั่งในอากาศ แสดงธรรมกล่าวโทษในการทำปาณาติบาตนี้ ให้ชนชาว

ชมพูทวีปทั้งสิ้นละกรรมนั่น แต่บัดนี้ กรรมนั่นกลับปรากฏขึ้นอีก เพราะสัตว์

ทั้งหลายเหล่านั้น เป็นผู้อยู่ในสังเขปแห่งภพ แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อ

ไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

มีอาจารย์ทิศาปาโมกข์ผู้สำเร็จไตรเพทคนหนึ่ง คิดว่าจักให้มตกภัต จึงให้จับ

แพะมาตัวหนึ่ง กล่าวกะอันเตวาสิกทั้งหลายว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงนำ

แพะตัวนี้ไปยังแม่น้ำ เอาระเบียบดอกไม้สวมคอ เจิมประดับประดาแล้วนำมา

อันเตวาสิกทั้งหลายรับคำแล้ว พาแพะนั้นไปยังแม่น้ำ ให้อาบน้ำ ประดับแล้ว

พักไว้ที่ฝั่งแม่น้ำ แพะนั้นเห็นกรรมเก่าของตนเกิดความโสมนัสว่า เราจักพ้น

จากทุกข์ชื่อเห็นปานนี้ในวันนี้ จึงหัวเราะลั่น ประดุจต่อยหม้อดิน กลับคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

พราหมณ์นี้ฆ่าเราแล้วจักได้ความทุกข์ที่เราได้แล้ว เกิดความกรุณาพราหมณ์

จึงร้องไห้ด้วยเสียงอันดัง ลำดับนั้น มาณพเหล่านั้นจึงถามแพะนั้นว่า ดูก่อน

แพะผู้สหาย ท่านหัวเราะและร้องไห้เสียงดังลั่น เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึง

หัวเราะ และเพราะเหตุไร ท่านจึงร้องไห้ ? แพะกล่าวว่า ท่านทั้งหลายพึงถาม

เหตุนี้กะเรา ในสำนักแห่งอาจารย์ของท่าน. มาณพเหล่านั้นจึงพาแพะนั้นไป

แล้วบอกเหตุนี้แก่อาจารย์ อาจารย์ได้ฟังคำของมาณพเหล่านั้นแล้วถามแพะว่า

ดูก่อนแพะ เพราะเหตุไร ทานจึงหัวเราะ เพราะเหตุไรท่านจึงร้องไห้ ? แพะ

หวนระลึกถึงกรรมที่ตนกระทำด้วยญาณเครื่องระลึกชาติได้กล่าวแก่พราหมณ์ว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อก่อน เราเป็นพราหมณ์ผู้สาธยายมนต์เช่นท่านนั่นแหละ

คิดว่าจักให้มตกภัต จึงได้ฆ่าแพะตัวหนึ่งแล้วให้มตกภัต เพราะเราฆ่าแพะตัว

หนึ่ง เรานั้นจึงถึงการถูกตัดศีรษะใน ๔๙๙ อัตภาพ นี้เป็นอัตภาพที่ ๕๐๐ ของ

เราซึ่งตั้งอยู่ในที่สุด เรานั้นเกิดความโสมนัสว่า วันนี้ เราจักพ้นจากทุกข์เห็น

ปานนี้ ด้วยเห็นจึงหัวเราะ แต่เราเมื่อร้องไห้ ได้ร้องไห้เพราะความกรุณา

ท่าน ด้วยคิดว่าเบื้องต้น เราฆ่าแพะตัวหนึ่ง ถึงความทุกข์คือการถูกตัดศีรษะ

ถึง ๕๐๐ ชาติ จักพ้นจากทุกข์นั้น ในวันนี้ ส่วนพราหมณ์ฆ่าเราแล้วจักได้

ทุกข์คือการถูกตัดศีรษะถึง ๕๐๐ ชาติ เหมือนเรา. พราหมณ์กล่าวว่า ดูก่อนแพะ

ท่านอย่ากลัวเลย เราจักไม่ฆ่าท่าน. แพะกล่าวว่า พราหมณ์ ท่านพูดอะไร

เมื่อท่านจะฆ่าก็ดี ไม่ฆ่าก็ดี วันนี้เราไม่อาจพ้นจากความตายไปได้. พราหมณ์

กล่าวว่า ดูก่อนแพะ ท่านอย่ากลัว เราจักถือการอารักขาท่าน เที่ยวไปกับท่าน

เท่านั้น. แพะกล่าวว่า พราหมณ์ อารักขาของท่านมีประมาณน้อย ส่วนบาปที่

เรากระทำมีกำลังมาก. พราหมณ์ให้ปล่อยแพะแล้วกล่าวว่า เราจักไม่ให้แม้

ใครๆ ฆ่าแพะตัวนี้ จึงพาพวกอันเตวาสิกเที่ยวไปกับแพะนั่นแหละ แพะพอ

เขาปล่อยเท่านั้น ก็ชะเง้อคอเริ่มจะกินใบไม้ ซึ่งอาศัยหลังแผ่นหินแห่งหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

เกิดอยู่ ทันใดนั้นเอง ฟ้าก็ผ่าลงที่หลังแผ่นหินนั้น สะเก็ดหินชิ้นหนึ่งแตกตก

ลงที่คอแพะซึ่งชะเง้ออยู่ ตัดศีรษะขาดไป มหาชนประชุมกัน ในกาลนั้น

พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ในที่นั้น พระโพธิสัตว์นั้น เมื่อมหาชนเห็น

อยู่นั่นแล นั่งขัดสมาธิในอากาศด้วยเทวานุภาพกล่าวว่า สัตว์เหล่านั้นรู้ผล

ของบาปอยู่อย่างนี้ชื่อแม้ไฉนไม่ควรกระทำปาณาติบาต เมื่อจะแสดงธรรมด้วย

เสียงอันไพเราะ จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติสมภพนี้เป็น

ทุกข์ สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์ เพราะว่าผู้มีปกติฆ่าสัตว์

ย่อมเศร้าโศก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวญฺเจ สตฺตา ขาเนยฺย ความว่า

สัตว์เหล่านี้ พึงรู้อย่างนี้. พึงรู้อย่างไร ? พึงรู้ว่า ชาติสมภพนี้เป็นทุกข์

อธิบายว่า ถ้าว่า พึงรู้ว่าความเกิดในภพนั้น ๆ และความสมภพกล่าวคือความ

เจริญของผู้ที่เกิดโดยลำดับนี้ ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นวัตถุที่ตั้งแห่งทุกข์

ทั้งหลายมีชรา พยาธิ มรณะ ความประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความพลัด

พรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก และการถูกตัดมือตัดเท้าเป็นต้น. บทว่า น ปาโณ

ปาณิน หญฺเ ความว่า สัตว์ไร ๆ รู้อยู่ว่าชาติสมภพชื่อว่าเป็นทุกข์เพราะ

เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ว่า ผู้ทำสัตว์อื่นให้เจริญ ย่อมได้ความเจริญในชาติสมภพ

เมื่อเบียดเบียนสัตว์อื่น ย่อมได้รับการเบียดเบียนดังนี้ จึงไม่ควรฆ่าสัตว์อื่น

อธิบายว่า สัตว์ไม่ควรฆ่าสัตว์เพราะเหตุไร ? เพราะผู้มีปกติฆ่าสัตว์ย่อมเศร้า

โศก อธิบายว่า เพราะบุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์ด้วยการเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ของ

สัตว์อื่น ด้วยประโยคอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาประโยคทั้ง ๖ มีสาหัตถิก-

ประโยคเป็นต้น เสวยมหันตทุกข์อยู่ในอบายทั้ง ๔ นี้ คือในมหานรก ๘ ขุม ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

อุสสทนรก ๑๖ ขุม ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานมีประการต่าง ๆ ในเปรตวิสัย

และในอสูรกาย ชื่อว่าย่อมเศร้าโศกด้วยความเศร้าโศกอันมีความเผาไหม้ใน

ภายในเป็นลักษณะ ตลอดกาลนาน อีกอย่างหนึ่ง สัตว์รู้ว่า แพะนี้เศร้าโศก

แล้ว เพราะมรณภัย ฉันใด ผู้มีปกติฆ่าสัตว์ย่อมเศร้าโศกตลอดกาลนานี้แม้

ฉันนั้น ดังนี้แล้วไม่ควรฆ่าสัตว์ อธิบายว่าใคร ๆ ไม่ควรกระทำกรรมคือ

ปาณาติบาต ก็บุคคลผู้หลงเพราะโมหะ เมื่ออวิชชากระทำให้เป็นคนบอดแล้ว

ไม่เห็นโทษนี้ย่อมกระทำปาณาติบาต.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมโดยเอาภัยในนรกมาขู่ด้วยประการอย่างนี้.

มนุษย์ทั้งหลายพึงธรรมเทศนานั้นแล้ว กลัวภัยในนรก พากันงดเว้นจาก

ปาณาติบาต ฝ่ายพระโพธิสัตว์ครั้นแสดงธรรมแล้ว ยังมหาชนให้ตั้งอยู่ใน

เบญจศีลแล้วไปตามยถากรรม ฝ่ายมหาชนตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์

กระทำบุญมีทานเป็นต้น ทำเทพนครให้เต็มแล้ว.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงสืบต่ออนุสนธิ

ทรงประชุมชาดกว่า ภิกษุทั้งหลาย สมัยนั้นเราได้เป็นรุกขเทวดาแล.

จบมตกภัตตชาดกที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

๙. อายาจิตภัตตชาดก

ว่าด้วยการเปลื้องตน

[๑๙] ถ้าท่านปรารถนาจะเปลื้องตนให้พ้น ท่าน

ละโลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ ก็ท่านเปลื้องตนอยู่อย่างนี้

กลับจะติดหนักเข้า เพราะนักปราชญ์หาได้เปลื้องตน

ด้วยอาการอย่างนี้ไม่ การเปลื้องตนอย่างนี้ เป็นเครื่อง

ติดของคนพาล.

จบอายาจิตภัตตชาดกที่ ๙

๙. อรรถกถาอายาจิตภัตตชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภพลีกรรม

อ้อนวอนเทวดาทั้งหลาย จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สเจ มุญฺเจ

ดังนี้

ได้ยินว่า ในกาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายเมื่อจะไปค้าขาย ได้ฆ่าสัตว์ทำพลี

กรรมแก่เทวดาทั้งหลาย อ้อนวอนว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายถึงความสำเร็จประโยชน์

โดยไม่ขัดข้องมาแล้ว จักกระทำพลีกรรมแก่ท่านทั้งหลายอีก ดังนี้แล้ว จึงพา

กันไป. ในกาลนั้นพวกมนุษย์ได้ถึงความสำเร็จประโยชน์โดยไม่มีอันตรายมา

แล้ว สำคัญว่า ผลนี้เกิดด้วยอานิภาพของเทวดา จึงฆ่าสัตว์เป็นอันมากกระทำ

พลีกรรมเพื่อปลดเปลื้องการอ้อนวอน ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น จึงทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประโยชน์ในการอ้อนวอนนี้มีอยู่

หรือ ? พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

ในอดีตกาล มีกุฎุมพีคนหนึ่งในบ้านแห่งหนึ่งในแคว้นกาสี ปฏิญญา

การพลีกรรมแก่เทวดา ผู้สิงอยู่ที่ต้นไทรซึ่งตั้งอยู่ใกล้ประตูบ้าน แล้วกลับมา

โดยไม่มีอันตราย จึงฆ่าสัตว์เป็นอันมาก แล้วไปยังโคนต้นไทรด้วยตั้งใจว่า

จักเปลื้องการอ้อนวอน รุกขเทวดายืนอยู่ที่ค่าคบของต้นไม้กล่าวคาถานี้ว่า

ถ้าท่านปรารถนาจะเปลื้องตนให้พ้น ท่านละ

โลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ ก็ท่านเปลื้องตนอยู่อย่างนี้

กลับจะติดหนักเข้า เพราะนักปราชญ์หาได้เปลื้องตน

ด้วยอาการอย่างนี้ไม่การเปลื้องตนอย่างนี้ เป็นเครื่อง

ติดของคนพาล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ มุญฺเจ เปจฺจ มุญฺเจ ความว่า

ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ถ้าท่านจะเปลื้องตน คือท่านปรารถนาจะเปลื้องตน ท่าน

ละโลกนี้ไปแล้วก็จะพ้นได้ คือจงพ้นโดยประการที่ติดพ้นโลกหน้า. บทว่า

มุจฺจมาโน หิ พชฺฌสิ ความว่า ก็ท่านเมื่อปลดเปลื้องโดยประการที่ปรารถนา

เพื่อฆ่าสัตว์ปลดเปลื้อง ชื่อว่ายังติดพ้นด้วยกรรมอันลามก เพราะเหตุไร ?

เพราะนักปราชญ์ทั้งหลาย หาได้เปลื้องคนด้วยอาการอย่างนี้ไม่ อธิบายว่า ก็

บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเหล่านั้น ย่อมไม่ปลดเปลื้องตนด้วยคำมั่นสัญญาอย่างนี้

เพราะเหตุไร ? เพราะการเปลื้องตนเห็นปานนี้ เป็นเหตุติดพ้นของคนพาล

คือธรรมดาการเปลื้องคนเพราะกระทำปาณาติบาตนี้ ย่อมเป็นเหตุติดหนักของ

คนพาล. รุกขเทวดาแสดงธรรมด้วยประการดังกล่าวนี้.

ตั้งแต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายงดเว้นจากกรรมคือปาณาติบาตเห็นปานนั้น

พากันประพฤติธรรม ยังเทพนครให้เต็มแล้ว.

พระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว ทรง

ประชุมชาดกว่า สมัยนั้นเราได้เป็นรุกขเทวดาแล.

จบอายาจิตชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

๑๐. นฬปานชาดก

ว่าด้วยการพิจารณา

[๒๐] พระยากระบี่ไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้า

ลง จึงกล่าวว่า เราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ ท่านก็จักฆ่า

เราไม่ได้.

จบนฬปานชาดกที่ ๑๐

จบศีลวรรคที่ ๒

๑๐. อรรถกถานฬปานชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท ถึงบ้าน นฬกปานคาม

ประทับ อยู่ในเกตกวัน ใกล้นฬกปานโบกขรณี ทรงปรารภท่อนไม้อ้อทั้งหลาย

จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวา ปทมนุตฺติณฺณ ดังนี้.

ได้ยินว่า ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายอาบน้ำในสระโบกขรณีชื่อว่า

นฬกปานะ แล้วให้พวกสามเณรเอาท่อนไม้อ้อนาเพื่อต้องการทำกล่องเข็ม

เห็นท่อนไม้อ้อเหล่านั้นทะลุตลอด จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ให้ถือเอาท่อนไม้อ้อทั้งหลายมา เพื่อ

ต้องการทำกล่องเข็ม ท่อนไม้อ้อเหล่านั้นเป็นรูทะลุตลอด ตั้งแต่โคนจนถึง

ปลาย นี่เหตุอะไรหนอ พระเจ้าข้า ? พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นการอธิษฐานเดิมของเรา แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

ได้ยินว่า โนอดีตกาลแม้ในกาลก่อน ป่าชัฏนั้นเป็นป่า มีผีเสื้อน้ำ

คนหนึ่งเคี้ยวกินคนผู้ลงไป ๆ ในสระโบกขรณีแม้นั้น ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์

เป็นพระยากระบี่มีขนาดเท่าเนื้อละมั่ง แวดล้อมด้วยหมู่วานรแปดหมื่นตัว บริหาร

ฝูงอยู่ในป่านั้น พระยากระบี่นั้น ได้ให้โอวาทแก่หมู่วานรว่า พ่อทั้งหลายในป่า

นี้มีต้นไม้พิษบ้าง สระโบกขรณีที่เกิดเองอันอมนุษย์หวงแหนบ้าง มีอยู่ในป่า

นั้นนั่นแหละ ท่านทั้งหลายเมื่อจะเคี้ยวกินผลไม้น้อยใหญ่ที่ยังไม่เคยเคี้ยวกิน

หรือเมื่อจะดื่มน้ำที่ยังไม่เคยดื่ม ต้องสอบถามเราก่อน หมู่วานรเหล่านั้น

คำแล้ว วันหนึ่งไปถึงที่ที่ไม่เคยไป เที่ยวไปในที่นั้นหลายวันทีเดียวเมื่อจะ

แสวงหาน้ำดื่มเห็นสระโบกขรณีสระหนึ่ง ยังไม่ดื่มน้ำ นั่งคอยการมาของพระ-

โพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์มาถึงแล้วจึงกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ทำไมจึงยังไม่ดื่ม

น้ำ พวกวานรกล่าวว่า พวกข้าพเจ้าคอยการมาของท่าน พระโพธิสัตว์กล่าวว่า

พ่อทั้งหลาย พวกท่านทำดีแล้ว จึงเดินวนเวียนสระโบกขรณีนั้น กำหนด

รอยเท้า เห็นแต่รอยเท้าลงไม่เห็นรอยเท้าขึ้น พระโพธิสัตว์นั้นรู้ว่า สระ

โบกขรณีนี้อมนุษย์หวงแหนโดยไม่ต้องสงสัยจึงกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ที่

ทั้งหลายไม่ดื่มน้ำ ทำดีแล้ว สระโบกขรณีนี้อมนุษย์หวงแล้ว. ฝ่ายผีเสื้อน้ำรู้ว่า

วานรเหล่านั้นไม่ลง จึงแปลงเป็นผู้มีท้องเขียว หน้าเหลือง มือเท้าแดงเข็ม รูป

ร่างน่ากลัว ดูน่าเกลียด แยกน้ำออกมากล่าวว่า เพราะเหตุไร พวกท่านจึง

นั่งอยู่ จงลงสระโบกขรณีนี้ดื่มน้ำเถิด. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ถามผีเสื้อน้ำ

นั้นว่า ท่านเป็นผีเสื้อน้ำเกิดอยู่ในสระนี้หรือ ? ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เออ เราเป็น

ผู้เกิดแล้ว พระโพธิสัตว์ถามว่า ท่านย่อมได้คนที่ลงไปๆ ยังสระโบกขรณีหรือ ?

ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เออ เราได้ เราไม่ปล่อยใคร ๆ จนชั้นที่สุดนกที่ลงในสระ

โบกขรณีนี้ แม้ท่านทั้งหมดเราก็จักกิน. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกเราจักไม่

ให้ท่านกินตัวเรา. ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า ก็ท่านทั้งหลายจักดื่มน้ำมิใช่หรือ ? พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

โพธิสัตว์กล่าวว่า เออ พวกเราจักดื่มน้ำ และจักไม่ตกอยู่ในอำนาจของท่าน

ผีเสื้อน้ำกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านจักดื่มน้ำอย่างไร พระโพธิสัตว์

กล่าวว่า ก็ท่านย่อมสำคัญหรือว่า จักลงไปดื่ม ด้วยว่าพวกเราจะไม่ลงไป เป็น

วานรทั้งแปดหมื่น ถือท่อนไม้อ้อคนละท่อน จักดื่มน้ำในสระโบกขรณีของ

ท่านเหมือนดื่มน้ำด้วยก้านบัว เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านจักไม่อาจกินพวกเรา.

พระศาสดาครั้นทรงรู้แจ้งความนี้ เป็นพระอภิสัมพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้พร้อมยิ่ง

ได้ตรัส ๒ บทแรกแห่งคาถานี้ว่า

พระยากระบี่ไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่รอยเท้า

ลง จึงกล่าวว่า พวกเราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ ท่านจัก

ฆ่าเราไม่ได้.

เนื้อความแห่งคำอันเป็นคาถานั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระยา

กระบี่นั้นเป็นมหาบุรุษไม่ได้เห็นรอยเท้าขึ้นแม้แต่รอยเดียวในลระโบกขรณีนั้น

ได้เห็นแต่รอยเท้าลงเท่านั้น ครั้นเห็นอย่างนั้นคือไม่เห็นรอยเท้าขึ้น เห็นแต่

รอยเท้าลง จึงรู้ว่า สระโบกขรณีนี้ อมนุษย์หวงแหนแน่แท้ เมื่อจะเจรจากัน

ผีเสื้อน้ำนั้นจึงกล่าวว่า พวกเราจักดื่มน้ำด้วยไม้อ้อ อธิบายความตองคำนั้นว่า

พวกเราจักดื่มน้ำในสระโบกขรณีของท่านด้วยไม้อ้อ พระมหาสัตว์กล่าวสืบไป

ว่า ท่านจักฆ่าเราไม่ได้ อธิบายว่า เราพร้อมทั้งบริษัทดื่มน้ำด้วยไม้อ้ออย่างนี้

แม้ท่านก็จักฆ่าไม่ได้.

ก็พระโพธิสัตว์ครั้น กล่าวอย่างนี้แล้วจึงให้นำท่อนไม้อ้อมาท่อนหนึ่ง

รำพึงถึงบารมีทั้งหลายแล้วกระทำสัจกิริยาเอาปากเป่า ไม้อ้อได้เป็นโพรงตลอด

ไป ไม่เหลือปล้องอะไร ๆ ไว้ภายใน พระโพธิสัตว์ให้นำท่อนไม้อ้อแม้ท่อน

อื่นมาแล้วได้เป่าให้ไปโดยทำนองนี้ ก็เมื่อเป็นดังกล่าวมาฉะนี้ ไม่อาจให้เสร็จ

ลงได้ เพราะฉะนั้น ไม่ควรเธออย่างนั้น ฝ่ายพระโพธิสัตว์ได้อธิษฐานว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ไม้อ้อแม้ทั้งหมดที่เกิดรอบสระโบกขรณีนี้ จงเป็นระตลอด ก็เพราะอุปจารแห่ง

ประโยชน์ของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายเป็นสภาพยิ่งใหญ่ การอธิษฐานย่อมสำเร็จ

ตั้งแต่นั้นมา ไม้อ้อที่เกิดรอบสระโบกขรณีแม้ทุกต้นเกิดเป็นรูเดียวตลอด.

จริงอยู่ ในกัปนี้ ชื่อว่าปาฏิหาริย์อันตั้งอยู่ตลอดกัปมี ๔ ประการเป็น

ไฉน ? เครื่องหมายกระต่ายบนดวงจันทร์จักตั้งอยู่ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ ที่ที่ไฟดับ

ในวัฏฏกชาดกไฟจักไม่ไหม้ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น. สถานที่เป็นที่อยู่ของฆฏีการ

ช่างหม้อ ฝนไม่รั่วรดจักตั้งอยู่ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ไม้อ้อที่ดังอยู่รอบสระ

โบกขรณีนี้จักเป็นรูเดียว (ไม่มีข้อ) ตลอดกัปนี้แม้ทั้งสิ้น ๑ ชื่อว่าปาฏิหาริย์อัน

ตั้งอยู่ชั่วกัป ๔ ประการนี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

พระโพธิสัตว์ครั้นอธิษฐานอย่างนี้แล้ว จึงนั่งถือไม้อ้อลำหนึ่ง ฝ่าย

วานรแปดหมื่นตัวแม้เหล่านั้น ก็ถือไม้อ้อลำหนึ่ง ๆ นั่งล้อมสระโบกขรณี

ในเวลาที่พระโพธิสัตว์เอาไม้อ้อสูบน้ำมาดื่ม วานรแม้เหล่านั้น ทั้งหมดนั่งอยู่

ที่ฝั่งนั่นแล้วดื่มน้ำแล้ว เมื่อวานรเหล่านั้นดื่มน้ำอย่างนี้ ผีเสื้อน้ำไม่ได้วานร

ตัวไรๆ ก็เสียใจ จึงไปยังนิเวศน์ของตนนั่งเอง ฝ่ายพระโพธิสัตว์พร้อมทั้ง

บริวารก็เข้าป่าไปเหมือนกัน.

ส่วนพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าความที่ไม้อ้อทั้ง

หลายเหล่านี้เป็นไม้มีรูเดียวนั้น เป็นการอธิษฐานอันมีในกาลก่อนของเราเอง

ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า

ผีเสื้อน้ำในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต ในบัดนี้วานรแปดหมื่นใน

ครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนพระยากระบี่ผู้ฉลาดใน

อุบายในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.

จบนฬปานชาดกที่ ๑๐

จบศีลวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

รวมชาดกที่มีในวรรคที่ คือ

๑. ลักขณชาดก ๒. นิโครธมิคชาดก ๓. กัณฑินชาดก

๔. วาตมิคชาดก ๕. ขราทิยชาดก ๖. ติปัลลัตถมิคชาดก

๗. มาลุตชาดก ๘. มตกภัตตชาดก ๙. อายาจิตภัตตชาดก

๑๐. นฬปานชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

๓. กุรุงควรรค

๑. กุรุงคมิคชาดก

ว่าด้วยกวางกุรุงคะ

[๒๑] ดูก่อนไม้ระริน การที่ท่านปล่อยผลให้ตกกลิ้ง

มานั้น เราเป็นกวางรู้แล้ว เราจะไปสู่ไม้มะรื่นต้นอื่น

เพราะเราไม่ชอบใจผลของท่าน.

จบกุรุงคมิคชาดกที่ ๑

๓. อรรถกถากุรุงควรรค

๑. อรรกถากุรุงคมิคชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภพระเทวทัต

จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ คำเริ่มต้นว่า าตเมต กุรุงฺคสฺส ดังนี้

ความพิศดารว่า สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันในโรงธรรมสภา

นั่งกล่าวโทษของพระเทวทัตว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตประกอบ

นายขมังธนู เพื่อต้องการปลงพระชนม์พระตถาคตกลิ้งศิลา ปล่อยช้างธนปาลกะ

ตะเกียกตะกายเพื่อจะปลงพระชนม์ของพระทศพล แม้ในกาลทั้งปวง. พระ-

ศาสดาเสด็จมาแล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ตกแต่งไว้แล้ว ตรัสถามว่า ภิกษุ

ทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายนั่งสนทนากันด้วยเรื่องการกล่าว

โทษของพระเทวทัตว่า พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อปลงพระชนม์ของพระ-

องค์. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่า

เราในบัดนี้ เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ตะเกียกตะกายเหมือนกัน ก็แต่ว่าไม่

สามารถจะฆ่าเราได้ แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนครพาราณสี

เป็นกวางเคี้ยวกินผลาผลทั้งหลายในราวป่าแห่งหนึ่ง. ในคราวหน้า กวางนั้นกิน

ผลมะรื่นที่ต้น มะรื่นอันมีผลสะพรั่ง. ลำดับนั้น มีพรานนั่งห้างชาวบ้านคนหนึ่ง

พิจารณารอยเท้าเนื้อทั้งหลายแล้ว จึงผูกห้างบนต้นไม้แล้วนั่งบนห้างนั้น เอา

หอกแทงพวกเนื้อที่มากินผลไม้ แล้วขายเนื้อของเนื้อเหล่านั้นเลี้ยงชีวิต วันหนึ่ง

พรานนั้น เห็นรอยเท้าของพระโพธิสัตว์ที่โคนต้นไม้นั้น จึงผูกห้างบนต้นมะรื่น

นั้นแล้ว บริโภคอาหารแต่เช้าตรู่ แล้วถือหอกเข้าป่าขึ้นไปยังต้นไม้นั้นแล้วนั่ง

ห้าง. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ออกจากที่อยู่แต่เช้าตรู่มาด้วยหวังว่าจักกินผลมะรื่นแต่

ไม่ได้ผลุนผลันเข้าไปที่โคนต้นไม้นั้น คิดว่า บางคราวพวกพรานนั่งห้างจะผูก

ห้างบนต้นไม้ อันตรายเห็นปานนี้ มีไหมหนอ จึงได้ยืนพิจารณาอยู่แต่ภายนอก

ฝ่ายนายพรานรู้ว่าพระโพธิสัตว์ไม่มา นั่งอยู่บนห้างนั่นแหละ โยนผลมะรื่นให้

ตกลงล้างหน้าพระโพธิสัตว์นั้น. พระโพธิสัตว์คิดว่า ผลเหล่านี้มาตกลงข้างหน้า

เรา เบื้องบนต้นไม้นั้น มีนายพรานหรือหนอ เมื่อแลดูบ่อย ๆ ก็เห็นนายพราน

แต่ทำเป็นไม่เห็นพูดว่า ต้นไม้ผู้เจริญ เมื่อก่อนท่านให้ผลไม้ทั้งหลายตกลง

ตรง ๆ เหมือนเขย่าผลที่ห้อยอยู่ฉะนั้น บัดนี้ท่านละทิ้งรุกขธรรมเสียแล้ว เมื่อ

ท่านละทิ้งรุกขธรรมเสียอย่างนี้ เราจักเข้าไปยังโคนต้นไม้แม้ต้นอื่น แสวงหา

อาหารของเรา แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

แน่ะไม้มะรื่น การที่ท่านปล่อยผลไม้ไห้กลิ้งมา

นั้น เราผู้เป็นกวางรู้แล้ว เราจะไปสู่ไม้นะรื่นต้นอื่น

เพราะเราไม่ชอบใจผลของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า าต ได้แก่ ปรากฏ คือเกิดแล้ว.

บทว่า เอต โยคว่า กรรมนี้. บทว่า กุรุงฺคสฺส แปลว่า เนื้อชนิดกวาง.

บทว่า ย ตฺว เสปณฺณิ เสยฺยสิ ความว่า ดูก่อนต้นไม้มะรื่นผู้เจริญ

การที่ท่านปล่อยให้ผลกลิ้งตกลงข้างหน้า คือได้เป็นผู้มีผลกระจายมานั้น ทั้ง

หมดเกิดเป็นสิ่งลามกสำหรับเนื้อกวาง. ด้วยบทว่า น เม เต รุจฺจเต นี้

กวางกล่าวว่า เราไม่ชอบใจผลของท่านผู้ให้ผลอยู่อย่างนี้ ท่านจงหยุดเถิด

เราจักไปที่อื่น ดังนี้ ได้ไปแล้ว.

ลำดับนั้น นายพรานทั้งที่นั่งอยู่บนห้างนั่นแล พุ่งหอกไปเพื่อพระ-

โพธิสัตว์นั้นแล้วกล่าวว่า ท่านจงไปเถิด บัดนี้เราเป็นคนผิดหวังท่าน. พระ-

โพธิสัตว์หันกลับมายืนกล่าวว่า บุรุษผู้เจริญ แม้บัดนี้ท่านผิดหวังเราก็จริง แต่

ถึงกระนั้นท่านจะไม่ผิดหวังมหานรก ๘ ขุม อุสสทนรก ๑๖ ขุม และกรรมกรณ์

ทั้งหลายมีการจองจำ ๕ ประการเป็นต้น ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้วก็ได้ไป

ตามชอบใจ ฝ่ายนายพรานลงมาแล้วไปตามความชอบใจ.

แม้พระศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตตะเกียกตะกายเพื่อ

จะฆ่าเราในบัดนี้ เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ตะเกียกตะกายแล้วเหมือน

กัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบอนุสนธิแล้วทรงประชุมชาดกว่า นาย

พรานนั่งห้างในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัต ส่วนกวางในครั้งนั้นได้เป็น

เราแล.

จบกุรุงคมิคชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

๒. กุกกุรชาดก

ว่าด้วยสุนัขที่ถูกฆ่า

[๒๒] สุนัขเหล่าได้อันบุคคลเลี้ยงไว้ในราชสกุล เจริญ

ในราชสกุล สมบูรณ์ด้วยสีสันและกำลัง สุนัขเหล่านี้

นั้นไม่ถูกฆ่า พวกเรากลับถูกฆ่า นี้ชื่อว่าการฆ่าโดย

ไม่แปลกกันก็หาไม่ กลับชื่อว่าการฆ่าแต่สุนัขทั้งหลาย

ที่ทุรพล.

จบกุกกุรชาดกที่ ๒

๒. อรรถกถากุกกุรชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภการประพฤติ

ประโยชน์แก่พระญาติ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า เย กุกฺกุรา

ดังนี้. การประพฤติประโยชน์แก่พระญาตินั้น จักมีแจ้งในภัททสาลชาดก

ทวาทสนิบาต. ก็พระศาสดาทรงตั้งเรื่องนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

พระโพธิสัตว์ทรงอาศัยกรรมเห็นปานนั้น บังเกิดในกำเนิดสุนัข ห้อมล้อมด้วย

สุนัข มิใช่น้อยอยู่ในสุสานใหญ่. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จขึ้นทรงรถเทียม

ม้าสินธพขาว ประดับด้วยเครื่องประดับทั้งปวง เสด็จไปยังพระอุทยาน

ทรงเล่นในพระอุทยานนั้น ตลอดส่วนภาคกลางวัน เมื่อพระอาทิตย์อัสดง จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

เสด็จเข้าพระนคร ราชบุรุษทั้งหลายวางสายเชือกหนึ่งรถนั้นตามที่ผูกไว้นั้น

แหละที่พระลานหลวง เนื้อฝนตกตอนกลางคืน รถนั้นก็เปียกฝน. พวกสุนัข

ที่เลี้ยงไว้ในราชตระกูลลงจากปราสาทชั้นบน กัดกินหนึ่งและชะเนาะของรถนั้น.

วันรุ่งขึ้น พวกราชบุรุษจึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ สุนัขทั้งหลาย

เข้าไปทางท่อน้ำ กัดกินหนังและชะเนาะของรถนั้นพระเจ้าข้า. พระราชาทรง

กริ้วสุนัข จึงตรัสว่า พวกท่านจงฆ่าพวกสุนัขในที่ที่ได้เห็นแล้ว ๆ. ตั้งแต่นั้นมา

ความพินาศใหญ่หลวงจึงเกิดขึ้นแก่พวกสุนัข. สุนัขเหล่านั้น เมื่อถูกฆ่าในที่ที่พบ

เห็นจึงหนีไปป่าช้า ได้พากันไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์ถาม

ว่า ท่านทั้งหลายเป็นอันมากพากันมาประชุม เหตุอะไรหนอ ? สุนัขเหล่านั้น

กล่าวว่า พระราชาทรงกริ้วว่า นัยว่า สุนัขกินหนังและชะเนาะของรถภายใน

พระราชวัง จึงทรงสั่งให้ฆ่าสุนัข สุนัขเป็นอันมากพินาศ มหาภัตเกิดขึ้นแล้ว

พระโพธิสัตว์คิดว่าในที่ที่มีการอารักขา สุนัขทั้งหลายในภายนอก ย่อมไม่

มีโอกาส กรรมนี้จักเป็นกรรมของพวกสุนัขเลี้ยงในภายในพระราชนิเวศน์นั่น

เอง ก็ภัยอะไร ๆ ย่อมไม่มีแก่พวกโจร ส่วนพวกที่ไม่ใช่โจรกลับได้ความตาย

ถ้ากระไร เราจะแสดงพวกโจรแก่พระราชาแล้วไห้ทานชีวิตแก่หมู่ญาติ. พระ-

โพธิสัตว์นั้น ปลอบโยนญาติทั้งหลายให้เบาใจแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่า

กลัว เราจักนำความไม่มีภัยมาให้แก่ท่านทั้งหลาย พวกท่านจงอยู่ที่นี้แหละจน

กว่าเราจะได้เฝ้าพระราชา แล้วรำพึงถึงบารมี กระทำเมตตาภาวนาให้เป็น

ปุเรจาริกไปในเบื้องหน้าแล้วอธิษฐานว่า ใคร ๆ อย่าได้สามารถขว้างก้อนดิน

หรือไม้ค้อนเบื้องบนเรา ผู้เดียวเท่านั้น เข้าไปภายในพระนคร. ครั้งนั้น แม้

สัตว์ตัวหนึ่งเห็นพระโพธิสัตว์แล้วชื่อว่า โกรธแล้วแลดู มิได้มี. ฝ่ายพระราชา

ทรงสั่งฆ่าสุนัขแล้วประทับนั่งในที่วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง พระโพธิสัตว์ไปใน

ที่วินิจฉัยนั้นนั่นแล แล้ววิ่งเข้าไปภายใต้อาสน์ของพระราชา. ลำดับนั้น พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

ราชบุรุษเริ่มเพื่อจะนำพระโพธิสัตว์นั้นออกมา แต่พระราชาทรงห้ามไว้

พระโพธิสัตว์นั้นพักอยู่หน่อยหนึ่งแล้วออกจากภายใต้อาสน์ ถวายบังคมพระ

ราชาแล้วทูลถามว่า ได้ยินว่า พระองค์ทรงให้ฆ่าสุนัขจริงหรือพระเจ้าข้า.

พระราชาตรัสว่า เออ เราให้ฆ่า. พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า ข้าแต่พระจอมคน

สุนัขเหล่านั้น มีความผิดอะไร ? พระราชาตรัสว่า สุนัขทั้งหลายมันกินหนังหุ้ม

และชะเนาะแห่งรถของเรา พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า. พระองค์ทรงรู้จัก สุนัขตัว

ที่กินแล้วหรือ. พระราชาตรัสว่า ไม่รู้ พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ

การไม่ทรงทราบโดยถ่องแท้ว่า โจรที่กินหนังชื่อนี้ แล้วทรงให้ฆ่าในที่ที่ได้พบ

เห็นทันที ไม่สมควร พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เพราะพวกสุนัขมักกัดกิน

หนังหุ้มรถ เราจึงสั่งฆ่าสุนัขว่า พวกท่านจงฆ่าสุนัขที่ได้พบเห็นทั้งหมดเลย.

พระโพธิสัตว์ทูลว่า ก็มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ฆ่าสุนัขทั้งหมดทีเดียวหรือ หรือว่า

สุนัข แม้ไม่ได้ความตายก็มีอยู่. พระราชาตรัสว่ามี. สุนัขเลี้ยงในสำหนักของเรา

ไม่ได้การถูกฆ่าตาย. พระมหาสัตว์ทูลว่า ข้าแต่มหาราชพระองค์ได้ตรัสในบัดนี้

ทีเดียวว่า เพราะพวกสุนัขมักกัดกินหนังหุ้มรถ เราจึงสั่งฆ่าสุนัขว่า พวกท่าน

จงฆ่าสุนัขทุกตัวที่ได้พบเห็น แต่บัดนี้พระองค์ตรัสว่า สุนัขเลี้ยงในตำหนัก

ของเราไม่ได้การถูกฆ่าตาย เมื่อเป็นอย่างนั้น พระองค์ย่อมลุอคติเช่นฉันทาคติ

เป็นต้น. ก็ชื่อว่าการลุอคติไม่สมควร และไม่เป็น (ทศพิธ) ราชธรรม ธรรมดา

พระราชาผู้แสวงหาเหตุและมิใช่เหตุ เป็นเช่นกับตาชั่งจึงจะควร. บัดนี้

สุนัขเลี้ยงในราชสกุลไม่ได้การคาย สุนัขที่ทุรพลเท่านั้นจึงจะได้ เมื่อเป็นเช่น

นั้น อันนี้ไม่เป็นการฆ่าสุนัขทุกตัว แต่อันนี้ชื่อว่าเป็นการฆ่าสุนัขที่ทุรพล

ก็แหละครั้น ทูลอย่างนี้แล้ว จึงเปล่งเสียงอัน ไพเราะกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช

สิ่งที่พระองค์ทรงกระทำนั้นไม่เป็นธรรม เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา จึง

กล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

สนัขเหล่าใดอันบุคคลเลี้ยงไว้ในราชสกุลเจริญ

ในราชสกุล สมบูรณ์ด้วยสีสันและกำลัง สุนัขเหล่านี้

นั้นไม่ถูกฆ่า พวกเรากลับถูกฆ่าโดยไม่แปลกกัน หา

มิได้ กลับชื่อว่าการฆ่าแต่สุนัขทั้งหลายที่ทุรพล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย กุกฺกุรา ได้แก่ สุนัขเหล่าใด.

เหมือนอย่างว่า ปัสสาวะแม้ยังมีน้ำอุ่นก็เรียกว่ามูตรเน่า สุนัขจิ้งจอกแม้เกิดใน

วันนั้นก็เรียกว่า สุนัขจิ้งจอกแก่ เถาหัวด้วนแม้ยังอ่อนก็เรียกว่าเถาหัวเน่า กาย

แม้จะมีสีเหมือนทองก็เรียกว่ากายเปื่อยเน่า ฉันใด สุนัขแม้มีอายุ ๑๐๐ ปี ก็

เรียกว่า กุกกุระ ลูกสุนัข ฉันนั้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น สุนัขเหล่านั้น

แก่แต่สมบูรณ์ด้วยกำลังกาย ก็เรียกว่า กุกกุระเหมือนกัน. บทว่า วฑฺฒา

แปลว่า เจริญเติบโต. บทว่า โถเลยฺยถา ได้แก่ เกิดแล้ว มีแล้ว เจริญ

แล้วในราชสกุล. บทว่า วณฺณพลูปปนฺนา ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยสีร่างกาย

และกำลังกาย. บทว่า เตเม น วชฺณา ความว่า สุนัขเหล่านี้นั้นมีเจ้าของ

มีการอารักขา จึงไม่ถูกฆ่า. บทว่า มยมสฺส วชฺณา ความว่า เราทั้งหลาย

ไม่มีเจ้าของไม่มีการอารักขา เป็นสุนัขที่ถูกฆ่า. บทว่า นาย สฆจฺจา ความ

ว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น อันนี้ย่อมไม่ชื่อว่ามีการฆ่าโดยไม่แปลกกัน. บทว่า

ทุพฺพลฆาติกาย ความว่า ส่วนอันนี้ย่อมชื่อว่าเป็นการฆ่าอันทุรพล เพราะ

ฆ่าเฉพาะสุนัขทุรพลทั้งหลาย. อธิบายว่า ธรรมดาพระราชาทั้งหลายควรข่ม

พวกโจร พวกที่ไม่เป็นโจรไม่ควรข่ม แต่ในเหตุการณ์นี้ โทษอะไร ๆ ไม่มี

แก่พวกโจร พวกที่ไม่ใช่โจรกลับได้ความตาย โอ! ในโลกนี้ สิ่งที่ไม่ควร

ย่อมเป็นไป โอ! เธอธรรมย่อมเป็นไป.

พระราชาได้ทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์แล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต

ก็ท่านรู้หรือว่า สุนัขชื่อโน้นกินหนังหุ้มรถ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า รู้พระเจ้าข้า.

พระราชาตรัสว่า สุนัขพวกไหนกิน. พระโพธิสัตว์ทูลว่า พวกสุนัขเลี้ยงที่อยู่

ในตำหนักของพระองค์กินพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ท่านต้อง (พิสูจน์)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

รู้ว่า สุนัขเหล่านั้นกินอย่างไร. พระโพธิสัตว์ทูลว่า ข้าพระบาทจักแสดงความที่

สุนัขเหล่านั้นกิน. พระราชาตรัสว่า จงแสดงเถิดบัณฑิต. พระโพธิสัตว์ทูลว่า

พระองค์จงให้นำพวกสุนัขเลี้ยงในตำหนักของพระองค์มา แล้วให้นำเปรียง

และหญ้าแพรกมาหน่อยหนึ่ง. พระราชาได้ทรงการทำอย่างนั้น. ลำดับนั้นพระ

โพธิสัตว์ให้ขยำหญ้ากับเปรียงแล้วทูลกะพระราชานั้นว่า ขอพระองค์จงให้สุนัข

เหล่านั้นดื่ม พระราชาทรงให้ทำอย่างนั่นแล้วให้ดื่ม สุนัขทั้งหลายที่ดื่มแล้ว ๆ ก็

ถ่ายออกมาพร้อมกับหนังทั้งหลาย พระราชาทรงดีพระทัยว่าเหมือนพยากรณ์

ของพระสัพพัญญูพุทธเจ้า จึงได้ทรงทำการบูชาพระโพธิสัตว์ด้วยเศวตฉัตร

พระโพธิสัตว์จึงแสดงธรรมแก่พระราชา ด้วยคาถาว่าด้วยการประพฤติธรรม

๑๐ ประการ อันมาในเตสกุณชาดก มีอาทิว่า ข้าแต่มหาราชผู้บรมกษัตริย์

พระองค์จงประพฤติธรรมในพระชนกและชนนีดังนี้ แล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราช

จำเดิมแต่นี้ไป พระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาท แล้วให้พระราชาดำรงอยู่ในศีล ๕

จึงได้ถวายคืนเศวตฉัตรแด่พระราชา. พระราชาได้ทรงสดับธรรมกถาของพระ-

มหาสัตว์แล้วทรงให้อภัยแก่สัตว์ทั้งปวง ทรงเริ่มตั้งนิตยภัยเช่นกับโภชนะของ

พระองค์แก่สุนัข ทั้งปวงมีพระโพธิสัตว์เป็นต้น ทรงตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิ-

สัตว์ทรงการทำบุญมีทานเป็นต้นตลอดชั่วพระชนมายุ สวรรคตแล้วเสด็จอุบัติ

ในเทวโลก กุกกุโรวาทได้ดำเนินไปถึงหมื่นปี ฝ่ายพระโพธิสัตว์ดำรงอยู่

ตราบชั่วอายุแล้วได้ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประพฤติประโยชน์

แก่พระญาติทั้งหลาย ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้ประพฤติ

แล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรง

ประชุมชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ บริษัทที่

เหลือนอกนี้ ได้เป็นพุทธบริษัท ส่วนกุกกุรบัณฑิตคือเราแล.

จบกุกกุรชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

๓. โภชาชานียชาดก

ว่าด้วยม้าสินธพอาชาไนย

[๒๓] ดูก่อนนายสารถี ม้าสินธพอาชาไนยถูก

ลูกศรแทงแล้ว แม่นอนตะแคงอย่างเดียว ยัง

ประเสริฐกว่าม้ากระจอก ท่านจงประกอบฉันออกรบ

อีกเถิด.

จบโภชาชานียชาดกที่ ๓

๓. อรรถกถาโภชาชานียชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ละ

ความเพียรรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อปิ ปสฺเสน

เสมาโน ดังนี้.

ความพิศดารว่า สมัยนั้น พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ บัณฑิตทั้งหลายแม้ในกาลก่อน ได้การทำความเพียรแม้ในที่อัน

มิใช่ที่อยู่ แม้ได้รับบาดเจ็บก็ไม่ละความเพียร ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีต

นิทานมาว่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี

พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลม้าสินธพชื่อ โภชาชานียะ สมบูรณ์ด้วยอาการ

ทั้งปวง ได้เป็นม้ามงคลของพระเจ้าพาราณสี พระโพธิสัตว์นั้นบริโภคโภชนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

ข้าวสาลีมีกลิ่นหอมอันเก็บไว้ ๓ ปี ถึงพร้อมด้วยรสเลิศต่างๆ ในถาดทองอันมี

ราคาแสนหนึ่ง ยืนอยู่ในภาคพื้นอันไล้ทาด้วยของหอมมีกำเนิด ๔ ประการ

เท่านั้น สถานที่ยืนนั้นวงด้วยม่านผ้ากัมพลแดง เบื้องบนดาดเพดานผ้าอัน

วิจิตรด้วยดาวทอง ห้อยพวงของหอมและพวงดอกไม้ ตามประทีปน้ำหอม ก็

ขึ้นชื่อว่าพระราชาทั้งหลายผู้ไม่ปรารถนาราชสมบัติในนครพาราณสี ย่อมไม่มี

คราวหนึ่ง พระราชา ๗ พระองค์พากันล้อมนครพาราณสี ทรงส่งหนังสือแก่

พระเจ้าพาราณสีว่า จะให้ราชสมบัติแก่เราทั้งหลายหรือจะรบ. พระเจ้าพาราณสี

ให้ประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสบอกข่าวนั้น แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ

ทั้งหลาย บัดนี้ พวกเราจะกระทำอย่างไร ? อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ เบื้องต้นพระองค์ยังไม่ต้องออกรบก่อน พระองค์จงส่งทหารม้าชื่อ

โน้นให้กระทำการรบ เมื่อทหารม้านั้นไม่สามารถข้าพระบาททั้งหลายจักรู้ใน

ภายหลัง. พระราชารับสั่งให้เรียกทหารม้านั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ เธอ

จักอาจการทำการรบกับพระราชา ๗ องค์หรือไม่. นายทหารม้ากราบทูลว่า

ข้าแต่สนมติเทพ ถ้าข้าพระบาทได้ม้าสินธพชื่อโภชาชานียะไซร้ พระราชา ๗

พระองค์จงยกไว้ ข้าพระบาทจักอาจรบกับพระราชาทั่วทั้งชมพูทวีป. พระราชา

ตรัสว่า ดูก่อนพ่อ ม้าสินธพโภชาชานียะ หรือม้าอื่นก็ช่างเถิด. นายทหารม้านั้น

รับพระดำรัสแล้ว ถวายบังคมพระราชาลงจากปราสาท ให้น้ำม้าสินธพโภชา-

ชานียะมา แม้คนก็ผูกสอดเกราะทุกอย่าง เหน็บพระขรรค์ ขึ้นหลังม้าสินธพ

ตัวประเสริฐ ออกจากพระนครไปประดุจฟ้าแลบ ทำลายกองพลที่ ๑ จับเป็น

พระราชาได้องค์หนึ่ง พามามอบให้แก่พลในนครแล้วกลับไปอีก ทำลาย

กองพลที่ ๒ กองพลที่ ๓ ก็เหมือนกัน จับเป็นพระราชาได้ ๕ องค์ อย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้ แล้วทำลายกองพลที่ ๖ ในคราวจับพระราชาองค์ที่ ๖ ม้า

สินธพโภชาชานียะได้รับบาดเจ็บ เลือดไหล เวทนากล้าเป็นไป นายทหารม้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

นั้นรู้ว่าม้าสินธพนั้นได้รับบาดเจ็บ จึงให้ม้าสินธพโภชาชานียะนอนที่ประตู

พระราชวัง เริ่มทำเกราะให้หลวมเพื่อจะผูกเกราะม้าตัวอื่น พระโพธิสัตว์ทั้งที่

นอนทางข้างที่ที่ความผาสุกมาก ลืมตาขึ้นเห็นนายทหารม้า (ทำอย่างนั้น) จึง

คิดว่า นายทหารมานี้จะหุ้มเกราะม้าตัวอื่น และม้าตัวนี้จักไม่สามารถทำลาย

กองพลที่ ๗ จับพระราชาองค์ที่ ๗ ได้ และกรรมที่เราทำไว้แล้วจักพินาศหมด

แม้นายทหารม้าซึ่งไม่มีผู้เปรียบก็จักพินาศ แม้พระราชาก็จักตกอยู่ในเงื้อมมือ

ของพระราชาอื่น เว้นเราเสียม้าอื่นชื่อว่าสามารถเพื่อทำลายกองพลที่ ๗ แล้ว

จับพระราชาองค์ที่ ๗ ได้ย่อมไม่มี ทั้ง ๆ ที่นอนอยู่นั่นแล ให้เรียกนายทหาร

ม้ามาแล้วกล่าวว่า ดูก่อนนายทหารน้ำผู้สหาย เว้นเราเสีย ชื่อว่าม้าอื่นผู้สามารถ

เพื่อทำลายกองพลที่ ๗ แล้วจับพระราชาองค์ที่ ๗ ได้ย่อมไม่มี เราจักไม่ทำ

กรรมที่เรากระทำแล้ว ให้เสียหาย ท่านจงให้เราแลลุกขึ้นแล้ว ผูกเกราะเถิดครั้น

กล่าวแล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

ม้าสินธพอาชาไนยถูกลูกศรแทงแล้ว แม้นอน

ตะแคงอยู่ข้างเดียว ก็ยังประเสริฐกว่าน้ำกระจอก ดู

ก่อนนายสารี ท่านจงประกอบฉันออกรบเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ ปสฺเสน เสมาโน ได้แก่ แม้

นอนโดยข้างๆ เดียว. บทว่า สลฺเลภิ สลฺลลีกโต ความว่า เป็นผู้แม้ถูก

ศรทั้งหลายแล้ว. บทว่า เสยฺโยว วฬวา โภชฺโฌ ความว่า ม้ากระจอก

ซึ่งไม่ได้เกิดในตระกูลม้า ม้าสินธพ ชื่อว่า วฬวะ ม้าโภชาชานียสินธพ

ชื่อว่า โภชฌะ ดังนั้น ม้าโภชาชานียสินธพนั่นแหละ แม้ถูกลูกศรแทงแล้ว

ก็ยังประเสริฐคือเลิศ อุดม กว่าม้ากระจอกนั่น. ด้วยบทว่า ยุญฺช มญฺเว

สารถี นี้ พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เพราะเหตุที่เราแล แม้จะไปด้วยอาการ

อย่างนี้ก็ยังประเสริฐกว่า ฉะนั้น ท่านจงประกอบเราเถิด อย่าประกอบม้า

ตัวอื่นเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

นายทหารม้าพยุงพระโพธิสัตว์ให้ลุกขึ้นพันแผลแล้ว ผูกสอดเรียบร้อย

นั่งบนหลังของพระโพธิสัตว์นั้น ทำลายกองพลที่ ๗ จับเป็นพระราชาองค์ที่ ๗

แล้วมอบ ให้แก่พลของพระราชา คนทั้งหลายนำแม้พระโพธิสัตว์มายังประตู

พระราชวัง พระราชาเสด็จออกเพื่อทอดพระเนตรพระโพธิสัตว์นั้น พระมหา-

สัตว์ทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าทรงฆ่าพระราชาทั้ง ๗ เลย

จงให้กระทำสบถแล้วปล่อยไป พระองค์จงประทานยศที่จะพึงประทานแก่ข้า-

พระบาทและนายทหารม้า ให้เฉพาะแก่นายทหารม้าเท่านั้น การจับพระราชา

๗ องค์ได้แล้ว ทำทหารผู้กระทำการรบให้พินาศย่อมไม่ควร แม้พระองค์ก็จง

ทรงบำเพ็ญทาน รักษาศีล ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม เมื่อพระโพธิสัตว์ให้

โอวาทแก่พระราชาอย่างนี้แล้ว คนทั้งหลายจึงถอดเกราะของพระโพธิสัตว์ออก

เมื่อเกราะสักว่าถูกถอดออกเท่านั้น พระโพธิสัตว์นั้นดับไปแล้ว. พระราชาทรง

ให้ทำฌาปนกิจสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น ได้ประทานยศใหญ่แก่นายทหารม้า

ทรงให้พระราชาทั้ง ๗ พระองค์ ทรงกระทำสบถเพื่อไม่ประทุษร้ายพระองค์อีก

แล้วทรงส่งไปยังที่ของตน ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ ใน

เวลาสุดสิ้นพระชนมายุ ได้เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน

ได้กระทำความเพียรแม้ในที่อันมิใช่บ่อเกิดอย่างนี้ แม้ได้รับบาดเจ็บเห็น

ปานนี้ ก็ไม่ละความเพียร ส่วนเธอบวชในศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจาก

ทุกข์เห็นปานนี้ เพราะเหตุไร จึงละความเพียรเสีย แล้วทรงประกาศสัจจะทั้ง ๔

ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้ละความเพียรตั้งอยู่ในพระอรหัตผล ฝ่ายพระศาสดาครั้น

ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พระ

ราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ นายทหารม้าในครั้งนั้น ได้

เป็นพระสารีบุตร ส่วนโภชาชานิยสินธพในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.

จบโภชาชานียชาดกที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

๔. อาชัญญชาดก

ว่าด้วยม้าอาชาไนยกับม้ากระจอก

[๒๔] ไม่ว่าเมื่อใด ที่ใด ขณะใด ณ ที่ใด ๆ ณ เวลา

ใด ๆ ม้าอาชาไนยใช้กำลังความเร็ว ม้ากระจอก

ย่อมถอยหนี้.

จบอาชัญญชาดกที่ ๔

๔. อรรถกถาอาชัญญชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ละ

ความเพียรเหมือนกัน จึงตรัสธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยทา ยทา

ดังนี้.

ก็พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุนั้นมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ บัณฑิต

ทั้งหลายในปางก่อน เป็นผู้แม้ได้การประหารทั้งในที่อันมิใช่บ่อเกิด ก็ได้

กระทำความเพียร แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

พระราชา ๗ องค์พากันล้อมพระนครไว้ โดยนัยมีในเรื่องก่อนนั่นแหละ.

ลำดับนั้น นักรบประจำรถคันหนึ่ง เทียมรถมีม้าสินธพพี่น้อง ๒ ตัวออกจาก

พระนคร ทำลายกองพล ๖ กองพล ได้จับพระราชา ๖ องค์ไว้. ขณะนั้น

ม้าผู้พี่ได้รับบาดเจ็บ. สารถีจึงส่งรถมายังประตูพระราชวัง ปลดม้าผู้พี่ชายออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

จากรถ ทำเกราะให้หลวม แล้วให้นอนตะแคงข้างหนึ่ง เริ่มจะสวมเกราะม้า

ตัวอื่น. พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้น จึงคิดโดยนัยเรื่องก่อนนั่นแหละ แล้วให้

เรียกสารถีมา ทั้งที่นอนอยู่นั่นแลได้กล่าวคาถานี้ว่า

ไม่ว่าเมื่อใด ที่ใด ขณะใด ณ ที่ใด ๆ ณ เวลา

ใด ๆ น้ำอาชาไนยใช้กำลังความเร็ว ม้ากระจอกย่อม

ถอยหนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา ยทา ได้แก่ ในกาลใด ๆ ใน

บรรดาเวลาเช้าเป็นต้น. บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในที่ใด คือในหนทาง หรือ

ในสนามรบ. บทว่า ยทา คือ ในขณะใด. บทว่า ยตฺถ ยตฺถ ได้แก่

ในสนามรบเป็นอันมาก เช่นกองพล ๗ กอง. บทว่า ยทา ยทา ได้แก่

ในกาลใด ๆ คือ ในกาลที่ได้รับบาดเจ็บหรือไม่ได้รับ. บทว่า อาชาไนย

กุรุเต เวค ความว่า ม้าอาชาไนย คือ ม้าสินธพตัวประเสริฐ ผู้มีสภาวะรู้

ทั่วถึงเหตุที่จิตของสารถีชอบ ใช้กำลังความเร็ว คือพยายาม ปรารภความเพียร.

บทว่า หายนฺติ ตตฺถ วาฬวา ความว่า เมื่อม้าอาชาไนยนั้นใช้กำลังความ

เร็ว ม้ากระจอกกล่าวคือม้าตัวเมียนอกนี้ย่อมถอยหนี คือ ย่อมล่าถอยไป

เพราะฉะนั้น ท่านจงเทียมเฉพาะเราเท่านั้นในรถคันนี้.

สารถีประคองพระโพธิสัตว์ไห้ลุกขึ้น เทียมแล้วทำลายกองพลที่ ๗ พา

เอาพระราชาองค์ที่ ๗ มา. ขับรถมายังประตูพระราชวังแล้วปลดม้าสินธพ. พระ-

โพธิสัตว์นอนตะแคงข้างหนึ่ง ถวายโอวาทแก่พระราชาโดยนัยเรื่องก่อนนั่นแล

แล้วดับไป. พระราชารับสั่งให้กระทำฌาปนกิจสรีระของพระโพธิสัตว์นั้น แล้ว

กระทำสัมมานะแก่สารถีประจำรถ ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม โดยเสมอ

เสด็จไปตามยถากรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ

ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล. พระศาสดาทรงประชุม

ชาดกว่า พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนทเถระ สารถีได้

เป็นพระสารีบุตร ส่วนม้าได้เป็นเราคือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล.

จบอาชัญญชาดกที่ ๔

๕. ติตถชาดก

ว่าด้วยการเบื่อเพราะซ้ำซาก

[๒๕] ดูก่อนนายสารถี ท่านจงยังม้าให้อาบ

และดื่มน้ำที่ท่าโน้นบ้าง ท่านี้บ้าง แม้ข้าวปายาสที่

บริโภคบ่อยครั้ง คนก็ยังอิ่มได้.

จบ ติตถชาดกที่ ๕

๕. อรรถกถาติฏฐชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้เคย

เป็นช่างทองรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดี จึงตรัสพระ-

ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อญฺมญฺเหิ ติฏฺเหิ ดังนี้.

๑. บาลีเป็น ติตถชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

ก็อาสยานุสยญาณย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ย่อมไม่มีแก่

คนอื่น เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนาบดีจึงไม่รู้อาสยะคืออัธยาศัย และอนุสัย

คือกิเลสอันเนื่องอยู่ในสันดานของสัทธิวิหาริก เพราะความที่คนไม่มีอาสยานุ

สยญาณ จึงบอกเฉพาะอสุภกรรมฐานเท่านั้น อสุภกรรมฐานนั้นไม่เป็นสัปปายะ

แก่สัทธิวิหาริกนั้น. เพราะเหตุไร เพราะได้ยินว่า สัทธิวิหาริกของพระธรรม

เสนาบดีนั้น ถือปฏิสนธิในเรือนของช่างทองเท่านั้น ถึง ๕๐๐ ชาติ เมื่อเป็น

เช่นนั้น อสุภกรรมฐานจึงไม่เป็นสัปปายะแก่สัทธิวิหาริกนั้น เพราะเป็นผู้เคย

ชินต่อการเห็นทองคำบริสุทธิ์เท่านั้น เป็นเวลานานี้ สัทธิวิหาริกนั้น ไม่อาจทำ

แม้มาตรว่านิมิตให้เกิดขึ้นในกรรมฐานนั้น ให้เวลาสิ้นไป ๔ เดือน. พระธรรม

เสนาบดีเมื่อไม่อาจให้พระอรหัตแก่สัทธิวิหาริกของตน จึงคิดว่า ภิกษุนี้

จักเป็นพุทธเวไนยแน่นอน เราจักนำไปยังสำนักของพระตถาคต จึงพาสัทธิ-

วิหาริกนั้น ไปยังสำนักของพระศาสดาด้วยตนเอง แต่เช้าตรู่. พระศาสดาตรัส

ถามว่า สารีบุตร เธอพาภิกษุรูปหนึ่งมาหรือหนอ. พระสารีบุตรกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ให้กรรมฐานแก่ภิกษุนี้ แก่ภิกษุนี้ไม่อาจ

ทำแม้มาตรว่านิมิตให้เกิดขึ้น โดยเวลา ๔ เดือน ข้าพระองค์นั้นคิดว่า ภิกษุ

นี้จักเป็นพุทธเวไนยผู้ที่พระพุทธเจ้าจะพึงทรงแนะนำ จึงได้พามายังสำนักของ

พระองค์ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า สารีบุตร เธอให้กรรมฐาน

ชนิดไหนแก่สัทธิวิหาริกของเธอ ? พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ข้าพระองค์ให้อสุภกรรมฐาน พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า

สารีบุตร เธอไม่มีญาณเครื่องรู้อัธยาศัยและอนุสัยของสัตว์ทั้งหลาย เธอไป

ก่อนเถิด เวลาเย็นเธอมา พึงพาสัทธิวิหาริกของเธอมาด้วย. พระศาสดา

ทรงส่งพระเถระไปอย่างนี้แล้ว ได้ให้ผ้านุ่งและจีวรอันน่าชอบใจแก่ภิกษุนั้น

แล้วทรงพาภิกษุนั้นเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน ให้ของเคี้ยวของฉันอันประณีต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่กลับ มายังพระวิหารอีก ทรงยังเวลาส่วนกลางวัน

ให้สิ้นไปในพระคันธกุฎี พอเวลาเย็น ทรงพาภิกษุนั้นเที่ยวจาริกไปในวิหาร

แล้วทรงนิรมิตสระโบกขรณีสระหนึ่งในอัมพวัน แล้วทรงนิรมิตกอปทุม

ใหญ่ในสระโบกขรณีนั้น และทรงนิรมิตดอกปทุมใหญ่ดอกหนึ่งในกอปทุม

แม้นั้น แล้วรับสั่งให้นั่งลงด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุ เธอจงนั่งแลดูดอกปทุม

นี้ แล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฎี. ภิกษุนั้นแลดูดอกปทุมนั้นบ่อย ๆ. พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงให้ดอกปทุมนั้นเหี่ยว. ดอกปทุมนั้น เมื่อภิกษุนั้นแลดูอยู่

นั่นแหละได้เหี่ยวเปลี่ยนสีไป ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น กลีบของดอกปทุมนั้นก็

ร่วงไปตั้งแต่รอบนอก ได้ร่วงไปหมดโดยครู่เดียว. แต่นั้น เกสรก็ร่วงไป

เหลืออยู่แต่ผักบัว. ภิกษุนั้น เห็นอยู่ตั้งนั้นจึงคิดว่า ดอกปทุมนี้ได้งดงามน่าดู

อยู่เดียวนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น สีของมันก็แปรไป กลีบและเกสรร่วงไป ตั้งอยู่

แต่เพียงผักบัวเท่านั้น ความชราถึงแก่ดอกปทุมชื่อเห็นปานนี้ อย่างไรจักไม่

ถึงร่างกายของเรา สังขาร ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ จึงเริ่มเจริญวิปัสสนา พระ-

ศาสดาทรงทราบว่า จิตของภิกษุนั้น ขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว ประทับอยู่ในพระ

คันธุฎีนั่นแล ทรงเปล่งโอภาสแสงสว่างไป แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

เธอจงตัดความสิเนหาของตนเสีย เหมือนคน

ตัดดอกโกมุทอันเกิดในสารทกาล เธอจงพอกพูนทาง

แห่งความสงบ เพราะพระนิพพาน ตถาคตแสดงไว้

แล้ว.

ในเวลาจบคาถา ภิกษุนั้นบรรลุพระอรหัตแล้วคิดว่า เราเป็นผู้พ้น

แล้วหนอจากภพทั้งปวง จึงเปล่งอุทานด้วยคาถาทั้งหลายมีอาทิว่า

เรานั้น มีธรรมเครื่องอยู่อันอยู่จบแล้ว มีฉันทะ

ในใจบริบูรณ์แล้ว มีอาสวะสิ้นไปแล้ว ทรงไว้ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

ร่างกายครั้งสุดท้าย มีศีลบริสุทธิ์ มีอินทรีย์ตั้งมั่น

ด้วยดี ที่สุดพ้นแล้ว เหมือนพระจันทร์พ้นจากปาก

ของราหูฉะนั้น เราบรรเทามลทินทั้งปวงอันกระทำ

ความมืด ซึ่งมืดมนอนธถารเพราะโมหะได้เด็ดขาด

เหมือนพระอาทิตย์มีรัศมีตั้งพัน ผู้สร้างแสงสว่าง ทำ

ความโซติช่วงด้วยแสงสว่างในท้องฟ้าฉะนั้น.

ก็แหละครั้นเปล่งอุทานแล้ว จึงมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ฝ่ายพระเถระ

ก็มาถวายบังคมพระศาสดาแล้วได้พาสัทธิวิหาริกของตนไป. ข่าวนี้เกิดปรากฏ

ในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุทั้งหลายนั่งพรรณนาพระคุณของพระทศพลอยู่

ในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย พระสารีบุตรเถระไม่รู้อัธยาศัยของ

สัทธิวิหาริกของตน เพราะไม่มีอาสยานุสยญาณ แต่พระศาสดาทรงทราบ ได้

ประทานพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแก่ภิกษุนั้น โดยวันเดียวเท่านั้น โอ!

ชื่อว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีอานุภาพมาก พระศาสดาเสด็จมาแล้วประทับ

นั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไร ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พวกข้าพระองค์นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอื่นหามิได้ แต่นั่งสนทนากันด้วยเรื่อง

พระญาณเครื่องรู้อัธยาศัย และอนุสัยแห่ง สัทธิวิหาริกของพระธรรม เสนาบดี

เฉพาะของพระองค์เท่านั้น. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ไม่

น่าอัศจรรย์ บัดนี้ เรานั้นเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ย่อมรู้อัธยาศัยของภิกษุนั้น

แม้ในกาลก่อน เราก็รู้อัธยาศัยของภิกษุนั้นเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทาน

มา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์อนุศาสน์อรรถและธรรมกะพระราชาพระองค์นั้น. ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

กาลนั้น พวกคนเลี้ยงม้าให้ม้ากระจอกขาเขยกอาบก่อนกว่าม้าอื่น ณ ท่าที่ม้า

มงคลของพระราชาอาบ. ม้ามงคลถูกให้ลงท่าที่ม้ากระจอกอาบ จึงเกลียดไม่

ปรารถนาจะลง คนเลี้ยงม้ามากราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ม้า

มงคลไม่ปรารถนาจะลงท่าน้ำ พระเจ้าข้า. พระราชาทรงสั่งพระโพธิสัตว์ไปว่า

ดูก่อนบัณฑิต ท่านจงไป จงรู้ว่า เพราะเหตุไร ม้าถูกเขาให้ลงท่าน้ำจึงไม่

ลง. พระโพธิสัตว์ทูลรับพระบัญชาแล้วไปยังฝั่งแม่น้ำ ตรวจดูม้าก็รู้ว่าม้าไม่มี

โรค จึงใคร่ครวญว่า เพราะเหตุไรหนอ ม้านี้จึงไม่ลงท่าน จึงคิดว่า ม้าอื่น

จักถูกอาบที่ท่านี้ก่อน ด้วยเหตุนั้น ม้านั้นเห็นจะรังเกียจจึงไม่ลงท่า แล้วถาม

พวกคนเลี้ยงม้าว่า ท่านผู้เจริญ ที่ท่านี้ท่านทั้งหลายให้ม้าอะไรอาบก่อน พวก

คนเลี้ยงม้ากล่าวว่า ข้าแต่นายให้ม้ากระจอกอาบก่อนกว่าม้าอื่น. พระโพธิสัตว์

รู้อัธยาศัยของม้านั้นว่า ม้านี้รังเกียจจึงไม่ปรารถนาจะอาบที่ท่านี้ เพราะตน

เป็นสัตว์มี (คุณ) สมบัติ การให้ม้านี้อาบในท่าอื่น จึงจะควร จึงกล่าวว่า

ท่านผู้เลี้ยงม้าผู้เจริญ แม้ข้าวปายาสที่ปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย

เมื่อบุคคลบริโภคบ่อย ๆ ก่อน ย่อมมีความเบื่อ ม้านี้อาบที่ท่านให้ลายครั้ง

เบื้องต้น พวกท่านจงให้ม้านั้น ลงยังท่าแม้อื่น แล้วให้อาบและดื่ม จึงกล่าวคาถา

นี้ว่า

ดูก่อนนายสารถี ท่านจงยังม้าให้อาบและดื่มที่

ท่าโน้นท่านี้บ้าง แม้ข้าวปายาสที่บริโภคบ่อยครั้ง คน

ย่อมอิ่มได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺมญฺเหิ แยกศัพท์ออกเป็น

อญฺเหิ อญฺเหิ แปลว่า อื่น ๆ. บทว่า ปาเยหิ (แปลว่าจงให้ดื่ม) นี้

เป็นหัวข้อเทศนา อธิบายว่า จงให้อาบและให้ดื่ม. บทว่า อจฺจาสนสฺส นี้

เป็นฉัฏฐีวิภัติใช้ในอรรถแห่งตติยาวิภัติ อธิบายว่า กินยิ่ง คือบริโภคยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

บทว่า ปายาสสฺสปิ ตปฺปติ ความว่า ย่อมอิ่มคือเป็นผู้อิ่ม เป็นผู้ที่เขา

เลี้ยงดูอิ่มแล้ว แม้ด้วยข้าวมธุปายาสที่ปรุงด้วยเนยใสเป็นต้น ย่อมไม่ถึงความ

เป็นผู้ต้องการบริโภคอีก เพราะฉะนั้นม้าแม้นี้ก็จักถึงความพอ เพราะการอาบ

ประจำที่ท่านี้ ท่านจงให้อาบที่ท่าอื่นเถิด.

คนเลี้ยงม้าเหล่านั้น ได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว จึงให้ม้าลงท่า

อื่น ให้ดื่มและให้อาบ ในเวลาที่ม้าดื่มน้ำแล้วอาบ พระโพธิสัตว์ได้มายัง

สำนักของพระราชา. พระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ ม้าอาบและดื่มแล้วหรือ

พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ. พระราชาตรัสถามว่า

ทีแรก เพราะเหตุไร ม้าจึงไม่ปรารถนา? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่

สมมติเทพ เพราะเหตุชื่อแม้นี้ แล้วกราบทูลเหตุทั้งปวง พระราชาตรัสว่า โอ!

ท่านบัณฑิตย่อมรู้อัธยาศัยชื่อแม้ของสัตว์ดิรัจฉานเห็นปานั้น แล้วประทาน

ยศใหญ่แก่พระโพธิสัตว์ ในเวลาสิ้นอายุ ได้เสด็จไปตามยถากรรมแล้ว ฝ่าย

พระโพธิสัตว์ก็ไปตามยถากรรมเหมือนกัน.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรารู้อัธยาศัยของภิกษุนี้ใน

บัดนี้ เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็รู้เหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรม

เทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ม้านงคลในกาลนั้น.

ได้เป็นภิกษุรูปนี้ พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ ส่วน

อำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคตแล.

จบติฏฐชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

๖. มหิลามุขชาดก

ว่าด้วยการเสี้ยมสอน

[๒๖] พระยาช้างชื่อมหิลามุข ได้เที่ยวทุบตีคน

เพราะได้คำของพวกโจรมาก่อน พระยาช้างผู้อุดมตั้ง

อยู่ในคุณทั้งปวง เพราะได้ฟังคำของท่านผู้สำรวมดี

แล้ว.

จบมหิลามุขชาดกที่ ๖

๖. อรรถกถามหิลามุขชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับ อยู่ในพระวิหารเวฬุวัน ทรงปรารภพระเทวทัต

จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า โปราณโจราน วโจ นิสมฺม

ดังนี้

ความพิศดารว่า พระเทวทัตทำให้อชาตศัตรูกุมารเลื่อมใสแล้ว ยัง

ลาภสักการะให้เกิดขึ้น อชาตศัตรูกุมารให้สร้างวิหารที่ตำบลคยาสีสะเพื่อพระ-

เทวทัต แล้วนำไปเฉพาะโภชนะข้าวสาลีมีกลิ่นหอมซึ่งเก็บไว้ ๓ ปี วันละ ๕๐๐

สำรับ โดยรสเลิศต่างๆ เพราะอาศัยลาภสักการะ. บริวารของพระเทวทัตจึง

ใหญ่ขึ้น พระเทวทัตพร้อมทั้งบริวารอยู่ในวิหารนั่นแหละ. สมัยนั้น มีสหาย ๒

คนผู้เป็นชาวเมืองราชคฤห์ ในสองสหายนั้น คนหนึ่งบวชในสำนักของพระ-

ศาสดา คนหนึ่งบวชในสำนักของพระเทวทัต สหายทั้งสองนั้นย่อมเห็นกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

และกันแม้ในที่นั้นๆ แม้ไปวิหารก็ยังเห็นกัน อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นนิสิต

ของพระเทวทัตกล่าวกะภิกษุนอกนี้ว่า ผู้มีอายุ ท่านจะเที่ยวบิณฑบาตมีเหงื่อ

ไหลอยู่ทุกวัน ๆ ทำไม ท่านนั่งในวิหารที่ตำบลคยาสีสะเท่านั้น จะได้บริโภค

โภชนะดีด้วยรสเลิศต่างๆ ข้าวปายาสเห็นปานนี้ไม่มีในวิหารนี้ ท่านจะมัวเสวย

ทุกข์อยู่ทำไม ประโยชน์อะไรแก่ท่านการมายังคยาสีสะแต่เช้าตรู่แล้วดื่มข้าวยาคู

พร้อมด้วยแกงอ่อม เคี้ยวของควรเคี้ยว ๑๘ ชนิด แล้วบริโภคโภชนะดีด้วย

รสเลิศต่าง ๆ ไม่ควรหรือ ภิกษุนั้นถูกพูดบ่อย ๆ เป็นผู้ประสงค์จะไป จำเดิม

แต่นั้น จึงไปยังคยาสีสะบริโภคแล้วก็มายังพระเวฬุวันต่อเมื่อเวลาสาย ภิกษุนั้น

ไม่อาจปกปิดไว้ได้ตลอดไป ไม่ช้านัก ข่าวก็ปรากฏว่า ภิกษุนั้นไปคยาสีสะ

บริโภคภัตที่เขาอุปัฏฐากพระเทวทัต. ลำดับนั้น สหายทั้งหลายพากันถามภิกษุ

นั้น ว่าผู้มีอายุ ได้ยินว่า ท่านบริโภคภัตที่เขาอุปัฏฐากแก่พระเทวทัตจริงหรือ ?

ภิกษุนั้น กล่าวว่า ใครกล่าวอย่างนี้ สหายเหล่านั้นกล่าวว่า คนโน้นและคน

โน้นกล่าว ภิกษุนั้นกล่าวว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไปยังคยาสีสะบริโภคจริง

แต่พระเทวทัตไม่ได้ให้ภัตแก่ผม คนอื่น ๆ ให้. ภิกษุผู้สหายกล่าวว่า ผู้มีอายุ

พระเทวทัตเป็นเสี้ยนหนามต่อพระพุทธเจ้า เป็นผู้ทุศีล ยังพระเจ้าอชาตศัตรู

ให้เลื่อมใส แล้วยังลาภสักการะให้เกิดแก่คนโดยไม่ชอบธรรม ท่านบวชใน

ศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้ แล้วบริโภคโภชนะอันเกิดขึ้น

แก่พระเทวทัตโดยไม่ชอบธรรมเลย มาเถอะ เราทั้งหลายจักน้ำท่านไปยัง

สำนักของพระศาสดา แล้วพาภิกษุนั้นมายังโรงธรรมสภา พระศาสดาพอทรง

เห็นภิกษุนั้นเท่านั้นจึงตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพาภิกษุนี้ ผู้ไม่

ปรารถนา มาแล้วหรือ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ภิกษุนี้บวชในสำนักของพระองค์ แล้วบริโภคโภชนะอันเกิดขึ้นแก่

พระเทวทัต โดยไม่ชอบธรรม พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

เธอบริโภคโภชนะอันเกิดแก่พระเทวทัต โดยไม่ชอบธรรมจริงหรือ ? ภิกษุนั้น

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเทวทัต ไม่ได้ให้ภัตแก่ข้าพระองค์

คนอื่น ๆ ให้แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จึงบริโภคภัตนั้น พระศาสดาตรัสว่า

ภิกษุ เธออย่ากระทำการหลีกเลี้ยงในเรื่องนี้ พระเทวทัตเป็นผู้ไม่มีอาจาระ

เป็นผู้ทุศีล เธอบวชในศาสนานี้แล้ว คบหาศาสนาของเราอยู่นั้นแล ยังบริโภค

ภัตของพระเทวทัตได้อย่างไรเล่า เธอมีปกติคบหาอยู่แม้เป็นนิคยกาล ก็ยังคบ

หาพวกคนที่เห็นแล้ว ๆ ครั้นตรัสแล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี

พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัตนั้น ในกาลนั้น ช้างมงคล

ของพระเจ้าพรหมทัตชื่อว่ามหิลามุข เป็นช้างมีศีล สมบูรณ์ด้วยอาจาระมารยาท

ไม่เบียดเบียนใครๆ อยู่มาวันหนึ่ง โจรทั้งหลายมา ณ ที่ใกล้โรงช้างนั้น ใน

ลำดับกาลอันเป็นส่วนราตรี นั่งปรึกษาการลักอยู่ในที่ไม่ไกลช้างนั้นว่าต้อง

ทำลายอุโมงค์อย่างนี้ ต้องกระทำการตัดช่องย่องเบาอย่างนี้ การกระทำอุโมงค์

และการตัดช่องย่องเบาให้ปราศจากรกชัฏ ให้ปราศจากพุ่มไม้ เช่นกับหนทาง

เช่นกับท่าน้ำ แล้วลักเอาสิ่งของไปจึงจะควร บุคคลผู้เมื่อจะลัก ต้องฆ่า และ

ต้องประหารแล้วจึงลัก เมื่อเป็นอย่างนี้ ชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะลุกขึ้น (ต่อสู้)

จักไม่มี อันธรรมดาว่า โจรต้องเป็นผู้ไม่ประกอบด้วยศีลและอาจาระต้องเป็น

คนกักขฬะ หยาบช้า ป่าเถื่อน ครั้นปรึกษากันอย่างนี้แล้ว จึงให้กันและกัน

เรียนเอาแล้วได้พากันไป พวกโจรพากันมาปรึกษาในที่นั้น โดยนัยนี้นั่นแหละ

หลายวัน คือ แม้ในวันรุ่งขึ้น แม้ในวันรุ่งขึ้น. ช้างได้ฟังคำของโจรเหล่านั้น

สำคัญว่า ให้เราสำเหนียก จึงคิดว่าบัดนี้ เราต้องเป็นผู้กักขฬะ หยาบช้า.

ป่าเถื่อน จึงได้เป็นผู้เห็นปานนั้น เอางวงจับคนเลี้ยงช้างผู้มาแต่เช้าตรู่ฟาดที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

พื้นดินให้ตาย ฆ่าคนที่มาแล้ว ๆ คือ แม้คนหนึ่งๆ พวกราชบุรุษจึงกราบทูล

แด่พระราชาว่า ช้างมหิลามุขเป็นบ้า ฆ่าคนที่พบเห็นแล้ว ๆ พระเจ้าข้า. พระ

ราชาทรงส่งพระโพธิสัตว์ไปด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนบัณฑิต เธอจงไป จงรู้

ว่า ช้างนั้น ดุร้าย เพราะเหตุไร. พระโพธิสัตว์ไปแล้วรู้ว่าช้างนั้นไม่มีโรคใน

ร่างกายจึงคิดว่า เพราะเหตุไรหนอ ช้างนี้จึงเกิดเป็นช้างดุร้าย เมื่อใคร่ครวญ

ไปจึงสันนิษฐานว่า ช้างนี้ได้ฟังคำของใครๆ ในที่ไม่ไกล สำคัญว่าคนเหล่านี้

ให้เราสำเหนียก จึงเป็นช้างดุร้ายแน่นอนจึงถามพวกคนเลี้ยงช้างว่าคนบางพวก

เคยกล่าวคำอะไรในตอนกลางคืน ณ ที่ใกล้ช้าง มีอยู่หรือหนอ ? พวกคนเลี้ยง

ช้างกล่าวว่า ขอรับ นาย พวกโจรพากันมากล่าว. พระโพธิสัตว์จึงไปกราบทูล

แด่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ความพิการไม่มีในร่างกายแห่งช้างของหลวง

ช้างนั้นเกิดเป็นช้างดุร้าย เพราะได้พึงถ้อยคำของพวกโจรพะยะค่ะ. พระราชา

ตรัสถามว่า บัดนี้ควรจะทำอย่างไร ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า นิมนต์สมณ-

พราหมณ์ผู้มีศีลให้นั่งในโรงช้างแล้วกล่าวถึงศีลและอาจาระ จงจะควรพะยะค่ะ

พระราชาตรัสว่า จงการทำอย่างนั้นเถิด พ่อ. พระโพธิสัตว์จึงนิมนต์สมณ-

พราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีลไห้นั่งในโรงช้างแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่าน

ทั้งหลายจงกล่าวศีลกถาว่าด้วยเรื่องศีล สมณพราหมณ์เหล่านั้นนั่งในที่ไม่ไกล

ช้าง พากันกล่าวศีลกถาว่า ไม่พึงปรามาสจับต้อง ไม่พึงด่าใคร ๆ ควรเป็น

ผู้เพียบพร้อมด้วยศีลและอาจาระ เป็นผู้ประกอบด้วยขันติ เมตตา และความ

เอ็นดู ช้างนั้นได้ฟังดังนั้นคิดว่า สมณพราหมณ์เหล่านี้ให้เราศึกษาสำเหนียก

จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราควรเป็นผู้มีศีล แล้วได้เป็นผู้มีศีลแล้วหรือ ? พระโพธิ-

สัตว์กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ พระราชาตรัสว่า ช้างดุร้ายชื่อ

เห็นปานนี้ อาศัยบัณฑิตทั้งหลายจึงตั้งอยู่ในธรรมอันเป็นของเก่าได้ แล้วได้

กล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

พระยาช้างชื่อมหิลามุขได้เที่ยวทุบตีคนเพราะ

ได้ฟังคำของพวกโจรมาก่อน พระยาช้างผู้อุดมตั้งอยู่

ในคุณทั้งปวงก็เพราะได้ฟังคำของท่านผู้สำรวมดีแล้ว.

ก็เพราะได้ฟังคำของท่านผู้สำรวมดีแล้ว บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

โปราณโจราน ได้แก่พวกโจรรุ่นเก่าก่อน บทว่า นิสมฺม ได้แก่ เพราะ

ฟัง อธิบายว่า เพราะได้ฟังคำของพวกโจรมาก่อน. บทว่า มหิลามุโข

แปลว่า มีหน้าเช่นกับหน้าช้างพัง อีกอย่างหนึ่ง. ช้างพังเมื่อแลดูข้างหน้าจึง

จะงาม แลดูข้างหลังไม่งามฉันใด ช้างแม้นั้นก็ฉันนั้น เมื่อแลดูข้างหน้า

จึงจะงาม เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อช้างนั้นว่า มหิลามุข. บทว่า

โปถยมานุจารี ความว่า เที่ยวติดตามโบยอยู่ คือ ฆ่าอยู่ อีกอย่างหนึ่ง

พระบาลีก็อย่างนี้แหละ. บทว่า สุสญฺตาน ได้แก่ ผู้สำรวมด้วยดี คือ

มีศีล. บทว่า คชุตฺตโม ได้แก่ ช้างอุดม คือ ช้างมงคล. บทว่า

สพฺพคุเณสุ อฏฺ ได้แก่ ตั้งอยู่เฉพาะในคุณเก่าทั้งปวง.

พระราชาทรงพระดำริว่า พระโพธิสัตว์รู้อัธยาศัยแม้ของสัตว์ดิรัจ-

ฉานทั้งหลาย จึงได้พระราชทานยศใหญ่ให้ พระราชานั้นทรงดำรงอยู่ตราบชั่ว

พระชนมายุ ได้ไปตามยถากรรมพร้อมกับพระโพธิสัตว์.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อน เธอก็คบหาคนที่พบ

เห็นแล้ว ๆ เหมือนกัน เพราะได้ฟังถ้อยคำของสมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในธรรม

จึงได้คบหาท่านผู้ตั้งอยู่ในธรรม ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่อ

อนุสนธิแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า ช้างมหิลามุขในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุ

ผู้ซ่องเสพฝ่ายตรงข้ามในบัดนี้ พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นพระ-

อานนท์ ในบัดนี้ ส่วนอำมาตย์ในครั้งนั้น ได้เป็นเราคือพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าแล.

จบมหิลามุขชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

๗. อภิณหชาดก

ว่าด้วยการเห็นกันบ่อย ๆ

[๒๗] พระยาช้างไม่สามารถจะรับเอาคำข้าว

ไม่สามารถจะรับเอาก้อนข้าว ไม่สามารถจะรับเอาหญ้า

ทั้งหลาย ไม่สามารถจะขัดสีกาย ข้าพระบาทสำคัญ

ว่า พระยาช้างตัวประเสริฐ ได้ทำความรักใคร่ในสุนัข

เพราะได้เห็นกันเนื่อง ๆ.

จบอภิณหชาดกที่ ๗

๗. อรรถกถาอภิณหชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภอุบาสกคน

หนึ่งกับพระเถระแก่ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาล กพล

ปทาตเว ดังนี้.

ได้ยินว่า ในนครสาวัตถีมีสหาย ๒ คน บรรดาสหายทั้งสองนั้น

คนหนึ่งบวชแล้วได้ไปยังเรือนของสหายนอกนี้ทุกวัน สหายนั้นได้ถวายภิกษา

แก่ภิกษุผู้สหายนั้น แม้ตนเองก็บริโภคแล้ว ได้ไปวิหารพร้อมกับภิกษุผู้สหาย

นั้นนั่นแหละ นั่งสนทนาปราศัยอยู่จนพระอาทิตย์อัสดง จึงกลับเข้าเมือง.

ฝ่ายภิกษุผู้สหายนอกนี้ก็ตามสหายนั้นไปจนถึงประตูเมืองแล้วก็กลับ. ความ

คุ้นเคยของสหายทั้งสองนั้น เกิดปรากฏในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. อยู่มาวันหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลายนั่งกล่าวถึงความคุ้นเคยของสหายทั้งสองนั้น ในโรงธรรมสภา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายบัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนา

กันด้วยกถาเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ด้วยกถาเรื่องชื่อนี้

พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย สหายทั้งสองนี้เป็นผู้คุ้นเคยกัน

แต่ในบัดนี้ เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นผู้คุ้นเคยกันเหมือนกัน

แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. ในกาลนั้น

สุนัขตัวหนึ่งไปยังโรงช้างมงคลกินเมล็ดข้าวสุกแห่งภัตที่ตกอยู่ในที่ที่ช้างมงคล

บริโภค สุนัขนั้นเติบโตด้วยโภชนะนั้นนั่นแล จึงเกิดความคุ้นเคยกับช้างมงคล

บริโภคอยู่ในสำนักของช้างมงคลนั้นเอง. สัตว์แม้ทั้งสองไม่อาจเป็นไปเว้นจาก

กัน. ช้างนั้น เอางวงจับสุนัขนั้นไสไปไสมาเล่น ยกขึ้นวางบนกระพองบ้าง.

อยู่มาวันหนึ่ง มนุษย์ชาวบ้านคนหนึ่งให้มูลค่าแก่คนเลี้ยงช้าง แล้วได้พาเอา

สุนัขนั้นไปบ้านของตน ตั้งแต่นั้น ช้างนั้นเนื้อไม่เห็นสุนัขก็ไม่กิน ไม่ดื่ม

ไม่อาบ พวกคนเลี้ยงช้างจึงกราบทูลเรื่องนั้นแก่พระราชา พระราชาทรงสั่ง

พระโพธิสัตว์ไปด้วยพระดำรัสว่า บัณฑิต ท่านจงไป จงรู้ว่า เพราะเหตุไร

ช้างจึงกระทำอย่างนั้น พระโพธิสัตว์ไปยังโรงช้าง รู้ว่าช้างเสียใจ คิดว่า

โรคไม่ปรากฏในทั้งกายของช้างนี้ ก็ความสนิทสนมฐานมิตรกับใครๆ จะพึงมี

แก่ช้างนั้น ช้างนั้น เห็นจะไม่เห็นมิตรนั้น จึงถูกความโศกครอบงำ ครั้นคิด

แล้ว จึงถามพวกคนเลี้ยงช้างว่า ความคุ้นเคยกับใครๆ ของช้างนี้ มีอยู่หรือ ?

พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า มีจ้ะนาย ช้างนี้ถึงความคุ้นเคยกันมากกับสุนัขตัวหนึ่ง

พระโพธิสัตว์ถามว่า บัดนี้ สุนัขตัวนั้นอยู่ที่ไหน ? พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า

ถูกมนุษย์คนหนึ่งนำไป พระโพธิสัตว์ถามว่า ก็ที่เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์คน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

นั้น พวกท่านรู้จักไหม ? พวกคนเลี้ยงช้างกล่าวว่า ไม่รู้จักดอกนาย. พระ-

โพธิสัตว์ได้ไปยังสำนักของพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ อาพาธ

ไร ๆ ของช้างไม่มี แต่ช้างนั้นมีความคุ้นเคยอย่างแรงกล้ากับสุนัขตัวหนึ่ง

ช้างนั้นเห็นจะไม่เห็นสุนัขนั้นจึงไม่บริโภค แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

พระยาช้างไม่สามารถจะรับเอาคำข้าว ไม่

สามารถจะรับเอาก้อนข้าว ไม่สามารถจะรับเอาหญ้า

ไม่สามารถจะขัดสีกาย ข้าพระบาทมาสำคัญว่า พระยา

ช้างตัวประเสริฐได้ทำความรักใคร่ในสุนัข เพราะได้

เห็นกันเนือง ๆ.

บรรดาบทเหล่ๆนั้น บทว่า นาล แปลว่า ไม่สามารถ. บทว่า

กพล ได้แก่ คำข้าวที่ให้เฉพาะทีแรก ในเวลาบริโภค. บทว่า ปทาตเว

แปลว่า เพื่อรับเอา. พึงทราบการลบ อา อักษร เนื่องด้วยวิธีสนธิการเชื่อม

ศัพท์. อธิบายว่า เพื่อถือเอา. บทว่า น ปิณฺฑ ได้แก่ ไม่สามารถเพื่อ

รับเอาแม้ก้อนภัตที่เขาปั้นให้. บทว่า ห กุเส ได้แก่ ไม่สามารถรับเอาแม้

หญ้าทั้งหลายที่เข้าให้กิน. บทว่า น ฆสิตุ ความว่า ให้อาบอยู่ก็ไม่สามารถ

จะขัดสีแม้ร่างกาย. พระโพธิสัตว์กราบทูลแด่พระะราชาถึงเหตุทั้งปวงที่ช้านั้น

ไม่สามารถจะกระทำ อย่างนี้แล้ว เมื่อจะกราบทูลถึงเหตุที่ตนกำหนด ใน

เพราะช้างนั้น ไม่สามารถ จึงกราบทูลคำมีอาทิว่า มญฺามิ ข้าพระบาท

สำคัญว่า ดังนี้.

พระราชาทรงสดับคำของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า ดูก่อน

บัณฑิต บัดนี้ควรกระทำอย่างไร ? พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ

ได้ยินว่า มนุษย์ผู้หนึ่งพาเอาสุนัข ผู้เป็นสหายของช้างมงคลแห่งข้าพระบาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

ทั้งหลายไป ขอพระองค์จงให้คนเที่ยวตีกลองประกาศว่า ชนทั้งหลายแม้

เห็นสุนัขนั้น ในเรือนของคนใด คนนั้นจะมีสินไหมชื่อนี้ ดังนี้ พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงให้กระทำอย่างนั้น. บุรุษนั้น ได้สดับข่าวนั้นจึงปล่อยสุนัข สุนัข

นั้นรีบไปได้ไปยังสำนักของช้างทีเดียว. ช้างเอางวงจับสุนัขนั้น วางบนกระพอง

ร้องไห้ร่ำไรแล้วเอาลงจากกระพอง เมื่อสุนัขนั้นบริโภค คนจึงบริโภคภายหลัง

พระราชาทรงพระดำริว่า พระโพธิสัตว์รู้อัธยาศัยของสัตว์ดิรัจฉาน จึงได้

ประทานยศใหญ่แก่พระโพธิสัตว์.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสองรูปนี้เป็นผู้คุ้นเคย

กันในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้เป็นผู้คุ้นเคยกันมาแล้ว ครั้น

ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงเปลี่ยนแสดงด้วยกถาว่าด้วยสัจจะ ๔

ทรงสืบอนุสนธิ แล้วทรงประชุมชาดก. ชื่อว่าการเปลี่ยนมาแสดงกถาว่าด้วย

สัจจะ ๔ นี้ ย่อมมีแม้ทุกชาดกทีเดียว แต่เราทั้งหลายจักแสดงการเปลี่ยนกลับ

มาแสดงกถาว่าด้วยอริยสัจ ๔ เฉพาะในชาดกที่ปรากฏอานิสงส์แก่บุคคลนั้น

เท่านั้นแล. สนัขในกาลนั้น ได้เป็นอุบาสกในบัดนี้ ช้างในกาลนั้น

ได้เป็นพระเถระแต่ในบัดนี้ พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์

ในบัดนี้ ส่วนบัณฑิตผู้เป็นอำมาตย์ได้เป็นเราแล.

จบอภิณหชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

๘. นันทิวิสาลชาดก

ว่าด้วยการพูดดี

[๒๘] บุคคลพึงกล่าวแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่

พึงกล่าวคำที่ไม่น่าพอใจในกาลไหน ณ เมื่อพราหมณ์

กล่าวคำน่าพอใจ คนนันทิวสาลได้ลากเอาภาระอัน

หนักไปได้ ทำพราหมณ์ผู้นั้นไห้ได้ทรัพย์ด้วย ตนเอง

เป็นผู้ปลื้มใจเพราะการช่วยเหลือนั้นด้วย.

จบนันทิวิสาลชาดกที่ ๘

๘. อรรถกถานันทิวิสาลชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการพูด

เสียดแทงให้เจ็บใจ ของพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ

เริ่มต้นว่า มนุญฺเมว ภาเสยฺย ดังนี้.

ความพิศดารว่า สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์เมื่อกระทำการทะเลาะ

ย่อมขู่ ย่อมตะเพิด ย่อมทิ่มแทง ย่อมด่าด้วยเรื่องสำหรับด่า ๑๐ ประการ

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้

เรียกภิกษุฉัพพัคคีย์มาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่าพวกเธอ

กระทำการทะเลาะจริงหรือ ? เมื่อพวกภิกษุฉัพพัคคีย์กราบทูลว่า จริง พระเจ้า

ข้า จึงทรงติเตียนแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าวาจาหยาบกระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

แต่ความฉิบหายให้ ไม่เป็นที่พอใจแม้แห่งสัตว์ดิรัจฉาน แม้ในกาลก่อน

สัตว์ดิรัจฉานตัวหนึ่ง ย่อมยังคนผู้ร้องเรียกตนด้วยคำหยาบให้พ่ายแพ้ด้วย

ทรัพย์พันหนึ่ง แล้วจึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่าคันธาระ ครองราชสมบัติอยู่ใน

เมืองตักกศิลา แคว้นคันธาระ พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดโค. ครั้งในกาล

ที่พระโพธิสัตว์เป็นลูกโคหนุ่มนั่งเอง พราหมณ์คนหนึ่งได้พระโพธิสัตว์นั้น

จากสำนักของทายกผู้ให้ทักษิณา ตั้งชื่อว่านันทิวิสาล แล้วตั้งไว้ในฐานะบุตร

รักใคร่มาก ให้ข้าวยาคูและภัตเป็นต้นบำรุงเลี้ยงแล้ว. พระโพธิสัตว์เจริญวัย

แล้ว คิดว่า พราหมณ์นี้ปรนนิบัติเราได้โดยยาก ชื่อว่าโคอื่นผู้มีธุระเสมอ

เช่นกับเรา ย่อมไม่มีในชมพูทวีปทั้งสิ้น ถ้ากระไร เราพึงแสดงกำลังของตน

แล้วพึงให้ค่าเลี้ยงดูแก่พราหมณ์. วันหนึ่ง พระโพธิสัตว์นั้นกล่าวกะพราหมณ์

ว่า พราหมณ์ท่านจงไป จงเข้าไปหาโควินทกเศรษฐีนั่น แล้วกล่าวว่า โค

พลิพัทของเรายังเกวียนร้อยเล่มซึ่งผูกติด ๆ กันให้เคลื่อนไปได้ ท่านจง

กระทำการเดิมพันด้วยทรัพย์พันกหาปณะพราหมณ์นั้น จึงไปยังสำนักของเศรษฐี

สั่งสนทนาขึ้นว่า ในนครนี้โคของใครเพียบพร้อมด้วยเรี่ยวแรง. ลำดับนั้น

เศรษฐีจึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า ของตนโน้นและของตนโน้น แล้วกล่าวว่า

ก็ทั่วทั้งนครโคชื่อว่าเช่นกับด้วยโคทั้งหลายของเรา ย่อมไม่มี. พราหมณ์กล่าว

ว่า โคของเราตัวหนึ่งสามารถให้เกวียนร้อยเล่มผูกติด ๆ กันเคลื่อนไปได้ มี

อยู่. เศรษฐีกล่าวว่า คฤหบดี โคเห็นปานนี้จะมีแต่ไหน. พราหมณ์กล่าวว่า

อยู่ในเรือนของเรา. เศรษฐีกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงการทำเดิมพัน.

พราหมณ์กล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจะทำ แล้วได้กระทำเดิมพันด้วยทรัพย์พัน

กหาปณะ พราหมณ์นั้นยังเกวียนร้อยเล่มให้เต็มด้วยทราย กรวด และหินเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

แล้วจอดไว้ตามลำดับกัน แล้วผูกเกวียนทุกเล่มเข้าด้วยกันด้วยเชือกสำหรับผูก

เพลาแล้วให้โคนันทิวิสาลอาบน้ำแล้ว เจิมด้วยของหอม ประดับพวงมาลาที่คอ

แล้วเทียมเฉพาะตัวเท่านั้นที่ทูบเกวียนเล่มแรก ตนเองนั่งที่ทูบเกวียน เงื้อปฏัก

ขึ้นแล้วกล่าวว่า เจ้าโคโกง จงลากไป เจ้าโคโกง จงนำไป. พระโพธิสัตว์คิด

ว่า พราหมณ์นี้ร้องเรียกเราผู้ไม่โกง ด้วยวาทะว่าโกง จึงได้ยืนทำเท้าทั้ง ๔

ให้นั่ง เหมือนเสา. ทันใดนั้น เศรษฐีจึงให้พราหมณ์นำทรัพย์พันกหาปณะมา.

พราหมณ์แพ้ (พนัน) ด้วยทรัพย์พันกหาปณะ จึงปลดโคแล้วไปเรือนถูกความ

โศกครองงำ จึงได้นอน. โคนันทิวิสาลเที่ยวไปแล้วกลับมา เห็นพราหมณ์

ถูกความโศกครองงำ จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า พราหมณ์ ท่านนอนหลับหรือ.

พราหมณ์กล่าวว่าเราแพ้พนันด้วยทรัพย์พันกหาปณะ จะมีความหลับมาแต่ไหน.

โคนันทิวิสาลกล่าวว่า ท่านพราหมณ์ ฉันอยู่ในเรือนของท่านมาตลอดกาลมี

ประมาณเท่านี้ เคยทำภาชนะอะไร ๆ แตก เคยเหยียบใคร ๆ หรือเคยถ่าย

อุจจาระ ปัสสาวะ ในที่อันไม่ควร มีอยู่หรือ. พราหมณ์กล่าวว่า ไม่มีดอกพ่อ.

ลำดับนั้น โคนันทิวิสาลกล่าวว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงเรียก

ฉันด้วยวาทะว่าโคโกง นั้นเป็นโทษของท่านเท่านั้นโทษของฉันไม่มี ท่านจงไป

จงทำเดิมพันด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะกับเศรษฐีนั้น ขออย่างเดียวท่านอย่า

เรียกฉันผู้ไม่โกง ด้วยวาทะว่าโคโกง พราหมณ์ได้ฟังคำของโคนันทิวิสาลนั้น

แล้ว ปการทำเดิมพันด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะแล้วผูกเกวียนร้อยเล่มติดกัน

โดยนัยอันมีแล้วในก่อน ประดับโคนันทิวิสาลแล้วเทียมเกวียนเล่มแรกเข้าที่

ทูบเกวียน. ถามว่า เทียมอย่างไร ? ตอบว่า พราหมณ์ผูกแอกให้แน่นที่ทูบ

เกวียนแล้ว เทียมโคนันทิวิสาลเข้าที่ปลายแอกข้างหนึ่งแล้วเอาเชือกที่ทูบเกวียน

พันปลายแอกข้างหนึ่งแล้วใส่ไม้ค้ำยันปลายแอก เพลา และเชิงเกวียนเอาเชือก

นั้นผูกให้แน่นแล้วจอดไว้ ก็เมือกระทำอย่างนี้ แอกย่อมไม่เคลื่อนไปทางโน้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

ทางนี้ โคตัวเดียวเท่านั้น อาจลากไปได้ ลำดับนั้น พราหมณ์นั่งบนทูบเกวียน

ลูบหลังโคนันทิวิสาลนั้นพลางกล่าวว่า โคผู้เจริญ พ่อจงไป โคผู้เสริญ พ่อจง

ลากไป. พระโพธิสัตว์ลากเกวียนร้อยเล่มที่ผูกติดกัน ด้วยกำลังแรงครั้งเดียว

เท่านั้น ให้เกวียนเล่มที่ตั้งอยู่ข้างหลังไปตั้งอยู่ในที่ของเกวียนซึ่งตั้งอยู่ข้างหน้า

โควินทกเศรษฐีแพ้แล้วได้ให้ทรัพย์ ๒,๐๐๐ กหาปณะแก่พรหมณ์ มนุษย์แม้

อื่น ๆ ก็ได้ให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่พระโพธิสัตว์ ทรัพย์ทั้งหมดนั้น ได้เป็นของ

พราหมณ์ทั้งนั้น พราหมณ์นั้นอาศัยพระโพธิสัตว์จึงได้ทรัพย์เป็นอันมากด้วย

ประการอย่างนี้.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าคำหยาบไม่เป็นที่ชอบใจ

ของใคร ๆ แล้วทรงติเตียนพวกภิกษุฉัพพัคคีย์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท เป็น

พระผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

บุคคลพึงกล่าวแต่คำที่น่าพอใจเท่านั้น ไม่พึง

กล่าวคำที่ไม่น่าพอใจ ในกาลไหน ๆ เมื่อพราหมณ์

กล่าวคำที่น่าพอใจโคนันทิวิสาลได้ลากเอาภาระหนัก

ไปได้ ทำพราหมณ์ผู้นั้นให้ได้ทรัพย์ด้วย ตนเองก็

เป็นผู้ปลื้มใจเพราะการช่วยเหลือนั้นด้วย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มนุญฺเมว ภาเสยฺย ความว่า บุคคล

เมื่อจะกล่าวกับคนอื่น พึงกล่าวเฉพาะปิยวาจาอันอ่อนหวานอ่อนโยนเป็นที่

น่าพอใจไพเราะเว้นจากโทษ ๔ ประการ. บทว่า ครุภาร อุททฺธริ ความว่า

โคนันทิวิสาล เมื่อพราหมณ์กล่าวคำที่ไม่น่าพอใจ ก็ไม่ลากภาระ เมื่อพราหมณ์

กล่าวคำเป็นที่รัก น่าพอใจในภายหลัง จึงลากภาระหนักไปให้ถึง. ก็ อักษร

ในบทว่า อุททฺธริ นั้นในคาถานี้ เป็นอักษรทำการเชื่อมบท โดยการเชื่อม

พยัญชนะแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

พระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้ว่า มนุญฺเมว ภาเสยฺย

มาด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในกาลนั้น ได้

เป็นพระอานนท์ ส่วนโคนันทิวิสาล ได้เป็นเราคือพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าแล.

จบนันทิวิสาลชาดกที่ ๘

๙. กัณหชาดก

ว่าด้วยผู้เอาการเอางาน

[๒๙] ในที่ใด ๆ มีธุระหนัก ในที่ใดมีทางลุ่ม

ลึก ชนทั้งหลายก็เทียมโคดำในกาลนั้นทีเดียว โคดำ

นั้นก็นำเอาธุระนั้นไปได้โดยแท้.

จบกัณชาดกที่ ๙

๙. อรรถกถากัณหชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภยมกปาฏิ-

หาริย์จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยโต ยโต ครุ ธุร ดังนี้.

ยมกปาฏิหาริย์นั้นพร้อมกับการเสด็จลงจากเทวโลก จักมีแจ้งใน

สรภังคชาดก เตรสนิบาต. ก็เนื้อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกระทำยมก-

ปาฏิหาริย์แล้วเสด็จอยู่ในเทวโลก ในวันมหาปวารณา เสด็จลงที่ประตูเมือง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

สังกัสสะ แล้วเสด็จเข้าไปยังพระเชตวันมหาวิหารพร้อมด้วยบริวารใหญ่ ภิกษุ

ทั้งหลายประชุมกันในโรงธรรมสภานั่งกล่าวถึงพระคุณของพระศาสดาว่า อาวุโส

ทั้งหลาย ชื่อว่าพระตถาคต มีธุระไม่มีผู้เสมอ คนอื่นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะนำ

เอาธุระที่พระตถาคตนำไปแล้ว ย่อมไม่มี ครูทั้ง ๖ กล่าวว่า พวกเราเท่านั้น

จักกระทำปาฏิหาริย์ พวกเราเท่านั้นจักกระทำปาฏิหาริย์ แม้ปาฏิหาริย์อย่างหนึ่ง

ก็ไม่ได้ทำ น่าอัศจรรย์ พระศาสดาทรงมีธุระไม่มีผู้เสมอ พระศาสดาเสด็จมา

แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่อง

อะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์

นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอื่น หามิได้ นั่งสนทนากันด้วยเรื่องพระคุณเฉพาะของ

พระองค์ชื่อเห็นปานนี้. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ จักนำ

ไปซึ่งธุระที่เรานำไปแล้ว ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน เขาแม้

บังเกิดในกำเนิดเดียรัจฉาน ก็ไม่ได้ใครๆ ผู้มีธุระเสมอกับในแล้วทรงนำอดีต

นิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ ในนครพาราณสี

พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดโค ครั้นในเวลาทียังเป็นลูกโคหนุ่มนั่นแล

เจ้าของทั้งหลายอยู่ในเรือนของหญิงแก่คนหนึ่ง กำหนดค่าเช่าที่อยู่อาศัยจึงได้

ให้ลูกโคนั้น หญิงแก่นั้นปฏิบัติลูกโคหนุ่มนั้นด้วยข้าวยาคูและภัตเป็นต้น ตั้ง

ไว้ในฐานะบุตรให้เติบโตแล้ว ลูกโคนั้น ปรากฏชื่อว่า อัยยิกากาฬกะ. ก็โค

นั้นเจริญวัยแล้ว เป็นผู้มีสีเหมือนดอกอัญชัน เทียวไปกับโคบ้าน ได้เป็นผู้

ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ พวกเด็กชาวบ้านนับที่เขาบ้าง ที่หูบ้าง ที่ตอบ้าง

โหนบ้าง จับที่หางเล่นบ้าง ดึงมาบ้าง นั่งบนหลังบ้าง. วันหนึ่ง โคนั้น คิดว่า

มารดาของเรายากจน ตั้งเราไว้ในฐานเป็นบุตร เลี้ยงดูนาโดยลำลาก ถ้ากระไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

เราทำการรับจ้าง ปลดเปลื้องมารดานี้ ให้พ้นจากความยากจน จำเดิมแต่นั้น

โคนั้นเที่ยวทำการรับจ้าง

อยู่มาวันหนึ่ง บุตรพ่อค้าเกวียนคนหนึ่งมีเกวียน ๕๐๐ เล่มไปประจวบ

เอาท่าที่ไม่ราบเรียบ โคทั้งหลายของพ่อค้าเกวียนนั้น ไม่สามารถจะยังเกวียนทั้ง

หลายให้ข้ามขึ้นได้ โคทั้งหลายในเกวียน ๕๐๐ เล่ม ที่เจ้าของเอาแอกมาเทียม

ต่อๆ กัน ก็ไม่ได้อาจเพื่อจะให้เกวียนแม้เล่มเดียวข้ามขึ้นไปได้ ฝ่ายพระ-

โพธิสัตว์กับพวกโคชาวบ้าน เที่ยวไป ณ ที่ใกล้ท่า. ฝ่ายบุตรพ่อค้าเกวียน ก็

เป็นผู้รู้สูตรโค ? เขาใคร่ครวญอยู่ว่า ในระหว่างโคเหล่านี้ โคอุสภอาชาไนย

ผู้สามารถยังเกวียนเหล่านี้ให้ข้ามพ้น มีอยู่หรือหนอ. ได้เห็นพระโพธิสัตว์แล้ว

คิดว่า นี้โคอาชาไนยจักอาจยังเกวียนทั้งหลายของเราให้ข้ามพ้นได้ ใครหนอ

เป็นเจ้าของโคตัวนี้ จึงถามพวกคนเลี้ยงโคว่า ท่านผู้เจริญ ใครหนอเป็น

เจ้าของโคตัวนี้ เราจักเทียมโคนี้ในเกวียนทั้งหลาย เมื่อเกวียนทั้งหลายอัน

โคนี้ให้ข้ามขึ้นได้ จักให้ค่าจ้าง. พวกคนเลี้ยงโคเหล่านั้นกล่าวว่าท่านทั้งหลาย

จงจับมันเทียมเถิด เจ้าของโคตัวนี้ ในที่นี้ ไม่มี. บุตรพ่อค้าเกวียนนั้น จึงเอา

เชือกผูกพระโพธิสัตว์นั้น ที่จมูกแล้วดังไม่ได้อาจแม้จะให้เคลื่อนไหวได้. ได้ยิน

ว่าพระโพธิสัตว์ไม่ได้ไปด้วยคิดว่า เมื่อบอกค่าจ้างเราจักไป. บุตรพ่อค้าเกวียน

รู้ความประสงค์ของพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวว่า นาย เมื่อท่านให้เกวียน ๕๐๐

เล่ม ข้ามขึ้นแล้ว เราจักเก็บเกวียนละ ๒ กหาปณะให้เป็นค่าจ้าง แล้วจักให้

๑,๐๐๐ กหาปณะ. ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ได้เดินไปเองทีเดียว ลำดับนั้น

บุรุษทั้งหลายจึงเทียมพระโพธิสัตว์นั้น ที่เกวียนทั้งหลาย. ทีนั้น พระโพธิสัตว์

ยกเกวียนนั้นขึ้นโดยกำลังแรงครั้งเดียวเท่านั้น ให้เกวียนไปตั้งอยู่บนบก ยัง

เกวียนทั้งหมดให้ข้ามขึ้นโดยอุบายนี้ บุตรพ่อค้าเกรียนเก็บกหาปณะหนึ่งต่อ

เกวียนเล่มหนึ่ง ๆ กระทำทรัพย์ ๕๐๐ กหาปณะให้เป็นห่อมีภัณฑะแล้วฝักที่คอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

ของพระโพธิสัตว์นั้น พระโพธิสัตว์นั้นคิดว่า บุตรพ่อค้าเกวียนนี้ไม่ให้ค่าจ้าง

แก่เราตามที่กำหนดไว้ บัดนี้ เราจักไม่ให้บุตรพ่อเกวียนนั้นไป จึงได้ไปยืน

ขวางทางข้างหน้าเกวียนเล่มแรกสุด คนทั้งหลายแม้จะพยายามเพื่อให้หลีกไป

ก็ไม่ได้อาจเพื่อจะให้พระโพธิสัตว์นั้นหลีกไป. บุตรพ่อค้าเกวียนคิดว่า โคนี้

เห็นจะรู้ว่าค่าจ้างของตนหย่อนไป จึงเก็บ ๒ กหาปณะในเกวียนเล่มหนึ่งๆ ผูก

ทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะให้เป็นห่อมีภัณฑะแล้วคล้องที่คอ โดยกล่าวว่า นี้เป็น

ค่าจ้างในการยังเกวียนให้ข้ามขึ้นของท่าน. พระโพธิสัตว์นั้นพาเอาห่อทรัพย์พัน

หนึ่งได้ไปยังสำนักของมารดา พวกเด็กชาวบ้านได้ไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์

ด้วยคิดกันว่า นี่ชื่ออะไรที่คอของโคอัยยิกากาฬกะ. พระโพธิสัตว์นั้นถูกเด็กชาว

บ้านติดตาม จึงหนีไปไกลได้ไปยังสำนักของมารดา. ก็เพราะให้เกวียน ๕๐๐

เล่มข้ามขึ้น จึงปรากฏเป็นผู้เหน็ดเหนื่อยมีตาทั้งสองข้างแดง. ยายเห็นถุงทรัพย์

๑,๐๐๐ ที่คอของพระโพธิสัตว์นั้นจึงกล่าวว่า พ่อ นี้ เจ้าได้มา ณ ที่ไหน แล้ว

ถามพวกเด็กชาวบ้าน ได้ฟังเนื้อความนั้นแล้วจึงกล่าวว่า พ่อ เราต้องการ

เลี้ยงชีวิตด้วยค่าจ้างที่เจ้าได้มาหรือ เพราะเหตุไร เจ้าจึงเสวยทุกข์เห็นปานนี้

จึงให้พระโพธิสัตว์อาบน้ำอุ่น เอาน้ำมันทาทั่วร่างกาย ให้ดื่มน้ำ ให้บริโภค

โภชนะอันเป็นสัปปายะ. ในเวลาสิ้นชีวิต ได้ไปตามยถากรรมพร้อมกับ พระ-

โพธิสัตว์

ฝ่ายพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้มีธุระไม่

สม่ำเสมอ ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็นผู้มีธุระไม่สม่ำเสมอ

เหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงสืบต่ออนุสนธิ เป็น

พระผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

ในที่ใด ๆ มีธุระหนัก ในที่ใดมีร่องทางลุ่มลึก

ในกาลนั้น ชนทั้งหลายย่อมเทียมโคดำที่เดียว โคดำ

นั้นก็นำเอาธุระนั้นไปได้โดยแท้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต ยโต ครุ ธุร ความว่า ในที่

ใด ๆ มีธุระหนัก คือหยาบ โคพลิพัทอื่น ๆ ไม่อาจยกขึ้นได้. บทว่า

ยโต คมฺภีรวตฺตนี ความว่า ชื่อว่า วตฺตนิ ทาง เพราะเป็นที่ไปของคน.

คาว่า วัตตนิ เป็นชื่อของหนทาง. อธิบายว่า ในที่ใดมีหนทาง ชื่อว่าลึก

เพราะมีน้ำและโคลนมาก หรือเพราะความเป็นทางขรุขระและชัน. ศัพท์ว่า

อสฺสุ ในบทว่า ตทาสฺสุ กณฺห ยุญฺชนฺติ นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบาย

ว่า ในกาลนั้น ย่อมเทียมโคคำ ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า ในกาลใดมีธุระ

หนัก และมีหนทางลึก ในกาลนั้น ชนทั้งหลายจึงเอาโคพลิพัทตัวอื่นออก

ไปแล้ว เทียมโคคำเท่านั้น. ศัพท์ว่า อสฺสุ แม้ในบทว่า สฺวาสฺสุ ต วหเต

ธุร ก็เป็นศัพท์นิบาตเหมือนกัน. อธิบายว่า โคดำนั้นย่อมนำธุระนั้นไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลนั้น

โคดำเท่านั้นนำธุระนั้นไป ดังนี้ ด้วยประการอย่างนี้แล้ว ทรงสืบต่ออนุสนธิ

ประชุมชาดกว่า หญิงแต่ในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณา ส่วนโค

อัยยิกากาฬกะได้เป็นเราแล.

จบกัณหชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

๑๐. มุณิกชาดก

ด้วยลักษณะของผู้มีอายุยืน

[๓๐] ท่านอย่าริษยาหมูมุณิกะเลย มันกินอาหาร

อันเป็นเหตุให้เดือดร้อนท่านจงเป็นผู้มีความขวนขวาย

น้อย กินแต่แกลบเถิด นี้เป็นลักษณะแต่งความเป็น

ผู้มีอายุยืน.

จบมุณิกชาดกที่ ๑๐

จบกุรุงควรรค

๑๐. อรรถกถามุณิกชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการประเล้า

ประโลมของเด็กหญิงอ้วน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มา

มุณิกสฺส ดังนี้.

เรื่องการประเล้าประโลมนั้น จักมีแจ้งในจุลลนารทกัสสปชาดก

เตรสนิบาต. ก็พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่า เธอ

เป็นผู้กระสันจะสึกจริงหรือ ? ภิกษุนั้นทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระศาสดาตรัสถามว่า เพราะอาศัยอะไร ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า เพราะอาศัย

การประเล้าประโลมของเด็กหญิงอ้วน พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุ เด็กหญิงอ้วนนั้นการทำความพินาศแก่เธอในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้

ในกาลก่อน ในวันวิวาห์ของเด็กหญิงอ้วนนี้ เธอก็ถึงความสิ้นชีวิต ถึงความ

เป็นแกงอ่อมของมหาชน แล้วทรงน้ำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดโคในบ้านของกุฎุมพีคนหนึ่งในหมู่ บ้านแห่งหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

โดยมีชื่อว่า มหาโลหิต ฝ่ายน้องชายของพระโพธิสัตว์ ได้เป็นผู้ชื่อว่า

จูฬโลหิต ธุระการงานในตระกูลนั้นนั่นแล ย่อมดำเนินไปได้เพราะอาศัยโค

๒ ตัวพี่น้องนั้นนั่นเอง ก็ในตระกูลนั้น มีเด็กหญิงคนหนึ่ง. กุลบุตรชาวเมือง

คนหนึ่ง ขอเด็กหญิงนั้นเพื่อบุตรของตน. บิดามารดาของเด็กหญิงนั้น ให้ข้าว

ยาคูและภัตเลี้ยงดูสุกรชื่อว่า มุณิกะ ด้วยหวังว่าแกงอ่อมจักมีเพื่อแขกทั้งหลาย

ผู้มาในวันวิวาห์ของเด็กหญิง โคจูฬโลหิตเห็นดังนั้นจึงถามพี่ชายว่า ธุระการ

งานในตระกูลนี้เมือจะดำเนินไป ก็อาศัยเราพี่น้องทั้งสองจึงดำเนินไปได้ แต่

คนเหล่านี้ ให้เฉพาะแต่หญ้าและใบไม้แก่พวกเรา กลับปรนเปรอสุกรด้วยข้าว

ยาคูและภัต ด้วยเหตุไรหนอ สุกรนี้จึงได้ยาคูและภัตนั้น. ลำดับนั้น โคผู้

พี่จึงกล่าวแก่โดยจูฬโลหิตผู้น้องว่า ดูก่อนพ่อจูฬโลหิต เจ้าอย่าริษยาโภชนะ

ของสุกรนั้นเลย สุกรนี้กำลังบริโภคภัตเป็นเหตุตาย ในวันวิวาห์ของกุมาริกา

สุกรนี้จักเป็นแกงอ่อมสำหรับแขกผู้มา เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้นจึงเลี้ยงดู

สุกรนี้ โดยล่วงไป ๒-๓ วัน แต่นี้ไปคนทั้งหลายจักพากันมา เมื่อเป็นอย่างนั้น

เจ้าจักได้เห็นสุกรนั้นถูกจับที่เท้าทั้งหลายดึงออกมาจากใต้เตียง ถูกเขาฆ่าการทำ

แกงและกับข้าวเพื่อแขกทั้งหลาย แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

ท่านอย่าริษยาหมูมุณีกะเลย มันกินอาหารอัน

เป็นเหตุให้เดือดร้อน ท่านจงเป็นผู้มีความขวนขวาย

น้อย กินแต่แกลบเถิด นี้เป็นลักษณะแห่งความเป็น

ผู้มีอายุยืน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา มุณิกสฺส ปิหยิ ความว่า ท่าน

อย่ายังความริษยาให้เกิดขึ้นในโภชนะของหมูมุณิกะ คืออย่าริษยาต่อหมูมุณิกะ

ว่า หมูนี้บริโภคโภชนะดี ได้แก่ อย่าปรารถนาเป็นอย่างหมูมุณิกะว่า เมื่อ

ไรหนอ แม้เราก็จะมีความสุขอย่างนี้ เพราะหมูมุณิกะนี้บริโภคอาหารอันเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

เหตุเดือดร้อน. บทว่า อาตุรนฺนานิ ได้แก่ โภชนะเป็นเหตุให้ตาย. บทว่า

อปฺโปสฺสุโก ภุสงฺขาท ความว่า ท่านจงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อยใน

โภชนะของหมูมุณิกะนั้น จงบริโภคแกลบที่ตนได้เถิด. บทว่า เอต ทีฆา-

ยุลกฺขณ ความว่า นี่เป็นเหตุแห่งความเป็นผู้มีอายุยืน.

แต่นั้น ไม่นานนัก คนเหล่านั้นก็พากันมา. ฆ่าหมูมุณิกะแล้วแทง

โดยประการต่าง ๆ. พระโพธิสัตว์กล่าวกะโคจูฬโลหิตว่า พ่อ เจ้าเห็นหมู

มุณิกะแล้วหรือ. โคจูฬโลหิตกล่าวว่า ข้าแต่พี่ ผลแห่งการบริโภคของหมู

มุณิกะฉันเห็นแล้ว ของสักว่าหญ้า ใบไม้ และแกลบเท่านั้น ของพวกเรา

อุดม ไม่มีโทษ และเป็นลักษณะแห่งความเป็นผู้มีอายุยืน กว่าภัตของหมู

มุณิกะโดยร้อยเท่าพันเท่า.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ แม้ในกาลก่อน เธอก็อาศัยกุมาริกา

นี้ถึงความสิ้นชีวิต แล้วถึงความเป็นแกงอ่อมของมหาชน ด้วยประการอย่างนี้

แล. ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย.

ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันอยากสึก ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. แม้

พระศาสดาก็ทรงสืบอนุสนธิ แล้วทรงประชุมชาดกว่า มุณิกสุกรในครั้งนั้น

ได้เป็นภิกษุผู้กระสันจะสึก กุมาริกานี้แหละ ได้เป็นกุมาริกาอ้วน

โคจูฬโลหิต ได้เป็นพระอานนท์ ส่วนโคมหาโลกหิต ได้เป็นเราแล.

จบมุณิชาดกที่ ๑๐

จบกุรุงควรรคที่ ๓

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุรุงคมิคชาดก ๒. กุกกุรชาดก ๓. โภชาชานียชาดก

๓. อาชัญญชาดก ๕. ติตถชาดก ๖. มหิฬามุขชาดก ๗. อภิณหชาดก

๘. นันทิวิสาลชาดก ๙. กัณหชาดก ๑๐. มุณิกชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

๔. กุลาวกวรรค

๑. กุลาวกชาดก

ว่าด้วยการเสียสละ

[๓๑] ดูก่อนมาตลีเทพบุตร ที่ต้นงิ้วมีลูกนกครุฑ

จับอยู่ ท่านจงหันหน้ารถกลับ เรายอมสละชีวิตให้

อสูร ลูกนกครุฑเหล่านี้อย่าได้แหลกรานเสียเลย.

จบ กุลาวกชาดกที่ ๑

๔. อรรถกถากุลาวกวรรค

๑. กุลาวกชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้

ดื่มน้ำที่ไม่ได้กรอง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กุลาวกา

ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มสองสหาย จากเมืองสาวัตถีไปยังชนบท อยู่ใน

ที่ผาสุกแห่งหนึ่งตามอัธยาศัย แล้วคิดว่า จักเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึง

ออกจากชนบทนั้น มุ่งหน้าไปยังพระเชตวัน อีก. ก็ภิกษุรูปหนึ่งมีเครื่องกรอง

น้ำ ส่วนรูปหนึ่งไม่มี แม้ภิกษุทั้งสองรูปก็ร่วมกันกรองน้ำดื่มแล้วจึงดื่ม.

วันหนึ่ง ภิกษุทั้งสองรูปนั้นได้ทำการวิวาทโต้เถียงกัน. ภิกษุผู้เป็นเจ้าของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

เครื่องกรองน้ำไม่ให้เครื่องกรองน้ำแก่ภิกษุนอกนี้ กรองน้ำดื่มเฉพาะตนเอง

แล้วดื่ม ส่วนภิกษุนอกนี้ไม่ได้เครื่องกรองน้ำ เมื่อไม่อาจอดกลั้นความกระหาย

จึงดื่มน้ำดื่มที่ไม่ได้กรอง ภิกษุแม้ทั้งสองนั้น มาถึงพระเชตวันวิหารโดยลำดับ

ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง. พระศาสดาทรงตรัสสัมโมทนียกถาแล้วตรัสถาม

ว่า พวกเธอมาจากไหน ? ภิกษุทั้งสองนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์อยู่ในบ้านแห่งหนึ่งในโกศลชนบท ออกจากบ้านนั้นมา เพื่อ

จะเฝ้าพระองค์. พระศาสดาตรัสถามว่า พวกเธอเป็นผู้สมัครสมานพากันมา

แล้วแลหรือ ? ภิกษุผู้ไม่กรองน้ำกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้

กระทำการวิวาทโต้เถียงกันกับข้าพระองค์ในระหว่างทาง แล้วไม่ให้เครื่อง

กรองน้ำ พระเจ้าข้า. ภิกษุนอกนี้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้

ไม่กรองน้ำเลย รู้อยู่ ดื่มน้ำมีตัวสัตว์. พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ได้ยินว่า เธอรู้อยู่ ดื่มน้ำมีตัวสัตว์จริงหรือ ? ภิกษุนั้น กราบทูลว่า พระเจ้าข้า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ดื่มน้ำไม่ได้กรอง พระเจ้าข้า. พระศาสดา

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุบัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน ครองราชสมบัติในเทพนคร

พ่ายแพ้ในการรบ เมื่อจะหนีไปทางหลังสมุทร จึงคิดว่า เราจักไม่ทำการฆ่า

สัตว์ เพราะอาศัยความเป็นใหญ่ ได้สละยศใหญ่ให้ชีวิตแก่ลูกนกครุฑ จึงให้

กลับรถก่อน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราชพระองค์หนึ่ง ครองราชสมบัติอยู่ใน

นครราชคฤห์ แคว้นมคธ ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นบุตรของตระกูล

ใหญ่ในบ้านมจลคามนั้นนั่นแหละ เหมือนอย่างในบัดนี้ ท้าวสักกะบังเกิดใน

บ้านมจลคาม แคว้นมคธ ในอัตภาพก่อนฉะนั้น ก็ในวันตั้งชื่อพระโพธิสัตว์

นั้น ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อว่า มฆกุมาร. มฆกุมารนั้นเจริญวัยแล้วปรากฏ

ชื่อว่า มฆมาณพ. ลำดับนั้น บิดามารดาของมฆมาณพนั่นนำเอานางทาริกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

มาจากตระกูลที่มีชาติเสมอกัน มฆมาณพนั้นเจริญด้วยบุตรและธิดาทั้งหลาย

ได้เป็นทานบดี รักษาศีล ๕. ก็ในบ้านนั้น มีอยู่ ๓๐ ตระกูลเท่านั้น และ

วันหนึ่งตนในตระกูลทั้ง ๓๐ ตระกูลนั้น ยืนอยู่กลางบ้าน ทำการงานในบ้าน

พระโพธิสัตว์เอาเท้าทั้งสองกวาดฝุ่นในที่ที่ยืนอยู่ กระทำประเทศที่นั้นให้น่า

รื่นรมย์ยืนอยู่แล้ว. ครั้งนั้น คนอื่นผู้หนึ่งมายืนในที่นั้น. พระโพธิสัตว์จึง

กระทำที่อื่นอีกให้น่ารื่นรมย์แล้วได้ยืนอยู่. แม้ในที่นั้น คนอื่นก็มายืนเสีย.

พระโพธิสัตว์ได้กระทำที่อื่น ๆ แม้อีกให้น่ารื่นรมย์ รวมความว่า ได้กระทำ

ที่ที่ยืนให้น่ารื่นรมณ์แม้แก่คนทั้งปวง สมัยต่อมาให้สร้างปะรำลงในที่นั้น แม้

ปะรำก็ให้รื้อออกเสียแล้วให้สร้างศาลา ปูอาสนะแผ่นกระดานในศาลานั้น แล้ว

ตั้งตุ่มน้ำดื่มไว้ สมัยต่อมา ชั้น ๓๒ คนแม้เหล่านั้น ได้มีฉันทะเสมอกัน กับ

พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์จึงให้ชั้น ๓๒ คนนั้นตั้งอยู่ในศีล ๕ ตั้งแต่นั้น

ไป ก็เที่ยวทำบุญทั้งหลายพร้อมกับคนเหล่านั้น. ชนแม้เหล่านั้น เมื่อกระทำ

บุญกับ พระโพธิสัตว์นั้นนั่นแล จึงลุกขึ้นแต่เช้ามืด ถือมีด ขวาน และสาก

เอาสากทุบดินให้แตก ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่งเป็นต้น แล้วกลิ้งไป นำเอา

ต้นไม้ที่กระทบเพลารถทั้งหลายออกไป กระทำที่ขรุขระให้เรียบ ทอดสะพาน

ขุดสระโบกขรณี สร้างศาลา ให้ทาน รักษาศีล โดยมาก ชาวบ้านทั้งสิ้น

ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์แล้วรักษาศีล ด้วยประการอย่างนี้. ลำดับนั้น

นายบ้านของชนเหล่านั้นคิดว่า ในกาลก่อน เมื่อคนเหล่านั้นดื่มสุรา กระทำ

ปาณาติบาตเป็นต้น เรายังได้ทรัพย์ ด้วยอำนาจกหาปณะค่าตุ่ม (สุรา) เป็นต้น

และด้วยอำนาจพลีค่าสินไหม แต่บัดนี้ มฆมาณพให้รักษาศีล ไม่ให้ชน

เหล่านั้น กระทำปาณาติบาตเป็นต้น อนึ่ง บัดนี้ จักให้เราทั้งหลายรักษาศีล ๕

จึงโกรธเจ้าไปเฝ้าพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกโจรเป็น

อันมากเที่ยวกระทำการฆ่าชาวบ้านเป็นต้น. พระราชาได้ทรงสดับคำของนาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

บ้านนั้น จึงรับสั่งว่า ท่านจงไปนำคนเหล่านั้นมา นายบ้านนั้นจึงไปจองจำ

ชนเหล่านั้นทั้งหมดแล้วนำมา กราบทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ

พวกคนที่ข้าพระบาทนำมานี้ เป็นโจร พระเจ้าข้า. ลำดับนั้น พระราชาไม่

ทรงชำระกรรมของชนเหล่านั้นเลย รับสั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ช้างเหยียบชน

เหล่านั้น. แต่นั้น ราชบุรุษจึงให้ชนเหล่านั้น แม้ทั้งหมดให้นอนที่พระลานหลวง

แล้วนำช้างมา. พระโพธิสัตว์ได้ให้โอวาทแก่ชนเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจง

รำพึงถึงศีล จงเจริญเมตตาในคนผู้การทำการส่อเสียด ในพระราชา ในช้าง

และในร่างกายของตน ให้เป็นเช่นเดียวกัน ชนเหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้น.

ลำดับนั้น ราชบุรุษทั้งหลายจึงนำช้างเข้าไป เพื่อต้องการให้เหยียบชนเหล่านั้น

ช้างนั้น แม้จะถูกคนนำเข้าไป ก็ไม่เข้าไป ร้องเสียงลั่นแล้วหนีไป. ลำดับนั้น

จึงนำช้างเชือกอื่น ๆ มา. ช้างแม้เหล่านั้นก็หนีไปอย่างนั้นเหมือนกัน. พระ-

ราชาตรัสว่า จักมีโอสถบางอย่างอยู่ในมือของชนเหล่านี้ พวกท่านจงค้นดู.

พวกราชบุรุษตรวจค้นดูแล้วก็ไม่เห็น จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ไม่มี

พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ชนเหล่านั้นจักร่ายมนต์อะไร ๆ

พวกท่านจงถามพวกเขาดูว่า มนต์สำหรับร่ายของท่านทั้งหลายมีอยู่หรือ ?

ราชบุรุษทั้งหลายจึงได้ถาม พระโพธิสัตว์จึงกล่าวว่า มี. ราชบุรุษทั้งหลาย

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ นัยว่ามีมนต์สำหรับร่าย พะยะค่ะ พระราชา

รับสั่งให้เรียกชนเหล่านั้น แม้ทั้งหมดมาแล้วตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงบอกมนต์ที่.

ท่านทั้งหลายรู้. พระโพธิสัตว์ได้กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชื่อว่ามนต์

ของข้าพระองค์ทั้งหลายอย่างอื่นไม่มี แต่ข้าพระองค์ทั้งหลาย เป็นคนประมาณ

๓๓ คน ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่กล่าวคำเท็จ

ไม่ดื่มน้ำเนา เจริญเมตตา ให้ทาน กระทำทางให้สม่ำเสมอ ขุดสระโบกขรณี

สร้างศาลา นี้เป็นมนต์ เป็นเครื่องป้องกัน เป็นความเจริญ ของข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

ทั้งหลาย. พระราชาทรงเลื่อมใสต่อชนเหล่านั้น ได้ทรงให้สมบัติในเรือน

ทั้งหมดของนายบ้านผู้กระทำการส่อเสียด และได้ทรงให้นายบ้านนั้น ให้เป็นทาส

ของชนเหล่านั้น ทั้งได้ทรงให้ช้างและบ้านแก่ชนเหล่านั้นเหมือนกัน. จำเดิม

แต่นั้น ชนเหล่านั้น กระทำบุญทั้งหลายตามความชอบใจ คิดว่า จักสร้างศาลา

ใหญ่ในทาง ๔ แพร่ง จึงให้เรียกช่างไม้มาแล้วเริ่มสร้างศาลา แต่ว่าไม่ได้ให้

มาตุคามทั้งหลายมีส่วนบุญในศาลานั้น เพราะไม่มีความพอใจในมาตุคาม

ทั้งหลาย.

ก็สมัยนั้น ในเรือนของพระโพธิสัตว์มีสตรี ๔ คน คือ นางสุธรรมา

นางสุจิตรา นางสุนันทา และนางสุชาดา บรรดาสตรีเหล่านั้น นางสุธรรมา

เป็นอันเดียวกันกับช่างไม้ กล่าวว่า พี่ช่าง ท่านจงทำฉันให้เป็นใหญ่ในศาลา

นี้ ดังนี้แล้วได้ให้สินบน ช่างไม้นั้นรับคำแล้ว ยังไม้ช่อฟ้าให้แห้งก่อนทีเดียว

แล้วถากเจาะทำช่อฟ้าให้เสร็จแล้วจะยกช่อฟ้า จึงกล่าวว่า ตายจริง เจ้านาย

ทั้งหลาย ข้าพเจ้าไม่ได้ระลึกถึงสิ่งของอย่างหนึ่ง. ชนเหล่านั้น ถามว่า ท่านผู้เจริญ

ของชื่ออะไร. ช่างไม้กล่าวว่า การได้ช่อฟ้าจึงจะควร. ชนเหล่านั้น กล่าวว่า

ช่างเถิด เราจักนำมาให้ช่างไม้กล่าวว่า พวกเราไม่อาจทำด้วยไม้ที่ตัดในเดี๋ยวนี้

จะต้องได้ช่อฟ้าที่เขาตัดไว้ก่อนแล้วถากเจาะทำสำเร็จแล้ว จึงจะควร, ชนเหล่านั้น

กล่าวว่า บัดนี้ จะทำอย่างไร ช่างไม้กล่าวว่า ถ้าช่อฟ้าสำหรับขายที่เขาทำไว้

เสร็จแล้วเก็บไว้ในเรือนของใครๆ มีอยู่ท่านต้องหาช่อฟ้าอันนั้น ชนเหล่านั้น

เมื่อแสวงหาได้พบในเรือนของนางสุธรรมา ไม่ได้ด้วยมูลค่า แต่เมื่อนาง

สุธรรมากล่าวว่า ถ้าท่านทั้งหลายจะกระทำข้าพเจ้าให้มีส่วนบุญด้วย ข้าพเจ้า

จึงจักให้ จึงพากันกล่าวว่า พวกเราจะไม่ให้ส่วนบุญแก่มาตุคามทั้งหลาย.

ลำดับนั้น ช่างไม้จึงกล่าวกะชนเหล่านั้นว่า เจ้านายท่านทั้งหลายพูดอะไร ชื่อ

ว่าที่ที่เว้นจากมาตุคามที่อื่น ย่อมไม่มีเว้นพรหมโลก ท่านทั้งหลายจงถือเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

ช่อฟ้าเถิด เมื่อเป็นเช่นนั้น การงานทั้งหลายของพวกเราจักถึงความสำเร็จ

ชนเหล่านั้น กล่าวว่า ดีละ แล้ว ถือเอาช่อฟ้ายังศาลาให้สำเร็จแล้วปูแผ่นกระดาน

สำหรับนั่ง ตั้งตุ่มน้ำดื่ม เริ่มตั้งยาคูและภัตเป็นต้นเป็นประจำ ล้อมศาลาด้วย

กำแพง ประกอบประตู เกลี่ยทรายภายในกำแพงปลูกแถวต้นตาลภายนอก

กำแพง ฝ่ายนางสุจิตราให้กระทำอุทยานในที่นั้น ไม่มีคำที่จะพูดว่า ต้นไม้ที่

มีดอกและไม้ที่มีผล ชื่อโน้น ไม่มีในอุทยานนั้น ฝ่ายฉางสุนันทาให้กระทำ

สระโบกขรณีในที่นั้น เหมือนกัน ให้ดารดาษด้วยปทุม ๕ สี น่ารื่นรมย์ นาง

สุชาดาไม่ได้กระทำอะไร ? พระโพธิสัตว์บำเพ็ญวัตรบท ๗ เหล่านี้ คือ การ

บำรุงมารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑ การกระทำความอ่อนน้อมถ่อมตนแก่คนผู้เป็น

ให้ในตระกูล ๑ การกล่าววาจาสัตย์ ๑ วาจาไม่หยาบ ๑ วาจาไม่ส่อเสียด ๑

และการนำไปให้พินาศซึ่งความตระหนี่ ๑ ถึงความเป็นผู้ควรสรรเสริญ อย่างนี้

ว่า

เทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์กล่าวนรชน ผู้เป็นคน

พอเลี้ยงบิดามารดา ผู้มีปรกติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญที่สุด

ในตระกูล ผู้กล่าววาจากลมเกลี้ยงอ่อนหวาน ผู้ละ

คำส่อเสียด ผู้ประกอบในการทำความตระหนี่ให้

พินาศ ผู้มีคำสัจ ครอบงำความโกรธได้นั้นแล ว่าเป็น

สัปบุรุษ.

ในเวลาสิ้นชีวิต บังเกิดเป็นท้าวสักกเทวราช ในภพดาวดึงส์ สหายของ

พระโพธิสัตว์นั้น ทั้งหมดพากันบังเกิดในภพดาวดึงส์นั้นเหมือนกัน.

ในกาลนั้น อสูรทั้งหลายอยู่อาศัยในภพดาวดึงส์ ท้าวสักกเทวราชทรง

ดำริว่า เราทั้งหลายจะประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติอันเป็นสาธารณะทั่วไปแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

คนอื่น จึงให้พวกอสูรดื่มน้ำดื่มอันเป็นทิพย์ แล้วให้จับพวกอสูรผู้เมาแล้วที่เท้า

แล้วโยนลงไปที่เชิงเขาสิเนรุ. พวกอสูรเหล่านั้น ย่อมภึงภพอสูรนั่นแล. ชื่อว่า

ภพอสูรมีขนาดเท่าดาวดึงส์เทวโลกอยู่ ณ พื้นภายใต้เขาสิเนรุ ในภพอสูรนั้น

ได้มีต้นไม้ตั้งอยู่ชั่วกัป ชื่อว่าต้นจิตตปาตลิ (แคฝอย) เหมือนต้นปาริฉัตตกะ

ของเหล่าเทพ. เมื่อต้นจิตตปาตลิบาน พวกอสูรเหล่านั้นก็รู้ว่านี้ไม่ใช่เทวโลก

ของพวกเรา เพราะว่าในเทวโลกต้นปาริฉัตตกะย่อมบาน. ลำดับนั้น พวกอสูร

เหล่านั้นจึงกล่าวว่า ท้าวสักกะแก่ทำพวกเราให้มาแล้วโยนลงหลังมหาสมุทร

ยึดเทพนครของพวกเรา เราทั้งหลายนั้นจักรบกับท้าวสักกะแก่นั้น แล้วยึดเอา

เทพนครของพวกเราเท่านั้นคืนมา จึงลุกขึ้นเที่ยวสัญจรไปตามเขาสิเนรุ เหมือน

มดแดงไต่เสาฉะนั้น. ท้าวสักกะทรงสดับว่า พวกอสูรขึ้นมา จึงเหาะขึ้นเฉพาะ.

หลังสมุทรรบอยู่ถูกพวกอสูรเหล่านั้น ให้พ่ายแพ้จึงเริ่มหนีไปสุดมหาสมุทรด้าน

ทิศเหนือ ด้วยเวชยันตรถมีประมาณ ๑๕๐ โยชน์ ลำดับนั้นรถของท้าวสักกะ

นั้นแล่นไปบนหลังสมุทรด้วยความเร็ว จึงแล่นเข้าไปยังป่าไม้งิ้ว ทำลายป่าไม้

งิ้วในหนทางที่ท้าวสักกะนั้นเสด็จไป เหมือนทำลายป่าไม้อ้อ ขาดตกลงไปบน

หลังสมุทร พวกลูกนกครุฑพลัดตกลงบนหลังมหาสมุทรพากันร้องเสียงขรม

ท้าวสักกะตรัสถามมาตลีสารถีว่า มาตลีผู้สหายนั่นเสียงอะไร เสียงร้องน่ากรุณา

ยิ่งนักเป็นไปอยู่ ? พระมาตลีทูลว่า ข้าแต่เทพ เมื่อป่าไม้งิ้วแหลกไปด้วย

กำลังความเร็วแห่งรถของพระองค์แล้วตกลงไป พวกลูกนกครุฑถูกมรณภัยคุก

คาม จึงพากันร้องเป็นเสียงเดียวกัน. พระมหาสัตว์ตรัสว่า ดูก่อนมาตลีผู้สหาย

ลูกนกครุฑเหล่านี้ จงอย่าลำบากเหตุอาศัยเราเลย เราจะไม่อาศัยความเป็นใหญ่

กระทำกรรมคือการฆ่าสัตว์ ก็เพื่อประโยชน์แก่ลูกนกครุฑนั้น เราจักสละชีวิต

ให้แก่พวกอสูร ท่านจงกลับรถนั้นแล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

ดูก่อนมาตลีเทพบุตร ที่ต้นงิ้วมีลูกนกครุฑจับ

อยู่ ท่านจงหันหน้ารถกลับ เรายอมสละชีวิตให้พวก

อสูร ลูกนกครุฑเหล่านี้ อย่าแหลกรานเสียเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุลาวกา ได้แก่พวกลูกนกครุฑนั่น

แหละ ท้าวสักกะตรัสเรียกนายสารถีว่า มาตลิ ด้วยบทว่า สัมฺพลิสฺมึ นี้

ท่านแสดงว่า ท่านจงดู ลูกนกครุฑเหล่านี้จับห้อยอยู่ที่ต้นงิ้ว. บทว่า

อีสามุเขน ปริวชฺชยสฺสุ ความว่า ท่านจงงดเว้นลูกนกครุฑเหล่านั้น โดย

ประการที่พวกมันไม่เดือดร้อน ด้วยด้านหน้างอนรถนี้เสีย. บทว่า กาม

จชาม อสุเรสุ ปาณ ความว่า ถ้าเมื่อเราสละชีวิตให้แก่พวกอสูร ความ

ปลอดภัยก็จะมีแก่ลูกนกครุฑเหล่านั้น เราจะสละโดยแท้ คือจะสละชีวิตของ

เราให้พวกอสูรโดยแท้ทีเดียว. บทว่า มายิเม ทิชา วิกุลาวา อเหสุ

ความว่า ก็นกเหล่านั้น คือ ก็ลูกนกครุฑเหล่านี้ ชื่อว่าอยู่พลัดพรากจากรัง

เพราะรังถูกขจัดแหลกรานคืออย่าโยนทุกข์ของพวกเราลงเบื้องบนลูกนกครุฑ

เหล่านั้น ท่านจงกลับรถ.

พระมาตลิสารถีได้ฟังคำของท้าวสักกะนั้นแล้ว จึงกลับรถหันหน้ามุ่ง

ไปยังเทวโลก โดยหนทางอื่นฝ่ายพวกอสูรพอเห็นท้าวสักกะกลับรถเท่านั้นคิดว่า

ท้าวสักกะจากจักรวาลแม้อื่นพากันมาเป็นแน่ รถจักกลับเพราะได้กำลังพล เป็น

ผู้กลัวต่อมรณภัย จึงพากันหนีเข้าไปยังภพอสูรตามเดิม. ฝ่ายท้าวสักกะก็เสด็จ

เข้ายังเทพนคร แวดล้อมด้วยหมู่เทพในเทวโลกทั้งสอง ได้ประทับยืนอยู่ใน

ท่ามกลางนคร. ขณะนั้น เวชยันตปราสาทสูงพันโยชน์ ชำแรกปฐพีผุดขึ้น

เพราะปราสาทผุดขึ้นในตอนสุดท้ายแห่งชัยชนะ เทพทั้งหลายจึงขนานนาม

ปราสาทนั้น ว่าเวชยันตะ ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงตั้งอารักขาในที่ ๕ แห่ง

ก็เพื่อต้องการไม่ให้พวกอสูรกลับนาอีกซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

ในระหว่างอยุชฌบุตรทั้งสอง ท้าวสักกะทรงตั้ง

การรักษาอย่างแข็งแรงไว้ ๕ แห่ง นาค ๑ ครุฑ ๑

กุมภัณฑ์ ๑ ยักษ์ ๑ ท้าวมหาราชทั้งสี่ ๑.

แม้นครทั้งสอง คือ เทพนคร และอสูรนครก็ชื่อว่า อยุทธปุระ

เพราะใครๆ ไม่อาจยึดได้ด้วยการรบ เพราะว่า ในกาลใด พวกอสูรมีกำลัง

ในกาลนั้นเมื่อพวกเทวดาหนีเข้าเทพนครแล้วปิดประตูไว้แม้พวกอสูรตั้งแสนก็

ไม่อาจทำอะไรได้ ในกาลใดพวกเทวดามีกำลัง ในกาลนั้น เมื่อพวกอสูรหนี

ไปปิดประตูอสูรนครเสีย พวกเทวดาแม้ทั้งแสนก็ไม่อาจทำอะไรได้ ดังนั้น

นครทั้งสองนี้จึงชื่อว่า อยุชฌปุระ เมืองที่ใคร ๆ รบไม่ได้. ระหว่างนคร

ทั้งสองนั้น ท้าวสักกะทรงตั้งการรักษาไว้ในฐานะ ๕ ประการมีนาคเป็นต้น

เหล่านั้น บรรดาฐานะ ๕ ประการนั้น ท่านถือเอานาคด้วยศัพท์ว่า อุรคะ

นาคเหล่านั้น มีกำลังในน้ำ เพราะฉะนั้น นาคเหล่านั้นจึงมีการอารักขา ที่

เฉลียงที่ ๑ แห่งนครทั้งสอง ท่านถือเอาครุฑด้วยศัพท์ว่า กโรติ ได้ยินว่า

ครุฑเหล่านั้นมีปานะและโภชนะ ชื่อว่า กโรติ ครุฑเหล่านั้นจึงได้นามตาม

ปานะและโภชนะนั้น ครุฑเหล่านั้นมีการอารักขาที่เฉลียงที่ ๒ ของนครทั้งสอง

ท่านถือเอากุมภัณฑ์ด้วยศัพท์ว่า ปยสฺส หาริ. ได้ยินว่า พวกกุมภัณฑ์

เหล่านั้น คือ ทานพ (อสูรสามัญ) และรากษส (ผีเสื้อน้ำ) พวกกุมภัณฑ์

เหล่านั้นมีการอารักขาที่เฉลียงที่ ๓ แห่งนครทั้งสอง ท่านถือเอาพวกยักษ์ด้วย

ศัพท์ว่า มทนยุต ได้ยินว่ายักษ์เหล่านั้น มีปรกติเที่ยวไปไม่สม่ำเสมอ เป็น

นักรบ ยักษ์เหล่านั้นมีการอารักขาที่เฉลียงที่ ๔ แห่งนครทั้งสอง ท่านกล่าวถึง

ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ด้วยบทว่า จตุโร จ มหนฺตา นี้. ท้าวมหาราชทั้ง ๔

นั้นมีการอารักขาที่เฉลียงที่ ๕ แห่งนครทั้งสอง เพราะฉะนั้น ถ้าพวกอสูรโกรธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

มีจิตขุ่นมัว เข้าไปยังเทพบุรี บรรดานักรบ ๕ ประเภท พวกนาคจะตั้งป้อง

กันเขาปริภัณฑ์ลูกแรกนั้น อารักขาที่เหลือในฐานะที่เหลือก็อย่างนั้น.

ก็เมื่อท้าวสักกะจอมเทพทรงตั้งอารักขาในที่ ๕ แห่งเหล่านี้แล้ว เสวย

ทิพยสมบัติอยู่ นางสุธรรมาจุติมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าวสักกะนั้น

แหละ ก็เทวสภาชื่อว่าสุธรรมามีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ซึ่งเป็นที่ที่ท้าวสักกะ

จอมเทพประทับนั่งบนบัลลังก์ทองขนาดหนึ่งโยชน์ภายใต้เศวตฉัตรทิพย์ทรง

กระทำกิจที่จะพึงกระทำแก่เทวดาและมนุษย์ ได้เกิดขึ้นแก่นางสุธรรมา เพราะ

ผลวิบากที่ให้ช่อฟ้า. ฝ่ายนางสุจิตราก็จุติมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของท้าว

สักกะนั้นเหมือนกัน และอุทยานชื่อว่าจิตรลดาวันก็เกิดขึ้นแก่นางสุจิตรานั้น

เพราะผลวิบากของการกระทำอุทยาน. ฝ่ายนางสุนันทาก็จุติมาบังเกิดเป็นบาท

บริจาริกาของท้าวสักกะนั้นเหมือนกัน และสระโบกขรณีชื่อว่านันทาก็เกิดขึ้น

แก่นางสุนันทานั้น เพราะผลวิบากของการขุดสระโบกขรณี.

ส่วนนางสุชาดาบังเกิดเป็นนางนกยางอยู่ที่ชอกเขาในป่าแห่งหนึ่ง เพราะ

ไม่ได้กระทำกุศลกรรมไว้ ท้าวสักกะทรงพระรำพึงว่า นางสุชาดาไม่ปรากฏ

นางบังเกิด ณ ที่ไหนหนอ ครั้นทรงเห็นนางสุชาดานั้น จึงเสด็จไปที่ซอกเขา

นั้น พานางมายังเทวโลก ทรงแสดงเทพนครอันน่ารื่นรมย์ เทวสภาชื่อ

สุธรรมา สวนจิตรลดาวัน และนันทาโบกขรณีแก่นาง แล้วทรงโอวาทนางว่า

หญิงเหล่านี้ได้กระทำกุศลไว้จึงมาบังเกิดเป็นบาทบริจาริกาของเรา ส่วนเธอไม่

ได้กระทำกุศลไว้จึงบังเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน ตั้งแต่นี้ไป เธอจงรักษาศีล

นางนกยางนั้น ก็รักษาศีลตั้งแต่กาลนั้น โดยล่วงไป ๒-๓ วัน ท้าวสักกะ

ทรงดำริว่า นางนกยางอาจรักษาศีลหรือหนอ จึงเสด็จไป แปลงรูปเป็นปลา

นอนหงายอย่างหน้า นางนกยางนั้น สำคัญว่าปลาตายจึงได้คาบที่หัว ปลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

กระดิกหาง ลำดับนั้น นางนกยางนั้นจึงปล่อยปลานั้น ด้วยสำคัญว่า เห็นจะ

เป็นปลามีชีวิตอยู่ ท้าวสักกะตรัสว่า สาธุ สาธุ เธออาจรักษาศีลได้ แล้วได้

เสด็จไปยังเทวโลก นางนกยางนั้น จุติจากอัตภาพนั้น มาบังเกิดในเรือนของนาย

ช่างหม้อ ในนครพาราณสี.

ท้าวสักกะทรงพระดำริว่า นางนกยางบังเกิด ณ ที่ไหนหนอ ทรงรู้ว่า

เกิดในตระกูลช่างหม้อ จึงทรงเอาฟักทองคำบรรทุกเต็มยานน้อย แปลงเพศ

เป็นคนแก่นั่งอยู่กลางบ้านป่าวร้องว่า ท่านทั้งหลายจงรับเอาฟักเหลือง คนทั้ง

หลายมากล่าวว่า ข้าแต่พ่อ ท่านจงให้ท้าวสักกะตรัสว่า เราให้แก่คนทั้งหลาย

ผู้รักษาศีล ท่านทั้งหลายจงรักษาศีล คนทั้งหลายกล่าวว่าขึ้นชื่อว่าศีล พวก

เราไม่รู้จัก ท่านจงให้ด้วยมูลค่า. ท้าวสักกะตรัสว่า เราไม่ต้องการมูลค่า เรา

จะให้เฉพาะแก่ผู้รักษาศีลเท่านั้น. คนทั้งหลายกล่าวว่า นี้ฟักเหลืองอะไรกัน

หนอ แล้วก็หลีกไป. นางสุชาดาได้ฟังข่าวนั้นแล้วคิดว่า เขาจักนำมาเพื่อเรา

จึงไปพูดว่า ข้าแต่พ่อ ท่านจงให้เถิด. ท้าวสักกะตรัสว่า แม่ เธอรักษาศีล

แล้วหรือ นางสุชาดากล่าวว่า จ้ะ ฉัน รักษาศีล. ท้าวสักกะตรัสว่า สิ่งนี้เรานำ

มาเพื่อประโยชน์แก่เจ้าเท่านั้น แล้ววางไว้ที่ประตูบ้านพร้อมกับยานน้อยแล้ว

หลีกไป.

ฝ่ายนางสุชาดานั้น รักษาศีลจนตลอดชั่วอายุ จุติจากอัตภาพนั้นไป

บังเกิดเป็นบิดาของจอมอสูรนามว่าเวปจิตติ ได้เป็นผู้มีรูปร่างงดงามด้วยอานิ-

สงส์แห่งศีล ในเวลาธิดานั้นเจริญวัยแล้ว ท้าวเวปจิตตินั้นดำริว่า ธิดาของเรา

จงเลือกสามีตามความชอบใจของตน จึงให้พวกอสูรประชุมกัน. ท้าวสักกะทรง

ตรวจดูว่า นางสุชาดานั้นบังเกิด ณ ที่ไหนหนอ ครั้นทรงทราบว่านางเกิดใน

ภพอสูรนั้นจึงทรงดำริว่า นางสุชาดาเมื่อจะเลือกเอาสามีตามที่ใจชอบ จักเลือก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

เอาเรา จึงทรงนิรมิตเพศเป็นอสูรแล้วได้ไปในที่ประชุมนั้น. ญาติทั้งหลาย

ประดับประดานางสุชาดาแล้วนำมายังที่ประชุมพลางกล่าวว่า เจ้าจงเลือกเอา

สามีที่ใจชอบ นางตรวจดูอยู่ แลเห็นท้าวสักกะ. ด้วยอำนาจความรักอันมีใน

กาลก่อน จึงได้เลือกเอาว่า ท่านผู้นี้เป็นสามีของเรา. ท้าวสักกะจึงทรงนำนาง

มายังเทพนคร ทรงกระทำให้เป็นใหญ่กว่านางฟ้อนจำนวน ๒๕๐๐ โกฏิ ทรง

ดำรงอยู่ตลอดชั่วพระชนมายุ แล้วเสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อนครองราชสมบัติในเทวโลก ถึงจะสละชีวิตของตน

ก็ไม่กระทำปาณาติบาต ด้วยประการอย่างนี้ ชื่อว่าเธอบวชในศาสนาอันเป็น

เครื่องนำออกจากทุกข์เห็นปานนี้เหตุไรจักดื่มน้ำมีตัวสัตว์อันมิได้กรองเล่า จึง

ทรงติเตียนภิกษุนั้น แล้วทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า มาตลีสารถีใน

ครั้งนั้นได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนท้าวสักกะในครั้งนั้น

ได้เป็นเราแล.

จบกุลาวาชาดกที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

๒. นัจจชาดก

เหตุที่ยังไม่ให้ลูกสาว

[๓๒] เสียงของท่านก็เพราะ หลังของท่านก็งาม คอ

ของท่านก็เปรียบดังสีแก้วไพฑูรย์ และหางของท่านก็

ยาวตั้งวา เราจะไม่ไห้ลูกสาวของเราแก่ท่าน เพราะการ

รำแพนหาง.

จบนัจจชาดกที่ ๒

๒. อรรถกถานัจจชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มี

ภัณฑะมากรูปหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า รุท มนุญฺ

ดังนี้.

เรื่องเป็นเช่นกับเรื่องที่กล่าวไว้ในเทวธรรมชาดกในหนหลังนั่นแหละ.

พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้มีภัณฑะ

มากจริงหรือ ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ. พระ-

ศาสดาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร เธอจึงเป็นผู้มีภัณฑะมาก ? ภิกษุนั้นพอได้

ฟังพระดำรัสมีประมาณเท่านี้ก็โกรธจึงทิ้งผ้านุ่ง ผ้าห่ม คิดว่า บัดนี้ เราจัก

เที่ยวไปโดยทำนองนี้แล แล้วได้ยืนเป็นคนเปลือยอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์.

คนทั้งหลายพากันกล่าวว่า น่าตำหนิ น่าตำหนิ. ภิกษุนั้นหลบไปจากที่นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

แหละ แล้วเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว (คือสึก). ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุม

กันในโรงธรรมสภา พากันกล่าวโทษของภิกษุนั้นว่า กระทำกรรมเห็นปานนี้

เบื้องพระพักตร์ชื่อของพระศาสดา. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ชื่อภิกษุนั้นละหิริและโอตตัปปะ เป็นคนเปลือย

เหมือนเด็กชาวบ้านในท่ามกลางบริษัท ๔ เบื้องหน้าพระองค์ ผู้อันคนทั้งหลาย

รังเกียจอยู่ จึงเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว เสื่อมจากพระศาสนา ดังนั้น

ข้าพระองค์ทั้งหลายจึง นั่งประชุมกันด้วยการกล่าวโทษมิใช่คุณของภิกษุนั้น.

พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นเสื่อมจากศาสนาคือพระรัตนะ

ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็เป็นผู้เสื่อมแล้วจากอิตถีรัตนะเหมือน

กัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาลครั้งปฐมกัป สัตว์ ๔ เท้าทั้งหลายได้ตั้งราชสีห์ให้เป็นราชา

พวกปลาตั้งปลาอานนท์ให้เป็นราชา พวกนกได้ตั้งสุวรรณหงส์ให้เป็นราชา. ก็

ธิดาของพระยาสุวรรณหงส์นั้นนั่นแล เป็นลูกหงส์มีรูปงาม พระยาสุวรรณหงส์

นั้นได้ให้พรแก่ธิดานั้น. ธิดานั้นขอ (เลือก) สามีตามชอบใจของตน. พระยาหงส์

ให้พรแก่ธิดานั้น แล้วให้นกทั้งปวงในป่าหิมพานต์ประชุมกัน หมู่นกนานาชนิด

มีหงส์และนกยูงเป็นต้น มาพร้อมกันแล้ว ประชุมกันที่พื้นหินใหญ่แห่งหนึ่ง

พระยาหงส์เรียกธิดามาว่า จงมาเลือกเอาสามีตามชอบใจของตน. ธิดานั้นตรวจ

ดูหมู่นก ได้เห็นนกยูงมีคอดังสีแก้วมณี มีหางงามวิจิตรจึงบอกว่า นกนี้จง

เป็นสามีของดิฉัน. หมู่นกทั้งหลายจึงเข้าไปหานกยูงแล้วพูดว่า ท่านนกยูงผู้

สหาย ราชธิดานี้เมื่อจะพอใจสามีในท่ามกลางพวกนกมีประมาณเท่านี้ ได้ยัง

ความพอใจให้เกิดขึ้นในท่าน. นกยูงคิดว่า แม้วันนี้พวกนกก็ยังไม่เห็นกำลัง

ของเราก่อน จึงทำลายหิริโอตตัปปะเพราะความดีใจยิ่งนัก เบื้องต้น ได้เหยียด

ปีกออกเริ่มจะรำแพนในท่ามกลางหมู่ใหญ่ ได้เป็นผู้รำแพน (อย่างเต็มที่) ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

เงื่อนงำปิดบังไว้เลย. พระยาสุวรรณหงส์ละอายกล่าวว่า นกยูงนี้ ไม่มีหิริอันมี

สมุฏฐานตั้งขึ้นภายในเลย โอตตัปปะอันมีสมุฏฐานดังขึ้นในภายนอกจะมีได้

อย่างไร เราจักไม่ให้ธิดาของเราแก่นกยูงนั้นผู้ทำลายหิริโอตตัปปะ แล้วกล่าว

คาถานี้ในท่ามกลางหมู่นกว่า

เสียงของท่านก็เพราะ หลังของท่านก็งาม คอ

ของท่านก็เปรียบดังสีแก้วไพฑูรย์ และหางของท่าน

ก็ยาวตั้งวา เราจะไม่ให้ลูกสาวของเราแก่ท่าน

เพราะการรำแพนทาง.

บทว่า รุท มนุญฺ ในคาถานั้น ท่านแปลง อักษร เป็น

อักษร. อธิบายว่า เสียงเป็นที่น่าจับใจคือเสียงร้องไพเราะ. บทว่า รุจิรา จ

ปิฏฺิ ความว่า แม้หลังของท่านก็วิจิตรงดงาม. บทว่า เวฬุริยวณฺญูปฏิภา

แปลว่า เช่นกับสีแก้วไพฑูรย์. บทว่า พฺยามมตฺตานิ แปลว่า มีประมาณ

๑ วา. บทว่า เปกฺขุณานิ ได้แก่ กำหาง. บทว่า นจฺเจน เต ธีตร

โน ททามิ ความว่า พระยาหงส์กล่าวว่า เราจะไม่ให้ธิดาของเราแก่ท่านผู้ไม่มี

ความละอายเห็นปานนี้ เพราะท่านทำลายหิริโอตตัปปะแก้วรำแพนนั่นแหละ

แล้วได้ให้ธิดาแก่ลูกหงส์ผู้เป็นหลานของตน ในท่ามกลางบริษัทนั้นนั่นเอง.

นกยูงไม่ได้ธิดาหงส์ก็ละอายจึงบินหนีไป. ฝ่ายพระยาหงส์ก็ไปยังที่อยู่

ของตนนั่นแล.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ทำลายหิริโอตตัปปะ

แล้วเสื่อมจากศาสนาคือรัตนะ ในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็เป็น

ผู้เสื่อมแล้ว แม้จากรัตนะคือหญิงเหมือนกัน พระองค์ครั้นทรงนำพระธรรม

เทศนานี้มาแล้ว จึงทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า นกยูงในครั้งนั้น ได้เป็น

ภิกขุผู้มีภัณฑะมาก ส่วนพระยาหงส์ในครั้งนั้นได้เป็นเราตลาคตแล.

จบนัจจชาดกที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

๓. สัมโมทมานชาดก

ว่าด้วยพินาศเพราะทะเลาะกัน

[๓๓] นกทั้งหลายพร้อมเพรียงกันพาเอาข่ายไป เมื่อ

ใด พวกมันทะเลาะกัน เมื่อนั้น พวกมันจักตกอยู่ใน

อำนาจของเรา.

จบสัมโมทมานชาดกที่ ๓

๓. อรรถกถาสัมโมทมานชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ใน

นิโครธาราม ทรงปรารภการทะเลาะกันแห่งพระญาติ จึงตรัสพระธรรมเทศนา

นี้มีคำเริ่มต้นว่า สมฺโมทมานา ดังนี้

การทะเลาะแห่งพระญาตินั้น จักมีแจ้งในกุณาลชาดก. ก็ในกาลนั้น

พระศาสดาตรัสเรียกพระญาติทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า มหาบพิตรทั้งหลาย ชื่อ

ว่าการทะเลาะกัน และกันแห่งพระญาติทั้งหลาย ไม่สมควร จริงอยู่ ในกาล

ก่อนในเวลาสามัคคีกัน แม้สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายก็ครอบงำปัจจามิตร ถึง

ความสวัสดี ในกาลใดถึงการวิวาทกัน ในกาลนั้นก็ถึงความพินาศใหญ่หลวง

ผู้อันราชตระกูลแห่งพระญาติทั้งหลายทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมา

ดังต่อไปนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกกระจาบมีนกกระจาบหลายพันเป็นบริวารอยู่ใน

ป่า. ในกาลนั้นพรานล่านกกระจาบคนหนึ่ง ไปยังที่อยู่ของนกกระจาบเหล่านั้น

ทำเสียงร้องเหมือนนกกระจาบ รู้ว่านกกระจาบเหล่านั้นประชุมกันแล้ว จึงทอด

ตาข่ายไปข้างบนนกกระจาบเหล่านั้น แล้วกดที่ชายรอบ ๆ กระทำให้นกกระจาบ

ทั้งหมดมารวมกัน แล้วบรรจุเต็มกระเข้าไปเรือน ขายนกกระจาบเหล่านั้นเลี้ยง

ชีพด้วยมูลค่านั้น. อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์กล่าวกะนกกระจาบเหล่านั้น ว่า

นายพรานนกนี้ทำพวกญาติของเราทั้งหลายให้ถึงความพินาศ เรารู้อุบายอย่าง

หนึ่งอันเป็นเหตุให้นายพรานนกนั้นไม่อาจจับพวกเรา จำเดิมแต่บัดนี้ไปเมื่อ

นายพรานนกนี้สักว่าทอดข่ายลงเบื้องบนพวกเรา ท่านทั้งหลายแต่ละตัว จงสอด

หัวเข้าในตาของตาข่ายตาหนึ่ง ๆ พากันยกตาข่ายขึ้นแล้วพาบินไปยังที่ที่ต้องการ

แล้วพาดลงบนพุ่มไม้มีหนาม เมื่อเป็นอย่างนั้น พวกเราจักหนีไปทางส่วนเบื้อง

ล่างโดยที่นั้น. นกกระจาบเหล่านั้นทั้งหมดพากันรับคำแล้ว ในวันที่ ๒ เมื่อ

พรานนกทอดข่ายลงเบื้องบน ก็พากันยกข่ายขึ้นโดยนัยที่พระโพธิสัตว์กล่าวแล้ว

นั่นแหละแล้วพาดลงบนพุ่มไม้มีหนามแห่งหนึ่ง ส่วนตนเองหนีไปทางนั้น ๆ

โดยส่วนเบื้องล่าง. เมื่อพรานนกมัวปลดข่ายจากพุ่มไม้อยู่นั่นแหละ ก็เป็นเวลา

พลบค่ำ. นายพรานนกนั้นจึงได้เป็นผู้มีมือเปล่ากลับไป. แม้จำเดิมแต่วันรุ่งขึ้น

นกกระจาบเหล่านั้นก็กระทำอย่างนั้นนั่นแหละ. ฝ่ายนายพรานนกนั้นเมื่อปลด

เฉพาะข่ายอยู่ จนกระทั้งพระอาทิตย์อัสดง ไม่ได้อะไร ๆ เป็นผู้มีมือ

เปล่าไปบ้าน. ลำดับนั้น ภรรยาของเขาโกรธพูดว่า ท่านกลับมามือเปล่า

ทุกวัน ๆ เห็นจะมีที่ที่ท่านจะต้องเลี้ยงดูข้างนอกแม้แห่งอื่น. นายพรานนก

กล่าวว่า นางผู้เจริญ เราไม่มีที่ที่จะเลี้ยงดูแห่งอื่น ก็อนึ่งแล นกกระจาบ

เหล่านั้นมันพร้อมเพรียงกันเที่ยวไป มันพากันเอาข่าย สักว่าพอเราเหวี่ยงลง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

ไปพาดบนพุ่มไม้มีหนาม แต่พวกมันจะไม่ร่าเริงอยู่ได้ตลอดกาลทั้งปวงดอก

เจ้าอย่าเสียใจ เมื่อใด พวกมันถึงการวิวาทกัน เมื่อนั้นเราจักพาเอาพวกมัน

ทั้งหมดมา ทำหน้าของเธอให้ชื่นบานเถิด แล้วกล่าวคาถานี้แก่ภรรยาว่า

นกระจาบทั้งหลายร่าเริงบันเทิงใจพาเอาข่ายไป

เมื่อใดพวกมันทะเลาะกัน เมื่อนั้น พวกมันจักตกอยู่ใน

อำนาจของเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา เต วิวทิสฺสนฺติ ความว่า ใน

กาลใด นกกระจาบเหล่านั้นมีลัทธิต่าง ๆ กัน มีการยึดถือต่าง ๆ กัน จักวิวาท

กัน คือจักทำการทะเลาะกัน. บทว่า ตทา เอหินฺติ เม วส ความว่า

ในกาลนั้นนกกระจาบเหล่านั้นแม้ทั้งหมด จักนาสู่อำนาจของเรา เมื่อเป็น

เช่นนั้น เราจักบนกกระจาบเหล่านั้นมา ทำใบหน้าของเธอให้เบิกบานไว้

นายพรานนกปลอบโยนภรรยาด้วยประการดังกล่าวมาฉะนี้

โดยล่วงไป ๒-๓ วัน นกกระจาบตัวหนึ่งเมื่อจะลงยังภาคพื้นที่หากิน

ไม่ได้กำหนด จึงได้เหยียบหัวของนกกระจาบตัวอื่น. นกกระจาบตัวที่ถูกเหยียบ

หัวโกรธว่า ใครเหยียบหัวเรา เมื่อนกกระจาบตัวนั้นแม้จะพูดว่า เราไม่ได้

กำหนดจึงได้เหยียบ ท่านอย่าโกรธเลย ก็ยังโกรธอยู่นั่นแหละ. นกกระจาบ

เหล่านั้น เมื่อพากันกล่าวอยู่ซ้ำ ๆ ซาก ๆ จึงกระทำการทะเลาะกันว่า เห็นจะ

ท่านเท่านั้นกระมัง ยกข่ายขึ้นได้. เมื่อนกกระจาบเหล่านั้นทะเลาะกัน พระ

โพธิสัตว์คิดว่า ขึ้นชื่อว่าการทะเลาะกันย่อมไม่มีความปลอดภัย บัดนี้แหละ-

นกกระจาบเหล่านั้นจักไม่ยกข่าย แต่นั้นจักพากันถึงความพินาศใหญ่หลวง

นายพรานนกจักได้โอกาส เราไม่อาจอยู่ในที่นี้. พระโพธิสัตว์นั้นจึงพาบริษัท

ของตนไปอยู่ที่อื่น. ฝ่ายนายพรานนก พอล่วงไป ๒-๓ วัน ก็มาแล้วร้อง

เหมือนเสียงนกกระจาบ ซัดข่ายไปเบื้องบนของนกกระจาบเหล่านั้นผู้มาประชุม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

กัน. ลำดับนั้น นกกระจาบตัวหนึ่งพูดว่า เขาว่า เมื่อท่านยกข่ายขึ้นเท่านั้น

ขนบนหัวจึงร่วง บัดนี้ ท่านจงยกขึ้น. นกกระจาบอีกตัวหนึ่งพูดว่า ข่าวว่า

เมื่อท่านมัวแต่ยกข่ายขึ้น (จน) ขนปีกทั้งสองข้างร่วงไป บัดนี้ท่านจงยกขึ้น.

ดังนั้น เมื่อนกกระจาบเหล่านั้น มัวแต่พูดว่า ท่านจงยกขึ้น ท่านจงขึ้น นาย

พรานนกมารวบเอาข่าย ให้นกกระจาบเหล่านั้นทั้งหมดมารวมกันแล้วใส่เต็ม

กระเช้า ได้ไปเรือน ทำให้ภรรยาร่าเริงใจ.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตรทั้งหลาย ชื่อว่าความทะเลาะแห่ง

พระญาติทั้งหลายไม่ควรอย่างนี้ เพราะความทะเลาะเป็นมูลเหตุแห่งความพินาศ

ถ่ายเดียว แล้วทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิกันแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า นกกระจาบตัวที่ไม่เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นพระ-

เทวทัต ส่วนนกกระจาบตัวที่เป็นบัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราแล.

จบสัมโมทมานชาดกที่ ๓

๔. มัจฉาชาดก

ว่าด้วยความหึงหวง

[๓๔] ความเย็น ความร้อน และการติดอยู่ใน

แห ไม่ได้เบียดเบียนเราให้ได้รับทุกข์เลย แต่ข้อที่

นางปลาสำคัญว่า เราไปหลงนางปลาตัวอื่นนั่นแหละ

เบียดเบียนเราให้ได้รับทุกข์.

จบมัจฉาชาดกที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

๔. อรรถกถามัจฉาชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภการประเล้า

ประโลมของภรรยาเก่า จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า น ม สีต

น ม อณฺห ดังนี้.

ความพิศดารว่า ในกาลนั้น พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อน

ภิกษุ ได้ยินว่าเธอเป็นผู้กระสันจะสึกจริงหรือ ? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า จริง พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสถามว่า เพราะเหตุไร

เธอจึงเป็นผู้กระสันจะสึก? ภิกษุนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภรรยา

เก่าของข้าพระองค์เป็นผู้มีรสมืออร่อย ข้าพระองค์ไม่อาจละนาง พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุหญิงนั่นเป็นผู้กระทำ

ความฉิบหายแก่เธอ แม้ในกาลก่อน เธอเมื่อจะถึงความตายก็เพราะอาศัยหญิง

นั่น แต่พ้นจากความตายเพราะอาศัยเรา แล้วทรงนำเรื่องอดีตนิทานมา ดัง

ต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัตนั้น ในกาลนั้น พวกชาว

ประมงได้ทอดแหอยู่ในแม่น้ำ ครั้งนั้น มีปลาใหญ่ตัวหนึ่งมาเล่นอยู่กับนางปลา

ของตนด้วยความยินดี. นางปลานั้นว่ายไปข้างหน้าของปลาใหญ่นั้น ได้กลิ่น

แห จึงเลี้ยงแหไป. ส่วนปลาใหญ่นั้นติดในกามเป็นปลาโลเล ได้เข้าไปยัง

ท้องแหนั่นเอง. พวกชาวประมงรู้ว่าปลาใหญ่นั้นเข้าไปติดแห จึงยกแหขึ้นจับ

เอาปลา ไม่ฆ่า โยนไปบนหลังทราย คิดว่าจักปิ้งปลานั้นกิน จึงก่อไฟถ่าน

เสี้ยมไม้แหลม ปลาคร่ำครวญอยู่ว่า การย่างบนถ่านไฟหรือการเสียบด้วยไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

แหลมนั้น ก็หรือทุกข้ออย่างอื่น จะไม่ทำไห้เราลำบาก แต่ข้อที่นางปลานั้น

ถึงความโทมนัสในเราว่า ปลาใหญ่นั้น ได้ไปหานางปลาตัวอื่นด้วยความยินดี

เป็นแน่นั้นเท่านั้น เบียดเบียนเรา จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ความเย็น ความร้อน และการติดอยู่ในแห

ไม่ได้เบียดเบียนเราให้ได้รับทุกข์เลย แต่ข้อที่นางปลา

สำคัญว่า เราไปหลงนางปลาตัวอื่นนั่นแหละ เบียด-

เบียนเราให้ได้รับทุกข์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ม สีต น ม อุณฺห ความว่า

ปลาทั้งหลายย่อมมีความหนาว ในเวลาถูกนำออกไปจากน้ำ เมื่อความหนาวนั้น

ปราศจากไป ความร้อนย่อมมี. ปลาหมายเอาความหนาวและความร้อนแม้ทั้ง

สองนั้น จึงคร่ำครวญว่า ความหนาว ความร้อน ย่อมไม่เบียดเบียนเรา.

ปลาหมายเอาความทุกข์ซึ่งมีการปิ้งบนถ่านไฟที่จักมีขึ้นแม้นั้น จึงคร่ำครวญว่า

ความร้อนจะไม่เบียดเบียนเรา. ด้วยบทว่า น ม ชาลสฺมิ พาธน นี้ ปลา

ย่อมคร่ำครวญว่า การที่ได้คิดอยู่ในแหแม้นั้น ก็ไม่เบียดเบียนเรา. ในบทว่า

ยญฺจ ม ดังนี้เป็นต้นไป มีประมวลความดังต่อไปนี้. นางปลานั้นไม่รู้ว่า

เราผู้ติดอยู่ในแหถูกพวกประมงเหล่านั้นจับเอาไป เมื่อไม่เห็นเราก็จะคิดว่าบัดนี้

ปลาใหญ่นั้นจักติดนางปลาตัวอื่นด้วยความยินดีในกาม การที่นางปลานั้นผู้ถึง

ความโทมนัสคิดดังนั้น ย่อมเบียดเบียนเรา เพราะเหตุนั้น ปลาใหญ่นั้น จึง

นอนคร่ำครวญอยู่บนหลังทราย.

สมัยนั้น ปุโรหิตอันทาสแวดล้อมมายังฝั่งแม่น้ำเพื่อจะอาบน้ำ ก็

ปุโรหิตนั้น เป็นผู้รู้เสียงร้องของสัตว์ทุกชนิด. ด้วยเหตุนั้น ปุโรหิตนั้น ได้ฟังปลา

คร่ำครวญจึงคิดว่า ปลานี้คร่ำครวญเพราะกิเลส ก็ปลานี้มีจิตกระสับกระส่าย

อย่างนี้ ตายไป จักบังเกิดในนรกเท่านั้น เราจักเป็นที่พึงอาศัยของปลานี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

ปุโรหิตนั้นจึงไปหาพวกชาวประมงแล้วกล่าวว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่าน

ไม่ให้ปลาเราเพื่อทำกับข้าว แม้สักวัน. ชาวประมงทั้งหลายกล่าวว่า นาย

ท่านพูดอะไร ท่านจงเลือกเอาปลาที่ท่านชอบใจไปเถิด. ปุโรหิตกล่าวว่า เรา

ไม่มีการงานกับผู้อื่น พวกท่านจงให้เฉพาะปลาตัวนี้เท่านั้น. พวกชาวประมง

กล่าวว่า เอาไปเถอะนาย. พระโพธิสัตว์เอามือทั้งสองจับปลานั้นไปนั่งที่ฝั่ง

แม่น้ำกล่าวสอนว่า ปลาผู้เจริญ วันนี้ ถ้าเราไม่เห็นเจ้า เจ้าจะต้องถึงแก่ความ

ตาย ตั้งแต่บัดนี้ไป เจ้าอย่าได้ตกอยู่ในอำนาจของกิเลสเลย แล้วปล่อยไปใน

น้ำ ในเองเข้าไปยังนคร.

พระศาสดาครั้น ทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจจะ

ทั้งหลาย. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันจะสึกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. ฝ่าย

พระศาสดาได้ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า นางปลาในครั้งนั้น ได้เป็น

ภรรยาเก่าในบัดนี้ ปลาในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้กระสันในบัดนี้

ส่วนปุโรหิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราเองแล.

จบมัจฉชาดกที่ ๔

๕. วัฏฏกชาดก

ว่าด้วยความจริง

[๓๕] ปีกของเรามีอยู่ แต่ก็บินไม่ได้ เท้า

ทั้งสองของเราก็มีอยู่ แต่ก็เดินไม่ได้ มารดาและบิดา

ของเราออกไปทาอาหาร ดูก่อนไฟ ท่านจงถอยกลับ

ไปเสีย.

จบวัฏฏกชาดกที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

๕. อรรถกถาวัฏฏกชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จเที่ยวจาริกไปในมคธชนบททั้งหลาย ทรงปรารภ

การดับไฟป่า จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สนฺติ ปกฺขา ดังนี้.

ความพิศดารว่า สมัยหนึ่ง พระศาสดาเมื่อเสด็จเที่ยวจาริกไปในมคธ

ชนบททั้งหลาย ได้เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในหมู่บ้านชาวมคธแห่งหนึ่ง เสด็จ

กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต อันหมู่ภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จดำเนินสู่ทาง.

สมัยนั้น ไฟป่าเป็นอันมากตั้งขึ้น ภิกษุเป็นอันมากเห็นทั้งข้างหน้าและข้างหลัง

ไฟแม้นั้นแล มีควันเป็นกลุ่มเดียว มีเปลวเป็นกลุ่มเดียว กำลังลุกลามมาอยู่

ทีเดียว บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุปุถุชนพวกหนึ่งกลัวต่อมรณภัย กล่าวว่า

พวกเราจะจุดไฟตัดทางไฟ ไฟที่ไหม้มาจักไม่ไหม้ท่วมทับที่ที่ไฟนั้นไหม้แล้ว

จึงนำหินเหล็กไฟออกมาจุดไฟ. ภิกษุอีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ พวก

ท่านกระทำกรรมชื่ออะไร พวกท่านไม่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นบุคคล

ผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ผู้เสด็จไปพร้อมกับในนั่นเอง เหมือนคนไม่เห็น

ดวงจันทร์ลอยเด่นอยู่ในท้องฟ้า ไม่เห็นดวงอาทิตย์ประดับ ด้วยรัศมีตั้งพันกำลัง

ขึ้นจากโลกธาตุด้านทิศตะวันออก เหมือนคนยืนอยู่ที่ริมฝั่งทะเลไม่เห็นทะเล

เหมือนคนยืนพิงเขาสิเนรุไม่เห็นเขาสิเนรุฉะนั้น พากันพูดว่า จะจุดไฟตัดทางไฟ

ชื่อว่า พระกำลังของพระพุทธเจ้า พวกท่านไม่รู้ มาเถิดท่าน พวกเราจักไปยัง

สำนักของพระศาสดา. ภิกษุเหล่านั้นเมื่อไปทั้งข้างหน้าและข้างหลัง แม้ทั้งหมด

ได้รวมกันไปยังสำนักของพระทศพล พระศาสดามีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวาร

ได้ประทับยืนอยู่ ณ ประเทศแห่งหนึ่ง ไฟป่าไหม้เสียงดังมาเหมือนจะท่วมทับ

ครั้น มาถึงที่ที่พระตถาคตประทับยืน พอถึงที่ประมาณ ๑๖ กรีส รอบประเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

นั้นก็ดับไป เหมือนคบไฟที่เขาจุ่มลงในน้ำฉะนั้น ไม่อาจท่วมทับที่ประมาณ

๓๒ กรีส โดยการแลบเข้าไป. ภิกษุทั้งหลายพากันกล่าวคุณของพระศาสดาว่า

น่าอัศจรรย์ ชื่อว่าพระคุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ไฟนี้ไม่มีจิตใจ

ยังไม่อาจท่วมทับที่ที่พระพุทธเจ้าประทับ ยืน ย่อมดับไป เหมือนคบเพลิงหญ้า

ดับด้วยน้ำฉะนั้น น่าอัศจรรย์ ชื่อว่าอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. พระ

ศาสดาได้ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ข้อที่ไฟนี้ถึงภูมิประเทศนี้แล้วดับไป เป็นกำลังของเราในบัดนี้เท่านั้น หามิได้

ก็ข้อนี้เป็นกำลังแห่งสัจจะอันมีในก่อนของเรา ด้วยว่าในประเทศที่นี้ ไฟจัก

ไม่ลุกโพลงตลอดกัปนี้ แม้ทั้งสิ้น นี้ชื่อว่าปาฏิหาริย์ตั้งอยู่ตลอดกัป. ลำดับนั้น

ท่านพระอานนท์ปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น เพื่อต้องการเป็นที่ประทับนั่งของพระ-

ศาสดา พระศาสดาประทับนั่งขัดสมาธิ ฝ่ายภิกษุสงฆ์ก็ถวายบังคมพระตถาคต

แล้วนั่งแวดล้อมอยู่. ลำดับนั้น พระศาสดาอันภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้ปรากฏแล้วแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายก่อน ส่วน

เรื่องอดีตยังสลับ ขอพระองค์โปรดกระทำเรื่องอดีตนั้น ให้ปรากฏแก่ข้าพระองค์

ทั้งหลาย จึงทรงนำเรื่องอดีตมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ในประเทศนั้นนั่นแหละในแคว้นมคธ พระโพธิสัตว์ถือ

ปฏิสนธิในกำเนิดนกคุ่ม เกิดจากต้องมารดา ในเวลาทำลายกะเปาะฟอง

ไข่ออกมา ได้เป็นลูกนกคุ่มมีตัวประมาณเท่าดุมเกวียนบรรทุกสินค้าขนาด

ใหญ่. ลำดับนั้น บิดามารดาให้พระโพธิสัตว์นั้นนอนในรัง แล้วนำอาหาร

มาเลี้ยงดูด้วยจะงอยปาก. พระโพธิสัตว์นั้น ไม่มีกำลังที่จะเหยียดปีกออกบินไป

ในอากาศ หรือไม่มีกำลังที่จะยกเท้าเดินไปบนที่ตอน และไฟป่าย่อมไหม้

ประเทศนั้นทุกปี ๆ. สมัยแม้นั้น ไฟป่านั้นก็ไหม้ประเทศนั้น เสียงดังลั่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

หมู่นกพากันออกจากรังของตน ๆ ต่างกลัวต่อมรณภัยส่งเสียงร้องหนีไป. บิดา

มารดาแม้ของพระโพธิสัตว์ก็กลัวต่อมรณภัย จึงทั้งพระโพธิสัตว์หนีไป พระ-

โพธิสัตว์นอนอยู่ในรังนั่นเอง ชะเง้อคอแลเห็นไฟป่ากำลังไหม้ตลบมา จึงคิด

ว่า ถ้าเราจะพึงมีกำลังที่จะเหยียดปีกออกบินไปในอากาศไซร้ เราก็จะพึงโบย

บินไปที่อื่น ถ้าเราจะพึงมีกำลังที่จะยกเท้าเดินไปบนบกได้ไซร้ เราก็จะย่างเท้า

ไปที่อื่นเสีย ฝ่ายบิดามารดาของเราก็กลัวแต่มรณภัย ทิ้งเราไว้แต่ผู้เดียว เมื่อ

จะป้องกันตน จึงได้หนีไป. บัดนี้ ที่พึ่งอื่นของเราไม่มี เราไม่มีที่ต้านทาน

ไม่มีที่พึ่ง วันนี้ เราจะทำอย่างไรหนอ จึงจะควร. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์

นั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ชื่อว่าคุณแห่งศีล ย่อมมีอยู่ในโลกนี้ ชื่อว่าคุณ

แห่งสัจจะก็ย่อมมี ในอดีตกาล ชื่อว่าพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรง

บำเพ็ญบารมีทั้งหลายประทับนั่งที่พื้นต้นโพธิ์ ได้ตรัสรู้พร้อมยิ่งแล้ว ทรง

เพียบพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ ทรง

ประกอบด้วยสัจจะ ความเอ็นดู ความกรุณา และขันติ ย่อมมีอยู่ และคุณ

ของพระธรรมทั้งหลายที่พระสัพพัญญพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ทรงรู้แจ้งแล้ว

ย่อมมีอยู่ เออก็ความสัจอย่างหนึ่งย่อมมีอยู่ในเราแท้ สภาวธรรมอย่างหนึ่งย่อม

มีปรากฏอยู่ เพราะฉะนั้น เราจะรำลึกถึงอดีตพระพุทธเจ้าทั้งหลาย และคุณ

ทั้งหลายที่อดีตพระพุทธเจ้าเหล่านั้นรู้แจ้งแล้ว ถือเอาสภาวธรรมคือสัจจะซึ่ง

มีอยู่ในเรา กระทำสัจกิริยาให้ไฟถอยกลับไป กระทำความปลอดภัยแก่ตน

และหมู่นกที่เหลือในวันนี้ ย่อมควร. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

คุณแห่งศีลมีอยู่ในโลก ความสัตว์ ความสะอาด

และความเอ็นดู มีอยู่ในโลก ด้วยความสัจนั้น

ข้าพเจ้าจักทำสัจกิริยาอันยอดเยี่ยม ข้าพเจ้าพิจารณา

กำลังแห่งธรรม ระลึกถึงพระชินเจ้าทั้งหลายในปาง

ก่อน อาศัยกำลังสัจจะ ขอทำสัจกิริยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ระลึกถึงพระคุณทั้งหลายของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายผู้ปรินิพพานไปแล้วในอดีต แล้วปรารภสภาวะคือสัจจะซึ่งมีอยู่ในคน

เมื่อจะทำสัจกิริยา จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ปีกของเรามีอยู่ แต่ก็บินไม่ได้ เท้าทั้งสองของ

เรามีอยู่ แต่ก็เดินไม่ได้ มารดาและบิดาของเรา ออก

ไปหาอาหาร ดูก่อนไฟ ท่านจงถอยกลับไปเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ปกฺขา อปตนา ความว่า ชื่อว่า

ปีกทั้งสองของเรามีอยู่ คือ เกิดมีอยู่แต่ไม่อาจบิน คือไปทางอากาศด้วยปีก

เหล่านั้นได้ เหตุนั้น จึงชื่อว่าบินไม่ได้. บทว่า สนฺติ ปาทา อวญฺจนา

ความว่า แม้เท้าทั้งสองของเราก็มีอยู่แต่ไม่อาจเดิน คือไปโดยการย่างเท้าไป

ด้วยเท้าทั้งสองนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าเดินไม่ได้. บทว่า มาตา ปิตา

จ นิกฺขนฺตา ความว่า อนึ่ง แม้มารดาบิดาผู้จะนำเราไปที่อื่นแม้นั้นก็ออกไป

แล้วเพราะกลัวตาย พระโพธิสัตว์เรียกไฟว่า ชาตเวทะ. จริงอยู่ ไฟนั้น พอ

เกิดก็รู้ คือปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ชาตเวทะ เกิดก็รู้. ด้วยบทว่า

ปฏิกฺกม นี้ พระโพธิสัตว์สั่งไฟว่า จงถอยไป คือจงกลับไป. ดังนั้น

พระมหาสัตว์นอนอยู่ในรังนั่นแหละได้ทำสัจกิริยาว่า ถ้าความที่ปีกทั้งสองของ

เรามี ๑ ภาวะคือการเหยียดปีกทั้งสองบินไปทางอากาศไม่ได้ ๑. ความที่เท้า

ทั้งสองมี ๑ ภาวะคือการยกเท้าทั้งสองนั้นเดินไปไม่ได้ ๑ ความที่มารดาบิดาทั้ง

เราไว้ในรังนั่นแหละแล้วหนีไป ๑ ทั้งหมดเป็นตัวสภาวะทั้งนั้น ดูก่อนไฟ

ด้วยคำสัจนี้ ท่านจงกลับไปจากที่นี้.

พร้อมกับสัจกิริยาของพระโพธิสัตว์นั้น ไฟได้ถอยกลับไปในที่ประมาณ

๑๖ กรีส ก็แหละเมื่อจะถอยไปก็ไหม้ไปยังที่อื่นในป่า ทั้งดับแล้วในที่นั้นเอง

เหมือนคบเพลิงอันบุคคลให้จมลงในน้ำฉะนั้น ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

เมื่อเราทำสัจจะ เปลวไฟอันรุ่งเรืองใหญ่หลีกไป

๑๖ กรีสพร้อมด้วยคำสัตย์ ประหนึ่งเปลวไฟอันตกถึง

น้ำก็ดับไปฉะนั้น สิ่งไรเสมอด้วยสัจจะของเราไม่มี

นี้เป็นสัจบารมี ของเรา ดังนี้.

ก็สถานที่นี้นั้น เกิดเป็นปาฏิหาริย์ชื่อว่าตั้งอยู่ชั่วกัป เพราะไฟจะไม่ไหม้

ืในกัปนี้แม้ทั้งสิ้น. พระโพธิสัตว์ครั้น ทำสัจกิริยาอย่างนี้แล้ว ในเวลาสิ้นชีวิต

ได้ไปตามยถากรรม. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่ไฟไม่ไหม้

สถานที่นี้ เป็นกำลังของเราในบัดนี้ หามิได้ ก็กำลังนั่นเป็นของเก่า เป็น

สัจพลังของเราเองในครั้งเป็นลูกนกคุ่ม ดังนี้ ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนา

นี้มาแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย ในเวลาจบสัจจะ บางพวกได้เป็น

พระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี

บางพวกบรรลุพระอรหัต ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า

มารดาบิดาในครั้งนั้นคงเป็นมารดาบิดาอยู่ตามเดิมในบัดนี้ ส่วน

พระยานคุ่ม ได้เป็นเราเองแล.

จบวัฏฏกชาดกที่ ๕

๖. สกุณชาดก

ว่าด้วยที่พึ่งให้โทษ

[๓๖] นกทั้งหลายอาศัยต้นไม่ได้ ต้นไม้นั้น

ย่อมทิ้งไฟลงมา นกทั้งหลายจงพากันหนีไปอยู่เสียที่

อื่นเถิด ภัยเกิดจากที่พึงของพวกเราแล้ว

จบสกุณชาดกที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

๖. อรรถกถาสกุณชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ถูกไฟ

ไหม้บรรณศาลา จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า ยนฺนิสฺสิตา ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้น เรียนพระกรรมฐานในสำนักของพระศาสดา แล้ว

ออกจากพระเชตวันวิหารเข้าไปอาศัยปัจจันตคามแห่งหนึ่งในโกศลชนบท อยู่

ในเสนาสนะป่าแห่งหนึ่ง. ลำดับนั้น บรรณศาลาของภิกษุนั้น ถูกไฟไหม้ ใน

เดือนแรกนั้นเอง ภิกษุนั้นคิดว่า บรรณศาลาของเราถูกไฟไหม้เสียแล้ว เราจัก

อยู่ลำบาก จึงบอกแก่คนทั้งหลาย คนทั้งหลายอ้างการงานนั้น ๆ อย่างนี้ว่า

บัดนี้ นาของพวกเราแห้ง พวกเราระบายน้ำเข้านาแล้วจักทำให้ เมื่อระบายน้ำ

เข้านาแล้วหว่านพืช เมื่อหว่านพืชแล้วทำรั้ว เมื่อทำรั้วแล้วสางพืช เก็บเกี่ยว

นวด ดังนี้ให้กาลเวลาล่วงเลยไป ๓ เดือน ภิกษุนั้นอยู่ลำบากในที่แจ้งตลอด

เดือน จึงไม่อาจเจริญกรรมฐานยังคุณวิเศษให้บังเกิด ก็ครั้นปวารณาแล้ว

ก็ไปยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง

พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุนั้น แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

เธออยู่จำพรรษาโดยสะดวกหรือ ? กรรมฐานของเธอถึงที่สุดแล้วหรือ ? ภิกษุ

นั้นกราบทูลเรื่องราวนั้นแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กรรมฐานของ

ข้าพระองค์ไม่ถึงที่สุด เพราะไม่มีเสนาสนะอันเป็นสัปปายะ พระศาสดาตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุ ในกาลก่อน แม้สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายก็ยังรู้ที่อันเป็นสัปปายะ

และไม่เป็นสัปปายะของตน เพราะเหตุไร เธอจึงไม่รู้ แล้วทรงนำอดีตนิทาน

มาดังต่อไปนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนก อันหมู่นกห้อมล้อม อาศัยต้นไม้ให้อัน

สมบูรณ์ด้วยกิ่งและค่าคบอยู่ในราวป่า ครั้นวันหนึ่ง จุรณตกในที่กิ่งทั้งหลายของ

ต้นไม้นั้นเสียดสีกันไปนา ควันเกิดขึ้น พระโพธิสัตว์เห็นดังนั้นจึงคิดว่า กิ่งทั้ง

สองนี้เมื่อเสียดสีกันอยู่อย่างนี้จักเกิดไฟ ไฟนั้นตกลงไปติดใบไม้เก่า ๆ จำเดิม

แต่นั้นไฟจักเผาต้นไม้แม้นี้ พวกเราไม่อาจอยู่ในที่นี้ พวกเราหนีจากที่นี้ไปอยู่

ที่อื่น จึงจะควร พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถานี้แก่หมู่นกว่า

นกทั้งหลายอาศัยต้นไม้ใด ต้นไม้นั้นย่อมทิ้งไฟ

ลงมา นกทั้งหลายจงพากันหนีไปอยู่เสียที่อื่นเกิด ภัย

เกิดจากที่พึ่งของเราแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชคติรุห ความว่า ปฐพีเรียกว่า ชคติ

ต้นไม้เรียกว่า ชคติรุหะ เพราะต้นไม้เกิดที่ปฐพีนั้น. บทว่า วิหงฺคมา ความว่า

อากาศเรียกวิหะ นกทั้งหลายเรียกว่า วิหังคมะ เพราะไปในอากาศนั้น. บทว่า

ทิสา ภชถ ความว่า ท่านทั้งหลายเมื่อจะละต้นไม้นี้หนีไปจากที่นี้ จงไป

ยังทิศทั้ง ๔. พระโพธิสัตว์เรียกนกทั้งหลายว่า วังถังคา เพราะว่า นกเหล่า

นั้นกระทำคอซึ่งไปตรงให้คดในบางครั้ง เพราะฉะนั้นจึง เรียกว่า วังกังคา.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วังถังคา เพราะวังกะคือปีกทั้งหลายเกิดที่ข้างทั้งสองของนก

เหล่านั้น ดังนี้ก็มี. บทว่า ชาต สรณโต ภย ความว่า ภัยบังเกิดจาก

ต้นไม้อันเป็นที่พึ่งอาศัยของพวกเรานั่นแล มาเถิดพวกเราพากันไปที่อื่น.

นกทั้งหลายที่เป็นบัณฑิตกระทำตามคำของพระโพธิสัตว์ พากันบินขึ้น

พร้อมกันกับพระโพธิสัตว์นั้นไปอยู่ที่อื่นส่วนนกทั้งหลายที่ไม่เป็นบัณฑิตพากัน

กล่าวอย่างนี้ว่า พระโพธิสัตว์นี้เห็นว่ามีจระเข้ในน้ำเพียงหยดเดียว จึงไม่เธอ

ถือคำของพระโพธิสัตว์นั้น คงอยู่ในที่นั้นนั่นเอง แค่นั้นไม่นานนัก ไฟบังเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

ขึ้นจับติดต้นไม้นั้นแหละ ตามอาการที่พระโพธิสัตว์คิดแล้วนั่นแล เมื่อควัน

และเปลวไฟตั้งขึ้น นกทั้งหลาย (มีตา) มีมัวเพราะควัน จึงไม่อาจไปที่ไหน

ได้ พากันตกลงในไฟถึงความพินาศ.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ในกาลก่อนแม้สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย

อยู่บนยอดไม้ ก็ยิ่งรู้ความสบายและไม่สบายของตนอย่างนี้ เพราะเหตุไร เธอ

จึงไม่รู้ดังนี้. ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วจึงทรงประกาศสัจจะทั้งหลาย

ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงสืบ

อนุสนธิประชุมชาดกว่า นกทั้งหลายที่ทำตามคำของพระโพธิสัตว์ ใน

ครั้งนั้น ได้เป็นพุทธบริษัทในบัดนี้ ส่วนนกผู้เป็นบัณฑิต ได้เป็น

เราเองแล.

จบสกุณชาดกที่ ๖

๗. ติตติรชาดก

ว่าด้วยผู้มีความอ่อนน้อม

[๓๗] นรชนเหล่าใด ฉลาดในธรรม ย่อมนอบน้อม

คนผู้เจริญ นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ได้รับความสรรเสริญ

ในปัจจุบันนี้ และมิสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

จบติตติรชาดกที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

๗. อรรถกถกาติตติรชาดก

พระศาสดาเมื่อเสด็จไปยังนครสาวัตถีทรงปรารภการห้ามเสนาสนะพระ

สารีบุตร จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริมต้นว่า เย วุฑฺฒมปจายนฺติ

ดังนี้.

ความพิศดารว่า เมื่อท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี สร้างวิหารเสร็จแล้ว

ส่งทูตไป (นิมนต์) พระศาสดาเสด็จออกจากนครราชคฤห์ ถึงนครเวสาลี

ประทับอยู่ในนครเวสาลีนั้น ตามความพอพระทัย แล้วทรงพระดำริว่า จักไป

นครสาวัตถี จึงเสด็จดำเนินไปตามทาง. สมัยนั้น อันเตวาสิกทั้งหลายของภิกษุ

ฉัพพัคคีย์พากันล่วงหน้าไป เมื่อพระเถระทั้งหลายยังไม่ได้จับจองเสนาสนะเลย

พากันหวงเสนาสนะด้วยการพูดว่า เสนาสนะนี้จักเป็นของอุปัชฌาย์ของพวกเรา

เสนาสนะนี้จักเป็นของอาจารย์ของพวกเรา เสนาสนะนี้จักเป็นของพวกเราเท่า

นั้น. พระเถระทั้งหลายที่มาภายหลัง ย่อมไม่ได้เสนาสนะ อันเตวาสิกทั้งหลาย

แม้ของพระสารีบุตรเถระพากันแสวงหาเสนาสนะเพื่อพระเถระ ก็ไม่ได้. พระ-

เถระเมื่อไม่ได้เสนาสนะจึงยับยั้งอยู่ ด้วยการนั่งและการเดินจงกรม ที่โคนไม้

แห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลเสนาสนะของพระศาสดานั้นเอง. ในเวลาใกล้รุ่ง พระ-

ศาสดาเสด็จออกมาทรงพระกาสะ (ไอ) พระเถระก็ไอขึ้น. พระศาสดาตรัส

ถามว่า นั้นใคร ? พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าพระองค์สารีบุตร พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสถามว่า สารีบุตร เธอทำอะไรอยู่ในที่นี้ในเวลานี้ พระสารี-

ครั้นจึงกราบทูลเรื่องราวนั้น. เมื่อพระศาสดาได้ทรงสดับคำของพระสารีบุตร

แล้วทรงรำพึงว่า เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ในบัดนี้ ภิกษุทั้งหลายยังไม่เคารพไม่

ยำเกรงกันและกันก่อน เมื่อเราปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลายจักทำอย่างไรกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

หนอ ธรรมสังเวชก็เกิดขึ้น. เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระองค์จึงรับสั่งให้ภิกษุ

สงฆ์ประชุมกัน แล้วสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า

ภิกษุฉัพพัคคีย์ล่วงหน้าไปเกียดกันเสนาสนะ ของภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเถระจริง

หรือ ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงพระเจ้าข้า

แต่นั้น พระองค์จึงทรงติเตียนพระฉัพพัคคีย์แล้วตรัสธรรมกถา ตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใครหนอย่อมควรแก่อาสนะอันเลิศ น้ำ

อันเลิศ ก้อนข้าวอันเลิศ. ภิกษุบางพวกกราบทูลว่า ผู้บวชจากขัตติยตระกูล.

บางพวกกราบทูลว่า ผู้บวชจากตระกูลพราหมณ์. บางพวกกราบทูลว่า ผู้บวช

จากตระกูลคฤหบดี. ภิกษุอีกพวกหนึ่งกราบทูลว่า พระวินัยธร พระธรรมกถึก

ท่านผู้ได้ปฐมฌาน ท่านผู้ได้ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน. อีกพวกหนึ่ง

กราบทูลว่า พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ ท่าน

ผู้มีวิชชา ๓ ท่านผู้มีอภิญญา ๖ ย่อมควรแก่อาสนะเลิศ น้ำเลิศ ก้อนข้าวเลิศ.

ในเวลาที่ภิกษุทั้งหลายกล่าวถึงท่านผู้ควรแก่อาสนะเลิศเป็นต้น ตามความชอบ

ใจของตน ๆ อย่างนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ถึงอาสนะ

เลิศเป็นต้นในศาสนาของเราจะต้องเป็นผู้บวชจากตระกูลกษัตริย์ ห้าเป็นประ-

มาณไม่ ผู้บวชจากตระกูลพราหมณ์ ตระกูลคฤหบดี พระวินัยธร พระนัก

พระสูตร พระนักอภิธรรม ท่านผู้ได้ปฐมฌานเป็นต้น พระโสดาบัน เป็นต้น

หาเป็นประมาณไม่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้ในศาสนานี้ ควรกระทำ

การอภิวาท การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามผู้แก่กว่า ควรได้

อาสนะเลิศ น้ำเลิศ ก้อนข้าวเลิศ ตามผู้ที่แก่กว่า นี้เป็นประมาณในศาสนานี้

เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้แก่กว่าเป็นผู้สมควรแก่อาสนะเลิศเป็นต้นเหล่านั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็บัดนี้แล สารีบุตรอัครสาวกของเรา ผู้ประกาศธรรมจักรตามได้

ควรได้เสนาสนะติดกับเรา สารีบุตรนั้นเมื่อไม่ได้เสนาสนะ จึงยับยั้งอยู่ที่โคนไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

ตลอดราตรีนี้ บัดนี้แหละ เธอทั้งหลายไม่เคารพ ไม่ยำเกรง มีความประพฤติ

ไม่เป็นสภาคกันอย่างนี้ เมื่อเวลาล่วงไป ๆ จักกระทำชื่อว่าอะไรอยู่. ลำดับนั้น

เพื่อต้องการจะประทานโอวาทแก่ภิกษุเหล่านั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ในกาลก่อน แม้สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย ก็พากันคิดว่า ก็ข้อที่พวกเราไม่เคารพ

ไม่ยำเกรง มีความประพฤติไม่เป็นสภาคกันและกันนั่น ไม่สมควรแก่พวกเรา

บรรดาเราทั้งหลาย พวกเราจักรู้ผู้ที่แก่กว่า แล้วกระทำอภิวาทเป็นต้นแก่ผู้แก่

กว่านั้น จึงพิจารณากันอย่างถี่ถ้วนแล้วรู้ว่า บรรดาเราทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็น

ผู้แก่กว่า จึงกระทำอภิวาทเป็นต้น แก่ผู้แก่กว่านั่น ยังทางไปเทวโลกให้เต็มอยู่

แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล มีสหายทั้งสาม คือนกกระทา ลิง ช้าง อาศัยต้นไทร

ใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ในหิมวันประเทศ. สหายทั้งสามนั้น ได้เป็นผู้ไม่เคารพ ไม่ยำ

เกรง มีความประพฤติไม่เป็นสภาคกันและกัน. ลำดับนั้น สหายทั้งสามนั้น

ได้มีความคิดดังนี้ว่า การที่เราทั้งหลายอยู่กันอย่างนี้ไม่สมควร ถ้ากระไร พวก

เราพึงกระทำอภิวาทเป็นต้น แก่บรรดาพวกเราผู้แก่กว่าอยู่. สหายทั้งสามคิดกัน

อยู่ว่า บรรดาพวกเรา ก็ใครเล่าเป็นผู้ที่แก่กว่า วันหนึ่งคิดกันว่า อุบายนี้มี

อยู่ จึงทั้ง ๓ สัตว์ นั่งอยู่ที่โคนต้นไทร นกกระทำและลิงจึงถามช้างว่า ดู

ก่อนช้างผู้สหาย ท่านรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่กาลมีประมาณเพียงไร ? ช้างนั้น

กล่าวว่า ดูก่อนสหายทั้งหลาย ในเวลาเป็นลูกช้างรุ่นเราเดินทำพุ่มต้นไทรนี้ไว้

ในระหว่างขาอ่อน ก็แหละในเวลาที่เรายืนคร่อมอยู่ ยอดของมันระท้องเรา

เมื่อเป็นอย่างนี้ เราจึงรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่เวลายังเป็นพุ่ม. สหายแม้ทั้งสองจึง

ถามลิงโดยนัยก่อนนั่นแหละอีก. ลิงนั้นกล่าวว่า สหายทั้งหลายเราเป็นลูกลิง

นั่งอยู่ที่ภาคพื้น ไม่ต้องชะเง้อคอเลย เคี้ยวกินหน่อของไทรอ่อนนี้ เมื่อเป็น

อย่างนี้ เราจึงรู้จักต้นไทรนี้ ตั้งแต่เวลายังเป็นต้นเล็ก ๆ ลำดับนั้น สหาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

แม้ทั้งสองนอกนี้จึงถามนกกระทำ โดยนัยก่อนนั่นแหละ. นกกระทานั้นกล่าว

ว่า สหายทั้งหลาย เมื่อก่อน ต้นไทรใหญ่ได้มีอยู่ในที่ชื่อโน้น เรากินผลของ

มันแล้วถ่ายอุจจาระลงในที่นี้ แต่นั้น ต้นนี้จึงเกิดเป็นอย่างนั้น เราจึงรู้จักต้น

ไทรนี้ ตั้งแต่มันยังไม่เกิด เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้แก่กว่าท่านทั้งหลายโดย

กำเนิด. เมื่อนกกระทำกล่าวอย่างนี้ ลิงและช้างจึงกล่าวกะนกกระทำผู้เป็น

บัณฑิตว่า สหาย ท่านเป็นผู้แก่กว่าเราทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ไป พวกเราจัก

กระทำสักการะ การเคารพ การนับถือ การไหว้ การบูชา และการอภิวาท

การลุกรับ อัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ท่าน และจักตั้งอยู่ในโอวาทของ

ท่าน อนึ่ง ตั้งแต่นี้ไป ท่านพึงให้โอวาทและอนุศาสนีแก่เราทั้งหลาย ตั้งแต่

นั้นมา นกกระทาได้ให้โอวาทแก่ลิงและช้างเหล่านั้นให้ตั้งอยู่ในศีล แม้ในเอง

ก็สมาทานศีล. สหายแม้ทั้งสามนี้นั่งอยู่ในศีล ๕ มีความเคารพยำเกรงกันและ

กัน มีความประพฤติเป็นสภาคกัน ในเวลาสิ้นชีวิต ได้เป็นผู้มีเทวโลกเป็นที่

ไปในเบื้องหน้า. การสมาทานของสหายทั้งสามนั้น ได้ชื่อว่าติตติรพรหมจรรย์

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ชื่อว่าสัตว์ดิรัจฉานเหล่า

นั้น ยังมีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกันอยู่ ฝ่ายเธอทั้งหลายก็บวชใน

พระธรรมวินัยที่เรากล่าวดีแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุไร จึงไม่เคารพยำเกรงกัน

และกันอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่นี้ไป เราอนุญาตการอภิวาท การลุกรับ

การอัญชลีกรรม สามีจิกรรม ตามผู้ที่แก่กว่า อาสนะเลิศ น้ำเลิศ ก้อนข้าว

เลิศ ตามผู้ที่แก่กว่า แก่เธอทั้งหลาย ทั้งแต่นี้ไปผู้ใหม่กว่าไม่พึงห้ามเสนาสนะ

ผู้แก่กว่า ภิกษุใดห้าม ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏดังนี้ ครั้นทรงนำพระธรรม

เทศนานี้มาอย่างนี้แล้ว ทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้

ว่า

นรชนเหล่าใด ฉลาดในธรรม นอบน้อมคนผู้

ใหญ่ นรชนเหล่านั้น เป็นผู้ได้รับความสรรเสริญใน

ปัจจุบันนี้ และมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย วุฑฺฒมปจายนฺติ ความว่า ผู้ใหญ่

๓ จำพวก คือ ผู้ใหญ่โดยชาติ ๑ ผู้ใหญ่โดยวัย ๑ ผู้ใหญ่โดยคุณ ๑ บรรดาผู้

ใหญ่ ๓ พวกนั้น ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติชื่อว่า ผู้ใหญ่โดยชาติ. ผู้ตั้งอยู่ในวัย

ชื่อว่าผู้ใหญ่โดยวัย ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ ชื่อว่าผู้ใหญ่โดยคุณ. บรรดาผู้ใหญ่ ๓

พวกนั้น ผู้เจริญด้วยวัย สมบูรณ์ด้วยคุณ ท่านประสงค์ว่า ผู้ใหญ่ใน

ที่นี้. บทว่า อปจายนฺติ ความว่า บูชาด้วยกรรมคือการอ่อนน้อมต่อท่านผู้

เจริญ. บทว่า ธมฺมสฺส โกวิทา ได้แก่ ผู้ฉลาดในธรรมคือการประพฤติ

อ่อนน้อมต่อผู้เจริญ. บทว่า ทิฏฺเ ธมฺเม ได้แก่ ในอัตภาพนี้เอง. บทว่า

ปาสสา แปลว่า ควรแก่การสรรเสริญ. บทว่า สมฺปราโย จ สุคฺคติ

ความว่า ชื่อว่า เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เพราะจะต้องไปในเบื้องหน้า คือ จะ

พึงละโลกนี้ไป ด้วยว่าโลกหน้า ย่อมเป็นสุคติของนรชนเหล่านั้นทีเดียว. ก็

ในที่นี้มีความหมายที่ประมวลมาดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จะเป็นกษัตริย์

พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คฤหัสถ์ บรรพชิตหรือสัตว์ดิรัจฉานก็ตาม สัตว์

เหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้เฉลียวฉลาดในธรรมคือการอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ กระทำ

การนอบน้อมต่อผู้ใหญ่โดยวัยทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ สัตว์เหล่านั้นย่อม

ได้การสรรเสริญ คือพรรณนา ชมเชยในอัตภาพนี้แหล่ะว่า เป็นผู้อ่อนน้อม

ต่อผู้เจริญที่สุด เพราะกายแตกไปแล้ว ย่อมบังเกิดในสวรรค์.

พระศาสดาตรัสคุณของธรรม คือการอ่อนน้อมต่อผู้เจริญอย่างนี้แล้ว

ทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า ช้างผู้ประเสริฐในกาลนั้น ได้เป็น

พระโมคคัลลานะ ลิงในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วนนก

กระทาผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเราเองแล.

จบติตติรชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

๘. พกชาดก

ว่าด้วยผู้ฉลาดแกมโกง

[๓๘] บุคคลผู้ใช้ปัญญาหลอกลวงคนอื่นย่อมไม่

ได้ความสุขเป็นนิตย์ เพราะผู้ใช้ปัญญาหลอกลวงคน

อื่น ย่อมประสบผลแห่งบาปกรรมที่ตนทำไว้ เหมือน

นกยางถูกปูหนีบคอฉะนั้น.

จบพกชาดกที่ ๘

๘. อรรถกถาพกชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้เจริญ

ด้วยจีวรจึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาจฺจนฺต นิกติปฺปญฺโ

ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุผู้อยู่ในพระเชตวันวิหารรูปหนึ่ง เป็นผู้ฉลาดในกรรม

อย่างใดอย่างหนึ่ง มีการคัด การชัด การจัด และการเย็บผ้าที่จะพึงทำในจีวร

ภิกษุนั้นย่อมเพิ่มจีวรด้วยความเป็นผู้ฉลาดนั้น เพราะฉะนั้น จึงปรากฏชื่อว่า

จีวรวัฑฒกะ ผู้เจริญด้วยจีวร. ถามว่า ก็ภิกษุนี้กระทำอย่างไร ? ตอบว่า

ภิกษุนี้เอาผ้าเก่าที่คร่ำคร่ามาแสดงหัตถกรรมคือทำด้วยมือ กระทำจีวรสัมผัส

ได้ดี น่าพอใจ ในเวลาเสร็จการย้อม ได้ย้อมด้วยน้ำแป้ง ขัดด้วยหอยสังข์

กระทำให้ขึ้นเงาเป็นที่พอใจแล้วเก็บไว้. ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่รู้จักทำจีวรกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

จึงถือเอาผ้าสาฎกทั้งหลายใหม่ ๆ ไปยังสำนักของภิกษุนั้น จึงกล่าวว่า พวก

ผมไม่รู้จักทำจีวร ขอท่านจงทำจีวรให้แก่พวกผม. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ท่านผู้มี

อายุทั้งหลาย จีวรเมื่อกระทำย่อมสำเร็จช้า จีวรที่เราทำไว้เท่านั้นมีอยู่ ท่าน

ทั้งหลายจงวางผ้าสาฎกเหล่านั้นไว้ แล้วจงถือเอาจีวรที่ทำไว้แล้วนั้นไปเถอะ

กล่าวแล้วจึงนำออกมาให้ดู. ภิกษุเหล่านั้นเห็นวรรณสมบัติของจีวรนั้นเท่านั้น

ไม่รู้ถึงภายใน สำคัญว่า มั่นคงดี จึงให้ผ้าสาฎกใหม่ทั้งหลายแก่พระจีวรวัฑฒกะ

แล้วถือเอาจีวรนั้นไป. จีวรนั้นอันภิกษุเหล่านั้นซักด้วยน้ำร้อนในเวลาเปื้อน

เปรอะนิดหน่อย มันจึงแสดงปรกติของตน. ที่ที่เก่าคร่ำคร่าปรากฏในที่นั้น ๆ

ภิกษุเหล่านั้นต่างมีความวิปฏิสารเดือดร้อนใจ ภิกษุนั้นเอาผ้าเก่าลวงภิกษุ

ทั้งหลายที่มาแล้ว ๆ ด้วยอาการอย่างนี้ จนปรากฏไปในที่ทั้งปวง แม้ในบ้าน

แห่งหนึ่งก็มีพระจีวรวัฑฒกะรูปหนึ่ง ล่อลวงชาวโลก เหมือนพระจีวรวัฑฒกะ

รูปนี้ในพระเชตวันวิหารฉะนั้น. ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเพื่อนคบของภิกษุนั้น จึง

บอกว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระจีวรวัฑฒกะรูปหนึ่งในพระเชตวัน ล่อ

ลวงชาวโลกอย่างนี้. ลำดับนั้น พระจีวรวัฑฒกะบ้านนอกนั้น ได้มีความคิด

ดังนี้ว่า เอาเถอะ เราจะลวงพระจีวรวัฑฒกะชาวกรุงรูปนั้น แล้วกระทำจีวร

เก่าให้เป็นที่น่าพอใจยิ่ง แล้วย้อมอย่างดี ได้ห่มจีวรนั้นไปยังพระเชตวันวิหาร

ฝ่ายพระจีวรวัฑฒกะชาวกรุง พอเห็นจีวรนั้นเท่านั้นเกิดความโลภอยากได้

จึงถามว่า ท่านผู้เจริญ จีวรนี้ท่านทำเองหรือ ? พระจีวรวัฑฒกะบ้านนอก

กล่าวว่า ขอรับท่านผู้มีอายุ ผมทำเอง. พระจีวรวัฑฒกะชาวกรุงกล่าวว่า

ท่านผู้เจริญ ท่านจงให้จีวรผืนนี้แก่ผมเถิด ท่านจักได้ผืนอื่น. พระจีวร

วัฑฒกะบ้านนอกกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ พวกผมเป็นพระบ้านนอก หาปัจจัย

ได้ยาก ผมให้จีวรผืนนี้แก่ท่านแล้ว ตัวเองจักห่มอะไร. พระจีวรวัฑฒกะ

ชาวกรุงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ผ้าสาฎกใหม่ ๆ ในสำนักของผมมีอยู่ ท่านจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

ถือเอาผ้าสาฎกเหล่านั้นกระทำจีวรของท่านเถิด. พระจีวรวัฑฒกะบ้านนอก

กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ผมแสดงหัตถกรรมในจีวรนี้ ก็เมื่อท่านพูดอย่างนี้

ผมจะอาจทำได้อย่างไร ท่านจงถือเอาจีวรผืนนั้น แล้วให้จีวรที่ทำด้วยผ้าเก่า

แก่พระจีวรวัฑฒกะชาวกรุงนั้น แล้วถือเอาผ้าสาฏกใหม่ ๆ ลวงพระจีวรวัฑฒกะ

ชาวกรุงนั้นแล้วหลีกไป. ฝ่ายพระจีวรวัฑฒกะผู้อยู่ในพระเชตวัน ก็ห่มจีวร

นั้น พอล่วงไป ๒-๓ วัน จึงซักด้วยน้ำร้อน เห็นว่าเป็นผ้าเก่าคร่ำคร่าก็ละอาย.

ความที่พระจีวรวัฑฒกะชาวกรุงนั้นถูกลวง เกิดปรากฏไปในท่ามกลางสงฆ์ว่า

เขาว่าพระจีวรวัฑฒกะผู้อยู่ในพระเชตวัน ถูกพระจีวรวัฑฒกะบ้านนอกลวง

เอาแล้ว. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายพากันนั่งกล่าวเรื่องนั้น ในโรงธรรมสภา

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนา

กันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? ภิกษุเหล่านั้นพากันกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจีวรวัฑฒกะผู้อยู่ในพระเชตวัน

ย่อมล่อลวงภิกษุอื่นในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ล่อลวงมาแล้ว

เหมือนกัน ฝ่ายพระจีวรวัฑฒกะชาวบ้านนอก ได้ล่อลวงพระจีวรวัฑฒกะผู้อยู่

ในพระเชตวันรูปนี้ ในบัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้ล่อลวง

แล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์บังเกิดเป็นรุกขเทวดาอยู่ที่ต้นไม้ซึ่งตั้งอาศัย

สระปทุมแห่งหนึ่งอยู่ในราวป่าแห่งหนึ่ง. ในกาลนั้น คราวฤดูร้อน น้ำในสระ

แห่งหนึ่งซึ่งไม่ใหญ่นัก ได้น้อยลง แต่ในสระนั้นมีปลาเป็นอันมาก. ครั้งนั้น

นกยางตัวหนึ่งเห็นปลาทั้งหลายแล้วคิดว่า เราจักลวงกินปลาเหล่านั้น ด้วยอุบาย

สักอย่าง จึงไปนั่งคิดอยู่ที่ชายน้ำ. ลำดับนั้น ปลาทั้งหลายเห็นนกยางนั้น จึง

ถามว่า เจ้านาย ท่านนั่งคิดถึงอะไรอยู่หรือ ? นกยางกล่าวว่า เรานั่งคิดถึง

พวกท่าน. ปลาทั้งหลายถามว่า เจ้านาย ท่านคิดถึงเราอย่างไร. นกยาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

กล่าวว่า เรานั่งคิดถึงพวกท่านว่า น้ำในสระนี้น้อย ที่เที่ยวก็น้อย และความ

ร้อนมีมาก บัดนี้ ปลาเหล่านี้จักกระทำอย่างไร. ลำดับนั้น พวกปลาจึงกล่าว

ว่า เจ้านาย พวกเราจะการทำอย่างไร. นกยางกล่าวว่า ถ้าท่านทั้งหลายจะ

กระทำตามคำของเรา เราจะเอาจงอยปากคาบบรรดาพวกท่านคราวละตัว นำ

ไปปล่อยยังสระใหญ่แห่งหนึ่ง ซึ่งดารดาษด้วยปทุม ๕ สี. ปลาทั้งหลายกล่าว

ว่า เจ้านาย ตั้งแต่ปฐมกัปมา ชื่อว่านกยางผู้คิดดีต่อพวกปลา ย่อมไม่มี

ท่านประสงค์จะกินบรรดาพวกเราทีละตัว พวกเราไม่เชื่อท่าน. นกยางกล่าวว่า

เราจักไม่กิน ก็ถ้าพวกท่านไม่เชื่อเราว่าสระน้ำมี พวกท่านจงส่งปลาตัวหนึ่ง

ไปดูสระน้ำพร้อมกับเรา. ปลาทั้งหลายเชื่อนกยางนั้น คิดว่า ปลาตัวนี้สามารถ

ทั้งทางน้ำและทางบก จึงได้ให้ปลาทั้งใหญ่ทั้งคำตัวหนึ่งไปด้วยคำว่า ท่านจง

เอาปลาตัวนี้ไป. นกยางนั้นดาบปลาตัวนั้น นำไปปล่อยในสระ แสดงสระทั้ง

หมดแล้ว นำกลับมาปล่อยในสำนักของปลาเหล่านั้น. ปลานั้นจึงพรรณนา

สมบัติของสระแก่ปลาเหล่านั้น. ปลาเหล่านั้นได้ฟังถ้อยคำของปลาตัวนั้น เป็น

ผู้อยากจะไป จึงพากันกล่าวว่า ดีละ เจ้านาย ท่านจงคาบพวกเราไป นก

ยางคาบปลาตัวทั้งดำทั้งใหญ่ตัวแรกนั้นนั่นแหละ แล้วนำไปยังฝั่งของสระน้ำ

แสดงสระน้ำให้เห็นแล้วช่อนที่ต้นกุ่มซึ่งเกิดอยู่ริมสระน้ำ แล้วสอดปลานั้นเข้า

ในระหว่างค่าคบ จิกด้วยจะงอยปากให้ตายแล้วกินเนื้อ ทิ้งก้างให้ตกลงที่โคน

ต้นไม้แล้วกลับไป พูดว่า ปลาตัวนั้น เราปล่อยไปแล้ว ปลาตัวอื่นจงมา แล้ว

คาบเอาทีละตัวโดยอุบายนั้น กินปลาหมด กลับ มาอีก แม้ปลาตัวหนึ่งก็ไม่

เห็น. ก็ในสระนี้มีปูเหลืออยู่ตัวหนึ่ง นกยางเป็นผู้อยากจะกินปูแม้ตัวนั้นจึง

กล่าวว่า ปูผู้เจริญ เรานำปลาทั้งหมดนั้น ไปปล่อยในสระใหญ่อันดารดาษด้วย

ปทุม มาเถิดท่าน แม้ท่านเราก็จักนำไป. ปูถามว่า ท่านเมื่อจะพาเราไปจัก

พาไปอย่างไร ?. นกยางกล่าวว่า เราจักคาบพาเอาไป. ปูกล่าวว่า ท่านเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

พาไปอย่างนี้ จักทำเราให้ตกลงมา เราจักไม่ไปกับท่าน. นกยางกล่าวว่า

อย่ากลัวเลย เราจักคาบท่านให้ดีแล้วจึงไป. ปูคิดว่า ชื่อว่าการคาบเอาปลา

ไปปล่อยในสระ ย่อมไม่มีแก่นกยางนี้ ก็ถ้านกยางจักปล่อยเราลงในสระ ข้อนี้

เป็นการดี หากจักไม่ปล่อย เราจักตัดคอนั้นเอาชีวิตเสีย. ลำดับนั้น ปูจึงกล่าว

กะนกยางนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนนกยางผู้สหาย ท่านจักไม่อาจคาบเอาเราไปให้

ดีได้ ก็เราคาบด้วยจึงจะเป็นการคาบที่ดี ถ้าเราจักได้เอาก้ามคาบคอท่านไซร้

เราจักกระทำคอของท่านให้เป็นของอันเราคาบดีแล้ว จึงจักไปกับท่าน. นก

ยางนั้นคิดแค่จะลวงปูนั้น หารู้ไม่ว่า ปูนี้ลวงเรา จึงรับคำว่าตกลง. ปูจึง

เอาก้ามทั้งสองของมันคาบคอนกยางนั้นไว้แน่น ประหนึ่งคีบด้วยคีมของช่าง

ทอง แล้วกล่าวว่า ท่านจงไปเดี๋ยวนี้. นกยางนั้นนำปูนั้นไปให้เห็นสระแล้ว

บ่ายหน้าไปทางต้นกุ่ม. ปูกล่าวว่า ลุง สระนี้อยู่ข้างโน้น แต่ท่านจะนำไป

ข้างนี้. นกยางกล่าวว่า เราเป็นลุงที่น่ารัก แต่เจ้าไม่ได้เป็นหลานเราเลยหนอ

แล้วกล่าวว่า เจ้าเห็นจะทำความสำคัญว่า นกยางนี้เป็นทาสของเรา พาเรา

เที่ยวไปอยู่ เจ้าจงดูก้างปลาที่โคนต้นกุ่มนั่น แม้เจ้า เราก็จักกินเสีย เหมือน

กินปลาทั้งหมดนั้น. ปูกล่าวว่า ปลาเหล่านั้น ท่านกินได้ เพราะความที่ตน

เป็นปลาโง่ แต่เราจักไม่ให้ท่านกินเรา แต่ท่านนั่นแหละจัก ถึงความพินาศ

ด้วยว่า ท่านไม่รู้ว่าถูกเราลวง เพราะความเป็นคนโง่ เราแม้ทั้งสอง เมื่อจะ

ตายก็จักตายด้วยกัน เรานั่นจักตัดศีรษะของท่านให้กระเด่นลงบนภาคพื้นกล่าว

แล้วจึงเอาก้ามปานประหนึ่งคีมหนีบคอนกยางนั้น. นกยางนั้นอ้าปาก น้ำตา

ไหลออกจากนัยน์ตาทั้งสองข้าง ถูกมรณภัยคุกคาม จึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย

เราจักไม่กินท่าน ท่านจงให้ชีวิตเราเถิด. ปูกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้นท่าน

ร่อนลงแล้วปล่อยเราลงในสระ. นกยางนั้นหวนกลับ มาร่อนลงยังสระนั่นแหละ

แล้ววางปูไว้บนหลังเปือกตม ณ ที่ริมสระ. ปูตัดคอนกยางนั้นขาดจมลงไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

ในน้ำเหมือนตัดก้านโกมุทด้วยกรรไกรฉะนั้น. เทวดาผู้สิงอยู่ที่ต้นกุ่มเห็นความ

อัศจรรย์นั้น เมื่อจะให้สาธุการทำป่าให้บันลือลั่น จึงกล่าวคาถานี้ด้วยเสียงอัน

ไพเราะว่า

บุคคลผู้ใช้ปัญญาหลอกลวงผู้อื่น ย่อมไม่ได้

ความสุขเป็นนิตย์ เพราะผู้ใช้ปัญญาหลอกลวงคนอื่น

ย่อมประสบผลแห่งบาปกรรมที่ตนทำไว้ เหมือนนก

ยางถูกปูหนีบคอฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาจฺจนฺต นิกติปฺปญฺโ นิกตฺยา

สุขเมธติ ความว่า การหลอกลวง เรียกว่า นิกติ บุคคลผู้มีปัญญาชื่อว่า

นิกติ คือผู้มีปัญญาหลอกลวง ย่อมไม่ถึงความสุขโดยส่วนเดียว คือไม่อาจ

ดำรงอยู่ ในความสุขนั้นแหละ ตลอดกาลเป็นนิตย์ เพราะการลวง คือการ

หลอกลวงนั้น แต่ว่าย่อมถึงแต่ความพินาศโดยส่วนเดียวเท่านั้น. บทว่า

อาราเธติ แปลว่า ย่อมได้เฉพาะ อธิบายว่า บุคคลผู้ลามกมีปัญญาหลอก

ลวง คือ มีปัญญาอันสำเหนียกความเป็นคนคดโกง ย่อมได้เฉพาะคือย่อม

ประสบผลแห่งบาปที่คนได้กระทำไว้. ย่อมประสบผลบาปอย่างไร ? ย่อม

ประสบผลบาป เหมือนนกยางคอขาดเพราะปูฉะนั้น อธิบายว่า บาปบุคคล

ย่อมประสบ คือ ย่อมได้เฉพาะภัยในปัจจุบันหรือในโลกหน้า เพราะบาปที่

ตนทำไว้ เหมือนนกยางถึงการถูกตัดคอขาดเพราะปูฉะนั้น. มหาสัตว์เมื่อจะ

ประกาศเนื้อความนี้ จึงแสดงธรรมยังป่าให้บันลือลั่น.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุจีวรวัฑฒกะชาวกรุง

ถูกภิกษุจีวระวัฑฒกะชาวบ้านนอกนั้นนั่นแหละ ลวงเอาแล้วในบัดนี้เท่านั้น

หามิได้ แม้ในอดีตกาลก็ถูกลวงมาแล้วเหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

เทศนานี้มาสืบต่ออนุสนธิแล้ว จึงทรงประชุมชาดกว่า นกยางในครั้งนั้น

ได้เป็นพระจีวรวัฑฒกะผู้อยู่ในพระเชตวัน ปูในครั้งนั้นได้เป็นพระ

จีวรวัฑฒกะชาวบ้านนอก ส่วนรุกขเทวดาในครั้งนั้น ได้เป็นเรา

เองแล.

จบพกชาดกที่ ๘

๙. นันทชาดก

ว่าด้วยการกล่าวคำหยาบ

[๓๙] ทาสชื่อนันทกะเป็นบุตรของนางทาสี ยืน

กล่าวคำหยาบคายในที่ใด เรารู้ว่า ของแห่งรัตนะทั้ง

หลายและดอกไม้ทองนี้อยู่ในที่นั้น.

จบนันทชาดกที่ ๙

๙. อรรถกถานันทชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหารทรงปรารภสัทธิวิหาริก

ของพระสารีบุตรเถระ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มญฺเ

โสวณฺณมโย ราสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ว่าง่าย อดทนต่อถ้อยคำ (ที่สั่งสอน) กระทำ

อุปการะแก่พระเถระด้วยอุตสาหะเป็นอันมาก ครั้นสมัยหนึ่ง พระเถระทูลลา

พระศาสดาหลีกจาริกไปแล้ว ได้กลับมายังทักขิณาคีรีชนบท ในเวลาที่พระ

เถระไปอยู่ในทักขิณาคีรีชนบทนั้น ภิกษุนั้น เป็นผู้ถือตัวจัด ไม่กระทำตามคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

ของพระเถระ ก็เมื่อพระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ เธอจงกระทำกรรมชื่อนี้ ก็ได้

เป็นฝ่ายตรงข้ามต่อพระเถระ พระเถระไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั้น พระเถระ

เที่ยวจาริกไปในทักขิณาคีรีชนบทนั้น หวนกลับมายังพระเชตวันวิหารอีก ภิกษุ

นั้นก็เป็นเช่นนั้นนั่นแลอีก จำเดิมแต่พระเถระมายังพระเขตวันวิหาร พระเถระ

จึงกราบทูลแต่พระตถาคตว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัทธิวิหาริกรูปหนึ่งของ

ข้าพระองค์ ในที่แห่งหนึ่งได้เป็นเหมือนทาสที่ไถ่มาด้วยทรัพย์หนึ่งร้อย แค่

ในที่แห่งหนึ่ง เป็นผู้ถือตัวจัด เมื่อข้าพระองค์บอกว่า จงกระทำสิ่งชื่อนี้

กลับทำตรงกันข้าม พระศาสดาตรัสว่า สารีบุตร ภิกษุนี้เป็นผู้มีปกติอย่างนี้

ในบัดนี้เท่านั้น หามิได้ แม้ในกาลก่อนภิกษุนี้ไปยังที่หนึ่ง เป็นเหมือนทาสที่

ไถ่มาด้วยทรัพย์ตั้งร้อย แต่ไปยังอีกที่หนึ่งกลับเป็นฝ่ายตรงข้าม เป็นศัตรู

อันพระเถระทูลอ้อนวอนแล้วจึงทรงนำอด นิทานมา ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนครพาราณสี

พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในตระกูลกุฎุมพีตระกูลหนึ่ง กุฎุมพีผู้สหายกนหนึ่งของ

พระโพธิสัตว์นั้นตนเองเป็นคนแก่ แต่ภรรยาของกุฎุมพีนั้นเป็นหญิงสาว นาง

อาศัยกุฎุมพีนั้นจึงได้บุตรชาย กุฎุมพีนั้นคิดว่า หญิงนี้ เมื่อเราล่วงไปแล้วก็จะ

ได้บุรุษไร ๆ นั่นแหละ (เป็นสามี) เพราะยังสาวอยู่ จะทำทรัพย์ของเรานี้ให้

พินาศ จะไม่ให้แก่บุตรของเรา ถ้ากระไร เราจะฝังทรัพย์นี้ไว้ในแผ่นดิน

เขาจึงพาทาสในเรือนชื่อว่า นายนันทะ ไปป่า ฝังทรัพย์นี้ไว้ในที่แห่งหนึ่ง

แล้วบอกแก่นายนันทะนั้น โอวาทว่า พ่อนันทะ ทรัพย์นี้ เมื่อเราล่วงไป

แล้ว เธอพึงบอกแก่บุตรของเรา อย่าบริจาคทรัพย์ของเรา ดังนี้ แล้วได้

ตายไป บุตรของกุฎุมพีนั้นเป็นผู้เจริญโดยลำดับ. ลำดับนั้น มารดากล่าวกะ

บุตรชายนั้นว่า ดูก่อนพ่อ บิดาของเจ้าพานายนันททาสไปฝังทรัพย์ เจ้าจงให้

นำทรัพย์นั้นมารวบรวมทรัพย์สมบัติไว้ วัน หนึ่ง บุตรนั้นกล่าวกะทาสนันทะว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

ลุงทรัพย์ไร ๆ ที่บิดาของฉันฝังไว้ มีอยู่หรือ. นายนันททาสกล่าวว่า ขอรับนาย.

บุตรถามว่า ฝังไว้ที่ไหน. นันทะตอบว่า ในป่าจ้ะนาย. บุตรกล่าวว่า ถ้าอย่าง

นั้นพวกเราพากันไป แล้วถือเอาจอบและตะกร้าไปยังที่ฝังทรัพย์ แล้วกล่าวว่า

ทรัพย์อยู่ที่ไหนล่ะลุง. นายนันทะขึ้นยืนข้างบนทรัพย์ อาศัยทรัพย์ทำมานะให้

เกิดขึ้น ด่ากุมารว่า เฮ้ยเจ้าเจตกะลูกทาสี ทรัพย์ในที่นี้ของเจ้าจักมีมาแต่ไหน.

กุมารทำเป็นไม่ได้ยินคำหยาบของเขา กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเรากลับกัน

เถิด แล้วพานายนันทะนั้นกลับ. ล่วงไป ๒-๓ วันได้ไปอีก นายนันทะก็ด่า

เหมือนอย่างนั้นแหละ กุมารไม่กล่าวคำหยาบกับเขาคิดว่า ทาสนี้ไปด้วยคิดว่า

จักบอกทรัพย์จำเดิมแต่นี้ แต่ครั้นไปแล้วกลับด่า เราไม่รู้เหตุในข้อนั้น

กุฎุมพีผู้สหายของบิดาเรามีอยู่หนอ เราสอบถามกุฎุพีนั้นแล้วจักรู้ได้ จึงไป

ยังสำนักของพระโพธิสัตว์ บอกเรื่องราวนั้นทั้งหมดแล้วถามว่า ข้าแต่พ่อ

เพราะเหตุอะไรหนอ ? พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนพ่อ นายนันทะยืนด่าเธอ

ในที่ใด ทรัพย์อันเป็นของบิดาเธออยู่ในที่นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ในกาลใด

นายนันทะด่าเธอ ในกาลนั้น เธอจงฉุดนายนันทะนั้นมาด้วยคำว่า เฮ้ยเจ้าทาส

เจ้าจงมาด่า แล้วถือเอาจอบขุดทำลายที่นั้น นำเอาทรัพย์อันเป็นของตระกูลออก

มาให้ทาสยกนำเอาทรัพย์มา ครั้น กล่าวแล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

ทาสชื่อนายนันทะเป็นบุตรของนางทาสยืน

กล่าวคำหยาบในที่ใด เรารู้ว่ากองแห่งรัตนะทั้งหลาย

และดอกไม้ทอง มีอยู่ในนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺเ แปลว่า เรารู้อย่างนี้. บทว่า

โสวณฺณโย ความว่า ชื่อว่าสุวรรณเพราะมีสีงาม สุวรรณเหล่านั้นคืออะไร ?

คือรัตนะทั้งหลายมีเงิน แก้วมณี ทองและแก้วประพาฬ เป็นต้น. ก็ในฐานะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

นี้ ท่านประสงค์เอารัตนะนี้ทั้งหมดว่า สุวรรณ กองแห่งรัตนะเหล่านั้นชื่อว่า

โสวัณณยราสิ กองรัตนะมีสีงาม. บทว่า โสวณฺณมาลา จ ความว่า เรา

ย่อมรู้ว่า และแม้ดอกไม้ทองอันเป็นของแห่งบิดาเธอก็มีอยู่ในที่นี้เหมือนกัน.

บทว่า นนฺทโก ยตฺย ทาโส ความว่า ทาสชื่อว่านันทะยืนอยู่ในที่ใด.

บทว่า อามชาโต ความว่า บุตรของทาสีกล่าวคือนางอามทาสีเพราะเข้าถึง

ความเป็นทาสด้วยการกล่าวอย่างนี้ว่า จ้ะ ฉันเป็นทาสีของท่าน. บทว่า ิโต

ถุลฺลานิ คชฺชติ ความว่า ทาสชื่อนั้นทะนั้นยืนอยู่ในที่ใด กล่าวคำหยาบ

คือคำหยาบคาย ทรัพย์อันเป็นของตระกูลแห่งเธอมีอยู่ในที่นั้นแหละ เรารู้

ทรัพย์นั้นอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระโพธิสัตว์จึงบอกอุบายเครื่องถือเอาทรัพย์

แก่กุมาร.

กุมารไหว้พระโพธิสัตว์แล้วไปเรือนพานายนันทะไปยังที่ฝังทรัพย์

ปฏิบัติตามที่พระโพธิสัตว์สั่งสอนแล้ว นำเอาทรัพย์นั้นมารวบรวมทรัพย์สมบัติ

ไว้ ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ กระทำบุญทั้งหลายมีทาน เป็นต้น ใน

เวลาสิ้นชีวิต ได้ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาตรัสว่า แม้ในกาลก่อนสัทธิวิหาริกของสารีบุตรนี้ ก็เป็น

ผู้มีปกติอย่างนี้เหมือนกัน ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรงสืบ

อนุสนธิประชุมชาดกว่า ทาสนันทะในครั้งนั้น ได้เป็นสัทธิวิหาริกของ

พระสารีบุตร บุตรของกุฏุพีในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตร ส่วน

กุฎุมพีผู้บัณฑิตในครั้งนั้น ได้เป็นเราเองแล.

จบนันทชาดกที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

๑๐. ขทิรังคารชาดก

ว่าด้วยผู้มีจิตมั่นคง

[๔๐] ข้าพเจ้าจะตกนรก มีเท้าขึ้นเบื้องบน มีศีรษะลง

เบื้องล่างก็ตาม ข้าพเจ้าจักไม่ทำกรรมอันไม่ประเสริฐ

ขอนิมนต์ท่านรับก้อนข้าวเถิด.

จบขทิรังคาชาดกที่ ๑๐

จบกุลาวกวรรคที่ ๔

๑๐. อรรถกถาขทิรังคารชาดก

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ทรงปรารภทานของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นาม ปตามิ

นิรย ดังนี้.

ความพิศดารว่า ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ปรารภเฉพาะวิหารเท่า

นั้น เรี่ยรายทรัพย์ ๕๔ โกฏิ ไว้ในพระพุทธศาสนา มิได้ทำความสำคัญในสิ่ง

อื่นว่าเป็นรัตนะนอกจากรัตนะทั้ง ๓ ให้เกิดเลย เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ใน

พระเชตวันวิหาร ย่อมไปยังที่บำรุงใหญ่ ๓ ครั้ง ทุกวัน ตอนเช้าตรู่ไปครั้ง

หนึ่ง รับประทานอาหารเช้าแล้ว ไปครั้งหนึ่ง เวลาเย็นไปครั้งหนึ่ง ที่บำรุง

ในระหว่างแม้แห่งอื่นก็มีเหมือนกัน. ก็เมื่อจะไปไม่เคยมีมือเปล่าไป ด้วยคิดว่า

สามเณรหรือภิกษุหนุ่มทั้งหลายจะพึงแลดูแม้มือของเราด้วยคิดว่า ท่านเศรษฐี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

ถืออะไรมาหนอ เมื่อไปตอนเช้า ให้คนถือข้าวยาคูไป รับประทานอาหารเช้า

แล้วเมื่อจะไป ให้คนถือเอาเนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นไป เมื่อจะ

ไปเวลาเย็น ถือของหอม ดอกไม้ และผ้าไป. ก็เมื่อท่านเศรษฐีนั้น บริจาคอยู่

อย่างนี้ทุกวัน ๆ ประมาณในการบริจาคย่อมไม่มี. ฝ่ายคนผู้อาศัยการค้าขาย

เลี้ยงชีพเป็นอันมาก ทำหนังสือให้ไว้กับมือของท่านเศรษฐี กู้เอาทรัพย์ไปนับ

ได้ ๑๘ โกฏิ. ท่านเศรษฐีให้ทวงเอาทรัพย์ของตนเหล่านั้นมา อนึ่ง ทรัพย์

๑๘ โกฏิ จำนวนอื่น ซึ่งเป็นของประจำตระกูลของท่านเศรษฐีนั้น ฝังไว้ที่

ฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝั่งแม่น้ำถูกน้ำในแม่น้ำอจิรวดีเซาะพังทลายก็เคลื่อนลงมหาสุมทร

ไป. ตุ่มโลหะ (ที่บรรจุทรัพย์) ตามที่ปิดไว้และประทับตราไว้นั้น ก็กลิ้งไปใน

ท้องทะเล. ก็ในเรือนของท่านเศรษฐีนั้น ยังคงมีนิตยภัตเป็นประจำสำหรับ

ภิกษุ ๕๐๐ รูป. จริงอยู่ เรือนของท่านเศรษฐีเป็นเช่นกับ สระโบกขรณีที่ขุดไว้

ในหนทาง ๔ แพร่งสำหรับภิกษุสงฆ์ ตั้งอยู่ในฐานะบิดามารดาของภิกษุทั้งปวง

ด้วยเหตุนั้น แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เสด็จไปเรือนของท่านเศรษฐีนั้น ฝ่าย

พระมหาเถระทั้ง ๘๐ องค์ก็ไปเหมือนกัน. ส่วนภิกษุทั้งหลายที่เหลือต่างมา ๆ

ไป ๆ หาประมาณมิได้.

ก็เรือนนั้น มี ๗ ชั้น. ประดับด้วยซุ้มประตู ๗ ซุ้ม มีเทวดาผู้เป็น

มิจฉาทิฏฐิองค์หนึ่ง สิงอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๘ ของเรือนนั้น. เทวดานั้น เมื่อ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จเจ้าเรือนและเสด็จออกไป ไม่อาจดำรงอยู่ในวิมาน

ของตน จับเอาทารกลงมายืนอยู่เฉพาะบนภาคพื้น แม้เมื่อพระมหาเถระทั้ง ๘๐

องค์ เข้าไปและออกมา ก็กระทำเหมือนอย่างนั้น. เทวดานั้นคิดว่า ก็เมื่อ

พระสมณโคดมและเหล่าสาวกของพระสมณโคดมนั้น ยังคงเข้าเรือนนี้อยู่ ชื่อ

ว่าความสุขของเราย่อมไม่มี เราจักไม่อาจลงมายืนอยู่บนภาคพื้นตลอดกาลเป็น

นิตย์ได้ เรากระทำโดยประการที่พระสมณะเหล่านี้เข้ามายังเรือนนี้ไม่ได้ จึง

จะควร. อยู่มาวันหนึ่ง เทวดานั้นไปยังสำนักของผู้เป็นมหากัมมันคิกะ (ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

อำนวยการ) ผู้กำลังเข้านอนแล้วได้ยืนแผ่โอภาสสว่างไสว และเมื่อท่านผู้เป็น

มหากัมมันคิกะกล่าวว่า ใครอยู่ที่นี่ จึงกล่าวว่า เราเป็นเทวดาผู้บังเกิดอยู่ที่

ซุ้มประตูที่ ๔. มหากัมมันติกะกล่าวว่า ท่านมาเพราะเหตุอะไร. เทวดากล่าวว่า

ท่านไม่เห็นการกระทำของท่านเศรษฐีหรือ. ท่านเศรษฐีไม่มองดูกาลอันจะ

มีมาภายหลังของตน นำทรัพย์ออกถมเฉพาะพระสมณโคดมเท่านั้นให้เต็ม

บริบูรณ์ ไม่ประกอบการค้าขาย ไม่ริเริ่มการงาน ท่านจงโอวาทท่านเศรษฐี

ท่านจงกระทำโดยประการที่ท่านเศรษฐีจะทำการงานของตนและพระสมณโคดม

พร้อมทั้งสาวกจะไม่เข้ามายังเรือนนี้. ลำดับนั้น ท่านมหากัมมันติกะนั้นได้กล่าว

กะเทวดานั้นว่า ดูก่อนเทวดาพาล ท่านเศรษฐีเมื่อสละทรัพย์ ก็สละในพระ

พุทธศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ท่านเศรษฐีนั้น ถ้าจักจับเราที่มวยผม

เอาไปขาย เราจักไม่กล่าวอะไร ๆ เลย ท่านจงไปเสียเถิด. อีกวันหนึ่ง เทวดา

นั้นเข้าไปหาบุตรชายคนใหญ่ของท่านเศรษฐี. แล้วกล่าวสอนเหมือนอย่างนั้น.

ฝ่ายบุตรชายท่านเศรษฐีก็คุกคามเทวดานั้น โดยนัยอันมีในก่อนนั่นแหละ. แต่

เทวดานั้นไม่อาจกล่าวกับท่านเศรษฐีได้เลย. ฝ่ายท่านเศรษฐีให้ทานอยู่ไม่ขาด

สาย ไม่กระทำการค้าขาย เมื่อทรัพย์สมบัติมีน้อย ทรัพย์ก็ได้ถึงการหมดสิ้น

ไป. ครั้งเมื่อท่านเศรษฐีนั้นถึงความยากจนเข้าโดยลำดับ ผ้าสาฎก ที่นอน

และภาชนะอันเป็นเครื่องบริโภคใช้สอยไม่ได้เป็นเหมือนดังแต่ก่อน. ท่าน

เศรษฐีแม้จะเป็นอย่างนี้ ก็ยังคงให้ทานแก่ภิกษุสงฆ์ แต่ไม่อาจทำให้ประณีต

แล้วถวาย. ครั้นวันหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามเศรษฐีนั้นผู้ถวายบังคมแล้วนั่ง

อยู่ว่า ดูก่อนคฤหบดี ก็ทานในตระกูล ท่านยังให้อยู่หรือ ?. เศรษฐีนั้นกราบ

ทูลว่า ยังให้อยู่พระเจ้าข้า แต่ว่าทานนั้นเศร้าหมอง เป็นข้าวปลายเกรียนมีน้ำ

ผักดองเป็นที่สอง. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเศรษฐีนั้นว่า คฤหบดี ท่าน

อย่าทำจิตให้ยุ่งยากว่า เราให้ทานเศร้าหมองเลย เพราะว่า เมื่อจิตประณีต

ทานที่ถวายให้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลาย ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

ไม่ชื่อว่าเศร้าหมอง. เพราะเหตุไร. เพราะมีผลมาก. ก็ข้อนี้ ควรจะทราบอย่างนี้

ว่าก็เมื่อสามารถทำจิตให้ประณีต ทานชื่อว่าเศร้าหมอง ย่อมไม่มี และว่า

เมื่อจิตผ่องใสแล้ว ทักษิณา การทำบุญใน

พระตถาคตสัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระสัม-

พุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามีประมาณน้อย ย่อมไม่มี. ได้ยิน

มาว่า การบำเรอในพระอโนมทัสสีพุทธเจ้าทั้งหลาย

มีผลน้อย ย่อมไม่มี ท่านจงเห็นผลของก้อนข้าวกุม

มาสอันเศร้าหมองและไม่เค็มเถิด.

แม้อีกข้อหนึ่ง พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ก่อนอื่นท่านเมื่อ

ให้ทานเศร้าหมอง ยังได้ให้แก่พระอริยบุคคล ๘ จำพวก เราครั้งเป็นเวลาม-

พราหมณ์ ให้รัตนะทั้ง ๗ กระทำชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้ไม่ต้องทำไร่ไถนา ยัง

มหาทานให้เป็นไปดุจทำแม่น้ำใหญ่ทั้ง ๕ สายให้เต็มเป็นห้วงเดียวกัน ก็ไม่ได้

ใคร ๆ ผู้ถึงสรณะ ๓ หรือผู้รักษาศีล ๕ ชื่อว่าบุคคลผู้ควรแก่ทักษิณา หาได้

ยากอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่านอย่าได้ทำจิตให้ยุ่งยากว่าทานของเราเศร้าหมอง

ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงตรัสเวลามสูตร.

ครั้งนั้นแล เทวดานั้นไม่อาจกล่าวกับเศรษฐีในกาลที่ท่านเศรษฐียัง

เป็นใหญ่ สำคัญว่า บัดนี้ เศรษฐีนี้จักเชื่อถือคำของเรา เพราะเป็นผู้ตกยาก

ในเวลาเที่ยงคืนจึงเข้าไปยังห้องอันเป็นสิริ ได้แผ่แสงสว่างยืนอยู่ในอากาศ.

เศรษฐีเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า นั้นใคร. เทวดานั้นกล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี

ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้สิงอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔. เศรษฐีกล่าวว่า ท่านมาเพื่ออะไร.

เทวดากล่าวว่า ข้าพเจ้าประสงค์จะกล่าวโอวาทท่านจึงได้มา. เศรษฐีกล่าวว่า

ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกล่าว. เทวดากล่าวว่า มหาเศรษฐี ท่านไม่คิดถึงเวลา

หลัง ไม่เห็นแก่บุตรธิดา เรี่ยรายทรัพย์เป็นอันมากลงในศาสนาของพระสมณ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

โคดม ท่านนั้นเกิดเป็นคนยากไร้ เพราะอาศัยพระสมณโคดม โดยสละทรัพย์

เกินขอบเขต หรือโดยไม่ทำการค้าขายและการงาน ท่านถึงแม้จะเป็นอย่างนี้ก็

ยังไม่ปล่อยพระสมณโคดม แม้ทุกวันนี้ สมณะเหล่านั้นก็ยังเข้าเรือนอยู่นั่นแหละ

ทรัพย์ที่พวกสรณะเหล่านั้นนำออกไปแล้ว ใคร ๆ ไม่อาจให้นำกลับมาได้ ย่อม

เป็นอันถือเอาเลย ก็ตั้งแต่นี้ไป ตัวท่านเองก็อย่าได้ไปสำนักของพระสมณโคดม

ทั้งอย่าได้ให้สาวกทั้งหลายของพระโคดมนั้น เข้ามายังเรือนนี้ ท่านแม้ให้พระ-

สมณโคดมกลับไปแล้ว ก็อย่าได้เหลียวแล จงกระทำคดีฟ้องร้องและการค้า

ขายของตน รวบรวมทรัพย์สมบัติ. เศรษฐีนั้น จึงกล่าวกะเทวดานั้นอย่างนี้ว่า

นี้เป็นโอวาทที่ท่านให้เราหรือ. เทวดากล่าวว่า จ้ะ นี้เป็นโอวาท. ท่านเศรษฐี

กล่าวว่า เราอันพระทศพลทรงกระทำให้เป็นผู้อันพวกเทวดาเช่นท่านตั้งร้อยก็

ดี พันก็ดี แสนก็ก็ดี ไห้หวั่นไหวไม่ได้และศรัทธาของเราไม่คลอนแคลนตั้ง

มั่นดีแล้วดุจภูเขาสิเนรุ เราสละทรัพย์ในรัตนศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจาก

ทุกข์ ท่านพูดคำอันไม่ควร ท่านผู้ไม่มีอาจาระ ทุศีล เป็นกาลกิณีเห็นปานนี้

ให้การประหารพระพุทธศาสนา เราไม่มีกิจคือการอยู่ในเรือนเดียวกันกับท่าน

ท่านจงรีบออกจากเรือนของเราไปอยู่ที่อื่น. เทวดานั้นได้ฟังคำของพระอริยสาวก

ผู้โสดาบัน ไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงไปยังที่อยู่ของตนแล้วเอามือจับทารกออกไป

ก็แหละครั้นออกไปแล้วไม่ได้ที่อยู่ในที่อื่น คิดว่า จักให้เศรษฐีอดโทษแล้ว

อยู่ที่ซุ้มประตูนั้นนั่นแหละ จึงไปยังสำนักของเทวบุตรผู้รักษาพระนคร ไหว้

เทวบุตรนั้น แล้วยืนอยู่ และอันเทวบุตรผู้รักษาพระนครกล่าวว่า ท่านมาเพราะ

ต้องการอะไร จึงกล่าวว่า นาย ข้าพเจ้าไม่ได้ใคร่ครวญ พูดกับ ท่านอนาถ-

บิณฑิกเศรษฐี ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีนั้นโกรธเรา ฉุดคร่าเราออกจากที่อยู่

ท่านจงนำข้าพเจ้าไปยังสำนักของท่านเศรษฐี ให้ท่านอดโทษแล้วให้ที่อยู่แก่

ข้าพเจ้า. เทวบุตรผู้รักษาพระนครถามว่า ก็ท่านพูดกะท่านเศรษฐีอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

เทวดานั้นกล่าวว่า ข้าแต่นาย ข้าพเจ้ากล่าวกะท่านเศรษฐีอย่างนี้ว่า นาย ตั้ง

แต่นี้ท่านอย่ากระทำการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าและพระสงฆ์ ท่านอย่าให้พระ

สมณโคดมเข้าไปในเรือน. เทวบุตรผู้รักษาพระนครกล่าวว่า ท่านกล่าวคำอัน

ไม่สมควร ท่านให้การประหารในพระศาสนา เราไม่อาจพาท่านไปยังสำนัก

ของท่านเศรษฐี. เทวดานั้นไม่ได้การช่วยเหลือจากสำนักของเทวบุตรนั้น จึง

ได้ไปยังสำนักของท้าวมหาราชทั้ง ๔ แม้ท้าวมหาราชทั้ง ๔ นั้นก็ปฏิเสธเหมือน

อย่างนั้น จึงเข้าไปเฝ้าท้าวสักกเทวราชกราบทูลเรื่องราวนั้น แล้วอ้อนวอน

อย่างดีว่า ข้าแต่เทวราช ข้าพระองค์ไม่ได้ที่อยู่ จูงทารกเป็นคนอนาถาเทียว

ไป ขอพระองค์จงยังเศรษฐีให้ให้ที่อยู่แก่ข้าพระองค์ ด้วยสิริของพระองค์.

แม้ท้าวสักกะนั้นก็ตรัสกะเทวดานั้นว่า ท่านการทำกรรมอันไม่สมควร ท่านให้

การประหารในศาสนาของพระชินเจ้า แม้เราก็ไม่อาจกล่าวกับเศรษฐี เหตุ

อาศัยท่าน แต่เราจะบอกอุบายให้ท่านเศรษฐีนั้นอดโทษแก่ท่านสักอย่างหนึ่ง.

เทวดานั้นกราบทูลว่า สาธุ ข้าแต่เทวะ ขอพระองค์จงตรัสบอก. ท้าวสักกะ

ตรัสว่า คนทั้งหลายทำหนังสือไว้กับมือของท่านเศรษฐี ถือเอาทรัพย์ไปนับได้

๑๘ โกฏิ มีอยู่ ท่านจงแปลงเพศเป็นคนเก็บส่วยของท่านเศรษฐีนั้น อย่าให้

ใคร ๆ รู้จัก ถือเอาหนังสือเหล่านั้น อันพวกยักษ์หนุ่ม ๆ ๒-๓ คน ห้อม

ล้อม มือหนึ่งถือหนังสือ (สัญญา) มือหนึ่งถือเครื่องเขียน ไปเรือนของคน

เหล่านั้น ยืนอยู่ในท่ามกลางเรือน ทำคนเหล่านั้น ให้สะดุ้งกลัวด้วยอานุภาพแห่ง

ยักษ์ของตน แล้วชำระเงิน ๑๘ โกฏิ ทำคลังเปล่าของเศรษฐีให้เต็ม ทรัพย์

ที่ฝังไว้ริมฝั่งแม่น้ำอจิรวดีอีกแห่งหนึ่ง เมื่อฝั่งแม่น้ำพังจึงเลื่อนลงสู่สมุทรมีอยู่

จงนำเอาทรัพย์แม้นั้น มาด้วยอานุภาพของตนแล้วทำคลังให้เต็ม ทรัพย์แม้อีก

แห่งหนึ่งประมาณ ๑๘ โกฏิ ไม่มีเจ้าของหวงแหนมีอยู่ในที่ชื่อโน้น จงนำเอา

ทรัพย์แม้นั้นมา ทำคลังเปล่าให้เต็ม ท่านจงทำคลังเปล่าอันเต็มด้วยทรัพย์ ๕๔

โกฏินี้ให้เป็นทัณฑกรรม แล้วให้มหาเศรษฐีอดโทษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

เทวดานั้นรับคำของท้าวสักกะนั้นว่า ดีละ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ

แล้วนำทรัพย์ทั้งหมดมาโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ในเวลาเที่ยงคืน จึงเข้าไป

ห้องอันประกอบด้วยสิริของเศรษฐี ได้แผ่แสงสว่างยืนอยู่ในอากาศ เมื่อเศรษฐี

กล่าวว่า นั่นใคร จึงกล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ข้าพเจ้าเป็นเทวดาซึ่งสิงสถิต

อยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๘ ของท่าน ข้าพเจ้าผู้หลงเพราะโมหะใหญ่ ไม่รู้จักคุณของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้กล่าวคำอะไรๆ กับท่านในวันก่อนๆ มีอยู่ ท่านจงอด

โทษนั้น แก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้านำทรัพย์ ๕๔ โกฏิ มาตามพระดำรัสของท้าวสักกะ

เทวราช คือ ทรัพย์ ๑๘ โกฏิโดยชำระสะสางหนี้ของท่าน (และ) ทรัพย์ ๑๘

โกฏิของตนผู้ไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ ในที่นั้น ๆ กระทำทัณฑกรรมโดยทำคลัง

ว่างเปล่าให้เต็ม ทรัพย์ที่ถึงความสิ้นไป เพราะปรารภ (การสร้าง) พระวิหาร

เชตวัน ข้าพเจ้าได้รวบรวมมาทั้งหมด ข้าพเจ้าเมื่อไม่ได้ที่อยู่ย่อมลำบาก

ข้าแต่ท่านมหาเศรษฐี ท่านอย่าใส่ใจคำที่ข้าพเจ้ากล่าวเพราะความไม่รู้. จง

อดโทษด้วยเถิด.

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ฟังคำของเทวดานั่นแล้วคิดว่า เทวดานี้

กล่าวว่า ก็ข้าพเจ้าได้ทำทัณฑกรรมแล้ว และปฏิญญายอมรับรู้โทษของตน

พระศาสดาจักทรงแนะนำเทวดานี้แล้ว ให้รู้จักคุณของตน ก็เราจักแสดง

(เทวดานี้) แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ลำดับนั้น ท่านมหาเศรษฐีจึงกล่าวกะ

เทวดานั้นว่า ดูก่อนเทวดาผู้สหาย ถึงแม้ท่านจักให้เราอดโทษ จงให้อดโทษ

ในสำนักของพระศาสดา. เทวดานั้นกล่าวว่า ดีละ ข้าพเจ้าจักกระทำอย่างนั้น

อนึ่ง ท่านจงพาเราไปยังสำนักของพระศาสดาเถิด. มหาเศรษฐีนั้นกล่าวว่า ดีละ

เมื่อราตรีสว่างแล้ว จึงพาเทวดานั้น ไปยังสำนักของพระศาสดาแต่เช้าตรู่ แล้ว

กราบทูลกรรมที่เทวดานั้นกระทำทั้งหมด แก่พระตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

พระศาสดาได้ทรงสดับคำของท่านมหาเศรษฐีนั้น แล้วจึงตรัสว่า ดูก่อน

คฤหบดี แม้บุคคลผู้ลามกในโลกนี้ ย่อมเห็นกรรมอันเจริญ ตราบเท่าที่บาป

ยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใด บาปย่อมให้ผลแก่บุคคลผู้ลามกนั้น เมื่อนั้น บุคคลผู้

ลามกนั้นย่อมเห็นแต่บาปเท่านั้น ฝ่ายบุคคลผู้เจริญ ย่อมเห็นบาปทั้งหลาย

ตราบเท่าที่กรรมอันเจริญยังไม่ให้ผล ก็ในกาลใด กรรมอันเจริญย่อมให้ผลแก่

บุคคลผู้เจริญนั้น ในกาลนั้น บุคคลผู้เจริญนั้น ย่อมเห็นแต่กรรมอันเจริญเท่านั้น

แล้วได้ตรัสคาถา ๒ คาถาในพระธรรมบทดังนี้ว่า

แม้บุคคลผู้ลามกย่อมเห็นธรรมอันเจริญตราบ

เท่าที่กรรมอันลามกยังไม่ให้ผล ก็ในกาลใด ธรรม

อันลามกย่อมให้ผล ในกาลนั้น บุคคลผู้ลามกนั้นย่อม

เห็นกรรมอันลามกทั้งหลาย ฝ่ายบุคคลผู้เจริญย่อมเห็น

กรรมอันลามก ตราบเท่าที่กรรมอันเจริญยังไม่ให้ผล

ก็ในกาลใดกรรมอันเจริญย่อมให้ผล ในกาลนั้น บุคคล

ผู้เจริญนั้น ย่อมเห็นกรรมอันเจริญทั้งหลาย.

ก็แหละในเวลาจบคาถาเหล่านี้ เทวดานั้นตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.

เทวดานั้นหมอบลงที่พระบาททั้งสองของพระศาสดาอันเรี่ยรายด้วยจักรให้พระ-

ศาสดาทรงอดโทษว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อันราคะย้อมแล้ว อัน

โทสะประทุษร้ายแล้ว หลงแล้วด้วยโมหะ มืดมนเพราะอวิชชาไม่รู้คุณทั้งหลาย

ของพระองค์ ได้กล่าวคำอันลามก ขอพระองค์จงอดโทษคำนั้นแก่ข้าพระองค์

แล้วยังมหาเศรษฐีให้อดโทษ สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีกล่าวคุณของ

ตนเบื้องพระพักตร์ของพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เทวดานี้แม้จะ

ห้ามอยู่ว่า จงอย่ากระทำการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าเป็นต้น ก็ไม่อาจห้าม

พระองค์ได้ ข้าพระองค์แม้ถูกเทวดานี้ห้ามอยู่ว่า ไม่ควรให้ทาน ก็ได้ให้อยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

นั้นแหละ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นี้คุณของข้าพระองค์มิใช่หรือ. พระศาสดา

ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านแลเป็นพระอริยสาวกผู้โสดาบัน มีศรัทธาไม่หวั่น

ไหว มีทัสสนะอันหมดจด ความที่ท่านถูกเทวดาผู้มีศักดิ์น้อยนี้ห้ามอยู่ก็ห้าม

ไม่ได้ ไม่น่าอัศจรรย์ ก็ข้อที่บัณฑิตทั้งหลายในปางก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายัง

ไม่อุบัติขึ้น ดำรงอยู่ในญาณอันยังไม่แก่กล้า ถูกมารผู้เป็นใหญ่ในกามาวจรภพ

ยืนอยู่ในอากาศ แสดงหลุมถ่านเพลิงลึก ๘๐ ศอก โดยกล่าวว่า ถ้าท่านจัก

ให้ทานไซร้ ท่านจักไหม้ในนรกนี้ แล้วห้ามว่า ท่านอย่าได้ให้ทาน ก็ได้ยืน

อยู่ในท่ามกลางผูกดอกปทุมให้ทาน นี้น่าอัศจรรย์ อันท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

ทูลอ้อนวอน จึงทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไป.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระนคร

พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐีในนครพาราณสี อันญาติทั้ง

หลายให้เจริญพร้อมด้วยเครื่องอุปกรณ์ทั้งปวงมีประการต่าง ๆ ดุจเทพกุมาร ถึง

ความเป็นผู้รู้เดียงสาโดยลำดับ ในเวลามีอายุ ๑๖ ปีเท่านั้น ก็ถึงความสำเร็จ

ในศิลปะทั้งปวง เมื่อบิดาล่วงไป พระโพธิสัตว์นั้น ดำรงอยู่ในตำแหน่งเศรษฐี

ให้สร้างโรงทาน ๖ แห่ง คือ ที่ประตูเมืองทั้ง ๔ ประตู ๔ โรงทาน ท่าม

กลางพระนคร ๑ โรงทาน ที่ประตูนิเวศน์ของตน ๑ โรงทาน แล้วให้มหา-

ทาน รักษาศีล รักษาอุโบสถกรรม อยู่มาวันหนึ่ง ในเวลาอาหารเช้า เมื่อ

คนใช้นำเอาโภชนะอันเป็นที่ชอบใจมีรสเลิศต่าง ๆ เข้าไปให้พระโพธิสัตว์.

พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งเมื่อล่วงไป๗ วัน ได้ออกจากนิโรธสมาบัติ กำหนด

เวลาภิกขาจารแล้วคิดว่า วันนี้เราไปยังประตูเรือนของพาราณสีเศรษฐี จึงควร.

จึงเคี้ยวไม้ชำระฟันชื่อนี้นาคลดา ล้างหน้าที่สระอโนดาต ยืนที่พื้นมโนศิลา นุ่ง

แล้ว ผูกรัดประคด ห่มจีวร ถือบาตรดินอันสำเร็จด้วยฤทธิ์มาทางอากาศ พอ

คนใช้น้ำภัตเข้าไปให้พระโพธิสัตว์ก็ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือน พระโพธิสัตว์พอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

เห็นดังนั้นก็ลุกจากอาสนะ แสดงอาการนอบน้อมแล้วแลดูบุรุษผู้ทำการงาน เมื่อ

บุรุษผู้ทำการงานกล่าวว่า กระผมจะทำอะไร ขอรับนาย จึงกล่าวว่า ท่านจง

นำบาตรของพระผู้เป็นเจ้ามา.

ทันใดนั้น มารผู้มีบาปสั้นสะท้านลุกขึ้นแล้วคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า

นี้ ไม่ได้อาหารมา ๗ วันแล้วจากวันนี้ไป วันนี้ เมื่อไม่ได้จักฉิบหาย เรา

จักทำพระปักเจกพุทธเจ้านี้ให้พินาศ และจักทำอันตรายแก่ทานของเศรษฐี จึง

มาในขณะนั้นทันที แล้วเนรมิตหลุมถ่านเพลิงประมาณ ๘๐ ศอก ในระหว่าง

วัตถุสถานที่ตั้ง หลุมถ่านเพลิงนั้นเต็มด้วยถ่านเพลิงไม้ตะเคียน ไฟลุกโพลงมี

แสงโชติช่วงปรากฏเหมือนอเวจีมหานรก ก็ครั้นเนรมิตหลุมถ่านเพลิงนั้นแล้ว

ตนเองได้ยืนอยู่ในอากาศ บุรุษผู้มาเพื่อจะรับบาตรเห็นดังนั้นได้รับความกลัว

อย่างใหญ่หลวงจึงกลับไป. พระโพธิสัตว์ถามว่า พ่อ เธอกลับมาแล้วหรือ ?

บุรุษนั้น กล่าวว่า นาย หลุมถ่านเพลิงใหญ่นี้ไฟติดโพลงมีแสงโชติช่วงมีอยู่ใน

ระหว่างสถานที่ตั้ง เมื่อเป็นเช่นนั้น คนอื่นๆ ไปบ้าง รวมความว่า คนผู้มา

แล้ว ๆ แม้ทั้งหมด ก็ถึงซึ่งความกลัวรีบหนีไปโดยเร็ว.

พระโพธิสัตว์คิดว่า วันนี้วสวัตดีมารผู้ประสงค์จะทำอันตรายแก่ทาน

ของเรา จักเป็นผู้ประกอบขึ้น แต่วสวัตดีมารนั้นย่อมไม่รู้ว่าเราเป็นผู้อันร้อย

มาร พันมาร แม้แสนมารให้หวั่นไหวไม่ได้ วันนี้ เราจักรู้ว่าเราหรือมารมี

กำลังมาก มีอานุภาพมาก ครั้นคิดแล้ว ตนเองจึงถือเอาถาดภัตตามที่เขาตระ-

เตรียมไว้นั้นนั่นแหละออกไปจากเรือน ยืนอยู่ฝั่งของหลุมถ่านเพลิงแล้วแลดู

อากาศ เห็นมาร จึงกล่าวว่า ท่านเป็นใคร. มารกล่าวว่า เราเป็นมาร. พระ

โพธิสัตว์ถามว่า หลุมถ่านเพลิงนี้ท่านเนรมิตไว้หรือ ? มารกล่าวว่า เออ เรา

เนรมิต. พระโพธิสัตว์ถามว่าเพื่อต้องการอะไร ? มารกล่าวว่า เพื่อต้องการทำ

อันตรายแก่ทานของท่านและเพื่อต้องการให้ชีวิตของพระปัจเจกพุทธเจ้าพินาศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เราจักไม่ให้ท่านทำอันตรายทานของตน และจักไม่ให้

ท่านทำอันตรายแก่ชีวิตของพระปัจเจกพุทธเจ้า วันนี้ เราจักรู้ว่าเราหรือท่าน

มีกำลังมาก มีอานุภาพมาก จึงยืนที่ฝั่งหลุมถ่านเพลิงแล้วกล่าวว่า ข้าแต่

พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าแม้จะมีหัวลง ตกไปในหลุมถ่านเพลิงแม้นี้

ก็จักไม่หวนกลับหลัง ขอท่านจงรับโภชนะที่ข้าพเจ้าถวายอย่างเดียว แล้ว

กล่าวคาถานี้ว่า

ข้าพเจ้าจะตกนรก มีเท้าขึ้นเบื้องบน มีศีรษะลง

เบื้องล่างก็ตาม ข้าพเจ้าจักไม่ทำธรรมอันไม่ประเสริฐ

ขอนิมนต์ท่านรับก้อนข้าวเถิด.

ในคาถานั้น มีประมวลความดังต่อไปนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ถ้าข้าพเจ้า

เมื่อจะถวายบิณฑบาตแก่ท่าน จะเป็นผู้มีศีรษะลงเบื้องล่าง มีเท้าขึ้นเบื้องบน

ตกลงไปยังนรกนี้โดยแน่แท้ แม้ถึงอย่างนั้น ข้าพเจ้าจักไม่กระทำการไม่ให้

ทานและการไม่รักษาศีลซึ่งเรียกว่า อนริยะ ไม่ประเสริฐ เพราะท่านผู้ประเสริฐ

ไม่กระทำ แต่ผู้ไม่ประเสริฐกระทำนั้น ขอนิมนต์ท่านรับก้อนข้าวที่ข้าพเจ้า

ถวายอยู่นี้เถิด. ก็ศัพท์ว่า หนฺท ในคาถานี้ เป็นนิบาตใช้ในอรรถแห่ง

อุปสรรค.

พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว มีการสมาทานอย่างมั่นคง ถือ

ถาดภัตแล่นไปทางเบื้องบนหลุมถ่านเพลิง ทันใดนั้นเอง มหาปทุมดอกหนึ่ง

บานเต็มที่เกิดขึ้นเป็นชั้น ๆ จากพื้นหลุมถ่านเพลิงอันลึก ๘๐ ศอก ผุดขึ้นรับ

เท้าทั้งสองของพระโพธิสัตว์ แต่นั้น เกสรมีขนาดเท่าทนานใหญ่ผุดขึ้นตั้งอยู่

เหนือศีรษะของพระมหาสัตว์แล้วร่วงลงมาได้การทำร่างกายทั้งสิ้นให้เป็นเสมือน

โปรยด้วยละอองทอง พระโพธิสัตว์นั้นยืนอยู่ที่ฝักดอกปทุมยังโภชนะมีรส

เลิศต่าง ๆ ให้ประดิษฐานลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า พระปัจเจก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

พุทธเจ้านั้นรับโภชนะนั้นแล้วกระทำอนุโมทนา โยนบาตรขึ้นในอากาศ เมื่อ

มหาชนเห็นอยู่นั่นแล แม้ตนเองก็เหาะขึ้นสู่เวหาส ตรงไปป่าหิมพานต์

เหมือนเหยียบย่ำกลีบเมฆฝนมีประการต่าง ๆ ไปฉะนั้น. ฝ่ายมารแพ้แล้วก็ถึง

ความโทมนัสไปยังสถานที่อยู่ของในนั่นเอง ส่วนพระโพธิสัตว์ยืนอยู่บนฝัก

ดอกปทุม แสดงธรรมแก่มหาชน โดยพรรณนาถึงทานและศีล อันมหาชน

แวดล้อมเข้าไปยังนิเวศน์ของตน กระทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ตลอด

ชีวิตแล้วไปตามยถากรรม.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี ข้อที่ท่านผู้สมบูรณ์ด้วยทัสสนะ

อย่างนี้ อันเทวดาให้หวั่นไหวไม่ได้ในบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ สิ่งที่บัณฑิตทั้ง

หลายได้กระทำไว้แม้ในกาลก่อนเท่านั้น น่าอัศจรรย์ ครั้นทรงนำพระธรรม-

เทศนานี้มาแล้วจึงทรงสืบอนุสนธิประชุมชาดกว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าในกาลนั้น

ได้ปรินิพพานแล้ว ณ ที่นั่งเอง ส่วนพาราณสีเศรษฐีผู้ทำมารให้พ่ายแพ้

ยินอยู่บนฝักดอกปทุมแล้วถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

คือเราเองแล.

จบขทิรังคารชาดกที่ ๑๐

จบกุลาวกวรรคที่ ๔

รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กุลาวกชาดก ๒. นัจจชาดก ๓. สัมโมทมานชาดก ๔. มัจฉ-

ชาดก ๕. วัฏฏกชาดก ๖. สกุณชาดก ๗. ติตติรชาดก ๘. พกชาดก

๙. นันทชาดก ๑๐. ขทิรังคารชาดก

๑. จบอรรถกถาชาดกภาค ๑ บาลีเล่มที่ ๒๗.