ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ

เล่มที่ ๒ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

ปีฐวรรคที่ ๑

๑. ปฐมปีฐวิมาน

ว่าด้วยวิมานตั่งทอง

[๑] พระโมคคัลลานะ ถามว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรง

พัสตราภรณ์สวยงาม วิมานตั่งทองของท่านโอฬาร

ท่านส่องแสงประกายดังสายฟ้าอันแลบลอดหลืบเมฆ

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญ

อะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน อนึ่ง โภคะทุกอย่างที่

น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก

อาตภาพขอถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

อะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง

อย่างนี้ และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่าง

นี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก ดีฉันได้ถวาย

อาสนะแก่หมู่ภิกษุผู้มาถึงเรือน ได้อภิวาท ได้ทำ

อัญชลี และถวายทานตามกำลัง เพราะบุญนั้น

ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จ

แก่ดีฉัน อนึ่ง โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอกแก่ท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้ เพราะบุญนั้น

ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของ

ดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบปฐมปีฐวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

ปรมัตถทีปนี

อรรถกถาขุททกนิกาย วิมานวัตถุ

คันถารัมภกถา

ข้าพเจ้าขอไหว้พระพุทธเจ้า ผู้มีพระมหากรุณา

เป็นนาถะ ทรงข้ามสังสารสาครด้วยไญยธรรม ทรง

แสดงธรรมอันละเอียดลุ่มลึกมีนัยมีวิจิตร.

ข้าพเจ้าขอไหว้พรธรรมสูงสุด ที่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้ว ซึ่งเป็นเครื่องนำผู้สมบูรณ์

ด้วยวิชชาและจรณะออกไปจากโลก.

ข้าพเจ้าขอไหว้พระอริยสงฆ์ ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ

มีศีลเป็นต้น ตั้งอยู่ในมรรคผล เป็นบุญเขตอัน

ยอดเยี่ยม.

บุญใด เกิดจากการไหว้พระรัตนตรัย ดังกล่าว

มานี้ ขอข้าพเจ้าเป็นผู้อันอำนาจบุญนั้นกำจัดอันตราย

ในที่ทั้งปวง.

บุญใด ๆ อันเทวดาทั้งหลายทำไว้ในชาติก่อน ๆ

เทศนาอันใด ที่ทำผลแห่งกรรมให้ประจักษ์ ดำเนิน

ไปโดยการถามและตอบของเทวดาเหล่านั้น โดย

แยกสมบัติ คือผลมีวิมานเป็นต้น ของบุญนั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

พระอรหันต์ทั้งหลายผู้เชี่ยวชาญแต่ก่อน สังคายนา

เรื่องใดไว้ในคันภีร์ขุททกนิกาย โดยชื่อว่าวิมานวัตถุ

เพราะฉะนั้น จักยึดนัยที่มาในอรรถกถารุ่นเก่านั้น

เมื่อจะประกาศนิทานทั้งหลายในเทศนานั้น ๆ โดย

พิเศษ จักแต่งกถาพรรณนาอรรถอันงาม ซึ่งหมดจด

ดี ไม่สับสน มีวินิจฉัยอรรถอย่างละเอียด ไม่

ผิดลัทธิสมัยของพระเถระทั้งหลายผู้อยู่ในมหาวิหาร

ตามกำลัง ขอสาธุชนทั้งหลาย จงตั้งใจฟังวิมาน-

วัตถุนั้นของข้าพเจ้า ซึ่งกำลังกล่าวอยู่ โดยเคารพ

เทอญ.

อธิบายคำว่า วิมานวัตถุ

ในวิมานวัตถุนั้น สถานที่เล่นและอยู่อาศัยของเทวดาทั้งหลาย มี

จำนวนนับอันประเสริฐ ชื่อว่า วิมาน. จริงอยู่ วิมานเหล่านั้น บังเกิด

ด้วยอานุภาพของกรรมส่วนสุจริตของเทวดาเหล่านั้น รุ่งเรืองด้วยรัตนะ

ต่าง ๆ มีสีและทรวดทรงอันวิจิตร เพราะประกอบด้วยขนาดพิเศษมี ๑

โยชน์ และ ๒ โยชน์เป็นต้น เรียกกันว่า วิมาน เพราะพรั่งพร้อมด้วย

ความงาม และเพราะต้องนับโดยวิธีพิเศษ. วัตถุที่ตั้งแห่งวิมานทั้งหลาย

เป็นเหตุแห่งเทศนานั้น เหตุนั้น เทศนานั้น จึงชื่อว่า วิมานวัตถุ ได้แก่

เทศนาที่ดำเนินไปโดยนัยว่า ปีนฺเต โสวณฺณมย ปีฐวิมานตั่งทองของ

ท่าน ดังนี้เป็นต้น. ก็คำนี้เป็นเพียงตัวอย่าง เพราะเทศนานี้ดำเนินไป

อาศัยสมบัติมีรูปโภคะและบริวารเป็นต้น และกรรมที่เป็นเหตุทำให้บังเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

สมบัตินั้น ของเทวดาเหล่านั้น อีกนัยหนึ่ง กล่าวโดยมุข คือ วิบาก

พึงทราบว่า ชื่อว่า วิมานวัตถุ เพราะเป็นเหตุแห่งการนับในระหว่าง

[ช่วง] กรรม.

ถามว่า วิมานวัตถุนี้ ใครกล่าว กล่าวที่ไหน กล่าวเมื่อไร และ

กล่าวเพราะเหตุไร. ตอบว่า วิมานวัตถุนี้ ดำเนินไป โดยกิจ ๒ อย่าง

คือ ถามและตอบ. ในกิจ ๒ อย่างนั้น คาถาคำตอบ เทวดาทั้งหลาย

นั้น ๆ กล่าว. ส่วนคาถาคำถาม บางคาถาพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส บาง

คาถา ท้าวสักกะเป็นต้นตรัส บางคาถา พระสาวกเถระทั้งหลายกล่าว.

แม้ในคาถาคำถามนั้น คาถาส่วนมาก ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ผู้

สร้างสมภารคือบุญและญาณ เพื่อเป็นพระอัครสาวกของพระผู้มีพระภาค

พุทธเจ้า บำเพ็ญสาวกบารมีมาโดยลำดับถึง ๑ อสงไขย กำไรแสนกัป

ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณหมดสิ้น ซึ่งมีคุณพิเศษมีอภิญญา ๖ และ

ปฏิสัมภิทา ๔ เป็นต้นเป็นบริวาร ดำรงอยู่ในตำแหน่งอัครสาวกรูปที่ ๒

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ในเหล่าภิกษุ

สาวกผู้มีฤทธิ์ กล่าวไว้แล้ว.

ก่อนอื่น พระเถระเมื่อจะกล่าว ก็เที่ยวเทวจาริกไปเพื่อเกื้อกูลโลก

ไถ่ถามเทวดาทั้งหลายในเทวโลก กลับมามนุษยโลกอีก ทำคำถามและ

คำตอบไว้รวมกัน เพื่อทำผลบุญ ให้ประจักษ์แก่มนุษย์ทั้งหลาย กราบทูล

เรื่องถวายพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงกล่าวแก่ภิกษุทั้งหลาย. ท้าวสักกะ

ตรัสก็โดยถามปัญหา เทวดาทั้งหลายตอบท้าวสักกะนั้นก็ดี ตอบท่าน

พระมหาโมคคัลลานเถระก็ดี ก็โดยตอบปัญหาเหมือนกัน. โดยนัยดังกล่าว

มานี้ คาถาวิมานวัตถุ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระเถระทั้งหลาย และเทวดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

ทั้งหลายกล่าว ก็โดยถามปัญหา และเทวดาทั้งหลายกล่าวไว้ในที่นั้น ๆ ก็

โดยตอบปัญหานั้น ภายหลัง พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายผู้สังคายนา

ธรรมวินัย รวบรวมยกขึ้นสู่สังคีติว่าวิมานวัตถุอย่างเดียว ก็การตอบบท

ว่า ใครกล่าว เป็นต้น โดยสังเขปทั่ว ๆ ไปในวิมานวัตถุนี้ เท่านี้ก่อน.

ส่วนบทว่า ใครกล่าว เมื่อกล่าวโดยพิสดาร ก็พึงกล่าวอาคมนีย-

ปฏิปทา ข้อปฏิบัติที่พึงดำเนินมาของพระเถระ ตั้งแต่มหาเถระทำปณิธาน

ความปรารถนาไว้แทบเบื้องบาทพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี.

ก็ปฏิปทานั้น ท่านกล่าวไว้พิสดารแล้วในที่นั้น ๆ ในอรรถกถาทั้งหลาย

อันเป็นที่มา เพราะฉะนั้น พึงทราบตามนัยที่มาแล้วในที่นั้น. เมื่อกล่าว

โดยไม่ทั่วไป [โดยเฉพาะ] การตอบบทว่า กล่าวที่ไหน ก็จักมาถึง

ตอนพรรณนาความแห่งวิมานนั้น ๆ.

ส่วนอาจารย์พวกอื่นๆ กล่าวว่า วันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคัลลานะ

ไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ เกิดใจปริวิตกอย่างนี้ว่า ปัจจุบันนี้ มนุษย์

ทั้งหลาย เมื่อความถึงพร้อมแห่งวัตถุ [ไทยธรรม] ความถึงพร้อมแห่ง

เขต [ทักขิไณยบุคคล] และความถึงพร้อมแห่งจิตเลื่อมใสของตน

[เจตนา] แม้ไม่มี ก็ยังพากันทำบุญนั้น บังเกิดในเทวโลกเสวยสมบัติ

อันโอฬาร ถ้ากระไร เราจาริกไปในเทวโลก ทำเทวดาเหล่านั้นเป็น

ประจักษ์พยานให้กล่าวบุญ ตามที่พวกเขาสร้างสมไว้ และผลบุญตามที่

ได้ประสบ แล้วกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเป็นดังนั้น

พระศาสดาของเรา เมื่อทรงแสดงผลกรรมให้ประจักษ์ชัดแก่มนุษย์ทั้งหลาย

เหมือนดังทรงทำพระจันทร์เพ็ญอุทัยขึ้น ณ พื้นนภากาศ ทรงชี้ความที่บุญ

ทั้งหลาย แม้ประมาณเล็กน้อย ก็ยังมีผลโอฬาร โดยศรัทธาความเชื่อต่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

เนื่องกันได้ ทรงทำวิมานวัตถุนั้น ๆ ให้เป็นวัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องแล้ว

จักทรงประกาศพระธรรมเทศนาได้ยิงใหญ่. พระธรรมเทศนานั้น ก็จะเป็น

ประโยชน์เกื้อกูลความสุขแก่ชนเป็นอันมาก แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ท่านลุกขึ้นจากอาสนะ นุ่งผ้า ๒ ชั้นย้อมดีแล้วผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่ง

ห่มเฉวียงบ่า เปรียบดังฟ้าแลบ มีลำสายคล้ายหิงคุ์ตามธรรมชาติ [หยาด

มหาหิงคุ ] และเปรียบดังยอดเขาอัญชันคิรี เดินได้ ซึ่งฉาบด้วยแสงสนธยา

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง

กราบทูลความประสงค์ของตน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตแล้ว ก็

ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณเวียนขวา

เข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากจตุตถฌานนั้นแล้ว ก็

ถึงดาวดึงสภพในทันทีนั้น โดยกำลังฤทธิ์ จึงไถ่ถามถึงบุญกรรม ตามที่

เทวดาทั้งหลายนั้น ๆ สร้างสมไว้. เทวดาเหล่านั้น ก็บอกกล่าวแก่ท่าน.

ท่านกลับจากดาวดึงส์นั้นมายังมนุษยโลกแล้ว กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมด

ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยทำนองที่เป็นไปในดาวดึงสภพนั้น.

พระศาสดา ก็ได้ทรงรับทราบเรื่องนั้นแล้ว ทรงทำวิมานวัตถุนั้นให้เป็น

วัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องแล้วทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร โปรดบริษัทที่มา

ประชุมกัน.

ก็วิมานวัตถุนี้นั้น นับเข้าในสุตตันตปิฎก ในปิฎกทั้ง ๓ คือ

วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก. นับเข้าในขุททกนิกาย ใน

นิกายทั้ง ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย

ขุททกนิกาย. สงเคราะห์เข้าในคาถา ในสัตถุศาสน์มีองค์ ๙ คือ สุตตะ

เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทานะ อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

เวทัลละ. สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์เล็กน้อย ในพระธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐

ซึ่งท่านพระอานนท์ คลังพระธรรมปฏิญญาไว้ดังนี้ ว่า

ทฺวาสีติ พุทฺธโต คณฺหึ เทฺว สหสฺสานิ ภิกฺขุโต

จตุราสีติ สหสฺสานิ เย เม ธมฺมา ปวตฺติโน

ธรรมเหล่าใดอันข้าพเจ้าให้เป็นไป ข้าพเจ้า

เรียนธรรมเหล่านั้น จากพระพุทธองค์ ๘๒,๐๐๐

จากภิกษุ [พระสารีบุตรเถระ] อีก ๒,๐๐๐ รวม

เป็น ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์.

กล่าวโดยวรรค มี ๗ วรรค คือ ปีฐวรรค จิตตลตาวรรค

ปาริฉัตตกวรรค มัญชิฏฐกวรรค มหารถวรรค ปายาสิวรรค สุนิก-

ขิตตวรรค. กล่าวโดยเรื่อง วรรคที่ ๑ มี ๑๗ เรื่อง วรรคที่ ๒ มี ๑๑

เรื่อง วรรคที่ ๓ มี ๑๐ เรื่อง วรรคที่ ๔ มี ๑๒ เรื่อง วรรคที่ ๕

มี ๑๔ เรื่อง วรรคที่ ๖ มี ๑๐ เรื่อง วรรคที่ ๗ มี ๑๐ เรื่อง รวม

๘๕ เรื่อง ไม่นับอันตรวิมาน แต่นับด้วย ก็มี ๑๒๓ เรื่อง กล่าวโดย

คาถา มี ๑,๕๐๐ คาถา. บรรดาวรรคของวิมานวัตถุนั้น ปีฐวรรคเป็น

วรรคต้น . บรรดาเรื่อง เรื่องปีฐวิมาน วิมานตั่งทองเป็นเรื่องต้น. แม้

วิมานวัตถุนั้นมีคาถาว่า ปีนฺเต โสวณฺณมย เป็นคาถาต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

๑. อิตถิวิมานวัตถุ

ปีฐวรรควรรณนาที่ ๑

๑. อรรถกถาปฐมปีฐวิมาน

แม้ปีฐวิมานเรื่องที่ ๑ ในปีฐวรรคที่ ๑ นั้น มีวัตถุปัตติเหตุ

เกิดเรื่อง ดังต่อไปนี้ :-

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน

อนาถบิณฑิกะ กรุงสาวัตถี พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงถวายอสทิสทาน

๗ วัน แด่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ท่านอนาถบิณฑิกะ

มหาเศรษฐี ก็ถวาย ๓ วัน พอสมควรแก่อสทิสทานนั้น นางวิสาขา

มหาอุบาสิกา ก็ถวายมหาทานเหมือนอย่างนั้น. ประวัติความเป็นไปแห่ง

อสทิสทาน ได้ปรากฏทั่วชมพูทวีป. ครั้งนั้น มหาชนยกเรื่องขึ้นพูดกัน

ในที่นั้น ๆ ว่า ทานจักมีผลมาก ด้วยการบริจาคสมบัติอันโอฬารอย่างนี้

หรือ ๆ จักมีผลมาก แม้ด้วยการบริจาคพอสมควรแก่ทรัพย์สมบัติของตน.

ภิกษุทั้งหลายฟังคำนั้นแล้ว ก็กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานมิใช่จักมีผลมาก ด้วยการ

ถึงพร้อมแห่งไทยธรรมอย่างเดียว ที่แท้ ทานจักมีผลมาก ก็ด้วยความ

ถึงพร้อมแห่งจิตที่เลื่อมใส และด้วยความถึงพร้อมแห่งเขต [ทักขิไณย-

บุคคล ] เพราะฉะนั้น ทานวัตถุเพียงสักข้าวกำมือหนึ่งก็ดี เพียงผ้าเก่า

ผืนหนึ่งก็ดี เพียงเครื่องลาดทำด้วยหญ้าก็ดี เพียงเครื่องลาดทำด้วยใบไม้ก็ดี

เพียงสมอดองน้ำมูตรเน่าก็ดี บุคคลมีจิตเลื่อมใสแล้ว ตั้งไว้ในทักขิไณย-

บุคคล ทานแม้นั้น ก็จักมีผลมาก รุ่งเรืองมาก แผ่ไพศาลมาก ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

จริงอย่างนั้น ท้าวสักกะจอมทวยเทพ ก็ตรัสคำเป็นคาถา ดังนี้ว่า

นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ อปฺปิกา นาม ทกฺขิณา

ตถาคเต วา สมฺพุทฺเธ อถวา ตสฺส สาวเก

เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า หรือ

พระสาวกของพระสัมพุทธเจ้านั้น ทักษิณาไม่ชื่อว่า

น้อยเลย.

ถ้อยคำนั้น ได้แพร่ไปทั่วชมพูทวีป. มนุษย์ทั้งหลาย พากันให้ทาน

ตามสมควรแก่ทรัพย์สมบัติ แก่สมณพราหมณ์คนยากไร้ คนเดินทางไกล

วณิพกและยาจกทั้งหลาย ตั้งน้ำดื่มไว้ที่ลานเคหะ ปูอาสนะไว้ที่ซุ้มประตู.

สมัยนั้น พระเถระผู้ถือปิณฑปาติกธุดงค์เป็นวัตรรูปหนึ่ง มีอากัปกิริยา

ก้าวไป ถอยกลับ เหลียว แล คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส ทอด

จักษุลง ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ เที่ยวบิณฑบาต ก็มาถึงเรือนหลังหนึ่ง

ในเวลาจวนแจ. ในเรือนหลังนั้น กุลธิดาผู้หนึ่ง ถึงพร้อมด้วยศรัทธา

เห็นพระเถระ ก็เกิดความเคารพความนับถือมาก เกิดปีติโสมนัสอย่าง

โอฬาร จึงนิมนต์ให้ท่านเข้าไปยังเรือน ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ จัด

ตั่งของตน ปูผ้าเนื้อเกลี้ยงสีเหลืองบนตั่งนั้นถวาย. เมื่อพระเถระนั่งเหนือ

ตั่งนั้นแล้ว นางคิดว่า บุญเขตสูงสุดนี้ ปรากฏแก่เราแล้ว ก็มีจิตเลื่อมใส

เลี้ยงดูด้วยอาหาร ตามสมควรแก่ทรัพย์สมบัติ ทั้งนางก็ถือพัดพัดถวาย.

พระเถระฉันเสร็จแล้ว กล่าวธรรมีกถาประกอบด้วยทานมีถวายอาสนะ

ถวายอาหารเป็นต้นแล้วก็ไป. สตรีผู้นั้นพิจารณาถึงทานของตนและ

ธรรมกถานั้น อันปีติถูกต้องกำซาบไปทั่วเรือนร่าง จึงได้ถวายตั่งแม้นั้น

แก่พระเถระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

สมัยต่อมาจากนั้น สตรีผู้นั้นเกิดโรคอย่างหนึ่งตาย ไปบังเกิดใน

วิมานทองขนาด ๑๒ โยชน์ ภพดาวดึงส์ นางมีเทพอัปสร ๑,๐๐๐

เป็นบริวาร. ก็ด้วยอำนาจที่นางถวายตั่งเป็นทาน จึงบังเกิดบัลลังก์

[เตียง, ตั่ง แท่น ] ทอง ลอยไปในอากาศแล่นเร็ว ชั้นบนมีราชรถทรวด

ทรงดังเรือนยอด. ด้วยเหตุนั้น วิมานนี้จึงเรียกว่า ปีฐวิมาน. แท้จริง

วิมานตั่งนั้น เป็นทองส่องให้เห็นความเหมาะสมกับกรรม เพราะนางลาด

ผ้าสีทองถวาย ชื่อว่า แล่นไปเร็ว เพราะกำลังปีติแรง ชื่อว่า ไปได้

ตามชอบใจ เพราะนางถวายแก่ทักขิไณยบุคคลโดยจิตชอบ ได้ชื่อว่า

ประกอบด้วยความงดงาม น่าเลื่อมใสพร้อมสรรพ เพราะสมบัติคือความ

เลื่อมใสโอฬาร.

ต่อมาวันมหรสพวันหนึ่ง เมื่อเทวดาทั้งหลาย พากันไปสวน

นันทนวัน เพื่อเล่นกรีฑาในอุทยาน ด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์ของตน ๆ

เทวดาองค์นั้น ทรงนุ่งผ้าทิพย์ประดับด้วยทิพยาภรณ์ มีเทพอัปสร ๑,๐๐๐

เป็นบริวาร ก็ออกจากภพของตน ขึ้นสู่วิมานตั่งนั้น ส่องแสงสว่างดั่งดวง

จันทร์ ดวงอาทิตย์โดยรอบ ด้วยเทวฤทธิ์ยิ่งใหญ่ด้วยสิริโสภาคย์ตระการ

ไปยังอุทยาน. ก็สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวเทวจาริกไป

โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง เข้าไปยังภพดาวดึงส์ แสดงองค์ไม่ไกล

จากเทวดาองค์นั้น. เทวดาองค์นั้น เห็นท่านก็มีความเลื่อมใสมีความเคารพ

มีกำลังพรั่งพร้อม จึงรีบลงจากบัลลังก์เข้าไปหาพระเถระ. กราบด้วย

เบญจางคประดิษฐ์แล้วยืนนมัสการประคองอัญชลีอันรุ่งเรืองด้วยทศนัข

สโมธาน [ชุมนุม ๑๐ นิ้ว]. พระเถระเห็นประจักษ์ถึงกุศลและอกุศล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

ตามที่เทวดาองค์นั้นและสัตว์เหล่าอื่นสั่งสมไว้ ด้วยความแตกฉานแห่ง

กำลังปัญญา โดยอานุภาพแห่งยถากัมมูปคญาณ [ญาณที่รู้ถึงสัตว์ทั้งหลาย

เข้าถึงภพนั้น ๆ ตามกรรม] ของท่าน เหมือนผลมะขามป้อม ที่วางไว้

บนฝ่ามือ ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น เพราะเหตุที่ปัญญาทบทวนเฉพาะภพ

ในอดีต และกรรมตามที่สั่งสมไว้ ส่วนมากสำเร็จโดยธรรมดาแก่เทวดา

ทั้งหลายในลำดับอุปปัตติภพเท่านั้นว่า เราจุติจากไหนหนอ จึงอุบัติใน

ภพนี้ เราทำกุศลกรรมอะไรหนอ จึงได้สมบัตินี้ และญาณย่อมเกิดแก่

เทวดานั้น ตามเป็นจริงฉะนั้น พระเถระประสงค์จะให้เทวดาองค์นั้นกล่าว

กรรมที่ทำไว้แล้ว กระทำผลกรรมให้ประจักษ์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก

จึงถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ผู้ประดับองค์ ทรงมาลัยดอกไม้

ทรงพัสตราภรณ์สวยงาม วิมานตั่งทองของท่านโอฬาร

เร็วดังใจ ไปได้ตามปรารถนา ท่านส่องแสงประกาย

ดังสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ

เพราะบุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิดแก่ท่าน

ดูก่อนเทพี ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของ

ท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

ครั้นแล้วจึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ดีฉันได้ถวาย

อาสนะแก่เหล่าภิกษุที่มาถึง [ เรือน ] ได้กราบไหว้

ไค้ทำอัญชลี [ประนมมือ] และได้ถวายทานตาม

กำลัง

เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิดแก่ดีฉัน

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอกแก่

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญอันใดไว้

เพราะบุญอันนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

อธิบายคำว่า ปีฐะ

ท่อนไม้ก็ดี อาสนะก็ดี ตั่งที่ทำด้วยเถาวัลย์ก็ดี อาสนะที่ทำด้วย

หวายก็ดี อาสนะที่ทำด้วยไม้เป็นต้นซึ่งมีชื่อแปลกออกไปมีมสารกะเตียง

ที่มีแคร่สอดเข้ากับขาเป็นต้นก็ดี ทุกสิ่งทุกอย่างนั้น ชื่อว่าปีฐะ ตั่ง ใน

คาถานั้น. จริงอย่างนั้น ท่อนไม้มีปีฐะเป็นต้น พอวางเท้าได้ เรียกว่า

ปีฐะ ได้ในบาลีนี้ว่า ปาทปี เขียงเท้า ปาทกสิกา กระเบื้องรองเท้า

ท่อนไม้ที่พอมือจับได้. เรียกว่า ปีฐะ ได้ในบาลีนี้ว่า ปีสปฺปิ คนเปลี้ย.

ส่วนอาสนะ โดยโวหารท้องถิ่นในชนบทบางแห่งเรียกว่า ปีิกา ที่สำหรับ

ทำพลีกรรมเทวดาทั้งหลาย เรียกว่า ปีฐะ ได้ในบาลีนี้ว่า ภูตปีิกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

ตั่งเซ่นภูตผี เทวกุลปีิกา ตั่งสังเวยเทวดา. อาสนะที่เขาสร้างขึ้นด้วย

หวายและเถาวัลย์เป็นต้น เรียกว่า ปีฐะ ได้ในบาลีนี้ว่า ภทฺทปิ ภัทรบิฐ

เก้าอี้ [หวาย] ท่านหมายถึงจึงกล่าวไว้ว่า ภทฺทปี อุปาทยิ ทำ

ภัทรบิฐให้เกิดขึ้น. อาสนะที่ทำด้วยไม้เป็นต้น ต่างโดยเป็นเตียงสอดแคร่

เข้ากับขาเป็นต้น เรียกว่า ปีฐะ ได้ในบาลีเป็นอาทิว่า สุปญฺตฺต

มญฺจปี เตียงตั่งที่จัดไว้ดีแล้ว และว่า มญฺจ วา ปี วา การยมาเนน

ใช้ให้เขาทำเตียงหรือตั่ง. ส่วนในที่นี้ พึงทราบว่า วิมานทอง ขนาด

๑ โยชน์ บังเกิดด้วยบุญญานุภาพของเทวดา ตั้งอยู่โดยอาการคล้ายบัลลังก์

[เตียง, ตั่ง, แท่น].

ในบทว่า เต เตศัพท์ มาในอรรถปฐมาวิภัตติพหุวจนะ โดย

เป็นตศัพท์ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า น เต สุข ปชานนฺติ เย น

ปสฺสนฺติ นนฺทน ชนเหล่าใดไม่เห็นสวนนันทนวัน ชนเหล่านั้น ชื่อว่า

ไม่รู้จักสุข. มาในอรรถจตุตถีวิภัตติ โดยเป็นตุมฺหศัพท์ อธิบายว่า แด่

ท่าน ได้ในบาลีเป็นต้นว่า

นโม เต ปุริสาชญฺ นโม เต ปุริสุตฺตม

นโม เต พุทฺธาวีรตฺถุ

ท่านบุรุษอาชาไนย ขอความนอบน้อมจงมีแด่

พระองค์ ท่านผู้เป็นบุรุษสูงสุด ขอความนอบน้อม

จงมีแด่พระองค์ ท่านพุทธะผู้แกล้วกล้า ขอความ

นอบน้อมจงมีแด่พระองค์.

มาในอรรถตติยาวิภัตติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า กินฺเต ทิฏ กินฺติ เต

สุต ท่านเห็นอะไร ท่านฟังมาว่าอะไร และว่า อุปธี เต สมติกฺกนฺตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

อาสวา เต ปทาลิตา อุปธิกิเลสทั้งหลาย ท่านก็ก้าวล่วงเสียแล้ว อาสวะ

ทั้งหลาย ท่านก็ทำลายได้แล้ว. มาในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ ได้ในบาลีเป็นต้น

ว่า กินฺเต วตฺต กึ ปน พฺรหฺมจริย อะไรเป็นวัตรของท่าน ก็อะไร

เป็นพรหมจรรย์. ส่วนในที่นี้ เตศัพท์พึงเห็นว่าใช้ในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ.

อธิบายว่า ของท่าน.

ในบทว่า โสวณฺณมย นี้ สุวัณณศัพท์มาในอรรถว่า ความถึง

พร้อมแห่งผิว ได้ในบาลีเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุวณฺเณ ทุพฺพณฺเณ สุคเต

ทุคฺคเต ผิวสวย ผิวทราม มั่งมี ยากจน และว่า สุวณฺณตา สุสรตา

ความมีผิวสวย ความมีเสียงไพเราะ. มาในอรรถว่า ครุฑ ได้ในบาลี

เป็นต้นว่า กาก สุวณฺณา ปริวารยนฺติ ครุฑทั้งหลายห้อมล้อม กา.

มาในอรรถว่า ทอง ได้ในบาลีเป็นต้นว่า สุวณฺณวณฺโณ กาญฺจน-

สนฺนิภตโจ มีผิวดังทอง มีหนังเปล่งปลั่งดังทอง. แม้ในที่นี้ สุวัณณ

ศัพท์พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า ทองอย่างเดียว. จริงอยู่ วิมานตั่งนั้น

ท่านเรียกว่า ทอง เพราะมีสีงาม เหตุมีสีเสมอพระพุทธะทั้งหลาย.

ทองนั่นแล ชื่อว่า โสวัณณะ เหมือนคำว่า เวกตะ และ เวสมะ [ วิกตสฺส

ภาโว เวกต วิสมสฺส ภาโว เวสม]. ส่วนมยศัพท์มาในอรรถว่า

อสฺม มี เป็น ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อนุญฺาตปฏิญฺาตา เตวิชฺชา

มยมสฺมุโภ [มย อสฺม อุโภ] เราทั้งสองมีวิชชา ๓ เป็นผู้ปฏิญญา

ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับรอง. มาในอรรถว่า บัญญัติรับรู้กัน

ได้ในบาลีนี้ว่า มย นิสฺสาย เหมาย ชาตมณฺโฑ ทรี สุภา ซอกเขา

เกิดสดใสเป็นทอง งดงาม เพราะอาศัยหิน [ ศิลา ]. มาในอรรถว่า

บังเกิด ได้ในบาลีนี้ว่า มโนมยา ปีติภกฺขา สยมฺปภา เกิดโดยใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีในตัวเอง พรหมเว้นปัจจัยภายนอกเสีย ก็บังเกิด

ทางใจอย่างเดียว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สำเร็จด้วยใจ. มาใน

อรรถว่า วิการ ทำให้แปลก ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ยนฺนูนาห สาม

จิกฺขลฺล มทฺทิตฺวา สพฺพมตฺติกามย กุฏิก กเรยฺย ถ้ากระไร เรา

พึงขยำโคลน สร้างกุฎี ทำด้วยดินล้วนเสียเอง. มาในอรรถว่า บท

บูรณ์ ทำบทให้เต็ม ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ทานมย สำเร็จด้วยทาน

สีลมย สำเร็จด้วยศีล. แม้ในที่นี้ มยศัพท์ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า

ทำให้แปลก หรือในอรรถว่า ทำบทให้เต็ม. ก็เมื่อใด มยศัพท์มีความ

ดังนี้ว่า ปีฐวิมาน บังเกิดด้วยทอง ชื่อว่า โสวัณณมัย เกิดด้วยทอง

เมื่อนั้น ก็พึงเห็นว่า มยศัพท์ใช้ในอรรถว่า ทำให้แปลกว่า วิการ ทำ

ให้แปลก [ทำรูปพรรณต่าง ๆ] ด้วยทอง ชื่อว่า โสวัณณมัย. จะ

กล่าวว่า ใช้ในอรรถบังเกิดดังนี้บ้าง ก็ควรทั้งนั้น. ก็เมื่อใด มีอรรถ

ดังนี้ว่า บังเกิดด้วยทอง ชื่อว่า โสวัณณะ เมื่อนั้น ก็พึงเห็นว่า

มยศัพท์ ใช้ในอรรถว่า ทำบทให้เต็มดังนี้ว่า ทองนั่นแหละ ชื่อว่า

โสวัณณมัย.

บทว่า อุฬาร แปลว่า ประณีตก็ได้ ประเสริฐก็ได้ ใหญ่ก็ได้.

จริงอยู่ อุฬารศัพท์ มาในอรรถว่า ประณีต ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ย่อม

บรรลุ คุณพิเศษอันประณีต อื่นจากคุณพิเศษก่อน. มาในอรรถว่า

ประเสริฐ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า เขาว่าท่านกัจจายนพราหมณ์สรรเสริญ

พระสมณโคดม ด้วยการสรรเสริญอย่างประเสริฐ. มาในอรรถว่า ใหญ่

๑. ปุพฺเพนาปร อุฬาร วิเสส อธิคจฺฉติ.

๒. อุฬาราย ภว กจฺจายโน สมณโคตม ปสสาย ปสสติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อุฬารโภคา โภคะใหญ่ อุฬารยสา ยศใหญ่และว่า

โอฬาริก อันใหญ่. ก็วิมานแม้นั้น ชื่อว่าประณีต เพราะอรรถว่า

กระทำความไม่อิ่มสำหรับผู้ใช้สอย โดยความฟูปลื้มใจ ชื่อว่าประเสริฐ

เพราะถูกสรรเสริญโดยภาวะมีความเป็นวิมานที่น่าเลื่อมใสโดยรอบเป็นต้น

ชื่อว่าใหญ่ เพราะใหญ่โดยขนาด และเพราะมีค่ามาก. วิมานอันโอฬาร

กล่าวกันว่า โอฬารกย่างเดียว ด้วยอรรถแม้ ๓ อย่างแล.

จิต ชื่อว่า มโน ใจ ในบทว่า มโนชว นี้. ก็หากว่า มโนศัพท์

กล่าวทั่ว ๆ ไป ก็สำหรับจิตที่เป็นกุศล อกุศล และอัพยากฤต แม้

ทุกดวง. แต่ก็พึงทราบโดยเป็นจิตสำเร็จมาแต่กิริยา ที่เป็นไปในอารมณ์

อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะท่านกล่าวว่า มโนชว เพราะฉะนั้น วิมานทอง

ชื่อว่ามโนชวะ เพราะเร็วดังใจ เหมือนคำว่า โอฏฺมุโข ปากมีผีปาก

[พูดได้คล่อง] อธิบายว่า ไปเร็วเหลือเกิน. จริงอยู่ ใจย่อมตกไปใน

อารมณ์แม้ไกลนักหนาได้ฉับพลันทีเดียว เพราะเป็นไปรวดเร็ว. ด้วยเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามองไม่เห็น

ธรรมแม้แต่อย่างหนึ่งอันอื่น ซึ่งเป็นไปรวดเร็วเหมือนอย่างจิตนี้เลยนะ

ภิกษุทั้งหลาย และว่าจิตไปได้ไกล ไปดวงเดียว ดังนี้. บทว่า คจฺฉติ

ได้แก่ ไปทางอากาศจากวิมานที่อยู่ของเทวดาองค์นั้น ตรงไปยังอุทยาน.

ในบทว่า เยน กาม นี้ กามศัพท์ มาในอรรถว่า อารมณ์มีรูป

เป็นต้น ที่น่าพอใจ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า กามา หิ วิจิตฺรา มธุรา

มโนรมา วิรูปรูเปน มเถนฺติ จิตฺต แท้จริง กามทั้งหลาย งดงาม หวานชื่น

ระรื่นใจ ย่อมย่ำยีจิต ด้วยรูปแปลก ๆ. มาในอรรถว่า ฉันทราคะ

ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ฉนฺโท กาโม ฉันทะ เป็นกาม ราโค กาโม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

ราคะ เป็นกาม ได้แก่ กิเลสกาม. มาในอรรถว่า โลภะความอยากได้

ทุกอย่าง ได้ในบาลีเป็นต้นว่า กามุปาทาน ยึดกามความอยากได้. มา

ในอรรถว่า คามธรรม ธรรมของชาวบ้าน ได้ในบาลีเป็นต้นว่า

อตฺตกามปาริจริยาย วณฺณ ภาเสยฺย สรรเสริญการบำเรอกามด้วย

ตนเอง. มาในอรรถว่า หิตฉันทะ ความพอใจในประโยชน์เกื้อกูล

ได้ในบาลีเป็นต้นว่า สนฺเตตฺถ ตโย กุลปุตฺตา อตฺตกามรูปา วิหรนฺติ

มีกุลบุตร ๓ คน ในที่นั้น มีความพอใจในประโยชน์ตนอยู่. มาใน

อรรถว่า เสรีภาพอยู่โดยอำเภอใจ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อตฺตาธีโน

อปราธีโน ภุชิสฺโส เยน กามงฺคโม มีตนเป็นใหญ่ [ คือพึ่งตนเอง]

ไม่มีคนอื่นเป็นใหญ่ [คือไม่พึ่งคนอื่น] เป็นไท ไปได้ตามปรารถนา

แม้ในที่นี้กามศัพท์พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า เสรีภาพเท่านั้น. เพราะฉะนั้น

บทว่า เยน กาม จึงแปลว่า ตามความปรารถนา. อธิบายว่า ความ

สมควรแก่ความปรารถนาของเทวดา.

บทว่า อลงฺกเต แปลว่า แต่งองค์แล้ว อธิบายว่า มีเรือนร่าง

ประดับด้วยอาภรณ์ทิพย์ มีภาระประมาณ ๖๐ เล่มเกวียน ต่างโดยเป็น

เครื่องประดับมือประดับเท้าเป็นต้น รุ่งเรืองด้วยข่ายรัศมีต่าง ๆ อย่างและ

รุ่งโรจน์ด้วยรัตนะหลายชนิด. คำนี้เป็นเอกวจนะใช้ในอรรถสัมโพธนะ

[สสกฤต ใช้ มคธใช้อาลปนะเป็นวิเสสนะของเทวธีเต ในคาถา].

บทว่า มาลฺยธเร ได้แก่สวมมาลัยดอกไม้ เพราะมีเกศและหัตถ์เป็นต้น

ตกแต่งดีแล้ว ด้วยดอกไม้ทิพย์ อันงดงามด้วยกลุ่มช่อคลี่ขยายรุ่งโรจน์

โดยรอบ มีกลีบช่อและเกสรทำด้วยทองบริสุทธิ์ดี และรัตนะต่าง ๆ เกิด

แต่ต้นกัลปพฤกษ์ต้นปาริฉัตตกะ และเถาสันดานกลดาเป็นต้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

สุวตฺเถ ได้แก่ มีพัสตราภรณ์อันงาม โดยเป็นผ้าทิพย์ มีเครื่องปกปิดคือ

ผ้านุ่งและผ้าห่มเป็นต้น มีรัศมีของผู้มีแสงสว่างอันบริสุทธิ์ดี มีหลากสี

ด้วยเครื่องย้อมต่าง ๆ เกิดแต่กัลปพฤกษ์และลดา. บทว่า โอภาสสิ

แปลว่า ส่องสว่าง. บทว่า วิชฺชุริว แปลว่า คล้ายฟ้าแลบ. บทว่า

อพฺภกูฏ ได้แก่ ยอดเมฆ. ก็คำนี้เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ

อีกนัยหนึ่ง คำว่า โอภาสสิ เป็นคำกล่าวอรรถ เพราะเหตุที่อยู่ภายใน.

อธิบายว่า ส่องสว่าง. คำว่า อพฺภกูฏ ในฝ่ายนี้ พึงเห็นว่า เป็นทุติยา-

วิภัตติ ใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติเท่านั้น.

ก็ในข้อนี้ มีความดังนี้ว่า ยอดเขาแดงฉาบด้วยแสงสนธยา แม้

ตามปกติก็ส่องสว่างอยู่ สายฟ้าที่รุ่งโรจน์อยู่โดยรอบ ก็แลบส่องสว่าง

โดยพิเศษ ฉันใด วิมานนี้รุ่งเรืองด้วยรัตนะต่าง ๆ อันสำเร็จมาแต่ทอง

อันบริสุทธิ์ดี มีรัศมีซ่านออกอยู่โดยปกติ ตัวท่านประดับด้วยอลังการ

ทุกอย่าง ก็ส่องแสงสว่างโดยพิเศษ ด้วยรัศมีเรือนร่างของท่าน และแสง

ประกายแห่งพัสตราภรณ์ อันโชติช่วงโดยประการทั้งปวง ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน.

ก็ในปฐมปีฐวิมานนี้ คำว่า ปี นี้ เป็นคำกล่าวถึงข้อที่พึงชี้แจง.

คำว่า อพฺภกูฏ เป็นคำกล่าวถึงตัวอย่าง. คำว่า เต ก็อย่างนั้น เป็น

คำกล่าวถึงข้อที่พึงชี้แจง. แท้จริง คำนั้น ท่านเพ่ง คำว่า ปี นี้ แม้

กล่าวเป็นฉัฏฐีวิภัตติ ครั้นเพ่งบทเหล่านี้คือ อลงฺกเต มาลฺยธเร

สุวตฺเถ โอภาสสิ ก็เปลี่ยนไปเป็นปฐมาวิภัตติ เพราะฉะนั้น ท่านจึง

อธิบายว่า ตฺว ท่าน. คำว่า วิชฺชุริว เป็นคำกล่าวยกตัวอย่าง. คำว่า

โอภาสสิ นี้ เป็นคำแสดงถึงความเกี่ยวกันของข้ออุปไมย และอุปมาแม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

ทั้งสอง. จริงอยู่ คำว่า โอภาสสิ นี้ ท่านเพ่งบทว่า ตฺว จึงกล่าวไว้

เป็นมัธยมบุรุษ ครั้นเพ่งบทว่า ปี จึงเปลี่ยนไปเป็นประถมบุรุษ. ส่วน

ศัพท์ในคำนี้ พึงเห็นว่า ท่านลบแล้วแสดงไว้. คำว่า คจฺฉติ เยน

กาม โอภาสสิ และ วิชฺชุลโตภาสิต อพฺภกูฏ วิย นี้เป็นทุติยา-

วิภัตติ เปลี่ยนไปเป็นปฐมาวิภัตติ. คำว่า ปิ นี้ ก็อย่างนั้น เป็น

คำกล่าวถึงข้อที่พึงขยายคำว่า เต โสวณฺณมย อุฬาร เป็นต้น เป็น

วิเสสนะคำขยายของคำว่า ปี นั้น.

ถามว่า ก็ท่านกล่าวว่า โสวณฺณมย ไว้แล้ว ไม่น่ากล่าวว่า อุฬาร

เพราะทองเป็นของประเสริฐสุดอยู่แล้ว เหตุเป็นโลหะอันเลิศ และเพราะเป็น

ทิพย์ ท่านก็ประสงค์เอาแล้วในที่นี้ มิใช่หรือ. ตอบว่าไม่ใช่ เพราะสิ่งไร ๆ

ก็มีสภาพวิเศษ. เหมือนอย่างว่า ทองมีรส [น้ำ] รุ้งร่วงเป็นประเสริฐ

สุด บริสุทธิ์ดีโดยเป็นทองรูปพรรณหลายชนิด อันเป็นเครื่องใช้สอยของ

มนุษย์ แต่นั้น ก็เกิดเป็นอากร [บ่อเกิด] จากนั้น ทองทุกชนิดก็เป็นของ

ทิพย์ของประเสริฐสุดฉันใด ก็ฉันนั้น แม้เพราะเป็นทองทิพย์ ก็เป็นทอง

จามีกร ทองคำจากทองจามีกรก็เป็นทองสาตกุมภะจากทองสาตกุมภะก็เป็น

ทองชมพูนท จากทองชมพูนท ก็เป็นทองสิงคี. ทองสิงดีนั้นแลประเสริฐ

สุดแห่งทองทุกชนิด. ด้วยเหตุนั้น ท้าวสักกะ จอมทวยเทพจึงกล่าวว่า

มุตฺโต มุตฺเตหิ สห ปุราณชฏิเลหิ

วิปฺปมุตฺโต วิปฺปมุตฺเตหิ

สิงฺคีนิกฺขสวณฺโณ

ราชคห ปาวิสิ ภควา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พ้นแล้วกับเหล่าปุราณ-

ชฎิลผู้พ้นแล้ว พระผู้หลุดพ้นแล้วกับเหล่าปุราณชฎิล

ผู้หลุดพ้นแล้วทรงมีพระฉวีวรรณเสมอด้วยแท่งทอง

สิงคี เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์.

เพราะฉะนั้น ท่านพระโมคคัลลานะแม้กล่าวว่า โสวณฺณมย ก็ยัง

กล่าวว่า อุฬาร อนึ่งเล่า คำว่า อุฬาร นี้ ก็มิใช่ท่านกล่าวหมายถึง

ความที่วิมานนั้นประเสริฐสุดและประณีตเท่านั้น ที่แท้ ยังมีความที่ท่าน

กล่าวไว้ดังนี้ว่า ทั้งใหญ่ด้วย. ก็ในปีฐวิมานนี้ คำว่า ปี เป็นต้น

เป็นคำแสดงความที่ผลพึงเห็นสมกับกรรม. แม้อย่างนั้น พระเถระก็

แสดงว่าวิมานนั้นถึงพร้อมแห่งวัตถุ ด้วยบทว่า โสวณฺณมย นี้ แสดงว่า

วิมานนั้นถึงพร้อมด้วยความงามอย่างยิ่ง ด้วยบทว่า อุฬาร นี้ แสดงว่า

วิมานนั้นถึงพร้อมด้วยการไป ด้วยบทว่า มโนชว นี้ แสดงว่า วิมาน

นั้นถึงพร้อมด้วยสมบัติแห่งตั่ง เหตุที่แล่นไปรวดเร็ว ด้วยบทว่า คจฺฉติ

เยน กาม นี้.

อีกนัยหนึ่ง พระเถระแสดงว่า วิมานนั้นประณีต ด้วยบทว่า

โสวณฺณมย นี้ แสดงว่า วิมานนั้นใหญ่โดยกว้าง ด้วยบทว่า อุฬาร

นี้ แสดงว่า วิมานนั้นใหญ่โดยอานุภาพ ด้วยบทว่า มโนชว นี้ แสดงว่า

วิมานนั้นอยู่สบาย ด้วยบทว่า คจฺฉติ เยน กาม นี้. อีกอย่างหนึ่ง

พระเถระแสดงว่าวิมานนั้นสะสวยและมีสีงาม ด้วยบทว่า โสวณฺณมย นี้

แสดงว่า วิมานนั้น น่าดู น่าเลื่อมใส ด้วยบทว่า อุฬาร นี้ แสดงว่า

วิมานนั้น ถึงพร้อมด้วยความเร็ว ด้วยบทว่า มโนชว นี้ แสดงว่า

วิมานนั้นไปได้ไม่ขัดข้องในที่ไหน ๆ ด้วยบทว่า คจฺฉติ เยน กาม นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

อีกนัยหนึ่ง วิมานนั้น เป็นผลหลั่งออกแห่งบุญกรรมอันใด เพราะ

บุญกรรมนั้นเป็นผลของอโลภะ จึงชื่อว่าสำเร็จด้วยทอง เพราะเป็นผลแห่ง

อโทสะ จึงชื่อว่าโอฬาร เพราะเป็นผลแห่งอโมหะ จึงชื่อว่าเร็วดังใจ

ไปได้ตามปรารถนา. โดยทำนองอย่างนั้น วิมานนั้น ชื่อว่า สำเร็จด้วย

ทอง ก็เพราะกรรมนั้นเป็นผลแห่งศรัทธา. ชื่อว่า โอฬาร เพราะเป็น

ผลแห่งปัญญา. ชื่อว่า เร็วดังใจ เพราะเป็นผลแห่งวิริยะ.. ชื่อว่า ไปได้

ตามปรารถนา เพราะเป็นผลแห่งสมาธิ. หรือพึงทราบว่า ชื่อว่า สำเร็จ

ด้วยทอง เพราะเป็นผลแห่งศรัทธากับสมาธิ ชื่อว่า โอฬาร เพราะเป็น

ผลแห่งสมาธิกับปัญญา ชื่อว่า มโนชวะ เร็วดังใจ เพราะเป็นผลแห่ง

สมาธิกับวิริยะ ชื่อว่า ไปได้ตามปรารถนา เพราะเป็นผลแห่งสมาธิกับสติ.

ในปีฐวิมานนั้น คำว่า ปี เป็นต้น เป็นคำระบุถึงความถึง

พร้อมแห่งสมบัติอันเป็นผลแห่งบุญของเทวดานั้น โดยแสดงถึงสมบัติคือ

วิมาน ฉันใด คำว่า อลงฺกเต เป็นต้น ก็ระบุถึงความถึงพร้อมแห่ง

สมบัติอันเป็นผลแห่งบุญ โดยแสดงสมบัติคืออัตภาพ ก็ฉันนั้น. เหมือน

อย่างว่า อัตภาพมีทองสีแดงเป็นเครื่องประดับ แม้ศิลปาจารย์ผู้ชำนาญ

ประดิษฐ์แล้ว ขจิตด้วยมณีรัตนะ อันรุ่งเรืองด้วยข่ายมีรัศมีต่าง ๆ ย่อม

งดงาม มิใช่งดงามอย่างเดียว ฉันใด อัตภาพที่พรั่งพร้อมทั่วสรรพางค์

แม้งามโดย ๔ แง่ อันเขาประดับดีสดใสแล้วเทียว ย่อมงดงาม มิใช่

งดงามอย่างเดียว ก็ฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงแสดงความงดงาม

อย่างวิเศษอันนำมา ของเทวดานั้น ด้วยบทว่า อลงฺกเต นี้ แสดงความ

งดงามวิเศษอันไม่นำมา ด้วยบทว่า โอภาสสิ นี้. โดยทำนองอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

พระเถระแสดงความงดงามอย่างยิ่งที่มีปัจจัยอันเป็นไปอยู่ [ ปัจจุบัน ] เป็น

เครื่องหมาย ด้วยบทต้น ที่มีปัจจัยล่วงแล้ว [ อดีต ] เป็นเครื่องหมาย

ด้วยบทหลัง หรือว่า พระเถระแสดงว่า เทวดานั้นถึงพร้อมด้วยวัตถุ

เครื่องใช้สอย ด้วยบทต้น แสดงว่า เทวดานั้นถึงพร้อมด้วยวัตถุของผู้

ใช้สอย ด้วยบทหลัง.

ในเรื่องนี้ ถามว่า ก็วิมานนั้นเป็นพาหะที่เทียมสัตว์ หรือเป็น

พาหะที่ไม่เทียมสัตว์. ตอบว่า แม้หากว่า ในเทวโลก รถวิมานทั้งหลาย

แม้ก็เป็นพาหะเทียมสัตว์ เพราะบาลีเป็นต้นว่า สหสฺสยุตฺต อาชญฺรถ

รถม้าเทียมม้า ๑,๐๐๐ ตัว. แต่เหล่านั้นเป็นเทพบุตรทั้งนั้น แสดงตัวโดย

รูปเป็นพาหะในเวลาทำกิจ [ หน้าที่ ] เหมือนเอราวัณเทพบุตรแสดงตัว

โดยรูปเป็นช้าง ในเวลาเล่นกีฬา. ก็วิมานนี้ และวิมานเช่นนี้อันอื่น

พึงเห็นได้ว่า เป็นพาหะที่ไม่เทียมสัตว์.

ถามว่า หากว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ปัจจัยพิเศษในอันเคลื่อนไหวด้วย

วาโยธาตุ มีในภายในวิมานนั้นเองหรือภายนอก. ตอบว่า พึงถือว่า ภายใน

เหมือนอย่างว่า วงลมพายุใหญ่เร็วจัด อันบังเกิดเพราะกรรมทั่ว ๆ ไป

ของสัตว์ทั้งหลายที่อาศัยดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เป็นต้นเป็นอยู่ พัด

เบียดเบียนดวงจันทร์ดวงอาทิตย์เป็นต้น เหล่านั้น ให้เคลื่อนไปในที่อื่น

เสีย ฉันใด วาโยธาตุภายนอก ที่พัดเบียดเบียนวิมานนั้น ฉันนั้น ก็หา

ไม่ อนึ่ง เปรียบเหมือนจักรรัตนะ หมุนไปโดยอำนาจวาโยธาตุที่ตั้งขึ้น

ภายใน แต่วาโยธาตุภายนอก แห่งจักรรัตนะนั้น เหมือนดวงจันทร์

เป็นต้น เบียดเบียนแล้วพัดไป ก็หาไม่ เพราะจักรรัตนะหมุนไป โดย

อำนาจจิตของพระเจ้าจักรพรรดิ ในลำดับพระดำรัสเป็นต้นว่า ท่านจักร-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

รัตนะจงหมุนไปดังนี้ ฉันใด พึงเห็นว่า วิมานไปได้ ด้วยวาโยธาตุ

ที่อาศัยตน โดยอำนาจจิตของเทวดานั้นเท่านั้น ก็ฉันนั้น. ด้วยเหตุนั้น

พระเถระจึงกล่าวว่า เร็วดังใจ ไปได้ตามปรารถนา ดังนี้.

พระเถระครั้นระบุสมบัติอันเป็นผลบุญของเทวดานั้น ในคาถาที่ ๑

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะประกาศบุญสัมปทา อันเป็นเหตุแห่งสมบัติ

นั้น จึงกล่าว ๒ คาถาว่า เกน เต ตาทิโส วณฺโณ เป็นต้น ใน

คาถานั้น กึศัพท์ในบทว่า เกน มาในอรรถว่า ติเตียน ได้ในบาลี

เป็นต้นว่า กึ ราชา ดย โลก น รกฺขติ ผู้ใดไม่รักษาโลก ผู้นั้น

เป็นพระราชาได้อย่างไร กึ นุ โข นาม ตุมฺเห ม วตฺตพฺพ มญฺถ

เธอทั้งหลายจะสำคัญเราว่าควรกล่าวคำชื่อไรเล่าหนอ. มาในอรรถไม่

แน่นอน ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ยงฺกิญฺจิ รูป อตีตานาคตปจฺจุปฺปนฺน

รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งอดีต อนาคตและปัจจุบัน. มาในอรรถคำถาม

ได้ในบาลีเป็นต้นว่า กึสูธ วิตฺต ปุริสสฺส เสฏฺ ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

อะไรเล่า ชื่อว่า ประเสริฐสุดสำหรับบุรุษ. แม้ในที่นี้ กึศัพท์ก็พึงเห็น

ว่าใช้ในอรรถคำถาม. บทว่า เกน เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถว่าเหตุ

อธิบายว่า เพราะบุญอะไร. บทว่า เต แปลว่า ของท่าน. บทว่า

เอตาทิโส แปลว่า เช่นนี้ อธิบายว่า ตามที่เห็นอยู่ในบัดนี้. วัณณศัพท์

ในบทว่า วณฺโณ มาในอรรถว่าคุณ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า กทา สญฺญุฬฺหา

ปน เต คหปติ อิเม สมณสฺส โคตมสฺส วณฺณา ดูก่อนคฤหบดี

คุณเหล่านี้ ของพระสมณโคดม ท่านรวบรวมไว้เมื่อไร. มาในอรรถว่า

สรรเสริญ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อเนกปริยาเยน พุทฺธสฺส วณฺณ ภาสติ

ธมฺมสฺส วณฺณ ภาสติ สงฺฆสฺส วณฺณ ภาสติ สรรเสริญพระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

สรรเสริญพระธรรม สรรเสริญพระสงฆ์มากปริยาย. มาในอรรถว่า เหตุ

ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อถ เกน นุ วณฺเณน คนฺธเถโนติ วุจฺจติ

เพราะเหตุไรเล่า จึงเรียกว่า คนขโมยกลิ่น. มาในอรรถว่าประมาณ

[ จำนวน ] ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ตโย ปตฺตสฺส วณฺณา บาตร

ประมาณ [ จำนวน ] ๓ บาตร. มาในอรรถว่าชาติ ได้ในบาลีเป็นต้น

ว่า จตฺตาโร เม โภ โคตม วณฺณา ท่านพระโคดม ชาติของเรา

มี ๔. มาในอรรถว่า ทรวดทรง ได้ในบาลีเป็นต้นว่า มหนฺต

หตฺถิราชวณฺณ อภินิมฺมิตฺวา เนรมิตทรวดทรงเป็นพญาช้างใหญ่.

มาในอรรถว่า ผิวพรรณ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า สุวณฺณวณฺโณสิ ภควา

สุสุกฺกทาโสิ วิริยวา ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์มีผิวพรรณ

ดังทอง ข้าแต่ท่านผู้บำเพ็ญเพียร พระองค์มีพระเขี้ยวขาวดี. แม้ในที่นี้

วัณณศัพท์ ก็พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า ผิวพรรณ อย่างเดียว. ความ

ในข้อนี้มีดังนี้ ดูก่อนเทวดา เพราะบุญวิเศษอะไร คือเช่นไร เป็นเหตุ

ผิวพรรณแห่งเรือนร่างของท่านจึงมีรัศมีแม้ไปถึง ๑๒ โยชน์เช่นนี้ คือ

อย่างนี้.

บทว่า เกน เต อิทฺธมิชฺฌติ ความว่า ผลสุจริตอันโอฬารที่

ท่านได้มาในบัดนี้ ย่อมสำเร็จเสร็จสรรพแก่ท่านในสถานที่นี้ ด้วยบุญ

อันดียิ่งอะไร. บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ แปลว่า บังเกิด. อธิบายว่า เป็น

ไปสูงเป็นชั้น ๆ [ ซ้อนกัน ] โดยไม่ขาดสาย. บทว่า โภคา ได้แก่

อุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันวิเศษมีพัสตราภรณ์ [ เครื่องประดับ

คือผ้า ] เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่า โภคะ เพราะอรรถว่า เป็นของพึงใช้สอย.

ศัพท์ว่า เย แสดงความไม่แน่นอน โดยสามัญ. ศัพท์ว่า เกจิ แสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

ความไม่แน่นอน ถือเอาความต่างเป็นอย่าง ๆ ไป ด้วยศัพท์แม้ทั้งสอง

ย่อมรวบรวมโภคะเช่นนั้น ที่ได้ในที่นั้น อันต่างโดยประณีตและประณีต

กว่าเป็นต้น ครอบคลุมโดยไม่เหลือเลย จริงอยู่ นิเทศนี้ครอบคลุมความ

ไว้ไม่เหลือ เหมือนที่ว่า เยเกจิ สงฺขารา สังขารทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

[ ทุกอย่าง ] . บทว่า มนโส ปิยา ได้แก่ ที่ใจพึงรัก อธิบายว่า น่าพอใจ.

ก็ในข้อนี้ ด้วยบทว่า เอตาทิโส วณฺโณ นี้ พระเถระแสดง

วัณณสัมปทา ความถึงพร้อมแห่งวรรณะ อันนับเนื่องในอัตภาพของเทวดา

นั้น ซึ่งมีความวิเศษที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. ด้วยบทว่า โภคา นี้

พระเถระแสดงความถึงพร้อมแห่งกามคุณ อันต่างโดยรูป เสียง กลิ่น

รส โผฏฐัพพะ อันเป็นทิพย์ ซึ่งเป็นวัตถุเครื่องอุปโภคและบริโภค. ด้วย

บทว่า มนโส ปิยา นี้ พระเถระแสดงความที่อารมณ์มีรูปเป็นต้น

เหล่านั้น เป็นของน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ. แต่ด้วยบทว่า อิธมิชฺฌติ

นี้ พระเถระแสดงความถึงพร้อมแห่งอายุ วรรณะ ยศ สุข และอธิปไตย

อันเป็นทิพย์ ด้วย บทว่า เยเกจิ มนโส ปิยา นี้ ฐานะอันใด ๑๐ ประการ

ที่มาในพระสูตรว่า ผู้นั้น ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งเทพเหล่าอื่นด้วยฐานะ ๑๐

คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ยศทิพย์ สุขทิพย์ อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์

เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ พึงทราบว่า พระเถระ

แสดงการรวบรวมฐานะอันนั้นไว้ในที่นี้ โดยไม่เหลือเลย.

บทว่า ปุจฺฉามิ ได้แก่ ทำปัญหา อธิบายว่า ประสงค์จะรู้.

รู้กันว่า พระเถระกล่าว ๓ คาถาว่า เกน เต ตาทิโส วณฺโณ เกน เต

อิทฺธมิชฺฌติ กิมกาสิ ปุญฺ เกนาสิ เอวญฺชลิตานุภาวา โดยถือเอากึศัพท์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

อย่างเดียว ด้วยอำนาจปุจฉาเพราะไม่มีข้อความอื่น ก็จริง ถึงกระนั้น

ท่านก็กล่าวว่า ปุจฺฉามิ ขอถาม ก็เพื่อให้รู้ว่าเป็นปุจฉาพิเศษ. จริงอยู่

ปุจฉานี้ มิใช่อทิฏฐโชตนาปุจฉา เพราะเนื้อความเช่นนี้ ไม่มีสิ่งที่พระ-

มหาเถระไม่เห็น ทั้งมิใช่วิมติเฉทนาปุจฉา เพราะพระเถระเพิกความสงสัย

ได้โดยประการทั้งปวงแล้ว ทั้งมิใช่อนุมัตติปุจฉา เพราะคำถามนั้นมิได้

เป็นไปโดยอาการถือเอาด้วยอนุมัติคล้อยตามเหมือนในบาลีเป็นต้นว่า ต

กึ มญฺสิ ราชญฺ ดูก่อนท่านพระยา ท่านจะสำคัญความข้อนั้น

อย่างไร ทั้งมิใช่กเถตุกามยตาปุจฉา เพราะพระเถระมิได้ถาม โดยที่

เทวดานั้นต้องการจะตอบเอง. แต่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปุจฉานั้น พึง

ทราบว่าเป็นทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ถามเทียบเคียงสิ่งที่เห็น ๆ กันแล้ว.

เนื้อความนี้นั้น กล่าวไว้ชัดแจ้งแล้วในอัตถุปปัตติกถา เหตุเกิดเรื่องใน

หนหลัง โดยนัยเป็นต้นว่า เถโร กิญฺจาปิ. บทว่า ต แปลว่า ท่าน.

คำนี้นั้น เพ่งคำต้นและคำหลัง. เป็นทุติยาวิภัตติเอกวจนะ เพราะเพ่ง

คำต้น แต่พึงเห็นว่าเป็นปฐมาวิภัตติเอกวจนะ เพราะเพ่งคำหลัง.

เทวศัพท์ ในคำว่า เทวี นี้ มาโดยอำนาจสมมติเทพ ได้ใน

บาลีทั้งหลาย เป็นต้นว่า อิมานิ เต เทว จตุราสีตินครสหสฺสานิ

กุสาวตีราชธานิปมุขานิ ข้าแต่สมมติเทพ ๘๔,๐๐๐ พระนครของพระองค์

เหล่านี้ มีกรุงกุสาวดีราชธานีเป็นประมุข และว่า เอตฺถ เทว ฉนฺท

กโรหิ ชีวิเต อเปกฺข ข้าแต่สมมติเทพ ในเรื่องนี้ ขอพระองค์โปรด

ทรงทำความพอพระทัย ความเยื่อใย ในพระชนม์ชีพเถิด ดังนี้. มา

โดยอำนาจวิสุทธิเทพ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ตสฺส เทวาติเทวสฺส สาสน

สพฺพทสฺสิโน พระผู้เป็นเทพยิ่งกว่าเทพพระองค์นั้น ทรงเห็นทุกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

ซึ่งคำสอน. จริงอยู่ บรรดาวิสุทธิเทพทั้งหลาย เมื่อกล่าวกันถึงความที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นอติเทพ ก็เป็นอันกล่าวถึงความที่ทรงเป็นเทพ

ยิ่งกว่าวิสุทธิเทพนอกนี้ด้วย. มาโดยอำนาจอุปัตติเทพ ได้ในบาลีเป็นต้น

ว่า จาตุมฺมหาราชิกา เทวา ทีฆายุกา วณฺณวนฺโต สุขพหุลา เหล่า

เทพชั้นจาตุมหาราช มีอายุยืน มีวรรณะ มากด้วยสุข ดังนี้. แม้ในที่นี้

เทวศัพท์พึงทราบว่า มาโดยอำนาจอุปัตติเทพอย่างเดียว. แต่เมื่อกล่าว

โดยอรรถแห่งบท เทวดา ย่อมเล่น ย่อมระเริง ย่อมรักด้วยบุญฤทธิ์ของตน

ย่อมยินดีด้วยกามคุณ ๕. อีกนัยหนึ่ง เทวดาองค์ใด ย่อมส่องสว่าง โดย

นัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง และไปได้ด้วยวิมานทางอากาศ เหตุนั้น เทวดา

องค์นั้น จึงชื่อว่า เทวี. ก็คำว่า ตฺว เทวิ นี้ เป็นเอกวจนะ ใช้ใน

อรรถว่า สัมโพธนะ [ อาลปนะ ]. บทว่า มหานุภาเว ได้แก่ ผู้มี

ประภาพ [อำนาจ, รัศมี ] อันโอฬาร. ก็อานุภาพของเทวดานั้น

พระเถระแสดงไว้ด้วย ๒ คาถาหลังแล้ว.

ในบทว่า มนุสฺสภูตา นี้ ชื่อว่า มนุษย์ เพราะใจสูง คือมีใจ

อันสร้างสมโดยคุณคือสติ ความกล้า ความประพฤติอย่างประเสริฐ [พรหม

จรรย์] ความเพียร ความมั่นคง มีจิตประกอบด้วยคุณอันอุกฤษฏ์ ก็

มนุษย์เหล่านั้น คือใครเล่า. คือเหล่าสัตว์วิเศษ ชาวชมพูทวีป. ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาว

ชมพูทวีป ย่อมชนะมนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีป และเทพชั้นดาวดึงส์

ด้วยฐานะ ๓ อย่าง ฐานะ ๓ อย่างคืออะไร คือ เป็นผู้กล้า เป็นผู้มี

สติ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระธรรมวินัยนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระอัครสาวก พระมหาสาวก พระเจ้าจักรพรรดิ และสัตว์ผู้มีอานุภาพ

เหล่าอื่น ย่อมเกิดในชมพูทวีปนั้นแห่งเดียว. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า

แม้ชาวทวีปใหญ่พวกนี้ กับชาวทวีปน้อย ก็รู้กันแล้วว่าเป็นมนุษย์เหมือน

กัน เพราะมีรูปเป็นต้นเสนอกับชาวชมพูทวีปเหล่านั้น. ส่วนอาจารย์อีก

พวกหนึ่งกล่าวว่า ชื่อว่ามนุษย์ ก็เพราะใจที่ประกอบด้วยโลภะเป็นต้น

และอโลภะเป็นต้นหนาแน่น. จริงอยู่ สัตว์เหล่าใด เกิดเป็นมนุษย์ ใน

สัตว์เหล่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เหล่าสัตว์ที่มีโลภะเป็นต้นและอโลภะ

เป็นต้นหนาแน่น ย่อมทำทางอบายให้เต็ม เพราะเป็นผู้มีโลภะเป็นต้นหนา

แน่น และทำทางสุคติและทางไปพระนิพพานให้เต็ม เพราะเป็นผู้มีอโลภะ

เป็นต้นแน่นหนา เพราะฉะนั้น สัตว์วิเศษชาวทวีปใหญ่ทั้ง ๔ กับชาวทวีป

น้อยทั้งหลาย เรียกกันว่า มนุษย์ เพราะใจที่ประกอบด้วยโลภะเป็นต้น

และอโลภะเป็นต้นหนาแน่นแล.

ฝ่ายชาวโลกกล่าวว่า ชื่อว่ามนุษย์ เพราะเป็นเหล่ากอของพระมนู

มนุษย์กัปแรกที่เป็นต้นแห่งการยึดครองโลก จัดประโยชน์และมิใช่ประ-

โยชน์อยู่ในฐานะเป็นบิดาของสัตว์ทั้งหลาย ที่ในพระศาสนาเรียกว่าพระ-

เจ้ามหาสมมต ชื่อว่าพระมนู. และเหล่าสัตว์ที่ตั้งอยู่ในโอวาทานุสาสนีของ

พระมนูนั้น สืบ ๆ ต่อกันมาโดยประจักษ์ ก็เลยเรียกกันว่ามนุษย์ เพราะ

เป็นเสมือนบุตร. ก็เพราะเหตุนั้นนั่นเอง สัตว์เหล่านั้น เขาจึงเรียกว่า

มาณพ และมนุษย์ ผู้เป็นแล้ว เกิดแล้ว หรือถึงความเป็นมนุษย์ในหมู่

มนุษย์ เหตุนั้น จึงชื่อว่า มนุสฺสภูตา ผู้เกิดเป็นมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

บทว่า กิมกาสิ ปุญฺ ความว่า ท่านใดทำสั่งสมก่อสร้างสุจริต

กุศลกรรมอะไร คือเช่นไร ในกุศลกรรมทั้งหลาย ที่ต่างโดยทานศีลเป็น

ต้น ซึ่งได้ชื่อว่าบุญ เพราะทำให้บังเกิดผลคือควานที่น่าบูชา และเพราะ

ชำระชะล้างสันดานที่ตนเองเกิดให้หมดจด. บทว่า ชลิตานุภาวา ได้แก่

โชติช่วงไปทั่ว คือมีบุญฤทธิ์.

ถามว่า ในเรื่องนี้ เหตุไร พระเถระจึงกล่าวว่า ครั้งเกิดเป็นมนุษย์

ท่านได้ทำบุญอะไร ในคติอื่น ๆไม่มีการทำบุญกันหรือ. ตอบว่า ไม่มี

การทำบุญหามิได้. เพราะเหตุที่ความเกิดแห่งกุศลจิตฝ่ายกามาวจรยังได้

[มี] ในบางคราว แม้แต่ในคตินรก ก็จะป่วยกล่าวไปไยในคติอื่น ๆ

ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า เป็นทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ถามเทียบ

ถึงสิ่งที่เห็น ๆ กันอยู่แล้ว ฉะนั้น พระมหาเถระเห็นเทวดาองค์นั้น ซึ่ง

ครั้งดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นมนุษย์กระทำบุญกรรมเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจะถาม

โดยเนื้อความที่เป็นอยู่แล้ว จึงกล่าวว่า ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญ

อะไร.

อีกอย่างหนึ่ง ในคติอื่น ๆ เพราะเป็นผู้มีสุขโดยส่วนเดียว เพราะ

เป็นผู้มีทุกข์โดยส่วนเดียว และเพราะเป็นผู้มากไปด้วยทุกข์ โอกาสที่จะ

ทำบุญ ไม่ใช่หาได้ง่าย ๆ เพราะความพรั่งพร้อมแห่งปัจจัยมีการพึ่งพาอาศัย

สัตบุรุษเป็นต้น หาได้แสนยาก บางคราวแม้เกิดขึ้นมาก็มิใช่โอฬารไพบูลย์

เพราะเหตุตามที่กล่าวมาแล้ว. ส่วนในคติแห่งมนุษย์ เพราะเป็นผู้มากไป

ด้วยสุข โอกาสทำบุญ จึงหาได้ง่าย เพราะความพรั่งพร้อมแห่งปัจจัยมีการ

พึ่งพาอาศัยสัตบุรุษเป็นต้นโดยมาก หาได้ง่าย. อนึ่งเล่า ทุกข์อันใดเกิด

ขึ้นในคติแห่งมนุษย์นั้น ทุกข์แม้อันนั้น ก็เป็นอุปนิสัยเหตุแห่งการทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

ทำบุญ โดยพิเศษ. จริงอยู่ มนุษย์ทั้งหลายมีทุกข์เป็นเหตุ จึงมีศรัทธาแล

เปรียบเหมือนเมื่อมีด ช่างทำสำเร็จจากก้อนเหล็ก การเผาไฟก็ดี การเอา

น้ำรดก็ดี มิใช่ปัจจัยพิเศษโดยส่วนเดียวของมีดนั้น เพราะสามารถทำการ

เชือดเฉือนได้ แต่การเฝ้าแล้วเอาน้ำรด โดยความพยายามพอประมาณ

ต่างหาก เป็นปัจจัยพิเศษของการทำการเชือดเฉือนนั้น ฉันใด ความที่

สันดานสัตว์เพรียบพร้อมไปด้วยทุกข์โดยส่วนเดียว ความเป็นผู้มากไปด้วย

ทุกข์ และความเป็นผู้พรั่งพร้อมไปด้วยสุข มิใช่ปัจจัยพิเศษของการทำบุญ

แต่เมื่อมีความเร่าร้อนด้วยทุกข์ และความพอกพูนด้วยสุข โดยความ

พยายามพอประมาณ การทำบุญที่ได้เหตุแล้วจึงเกิดขึ้น และเมื่อเกิดขึ้น

ก็รุ่งเรือง แผ่ไพศาล ทั้งสามารถเชือดเฉือนปฏิปักษ์คือบาปได้ด้วย ก็

ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ความเป็นมนุษย์จึงเป็นปัจจัยพิเศษของ

การทำบุญ. ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่าน

ได้ทำบุญอะไร. คำที่เหลือ รู้ได้ง่ายทั้งนั้น.

ก็พระเถระถามอย่างนี้แล้ว เทวดาองค์นั้น ก็ตอบปัญหา. เพื่อ

แสดงความนั้น ท่านจึงกล่าวคาถาว่า สา เทวตา อตฺตมนา เทวดา

องค์นั้นดีใจ ดังนี้เป็นต้น. ก็คาถานี้ใครกล่าว. พระธรรมสังคาหก-

เถระผู้ร่วมทำสังคายนากล่าว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สา ได้แก่

เทวดาองค์ที่พระเถระกล่าวว่า ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่านก่อน. เทพบุตรก็ดี พรหมก็ดี เทพธิดาก็ดี ท่านเรียกว่า เทวดา.

จริงอยู่ เทพบุตรท่านเรียกว่า เทวดา เทวะก็เหมือนกัน เรียก

ว่าเทวดา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อถโข อญฺตรา เทวตา อภิกฺกนฺตาย

รตฺติยา อภิกฺกนฺตวณฺณา ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่งเมื่อราตรีปฐมยามล่วงไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

แล้ว มีวรรณะงาม. พรหมท่านก็เรียกว่าเทวดาเหมือนกัน ได้ในบาลี

เป็นต้นว่า ตา เทวตา สตฺตสตา อุฬารา พฺรหฺมวิมานา อภินิกฺขมิตฺวา

เทวดา ๗๐๐ องค์ เหล่านั้นโอฬารออกจากวิมานพรหม. เทพธิดาก็

เรียกว่าเทวดา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า

อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ยา ตฺว ติฏฺสิ เทวเต

โอภาเสนฺตี ทิสา สพฺพา โอสธิ วิย ตารกา

ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องสว่างไป

ทุกทิศ ดังดาวประกายพรึก.

แม้ในที่นี้ ก็พึงเห็นว่าเป็นเทพธิดาอย่างเดียว.

บทว่า อตฺตมนา ได้แก่ มีใจยินดีแล้ว มีใจถูกปีติและโสมนัสจับ

แล้ว. จริงอยู่ จิตอันไปกับปีติและโสมนัส ก็เป็นเหมือนถูกปีติและโสม-

นัสนั้นจับไว้เป็นของตน เพราะโทมนัสไม่มีโอกาส. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

อตฺตมนา ได้แก่ มีใจเป็นของตน. จริงอยู่ จิตอันประกอบด้วยปีติและ

โสมนัสอันไม่มีโทษ ได้รับการที่กล่าวว่า เป็นของตนในบัดนี้คือปัจจุบัน

และยังจะได้รับการที่จะกล่าวว่า เป็นของตน เพราะนำประโยชน์เกื้อกูล

และสุขมาให้แก่ผู้พร้อมด้วยปีติและโสมนัสนั้น ในเวลาต่อไป คืออนาคต.

จิตนอกนี้หาได้ไม่.

บทว่า โมคฺคลฺลาเนน ความว่า พระมหาเถระองค์นั้น รู้จักกันว่า

โมคคัลลานะ โดยโคตร เพราะท่านเป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล

โมคคัลลานโคตร. อันท่านโมคคัลลานะรูปนั้น [ ถามแล้ว ]. บทว่า

ปุจฺฉิตา ได้แก่ ถามโดยทิฏฐสังสันทนาปุจฉา คือถามเทียบถึงสิ่งที่เห็น ๆ

กันอยู่แล้ว. ประกอบความว่า เทวดาองค์นั้นดีใจตอบปัญหา. ก็เทวดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

องค์นั้นดีใจว่า กรรมแม้ประมาณเล็กน้อยชื่อนั้น ยังเป็นเหตุแห่งทิพยสมบัติ

ใหญ่โดยถึงเพียงนี้. แม้แต่ก่อน เทวดาองค์นั้น อาศัยบุญของตน ก็เสวย

โสมนัสในระหว่าง ๆ. แต่บัดนี้ การทำความนอบน้อม ซึ่งเทวดาองค์นั้น

แม้การทำแก่พระเถระรูปหนึ่ง ยังมีผลอันโอฬารอย่างนี้. ก็ท่านพระโมค-

คัลลานะรูปนี้ เป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้ามีคุณอันโอฬาร มีอานุภาพ

มาก. ปีติจึงเกิดด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ เราได้พบท่านพระโมคคัลลานะ

รูปนี้และทำความเคารพนบนอบ และท่านจะทำการถามปัญหาที่เกี่ยวด้วย

ผลบุญของเราเท่านั้น เทวดาองค์นั้น มีปีติและโสมนัสอย่างแรงเกิดขึ้น

อย่างนี้ รับคำของพระเถระด้วยเศียรเกล้า จึงพยากรณ์ คือตอบปัญหา

โดยอาการที่ท่านถามแล้ว.

บทว่า ปญฺห ได้แก่พยากรณ์กล่าวตอบความนั้น ที่ท่านต้องการรู้.

ก็พยากรณ์อย่างไรเล่า. บทว่า ปุฏฺา ได้แก่ โดยอาการที่ท่านถาม อธิบาย

ว่า โดยอาการแห่งปัญหาที่ท่านถามแล้วนั่นแล. แท้จริง ในคำนี้ ท่าน

กล่าวว่า ปุจฺฉิตา ถามแล้วกล่าวย้ำว่า ปุฏฺา โดยอาการที่ท่านถามแล้ว

พึงเห็นว่า เป็นการกล่าวแน่นอนถึงข้อความโดยเฉพาะ ก็ความเฉพาะนั้น

คืออะไร. คือความที่คำพยากรณ์ [ คำตอบ ] พอเหมาะแก่คำถาม.

จริงอยู่ ท่านแสดงผลกรรมอันใด ก็ถามถึงกรรมอันเป็นตัวเหตุแห่งผล-

กรรมนั้น เป็นการประกาศความที่คำถามและคำตอบทั้งสองนั้น พอ

เหมาะแก่กันและกัน. คำถามดำเนินไปโดยอาการใด ไม่ว่าจะโดยอรรถ

และโดยพยัญชนะ ความที่คำพยากรณ์ที่มีอาการนั้น พอเหมาะแก่คำถาม

และคำตอบก็ดำเนินไปโดยอาการนั้น คำที่ท่านกล่าวว่า ปุจฺฉิตา แล้ว

กล่าวว่า ปุฏฺา อีก ก็เพื่อให้รู้ความเฉพาะอันนี้ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ปุจฺฉิตา เป็นคำระบุถึงเหตุที่เทวดานั้น

ถูกถาม โดยมุข คือความวิเสส [ ขยายความ ] และคำพยากรณ์ตอบ

ปัญหา ท่านอธิบายไว้ดังนี้ว่า ถามว่า พระเถระถามโดยนัยเป็นต้นว่า

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้. เทวดาถูกพระเถระให้ตอบปัญหา

นั้น จึงบอกกรรมที่เทวดานั้นกระทำมาแล้ว เหตุนั้น คำถามนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า เทวตา ปุจฺฉิตา เทวดาถูกถาม. เพราะเหตุที่เทวดาถูกถาม

ถูกให้ตอบถึงกรรมที่ถูกพระเถระถาม ฉะนั้น จึงชื่อว่าถูกถามปัญหา

และเพราะเหตุที่เทวดาถูกถามอีก มีสภาพที่จะต้องบอกถึงกรรมที่ถูกถาม

ฉะนั้น จึงชื่อว่าพยากรณ์ปัญหา. คำว่านี้เป็นผลของกรรมใด นี้ เป็นคำ

แสดงสรูปความที่พระเถระกล่าวว่าปัญหา. ก็ในคำนี้มีความดังนี้ว่านี้เป็น

ผลบุญของกรรมใด ที่ประจักษ์แก่พระเถระผู้ถาม และเทวดาที่ถูกถาม

มีในลำดับชาติ [ มนุษย์ ] มีประการดังกล่าวแล้ว เทวดาก็พยากรณ์บุญ

กรรมที่พระเถระกล่าวว่าปัญหา เพราะท่านต้องการรู้กรรมนั้น.

คำว่า อห มนุสฺเสสุ เป็นต้น เป็นอาการพยากรณ์ [ ตอบ ]

ปัญหา. ในคำนั้น เทวดาแสดงองค์ด้วยคำว่า อห. เทวดากล่าวว่า

มนุสฺเสสุ ในหมู่มนุษย์แล้วกล่าวย้ำว่า มนุสฺสภูตา ครั้งเกิดเป็นมนุษย์

ก็เพื่อแสดงว่า ในครั้งนั้น คุณของมนุษย์ทั้งหลาย มีอยู่ในตน. จริงอยู่

ผู้ใดเกิดเป็นมนุษย์ กระทำกรรมที่ไม่ควรมีฆ่าสัตว์เป็นต้น ก็สมควร

รับโทษ เมื่อต้องโทษมีการตัดมือเป็นต้น จากพระราชาเป็นอาทิในที่

นั้น ๆ ย่อมเสวยทุกข์เป็นอันมาก ผู้นี้ชื่อว่ามนุษย์นรก. อีกคนหนึ่ง เกิด

เป็นมนุษย์ไม่ได้อาหารและเครื่องนุ่งห่ม เพราะกรรมที่คนทำไว้แต่ก่อน

ต้องกระหายหิวโหย มากไปด้วยทุกข์ เมื่อไม่ได้หลักแหล่ง ก็เร่ร่อนไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

ผู้นี้ ชื่อว่ามนุษย์เปรต. อีกคนหนึ่ง เกิดเป็นมนุษย์ อาลัยผู้อื่นเลี้ยงชีพ

ต้องทำงานหนักให้เขา หรือเป็นคนขาดมรรยาท ประพฤติแต่อนาจาร

ถูกเขาข่มขู่ กลัวตายก็ไปอาศัยป่ารก มากไปด้วยทุกข์ ต้องซอกซอนไป

ไม่รู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ได้แต่บรรเทาทุกข์ คือความหิวโหย

ด้วยการนอนเป็นต้นเป็นเบื้องหน้า ผู้นี้ ชื่อว่ามนุษย์ดิรัจฉาน. ส่วนผู้ใด

รู้จักประโยชน์มิใช่ประโยชน์ของตน เธอผลแห่งกรรม มีหิริ ละอายบาป

โอตตัปปะ เกรงกลัวบาป สมบูรณ์ พรั่งพร้อมด้วยความเอ็นดูในสัตว์

ทั้งปวง มากไปด้วยความสลดใจ งดเว้นอกุศลกรรมบถ ประพฤติเอื้อเฟื้อ

ในกุศลกรรมบถ บำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุทั้งหลาย ผู้นี้ตั้งอยู่ในมนุษยธรรม

ชื่อว่ามนุษย์โดยปรมัตถ์. แม้เทวดาองค์นี้ ก็เป็นเช่นนั้น ด้วยเหตุนั้น

เทวดาจึงกล่าวว่า มนุสฺเสสุ มนุสฺสภูตา ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่

มนุษย์. อธิบายว่า ดีฉันถึงความเป็นมนุษย์ในหมู่สัตว์ที่เป็นมนุษย์ และ

ไม่ละมนุษยธรรมดำรงอยู่.

บทว่า อพฺภาคตาน แปลว่า ผู้มาถึงเข้าแล้ว. อธิบายว่า อาคันตุกะ

ที่มาถึงแล้ว. จริงอยู่ อาคันตุกะมี ๒ คือ อติถิ แขก และอัพภาคตะ

ผู้มาถึง. บรรดาอาคันตุกะ ๒ อย่างนั้น อาคันตุกะผู้คุ้นเคยกันอยู่แล้ว ชื่อว่า

อติถิ แขก. อาคันตุกะผู้ไม่คุ้นเคยกัน ชื่อว่า อัพภาคตะ ผู้มาถึง.

ผู้มาถึงก่อน ทั้งผู้ที่คุ้นเคยกันอยู่แล้ว หรือผู้ไม่คุ้นเคยกัน ชื่อว่า อติถิ

แขก. ผู้ที่มาปรากฏตัวเวลากินอาหารมาถึงเดี๋ยวนี้เอง ชื่อว่า อัพภาคตะ.

อีกนัยหนึ่ง ผู้ที่เขาเชิญมากินอาหาร ชื่อว่าอติถิ ผู้ที่เขาไม่ได้เชิญมา

ชื่อว่าอัพภาคตะ. ก็ภิกษุรูปนี้ เป็นผู้มิได้คุ้นเคยกันมาก่อน เป็นผู้ที่เขา

ไม่ได้นิมนต์ และมาถึงบัดนี้. เทวดาหมายถึงภิกษุรูปนั้น จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

อพฺภาคตาน ผู้มาถึงแล้ว. แต่ในคาถานั้น เทวดากล่าวคำเป็นพหุวจนะ

ก็ด้วยความเคารพ. บุคคลย่อมนั่งจ่อมลงในสิ่งใด เหตุนั้น สิ่งนั้น ชื่อว่า

อาสนะ สิ่งที่นั่ง ได้แก่สิ่งที่ประกอบเป็นที่นั่ง หรือควรนั่งได้ อย่างใด

อย่างหนึ่ง แต่ในที่นี้ประสงค์เอา ปีฐะ ตั่ง. เทวดากล่าวว่า อาสนก

ที่นั่ง เพราะตั่งนั้นเป็นของเล็ก และเป็นของไม่โอฬาร [ ไม่ใหญ่ ]. บทว่า

อทาสึ ความว่า เทวดาเกิดโสมนัสว่า ทานที่ถวายแก่พระเถระรูปนั้นนี้

จักมีผลมาก อานิสงส์มากแก่เรา ดังนี้แล้ว เชื่อกรรมและผลแห่งกรรม

ได้ถวายเพื่อพระเถระรูปนั้นจะได้ใช้สอย อธิบายว่า บริจาคโดยบริจาค

ไม่มุ่งผล.

บทว่า อภิวาทยึ ได้แก่ ได้กระทำการอภิวาทกราบไหว้ อธิบายว่า

ไหว้พระทักขิไณยบุคคลด้วยเบญจางคประดิษฐ์. จริงอยู่ เทวดาเมื่อไหว้

โดยใจความ ชื่อว่ากล่าวอวยพรกะผู้ไหว้นั้นนั่นแหละ โดยนัยเป็นต้นว่า

ขอท่านจงมีสุข จงไม่มีโรค. บทว่า อญฺชลิก อกาสึ ความว่า ดีฉัน

ประคองเหนือเศียรเกล้า ซึ่งอัญชลี ที่รุ่งเรืองด้วยทศนัขสโมธาน [ ชุม

นุม ๑๐ นิ้ว ] ได้กระทำความย้ำเกรงต่อท่านผู้มีคุณอันประเสริฐทั้งหลาย.

บทว่า ยถามุภาว ได้แก่ ตามกำลัง อธิบายว่า ตามสมควรแก่ทรัพย์

สมบัติของดีฉัน ซึ่งมีอยู่ในเวลานั้น. บทว่า อทาสิ ทาน ได้แก่ ดีฉัน

นิมนต์พระทักขิไณยบุคคลให้ฉัน ด้วยการบริจาคไทยธรรมมีข้าวน้ำเป็น

ต้น ก็ประสบบุญที่สำเร็จด้วยทาน.

ก็ในคาถานั้น คำว่า อห ดีฉันนี้ เป็นคำแสดงความสัมพันธ์

ด้วยการเห็นกรรมและผลว่าตกสืบต่อเป็นสายเดียวกัน. คำว่า มนุสฺเสสุ

มนุสฺสภูตา ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ นี้ เป็นคำแสดงความวิเศษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

แห่งการสืบต่ออันเป็นที่ตั้งการบุญกิริยานั้น. คำว่า อพฺภาคตาน ( แก่

ภิกษุผู้มาถึงเรือนแล้ว ) นี้ เป็นคำแสดงเจตนาสมบัติ และแสดงเขตสมบัติ

เพราะแสดงว่า การรับ [ ของพระทักขิไณยบุคคล ] ก็เหมือนการให้

[ ของทายกทายิกา] เป็นไปไม่มุ่งผลาอะไรเลย. คำว่า อาสนก อทาสึ

ยถามุภาวญฺจ อทาสิ ทาน ดีฉันได้ถวายอาสนะและได้ถวายทานตาม

กำลัง นี้ เป็นคำแสดงการถวายสาระ ทางโภคะ [ โภคสาระ ]. คำว่า

อภิวาทยึ อญฺชลิก อกาสึ ดีฉันกราบไหว้ ได้กระทำอัญชลี ประนมมือ

นี้ เป็นคำแสดงการถวายสาระ ทางกาย [ กายสาระ ].

บทว่า เตน ได้แก่ เพราะบุญตามที่กล่าวแล้วนั้นเป็นเหตุ. เม

ศัพท์ในบทว่า เม นี้ มาในอรรถตติยาวิภัตติ อธิบายว่า มยา แปลว่า อัน

เรา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า กิจฺเฉน เม อธิคต หลนฺทานิ ปกาสิตุ พระ-

นิพพาน อันเราบรรลุแล้วด้วยความยาก ไม่ควรประกาศในบัดนี้ . มาใน

อรรถจตุตถีวิภัตติ อธิบายว่า มยฺห แปลว่า แก่เรา ได้ในบาลีเป็นต้นว่า

สาธุ เม ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺม เทเสตุ สาธุ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมโดยสังเขปแก่ข้าพระ-

องค์เถิด. มาในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า ปุพฺเพว เม

ภิกฺขเว สมฺโพธา อนภิสมฺพุทฺธสฺส โพธิสตฺตสฺเสว สโต ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่การตรัสรู้ของเราผู้เป็นพระโพธิสัตว์ยังไม่ได้ตรัสรู้.

แม้ในที่นี้ เมศัพท์ มาในอรรถฉัฏฐีวิภัตติอย่างเดียว อธิบายว่า มม

แปลว่า ของเรา. เมศัพท์นี้นั้น พึงสัมพันธ์ความ ในข้อความทั้งสองว่า

เพราะบุญของเรานั้น และว่า วรรณะของเราจึงเป็นเช่นนี้. คำที่เหลือ

มีนัยกล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

ครั้นเทวดาองค์นั้นพยากรณ์ปัญหาอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหาโมค-

คัลลานะ ก็แสดงธรรมโดยพิสดาร เทศนานั้น เป็นประโยชน์แก่เทวดา

องค์นั้นพร้อมกับบริวาร. พระเถระจากเทวโลกนั้น กลับมาสู่มนุษยโลก

กราบทูลเรื่องนั้นถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าทุกประการ. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องแล้ว ทรงแสดง

ธรรมโปรดบริษัทที่มาประชุมกัน. แต่คาถาอย่างเดียว ท่านพระธรรม-

สังคาหกาจารย์ยกขึ้นสู่สังคายนาแล.

จบอรรถกถาปฐมปีฐวิมาน

๒. ทุติยปีฐวิมาน

ว่าด้วยวิมานตั่งแก้วไพฑูรย์

[๒] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีกายอันประดับแล้ว ทรงมาลัย

ทรงพัสตราภรณ์อันสวยงาม วิมานตั่งแก้วไพฑูรย์

ของท่านโอฬาร เร็วดังใจ ไปได้ตามปรารถนา ท่าน

ส่องแสงประกายดังสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ ท่าน

มีวรรณะเช่นนี้เพราะบุญอะไร อนึ่ง เพราะบุญอะไร

โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะตามแล้ว ดีใจ

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก ดีฉันได้ถวาย

อาสนะแก่หมู่ภิกษุผู้มาสู่เรือน ได้อภิวาท กระทำ

อัญชลี และถวายทานตามกำลัง เพราะบุญนั้น ดีฉัน

จึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่

ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแต่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอบอกแก่

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้ เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบทุติยปีฐวิมาน

อรรถกถาทุติยปีฐวิมาน

ทุติยปีฐวิมาน มีคาถาว่า ปีนฺเต เวฬุริยมย เป็นต้น. เหตุเกิด

เรื่อง [ อัตถุปปัตติ ] และการพรรณนาควานของทุติยปีฐวิมานนั้นพึงทราบ

ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในปฐมปีฐวิมานนั่นแล ส่วนความต่างกันมีดังนี้

ดังได้สดับมา สตรีผู้หนึ่งเป็นชาวกรุงสาวัตถี เห็นพระเถระรูปหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

เข้ามาบิณฑบาตยังเรือนของตน มีจิตเลื่อมใส เมื่อจะถวายอาสนะแก่

พระเถระรูปนั้น ก็เอาผ้าสีเขียวลาดบนตั่งของตนถวาย. ด้วยปีฐทานนั้น

วิมานบัลลังก์สำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ก็บังเกิดแก่นาง ซึ่งบังเกิดในเทวโลก.

ด้วยเหตุนั้น ท่านพระโมคคัลลานะจึงถามว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงพวงมาลัย ทรง

พัสตราภรณ์อันสวยงาม วิมานตั่งแก้วไพฑูรย์ของ

ท่านโอฬาร เร็วดังใจ ไปได้ตามปรารถนา ท่าน

ส่องแสงประกายคล้ายสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ

เพราะบุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนั้น เพราะ

บุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่าง

ที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของ

ท่านจึงส่องสว่างไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกท่านพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ตอบปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ดีฉันได้ถวาย

อาสนะแก่ภิกษุที่มาถึงเรือน ได้กราบไหว้ ได้กระทำ

อัญชลีประนมมือ และได้ถวายทานตามกำลัง. เพราะ

บุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึง

เกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอกแก่

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้กระทำบุญอันใด

เพราะบุญอันนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุริยมย แปลว่า สำเร็จด้วย

แก้วไพฑูรย์. แก้วมณีที่เกิดขึ้นไม่ไกลหมู่บ้านวิฬูร แห่งภูเขาวิฬูระ

ชื่อว่า แก้วไพฑูรย์. เขาว่าแก้วไพฑูรย์นั้น มีบ่อเกิดอยู่ที่หมู่บ้านวิฬูระ.

แต่เพราะเกิดไม่ไกลหมู่บ้านวิฬูระ จึงปรากฏชื่อว่า เวฬุริยะ แก้วไพฑูรย์.

แม้ในเทวโลก แก้วไพฑูรย์นั้น ก็มีชื่ออย่างนั้น เพราะมีประกายแห่ง

สีเช่นเดียวกับแก้วไพฑูรย์นั้น เหมือนอย่างชื่อของเหล่าเทพบุตรใน

เทวโลก ก็โดยได้ชื่อมาในมนุษยโลก. ก็แก้วไพฑูรย์นั้น มีสีคล้ายขนคอ

นกยูงก็มี มีสีคล้ายใบมะคำดีควายก็มี มีสีคล้ายใบไผ่อันสนิทก็มี. ส่วนใน

ที่นี้ พึงทราบว่ามีสีคล้ายขนคอนกยูง. คำที่เหลือทั้งหมด ก็เช่นคำที่

กล่าวมาแล้วในปฐมปีฐวิมานแล.

จบอรรถกถาทุติยปีฐวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

๓. ตติยปีฐวิมาน

ว่าด้วยวิมานตั่งทอง

[๓] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีกายอันประดับแล้ว ทรงมาลัย

ทรงพัสตราภรณ์สวยงาม วิมานตั่งทองของท่านโอฬาร

เร็วดังใจไปได้ตามปรารถนา ท่านจึงส่องแสงประกาย

ดังสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ เพราะบุญอะไร ท่านจึง

มีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่

ท่าน อนึ่ง โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ดีใจ

ได้พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

นี้เป็นผลกรรมอันน้อยของดีฉันที่เป็นเหตุให้ดีฉัน

มีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ดีฉันครั้งเกิดเป็นมนุษย์ใน

หมู่มนุษย์ ในมนุษยโลกในชาติก่อน ได้เห็นภิกษุผู้

ปราศจากกิเลสดุจธุลี ผู้ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ก็เลื่อมใส

ได้ถวายตั่งแก่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน เพราะบุญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

นั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึง

สำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่

ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบตติยปีฐวิมาน

อรรถกถาตติยปีฐวิมาน

ตติยปีฐวิมาน มีคาถาว่า ปีนฺเต โสวณฺณมย เป็นต้น. เรื่อง

ของตติยปีฐวิมานนั้น เกิดขึ้นในกรุงราชคฤห์.

ดังได้สดับมา พระเถระขีณาสพรูปหนึ่ง เที่ยวบิณฑบาตใน

กรุงราชคฤห์ ได้อาหารแล้วประสงค์จะฉันในเวลาจวนแจ จึงเข้าไปยัง

เรือนหลังหนึ่งซึ่งเปิดประตูไว้. ในเรือนหลังนั้น สตรีเจ้าของเรือน มี

ศรัทธาปสาทะ สังเกตรู้อาการของพระเถระ จึงกล่าวว่า มาเถิดเจ้าข้า

ขอท่านโปรดนั่งตรงนี้ฉันอาหารเถิดค่ะ แล้วจัดตั่งอย่างดี ปูผ้าสีเหลือง

ข้างบน ได้บริจาคโดยมิได้มุ่งอะไร และตั้งความปรารถนาว่า ขอบุญ

ของเรานี้ จงเป็นปัจจัยให้ได้ตั่งทองในอนาคตกาลเถิด. เมื่อพระเถระ

นั่งฉันอาหาร ณ ที่นั้น ล้างบาตรแล้วก็ลุกไป. นางจึงกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

อาสนะนี้ ดีฉันบริจาคแก่ท่านแล้ว ขอได้โปรดใช้สอยเพื่ออนุเคราะห์

ฉันด้วยเถิดเจ้าค่ะ. พระเถระรับตั่งนั้น เพื่ออนุเคราะห์นาง แล้วให้

ถวายแก่สงฆ์. สมัยต่อมา นางเป็นโรคอย่างหนึ่งตายไปบังเกิดในภพ

ดาวดึงส์. คำดังกล่าวมาเป็นต้นทั้งหมด พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว

ในกถาพรรณนาปฐมวิมานนั้นแล. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระโมคคัลลานะ

จึงถามว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย ทรง

พัสตราภรณ์อันสวยงาม วิมานตั่งทองของท่านโอฬาร

เร็วดังใจ ไปได้ตามปรารถนา ท่านส่องแสงประกาย

คล้ายสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ เพราะบุญอะไร

วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึง

สำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพี ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดาองค์นั้น ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผล

อย่างนี้ว่า

นี้เป็นผลของกรรมเล็กน้อยของดิฉันอันเป็นเหตุ

ให้ดีฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ครั้งเกิดเป็นมนุษย์

ในหมู่มนุษย์ในชาติก่อน ในมนุษยโลก ดีฉันได้พบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

ภิกษุผู้ปราศจากกิเลสดุจธุลี ผู้ผ่องใส ไม่หม่นหมอง

ก็เลื่อมใสจึงได้ถวายตั่งแก่ท่านด้วยมือตนเอง เพราะ

บุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น

ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึง

เกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใด

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

ก็ในคำคาถาที่ ๕ เป็นต้นว่า ปุริมาย ชาติยา มนุสฺสโลเก

ในชาติก่อนในมนุษยโลก นี้ ชาติศัพท์ใช้ในอรรถว่า สังขตลักษณะ ได้

ในบาลีเป็นต้นว่า ชาติ ทฺวีหิ ขนฺเธหิ สงฺคหิตา ชาติจัดเข้ากับขันธ์

๒. ใช้ในอรรถว่า นิกาย ได้ในบาลีเป็นต้นว่า นิคณฺา นาม สมณชาติ

นิกาย [ หมู่ ] สมณะ ชื่อนิครนถ์. ใช้ในอรรถว่า ปฏิสนธิ ได้ในบาลี

เป็นต้นว่า ย มาตุกุจฺฉิย ปม จิตฺต อุปฺปนฺน ปม วิญฺาณ

ปาตุภูต ตทุปาทาย สาวสฺส ชาติ ปฐมจิต ปฐมวิญญาณ อันใด

เกิดปรากฏในท้องมารดา ความอาศัยปฐมจิตปฐมวิญญาณอันนั้นเกิดชื่อว่า

ชาติ. ใช้ในอรรถว่า ตระกูล ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อกฺขิตฺโต อนุปกฏฺโ

ชาติวาเทน เป็นผู้อันเขาไม่คัดค้าน ไม่รังเกียจ โดยกล่าวถึงชาติคือ

ตระกูล. ใช้ในอรรถว่า ประสูติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า สมฺปติชาโต

อานนฺท โพธิสตฺโต ดูก่อนอานนท์ พระโพธิสัตว์เกิดแล้ว ณ เดี๋ยวนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

ใช้ในอรรว่า ภพ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า เอกปิ ชาตึ เทฺวปิ ชาติโย

ชาติ [ ภพ ] ๑ บ้าง ๒ ชาติ [ ภพ ] บ้าง. แม้ในที่นี้ ชาติศัพท์

พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถว่า ภพอย่างเดียว. เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า

ในชาติก่อน คือในภพก่อน อธิบายว่า ในอัตภาพก่อนที่ล่วงมาติดต่อ

กัน ก็คำนี้เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ. บทว่า มนุสฺสโลเก

ได้แก่ ภพ คือมนุษยโลก ท่านกล่าวหมายถึงกรุงราชคฤห์. ในที่นี้ท่าน

ประสงค์เอาโอกาสโลก ส่วนสัตวโลกท่านกล่าวด้วยบทว่า มนุสฺเสสุ

นี้แล้ว.

บทว่า อทฺทส แปลว่า เห็นแล้ว [ พบแล้ว ]. บทว่า วิรช

ได้แก่ ชื่อว่า วิรชะ เพราะท่านปราศจากกิเลสดุจธุลีมีราคะเป็นต้นแล้ว.

บทว่า ภิกฺขุ ได้แก่ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะท่านทำลายกิเลสเสียแล้ว.

ชื่อว่า วิปปสันนะ เพราะท่านมีจิตผ่องใส เหตุไม่มีความขุ่นมัวด้วยกิเลส

ชื่อว่า อนาวิละ เพราะท่านมีความดำริไม่หม่นหมอง. บทต้น ๆ ในคำ

นี้ เป็นคำกล่าวเหตุของบทหลัง ๆ ว่า เพราะเหตุที่ท่านปราศจากกิเลส

ดุจธุลีมีราคะเป็นต้น จึงชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลสเสียแล้ว เพราะเหตุ

ที่ทำลายกิเลสเสียแล้ว จึงชื่อว่า วิปปสันนะ เพราะไม่มีความขุ่นมัวด้วย

กิเลส ชื่อว่า อนาวิละ เพราะท่านเป็นผู้มีใจผ่องใสแล้ว. หรือว่า บท

หลัง ๆ เป็นคำกล่าวเหตุของบทต้น ๆ. ชื่อว่า วิรชะ เพราะประกอบ

ด้วยความไม่อาลัยในคุณเครื่องเป็นภิกษุ. จริงอยู่ ภิกษุเป็นผู้ทำลายกิเลส

เสียแล้ว ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเป็นผู้ผ่องใสแล้ว. จริงอยู่ ภิกษุชื่อว่า

เป็นผู้มีใจผ่องใสแล้ว เพราะไม่มีความขุ่นมัวด้วยกิเลส ชื่อว่า วิปปสันนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

เพราะเป็นผู้มีความดำริไม่หม่นหมอง อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า วิรชะ

เพราะไม่มีกิเลสดุจธุลี คือ ราคะ. กล่าวว่า วิปปสันนะ เพราะไม่มี

ความขุ่นมัวด้วยโทสะ. กล่าวว่า อนาวิละ เพราะไม่มีความเกลือกกลั้ว

ด้วยโมหะ. กล่าวว่า ภิกษุ เพราะท่านผู้เป็นอย่างนี้ ชื่อว่า ภิกษุ โดย

ปรมัตถ์. คำว่า อทาสห ตัดบทว่า อทาสึ อห เราได้ถวายแล้ว.

บทว่า ปี ได้แก่ ตั่งอย่างดี [ ภัทรบิฐ ] ที่มีอยู่ในสำนักของดีฉัน

ในครั้งนั้น. บทว่า ปสนฺนา ได้แก่ มีจิตเลื่อมใส เพราะเชื่อในผลกรรม

และเชื่อในพระรัตนตรัย. บทว่า เสหิ ปาณิภิ ความว่า ดีฉันไม่ใช้

คนอื่น จัดตั้งที่ควรน้อมเข้าไปด้วยมือของตนถวาย.

ในคาถานั้น เทวดาแสดงเขตสมบัติ ด้วยบทว่า วิรช ภิกฺขุ

วิปฺปสนฺนมนาวิล นี้. แสดงเจตนาสมบัติ ด้วยบทว่า ปสนฺนา นี้. แสดง

ประโยคสมบัติ ด้วยบทว่า เสหิ ปาณิภิ นี้. อนึ่ง เทวดาแสดงคุณ

แห่งทาน ๒ นี้ คือ ถวายโดยเคารพ และถวายใกล้ชิด ด้วยบทว่า

ปสนฺนา นี้. แสดงคุณแห่งทาน ๒ นี้ คือ ถวายด้วยมือตนเอง และ

ตามเข้าไปถวาย ด้วยบทว่า เสหิ ปาณิภิ นี้. พึงทราบว่า เทวดา

แสดงคุณแห่งทาน ๒ นี้ คือ ทำความยำเกรงถวาย ถวายตามกาล เพราะ

เป็นผู้รู้จักเวลานั่ง ด้วยการลาดผ้าสีเหลือง. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้ว

ในหนหลังทั้งนั้น.

จบอรรถกถาตติยปีฐวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

๔. จตุตถปีฐวิมาน

ว่าด้วยวิมานตั่งแก้วไฟฑูรย์

[๔] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีกายอันประดับแล้ว ทรงมาลัย

ทรงพัสตราภรณ์อันสวยงามวิมานตั่งแก้วไพฑูรย์ของ

ท่านโอฬาร เร็วดังใจไปได้ตามปรารถนาท่านส่องแสง

ประกายดังสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จ

แก่ท่าน อนึ่ง โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานะถามแล้ว

ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผล

อย่างนี้ว่า

นี้เป็นผลกรรมอันน้อยของดีฉันที่เป็นเหตุให้ดีฉัน

มีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ใน

มนุษยโลกในชาติก่อน ดีฉันได้เห็นภิกษุผู้ปราศจาก

กิเลสดุจธุลี ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ก็เลื่อมใส ได้ถวาย

ตั่งแก่ท่านด้วยมือทั้งสองของตน เพราะบุญนั้น ดีฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

จึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่

ดีฉันและโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้ เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบจตุตถปีฐวิมาน

อรรถกถาจตุตถปีฐวิมาน

จตุตถปีฐวิมาน มีคาถาว่า ปีนฺเต เวฬุริยมย เป็นต้น. เรื่อง

จตุตถปีฐวิมานแม้นั้น ก็เกิดขึ้นในกรุงราชคฤห์ เรื่องนั้นพึงทราบตาม

นัยที่กล่าวมาแล้วในทุติยวิมานนั่นแล. แท้จริง วิมานแก้วไพฑูรย์ บังเกิด

แก่เทวดาแม้องค์นี้ก็เพราะตั่งที่นางปูลาดด้วยผ้าสีเขียวถวายแล้ว. คำที่เหลือ

ก็เหมือนเรื่องที่กล่าวมาแล้วในปฐมวิมาน. ด้วยเหตุนั้น ท่านพระ-

โมคคัลลานะ จึงถามว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้ประดับกาย สวมพวงมาลัย

ทรงพัสตราภรณ์อันสวยงาม วิมานตั่งแก้วไพฑูรย์

ของท่านโอฬาร เร็วดังใจ ไปได้ตามปรารถนา

ท่านส่องแสงประกายคล้ายสายฟ้าแลบลอดหลืบเมฆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

เพราะบุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนั้น

เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดาองค์นั้น ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ [ ตอบ ] ปัญหาของกรรม

ที่มีผลอย่างนี้ว่า

นี้เป็นผลของกรรมเล็กน้อยของดีฉัน อันเป็น

เหตุให้ดีฉันมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ดีฉันครั้งเกิด

เป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ในชาติก่อนในมนุษยโลก ได้

พบพระภิกษุผู้ปราศจากกิเลสดุจธุลี ผู้ผ่องใส ไม่

หม่นหมอง ก็เลื่อมใส จึงได้ถวายตั่งแก่ท่าน ด้วย

มือของตนเอง. เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึง

เป็นเช่นนั้น เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน

และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอกแก่

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใด เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของดิฉันจึงส่องสว่างไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

ก็แม้ในเรื่องนี้ วิมานแก้วไพฑูรย์ บังเกิดแก่เทวดาแม้องค์นี้ ก็

เพราะตั่งที่นางปูลาดด้วยผ้าสีเขียวถวายแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ในเรื่องนี้

จตุตถปีฐวิมานจึงมาโดยบาลีว่า ปีนฺเต เวฬุริยมย วิมานตั่งแก้วไพฑูรย์

ของท่าน ดังนี้เป็นต้น. คำที่เหลือ ก็เช่นเดียวกับตติยปีฐวิมานนั่นแหละ

พึงทราบความตามนัยที่กล่าวแล้วในตติยปิฐวิมานนั้นเหมือนกัน.

จบอรรถกถาจตุตถปีฐวิมาน

๕. กุญชรวิมาน

ว่าด้วยกุญชรวิมาน

[๕ ] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูราเทพธิดาผู้มีวรรณะดังปทุม มีตากลมดังกลีบ

ปทุม กุญชรพาหะอันประเสริฐของท่าน ประดับ

ประดาด้วยแก้วหลายชนิด น่ารักมีกำลังว่องไว เที่ยว

ไปในอากาศได้ ช่างรุ่งเรืองด้วยพวงดอกปทุมและ

อุบล มีกายเกลื่อนไปด้วยเกสรปทุม มีปทุมทองเป็น

มาลัย เดินทางที่เรียงรายด้วยปทุม ประดับด้วย

กลีบอุบล เดินไปพอดี ๆ วิมานทอง ไม่กระเทือน

เมื่อช้างย่างก้าว กระดิ่งก็ส่งเสียงไพเราะ น่ารื่นรมย์

เสียงกังวานของกระดิ่งเหล่านั้น ได้ยินดังดนตรี ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

เครื่องฉะนั้น ท่านมีพัสตราภรณ์สะอาดประดับกาย

แล้วอยู่เหนือคชาธาร รุ่งเรืองราวอัปสรหมู่ใหญ่ ด้วย

วรรณะ นี้เป็นผลของทาน ผลของศีล หรือผล

ของการกราบไหว้ของท่าน อาตมาถามท่านแล้ว ขอ

ได้โปรดตอบคำถามนั้นแก่อาตมาด้วย.

เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลคัลลานะถามแล้ว

ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผล

อย่างนี้ว่า

ดีฉันได้เห็นพระเถรเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ ผู้เพ่ง

ฌาน ยินดีในฌาน เป็นผู้สงบ ได้ถวายอาสวะที่ลาด

ด้วยผ้า โปรยดอกไม้ลงรอบ ๆ อาสนะ ดีฉันเลื่อมใส

ได้ประดับพวงมาลัยปทุมมีใบติดครึ่งหนึ่ง และโรย

เกสรปทุมลงครึ่งหนึ่ง ด้วยมือทั้งสองของตน ผล

เช่นนี้เป็นผลแห่งกุศลกรรมนั้นของดีฉัน ดีฉันอัน

ทวยเทพสักการะเคารพนบน้อมแล้ว ผู้ใดเลื่อมใส

แล้วถวายอาสนะแก่พรหมจารีผู้หลุดพ้นโดยชอบ

สงบระงับแล้ว เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านผู้รักตน

ประสงค์ความเป็นใหญ่ จึงควรถวายทานแก่ท่านผู้

ทรงเรือนร่างครั้งสุดท้าย [พระอรหันต์].

จบกุญชรวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

อรรถกถากุญชรวิมาน

กุญชรวิมาน มีคาถาว่า กุญฺชโร เต วราโรโห ดังนี้เป็นต้น.

กุญชรวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ มหาเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน

กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น วันหนึ่ง งานนักขัตฤกษ์กึกก้องไปในกรุงราชคฤห์

ชาวกรุงช่วยกันทำความสะอาดถนน เกลี่ยทราย โรยดอกไม้ครบ ๕ อย่าง

ทั้งข้าวตอก ตั้งต้นกล้วย และหม้อน้ำไว้ทุก ๆ ประตูเรือน ยกธง

แผ่นผ้าเป็นต้น ซึ่งงดงามด้วยสีต่าง ๆ ตามควรแก่สมบัติ ทุกคนตกแต่ง

ประดับกายพอสมควรแก่สมบัติของตน ๆ เล่นการเล่นงานนักขัตฤกษ์ทั่ว

ทั้งกรุงได้ประดับประดาตกแต่งดังเทพนคร ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร

มหาราช เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ของพระองค์ ทรงเลียบพระนคร

ด้วยราชบริพารอย่างใหญ่ ด้วยสิริโสภาคย์มโหฬารคามพระราชประเพณี

และเพื่อรักษาน้ำใจของมหาชน

สมัยนั้น กุลสตรีผู้หนึ่งเป็นชาวกรุงราชคฤห์ เห็นวิภวสมบัติ

สิริโสภาคย์และราชานุภาพนั้นของพระราชา เกิดอัศจรรย์จิตไม่เคยมี จึง

ถามเหล่าท่านที่สมมติกันว่าบัณฑิตว่า วิภวสมบัติเสมือนเทวฤทธิ์นี้

พระราชาทรงได้มา ด้วยกรรมอะไรหนอ บัณฑิตสมมติเหล่านั้นจึงกล่าว

แก่นางว่า ดูราแม่มหาจำเริญ ธรรมดาบุญกรรมก็เป็นเสมือนจินดามณี

เป็นเสมือนต้นกัลปพฤกษ์ เมื่อเขตสมบัติ [ พระทักขิไณยบุคคล ] และ

เจตนาสมบัติ [ฝ่ายทายกทายิกา] มีอยู่ คนทั้งหลายปรารถนาแล้ว

ทำบุญกรรมใด ๆ บุญกรรมนั้น ๆ ก็ให้สำเร็จผลได้ทั้งนั้น อนึ่งเล่า ความ

เป็นผู้มีตระกูลส่งมีได้ก็ด้วยอาสนทาน ถวายอาสนะ การได้สมบัติคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

กำลังมีได้ก็ด้วยอันนทาน ถวายข้าว การได้สมบัติคือวรรณะก็มีได้ด้วย

วัตถุทาน ถวายผ้า การได้สุขวิเศษก็มีได้ด้วยยานทาน ถวายยานพาหนะ

การได้สมบัติคือจักษุก็มีได้ด้วยทีปทาน ถวายประทีปโคมไฟ การได้

สมบัติทุกอย่าง ก็มีได้ด้วยอาวาสทาน ถวายที่อยู่. นางฟังคำนั้นแล้ว

ก็ตั้งจิตในเทวสมบัตินั้นว่า เทวสมบัติที่ท่าจะโอฬารกว่านี้ แล้วเกิด

อุตสาหะยิ่งยวดในอันจะทำบุญ.

บิดามารดาส่งผ้าคู่ใหม่ ตั่งใหม่ ดอกปทุมกำ ๑ และเนยใส

น้ำผึ้ง น้ำตาลกรวด ข้าวสารและนมสด เพื่อให้นางบริโภคใช้สอย.

นางเห็นสิ่งเหล่านั้นก็ดีใจว่า เราประสงค์จะถวายทาน และเราก็ได้ไทย-

ธรรมนี้แล้ว ในวันที่สอง ก็จัดทานปรุงมธุปายาสน้ำน้อย ตกแต่งของ

เคี้ยวของกินแม้อย่างอื่นเป็นอันมาก ให้เป็นบริวารของมธุปายาสน้ำน้อย

นั้น แล้วประพรมของหอมที่โรงทาน จัดอาสนะไว้เหนือดอกปทุม

ทั้งหลาย ซึ่งงดงามด้วยกลีบ ช่อ และเกสรของดอกปทุมที่แย้มบานแล้ว

ปูลาดด้วยผ้าขาวใหม่ ๆ วางดอกปทุม ๔ ดอก และพุ่มดอกไม้เหนือเท้า

ทั้ง ๔ ของอาสนะ. ดาดเพดานไว้ข้างบนอาสนะ ห้อยพวงดอกไม้และ

พวงระย้า รอบ ๆ อาสนะก็ลาดพื้นหมดสิ้น ด้วยกลีบปทุมที่มีเกสร

คิดว่า เราจักบูชาพระทักขิไณยบุคคลที่มาถึงแล้ว จึงตั้งพานเต็มด้วยดอกไม้

สด ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

คราวนั้น นางจัดเครื่องอุปกรณ์ทานเสร็จแล้ว ก็อาบน้ำดำเกล้า

นุ่งผ้าสะอาด กำหนดคอยเวลา จึงสั่งหญิงรับใช้คนหนึ่งว่า แม่เอ๊ย เจ้า

จงไปหาพระทักขิไณยเช่นนั้นมาให้ข้านะ. สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตร

เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์เดินไประหว่างถนน ดังจะเก็บถุงทรัพย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

พันหนึ่ง. ขณะนั้น หญิงรับใช้นั้นก็ไหว้พระเถระแล้วกล่าวว่า ท่าน

ผู้เจริญ ขอท่านโปรดให้บาตรของท่านแก่ดีฉันเถิดเจ้าข้า. แต่พระเถระ

กล่าวว่า เรามาที่นี้ ก็เพื่ออนุเคราะห์อุบาสิกาผู้หนึ่งนะ. พระเถระก็ส่ง

บาตรให้แก่หญิงรับใช้นั้น. นางก็นิมนต์พระเถระให้เข้าไปยังเรือน.

ครั้งนั้น สตรีผู้นั้น ก็ออกไปต้อนรับพระเถระ. ชี้อาสนะแล้วกล่าวว่า

โปรดนั่งเถิดเจ้าข้า นี้อาสนะจัดไว้แล้ว เมื่อพระเถระนั่งเหนืออาสนะนั้น

แล้ว ก็บูชาพระเถระด้วยกลีบปทุมที่มีเกสร โรยรอบ ๆ อาสนะ. ไหว้

ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เลี้ยงดูด้วยมธุปายาสน้ำน้อย ผสมด้วยเนยใส

น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด และกำลังเลี้ยงดู ก็ทำความปรารถนาว่า ด้วย

อานุภาพบุญของดิฉันนี้ ขอจงมีสมบัติทิพย์ ที่งดงามด้วยบัลลังก์เรือน

ยอดเหนือกุญชรอันเป็นทิพย์ ในความเป็นไปทุกอย่าง ขอจงอย่าขาด

ดอกปทุมเลย. ครั้นพระเถระฉันเสร็จแล้ว นางจึงล้างบาตร บรรจุ

เนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวดไว้เต็มอีก จัดผ้าที่ปูลาดบนตั่งที่เป็น

ผ้ารอง [ บาตร ] แล้ววางไว้ในมือพระเถระ ครั้นพระเถระทำอนุโมทนา

กลับไปแล้ว จึงสั่งบุรุษ ๒ คนว่า เจ้าจงนำบาตรในมือพระเถระและ

บัลลังก์นี้ไปวิหารมอบถวายพระเถระแล้วจงกลับมา. บุรุษทั้ง ๒ นั้น

ก็กระทำอย่างนั้น.

ต่อมา สตรีผู้นั้น [ ตาย ] ก็ไปบังเกิดในวิมานทองสูงร้อยโยชน์

ณ ภพดาวดึงส์ มีอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร. และช้างตัวประเสริฐสูง

ห้าโยชน์ ประดับด้วยมาลัยดอกปทุม งดงามด้วยกลีบ ช่อ และเกสร

แห่งดอกปทุมโดยรอบ พิศดูปลื้มใจ มีสัมผัสอันสบาย ประดับด้วย

อาภรณ์ทองรุ่งเรืองด้วยรัศมีข่ายประกอบรัตนะหลาก ๆ กัน ก็บังเกิดด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

อำนาจความปรารถนาของนาง. บัลลังก์ทองโยชน์หนึ่ง ประกอบด้วย

ความงามดียิ่ง ตามที่กล่าวแล้ว ก็บังเกิดเหนือช้างนั้น. นางกำลังเสวย

ทิพยสมบัติ ก็ขึ้นบัลลังก์ที่วิจิตรด้วยรัตนะเบื้องบนกุญชรวิมานนั้น ใน

ระหว่าง ๆ ไปยังสวนนันทนวัน ด้วยอานุภาพเทวดาอันยิ่งใหญ่ ครั้งนั้น

เป็นวันมหรสพวันหนึ่ง เมื่อเทวดาทั้งหลายพากันไปสวนนันทนวัน เพื่อ

เล่นการเล่นในสวน ตามอานุภาพทิพย์ของตน คำดังกล่าวมาเป็นต้น

ทั้งหมด ก็เหมือนคำที่มาในอรรถกถาปฐมปีฐวิมาน. เพราะฉะนั้น

พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในอรรถกถานั้นนั่นแล. ส่วนในกุญชร-

วิมานนี้ พระเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีดวงตากลมดังกลีบปทุม

มีผิวพรรณะดังปทุม กุญชร พาหะเครื่องขับขี่อย่างดี

ของท่าน สำเร็จด้วยรัตนะต่าง ๆ น่ารัก มีกำลัง

พรั่งพร้อมด้วยความเร็ว [ ว่องไว ] ท่องไปในอากาศ

ช้างทรงความรุ่งเรืองด้วยดอกปทุม และอุบล มีเนื้อ

ตัวเกลื่อนกล่นด้วยเกสรปทุม สวมพวงมาลัยดอก

ปทุมทอง ก็เดินทางที่เรียงรายด้วยดอกปทุม ประดับ

ด้วยกลีบปทุมอยู่ ไม่กระเทือนวิมาน ย่างก้าวไป

พอดี ๆ [ไม่เร็วนัก ไม่ช้านัก] เมื่อช่างกำลังย่าง

ก้าว กระดิ่งทองก็มีเสียงไพเราะน่ารื่นรมย์ เสียง

กังวานของกระดิ่งเหล่านั้น ได้ยินดังดนตรีเครื่องห้า.

ท่านมีพัสตราภรณ์สะอาด ประดับองค์แล้วอยู่เหนือ

คชาธาร รุ่งโรจน์ล้ำอัปสรหมู่ใหญ่ด้วยวรรณะ. นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

เป็นผลของทาน หรือของศีล หรือของอัญชลีกรรม

ประนมมือ ท่านถูกถามแล้ว โปรดบอกกรรมนั้นแก่

อาตมาเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุญฺชโร เต วราโรโห ความว่า

พาหะ ชื่อว่า กุญชร เพราะอภิรมย์ยินดีในที่เขาชันปกคลุมด้วยเถาวัลย์

หรือเพราะร้องส่งเสียงโกญจนาท [แปร้นแปร้น] เที่ยวอยู่ในที่นั้น

หรือเพราะ กุ คือดินทำให้คร่ำคร่า เพราะครูดสีกับดินนั้น. ช้างใน

มนุษยโลก ต่างโดยเป็นช้างภูเขาเป็นต้น. ส่วนช้างนี้ ท่านกล่าวอย่างนั้น

ก็เพราะเสมือนช้างในการเล่นกีฬา. พาหะใด อันเขาขับขี่ เหตุนั้นพาหะ

นั้น ชื่อว่า อาโรหะ อธิบายว่า พาหะที่เขาพึงขับขี่. พาหะขับขี่อย่างดี

อย่างเลิศ อย่างประเสริฐ เหตุนั้น จึงว่า วราโรหะ ท่านอธิบายว่า

ยานอย่างยอดเยี่ยม. บทว่า นานารตนกปฺปโน ความว่า รัตนะชนิด

ต่าง ๆ ของช้างเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น ช้างเหล่านั้น ชื่อว่ามีรัตนะต่างๆ

ได้แก่เครื่องประดับช้างมีเครื่องประดับตระพองเป็นต้น. เครื่องสำเร็จ

เครื่องผูกสอดของช้างเชือกใด เขาติดตั้งด้วยรัตนะเหล่านั้น ช้างเชือกนั้น

ชื่อว่า มีเครื่องสำเร็จด้วยรัตนะต่าง ๆ. ชื่อว่า รุจิระ งดงาม เพราะ

ให้ความชอบใจ ความอภิรมย์ อธิบายว่า น่าปลื้มใจ. บทว่า ถามวา

ได้แก่ มั่นคง อธิบายว่า มีกำลัง. บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่ มีความ

เร็วพร้อมแล้ว. ท่านอธิบายว่า รวดเร็ว [ว่องไว]. บทว่า อากา-

สมฺหิ สมีหติ ได้แก่ ท่องไปโดยชอบในอากาศ ที่ชื่อว่า อนัตลิกขา

อธิบายว่า เดินไปไม่กระเทือนพวกที่ขับขี่.

บทว่า ปทุมี ได้แก่ ชื่อว่าปทุมี เพราะประกอบด้วยสีผิวเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

หม้อ ซึ่งได้ชื่อว่า ปทุม เพราะมีสีผิวเสมอกับปทุม. บทว่า ปทุม-

ปตฺตกฺขิ แปลว่า ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีดวงตากลมเสมือนกลีบปทุม. บทว่า

ปทุมุปฺปลชุตินฺธโร ได้แก่ ชื่อว่า ปทุมุปปลชุตินธร เพราะทรงไว้

ซึ่งความรุ่งเรืองแห่งดอกปทุมและอุบล ซึ่งโชติช่วงแผ่ซ่านไปในที่นั้น ๆ

เพราะเป็นช้างที่มีเรือนร่างประดับมาลัย ดอกปทุมและดอกอุบลอันเป็น

ทิพย์. บทว่า ปทุมจุณฺณาภิกิณฺณงฺโค ได้แก่ มีเนื้อตัวที่ดารดาษไป

โดยรอบด้วยกลีบช่อและเกสรปทุม. บทว่า โสวณฺณโปกฺขรมาลวา

ได้แก่ มีภาระคือมาลัยดอกปทุมทอง.

บทว่า ปทุมานุสฏ มคฺค ปทุมปตฺตวิภูสิต ประกอบความว่า

ช้างเดินไปยังทางที่เรียงรายเกลื่อนกล่นด้วยเหล่าดอกปทุมขนาดใหญ่ ซึ่ง

รองรับเท้าช้างนั้นทุก ๆ ย่างก้าว และประดับด้วยเหล่ากลีบปทุมเหล่านั้น

ซึ่งมีสีสันต่าง ๆ อันหมุนไปได้ทั้งข้างโน้นข้างนี้ เพราะตกแต่งไว้เป็น

พิเศษ. บทว่า ีต นี้ เป็นวิเสสนะของบทว่า มคฺค. อธิบายว่า ทาง

ซึ่งประดับด้วยกลีบปทุมตั้งอยู่แล้ว. บทว่า วคฺคุ แปลว่า ทอง. คำนี้

เป็นกิริยาวิเสสนะ. อักษรทำหน้าที่บทสนธิต่อบท. บทว่า อนุคฺฆาติ

แปลว่า ไม่กระเทือน. อธิบายว่า ไม่ทำความกระเทือนแม้นิดหนึ่งแก่

ผู้นั่งอยู่บน [หลัง] ของตน. บทว่า มิต แปลว่า เนรมิตแล้ว.

อธิบายว่า เลยก้าวย่างไป. ในคำนี้ มีความดังนี้ว่า ทองนี้ชื่อว่าวัคคุไป

กับเท้าที่ย่าง. อีกนัยหนึ่ง บทว่า มิต แปลว่า นับรอบแล้ว คือ

ประกอบด้วยความพอเหมาะ. ท่านอธิบายว่า ไม่เร็วนัก ไม่ช้านัก.

บทว่า วารโณ แปลว่า ช้าง. จริงอยู่ ช้างนั้นท่านเรียกว่า วารณะ

เพราะห้ามกันข้าศึก และห้ามกันสิ่งกีดขวางทางเดิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

บทว่า ตสฺส ปกฺกมานสฺ ส โสวณฺณกสา รติสฺสรา อธิบายว่า

โสวรรณกังสะ คือกระดิ่งทำด้วยทอง ของช้างตัวตามที่กล่าวแล้วนั้น

ซึ่งกำลังเดิน มีเสียงน่ายินดี ส่งเสียงน่าอภิรมย์ มีเสียงกังวานน่าปลื้มใจ

ห้อยย้อยอยู่. จริงอยู่ กระดิ่งใหญ่ ๆ หลายร้อย ทำด้วยทอง ขจิตด้วย

แก้วมณีและมุกดา นาคเท่ากระถางใหญ่ สองข้างของช้างตัวนั้น ก็

ห้อยแกว่งไกวไป ณ ที่นั้น ๆ ส่งเสียงน่าจับใจแล่นไปยิ่งกว่าที่นักดนตรี

ผู้ฉลาดจัดประโคมเสียอีก ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า เสียงกังวาน

ของกระดิ่งเหล่านั้นได้ยินเหมือนดนตรีเครื่องห้า.

ความของคำนั้น มีดังนี้ว่า เมื่อนักดนตรีผู้ฉลาดบรรเลงดนตรีมี

องค์ ๕ อย่างนี้คือ อาตตะ [โทน ] วิตตะ [ ตะโพน ] อาตตะวิตตะ

[บัณเฑาะว์] ฆนะ [กังสดาล] สุสิระ [ปี่, สังข์] เสียงบรรเลง

คลอเสียงนักร้อง ซึ่งขับแสดงจำแนกเสียงต่ำและสูง ตามฐานที่เกิด

กังวานไพเราะน่ารัก ได้ยินกันฉันใด เสียงกังวานของโสวรรณกังสะ คือ

กระดิ่งทองเหล่านั้น ก็ได้ยินกันฉันนั้น.

บทว่า นาคสฺส ได้แก่ ช้างสำคัญ. บทว่า มหนฺต ได้แก่ ชื่อว่า

ใหญ่ เพราะใหญ่โดยสมบัติก็มี เพราะใหญ่โดยนับขนาดก็มี. บทว่า

อจฺฉราสงฺฆ ได้แก่ หมู่เทพกัญญา. บทว่า วณฺเณน ได้แก่ มีรูป.

บทว่า ทานสฺส ได้แก่ บุญสำเร็จด้วยทาน. บทว่า สีลสฺส

ได้แก่ ศีล คือความสำรวมมีความสำรวมทางกายเป็นต้น. วาศัพท์เป็น

วิกัปปัตถะ กำหนดข้อที่ไม่ได้กล่าวไว้. ท่านสงเคราะห์จารีตศีล ศีลคือ

จารีต [ธรรมเนียม] ที่มิได้กล่าวได้ มีการกราบไหว้เป็นต้น ด้วย

วาศัพท์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

เทวดาองค์นั้น ถูกพระเถระถามอย่างนี้แล้ว จึงตอบปัญหา. เพื่อ

แสดงความข้อนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ [ผู้ร่วมทำสังคายนา]

ทั้งหลายจึงกล่าวคาถาไว้ดังนี้ว่า

เทวดาองค์นั้น ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

แล้วดีใจ จึงพยากรณ์ปัญหาด้วยอาการที่ท่านถามถึง

กรรมที่มีผลอย่างนี้.

ความของคาถานั้น กล่าวมาแล้วในหนหลังนั้นแล. คาถาเทวดา

กล่าวไว้ดังนี้ว่า

ดิฉันเห็นพระเถระ ผู้พร้อมด้วยคุณ เข้าฌาน

ยินดีในฌานสงบ ได้ถวายอาสนะที่ปูลาดด้วยผ้าโรย

ด้วยดอกไม้. ดิฉันเลื่อมใสแล้วโปรยดอกปทุมรอบ ๆ

อาสนะครึ่งหนึ่ง. อีกครั้งหนึ่งเอาโปรยลง [ดังฝน]

ด้วยมือตนเอง. ผลเช่นนี้เป็นผลแห่งกุศลกรรมนั้น

ของดิฉัน ดิฉันอันทวยเทพสักการะเคารพนบนอบ

แล้ว. ผู้ใดแล เลื่อมใสแล้ว ถวายอาสนะแก่ท่าน

ผู้เป็นพรหมจารี ผู้หลุดพ้นโดยชอบ ผู้สงบ ผู้นั้น

ก็บันเทิงเหมือนอย่างดิฉัน. เพราะฉะนั้นแล ผู้รักตน

หวังความเป็นใหญ่ ก็ควรถวายอาสนะแด่ท่านผู้ทรง

เรือนร่างครั้งสุดท้าย [พระอรหันต์].

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คุณสมฺปนฺน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย

คุณของพระสาวกทุกอย่าง หรือบริบูรณ์ด้วยคุณเหล่านั้น. เทวดาแสดง

สมบัติชั้นยอดของสาวกบารมีญาณ ด้วยบทนี้. บทว่า ฌายึ ได้แก่ ผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

ปกติเพ่งด้วยฌานแม้ทั้งสองคือ อารัมมณูปนิชฌาน [เพ่งอารมณ์]

ลักขณูปนิชฌาน [เพ่งลักษณะ]. อีกนัยหนึ่ง ผู้เผากิเลสที่ควรเผา และ

ธรรมอันเป็นฝ่ายของสังกิเลสทุกอย่างมั่นอยู่. จากฌานนั้นนั่นเอง ชื่อว่า

ฌานรตะ เพราะยินดีแล้วในฌาน. บทว่า สต แปลว่า มีอยู่ หรือ

สงบแล้ว. อธิบายว่า สัตบุรุษคนดี. บทว่า ปุปฺผาภิกิณฺณ แปลว่า

เกลื่อนกล่นด้วยดอกไม้ทั้งหลาย. อธิบายว่า ดารดาษด้วยใบปทุมทั้งหลาย.

บทว่า ทุสฺสสนฺถต ได้แก่ เอาผ้าปูลาดไว้บนอาสนะ.

บทว่า อุปฑฺฒ ปทุมมาลาห ได้แก่ เรา [โปรย] ดอกปทุม

ครึ่งหนึ่ง. บทว่า อาสนสฺส สมนฺตโต ได้แก่ ที่พื้นรอบอาสนะที่

พระเถระนั่ง. บทว่า อพฺโภกิริสฺส ได้แก่ โปรย โรย. อย่างไร. เอา

กลีบโปรย. อธิบายว่า เอากลีบปทุม ที่แยกเป็นสองส่วน ๆ ละครึ่ง

โปรยลงทำนองฝนดอกไม้ตกลงมา.

ด้วยบทว่า อิท เม อีทิส ผล นี้ เทวดารวมแสดงทิพย-

สมบัติของตน อันต่างโดยอายุ ยศ สุข และรูปเป็นต้น ที่พระเถระ

ระบุและไม่ระบุด้วยคำว่า กุญฺชโร เต วราโรโห เป็นต้น แล้วจึงกล่าว

คำเป็นต้นว่า สกฺกาโร ครุถาโร เพื่อแสดงอานุภาพของตนที่พระเถระ

มิได้ระบุไว้อีก. ด้วยคำนั้น เทวดาแสดงว่า มิใช่ผลบุญของดิฉันในที่นี้

ตามที่ท่านกล่าวมาแล้วอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้ ก็ยังมีแม้อธิปไตยทิพย์

นี้ด้วย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกาโร ได้แก่ กิริยาโดยเอื้อเฟื้อ.

อธิบายว่า ความที่ตนอันทวยเทพพึงสักการะ. บทว่า ครุกาโร ก็

เหมือนกัน ได้แก่ ความที่คนอันทวยเทพพึงเคารพ. บทว่า เทวาน

แปลว่า อันทวยเทพ. บทว่า อปจิตา ได้แก่ บูชาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

บทว่า สมฺมาวิมุตฺตาน ได้แก่ ผู้หลุดพ้นด้วยดี ละสังกิเลสได้

หมด. บทว่า สนฺตาน ได้แก่ ผู้มีกรรมทางกายวาจาใจอันสงบ เป็น

คนดี. ชื่อว่าพรหมจารี เพราะพระพฤติมรรคพรหมจรรย์และศาสน-

พรหมจรรย์แล้ว. บทว่า ปสนฺนา อาสน ทชฺชา ได้แก่ เป็นผู้มีใจ

เลื่อมใสแล้ว เพราะเชื่อในผลกรรม และเชื่อในพระรัตนตรัย. ผิว่าพึง

ถวายแม้เพียงอาสนะ. บทว่า เอว นนฺเท ยถา อห ความว่า แม้

คนอื่นก็พึงบันเทิงยินดีเหมือนอย่างดิฉันบันเทิงยินดีด้วยอาสนทานนั้น ใน

บัดนี้ฉะนั้น.

บทว่า ตสฺมา แปลว่า เพราะเหตุนั้น. หิศัพท์ เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า อตฺตกาเมน ได้แก่ ผู้รักประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน. จริงอยู่ ผู้ใด

ทำกรรมอันนำประโยชน์เกื้อกูลมาให้ตน ไม่ทำกรรมอันนำสิ่งที่มิใช่

ประโยชน์เกื้อกูล ผู้นั้น ชื่อว่ารักตน. บทว่า มหตฺต ได้แก่ ความ

เป็นใหญ่โดยวิบาก. บทว่า สรีรนฺติมธาริน ได้แก่ ผู้ทรงเรือนร่างอัน

สุดท้าย. อธิบายว่า พระขีณาสพ. ในข้อนี้ ความมีดังนี้ว่า เทวดาแสดง

ว่า เพราะเหตุที่ดิฉันยินดีด้วยทิพยสมบัติอย่างนี้ เพราะถวายอาสนะแก่

พระอรหันต์ ฉะนั้น แม้คนอื่นผู้ปรารถนาความเจริญยิ่งแก่ตนก็พึงถวาย

อาสนะแก่พระอรหันต์ผู้ตั้งอยู่ในเรือนร่างอันสุดท้าย บุญเช่นนี้ [ของ

คนอื่น จึงไม่มี. คำที่เหลือก็เช่นเดียวกับคำที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถากุญชรวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

๖. ปฐมนาวาวิมาน

ว่าด้วยนาวาวิมาน ๑

[๖] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพนารี ท่านขึ้นนั่งนาวาวิมาน อันมุง

บังด้วยทอง ลงเล่นสระโบกขรณี หักดอกปทุมด้วยมือ

กูฏาคารนิเวศของท่าน จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่ง

เนรมิตเป็นส่วนสัด เมื่อส่องแสงก็สว่างไปโดยรอบ

ทั้งสี่ทิศ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้

เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน อนึ่ง โภคะ

ทุกอย่าง ที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ดีใจ

ได้พยากรณ์ปัญหา โดยอาการที่ท่านถามถึงกรรมที่มี

ผลอย่างนี้ว่า

ในชาติก่อน ครั้งเห็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์

ในมนุษยโลก ได้เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ลำบากกายกระ-

หายน้ำ จึงขวนขวายถวายน้ำฉัน อันว่าผู้ใดแล

ได้ขวนขวายถวายน้ำฉันแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ลำบากกาย

กระหายน้ำมา แม่น้ำหลายสายมีน้ำเยือกเย็น มีสวน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

ไม้มาก มีบุณฑริกบัวขาวมาก ย่อมเกิดมีแก่ผู้นั้น

น้ำหลายสายย่อมเรียงรายไหลล้อมรอบวิมานนั้นเป็น

ประจำ มีแม่น้ำทั้งหลายที่ลาดด้วยทราย น้ำเย็นสนิท

มีต้นมะม่วง ต้นสาละ ต้นหมากหอม ต้นชมพู่ ต้น

ราชพฤกษ์ และต้นแคฝอยที่ออกดอกสะพรั่ง ผู้ทำบุญ

ไว้แล้วย่อมได้วิมานชั้นดีเยี่ยม ประกอบด้วยภูมิภาค

เช่นนั้น สง่างามนักหนา นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้น

ทั้งนั้น ผู้ที่ทำบุญไว้แล้วต้องย่อมได้ผลเช่นนี้ กูฏาคาร-

นิเวศของดีฉัน จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิต

เป็นส่วนสัด เมื่อส่องแสงก็สว่างไปโดยรอบทั้งสี่ทิศ

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น

ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดิฉัน อนึ่ง โภคะทุกอย่างที่น่ารัก

จึงเกิดขึ้นแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเป็นมนุษย์ ดีฉันได้กระทำบุญอันใดไว้

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของดิฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบปฐมนาวาวิมาน

อรรถกถาปฐมนาวาวิมาน

นาวาวิมาน มีคาถาว่า สุวณฺณจฺฉทน นาว เป็นต้น. วิมานเรือนั้น

เกิดขึ้นอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี ภิกษุจำนวน ๑๖ รูป

จำพรรษาในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ออกพรรษาแล้ว ตั้งใจว่าจักเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า และจักฟังธรรม ก็พากันเดินทางไกล ในฤดูร้อน

มุ่งกรุงสาวัตถี ระหว่างทางกันดารไม่มีน้ำ. ในทางกันดารนั้น ภิกษุ

เหล่านั้น ถูกความร้อนแผดเผา ลำบากกาย กระหายน้ำ ไม่ได้น้ำดื่ม

พากันเดินไปไม่ไกลหมู่บ้านแห่งหนึ่ง. ในหมู่บ้านนั้น หญิงผู้หนึ่ง ถือ

ภาชนะสำหรับใส่น้ำ เดินบ่ายหน้าไปยังบ่อน้ำ เพื่อตักน้ำ. ขณะนั้น

ภิกษุเหล่านั้นแลเห็นนาง ก็คิดว่า เมื่อไปในที่หญิงผู้นี้ไป อาจได้น้ำดื่ม

ถูกความกระหายน้ำบังคับ ก็พากันเดินบ่ายหน้าไปทิศนั้น เห็นบ่อน้ำ ก็ยืน

ไม่ไกลหญิงนั้น. หญิงนั้นได้น้ำจากบ่อนั้นแล้ว ประสงค์จะกลับ แลเห็น

ภิกษุเหล่านั้น รู้ว่า พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้กระหายน้ำต้องการน้ำ จึงเข้าไป

แสดงความเคารพยำเกรง นิมนต์ให้ฉันน้ำ. ภิกษุเหล่านั้น ก็นำผ้ากรองน้ำ

ออกจากถุงบาตร กรองน้ำแล้วก็ดื่มน้ำจนพอแก่ความต้องการ เอาน้ำ

ลูบมือเท้าให้เย็น กล่าวคำอนุโมทนาในปานียทาน (ถวายน้ำดื่ม) แก่หญิง

นั้นแล้ว ก็พากันไป.

หญิงนั้นตั้งบุญนั้นไว้ในใจ รำลึกถึงในระหว่าง ๆ ต่อมา ก็ตาย

ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์. ด้วยบุญญานุภาพของนาง วิมานใหญ่งดงาม

ด้วยต้นกัลปพฤกษ์ก็เกิดขึ้น. แม่น้ำกลาดเกลื่อนด้วยกองทรายและหาดทราย

ขาว ประหนึ่งประดับด้วยเงิน ประกอบด้วยข่ายมุกดา ไหลมาเฉพาะน้ำ

ที่ใสไร้มลทิน ดังก้อนแก้วมณี ล้อมรอบวิมานนั้น. ณ สองฝั่งของแม่น้ำ

นั้น และใกล้ประตูอุทยานและวิมาน สระโบกขรณีขนาดใหญ่ ประดับ

ด้วยดงปทุม ๕ สี ก็บังเกิดพร้อมด้วยเรือทอง. เทวดาองค์นั้นเมื่อเสวย

ทิพยสมบัติในวิมานนั้น ก็เที่ยวระเริงเล่นอยู่ในเรือ. ต่อมาวันหนึ่ง ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

พระมหาโมคคัลลานะเที่ยวเทวจาริกไป เห็นเทพธิดาองค์นั้นกำลังเล่นอยู่

ในเรือ เมื่อจะถามถึงบุญกรรมที่นางทำไว้ จึงถามว่า

ดูก่อนเทพนารี ท่านขึ้นเรือปิดทอง ยืนอยู่

ท่านลงเล่นสระโบกขรณี หักดอกปทุมด้วยมือ. กูฏา-

คารนิเวศของท่าน จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่ง

เนรมิตเป็นสัดส่วน เมื่อส่องแสงก็สว่างไปรอบสี่ทิศ.

เพราะบุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนั้น

เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

ต่อนั้น เพื่อแสดงอาการที่เทวดาซึ่งถูกพระเถระถามแล้วกล่าวตอบ

พระธรรมสังคาหกาจารย์ พระเถระผู้ร่วมทำสังคายนา จึงกล่าวคาถานี้ว่า

เทวดาองค์นั้น ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

ดีใจ ครั้นแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผล

อย่างนี้.

อาการที่เทวดากล่าวตอบดังนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ในชาติก่อน

ในมนุษยโลก ดีฉันพบภิกษุทั้งหลาย ลำบากกาย

กระหายน้ำ จึงขวนขวายถวายน้ำให้ท่านดื่ม. ผู้ใดแล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

ขวนขวายถวายน้ำดื่มแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ลำบากกาย

กระหายน้ำ แม่น้ำหลายสายที่มีน้ำเย็น มีสวนไม้มาก

มีบุณฑริกบัวขาวมาก ย่อมเกิดมีแก่ผู้นั้น. ลำน้ำ

หลายสายเรียงรายไหลล้อมรอบวิมานนั้นเป็นประจำ

มีแม่น้ำที่มีน้ำเย็น ลาดด้วยทราย มีมะม่วง สาละ

หมากหอม หว้า ราชพฤกษ์ และแคฝอยมีดอก

บานสะพรั่ง. ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมได้วิมานอันประ-

เสริฐสุด ประกอบด้วยภูมิภาคเช่นนั้น ที่สง่างาม

หนักหนา นี้เป็นวิบากของกรรมนั้นทั้งนั้น ผู้ทำบุญ

ไว้แล้ว ย่อมได้ผลเช่นนี้. กูฏาคารนิเวศของดีฉัน

จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตเป็นสัดส่วน เมื่อ

ส่องแสงก็สว่างไปรอบสี่ทิศ เพราะบุญนั้น วรรณะ

ของดีฉันจึงเป็นเช่นนั้น เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จ

แก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ด ฉัน อบอก

แก่ท่าน ดีฉันครั้งเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญใด เพราะ

บุญนั้น ดิฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของดีฉันจึงส่องสว่างไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุวณฺณจฺฉทน ได้แก่ ชื่อว่า ปิดทอง

เพราะข้างในกำบังด้วยฝาทั้งสองข้าง อันทำด้วยทองสีแดงจำหลักฝาอย่าง

วิจิตร และเพราะปิดข้างบนด้วยเครื่องประดับทำด้วยทอง โชติช่วงด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

รัตนะต่าง ๆ. บทว่า นาว แปลว่า เรือ. จริงอยู่ เรือนั้น ชื่อว่า โปตะ

เพราะข้ามไปจากฝั่งนี้สู่ฝั่งโน้น อนึ่ง ท่านเรียกว่านาวา เพราะนำสัตว์ไป.

บทว่า นาริ เป็นคำอาลปนะ เรียก เทพธิดาองค์นั้น. ผู้ใด ย่อมพา

ย่อมนำไป เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า นระ ผู้นำไป ได้แก่บุรุษผู้ชาย. เหมือน

อย่างว่า สัตว์แรกเกิดโดยปกติ ย่อมนอนก่อน เหตุนั้น จึงเรียกกันว่า

บุรุษ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ประเสริฐโดยปกตินอกจากนี้ ฉันใด ที่เรียก

ว่านระ ก็เพราะอรรถว่า นำไป ฉันนั้น. จริงอยู่ บุคคลแม้เป็นบุตร

ผู้พี่ ก็ตั้งอยู่ในฐานะบิดา ฐานะมารดา ของพวกพี่สาวได้. จะป่วยกล่าว

ไปไยถึงบุคคลผู้เป็นสามี. หญิงนั้นเป็นของนระ เหตุนั้น หญิงนั้น

จึงชื่อว่า นารี. ก็ชื่อนี้เขาเรียกกันอย่างนั้น แม้ในผู้หญิงนอกนี้ โดยที่

ขยายความกันออกไปในพวกมนุษย์ผู้หญิง. บทว่า โอคาหสิ โปกฺขรณึ

ความว่า ด้วยความยินดีในการอยู่ในน้ำ จึงเข้าไปยังสระทิพย์ ที่ได้ชื่อว่า

โบกขรณี เพราะโดยมาก ในนั้น มีปทุมทิพย์ ที่เรียกกันว่าโปกขระ

ในดอกไม้น้ำ ซึ่งทำด้วยรัตนะมากชนิดมีบัวแดง และบัวเขียวเป็นต้นอยู่.

บทว่า ปทุม ฉินฺทสิ ปาณินา ความว่า ท่านหักด้วยมือของท่าน ก็เพราะ

ประสงค์จะทำดอกบัวที่มีลีลาดังบัวทิพย์ ที่มีชั้นช่อและเกสรแห่งกลีบที่ทำ

ด้วยทอง ให้มีก้านทำด้วยเงิน คู่กับใบที่ทำด้วยรัตนะ คือบุษราคัม.

บทว่า ตสิเต แปลว่า กระหายน้ำ. บทว่า กิลนฺเต ได้แก่ มีกาย

ลำบาก เพราะกระหายน้ำนั้น และเพราะเมื่อยล้าในการเดินทาง. บทว่า

อุฏฺาย ได้แก่ ทำความขยันหมั่นเพียร. อธิบายว่า ไม่เกียจคร้าน.

ด้วยบทว่า โย เว เป็นต้น เทวดาเมื่อจะแสดงวิธีอนุมานสิ่งที่

ไม่เห็นกับสิ่งที่เห็นว่า แม้ชนเหล่าอื่น ก็ย่อมได้ผลเช่นนี้ เพราะบุญที่เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

แต่อุทกทาน ถวายน้ำ ที่เป็นต้นเหตุ เหมือนอย่างดีฉัน จึงกล่าวตอบ

ความที่พระเถระถามโดยทั่วไป. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส และ ต

ย่อมกินความถึงผู้ไม่การทำบุญตามที่กล่าวมาแล้วด้วย.

บทว่า อนุปริยนฺติ ได้แก่ล้อมรอบตามความเหมาะสม ด้วยการ

ล้อมรอบสถานที่อยู่ของผู้นั้น แม้ผู้นั้นก็ชื่อว่าถูกล้อมไว้ด้วย. บทว่า ติลกา

ได้แก่ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งมีดอกคล้ายดอกชบา. บทว่า อุทฺทาลกา

ได้แก่ ต้นไม้ที่ใช้กำจัดโรคลม ที่เราเรียกกันว่า ราชพฤกษ์ ก็มี.

บทว่า ต ภูมิภาเคหิ แปลว่า ด้วยภูมิภาคเช่นนั้น. อธิบายว่า

ด้วยภูมิประเทศที่มีสระโบกขรณี แม่น้ำและสวน ดังกล่าวแล้ว. บทว่า

อุเปตรูป ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นวิมานที่ควรสรรเสริญ. ท่าน

อธิบายว่า เป็นที่รวมรมณีสถานที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณีเป็นต้น

เหล่านั้น. บทว่า ภุสโสภมาน ประกอบความว่า ได้วิมานอันประ-

เสริฐสุด ซึ่งรุ่งเรืองหนักหนานัก. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปฐมนาวาวิมาน

๗. ทุติยนาวาวิมาน

ว่าด้วยนาวาวิมาน ๘

[๗] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพนารี ท่านขึ้นนั่งนาวาวิมาน อันมุง

บังด้วยทอง ลงแล่นสระโบกขรณี หักดอกปทุมด้วยมือ

กูฏาคารนิเวศของท่าน จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

เนรมิตเป็นส่วนสัด เมื่อส่องแสงก็สว่างโดยรอบ

ทั้งสี่ทิศ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้

เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน อนึ่ง โภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดาถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ดีใจ

ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ในชาติก่อน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ใน

มนุษยโลก ดีฉันได้เห็นภิกษุผู้ลำบากกายกระหายน้ำ

จึงขวนขวายถวายน้ำฉัน ท่านผู้ใดและขวนขวายได้ถวาย

น้ำฉันแก่ภิกษุผู้ลำบากกาย กระหายน้ำมา แม่น้ำ

หลายสาย มีน้ำเยือกเย็น มีสวนไม้มาก มีบุณฑริก

บัวขาวมาก ย่อมเกิดมีแก่ผู้นั้น แม่น้ำหลายสาย

ย่อมเรียงรายไหลล้อมรอบวิมานนั้นเป็นประจำ แม่น้ำ

ทั้งหลายลาดด้วยทราย มีน้ำเย็นสนิท มีต้นมะม่วง

ต้นสาละ ต้นหมากหอม ต้นชมพู่ ต้นราชพฤกษ์

และต้นแคฝอยที่ออกดอกสะพรั่ง ผู้ทำบุญไว้ย่อมได้

วิมานชั้นดีเยี่ยม ที่ประกอบด้วยภูมิภาคเช่นนั้น

สง่างามหนักหนา นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นทั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

คนทั้งหลายที่ทำบุญไว้แล้ว ย่อมได้ผลเช่นนี้ เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึง

สำเร็จแก่ดิฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่

ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ ดีฉันได้ทำบุญอันใดไว้

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบทุติยนาวาวิมาน

อรรถกถาทุติยนาวาวิมาน

ทุติยนาวาวิมาน มีคาถาว่า สุวณฺณจฺฉทน นาว เป็นต้น. ทุติย-

นาวาวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พระเถระขีณาสพ

รูปหนึ่ง เมื่อจวนวันจะเข้าพรรษา ประสงค์จะจำพรรษา ณ วัดใกล้

หมู่บ้าน จึงออกจากกรุงสาวัตถี เดินทางไกล ภายหลังฉันอาหารแล้ว

มุ่งเฉพาะหมู่บ้านนั้น ลำบากกาย กระหายน้ำ เพราะเดินทางเหนื่อย

ระหว่างทาง ถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ไม่เห็นสถานที่ที่มีร่มเงาและน้ำพร้อม

เช่นนั้น นอกหมู่บ้าน ถูกความเหน็ดเหนื่อยครอบงำ จึงห่มจีวรเข้าไป

ยังหมู่บ้าน ยืนที่ประตูเรือนหลังใกล้ ๆ นั่นแล. ณ เรือนหลังนั้น หญิง

ผู้หนึ่งเห็นพระเถระ จึงถามว่า ท่านมาแต่ไหนเจ้าคะ รู้ว่าท่านเดินทาง

เหนื่อย และกระหายน้ำ จึงกล่าวว่า มาเถิดเจ้าข้า แล้วนิมนต์ให้เข้าไปยัง

เรือน กล่าวว่า นิมนต์นั่งตรงนี้เจ้าค่ะ แล้วปูลาดอาสนะถวาย เมื่อพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

เถระนั่งเหนืออาสนะนั้นแล้ว นางก็ถวายน้ำล้างเท้าและน้ำมันชโลมเท้า

ถือพัดใบตาลพัดถวาย. เมื่อความเร่าร้อนสงบแล้ว นางก็ปรุงน้ำปานะ

หวานเย็นหอมถวาย. พระเถระดื่มน้ำปานะนั้นแล้ว ก็สงบความลำบาก

กายลง ทำอนุโมทนาแล้วก็หลีกไป. ต่อมาภายหลัง นางก็ตายไปบังเกิด

ในภพดาวดึงส์. เรื่องทั้งหมดพึงทราบว่า ก็เช่นเดียวกับวิมานในลำดับก่อน

แม้ในคาถาทั้งหลาย ก็เคยกล่าวไว้ทั้งนั้น.

ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จงกล่าวว่า ท่านพระ-

โมคคัลลานะ ถามว่า

ดูก่อนเทพนารี ท่านขึ้นเรือปิดทอง ท่าน

ลงเล่นสระโบกขรณี หักปทุมด้วยมือ. กูฏาคารนิเวศ

ของท่าน จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตเป็น

ส่วนสัด เมื่อส่องแสงก็ส่องสว่างรอบสี่ทิศ. เพราะ

บุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญ

อะไร ผลนี้จิตสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่าง

ที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกท่านพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหา โดยอาการที่ท่านถึงกรรม

ที่มีผลดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ในชาติก่อน

ในมนุษยโลก ดีฉันพบพระภิกษุที่ลำบากกาย กระหาย

น้ำ จึงขวนขวายถวายน้ำให้ท่านดื่ม. ผู้ใดแล ขวน-

ขวายถวายน้ำแก่พระภิกษุผู้ลำบากกาย กระหายน้ำ

ให้ท่านดื่ม แม่น้ำหลายสาย ที่มีน้ำเย็น มีสวนไม้

มากมีบัวขาวมากย่อมเกิดมีแก่ผู้นั้น แม่น้ำที่มีหลายสาย

ย่อมรายล้อมวิมานนั้นเป็นประจำ มีแม่น้ำที่มีน้ำเย็น

ลาดด้วยทราย มีมะม่วง สาละ หมากหอม หว้า

ราชพฤกษ์ และแคฝอยที่มีดอกบานสะพรั่ง. คนทำ

บุญแล้ว ย่อมได้วิมานอันประเสริฐสุด ที่ประกอบ

ด้วยภูมิภาคเช่นนั้น อันสง่างามหนักหนา นี้เป็นผล

ของกรรมนั้นเท่านั้น ผู้ทำบุญแล้วย่อมได้รับผลเช่นนี้.

เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้ เพราะ

บุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่าง

ที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้กระทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

แม้บรรดาอรรถกถาทั้งหลาย ในอรรถกถานี้ ก็ต้องกล่าวว่า เอโกว

เถโร พระเถระรูปหนึ่งเหมือนกัน.

จบอรรถกถาทุติยนาวาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

๘. ตตินาวาวิมาน

ว่าด้วยนาวาวิมาน ๓

[๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ดูก่อนเทพนารี ท่านขึ้นนั่งนาวาวิมาน อันมุง

บังด้วยทอง ลงเล่นสระโบกขรณี หักดอกปทุมด้วย

มือ กูฏาคารนิเวศของท่าน จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประ-

หนึ่งเนรมิตเป็นส่วนสัด เมื่อส่องแสงก็สว่างไปโดย

รอบทั้งสี่ทิศ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้

เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ตถาคตขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถาม

แล้วดีใจ ครั้นแล้วก็ทูลตอปัญหาของกรรมที่มีผล

อย่างนี้ว่า

ในชาติก่อน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์

ในมนุษยโลก ข้าพระองค์ได้เห็นภิกษุหลายรูป ลำ-

บากกาย กระหายน้ำ จงขึ้นขวายถวายน้ำฉัน

ผู้ใดแล ขวนขวายได้ถวายน้ำฉัน แก่ภิกษุทั้งหลาย

ผู้ลำบากกาย กระหายน้ำมา แม่น้ำหลายสาย มีน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

เยือกเย็น มีสวนไม้มาก มีบุณฑริกบัวขาวมาก ย่อม

เกิดแก่ผู้นั้น แม่น้ำหลายสาย ย่อมเรียงรายไหล

ล้อมรอบวิมานนั้นประจำ มีแม่น้ำทั้งหลาย ลาดด้วย

ทราย น้ำเย็นสนิท มีต้นมะม่วง ต้นสาละ ต้น

หมากหอม ต้นชมพู่ ต้นราชพฤกษ์ และต้น

แคฝอย ที่ออกดอกสะพรั่ง คนทำบุญก็ย่อมได้วิมาน

ดีเยี่ยมงาม ที่ประกอบด้วยภูมิภาคเช่นนั้น สง่างาม

นักหนา นี้เป็นวิบากแห่งกรรมนั้นทั้งนั้น คนทั้งหลาย

ที่ทำบุญไว้แล้ว ย่อมได้ผลเช่นนี้ กูฏาคารนิเวศของ

ข้าพระองค์ จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิต

เป็นสัดส่วน เมื่อส่องแสงก็สว่างโดยรอบทั้งสี่ทิศ

เพราะบุญนั้น ข้าพระองค์จึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะ

บุญูนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพระองค์ และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิดแก่ข้าพระองค์ เพราะบุญนั้น

ข้าพระองค์จึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของข้าพระองค์จึงสว่างไสวไปทุกทิศ นี้เป็นผลแห่ง

กรรมนั้น ของข้าพระองค์ เพราะพระพุทธเจ้าเสวย

น้ำดื่ม เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์โดยแท้.

จบตติยนาวาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

อรรถกถาตติยนาวาวิมาน

ตติยนาวาวิมาน มีคาถาว่า สุวณฺณจฺฉทฺน นาว เป็นต้น. ตติย-

นาวาวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จจาริกไปในชนบท พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่

เสด็จถึงตำบลบ้านพราหมณ์ ชื่อ ถูณะ แคว้นโกศล. พวกพราหมณ์

คหบดีชาว ถูณะ ได้ยินมาว่า เขาว่าพระสมณโคดมเสด็จถึงเขตบ้านของ

พวกเราแล้ว. ครั้งนั้น พราหมณคหบดีชาว ถูณะ. ที่ไม่เลื่อมใส เห็นผิด

ตระหนี่เป็นปกติ คิดกันว่า ถ้าพระสมณโคดมเข้าบ้านนี้ประทับอยู่ ๒-๓

วัน ก็จะพึงทำชนนี้ทั้งหมดให้อยู่ในถ้อยคำของพระองค์ แต่นั้น พราหมณ-

ธรรม [ลัทธิ ธรรมเนียม ประเพณี] ก็จะไม่ได้ที่พึ่งพาอาศัย จึงพา

กันขวนขวาย จะไม่ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในบ้านตำบลนั้น

ช่วยกันนำเรือที่เขาพักไว้ที่ท่าน้ำ ออกไปเสีย [ไม่ให้ข้าม] ช่วยกันสร้าง

สะพานทางเดินและแพไว้ ทั้งสร้างโรงประปาเป็นต้นไว้ด้วย ในหมู่บ้าน

ตำบลนั้น เว้นบ่อน้ำไว้บ่อเดียว บ่อน้ำนอกนี้ ก็ช่วยกันเอาหญ้าเป็นต้น

ถมให้เต็มแล้วปิดเสีย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในคัมภีร์อุทานว่า

ครั้งนั้นแล พราหมณคหบดีชาว ถูณะ พากันเอาหญ้าและฟางถมบ่อน้ำ

จนถึงปากบ่อ ด้วยประสงค์ว่า ขอสมณะโล้นเหล่านั้น อย่าได้ดื่มน้ำเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบอาการวิปริตของคนเหล่านั้น ทรง

เอ็นดูพวกเขา จึงพร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ข้ามแม่น้ำไปทางอากาศ เสด็จ

ไปถึง ถูณะ พราหมณคาม ตามลำดับ ทรงแวะออกจากทางประทับนั่ง

เหนืออาสนะที่จัดไว้ ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง. สมัยนั้น หญิงทาสีเทินหม้อน้ำ

จำนวนมาก เดินผ่านไปไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า. ในหมู่บ้านตำบลนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

เขาทำกติกานัดหมายกันไว้ว่า ถ้าพระสมณโคดมจักเสด็จมา ณ ที่นี้ ไม่พึง

ทำการต้อนรับพระองค์เป็นต้น. พระสมณโคดมและเหล่าสาวกมาถึงเรือน

ก็ไม่พึงถวายแม้แต่อาหาร.

หญิงทาสีภริยาของพราหมณ์คนหนึ่ง ในหมู่บ้านตำบลนั้น เดินถือ

หม้อน้ำ พบพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง แวดล้อมด้วยหมู่ภิกษุ รู้ว่า

หมู่ภิกษุลำบากกาย กระหายน้ำ เพราะเดินเหนื่อยมา มีจิตเลื่อมใส

ประสงค์จะถวายน้ำดื่ม จึงตกลงใจว่า ถึงหากว่า ชาวบ้านของเราจะตั้ง

กติกากันไว้ว่า ไม่พึงถวายสิ่งไร ๆ ไม่พึงทำสามีจิกรรมแก่พระสมณโคดม

ดังนี้ แม้เมื่อเป็นดังนั้น ผิว่าเราได้พระทักขิไณยบุคคล ซึ่งเป็นบุญเขต

เช่นนี้แล้ว ไม่ทำที่พึ่งแก่ตน แม้ด้วยเพียงถวายน้ำดื่มไซร้ ครั้งไรเล่า

เราจึงจักหลุดพ้นจากชีวิตลำเค็ญนี้ได้ นายของเรา ทั้งชาวบ้านเราทั้งหมด

จะฆ่า จะจองจำเราก็ตามทีเถิด เราจักถวายปานียทาน น้ำดื่ม ในบุญเขต

เช่นนี้ละ แม้จะถูกเหล่าทาสีที่เทินหม้อน้ำ คนอื่น ๆ จะห้ามปราม ก็ไม่

อาลัยในชีวิต ลดหม้อน้ำลงจากศีรษะ ประคองด้วยมือทั้ง ๒ แล้ววาง

ลง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง เกิดปีติโสมนัส เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นิมนต์ให้เสวยน้ำดื่ม. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงเห็นจิตเลื่อมใสของนาง เมื่อจะทรงอนุเคราะห์นาง จึงทรง

กรองน้ำล้างพระหัตถ์และพระบาทแล้วจึงเสวยน้ำดื่ม. น้ำในหม้อมิได้

หมดสิ้นไปเลย. นางเห็นแล้วก็มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายแก่ภิกษุรูปหนึ่งอีก

ได้ถวายแก่ภิกษุอื่น ๆ จนครบทุกรูป. น้ำก็มิได้สิ้นเปลืองหมดไป. นาง

ร่าเริงยินดี ยกหม้อที่เต็มน้ำอย่างเดิม เดินมุ่งหน้าไปยังเรือน. พราหมณ์

สามีของนางรู้ว่า นางถวายน้ำดื่ม เข้าใจว่าหญิงคนนี้ทำลายธรรมเนียมบ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

เสียแล้ว เราก็ต้องถูกครหาแน่ละ ก็โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ จึงตบตีทั้ง

ต่อยทั้งเตะนางล้นกลิ้งไปที่พื้น เพราะความพยายามนั้น นางก็สิ้นชีวิต

ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์. วิมานอย่างเดียวกับที่กล่าวไว้ในปฐมนาวาวิมาน

ก็เกิดแก่นาง.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเรียกท่านพระอานนท์มาตรัส

สั่งว่า อานนท์ เธอจงนำน้ำจากบ่อมาให้เราทีเถิด. พระเถระทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ชาวถูณะถมบ่อน้ำเสียแล้ว ไม่อาจนำน้ำมา

ถวายได้ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงใช้ทั้งครั้งที่สอง ทั้งครั้ง

ที่สาม. ในครั้งที่สาม พระเถระถือบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า เดิน

บ่ายหน้าไปยังบ่อน้ำ เมื่อพระเถระกำลังเดินไป น้ำในบ่อก็เต็มล้นไหล

ไปโดยรอบ. หญ้าฟางทั้งหมดก็ลอยไหลออกไปเอง. น้ำที่ไหลนั้นก็เพิ่ม

สูงขึ้น ๆ เต็มแหล่งน้ำแห่งอื่น ๆ ล้อมหมู่บ้านตำบลนั้น ท่วมพื้นที่หมู่บ้าน

ไว้. พวกพราหมณ์เห็นปาฏิหาริย์นั้น ก็เกิดอัศจรรย์จิตไม่เคยมี จึงขอ

ขมาพระผู้มีพระภาคเจ้า. น้ำหลากหลายก็หายวับไปทันที. พราหมณ์

เหล่านั้นจัดแจงสถานที่อยู่สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า และหมู่ภิกษุ นิมนต์

เพื่อเสวยในวันพรุ่ง พอรุ่งขึ้น ก็จัดมหาทาน เลี้ยงดูหมู่ภิกษุมีพระพุทธเจ้า

เป็นประธาน ด้วยของเคี้ยวของกินอันประณีต. พราหมณ์คหบดีชาวถูณะ

ทุกคน เข้าไปนั่งเฝ้าใกล้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งเสวยเสร็จชักพระหัตถ์

ออกจากบาตรแล้ว. สมัยนั้น เทวดาองค์นั้น พิจารณาสมบัติของตน

ทบทวนถึงเหตุแห่งสมบัตินั้น ก็รู้เหตุนั้นว่า ปานียทาน ถวายน้ำดื่ม

เกิดปีติโสมนัสว่า เอาเถิด เราจักถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าเดี๋ยวนี้

แหละ เกิดความอุตสาหะว่า จำเราจักการทำความที่สักการะแม้เล็กน้อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

ที่ทำให้ท่านผู้ปฏิบัติชอบ มีผลอันโอฬาร และปรากฏตัวในมนุษยโลก

จึงมีอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวารมาพร้อมกับวิมาน ที่ประกอบด้วยอุทยาน

เป็นต้น ด้วยเทวฤทธิ์ ด้วยเทวานุภาพอันใหญ่ยิ่ง ทั้งที่หมู่มหาชนเห็น ๆ

อยู่นั้นแหละ ลงจากวิมานเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว

ยืนประคองอัญชลีอยู่. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระพุทธประสงค์

จะประกาศผลกรรมให้ประจักษ์แก่บริษัทนั้น จึงตรัสถามเทวดาองค์นั้น

ด้วย ๔ คาถาว่า

ดูก่อนเทพนารี เจ้าขั้นนาวาวิมานปิดทอง เจ้า-

ลงเล่นสระโบกขรณี หักดอกปทุมด้วยมือ ถูฏาคาร

นิเวศของเจ้า จัดไว้พิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตเป็น

สัดส่วน เมื่อส่องแสงก็ส่องแสงสว่างโดยรอบสี่ทิศ.

เพราะบุญอะไร วรรณะของเจ้าจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่เจ้า และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่เจ้า.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ตถาคตขอถามเจ้า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์เจ้าได้ทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร

เจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของเจ้า

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ. พระสังคีติกาจารย์กล่าวว่า

เทวดาองค์นั้นดีใจ ถูกพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ตรัสถาม ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผล

อย่างนี้. คาถาที่เทวดากล่าวตอบมีว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ในชาติก่อน

ในมนุษยโลก ข้าพระองค์ พบภิกษุทั้งหลาย ลำบาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

กาย ระหายน้ำ จึงได้ขวนขวายถวายน้ำให้ท่านดื่ม

ผู้ใดแลขวนขวายถวายน้ำ แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้ลำบาก

กาย กระหายน้ำ ให้ท่านดื่ม. แม่น้ำหลายสาย

ที่มีน้ำเย็น มีสวนไม่มาก มีบุณฑริกบัวขาวมาก

ย่อมเกิดมีแก่ผู้นั้น. แม่น้ำหลายสาย ย่อมเรียงราย

ไหลล้อมวิมานนั้นเป็นประจำ มีแม่น้ำ ที่มีน้ำเย็น

ลาดด้วยทราย มีมะม่วง สาละ หมากหอม

หว้า ราชพฤกษ์ และแคฝอยที่ออกดอกสะพรั่ง

ผู้คำบุญแล้วย่อมได้วิมานอันประเสริฐสุด ที่ประกอบ

ด้วยภูมิภาคเช่นนั้น ซึ่งงดงามนักหนา นี้เป็นผล

ของกรรมนั้น ทั้งนั้น คนที่ทำบุญแล้ว ย่อมได้ผล

เช่นนี้.

กูฏาคารนิเวศ ของข้าพระองค์ จัดไว้พิมพ์

เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตเป็นสัดส่วน เมื่อส่องแสง

จึงสว่างไปรอบทั้งสี่ทิศ. เพราะบุญนั้น วรรณะของ

ข้าพระองค์จึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จ

แก่ข้าพระองค์ และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิด

แก่ข้าพระองค์. เพราะบุญนั้น ข้าพระองค์จึงมี

อานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ วรรณะของข้าพระองค์ จึง

สว่างใสไปทุกทิศ. นี้เป็นผลแห่งกรรมนั้น ของ

ข้าพระองค์ เพราะพระพุทธองค์ เสวยน้ำดื่ม เพื่อ

ประโยชน์แต่ข้าพระองค์โดยแท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

ในคาถานั้น ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม เทวดาองค์นั้น

ยังมิได้ขึ้นเรือนั้น ยังมิได้ลงเล่นสระโบกขรณี ทั้งยังมิได้หักดอกปทุม

ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น เทวดาองค์นั้น ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน

ถึงอานุภาพของกรรม ก็ยังขวนขวายจะอยู่ในน้ำเสมอ ๆ จึงกระทำอย่างนั้น

เพราะฉะนั้น ท่านกล่าวไว้ก็โดยจะแสดงการตัดกิริยา [การการทำ] นั้น

ออกไปเสีย ก็ความข้อนี้ มิใช่จะพึงเห็นในคติยนาวาวิมานนี้แห่งเดียว

เท่านั้น ที่แท้ แม้ในวิมานหนหลัง ๆ ก็พึงเห็นอย่างนี้เหมือนกัน.

บทว่า กูฏาคารา ได้แก่ มีคฤหาสน์ติดช่อฟ้าอันทำด้วยทอง. บทว่า

นิเวสา แปลว่า นิเวศน์. อธิบายว่า กูฏาคาร [ส่วนตัว] ทั้งหลาย.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิภตฺตา ภาคโส มิตา.

จริงอยู่ กูฏาคารเหล่านั้น เป็นศาลาสี่หลัง มีรูปจัดจำแนก ประหนึ่ง

แบบพิมพ์ของกันและกัน ประหนึ่งกำหนดไว้เป็นส่วนสัด เพราะมีขนาด

เท่ากัน. บทว่า ททฺทลฺลมานา แปลว่า เมื่อส่องแสง. บทว่า อาภนฺติ

ได้แก่ ส่องแสงสว่าง ด้วยข่ายรัศมีทองแกมแก้วมณี. ด้วยบทว่า ภิกฺขู

เทวดากล่าวหมายถึงหมู่ภิกษุ ที่มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.

คำว่า มม นี้ เพ่งคำต้นและคำหลัง ประกอบความในคำนี้ อย่างนี้ว่า

แห่งกรรมของข้าพระองค์ เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์. คำว่า อุทก

อปายิ เทวดากล่าวถึงอุทกทานถวายน้ำนี้ใด ทิพยสมบัติก็เป็นผลแห่งบุญ

กรรมนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงเป็นทักขิไณยบุคคลเลิศ

ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ได้เสวยน้ำที่ข้าพระองค์ถวายแล้ว ก็เพื่อ

ประโยชน์แก่ข้าพระองค์. คำที่เหลือก็มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงการทำพระธรรมเทศนาเป็น สามุกฺ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

กสิกา [ยกขึ้นแสดงเอง] ก็ทรงประกาศสัจจะ ๔ แก่เทวดา ผู้มีใจ

เลื่อมใสแล้ว ด้วยประการฉะนี้ จบเทศนา เทวดาองค์นั้นก็ตั้งอยู่ใน

โสดาปัตติผล. พระธรรมเทศนาได้เป็นประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุม

กันด้วย.

จบอรรถกถาตติยนาวาวิมาน

๙. ปทีปวิมาน

ว่าด้วยปทีปวิมาน

[๙] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสง

สว่างไปทุกทิศ เหมือนกับดาวประกายพรึก เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร

ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก

จึงเกิดแก่ท่าน เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีรัศมีสุกใส

รุ่งโรจน์ล้ำเทวดาทั้งหลาย เพราะบุญอะไร ทุกทิศ

จึงสว่างไสวจากทุกส่วนร่างกายของท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองถึงเช่นนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะซักถามแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผล

อย่างนี้ว่า

ในชาติก่อน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์

ในมนุษยโลก ดีฉันได้จุดประทีปถวาย คราวที่ควร

จุดประทีปในเวลาค่ำคืนมืดมิด อันว่าผู้ใด จุดประทีป

ถวายคราวที่ควรจุดประทีปในเวลาค่ำคืนมืดมิด วิมาน

อันมีรัศมีโชติช่วง มีสวนไม้มาก มีบุณฑริกบัวขาว

มาก ย่อมเกิดแก่ผู้นั้น เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉัน

จึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน

และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิดแก่ดีฉัน เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีรัศมีสุกใสรุ่งโรจน์ล้ำเทวดาทั้งหลาย

ทุกทิศจึงสว่างไสวจากทุกส่วนของร่างกายดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้ เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบปทีปวิมาน

อรรถกถาปทีปวิมาน

ปทีปวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น. ปทีปวิมาน

นั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่กรุงสาวัตถี วันอุโบสถ พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

อุบาสกเป็นจำนวนมาก รักษาอุโบสถก่อนอาหาร ถวายทานตามสมควร

แก่ทรัพย์สมบัติ กินอาหารแต่เช้า นุ่งผ้าสะอาด ห่มผ้าสะอาด ถือของ

หอมและดอกไม้เป็นต้น หลังอาหารแล้วก็ไปวิหาร เข้าไปนั่งใกล้พวก

ภิกษุที่น่าสรรเสริญ เวลาเย็นก็ฟังธรรม. เมื่ออุบาสกเหล่านั้น ซึ่งประสงค์

จะอยู่ในวิหาร กำลังฟังธรรมอยู่นั่นแล ดวงอาทิตย์ตก ก็เกิดมืด ณ วิหาร

นั้น หญิงผู้หนึ่งคิดว่า สมควรทำแสงประทีปในบัดนี้ ก็ไปนำเครื่องประทีป

มาจากเรือนของตน จุดประทีปขึ้น ตั้งไว้หน้าธรรมาสน์ แล้วก็ฟังธรรม.

ด้วยปทีปทานนั้น นางดีใจ เกิดปีติโสมนัส ไหว้แล้วก็กลับบ้าน ต่อมา

นางตาย ไปบังเกิดในวิมานโชติช่วง ณ ภพดาวดึงส์. ความงามแห่งเรือน

ร่างของนาง มีรัศมีซ่านออกไปอย่างยิ่ง ส่องสว่างไปทั้งสิบทิศข่มเทวดา

องค์อื่น ๆ. ต่อมาวันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวจาริกไป คำ

ทั้งหมดดังว่ามานี้ พึงทราบนัยที่มาแล้วในหนหลังนั่นแล. แต่ในปทีป-

วิมานนี้ พระเถระถามด้วย ๔ คาถาว่า

ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสงสว่าง

ไปทุกทิศ ดุจดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร

วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้

จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด

แก่ท่าน. เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีรัศมีสุกใส รุ่ง-

โรจน์ล้ำเทวดาทั้งหลาย เพราะบุญอะไร ทุกทิศจึง

สว่างไสวจากสรรพางค์กายของท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ท่านครั้งเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่าน

จึงสร่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดาองค์นั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะ

ถาม ครั้นแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผล

อย่างนี้.

เทวดากล่าวตอบว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ในชาติก่อน

ในมนุษยโลก ดีฉันได้จุดประทีปถวายคราวที่ควรจุด

ประทีปในเวลาค่ำคืนมืดมิด ผู้ใดจุดประทีปถวายคราว

ที่ควรจุดประทีปในเวลาค่ำคืนมืดมิด วิมานที่โชติ-

ช่วง มีสวนไม้มาก มีบุณฑริกบัวขาวมาก ย่อมเกิด

แก่ผู้นั้น.

เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิดแก่ดีฉัน เพราะบุญนั้น ดีฉัน

จึงมีรัศมีสุกใส รุ่งโรจน์ล้ำเทวดาทั้งหลาย. เพราะ

บุญนั้น ทุกทิศจึงสว่างไสวจากสรรพางค์กายของ

ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันครั้งเกิด

เป็นมนุษย์ ได้ทำบุญใดไว้ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึง

มีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของดีฉันจึง

สว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน นี้ อภิก-

กันตศัพท์ มาในอรรถว่าสิ้นไป ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อภิกฺกนฺตา ภนฺเต

รตฺติ นิกฺขนฺโต ปโม ยาโม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีสิ้นไปแล้ว

ปฐมยามล่วงไปแล้ว. มาในอรรถว่าดี ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อย อิเมส

จตุนฺน ปุคฺคลาน อภิกฺกนฺตตโร จ ปณีตตโร จ บุคคลผู้นี้ดีกว่า ประณีต

กว่า บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้. มาในอรรถว่า ยินดีนักหนา ได้ในบาลี

เป็นต้นว่า อภิกฺกนต ภนฺเต อภิกฺกนฺต ภนฺเต ไพเราะจริง พระเจ้าข้า

ไพเราะจริง พระเจ้าข้า. มาในอรรถว่างามได้ในบาลีเป็นต้นว่า อภิกฺกนฺเตน

วณฺเณน สพฺพา โอภาสย ทิสา มีวรรณะงาม ส่องสว่างไปทุกทิศ.

แม้ในที่นี้พึงเห็นว่า มาในอรรถว่า งามอย่างเดียว. บทว่า วณฺเณน

แปลว่า มีผิวพรรณ. บทว่า โอภาเสนฺติ ทิสา สพฺพา ได้แก่ ส่องแสง

สิบทิศทั้งหมด ทำให้สว่างเป็นอันเดียวกัน. ถามว่า ท่านกล่าวว่าเหมือน

อะไร. ตอบว่า เหมือนดาวประกายพรึก. ดวงดาวที่ได้ชื่อว่า โอสธี

ประกายพรึก เพราะมีรัศมีหนา อันรัศมีนั้นตั้งไว้ หรือเพราะรัศมีเพิ่ม

พลังแก่ดาวประกายพรึกทั้งหลาย กระทำแสงสว่างโดยรอบตั้งอยู่ ฉันใด

ท่านก็ส่องสว่างไปทุกทิศตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน.

บทว่า สพฺพคตฺเตหิ ได้แก่ จากอวัยวะของเรือนร่างทุกอวัยวะ.

อธิบายว่า ส่องสว่าง เพราะทั่วอวัยวะน้อยใหญ่. คำนี้เป็นตติยาวิภัตติ

ใช้ในเหตุ. บทว่า สพฺพา โอภาสเต ทิสา ได้แก่ สิบทิศสว่างไปทั้งหมด.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โอภาสเร ดังนี้ก็มี. คำว่า เตส สพฺพา ทิสา นี้

พึงเห็นว่าเป็นพหุวจนะ.

บทว่า ปทีปกาลมฺหิ แปลว่า ในเวลาทำประทีป คือเวลาควรจุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

ประทีป. อธิบายว่า เวลามืดค่ำ. ด้วยเหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า โย

อนฺธการมฺหิ ติมีสิกาย อธิบายว่า ในเวลามืดมิดมาก. บทว่า ททาติ

ทีป ได้แก่ ตามหรือไม่ตามประทีป ถวายเป็นปทีปทาน. บริจาคเครื่อง

อุปกรณ์ประทีปอุทิศพระทักขิไณยบุคคล. บทว่า อุปฺปชฺชติ โชติรส

วิมาน ได้แก่ วิมานอันโชติช่วง ย่อมเกิดขึ้นโดยการถือปฏิสนธิ. คำที่

เหลือ มีนัยดังกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

ครั้งนั้น เมื่อเทวดากล่าวตอบข้อความ ตามที่พระเถระถามแล้ว

พระเถระนำถ้อยคำนั้นนั่นแล ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง รู้ว่านางมี

จิตเหมาะควรเป็นต้น เพราะกถาว่าด้วยทานเป็นอาทิ จึงประกาศสัจจะ ๔

จบสัจจะ เทวดาองค์นั้นกับบริวารก็ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล. พระเถระ

กลับจากเทวโลกแล้ว ก็กราบทูลเรื่องนั้น ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. และ

เพราะเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร แก่

บริษัทที่ประชุมกัน. เทศนานั้น ก็เกิดประโยชน์แก่มหาชน. โดยเฉพาะ

อย่างยิ่ง มหาชนก็ได้เคารพในปทีปทานแล.

จบอรรถกถาปทีปวิมาน

๑๐. ติลทักขิณวิมาน

ว่าด้วยติลทักขิณวิมาน

[๑๐] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสงสว่าง

ไปทุกทิศ เหมือนกับดาวประกายพรึกฉะนั้น เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้

จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้น

แก่ท่าน เพราะบุญอะไร ท่านมีรัศมีสุกรสรุ่งโรจน์ล้ำ

เทวดาทั้งหลาย เพราะบุญอะไร ทุกทิศจึงสว่างไสว

จากทุกส่วนร่างกายของท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาของถามท่าน

ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ ท่านได้ทำบุญอะไร จึงมีอานุภาพ

รุ่งเรืองถึงเช่นนี้ และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไป

ทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะซักถามแล้ว

ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมทั้งมีผลอย่าง

นี้ว่า

ในชาติก่อน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์

ในมนุษยโลก ดีฉันได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก

กิเลสดุจธุลี ผ่องใสไม่มัวหมอง ก็เลื่อมใสทั้งที่มิได้

ตั้งใจจะถวาย ก็ได้ถวายเมล็ดงาเป็นทาน อย่าง

กะทันหัน แด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระทักขิไณยบุคคล

ด้วยมือตนเอง เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุก

อย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบติลทักขิณวิมาน

อรรถกถาติลทักขิณวิมาน

ติลทักขิณวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น. ติล-

ทักขิณวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถ-

บิณฑิกะ กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์ หญิงผู้หนึ่งมีครรภ์ อยาก

จะดื่มน้ำมันงา จึงล้างเมล็ดงาแล้วให้ตากแดดไว้ แต่หญิงผู้นั้น หมดอายุ

แล้ว ธรรมดาจะต้องจุติในวันนั้น เพราะกรรมของนาง ที่จะให้ไปนรก

คอยโอกาสอยู่แล้ว. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลกเวลา

ใกล้รุ่ง ทรงเห็นนางด้วยทิพยจักษุ ทรงพระดำริว่า วันนี้ หญิงผู้นี้จักตาย

ไปบังเกิดในนรก ถ้ากระไร เราพึงท่านางให้ไปสวรรค์ด้วยการรับอาหาร

คืองา. พระองค์ก็เสด็จจากกรุงสาวัตถี ถึงกรุงราชคฤห์ ขณะนั้นนั่นเอง

เวลาเช้าทรงนุ่งแล้ว ก็ทรงถือบาตรและจีวรเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์

เสด็จถึงประตูเรือนของนางโดยลำดับ. หญิงผู้นั้น เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

เกิดปีติโสมนัส รีบลุกขึ้นประคองอัญชลีประนม ไม่เห็นสิ่งอื่นที่ควรถวาย

ล้างมือเท้าแล้ว ตะล่อมงาเป็นกอง กอบด้วยมือทั้ง ๒ เกลี่ยงาเต็มอัญชลี

ลงในบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายบังคม. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงอนุเคราะห์นางจึงตรัสว่า จงเป็นสุขเถิด แล้วเสด็จกลับไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

เวลาใกล้รุ่งของคืนนั้น นางก็ตายไปบังเกิดในวิมานทอง สิบสองโยชน์

ภพดาวดึงส์เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลาน-

เถระเที่ยวเทวจาริกเข้าไปหาโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง ถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสง

สว่างไปทุกทิศ ประหนึ่งดาวประกายพรึก เพราะ

บุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญ

อะไร ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่

น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้. จึง

กล่าวตอบว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ในชาติก่อน

ในมนุษยโลก ดีฉันได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้ปราศจาก

กิเลสดุจธุลีผ่องใสไม่มัวหมอง เลื่อมรสแล้ว ไม่ต้อง

การงาอีกละ จึงรวบรวมทักษิณาไทยธรรม คืองา

ถวายเห็นทาน แด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นทักขิไณยบุคคล

ด้วยมือตนเอง.

เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนั้น

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดิฉัน และโภคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ดีฉันครั้งเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญใด เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

อาสัชช ศัพท์นี้ว่า อาสชฺช ในคาถากล่าวตอบนั้นมาในอรรถว่า

กระทบ, เสียดสี ได้ในบาลีเป็นต้นว่า อาสชฺช น ตถาคต เสียดสี

พระตถาคตนั้น. มาในอรรถว่าประชุม. รวบรวม ได้ในบาลีเป็นต้นว่า

อาสชฺช ทาน เทติ รวบรวมถวายทาน. แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่ามาใน

อรรถว่ารวบรวมเท่านั้น. เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า รวบรวมแล้ว มาถึง

แล้วโดยความพร้อมเพรียง. ด้วยเหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า อกามา.

จริงอยู่ เทวดาองค์นั้นไม่ได้คิดจะถวายทานมาก่อน ก่อนที่จะจัดหาไทย-

ธรรมหมายเอาติลทาน ไทยธรรมคืองาที่เป็นไปอย่างฉุกละหุก ในพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเสด็จมาถึงอย่างกะทันหัน จึงกล่าวว่า อาสชฺช ทาน

อทาสึ อกามา ติลทกฺขิณ ไม่ต้องการงาอีกละ จึงรวบรวมทักขิณา

[คือไทยธรรม] ถวายเป็นทาน. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาติลทักขิณวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

๑๑. ปฐมปติพพตาวิมาน

ว่าด้วยปติพพตาวิมาน ๑

[๑๑] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก นกกระเรียน นก

ยูงทอง หงส์ นกดุเหว่า ซึ่งล้วนเป็นทิพย์ ส่งเสียง

อย่างไพเราะ ชุมนุมกันอยู่ วิมานนี้ดาดาษด้วยดอกไม้

สด งดงามมาก เทพบุตรและเทพธิดามาคบหากับท่าน

นั่งอยู่ในวิมานนั้น เหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ สำแดงฤทธิ์

มีรูปแปลก ๆ กันเป็นอันมาก อัปสรเหล่านี้ฟ้อนรำ

ขับร้องอยู่รอบข้าง ให้ท่านบันเทิงอยู่.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ท่านก็ได้เทพฤทธิ์

ครั้งเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพมากรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของ

ท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกพระโมคัลลานะซักถามแล้ว

ดีใจ ก็ได้พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดีฉันได้เป็นผู้

ปฏิบัติซื่อตรงต่อสามี ไม่ประพฤตินอกใจ ถนอมใจ

สามี เหมือนกันมารดาถนอมบุตร แม้ดีฉันจะโกรธ

ไม่กล่าวคำหยาบ ละการพูดเท็จ ดำรงมั่นอยู่ใน

ความสัตย์ยินดีในการให้ทาน ชอบอุทิศตนสงเคราะห์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

ผู้อื่น มีใจเลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าวและน้ำ ได้ถวาย

ทานอันไพบูลย์โดยความเคารพ เพราะบุญนั้น ดีฉัน

จึงมีวรรณะอย่างนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่

ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้ เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของดีฉันจึงสว่างไหวไปทุกทิศ.

จบปฐมปติพพตาวิมาน

อรรถปฐมปติพพตาวิมาน

ปฐมปติพพตาวิมาน มีคาถาว่า โกญฺจา มยุรา ทิวิยา หสา

เป็นต้น. ปฐมปติพพตาวิมาน เกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน กรุงสาวัตถี. ในกรุง

สาวัตถีนั้น สตรีผู้หนึ่งได้เป็นผู้ปฏิบัติสามี นางคล้อยตามสามี อดทน

ถือโอวาทสามีโดยเคารพ แม้โกรธก็ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่พูดคำหยาบ

พูดแต่เรื่องจริง มีความเชื่อและเลื่อมใส และให้ทานตามควรแก่ทรัพย์

สมบัติ นางเกิดเป็นโรคบางอย่าง ก็ตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์. ต่อมา

ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวจาริกไป โดยนัยก่อน ๆ นั่นแล พบเทว-

ธิดาองค์นั้น ซึ่งกำลังเสวยสมบัติอย่างใหญ่ จึงเข้าไปใกล้ ๆ. เทวธิดา

องค์นั้น มีอัปสรพันหนึ่งแวดล้อม มีอัตภาพประดับด้วยเครื่องอลังการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

มีภาระประมาณ ๖๐ เล่มเกวียน ไหว้ด้วยเศียรเกล้า [ค้อมศีรษะ] ใกล้ ๆ

เท้าพระเถระแล้วยืน ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. แม้พระเถระ เมื่อจะถามบุญ

กรรมที่นางทำไว้ จึงกล่าวว่า

นกกระเรียน นกยูง หงส์ และดุเหว่า ล้วน

เป็นทิพย์ ส่งเสียงไพเราะ. ชุมนุมกันอยู่. วิมานนี้

ดาดาษด้วยปุปผชาติ. น่ารื่นรมย์ วิจิตรเป็นอันมาก

ทั้งเทพบุตรทั้งเทพธิดาก็มาคบหาสมาคมกัน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ท่านนั่งอยู่ในวิมาน

นี้ เหล่าเทพผู้มีฤทธิ์ ก็สำแดงฤทธิ์ มีรูปเป็นอันมาก

และเทพอัปสรเหล่านี้ ก็ฟ้อนรำขับร้องและรื่นเริงกัน

รอบ ๆ ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ท่านก็บรรลุเทว-

ฤทธิ์แล้ว ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดาองค์นั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะ

ถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาโดยอาการที่ท่านถาม ถึง

กรรมที่มีผลดังนี้.

เทวดาองค์นั้น กล่าวตอบว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ดีฉันซื่อตรงต่อ

สามี ไม่นอกใจ ถนอมใจสามีเหมือนมารดาถนอม

บุตร ดีฉันแม้โกรธ ก็ไม่กล่าวคำหยาบ ดีฉันตั้งอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

ในสัจจะ ละคำเท็จ ยินดีในทาน ชอบอุทิศตน

สงเคราะห์คนอื่น มีจิตเลื่อมใส [ ในพระรัตนตรัย ]

เมื่อบริจาคข้าวน้ำ ก็ได้ถวายเป็นทานอย่างไพบูล

โดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ดีฉันครั้งเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญใด เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองเช่นนี้ และวรรณะ

ของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกญฺจา แปลว่า นกกระเรียน ที่อาจารย์

บางพวกเรียกว่า นกกระไน ก็มี. บทว่า มยุรา แปลว่า นกยูง. บทว่า

ทิวิยา แปลว่า ที่เป็นทิพย์. จริงอยู่ บทนี้ ควรประกอบเข้า ๔ บทโดยนัย

ว่า ทิวิยา โกญฺจา นกกระเรียนทิพย์ ทิวิยา มยุรา นกยูงทิพย์ เป็นต้น.

บทว่า หสา ได้แก่ หงส์ มีหงส์ทอง เป็นต้น. บทว่า วคฺคุสฺสรา แปลว่า

มีเสียงเพราะ. บทว่า โกกิลา ได้แก่ นกดุเหว่า [กายขาวดำ]. บทว่า

สมฺปตนฺติ ได้แก่ เล่นระเริงบินร่อนไปรอบๆ เพื่อความอภิรมย์แห่งเทวดา.

จริงอยู่ เหล่าเทวดาที่เป็นบริวารเล่นระเริงโดยรูปของนกกระเรียนเป็นต้น

เพื่อให้เกิดความยินดีแก่เทวดา ท่านจึงกล่าวโดยคำว่า โกญฺจา เป็นต้น.

บทว่า ปุปฺผาภิกิณฺณ ได้แก่ เกลื่อนกลาดด้วยดอกไม้รัตนะชนิดต่าง ๆ

ที่ร้อยแล้วและยังไม่ได้ร้อย [ เป็นพวง ]. บทว่า รม ได้แก่ น่ารื่นรมย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

น่ารื่นใจ. บทว่า อเนกจิตฺต ได้แก่ วิจิตรด้วยอุทยาน ต้นกัลปพฤกษ์

และสระโบกขรณีเป็นต้น เป็นอันมาก และด้วยผนังวิเศษเป็นต้นเป็นอัน

มาก ในวิมานทั้งหลาย. บทว่า นรนาริ เสวิต ได้แก่ ที่เหล่าเทพบุตร

และเหล่าเทพธิดา ซึ่งเป็นบริวารคบหากัน.

บทว่า อิทฺธิ วิกพฺพนฺติ อเนรูปา ประกอบความว่า ผู้มีฤทธิ์

ทั้งหลาย ที่สำเร็จด้วยอานุภาพแห่งกรรม มีรูปเป็นอันมาก เพราะสำแดง

รูปได้ต่าง ๆ ย่อมสำแสดงฤทธิ์ ใช้ฤทธิ์แปลก ๆ ท่านก็นั่งอยู่ [ ในวิมาน

นั้น.

บทว่า อนญฺมนา ได้แก่ ซื่อตรงต่อสามี. ใจของสตรีนั้น ตกไป

ในบุรุษอื่น เหตุนั้น สตรีนั้นชื่อว่า อัญญมานา มีใจตกไปในบุรุษอื่น.

สตรีนั้นไม่มีใจตกไปในบุรุษอื่น เหตุนั้น จึงชื่อว่า อนัญญมนา ไม่มีใจ

ตกไปในบุรุษอื่น. อธิบายว่า ดีฉันไม่เกิดจิตคิดชั่วในบุรุษอื่น นอกจาก

สามีของดีฉันอย่างนี้. บทว่า มาตาว ปุตฺต อนุรกฺขมานา ความว่า

กรุณาเอ็นดูสามีของดีฉัน หรือแม้ทุกตัวสัตว์ เพราะนำเข้ามาแต่ประโยชน์

และเพราะประสงค์จะนำสิ่งที่มิใช่ประโยชน์ออกไปเสีย เหมือนมารดาเอ็นดู

บุตรฉะนั้น. บทว่า กุทฺธาปิห นปฺผรุส อโวจ ความว่า ดีฉันแม้โกรธ

อยู่ เพราะผู้อื่นทำความไม่ผาสุกให้ ก็ไม่กล่าวคำหยาบคาย อธิบายว่า

ที่แท้ ก็กล่าวแต่คำที่น่ารักเท่านั้น.

บทว่า สจฺเจ ิตา ได้แก่ ดำรงอยู่ในสัจจะ. เพราะเหตุที่เป็นผู้

ชื่อว่า ตั้งมั่นในสัจจะ เพราะเจตนางดเว้นกล่าวคำเท็จ มิใช่ตั้งมั่นโดย

เพียงกล่าวคำจริงในบางครั้งเท่านั้น ฉะนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า โมสวชฺช

ปหาย ได้แก่ ละมุสาวาทแล้ว. บทว่า ทาเน รตา ได้แก่ ยินดียิ่ง อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

ขวนขวายในทาน. บทว่า สงฺคหิตตฺตภาวา ประกอบความว่า ดีฉันชอบ

อุทิศตนสงเคราะห์คนอื่น ๆ ด้วยสังคหวัตถุ และมีจิตเลื่อมใสเพราะเชื่อ

กรรมและผลกรรม จึงได้ถวายข้าว น้ำ โดยเคารพ โดยอาการยำเกรง

และได้ถวายทานอย่างอื่นมีผ้าเป็นต้น อย่างไพบูลย์ อย่างโอฬาร. คำที่

เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปฐมปติพพตาวิมาน

๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน

ว่าด้วยปติพนตาวิมาน ๒

[๑๒] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ท่านขึ้นวิมานมีเสา

อันแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์งดงาม มีรัศมีประกายงดงาม

มาก ท่านก็นั่งอยู่ในวิมานนั้น สำแดงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ

ทั้งสูงทั้งต่ำ เทพอัปสรเหล่านี้ก็ฟ้อนรำขับร้องให้ท่าน

ร่าเริงอยู่รอบข้าง ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ท่านก็

บรรลุเทวฤทธิ์แล้ว ครั้งเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดาองค์นั้น ถูกพระโมคคัลลานะซักถาม

แล้วดีใจ ก็ได้พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้

ว่า

ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดีฉันได้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

อุบาสิกาของพระผู้มีจักษุ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์

งดเว้นจากการลักทรัพย์ ยินดีเฉพาะสามีของตน

ไม่กล่าวคำเท็จ และไม่ดื่มน้ำเมา อนึ่ง ดีฉันมีใจ

เลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าวและน้ำ ได้ถวายทานอย่าง

ไพบูลโดยเคารพ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะ

อย่างนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และ

โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเห็นมนุษย์อยู่ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบทุติยปติพพตาวิมาน

อรรถกถาทุติยปติพพตาวิมาน

ทุติยปติพพตาวิมาน มีคาถาว่า เวฬุริยถมฺภ เป็นต้น. ทุติยปติพพ-

ตาวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?

ดังได้สดับมา อุบาสิกาผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี เป็นผู้ชื่อตรงต่อสามี

มีความเชื่อเลื่อมใส [ ในพระรัตนตรัย ] รักษาศีล ๕ ทำให้บริสุทธิ์ และ

ได้ให้ทานตามสมควรแก่ทรัพย์สมบัติ ตายแล้วก็ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์.

คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลังทั้งนั้น. ท่านพระโมคคัลลานะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

ถามว่า

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ท่านขึ้นวิมานมีเสา

เป็นแก้วไพฑูรย์ น่ารื่นใจ มีรัศมีผ่องใส งดงาม

มาก ท่านก็นั่งอยู่ในวิมานนั้น สำแดงฤทธิ์ได้แปลก ๆ

ทั้งสูงและต่ำ เทพอัปสรเหล่านี้ ก็ฟ้อนรำขับร้องและ

รื่นเริงรอบ ๆ ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก ท่านก็บรรลุเทว-

ฤทธิ์แล้ว ท่านครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไร

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรื่องอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดาองค์นั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะ

ถาม ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่าง

นี้ เทวดาองค์นั้น ได้กล่าวตอบว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ดีฉันเป็น

อุบาสิกาของพระผู้มีจักษุ [พระพุทธเจ้า] ได้งดเว้น

การฆ่าสัตว์ งดเว้นการลักทรัพย์ ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่พูด

เท็จ ยินดีกับสามีของตน มีจิตเลื่อมใสแล้ว เมื่อ

บริจาคข้าวน้ำได้ถวายเป็นทานอย่างไพบูล โดยเคารพ.

เพราะเหตุนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดิฉันขอบอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

แก่ท่าน ดิฉันครั้งเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญใด เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรื่องอย่างนี้ และวรรณะ

ของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุริยถมฺภ แปลว่า มีเสาเป็นแก้ว

ไพฑูรย์. บทว่า รุจิร ได้แก่ น่ารื่นรมย์. บทว่า ปภสฺสร ได้แก่

ส่องสว่างอย่างยิ่ง. บทว่า อุจฺจาวจา แปลว่า สูงและต่ำ อธิบายว่า มี

อย่างต่าง ๆ.

บทว่า อุปาสิกา ได้แก่ สตรีผู้ตั้งอยู่ในคุณลักษณะของอุบาสิกา

ด้วยการถึงสรณะ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนเจ้ามหานาม

โดยเหตุเท่าใดแล อริยสาวกย่อมถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรม

เป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ดูก่อนเจ้ามหานาม ด้วยเหตุเท่านั้นแล

อริยสาวก ชื่อว่าเป็นอุบาสก.

ด้วยบทว่า จกฺขุมโต เทวดาองค์นั้นครั้นแสดงอาสยสุทธิ [สรณะ

ที่พึ่ง ] ด้วยการระบุความที่ตนเป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

ผู้มีจักษุ โดยจักษุทั้ง ๕ อย่างนี้แล้ว เพื่อจะแสดงประโยคสุทธิ [ ข้อปฏิบัติ ]

จึงกล่าวว่า งดเว้นการฆ่าสัตว์เป็นต้น. นางกล่าวถึงเจตนางดเว้นการ

ประพฤติผิด [ ในกาม ] ด้วยคำว่า สเกน สามินา อโหสึ ตุฏฺา ยินดี

กับสามีของตน ในคาถาคำตอบนั้น คำที่เหลือ ก็เช่นเดียวกับคำที่กล่าว

มาแล้วในหนหลัง.

จบอรรถกถาทุติยปติพพตาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

๑๓. ปฐมสุณิสาวิมาน

ว่าด้วยสุณิสาวิมาน ๑

[๑๓] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสง

สว่างไปทุกทิศ เหมือนกับดาวประกายพรึก เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะอย่างนี้ เพราะบุญอะไร

ผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก

จึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพอันรุ่งเรื่องถึงอย่างนี้ อนึ่ง วรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น อันพระโมคคัลลานะซักถาม

แล้วดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดีฉันได้เป็น

บุตรสะใภ้อยู่ในตระกูลแห่งพ่อผัว ได้เห็นภิกษุผู้

ปราศจากกิเลสดุจธุลี ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ก็เลื่อมใส

ได้ถวายขนมครึ่งหนึ่งแก่ภิกษุรูปนั้นด้วยมือทั้งสองของ

ตน ครั้นถวายขนมครึ่งหนึ่งแล้ว ดีฉันจึงมาบันเทิง

อยู่ในสวนนันทนวัน เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะ

อย่างนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน อนึ่ง

โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน เพราะบุญนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของดีฉัน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบปฐมสุณิสาวิมาน

อรรถกถาปฐมสุณิสาวิมาน

ปฐมสุณิสาวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น.

ปฐมสุณิสาวิมานั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?

สะใภ้ของครอบครัวผู้หนึ่ง ในเรือนหลังหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี เห็น

พระเถระขีณาสพเข้ามาบิณฑบาตยังเรือน ก็เกิดปีติโสมนัสว่า นี้บุญเขต

อันยอดเยี่ยมมาปรากฏแก่เราแล้ว จึงแบ่งขนมส่วนหนึ่งซึ่งตนได้มาแล้ว

น้อมเข้าไปถวายพระเถระด้วยอาการเอื้อเฟื้อ. พระเถระรับขนมนั้นอนุโม-

ทนาแล้วก็ไป. ต่อมา สะใภ้ผู้นั้นก็ตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์. คำที่

เหลือทั้งหมด ก็เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั่นแล. ด้วยเหตุนั้น

พระธรรมสังคาหกาจารย์จงกล่าวว่า ท่านพระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องสว่างไป

ทุกทิศ ประหนึ่งดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร

วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้

จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด

แก่ท่าน.

ดูก่อนเพพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้นเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะบุญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดาองค์นั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะ

ถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้

จึงกล่าวตอบว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดีฉันเป็น

สะใภ้ในเรือนพ่อผัว. ดีฉันเห็นพระภิกษุผู้ปราศจาก

กิเลสดุจธุลี ผ่องใสไม่หม่นหมองก็เลื่อมใส จึงได้

ถวายขนมแก่ท่านด้วยมือตนเอง ครั้นถวายขนมครึ่ง

หนึ่งแล้ว ก็บันเทิงอยู่ในสวนนันทนวัน.

เพราะบุญนั้น วรรณะของดิฉันจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน. เพราะบุญนั้น ดีฉัน

จึงมีอานุภาพมากอย่างนี้ และวรรณะของดีฉันจึง

สว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุณิสา ได้แก่ ภริยาของบุตร. จริงอยู่

บิดาของสามีแห่งหญิง เรียกกันว่าสัสสุระ พ่อผัว. ส่วนหญิง [ ภริยาของ

บุตร] ของบิดาสามีนั้น เรียกกันว่า สุณิสา สะใภ้ เพราะเหตุนั้น เทวดา

หมายถึงบิดาของสามีนั้น จึงกล่าวว่า ได้เป็นสะใภ้ ในเรือนของพ่อผัว.

บทว่า ภาคฑฺฒภาค ความว่า ได้ถวายขนมครั้งหนึ่ง จากส่วนที่

ตนได้มา. ด้วยบทว่า โมทามิ นนฺทเน วเน เทวดากล่าว เพราะพระเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

พบตนในสวนนันทนวัน. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปฐมสุณิสาวิมาน

๑๔. ทุติยสุณิสาวิมาน

ว่าด้วยสุณิสาวิมาร ๒

[๑๔] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสงสว่าง

ไปทุกทิศ เหมือนกับดาวประกายพรึก เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้

จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด

แก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเห็นมนุษย์อยู่ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านจึง

มีอานุภาพอันรุ่งเรืองถึงอย่างนี้ และวรรณะของท่าน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ได้พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดีฉันได้เป็น

บุตรสะใภ้อยู่ในตระกูลแห่งพ่อผัว ได้เห็นภิกษุผู้

ปราศจากกิเลสดุจ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ก็เลื่อมใส

ได้ถวายชิ้นขนมแก่ภิกษุรูปนั้นด้วยมือตนเอง ครั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ถวายแล้ว จึงมาบันเทิงใจอยู่ในสวนนันทนวัน เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้

จึงสำเร็จแก่ดีฉัน อนึ่ง โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด

แก่ดีฉัน เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง

อย่างนี้ และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบทุติยสุณิสาวิมาน

อรรถกถาทุติยสุณิสาวิมาน

ทุติยสุณิสาวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น. ก็ใน

ทุติยสุณิสาวิมานนั้น เคยกล่าวมาแล้วทั้งนั้น. ในวัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง

ต่างกันเฉพาะถวายขนมสดเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์

จึงกล่าวว่า ท่านพระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องสว่างไป

ทุกทิศ ประหนึ่งดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร

วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้

จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด

แก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

เทวดาองค์นั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะ

ถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้

กล่าวตอบว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ดีฉันเป็นบุตร

สะใภ้ในเรือนพ่อผัว ดิฉันได้เห็นพระภิกษุผู้ปราศจาก

กิเลสดุจธุลี ผ่องใสไม่หม่นหมอง ก็เลื่อมใสแล้ว

จึงได้ถวายขนมสดครั้งหนึ่งแก่ท่านด้วยมือตนเอง

ครั้นถวายชิ้นขนมสดแล้ว ก็บันเทิงอยู่ในสวน

นันทนวัน.

เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉันจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมา ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภาค ได้แก่ ส่วนของขนมสด ด้วย

เหตุนั้น เทวดาจึงกล่าวว่า ครั้นถวายชิ้นขนมสดแล้ว. ขนมที่ทำด้วย

ข้าวเหนียว ท่านเรียกว่ากุมมาส ขนมสด. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวไว้แล้ว

ทั้งนั้น.

จบอรรถกถาทุติยสุณิสาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

๑๕. อุตตราวิมาน

ว่าด้วยอุตตราวิมาน

[๑๕] พระโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสงสว่าง

ไปทุกทิศ เหมือนกับดาวประกายพรึก เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีวรรณะอย่างนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้

จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด

แก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ อนึ่ง วรรณะของ

ท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ได้พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

เมื่อดีฉันยังครองเรือนอยู่ ดีฉันไม่มีความริษยา

ไม่มีความตระหนี่ ไม่ตีเสมอ ไม่โกรธ อยู่ในโอวาท

ของสามี ไม่ประมาทเป็นนิจในวันอุโบสถ เข้าจำ

อุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน

๑๔ ค่ำ วัน ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำแห่งปักษ์ และ

ตลอดปาฏิหาริยปักษ์ [ วันรับวันส่ง ] สำรวมในศีล

ระมัดระวังจำแนกทาน เข้าอยู่ประจำวิมาน เว้นจาก

ปาณาติบาต ๑ งดเว้นจากความเป็นขโมย ๑ ไม่ประ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

พฤติล่วงประเวณี ๑ เว้นขาดจากการพูดเท็จ ๑ ห่าง

ไกลจากการดื่มน้ำเมา ๑ ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ ดีฉัน

เป็นผู้ฉลาดในอริยสัจธรรม เป็นอุบาสิกาของพระ-

โคดมผู้มีพระจักษุทรงพระยศ ดีฉันนั้นเป็นผู้มียศโดย

ยศก็เพราะศีลของตนเอง ดิฉันได้เสวยผลแห่งบุญ

ของตนอยู่ จึงสุขใจสุขกายไร้โรค เพราะบุญนั้น

ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผู้นี้จึงสำเร็จ

แก่ดีฉัน โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเป็นมนุษย์อยู่ ดีฉันได้ทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ อนึ่ง

วรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

ก็แลเทพธิดาสั่งความว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านได้กรุณานำความไป

กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าตามคำของดีฉันด้วยเถิดว่า นางอุตตรา-

อุบาสิกา ขอถวายบังคมพระบาทยุคลของพระผู้มีพระเจ้าด้วยเศียรเกล้า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงพยากรณ์ดีฉัน ใน

สามัญผลอย่างใดอย่างหนึ่งนั้น ไม่น่าอัศจรรย์เลย เพราะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงพยากรณ์ดีฉันไว้ในสกทาคามิผลนั้นแล้ว.

จบอุตตราวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

อรรถกถาอุตตราวิมาน

อุตตราวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น. อุตตรา-

วิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน

กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น บุรุษเข็ญใจ ชื่อปุณณะ อาศัยราชคฤหเศรษฐี

เลี้ยงชีพอยู่. ภริยาของเขาชื่อว่าอุตตรา. หญิงที่เป็นคนในเรือน ชื่อว่า

อุตตรา มี ๒ คน รวมทั้งธิดา [ ของเขาด้วย ] ต่อมาวันหนึ่ง เขาโฆษณา

ว่า มหาชนในกรุงราชคฤห์ควรเล่นนักษัตร ๗ วัน. เศรษฐีฟังเรื่องนั้น

แล้ว พูดกะปุณณะซึ่งมาแต่เช้าว่า พ่อเอ๋ย คนใกล้บ้านเรือนเคียงของเรา

ประสงค์จะเล่นนักษัตรกัน เจ้าเล่าจักเล่นนักษัตรหรือจักทำงานรับจ้าง.

ปุณณะตอบว่า นายท่าน ธรรมดางานนักษัตร ก็สำหรับคนมีทรัพย์ดอก

ขอรับ. ส่วนในเรือนของกระผม ไม่มีแม้แต่ทรัพย์และข้าวสารที่จะกิน

ในวันพรุ่งนี้ กระผมไม่ต้องการงานนักษัตร ได้โคก็จักไปไถนา. เศรษฐี

กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ก็จงรับเอาโคไป. เขารับเอาโคงานและไถจ้างงาน

ไป กล่าวกะภริยาว่า แม่นาง ชาวเมืองเล่นงานนักษัตรกัน เพราะเป็น

คนจน ฉันก็ต้องไปทำงานรับจ้าง เจ้าหุงต้มอาหารเป็น ๒ เท่าในวันนี้

ก่อนแล้วค่อยนำไปให้ฉันนะ แล้วก็ไปนา.

แม้ท่านพระสารีบุตรเถระ เข้านิโรธสมาบัติ ๗ วันแล้ว ออกจาก

นิโรธสมาบัตินั้น สำรวจดูว่า วันนี้ เราควรจะสงเคราะห์ใครเล่าหนอ

ก็เห็นปุณณะเข้าอยู่ในข่าย คือญาณของตน ใคร่ครวญดูว่า ปุณณะผู้นี้

มีศรัทธาอาจสงเคราะห์เราไหมหนอ ก็รู้ว่า เขามีศรัทธาสามารถสงเคราะห์

ได้ และเขาจะได้มหาสมบัติ เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย จึงถือบาตรจีวร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

ไปยังที่ เขาไถนา เห็นกอไม้กอหนึ่งใกล้ริมบ่อ จึงยืนอยู่. ปุณณะเห็น

พระเถระแล้วหยุดไถนา ไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ คิดว่า

พระเถระคงต้องการไม้ชำระฟัน จึงทำกัปปิยะไม้ชำระฟันแล้วถวาย. พระ-

เถระจึงนำบาตรและผ้ากรองน้ำให้เขาไป. เขาคิดว่า พระเถระคงต้องการ

น้ำ จึงรับบาตรและผ้ากรองน้ำนั้น กรองน้ำแล้วถวาย.

พระเถระคิดว่า ปุณณะนี้ อยู่หลังเรือนของคนอื่น ๆ ถ้าเราจักไป

ยังประตูเรือนของเขา ภริยาของปุณณะนี้คงจักไม่อาจเห็นเราได้ จำเรา

จักอยู่ในที่ตรงนี้แหละ จนกว่าภริยาของเขานำอาหารเดินทางมา. พระ-

เถระรออยู่หน่อยหนึ่งในที่ตรงนั้นนั่นแหละ รู้ว่า ภริยาของเขตเดินทางมา

แล้ว ก็ออกเดินบ่ายหน้าไปภายในกรุง. ระหว่างทาง นางเห็นพระเถระ

ก็คิดว่า บางคราวเมื่อมีไทยธรรม เราก็ไม่พบพระผู้เป็นเจ้า บางคราว

เมื่อเราพบพระผู้เป็นเจ้า ก็ไม่มีไทยธรรม แต่วันนี้ เราพบพระผู้เป็นเจ้า

ด้วย ไทยธรรมนี้ก็มีอยู่ด้วย พระผู้เป็นเจ้าจักสงเคราะห์เราได้ไหมหนอ.

นางลดภาชนะอาหารลงแล้ว ไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์กล่าวว่า

ท่านเจ้าข้า ขออย่าคิดเลยว่า ของนี้ปอนหรือประณีต โปรดสงเคราะห์

ดีฉันผู้เป็นทาสเถิด. ขณะนั้น พระเถระก็น้อมบาตรเข้าไป เมื่อนาง

เอามือข้างหนึ่งถือภาชนะ เอามืออีกข้างหนึ่งถวายอาหารจากภาชนะนั้น

เมื่อถวายได้ครึ่งหนึ่ง ท่านก็เอามือปิดบาตรบอกว่า พอละ. นางจึงกล่าวว่า

ท่านเจ้าข้า อาหารนี้มีส่วนเดียว ไม่อาจแบ่งเป็นสองส่วนได้ ขอท่าน

โปรดอย่าสงเคราะห์เฉพาะโลกนี้แก่ทาสของท่านเลย สงเคราะห์ถึงโลก

หน้าด้วย ดีฉันปรารถนาจะถวายหมดไม่เหลือเลยเจ้าข้า แล้วเอาอาหาร

ทั้งหมด วางลงในบาตรของท่าน ทั้งความปรารถนา ขอดีฉันว่าจงมีส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

แห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้วด้วยนะเจ้าข้า. พระเถระกล่าวว่า จงสมปรารถนา

เถิด แล้วยืนทำอนุโมทนา นั่งฉัน ณ ที่สะดวกด้วยน้ำแห่งหนึ่ง. แม้

นางก็กลับไปหาข้าวสารหุงเป็นข้าวสวย.

ส่วนปุณณะไถที่ประมาณ ๘ กรีส ไม่อาจทนความหิวได้ ก็ปลดโค

เข้าไปยังร่มไม้แห่งหนึ่ง นั่งมองนางอยู่. ขณะนั้น ภริยาของเขาถืออาหาร

เดินไป เห็นเขาแล้วก็คิดว่า เขาหิวนั่งมองเรา ถ้าจักตะคอกเราว่า ช่างช้า

เหลือเกิน แล้วตีด้วยด้ามปฏักไซร้ กรรมที่เราทำก็จักไร้ประโยชน์

จำเราจักบอกกล่าวเขาเสียก่อน จึงพูดอย่างนี้ว่า นายจ๋า วันนี้ดีฉันทำจิต

ผ่องใสทั้งวัน โปรดอยู่ทำกรรมที่ดีฉันทำไว้แล้วให้ไร้ประโยชน์เลย ดีฉัน

นำอาหารสำหรับนายมาแต่เช้า ระหว่างทาง พบท่านพระธรรมเสนาบดี

จึงถวายอาหารสำหรับนายแก่ท่าน แล้วกลับบ้านหุงอาหารแล้วจึงมา นายจ๋า

โปรดทำจิตให้ผ่องใสเถิด. ปุณณะนั้นถามว่า แม่นางพูดอะไร ฟังเรื่องนั้น

สักครั้ง แล้วกล่าวว่า แม่นาง เจ้าถวายอาหารสำหรับฉันแก่พระผู้เป็นเจ้า

ช่างทำดีแท้ แม้ฉันก็ถวายไม้ชำระฟันและน้ำบ้วนปากแก่ท่านเมื่อเช้าตรู่

วันนี้ เขามีใจผ่องใส ยินดีถ่อยคำนั้น ลำบากกายเพราะได้อาหารตอนสาย

จึงวางศีรษะหนุนตักของนางแล้วก็หลับไป.

ลำดับนั้น เนื้อที่ ๆ เขาไถตอนเช้า ละเอียดเป็นฝุ่น กลายเป็นทอง

สีแดงไปหมด ปรากฏงดงามเหมือนกองดอกกรรณิการ์. เขาตื่นแล้วมองดู

กล่าวกะภริยาว่า แม่นาง เนื้อที่ ๆ ฉันไถไว้แห่งหนึ่ง ปรากฏชัดแก่ฉัน

เป็นทองไปหมด หรือลูกตาของฉันฝาดไป เพราะได้อาหารสายเกินไปหนอ

ภริยากล่าวว่า นายจ๋า มันปรากฏแก่สายตาของดีฉันก็อย่างนั้นเหมือนกัน

จ้ะ. เขาลุกขึ้นเดินไปที่นั้นหยิบขึ้นมาก้อนหนึ่ง ทุบที่หัวไถ ก็รู้ว่าเป็นทอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

จริง ๆ คิดว่า โอ ! ผลในทานที่เราถวายพระผู้เป็นเจ้าพระธรรมเสนาบดี

แสดงในวันนี้แล้วสิหนอ เราไม่อาจปกปิดทรัพย์เท่านี้ไว้บริโภคได้แล้ว

บรรจุทองเต็มภาชนะอาหาร ที่ภริยานำมา ไปยังราชสกุล พระราชาพระ-

ราชทานโอกาสแล้วเข้าไปถวายบังคม เมื่อตรัสถามว่า อะไรกัน พ่อเอ๋ย

จึงกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ วันนี้เนื้อที่ ๆ ข้าพระบาทไถนา กลายเป็น

กองทองไปหมด จะโปรดให้นำทองที่เกิดนาไว้ก็ควรด้วยเกล้า พระเจ้าข้า.

พระราชาตรัสถามว่า เจ้าเป็นใคร. กราบทูลว่า ข้าพระบาท ชื่อปุณณะ

พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า วันนี้เจ้าทำบุญอะไร. กราบทูลว่า ข้าพระบาท

ถวายไม้ชำระฟันและน้ำบ้วนปากแต่เช้าตรู่แก่ท่านพระธรรมเสนาบดี ส่วน

ภริยาของข้าพระบาท ถวายอาหารที่เขานำมาสำหรับข้าพระบาทแก่พระผู้-

เป็นเจ้าเหมือนกัน พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า ท่านทั้งหลาย เขาว่า

ผลทานที่ถวายท่านพระธรรมเสนาบดีแสดงออกแล้วในวันนี้นี่เอง ตรัส

ถามว่า พ่อเอ๋ย เจ้าจะทำอย่างไร. กราบทูลว่า โปรดส่งเกวียนหลาย

พันเล่มให้ขนทองเข้ามาเถิด พระเจ้าข้า. พระราชาก็ทรงส่งเกวียนไปขน

เมื่อพวกราชบุรุษถือเอาทอง ด้วยพูดว่า สมบัติของพระราชา ทองที่

ถือเอาก็กลายเป็นดินไป จึงไปกราบทูลพระราชา. ตรัสถานว่า พวกเจ้า

พูดว่า กระไร จึงถือเอา. กราบทูลว่า สมบัติของพระองค์ พระเจ้าข้า.

จึงทรงสั่งว่า พ่อเอ๋ย พวกเจ้าจงไปใหม่ กล่าวว่า สมบัติของปุณณะ. แล้ว

ถือเอามา. พวกราชบุรุษก็ปฏิบัติตามที่ทรงสั่งไว้. ทองที่ถือเอา ๆ ก็เป็น

ทองดังเดิม. พวกเขาขนทองมาหมดแล้ว ทำเป็นกองไว้ที่พระลานหลวง

กองสูงถึง ๘๐ ศอก. พระราชาจึงทรงสั่งให้ชาวกรุงประชุมกัน ตรัสถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ในพระนครนี้ ทองของใครมีเท่านี้บ้าง กราบทูลว่า ไม่มี พระเจ้าข้า.

ตรัสถามว่า ควรให้อะไรแก่เขาเล่า. กราบทูลว่า ฉัตรตำแหน่งเศรษฐี พระ-

เจ้าข้า พระราชาตรัสว่า ปุณณะจงเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มาก แล้วพระราช-

ทานฉัตรตำแหน่งเศรษฐีแก่เขาพร้อมด้วยโภคสมบัติยิ่งใหญ่.

ครั้งนั้น ปุณณะนั้นกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ ข้า

พระบาทอยู่ในสกุลอื่นตลอดเวลาเท่านี้ ขอโปรดพระราชทานที่อยู่แก่ข้า

พระบาทด้วย. พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น จงดู นั่นกองไม้ปรากฏอยู่

จงให้นำกองไม้นั้นมาปลูกเรือนเสีย ตรัสบอกสถานที่เป็นเรือนของเศรษฐี

เก่า. ปุณณเศรษฐีนั้นให้ปลูกเรือน ๒-๓ วันเท่านั้นตรงที่นั้น รวมงาน

มงคลขึ้นบ้านและงานมงคลฉลองฉัตรตำแหน่งเป็นงานเดียวกัน ได้ถวาย

ทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๗ วัน ครั้งนั้น พระศาสดา

เมื่อทรงอนุโมทนาทาน ตรัสอนุปุพพีกถาแก่เขา จบธรรมกถา ปุณณ-

เศรษฐีภริยาและธิดาของเขา ชื่ออุตตรารวม ๓ คนได้เป็นโสดาบัน.

ต่อมา ราชคหเศรษฐีขอธิดาของปุณณเศรษฐีให้บุตรของตน ถูก

ปุณณเศรษฐีปฏิเสธ จึงกล่าวว่า อย่าทำอย่างนี้เลย ท่านอาศัยเราอยู่ตลอด

เวลาเท่านี้จึงได้สมบัติ จงให้ธิดาของท่านแก่บุตรเราเถิด ปุณณเศรษฐี

นั้นกล่าวว่าพวกท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิ ธิดาของเราเว้นพระรัตนตรัยเสีย ก็อยู่

ด้วยไม่ได้ เราจึงไม่ให้ธิดาแก่บุตรของท่านนั้น. ครั้งนั้น กุลบุตรเศรษฐี

คฤหบดีเป็นต้นเป็นอันมาก พากันอ้อนวอนปุณณเศรษฐีนั้นว่า ท่านอย่า

ทำลายความคุ้นเคยกับราชคหเศรษฐีนั้นเลย โปรดให้ธิดาแก่เขาเถิด ปุณณ-

เศรษฐีนั้นรับคำของคนเหล่านั้น แล้วได้ให้ธิดาในดิถีเพ็ญเดือน ๘ ครั้ง

นั้นตั้งแต่มีสามี อุตตราธิดานั้น ไม่ได้เข้าไปหาภิกษุหรือภิกษุณี ถวายทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

หรือฟังธรรมเลย เมื่อเวลาล่วงไป ๒ เดือนครึ่ง จึงถามหญิงรับใช้ที่ยืน

อยู่ใกล้ ๆ ตนว่า บัดนี้ในพรรษายังเหลืออยู่เท่าไร. หญิงรับใช้จึงตอบว่า

ครั้งเดือน เจ้าค่ะแม่เจ้า. อุตตราธิดานั้นจึงส่งข่าวบอกบิดามารดาว่า เหตุไร

บิดามารดาจึงจับลูกขังไว้ในเรือนจำอย่างใน บิดามารดาเฆี่ยนดีฉันประกาศ

ให้เป็นทาสของคนอื่นเสียยังจะดีกว่า ไม่ควรให้แก่สกุลมิจฉาทิฏฐิเช่นนี้

ตั้งแต่ดีฉันมาแล้ว ก็ไม่ได้ทำบุญแม้สักอย่างหนึ่ง เป็นต้นว่าเห็นภิกษุ.

คราวนั้น บิดาของนาง จึงประกาศความเสียใจว่า ธิดาของเราตกทุกข์จึง

ส่งทรัพย์ไป ๑๕,๐๐๐ กหาปณะ และส่งข่าวไปว่าในนครนี้มีโสเภณีชื่อ

สิริมา รับทรัพย์วันละพันทุกวัน จงเอาทรัพย์นี้นำนางมามอบแก่สามี

แล้ว จงทำบุญตามชอบใจของตนเถิด. นางอุตตราธิดาก็กระทำอย่างนั้น

เมื่อสามีเห็นนางสิริมาจึงถามว่า นี้อะไรกัน จึงกล่าวว่า นายท่าน สหาย

ของฉันจะปรนนิบัติท่านตลอดครึ่งเดือนนี้ ส่วนดีฉันประสงค์จะให้ทาน

ฟังธรรมตลอดกึ่งเดือนนี้. สามีนั้นเห็นหญิงนั้นสวยก็เกิดความสิเนหาจึง

รับคำว่า ดีซิจ๊ะ.

ฝ่ายนางอุตตราธิดานิมนต์พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดอย่าไปที่อื่น รับอาหารในที่นี้

นี่แหละตลอดครึ่งเดือนนี้ ถือเอาปฏิญญาของพระศาสดาดีใจว่า ตั้งแต่

บัดนี้ไป เราจักได้บำรุงพระศาสดาและฟังธรรมจนถึงวันมหาปวารณา

สั่งว่า พวกเจ้าจงต้มข้าวต้มอย่างนี้ จงหุงข้าวสวยอย่างนี้ จงทอดขนมอย่างนี้

เที่ยวจัดแจงกิจทุกอย่างในโรงครัวใหญ่. ลำดับนั้น สามีของนางมุ่งหน้าไป

ยังโรงครัวใหญ่ด้วยคิดว่า พรุ่งนี้เป็นวันมหาปวารณา ยืนใกล้หน้าต่าง

ตรวจดูว่า หญิงโง่งั่งคนนั้นกำลังเที่ยวทำอะไรหนอ เห็นนางนั้นมอมแมม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ด้วยเหงื่อเปรอะเปื้อนด้วยเขม่าเที่ยวจัดแจงอยู่อย่างนั้น คิดว่า โอ หญิง

โง่เง่าไม่ได้เสวยสิริสมบัตินี้ในฐานะเช่นนี้ เที่ยวปลื้มใจว่า จักบำรุงเหล่า

สมณะโล้น ดังนี้หัวเราะแล้วลับไป.

เมื่อสามีนั้นลับไปแล้ว นางสิริมาซึ่งยืนอยู่ใกล้ ๆ สามีของนางนั้น

คิดว่า ผู้นี้เห็นอะไรหนอจึงหัวเราะ จึงมองไปทางหน้าต่างนั้นนั่นแหละ

เห็นนางอุตตราธิดาก็คิดว่า ผู้นี้เห็นหญิงนี้เองจึงหัวเราะ และผู้นี้คงสนิท

ชิดชมกับหญิงผู้นี้แน่. ได้ยินว่า นางสิริมานั้นเป็นหญิงภายนอก อยู่เสวย

สมบัตินั้นในเรือนนั้นครึ่งเดือน ไม่รู้ความที่ตนเป็นหญิงภายนอก สำคัญว่า

ตนเป็นแม่เรือน นางจึงผูกอาฆาตในนางอุตตราธิดา คิดว่า เราจะก่อทุกข์

แก่หญิงคนนี้ ลงจากปราสาทเข้าโรงครัวใหญ่ คว้ากระบวยตักเนยใสที่

เดือดในที่ทอดขนมไปตรงข้างหน้านางอุตตราธิดา นางอุตตราธิดาเห็น

นางสิริมากำลังเดินมา จึงแผ่เมตตาไปยังนางว่า สหายของเราได้ทำอุปการะ

แก่เรา จักรวาลก็ยังแคบเกินไป พรหมโลกก็ยังต่ำเกินไป สหายของเรา

มีคุณยิ่งใหญ่ ถึงเราก็อาศัยนางจึงได้ให้ทานฟังธรรม ถ้าเรามีความโกรธ

ในสหายผู้นี้ เนยใสนี้จงลวกเรา ถ้าเราไม่มีความโกรธ เนยใสก็จงอย่าลวกเรา

ถึงเนยใสที่เดือดแม้นางสิริมาราดลงบนศีรษะของนางอุตตราธิดานั้น ก็

เป็นประหนึ่งน้ำเย็น. ขณะนั้นนางสิริมาคิดว่าเนยใสนี้คงจักเย็น จึงเอา

กระบวยตักใหม่ถือเดินมา พวกทาสีของนางอุตตราเห็นก็ตะคอกว่า เฮ้ยอี

หญิงดื้อ เจ้าไม่ควรจะราดเนยที่เดือดบนศีรษะเจ้านายของข้า ลุกขึ้นรุม

ตบถีบจนนางสิริมาล้มลง นางอุตตราธิดาแม้จะห้ามก็ห้ามไม่ได้. ครั้งนั้น

นางยืนอยู่ข้างบนห้ามทาสีทุกคนแล้วสอบสวนนางสิริมาว่า เหตุไร เจ้าจึง

ทำกรรมหนักเช่นนี้ ให้อาบด้วยน้ำอุ่น ชโลมด้วยน้ำมันยาที่เคี่ยวถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

ร้อยครั้ง.

ขณะนั้นนางสิริมารู้สึกว่าตนเป็นหญิงภายนอกจึงคิดว่า เราราดเนยใส

ที่เดือดบนศรีษะหญิงผู้นี้ เพราะเหตุเพียงสามีหัวเราะ กระทำกรรมหนักแล้ว

หญิงผู้นี้ไม่สั่งทาสีจับเรา แม้เวลาที่พวกทาสีทำร้ายเราก็ยังห้ามปรามทาสี

ทุกคน ได้กระทำสิ่งที่ควรท่าแก่เราทีเดียว ถ้าเราไม่ขอมานาง ศีรษะ

ของเราก็คงจะแตก ๗ เสี่ยง จึงหมอบลงใกล้เท้าอุตตราธิดานั้นกล่าวว่า

แม่นาย โปรดอดโทษแก่ดีฉันเถิด. อุตตราธิดากล่าวว่า เราเป็นธิดามีบิดา

เมื่อบิดาของเราอดโทษ เราก็จะอดโทษให้ นางสิริมากล่าวว่า สุดแต่แม่

นายเถิด ดีฉันจะให้ปุณณเศรษฐีบิดาของท่านอดโทษให้ อุตตราธิดา

กล่าวว่า ท่านปุณณเศรษฐีเป็นชนกบิดาในวัฏฏะของดีฉัน แต่เมื่อชนก-

บิดาในวิวัฏฏะอดโทษแล้ว ดีฉันจึงจะอดโทษให้. นางสิริมาถามว่า ก็ใคร

เล่าเป็นชนกบิดาในวิวัฏฏะของท่าน. นางตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

นางสิริมากล่าวว่า ดีฉันไม่คุ้นกับพระองค์นี้ ดีฉันจะทำอย่างไรเล่า ?

นางอุตตราธิดากล่าวว่า พรุ่งนี้ พระศาสดาจักทรงพาภิกษุสงฆ์มาในที่นี้

เธอก็จงถือสักการะตามแต่จะได้มาในที่นี้นี่แหละ จงให้พระองค์งดโทษ

ให้. นางสิริมากล่าวว่า ดีละแม่เจ้า แล้วก็ลุกขึ้นไปเรือนตนสั่งหญิงรับใช้

๕๐๐ คน จัดแจงของเคี้ยวของกินและกับข้าวต่าง ๆ รุ่งขึ้นก็ถือสักการะ

นั้นมายังเรือนของนางสิริมา ไม่อาจจะวางของลงในบาตรของภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขได้ จึงยืนอยู่ นางอุตตราธิดาก็รับของนั้นมา

ทั้งหมดแล้วจัดการให้.

ครั้นพระศาสดาเสวยเสร็จ ฝ่ายนางสิริมาพร้อมกับบริวารก็หมอบลง

แทบเบื้องบาทพระศาสดา. ขณะนั้น พระศาสดาตรัสถามนางว่า เจ้ามีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

ผิดอะไร นางสิริมากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อวันวาน

ข้าพระองค์กรทำกรรมชื่อนี้ ขณะนั้นสหายของข้าพระองค์จึงห้ามเหล่าทาสี

ที่จะทำร้ายข้าพระองค์ได้กระทำอุปการะแก่ข้าพระองค์โดยแท้ ข้าพระองค์

นั้นสำนึกรู้คุณของนางจึงขอขมานาง แต่นางกล่าวกะข้าพระองค์ว่า เมื่อ

พระองค์งดโทษ นางจึงจะงดโทษ พระศาสดาตรัสถามว่า อุตตรา เขาว่า

อย่างนี้จริงหรือ นางอุตตราธิดาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จริงเจ้าข้า

สหายราดเนยใสเดือดบนศรีษะของข้าพระองค์เจ้าข้า พระศาสดาตรัสถาม

ว่า เมื่อเป็นดังนั้น เจ้าคิดอะไร นางอุตตราธิดาทูลว่า ข้าพระองค์คิด

อย่างนี้ว่า จักรวาลก็แคบเกินไป พรหมโลกก็ต่ำเกินไป สหายของ

ข้าพระองค์มีคุณยิ่งใหญ่ ด้วยว่าข้าพระองค์อาศัยนางจึงได้ให้ทานและฟัง

ธรรม ถ้าว่าข้าพระองค์มีความโกรธในนาง ขอเนยใสนี้จงลวกข้าพระองค์

ถ้าไม่โกรธขอเนยใสอย่าลวก แล้วก็แผ่เมตตาไปยังนางพระเจ้าค่ะ พระ-

ศาสดาตรัสว่า ดีละ ดีละอุตตรา ชนะความโกรธอย่างนี้ก็สมควร ด้วยว่าขึ้น

ชื่อว่าผู้โกรธ ผู้ไม่โกรธพึงชนะ ผู้ด่า ผู้ไม่ด่าก็พึงชนะ ผู้บริภาษ ผู้ไม่

บริภาษก็พึงชนะ ผู้ตระหนี่ถี่เหนียว อันเขาพึงชนะได้ด้วยการให้ทรัพย์

สิ่งของของตน ผู้พูดเท็จ อันเขาพึงชนะด้วยการพูดจริง เมื่อทรงแสดง

ความข้อนี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

อกฺโกเธน ชิเน โกธ อาสธุ สาธุนา ชิเน

ชิเน กทริย ทาเนน สจฺเจนาลิกวาทิน

พึงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะ

ความไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะความตระหนี่ ด้วย

การให้ พึงชนะผู้พูดเท็จ ด้วยคำจริง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

จบคาถาก็ได้ตรัสกถาว่าด้วยสัจจะ ๔ จบสัจจะ นางอุตตราธิดาก็ตั้ง

อยู่ในสกทาคามิผล สามี บิดาของสามี และมารดาของสามี กระทำให้แจ้ง

ซึ่งโสดาปัตติผล แม้นางสิริมากับบริวาร ๕๐๐ ก็ได้เป็นโสดาบัน. ต่อมา

นางอุตตราธิดาตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ ครั้งนั้นท่านพระมหาโมคคัล-

ลานะ เที่ยวเทวจาริกตามนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง พบนางอุตตรา-

เทวธิดา จึงถามด้วยคาถาว่า

ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องแสงสว่าง

ไปทุกทิศ ประหนึ่งดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร

วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้

จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด

แก่ท่าน.

ดูก่อนเทพี ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ท่านครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญอะไร เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้น ดีใจถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว จึงพยากรณ์ปัญหาโดยอาการที่ท่านถามถึงกรรม

ที่มีผลอย่างนี้ กล่าวตอบว่า

ดีฉันอยู่ครองเรือน ไม่มีความริษยา ความ

ตระหนี่และการตีเสมอ ดีฉันไม่เป็นคนมักโกรธ อยู่

ในโอวาทของสามี เป็นผู้ไม่ประมาทเป็นนิจ ในวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

อุโบสถ ดีฉันถืออุโบสถประกอบไปด้วยองค์ ๘ ตลอด

วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอด

ปาฏิหาริยปักษ์ วันรับ-วันส่ง ดีฉันสำรวมในศีลทุก

เมื่อ มีความระมัดระวัง ชอบให้ทาน จึงครองวิมาน

อยู่ ดีฉันเว้นขาดจากปาณาติบาต มุสาวาท อทิน-

นาทาน กาเมสุมิจฉาจาร และเว้นไกลจากการดื่ม

น้ำเมา ยินดีในสิกขาบท ๕ รอบรู้อริยสัจ เป็น

อุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระยศ ผู้มีพระจักษุ ดีฉัน

นั้นมียศด้วยยศเสวยบุญของตน มีความสุข มีอนามัย

ก็ด้วยศีลของตนเอง เพราะบุญนั้น วรรณะของดีฉัน

จึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน

และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

กล่าวแก่ท่าน ดีฉันครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำบุญใด

ไว้ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

นางอุตตราเทพธิดา สั่งความท่านพระโมคคัลลานะว่า ท่านผู้เจริญ

ขอท่านพึงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า ตาม

คำของดีฉันว่าข้าแต่พระองค์เจริญ อุบาสิกาชื่อว่าอุตตรา ถวายบังคมพระ-

บาทพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไม่น่าอัศจรรย์

เลย ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงพยากรณ์ดีฉันไว้ในสามัญญผลอันใดอันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ดีฉันไว้ในสกทาคามิผลแล้ว.

ในคาถานั้น บทว่า อิสฺสา จ มจฺฉริยมาโน ปลาโส นาโหสิ

มยฺห ฆรมาวสนฺติยา ความว่า ความริษยามีสมบัติของหญิงเหล่าอื่นผู้อยู่

ครองเรือนเป็นต้นเป็นอารมณ์ มีการริษยาสมบัติของผู้อื่นเป็นลักษณะ ๑

ความตระหนี่ มีลักษณะปกปิดสมบัติของตน เพราะไม่ประสงค์จะให้แก่ผู้

มาขอสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แม้จะเป็นการขอยืมเป็นต้นก็ดี ๑ ความตีเสมอ ซึ่ง

มีการถือเป็นคู่แข่งกับผู้อื่น โดยตระกูลและประเทศเป็นต้น ๑ บาปธรรม

แม้ทั้ง ๓ ดังกล่าวไม่มี ไม่เกิดขึ้นแก่ดีฉันผู้ครองเรือน ในเมื่อมีปัจจัย

พร้อมแล้ว. บทว่า อกฺโกธนา ได้แก่ มีสภาพไม่โกรธเพราะพรั่งพร้อม

ด้วยขันติ เมตตา และกรุณา. บทว่า ภตฺตุ วสานุวตฺตินี ได้แก่ มีปกติ

อยู่ในอำนาจของสามี โดยความคล้อยตามสามีมีตื่นก่อนนอนหลัง เป็นต้น

อธิบายว่า มีปกติประพฤติน่าพอใจ. บทว่า อุโปสเถ นิจฺจหมปฺปมตฺตา

ได้แก่ ดีฉันไม่ประมาท คืออยู่ด้วยความไม่ประมาทเป็นนิจในอันรักษา

อุโบสถศีล.

อุตตราเทพธิดา เมื่อแสดงความไม่ประมาทในอุโบสถนั้นนั่นแล

เพื่อจะแสดงวันรักษาอุโบสถ วิธีรักษาอุโบสถ จึงกล่าวว่า จาตุทฺหสึ

เป็นต้น. ในคำนั้น คำว่า จาตุทฺทสึ ปญฺจทสึ สัมพันธ์กับคำว่า ปกฺขสฺส

แปลว่า ตลอดจาตุททสีแห่งปักษ์ ปัญจทสีแห่งปักษ์ คำนี้เป็นทุติยาวิภัตติ

ใช้ในอรรถอัจจันตสังโยคแปลว่า ตลอด, สิ้น. ในคำว่า ยา จ ปกฺขสฺส

อฏฺมี นี้ ศัพท์เป็นเศษคำ. บทว่า ปาฏิหาริยปกฺขญฺจ ความว่า

ได้แก่ ตลอดปักษ์ของผู้รักษา และปักษ์ที่พึงรักษาอุโบสถศีลด้วยการรับ

การส่ง คือวันต้นและวันท้ายตามลำดับแห่งวันจาตุททสี วันปัณณรสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

และวันอัฏฐมี อธิบายว่า วัน ๑๓ ค่ำ วันแรมคำหนึ่ง วัน ๗ ค่ำ และ

วัน ๙ ค่ำ. บทว่า อฏฺงฺคสุสมาคต ได้แก่ มาพร้อมด้วยดี ประกอบ

พร้อมด้วยองค์ ๘ มี ปาณาติปาตา เวรมณี เป็นต้น.

บทว่า อุปวสิสฺส แปลว่าเข้าอยู่ จริงอยู่คำนี้เป็นคำแสดงอนาคต

ลงในอรรถแห่งอดีต. แต่เกจิอาจารย์สวดว่า อุปวสึ อย่างเดียว. บทว่า

สทา ได้แก่ ในวันอุโบสถทั้งหมด พร้อมทั้งวันปาฏิหาริยปักษ์. บทว่า

สีเลสุ ได้แก่ ในวันอุโบสถศีลที่พึงทำให้สำเร็จ. จริงอยู่คำนี้เป็นสัตตมี-

วิภัตติ ใช้ในอรรถที่ทำให้สำเร็จผล. บทว่า สวุตา ได้แก่ สำรวมทาง

กายวาจาจิต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สทา แปลว่า ทุกเวลา. บทว่า

สีเลสุ ได้แก่ นิจศีล. บทว่า สวุตา ได้แก่ สำรวมทางกายวาจา.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงนิจศีลนั้น อุตตราเทพธิดาจึงกล่าวว่า เว้นขาด

จากปาณาติบาตเป็นต้น. ในคำนั้น ปาณะโดยโวหารสมมติ ได้แก่สัตว์ โดย

ปรมัตถ์ ได้แก่ ชีวิตินทรีย์. การทำสัตว์ให้ตกล่วงไป การฆ่าสัตว์ การ

ทำลายสัตว์ ชื่อว่า ปาณาติบาต. โดยอรรถ ได้แก่ เจตนาฆ่าของผู้มีความ

สำคัญในสัตว์มีชีวิตว่ามีชีวิต ซึ่งเป็นสมุฏฐานของความพยายามเด็ดชีวิ-

ตินทรีย์ เป็นไปทางกายทวารวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง. เว้น อธิบายว่า

งดหันกลับจากปาณาติบาตนั้น.

ในบทว่า มุสาวาทา วจีประโยคหรือกายประโยคที่หักรานประโยชน์

ของผู้มุ่งจะให้คลาดเคลื่อน ชื่อว่ามุสา. เจตนาที่เป็นสมุฏฐานของกาย-

ประโยคและวจีประโยคที่ทำให้คลาดเคลื่อนต่อผู้อื่น ด้วยประสงค์จะให้

คลาดเคลื่อน ซึ่งว่ามุสาวาท. อีกนัยหนึ่ง บทว่า มุสา ได้แก่ เรื่องที่ไม่

จริง ไม่แท้. บทว่า วาโท ได้แก่ เจตนาของผู้ประสงค์จะให้เขารู้เรื่องที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

ไม่จริงไม่แท้นั้น เป็นเรื่องจริงเรื่องแท้ เป็นสมุฏฐานของวิญญัติอย่างนั้น

สำรวม อธิบายว่า งดเว้นจากมุสาวาทนั้น. ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะ

รวมไว้.

ในบทว่า เถยฺยา ความเป็นขโมย เรียกเถยยะ อธิบายว่า ขโมย

ของเขาด้วยเจตนาเป็นขโมย. โดยความเถยยเจตนาของผู้ที่สำคัญในของที่

เจ้าของหวงแหนว่าเจ้าของหวงแหน เป็นสมุฏฐานของความพยายามที่จะ

ขโมยของเขาชื่อว่าเถยยะ. หรือสัมพันธ์ความว่า เจตนาที่สำรวมห่างไกล

จากเถยยะ เจตนาเป็นขโมยนั้น.

ในบทว่า อติจารา ความประพฤติล่วง ชื่อว่าอติจารา อธิบายว่า

ความประพฤติล่วงขอบเขตของโลก ด้วยอำนาจความในฐานะที่ไม่ควร

ละเมิด ชื่อว่ามิจฉาจาร. หญิง ๒๐ จำพวก คือ ๑๐ จำพวกได้แก่หญิง

ที่มารดารักษา หญิงที่บิดารักษา หญิงที่บิดามารดารักษา หญิงที่พี่ชาย

รักษา หญิงที่พี่สาวรักษา หญิงที่ญาติรักษา หญิงที่โคตรสกุลรักษา

หญิงที่ธรรมเนียมรักษา หญิงที่มีอารักขา หญิงที่มีสินไหมแก่ผู้ละเมิด

๑๐ จำพวก ได้แก่ หญิงที่เขาซื้อมาเป็นภริยา หญิงที่ยอมเป็นภริยาโดย

สมัครใจ หญิงที่ยอมเป็นภริยาโดยโภคสมบัติ หญิงที่หอบผ้าหนีตามผู้ชาย

หญิงที่แต่งงาน หญิงที่ชายสวมเทริด หญิงที่เป็นทาสีและภริยา หญิงที่เป็น

คนงานและภริยา หญิงเชลย หญิงที่ชายอยู่ร่วมชั่วขณะ ชื่อว่าอคมนีย-

ฐาน ๆ ที่ไม่ควรละเมิด สำหรับชายทั้งหลาย. ส่วนชายอื่น ๆ ก็ชื่อว่า

อคมนียฐานในหญิงทั้งหลาย เฉพาะสำหรับหญิง ๑๒ จำพวก คือหญิง

มีอารักขาและหญิงมีสินไหมรวม ๒ และหญิง ๑๐ จำพวก มีหญิงที่ชายซื้อ

มาเป็นต้น อคมนียฐานนี้เท่านั้น ท่านประสงค์เอาในบทว่ามิจฉาจารนี่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

โดยลักษณะ เจตนาก้าวล่วงอคมนียฐานที่เป็นไปทางกายทวาร ด้วยประสงค์

อสัทธรรม ชื่อว่าอติจาร. เจตนางดเว้นจากอติจารนั้น.

ในบทว่า มชฺชปานา สุราและเมรัย เรียกว่ามัชชะ เพราะอรรถว่า

ทำให้มึนเมา. คนทั้งหลายย่อมดื่มด้วยมัชชะนั้น เหตุนั้น มัชชะนั้น จึง

ชื่อว่าปานะ การดื่มมัชชะ ของมึนเมา ชื่อว่ามัชชปานะ. สุรา ๕ ประเภท

คือ สุราทำด้วยแป้ง สุราทำด้วยขนม สุราทำด้วยข้าว สุราใส่เชื้อ สุรา

ประกอบด้วยเครื่องปรุง หรือเมรัย ๕ ประเภท คือน้ำดอกไม้ดอง น้ำ

ผลไม้ดอง น้ำผึ้งหมัก น้ำอ้อยงบหมัก เมรัยที่ประกอบด้วยเครื่องปรุง

คนเอาใบพืชห่อสุราเมรัยดื่มแม้ด้วยปลายหญ้าคา ด้วยเจตนาทุศีลใด เจตนา

นั้น ชื่อว่ามัชชปานะ เจตนาเว้นไกลจากมัชชปานะนั้น.

อุตตราเทพธิดา แสดงนิจศีลที่แยกแสดงโดยเป็นธรรมที่ควรละ

ด้วยบทว่า ปาณาติปาตา วิรตา เป็นต้นอย่างนี้แล้ว รวมกันแสดงโดยเป็น

ธรรมที่ควรสมาทานอีกจึงกล่าวว่า ปญฺจสิกฺขาปเท รตา ดังนี้. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า สิกฺขาปท แปลว่า บทที่ควรศึกษา. อธิบายว่า ส่วน

แห่งสิกขา. อีกนัยหนึ่ง กุศลธรรมแม้ทั้งหมดมีฌานเป็นต้น ชื่อว่าสิกขา

เพราะเป็นธรรมที่ควรศึกษา. ก็บรรดาองค์ศีลทั้ง ๕ องค์ใดองค์หนึ่ง

ชื่อว่า บท เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งศีล เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึง

ชื่อว่า สิกขาบท เพราะเป็นบทที่ตั้งแห่งสิกขาทั้งหลาย ได้แก่องค์ศีลทั้ง

๕ ดีฉันอภิรมย์ยินดีในสิกขาบท ๕ อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

ยินดีแล้วในสิกขาบททั้ง ๕. บทว่า อริยสจฺจาน โกวิทา ได้แก่ กุศล

ละเอียดในอริยสัจ ๔ กล่าวคือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ด้วยอำนาจ

ตรัสรู้ ด้วยปริญญากำหนดรู้ ปหานละ สัจฉิกิริยาทำให้แจ้ง ภาวนาทำให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

มี. อธิบายว่า มีสัจจะอันแทงทะลุปรุโปร่งแล้ว. อุตตราเทพธิดา ระบุ

ถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยมหาโคตรด้วยบทว่า โคตมสฺส. ระบุโดย

พระเกียรติยศ หรือปริวารยศ ด้วยบทว่า ยสสฺสิโน.

บทว่า สาห ได้แก่ ดีฉันผู้มีคุณตามที่กล่าวแล้วนั้น. บทว่า สเกน

สีเลน ได้แก่ ด้วยศีลตามสภาพของตนมีความเป็นผู้ไม่ริษยาเป็นต้น และ

ด้วยศีลสมาทานมีอุโบสถศีลเป็นต้น เป็นตัวเหตุ. จริงอยู่ ศีลนั้นเรียกว่า

สก ของตน โดยเฉพาะ เพราะสัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง และ

เพราะนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขมาให้. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ต หิ ตสฺสส สก โหติ ตญฺจ อาทาย คจฺฉติ

ตญฺจสฺส อนุคฺค โหติ ฉายาว อนุปายินี

บุญนั้นแล ย่อมเป็นของเขา เขาพาบุญนั้นไป

และบุญนั้น ย่อมติดตามเขาไป เหมือนเงาตามไป

ฉะนั้น.

บทว่า ยสสา ยสสฺสินี ได้แก่ เป็นผู้มียศมีเกียรติ ด้วยกิตติศัพท์

ที่แพร่ไปโดยรอบ ดุจน้ำมันที่แผ่ไปเหนือพื้นน้ำ โดยคุณตามเป็นจริงที่

ตนบรรลุแล้ว เป็นต้นว่า อุตตราอุบาสิกาเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยศีลและ

จรรยา ไม่ริษยา ไม่ตระหนี่ ไม่มักโกรธ และเป็นต้นว่า เป็นผู้บรรลุ

ผลแล้ว รู้ศาสนาแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้มียศ มีบริวารพรั่งพร้อม

แล้วโดยปริวารยศ ที่ตนได้แล้วในที่นี้ด้วยคุณคือศีลนั้น. บทว่า อนุโภมิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

สก ปุญฺ ได้แก่ เสวยบุญของตน ตามที่สั่งสมไว้. จริงอยู่ ผลบุญอัน

ผู้ใดย่อมเสวย แม้บุญนั้นของผู้นั้น ก็เรียกว่า อนุภูยติ อันเขาย่อมเสวย

เพราะเป็นอุปจารใกล้ชิดกับผล. อีกนัยหนึ่ง แม้ผลสุจริต ท่านก็เรียกว่า

บุญ เพราะเป็นของปุถุชน ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุญนี้ย่อมเจริญอย่างนี้ เพราะเหตุที่สมาทานธรรมฝ่ายกุศล

ทั้งหลาย. บทว่า สุขิตา จมฺหิ อนามยา ได้แก่ ดีฉัน เป็นผู้เจริญ มีสุข

ด้วยสุขทิพย์ และสุขพละ มีอนามัยไร้โรคเพราะไม่มีทุกข์ ทางกาย

และทางใจ.

ศัพท์ในบทว่า มม จ เป็นสมุจจยัตถะ [ความประชุม]. ด้วย

ศัพท์นั้น อุตตราเทพธิดา ย่อมประมวลการไหว้สั่งความว่า และขอ

ท่านพึงถวายบังคม ตามคำของดีฉัน ไม่ใช่ตามสภาพของท่าน. แสดง

ความปรากฏแห่งความเป็นอริยสาวิกาของตน ด้วยคำว่า อนจฺฉริย

เป็นต้น. คำว่า ต ภควา เป็นต้นเป็นคำของพระสังคีติกาจารย์. คำที่

เหลือมีนัยกล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอุตตราวิมาน

๑๖. สิริมาวิมาน

ว่าด้วยสิริมาวิมาน

[๑๖] พระวังคีสเถระประสงค์จะให้นางสิริมาเทพธิดา ได้ประกาศ

บุญกรรม ที่นางทำไว้ในครั้งก่อน จึงสอบถามนางด้วยสองคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

ม้าของท่านเทียมรถ ประดับด้วยอลังการอย่าง

เยี่ยม ก้มหน้าไปในอากาศ มีกำลังว่องไว ม้าเหล่านั้น

เทียมรถ ๕๐๐ อันบุญกรรมเนรมิตแล้ว นายสารถี

เตือนแล้วก็พาตัวท่านไป ท่านนั้นประดับองค์แล้วยืน

อยู่บนรถอันเพริศแพร้ว ก็สว่างไสวคล้ายดวงไฟกำลัง

โชติช่วงอยู่นี้.

ดูก่อนเทพธิดาผู้อ่าองค์ น่าดูไม่จืด อาตมาขอ

ถามท่าน ท่านมาจากเทพหมู่ไร จึงเข้าเฝ้าพระพุทธ-

เจ้าผู้ที่ไม่มีใครประเสริฐยิ่งกว่า.

สิริมาเทพธิดาจึงตอบด้วยคาถาว่า

บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงเทพซึ่งเป็นผู้เลิศด้วย

กามหมู่ใดว่า เป็นทวยเทพที่เยี่ยมหาที่เปรียบมิได้

ยินดีด้วยกามสมบัติ ที่ทวยเทพพวกอื่นมาเนรมิตให้

[ นิมมานรดี ดีฉันเป็นอัปสรที่มีวรรณะงาม มาจาก

เทพหมู่นั้น มาในมนุษยโลกนี้ก็เพื่อจะถวายบังคม

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ไม่มีใครประเสริฐยิ่งกว่า.

พระเถระใคร่จะถามถึงบุญกรรมที่นางก่อสร้างไว้ในชาติก่อน จึง

ได้ถามด้วยสองคาถาว่า

ชาติก่อนแต่จะมาในที่นี้ ท่านได้สั่งสมสุจริต

กรรมอะไรไว้ ท่านจึงมียศนับประมาณไม่ได้ เปี่ยม

ไปด้วยความสุข เพราะบุญอะไร ตัวท่านจึงมีฤทธิ์ ซึ่ง

ไม่มีฤทธิ์ไร ๆ ประเสริฐยิ่งกว่า และเหาะได้ (เช่นนี้)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

ทั้งวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ดูก่อน

เทวดา ท่านมีทวยเทพห้อมล้อมสักการะ ท่านจุติมา

จากที่ไหนจึงถึงสุคตินี้ อนึ่ง ท่านได้ทำตามโอวาทา-

นุสาสนีของศาสดาองค์ไร หากท่านเป็นสาวิกาของ

พระพุทธเจ้าไซร้ ขอท่านได้โปรดบอกอาตมาด้วย.

สิริมาเทพธิดา เมื่อจะตอบเนื้อความตามที่พระเถระถาม จึงกล่าว

ตอบด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดีฉันเป็นปริจาริกานางบำเรอของพระเจ้าพิมพิ-

สารผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงมีสิริ ในมหานคร ซึ่ง

สถาปนาไว้ในระหว่างภูผา ดิฉันมีความชำนาญด้วย

ศิลปะการฟ้อนรำขับร้องอย่างเยี่ยม คนทั้งหลายใน

กรุงราชคฤห์ เขารู้จักดิฉันในนามว่า " สิริมา "

เจ้าข้า. พระพุทธเจ้าทรงเป็นนิสภะยอดผู้องอาจใน

จำพวกฤษีผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐ ผู้แนะนำสัตว์

โลกพิเศษ ได้ทรงแสดงทุกขสัจ สมุทัยสัจ ทุกข-

นิโรธสัจความดับทุกข์ อันไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง และ

มรรคสัจที่ไม่คดทางตรง เป็นทางเกษมแก่ดีฉัน ดีฉัน

ครั้นฟังอมตบททางไม่ตาย ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ซึ่ง

เป็นคำสอนของพระตถาคตผู้ประเสริฐแล้ว จึงเป็น

ผู้สำรวมอย่างเคร่งครัดในศีลทั้งหลาย ดำรงมั่นอยู่

ในธรรม ที่พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านรชนทรงแสดงไว้

แล้ว ครั้นดีฉันรู้จักบทอันปราศจากกิเลสดุจธุลี ซึ่ง

ปัจจัยปรุงแต่งมิได้ ที่พระตถาคตผู้ประเสริฐทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

แสดงไว้นั้น ดีฉันจึงได้สัมผัสสมาธิอันเกิดจากความ

สงบในอัตภาพนั้นเอง อันนั้นเป็นความแน่นอนใน

มรรคผลอันเยี่ยมสำหรับดีฉัน ครั้นได้อมตธรรมอัน

ประเสริฐ อันทำให้แยกจากปุถุชนแล้ว จึงเชื่อมั่น

โดยส่วนเดียว ในพระรัตนตรัย บรรลุคุณพิเศษเพราะ

ตรัสรู้ หมดความสงสัย จึงเป็นผู้ที่ชนเป็นอันมาก

บูชาแล้ว จึงเสวยความยินดีระเริงเล่นไม่น้อยเลย

โดยประการดังกล่าวมานี้ ดีฉันจึงเป็นเทพธิดาผู้เห็น

นิพพาน เป็นสาวิกาของพระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็น

ผู้ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริง เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล

ขั้นแรก คือ เป็นโสดาบัน ทุคติเป็นอันไม่มีอีกละ

ดีฉันนั้นมาเพื่อถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐ และนมัสการภิกษุทั้งหลายที่น่าเลื่อมใส

ผู้ยินดีในธรรมฝ่ายกุศล เละเพื่อจะนมัสการสมณะ

สมาคมอันเกษม ดีฉันเป็นผู้มีความเคารพในพระ-

ธรรมราชาผู้ทรงพระสิริ ครั้นได้เห็นพระสัมพุทธมุนี

แล้ว ก็ปลื้มใจอิ่มเอิบ ดีฉันขอถวายบังคมพระ-

ตถาคต ผู้เห็นสารถีฝึกคนดีที่ควรฝึก ทรงตัดตัณหา

เสียได้ ทรงยินดีแล้วกุศลธรรม ผู้ทรงแนะนำ

ประชุมชนให้พ้นทุกข์ ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตวโลกด้วย

ประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง.

จบสิริมาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

อรรถกถาสิริมาวิมาน

สิริมาวิมาน มีคาถาว่า ยุตฺตา จ เต ปรมอลงฺกตา เป็นต้น.

สิริมาวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน

กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น โสเภณีชื่อสิริมา ที่กล่าวไว้ในเรื่องติดต่อมาใน

หนหลัง [อุตตราวิมาน] สละงานที่เศร้าหมอง [ การเป็นโสเภณี ]

เพราะบรรลุโสดาปัตติผล ได้ตั้งสลากภัต ๘ กอง แก่พระสงฆ์. ตั้งแต่

ต้นมา ภิกษุ ๘ รูปก็มาเรือนนางเป็นประจำ. นางสิริมานั้น กล่าวคำ

เป็นต้นว่า โปรดรับเนยใส โปรดรับนมสด แล้วบรรจุบาตรของภิกษุ

เหล่านั้นจนเต็ม. ของที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ไป ย่อมพอแก่ภิกษุ ๓ รูปบ้าง

๔ รูปบ้าง นางถวายบิณฑบาต โดยคำใช้สอย ๑๖ กหาปณะ ทุกวัน.

ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งฉันสลากภัตกองที่ครบ ๘ ในเรือนของ

นางแล้วก็ไปยังวิหารแห่งหนึ่งไกลออกไป ๓ โยชน์. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย

จึงถามภิกษุรูปนั้น ซึ่งนั่งในที่ปรนนิบัติพระเถระเวลาเย็นว่า ผู้มีอายุ

ท่านรับภิกษาที่ไหนจึงมาที่นี่. ตอบว่า ผมฉันสลากภัตกองที่ ๘ ของ

นางสิริมา. ถามว่า ผู้มีอายุ นางสิริมา ถวายสลากภัตนั้นยังน่าพอใจอยู่

หรือ. ภิกษุนั้นจึงพรรณนาคุณของนางว่า ผมไม่อาจพรรณนาอาหารของ

นางได้ นางถวายแต่ของประณีตเหลือเกิน ของที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ไป ยัง

พอแก่ภิกษุ ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง. แต่การเห็นนางต่างหากที่สำคัญกว่า

ไทยธรรมของนาง. จริงอยู่ หญิงนั้นงามเห็นปานนี้ งามเห็นปานนั้น.

ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งฟังคำพรรณนาคุณของนางสิริมานั้นแล้ว

แม้ไม่ได้เห็นตัวก็เกิดสิเนหาโดยได้ยินเท่านั้น คิดว่า เราควรจะไปดูนางใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

ที่นั้น จึงบอกพรรษาสุดท้ายของตนแล้วถามภิกษุรูปนั้นซึ่งยังอยู่ ฟังคำ

ของภิกษุรูปนั้นว่า ผู้มีอายุ พรุ่งนี้ท่านเป็นสังฆเถระก็จักได้สลากภัตกอง

ที่ ๘ ในเรือนหลังนั้น แล้วก็ถือบาตรจีวรกลับไปในทันใดนั่นเอง พอ

อรุณขึ้นตอนเช้าตรู่ ก็เข้าไปยืนยังโรงสลาก เป็นสังฆเถระได้สลากภัต

กองที่ ๘ ในเรือนนาง ในเวลาที่ภิกษุซึ่งฉันเมื่อวันวานกลับไปแล้ว โรค

ก็เกิดขึ้นในเรือนร่างของนาง เพราะฉะนั้น นางจึงนอนเปลื้องเครื่อง

ประดับทั้งหลาย. ขณะนั้นเหล่าทาสี เห็นภิกษุทั้งหลายมาเพื่อรับสลากภัต

กองที่ ๘ จึงบอกนาง. นางไม่อาจจะไปวางอาหารลงในบาตรด้วยมือตน

เอง หรือนิมนต์ให้ท่านนั่งได้ ได้แต่ใช้เหล่าทาสี สั่งว่า แม่คุณเอ๋ย พวก

เจ้าจงรับบาตรนิมนต์ให้ท่านนั่ง ให้ท่านดื่มข้าวต้ม แล้วถวายของเคี้ยว

เวลาอาหารจงบรรจุบาตรให้เต็มแล้วถวาย ทาสีเหล่านั้น รับคำว่าดีแล้วแม่

นาย แล้วนิมนต์ให้ท่านเข้าไปให้ดื่มข้าวต้มถวายของเคี้ยว เวลาอาหาร

บรรจุอาหารเต็มบาตรแล้วก็บอกนาง. นางกล่าวว่า พวกเจ้าจงช่วยกัน

พยุงเราไป จักไหว้พระผู้เป็นเจ้า แล้วทาสีเหล่านั้นช่วยกันพยุงนางไปหา

ภิกษุทั้งหลาย ไหว้ภิกษุทั้งหลายด้วยเรือนร่างที่สั่นเทาอยู่. ภิกษุนั้นดูนาง

แล้วก็คิดว่า นางกำลังป่วย รูปยังงามถึงเพียงนี้ เวลานางไม่ป่วยประดับ

ด้วยอาภรณ์ครบถ้วน จักงามสักเพียงไหน. ขณะนั้นกิเลสที่สะสมไว้หลาย

โกฏิปีของภิกษุนั้น ก็ฟุ้งขึ้น. ภิกษุนั้นไม่มีญาณ ไม่อาจฉันอาหารได้

ถือบาตรกลับวิหารปิดบาตรเก็บไว้ ณ ที่แห่งหนึ่ง คลี่ชายจีวรลงปูนอน.

ขณะนั้น ภิกษุผู้สหายรูปหนึ่ง แม้อ้อนวอนก็ไม่อาจให้เธอฉันอาหารได้

ภิกษุนั้น ก็อดอาหาร.

เวลาเย็นวันนั้นนั่นเอง นางสิริมาก็ตาย. พระราชาทรงส่งข่าวไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

ทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสิริมาน้องสาวของหมอชีวก

ตายเสียแล้วพระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงทราบข่าวนั้นแล้ว ทรงส่งข่าว

ถวายพระราชาว่า อย่าเพิ่งทำฌาปนกิจสิริมา ขอได้โปรดนำไปป่าข้าศพสด

ให้นอนให้รักษาไว้ โดยวิธีที่ฝูงกาเป็นต้นจะไม่จิกกิน. พระราชาก็ทรง

ปฏิบัติตามพระพุทธประสงค์. ล่วงเวลาไป ๓ วัน ตามลำดับ. วันที่ ๔

ร่างของนางก็พองขึ้น. เหล่าหนอนก็ไหลออกจากปากแผลทั้ง ๙. ทั่ว

เรือนร่างก็เป็นเหมือนถาดข้าวสาลีแตก. พระราชาก็โปรดให้ตีกลองป่าว

ประกาศไปในพระนครว่า ยกเว้นเด็กเฝ้าบ้านเสีย คนที่ไม่มาดูนางสิริมา

ต้องเสียค่าปรับไหม ๘ กหาปณะ ทรงส่งข่าวไปทูลพระศาสดาว่า เขาว่า

พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จะเสด็จมาดูนางสิริมา. พระศาสดาจึง

ตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า จักไปดูนางสิริมา.

ภิกษุหนุ่มแม้รูปนั้น ไม่เธอฟังคำของใคร ๆ นอนอดอาหารอยู่ ๔

วัน. อาหารในบาตรก็บูด บาตรก็ขึ้นสนิม. ภิกษุรูปนั้น ถูกเพื่อนภิกษุ

เข้าไปหาพูดว่าท่าน พระศาสดาจะเสด็จไปดูนางสิริมานะ แม้จะถูกความ

หิวครอบงำ แต่พอได้ยินเพื่อนภิกษุออกชื่อว่าสิริมา ก็รีบลุกขึ้นถามว่า

ท่านพูดอะไร ถูกเพื่อนภิกษุกล่าวว่า พระศาสดาจะเสด็จไปดูนางสิริมา

ตัวท่านจักไปไหมเล่า. ก็ตอบว่า ไปสิขอรับ แล้วเทอาหารทิ้งล้างบาตร

เก็บใส่ถลก ก็ไปพร้อมกับภิกษุสงฆ์. พระศาสดามีหมู่ภิกษุแวดล้อม

ประทับยืนอยู่ข้างหนึ่ง ทั้งภิกษุสงฆ์ ทั้งราชบุรุษ ทั้งอุบาสกบริษัท ทั้ง

อุบาสิกาบริษัท ก็พากันยืนอยู่แต่ละข้าง ๆ พระศาสดาตรัสถามพระราชา

ว่า ถวายพระพรมหาบพิตร นั่นใคร พระราชาทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ น้องสาวของหมอชีวก ชื่อสิริมา พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่านั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

สิริมาหรือ. ทูลว่า พระเจ้าข้าขอรับ. ตรัสว่าถ้าอย่างนั้น โปรดให้ตีกลอง

ป่าวประกาศไปในพระนครว่า คนทั้งหลายจงให้ทรัพย์พันหนึ่งแล้วรับ

สิริมาไป. พระราชาตรัสสั่งให้ปฏิบัติตามพระพุทธประสงค์. บรรดาคน

เหล่านั้น ไม่มีแม้แต่คนเดียวที่จะพูดว่าฉันรับ พระราชาจึงกราบทูลพระ-

ศาสดาว่า ไม่มีคนรับ พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น ก็จงลดราคาลง

มาสิ มหาบพิตร. พระราชาก็ให้ตีกลองป่าวประกาศว่า ใครให้ทรัพย์

๕๐๐ ก็จงรับสิริมาไป ไม่ทรงเห็นใคร ๆ ที่จะรับ จึงให้ตีกลองป่าว

ประกาศลดราคาลง ๒๕๐, ๒๐๐, ๑๐๐, ๕๐, ๒๕, ๒๐, ๑๐, ๕, ๑

กหาปณะ ครึ่งบาท ๑ มาสก ๑ กากณึก, ให้เปล่า ๆ [ไม่คิดราคา]

บรรดาชนแม้เหล่านั้น ก็ไม่มีใครพูดว่า ฉันรับ ๆ. พระราชาจึงกราบทูล

ว่า ให้เปล่า ๆ ก็ไม่มีคนรับ พระเจ้าข้า. พระศาสดาทรงแสดงว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูมาตุคาม ซึ่งเป็นที่รักของมหาชน แต่ก่อน

คนทั้งหลายในพระนครนี้ ให้ทรัพย์พันหนึ่ง ก็ได้นางไปตลอดวันหนึ่ง

บัดนี้ให้เปล่า ๆ ก็ไม่มีคนรับ นามรูปเห็นปานนี้ ถึงความสิ้นไปเสื่อม

ไปเป็นธรรมดา ทำให้งดงามด้วยเครื่องประดับภายนอกก็ยังมีแผล โดย

ปากแผลทั้ง ๙ อันกระดูก ๓๐๐ ท่อน สร้างเป็นโครงขึ้น อาดูรเดือดร้อน

อยู่เป็นประจำ ชื่อว่า มีความดำริมาก เพราะมหาชนผู้เขลา ดำริโดย

ส่วนมากอย่างเดียว อัตภาพที่ไม่ยั่งยืน ดังนี้ จึงตรัสพระคาถาว่า

ปสฺส จิตฺตกต พิมฺพ อรุกาย สมุสฺสิต

อาตุร พหุสงฺกปฺป ยสฺส นตฺถิ ธุว ิตี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

เธอจงดูรูปกาย ที่ปัจจัยทำให้งดงาม มีแผล

กระดูกสร้างเป็นโครงขึ้น มีความเดือดร้อน มีความ

ดำริมาก ซึ่งไม่มีความยืนยงคงที่เลย.

จบเทศนา ภิกษุที่มีจิตติดพันนางสิริมา ก็ปราศจากฉันทราคะ

เจริญวิปัสสนาแล้วก็บรรลุพระอรหัต. สัตว์ประมาณ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้

ธรรมาภิสมัย ตรัสรู้ธรรม.

สมัยนั้น สิริมาเทพกัญญาสำรวจความสำเร็จแห่งสมบัติของตน

ตรวจดูที่มาก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมประทับยืน และ

หมู่มหาชนประชุมกัน ใกล้เรือนร่างของตนในอัตภาพก่อน จึงมีเทพ-

กัญญา ๕๐๐ ห้อมล้อม มาปรากฏกายกับรถ ๕๐๐ ลงจากรถแล้ว มี

บริวารตามมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนทำอัญชลีประนมมือ

ไหว้. สมัยนั้น ท่านพระวังคีสะยืนอยู่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า จึง

กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า การถามปัญหาข้อหนึ่ง แจ่มแจ้งกะ

ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวังคีสะ การ

ถามปัญหาจงแจ่มแจ้งกะเธอเถิด [ ทรงอนุญาตให้ถามปัญหากะเทพธิดา

ได้ ] ท่านพระวังคีสะ จึงได้ถามสิริมาเทพธิดาว่า

ม้าทั้งหลายของท่าน เทียมรถแล้ว ประดับ

อย่างวิเศษ บ่ายหน้าลงไปในอากาศ [ เหาะได้ ] มี

กำลังว่องไว ม้าทั้งหลายของท่านเทียมรถ ๕๐๐ อัน

บุญกรรมเนรมิตแล้ว สารถีเตือนแล้วก็พาท่านไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

ท่านประดับองค์แล้ว ส่องแสงสว่าง ราวกะ

ดวงไฟโชติช่วง ยืนอยู่เหนือรถอันเพริศแพร้ว.

ดูก่อนเทพธิดาผู้อ่าองค์ ดูไม่จืดเลย อาตมาขอถาม

ท่าน ท่านมาจากเทพหมู่ไร จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ผู้ไม่มีผู้ใดประเสริฐยิ่งกว่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยุตฺตา จ เต ปรมอลงฺกตา หยา

ความว่า หยะคือม้าทั้งหลายของท่านคือที่เทียมรถของท่าน ประดับด้วย

อลังการอย่างเยี่ยม อย่างเหลือเกิน อย่างวิเศษ หรือประดับด้วยเครื่อง

อลังการของม้า อันเป็นทิพย์อย่างยิ่ง สูงสุด หรือม้าอาชาไนยอย่างยิ่ง

เลิศประเสริฐสุด ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง หรือว่า ม้าที่เทียมรถ

เหมาะแก่ท่านและรถของท่าน หรือเทียมรถแล้วประกบเข้ากัน เพราะ

สมกันและกัน. ก็บทว่า ปรมอลงฺกตา ในคาถานั้น พึงเห็นว่าท่านไม่ทำ

สนธิในฝ่ายแรก นิเทศไม่แจกในฝ่ายที่สอง. บทว่า อโธมุขา แปลว่า

มีหน้าต่ำ, ก็หากมี หน้าของม้าในครั้งนั้นตั้งอยู่โดยปกติ [ไม่ต่ำ ] โดย

เหตุที่ลงจากเทวโลก ม้าเหล่านั้น ท่านจึงกล่าวว่า อโธมุขา มีหน้าลง.

บทว่า อฆสิคมา แปลว่า ไปสู่เวหาส [คือเหาะได้ ]. บทว่า พลี

แปลว่า มีกำลัง. บทว่า ชวา แปลว่า เร็ว อธิบายว่า มีกำลังและวิ่งเร็ว.

บทว่า อภินมฺมิตา ได้แก่ อันบุญกรรมของท่านเนรมิต ทำให้บังเกิด.

อีกอย่างหนึ่ง สิริมาเทพธิดาหมายถึงที่ตนเองเนรมิตแล้วเท่านั้น จึงกล่าวว่า

อภินิมฺมิตา เพราะนางเป็นเทพธิดาชั้นนิมมานรดี. บทว่า ปญฺจรถาสตา

ท่านกล่าวทำทีฆะอักษร และลิงควิปลาส เพื่อสะดวกแก่คาถา. หรือพึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

เห็นว่าไม่ลบวิภัตติ. อธิบายว่า รถ ๕๐๐. บทว่า อนฺเวนฺติ ต สารถิ-

โจทิตา หยา ความว่า ดูก่อนท่านเทวดาผู้เจริญ ม้าเหล่านี้เทียมรถ

อันสารถีเตือนแล้วย่อมพาท่านไป. เกจิอาจารย์กล่าวว่า สารถิอโจทิตา

ความว่า อันสารถีทั้งหลายไม่ต้องเตือนเลย ก็พาท่านไป. อีกนัยหนึ่ง

บทหนึ่งว่า สารถิโจทิตา หยา ท่านกล่าวทำทีฆะ เพื่อสะดวกแก่คาถา

ประกอบความว่า ม้าเทียมรถ ๕๐๐ อันสารถีเตือนแล้ว.

บทว่า สา ติฏฺสิ แปลว่า ท่านนั้นยืนอยู่. บทว่า รถวเร ได้แก่

รถอันสูงสุด. บทว่า อลงฺกตา ได้แก่ มีเรือนร่างประดับด้วยทิพยาลังการ

มีภาระ [ น้ำหนัก ] ๖๐ เล่มเกวียน. บทว่า โอภาสย ชลมิวโชติปาวโก

ได้แก่ ส่องแสงสว่างโชติช่วง อยู่ประดุจดวงไฟลุกโพลง. ท่านอธิบายว่า

ส่องแสงสว่างรุ่งเรืองอยู่โดยรอบ. คำว่า โชติ เป็นชื่อทั่วไปของดวงจันทร์

ดวงอาทิตย์และดวงดาวนักษัตรทั้งหลาย. บทว่า วรตนุ ได้แก่ ผู้ทรงรูป

สูงสุด [ คือสวย ] ผู้งามทุกส่วน. ผู้ที่ดูไม่จืดเลย น่าดูไม่ทราม อธิบาย

ว่าน่าดู น่าเลื่อมใส เพราะงามทุกส่วนนั้นนั่นเอง. บทว่า กสฺมา น

กายา อนธิวร อุปาคมิ ความว่า ท่านมาแต่หมู่เทพชั้นไรหนอ จึงมา

เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ยอดเยี่ยม.

เทวดานั้นถูกพระเถระถามอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงองค์จึงกล่าว

คาถาว่า

บัณฑิตกล่าวเทพ [ ชั้นปรนิมมิตวสวัดดี ] ที่

เป็นผู้เลิศด้วยกาม [กามวจร] หมู่ใดว่าเป็นเทวดา

ผู้ยอดเยี่ยมยินดีด้วยกามสมบัติที่เหล่าเทพชั้นนิม-

มานรดีเนรมิตให้ ดีฉันเป็นเทพอัปสรมีวรรณะงาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

จากเทพหมู่นั้น มาในที่นี้ก็เพื่อนมัสการพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าผู้ที่ไม่มีใครประเสริฐยิ่งกว่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามคฺคปตฺตาน ยมาหุนุตฺตร ความว่า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวเทพหมู่ใด ว่ายอดเยี่ยมโดยยศและโดยโภคะเป็นต้น

แห่งเทพทั้งหลายชั้นปรนิมมิตวสวัดดี ผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยเครื่องอุป-

โภคคือกามทั้งหลาย. จากเทพหมู่นั้น. บทว่า นิมฺมาย นิมฺมาย รมนฺติ

เทวตา ความว่าเหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี เนรมิต ๆ ตามความที่ตน

ปรารถนาด้วยตนเอง ย่อมยินดีเล่น ระเริง อภิรมย์. บทว่า ตสฺมา กายา

ได้แก่ จากหมู่เทพชั้นนิมมานรดีนั้น. บทว่า กามวณฺณินี ได้แก่ ผู้ทรง

กามรูป ผู้ทรงรูปตามที่ปรารถนา. บทว่า อิธาคตา ได้แก่ มาในที่นี้

คือมนุษยโลกนี้ หรือสู่มนุษยโลกนี้.

เมื่อเทวดากล่าวบอกความที่ตนเป็นเทวดาชั้นนิมมานรดีอย่างนี้แล้ว

พระเถระประสงค์จะให้นางกล่าวถึงภพก่อน บุญที่ทำในภพนั้นและลัทธิ

ของนาง จึงได้กล่าวสองคาถาว่า

ท่านสร้างสมสุจริตอะไร ในอัตภาพเทวดานี้

ไว้ในภพก่อนเพราะบุญอะไรท่านจึงนั่งม้าเป็นพาหนะ

มียศนับไม่ได้ จำเริญสุข และฤทธิ์ของท่าน ไม่มี

ฤทธิ์อื่นประเสริฐกว่า ยังเหาะได้ทั้งวรรณะของท่าน

รุ่งโรจน์รูปทั้งสิบทิศ.

ดูก่อนเทวดา ท่านอันทวยเทพแวดล้อมและ

สักการะแล้ว ท่านจุติจากที่ไหน จึงถึงสุคติ หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

ท่านเชื่อฟังคำสั่งสอนของศาสดาองค์ใด หากท่าน

เป็นพุทธสาวิกา ขอท่านโปรดบอกอาตมาด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาจริ ท่านกล่าวทำทีฆะ [ เสียงยาว ] .

อธิบายว่าสั่งสม. บทว่า อิธ เป็นเพียงนิบาต. หรือว่า อิธ แปลว่า

ในอัตภาพเทวดานี้. บทว่า เกนจฺฉสิ ความว่า เพราะบุญอะไร ท่านจึง

นั่งม้าเป็นพาหะ. เกจิอาจารย์กล่าวว่า เกนาสิ ตฺว. บทว่า อมิตยสา

ได้แก่ มียศนับไม่ได้ มีบริวารยศไม่น้อย. บทว่า สุเขธิตา แปลว่า จำเริญ

โดยสุข อธิบายว่า มิทิพยสุขเพิ่มพูนดี. บทว่า อิทฺธี ได้แก่ อานุภาพทิพย์.

บทว่า อนธิรา ได้แก่ ชื่อว่า อนธิวรา เพราะไม่มีฤทธิ์อื่นที่ยิ่งที่วิเศษ.

อธิบายว่า สูงสุดยิ่ง. บทว่า วิหงฺคมา แปลว่า ไปได้ทางอากาศ. บทว่า

ทส ทิสา แปลว่า ทั้งสิบทิศ. บทว่า วิโรจติ ได้แก่ ส่องสว่าง.

บทว่า ปริจาริตา สกฺกตา จสิ ได้แก่ เป็นผู้อันทวยเทพแวดล้อม

แล้วโดยรอบและยกย่องแล้ว. บทว่า กุโต จุตา สุคติคตาสิ ได้แก่ เป็น

ผู้จุติจากคติไหน ในคติทั้ง ๕ จึงเข้าถึงสุคติ คือเทวคตินี้ โดยอำนาจ

ปฏิสนธิ. บทว่า กสฺส วา ตฺว วจนกรานฺสาสนึ ได้แก่ ท่านทำตามคติ

ด้วยการรับโอวาทานุศาสนีในศาสนา คือธรรมวินัยของศาสดาองค์ไรหนอ.

หรือว่าพึงทราบความในข้อนี้ว่า ท่านทำตามคำของศาสดาองค์ไรหนอ

ด้วยการตั้งอยู่ในคำพร่ำสอน ของศาสดาผู้สั่งสอน. พระเถระครั้นถาม

ลัทธิของนางโดยไม่ต้องแสดงศาสดาอย่างนี้แล้ว จึงถามโดยต้องแสดง

ศาสดาอีกว่า หากท่านเป็นพุทธสาวิกา ขอโปรดบอกแก่อาตมาด้วยเถิด.

ในคำถามนั้น บทว่า พุทฺธสาวิกา ได้แก่ ชื่อว่าพุทธสาวิกา เพราะเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

เมื่อสุดการฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ชื่อว่าพุทธะ เพราะตรัสรู้

ไญยธรรมแม้ทุกอย่างด้วยพระสยัมภูญาณ โดยประจักษ์ ประดุจผลมะขาม

ป้อมบนฝ่ามือ.

เทวดาเมื่อจะกล่าวความที่พระเถระถามอย่างนี้ จึงได้กล่าวคาถา

เหล่านี้ว่า

ดีฉันเป็นปริจาริกาของพระราชาผู้ทรงคุณอัน

ประเสริฐ ทรงมีสิริ ณ มหานคร ซึ่งสถาปนาไว้เป็น

อันดี ณ กลางภูผา [ ๕ ลูก] เป็นผู้ชำนาญเยี่ยม

ด้วยศิลปะฟ้อนรำขับร้อง. คนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์

ได้รู้จักดีฉันในนามว่า สิริมา เจ้าข้า. พระพุทธเจ้า

ผู้เป็นฤษีประเสริฐสุด เป็นผู้แนะนำ ได้ทรงแสดง

ทุกขสัจ สมุทัยสัจ ทุกขนิโรธสัจ ที่ปัจจัยปรุงแต่ง

ไม่ได้ และมรรคสัจนี้ ที่ไม่คด เป็นทางตรง

ทางเกษม.

ดีฉันสดับอมตบท ที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เป็น

คำสอนของพระตถาคต ผู้ที่ไม่มีผู้อื่นประเสริฐกว่า

ดีฉันเป็นผู้สำรวมอย่างยิ่งในศีลทั้งหลาย ตั้งอยู่ใน

ธรรมอันพระพุทธเจ้า ผู้เป็นนระประเสริฐทรงแสดง

แล้ว.

ดีฉันรู้บทที่ปราศจากกิเลสดุจธุลี ที่ปัจจัยปรุง

แต่งไม่ได้ ซึ่งพระตถาคต ผู้ที่ไม่มีผู้อื่นประเสริฐกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

ทรงแสดงแล้ว ดีฉันได้สัมผัสสมาธิจากสมถะ ใน

อัตภาพนั้นนั่นแล อันนั้น ได้เป็นความแน่นอน

อย่างยิ่ง [ ที่จะบรรลุมรรคผล ] สำหรับดีฉัน.

ดีฉันได้อมตธรรมอันประเสริฐ ทำให้แปลก

จากปุถุชน มีความเชื่อมั่นในพระรัตนตรัยส่วนเดียว

บรรลุคุณวิเศษเพราะตรัสรู้ ไม่มีความสงสัยอันชน

เป็นอันมากบูชาแล้ว ดีฉันเสวยความยินดีระเริงเล่น

ไม่น้อยเลย.

ดีฉันเป็นเทวดาเห็นอมตธรรมอย่างนี้ เป็น

สาวิกาของพระตถาคต ผู้ที่ไม่มีผู้อื่นประเสริฐกว่า

เห็นธรรมก็ตั้งอยู่ในผลระดับแรก [ โสดาปัตติผล]

เป็นพระโสดาบัน ทุคติเป็นอันไม่มีอีกละ.

ดีฉันนั้นเข้ามาเพื่อถวายบังคมพระองค์ ผู้ที่ไม่มี

ผู้อื่นประเสริฐกว่า และเหล่าภิกษุผู้ยินดีในกุศล ที่น่า

เลื่อมใส เพื่อนมัสการสมณสมาคมอันรุ่งเรื่อง ดีฉัน

มีความเคารพในพระธรรมราชาผู้ทรงสิริ.

ดีฉันพบพระมุนีแล้ว ก็มีใจบันเทิงเอิบอิ่ม ขอ

ถวายบังคมพระตถาคต ผู้ทรงเป็นสารถีฝึกคนดีที่

ควรฝึก ทรงตัดตัณหา ยินดีในกุศล เป็นผู้นำสัตว์

ผู้อนุเคราะห์ด้วยประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นคนฺตเร ได้แก่ ในระหว่างกลางภูผา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

๕ ลูก คืออิสิคิลิ เวปุลละ เวภาระ ปัณฑวะและคิชฌกูฏ. สมัยที่นครนั้น

เขาเรียกกันว่า คิริพชนคร [ ปัญจคิรีนคร ]. บทว่า นครวเร ได้แก่

นครสูงสุด. สิริมาเทพธิดา กล่าวหมายถึงกรุงราชคฤห์. บทว่า

สุมาปิเต ได้แก่ ที่มหาโควินทบัณฑิตสถาปนาโดยชอบ ด้วยวิธีใช้วิชา

ดูพื้นที่. บทว่า ปริจาริกา ได้แก่ เป็นผู้ปรนนิบัติด้วยการบำเรอด้วย

สังคีตะ. บทว่า ราชวรสฺส ได้แก่ พระเจ้าพิมพิสารมหาราชผู้ประเสริฐ.

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า คำว่า สิริ ในคำว่า สิริมโต นี้ เป็นชื่อของ

พุทธิความรู้และบุญ. อีกนัยหนึ่ง สมบัติมีความสง่างามแห่งเรือนร่าง

เป็นต้น อันบังเกิดเพราะบุญ ท่านเรียกว่า สิริ เพราะอาศัยคนทำบุญ

หรือคนทำบุญอาศัย. สิรินั้นมีอยู่แก่พระราชานั้น เหตุนั้น พระราชานั้น

จึงทรงชื่อว่า สิริมา มีสิริ. พระราชาพระองค์นั้น ผู้ทรงมีสิริ. บทว่า

ปรมสุสิกฺขิตา ได้แก่ ศึกษาแล้วอย่างยิ่งและโดยชอบ. บทว่า อหุ แปลว่า

ได้เป็นแล้ว. บทว่า อเวทึสุ แปลว่า รู้กันทั่วแล้ว.

บทว่า อิสินิสโภ ได้แก่ จ่าฝูงโค ๑๐๐ ตัว ชื่อว่าอุสภะ. จ่าฝูง

โค ๑,๐๐๐ ตัว ชื่อว่า วสภะ. อีกนัยหนึ่ง จ่าฝูงโค ๑๐๐ คอก ชื่อว่า

อุสภะ จ่าฝูงโค ๑,๐๐๐ คอก ชื่อว่า วสภะ โคที่ประเสริฐสุดกว่าโค

ทุกตัว ทนต่ออันตรายทุกอย่าง สีขาว น่าเลื่อมใส บรรทุกภาระของ

หนักได้มาก แม้เสียงฟ้าผ่า ๑๐๐ ครั้งก็ไม่ทำให้หวั่นไหว ชื่อว่า นิสภะ

โคนิสภะนั้นประกอบด้วยกำลังโคนิสภะ ๔ เท้าเหยียบแผ่นดิน อันตราย

ไร ๆ ก็ทำให้หวั่นไหวไม่ได้ ยืนมั่นด้วยการยืนไม่ไหวติง ฉันใด

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ทรงประกอบด้วยกำลังของพระตถาคตทรง

ใช้พระบาท คือ เวสารัชชญาณทั้ง ๔ เหยียบแผ่นดินคือบริษัท ๘ อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

ปัจจามิตร ผู้ขัดประโยชน์ไร ๆ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ทำให้ทรง

หวั่นไหวไม่ได้ ทรงยืนหยัดด้วยการยืนอย่างไม่ไหวติง. เพราะฉะนั้น จึง

ทรงเป็นนิสภะ เพราะทรงเป็นเหมือนโคนิสภะ. ชื่อว่า ทรงเป็นนิสภะ

ในเหล่าผู้แสวงคุณที่เป็นเสกขะและอเสกขะ ซึ่งได้ชื่อว่า อิสิ ฤษี

เพราะอรรถว่าแสวงหาธรรมขันธ์ มีศีลเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

ทรงเป็นนิสภะของเหล่าฤษีทั้งหลาย หรือเป็นฤษีด้วย เป็นนิสภะนั้นด้วย

เหตุนั้น จึงชื่อว่า อิสินิสภะ เป็นทั้งฤษีทั้งนิสภะ. ทรงชื่อว่า วินายกะ

เพราะทรงแนะนำเวไนยสัตว์ทั้งหลาย. อีกนัยหนึ่ง ทรงเว้นจากนายกผู้

แนะนำ เหตุนั้น จึงทรงชื่อว่า วินายก อธิบายว่า ทรงเป็นสยัมภู พระ-

ผู้เป็นเอง [ คือตรัสรู้เอง ].

บทว่า อเทสยิ สมุทยทุกฺขนิจฺจต ได้แก่ ได้ตรัสว่า สมุทัยสัจ

ทุกขสัจ ไม่เที่ยง สิ้นไปเป็นธรรมดา ด้วยเหตุนั้น สิริมาเทพธิดา จึง

แสดงอาการเป็นไปแห่งญาณ คือ การตรัสรู้ของตนว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

มีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดก็มีความดับไปเป็นธรรมดา อีก

นัยหนึ่ง บทว่า สมุทยทุกฺขนิจฺจต ได้แก่ สมุทัยสัจ ทุกขสัจและ

อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง. ในบทนั้น เทพธิดาแสดงวิปัสสนาภูมิ

ด้วยการถือสมุทัยสัจและทุกขสัจ แสดงอาการเป็นไปแห่งวิปัสสนาภูมินั้น

ด้วยการถือเอาความเป็นของไม่เที่ยง. จริงอยู่ เมื่อเจริญอาการคือความ

ไม่เที่ยงแห่งสังขารทั้งหลาย อาการคือทุกข์ แม้อาการคืออนัตตา ก็เป็น

อันเจริญด้วย เพราะอาการทั้งสามนั้นเกี่ยวเนื่องกับสังขารนั้น ด้วยเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ สิ่งใด

เป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็เป็นอนัตตา. บทว่า อสงฺขต ทุกฺขนิโรธสสฺสต ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

ชื่อว่าอสังขตะ เพราะปัจจัยไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้. ประกอบความว่า ได้

ทรงแสดงอริยสัจจธรรม ชื่อทุกขนิโรธ เพราะดับทุกข์ในวัฏฏะหมดสิ้น

ชื่อว่า สัสสตะ เพราะเป็นของจริงทุกสมัยแก่ดีฉัน. บทว่า มคฺคญฺจิม

อกุฏิลมญฺชส สีว ความว่า มรรคชื่อว่า อกุฏิละไม่คด เพราะเว้น

ขาดอันตะทางสุดทั้งสอง [ กามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลถานุโยค ]

และเพราะละกิเลสมีมายาเป็นต้นที่ทำให้คด และความคดทางกายเป็นอาทิ

เสียได้ ชื่อว่า อัญชสะทางตรง ก็เพราะไม่คดเคี้ยวนั้นนั่นเอง. ชื่อว่า

สิวะเกษม คือนิพพาน ก็เพราะตัดกิเลสมีกามราคะเป็นต้นที่ทำให้ไม่เจริญ

รุ่งเรืองได้เด็ดขาด. บทว่า มคฺค ประกอบความว่า ได้ทรงแสดงแก่

ดีฉัน ถึงอริยสัจกล่าวคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาที่ประจักษ์แล้วแก่ท่าน

และดีฉันนี่ ซึ่งได้นามว่า มรรค ก็เพราะผู้ต้องการพระนิพพานแสวงหา

กัน หรือเพราะฆ่ากิเลสทั้งหลายไป.

ในบทว่า สุตฺวานห อมตปท อสงฺขต ตถาคตสฺส อนธิวรสฺส

สาสน นี้ มีความย่อดังนี้ว่า ดีฉันได้ฟังพระสัทธรรมคำสอนของพระผู้

ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถมีการเสด็จมาอย่างนั้นเป็นต้น ผู้เป็นพระ-

สัมมาสัมพุทธะนี้ชื่อว่า อนธิวระ เพราะเป็นผู้เลิศในโลก พร้อมทั้ง

เทวโลก อันชื่อว่า อมตบท อสังขตะ เพราะทรงแสดงเจาะจงถึงพระ-

นิพพาน ที่เป็นอมตบท อสังขตะ เพราะเป็นอุบายให้ดำเนินถึงอมตะ

หรือพระนิพพาน และเพราะพระนิพพาน แม้ปัจจัยไร ๆ ก็พึงปรุงแต่ง

ไม่ได้. บทว่า สีเลสฺวาห ได้แก่ ดีฉัน ในศีลทั้งหลาย ที่พึงเผล็ดผล.

บทว่า ปรมสุสวุตา ได้แก่ สำรวมดีอย่างยิ่ง คือโดยชอบทีเดียว. บทว่า

อหุ แปลว่า ได้เป็นแล้ว. บทว่า ธมฺเม ิตา ได้แก่ ตั้งอยู่ในปฏิปัตติธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

บทว่า ตฺวาน ได้แก่ รู้ด้วยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง. บทว่า

ตตฺเถว แปลว่า ในขณะนั้นนั่นเอง หรือในอัตภาพนั้นนั่นแล. บทว่า

สมถสมาธิมาผุส ได้แก่ สัมผัส คือประสบ โลกุตรสมาธิ ที่เป็น

สมถะฝ่ายปรมัตถ์ เพราะสงบ เพราะระงับ โดยตัดธรรมฝ่ายข้าศึกได้

เด็ดขาด ก็ผิว่า ขณะใด ตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ ขณะนั้นนั่น

แหละ ก็เป็นอันตรัสรู้ด้วยการเจริญมรรค แต่เที่ยวแสดงการรู้ทะลุปรุโปร่ง

ซึ่งอารมณ์ ทำให้เป็นเหมือนเหตุที่การรู้ทะลุปรุโปร่งด้วยการเจริญ สำเร็จ

เป็นเบื้องต้น เทวดาจึงกล่าวว่า ดีฉันรู้บทที่ปราศจากกิเลสดุจธุลี ที่

ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ ซึ่งพระตถาคตผู้ที่ไม่มีผู้อื่นประเสริฐกว่าทรงแสดง

แล้ว ดีฉันจึงได้สัมผัสสมาธิทางสมถะ ในขณะนั้นนั่นเอง เหมือนดัง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อาศัยจักษุและรูป จักษุวิญญาณ จึงเกิด

ดังนี้. อีกนัยหนึ่ง บทว่า ตฺวาน พึงทราบว่า เทวดากล่าวโดยที่การ

เสมอกัน [ พร้อมกัน ] เหมือนดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดวง-

อาทิตย์อุทัยสู่ท้องฟ้า กำจัดมืดได้หมด. บทว่า สาเยว แปลว่า ความ

สัมผัสโลกุตรสมาธิ ที่ได้แล้วนั่นแหละ. บทว่า ปรมนิยามตา ได้แก่

เป็นความแน่นอนแห่งมรรค อย่างยิ่งสูงสุด.

บทว่า วิเสส ได้แก่ แปลก คือให้สำเร็จความผิดแผกจากปุถุชน

ทั้งหลาย. บทว่า เอกสิกา ได้แก่ หมดความสงสัยในพระรัตนตรัย ที่มี

การยึดมั่นส่วนเดียวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ

พระธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี

แล้ว. บทว่า อภิสมเย วิเสสิย ได้แก่ บรรลุคุณวิเศษ โดยการรู้

ทะลุปรุโปร่งซึ่งสัจจะ เกจิอาจารย์กล่าวว่า วิเสสินี ก็มี อธิบายว่า มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

คุณวิเศษ เพราะเหตุตรัสรู้. บทว่า อสสยา ได้แก่ ชื่อว่า ปราศจาก

ความสงสัย เพราะละความสงสัยที่มีวัตถุ ๑๖ และวัตถุ ๘ ได้แล้ว.

เกจิอาจารย์กล่าวว่า อสสิยา. บทว่า พหุชนปูชิตา ความว่า มีคุณที่ผู้

ไปสุคติอื่นพึงปรารถนา. บทว่า ขิฑฺฑา รตึ ได้แก่ ความยินดีเล่น อีกอย่าง

หนึ่ง เล่นด้วย ยินดีด้วย คือ อยู่ด้วยการเล่น และสุขด้วยความยินดี.

บทว่า อมตทสมฺหิ ได้แก่ ดีฉันเป็นผู้เห็นอมตะ เห็นพระ-

นิพพาน. บทว่า ธมฺมทสา ได้แก่ เห็นธรรมคือ สัจจะ ๔. บทว่า

โสตาปนฺนา ได้แก่ ผู้ถึงกระแสอริยมรรคเบื้องต้น. บทว่า น จ ปนมตฺถิ

ความว่า ก็แต่ดีฉันไม่มีทุคติ เพราะไม่มีการตกต่ำเป็นธรรมดากันละ.

บทว่า ปาสาทิเก ได้แก่ นำมาซึ่งความเลื่อมใส. บทว่า กุสลรเต

ได้แก่ ผู้ยินดีในกุศล ธรรมที่ไม่มีโทษ พระนิพพาน. บทว่า ภิกฺขโว

แปลว่า ซึ่งภิกษุทั้งหลาย. บทว่า นมสฺสิตุ อุปาคมึ ประกอบกับบทว่า

สมณสมาคม สิว เชื่อมความว่า และดีฉันเข้ามา ก็เพื่อจะนั่งใกล้

สมาคม สังคม ที่เจริญรุ่งเรือง ที่มีธรรมเกษม ของเหล่าพระสมณะ

ผู้สงบบาป พุทธสาวกของพระพุทธเจ้า. บทว่า สิริมโต ธมฺมราชิโน

เป็นฉัฏฐีวิภัตติ อธิบายว่าในพระธรรมราชา ผู้ทรงสิริ ก็พวกเกจิอาจารย์

ก็กล่าวกันดังนี้ทั้งนั้น.

บทว่า มุทิตมนมฺหิ แปลว่า ดีฉันมีใจบันเทิงแล้ว. บทว่า ปีณิตา

ได้แก่ ยินดีแล้ว อีกอย่างหนึ่ง อิ่มแล้ว โดยรสแห่งปีติ. บทว่า นรวร-

ธมฺมสารถึ ได้แก่ พระผู้ชื่อว่า นรวรทัมนสารถี เพราะทรงเป็นผู้ชื่อว่า

พระผู้ประเสริฐ เพราะเป็นบุคคลผู้เลิศด้วย เป็นผู้ชื่อว่า ทัมมสารถี

เพราะทรงนำผู้ที่ควรฝึก คือ เวไนยสัตว์ที่ควรฝึกให้แล่นมุ่งหน้าไปสู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

พระนิพพานด้วย . บทว่า ปรมหิตานุกมฺปก ได้แก่ ทรงอนุเคราะห์สัตว์

ทั้งปวง ด้วยประโยชน์เกื้อกูล อย่างยิ่ง อย่างสูงสุด.

สิริมาเทพธิดา ครั้นประกาศความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย โดยมุข

คือประกาศลัทธิของตนอย่างนี้แล้ว ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าและ

ภิกษุสงฆ์ ทำประทักษิณเวียนขวาแล้ว ก็กลับเทวโลกแห่งเดิม พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงทำเรื่องที่มาถึงแล้วนั้นนั่นแหละ ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ

เกิดเรื่องแล้วทรงแสดงธรรม. จบเทศนา ภิกษุผู้กระสันก็บรรลุพระอรหัต

พระธรรมเทศนานั้น เกิดประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล.

จบอรรถกถาสิริมาวิมาน

๑๗. เปสการิยวิมาน

ว่าด้วยเปสการิยวิมาน

[๑๗] ท้าวสักกเทวราชตรัสถามว่า

วิมานนี้งดงามส่องแสงรุ่งเรืองประจำ มีเสา

แก้วไพฑูรย์ สดใสไร้มลทิน ต้นไม้ทองคำปกคลุม

โดยรอบ เป็นสถานที่เกิดด้วยผลกรรมของเรา เทพ-

อัปสรที่มีอยู่ก่อนตั้งแสนเหล่านั้น ก็เกิดในวิมานนั้น

เพราะกรรมของตนเอง.

เจ้าเป็นผู้เพรียบพร้อมด้วยบริวารยศก็เข้าอยู่

ส่งรัศมีข่มเทวดาที่เกิดก่อน พระจันทร์ราชาแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

ดาวนักษัตรส่งข่มหมู่ดาวฉันใด เจ้าเมื่อส่งแสงก็

รุ่งโรจน์ข่มเทพอัปสรทั้งหมด โดยบริวารยศฉันนั้น

เหมือนกัน ดูก่อนเทพธิดาผู้มีพักตร์ชวนพิศ เจ้ามา

จากภพไหนจึงได้มาถึงภพของเรานี้ เราทั้งหมดไม่อิ่ม

ด้วยการพบเจ้าเหมือนเทพเจ้าชาวไตรทศรวมหมดทั้ง

พระอินทร์ ไม่อิ่มด้วยการพบองค์พระพรหมฉะนั้น.

เทพธิดา อันท้าวสักกเทวราชตรัสถามอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะประกาศ

เนื้อความนั้น จึงกล่าวสองคาถาว่า

ข้าแต่ท่านท้าวสักกะ พระองค์ตรัสถามข้า-

พระบาทถึงปัญหาอันใดว่า จุติมาจากภพไหนจึงได้มา

ถึงภพของเรานี้ กรุงพาราณสี เป็นราชธานีของแคว้น

กาสี เมื่อก่อนข้าพระบาทอยู่ในนครนั้น เป็นธิดา

นายช่างหูก เป็นผู้มีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระ-

ธรรม และพระสงฆ์ เชื่อมั่นโดยส่วนเดียว ไม่สงสัย

มีสิกขาบทอันได้สมาทานแล้วไม่ขาดวิ่น ได้บรรลุ

อริยผลเป็นผู้แน่นอนในธรรม คือความตรัสรู้ เป็นผู้มี

อนามัย.

ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงอนุโมทนาบุญสมบัติของเทพธิดานั้น

จึงตรัสกึ่งคาถาว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้รุ่งเรืองด้วยยศโดยธรรม มีใจ

เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

เชื่อมั่นโดยส่วนเดียว ไม่สงสัย ผู้มีสิกขาบทไม่ขาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

วิ่น บรรลุอริยผล ผู้แน่นอนในธรรมคือความตรัสรู้ผู้มี

อนามัย เราขอแสดงความยินดีต่อบุญสมบัตินั้นของ

ท่าน และการมาดีของท่าน.

จบเปสการิยวิมาน

อรรถกถาเปสการิยวิมาน

เปสการิยวิมาน มีคาถาว่า อิท วิมาน รุจิร ปภสฺสร เป็นต้น.

เปสการิยวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน กรุง-

พาราณสี สมัยนั้น เวลาเช้า ภิกษุเป็นอันมากนุ่งแล้ว ถือบาตรจีวรเข้า

ไปบิณฑบาตยังกรุงพาราณสี. ภิกษุเหล่านั้นเดินเข้าไปใกล้ประตูเรือนของ

พราหมณ์ผู้หนึ่ง ในเรือนหลังนั้นธิดาของพราหมณ์ ชื่อเปสการี กำลัง

เก็บเหาจากศรีษะของมารดา ใกล้กับประตูเรือน เห็นภิกษุเหล่านั้นกำลัง

เดินไป จึงพูดกะมารดาว่า แม่จ๋า นักบวชเหล่านี้ ยังหนุ่มแน่นอยู่ใน

ปฐมวัย สะสวย น่าดูน่าชม ละเอียดอ่อน ชะรอยจะสูญเสียอะไรบางอย่าง

ไปกระมัง เหตุไรหนอจึงพากันบวชในวัยนี้นะแม่นะ มารดาพูดกะธิดาว่า

ลูกเอ๋ย มีโอรสเจ้าศากยะ ออกผนวชจากราชตระกูลศากยะเกิดเป็นพระ-

พุทธเจ้าขึ้นในโลก. พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามใน

ท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ

พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นักบวชเหล่านี้ฟังธรรมของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

พระองค์แล้ว ก็พากันออกบวช จ้ะลูก.

สมัยนั้น อุบาสกผู้หนึ่ง บรรลุผลรู้แจ่มแจ้งคำสั่งสอน เดินไปตาม

ถนนนั้น ได้ยินคำกล่าวนั้นแล้ว ก็เข้าไปหาสตรีทั้งสองนั้น. ขณะนั้น

พราหมณ์จึงกล่าวกะอุบาสกผู้นั้นว่า ท่านอุบาสก เดี๋ยวนี้ กุลบุตรจำนวน

มาก สละโภคสมบัติเป็นอันมาก สละเครือญาติใหญ่ ๆ พากันบวชใน

ลัทธิสมัยของพระศากยเจ้า กุลบุตรเหล่านั้นเห็นอำนาจประโยชน์อะไร

หนอ จึงพากันบวช อุบาสกฟังคำนั้นแล้วกล่าวว่า เห็นโทษในกามทั้ง

หลาย เห็นอานิสงส์ในการออกบวช แล้วจึงขยายความนั้นตามสมควร

แก่กำลังความรู้ของตน โดยพิสดาร พรรณนาคุณของพระรัตนตรัย

ประกาศคุณานิสงส์ของศีล ๕ ทั้งปัจจุบัน ทั้งภายหน้า ลำดับนั้น ธิดา

ของพราหมณ์จึงถามอุบาสกนั้นว่า แม้เราก็สามารถตั้งอยู่ในสรณะและศีล

แล้วบรรลุคุณานิสงส์ที่ท่านกล่าวได้หรือ อุบาสกนั้นกล่าวว่า ธรรมเหล่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทั่วไปแก่คนทุกคน เหตุไรจะไม่สามารถเล่า

แล้วได้ให้สรณะและศีลแก่นาง ธิดาพราหมณ์นั้น รับสรณะ สมาทาน

ศีลแล้ว ถามอีกว่า กิจที่ควรทำยิ่งกว่านี้มีอีกไหม. อุบาสกนั้นกำหนดว่า

นางเข้าใจ รู้ว่านางคงจักพรักพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อจะประกาศสภาวะ

ของร่างกาย จึงบอกกรรมฐานคืออาการ ๓๒ ให้นางเกิดคลายความรัก

ในกายสูงขึ้นไปก็ให้สลดใจด้วยธรรมกถา ที่ประกอบด้วยไตรลักษณ์ มี

ความไม่เที่ยงเป็นต้น บอกทางวิปัสสนาให้แล้วก็ไป. ธิดาของพราหมณ์

นั้น สนใจทุกคำ ที่อุบาสกนั้นกล่าวนัยไว้แล้ว มีจิตมั่นคงในการใส่ใจ

ปฏิกูลสัญญา เริ่มตั้งวิปัสสนา เพราะความพรักพร้อมแห่งอุปนิสัยไม่

นานนัก ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สมัยต่อมา นางก็ตายไปบังเกิดเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

บริจาริกาของท้าวสักกเทวราช มีบริวารถึงแสนหนึ่ง ท้าวสักกเทวราช

เห็นนางแล้ว เกิดอัศจรรย์จิตมีหฤทัยบันเทิง จึงตรัสถามถึงกรรมที่นาง

ทำด้วย ๔ คาถาว่า

วิมานนี้ น่ารัก มีรัศมีสว่างเป็นประจำ มีเสา

แก้วไพฑูรย์ เนรมิตไว้ดีแล้ว ต้นไม้ทองทั้งหลาย

ปกคลุมโดยรอบ เป็นสถานที่เกิดด้วยวิบากกรรมของ

เรา อัปสรที่มีอยู่ก่อนเหล่านี้ เกิดอยู่แล้วในที่นั้น

จำนวนแสนหนึ่ง ด้วยกรรมของตนเอง ตัวเจ้าผู้มียศ

ก็เกิดในที่นั่น ส่องรัศมีข่มเหล่าเทวดาเก่า ๆ ดวงจันทร์

ราชาแห่งดวงดาว รุ่งโรจน์ข่มหมู่ดาว ฉันใด ตัวเจ้า

รุ่งเรืองอยู่ด้วยยศก็รุ่งโรจน์ ข่มอัปสรหมู่นี่ ฉันนั้น

เหมือนกัน.

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีพักตร์ชวนพิศ ตัวเจ้ามาจาก

ไหน จึงมาถึงภพนี้ของเรา พวกเราทุกองค์ไม่อิ่ม

ด้วยการเห็นเจ้าเลย เหมือนทรงเทพชั้นไตรทศ พร้อม

ด้วยองค์อินทร์ ไม่อิ่มด้วยกายเห็นองค์พระพรหม

ฉะนั้น.

ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า อิท อิมาน ในคาถานั้น ทรงหมายเอา

วิมานของพระองค์ ซึ่งเทวดานั้นเกิดแล้ว. บทว่า สสต ประกอบ

ความว่า น่ารัก มีรัศมีสว่างทุกเวลา อีกนัยหนึ่ง บทว่า สสต ได้แก่

แผ่ไปโดยชอบ อธิบายว่า กว้างขวางอย่างยิ่ง. บทว่า สมนฺตโมตฺถต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

ได้แก่ ปกคลุมโดยรอบ. ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า าน ทรงหมายเอา

วิมานนั่นเอง. จริงอยู่วิมานนั้น เรียกว่า ฐานะ สถาน เพราะเป็นที่คน

ทำบุญดำรงอยู่. บทว่า กมฺมวิปากสมฺภูต ได้แก่ เกิดโดยเป็นวิบากของกรรม

หรือเกิดพร้อมกับวิบากของกรรม. บทว่า มม พึงประกอบเข้ากับสอง

บทว่า อิท มม าน มม กมฺมวิปากสมฺภว สถานของเรานี้ เกิดด้วย

วิบากกรรมของเรา.

ในคาถาว่า ตตฺรูปปนฺนา มีความย่ออย่างนี้ว่า เหล่าบุพเทวดา

เพราะเกิดขึ้นก่อน ชื่อว่าอัปสรมีอยู่ก่อนเหล่านี้ จำนวนแสนหนึ่งเข้าถึง

คือเกิดขึ้น ในวิมานนั้น คือในวิมานตามที่กล่าวแล้วนั้น. บทว่า ตุวสิ

ได้แก่ ตัวเจ้าเป็นผู้เข้าถึง เกิดขึ้นด้วยกรรมของตนเอง. บทว่า ยสสฺสินี

ได้แก่ ผู้พรักพร้อมด้วยปริวารยศ อธิบายว่า ตัวเจ้าส่องรัศมีรุ่งโรจน์ตั้งอยู่

ด้วยกรรม คือ อานุภาพกรรมของตนนั้นนั่นแล.

บัดนี้ ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงประกาศรัศมีนั้นด้วยอุปมา จึง

ตรัสคาถาว่า สสี เป็นต้น. ความของคาถานั้นว่า ดวงจันทร์ได้ชื่อว่า

สสี เพราะประกอบด้วยตรารูปกระต่าย และชื่อว่าราชาแห่งดวงดาว

เพราะมีคุณยิ่งกว่าดวงดาวทั้งหลาย ย่อมรุ่งโรจน์รุ้งร่วง ข่มงำดวงดาว

ทุกหมู่ ฉันใด ตัวเจ้าเมื่อรุ่งเรื่องด้วยยศของตน ก็รุ่งโรจน์โชติช่วง

ล้ำอัปสรเทพกัญญาหมู่กลุ่มนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ก็คำว่า อิมา และ อิม

เป็นเพียงนิบาต. แต่เกจิอาจารย์กล่าวว่า เจ้ารุ่งโรจน์เหมือนราชาแห่ง

ดวงดาว รุ่งโรจน์ล้ำหมู่ดาวฉะนั้น.

บัดนี้ ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะตรัสถามถึงภพก่อนของเทวดานั้น

และบุญที่เทวดานั้นทำไว้ในภพนั้น จึงตรัสถามว่า กุโต นุ อาคมฺม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุโต นุ อาคมฺม ความว่า ดูก่อน

นวลนางผู้ดูไม่จืดเลย คืองามทุกส่วนสัด เพราะบุญกรรมอะไรหนอ เป็น

ตัวเหตุ ตัวเจ้าจึงมาเข้าถึง คือเข้าถึงโดยการถือกำเนิด ยังภพของเรานี้.

ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงประกาศความที่ตรัสว่า อโนมทสฺสเน นี่แล

ด้วยอุปมา จึงตรัสว่า พฺรหฺมว เทวา ติทสา สหินฺทกา สพฺเพน

ตปฺปามเส ทสฺสเนน ต. ในคาถานั้น ความว่า ทวยเทพชั้นดาวดึงส์

ที่ชื่อว่า สหินทกะ เพราะพร้อมด้วยองค์อินทร์ เมื่อพบท้าวสหัมบดีพรหม

หรือสนังกุมารพรหมที่เสด็จถึง ย่อมไม่อิ่มด้วยการเห็น ฉันใด พวกเรา

ทวยเทพทุกองค์ย่อมไม่อิ่ม ด้วยการเห็นเจ้า ฉันนั้น.

ก็เทวดาองค์นั้น ถูกท้าวสักกะ จอมทวยเทพตรัสถามอย่างนี้แล้ว

เมื่อจะประกาศความนั้น จึงกล่าว ๒ คาถาว่า

ข้าแต่ท่านท้าวสักกะ พระองค์ทรงพระกรุณา

ตรัสถามข้าพระบาทถึงปัญหาข้อนี้ได้ว่า เจ้าจุติจาก

ที่ไหนจึงมา ณ ที่นี้ ข้าพระบาทขอทูลตอบปัญหาข้อ

นั้นว่า ราชธานีของแคว้นกาลีมีอยู่ชื่อว่า พาราณสี

ข้าพระบาทเกิดในราชานี้นั้น มีชื่อว่า เปสการี

เพคะ.

ข้าพระบาทมีใจเลื่อมใส มีความเชื่อมั่นส่วน

เดียว ไม่สงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ

พระสงฆ์ รักษาสิกขาบทไม่ขาดวิ่น บรรลุผลแล้ว

เป็นผู้แน่นอนในธรรม คือการตรัสรู้ ไม่มีโรคภัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเมต ความว่า ปัญหานั้นใด. บทว่า

อนุปุจฺฉเส ได้แก่ พระองค์ตรัสถาม โดยอนุกูล. บทว่า มม แปลว่า

ข้าพระบาท. ปุรตฺถิ ตัดบทว่า ปุร อตฺถิ แปลว่า บุรีมีอยู่. บทว่า กาสีน

ได้แก่ แคว้นกาสี. เทวดาระบุนามตนในอัตภาพก่อน ว่า เปสการี

ประกาศบุญของตน ด้วยบทว่า พุทฺเธ จ ธมฺเม จ เป็นต้น.

ท้าวสักกะ เมื่อจะทรงอนุโมทนาบุญสมบัติและทิพย์สมบัตินั้นของ

นาง จึงตรัสว่า

ดูก่อนเวลานาง ผู้มีใจเลื่อมใส มีความเชื่อมั่น

ส่วนเดียว ไม่สงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ

พระสงฆ์ รักษาสิกขาบทไม่ขาดวิ่น บรรลุผลแล้ว

เป็นผู้แน่นอนในธรรมคือการตรัสรู้ ไม่มีโรคภัยเราขอ

แสดงความยินดีสมบัติของเจ้า และการมาดีของเจ้า

เจ้ารุ่งโรจน์ด้วยธรรมและยศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตนฺตฺยาภินนฺทามเส ได้แก่ เรายินดี

อนุโมทนา สมบัติแม้ทั้งสองของเจ้านั้น. บทว่า สฺวาคตญฺจ เต ได้แก่

และการมาในที่นี้ของเจ้า ที่ชื่อว่า สวฺาคต มาดี เป็นที่จำเริญสติและ

โสมนัสของเรา. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

ท้าวสักกเทวราชตรัสบอกเรื่องนั้น ถวายท่านพระมหาโมคคัลลาน-

เถระ. พระเถระจึงกราบทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทำความข้อนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงแสดงธรรมแก่

บริษัทที่ประชุมกัน. เทศนานั้น เกิดประโยชน์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกแล.

จบอรรถกถาเปสการิยวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

จบอรรถกถาปีฐวรรคที่ ๑ ประดับด้วย เรื่อง ๑๗ เรื่อง ใน

วิมานวัตถุ แห่งปรมัตถทีปนี้ อรรถกถาขุททกนิกาย ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาอิตถีวิมาน

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปีฐวิมาน ๒. ทุติยปีฐวิมาน ๓. ตติยปีฐวิมาน ๔. จตุตถ-

ปีฐวิมาน ๕. กุญชรวิมาน ๖. ปฐมนาวาวิมาน ๗. ทุติยนาวาวิมาน

๘. ตติยนาวาวิมาน ๙. ปทีปวิมาน ๑๐. ติลทักขิณาวิมาน ๑๑. ปฐม-

ปติพพตาวิมาน ๑๒. ทุติยปติพพตาวิมาน ๑๓.ปฐมสุณิสาวิมาน ๑๔. ทุติย-

สุณิสาวิมาน ๑๕ อุตตราวิมาน ๑๖. สิริมาวิมาน ๗. เปสการิยวิมาน

และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

จิตตลดาวรรคที่ ๒

๑. ทาสีวิมาน

ว่าด้วยทาสีวิมาน

[๑๘] ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า

ท่านแวดล้อมด้วยหมู่นางเทพนารี เที่ยวชมไป

โดยรอบในสวนจิตตดาวันอันน่ารื่นรมย์ ประดุจ

ท้าวสักกเทวราชทำทิศทั้งปวงให้สว่างไสว เหมือน

ดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

เช่นนี้ เพราะบุญอะไร อิฐผลนี้จึงย่อมสำเร็จแก่ท่าน

และโภคสมบัติทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.

ดูก่อนนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอ

ถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองเช่นนี้ และรัศมีของท่านจึง

สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ดีใจ จึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดิฉันเป็น

ทาสีหญิงรับใช้ในตระกูลอื่น ดิฉันนั้นเป็นอุบาสิกา

ของพระโคดม ผู้มีพระจักษุและพระเกียรติยศ พาก-

เพียรออกไปจากกิเลส ในศาสนาของพระโคดมผู้ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

พระคุณคงที่ เพราะมีมนสิการมั่นอยู่ในจิตว่า แม้ถึง

ร่างกายนี้จะแตกทำลายไปก็ตามที การที่จะหยุด

ความเพียรในการเจริญกรรมฐาน เป็นอันไม่มีเป็น

อันขาด ทาง [ มรรค แห่งสิกขาบท ๕ [ศีล ๕]

เป็นทางสวัสดี มีความเจริญู ไม่มีหนาม ไม่รก

เป็นทางตรง อันสัตบุรุษทั้งหลาย ประกาศแล้ว

โปรดดูผลแห่งความพากเพียรคือ ที่ดีฉันบรรลุอริย-

มรรคตามอุบายที่ต้องการเกิด ดีฉันถูกท้าวสักกเทว

ราชผู้มีอำนาจเชิญมา เหล่าอริยเทพหกหมื่นช่วยกัน

ปลุกดีฉัน คือ เทพบุตรอันมีนามว่าอาลัมพะ คัคคมะ

ภีมะ สาธุวาทิ ปสังสยะ โปกขระ และสุผัสสะ และ

เหล่าเทพธิดาน้อย ๆ อันมีนามว่า วีณา โมกขา

นันทา สุนันทา โสณทินนา สุจิมหิตา อาลัมพุสา

มิสสเกสี และบุณฑริกา และนางเทพกัญญาอีกพวก

หนึ่งเหล่านี้ คือ นางเอนิปัสสา นางสุปัสสา นาง

สุภัททา นางมุทุกาวที ผู้ประเสริฐกว่านางเทพอัปสร

ทั้งหลาย ก็ช่วยปลุกเทพอัปสรนั้น ได้เข้ามา

หาดีฉันตามกาลอันควร พากันพูดด้วยวาจาที่น่ายินดี

ว่า เอาเถิด พวกเราจักฟ้อนรำ ขับร้อง จักนำท่าน

ให้รื่นรมย์ ดังนี้ นันทนวัน มหาวัน เป็นที่ไม่เศร้าโศก

เป็นที่น่ารื่นรมย์ของทวยเทพชั้นไตรทศนี้ มิใช่สำหรับ

ผู้ที่มิได้ทำบุญไว้ หากสำหรับผู้ที่ทำบุญไว้เท่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

ทั้งมิใช่ความสุขในโลกนี้และโลกหน้าสำหรับผู้ที่มิได้

ทำบุญไว้ หากเป็นความสุขในโลกนี้และโลกหน้า

สำหรับผู้ที่ทำบุญไว้เท่านั้น รวมกับทวยเทพชั้นไตรทศ

เหล่านั้น ควรจะบำเพ็ญกุศลไว้ให้มาก เพราะว่าผู้

ทำบุญไว้แล้ว ย่อมเพรียบพร้อมด้วยโภคสมบัติ

บันเทิงอยู่ในสวรรค์.

จบทาสีวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

จิตตลดาวรรคที่ ๒

๑. อรรถกถาทาสีวิมาน

วรรคที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ทาสีวิมานมีคาถาว่า อปิ สกฺโกว เทวินฺโท ดังนี้เป็นต้น. ทาสี-

วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อุบาสกคนหนึ่ง

ชาวกรุงสาวัตถี ไปพระวิหารในเวลาเย็น กับอุบาสกเป็นอันมาก ฟัง

ธรรมแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อบริษัทออกไปแล้ว กราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แต่วันนี้ไป ข้าพระองค์จักถวายภัตตาหาร

ประจำ ๔ สำรับ แก่สงฆ์ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสธรรมกถา

อันสมควรแก่เขา ทรงปล่อยเขากลับไป. อุบาสกนั้น เรียนพระภัตตุท-

เทสก์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าจัดภัตตาหารประจำไว้ ๔ สำรับ

ถวายสงฆ์ วันพรุ่งนี้ ขอพระเป็นเจ้า โปรดมาเรือนของข้าพเจ้าเถิดดังนี้แล้ว

กลับไปเรือนของตนบอกเรื่องนั้นแก่ทาสีแล้ว สั่งสำทับว่าเจ้าไม่พึงลืม

เรื่องนั้นตลอดเวลาเป็นนิตย์เชียวนะ ทาสีนั้นก็รับคำ. ตามปกติ นางมี

ศรัทธาสมบูรณ์ อยากได้ทำบุญมีศีล เพราะฉะนั้น จึงตื่นเช้าทุกวัน

ตระเตรียมข้าวและน้ำอันประณีต กวาดที่นั่งของพวกภิกษุ จัดเครื่องเรือน

ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปูอาสนะ นิมนต์ภิกษุผู้เข้าไปก่อนให้นั่งบน

อาสนะเหล่านั้นแล้ว จึงไหว้บูชาด้วยของหอมดอกไม้ธูปและเทียน อังคาส

โดยเคารพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

ต่อมาวันหนึ่ง นางเข้าไปหาภิกษุผู้ฉันเสร็จไหว้แล้ว จึงถามอย่าง

นี้ว่า ท่านเจ้าขา จะหลุดพ้นจากทุกข์มีชาติเป็นต้นนี้ ได้อย่างไรเจ้าคะ.

ภิกษุทั้งหลายให้สรณะและศีล ๕ แก่นางแล้ว ประกาศให้รู้สภาพของ

ร่างกาย ประกอบนางไว้ในปฏิกูลมนสิการใส่ใจว่าปฏิกูล ภิกษุอีกพวกหนึ่ง

กล่าวธรรมมีกถาที่เกี่ยวด้วยความไม่เที่ยง. นางรักษาศีลอยู่ ๑๖ ปี ทำ

โยนิโสมนสิการติดต่อกันมาตลอดวันหนึ่ง ได้ความสบายในการฟังธรรม

และเจริญวิปัสสนาเพราะญาณแก่กล้า ก็ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

สมัยต่อมา นางทำกาละแล้วไปเกิดเป็นนางบำเรอสนิทเสน่หาของท้าว

สักกเทวราช. นางอันดุริยเทพหกหมื่นบำเรออยู่ มีอุปสรแสนหนึ่งแวดล้อม

เสวยทิพย์สมบัติใหญ่ ร่าเริงบันเทิงพร้อมด้วยบริวาร เที่ยวไปในอุทยาน

เป็นต้น. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เห็นนางแล้ว ได้ถามโดยนัยที่กล่าว

ในหนหลังนั่นแหละว่า

ท่านแวดล้อมด้วยหมู่เทพนารี เที่ยวชมไปโดย

รอบในสวนจิตตลดาวันอันน่ารื่นรมย์ ประดุจท้าว

สักกเทวราช ส่องแสงสว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาว

ประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะ.

เช่นนี้ เพราะบุญอะไร อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน

และโภคทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูราเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ ท่าน

จึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึง

สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

นางเทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ เทวดา

ตอบว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ดีฉันได้เป็น

ทาสีหญิงรับรู้ในตระกูลอื่น ดิฉันนั้นเป็นอุบาสิกา

ของพระโคดม ผู้มีพระจักษุและพระเกียรติยศ พาก-

เพียงออกไปจากกิเลส ในศาสนาของพระโคดมผู้ทรง

พระคุณคงที่ เพราะมีมนสิการมั่นอยู่ในจิตว่า แม้ถึง

ร่างกายนี้ จะแตกทำลายไปก็ตามที่ การจะหยุด

ความเพียรในการเจริญกัมมัฏฐานนี้ ไม่มีเป็นอันขาด

ทาง [ มรรค ] แห่งสิกขาบท ๕ [ศีล ๕] เป็นทาง

สวัสดี มีความเจริญู ไม่มีหนาม ไม่รก เป็นทางตรง

สัตบุรุษประกาศแล้ว ท่านโปรดดูผลแห่งความเพียร

คือที่ดีฉันบรรลุอริยมรรค ตามอุบายที่ต้องการเกิด

ดีฉันถูกท้าวสักกเทวราชผู้มีอำนาจเชิญมา เหล่า

ดุริยเทพหกหมื่น ช่วยกันปลุกดีฉัน คือ เทพบุตร

นามว่า อาลัมพะ คัคคมะ ภีมะ สาธุวาทิ ปสังสยะ

โปกขระ และสุผัสสะ และเหล่าเทพธิดาวัยรุ่น นาม

ว่า วีณา โมกขา นันทา สุนันทา โสณทินนา

สุจิมหิตา อาลัมพุสา มิสสเกสี บุณเฑริกา และ

เทพกัญญาอีกพวกหนึ่งเหล่านี้คือ นางเอนิปัสสา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

นางสุปัสสา นางสุภัททา นางมุทุกาวที ผู้ประเสริฐ

กว่าเทพอัปสรทั้งหลาย ก็ช่วยกันปลุกเทพอัปสรเหล่า

นั้น ได้เข้ามาหาดีฉันตามกาลอันควร พากันพูดด้วย

วาจาที่น่ายินดีว่า เอาเถิดพวกเราจักฟ้อนรำ ขับร้อง

จักนำท่านให้รื่นรมย์ดังนี้ นันทนวัน มหาวัน เป็น

ที่ไม่เศร้าโศก เป็นที่น่ารื่นรมย์ของทวยเทพชั้น

ไตรทศนี้ มิใช่สำหรับผู้ที่มิได้ทำบุญไว้ หากเป็นของ

สำหรับผู้ทำบุญไว้เท่านั้น มิใช่สุขทั้งในโลกนี้และ

โลกหน้า หากเป็นสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า

สำหรับผู้ทำบุญไว้เท่านั้น อันบุคคลผู้ปรารถนาร่วมกับ

ทวยเทพชั้นไตรทศเหล่านั้น ควรจะบำเพ็ญกุศลไว้

ให้มาก เพราะว่าผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมเพรียบพร้อม

ด้วยโภคสมบัติบันเทิงอยู่ในสวรรค์.

ในบทเหล่านั้นอปิศัพท์ ในบทว่า อปิ สกฺโกว เทวินฺโท นี้ ใช้ใน

สัมภาวนะความยกย่อง. อิวศัพท์ ท่านลบสระอิออกกล่าวความอุปมา.

เพราะฉะนั้น จึงมีความว่าประดุจท้าวสักกะจอมทวยเทพ ท่านกล่าวยกย่อง

เทวดานั้นดุจท้าวสักกะ ก็เพื่อแสดงบริวารสมบัติของเทวดานั้น. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า อปิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า จิตฺตลตาวเน ได้แก่ ที่

บังเกิดด้วยอานุภาพแห่งบุญของนางเทพธิดาชื่อจิตตา. อนึ่ง เทวอุทยาน

ได้นามว่าจิตตลดาวัน เพราะโดยมากในสวนนั้นมีเถาไม้อันเป็นทิพย์ชื่อ

สันตานกะเป็นต้น อันวิจิตรคือประกอบด้วยความวิเศษแห่งดอกไม้และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

ผลไม้เป็นต้นอันงดงาม.

บทว่า ปรเปสฺสิยา ได้แก่ หญิงรับใช้ในกิจนั้น ๆ ในตระกูล

แห่งชนเหล่าอื่น. อธิบายว่า ขวนขวายงานของคนเหล่าอื่น.

บทคาถาว่า ตสฺสา เม นิกฺกโม อาสิ สาสเน ตสฺส ตาทิโน

ความว่า เมื่อดีฉันนั้นเป็นทาสีอยู่ เป็นอุบาสิกาของพระผู้มีพระภาคพุทธ-

เจ้า ผู้มีพระจักษุ ๕ รักษาศีลทำมนสิการกัมมัฏฐานอยู่ ๑๖ ปี ครั้น

กัมมัฏฐานกล่าวคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ เมื่อเกิดขึ้นแก่ดีฉันด้วยอานุภาพ

แห่งมนสิการ ความเพียรชอบซึ่งนับเข้าในสัตถุศาสน์นั้นได้ชื่อว่า นิกกมะ

เพราะออกไปจากฝ่ายสังกิเลสธรรม ได้มีได้เป็น คือ ในสัตถุศาสน์ของ

พระโคดมผู้ชื่อว่ามีพระคุณคงที่ เพราะถึงพร้อมด้วยสมบัติคือลักษณะของ

ผู้คงที่ในโลกธรรมมีอิฏฐารมณ์เป็นต้น.

ก็เพื่อแสดงอาการที่เป็นไปส่วนเบื้องต้น ของความเพียรนั้น. เทวดา

จึงกล่าวว่า กาม ภิชฺชตุย กาโย เนว อตฺเถตฺถ สนฺถน ดังนี้ คาถา

นั้นมีอธิบายว่า ดีฉันปลุกความเพียรว่า ถ้าว่าร่างกายของเราจะแตก

ทำลายไปก็ตามที ดีฉันไม่ทำความเยื่อใย แม้เพียงเล็กน้อยในกายนี้เสียไป

เราจะไม่หยุดความเพียร คือทำความเพียรให้หย่อน ในการเจริญกัมมัฏฐาน

นี้เป็นอันขาด แล้วขวนขวายวิปัสสนา.

บัดนี้ เทวดาเมื่อจะแสดงคุณที่ตนขวนขวายวิปัสสนานั้น อย่างนั้น

ได้มาแล้ว จึงกล่าวว่า

ทาง [ มรรค] แห่งสิกขาบท ๕ เป็นทาง

สวัสดี มีความเจริญ ไม่มีหนาม ไม่รก เป็นทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

ตรง สัตบุรุษประกาศแล้ว โปรดดูผลแห่งความ

พากเพียรออกจากกิเลส คือที่ดีฉันบรรลุอริยมรรค

ตามอุบายที่ต้องการ.

ในข้อนั้น มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้ มรรคใด ชื่อว่าต่อเนื่อง

สิกขาบททั้ง ๕ เพราะได้มาโดยเป็นอุปนิสัยแห่งสิกขาบท คือส่วนแห่ง

สิกขาทั้ง ๕ ที่สมาทานเป็นนิจศีล และสิกขาบททั้ง ๕ นั้นบริบูรณ์ เกิดขึ้น

ในสันดานใด มรรคนั้น ชื่อโสวัตถิกะคือสวัสดี เพราะทำสันดานนั้นให้

สำเร็จผลเป็นความสวัสดี และมีประโยชน์ดี โดยอาการทุกอย่าง ชื่อว่า

สิวะ เพราะไม่ถูกสังกิเลสธรรมเบียดเบียน และเพราะเหตุถึงความเกษม

ชื่อว่าอกัณฏกะ เพราะไม่มีหนามคือราคะเป็นต้น ชื่อว่าอคหนะ เพราะ

ตัดรกชัฏ คือกิเลส ทิฏฐิ และทุจริตได้เด็ดขาด ชื่อว่า อุชุ เพราะเป็น

เหตุปราศจากคดงอโกงทุกอย่าง อริยมรรค ชื่อสัมภิปเวทิตะ เพราะ

สัปบุรุษมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ประกาศไว้แล้ว ดีฉัน แม้มีปัญหาแค่

สององคุลี ต้องการด้วยความพากเพียรออกจากกิเลสอันใดที่เป็นอุบาย

บรรลุอริยมรรคนั้นโดยประการใด ขอโปรดดูผลนี้ของความพากเพียร

ออกจากกิเลส คือความเพียรตามที่กล่าวแล้วนั้นเถิด โดยประการนั้น.

ท่านเรียกท้าวสักกะ ดังกล่าวมานี้.

เทวดากล่าวว่า ดีฉันถูกท้าวสักกเทวราช ผู้มีอำนาจเชิญมา ก็

เพราะตนเองอยู่ในอำนาจท้าวสักกะ. อีกนัยหนึ่ง ท้าวสักกะ ชื่อวสวัตตี

เพราะใช้อำนาจความเป็นใหญ่ของตนในเทวโลกทั้งสอง [คือชั้นจาตุม-

มหาราชและชั้นดาวดึงส์]

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

ดีฉันถูกท้าวสักกเทวราชผู้มีอำนาจนั้นเชิญมา หรือท้าวเธอพึงเชื้อ

เชิญในเวลาเล่นกีฬาพลางสนทนาปราศรัยไปพลาง. ประกอบความว่า

ท่านจงดูผลแห่งความเพียรเป็นเหตุก้าวไปสู่คุณเบื้องหน้า. ดนตรีมีองค์ ๕

มีประเภทอาตตะกลองหน้าเดียว และวิตตะกลองสองหน้าเป็นต้นบรรเลง

พร้อมกันกับ ๑๒ มือ [ ๑๒x๕ ] จึงรวมเป็น ๖๐ ก็เทพธิดาหมายเอา

ดนตรีเครื่อง ๕ เหล่านั้นประมาณพันหนึ่งปรากฏแล้ว ด้วยนั่งอยู่ใกล้ ๆ

จึงกล่าวว่า สฏฺิ ตุริยสหสฺสานิ ปฏิโพธ กโรนฺติ เม ดังนี้. ในบท

นั้น บทว่า ปฏิโพธ ได้แก่ ปลุกปีติโสมนัส.

คำเป็นต้น ว่า อาลมฺโพ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ระบุชื่อของ

เทพบุตรผู้ขับร้องประกอบเครื่องดนตรี โดยเอกเทศส่วนหนึ่ง แต่นั่นเป็น

ชื่อของเครื่องดนตรี. นางเทพธิดามีวีณาและโมกขาเป็นต้น. บทว่า

สุจิมฺหิตา คือ สุทธมิหิตา อนึ่ง นั่นเป็นชื่อเหมือนกัน. บทว่า มุทุกาวที

ได้แก่ การขับร้องนุ่มนวลยิ่งนัก หรือเป็นเพียงชื่อ. บทว่า เสยฺยาเส

คือประเสริฐกว่า. บทว่า อจฺฉราน คือน่าสรรเสริญกว่าในการขับร้อง

หมู่ในเหล่าเทพอัปสร. บทว่า ปโพธิกา คือทำการปลุกให้ตื่น.

บทว่า กาเลน คือตามกาลอันควร. บทว่า อภิภาสนฺติ ได้แก่

กล่าวต่อหน้า หรือน่ายินดียิ่ง เทพอัปสรกล่าวโดยประการใด เพื่อแสดง

ประการนั้น จึงกล่าวว่า หนฺท นจฺจาม คายาม หนฺท ต รมยามเส

ดังนี้.

บทว่า อิท ความว่า สถานที่อันเราได้แล้วนี้ หาความโศกมิได้

เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าไม่มีความโศก เพราะมีพร้อมแห่งรูปเป็นต้นอันน่า

ใคร่ น่าปรารถนา น่ารักและน่าพอใจ ชื่อว่าน่าเพลิดเพลินเพราะเพิ่มพูน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

ความยินดีตลอดกาลทุกเมื่อ นั่นแล. บทว่า ติทสาน มหาวน ได้แก่

อุทยานทั้งใหญ่ ทั้งน่าบูชาของทวยเทพชั้นดาวดึงส์.

นางกล่าวโดยนัยเจาะจงว่า ชื่อว่าทิพยสมบัติเห็นปานนี้ ย่อมได้

ด้วยอำนาจแห่งบุญกรรมเท่านั้น เมื่อแสดงโดยนัยไม่เจาะจงอีก ได้กล่าว

คาถาว่า สุข อกตปุญฺาน ดังนี้.

เมื่อกล่าวธรรมโดยทิพยสถานอันตนได้แล้ว เป็นที่น่าใคร่ทั่วไป

กับคนเหล่าอื่นอีก จึงกล่าวคาถาสุดท้ายว่า เตส สหพฺยกามาน ดังนี้.

บทว่า เตส คือ ทวยเทพชั้นดาวดึงส์. บทว่า สหพฺยกามาน คือ

ปรารถนาอยู่ร่วมกัน. ก็คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถกัตตุ [ผู้นำ]. ชื่อว่า

สหวะเพราะไปคือเป็นไปร่วมกัน . ภาวะแห่งผู้ไปร่วมกันนั้น ชื่อว่า สหพฺย

เหมือนภาวะแห่งผู้กล้าหาญ ชื่อว่า วีริย. พระเถระแสดงธรรมแก่เทวดา

นั้นพร้อมกับบริวาร เมื่อเทวดาทำบุญกรรมของตนให้แจ่มแจ้งแล้ว

อย่างนี้ กลับมาจากเทวโลกแล้วก็กราบทูลเรื่องนั้น ถวายพระผู้มีพระภาค

เจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำเนื้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง

ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน พระธรรมเทศนานั้นได้เป็น

ประโยชน์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกแล.

จบอรรถกถาทาสีวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

๒. ลขุมาวิมาน

ว่าด้วยลขุมาวิมาน

[๑๙] พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพธิดาว่า

ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านผู้มีรัศมีงามยิ่ง ส่อง

สว่างไสวไปทุกทิศ ประดุจดาวประกายพรึก ฉะนั้น

เพราะบุญอะไรท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมี

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ก็ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ บ้านของดีฉันตั้งอยู่ใกล้

ทางออกประตูบ้านชาวประมง ดีฉันมีใจเลื่อมใสใน

พระอริยะผู้ตรงได้ถวายข้าวสุก ขนมสด ผักดอง และ

น้ำเครื่องดื่ม เจือด้วยรสต่าง ๆ แก่พระสาวกทั้งหลาย

ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ยิ่ง ซึ่งกำลังท่องเที่ยวไปในบ้าน

นั้น ประการหนึ่ง ดีฉันได้เข้ารักษาอุโบสถอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ

และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สังวรด้วยดีในศีลทุก

เมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน จึงได้ครอบครอง

วิมานนี้ เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เว้นขาดจากการ

เอาสิ่งของของผู้อื่น ด้วยไถยจิต จากการประพฤติ

ล่วงละเมิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

การดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในเบญจศีล ฉลาดใน

อริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ และ

พระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้

ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ อีก

ประการหนึ่ง ท่านเจ้าขา ขอพระคุณเจ้าถวายบังคม

พระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า

แล้วทูลตามคำของดีฉันว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อุบาสิกาชื่อลขุมา ถวายบังคมพระบาททั้งคู่ของพระผู้

มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญู ก็ข้อ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงพยากรณ์ดีฉันในสามัญ

ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง นั้นไม่น่าอัศจรรย์ดอกเจ้าค่ะ

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ดีฉันไว้ใน

สกทาคามิผลแล้วเจ้าค่ะ.

จบลขุมาวิมาน

อรรถกถาขุมาวิมาน

ลขุมาวิมานมีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้เป็นต้น. ลขุมา

วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ กรุงพาราณสี. พาราณสี-

นครมีประตูอยู่แห่งหนึ่งชื่อว่าประตูบ้านชาวประมง แม้หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

ห่างไกลประตูนั้น ก็รู้จักกันว่าประตูบ้านชาวประมง ที่ประตูบ้านนั้น มี

หญิงคนหนึ่งชื่อลขุมา สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและความรู้ เห็นภิกษุทั้งหลาย

เข้าไปทางประตูนั้น ไหว้แล้วนิมนต์ไปเรือนของตน ถวายภิกขาทัพพี

หนึ่ง เพราะความคุ้นเคยนั้นแล เมื่อศรัทธาเพิ่มพูนขึ้นจึงให้สร้างโรงฉัน

หลังหนึ่ง นำอาสนะเข้าไปถวายภิกษุทั้งหลาย ที่เข้าไปในโรงฉันนั้น

ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ได้ถวายข้าวสุก ขนมกุมมาส ผักดองซึ่งมีอยู่ใน

เรือนแก่ภิกษุทั้งหลาย. นางฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลาย ตั้งอยู่

ในสรณะและศีล เป็นผู้มั่นคง เรียนวิปัสสนากัมมัฏฐาน เมื่อขวนขวาย

วิปัสสนาอยู่ ไม่นานนักก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เพราะตนถึงพร้อมด้วย

อุปนิสัย. เวลาย่อมานางทำกาละตายไปบังเกิดในมหติวิมานภพดาวดึงส์

มีนางเทพอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร เสวยทิพยสมบัติอยู่ในวิมานนั้น

บันเทิงอยู่. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวเทวจาริกไปได้ถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านผู้มีรัศมีงามสว่างไสวไป

ทุกทิศ ประดุจดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไรท่าน

จึงมีวรรณะเช่นนี้ และรัศมีจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

บ้านของดีฉันตั้งอยู่ใกล้ทางออกประตูบ้านชาว

ประมง ดีฉันมีใจเลื่อมใสในท่านผู้ตรง ถวายข้าวสุก

ขนมกุมมาส ผักดองและน้ำส้ม เจือรสเค็มแก่พระ-

สาวกทั้งหลาย ผู้แสดงหาคุณอันใหญ่ยิ่ง ซึ่งท่องเที่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

อยู่ที่ประตูบ้านชาวประมง ประการหนึ่ง ดีฉันได้เข้า

รักษาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ

ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และ

ตลอดปาฏิหาริยปักข์ [ วันรับ- ส่ง] เป็นผู้สังวร

ด้วยดีในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้สำรวมและจำแนกทาน

จึงได้ครอบครองวิมานนี้ ดีฉันเว้นจากปาณาติบาต

เว้นจากถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยไถยจิต จากการ

ประพฤติล่วงละเมิดในกาม สำรวมจากมุสาวาทและ

ห่างไกลจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในเบญจศีล

ฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระ-

จักษุ และมีพระเกียรติยศ เพราะบุญนั้นดีฉันจึงมี

วรรณะเช่นนี้ เพราะบุญกรรมนั้น ฯ ล ฯ รัศมีของ

ดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

ประการหนึ่ง ขอท่านผู้เจริญ พึงถวายบังคมพระยุคลบาทของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วทูลตามคำของดีฉันว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ อุบาสิกาชื่อลขุมา ถวายบังคมพระบาททั้งคู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยเศียรเกล้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรง

พยากรณ์ดีฉันในสามัญผลอย่างใดอย่างหนึ่ง นั่นไม่น่าอัศจรรย์ เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพยากรณ์ดีฉันในสกทาคามิผลแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวฏฺฏทฺวารา นิกฺขมฺม ความว่า

ใกล้ที่ออกไปจากประตูบ้านชาวประมง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

บทว่า ฑาก ได้แก่ ผักดองและกับมีกะเพราเป็นต้น. บทว่า

โลณโสวีรก ความว่า น้ำปานะอย่างหนึ่ง ที่เขาปรุงพร้อมด้วยเครื่อง

ปรุงมากอย่างนั้นมีข้าวเปลือกเป็นต้น. บางพวกเรียกน้ำข้าวตังว่า น้ำ

เกลือก็มี.

เวลาจบการถามและการตอบ นางบรรลุสกทาคามิผล ด้วยธรรม

เทศนาของพระเถระ. คำที่เหลือ เหมือนนัยที่กล่าวมาในอุตตราวิมาน

นั้นแล.

จบอรรถถถาขุมาวิมาน.

๓. อาจามทายิกาวิมาน

ว่าด้วยอาจามทายิกาวิมาน

[๒๐] ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะตรัสถามถึงที่เกิดแห่งหญิงนั้น กะ

พระมหากัสสปเถระ จึงตรัสคาถาสองคาถา ความว่า

หญิงขัดสน ยากไร้ อาศัยชายคาเรือนของ

คนอื่นอยู่ มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแก่พระคุณ

เจ้าผู้เที่ยวไปบิณฑบาต ซึ่งมาหยุดยืนนั่งอยู่เฉพาะ

หน้า ด้วยมือของตนเอง ครั้นละจากอัตภาพมนุษย์

แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นไหนหนอเจ้าข้า.

พระมหากัสสปเถระถวายพระพรว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

หญิงขัดสน ยากไร้ อาศัยชายคาเรือนของคน

อื่นอยู่ มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายข้าวตังแก่อาตมภาพผู้

กำลังเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ซึ่งมายืนหยุดนิ่งเฉพาะ

หน้า ด้วยมือของตนเองนั้น ครั้นละจากอัตภาพมนุษย์

จุติจากมนุษยโลกนี้พ้นไปแล้ว เทวดาผู้มีฤทธิ์มาก

ชื่อนิมมานรดีมีอยู่ นางผู้ถวายเพียงข้าวตังเป็นทานก็

ถึงความสุขอันเป็นทิพย์ บันเทิงใจอยู่ในชั้นนิมมาน-

รดีนั้น.

ท้าวสักกเทวราชกล่าวสรรเสริญทานนั้นว่า

น่าอัศจรรย์จริงหนอ ทานอันหญิงยากไร้ตั้งไว้ดี

แล้วในพระคุณเจ้ามหากัสสป ได้ทักษิณาสำเร็จผล

แล้ว ด้วยไทยทานที่นำมาแก่ผู้อื่นหนอ. นางผู้งาม

ทั่วสรรพางค์ สามีมองไม่จืด ได้รับอภิเษกเป็นเอก

อัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่

๑๖ ของอาจามทานนี้ ทองคำร้อยนิกขะ ม้าตั้งร้อย

ตัว รถเทียมม้าอัสดรร้อยคัน หญิงสาวผู้สวมกุณฑล-

มณีแสนนาง ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทาน

นี้ พระยาช้างตระกูลเหมวตะ เป็นช้างร่างใหญ่ มี

งางอน มีสายรัดทองคำ มีข่ายเครื่องประดับเป็น

ทองร้อยเชือก ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทาน

นี้ ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิ จะครองความเป็นเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

มหาทวีปทั้งสี่ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจาม-

ทานนี้.

จบอาจามทายิกาวิมาน

อรรถกถาอาจามทายิกาวิมาน

อาจามทายิกาวิมานมีคาถาว่า ปิณฺฑาย เต จรนฺตสฺส ดังนี้เป็นต้น.

อาจามทายิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน

กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีครอบครัวหนึ่งเป็นอหิวาตกโรค

คนในครอบครัวนั้นตายกันหมด เหลือหญิงคนหนึ่ง. หญิงนั้น ทิ้งเรือน

และทรัพย์และข้าวเปลือกที่อยู่ในเรือนทั้งหมด กลัวมรณภัย หนีไปทาง

ช่องฝาเรือน หมดที่พึ่ง ไปเรือนของคนอื่น อยู่ข้างหลังเรือนของเขา.

พวกผู้คนในเรือนนั้น คิดสงสาร ให้ข้าวต้มข้าวสวยและข้าวตังเป็นต้น

ที่เหลือในหม้อข้าวเป็นต้นแก่นาง. นางเลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยข้าวตังของผู้คน

เหล่านั้น.

สมัยนั้น ท่านมหากัสสปะ เข้านิโรธสมาบัติ ๗ วัน ออกจาก

นิโรธนั้นแล้วคิดว่า วันนี้เราจักอนุเคราะห์ใคร ด้วยการรับอาหารหนอ

จักเปลื้องใคร จากทุคติและจากทุกข์ เห็นหญิงนั้นใกล้ตาย และกรรม

ของนางที่จะนำไปนรก และโอกาสแห่งบุญที่นางได้ทำแล้ว คิดว่า เมื่อ

เราไป หญิงคนนี้จักถวายข้าวตังที่ตนได้แล้ว เพราะบุญนั้นนั่นแหละ นาง

จักเกิดในเทวโลกชั้นนิมมานรดี เมื่อเป็นดังนั้น เอาเถิดจำเราจักช่วยนาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

จากการตกนรก ให้นางสำเร็จสวรรค์สมบัติ ดังนี้ ในเวลาเช้า นุ่งแล้ว

ถือเอาบาตรและจีวรไป เดินมุ่งหน้าไปยังที่อยู่ของนาง. ครั้งนั้น ท้าว

สักกะ จอมทวยเทพจำแลงเพศ [ปลอมตัว] น้อมอาหารทิพย์หลายรสมี

แกงและกับหลายอย่างเข้าไปถวาย. พระเถระรู้ข้อนั้น ได้ห้ามว่า ท่านท้าว

โกสิยะ พระองค์ได้ทรงทำกุศลไว้แล้ว เหตุอะไร จึงทรงทำอย่างนี้

ขอพระองค์โปรดอย่าได้แย่งสมบัติของคนเข็ญใจยากไร้เลย จึงยืนอยู่ข้าง

หน้าของหญิงนั้น.

นางเห็นพระเถระแล้ว คิดว่า พระเถระนี้เป็นผู้มีอานุภาพใหญ่

ในที่นี้ก็ไม่มีของกิน หรือของเคี้ยว ซึ่งควรถวายแก่พระเถระนี้ เพียง

น้ำข้าวข้าวดังอันจืดเย็นไม่มีรสเกลื่อนไปด้วยหญ้าและผงธุลี ซึ่งอยู่ใน

ภาชนะสกปรกนี้ เราไม่อาจจะถวายแก่พระเถระเช่นนี้ได้ จึงกล่าวว่าขอ

ท่านจงโปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด. พระเถระยืนนิ่งไม่ขยับเท้าแม้แต่ข้างเดียว

ผู้คนอยู่ในเรือนนำภิกขาเข้าไปถวาย. พระเถระก็ไม่รับ. หญิงเข็ญใจนั้น

รู้ว่าพระเถระประสงค์จะรับเฉพาะของเรา จึงมาในที่นี้ก็เพื่ออนุเคราะห์เรา

เท่านั้น มีใจเลื่อมใส เกิดความเอื้อเฟื้อ ก็เกลี่ยข้าวตังนั้นลงในบาตรของ

พระเถระ พระเถระแสดงอาการว่าจะฉันเพื่อให้ความเลื่อมใสของนาง

เจริญเพิ่มขึ้น. ผู้คนปูอาสนะแล้ว พระเถระก็นั่งบนอาสนะนั้นฉันข้าวตัง

นั้น ดื่มน้ำแล้วชักมือออกจากบาตร ทำอนุโมทนากล่าวกะหญิงเข็ญใจ

นั้นว่า ท่านได้เป็นมารดาของอาตมาในอัตภาพที่สามจากนี้ดังนี้แล้วก็ไป.

นางยังความเลื่อมใสให้เกิดในพระเถระยิ่งนัก ทำกาละตายไปในยามต้น

แห่งราตรีนั้นแล้ว ก็เข้าไปอยู่ร่วมกับเหล่าเทพนิมมานรดี. ครั้งนั้น

ท้าวสักกเทวราชทรงทราบว่านางทำกาละแล้ว ทรงรำพึงอยู่ว่า นางเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

ที่ไหนหนอดังนี้ ไม่ทรงเห็นในดาวดึงส์ จึงเข้าไปหาท่านมหากัสสปะใน

ยามกลาง [ เที่ยงคืน ] แห่งราตรี เมื่อถามถึงสถานที่เกิดของหญิงนั้น

ได้ตรัสคาถา ๒ คาถาว่า

เมื่อพระคุณเจ้า เที่ยวไปบิณฑบาตยืนนิ่งอยู่

หญิงผู้ใด เข็ญใจยากไร้ อาศัยชายคาเรือนคนอื่น

เลื่อมใสแล้วถวายข้าวตังด้วยมือตนเองแก่พระคุณเจ้า

หญิงผู้นั้นละกายมนุษย์แล้ว ได้ไปสวรรค์ชั้นไรหนอ

เจ้าข้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิณฺฑาย คือเพื่อบิณฑบาต. คำว่า

ตุณฺหีภูตสิส ติฏฺโต นี้แสดงอาการเที่ยวบิณฑบาต. อธิบายว่า เจาะจง

ยืน. บทว่า ทลิทฺทา แปลว่า เข็ญใจ. บทว่า กปณา แปลว่า ยากไร้.

ด้วยบทว่า ทลิทฺทา นี้ ท่านแสดงความเสื่อมโภคทรัพย์ของหญิงนั้น.

ด้วยบทว่า กปณา นี้ แสดงความเสื่อมญาติ. บทว่า ปราคาร อวิสฺสิตา

ความว่า อาศัยเรือนคนอื่น คืออาศัยชายคาเรือนของคนเหล่าอื่น.

บทคาถาว่า ก นุ สาทิสต คตา ความว่า ได้ไปทิศอะไร โดย

เกิดในเทวโลกกามาวจร ๖ ชั้น ดังนั้น ท้าวสักกะ ทรงดำริว่าหญิงที่

พระเถระทำอนุเคราะห์อยู่อย่างนั้น มีส่วนแห่งทิพยสมบัติอันโอฬาร แต่

ก็มิได้เห็นเลย เมื่อไม่ทรงเห็นในเทวโลกชั้นต่ำสองชั้น ทรงนึกสงสัยจึง

ตรัสถาม. ลำดับนั้น พระเถระเมื่อทูลคำตอบโดยทำนองที่ท้าวเธอทูลถาม

แล้วนั่นแล ได้ทูลบอกสถานที่บังเกิดของหญิงนั้นแก่ท้าวสักกะนั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

เมื่ออาตมาเที่ยวไปบิณฑบาตยืนนิ่งอยู่ หญิงผู้

ใดเข็ญใจยากไร้ อาศัยชายคาเรือนคนอื่น เลื่อมใส

แล้วถวายข้าวตังด้วยมือตนเองแก่อาตมา หญิงผู้นั้น

ละกายมนุษย์แล้ว เคลื่อนพ้นจากความลำเค็ญนี้แล้ว

ทวยเทพมีฤทธิ์มาก ชื่อชั้นนิมมานรดีมอยู่ หญิงผู้

ถวายเพียงข้าวตังนั้น ก็บันเทิงสุขอยู่ในสวรรค์ชั้น

นิมมานรดีนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิปฺปมุตฺตา ได้แก่ หลุดพ้นไปจาก

ความมีโชคร้ายของมนุษย์ จากความเป็นอยู่ที่น่ากรุณาเป็นอย่างยิ่งนั้น.

บทว่า โมทิตา จามทายิกา ความว่า ก็หญิงชื่อนั้นถวายทาน

เพียงข้าวตัง ยังบันเทิงอยู่ด้วยทิพยสมบัติในกามาวจรสวรรค์ชั้นที่ ๕

ท่านแสดงว่า ขอท่านจงดูผลของทานซึ่งพรั่งพร้อมด้วยเขตสัมปทา [ คือ

พระทักษิไณยบุคคลผู้เป็นปฏิคาหก]

ท้าวสักกะ สดับว่าทานของหญิงนั้นมีผลใหญ่ และมีอานิสงส์ผล

ใหญ่แล้ว เมื่อทรงสรรเสริญทานนั้นอีก จึงตรัสว่า

น่าอัศจรรย์จริงหนอ ทานที่หญิงผู้ยากไร้ตั้งไว้

ดีแล้ว ในพระคุณเจ้ากัสสปะ ด้วยไทยทานที่นาง

นำมาแต่ผู้อื่น ทักษิณายังสำเร็จผลได้จริงหนอ ข้อที่

นารีผู้งามทั่วสรรพางค์ สามีมองไม่จืด ได้รับอภิเษก

เป็นเอกอัครมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่เท่า

เสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทานนี้ [ถวายข้าวตัง]

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

ทองคำร้อยนิกขะ ม้าร้อยตัว รถเทียมม้าอัสดรร้อย

คัน หญิงสาวผู้สวมกุณฑลมณีจำนวนแสนนางก็ยัง

ไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามหานนี้ พระยาช้าง

ตระกูลเหมวตะ มีงางอน มีกำลังและว่องไว มี

สายรัดทองคำ มีตัวใหญ่ มีเครื่องประดับเป็นทอง

ร้อยเชือก ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจามทานนี้

ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงครองความเป็นเจ้า

ทวีปใหญ่ทั้งสี่ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ ของอาจาม-

ทานนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโห เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า

อัศจรรย์. บทว่า วรากิยา แปลว่า หญิงยากไร้. บทว่า ปราภเตน

ได้แก่ ไทยทานที่เขานำนาแต่คนอื่น. อธิบายว่า ที่ได้มาด้วยการเที่ยวขอ

จากเรือนของคนอื่น. บทว่า ทาเนน ได้แก่ ด้วยไทยธรรม เพียง

ข้าวตังที่พึงถวาย. บทว่า อิชฺฌิตฺถ วต ทกฺขิณา ความว่า น่า

อัศจรรย์จริงหนอ ทักษิณาทานสำเร็จผลแล้ว คือได้มีผลมาก รุ่งเรือง

มาก กว้างใหญ่มากจริงหนอ.

บัดนี้ ท้าวสักกะตรัสคำเป็นต้นว่า ยา มเหสิตฺต กาเรยฺย ดังนี้

ก็เพื่อแสดงว่า ถึงนางแก้วเป็นต้น ก็ไม่ถึงทั้งส่วนร้อย ทั้งส่วนพันของ

ทานนั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพงฺคกลฺยาณี ความว่า สวยงาม

ดีด้วยส่วนคือเหตุทั้งหมด หรืออวัยวะทุกส่วนที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ไม่

สูงนัก ไม่ต่ำนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำไม่ขาวนัก เกิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

วรรณมนุษย์ แต่ไม่ถึงวรรณทิพย์.

บาทคาถาว่า ภตฺตุ จาโนมทสฺสิกา ได้แก่ สามีดูไม่จืดจาง

คือ น่าดู น่าเลื่อมใสอย่างดียิ่ง. บทว่า เอตสฺสา จามทานสฺส กล

นาคฺฆติ โสฬสึ ความว่า แม้ความเป็นนางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ

ก็มีค่าไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ กล่าวคือส่วนที่เขาแบ่งผลของอาจามทาน ที่นาง

ถวายแล้วนั้นให้เป็น ๑๖ ส่วน จาก ๑๖ ส่วนนั้น แบ่งส่วนหนึ่งให้เป็น

อีก ๑๖ ส่วน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ทองคำ ๑๕ ธรณะ เป็นนิกขะ

อีกพวกกล่าวว่าร้อยธรณะ [ เป็นนิกขะ ].

บทว่า เหมวตา ได้แก่ พระยาช้างเกิดในป่าหิมพานต์ หรือมี

กำเนิดในตระกูลช้างเหมวตะ. ก็พระยาช้างเหล่านั้นตัวใหญ่ถึงพร้อมด้วย

กำลังและความเร็ว. บทว่า อีสา ทนฺตา ได้แก่ มีงาดุจงอนรถ. อธิบายว่า

มีงาคดแต่น้อยหนึ่ง [งอน] เพราะงางอนนั้น จึงกันงาขยายกว้างออก

ไปได้. บทว่า อุรูฬฺหวา ได้แก่ เพิ่มพูนด้วยกำลังความเร็ว และความ

บากบั่น อธิบายว่า สามารถนำรบใหญ่ได้. บทว่า สุวณฺณกจฺฉา ได้แก่

สวมเครื่องประดับคอทองคำ. ก็ท่านกล่าวส่วนประกอบช้างทั้งหมดด้วย

สายรัดกลางตัวช้างเป็นสำคัญ. บทว่า เหมกปฺปนิวาสสา ได้แก่ พรั่ง

พร้อมด้วยเครื่องประดับช้างมีเครื่องลาดและปลอกช้างขลิบทองเป็นต้น.

หลายบทว่า จตุนฺน มหาทีปาน อิสฺสริย ความว่า เป็นเจ้ามหา-

ทวีปทั้งสี่มีชมพูทวีปเป็นต้น ซึ่งมีทวีปน้อยเป็นบริวารทวีปละสองพัน.

ด้วยบทนั้นท่านกล่าวเอาสิริของพระเจ้าจักรพรรดิทั้งสิ้น นี้รุ่งเรืองด้วย

รัตนะ ๗ ประการ. ก็คำซึ่งข้าพเจ้าไม่กล่าวไว้ในที่นี้ ก็มีนัยอย่างที่กล่าวมา

แล้วในหนหลัง. ท่านมหากัสสปเถระ กราบทูลคำทั้งหมดที่ท้าวสักกเทวราช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

กับตนกล่าวแล้วในที่นี้ ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทำคำนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องแล้ว จึงทรงแสดงธรรมโดย

พิสดารโปรดบริษัทที่ประชุมกัน. พระธรรมเทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่

มหาชนแล.

จบอรรถกถาอาจามทายิกาวิมาน

๔. จัณฑาลิวิมาน

ว่าด้วยจัณฑาลิวิมาน

[๒๑] พระมหาโมคคัลลานเถระได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า

ดูก่อนนางจัณฑาลี ท่านจงถวายอภิวาทพระ-

บาทยุคลของพระโคดมผู้มีพระเกียรติยศ พระผู้เป็น

พระพุทธเจ้าองค์ที่ ๗ ประทับยืนอยู่เพื่อทรง

อนุเคราะห์ท่านคนเดียว ท่านจงทำใจให้เลื่อมใสยิ่ง

ในพระพุทธเจ้า ผู้เป็นพระอรหันต์ คงที่ แล้วจง

ประคองอัญชลีถวายอภิวาทโดยเร็วเถิด ชีวิตของท่าน

ยังน้อยเต็มที.

เพื่อจะแสดงประวัติของนางจัณฑาลีนั้นโดยตลอด พระสังคีติกาจารย์

จึงกล่าวคาถาสองคาถานี้ว่า

หญิงจัณฑาลีผู้นี้ อันพระมหาเถระผู้มีตนอัน

อบรมแล้ว ดำรงไว้ซึ่งสรีระอันที่สุด ตักเตือนแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

จึงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระโคดม ผู้มีพระ-

เกียรติยศ แม่โคได้ขวิดนางในขณะที่กำลังยืนประ-

คองอัญชลี นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ส่อง

แสงสว่างในโลกมืด.

เพื่อประกาศเรื่องไปของตน เทพธิดาจึงกล่าวว่า

ข้าแต่ท่านวีรบุรุษผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันถึงแล้ว

ซึ่งเทวฤทธิ์ เข้ามาหาท่านผู้สิ้นอาสวะปราศจาก

กิเลสธุลี เป็นผู้ไม่หวั่นไหว นั่งเร้นอยู่ผู้เดียวในป่า

ขอไหว้ท่านผู้นั้นเจ้าค่ะ.

พระมหาโมคคัลลานเถระจึงกล่าวกะนางนั้นว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้สวยงาม ท่านเป็นใคร มีรัศมี

ดังทองงามรุ่งโรจน์ มีเกียรติยศมาก งามตระการ

มิใช่น้อย แวดล้อมด้วยหมู่อัปสรพากันลงมาจาก

วิมาน จึงไหว้อาตมา.

เทพธิดานั้น ถูกพระมหาเถระถามอย่างนี้ จึงกล่าวคาถา ๔ คาถาว่า

ท่านเจ้าขา ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก

ดิฉันเป็นหญิงจัณฑาล ถูกท่านผู้เป็นวีรบุรุษส่งไปเพื่อ

ถวายบังคมพระบาทของพระพุทธเจ้า ดีฉันได้ถวาย

บังคมพระบาทยุคล ของพระโคดมผู้เป็นพระอรหันต์

มีพระเกียรติยศอันงาม ครั้นได้ถวายบังคมพระบาท

ยุคลแล้ว จุติจากกำเนิดหญิงจัณฑาลก็เข้าถึงวิมาน

อันจำเริญโดยประการทั้งปวง ในเทวอุทยานมีนามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

นันทนวัน เทพอัปสรประมาณพันหนึ่งพากันมายืนห้อม

ล้อมดีฉัน ดีฉันเห็นผู้ประเสริฐเลิศกว่าเทพอัปสรนั้น

โดยรัศมี เกียรติยศ และอายุ ดีฉันได้กระทำ

กัลยาณธรรมไว้มาก มีสติสัมปชัญญะ ท่านเจ้าข้า

ดีฉันมาในโลกครั้งนี้ ก็เพื่อถวายนมัสการท่านปราชญ์

ผู้ประกอบด้วยความกรุณาเจ้าค่ะ เทพธิดานั้น ครั้น

กล่าวถ้อยคำนี้แล้ว เป็นผู้ประกอบด้วยความกตัญญู

กตเวที ไหว้เท้าทั้งสองของพระมหาโมคคัลลานเถระ

องค์อรหันต์แล้วก็อันตรธานไป ณ ที่นั้นนั่นเอง.

จบจัณฑาลิวิมาน

อรรถกถาจัณฑาลิวิมาน

จัณฑาลิวิมานมีคาถาว่า จณฺฑาลิ วนฺท ปาทานิ ดังนี้เป็นต้น.

จัณฑาลิวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ในเวลาใกล้รุ่ง

ทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ที่พระพุทธเจ้าปฏิบัติกันมาแล้ว เมื่อทรงออก

แล้วตรวจดูโลกอยู่ ได้ทรงเห็นหญิงจัณฑาลแก่คนหนึ่ง ซึ่งอยู่ใน

จัณฑาลิคาม ในนครนั้นนั่นเองสิ้นอายุ ก็กรรมของนางที่นำไปนรก

ปรากฏชัดแล้ว. พระองค์ทรงมีพระทัยอันพระมหากรุณาให้ขะมักเขม้นแล้ว

ทรงดำริว่า เราให้นางทำกรรมอันนำไปสู่สวรรค์ จักห้ามการเกิดใน

นรกของนางด้วยกรรมนั้น ให้ดำรงอยู่บนสวรรค์ จึงเสด็จเข้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

บิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ก็สมัยนั้น หญิงจัณฑาลี

นั้น ถือไม้ออกจากนคร พบพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จมาได้ยืน

ประจันหน้ากันแล้ว. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยืนตรงหน้า

เหมือนห้ามมิให้นางไป. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ รู้พระทัยของ

พระศาสดา และความหมดอายุของหญิงนั้นแล้ว เมื่อจะให้นางถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

ดูก่อนแม่จัณฑาล ท่านจงถวายบังคมพระบาท

ยุคลของพระโคดม ผู้มีพระเกียรติยศเถิด พระโคดม

ผู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ ๗ ประทับยื่นเพื่ออนุเคราะห์

ท่านคนเดียว ท่านจงทำจิตให้เลื่อมใสยิ่ง ในพระองค์

ผู้เป็นพระอรหันต์ ผู้คงที่ แล้วจงรีบประคองอัญชลี

ถวายบังคมเถิด ชีวิตของท่านน้อยเต็มที่.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า จณฺฑาลิ พระเถระเรียกนางที่มี

ชื่อมาแต่กำเนิด. บทว่า วนฺท ได้แก่ จงถวายบังคม. บทว่า ปาทานิ

ได้แก่ จรณะคือพระบาทอันเป็นสรณะของโลก พร้อมด้วยเทวโลก. บาท

คาถาว่า ตเมว อนุกมฺปาย ได้แก่ เพื่ออนุเคราะห์ท่านเท่านั้น. อธิบายว่า

เพื่อป้องกันการเกิดในอบายมาให้บังเกิดในสวรรค์. บทว่า อฏฺาสิ ได้แก่

ประทับยืนไม่เสด็จเข้าไปสู่พระนคร. บทว่า อิสิสตฺตโม ความว่า

พระองค์เป็นผู้สูงสุด คือ อุกฤษฏ์ กว่าฤษีชาวโลก พระเสขะ พระอเสขะ

พระปัจเจกพุทธเจ้า อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อิสิสตฺตโม เพราะบรรดา

พุทธฤษีทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เป็นฤษี [พระพุทธเจ้า] พระองค์

ที่ ๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

บาทคาถาว่า อภิปฺปสาเทหิ มน ความว่า จงทำจิตของท่านให้

เลื่อมใสว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ. บทว่า

อรหนฺตมฺหิ ตาทิเน ความว่า ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะกิเลสทั้งหลาย

ห่างไกล เพราะกำจัดกิเลสเหล่านั้น ซึ่งเป็นข้าศึก เพราะกำจัดกำแห่ง

สังสารจักร เพราะเป็นผู้ควรแก่ปัจจัยทั้งหลาย และเพราะไม่มีความลับ

ในการทำบาป ชื่อว่า ตาทิ เพราะถึงความคงที่ในโลกธรรมมีอิฏฐารมณ์

เป็นต้น. บาทคาถาว่า ขิปฺป ปญฺชลิกา วนฺท ความว่า ท่านจงประคอง

อัญชลีแล้วจงถวายบังคมเร็ว ๆ เถิด. หากถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า

เพราะชีวิตของท่านน้อยเต็มที่ เพราะชีวิตของท่านจะต้องแตกเป็นสภาพ

ในที่นี้ จึงยังเหลือน้อย คือนิดหน่อย.

พระเถระ เมื่อระบุพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ๒ คาถา

อย่างนี้ อยู่ในอานุภาพของตน ทำนางให้สลดใจด้วยการชี้ชัดว่า นาง

หมดอายุ ประกอบนางไว้ในการถวายบังคมพระศาสดา. ก็นางได้ฟังคำ

นั้นแล้ว เกิดสลดใจ มีใจเลื่อมใสในพระศาสดา ถวายบังคมด้วย

เบญจางคประดิษฐ์ ประคองอัญชลีนมัสการอยู่ ได้ยืนมีจิตเป็นสมาธิ

ด้วยปีติอันซ่านไปในพระพุทธคุณ. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไป

พระนครพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ด้วยทรงดำริว่า เท่านี้ก็พอจะให้นางเกิดใน

สวรรค์ได้ดังนี้. ต่อมา แม่โคลูกอ่อนตัวหนึ่ง หันวิ่งตรงไปจากที่นั้น

เอาเขาขวิดนางจนเสียชีวิต. ท่านพระสังคีติกาจารย์ เพื่อแสดงเรื่องนั้น

ทั้งหมด ได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า

หญิงจัณฑาลผู้นี้ อันพระมหาเถระผู้มีตนอัน

อบรมแล้ว ธำรงไว้ซึ่งสรีระอันสุดท้าย ตักเตือนแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

จึงถวายบังคมพระบาทยุคลของพระโคดม ผู้มีพระ-

เกียรติยศ แม่โคได้ขวิดนางในขณะที่กำลังยืนประ-

คองอัญชลี นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ส่อง

แสงสว่างในโลกมืดดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปญฺชลึ ิต นมสฺสมาน สมฺพุทฺธ

ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เสด็จไปแล้ว นางก็ยังมีจิตเป็นสมาธิ

ด้วยปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ ยืนประคองอัญชลีเหมือนอยู่เฉพาะพระ-

พักตร์.

บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่ ในโลกอันมืดด้วยความมืดคืออวิชชา

และมืดด้วยกิเลสทั้งสิ้น. บทว่า ปภงฺกร คือ ผู้ทำแสงสว่างคือญาณ.

ก็นางจุติจากนั้นไปบังเกิดในภพดาวดึงส์. นางมีอัปสรแสนหนึ่ง

เป็นบริวาร. ก็แลในทันใดนั่นเอง นางมาพร้อมกับวิมาน ลงจากวิมาน

แล้ว ได้เข้าไปหาท่านพระมหาโมคัลลานะถวายนมัสการ. เพื่อแสดงความ

ข้อนั้น นางเทพธิดา ได้กล่าวว่า

ข้าแต่ท่านวีรบุรุษผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันบรรลุ

เทวฤทธิ์แล้ว เข้ามาหาท่านผู้สิ้นอาสวะปราศกิเลสธุลี

เห็นผู้ไม่หวั่นไหว นั่งเร้นอยู่ผู้เดียวในป่า ขอไหว้

ท่านเจ้าค่ะ.

พระเถระได้ถามเทพธิดานั้นว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้สง่างาม ท่านเป็นใคร มีรัศมี

ดังทองงามรุ่งโรจน์ มีเกียรติยศมาก งานตระการ

* อรรถกถาว่า นางมีอัปสรแสนหนึ่ง บาลีว่า มีอัปสรพันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

มิใช่น้อย แวดล้อมด้วยหมู่เทพอัปสรพากันลงมาจาก

วิมาน จึงมาไหว้อาตมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชลิตา ได้แก่ รุ่งโรจน์โชติช่วงด้วย

รัศมีแห่งสรีระผ้าและอาภรณ์เป็นต้นของตน. บทว่า มหาสยา ได้แก่

มีบริวารมาก. บทว่า วิมานโมรุยฺห แปลว่า ลงจากวิมาน. บทว่า

อเนกจิตฺตา ได้แก่ ประกอบด้วยความงามหลากหลาย. บทว่า สุเภ แปลว่า

ผู้มีคุณอันงาม. บทว่า มม แปลว่า อาตมา.

เทพธิดานั้น ได้ถูกพระเถระถามอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถา ๔ คาถา

อีกว่า

ท่านเจ้าขา ดิฉันเป็นหญิงจัณฑาล ถูกท่านผู้

เป็นวีรบุรุษส่งไปถวายบังคมพระบาทยุคลของพระ-

โคดม ผู้เป็นพระอรหันต์ มีพระเกียรติยศ ครั้นได้

ถวายบังคมพระยุคลบาทแล้ว จุติจากกำเนิดหญิง

จัณฑาลไปเข้าถึงวิมาน อันเพรียบพร้อมด้วยสมบัติ

ทั้งปวง ในอุทยานนันทนวัน เทพอัปสรพันหนึ่งพากัน

มายืนห้อมล้อม ดีฉันเป็นผู้ประเสริฐเลิศกว่าเทพ-

อัปสรเหล่านั้น โดยวรรณะ เกียรติยศ และอายุ ดีฉัน

ได้กระทำกรรมอันงามมากมาย มีสติสัมปชัญญะ

ท่านเจ้าขา ดิฉันมามนุษยโลกครั้งนี้ ก็เพื่อถวาย

นมัสการพระมุนีผู้มีกรุณา เจ้าค่ะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปสิตา ความว่า หญิงจัณฑาลถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

ท่านผู้เป็นวีรบุรุษส่งไปเพื่อถวายนมัสการด้วยคำเป็นต้นว่า ดูก่อนแม่-

จัณฑาล ท่านจงถวายพระยุคลบาทเถิด. บุญที่สำเร็จด้วยการถวายบังคมนั้น

ถึงจะน้อยโดยชั่วขณะประเดี๋ยวก็จริง ถึงกระนั้น ก็ชื่อว่ามากเกินที่จะ

เปรียบได้ เพราะมีเขต [เขตตสัมปทา] ใหญ่ และมีผลใหญ่ เพราะเหตุ

นั้น นางจึงได้กล่าวว่า ปหูตกตกลฺยาณา ดังนี้ อนึ่ง นางหมายถึงความ

บริสุทธิ์ของปัญญาและสติ ในขณะความเป็นไปแห่งปีติมีพระพุทธคุณเป็น

อารมณ์ จึงได้กล่าวว่า สมฺปชานา ปติสฺสตา ดังนี้. ท่านพระสังคีติ-

กาจารย์ ตั้งคาถาไว้อีกว่า

เทพธิดาจัณฑาลี ผู้กตัญญูกตเวที ครั้นกล่าว

ถ้อยคำนี้แล้ว ไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระมหาโมค-

คัลลานเถระ องค์พระอรหันต์แล้ว ก็อันตรธานไป

ณ ที่นั้นนั่นเองแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จณฺฑาลี ท่านกล่าวว่า เคยเป็นหญิง

จัณฑาล. คำใด เป็นการกล่าวเรียกกันติดปากในมนุษยโลก คำนี้ก็

ปฏิบัติติดมาในเทวโลกเช่นกัน. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวมาแล้ว.

ส่วนท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ กราบทูลเรื่องถวายพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำข้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ

เกิดเรื่อง ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน พระธรรมเทศนานั้นได้

เป็นประโยชน์แก่ประชาชนแล.

จบอรรถกถาจัณฑาลิวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

๕. ภัททิตถิกาวิมาน

ว่าด้วยภัททิตถิกาวิมาน

[๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามถึงบุรพกรรมที่ ภัททาเทพธิดา

นั้นได้กระทำไว้ว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี ท่านสวมไว้เหนือ

ศีรษะ ซึ่งมาลัยดอกมณฑารพ ซึ่งมีสีต่าง ๆ คือ

คำ แดงเข้ม และแดง แวดล้อมด้วยกลีบเกสรจาก

ต้นไม้เหล่าใด ต้นไม้เหล่านี้ไม่มีในหมู่เทพเหล่าอื่น

เพราะบุญอะไร ท่านผู้มียศจึงเข้าถึงหมู่เทวดาชั้น

ดาวดึงส์ ดูก่อนเทพธิดา ท่านถูกเราถามแล้ว

โปรดบอกสิว่านี้เป็นผิของบุญกรรมอะไร.

เทพธิดาถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงทูลพยากรณ์

ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ชนทั้งหลายรู้จักข้าพระองค์ว่า ภัตทิตถิกา

ข้าพระองค์เป็นอุบาสิกาอยู่ในกิมพิลนคร เป็นผู้สม-

บูรณ์ด้วยศรัทธา และศีล ยินดีในการจำแนกทาน

ทุกเมื่อ มีจิตอันเลื่อมใสในพระอริยเจ้าผู้ปฏิบัติตรง

ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และเครื่อง

ประทีป ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการตลอดดิถีที่ ๑๔-๑๕ และดิถีที่ ๘

ของปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

แล้วด้วยดีในศีลทุกเมื่อ งดเว้นจากปาณาติบาต เป็น

ผู้เว้นจากการถือเอาสิ่งของของผู้อื่นด้วยไถยจิต จาก

การประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และ

จากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และ

เป็นผู้ฉลาดในอริยสัจ มีปกติเป็นอยู่ด้วยความไม่

ประมาท เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระ-

สมันตจักษุ ข้าพระองค์บำเพ็ญสุจริตกุศลธรรมสำเร็จ

แล้ว จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว เป็นนางเทพธิดาผู้มี

รัศมีในกายตัวเอง เที่ยวชมอยู่รอบ ๆ สวนนันทนวัน

อนึ่ง ข้าพระองค์ได้เลี้ยงดูซึ่งท่านภิกษุผู้เป็นอัครสาวก

ทั้งสอง ผู้อนุเคราะห์ชาวโลกด้วยประโยชน์เกื้อกูล

อย่างยิ่ง เป็นมหาปราชญ์ และได้บำเพ็ญสุจริตกุศล-

ธรรมไว้มาก ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้

บังเกิดเป็นเทพธิดา ผู้มีรัศมีในกายของตนเอง เที่ยว

ชมอยู่รอบ ๆ สวนนันทนวัน ข้าพระองค์ได้เข้ารักษา

อุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ นำมา

ซึ่งความสุขอันกำหนดมิได้เนืองนิตย์ และได้สร้าง

สุจริตกุศลธรรมความชอบไว้บริบูรณ์แล้ว ครั้นจุติจาก

มนุษยโลกนั้นแล้ว ได้บังเกิดเป็นนางเทวดาผู้มี

รัศมีในกายตัวเอง เที่ยวชมอยู่รอบ ๆ นันทนวัน.

จบภัททิตถิกาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

อรรถกถาภัททิตถิกาวิมาน

ภัททิตถิกาวิมานมีคาถาว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จ ดังนี้เป็นต้น.

ภัททิตถิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ-

บิณฑิกะ กรุงสาวัตถี สมัยนั้น ในกิมิลนคร มีคหบดีบุตรผู้หนึ่งชื่อ

โรหกะ มีศรัทธาปสาทะ ถึงพร้อมด้วยศีลและอาจาระ ในนครนั้นแล

มีทาริกาเด็กหญิงคนหนึ่ง ในตระกูลที่มีโภคทรัพย์มาก ทัดเทียมกับนาย

โรหกะนั้น เป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใส มีนามว่า ภัททา เพราะเจริญแม้

ตามปกติ ครั้นต่อมา มารดาบิดาของโรหกะ ได้เลือกกุมารีนั้น นำนาง

มาในเวลานั้น ได้ทำอาวาหวิวามงคลกัน. สองสามีภริยานั้น ก็อยู่ร่วม

กันด้วยสามัคคี ก็เพราะอาจารสมบัติของตน นางจึงได้เป็นคนเด่น รู้จัก

กันไปทั่วพระนครนั้นว่า ภัททิตถี แม่หญิงภัทรา.

ก็สมัยนั้น พระอัครสาวกทั้ง ๒ มีภิกษุเป็นบริวาร รูปละ ๕๐๐

จาริกเที่ยวไปในชนบท ถึงกิมิลนคร. นายโรหกะ รู้ว่าพระอัครสาวกนั้น

ไปที่กิมิลนครนั้น เกิดโสมนัสเข้าไปหาพระเถระทั้งสองรูป ไหว้แล้วนิมนต์

ฉันในวันพรุ่งนี้ อังคาสท่านพร้อมด้วยบริวารให้อิ่มหนำสำราญด้วยของ

เคี้ยวของฉันอันประณีตในวันรุ่งขึ้น พร้อมด้วยบุตรและภรรยา ได้ฟัง

พระธรรมเทศนาที่ท่าแสดงแล้ว ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน รับสรณะ

สมาทานเบญจศีล. ส่วนภรรยาของเขา ก็เข้ารักษาอุโบสถศีลเป็นวัน ๘ ค่ำ

๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวันปาฏิหาริยปักษ์. เฉพาะอย่างยิ่งนางได้เป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยศีลและอาจาระ และเทวดาทั้งหลาย อนุเคราะห์แล้ว ก็ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

ความอนุเคราะห์ของเทวดานั้นแล นางก็ปลดเปลื้องคำว่าร้ายผิด ๆ ที่

ตกมาเหนือตนหายไปได้ กลายเป็นผู้มีเกียรติยศแพร่ไปทั่วโลกอย่างยิ่ง

เพราะนางมีศีลและอาจาระหมดจดด้วยดีแล.

ก็ภรรยานั้น อยู่ในกิมิลนครนั้นเอง ส่วนสามีของนางอยู่ค้าขายใน

ตักกศิลานคร ในวันมหรสพรื่นเริงกัน เมื่อถูกพวกเพื่อนรบเร้าก็เกิดคิด

อยากเล่นงานมหรสพตามเทศกาล เทวดาผู้ประจำเรือนก็ช่วยนำนางไปใน

ตักกศิลานครนั้นด้วยอานุภาพทิพย์ของตนแล้ว ส่งไปร่วมกับสามี เพราะ

อยู่ร่วมกันนั่นแล ก็ตั้งครรภ์ เทวดาช่วยนำกลับกิมิลนคร เมื่อครรภ์

ปรากฏชัดขึ้นโดยลำดับ ถูกแม่ผัวเป็นต้น รังเกียจว่านางประพฤตินอกใจ

สามี เมื่อกระแสน้ำในแม่น้ำคงคาถูกเทวดานั้นแล บันดาลให้เป็นเหมือน

หลงมาท่วมกิมิลนคร ด้วยอานุภาพของตน ประสบความยุ่งยาก ซึ่งตก

ลงมาเหนือตนดังกระแสน้ำในแม่น้ำคงคาที่มีเกลียวคลื่นเกิดเพราะแรงลม

ด้วยการสมถะมีสัจจาธิษฐานเป็นเบื้องต้น ซึ่งพิสูจน์ว่าตนเป็นหญิงจงรัก

สามี ถึงจะกลับมาอยู่ร่วมกับสามี สามีนั้นก็รังเกียจ เหมือนแม่ผัวเป็นต้น

รังเกียจมาก่อน และต้องอ้างสัญญาณเครื่องหมาย ซึ่งสามีนั้นประทับชื่อ

ให้ไว้ในตักกศิลานคร จึงแก้ความรังเกียจนั้นได้ กลายเป็นผู้ที่ญาติฝ่าย

สามีและมหาชนยกย่อง ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า สุวิสุทฺธสีลา-

จารตาย อติวิย โลเก ปตฺถฏยสา อโหสิ ได้เป็นผู้มีเกียรติยศแพร่ไป

ในโลกอย่างยิ่ง เพราะเป็นผู้มีศีลและอาจาระหมดจดดี.

สมัยต่อมา นางทำกาละตาย ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ ครั้งเมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาจากกรุงสาวัตถีไปยังภพดาวดึงส์ ประทับนั่ง

บนบัณฑุกัมพลศิลา ณ โคนต้นปาริฉัตร และเมื่อเทพบริษัทเข้าไปเฝ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แม้

ภัททิตถีเทพธิดาก็ได้เข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงถามบุญกรรมที่

เทพธิดานั้นทำไว้ ณ ท่ามกลางเทวดาบริษัทและพระพรหมบริษัทที่ประชุม

พร้อมกันในหมื่นโลกธาตุ ได้ตรัสว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี ท่านทัดทรงไว้

เหนือศีรษะ ซึ่งพวงมาลัยดอกมณฑารพ อันมีสี

ต่าง ๆ กัน คือ เขียว เหลือง ดำ แดงเข้ม และแดง

ที่ห้อมล้อมด้วยกลีบเกสร จากต้นไม้เหล่าใด ต้นไม้

เหล่านี้ ไม่มีในเทพหมู่อื่น เพราะบุญอะไร ท่านผู้

เลอยศจึงเข้าถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ ดูก่อนเทพธิดา

ท่านถูกเราถามแล้ว จงบอกมาสิว่านี้เป็นผลของบุญ

อะไร.

ในคาถานั้น ศัพท์ในบาทคาถานี้ว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จ

มญฺชิฏฺา อถ โลหิตา เป็นการกล่าวควบบท จ ศัพท์นั้น พึงประกอบ

แต่ละบทโดยเป็นต้นว่า นีลา จ ปีตา จ. ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาตใช้

ในอรรถอื่น. ด้วย อถ ศัพท์นั้น ท่านรวมวรรณะที่ไม่ได้กล่าวมีสีขาวเป็นต้น

ไว้ด้วย. พึงทราบว่าอิติศัพท์ท่านลบเสียแล้วแสดงไว้ [ไม่มีอิติศัพท์]

อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ ควบข้อความที่ไม่ได้กล่าวไว้ อิติ ศัพท์ เป็น

นิบาต. บทว่า อุจฺจาวจาน. ในบาทคาถาว่า อุจฺจารจาน วณฺณาน นี้

พึงเห็นว่าไม่ลบวิภัตติ อธิบายว่า มีสีสูงและตำคือมีสีต่าง ๆ กัน. อนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

บทว่า วณฺณาน แปลว่า ซึ่งมีรัศมีคือสี. บาทคาถาว่า กิญฺชกฺขปริวาริตา

ได้แก่ แวดล้อมด้วยกลีบเกสรดอกไม้. ที่จริงบทนั้นเป็นปฐมาวิภัตติแต่

ใช้ในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนเทพธิดา ท่านทัดทรง

ประดับไว้เหนือเศียร ซึ่งมาลัยดอกมณฑารพ คือพวงมาลัยที่ทำด้วยดอก

มณฑารพเหล่านั้น เพราะดอกมณฑารพเหล่านั้น ซึ่งสีสรรต่างๆ คือ เขียว

เหลือง ดำ แดงเข้ม แดงและสีอื่น ๆ มีสีขาวเป็นต้น อันห้อมล้อมด้วยกลีบ

เกสรคือละออง ตามที่เป็นอยู่มีสัณฐานทรวดทรงงามเป็นต้น หรือเพราะ

สีแห่งวรรณะตามที่กล่าวแล้วต่าง ๆ กัน เกิดจากต้นมณฑารพ.

เพื่อแสดงว่าต้นไม้ที่มีดอกเหล่านั้นไม่ทั่วไปแก่สวรรค์ชั้นอื่น เพราะ

ดอกไม้เหล่านั้น มีสีพิเศษแปลกออกไป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

นยิเม อญฺเสุ กาเยสุ รุกฺขา สนฺติ สุเมธเส ดังนี้. ในบทเหล่านั้น

บทว่า อิเม ประกอบความว่า ต้นไม้มีดอกประกอบด้วยสีและสัณฐาน

เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วไม่มี. บทว่า กาเยสุ แปลว่า ในหมู่เทพทั้งหลาย.

บทว่า สุเมธเส แปลว่า ดูก่อนเทพธิดาผู้มีปัญญาดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นีลา ได้แก่ มีสีเขียว โดยมณีรัตนะ

มีอินทนิลและมหานิลเป็นต้น. บทว่า ปีตา ได้แก่ มีสีเหลือง โดย

มณีรัตนะ มีบุษราคัมกักเกตนะและปุลกะเป็นต้น และทองสิงคี. ว่า

กาฬา ได้แก่ มีสีดำ โดยมณีรัตนะมีแก้วหินอัสมกะ แก้วหินอุปลกะ

เป็นต้น. บทว่า มญฺชิฏฺา ได้แก่ มีสีแดงเข้ม โดยมณีรัตนะมีแก้วโชติรส

แก้วโคปุตตาและแก้วโคเมทกะเป็นต้น. บทว่า โลหิตา ได้แก่ มีสีแดง

โดยมณีรัตนะมีแก้วทับทิม แก้วแดง แก้วประพาฬเป็นต้น ส่วนอาจารย์

บางพวก เอาบทมีนีละ เป็นต้นกับบทนี้ว่า รุกฺขา ประกอบกันกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

นีลารุกฺขา เป็นต้น. ที่จริง แม้ต้นไม้ย่อมได้โวหารว่าเขียวเป็นต้น

เพราะประกอบด้วยสีเขียวเป็นต้น เหตุปกคลุมด้วยดอกไม้มีสีเขียวเป็นต้น

เพราะเหตุนั้น ด้วยบทเหล่านั้นว่า นีลา ปีตา จ กาฬา จ ฯ ป ฯ

นยิเม อญฺเสุ กาเยสุ รุกฺขา สนฺติ สุเมธเส ดังนี้ พึงประกอบ

ความว่า ท่านทัดทรงพวงดอกมณฑารพ ซึ่งมีสีสรรต่าง ๆ ฯลฯ ห้อม

ล้อมด้วยกลีบเกสรจากต้นไม้ใด การแสดงต้นไม้ไว้แผนกหนึ่ง ด้วยการ

ระบุดอกไม้อันประกอบด้วยสีแปลกออกไปตามที่เห็นแล้ว ด้วยการแสดง

ถึงภาวะที่ดอกไม้เหล่านั้นเป็นของไม่ทั่วไป จัดเป็นปฐมนัย. การแสดง

ดอกไม้ไว้แผนกหนึ่ง ด้วยการแสดงภาวะที่ต้นไม้เป็นของไม่ทั่วไป จัด

เป็นทุติยนัย. สีเป็นต้น ในปฐมนัยท่านถือเอาโดยสภาพ. ในทุติยนัย

ท่านถือเอาโดยมุข คือต้นไม้อันเป็นที่อาศัย [ ของสี ] ในข้อนั้นสีและ

ต้นไม้เหล่านั้น แปลกกันดังกล่าวมานี้.

บทว่า เกน ประกอบความว่า เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงเข้า

ถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์. บทว่า ปุจฺฉิตาจิกฺข ความว่า ท่านถูกเราถาม

แล้ว จงบอกจงกล่าวมาเถิด.

เทพธิดานั้น ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว จึงได้ทูล

พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ชนทั้งหลายรู้จักข้าพระองค์ว่า ภัททิตถิกา แม่

หญิงภัทรา ข้าพระองค์เป็นอุบาสิกาอยู่ในกิมพิลนคร

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและศีล ยินดีในการจำแนก

ของเป็นทานทุกเมื่อ มีจิตผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

อาหาร เสนาสนะ และเครื่องประทีป ในพระอริย-

เจ้าผู้ปฏิบัติตรง ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถ อัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดดิถีที่ ๑๔-๑๕

และดิถีที่ ๘ ของปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์

ข้าพระองค์เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยดีในศีลทุกเมื่อ มี

สัญญมะ และแจกทาน จึงครอบครองวิมาน. ดีฉัน

งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นจากการถือเอาสิ่งของ

ของผู้อื่นด้วยไถยจิต จากการประพฤติผิดในกาม

สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มนำเมา เป็นผู้

ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ และเป็นผู้ฉลาดในอริยสัจ

เป็นอุบาสิกาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระสมันตจักษุ มี

ปกติเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท.

ข้าพระองค์ได้โอกาสบำเพ็ญกุศลธรรม จุติจาก

มนุษยโลกนั้นแล้ว เป็นเทพธิดา มีรัศมีของตนเอง

เที่ยวชมสวนนันทนวันอยู่ อนึ่ง ข้าพระองค์ได้เลี้ยงดู

ท่านภิกษุอัครสาวกทั้งสอง ผู้อนุเคราะห์ชาวโลกด้วย

ประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง เป็นมหาปราชญ์ และได้

โอกาสบำเพ็ญกุศลธรรม ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้น

แล้ว ได้บังเกิดเป็นเทพธิดาผู้มีรัศมีในตนเอง เที่ยว

ชมสวนนันทนวันอยู่ ข้าพระองค์ได้เข้ารักษาอุโบสถ

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ อันนำความสุขมา

หาประมาณมิได้อยู่เนืองนิตย์ และได้โอถาสร้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

กุศลธรรม ครั้นจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว ได้บังเกิด

เป็นนางเทพธิดา ผู้มีรัศมีในตนเอง เที่ยวชมสวน

นันทนวันอยู่.

ในบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า ภทฺทิตฺถิกาติ ม อญฺึสุ กิมฺพิลาย

อุปาสิกา ความว่า หญิงนี้เจริญดี เกิดการตัดสินใจไว้ว่า เป็นผู้มีศีล

ไม่ขาด เพราะกลับกระแสน้ำใหญ่ที่กำลังเบียดเบียน ด้วยอาจารสมบัติ

ด้วยการการทำสัจ เพราะฉะนั้น ชาวกิมพิลนครจึงรู้จักข้าพระองค์ว่า

อุบาสิกาชื่อว่า ภัททิตถิกา. บาทคาถาเป็นต้นว่า สทฺธาสีเลน สมฺปนฺนา

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.

อีกอย่างหนึ่ง เทพธิดาแสดงทรัพย์คือศรัทธาด้วยบทนี้ว่า สทฺธา.

ทรัพย์คือจาคะด้วยบทนี้ว่า ข้าพระองค์ยินดีในการจำแนกของเป็นทาน

มีจิตผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและเครื่องประทีปใน

พระอริยะ ผู้ปฏิบัติตรง. ทรัพย์คือศีล ทรัพย์คือหิริ และทรัพย์คือ

โอตตัปปะด้วยบทนี้ว่า ข้าพระองค์สมบูรณ์ด้วยศีล ตลอดดิถี ๑๔-๑๕ ค่ำ

ฯ ล ฯ มีสิกขาบท ๕ ประการ แสดงทรัพย์คือสุตะ และทรัพย์คือปัญญา

ด้วยบทนี้ว่า อริยสจฺจาน โกวิทา. เทพธิดานั้นแสดงการได้อริยทรัพย์

๗ ประการของตนดังกล่าวมาฉะนี้. เทพธิดาชี้แจงอานิสงส์ของอริยทรัพย์

๗ นั้น ทั้งที่เป็นปัจจุบัน ทั้งที่เป็นภายหน้า ด้วยบาทคาถานี้ว่า

อุปาสิกา จกฺขุมโต ฯ เป ฯ อนุวิจรามิ นนฺทน. ในบทเหล่านั้น

บทว่า กตาวาสา ได้แก่ ได้บำเพ็ญสุจริตกรรมเครื่องอยู่สำเร็จแล้ว.

จริงอยู่ สุจริตกรรมเรียกว่าอาวาสที่อยู่แห่งสุขวิหารธรรม เพราะเหตุอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

เป็นสุขในปัจจุบันและอนาคต ด้วยเหตุนั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า กตกุสลา

ดังนี้.

เทพธิดากล่าวบุญสำเร็จด้วยทานของตนอันเป็นเขตพิเศษที่มิได้แตะ

ต้องมาก่อนแล้ว บัดนี้ เพื่อจะแสดงความที่เขตพิเศษเป็นบ่อเกิดแห่งบุญ

นั้น จึงกล่าวคำว่า ภิกฺขู จ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น ว่า ภิกฺขู

ชื่อว่าภิกษุเพราะเป็นผู้ทำลายกิเลสมิให้เหลือ. บทว่า ปรมหิตานุกมฺปเก

ได้แก่ ผู้อนุเคราะห์ประโยชน์เกื้อกูลในปัจจุบันเป็นต้น เป็นอย่างยิ่งคือ

เหลือเกิน. บทว่า อโภชยึ ได้แก่ ข้าพระองค์ได้ให้ท่านฉันโภชนะอัน

ประณีต. บทว่า ตปสฺสิยุค ความว่าคู่ [สองอัครสาวก] ผู้มีตบะ

เพราะเผาผลาญตัดกิเลสมลทินทั้งหมดได้เด็ดขาดด้วยตบะอันสูงสุด. บทว่า

มหามุนึ ความว่า เป็นผู้แสวงคุณใหญ่เพราะตบธรรมนั้นนั่นแล หรือ

ชื่อว่ามหาปราชญ์เพราะรู้คือกำหนดวิสัยของตนได้ด้วยญาณอย่างใหญ่นั่น

เที่ยว. คำนั้นทั้งหมด เทพธิดากล่าวหมายเอาพระอัครสาวกทั้งสอง.

บทว่า อปริมิต สุขาวห ท่านกล่าวมิได้ลบนิคหิต ได้แก่อัน

ให้เกิดหิตสุขมีปริมาณเกินพระดำรัสแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะ

พระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ผู้บอกจะทำให้บรรลุ ตลอดถึง

สุขบนสวรรค์ไม่ง่ายนัก หรือนำสุขมาหาประมาณมิได้ คือนำสุขมาด้วย

อานุภาพของตน. บทว่า สตต แปลว่า ทุกเวลา. ประกอบความว่า

ไม่ลดวันรักษาอุโบสถนั้น ๆ หรือทำวันรักษาอุโบสถนั้นไม่ให้ขาด ทำ

ให้บริบูรณ์นำความสุขมาให้เนืองนิตย์ หรือทุกเวลา. คำที่เหลือเหมือนนัยที่

กล่าวมาแล้วในหนหลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกตลอดสาม

เดือนโปรดหมู่เทวดาและพรหม ผู้อยู่ในหมื่นโลกธาตุ มีพระมารดาเทพ-

บุตรเป็นประธาน เสด็จกลับมายังมนุษยโลกแล้ว ทรงแสดงภัททิตถิกา-

วิมานโปรดแก่ภิกษุทั้งหลาย. พระธรรมเทศนานั้น ได้เป็นประโยชน์แก่

บริษัทผู้ประชุมกันแล.

จบอรรถกถาภัททิตถิกาวิมาน

๖. โสณทินนาวิมาน

ว่าด้วยโสณทินนาวิมาน

[๒๓] พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้สอบถามนางเทพธิดาด้วย

คาถาว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ส่องสว่าง

ไสวไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีผิวพรรณเช่นนี้ เพราะบุญอะไร

อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคสมบัติทุกอย่างที่

น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอ

ถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้กระทำบุญอะไร

ไว้ และเพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง

อย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ชนชาวนาลันทานครรู้จักดิฉันว่า โสณทินนา

ดีฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองนาลันทา เป็นผู้สมบูรณ์

ด้วยศรัทธาและศีล ยินดีแล้วในทานบริจาคเสมอ มี

จิตผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และ

เครื่องประทีป เครื่องอุปกรณ์ ในพระอริยะผู้ปฏิบัติ

ตรง ดีฉันได้เข้ารักษาอุโบสถศีลอันประกอบด้วยองค์

๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ

แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวม

ด้วยดีในศีลทุกเมื่อ คือเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดใน

กาม สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา ดีฉัน

เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ มีปัญญาเฉลียวฉลาด

ในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ

และพระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีรัศมีเช่นนี้

ฯลฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบโสณทินนาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

อรรถกถาโสณทินนาวิมาน

โสณทินนาวิมานมีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้เป็นต้น.

โสณทินนาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระเชตวัน กรุงสาวัตถี. ก็สมัย

นั้น อุบาสิกาคนหนึ่งชื่อโสณทินนาในเมืองนาลันทามีศรัทธาเลื่อมใส บำรุง

ภิกษุทั้งหลายด้วยปัจจัย ๔ โดยเคารพ มีนิจศีลอันบริสุทธิ์ดี เข้ารักษา

แม้อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ. นางโสณทินนานั้น ได้ความ

สบายในการฟังธรรม เมื่อเพิ่มพูนกัมมัฏฐานในสัจจะ ก็ได้เป็นโสดาบัน

เพราะถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ต่อมา นางเป็นโรคชนิดหนึ่งแล้วก็ตายไป

เกิดในชั้นดาวดึงส์. ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระได้สอบถามเทพธิดานั้น

ด้วยคาถาสามคาถาเหล่านั้นว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม มีรัศมี

ส่องสว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญ

อะไร อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคสมบัติ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอ

ถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

และเพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ชนชาวเมืองนาลันทา รู้จักดิฉันว่าโสณทินนา

ดีฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองนาลันทา เป็นผู้สมบูรณ์

ด้วยศรัทธาและศีลยินดีแล้ว ในทานบริจาคเสมอ มีจิต

ผ่องใส ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะและ

เครื่องประทีปเครื่องอุปกรณ์ ในพระอริยะผู้ปฏิบัติตรง

ดีฉันได้เข้ารักษาอุโบสถศีล อันประกอบด้วยองค์ ๘

ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ

แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้สำรวม

ด้วยดีในศีลทุกเมื่อ. เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต

เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน จากการประพฤติผิดใน

กาม สำรวมจากมุสาวาท และจากการดื่มน้ำเมา ดีฉัน

เป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕ มีปัญญาเฉลียวฉลาดใน

อริยสัจ เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ และ

พระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้

อิฐผลนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคสมบัติทุกอย่าง

ที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ดีฉันได้กระทำบุญใดไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

รัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

คำนั้นทั้งหมด เหมือนนัยที่กล่าวมาในหนหลัง.

จบอรรถกถาโสณทินนาวิมาน

๗. อุโบสถาวิมาน

ว่าด้วยอุโบสถาวิมาน

[๒๔] ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามถึงบุรพกรรมของ

เทพธิดานั้นว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม มีรัศมีส่อง

สว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมี

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

นางเทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถาม

แล้ว ดีใจ ก็ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผล

อย่างนี้ว่า

ประชาชนรู้จักดิฉันว่าแม่อุโบสถา ดีฉันเป็น

อุบาสิกาอยู่ในเมืองสาเกต เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา

และศีล... ได้เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ

สมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

มีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสว

ไปทุกทิศ.

เมื่อจะแสดงโทษอย่างหนึ่งของตน เทพธิดานั้นจึงได้กล่าวคาถา ๒

คาถาอีกว่า

ฉันทะความพอใจเกิดแก่ดีฉัน เพราะฟังเรื่อง

นันทนวันอยู่เนื่อง ๆ เพราะเหตุที่ตั้งใจไปในนันทนวัน

นั้น ดีฉันจึงเข้าถึงนันทนวันชั้นดาวดึงสพิภพ ดีฉัน

มิได้ทำตามพระวาจาของพระศาสดาพุทธเจ้าเผ่าพันธุ์

แห่งพระอาทิตย์ ตั้งจิตไว้ในภพอันเลว จึงมีความ

ร้อนใจในภายหลัง.

เพื่อจะปลุกใจนางเทพธิดานั้น พระมหาโมคคัลลานเถระจึงกล่าว

คาถานี้ว่า

ดูก่อนอุโบสถาเทพธิดา ท่านจะอยู่ในวิมานนี้

นานเท่าไร ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอกเถิด

ถ้าท่านรู้อายุ.

เทพธิดานั้นตอบว่า

ข้าแต่ท่านมหาปราชญ์ ดีฉันจักดำรงอยู่ใน

วิมานนี้ สามโกฏิหกหมื่นปี จุติจากที่นี้แล้ว จึงจักไป

บังเกิดเป็นมนุษย์.

พระมหาโมคคัลลานเถระ ปลุกเทพธิดานั้นให้อาจหาญด้วยคาถา

นี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

ดูก่อนอุโบสถาเทพธิดา ท่านอย่ากลับไปเลย

ท่านเป็นผู้อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้

แล้วว่า ท่านจักถึงคุณวิเศษ เป็นพระโสดาบัน

ทุคติท่านก็ละได้แล้วนี่.

จบอุโบสถาวิมาน

อรรถกถาอุโบสถาวิมาน

อุโบสถาวิมานมีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้เป็นต้น.

อุโบสถาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

อัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่องในข้อนี้มีแปลกกันเท่านี้ว่า อุบาสิกาคนหนึ่ง

ชื่ออุโบสถาในเมืองสาเกต. คำที่เหลือเช่นเดียวกับวิมานติด ๆ กัน. ด้วย

เหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ฯ ล ฯ รัศมี

ของท่านจึงส่องสว่างไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ดีฉันเป็นอุบาสิกาอยู่ในเมืองสาเกต ประชาชน

รู้จักดิฉันว่า อุโบสถา เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและ

ศีล ยินดีแล้วในจำแนกทานเสมอ มีจิตผ่องใส ได้

ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ และเครื่องประทีป

ในพระอริยะผู้ปฏิบัติตรง ดีฉันได้เข้ารักษาอุโบสถศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ

๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิ-

หาริยปักษ์ด้วย เป็นผู้สำรวมด้วยดีในศีลเสมอ เป็น

ผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน

จากการประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และ

จากการดื่มน้ำเมา ดีฉันเป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕

มีปัญญาเฉลียวฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของ

พระโคดมผู้มีพระจักษุ และพระเกียรติยศ เพราะ

บุญกรรมนั้น ดีฉันจึงเป็นผู้มีรัศมีเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ

รัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น เมื่อจะแสดงโทษอย่างหนึ่งของตน จึงได้กล่าวคาถา

๗ คาถาอีกว่า

ฉันทะความพอใจเกิดขึ้นแก่ดีฉัน เพราะได้ฟัง

เรื่องสวนนันทนวันอยู่เนือง ๆ ดีฉันจึงตั้งจิตไปในสวน

นันทนวันนั้น ก็เข้าถึงสวนนันทนวันได้จริง ๆ ดีฉัน

มิได้ทำตามพระวาจาของพระศาสดาพุทธเจ้าเผ่าพันธุ์

แห่งพระอาทิตย์ ดีฉันนั้นตั้งจิตใจไว้ในภพอันเลว

จึงร้อนใจในภายหลัง.

ในบทเหล่านั้น บาทคาถาว่า อุโปสถาติ ม อญฺึสุ ความว่า

คนทั้งหลายรู้จักดีฉันโดยชื่อนี้ว่า อุโบสถา. บทว่า สาเกตาย แปลว่า

ในเมืองสาเกต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

บทว่า อภิกฺขณ แปลว่าเนือง ๆ. บทว่า นนฺทน สุตฺวา ความว่า

เพราะได้ทราบทิพยสมบัติมีอย่างต่าง ๆ ในภพดาวดึงส์นั้นว่า ชื่อว่า

นันทนวัน ในภพดาวดึงส์เป็นเช่นนี้ และเป็นเช่นนี้. บทว่า ฉนฺโท

ได้แก่ ความพอใจในกุศลเป็นเหตุแห่งบุญกรรมที่จะให้บังเกิดในภพดาว-

ดึงส์นั้น หรือความพอใจด้วยอำนาจตัณหา อันเป็นความปรารถนาที่จะ

เกิดในภพดาวดึงส์นั้น. บทว่า อุปปชฺชถ แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า

ตตฺถ ได้แก่ ในภพดาวดึงส์. จริงอยู่ เทพธิดากล่าวถึงเทวโลกนั้น แม้ด้วย

การอ้างถึงสวนนันทนวัน. บทว่า อุปปนฺนามฺหิ ความว่า ดีฉันเกิดแล้ว

คือได้บังเกิดแล้ว.

บาทคาถาว่า นากาสึ สตฺถุ วจน ความว่า ดีฉันไม่ได้ทำตาม

พระดำรัสที่พระศาสดาได้ตรัสไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราสรรเสริญภพแม้มีประมาณน้อย ก็หามิได้. อธิบายว่า ไม่ละฉันทราคะ

ในภพทั้งหลาย. พระอาทิตย์เป็นโคดมโคตร แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็น

โคดมโคตร เพราะเหตุนั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า พุทฺธสฺสาทิจฺจพนฺธุโน

เพราะทรงมีพระโคตร. อีกอย่างหนึ่ง เผ่าพันธุ์ของพระอาทิตย์ ชื่อว่า

อาทิจฺจพนฺธุ คือพระผู้มีพระภาคเจ้า. อีกอย่างหนึ่ง เผ่าพันธุ์ชื่อว่าพระ-

อาทิตย์ เพราะทรงอาศัยพระอาทิตย์นั้นแล้วเกิดในอริยชาติ หรือชื่อว่า

อาทิจจพันธุ์ เพราะทรงเป็นบุตรเกิดแต่อกของพระอาทิตย์นั้น คือพระผู้มี-

พระภาคเจ้า. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้แล้วว่า

พระอาทิตย์ใดส่องแสงสว่าง กำจัดความมืด

ในยามมืด รุ่งโรจน์เป็นมณฑลดวงกลม มีอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

ความร้อนสูง ดูก่อนราหุ ท่านอย่ากลืนพระอาทิตย์นั้น

ซึ่งกำลังโคจรอยู่ในอากาศเลย ดูก่อนราหู ท่านจง

ปล่อยพระอาทิตย์ประชา [ บุตร ] ของเราเถิด.

บทว่า หีเน คือต่ำทราม เทพธิดากล่าวถึงความยินดีในภพของตน.

บทว่า สามฺหิ ตัดบทเป็น สา อมฺหิ แปลว่าดีฉันนั้น.

เมื่อเทพธิดานั้นประกาศความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นอันความยินดีในภพ

สร้างไว้อย่างนี้แล้ว พระเถระเพื่อจะปลอบใจด้วยมุข คือชี้แจงอายุของ

ภพที่กำหนดไว้ว่า การตั้งอยู่ในอัตภาพมนุษย์ต่อไปแล้วก้าวล่วงทุกข์ใน

วัฏฏะเสีย จะทำก็ทำได้ง่าย และว่าความเป็นผู้สิ้นอาสวะทุกประการ มี

อานิสงส์มาก จึงกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนอุโบสถาเทพธิดา ท่านจะอยู่ในวิมานนี้

นานเท่าไร ท่านถูกอาตมาถามแล้วโปรดบอกด้วย ถ้า

ท่านทราบอายุ.

นางเทพธิดานั้นตอบว่า

ข้าแต่ท่านมหาปราชญ์ ดีฉันดำรงอยู่ในวิมาน

นี้ ประมาณสามโกฏิหกหมื่นปี จุติจากที่นี้แล้ว จัก

ไปบังเกิดเป็นมนุษย์.

พระมหาโมคคัลลานเถระ ท่านางเทพธิดานั้นให้อาจหาญด้วยคาถา

นี้อีกว่า

ดูก่อนอุโบสถาเทพธิดา ท่านอย่ากลัวเลย พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงพยากรณ์ไว้แล้วว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

บรรลุคุณพิเศษเป็นโสดาบัน ทุคติ ท่านก็ละได้

แล้วนี่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กีวจิร แปลว่านานเท่าไร. บทว่า

อิธ คือในเทวโลกนี้ หรือในวิมานนี้. บทว่า อายุโน แปลว่า อายุ.

บทว่า โน เป็นเพียงนิบาต. หรือรู้ว่าอายุนานหรือไม่นาน. อนึ่ง

อธิบายว่า ถ้าทราบอายุ. ด้วยบทว่า มหามุนิ เทพธิดาเรียกพระเถระ.

บาทคาถาว่า มา ตฺว อุโปสเถ ภายิ ความว่า ดูก่อนอุโบสถา

ผู้เจริญ ท่านอย่ากลัวเลย เพราะอะไร ? เพราะท่านถูกพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า ได้ทรงพยากรณ์ไว้แล้ว. พยากรณ์ว่าอย่างไร. พยากรณ์ว่าบรรลุ

คุณวิเศษเป็นโสดาบัน. ท่านถึงคือบรรลุคุณวิเศษที่เข้าใจว่าเป็นมรรคผล

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิเสสยิ เพราะถึงคุณวิเศษแม้นี้ว่า ทุคติแม้ทั้งปวง

ท่านละได้แล้ว. คำที่เหลือเหมือนนัยที่กล่าวมาแล้ว.

จบอรรถกถาอุโบสถาวิมาน

๘. สุนิททาวิมาน

ว่าด้วยสุนิททาวิมาน

[๒๕] พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อจะถามถึงบุรพกรรมของ

เทพธิดานั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงาม มีรัศมี

ส่องสว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯลฯ และรัศมีของ

ท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ จึงได้พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ประชาชนเรียกดีฉันว่า สุนิททา ดีฉันเป็น

อุบาสิกาอยู่ในกรุงราชคฤห์ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา

และศีล. . . เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ

สมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมี

วรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ รัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไป

ทุกทิศ.

จบสุทิทาวิมาน

อรรถกถาสุนิททาวิมาน

อัฏฐมวิมาน วิมานที่ ๘ ราชคหนิทาน เรื่องเกิดในกรุงราชคฤห์

ในอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องที่พึงกล่าวตามลำดับว่า อุบาสิกา ชื่อสุนิททา

ฯลฯ ของพระโคดมผู้มีพระเกียรติยศ. เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีผิวพรรณ

เช่นนี้ ฯ ล ฯ อุบาสิกาชื่อสุนิททา. คำที่เหลือเหมือนนัยที่กล่าวมาแล้ว

แม้ในคาถาก็เคยกล่าวมาแล้วทั้งนั้น จริงอย่างนั้น ในบางคัมภีร์ ท่านก็

ตั้งบาลีไว้ โดยใช้เปยยาลแล. ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าว

ไว้ว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

ท่านผู้มีวรรณะงาม ฯ ล ฯ และรัศมีของท่าน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว ดีใจ ก็พยากรณ์

ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ชนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ ได้รู้จักดิฉันว่า

สุนิททา ดีฉันเป็นอุบาสิกาผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาและ

ศีล ยินดีแล้วในการจำแนกทานเสมอ มีจิตผ่องใส

ในอริยเจ้าผู้ตรง ได้ถวายผ้านุ่งห่ม อาหาร เสนาสนะ

และเครื่องประทีป ดีฉันได้เข้ารักษาอุโบสถศีลอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอดวัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ

และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์

ด้วย เป็นผู้สำรวมด้วยดีในศีลทุกเมื่อ เป็นผู้งดเว้น

จากปาณาติบาต เว้นห่างไกลจากอทินนาทาน จาก

การประพฤติผิดในกาม สำรวมจากมุสาวาท และ

จากการดื่มน้ำเมา ดีฉันเป็นผู้ยินดีในสิกขาบททั้ง ๕

มีปัญญาเฉลียวฉลาดในอริยสัจ เป็นอุบาสิกาของ

พระโคดมผู้มีพระจักษุ และพระเกียรติยศ เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ อิฐผลนี้ย่อม

สำเร็จแก่ดีฉัน และโภคสมบัติทุกอย่างที่น่ารัก จึง

เกิดขึ้นแก่ดีฉัน เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงเป็นผู้มีอานุภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

รุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของดิฉันจึงสว่างไสวไป

ทุกทิศ.

จบอรรถกถาสุนิททวิมาน

๙. สุทินนาวิมาน

ว่าด้วยสุทินนาวิมาน

[๒๖] พระมหาโมคคัลลานเถระ เมื่อจะถามถึงบุรพกรรมของ

เทพธิดานั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงาม มีรัศมี

ส่องสว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมี

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ จึงได้พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ประชาชนเรียกดีฉันว่า แม่สุทินนา ดีฉันเป็น

อุบาสิกาอยู่ในกรุงราชคฤห์ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธา

และศีล . . . เป็นอุบาสิกาของพระโคดมผู้มีพระจักษุ

สมบูรณ์ด้วยพระเกียรติยศ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมี

วรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไป

ทุกทิศ.

จบสุทินนาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

อรรถกถาสุทินนาวิมาน

นวมวิมาน วิมานที่ ๙ ราชคหนิทาน เรื่องเกิดในกรุงราชคฤห์ ใน

อัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องที่พึงกล่าวตามลำดับว่า อุบาสิกาชื่อสุทินนา ฯ ล ฯ

ของพระโคดม ผู้มีพระเกียรติยศ. เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้

ฯ ล ฯ อุบาสิกาชื่อสุทินนา. คำที่เหลือเหมือนนัยที่กล่าวมาแล้ว แม้ใน

คาถาก็ได้กล่าวมาแล้วทั้งนั้น จริงอย่างนั้น บางคัมภีร์ท่านก็ตั้งบาลีไว้

โดยใช้เปยยาลแล. ด้วยเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า ท่าน

พระมหาโมคคัลลานะถามว่า

ท่านผู้มีวรรณะงาน ฯ ล ฯ และรัศมีของท่านจึง

สว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว ดีใจ ก็พยากรณ์

ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ชนทั้งหลายในกรุงราชคฤห์ ได้รู้จักดีฉันว่า

สุทินนา ดีฉันเป็นอุบาสิกา ฯ ล ฯ เป็นอุบาสิกาของ

พระโคดมผู้มีพระจักษุ ผู้มีพระเกียรติยศ. เพราะบุญ

นั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญกรรมนั้น ฯ ล ฯ

และรัศมีของดิฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบอรรถกถาสุทินนาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

๑๐. ปฐมภิกษาทายิกาวิมาน

ว่าด้วยภิกษุทายิกาวิมาน

[๒๗] พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้น ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงาม มีรัศมี

ส่องสว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ

และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ จึงได้พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ในชาติก่อนครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันอยู่ในหมู่

มนุษย์ในมนุษยโลก ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก

กิเลสธุลีผ่องใสไม่ขุ่นมัว ก็เลื่อมใส ได้ถวายภิกษาแด่

พระองค์ด้วยมือของดีฉันเอง เพราะบุญอันนั้น ดิฉัน

จึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่าง

ไสวไปทุกทิศ.

จบปฐมภิกษาทายิกาวิมาน

อรรถกถาปฐมภิกษาทายิกาวิมาน

ปฐมภิกษาทายิกาวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้

เป็นต้น. ปฐมภิกษาทายิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน กรุงสาวัตถี. สมัยนั้น

หญิงคนหนึ่ง อยู่ในอุตตรนธุรานคร จะสิ้นอายุ ควรเกิดในอบายภูมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติเวลาใกล้รุ่ง ทรง

ตรวจดูโลก ทรงเห็นหญิงนั้นควรเกิดในอบายภูมิ มีพระทัยอันพระ-

มหากรุณาเตือนแล้ว มีพุทธประสงค์จะให้นางดำรงอยู่ในสุคติภูมิ จึง

เสด็จไปมธุรานครพระองค์เดียวหามีเพื่อนไม่ ครั้นเสด็จถึงแล้ว ในเวลา

เช้าทรงนุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเสด็จไปบิณฑบาตนอกพระนคร. สมัยนั้น

หญิงนั้นจัดแจงอาหารไว้ในเรือนเสร็จแล้ว เก็บงำไว้ในที่ส่วนหนึ่ง ถือ

หม้อน้ำไปท่าน้ำ ก็เอาหม้อน้ำตักน้ำ กำลังไปเรือนของตน ก็พบพระ-

ศาสดาระหว่างทาง ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทรงได้บิณฑบาตแล้ว

หรือเจ้าค่ะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็คงจักได้ ก็ทราบว่าพระองค์

ยังไม่ได้บิณฑบาต วางหม้อน้ำเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคม

แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักถวายบิณฑบาต

โปรดทรงรับเถิดเจ้าค่ะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ. หญิงนั้น

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว เดินล่วงหน้าไปก่อน ปูลาด

อาสนะเหนือที่แห้งและเกลี้ยงเกลา ยืนคอยดูพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปยังเรือนประทับนั่งบนอาสนะที่ปูถวาย. ดังนั้น

นางได้อาราธนาให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสวยเสร็จแล้ว ทรงชักพระหัตถ์ออกจากบาตร ทรงทำอนุโมทนาแก่นาง

แล้วก็เสด็จหลีกไป. นางฟังอนุโมทนา รู้สึกปีติและโสมนัสมิใช่น้อย ไม่

ย่อมละปีติมีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์ ยืนนมัสการอยู่จนพระพุทธเจ้าเสด็จ

ลับสายตาไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

ล่วงไปได้ ๒-๓ วัน หางก็ทำกาละตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ มี

เทพอัปสรประมาณพันหนึ่งเป็นบริวาร. ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ

ถามเทพธิดานั้น ด้วยคาถาว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ฯลฯ เหมือน

ดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

เช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างไรว่า

ในชาติก่อน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันอยู่ในหมู่

มนุษย์ในมนุษยโลก ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก

กิเลสธุลีผ่องใสไม่ขุ่นมัว ดีฉันเลื่อมใส ก็ถวาย

ภิกษาแด่พระองค์ด้วยมือของตนเอง เพราะบุญนั้น

ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉันจึง

สว่างไสวไปทุกทิศ.

คำที่เหลือทั้งหมดมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยอันกล่าวมาแล้ว

ในหนหลัง.

จบอรรถกถาปฐมภิกษาทายิกาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

๑๑. ทุติยภิกษาทายิกาวิมาน

ว่าด้วยภิกษุทายิกาวิมาน

[๒๘] พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้น ด้วยคาถานี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านเป็นผู้มีวรรณะงาม มีรัศมี

ส่องสว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ

รัศมีของท่านสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ จึงได้พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ในชาติก่อน ครั้งเกิดเห็นมนุษย์ ดีฉันอยู่ใน

หมู่มนุษย์ในมนุษยโลก ได้พบพระพุทธเจ้าผู้ปราศ-

จากกิเลสธุลี ผ่องใสไม่ขุ่นมัว ก็เลื่อมใส ได้ถวาย

ภิกษาแด่พระองค์ด้วยมือของดีฉันเอง เพราะบุญอัน

นั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉัน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบทุติยภิกษาทายิกาวิมาน

อรรถกถาทุติยภิกษาทายิกาวิมาน

ทุติยภิกษาทายิกาวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้เป็น

ต้น. ทุติยภิกษาทายิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน

กรุงราชคฤห์. ในกรุงราชคฤห์นั้น มีหญิงคนหนึ่ง มีศรัทธาเลื่อมใส ได้

เห็นพระขีณาสพรูปหนึ่งกำลังเที่ยวบิณฑบาต นิมนต์ให้ท่านเข้าไปเรือน

ของตนแล้ว ได้ถวายโภชนาหาร. สมัยต่อมา นางทำกาละตายไปบังเกิด

ในภพดาวดึงส์. คำที่เหลือก็เหมือนกับวิมานติด ๆ กันนั่นเอง.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดานั้น ด้วยคาถานี้ว่า

ท่านมีวรรณะงาม มีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศ

เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร ท่านจึงมี

วรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสว

ไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ในชาติก่อน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในมนุษยโลก

ดีฉันได้พบพระพุทธเจ้า ผู้ปราศกามกิเลสธุลี ผ่องใส

ไม่ขุ่นมัว ดีฉันเลื่อมใสได้ถวายภิกษาแด่พระองค์

ด้วยมือตนเอง เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้

ฯ ลฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างใสไปทุกทิศ.

จบอรรถกถาทุติยภิกษาทายิกาวิมาน

จบกถาพรรณนาความแห่งจิตตลดาวรรคที่ ๒ ซึ่งประดับด้วยเรื่อง

๑๑ เรื่องในวิมานวัตถุ ในอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถทีปนี ด้วย

ประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

รวมวิมานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. ทาสีวิมาน ๒. ลขุมาวิมาน ๓. อาจามทายิกาวิมาน ๔ จัณฑาลิ-

วิมาน ๕. ภัททิตถิกาวิมาน ๖. โสณทินนาวิมาน ๗. อุโบสถาวิมาน

๘. สุนิททาวิมาน ๙. สุทินนาวิมาน ๑๐. ปฐมภิกษาทายิกาวิมาน

๑๑. ทุติยภิกษาทายิกาวิมาน และอรรถกถา.

จบวรรคที่ ๒ ในอิตถีวิมาน

จบปฐมภาณวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

ปาริฉัตตกวรรคที่ ๓

๑. อุฬารวิมาน

ว่าด้วยอุฬารวิมาน

[๒๙] พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดา ด้วยคาถาว่า

ดูก่อนนางเทพธิดา ยศและวรรณะของท่าน

ยิ่งใหญ่ สว่างไสวรูปทั่วทุกทิศ เหล่าเทพนารีและ

เหล่าเทพบุตรทั้งหลายประดับประดาดีแล้ว ฟ้อนรำ

ขับร้อง ทำให้ท่านร่าเริง ห้อมล้อมเพื่อบำเรอท่านอยู่

วิมานของท่านเหล่านี้ล้วนแต่เป็นวิมานทองคำ น่าดู

น่าชมมาก ทั้งท่านเล่าก็เป็นใหญ่กว่าเทพเจ้าเหล่าที่

สมบูรณ์ด้วยความปรารถนาทุกอย่าง มีความเป็นอยู่

อันยิ่งใหญ่ ร่าเริงใจอยู่ในหมู่ทวยเทพ. ดูก่อนนาง

เทพธิดา ท่านอันอาตมาถามแล้ว ขอจงบอกผลนี้

แห่งกรรมอะไร.

นางเทพธิดาตอบว่า

ในชาติก่อน ดีฉันเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก

เป็นบุตรสะใภ้ในตระกูลของคนทุศีล ซึ่งเป็นตระกูล

ที่มีพ่อผัวแม่ผัวไม่มีศรัทธา เป็นคนตระหนี่ ดีฉัน

ถึงพร้อมด้วยศรัทธาและศีล ยินดีในการแจกทาน

ตลอดกาล ได้ถวายขนมเบื้องแก่สมณะซึ่งกำลังเที่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

บิณฑบาตอยู่ แล้วจึงได้บอกแก่แม่ผัวว่า มีพระสมณะ

มาที่นี่ ดีฉันเลื่อมใส ได้ถวายขนมเบื้องแก่ท่านด้วย

มือของตน แม่ผัวว่าดีฉันว่า นางสู่รู้ ทำไมเธอจึงไม่

ถามฉันเสียก่อนว่า จะถวายทานแก่สมณะดังนี้เล่า

เพราะการถวายขนมเบื้องนั้น แม่ผัวเกรี้ยวกราดเอา

ทุบตีดีฉันด้วยสาก ดีฉันไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้นานจึง

สิ้นชีพลง พ้นจากการทรมานอย่างสาหัส จุติจาก

มนุษย์นั้นแล้วจึงได้มาเกิดบนสวรรค์ เป็นพวกเดียว

กันกับเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์ เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉัน

จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไป

ทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

จบอุฬารวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

ปาริฉัตตกวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาอุฬารวิมาน

ปาริฉัตตกวรรคที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ อุฬารวิมานมี

คาถาว่า อุฬาโร เต ยโส วณฺโณ ดังนี้เป็นต้น. อุฬารวิมานนั้น

เกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหาร อันเป็นที่ให้

เหยื่อแก่กระแต ใกล้กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น ในตระกูลอุปัฏฐากของท่าน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้มีหญิงสาวคนหนึ่งชอบให้ทาน ยินดีในการ

แจกจ่ายทาน. นางให้ของเคี้ยวของบริโภคก่อนอาหารอันเกิดขึ้นในเรือน

นั้น ครึ่งหนึ่ง จากส่วนแบ่งที่ตนได้. ตนเองบริโภคครึ่งหนึ่ง หากยัง

ไม่ให้ก็ไม่บริโภค เมื่อยังไม่เห็นผู้ที่ควรให้ก็เก็บไว้แล้วให้ในเวลาที่ตน

เห็น. นางให้แม้แก่ยาจก. ครั้นต่อมามารดาของนาง ชื่นชมยินดีว่าลูก

สาวขอเราชอบให้ทาน ยินดีในการแจกจ่ายทาน จึงให้เพิ่มขึ้นเป็น

สองส่วนแก่นาง. อนึ่ง มารดาเมื่อจะให้ ย่อมให้เพิ่มขึ้นอีกในเมื่อลูกสาว

ได้แจกจ่ายส่วนหนึ่งไปแล้ว. นางทำการแจกจ่ายจากส่วนนั้นนั่นเอง.

เมื่อกาลเวลาผ่านไปอย่างนี้ มารดาบิดาได้ยกลูกสาวนั้น ซึ่งเจริญวัย

แล้วแก่กุมารในตระกูลหนึ่งในเมืองนั้นนั่นเอง. แต่ตระกูลนั้นเป็นมิจฉา-

ทิฏฐิ ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส. ครั้งนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ออกบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกในกรุงราชคฤห์ ได้ไปยืนอยู่ที่ประตู

เรือนของพ่อผัวของนาง นางครั้นเห็นพระมหาโมคคัลลานะนั้นก็มีจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

เลื่อมใส นิมนต์ให้เข้าไปในบ้าน ไหว้แล้ว เมื่อไม่เห็นแม่ผัว นางจึงถือ

วิสาสะเอาขนมที่แม่ผัววางไว้ด้วยคิดว่า เราจักบอกให้แม่ผัวอนุโมทนา

แล้วได้ถวายแก่พระเถระ.

พระเถระการทำอนุโมทนาแล้วกลับไป. นางจึงบอกแก่แม่ผัวว่า

ฉันได้ให้ขนมที่แม่วางไว้แก่พระมหาโมคคัลลานเถระไปแล้ว. แม่ผัวครั้น

ได้ฟังดังนั้น จึงตะคอกต่อว่านางว่า นี่มันเรื่องอะไรกันจ๊ะ ไม่บอกกล่าว

เจ้าของก่อน เอาไปให้สมณะเสียแล้ว แม่โกรธจัด ไม่ได้นึกถึงสิ่งควร

ไม่ควร คว้าสากที่วางอยู่ข้างหน้าทุบเข้าที่จะงอยบ่า เพราะนางเป็น

สุขุมาลชาติ และเพราะจะสิ้นอายุ ด้วยการถูกทุบนั้นเองได้รับทุกข์สาหัส

ต่อมา ๒-๓ วัน นางก็ถึงแก่กรรมไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แม้

เมื่อกรรมสุจริตอื่นก็มีอยู่ แต่ทานที่นางถวายแก่พระเถระเป็นทานน่าพอใจ

ยิ่ง ได้ปรากฏแก่นาง. ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ไปโดยนัยที่กล่าวแล้ว

ในหนหลัง จึงถามนางนั้นด้วยคาถาว่า

ดูก่อนเทพธิดา ยศผิวพรรณของท่านโอฬาร

ยิ่งนัก ยังทิศทั้งหมดให้สว่างไสว เหล่านารีฟ้อนรำ

ขับร้อง เทพบุตรตกแต่งงดงาม ต่างบันเทิง แวดล้อม

เพื่อบูชาท่าน ดูก่อนสุทัสสนา วิมานเหล่านี้ของท่าน

เป็นสีทอง ท่านเป็นใหญ่กว่าเทพเหล่านั้น มีความ

สำเร็จในสิ่งที่ใคร่ทั้งหมด ท่านเกิดยิ่งใหญ่ บันเทิง

ในหมู่เทพ ดูก่อนเทพธิดา เราขอถามท่าน ท่านจง

บอกว่า นี้เป็นผลของกรรมอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโส ได้แก่บริวาร. บทว่า วณฺโณ ได้แก่

รัศมีวรรณะ คือ แสงสรีระ. ส่วนบทว่า อุฬาโร นี้เป็นอันท่านกล่าวถึง

บริวารสมบัติและวรรณสมบัติของเทวดานั้น เพราะกล่าวถึงความวิเศษ.

ในสมบัติเหล่านั้น เพื่อแสดงถึงวรรณสมบัติที่ท่านกล่าวไว้โดยสังเขปว่า

อุฬาโร เต วณฺโณ โดยพิสดาร ด้วยอำนาจแห่งวิสัยจึงกล่าวว่า สพฺพา

โอภาสเต ทิสา เพื่อแสดงถึงบริวารสมบัติที่ท่านกล่าวไว้ว่า อุฬาโร

เต ยโส ด้วยสามารถแห่งวัตถุโดยพิสดาร จึงกล่าวว่า นาริโย นจฺจนฺติ

เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพา โอภาสเต ทิสา ได้แก่ รุ่งเรือง

ในทิศทั้งหมด หรือยังทิศทั้งหมดให้สว่างไสว. อธิบายว่า ย่อมรุ่งเรือง.

อาจารย์บางพวก กล่าวเนื้อความแห่งบทว่า โอภาสยเต เป็นต้น

เป็นโอภาสนฺเต ด้วยความคลาดเคลื่อนของคำ. อาจารย์พวกนั้นพึงเปลี่ยน

วิภัตติเป็น วณฺเณน.

อนึ่ง บทว่า วณฺเณน เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถว่าเหตุ. อธิบาย

ว่า เพราะเหตุ คือ เพราะความเป็นเหตุ อนึ่ง บทว่า สพฺพา ทิสา

เมื่อไม่เพ่งถึงทิศธรรมดา โดยกำเนิด ก็ไม่ต้องประกอบวจนะให้คลาด

เคลื่อน แม้ในบทว่า นาริโย นี้ พึงนำบทว่า อลงฺกตา มาเชื่อมด้วย.

ในบทว่า เทวปุตฺตา นี้แสดงว่าได้ลบ ออก. ควรใช้ว่า นาริโย

เทวปุตฺตา จ ดังนี้.

บทว่า โมเทนฺติ แปลว่า ย่อมบันเทิง. บทว่า ปูชาย ได้แก่

เพื่อบูชา หรือเป็นเครื่องหมายแห่งการบูชา. โยชนาว่า ฟ้อนรำขับร้อง.

บทว่า ตวิมานิ ตัดบทเป็น ตว อิมานิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

บทว่า สพฺพกามสมิทฺธีนิ ได้แก่ สำเร็จด้วยกามคุณ ๕ ทั้งหมด

หรือด้วยวัตถุที่ท่านใคร่แล้วปรารถนาแล้ว ทั้งหมด. บทว่า อภิชาตา

ได้แก่ เกิดดีแล้ว. บทว่า มหนฺตาสิ ได้แก่ ท่านเป็นใหญ่คือมีอานุภาพ

มาก. บทว่า เทวกาเย ปโมทสิ ได้แก่ ท่านย่อมบันเทิงด้วยความ

บันเทิงอย่างยิ่ง อันเป็นเหตุให้ได้สมบัติในหมู่เทพ.

ดิฉัน ในชาติก่อนเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก

ในหมู่มนุษย์ทั้งหลาย ได้เป็นสะใภ้ในตระกูล

คนกุศีล ในเมื่อเขาไม่มีศรัทธา ตระหนี่ ดีฉันมี

ศรัทธาและศีล ยินดีในการแจกตลอดกาล ได้ถวาย

ขนมเบื้องแก่ท่านผู้ออกไปบิณฑบาต ดีฉันจึงบอก

แก่แม่ผัวว่า สมณะมาถึงที่นี่แล้ว ดีฉันจึงได้ถวาย

ขนมเบื้องแก่สมณะนั้นด้วยมือของตน.

ด้วยเหตุนี้แหละ แม่ผัวนั้นจึงบริภาษว่า เองเป็น

สาวไม่มีใครส่งสอน ไม่ถามฉันเสียก่อนจะถวาย

ทานแก่สมณะ แม่ผัวก็โกรธดีฉัน จึงเอาสากทุบดีฉัน

ที่จะงอยบ่า ดีฉันไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ได้นาน ครั้น

ดีฉันสิ้นชีพ จึงจุติจากที่นั้น มาเถิดเป็นสหายกับ

พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์.

เพราะบุญกรรมนั้น ผิวพรรณของดีฉันจึงเป็น

เช่นนั้น และผิวพรรณของดีฉันย่อมสว่างไสวไปทุก

ทิศ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

ในบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสทฺเธสุ โยชนาแก้ว่า ดีฉันมีศรัทธา

ถึงพร้อมด้วยศีล ในเมื่อแม่ผัวเป็นต้นไม่มีศรัทธา เพราะไม่มีความเชื่อ

ในพระรัตนตรัยและความเชื่อผลของกรรม ตระหนี่ เพราะเป็นผู้มีมัจฉริยะ

จัด.

บทว่า อปูว คือขนมเบื้อง. บทว่า เต เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า

ข้าพเจ้าบอกแก่แม่ผัวเพื่อให้รู้ว่าเอาขนมมาแล้ว และเพื่อให้อนุโมทนา.

บทว่า อสฺสา ในบทว่า อิติสฺสา นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า

สมณสฺส ททามห ได้แก่ ข้าพเจ้าถวายขนมเบื้องแก่สมณะ โยชนาแก้ว่า

แม่ผัวบริภาษว่า เพราะเองไม่เชื่อฟังข้า ฉะนั้น เองเป็นหญิงสาวที่ไม่มี

ใครสั่งสอน.

บทว่า ปหาสิ แปลว่า ประหารแล้ว. บทว่า กูฏ ในบทว่า

กูฏงฺคจฺฉิ อวธิ ม นี้ ท่านกล่าวว่าจะงอยบ่า. ชื่อว่า กูฏังคะ เพราะ

เป็นอวัยวะยอดนั่นเอง โดยลบบทต้นเสีย ชื่อว่า กูฏงฺคจฺฉิ เพราะทำลาย

จะงอยบ่านั้น. แม่ผัวโกรธจัดอย่างนี้จึงทุบตีฉัน คือตีจะงอยบ่าของดีฉัน

อธิบายว่า แม่ผัวฆ่าดีฉันจนตายด้วยความพยายามนั้น. ด้วยเหตุนั้นท่าน

จึงกล่าวว่า นาสกฺขึ ชีวิตุ จิร ไม่อาจมีชีวิตอยู่ได้นานดังนี้.

บทว่า วิปฺปมุตฺตา ได้แก่ พ้นด้วยดีจากทุกข์นั้น. บทที่เหลือมีนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาอุฬารวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

๒. อุจฉุทายิกาวิมาน

ว่าด้วยอุจฉุทายิกาวิมาน

[๓๐] พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามนางเทพธิดานั้นด้วยคาถา

ความว่า

ดูก่อนนางเทพธิดา ท่านมีสิริ มีผิวพรรณ

เปล่งปลั่ง มียศและเดช สว่างไสวไพโรจน์ทั่วแผ่นดิน

รวมทั้งเทวโลกเหมือนกับพระจันทร์ เป็นผู้ประเสริฐ

เหมือนท้าวมหาพรหม รุ่งเรืองกว่าเทพเจ้าเหล่าไตร-

ทศพร้อมทั้งอินทร์ อาตมาขอถามท่านผู้ทัดทรงดอก

อุบล ยินดีแต่พวงมาลัยประดับเศียร มีผิวพรรณ

เปล่งปลั่งดั่งทองคำ ประดับประดาอาภรณ์สวยงาม

นุ่งห่มผ้าอย่างดี ดูก่อนเทพธิดาผู้เลอโฉม ท่านเป็น

ใครมาไหว้อาตมาอยู่ เมื่อก่อน ครั้งเมื่อเกิดเป็น

มนุษย์ในชาติก่อน ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ด้วยตน

ได้ให้ทานหรือรักษาศีลอย่างไรไว้ ท่านได้เข้าถึงสุคติ

มีเกียรติยศ เพราะกรรมอะไร ดูก่อนนางเทพธิดา

อาตมาถามแล้วขอจงบอก ผลนี้แห่งกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระถามแล้ว กล่าวตอบ

ด้วยคาถาว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระเถระรูปหนึ่งเข้ามายัง

บ้านของดีฉันเพื่อบิณฑบาต ในกรุงราชคฤห์นี้ ทันใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

นั้น ดีฉันมีจิตเลื่อมใสเพราะปีติ สุดที่จะหาสิ่งใดมา

เทียบได้ จึงได้ถวายท่อนอ้อยแก่ท่าน ภายหลังแม่ผัว

ได้ถามถึงท่อนอ้อยที่หายไปว่า ท่อนอ้อยหายไปไหน

จึงตอบว่า ท่อนอ้อยนั้นดีฉันไม่ได้ทิ้ง ทั้งไม่ได้รับ

ประทาน แต่ดีฉันได้ถวายแก่ภิกษุผู้สงบระงับ ทันใด

นั้นแม่ผัวได้บริภาษดีฉันว่า เธอหรือฉันเป็นเจ้าของ

ท่อนอ้อยนั้น ว่าแล้วก็คว้าเอาตั่งฟาดดีฉันจนถึงตาย

เมื่อดีฉันจุติจากมนุษยโลกนั้นแล้ว จึงมาเกิดเป็นนาง

เทพธิดา ดีฉันได้ทำกุศลกรรมนั้นไว้อย่างเดียว เพราะ

กรรมนั้นเป็นเหตุ ดีฉันจึงมาเสวยความสุขด้วยตน

เอง เพรียบพร้อมด้วยเทพเจ้าผู้รับใช้ ร่าเริงบันเทิงใจ

อยู่ด้วยเบญจกามคุณ อนึ่ง ดีฉันได้ทำกุศลกรรมนั้น

เท่านั้น เพราะกรรมนั้นเป็นเหตุ ดีฉันจึงมาเสวย

ความสุขด้วยตนเอง เป็นผู้ที่ท้าวสักกะจอมเทพคุ้ม

ครองแล้ว และเป็นผู้อันเทพเจ้าขาวไตรทศอารักขา

ด้วย จึงเป็นผู้เพรียบพร้อมไปด้วยเบญจกามคุณ ผล

บุญเช่นนี้มิใช่น้อย การถวายท่อนอ้อยของดีฉันมีผล

อันยิ่งใหญ่ ดีฉันเพรียบพร้อมด้วยเทพเจ้าผู้รับใช้

ร่าเริงบันเทิงใจอยู่ด้วยเบญจกามคุณ ผลบุญเช่นนี้

มิใช่น้อย การถวายท่อนอ้อยของดีฉันมีผลรุ่งเรืองมาก

ดีฉันเป็นผู้ที่ท้าวสักกะจอมเทพทรงคุ้มครองแล้ว ทั้ง

เทพเจ้าไตรทศก็ให้อารักขาด้วย ดังท้าวสหัสนัยน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

ในสวนนันทนวันฉะนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ก็ดีฉันเข้า

มานมัสการท่านผู้มีความกรุณา มีปัญญารู้แจ้งและ

ถามถึงความไม่มีโรคภัยด้วย เพราะฉะนั้น ดีฉันมี

ใจเลื่อมใสด้วยปีติสุดที่จะหาสิ่งใด ๆ มาเทียบเคียง

ได้ ได้ถวายท่อนอ้อยแก่พระคุณเจ้าในครั้งนั้น.

จบอุจฉุทายิกาวิมาน

อรรถกถาอุจฉุทายิกาวิมาน

อุจฉุทายิกาวิมาน มีคาถาว่า โอภาสยิตฺวา ปวึ สเทวก ดังนี้

เป็นต้น. อุจฉุทายิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

บทมีอาทิว่า ภควา ราชคเห วิหรติ ทั้งหมดเช่นเดียวกับที่ได้

กล่าวมาแล้ว ในวิมานเป็นลำดับไป แต่ในที่นี้ต่างกันที่นางถวายอ้อย. นาง

ถูกแม่ผัวประหารด้วยตั่งตายในขณะนั้นทันทีแล้ว ไปบังเกิดในสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์ ในคืนนั้นเอง นางมาปรนนิบัติพระเถระมีรัศมีรุ่งเรือง ดุจ

พระจันทร์และพระอาทิตย์ ยังภูเขาคิชฌกูฏ ให้สว่างไสวไปทั่ว ยืน

ประคองอัญชลีไหว้พระเถระอยู่ ณ ส่วนหนึ่ง. ลำดับนั้น พระเถระถาม

นางด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ท่านยังปฐพีพร้อมด้วยเทวโลกให้สว่างไสวรุ่ง-

เรื่องยิ่ง ด้วยสิริ ด้วยวรรณะ ด้วยยศ และด้วยเดชดุจ

พระจันทร์ และพระอาทิตย์ ดุจพระพรหมในไตรทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

เทวโลกพร้อมด้วยพระอินทร์ เราขอถามท่าน ดูก่อน

เทวดาผู้งาม มีหนังสีทอง ตกแต่งงดงาม ท่านคล้อง

มาลัยดอกบัว สวมดอกไม้ทำด้วยแก้วบนศีรษะ นุ่งผ้า

ชั้นยอด ท่านเป็นใครจึงไหว้เรา เมื่อก่อนท่านได้ทำ

กรรมอะไรไว้ด้วยตน ท่านเป็นมนุษย์ในชาติก่อน

สะสมทานและสำรวมในศีล เข้าถึงสุคติมียศ ด้วย

กรรมอะไร.

ดูก่อนเทพธิดา เราถามท่าน ท่านจงบอกว่า

นี้เป็นผลของกรรมอะไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โอภาสยิตฺวา ปวึ สเทวก ความว่า ยัง

ปฐพีนี้อันเป็นภูมิภาคที่เข้าไปถึงได้ พร้อมกับอากาศเทวโลกให้รุ่งโรจน์

เพราะรุ่งโรจน์ด้วยรัศมีอันซ่านออกจากข้างภูเขาสิเนรุปนกับรัศมีพระจันทร์

และพระอาทิตย์. อธิบายว่า ทำให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน คือให้มีความ

รุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน . โยชนาแก้ว่า ยังปฐพีให้สว่างไสว ดุจพระ-

จันทร์และพระอาทิตย์. บทว่า อติโรจสิ ได้แก่ รุ่งเรืองยิ่งนัก. ก็พระ-

เถระกล่าวความรุ่งเรืองยิ่งนักนั้นว่า ด้วยกรรมอะไร ดุจอะไร หรือเพราะ

อะไร มีคำตอบว่า ด้วยสิริเป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า สิริยา ได้แก่

ด้วยความวิเศษมีความงามเลิศเป็นต้น. บทว่า เตชสา ได้แก่ ด้วยอานุภาพ

ของตน. บทว่า อาเวฬินิ ได้แก่ พวงบุปผาทำด้วยแก้ว.

พระเถระถามอย่างนี้แล้ว เทพธิดาจึงตอบด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ. บัดนี้พระคุณเจ้าเข้า

ไปยังเรือนของดีฉัน เพื่อบิณฑบาตในบ้านนี้ แต่นั้น

ดีฉันมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายท่อนอ้อย. มีปีติเป็นล้น

พ้น. ภายหลังแม่ผัวซักไซ้ดีฉันว่า นี่แน่แม่หญิงสาว

เจ้าทิ้งอ้อยไว้ที่ไหน. ดีฉันตอบว่า ฉันไม่ได้ทิ้งและ

ไม่ได้กิน ฉันได้ถวายแก่ภิกษุผู้สงบด้วยตนเองจ๊ะ.

แม่ผัวได้บริภาษดีฉันว่า เอ็งเป็นใหญ่หรือข้าเป็นพระ

แล้วแม่ผัวก็ยกตั่งขั้นทุบดีฉันจนถึงตาย ดีฉันจุติจาก

มนุษยโลกแล้วจึงมาเกิดเป็นเทพธิดา ดีฉันทำกุศล

กรรมนั้น จึงได้เสวยสุขด้วยตน ดีฉันรื่นเริงบันเทิง

ด้วยกามคุณ ๕ ดังเหล่าเทพ. ดีฉันอันจอมเทพคุ้ม

ครอง ทวยเทพในไตรทศรักษา เอิบอิ่มไปด้วยกามคุณ

๕ จึงได้เสวยความสุขด้วยตนเอง. ผลบุญเช่นนี้ไม่

ใช่เล็กน้อย การถวายอ้อยของดีฉันเป็นผลบุญยิ่งใหญ่

ดีฉันรื่นเริงบันเทิงด้วยกามคุณ ๕ กับหมู่เทพทั้งหลาย.

ผลบุญเช่นนี้ไม่ใช่เล็กน้อย การถวายอ้อยของดีฉัน

มีผลรุ่งเรืองมาก จอมเทพคุ้มครอง ทวยเทพในไตร-

ทศรักษา ดุจท้าวสหัสนัยน์ในสวนนันทนวันฉะนั้น.

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดีฉันเข้าไปหาท่านผู้อนุ-

เคราะห์ผู้มีปัญญาแล้วไหว้และถามถึงกุศล แต่นั้น

ดีฉันมีจิตใจเลื่อมใส มีปีติอันล้นพ้นได้ถวายท่อน

อ้อยแก่พระคุณเจ้า ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิทานิ ได้แก่ เทพธิดากล่าวเพราะเป็น

วันที่ล่วงไปแล้วเป็นลำดับ. อธิบายว่า เดี๋ยวนี้. บทว่า อิมเมว คาม

ได้แก่ ในบ้านนี้นั่นเอง. เทวดากล่าวหมายถึงกรุงราชคฤห์. ดังที่ท่าน

กล่าวว่า บ้านก็ดี นิคมก็ดี เมืองก็ดี ท่านเรียกว่า คาม ทั้งนั้น. อนึ่ง

บทว่า อิมเมว คาม นี้เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ.

บทว่า อุปาคมิ ได้แก่ เข้าไปแล้ว. บทว่า อตุลาย ได้แก่ ไม่มี

เปรียบ หรือไม่มีประมาณ.

บทว่า อวากิริ ได้แก่ นำออกไป คือทิ้ง หรือทำให้เสียหาย.

บทว่า สนฺตสฺส ได้แก่เป็นผู้สำรวมดี มีกิเลสสงบหรือไม่ถึงความดิ้นรน.

นุ ศัพท์ในบทว่า ตุยฺห นุ เป็นนิบาตลงในอรรถอันส่องถึง

ความไม่มีตัวตน. นุ ศัพท์นั้นพึงนำมาประกอบแม้ในบทว่า มม เป็น

มม นุ ดังนี้. บทว่า อิท อิสฺสริย แม่ผัวกล่าวหมายถึงความเป็น

ใหญ่ในเรือน. บทว่า ตโต จุตา ได้แก่ จุติจากมนุษยโลกนั้น. เพราะ

แม้ไปจากที่ที่ดำรงอยู่ ท่านก็เรียกว่า จุตา ฉะนั้น เพื่อให้ต่างกับจุติ

ท่านจึงกล่าวว่า กาลคตา. อนึ่ง แม้ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ยังไม่เกิดในที่ใด

ที่หนึ่ง. ก็แลเมื่อเทพธิดาแสดงว่า ดีฉันถึงความเป็นเทพธิดา จึงกล่าวว่า

อมฺหิ เทวตา ดีฉันเป็นเทพธิดา ดังนี้.

บทว่า ตเทว กมฺม กุสล กต มยา ความว่า ดีฉันทำกรรม

เป็นกุศลเพียงถวายท่อนอ้อยนั้นเท่านั้น. อธิบายว่า ดีฉันไม่รู้อย่างอื่น.

บทว่า สุขญฺจ กมฺม ได้แก่ ผลของกรรมอันเป็นความสุข. จริงอยู่ในที่

นี้ท่านกล่าวผลของกรรมว่า กมฺม ด้วยลบบทหลังหรือใกล้เคียงกับเหตุ

ดุจในประโยคมีอาทิว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

กุสลาน ภิกฺขเว ธมฺมาน สมาทานเหตุ เอวมิท ปุญฺ ปวฑฺฒติ

ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญนี้ย่อมเจริญอย่างนี้ เพราะเหตุแห่งการ

สมาทานธรรมเป็นกุศล และในประโยคมีอาทิว่า อนุโภมิ สก ปุญฺ

ความว่า ข้าพเจ้าเสวยบุญของตนดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กมฺม เป็น

ทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ ความว่า กมฺเมน แปลว่า

ด้วยกรรม. อีกอย่างหนึ่ง กรรมเกิดในกรรนชื่อยถากรรม. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่ากรรมเพราะอันบุคคลพึงใคร่ เพราะว่ากรรมนั้นเข้าไปประกอบด้วย

กาม เพราะติดในความสุข จึงชื่อว่า กมนียะ เพราะควรใคร่. บทว่า

อตฺตนา คือ ด้วยตนเอง อธิบายว่า ด้วยตนเองโดยความเป็นอิสระ

เพราะตนเองมีอำนาจ. บทว่า ปริจารยามห อตฺตาน ในคาถาก่อน

กล่าวว่า อตฺตนา ควรตั้งบทว่า อตฺตาน เพราะเปลี่ยนวิภัตติ.

บทว่า เทวินฺทคุตฺตา ได้แก่ ท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง หรือ

คุ้มครองดุจจอมเทพเพราะมีบริวารมาก. บทว่า สมปฺปิตา ได้แก่ เอิบอิ่ม

ด้วยดี คือถึงพร้อมด้วยดี. บทว่า มหาวิปากา คือ มีผลไพบูลย์.

บทว่า มหาชุติกา คือ มีเดชมาก มีอานุภาพมาก.

บทว่า ตุว คือ ซึ่งท่าน. บทว่า อนุกมฺปก คือ มีความกรุณา.

บทว่า วิทุ คือ มีปัญญา. อธิบายว่า ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมี. บทว่า

อุเปจฺจ แปลว่า เข้าไปหา. บทว่า วนฺทึ ได้แก่ กราบด้วยเบญจางค-

ประดิษฐ์. ข้าพเจ้าได้ถามถึงกุศลคือความไม่มีโรค. อธิบายว่า ข้าพเจ้า

ระลึกถึงกุศลนี้ด้วยปีติอันล้นพ้น. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วในหน

หลังนั่นแล.

จบอรรถกถาอุจฉุทายิกาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

๓. ปัลลังกวิมาน

ว่าด้วยปัลลังกวิมาน

[๓๑] พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามนางเทพธิดานั้นด้วยคาถา

ความว่า

ดูก่อนนางเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ท่านอยู่

บนที่นอนใหญ่เป็นบัลลังก์อันประเสริฐ อันบุญกรรม

ตกแต่งให้วิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำ โรยดอกไม้

ไว้เกลื่อนกล่น อนึ่ง รอบ ๆ ตัวท่าน เหล่านางเทพ-

อัปสรมีร่างสมทรง แผลงฤทธิ์ได้ต่าง ๆ ฟ้อนรำ

ขับร้อง ให้ท่านร่าเริงบันเทิงใจอยู่เป็นนิจ ท่านเป็น

นางเทพธิดาผู้ศักดิ์สิทธิ์มีฤทธิ์อานุภาพมาก ครั้งเมื่อ

ท่านยังเป็นมนุษย์อยู่ได้ทำบุญอะไรไว้ ท่านเป็นผู้มี

อานุภาพอันรุ่งเรือง และมีรัศมีกายสว่างไสวไปทั่ว

ทุกทิศอย่างนี้ เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้นตอบว่า

ดีฉันเมื่อเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็น

บุตรสะใภ้ในตระกูลอันมั่งคั่งตระกูลหนึ่ง ดีฉันเป็น

ผู้ไม่โกรธ เป็นผู้ประพฤติอยู่ใต้บังคับบัญชาของสามี

ไม่ประมาทในวันอุโบสถ เมื่อดีฉันยังเป็นสาวอยู่

เป็นผู้ภักดีด้วยการไม่ประพฤตินอกใจสามีหนุ่ม ดีฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

เป็นที่โปรดปรานของสามีเป็นอย่างยิ่ง ก็เพราะดีฉัน

มีน้ำใจผ่องใส ดีฉันได้ประพฤติตนให้เป็นที่ชื่นชอบ

ใจของสามีทั้งกลางวันและกลางคืน ชาติก่อนดีฉัน

เป็นผู้มีศีล เป็นผู้บำเพ็ญในสิกขาบททั้งหลาย อย่าง

ครบถ้วน คือ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์

มีการงานทางกายบริสุทธิ์ ประพฤติพรมจรรย์อย่าง

สะอาดไม่กล่าวคำเท็จ และเว้นขาดจากดื่มน้ำเมา

ดีฉันมีใจเลื่อมใส ประพฤติตามธรรม ปลาบปลื้มใจ

เข้ารักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ใน

วัน ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และ

ตลอดปาฏิหาริยปักษ์ ครั้นดีฉันสมาทานกุศลธรรม

อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการอย่างประเสริฐเป็น

อริยะ มีความสุขเป็นกำไร เช่นนี้แล้ว ชาติก่อน

ดีฉันได้เป็นสาวิกาของพระสุคตเจ้า ได้เป็นผู้อยู่ใต้

บังคับบัญชาของสามีเป็นอันดี ครั้นดีฉันทำกุศลกรรม

เช่นนี้ ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ในมนุษยโลก เป็นผู้มี

ส่วนแห่งภพอันวิเศษ พอสิ้นชีพลงแล้ว ดีฉันจึงถึง

ความเป็นนางเทพธดาผู้มีฤทธิ์ ในอภิสัมปรายภพ

มาสู่สวรรค์ ห้อมล้อมด้วยหมู่นางเทพอัปสรในวิมาน

มีปราสาทอย่างประเสริฐ น่ารื่นรมย์ คณะเทพเจ้า

และเหล่านางเทพธิดาทั้งหลาย ซึ่งมีรัศมีซ่านออก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

จากกายตน พากันมาชื่นชมยินดีกับดีฉันผู้มีอายุยืน

มาสู่เทพวิมาน.

จบปัลลังกวิมาน

อรรถกถาปัลลังกวิมาน

ปัลลังกวิมาน มีคาถาว่า ปลฺลงฺกเสฏฺเ มณิโสวณฺณจิตฺเต

ดังนี้ เป็นต้น. ปัลลังกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร อารามของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็สมัยนั้น ธิดาของอุบาสิกาคนหนึ่ง

ในกรุงสาวัตถี มารดาบิดายกให้กุลบุตรคนหนึ่งในกรุงสาวัตถีนั้นเอง

เสมอกันทางตระกูลและประเทศเป็นต้น. ธิดานั้นเป็นหญิงไม่โกรธ ถึง

พร้อมด้วยศีลและมารยาท นับถือสามีดุจเทวดา สมาทานศีล ๕ และ

ในวันอุโบสถรักษาศีลอุโบสถโดยเคร่งครัด. ต่อมานางถึงแก่กรรมเกิดใน

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์. ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระไปเหมือนอย่างที่กล่าว

มาแล้วในหนหลัง ถามเทพธิดานั้นว่า

ดูก่อนเทวีผู้มีอานุภาพมาก ท่านแผลงฤทธิ์ได้

ต่าง ๆ อยู่บนที่นอนอันโอฬาร เป็นบัลลังก์ประเสริฐ

วิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำ ลาดด้วยดอกไม้.

นางอัปสรเหล่านี้ ฟ้อนรำขับร้อง ให้ความบันเทิง

แก่ท่านโดยรอบ. เทวีผู้มีอานุภาพมาก ท่านเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

สำเร็จฤทธิ์ เมื่อเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ ผิวพรรณของท่าน

สว่างไปทั่วทิศด้วยธรรมอะไร ดังนี้.

แม้เทพธิดานั้นก็ได้ตอบด้วยคาถาทั้งหลายเหล่านี้ว่า

ดีฉันเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นสะใภ้ใน

ตระกูลมั่งคั่ง. ดีฉันไม่โกรธ อยู่ในอำนาจของสามี

ในวันอุโบสถก็มิได้ประมาท. ดีฉันเป็นมนุษย์วัยสาว

มิได้เหลวไหล มีฐิตเลื่อมรสให้สามีโปรดปรานเป็น

ที่ยิ่ง เมื่อก่อนดีฉันได้เป็นหญิงมีศีล มีความประพฤติ

เป็นที่พอใจ. ดีฉันเว้นฆ่าสัตว์ เว้นลักทรัพย์ มีกาย

บริสุทธิ์ เป็นพรหมจารีนีที่สะอาด ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่

พูดเท็จ ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาบททั้งหลาย. ดีฉัน

มีใจเลื่อมใส ประพฤติตามธรรม มีใจปลาบปลื้ม

เข้ารักษาอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ในวัน

๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และวัน ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอด

ปาฏิหาริยปักษ์ ครั้นดีฉันสมาทานกุศลอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ เป็นอริยะนี้ มีความสุขเป็นกำไรแล้ว

ชาติก่อนดีฉันได้เป็นสาวิกาของพระสุคต ได้อยู่ใน

อำนาจของสามีเป็นอย่างดี ครั้นดีฉัน ทำกุศลกรรม

เช่นนี้ในขณะที่ยังมีชาติอยู่ เป็นผู้มีส่วนแห่งภพอัน

วิเศษ เมื่อถึงแก่กรรมลง ดีฉันได้เป็นเทพธิดาผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ฤทธิ์ ในอภิสัมปรายภพ มาสู่สวรรค์ หมู่เทพซึ่งมี

รัศมีซ่านออกจากกายตน ห้อมล้อมด้วยหมู่นางอัปสร

ในวิมานมีปราสาทอันประเสริฐ น่ารื่นรมย์ พากัน

ชื่นชมดีฉันผู้มีอายุยืนมาสู่เทพวิมาน.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกเสฏฺเ ได้แก่ บัลลังก์อันประเสริฐ

คือบัลลังก์อันสูงสุด เพื่อแสดงความที่ที่นอนนั้นประเสริฐที่สุดจึงกล่าวว่า

มณิโสวณฺณจิตฺเต วิจิตรด้วยแก้วมณีและทองคำ. บนที่นอนเป็นบัลลังก์

อันประเสริฐ ที่ท่านกล่าวว่า ตตฺถ ในที่นั้น และ สยเน บนที่

นอนอันวิจิตรด้วยแก้วมณีรุ่งเรืองด้วยตาข่ายรัศมีแก้วหลายอย่าง. ชื่อว่า

บัลลังก์ประเสริฐที่สุดเป็นที่ที่ควรนอน. บทว่า เต คือ โดยรอบตัวท่าน.

ควรเปลี่ยนวิภัตติเป็น ต เพราะเพ่งถึงบทว่า ปโมทยนฺติ. อีกอย่าง

หนึ่ง บทว่า ปโมทยนฺติ ได้แก่ ทำความบันเทิง อธิบายว่า ยังความ

บันเทิงให้เกิดแก่ท่าน.

บทว่า ทหรา อปาปิกา ได้แก่ แม้เป็นสาวก็ไม่เป็นคนเหลวไหล

ปาฐะว่า ทหรา สุปาปิกา ดังนี้บ้าง. ความอย่างเดียวกัน คือไม่นอกใจ

ในสามีหนุ่ม. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ทหรสฺสา ปาปิกา ดังนี้บ้าง

ได้แก่ ไม่นอกใจสามีหนุ่ม. อธิบายว่า เป็นหญิงดีด้วยการปรนนิบัติ

โดยเคารพและด้วยการไม่ประพฤตินอกใจ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ปสนฺนจิตฺตา มีจิตเลื่อมใสแล้ว. บทว่า อภิราธยึ คือ ให้ยินดี. บทว่า

รตฺโต คือ ในกลางคืน.

บทว่า อโจริกา คือ เว้นจากการลักทรัพย์. อธิบายว่า เว้นจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

การถือเอาของที่เขาไม่ให้. ปาฐะว่า วิรตา จ โจริยา ดังนี้บ้าง

อธิบายว่า เว้นจากความเป็นขโมย. บทว่า สสุทฺธกายา ได้แก่ มีกาย

บริสุทธิ์ด้วยดี เพราะทำการงานทางกายบริสุทธิ์. จากนั้นเป็นผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์อย่างสะอาด เพราะไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในผู้อื่นนอกจาก

สามี. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พวกเราไม่นอกใจภรรยา แม้ภรรยาก็ไม่นอก

ใจพวกเรา พวกเราประพฤติพรหมจรรย์ ยกเว้น

ภรรยาเหล่านั้น เพราะฉะนั้นแล พวกเราจึงไม่ตาย

ตอนยังเป็นหนุ่มสาว ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุพฺรหฺมจารินี ได้แก่ เป็นผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์สะอาด ด้วยสามารถแห่งมรรคพรหมจรรย์ คือ อุโบสถศีล

อันสะอาดบริสุทธิ์ประเสริฐ ประเสริฐที่สุด หรือพรหมจรรย์อันเป็นส่วน

เบื้องต้นความสมควร.

บทว่า อนุธมฺมจารินี ได้แก่ มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม

ของพระอริยะทั้งหลาย. โยชนาแก้ไว้ว่า ข้าพเจ้าเข้ารักษาอุโบสถประกอบ

ด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐเป็นอริยะ เพราะไม่มีโทษดังที่ท่านกล่าวแล้ว

ตามลำดับนี้ หรือเพราะเป็นอริยะด้วยองค์ ๘ อันประเสริฐเป็นอริยะดัง

ที่กล่าวแล้ว ชื่อว่าเป็นกุศลธรรม เพราะอรรถว่าไม่เศร้าหมอง และเพราะ

อรรถว่าไม่มีโทษ ชื่อว่ามีสุขเป็นกำไร เพราะมีสุขเป็นวิบาก และเพราะ

มีสุขเป็นอานิสงส์.

บทว่า วิเสสภาคินี ได้แก่ เป็นผู้มีส่วนแห่งสมบัติภพอันวิเศษ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

เป็นทิพย์. บทว่า สุคติมฺหิ อาคตา ได้แก่ มา คือเข้าถึงสวรรค์ หรือ

มาในสุคติสวรรค์ คือทิพยสมบัติ. ปาฐะว่า สุคตึ หิ อาคตา มาสู่

สวรรค์ดังนี้บ้าง. บทว่า หิ ในบทนั้นเป็นเพียงนิบาต หรือมีความ

เป็นเหตุ. โยชนาแก้ว่า เพราะมาสู่สุคติ ฉะนั้น จึงเป็นผู้มีส่วนแห่งภพ

วิเศษ.

บทว่า วิมานปาสาทวเร ได้แก่ ในปราสาทอันสูงสุดในวิมาน

ทั้งหลาย หรือในปราสาทอันเลิศกล่าวคือวิมาน หรือดีฉัน อันหมู่นาง

อัปสรแวดล้อมแล้วในวิมาน อันเป็นปราสาทประเสริฐใหญ่หาประมาณ

มิได้ คำนวณไม่ได้ มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเองบันเทิงอยู่. อีกอย่าง

หนึ่ง ควรนำบทว่า อมฺหิ มาประกอบด้วย. บทว่า ทีฆายุกึ โยชนาแก้

ว่า หมู่เทพพากันยินดีกับข้าพเจ้าผู้มีอายุยืน เพราะมีอายุยืนกว่าพวกเทพ

ชั้นต่ำ และเพราะมีอายุไม่น้อยกว่าพวกเทพที่เกิดในวิมานนั้น ผู้มาคือ

เข้าถึงเทพวิมานตามที่กล่าวแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาปัลลังกวิมาน

๔. ลตาวิมาน

ว่าด้วยลตาวิมาน

[๓๒] นางเทพนารี ๕ องค์ มีความรุ่งเรือง มีปัญญา

งดงามด้วยคุณธรรม เป็นธิดาของท้าวเวสสวัณมหา-

ราช คือ นางลดาเทพธิดา ๑ นางสัชชาเทพธิดา ๑

นางปวราเทพธิดา ๑ นางอัจฉิมุตีเทพธิดา ๑ นาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

สุดาเทพธิดา ๑ ต่างเป็นนางบำเรอของท้าวสักกเทว-

ราชผู้ประเสริฐ มีสิริ ได้พากันไปยังแม่น้ำอันไหล

มาจากสระอโนดาต มีน้ำเยือกเย็น มีดอกอุบลน่า

รื่นรมย์ ในป่าหิมพานต์ เพื่อสรงสนาน ครั้นสรง

สนาน ฟ้อนรำขับร้อง รื่นเริงสำราญใจในแม่น้ำแล้ว

จึงนางสุดาเทพธิดาได้ถามนางลดาเทพธิดาผู้พี่องค์-

ใหญ่ว่า เจ้าพี่จ๋า ผู้มีดวงตาเหลืองปนแดง มีร่าง

ประดับด้วยพวงมาลัยอุบล มีพวงมาลัยประดับเศียร

ผิวพรรณก็งดงามเปล่งปลั่งดังทองคำ มีอวัยวะทุก

ส่วนงดงามผ่องใส เหมือนท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆ

หมอก มีอายุยืน ดีฉันขอถามเจ้าพี่ เพราะทำบุญ

อะไรไว้ เจ้าพี่จึงได้มียศมาก ทั้งเป็นที่รักและ

โปรดปรานของพระภัสดา มีรูปงานสะสวยยิ่งนัก

ทั้งฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง และบรรเลงเป็นเยี่ยม

จนพวกเทพบุตรและเทพธิดาไต่ถามถึงเสมอ ๆ ขอ

โปรดได้บอกแก่หม่อมฉันด้วยเถิด.

นางเทพธิดาจึงตอบว่า

ครั้งพี่ยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษย์โลก เป็นบุตร

สะใภ้ในตระกูลมั่งคั่งตระกูลหนึ่ง พี่มิได้เป็นคนมัก

โกรธ เป็นผู้ประพฤติอยู่ใต้บังคับบัญชาของสามี ไม่

ประมาทในวันอุโบสถ เมื่อพี่ยังเป็นสาวอยู่ เป็นผู้

ภักดีด้วยการไม่ประพฤตินอกใจสามีหนุ่ม พี่เป็นที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

โปรดปรานของสามีเป็นอย่างยิ่ง ก็เพราะพี่มีน้ำใจ

ผ่องใส ได้ทำตัวให้เป็นที่โปรดปรานของสามีพร้อม

ทั้งญาติชั้นผู้ใหญ่ และบิดามารดาของสามี ตลอดจน

คนใช้ชายหญิง พี่จึงได้มีบริวารยศอันบุญกรรมจัดมา

ให้ถึงอย่างนี้ เพราะกุศลกรรมนั้น พี่จึงได้เป็นผู้พิเศษ

กว่านางฟ้าพวกอื่น ในที่ ๔ สถาน คือ อายุ วรรณะ

สุขะ พละ ได้เสวยความยินดีมิใช่น้อย.

เมื่อนางสุดาเทพธิดาได้ฟังดังนี้แล้ว จึงได้พูดกับพี่สาวทั้งสามว่า

ข้าแต่เจ้าพี่ทั้งสาม เจ้าพี่ลดาได้แถลงถ้อยคำ

น่าฟังมากมิใช่หรือจ้ะ หม่อมฉันทูลถามถึงเรื่องที่

พวกเราชอบสงสัยกันมาก ก็กล่าวแก้ได้อย่างไม่ผิด

พลาด เจ้าพี่ลดาควรเป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมสำหรับ

เราทั้งสี่และนารีทั้งหลาย มาเราทั้งปวงพึงประพฤติ

ธรรมในสามีทั้งหลาย เราทั้งปวงพึงประพฤติในสามี

เหมือนอย่างสตรีที่ดี ประพฤติยำเกรงสามี ฉะนั้น

ครั้นเราทั้งหลายปฏิบัติธรรม คือ การอนุเคราะห์

ต่อสามีด้วยสภาพทั้ง ๕ อย่างนี้ ก็จะได้สมบัติอย่าง

ที่เจ้าพี่ลดาพูดถึงอยู่ประเดี๋ยวนี้ พญาราชสีห์ตัว

สัญจรไปตามราวไพรใกล้เชิงเขา อาศัยอยู่บนบรรพ

เขาหลวง แล้วก็เที่ยวตะครุบจับสัตว์ ๔ เท้าใหญ่

น้อยทุก ๆ ชนิดกัดกินเป็นอาหารได้ ฉันใด สตรี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

ที่มีศรัทธาเป็นอริยสาวิกาในศาสนานี้ ก็ฉันนั้น เมื่อ

ยังอาศัยภัสดาอยู่ ควรประพฤติยำเกรงสามี ฆ่าความ

โกรธเสีย กำจัดความตระหนี่เสียได้แล้ว เขาผู้

ประพฤติธรรมโดยชอบ จึงรื่นเริงบันเทิงใจอยู่บน

สวรรค์.

จบลตาวิมาน

อรรถกถาลตาวิมาน

ลตาวิมาน มีคาถาว่า ลตา จ สชฺชา ปวรา จ เทวตา ดังนี้

เป็นต้น. ลตาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร อารามของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็สมัยนั้น ธิดาของอุบาสกคนหนึ่ง

ชาวเมืองสาวัตถี ชื่อว่า ลดา เป็นบัณฑิตฉลาด มีปัญญา ไปตระกูลสามี

ประพฤติตนเป็นที่ชอบใจของสามีและแม่ผัวพ่อผัว พูดจาน่ารัก ฉลาดใน

การสงเคราะห์บริวารชน สามารถจัดทรัพย์สมบัติในเรือนได้เรียบร้อย

ไม่มักโกรธ ถึงพร้อมด้วยศีลและมรรยาท ยินดีในการแจกจ่ายทาน ถือ

ศีล ๕ ไม่ขาด ได้เป็นหญิงไม่ประมาทในการรักษาอุโบสถ.

ครั้นต่อมา นางถึงแก่กรรม เกิดเป็นธิดาของท้าวเวสสวัณมหาราช

มีชื่อว่านางลดาเทพธิดาเหมือนกัน. นางลดาเทพธิดาได้มีน้องสาวอื่นอีก

๔ นาง คือ นางสัชชาเทพธิดา นางปวราเทพธิดา นางอัจฉิมุตีเทพธิดา

และนางสุดาเทพธิดา ท้าวสักกเทวราชนำนางทั้ง ๕ นั้นมาตั้งไว้ในฐานะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

เป็นนางบำเรอโดยให้เป็นหญิงฟ้อนรำ. แต่นางลดาเทพธิดาได้เป็นที่

โปรดปรานของท้าวสักกะมากเพราะนางฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง.

เมื่อนางเหล่านั้นมานั่งประชุมร่วมกันอย่างมีความสุข จึงเกิดถก

เถียงกันเกี่ยวกับความสามารถในการสังคีต. นางทั้งหมดจึงไปเฝ้าท้าว

เวสสวัณมหาราชถามว่า พ่อจ๋า บรรดาลูก ๆ คนไหนฉลาดในการฟ้อน

เป็นต้นจ้ะพ่อ ท้าวเวสสวัณมหาราชตรัสอย่างนี้ว่า ลูก ๆ จงไปที่ฝั่งสระ

อโนดาต ลูก ๆ เล่นสังคีต ในเทวสมาคมเถิด ณ ที่นั้น จักปรากฏ

ความวิเศษของพวกลูก. นางเหล่านั้นได้ทำตาม ณ เทวสมาคมนั้น เมื่อ

นางลดาฟ้อน พวกเทพบุตรไม่สามารถจะดำรงอยู่โดยสภาพของตนได้. พวก

เทพบุตรพากันชื่นชมยินดี ไม่เคยมีความอัศจรรย์ใจมาก่อนเลย ต่างให้

สาธุการไม่ขาดสาย โห่ร้องด้วยความยินดี ยกผืนผ้าโบกไปมา ได้เกิด

โกลาหลยกใหญ่ดุจทำป่าหิมพานต์ให้สะท้านหวั่นไหว. ก็เมื่อนางนอกนั้น

ฟ้อน พวกเทพบุตรต่างนั่งนิ่งดุจนกดุเหว่าอยู่ในโพรง. ความวิเศษได้

ปรากฏแก่นางลดาเทพธิดา ในการขับกล่อมนั้นด้วยประการฉะนี้.

จึงบรรดาเทพธิดาเหล่านั้น ความสงสัยได้เกิดแก่นางสุดาเทพธิดา

ว่า พี่ลดานี้ทำกรรมอะไรไว้หนอจึงครอบงำพวกเราไว้ได้ทั้งวรรณะและ

ยศ ถ้ากระไรเราจะต้องถามกรรมที่พี่ลดาทำไว้. นางสุดาเทพธิดาจึงได้

ถามนางลดาเทพธิดา. แม้นางลดาเทพธิดาก็ได้ตอบให้นางสุดาเทพธิดา

ทราบ.

ท้าวเวสสวัณมหาราช ได้บอกความทั้งหมดนี้แก่ท่านมหาโมคคัล-

ลานเถระผู้จาริกไปยังเทวโลก พระเถระเมื่อจะกราบทูลความนั้น แด่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งแต่มูลเหตุของคำถาม จึงกราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

คำถามของนางสุดาเทพธิดาว่าเทพนารี ๕ องค์

มีความรุ่งเรือง มีปัญญางามด้วยคุณธรรม เป็นธิดา

ของท้าวเวสสวัณมหาราช คือ นางลดาเทพธิดา ๑

นางสัชชาเทพธิดา ๑ นางปวราเทพธิดา ๑ นาง

อัจฉิมุตีเทพธิดา ๑ นางสุดาเทพธิดา ๑ ต่างเป็น

นางบำเรอของท้าวสักกเทวราชผู้ประเสริฐ ผู้มีสิริ

ได้พากันไปยังแม่น้ำอันไหลมาจากสระอโนดาต มี

น้ำเย็น มีดอกบัวน่ารื่นรมย์ ในป่าหิมพานต์ เพื่อ

สรงสนาน ครั้นสรงสนานฟ้อนรำขับร้อง รื่นเริงใน

แม่น้ำนั้นแล้ว นางสุดาเทพธิดาได้ถามนางลดาเทพ-

ธิดาว่า พี่จ๋า ผู้ทรงพวงมาลัยดอกบัว มีพวงมาลัย

ประดับเศียร มีผิวงามเปล่งปลั่งดังทองคำ มีดวงตา

เหลืองปนแดง มีอวัยวะทุกส่วนงามผ่องใสดุจท้องฟ้า

ปราศจากเมฆหมอก มีอายุยืน น้องขอถามเจ้าพี่

เจ้าพี่ทำบุญอะไรไว้จึงมียศ ทั้งเป็นที่รักของพระสวามี

มีรูปงามสะสวยยิ่งนัก ทั้งฉลาดในการฟ้อนรำขับร้อง

และบรรเลงเป็นเยี่ยม จนเทพบุตรเทพธิดาไต่ถาม

ถึงเสมอ ๆ ขอเจ้าพี่โปรดบอกแก่น้องด้วยเถิด.

นางลดาเทพธิดาตอบว่า

พี่เป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นสะใภ้ใน

ตระกูลมีสมบัติมาก พี่เป็นผู้ไม่โกรธ พี่ประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

ตามอำนาจของสามี ไม่ประมาทในวันอุโบสถ เมื่อ

พี่ยังเป็นสาว พี่ไม่นอกใจสามี มีจิตเลื่อมใส เป็น

ที่โปรดปรานของสามี พร้อมทั้งพี่น้อง บิดามารดา

ของสามี ตลอดคนใช้ชายหญิง พี่จึงได้ยศอันบุญ

กรรมจัดมาให้ถึงอย่างนี้ เพราะกุศลกรรมนั้น พี่จึง

ได้วิเศษกว่านางฟ้าพวกอื่นในฐานะ ๔ คือ อายุ

วรรณะ สุขะ พละ ได้เสวยความดีมิใช่น้อย.

เมื่อนางสุดาเทพธิดาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้พูดกับ

เจ้าพี่ทั้ง ๓ ว่า ข้าแต่เจ้าพี่ทั้ง ๓ เจ้าพี่ลดาได้บอก

ถ้อยคำน่าฟังมากมิใช่หรือ น้องถามถึงเรื่องที่พวกเรา

สงสัยกันมาก ก็บอกได้อย่างไม่ผิดพลาด เจ้าพี่ลดา

ควรเป็นตัวอย่างอันดี สำหรับพวกเราทั้ง ๔ และนารี

ทั้งหลาย พวกเราทั้งหมดพึงประพฤติในสามี เหมือน

อย่างสตรีที่ดีประพฤติยำเกรงสามีฉะนั้น ครั้นเรา

ทั้งหลายปฏิบัติธรรม คือการอนุเคราะห์ต่อสามีด้วย

ฐานะทั้ง ๕ อย่างแล้ว ก็จะได้สมบัติอย่างที่เจ้าพี่

ลดาพูดถึงอยู่เดี๋ยวนี้ พญาราชสีห์ตัวสัญจรไปตามราว

ป่าใกล้เชิงเขา อาศัยอยู่บนภูเขา แล้วก็เที่ยวตะครุบ

จับสัตว์ ๔ เท้าใหญ่น้อยทุก ๆ ชนิดกัดกินเป็นอาหาร

ได้ฉันใด สตรีที่มีศรัทธาเป็นอริยสาวิกาในศาสนานี้

ก็ฉันนั้น เมื่อยังอาศัยสามีอยู่ ควรประพฤติยำเกรง

สามี ฆ่าความโกรธเสีย กำจัดความตระหนี่เสียได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

แล้ว เขาผู้ประพฤติธรรมโดยชอบจึงรื่นเริงบันเทิง

ใจอยู่บนสวรรค์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ลตา จ สชฺชา ปวรา อจฺฉิมุตี สุตา

เป็นชื่อของเทพธิดาเหล่านั้น. บทว่า ราชวรสฺส ได้แก่ ท้าวเทวราช ผู้

ประเสริฐ คือประเสริฐที่สุดกว่ามหาราช ๔. อธิบายว่า เป็นบริจาริกา

ของท้าวสักกะ บทว่า รญฺโ ได้แก่ มหาราช. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า เวสฺสวณสฺส ธีตา ธิดาของท้าวเวสสวัณ. บทนี้ประกอบเป็น

เอกพจน์ เป็นคำคลาดเคลื่อน ที่ถูกควรเป็น ธีตโร ธิดาทั้งหลาย.

ชื่อว่า ราชี เพราะรุ่งเรืองคือรุ่งโรจน์. บทว่า ราชี ได้แก่ มีความรู้

มีปัญญา มีความรุ่งเรือง บทนี้เป็นวิเสสนะของเทพนารีทั้งหมดเหล่านั้น.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทนี้ เป็นชื่อของเทพธิดานี้. ตามมติของ

อาจารย์บางพวกเหล่านั้น บทว่า ปวรา เป็นวิเสสนะของเทพนารีเหล่านั้น.

บทว่า ธมฺมคุเณหิ ได้แก่ ด้วยคุณอันประกอบด้วยธรรม คือ ไม่ปราศ-

จากธรรม อธิบายว่า ด้วยคุณตามความเป็นจริง. บทว่า โสภิตา

ได้แก่ รุ่งเรือง.

บทว่า ปญฺเจตฺถ นาริโย ได้แก่ เทพธิดามีชื่อตามที่กล่าวแล้ว

๕ องค์ ในหิมวันตประเทศนี้. บทว่า สีโตทก อุปฺปลินึ สิว นทึ

ท่านกล่าวหมายถึงปากน้ำอันไหลนาจากสระอโนดาต. บทว่า นจฺจิตฺวา

คายิตฺวา ท่านกล่าวด้วยสามารถการฟ้อนรำขับร้องที่เทพธิดาเหล่านั้น

กระทำแล้วในเทวสมาคมตามคำสั่งของท้าวเวสสวัณผู้เป็นพระบิดา. บทว่า

สุตา ลต พฺรวิ ได้แก่ นางสุดาเทพธิดาบอกกับนางลดาเทพธิดาพี่สาว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

ของตน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สุตา ลต พฺรวุ ดังนี้ก็มี ความว่า

นางสุดาเทพธิดา ธิดาของท้าวเวสสวัณมหาราชบอกกับนางลดาเพพธิดา.

บทว่า ติมิรตมฺพกฺขิ ได้แก่ มีดวงตาประกอบด้วยสีแดงคล้ายเกสร

ดอกจิก. บทว่า นเภว สโภเณ ได้แก่ งานเหมือนท้องฟ้า อธิบายว่า

สดใสเพราะอวัยวะน้อยใหญ่บริสุทธิ์ดุจท้องฟ้าพ้นจากส่วนเล็กน้อย ที่เกิด

ขึ้นมีหมอกเมฆเป็นต้นในสรทสมัยงดงามอยู่ฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

นเภว ตัดบทเป็น นเภ เอว บนท้องฟ้านั่นเอง. เอวศัพท์เป็น

สมุจจยัตถะ ( ความรวม). อธิบายว่า งามในทุกแห่งคือในวิมานอันตั้ง

อยู่บนอากาศ และในที่อันเนื่องกับพื้นดินมีภูเขาหิมวันต์ และเขายุคนธร

เป็นต้น. บทว่า เกน กโต ได้แก่เกิดขึ้นด้วยบุ อะไร คือเช่นไร. บทว่า

ยโส ได้แก่ บริวารสมบัติ และชื่อเสียง. อนึ่ง คุณทั้งหลายอันเป็นเหตุให้

มีชื่อเสียงท่านใช้ด้วยศัพท์ว่า กิตฺติสทฺท.

บทว่า ปติโน ปิยตรา ได้แก่ เป็นที่รักของสามี คือเป็นที่โปรด-

ปรานของสามี. ท่านแสดงถึงความงามของนางลดาเทพธิดานั้นด้วยบทว่า

ปติโน ปิยตรา นั้น. บทว่า วิสิฏฺกลฺยาณิตรสฺสุ รูปโต ได้แก่

วิเศษสุด งามยิ่ง ดียิ่ง ด้วยรูปสมบัติ. บทว่า อสฺสุ เป็นเพียงนิบาต.

อนึ่ง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า วิสิฏฺกลฺยาณิตราสิ รูปโต มีรูปร่าง

สะสวยยิ่งนัก. บทว่า ปทกฺขิณา ได้แก่ ฉลาดทุกอย่างและวิเศษด้วย.

บทว่า นจฺจน ในบทว่า นจฺจนคีตวาทิเต นี้ ได้ลบวิภัตติทิ้ง. ควรเป็น

นจฺเจ จ คีเต จ วาทิเต จ ในการฟ้อนรำ ในการขับร้อง และใน

การบรรเลง. บทว่า นรนาริปุจฺฉิตา ได้แก่ เทพบุตรเทพธิดาถามว่า

นางลดาเทพธิดาไปไหน นางทำอะไร ดังนี้ เพื่อเห็นรูปและเพื่อดูศิลปะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

ชื่อเทวร เพราะยินดีดุจเทวดาเพราะไม่คลุกคลีทางกายเป็นนิจ หรือ

เพราะเป็นญาติผู้ใหญ่. ชื่อว่า สเทวร เพราะพี่น้องของสามีพร้อมด้วย

ญาติผู้ใหญ่. แม่ผัวพ่อผัวชื่อว่า สสุระ พร้อมด้วยพ่อผัวแม่ผัวจึงชื่อว่า

สัสสสุระ. พร้อมด้วยทาสชายและหญิงชื่อว่า สทาสก เชื่อมด้วยบทว่า

ปติมาภิราธยึ เป็นที่โปรดปรานของสามี. บทว่า ตมฺหิ กโต คือใน

ตระกูลนั้น. อธิบายว่า ได้มีบริวารยศอันบุญกรรมจัดมาให้ในขณะเป็น

สะใภ้ ด้วยการเกิดแห่งบุญที่ได้ทำไว้ในขณะที่เกิดนั้น. บทว่า มม นี้

เปลี่ยนเป็น มยา ไม่เพ่งถึงบทว่า กโต.

บทว่า จตุพฺภิ าเนหิ ได้แก่ ด้วยเหตุ ๔ อย่าง หรือเป็น

นิมิตในฐานะ ๔ อย่าง. บทว่า วิเสสมชฺฌคา ได้แก่ ถึงความเป็นผู้

วิเศษกว่านางฟ้าพวกอื่น. แสดงโดยสรุปของคำที่กล่าวว่า ด้วยฐานะ

๔ อย่างคือ อายุ วรรณะ สุขะ และพละ. อนึ่ง ท่านกล่าวว่า อายุเป็นต้น

ของนางลดาเทพธิดานั้นชื่อว่า วิเศษ เพราะมีสภาพวิเศษที่สุดกว่าเทพธิดา

เหล่าอื่น อนึ่ง ชื่อว่าเป็นฐานะ เพราะความเป็นเหตุ ที่นางลดาเทพธิดา

นั้นควรถือเป็นแบบอย่างด้วยการยกย่อง คือ ได้ถึงความเป็นผู้วิเศษ.

โยชนาว่า อายุ วรรณะ สุขะ และพละ เป็นเช่นไร.

บทว่า สุต นุ ต ภาสติ ย อย ลตา ความว่า นางสุดาเทพธิดา

ถามเจ้าพี่ทั้ง ๓ นอกนี้ว่า เจ้าพี่ลดานี้เป็นพี่สาวของพวกเรากล่าวคำใดไว้

พวกพี่ก็ได้ยินคำนั้นแล้วมิใช่หรือ หรือไม่ได้ยิน. บทว่า ย โน ได้แก่ คำ

ใดที่พวกเราสงสัย. บทว่า โน เป็นเพียงนิบาต. บทว่า โน อีกคำหนึ่ง

คือ ของพวกเรา. หรือลงในอวธารณะดุจในประโยคมีอาทิว่า น โน

สม อตฺถิ ความว่า ไม่เหมือนพวกเรา. ด้วยเหตุนั้น เจ้าพี่พยากรณ์ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

ผิดพลาด. อธิบายว่า พยากรณ์ไม่วิปริต.

บทว่า ปติโน กิรมฺหาก วิสิฏฺา นารีน คติ จ ตาส ปวรา จ

เทวตา ความว่า เจ้าพี่เป็นตัวอย่างอันดีเยี่ยมของพวกเราและของนารี

ทั้งหลาย และเป็นที่พึ่งของนารีเหล่านั้น ธรรมดาสามีชื่อว่าเป็นเจ้าของ

เพราะคุ้มครองจากความพินาศ และเป็นเทวดาผู้ประเสริฐสงสุด เพราะ

เป็นที่พึ่งของแม่บ้านทั้งหลายเหล่านั้น ทำให้เกิดความยินดีโดยชอบ เป็น

ผู้นำประโยชน์สุขมาให้ทั้งเดี๋ยวนี้และต่อไป.

บทว่า ปตีสุ ธมฺม ปริจราม สพฺพา ความว่า พวกเราทั้งหมด

จงประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติมีการตื่นก่อนเป็นต้น ในสามีของตน ๆ.

บทว่า ยตฺถ ได้แก่ นิมิตใด. หรือเมื่อประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติในสามี

ทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นหญิงยำเกรงสามี. บทว่า ลจฺฉามเส ภาสติ ย อย

ลตา ความว่า พวกเราประพฤติธรรมในสามีทั้งหลาย จักได้สมบัติ

อย่างที่เจ้าพี่ลดาพูดว่าจะได้ในบัดนี้.

บทว่า ปพฺพตสานุโคจโร ได้แก่ พญาราชสีห์ตัวเที่ยวไปตามราวป่า

ใกล้ภูเขา. บทว่า มหินฺธร ปพฺพตมาวสิตฺวา ความว่า อาศัยอยู่บนภูเขา

ชื่อว่ามหินธร เพราะทรงแผ่นดินไว้ ไม่หวั่นไหว. ในบทนั้นความว่า

อาศัยอยู่. ก็บทว่า มหินฺธร ปพฺพตมาวสิตฺวา นี้ เป็นทุติยาวิภัตติลง

ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติเพราะไม่เพ่งถึงบทว่า อาวสิตฺวา. บทว่า ปสยฺห

แปลว่า ข่มขู่. บทว่า ขุทฺเท ความว่า พญาราชสีห์นั้นฆ่าสัตว์มีช้าง

เป็นต้น น้อยใหญ่โดยประมาณด้วยกำลัง.

บทว่า ตเถว ความว่า นี้เป็นการอธิบายความพร้อมด้วยข้อ

เปรียบเทียบเชิงอุปมาด้วยคาถา เหมือนอย่างว่า สีหะอาศัยอยู่บนภูเขาอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

เป็นที่อยู่ และที่หาอาหารของตนย่อมสำเร็จประโยชน์ตามที่ตนต้องการ

ฉันใด สตรีที่มีศรัทธาเลื่อมใสเป็นอริยสาวิกา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน อาศัย

อยู่กับสามีผู้เป็นใหญ่เป็นภัสดา เพราะหาเลี้ยงหาใช้ด้วยของกินและเครื่อง

นุ่งห่มเป็นต้น ประพฤติยำเกรงสามีด้วยปฏิบัติเกื้อกูลสามีในทุก ๆ อย่าง

ฆ่าคือละความโกรธ อันเกิดขึ้นในเพื่อนบ้านใกล้เรือนเคียง กำจัดคือ

ครอบงำไม่ให้เกิดความตระหนี่อันเกิดขึ้น ในของที่ครอบครองไว้ ชื่อว่า

เป็นหญิงประพฤติธรรม เพราะพระพฤติธรรมคือความยำเกรงสามีและ

ธรรมของอุบาสิกาโดยชอบ สตรีนั้นย่อมรื่นเริงคือย่อมถึงความบันเทิงใน

สวรรค์ คือเทวโลก. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาลดาวิมาน

๕. คุตติลวิมาน

ว่าด้วยคุตติลวิมาน

[๓๓] พระมหาสัตว์นามว่าคุตติลบัณฑิต อันสมเด็จอมรินทราธิราช

ทรงจำแลงองค์เป็นพราหมณ์โกสิยโคตร เสด็จเข้าไปหาทรงซักถามแล้ว

ได้ทูลตอบแสดงความเจ็บใจของตนให้ท้าวเธอทรงทราบด้วยคาถา ความ

ว่า

ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ข้าพระองค์ได้สอนวิชาดีดพิณ

๗ สาย อันมีเสียงไพเราะมาก น่ารื่นรมย์ ให้แก่

มุสิละผู้เป็นศิษย์ เขาตั้งใจจะดีดพิณประชันกับข้า-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

พระองค์บนกลางเวที ขอพระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของ

ข้าพระองค์ด้วย.

สมเด็จอมรินทราธิราช ทรงสดับคำปรับทุกข์นั้นแล้ว เมื่อจะทรง

ปลอบยาจารย์ จึงตรัสปลุกใจด้วยคาถา ความว่า

จะกลัวไปทำไมนะ ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะเป็น

ที่พึ่งของท่านอาจารย์ เพราะข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่าน

อาจารย์ ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์จะไม่ปล่อยให้ท่าน

อาจารย์ปราชัย ท่านอาจารย์ต้องเป็นผู้ชนะนายมุสิละ

ผู้เป็นศิษย์แน่นอน.

เมื่อสมเด็จอมรินทราธิราชตรัสปลอบใจเช่นนี้ คุตติลบัณฑิตก็โล่ง

ใจคลายทุกข์ พอถึงวันนัดก็ไปประลองศิลป์กันบนเวทีหน้าพระโรง ใน

ที่สุด คุตติลบัณฑิตผู้อาจารย์เป็นฝ่ายชนะ นายมุสิละผู้เป็นศิษย์เป็นฝ่ายแพ้

ถึงแก่ความตายกลางเวที เพราะอาชญาของปวงชน สมเด็จอมรินทรา-

ธิราชทรงกล่าววาจาแสดงความยินดีด้วยคุตติลบัณฑิตแล้ว เสด็จกลับเทว-

สถาน ครั้นกาลต่อมา สมเด็จอมรินทราธิราชตรัสใช้ให้พระมาตลีเทพ

สารถี นำเวชยันตราชรถลงมารับคุตติลบัณฑิตไปยังเทวโลกเพื่อให้ดีดพิณ-

ถวาย คุตติลบัณฑิตจึงกราบทูลท้าวโกสีย์ในท่ามกลางเทพบริษัท เพื่อ

ไต่ถามถึงบุรพกรรมของเทพธิดาทั้งหลาย ณ ที่นั้น เป็นรางวัลแห่งการ

ดีดพิณเสียก่อน เมื่อได้รับพระอนุญาตแล้ว จึงได้ถามถึงบุรพกรรมของ

เทพธิดาเหล่านั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี

รัศมีส่องแสงสว่างไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาว

ประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันคุตติลบัณฑิตถามเหมือน

ท่านพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว มีใจยินดี ได้

พยากรณ์ปัญหาแห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระ และนารี

ทั้งหลาย ได้ถวายผ้าอย่างดีผืนหนึ่งแก่ภิกษุรูปหนึ่ง

ดีฉันได้ถวายผ้าอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมาน

อันน่าปลิมใจถึงเช่นนี้ เชิญดูวิมานของดีฉันนั้นเถิด

ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณ

น่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีก

ด้วย เชิญดูผลแห่งบุญ คือการถวายผ้าอย่างดี

ทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะ

งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมนั้น.

วิมานทั้ง ๔ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีความพิสดาร

เหมือนวัตถทายิกวิมาน.

(๑) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก

ฯ ลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ

กรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม

แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง

ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-

หลาย ได้ถวายดอกมะลิอย่างดีแก่ภิกษุหนึ่ง ดีฉัน

ได้ถวายดอกมะลิอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมาน

น่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของ

ดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่าง

และผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้ง

พันอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือการ

ถวายดอกมะลิอย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญ

กรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมี

รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

(๒) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี

รัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาว

ประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม

แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง

ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-

หลาย ได้ถวายจุรณของหอมอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง

ดีฉันได้ถวายอุรณของหอมอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้

ทิพยวิมานอันน่าปลื้มใจเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดู

วิมานของดีฉันนี้เถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้า

ที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่า

นางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผล

แห่งบุญ คือ การถวายอุรณของหอมอย่างดีทั้งหลาย

นั้นเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงาม

เช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ เพราะ

บุญกรรมนั้น.

(๓) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี

รัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาว

ประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง

ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-

หลาย ได้ถวายผลไม้อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดีฉัน

ได้ถวายผลไม้อันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพยวิมาน

อันน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของ

ดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่าง

และผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้ง

พันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญ คือ

การถวายผลไม้อย่างดีทั้งหลายนั้นเถิด เพราะบุญ

กรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมี

รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

(๔) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี

รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประ-

กายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงาม

เช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะ

บุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม

แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง

ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-

หลาย ได้ถวายอาหารมีรสอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง

ดีฉันได้ถวายอาหารอันน่ารักอย่างนี้ จึงมาได้ทิพย-

วิมานอันน่าปลื้มใจถึงเช่นนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดู

วิมานของดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้า

ที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่า

นางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผล

แห่งบุญ คือการถวายอาหารมีรสอย่างดีทั้งหลายนั้น

เถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้

ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ

กรรมนั้น.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี

รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาวประ-

กายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงาม

เช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม

แล้ว มีความปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่งผล

กรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันได้นำของหอม ๕ อย่าง ไปประพรมที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

องค์พระสถูปทองคำ สำหรับบรรจุพระบรมธาตุของ

พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นิมนต์พระคุณเจ้าดู

วิมานของดีฉันนี้เถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่

มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านาง

อัปสรทั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่ง

บุญคือการถวายของหอม ๕ อย่างนั้นเถิด เพราะ

บุญูกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ

มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

วิมานทั้ง ๔ จะกล่าวต่อไปนี้ มีเนื้อความพิสดารเหมือนกับคันธ-

ปัญจังคลิกวิมาน

(๑) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี

รัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาว

ประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม

แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง

ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันได้เห็นภิกษุและภิกษุณีทั้งหลาย พากัน

เดินทางไกล ได้ฟังธรรมเทศนาของท่านเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

ได้เข้ารักษาอุโบสถอยู่วันหนึ่งคืนหนึ่ง นิมนต์พระ-

คุณเจ้าดูวิมานของดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดิฉันยัง

เป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็น

ผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณ

เจ้าดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น

ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสว

ไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

(๒) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี

รัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาว

ประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม

แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง

ผลกรรมที่ถูกถามว่า

ดีฉันยืนอยู่ในน้ำ มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายน้ำ

ใช้และน้ำฉันแก่ภิกษุรูปหนึ่ง นิมนต์พระคุณเจ้าดู

วิมานของดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็น

นางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศ

กว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

ผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉัน

จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสว

ไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

(๓) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี

รัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาว

ประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม

แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง

ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันไม่คิดมุ่งร้าย ตั้งใจปฏิบัติเป็นอย่างดี ซึ่ง

ไม่ผัวและพ่อผัวผู้ดุร้าย ผู้มักโกรธง่ายและหยาบคาย

เป็นผู้ไม่ประมาทในการรักษาศีลของตน นิมนต์พระ-

คุณเจ้าดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยัง

เป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็น

ผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย นิมนต์พระ-

คุณเจ้าดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น

ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่าง

ไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

(๔) พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี

รัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาว

ประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานเถระถาม

แล้ว มีความปลาบปลื้มใจ ได้พยากรณ์ปัญหาแห่ง

ผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันเป็นหญิงรับใช้ รับจ้างทำกิจการงานของ

คนอื่น ไม่เกียจคร้าน ไม่เป็นคนโกรธง่าย ไม่ถือ

ตัว ชอบแบ่งปันสิ่งของอันเป็นส่วนของตนที่ได้มา

แก่ปวงชนที่ต้องการ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของ

ดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่าง

และผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้ง

พันนางอีกด้วย นิมนต์พระคุณเจ้าดูผลแห่งบุญทั้ง-

หลายเถิด เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงาม

เช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมนั้น.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี

รัศมีส่องสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ สถิตอยู่เหมือนดาว

ประกายพรึก เพราะบุญกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

งามเช่นนี้ ฯลฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระ

ถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหา

แห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า

ดีฉันได้ถวายข้าวสุกคลุกนมวัวสดแก่ภิกษุรูป-

หนึ่ง ผู้กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ นิมนต์พระคุณเจ้า-

จงดูวิมานของดิฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉันเป็น

นางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้เลิศ

กว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย เพราะบุญกรรมนั้น

ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่าง

ไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

ในวิมานเหล่านั้น ๒๕ วิมานที่จะกล่าวต่อไปนี้ มีเนื้อความพิสดาร

เหมือนกับขีโรทนทายิกาวิมาน.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก

ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญ

กรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระมหาโมคคัลลานเถระ

ถามแล้ว มีความปลาบปลื้มใจ จึงพยากรณ์ปัญหา

แห่งผลกรรมที่ถูกถามนั้นว่า ดีฉันได้ถวาย

๑. น้ำอ้อยงบ ฯ ล ฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

๒. ผลมะพลับสุก ฯ ล ฯ

๓. อ้อยท่อนหนึ่ง ฯ ล ฯ

๔. แตงโมผลหนึ่ง ฯ ล ฯ

๕. ฟักทองผลหนึ่ง ฯ ล ฯ

๖. ยอดผักต้ม ฯ ล ฯ

๗. ผลลิ้นจี่ ฯ ล ฯ

๘. เชิงกราน ฯ ล ฯ

๙. ผักดองกำหนึ่ง ฯ ล ฯ

๑๐. ดอกไม้กำหนึ่ง ฯ ล ฯ

๑๑. มัน ฯ ล ฯ

๑๒. สะเดากำหนึ่ง ฯ ล ฯ

๑๓. น้ำผักดอง ฯ ล ฯ

๑๔. แป้งคลุกงาคั่ว ฯ ล ฯ

๑๕. ประคดเอว ฯ ล ฯ

๑๖. ผ้าอังสะ ฯ ล ฯ

๑๗. พัด ฯ ล ฯ

๑๘. พัดสี่เหลี่ยม ฯ ล ฯ

๑๙. พัดใบตาล ฯ ล ฯ

๒๐. หางนกยูงกำหนึ่ง ฯ ล ฯ

๒๑. ร่ม

๒๒. รองเท้า ฯ ล ฯ

๒๓. ขนม ฯ ล ฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

๒๔. ขนมต้ม ฯ ล ฯ

๒๕. น้ำตาลกรวด

แก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้กำลังบิณฑบาตอยู่ นิมนต์พระ-

คุณเจ้าดูวิมานของดีฉันนั้นเถิด ยิ่งกว่านั้น ดีฉัน

ยังเป็นนางฟ้าที่มีรูปร่างและผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็น

ผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพันนางอีกด้วย เพราะบุญกรรม

นั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมี

สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ เพราะบุญกรรมนั้น.

เมื่อนางเทพธิดาเหล่านั้น เฉลยผลกรรมที่ได้ทำมาเป็นอันดีอย่างนี้

แล้ว คุตติลบัณฑิตร่าเริง บันเทิงใจ เมื่อจะแสดงความชื่นชมยินดีของตน

จึงกล่าวว่า

ข้าพเจ้ามาถึงเมืองสวรรค์วันนี้ เป็นการดีแท้

เป็นฤกษ์งามยามดีที่ข้าพเจ้าได้เห็นนางเทพธิดาทั้ง-

หลาย ที่เป็นนางฟ้ามีรูปร่างและผิวพรรณน่ารักใคร่

ทั้งยังได้ฟังธรรมอันแนะนำทางบุญกุศลจากเธอเหล่า-

นั้นด้วย แต่นี้ไป ข้าพเจ้าจักการทำบุญกุศลให้มาก

ด้วยการให้ทาน ด้วยการประพฤติธรรมสม่ำเสมอ

ด้วยการรักษาศีลสังวร และด้วยการฝึกอินทรีย์

ข้าพเจ้าจักได้ไปสู่สถานที่ ๆ ไปแล้วไม่เศร้าโศก.

จบคุตติลวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

อรรถกถาคุตติลวิมาน

คุตติลวิมาน มีคาถาว่า สตฺตตนฺตึ สุมธุร ดังนี้เป็นต้น. คุตติลวิมาน

นั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ท่านพระ-

มหาโมคคัลลานะ จาริกไปยังเทวโลก ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล

ครั้นไปถึงภพดาวดึงส์ เห็นเทพธิดา ๓๖ นาง แต่ละนางมีนางอัปสร

เป็นบริวาร เสวยทิพยสมบัติใหญ่ใน ๓๖ วิมาน ซึ่งตั้งอยู่ ณ ภพดาวดึงส์

นั้น จึงถามถึงกรรมที่เทพธิดาเหล่านั้นได้กระทำมาในกาลก่อนตามลำดับ

ด้วยคาถาทั้งหลาย ๓ คาถา มีอาทิว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน มีวรรณงาม

ยิ่งนัก ดังนี้. แม้เทพธิดาเหล่านั้นก็ได้ตอบตามลำดับคำถามของพระมหา

โมคคัลลานเถระ โดยนัยมีอาทิว่า วตฺถุตฺตมทายิกา นารี ดีฉันเป็นนารี

ได้ถวาย ผ้าเนื้อดี ดังนี้.

ลำดับนั้น พระเถระจึงออกจากเทวโลกลงมาสู่มนุษยโลก ได้กราบ

ทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นได้สดับดัง

นั้นแล้ว จึงตรัสว่า โมคคัลลานะ เทพธิดาเหล่านั้นมิได้ตอบอย่างที่เธอ

ถามในบัดนี้อย่างเดียวเท่านั้น เมื่อก่อนก็ได้ตอบอย่างที่เราถามเหมือนกัน.

พระเถระกราบทูลขอร้องให้ตรัส พระองค์จึงได้ตรัสเล่าเรื่องของพระองค์

ครั้งเป็นคุตติละอาจารย์ในอดีตให้ฟังดังต่อไปนี้

ในครั้งอดีต เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี

พระโพธิสัตว์อุบัติอยู่ในตระกูลคนธรรพ์ ได้เป็นอาจารย์ปรากฏชื่อเสียง

เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในทุกทิศโดยชื่อว่า คุตติละ เช่นเดียวกับติมพรูนารทะ

เพราะเป็นผู้มีศิลปะบริสุทธิ์ในศิลปะของคนธรรพ์. คุตติละนั้นเลี้ยงดูมารดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

บิดาผู้แก่เฒ่าตาบอด. คนธรรพ์ ชื่อมุสิละ ชาวอุชเชนี ได้ทราบถึงความ

สำเร็จทางศิลปะของอาจารย์คุตติละนั้น จึงเข้าไปหาทำความเคารพแล้วยืน

ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่ออาจารย์คุตติการละกามว่า ท่านมีธุระอะไรหรือ จึงบอกว่า

ประสงค์จะเรียนศิลปะในสำนักของอาจารย์. อาจารย์คุตติละมองดูมุสิละ

คนธรรพ์นั้น เพราะเป็นผู้ฉลาดในการดูลักษณะ คิดว่า เจ้านี้มีอัธยาศัย

ไม่เรียบร้อยหยาบคาย จักเป็นคนไม่รู้จักคุณคน ไม่ควรสงเคราะห์ ดังนี้

จึงไม่ให้โอกาสที่จะเรียนศิลปะ มุสิละจึงเข้าไปหามารดาบิดาของอาจารย์

คุตติละ ขอร้องให้มารดาบิดาช่วย. อาจารย์คุตติละ เมื่อถูกมารดาบิดา

แค่นได้ จึงคิดว่า ถ้อยคำของครู ควรแก่ค่า ดังนี้ จึงเริ่มบอกศิลปะแก่

มุสิละ เพราะอาจารย์คุตติละปราศจากความตระหนี่ และเพราะมีความ

กรุณาจึงไม่ทำอาจริยมุฏฐิ (หวงความรู้) ให้มุสิละศึกษาศิลปะโดยสิ้นเชิง.

แม้มุสิละนั้น เพราะเป็นคนฉลาด เพราะสะสมบุญมาก่อนและ

เพราะไม่เกียจคร้าน ไม่ช้าก็เรียนจบศิลปะจึงคิดว่า กรุงพาราณสีนี้ เป็น

นครเลิศในชมพูทวีป ถ้ากระไร เราควรแสดงศิลปะแก่บริษัทหน้าพระที่นั่ง

ในนครนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็จักปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักยิ่งกว่าอาจารย์

ในชมพูทวีป ดังนี้. มุสิละ จึงบอกแก่อาจารย์ว่า กระผมประสงค์จะ

แสดงศิลปะหน้าพระที่นั่ง ขอท่านอาจารย์ได้โปรดนำกระผมเข้าเฝ้าด้วยเถิด.

พระมหาสัตว์ มีความกรุณาว่า มุสิละนี้ เรียนศิลปะในสำนักของเราจงได้

รับอุปถัมภ์ ดังนี้ จึงนำเขาเข้าเฝ้าพระราชา แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ

ฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระองค์ได้โปรดทอดพระเนตรดูความชำนิ

ชำนาญในการดีดพิณของลูกศิษย์ ของข้าพระพุทธเจ้าผู้นี้เถิด พระเจ้าข้า

พระราชาตรัสสั่งว่า ดีแล้ว ทรงสดับการดีดพิณของมุสิละนั้น พอพระทัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

ยิ่งนัก ครั้นมุสิละกราบทูลลา ทรงห้ามแล้วตรัสว่า เจ้าจงอยู่รับราชการ

กับเราเถิด เราจักให้ครึ่งหนึ่งจากส่วนที่ให้แก่อาจารย์. มุสิละกราบทูลว่า

ขอเดชะ. ข้าพระองค์จะไม่ขอรับต่ำกว่าอาจารย์ ขอพระองค์ได้โปรดพระ-

ราชทานเท่ากับอาจารย์เถิด พระเจ้าข้า เมื่อพระราชาตรัสว่า เจ้าอย่าพูด

อย่างนั้นซิ ธรรมดาอาจารย์เป็นผู้ใหญ่ เราจักให้เจ้าครึ่งหนึ่งเท่านั้น มุสิละ

กราบทูลว่า ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ ขอพระองค์ได้โปรดทอด

พระเนตรศิลปะของข้าพระองค์และอาจารย์เถิด พระเจ้าข้า แล้วก็ออกจาก

กรุงราชคฤห์ เที่ยวโฆษณาไปในที่นั้น ๆ ว่า จากนี้ไป ๗ วัน จักมีการ

แสดงศิลปะ ที่หน้าพระลานหลวง ระหว่างข้าพเจ้าและอาจารย์คุตติละ

ขอเชิญผู้ประสงค์จะชมศิลปะนั้นจงพากันนาชมเถิด.

พระมหาสัตว์ สดับดังนั้นแล้วคิดว่า มุสิละนี้ ยังหนุ่มมีกำลัง ส่วน

เราแก่แล้วกำลังก็น้อย ถ้าเราแพ้ เราตายเสียดีกว่า เพราะฉะนั้น เราจะ

เข้าไปป่าผูกคอตายละ จึงไปป่า เกิดกลัวตายก็กลับ อยากตายอีกไปป่า

กลัวตายอีกก็กลับ เมื่อพระมหาสัตว์ไป ๆ มา ๆ อยู่อย่างนี้ ที่นั้นเตียนโล่ง

ไม่มีหญ้าเลย. ลำดับนั้น เทวราชเข้าไปหาพระมหาสัตว์ปรากฏรูปประ-

ดิษฐานอยู่บนอากาศ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอาจารย์ทำอะไร. พระ-

มหาสัตว์ได้ทูลตอบแสดงความเจ็บใจของตนว่า

ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ข้าพระองค์ได้สอนวิชาดีดพิณ

๗ สาย มีเสียงไพเราะมากน่ารื่นรมย์ แก่มุสิละผู้

เป็นศิษย์ เขาตั้งใจจะดีดพิณประชันกับข้าพระองค์

กลางเวที ขอพระองค์ได้โปรดเห็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์

ด้วยเกิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

อธิบายความว่า ข้าแต่เทวราช ข้าพระองค์ได้สอนศิลปะของคนธรรพ์

มิให้เสียงขับร้อง ๔ อย่าง มีเสียงเหมือนนกยูงร้องเป็นต้น เสื่อมไปจาก

การจำแนกเสียงเป็นต้น อันได้แก่วิชาชื่อว่า พิณ ๗ สาย เพราะแสดง

เสียง ๗ อย่าง มีเสียงเหมือนนกยูงร้องเป็นต้น เพราะมีสาย ๗ สาย ชื่อว่า

มีเสียงไพเราะมาก เพราะทำเสียงนั้นไม่ให้เสื่อมไปจากชนิดของเสียง ๒๒

อย่าง ตามสมควร ดังนี้จึงชื่อ สุมธุระ ชื่อว่า น่ารื่นรมย์ เพราะเสียง

และพิณน่ารื่นรมย์อย่างยิ่งแก่ผู้ฟังโดยการเทียบกันและกัน เพราะเป็นผู้

ฉลาดในการปรับเสียงครบ ๕๐ เสียง ตามที่เรียนมา เพราะเหตุนั้น

ข้าพระองค์ได้สอนได้ให้เรียนได้ให้ศึกษาแก่ลูกศิษย์ ชื่อว่า มุสิละ. มุสิละ

นั้นเป็นลูกศิษย์ จะดีดพิณประชันกับข้าพระองค์ผู้เป็นอาจารย์ของตนบน

เวที คือ ท้าทาย เพื่อแสดงความวิเศษของตนด้วยการแข่งดี เขาบอก

กะข้าพระองค์ว่า อาจารย์จงมาแสดงศิลปะกันเถิด ดังนี้ ข้าแต่ท้าวโกสีย-

เทวราช ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งอาศัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.

ท้าวสักกเทวราชได้สดับดังนั้น เมื่อจะทรงปลอบว่า อาจารย์อย่า

กลัวเลย ข้าพเจ้าเป็นที่พึ่ง ช่วยบรรเทาทุกข์ของอาจารย์ จึงตรัสว่า

ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึงของอาจารย์

ข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์จะ

ไม่ปล่อยให้ท่านอาจารย์แพ้ ท่านอาจารย์จะต้องชนะ

นายมุสิละผู้เป็นศิษย์แน่นอน.

นัยว่า พระมหาสัตว์ได้เป็นอาจารย์ของท้าวสักกเทวราชในอัตภาพ

ก่อน. ด้วยเหตุนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงกล่าวว่า อหมาจริย ปูชโก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

ข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่านอาจารย์ ดังนี้ ไม่ใช่คู่แข่งขันเหมือนนายมุสิละ.

เมื่อลูกศิษย์เช่นข้าพเจ้ายิ่งมีอยู่ อาจารย์เช่นท่านจะแพ้ได้อย่างไร. เพราะ-

ฉะนั้น ศิษย์จักไม่ชนะท่านอาจารย์ได้. ท่านอาจารย์นั่นแหละจักชนะนาย

มุสิละผู้เป็นศิษย์อย่างแน่นอน. อธิบายว่า นายมุสิละนั้นเมื่อแพ้แล้วจักถึง

ความพินาศ. ก็แลครั้นท้าวสักกเทวราชตรัสอย่างนี้ แล้วจึงปลอบว่า ใน

วันที่ ๗ ข้าพเจ้าจักมายังโรงแข็งขันกัน ขอให้ท่านอาจารย์วางใจ เล่น

ดนตรีไปเถิด แล้วก็เสด็จไป.

ครั้นถึงวันที่ ๗ พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริพารประทับนั่ง ณ

ท้องพระโรง. อาจารย์คุตติละและนายมุสิละ เตรียมตัวเพื่อแสดงศิลปะ

เข้าไปถวายบังคมพระราชา นั่งบนอาสนะที่ตนได้ แล้วดีดพิณ ท้าวสักกะ

เสด็จยืนบนอากาศ. พระมหาสัตว์เห็นท้าวสักกะนั้น แต่คนนอกนั้นไม่เห็น.

พวกบริษัทได้ตั้งใจฟังในการดีดพิณของทั้ง ๒ คณะ ท้าวสักกะตรัสกับ

อาจารย์คุตติละว่า ท่านอาจารย์จงดีดสายที่ ๑. เมื่อดีดสายที่ ๑ แล้ว

พิณได้มีเสียงกังวานไพเราะ ท้าวสักกะตรัสต่อไปว่า ท่านอาจารย์จงดีดสาย

ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗. เมื่อดีดพิณเหล่านั้นแล้ว พิณก็ได้มี

เสียงก้องกังวานไพเราะยิ่งขึ้น. นายมุสิละเห็นดังนั้น เห็นทีว่าตนแพ้แน่

ถึงกับคอตก. พวกบริษัทต่างร่าเริงยินดี ยกผืนผ้าโบกไปมา ซ้องสาธุการ

แก่อาจารย์คุตติละ. พระราชาตรัสสั่งให้นำนายมุสิละออกจากท้องพระโรง.

มหาชนเอาก้อนดินท่อนไม้เป็นต้นขว้างปา จนนายมุสิละถึงแก่ความตายใน

ที่นั้นนั่นเอง.

ท้าวสักกเทวราชแสดงความชื่นชมยินดีกับพระมหาบุรุษ แล้วเสด็จ

กลับสู่เทวโลกทันที. ทวยเทพทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

เสด็จไปไหนมา ครั้นได้ฟังเรื่องราวนั้นแล้ว จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่

มหาราช พวกข้าพระองค์อยากเห็นพระอาจารย์คุตติละ ขอประทานโอกาส

ขอพระองค์ทรงนำอาจารย์คุตติละมาแสดงแก่พวกข้าพระองค์ ณ ที่นี้เถิด

ท้าวสักกะสดับคำของทวยเทพแล้ว มีเทวบัญชาให้มาตลี เอาเวชยันตรถไป

รับอาจารย์คุตติละมาให้พวกเรา ทวยเทพอยากจะเห็นอาจารย์นั้น. มาตลี

ได้ทำตามเทวบัญชา. ท้าวสักกะทรงทำความชื่นชมยินดีกับพระมหาสัตว์

แล้วตรัสว่า ท่านอาจารย์โปรดดีดพิณ ทวยเทพอยากฟัง. อาจารย์คุตติละ

ทูลว่า ข้าพระองค์เลี้ยงชีพด้วยศิลปะ เมื่อไม่มีค่าจ้างก็จะไม่แสดงศิลปะ.

ท้าวสักกะตรัสถามว่า ก็อาจารย์ต้องการค่าจ้างเช่นไรเล่า. อาจารย์คุตติละ

ทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ต้องการค่าจ้างอย่างอื่น แต่ขอให้ทวยเทพเหล่านี้

บอกถึงกุศลกรรมที่ตนทำมาแล้วในชาติก่อนนั่นแล เป็นค่าจ้างของข้า-

พระองค์ละ. ทวยเทพต่างรับว่าดีแล้ว.

ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะถามถึงความประพฤติชอบที่ทวยเทพ

เหล่านั้นกระทำแล้วในอัตภาพก่อน อันเป็นเหตุแห่งสมบัตินั้นโดยการประ-

กาศถึงสมบัติที่ทวยเทพเหล่านั้นได้ในครั้งนั้นเฉพาะตน จึงถามด้วยคาถามี

อาทิว่า ภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้ ดุจท่านมหาโมคคัลลานะถามฉะนั้น.

แม้ทวยเทพเหล่านั้นก็ตอบแก่อาจารย์คุตติละ เหมือนอย่างที่ตอบแก่พระ-

เถระ ด้วยบทมีอาทิว่า วตฺถุตฺตมทายิกา นารี ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้นมิได้

ตอบอย่างเดียวกับที่เธอถามเท่านั้น เมื่อก่อนก็ได้ตอบเหมือนอย่างที่เรา

ถามเหมือนกันดังนี้.

ได้ยินว่า หญิงเหล่านั้น ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

เป็นมนุษย์ ได้กระทำบุญอย่างนั้น ๆ. บรรดาหญิงเหล่านั้น คนหนึ่งได้

ถวายผ้า คนหนึ่งได้ถวายพวงดอกมะลิหนึ่งพวง ต้นหนึ่งได้ถวายของหอม

คนหนึ่งได้ถวายผลไม้อย่างดี คนหนึ่งได้ถวายอ้อย คนหนึ่งได้ถวายของ

หอม ๕ อย่างประพรมในเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า คนหนึ่งรักษา

อุโบสถ คนหนึ่งได้ถวายน้ำแก่ภิกษุผู้ฉันที่เรือในเวลาเข้าไปใกล้ คนหนึ่ง

เมื่อแม่ผัวพ่อผัวโกรธก็ไม่โกรธตอบ ได้ทำการปรนนิบัติ คนหนึ่งเป็น

ทาสี ไม่เกียจคร้านมีมารยาทดี คนหนึ่งได้ถวายข้าวเจือด้วยน้ำนมแก่ภิกษุ

ผู้ออกบิณฑบาต คนหนึ่งได้ถวายน้ำอ้อย คนหนึ่งได้ถวายท่อนอ้อย คน

หนึ่งได้ถวายมะพลับ คนหนึ่งได้ถวายแตงกวา คนหนึ่งได้ถวายฟักเหลือง

คนหนึ่งได้ถวายยอดผัก คนหนึ่งได้ถวายลิ้นจี่ คนหนึ่งได้ถวายเชิงกราน

คนหนึ่งได้ถวายผักดองกำหนึ่ง คนหนึ่งได้ถวายดอกไม้กำหนึ่ง คนหนึ่ง

ได้ถวายหัวมัน คนหนึ่งได้ถวายสะเดากำหนึ่ง คนหนึ่งได้ถวายผักดอง

คนหนึ่งได้ถวายแป้งงา คนหนึ่งได้ถวายผ้ารัดเอว คนหนึ่งได้ถวายผ้าอังสะ

คนหนึ่งได้ถวายพัด คนหนึ่งได้ถวายพัดสี่เหลี่ยม คนหนึ่งได้ถวายพัด

ใบตาล คนหนึ่งได้ถวายกำหางนกยูง คนหนึ่งได้ถวายร่ม คนหนึ่งได้

ถวายรองเท้า คนหนึ่งได้ถวายขนม คนหนึ่งได้ถวายขนมก้อน คนหนึ่ง

ได้ถวายน้ำตาลกรวด. เทพธิดาเหล่านั้น องค์หนึ่ง ๆ มีนางอัปสรพันหนึ่ง

เป็นบริวารรุ่งเรืองด้วยเทวฤทธิ์ใหญ่ บังเกิดเป็นบริจาริกาของท้าวสักก-

เทวราช ในภพดาวดึงส์ ถูกอาจารย์คุตติการละกาม จึงตอบถึงกุศลที่ตนทำ

ตามลำดับ โดยนัยมีอาทิว่า วตฺถุตฺตมทายิกา นารี ดังนี้.

อาจารย์คุตติละได้ถามบุรพกรรมของเทพธิดาเหล่านั้นว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ยัง

ทิศทั้งปวงให้สว่างไสว สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

เพราะกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงานเช่นนั้น เพราะ

กรรมอะไร จึงสำเร็จแก่ท่านในเทวโลกนี้ โภคะทั้ง-

หลายไร ๆ เห็นที่รัก ย่อมเกิดแก่ท่าน เพราะกรรม

อะไร.

ดูก่อนเทวี ผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอถาม

ท่าน เมื่อครั้งท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

กรรมอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมี

ของท่านรุ่งเรืองไปทั่วทิศ เพราะกรรมอะไร.

เทพธิดานั้น อันอาจารย์คุตติละถามเหมือน

พระโมคคัลลานะถาม แล้วมีใจยินดี จึงตอบถึง

ผลกรรมนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-

หลาย ได้ถวายผ้าเนื้อดีแก่ภิกษุหนึ่ง ดีฉันได้ถวาย

ผ้าอันน่ารักอย่างนี้ จึงได้เข้าถึงฐานะอันเป็นทิพย์

อย่างนี้ เชิญดูวิมานของดีฉันเถิด ดีฉันยังเป็นนางฟ้า

ที่มีผิวพรรณน่ารัก ทั้งเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพัน

เชิญดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะผลแห่งบุญนั้น

ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ความสำเร็จในที่นี้ของดีฉัน

เพราะผลบุญนั้น โภคะทั้งหลายอันเป็นที่รักย่อมเกิด

แก่ดีฉัน เพราะผลบุญนั้น.

แก่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอกท่านว่า

เมื่อครั้งดีฉันเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

นั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนั้นและมีรัศมีสว่าง

ไสวไปทั่วทุกทิศ.

วิมาน ๔ นอกนี้ มีความพิสดารเหมือนวัตถุตตมทายิกาวิมาน.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯ ล ฯ

และมีรัศมีสว่างไปทั่วทุกทิศ เพราะกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานะถามแล้ว

มีความปลื้มใจ ได้ตอบถึงผลแห่งกรรมนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย

ได้ถวายดอกไม้อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดีฉันได้ถวาย

ดอกไม้น่ารักอย่างนี้ จึงได้เข้าถึงฐานะอันเป็นทิพย์

น่าปลื้มใจอย่างนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดีฉัน

เถิด ดีฉันเป็นนางฟ้าที่มีผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้

เลิศกว่านางอัปสรตั้งพัน เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึง

มีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานะถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯ ล ฯ

และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดาตอบว่า

ดีฉันเป็นนารีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

หลาย ได้ถวายของหอมอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ฯ ล ฯ

เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมี

รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก และ

มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรม

อะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสว

ไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-

หลาย ได้ถวายผลไม้อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ฯ ล ฯ

เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมี

รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก และ

มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรม

อะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสว

ไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย

ได้ถวายอาหารมีรสอย่างดีแก่ภิกษุหนึ่ง เพราะบุญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

กรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่าง

ไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมี

สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรมอะไร.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันได้ถวายของหอม ๕ อย่างประพรมที่

พระสถูปบรรจุพระบรมธาตุ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่ากัสสป เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมี

วรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

วิมาน ๔ นอกนี้ มีความพิสดารเหมือนคันธปัญจังคุลิกวิมาน.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมี

สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรมอะไร

ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว

ทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันได้เห็นภิกษุและภิกษุณีพากันเดินทางไกล

ได้ฟังธรรมของท่านเหล่านั้น ได้เข้ารักษาอุโบสถอยู่

วันหนึ่งคืนหนึ่ง เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะ

งามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมี

สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรมอะไร ท่าน

จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันยืนอยู่ในน้ำมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายน้ำแก่

ภิกษุรูปหนึ่ง เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงาม

เช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมี

สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรมอะไร

ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว

ทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันไม่คิดร้ายตั้งใจปฏิบัติเป็นอย่างดี ซึ่ง

แม่ผัวและพ่อผัวผู้ดุร้าย โกรธง่ายและหยาบคาย

ดีฉันไม่ประมาทในการรักษาศีลของตน ฯ ล ฯ เพราะ

บุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ลฯ และ

มีรัศมี สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี

รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

อะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมี

สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันเป็นหญิงรับใช้รับจ้างทำการงานของคนอื่น

ไม่เกียจคร้าน ไม่โกรธง่าย ไม่ถือตัว ชอบแบ่งปัน

สิ่งของอันเป็นส่วนของตนให้แก่ตนที่ต้องการ ฯ ล ฯ

เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ

และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่าง-

ไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรมอะไร ท่าน

จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสว

ไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันได้ถวายข้าวสุกคลุกน้ำมันสด แก่ภิกษุ

รูปหนึ่งกำลังออกบิณฑบาตอยู่ ฯ ล ฯ เพราะบุญ-

กรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมี

รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ดีฉันทำกรรมดีจึงเข้าถึง

สุคติบันเทิงเริงรมย์อยู่อย่างนี้.

ในวิมานเหล่านั้น วิมาน ๒๕ นอกนี้ มีความพิสดารเหมือนกับ

ขีโรทนทายิกาวิมาน.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก และมี

รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯลฯ เพราะบุญกรรม

อะไร.

เทพธิดาตอบว่า

ดีฉันได้ถวาย

๑. น้ำอ้อย ฯ ล ฯ

๒. ท่อนอ้อย ฯ ล ฯ

๓. ผลมะพลับสุก ฯ ล ฯ

๔. แตงกวา ฯ ล ฯ

๕. ฟักทอง ฯ ล ฯ

๖. ยอดผักต้ม ฯ ล ฯ

๗. ผลลิ้นจี่ ฯ ล ฯ

๘. เชิงกราน ฯ ล ฯ

๙. ผักดองกำหนึ่ง ฯ ล ฯ

๑๐. ดอกไม้กำหนึ่ง ฯ ล ฯ

๑๑. มัน ฯ ล ฯ

๑๒. สะเดากำหนึ่ง ฯ ล ฯ

๑๓. น้ำผักดอง ฯ ล ฯ

๑๔. แป้งคลุกงา ฯ ล ฯ

๑๕. ประคดเอว ฯ ล ฯ

๑๖. ผ้าอังสะ ฯ ล ฯ

๑๗. พัด ฯ ล ฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

๑๘. พัดสี่เหลี่ยม ฯ ล ฯ

๑๙. พัดใบตาล ฯ ล ฯ

๒๐. พัดหางนกยูง ฯ ล ฯ

๒๐. ร่ม ฯ ล ฯ

๒๒. รองเท้า ฯ ล ฯ

๒๓. ขนม ฯ ล ฯ

๒๔. ก้อนขนม ฯ ล ฯ

๒๕. น้ำตาลกรวด ฯ ล ฯ

แก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้กำลังบิณฑบาตอยู่ ฯ ล ฯ เพราะ

บุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ

มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาสัตว์ เมื่อเทพธิดาเหล่านั้นตอบผลกรรมที่ตนทำมาเป็น

อันดีอย่างนี้แล้ว ก็มีใจยินดี เมื่อจะแสดงความยินดีของตน และเมื่อจะ

ประกาศความที่ตนขวนขวายในการประพฤติสุจริต และความที่ตนมี

อัธยาศัยในนิพพาน จึงกล่าวว่า

วันนี้ข้าพเจ้ามาดีแล้ว เป็นฤกษ์งามยามดีที่

ข้าพเจ้าได้เห็นเทพธิดาทั้งหลาย ที่เป็นนางฟ้ามีรูป-

ร่างผิวพรรณน่ารักใคร่ ทั้งได้ฟังธรรมอันแนะนำทาง

บุญกุศล จากเทพธิดาเหล่านั้นด้วย ต่อไปนี้ ข้าพเจ้า

ทำบุญกุศลให้มากด้วยการให้ทาน ด้วยการประ-

พฤติธรรมสม่ำเสมอ ด้วยการสำรวม ด้วยการฝึกฝน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

ข้าพเจ้าจักได้ไปสู่สถานที่ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วตฺถุตฺตมทายิกา ได้แก่ ผ้าสูงสุด คือ

ประเสริฐสุดกว่าผ้าทั้งหลาย หรือผ้าดีเลิศประเสริฐชั้นยอด ที่เก็บสะสม

ไว้ในจำนวนผ้าเป็นอันมาก ชื่อว่าผ้าชั้นเยี่ยม ถวายผ้าชั้นเยี่ยมนั้น. แม้

ในบทมีอาทิว่า ปุปฺผุตฺตมทายิกา ก็มีนัยนี่เหมือนกัน. บทว่า ปิยรูปทายิกา

ได้แก่ ให้วัตถุมีสภาพน่ารักและมีกำเนิดน่ารัก. บทว่า มนาป แปลว่า

เจริญใจ. บทว่า ทิพฺพ ได้แก่ ชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะเป็นสมบัติทิพย์.

บทว่า อุปจฺจ ได้แก่ เข้าถึง คือตั้งใจ อธิบายว่า ดำริแล้วว่า เราพึงได้

สิ่งนี้ดังนี้. บทว่า าน ได้แก่ ฐานะมีวิมานเป็นต้น หรือความอิสระ.

ปาฐะว่า มนาปา ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า เป็นที่เจริญใจของผู้อื่น.

บทว่า ปสฺส ปุญฺาน วิปาก ความว่า เทพธิดาภูมิใจสมบัติที่

ตนได้ จึงกล่าวว่า เชิญดูผลแห่งการถวายผ้าอย่างดีเช่นนี้เถิด.

บทว่า ปุปฺผุตฺตมทายิกา ได้แก่ ถวายดอกไม้อย่างดี เพื่อบูชา

พระรัตนตรัย. พึงเห็นบทว่า คนฺธุตฺตมทายิกา ก็เหมือนอย่างนั้น.

ดอกไม้อย่างดีในบทว่า ปุปฺผุตฺตมทายิกา ได้แก่ ดอกมะลิเป็นต้น.

ของหอมอย่างดี ได้แก่ จันทน์หอมเป็นต้น. ผลไม้อย่างดี ได้แก่ ผลขนุน

เป็นต้น. พึงทราบว่าอาหารมีรสอย่างดี มีเนยใสคลุกด้วยนมโคสดเป็นต้น.

บทว่า คนฺธปญฺจงฺคุลิก ได้แก่ ถวายของหอม ๕ อย่าง สำหรับ

ประพรม. บทว่า กสฺสปสฺส ภควโต ถูปมฺหิ ได้แก่ พระสถูปทองคำ

สูงโยชน์หนึ่ง บรรจุพระบรมธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า.

บทว่า ปนฺถปฏิปนฺเน ได้แก่ เดินไปตามทาง. บทว่า เอกูโปสถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ได้แก่ อยู่รักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่ง.

บทว่า อุทกมทาสึ ได้แก่ ดีฉันได้ถวายน้ำใช้ น้ำฉันสำหรับบ้วน

ปากและสาหรับดื่ม.

บทว่า จณฺฑิเก ได้แก่ ดุร้าย. บทว่า อนุสฺสุยฺยิกา ได้แก่

เว้นจากความริษยา. บทว่า ปรกฺกมฺมการี ได้แก่ รับจ้างทำการงานแก่

ผู้อื่น. บทว่า อตฺเถน ได้แก่ กิจที่เป็นประโยชน์. บทว่า สวิภาคินี

สกสฺส ภาคสฺส ได้แก่ มีปกติแจกส่วนที่ตนได้แก่ผู้อื่น.

บทว่า ขีโรทก ได้แก่ ข้าวสุกเจือด้วยนมสด. หรือข้าวสุกกับนม

สด. บทว่า ติมฺพรูสก ได้แก่ ผลมะพลับ. มะพลับเป็นไม้เถาชนิดหนึ่ง

คล้ายแตงโม. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ผลแตงโมนั้น คือ ติมพรุสกะ.

บทว่า กกฺการิก ได้แก่ ฟักทอง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ได้แก่

แตงกวา. บทว่า หตฺถปฺปตาปก ได้แก่ เชิงกราน. บทว่า อมฺพกญฺชิก

ได้แก่ น้ำผักดอง. บทว่า โทณินิมฺมชฺชนึ ได้แก่ แป้งคลุกงาคั่ว. บทว่า

วิธูปน ได้แก่ พัดสี่เหลี่ยม. บทว่า ตาลปณฺณ ได้แก่ พัดกลมทำด้วย

ใบตาล. บทว่า โมรหตฺถ ได้แก่ พัดไล่ยุงทำด้วยหางนกยูง. บทว่า

สฺวาคต วต เม ความว่า ข้าพเจ้ามาในที่นี้ ดีแท้ ดีเหลือเกิน. บทว่า

อชฺช สุปภาต สุหุฏฺิต ได้แก่ วันนี้ฤกษ์งามยานดีได้เกิดแก่ข้าพเจ้าใน

กลางคืน แม้ลุกจากที่นอนก็มีฤกษ์ดี คือลุกขึ้นด้วยดี. ถามว่า เพราะ

เหตุไร พระมหาสัตว์จึงกล่าวอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะเหตุที่ได้เห็นเทพ-

ธิดาเหล่านั้น.

บทว่า ธมฺม สุตฺวา ความว่า ได้ฟังธรรมอันเป็นกุศลที่พวกท่าน

ทำไว้ โดยเห็นประจักษ์ถึงผลกรรม. บทว่า กาหามิ แปลว่า จักกระทำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

บทว่า สมจริยาย ได้แก่ ด้วยการประพฤติสุจริตอันเป็นความประพฤติ

ชอบทางกาย. บทว่า สญฺเมน ได้แก่ ศีลสังวร. บทว่า ทเมน

ได้แก่ ด้วยการฝึกอินทรีย์มีใจเป็นที่หก. บัดนี้ พระมหาสัตว์ เพื่อจะ

แสดงความที่กุศลนั้น และโลกของตนเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ (นิพพาน)

จึงกล่าวว่า

สฺวาห ตตฺถ คมิสฺสามิ ยตฺถ คนฺตวา น โสจเร ความว่า

ข้าพเจ้าจักไปในที่ที่ไปแล้ว ไม่เศร้าโศก ดังนี้.

ผิว่า เทศนานี้จัดเข้าในวิมาน ๓๖ มีวัตถุตตมทายิกาวิมานเป็นต้น

เป็นไปแล้ว ด้วยการชี้แจงของอาจารย์คุตติละ ดุจของท่านพระมหา-

โมคคัลลานะไซร้ ก็จัดเข้าในคุตติลวิมานนั่นแล. แต่วิมานที่เกี่ยวกับหญิง

จัดเข้าใน อิตถิวิมาน ทั้งนั้น.

อนึ่ง พึงทราบว่า หญิงเหล่านั้น เมื่อครั้งศาสนาของพระทศพล

พระนามว่ากัสสป ได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกตลอดพุทธันดรหนึ่ง ตั้งแต่

อัตภาพที่สองด้วยเจตนาอันเกิดสืบต่อกันมาในการประพฤติธรรม ดังได้

กล่าวแล้ว ครั้นถึงศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย หญิง

เหล่านั้น ได้เกิดในภพดาวดึงส์นั้นเอง อันพระมหาโมคคัลลานะได้ถาม

ปัญหา หญิงเหล่านั้นก็ได้ตอบปัญหา เหมือนอย่างในเวลาที่อาจารย์คุตติละ

ถาม เพื่อให้เห็นผลกรรมคล้าย ๆ กัน.

จบอรรถกถาคุตติลวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

๖. ทัททัลลวิมาน

ว่าด้วยทัททัลลวิมาน

[๓๔] นางภัททาเทพธิดาผู้พี่สาว ได้ถามนางสุภัททาเทพธิดาผู้

น้องสาวว่า

ท่านรุ่งเรืองด้วยรัศมี ทั้งเป็นผู้เรื่องยศ ย่อม

รุ่งโรจน์ล่วงเทพเจ้าชาวดาวดึงส์ทั้งหมด ด้วยรัศมี

ดีฉันไม่เคยเห็นท่าน เพิ่งจะมาเห็นในวันนี้เป็นครั้ง

แรก ท่านมาจากเทวโลกชั้นไหน จงมาเรียกดีฉัน

โดยชื่อเดิมว่า ภัททา ดังนี้เล่า.

นางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวตอบว่า

ข้าแต่พี่ภัททา ฉันชื่อว่าสุภัททา ในภพก่อน

ครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ ดีฉันได้เป็นน้องสาวของพี่ ทั้ง

ได้เคยเป็นภริยาร่วมสามีเดียวกับพี่มาด้วย ดีฉันตาย

จากมนุษยโลกนั้นมาแล้ว ได้มาเกิดเป็นเทพธิดา

ประจำสวรรค์ชั้นนิมมานรดี.

นางภัททาเทพธิดาจึงถามต่อไปอีกว่า

ดูก่อนแม่สุภัททา ขอเธอได้บอกการอุบัติของ

เธอในหมู่เทพเจ้าเหล่านิมมานรดี ซึ่งเป็นที่ ๆ สัตว์

ได้สั่งสมบุญกุศลไว้มาก แล้วจึงได้มาบังเกิด เธอ

ได้มาเกิดในที่นี้เพราะทำบุญกุศลสิ่งใดไว้ และใคร

เป็นครูผู้แนะนำสั่งสอนเธอ เธอเป็นผู้เรืองยศ และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

ถึงความสุขพิเศษไพบูลย์เช่นนี้ เพราะได้ให้ทาน

และรักษาศีลเช่นไรไว้ ดูก่อนแม่เทพธิดา ฉันถาม

เธอแล้ว นี่เป็นผลแห่งกรรมอะไร โปรดตอบฉันด้วย.

นางสุภัททาเทพธิดาตอบว่า

เมื่อชาติก่อน ดีฉันมีใจเลื่อมใส ได้ถวาย

บิณฑบาต ๘ ที่ แก่สงฆ์ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ๘ รูป

ด้วยมือของตน เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะ

งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ

เพราะบุญกรรมนั้น.

นางภัททาเทพธิดาได้ถามต่อไปอีกว่า

พี่เลี้ยงดูพระภิกษุทั้งหลาย ผู้สำรวมดี ผู้

ประพฤติพรหมจรรย์ ให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวและ

น้ำ ด้วยมือของตนเอง มากกว่าเธอ ครั้นให้ทาน

มากกว่าเธอแล้ว ก็ยังได้บังเกิดในเหล่าเทพเจ้าต่ำ

กว่าเธอ ส่วนเธอได้ถวายทานเพียงเล็กน้อย อย่างไร

จึงมาได้ผลอย่างพิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้เล่า แน่ะแม่

เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลแห่งกรรมอะไร

โปรดตอบฉันด้วย.

นางสุภัททาเทพธิดาตอบว่า

เมื่อชาติก่อน ดีฉันได้เห็นพระภิกษุผู้อบรม

ทางจิตใจเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ จึงได้นิมนต์ท่านรวม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

๘ รูปด้วยกัน มีพระเรวตเถระเป็นประธาน ด้วย

ภัตตาหาร ท่านพระเรวตเถระนั้นมุ่งจะให้เกิดประ-

โยชน์ อนุเคราะห์แก่ดีฉัน จึงบอกดีฉันว่า จงถวาย

สงฆ์เถิด ดีฉันได้ทำตามคำของท่าน ทักขิณาของ

ดีฉันนั้นจึงเป็นสังฆทาน ดีฉันให้เข้าไปตั้งไว้ในสงฆ์

เป็นทานที่ไม่อาจปริมาณผลได้ว่า มีอยู่เท่าไร ส่วน

ทานที่คุณพี่ได้ถวายแก่ภิกษุ ด้วยความเลื่อมใสเป็น

รายบุคคล จึงมีผลไม่มาก.

นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะรับรองความข้อนั้นจึงกล่าวว่า

พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า การถวายสังฆทานนี้ มี

ผลมาก ถ้าว่าพี่ได้ไปบังเกิดเป็นมนุษย์อีก จักเป็นผู้

รู้ความประสงค์ของผู้ขอ ปราศจากความตระหนี่

ถวายสังฆทาน และไม่ประมาทเป็นนิตย์.

เมื่อสนทนากันแล้ว นางสุภัททาเทพธิดาก็กลับไปสู่ทิพยวิมานของ

ตน บนสวรรค์ชั้นนิมมานรดี ท้าวสักกเทวราชได้ทรงสดับการสนทนา

นั้น เมื่อนางสุภัททาเทพธิดากลับไปแล้ว จึงตรัสถามนางเทพธิดาว่า

ดูก่อนนางภัททา เทพธิดาผู้นั้นเป็นใคร มา

สนทนาอยู่กับเธอ ย่อมรุ่งโรจน์กว่าเทพเจ้าเหล่า

ดาวดึงส์ทั้งหมดด้วยรัศมี.

นางภัททาเทพธิดา เมื่อจะบรรยายข้อที่สังฆทานของเทพธิดาผู้

น้องสาว ว่ามีผลมาก จึงทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ เทพ-

ธิดาผู้นั้น เมื่อชาติก่อนยังเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก

เป็นน้องสาวของหม่อมฉัน และยังได้เคยร่วมสามี

เดียวกันกับหม่อมฉันด้วย เธอสั่งสมบุญกุศลคือถวาย

สังฆทาน จึงได้ไพโรจน์ถึงอย่างนี้เพค่ะ.

สมเด็จอมรินทราธิราช เมื่อจะทรงสรรเสริญสังฆทาน จึงตรัสว่า

ดูก่อนนางภัททา น้องสาวของเธอไพโรจน์กว่า

เธอ ก็เพราะเหตุในปางก่อน คือ การถวายสังฆทาน

ที่ไม่อาจจะปริมาณแผลได้ อันที่จริง ฉันได้ทูลถาม

พระพุทธเจ้า ครั้งประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ถึง

ผลแห่งไทยธรรมที่ได้จัดแจงถวายในเขตที่มีผลมาก

ของมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญให้ทานอยู่ หรือทำบุญ

ปรารภเหตุแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย จะถวายใน

บุคคลประเภทใดจึงจะมีผลมาก พระพุทธเจ้าตรัส

ตอบข้อความนั้น แก่ฉันอย่างแจ่มแจ้งว่า ท่านผู้

ปฏิบัติเพื่ออริยมรรค ๔ จำพวก และท่านผู้ตั้งอยู่ใน

อริยมรรค ๔ จำพวก พระอริยบุคคล ๘ จำพวกนี้

ชื่อว่าสงฆ์ เป็นผู้ปฏิบัติตรงดำรงมั่นอยู่ในปัญญาและ

ศีล เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญถวายทานในท่าน

เหล่านี้ หรือทำบุญปรารภการเวียนเกิดเวียนตาย

ทานที่ถวายในสงฆ์ย่อมมีผลมาก พระสงฆ์นี้เป็นผู้มี

คุณความดีอันยิ่งใหญ่ ยังผลให้เกิดแก่ผู้ถวายทานใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

ท่านอย่างไพบูลย์ ยากที่ใครจะปริมาณว่าเท่านี้ ๆ ได้

เหมือนทะเลยากที่จะคาดคะเนได้ว่ามีนำเท่านี้ ๆ ได้

ฉะนั้น พระสงฆ์เหล่านี้แล เป็นผู้ประเสริฐสุด

เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรเป็นเยี่ยมใน

หมู่นรชน เป็นแหล่งสร้างแสงสว่าง คือ ญาณของ

ชาวโลก ได้แก่ นำเอาแสงสว่าง คือ พระสัทธรรม

ที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศไว้แล้วมาชี้แจง ปวงชนผู้

ใคร่ต่อบุญเหล่าใด ถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ ทักขิณา

ของเขาเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นทักขิณาที่ถวายดีแล้ว

เป็นยัญวิธีที่เซ่นสรวงถูกต้อง จัดเป็นบูชากรรมที่บูชา

แล้วชอบ เพราะทักขิณานั้นจัดเป็นสังฆทาน มีผล

มาก อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายผู้รู้แจ้งโลก

ทรงสรรเสริญ ชนเหล่าใดยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก มา

หวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้ เกิดปีติโสมนัส ก็จะกำจัด

มลทิน คือ ความตระหนี่พร้อมทั้งความรู้เท่าไม่ถึง

การณ์ ความลังเลในใจ และความวิปลาส อันเป็น

มูลฐานเสียได้ ทั้งจะไม่เป็นผู้ถูกผู้รู้ติเตียน ชนเหล่า

นั้นก็จะเข้าถึงสถานที่ ๆ เป็นแดนสวรรค์.

จบทัททัลลวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

อรรถกถาทัททัลลวิมาน

ทัททัลลวิมาน มีคาถาว่า ททฺทลฺลมานา วณฺเณน ดังนี้เป็นต้น.

ทัททัลลวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร อารามของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็สมัยนั้น กุฎุมพีคนหนึ่งเป็น

อุปัฏฐากของท่านพระเรวตเถระ จากนาลกคาม ได้มีธิดาสองคน คนหนึ่ง

ชื่อ ภัททา อีกคนหนึ่งชื่อ สุภัททา. ในธิดาสองคนนั้น นางภัททาไปสู่

ตระกูลสามี นางมีศรัทธาเลื่อมใสฉลาด และเป็นหมัน. นางภัททาพูดกะ

สามีว่าฉันมีน้องสาวอยู่คนหนึ่ง ชื่อสุภัททา พี่ไปนำเขามาเถิด หากน้อง

สุภัททานั้นพึงมีบุตร บุตรนั้นก็จะเป็นบุตรของฉันด้วย และวงศ์ตระกูล

นี้ก็จะไม่สูญ. สามีรับคำได้ทำตามที่ภรรยาบอก.

จึงนางภัททาได้สอนนางสุภัททาว่า น้องสุภัททา น้องต้องยินดีใน

การแจกทาน ไม่ประมาทในการประพฤติธรรม ด้วยอาการอย่างนี้

ประโยชน์ในปัจจุบันและสัมปรายภพ ก็จะอยู่ในเงื้อมมือของน้องแน่นอน.

นางสุภัททาตั้งอยู่ในโอวาทของพี่สาว ปฏิบัติตามที่พี่สาวสอน วันหนึ่ง

นางนินนท์ท่านพระเรวตเถระ เป็นรูปที่ ๘ พระเถระหวังให้นางสุภัททา

สร้างสมบุญจึงพาภิกษุ ๗ รูป โดยเป็นองค์สงฆ์ ไปเรือนของนาง. นาง

สุภัททามีจิตเลื่อมใส อังคาสท่านพระเรวตเถระและภิกษุเหล่านั้นด้วยของ

เคี้ยว ของบริโภคด้วยน้ำมือของตนเอง. พระเถระทำอนุโมทนาแล้วกลับ

ครั้นต่อมา นางสุภัททาถึงแก่กรรมไปเกิดเป็นสหายกับเทวดาชั้นนิมมานรดี.

ส่วนนางภัททาได้ให้ทานในบุคคลทั้งหลาย แล้วก็ไปเกิดเป็นบริจาริกา

ของท้าวสักกะจอมเทพ .

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

ครั้งนั้น นางสุภัททาพิจารณาถึงสมบัติของตนครุ่นคิดอยู่ว่า เรามา

เกิดในสวรรค์นี้ด้วยบุญอะไรหนอ จึงเห็นว่า เราตั้งอยู่ในโอวาทของพี่

ภัททา จึงประสบสมบัตินี้ด้วยทักษิณาที่มุ่งไปในสงฆ์ พี่ภัททาไปเกิดที่

ไหนหนอ ได้เห็นนางภัททานั้นไปเกิดเป็นบริจาริกาของท้าวสักกะ จึง

หวังจะอนุเคราะห์ ได้เข้าไปยังวิมานของนางภัททาเทพธิดา.

นางภัททาเทพธิดา จึงถามนางสุภัททาเทพธิดา ด้วยคาถา ๒

คาถาว่า

ท่านรุ่งเรืองด้วยรัศมี ทั้งเป็นผู้เรื่องยศ ย่อม

รุ่งโรจน์เกินทวยเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งหมด ด้วยรัศมี

ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นท่าน เพิ่งจะมาเห็นในวันนี้ เป็น

ครั้งแรก ท่านมาจากเทวโลกชั้นไหน จึงได้เรียก

ข้าพเจ้าโดยชื่อเดิมว่า ภัททา ดังนี้เล่า.

นางสุภัททาเทพธิดาจึงบอกแก่นางภัททาเทพธิดา ด้วยคาถา ๒

คาถาว่า

พี่ภัททา น้องชื่อสุภัททา ในภพครั้งยังเป็น

มนุษย์อยู่ น้องได้เป็นน้องสาวของพี่ทั้งได้เป็นภรรยา

ร่วมสามีกันกับพี่ด้วย น้องตายจากมนุษยโลกนั้นมา

แล้ว ได้มาเถิดเป็นเทพธิดา ร่วมกับเทวดาชั้นนิม-

มานรดี.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วณฺเณน ได้แก่ สมบัติมีวรรณะเป็นต้น.

บทว่า ทสฺสน นาภิชานามิ ได้แก่ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นท่านมาก่อนเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

อธิบายว่า ท่านอันเราไม่เคยเห็น. ด้วยเหตุนั้น นางภัตทาเทพธิดาจึง

กล่าวว่า อิท ปมทสฺสน นี่เป็นการเห็นครั้งแรก. บทว่า กสฺมา

กายา นุ อาคมฺม นาเมน ภาสเส มม ความว่า ท่านมาจากเทวโลก

ชั้นไหน จึงเรียกชื่อเดิมข้าพเจ้าว่า ภัททา.

บทว่า ภทฺเท ในบทว่า อห ภทฺเท นี้ เป็นอาลปนะ. บทว่า

สุภทฺทาทาสี ความว่า ข้าพเจ้าเคยเป็นน้องสาวของท่าน ชื่อสุภัททา.

อธิบายว่า ในภพครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ น้องเป็นภรรยาร่วมสามีเดียวกัน

กับพี่ คือเป็นภรรยามีสามีคนเดียวกัน.

นางภัททาเทพธิดา จึงถามต่อไปด้วยคาถา ๓ คาถาว่า

แม่สุภัททา เธอจงบอกถึงการอุบัติของเธอใน

หมู่เทพเจ้าเหล่านิมมานรดี ซึ่งเป็นที่ที่สัตว์ทั้งหลาย

ได้สั่งสมบุญไว้อย่างเพียงพอ จึงจะมาบังเกิดได้ เธอ

ได้มาบังเกิดในที่นี้ เพราะทำบุญสิ่งใดไว้ และใคร

เป็นผู้สั่งสอน เธอเป็นผู้รุ่งเรืองยศ และถึงความสุข

พิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้ เพราะได้ให้ทานและรักษาศีล

เช่นไรไว้ แม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลแห่ง

กรรมอะไร โปรดบอกฉันด้วย.

นางสุภัททาเทพธิดาตอบว่า

เมื่อชาติก่อน ฉันมีใจเลื่อมใส ได้ถวายบิณฑ-

บาต ๘ ที่ แก่สงฆ์ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล ๘ รูป ด้วย

มือของตนเอง เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะ

งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปหูตถตกลฺยาณา เต เทเว ยนฺติ ความว่า

สัตว์มีชีวิตทั้งหลายต้องทำความดีไว้มาก คือ มีบุญมาก จึงจะไป คือไปเกิด

ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี. โยชนาแก้ว่า เธอจงบอกกล่าวการอุบัติของตน

ในระหว่างเทพเจ้าเหล่านิมมานรดีทั้งหลายใด.

บทว่า เกน วณฺเณน ได้แก่ เหตุอะไร. เอวศัพท์ในบทว่า

กีทิเสเนว เป็นสมุจจยัตถะ (มีความรวม) ได้แก่ เช่นไร. ปาฐะว่า

อยเมว วา หรือว่านี้แล. บทว่า สุพฺพเตน คือมีวัตรงาม. อธิบายว่า

มีศีลบริสุทธิ์เป็นอย่างดี.

บทว่า อฏฺเว ปิณฺฑปาตานิ นางสุภัททาเทพธิดากล่าวหมายถึง

บิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุ ๘ รูป. บทว่า อทท แปลว่า ได้ถวายแล้ว.

เมื่อนางสุภัททาเทพธิดา บอกอย่างนี้แล้ว นางภัททาเทพธิดา จึง

ถามต่อไปว่า

พี่ได้อังคาสภิกษุทั้งหลาย ผู้สำรวม ประพฤติ

พรหมจรรย์ ด้วยข้าวและน้ำ ด้วยมือของตนเองมาก

กว่าเธอ ครั้นถวายทานมากกว่าเธอแล้ว ก็ยังเกิด

ในเหล่าเทพเจ้าต่ำกว่าเธอ ส่วนเธอได้ถวายเพียง

เล็กน้อย ทำไมจึงได้รับผลวิเศษไพบูลย์เช่นนี้เล่า

ดูก่อนเทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว จงบอกว่านี่เป็นผล

กรรมอะไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตยา เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถปัญจมีวิภัตติ.

นางสุภัททาได้บอกถึงกรรมที่ตนทำต่อไปว่า

เมื่อชาติก่อน ฉันได้เห็นภิกษุผู้อบรมจิตใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

จึงได้นิมนต์ท่านรวม ๘ รูป มีพระเรวตเถระเป็น

ประธานด้วยภัตตาหาร พระเรวตเถระมุ่งจะให้เกิด

ประโยชน์ เพื่ออนุเคราะห์แก่ฉัน จึงบอกฉันว่า จง

ถวายสงฆ์เถิด ฉันได้ทำตามคำของท่าน ทักขิณา

นั้นจึงเป็นสังฆทานอันตั้งไว้ ในสงฆ์ซึ่งหาประมาณ

มิได้ ส่วนทานที่พี่ได้ถวายแก่ภิกษุเป็นรายบุคคล จึง

มีผลไม่มาก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มโนภาวนีโย ได้แก่ ยังใจให้เจริญ คืออบรม

เพื่อคุณอันยิ่ง. บทว่า สนฺทิฏฺ ได้แก่ บอกกล่าวด้วยนิมนต์. ด้วยเหตุ

นั้น นางสุภัททาเทพธิดาจึงกล่าวว่า ตาห ภตฺเตน นิมนฺเตสึ เรวต

อตฺตนฏฺม ความว่า ได้นิมนต์ภิกษุ ๘ รูป มีพระเรวตเถระเป็นประธาน

ด้วยภัตตาหาร ความว่า ฉันนิมนต์พระคุณเจ้าเรวตะผู้อบรมใจนั้น รวม

๘ รูป กับท่าน ด้วยภัตร.

บทว่า โส เม อตฺถปุเรกฺขาโร ความว่า พระคุณเจ้าเรวตะนั้น มุ่ง

จะให้เกิดประโยชน์ คือ แสวงหาประโยชน์เพื่อฉัน โดยการทำทานที่มี

ผลมาก. บทว่า สงฺเฆ เทหีติ ม อโวจ ความว่า พระคุณเจ้าเรวตะ

ได้บอกฉันว่า ดูก่อนสุภัททา หากว่าท่านประสงค์จะถวายทานแก่ภิกษุ

๘ รูปไซร้ เพราะการถวายทานที่เป็นไปในสงฆ์มีผลมากกว่าการถวายทาน

ที่เป็นไปในบุคคล ฉะนั้น ท่านจงถวายทานในสงฆ์เถิด จงถวายทาน

เฉพาะสงฆ์เถิด ดังนี้. บทว่า ต คือ ทานนั้น.

เมื่อนางสุภัททาเทพธิดากล่าวอย่างนี้แล้ว นางภัททาเทพธิดา เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

จะรับรองความข้อนั้น และประสงค์จะปฏิบัติอย่างนั้นให้ยิ่ง ๆ ขึ้น จึง

กล่าวคาถาว่า

พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า การถวายสังฆทานมีผลมาก

หากพี่ไปเกิดเป็นมนุษย์อีก จักเป็นผู้รู้ความประสงค์

ของผู้ขอ จักเป็นผู้ปราศจากความตระหนี่ ถวาย

สังฆทานและไม่ประมาทเป็นนิจ.

ส่วนนางสุภัททาเทพธิดาก็กลับไปสู่เทวโลกของตน. ลำดับนั้น

ท้าวสักกะจอมเทพ ทอดพระเนตรเห็นนางสุภัททาเทพธิดา รุ่งเรือง

ครอบงำทวยเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งหมดด้วยรัศมีแห่งสรีระ และได้สดับการ

สนทนาของเทพธิดาทั้งสอง เมื่อนางสุภัททาเทพธิดาหายไปในทันใดนั้น

เอง เมื่อไม่รู้จักชื่อ จึงตรัสถามนางภัททาเทพธิดาว่า

ดูก่อนนางภัททา เทพธิดาผู้นั้นเป็นใคร มา

สนทนาอยู่กับเธอ มีรัศมีรุ่งโรจน์กว่าเทวดาชั้น

ดาวดึงส์ทั้งหมด.

นางภัททาเทพธิดาจึงทูลแด่ท้าวสักกะว่า

ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ เทพธิดา

ผู้นั้น เมื่อชาติก่อนเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็น

น้องสาวของหม่อมฉัน และยังเคยร่วมสามีเดียวกัน

กับหม่อมฉันด้วย เธอทำบุญถวายสังฆทานจึงรุ่งเรือง

ถึงเพียงนี้ เพคะ.

จึงท้าวสักกะเมื่อจะสรรเสริญความที่สังฆทานมีผลมากจึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

ดูก่อนนางภัททา น้องสาวของเธอรุ่งเรืองกว่า

เธอ ก็เพราะในชาติก่อนได้ถวายสังฆทานซึ่งมีผลไม่

มี่ที่เปรียบได้ ความจริง ฉันได้ทูลถามพระพุทธเจ้า

ครั้งประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ถึงผลแห่งไทยธรรม

ที่ให้แล้วในเขตที่มีผลมากของมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญ

ให้ทานอยู่ หรือทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนเกิด

เวียนตาย จะถวายในบุคคลประเภทใด จึงจะมีผล

มาก. พระพุทธเจ้าตรัสตอบข้อความนั้นแก่ฉันอย่าง

แจ่มแจ้ง ถึงผลแห่งการถวายทานในเขตที่มีผลมาก

กว่า ท่านผู้ปฏิบัติอริยมรรค ๔ และท่านผู้ตั้งอยู่ใน

อริยผล ๔ ชื่อว่าสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง ตั้งมั่นอยู่ใน

ปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญถวายทาน

ในท่านเหล่านี้ หรือทำบุญปรารภการเวียนเกิดเวียน

ตาย ทานที่ถวายในสงฆ์ย่อมมีผลมาก.

พระสงฆ์แลเป็นผู้มีคุณยิ่งใหญ่ไพบูลย์ ไม่มีที่

เปรียบได้ เหมือนทะเลยากที่จะคาดคะเนได้ว่ามีน้ำ

เท่านี้ ๆ ได้. ฉะนั้น พระสงฆ์เหล่านี้แลเป็นผู้ประ-

เสริฐสุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร

เป็นเยี่ยมในหมู่นรชน เป็นผู้ทำแสงสว่าง ได้แก่นำแสง

สว่าง คือพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว

มาชี้แจง เขาเหล่าใดถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ ทักขิณา

ของเขาเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นทักขิณาที่ถวายดีแล้ว เช่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

สรวงดีแล้ว บูชาชอบแล้ว เพราะทักขิณานั้นจัดเป็น

สังฆทาน มีผลมาก อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้รู้แจ้ง

โลก ทรงสรรเสริญ ชนเหล่าใดยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก

ระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้ กำจัดมลทิน คือความตระหนี่

พร้อมด้วยรากเหง้า ไม่มีใครติเตียนได้ ชนเหล่านั้น

ย่อมเข้าถึงฐานะอันเป็นสวรรค์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน คือ โดยเหตุ หรือโดยความถูกต้อง.

บทว่า ตยา เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ.

บัดนี้ท้าวสักกะเมื่อจะทรงแสดงถึงเหตุที่กล่าวว่า ธมฺเมน ดังนี้นั้น

จึงตรัสว่า ย สงฺฆสฺมึ อปฺปเมยฺเย ปติฏฺาเปสิ ทกฺขิณ การถวาย

สังฆทานไม่มีอะไรเปรียบได้. บทว่า อปฺปเมยฺเย ได้แก่ ไม่อาจคาด

คะเนด้วยคุณภาพ และผลวิเศษของการกบุคคลที่ถวายในท่านได้.

ท้าวสักกะเมื่อจะทรงแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับความนี้

เฉพาะพระพักตร์ และทรงกำหนดเฉพาะพระพักตร์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า

ปุจฺฉิโต ฉันได้ทูลถามแล้ว ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยชมานาน คือ ให้อยู่. แสดงถึงการ

ลบนิคหิต ในบทว่า ปุญฺเปกฺขาน ปาณิน ได้แก่ ของสัตว์ทั้งหลาย

ผู้หวังผลแห่งบุญ. บทว่า โอปธิก คือ ขันธ์ ๕ ชื่ออุปธิ ชื่อว่า โอปธิกะ

เพราะสร้างขันธ์ ๕ เป็นปกติ หรือขวนขวายให้เกิดขันธ์ ได้แก่ ให้เกิด

อัตภาพ คือให้วิบากอันเป็นไปในปฏิสนธิ.

บทว่า ชาน กมฺมผล สก ได้แก่ รู้บุญและผลแห่งบุญของสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

ทั้งหลายด้วยตนเอง ดุจมะขามป้อมบนฝ่ามือฉะนั้น หรือบทว่า สก ท่าน

แผลง เป็น อธิบายว่า สย อตฺตนา คือด้วยตนเอง.

บทว่า ปฏิปนฺนา ได้แก่ ปฏิบัติอยู่ คือทั้งอยู่ในมรรค. บทว่า

อุชุภูโต ได้แก่ ทักขิไณยบุคคลผู้ถึงความเป็นผู้ตรงด้วยการปฏิบัติตรง.

บทว่า ปญฺาสฺลสมาหิโต ได้แก่ ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญาและศีล เป็น

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิและศีล คือประกอบแล้วด้วยทิฏฐิอันเป็นอริยะ และ

ด้วยศีลอันเป็นอริยะ. ท่านชี้ถึงความเป็นสงฆ์ชั้นเยี่ยมของผู้ถึงพร้อมด้วย

ทิฏฐิและศีลนั้น ด้วยบทว่า อุชุภูโต นั้น. ก็ชื่อว่า สงฆ์ เพราะสืบ

ต่อกันมาด้วยทิฏฐิและศีลเสมอกัน. อีกอย่างหนึ่ง จิตตั้งมั่นแล้ว เป็นสมาธิ.

ชื่อว่า ปญฺาสีลสมาหิโต เพราะมีปัญญา ศีล และสมาธิ. ท่านชี้ถึง

ความเป็นทักขิไณยบุคคลของสงฆ์นั้นเพราะเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยไตร-

สิกขา เป็นต้น ด้วยบทว่า ปญฺาสีลสมาหิโต นั้น.

บทว่า วิปุโล มหคฺคโต ชื่อว่า มหัคคตะ เพราะพระสงฆ์ถึง

ความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยคุณทั้งหลาย. ชื่อว่า วิปุละ เพราะเป็นเหตุให้เกิด

ผลไพบูลย์แก่การกบุคคลผู้ถวายทานในท่าน. บทว่า อุทธีว สาคโร

ความว่า พระสงฆ์นั้นว่าโดยคุณหาอะไรเปรียบมิได้ เหมือนอย่างสาครมีชื่อ

ว่า อุทธิ เพราะเป็นที่ทรงน้ำไว้ ยากที่จะหาอะไรเปรียบได้ว่า มีน้ำ

เท่านี้ ๆ ทะนาน. หิ ศัพท์ในบทว่า เอเตหิ เป็นนิบาตลงในอวธารณะ

มีความว่า เอเต เจว เสฏฺา พระสงฆ์เหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐที่สุด.

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ยาวตา ภิกฺขเว สงฺฆา วา คณา

วา ตถาคตสาวกสงฺโฆ เตส อคฺคมกฺขายติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย หมู่ก็ดี คณะก็ดี เรากล่าวว่า สงฆ์ผู้เป็นสาวกของตถาคต เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

เลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น ดังนี้. บทว่า นรวีรสาวกา ได้แก่ สาวก

ของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรในหมู่นรชนทั้งหลาย. บทว่า ปภงฺกรา

ได้แก่ ทำแสงสว่าง คือญาณแก่ชาวโลก. บทว่า ธมฺมมุทีรยนฺติ ได้แก่

แสดงธรรม. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ประดิษฐานแสงสว่างแห่งพระธรรมไว้ในอริยสงฆ์.

บทว่า เย สงฺฆมุทฺทิสฺส ททนฺติ ทาน ความว่า สัตว์เหล่าใด

ถวายทานมุ่งต่ออริยสงฆ์ ในสมมติสงฆ์ แม้โดยที่สุดโคตรภูสงฆ์ เป็น

อันว่าสัตว์เหล่านั้นถวายทานดีแล้ว แม้การบูชาด้วยการเคารพและต้อนรับ

ก็เป็นการบูชาดีแล้ว แม้บูชาด้วยเครื่องบูชาใหญ่ก็เป็นการบูชาดีแล้ว

เหมือนกัน. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะทักขิณานั้นจัดเป็น

สังฆทานมีผลมาก อัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว อธิบายว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งโลก ทรงสรรเสริญยกย่องชมเชยถึงทานที่

มีผลมากโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ เราไม่กล่าวว่า ปาฏิบุคลิกภาพ

มีผลมากกว่า สังฆทานด้วยปริยายอะไร ๆ เลย สังฆทานเป็นประมุข

ของผู้หวังบุญ พระสงฆ์นั่นแลเป็นประมุขของผู้บูชา และพระสงฆ์

เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้

บทว่า เอตาทิส ปุญฺมนุสฺสรนฺตา ความว่า ระลึกถึงทานที่ตน

ทำมุ่งสงฆ์เช่นนี้. บทว่า เวทชาตา ได้แก่ เกิดโสมนัส.

บทว่า วิเนยฺย มจฺเฉรมล สมูล ความว่า ความตระหนี่ชื่อว่า

เป็นมลทิน เพราะทำจิตให้เศร้าหมอง หรือว่า ความตระหนี่ด้วย มลทิน

มีริษยา โลภะและโทสะเป็นต้นด้วย ชื่อว่า มจฺเฉรมล ความตระหนี่

และมลทิน. โยชนาแก้ว่า กำจัด คือ นำออก ข่มมลทินคือความตระหนี่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

พร้อมทั้งรากเหง้ามีความไม่รู้ความสงสัย และความผันแปรเป็นต้นเสียได้

ทั้งไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงฐานะ คือ สวรรค์. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วนั่นแล.

ก็ท้าวสักกะจอมเทพทรงบอกความเป็นไปทั้งหมดนี้ แก่ท่านมหา

โมคคัลลานะด้วยคาถามีอาทิว่า ททฺทลฺลมานา วณฺเณน ดังนี้. ท่าน

มหาโมคัลลานะจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทำข้อนั้นให้เป็นเหตุเกิดเรื่องราวแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุม

พร้อมเพรียงกัน. เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชนด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาทัททัลลวิมาน

๗. เสสวดีวิมาน

ว่าด้วยเสสวดีวิมาน

เมื่อพระวังคีสเถระจะได้ถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้น จึง

สรรเสริญวิมานของเธอเสียก่อนเป็นปฐม ด้วยคาถา ๗ คาถา ความว่า

[๓๕] ดูก่อนแม่เทพธิดา อาตมาได้เห็นวิมานของท่าน

นี้ อันมุงและบังด้วยข่ายแก้วผลึก ข่ายเงินและข่าย

ทองคำ มีพื้นที่เต็มไปด้วยต้นไม้มีผลวิจิตรนานา

พรรณเป็นระเบียบเรียบร้อย น่ารื่นรมย์ เป็นวิมานซึ่ง

เกิดสำหรับผู้มีบุญ มีซุ้มประตูแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ

ที่ลานวิมานเรี่ยรายไปด้วยทรายทองงดงามมาก มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

รัศมีส่องสว่างไปทั่วทุกทิศ เหมือนพระอาทิตย์ มีรัศมี

ตั้งพัน ซึ่งกำจัดความมืดมนได้เป็นปกติในยาม

สรทกาล หรือเหมือนกับแสงเปลวเพลิงซึ่งกำลังลุก

อยู่บนยอดเขาในเวลากลางคืน หรือคล้ายกับการลืม

ตาขึ้นขณะที่ฟ้าแลบในอากาศฉะนั้น วิมานนี้เป็น

วิมานลอยอยู่ในอากาศ ก้องกังวานไปด้วยเสียงดนตรี

คือ พิณเครื่องใหญ่ กลองและกังสดาล ประโคมอยู่

มิได้ขาดระยะ สุทัสนเทพนคร อันเป็นเมืองพระ-

อินทร์ ซึ่งมั่งคั่งไปด้วยสมบัติทิพย์ฉันใด วิมานของ

ท่านนี้ก็ฉันนั้น วิมานของท่านนี้ฟุ้งไปด้วยกลิ่นหอม

อย่างยอดเยี่ยมหลายอย่างต่าง ๆ กัน คือ กลิ่นดอก

ปทุม ดอกโกมุท ดอกอุบล ดอกจงกลนี ดอกคัดเค้า

ดอกพุดซ้อน ดอกกุหลาบ ดอกอังกาบ ดอกรัง ดอก

อโศก แย้มกลีบส่งกลิ่นหอมระรื่น ทั้งตั้งอยู่ริมฝั่ง

สระโบกขรณี น่ารื่นรมย์ เรียงรายไปด้วยไม้หูกวาง

ขนุนสำมะลอ และต้นไม้กลิ่นหอม มีทั้งไม้เลื้อยชู

ดอกออกช่อหอมระรื่น ห้อยย้อยเกาะก่ายลงมาจาก

ปลายใบต้นตาล และมะพร้าว คล้ายกับข่ายแก้วมณี

และแก้วประพาฬ จัดเป็นของทิพย์ มีขึ้นสำหรับท่าน

ผู้เรืองยศ อนึ่ง ต้นไม้และดอกไม้ผลทั้งหลายซึ่งเป็น

ต้นไม้เกิดอยู่ในน้ำและบนบก ทั้งเป็นรุกขชาติมีอยู่

ในเมืองมนุษย์ และไม่มีในเมืองมนุษย์ ตลอดจน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

พรรณไม้ทิพย์ประจำเมืองสวรรค์ ก็ได้มีพร้อมอยู่ใกล้

วิมานของท่าน ท่านได้สมบัติทิพย์ทั้งนี้เป็นผลแห่ง

การประพฤติทางกาย วาจา ใจ และการฝึกฝนอินทรีย์

อย่างไร เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงมาเกิดในวิมาน

นี้.

ดูก่อนนางเทพธิดา ผู้มีขนตางอนมาก ขอท่าน

จงตอบถึงผลกรรมเป็นเหตุได้วิมานที่ท่านได้แล้วนี้ ไป

ตามคำที่อาตมาถามท่านแล้วตามลำดับด้วยเถิด.

ลำดับนั้น นางเทพธิดาตอบว่า

ก็วิมานที่ดีฉันได้แล้วนี้ มีฝูงหงส์ นกกระเรียน

ไก่ฟ้า นกกด และนกเขาไฟ เที่ยวร่อนร้องไปมา

ทั้งเต็มไปด้วยหมู่นกนางนวล นกกระทุง และพญา

หงส์ทอง ซึ่งเป็นนกทิพย์เที่ยวบินไปมาอยู่ตลอดลำน้ำ

และอึงคะนึงไปด้วยฝูงนกประเภทอื่น ๆ อีก คือ นก-

เป็ดน้ำ นกค้อนหอย นกดุเหว่าลาย นกดุเหว่าขาว

มีทั้งต้นไม้ดอก ไม้ต้น ไม้ผล อันเกิดเองหลายอย่าง

ต่างพรรณ คือ ต้นแคฝอย ต้นหว้า ต้นอโศก พระ-

คุณเจ้าขา ดีฉันได้วิมานนี้ด้วยเหตุผลอันใด ดีฉัน

จะเล่าเหตุผลอันนั้นถวายพระคุณเจ้า นิมนต์ฟังเถิด

คือ มีหมู่บ้านหมู่หนึ่งชื่อนาฬกคาม ตั้งอยู่ทางทิศ

ตะวันออกของพระนครราชคฤห์ ดีฉันเป็นบุตรสะใภ้

ประจำตระกูลของบ้านนั้นตั้งอยู่ภายในบุรี ชุมชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

ในหมู่บ้านนั้นเรียกดิฉันว่า เสสวดี ดีฉันมีใจชื่นบาน

ได้ก่อสร้างกุศลกรรมไว้ในชาตินั้น คือ ได้บูชาพระ-

ธาตุของพระธรรมเสนาบดี นามว่า อุปติสสะ ซึ่ง

เป็นที่บูชาของทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลายผู้มากไป

ด้วยคุณความดีมีศีลเป็นต้นหาประมาณมิได้ ซึ่ง

นิพพานไปแล้วด้วยเครื่องสักการะหลายอย่าง ล้วน

แต่รัตนะและดอกคำ ก็แหละครั้นบูชาพระธาตุของ

พระผู้แสวงหาซึ่งคุณอย่างยอดยิ่ง ผู้ถึงอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุแล้ว ซึ่งในที่สุดยังเหลืออยู่แด่พระธาตุ

เท่านั้น ครั้นดิฉันละกายมนุษย์นั้นแล้ว จึงได้มาเถิด

ในดาวดึงส์ชั้นไตรทศ อยู่ประจำวิมานในเทวโลก.

จบเสสวดีวิมาน

อรรถกถาเสสวดีวิมาน

เสสวดีวิมาน มีคาถาว่า ผลิกรชตเหมชาลจฺฉนฺน ดังนี้เป็นต้น.

เสสวดีวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันพาวิหาร ใกล้กรุง

สาวัตถี. สมัยนั้น ได้มีลูกสะใภ้ของตระกูลชื่อ เสสวดี ในตระกูลคหบดี

มหาศาลตระกูลหนึ่ง ณ นาลกคาม ในแคว้นมคธ.

ได้ยินว่า นางเสสวดีนั้น เมื่อเขากำลังสร้างสถูปทองประมาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

โยชน์หนึ่ง ของพระผู้มีพระภาคพระนามว่ากัสสป เป็นเด็กหญิงได้ไปยัง

ฐานเจดีย์กับมารดา ได้ถามมารดาว่า แม่จ๋า คนเหล่านี้ทำอะไรกันจ๊ะ

มารดาตอบว่า เขาทำอิฐทองคำเพื่อสร้างเจดีย์ ลูก. เด็กหญิงได้ฟังดังนั้น

มีใจเลื่อมใส บอกกะมารดาว่า แม่จ๋า ที่คอของลูกมีเครื่องประดับเล็ก ๆ

ทำด้วยทองคำ ลูกจะให้เครื่องประดับนี้เพื่อสร้างเจดีย์นะแม่ มารดาพูดว่า

ดีแล้วลูก ให้ไปเถิด แล้วก็ปลดเครื่องประดับนั้นจากคอมอบให้แก่ช่าง

ทอง กล่าวว่า เด็กหญิงคนนี้บริจาคเครื่องประดับนี้ ท่านจงใส่เครื่อง

ประดับนี้ลงไปแล้วทำอิฐเถิด. ช่างทองได้ทำตาม. ครั้นต่อมาเด็กหญิงนั้น

ได้ถึงแก่กรรม ด้วยบุญนั้นเองได้ไปบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปมาใน

เทวโลก ครั้นถึงศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ได้มาเกิดใน

นาลกคามจนอายุได้ ๑๒ ขวบตามลำดับ.

วันหนึ่ง เด็กหญิงนั้นได้รับเงินที่มารดาส่งไปให้ จึงไปตลาดแห่ง

หนึ่งเพื่อซื้อน้ำมัน. ก็ที่ตลาดนั้นบุตรกุฎุมพีคนหนึ่ง เป็นพ่อค้า กำลังขุด

เพื่อจะเอาเงินทองแก้วมุกดาแก้วมณีเป็นอันมากที่บิดาฝังเก็บไว้ ด้วยกำลัง

กรรมจึงเห็นสมบัติที่ขุดขึ้นมานั้นเป็นกระเบื้อง หิน และกรวดไปหมด

แต่นั้นจึงเอารวมเป็นกองไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อทดสอบว่าเงินและทองเป็นต้น

จักเป็นของผู้มีบุญบ้างกระมัง.

ลำดับนั้น เด็กหญิงเห็นพ่อค้าบุตรกุฎุมพีนั้นจึงถามว่า ทำไมจึงเอา

แก้วมากองไว้ที่ตลาดอย่างนี้เล่า ควรจะเอาไปไว้เป็นอย่างดีมิใช่หรือ.

พ่อค้าได้ฟังดังนั้นคิดว่า เด็กหญิงผู้นี้มีบุญมาก ของทั้งหมดนี้เป็นเงิน

เป็นต้นขึ้นมาได้ด้วยอำนาจบุญของเด็กหญิงผู้นี้ เราทั้งสองจักเป็นผู้ครอบ-

ครองร่วมกัน เราจักสงเคราะห์เด็กหญิงนั้น จึงไปหามารดาของเด็กหญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

แล้วขอว่า ท่านจงให้เด็กหญิงนี้แก่ข้าพเจ้าเพื่อจะได้บุตรเถิด แล้วให้

ทรัพย์เป็นอันมาก ทำพิธีอาวาหวิวาหมงคล นำเด็กหญิงนั้นมาสู่เรือนของ

ตน.

ต่อมา พ่อค้าผู้สามีได้เห็นศีลาจารวัตรของเด็กหญิงผู้เป็นภรรยานั้น

จึงเปิดห้องคลังแล้วถามว่า น้องเห็นอะไรในห้องคลังนี้บ้าง เมื่อภรรยา

ตอบว่า น้องเห็นเงิน ทองคำ แก้วมณีกองอยู่ จึงกล่าวต่อไปว่า ของ

เหล่านี้ได้หายไปด้วยกำลังกรรมของพี่ ด้วยบุญวิเศษของน้องจึงเป็นของ

วิเศษอย่างเดิม. เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้ไป น้องคนเดียวจงดูแลสมบัติทั้งหมด

ในเรือนนี้ พี่จักใช้เฉพาะส่วนที่น้องให้เท่านั้น ตั้งแต่นั้นมา ชนทั้งหลาย

จึงทั้งชื่อเด็กหญิงนั้นว่า เสสวดี.

ก็สมัยนั้น ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรรู้ว่าคนจะสิ้นอายุ จึงคิด

ว่า เราจักให้ค่าเลี้ยงดู แก่นางสารีพราหมณีผู้เป็นมารดาของเราแล้วจึงจัก

ปรินิพพานแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ขออนุญาตปรินิพพาน

ได้แสดงปาฏิหาริย์ครั้งใหญ่ตามพระพุทธบูชา สรรเสริญพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยบทสรรเสริญพันบท แล้วมุ่งหน้าไปจนพ้นทัศนวิสัย แต่ยังไม่

หลีกไปกลับมาถวายบังคมอีก ห้อมล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ออกจากวิหาร ให้

โอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ แล้วปลอบท่านพระอานนท์ ให้บริษัท ๔ กลับ

ไปถึงนาลกคามโดยลำดับ ให้มารดาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล รุ่งเช้าก็

ปรินิพพานที่ห้องที่ท่านเกิดนั่นเอง. เมื่อพระสารีบุตรปรินิพพานแล้ว

ทวยเทพแต่มนุษย์ทั้งหลายต่างทำสักการะศพ ล่วงไปถึง ๗ วัน พากัน

ก่อเจดีย์สูงร้อยศอกด้วยกฤษณาและไม้จันทน์.

นางเสสวดีได้ทราบข่าวการปรินิพพานของพระเถระจึงคิดว่า เราจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

ไปบูชาศพ หมายใจว่า จะให้คนรับใช้ถือผอบเต็มด้วยดอกไม้ทองคำ

และของหอมไป จึงไปลาพ่อผัว แม้พ่อผัวจะพูดว่าเจ้ามีข้าวของหนัก ๆ

และจะถูกผู้คนในที่นั้นเหยียบเอา ส่งดอกไม้และของหอมไปก็พอแล้ว จง

อยู่ในบ้านนี้แหละ นางมีศรัทธากล้าคิดว่า ถึงแม้เราจะตายลงไปในที่นั้น

เราก็จักไปทำบูชาสักการะให้ได้ นางไม่ฟังคำพ่อผัว จึงพร้อมด้วยหญิง

รับใช้พากันไป ณ ที่นั้น ยืนประณมมือบูชาด้วยของหอมและดอกไม้

เป็นต้น.

ขณะเมื่อข้าราชบริพารมาเพื่อบูชาพระเถระ ช้างตกมันเชือกหนึ่งได้

เข้าไปยังที่นั้น. เมื่อผู้คนกลัวตายพากันหนี เพราะเห็นช้างนั้น หมู่ชนได้

เหยียบนางเสสวดี ซึ่งล้มลงแล้วถูกคนเหยียบจนตาย. นางเสสวดีนั้น

กระทำบูชาสักการะมีจิตถึงพร้อมด้วยความเลื่อมใสในพระเถระ ครั้นถึง

แก่กรรมแล้วก็ไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์. นางได้มีนางอัปสรหนึ่ง

พันเป็นบริวาร.

ในทันทีนั่นเอง นางเทพธิดาแลดูทิพยสมบัติของตน ใคร่ครวญถึง

เหตุแห่งทิพยสมบัตินั้นว่า เราได้สมบัตินี้ด้วยบุญเช่นไรหนอ ครั้นเห็น

การบูชาสักการะที่ตนทำเฉพาะพระเถระ จึงมีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัย

ยิ่งขึ้น นางประดับร่างกายด้วยเครื่องประดับบรรทุกเกวียนได้ ๖๐ เล่ม

เกวียน แวดล้อมด้วยนางอัปสรหนึ่งพันเพื่อถวายบังคมพระศาสดา ด้วย

เทพฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ ยังสิบทิศให้สว่างไสวดุจพระจันทร์และดุจพระอาทิตย์

มาพร้อมกับวิมาน ลงจากวิมานยืนประคองอัญชลี ถวายบังคมพระผู้มี-

พระภาคเจ้า. ขณะนั้นท่านพระวังคีสะนั่งอยู่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง

ทูลกะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ปัญหาย่อมปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

แก่ข้าพระองค์ เพื่อจะทูลถามถึงกรรมที่เทพธิดานี้กระทำไว้. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า วังคีสะ ปัญหาจงปรากฏแก่เธอเถิด ดังนี้. จึงท่าน

วังคีสะประสงค์จะถามถึงกรรมที่เทพธิดานั้นทำไว้ เมื่อจะสรรเสริญวิมาน

ของเทพธิดานั้นเสียก่อนเป็นปฐม จึงกล่าวว่า

ดูก่อนเทพธิดา อาตมาได้เห็นวิมานของท่านนี้มุง

ด้วยแก้วผลึก ข่ายเงินและข่ายทองคำ มีพื้นวิจิตร

หลายอย่าง น่ารื่นรมย์ เป็นภพที่น่าอยู่ เนรมิตไว้

เป็นอย่างดี มีซุ้มประตูแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ที่

ลานวิมานเรี่ยรายไปด้วยทรายทอง งดงามมาก ส่อง

แสงไปทั่วสิบทิศ เหมือนพระอาทิตย์บนท้องฟ้า มี

รัศมีตั้งพัน กำจัดความมืดได้ในสรทกาล วิมานของ

ท่านนี้ย่อมส่องแสงเหมือนกับแสงเปลวไฟ ซึ่งกำลัง

ลุกอยู่บนยอดภูเขาในเวลากลางคืน หรือคล้ายกับการ

ลืมตาขึ้นขณะที่ฟ้าแลบในอากาศฉะนั้น วิมานนี้เป็น

วิมานลอยอยู่บนอากาศ ก้องกังวานไปด้วยเสียงดนตรี

คือ พิณ กลอง และกังสดาล ประโคมอยู่มิได้ขาด

ระยะ สุทัสนเทพนครอันเป็นเมืองพระอินทร์ ซึ่ง

มั่งคั่งไปด้วยสมบัติทิพย์ฉันใด วิมานของท่านนี้ก็

ฉันนั้น วิมานของท่านนี้ฟุ้งไปด้วยกลิ่นหอมอย่าง

เยี่ยมหลายอย่างต่าง ๆ กัน คือกลิ่นดอกปทุม ดอก-

โกมุท ดอกอุบล ดอกจงกลนี ดอกคัดเค้า ดอก-

พุดซ้อน ดอกกุหยาบ ดอกอังกาบ ดอกรัง ดอกอโศก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

แย้มกลีบส่งกลิ่นหอม ทั้งตั้งอยู่บนริมฝั่งสระโบกขรณี

น่ารื่นรมย์ เรียงรายไปด้วยไม้หูกวาง ขนุนสำมะลอ

และต้นไม้กลิ่นหอม มีทั้งไม้เลื้อย ชูดอกออกช่อ

หอมระรื่น ห้อยย้อยเกาะก่ายลงมาจากใบต้นตาล

และมะพร้าว คล้ายกับข่ายแก้วมณี และแก้วประ-

พาฬ อันเป็นของทิพย์ มีขึ้นสำหรับท่านผู้เรื่องยศ

อนึ่ง ต้นไม้และดอกไม้ผลไม้ ซึ่งเกิดอยู่ในน้ำ และ

บนบก ทั้งเป็นรุกขชาติที่มีอยู่ในเมืองมนุษย์ และ

ไม่มีในเมืองมนุษย์ ตลอดจนพรรณไม้ทิพย์ประจำ

เมืองสวรรค์ ก็ได้มีพร้อมอยู่ใกล้วิมานของท่าน ท่าน

ได้สมบัติทิพย์ ทั้งนี้เป็นผลแห่งการประพฤติชอบ

ทางกาย วาจา ใจ และการสำรวม การฝึกฝน

อินทรีย์อย่างไร เพราะผลกรรมอะไร ท่านจึงมาเกิด

ในวิมานนี้.

ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีขนตางอนงาม. ขอท่านจง

ตอบถึงผลกรรม เป็นเหตุได้วิมานที่ท่านได้แล้วนี้

ตามคำที่อาตมาถามเถิด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ผลิกรชตเหมชาลจฺฉนฺน ได้แก่ เราได้

เห็น คือเห็นวิมานมุงบังด้วยแก้วผลึก และด้วยข่ายเงินและข่ายทองคำ

ทั้งข้างล่างข้างบนมุงบังโดยรอบด้วยฝาทำด้วยแก้วผลึก และด้วยข่ายทำ

ด้วยเงินและทองคำ มีพื้นวิจิตรหลายอย่าง โดยพื้นมีสีต่าง ๆ และจัดไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

อย่างสวยงาม. บทว่า สุรมฺม ได้แก่ น่ารื่นรมย์ด้วยดี. วิมานชื่อว่า

พยมฺห เพราะเป็นที่ที่ผู้มีบุญอยู่ ได้แก่ ภพ. บทว่า โตรณูปปนฺน

ได้แก่ ประกอบซุ้มประตูแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ วิจิตรไปด้วยดอกไม้

ประดับหลายชนิด. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โตรณ เป็นชื่อของซุ้มประตู

ปราสาท. วิมานนั้นประกอบด้วยซุ้มประตูนั้น ซึ่งมีการตกแต่งอย่างวิจิตร

หลายชั้น. บทว่า รุจกุปกิณฺณ ได้แก่ วิมานมีลานเรี่ยรายไปด้วยทราย

ทอง. เพราะทรายมีสีเหมือนทอง เช่นเดียวกับทราย ทรายนั้นแหละ

ท่านเรียกว่า รุจกะ. บทว่า สุภ คือ งาม. หรือชื่อว่า สุภะ เพราะย่อม

ส่องแสงไปด้วยดี. บทว่า วิมาน คือ เห็นสูงที่สุด ได้แก่ ใหญ่โดย

ประมาณ.

บทว่า ภาติ ได้แก่ ส่องแสง คือรุ่งเรือง. บทว่า นเภ ว สุริโย

คือดุจดวงอาทิตย์ในอากาศ. บทว่า สรเท คือ ในสรทสมัย. บทว่า

ตโมนุโท คือ กำจัดความมืด. บทว่า ตถา ตปติมิท คือ เหมือนดวง

อาทิตย์มีรัศมีตั้งพันในสรทกาล. อนึ่ง วิมานของท่านนี้ส่องแสง คือ

สว่างไสว. อักษรเป็นบทสนธิ (ม อาคม). บทว่า ชลมิว ธูมสิโข

คือ ดุจไฟโพลงอยู่. จริงอยู่ ไฟท่านเรียกว่า ธูมสิขะและธูมเกตุ เพราะมี

ควันปรากฏบนยอดไฟนั้น. บทว่า นิเส คือ โปรย ได้แก่ ในกลางคืน.

บทว่า นภคฺเค คือ ส่วนของฟ้า. ท่านอธิบายว่า ท้องที่บนอากาศ. ปาฐะ

ว่า นคคฺเค ได้แก่ ยอดภูเขา. โยชนาแก้ว่า วิมานของท่านนี้.

บทว่า มุสตี ว นยน ความว่า ดุจลืมตามองดู กระทบเข้ากับ

แสงสว่างมากเกินไป ทำให้มองไม่เห็น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าว สเตรตา

วา อธิบายว่า ดุจสายฟ้าแลบ. บทว่า วีณามุรชสมฺมตาลฆุฏฺ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

กึกก้องกังวานไปด้วยเสียงพิณเครื่องใหญ่ กลอง ฉาบ และกังสดาล.

บทว่า อิทฺธ ได้แก่ มากไปด้วยเทพบุตร เทพธิดา และทิพยสมบัติ.

บทว่า อินฺทปุร ยถา คือ ดุจสุทัสนนคร.

ดอกปทุม ดอกโกมุท ดอกอุบล ดอกจงกลนี ท่านกล่าวรวม

กันว่า ปทุมกุมุทอุปฺปลกุวลย. พึงเพิ่มคำว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่ลงไป.

ในบทนั้น แม้บุณฑริกท่านก็ใช้ศัพท์ว่า ปทุม. ดอกโกมุททุกชนิดทั้ง

ประเภทสีขาวและแดงท่านใช้ศัพท์ว่า กุมุท. ดอกอุบลสีแดง หรือ

ดอกอุบลทุกชนิดท่านใช้ศัพท์ว่า อุปปละ พึงทราบว่า นีลุปละ (บัวขาบ)

เท่านั้น ท่านใช้ศัพท์ว่า กุวลยะ จ ศัพท์ ในบทว่า โยธิกพนฺธุก-

โนชกา จ สนฺติ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า มีดอกพุดซ้อน ดอกชบา

ดอกอังกาบ. อาจารย์บางพวกกล่าวปาฐะว่า อโนชกาปิ สนฺติ มีดอก-

อังกาบ และกล่าวเป็นใจความว่า เป็นอันท่านกล่าวว่า อโนชกาปิ ดังนี้.

บทว่า สาลกุสุมิตปุปฺผิตา อโสกา พึงประกอบว่า ดอกรัง ดอกอโศก

แย้มบานดังนี้. บทว่า วิวิธทุมคฺคสุคนฺธเสวิตมิท ความว่า วิมานของ

ท่านนี้อบอวลไปด้วยกลิ่นหอมระรื่นของรุกขชาติยอดเยี่ยมหลายอย่าง.

บทว่า สฬลลพุชภุชกสยุตฺตา ได้แก่ เรียงรายไปด้วยต้นหูกวาง

ขนุนสำมะลอ และต้นไม้มีกลิ่นหอมตั้งอยู่ริมฝั่ง. ต้นไม้มีกลิ่นหอม

ต้นหนึ่ง ชื่อภุชกะ มีอยู่ในเทวโลก และที่ภูเขาคันธมาทน์. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า ไม่มีในที่อื่น.

บทว่า กุสกสุผุลฺลิตลตาวลมฺพินี โยชนาแก้ว่า ประกอบด้วยไม้

เลื้อยห้อยย้อยลงมาจากใบตาลและใบและใบมะพร้าว และเถาดอกไม้บานสะพรั่ง

มีเถาวัลย์เป็นสายต่อกันลงมา. บทว่า มณิชาลสทิสา ได้แก่ รุ่งเรือง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

เช่นกับข่ายแก้วมณี. บาลีว่า มณิชลสทิสา บ้าง แปลว่า คล้ายกับแสง

แก้วมณี อธิบายว่า รุ่งเรืองเช่นกับแก้วมณี. บทว่า ยสสฺสินี เป็นคำ

เรียกเทพธิดา. บทว่า อุปฏฺิตา เต ความว่า สระโบกขรณีน่ารื่นรมย์

มีคุณค่าตามทีกล่าวแล้วตั้งอยู่ใกล้วิมานของท่าน.

บทว่า อุทกรุหา พระวังคีสเถระกล่าวหมายถึงดอกปทุมเป็นต้น

ดังที่กล่าวแล้ว. บทว่า เยตฺถิ ตัดบทเป็น เย อตฺถิ. บทว่า ถลชา

ได้แก่ คัดเค้า. บทว่า เย จ สนฺติ ได้แก่ รุกขชาติเหล่าอื่น ที่มีดอก

และมีผล มีอยู่ใกล้วิมานของท่าน.

บทว่า กิสฺส สยมทมสฺสย วิปาโก ความว่า นี้เป็นผลของความ

สำรวมเช่นไร ในการสำรวมทางกายเป็นต้น และของการฝึกเช่นไรใน

การฝึกอินทรีย์เป็นต้น. บทว่า เกนาสิ พระวังคีสเถระกล่าวว่า เพราะ

ผลกรรมอะไร ท่านจึงเกิดในที่นี้ คือผลกรรมอื่นทำให้เกิดขึ้นเอง ผลกรรม

อื่นทำให้เกิดอุปโภคสุข แล้วกล่าวต่อไปว่า ท่านได้วิมานนี้มาได้อย่างไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กมฺมผเลน เป็นบทเหลือมาจากคำว่า กมฺมผเลน

วิปจฺจิตุ อารทฺเธน มีผลกรรมเริ่มจะให้ผล. บทว่า กมฺมผเลน นี้ เป็น

ตติยาวิภัตติลงในลักษณะอิตถัมภูต (มี, ด้วย, ทั้ง). บทว่า ตทนุปท

อวจาสิ ความว่า ขอท่านจงตอบถึงกรรมนั้นตามลำดับ คือ ตามสมควร

แก่เรื่องราวที่อาตมาถามเถิด. บทว่า อุฬารปมุเข ได้แก่ มีขนตางอนงาม.

อธิบายว่า มีดวงตาเหมือนดวงตาลูกโค.

ลำดับนั้น เทพธิดาตอบว่า

ก็วิมานที่ดีฉันได้แล้วนี้ มีฝูงหงส์ นกกระเรียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

ไก่ฟ้า นกกด และนกเขาไฟ เที่ยวร่อนร้องไปมา

ทั้งเต็มไปด้วยหมู่นกนางนวล นกกระทุง พญาหงส์

ซึ่งเป็นนกทิพย์ ซึ่งบินไปมาอยู่ตามลำน้ำ และอึง

คะนึงไปด้วยฝูงนกประเภทอื่น ๆ อีก คือนกเป็ดน้ำ

นกค้อนหอย นกดุเหว่าลาย นกดุเหว่าขาว มีทั้ง

ต้นไม้ดอก ไม้ต้นไม้ผล อันเกิดเองหลายอย่าง

เช่นต้นแคฝอย ต้นหว้า ต้นอโศก ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ ดีฉันได้วิมานนี้มาด้วยเหตุอันใด ดีฉันจะเล่า

เหตุอันนั้นถวาย นิมนต์ฟังเถิด คือมีหมู่บ้านหมู่หนึ่ง

ชื่อว่า นาลกคาม ตั้งอยู่ทางทิศเบื้องหน้าของแคว้น

มคธ ดีฉันเป็นบุตรสะใภ้ประจำตระกูลของบ้านนั้น

อันตั้งอยู่ภายในบุรี ประชาชนในหมู่บ้านนั้น เรียก

ดีฉันว่าเสสวดี ดีฉันมีน้ำใจชื่นบาน ได้สร้างกุศล-

กรรมไว้ในชาตินั้น คือได้บูชาพระธาตุของพระธรรม-

เสนาบดี นามว่า อุปติสสะ ซึ่งเป็นที่บูชาของ

ทวยเทพและมนุษย์ทั้งหลายผู้มากไปด้วยคุณความดี

มีศีลเป็นต้นหาประมาณมิได้ ซึ่งนิพพานไปแล้ว

ด้วยเครื่องสักการะหลายอย่าง ล้วนแต่รัตนะและ

ดอกดำ ครั้นบูชาพระธาตุของท่านผู้แสวงหาคุณ

อย่างยอดยิ่ง ผู้ถึงอนุปาทิเสสนิพพานแล้ว ซึ่งใน

ที่สุดยังเหลือแต่พระธาตุเท่านั้น ครั้นดีฉันละกาย

มนุษย์นั้นแล้ว จึงได้มาเกิดในดาวดึงส์สวรรค์ชั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

ไตรทศอยู่ประจำวิมานในเทวโลกนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โกญฺจมยุรจโกรสงฺฆจริต ได้แก่ หมู่นก-

กระเรียน ไก่ฟ้า นกกด นกเขาไฟและไก่ฟ้า เที่ยวไปมาในที่นั้น ๆ.

บทว่า ทิพฺยปิลวหสราชจิณฺณ ได้แก่ พญาหงส์ ซึ่งเป็นนกน้ำมี

ชื่อว่า ปิลวะ เพราะล่องลอยไปในน้ำ เที่ยวไปในที่นั้น ๆ. บทว่า

ทิชการณฺฑวโกกิลาภินาทิต ได้แก่ อึงคะนึงไปด้วยนกเป็ดน้ำ นกกระทุง

นกดุเหว่า และนกอื่น ๆ.

บทว่า นานาสนฺตานกปุปฺผรุกฺขวิวิธา ได้แก่ ไม้ดอกต่าง ๆ คือ

ไม้ดอกเกิดเองหลายชนิด มีกิ่งใหญ่กิ่งเล็กหลายอย่างต่างพรรณ. จากไม้

ดอกเหล่านั้น มีสีหลายอย่างลักษณะงดงาม ชื่อว่าไม้ดอกเกิดเองหลาย

ชนิด. ควรจะกล่าวว่า วิวิธ แต่ท่านกล่าวว่า วิวิธา. บทว่า สนฺตานกา

ได้แก่ เถาวัลย์ที่เกิดเอง. อนึ่ง มีไม้ดอกหลายอย่างอยู่ในเถาวัลย์นั้น. อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า นานาสนฺตานกปุปฺผรุกฺขวิวิธา เพราะมีไม้ดอกเหล่านั้น

หลายอย่าง ได้แก่ ไม้ดอกเกิดเองหลายชนิด. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

ปาฏลิชมฺพุอโสกรุกฺขวนฺต มีต้นแคฝอย ต้นหว้าและต้นอโศก. ควรนำ

บทว่า ปุปฺผรุกฺขา สนฺติ มีไม้ดอกมาเชื่อมกับบทนั้น. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ปุปฺผรุกฺข ยังไม่ได้แจกวิภัตติ. ท่านจึงกล่าวว่า ปุปฺผรุกฺข.

บทว่า มคธวรปุรตฺถิเมน คือตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกในแคว้นมคธ

เพราะทางทิศตะวันออกในแคว้นมคธนั้นเป็นที่ที่ตรัสรู้. บทว่า ตตฺถ

อโหสิ ปุเร สุณิสา ความว่า เมื่อก่อนดีฉันได้เป็นลูกสะใภ้ในตระกูล

คหบดีตระกูลหนึ่งในนาลกคามนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

บทว่า สา แปลว่า นี้. ชื่อว่า อัตถธัมมกุสล เพราะเป็นผู้ฉลาด

ในอรรถและในธรรม คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า. ชื่อว่า อปจิตตฺถ-

ธมฺมกุสโล เพราะมีความฉลาดในอรรถและธรรมสิ้นไปแล้ว คือ พระ-

ธรรมเสนาบดี. พระธรรมเสนาบดีนั้นในรูปแล้ว จึงชื่อว่า อปจยะ

(สิ้นไป ) คือนิพพาน. ฉลาดในนิพพานนั้น และในอรรถและธรรม

ไม่มีเหลือ. อีกอย่างหนึ่ง ฉลาดในอรรถในธรรม คือ ในนิโรธและมรรค

อันน่านับถือ คือน่าบูชา. ชื่อว่า มหนฺต (ใหญ่ ) เพราะประกอบด้วย

ศีลขันธ์เป็นต้นอันยิ่งใหญ่. บทว่า กุสุเมหิ ได้แก่ ด้วยดอกไม้ทำด้วย

รัตนะและด้วยอย่างอื่น.

บทว่า ปรมคติคต ได้แก่ บรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า

สมุสฺสย คือร่างกาย. บทว่า ติทสคตา ได้แก่ ไปสวรรค์ชั้นไตรทศ

คือเข้าถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์. บทว่า อิธ ได้แก่ ในเทวโลกนี้. บทว่า

อวสามิ าน คืออยู่ประจำวิมานนี้ . บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำกถามรรค ที่ท่านพระวังคีสะและเทพ

ธิดากล่าวให้เป็นเรื่องเกิดขึ้น แล้วจึงทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุม

กันโดยพิสดาร. เทศนาได้มีประโยชน์แก่มหาชน ด้วยประการฉะนี้

จบอรรถกถาเสสวดีวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

๘. มัลลิกาวิมาน

ว่าด้วยมัลลิกาวิมาน

พระนารทเถระได้ถามนางมัลลิกาเทพธิดาว่า

[๓๖] ดูก่อนนางเทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งห่มและธง

ล้วนแต่สีเหลือง ประดับประดาด้วยเครื่องก็ล้วนเหลือง

เธอถึงจะไม่ประดับด้วยเครื่องประดับอันงดงามเหลือง

อร่ามเช่นนี้ ก็ยังงามโดยธรรมชาติ ดูก่อนนางเทพ-

ธิดา ผู้มีเครื่องประดับล้วนแต่ทองคำธรรมชาติ

แก้วไพฑูรย์ จินดา มีกายาปกคลุมไว้ด้วยร่างแห

ทองคำเหลืองอร่าม เป็นระเบียบงดงามด้วยสายแก้ว

สีต่าง ๆ สายแก้วเหล่านั้น ล้วนแต่สำเร็จด้วยทองคำ

ธรรมชาติ แก้วทับทิม แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์

บางสายก็ล้วนแล้วด้วยแก้วลายคล้ายตาแมว บ้างก็

สำเร็จด้วยแก้วแดงคล้ายสีเลือด บ้างก็สำเร็จด้วย

แก้วอันสดใสเหมือนสีตานกพิราบ เครื่องประดับ

ทั้งหมดที่ตัวของท่านนี้ทุก ๆ สาย ยามต้องลมพัด

มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงนกยูง พญูาหงส์ทองหรือ

เสียงนกการเวก หรือมิฉะนั้นก็เสียงเบญจางคดุริย-

ดนตรี ที่พวกคนธรรพ์พากันบรรเลงเป็นคู่ ๆ อย่าง

ไพเราะน่าฟังก็ปานกัน อนึ่ง รถของท่านงดงามมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

หลากไปด้วยเนาวรัตนนานาพรรณ อันบุญกรรมจัด

สรรมาให้จากธาตุนานาชนิด ดูมูลมองพิจิตรจรัส

จำรูญ ยามท่านยืนอยู่เหนือสุพรรณรถขับไปถึง

ประเทศใด ที่ตรงนั้นก็สว่างไสวไปทั่วถึงกัน ดูก่อน

นางเทพธิดา อาตมาถามท่านแล้ว ท่านจงตอบอาตมา

ว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

นางมัลลิกาเทพธิดาตอบว่า

พระคุณเจ้าขา ดีฉันมีร่างกายซึ่งปกปิดไว้ด้วย

ร่างแหทองคำวิจิตรไปด้วยแก้วแดงอ่อน ๆ และแก้ว

มุกดา นับว่าดีฉันคลุมร่างไว้ด้วยตาข่ายทองเช่นนี้

ก็เพราะดีฉันมีจิตผ่องใส ได้บูชาพระโคดมบรมครู

ผู้ทรงพระคุณหาประมาณมิได้ ซึ่งเสด็จเข้าสู่นิพพาน

ไปแล้ว ครั้นดีฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

สรรเสริญแล้ว จึงสร่างโศก หมดโรคภัย ได้รับ

แต่ความสุขกาย สุขใจ รื่นเริงบันเทิงใจเป็นนิตย์.

จบมัลลิกาวิมาน

อรรถกถามัลลิกาวิมาน

มัลลิกาวิมาน มีคาถาว่า ปีตวตฺเถ ปีตธเช ดังนี้เป็นต้น.

มัลลิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบำเพ็ญพุทธกิจ เริ่มต้นทรงแสดงพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

ธัมมจักกปปวัตตนสูตร จนถึงทรงโปรดสุภัททปริพาชกแล้ว ปรินิพพาน

ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในเวลาใกล้รุ่ง ณ วันเพ็ญ เดือน ๖ ในระหว่าง

ต้นสาละทั้งคู่ ณ สาลวันแห่งมัลลราช ใกล้กรุงกุสินารา พวกเทวดาและ

มนุษย์ต่างพากันทำการบูชาพระสรีระของพระองค์ ในครั้งนั้น ราชบุตรี

ของกษัตริย์มัลละเป็นภรรยาของพันธุลมัลละ ในกรุงกุสินารา ชื่อ

มัลลิกา เป็นอุบาสิกามีศรัทธาเลื่อมใส เอาน้ำหอมล้างเครื่องประดับ

มหาลดาของตน เช่นเดียวกับของนางวิสาขามหาอุบาสิกา ขัดด้วยผ้าเนื้อดี

และถือเอาของหอมและดอกไม้เป็นต้น เป็นอันมากอย่างอื่นบูชาพระสรีระ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้. ส่วนเรื่องนางมัลลิกา

โดยพิสดารมาแล้วในอรรถกถาธรรมบท.

ครั้นต่อมา นางมัลลิกานั้น สิ้นชีพิตักษัยไปบังเกิดในสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์. ด้วยอานุภาพแห่งการบูชานั้น นางมัลลิกาได้มีทิพย-

สมบัติอันโอฬาร ไม่สาธารณ์ด้วยผู้อื่น. วิมานประดับด้วยผ้า รุ่งเรืองด้วย

แก้ว ๗ ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีรัศมีสีทอง ผ่องใสยิ่งนัก ปรากฏ

เหมือนสายน้ำสีทอง แดงเรื่อโปรยลงมาจากทุกทิศ.

ครั้งนั้น ท่านพระนารทะ จาริกไปยังเทวโลกเห็นเทพธิดาจึงเข้าไป

หา. เทพธิดาครั้นเห็นท่านพระนารทะ จึงยืนประคองอัญชลีนมัสการ.

ท่านพระนารทะจึงถามเทพธิดานั้นว่า

ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งห่มและธงล้วนแต่

สีเหลือง เครื่องประดับก็ล้วนแต่สีเหลือง ท่านถึง

ไม่ประดับด้วยเครื่องประดับอันงดงาม ก็ยังงาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีเครื่องประดับล้วนแต่ทองคำ แก้ว-

ไพฑูรย์ จินดา มีกายปกคลุมด้วยร่างแหทองคำ

เหลืองอร่าม เป็นระเบียบงดงามด้วยสายแก้วต่าง ๆ

สายแก้วเหล่านั้น ล้วนสำเร็จด้วยทองคำ แก้วทับทิม

แก้วมุกดา แก้วไพฑูรย์ แก้วลายคล้ายตาแมว

แก้วแดงคลายสีเลือด บางอย่างก็สดใสเหมือนสีตา

นกพิราบ เครื่องประดับทั้งหมดที่ตัวของท่านนี้

ทุก ๆ สาย ยามต้องลมพัดมีเสียงไพเราะเหมือน

เสียงนกยูง เสียงพญาหงส์ทอง เสียงนกการเวก

มิฉะนั้นก็เสียงเบญจางคดุริยดนตรี ที่พวกคนธรรพ์

พากันบรรเลงเป็นคู่ ๆ อย่างไพเราะน่าฟัง อนึ่ง รถ

ของท่านก็งดงามมาก หลากไปด้วยรัตนะสีต่าง ๆ

อันบุญกรรมจัดสรรมาให้จากธาตุนานาชนิด ดูงดงาม

ยามท่านยืนอยู่บนรถ ขับไปถึงที่ใด ที่นั้นก็สว่างไสว

ไปทั่ว.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปีตวตฺเถ ได้แก่ มีผ้านุ่งห่มสีเหลือง เพราะ

มีแสงเหมือนทองคำอันบริสุทธิ์. บทว่า ปีตธเช ได้แก่ มีธงสีเหลือง

เพราะเป็นธงวิเศษสำเร็จด้วยทองซึ่งยกขึ้น ณ ประตูวิมานและบนรถ.

บทว่า ปีตาลงฺการภูสิเต ได้แก่ ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์สีเหลือง

ก็เครื่องอาภรณ์ของเทพธิดานั้นมีรัศมีสีเหลืองเป็นพิเศษ เพราะรุ่งเรือง

ด้วยข่ายมีรัศมีสีทองบริสุทธิ์ โดยเหตุที่เครื่องประดับเหล่านั้นเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

เพราะความประพฤติดีเช่นนั้นเป็นพิเศษ ในความวิจิตรด้วยรัตนะหลาย

อย่างล้วนรุ่งเรืองด้วยข่ายรัศมีนานาชนิด. บทว่า ปีตนฺตราหิ ได้แก่ ผ้า

ห่มสีเหลือง อันตรศัพท์ใช้ในผ้านุ่งห่มในบทมีอาทิว่า สนฺตรุตฺตรปรม

เตน ภิกฺขุนา ตโต จีวร สาทิตพฺพ ภิกษุนั้นพึงยินดีผ้านุ่งห่มเป็น

อย่างยิ่ง. แต่ในที่นี้พึงเห็นว่าใช้ใน อุตตริยะ ดุจในบทมีอาทิว่า อนฺตร-

สาฏกา ผ้านุ่ง. ศัพท์เหล่านี้คือ อนฺตรา (ผ้านุ่ง) อุตฺตริย อุตฺตรา-

สงฺโค อุปสมพฺยาน (ผ้าห่ม) เป็นปริยายศัพท์ (ศัพท์สำหรับพูด).

บทว่า วคฺคูหิ ได้แก่ ด้วยเครื่องประดับอันงดงาม. บทว่า อปิลนฺธา ว

โสภสิ ความว่า ท่านแม้ถึงจะไม่ประดับด้วยเครื่องประดับเหล่านี้ ก็งดงาม

ด้วยรูปสมบัติของตนอยู่แล้ว แต่พอเครื่องประดับเหล่านั้นสวมสรีระของ

ท่านก็งดงาม. อธิบายว่า เพราะฉะนั้น แม้ถึงท่านไม่ประดับก็คล้ายกับ

ประดับ.

บทว่า กา กมฺพุกายุรธเร ได้แก่ ดูก่อนเทพธิดา ผู้ประดับ

ด้วยเครื่องประดับแล้วไปด้วยทองคำ หรือประดับด้วยกำไรแขน แล้วไป

ด้วยทองคำ ท่านเป็นใครเกี่ยวข้องกับหมู่เทพชั้นไหน. ท่านกล่าวบทว่า

กมฺพุปริหารก ได้แก่ เครื่องประดับข้อมือ. กล่าวบทว่า กายร ได้แก่

เครื่องประดับแขน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กมฺพุ ได้แก่ ทองคำ.

เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า ผู้ประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ที่แขนแล้วด้วย

ทองคำ ชื่อว่า กมฺพุกายูรธเร. บทว่า กญฺจนาเวฬภูสิเต ได้แก่

ประดับพวงมาลัยแล้วด้วยทองคำ. บทว่า เหมชาลกสญฺฉนฺเน ได้แก่

มีสรีระคลุมด้วยข่ายทองคำแกมแก้ว. บทว่า นานารตนมาลินี ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

พระนารทะถามว่า ท่านเป็นใครมีพวงมาลัยแก้วต่าง ๆ ล้วนเป็นสาย

แก้วสวมศีรษะในคืนข้างแรม ดุจสวมมาลัยประดับมุกด์ในนักขัตฤกษ์

( การเต้นรำ ).

บทว่า โสวณฺณมยา ความว่า ท่านกล่าวว่า เทพธิดานั้นมีพวง

มาลัยแก้วต่าง ๆ ล้วนเป็นพวกแก้วประดับ. ความเห็นเกี่ยวกับพวงมาลัย

แก้วเหล่านั้นมีดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า โสวณฺณมยา ได้แก่

มาลัยสำเร็จด้วยทองคำ. บทว่า โลหิตงฺกมยา ได้แก่ มาลัยสำเร็จด้วย

แก้วมณีสีแดงคล้ายแก้วสีทับทิมเป็นต้น. บทว่า มสารคลฺลา ได้แก่

มาลัยสำเร็จด้วยแก้วลายคล้ายตาแมว. บทว่า สหโลหิตงฺกา ความว่า

มาลัยสำเร็จด้วยแก้วมณีคล้ายเพชรตาแมว กับมาลัยแล้วด้วยแก้วมณีสีแดง

และมาลัยสำเร็จด้วยแก้วแดงคล้ายสีเลือด. บทว่า ปเรวตกฺขีหิ มณีหิ

จิตฺตตา อธิบายว่า มาลัยแก้วที่ศีรษะและมือของท่านเหล่านี้ มีสภาพ

สวยงามทำด้วยแก้วมณี เช่นกับสีตานกพิราบ และแก้วมณีตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า โกจิ โกจิ ได้แก่ เครื่องประดับทุก ๆ สาย. บทว่า เอตฺถ

คือ ในพวงมาลัยเหล่านี้. บทว่า มยูรสุสฺสโร ได้แก่ มีเสียงไพเราะเหมือน

เสียงนกยูง. บทว่า หสสฺสรญฺโ ได้แก่ มีเสียงไพเราะเหมือนเสียงพญา-

หงส์ คือ มีเสียงคล้ายกับเสียงพญาหงส์. บทว่า กรวิกสุสฺสโร ได้แก่ มี

เสียงไพเราะดุจเสียงนกการเวก คือเสียงพวงมาลัยเหล่านั้น มีเสียงเหมือน

เสียงนกยูง เสียงพญาหงส์ เสียงนกการเวก ได้ยินแต่เสียงไพเราะ

อ่อนหวานอย่างนี้. ถามว่า เหมือนอะไร ตอบว่า เหมือนเบญจางคิก-

ดุริยดนตรี ประโคม. อธิบายว่า เสียงของเครื่องประดับเหล่านั้นฟัง

ไพเราะ เหมือนคนฉลาดประโคมเบญจางคิกดุริยดนตรีฉะนั้น บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

ปญฺจงฺคิก ตุริยมิวปฺปวาทิต นี้ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมี-

วิภัตติ.

บทว่า นานาวณฺณาหิ ธาตูหิ ได้แก่ จากธาตุอันมีส่วนต่าง ๆ

เป็นต้นว่า เพลา ล้อ และงอนไถเป็นต้น. บทว่า สุวิภตฺโต ว โสภติ

ได้แก่ งามดุจจัดสรรมาอย่างดี เพราะส่วนต่าง ๆ มีขนาดเหมาะเจาะกัน

และกัน ทั้งมีฝาพร้อม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุวิภตฺโต ว ได้แก่ แม้

เกิดด้วยกรรมอย่างเดียวก็ยังงาม ดุจอาจารย์ศิลปะผู้เชี่ยวชาญบรรจงตกแต่ง

ไว้ฉะนั้น.

บทว่า กญฺจนพิมฺพวณฺเณ ได้แก่ บนรถนั้นเช่นกับรูปทอง เพราะ

มีแสงเหลืองอร่ามงามยิ่งนัก. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กญฺจนพิมฺพวณฺเณ

เป็นคำเรียกเทพธิดานั้น. อธิบายว่า เช่นกับรูปเปรียบทองคำที่เขาเอา

น้ำหอมล้างแล้วขัดด้วยสีแดงชาด แล้วเอาผ้าเนื้อดีขัดอีก. บทว่า ภาสสิม

ปเทส ได้แก่ ภูมิประเทศทั้งสิ้นนี้ย่อมสว่างไสวรุ่งโรจน์.

ครั้นพระเถระถามอย่างนี้แล้ว เทพธิดาก็ตอบด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดีฉันมีร่างกายปกคลุมไว้ด้วยข่ายทองคำ วิจิตร

ไปด้วยแก้วมณีทองคำและแก้วมุกดา เพราะดีฉันมี

จิตผ่องใส ได้บูชาพระโคดมผู้ทรงคุณหาประมาณ

มิได้ ซึ่งเสด็จปรินิพพานไปแล้ว.

ดีฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ

ไว้ จึงสร่างโศกถึงความสุขรื่นเริงบันเทิงใจอยู่เป็น

นิตย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

ในบทเหล่านั้น บทว่า โสวณฺณชาล ได้แก่ ข่ายสำเร็จด้วยทองคำ

ทำให้พอดีกับสรีระ. บทว่า มณิโสณฺณจิตฺติต ได้แก่ วิจิตรด้วยแก้วมณี

และทองคำหลายอย่าง โดยเป็นเครื่องประดับมีสวมศีรษะและสวมคอเป็น

ต้น. บทว่า มุตฺตาจิต ได้แก่สวมสายแก้วมุกดาที่เกี่ยวพันกันเป็นลำดับ ๆ.

บทว่า เหมชาเลน ฉนฺน ได้แก่ คลุมด้วยข่ายรัศมีสีทอง. ก็ข่ายนั้น

วิจิตรด้วยแก้วนานาชนิด และด้วยทองคำ ตกแต่งด้วยสายแก้วมุกดาคลุม

ด้วยข่ายรัศมีสีทอง ส่องแสงยิ่งนักในเมื่อสัมผัสกับแสงอาทิตย์ มีแสงสว่าง

เป็นอันเดียว ตั้งอยู่ดุจกระจกทองคำ. บทว่า ปรินิพฺพุเต ได้แก่ ปริ-

นิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. บทว่า โคตเม อ้างถึงพระผู้

มีพระภาคเจ้าโดยพระโคตร. บทว่า อปฺปเมยฺเย ได้แก่ ไม่สามารถจะ

ประมาณได้โดยคุณานุภาพ. บทว่า ปสนฺนจิตฺตา ได้แก่ มีจิตเลื่อมใส

ด้วยศรัทธาอันเป็นวิสัยแห่งผลกรรมและพุทธารมณ์. บทว่า อภิโรปยึ

ได้แก่ ดิฉันสวมใส่ไว้ที่สรีระเพื่อบูชา.

บทว่า ตาห ตัดบทเป็น ต อห. บทว่า กุสล ชื่อว่า กุศล

เพราะอรรถว่า ขจัดความน่าเกลียดออกไปเป็นต้น. บทว่า พุทฺธวณฺณิต

ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วด้วยบทมีอาทิว่า ยาวตา

ภิกฺขเว สตฺตา อปทา วา ทฺวิปทา วา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้ง-

หลายไม่มีเท้าก็ดี มีสองเท้าก็ดี ประมาณเท่าใด ดังนี้. บทว่า อเปตโสกา

ความว่า ชื่อว่าปราศจากความโศก เพราะไม่มีความพินาศแห่งโภคะเป็น

ต้น อันเป็นเหตุของความโศก. ด้วยบทนั้น เทพธิดากล่าวถึง ความ

ไม่มีทุกข์ใจ. บทว่า สุขิตา ได้แก่ มีสุข เกิดแล้ว คือ ถึงความสุข.

ด้วยบทนี้ เทพธิดากล่าวถึงความไม่มีทุกข์กาย. ก็เทพธิดานั้นถึงความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

บันเทิง เพราะไม่มีทุกข์ใจ. ความไม่มีโรค เพราะไม่มีทุกข์กาย. ด้วย

เหตุนั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า สมฺปโมทามนามยา ดิฉันบันเทิงเพราะ

ไม่มีโรค. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อนึ่ง เนื้อความนี้ ท่านพระนารทะได้แจ้งแก่พระธรรมสังคาห-

กาจารย์ ครั้งทำสังคายนาโดยทำนองเดียวกันกับที่คนและเทพธิดากล่าว

แล้วในครั้งนั้น. พระธรรมสังคาหกาจารย์เหล่านั้นจึงยกคำบอกเล่านั้นขึ้น

สู่การสังคายนา ด้วยประการนั้นเอง.

จบอรรถกถามัลลิกาวิมาน

๙. วิสาลักขิวิมาน

ว่าด้วยวิสาลักขิวิมาน

สมเด็จอมรินทราธิราชตรัสถามนางสุนันทาเทพธิดาว่า

[๓๗] ดูก่อนแม่เทพธิดาผู้มีในตางาม เธอชื่อไร ได้

ทำกรรมอะไรไว้ จึงได้มีหมู่นางฟ้าแวดล้อมเป็นบริวาร

เดินวนเวียนอยู่รอบ ๆ ในสวนจิตรลดาอันน่ารื่นรมย์

ในคราวที่พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์ล้วนแต่ขึ้นม้า ขึ้นรถ

ตกแต่งร่างกายวิจิตรงดงาม เข้าไปยังสวนนั้นแล้ว จึง

มาในที่นี้ แต่เมื่อพอเธอมาถึงในที่นี้ กำลังเที่ยวชม

สวน รัศมีก็สว่างไสวไปทั่วจิตรลดาวัน โอภาสของ

สวนมิได้ปรากฏ รัศมีของเธอมาข่มเสีย ดูก่อนแม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว ขอเธอจงบอกว่า นี้เป็น

ผลแห่งกรรมอะไร.

นางสุนันทาเทพธิดาผู้เป็นอัครชายาทูลตอบว่า

ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ ผู้ทรง

บำเพ็ญทานมาแต่เก่าก่อน รูปอันสวยงาม คติ ฤทธิ์

และอานุภาพของหม่อมฉัน ย่อมมีได้ด้วยกรรมอันใด

ขอพระองค์จงทรงสดับกรรมอันนั้น หม่อมฉันเป็น

อุบาสิกามีนามว่าสุนันทา อยู่ในกรุงราชคฤห์อัน

น่ารินรมย์ ถึงพร้อมด้วยศรัทธาและศีล ยินดีในการ

จำแนกทานทุกเมื่อ คือหม่อมฉันมีจิตเลื่อมใสในท่าน

ผู้ประพฤติตรง จึงได้ถวายผ้านุ่งห่ม ภัตตาหาร

เสนาสนะและประทีป ทั้งได้รักษาอุโบสถอันประกอบ

ด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอด ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ และ

๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์ เป็นผู้

สำรวมอยู่ในศีล ๕ เป็นนิตย์ คือเว้นจากการฆ่าสัตว์

ระวังจากการพูดเท็จ จากการเป็นขโมย จากการ

ประพฤตินอกใจ ไกลจากการดื่นนำเมา เป็นผู้ฉลาด

ในอริยสัจจธรรม เป็นอุบาสกของพระโคดมผู้มีจักษุ

ผู้มียศ ทาสีจากตระกูลญาติของหม่อมฉัน นำดอก

ไม้มาให้ทุกวัน หม่อมฉันได้บูชาที่สถูปของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทุกวัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

อนึ่ง ในวันอุโบสถ หม่อมฉันมีใจเลื่อมรสได้

ถือเอาดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้ไปบูชาพระ-

สถูปด้วยมือของตนเอง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ รูป คติ ฤทธิ์

และอานุถาพ เช่นนี้ มีขึ้นแก่หม่อมฉันเพราะกรรม

นั้น มิใช่ว่าผลที่หม่อมฉันบูชาพระสถูปด้วยพวงมาลัย

และที่หม่อมฉันได้รักษาศีลจะให้ผลเท่านั้นก็หามิได้

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ หม่อมฉันยังได้เป็น

พระสกทาคามี ตามความหวังของหม่อมฉันอีกด้วย.

จบวิสาลักขิวิมาน

อรรถกถาวิสาลักขิวิมาน

วิสาลักขิวิมาน มีคาถาว่า กา นาม ตฺว วิสาลกฺขิ ดังนี้ เป็นต้น.

วิสาลักขิวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอชาตสัตตุทรง

รับพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่พระองค์ได้รับมาสร้าง

พระสถูป และฉลองในกรุงราชคฤห์ ลูกสาวช่างทำดอกไม้คนหนึ่งอยู่กรุง

ราชคฤห์ ชื่อสุนันทา เป็นอุบาสิกา เป็นอริยสาวิกา บรรลุโสดาบัน ได้สั่ง

พวงมาลัยและของหอมเป็นอันมากที่ส่งมาจากเรือนของบิดา ทำการบูชา

พระเจดีย์ทุก ๆ วัน. ทุกวันอุโบสถนางได้ไปทำการบูชาด้วยตนเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

ต่อมานางมีโรคอย่างหนึ่ง เบียดเบียนถึงแก่กรรม ได้ไปเกิดเป็น

บริจาริกาของท้าวสักกเทวราช. วันหนึ่ง นางได้เข้าไปยังสวนจิตรลดา

กับท้าวสักกะจอมเทพ. ณ ที่นั้น รัศมีของทวยเทพเหล่าอื่นถูกรัศมีของ

ดอกไม้เป็นต้นกำจัด มีสีวิจิตรตระการตายิ่งนัก. แต่รัศมีของเทพธิดา

สุนันทามิได้ถูกรัศมีดอกไม้เหล่านั้นครอบงำ คงอยู่เหมือนเดิม. ท้าวสักก-

เทวราชทรงเห็นดังนั้น มีพระประสงค์จะรู้สุจริตกรรมที่เทพธิดานั้นทำมา

จึงได้สอบถามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนแม่เทพธิดาผู้มีตางาม เธอชื่อไร จึงได้

มีหมู่นางฟ้าแวดล้อม เดินวนเวียนอยู่รอบ ๆ ในสวน

จิตรลดาอันน่ารื่นรมย์ ในคราวที่พวกเทวดาชั้น

ดาวดึงส์ ล้วนแต่ขึ้นน้ำขึ้นรถตกแต่งร่างกายงดงาม

เข้าไปยังสวนนั้นแล้วจึงมาในที่นี้.

แต่เมื่อเธอมา พอมาถึงที่นี้กำลังเที่ยวในสวน

รัศมีก็สว่างไสวไปทั้งสวนจิตรลดา แสงสว่างของสวน

มิได้ปรากฏ รัศมีของเธอมาข่มเสีย ดูก่อนแม่เทพธิดา

ฉันถามเธอแล้ว ขอเธอจงบอกว่า นี้เป็นผลของกรรม

อะไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กา นาม ตฺว คือ ในอัตภาพก่อน เธอ

ชื่ออะไร. อธิบายว่า สมบัติคืออานุภาพเช่นนี้ของเธอได้มีขึ้นเพราะทำ

ความดีไว้ ณ ที่ใด. บทว่า วิสาลกฺขิ คือ ผู้มีตางาม.

บทว่า ยทา คือ ในกาลใด. บทว่า อิม วน ได้แก่ ใกล้สวน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

นี้มีชื่อว่า จิตรลดาวัน. บทว่า จิตฺรา โหนฺติ ได้แก่ ชื่อว่ามีลักษณะ

สวยงาม เพราะถึงพร้อมด้วยความวิเศษแม้จากแสงสว่างตามปกติ ของ

เครื่องประดับสรีระและผ้าเป็นต้นของตนโดยเคล้ากับรัศมีอันวิจิตรในสวน

จิตรลดานี้. บทว่า อิธาคตา ได้แก่ มา คือ ถึงพร้อมกันในที่นี้ หรือว่า

เป็นเหตุแห่งการมาถึงในที่นี้.

บทว่า อิธ ปตฺตาย คือ เมื่อเทพธิดาเข้ามาถึงที่นี้. บทว่า เกน

รูป ตเวทิส ความว่า เพราะเหตุไร รูป คือ สรีระของเธอจึงเป็นเช่นนี้

คือมีรูปอย่างนี้. อธิบายว่า รูปของเธอข่มรัศมีสวนจิตรลดาจนหมด.

ครั้นท้าวสักกะตรัสถามอย่างนี้แล้ว เทพธิดานั้นจึงได้ตอบด้วยคาถา

เหล่านี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพผู้ทรงบำเพ็ญทาน

มาแต่กาลก่อน รูป คติ ฤทธิ์ และอานุภาพของ

หม่อมฉันมีขึ้นด้วยกรรมใด ขอพระองค์จงทรงสดับ

กรรมนั้นเถิด.

หม่อมฉันชื่อสุนันทา เป็นอุบาสิกาอยู่ใรนกรุง

ราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ ถึงพร้อมด้วยศรัทธาและศีล

ยินดีในการแจกจ่ายทานทุกเมื่อ หม่อมฉันมีใจเลื่อม

ใสในท่านผู้ประพฤติตรง จึงได้ถวายผ้านุ่งห่ม ภัตตา-

หาร เสนาสนะ และประทีป ทั้งได้รักษาอุโบสถอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ตลอด ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ

และ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

เป็นผู้สำรวมอยู่ในศีล ๕ เป็นนิตย์ คือ เว้นจากการ

ฆ่าสัตว์ เร้นจากการพูดเท็จ จากการเป็นขโมย จาก

การประพฤตินอกใจ ไกลจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้

ฉลาดในอริยสัจจธรรม เป็นอุบาสิกาของพระโคดม

ผู้มีจักษุ ผู้มียศ ทาสีจากตระกูลญาติของหม่อมฉัน

นำดอกไม้มาให้ทุกวัน หม่อมฉันได้บูชาที่สถูปของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทุกวัน อนึ่ง ในวันอุโบสถหม่อม

ฉันมีใจเลื่อมใสได้ถือเอาดอกไม้ของหอม และเครื่อง

ลูบไล้ไปบูชาพระสถูปด้วยมือของตนเอง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ รูป คติ ฤทธิ์

และอานุภาพเช่นนี้ มีขึ้นแก่หม่อมฉันเพราะกรรม

นั้น มิใช่ว่าผลที่หม่อมฉันได้บูชาพระสถูปด้วยพวง

มาลัย และที่หม่อมฉันได้รักษาศีลจะให้ผลเท่านั้น

ก็หามิได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ หม่อมฉัน

ยังได้เป็นสกทาคามี ตามความหวังของหม่อมฉัน

อีกด้วย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า คติ ได้แก่ เทวคตินี้ หรือการเกิด. บทว่า

อิทฺธิ ได้แก่ เทพฤทธิ์นี้ หรือความสำเร็จสิ่งที่ประสงค์. บทว่า อานุ-

ภาโว ได้แก่ อำนาจ. เทพธิดาเรียกท้าวสักกะว่า ปุรินททะ เพราะท้าว

สักกะนั้นได้ให้ทานมาในกาลก่อน จึงเรียกว่า ปุรินททะ.

บทว่า าติกุล เทพธิดากล่าวหมายถึงเรือนของบิดา. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

สทา มาลาภิหารติ ความว่า ทาสีจากตระกูลญาติได้นำดอกไม้มาให้

หม่อมฉันทุก ๆ วันตลอดเวลา. บทว่า สพฺพเมวาภิโรปยึ ความว่า

หม่อมฉัน มิได้ใช้ดอกไม้และของอื่น ๆ ทุกชนิดมีของหอมเป็นต้น ที่

ทาสีนำมาจากเรือนของบิดาเพื่อประดับหม่อมฉันด้วยตนเอง แต่ได้นำไป

บูชาพระสถูปของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อุโปสเถ จห คนฺตฺวา

ความว่า ในวันอุโบสถหม่อมฉันไปยังที่ตั้งพระสถูป. บทว่า ย มาล

อภิโรปยึ ความว่า ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้บูชาดอกไม้และของหอมที่

พระสถูปของพระผู้มีพระภาคเจ้าในครั้งนั้น. โยชนาแก้เป็น เตน กมฺเมน

คือ ด้วยกรรมนั้น.

บทว่า น ต ตาว วิปจฺจติ ความว่า หม่อมฉันเป็นผู้มีศีล. การ

รักษาศีลนั้น คือ ศีลที่หม่อมฉันรักษานั้นยังไม่ให้โอกาสที่จะได้ผลด้วยกำลัง

ของบุญอันสำเร็จด้วยการบูชาก่อน คือ ยังไม่เริ่มให้ผล. อธิบายว่า ใน

อัตภาพต่อไป กรรมนั้นจึงจะมีผล.

บทว่า อาสา จ ปน เม เทวินฺท สกทาคามินี สิย ความว่า

ข้าแต่จอมเทพ ก็ความปรารถนาของหม่อนฉันว่า หม่อมฉันจะพึงเป็น

สกทาคานีได้อย่างไรหนอ เป็นความปรารถนาเพื่ออริยธรรม มิใช่

ปรารถนาเพื่อภพอันวิเศษ. เทพธิดาแสดงว่า ความปรารถนานั้นยังไม่

สำเร็จเหมือนเนยใสที่หุงจากนมส้มตามต้องการ. บทที่เหลือมีนัยนี้เหมือน

กัน.

ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงบอกความนั้นแก่ท่านพระวังคีสเถระ ตาม

นัยที่พระองค์และเทพธิดานั้นกล่าวแล้ว. ท่านพระวังคีสะได้บอกแก่พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

มหาเถระทั้งหลายผู้เป็นพระธรรมสังคาหกาจารย์ ครั้งทำสังคายนา. พระ-

มหาเถระเหล่านั้นได้ยกเรื่องนั้นขึ้นสู่การสังคายนา ด้วยประการนั้นเอง.

จบอรรถกถาวิสาลักขิวิมาน

๑๐. ปริฉัตตกวิมาน

ว่าด้วยปาริฉัตตกวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามนางเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๓๘] ดูก่อนเทพธิดา ท่านมาเก็บดอกไม้สวรรค์

ปาริฉัตตกะ หอมหวนน่ารื่นรมย์มาร้อยกรองเป็นพวง

มาลัยทิพย์ ขันร้องสำเริงอยู่ เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่

เสียงทิพย์น่าฟังวังเวงใจ เปล่งออกมาจากอวัยวะ

น้อยใหญ่พร้อม ๆ กัน ทั้งกลิ่นทิพย์หอมหวนยวนใจ

ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุก ๆ ส่วน เมื่อท่าน

ไหวกายไปมา เสียงเครื่องประดับอันท่านประดับไว้ที่

ช้องผมทุก ๆ ส่วน ถูกลมพัดมาต้องเข้าก็เปล่งเสียง

ไพเราะคล้ายดนตรีเครื่อง ๕.

อนึ่ง เสียงมาลัยประดับเศียรที่ถูกลมพัดต้อง

เข้าแล้ว ก็กังวานไพเราะคล้ายกับเสียงดนตรีเครื่อง ๕

แม้กลิ่นดอกไม้ที่ท่านสอดแซมไว้บนผมก็มีกลิ่นหอม

หวน น่าชื่นใจ ฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจไม้สวรรค์ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

ท่านสูดดมกลิ่นอันหอมหวนนั้น ทั้งได้เห็นรูปทิพย์

อันมิใช่ของมนุษย์.

ดูก่อนเทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอท่านจงบอก

นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้นตอบว่า

ดีฉันได้น้อมนำเอาดอกอโศกซึ่งมีเกสรงามเลื่อม

ประภัสสร มีกลิ่นหอมฟุ้งไปบูชาพระพุทธเจ้า ครั้น

ดีฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้วจึง

ปราศจากความโศกไม่มีโรครื่นเริงบันเทิงอยู่เป็นนิตย์.

จบปาริฉัตตกวิมาน

อรรถกถาปาริฉัตตกวิมาน

ปาริฉัตตกวิมาน มีคาถาว่า ปาริจฺฉตฺตเก โกวิฬาเร ดังนี้เป็นต้น.

ปาริฉัตตกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ใกล้กรุง

สาวัตถี. สมัยนั้น อุบาสิกาคนหนึ่งอยู่ในกรุงสาวัตถี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า นิมนต์ฉันภัตทาหารในวันรุ่งขึ้น จึงจัดปะรำใหญ่ใกล้ประตูเรือน

ของตนวงม่านโดยรอบ ผูกเพดานเบื้องบน ยกธงชัยและธงแผ่นผ้า

เป็นต้น แขวนผ้าสีสดสวยต่าง ๆ และพวงของหอม พวงดอกไม้ พวง

มาลัย ปูลาดอาสนะ ณ สถานที่ราบเรียบแล้วกราบทูลอาราธนาพระผู้มี

พระภาคเจ้าตามกำหนดเวลา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ในตอนเช้าทรงนุ่งสบงห่มจีวร ถือ

บาตร เสด็จเข้าไปยังปะรำที่ตกแต่งประดับประดาดุจเทพวิมาน ยังห้วง

อรรณพให้สว่างไสวดุจมีรัศมีตั้งพันดวง ประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูไว้.

อุบาสกได้บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยของหอม ดอกไม้ธูปและประทีป.

สมัยนั้น หญิงหาฟืนคนหนึ่ง เห็นต้นอโศกมีดอกบานสะพรั่งใน

นันทนวัน จึงถือเอาดอกอโศกเป็นอันมากทำเป็นช่อพร้อมด้วยขั้วและก้าน

เดินมาเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ ที่นั้น มีจิตเลื่อมใส จึงเอา

ดอกไม้เหล่านั้นปูลาดเป็นเครื่องลาดดอกไม้โดยรอบอาสนะ ทำการบูชา

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทำประทักษิณ ๓ รอบถวายนมัสการกลับไป. ครั้น

ต่อมา นางได้ถึงแก่กรรมไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสร

หนึ่งพันเป็นบริวาร โดยมากนางฟ้อนรำขับร้องอยู่ที่สวนนันทนวัน ร้อย

กรองมาลัยดอกไม้ปาริฉัตตกะรื่นเริงบันเทิง เล่นกีฬา เสวยแต่ความสุข.

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ครั้นเห็นเทพธิดานั้น จึงถามถึงกรรมที่เทพธิดานั้น

ได้ทำมาด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมาเก็บดอกไม้สวรรค์

ปาริฉัตตกะ หอมหวนน่ารื่นรมย์มาร้อยกรองเป็นมาลัย

ทิพย์ ขับร้องสำเริงอยู่ เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่เสียง

ทิพย์น่าฟังวังเวงใจ เปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่

พร้อม ๆ กัน ทั้งกลิ่นทิพย์หอมหวนยวนใจ ก็ฟุ้ง

ออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุก ๆ ส่วน เมื่อท่านไหว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

กายไปมา เสียงเครื่องประดับอันท่านประดับไว้ที่

ช้องผมทุก ๆ ส่วน ถูกลมพัดมาต้องเข้า ก็เปล่งเสียง

ไพเราะคล้ายดนตรีเครื่อง ๕.

อนึ่ง เสียงมาลัยประดับเศียร ที่ถูกลมพัดต้อง

เข้าแล้วก็กังวานไพเราะคล้ายกับเสียงดนตรีเครื่อง ๕

แม้กลิ่นดอกไม้ที่ท่านสอดแซมไว้บนผม ก็มีกลิ่น

หอมหวนน่าชื่นใจ ฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจไม้สวรรค์

ฉะนั้น ท่านสูดดมกลิ่นอันหอมหวนนั้น ทั้งได้เห็น

รูปทิพย์อันมิใช่ของมนุษย์.

ดูก่อนเทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอท่านจง

บอกว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปาริจฺฉตฺตเก โกวิฬาเร โยชนาแก้ว่า เทพธิดา

ถือเอาดอกไม้สวรรค์อันมีชื่อว่าปาริฉัตตกะ ชาวโลกเรียกดอกไม้สวรรค์ว่า

ปาริชาต แต่ในภาษามคธเรียกว่า ปาริฉัตตกะ ส่วน โกวิฬาโร เป็น

กำเนิดของดอกไม้สวรรค์ ทั้งในมนุษยโลก ทั้งในเทวโลก เรียกว่า

โกวิฬาร อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เป็นกำเนิดของดอกไม้สวรรค์นั้น.

ก็ในเวลาที่เทพธิคำนั้นฟ้อน เสียงไพเราะเพราะพริ้งเปล่งออกจาก

สรีระอันเป็นส่วนของอวัยวะ และจากเครื่องประดับ. แม้กลิ่นก็ซ่านออก

ไปทั่วทุกทิศ. ด้วยเหตุนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า

ตสฺสา เต นจฺจมานาย เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สวนียา ได้แก่ ควรฟัง หรือเป็นประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

แก่การฟัง. อธิบายว่า สบายหู. บทว่า วิวตฺตมานา กาเยน ได้แก่

กาย คือ สรีระของท่านไหวไปมา. บทว่า วิวตฺตมานา กาเยน นี้เป็น

ตติยาวิภัตติลงในอิตถัมภูต (มี). บทว่า ยา เวณีสุ ปิลนฺธนา ได้แก่

เครื่องประดับที่ช้องผมของท่าน. พึงเห็นว่า ในบทนี้ ลบวิภัตติหรือเป็น

ลิงควิปลาส.

บทว่า วฏสกา ได้แก่ พวงมาลัยคล้องเศียรเป็นช่อทำด้วยแก้ว.

บทว่า วาตธุตา ได้แก่ ถูกลมอ่อนพัดมาต้องเข้า. บทว่า วาเตน

สมฺปกมฺปิตา ได้แก่ ถูกลมพัดไปโดยรอบ ๆ โดยเฉพาะ. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า วฏสกา วาตธุตา วาเตน สมฺปกมฺปิตา ได้แก่ พวกมาลัย

คล้องเศียร ทั้งที่ไม่ถูกลม ทั้งที่ถูกลม ก็ยังไหวได้. ประกอบความว่า

มาลัยประดับเศียรนั้น ฟังแล้วมีเสียงก้องกังวาน.

บทว่า วาติ คนฺโธ ทิสา สพฺพา ได้แก่ กลิ่นของมาลัยทิพย์

บนเศียรของท่านนั้นฟุ้งไปทั่วทิศ. ถามว่า เหมือนอะไร. ตอบว่า เหมือน

ไม้สวรรค์ ความว่า เหมือนไม้สวรรค์มีดอกบานสะพรั่ง มีกลิ่นแผ่ซ่าน

ไปหลายโยชน์ ฟุ้งไปทั่วทิศฉันใด กลิ่นของมาลัยเครื่องประดับเศียรของ

ท่านก็ฉันนั้น. นัยว่า ต้นไม้นั้นขึ้นอยู่ท่ามกลางบริเวณที่ทำอุโบสถของ

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่เขาคันธมาทน์ มีดอกหอมทั้งในเทวโลก

และมนุษยโลก ดอกไม้เหล่านั้นเกิดที่ปลายกิ่งของต้นไม้นั้น. ด้วยเหตุนั้น

ไม้สวรรค์จึงมีกลิ่นหอมยิ่งนัก เหมือนกลิ่นของมาลัยที่เทพธิดานั้นประดับ.

ฉะนั้น พระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวว่า รุกฺโข มญฺชุสโก ยถา เหมือน

ต้นไม้สวรรค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

ก็เพราะอารมณ์ทั้งหลายในที่นั้น แม้ทั้งหมดนั้นเป็นปิยรูปอย่างเดียว

เพราะสวรรค์นั้นมีผัสสายตนะ ๖ ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงกล่าวว่า

ฆายเส ต สุจิคนฺธ รูป ปสฺสสิ อมานุส ความว่า ท่านสูดดมกลิ่นอัน

หอมหวนนั้น ทั้งได้เห็นรูปทิพย์อันมิใช่ของมนุษย์ เพราะคันธรูป (กลิ่น

หอม) อันเป็นของวิเศษที่เทพธิดานั้นได้.

เทพธิดาจึงตอบด้วยคาถา ๒ คาถาว่า

ดีฉันได้น้อมนำเอาดอกอโศกซึ่งมีเกสรงามเลื่อม

ประภัสสรมีกลิ่นหอมฟุ้งไปบูชาพระพุทธเจ้า ครั้น

ดีฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว จึง

ปราศจากความโศก ไม่มีโรค รื่นเริงบันเทิงอยู่เป็น

นิตย์.

เทพธิดากล่าวว่า ปภสฺสร อจฺจิมนฺต เกสรงามเลื่อมประภัสสร

เป็นต้น หมายถึงดอกอโศกเป็นดอกไม้สูงสุดดุจข่ายรัศมีดวงอาทิตย์ปรากฏ

อยู่ในครั้งนั้น เพราะมีเกสรดอกไม้เกิดขึ้น คล้ายก้อนแก้วประพาฬที่

ขัดสีดีแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาปาริฉัตตกวิมาน

จบปาริฉัตตกวรรควรรณนาที่ ๓ มีอยู่ ๑๐ เรื่อง ในวิมานวัตถุ

แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุฬารวิมาน ๒. อัจฉุวิมาน ๓. ปัลลังกวิมาน ๔. ลตาวิมาน

๕. คุตติลวิมาน ๖. ทัททัลลวิมาน ๗. เสสวดีวิมาน ๘. มัลลิกาวิมาน

๙. วิสาลักขิวิมาน ๑๐. ปาริฉัตตกวิมาน และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

มัญชิฏฐกวรรคที่ ๔

๑. มัญชิฏฐกวิมาน

ว่าด้วยมัญชิฏฐกวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๓๙] ดูก่อนเทพธิดา ท่านรื่นรมย์อยู่ในวิมาน

แก้วผลึก มีพื้นดาดาษไปด้วยทรายทอง กึกก้องไปด้วย

ดนตรีเครื่อง ๕ เมื่อท่านลงจากวิมานแก้วผลึก อัน

บุญกรรมแต่งไว้ เข้าไปสู่ป่าสาละอันมีดอกบาน

สะพรั่งตลอดกาลทั้งปวง ยืนอยู่ที่โคนต้นสาละต้น

ใด ๆ ต้นสาละนั้น ๆ ซึ่งเป็นไม้อุดมก็น้อมกิ่งโปรย

ดอกลงมา ป่าสาละนั้นต้องลมแล้วโบกสะบัดไปมา

เป็นที่อาศัยแห่งฝูงสกุณชาติ โชยกลิ่นหอมพุ่งไปทั่ว

ทิศ ดุจต้นอุโลกฉะนั้น ท่านสูดดมกลิ่นอันหอมหวน

นั้น ทั้งได้ชมรูปทิพย์ ซึ่งมิใช่ของมนุษย์ ดูก่อน

เทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอท่านโปรดบอก นี้เป็น

ผลแห่งกรรมอะไร.

เทพธิดาตอบว่า

เมื่อชาติก่อน ดีฉันเกิดเป็นมนุษย์ อยู่ใน

มนุษยโลก เป็นทาสอยู่ในตระกูลเจ้านาย ได้เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

พระพุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ มีจิตเลื่อมใส ได้โปรย

ดอกสาละรอบอาสนะ และได้น้อมนำพวงมาลัยดอก

สาละอันร้อยกรองอย่างดี ถวายพระพุทธเจ้าด้วยมือ

ของตน ครั้นดีฉันได้ทำกุศลกรรม ที่พระพุทธเจ้า

ทรงสรรเสริญแล้ว ก็สร่างโศกหมดโรคภัย สุขกาย

สุขใจ รื่นเริงบันเทิงอยู่เป็นนิจ.

จบมัญชิฏฐกวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

มัญชิฏฐกวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถามัญชิฏฐกวิมาน

มัญชิฏฐกวิมาน มีคาถาว่า มญฺชิฏฺเก วิมานสฺมึ โสวณฺณ-

วาลุกสนฺถเต เป็นต้น. วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงสาวัตถี. อุบาสกคนหนึ่งในกรุง

สาวัตถีนั้นนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า จัดสร้างมณฑปแล้วบูชาสักการะ

ถวายทานในมณฑปนั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในวิมานติด ๆ กัน. สมัยนั้น

หญิงรับใช้ประจำตระกูลคนหนึ่ง เห็นต้นสาละในสวนอันธวันออกดอก

บานสะพรั่ง จึงเก็บดอกสาละในสวนนั้นมา เอาเถาไม้ร้อยเป็นมาลัยสวม

คอ ทั้งเก็บดอกที่ขาวอย่างมุกดาและดอกงาม ๆ เป็นอันมากเข้าพระนคร

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเปล่งพระพุทธรังสีมีวรรณะ ๖ ประการ

ในมณฑปนั้น เหมือนดวงอาทิตย์อ่อนทอแสงส่องเทือกภูเขายุคนธร ก็มี

จิตเลื่อมใส เอาดอกไม้เหล่านั้นบูชา วางพวงมาลัยไว้รอบพระพุทธอาสน์

โปรยดอกไม้อีกจำนวนหนึ่ง ถวายบังคมโดยเคารพ ทำประทักษิณสาม

ครั้งแล้วไป. ต่อมานางได้ตายไปเกิดในดาวดึงส์. ที่ดาวดึงส์นั้น นางมี

วิมานแก้วผลึกแดง และข้างหน้าวิมานมีสวนสาละใหญ่ พื้นที่สวนลาด

ทรายทอง. ยามที่นางออกจากวิมานเข้าสวนสาละ กิ่งสาละทั้งหลายโน้ม

ลงโปรยดอกในเบื้องบน ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหานางตามนัย

ที่กล่าวแล้วในหนหลัง ถามถึงกรรมที่นางทำไว้ ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

ดูก่อนเทพธิดา ท่านรื่นรมย์อยู่ในวิมานแก้ว-

ผลึก มีพื้นดาดาษไปด้วยทรายทอง กึกก้องไปด้วย

ดนตรีเครื่อง ๕ เมื่อท่านลงจากวิมานแก้วผลึก อัน

บุญกรรมแต่งไว้เข้าไปสู่ป่าสาละ อันมีดอกบาน

สะพรั่งตลอดกาลทั้งปวง ยืนอยู่ที่โคนต้นสาละต้น

ใด ๆ ต้นสาละนั้น ๆ ซึ่งเป็นไม้อุดม ก็น้อมกิ่ง

โปรยดอกลงมา ป่าสาละนั้นต้องลมแล้ว โบกสะบัด

ไปมา เป็นที่อาศัยแห่งฝูงสกุณชาติ โชยกลิ่นหอม

ฟุ้งไปทั่วทิศ ดุจต้นอุโลกฉะนั้น ท่านสูดดมกลิ่นอัน

หอมหวนนั้น ทั้งได้ชมรูปทิพย์ ซึ่งมิใช่ของมนุษย์

ดูก่อนเทพธิดา อาตมาถามแล้ว ขอท่านโปรดจงบอก

นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มญฺชิฏฺเก วิมานสฺมึ ได้แก่ ใน

วิมานแก้วผลึกแดง. วิมานที่มีสีเหมือนพวงดอกย่างทรายและดอกยี่โถ

ท่านเรียกว่า มัญชิฏฐกะ. บทว่า โสวณฺณวาลุกสนฺถเต ความว่า มีพื้น

ลาดด้วยทรายทองเกลื่อนอยู่รอบ ๆ. บทว่า รมสิ สุปฺปเวทิเต ความว่า

ย่อมรื่นรมย์ด้วยดนตรีเครื่อง ๕ ที่บรรเลงอย่างไพเราะ.

บทว่า นิมฺมิตา รตนามยา ความว่า จากวิมานรัตน์ที่ศิลปินผู้

ชำนาญสร้างไว้สำหรับท่าน. บทว่า โอคาหสิ แปลว่า เข้าไป. บทว่า

สพฺพกาลิก ได้แก่ เป็นสุขทุกเวลา คือ สบายทุกฤดู หรือมีดอกบาน

ทุกกาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

บทว่า วาเตริต ความว่า ถูกลมพัดกระโชกโดยอาการที่ดอก

ร่วงพรู. บทว่า อาธุต ความว่า ถูกลมอ่อน ๆ โชยเบา ๆ. บทว่า

ทิชเสวิต ความว่า มีฝูงนกยูงและนกดุเหว่าเป็นต้นเข้าอาศัย. พระเถระ

ถามอย่างนี้แล้ว เทพธิดานั้นได้พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

เมื่อชาติก่อน ดีฉันเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษย-

โลก เป็นทาสีอยู่ในตระกูลเจ้านาย ได้เห็นพระ-

พุทธเจ้าประทับนั่งอยู่ มีจิตเลื่อมใส ได้โปรยดอก

สาละรอบอาสนะ. และได้น้อมนำพวงมาลัยดอกสาละ

อันร้อยกรองอย่างดี ถวายพระพุทธเจ้าด้วยมือของ

ตน ครั้นดีฉันทำกุศลกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรร-

เสริญแล้ว ก็สร่างโศกหมดโรคภัย สุขกายสุขใจ

รื่นเริงบันเทิงอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยฺยิรกุเล แปลว่า ในตระกูลเจ้านาย

อธิบายว่า ในเรือนสามี. บทว่า อหุ แปลว่า ได้เป็นแล้ว. บทว่า

โอกิรึ ได้แก่ โปรยด้วยดอกไม้สีมุกดา. บทว่า อุปนาเมสึ ความว่า

นำเข้าไปบูชา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถามัญชิฏฐกวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

๒. ปภัสสรวิมาน

ว่าด้วยปภัสสรวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๔๐] ดูก่อนเทพธิดาผู้งาม มีรัศมีงามผุดผ่องยิ่งนัก

นุ่งผ้าสีแดงงาม มีฤทธิ์มาก มีร่างกายงามลูบไล้ด้วย

จุณจันทน์ ท่านเป็นใครมาไหว้อาตมาอยู่ อนึ่ง ท่าน

นั่งบนบัลลังก์ใด ย่อมไพโรจน์ดังท้าวสักกเทวราชใน

นันทนวโนทยาน บัลลังก์ของท่านั้นมีค่ามาก งาม

วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ ดูก่อนเทพธิดาผู้เจริญ เมื่อ

ชาติก่อน ท่านได้สร้างสมสุจริตอะไร ได้เสวย

วิบากแห่งธรรมอะไร ในเทวโลก อาตมาถามแล้ว

ขอท่านโปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

เทพธิดาตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีฉันได้ถวายพวงมาลัยและ

น้ำอ้อยแด่พระคุณเจ้าผู้เที่ยวบิณฑบาตอยู่ ดีฉันจึง

ได้เสวยผลแห่งกรรมนั้นในเทวโลก ข้าแต่ท่านผู้

เจริญ แต่ดีฉันยังมีความเดือดร้อนผิดพลาด เป็นทุกข์

เพราะดีฉันไม่ได้ฟังธรรม อันพระพุทธเจ้าผู้เป็น

ธรรมราชาทรงแสดงแล้ว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เพราะ

เหตุนั้น ดีฉันจึงกราบเรียนพระคุณเจ้า ซึ่งเป็นผู้

ควรอนุเคราะห์ดีฉัน โปรดชักชวนผู้ที่ควรอนุเคราะห์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

นั้นด้วยธรรม ที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระธรรมราชา

ทรงแสดงดีแล้ว ทวยเทพที่มีศรัทธาความเชื่อใน

พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระสังฆรัตนะ

ก็รุ่งโรจน์ล้ำดีฉัน โดยอายุ ยศ สิริ ทวยเทพอื่น ๆ

ก็ยิ่งยวดกว่า โดยอำนาจและวรรณะ มีฤทธิ์มาก

กว่าดีฉัน.

จบปภัสสรวิมาน

อรรถกถาปภัสสรวิมาน

ปภัสสรวิมาน มีคาถาว่า ปภสฺสรวรวณฺณนิเภ เป็นต้น. วิมาน

นั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น อุบาสกคน

หนึ่งในกรุงราชคฤห์ ได้เลื่อมใสในพระมหาโมคคัลลานเถระเป็นอย่างยิ่ง

ธิดาของเขาคนหนึ่งมีศรัทธาปสาทะ นางมีความเคารพนับถือในพระเถระ

มาก. อยู่มาวันหนึ่ง ท่านพะระมหาโมคคัลลานะเที่ยวบิณฑบาตในกรุง

ราชคฤห์เข้าไปยังตระกูลนั้น. นางเห็นพระเถระแล้วเกิดโสมนัส ปูลาด

อาสนะ เมื่อพระเถระนั่งบนอาสนะนั้นแล้ว นางบูชาด้วยมาลัยดอกมะลิ

แล้วเอาน้ำอ้อยงบหวานอร่อยเกลี่ยลงในบาตรของพระเถระ พระเถระประ-

สงค์จะอนุโมทนาจึงได้นั่ง. นางแจ้งให้ทราบเรื่องที่ฆราวาสไม่มีโอกาส

(จะฟัง) เพราะมีกิจมาก กล่าวว่าดีฉันจักฟังธรรมในวันอื่น ไหว้พระ-

เถระแล้วส่งไป. และในวันนั้นเอง นางตายไปบังเกิดในดาวดึงส์. ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

พระมหาโมคคัลลานะเข้าไปพบนาง ได้ถามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดาผู้งาม มีรัศมีงามผุดผ่องยิ่งนัก

นุ่งผ้าสีแดงงาม มีฤทธิ์มาก มีร่างกายงามลูบไล้ด้วย

จุณจันทน์ ท่านเป็นใครมาไหว้อาตมาอยู่ อนึ่ง ท่าน

นั่งบนบัลลังก์ใด ย่อมไพโรจน์ ดังท้าวสักกเทวราช

ในนันทนวโนทยานบัลลังก์ของท่านนั้นมีค่ามาก งาม

วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ ดูก่อนเทพธิดาผู้เจริญ เมื่อ

ชาติก่อน ท่านได้สร้างสมสุจริตอะไร ได้เสวยวิบาก

แห่งกรรมอะไรในเทวโลก อาตมาถามแล้ว ขอท่าน

โปรดบอก นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปภสฺสรวรวณฺณเนิเภ ความว่า ชื่อว่า

นิภา เพราะอรรถว่า สว่าง คือ ส่องแสง. แสงสว่างคือ วัณณา

ชื่อว่า วัณณนิภา. เทพธิดาชื่อว่า มีรัศมีงามผุดผ่องยิ่งนัก เพราะเธอ

มีแสงสว่างคือวัณณะประภัสสร เพราะสว่างเหลือเกิน ประเสริฐคือสูงสุด

ร้องเรียก [ คำอาลปนะ ]. บทว่า สุรตฺตวตฺถนิวาสเน แปลว่า นุ่งผ้า

สีแดงงาม. บทว่า จนฺทนรุจิรคตฺเต ได้แก่ มีองค์งามเหมือนลูบไล้ด้วย

จุณไม้จันทน์. อธิบายว่า ทุกส่วนแห่งเรือนร่างน่ารักน่าพึงใจ ดุจลูบไล้

ด้วยจันทน์ เทศหนา ๆ หรือมีร่างกายงดงาม เพราะลูบไล้ด้วยจุณไม้จันทน์.

พระเถระถามอย่างนี้แล้ว เทพธิดาได้พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีฉันได้ถวายพวงมาลัยและ

น้ำอ้อยแด่พระคุณเจ้าผู้เที่ยวบิณฑบาตอยู่ ดีฉันจึง

ได้เสวยผลแห่งกรรมนั้นในเทวโลก ข้าแต่ท่านผู้

เจริญ แต่ดีฉันยังมีความเดือดร้อน ผิดพลาด เป็น

ทุกข์ เพราะดีฉันไม่ได้ฟังธรรม อันพระพุทธเจ้าผู้

เป็นธรรมราชาทรงแสดงดีแล้ว ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

เพราะเหตุนั้น ดีฉันจึงมากราบเรียนพระคุณเจ้า ซึ่ง

เป็นผู้ควรอนุเคราะห์ดีฉัน โปรดชักชวนผู้ที่ควร

อนุเคราะห์นั้นด้วยธรรม ที่พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระ-

ธรรมราชาทรงแสดงดีแล้ว ทวยเทพที่มีศรัทธาความ

เชื่อในพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ และพระ-

สังฆรัตนะ ก็รุ่งโรจน์ล้ำดีฉัน โดยอายุ ยศ สิริ

ทวยเทพอื่น ๆ ก็ยิ่งยวดกว่า โดยอำนาจและวรรณะ

มีฤทธิ์มากกว่าดีฉัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาล ได้แก่ ดอกมะลิ. บทว่า

ผาณิต ได้แก่ น้ำอ้อยที่เอารสคือนำของอ้อยทำ.

บทว่า อนุตาโป ได้แก่ ความร้อนใจ. เทพธิดากล่าวเหตุแห่ง

ความร้อนใจว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ แต่ดีฉันยังมีความเดือดร้อน ผิดพลาด

เป็นทุกข์ ดังนี้. บัดนี้เทพธิดาแสดงเหตุโดยสรุปว่า ดีฉันนั้นไม่ได้

ฟังธรรม. ในกาลนั้น ดีฉันนั้นไม่ได้ฟังธรรมของท่านผู้ประสงค์จะแสดง.

เช่นไร คือ ที่พระธรรมราชาทรงแสดงดีแล้ว. บทว่า สุเทสิต ธมฺมราเชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

ความว่า อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว เพราะเป็นธรรมงามใน

เบื้องต้นเป็นต้น และเพราะเป็นธรรมนำสัตว์ออกจากทุกข์โดยส่วนเดียว.

บทว่า ต ความว่า เพราะเหตุนั้น คือเพราะเป็นธรรมที่พระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นธรรมราชาทรงแสดงดีแล้ว และเพราะการไม่ได้ฟังเป็นเหตุ

แห่งความเดือดร้อนสำหรับคนเช่นพวกเรา. บทว่า ต ได้แก่ ตุว

แปลว่า ท่าน อธิบายว่า แก่ท่าน. บทว่า ยสฺส ตัดบทเป็น โย อสฺส.

บทว่า อนุกมฺปิโย แปลว่า ควรอนุเคราะห์. บทว่า โกจิ ได้แก่

คนใดคนหนึ่ง. บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ในธรรมมีศีลเป็นต้น ปาฐะว่า

ธมฺเมหิ ก็มี ความว่า ในศาสนธรรม. บทว่า หิ เป็นเพียงนิบาต

หรือเป็นวจนวิปลาส. บทว่า ต ได้แก่ บุคคลที่พึงอนุเคราะห์ บทว่า

สุเทสิต ได้แก่ ที่ทรงแสดงแล้วด้วยดี.

บทว่า เต ม อติวิโรจนฺติ ความว่า เทพบุตรผู้เลื่อมใสในพระ-

รัตนตรัยอย่างยิ่งเหล่านั้น ย่อมรุ่งโรจน์ล้ำดีฉัน. บทว่า ปตาเปน ได้แก่

ด้วยเดช คืออานุภาพ. บทว่า อญฺเ ได้แก่ เหล่าใดอื่น. บทว่า

มยา เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ. เทพธิดาแสดงว่า

ทวยเทพ ผู้มีวรรณะยิ่งกว่า และมีฤทธิ์มากกว่า [ ดีฉัน ]. ทวยเทพ

เหล่านั้น ล้วนแต่เลื่อมใสอย่างยิ่งในพระรัตนตรัยทั้งนั้น คำที่เหลือมีนัย

ดังกล่าวนั้นนั่นแล.

จบอรรถกถาปภัสสรวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

๓. นาควิมาน

ว่าด้วยนาควิมาน

พระวังคีสเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๔๑] ท่านประดับองค์แล้ว ขึ้นนั่งคชสารตัวประ-

เสริฐ ซึ้งมีขนาดใหญ่ งามไปด้วยแก้วและทองวิจิตร

ด้วยข่ายทอง ผูกสายรัดประคนเรียบร้อย เลื่อนลอย

ในอากาศเวหามาในที่นี้ ที่งาทั้งสองของคชสารมี

สระโบกขรณีที่เนรมิตไว้ มีน้ำใสสะอาดดาดาษไป

ด้วยดอกปทุมบานสะพรั่ง ดอกปทุมทั้งหลาย มี

หมู่เทพอัปสรนักดนตรีพากันมาขับร้องประสานเสียง

และฟ้อนรำ ชวนให้เกิดความประทับ ดูก่อน

เทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ท่านบรรลุเทวฤทธิ์แล้ว

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทิศ.

เทพธิดานั้นตอบว่า

ดีฉันได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงพาราณสี ได้

ถวายผ้าคู่แด่พระพุทธเจ้า ถวายบังคมพระยุคลบาท

แล้วนั่งอยู่ที่พื้นดิน ดีฉันปลื้มใจได้กระทำอัญชลี

อนึ่ง พระพุทธเจ้ามีพระฉวีวรรณผุดผ่องดุจทองคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

ธรรมชาติ ได้ทรงแสดงทุกขสัจและสมุทัยสัจ และ

ได้ทรงแสดงทุกขนิโรธ อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้

และมรรคสัจแก่ดีฉัน โดยประการที่ดีฉันจักรู้แจ้งได้

ดีฉันเป็นคนมีอายุน้อย ทำกาละ (ตาย) จุติจาก

ชาตินั้นแล้ว ไปเกิดในชั้นไตรทศ ( ดาวดึงส์) เป็น

ผู้เรืองยศ เป็นปชาบดีองค์หนึ่งของท้าวสักกะ นามว่า

ยสุตตรา ปรากฏไปทุกทิศ.

จบนาควิมาน

อรรถกถานาควิมาน

นาควิมาน มีคาถาว่า อลงฺกตา มณิกญฺจนาจิต เป็นต้น.

นาควิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน กรุง-

พาราณสี. สมัยนั้น อุบาสิกาชาวพาราณสีคนหนึ่งมีศรัทธาปสาทะ สมบูรณ์

ด้วยศีลและจรรยา นางให้ทอผ้าคู่ อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ซัก

ย้อมดีแล้ว เข้าเฝ้าวางผ้าไว้แทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้ว

กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรด

อนุเคราะห์ทรงรับผ้าคู่นี้ ซึ่งจะพึงเป็นประโยชน์ เป็นสุขตลอดกาลนาน

แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผ้าคู่นั้น ทรงเห็น

อุปนิสัยสมบัติของนาง จึงทรงแสดงธรรม. จบเทศนา นางดำรงอยู่ใน

โสดาปัตติผล ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้วกลับบ้าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

ต่อมาไม่นานนัก นางตายไปเกิดในภพดาวดึงส์ ได้เป็นที่สนิทเสน่หาของ

ท้าวสักกเทวราช มีนามว่า ยสุตตรา. ด้วยบุญญานุภาพของนาง ก็บังเกิด

กุญชรชาติตัวประเสริฐ คลุมด้วยข่ายทอง ที่คอของกุญชรนั้นมีมณฑป

แก้วมณี กลางมณฑปก็บังเกิดรัตนบัลลังก์ที่ตกแต่งไว้อย่างดี และที่งา

ทั้งสองของกุญชรนั้น ปรากฏมีสระโบกขรณี ๒ สระ ดาดาษไปด้วย

ดอกปทุมบานสะพรั่งน่ารื่นรมย์ ในดอกปทุมนั้น ๆ มีเทพธิดายืนอยู่ตาม

กลีบปทุม ประโคมดนตรีเครื่อง ๕ และขับร้องกัน.

พระศาสดาประทับที่กรุงพาราณสี ตามพระพุทธอัธยาศัย แล้ว

เสด็จจาริกไปยังกรุงสาวัตถี. ครั้นเสด็จถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับแล้ว ได้

ยินว่า ในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้น เทพธิดานั้นตรวจดู

ทิพยสมบัติที่คนเสวยอยู่ ทบทวนถึงเหตุที่ได้เสวยทิพยสมบัติ ทราบว่า

เหตุคือถวายผ้าคู่แด่พระศาสดา เกิดโสมนัส เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาค-

เจ้ามาก ประสงค์จะถวายบังคม ครั้นล่วงราตรีปฐมยาม นางนั่งเหนือคอ

ช้างตัวประเสริฐ เหาะมาลงจากคอช้างนั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว ยืนประคองอัญชลีอยู่ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง. ท่านพระวังคีสะ

โดยพระพุทธานุญาติ ได้ถามนางด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ท่านประดับองค์แล้ว ขึ้นนั่งคชสารตัวประเสริฐ

ซึ่งมีขนาดใหญ่ งามไปด้วยแก้วและทอง วิจิตร

ด้วยข่ายทอง ผูกสายรัดประคนเรียบร้อย เลื่อนลอย

ในอากาศเวหามาในที่นี้ ที่งาทั้งสองของคชสาร มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

สระโบกขรณีที่เนรมิตไว้ มีน้ำใสสะอาด ดาดาษไป

ด้วยดอกปทุมบานสะพรั่ง ดอกปทุมทั้งหลาย มีหมู่

เทพอัปสรนักดนตรีพากันมาขับร้องประสานเสียง

และฟ้อนรำ ชวนให้เกิดความประทับใจ.

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก ท่านบรรลุเทว-

ฤทธิ์แล้ว ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกตา ได้แก่ ประดับประดาด้วย

อาภรณ์ทุกอย่าง. บทว่า มณิกญฺจนาจิต ความว่า ประดับด้วยแก้วและ

ทองซึ่งนับว่าเป็นทิพย์เหล่านั้น. บทว่า สุวณฺณชาลจิต ได้แก่ คลุมด้วย

ข่ายทอง. บทว่า มหนฺต ได้แก่ไพบูลย์ [สูงใหญ่ ]. บทว่า สุกปฺปิต

ความว่า ผูกสอดอย่างดีด้วยเครื่องผูกสอดสำหรับเดิน. บทว่า เวหาสย

ได้แก่ เหนือหลังช้างกลางหาว. บทว่า อนฺตลิกฺเข ได้แก่ ในอากาศ.

ปาฐะว่า อลงฺกตมณิกญฺจนาจิต ดังนี้ก็มี และในข้อนี้มีความย่อดัง

ต่อไปนี้ ดูก่อนเทพธิดา ท่านประดับองค์ด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง

ขึ้นช้างตัวประเสริฐ คือช้างสูงสุดเป็นช้างขนาดใหญ่ คือใหญ่เหลือเกิน

งามด้วยแก้วและทองที่ประดับแล้ว ระยับด้วยแก้วและทองซึ่งนับว่าเป็น

ทิพย์อย่างยิ่ง โดยทำให้เป็นของที่ประดับอยู่แล้ว คอบคลุมด้วยข่ายทอง

คือเครื่องประดับช้าง ต่างโดยเครื่องประดับกระพองเป็นต้น นั่งบนหลัง

ช้างเหาะลงในที่นี้เข้ามาหาเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

บทว่า นาคสฺส ทนฺเตสุ ทุเวสุ นิมฺมิตา ความว่า ที่งาทั้งสอง

ของช้างนี้ ศิลปินผู้ชำนาญสร้างสระโบกขรณีไว้อย่างดีสองสระ เหมือน

ของพระยาช้างเอราวัณ. บทว่า ตุริยคณา ได้แก่ หมู่เทพอัปสรนักดนตรี

เครื่อง ๕ คือกลุ่มเทพอัปสรนักดนตรีเครื่อง ๕. บทว่า ปภิชฺชเร ความว่า

แยกเสียงประสาน ๑๒ ประเภท เกจิอาจารย์กล่าวว่า ปวชฺชเร บ้าง

อธิบายว่า บรรเลงหลายประการ. ถูกพระเถระถามอย่างนี้แล้ว เทพธิดา

ก็กล่าวตอบ ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดีฉันได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่กรุงพาราณสี ได้

ถวายผ้าคู่หนึ่งแด่พระพุทธเจ้า ถวายบังคมพระยุคล-

บาท แล้วนั่งอยู่ที่พื้นดิน ดีฉันปลื้มใจได้กระทำ

อัญชลี อนึ่ง พระพุทธเจ้ามีพระฉวีวรรณผุดผ่องดุจ

ทองคำธรรมชาติ ได้ทรงแสดงทุกขสัจและสมุทัยสัจ

และได้ทรงแสดงทุกขนิโรจสัจ อันปัจจัยปรุงแต่ง

ไม่ได้ และมรรคสัจแก่ดีฉัน โดยประการที่ดีฉันจักรู้

แจ้งได้ ดีฉันเป็นคนมีอายุน้อย ทำกาละ [ ตาย ]

จุติ จากชาตินั้นแล้ว ไปเกิดในชั้นไตรทศ [ ดาว-

ดึงส์ ] เป็นผู้เรืองยศ เป็นปชาบดีองค์หนึ่งของท้าว-

สักกะ นามว่า ยสุตตรา ปรากฏไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉมา แปลว่า ที่พื้นดิน. จริงอยู่ บท

นี้เป็นปฐมาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. บทว่า วิตฺตา แปลว่า

ยินดีแล้ว. บทว่า ยโต แปลว่า โดยประการใด คือ โดยพระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

ทรงแสดงสามุกังสิกธรรมเทศนายกขึ้นแสดงเอง ( ไม่ต้องปรารภคำถาม

เป็นต้นของผู้ฟัง ได้แก่เทศนาเรื่องอริยสัจ ). บทว่า วิชานิสฺส ความว่า

จักแทงตลอดอริยสัจ ๔.

บทว่า อปฺปายุกี ความว่า เป็นผู้มีอายุน้อย เพราะกรรมสิ้นสุด

ดุจที่เกิดต่อเนื่องกันว่า เพราะทำบุญอันโอฬารเช่นนี้ ท่านจึงไม่ต้องดำรง

อยู่อย่างนี้ในอัตภาพมนุษย์ที่มากไปด้วยความทุกข์นี้. บทว่า อญฺตรา

ปชาปติ ความว่า เป็นปชาบดี องค์หนึ่ง บรรดาปชาบดีหมื่นหกพันองค์

[ของท้าวสักกะ]. บทว่า ทิสาสุ วิสฺสุตา ความว่า ปรากฏ คือ รู้จัก

ทั่วไปในทิศทั้งปวง ในเทวโลกทั้งสอง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว

นั่นแล.

จบอรรถกถานาควิมาน

๔. อโลมวิมาน

ว่าด้วยอโลมวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๔๒] ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามเปล่ง

รัศมีสว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร

ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก

จึงเกิดแก่ท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอ

ถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

รัศมีจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรม ที่มีผลอย่างนี้ว่า

ดีฉันอยู่ในกรุงพาราณสี มีจิตเลื่อมใส ได้ถวาย

ขนมแห้ง แด่พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ด้วย

มือของตน ขอพระคุณเจ้าโปรดดูผลของชิ้นขนมแห้ง

อันหารสเค็มมิได้ ครั้นเห็นว่าถวายขนมแห้งไม่เค็ม

แล้วได้ความสุข ใครเล่าจักไม่ทำบุญ เพราะบุญนั้น

ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึง

สำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิดแก่

ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้กระทำบุญใด

ไว้ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และรัศมีจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบอโลมวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

อรรถกถาอโลมวิมาน

อโลมวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น. อโลมวิมาน

นั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุง-

พาราณสี เวลาเช้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑ-

บาตยังกรุงพาราณสี. ในกรุงพาราณสีนั้น มีหญิงเข็ญใจคนหนึ่งชื่อ

อโลมา เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเลื่อมใส ไม่เห็นสิ่งอื่นที่ควรถวาย

นางคิดว่า ของที่ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เช่นนี้ ก็จักมีผลมากแก่

เรา จึงน้อมถวายขนมแห้งไม่เค็มมีผิวราน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ

ขนมนั้น. นางได้ยึดทานนั้นเป็นอารมณ์ เสวยโสมนัสความดีใจ กาล

ต่อมา นางตายบังเกิดในภพดาวดึงส์. ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามนางว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม เปล่งรัศมี

สว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอัน

นี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก จึง

เกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมี

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดาแม้นั้นได้ตอบปัญหาแก่พระเถระแล้ว. เพื่อจะแสดงข้อนั้น

พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

เทวดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ดีฉันอยู่ในกรุงพาราณสี มีจิตเลื่อมใส ได้

ถวายขนมแห้ง แด่พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์พระ-

อาทิตย์ด้วยมือของตน ขอพระคุณเจ้าโปรดดูผลของ

ชิ้นขนมแห้ง อันหารสเค็มมิได้ ครั้นเห็นว่าขนม

แห้งไม่เค็มแล้วได้ความสุข ใครเล่าจักไม่ทำบุญ.

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะ

บุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่าง

ที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันได้กระทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

รัศมีจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโลม สุขิต ทิสฺวา ความว่า เห็น

ว่าถวายขนมแห้งแม้ชื่อ อโลมะ แล้วยังได้สุขโดยความสุขอันเป็นทิพย์

อย่างนี้. บทว่า โก ปุญฺ น กริสฺสติ ความว่า ใครเล่าเมื่อหวัง

ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขสำหรับตน จักไม่กระทำบุญ. คำที่เหลือมี

นัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาอโลมวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

๕. กัญชิกทายิกาวิมาน

ว่าด้วยกัญชิกทายิกาวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๔๓] ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามเปล่ง

รัศมีสว่างไปทุกทิศ ดุจดาวประกายพรึก เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผล

อันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึง

เกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีจึงสว่างไสว

ไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาแห่งกรรม ที่มีผลอย่างนี้ว่า

เมื่อชาติก่อน ดีฉันเกิดเป็นมนุษย์ ดีฉันมีใจ

เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ซื่อตรง ได้ถวายน้ำข้าวที่

ปรุงด้วยพุทรา อบด้วยน้ำมัน และผสมด้วยดีปลี

กระเทียม และรากผักชี แด่พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่า-

พันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ณ อันธกวินทนคร นารีผู้งาม

ทั่วสรรพางค์ สามีมองไม่จืด ครองความเป็นมเหสี

ของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่ง

การถวายน้ำข้าวนั้น ทองคำร้อยแท่ง ม้าร้อยตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

รถเทียมแม่ม้าอัสดรร้อยคัน สาวน้อยประดับตุ้มหู

แก้วมณีแสนนาง ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการ

ถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง ช้างตัวประเสริฐตระกูลเหมวตะ

มีงาดุจงอนไถ มีสายรัดทองคำ มีที่อยู่อาศัยเป็น

ทอง ( ถ้ำทอง ) ร้อยเชือก ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖

แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง ถึงแม้พระเจ้าจักร-

พรรดิ ครองความเป็นใหญ่แห่งทวีปทั้ง ๔ ก็ยังไม่

เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง.

จบกัญชิกทายิกาวิมาน

อรรถกถากัญชิกทายิกาวิมาน

กัญชิกทายิกาวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น.

กัญชิกทายิกาวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประชวรโรคลมในพระนาภี จึงตรัส

เรียกท่านพระอานนท์สั่งว่า อานนท์ เธอจงไปเที่ยวบิณฑบาต นำ

น้ำข้าวมาเพื่อทำยาแก่เรา. ท่านพระอานนท์ทูลตอบรับพระพุทธดำรัสว่า

พระพุทธเจ้าข้า. ถือบาตรที่ท้าวมหาราชถวาย ยืนอยู่ที่ประตูนิเวศน์

ของหมอผู้เป็นอุปัฏฐากของตน ภริยาของหมอเห็นท่าน ก็ออกไปต้อน-

รับไหว้แล้วรับบาตรพลางถามพระเถระว่า ต้องการยาอะไร เจ้าข้า.

เล่ากันว่า ภริยาของหมอนั้นเป็นคนมีปัญญา สังเกตรู้ว่า เมื่อจะประกอบ

ยา พระเถระจึงมาที่นี้ มิใช่มาเพื่อภิกษา. และเมื่อพระเถระบอกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

ต้องการน้ำข้าว นางคิดว่า นี้มิใช่ยาสำหรับพระผู้เป็นเจ้าของเรา บาตร

นี้ก็เป็นบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยแท้ เอาละ เราจะจัดน้ำข้าวอัน

เหมาะแก่พระโลกนาถ นางดีใจเกิดความนับถือมาก จึงปรุงยาคู ข้าวต้ม

ด้วยพุทราและถั่วพูใส่เต็มบาตร และจัดโภชนะอย่างอื่นเป็นบริวารของ

ยาคูนั้นส่งไปถวาย. พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยยาคูนั้นเท่านั้น อาพาธ

นั้นก็สงบ ต่อมา นางตายไปบังเกิดในภพดาวดึงส์ เสวยทิพยสมบัติยิ่งใหญ่

บันเทิงอยู่. ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม เปล่งรัศมี

สว่างไปทุกทิศ ดุจดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลนี้จึงสำเร็จ

แก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ท่าน.

เป็นมนุษย์ท่านทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีจึงสว่างไสว

ไปทุกทิศ.

เทวดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ เทพธิดา

แม้นั้นพยากรณ์ว่า ดีฉันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า

ผู้ซื่อตรงได้ถวายน้ำข้าวที่ปรุงด้วยพุทรา อบด้วยน้ำมัน

และผสมด้วย ดีปลี กระเทียม และรากผักชี แด่

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ณ อันธก-

วินทนคร. นารีผู้งามทั่วสรรพางค์ สามีมองไม่จืด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

ครองความเป็นมเหสีของพระเจ้าจักรพรรดิ ก็ยังไม่

เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวนั้น. ทองคำ

ร้อยแห่ง ม้าร้อยตัว รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรร้อยคัน

สาวน้อยประดับตุ้มหูแก้วมณีแสนนาง ก็ยังไม่เท่า

เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายนำข้าวครั้งหนึ่ง. ช้างตัว

ประเสริฐตระกูลเหมวตะ มีงาดุจงอนไถ มีสายรัด

ทองคำ มีที่อยู่อาศัยเป็นทอง [ ถ้ำทอง ] ร้อยเชือก

ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าวครั้งหนึ่ง.

ถึงแม้พระเจ้าจักรพรรดิ ครองความเป็นใหญ่แห่งทวีป

ทั้ง ๔ ก็ยังไม่เท่าเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งการถวายน้ำข้าว

ครั้งหนึ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทาสึ โกลสมฺปาก กญฺชิก เตลธูปิต

เทพธิดาแสดงว่า ดีฉันเอาน้ำพุทราและมะซางเติมน้ำสี่ส่วน เคี่ยวยาคู

ข้าวต้มเหลือส่วนที่สี่ ปรุงด้วยของเผ็ดร้อนทั้งหลายมีของเผ็ดร้อน ๓ อย่าง

ผักชีมหาหิงคุ์ยี่หร่าและกระเทียมเป็นต้น อบอย่างดีให้ข้าวยาคูนั้นจับกลิ่น

พริกไทย แล้วเกลี่ยลงในบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายเฉพาะ

พระศาสดาด้วยจิตเลื่อมใส. ดีฉันวางไว้ในมือของพระเถระ. เพราะเหตุ

นั้น เทพธิดาจึงกล่าวว่า

ดีฉันมีใจเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้ซื่อตรงได้

ถวายน้ำข้าวที่ผสมด้วยดีปลี กระเทียมและพริกไทย

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.

เมื่อเทวดานั้นชี้แจงถึงกรรมสุจริตที่ตนสั่งสมไว้แล้ว ท่านพระมหา

โมคคัลลานะก็แสดงธรรมแก่เธอพร้อมทั้งบริวารอย่างนี้แล้ว กลับมายัง

มนุษยโลก กราบทูลเรื่องนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทำเนื้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดขึ้นแห่งเรื่องทรงแสดงธรรม

ในท่ามกลางบริษัท ๔. เทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

จบอรรถกถากัญชิกทายิกาวิมาน

๖. วิหารวิมาน

ว่าด้วยวิหารวิมาน

ท่านพระอนุรุทธะถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๔๔] ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม เปล่งรัศมี

สว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เมื่อท่าน

ฟ้อนรำอยู่ เสียงอันเป็นทิพย์ น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ

ก็เปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน กลิ่นทิพย์ที่

หอมหวนยวนใจ ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุก

ส่วน เมื่อท่านเคลื่อนไหวกาย เครื่องประดับช้องผม

ก็เปล่งเสียงกังวานฟังไพเราะ ดุจดนตรีเครื่อง ๕

มาลัยประดับศีรษะที่ต้องลม ถูกลมพัดไหว ก็ส่งเสียง

ดังกังวานไพเราะดุจดนตรีเครื่อง ๕ แม้พวงมาลัย

บนศีรษะของท่าน ก็มีกลิ่นขโมยหวนยวนใจ หอมฟุ้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

ไปทุกทิศ ดุจต้นอุโลกฉะนั้น ดูก่อนเทพธิดา ท่าน

สูดดมกลิ่นที่หอมหวน เห็นรูปทิพย์ซึ่งมิใช่ของมนุษย์

ท่านถูกอาตมาถามแล้วโปรดบอกทีเถิด นี้เป็นผลของ

กรรมอะไร.

เทพธิดานั้นตอบว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหา

อุบาสิกาสหายของดีฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้สร้าง

มหาวิหารถวายสงฆ์ ดีฉันเห็นมหาวิหารและการ

บริจาคทรัพย์อุทิศสงฆ์ ซึ่งเป็นที่รักของดีฉัน เลื่อมใส

ในบุญนั้นจึงอนุโมทนา ดีฉันได้วิมานที่อัศจรรย์น่า

ทัศนา ด้วยอนุโมทนาอันบริสุทธิ์นั้นเอง วิมานลอย

ไปในเวหาเปล่งรัศมี ๑๒ โยชน์โดยรอบ ด้วยฤทธิ์

ของดีฉัน ห้องรโหฐานที่อยู่อาศัยของดีฉัน อันบุญ

กรรมจัดไว้เป็นพิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตไว้เป็น

ส่วน ๆ เมื่อส่องแสง ก็ส่องสว่างไปร้อยโยชน์โดย

รอบทิศ อนึ่ง ที่วิมานของดีฉันนั้น มีสระโบกขรณี

มีหมู่มัจฉาชาติอยู่อาศัยประจำ มีน้ำใสสะอาดปูลาด

ด้วยทรายทอง ดาดาษไปด้วยปทุมบัวหลวงหลากชนิด

อันบุณฑริกบัวขาวรายล้อมไว้รอบ ยามลมรำเพยพัด ก็

โชยกลิ่นระรื่นจรุงใจ มีรุกขชาตินานาชนิด คือ หว้า

ขนุน ตาล มะพร้าว และวนะทั้งหลาย เกิดเอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

ภายในนิเวศน์ มิได้มีใครปลูก วิมานนี้กึกก้องไปด้วย

นานาดนตรี เหล่าอัปสรเทพนารีก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว

แม้นรชนที่ฝันเห็นแล้ว ก็จะพึงปลื้มใจ วิมานมีรัศมี

สว่างไสวไปทุกทิศ น่าอัศจรรย์จิตใจ น่าทัศนาเช่นนี้

บังเกิดเพราะกุศลกรรมของดีฉัน (ฉะนั้น) จึงควร

แท้ที่สาธุชนจะทำบุญกันไว้.

พระอนุรุทธเถระประสงค์จะให้นางบอกสถานที่ที่นางวิสาขาบังเกิด

จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

ท่านได้วิมานที่อัศจรรย์น่าทัศนา ด้วยอนุโมทนา

อันบริสุทธิ์นั้นเอง ขอท่านจงบอกคติของนางวิสาขา

ผู้ที่ได้ถวายทานนั้น นางวิสาขานั้นเกิดที่ไหน.

เทพธิดานั้นตอบว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ วิสาขาอุบาสิกานั้น

เป็นสหายของดีฉัน ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์ เธอ

รู้แจ้งธรรมได้ถวายทาน เกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี

เป็นปชาบดีของท้าวสุนิมมิตนั้น วิบากแห่งกรรมของ

นางวิสาขามหาอุบาสิกานั้น อันใคร ๆ ไม่ควรคิด

ดีฉันได้พยากรณ์ที่เกิดของนางวิสาขา ที่พระคุณเจ้า

ถามว่า นางวิสาขานั้นเกิดที่ไหน โดยถูกต้อง ดังนี้.

ถ้าอย่างนั้น ขอพระคุณเจ้าโปรดชักชวน แม้คน

อื่น ๆ ว่า พวกท่านจงปลื้มใจถวายทานแด่สงฆ์เถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

และจงมีใจเลื่อมใสฟังธรรม ลาภคือการได้ความเป็น

มนุษย์ เป็นการได้แสนยาก พวกท่านก็ได้แล้ว

พระพุทธเจ้ามีพระสุรเสียงดั่งพรหม มีพระฉวีวรรณ

ดังทองคำ เป็นอธิบดีแห่งมรรคา ได้ทรงแสดงมรรคา

ไรเล่าไว้ ท่านทั้งหลายจงปลื้มใจถวายทานแด่สงฆ์ ซึ่ง

เป็นเขตที่ทักษิณามีผลมาก บุคคลเหล่าใด ๘ จำพวก

๔ คู่ ที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นเป็นพระ-

ทักขิไณยบุคคลเป็นสาวกของพระสุคต ทานที่ถวาย

ในบุคคลเหล่านี้ มีผลมาก ท่านที่ปฏิบัติอริยมรรค ๔

และท่านที่ดำรงอยู่ในอริยผล ๔ นี้คือสงฆ์ เป็นผู้

ซื่อตรง มั่นคงอยู่ในปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์ทั้ง

หลายผู้มุ่งบุญ บูชากระทำบุญอย่างยิ่ง ทานที่ถวายใน

สงฆ์ย่อมมีผลมาก ด้วยว่า พระสงฆ์นี้เป็นเขตที่

กว้างใหญ่ คำนวณนับมิได้ เหมือนสาครมหาสมุทร

นับจำนวนน้ำมิได้ ก็พระสงฆ์เหล่านี้ เป็นผู้ประเสริฐ

สุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร เป็นผู้

สร้างแสงสว่าง กล่าวสอนธรรม ชนเหล่าใดถวาย

ทานอุทิศพระสงฆ์ ทานของชนเหล่านั้น เป็นอันถวาย

ดีแล้ว เช่นสรวงดีแล้ว บูชาดีแล้ว ทักษิณานั้นถึง

สงฆ์ ดำรงมั่น มีผลมาก พระผู้รู้โลกทรงสรรเสริญ

แล้ว ชนเหล่าใดยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก หวนระลึก

ถึงบุญเช่นนี้ได้ เกิดความรู้ พึงกำจัดมลทินคือความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

ตระหนี่ พร้อมทั้งมูลราก ไม่ถูกเขาติเตียน ย่อมเข้า

ถึงสัคคสถานแดนสวรรค์ ดังนี้.

จบวิหารวิมาน

จบภาณวารที่ ๒

อรรถกถาวิหารวิมาน

วิหารวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น. วิหาร

วิมานนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน กรุงสาวัตถี. สมัย

นั้น มหาอุบาสิกาวิสาขาพร้อมด้วยเพื่อนหญิงและบริวารชน ต่างขะมัก

เขม้นอาบน้ำแต่งตัว เพื่อจะเที่ยวอุทยานในวันรื่นเริงวันหนึ่ง นางบริโภค

โภชนะอย่างดี ประดับมหาลดาประสาธน์แวดล้อมไปด้วยเพื่อนหญิงประ-

มาณ ๕๐๐ คน ออกจากเรือนด้วยอิสริยะอันยิ่งใหญ่ ด้วยการกำหนด

การที่ยิ่งใหญ่ กำลังเดินตรงไปยังอุทยาน คิดว่า ประโยชน์อะไรของเรา

ด้วยการเล่นที่เปล่าประโยชน์ เหมือนเด็กหญิงโง่ ๆ เอาละ เราจักไป

วิหาร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าและไหว้พระคุณเจ้าทั้งหลายที่น่า

เจริญใจ และจักฟังธรรม ถึงวิหารแล้วหยุดในที่สมควรแห่งหนึ่ง เปลื้อง

มหาลดาประสาธน์มอบไว้ในมือของหญิงรับใช้ ถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแห่งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม

แก่วิสาขามหาอุบาสิกานั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

นางฟังธรรมถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทำประทักษิณ และ

ไหว้ภิกษุทั้งหลายที่น่าเจริญใจ ออกจากวิหารไปได้หน่อยหนึ่ง กล่าวกะ

หญิงรับใช้ว่า เอาละแม่สาวใช้ ฉันจักประดับเครื่องประดับ. หญิงรับใช้

นั้นห่อเครื่องประดับวางไว้ในวิหารแล้วเที่ยวไปในที่นั้น ๆ ลืมของไว้ เมื่อ

ประสงค์จะกลับนึกขึ้นได้จึงพูดว่า ดิฉันลืมของไว้เจ้าค่ะ หยุดก่อน

นายท่าน ดีฉันจักไปนำมา. นางวิสาขากล่าวว่า นี่เจ้า ถ้าเจ้าลืมเครื่อง

ประดับนั้นไว้ในวิหาร ฉันจักบริจาคเครื่องประดับเพื่อสร้างวิหารนั้นนั่น

แหละ นางไปวิหารเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมแล้วแจ้งความ

ประสงค์ของตน กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักสร้าง-

วิหาร ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดอนุเคราะห์รับไว้เถิด พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ.

นางวิสาขาสละเครื่องประดับนั้น ซึ่งมีราคาถึงเก้าโกฏิเจ็ดพันเหรียญ

สร้างปราสาทหลังใหญ่สมควรเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า และ

เป็นที่อยู่ของภิกษุสงฆ์ ประดับด้วยห้องหนึ่งพันห้อง คือชั้นล่างห้าร้อย

ห้อง ชั้นบนห้าร้อยห้อง เช่นเสมือนเทพวิมานมีภูมิพื้นดุจคลังแก้วมณี

มีส่วนของเรือนเป็นต้นว่า ฝา เสา ขื่อ จันทัน ช่อฟ้า บานประตู

หน้าต่างและบันได ที่ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระผู้ควบคุมการก่อสร้าง

จัดไว้อย่างดี น่าจับใจ งานไม้ที่น่ารื่นรมย์ก็ตกแต่งสำเร็จเป็นอย่างดี

งานปูนก็พิถีพิถันทำอย่างดีน่าปลื้มใจ วิจิตรไปด้วยจิตรกรรมมีมาลากรรม

ลายดอกไม้ และลดากรรมลายเถาไม้เป็นต้นที่ประดับตกแต่งไว้อย่างงดงาม

และสร้างปราสาทห้องรโหฐานหนึ่งพันปราสาทเป็นบริวารของปราสาท

ใหญ่นั้น และสร้างกุฎีมณฑป และที่จงกรมเป็นต้นเป็นบริวารของปราสาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

เหล่านั้น ใช้เวลา ๙ เดือนจึงสร้างวิหารเสร็จ เมื่อวิหารสำเร็จเรียบร้อย

แล้ว นางวิสาขาใช้เงินฉลองวิหารถึงเก้าโกฏิเหรียญ นางพร้อมด้วยหญิง

สหายประมาณ ๕๐๐ คนขึ้นปราสาท ได้เห็นสมบัติของปราสาทนั้น ดีใจ

กล่าวกะพวกเพื่อนหญิงว่า เมื่อฉันสร้างปราสาทหลังนี้งามถึงเพียงนี้ ขอ

เธอทั้งหลายจงอนุโมทนาบุญที่ฉันขวนขวายนั้น ฉันขอให้ส่วนบุญแก่พวก

เธอ. เพื่อนหญิงทั้งหมดมีใจเลื่อมใสต่างอนุโมทนาว่า อโห สาธุ อโห

สาธุ ดีจริง ๆ ดีจริง ๆ.

บรรดาเพื่อนหญิงเหล่านั้น เพื่อนอุบาสิกาคนหนึ่งได้ใส่ใจถึงการ

แผ่ส่วนบุญให้นั้นเป็นพิเศษ ต่อมาไม่นาน นางได้ตายไปบังเกิดในภพ

ดาวดึงส์ ด้วยบุญญานุภาพของนางได้ปรากฏวิมานหลังใหญ่ ยาวกว้าง

และสูงสิบหกโยชน์ ประดับประดาด้วยห้องรโหฐาน กำแพงอุทยาน

และสระโบกขรณีเป็นต้นมิใช่น้อย ล่องลอยอยู่ในอากาศ แผ่รัศมีของตน

ไปได้ร้อยโยชน์ อัปสรนั้น เมื่อจะเดินก็เดินไปพร้อมกับวิมาน สำหรับ

มหาอุบาสิกาวิสาขา เพราะมีจาคะไพบูลและมีศรัทธาสมบูรณ์จึงบังเกิดใน

สวรรค์ชั้นนิมมานรดี ได้ดำรงตำแหน่งอัครมเหสีของท้าวสุนิมมิตเทวราช

ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเที่ยวจาริกไปเทวโลก เห็นเพื่อนหญิงของนาง

วิสาขานั้นเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ จึงถามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม เปล่งรัศมี

สว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เมื่อท่าน

ฟ้อนรำอยู่ เสียงอันเป็นทิพย์ น่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ

ก็เปล่งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุกส่วน กลิ่นทิพย์ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

หอมหวนยวนใจ ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุก

ส่วน เมื่อท่านเคลื่อนไหวกาย เครื่องประดับช้องผม

ก็เปล่งเสียงกังวานน่าฟังไพเราะ ดุจดนตรีเครื่อง ๕

มาลัยประดับศีรษะที่ช้องผมถูกลมพัดไหว ก็ส่งเสียง

กังวานไพเราะดุจดนตรีเครื่อง ๕ แม้พวงมาลัยบน

ศีรษะของท่าน ก็มีกลิ่นหอมหวนยวนใจ หอมฟุ้งไป

ทุกทิศ ดุจต้นอุโลกฉะนั้น ดูก่อนเทพธิดา ท่าน

สูดดมกลิ่นที่หอมหวน เห็นรูปทิพย์ซึ่งมิใช่ของมนุษย์

ท่านถูกอาตมาถามแล้วโปรดบอกทีเถิด นี้เป็นผลของ

กรรมอะไร.

แม้เทพธิดานั้นก็ได้พยากรณ์แก่พระอนุรุทธเถระอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ นางวิสาขามหา-

อุบาสิกาสหายของดีฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี ได้สร้าง

มหาวิหารถวายสงฆ์ ดีฉันเห็นมหาวิหารและการ

บริจาคทรัพย์อุทิศสงฆ์ ซึ่งเป็นที่รักของดีฉัน เลื่อมใส

ในบุญนั้นจึงอนุโมทนา ดีฉันได้วิมานที่อัศจรรย์น่า

ทัศนา ด้วยอนุโมทนาอันบริสุทธิ์นั้นเอง วิมานลอย

ไปในเวหาเปล่งรัศมี ๒ โยชน์ โดยรอบด้วยฤทธิ์

ของดีฉัน ห้องรโหฐานที่อยู่อาศัยของดีฉัน อันบุญ

กรรมจัดไว้เป็นพิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตไว้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

ส่วน ๆ เมื่อส่องแสงก็ส่องสว่างไปร้อยโยชน์โดย

รอบทิศ อนึ่ง ที่วิมานของดีฉันนั้น มีสระโบกขรณี

ที่หมู่มัจฉาชาติอยู่อาศัยประจำ มีน้ำใสสะอาดปูลาด

ด้วยทรายทอง ดาดาษไปด้วยปทุมบัวหลวงหลากชนิด

อันบุณฑริกบัวขาวรายล้อมไว้รอบ ยามลมรำเพย

พัดก็โชยกลิ่นหอมระรื่น จรุงใจ มีรุกขชาตินานา-

ชนิด คือ หว้า ขนุน ตาล มะพร้าว และวนะ

ทั้งหลาย เกิดเองภายในนิเวศน์ มิได้มีใครปลูก

วิมานนี้กึกก้องรูปด้วยนานาดนตรี เหล่าอัปสรเทพ-

นารี ก็ส่งเสียงเจื้อยแจ้ว แม้นรชนที่ฝันเห็นแล้ว

ก็จะพึงปลื้มใจ วิมานมีรัศมีสว่างไสวไปทุกทิศ น่า

อัศจรรย์จิต น่าทัศนาเช่นนี้ บังเกิดเพราะกุศลกรรม

ของดีฉัน ( ฉะนั้น ) จึงควรแท้ที่สาธุชนจะทำบุญ

กันไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาวตฺถิย มยฺห สขี ภทนฺเต

สงฺฆสฺส กาเรสิ มหาวิหาร ความว่า ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะ มหา-

อุบาสิกาวิสาขา เพื่อนคือสหายของดีฉันผู้นี้แหละ ได้สร้างวิหารใหญ่

นามว่า บุพพาราม ด้านทิศตะวันออก แห่งกรุงสาวัตถี ด้วยการบริจาค

ทรัพย์เก้าโกฏิเหรียญ อุทิศภิกษุสงฆ์ทั้งสี่ทิศที่พากันมา.

บทว่า ตตฺถ ปสนฺนา อหมานุโมทึ ความว่า เมื่อสร้างวิหาร

นั้นสำเร็จเรียบร้อยแล้ว กำลังมอบถวายแด่สงฆ์อยู่ และนางทำปัตติทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

ให้ส่วนบุญ ดีฉันเลื่อมใสว่า โอ ! เขาบริจาคสมฐานะจริง ๆ และเกิด

ปสาทะในพระรัตนตรัยและผลแห่งกรรม จึงได้อนุโมทนา. เพื่อแสดง

ว่าการอนุโมทนาของนางโอฬารยิ่งใหญ่ เพราะอำนาจวัตถุ เทพธิดาจึง

กล่าวว่า ทิสฺวา อคารญฺจ ปิยญฺจ เมต ดังนี้ ประกอบความว่า ดีฉัน

เห็นอาคารนั้นคือปราสาทใหญ่ มีห้องหนึ่งพันห้องน่ารื่นรมย์เหลือเกิน

คล้ายเทพวิมาน และเห็นการบริจาคทรัพย์มากเช่นนั้น อุทิศภิกษุสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ซึ่งเป็นที่รักของดีฉัน จึงอนุโมทนา.

บทว่า ตาเยว เม สุทฺธนุโมทนาย ความว่า ด้วยอนุโมทนา

อันบริสุทธิ์ สิ้นเชิง เพราะไม่มีการบริจาคไทยธรรมดังกล่าวแล้ว. บทว่า

ลทฺธ วิมานพฺภูตทสฺสเนยฺย ความว่า วิมานนี้ ชื่อว่า อัศจรรย์เพราะ

ไม่เคยมีวิมานเช่นนี้มาก่อน และชื่อว่า น่าทัศนา เพราะน่าเจริญใจรอบ

ด้าน และเพราะน่ารักเหลือเกิน ดีฉันก็ได้แล้ว คือประสบแล้ว. ครั้น

แสดงว่าวิมานนั้นสวยงามอย่างนี้แล้ว บัดนี้ถึงจะแสดงว่าวิมานนั้นใหญ่

โดยขนาด ใหญ่โดยอำนาจ และใหญ่โดยเป็นของใช้ เทพธิดาจึงกล่าว

คำเป็นต้นว่า สมนฺตโต โสฬสโยชนานิ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า อิทฺธิยา มม ความว่า ด้วยบุญฤทธิ์ของดีฉัน.

บทว่า โปกฺขรญฺโ แปลว่า สระโบกขรณี. บทว่า ปุถุโลม-

นิเสวิตา แปลว่า มัจฉาทิพย์ทั้งหลายเข้าอยู่อาศัย.

บทว่า นานาปทุมสญฺฉนฺนา ความว่า ปกคลุมด้วยปทุมแดงและ

บัวแดงหลากอย่างต่างโดยชนิดร้อยกลีบและพันกลีบเป็นต้น. บทว่า

ปุณฺฑรีกสโมตตา ความว่า มีบัวขาวชนิดต่าง ๆ รายล้อมโดยรอบ

ประกอบความว่า รุกขชาตินานาชนิด ที่มิได้มีใครปลูก โชยกลิ่นหอม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

ตลบอบอวล. บทว่า โสปิ ได้แก่ ผู้นั้น คือคนแม้ที่ฝันเห็น. บทว่า

วิตฺโต แปลว่า ยินดีแล้ว.

บทว่า สพฺพโส ปภ ความว่า ส่องสว่างอยู่โดยรอบ. บทว่า

กมฺเม แปลว่า ในเพราะกรรม. บทว่า หิ เป็นเพียงนิบาต. อีกอย่างหนึ่ง

ท่านกล่าวว่า กมฺเมหิ เพราะอปราปรเจตนาที่เกิดขึ้นดีมาก. บทว่า อล

แปลว่า ควร. บทว่า กาตเว แปลว่า เพื่อทำ.

บัดนี้ พระอนุรุทธเถระประสงค์จะให้นางบอกสถานที่ ที่นางวิสาขา

บังเกิด จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

ท่านได้วิมานที่อัศจรรย์น่าทัศนา ด้วยอนุ-

โมทนาอันบริสุทธิ์นั้นเอง ขอท่านจงบอกคติของนาง

วิสาขา ผู้ที่ได้ถวายทานนั้น นางวิสาขานั้นเกิดที่ไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา เจว สา ทานมทาสิ นารี

ความว่า ท่านได้เฉพาะสมบัติเช่นนี้ ด้วยอนุโมทนาทานใด พระเถระ

กล่าวทานนั้นหมายถึงมหาอุบาสิกาวิสาขาว่า ยา เจว สา นารี อทาสิ

ดังนี้. พระอนุรุทธเถระประสงค์จะให้เทพธิดานั่นแหละบอกถึงสมบัติของ

นางวิสาขา จึงได้กล่าวว่า ตสฺสา คตึ พฺรูหิ กุหึ อุปฺปนฺนา สา ดังนี้.

บทว่า ตสฺสา คตึ ได้แก่ การบังเกิดของนางวิสาขานั้นคือเทวคติ.

บัดนี้ เมื่อเทพธิดาจะแสดงเนื้อความที่พระเถระนั้นถาม จึงได้

กล่าวว่า

ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ วิสาขามหาอุบาสิกา

นั้นเป็นสหายของดีฉัน ได้สร้างมหาวิหารถวายสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

เธอรู้แจ้งธรรม ได้ถวายทานเกิดในสวรรค์ชั้นนิม-

มานรดี เป็นปชาบดีของท้าวสุนิมมิตนั้น วิบากแห่ง

กรรมของนางวิสาขามหาอุบาสิกานั้น อันใคร ๆ ไม่

ควรคิด ดีฉันได้พยากรณ์ที่เกิดของนางวิสาขาที่

พระคุณเจ้าถามว่า นางวิสาขานั้นเกิดที่ไหน โดย

ถูกต้อง ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิญฺาตธมฺมา ได้แก่ รู้แจ้งศาสน-

ธรรม อธิบายว่า เป็นผู้แทงตลอดธรรม คืออริยสัจ ๔.

บทว่า สุนิมฺมิตสฺส ได้แก่ ของท้าวสุนิมมิตเทวราช. บทว่า

อจินฺติโย กมฺมวิปาก ตสฺสา เป็นนิทเทสชี้แจงที่ลบวิภัตติ. ความว่า

วิบากแห่งกรรมของเพื่อนหญิงของดีฉันผู้เกิดในสวรรค์ชั้นนิมมานรดีนั้น

เป็นวิบากแห่งบุญกรรม คือเป็นทิพยสมบัติอันใคร ๆ ไม่พึงคิด คือ

ประมาณไม่ได้. บทว่า อนญฺถา ได้แก่ ไม่ผิด คือตามเป็นจริง.

ถามว่า ก็นางเทพธิดานี้รู้ถึงสมบัติของนางวิสาขาได้อย่างไร. ตอบว่า

แม้วิสาขาเทพธิดาก็ไปหาเทพธิดาองค์นั้น เหมือนเทพธิดานางสุภัททาไป

หานางภัททา. บัดนี้ เทพธิดาเมื่อจะแนะพระเถระให้ช่วยชักชวนคนอื่น ๆ

ถวายทาน จึงแสดงธรรมด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ถ้าอย่างนั้น ขอพระคุณเจ้าโปรดชักชวน แม้

คนอื่น ๆ ว่า พวกท่านจงปลื้มใจถวายทานแด่สงฆ์

เถิด และจงมีใจเลื่อมใสฟังธรรม ลาภคือการได้

ความเป็นมนุษย์เป็นการได้แสนยาก พวกท่านก็ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

แล้ว พระพุทธเจ้ามีพระสุรเสียงดังพรหม มีพระ-

ฉวีวรรณดังทองคำ เป็นอธิบดีแห่งบรรดา ได้ทรง

แสดงมรรคาไรเล่าไว้ ท่านทั้งหลายจงปลื้มใจถวาย

ทานแด่สงฆ์ ซึ่งเป็นเขตที่ทักษิณามีผลมาก บุคคล

เหล่าใด ๘ จำพวก ๔ คู่ ที่ท่านผู้รู้สรรเสริญแล้ว

บุคคลเหล่านั้นเห็นพระทักขิไณยบุคคลเป็นสาวกของ

พระสุคต ทานที่ถวายในบุคคลเหล่านี้ มีผลมาก

ท่านที่ปฏิบัติอริยมรรค ๔ และท่านที่ดำรงอยู่ใน

อริยผล ๔ นั้น คือสงฆ์ เป็นผู้ซื่อตรง มั่นคงอยู่ใน

ปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญบูชา

กระทำบุญอย่างยิ่ง ทานที่ถวายในสงฆ์ย่อมมีผลมาก

ด้วยว่า พระสงฆ์นี้เป็นเขตที่กว้างใหญ่ คำนวณนับ

มิได้เหมือนสาครมหาสมุทร นับจำนวนน้ำมิได้ ก็

พระสงฆ์เหล่านี้เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นสาวกของ

พระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร เป็นผู้สร้างแสงสว่าง

กล่าวสอนธรรม ชนเหล่าใดถวายทานอุทิศพระสงฆ์

ทานของชนเหล่านั้นเป็นอันถวายดีแล้ว เช่นสรวง

ดีแล้ว บูชาดีแล้ว ทักษิณานั้น ถึงสงฆ์ดำรงมั่น มี

ผลมาก พระผู้รู้โลกทรงสรรเสริญแล้ว ชนเหล่าใด

ยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก หวนระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

เกิดความรู้ พึงคำจัดมลทินคือความตระหนี่พร้อมทั้ง

มูลราก ไม่ถูกเขาติเตียน ย่อมเข้าถึงสัคคสถานแดน

สวรรค์ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตนหญฺเปิ ตัดบทเป็น เตนหิ

อญฺเปิ และบทว่า เตน ได้แก่ ด้วยเหตุนั้น. บทว่า หิ เป็นเพียง

นิบาต. เทพธิดากล่าวว่า สมาทเปถ แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า สงฺฆสฺส

ทานานิ ททาถ ดังนี้ เพื่อแสดงอาการชักชวน. เทพธิดากล่าวว่า

สุทุลฺลโภ ลทฺโธ มนุสฺสลาโภ ดังนี้ หมายเอาความเป็นมนุษย์ซึ่งเว้น

จากอขณะ ๘ อย่าง. ในข้อนั้น อขณะ ๘ ได้แก่ อบายส่วนอรูป ๓

อสัญญีสัตว์ ๑ ปัจจันตประเทศ ๑ อินทรีย์บกพร่อง ๑ ความเป็น

นิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑ ความไม่ปรากฏพระพุทธเจ้า ๑.

บทว่า ย มคฺค ได้แก่ ทานใด ที่กระทำในเขตอันพิเศษ ทำ

ทานนั้นให้เป็นทางไปสู่สุคติ เพราะให้ถึงสุคติโดยส่วนเดียว ให้เป็น

อธิบดีแห่งทาง เพราะเป็นทางประเสริฐเหลือเกิน กว่าทางอบาย และ

กว่าทางเดินเท้าเป็นต้น ความจริง แม้ทาน ท่านก็เรียกว่า ทางไป

เทวโลก เหมือนศรัทธาและหิริ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า

ศรัทธา หิริ และกุศลทาน ธรรมเหล่านี้ไป

ตามสัตบุรุษ สัตบุรุษกล่าวธรรมนี้แหละว่าเป็นทาง

ทิพย์ เพราะสัตว์ย่อมไปเทวโลกด้วยทางทิพย์นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

ปาฐะว่า มคฺคาธิปติ ดังนี้ก็มี. พึงเห็นเนื้อความของปาฐะนั้นว่า

พระศาสดาทรงเป็นอธิบดีของโลกพร้อมทั้งเทวโลกด้วยอริยมรรค. เทพ-

ธิดาเมื่อจะประกอบชนไว้ในการจำแนกทานในทักขิไณยบุคคลอีก จึง

กล่าวด้วยคำเป็นต้นว่า สงฺฆสฺส ทานานิ ททาถ ดังนี้.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงอริยสงฆ์ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลนั้นโดยย่อ เทพธิดา

จึงกล่าวคาถาว่า เย ปุคฺคลา อฏฺ สต ปสตฺถา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เป็นนิทเทสชี้แจงโดยไม่แน่นอน.

บทว่า ปุคฺคลา ได้แก่ สัตว์. บทว่า อฏฺ เป็นการกำหนดจำนวนพระ-

อริยบุคคลเหล่านั้น ด้วยว่า พระอริยบุคคลเหล่านั้นมี ๘ คือ ผู้ตั้งอยู่ใน

มรรค ๔ และผู้ตั้งอยู่ในผล ๔.

บทว่า สต ปสตฺถา ความว่า อันสัตบุรุษทั้งหลาย คือ พระ-

พุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวก และเทวดาและมนุษย์อื่น ๆ

สรรเสริญแล้ว เพราะเหตุไร ? เพราะประกอบด้วยคุณมีศีลที่เป็นสหชาต

เกิดพร้อมกันเป็นต้น ความจริง คุณทั้งหลายมีศีลและสมาธิที่เกิดพร้อมกัน

เป็นต้น ของพระอริยบุคคลเหล่านั้น เหมือนสีและกลิ่นที่เกิดพร้อมกัน

เป็นต้น ของดอกไม้ทั้งหลายมีดอกจำปาและดอกพิกุลเป็นต้น ด้วย

เหตุนั้น คุณเหล่านั้นจึงเป็นคุณที่รักที่ชอบใจและเป็นที่สรรเสริญของสัตบุรุษ

ทั้งหลาย เหมือนดอกไม้ที่สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นเป็นต้น เป็นที่รักที่ชอบ

ใจของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เย

ปุคฺคลา อฏฺ สต ปสตฺถา ดังนี้.

อนึ่ง พระอริยบุคคลเหล่านั้น โดยสังเขปมี ๔ คู่ คือ พระอริย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผล รวมเป็น

คู่ ๑ จนถึงพระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่

ในผล รวมเป็นคู่ ๑ ด้วยประการฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

จตฺตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ เต ทกฺขิเณยฺยา ดังนี้.

บทว่า เต เป็นบทแสดงกำหนดแน่นอนถึงพระอริยบุคคลที่ยกขึ้น

แสดงไว้ไม่แน่นอนทีแรก จริงอยู่ พระอริยบุคคลเหล่านั้นทั้งหมด ย่อม

ควรทักษิณา กล่าวคือไทยธรรมที่บุคคลเชื่อกรรมและผลแห่งกรรมพึง

ถวาย ดังนั้น จึงชื่อว่า ทักขิเณยยะ ผู้ควรทักษิณา เพราะทำทานให้สำเร็จ

เป็นทานมีผลมาก เพราะประกอบด้วยคุณวิเศษ [คุณาติเรกสัมปทา].

บทว่า สุคตสฺส สาวกา ความว่า ชื่อว่า สาวก เพราะฟังธรรมนั้นของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเกิดโดยอริยชาติ เมื่อฟังธรรมจบ.

บทว่า เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ ความว่า ทานทั้งหลายแม้

น้อย ที่ถวายสาวกของพระสุคตเหล่านี้ ก็ชื่อว่ามีผลมาก เพราะทักษิณา

บริสุทธิ์โดยปฏิคาหก เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย หมู่ก็ตาม คณะก็ตาม มีประมาณเพียงใด หมู่สาวกของตถาคต

เรากล่าวว่าเป็นยอดของหมู่คณะเหล่านั้น ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า จตฺตาโร ปฏิปนฺนา เป็นต้น มีเนื้อความดังกล่าวมาแล้ว

ในหนหลัง. บทที่เหลือก็มีนัยดังกล่าวแล้วเหมือนกันแล.

ส่วนในที่นี้ ท่านพระอนุรุทธะกลับมนุษยโลกแล้ว ได้กราบทูล

เนื้อความที่ตนและเทพธิดาพูดกัน ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ทรงทำเนื้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

ธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน พระธรรมเทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่

มหาชน ดังนี้แล.

จบอรรถกถาวิหารวิมาน

๗. จตุริตถีวิมาน

ว่าด้วยจตุริตถีวิมาน

เทพธิดาองค์ที่ ๑

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๔๕] ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ฯ ล ฯ

เปล่งรัศมีสว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญ

อะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่าง

ที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพธิดา ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอ

ถาม ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และมีรัศมี

สว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ดีฉันได้ถวายดอกราชพฤกษ์กำมือหนึ่ง แด่

ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตในนครปัณณกตะ ซึ่งตั้งอยู่บน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

เนิน เป็นนครชั้นดี น่ารื่นรมย์ของแคว้นเอสิกะ ด้วย

บุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ ด้วยบุญนั้น ผลอัน

นี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด

แก่ดีฉัน เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง

อย่างนี้ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดาองค์ที่ ๒

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ฯ ล ฯ เปล่ง

รัศมีสว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ

บุญอะไร.

เทพธิดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ดีฉันได้ถวายดอกบัวขาบกำมือหนึ่ง แก่ภิกษุผู้

เที่ยวบิณฑบาตในนครปัณณกตะ ซึ่งตั้งอยู่บนเนิน

เป็นนครชั้นดี น่ารื่นรมย์ของแคว้นเอสิกะ ด้วยบุญนั้น

ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ ด้วยบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จ

แก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

รัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดาองค์ที่ ๓

ดูราเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ฯ ล ฯ เปล่ง

รัศมีสว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

บุญอะไร.

เทพธิดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ดีฉันได้ถวายดอกบัวหลวงกำมือหนึ่ง ซึ่งมีราก

ขาวกลีบเขียว เกิดในสระน้ำแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต

ในนครปัณณกตะ ซึ่งตั้งอยู่บนเนิน เป็นนครชั้นดีน่า

รื่นรมย์ของแคว้นเอสิกะ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมี

วรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่

ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน เพราะ

บุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมี

ของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดาองค์ที่ ๔

ดูราเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม ฯ ล ฯ เปล่ง

รัศมีสว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ

บุญอะไร.

เทพธิดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ดีฉันชื่อสุมนา เจ้าค่ะ มีจิตงาม ได้ถวายดอก

มะลิตูม มีสีดังงาช้างแก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตในนคร

ปัณณกตะ ซึ่งตั้งอยู่บนเนิน เป็นนครชั้นดีน่ารื่นรมย์

ของแคว้นเอสิกะ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบจตุริตถีวิมาน

อรรถกถาจตุริตถีวิมาน

จตุริตถีวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น จตุริตถี

วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ท่านพระมหา-

โมคคัลลานะเมื่อจาริกไปเทวโลก ได้ไปถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านเห็น

เทพธิดา ๔ องค์ มีอัปสรเป็นบริวารองค์ละหนึ่งพัน เสวยทิพยสมบัติอยู่

ในวิมาณ ๔ หลัง ซึ่งตั้งเรียงกันอยู่ในดาวดึงส์นั้น เมื่อจะถามถึงกรรมที่

เทพธิดาเหล่านั้นทำไว้ในปางก่อน จึงถามตามลำดับ [ เรียงตัว ] ด้วย

คาถาเหล่านี้ว่า

ดูราเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม เปล่งรัศมีสว่าง

ไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำ

เร็จแก่ท่าน โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูราเทพธิดาผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และมี

รัศมีสว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

เทพธิดาแม้นั้นได้พยากรณ์ เรียงตัวต่อจากคำถามของพระเถระนั้น

เพื่อจะแสดงความนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงกล่าวคาถานี้ว่า

เทวดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้.

เล่ากันว่า ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ เทพธิดาเหล่า

นั้นเกิดในครอบครัวผู้มีอันจะกินในนครปัณณกตะ ในรัฐซึ่งมีชื่อว่าเอสิกะ

ครั้นเจริญวัยแล้ว ไปมีสามีอยู่ร่วมพร้อมเพรียงกันในนครนั้นนั่นแหละ

บรรดานางเหล่านั้น นางหนึ่งเห็นภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร [ถือปิณฑ-

ปาติกธุดงค์] รูปหนึ่ง มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายดอกราชพฤกษ์กำหนึ่ง

อีกนางหนึ่งไค้ถวายดอกบัวขาบกำมือหนึ่งแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง นางหนึ่ง

ได้ถวายดอกบัวหลวงกำมือหนึ่งแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง อีกนางหนึ่งได้ถวาย

ดอกมะลิตูมแก่ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ต่อมานางเหล่านั้นตายไปบังเกิดในสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์ มีอัปสรเป็นบริวารพันหนึ่ง เทพธิดาเหล่านั้นเสวยทิพยสมบัติ

อยู่จนตลอดอายุในดาวดึงส์นั้น จุติจากดาวดึงส์แล้ว ก็ยังเวียนว่ายไป ๆ

มา ๆ อยู่ในดาวดึงส์นั้นแหละ ด้วยเศษวิบากแห่งกรรมนั้นเอง แม้ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ ก็ได้เกิดในดาวดึงส์นั้นอีก ถูกท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ถามปัญหาตามนัยที่กล่าวแล้ว.

บรรดาเทพธิดาทั้งสี่นั้น เทพธิดาองค์หนึ่งเมื่อจะบอกถึงบุญกรรม

ที่ตนทำ ตอบว่า

ดีฉันได้ถวายดอกราชพฤกษ์กำมือหนึ่ง แก่ภิกษุ

ผู้เที่ยวบิณฑบาตในนครปัณณกตะ ซึ่งตั้งอยู่บนเนิน

เป็นนครชั้นดี น่ารื่นรมย์ของแคว้นเอสิกะ ด้วยบุญนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนั้น ด้วยบุญนั้น ผลอันนี้จึง

สำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่

ดีฉัน เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดาอีกองค์หนึ่งตอบว่า

ดีฉันได้ถวายดอกบัวขาบกำมือหนึ่ง แก่ภิกษุ

ผู้เที่ยวบิณฑบาตในนครปัณณกตะ ซึ่งตั้งอยู่บนเนิน

เป็นนครชั้นดีน่ารื่นรมย์ของแคว้นเอสิกะ ด้วยบุญนั้น

ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ ด้วยบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จ

แก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

รัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดาอีกองค์หนึ่งตอบว่า

ดีฉันได้ถวายดอกบัวหลวงกำมือหนึ่ง ซึ่งมีราก

ขาวกลีบเขียว เกิดในสระน้ำ แก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑ-

บาตในนครปัณณกตะ ตั้งอยู่บนเนิน เป็นนครชั้นดี

น่ารื่นรมย์ของแคว้นเอสิกะ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึง

มีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น. ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่

ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ดีฉัน

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

รัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดาอีกองค์หนึ่งตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

ดีฉันชื่อสุมนา เจ้าค่ะ มีจิตงาม ได้ถวายดอก

มะลิตูม มีสีดังงาช้าง แก่ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตใน

นครปัณณกตะ ซึ่งตั้งอยู่บนเนิน เป็นนครชั้นดี น่า

รื่นรมย์ของแคว้นเอสิกะ เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมี

วรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสว

ไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อินฺทีวราน หตฺถก ได้แก่ ดอกราชพฤกษ์

กำมือหนึ่ง คือ กำดอกไม้ที่มีคุณสมบัติกำจัดโรคลม. บทว่า เอสิกาน

ได้แก่ เอสิกรัฐ.

บทว่า อุณฺณตสฺมึ นคเร วเร ได้แก่ ในนครอันอุดมซึ่งตั้งอยู่

ในภูมิประเทศที่เป็นเนิน โดดเด่น ด้วยปราสาทและเรือนยอดเป็นต้น

ซึ่งสูงขึ้นรูปเป็นชั้น ๆ ดังกะเสียดก้อนเมฆ.

บทว่า ปณฺณกเต ได้แก่ ในนครซึ่งมีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า นีลุปฺปหตฺถก ได้แก่ กำดอกบัวธรรมดา.

บทว่า โอทาตมูลก ได้แก่ มีรากขาว. ท่านกล่าวหมายเอากำดอก

บัวหลวงที่กล่าวแล้ว เพราะมีเหง้าขาวสะอาด ด้วยเหตุนั้น นางจึงกล่าวว่า

หริตปตฺต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หริตปตฺต ได้แก่ มีกลีบเขียว อธิบายว่า

ธรรมดากลีบนอกของดอกบัวหลวงที่กลีบตูมยังไม่หลุด ย่อมมีสีเขียวโดย

แท้. บทว่า อุทกสฺมึ สเร ชาต ความว่า เกิดในน้ำในสระ อธิบายว่า

ขึ้นในสระ.

บทว่า สุมนา คือ เทพธิดามีชื่ออย่างนั้น. บทว่า สุมนสฺส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

ได้แก่ มีจิตงาม. บทว่า สุมนมกุลานิ แปลว่า มะลิดอกตูม. บทว่า

ทนฺตวณฺณานิ ได้แก่ มีสีเสมือนงาช้างที่ขัดใหม่เอี่ยม.

เมื่อเทพธิดาทั้ง ๔ นั้น กล่าวถึงกรรมที่ตนการทำแล้วอย่างนี้

พระเถระก็ได้กล่าวอนุปุพพิกถา แล้วประกาศอริยสัจแก่เทพธิดาเหล่านั้น

จบอริยสัจ เทพธิดาเหล่านั้นทั้งหมดพร้อมกับบริวาร ได้เป็นพระโสดาบัน.

พระเถระกลับมามนุษยโลก กราบทูลเรื่องนั้นถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรง

แสดงธรรมโปรดบริษัทที่ประชุมกัน พระธรรมเทศนานั้นได้เป็นประ-

โยชน์แก่มหาชนแล.

จบอรรถกถาจตุริตถีวิมาน

๘. อัมพวิมาน

ว่าด้วยอัมพวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๔๖] สวนมะม่วงทิพย์ของท่านน่ารื่นรมย์ ใน

สวนนี้มีปราสาทหลังใหญ่กึกก้องไปด้วยดนตรีต่าง ๆ

เจื้อยแจ้วไปด้วยหมู่เทพอัปสร อนึ่ง ในปราสาทนี้มี

ประทีปทองดวงใหญ่สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์ ปราสาท

ของท่านแวดล้อมด้วยต้นไม้ที่ออกผลเป็นผ้า โดยรอบ

ด้วยบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ ด้วยบุญอะไรจึง

สำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่

ท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

ดูราเทพธิดาผู้มีอานุภาพใหญ่ อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรื่องอย่างนี้ และรัศมี

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

จึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

เมื่อชาติก่อน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์

ในมนุษยโลก ดีฉันมีจิตเลื่อมใสได้สร้างวิหารถวาย

สงฆ์ แวดล้อมไปด้วยต้นมะม่วง เมื่อสร้างวิหาร

สำเร็จเรียบร้อยแล้วได้ทำการฉลอง เอาผ้าหุ้มต้น

มะม่วงทั้งหลาย ทำผลมะม่วงด้วยผ้า ตามประทีปไว้

ที่ต้นมะม่วงนั้น ๆ นิมนต์หมู่สาวกของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ซึ่งเป็นหมู่สูงสุดให้ฉันแล้ว มอบถวายวิหาร

นั้นแก่สงฆ์ ด้วยมือของตน เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมี

มะม่วงที่น่ารื่นรมย์ มีปราสาทหลังใหญ่ในสวนนี้

ซึ่งกึกก้องไปด้วยดนตรีต่าง ๆ เจื้อยแจ้วไปด้วยหมู่

เทพอัปสร อนึ่ง ปราสาทนี้ จึงมีประทีปทองดวงใหญ่

สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์ ปราสาทของดีฉันจึงแวดล้อม

ด้วยต้นไม้ที่ออกผลเป็นผ้าโดยรอบ เพราะบุญนั้น

ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น. ผลอันนี้จึง

สำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่

ดีฉัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันเป็น

มนุษย์ได้กระทำบุญอันใดไว้ เพราะบุญอันนั้น ดีฉัน

จึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของดีฉันจึง

สว่างไสวไปทุกทิศ.

จบอัมพวิมาน

อรรถกถาอัมพวิมาน

อัมพวิมาน มีคาถาว่า ทิพฺพ เต อมฺพวน รมฺม เป็นต้น.

อัมพวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี.

สมัยนั้น อุบาสิกคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ได้ฟังว่า การถวายอาวาสมีผลมาก

และมีอานิสงส์มาก เกิดฉันทะความพอใจ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มีความประสงค์

จะสร้างอาวาสแห่งหนึ่ง ขอได้โปรดตรัสบอกโอกาสเช่นนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงสั่งภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายได้แสดงที่ให้อุบาสิกานั้น นาง

ได้สร้างอาวาสที่น่ารื่นรมย์ในที่นั้นแล้วให้ปลูกต้นมะม่วงรอบอาวาสนั้น.

อาวาสนั้นมีต้นมะม่วงเรียงรายล้อมรอบ สมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ

มีภูมิภาคขาวสะอาดเกลื่อนกลาดด้วยทราย คล้ายข่ายแก้วมุกดาน่าจับใจ

เหลือเกิน.

นางตกแต่งวิหารนั้นด้วยผ้าสีต่าง ๆ และด้วยพวงดอกไม้พวงของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

หอมเป็นต้นจนดูคล้ายเทพวิมาน ติดตั้งตะเกียงน้ำมันและเอาผ้าใหม่พันต้น

มะม่วงทั้งหลายแล้วมอบถวายแด่สงฆ์.

ต่อมา นางทำกาลกิริยาตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมาน

หลังใหญ่แวดล้อมไปด้วยสวนมะม่วงได้ปรากฏแก่นาง.

นางแวดล้อมไปด้วยหมู่อัปสรเสวยทิพยสมบัติอยู่ในวิมานนั้น ท่าน

พระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหานางแล้ว ถามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

สวนมะม่วงทิพย์ของท่านน่ารื่นรมย์ ในสวนนี้

มีปราสาทหลังใหญ่กึกก้องไปด้วยดนตรีต่าง ๆ เจื้อย

แจ้วไปด้วยหมู่เทพอัปสร อนึ่ง ในปราสาทนี้มีประ-

ทีปทองดวงใหญ่ สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์ ปราสาทของ

ท่านแวดล้อมด้วยต้นไม้ที่ออกผลเป็นผ้าโดยรอบด้วย

บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ ด้วยบุญอะไร ผลอัน

นี้จงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิด

แก่ท่าน.

ดูราเทพธิดาผู้มีอานุภาพใหญ่ อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมี

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

จึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

เมื่อชาติก่อน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์อยู่

ในมนุษยโลก ดีฉันมีจิตเลื่อมใสได้สร้างวิหารถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

สงฆ์ แวดล้อมไปด้วยต้นมะม่วง เมื่อสร้างวิหาร

สำเร็จเรียบร้อยแล้วได้ทำการฉลอง เอาผ้าหุ้มต้น

มะม่วงทั้งหลาย ทำผลมะม่วงด้วยผ้า ตามประทีปไว้

ที่ต้นมะม่วงนั้น ๆ นิมนต์หมู่สาวกของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ซึ่งเป็นหมู่สูงสุดให้ฉัน แล้วมอบถวาย

วิหารนั้นแด่สงฆ์ด้วยมือของตน เพราะบุญนั้น ดีฉัน

จึงมีสวนมะม่วงที่น่ารื่นรมย์ มีปราสาทหลังใหญ่ใน

สวนนี้ ซึ่งกึกก้องไปด้วยดนตรีต่าง ๆ เจื้อยแจ้วไป

ด้วยหมู่เทพอัปสร อนึ่ง ในปราสาทนี้จึงมีประทีป

ทองดวงใหญ่สว่างไสวอยู่เป็นนิตย์ ปราสาทของ

ดีฉันจึงแวดล้อมด้วยต้นไม้ที่ออกผลเป็นผ้าโดยรอบ

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น

ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก

จึงเกิดแก่ดีฉัน ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก

ดีฉันเป็นมนุษย์ได้กระทำบุญอันใดไว้ เพราะบุญข้อนั้น

ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของดีฉัน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดานั้นได้พยากรณ์ ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหลฺลโก แปลว่า ใหญ่ อธิบายว่า

ไพบูลย์ คือโอฬารที่สุด ทั้งโดยส่วนยาวส่วนกว้างและส่วนสูง. บทว่า

อจฺฉราคณโฆสิโต ความว่า สนุกสนานครื้นเครงไปด้วยหมู่เทพอัปสร

ขับร้องบ้าง เจรจาน่ารักบ้าง ทำเทพธิดานั้นให้บันเทิงใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

บทว่า ปทีโป เจตฺถ ชลติ ความว่า ประทีปแก้วมีรัศมีรุ่งเรือง

แผ่กระจายไปดุจรัศมีพระอาทิตย์ ย่อมรุ่งเรืองยิ่งในที่นี้ คือในปราสาทนี้.

บทว่า ทุสฺสผเลหิ ความว่า ผลทั้งหลายของต้นมะม่วงเหล่านั้นเป็นผ้า

เหตุนั้น ต้นมะม่วงเหล่านั้นจึงชื่อว่าออกผลเป็นผ้า อธิบายว่า ด้วยต้น

มะม่วงเหล่านั้น คือ ที่คายผลออกมาเป็นผ้าทิพย์.

บทว่า กาเรนฺเต นิฏฺิเต มเห ความว่า เมื่อทำการบูชาใน

การฉลองวิหารที่สร้างสำเร็จแล้ว. บทว่า กตฺวา ทุสฺสมเย ผเล ความว่า

ทำผ้าทั้งหลายนั่นแหละให้เป็นผลของมะม่วงเหล่านั้น.

บทว่า คณุตฺตม ได้แก่ หมู่พระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่ง

สูงสุดแห่งหมู่ทั้งหลาย. บทว่า นิยฺยาเทสึ ความว่า ได้มอบ คือได้ถวาย

แล้ว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาอัมพวิมาน

๙. ปีตวิมาน

ว่าด้วยปีตวิมาน

ท้าวสักกเทวราชตรัสถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๔๗] ดูราเทพธิดาผู้เจริญ ผู้มีผ้าเหลือง มีธง

เหลือง ประดับด้วยอลังการเหลือง มีกายลูบไล้ด้วย

จันทน์เหลือง ทัดทรงดอกอุบลเหลือง มีปราสาท

เหลือง มีที่นอนที่นั่งเหลือง มีภาชนะเหลือง มีฉัตร

เหลือง มีรถเหลือง มีผ้าเหลือง มีพัดเหลือง ครั้งเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

เป็นมนุษย์ในชาติก่อน เจ้าได้ทำกรรมอะไรไว้ เจ้าถูก

เราถามแล้ว ขอจงบอกทีเถิด นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

เทพธิดานั้นตอบว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระบาทได้น้อมนำ

ดอกบวบขม ซึ่งมีรสขมไม่มีใครปรารถนา จำนวน

๔ ดอก บูชาพระสถูป ข้าพระบาทมีใจผ่องใส มุ่ง

เฉพาะพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดา ไม่ทัน

พิจารณาหนทางที่มาแห่งแม่โค มิได้นึกไปที่แม่โคนั้น

ทันใดนั้นแม่โคได้ขวิดข้าพระบาท ผู้มีความปรารถนา

แห่งใจยังไม่ถึงพระสถูป ถ้าข้าพระบาทพึงสั่งสมบุญ

นั้นยิ่งขึ้นไซร้ ทิพยสมบัติพึงมียิ่งกว่านี้เป็นแน่ ข้า

แต่ท้าวนฆวานเทพกุญชรจอมเทพ เพราะบุญกรรม

นั้น ข้าพระบาทละกายมนุษย์แล้ว จึงมาอยู่ร่วมกับ

พระองค์.

ท้าวมฆวานเทพกุญชร ผู้เป็นอธิบดีในสวรรค์

ชั้นไตรทศ ทรงสดับคำนี้แล้ว เมื่อจะยังเทวดาชั้น

ดาวดึงส์ให้เลื่อมใส จึงได้ตรัสคำนี้กะมาตลีเทพสารภี

ว่า ดูก่อนมาตลี ท่านจงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่า

อัศจรรย์นี้ ไทยธรรมที่เทพธิดานี้กระทำแล้ว ถึงจะ

น้อย บุญก็มีผลมาก เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคต

สัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม ทักษิณา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

ไม่ชื่อว่าน้อยเลย มาเถิด มาตลี แม้ชาวเราทั้งหลาย

ก็ควรจะพากันบูชาพระบรมธาตุของพระตถาคตให้ยิ่ง

ยวดขึ้นไป เพราะการสั่งสมบุญ นำสุขมาให้ เมื่อ

พระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม เสด็จปรินิพ-

พานแล้วก็ตาม เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลบุญก็ย่อม

สม่ำเสมอ เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบ สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมไปสู่สุคติ ทายกทั้งหลายกระทำสักการะใน

พระตถาคตเหล่าใดแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ พระตถา-

คตเหล่านั้น ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็น

อันมากหนอ.

จบปีตวิมาน

อรรถกถาปีตวิมาน

ปีตวิมาน มีคาถาว่า ปีตวตฺเถ ปีตธเช เป็นต้น. ปีตวิมานนั้น

เกิดขึ้นได้อย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน พระเจ้าอชาตศัตรู

นำพระบรมสารีริกธาตุที่พระองค์ได้รับส่วนแบ่ง มาสร้างพระสถูปและ

ทำการฉลอง อุบาสิกาชาวราชคฤห์คนหนึ่งปฏิบัติกิจของร่างกายแต่เช้าตรู่

คิดจักบูชาพระศาสดาถือดอกบวบขม ๔ ดอกตามที่ได้มา มีศรัทธาเกิด

ฉันทะอุตสาหะขึ้นในใจอย่างฉับพลัน มิได้คำนึงถึงอันตราย ในหนทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

เดินมุ่งหน้าไปสู่ยังพระสถูป.

ขณะนั้น โคแม่ลูกอ่อนวิ่งสวนทางมาอย่างเร็ว ขวิดอุบาสิกานั้นให้

สิ้นชีวิต. นางทำกาลกิริยาตายในขณะนั้นเอง บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

เมื่อท้าวสักกเทวราชเสด็จทรงกรีฑาในอุทยาน นางได้ปรากฏองค์พร้อม

กับรถ ข่มเทพธิดาทั้งหมดด้วยรัศมีแห่งสรีระของตน ท่ามกลางเทพ-

นาฏกะนักฟ้อนสองโกฏิครึ่งซึ่งเป็นบริวาร ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตร

เห็นดังนั้น มีพระทัยพิศวง เกิดอัศจรรย์ไม่เคยเป็น ทรงดำริว่า ด้วย

กรรมอันยิ่งใหญ่เช่นไรหนอ เทพธิดาผู้นี้จึงได้เทพฤทธิ์ที่ยิ่งใหญ่เช่นนี้

แล้ว ตรัสถามเทพธิดานั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูราเทพธิดาผู้เจริญ ผู้มีผ้าเหลือง มีธงเหลือง

ประดับด้วยอลังการเหลือง มีกายลูบไล้ด้วยจันทน์

เหลือง ทัดทรงดอกอุบลเหลือง มีปราสาทเหลือง

มีที่นอนที่นั่งเหลือง มีภาชนะเหลือง มีฉัตรเหลือง

มีรถเหลือง มีม้าเหลือง มีพัดเหลือง ครั้งเกิดเป็น

มนุษย์ในชาติก่อน เจ้าได้ทำกรรมอะไรไว้ เจ้าถูกเรา

ถามแล้ว ขอจึงบอกทีเถิด นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

เทพธิดาแม้นั้น ก็ได้พยากรณ์แก่ท้าวสักกะนั้นด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระบาทได้น้อมนำ

ดอกบวมขม ซึ่งมีรสขมไม่มีใครปรารถนา จำนวน

๔ ดอก บูชาพระสถูป ข้าพระบาทมีใจผ่องใส มุ่ง

เฉพาะพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดา ไม่ทัน

พิจารณาหนทางที่มาแห่งแม่โคมิได้นึกไปที่แม่โคนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

ทันใดนั้นแม่โคได้ขวิดข้าพระบาทผู้มีความปรารถนา

แห่งใจยังไม่ถึงพระสถูป ถ้าข้าพระบาทพึงสั่งสมบุญ

นั้นยิ่งขึ้นไซร้ ทิพยสมบัติพึงมียิ่งกว่านี้เป็นแน่ ข้า

แต่ท้าวมฆวานเทพกุญชรจอมเทพ เพราะบุญกรรม

นั้น ข้าพระบาทละกายมนุษย์แล้ว จึงมาอยู่ร่วมกับ

พระองค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปีตจฺทนลิตฺตงฺเค ได้แก่มีสรีระลูบไล้

ด้วยจันทน์มีสีดังทอง. บทว่า ปีตปาสาพสยเน ได้แก่ ประกอบด้วย

ปราสาททองทั้งหมดและที่นอนขลิบทอง ด้วยปีตศัพท์ในที่ทุกแห่งทั้งข้าง

ล่างข้างบน พึงทราบว่า ท่านหมายความถึงทองทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ลตตฺถิ ตัดบทเป็น ลตา อตฺถิ แปลว่า มีเครือเถา.

เทพธิดาเรียกท้าวสักกเทวราชด้วยความเคารพ ว่า ภนฺเต. บทว่า

อนภิจฺฉิตา แปลว่า ไม่มีใครปรารถนา.

บทว่า สรีร ได้แก่ พระธาตุที่เป็นพระสรีระ. อนึ่ง นี้เป็น

โวหารเรียกรวมส่วนย่อย เหมือนข้อความว่า ผ้าไฟไหม้แล้ว ทะเลเขา

เห็นแล้ว. บทว่า อสฺส ประกอบ โครูปสฺส แปลว่า ของโคนั้น. บทว่า

มคฺค ได้แก่ ทางที่มา. บทว่า น อเวกฺขิสฺส ได้แก่ ไม่ทันตรวจดู.

เพราะเหตุไร ? เพราะใจไม่นึกถึงโคนั้น. บทว่า น ตคฺคมนสา สตี

ความว่า มิได้มีใจไปจดจ่อที่แม่โคนั้น ที่แท้มีใจจดจ่อที่พระสถูปของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น. ปาฐะว่า ตทงฺคมานสาสตี ดังนี้ก็มี. ใจ

ของเทพธิดานั้นมีในองค์นั้น คือในองค์แห่งพระธาตุของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระองค์นั้น เหตุนั้น เทพธิดานั้นจึงชื่อว่า ตทงฺคมนสา มีใจใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

องค์นั้น. เทพธิดาชี้แจงว่า คราวนั้น ข้าพระบาทเป็นอย่างนี้ ไม่ทัน

พิจารณาหนทางของแม่โคนั้น.

บทว่า ถูป อปตฺตมานส ได้แก่ มีอัธยาศัยยังไม่ถึงพระสถูป คือ

พระเจดีย์. จริงอยู่ ชื่อว่า มานัส เพราะมีในใจ ได้แก่อัธยาศัย คือ

มโนรถ. เทพธิดากล่าวอย่างนี้ เพราะมโนรถที่เกิดขึ้นว่า เราจักเข้าไป

ยังพระสถูปแล้วบูชาด้วยดอกไม้ทั้งหลาย ดังนี้ยังไม่สมบูรณ์. แต่จิตที่คิด

บูชาพระสถูปเจดีย์ด้วยดอกไม้ทั้งหลายสำเร็จแล้วโดยแท้ จึงเป็นเหตุให้

เทพธิดานั้นเกิดในเทวโลก.

บทว่า ตญฺจาห อภิสญฺเจยฺย ความว่า ถ้าข้าพระบาทพึงสั่งสม

อธิบายว่า ถ้าข้าพระบาทพึงสั่งสม คือเข้าไปสั่งสมโดยชอบทีเดียวซึ่งบุญ

นั้น ด้วยการบูชาด้วยดอกไม้ คือด้วยการไปถึงพระสถูปแล้วบูชาตาม

ความประสงค์. บทว่า ภิยฺโย นูน อิโต สิยา ความว่า สมบัติเห็น

ที่จะพึงมีโดยยิ่ง คือยิ่ง ๆ ขึ้นไปกว่านี้ คือกว่าสมบัติตามที่ได้อยู่แล้ว.

บทว่า มฆวา เทวกุญฺชร เป็นคำเรียกท้าวสักกะ. ในสองบทนั้น

บทว่า เทวกุญฺชร ความว่า เช่นกับกุญชรในเทวโลก โดยคุณวิเศษมี

ความบากบั่นเพื่อผลทั้งปวงเป็นต้น. บทว่า สหพฺย ได้แก่ ความเป็น

ร่วมกัน.

ท้าวมฆวานเทพกุญชร ผู้เป็นอธิบดีในสรรรค์

ชั้นไตรทศทรงสดับคำนี้แล้ว เมื่อจะยังเทวดาชั้น

ดาวดึงส์ให้เลื่อมใสจึงได้ตรัสคำนี้กะมาตลีเทพสารถี

นี้เป็นคำของพระธรรมสังคาหกาจารย์.

ตั้งแต่นั้น ท้าวสักกะทรงแสดงธรรมแก่หมู่เทวดา ซึ่งมีพระมาตลี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

เทพสารถีเป็นประมุข ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนมาตลี ท่านจงดูผลแห่งกรรมอันวิจิตรน่า

อัศจรรย์นี้ ไทยธรรมที่เทพธิดานี้กระทำแล้ว ถึงจะ

น้อย บุญก็มีผลมาก เมื่อจิตเลื่อมใสในพระตถาคต-

สัมพุทธเจ้า หรือในสาวกของพระองค์ก็ตาม ทักษิณา

ไม่ชื่อว่าน้อยเลย มาเถิด มาตล แม้ชาวเราทั้งหลาย

ก็ควรจะพากันบูชาพระบรมธาตุของพระตถาคตให้ยิ่ง

ยวดขึ้นไป เพราะการสั่งสมบุญนำสุขมาให้ เมื่อ

พระตถาคตยังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม เสด็จปรินิพ-

พานแล้วก็ตาม เมื่อจิตสม่ำเสมอ ผลบุญก็ย่อมสม่ำ

เสมอ เพราะเหตุที่ตั้งจิตไว้ชอบ สัตว์ทั้งหลายย่อมไป

สู่สุคติ ทายกทั้งหลายกระทำสักการะในพระตถาคต

เหล่าใดแล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ พระตถาคตเหล่านั้น

ย่อมอุบัติขึ้นเพื่ออประโยชน์แก่ชนเป็นอันมากหนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสาเทนฺโต ได้แก่ กระทำให้เลื่อมใส.

อธิบายว่า ให้เกิดศรัทธาในพระรัตนตรัย.

บทว่า จิตฺต ได้แก่ วิจิตร คือไม่ควรคิด. บทว่า กมฺมผล

ประกอบความว่า ถึงไทยธรรมไม่ยิ่งใหญ่ ก็จงดูผลแห่งบุญกรรมซึ่งยิ่ง

ใหญ่ เพราะถึงพร้อมด้วยเขต และถึงพร้อมด้วยเจตนา. ในประโยคว่า

อปฺปกมฺปิ กต เทยฺย ปุญฺ โหติ มหปฺผล นี้ บทว่า กต ได้แก่

ประกอบไว้ในอายตนะ โดยเป็นตัวเหตุ โดยเป็นตัวสักการะ. บทว่า

เทยฺย ได้แก่ วัตถุที่ควรถวาย. บทว่า ปุญฺ ได้แก่ บุญกรรมที่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

ไปอย่างนั้น.

บัดนี้ ท้าวสักกเทวราชเมื่อจะแสดงข้อที่ทำบุญถึงจะน้อยแต่ก็มีผล

มากนั้น ให้ปรากฏ จึงตรัสคาถาว่า นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺหิ เป็นต้น.

ข้อนั้นเข้าใจง่าย.

บทว่า อมฺเหปิ ได้แก่ แม้ชาวเราทั้งหลาย. บทว่า มหามเส

ได้แก่ ควรบูชา. บทว่า เจโตปณิธิเหตุ หิ ความว่า เพราะตั้งจิตของ

คนไว้ชอบทีเดียว อธิบายว่า เพราะตั้งตนไว้ชอบ. ด้วยเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

มารดาบิดาก็ดี ญาติเหล่าอื่นก็ดี พึงทำผู้นั้น

ให้ประเสริฐไม่ได้ ส่วนจิตที่ตั้งไว้ชอบ พึงทำผู้นั้น

ให้ประเสริฐได้กว่านั้น.

ก็แลครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว ท้าวสักกะจอมทวยเทพได้สั่งระงับการ

เล่นกรีฑาในอุทยาน เสด็จกลับจากอุทยานนั้นแล้ว ทรงทำการบูชา ๗ วัน

ที่พระจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งเป็นสถานที่พระองค์ทรงบูชาเนือง ๆ.

สมัยต่อมา ท้าวสักกเทวราชได้เล่าเรื่องนั้นถวายท่านพระนารท-

เถระผู้จาริกไปยังเทวโลก พระเถระได้บอกกล่าวแก่พระธรรมสังคาห-

กาจารย์ทั้งหลาย ท่านจงได้ยกเรื่องนั้นขึ้นสู่สังคายนาอย่างนั้นแล.

จบอรรถกถาปีตวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

๑๐. อุจฉุวิมาน

ว่าด้วยอุจฉุวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๔๘] ท่านส่องสว่างตลอดปฐพี เหมือน

ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ รุ่งโรจน์ล้ำโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก ด้วยสิริ วรรณะ ยศ และเดช เหมือน

ดังท้าวมหาพรหมรุ่งโรจน์ล้ำทวยเทพชั้นไตรทศพร้อม

ทั้งองค์อินทร์ ดูราเทพธิดาผู้เลอโฉม ทัดทรงมาลัย

ดอกอุบล มีดอกไม้กรองบนศีรษะ มีผิวพรรณผุดผ่อง

ดังทองประดับองค์ทรงภูษาอันสูงสุด. อาตมาถามท่าน

ท่านเป็นใครมาไหว้อาตมา เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรม

อะไรไว้ด้วยตน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ท่าน

สั่งสมทานหรือรักษาศีล เพราะบุญอะไร ท่านจึง

เข้าถึงสุคติ มียศ (อิสริยะ, เกียรติ, บริวาร).

ดูราเทพธิดา ท่านถูกอาตมาถามแล้ว ขอ

ท่านโปรดบอกทีเถิด นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

เทพธิดานั้นตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปัจจุบันพระคุณเจ้าเข้าไป

บิณฑบาตยังบ้านตำบลนี้นี่แหละ มาถึงเรือนของ

พวกดีฉัน ขณะนั้นดีฉันมีจิตเลื่อมใส เปี่ยมด้วยปีติ

ไม่มีอะไรเปรียบได้ ได้ถวายท่อนอ้อยแด่พระคุณเจ้า

แต่ภายหลัง แม่ผัวมาซักถามดีฉันว่า อีใจร้าย เจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

เอาอ้อยไปไว้ที่ไหน ดีฉันตอบว่า ฉันไม่ได้ทิ้งและ

ไม่ได้รับประทาน ฉันเองได้ถวายแด่ภิกษุผู้สงบ แม่

ผัวผู้นั้นได้บริภาษดีฉันว่า อ้อยนี้ของเจ้าหรือ ที่แท้

ข้าเป็นเจ้าของดังนี้แล้ว นางคว้าก้อนดินทุ่มดีฉัน

ดีฉันก็ตาย จุติจากมนุษยโลกนั้นแล้วมาเป็นเทวดา

ดีฉันได้กระทำกุศลกรรมนั่นแหละ จึงได้เสวยความ

สุขด้วยตน ได้ร่วมบำรุงบำเรออยู่กับเทวดาทั้งหลาย

และบันเทิงใจอยู่ด้วยกามคุณห้า ดีฉันได้กระทำกุศล-

กรรมนั่นแหละ จึงได้เสวยความสุขด้วยตน มีท้าว

สักกะจอมเทพคุ้มครอง มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา

เพรียบพร้อมไปด้วยกามคุณห้า ผลบุญเช่นนี้มิใช่น้อย

การถวายอ้อยของดีฉันมีผลมาก ดีฉันได้ร่วมบำรุง

บำเรออยู่กับเทวดาทั้งหลาย และบันเทิงใจอยู่ด้วย

กามคุณห้า ผลบุญเช่นนี้มิใช่น้อย การถวายอ้อย

ของดีฉันมีผลรุ่งเรืองมาก ดีฉันมีท้าวสักกะจอมเทพ

คุ้มครอง มีทวยเทพชั้นไตรทศรักษา เพียงดังว่า

ท้าวสหัสนัยน์ในสวนนันทนวัน ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ดีฉันสำนึกถึงพระคุณเจ้าผู้อนุเคราะห์ จึงเข้ามาถวาย

นมัสการและบอกกล่าวถึงกรรมที่เป็นกุศล ขณะนั้น

ดีฉันมีจิตเลื่อมใส เปี่ยมด้วยปีติ ไม่มีอะไรเปรียบได้

ได้ถวายท่อนอ้อยแด่พระคุณเจ้า ดังนี้.

จบอุจฉุวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

อรรถกถาอุจฉุวิมาน

อุจฉุวิมาน มีคาถาว่า โอภาสยิตฺวา ปวึ สเทวก เป็นต้น.

อุจฉุวิมาน นั้น เช่นเดียวกับวิมานอ้อยในหนหลัง ทั้งโดยพระบาลีและ

โดยเหตุเกิดเรื่องนั่นเอง.

ในเรื่องนั้น แม่ผัวใช้ตั่งอย่างเดียวตีลูกสะใภ้ตาย แต่ในเรื่องนี้

ใช้ก้อนดิน ความต่างกันดังนี้เท่านั้น. แต่เพราะวัตถุ (ที่ใช้ประหาร)

ต่างกัน ทั้งสองเรื่องจึงขึ้นสู่สังคายนาแยกกัน บัณฑิตพึงทราบดังนี้.

ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ท่านส่องสว่างตลอดปฐพี เหมือนดวงจันทร์

และดวงอาทิตย์รุ่งโรจน์ล้ำโลกพร้อมทั้งเทวโลกด้วย

สิริ วรรณะ ยศและเดช เหมือนดังท้าวมหาพรหม

รุ่งโรจน์ล้ำทวยเทพชั้นไตรทศพร้อมทั้งองค์อินทร์ ดู-

ราเทพธิดาผู้เลอโฉม ทัดทรงมาลัยดอกอุบล มีดอก

ไม้กรองบนศีรษะ มีผิวพรรณผุดผ่องดังทอง ประ-

ดับองค์ ทรงภูษาอันสูงสุด อาตมาขอถามท่าน

ท่านเป็นใคร มาไหว้อาตมา เมื่อก่อนท่านได้ทำกรรม

อะไรไว้ด้วยตน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ท่าน

สั่งสมทานหรือรักษาศีล เพราะบุญอะไร ท่านจึงเข้า

ถึงสุคติ มียศ [อิสริยะ, เกียรติ, บริวาร] ดูรา

เทวดา ท่านถูกอาตมาถามแล้ว ขอท่านโปรดบอกที

เถิด นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

ลำดับนั้น เทวดาได้กล่าวตอบด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ปัจจุบันพระคุณเจ้าเข้าไป

บิณฑบาตยังบ้านตำบลนี้นี่แหละ มาจนถึงเรือนของ

พวกดีฉัน ขณะนั้น ดีฉันมีจิตใจเลื่อมใส เปี่ยม

ด้วยปีติไม่มีอะไรเปรียบได้ ได้ถวายท่อนอ้อยแด่

พระคุณเจ้า แต่ภายหลัง แม่ผัวมาซักถามดีฉันว่า

อีใจร้าย เจ้าเอาอ้อยไปไว้ที่ไหน ดีฉันตอบว่า ฉัน

ไม่ได้ทิ้งและมิได้รับประทาน ฉันเองได้ถวายแด่

ภิกษุผู้สงบ แม่ผัวผู้นั้นได้บริภาษดีฉันว่า อ้อยนี้ของ

เจ้าหรือ ที่แท้ข้าเป็นเจ้าของ ดังนี้แล้ว นางคว้า

ก้อนดินทุ่มดีฉัน ดีฉันก็ตาย จุติจากมนุษยโลกนั้น

แล้วมาเป็นเทวดา ดีฉันได้กระทำกุศลกรรมนั้นแหละ

จึงได้เสวยความสุขด้วยตน ได้ร่วมบำรุงบำเรออยู่กับ

เทวดาทั้งหลาย และบันเทิงใจอยู่ด้วยกามคุณห้า

ดีฉันได้กระทำกุศลกรรมนั่นแหละ จึงได้เสวยความ

สุขด้วยตน มีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง มีทวย

เทพชั้นไตรทศรักษา เพรียบพร้อมไปด้วยกามคุณห้า

ผลบุญเช่นนี้มิใช่น้อย การถวายอ้อยของดีฉันมีผล

มาก ดีฉันได้ร่วมบำรุงบำเรออยู่กับเทพดาทั้งหลาย

และบันเทิงใจอยู่ด้วยกามคุณห้า ผลบุญเช่นนี้มิใช่

น้อย การถวายอ้อยของดีฉันมีผลรุ่งเรืองมาก ดีฉัน

มีท้าวสักกะจอมเทพคุ้มครอง มีทวยเทพชั้นไตรทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

รักษา เพียงดังว่าท้าวสหัสนัยน์ในสวนนันทนวัน ข้า

แต่ท่านผู้เจริญ ดีฉันสำนึกถึงพระคุณเจ้าผู้อนุเคราะห์

จึงเข้ามาถวายนมัสการ และบอกกล่าวถึงกรรมที่เป็น

กุศล ขณะนั้น ดีฉันมีจิตเลื่อมใส เปี่ยมด้วยปีติ

ไม่มีอะไรเปรียบได้ ได้ถวายท่อนอ้อยแด่พระคุณเจ้า

ดังนี้. คำที่เหลือก็เช่นเดียวกับที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

แล.

จบอรรถกถาอุจฉุวิมาน

๑๑. วันทนวิมาน

ว่าด้วยวันทนวิมาน

[๔๙] ดูราเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม เปล่ง

รัศมีสว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผล

อันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึง

เกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

เทวดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ดีฉันเห็น

สมณะทั้งหลายผู้มีศีล ไหว้เท้าทั้งหลายทำใจให้

เลื่อมใส อนึ่ง ดีฉันปลื้มใจ ได้กระทำอัญชลี

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น

ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก

จึงเกิดแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

พระคุณเจ้า ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ดีฉันได้กระทำบุญอัน

ใดไว้ เพราะบุญอันนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง

อย่างนี้ และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบวันทนวิมาน

อรรถกถาวันทนวิมาน

วันทนวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น.

วันทนวิมานนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ กรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุมาก

รูปด้วยกัน อยู่จำพรรษาในอาวาสใกล้บ้านแห่งหนึ่ง ครั้นออกพรรษา

ปวารณาแล้ว เก็บงำเสนาสนะ ถือบาตรจีวรเดินมุ่งไปกรุงสาวัตถี เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผ่านไปกลางหมู่บ้านตำบลหนึ่ง. หญิงคนหนึ่งใน

หมู่บ้านนั้น เห็นภิกษุทั้งหลาย มีจิตเลื่อมใสเกิดความเคารพอย่างมาก

ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วประคองอัญชลีไว้เหนือศีรษะ ยืนลืมตา

ที่แสดงความเลื่อมใส แลดูอยู่จนภิกษุทั้งหลายลับตาไป.

สมัยต่อมา หญิงนั้นทำกาลกิริยาตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้สอบถามเทพธิดานั้น ผู้เสวยทิพย-

สมบัติอยู่ในดาวดึงส์นั้น ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม เปล่งรัศมี

สว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผล

อันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึง

เกิดขึ้นแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพีผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของ

ท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดานั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ดีฉันเห็น

สมณะทั้งหลายผู้มีศีล ไหว้เท้าทั้งหลายทำใจให้

เลื่อมใส อนึ่ง ดีฉันปลื้มใจ ได้กระทำอัญชลี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญ

นั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ดีฉัน และโภคะทุกอย่าง

ที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ดีฉัน.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอก

พระคุณเจ้า ครั้งเป็นมนุษย์ดีฉันได้กระทำบุญอันใดไว้

เพราะบุญอันนั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และรัศมีของดีฉันจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพธิดาได้พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ ดังกล่าวมาฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมเณ ได้แก่ ผู้สงบบาป. บทว่า

สีลวนฺเต ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณคือศีล. บทว่า มน ปสาทยึ

ความว่า ดีฉันทำจิตให้เลื่อมใสปรารภคุณของสมณะเหล่านั้นว่า พระคุณเจ้า

เหล่านั้นดีหนอ เป็นธรรมจารี เป็นพรหมจารี ( เป็นผู้ประพฤติธรรม

เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์). บทว่า วิตฺตา จห อญฺชลิก อกาสึ

ความว่า ดีฉันยินดี เกิดโสมนัส ไหว้แล้ว. อธิบายว่า แม้เพียงลืมตาที่

แย้มบานด้วยความเลื่อมใส แลดูภิกษุทั้งหลายผู้น่ารัก ยังมีอุปการะมาก

แก่สัตว์เหล่านี้ จะป่วยกล่าวไปไยถึงการไหว้เล่า. ด้วยเหตุนั้น เทพธิดา

จึงกล่าวว่า เพราะบุญนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะเช่นนี้ ดังนี้เป็นต้น. คำที่

เหลือมีนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาวันทนวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

๑๒. รัชชุมาลาวิมาน

ว่าด้วยรัชชุมาลาวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพธิดาองค์หนึ่งว่า

[๕๐] ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงาม

กรีดกรายมือและเท้าฟ้อนรำได้เหมาะเจาะ ในเมื่อ

ดนตรีบรรเลงอยู่อย่างไพเราะ เมื่อท่านนั้นร่ายรำอยู่

เสียงทิพย์อันน่าฟังน่ารื่นรมย์ใจ ก็เปล่งออกจาก

อวัยวะน้อยใหญ่ทั่วสรรพางค์ เมื่อท่านนั้นร่ายรำอยู่

กลิ่นทิพย์ที่มีกลิ่นอันหอมหวนน่ารื่นรมย์ใจ ก็ฟุ้งขจร

ไปจากอวัยวะน้อยใหญ่ทั่วสรรพางค์ เครื่องประดับที่

มวยผมที่แกว่งไกวไปมาตามกาย ก็เปล่งเสียงกังวาน

ให้ได้ยิน ปานประหนึ่งว่า ดนตรีเครื่อง ๕ เทริดที่

ถูกลมกระพือพัดอ่อนไหวไปมาตามสายลม ก็เปล่ง

เสียงกังวานให้ได้ยิน ปานประหนึ่งว่า ดนตรีเครื่อง ๕

เช่นกัน พวงมาลัยประดับเศียรของท่านมีกลิ่นหอม

น่ารื่นรมย์ใจ ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งตลบไปทุกทิศ ดังหนึ่ง

ต้นมัญชูสกะ (เห็นชื่อต้นไม้สวรรค์ ว่ามีกลิ่นหอม

ยิ่งนัก) ท่านได้สูดดมกลิ่นหอมนั้น ทั้งได้เห็นรูป

อันมิใช่ของมีอยู่ในมนุษย์ ดูก่อนเทวดา อาตมา

ถามท่าน ขอท่านได้โปรดบอกว่า นี้เป็นผลของ

กรรมอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

เทพธิดานั้นตอบว่า

ในชาติก่อนดีฉันเกิดเป็นทาสีในบ้าน ชื่อคยา

ของพราหมณ์ มีบุญน้อยไม่มีวาสนา คนทั้งหลาย

เรียกชื่อดีฉันว่า รัชชุมาลา ดีฉันเศร้าเสียใจมาก

เพราะถูกขู่เข็ญของผู้ที่ด่าทอและตบตี จึงถือเอา

หม้อน้ำออกไป ทำเป็นเหมือนจะไปตักน้ำ ครั้นแล้ว

ได้วางหม้อน้ำไว้ข้างทาง เข้ารูปยังป่าชัฏด้วยคิดว่า

เราจักตายในป่านี้แหละ จะมีประโยชน์อะไรเล่า

ด้วยการเป็นอยู่ของเรา ดังนี้ แล้วจึงผูกเชือกเป็น

บ่วงให้แน่น แล้วเหวี่ยงไปยังต้นไม้ ทีนั้น ก็มองดู

ไปรอบทิศว่า จะมีใครไหมหนอ อาศัยอยู่ในป่าบ้าง

ในที่นั้นดีฉันได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีบำเพ็ญ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ประทับนั่งที่โคนต้นไม้

ทรงเพ่งพินิจอยู่ มิได้ทรงมีภัยแต่ที่ไหน ๆ ความ

สังเวชใจทำให้เกิดขนพองสยองเกล้าอย่างไม่เคยมี

ได้มีแก่ดิฉันนั้นว่า ใครหนอแลมาอยู่ในป่านี้ เป็น

เทวดาหรือมนุษย์กันแน่ ใจของดีฉันเลื่อมใสแล้ว

เพราะได้เห็นพระองค์ผู้น่าเลื่อมใส ควรแก่ความ

เลื่อมใส เสด็จออกจากป่า ( คือกิเลส ) บรรลุถึง

นิพพานอันปราศจากป่าแล้ว ท่านผู้นี้มิใช่คนธรรมดา

สามัญเลย ท่านผู้นี้มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว ยินดี

ในฌาน มีใจไม่วอกแวกไปตามอารมณ์ภายนอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

ทรงเกื้อกูลโลกทั้งมวล จักต้องเป็นพระพุทธเจ้าแน่

ท่านผู้นี้เป็นที่หวาดหวั่นของเหล่าผู้มิจฉาทิฏฐิ หาผู้

เข้าใกล้ได้ยาก ดุจดังราชสีห์อาศัยอยู่ในถ้ำ ท่าน

ผู้นี้ยากที่จะได้เห็น เหมือนดอกมะเดื่อ พระตถาคต

นั้น ตรัสเรียกดีฉันด้วยพระดำรัสอันอ่อนหวานว่า

นี่แน่ะ รัชชุมาลา พระองค์ท่านได้ตรัสกะดีฉันว่า

เธอจงถึงตถาคตเป็นที่พึ่ง ดีฉันได้ฟังพระดำรัสอัน

ปราศจากโทษ ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นวาจา

สะอาด นิ่มนวล อ่อนโยน ไพเราะ ที่จะบรรเทา

ความโศกทั้งปวงได้นั้นแล้ว พระตถาคตผู้ทรงบำเพ็ญ

ประโยชน์แก่โลกทั้งปวง ทรงทราบว่า ดีฉันมีจิต

อาจหาญดีแล้ว จึงทรงสั่งสอนดีฉันผู้เลื่อมใส มีใจ

ใสสะอาดแล้ว พระองค์ได้ตรัสกะดีฉันว่า นี้ทุกข์

นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางตรงให้ถึง

อมตะ ดีฉันตั้งตนอยู่ในพระโอวาทของพระองค์ผู้

ทรงเอ็นดู เฉลียวฉลาด จึงได้บรรลุทางนิพพาน

อันเป็นอมตะ สงบ ไม่มีการจุติ ดีฉันนั้น มีความรัก

ตั้งอยู่มั่นคงแล้ว ไม่มีที่จะหวั่นไหวในเรื่องทัสสนะ

เป็นธิดาผู้บังเกิดในพระอุระของพระพุทธองค์ ด้วย

ศรัทธาที่หยั่งรากลงแล้ว ดีฉันนั้นรื่นรมย์เที่ยวเล่น

บันเทิงใจอยู่ ไม่มีสิ่งน่ากลัวแต่ที่ไหน ๆ ทัดทรง

พวงมาลัยทิพย์ ได้ดื่มน้ำหวานหอมที่ทำให้ร่างกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

กระปรี้กระเปร่า นางฟ้านักดนตรีนับได้หกหมื่น

กระทำการขับกล่อมดีฉันอยู่ เหล่าเทพบุตรมีชื่อ

ต่าง ๆ กัน คือ ชื่ออาฬัมพะ ชื่อคัคคระ ชื่อภีมะ

ชื่อสาชุวาที ชื่อสังสยะ ชื่อโปกขระ ชื่อสุผัสสะ

และเหล่าอัปสรมีชื่อว่าวีณา ชื่อโมกขา ชื่อนันทา

ชื่อสุนันทา ชื่อโสณทินนา ชื่อสุจิมหิตา ชื่อลัมพุสา

ชื่อมิสสเกสี ชื่อปุณฑรีกา ชื่ออติทารุณี ชื่อเอณิปัสสา

ชื่อสุปัสสา ชื่อสุภัททา ชื่อมุทุกาวที เหล่านี้ล้วน

แต่เลิศกว่าอัปสรทั้งหลายในการขับกล่อม เทวดา

เหล่านั้นเข้าไปหาดีฉันตามเวลา แล้วกล่าวเชิญชวน

ว่า มาเถิด พวกเราจะฟ้อนรำ จะขับร้อง จะทำ

ให้ท่านร่าเริง ที่นี้มิใช่ที่ของผู้มิได้ทำบุญไว้ แต่เป็น

ที่ของผู้ทำบุญไว้ สวนมหาวันของเทพยเจ้าทั้งหลาย

เป็นที่ไม่เศร้าโศก เป็นที่น่าบันเทิง น่ารื่นรมย์

สำหรับผู้ที่มิได้ทำบุญไว้ สุขไม่มีในโลกนี้และโลก

หน้า สุขในโลกนี้และโลกหน้าจะมีแก่คนทำบุญไว้

ผู้มีความประสงค์อยู่ร่วมกับเทพเหล่านั้น ควรกระทำ

กุศลให้มากไว้ เพราะผู้ที่มีบุญอันทำไว้แล้ว ย่อม

พรั่งพร้อมด้วยโภคสมบัติ บันเทิงในสวรรค์ พระ-

ตถาคตทั้งหลายเป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นบ่อเกิด

แห่งบุญเขตของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอุบัติขึ้นมาเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

ประโยชน์แก่ชนหมู่มากจริงหนอ ที่ทายกกระทำบุญ

ในท่านแล้วย่อมบันเทิงในสวรรค์.

จบรัชชุมาลาวิมาน

อรรถกถารัชชุมาลาวิมาน

รัชชุมาลาวิมาน มีคาถาว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน เป็นต้น.

รัชชุมาลาวิมานนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี.

สมัยนั้น พราหมณ์คนหนึ่งในหมู่บ้านคยาได้ให้ธิดา แก่บุตรพราหมณ์

คนหนึ่งในบ้านนั้นเอง นางไปมีสามีแล้ว ตั้งตนเป็นใหญ่ในเรือนนั้น

นางเห็นลูกสาวทาสีในเรือนนั้นแล้วไม่ชอบหน้า นับแต่เห็นมา นางก็

แสดงอาการฮึดฮัดด่าว่าด้วยความโกรธ และชูกำหมัดแก่ลูกสาวทาสีนั้น

เมื่อลูกสาวทาสีเติบโตขึ้นพอจะทำการงานได้ นางก็ใช้เข่า ศอก กำหมัด

ทุบตีเธอ เหมือนผูกอาฆาตกันมาในชาติก่อน ๆ หลายชาติทีเดียว.

เล่ากันมาว่า ทาสีนั้นได้เป็นนายของนาง ครั้งพระทศพลพระนาม

ว่ากัสสปะ ส่วนนางเป็นทาสี เธอทุบต่อยทาสีนั้นด้วยก้อนดินและกำหมัด

เป็นต้นเนือง ๆ ทาสีเหนื่อยหน่ายเพราะการกระทำนั้น ได้กระทำบุญ

ทั้งหลายมีให้ทานเป็นต้นตามกำลัง ตั้งความปรารถนาว่า ในอนาคตกาล

ขอเราพึงเป็นนายมีความเป็นให้เหนือหญิงนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

ภายหลัง ทาสีนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เวียนว่ายไป ๆ มา ๆ อยู่

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในหมู่บ้านคยา ไปมี

สามี ตามนัยดังกล่าวแล้ว ส่วนหญิงอีกคนหนึ่งได้เป็นทาสีของนาง นาง

จึงเบียดเบียนเธอเพราะผูกอาฆาตกันไว้อย่างนั้น.

เมื่อเบียดเบียนอยู่อย่างนี้ โดยไม่มีเหตุที่สมควรเลย นางได้จิกผม

ใช้ทั้งมือทั้งเท้าตบถีบอย่างเต็มที่ ทาสีนั้นไปศาลาอาบน้ำ โกนผมเสีย

เกลี้ยง หญิงผู้เป็นนายกล่าวว่า เฮ้ย อีทาสีชั่ว เพียงโกนผมเกลี้ยง มึง

จะพ้นหรือ แล้วเอาเชือกพันศีรษะ จับนางให้ก้มลงเฆี่ยนตรงนั้น และ

ไม่ให้นางเอาเชือกนั้นออก นางทาสีจึงได้ชื่อว่า รัชชมาลา ตั้งแต่นั้นมา.

ต่อมาวันหนึ่ง ตอนใกล้รุ่ง พระศาสดาเสด็จออกจากมหากรุณา-

สมาบัติ ทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของ

นางรัชชุมาลา และการดำรงอยู่ในสรณะและศีลของนางพราหมณีนั้น

จึงเสด็จเข้าไปป่าประทับนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่ง ทรงเปล่งพระพุทธรัศมี

มีพรรณะ ๖ ไป. ฝ่ายนางรัชชุมาลาเล่า ถูกเขาเบียดเบียนอยู่เช่นนั้น

ทุก ๆ วัน คิดว่าจะมีประโยชน์อะไรด้วยชีวิตอันลำเค็ญเช่นนี้ของเรา ดังนี้

เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิต ประสงค์จะตายเสีย จึงถือเอาหม้อน้ำออก

จากเรือนไป ทำทีเดินไปท่าน้ำ เข้าไปตามลำดับ ผูกเชือกเข้าที่กิ่งไม้

ต้นหนึ่ง ที่ไม่ไกลต้นไม้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ประสงค์จะทำ

เป็นบ่วงผูกคอตาย มองดูไปข้างโน้นข้างนี้ ก็เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งอยู่ ณ ที่นั้น ดูน่าพอใจ น่าเลื่อมใส ทรงบรรลุความฝึกและ

ความสงบอย่างสูงสุด กำลังเปล่งพระพุทธรัศมีมีพรรณะ ๖ อยู่. ครั้น

เห็นแล้วมีใจถูกความเคารพในพระพุทธเจ้าเหนี่ยวรั้งไว้จึงคิดว่า ทำไฉน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงธรรมแม้แก่คนเช่นเรา ที่เราได้ฟังแล้ว

พึงพ้นจากชีวิตที่ลำเค็ญนี้ได้หนอ.

ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอาจาระความประพฤติทางจิต

ของนางแล้ว จึงตรัสเรียกว่า รัชชุมาลา. นางได้ยินพระดำรัสนั้นแล้ว

เป็นประหนึ่งว่า ถูกโสรจสรงด้วยน้ำอมฤต ได้ถูกปีติสัมผัสไม่ขาดสาย

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วน

หนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกถาว่าด้วยสัจจะ ๔ อันเป็นลำดับต่อจาก

อนุบุพพีกถาแก่นาง. นางก็ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พระศาสดาทรงดำริว่า

การอนุเคราะห์แก่นางรัชชุมาลาเพียงเท่านี้ก็พอแล้ว บัดนี้นางเกิดเป็นคน

ที่ใคร ๆ จะกำจัดไม่ได้แล้ว ดังนี้ จึงเสด็จออกจากป่า ประทับนั่งที่โคน

ต้นไม้แห่งหนึ่งไม่ไกลบ้าน. ฝ่ายนางรัชชุมาลา เพราะเหตุที่นางเป็นผู้ไม่

ควรที่จะฆ่าตัวตาย และเพราะเหตุที่นายเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยขันติ เมตตา

และความเอ็นดูแล้ว จึงคิดว่า นางพราหมณีจะฆ่าหรือจะเบียดเบียนเรา

หรือจะทำการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามที ดังนี้ แล้วเอาหม้อตักน้ำกลับไป

เรือน. สามียืนอยู่ที่ประตูเรือนเห็นนางแล้วจึงถามว่า วันนี้เธอไปท่าน้ำ

ตั้งนานแล้วจึงมา และสีหน้าของเธอก็ดูผ่องใสยิ่งนัก เธอปรากฏโดย

อาการเปลี่ยนไป (ไม่เหมือนเดิม) นี่อะไรกัน. นางจึงเล่าความเป็นไป

นั้นแก่สามี.

พราหมณ์ฟังคำของนางแล้วยินดีไปยังเรือน แล้วกล่าวแก่ลูกสะใภ้

ต่อหน้านางรัชชุมาลาว่า เธอไม่ต้องทำอะไร ดังนี้ แล้วมีใจยินดีรีบไป

ยังสำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทำปฏิสันถารด้วยความเอื้อเฟื้อ

นิมนต์พระศาสดาแล้วนำมาสู่เรือนของตน อังคาสเลี้ยงดูด้วยของเคี้ยวของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

ฉันอันประณีต พอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ ชักพระหัตถ์ออกจาก

บาตร จึงเข้าไปเฝ้านั่ง ณ ที่ตรงส่วนข้างหนึ่ง. แม้สะใภ้ของพราหมณ์นั้น

ก็เข้าไปเฝ้าถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พวกพราหมณ์และคฤหบดี แม้ที่อยู่ในหมู่บ้านคยาคามได้ฟังเรื่อง

นั้นแล้ว เข้าไปเผ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า บางพวกถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง บางพวกก็เพียงแต่กล่าวทักทายปราศรัยแล้วนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสกรรมที่กระทำในชาติก่อนของนางรัชชุมาลา และ

ของนางพราหมณีนั้น โดยพิสดารแล้วทรงแสดงธรรมตามสมควรแก่

บริษัทที่มาประชุมกัน. นางพราหมณีและมหาชนที่ประชุมกันในที่นั้น

ฟังธรรมนั้นแล้ว ต่างดำรงอยู่ในสรณะ และศีล. พระศาสดาเสด็จลุกขึ้น

จากอาสนะ ได้เสด็จไปกรุงสาวัตถีตามเดิม. พราหมณ์ได้ตั้งนางรัชชุมาลา

ไว้ในตำแหน่งเป็นลูกสาว. ลูกสะใภ้ของพราหมณ์ก็มองดูนางรัชชุมาลา

ด้วยนัยน์ตาแสดงความรัก ปฏิบัติต่อกันด้วยความสิเนหาน่าพอใจทีเดียว

ตราบเท่าชีวิตหาไม่.

ต่อนานางรัชชุมาลาตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นางมี

อัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร. นางประดับองค์ด้วยเครื่องอาภรณ์อันเป็นทิพย์

มีประมาณบรรทุกหกสิบเล่มเกวียน มีอัปสรพันหนึ่งห้อมล้อม เสวยทิพย์

สมบัติอย่างใหญ่หลวง มีใจเบิกบานเที่ยวเตร่ไปในสวนนันทนวันเป็นต้น.

ครั้งนั้นท่านพระมหาโมคคัลลานะไปเที่ยวเทวจาริก เห็นนางรุ่งโรจน์อยู่

ด้วยเทวานุภาพ ด้วยเทวฤทธิ์อันยิ่งใหญ่ จึงถามถึงกรรมที่นางได้กระทำ

ไว้ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

ดูก่อนเทวดา ท่านมีวรรณะงานยิ่ง กรีดกราย

มือและเท้าฟ้อนรำได้เหมาะเจาะ ในเมื่อดนตรี

บรรเลงอยู่อย่างไพเราะ เมื่อท่านนั้นร่ายรำอยู่

เสียงทิพย์อันน่าฟัง น่ารื่นรมย์ใจ ก็เปล่งออกจาก

อวัยวะน้อยใหญ่ทั่วสรรพางค์ เมื่อท่านนั้นร่ายรำอยู่

กลิ่นทิพย์ที่มีกลิ่นอันหอมหวนน่ารื่นรมย์ใจ ก็ฟุ้งขจร

ไปจากอวัยวะน้อยใหญ่ทั่วสรรพางค์ เครื่องประดับที่

มวยผมที่แกว่งไกวไปมาตามกาย ก็เปล่งเสียงกังวาน.

ให้ได้ยิน ปานประหนึ่งว่า ดนตรีเครื่อง ๕ เทริดที่

ถูกลมกระพือพัดเคลื่อนไหวไปตามสายลม ก็เปล่ง

เสียงกังวานให้ได้ยิน ปานประหนึ่งว่า เสียงดนตรี

เครื่อง ๕ เช่นกัน พวงมาลัยประดับเศียรของท่าน

มีกลิ่นหอมน่ารื่นรมย์ใจ ก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้งตลบไป

ทุกทิศ ดังหนึ่งต้นมัญชูสกะ (เป็นชื่อต้นไม้ใน

สวรรค์ ว่ามีกลิ่นหอมยิ่งนัก) ท่านได้สูดดมกลิ่น

หอมนั้น ทั้งได้เห็นรูปอันมิใช่ของมีอยู่ในมนุษย์

ดูก่อนเทวดา อาตมาถามท่าน ขอท่านได้โปรดบอกว่า

นี้เป็นผลของกรรมอะไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺเถ ปาเท จ วิคฺคยฺห คือ ขยับมือ

และเท้าด้วยอาการหลายอย่าง อธิบายว่า ขยับมือด้วยอาการหลายอย่าง

แปลก ๆ กันออกไป ด้วยอำนาจการแสดงท่าร่ายรำต่าง ๆ อย่าง เป็นต้น

ว่า รำกำดอกไม้ รำประนมดอกไม้ และเยื้องย่างเท้าด้วยอาการหลายอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

หลาก ๆ ท่าด้วยอำนาจการแสดงท่าแปลก ๆ แห่งการยืน มีการวางเท้า

เสมอกันเป็นต้น. ด้วย ศัพท์ท่านรวมเอาท่าร่ายรำไว้ด้วยกัน. บทว่า

นจฺจสิ แปลว่า ร่ายรำ. บทว่า ยา ตฺว ความว่า ท่านใดกระทำการ

ฟ้อนรำตามที่กล่าวมาแล้ว. บทว่า สุปฺปวาทิเต ความว่า เมื่อมีการ

บรรเลงที่เหมาะสม คือ เมื่อเครื่องดนตรีมีพิณ ซอ ตะโพน และฉิ่ง

เป็นต้นที่เขาบรรเลงอยู่ได้จังหวะกับการฟ้อนรำของท่าน ได้แก่ เมื่อ

ดนตรีเครื่อง ๕ ที่เขาประโคมอยู่. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในวิมาน

หนหลัง.

เทวดาถูกพระเถระได้ถามอย่างนี้แล้ว จึงได้พยากรณ์ชี้แจงถึงชาติ

ก่อนเป็นต้น ของตนให้ท่านทราบด้วยคาถาเหล่านี้

ในชาติก่อนดีฉันเกิดเป็นทาสีในบ้านชื่อคยา

ของพราหมณ์ มีบุญน้อย ไม่มีวาสนา คนทั้งหลาย

เรียกชื่อดีฉันว่า รัชชุมาลา ดีฉันเศร้าเสียใจมาก

เพราะถูกขู่เข็ญของผู้ที่ด่าทอและโดนตี จึงถือเอาหม้อ

น้ำออกไปทำเป็นเหมือนจะไปตักน้ำ ครั้นแล้วได้วาง

หม้อน้ำไว้ข้างทางเข้าไปยังป่าชัฏ ด้วยคิดว่า เราจัก

ตายในป่านี้แหละ จะมีประโยชน์อะไรเล่าด้วยการ

เป็นอยู่ของเราดังนี้ แล้วจึงผูกเชือกเป็นบ่วงให้แน่น

แล้วเหวี่ยงไปยังต้นไม้ ทีนั้นก็มองดูไปรอบทิศว่า

จะมีใครไหมหนอ อาศัยอยู่ในป่าบ้าง ในที่นั้นดีฉันได้

เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นมุนีบำเพ็ญประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ประทับนั่งที่โคนต้นไม้ ทรงเพ่ง

พินิจอยู่ มิได้ทรงมีภัยแต่ที่ไหน ๆ ความสังเวชใจ

ทำให้เกิดขนพองสยองเกล้าอย่างไม่เคยมีได้มีแก่

ดีฉันนั้นว่า ใครหนอแลมาอยู่ในป่านี้ เป็นเทวดาหรือ

มนุษย์กันแน่ ใจของดีฉันเลื่อมใสแล้ว เพราะได้เห็น

พระองค์ผู้น่าเลื่อมใส ควรแก่ความเลื่อมใส เสด็จ

ออกจากป่า (คือกิเลส) บรรลุถึงนิพพานอันปราศจาก

ป่าแล้ว ท่านผู้นี้มิใช่คนธรรมดาสามัญเลย ท่านผู้นี้

มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว ยินดีในฌาน มีใจไม่วอก

แวกไปตามอารมณ์ภายนอก ทรงเกื้อกูลโลกทั้งมวล

จักต้องเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ท่านผู้นี้เป็นที่หวาดหวั่น

ของเหล่าผู้มิจฉาทิฏฐิ หาผู้เข้าใกล้ได้ยาก ดุจดัง

ราชสีห์อาศัยอยู่ในถ้ำ ท่านผู้นี้ยากที่จะได้เห็น

เหมือนดอกมะเดื่อ พระตถาคตนั้นตรัสเรียกดีฉันด้วย

พระดำรัสอันอ่อนหวาน นี่แน่ะรัชชุมาลา พระองค์

ท่านได้ตรัสกะดีกว่า เธอจงถึงตถาคตเป็นที่พึ่ง ดีฉัน

ได้ฟังพระดำรัสอันปราศจากโทษ ประกอบด้วย

ประโยชน์ เป็นวาจาสะอาดนิ่มนวล อ่อนโยนไพเราะ

ที่จะบรรเทาความโศกทั้งปวงได้นั้นแล้ว พระตถาคต

ผู้ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่โลกทั้งปวง ทรงทราบว่า

ดีฉันมีจิตอาจหาญดีแล้ว จึงทรงสั่งสอนดีฉันผู้เลื่อมใส

มีใจใสสะอาดแล้ว พระองค์ได้ตรัสกะดีฉันว่า นี้ทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

นี้เหตุเกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางตรงให้ถึงอมตะ

ดีฉันตั้งตนอยู่ในพระโอวาทของพระองค์ผู้ทรงเอ็นดู

เฉลียวฉลาด จึงได้บรรลุทางนิพพานอันเป็นอมตะ

สงบไม่มีการจุติ ดีฉันนั้นมีความรักตั้งอยู่มั่นคงแล้ว

ไม่มีที่จะหวั่นไหวในเรื่องทัสสนะ เป็นธิดาผู้บังเกิดใน

พระอุระของพระพุทธองค์ด้วยศรัทธาที่หยั่งรากลงแล้ว

ดีฉันนั้นรื่นรมย์เที่ยวเล่นบันเทิงใจอยู่ ไม่มีสิ่งน่ากลัว

แต่ที่ไหน ๆ ทัดทรงพวงมาลัยทิพย์ ได้ดื่มน้ำหวาน

หอมที่ทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่า นางฟ้านักดนตรี

นับได้หกหมื่นกระทำการขับกล่อมดีฉันอยู่ เหล่า

เทพบุตรมีชื่อต่าง ๆ กันคือ ชื่ออาฬัมพะ ชื่อคัคคระ ชื่อ

ภีมะ ชื่อสาธุวาที ชื่อสังสยะ ชื่อโปกขระ ชื่อสุผัสสะ

และเหล่านางอัปสรมีชื่อว่าวีณา ชื่อโมกขา ชื่อนันทา

ชื่อสุนันทา ชื่อโสณทินนา ชื่อโมกขา ชื่อนันทา

ชื่อมิสสเกสี ชื่อปุณฑรีกา ชื่ออติทารุณี ชื่อเอณิปัสสา

ชื่อสุปัสสา ชื่อสุภัททา ชื่อมุทุกาวที เหล่านี้ล้วนแต่

เลิศกว่านางอัปศรทั้งหลายในการขับกล่อม เทวดา

เหล่านั้นเข้าไปหาดีฉันตามเวลาแล้วกล่าวเชิญชวนว่า

มาเถิด พวกเราจะฟ้อนรำ จะขับร้อง จะทำให้ท่าน

ร่าเริง ที่นี้มิใช่ที่ของผู้มีได้ทำบุญไว้ แต่เป็นที่ของ

ผู้ทำบุญไว้ สวนมหาวันของเทพยเจ้าทั้งหลาย เป็น

ที่ไม่เศร้าโศก เป็นที่น่าบันเทิง น่ารื่นรมย์ สำหรับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

ผู้ที่มิได้ทำบุญไว้ สุขไม่มีในโลกนี้และโลกหน้า สุข

ในโลกนี้และโลกหน้าจะมีแก่คนทำบุญไว้ ผู้มีประ-

สงค์จะอยู่ร่วมกับเทพเหล่านั้น ควรกระทำกุศลให้

มากไว้ เพราะผู้มีบุญอันทำไว้แล้ว ย่อมพรั่งพร้อม

ด้วยโภคสมบัติ บันเทิงในสวรรค์ พระตถาคตทั้ง

หลาย เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน เป็นบ่อเกิดแห่งบุญ-

เขตของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมอุบัติขึ้นมาเพื่อประโยชน์

แก่ชนหมู่มากจริงหนอ ที่ทายกกระทำบุญในท่านแล้ว

ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทาสี อห ปุเรอาสึ ได้แก่ ใน

ชาติก่อนคือมีในปางก่อน ดีฉันได้เป็นนางทาสีในเรือนเบี้ย ในบทนั้น

นางกล่าวว่า ของใคร ตอบว่า ของพราหมณ์ในบ้านคยา. ของพราหมณ์

คนหนึ่งในบ้านอันมีชื่อว่าคยา. บทว่า ห เป็นเพียงนิบาต. บทว่า

อปฺปปุญฺา คือ มีโชคน้อยไม่มีบุญ. บทว่า อลกฺขิกา คือ ปราศจาก

สิริ เป็นกาลกรรณี. บทว่า รชฺชุมาลาติ ม วิทู คือ พวกมนุษย์เรียกชื่อ

ดีฉันว่า รัชชุมาลา ก็เนื่องด้วยมีเชือกวงแหวนที่เขาผูกไว้แน่นแล้ววางไว้

บนศีรษะ ในเมื่อเขาโกนศีรษะลำบากด้วยจับเส้นผมดึงมาดึงไป เพื่อเหตุ

นี้นี่เอง.

บทว่า วธาน แปลว่า เฆี่ยน. บทว่า ตชฺชนาย แปลว่า

ด้วยการขู่ให้กลัว. บทว่า อุกฺคตา คือ เพราะการเกิดขึ้นแห่งโทมนัส

อย่างเหลือล้น. บทว่า อุทหาริยา คือ จะไปตักน้ำมา อธิบายว่า ทำ

เป็นเหมือนจะไปนำเอาน้ำมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

บทว่า วิปเถ แปลว่า ในที่มิใช่ทางเดิน. ความว่า หลีกออกจาก

ทาง. บทว่า กฺวตฺโถ ตัดบทเป็น โก อตฺโถ (ประโยชน์อะไร). อีก

นัยหนึ่ง บาลีก็เป็นเช่นเดียวกัน.

บทว่า ทฬฺห ปาส กริตฺวาน คือ การทำบ่วงที่ผูกไว้ให้มั่น

ไม่ให้ขาดได้. บทว่า อาสุมฺภิตฺวาน ปาทเป คือ โยนไปที่ต้นไม้ด้วย

ทำให้คล้องไว้ที่คบไว้. บทว่า ตโต ทิสาวิโลเกสึ โก นุ โข วนมสฺสิโต

อธิบายว่า จะมีใครบ้างไหมหนอที่อยู่โดยเข้าไปสู่ป่านี้ เพราะเหตุจะเป็น

อันตรายแก่การตายของเรา.

บทว่า สมฺพุทฺธ เป็นต้น ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจความเป็นเอง

แม้เมื่อนางจะไม่มีความรู้สึกตระหนักแน่เช่นนั้น ในกาลนั้นก็ตาม. บทนั้น

มีใจความว่า พึงทราบว่า ชื่อว่าเป็นสัมพุทธะ เพราะพระองค์ตรัสรู้

ธรรมที่ควรตรัสรู้แม้ทั้งสิ้นด้วยพระองค์เองโดยแท้และโดยชอบด้วย ชื่อว่า

เป็นผู้เกื้อกูลแก่โลกทั้งมวล เพราะพระองค์มีประโยชน์เกื้อกูลโดยส่วนเดียว

แก่โลกแม้ทั้งมวลที่แตกต่างกันโดยประเภทเป็นคนเลวเป็นต้น เพราะทรง

ประกอบด้วยพระมหากรุณา ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะทรงรู้โลกทั้งสอง ชื่อว่า

ประทับนั่งแล้วด้วยอำนาจแห่งการประทับนั่ง และด้วยไม่มีการเคลื่อนไป

จากที่ด้วยอภิสังขารคือกิเลส ชื่อว่าทรงเพ่งพินิจอยู่ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน

และลักขณูปนิชฌาน ชื่อว่าไม่ทรงมีภัยแต่ที่ไหน ๆ เพราะไม่มีภัยแต่ที่

ไหน ๆ เพราะเหตุที่ภัยพระองค์ตัดขาดแล้วที่โคนต้นโพธิ์นั่นแล.

ญาณประกอบด้วยโอตตัปปะ ชื่อว่าความสังเวช. ความสังเวชนั้น

เกิดขึ้นแก่นางเพราะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า ตสฺมา เม อหุ สเวโค ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

บทว่า ปาสาทิก แปลว่า นำมาซึ่งความเลื่อมใส. อธิบายว่า

เป็นผู้ทำความเลื่อมใสให้เจริญยิ่งขึ้น เพราะความถึงพร้อมด้วยความงาม

แห่งพระสรีระของพระองค์อันประดับประดาด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒

พระอนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีข้างละวา และพระเกตุมาลาที่ก่อให้เกิด

ความเลื่อมใสทั่วไป เป็นของให้สำเร็จประโยชน์สำหรับชนผู้ขวนขวายจะ

ดูพระรูปกาย. บทว่า ปาสาทนิย คือ ทรงประกอบด้วยพระธรรมกาย

สมบัติอันพรั่งพร้อมด้วยพระคุณอันหาประมาณมิได้ คือทศพลญาณ จตุ-

เวสารัชชญาณ อสาธารณญาณ ๖ และเป็นแดนเกิดแห่งพระพุทธธรรม

อันประเสริฐ ๑๘ ประการที่ชนผู้เห็นสมจะพึงเลื่อมใส. อธิบายว่า เป็นที่

ตั้งแห่งความเลื่อมใส. บทว่า วนา คือ หลีกออกจากป่าคือกิเลส. บทว่า

นิพฺพนมาคต คือ เข้าถึง ได้แก่บรรลุธรรมที่ปราศจากตัณหา คือนิพพาน

นั่นเอง. บทว่า ยาทิสกีทิโส คือ คนธรรมดาสามัญ อธิบายว่า คนทั่ว ๆไป.

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า มีพระอินทรีย์อันทรงคุ้มครองแล้ว

เพราะพระอินทรีย์ทั้งหลายมีใจเป็นที่ ๖ พระองค์ทรงคุ้มครองได้แล้วด้วย

มรรคอันยอดเยี่ยม. ทรงพระนามว่า ยินดีในฌาน เพราะทรงยินดียิ่งใน

ผลฌานอันเลิศ. ทรงพระนามว่า มีพระทัยไม่วอกแวกไปภายนอก

เพราะทรงมีพระทัยหลีกออกจากอารมณ์มีรูปเป็นต้น อันเป็นภายนอก

แล้วหยั่งลงในพระนิพพานอันเป็นอารมณ์ภายใน. ทรงพระนามว่า เป็นที่

หวาดหวั่นของมิจฉาทิฏฐิกบุคคลผู้น่ากลัว เพราะอันมิจฉาทิฏฐิกบุคคลผู้

มีความหลงผิดด้วยกลัวจะถูกปลดเปลื้องจากการถือผิด และเพราะให้เกิด

ความกลัวแก่เขาเหล่านั้น. ทรงพระนามว่า หาผู้เข้าใกล้ได้ยาก เพราะอัน

บุคคลผู้ประโยควิบัติและอาสยวิบัติเข้าถึงไม่ได้ และอันใคร ๆ จะพึงเข้าใกล้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

ไม่ได้. บทว่า ทุลฺลภาย ตัดบทเป็น ทุลฺลโภ อย. บทว่า ทสฺสนาย

คือ แม้เพื่ออันเห็น. บทว่า ปุปฺผ อุทุมฺพร ยถา ความว่า ดอกที่มี

ในต้นมะเดื่อเป็นของเห็นได้ยาก บางคราวก็มี บางคราวก็ไม่มี ฉันใด

การเห็นบุคคลผู้สูงสุดเช่นนี้ ก็ฉันนั้น.

พึงทราบโยชนาดังนี้ พระตถาคตนั้นทรงร้องเรียกคือตรัสเรียกดีฉัน

ว่า รัชชุมาลา ด้วยพระวาจาอันอ่อนโยน คือด้วยพระวาจาอันละเอียดอ่อน

แล้วได้ตรัสคือได้ทรงบอกดีฉันว่า ท่านจงถึงตถาคตที่กล่าวโดยนัยเป็นต้น

ว่า ผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ.

บทว่า ตาห ตัดบทเป็น ต อห. บทว่า คิร แปลว่า วาจา.

บทว่า เนล คือ ไม่มีโทษ. บทว่า อตฺถวตึ แปลว่า ประกอบด้วย

ประโยชน์ คือ เป็นไปกับด้วยประโยชน์ หรือว่ามีประโยชน์โดยส่วนเดียว.

วาจาชื่อว่า สะอาด เพราะเป็นวาจาที่มีความสะอาด. วาจาชื่อว่า ละเอียด

อ่อน เพราะเป็นวาจาไม่หยาบคาย. ชื่อว่าอ่อนโยน เพราะการทำเวไนย-

สัตว์ให้อ่อนโยน. ชื่อว่า ไพเราะ เพราะความเป็นวาจาน่าฟัง. บทว่า

สพฺพโสกาปนูทน พึงทราบสัมพันธ์ดังนี้ ดีฉันได้มีจิตเลื่อมใสแล้ว

เพราะได้ฟังพระดำรัสอันบรรเทาความโศก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุมีความ

พินาศแห่งญาติเป็นต้นได้หมดสิ้น. นางกล่าวหมายเอาอนุบุพพีกถาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าที่เริ่มต้นแต่ทานกถานั้นทั้งหมด สืบต่อเป็นไปด้วย

อำนาจแห่งการทำให้แจ้งซึ่งอานิสงส์ในเนกขัมมะ. เพราะเหตุนั้น นางจึง

กล่าวคำเป็นต้นว่า กลฺลจิตฺตญฺจ ม ตฺวา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺลจิตฺต คือ มีจิตอันควรแก่การงาน.

อธิบายว่า มีจิตเหมาะแก่การงานโดยเข้าถึงความเป็นภาชนะของธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

เบื้องหน้าจากโทษแห่งจิตมีความไม่มีศรัทธาเป็นต้นด้วยเทศนาที่เป็นไปใน

หนหลัง คือมีจิตเหมาะสมแก่ภาวนากรรม. เพราะเหตุนั้น นางจึงกล่าวว่า

ปสนฺน สุทฺธมานส. บรรดาบทเหล่านั้น นางกล่าวถึงการปราศจาก

ความไม่มีศรัทธาด้วยบทนี้ว่า ปสนฺน. ด้วยบทนี้ว่า สุทฺธมานส นางแสดง

ถึงความที่จิตอ่อนและความที่จิตมีอารมณ์เลิศด้วยการปราศจากนิวรณ์มีกาม

ฉันท์เป็นต้น. บทว่า อนุสาสิ แปลว่า ตรัสสอนแล้ว อธิบายว่า ทรง

ยกขึ้นแสดงถึงความเปลี่ยนแปลงแห่งความเป็นไปของธรรมเทศนาที่พระ-

องค์ทรงยกขึ้นแสดงเองพร้อมทั้งอุบาย เพราะเหตุนั้น นางจึงกล่าวว่า

อิท ทุกฺข เป็นต้น. เพราะคำนี้เป็นคำแสดงถึงอาการที่ทรงพร่ำสอน.

พึงทราบสัมพันธ์ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิท ทุกฺขนฺติ ม

อโวจ ความว่า พระองค์ได้ตรัสแก่ดีฉันว่า ธรรมชาติอันเป็นไปในภูมิ

๓ มีตัณหาเป็นโทษนี้เป็นของต่ำช้า เพราะมีอันเบียดเบียนเป็นสภาพ

เป็นทุกขอริยสัจ เพราะเป็นของว่างเปล่าเป็นสภาพและเพราะเป็นของแท้.

บทว่า อย ทุกฺขสฺสสมฺภโว ความว่า ตัณหาต่างชนิดมีกามตัณหาเป็น

ต้นนี้ เป็นแดนเกิด คือ เป็นแดนมีขึ้น เป็นการอุบัติขึ้นเป็นเหตุ ชื่อว่า

สมุทัยอริยสัจ. บทว่า ทุกฺขนิโรโธ มคฺโค ความว่า ความสงบระงับ

แห่งทุกข์ เป็นสังขตธาตุ จัดเป็นนิโรธอริยสัจ. ชื่อว่า เป็นหนทาง

เพราะเว้นเสียได้ซึ่งที่สุด ๒ อย่าง ชื่อว่า หยั่งลงสู่อมตะ เพราะเป็น

ปฏิปทามีปกติให้ถึงพระนิพพาน ชื่อว่า มรรคอริยสัจ พระองค์ได้ตรัส

กะดีฉันดังนี้.

บทว่า กุสลสฺส คือ ทรงฉลาดในการประทานพระโอวาทในการ

ทรงฝึกฝนเวไนยสัตว์ ผู้ไม่มีโทษเพราะเป็นข้อปฏิบัติเพื่อความไม่ประมาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

หรือเพราะเป็นเครื่องถึงธรรมอันสุดยอด. บทว่า โอวาทมฺหิ อห ิตา

ความว่า ดีฉันตั้งมั่นแล้วในพระโอวาท คือ ในคำพร่ำสอนตามที่กล่าว

แล้ว โดยการะเทงตลอดซึ่งสัจจะด้วยการบำเพ็ญให้บริบูรณ์ในสิกขา ๓.

เพราะเหตุนั้น นางจึงกล่าวว่า อชฺฌคา อมต สนฺตึ นิพฺพาน ปทมจฺจุต

คำนี้เป็นคำแสดงเหตุแห่งการตั้งอยู่ในพระโอวาท. นางได้บรรลุคือได้ถึง

ทางพระนิพพาน ชื่อว่า อมตะ เพราะไม่มีความตาย. เหตุเป็นของเที่ยง

ชื่อว่า สงบระงับ เพราะเข้าไปสงบระงับทุกข์ทั้งปวง. ชื่อว่า อันไม่มีจุติ

เพราะเป็นเหตุให้ผู้ได้บรรลุแล้วไม่จุติ. นางชื่อว่าตั้งอยู่ในพระโอวาทของ

พระศาสดาโดยส่วนเดียว.

บทว่า อวฏฺิตา เปมา คือ มีความภักดีมั่นคง ได้แก่มีความเยื่อใย

ด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย. นางเป็นผู้ไม่หวั่นไหว คือ

อันใครให้หวั่นไหวมิได้ในความเห็นชอบนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ธรรมอันพระองค์ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว

ดังนี้ เพราะเหตุที่นางชื่อว่า ไม่หวั่นไหวในทัสสนะ. ก็การไม่หวั่นไหวนั้น

มีได้เพราะอะไร เพราะเหตุนั้น นางจึงกล่าวว่า เพราะศรัทธาที่เกิดรากเหง้า

ขึ้นแล้ว . นางแสดงว่า ดีฉันมีปกติไม่หวั่นไหวเพราะศรัทธาที่เกิดรากเหง้า

ขึ้นแล้วด้วยรากเหง้า กล่าวคือการรู้แจ้งสัจจะในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดย

นัยเป็นต้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระอรหันต์ ใน

พระธรรมของพระองค์โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ดีแล้ว ในพระสงฆ์ของพระองค์โดยนัยเป็นต้นว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้-

มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว. เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ นางจึงชื่อว่าเป็นธิดา

ผู้บังเกิดจากพระอุระของพระพุทธเจ้า คือเป็นบุตรีผู้เกิดจากพระอุระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

เพราะเป็นผู้มีกำเนิดดีอันเกิดจากความพยายามที่พระอุระของพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้า.

บทว่า สาห รมามิ ความว่า ดีฉันนั้นมาเกิดเป็นเทพเจ้าในบัดนี้

เพราะการเกิดเป็นพระอริยเจ้าในครั้งนั้น จึงยินดีในมรรค และยินดี

ในผล ดีฉันเที่ยวเล่นอยู่ด้วยความยินดีในกามคุณ. ดีฉันบันเทิงอยู่แม้ด้วย

ความยินดีทั้งสอง. ชื่อว่า ผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน เพราะเป็นผู้มีภัยคือการ

ติเตียนตนเป็นต้น ไปปราศแล้ว. บทว่า มธุมทฺทว คือ น้ำที่กระทำ

ให้กระปรี้กระเปร่า, กระชุ่มกระชวย กล่าวคือน้ำผึ้ง นางกล่าวหมายเอาน้ำ

ที่มีกลิ่นหอมที่นำมาซึ่งความกระปรี้กระเปร่าแห่งเนื้อตัวและสุ้มเสียง ใน

เวลาฟ้อนรำและขับร้อง. บางอาจารย์กล่าวว่า มธุมาทว ความว่า ดีฉัน

ดื่มน้ำหวานที่ทำให้รื่นเริง เพียงเล่นสนุกสนานมีแต่เที่ยวสนุกไป.

บทว่า ปุญฺกฺเขตฺตานมากรา ความว่า พระตถาคตเป็นบ่อเกิด

คือเป็นสถานที่เกิดขึ้นแห่งพระอริยะผู้ตั้งมั่นอยู่ในมรรคและผล ผู้เป็นบุญ-

เขตของโลกพร้อมทั้งเทวโลก คือพระอริยสงฆ์. บทว่า ยตฺถ คือ ใน

บุญเขตใด. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ฟังประวัตินี้แล้วกลับมามนุษยโลกกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้-

มีพระภาคเจ้าทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นเหตุเกิดเรื่องแล้ว ทรงแสดงธรรม

แก่บริษัทที่มาประชุมกัน. เทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่มหาชนแล้วด้วย

ประการฉะนี้.

จบอรรถกถารัชชุมาลาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

การพรรณนาเนื้อความแห่งมัญชิฏฐกวรรคที่ ๔ ที่ประดับด้วยเรื่อง

๑๒ เรื่อง ในวิมานวัตถุแห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถทีปนี

จบแล้วด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาอิตถีวิมาน

รวมวิมานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. มัญชิฏฐกวิมาน ๒. ปภัสสรวิมาน ๓. นาควิมาน ๔. อโลม-

วิมาน ๕. กัญชิกทายิกาวิมาน ๖. วิหารวิมาน ๗. จตุริตถีวิมาน

๘. อัมพวิมาน ๙. ปีตวิมาน ๑๐. อุจฉุวิมาน ๑๑. วันทนวิมาน

๑๒. รัชชุมาลาวิมาน และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

๒. ปุริสวิมานวัตถุ

มหารถวรรคที่ ๕

๑. มัณฑูกเทวปุตตวิมาน

ว่าด้วยมัณฑูกเทวปุตตวิมาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๕๑] ใครรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ มีวรรณะ

งาม ทำทิศทุกทิศให้สว่างไสว กำลังไหว้เท้าของเรา.

เทพบุตรกราบทูลว่า

เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์เป็นกบอยู่ในน้ำ

มีน้ำเป็นถิ่นที่หากิน กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่

คนเลี้ยงโคก็ฆ่าเสีย ขอพระองค์โปรดดูฤทธิ์และยศ

ดูอานุภาพ วรรณะ และความรุ่งเรืองของความ

เลื่อนใสแห่งจิตเพียงครู่เดียว ของข้าพระองค์ ข้า-

แต่ท่านพระโคดม ชนเหล่าใดได้ฟังธรรมของพระ-

องค์ตลอดกาลยาวนาน ชนเหล่านั้นก็ถึงฐานะที่ไม่

หวั่นไหว ซึ่งคนไปแล้วไม่เศร้าโศกเลย.

จบมัณฑูกเทวปุตตวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

ปุริสวิมานวัตถุ

มหารถวรรคที่ ๕

อรรถกถามัณฑูกเทวปุตตวิมาน

มัณฑูกเทวปุตตวิมาน มีคาถาว่า โก เม วนฺทติ ปาทานิ เป็นต้น.

มัณฑกเทวปุตตวิมานเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ริมฝั่งสระโบกขรณี ชื่อ คัคครา

นครจัมปา เวลาใกล้รุ่ง พระองค์ทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติอันเป็นพุทธา-

จิณวัตร ทรงออกจากสมาบัตินั้น แล้วทรงตรวจดูเหล่าสัตว์พวกที่เป็น

เวไนยพอจะแนะนำได้ ทรงเห็นว่า เวลาเย็นวันนี้ เมื่อเรากำลังแสดงธรรม

กบตัวหนึ่งถือนิมิตในเสียงของเรา จักตายด้วยความพยายามของผู้อื่นแล้ว

บังเกิดในเทวโลก มาให้มหาชนเห็นพร้อมด้วยเทพบริวารเป็นอันมาก

คนเป็นจำนวนมากจักได้ตรัสรู้ธรรมในที่นั้น ครั้นทรงเห็นแล้ว เวลาเช้า

ทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังจัมปานครพร้อม

ด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ ทรงทำให้ภิกษุทั้งหลายหาบิณฑบาตได้ง่าย เสวยภัตกิจ

เสร็จแล้วเสด็จเข้าพระวิหาร เมื่อภิกษุทั้งหลายทำวัตรปฏิบัติแล้วไปที่พัก

กลางวันของตน ๆ ก็เสด็จเข้าพระคันธกุฎี ทรงใช้เวลาครั้งวันให้หมด

ไปด้วยสุขในผลสมาบัติ เวลาเย็นเมื่อบริษัททั้ง ๔ ประชุมกัน เสด็จออก

จากพระคันธกุฎีอันหอมตลบ เสด็จเข้ามณฑปศาลาประโยคชุมธรรม

ริมฝั่งสระโบกขรณี ด้วยพระปาฏิหาริย์ซึ่งเหมาะแก่ขณะนั้น ประทับนั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

เหนือพระบวรพุทธอาสน์ที่ประดับไว้ ทรงเปล่งพระสุรเสียงเพียงดัง

เสียงพรหม ซึ่งประกอบด้วยองค์ ๘ (๑. วิสฺสฏฺ สละสลวย ๒ มญฺชุ

ไพเราะ ๓. วิญฺเยฺย ชัดเจน ๔. สวนีย เสนาะโสต ๕. อวิสารี ไม่

เครือพร่า ๖. พินฺทุ กลมกล่อม ๗. คมฺภีร ลึก ๘. นินฺนาที มี

กังวาน ) ราวกะว่าพญาไกรสรสีหราชมิหวาดหวั่น บันลือสีหนาทเหนือ

พื้นมโนศิลาฉะนั้น ทรงเริ่มแสดงธรรมด้วยพระพุทธสีลาอันหาอุปมามิได้

ด้วยพระพุทธานุภาพอันเป็นอจินไตย.

ในขณะนั้น กบตัวหนึ่งมาแต่สระโบกขรณี จึงนอนถือนิมิตใน

พระสุรเสียงด้วยธรรมสัญญาว่า นี้เรียกว่าธรรม อยู่ท้ายบริษัท ขณะนั้น คน

เลี้ยงลูกโคคนหนึ่งมายังที่นั้น เห็นพระศาสดากำลังทรงแสดงธรรม และ

บริษัทกำลังฟังธรรมอย่างสงบเงียบส่งใจไปในเรื่องนั้น ยืนถือไม้ [สำหรับ

ต้อนโค] ไม่ทันเห็นกบจึงได้ยืนปักไม้บนหัวกบเข้า กบมีจิตเลื่อมใสด้วย

ธรรมสัญญา ทำกาละตายในขณะนั้นเอง ไปบังเกิดในวิมานทอง ๑๒

โยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น เห็นตนถูก

หมู่อัปสรแวดล้อม นึกดูว่า เรามาแต่ไหนจึงบังเกิดในที่นี้ เห็นชาติก่อน

นึกทบทวนดูว่า เราเกิดในที่นี้ และได้รับสมบัติเช่นนี้ เราทำกรรมอะไร

หนอ ไม่เห็นกรรมอื่น นอกจากถือนิมิตในพระสุรเสียงของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เทพบุตรนั้นมาพร้อมด้วยวิมานในขณะนั้นเอง ลงจากวิมาน

ทั้งที่มหาชนเห็นอยู่นั่นแล เข้าไปถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มี

พระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วยืนประคองอัญชลีนมัสการอยู่ ด้วยอานุ-

ภาพทิพย์ยิ่งใหญ่ ด้วยบริวารหมู่ใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเทพบุตรนั้น เพื่อจะทรง

ทำผลแห่งกรรมและพุทธานุภาพให้ประจักษ์แก่มหาชน จึงตรัสถามว่า

ใครรุ่งเรืองด้วยฤทธิ์ ด้วยยศ มีวรรณะงาม

ทำทิศทุกทิศให้สว่างไสว กำลังไหว้เท้าของเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โก ได้แก่ บรรดาเทวดานาคยักษ์

และมนุษย์เป็นต้น ใคร ความว่า เป็นประเภทไหน. บทว่า เม แปลว่า

ของเรา. บทว่า ปาทานิ แปลว่า เท้าทั้งสอง. บทว่า อิทฺธิยา ได้แก่

ด้วยเทพฤทธิ์นี้ คือเช่นนี้. บทว่า ยสฺสา ได้แก่ ด้วยบริวารและด้วย

เกียรติที่กำหนดไว้นี้ คือเช่นนี้ บทว่า ชล แปลว่า โชติช่วงอยู่. ว่า

อภิกฺกนฺเตน ได้แก่ น่ารัก น่าใคร่ คืองามเหลือเกิน. บทว่า วณฺเณน

ได้แก่ ผิวพรรณ ความว่า ประกายวรรณะของร่างกาย.

ครั้งนั้น เทพบุตรเมื่อกระทำให้แจ้ง ซึ่งชาติก่อนเป็นต้นของตน

ได้ทูลพยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านั้นว่า

เมื่อชาติก่อน ข้าพระองค์เป็นกบอยู่ในน้ำ มี

น้ำเป็นถิ่นที่หากิน กำลังฟังธรรมของพระองค์อยู่

คนเลี้ยงโคก็ฆ่าเสีย ขอพระองค์โปรดดูฤทธิ์และยศ

ดูอานุภาพวรรณะและความรุ่งเรืองของความเลื่อมใส

แห่งจิตเพียงครู่เดียวของข้าพระองค์ ข้าแต่ท่านพระ-

โคดม ชนเหล่าใด ได้ฟังธรรมของพระองค์ตลอด

กาลยาวนาน ชนเหล่านั้นก็ถึงฐานะที่ไม่หวั่นไหว ซึ่ง

คนไปแล้วไม่เศร้าโศกเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุเร แปลว่า ในชาติก่อน. บทว่า

อุทเก นี้ เป็นบทแสดงที่เกิดของตนในกาลนั้น. ด้วยบทว่า อุทเก

มณฺฑูโก นั้น ย่อมเป็นอันเทพบุตรทำการกลับชาติของกบ ในเพราะ

ผลของซากที่ขึ้นพองเป็นต้น. ชื่อว่า โคจร เพราะอรรถว่า เป็นที่เที่ยว

ไปของโคทั้งหลาย ชื่อว่า โคจร เพราะเหมือนที่เที่ยวไปของโค คือที่

แสวงหาอาหาร ชื่อว่า วาริโคจโร เพราะอรรถว่า มีวารีคือน้ำ เป็นที่

แสวงหาอาหารของกบนั้น ความจริง สัตว์ไร ๆ มีเต่าเป็นต้น แม้เที่ยว

ไปในน้ำ แต่ก็ไม่ใช่เป็นพวกวาริโคจร มีน้ำเป็นถิ่นที่กิน ดังนั้น ท่าน

จึงกล่าวให้แปลกไปว่า วาริโคจโร. บทว่า ตว ธมฺม สุณนฺตสฺส ความว่า

กำลังฟังธรรมของพระองค์ผู้ทรงแสดงอยู่ ด้วยพระสุรเสียงเพียงดังเสียง

พรหม ไพเราะดังเสียงร้องของนกการเวก ด้วยถือนิมิตในพระสุรเสียงว่า

นี้เรียกว่าธรรม ถือนิมิตในพระสุรเสียง. ฉัฏฐีวิภัตตินั้น พึงทราบว่าลง

ในอรรถอนาทร (แปลว่า เมื่อ). บทว่า อวชี วจฺฉปาลโก ความว่า

เด็กเลี้ยงโค ชื่อว่าคนเลี้ยงโค รักษาลูกโคทั้งหลาย มาใกล้ข้าพระองค์

ยืนถือท่อนไม้ ปล่อยท่อนไม้ลงบนศีรษะข้าพระองค์ ทำให้ข้าพระองค์

ตาย.

บทว่า มุหุตฺต จิตฺตปฺปสาทสฺส ความว่า ความเลื่อมใสแห่งจิต

ที่เกิดขึ้นชั่วครู่ในพระธรรมของพระองค์ เป็นเหตุ. บทว่า อิทฺธึ แปลว่า

ความสำเร็จ ความว่า ความสง่าผ่าเผยอันเป็นทิพย์. บทว่า ยส ได้แก่

บริวารยศ. บทว่า อานุภาว ได้แก่ อานุภาพอันเป็นทิพย์มีความเป็นผู้มี

วรรณะงามเป็นต้น. บทว่า วณฺณ ได้แก่ ความพรั่งพร้อมแห่งรัศมีใน

ร่างกาย. บทว่า ชุตึ ได้แก่ แสงวิเศษสามารถแผ่ไปได้ถึง ๑๒ โยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

บทว่า เย แปลว่า สัตว์เหล่าใด จ ศัพท์ลงในอรรถพยติเรก.

บทว่า เต แปลว่า ของพระองค์. บทว่า ทีฆมทฺธาน ได้แก่ เวลามาก.

บทว่า อสฺโสสุ แปลว่า ฟังแล้ว. เทพบุตรเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า

โดยพระโคตรว่า โคตมะ. บทว่า อจลฏฺาน ได้แก่ พระนิพพาน ใน

บทนี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้โคดม สัตว์เหล่า

ใด ทำบุญไว้แล้ว มิได้ฟังธรรมสิ้นเวลานิดหน่อย เหมือนข้าพระองค์

ได้ฟังแล้ว คือได้โอกาสที่จะฟังพระธรรมของพระองค์ตลอดเวลานาน

สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าทำลายสังสารวัฏเด่นชัดตลอดกาลนาน สัตว์เหล่านี้

ไปในที่ใดไม่พึงเศร้าโศก สัตว์เหล่านั้นถึงที่นั้นที่ไม่เศร้าโศก อันชื่อว่า

ไม่หวั่นไหว เพราะความเป็นของเที่ยง คือสันติบท (พระนิพพาน)

เพราะถึงสันติบทนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงไม่มีอันตราย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอุปนิสัยสมบัติของเทพ-

บุตรนั้น และของบริษัทที่ประชุมกันอยู่ แล้วทรงแสดงธรรมโดยพิสดาร

จบเทศนา เทพบุตรนั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สัตว์แปดหมื่นสี่พันได้

ตรัสรู้ธรรม เทพบุตรนั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณ

ทำอัญชลีแด่ภิกษุสงฆ์ พร้อมด้วยบริวารกลับเทวโลก.

จบอรรถกถามัณฑูกเทวปุตตวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

๒. เรวตีวิมาน

ว่าด้วยเรวตีวิมาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

[๕๒] ญาติมิตรและสหายผู้มีใจดี ย่อมยินดี

ต้อนรับบุคคลผู้ร้างแรมไปนาน แล้วกลับมาโดย

สวัสดีจากที่ไกล ฉันใด แม้บุญที่ทำแล้ว ก็ฉันนั้น

บุญทั้งหลายย่อมต้อนรับบุคคลผู้ทำบุญ ผู้ไปจาก

โลกนี้สู่โลกอื่น เหมือนญาติต้อนรับญาติที่รักผู้กลับ

มาฉะนั้น.

ยักษ์สองคนกล่าวกะนางเรวดีว่า

ลุกขึ้น แม่เรวดี ตัวชั่วร้ายผู้ไม่ปิดประตู

(นรก) ผู้มีปกติไม่ให้ทาน เราจักนำเจ้าไปในที่ที่

พวกสัตว์นรก ผู้ตกยาก เพียบด้วยทุกข์ ต้องถอน

ใจอยู่.

พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า

ยักษ์ใหญ่นัยน์ตาแดงสองตนนั้น เป็นทูตของ

พญายม กล่าวดังนี้ทีเดียว แล้วจับแขนนางเรวดี

คนละข้าง นำเข้าไปใกล้หมู่เทวดา.

นางเรวดีถามยักษ์สองตนว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

วิมานงาม มีรัศมีดังดวงอาทิตย์ งามสว่างจ้า

คลุมด้วยข่ายทอง มีเทพอัปสรเกลื่อนกลาด นั่นเป็น

วิมานของใคร รุ่งเรืองเพียงแสงอาทิตย์ หมู่เทพนารี

ไล้ทาด้วยแก่นจันทน์ ทำวิมานให้งดงามทั้งสองด้าน

วิมานนั้นปรากฏมีรัศมีเสมอดวงอาทิตย์ ใครขึ้น

สวรรค์บันเทิงอยู่ในวิมาน.

ยักษ์เหล่านั้นได้บอกแก่นางเรวดีว่า

ในกรุงพาราณสี มีอุบาสกชื่อนันทิยะ เป็น

คนไม่ตระหนี่ เป็นทานบดี เป็นผู้รู้ถ้อยคำ วิมานที่

มีอัปสรเกลื่อนกลาด รุ่งเรืองเพียงแสงอาทิตย์ นี้เป็น

ของอุบาสกนั้น หมู่เทพนารีไล้ทาด้วยแก่นจันทน์

ทำให้วิมานงดงามทั้งสองด้าน วิมานนั้นปรากฏมี

รัศมีเสมอดวงอาทิตย์ นันทิยะอุบาสกนั้น ขึ้นสวรรค์

บันเทิงอยู่ในวิมาน.

นางเรวดีกล่าวว่า

ดีฉันเป็นภรรยาของนันทิยะ เป็นเจ้าของเรือน

เป็นใหญ่ของตระกูลทั้งหมด บัดนี้ ดีฉันจักยินดีใน

วิมานของสามี ไม่ปรารถนาเห็นนรก.

ยักษ์เหล่านั้นกล่าวว่า

แน่ะนางตัวชั่วร้าย นี่แหละนรกของเจ้า เจ้า

ไม่ทำบุญในมนุษยโลก ด้วยว่า คนตระหนี่ โกรธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

เคือง มีบาปธรรม ย่อมไม่ได้ความเป็นสหายของผู้

ขึ้นสวรรค์.

นางเรวดีถามนิรยบาลว่า

คูถ มูตร และของไม่สะอาด เห็นกันได้

เฉพาะหรือหนอ อุจจาระนี้มีกลิ่นเหม็นหรือ มันฟุ้ง

ไปได้หรือ.

นิรยบาลกล่าวว่า

นรกนี้ชื่อสังสวกะ ลึกชั่วร้อยบุรุษ เป็นนรกที่

เจ้าจะต้องหมกไหม้อยู่หลายพันปี นะเรวดี.

นางเรวดีถามว่า

ดีฉันทำกรรมชั่วด้วยกาย วาจา ใจ หรือหนอ

ดีฉันได้นรกสังสวกะ ลึกชั่วร้อยบุรุษ เพราะบาป

กรรมอะไร.

นิรยบาลกล่าวว่า

เจ้าหลอกลวงสมณะ พราหมณ์ และวณิพก

ทั้งหลาย ด้วยมุสาวาท เจ้าทำบาปนั้นไว้ เพราะ

บาปนั้น เจ้าจึงได้นรกสังสวกะ ลึกชั่วร้อยบุรุษ

เจ้าจะต้องหมกไหม้อยู่ในนรกนั้นหลายพันปี นะเรวดี

นิรยบาลทั้งหลายตัดมือและเท้า ตัดหูและจมูก และ

ยังมีฝูงกามารุมจิกกินเจ้าที่ดิ้นรนอยู่.

นางเรวดีกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

โปรดเถิด ขอท่านทั้งหลายช่วยนำดีฉันกลับ

ดีฉันจักกระทำบุญให้มาก ด้วยทาน สมจริยา สัญญมะ

และทมะ ที่คนทั้งหลายทำแล้วจะมีความสุข และ

ไม่ต้องเดือดร้อนภายหลัง.

นิรยบาลกล่าวว่า

เมื่อก่อนเจ้าประมาทแล้ว บัดนี้คร่ำครวญอยู่

เจ้าจักเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งหลาย ที่เจ้าทำไว้เอง.

นางเรวดีกล่าวว่า

ใครจากเทวโลกไปสู่มนุษยโลก ถูกถามแล้ว

พึงกล่าวคำของดีฉันอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจง

ถวายทาน ผ้านุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ ในสมณ-

พราหมณ์ ผู้วางอาชญาแล้ว ด้วยว่า คนตระหนี่

โกรธเคือง มีบาปธรรม ย่อมไม่ได้ความเป็นสหาย

ของผู้ขึ้นสวรรค์.

ดีฉันนั้นไปจากที่นี้ ได้กำเนิดเป็นมนุษย์แล้ว

จักเป็นผู้รู้ถ้อยคำของผู้ขอทาน สมบูรณ์ด้วยศีล จัก

กระทำกุศลให้มาก ด้วยทาน สมจริยา สัญญมะ

และทมะแน่.

ดีฉันจักปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น จักตัดทางเข้ารูป

ในที่ที่เดินไปลำบาก จักขุดบ่อและตั้งน่าดื่มไว้ ด้วย

ใจที่ผ่องใส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

ดีฉันจักเข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์แปด

ตลอด ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอด

ปาฏิหาริยปักษ์ สำรวมในศีลทุกเมื่อ และจักไม่

ประมาทในทาน ผลกรรมนี้ ดิฉันเห็นแล้วด้วยตนเอง.

ลำดับนั้น พวกนิรยบาลได้โยนนางเรวดีผู้กำลัง

รำพันเพ้อดิ้นรนอยู่อย่างนั้น จากที่นั้น ลงนรกที่น่ากลัว

หัวลงดินตีนชี้ฟ้า ด้วยประการฉะนี้.

นางเรวดีกล่าวในที่สุดว่า

เมื่อก่อน ดีฉันเป็นคนตระหนี่ บริภาษสมณ-

พราหมณ์ และหลอกลวงสามีด้วยเรื่องไม่จริง จึง

หมกไหม้ในนรกที่น่ากลัว ดังนี้.

จบเรวตีวิมาน

อรรถกถาเรวตีวิมาน

เรวตีวิมาน มีความว่า อุฏฺเหิ เรวเต สุปาปธมฺเม เป็นต้น

เรวตีวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุง

พาราณสี สมัยนั้น ตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยศรัทธาในกรุงพาราณสี มีบุตร

ชื่อนันทิยะ เป็นอุบาสก ถึงพร้อมด้วย ศรัทธา เป็นทายก เป็นทานบดี

เป็นผู้บำรุงพระสงฆ์ ครั้งนั้น บิดามารดาของเขามีความประสงค์จะนำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

หญิงสาวชื่อ เรวดี ธิดาของลุงมาแต่เรือนที่พวกญาติอยู่กันพร้อมหน้า แต่

นางเป็นคนไม่มีศรัทธา มีปกติไม่ให้ทาน นันทิยะจึงไม่ต้องการนาง

มารดาของนันทิยะพูดกะเรวดีว่า แม่หนู เจ้ามาเรือนนี้แล้ว จงเอาโคมัย

สดไล้ทาที่นั่งของภิกษุสงฆ์ ปูลาดอาสนะ ทั้งเชิงรองบาตร เวลาภิกษุ

ทั้งหลายมา จงไหว้ รับบาตร นิมนต์ให้นั่ง เอาที่กรองน้ำกรองน้ำดื่ม

แล้วล้างบาตรเวลาพระฉันเสร็จแล้ว อย่างนี้ จักเป็นที่ยินดีของลูกฉัน

นางก็ได้ทำตามคำสั่งสอน ลำดับนั้น บิดามารดาบอกนันทิยะว่า เรวดีเป็น

หญิงที่พอสั่งสอนได้ เมื่อนันทิยะรับว่า ดีแล้ว จึงกำหนดวันแล้วทำพิธี

อาวาหมงคล.

ครั้งนั้น นันทิยะกล่าวกะนางว่า ถ้าเธอจักบำรุงภิกษุสงฆ์และบิดา

มารดาของฉัน เมื่อเป็นอย่างนี้ เธอก็อยู่ในเรือนนี้ได้ อย่าประมาทนะ

นางรับคำว่า ดีแล้ว เป็นเหมือนมีศรัทธาอยู่ตลอดเวลา อนุวัตรตามสามี

ตลอดบุตร ๒ คน บิดามารดาของนันทิยะได้ทำกาละตายแล้ว ความเป็น

ใหญ่ทุกอย่างในเรือนได้ตกอยู่แก่นางคนเดียว แม้นันทิยะก็ได้เป็นมหา-

ทานบดี เริ่มตั้งทานถวายภิกษุสงฆ์ เริ่มตั้งปากวัตร (หุงข้าวเป็นประจำ)

ที่ประตูเรือนไว้สำหรับคนยากไร้และคนเดินทางเป็นต้น เขาสร้างศาลา

๔ หลัง ประดับด้วยห้อง ๔ ห้อง ที่อิสิปตนมหาวิหาร ให้จัดตั้งเตียง

ตั่งเป็นต้น ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้ว

หลั่งน้ำทักษิโณทกลงในพระหัตถ์ของพระตถาคต มอบถวาย. พร้อมกับ

การถวายน้ำทักษิโณทก ได้มีปราสาททิพย์ ล้วนแล้วไปด้วยรัตนะ ๗

ประการ ทั้งยาวและกว้าง ๑๒ โยชน์ โดยรอบสูงร้อยโยชน์ เอิกเกริกไป

ด้วยหมู่นางอัปสรพันหนึ่ง ได้ผุดขึ้น ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะไปเที่ยวเทวจาริกเห็นปราสาทนั้น

ถามพวกเทพบุตรที่มาไหว้ว่า นี้ปราสาทของใคร.

เทพบุตรทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เจ้าของปราสาทหลังนี้

ชื่อนันทิยะ เป็นบุตรของกุฎุมพี กรุงพาราณสี ในโลกมนุษย์ ได้สร้าง

ศาลา ๔ หลัง ที่อิสิปตนมหาวิหาร ถวายสงฆ์ ปราสาทหลังนี้บังเกิด

ขึ้นสำหรับนันทิยะนั้น แม้เหล่าเทพอัปสรที่บังเกิดในปราสาทก็ไหว้พระ-

เถระ กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พวกดีฉันบังเกิดในปราสาทนี้

เพื่อเป็นบริจาริกาของอุบาสกชื่อนันทิยะ กรุงพาราณสี ขอพระคุณเจ้า

โปรดบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า เหล่าเทพธิดาที่บังเกิดเพื่อเป็นบริจาริกาของ

ท่าน เมื่อท่านชักช้าอยู่ ก็งุ่นง่าน ชื่อว่าสมบัติในเทวโลก ย่อมเป็นที่

พอใจยิ่ง เหมือนทุบภาชนะดินแล้วรับเอาภาชนะทองฉะนั้น แล้วกล่าวว่า

ขอพระคุณเจ้าโปรดบอกแก่เขา เพื่อให้เขามาในที่นี้ พระเถระรับคำว่า

ดีแล้ว รีบมาจากเทวโลก ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าท่ามกลางบริษัทว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิพยสมบัติย่อมบังเกิดคอยท่าคนที่ทำบุญแล้วแต่

ยังอยู่ในมนุษยโลกนี้หรือ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

โมคคัลลานะ ทิพยสมบัติที่บังเกิดคอยท่านันทิยะในเทวโลก เธอได้เห็น

เองแล้วมิใช่หรือ เหตุไรเธอจึงถามเรา พระโมคคัลลานเถระกราบทูลว่า

ทิพยสมบัติ บังเกิดขึ้นคอยท่าอยู่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ครั้งนั้น พระ-

ศาสดาเมื่อทรงแสดงแก่พระเถระนั้นว่า มิตรและพวกพ้องทั้งหลายย่อมยินดี

ต้อนรับคนที่จากไปนานแล้วกลับมา ฉันใด บุญทั้งหลายของตน ๆ ย่อม

ต้อนรับประดับประคองบุคคลที่ทำบุญไว้ ผู้จากโลกนี้ไปปรโลก ฉันนั้น

ได้ทรงภาษิตพระคาถาทั้งหลายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

ญาติมิตรและสหายผู้มีใจดี ย่อมยินดีต้อนรับ

บุคคลผู้ร้างแรมไปนาน แล้วกลับมาโดยสวัสดีจากที่

ไกลฉันใด แม้บุญที่ทำแล้วก็ฉันนั้น บุญทั้งหลาย

ย่อมต้อนรับบุคคลผู้ทำบุญ ผู้ไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น

เหมือนญาติต้อนรับญาติที่รักผู้กลับมาฉะนั้น.

นันทิยะได้ฟังดังนั้นแล้ว ถวายทานทั้งหลาย กระทำบุญทั้งหลาย

มากมายยิ่งขึ้น เมื่อเขาไปค้าขายได้บอกกะเรวดีว่า ที่รัก สังฆทานก็ดี

ปากวัตรเพื่อคนอนาถาก็ดี ที่ฉันตั้งไว้ เธออย่าลืมเสีย จงให้ดำเนินไป

นางรับคำว่า ดีแล้ว.

แม้เขาเดินทางไปพักอยู่ในที่ใด ๆ ก็คงถวายทานแก่ภิกษุทั้งหลาย

และให้ทานแก่คนอนาถาทานสมควรแก่ทรัพย์ ในที่นั้น ๆ เหมือนเดิม

พระขีณาสพทั้งหลายมารับทานแม้แต่ที่ไกล เพื่ออนุเคราะห์เขา.

ฝ่ายนางเรวดี เมื่อนันทิยะไปแล้ว นางให้ทานอยู่สองสามวันเท่านั้น

แล้วงดอาหารสำหรับคนอนาถา แม้สำหรับภิกษุทั้งหลาย นางได้ถวาย

ข้าวต้มผสมน้ำตาลเป็นภัตตาหาร มีน้ำส้มเป็นที่สอง นางได้โปรย

เมล็ดข้าวสุกซึ่งเหลือจากที่คนบริโภค มีชิ้นปลาชิ้นเนื้อปนอยู่ มีกระดูก

เกลื่อนกลาด ในสถานที่ฉันอาหารของภิกษุทั้งหลาย แล้วแสดงแก่คน

ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงดูการการทำของพวกสมณะ พวกสมณะ

ทิ้งขว้างของที่เขาถวายด้วยศรัทธากันอย่างนี้.

ลำดับนั้น นันทิยะเสร็จการค้าขายได้กำไรแล้วกลับมา ได้ทราบ

ความเป็นไปดังนั้น จึงไล่นางเรวดีออกจากเรือนแล้วตนเข้าเรือน ในวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

ที่สอง นันทิยะได้ถวายทานเป็นอันมากแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข ได้ให้นิจภัตรและอนาถภัตรดำเนินไปโดยชอบอย่างเดิม เขาตั้ง

นางเรวดีที่พวกสหายของเขานำกลับมา ให้เป็นใหญ่ในการดูแลอาหาร

สมัยต่อมา เขาทำกาละบังเกิดในวิมานของตนนั่นเอง ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

ฝ่ายนางเรวดีเลิกทานทุกอย่าง แล้วเที่ยวด่าบริภาษภิกษุสงฆ์ด้วย

เข้าใจว่า เพราะสมณะเหล่านี้ ฉันจึงเสื่อมลาภสักการะ ครั้งนั้น ท้าว-

เวสวัณมีบัญชากะยักษ์สองตนว่า พนาย ท่านทั้งสองจงไปป่าวประกาศ

ในนครพาราณสีว่า จากวันนี้ไปเจ็ดวัน นางเรวดีจะถูกโยนใส่นรกทั้งเป็น

มหาชนได้ฟังดังนั้นเกิดสลดใจ ทั้งกลัวและหวาดสะดุ้ง.

ครั้งนั้น นางเรวดีขึ้นปราสาท ปิดประตูแล้วนั่งอยู่ ในวันที่เจ็ด

ท้าวเวสวัณซึ่งถูกบาปกรรมของนางเรวดีเตือนบัญชาสั่งยักษ์สองตนผู้มีผม

และหนวดสีดำปนแดงแสงเรือง มีจมูกเบี้ยวบิดผิดปกติ มีเขี้ยวโง้ง

นัยน์ตาแดง มีผิวพรรณเสมอด้วยยางสน มีรูปร่างน่ากลัวเหลือเกิน

เข้าไปกล่าวเป็นต้นว่า ลุกขึ้น แม่เรวดีผู้ชั่วร้าย จับแขนทั้งสองประกาศว่า

มหาชนจงดู ทำให้ล้มลุกคลุกคลานไปจากถนนหนึ่งไปอีกถนนหนึ่งทั่ว

พระนคร และเหาะขึ้นนำไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แสดงวิมานและสมบัติ

ของนันทิยะให้นางได้เห็น แล้วส่งนางซึ่งกำลังเพ้อรำพันอยู่นั่นแลไปใกล้

อุสสทนรก บุรุษของพระยายมได้โยนนางลงอุสสทนรก. เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า

ลุกขึ้น แม่เรวดี ตัวชั่วร้าย ผู้ไม่ปิดประตู

(นรก) ผู้มีปกติไม่ให้ทาน เราจักนำเจ้าไปในที่ที่

พวกสัตว์นรกผู้ตกยาก เพียบด้วยทุกข์ต้องถอนใจอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺเหิ แปลว่า จงลุกขึ้น ความว่า

บัดนี้ ปราสาทหลังนี้ปกปักรักษาเจ้าจากภัยนรกไม่ได้ดอก เพราะฉะนั้น

เจ้าจงรีบลุกขึ้นมา เรียกนางโดยชื่อว่า เรวดี กล่าวเหตุแห่งการลุกขึ้นด้วย

บทว่า สุปาปธมฺเม เป็นต้น ความว่า เพราะเธอมีบาปธรรมลามก

เหลือหลาย ด้วยการด่าการบริภาษพระอริยะทั้งหลาย และเพราะไม่ปิด

ประตูนรกเพื่อเธอจะได้เข้าไป ฉะนั้น จงลุกขึ้น. บทว่า อทานสีเล

ได้แก่ มีปกติไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว แม้บท

นี้ก็เป็นคำกระทำการลุกขึ้นนั่นเอง อธิบายว่า เพราะคนที่มีปกติให้ทาน

ไม่ตระหนี่ เช่นสามีของเจ้าอยู่ในสุคติ ส่วนคนมีปกติไม่ให้ทาน มีความ

ตระหนี่ เช่นเจ้าอยู่ในนรก ฉะนั้น จงลุกขึ้น เราจักไม่ให้เจ้าอยู่ในที่นี้แม้

เพียงครู่หนึ่ง. บทว่า ยตฺถ ถุนนฺติ ทุคฺคตา ความว่า ชื่อว่า ถึงยาก

เพราะถึงความทุกข์. บทว่า เนรยิกา ความว่า พวกสัตว์นรก เพรียบพร้อม

คือพรั่งพร้อมด้วยทุกข์ในนรก ถอนใจอยู่ในนรกใด ประกอบความว่า

บาปกรรมยังไม่สิ้นสุดเพียงใด สัตว์นรกทั้งหลายเมื่อออกไปไม่ได้ ย่อม

ทอดถอนอยู่เพียงนั้น เราจักนำ คือพา คือใส่เจ้าลงในนรกนั้น. ต่อไปนี้

เป็นคำของสังคีติกาจารย์ว่า

ยักษ์ใหญ่นัยต์ตาแดงสองตนนั้น เป็นทูตของ

พระยายม กล่าวดังนี้ทีเดียว แล้วจับแขนนางเรวดี

คนละข้างนำเข้าไปใกล้หมู่เทวดา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺเจว วตฺวาน ความว่า กล่าวดังนี้

ทีเดียว คือด้วยคำว่า จงลุกขึ้นเป็นต้น อธิบายว่า ต่อจากพูดนั้นนั่นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

บทว่า ยมสฺส ทูตา ความว่า เช่นทูตของพระยายม ผู้เที่ยงธรรมที่

ใคร ๆ ค้านไม่ได้. ความจริง ท้าวเวสวัณส่งเขาเหล่านั้นไป จริงอย่าง

นั้น พวกเขานำนางไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อาจารย์บางพวกเชื่อม น อักษร

ในบทว่า น ยมสฺส ทูตา กับบทว่า ยมสฺส กล่าวเนื้อความว่า เป็น

ทูตของท้าวเวสวัณข้อนั้นไม่ถูก เพราะไม่สำเร็จความว่า ไม่ใช่ทูตของ

ท้าวเวสวัณ เพราะเป็นทูตของพระยายม ชื่อว่า ยักษ์ เพราะเป็นที่บูชา

คือนำเข้าไปซึ่งพลี. บทว่า โลหิตกฺขา แปลว่า มีนัยน์ตาแดง ความจริง

ยักษ์ทั้งหลายย่อมมีนัยน์ตาแดงจัด. บทว่า พฺรหนฺตา แปลว่า ใหญ่.

บทว่า ปจฺเจกพาหาสุ ความว่า ที่แขนคนละข้าง คือคนหนึ่งที่แขน

ข้างหนึ่ง อีกคนหนึ่งที่แขนอีกข้างหนึ่ง. บทว่า เรวตึ แปลว่า นางเรวดี

ชื่อของเธอว่า เรวตาก็มี สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า เรวเต ดังนี้. บทว่า

ปกฺกามยึสุ แปลว่า หลีกไปแล้ว ความว่า นำเข้าไปแล้ว. บทว่า

เทวคณสฺส ได้แก่ หมู่เทวดา ชั้นดาวดึงส์ เมื่อยักษ์เหล่านั้นนำไป

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วพักไว้ใกล้ ๆ วิมานของนันทิยะอย่างนี้ นางเรวดี

เห็นวิมานนั้นสว่างจ้าเหลือเกิน เหมือนดวงอาทิตย์ จึงถามยักษ์เหล่านั้นว่า

วิมานงามมีรัศมีดังดวงอาทิตย์งามสว่างจ้า คลุม

ด้วยข่ายทองมีเทพอัปสรเกลื่อนกลาด นั่นเป็นวิมาน

ของใคร รุ่งเรืองเพียงแสงอาทิตย์ หมู่เทพนารีไล้ทา

ด้วยแก่นจันทน์ ทำวิมานให้งดงามทั้งสองด้าน วิมาน

นั้นปรากฏมีรัศมีเสมอดวงอาทิตย์ ใครขึ้นสวรรค์

บันเทิงอยู่ในวิมาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

แม้ยักษ์เหล่านั้นก็ได้บอกแก่นางเรวดีว่า

ในกรุงพาราณสี มีอุบาสกชื่อนันทิยะ เป็นคน

ไม่ตระหนี่ เป็นทานบดี เป็นผู้รู้ถ้อยคำ วิมานที่มี

อัปสรเกลื่อนกลาด รุ่งเรืองเพียงแสงอาทิตย์ นี้เป็น

ของอุบาสกนั้น หมู่เทพนารีไล้ทาด้วยแก่นจันทน์ ทำ

วิมานให้งดงามทั้งสองด้าน วิมานนั้นปรากฏมีรัศมี

เสมอดวงอาทิตย์ นันทิยะอุบาสกนั้น ขึ้นสวรรค์

บันเทิงอยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺทนสารลิตฺตา แปลว่า มีสรีระ

ไล้ทาด้วยแก่นจันทน์. บทว่า อุภโต วิมาน ความว่า ทำวิมานให้งาม

ทั้งสองส่วน คือ ทั้งภายในและภายนอก เพราะประกอบด้วยสังคีตเป็นต้น.

ลำดับนั้น นางเรวดีกล่าวว่า

ดีฉันเป็นภรรยาของนันทิยะ เป็นเจ้าของเรือน

เป็นใหญ่ของตระกูลทั้งหมด บัดนี้ ดีฉันจักยินดีใน

วิมานของสามี ไม่ปรารถนาเห็นนรก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคารินี แปลว่า เป็นเจ้าของเรือน

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ภริยา สคามินี ดังนี้ก็มี ความว่า ภริยาผู้

ร่วมทาง. บทว่า สพฺพกุลสฺส อิสฺสรา ภตฺตุ ความว่า ดีฉันเป็นใหญ่

คือเป็นเจ้าของทรัพย์ทั้งหมด ของนันทิยะผู้เป็นสามีของดีฉัน ฉะนั้น

นางเรวดีจึงกล่าวว่า แม้ในบัดนี้ ดีฉันจักเป็นใหญ่ในวิมาน. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

วิมาเน รมิสฺสามิ ทานาน ความว่า ยักษ์เหล่านั้นนำนางเรวดีไปที่นั้น

ก็เพื่อเล้าโลมอย่างนี้เอง. บทว่า น ปตฺถเย นิรย ทสฺสนาย ความว่า

นางเรวดีกล่าวว่า ท่านทั้งหลายประสงค์จะนำดีฉันมานรกใด ดีฉันไม่

ปรารถนาแม้จะเห็นนรกนั้น ที่ไหนเล่าจะอยากเข้าไป.

ยักษ์ทั้งสองนำนางผู้กำลังกล่าวอยู่อย่างนั้นแหละ ไปใกล้นรก โดย

กล่าวว่า เจ้าจะปรารถนาหรือไม่ปรารถนาก็ตาม ไม่มีประโยชน์อะไรด้วย

การปรารถนาของเจ้า แล้วกล่าวคาถาว่า

แน่ะนางตัวชั่วร้าย นี้แหละนรกของเจ้า เจ้าไม่

ทำบุญในมนุษยโลก ด้วยว่าคนตระหนี่ โกรธเคือง

มีบาปธรรมย่อมไม่ได้ความเป็นสหายของผู้ขึ้นสวรรค์.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า นี้แหละนรกของเจ้า คือเป็นสถานที่เจ้าจะ

พึงเสวยทุกข์ใหญ่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุไร เพราะเจ้าไม่ทำบุญใน

มนุษยโลก ประกอบความว่า เพราะชื่อว่าบุญแม้มีประมาณน้อย เจ้ามิได้

ทำไว้ในมนุษยโลก อนึ่ง สัตว์เช่นเจ้า ไม่ทำบุญอย่างนี้แล้วยังตระหนี่

คือประกอบด้วยความตระหนี่ซึ่งมีลักษณะหวงแหนสมบัติของตน เป็นผู้

โกรธเคือง ด้วยการให้ความโกรธเคืองเกิดขึ้นแก่ผู้อื่น เป็นผู้มีบาปธรรม

เพราะพรั่งพร้อมด้วยบาปธรรมมีความโลภเป็นต้น ย่อมไม่ได้ความเป็น

สหาย คือภาวะร่วมกัน ของเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงสวรรค์.

ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ยักษ์สองคนนั้นได้อันตรธานไปในที่

นั้นเอง ฝ่ายนางเรวดีเห็นนิรยบาลสองนายคล้าย ๆ กัน กำลังฉุดคร่านาง

เพื่อใส่ในคูถนรกชื่อสังสวกะ จึงถามถึงนรกนั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

คูถมูตรและของไม่สะอาด เห็นกันได้เฉพาะ

หรือหนออุจจาระนี้มีกลิ่นเหม็นหรือมันฟุ้งไปได้หรือ.

เมื่อนิรยบาลกล่าวคำนั้นว่า

นรกนี้ชื่อสังสวกะ ลึกชั่วร้อยบุรุษ เป็นนรกที่

เจ้าจะต้องหมกไหม้อยู่หลายพันปี นะเรวดี.

นางถามถึงกรรมที่เป็นเหตุให้ตนบังเกิดในนรกนั้นว่า

ดีฉันทำกรรมชั่วด้วยกายวาจาใจหรือหนอ ดีฉัน

ได้นรกสังสรกะ ลึกชั่วร้อยบุรุษ เพราะบาปกรรม

อะไร.

นิรยบาลบอกกรรมนั้นของเธอว่า

เจ้าหลอกลวงสมณะ พราหมณ์ และวณิพก

ทั้งหลาย ด้วยมุสาวาท เจ้าทำบาปนั้นไว้

แล้วกล่าวอีกว่า

เพราะบาปกรรมนั้น เจ้าจึงได้นรกสังสวกะ

ลึกชั่วร้อยบุรุษ เจ้าจะต้องหมกไหม้อยู่ในนรกนั้น

หลายพันปี นะเรวดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สสวโก นาม ความว่า ชื่อว่า

สังสวกะ เพราะของไม่สะอาดมีคูถและมูตรเป็นต้น หลั่งไหล คือไหลออก

ตลอดกาลเป็นนิจ สำหรับเจ้า มิใช่ได้นรกสังสวกะในที่นี้อย่างเดียว

เท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

ลำดับนั้น เพื่อแสดงว่า นางหมกไหม้ในนรกนั้นหลายพันปีมิใช่

น้อยแล้วพ้นขึ้นมาได้ ยังถูกตัดมือเป็นต้นอีก นิรยบาลได้กล่าวถึงเหตุ-

การณ์ที่นางจะต้องได้ในนรกนั้นว่า

นิรยบาลทั้งหลายตัดมือและเท้าตัดหูและจมูก

และยังมีฝูงกามารุมจิกกินเจ้าที่ดิ้นรนอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโกลคณา แปลว่า ฝูงกา เล่ากันว่า

ฝูงกาเหล่านั้นรุมกันใช้จะงอยปากเหล็ก ประมาณเท่าลำตาล มีปลายคม

จิกกินที่ร่างประมาณสามคาวุตของนาง หลายร้อยครั้งหลายพันครั้ง

เนื้อในที่ที่ถูกควักเอาไป ก็เต็มอย่างเดิมด้วยพลังกรรม เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า กาโกลคณา สเมจฺจ สงฺคมฺม ขาทนฺติ วิผนฺทมาน

ดังนี้.

นางเรวดีได้รำพันเพ้อต่อไปถึงเรื่องนั้น ๆ เช่นขอกลับมนุษยโลก

เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

โปรดเถิด ขอท่านทั้งหลายช่วยนำดีฉันกลับ

ดีฉันจักกระทำบุญให้มาก ด้วยทาน สมจริยา

สัญญมะและทมะ ที่คนทั้งหลายทำแล้วจะมีความสุข

และไม่ต้องเดือดร้อนภายหลัง.

พวกนิรยบาลกล่าวอีกว่า

เมื่อก่อนเจ้าประมาทแล้ว บัดนี้คร่ำครวญอยู่

เจ้าจักเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งหลาย ที่เจ้าทำไว้เอง.

นางเรวดีกล่าวอีกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

ใครจากเทวโลกไปสู่มนุษยโลก ถูกถามแล้ว

พึงกล่าวคำของดีฉันอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจง

ถวายทาน ผ้านุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ ในสมณ-

พราหมณ์ผู้วางอาชญาแล้ว ด้วยว่าคนตระหนี่ โกรธ

เคือง มีบาปธรรม ย่อมไม่ได้ความเป็นสหายของ

ผู้ขึ้นสวรรค์.

ดีฉันนั้นไปจากที่นี้ ได้กำเนิดเป็นมนุษย์แล้ว

จักเป็นผู้รู้ถ้อยคำของผู้ขอทานสมบูรณ์ด้วยศีล จัก

กระทำกุศลให้มาก ด้วยทาน สมจริยา สัญญมะ

และทมะแน่.

ดีฉันจักปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น จักตัดทางเข้าไป

ในที่ที่เดินไปลำบาก จักขุดบ่อ และตั้งน้ำดื่มไว้

ด้วยใจที่ผ่องใส.

ดีฉันจักเข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘

ตลอด ๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอด

ปาฏิหาริยปักษ์ สำรวมในศีลทุกเมื่อ และจักไม่

ประมาทในทาน ผลกรรมนี้ ดีฉันเห็นแล้วด้วย

ตนเอง.

ลำดับนั้น พวกนิรยบาลได้โยนนางเรวดีผู้กำลัง

รำพันเพ้อดิ้นรนอยู่อย่างนั้น จากที่นั้นลงนรกที่น่า

กลัว หัวลงดินตีนชี้ฟ้า ด้วยประการฉะนี้

นี้เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

นางเรวดีได้กล่าวคาถาสุดท้ายอีกว่า

เมื่อก่อน ดีฉันได้เป็นคนตระหนี่ บริภาษ-

สมณพราหมณ์ และหลอกลวงสามีด้วยเรื่องไม่จริง

จึงหมกไหม้ในนรกที่น่ากลัว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น คาถาว่า อห ปุเร มจฺฉรินี นี้ นางเรวดีผู้

บังเกิดในนรกกล่าว นอกนี้ พึงทราบว่านางยังไม่บังเกิดในนรกกล่าวไว้

คำที่เหลือ เข้าใจง่ายทั้งนั้นแล.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนางเรวดีถูกพวกยักษ์จับนำไป แด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสเรื่องนี้

ตั้งแต่ต้น ทรงแสดงพระธรรมโดยพิสดารยิ่งขึ้น จบเทศนา ชนเป็นอัน

มากได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น เรื่องนี้ เรียกว่า เรวตีวิมาน เพราะ

โดยมากเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับนางเรวดีโดยแท้ แต่เพราะนางเรวดีไม่ใช่

เทวดาที่มีวิมาน ทั้งเรื่องนี้ก็ประกอบด้วยสมบัติมีวิมานของนันทิยเทพบุตร

เป็นต้น ฉะนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงยกขึ้นสู่สังคายนาไว้ในฝ่ายปุริสวิมาน

นั้นแล บัณฑิตพึงทราบดังนี้.

จบอรรถกถาเรวตีวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

๓. ฉัตตมาณวกวิมาน

ว่าด้วยฉัตตมาณวกวิมาน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะฉัตตมาณพว่า

[๕๓] บรรดาผู้กล่าวสอนอยู่ (ศาสดา) ผู้ใด

เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ เป็นศากยมุนี เป็นภควา

ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ถึงฝั่งแล้ว พรั่งพร้อมด้วยพละและ

วิริยะ เธอจงเข้าถึงผู้นั้น ผู้เป็นสุคต เป็นสรณะ เธอ

จงเข้าถึงพระธรรมที่สำรอกราคะ ไม่หวั่นไหว ไม่

เศร้าโศก เป็นอสังขตธรรม ไม่ปฏิกูล ไพเราะ

ซื่อตรง จำแนกไว้ นี้เป็นสรณะ บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวทานที่ถวายในท่านเหล่าใดว่ามีผลมาก ท่าน

เหล่านั้น คือ อริยบุคคลสี่คู้ เป็นบุคคลแปด ผู้แสดง

ธรรม เธอจงเข้าถึงพระสงฆ์นี้เป็นสรณะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามเทพบุตรว่า

พระอาทิตย์ในท้องฟ้าก็ไม่สว่าง พระจันทร์ก็

ไม่สว่าง ดาวฤกษ์ผุสสะก็ไม่สว่างเหมือนวิมานนี้ มี

รัศมีสว่างมากไม่มีทีเปรียบ ท่านเป็นใคร จากดาว-

ดึงส์มาสู่แผ่นดิน มีรัศมีเกิน ๒๐ โยชน์ ตัดรังสี

พระอาทิตย์ และทำกลางคืนให้เป็นเหมือนกลางวัน

วิมานของท่านงามบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีดอกปทุมมาก

มีดอกบุณฑิกงาม เกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

ทั้งหลาย งามไม่น้อย คลุมด้วยข่ายทองที่ปราศจาก

ละอองธุลี สว่างอยู่ในอากาศ เหมือนดวงอาทิตย์

วิมานของท่านบริบูรณ์ด้วยเหล่าอัปสร ผู้ทรงผ้าแดง

และผ้าเหลือง หอมตลบด้วยกฤษณา ประยงค์ และ

จันทน์ มีองค์และผิวพรรณเปล่งปลั่งดังทอง เหมือน

ท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาวทั้งหลาย ทวยเทพบุตร

และเทพธิดาในวิมานนี้มีมาก หลายหลากวรรณะ มี

อาภรณ์ประดับด้วยดอกไม้ มีใจดี มีกรองทอง นุ่งห่ม

ด้วยอาภรณ์ที่เป็นทอง โชยกลิ่นหอมลอยไปตามลม

นี้เป็นวิบากแห่งการสำรวมอะไร ท่านเกิดในวิมานนี้

ด้วยผลแห่งกรรมอะไร และท่านได้วิมานนี้โดยวิธีใด

ท่านถูกเราถามแล้ว เชิญบอกตามสมควรแก่วิธีนั้น

ด้วยเถิด.

เทพบุตรกราบทูลว่า

พระศาสดาเสด็จมาพบมาณพในทางนี้ ด้วย

พระองค์เอง เมื่อทรงอนุเคราะห์ได้ตรัสสอนแล้ว

ฉัตตมาณพฟังธรรม ของพระองค์ผู้เป็นรัตนะ อัน

ประเสริฐ ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักกระทำตาม

พระองค์ตรัสสอนว่า เธอจงเข้าถึงพระชินวรผู้ประ-

เสริฐ ทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญู ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้

แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัส ของพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า จงอย่าฆ่าสัตว์

อย่าประพฤติกรรมไม่สะอาดต่าง ๆ ผู้มีปัญญา

ทั้งหลายไม่สรรเสริญความไม่สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย

เลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้

กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัส

ของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า

อย่าเป็นผู้มีความสำคัญของที่เจ้าของมิได้ให้ แม้ที่

ชนอื่นรักษาไว้ ว่าเป็นของควรถือเอา ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภาย

หลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้น

ทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า อย่าได้ล่วงเกินภริยา

ของคนอื่น ที่คนอื่นรักษา นั่นเป็นสิ่งไม่ประเสริฐ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า

ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์

อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า อย่าได้กล่าว

เรื่องจริงเป็นเท็จ ผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญ

มุสาวาทเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่แรกข้าพระองค์

ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระ-

ดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัส

สอนว่า จงงดเว้นน้ำเมา ซึ่งเป็นเครื่องให้คน

ปราศจากสัญญานั้นทั้งหมด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

กระทำตามพระดำรัสของพระองค์อย่างนั้นทีเดียว

ข้าพระองค์นั้นถือสิกขาบท ๕ ในศาสนานี้ ปฏิบัติใน

ธรรมของพระตถาคต ได้ไปยังทางสองแพร่ง ท่าม

กลางพวกโจร พวกโจรเหล่านั้นฆ่าข้าพระองค์ที่ทาง

นั้นเพราะโภคะเป็นเหตุ.

ข้าพระองค์ระลึกถึงกุศลนี้เพียงเท่านี้ กุศลอื่น

นอกจากนั้น ของข้าพระองค์ไม่มี ด้วยกรรมอัน

สุจริตนั้น ข้าพระองค์จึงเกิดในหมู่เทวดาชาวไตรทิพย์

พรั่งพร้อมด้วยสิ่งที่ปรารถนา ขอพระองค์โปรดดู

วิบากแห่งการสำรวมชั่วขณะครู่หนึ่ง ด้วยการปฏิบัติ

ธรรมตามสมควร ซึ่งเหมือนรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ คน

เป็นอันมาก ผู้มีกรรมต่ำทรามเพ่งดูข้าพระองค์ ก็นึก

กระหยิ่ม โปรดดูเถิด ข้าพระองค์ถึงสุคติและถึง

ความสุขด้วยเทศนาเล็กน้อย ก็เหล่าสัตว์ผู้ที่ฟังธรรม

ของพระองค์ติดต่อกันเหล่านั้น เห็นทีจะสัมผัสพระ-

นิพพานอันเป็นแดนเกษมเป็นแน่ กรรมที่ทำแม้น้อย

ก็มีวิบากใหญ่ ไพบูลย์ เพราะธรรมของพระตถาคต

แท้ ๆ โปรดดูเถิด เพราะเป็นผู้ได้ทำบุญไว้

ฉัตตมาณพจึงเปล่งรัศมีสว่างตลอดแผ่นปฐพี เหมือน

ดังดวงอาทิตย์.

คนพวกหนึ่งประชุมปรึกษากันว่า กุศลนี้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

อย่างไร พวกเราจะประพฤติกุศลอะไร พวกเรานั้น

ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว พึงปฏิบัติมนุษยธรรม มีศีล

กันอยู่อีกทีเดียว พระศาสดาทรงมีอุปการะมาก ทรง

อนุเคราะห์อย่างนี้ เมื่อข้าพระองค์ถูกโจรฆ่าชิงทรัพย์

ยังกลางวันแสก ๆ อยู่เลย ข้าพระองค์นั้น เป็นผู้

เข้าถึงพระผู้มีพระนามอันเป็นสัจจะ ขอพระองค์

โปรดอนุเคราะห์เถิด พวกข้าพระองค์ทั้งหลายขอฟัง

ธรรมอีก ชนเหล่าใดในศาสนานี้ละกามราคะอนุสัย

คือภวราคะ และโมหะ ละได้ขาด ซนเหล่านั้น

ย่อมไม่ต้องนอนในครรภ์ คือเกิดอีก เพราะถึง

ปรินิพพานดับทุกข์ เย็นสนิทแล้ว.

จบอัตตมาณวกวิมาน

อรรถกถาอัตตมาณวกวิมาน

ฉัตตมาณวกวิมาน มีคาถาว่า โย วทต ปวโร มนุเชสุ เป็นต้น.

ฉัตตมาณวกวิมาณเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี

สมัยนั้น มีมาณพพราหมณ์ชื่อฉัตตะ เป็นบุตรที่ได้มาโดยยาก ของพราหมณ์

คนหนึ่ง ในเสตัพยนคร มาณพนั้นเจริญวัยแล้ว บิดาส่งไปอุกกัฏฐนคร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

เรียนมนต์และฐานวิชาทั้งหลายในสำนักของพราหมณ์ชื่อโปกขรสาติ ไม่

นานนักก็สำเร็จการศึกษาในศิลปพราหมณ์ เพราะเป็นคนมีปัญญาและไม่

เกียจคร้าน เขากล่าวกะอาจารย์ว่า กระผมศึกษาศิลปะในสำนักของท่าน

อาจารย์แล้ว กระผมจะให้ทักษิณาค่าบูชาครูแก่ท่านอาจารย์อย่างไร อาจารย์

กล่าวว่า ธรรมดาทักษิณาค่าบูชาครู ต้องพอเหมาะแก่ทรัพย์สมบัติของ

อันเตวาสิก เธอจงนำกหาปณะมาพันหนึ่ง ฉัตตมาณพกราบอาจารย์กลับ

ไปเสตัพยนคร ไหว้บิดามารดา บิดามารดาก็ชื่นชมยินดีกระทำปฏิสันถาร

ต้อนรับ เขาบอกความนั้นแก่บิดา กล่าวว่า โปรดให้ของที่ควรจะให้แก่

ฉันเถิด ฉันจักให้ค่าบูชาครูในวันนี้แหละแล้วจักกลับมา บิดามารดา

กล่าวกะเขาว่า ลูก วันนี้ค่ำแล้ว พรุ่งนี้ค่อยไป แล้วนำกหาปณะทั้งหลาย

ออกมาผูกเป็นห่อแล้ววางไว้.

พวกโจรรู้เรื่องนั้น แอบอยู่ในป่าชัฏแห่งหนึ่ง ในทางที่ฉัตตมาณพ

จะไป ด้วยคิดว่า จักฆ่ามาณพแล้วชิงเอากหาปณะทั้งหลายเสีย.

เวลาใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากมหากรุณาสมาบัติ

ทรงตรวจดูโลกอยู่ ทรงเห็นว่า ฉัตตมาณพจะดำรงอยู่ในสรณะและศีล

เขาจักถูกพวกโจรฆ่าตายไปบังเกิดในเทวโลก มาจากเทวโลกกับวิมาน

และบริษัทที่ประชุมกันในที่นั้นจะตรัสรู้ธรรม จึงเสด็จไปก่อนประทับนั่ง

ณ โคนค้นไม้แห่งหนึ่ง ในทางเดินของมาณพ มาณพถือเอาทรัพย์ค่าบูชา

อาจารย์ ไปจากเสตัพยนคร มุ่งหน้าไปอุกกัฏฐนคร เห็นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ในระหว่างทาง จึงเข้าไปเฝ้ายืนอยู่ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า เธอจักไปไหน กราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม

ข้าพระองค์จักไปอุกกัฏฐนคร เพื่อให้ทักษิณาค่าบูชาครู แก่โปกขรสาติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

พราหมณ์ผู้เป็นอาจารย์ของข้าพระองค์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า มาณพ เธอรู้สรณะ ๓ และศีล ๕ หรือ เมื่อมาณพกราบทูลว่า

ข้าพระองค์ไม่รู้สรณะ ๓ และศีล ๕ เหล่านั้นว่ามีและเป็นเช่นไร ทรง

ประกาศผลานิสงส์ของการถึงสรณะและการสมาทานศีล ๕ ว่า นี้เป็นเช่นนี้

แล้วตรัสว่า มาณพ เธอจงเรียนวิธีถึงสรณะก่อน มาณพทูลขอว่า สาธุ

ข้าพระองค์จักเรียน ขอพระองค์โปรดตรัสบอกเถิด พระเจ้าข้า เมื่อทรง

แสดงวิธีถึงสรณะโดยประพันธ์เป็นคาถา สมควรแก่อัธยาศัยของมาณพนั้น

ได้ตรัสคาถา ๓ คาถาว่า

บรรดาผู้กล่าวสอนอยู่ [ ศาสดา ] ผู้ใดเป็นผู้

ประเสริฐในมนุษย์ เป็นศากยมุนี เป็นภควา ผู้ทำกิจ

เสร็จแล้ว ถึงฝั่งแล้ว พรั่งพร้อมด้วยพละและวิริยะ

เธอจงเข้าถึงผู้นั้น ผู้เป็นสุคต เป็นสรณะ เธอจงเข้า

ถึงพระธรรมที่สำรอกราคะ ไม่หวั่นไหว ไม่เศร้าโศก

เป็นอสังขตธรรม ไม่ปฏิกูล ไพเราะ ซื่อตรง จำแนก

ไว้ดีนี้ เป็นสรณะ บัณฑิตทั้งหลายกล่าวทานที่ถวาย

ในท่านเหล่าใดว่ามีผลมาก ท่านเหล่านั้น คือ อริย-

บุคคลสี่คู่ เป็นบุคคลแปด ผู้แสดงธรรม เธอจงเข้า

ถึงพระสงฆ์นี้ เป็นสรณะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย เป็นคำไม่กำหนดแน่. ด้วยบทว่า ต

นี้ พึงทราบกำหนดแน่ ของบทนั้น. บทว่า วทต แปลว่า ผู้กล่าวอยู่.

บทว่า ปวโร แปลว่า ประเสริฐ อธิบายว่า สูงสุดของผู้กล่าวทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

คือประเสริฐในหมู่นักพูด. บทว่า มนุเชสุ เป็นการแสดงไขอย่างอุกฤษฏ์

เหมือนบทว่า สตฺถา เทวมนุสฺสาน ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ

ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบ้าง ของพรหมทั้งหลายบ้าง ของเหล่าสัตว์

ทั้งปวงบ้าง. อนึ่ง บทว่า มนุเชสุ ท่านกล่าวเพราะความที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จอุบัติในหมู่มนุษย์ในภพก่อน เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านจึง

กล่าวว่า สกฺยมุนี. บทว่า สกฺยมุนี ความว่า ชื่อว่า สักยะ เพราะเป็น

โอรสของราชตระกูลสักยะ ชื่อว่า มุนี เพราะประกอบด้วยกายโมเนยย

( ความนิ่งทางกาย ) เป็นต้น และเพราะรู้ไญยธรรมหมดสิ้นไม่เหลือเลย

เหตุนั้นจึงชื่อว่า ศากยมุนี. ชื่อว่า ภควา เพราะเหตุ ๔ ประการ

มีความเป็นผู้มีภาคยะเป็นต้น ชื่อว่า ทำกิจเสร็จแล้ว เพราะทำคือให้

สำเร็จกิจ ๑๖ อย่าง ต่างโดยมีปริญญากิจเป็นต้น ที่จะต้องทำด้วย

มรรค ๔ ชื่อว่า ปารคตะ ( ถึงฝั่งแล้ว ) เพราะถึง คือบรรลุด้วย

ญาณของพระสยัมภู ผู้ตรัสรู้เองซึ่งฝั่ง คือฝั่งโน้นของสักกายะ ได้แก่

นิพพาน ชื่อว่า พรั่งพร้อมด้วยพละและวิริยะ เพราะประกอบด้วยพลังกาย

ซึ่งไม่มีใครเหมือน ด้วยพลังญาณอันไม่สาธารณ์ทั่วไปแก่ผู้อื่น และด้วย

ความเพียรคือสัมมัปปธาน ๔ อย่าง ชื่อว่า สุคต เพราะเสด็จถึงฐานะที่ดี

เพราะเสด็จไปโดยชอบ และเพราะตรัสโดยชอบ เธอจงถึง จงเข้าถึง

ซึ่งท่านผู้นั้น ผู้เป็นสุคต เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นสรณะ คือเป็น

ที่พึ่ง เป็นที่เป็นไปเบื้องหน้า เป็นที่ช่วยต่อต้านทุกข์ในอบายและทุกข์ใน

วัฏฏะ จำเดิมแต่วันนี้ไป เธอจงคบคือจงเสพว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระ-

องค์นี้ เป็นสรณะ เป็นที่ช่วยต่อต้าน เป็นที่เร้น เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

เป็นคติ เป็นที่พึ่งอาศัย ของเรา ดังนี้ ด้วยการกับจากสิ่งที่ไม่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

ประโยชน์ ด้วยการพัฒนาเจริญแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ เธอจงรู้อย่างนี้

หรือจงคบหา [ เสพ ] เนื้อความมีดังนี้.

ท่านกล่าวอริยมรรค ด้วยบทว่า ราควิราค จริงอยู่ พระอริยะ

ทั้งหลายย่อมสำรอกราคะแม้ที่อบรมมาตลอดกาลที่ไม่มีเบื้องต้น ด้วยอริย-

มรรคนั้น. บทว่า อเนญฺชมโสก ได้แก่ อริยผล จริงอยู่ อริยผลนั้น

ท่านเรียกว่า อเนญชะ อโสกะ เพราะสงบตัณหากล่าวคือความอยาก

เหลือเกิน และกิเลสทั้งหลายที่มีความโศกเป็นนิมิตส่วนที่เหลือได้ โดย

ประการทั้งปวง. บทว่า ธมฺม ได้แก่ สภาวธรรมที่พึงถือเอา จริงอยู่

ธรรมที่พึงถือเอาโดยสภาวะนี้ ก็คือมรรคผลและนิพพาน ไม่พึงถือเอา

โดยเป็นบัญญัติธรรม เหมือนอย่างปริยัติธรรม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ธมฺม ได้แก่ ปรมัตถธรรม อธิบายว่า พระนิพพาน ที่ปัจจัยเป็นอันมาก

ประชุมกันกระทำ ชื่อ สังขตะ. ชื่อ อสังขตะ เพราะปัจจัยเป็นอันมาก

ประชุมกันทำมิได้ อสังขตะนั้นแหละ คือพระนิพพาน ชื่อว่าไม่เป็นที่ปฏิกูล

เพราะเป็นที่ไม่มีสิ่งปฏิกูลแม้อะไร ๆ ชื่อว่าไพเราะ เพราะปรารถนากัน

นักแม้ทุกเวลา ไม่ว่าเวลาฟัง เวลาสอบสวน เวลาปฏิบัติ ชื่อว่า ซื่อตรง

เพราะทรงประกาศไว้ดี เหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศด้วยปฏิภาณ-

สัมปทาที่มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นที่พึ่งพาอาศัยและเพราะเป็นธรรมละเอียด

อ่อน ชื่อว่า จำแนกไว้ดี เพราะจำแนกได้ด้วยดีซึ่งเนื้อความที่ควรจำแนก

โดยเป็นขันธ์เป็นต้น โดยเป็นกุศลเป็นต้น และเป็นอุทเทสเป็นต้น ด้วย

บททั้งสาม ก็ตรัสเฉพาะปริยัติธรรมเท่านั้น ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ จึงตรัส

บทว่า อิม เพื่อทรงแสดงให้ประจักษ์ทั้งสองฝ่าย ต่อหน้าเขาซึ่งแม้

กำลังฟังอยู่เหมือนที่พระองค์ตรัสอยู่ แม้ในเวลาที่โจรฆ่าชิงทรัพย์เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

เวลาเหตุการณ์มาปรากฏในพระญาณ. บทว่า ธมฺม ความว่า ชื่อว่าธรรม

เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งเหล่าสัตว์ผู้ปฏิบัติจริง ไม่ให้ตกไปสู่ทุกข์ในอบาย

บทนี้เป็นคำทั่วไปแก่ธรรมทั้ง ๔ อย่าง จริงอยู่ ถึงประยัติธรรมก็ทรงสัตว์

ไว้ไม่ให้ตกไปสู่ทุกข์ในอบาย เพราะการปฏิบัติจริง แม้เพียงดำรงอยู่ใน

สรณะและศีลทั้งหลาย และวิมานนี้แหละ พึงทราบว่า สาธกความข้อนี้

เพื่อทรงแสดงธรรมตามที่กล่าวแล้วให้ประจักษ์ชัดโดยภาวะทั่ว ๆ ไป จึง

ได้ตรัสว่า อิม อีก.

บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในอริยสงฆ์ใด. บทว่า ทินฺน ได้แก่

ไทยธรรมมีข้าวเป็นต้นที่บริจาคแล้ว. ในบทว่า ทินฺนมหปฺผล ท่าน

ลบนิคหิตเพื่อสะดวกในการผูกคาถา ในคู่บุรุษสี่ ที่กล่าวไว้โดยคำเป็น

ต้นว่า พระโสดาบัน พระผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ดังนี้

ชื่อว่าผู้สะอาด เพราะหมดจดจากของไม่สะอาดคือกิเลสอย่างเด็ดขาดทีเดียว.

บทว่า อฏฺ ได้แก่ บุคคลแปด เพราะกำหนดเป็นคน ๆ โดยมิได้จัด

ท่านที่ตั้งอยู่ในมรรคกับท่านที่ตั้งอยู่ในผล เป็นคู่ ๆ และในบทว่า ปุคฺคล-

ธมฺมทสา นี้ ท่านทำให้สั้นแสดงไว้ ก็เพื่อสะดวกในการผูกคาถานั่นเอง.

บทว่า ธมฺมทสา ได้แก่ ผู้เห็นธรรมคืออริยสัจ ๔ และธรรมคือนิพพาน

โดยประจักษ์ ชื่อว่าสงฆ์ เพราะเบียดเสียดไม่ใช่เสียดสีด้วยทิฏฐิสามัญญตา.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสวิธีถึงสรณะพร้อมด้วยทรงชี้คุณของสรณะ

ด้วยคาถา ๓ คาถาอย่างนี้แล้ว มาณพเมื่อจะประกาศวิธีถึงสรณะตั้งอยู่ใน

หทัยของตน โดยมุขคือระลึกถึงคุณของสรณะนั้น ๆ ขึงน้อมรับคาถา

นั้น ๆ โดยนัยเป็นต้นว่า โย วทต ปวโร ในลำดับแห่งคาถานั้น ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศสิกขาบท ๕ ทั้งโดยปฐมทั้งโดยผลานิสงส์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

ได้ตรัสวิธีสมาทานสิกขาบทเหล่านั้น แก่มาณพผู้น้อมรับอย่างนี้แล้ว

มาณพนั้นทบทวนแม้วิธีสมาทานนั้นด้วยดี มีใจเลื่อมใส กราบทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จักไปละ แล้วระลึกคุณพระรัตนตรัย

เดินไปตามทางนั้นเอง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธดำริว่า กุศล

เพียงเท่านี้ของมาณพนี้ พอที่จะให้เกิดในเทวโลก แล้วได้เสด็จไปพระ-

วิหารเชตวันอย่างเดิม.

เมื่อมาณพมีจิตเลื่อมใส ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลายด้วยความเป็นผู้มี

จิตตุปบาทเป็นไปว่า ข้าพเจ้าเข้าถึงสรณะ ดังนี้ โดยกำหนดคุณพระ-

รัตนตรัย และทิ้งอยู่ในศีลทั้งหลาย ด้วยอธิฐานศีล ๕ ตามนัยที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้นั้นแล กำลังเดินระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยตามนัยนั่นแล

พวกโจรก็กรูกันมาที่หนทาง มาณพไม่ใส่ใจพวกโจรเหล่านั้น เดินระลึก

ถึงคุณพระรัตนตรัยอย่างเดียว โจรคนหนึ่งยืนซ่อนในระหว่างพุ่มไม้ เอา

ลูกธนูอาบยาพิษแทงอย่างฉับพลัน ทำให้เขาสิ้นชีวิต แล้วยึดห่อกหาปณะ

หลีกไปพร้อมกับพวกสหายของตน ฝ่ายมาณพทำกาละแล้วตายไปบังเกิด

ในวิมานทอง ๓๐ โยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเหมือนหลับแล้ว

ตื่นขึ้น มีอัปสรพันหนึ่งแวดล้อม มีอัตภาพประดับด้วยเครื่องประดับ

มีภาระ ๖๐ เล่มเกวียน รัศมีของวิมานนั้นแผ่ไปกว่า ๒๐ โยชน์.

ครั้งนั้น พวกมนุษย์ชาวเสตัพยนครเห็นมาณพทำกาละแล้ว จึงไป

เสตัพยนคร บอกแก่บิดามารดาของมาณพนั้น พวกชาวบ้านอุกกัฏฐะก็ไป

อุกกัฏฐนคร บอกแก่โปกขรสาติพราหมณ์ บิดามารดาของมาณพนั้น

พวกญาติและมิตร และโปกขรสาติพราหมณ์พร้อมด้วยบริวาร มีน้ำตา

ไหลอาบหน้าร้องไห้ไปประเทศนั้น ส่วนมากชาวเสตัพยะ ชาวอุกกัฏฐะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

และชาวอิจฉานังคละ ก็ได้ประชุมกัน.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระดำริว่า เมื่อเราไป ฉัตตมาณพ-

เทพบุตรจะมาพบเรา เราจักให้เขาผู้มาแล้วกล่าวถึงกรรมที่ทำไว้ ให้ทำ

ผลแห่งกรรมให้ประจักษ์ แล้วเราจักแสดงธรรม มหาชนจักตรัสรู้ธรรม

ด้วยอาการอย่างนี้ ครั้นมีพระดำริแล้ว พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่เสด็จเข้าไป

ยังประเทศนั้น ประทับนั่งเปล่งพระพุทธรังสีมีพรรณ ๖ ประการ ณ โคน

ต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น แม้ฉัตตมาณพเทพบุตรตรวจดูสมบัติของตน

ทบทวนเหตุแห่งสมบัตินั้น เห็นการถึงสรณะและการสมาทานศีล เกิด

ความประหลาดใจ เกิดความเลื่อมใสมากในพระผู้มีพระภาคเจ้า คิดว่า

เราจักไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า และไหว้ภิกษุสงฆ์ ในบัดนี้แหละ

และจักทำคุณพระรัตนตรัยให้ปรากฏแก่มหาชน เทพบุตรอาศัยความเป็น

ผู้กตัญญู กระทำประเทศแห่งป่านั้นทั้งหมดให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน

มาพร้อมกับวิมาน ลงจากวิมาน ปรากฏองค์ให้เห็นพร้อมด้วยบริวาร

หมู่ใหญ่ เข้าไปหมอบถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแทบพระยุคลบาทของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนประคองอัญชลีอยู่ มหาชนเห็นดังนั้นมีความ

ประหลาดอัศจรรย์ว่า นี้ใครหนอ เทวดาหรือพรหมพากันเข้าแวดล้อม

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงทำบุญกรรมที่เทพบุตรนั้นกระทำ

ไว้ให้ปรากฏ ได้ตรัสไต่ถามเทพบุตรนั้นว่า

พระอาทิตย์ในท้องฟ้าก็ไม่สว่าง พระจันทร์ก็

ไม่สว่าง ดาวฤกษ์ผุสสะก็ไม่สว่างเหมือนวิมานนี้ มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

รัศมีสว่างมาก ไม่มีที่เปรียบ ท่านเป็นใคร จาก

ดาวดึงส์มาสู่แผ่นดิน รัศมีมีเกิน ๒๐ โยชน์ ตัดรังสี

พระอาทิตย์ และทำกลางคืนให้เป็นเหมือนกลางวัน

วิมานของท่านงามบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีดอกปทุมมาก มี

ดอกบุณฑริกงามเกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้ทั้งหลาย

งามไม่น้อย คลุมด้วยข่ายทองที่ปราศจากละออง

ธุลี สว่างอยู่ในอากาศ เหมือนดวงอาทิตย์ วิมาน

ของท่านบริบูรณ์ด้วยเหล่าอัปสรผู้ทรงผ้าแดงและผ้า

เหลือง หอมตลบด้วยกฤษณา ประยงค์ และจันทน์

มีองค์และผิวพรรณเปล่งปลั่งดังทอง เหมือนท้องฟ้า

เต็มไปด้วยดวงดาวทั้งหลาย ทวยเทพบุตรและเทพธิดา

ในวิมานนี้มีมาก หลายหลากวรรณะ มีอาภรณ์

ประดับด้วยดอกไม้ มีใจดี มีกรองทอง นุ่งห่มด้วย

อาภรณ์ที่เป็นทอง โชยกลิ่นหอมลอยไปตามลม นี้

เป็นวิบากแห่งการสำรวมอะไร ท่านเกิดในวิมานนี้

ด้วยผลแห่งกรรมอะไร และท่านได้วิมานนี้โดยวิธีใด

ท่านถูกเราถามแล้ว เชิญบอกตามสมควรแก่วิธีนั้น

ด้วยเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตปติ แปลว่า ย่อมสว่าง. บทว่า

นภสฺมึ แปลว่า ในอากาศ. บทว่า ผุสฺโส แปลว่า หมู่ดาวฤกษ์ผุสสะ.

บทว่า อตุล แปลว่า ไม่มีที่เปรียบหรือประมาณไม่ได้ ท่านอธิบายคำนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

ไว้ว่า วิมานของท่านนี้ ไม่มีที่เปรียบ ประมาณไม่ได้ สว่างมาก คือสว่าง

ไปในอากาศ จากวิมานนั้น ๆ แหละ เพราะผ่องใสฉันใด ดวงดาว

ทั้งหลายย่อมไม่สว่างเหมือนฉันนั้น พระจันทร์ก็ไม่สว่าง ดาวเหล่านั้น

ไม่ต้องพูดถึง แม้พระอาทิตย์ก็ยังไม่สว่างเท่า ท่านเป็นใครถึงได้เป็น

อย่างนี้ จากเทวโลกมายังภูมิประเทศนี้ ขอจงบอกกล่าวแก่มหาชนนี้

ทำความข้อนั้นให้ปรากฏ.

บทว่า ฉินฺทติ แปลว่า ตัดขาด ความว่า ต่อต้านไม่ให้เป็นไป.

บทว่า รสี แปลว่า รัศมีทั้งหลาย. บทว่า ปภงฺกรสฺส แปลว่า ของ

ดวงอาทิตย์ ก็รัศมีของวิมานนั้น แผ่ไปโดยรอบ ๒๕ โยชน์ เพราะเหตุ

นั้นท่านจึงกล่าวว่า สาธิกวีสติโยชนานิ อาภา ดังนี้. บทว่า รตฺติมฺปิ

จ ยถา ทิว กโรติ ความว่า วิมานของท่านกำจัดความมืดด้วยรัศมีของ

ตน ทำแม้ภาคราตรีให้เป็นเหมือนภาคกลางวัน ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะ

สะอาดทั้งภายในและภายนอก โดยรอบ ๆ ชื่อว่า ผุดผ่อง เพราะไม่มี

มลทินโดยประการทั้งปวง ชื่อว่า งาม เพราะดี.

บทว่า พหุปทุมวิจิตฺรปุณฺฑรีก ได้แก่ ดอกบัวแดงหลายอย่าง

มากมาย และดอกบัวขาวมีสีงดงาม อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ดอกบัวขาว

ชื่อว่าปทุม ดอกบัวแดงชื่อว่า บุณฑริก. บทว่า โวกิณฺณ กุสุเมหิ

ความว่า เกลื่อนไปด้วยดอกไม้อื่น ๆ นานาชนิด. บทว่า เนกจิตฺต

ความว่า งามอย่างต่าง ๆ ด้วยมาลากรรมและลดากรรมเป็นต้น. บทว่า

อรชวิรชเหม ชาลจฺฉนฺน ความว่า ปราศจากละอองเอง และคลุมด้วย

ข่ายทองที่ปราศจากธุลี ไม่มีโทษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

บทว่า รตฺตกมฺพลปีตวาสสาหิ แปลว่า ด้วยผ้าแดงทั้งหลาย และ

ด้วยผ้าเหลืองทั้งหลาย จริงอยู่ เทพธิดาองค์หนึ่งนุ่งห่มผ้าทิพย์สีแดง ย่อม

ทำให้ผ้าทิพย์สีเหลือง เหลือยิ่งขึ้น อีกองค์หนึ่งนุ่งห่มผ้าทิพย์สีเหลือง

ย่อมทำให้ผ้าทิพย์สีแดง แดงยิ่งขึ้น ท่านหมายความดังนั้น จึงกล่าวว่า

รตฺตกมฺพลปีตวาสสาหิ ดังนี้. บทว่า อครุปิยงฺคุจนฺทนุสฺสทาหิ ความว่า

หอมฟุ้งด้วยกลิ่นกฤษณา ด้วยดอกประสงค์ และด้วยกลิ่นจันทน์ทั้งหลาย

อธิบายว่า อบอวลไปด้วยกลิ่นกฤษณาอันเป็นทิพย์เป็นต้น. บทว่า

กญฺจนตนุนฺนิภตฺตจาหิ แปลว่า มีผิวละเอียดอ่อนคล้ายทอง. บทว่า ปริปูร

ความว่า เต็มไปด้วยเทพธิดาผู้เที่ยวไปในที่นั้น ๆ และขับร้องเสียง

ประสาน.

บทว่า พหุเกตฺถ แปลว่า ในวิมานนี้มาก. บทว่า อเนกวณฺณา

แปลว่า มีรูปต่าง ๆ. บทว่า กุสุมวิภูสิตาภรณา ความว่า มีทิพยาภรณ์

ประดับด้วยดอกไม้ทิพย์ทั้งหลาย เพื่อโชยกลิ่นหอมเป็นพิเศษ. บทว่า

เอตฺถ แปลว่า ในวิมานนี้. บทว่า สุมนา แปลว่า มีใจดี คือมีจิต

เบิกบาน. บทว่า อนิลปมุญฺจิตา ปวนฺติ สุรภึ ความว่า ย่อมโชยกลิ่น

หอมของดอกไม้ทั้งหลายที่มีกลิ่นลอยไปตามลม เพราะเป็นดอกไม้แก่และ

บานแล้ว เหมือนพวงกลีบหลุดด้วยลม อาจารย์บางท่านกล่าวว่า อนิล-

ปธูปิตา อันลมขจัดแล้วดังนี้ก็มี ความว่า ดอกไม้ทองถูกลมพัดแผ่ว ๆ

ชื่อว่า มีกรองทอง เพราะเครื่องประดับมีเปลือกไม้ทองเป็นต้นแผ่ไปที่

ช้องผมเป็นต้น ชื่อว่า นุ่งห่มด้วยอาภรณ์ที่เป็นทอง เพราะมีสรีระปกปิด

ด้วยอาภรณ์อันเป็นทองโดยมาก ด้วยบทว่า นรนาริโย ทรงแสดงว่า

ในวิมานของท่านนี้ มีเทพบุตรและเทพธิดามาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ในอรรถว่า เตือน. บทว่า ปุฏฺโ

แปลว่า อันเราถามแล้ว อธิบายว่า เพื่อผลกรรมประจักษ์ชัด แก่

มหาชนนี้.

ลำดับนั้น เทพบุตรได้พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระศาสดาเสด็จมาพบมาณพในทางนี้ ด้วย

พระองค์เอง เมื่อทรงอนุเคราะห์ ได้ตรัสสอนแล้ว

ฉัตตมาณพฟังธรรมของพระองค์ผู้เป็นรัตนะอันประ-

เสริฐ ได้กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักกระทำตาม

พระองค์ตรัสสอนว่า เธอจงเข้าถึงพระชินวรผู้

ประเสริฐ ทั้งพระธรรมและภิกษุสงฆ์ เป็นสรณะ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า

ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของ

พระองค์ อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า จง

อย่าฆ่าสัตว์ อย่าประพฤติกรรมไม่สะอาดต่าง ๆ ผู้มี

ปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญความไม่สำรวมในสัตว์

ทั้งหลายเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระ-

องค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระ-

ดำรัสของพระองค์ อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัส

สอนว่า อย่าเป็นผู้มีความสำคัญของที่เจ้าของมิได้ให้

แม้ที่ชนอื่นรักษาไว้ ว่าเป็นของควรถือเอา ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า ไม่รู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

แต่ภายหลังได้กระทำ ตามพระดำรัสของพระองค์

อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า อย่าได้ล่วงเกิน

ภริยาของคนอื่นที่คนอื่นรักษา นั่นเป็นสิ่งไม่ประเสริฐ

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้กล่าวว่า

ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของพระองค์

อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า อย่าได้กล่าว

เรื่องจริงเป็นเท็จ ผู้มีปัญญาทั้งหลายไม่สรรเสริญ

มุสาวาทเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์

ได้กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัส

ของพระองค์ อย่างนั้นทีเดียว พระองค์ตรัสสอนว่า

จงงดเว้นนำเมา ซึงเป็นเครื่องให้คนปราศจากสัญญา

นั้นทั้งหมด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีแรกข้าพระองค์ได้

กล่าวว่า ไม่รู้ แต่ภายหลังได้กระทำตามพระดำรัสของ

พระองค์ อย่างนั้นทีเดียว ข้าพระองค์นั้นถือสิกขา-

บท ๕ ในศาสนานี้ ปฏิบัติในธรรมของพระตถาคต

ได้ไปยังทางสองแพร่ง ท่ามกลางพวกโจร พวกโจร

เหล่านั้นฆ่าข้าพระองค์ ที่ทางนั้น เพราะโภคะเป็น

เหตุ ข้าพระองค์ระลึกถึงกุศลนี้เพียงเท่านี้ กุศลอื่น

นอกจากนั้น ของข้าพระองค์ไม่มี ด้วยกรรมอัน

สุจริตนั้น ข้าพระองค์จึงเกิดในหมู่เทวดาชาวไตรทิพย์

พรั่งพร้อมด้วยสิ่งที่น่าปรารถนา ขอพระองค์โปรดดู

วิบากแห่งการสำรวมชั่วขณะครู่หนึ่ง ด้วยการปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

ธรรมตามสมควร ซึ่งเหมือนรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ คน

เป็นอันมากผู้มีกรรมต่ำทรามเพ่งดูข้าพระองค์ ก็นึก

กระหยิ่ม โปรดดูเถิด ข้าพระองค์ถึงสุคติ และถึง

ความสุข ด้วยเทศนาเล็กน้อย ก็เหล่าสัตว์ผู้ที่

ฟังธรรมของพระองค์ติดต่อกันเหล่านั้น เห็นทีจะ

สัมผัสพระนิพพานอันเป็นแดนเกษมเป็นแน่ กรรม

ที่ทำแม้น้อย ก็มีวิบากใหญ่ไพบูลย์ เพราะธรรม

ของพระตถาคตแท้ ๆ โปรดดูเถิด เพราะเป็นผู้ได้

ทำบุญไว้ ฉัตตมาณพจึงเปล่งรัศมีสว่างตลอดแผ่น

ปฐพี เหมือนดังดวงอาทิตย์ คนพวกหนึ่งประชุม

ปรึกษากันว่า กุศลนี้เป็นอย่างไร พวกเราจะประพฤติ

กุศลอะไร พวกเรานั้นได้ความเป็นมนุษย์แล้ว พึง

ปฏิบัติมนุษยธรรม มีศีลกันอยู่อีกทีเดียว พระศาสดา

ทรงมีอุปการะมาก ทรงอนุเคราะห์อย่างนี้ เมื่อข้า-

พระองค์ถูกโจรฆ่าชิงทรัพย์ ยังกลางวันแสก ๆ อยู่

เลย ข้าพระองค์นั้นเป็นผู้เข้าถึงพระผู้มีพระนามอัน

เป็นสัจจะ ขอพระองค์โปรดอนุเคราะห์เถิด พวก

ข้าพระองค์ทั้งหลายขอฟังธรรมอีก ชนเหล่าใดใน

ศาสนานี้ละกามราคะ อนุสัย คือภวราคะ และโมหะ

ละได้ขาด ชนเหล่านั้นย่อมไม่ต้องนอนในครรภ์ คือ

เกิดอีก เพราะถึงปรินิพพานดับทุกข์ เย็นสนิทแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สยมิธ ปเถ สเมจฺจ มาณเวน

ความว่า มาประชุมกัน คือร่วมกันกับมาณพกุมารพราหมณ์ ผู้เข้าไปหา

เองทีเดียว ในที่นี้ที่ทางนี้ คือที่ทางใหญ่นี้ ประกอบบทว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ชื่อว่า ศาสดา เพราะทรงสั่งสอนเหล่าสัตว์ด้วยทิฏฐธัมมิกัตถ-

ประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ ตามควร

ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สั่งสอนมาณพใด ตามธรรม มาณพนั้น ชื่อฉัตตะ

คือมาณพที่ชื่อว่าฉัตตะ กล่าวแล้ว กราบทูลแล้วว่า ข้าพระองค์ฟังธรรม

นั้น ของพระองค์ผู้เป็นรัตนะอันประเสริฐ คือของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้เป็นรัตนะชั้นเลิศ จักกระทำตามธรรมนั้น คือปฏิบัติตามที่ทรงสั่งสอน

ดังนี้อย่างนี้.

เทพบุตรแสดงกรรมตามที่ถูกถาม โดยเหตุการณ์อย่างนี้แล้ว เมื่อ

แสดงกรรมนั้นทั้งรวม ๆ ทั้งแยกเป็นส่วน ๆ จึงกล่าวว่า ชินวรปวร

เป็นต้น เพื่อแสดงว่าตนถูกพระศาสดาทรงชักชวน และที่ตนตั้งมั่นใน

สรณะและศีลนั้นภายหลัง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โนติ ปม

อโวจห ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์

ถูกพระองค์ตรัสถามว่า เธอรู้สรณคมน์หรือ ทีแรกได้กราบทูลว่า ไม่ คือ

ไม่รู้. บทว่า ปจฺฉา เต วจน ตเถวกาสึ ความว่า ภายหลังข้าพระองค์

เมื่อทบทวนพระดำรัส ก็ได้กระทำคือปฏิบัติตามพระดำรัสของพระองค์

อย่างนั้นทีเดียว อธิบายว่า ได้เข้าถึงสรณะทั้งสาม.

บทว่า วิวิธ ได้แก่ สูงและต่ำ ความว่า มีโทษน้อยและมีโทษ

มาก. บทว่า มาจรสฺสุ ได้แก่ อย่าได้กระทำ. บทว่า อสุจึ ได้แก่

ไม่สะอาด เพราะเจือปนด้วยของไม่สะอาดคือกิเลส. บทว่า ปาเณสุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

อสญฺต ได้แก่ ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์. บทว่า น หิ อวณฺณยึสุ

ได้แก่ ในปัจจุบันก็ไม่สรรเสริญ ความจริง บทนี้เป็นคำอดีตกาล ลงใน

อรรถปัจจุบันกาล อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อวณฺณยึสุ เป็นกำหนดกาล

ทั้งสิ้นแต่โดยเอกเทศ เพราะฉะนั้น ท่านจึงอธิบายว่า ไม่สรรเสริญมา

แล้วในอดีตกาลฉันใด ก็ไม่สรรเสริญอยู่ในปัจจุบันกาล จักไม่สรรเสริญ

แม้ในอนาคตกาลฉันนั้น.

บทว่า ปรชนสฺส รกฺขิต ได้แก่ ของที่เจ้าของหวงแหน เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อทินฺน เขาไม่ให้. บทว่า มา อคมา แปลว่า

อย่าล่วงละเมิด. บทว่า วิตถ ได้แก่ ไม่แท้ อธิบายว่า เท็จ. บทว่า

อญฺถา แปลว่า โดยประการอื่นเทียว อธิบายว่า มีความสำคัญว่าไม่แท้

คือรู้อยู่ว่าไม่แท้อย่างนี้ อย่าได้กล่าวอย่างนี้.

บทว่า เยน ได้แก่ เพราะน้ำเมาใด อธิบายว่า ที่ดื่มเข้าไป

บทว่า อเปติ แปลว่า ไปปราศ. บทว่า สญฺา ได้แก่ ธรรมสัญญา

หรือโลกสัญญานั่นเอง. บทว่า สพฺพ ความว่า ไม่เหลือเลย ตั้งแต่พืช.

บทว่า สฺวาห ความว่า ข้าพระองค์ คือเป็นฉัตตมาณพครั้งนั้น.

บทว่า อิธ ได้แก่ ในที่แห่งทางนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิธ ได้แก่ ใน

ศาสนาของพระองค์นี้ เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า ตถาคตสฺส ธมฺเม.

บทว่า ปญฺจ สิกฺขา ได้แก่ สิกขาบท ๕. บทว่า กริตฺวา ความว่า

ถือ คืออธิษฐาน. บทว่า เทฺวปถ ได้แก่ ทางที่อยู่กลางเขตบ้าน ๒ ตำบล

อธิบายว่า ทางระหว่างเขต. บทว่า เต ได้แก่ พวกโจรเหล่านั้น. บทว่า

ตตฺถ ได้แก่ ตรงทางระหว่างเขตนั้น. บทว่า โภคเหตุ ได้แก่ เพราะ

เห็นแก่อามิส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

ความว่า ไม่มี คือไม่ได้กุศลอื่น นอกเหนือไปจากนั้น คือจาก

กุศลตามที่กล่าวแล้ว ที่ข้าพระองค์ระลึกได้. บทว่า กามกามี แปลว่า

พรั่งพร้อมด้วยกามคุณตามที่ปรารถนา.

บทว่า ขณมุหุตฺตสญฺมสฺส ได้แก่ รักษาศีลชั่วขณะครู่เดียว.

บทว่า อนุธมฺมปฏิปตฺติยา ความว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอ

พระองค์โปรดดูวิบาก ของบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมตามสมควรแก่ผลตามที่ได้

บรรลุแล้ว อีกอย่างหนึ่ง ขอพระองค์โปรดดูวิบากแห่งการถึงสรณะ และ

แห่งการสมาทานศีล ด้วยการปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม คือโอวาท

ของพระองค์ โดยทำนองที่กล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า ชลมิว ยสสา

ความว่า เหมือนรุ่งเรืองอยู่ด้วยฤทธิ์และด้วยปริวารสมบัติ. บทว่า

สเมกฺขมานา แปลว่า เห็นอยู่. บทว่า พหุกา แปลว่า มาก. บทว่า

ปิหยนฺติ ความว่า ย่อมปรารถนาว่า ทำอย่างไรหนอ พวกเราถึงจะเป็น

เช่นนี้. บทว่า หีนกมฺมา ความว่า มีโภคะเลวกว่าสมบัติของเรา.

บทว่า กติปยาย แปลว่า น้อย. บทว่า เย ได้แก่ ภิกษุ

ทั้งหลายด้วย อุบาสกเป็นต้นด้วย เหล่าใด ศัพท์ลงในอรรถพยติเรก.

บทว่า เต แปลว่า ของพระองค์. บทว่า สตต ได้แก่ ทุก ๆ วัน.

บทว่า วิปุล ได้แก่ ผลโอฬาร อานุภาพไพบูลย์. บทว่า

ตถาคตสฺส ธมฺเม ประกอบความว่า ตั้งอยู่ในโอวาทคำสอนของพระ-

ตถาคตกระทำตามแล้ว. เนื้อความที่กล่าวไว้ในได้ยกอะไรแสดงเลย อย่างนี้

เทพบุตรเมื่อแสดงโดยยกตนขึ้นแสดง จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ปสฺส ดังนี้.

ด้วยคำว่า ปสฺส ในคำนั้น เทพบุตรกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า อีก

อย่างหนึ่ง กล่าวถึงตนเองนั่นแหละ แต่ทำเหมือนเป็นผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

บทว่า กิมิท กุสล กิมาจเรม ความว่า ธรรมดาว่ากุศลนี้ มี

สภาพย่างไร คือเป็นเช่นไร อีกอย่างหนึ่ง พวกเราพึงประพฤติกุศลนั้น

อย่างไร. บทว่า อิจฺเจเก หิ สเมจฺจ มนฺตยนฺติ ความว่า คนพวกหนึ่ง

มาประชุม คือมาร่วมกันปรึกษา คือวิจารณ์ว่าทำได้แสนยาก เหมือน

พลิกแผ่นดิน และเหมือนยกเขาสินรุ [ พระสุเมรุ ] อธิบายว่า แต่พวก

เราพึงประพฤติกันได้อีกโดยไม่ยากเย็นเลย เพราะเหตุนั้นแหละ เทพบุตร

จึงกล่าวว่า มย เป็นต้น.

บทว่า พหุกาโร แปลว่า มีอุปการะมาก หรือมีอุปการะใหญ่.

บทว่า อนุกมฺปิโก ได้แก่ มีความกรุณา อักษรทำหน้าที่เชื่อมบท.

บทว่า อิติ แปลว่า อย่างนี้ เทพบุตรกล่าวหมายถึงอาการที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงปฏิบัติในตน. บทว่า เม สติ ความว่า เมื่อข้าพระองค์

มี คือมีอยู่ ถูกพวกโจรฆ่าทีเดียว. บทว่า ทิวา ทิวสฺส แปลว่า

กลางวันแม้ของวัน อธิบายว่า ยังกลางวันอยู่. บทว่า สฺวาห ได้แก่

ข้าพระองค์ผู้เป็นฉัตตมาณพนั้น. บทว่า สจฺจนาม ความว่า ผู้มีพระนาม

ไม่เท็จ คือมีพระนามที่เป็นจริง โดยพระนามว่า ภควา อรห สมฺมา-

สมฺพุทฺโธ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นต้น. บทว่า

อนุกมฺปสฺสุ แปลว่า โปรดอนุเคราะห์. บทว่า ปุนปิ ความว่า พึง

ฟังแม้ยิ่ง ๆ ขึ้น อธิบายว่า พึงฟังธรรมของพระองค์.

เทพบุตรตั้งอยู่ในความเป็นผู้กตัญญู เมื่อแสดงความไม่อิ่มด้วยดี

ด้วยการเข้าไปใกล้ และด้วยการฟังธรรม จึงกล่าวคำนั้นทั้งหมด ด้วย

ประการฉะนี้ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของเทพ-

บุตร และบริษัทที่ประชุมกันในที่นั้นแล้วทรงแสดงอนุปุพพิกถา ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ทราบว่าชนเหล่านั้นมีจิตสงบ จึงทรงประกาศพระธรรมเทศนาที่ทรงยก

ขึ้นแสดงเอง ( อริยสัจ ) จบเทศนา เทพบุตรและบิดามารดาตั้งอยู่ใน

โสดาปัตติผลและมหาชนหมู่ใหญ่ได้ตรัสรู้ธรรม.

เทพบุตรตั้งอยู่ในปฐมผล เมื่อประกาศความเคารพหนักของตนใน

มรรคชั้นสูง และความที่การบรรลุมรรคนั้นมีอานิสงส์มาก จึงกล่าวคาถา

สุดท้ายว่า เย จิธ ปชหนฺติ กามราค ดังนี้ เนื้อความของคาถานั้นว่า

ชนเหล่าใดดำรงอยู่ในศาสนานี้ ย่อมละ คือย่อมถอนกามราคะได้ขาดไม่

เหลือเลย ชนเหล่านั้นย่อมไม่ต้องนอนในครรภ์อีก เพราะถอนโอรัม-

ภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องต่ำได้แล้ว] อนึ่ง ชนเหล่าใดละโมหะ คือ

เพิกถอนโดยประการทั้งปวง ชื่อว่าละภวราคานุสัยได้ด้วย จึงไม่มีคำที่จะ

ต้องกล่าวว่า ชนเหล่านั้นย่อมต้องนอนในครรภ์อีก ดังนี้ เพราะเหตุไร.

เพราะถึงปรินิพพานดับทุกข์ เป็นผู้เย็นสนิทแล้ว. จริงอยู่ ชนเหล่านั้น

เป็นอุดมบุรุษถึงปรินิพพานดับทุกข์ ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดังนั้น

จึงเป็นผู้เย็นสนิทแล้ว เพราะความเร่าร้อนทุกอย่างที่สัตว์ทั้งปวงเสวยสิ้น

สุดไปในปรินิพพานนั้นนั่นเอง.

เทพบุตรเมื่อประกาศความที่ตนถึงกระแสอริยะแล้ว จับเอายอด

เทศนาด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า การทำ

ประทักษิณแล้วแสดงความนับถือแก่ภิกษุสงฆ์ ลาบิดามารดาแล้วกลับ

เทวโลกอย่างเดิม แม้พระศาสดาทรงลุกจากพุทธอาสน์แล้ว เสด็จไปพร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์ บิดามารดาของมาณพ โปกขรสาติพราหมณ์ และมหาชน

ทั้งหมด ส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วพากันกลับ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

เสด็จไปพระวิหารเชตวัน ตรัสวิมานนี้โดยพิสดารแก่บริษัทที่ประชุมกัน

เทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่มหาชนแล.

จบอรรถกถาฉัตตมาณวกวิมาน

๔. กักกฏกรสทายกวิมาน

ว่าด้วยกักกฏกรสทายกวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๕๔] วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร มีเสาแก้วไพฑูรย์

ลาดด้วยเครื่องลาดที่ถูกใจ สวยงาม ท่านอยู่ ดื่ม

กิน ในวิมานนั้น มีพิณทิพย์บรรเลงไพเราะ มี

เบญจกามคุณ มีรสเป็นทิพย์ และเทพนารีแต่งองค์

ด้วยเครื่องทองฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร วรรณะของ

ท่านจึงเป็นเช่นนั้น เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จ

แก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทวะผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ปูทอง

มีสิบขา ยืนอยู่ที่ประตูคอยเตือนสติให้ระลึก (ถึง

กรรม) ได้สง่างาม เพราะบุญนั้น วรรณะของ

ข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จ

แก่ข้าพเจ้า และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่

ข้าพเจ้า เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง

อย่างนี้ และรัศมีของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบกักกฏกรสทายกวิมาน

อรรถกถากักกฏกรสทายกวิมาน

กักกฏกรสทายกวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิท มณิถฺณ วิมาน

เป็นต้น. กักกฏกรสทายกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเริ่มเจริญวิปัสสนา เกิดโรคปวดหูขึ้นมา ไม่อาจ

ที่จะขวนขวายวิปัสสนาได้ เพราะมีร่างกายไม่สบาย แม้ประกอบยาต่าง ๆ

ตามวิธีที่หมอทั้งหลายบอก โรคก็ไม่สงบ ภิกษุนั้นได้กราบทูลความนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า โภชนะ

ที่มีรสปูเป็นสัปปายะแก่เขา จึงตรัสแก่ภิกษุรูปนั้นว่า ภิกษุ เธอจงไปเที่ยว

บิณฑบาตที่นาของชาวมคธ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

ภิกษุนั้นคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นการณ์ไกล คงจักทรง

เห็นอะไร ๆ เป็นแน่ จึงทูลรับพระพุทธดำรัสว่า สาธุ พระเจ้าข้า

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ถือบาตรจีวรไปนาของชาวมคธ ได้ยืน

บิณฑบาตที่ประตูกระท่อมของคนเฝ้านาคนหนึ่ง คนเฝ้านานั้น ปรุงอาหาร

รสปูและหุงข้าวแล้ว คิดว่าพักเสียหน่อยหนึ่งแล้วจึงจักกิน นั่งอยู่ เห็น

พระเถระจึงรับบาตร นิมนต์ให้นั่งในกระท่อม ได้ถวายภัตตาหารที่มี

รสปู เมื่อพระเถระฉันภัตตาหารนั้นได้หน่อยหนึ่งเท่านั้น โรคปวดหูก็

สงบ เหมือนอาบน้ำร้อยหม้อ พระเถระนั้นได้ความสบายใจเพราะอาหาร

เป็นสัปปายะ น้อมจิตไปโดยวิปัสสนา ยังฉันไม่ทันเสร็จ ก็ทำอาสวะให้

สิ้นไปโดยไม่เหลือ ตั้งอยู่ในพระอรหัต กล่าวกะคนเฝ้านาว่า อุบาสก

โรคของอาตมาสงบ เพราะฉันบิณฑบาตของท่าน กายและใจสบาย แม้

ท่านก็จักปราศจากทุกข์กายทุกข์ใจ ด้วยผลแห่งบุญของท่านนั้น ทำ

อนุโมทนาแล้วหลีกไป.

สมัยต่อมา คนเฝ้านาตายไปบังเกิดในห้องแก้วไพฑูรย์ ประดับ

ด้วยห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง ในวิมานทองเสาแก้วมณี ๑๒ โยชน์ ใน

สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อนึ่ง ที่ประตูของวิมานนั้น มีปูทองอยู่ในสาแหรก

แก้วมุกดา ซึ่งพิสูจน์ถึงกรรมตามที่สั่งสมไว้ ห้อยอยู่ ครั้งนั้น ท่านพระ-

มหาโมคคัลลานะไปในดาวดึงส์นั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วก่อน เห็นวิมาน

นั้นแล้ว ได้ถามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร มีเสาแก้วไพฑูรย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

ลาดด้วยเครื่องลาดที่ถูกใจ สวยงาม ท่านอยู่ ดื่ม

กิน ในวิมานนั้น มีพิณทิพย์บรรเลงไพเราะ มี

เบญจกามคุณ มีรสเป็นทิพย์ และเทพนารีแต่งองค์

ด้วยเครื่องทองฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร วรรณะ

ของท่านจึงเป็นเช่นนั้น เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึง

สำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่

ท่าน.

ดูก่อนเทวะผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรื่องอย่างนี้

และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรแม้นั้นได้พยากรณ์แก่พระเถระแล้ว เพื่อแสดงความนั้น

พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ปูทองมี

สิบขา ยืนอยู่ที่ประตู คอยเตือนสติให้ระลึก ( ถึง

กรรม) ได้สง่างาม เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้า

จึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า

และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า.

ข้าแก่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอบอกแก่

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ทำบุญใดไว้ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

บุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺจ ได้แก่ ขึ้นสูงไป. บทว่า

มณิถูณ ได้แก่ เสาแก้วมณีมีปัทมราคทับทิมเป็นต้น. บทว่า สมนฺตโต

ได้แก่ ทั้ง ๔ ด้าน. บทว่า รุจกตฺถตา ได้แก่ ลาดด้วยแผ่นทอง

บนพื้นที่นั้น ๆ.

บทว่า ปิวสิ ขาทสิ จ ท่านกล่าวหมายน้ำดื่มที่หอมและสุธาโภชน์

ที่ใช้ตามระยะกาล. บทว่า ปวทนฺติ แปลว่า บรรเลง. บทว่า ทิพฺพา

รสา กาม คุเณตฺถ ปญฺจ ความว่า เบญจกามคุณไม่น้อย มีรสเป็น

ทิพย์มีอยู่ในที่นี้ คือในวิมานของท่านนี้. บทว่า สุวณฺณฉนฺนา ได้แก่

ประดับด้วยอาภรณ์ทอง.

บทว่า สติสมุปฺปาทกโร ความว่า ทำให้เกิดสติ คือทำให้เกิด

สติในบุญกรรม ซึ่งเป็นเหตุให้ข้าพเจ้าได้ทิพยสมบัตินี้ อธิบายว่า ทำให้

เกิดสติอย่างนี้ว่า เจ้าได้สมบัตินี้เพราะถวายอาหารรสปู. บทว่า นิฏฺิโต

ชาตรูปสฺส ได้แก่ สำเร็จแล้วด้วยทอง ชื่อว่า ชาตรูปมยะ ปูชื่อว่า

มีขา ๑๐ เพราะปูนั้นมีขา ๑๐ แบ่งเป็นข้างละ ๕ อยู่ที่ประตูย่อมสง่างาม

ปูนั้นแหละประกาศบุญกรรมของข้าพเจ้า แก่เหล่าท่านผู้แสวงหาคุณใหญ่

เช่นท่าน อธิบายว่า ในเรื่องนี้ ไม่มีคำที่ข้าพเจ้าจะต้องพูด ด้วยเหตุนั้น

เทพบุตรจึงกล่าวว่า เตน เม ตาทิโส วณฺโณ เป็นต้น. คำที่เหลือมี

นัยดังกล่าวนาแล้วนั้นแล.

จบอรรถกถากักกฏกรสทายกวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

๕. ทวารปาลกวิมาน

ว่าด้วยทวารปาลกวิมาน

วิมานที่ ๕ ต่อจากนี้ พึงให้พิสดารเหมือนกักกฏวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๕๕] วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร ฯ ล ฯ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า พันปี

ทิพย์เป็นอายุของข้าพเจ้า มีการขับกล่อมด้วยวาจา

ให้เป็นไปด้วยใจ ผู้ทำบุญไว้จักดำรงอยู่ได้ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ มีความพรั่งพร้อมด้วยกามอันเป็นทิพย์

เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ ฯ ลฯ

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบทวารปาลกวิมาน

อรรถกถาทวารปาลกวิมาน

ทวารปาลกวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิท มณิถูณ เป็นต้น. ทวาร-

ปาลกวิมานเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ถวายนิจภัต ๔ ที่แด่พระสงฆ์ เรือน

ของเขาอยู่ท้ายหมู่บ้าน โดยมากต้องปิดประตู เพราะกลัวพวกโจร ภิกษุ

ทั้งหลายไปแล้ว บางคราวไม่ได้ภัตก็พากันกลับ เพราะประตูปิด อุบาสก

กล่าวกะภริยาว่า ที่รัก เธอถวายภิกษาแด่พระคุณเจ้าทั้งหลายโดยเคารพ

หรือ ภริยากล่าวว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายไม่ได้มาหลายวันแล้ว เพราะ

เหตุไร เห็นจะเป็นเพราะประตูปิด อุบาสกได้ฟังดังนั้น สลดใจจึงแต่ง

ตั้งบุรุษคนหนึ่งให้เป็นคนเฝ้าประตู สั่งว่า ตั้งแต่วันนี้ไป ท่านจงนั่งเฝ้า

ประตู พระคุณเจ้าทั้งหลายมาเวลาใด จงนิมนต์ท่านให้เข้าเรือนเวลานั้น

แล้วจงรู้กิจที่ต้องจัดต้องทำทั้งปวง มีรับบาตรและปูลาดอาสนะเป็นต้น

แก่พระคุณเจ้าผู้เข้าเรือนแล้ว บุรุษนั้นรับคำว่า สาธุ เมื่อการทำตามสั่ง

ได้ฟังธรรมในสำนักของภิกษุทั้งหลาย เกิดศรัทธาเชื่อกรรมและผลแห่ง

กรรม ตั้งอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย ได้บำรุงภิกษุทั้งหลายโดยเคารพ.

เวลาต่อมา อุบาสกผู้ถวายนิจภัตตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นยามะ

ฝ่ายคนเฝ้าประตูบำรุงภิกษุทั้งหลายโดยเคารพ เกิดขึ้นในสวรรค์ชั้นดาว-

ดึงส์ เพราะทำความขวนขวายในการบริจาคของผู้อื่น และเพราะ

อนุโมทนา สมบัติทุกอย่างมีวิมานทอง ๑๒ โยชน์ เป็นต้นของเขา พึง

ทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในกักกฏวิมานนั่นแล. คาถาที่แสดงคำถามและ

คำตอบ มีมาอย่างนี้

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร มีเสาแก้ว

ไพฑูรย์ ลาดด้วยเครื่องลาดที่ชอบใจ สวยงาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

ท่านอยู่ ดื่ม กิน ในวิมานนั้น มีพิณทิพย์บรรเลง

ไพเราะ มีเบญจกามคุณ มีรสเป็นทิพย์ และเทพนารี

แต่งองค์ด้วยเครื่องประดับทองฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญ

อะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญ

อะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่าง

ที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทวะผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า พันปีทิพย์

เป็นอายุของข้าพเจ้า มีการขับกล่อมด้วยวาจา ให้เป็น

ไปด้วยใจ ผู้ทำบุญไว้จักดำรงอยู่ได้ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้ มีความพรั่งพร้อมด้วยกามอันเป็นทิพย์ เพราะ

บุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนั้น ฯ ล ฯ

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพ มม วสฺสสหสฺสมายุ ความว่า

ตนเองเกิดในเทพหมู่ใด กล่าวประมาณอายุของเทพหมู่นั้น คือเทวดา

ในชั้นดาวดึงส์ ด้วยว่าร้อยปีโดยการนับปีของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นคืนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

วันหนึ่ง (ของสวรรค์) สามสิบราตรีโดยราตรีนั้น เป็นเดือนหนึ่ง

สิบสองเดือนโดยเดือนนั้น เป็นปีหนึ่ง พันปีโดยปีนั้นเป็นอายุ อายุนั้น

สามโกฏิหกล้านปี โดยการนับของมนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า วาจาภิคีต

ได้แก่ ขับกล่อมด้วยวาจา คือเพียงกล่าวด้วยวาจาว่า มากันเถิด พระผู้

เป็นเจ้าทั้งหลาย อาสนะปูลาดแล้วในที่นี้ ขอท่านทั้งหลายโปรดนั่งเหนือ

อาสนะนี้เถิด เป็นต้น และด้วยวาจาเป็นการปฏิสันถารว่า ร่างกายของ

พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่มีโรคหรือ ที่อยู่สบายดีหรือ เป็นต้น. บทว่า

มนสา ปวตฺติต ความว่า เพียงความเลื่อมใสที่ให้เป็นไปด้วยใจว่า

พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้เป็นผู้น่ารัก เป็นผู้ประพฤติธรรม เป็นผู้ประพฤติ

สมถะ เป็นพรหมจารี เป็นต้น แต่ไม่แสดงว่า ของบริจาคบางอย่าง

อันเป็นสมบัติของข้าพเจ้า มีอยู่. บทว่า เอตฺตาวตา ได้แก่ ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ คือเพียงกล่าวและเพียงเลื่อมใสอย่างนี้. บทว่า สฺสติ

ปุญฺกมฺโม ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้ทำบุญไว้ จักตั้งอยู่ คือจักเป็นไป

นาน ในเทวโลก อธิบายว่า เมื่อตั้งอยู่ เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกามอัน

เป็นทิพย์ คือเป็นผู้พรั่งพร้อมคือประกอบด้วยเบญจกามคุณอันเป็นทิพย์

โดยทำนองเป็นของใช้สอย สำหรับเทวดาทั้งหลายในหมู่เทพนั้นแหละ

บำรุงบำเรออินทรีย์อยู่. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

จบอรรถกถาทวารปาลกวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

๖. ปฐมกรณียวิมาน

ว่าด้วยปฐมกรณียวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๕๖] วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร ฯ ล ฯ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า บัณฑิตผู้รู้

แจ้งพึงกระทำบุญทั้งหลาย ในพระพุทธเจ้าผู้เสด็จ

ไปแล้วโดยชอบ ซึ่งเป็นเขตที่ถวายทานแล้วมีผลมาก

ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ว่า พระพุทธเจ้า

เสด็จจากป่ามาสู่บ้านเพื่อประโยชน์แก่เราหนอ จึง

เข้าถึงดาวดึงส์ เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้า

จึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่

ข้าพเจ้า ฯ ล ฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่าง

ไสวไปทุกทิศ.

จบปฐมกรณียวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

อรรถกถาปฐมกรณียวิมาน

ปฐมกรณียวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิท มณิถูณ เป็นต้น. ปฐม-

กรณียวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี

สมัยนั้น อุบาสกชาวสาวัตถีคนหนึ่ง ถือเครื่องอุปกรณ์อาบน้ำไปแม่น้ำ

อจิรวดี กำลังเดินมา เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าบิณฑบาตยังกรุง

สาวัตถี เข้าไปถวายบังคมแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ใครนิมนต์แล้วหรือยัง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดุษณี อุบาสกนั้นทราบว่า

ยังไม่มีใครนิมนต์ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอนิมนต์พระผู้มี-

พระภาคเจ้าโปรดอนุเคราะห์รับภัตตาหารของข้าพระองค์เถิด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ อุบาสกนั้นดีใจ นำพระผู้มี-

พระภาคเจ้าไปเรือน ปูลาดอาสนะที่สมควรแก่พระพุทธเจ้า แล้วนิมนต์

พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประทับนั่งบนอาสนะนั้น เลี้ยงดูจนอิ่มหนำด้วยข้าว

น้ำอันประณีต พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ทรงทำอนุโมทนาแก่

อุบาสกนั้น เสด็จหลีกไป เรื่องที่เหลือเช่นกับวิมานกล่าวมาติด ๆ กัน

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบมีห้อง

รโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร มีเสาแก้วไพฑูรย์ ลาด

ด้วยเครื่องลาดที่ชอบใจ สวยงาม ท่านนั่งดื่มกิน ใน

วิมานนั้น มีพิณทิพย์บรรเลงไพเราะ มีเบญจกามคุณ

มีรสเป็นทิพย์ และเทพนารีแต่งองค์ด้วยอาภรณ์ทอง

ฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

เช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และ

โภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทวะผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า บัณฑิต

ผู้รู้แจ้งพึงกระทำบุญทั้งหลายในพระพุทธเจ้าผู้เสด็จ

ไปแล้วโดยชอบ ซึ่งเป็นเขตที่ถวายทานแล้วมีผล

มาก ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ว่า พระ-

พุทธเจ้าเสด็จจากป่ามาสู่บ้านเพื่อประโยชน์แก่เรา

หนอ จึงเข้าถึงดาวดึงส์ เพราะบุญนั้น วรรณะของ

ข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จ

แก่ข้าพเจ้า และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่

ข้าพเจ้า.

ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิเตน ได้แก่ ผู้มีปัญญา. บทว่า

วิชานตา ได้แก่ รู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของตน. บทว่า สมฺมคฺคเตสุ

ได้แก่ ผู้ปฏิบัติโดยชอบ. บทว่า พุทฺเธสุ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

บทว่า อตฺถาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์ อีกอย่างหนึ่ง เพื่อความ

เจริญ. บทว่า อรญฺา ได้แก่ จากวิหาร ท่านกล่าวหมายถึงพระ-

เชตวัน . บทว่า ตาวตึสูปโค ความว่า เข้าถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์ หรือ

ภพชั้นดาวดึงส์ โดยอุบัติ. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาปฐมกรณียวิมาน

๗. ทุติยกรณียวิมาน

ว่าด้วยทุติยกรณียวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๕๗] วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร ฯ ล ฯ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า บัณฑิต

ผู้รู้แจ้งพึงกระทำบุญทั้งหลายในภิกษุทั้งหลายผู้ไป

แล้วโดยชอบ ซึ่งเป็นเขตที่ถวายทานแล้วมีผลมาก

ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุ

ทั้งหลายจากป่ามาสู่บ้านเพื่อประโยชน์แก่เราหนอ จึง

เข้าถึงดาวดึงส์ เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึง

เป็นเช่นนี้ ฯ ลฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสว

ไปทุกทิศ.

จบทุติยกรณียวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

อรรถกถาทุติยกรณียวิมาน

วิมานที่ ๗ อย่างเดียวกับวิมานที่ ๖ ในวิมานที่ ๖ นั้น อุบาสก

ถวายอาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเดียว แต่ในวิมานที่ ๗ นี้ ถวาย

แด่พระเถระรูปหนึ่ง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นและ. เพราะเหตุนั้น

พระธรรมสังคาหกาจารย์จงกล่าวว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร มีเสาแก้วไพฑูรย์

ลาดด้วยเครื่องลาดที่ชอบใจ สวยงาม ท่านนั่งดื่มกิน

ในวิมานนั้น มีพิณทิพย์บรรเลงไพเราะ มีเบญจ-

กามคุณ มีรสเป็นทิพย์ และเทพนารีแต่งองค์ด้วย

อาภรณ์ทอง ฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร วรรณะของ

ท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จ

แก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทวะผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า บัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

ผู้รู้แจ้งพึงกระทำบุญทั้งหลาย ในภิกษุทั้งหลายผู้ไป

แล้วโดยชอบ ซึ่งเป็นเขตที่ถวายทานแล้วมีผลมาก

ข้าพเจ้าทำจิตให้เลื่อมใสในภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุทั้ง-

หลายจากป่ามาสู่บ้าน เพื่อประโยชน์แก่เราหนอ จึง

เข้าถึงดาวดึงส์ เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึง

เป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า

และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า.

ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

จบอรรถกถาทุติยกรณียวิมาน

๘. ปฐมสูจิวิมาน

ว่าด้วยปฐมสูจิวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๕๘] วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร ฯ ล ฯ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ให้สิ่งใด

สิ่งนั้นไม่มีผล พึงให้สิ่งใด สิ่งนั้นประเสริฐกว่า

ข้าพเจ้าถวายเข็ม เข็มนั้นแลประเสริฐกว่า เพราะ

บุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ

วรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบปฐมสูจิวิมาน

อรรถกถาปฐมสูจิวิมาน

ปฐมสูจิวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิท มณิถูณ เป็นต้น. ปฐมสูจิวิมาน

นั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรจะต้องทำจีวรและมีความต้องการเข็ม ท่านจึง

เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของช่างทอง ช่าง

ทองเห็นดังนั้น จึงกล่าวว่า ต้องการอะไร เจ้าข้า พระสารีบุตรตอบว่า

มีจีวรกรรมที่ต้องทำ ต้องการเข็ม ช่างทองมีใจเลื่อมใส ถวายเข็มสองเล่ม

ที่ทำไว้เรียบร้อย กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อต้องการเข็มอีก โปรดบอก

กระผมเถิด แล้วไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ พระเถระอนุโมทนาแก่เขา

แล้วหลีกไป กาลต่อมา ช่างทองนั้นตายไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวเทวจาริกถามเทพบุตรนั้น

ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร มีเสาแก้วไพฑูรย์

ลาดด้วยเครื่องลาดที่ชอบใจ สวยงาม ท่านนั่งดื่มกิน

ในวิมานนั้น มีพิณทิพย์บรรเลงไพเราะ มีเบญจ-

กามคุณ มีรสเป็นทิพย์ และเทพนารีแต่งองค์ด้วย

อาภรณ์ทอง ฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร วรรณะของ

ท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จ

แก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทวะผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

จึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ให้สิ่งใด

สิ่งนั้นไม่มีผล พึงให้สิ่งใด สิ่งนั้นประเสริฐกว่า

ข้าพเจ้าถวายเข็ม เข็มนั่นแลประเสริฐกว่า เพราะ

บุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า.

ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอบอกแก่

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ททาติ ความว่า ให้ไทยธรรม

เช่นใด. บทว่า น ต โหติ ความว่า ไทยธรรมเช่นนั้นแลของเขาไม่มีผล

ไทยธรรมย่อมมีผลไพบูลกว่านั้น คือโอพารกว่าทีเดียว ด้วยเขตสมบัติ

( ผู้รับ ) ด้วย ด้วยจิตสมบัติ ( ตั้งใจ ) ด้วย โดยแท้แล ฉะนั้น. บทว่า

ยญฺเจว ทชฺชา ตญฺเจว เสยฺโย ความว่า พึงให้ คือพึงถวายสิ่งที่มีอยู่

อย่างใดอย่างหนึ่งนั่นแหละ การให้นั้นประเสริฐกว่า คือการถวายไทย

ธรรมที่ไม่มีโทษอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นแล ประเสริฐกว่า เพราะเหตุไร

เพราะข้าพเจ้าถวายเข็ม เข็มนั่นแลประเสริฐกว่า คือการถวายเข็มของข้าพเจ้า

นั่นแหละประเสริฐกว่า อธิบายว่า เพราะข้าพเจ้าได้สมบัติเช่นนี้ แล.

จบอรรถกถาปฐมสูจิวิมาน

๙. ทุติยสูจิวิมาน

ว่าด้วยทุติยสูจิวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๕๙] วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร ฯล ฯ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ในชาติ

ก่อน ข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์ อยู่ในหมู่มนุษย์ ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

มนุษยโลก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุปราศจากกิเลสมลทิน

ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ก็เลื่อมใส ได้ถวายเข็มแด่ภิกษุ

นั้นด้วยมือของตน เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้า

จึงเป็นเช่นนี้ ฯ ล ฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่าง

ไปทุกทิศ.

จบทุติยสูจิวิมาน

อรรถกถาทุติยสูจิวิมาน

ทุติยสูจิวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิท มณิถูณ เป็นต้น. ทุติยสูจิวิมาน

เกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น ช่างเย็บชาวราชคฤห์คนหนึ่งมุ่งไปวิหาร ก็ไปถึงพระวิหารเวฬุวัน

ในพระเวฬุวันนั้น เขาเห็นภิกษุรูปหนึ่งกำลังเย็บจีวรด้วยเข็มที่ทำกันเองใน

พระเวฬุวัน จึงได้ถวายเข็มหลายเล่มพร้อมกล่องเข็ม. คำที่เหลือทั้งหมดมี

นัยดังกล่าวมาแล้วนั่นแล.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ห้อง โอฬาร มีเสาแก้วไพฑูรย์

ลาดด้วยเครื่องลาดที่ชอบใจ สวยงาม ท่านนั่งดื่มกิน

ในวิมานนั้น มีพิณทิพย์บรรเลงไพเราะ มีเบญจ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

กามคุณ มีรสเป็นทิพย์ และเทพนารีแต่งองค์ด้วย

อาภรณ์ทองฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร วรรณะของ

ท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันจึงสำเร็จ

แก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทวะผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

จึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ในชาติ

ก่อน ข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์ อยู่ในหมู่มนุษย์ใน

มนุษยโลก ข้าพเจ้าได้เห็นภิกษุปราศจากกิเลสมลทิน

ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว ก็เลื่อมใส ได้ถวายเข็มแด่ภิกษุนั้น

ด้วยมือของตน เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึง

เป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า

และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า.

ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

คำทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาทุติยสูจิวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

๑๐. ปฐมนาควิมาน

ว่าด้วยปฐมนาควิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๖๐] ท่านเมื่อขึ้นช้างตัวเผือกผ่อง ไม่มีตำหนิ

มีงา มีพลัง เร็วมาก ก็ขับขี่ช้างประเสริฐที่ตกแต่ง

ไว้งาม เหาะเหินในอากาศมา ณ ที่นี้ ที่งาทั้งสอง

ของช้าง เนรมิตสระปทุมมีน้ำใส มีดอกปทุมบาน

สะพรั่ง ในดอกปทุมทั้งหลายมีคณะเทพดนตรี

บรรเลงอยู่ และมีเหล่าเทพอัปสรที่งามจับใจฟ้อนรำ

อยู่ ท่านบรรลุเทพฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ครั้งเกิด

เป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่าน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

เลื่อมใส ยกดอกไม้กำแปดดอกขึ้นบูชาที่พระสถูป

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ด้วยมือ

ตนเอง เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็น

เช่นนี้ ฯ ล ฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสว

ไปทุกทิศ.

จบปฐมนาควิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

อรรถกถาปฐมนาควิมาน

ปฐมนาควิมาน มีคาถาว่า สุสุกฺกขนฺธ อภิรุยฺห นาค เป็นต้น.

ปฐมนาควิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี

สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวเทวจาริก ตามนัยที่กล่าวแล้ว

ในหนหลังนั่นแล ไปถึงภพดาวดึงส์ ได้เห็นเทพบุตรองค์หนึ่งในดาวดึงส์

นั้น ขี่ช้างทิพย์ใหญ่เผือกปลอดไปทางอากาศ ด้วยบริวารเป็นอันมาก

ด้วยทิพยานุภาพยิ่งใหญ่ สว่างไสวไปทุกทิศ เหมือนพระจันทร์และพระ-

อาทิตย์ ครั้นเห็นแล้วจึงเข้าไปหาเทพบุตรนั้น ครั้งนั้น เทพบุตรนั้นลง

จากช้าง กราบท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ยืนประคองอัญชลีอยู่.

ลำดับนั้น พระเถระได้ถามถึงกรรมที่ทำไว้ โดยมุ่งประกาศสมบัติ

ของเทพบุตรนั้นว่า

ท่านเมื่อขึ้นช้างตัวเผือกผ่อง ไม่มีตำหนิ มีงา

มีพลัง เร็วมาก ก็ขับขี่ช้างประเสริฐที่ตกแต่งไว้งาม

เหาะเหินในอากาศมา ณ ที่นี้ ที่งาทั้งสองของช้าง

เนรมิตสระปทุมมีน้ำใส มีดอกปทุมบานสะพรั่ง ใน

ดอกปทุมทั้งหลายมีคณะเทพดนตรีบรรเลงอยู่ และ

มีเหล่าเทพอัปสรที่งามจับใจฟ้อนรำอยู่ ท่านบรรลุ

เทพฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่าน

ได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

รุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไป

ทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสุกฺกขนฺธ ได้แก่ มีตัวเผือกดี

ช้างเชือกนั้นเว้นอวัยวะเพียงเท่านี้ คือ เท้าทั้งสี่ อัณฑะ ปาก หูทั้งสอง

ขนหาง มีตัวเผือกหมดก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็กล่าวว่า สุสุกฺกขนฺธ

เพราะที่ลำตัวเผือกผ่องอย่างยิ่ง. บทว่า นาค ได้แก่ พระยาช้างทิพย์.

บทว่า อกาจิน ได้แก่ ไม่มีโทษ อธิบายว่า เว้นจากโทษของผิว

เป็นต้นว่า รอยด่าง รอยแผล และตกกระ บาลีเป็น อาชานีย ก็มี

อธิบายว่า ประกอบด้วยลักษณะของอาชาไนย. บทว่า ทนฺตึ ได้แก่

บรรดาช้างมีงาทั้งหลาย ก็เป็นช้างมีงางามไพบูลย์. บทว่า พลึ

แปลว่า มีกำลัง คือกำลังมาก. บทว่า มหาชว แปลว่า มีความเร็วยิ่ง

คือไปได้เร็ว. ในบทว่า อภิรุยฺห นี้ พึงทราบว่าลบนิคหิตอีก ความว่า

กำลังขึ้นอยู่ มีคำอธิบายว่า น่าขับขี่. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

เทพบุตรถูกพระเถระถามอย่างนี้แล้ว เมื่อกล่าวกรรมที่ตนทำ ได้

พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ข้าพเจ้าเลื่อมใส ยกดอกไม้กำแปดดอกขึ้น

บูชาที่พระสถูปของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

กัสสปะด้วยมือตนเอง เพราะบุญนั้น วรรณะของ

ข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จ

แก่ข้าพเจ้า และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่

ข้าพเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอบอก

แก่ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

คาถานั้นมีความว่า ข้าพเจ้าได้ดอกไม้แปดดอกที่หลุดจากขั้วหล่นที่

โคนกอ มีจิตเลื่อมใส จึงยกขึ้นบูชาโดยถือดอกไม้เหล่านั้นบูชาที่พระ-

สถูปทองโยชน์หนึ่ง ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ใน

ชาติก่อน.

เล่ากันว่า ในอดีตกาล เมื่อพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จ

ปรินิพพาน และมหาชนได้สร้างพระสถูปทองโยชน์หนึ่งแล้ว พระเจ้า

กาสีพระนามว่ากิงกิ พร้อมด้วยราชบริพาร ชาวนคร ชาวนิคม และชาว

ชนบท พากันบูชาด้วยดอกไม้ทุก ๆ วัน เมื่อคนเหล่านั้นกระทำอย่างนั้น

ดอกไม้จึงเป็นของมีค่ามากและหายาก ครั้งนั้น อุบาสกคนหนึ่งเที่ยวไป

ในถนนช่างร้อยดอกไม้ หาซื้อดอกไม้ดอกละหนึ่งกหาปณะก็ไม่ได้ จึง

ถือเงินแปดกหาปณะไปสวนดอกไม้ กล่าวกะนายมาลาการว่า โปรดมอบ

ดอกไม้แปดดอกแลกกับเงินแปดกหาปณะนี้นะจ๊ะ นายมาลาการกล่าวว่า

นายจ๋า ดอกไม้ที่จะเลือกคัดเอาแต่ที่ดี ๆ ให้ไป ไม่มีเลยจ้ะ. ฉันจะเข้าไป

ดูแล้วเลือกเอานะจ๊ะ. เชิญเข้าสวนหาเอาเองเถิดจ้ะ. อุบาสกนั้นเข้าไปหา

ได้ดอกไม้ร่วงแปดดอก จึงกล่าวกะนายมาลาการว่า โปรดรับแปดกหาปณะ

ไปเถิด พ่อคุณ นายมาลาการกล่าวว่า ท่านได้ดอกไม้ด้วยบุญของท่าน

ฉันรับกหาปณะไม่ได้ดอก อุบาสกกล่าวว่า ฉันจักไม่รับเอาดอกไม้

ทั้งหลายเปล่า ๆ ไปบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ดอกจ้ะ แล้ววางกหาปณะไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

ตรงหน้าเขา รับเอาดอกไม้ไปลานพระเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสบูชาแล้ว กาล

ต่อมา อุบาสกนั้นตายไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในดาวดึงส์นั้นชั่ว

กำหนดอายุ จากเทวโลกเกิดในเทวโลกสูงขึ้นไปอีก เที่ยวไปเที่ยวมาอยู่

ในเทวโลกทั้งหลายอย่างนี้ ในพุทธุปบาทกาลแม้นี้ เกิดในภพดาวดึงส์

ด้วยเศษวิบากของกรรมนั้นแล. คำว่า ตตฺถ อทฺทส อญฺตร เทวปุตฺต

เป็นต้นที่กล่าวแล้วในหนหลัง หมายถึงเทพบุตรนั้น.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกลับมามนุษยโลก กราบทูลเรื่องนี้นั้น

ถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุป-

ปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงแสดงธรรมโปรดบริษัทที่ประชุมกันโดยพิสดาร

เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชนแล.

จบอรรถกถาปฐมนาควิมาน

๑๑. ทุติยนาควิมาน

ว่าด้วยทุติยนาควิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๖๑] ท่านขี่ช้างใหญ่เผือกปลอดเป็นช้างอุดม

แวดล้อมไปด้วยหมู่อัปสร เที่ยวไปตามอุทยานต่าง ๆ

ทำให้สว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ

บุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

เกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นอุบาสกของพระผู้

มีจักษุ เป็นผู้งดเป็นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทิน-

นาทานในโลก ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่กล่าวเท็จ และยินดี

ด้วยภริยาของตน มีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าวน้ำ

ได้ถวายทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ เพราะบุญนั้น

วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ ฯ ล ฯ และวรรณะ

ของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบทุติยนาควิมาน

อรรถกถาทุติยนาควิมาน

ทุติยนาควิมาน มีคาถาว่า มหนฺต นาค อภิรุยฺห เป็นต้น. ทุติยนาค

วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น อุบาสกคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ เป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใสตั้งอยู่

ในศีล ๕ สมาทานอุโบสถศีลในวันอุโบสถ เวลาก่อนอาหาร ถวายทาน

แด่ภิกษุทั้งหลาย ทามสมควรแก่สมบัติของตน แล้วจึงบริโภคเอง นุ่งห่ม

ผ้าสะอาด เวลาหลังอาหาร โดยมากให้คนถือน้ำอัฐบานไปวิหาร มอบ

ถวายแด่ภิกษุสงฆ์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังธรรม เขา

สั่งสมสุจริตมากทั้งด้านทานและด้านศีล โดยเคารพด้วยอาการอย่างนี้ จุติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

จากภพนี้ เกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ช้างทิพย์ใหญ่เผือกปลอด ได้

ปรากฏด้วยบุญญานุภาพของเขา เขาขี่ช้างนั้นไปเล่นอุทยานเสมอ ๆ ด้วย

บริวารเป็นอันมาก ด้วยทิพยานุภาพยิ่งใหญ่.

ภายหลังวันหนึ่ง เทพบุตรนั้นถูกความกตัญญูเตือน เวลาเที่ยงคืน

ขี่ช้างทิพย์นั้นมาจากเทวโลกด้วยบริวารใหญ่ ด้วยหวังว่า จักถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า เปล่งรัศมีสว่างทั่วพระเวฬุวัน ลงจากคอช้าง เข้าไป

เฝ้าถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนประคองอัญชลีอยู่ ณ ที่สมควร

ส่วนหนึ่ง ท่านพระวังคีสะยืนอยู่ใกล้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ขอ

อนุญาตพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ถามเทพบุตรนั้น ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ท่านขี่ช้างใหญ่เผือกปลอดเป็นช้างอุดม แวด-

ล้อมไปด้วยหมู่อัปสร เที่ยวไปตามอุทยานต่าง ๆ

ทำให้สว่างไปทุกทิศ เหมือนดาวประกายพรึก เพราะ

บุญอะไร วรรณะของท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญ

อะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะทุกอย่าง

ที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทวะผู้มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์

ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมี

อานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่านจึงสว่าง

ไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรแม้นั้นถูกถามอย่างนั้นแล้ว ได้พยากรณ์แก่ท่านพระวังคีสะ

นั้นด้วยคาถาหลายคาถาอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์

ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระวังคีสะถามแล้ว ก็

พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

เกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ได้เป็นอุบาสกของพระผู้

มีจักษุ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจาก

อทินนาทานในโลก ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่กล่าวเท็จ และ

ยินดีด้วยภริยาของตน มีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าว

น้ำได้ถวายทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ เพราะบุญนั้น

วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผล

อันนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก

จึงเกิดแก่ข้าพเจ้า.

ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์

ข้าพเจ้าได้ทำบุญใดไว้ เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึง

มีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของข้าพเจ้าจึง

สว่างไสวไปทุกทิศ.

ในเรื่องนั้น ไม่มีเรื่องที่ไม่เคยมี คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วใน

หนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาทุติยนาควิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

๑๒. ตติยนาควิมาน

ว่าด้วยตติยนาควิมาน

บุรุษผู้เป็นบัณฑิตถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๖๒] ใครหนอมีช้างเผือกปลอดเป็นยานทิพย์

มีดนตรีประโคมกึกก้อง เขาฉลองกันอยู่ในอากาศ

ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะผู้ให้

ทานในกาลก่อน พวกเราไม่รู้ ขอถามท่าน พวกเรา

จะรู้จักท่านได้อย่างไร.

เทพบุตรกล่าวว่า

เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าว

สักกะผู้ให้ทานในกาลก่อน ข้าพเจ้าเป็นเทพองค์หนึ่ง

ในบรรดาเหล่าเทพที่ชื่อสุธัมมา.

บุรุษผู้เป็นบัณฑิตถามว่า

เราทั้งหลายกระทำอัญชลีกรรมอย่างใหญ่ ขอ

ถามเทพพวกสุธัมมา คนทำกรรมอะไรในมนุษยโลก

จึงจะเข้าถึงเทพพวกสุธัมมา.

เทพบุตรกล่าวว่า

ผู้ใดถวายอาคารอ้อย อาคารหญ้า และอาคาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

ผ้า หรือถวายอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสามอย่างนั้น

ผู้นั้นย่อมเข้าถึงเทพพวกสุธัมมา.

จบตติยนาควิมาน

อรรถกถาตติยานาควิมาน

ตติยนาควิมาน มีคาถาว่า โก นุ ทิพฺเพน ยาเนน เป็นต้น.

ตติยนาควิมานเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น พระเถระขีณาสพ ๓ องค์ เข้าจำพรรษาในอาวาสใกล้หมู่บ้าน

ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้ว พระเถระเหล่านั้นประสงค์จักถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเดินทางมุ่งกรุงราชคฤห์ ในระหว่างทาง ถึงที่

ใกล้ไร่อ้อยของพราหมณ์มิจฉาทิฏฐิ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในเวลาเย็น

ถามคนเฝ้าอ้อยว่า พ่อคุณ วันนี้อาจถึงกรุงราชคฤห์ไหน คนเฝ้าอ้อย

กล่าวว่า ไม่อาจดอก ขอรับ กรุงราชคฤห์อยู่ห่างจากที่นี้กึ่งโยชน์ นิมนต์

ท่านทั้งหลายอยู่ในที่นี้แหละ พรุ่งนี้ค่อยไป พระเถระถามว่า พ่อคุณ

ที่นี้มีอะไร ๆ ที่พอจะทำเป็นที่อยู่ได้บ้างเล่า. ไม่มี ขอรับ แต่กระผมจัก

จัดที่อยู่ถวายพวกท่าน พระเถระทั้งสามรับนิมนต์.

คนเฝ้าอ้อยนั้นผูกท่อนไม้เป็นมณฑปกิ่งไม้ ในไร่อ้อยที่ยืนต้นอยู่

อย่างเดิมนั่นแหละ ใช้ใบอ้อยมุงข้างบน ลาดฟางข้างล่าง ถวายแด่พระ-

เถระองค์หนึ่ง เอาอ้อยสามลำผูกเป็นสังเขปว่าไม้สามเส้า แล้วมุงด้วยหญ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

ลาดพื้นด้วยหญ้า ถวายแด่พระเถระองค์ที่สอง นำไม้สองสามท่อนใน

กระท่อมของตนและกิ่งไม้ทั้งหลายแล้วคลุมด้วยจีวร ทำกลดถวายแด่พระ-

เถระอีกองค์หนึ่ง พระเถระเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น.

พอราตรีสว่าง ได้เวลา เขาหุงข้าว ถวายไม้สีฟันและน้ำล้างหน้า

แล้ว ถวายภัตตาหารกับน้ำอ้อย เมื่อพระเถระเหล่านั้นฉันแล้วอนุโมทนา

แล้ว กำลังจะไป เขาได้ถวายอ้อยองค์ละลำ ด้วยกล่าวว่า จักเป็นส่วนของ

กระผม เขาไปส่งพระเถระสิ้นระยะทางหน่อยหนึ่งแล้วก็กลับ เสวยปีติ

โสมนัสอย่างโอฬาร ปรารภการช่วยขวนขวายและทานของตน กลับบ้าน.

ฝ่ายเจ้าของไร่เดินมาสวนทางกับภิกษุ ที่กำลังเดินไป ถามภิกษุ

ทั้งหลายว่า ได้อ้อยมาแต่ไหน ภิกษุทั้งหลายตอบว่า คนเฝ้าอ้อยถวาย

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นก็โกรธ ไม่พอใจ ฮึดฮัดอยู่ ถูกความโกรธครอบงำ

วิ่งตามไปข้างหลังคนเฝ้าอ้อย เอาไม้ค้อนตีเขา ปลงชีพเขาด้วยการตี

ทีเดียวเท่านั้น คนเฝ้าอ้อยระลึกถึงบุญกรรมที่ตนทำไว้นั่นแหละ ตายไป

บังเกิดในสุธัมมาเทวสภา ช้างพลายทิพย์ตัวประเสริฐ ใหญ่ เผือกปลอด

บังเกิดด้วยบุญญานุภาพของเขา.

บิดามารดาและญาติมิตรของเขา ได้ข่าวทายของคนเฝ้าอ้อยแล้ว

น้ำตาอาบหน้าร้องไห้พากันไปยังที่นั้น และชาวบ้านทั้งหมดได้ประชุมกัน

บิดามารดาของเขาปรารภจะการทำฌาปนกิจตรงที่นั้น ในขณะนั้นเทพบุตร

นั้นขี่ช้างทิพย์ตัวนั้น แวดล้อมไปด้วยเทพผู้ชำนาญฉิ่งทั้งหมด มีดนตรี

เครื่อง ๕ บรรเลงอยู่ มาจากเทวโลกด้วยบริวารเป็นอันมาก ด้วยเทพฤทธิ์

ยิ่งใหญ่ ลอยอยู่ในอากาศปรากฏกายให้ที่ประชุมนั้นเห็น ครั้งนั้นบุรุษผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

เป็นบัณฑิตในที่นั้น ได้ถามเทพบุตรนั้นถึงบุญกรรมที่เขาทำไว้ ด้วยคาถา

เหล่านี้

ใครหนอมีช้างเผือกปลอดเป็นยานทิพย์ มี

ดนตรีประโคมกึกก้อง เขาฉลองกันอยู่ในอากาศ

ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะผู้ให้

ทานในกาลก่อน พวกเราไม่รู้ ขอถามท่าน พวกเรา

จะรู้จักท่านได้อย่างไร.

เทพบุตรแม้นั้นได้พยากรณ์ความนั้นแก่เขา ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าว

สักกะผู้ให้ทานในกาลก่อน ข้าพเจ้าเป็นเทพองค์หนึ่ง

ในบรรดาเหล่าเทพที่ชื่อสุธัมมา.

คนเป็นบัณฑิตถามแม้อีกว่า

เราทั้งหลายกระทำอัญชลีอย่างใหญ่ ขอถาม

เทพพวกสุธัมมา คนทำกรรมอะไรในมนุษยโลก จึง

จะเข้าถึงเทพพวกสุธัมมา.

เทพบุตรได้พยากรณ์อีกว่า

ผู้ใดถวายอาคารอ้อย อาคารหญ้า และอาคาร

ผ้า หรือถวายอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสามอย่างนั้น

ผู้นั้นย่อมเข้าถึงเทพพวกสุธมมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุริยตาฬิตนิคฺโฆโส ได้แก่ กึกก้อง

ด้วยทิพยดนตรีเครื่อง ๕ ที่ประโคมแล้ว คือเสียงทิพยดนตรีที่บรรเลง

สำหรับตน. บทว่า อนฺตลิกฺเข มหิยฺยติ ความว่า ลอยอยู่ในอากาศ

มีบริวารมากที่อยู่ในอากาศนั่นแหละบูชาอยู่.

บทว่า เทวตานุสิ แปลว่า เป็นเทวดาหนอ ความว่า ท่านเป็น

เทวดาหรือหนอ. บทว่า คนฺธพฺโพ ความว่า เป็นเทพเป็นไปในพวก

คนธรรพ์เทพนักดนตรี. บทว่า อาทู สกฺโก ปุรินฺทโท ความว่า หรือ

ว่าเป็นท้าวสักกะ ที่ปรากฏว่า ปุรินททะ เพราะอรรถว่า ให้ทานใน

กาลก่อน อธิบายว่า หรือว่าเป็นท้าวสักกเทวราช อนึ่ง เมื่อความที่

ท้าวสักกะและคนธรรพ์ทั้งหลายเป็นเทวะแม้มีอยู่ ก็พึงทราบเทวศัพท์ในที่

นี้ว่า กล่าวถึงเทวะอื่นจากนั้น โดยโคพลิพัททนัย [ นัยอย่างสูง ] เพราะ

เทวะเหล่านั้นท่านกำหนดไว้แผนกหนึ่ง.

ครั้งนั้น เทพบุตรคิดว่า ธรรมดาคำตอบ จำต้องเข้ากันได้กับ

คำถาม เมื่อปฏิเสธความที่ตนเป็นเทวดาคนธรรพ์หรือท้าวสักกะ ที่พวก

เขาถามแล้ว จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่

ท้าวสักกะผู้ให้ทานในก่อน ข้าพเจ้าเป็นเทวดาองค์หนึ่งในบรรดาเทวดาที่

ชื่อสุธัมมา [ ประจำสุธัมมาเทวสภา ].

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นามฺหิ เทโว ความว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่

เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกะองค์ใดองค์หนึ่งที่ท่านสงสัย

ข้าพเจ้าเป็นเทวดาองค์หนึ่งในบรรดาเทวดาที่ชื่อสุธัมมา คือเป็นเทพหมู่

หนึ่งของทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ชื่อว่าเทวดาสุธัมมา โดยแท้แล อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า ได้ยินว่า คนเฝ้าอ้อยนั้นได้ฟังสมบัติของเทวดาเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

มาแล้ว จึงดังจิตมั่นอยู่ในสมบัติเหล่านั้นก่อน.

บทว่า ปุถุ แปลว่า ใหญ่ อธิบายว่า ทำให้บริบูรณ์ ก็คำนี้

ท่านกล่าวเพื่อแสดงกิริยาเคารพ.

เทพบุตรถูกถามถึงหมู่เทพสุธัมมา เมื่อบอกบุญที่ตนทำไว้ โดย

กำหนดสมบัติเท่าที่เห็นเท่านั้น เหมือนบอกนิมิตกิ้งก่า จึงกล่าวคาถาว่า

อุจฺฉาคาร เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณฺณมญฺตร ทตฺวา

ความว่า เทพบุตรกล่าวอย่างนี้ โดยถือเอานัยว่า แม้ถ้าข้าพเจ้าถวาย

อาคารสามหลังไซร้ ก็จะสำเร็จเนื้อความนี้ว่า หลังใดหลังหนึ่งในสามหลัง

คำที่เหลือ เข้าใจง่ายทั้งนั้น.

เทพบุตรนั้นตอบเนื้อความที่บุรุษบัณฑิตนั้นถามอย่างนี้แล้ว เมื่อ

ประกาศคุณพระรัตนตรัย ชื่นชมกับบิดามารดาแล้ว ก็กลับไปยังเทวโลก

มนุษย์ทั้งหลายฟังคำของเทพบุตรแล้ว เกิดความเลื่อมใสเป็นอันมากใน

พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ตระเตรียมเครื่องอุปกรณ์ให้ทานมากมาย

บรรทุกเต็มหลายเล่มเกวียนพากันไปพระวิหารเวฬุวัน ถวายมหาทานแด่

ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข กราบทูลเรื่องที่เป็นไปนั้นถวายพระ-

ศาสดา พระศาสดาตรัสเรื่องนั้นเป็นคำถามและคำตอบเหมือนอย่างนั้น

นั่นแหละ ทรงทำข้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงแสดง

ธรรมโดยพิสดาร ให้มนุษย์เหล่านั้นตั้งอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย คน

เหล่านั้นมีศรัทธาตั้งมั่น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กลับไปบ้าน

ของตนแล้ว ช่วยกันสร้างวิหาร ตรงที่ที่คนเฝ้าอ้อยตาย แล.

จบอรรถกถาตติยนาควิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

๑๓. จูฬรถวิมาน

ว่าด้วยจูฬรถวิมาน

พระมหากัจจายนเถระทูลถามพระกุมารว่า

[๖๓] ท่านสอดธนูไว้มั่น ยืนจ้องธนูไม้แก่น

อยู่ ท่านเป็นกษัตริย์ หรือราชกุมาร หรือเป็นพราน

ป่า.

พระกุมารตรัสตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นโอรสของพระ-

เจ้าอัสสกะ เที่ยวไปในป่า ข้าแต่ภิกษุ ข้าพเจ้าขอ

บอกนามของข้าพเจ้าแก่ท่าน คนทั้งหลายรู้จักข้าพเจ้า

ว่า สุชาต ข้าพเจ้าแสวงหาเนื้อจึงหยั่งลงสู่ป่าใหญ่

ไม่เห็นเนื้อ เห็นแต่ท่าน จึงได้ยินอยู่.

พระเถระทูลว่า

ท่านผู้มีบุญมาก ท่านมาดีแล้ว ท่านมาไม่เลว

เลย ท่านจงรับเอาน้ำจากที่นี้ล้างเท้าทั้งสองของท่าน

เถิด นี้เป็นน้ำดื่ม เย็น นำมาแต่ซอกเขา ท่าน

ราชโอรส ครั้นเสวยน้ำแล้ว โปรดเสด็จเข้าไป

ประทับนั่งบนสันถัดเถิด.

พระกุมารตรัสว่า

ข้าแต่พระมหามุนี วาจาของท่านงามหนอ น่า

ฟัง ไม่มีโทษ มีประโยชน์ ไพเราะ ท่านรู้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

โปรดกล่าวแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เถิด.

ท่านอยู่ในป่ายินดีอะไร ข้าแต่ท่านฤษีผู้ประ-

เสริฐสุด ท่านถูกถามแล้ว โปรดบอกที่เถิด พวก

ข้าพเจ้าพิจารณาคำของท่านแล้ว พึงประพฤติโดย

เอื้อเฟื้อ ซึ่งบทที่ประกอบด้วยอรรถและธรรม.

พระเถระทูลว่า

ดูก่อนกุมาร เราชอบใจการไม่เบียดเบียนสัตว์

ทั้งปวง การงดเว้นลักขโมย งดเว้นการประพฤติ

ล่วงเกิน งดเว้นดื่มน้ำเมา งดบาปธรรม ความ

ประพฤติสงบ ความเป็นพหูสูต ความเป็นคนกตัญญู

ธรรมเหล่านี้ กุลบุตรสรรเสริญในปัจจุบัน อันวิญญู-

ชนพึงสรรเสริญ ดูก่อนราชโอรส ท่านจงรู้เถิดว่า

อีกห้าเดือนข้างหน้า ท่านจักสิ้นพระชนม์ ท่าน

จงเปลื้องตนเถิด.

พระกุมารตรัสถามว่า

ข้าพเจ้าจะไปชนบทไหนหนอ จะทำกรรมอะไร

จะทำกิจของบุรุษอะไร ๆ หรือจะใช้วิชาอะไร จึง

จะไม่แก่ไม่ตาย.

พระเถระทูลว่า

ดูก่อนราชโอรส ไม่มีประเทศที่สัตว์ไปแล้ว

ไม่แก่ไม่ตาย ไม่มีกรรม วิชา และกิจของบุรุษ ที่

สัตว์ทำแล้วไม่แก่ไม่ตาย ผู้มีทรัพย์มาก มีโภคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

มาก แม้เหล่ากษัตริย์ครองแว่นแคว้น มีทรัพย์และ

ข้าวเปลือกมาก แม้ท่านเหล่านั้น ไม่แก่ไม่ตาย ก็

หาไม่.

ท่านที่เป็นนักศึกษา เป็นบุตรของชาวอันธกะ

และชาวเวณฑุ ผู้สามารถแกล้วกล้า ประหารฝ่าย

ปรปักษ์ แม้ท่านเหล่านั้น เสมอด้วยสิ่งยั่งยืนก็ต้อง

พินาศ ถึงอายุขัยสิ้นอายุ.

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร คนจัณฑาล

และปุกกุสะ และพวกชาติอื่น ๆ แม้คนเหล่านั้น

ไม่แก่ไม่ตาย หามีไม่ ท่านที่ร่ายมนต์พรหมจินดา

มีองค์ ๖ และท่านที่ใช้วิชาอื่น ๆ แม้ท่านเหล่านั้น

ไม่แก่ไม่ตาย หามีไม่ อนึ่ง พวกฤษี ผู้สงบ

สำรวมจิตบำเพ็ญตบะ แม้ท่านผู้บำเพ็ญตบะเหล่านั้น

ก็ต้องละทิ้งร่างกายไปตามกาล แม้พระอรหันต์

ทั้งหลายผู้อบรมตนแล้ว ทำกิจเสร็จแล้วไม่มีอาสวะ

สิ้นบุญและบาปแล้ว ก็ยังทอดทิ้งกายนี้.

พระกุมารตรัสว่า

ข้าแต่พระมหามุนี คาถาทั้งหลายของท่าน เป็น

สุภาษิต มีประโยชน์ ข้าพเจ้าเพ่งพินิจตามสุภาษิต

นั้นแล้ว และขอท่านโปรดเป็นสรณะ ของข้าพเจ้า

ด้วยเถิด.

พระเถระทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

ท่านจงอย่าถึงอาตมาเป็นสรณะเลย อาตมาถึง

พระมหาวีรศากยบุตรใดเป็นสรณะ ท่านจงถึงพระ-

มหาวีรศากยบุตรนั้นเป็นสรณะเถิด.

พระกุมารตรัสถามว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระศาสดาของท่านพระ-

องค์นั้น ประทับอยู่ในชนบทไหน แม้ข้าพเจ้าก็จักไป

เฝ้าพระชินะผู้หาบุคคลเปรียบมิได้.

พระเถระทูลว่า

พระศาสดาผู้เป็นบุรุษอาชาไนย มีพระสมภพ

แต่ราชสกุลพระเจ้าโอกกากราช ในชนบททิศ-

ตะวันออก แต่พระองค์เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว.

ราชโอรสตรัสว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็น

ศาสดาของท่านยังดำรงพระชนม์อยู่ ถึงไกลหลาย

พันโยชน์ ข้าพเจ้าก็จะไปเฝ้าใกล้ ๆ แต่เพราะ

พระศาสดาของท่านเสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้า

ขอถึงพระมหาวีระผู้เสด็จปรินิพพานแล้วเป็นสรณะ

ขอถึงพระพุทธเจ้า ทั้งพระธรรมอันยอดเยี่ยม ทั้ง

พระสงฆ์ ผู้เป็นสรณะของมนุษย์และเทวดา ว่าเป็น

สรณะ.

ข้าพเจ้าของดเว้นปาณาติบาตทันที ของดเว้น

อทินนาทานในโลก ไม่ดื่มน้ำเมา และไม่กล่าวเท็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

เป็นผู้ยินดีด้วยภริยาของตน.

พระเถระถามเทวบุตรว่า

พระอาทิตย์มีรัศมีมาก ส่องแสงไปในท้องฟ้า

ตามลำดับตลอดทิศ ประการไร ๆ รถใหญ่ของท่านนี้

ก็มีประการอย่างนั้น แผ่แสงไปโดยรอบกว้างร้อย

โยชน์ หุ้มด้วยแผ่นทองโดยรอบ คานรถนั้นวิจิตร

ด้วยแก้วมุกดาและแก้วมณี มีลายทองและเงินทำด้วย

แก้วไพฑูรย์ สร้างไว้อย่างดีสง่างาม งอนรถสร้างด้วย

แก้วไพฑูรย์ แอกรถวิจิตรด้วยแก้วทับทิม แม้ม้า

( เทียมรถ) ก็ประดับด้วยทองและเงินสง่างาม วิ่ง

เร็วทันใจ ท่านนั้นยืนสง่าอยู่ในรถทอง มีพาหนะ

เทียมม้าพันหนึ่ง ดังท้าวสักกะจอมทวยเทพ ดูราท่าน

ผู้มียศ อาตมาขอถามท่านผู้ชาญฉลาด ยศอัน

โอฬารนี้ท่านได้มาอย่างไร.

เทวบุตรตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญู ข้าพเจ้าเป็นราชโอรส ชื่อ

สุชาตในชาติก่อน และท่านได้อนุเคราะห์ให้ข้าพเจ้าได้

ตั้งอยู่ในสัญญมะ ท่านทราบว่าข้าพเจ้าหมดอายุ ได้

มอบพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดา ด้วยกล่าวว่า

ดูก่อนสุชาต เธอจงบูชาพระบรมสารีริกธาตุนี้ การ

บูชานั้นจักเป็นประโยชน์แก่เธอเอง ข้าพเจ้าได้ขวน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

ขวายบูชาพระบรมสารีริกธาตุนั้นด้วยของหอมและ

ดอกไม้ทั้งหลาย ครั้นละร่างมนุษย์แล้ว ได้เข้าถึง

นันทนอุทยาน มีอัปสรห้อมล้อม รื่นรมย์ด้วยการ

ฟ้อนรำขับร้องอยู่ในนันทนอุทยานอันน่าร่มรื่น ประ-

กอบด้วยฝูงปักษานานาพรรณ.

จบจูปรถวิมาน

อรรถกถาจูฬรถวิมาน

จูฬรถวิมาน มีคาถาว่า ทฬฺหธมฺมา นิสารสฺส เป็นต้น. จูฬรถ-

วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมด้วยแบ่งพระ-

บรมธาตุ สถาปนาพระสถูปสำหรับพระศาสดาไว้ในที่นั้น ๆ เมื่อพระสาวก

ที่ได้คัดเลือกเพื่อสังคายนาพระธรรม มีพระมหากัสสปเถระเป็นประมุข

อยู่ในที่นั้น ๆ กับบริษัทของตน ๆ ด้วยเห็นแก่เวไนยสัตว์ จนถึงวัน

เข้าพรรษา ท่านพระมหากัจจายนะอยู่ในเขตป่าแห่งหนึ่ง ในปัจจันต-

ประเทศ สมัยนั้น พระเจ้าอัสสกราชครองราชสมบัติอยู่ในโปตลินคร

แคว้นอัสสกะ กุมารพระนามว่าสุชาต เป็นพระโอรสของอัครมเหสีของ

พระเจ้าอัสสกราชนั้น มีพระชนมายุได้ ๑๖ ปี ถูกพระบิดาเนรเทศจากแว่น

แคว้นเพราะยื้อแย่งราชสมบัติกับพระเทวีน้อย จึงเข้าป่า อาศัยพวกพราน

อยู่ในป่า เล่ากันมาว่า กุมารนั้นบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

พระนามว่ากัสสปะ ตั้งอยู่ในคุณเพียงศีล ตายอย่างปุถุชน บังเกิดในสวรรค์

ชั้นดาวดึงส์ อยู่ในดาวดึงส์นั้นชั่วอายุ เที่ยวไปเที่ยวมาอยู่ในสุคตินั้นแล

ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในครรภ์ของอัครมเหสี ของพระเจ้าอัสสกราช

ในแคว้นอัสสกะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ได้ ๓๐ ปี เขาได้มีนามว่า

สุชาต เจริญด้วยบริวารเป็นอันมาก.

เมื่อพระชนนีของสุชาตกุมารนั้นสิ้นพระชนม์แล้ว พระเจ้าอัสสกราช

ได้ตั้งราชธิดาองค์อื่นไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี ต่อมาพระนางได้ประสูติ

พระโอรส พระราชาทอดพระเนตรเห็นโอรสของพระนาง ก็ทรงเลื่อมใส

ได้ประทานพรว่า ที่รัก เจ้าจงถือเอาพรที่เจ้าปรารถนา พระนางทำเป็น

รับพรไว้แต่พักไว้ก่อน (ยังไม่กล่าวขอพร ) เมื่อสุชาตกุมารมีพระชันษา

ได้ ๑๒ พรรษา พระนางจึงกราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่พระองค์

พระองค์ทอดพระเนตรเห็นลูกของหม่อมฉันแล้วมีจิตเลื่อมใส ได้พระ-

ราชทานพรไว้ บัดนี้ขอพระองค์โปรดพระราชทานพรนั้นเถิด ตรัสว่า

จงรับเอาเถิดเทวี พระนางกราบทูลว่า ขอพระองค์โปรดพระราชทาน

ราชสมบัติแก่ลูกของหม่อมฉันนะเพคะ ตรัสว่า ฉิบหายละอีถ่อย สุชาต-

กุมารลูกคนโตของฉัน ซึ่งเป็นเสมือนเทพกุมาร ยังอยู่ เหตุไร เจ้าจึงกล่าว

อย่างนี้ ทรงปฏิเสธ พระเทวียืนคำบ่อย ๆ ก็ผูกพระทัยไม่ได้ วันหนึ่งทูลว่า

ข้าแต่เทวะ ถ้าพระองค์ยังดำรงอยู่ในสัจจะ ก็ขอได้โปรดพระราชทานเถิด

พระราชาทรงเสียพระทัยว่า เราได้พลั้งให้พรแก่หญิงผู้นี้ และนางก็มาพูด

อย่างนี้ ตรัสเรียกสุชาตกุมารมาตรัสบอกความเรื่องนั้น น้ำพระเนตรไหล

พระกุมารเห็นพระบิดาทรงโศกเศร้า ก็เสียพระทัยน้ำพระเนตรไหล กราบ

ทูลว่า ข้าแต่เทวะ โปรดทรงอนุญาตเถิด ข้าพระองค์จักไปที่อื่น พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

ทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสว่า พ่อจักสร้างเมืองใหม่ให้เจ้า เจ้าควรอยู่ใน

เมืองนั้น พระกุมารก็ไม่ปรารถนา เมื่อพระราชาตรัสว่า พ่อจักส่งไปอยู่

ในสำนักพระราชาสหายของพ่อดังนี้ ก็ไม่ทรงเห็นด้วยแม้ข้อนั้น กราบทูล

อยู่อย่างเดียวว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระองค์จักไปป่า พระราชาสวมกอดพระ-

โอรส จุมพิตที่พระเศียรตรัสว่า เมื่อพ่อล่วงลับไปแล้ว เจ้าจงมาครอง

ราชสมบัติในนครนี้ ทรงปล่อยไปแล้ว.

พระกุมารนั้นเข้าป่าอาศัยพวกพรานอยู่ วันหนึ่งไปล่าเนื้อ เทพบุตร

องค์หนึ่งเป็นสหายที่ประเสริฐในครั้งที่เขาเป็นสมณะ จำแลงรูปเป็นเนื้อ

มาล่อเขาด้วยความหวังดี วิ่งไปใกล้ที่อยู่ของท่านพระมหากัจจายนะแล้ว

หายไป พระกุมารนั้นคิดจักจับเนื้อตัวนี้ในบัดนี้ จึงวิ่งเข้าไปถึงที่อยู่ของ

พระเถระ ไม่เห็นเนื้อ เห็นแต่พระเถระนั่งอยู่นอกบรรณศาลา จึงได้ยืน

กั้นปลายลูกธนูในที่ใกล้พระเถระนั้น พระเถระแลดูเขา ทราบเรื่องที่เป็น

ไปของเขาทั้งหมดตั้งแต่ต้น เมื่อจะอนุเคราะห์ ทำเป็นไม่รู้ เมื่อทำการ

สงเคราะห์ได้ถามว่า

ท่านสอดธนูไว้มั่น ยืนจ้องธนูไม้แก่นอยู่ ท่าน

เป็นกษัตริย์ หรือราชกุมาร หรือเป็นพรานป่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทฬฺหธมฺมา แปลว่า สอดธนูไว้มั่น

ธนูที่ใช้สองพันแรงคน ท่านเรียกว่าสอดธนูไว้มั่น และที่ว่าธนูที่ใช้

สองพันแรงคน ได้แก่ธนูที่เมื่อยกขึ้น น้ำหนักแห่งหัวโลหะเป็นต้นที่ผูก

ไว้ที่สาย จับคันธนูยกขึ้นพันดินชั่วแค่ลูกธนู. บทว่า นิสารสฺส ได้แก่

ธนูของต้นไม้ที่มีแก่นดียิ่ง คือมีแก่นดีเลิศ อธิบายว่า ธนูที่ทำด้วยไม้แก่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

บทว่า โอลุพฺภ ได้แก่ กั้น. บทว่า ราชญฺโ แปลว่า ราชกุมาร. บทว่า

วเนจโร แปลว่า ผู้เที่ยวไปในป่า.

ลำดับนั้น พระกุมารนั้นเมื่อประกาศตน จึงตรัสว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นโอรสของพระ-

เจ้าอัสสกะ เที่ยวไปในป่า ข้าแต่ภิกษุ ข้าพเจ้าขอ

บอกนามของข้าพเจ้าแก่ท่าน คนทั้งหลายรู้จักข้าพเจ้า

ว่า สุชาต ข้าพเจ้าแสวงหาเนื้อจึงหยั่งลงสู่ป่าใหญ่

ไม่เห็นเนื้อ เห็นแต่ท่าน จึงได้ยืนอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสกาธิปติสฺส แปลว่า พระเจ้า

อัสสกะ ผู้เป็นใหญ่ในอัสสกรัฐ พระกุมารเรียกพระเถระว่า ภิกษุ. บทว่า

มิเค คเวสมาโน ความว่า แสวงหาเนื้อมีสุกรเป็นต้น คือเที่ยวล่าเนื้อ.

พระเถระได้ฟังดังนั้น เมื่อกระทำปฏิสันถารกับกุมารนั้น ทูลว่า

ท่านผู้มีบุญมาก ท่านมาดีแล้ว ท่านมาไม่

เลวเลย ท่านจงรับเอาน้ำจากที่นี้ล้างเท้าทั้งสองของ

ท่านเถิด นี้เป็นน้ำดื่มเย็น นำมาแต่ซอกเขา ท่าน

ราชโอรส ครั้นเสวยน้ำแล้วโปรดเสด็จเข้าไปประทับ

นั่งบนสันถัดเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทุราคต ความว่า ท่านผู้มีบุญมาก

การมาในที่นี้ของท่าน เว้นจากการมาร้ายชื่อว่ามาดีแล้ว อธิบายว่า การ

มาร้ายแม้น้อยของท่านไม่มี เพราะให้เกิดปีติโสมนัสทั้งแก่ท่านและแก่

อาตมา. ปาฐะว่า อธุนาคต มาไม่นาน ดังนี้ก็มี ความว่า มาในบัดนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 507

บทว่า สนฺถตสฺมึ อุปาวิส ความว่า อย่าประทับนั่งบนพื้นที่ไม่

มีเครื่องลาด โปรดประทับนั่งบนเครื่องลาดหญ้าโน้น.

ลำดับนั้น พระราชกุมารรับการปฏิสันถารของพระเถระตรัสว่า

ข้าแต่พระมหามุนี วาจาของท่านงามหนอ

น่าฟัง ไม่มีโทษ มีประโยชน์ ไพเราะ ท่านรู้แล้ว

กล่าวแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เถิด.

ท่านอยู่ในป่า ยินดีอะไร ข้าแต่ท่านฤษีผู้

ประเสริฐสุด ท่านถูกถามแล้วโปรดนอกทีเถิด พวก

ข้าพเจ้าพิจารณาคำของท่านแล้ว พึงประพฤติโดย

เอื้อเฟื้อซึ่งบทที่ประกอบด้วยอรรถและธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณี แปลว่า ดี คือ งาม. บทว่า

สวนียา แปลว่า ควรที่จะฟัง. บทว่า เนลา แปลว่า ปราศจากโทษ.

บทว่า อตฺถวตี ความว่า ประกอบด้วยประโยชน์ คือประกอบด้วยประ-

โยชน์มีประโยชน์ปัจจุบันเป็นต้น. บทว่า วคฺคุ แปลว่า ไพเราะ. บทว่า

มนฺตฺวา แปลว่า รู้แล้ว คือ กำหนดแล้วด้วยปัญญา. บทว่า อตฺถ ได้แก่

ไม่ปราศจากประโยชน์ คือนำมาซึ่งประโยชน์โดยส่วนเดียว.

บทว่า อิสินิสภ แปลว่า ผู้ประเสริฐสุดในฤาษีทั้งหลาย เช่นกับ

บุรุษอาชาไนย. บทว่า วจนปถ แปลว่า คำ ก็คำนั่นแล ท่านกล่าวว่า

วจนปถะ เพราะเป็นอุบายให้บรรลุประโยชน์. บทว่า อตฺถธมฺมปท

สมาจเรมเส ความว่า พวกข้าพเจ้าจะปฏิบัติส่วนแห่งธรรมมีศีลเป็นต้น

ที่นำมาซึ่งประโยชน์ในภพนี้และภพหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 508

บัดนี้ พระเถระเมื่อกล่าวสัมมาปฏิบัติของตน ซึ่งสมควรแก่พระ-

ราชกุมารนั้น จึงทูลว่า

ดูก่อนกุมาร เราชอบใจการไม่เบียดเบียนสัตว์

ทั้งปวง การงดเว้นลักขโมย งดเว้นการประพฤติ

ล่วงเกิน งดเว้นดื่มน้ำเมา งดบาปธรรม ความประ-

พฤติสงบ ความเป็นพหูสูต ความเป็นคนกตัญญู

ธรรมเหล่านี้ กุลบุตรสรรเสริญในปัจจุบัน อันวิญญู-

ชนพึงสรรเสริญ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารติ สมจริยา จ ได้แก่ การงด

เว้นขาดจากบาปธรรมตามที่กล่าวแล้ว และความประพฤติสงบมีความสงบ

กายเป็นต้น. บทว่า พาหุสจฺจ ได้แก่ ความเป็นพหูสูตทางปริยัติ. บทว่า

กตญฺญุตา ได้แก่ การรู้อุปการะที่คนเหล่าอื่นกระทำแก่ตน. บทว่า

ปาสสา ความว่า อันกุลบุตรทั้งหลายผู้ต้องการประโยชน์พึงสรรเสริญ

โดยการกระทำทั่วไป. บทว่า ธมฺมา เอเต ได้แก่ ธรรมมีอหิงสาเป็นต้น

ตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า ปสสิยา แปลว่า อันวิญญูชนทั้งหลายพึงสรรเสริญ.

พระเถระกล่าวสัมมาปฏิบัติที่สมควรแก่พระราชกุมารนั้นอย่างนี้แล้ว

ตรวจดูอายุสังขารด้วยอนาคตังสญาณ เห็นว่าอายุของเขาเหลือเพียงห้า

เดือนเท่านั้น เพื่อจะให้เขาสลดใจแล้วทั้งอยู่ในสัมมาปฏิบัตินั้นมั่นคง จึง

กล่าวคาถานี้ว่า

ดูก่อนราชโอรส ท่านจงรู้เถิดว่า อีกห้าเดือน

ข้างหน้าท่านจักสิ้นพระชนม์ ท่านจงเปลื้องตนเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 509

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตาน ปริโมจย ความว่า ท่านจง

เปลื้องตนจากทุกข์ในอบาย.

ต่อนั้น พระกุมารเมื่อถามอุบายหลุดพ้นสำหรับตน จึงตรัสว่า

ข้าพเจ้าจะไปชนบทไหนหนอ จะทำอะไร จะ

ทำกิจของบุรุษอะไร ๆ หรือจะใช่วิชาอะไร จึงจะไม่

แก่ไม่ตาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตม สฺวาห ได้แก่ ข้าพเจ้าจะไป

ชนบทไหน ความว่า ไหนหนอ เพิ่มคำว่า กตฺวา ในบทว่า กึ กมฺม

กิญฺจิ โปริส. บทว่า โปริส แปลว่า กิจของบุรุษ.

ต่อนั้น พระเถระเพื่อจะแสดงธรรมแก่เขา ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนราชโอรส ไม่มีประเทศที่สัตว์ไปแล้ว

ไม่แก่ไม่ตาย ไม่มีกรรม วิชาและกิจของบุรุษ ที่

สัตว์ทำแล้วไม่แก่ไม่ตาย ผู้มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก

แม้เหล่ากษัตริย์ครองแว่นแคว้น มีทรัพย์และข้าว

เปลือกมาก แม้ท่านเหล่านั้นไม่แก่ไม่ตาย ก็หาไม่.

ท่านที่เป็นนักศึกษา เป็นบุตรของชาวอันธกะ

และชาวเวณฑุ ผู้สามารถแกล้วกล้า ประหารฝ่าย

ปรปักษ์ แม้ท่านเหล่านั้น เสมอด้วยสิ่งยั่งยืนก็ต้อง

พินาศ ถึงอายุขัยสิ้นอายุ.

กษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ ศูทร

คนจัณฑาลและปุกกุสะ และพวกชาติอื่น ๆ แม้คน

เหล่านั้น ไม่แก่ไม่ตาย หามีไม่ ท่านที่ร่ายมนต์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 510

พรหมจินดามีองค์ ๖ และท่านที่ใช้วิชาอื่น ๆ แม้

ท่านเหล่านั้น ไม่แก่ไม่ตาย หามีไม่ อนึ่ง พวกฤษี

ผู้สงบ สำรวมจิตบำเพ็ญตบะ แม้ท่านผู้บำเพ็ญตบะ

เหล่านั้นก็ต้องละทิ้งร่างกายไปตามกาล แม้พระ-

อรหันต์ทั้งหลายผู้อบรมตนแล้ว ทำกิจเสร็จแล้ว ไม่

มีอาสวะ สิ้นบุญและบาปแล้ว ก็ยังทอดทิ้งกายนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ คนฺตฺวา ความว่า ไปประเทศ

ใด เข้าถึง คือถึงกรรม วิชา และกิจของบุรุษด้วยกายประโยค และ

ด้วยประโยคนอกนี้ พึงเป็นผู้ไม่แก่ไม่ตาย.

ชื่อว่า มีทรัพย์มาก เพราะมีทรัพย์ที่รวบรวมเก็บไว้มากประมาณ

ร้อยโกฏิเป็นต้นเป็นอย่างต่ำ ชื่อว่า มีโภคะมาก เพราะมีโภคะที่เป็น

เสบียงมาก คือ กหาปณะมีสามหม้อเป็นต้น. บทว่า รฏฺวนฺโต ได้แก่

เจ้าของแว่นแคว้น อธิบายว่า ปกครองแว่นแคว้นปริมาณหลายโยชน์.

บทว่า ขตฺติยา แปลว่า ชาติกษัตริย์. บทว่า ปหูตธนธญฺาเส ได้แก่

สั่งสมทรัพย์และข้าวเปลือกมาก คือสั่งสมทรัพย์และข้าวเปลือกพอกินพอ

ใช้ได้เจ็ดแปดปี สำหรับตนและบริวาร. บทว่า โน เตปิ อชรามรา

ความว่า มีความแก่และความตายเป็นธรรมดาทีเดียว อธิบายว่า แม้

ความเป็นผู้มีทรัพย์มากเป็นต้น ก็ห้ามความแก่และความตายที่อยู่เหนือ

ท่านเหล่านั้นไม่ได้.

บทว่า อนฺธกเวณฺฑุปุตฺตา ความว่า ปรากฏว่าเป็นบุตรของชาว

อันธกะและชาวเวณฑุ. บทว่า สูรา ได้แก่ ผู้มีความสามารถ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 511

วีรา ได้แก่ ผู้มีความกล้า. บทว่า วิกกนฺตปฺปหาริโน ความว่า มี

ปกติข่มครอบกำลังของข้าศึก แล้วประหารได้ ด้วยความเป็นผู้สามารถ

และแกล้วกล้านั่นแล. บทว่า วิทฺธสฺตา ได้แก่ ทำให้พินาศ. บทว่า

สสฺสตีสมา ได้แก่ เสมอด้วยของยั่งยืนทั้งหลาย มีพระจันทร์และพระ-

อาทิตย์เป็นต้น โดยสืบตระกูลกัน ความว่า แม้ท่านเหล่านั้นก็ไปตาม

ตระกูลที่เป็นไปได้ไม่นานเลย.

บทว่า ชาติยา ได้แก่ โดยชาติของตน ความว่า แม้ชาติที่

ประเสริฐกว่าก็ห้ามชราและมรณะของคนเหล่านั้นไม่ได้.

บทว่า มนฺต ได้แก่ เวท. บทว่า ฉฬงฺค ได้แก่ มีองค์ ๖

โดยองค์ทั้ง ๖ กล่าวคือ กัปปศาสตร์ พยากรณ์ศาสตร์ นิรุตติศาสตร์

สิกขาศาสตร์ ฉันโทวิจิติศาสตร์ และโชติศาสตร์. บทว่า พฺรหฺมจินฺติต

ได้แก่ อันพรหมฤษีทั้งหลายมีอัฏฐกฤษีเป็นต้นคิดแล้ว คือเห็นแล้วด้วย

ปัญญาจักษุ.

บทว่า สนฺตา ได้แก่ มีกายกรรมและวจีกรรมสงบระงับแล้ว.

บทว่า สญฺตตฺตา ได้แก่ มีจิตสำรวมแล้ว. บทว่า ตปสฺสิโน ได้แก่

ผู้อาศัยตบะ.

บัดนี้ พระกุมารเมื่อตรัสสิ่งที่ตนพึงทำ จึงตรัสว่า

ข้าแต่พระมหามุนี คาถาทั้งหลายของท่าน

เป็นสุภาษิต มีประโยชน์ ข้าพเจ้าเพ่งพินิจตาม

สุภาษิตนั้นแล้ว และขอท่านโปรดเป็นสรณะของ

ข้าพเจ้าด้วยเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 512

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิชฺฌตฺโตมฺหิ ได้แก่ เป็นผู้เพ่งพินิจ

คือไปแล้ว ด้วยความเข้าใจ ด้วยสัญญาในโอชะแห่งธรรม. บทว่า สุภฏฺเน

แปลว่า ที่กล่าวแล้วด้วยดี.

ลำดับนั้น พระเถระเมื่อพร่ำสอนพระกุมารนั้น ได้ภาษิตคาถานี้ว่า

ท่านจงอย่าถึงอาตมาเป็นสรณะเลย อาตมาถึง

พระมหาวีรศากยบุตรใดเป็นสรณะ ท่านจงถึงพระ-

มหาวีรศากยบุตรนั้นเป็นสรณะเถิด.

ต่อนั้น พระราชกุมารตรัสอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ พระศาสดาของท่านพระ-

องค์นั้นประทับอยู่ในชนบทไหน แม้ข้าพเจ้าก็จักไป

เฝ้าพระชินะผู้หาบุคคลเปรียบมิได้.

พระเถระทูลอีกว่า

พระศาสดาเป็นบุรุษอาชาไนย มีพระสมภพ

แต่ราชสกุลพระเจ้าโอกกากราช ในชนบททิศตะวัน-

ออก แต่พระองค์เสด็จปรินิพพานเสียแล้ว.

พระเถระกล่าวว่า ปุรตฺถิมสฺมึ ชนปเท ในคาถานั้น เพราะ

มัชฌิมประเทศอยู่ทางทิศตะวันออก จากประเทศที่พระเถระนั่งอยู่.

ราชโอรสนั้นฟังธรรมเทศนาของพระเถระอย่างนี้แล้ว มีใจเลื่อมใส

ก็ตั้งอยู่ในสรณะและศีล เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย

จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 513

ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ถ้าพระพุทธเจ้าผู้เป็น

ศาสดาของท่านยังดำรงพระชนม์อยู่ ถึงไกลหลาย

พันโยชน์ ข้าพเจ้าก็จะไปเฝ้าใกล้ ๆ แต่เพราะพระ-

ศาสดาของท่านเสด็จปรินิพพานเสียแล้ว ข้าพเจ้าก็

ขอถึงพระมหาวีระผู้เสด็จปรินิพพานแล้วเป็นสรณะ

ขอถึงพระพุทธเจ้า ทั้งพระธรรมอันยอดเยี่ยม ทั้ง

พระสงฆ์ ผู้เป็นสรณะของมนุษย์และเทวดา ว่าเป็น

สรณะ.

ข้าพเจ้าของดเว้นปาณาติบาตทันที ของดเว้น

อทินนาทานในโลก ไม่ดื่มน้ำเมา และไม่กล่าวเท็จ

เป็นผู้ยินดีด้วยภริยาของตน.

พระราชกุมารตั้งอยู่ในสรณะและศีลอย่างนี้แล้ว พระเถระก็ทูล

อย่างนี้ว่า ดูก่อนราชกุมาร ไม่มีประโยชน์ที่ท่านจะอยู่ป่าในที่นี้ ท่านจะมี

ชีวิตอยู่ไม่นาน ภายใน ๕ เดือนเท่านั้นท่านจักสิ้นพระชนม์ ฉะนั้น ท่าน

ควรไปยังสำนักพระราชบิดาของท่าน ทำบุญทั้งหลายมีให้ทานเป็นต้น พึง

เป็นผู้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ดังนี้แล้ว แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ

ในสำนักของตนให้ ราชกุมารนั้นเมื่อจะไป ตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ข้าพเจ้าจักไปจากที่นี้ตามคำของท่าน แม้ท่านก็พึงไปในที่นั้น เพื่อ

อนุเคราะห์ข้าพเจ้า ทราบว่าพระเถระรับนิมนต์แล้ว ไหว้ ทำประทักษิณ

แล้วเสด็จไปนครของพระบิดาเข้าไปยังอุทยาน แจ้งให้กราบทูลพระราชา

ทรงทราบว่า ตนมาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 514

พระราชาทรงสดับเรื่องนั้น พร้อมด้วยบริวารเสด็จไปอุทยาน สวม

กอดพระกุมาร นำเข้าในเมือง มีพระราชประสงค์จะอภิเษก พระกุมาร

ทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระองค์มีอายุน้อย จากนี้ไป ๔ เดือน ก็จักทาย

ข้าพระองค์จะต้องการอะไรด้วยราชสมบัติ ข้าพระองค์จักอาศัยพระองค์

ทำบุญเท่านั้น แล้วประกาศคุณของพระเถระ และอานุภาพของพระรัตน-

ตรัย พระราชาทรงสดับดังนั้น ทรงสลดพระทัย เลื่อมใสในพระรัตนตรัย

และพระเถระ โปรดให้สร้างวิหารใหญ่ แล้วทรงส่งทูตไปสำนักของ

พระมหากัจจายนเถระ แม้พระเถระก็ได้มาอนุเคราะห์พระราชาและมหาชน

พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริวารเสด็จไปต้อนรับแต่ไกลทีเดียว นิมนต์

พระเถระให้เข้าวิหาร บำรุงด้วยปัจจัยสี่โดยเคารพ ตั้งอยู่ในสรณะและศีล

ทั้งหลาย พระกุมารสมาทานศีลทั้งหลาย บำรุงพระเถระและภิกษุทั้งหลาย

โดยเคารพ ให้ทาน ฟังธรรม ล่วงไปสี่เดือนก็สิ้นพระชนม์ไปบังเกิดใน

ภพดาวดึงส์ รถขนาดเจ็ดโยชน์ประดับด้วยรัตนะเจ็ดเกิดขึ้นด้วยบุญญานุ-

ภาพของเทวบุตรนั้น เทวบุตรนั้นมีอัปสรเป็นบริวารหลายพัน.

พระราชาทรงทำสักการะสรีระของพระกุมาร และถวายมหาทาน

แด่ภิกษุสงฆ์ ทำการบูชาพระเจดีย์ มหาชนประชุมกันในที่นั้น แม้พระ-

เถระพร้อมด้วยบริวารก็ได้เข้าไปยังประเทศนั้น ครั้งนั้น เทวบุตรตรวจดู

กุศลกรรมที่ตนทำไว้ คิดด้วยความเป็นผู้กตัญญูว่า เราจักไปไหว้พระเถระ

และจักทำศาสนคุณให้ปรากฏ ขึ้นรถทิพย์ มาปรากฏรูปให้เห็นพร้อมด้วย

บริวารเป็นอันมาก ลงจากรถไหว้แทบเท้าพระเถระ ทำปฏิสันถารกับบิดา

เข้าไปยืนประคองอัญชลีอยู่ใกล้พระเถระ พระเถระได้ถามเทวบุตรนั้น

ด้วยคาถาเหล่านั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 515

พระอาทิตย์มีรัศมีมาก ส่องแสงไปในท้องฟ้า

ตามลำดับตลอดทิศ ประการไร ๆ รถใหญ่ของท่าน

นี้ ก็มีประการอย่างนั้น แผ่แสงไปโดยรอบกว้าง

ร้อยโยชน์ หุ้มด้วยแผ่นทองโดยรอบ คานรถนั้น

วิจิตรด้วยแก้วมุกดาและแก้วมณี มีลายทองและเงิน

ทำด้วยแก้วไพฑูรย์ สร้างไว้อย่างดีสง่างาม งอนรถ

สร้างด้วยแก้วไพฑูรย์ แอกรถวิจิตรด้วยแก้วทับทิม

แม้ม้า ( เทียมรถ ) ก็ประดับด้วยทองและเงิน สง่า

งาม วิ่งเร็วทันใจ ท่านนั้นยืนสง่าอยู่ในรถทอง มี

พาหนะเทียมม้าพันหนึ่ง ดังท้าวสักกะจอมทวยเทพ

ก่อนท่านผู้มียศ อาตมาขอถามท่านผู้ชาญฉลาด

ยศอันโอฬารนี้ ท่านได้มาอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสรสี แปลว่า พระอาทิตย์

ก็พระอาทิตย์นั้น ท่านเรียกว่า สหสฺสรสี เพราะมีรัศมีหลายพัน. บทว่า

ยถา มหปฺปโภ ได้แก่ มีรัศมีเหมาะแก่ความใหญ่ของตน เหมือน

อย่างว่า ดวงไฟที่เสมอเหมือนกับดวงอาทิตย์โดยความใหญ่ ย่อมไม่มี

ฉันใด ที่เสมอเหมือน แม้โดยรัศมี ก็ไม่มีฉันนั้น จริงอย่างนั้น ดวงอาทิตย์

นั้นย่อมแผ่แสงสว่างถึงสามทวีปใหญ่ในขณะเดียวกัน. บทว่า ทิส ยถา

ภาติ นเภ อนุกฺกม ความว่า พระอาทิตย์เมื่อโคจรคล้อยเคลื่อนไป

ตลอดทิศ อย่างไรทีเดียว ย่อมส่องแสงสว่างโชติช่วงในท้องฟ้า คือใน

อากาศ อย่างไร คือด้วยประการใด. บทว่า ตถาปกาโร ได้แก่ มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 516

อาการเช่นนั้น. บทว่า ตวาย ตัดบทเป็น ตว อย แปลว่า ของท่านนี้.

บทว่า สุวณฺณปฏฺเฏห แปลว่า ด้วยแผ่นที่สำเร็จด้วยทอง. บทว่า

สมนฺตโมตฺถโฏ ได้แก่ ถูกปิดโดยรอบ. บทว่า อุรสฺส ตัดบทเป็น อุโร

อสฺส แปลว่า คานของรถนั้น ท่านเรียกโคนงอนรถ ว่าคานของรถ ก็มี.

บทว่า เลขา ได้แก่ ลายมีมาลากรรมลายดอกไม้และลดากรรมลายเครือ

เถาเป็นต้น ที่สำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์ ท่านกล่าวว่า สุวณฺณเสฺส จ

รูปิยสฺส จ ดังนี้ เพราะลายเหล่านั้นปรากฏบนแผ่นทองและแผ่นเงิน

ทั้งหลาย. บทว่า โสเภนฺติ แปลว่า ทำรถให้งาม.

บทว่า สีส ได้แก่ หัวทูบรถ. บทว่า เวฬุริยสฺส นิมฺมิต

แปลว่า สร้างด้วยแก้วไพฑูรย์ ความว่า สำเร็จด้วยแก้วไพฑูรย์. บทว่า

โลหิตกาย ได้แก่ ด้วยแก้วทับทิม หรือด้วยแก้วมณีแดงอย่างใดอย่าง

หนึ่ง. บทว่า ยุตฺตา แปลว่า ประกอบแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

โยตฺตา สุวณฺณสฺส จ รูปิยสฺส จ ความว่า เชือกสำเร็จด้วยทอง

และสำเร็จด้วยเงิน อธิบายว่า เครื่องผูกตีนช้าง [ ตกปลอก ].

บทว่า อธิฏฺิโต ความว่า ยืนข่มที่นี้เสียสิ้นด้วยเทวฤทธิ์ของตน.

บทว่า สหสฺสวาหโน แปลว่า มีพาหนะเทียมด้วยม้าพันหนึ่ง อธิบายว่า

มีรถเทียนด้วยม้าอาชาไนยพันหนึ่ง เหมือนท้าวสักกะจอมทวยเทพ. บทว่า

ยสวนฺต เป็นอาลปนะคำร้องเรียก ความว่า ดูก่อนท่านผู้มียศ. บทว่า

โกวิท ได้แก่ มีกุศลญาณ หรือชาญฉลาดในกระบวนการขับรถ. บทว่า

อย อุฬาโร อธิบายว่า ยศอันโอฬารคือใหญ่ นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 517

เทวบุตรถูกพระเถระถามอย่างนี้แล้ว ได้พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้

ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นราชโอรส ชื่อ

สุชาต ในชาติก่อน และท่านได้อนุเคราะห์ให้ข้าพเจ้า

ได้ตั้งอยู่ในสัญญมะ ท่านทราบว่าข้าพเจ้าหมดอายุ

ได้มอบพระบรมสารีริกธาตุของพระศาสดาด้วยกล่าว

ว่า ดูก่อนสุชาต เธอจงบูชาพระบรมสารีริกธาตุนี้

การบูชานั้นจักเป็นประโยชน์แก่เธอเอง.

ข้าพเจ้าได้ขวนขวายบูชาพระบรมสารีริกธาตุ

นั้น ด้วยของหอมและดอกไม้ทั้งหลาย ครั้นละร่าง

มนุษย์แล้ว ได้เข้าถึงนันทนอุทยาน มีอัปสรห้อม

ล้อม รื่นรมย์ด้วยการฟ้อนรำขับร้องอยู่ในนันทนอุท-

ยาน อันเลิศน่าร่มรื่น ประกอบด้วยฝูงปักษานานา-

พรรณ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สรีร ได้แก่ พระบรมสารีริกธาตุ.

บทว่า โหหิติ แปลว่า จักเป็น. บทว่า สมุยฺยุโต โดยความว่า ขวนขวาย

โดยชอบ คือ กระวีกระวาด.

เทวบุตรตอบเนื้อความที่พระเถระถามอย่างนี้แล้วไหว้พระเถระ ทำ

ประทักษิณ ลาบิดามารดาแล้วขึ้นรถกลับไปเทวโลกตามเดิม.

แม้พระเถระก็ได้ทำเนื้อความนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 518

กล่าวธรรมีกถาโดยพิสดารแก่บริษัทที่ประชุมกัน ธรรนกถานั้นได้เป็น

ประโยชน์แก่มหาชน ครั้งนั้น พระเถระได้บอกเรื่องทั้งหมดนั้น แก่

พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ในคราวปฐมสังคายนา โดยทำนองที่

ตนและเทวบุตรพูดกันนั่นเทียว พระธรรมสังคาหกาจารย์เหล่านั้นได้ยก

เรื่องนั้นขึ้นสู่สังคายนา อย่างนั้นแล.

จบอรรถกถาจูฬรถวิมาน

๑๔. มหารถวิมาน

ว่าด้วยมหารถวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทวบุตรว่า

[๖๔] ท่านขึ้นรถม้างดงามมิใช่น้อยคันนี้ เทียม

ด้วยม้าพันหนึ่ง เข้ามาใกล้พื้นที่อุทยาน รุ่งเรืองดัง

ท้าววาสวะผู้ให้ทานในก่อน ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา

ทูบรถทั้งสองของท่านก็ล้วนแล้วด้วยทอง ประกอบ

ด้วยแผ่นทองสองข้างสนิทดี มีลูกกรงจัดไว้ได้ระเบียบ

เรียบร้อย เหมือนนายช่างพากเพียรบรรจงจัด โชติ-

วงดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ รถคันนี้คลุมด้วยข่าย

ทอง วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ เป็นอันมาก เอิกอึง

น่าเพลิดเพลินดี มีรัศมีรุ้งร่วง โชติช่วงด้วยหมู่เทพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 519

ผู้ถือพัดจามร อนึ่ง ดุมรถเหล่านี้ประดับตรงกลาง

ระหว่างล้อรถ อันจิตจัดเนรมิต วิจิตรไปด้วยลาย

ร้อยลาย พร่างพรายดังสายฟ้าแลบ รถคันนี้ดาดาษ

ด้วยลวดลายวิจิตรมิใช่น้อย กงใหญ่มีรัศมีตั้งพัน

เสียงของกงเหล่านั้นฟังไพเราะ ดุจดนตรีเครื่องห้าที่

เขาประโคม ที่งอนรถงดงามตกแต่งด้วยดวงจันทร์

แก้วมณี วิจิตร บริสุทธิ์ ผุดผ่องทุกเมื่อ ประกอบ

ด้วยลายทองเนียนสนิท โสภิตล้ำลายแก้วไพฑูรย์

ม้าเหล่านี้ผูกสอด แล้วด้วยดวงจันทร์แก้วมณีสูงใหญ่

ว่องไว อุปมาได้ดังผู้เติบใหญ่มีอำนาจมาก ร่างใหญ่

มีกำลัง เร็วมาก รู้ใจของท่าน วิ่งไปได้รวดเร็วดัง

ใจนึก ม้าทั้งหมดนี้อดทน ก้าวไปด้วยเท้าทั้ง ๔ รู้ใจ

ของท่าน วิ่งไปได้รวดเร็วดังใจนึก เป็นม้าอ่อนโอน

ไม่ลำพอง วิ่งเรียบ ทำใจผู้ขับขี่ให้เบิกบาน เป็นยอด

ของม้าทั้งหลาย ผูกสอดเครื่องประดับที่ทำดีแล้ว

บางครั้งสะบัดขน บางครั้งก็วิ่งเหยาะย่างไปด้วยเท้า

บางครั้งก็เหาะไป เสียงของม้าเหล่านั้น ฟังไพเราะ

ดุจดนตรีเครื่องห้าที่เขาประโคม เสียงรถ เสียงเครื่อง

ประดับ เสียงกีบม้า เสียงร้องคำรน และเสียงเทพผู้

บรรเลงฟังไพเราะดี ดุจดนตรีของคนธรรพ์ในสวน

จิตรลดา.

เหล่าอัปสรที่ยืนอยู่บนรถ มีดวงตาอ่อนดัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 520

ลูกตาเนื้อทราย มีขนตาดก มีรอยยิ้มจากดวงหน้า

พูดจาน่ารัก คลุมด้วยข่ายแก้วไพฑูรย์ มีผิวละเอียด

อันคนธรรพ์และเทวดาผู้เลิศบูชาทุกเมื่อทีเดียว อัปสร

เหล่านั้นนุ่งห่มผ้าแดงและผ้าเหลืองน่ายินดี มีเนตร

ไพศาล มีดวงตาอ่อนน่ารักยิ่ง เป็นผู้ดีมีสกุล มีองค์

งาม สรวลเสียงใส อัปสรทั้งหลายยืนประนมมือ

เด่นอยู่บนรถ เธอเหล่านั้นสวมทองต้นแขน แต่ง

องค์ดี เอวส่วนกลางงาม มีขาและถันสมบูรณ์ นิ้ว

มือกลม หน้าสวยน่าชม อัปสรพวกอื่น ๆ ที่ยินประ-

นมมือเด่นอยู่บนรถ มีช้องผมงาม เป็นสาวรุ่น ๆ มี

ผมสอดแซมด้วยแก้วทับทิมและดอกไม้ จัดลอนผม

เรียบร้อยมีประกาย อัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อย

มีใจยินดีต่อท่าน เหล่าอัปสรที่ยืนประนมมือเด่นอยู่

บนรถ มีดอกไม้กรองบนศีรษะ คลุมด้วยดอกปทุม

และดอกอุบล ตกแต่งแล้ว ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์

อัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อย มีใจยินดีต่อท่าน

เหล่าอัปสรที่ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถเหล่านั้น สวม

พวงมาลัย คลุมด้วยดอกปทุมและดอกอุบล ตกแต่ง

แล้ว ลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์ อัปสรเหล่านั้นมีกิริยา

เรียบร้อย มีใจยินดีต่อท่าน เหล่าอัปสรที่ยินประนม

มือเด่นอยู่บนรถ ส่องแสงสว่างไปทั่วสิบทิศ ด้วย

เครื่องประดับที่คอ ที่มือ ที่เท้า และที่ศีรษะ เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 521

ดวงอาทิตย์ในสารทกาล กำลังอุทัยขึ้นมา ดอกไม้

และเครื่องประดับที่แขนทั้งสอง ไหวพริ้วเพราะแรง

ลม ก็เปล่งเสียงกังวานไพเราะเพราะจับใจ อันวิญญู

ชนทุกคนพึงฟัง ดูราท่านจอมเทพ รถ ช้าง (ม้า )

และดนตรีทั้งหลายที่อยู่สองข้างพื้นอุทยาน ส่งเสียง

ทำให้ท่านบันเทิงใจ ดุจพิณทั้งหลายมีรางและคันถือ

ที่ปรับไว้เรียบร้อย อันนักดีดพิณบรรเลงอยู่ ย่อมทำ

ชนผู้ฟังให้บันเทิงฉะนั้น เมื่อพิณเป็นอันมากเหล่านี้

มีเสียงไพเราะเจริญใจ อันอัปสรทั้งหลายบรรเลงอยู่

สนิทสนมกลมกลืนซาบซึ้งตรึงใจ เหล่าเทพกัญญา

ผู้ชำนาญศิลป์ พากันฟ้อนรำขับร้องอยู่ในดอกปทุม

ทั้งหลาย เมื่อใดการขับร้องการประโคมและการ

ฟ้อนรำเหล่านี้ ผสมผสานเป็นอันเดียวกัน เมื่อนั้น

อัปสรพวกหนึ่งก็ฟ้อนรำอยู่ในรถของท่านนี้.

อีกพวกหนึ่งซึ่งเป็นเทพกัญญาชั้นสูง ก็ส่อง

รัศมีอยู่สองข้างในรถของท่านนั้น ท่านอันหมู่ดนตรี

ปลุกให้ตื่น บันเทิงใจ อันทวยเทพทั้งหลายบูชาอยู่

ดุจท้าวสักกะผู้ทรงวชิราวุธ เมื่อพิณเป็นอันมากเหล่า

นี้มีเสียงไพเราะเจริญใจ ซาบซึ้งตรึงใจ อันอัปสร

บรรเลงอยู่ เมื่อก่อนท่านทำกรรมอะไรไว้ด้วยตนเอง

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ท่านได้รักษาอุโบสถ

หรือว่าได้ชอบใจการประพฤติธรรม และการสมาทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 522

วัตรอะไร นี้คงมิใช่ผลของกรรมเล็กน้อยที่ท่านทำไว้

หรือฤทธานุภาพอันไพบูลของท่านนี้ คงมิใช่วิบาก

ของอุโบสถที่ท่านประพฤติดีแล้วในชาติก่อน ๆ ซึ่ง

เป็นเหตุให้ท่านรุ่งโรจน์ข่มหมู่เทพเป็นนักหนา นี้คง

เป็นผลแห่งทาน ศีล หรืออัญชลีกรรมของท่าน ท่าน

ถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอกกรรมนั้นแก่อาตมาเถิด.

เทวบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ชนะอินทรีย์แล้ว

มีความเพียรไม่ทราม ผู้สูงสุดแห่งนระทั้งหลาย ทรง

พระนามว่ากัสสปะ เป็นอัครบุคคล ผู้เปิดประตูแห่ง

อมตนคร ผู้เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา ผู้มีบุญลักษณะ

ตั้งร้อย ผู้เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา ผู้มีบุญลักษณะ

พระรูปงามเช่นกับทองสิงคีและทองชมพูนุท ครั้นได้

เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว ข้าพเจ้าก็มีใจเลื่อม

ใสทันที ข้าพเจ้าได้เห็นพระองค์ผู้มีสุภาษิตเป็นธง ได้

ถวายข้าวและน้ำอันสะอาด ประณีต ประกอบด้วยรส

และจีวรในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ในที่อยู่

ของตน อันเกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้ ข้าพเจ้านั้น

มีใจไม่ข้องในอะไร ๆ ได้อังคาส ( เลี้ยงดู ) พระ-

พุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้สูงสุดกว่าเหล่าสัตว์สองเท้า

ด้วยข้าว น้ำ จีวร ของเคี้ยว ของบริโภค และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 523

ของลิ้ม จึงรื่นรมย์อยู่ในสวรรค์อันเป็นเทวบุรี โดย

อุบายนี้ ข้าพเจ้าได้บูชายัญชื่อนิรัคคฬะ ( มีลิ่มสลัก

อันออกแล้ว เพราะได้บริจาคสมบัติของตนทั้งหมด )

อันบริสุทธิ์ ๓ อย่างนี้ ละร่างมนุษย์แล้ว เป็นผู้

เสมอกับพระอินทร์ รื่นรมย์อยู่ในเทวบุรี.

ข้าแต่ท่านพระมุนี บุคคลเมื่อหวังอายุ วรรณะ

สุขะ พละ และรูปอันประณีต พึงตั้งข้าวและน้ำที่

ปรุงแต่งดีแล้วเป็นอันมาก ถวายแด่พระพุทธเจ้าผู้มี

พระทัยไม่ข้องเกี่ยวอะไร ๆ ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลก

หน้า ไม่มีผู้ประเสริฐสุดหรือเสมอด้วยพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง

บรรดาผู้ควรบูชาทั้งหลายสำหรับชนผู้ต้องการบุญ ผู้

แสวงผลอันไพบูล.

จบมหารถวิมาน

อรรถกถามหารถวิมาน

มหารถวิมาน มีคาถาว่า สหสฺสยุตฺต หยวาหน สุภ เป็นต้น.

มหารถวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี

สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวเทวจาริกโดยนัยที่กล่าวแล้วใน

หนหลัง ได้ปรากฏในที่ไม่ไกลเทวบุตรชื่อว่าโคปาละ ในภพดาวดึงส์ ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 524

ออกจากวิมานของตน ขึ้นรถทิพย์คันใหญ่เทียมม้าพันหนึ่ง ไปเล่นอุทยาน

ด้วยบริวารยศใหญ่ ด้วยเทวฤทธิ์ยิ่งใหญ่ เทวบุตรเห็นท่านพระมหา-

โมคคัลลานะแล้วเกิดความเคารพมาก รีบลงจากรถเข้าไปไหว้ด้วยเบญ-

จางคประดิษฐ์ แล้วยืนประคองอัญชลีไว้เหนือเศียร.

เทวบุตรนั้นมีบุพกรรมดังต่อไปนี้. เล่ากันมาว่า เทวบุตรนั้นเป็น

พราหมณ์ชื่อว่าโคปาละ เป็นอาจารย์ของพระราชธิดาผู้เสมือนเทพกัญญา

เธอบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า วิปัสสี ด้วยพวงดอกไม้ทอง แล้ว

ตั้งความปรารถนาไว้ว่า ขอพวงดอกไม้ประดับอก ที่เป็นทองจงเกิด

แก่ข้าพเจ้าทุก ๆ ภพ ด้วยอานุภาพแห่งบุญนี้ เธอท่องเที่ยวอยู่ในสุคติ-

ภพทั้งหลายนั่นแลหลายกัป ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ

เธอบังเกิดในครรภ์อัครมเหสีของพระเจ้ากาสี พระนามว่ากิกิ ได้นามว่า

อุรัจฉทมาลา เพราะได้พวงดอกไม้ทองตามปรารถนา เทวบุตรได้ถวาย

มหาทานเช่นอสทิสทานเป็นต้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ

พร้อมด้วยสงฆ์สาวก แม้ฟังธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงเฉพาะตน และ

ราชธิดาก็ไม่อาจทำคุณวิเศษให้เกิดได้เพราะอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ตายทั้งที่

เป็นปุถุชนนั่นเอง บังเกิดในวิมานทองร้อยโยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

มีอัปสรหลายโกฏิเป็นบริวาร ด้วยอานุภาพแห่งบุญตามที่สั่งสมไว้ อนึ่ง

รถเทียมม้าอาชาไนยเป็นทิพย์ สำเร็จด้วยรัตนะเจ็ด เทียมม้าพันหนึ่ง

วิจิตรด้วยฝาที่จัดไว้อย่างดี เอิกอึงด้วยเสียงไพเราะนุ่มนวล เหมือน

บุคคลกระหยิ่มอยู่ด้วยการเกิดแห่งรัศมีของตน ดังดวงทิพากร ก็บังเกิด

แก่เทวบุตรนั้น.

เทวบุตรนั้นเสวยทิพยสมบัติในดาวดึงส์นั้นชั่วอายุแล้วท่องเที่ยวไป ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 525

มา ๆ อยู่ในเทวโลกทั้งหลาย แม้ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดเป็น

เทวบุตรนามว่าโคปาละนั่นเอง เสวยสมบัติตามที่กล่าวแล้ว ในสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์ ด้วยเศษวิบากแห่งกรรมนั้นแหละ ท่านหมายเอาเทวบุตรนั้น

จึงกล่าวว่า เตน จ สมเยน อายสฺมา มหาโมคฺคลฺลาโน ฯ เป ฯ

อญฺชลึ สิรสิ ปคฺคยฺห อฏฺาสิ ดังนี้.

เทวบุตรนั้น เข้าไปหาแล้วยืนอยู่อย่างนี้ ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

จึงถามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ท่านขึ้นรถม้างดงาม มิใช่น้อยคันนี้ เทียมด้วย

ม้าพันหนึ่ง เข้ามาใกล้พื้นที่อุทยาน รุ่งเรืองดังท้าว

วาสวะ ผู้ให้ทานในก่อน ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา

ทูบรถทั้งสองของท่านก็ล้วนแล้วด้วยทองประกอบ

ด้วยแผ่นทองสองข้างสนิทดี มีลูกกรงจัดไว้ได้ระเบียบ

เรียบร้อย เหมือนนายช่างพากเพียรบรรจงจัด โชติ

ช่วงดุจพระจันทร์ในวันเพ็ญ รถคันนี้คลุมด้วยข่าย

ทอง วิจิตรด้วยรัตนะต่าง ๆ เป็นอันมาก เอิกอึงน่า

เพลิดเพลินดี มีรัศมีรุ้งร่วง โชติช่วงด้วยหมู่เทพผู้

ถือพัดจามร อนึ่ง ดุมรถเหล่านี้ประดับตรงกลาง

ระหว่างล้อรถ อันจิตจัดเนรมิต วิจิตรไปด้วยลาย

ร้อยลาย พร่างพรายดังสายฟ้าแลบ รถคันนี้ดาดาษ

ด้วยลวดลายวิจิตรมิใช่น้อย กงใหญ่มีรัศมีตั้งพัน

เสียงของกงเหล่านั้นฟังไพเราะ ดุจดนตรีเครื่องห้าที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 526

เขาประโคม ที่งอนรถงดงามตกแต่งด้วยดวงจันทร์

แก้วมณี วิจิตร บริสุทธิ์ผุดผ่องทุกเมื่อ ประกอบ

ด้วยลายทองเนียนสนิม โสภิตล้ำลายแก้วไพฑูรย์ ม้า

เหล่านี้ผูกสอดแล้วด้วยดวงจันทร์แก้วมณี สูงใหญ่

ว่องไว อุปมาได้ดังผู้เติบใหญ่มีอำนาจมาก ร่างใหญ่

มีกำลังเร็วมาก รู้ใจของท่าน วิ่งรูปได้รวดเร็วดังใจนึก

ม้าทั้งหมดนี้อดทนก้าวไปด้วยเท้าทั้ง ๔ รู้ใจของท่าน

วิ่งไปได้รวดเร็วดังใจนึก เป็นม้าอ่อนโอน ไม่ลำพอง

วิ่งเรียบ ทำใจผู้ขับขี่ให้เบิกบาน เป็นยอดของม้า

ทั้งหลาย ผูกสอดเครื่องประดับที่ทำดีแล้ว บางครั้ง

สะบัดขน บางครั้งก็วิ่งเหยาะย่างไปด้วยเท้า บางครั้ง

ก็เหาะไป เสียงของม้าเหล่านั้น ฟังไพเราะดุจดนตรี

เครื่องห้าที่เขาประโคม เสียงรถ เสียงเครื่องประดับ

เสียงกีบม้า เสียงร้องคำรน และเสียงเทพผู้บรรเลง

ฟังไพเราะดี ดุจดนตรีของคนธรรพ์ในสวนจิตรลดา.

เหล่าอัปสรที่ยืนอยู่บนรถ มีดวงตาอ่อนดังตาลูก

เนื้อทราย มีขนตาดก มีรอยยิ้มจากดวงหน้า พูดจา

น่ารัก. คลุมด้วยข่ายแก้วไพฑูรย์ มีผิวละเอียด อัน

คนธรรพ์และเทวดาผู้เลิศบูชาทุกเมื่อทีเดียว อัปสร

เหล่านั้นนุ่งห่มผ้าแดงและผ้าเหลืองน่ายินดี มีเนตร

ไพศาล มีดวงตาอ่อนน่ารักยิ่ง เป็นผู้ดีมีสกุล มีองค์งาม

สรวลเสียงรส อัปสรทั้งหลายยืนประนมมือเด่นอยู่บน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 527

รถ เธอเหล่านั้นสวมทองต้นแขนแต่งองค์ดี เอวส่วน

กลางงาม มีขาและถันสมบูรณ์ นิ้วมือกลม หน้าสวย

น่าชม อัปสรพวกอื่น ๆ ที่ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ

มีช้องผมงาม เป็นสาวรุ่น ๆ มีผมสอดแซมด้วยแก้ว

ทับทิมและดอกไม้ จัดลอนผมเรียบร้อย มีประกาย

อัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อยมีใจยินดีต่อท่าน เหล่า

อัปสรที่ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถ มีดอกไม้กรองบน

ศีรษะ คลุมด้วยดอกปทุมและดอกอุบล ตกแต่งแล้ว

ลูบไล้ด้วยแก่นจันทร์ อัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อย

มีใจยินดีต่อท่าน เหล่าอัปสรที่ยืนประนมมือเด่นอยู่

บนรถเหล่านั้น สวมพวงมาลัย คลุมด้วยดอกปทุม

และดอกอุบล ตกแต่งแล้วลูบไล้ด้วยแก่นจันทน์

อัปสรเหล่านั้นมีกิริยาเรียบร้อย มีใจยินดีต่อท่าน

เหล่าอัปสรที่ยืนประนมมือเด่นอยู่บนรถส่องแสงสว่าง

ไปทั่วสิบทิศ ด้วยเครื่องประดับที่คอ ที่มือ ที่เท้า

และที่ศีรษะ เหมือนดวงอาทิตย์ในสารทกาล กำลัง

อุทัยขึ้นมา ดอกไม้และเครื่องประดับที่แขนทั้งสอง

ไหวพริ้วเพราะแรงลม ก็เปล่งเสียงกังวานไพเราะ

เพราะจับใจ อันวิญญูชนทุกคนพึงฟัง ดูก่อนท่าน

จอมเทพ รถช้างม้าและดนตรีทั้งหลายที่อยู่สองข้าง

พื้นที่อุทยาน ส่งเสียงทำให้ท่านบันเทิงใจ ดุจพิณ

ทั้งหลายมีรางและคันถือที่ปรับไว้เรียบร้อย อันนักดีด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 528

พิณบรรเลงอยู่ ย่อมทำชนผู้ฟังให้บันเทิงฉะนั้น เมื่อ

พิณเป็นอันมากเหล่านี้มีเสียงไพเราะเจริญใจ อัน

อัปสรทั้งหลายบรรเลงอยู่สนิทสนมกลมกลืน ซาบซึ้ง

ตรึงใจ เหล่าเทพกัญญาผู้ชำนาญศิลป์ พากันฟ้อนรำ

ขับร้องอยู่ในดอกปทุมทั้งหลาย เมื่อใดการขับร้อง

การประโคมและการฟ้อนรำเหล่านี้ ผสมผสานเป็น

อันเดียวกัน เมื่อนั้น อัปสรพวกหนึ่งก็ฟ้อนรำอยู่ใน

รถของท่านนี้.

อีกพวกหนึ่งซึ่งเป็นเทพกัญญาชั้นสูง ก็ส่อง

รัศมีอยู่สองข้างในรถของท่านนั้น ท่านอันหมู่

ดนตรีปลุกให้ตื่น บันเทิงใจ อันทวยเทพทั้งหลาย

บูชาอยู่ ดุจท้าวสักกะผู้ทรงวชิราวุธ เมื่อพิณเป็นอัน

มากเหล่านี้ มีเสียงไพเราะเจริญใจ ซาบซึ้งตรึงใจ

อันอัปสรบรรเลงอยู่ เมื่อก่อนท่านทำกรรมอะไรไว้

ด้วยตนเอง ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในชาติก่อน ท่านได้

รักษาอุโบสถ หรือว่าได้ชอบใจการประพฤติธรรม

และการสมาทานวัตรอะไร นี้คงมิใช่ผลของกรรม

เล็กน้อยที่ท่านทำไว้ หรือฤทธานุภาพอันไพบูลของ

ท่านนี้คงมิใช่วิบากของอุโบสถ ที่ท่านประพฤติดีแล้ว

ในชาติก่อน ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านรุ่งโรจน์ข่มหมู่เทพ

เป็นนักหนา นี้คงเป็นผลแห่งทานศีล หรืออัญชลีกรรม

ของท่าน ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอกกรรม

นั้นแก่อาตมาเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 529

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสยุตฺต แปลว่า เทียมด้วยม้า

หลายพัน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สหัสสยุตตะ เพราะรถมีม้าพันหนึ่ง

เทียมคือประกอบไว้. ถามว่า จำนวนพันหนึ่งนั้นของอะไร. ใคร ๆ ก็

ย่อมจะรู้เนื้อความกันอย่างนี้ทั้งนั้นว่า ของม้าทั้งหลาย เพราะท่านจะกล่าว

ต่อมาว่า หยวาหน. ชื่อว่า หยวาหนะ เพราะรถนั้นมีม้าเป็นพาหนะ

เครื่องนำไป แต่อาจารย์บางพวกพรรณนาเป็นบทสมาสบทเดียวกัน ลบ

นิคหิตเสียว่า สหสฺสยุตฺตหยวาหน เนื้อความในฝ่ายนี้ว่า พาหนะ

เหมือนพาหนะม้า ดังนี้ ก็ถูก เนื้อความจริง ๆ ว่า เทียนด้วยพาหนะ

ม้าพันหนึ่ง คือมีพาหนะม้าพันหนึ่งอันเทียมแล้ว แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่ง

กล่าวว่า บทว่า สหสฺสยุตฺต แปลว่า เทียมด้วยม้าอาชาไนยทิพย์พัน

หนึ่ง. บทว่า สนฺทน ได้แก่ รถ. บทว่า เนกจิตฺต แปลว่า งาม

มิใช่น้อย คือมีความงามหลายอย่าง. บทว่า อุยฺยานภูมึ อภิโต ได้แก่

ในที่ใกล้พื้นที่อุทยาน. ความจริง บทว่า อุยฺยานภูมึ นี้เป็นทุติยาวิภัตติ

ลงในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ เพราะเพ่งบท อภิโต แต่อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า อุยฺยานภูมฺยา ก็มี ท่านเหล่านั้นกล่าวโดยไม่ใคร่ครวญถึงนัย

แห่งศัพท์. บทว่า อนุกฺกม ได้แก่ ไปอยู่ เชื่อมความว่า ท่านรุ่งโรจน์

ดังท้าววาสวะผู้ให้ทานในก่อน ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา.

บทว่า โสวณฺณมยา แปลว่า ล้วนแล้วด้วยทอง. บทว่า เต

แปลว่า ของท่าน. บทว่า รถกุพฺพรา อุโภ ได้แก่ ไพทีสองข้างของรถ

รั้วใดที่ทำไว้โดยอาการของไพทีที่สองข้างรถ เพื่อความงามของรถ และ

เพื่อคุ้มกันคนที่อยู่บนรถ คือส่วนพิเศษที่ทำไว้สำหรับมือยึด ตลอดงอน

รถทั้งสองข้าง ตอนหน้าของรถนั้น รั้วนั้นแหละ ท่านประสงค์เอาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 530

กุพพระ ในที่นี้ เพราะเหตุนั้นเอง ท่านจึงกล่าวว่า อุโถ แต่ในที่อื่น

งอนรถท่านเรียกว่า กุพพระ. บทว่า ผเลหิ ความว่า ปลายไม้ค้ำรถ

๒ ง่าม คือข้างขวาและข้างซ้าย ท่านเรียกว่า ผละในที่นี้. บทว่า อเสหิ

ได้แก่ ส่วนล่าง ที่ตั้งอยู่บนตัวทูบ. บทว่า อตีว สงฺคตา ได้แก่

ปรับเรียบเหลือเกินคือด้วยดี คือติดกันสนิท ไม่มีช่อง ก็คำนี้ท่านยกเอา

ความวิเศษที่ได้ในรถมีชื่อเสียงซึ่งกวีศิลปินรจนาไว้มากล่าวในที่นั้น แต่

รถคันนั้นไม่มีชื่อเสียงเพราะไม่ใช่ของมนุษย์ เกิดเอง ใคร ๆ พยายามให้

เกิดมิได้. บทว่า สุชาตคุมฺพา ได้แก่ มีลูกกรงจัดไว้เป็นระเบียบเรียบ

ร้อย. จริงอยู่ ลูกกรงเหล่าใดมีส่วนพิเศษมีปุ่มไม้ที่จัดไว้เป็นระเบียบ

เป็นต้น ตั้งอยู่ติด ๆ กับไพที ด้วยอำนาจของลูกกรงเหล่านั้นนั่นแล ท่าน

จึงเรียกว่า สุชาตคุมฺพา. บทว่า นรวีรนิฏฺิตา ได้แก่ เหมือนอาจารย์

ศิลปะสร้างเสร็จแล้ว ความจริง พวกอาจารย์ศิลปะ ชื่อว่า มีความเพียร

ในนระทั้งหลาย เพราะไม่คิดถึงความลำบากกายของตน จัดศิลปะด้วยดี

ด้วยกำลังความเพียร เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นรวีร ในที่นี้ อีก

อย่างหนึ่ง คำว่า นรวีร เป็นคำเรียกเทวบุตร. บทว่า นิฏฺิตา ได้แก่

ให้เสร็จสิ้นแล้ว คือมีความงามอันดียิ่งบริบูรณ์ อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า

นรวีรนิมฺมิตา ความว่า เหมือนที่คนผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญาในนระทั้งหลาย

เนรมิตไว้ รถของท่านนี้รุ่งโรจน์เพราะมีงอนรถอย่างนี้ รุ่งโรจน์เหมือน

อะไร เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ คือราวกะพระจันทร์ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ

เวลาเต็มดวง.

บทว่า สุวณฺณชาลาวตโต ได้แก่ คลุม คือ ปกปิดด้วยข่ายทอง.

ปาฐะว่า สุวณฺณชาลาวิตโต ดังนี้ก็มี ความว่า เปล่งปลั่ง. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 531

พหูหิ ได้แก่ ไม่น้อย. บทว่า นานารตเนหิ ได้แก่ รัตนะหลายอย่าง

มีปัทมราคพลอยสีแดงและบุษราคัมพลอยสีเหลืองเป็นต้น. บทว่า สุนนฺ-

ทีโฆโส ได้แก่ มีเสียงอึงคะนึงน่าเพลิดเพลินอย่างดี ความว่า มีความ

กังวานไพเราะน่าฟัง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุนนฺทิโฆโส ได้แก่ มี

เอิกอึงน่าเพลิดเพลินที่ทำไว้อย่างดี อธิบายว่า เอิกอึงน่าบันเทิงที่ทำด้วย

อำนาจเสียงสาธุการที่เป็นไปในเพราะการดูการฟ้อนรำเป็นต้น อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า มีเสียงเอิกอึงน่าเพลิดเพลินที่ประกอบด้วยดีด้วยอาเศียร-

วาทกล่าวสรรเสริญเยินยอเสมอ ๆ ดังนี้ก็มี. บทว่า สุภสฺสโร ได้แก่

มีสภาพสว่างไสวด้วยดีคืออย่างยิ่ง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ สุภัสสระ เพราะ

เสียงขับร้องและประโคมดนตรีที่ไพเราะ ของเทวดาทั้งหลายที่ดำเนินไป

อยู่ในรถนั้น. บทว่า จามรหตฺถ พาหุภิ ความว่า ย่อมรุ่งโรจน์ด้วย

แขนที่มือถือจามร คือด้วยแขนของเหล่าเทวดาที่มีกำขนหางเนื้อทราย

สะบัดปกไปข้างโน้นข้างนี้ หรือด้วยเทวดาทั้งหลายผู้เป็นอย่างนั้น.

บทว่า นาโภฺย ได้แก่ ดุมล้อรถ. บทว่า มนสาภินิมฺมิตา

ความว่า เหมือนเนรมิตด้วยใจว่า ขอสิ่งเหล่านี้จงเป็นเช่นนี้. บทว่า

รถสฺส ปาทนฺตรมชฺฌภูสิตา ความว่า ประดับด้วยกงปลายของเท้ารถ

คือล้อรถ และด้วยท่ามกลางของชื่อทั้งหลายที่รุ่งโรจน์ด้วยรัตนะต่าง ๆ.

บทว่า สตราชิจิตฺติตา ความว่า งดงาม คือถึงความงดงามด้วยแถวคือ

ลายหลายร้อยหลายสี. บทว่า สเตรตา วิชฺชุริว ความว่า ส่องประกาย

โชติช่วง เหมือนวิชชุลดาคือสายฟ้าแลบ.

บทว่า อเนกจิตฺตาวตโต ความว่า คลุม คือ ดาดาษ ด้วยมาลา

กรรมลายดอกไม้เป็นต้น อันวิจิตรมิใช่น้อย อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 532

อเนกจิตตาวิตโต ดังนี้ก็มี เนื้อความก็อย่างนั้นนั่นแหละ แต่ทำให้ยาว

ออกไปก็เพื่อสะดวกในการผูกคาถา. บทว่า ปุถู จ เนมี จ แปลว่า

กงใหญ่ อักษร จ ตัวหนึ่งเป็นเพียงนิบาต. บทว่า สหสฺสรสิโก แปลว่า

มีรัศมีหลายพัน บาลีว่า สหสฺสรสิโย ก็มี แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

นตา รสิโย ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นตา ได้แก่ ตัวกงรถ

โค้งเหมือนคันธนูไม่มีสาย. บทว่า สหสฺสรสิโย ได้แก่ มีเปลวรัศมี

แผ่กระจายเหมือนดวงอาทิตย์. บทว่า เตส ได้แก่ ตัวกงทั้งหลายมี

กระดิ่งห้อยอยู่.

บทว่า สิรสฺมึ แปลว่า ที่หัว ความว่า งอนรถ หรืองอนที่รถนั้น.

บทว่า จิตฺต แปลว่า วิจิตร. บทว่า มณิจนฺทกปฺปิต ความว่า แต่ง

เป็นดวงจันทร์แก้วมณี คือ ร้อยด้วยแก้วมณีเหมือนดวงจันทร์ ด้วยบทว่า

รุจิร ปภสฺสร นี้ ท่านแสดงว่า งอนรถนั้นเหมือนดวงจันทร์ทีเดียว. แต่

ด้วยบทว่า สทา วิสุทฺธ นี้ แสดงว่า งอนรถนั้นวิเศษกว่าดวงจันทร์

ด้วยซ้ำไป. บทว่า สุวณฺณราชีหิ ได้แก่ ลายทองที่ทรวดทรงกลมใน

ระหว่าง ๆ. บทว่า สงฺคต แปลว่า ประกบ. บทว่า เวฬุริยราชีว

ความว่า งามคล้ายลายแก้วไพฑูรย์ เพราะดวงจันทร์แก้วมณีขจิตด้วย

ลายทองในระหว่าง ๆ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เวฬุริยราชีหิ ลายแก้ว

ไพฑูรย์ ก็มี.

บทว่า วาฬี แปลว่า มีขนหาง. ท่านกล่าวหมายเอาม้าทั้งหลาย

ที่มีขนหางสมบูรณ์ ปาฐะว่า วาชี ก็มี. บทว่า มณิจนฺทกปฺปิตา ได้แก่

แต่งแก้วมณีเป็นรูปดวงจันทร์ ในที่ที่ห้อยขนหางจามร. บทว่า อาโรห-

กมฺพู แปลว่า ทั้งสูงทั้งใหญ่เหมาะแก่ม้านั้น ความว่า ถึงพร้อมด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 533

ความสูงและความใหญ่. บทว่า สุชวา แปลว่า เร็วดี คือมีความเร็ว

เร็วมาก อธิบายว่า ไปได้สวย. บทว่า พฺรหูปมา ได้แก่ พึงกำหนด

เหมือนใหญ่ ความว่า ปรากฏเหมือนใหญ่โดยขนาดของตน. บทว่า

พฺรหา ได้แก่เจริญ คือมีอวัยวะน้อยใหญ่ทุกอย่างเติบโต. บทว่า มหนฺตา

ได้แก่ มีอานุภาพมาก มีฤทธิ์มาก. บทว่า พลิโน ได้แก่ มีกำลัง

ทั้งกำลังกายและกำลังอุตสาหะ. บทว่า มหาชวา ได้แก่ มีกำลังเร็ว.

บทว่า มโน ตวญฺาย แปลว่า รู้ใจของท่าน. บทว่า ตเถว ได้แก่

หมายใจทีเดียว. บทว่า สึสเร แปลว่า ไป ความว่า เป็นไป ( วิ่ง ).

ด้วยบทว่า อิเม ท่านกล่าวหมายเอาม้าตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า

สพฺเพ ได้แก่ แม้มีจำนวนถึงพัน. บทว่า สหิตา ความว่า พรักพร้อม

ในการไปด้วยความเร็วสม่ำเสมอและเดินสม่ำเสมอ อธิบายว่า ระยะเดิน

ไม่ขาดไม่เกิน ชื่อว่า จตุกฺกมา เพราะก้าวไป คือไปด้วยเท้าทั้งสี่.

บทว่า สม วหนฺติ ย่อมทำเนื้อความที่กล่าวด้วยบทว่า สหิตา นั่นแล

ให้ชัดขึ้น. บทว่า มุทุกา แปลว่า มีสภาพอ่อนโยน ความว่า เป็นม้า

ชั้นดี คือม้าอาชาไนย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุทฺธตา ความว่า

เว้นจากความฟุ้งซ่าน คือไม่ทำควานกำเริบ [ คะนอง ]. บทว่า อาโม-

ทมานา แปลว่า ให้เบิกบาน ความว่า ทำผู้ใช้รถเป็นต้นให้รู้สึกยินดี

กะกันและกัน เพราะไม่ใช่ม้ากระจอก.

บทว่า ธุนนฺติ ความว่า สะบัดพวงขน สร้อยคอและขนหาง.

บทว่า วคฺคนติ ความว่า บางคราวก็ซอยเท้าไป. บทว่า ปวตฺตนฺติ

แปลว่า บางคราวก็เป็นไป ความว่า โดดไป อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

ปฺลวนฺติ ก็มี เนื้อความก็อย่างนั้นแหละ. บทว่า อพฺภุทฺธุนนฺตา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 534

สะบัดคือสลัดเครื่องประดับม้ามีระฆังเล็ก ๆ เป็นต้น ที่ผู้ชำนาญงานทำ

ไว้ดีแล้ว คือเนรมิตไว้อย่างดี. บทว่า เตส ได้แก่ เครื่องประดับ

เหล่านั้น.

บทว่า รถสฺส โฆโส ได้แก่ เสียงกึกก้องของรถตามที่กล่าวแล้ว.

อักษร ในบทว่า อปิลนฺธนาน จ เป็นเพียงนิบาต ความว่า ของ

เครื่องประดับ คืออาภรณ์ทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า บทว่า

อปิลนฺธน เป็นปริยายคล้ายอาภรณ์ ความว่า เสียงกึกก้องของรถ ของม้า

และของอาภรณ์ทั้งหลาย. บทว่า ขุรสฺส นาโท ได้แก่ เสียงกีบม้า

กระทบ ท่านกล่าวว่า ม้าทั้งหลายไปทางอากาศก็จริง ถึงกระนั้นก็ย่อม

ได้การกระทบในการเหยาะย่างกีบของม้าเหล่านั้น ด้วยกรรมอันเป็นเหตุ

ให้ได้เสียงกระทบของกีบที่ไพเราะ. บทว่า อภิหึสนาย ได้แก่ เสียงน้ำ

ลำพอง ความว่า เสียงคำรนร้องที่ม้าทั้งหลายให้เป็นไปในระหว่าง ๆ

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อภิเหสนาย เสียงม้าคะนอง. บทว่า สมิตสฺส

ความว่า เสียงของเทวดาที่บันเทิงฟังไพเราะเพราะพริ้ง เพื่อจะตอบคำถาม

ว่า เหมือนอะไร ท่านกล่าวว่า คนฺธพฺพตุริยานิ วิจิตฺตสวเน ความว่า

เหมือนดนตรีเครื่อง ๕ ของเหล่าคนธรรพเทวบุตรในสวนจิตรลดา ก็

เสียงที่อาศัยดนตรี ท่านกล่าวว่า ตุริยานิ โดยนิสสยโวหาร. ปาฐะว่า

คนฺธพฺพตุริยาน จ วิจิตฺตสวเน ดังนี้ก็มี. ท่านนำนิคหิตมาประกอบ

เป็น ตุริยานญฺจ อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า คนฺธพฺพตุริยานิ วิจิตฺร-

ปวเน ดนตรีของคนธรรพ์ ในสวนจิตรลดา.

บทว่า รเถ ิตา ตา ได้แก่ อัปสรที่ยืนอยู่บนรถเหล่านั้น. บทว่า

มิคมนฺทโลจนา ได้แก่ มีดวงตาอ่อนน่ารักเหมือนตาของลูกเนื้อทราย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 535

บทว่า อาฬารปมฺหา แปลว่า มีขนตาดก ความว่า มีขนตาเหมือนโค.

บทว่า หสิตา แปลว่า ร่าเริง ความว่า มีหน้าชวนให้รื่นเริง. บทว่า

ปิยวทา แปลว่า มีวาจาน่ารัก. บทว่า เวฬุริยชาลาวตตา ได้แก่ มี

ร่างปกปิดด้วยข่ายแก้วไพฑูรย์และแก้วมณี. บทว่า ตนุจฺนิวา แปลว่า

มีผิวพรรณละเอียด. บทว่า สเทว แปลว่า ทุกเมื่อทีเดียว คือตลอดกาล

ทั้งปวงนั่นแหละ. บทว่า คนฺธพฺพสูรคฺคปูชิตา ความว่า อันเทวดา

คนธรรพ์และเทวดาผู้เลิศอื่น ๆ ได้บูชาแล้ว.

บทว่า ตา รตฺตรตฺตมฺพรปีตวาสสา ได้แก่ มีรูปน่ารักด้วย มี

ผ้าแดงและผ้าเหลืองด้วย. บทว่า อภิรตฺตโลจนา ได้แก่ มีนัยน์ตางาม

ซึ้งด้วยแนวสีแดงเป็นพิเศษ. บทว่า กุเล สุชาตา ได้แก่ เกิดดีใน

ตระกูลสินธพ คือเกิดในหมู่เทพผู้ประเสริฐ. บทว่า สุตนู แปลว่า มี

ร่างงาม. บทว่า สุจิมฺหิตา แปลว่า ยิ้มแย้มอย่างบริสุทธิ์.

บทว่า ตา กมฺพุเกยูรธรา ได้แก่ สวนกำไลแขนล้วนแล้วด้วยทอง.

บทว่า สุมชฺฌิมา แปลว่า มีเอวน่ารัก. บทว่า อูรุถนูปปนฺนา แปลว่า

มีลำขาและถันสมบูรณ์ คือมีขาเหมือนต้นกล้วยและมีถันเหมือนผอบ.

บทว่า วฏฺฏงฺคุลิโย ได้แก่ นิ้วมือกลมกลึง. บทว่า สุมุขา แปลว่า

มีหน้างาม หรือมีหน้าเบิกบาน. บทว่า สุทสฺสนา แปลว่า น่าทัศนา

[ ชม ] . บทว่า อญฺา ได้แก่ บางเหล่า. บทว่า สุเวณี แปลว่า

มีช้องผมงาม. บทว่า สุสุ แปลว่า สาวรุ่น. บทว่า มิสฺสเกสิโย ได้แก่

มีมวยผมสอดแซมด้วยแก้วทับทิมและพวงดอกไม้เป็นต้น คืออย่างไร

คือที่จัดไว้เรียบร้อยและมีประกายพรายพราว.

ประกอบความว่า มีผมสอดแซมด้วยเกลียวผม โดยจัดเป็นแบบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 536

ต่าง ๆ เท่า ๆ กัน เหมือน ๆ กัน ประดับด้วยใยไม้ทองเป็นต้น

มีประกายพรายพราวดังดอกอินทนิลและแก้วมณีเป็นต้น. บทว่า อนุพฺ-

พตา ได้แก่ มีกิริยาอนุกูล. บทว่า ตา ได้แก่ เหล่าอัปสร.

บทว่า จนฺทนสารวาสิตา ได้แก่ ไล้ทา คือลูบไล้ ด้วยจันทน์ทิพย์

ที่นำมาจากแก่นจันทน์ ด้วยบทว่า กณฺเสุ เป็นต้น ท่านแสดงถึง

เครื่องประดับสำหรับคอ สำหรับมือ สำหรับเท้า และสำหรับศีรษะเป็นต้น.

บทว่า โอภาสนนฺติ ประกอบความว่า ย่อมสว่างไสวไปด้วยเครื่องประดับ

ที่คอทั้งหลายเหล่านั้น แม้ในบทที่เหลือก็อย่างนี้. บทว่า อพฺภุทฺทย

แปลว่า กำลังอุทัยขึ้นไป. ปาฐะว่า อพฺภุทฺทส ก็มี เนื้อความก็เหมือน

กันอย่างนั้นแหละ. บทว่า สารทิโก แปลว่า ในสรทกาล. บทว่า

ภาณุมา แปลว่า พระอาทิตย์ ความจริง พระอาทิตย์นั้น ย่อมสว่าง

ด้วยดีตลอดทั้งสิบทิศ เพราะเว้นโทษมีหมอกเป็นต้น.

บทว่า วาตสฺส เวเคน จ ความว่า อันกำลังของลมและกำลัง

ของม้าเทียมรถ การทำการนำกลิ่นและเสียงเป็นที่พอใจเข้ามา กระพือ

พัดเหมือนนำออกไป. บทว่า มุญฺจนฺติ ได้แก่ ปล่อย [ กลิ่น ]. บทว่า

รุจิร ได้แก่ ให้ความชอบใจยิ่ง ๆ ขึ้น เหมือนดนตรีเครื่อง ๕. บทว่า

สุจึ ได้แก่ หมดจด ไม่มีอะไรเกี่ยวข้อง. บทว่า สุภ ได้แก่ เป็นที่

พอใจ. บทว่า สพฺเพหิ วิญฺญูหิ สุตพฺพรูป ประกอบความว่า ย่อม

เปล่งเสียงที่มีสภาพสูงสุด น่าฟัง อันวิญญูชนที่รู้ลัทธิคนธรรพ์ [ วิชา

ดนตรี พึงฟัง.

บทว่า อุยฺยานภูมฺยา แปลว่า เนื้อที่อุทยาน. บทว่า ทุวทฺธโต

ได้แก่ กึ่งทั้งสองข้างอุทยาน อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ทุภโต จ ิตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 537

ดังนี้ก็มี เนื้อความก็อย่างนั้นแหละ. บทว่า รถา แปลว่า รถ. บทว่า

นาคา แปลว่า ช้าง บทนี้เป็นปฐมาวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ.

บทว่า สโร ได้แก่ เสียงที่อาศัย [ ซึ่ง ] รถ ช้าง และดนตรีเกิด.

ท่านเรียกเทวบุตรว่า เทวินทะ. บทว่า วีณา ยถา โปกฺขรปตฺตพาหุภิ

ความว่า เหมือนพิณที่นักดนตรีถือรางและคันพิณที่ปรับไว้อย่างดีแล้ว

กำหนดให้เหมาะแก่มุจฉนา [ ระดับเสียง ๓ คือ แข็งอ่อนปานกลาง ]

ที่จะเปล่งเสียงนั้น ๆ บรรเลงอยู่ ย่อมทำชนผู้พึงให้บันเทิง ฉันใด รถ

เป็นต้นย่อมยังท่านให้บันเทิงด้วยเสียงของตน ฉันนั้น อธิบายว่า พิณที่

บรรเลงด้วยมือทั้งสองของนักบรรเลงพิณ ที่ชำนาญช่องพิณและเสียงพิณ

เพราะตนชำนาญดีแล้ว ย่อมทำมหาชนให้บันเทิง ฉันใด รถเป็นต้น

ย่อมทำให้ท่านบันเทิงด้วยเสียงของตน ฉันนั้น.

คาถาว่า อิมาสุ วีณาสุ มีความย่อดังต่อไปนี้ เมื่อพิณเป็นอันมาก

เหล่านี้ ต่างโดยเสียงเป็นต้นว่า เสียงตรง เสียงปลา เสียงคด เสียงเพลิด

เพลินมาก ชื่อว่า ไพเราะ เพราะมีเสียงหวานสนิท จากนั้น อัปสรได้

บรรเลงคือประโคมอย่างจับใจ ถึงใจ ติดใจ อิ่มใจ มีปีติเป็นนิมิต เหล่า

อัปสร คือสาวสวรรค์พากันร่ายรำ คือเที่ยวแสดงการฟ้อนรำอยู่ในดอก

ปทุมทิพย์ทั้งหลาย เพราะกำลังแห่งปีติพลุ่งขึ้น และเพราะคนชำนาญ

ดีแล้ว.

บทว่า อิมานิ นี้ พึงประกอบเฉพาะบทว่า อิมานิ คีตานิ การ

ขับร้องเหล่านี้ อิมานิ วาทิตานิ การบรรเลงเหล่านี้ อิมานิ นจฺจานิ

การฟ้อนรำเหล่านั้น ดังนี้. บทว่า สเมนฺติ เอกโต ความว่า ย่อม

มีรสกลมกลืนกัน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สเมนฺติ เอกโต ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 538

ย่อมกระทำให้ผสมผสานเป็นอันเดียวกัน คือรวมกัน ให้มีรสกลมกลืนกัน

อธิบายว่า เทียบเสียงพิณกับเสียงขับร้อง และเทียบเสียงขับร้องกับเสียง

พิณ ไม่ลดรสมีรสหรรษาเป็นต้น ตามที่ได้แล้วด้วยการฟ้อนรำ ชื่อว่า

ย่อมผสมผสานกลมกลืนกัน. บทว่า อเถตฺถ นจฺจนฺติ อเถตฺถ อจฺฉรา

โอภาสยนฺติ ความว่า อัปสรเหล่าอื่น บางพวกก็กระทำการขับร้อง

เป็นต้น ให้มีรสเหมาะกันอย่างนี้ ฟ้อนรำอยู่ในรถนี้ คือรถของท่านนี้

อีกพวกหนึ่ง เป็นอัปสรชั้นประเสริฐ เป็นอัปสรชั้นสูงสุด ชมการ

ฟ้อนรำ ทำสิบทิศให้สว่างไสว คือให้โชติช่วงไปสิ้น ทั้งสองส่วน คือ

ในทั้งสองข้าง ในนั้น คือในที่นี้ ด้วยแสงสว่างแห่งเรือนร่างของตน

และด้วยแสงสว่างแห่งพัสตราภรณ์.

บทว่า โส ได้แก่ ท่านนั้นเป็นอย่างนั้น. บทว่า ตุริยคณปฺป-

โพธโน ได้แก่ อันหมู่ทิพยดนตรีปลุกปลื้มแล้ว. บทว่า มหียฺยมาโน

แปลว่า อันทวยเทพบูชาอยู่. บทว่า วชิราวุโธริว แปลว่า ราวกะ

พระอินทร์.

บทว่า อุโปสถ ก วา ตุว อุปาวสิ ความว่า พระมหาโมค-

คัลลานเถระถามว่า แม้คนอื่น ๆ ก็รักษาอุโบสถกัน ท่านเล่ารักษา

อุโบสถอะไร คือเช่นไร. บทว่า ธมฺมจริย ได้แก่ บำเพ็ญบุญมีให้ทาน

เป็นต้น. บทว่า วต ได้แก่ สมาทานวัต. บทว่า อภิโรจยิ แปลว่า

ชอบใจยิ่ง ความว่า ชอบใจบำเพ็ญ ปาฐะว่า อภิราธยิ ก็มี ความว่า

ให้เกิดประโยชน์ คือให้สำเร็จประโยชน์.

บทว่า อิท เป็นเพียงนิบาต อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ผลนี้.

บทว่า อภิโรจเส แปลว่า โชติช่วงข่ม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 539

เทวบุตรนั้นถูกพระมหาเถระถามอย่างนี้แล้ว ได้บอกเนื้อความนั้น

เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

เทวบุตรนั้นดีใจ ลูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ชนะอินทรีย์แล้ว

มีความเพียรไม่ทราม ผู้สูงสุดแห่งนระทั้งหลาย

ทรงพระนามว่า กัสสปะ เป็นอัครบุคคล ผู้เปิด

ประตูแห่งอมตนคร ผู้เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา ผู้

มีบุญลักษณะตั้งร้อย ผู้เป็นเช่นกับกุญชร ผู้ข้าม

โอฆะได้แล้ว ผู้มีพระรูปงามเช่นกับทองสิงคีและ

ทองชมพูนุท ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

แล้ว ข้าพเจ้าก็มีใจเลื่อมใสทันที ข้าพเจ้าได้เห็น

พระองค์ผู้มีสุภาษิตเป็นธง ได้ถวายข้าวและน้ำอัน

สะอาด ประณีต ประกอบด้วยรส และจีวรใน

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ในที่อยู่ของตนอัน

เกลื่อนกล่นไปด้วยดอกไม้ ข้าพเจ้านั้นมีใจไม่ข้อง

ในอะไร ๆ ได้อังคาส [ เลี้ยงดู ] พระพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ผู้สูงสุดกว่าเหล่าสัตว์สองเท้า ด้วยข้าว

น้ำ จีวร ของเคี้ยว ของบริโภค และของลิ้ม จึง

รื่นรมย์อยู่ในสวรรค์อันเป็นเทวบุรี โดยอุบายนี้

ข้าพเจ้าได้บูชายัญ ชื่อนิรัคคฬะ (มีลิ่มสลักอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 540

ออกแล้ว เพราะได้บริจาคสมบัติของตนทั้งหมด)

อันบริสุทธิ์ ๓ อย่างนี้ ละร่างมนุษย์แล้ว เป็นผู้

เสมอกับพระอินทร์ รื่นรมย์อยู่ในเทวบุรี ข้าแต่

ท่านพระมุนี บุคคลเมื่อหวังอายุ วรรณะ สุขะ พละ

และรูปอันประณีต พึงตั้งข้าวและน้ำที่ปรุงแต่งดีแล้ว

เป็นอันมากถวาย แด่พระพุทธเจ้าผู้มีพระทัยไม่ข้อง

เกี่ยวอะไร ๆ ไม่ว่าในโลกนี้หรือโลกหน้า ไม่มีผู้

ประเสริฐสุดหรือเสมอด้วยพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้า

ถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง บรรดาผู้ควร

บูชาทั้งหลาย สำหรับชนผู้ต้องการบุญ ผู้แสวงผล

อันไพบูล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชิตินฺทฺริย ความว่า ชื่อว่า มีอินทรีย์

อันชนะแล้ว เพราะทรงชนะอินทรีย์มีใจเป็นที่หกด้วยมรรคอันยอดเยี่ยม

ที่โคนโพธินั่นแล คือทรงทำให้หมดพยศแล้ว ชื่อว่า พุทธะ เพราะ

ตรัสรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่งเป็นต้น โดยความเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เป็นต้น

ไม่เหลือเลย ชื่อว่า มีความเพียรไม่ทราม เพราะมีความเพียรบริบูรณ์

อธิบายว่า เพราะบริบูรณ์ด้วยความเพียรอันประกอบด้วยองค์ ๔ (ความ

เพียรมีองค์ ๔ คือยอมเหลือแต่หนัง ๑ เอ็น ๑ กระดูก ๑ เนื้อเลือดจะ

แห้งไปก็ตาม ๑ ) และด้วยความเพียรชอบ ๔ [ เพียร ๔ คือ สังวรปธาน

ปหานปธาน ภาวนาปธาน อนุรักขนาปธาน]. บทว่า นรุตฺตม ได้แก่

สูงสุดแห่งนระทั้งหลาย คือสูงสุดแห่งสัตว์สองเท้า ท่านเรียกพระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 541

พระภาคเจ้าด้วยพระโคตรว่า กัสสปะ. บทว่า อปาปุรนฺต อมตสฺส

ทฺวาร ความว่า ทรงเปิดอริยมรรค คือประตูมหานครนิพพาน ที่ปิด

มาตั้งแต่ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามโกนาคมนะอันตรธาน.

บทว่า เทวาติเทว ได้แก่ เป็นเทพยิ่งกว่าเทพแม้ทั้งปวง. บทว่า

สตปุญฺลกฺขณ ได้แก่ มีลักษณะมหาบุรุษเกิดขึ้นด้วยอำนาจบุญหลาย

ร้อย.

บทว่า กุญฺชร ได้แก่ เหมือนช้าง เพราะย่ำยีข้าศึกคือกิเลส ความว่า

ช้างยิ่งใหญ่. ชื่อว่า ข้ามโอฆะได้แล้ว เพราะข้ามโอฆะใหญ่คือสังสารวัฏ

แห่งโอฆะทั้ง ๔. บทว่า สุวณฺณสิงฺคีนทพิมฺพสาทิส ได้แก่ เช่นกับ

รูปทองสิงดีและทองชมพูนุท ความว่า มีพระฉวีวรรณเปล่งปลั่งดังทอง.

บทว่า ทิสฺวาน ต ขิปฺปมหุ สุจีมโน ความว่า ข้าพเจ้าเห็นพระกัสสป-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทันทีทันใดนั้นเอง ก็มีใจสะอาด คือมีใจ

หมดจด เพราะปราศจากมลทินคือกิเลส เหตุเลื่อมใสว่า สมฺมาสมฺพุทฺโธ

ภควา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้เองโดยชอบ ดังนี้. ก็บทว่า ตเมว

ทิสฺวาน นั้นแล ความว่า ครั้นได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นนั่นเทียว.

บทว่า สุภาสิตทฺธช ได้แก่ ผู้มีธรรมเป็นธง.

บทว่า ตมนฺนปาน ได้แก่ ซึ่งข้าวและน้ำ ในพระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระองค์นั้น. บทว่า อถ วาปิ จีวร ได้แก่ แม้ซึ่งจีวร. บทว่า

รสสา อุเปต ได้แก่ ประกอบด้วยรส คือมีรสอร่อย ความว่า โอฬาร

[ประณีต ]. บทว่า ปุปฺผาภิกิณฺณมฺหิ ได้แก่ เกลื่อนกล่นไปด้วย

ดอกไม้ทั้งหลาย ที่ร้อยแล้วก็มี ที่ไม่ได้ร้อยก็มี ห้อยไว้ก็มี ลาดไว้ก็มี.

บทว่า ปติฏฺเปสิ ได้แก่ มอบให้แล้ว คือได้ถวายแล้ว. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 542

อสงฺคมานโส ประกอบความว่า ข้าพเจ้านั้นมีจิตไม่ข้องในอะไร ๆ.

บทว่า สคฺคโส ได้แก่ ทุก ๆ สรรค์ เพราะเกิดเที่ยวไปเที่ยวมา

ในเทวบุรี คือในสุทัศนมหานคร แม้นั่นเอง. บทว่า รมามิ ได้แก่

เล่นบันเทิงใจ.

บทว่า เอเตนุปาเยน ความว่า โดยอุบายที่ข้าพเจ้าได้ถวายอส-

ทิสทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสปะ พร้อมด้วยหมู่พระ-

สาวก ครั้งเป็นโคปาลพราหมณ์. บทว่า อิม นิรคฺคฬ ยญฺ ยชิตฺวา

ติวิธ วิสุทฺธ ความว่า บูชายัญ เพราะจาคะใหญ่ เหตุบริจาคทรัพย์นับ

ไม่ได้ คือ ถวายมหาทาน ชื่อว่า นิรัคคฬะ มีลิ่มสลักออกแล้ว เพราะ

ไม่ปิดประตูเรือนด้วย เพราะหลั่งจาคะด้วย ชื่อว่า สามอย่าง เพราะถึง

พร้อมด้วยวิธีกระทำเอง วิธีใช้ให้เขากระทำ และวิธีระลึกถึง ตามทวาร

สาม ในกาลแม้ทั้งสาม ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะไม่มีสังกิเลสในทานนั้น

เลย ก็เทวบุตรถือเอาทานแม้ทำไว้นานแล้วนั้น ทำให้ปรากฏ ใกล้ชิด

ผุดขึ้นชัดแกตน ด้วยระลึกถึงในระหว่าง ๆ เพราะความที่สัมปทา คือ

เขต [ทักขิไณย ] วัตถุ [ ไทยธรรม ] และจิต [เจตนา] โอฬาร

จึงกล่าวว่า อิม ดังนี้.

เทวบุตรครั้นกล่าวถึงกรรมที่ตนทำไว้แล้วแก่พระเถระอย่างนี้แล้ว

บัดนี้ เมื่อประกาศความที่ตนปรารถนาจะให้ผู้อื่นตั้งอยู่ในสมบัติเช่นนั้น

บ้าง และความเลื่อมใสมากของตนมีอย่างสูงสุดในพระตถาคต จึงกล่าว

สองคาถาด้วยนัยว่า อายุญฺจ วณฺณญฺจ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า อภิกงฺขตา แปลว่า เมื่อปรารถนา เทวบุตรเรียกพระเถระว่า

มุนี ข้าแต่ท่านพระมุนี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 543

ด้วยบทว่า นยิมสฺมึ โลเก เทวบุตรกล่าวโลกที่ประจักษ์แก่ตน.

บทว่า ปรสฺมึ แปลว่า อื่นจากโลกนั้น. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงโลก

พร้อมทั้งเทวโลกไว้หมด. บทว่า สโมว วิชฺชติ ความว่า คนที่

ประเสริฐสุด จงยกไว้ก่อน คนที่เสมอกันเท่านั้น ก็ไม่มี. บทว่า

อาหุเนยฺยาน ปรมาหุตึ คโต ความว่า ชื่อว่า ผู้ที่ควรบูชาทั้งหลาย

มีประมาณเท่าใดในโลกนี้ พระพุทธเจ้าทรงถึงแล้วซึ่งการบูชาอย่างยิ่ง

คือซึ่งความเป็นผู้ควรบูชาอย่างยิ่ง ในบรรดาผู้ควรบูชาเหล่านั้นทั้งหมด

อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า ทกฺขิเณยฺยาน ปรมคฺคต คโต ดังนี้. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า ปรมคฺคต แปลว่า ความเป็นผู้เลิศอย่างยิ่ง ความ

ว่า ความเป็นพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ เพื่อจะแก้ปัญหาว่า สำหรับใคร

ท่านจึงกล่าวว่า สำหรับชนผู้ต้องการบุญ ผู้แสวงผลอันไพบูลย์ ความว่า

สำหรับชนผู้มีความต้องการด้วยบุญ ผู้ปรารถนาผลแห่งบุญอันไพบูลย์

อย่างใหญ่ ท่านแสดงว่า พระตถาคตเท่านั้นเป็นบุญเขตของโลก แต่

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาหุเนยฺยาน ปรมคฺคต คโต เนื้อความก็

อย่างนั้นแหละ.

พระเถระรู้ว่า เทวบุตรนั้นซึ่งกำลังกล่าวอยู่อย่างนั้นแล มีจิตสบาย

มีจิตอ่อน มีจิตปราศจากนิวรณ์ มีจิตรื่นเริง และมีจิตเลื่อมใส จึงได้

ประกาศสัจจะทั้งหลาย เวลาจบสัจจะ เทวบุตรนั้นก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

ลำดับนั้น พระเถระกลับมามนุษยโลก ได้กราบทูลความนั้นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตามทำนองที่ตนและเทวบุตรกล่าวแล้วนั่นแล พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 544

ทรงทำความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงแสดงธรรมแก่บริษัท

ที่ประชุมกัน เทศนานั้นได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน แล.

จบอรรถกถามหารถวิมาน

กถาพรรณนาความแห่งมหารถวรรคที่ ๕ ซึ่งประดับด้วยเรื่อง

๑๔ เรื่อง ในวิมานวัตถุแห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อ ปรมัตถทีปนี

จบแล้วด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 545

ปายาสิกวรรคที่ ๖

๑. ปฐมอคาริยวิมาน

ว่าด้วยอคาริยวิมานที่ ๑

พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๖๕] สวนจิตรลดาวันเป็นวนะประเสริฐสูงสุด

ของทวยเทพชั้นไตรทศ ส่องแสงสว่างไสว ฉันใด

วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ส่องแสงสว่างไสว

อยู่ในอากาศ ท่านบรรลุเทวฤทธิ์มีอานุภาพมาก

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรว่า เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

ส่องแสงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมมีผลอย่างนี้ว่า

ในมนุษยโลก ข้าพเจ้าและภรรยา อยู่ครอง

เรือน เป็นดุจอู่ข้าวอู่น้ำ มีจิตเลื่อมใส ได้บริจาค

ข้าวและน้ำอย่างไพบูลโดยเคารพ เพราะบุญนั้น

ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และวรรณะของ

ข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบปฐมอคาริยวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 546

ปายาสิกวรรคที่ ๖

อรรถกถาปฐมอคาริยวิมาน

ปฐมอคาริยวิมาน มีคาถาว่า ยถา วน จิตฺตลต ปภาสติ

เป็นต้น. ปฐมอคาริยวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น ตระกูล [ ครอบครัว ] หนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ เป็นผู้เลื่อมใส

ทั้งสองฝ่าย พรั่งพร้อมด้วยศีลและจรรยา เป็นดุจบ่อน้ำของภิกษุและ

ภิกษุณีทั้งหลาย ทั้งสองภริยาสามีนั้นอุทิศพระรัตนตรัย ทำบุญจนตลอด

ชีวิต จุติจากภพนั้น แล้วไปบังเกิดในเหล่าภพชั้นดาวดึงส์ เทพทั้งสอง

นั้น เสวยทิพยสมบัติในดาวดึงส์นั้น. คำว่า ครั้งนั้น ท่านพระมหา-

โมคคัลลานะ เป็นต้น พึงทราบ ตามนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลัง.

พระเถระถามว่า

จิตรลดาวัน อุทยานอันประเสริฐสูงสุด ของ

เหล่าเทพชั้นไตรทศ ย่อมส่องรัศมี ฉันใด วิมาน

ของท่านนี้ ก็อุปมาฉันนั้น ส่องรัศมีอยู่ในอากาศ.

ท่านบรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ครั้งเกิด

เป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่าน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 547

เทวบุตรได้พยากรณ์สมบัติของตนว่า

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ [ตอบ] ปัญหาของกรรมที่มีผล

อย่างนี้ว่า

ในมนุษยโลก ข้าพเจ้ากับภริยา อยู่ครองเรือน

เป็นดุจบ่อน้ำ มีจิตเลื่อมใสแล้ว เมื่อบริจาคข้าวน้ำ

ได้ถวายทานอย่างไพบูล โดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิดแก่ข้าพเจ้า.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอ

บอกท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ทำบุญใด

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

แม้ในคาถาทั้งหลาย คำที่ไม่เคยกล่าวไว้ไม่มี คือกล่าวมาแล้ว

ทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปฐมอคาริยวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 548

๒. ทุติยอคาริยวิมาน

ว่าด้วยอคาริยวิมานที่ ๒

พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๖๖] สวนจิตรลดาวันเป็นวนะประเสริฐสูงสุด

ของทวยเทพชั้นไตรทศ ส่องแสงสว่างไสว ฉันใด

วิมานของท่านนี้ก็มีอุปมาฉันนั้น ส่องแสงสว่างไสว

อยู่ในอากาศ ท่านบรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพบุตรนั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ จึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ในมนุษยโลก เรา คือ ข้าพเจ้าและภรรยา

อยู่ครองเรือน เป็นดุจบ่อข้าวบ่อน้ำ มีจิตเลื่อมใส

เมื่อบริจาคข้าวน้ำได้ถวายทานอย่างไพบูลย์ โดย

เคารพ เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะอย่างนี้

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบทุติยอคาริยวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 549

อรรถกถาทุติยอคาริยวิมาน

ทุติยอคาริยวิมาน. มีความว่า ยถา วน จิตฺตลต เป็นต้น.

ในทุติยอคาริยวิมานนั้น อัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง ก็เช่นเดียวกับปฐม

อคาริยวิมาน แล.

พระเถรถามว่า

จิตรลดาวัน อุทยานอันประเสริฐสูงสุด ของ

ทวยเทพชั้นไตรทศ ย่อมส่องรัศมี ฉันใด วิมานนี้

ของท่านก็อุปมาฉันนั้น ส่องรัศมีอยู่ในอากาศ.

ท่านบรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ครั้งเกิด

เป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่าน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทวบุตรได้พยากรณ์สมบัติของตนว่า

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะ

ถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่นี้ผลอย่างนี้ว่า

ในมนุษยโลก ข้าพเจ้ากับภริยา อยู่ครองเรือน

เป็นดุจบ่อน้ำ มีจิตเลื่อมใสแล้ว เมื่อบริจาคข้าวน้ำ

ได้ถวายทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารัก จึงเกิดแก่ข้าพเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 550

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง

อย่างนี้ และวรรณะของข้าพเจ้า จึงสว่างไสวไป

ทุกทิศ.

แม้ในคาถาทั้งหลาย ก็กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาทุติยอคาริยวิหาร

๓. ผลทายกวิมาน

ว่าด้วยผลทายกวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๖๗] วิมานแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดย

รอบ มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ มีเสาแก้วไพฑูรย์

ปูลาดด้วยเครื่องลาดอันสวยงาม ท่านนั่ง ดื่ม กิน

ในวิมานนั้น อนึ่ง พิณทิพย์บรรเลงไพเราะ เทพ-

อัปสร ชั้นไตรทศ ๖๔,๐๐๐ ชำนาญศิลป์ ล้วนแต่ผู้

พากันมาฟ้อนรำขับร้องให้บันเทิงใจ ท่านบรรลุเทว-

ฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้

ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพ

รุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไป

ทุกทิศ.

เทพบุตรนั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 551

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ผู้มีจิตเลื่อมใส เมื่อถวายก็ถวายผลมะม่วงใน

หมู่ภิกษุผู้ปฏิบัติตรง ย่อมได้ผลอันไพบูลย์ ผู้นั้นแล

ไปสู่สวรรค์บันเทิงอยู่ในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์ เสวยผล

บุญอันไพบูลย์ ข้าแต่ท่านมหามุนี ก็อย่างนั้นเหมือน

กัน ข้าพเจ้าได้ถวายผลมะม่วง ๔ ผล.

เพราะเหตุนั้นแล มนุษย์ผู้ต้องการความสุข

ปรารถนาความสุข อันเป็นทิพย์ หรือปรารถนาความ

สวยงามของมนุษย์ ควรถวายผลไม้เป็นนิตย์ทีเดียว.

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ 1 ล ฯ

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบผลทายกวิมาน

อรรถกถาผลทายกวิมาน

ผลทายกวิมาน มีดาถาว่า อุจฺจมิท มณิถูณ เป็นต้น. ผลทายก-

วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น พระเจ้าพิมพิสารเกิดความอยากจะเสวยผลมะม่วง ในเวลาที่มิใช่

ฤดูมะม่วง ท้าวเธอตรัสกะพนักงานเฝ้าสวนว่า พนายเอ๋ย ข้าเกิดอยากกิน

ผลมะม่วงขึ้นมาแล้ว เพราะฉะนั้น เจ้าจงนำมะม่วงมาให้ข้าทีเถิด. เจ้า

พนักงานกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ขณะนี้มะม่วงทั้งหลายยังไม่มีผล พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 552

เจ้าข้า แต่ถ้าหากพระองค์จะโปรดรอคอยชั่วเวลาสักเล็กน้อย ข้าพระบาท

ก็จะทำให้มันออกผลให้ได้ ไม่นานเลย พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดีสิ พนาย

ลงมือทำอย่างนั้นเลย. พนักงานเฝ้าสวนก็ไปสวน เอาดินละเอียด ที่โคน

ต้นมะม่วงออกไปแล้ว เกลี่ยดินละเอียดเช่นนั้นลงใหม่ รดน้ำลงตรงนั้น

จนต้นมะม่วงสลัดใบ ไม่นานนัก ครั้นแล้ว ก็เอาดินละเอียดนั้นออกไป

เกลี่ยดินละเอียดตามปกติ ผสมกับกากมะปรางแล้วใส่น้ำรสหวานลงไป.

ครั้งนั้น ไม่นานเลย ต้นมะม่วงทั้งหลายก็ออกช่อตามกิ่ง ตูมแล้วก็บาน.

ออกผลดิบอ่อนแล้วก็แก่. ในต้นมะม่วงเหล่านั้น ต้นหนึ่ง ก็สุกก่อน

๔ ผล มีสีแดงเรื่อดังผงชาด มีกลิ่นรสหอมหวาน.

พนักงานเฝ้าสวนนั้น ก็ถือผลมะม่วงเหล่านั้นเดินไปหมายจะถวาย

พระราชา ระหว่างทาง พบท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังบิณฑบาต

คิดว่า มะม่วงเหล่านี้ เป็นผลไม้ชั้นยอด จำเราจักถวายพระผู้เป็นเจ้าเสีย

เถิด พระราชาจะทรงฆ่า หรือเนรเทศเราก็ตามที. เพราะว่า เมื่อเรา

ถวายพระราชา ก็จะพึงมีผลเล็กน้อยเพียงด่าตอบแทนในปัจจุบัน แต่เมื่อ

เราถวายพระผู้เป็นเจ้าแล้ว จักมีผลไม่มีประมาณ ทั้งปัจจุบันทั้งภายหน้า

ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว ก็ถวายผลมะม่วงเหล่านั้นแก่พระเถระ แล้วเข้าเฝ้า

กราบทูลเรื่องนั้นถวายแด่พระราชา. พระราชาทรงสั่งราชบุรุษว่า พนาย

พวกเจ้าจงสอบสวน อย่างที่บุรุษผู้นี้กล่าวก่อน. ส่วนพระเถระ นำผล

มะม่วงเหล่านั้น น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ในผลมะม่วงเหล่านั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานแก่ท่านพระสารีบุตรผล ๑ ท่านพระมหาโมค-

คัลลานะผล ๑ ท่านพระมหากัสสปะผล ๑ เสวยเองผล ๑ พวกราชบุรุษ

จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 553

พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงปลื้มพระทัยว่า บุรุษผู้นี้เป็น

บัณฑิต ที่ยอมสละชีวิตคนขวนขวายแต่บุญ และได้สร้างฐานความลำบาก

ใจให้แก่ตนเอง แล้วพระราชทานบ้านส่วยตำบล ๑ และผ้าผ่อนเครื่อง

ประดับเป็นต้นแก่เขาแล้วตรัสว่า พนาย เจ้าขวนขวายบุญ ด้วยการถวาย

ผลมะม่วงเป็นทาน เจ้าจงให้ส่วนบุญจากทานนั้นแก่เราบ้างสิ. เขากราบ

ทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระบาท ขอถวาย โปรดทรงรับส่วนบุญ ตาม

สมควรเถิด พระเจ้าข้า. ต่อมาพนักงานเฝ้าสวน ก็ตายไปเกิดในเหล่า

เทพชั้นดาวดึงส์ วิมานทอง ๑๖ โยชน์ ประดับด้วยห้องรโหฐาน ๗๐๐

ก็บังเกิดแก่เขา. ท่านพระมหาโมคคัลลานะพบเทพบุตรนั้นแล้วถามว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูงขนาด ๑๖* โยชน์ โดย

รอบ มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ โอฬาร ล้วนเสาแก้ว

ไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องลาดอันสวยงาม ท่านนั่ง

ดื่ม และกิน อยู่ในวิมานนั้น พิณทิพย์บรรเลงไพเราะ

เหล่าเทพกัญญา ชั้นไตรทศ ๖๔,๐๐๐ ล้วนแต่ดี ผู้

ชำนาญศิลป์ พากันฟ้อนรำขับร้อง ทำความบันเทิง

อย่างโอฬาร. ท่านบรรลุเทวฤทธิ์ แล้วมีอานุภาพ

มาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะ

* พระสูตร ๑๒ โยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 554

ถามแล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

บุคคลผู้มีใจเลื่อมใส ในท่านผู้ปฏิบัติตรง เมื่อ

ถวายทานก็เป็นผู้ถวายผลไม้ ย่อมได้ผลอันไพบูลย์.

แต่จริงผู้ถวายผลไม้นั้น ถึงสวรรค์แล้ว ก็บันเทิงใน

สวรรค์ชั้นไตรทิพย์ และเสวยผลบุญอันไพบูลย์.

ข้าแต่ท่านมหามุนี ข้าพเจ้าก็อย่างนั้นเหมือน

กัน ได้ถวายผลมะม่วง ๔ ผล.

เพราะฉะนั้น มนุษย์ผู้ต้องการสุข หรือ

ปรารถนาสุขทิพย์ หรือปรารถนาความสวยงามของ

มนุษย์ ก็ควรถวายผลไม้เป็นนิตย์ทีเดียว.

เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอ

บอกท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ทำบุญใด

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพมากอย่างนี้ และ

วรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรองค์นั้น ก็พยากรณ์แก่ท่านแล้วดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺกฏฺกา ได้แก่ หมู่ ๘ คูณ ๘

รวมเป็น ๖๔ [ ๖๔,๐๐๐ ] ในห้องรโหฐาน แต่ละห้อง. บทว่า

สาธุรูปา ได้แก่ มีสภาพงามด้วยสมบัติคือรูป สมบัติคือศีลและจรรยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 555

และสมบัติคือสิกขา. บทว่า ทิพฺพา จ กญฺา ได้แก่ เหล่าเทพอัปสร.

บทว่า ติทสจรา ได้แก่ ประพฤติเป็นสุข อยู่เป็นสุข ในเหล่าเทพชั้น

ไตรทศ. บทว่า อุฬารา ได้แก่มีสมบัติโอฬาร.

เทวบุตรกล่าวว่า ผลทายu หมายถึงตนเพราะถวายผลมะม่วงด้วย

ตนเอง. บทว่า ผล ได้แก่ ผลบุญ. บทว่า วิปุล ได้แก่ ได้ผลบุญมาก.

อธิบายว่า ดำรงอยู่ในมนุษยโลก. บทว่า ทท ได้แก่ เมื่อให้ มีทาน

เป็นเหตุ. บทว่า อุชุคเตสุ แปลว่า ในท่านผู้ปฏิบัติตรง. บทว่า

สคฺคปฺปตฺโต ได้แก่ ไปสวรรค์ โดยอุบัติ และเสวยผลบุญอันไพบูลย์

ในสวรรค์ชั้นไตรทิพย์ คือ ภพดาวดึงส์อันเป็นทิพย์แม้นั้น อธิบายว่า

ถึงคนอื่นก็เหมือนข้าพเจ้า.

บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะเหตุที่ประสบสมบัติเช่นนี้ ด้วยเหตุ

เพียงถวายมะม่วง ๔ ผล. บทว่า อลเมว แปลว่า ควรโดยแท้. บทว่า

นิจฺจ ได้แก่ ทุกเวลา. บทว่า ทิพฺพานิ ได้แก่ นับเนื่องในเทวโลก.

บทว่า มนุสฺสโสภคฺคต ได้แก่ ความสวยงามในหมู่มนุษย์. คำที่เหลือ

มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาผลทายกวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 556

๔. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน

ว่าด้วยปฐมอุปัสสยทายกวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๖๘] พระจันทร์ส่องแสงสว่าง อยู่ในนภากาศ

อันปราศจากเมฆฝนฉันใด วิมานของท่านนี้ก็ฉันนั้น

ส่องแสงสว่างอยู่ในอากาศ ท่านบรรลุเทวฤทธิ์ มี

อานุภาพมาก ครั้งเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานเถระถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าและภรรยา เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก

ได้ถวายที่อยู่แก่พระอรหันต์ มีจิตเลื่อมใส เมื่อ

บริจาคข้าวและน้ำ ได้ถวายทานอันไพบูลย์เป็นอัน

มากโดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบปฐมอุปัสสยทายกวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 557

อรรถกถาปฐมอุปัสสยทายกวิมาน

ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน มีคาถาว่า จนฺโท ยถา วิคตพลาหเก นเภ

เป็นต้น. ปฐมอุปัสสยทายกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง จำพรรษา ณ วัดใกล้หมู่บ้าน ออกพรรษาปวารณา

แล้ว ก็เดินทางไปกรุงราชคฤห์ เพื่อถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

ระหว่างทางก็เข้าไปยังหมู่บ้านตำบลหนึ่ง เวลาเย็น แสวงหาที่อยู่ พบอุบาสก

ผู้หนึ่งจึงถามว่า ท่านอุบาสก หมู่บ้านนี้มีที่พอบรรพชิตอยู่ได้บ้างไหม.

อุบาสกมีจิตเลื่อมใสอยู่แล้วจึงไปบ้านพร้อมกับภริยา นิมนต์แล้วกำหนด

ที่พอพระเถระอยู่ได้ ตกแต่งอาสนะในที่นั้น วางน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า

แล้ว นิมนต์ให้เข้าไป เมื่อพระเถระกำลังล้างเท้า ก็จุดประทีป ปูเครื่อง

ลาดบนเตียงถวายและนิมนต์ฉันวันพรุ่งนี้ วันรุ่งขึ้นก็ให้พระเถระฉันและ

ถวายก้อนน้ำอ้อยงบ เพื่อใส่น้ำดื่ม เดินไปส่งพระเถระแล้วก็กลับ ต่อมา

อุบาสกนั้น ก็ตายพร้อมกับภริยา ไปบังเกิดในวิมานทอง ๑๒ โยชน์

ภพดาวดึงส์. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ จึงสอบถามเทพบุตรนั้น ด้วย

สองคาถาว่า

ดวงจันทร์โคจรอยู่ในอากาศ ส่องแสงกระจ่าง

ในท้องฟ้า ที่ปราศจากพลาหก [ เมฆฝน ] ฉันใด

วิมานนี้ของท่าน ก็เปรียบฉันนั้น ตั้งอยู่ในอากาศ

ส่องรัศมีอยู่ ท่านบรรลุเทวฤทธิ์แล้ว มีอานุภาพมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 558

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไร เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ในมนุษยโลก ข้าพเจ้ากับภริยาได้ถวายที่อยู่

อาศัยแก่พระอรหันต์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว เมื่อบริจาค

ข้าวน้ำได้ถวายทานอย่างไพบูลย์ โดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า ฯ ล ฯ และ

วรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นได้พยากรณ์ด้วยสองคาถาดังนี้.

คำที่จะพึงกล่าวในคาถานั้น ก็มีนัยที่กล่าวมาแล้วในหนหลังนั้นแล.

จบอรรถกถาปฐมอุปัสสยทายกวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 559

๕. ทุติยอุปัสสยทายกวิมาน

ว่าด้วยทุติยอุปัสสยทายกวิมาน

พระมหาโมคคัลลานนะเถระ ได้ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๖๙] พระอาทิตย์ส่องแสงสว่างอยู่ในนภากาศ

อันปราศจากเมฆฝน ฉันใด ฯ ล ฯ พวกเราคือ

ข้าพเจ้าและภรรยา เมื่อยังอยู่ในมนุษยโลก ได้ถวาย

ที่อยู่แก่พระอรหันต์ มีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าว

และน้ำอันไพบูลย์เป็นทานโดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะอย่างนี้ ฯ ล ฯ

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบทุติยอุปัสสยทายกวิมาน

อรรถกถาทุติยอุปัสสยทายกวิมาน

ทุติยอุปัสสยทายกวิมาน มีคาถาว่า สุริโย ยถา วิคตพลาหเก

นเภ เป็นต้น. ทุติยอุปัสสยทายกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น ภิกษุเป็นอันมาก จำพรรษาวัดใกล้หมู่บ้าน พากันเดินทาง

หมายกรุงราชคฤห์ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เวลาเย็นก็มาถึงหมู่บ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 560

ตำบลหนึ่ง. คำที่เหลือ ก็เช่นเดียวกับวิมานก่อน.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะ สอบถามว่า

ดวงอาทิตย์โคจรไปในอากาศ ส่องแสงสว่าง

ในท้องฟ้า ที่ปราศจากพลาหก [ เมฆฝน ] ฉันใด

วิมานนี้ของท่าน ก็เปรียบฉันนั้น ฯ ล ฯ และ

วรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

วิมานนี้พึงทำให้พิสดารเหมือนวิมานก่อนในหนหลัง.

แม้ในคาถานั้น ก็กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาทุติยอุปัสสยทายกวิมาน

๖. ภิกขาทายกวิมาน

ว่าด้วยภิกขาทายกวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๐] วิมานแก้วมณีของท่านนี้สูง ๑๒ โยชน์

โดยรอบ มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ มีเสาแก้วไพฑูรย์

ปูลาดด้วยเครื่องลาดอันสวยงาม ท่านบรรลุเทวฤทธิ์

มีอานุภาพมาก ฯ ล ฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึง

สว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 561

เทพบุตรนั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าได้

เห็นภิกษุลำบากกาย หิวโหย ในกาลนั้น ข้าพเจ้า

จัดกับข้าวอย่างหนึ่ง ถวายพร้อมด้วยข้าวสวย เพราะ

บุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ

วรรณะของข้าพเจ้าจึงว่างไสวไปทุกทิศ.

จบภิกขาทายกวิมาน

อรรถกถาภิกขาทายกวิมาน

ภิกขาทายกวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิท มณิถูณ วิมาน เป็นต้น.

ภิกขาทายกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เดินทางไกลเข้าไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านตำบลหนึ่ง

ยืนใกล้ประตูเรือนหลังหนึ่ง. บุรุษผู้หนึ่งในเรือนหลังนั้น ล้างมือเท้าแล้ว

นั่งลงหมายจะบริโภคโภชนะ เมื่อเขาจัดโภชนะใส่ในภาชนะ เห็นภิกษุ

นั้น ก็เกลี่ยข้าวสวยในภาชนะของตน ลงในบาตรของภิกษุนั้น แม้ภิกษุ

นั้นจะบอกว่า ให้แต่ส่วนเดียวเถิด แต่ก็เกลี่ยลงหมดเลย ภิกษุนั้น

อนุโมทนาแล้วก็กลับไป. บุรุษผู้นั้นกำลังระลึกว่า เราไม่กินแต่ถวาย

ข้าวสวยนั้นแก่ภิกษุผู้หิวจัด ก็ได้ปีติโสมนัสอันโอฬาร ต่อมา เขาตาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 562

ก็ไปบังเกิดในวิมานทอง ๑๒ โยชน์ ในภพชั้นดาวดึงส์ ท่านพระมหา

โมคคัลลานะเที่ยวเทวจาริกไป พบเทพบุตรนั้นรุ่งโรจน์ด้วยเทวฤทธิ์ยิ่ง

ใหญ่ จึงสอบถามด้วยสองคาถานี้ว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ โอฬาร ล้วนเสาแก้วไพฑูรย์

ปูลาดด้วยเครื่องลาดอันงามดี ท่านบรรลุเทวฤทธิ์แล้ว

มีอานุภาพมาก ฯ ล ฯ และวรรณะของท่านก็สว่าง

ไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าพบ

ภิกษุ ที่ลำบากกาย หิวโหย จึงปรุงกับข้าวอย่างหนึ่ง

โดยถวายพร้อมกับข้าวสวยในเวลานั้น. เพราะบุญ

นั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ

วรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกาห ภิกฺข ได้แก่ ข้าพเจ้าปรุง

อาหารพอเป็นกับอย่างหนึ่ง. อธิบายว่า กับข้าว อย่างหนึ่ง. บทว่า

ปฏิปาทยิสฺส ได้แก่ ปรุงถวาย. บทว่า สมงฺคิ ภตฺเตน แปลว่า

พร้อมกับข้าวสวย อธิบายว่า อาหารที่ได้แล้ว เมื่อเทพบุตรนั้นประกาศ

สุจริตกรรมของตนอย่างนี้แล้ว พระมหาเถระจึงแสดงธรรมแก่เทพบุตร

นั้น พร้อมกับบริวารแล้วกลับมามนุษยโลก กราบทูลเรื่องนั้นถวายแด่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 563

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระศาสดาทรงทำเรื่องนั้นเป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิด

เรื่องแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่มหาชนที่ประชุมกัน เทศนานั้น ก็ได้เกิด

ประโยชน์แก่มหาชนแล.

จบอรรถกถาภิกขาทายกวิมาน

๗. ยวปาลกวิมาน

ว่าด้วยยวปาลกวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๑] วิมานแก้วมณีของท่านนี้ ฯ ล ฯ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตนั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของธรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าเป็นคน

เฝ้านาข้าวเหนียว ได้เห็นภิกษุผู้ปราศจากกิเลสดุจธุลี

ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว มีความเลื่อมใส จึงได้แบ่งขนม

สดถวายท่านด้วยมือของตน ครั้นแล้วจึงบันเทิงอยู่

ในสวนนันนทวัน เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะ

เช่นนี้ ฯ ล ฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสว

ไปทุกทิศ.

จบยวปาลกวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 564

อรรถกถายวปาลกวิมาน

ยวปาลกวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิท มณิถูณ วิมาน เป็นต้น.

ยวปาลกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์

เด็กเข็ญใจคนหนึ่ง เฝ้านาข้าวเหนียว. วันหนึ่ง เขาได้ขนมสดอย่างหนึ่ง

สำหรับเป็นอาหารมื้อเช้า คิดว่าไปนาแล้วจึงจักกิน ถือนมสดนั้นเดินไป

นาข้าวเหนียว นั่งลงใกล้โคนไม้ ขณะนั้น พระเถระขีณาสพรูปหนึ่งเดิน

ทางมาถึงที่นั้นในเวลากระชั้นชิด เข้าไปยังโคนไม้ที่เด็กเฝ้านาข้าวเหนียว

นั่งอยู่. เด็กเฝ้านาข้าวเหนียวดูเวลาแล้วถามว่า ท่านได้อาหารแล้วหรือ

ขอรับ พระเถระก็นิ่ง เขารู้ว่า ท่านยังไม่ได้ฉัน จึงกล่าวว่า ท่านขอรับ

ใกล้เวลาแล้ว ท่านไปเที่ยวบิณฑบาตฉันไม่ได้แล้วละ โปรดฉันขนมสดนี้

อนุเคราะห์กระผมเถิด แล้วถวายขนมสดนั้นแก่พระเถระ. พระเถระเมื่อ

จะอนุเคราะห์เด็กนั้น ก็ฉันขนมสดนั้น ทั้งที่เขาเห็นอยู่ อนุโมทนาแล้ว

ก็กลับไป. แม้เด็กนั้นก็มีจิตเลื่อมใสว่า เราเมื่อถวายขนมสดเป็นทานแก่

ภิกษุเช่นนี้ ชื่อว่าถวายดีแล้วหนอ ต่อมา เขาก็ตายไปบังเกิดในวิมาน

ภพดาวดึงส์ โดยนัยที่กล่าวมาแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะจึงสอบถาม

เทพบุตรนั้น ด้วยคาถาหลายคาถาว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ โอฬาร มีเสาแก้วไพฑูรย์

ลาดด้วยเครื่องลาดอันงามดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 565

ท่านนั่งดื่มและกินอยู่ในวิมานนั้น พิณทิพย์

บรรเลงไพเราะ และเหล่าเทพกัญญาชั้นไตรทศ

จำนวน ๖๔,๐๐๐ นาง ก็เป็นผู้ดี ล้วนชำนาญศิลป์

ฟ้อนรำขับร้อง ทำความบันเทิงอย่างโอฬาร.

ท่านบรรลุเทวฤทธิ์แล้วมีอานุภาพมาก ครั้ง

เกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

แม้เทพบุตรนั้น ก็พยากรณ์แก่ท่านด้วยคาถาหลายคาถาว่า

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าได้

เป็นคนเฝ้านาข้าวเหนียว ได้เห็นพระภิกษุผู้ปราศจาก

กิเลสดุจธุลี ผ่องใสไม่มัวหมอง ก็เลื่อมใส ได้แบ่ง

ขนมถวายแก่ท่านด้วยมือตนเอง ครั้นถวายขนมส่วน

หนึ่งแล้ว ก็บันเทิงอยู่ในนันทนวัน.

เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 566

บอกท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ทำบุญใดไว้

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

แม้ในคาถาเหล่านั้น ที่ไม่เคยกล่าวไว้ไม่มี คือกล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถายวปาลกวิมาน

๘. ปฐมกุณฑลีวิมาน

ว่าด้วยกุณฑลีวิมานที่ ๑

พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๒] ท่านแต่งองค์ ทรงมาลัย ทรงพัสตรา-

ภรณ์สวย ใส่ตุ้มหูอันงาม แต่งผมและหนวดเรียบร้อย

สวมอาภรณ์ประดับมือ เรืองยศ อยู่ในวิมานทิพย์ ดุจ

พระจันทร์ อนึ่ง พิณทิพย์ก็บรรเลงไพเราะ เทพอัปสร

ชั้นไตรทศจำนวน ๖๔,๐๐๐ ก็เป็นผู้ดี ล้วนชำนาญ

ศิลป์ พากันมาฟ้อนรำขับร้องทำให้บันเทิงใจ ท่าน

บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์

ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมี

อานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่านจึงสว่าง

ไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 567

ดีใจ พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าได้

เห็นสมณะทั้งหลายผู้มีศีล มีวิชชาและจรณะพรั่ง-

พร้อม มียศ เป็นพหูสูต บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหา มี

จิตเลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าวและน้ำ ได้ถวายทาน

อย่างไพบูล โดยความเคารพ เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้า

จึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึง

สว่างไสวไปทุกทิศ.

จบปฐมกุณฑลีวิมาน

อรรถกถาปฐมกุณฑลีวิมาน

ปฐมกุณฑลีวิมาน มีคาถาว่า อลงฺกโต มาลฺยธโร สุวตฺโถ

เป็นต้น. ปฐมกุณฑลีวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี.

สมัยนั้น ท่านพระอัครสาวกทั้งสองพร้อมด้วยบริวาร เที่ยวจาริกไปใน

แคว้นกาสี เวลาพระอาทิตย์ตก ก็ถึงวิหารแห่งหนึ่ง. อุบาสกผู้หนึ่งใน

โคจรคาม [ หมู่บ้านที่พระเที่ยวบิณฑบาต ] ของวิหารนั้นได้ยินเรื่องนั้น

แล้ว ก็ไปหาพระเถระไหว้แล้ว น้อมน้ำล้างเท้า น้ำมันทาเท้า เตียงตั่ง

เครื่องปูลาด และเครื่องประทีป นิมนต์ฉันวันพรุ่งนี้ รุ่งขึ้นก็ถวาย

มหาทาน พระเถระทำอนุโมทนาแก่อุบาสกนั้นแล้วก็จาริกต่อไป ต่อมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 568

อุบาสกนั้นก็ตายไปบังเกิดในวิมานทอง ๑๒ โยชน์ ภพดาวดึงส์ ท่าน

พระมหาโมคคัลลานะจึงสอบถามเทพบุตรนั้น ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ท่านแต่งองค์ ทรงมาลัย มีพัสตราภรณ์สวย

ใส่ตุ้มหูงาม แต่งผมและหนวดเรียบร้อย สวมอาภรณ์

ประดับมือ มียศ [ เกียรติและบริวาร ] อยู่ในวิมาน

ทิพย์ เหมือนพระจันทร์ พิณทิพย์ก็บรรเลงเพราะ

และเหล่าเทพกัญญาชั้นไตรทศจำนวน ๖๔,๐๐๐ ก็

เป็นผู้ดี ล้วนชำนาญศิลป์ พากันมาฟ้อนรำขับร้อง

ทำความบันเทิงอย่างโอฬาร.

ท่านบรรลุเทวฤทธิ์แล้วมีอานุภาพมาก ครั้งเกิด

เป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่าน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าเห็น

สมณะทั้งหลายมีศีล มีวิชชาและจรณะพรักพร้อม

มียศ เป็นพหูสูต เข้าถึงธรรมที่สิ้นตัณหา ก็มีจิต

เลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าวน้ำ จึงได้ถวายทายอย่าง

ไพบูลย์ โดยเคารพ เพราะบุญนั้น วรรณะของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 569

ข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่

ข้าพเจ้า และโภคะทุกอย่างที่น่ารัก ฯ ล ฯ เพราะ

บุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกุณฺฑลี ได้แก่ มีหูประดับด้วย

ตุ้มหูคู่งาม ปาฐะว่า สกุณฺฑลี ก็มี ตุ้มหูเช่นนั้น ชื่อว่า สกุณฑละ ตุ้มหู

เช่นนั้นมีอยู่แก่เทพบุตรนั้น เหตุนั้น เทพบุตรนั้น จึงชื่อ สกุณฺฑลี

ผู้มีตุ้มหู อธิบายว่า ผู้มีตุ้มหูที่เหมาะ มีตุ้มหูที่สมกันและกันแก่ท่าน.

บทว่า กปฺปิตเกสมสฺสุ ได้แก่ แต่งผมและหนวดเรียบร้อย. บทว่า

อามุตฺตหตฺถาภรโณ ได้แก่ สวมเครื่องประดับมือ มีนิ้วมือเป็นต้น.

บทว่า ตณฺหกฺขยูปปนฺโน ได้แก่ เข้าถึงธรรมที่สิ้นตัณหา ได้แก่

พระอรหัต หรือนิพพานนั่นเอง อธิบายว่า บรรลุธรรมที่คายกิเลส.

คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปฐมกุณฑลีวิมาน

๙. ทุติยกุณฑลีวิมาน

ว่าด้วยกุณฑลีวิมานที่ ๒

พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๓] ท่านแต่งองค์ทรงมาลัย มีพัสตราภรณ์

สวย ฯ ล ฯ ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 570

เทพบุตรนั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าได้

เห็นสมณะล้วนแต่ดี ฯ ลฯ ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ฯ ล ฯ และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่าง

ไสวไปทุกทิศ.

จบทุติยกุณฑลีวิมาน

อรรถกถาทุติยกุณฑลีวิมาน

ทุติยกุณฑลีวิมาน มีคาถาว่า อลงฺกโต มาลฺยธโร สุวตฺโถ

เป็นต้น. ทุติยกุณฑลีวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร กรุงสาวัตถี.

สมัยนั้น ท่านพระอัครสาวกทั้งสอง เที่ยวจาริกไปในแคว้นกาสี. คำดัง

ว่ามาเป็นต้นทั้งหมด ก็เช่นเดียวกับวิมานก่อนนั่นแหละ.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะถามว่า

ท่านแต่งองค์ ทรงมาลัย ทรงพัสตราภรณ์อัน

สวย ตุ้มหูงาม แต่งผมและหนวดเรียบร้อย สวม

เครื่องประดับมือ มียศ อยู่ในวิมานทิพย์เหมือน

พระจันทร์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 571

พิณทิพย์บรรเลงไพเราะ และเหล่าเทพกัญญา

ชั้นไตรทศจำนวน ๖๔,๐๐๐ ก็เป็นผู้ดี ล้วนชำนาญ

ศิลป์ พากันมาฟ้อนรำขับร้อง ทำความบันเทิงอย่าง

โอฬาร ท่านบรรลุเทวฤทธิ์แล้วมีอานุภาพมาก ฯ ล ฯ

และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าเห็น

สมณะทั้งหลาย ล้วนแต่ดี มีวิชชาและจรณะพรัก-

พร้อม มียศ เป็นพหูสูต มีศีลผ่องใส มีจิตเลื่อมใส

เมื่อบริจาคข้าวน้ำได้ถวายทานอย่างไพบูล โดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า ฯ ล ฯ เพราะบุญ

นั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

แม้ในคาถาทั้งหลาย ก็ไม่มีคำที่ไม่เคยมี.

จบอรรถกถาทุติยกุณฑลีวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 572

๑๐. อุตตรวิมาน

ว่าด้วยอุตตรวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ได้ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๔] สภาใดของท้าวสักกเทวราช ชื่อ

สุธรรมา หมู่เทพนั่งกันอย่างพร้อมเพรียงในสภาใด

วิมานของท่านนี้ก็อุปมาด้วยสภานั้น ส่องแสงสว่าง

อยู่ในอากาศ ท่านบรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะของท่าน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้น ถูกพระโมคคัลลานเถระถามแล้ว

ดีใจ ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าเป็น

มาณพรับใช้ของพระยาปายาสิ ได้ทรัพย์มาแล้ว ได้

กระทำการแจกจ่าย อนึ่ง ท่านผู้มีศีลทั้งหลาย เป็น

ที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาค

ข้าวและน้ำได้ถวายทานอันไพบูลย์ โดยเคารพ

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ

วรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบอุตตรวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 573

อรรถกถาอุตตวิมาน

อุตตรวิมาน มีคาถาว่า ยา เทวราชสฺส สภา สุธมฺมา เป็นต้น.

อุตตรวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพาน แจกพระธาตุกันแล้ว พระสถูป

ทั้งหลาย ถูกสถาปนาไว้ในนครนั้น ๆ ครั้นพระมหาเถระมีพระมหา-

กัสสปะเป็นประมุข คัดเลือกพระเถระอรหันต์เพื่อสังคายนาพระธรรมวินัย

แล้ว และเมื่อพระเถระอื่น ๆ กับบริษัทของตน ๆ อยู่ในที่นั้น ๆ จน

เข้าพรรษา ท่านพระกุมารกัสสปะพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป ถึงเสตัพยนคร

อยู่ ณ สีสปาวัน ครั้งนั้น พระยาปายาสิ [ เจ้าเมืองเสตัพยะ ] ฟังว่า

พระเถระอยู่ในที่นั้น มีหมู่ชนเป็นอันมากแวดล้อมแล้ว เข้าไปหาพระเถระ

ทำปฏิสันถารกันแล้วก็นั่งลง ประกาศทิฏฐิของตน พระเถระเมื่อประกาศ

ว่า ปรโลก [โลกอื่น] มีด้วยอุทาหรณ์มีพระจันทร์และพระอาทิตย์

เป็นต้น ก็แสดงปายาสิสูตร อันวิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ ประดับด้วยเหตุและ

อุปมามากอย่าง เปลื้องปมทิฏฐิ ทำพระยาปายาสินั้นให้ดำรงอยู่ในทิฏฐิ

สัมปทา ถึงพร้อมด้วยความเห็นชอบ.

พระยาปายาสินั้น มีทิฏฐิความเห็นหมดจดแล้ว เมื่อให้ทานแก่

สมณพราหมณ์คนยากไร้คนเดินทางไกลเป็นต้น ก็ให้แต่ของปอน ๆ คือ

ข้าวปลายเกรียนกับน้ำส้มพะอูม พอแก้หิว และผ้าเนื้อหยาบ เพราะตนมี

อัธยาศัยไม่โอฬาร [ คือใจแคบ ] ดังนั้น จึงให้ทานโดยไม่เคารพ

ครั้นแตกกายทำลายขันธ์ ก็เข้าถึงหมู่เทพชั้นต่ำ คือเป็นสหายของเหล่าเทพ

ชั้นจาตุมหาราช [ ต่ำสุดในสวรรค์ ๖ ชั้น ]. ส่วนมาณพชื่ออุตตระ ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 574

จัดการในกิจใหญ่กิจน้อยของพระยาปายาสินั้น ได้เป็นผู้ขวนขวายในทาน

เขาให้ทานโดยเคารพ ก็เข้าถึงหมู่เทพชั้นดาวดึงส์. วิมาน ๑๒ โยชน์ ก็

บังเกิดแก่เขา อุตตรเทพบุตร เมื่อจะประกาศความกตัญญู. จึงเข้าไปหา

ท่านพระกุมารกัสสปะพร้อมทั้งวิมาน ลงจากวิมานแล้ว ไหว้ด้วย

เบญจางคประดิษฐ์ ยืนประคองอัญชลีอยู่. พระเถระจึงสอบถามอุตตร-

เทพบุตรนั้น ด้วยคาถาหลายคาถาว่า

วิมานนี้ของท่าน ตั้งอยู่ในอากาศ ส่องรัศมี

เปรียบด้วยสภาของท้าวสักกเทวราช ชื่อสุธรรมา มี

หมู่เทพนั่งอยู่กันพร้อมเพรียง.

ท่านบรรลุเทวฤทธิ์แล้วมีอานุภาพมาก ฯลฯ

และวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกท่านพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าได้

เป็นมาณพรับใช้ของพระยาปายาสิ ได้ทรัพย์มาแล้ว

ก็เอามาจัดแจกเป็นทาน ภิกษุทั้งหลายที่มีศีลเป็นที่รัก

ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใสแล้ว เมื่อบริจาค

ข้าวน้ำก็ได้ถวายทานอย่างไพบูลย์ โดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 575

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า ฯ ล ฯ เพราะบุญ

นั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ

ของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรแม้นั้น ได้พยากรณ์ด้วยคาถาเหล่านี้แล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทวราชสฺส ได้แก่ ท้าวสักกะ. บทว่า

สภา สุธมฺมา ได้แก่ สัณฐาคาร ห้องประชุมมีชื่ออย่างนี้. บทว่า ยตฺถ

แปลว่า ในสภาใด. บทว่า อจฺฉติ แปลว่า นั่ง. บทว่า เทวสงฺโฆ ได้แก่

หมู่เทพชั้นดาวดึงส์. บทว่า สมคฺโค ได้แก่ ไปด้วยกัน คือ ชุมนุมกัน.

บทว่า ปายาสิสฺส อโหสึ มาณโว ได้แก่ ชื่อว่ามาณพ เพราะ

เป็นคนหนุ่ม เป็นผู้กระทำกิจการใหญ่น้อย ของพระยาปายาสิ แต่โดย

ชื่อ เขาชื่อว่า อุตตระ. บทว่า สวิภาค อกาสึ ได้แก่ ข้าพเจ้าไม่ใช้

ทรัพย์ตามที่ได้ [ เป็นส่วนตัว ] หากได้ทำการจำแนกแจกจ่ายโดยสละใน

ทานเป็นสำคัญ. พึงประกอบคำที่เหลือ [ซึ่งควรเพิ่ม ] ว่า เมื่อสละ

ข้าวและน้ำ อีกอย่างหนึ่ง ได้ถวายเป็นทานอย่างไพบูลย์ ได้ถวายทาน

อย่างไพบูลย์อย่างไร ถวายทานเช่นไร โดยเคารพ พึงประกอบว่า เมื่อ

บริจาคข้าวและน้ำ.

จบอรรถกถาอุตตรวิมาน

จบอรรถกถาปายาสิวรรคที่ ๖ ประดับด้วยเรื่อง ๑๐ เรื่อง ในวิมานวัตถุ

แห่งปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 576

รวมวิมานที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอคาริยวิมาน ๒. ทุติยอคาริยวิมาน ๓. ผลทายกวิมาน

๔. ปฐมอุปัสสยทายกวิมาน ๕. ทุติยอุปัสสยทายกวิมาน ๖. ภิกขาทายก-

วิมาน ๗. ยวปาลกวิมาน ๘. ปฐมกุณฑลีวิมาน ๙. ทุติยกุณฑลีวิมาน

๑๐. อุตตรวิมาน และอรรถกถา.

จบวรรคที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 577

สุนิกขิตตวรรคที่ ๗

๑. จิตตลดาวิมาน

ว่าด้วยจิตตลดาวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๕] สวนจิตรลดาเป็นวนะประเสริฐที่สุด สูง

สุดของทวยเทพชั้นไตรทศ ย่อมสว่างไสว ฉันใด

วิมานของท่านนี้ก็อุปมาฉันนั้น สว่างไสวอยู่ในอากาศ

ท่านได้เทพฤทธิ์มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์

ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมี

อานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสว

ไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ครั้งแล้วกพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ข้าพเจ้า

เป็นคนยากจน ไม่มีที่พึ่ง ยากไร้เป็นกรรมกร เลี้ยง

ดูบิดามารดาผู้แก่เฒ่า อนึ่ง สมณะผู้มีศีลได้เป็นที่

รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาค

ข้าวและน้ำ ได้ถวายทานอย่างไพบูลย์ โดยเคารพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 578

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะ

บุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า. ฯ ล ฯ เพราะบุญ

นั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรื่องอย่างนี้ และรัศมีของ

ข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบจิตตลดาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 579

สุนิกขิตตวรรคที่ ๗

อรรถกถาจิตตลดาวิมาน

จิตตลดาวิมาน มีคาถาว่า ยถา วน จิตฺตลต ปภาสติ เป็นต้น.

จิตตลดาวิมานนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี สมัย

นั้น ในกรุงสาวัตถีมีอุบาสกคนหนึ่ง เป็นคนยากจน มีโภคะน้อย รับ

จ้างทำงานของผู้อื่นเลี้ยงชีพ เขาเป็นคนมีศรัทธาปสาทะ เลี้ยงดูมารดาบิดา

ซึ่งแก่เฒ่า เขาคิดว่า ขึ้นชื่อว่าผู้หญิงมีสามีมักแสดงตัวเป็นใหญ่ ที่

ประพฤติให้ถูกใจแม่ผัวพ่อผัว หายาก หลีกเลี่ยงความร้อนใจของบิดา

มารดาจึงไม่แต่งาน เลี้ยงดูท่านเสียเอง รักษาศีลถืออุโบสถ ให้ทานตาม

กำลังทรัพย์ ต่อมาเขาทำกาลกิริยาตายไปบังเกิดในวิมาน ๑๒ โยชน์

ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะไปสวรรค์ตามนัยที่กล่าว

แล้วในหนหลัง ได้สอบถามเทพบุตรนั้นถึงกรรมที่ทำไว้ ด้วยคาถา

เหล่านี้ว่า

สวนจิตรลดาเป็นสวนประเสริฐที่สุด สูงสุด

ของทวยเทพชั้นไตรทศ ย่อมสว่างไสวฉันใด วิมาน

ของท่านนี้ก็อุปมาฉันนั้น สว่างไสวอยู่ในอากาศ ท่าน

ได้เทพฤทธิ์มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่าน

ได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 580

รุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไป

ทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ข้าพเจ้า

เป็นคนยากจน ไม่มีที่พึ่ง ยากไร้ เป็นกรรมกร

เลี้ยงดูบิดามารดาผู้แก่เฒ่า อนึ่ง สมณะผู้มีศีลได้เป็น

ที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาค

ข้าวและน้ำได้ถวายทานอย่างไพบูลย์ โดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะ

บุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะทุก

อย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า. ฯ ล ฯ เพราะบุญนั้น

ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของ

ข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรแม้นั้นได้กล่าวตอบพระมหาโมคคัลลานเถระนั้น ด้วย

ประการฉะนี้ คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาจิตตลดาวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 581

๒. นันทนวิมาน

ว่าด้วยนันทนวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๖] สวนนันทนวันเป็นวนะประเสริฐที่สุด สูง

สุดของทวยเทพชั้นไตรทศ ย่อมสว่างไสว ฉันใด

วิมานของท่านนี้ ก็อุปมาฉันนั้น สว่างไสวอยู่ใน

อากาศ ท่านได้เทพฤทธิ์มีอานุภาพมาก ครั้งเกิด

เป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่าน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ข้าพเจ้า

เป็นคนยากจน ไม่มีที่พึ่ง เป็นกำพร้า เป็นกรรมกร

เลี้ยงดูบิดามารดาผู้แก่เฒ่า อนึ่ง สมณะผู้มีศีล ได้เป็น

ที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาค

ข้าวและน้ำ ได้ถวายทานอย่างไพบูลย์ โดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะ

บุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า ฯ ล ฯ เพราะบุญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 582

นั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมี

ของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบนันทนวิมาน

อรรถกถานันทนวิมาน

นันทนวิมาน มีคาถาว่า ยถา วน นนฺทน ปภาสติ เป็นต้น.

นันทนวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี

เรื่องทั้งหมดเป็นต้นว่า สมัยนั้น ในกรุงสาวัตถีมีอุบาสกคนหนึ่ง ดังนี้

เหมือนกับเรื่องของวิมานติด ๆ กัน (ที่กล่าวมาแล้ว ) แต่อุบาสกคนนี้

แต่งงานแล้วเลี้ยงดูบิดามารดา ต่างกันตรงนี้เท่านั้น.

พระมหาโมคคัลลานเถระได้สอบถามเทพบุตรถึงกรรมที่ทำไว้ ด้วย

คาถาเหล่านี้ว่า

สวนนันทนวันเป็นสวนประเสริฐสุด สูงสุดของ

ทวยเทพชั้นไตรทศ สว่างไสวฉันใด วิมานของท่าน

นี้ก็อุปมาฉันนั้น สว่างไสวอยู่ในอากาศ ท่านได้

เทพฤทธิ์มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้

ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพ

รุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไป

ทุกทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 583

เทพบุตรนั้นถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ดีใจ

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ข้าพเจ้า

เป็นคนยากจน ไม่มีที่พึ่ง เป็นกำพร้า เป็นกรรมกร

เลี้ยงดูบิดามารดาผู้แก่เฒ่า อนึ่ง สมณะผู้มีศีล ได้

เป็นที่รักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส เมื่อ

บริจาคข้าวและน้ำ ได้ถวายทานอย่างไพบูลย์ โดย

เคารพ.

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า. ฯ ล ฯ เพราะบุญ

นั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมี

ของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรได้พยากรณ์ด้วยคาถาทั้งหลา ด้วยประการฉะนี้ แม้ใน

คาถาเหล่านั้น เรื่องที่ไม่เคยมีมิได้มี คือมีมาแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถานันทนวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 584

๓. มณิถูณวิมาน

ว่าด้วยมณิถูณวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๗] วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๒ โยชน์ โดย

รอบ มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ล้วนเสาแก้วไพฑูรย์ ปูลาด

ด้วยเครื่องปูลาดที่งดงามโอฬาร ท่านนั่งและดื่มกิน

ในวิมานนั้น และพิณทิพย์ก็บรรเลงไพเราะ มีกาม-

คุณห้ามีรสเป็นทิพย์ และอัปสรเทพนารีที่แต่งองค์

ด้วยทองฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

เช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน

และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพบุตรผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ข้าพเจ้า

ได้สร้างที่จงกรมไว้ในทางที่ไม่มีต้นไม้ และปลูก

ต้นไม้ไว้ร่มรื่น อนึ่ง สมณะผู้มีศีล ได้เป็นที่รัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 585

ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาค

ข้าวและน้ำ ได้ถวายทานอย่างไพบูลย์ โดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้

เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า. ฯ ล ฯ เพราะบุญ

นั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมี

ของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบมณิถูณวิมาน

อรรถกถามณิถูณวิมาน

มณิถูณวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิท มณิถูณ วิมาน เป็นต้น.

มณิถูณวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี

สมัยนั้น ภิกษุผู้เถระเป็นจำนวนมากอยู่ในที่อยู่ในป่า ในทางที่พระเถระ

เหล่านั้นไปบิณฑบาตยังหมู่บ้านตำบลใกล้ ๆ อุบาสกคนหนึ่งปรับพื้นที่

ไม่เรียบให้เรียบเอาหนามออกไป ถางกอไม้พุ่มไม้ออก ผูกสะพานที่

เหมืองทั้งหลายในฤดูน้ำ ปลูกต้นไม้มีเงาร่มรื่นในที่ไม่มีต้นไม้ ลอกลำห้วย

และทำให้กว้างและลึก จัดทำท่าน้ำไว้พร้อม และให้ทานตามกำลังทรัพย์

รักษาศีล ต่อมา เขาทำกาลกิริยาตายไปบังเกิดในวิมานทอง ๑๒ โยชน์

ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 586

ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ เข้าไปหาสอบถามเทพบุตรนั้นด้วย

คาถาหลายคาถาว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ล้วนเสาแก้วไพฑูรย์ ปูลาด

ด้วยเครื่องปูลาดที่งดงามโอฬาร ท่านนั่ง และดื่ม

กินในวิมานนั้น และพิณทิพย์ก็บรรเลงไพเราะ มี

กามคุณ ๕ มีรสเป็นทิพย์ และอัปสรเทพนารีที่แต่ง

องค์ด้วยทองฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมี

วรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่

ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพบุตร ผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอ

ถามท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

รัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นได้พยากรณ์แก่พระมหาโมคคัลลานเถระ ด้วยคาถา

หลายคาถาว่า

เทพบุตรนั้น ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ดีใจ ครั้นถูกถามแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่

มีผลอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 587

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในหมู่มนุษย์ ข้าพเจ้าได้

สร้างที่จงกรมไว้ในทางที่ไม่มีต้นไม้ และปลูกต้นไม้

ไว้ร่มรื่น อนึ่ง สมณะ ผู้มีศีล ได้เป็นที่รักของข้าพเจ้า

ข้าพเจ้ามีจิตเลื่อมใส เมื่อบริจาคข้าวและน้ำ ได้ถวาย

ทานอย่างไพบูลย์โดยเคารพ.

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีวรรณะเช่นนี้ เพราะ

บุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ข้าพเจ้า และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า. ฯ ล ฯ เพราะบุญ

นั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมี

ของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิวเน ได้แก่ ในป่า. บทว่า

อารามรุกฺขานิ ความว่า ข้าพเจ้าได้ปลูกต้นไม้ทั้งหลายในที่นั้น ทำ

ต้นไม้ทั้งหลายให้เป็นที่ร่มรื่น หรือทำต้นไม้ทั้งหลายเนอารามให้ร่มรื่น

คำที่เหลือทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถามณิถูณวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 588

๔. สุวรรณวิมาน

ว่าด้วยสุวรรณวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๘] วิมานเหนือภูเขาทองของท่านมีรัศมี

สว่างไปทุกส่วน ปกคลุมด้วยข่ายทองผูกขึงข่ายกระ-

ดึงไว้ เสาวิมานทุกต้นแปดเหลี่ยม ทำไว้อย่างดี

ล้วนแล้วด้วยแก้วไพฑูรย์ ที่เหลี่ยมหนึ่ง ๆ สร้าง

ด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีพื้นอันน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตร

ด้วยแก้วไพฑูรย์กับทอง แก้วผลึกกับเงิน แก้วลาย

( เพชรตาแมว ) กับมุกดา และแก้วมณีแดง ( กับทิม )

ที่วิมานนั้น ธุลีไม่ฟุ้ง หมู่จันทันมีสีเหลืองที่สร้างไว้

ก็รับช่อฟ้า สร้าง ๔ บันไดไว้ ๔ ทิศ สว่างไสวด้วย

ห้องรัตนะต่าง ๆ ดุจดวงอาทิตย์ ที่วิมานนั้นมีไพที

จัดไว้เป็นพิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิมิตไว้เป็น

สัดส่วน เมื่อส่องแสงจึงสว่างไปโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ.

ในวิมานอันประเสริฐนั้น ท่านเป็นเทพบุตร

ผู้มีรัศมีมาก รุ่งโรจน์ด้วยวรรณะดุจอาทิตย์ที่กำลัง

อุทัย นี้เป็นผลแห่งทาน หรือศีล หรืออัญชลีกรรม

ของท่าน ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอกผลกรรม

นั้นแก่อาตมาทีเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 589

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ครั้นแล้วจึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าอยู่ในเมืองอันธกวินทะ เลื่อมใสแล้ว

ได้สร้างวิหารถวายพระพุทธเจ้า เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์

ผู้เป็นพระศาสดา ด้วยมือของตน ข้าพเจ้ามีใจ

เลื่อมใสได้ถวายของหอม ดอกไม้ปัจจัย เครื่องลูบไล้

และวิหาร แด่พระศาสดาในเมืองอันธกวินทะนั้น

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าได้ผลนี้ จึงมีสิทธิในนันทนวัน

ข้าพเจ้ามีหมู่เทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อม รื่น-

รมย์อยู่ในนันทนวันอันประเสริฐ ที่น่ารื่นรมย์ประกอบ

ไปด้วยสกุณชาตินานาชนิด.

จบสุวรรณวิมานที่ ๔

อรรถกกถาสุวรรณวิมาน

สุวรรณวิมาน มีคาถาว่า โสวณฺณคเย ปพฺพตสฺมึ เป็นต้น.

สุวรรณวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นครอันธกวินทะ สมัยนั้น

อุบาสกคนหนึ่งมีศรัทธาปสาทะ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติได้สร้าง

พระคันธกุฎีที่สมควรเป็นที่ประทับของพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงพร้อม

ด้วยอาการทั้งปวง ที่ภูเขาโล้นแห่งหนึ่งไม่ไกลหมู่บ้านนั้น อาราธนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 590

พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ประทับอยู่ในพระคันธกุฎีนั้นแล้วบำรุงโดยเคารพ

และตนเองก็ตั้งอยู่ในนิจศีล เป็นผู้มีศีลสังวรบริสุทธิ์ดี ทำกาลกิริยาตายไป

บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ วิมานที่รุ่งเรืองด้วยข่ายรัศมีของรัตนะนานา

ชนิด มีไพทีอันวิจิตรแวดล้อม งามพร้อมไปด้วยเครื่องอลังการประดับ

ยอดหลากหลาย มีฝา เสา และบันไดจัดไว้เป็นอย่างดี เป็นรมณีย-

สถานที่น่ารื่นรมย์สมที่ชี้ถึงอานุภาพแห่งกรรมของอุบาสกนั้น ได้เกิดขึ้น

เหนือยอดภูเขาทอง ท่านพระมหาโมคคัลลานะจาริกไปยังเทวโลก เห็น

เทพบุตรนั้นจึงได้ถามด้วยคาถาทั้งหลายว่า

วิมานเหนือภูเขาทอง ของท่านมีรัศมีสว่างไป

ทุกส่วน ปกคลุมด้วยข่ายทอง ผูกขึงข่ายกระดึงไว้

เสาวิมานทุกต้น แปดเหลี่ยมทำไว้อย่างดี ล้วนแล้ว

ด้วยแก้วไพฑูรย์ ที่เหลี่ยมหนึ่ง ๆ สร้างด้วยรัตนะ

๗ ประการ มีพื้นอันน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตรด้วยแก้ว

ไพฑูรย์กับทอง แก้วผลึกกับเงิน แก้วลาย [ เพชร

ตาแมว ] กันมุกดา และแก้วมณีแดง [ ทับทิม ]

ที่วิมานนั้น ธุลีไม่ฟุ้ง หมู่จันทันมีสีเหลือง ที่สร้างไว้

ก็รับช่อฟ้า สร้าง ๔ บันไดไว้ ๔ ทิศ สว่างไสวด้วย

ห้องรัตนะต่าง ๆ ดุจดวงอาทิตย์ ที่วิมานนั้นมีไพที่จัด

ไว้เป็นพิมพ์เดียวกัน ประหนึ่งเนรมิตไว้เป็นสัดส่วน

เมื่อส่องแสงจึงสว่างไปโดยรอบทั้ง ๔ ทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 591

ในวิมานอันประเสริฐนั้น ท่านเป็นเทพบุตร

ผู้มีรัศมีมาก รุ่งโรจน์ด้วยวรรณะ ดุจดวงอาทิตย์

ที่กำลังอุทัย นี้เป็นผลแห่งทาน หรือศีล หรืออัญ-

ชลีกรรมของท่าน ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรดบอก

ผลกรรมนั้นแก่อาตมาที่เถิด.

เทพบุตรแม้นั้น ได้พยากรณ์แก่พระมหาโมคคัลลานเถระด้วยคาถา

เหล่านี้ว่า

เทพบุตรนั้นถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว จึง

พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าอยู่ในเมืองอันธกวินทะ เลื่อมใสแล้ว

ได้สร้างวิหารถวายพระพุทธเจ้า เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์

ผู้เป็นพระศาสดา ด้วยมือของตน ข้าพเจ้ามีใจเลื่อมใส

ได้ถวายของหอม ดอกไม้ ปัจจัย เครื่องลูบไล้

และวิหาร แด่พระศาสดาในเมืองอันธกวินทะนั้น

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ผลนี้ จึงมีสิทธิใน

นันทนวัน ข้าพเจ้ามีหมู่เทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อม

ล้อม รื่นรมย์อยู่ในนันทนวันอันประเสริฐ ที่น่ารื่น-

รมย์ประกอบไปด้วยสกุณชาตินานาชนิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพโตปภ ได้แก่ ส่องรัศมี คือ

เปล่งรัศมีออกไปจากทุกส่วน. บทว่า กิงฺกิณิชาลกปฺปิต ได้แก่ มีข่าย

กระดึงที่จัดไว้เรียบร้อย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 592

บทว่า สพฺเพ เวฬุริยามยา ความว่า เสาทุกต้นล้วนแล้วไป

ด้วยแก้วไพฑูรย์และแก้วมณี. ก็บทว่า เอกเมกาย อสิยา ในคาถานั้น

ได้แก่ ส่วนที่เป็นเหลี่ยมหนึ่ง ๆ ในเสาแปดเหลี่ยม. บทว่า รตนา

สตฺต นิมฺมิตา ได้แก่ อันกรรมสร้างด้วยรัตนะ ๗ อธิบายว่า เหลี่ยม

หนึ่ง ๆ สำเร็จด้วยรัตนะ ๗.

ด้วยบทว่า เวฬุริยสุรณฺณสฺส เป็นต้น ท่านแสดงถึงรัตนะต่างๆ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวฬุริยสุวณฺณสฺส ได้แก่ สร้างด้วยแก้ว

ไพฑูรย์และทอง. อีกอย่างหนึ่ง ประกอบความว่า วิจิตรไปด้วยแก้ว

ไพฑูรย์และทอง. ก็คำนี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ.

แม้ในบทว่า ผลิการูปิยสฺส จ นี้ก็นัยนี้แหละ. บทว่า มสารคลฺลมุตฺตาหิ

ได้แก่ เพชรตาแมว [ แก้วลาย ]. บทว่า โลหิตงฺคมณีหิ ได้แก่

ทับทิม.

บทว่า น ตตฺถุทฺธสตี รโช ความว่า ธุลีไม่ฟุ้งในวิมานนั้น

เพราะมีพื้นทำด้วยแก้วมณี. บทว่า โคปานสีคณา ได้แก่ ประชุมกลอน

[ จันทัน ]. บทว่า ปีตา ได้แก่ มีสีเหลือง อธิบายว่า ทำด้วยทองและ

ทำด้วยมณีบุษราคัมเป็นต้น. บทว่า กูฏ ธาเรนฺติ ความว่า ทรงไว้ซึ่ง

ช่อฟ้าที่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗.

บทว่า นานารตนคพฺเภหิ ได้แก่ ห้องที่ล้วนแล้วไปด้วยรัตนะ

ต่าง ๆ. บทว่า เวทิยา ได้แก่ ไพที (แท่น) บทว่า จตสฺโส

ได้แก่ มี ๔ ไพทีใน ๔ ทิศ ด้วยเหตุนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระ

จึงกล่าวว่า สมนฺตา จตุโร ทิสา โดยรอบทั้ง ๔ ทิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 593

บทว่า มหปฺปโภ แปลว่า รุ่งเรืองมาก. บทว่า อุทยนฺโต

แปลว่า ขึ้นไปอยู่. บทว่า ภาณุมา แปลว่า พระอาทิตย์.

บทว่า สเกหิ ปาณิหิ ประกอบความว่า ข้าพเจ้าประสบบุญซึ่ง

เป็นสาระของกาย เมื่อกระทำกิจนั้น ๆ ได้สร้างวิหารถวายพระศาสดาด้วย

มือของตน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สเกหิ ปาณิหิ ได้แก่ ด้วยอำนาจ

บูชาของหอม ดอกไม้ ปัจจัยและเครื่องลูบไล้ ในเมืองอันธกวินทะนั้น.

เหมือนอย่างไร. ในข้อนี้พึงทราบการประกอบความอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

ได้ถวาย คือบูชาและมอบถวายวิหารที่สร้างแล้ว แด่พระศาสดา ด้วยใจ

เลื่อมใส.

บทว่า เตน ได้แก่ ด้วยบุญกรรมตามที่กล่าวแล้วนั้นเป็นเหตุ.

บทว่า มยฺห แปลว่า อันข้าพเจ้า. บทว่า อิท ได้แก่ ผลบุญนี้

หรืออธิปไตยความเป็นใหญ่อันเป็นทิพย์นี้. เพราะเหตุนั้น เทพบุตรนั้น

จึงกล่าวว่า วส วตฺเตมิ ดังนี้.

บทว่า นนฺทเน ได้แก่ ในเทวโลกนี้ อันเป็นสถานที่เกิดขึ้น

แห่งฤทธิ์ความสำเร็จ อันเป็นทิพย์ ซึ่งเป็นที่เพลิดเพลิน แม้ในที่นั้น

โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือ ในสวนนันทนวันอันรื่นรมย์ ประกอบความว่า

ข้าพเจ้ายินดีในนันทนวันนี้ ซึ่งเป็นที่รื่นรมย์อย่างนี้. คำที่เหลือมีนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

เมื่อเทวดาเล่าแจ้งถึงบุญกรรมของตนอย่างนี้แล้ว พระเถระได้

แสดงธรรมแก่เทพบุตรนั้นพร้อมทั้งบริวาร แล้วกราบทูลความนั้นถวาย

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุป-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 594

ปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงแสดงธรรมโปรดบริษัทที่ประชุมกันอยู่ เทศนา

นั้นได้เกิดประโยชน์แก่มหา ชน ดังนี้แล.

จบอรรถกถาสุวรรณวิมาน

๕. อัมพวิมาน

ว่าด้วยอัมพวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๗๙] วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์

โดยรอบ มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ล้วนเสาแก้วไพฑูรย์

ปลาด้วยเครื่องปูลาดที่งดงามโอฬาร ท่านนั่งและ

ดื่มกินในวิมานนั้น และพิณทิพย์ก็บรรลงไพเราะ

มีกามคุณห้ามีรสเป็นทิพย์ และอัปสรเทพนารีที่แต่ง

องค์ด้วยทองฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมี

วรรณะเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่

ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ฯ ล ฯ

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่าง

นี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 595

เมื่อพระอาทิตย์กำลังแผดแสงในเดือนท้ายฤดูร้อน

ข้าพเจ้าเป็นคนรับจ้างทำงานของผู้อื่น กำลังรดน้ำสวน

มะม่วงอยู่ ในขณะนั้น ภิกษุที่ปรากฏชื่อว่า สารีบุตร

ลำบากกาย ไม่ลำบากใจ ได้เดินไปทางสวนมะม่วงนั้น

ข้าพเจ้ากำลังรดน้ำต้นมะม่วง ได้เห็นท่านกำลังเดิน

มาจึงได้กล่าวว่า ขอโอกาสเถิดเจ้าข้า กระผมขอให้

ท่านสรงน้ำ ซึ่งจะนำสุขใจมาให้ ท่านพระสารีบุตร

วางบาตรจีวรไว้ เหลือจีวรผืนเดียวนั่งที่ร่มเงาโคนต้น

ไม้ เพื่ออนุเคราะห์แก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าเป็นคน

มีใจเลื่อมใส เอาน้ำใสมาให้ท่าน ซึ่งมีจีวรผืนเดียว

นั่งที่ร่มเงาโคนต้นไม้สรงน้ำ มะม่วงเราก็รดน้ำแล้ว

สมณะเราก็ให้ท่านสรงนำแล้ว เราขวนขวายบุญแล้ว

มิใช่น้อย บุรุษนั้นมีปีติซาบซ่านไปทั่วกายของตน ด้วย

ประการฉะนี้ ข้าพเจ้าได้ทำกรรมมีประมาณเท่านี้นั้น

เองในชาตินั้น ละร่างมนุษย์แล้วเข้าถึงนันทนวัน

ข้าพเจ้ามีเหล่าเทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อม

รื่นรมย์อยู่ในอุทยานนันทนวันอันน่ารื่นรมย์ ประกอบ

ไปด้วยฝูงสกุณชาตินานาชนิด.

จบอัมพวิมานที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 596

อรรถกถาอัมพวิมาน

อัมพวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิท มณิถูณ เป็นต้น. อัมพวิมาน

นั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น ในกรุงราชคฤห์มีบุรุษเข็ญใจคนหนึ่ง รับจ้างเฝ้าสวนมะม่วงของ

คนอื่นแลกภัตตาหาร วันหนึ่ง เขาเห็นท่านพระสารีบุตรมีเหงื่อท่วมตัว

กำลังเดินไปตามทางใกล้ ๆ สวนมะม่วงนั้น ในภูมิประเทศที่ร้อนด้วย

แสงแดด ระอุด้วยทรายร้อน มีข่ายพยับแดดเป็นตัวยิบ ๆ แผ่ไปใน

ฤดูร้อน เกิดความเคารพนับถือมาก เข้าไปหาแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านเจ้าข้า

ฤดูร้อนนี้ร้อนมาก ปรากฏเหมือนร่างกายลำบากเหลือเกิน ขอโอกาสเถิด

เจ้าข้า ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดไปยังสวนมะม่วงนี้ พักเสียสักครู่หนึ่ง หาย

เหนื่อยในการเดินทางแล้วค่อยไป โปรดอนุเคราะห์เถิด. พระเถระ

ประสงค์จะเพิ่มพูนจิตเลื่อมใสของเขาเป็นพิเศษ จึงเข้าไปยังสวนนั้น นั่ง

ที่โคนมะม่วงต้นหนึ่ง.

บุรุษนั้นกล่าวอีกว่า ท่านเจ้าข้า ถ้าท่านต้องการจะสรงน้ำ กระผม

จักตักน้ำจากบ่อนี้ให้ท่านสรง และจักถวายน่าดื่มด้วย. พระเถระรับ

นิมนต์ด้วยดุษณีภาพ. เขาตักน้ำจากบ่อเอากรองแล้วให้พระเถระสรง และ

ครั้นให้สรงแล้ว เขาล้างมือเท้าแล้วน้อมน้ำดื่มเข้าถวายแด่พระเถระผู้นั่งอยู่

พระเถระดื่มน้ำดื่มแล้ว ระงับความกระวนกระวายได้แล้วกล่าวอนุโมทนา

ในการถวายน้ำและให้สรงน้ำแก่บุรุษนั้นแล้วหลีกไป. ต่อมา บุรุษนั้นได้

เสวยปีติโสมนัสอย่างโอฬารว่า เราได้ระงับความเร่าร้อนของพระสารี-

บุตรเถระผู้เร่าร้อนยิ่งเพราะฤดูร้อน เราได้ขวนขวายบุญมากหนอ. ภาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 597

หลังเขาทำกาลกิริยาตายไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านพระมหาโมค-

คัลลานะเข้าไปหาเขา ถามถึงบุญที่เขากระทำด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบ

มีห้องรโหฐาน ๗๐๐ ล้วนเสาแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วย

เครื่องปูลาดที่งดงาม ท่านนั่งและดื่มกินในวิมานนั้น

พิณทิพย์ก็บรรเลงไพเราะ ในวิมานนี้มีกามคุณห้ามีรส

อันเป็นทิพย์ และอัปสรเทพนารีที่แต่งองค์ด้วยทอง

ฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะเช่นนี้

เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่ท่าน และโภคะ

ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ฯ ล ฯ

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่าง

นี้ และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ดีใจ

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

เมื่อพระอาทิตย์กำลังแผดแสงในเดือนท้ายฤดู-

ร้อน ข้าพเจ้าเป็นคนรับจ้างทำงานของผู้อื่น กำลัง

รดน้ำสวนมะม่วงอยู่ ในขณะนั้น ภิกษุที่ปรากฏชื่อว่า

สารีบุตร ลำบากกาย ไม่ลำบากใจ ได้เดินไปทาง

สวนมะม่วงนั้น ข้าพเจ้ากำลังรดน้ำต้นมะม่วง ได้

เห็นท่านกำลังเดินมา จึงกล่าวว่า ขอโอกาสเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 598

เจ้าข้า กระผมขอให้ท่านสรงน้ำ ซึ่งจะนำสุขใจมา

ให้ ท่านพระสารีบุตรวางบาตรจีวรไว้ เหลือจีวร

ผืนเดียวนั่งที่ร่มเงาโคนต้นไม้ เพื่ออนุเคราะห์แก่

ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าเป็นคนมีใจเลื่อมใส เอาน้ำใส

มาให้ท่าน ซึ่งมีจีวรผืนเดียวนั่งที่ร่มเงาโคนต้นไม้

สรงน้ำ มะม่วงเราก็รดน้ำแล้ว สมณะเราก็ให้ท่าน

สรงน้ำแล้ว เราขวนขวายบุญแล้วมิใช่น้อย บุรุษนั้น

มีปีติซาบซ่านไปทั่วกายของตน ด้วยประการฉะนี้

ข้าพเจ้าได้ทำกรรมมีประมาณเท่านี้นั่นเอง ในชาติ

นั้น ละร่างมนุษย์แล้วเข้าถึงนันทนวัน ข้าพเจ้า

มีเหล่าเทพอัปสรฟ้อนรำขับร้องห้อมล้อมรื่นรมย์อยู่

ในอุทยานนันทนวันอันน่ารื่นรมย์ ประกอบไปด้วย

ฝูงสกุณชาตินานาชนิด.

เทพบุตรแม้นั้น ได้พยากรณ์แก่พระโมคคัลลานเถระนั้น ด้วย

คาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คิมฺหาน ปจฺฉิเม มาเส ได้แก่

ในอาสาฬหมาส (เดือน ๘ ). บทว่า ปตปนฺเต ได้แก่ ส่องแสงจ้า.

อธิบายว่า ปล่อยออกซึ่งความร้อนโดยประการทั้งปวง. บทว่า ทิวงฺกเร

ได้แก่ พระอาทิตย์. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้แหละ. บทว่า อสิญฺจติ

ได้แก่ รดน้ำ อ อักษรเป็นเพียงนิบาต, ความว่า รดน้ำ คือ ทำการ

รดน้ำเป็นประจำ ที่โคนต้นมะม่วงทั้งหลาย ปาฐะว่า อสิญฺจถ ก็มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 599

ความว่า รดแล้ว. บางท่านกล่าวว่า อสิญฺจห ก็มี ความว่า ข้าพเจ้า

เป็นบุรุษรับจ้างของคนอื่น ได้รดน้ำสวนมะม่วงในคราวนั้น.

บทว่า เตน ความว่า ได้ไป คือ ได้เดินไปทางทิศาภาคที่สวน

มะม่วงตั้งอยู่ (เดินไปทางสวนมะม่วง). บทว่า อกิลนฺโต ว เจตสา

ประกอบความว่า พระเถระแม้ไม่ลำบากใจ เพราะละทุกข์ใจได้แล้วด้วย

มรรคนั่นเอง แต่ก็เป็นผู้ลำบากกาย ได้เดินไปตามทางนั้น.

ประกอบความว่า คราวนั้น ข้าพเจ้ากำลังรดน้ำต้นมะม่วง ได้

กล่าวแล้ว. อธิบายว่า มีจีวร [ สบง ] ผืนเดียว ต้องการจะสรงน้ำ.

บทว่า อิติ ความว่า บุรุษนั้นมีปีติที่เป็นไปโดยอาการนี้อย่างนี้

คือว่า มะม่วงเราก็รดน้ำแล้ว สมณะเราก็ให้สรงน้ำแล้ว บุญมิใช่น้อย

เราก็ขวนขวายแล้ว ด้วยประโยคพยายามอย่างเดียวเท่านั้น ก็ให้สำเร็จ

ประโยชน์ได้ถึง ๓ อย่าง ดังนี้ ซาบซ่านไปทั่วกายของตน ประกอบ

ความว่า ทำให้มีปีติถูกต้องติดต่อกัน. และบทนี้เป็นคำปัจจุบันกาล ใช้

ในข้อความที่เป็นอดีตกาล อธิบายว่า ซาบซ่านแผ่ไปแล้ว.

บทว่า ตเทว เอตฺตก กมฺม ความว่า ข้าพเจ้าได้ทำกรรมมี

ประมาณเท่านี้นั้น คือ เพียงถวายน้ำดื่มอย่างนั้น. อธิบายว่า ในชาตินั้น

ข้าพเจ้ามิได้ระลึกถึงเรื่องอื่น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาอัมพวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 600

๖. โคปาลวิมาน

ว่าด้วยโคปาลวิมาน

พระมหาโมคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๘๐] ภิกษุเห็นเทพบุตรผู้สวมเครื่องประดับ

มือ ผู้มียศ ในวิมานสูง ซึ่งตั้งอยู่สิ้นกาลนาน

รุ่งโรจน์อยู่ในทิพยวิมาน ดุจพระจันทร์ จึงไต่ถาม

ว่า ท่านเป็นผู้ประดับองค์ทรงมาลัย มีพัสตราภรณ์

สวย มีกุณฑลงาม แต่งผมและหนวดแล้ว สวม

เครื่องประดับมือ มียศ รุ่งโรจน์อยู่ในทิพยวิมาน

เหมือนพระจันทร์ พิณทิพย์ทั้งหลายก็บรรเลงไพเราะ

เหล่าเทพอัปสรชั้นไตรทศ จำนวน ๖๔,๐๐๐ ล้วน

แต่คนดี ผู้ชำนาญศิลป์ พากันฟ้อนรำขับร้อง ทำ

ความบันเทิงอยู่ ท่านบรรลุเทพฤทธิ์ มีอานุภาพมาก

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และ

รัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ข้าพเจ้า

ได้รับจ้างเลี้ยงแม่โคของคนเหล่าอื่น ต่อมามีสมณะ

มาหาข้าพเจ้า โคทั้งหลายได้ไปกินถั่วราชมาษ

ข้าพเจ้าต้องกระทำกิจสองอย่างในวันนี้ ท่านเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 601

ครั้งนั้นข้าพเจ้าได้คิดอย่างนั้น ภายหลังกลับได้

สัญญาความสำคัญโดยแยบคาย จึงวางห่อขนมสด

ลงในมือพระเถระ พร้อมกับกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวาย

เจ้าข้า ข้าพเจ้าได้รีบรุดไปไร่ถั่ว ก่อนที่ไร่ถั่วซึ่ง

เป็นทรัพย์ของเจ้าของจะลูกฝูงโคทำลาย ณ ที่นั้น

งูเห่ามีพิษมากได้กัดเท้าของข้าพเจ้าผู้กำลังเร่งรีบไป

ข้าพเจ้าลูกความทุกข์เบียดเบียนบีบคั้น และภิกษุได้

ฉันขนมสดที่ข้าพเจ้าถวายนั้นเอง เพื่ออนุเคราะห์

ให้ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ากระทำกาลกิริยาตายไป จุติ

จากอัตภาพนั้น บังเกิดเป็นเทวดา กุศลกรรมนั้นเอง

ข้าพเจ้ากระทำไว้ ข้าพเจ้าจึงได้เสวยผลกรรมอันเป็น

สุขด้วยตนเอง ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้าอนุเคราะห์

ข้าพเจ้ามากแล้ว ข้าพเจ้าขออภิวาทพระคุณเจ้าด้วย

ความเป็นผู้กตัญญู ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกและมาร

โลก ไม่มีมุนีอื่นที่อนุเคราะห์ยิ่งกว่าพระคุณเจ้า

ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้าอนุเคราะห์ข้าพเจ้ามากแล้ว

ข้าพเจ้าขออภิวาทพระคุณเจ้าด้วยความเป็นผู้กตัญญู

ในโลกนี้หรือโลกอื่น ไม่มีมุนีอื่นที่อนุเคราะห์ยิ่งกว่า

พระคุณเจ้า ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้าอนุเคราะห์

ข้าพเจ้ามากแล้ว ข้าพเจ้าขออภิวาทพระคุณเจ้าด้วย

ความเป็นผู้กตัญญู.

จบโคปาลวิมานที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 602

อรรถกถาโคปาลวิมาน

โคปาลวิมาน มีคาถาว่า ทิสฺวาน เทว ปฏิปุจฺฉิ ภิกฺขุ เป็นต้น.

โคปาลวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์

สมัยนั้น คนเลี้ยงโคชาวราชคฤห์คนหนึ่ง ถือขนมสดที่ห่อด้วยผ้าเก่าเพื่อ

เป็นอาหารเช้า ออกจากเมืองไปถึงโคจรภูมิซึ่งเป็นที่เที่ยวไปของแม่โค

ทั้งหลาย ท่านพระมหาโมคคัลลานะทราบว่า เขาผู้นี้จักตายในบัดนี้เอง

และจักเกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพราะถวายขนมสดแก่เรา ดังนี้ จึงได้

ไปใกล้เขา เขาดูเวลาแล้วประสงค์จะถวายขนมสด แด่พระเถระ ขณะนั้น

แม่โคทั้งหลายเข้าไปยังไร่ถั่ว ครั้งนั้น คนเลี้ยงโคคิดว่า เราควรจะถวาย

ขนมสด แด่พระเถระ หรือว่าควรจะไล่แม่โคทั้งหลายออกจากไร่ถั่ว

ตอนนั้นเขาคิดว่า พวกเจ้าของไร่ถั่วจงทำกะเราตามที่ต้องการเถิด แต่

เมื่อพระเถระไปเสียแล้ว เราจะไม่ได้ถวายขนมสด เอาเถิด เราจักถวาย

ขนมสด แด่พระผู้เป็นเจ้าก่อนละ ได้นำขนมสดนั้นเข้าถวายแด่พระเถระ

พระเถระรับเพื่ออนุเคราะห์เขา.

ขณะที่เขาวิ่งไปโดยเร็วเพื่อจะไล่ต้อนแม่โคทั้งหลายให้กลับ มิทัน

ได้พิจารณาถึงอันตราย งูพิษที่ถูกเขาเหยียบก็กัดเอา แม้พระเถระเมื่อ

อนุเคราะห์เขา ก็เริ่มฉันขนมสดนั้น คนเลี้ยงโคต้อนแม่โคทั้งหลายกลับ

มาแล้ว เห็นพระเถระกำลังฉันขนมอยู่ มีจิตเลื่อมใสนั่งเสวยปีติโสมนัส

อย่างยิ่ง พิษงูแล่นท่วมทั่วสรีระของเขาในขณะนั้นเอง เมื่อพิษแล่นถึง

ศีรษะ เขาตายในครู่นั้นแหละ ครั้นตายแล้ว เขาไปบังเกิดในวิมานทอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 603

๑๒ โยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท่านพระมหาโมคคัลลานะไปพบเขา

จึงได้ถามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

ภิกษุเห็นเทพบุตรผู้สวมเครื่องประดับมือ ผู้

มียศ ในวิมานสูง ซึ่งตั้งอยู่สิ้นกาลนาน รุ่งโรจน์

อยู่ในทิพยวิมาน ดุจพระจันทร์ จึงไต่ถามว่า

ท่านเป็นผู้ประดับองค์ ทรงมาลัย มีพัสตรา-

ภรณ์สวย มีกุณฑลงาม แต่งผมและหนวดแล้ว

สวมเครื่องประดับมือ มียศ รุ่งโรจน์อยู่ในทิพย-

วิมาน เหมือนพระจันทร์ พิณทิพย์ทั้งหลายก็บรรเลง

ไพเราะ เหล่าเทพอัปสรชั้นไตรทศ จำนวน ๖๔,๐๐๐

ล้วนแต่คนดี ผู้ชำนาญศิลป์ พากันฟ้อนรำขับร้อง

ทำความบันเทิงอยู่ ท่านบรรลุเทพฤทธิ์ มีอานุภาพ

มาก ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้

เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และรัศมีของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรแม้นั้น ก็ได้พยากรณ์แก่พระมหาโมคคัลลานเถระนั้นว่า

เทพบุตรนั้น ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้วดีใจ

ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ครั้งเกิดเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก ข้าพเจ้า

ได้รับจ้างเลี้ยงโคของคนเหล่าอื่น ต่อมามีสมณะมา

หาข้าพเจ้า โคทั้งหลายได้ไปกินถั่วราชมาษ ข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 604

ต้องกระทำกิจสองอย่างในวันนี้ ท่านเจ้าข้า ครั้งนั้น

ข้าพเจ้าได้คิดอย่างนั้น ภายหลังกลับได้สัญญา

ความสำคัญโดยแยบคาย จึงวางห่อขนมสดลงในมือ

พระเถระ พร้อมกับกล่าวว่า ข้าพเจ้าถวาย เจ้าข้า

ข้าพเจ้านั้นได้รีบรุดไปไร่ถั่ว ก่อนที่ไร่ถั่วซึ่งเป็น

ทรัพย์ของเจ้าของจะถูกฝูงโคทำลาย ณ ที่นั้น

งูเห่ามีพิษมากได้กัดเท้าของข้าพเจ้าผู้กำลังเร่งรีบไป

ข้าพเจ้าถูกความทุกข์เบียดเบียนบีบคั้น และภิกษุได้

ฉันขนมสดที่ข้าพเจ้าถวายนั้นเอง เพื่ออนุเคราะห์

ข้าพเจ้า ข้าพเจ้ากระทำกาลกิริยาตายไปจุติจาก

อัตภาพนั้น บังเกิดเป็นเทวดา กุศลกรรมนั้นเอง

ข้าพเจ้ากระทำไว้ ข้าพเจ้าจึงได้เสวยผลกรรมอัน

เป็นสุขด้วยตนเอง เจ้าข้า พระคุณเจ้าอนุเคราะห์

ข้าพเจ้ามากแล้ว ข้าพเจ้าขออภิวาทพระคุณเจ้าด้วย

ความเป็นผู้กตัญญู ในโลกพร้อมทั้งเทวโลกและ

มารโลก ไม่มีมุนีอื่นที่อนุเคราะห์ยิ่งกว่าพระคุณเจ้า

ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้าอนุเคราะห์ข้าพเจ้ามากแล้ว

ข้าพเจ้าขออภิวาทพระคุณเจ้าด้วยความเป็นผู้กตัญญู

ในโลกนี้หรือในโลกอื่น ไม่มุนีอื่นที่อนุเคราะห์ยิ่งกว่า

พระคุณเจ้า ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้าอนุเคราะห์

ข้าพเจ้ามากแล้ว ข้าพเจ้าขออภิวาทพระคุณเจ้าด้วย

ความเป็นผู้กตัญญู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 605

ครั้งนั้น ท่านพระโมคคัลลานะได้กราบทูลเรื่องนั้นถวายพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตามทำนองที่ตนและเทพบุตรพูดกัน พระศาสดาทรงภาษิต

เนื้อความแล้ว ทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ตรัส

พระพุทธพจน์ว่า ทิสฺวาน เทว ปฏิปุจฺฉิ ภิกฺขุ เป็นต้น เพื่อทรง

แสดงธรรมโปรดแด่บริษัทที่ประชุมกันอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เทว ได้แก่ โคปาลเทพบุตร. พระ-

ศาสดาตรัสว่า ภิกฺขุ ทรงหมายถึงท่านพระมหาโมคคัลลานะ ด้วยว่า

ท่านพระโมคคัลลานะนั้น ชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลสโดยประการ

ทั้งปวง. ตรัสว่า จิรฏฺิติเก เพราะวิมานตั้งมั่นตลอดกาลเป็นอันมาก

หรือตั้งอยู่ชั่วกัปทีเดียว. บางท่านกล่าวว่า จิรฏฺิติก ก็มี. บทว่า

จิรฏฺิติก นั้น พึงเชื่อมกับบท เทว นี้ ความจริง เทวบุตรแม้นั้น

ควรจะเรียกได้ว่า จิรฏฺิติเก เพราะดำรงอยู่ในวิมานนั้นถึงสามโกฏิหก

ล้านปี. บทว่า ยถาปี จนฺทินา ความว่า เหมือนจันทเทพบุตรไพโรจน์

อยู่ในทิพยวิมานของตน ซึ่งรุ่งเรืองด้วยข่ายรัศมีที่น่ารักเย็นและเป็นที่จับ

ใจ. พึงประกอบคำที่เหลือว่า ไพโรจน์อยู่ฉันนั้น.

บทว่า อลงฺกโต เป็นต้น เป็นบทแสดงอาการที่เทพบุตรนั้นถูก

พระเถระถาม. บทนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วแม้ในหนหลังนั่นแล.

บทว่า สงฺคมฺน ได้แก่ เกี่ยวข้อง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สงฺคมฺน

ได้แก่ สงเคราะห์ แม้จะมีอรรถว่าเหตุในที่นี้ท่านทำไว้ภายใน อธิบายว่า

หลายคนร่วมกัน. บทว่า อาคา แปลว่า มาแล้ว. บทว่า มาเส ได้

แก่ กล้าถั่วราชมาษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 606

บทว่า ทฺวยชฺช ความว่า เราทำกิจสองอย่างในวันนี้ คือเดี๋ยวนี้.

บทว่า อุภยญฺจ การิย เป็นคำบรรยายเนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า สญฺ ได้แก่ สัญญาโดยธรรม. เพราะเหตุนั้นเทวดาจึงกล่าวว่า

โยนิโส ดังนี้. บทว่า ปฏิลทฺธา แปลว่า กลับได้แล้ว. บทว่า ขิปึ

ความว่า วางในมือเพื่อให้รับ. บทว่า อนนฺตก ได้แก่ ผ้าเปื้อน คือ

ผ้าเก่าที่ห่อขนมสดวางไว้. ก็ อ อักษรในที่นี้เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า โส ได้แก่ ข้าพเจ้านั้น. บทว่า ตุริโต ได้แก่ หันไป

โดยด่วน. บทว่า อวาสรึ แปลว่า เข้าถึง หรือเข้าไปแล้ว. บทว่า

ปุราย ภญฺชติ ยสฺสิท ธน ความว่า กล้าถั่วราชมาษนี้เป็นทรัพย์ของ

เจ้าของไร่คนใด ฝูงโคนี้จะทำลายทรัพย์นั้น (ข้าพเจ้าได้รีบไปยังไร่ถั่ว)

ก่อน คือก่อนกว่าฝูงโคจะทำลายคือย้ำเหยียบทรัพย์ของเจ้าของนั้นทีเดียว.

บทว่า ตโต ได้แก่ ในที่นั้น. บทว่า ตุริตสฺส เม สโต อธิบายว่า

เมื่อข้าพเจ้ากำลังหันไป คือไปโดยไม่แลดูงูเห่าที่หนทางเพราะรีบไป.

บทว่า อฏฺโฏฺมฺหิ ทุกฺเขน ปีฬิโต ความว่า ข้าพเจ้าอึดอัดมาก ทุรน

ทุราย คือถูกมรณทุกข์เบียดเบียน เพราะถูกอสรพิษกัดนั้น. บทว่า

อโหสิ ได้แก่ ได้ฉัน อธิบายว่า ได้บริโภค (ฉัน). บทว่า ตโต

จุโต กาลกโตมฺหิ เทวตา ความว่า จุติจากอัตภาพมนุษย์นั้นเพราะถึง

เวลาตาย. อีกอย่างหนึ่ง ในบทนั้นมีความว่า ข้าพเจ้าทำกาละ เพราะทำ

กาละกล่าวคือสิ้นอายุสังขาร และเป็นเทวดา คือเป็นเทวดาเพราะถึง

อัตภาพของเทวดาในลำดับนั้นทีเดียว.

บทว่า ตยา ความว่า มุนีอื่น คือฤาษีที่ประกอบคุณคือความ

เป็นผู้รู้เช่นท่าน ไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตยา นี้ เป็นตติยาวิภัตติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 607

ลงในอรรถปัญจมีวิภัตติ คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาโคปาลวิมาน

๗. กัณฐกวิมาน

ว่าด้วยกัณฐกวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๘๑] พระจันทร์มีรอยรูปกระต่ายในเดือน

เพ็ญ อันหมู่ดาวแวดล้อม เป็นอธิบดีของดาวทั้งหลาย

ย่อมโคจรไปโดยรอบ ฉันใด ทิพยวิมานนี้ก็อุปมา

ฉันนั้น ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยรัศมีในเทพบุรี เหมือนดวง

อาทิตย์กำลังอุทัยฉะนั้น พื้นวิมานน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตร

ไปด้วยแก้วไพฑูรย์ ทอง แก้วผลึก เงิน เพชร-

ตาแมว แก้วมุกดา และแก้วทับทิม ปูลาดด้วยแก้ว

ไพฑูรย์ ห้องรโหฐานงาม น่ารื่นรมย์ปราสาทของ

ท่านอันบุญกรรมสร้างไว้อย่างดี สระโบกขรณีของ

ท่านน่ารื่นรมย์ กว้างขวาง ประดับด้วยแก้วมณี มี

น้ำใสสะอาด ลาดด้วยทรายทองดาดาษด้วยปทุมชาติ

ต่าง ๆ รายรอบด้วยบัวขาว ยามลมรำเพยก็โชยกลิ่น

หอมฟุ้งจรุงใจ สองข้างสระโบกขรณีของท่านนั่น

มีพุ่มไม้สร้างไว้อย่างดี ประกอบด้วยไม้ดอกและไม่

ผลทั้งสองอย่าง อัปสรทั้งหลายแต่งองค์ด้วยสรรพา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 608

ภรณ์ ประดับด้วยมาลัยพวงดอกไม้ต่าง ๆ พากันมา

บำรุงบำเรอท้าวเทวราชผู้ประทับนั่งเหนือบัลลังก์

(พระแท่น) เท้าทองคำอ่อนนุ่ม ลาดด้วยผ้าโกเชาว์

ต่างก็รื่นรมย์ ท่านทำท้าวเทวราชผู้มีมหิทธิฤทธิ์นั้น

ให้บันเทิงดังท้าววสวัตดีเทวราช ท่านพรั่งพร้อมด้วย

ความยินดีในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี

รื่นรมย์อยู่ด้วยกลอง สังข์ ตะโพน พิณ และ

บัณเฑาะว์ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ

มีอย่างต่าง ๆ อันเป็นทิพย์ของท่านที่ท่านประสงค์

แล้ว น่ารื่นรมย์ใจ.

ดูราเทพบุตร ท่านเป็นผู้มีรัศมีมาก รุ่งโรจน์

ยิ่งด้วยวรรณะอยู่ในวิมานอันประเสริฐนั้น ดังดวง

อาทิตย์กำลังอุทัยฉะนั้น นี้เป็นผลแห่งทานหรือศีล

หรืออัญชลีกรรมของท่าน ท่านถูกอาตมาถามแล้ว

โปรดนอกข้อนั้นแก่อาตมาทีเถิด.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าคือกัณฐกอัศวราช สหชาตของพระ-

โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ ราชธานี

ของกษัตริย์แคว้นศากยะ ครั้งใดพระราชโอรสเสด็จ

ออกมหาภิเนษกรมณ์เพื่อโพธิญาณตอนเที่ยงคืน พระ-

องค์ใช้ฝ่าพระหัตถ์อันนุ่มและพระนขาที่แดงปลั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 609

ค่อย ๆ ตบขาข้าพเจ้า และตรัสว่า พาไปสิสหาย เรา

บรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว จักยังโลกให้ข้าม

โอฆสงสาร เมื่อข้าพเจ้าฟังพระดำรัสนั้น ได้มีความ

ร่าเริงเป็นอันมาก ข้าพเจ้ามีใจเบิกบานยินดีได้รับคำ

ในครั้งนั้น ครั้นรู้ว่า พระศากโยรสผู้มียศใหญ่

ประทับนั่งเหนือหลังข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้ามีใจเบิก

บานบันเทิง นำพระมหาบุรุษไปถึงแว่นแคว้นของ

กษัตริย์เหล่าอื่น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น พระมหาบุรุษ

นั้นมิได้ทรงอาลัย ละทิ้งข้าพเจ้าและฉันนอำมาตย์ไว้

เสด็จหลีกไป ข้าพเจ้าได้เลียพระบาททั้งสอง ซึ่งมี

พระนขาแดงของพระองค์ ร้องไห้แลดูพระมหาวีระ

ผู้กำลังเสด็จไป เพราะไม่ได้เห็นพระศากโยรสผู้ทรง

สิรินั้น ข้าพเจ้าป่วยหนักก็ตายอย่างฉับพลัน ด้วย

อานุภาพแห่งบุญนั้นแหละ ข้าพเจ้าจึงมาอยู่วิมาน

ทิพย์นี้ ซึ่งประกอบด้วยกามคุณทุกอย่างในเทวนคร

อีกอย่างหนึ่ง ข้าพเจ้าได้มีความร่าเริงเพราะได้ฟัง

เสียงเพื่อพระโพธิญาณว่าเราจักบรรลุความสิ้นอาสวะ

ด้วยกุศลมูลนั่นเอง ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าพระคุณเจ้า

จะพึงไปในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ศาสดาไซร้ ขอ

พระคุณเจ้า จงกราบทูลถึงการถวายบังคมด้วยเศียร

เกล้ากะพระองค์ตามคำของข้าพเจ้า แม้ข้าพเจ้าก็จัก

ไปเฝ้าพระชินเจ้าผู้หาบุคคลอื่นเปรียบมิได้ การได้

เห็นพระโลกนาถผู้คงที่หาได้ยาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 610

พระสังคีติกาจารย์ได้แต่งคาถาไว้สองคาถาดังนี้ว่า

กัณฐกเทพบุตรนั้น เป็นผู้กตัญญูกตเวที เข้าไป

เฝ้าพระศาสดา ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้ามีจักษุ

แล้ว ชำระธรรมจักษุให้บริสุทธิ์ ชำระทิฏฐิวิจิกิจฉา

และศีลพตปรามาสให้บริสุทธิ์แล้ว ถวายบังคมพระ-

ยุคลบาทของพระศาสดาแล้วหายไปในที่นั้นเอง.

จบกัณฐกวิมานที่ ๗

อรรถกถากัณฐกวิมาน

กัณฐกวิมาน มีคาถาว่า ปุณฺณมาเส ยถา จนฺโท เป็นต้น. กัณฐก-

วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี

สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวจาริกไปในเทวโลก ไปสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์ ขณะนั้น กัณฐกเทพบุตรออกจากวิมานของตน ขึ้นยานทิพย์

ไปอุทยานด้วยเทพฤทธิ์อันยิ่งใหญ่พร้อมบริวารเป็นอันมาก เห็นท่าน

พระมหาโมคคัลลานะเกิดความเคารพนับถือมาก รีบลงจากยานเข้าไปหา

พระเถระ ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้วยืนประคองอัญชลีไว้เหนือเศียร

ลำดับนั้น พระเถระได้ถามเทพบุตรนั้นถึงกรรมที่ตนกระทำ โดยมุ่ง

ประกาศสมบัติที่ได้บรรลุว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 611

พระจันทร์มีรอยรูปกระต่ายในเดือนเพ็ญอันหมู่

ดาวแวดล้อม เป็นอธิบดีของหมู่ดาวทั้งหลาย ย่อม

โคจรไปโดยรอบ ฉันใด ทิพยวิมานนี้ก็อุปมาฉันนั้น

ย่อมรุ่งโรจน์ด้วยรัศมีในเทพบุรี เหมือนดวงอาทิตย์

กำลังอุทัยฉะนั้น พื้นวิมานน่ารื่นรมย์ใจ วิจิตรไป

ด้วยแก้วไพฑูรย์ ทอง แก้วผลึก เงิน เพชรตาแมว

แก้วมุกดา และแก้วทับทิม ปูลาดด้วยแก้วไพฑูรย์

ห้องรโหฐานงานน่ารื่นรมย์ ปราสาทของท่าน อัน

บุญกรรมสร้างไว้อย่างดี สระโบกขรณีของท่านน่า

รื่นรมย์กว้างขวาง ประดับด้วยแก้วมณีมีน้ำใสสะอาด

ลาดด้วยทรายทองดาดาษด้วยปทุมชาติต่าง ๆ รายรอบ

ด้วยบัวขาว ยามลมรำเพย ก็โชยกลิ่นหอมฟุ้งจรุงใจ

สองข้างสระโบกขรณีของท่านนั้น มีพุ่มไม้สร้างไว้

อย่างดี ประกอบด้วยไม้ดอกและไม้ผลทั้งสองอย่าง

อัปสรทั้งหลายแต่งองค์ด้วยสรรพาภรณ์ ประดับด้วย

มาลัยทองดอกไม้ต่าง ๆ พากันมาบำรุงบำเรอท้าว

เทวราชผู้ประทับนั่งเหนือบัลลังก์ [ พระแท่น ] เท้า

ทองคำ อ่อนนุ่ม ลาดด้วยผ้าโกเชาว์อย่างดี ต่างก็รื่น

รมย์ ท่านทำท้าวเทวราชผู้มีมหิทธิฤทธิ์นั้นให้บันเทิง

ดังท้าววสวัตตีเทวราช ท่านพรั่งพร้อมด้วยความยินดี

ในการฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคมดนตรี รื่นรมย์

อยู่ด้วยกลอง สังข์ ตะโพน พิณ และบัณเฑาะว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 612

รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะมีอย่างต่าง ๆ

อันเป็นทิพย์ของท่านที่ท่านประสงค์แล้ว น่ารื่นรมย์ใจ.

ดูก่อนเทพบุตร ท่านเป็นผู้มีรัศมีมาก รุ่งโรจน์ยิ่ง

ด้วยวรรณะอยู่ในวิมานอันประเสริฐนั้น ดังดวงอาทิตย์

กำลังอุทัยฉะนั้น นี้เป็นผลแห่งทาน หรือศีล หรือ

อัญชลีกรรมของท่าน ท่านถูกอาตมาถามแล้ว โปรด

บอกข้อนั้นแก่อาตมาทีเถิด.

เทพบุตรในดีใจ อันพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าคือกัณฐกอัศวราช สหชาตของพระ-

โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะในกรุงกบิลพัสดุ์ ราชธานี

ของกษัตริย์แคว้นศากยะ ครั้งใดพระราชโอรสเสด็จ

ออกมหาภิเนษกรมณ์เพื่อโพธิญาณตอนเที่ยงคืน

พระองค์ใช้ฝ่าพระหัตถ์อันนุ่มและพระนขาที่แดงปลั่ง

ค่อย ฯ ตบขาข้าพเจ้า และตรัสว่า พาเราไปเถิดเพื่อน

เราบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดมแล้วจักยังโลกให้

ข้ามโอฆสงสาร [ห้วงน้ำใหญ่ คือสงสาร ].

เมื่อข้าพเจ้าฟังพระดำรัสนั้น ได้มีความร่าเริง

เป็นอันมาก ข้าพเจ้ามีใจเบิกบานยินดี ได้รบคำใน

ครั้งนั้น ครั้นรู้ว่าพระศากโยรสผู้มียศใหญ่ประทับนั่ง

เหนือหลังข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้ามีใจเบิกบานบันเทิง

นำพระมหาบุรุษไปถึงแว่นแคว้นของกษัตริย์เหล่าอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 613

เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น พระมหาบุรุษนั้นมิได้ทรงอาลัย

ละทิ้งข้าพเจ้าและฉันนอำมาตย์ไว้ เสด็จหลีกไป

ข้าพเจ้าได้เลียพระบาททั้งสองซึ่งมีพระนขาแดงของ

พระองค์ ร้องไห้แลดูพระมหาวีระผู้กำลังเสด็จไป

เพราะไม่ได้เห็นพระศากโยรสผู้ทรงสิรินั้น ข้าพเจ้า

ป่วยหนัก ก็ตายอย่างฉับพลัน ด้วยอานุภาพแห่งบุญ

นั้นแหละ ข้าพเจ้าจึงมาอยู่วิมานทิพย์นี้ ซึ่งประกอบ

ด้วยกามคุณทุกอย่างในเทวนคร.

อีกอย่างหนึ่ง ข้าพเจ้าได้มีความร่าเริงเพราะ

ได้ฟังเสียงเพื่อพระโพธิญาณ ว่าเราจักบรรลุความ

สิ้นอาสวะ ด้วยกุศลมูลนั้นเอง ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ถ้าพระคุณเจ้าจะพึงไปในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้

ศาสดาไซร้ ขอพระคุณเจ้าจงกราบทูลถึงการถวาย

บังคมด้วยเศียรเกล้ากะพระองค์ตามคำของข้าพเจ้า

แม้ข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าพระชินเจ้าผู้หาบุคคลอื่นเปรียบ

มิได้ การได้เห็นพระโลกนาถผู้คงที่หาได้ยาก.

กัณฐกเทพบุตรแม้นั้นได้กล่าวถึงกรรมที่ตนกระทำแล้ว เรื่องย่อมีว่า

เทพบุตรนี้ คือกัณฐกอัศวราช ผู้เป็นสหชาต [เกิดพร้อม] กับพระ-

โพธิสัตว์ของพวกเราในอัตภาพติดต่อกัน อัศวราชนั้นให้พระโพธิสัตว์

ประทับบนหลัง ในสมัยเสด็จมหาภิเนษกรมณ์พาพระมหาบุรุษล่วงเลย

ราชอาณาจักรทั้งสาม ให้ถึงฝั่งอโนมานที โดยราตรีนั้นยังไม่สิ้นเลย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 614

ลำดับนั้น อัศวราชนั้น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น พระมหาสัตว์ทรงรับบาตร

และจีวรที่ฆฏิการมหาพรหมน้อมถวาย ทรงผนวชแล้วปล่อยให้กลับกบิล-

พัสดุ์พร้อมกับฉันนอำมาตย์ ใช้ลิ้นของตนเลียพระยุคลบาทของพระ-

มหาบุรุษ ด้วยหัวใจที่หนักด้วยความรัก ลืมตาทั้งสองซึ่งมีประสาทเป็นที่

พอใจ แลดูชั่วทัศนวิสัยที่จะเห็นได้ แต่เมื่อพระโลกนาถ (ลับตา ) ไป

แล้วมีใจเลื่อมใสว่า เราได้พาพระมหาบุรุษผู้เป็นนายกชั้นยอดของโลกชื่อ

อย่างนี้ ร่างกายของเรามีประโยชน์หนอ อดกลั้นวิโยคทุกข์ไว้ไม่ได้

เพราะอำนาจความรักที่เกาะเกี่ยวกันมาช้านาน ยังถูกธรรมดาเตือนด้วย

อำนาจทิพยสมบัติที่น่ายกย่องอยู่อีก ก็ทำกาละตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์. คำว่า ปุณฺณมาเส ยถา จนฺโท ฯ เป ฯ อห กปิลวตฺถุสฺมึ

เป็นต้น ท่านกล่าวหมายถึงเทพบุตรนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺณมาเส แปลว่า ในดิถีเดือนเพ็ญ

คือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ. บทว่า ตารกาธิปตี แปลว่า เป็นอธิบดีใหญ่ยิ่ง

ของดาวทั้งหลาย. บทว่า สสี แปลว่า มีตรากระต่าย บางท่านกล่าวว่า

ปรากฏเป็นใหญ่ในหมู่ดาว นิทเทสชี้แจงไม่ประกอบวิภัตติของท่านเหล่า

นั้นว่า ตารกาธิปา พึงประกอบความว่า เป็นใหญ่ของดาวทั้งหลาย

ปรากฏและหมุนเวียนไป.

บทว่า ทิพฺพ เทวปุรมฺหิ จ ความว่า เป็นทิพย์แม้ในเทพบุรี

เทพบุรีสูงสุดกว่าที่อยู่ของมนุษย์ทั้งหลายฉันใด แม้เทพบุตรก็แสดงว่า

วิมานของท่านนี้สูงสุดฉันนั้น ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า อติโรจติ

วณฺเณน อุทยนฺโตว รสิมา เหมือนดวงอาทิตย์กำลังอุทัย อธิบายว่า

เหมือนพระอาทิตย์กำลังขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 615

บทว่า เวฬุริยสุวณฺณสฺส ประกอบความด้วยคำที่เหลือว่า วิมาน

นี้สร้างด้วยแก้วไพฑูรย์และทอง ดังนี้. บทว่า ผลิกา แปลว่า แก้วผลึก.

บทว่า โปกฺขรณี แปลว่า สระโบกขรณี.

บทว่า ตสฺสา แปลว่า ของสระโบกขรณีนั้น ด้วยบทว่า วนคุมฺพา

ท่านกล่าวหมายกอไม้ที่มีดอกงามในสวน. บทว่า เทวราช ว ได้แก่

เหมือนท้าวสักกะ. บทว่า อุปติฏฺนฺติ ได้แก่ กระทำการบำรุงบำเรอ.

บทว่า สพฺพาภรณสญฺฉนฺนา ความว่า ปกปิดด้วยเครื่องประดับ

ของสตรีทุกอย่าง อธิบายว่า แต่งสรีระโดยประการทั้งปวง. บทว่า

วสวตฺตี วา ได้แก่ เหมือนท้าววสวัตดีเทวราช. บทว่า เภริสงฺข-

มุทิงฺคาหิ ท่านกล่าวผิดลิงค์ [ ทางไวยากรณ์ ] ประกอบความว่า ด้วย

กลอง ด้วยสังข์ และด้วยตะโพนทั้งหลาย. บทว่า รติสมฺปนฺโน ความ

ว่า พรั่งพร้อมด้วยความยินดีอันเป็นทิพย์. บทว่า นจฺจคีเต สุวาทิเต

ได้แก่ ในการฟ้อนรำด้วย ในการขับร้องด้วย ในการประโคมดนตรีที่

ไพเราะด้วย คือ เพราะการฟ้อนรำด้วย เพราะการขับร้องด้วย เพราะ

การประโคมดนตรีที่ไพเราะด้วย เป็นเหตุ ด้วยว่า บทนี้เป็นสัตตมี

วิภัตติใช้ในอรรถนิมิตสัตตมี [ ว่าเพราะ ] อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบ

คำพิเศษว่า ที่ให้เป็นไปแล้ว.

บทว่า ทิพฺพา เต วิวิธา รูปา พึงนำบทกิริยานาประกอบว่า

รูปที่พึงรู้ได้ด้วยจักษุมีประการต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวกับเทวโลก ที่ท่าน

ประสงค์แล้ว คือ ตามที่ประสงค์รื่นรมย์ มีอยู่. แม้ในบทว่า ทิพฺพา

สทฺทา เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อห ในบาทคาถาว่า กณฺโก สหโช อห นี้เป็นเพียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 616

นิบาต บางท่านกล่าวว่า อหุ ความว่า กัณฐกอัศวราชได้เป็นสหชาติ

เพราะเกิดในวันเดียวกันกับพระมหาสัตว์ทีเดียว.

บทว่า อฑฺฒรตฺตาย แปลว่า เที่ยงคืน ความว่า เวลามัชฌิมยาม

อักษร บทว่า โพธายมภินิกฺขมิ ทำหน้าที่เชื่อมบท ความว่า

เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์เพื่อพระอภิสัมโพธิญาณ ท่านกล่าวความมี

พระหัตถ์อ่อนนุ่มซึ่งเป็นลักษณะของพระมหาบุรุษ ด้วยบทว่า มุทูหิ

ปาณิหิ. บทว่า ชาลิตมฺพนเขหิ ได้แก่ พระนขาแดงงามรุ่งเรือง ด้วย

บทนั้น ท่านแสดงลักษณะของพระมหาบุรุษ คือ ความมีพระหัตถ์รุ่งเรือง

และแสดงอนุพยัญชนะ คือ ความมีพระนขาแดง.

แข้ง ชื่อว่า สัตถิ แต่ในที่นี้ ขาซึ่งมีที่ตั้งอยู่ใกล้แข้ง ท่านเรียก

ว่า สัตถิ. บทว่า อาโกฏยิตฺวาน แปลว่า ตบ [ ปรบ ]. บทว่า วห

สมฺมาติ จพฺรวิ ความว่า ก็พระมหาสัตว์ตรัสว่า สหายกัณฐกะ ท่าน

จงพาเราไปในวันนี้ราตรีเดียว ท่านจงเป็นพาหะของเรา ก็เมื่อตรัสถึง

ประโยชน์ในการนำไปซึ่งพระมหาสัตว์ทรงแสดงในคราวนั้น ได้ตรัสว่า

เราบรรลุพระสัมโพธิญาณอันอุดมแล้ว จักยังโลกให้ข้ามโอฆสงสาร

ห้วงน้ำใหญ่ คือสงสาร ดังนี้ แต่เมื่อจะตรัสที่พระมหาสัตว์ทรงแสดงไว้

ในครั้งนั้น จึงตรัสว่า อห โลก คารยิสฺส สมฺโพธิมุตฺตม

เราบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุดแล้ว จักยังโลกให้ข้ามโอฆสงสาร ด้วย

เหตุนั้น จึงทรงแสดงความที่ถึงประโยชน์ในการพาไป ประโยชน์ในการ

ไปยอดเยี่ยมว่า เราบรรลุคือสำเร็จพระอนุตรสมมาสัมโพธิญาณอันอุดม

แล้ว จักยังโลกพร้อมทั้งเทวโลกให้ข้ามพ้นจากโอฆสงสารห้วงน้ำใหญ่

คือสงสาร ฉะนั้น ท่านไม่พึงคิดว่าการไปนี้มีประโยชน์อะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 617

บทว่า หาโส ได้แก่ ความยินดี. บทว่า วิปุโล ได้แก่ โอฬาร

มาก. บทว่า อภิสีสึ ได้แก่ หวัง คือปรารถนา รับ [คำ]. บทว่า

อภิรุฬฺหญฺจ ม ตฺวา สกฺยปุตฺต มหายส ความว่า รู้ว่าพระมหา-

สัตว์เป็นพระโอรสศากยราช มีพระยศไพบูลย์แผ่ไปแล้ว ประทับนั่งขี่เรา.

บทว่า วหิสฺส แปลว่า พาไป คือนำไป.

บทว่า ปเรส ได้แก่พระราชาอื่น ๆ. บทว่า วิชิต ได้แก่ ประเทศ

คือราชอาณาเขตของพระราชาอื่น. บทว่า โอหาย ได้แก่ สละแล้ว.

บทว่า อปกฺกมิ ได้แก่ เริ่มหลีกไป บางท่านกล่าวว่า ปริพฺพชิ บวช

ดังนี้ก็มี. บทว่า ปริเลหึ ได้แก่ เลียโดยรอบ บทว่า อุทิกฺขิส แปลว่า

แลดูแล้ว.

บทว่า ครุกาพาธ ได้แก่ ป่วยหนัก คือมาก อธิบายว่า ทุกข์

ถึงตาย ด้วยเหตุนั้น เทพบุตรจึงกล่าวว่า ขิปฺป เม มรณ อหุ

ข้าพเจ้าก็ได้ตายอย่างฉับพลัน ด้วยว่ากัณฐกอัศวราชนั้น มีความภักดี

มั่นคงกับพระมหาสัตว์มาหลาบชาติ จึงมิอาจอดกลั้นวิโยคทุกข์ไว้ได้ และ

พอได้ยินว่า ออกบวชเพื่อบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็เกิดปีติโสมนัส

อย่างยิ่งปราศจากอามิส ดังนั้น พอตายจึงบังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

และทิพยสมบัติได้ปรากฏแก่เขาเป็นอันมาก เหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า

ตสฺเสว อานุภาเวน ด้วยอานุภาพแห่งบุญที่สำเร็จด้วยความเลื่อมใสอัน

ถึงที่แล้ว บทว่า เทโว เทวปุรมฺหิว ความว่า เหมือนท้าวสักกเทวราช

ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

บทว่า ยญฺจ เม อหุ วา หาโส สทฺท สุตฺวาน โพธิยา

ความว่า ข้าพเจ้ามีความร่าเริงในคราวนั้น เพราะได้ยินเสียงว่า โพธิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 618

เข้าก่อน ในบทว่า ปตฺโต สมฺโพธิมุตฺตม ได้บรรลุพระสัมโพธิญาณ

อันอุดม ดังนี้ ความเกิดแห่งความร่าเริง ชื่อว่าความยินดี. บทว่า

เตเนว กุสลมูเลน ได้แก่ ด้วยพืชคือกุศลนั่นเอง. บทว่า ผุสิสฺส

แปลว่า จักถูกต้อง คือถึง ( สำเร็จ ).

เทพบุตรกล่าวถึงกุศลกรรมของตน ซึ่งเป็นเหตุแห่งภวสมบัติส่วน

อนาคตตามที่ได้บรรลุแล้วอย่างนี้ บัดนี้ ถึงตนเองประสงค์จะไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ก็ฝากการไหว้พระศาสดาไปกับพระเถระ จึงกล่าวคาถา

ว่า สเจ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สเจ คจฺเฉยฺยาสิ

แปลว่า ถ้าท่านจักไป บางท่านกล่าวว่า สเจ คจฺฉสิ ถ้าท่านจะไป

เนื้อความอย่างนั้นแล. บทว่า มมาปิ น วจเนน ความว่า มิใช่ตาม

สภาพของท่านอย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้จงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าตาม

คำแม้ของข้าพเจ้า. บทว่า วชฺชาสิ แปลว่า พึงกราบทูล ประกอบ

ความว่า พึงกราบทูลถึงการถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแม้ของข้าพเจ้า.

เมื่อเทพบุตรแสดงว่า แม้ถึงข้าพเจ้าจะฝากการถวายบังคมไปใน

บัดนี้ ครั้นฝากไปแล้ว ข้าพเจ้าก็จะไม่เฉยอยู่ ดังนี้ จึงกล่าวว่า แม้

ข้าพเจ้าก็จักไปเฝ้าพระชินเจ้าผู้หาบุคคลอื่นเปรียบมิได้ อนึ่ง เพื่อแสดง

เหตุในการไปให้สำคัญยิ่งขึ้น จึงกล่าวว่า การได้เห็นพระโลกนาถผู้คงที่

หาได้ยาก. พระสังคีติกาจารย์ได้แต่งคาถาไว้สองคาถาดังนี้ว่า

กัณฐกเทพบุตรนั้น เป็นผู้กตัญญูกตเวที เข้าไป

เฝ้าพระศาสดา ฟังพระดำรัสของพระพุทธเจ้าผู้มี

จักษุแล้ว ชำระธรรมจักษุให้บริสุทธิ์ ชำระทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 619

วิจิกิจฉาและศีลพตปรามาสให้บริสุทธิ์แล้ว ถวาย

บังคมพระยุคลบาทของพระศาสดาแล้วหายไปในที่

นั้นเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวา คิร จกฺขุมโต ความว่า

ฟังพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕. บทว่า

ธมฺมจกฺขุ ได้แก่ โสดาปัตติมรรค. บทว่า วิโสธยิ แปลว่า บรรลุ

ความจริง การชำระธรรมจักษุให้บริสุทธิ์ คือการบรรลุนั่นเอง.

บทว่า วิโสธยิตฺวา ทิฏฺิคต ได้แก่ถอนทิฏฐิ. บทว่า วิจิกิจฺฉ

วตานิ จ ประกอบความว่า ยังวิจิกิจฉาที่มีวัตถุ ๑๖ และมีวัตถุ ๘

และยังศีลพตปรามาสที่เป็นไปว่า คนจะบริสุทธิ์ได้ด้วยศีลพรตดังนี้ ให้

บริสุทธิ์ ก็ปรามาสที่เป็นไปอย่างนั้น พร้อมด้วยปริยายทั้งหลาย ท่าน

กล่าวว่า วตานิ พรต ในคาถานั้น คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถากัณฐกวิมาน

๘. อเนกวัณณวิมาน

ว่าด้วยเอนกวัณณวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๘๒] ท่านอันหมู่อัปสรแวดล้อม ขึ้นวิมาน

อันมีวรรณะมิใช่น้อย เป็นที่ระงับความกระวนกระวาย

และความโศก วิจิตรมาก บันเทิงอยู่ ดุจท้าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 620

สุนิมมิตเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวดา ไม่มีใคร

เสมอเหมือน จะมีใครที่ไหนยิ่งกว่าท่านทางยศ

ทางบุญ และทางฤทธิ์ หมู่ทวยเทพชั้นไตรทศ

ทั้งหมด ชุมนุมกันไหว้ท่าน ดุจเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย ไหว้พระจันทร์ฉะนั้น และเทพอัปสร

เหล่านี้ ก็ฟ้อนรำ ขับร้อง บันเทิงอยู่รอบ ๆ ท่าน

ท่านเป็นผู้บรรลุเทวฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ครั้งเกิด

เป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่าน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถาม

แล้ว ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนข้าพเจ้าได้เป็น

สาวกของพระชินพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ข้าพ-

เจ้าเป็นปุถุชน ยังมิได้ตรัสรู้ บวชอยู่ ๗ พรรษา

เมื่อพระสุเมธชินพุทธเจ้าผู้ศาสดา ผู้ข้ามโอฆะได้

แล้วเป็นผู้คงที่ เสด็จปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้านั้นได้

ไหว้รัตนเจดีย์ที่คลุมด้วยข่ายทอง ทำใจให้เลื่อมใส

ในพระสถูป ข้าพเจ้ามิได้ให้ทาน เพราะไม่มีวัตถุ

ทานที่จะให้ แต่ข้าพเจ้าได้ชักชวนคนอื่น ๆ ให้ให้

ทานนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงบูชาพระธาตุของพระ-

พุทธเจ้าผู้ควรบูชานั้นเถิด ได้ยินว่า ท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 621

ละอัตภาพนี้แล้ว จักไปสวรรค์ด้วยอาการอย่างนี้

ข้าพเจ้าได้ทำกุศลกรรมอย่างนั้นแล จึงได้เสวยสุข

อันเป็นทิพย์ด้วยตน และบันเทิงอยู่ในท่ามกลางหมู่

เทพชั้นไตรทศ ทั้งข้าพเจ้าก็ยังไม่สิ้นบุญนั้น.

จบอเนกวัณณวิมานที่ ๘

อรรถกถาอเนกวัณณวิมาน

อเนกวัณณวิมาน มีคาถาว่า อเนกวณฺณ ทรโสกนาสน เป็นต้น.

อเนกวัณณวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี

สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวจาริกไปในเทวโลก ตามนัยที่

กล่าวแล้วในหนหลัง ได้ไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ครั้งนั้น เทพบุตรผู้มี

รัศมีมิใช่น้อย เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั้น เกิดความเคารพนับถือ

มาก เข้าไปหาแล้วยืนประคองอัญชลีอยู่ พระเถระถามถึงกรรมที่เทพบุตร

กระทำ ด้วยมุข คือ มุ่งประกาศสมบัติที่ได้แล้วว่า

ท่านอันหมู่อัปสรแวดล้อม ขึ้นวิมานอันมี

วรรณะมิใช่น้อย เป็นที่ระงับความกระวนกระวาย

และความโศก วิจิตรมาก บันเทิงอยู่ ดุจท้าว

สุนิมมิตเทวราช ผู้เป็นใหญ่ในเทวดา ไม่มีใคร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 622

เสมอเหมือน จะมีใครที่ไหนที่ยิ่งกว่าท่านทางยศ

ทางบุญ และทางฤทธิ์ หมู่ทวยเทพชั้นไตรทศ

ทั้งหลาย ชุมนุมกันก็ไหว้ท่าน ดุจเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายไหว้พระจันทร์ฉะนั้น และเทพอัปสรเหล่า

นี้ ก็ฟ้อนรำ ขับร้อง บันเทิงอยู่รอบ ๆ ท่าน ท่าน

เป็นผู้บรรลุเทพฤทธิ์ มีอานุภาพมาก ครั้งเกิดเป็น

มนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญอะไร

ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมีของท่าน

จึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เพื่อแสดงกรรมนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เทพบุตรนั้นถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว ดีใจ

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้.

เทพบุตรแม้นั้นได้กล่าวว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อนข้างเจ้าได้เป็น

สาวกของพระชินพุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ ข้าพ-

เจ้าเป็นปุถุชนยังมิได้ตรัสรู้ บวชอยู่ ๗ พรรษา

เมื่อพระสุเมธชินพุทธเจ้าผู้ศาสดา ผู้ข้ามโอฆะได้

แล้ว เป็นผู้คงที่ เสด็จปรินิพพานแล้ว ข้าพเจ้านั้น

ได้ไหว้รัตนเจดีย์ที่คลุมด้วยข่ายทอง ทำใจให้

เลื่อมใสในพระสถูป ข้าพเจ้ามิได้ให้ทาน เพราะ

ไม่มีวัตถุทานที่จะให้ แต่ข้าพเจ้าได้ชักชวนคนอื่น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 623

ให้ให้ทานนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงบูชาพระธาตุของ

พระพุทธเจ้าผู้ควรบูชานั้นเถิด ได้ยินว่า ท่าน

ทั้งหลายละอัตภาพนี้แล้ว จักไปสวรรค์ด้วยอาการ

อย่างนี้ ข้าพเจ้าได้กระทำกุศลกรรมอย่างนั้นแล

จึงได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ด้วยตน และบันเทิงอยู่

ในท่ามกลางหมู่เทพชั้นไตรทศ ทั้งข้าพเจ้าก็ยังไม่

สิ้นบุญนั้น.

เล่ากันมาว่า นับจากนี้ถอยหลังไปสามหมื่นกัป พระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระนามว่า สุเมธ เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงทำโลกนี้กับเทวโลก

ให้สว่างเป็นอย่างเดียวกัน ทรงบำเพ็ญพุทธกิจแล้วเสด็จปรินิพพาน เมื่อ

มนุษย์ทั้งหลายเก็บพระบรมธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าสร้างรัตนเจดีย์

บุรุษคนหนึ่งบวชในศาสนาของพระศาสดา ประพฤติพรหมจรรย์อยู่ ๗

พรรษา มีความรำคาญเพราะจิตไม่ตั้งมั่นจึงสึก ครั้นสึกแล้ว โดยที่

เป็นผู้มีความสังเวชมากและมีฉันทะในธรรม จึงทำการปัดกวาดและดูแล

ของใช้เป็นต้นที่ลานพระเจดีย์ รักษานิจศีลและอุโบสถศีล ฟังธรรม

และเที่ยวชักชวนคนอื่น ๆ ให้ทำบุญ เขาทำกาละตายในเมื่อสิ้นอายุ

บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพราะความยิ่งใหญ่แห่งบุญกรรม เขาเป็น

เทพบุตรมีศักดิ์ใหญ่ มีอานุภาพมาก เป็นผู้ที่เทวดาทั้งหลายมีท้าวสักกะ

เป็นต้น สักการบูชา ดำรงอยู่ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั้นชั่วอายุ จุติจาก

ดาวดึงส์นั้นท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ใน

พุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ด้วยเศษวิบากแห่งกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 624

นั้นแหละ เทวดาทั้งหลายรู้จักเทพนั้นว่าเป็นผู้มีวรรณะมิใช่น้อย หมาย

เอาเทพบุตรองค์นั้น มหาสังคีติกาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า อถ น

อเนกวณฺโถ เทวปุตฺโต ฯ เป ฯ น ตสฺส ปุญฺสฺส ขยมฺปิ

อชฺฌคนฺติ กเถสิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกวณฺณ ความว่า มีวรรณะ

หลายอย่าง เพราะมีสีหลายอย่างมีสีเขียวและสีเหลีองเป็นต้น และเพราะ

วิมานติด ๆ กันเป็นต้น มีสัณฐานหลายอย่าง. บทว่า ทรโสกนาสน

ความว่า ชื่อว่าเป็นที่ระงับความกระวนกระวายและความโศก เพราะ

บรรเทาความกระวนกระวายและความเร่าร้อนเพราะเป็นวิมานที่เยือกเย็น

และเพราะไม่เป็นโอกาสแห่งความโศกเพราะเป็นวิมานที่น่าปลื้มใจ เพราะ

เป็นวินานที่น่าชม. บทว่า อเนกจิตฺต ได้แก่ มีรูปวิจิตรหลายอย่าง.

บทว่า สุนิมฺมิโต ภูตปตีว ความว่า ท่านแม้เป็นหมู่เทพชั้นดาวดึงส์

ก็บันเทิง ยินดี รื่นรมย์ยิ่งเหมือนท้าวสุนิมมิตเทวราช เพราะเป็นผู้มี

ทิพยสมบัติอย่างโอฬาร.

บทว่า สมสฺสโม ได้แก่ ผู้เสมอเหมือนนั่นเอง พูดตรง ๆ ก็

คือ ไม่มีเทพที่เหมือนท่าน. จะมีใครที่ไหน คือด้วยเหตุไร ที่เหนือกว่า

คือยิ่งกว่าเล่า เพื่อจะเฉลยปัญหาว่า เสมอยิ่งกว่าทางไหน ท่านจึงกล่าว

ว่า ยเสน ปุญฺเน จ อิทฺธิยา จ ทางยศ ทางบุญ และทางฤทธิ์

ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเสน ได้แก่ บริวารยศ. บทว่า

อิทฺธิยา ได้แก่ อานุภาพ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยเสน ได้แก่

อิสริยยศ ความเป็นใหญ่. บทว่า อิทฺธิยา ได้แก่ เทวฤทธิ์ ฤทธิ์ของ

เทวดา อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยเสน ได้แก่ ความสมบูรณ์แห่งสมบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 625

บทว่า อิทฺธิยา ได้แก่ ความสำเร็จแห่งกามคุณตามที่ต้องการ. อีกอย่าง

หนึ่ง บทว่า ยเสน ได้แก่ เกียรติยศ ชื่อเสียง ที่งาม. บทว่า อิทฺธิยา

ได้แก่ ความสำเร็จพร้อม. บทว่า ปุญฺเน ได้แก่ ผลบุญที่เหลือลง

ซึ่งกล่าวไว้ในที่นั้น ๆ หรือบุญกรรมนั่นเอง.

บทว่า สพฺเพ จ เทวา ท่านกล่าวทำเนื้อความที่ถือตามสามัญ

ให้วิเศษด้วยบทนี้ว่า ติทสคณา. เทวดาทั้งหลายเมื่อจะกระทำความเคารพ

เฉพาะตนแก่ท่านที่ควรเคารพ บางท่าน ย่อมไม่กระทำทั้งที่กำลังบันเทิง

กัน สำหรับเทพบุตรนี้ ไม่อย่างนั้น ที่ท่านกล่าวว่า สเมจฺจ ชุมนุมกัน

เพื่อแสดงว่า เทวดาทั้งหลายแม้กำลังบันเทิงกัน ก็กระทำความเคารพแก่

เทพบุตรนี้โดยแท้. บทว่า ต ต คือ ต ตฺว ท่านนั้น.

บทว่า สสึว เทวา ความว่า มนุษย์และเทวดาทั้งหลายเกิดอาทร

เอื้อเฟื้อขึ้นมาก็นอบน้อมสสิสิ่งที่มีตรากระต่าย คือพระจันทร์ที่ปรากฏ

ในวันเพ็ญและวันแรมหนึ่งค่ำ ฉันใด หมู่เทพชั้นไตรทศแม้ทั้งหมด ย่อม

นอบน้อมท่านนั้น ก็ฉันนั้น เทพบุตรเรียกพระเถระด้วยความเคารพนับ

ถือมากว่า ภทนฺเต. บทว่า อหุวาสึ แปลว่า ได้เป็นแล้ว. บทว่า

ปุพฺเพ ได้แก่ ในชาติก่อน. บทว่า สุเมธนามสฺส ชินสฺส สาวโก

ความว่า เป็นสาวกเพราะบวชในศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีพระ-

นามปรากฏอย่างนี้ว่า สุเมธ. บทว่า ปุถุชฺชโน ได้แก่ ไม่ใช่พระอริยะ

ชื่อว่ายังมิได้ตรัสรู้ เพราะไม่มีแม้เพียงการตรัสรู้สัจจะทั้งหลายแม้ในศาสนา

นั้น. บทว่า โส สตฺต วสฺสานิ ปริพฺพชิสฺสห ความว่า ข้าพเจ้านั้น

เที่ยวไปโดยเพียงคุณคือบวช ๗ ปี อธิบายว่า ไม่ได้บรรลุอุตริมนุส-

ธรรม คุณอันยิ่งของมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 626

บทว่า รตนุจฺจย ได้แก่ รัตนเจดีย์ที่ยกขึ้นซึ่งสร้างด้วยรัตนะมี

แก้วและทองเป็นต้น. บทว่า เหมชาเลน ฉนฺน ความว่า คลุมด้วย

ข่ายทองทั้งรอบข้างและชั้นบน. บทว่า วนฺหิตฺวา ความว่า กระทำการ

นอบน้อมในที่นั้นๆ ด้วยเบญจางคประดิษฐ์. บทว่า ถูปสฺมึ มน ปสาทยึ

ความว่า ข้าพเจ้ายังจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปว่า นี้เป็นพระสถูปบรรจุ

พระธาตุ ซึ่งเป็นที่ตั้งมั่นแห่งคุณของพระสัพพัญญูหนอ.

บทว่า น มาสิ ทาน ความว่า มิได้มีทานที่ข้าพเจ้ากระทำเลย

เพราะเหตุไร เพราะไม่มีวัตถุที่จะถวาย. บทว่า น จ มตฺถิ ทาตุ

ความว่า วัตถุทานที่กำหนดไว้ ของข้าพเจ้าไม่มีที่จะให้ คือสิ่งของที่ควร

จะให้อะไร ๆ ไม่มี แต่ข้าพเจ้าได้ชักชวนสัตว์อื่น ๆ ในการให้ทานนั้น

บางท่านกล่าวว่า ปเรสญฺจ ตตฺถ สมาทเปสึ ได้ชักชวนคนอื่น ๆ ใน

การให้ทานนั้น ดังนี้ก็มี. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเรส พึงทราบว่า

เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า ปูเชถ น เป็นต้น เป็นบท

แสดงอาการชักชวน ประกอบความว่า ซึ่งพระธาตุนั้น กิร ศัพท์ ใน

บทว่า เอว กิร มีอรรถความว่าฟังตาม ๆ กันมา ด้วยบทว่า น ตสฺส

ปุญฺสฺส ขยมฺปิ อชฺฌค เทพบุตรแสดงว่า ข้าพเจ้าไม่ถึงความหมด

สิ้นแห่งบุญนั้น คือบุญกรรมที่กระทำอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

สุเมธในครั้งนั้น ข้าพเจ้ายังเสวยเศษวิบากแห่งกรรมนั้นแหละ ดังนี้ ข้อใด

มิได้กล่าวไว้ในที่นี้ ข้อนั้น พึงทราบว่า เข้าใจง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัย

ดังกล่าวมาแล้วในหนหลัง.

จบอรรถกถาอเนกวัณณวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 627

๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน

ว่าด้วยมัฏฐกุณฑลีวิมาน

พราหมณ์ ถามเทพบุตรนั้นว่า

[๘๓] เจ้าแต่งตัว มีตุ้มหูเกลี้ยง ทรงมาลัย

ดอกไม้ ทาตัวด้วยจันทน์แดง ประคองแขนคร่ำครวญ

อยู่ในกลางป่า เจ้าเป็นทุกข์หรือ.

มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรตอบว่า

เรือนรถทำด้วยทองคำงามผุดผ่อง เกิดขึ้นแก่

ข้า ข้าหาคู่ล้อรถนั้นยังไม่ได้ ข้าจะสละชีวิตเพราะ

ความทุกข์นั้น.

พราหมณ์กล่าวว่า

พ่อมาณพผู้เจริญ เจ้าอยากได้ล้อทองคำ แก้ว-

มณี ทองแดง หรือเงิน ก็จงบอกแก่ข้า ข้าจะจัด

คู้ล้อให้เจ้า.

มาณพนั้นกล่าวตอบพราหมณ์นั้นว่า พระ-

จันทร์พระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมปรากฏในท้องฟ้านั้น

รถทองของข้า ย่อมงามด้วยคู้ล้อนั้น.

พราหมณ์กล่าวว่า

พ่อมาณพ เจ้าเป็นคนโง่ ที่มาปรารถนาสิ่งที่

ไม่ควรปรารถนา ข้าเข้าใจว่าเจ้าจักตาย ( เสียก่อน)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 628

จักไม่ได้พระจันทร์และพระอาทิตย์แน่ ๆ.

มาณพกล่าวว่า

แม้การไปการมาของพระจันทร์พระอาทิตย์ ก็

ยังเห็นกันอยู่ รัศมีของพระจันทร์พระอาทิตย์ ก็ยัง

เห็นกันอยู่ในวิถีทั้งสอง คนที่ตายล่วงลับไปแล้ว ใคร

ก็ไม่เห็น เราสองคนที่ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ในที่นี้ ใคร

โง่กว่ากัน.

พราหมณ์กล่าวว่า

พ่อมาณพ เจ้าพูดจริง เราสองคนที่ร้องไห้

คร่ำครวญอยู่ ข้านี้แหละเป็นคนโง่กว่า ปรารถนา

คนที่ตายล่วงลับไปแล้ว เหมือนทารกร้องไห้อยากได้

พระจันทร์ฉะนั้น เจ้ามารดาข้าผู้เร่าร้อนให้สงบ ดับ

ความกระวนกระวายทั้งหมดได้ เหมือนเอาน้ำรดไฟ

ที่ราดเปรียงฉะนั้น เจ้าผู้ที่บรรเทาความโศกเศร้าถึง

บุตรของข้าผู้เฝ้าแต่เศร้าโศก ชื่อว่าได้ถอนลูกศร

คือความโศกที่เกาะหัวใจของข้าขึ้นได้แล้ว พ่อมาณพ

ข้าเป็นผู้ที่เจ้าถอนลูกศร คือความโศกขึ้นให้แล้ว ก็

เป็นผู้ดับร้อน เย็นสนิท ไม่ต้องเศร้าโศก ไม่ต้อง

ร้องให้ เพราะฟังเจ้า เจ้าเป็นเทวดา หรือเป็นคน-

ธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะผู้ให้หานในชาติก่อน เจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 629

เป็นใคร หรือเป็นบุตรของใคร เราจะรู้จักเจ้าได้

อย่างไร.

มาณพตอบว่า

ท่านเผาบุตรที่ป่าช้าเองแล้ว คร่ำครวญร้องไห้

ถึงบุตรคนใด ข้าคือบุตรคนนั้น ทำกุศลกรรมแล้ว

ถึงความเป็นสหายของทวยเทพชั้นไตรทศ.

พราหมณ์ถามว่า

เมื่อท่านให้ทานน้อยหรือมากในเรือนของตน

หรือรักษาอุโบสถกรรมเช่นนั้น เราก็มิได้เห็น เพราะ

กรรมอะไร ท่านจึงไปเทวโลกได้.

มาณพตอบว่า

ข้าป่วยเป็นไข้ได้รับทุกข์ มีกายกระสับกระ-

ส่ายอยู่ในที่อยู่ของตน ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศ-

จากกิเลสธุลี ข้ามพ้นความสงสัย เสด็จไปดีแล้ว

มีพระปัญญาไม่ทราม ข้านั้นมีใจเบิกบานเลื่อมใสได้

กระทำอัญชลีแด่พระตถาคต ข้าทำกุศลกรรมนั้น จึง

ถึงความเป็นสหายของทวยเทพชั้นไตรทศ.

พราหมณ์กล่าวว่า

น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีหนอ อัญชลีกรรม

มีผลเป็นได้ถึงเช่นนี้ แม้ข้าก็มีใจเบิกบาน มีจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 630

เลื่อมใส จึงขอถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นสรณะที่พึ่ง

ในวันนี้นี่แหละ.

มาณพกล่าวว่า

ท่านจึงมีจิตเลื่อมใส ถึงพระพุทธเจ้าพระธรรม

และพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะที่พึ่งในวันนี้นี่แหละ อนึ่ง

ท่านจงสมาทานสิกขาบท ๕ อย่าให้ขาดและด่าง

พร้อย จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เสีย จงเว้นการ

ถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ในโลก จงไม่ดื่มน้ำเมา

และไม่กล่าวเท็จ จงยินดีด้วยภรรยาของตน.

พราหมณ์กล่าวว่า

ข้าแต่เทวดาผู้น่าบูชา ท่านเป็นผู้ปรารถนา

ประโยชน์ ปรารถนาเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะ

ทำตามคำของท่าน ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า

เถิด. ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้า และพระธรรมว่า

เป็นสรณะที่พึ่งอันยอดเยี่ยม และข้าพเจ้าขอถึงพระ-

สงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นนรเทพว่า เป็น

สรณะที่พึ่ง.

ข้าพเจ้างดเว้นจากการฆ่าสัตว์อย่างฉับพลัน งด

การถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ในโลก ข้าพเจ้าไม่ดื่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 631

น้ำเมา และไม่กล่าวเท็จ และเป็นผู้ยินดีด้วยภรรยา

ของตน ดังนี้.

จบมัฏฐกุณฑลีวิมานที่ ๙

อรรถกถามัฏฐกุณฑลีวิมาน

มัฏฐกุณฑลีวิมาน มีคาถาว่า อลงฺกโค มฏฺกุณฺฑลี เป็นต้น.

มัฏฐกุณฑลีวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี

สมัยนั้น พราหมณ์ชาวสาวัตถีคนหนึ่ง เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก

เป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส เป็นมิจฉาทิฏฐิ ไม่ให้อะไรแก่

ใคร ๆ เพราะไม่ให้นั่นเอง เขาจึงเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า อทินนปุพพกะ

ไม่เคยให้ เขาไม่ต้องการเฝ้าพระตถาคต ไม่ต้องการแม้จะเห็นสาวกของ

พระตถาคต เพราะความเป็นคนโลภโดยเป็นมิจฉาทิฏฐิ เขาสอนบุตรของ

ตนชื่อมัฏฐกุณฑลีว่า ลูก เจ้าไม่พึงไปหา ไม่พึงเห็นพระสมณโคดมและ

สาวกของพระองค์ แม้ตัวเขาเองก็ได้กระทำอย่างนั้น คราวนั้น บุตรของ

เขาป่วย พราหมณ์ไม่ได้ทำยารักษา เพราะกลัวเปลืองทรัพย์ เมื่อโรค

กำเริบขึ้นจึงเชิญหมอมาดู หมอทั้งหลายดูร่างกายของเขาแล้ว รู้ว่าเด็กนั้น

รักษาไม่หายจึงหลีกไป พราหมณ์คิดว่า เมื่อลูกตายในเรือน นำออก

ลำบาก จึงอุ้มบุตรให้นอนที่นอกซุ้มประตู.

ณ ราตรีปัจจุสสมัยใกล้รุ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากพระมหา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 632

กรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นมัฏฐกุณฑลีมาณพหมดอายุ จะ

ต้องตายในวันนั้นเอง และทรงเห็นโอกาสที่มาณพนั้นการทำกรรมอันเป็น

ในเพื่อนรก มีพระพุทธดำริว่า ถ้าเราไปในที่นั้น มาณพนั้นจักทำจิตให้

เลื่อมใสเรา จักบังเกิดในเทวโลก จักเข้าไปหาบิดาที่ร้องไห้อยู่ในป่าช้า

ให้บิดาสังเวช เมื่อเป็นเช่นนั้น ทั้งเขาและบิดาของเขาจักมาหาเรา หมู่

มหาชนจักประชุมกัน เมื่อเราแสดงธรรม จักมีการตรัสรู้ธรรมกันมากใน

ที่นั้น ครั้นทรงทราบอย่างนี้แล้ว รุ่งเช้า ทรงนุ่งแล้วทรงถือบาตรและ

จีวร เสด็จเข้าบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ประทับยืนเปล่งพระพุทธรังสีมี

วรรณะ ๖ ใกล้เรือนบิดาของมาณพมัฏฐกุณฑลี มาณพเห็นพระฉัพพัณณ-

รังสีเหล่านั้นคิดว่า นั่นอะไร เหลียวดูข้างโน้นข้างนี้ ได้เห็นพระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้ฝึกตนแล้ว คุ้มครองตนแล้ว มีพระอินทรีย์สงบโชติช่วงอยู่

ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ และด้วยพระเกตุมาลา

อันมีรัศมีวาหนึ่ง ทรงรุ่งโรจน์ด้วยพระพุทธสิริอันเปรียบมิได้ ด้วยพระ-

พุทธานุภาพอันเป็นอจินไตย ครั้นเห็นแล้ว มาณพนั้นได้มีความคิดอย่าง

นี้ว่า พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเสด็จถึงที่นี้แล้วหนอ ซึ่งพระองค์มีรูปสมบัติ

ที่จะงำแม้พระอาทิตย์ ด้วยพระเดชของพระองค์ งำพระจันทร์ ด้วยพระ-

คุณที่น่ารัก งำสมณพราหมณ์ทั้งหมด ด้วยความเป็นผู้สงบระงับ อัน

ความสงบระงับพึงมีในที่นี้นี่แหละ อัครบุคคลในโลกนี้ ก็เห็นจะผู้นี้นี่เอง

และก็เสด็จถึงที่นี้ ก็เพื่อทรงอนุเคราะห์เราแน่แล้ว มาณพนั้นมีเรือนร่าง

อันปีติที่มีพระพุทธคุณเป็นอารมณ์สัมผัสแล้วตลอดกาล เสวยปีติโสมนัส

ไม่น้อย มีจิตเลื่อมใสนอนประคองอัญชลี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเขา

แล้ว มีพระดำริว่า เพียงเท่านี้ก็พอที่มาณพนี้จะเข้าถึงสวรรค์ ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 633

เสด็จหลีกไป.

แม้มาณพนั้นไม่ละปีติโสมนัสนั้นเลย ทำกาละตายไปบังเกิดใน

วิมานทอง ๑๒ โยชน์ ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ฝ่ายบิดาของเขา ให้ทำ

สักการะสรีระแล้ว ในวันที่สองไปป่าช้าในเวลาเช้ามืด คร่ำครวญว่า โธ่

เอ๋ย มัฏฐกุณฑลี โธ่เอ๋ย มัฏฐกุณฑลี เดินพลางร้องไห้พลาง วนไป

รอบ ๆ ป่าช้า.

เทพบุตรตรวจดูความสมบูรณ์แห่งสมบัติของตน ทบทวนดูว่า เรา

ทำกรรมอะไร จากไหนจึงมาที่นี้ ได้รู้อัตภาพก่อนของตน และเห็นความ

เลื่อมใสแห่งจิตที่เป็นไปในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพียงทำอัญชลีที่น่าจับใจ

ในเวลาจะตายในอัตภาพนั้น เกิดความเลื่อมใสและความนับถือเป็นอัน

มากในพระตถาคตอย่างดียิ่งว่า โอ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ทรงมี

อานุภาพมาก ใคร่ครวญดูว่า อทินนปุพพกพราหมณ์ทำอะไรหนอ เห็น

มาร้องไห้อยู่ในป่าช้า จึงคิดว่า พราหมณ์นี้ เมื่อก่อน ไม่ทำแม้เพียงยา

รักษาเรา มาบัดนี้ร้องไห้อยู่ในป่าช้า หาประโยชน์มิได้ เอาเถอะ เรา

จักให้พราหมณ์นั้นสังเวชแล้วให้ดำรงอยู่ในกุศล ดังนี้แล้ว มาจากเทวโลก

แปลงตัวเป็นมัฏฐกุณฑลีร้องไห้อยู่ ยืนประคองแขนคร่ำครวญอยู่ใกล้ ๆ

บิดาว่า โอ้ พระจันทร์ โอ้ พระอาทิตย์ ครั้งนั้น พราหมณ์คิดว่า นี้

มัฏฐกุณฑลีมาแล้ว ได้กล่าวกะเขาด้วยคาถาว่า

เจ้าแต่งตัว มีตุ้มหูเกลี้ยง ทรงมาลัยดอกไม้

ทาตัวด้วยจันทน์แดง ประคองแขนคร่ำครวญอยู่ใน

กลางป่า เจ้าเป็นทุกข์หรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกโต แปลว่า ประดับแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 634

บทว่า มฏฺกุณฺฑลี ได้แก่ มีตุ้มหูที่ทำอย่างเกลี้ยง ๆ ไม่แสดงลาย

ดอกไม้และเครือเถาเป็นต้น เพื่อไม่ครูดสีร่างกาย อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

มฏฺกุณฺฑลี แปลว่า ตุ้มหูที่บริสุทธิ์ อธิบายว่า ตุ้มหูที่ต้มแล้วเช็ดล้าง

ด้วยหญิงคุธรรมชาติ แล้วเช็ดด้วยขนสุกร. บทว่า มาลธารี ได้แก่

ทัดทรงมาลัยดอกไม้ อธิบายว่า ประดับมาลัยดอกไม้. บทว่า หริจนฺท-

นุสฺสโท ความว่า เอาจันทน์แดงไล้ทาทั่วตัว. บทว่า กึ เป็นคำถาม.

บทว่า ทิกฺขิโต แปลว่า ถึงความทุกข์ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กึ ทุกขิโต

เป็นบทเดียวกัน ความว่า ถึงทุกข์ ด้วยความทุกข์อะไร.

ลำดับนั้น เทพบุตรกล่าวกะพราหมณ์ว่า

เรือนรถทำด้วยทองคำงามผุดผ่องเกิดขึ้นแก่ข้า

ข้าหาคู่ล้อรถนั้นยังไม่ได้ ข้าจะสละชีวิตเพราะความ

ทุกข์นั้น.

ลำดับนั้น พราหมณ์กล่าวกะเทพบุตรนั้นว่า

พ่อมาณพผู้เจริญ เจ้าอยากได้คู่ล้อทองคำ

แก้วมณี ทองแดง หรือเงินก็จงบอกแก่ข้า ข้าจะจัด

คู่ล้อให้เจ้า.

มาณพได้ฟังดังนั้น คิดว่า พราหมณ์นี้ไม่ทำยารักษาลูก เห็นเรา

คล้ายลูก ร้องไห้พูดว่า จะทำล้อรถทองเป็นต้นให้ ช่างเถอะ จำเราจัก

ข่มเขา จึงกล่าวว่า ท่านจักทำคู่ล้อแก่ข้าใหญ่เท่าไร เมื่อพราหมณ์กล่าวว่า

ให้เท่าที่เจ้าต้องการ จึงขอว่า ข้าต้องการพระจันทร์และพระอาทิตย์

ขอท่านจงให้พระจันทร์พระอาทิตย์แก่ข้าเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 635

มาณพนั้นกล่าวตอบพราหมณ์นั้นว่า พระจันทร์

พระอาทิตย์ทั้งสองย่อมปรากฏในท้องฟ้านั้น รถทอง

ของข้า ย่อมงามด้วยคู่ล้อนั้น.

ลำดับนั้น พราหมณ์กล่าวกะเทพบุตรว่า

พ่อมาณพ เจ้าเป็นคนโง่ ที่มาปรารถนาสิ่งที่

ไม่ควรปรารถนา ข้าเข้าใจว่าเจ้าจักตาย [ เสียก่อน ]

จักไม่ได้พระจันทร์และพระอาทิตย์แน่นอน.

ลำดับนั้น มาณพกล่าวกะพราหมณ์ว่า คนที่ร้องไห้เพื่อต้องการสิ่ง

ปรากฏอยู่เป็นคนโง่ หรือว่าคนที่ร้องไห้เพื่อต้องการสิ่งที่ไม่ปรากฏอยู่

เป็นคนโง่ แล้วกล่าวว่า

แม้การไปการมาของพระจันทร์พระอาทิตย์ ก็

ยังเห็นกันอยู่ รัศมีของพระจันทร์พระอาทิตย์ ก็ยัง

เห็นกันอยู่ในวิถีทั้งสอง คนที่ตายล่วงลับไปแล้ว ใคร

ก็ไม่เห็น บรรดาเราสองคนที่ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ใน

ที่นี้ ใครโง่กว่ากัน.

พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นแล้ว กำหนดในใจว่า เจ้านี่พูดถูกจึงกล่าวว่า

พ่อมาณพ ท่านพูดจริง บรรดาเราสองคนที่

ร้องไห้คร่ำครวญอยู่ ข้านี่แหละเป็นคนโง่กว่า

ปรารถนาบุตรที่ตายล่วงลับไปแล้ว เหมือนทารกร้องไห้

อยากได้พระจันทร์ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 636

หายโศกเศร้าเพราะถ้อยคำของมาณพนั้น เมื่อจะชมเชยมาณพ จึงกล่าว

คาถาเหล่านี้ว่า

เจ้ามารดาข้าผู้เร่าร้อนให้สงบ ดับความกระวน

กระวายทั้งหมดได้ เหมือนเอาน้ำรดไฟที่ราดเปรียง

ฉะนั้น เจ้าผู้ที่บรรเทาความโศกเศร้าถึงบุตรของข้าผู้

เฝ้าแต่เศร้าโศก ชื่อว่าได้ถอนลูกศรคือความโศกที่

เกาะหัวใจของข้าขึ้นได้แล้ว พ่อมาณพ ข้าเป็นผู้ที่

เจ้าถอนลูกศร คือความโศกขึ้นได้แล้ว ก็เป็นผู้ดับ

ร้อน เย็นสนิท ไม่ต้องเศร้าโศก ไม่ต้องร้องให้

เพราะฟังเจ้า ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รถปญฺชโร ได้แก่ ตัวรถ. บทว่า

น วินฺทามิ แปลว่า ย่อมไม่ได้. บทว่า ภทฺทมาณว เป็นคำร้องเรียก.

บทว่า ปฏิปาทยามิ แปลว่า จะจัดให้ ประโยคสงค์ความว่า ท่านอย่าสละ

ชีวิตเพราะไม่มีคู่ล้อ. บทว่า อุภเยตฺถ ทิสฺสเร ความว่า พระจันทร์

และพระอาทิตย์ แม้ทั้งสอง ยังเห็นกันได้ในท้องฟ้านี้ อักษรทำหน้าที่

เชื่อมบท อีกอย่างหนึ่ง แยกบทเป็น อุภเย เอตฺถ.

บทว่า คมนาคมน ความว่า การไปและการมาของพระจันทร์และ

พระอาทิตย์ ยังเห็นกันได้ โดยลงและขึ้นทุก ๆ วัน บาลีว่า คมโนคมน

ก็มี ความว่าขึ้นและลง. บทว่า วณฺณธาตุ ได้แก่ แสงสว่างของวรรณะ

ที่เหลือแต่ความเย็น เป็นแสงสว่างน่ารัก [ พระจันทร์ ] ที่เหลือแต่ความ

ร้อน เป็นแสงสว่างที่กล้า [ พระอาทิตย์ ]. บทว่า อุภยตฺถ พึงประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 637

ความว่า รัศมีแม้ในพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองก็ยังเห็นกันอยู่.

บทว่า วิถิยา ได้แก่ ในวิถีที่เป็นไป หรือในวิถีมีนาควิถีเป็นต้น ใน

ท้องฟ้า บาลีว่า อุภเยตฺถ ก็มีบ้าง แยกบทว่า อุภเย เอตฺถ. บทว่า

พาลฺยตโร แปลว่า โง่กว่า คือโง่อย่างที่สุด.

พราหมณ์ฟังคาถานี้แล้ว ก็พิจารณาดูว่า เราปรารถนาเรื่องที่ไม่น่า

จะได้แล้วหนอ จึงถูกไฟคือความโศกเผาอยู่อย่างเดียว ทำไมเรายังจะต้อง

การด้วยความพินาศและความทุกข์ซึ่งไร้ประโยชน์ ครั้งนั้น เทพบุตร

คลายรูปมัฏฐกุณฑลีกลับเป็นรูปทิพย์ของตนอย่างเดิม แต่พราหมณ์ไม่ได้

ตรวจดูเทพบุตรนั้น พูดโดยใช้โวหารว่ามาณพอยู่อย่างเดิม กล่าวว่า

สจฺจ โข วเทสิ มาณว เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺท วิย

ทารโก รุท ความว่า เหมือนทารกร้องไห้อยากได้พระจันทร์. บทว่า

กาลกตาภิปตฺถยึ ความว่า ปรารถนาถึงคนที่ตายแล้ว บาลีว่า อภิปฺตฺถย

ก็มี.

บทว่า อาทิตฺต ได้แก่ เร่าร้อนด้วยไฟคือความโศก. บทว่า

นิพฺพาปเย ทร ความว่า ดับความกระวนกระวาย คือความเร่าร้อน

เพราะความโศก. บทว่า อพฺพุหิ แปลว่า ถอน คือยกขึ้น.

ลำดับนั้น พราหมณ์บรรเทาความโศกได้แล้ว เห็นผู้ให้คำชี้แจง

แก่ตน อยู่ในรูปเป็นเทวดา เมื่อจะถามว่า ท่านชื่ออะไร จึงกล่าวคาถาว่า

ท่านเป็นเทวดา หรือเป็นคนธรรพ์ หรือเป็น

ท้าวสักกะผู้ให้ทานในชาติก่อน ท่านเป็นใคร หรือ

เป็นบุตรของใคร เราจะรู้จักท่านได้อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 638

เทพบุตรแม้นั้นก็ได้ชี้แจงตนแก่พราหมณ์นั้นว่า

ท่านเผาบุตรที่ป่าช้าเองแล้ว คร่ำครวญร้องไห้

ถึงบุตรคนใด ข้าคือบุตรคนนั้น ทำกุศลกรรมแล้ว

ถึงความเป็นสหายของทวยเทพชั้นไตรทศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยญฺจ กนฺทสิ ยญฺจ โรทสิ ความ

ว่า ท่านร้องไห้ คือหลั่งน้ำตา ถึงมัฏฐกุณฑลีบุตรของท่านคนใด.

ลำดับนั้น พราหมณ์กล่าวกะเทพบุตรนั้นว่า

เมื่อท่านให้ทานน้อยหรือมากในเรือนของตน

หรือรักษาอุโบสถกรรมเช่นนั้น พวกเราก็มิได้เห็น

เพราะกรรมอะไร ท่านจึงไปเทวโลกได้.

ในคาถานั้นประกอบความว่า หรืออุโบสถกรรมเช่นนั้น เราก็

ไม่เห็น.

ลำดับนั้น มาณพกล่าวกะพราหมณ์ว่า

ข้าป่วยเป็นไข้ได้รับทุกข์ มีกายกระสับกระส่าย

อยู่ในที่อยู่ของตน ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ปราศจาก

กิเลสธุลี ข้ามพ้นความสงสัย เสด็จไปดีแล้ว มี

พระปัญญาไม่ทราม ข้านั้นมีใจเบิกบานเลื่อมใส ได้

กระทำอัญชลีแด่พระตถาคต ข้าทำกุศลธรรมนั้นจึง

ถึงความเป็นสหายของทวยเทพชั้นไตรทศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาพาธิโก แปลว่า เพียบด้วยความ

เจ็บป่วย. บทว่า ทุกฺขิโต ความว่า เกิดทุกข์เพราะความเป็นคนเจ็บป่วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 639

นั้นแหละ. บทว่า คิลาโน ได้แก่ กำลังจับไข้. บทว่า อาตุรรูโป แปลว่า

มีกายอันทุกขเวทนาเสียดแทง. บทว่า วิคตรช แปลว่า มีกิเลสดุจธุลี

มีราคะเป็นต้นไปปราศแล้ว. บทว่า วิติณฺณกงฺข ความว่า ข้ามพ้นความ

สงสัย เพราะถอนความสงสัยได้ทุกอย่าง. บทว่า อโนมปญฺ ได้แก่

มีปัญญาบริบูรณ์ อธิบายว่า เป็นพระสัพพัญญู. บทว่า อกรึ แปลว่า

ได้กระทำแล้ว. บทว่า ตาห ตัดบทเป็น ต อห.

เมื่อมาณพกำลังกล่าวอยู่อย่างนี้นั่นแล ทั่วเรือนร่างของพราหมณ์

เต็มเปี่ยมไปด้วยปีติ เมื่อเขาจะประกาศปีตินั้น จึงกล่าวว่า

น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีหนอ อัญชลีกรรม

มีผลเป็นได้ถึงเช่นนี้ แม้ข้าก็มีใจเบิกบาน มีจิต

เลื่อมใส จึงขอถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นสรณะที่พึ่งใน

วันนี้นี่แหละ.

ในคาถานั้น ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรปรบมือ โดยที่เป็นไป

ไม่บ่อยนัก ชื่อว่า อัพภูตะ เพราะไม่เคยมี พราหมณ์ครั้นแสดงความ

ประหลาดใจด้วยบททั้งสองแล้วกล่าวว่า แม้ข้าก็มีใจเบิกบานมีจิตเลื่อมใส

จึงขอถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นสรณะที่พึ่งในวันนี้นี่แหละ.

ลำดับนั้น เทพบุตรเมื่อจะประกอบพราหมณ์นั้นไว้ในการถึงสรณะ

และสมาทานศีล จึงกล่าวสองคาถาว่า

ขอท่านจงมีจิตเลื่อมใส ถึงพระพุทธเจ้า พระ-

ธรรมและพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะที่พึ่งในวันนี้นี่แหละ

อนึ่ง ท่านจงสมาทานสิกขาบท ๕ อย่าให้ขาดและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 640

ด่างพร้อย จงรีบงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เสีย จงเว้น

การถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ในโลก จงไม่ดื่มน้ำเมา

และไม่กล่าวเท็จ จงยินดีด้วยภรรยาของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตเถว ความว่า ท่านมีจิตเลื่อมใสถึง

พระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นสัมมาสัมพุทธะ ดังนี้

ฉันใด ท่านจงมีจิตเลื่อมใสถึงพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ว่า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้

ฉันนั้นเหมือนกัน อีกอย่างหนึ่ง ท่านมีจิตเลื่อมใสถึงพระรัตนตรัยว่า

เป็นที่พึ่ง ฉันใด ท่านมีจิตเลื่อมใสว่า นี้นำประโยชน์และความสุขมาทั้ง

ในปัจจุบันและอนาคตโดยส่วนเดียว จงสมาทาน คือจงประพฤติถือมั่น

ซึ่งศีลห้า อันเป็นบท คือเป็นส่วนแห่งสิกขาคืออธิศีลสิกขา หรือเป็น

อุบายทางดำเนินถึงอธิจิตตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา ไม่ให้ขาดและด่าง

พร้อย เพราะไม่กำเริบและไม่เศร้าหมอง ฉันนั้นเหมือนกัน.

พราหมณ์ถูกเทพบุตรประกอบไว้ในการถึงสรณะและการสมาทาน

ศีลอย่างนี้แล้ว เมื่อจะรับคำของเทพบุตรนั้นด้วยเศียรเกล้า จึงกล่าวคาถา

ว่า

ข้าแต่เทวดาผู้น่าบูชา ท่านเป็นผู้ปรารถนา

ประโยชน์ ปรารถนาเกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะ

ทำตามคำของท่าน ขอท่านจงเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า

เถิด ดังนี้.

เมื่อดำรงอยู่ในคำนั้น ได้กล่าวสองคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 641

ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าและพระธรรมว่าเป็น

สรณะที่พึ่งอันยอดเยี่ยม และข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์

สาวกของพระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นนรเทพว่า เป็นสรณะ

ที่พึ่ง.

ข้าพเจ้างดเว้นจากการฆ่าสัตว์อย่างฉับพลัน

งดการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้ในโลก ข้าพเจ้าไม่

ดื่มน้ำเมา และไม่กล่าวเท็จ และเป็นผู้ยินดีด้วย

ภรรยาของตน ดังนี้.

แม้คำนั้น ก็รู้ง่ายเหมือนกัน.

แต่นั้น เทพบุตรคิดว่า กิจที่ควรกระทำแก่พราหมณ์ เราก็กระทำ

เสร็จแล้ว บัดนี้พราหมณ์คงจักเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเองดังนี้แล้วได้

อันตรธานไป ณ ที่นั้นเอง แม้พราหมณ์ก็เกิดเลื่อมใสและนับถือมากใน

พระผู้มีพระภาคเจ้า และถูกเทวดาเตือน จึงบ่ายหน้าไปวิหารด้วยหมายใจ

จักเข้าเฝ้าพระสมณโคดม มหาชนเห็นดังนั้น คิดว่า พราหมณ์นี้ไม่เข้า

เฝ้าพระตถาคตตลอดกาลเท่านี้ วันนี้เข้าเฝ้าเพราะโศกถึงบุตร จักมีพระ-

ธรรมเทศนาเช่นไรหนอ จึงพากันติดตามพราหมณ์นั้นไป.

พราหมณ์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำปฏิสันถารแล้ว กราบทูล

อย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม คนไม่ให้ทานอะไร ๆ หรือไม่รักษาศีล

เพียงแต่เลื่อมใสในพระองค์อย่างเดียว จะบังเกิดในสวรรค์ได้หรือ พระผู้

มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ท่านพราหมณ์ เมื่อย้ำรุ่งวันนี้ มัฏฐกุณฑลี

เทพบุตรได้บอกเหตุที่เข้าถึงเทวโลกของตน แก่ท่านแล้วมิใช่หรือ ขณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 642

นั้น มัฏฐกุณฑลีเทพบุตรมาปรากฏองค์พร้อมกับวิมาน ลงจากวิมาน

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนประคองอัญชลีอยู่ ณ ที่สมควร

แห่งหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงสุจริตที่เทพบุตรนั้นกระทำ

แล้ว ในที่ประชุมนั้น ทรงทราบว่าที่ประชุมมีความสบายใจ จึงทรง

แสดงสามุกกังสิกเทศนา ธรรมแบบยกขึ้นแสดงเอง.

จบเทศนา เทพบุตร พราหมณ์ และบริษัทที่ประชุมกัน รวมเป็น

สัตว์แปดหมื่นสี่พันได้ตรัสรู้ธรรมแล.

จบอรรถกถามัฏฐกุณฑลีวิมาน

๑๐. เสริสสกวิมาน

ว่าด้วยเสริสสกวิมาน

พระควัมปติเถระกล่าวว่า

[๘๔] ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำของเทวดา

และของพวกพ่อค้าในทางทะเลทราย ที่ได้มาพบกัน

ในเวลานั้น และฟังถ้อยคำที่เทวดาและพวกพ่อค้า

โต้ตอบกันโดยประการใด ขอท่านทั้งปวงจงฟังคำนั้น

๑. สามุกฺกสิก แปลตามอรรถกถาว่า พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นถือเอาเอง คือ

ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (ตรัสรู้เอง) ได้แก่อริยสัจจเทศนา , ตามแบบเรียน แปลว่า

ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง คือ ไม่ต้องปรารภคำถามเป็นต้นของผู้ฟัง ได้แก่

เทศนาเรื่องอริยสัจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 643

โดยประการนั้นเถิด ยังมีพระยานามว่าปายาสิ มียศ

ถึงความเป็นสหายของภุมเทวดา บันเทิงอยู่ใน

วิมานของตน เป็นเทวดาได้มาสนทนากะพวกมนุษย์.

เสริสสกเทพบุตรถามพวกพ่อค้าด้วยคาถาว่า

ดูก่อนมนุษย์ทั้งหลาย พวกท่านกลัวทางคด

เคี้ยว ใจเสียอยู่ในที่น่าสงสัยว่ามีภัยในป่า ในถิ่น

อมนุษย์ ในทางกันดาร ไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร เดิน

ไปได้แสนยาก กลางทะเลทราย ในทะเลทรายนี้

ไม่มีผลไม้ ไม่มีเผือกมัน ไม่มีเชื้อไฟในที่นี้ จะมี

อาหารแต่ที่ไหน นอกจากฝุ่นและทรายที่แดดแผด

เผาทั้งร้อนทั้งทารุณ เป็นที่ดอน ร้อนดังแผ่นเหล็ก

เผาไฟ หาความสุขมิได้ เทียบเท่านรก (ในปรโลก)

เป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์หยาบช้ายุคโบราณ เป็น

ภูมิประเทศเหมือนถูกสาปไว้ เออก็พวกท่านหวังอะไร

เพราะเหตุไรจึงไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วน ตามกันเข้ามา

ยังประเทศถิ่นนี้พร้อมกัน เพราะความโลภความกลัว

หรือเพราะความหลง.

พวกพ่อค้าตอบว่า

พวกข้าพเจ้าเป็นนายกองเกวียนอยู่ในแคว้น

มคธและแคว้นอังคะ บรรทุกสินค้ามามาก ต้องการ

ทรัพย์ปรารถนากำไร จะพากันไปยังสินธุประเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 644

และโสวีระประเทศเวลากลางวัน ข้าพเจ้าทุกคนทน

ความระหายน้ำไม่ได้ ทั้งมุ่งหมายจะอนุเคราะห์

สัตว์พาหนะ รีบเดินทางมาในกลางคืน ซึ่งเป็นเวลา

กาล ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงได้พลาดทาง ไปผิดทาง

หลงทางไม่รู้ทิศ เดินเข้าไปในป่าที่ไปได้แสนยาก

กลางทะเลทราย วุ่นวายเหมือนคนตาบอด ข้าแต่

ท่านเทวะผู้ควรบูชา พวกข้าพเจ้าได้พบวิมานอัน

ประเสริฐ และตัวท่านนี้ ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน จึง

หวังจะรอดชีวิตยิ่งกว่าแต่ก่อน เพราะพบกัน พวก

ข้าพเจ้าจึงพากันร่าเริง ดีใจและปลื้มใจ.

เทพบุตรถามว่า

ดูก่อนพ่อทั้งหลาย พวกท่านไปทะเลทราย

ทั้งฝั่งโน้น ทั้งฝั่งนี้ และไปทางที่มีเชิงหวายและ

หลักตอ ไปหลายทิศที่ไปได้ยาก คือมีแม่น้ำ และ

ที่ขรุขระของภูเขา เพราะโภคทรัพย์เป็นต้นเหตุ พวก

ท่านไปยังแว่นแคว้นของเพราะราชาอื่น ๆ ได้เห็นพวก

มนุษย์ชาวต่างประเทศ เราขอฟังสิ่งอัศจรรย์ ที่พวก

ท่านได้ฟังหรือได้เห็นมาในสำนักของพวกท่าน.

พวกพ่อค้าตอบว่า

ข้าแต่พ่อกุมาร สมบัติของมนุษย์ที่แล้ว ๆ มา

ทั้งหมด พวกข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินหรือได้เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 645

อัศจรรย์กว่าวิมานของท่านนี้เลย พวกข้าพเจ้าดูวิมาน

ของท่านอันมีรัศมีไม่ทรามแล้วไม่อิ่มเลย สระโบขรณี

เลื่อนลอยไปในอากาศ มีสวนป่าไม้มาก มีบุณฑริก

บัวขาวมาก มีต้นไม้ออกผลเป็นนิตย์ โชยกลิ่นหอม

ตลบไป เสาวิมานเหล่านี้ เป็นเสาแก้วไพฑูรย์

สูงร้อยศอก ส่วนยาวประดับด้วยศิลา แก้วประพาฬ

แก้วลายและแก้วทับทิม มีรัศมีโชติช่วง วิมานงาม

ของท่านนี้มีเสาพันหนึ่ง มีอานุภาพหาที่เปรียบมิได้

อยู่บนเสาเหล่านั้น ประกอบด้วยรัตนะภายใน ภาย

นอกล้อมด้วยไพทีทอง และกำบังอย่างดีด้วยแผ่น

ทอง วิมานของท่านนี้สว่างด้วยทองชมพูนุท ส่วน

นั้น ๆ ของวิมาน เกลี้ยงเกลา ประกอบด้วยบันได

และแผ่นกระดานของปราสาท มั่นคง งดงาม มี

ส่วนประกอบเข้ากันสนิทชวนพิศอย่างยิ่ง น่าลิงโลด

ใจ ภายในวิมานรัตน์ มีข้าวน้ำอุดมสมบูรณ์ ตัว

ท่านอันหมู่เทพอัปสรห้อมล้อม เอิกอึงด้วยเสียง

ตะโพน เปิงมางและดนตรี อันทวยเทพมากราบไหว้

ด้วยการสดุดีและวันทนา ท่านนั้นตื่นอยู่ด้วยหมู่เทพ-

นารี บันเทิงอยู่ในวิมานปราสาท อันประเสริฐน่า

รื่นรมย์ใจ มีอานุภาพเป็นอจินไตย ประกอบไปด้วย

คุณทุกอย่าง ดังท้าวเวสวัณในนลินีสถานมีดอกบัว

ท่านเป็นเทวดา หรือเป็นยักษ์ หรือเป็นท้าวสักกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 646

จอมเทพ หรือเห็นมนุษย์ พวกพ่อค้าเกวียนถามท่าน

ขอท่านโปรดบอกทีเถิด ท่านเป็นเทวดาชื่อไร.

เทพบุตรตอบว่า

ข้าพเจ้าเป็นเทวดาชื่อเสริสสกะ เป็นผู้รักษา

ทางกันดาร คุ้มครองทะเลทราย ทำตามเทวบัญชา

คำสั่งของท้าวเวสวัณ จึงดูแลรักษาประเทศถิ่นนี้อยู่.

พวกพ่อค้าถามว่า

วิมานนี้ท่านได้มาเอง หรือเกิดโดยความ

เปลี่ยนแปลง ท่านทำเองหรือเทวดาทั้งหลายให้

พ่อค้าเกวียนทั้งหลายถามท่าน วิมานที่น่าภูมิใจนี้

ท่านได้มาอย่างไร.

เทพบุตรตอบว่า

วิมานนี้ มิใช่ข้าพเจ้าได้มาเอง มิใช่เกิดโดย

การเปลี่ยนแปลง มิใช่ข้าพเจ้าทำเอง มิใช่เทวดา

ทั้งหลายให้ วิมานที่น่าภูมิใจนี้ ข้าพเจ้าได้มาด้วย

บุญธรรมที่มิใช่บาปของตน.

พวกพ่อค้าถามว่า

อะไรเป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของท่าน นี้

เป็นวิบากแห่งบุญอะไรที่ท่านสั่งสมไว้ดีแล้ว พ่อค้า

เกวียนทั้งหลายถามท่าน วิมานนี้ท่านได้มาอย่างไร.

เทพบุตรตอบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 647

ข้าพเจ้ามีนามว่าปายาสิ เมื่อครั้งรับราชการ

(เป็นเจ้าเมืองเสตัพยะ) แคว้นโกศล ข้าพเจ้าเป็น

นัตถิกทิฏฐิ ( มีความเห็นผิดว่าไม่มีบุญบาป) เป็น

คนตระหนี่ มีธรรมอันลามก มีปกติกล่าวว่าขาดสูญ

ได้มีสมณะ นามว่ากุมารกัสสปะ ผู้โอฬาร เป็น

พหูสูต กล่าวธรรมได้วิจิตร ท่านได้แสดงธรรมกถา

โปรดข้าพเจ้าในครั้งนั้น ได้บรรเทาทิฏฐิ ที่เป็นข้าศึก

ใจ (มิจฉาทิฏฐิ) ของข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าได้ฟัง

ธรรมกถาของท่านนั้นแล้ว ได้ปฏิญาณตนเป็นอุบาสก

งดเว้นจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทานใน

โลก ไม่ดื่มน้ำเมาและไม่กล่าวมุสา ยินดีด้วยภริยา

ของตน ข้อนั้นเป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของ

ข้าพเจ้า นี้เป็นวิบากแห่งบุญที่ข้าพเจ้าสั่งสมไว้ดีแล้ว

วิมานนี้ข้าพเจ้าได้มาด้วยบุญกรรมที่ไม่ใช่บาปเหล่า-

นั้นแหละ.

พวกพ่อค้าถามว่า

ได้ยินว่า คนทั้งหลายที่มีปัญญา พูดแต่คำจริง

คำของบัณฑิตทั้งหลาย จึงไม่แปรปรวนกลับกลาย

เป็นอย่างอื่น คนทำบุญจะไปในที่ใด ๆ ย่อมมีแต่

ของที่น่ารักน่าท่านใคร่ บันเทิงอยู่ในที่นั้น ๆ ความโศก

ความร่ำให้ การฆ่า การจองจำ และเหตุเกิดเรื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 648

เลวร้าย มีอยู่ในที่ใด ๆ คนทำบาปก็ย่อมไปในที่

นั้น ๆ ย่อมไม่พ้นทุคติไปได้ไม่ว่าในกาลไร พ่อกุมาร

เพราะเหตุอะไรหนอ เทพบริวารจึงกลายเป็นผู้ฟั่น-

เฟือนในชั่วครู่นี้ เหมือนน้ำใสถูกกวนให้ขุ่น โทม-

นัสความเสียใจจึงได้มีแก่เทพบริวารนี้และตัวท่าน.

เทพบุตรตอบว่า

ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลาย กลิ่นหอมทิพย์เหล่านี้

หอมฟุ้งจากป่าไม้ซึก หอมตลบอบอวลทั่ววิมานนี้

กำจัดความมืดได้ทั้งกลางวันกลางคืน ล่วงไปร้อยปี

เปลือกฝักของต้นซึกเหล่านี้จะแตกออกเป็นฝัก ๆ เป็น

อันรู้ว่าร้อยปีของมนุษย์ล่วงไปแล้ว ดูก่อนพ่อค้า

ทั้งหลาย ตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิดในเทวดาหมู่นี้ ดำรงอยู่

ในวิมานนี้ ๕๐๐ ปีทิพย์แล้วจึงจุติ เพราะสิ้นบุญ

เพราะสิ้นอายุ เพราะความโศกนั้นนั่นแล ข้าพเจ้า

จึงซบเซา.

พวกพ่อค้ากล่าวว่า

ท่านได้วิมานซึ่งหาที่เปรียบมิได้เป็นเวลานาน

ท่านเป็นเช่นนั้นจะเศร้าโศกไปทำไมเล่า ผู้มีบุญน้อย

เข้าอยู่ในวิมานชั่วเวลาสั้น ๆ ควรเศร้าโศกแท้.

เทพบุตรกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 649

ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลาย ข้อที่ท่านทั้งหลายกล่าว

วาจาน่ารักตักเตือนข้าพเจ้านั้น สมควรแก่ข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าจะตามคุ้มครองพวกท่าน ขอท่านทั้งหลายจง

ไปยังที่ที่พวกท่านปรารถนาโดยสวัสดีเถิด.

พวกพ่อค้ากล่าวว่า

ข้าพเจ้าทั้งหลาย มีความต้องการทรัพย์

ปรารถนากำไร จึงพากันไปยังสินธุประเทศ และ

โสวีระประเทศ พวกข้าพเจ้าจักประกอบกรรมตาม

สมควร จักเสียสละอย่างบริบูรณ์ กระทำการฉลอง

เสริสสกเทพบุตรอย่างโอฬาร.

เทพบุตรกล่าวว่า

ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำการบูชาเสริสสกเทพบุตร

เลย สิ่งที่พวกท่านพูดถึงทั้งหมด จักมีแก่พวกท่าน

ท่านทั้งหลายจงงดเว้นการกระทำที่เป็นบาป และจง

ตั้งใจประกอบตามซึ่งธรรมเถิด ในหมู่พ่อค้าเกวียนนี้

มีอุบาสกผู้เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร มี

ศรัทธา มีจาคะ มีความละมุนละไม มีปัญญา

ประจักษ์ เป็นผู้สันโดษ เป็นผู้มีความรู้ ไม่พูดเท็จ

ทั้งรู้ ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น ไม่พูดส่อเสียดให้เขา

แตกกัน พูดแต่วาจาอ่อนหวานน่ารัก มีความเคารพ

มีความยำเกรง มิวินัย ไม่เป็นคนเลว เป็นผู้บริสุทธิ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 650

ในอธิศีล เป็นคนเลี้ยงบิดามารดาโดยธรรม มีความ

ประพฤติประเสริฐ เขาแสวงหาโภคะทั้งหลายเพื่อ

เลี้ยงบิดามารดา มิใช่เพื่อตน เมื่อบิดามารดาล่วง

ลับแล้ว เป็นผู้น้อมไปในเนกขัมมะ จักประพฤติ

พรหมจรรย์ เป็นคนตรง ไม่คดโกง ไม่โอ้อวด

ไม่มีมายา ไม่พูดมีเลศนัย เขาเป็นผู้ทำแต่กรรมดี

ตั้งอยู่ในธรรมเช่นนี้ จะพึงได้ความทุกข์อย่างไรเล่า

เพราะอุบาสกนั้นเป็นเหตุ ข้าพเจ้าจึงได้ปรากฏตัว.

ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลายเอ๋ย เพราะฉะนั้น พวก

ท่านจงเห็นธรรมเถิด เพราะเว้นจากอุบาสกนั้นเสีย

แล้ว ท่านทั้งหลายจะวุ่นวายเหมือนคนตาบอดหลง

เข้ารูปในป่าเป็นเถ้าถ่านไป อันคนอื่นทอดทิ้งสัตบุรุษ

(อุบาสก) นั้น กระทำได้ง่าย การคบหาสัตบุรุษ

นำสุขมาให้หนอ.

พวกพ่อค้าถามว่า

ข้าแต่เทวดา อุบาสกคนนั้น คือใคร ทำงาน

อะไร เขาชื่ออะไร เขาโคตรอะไร ท่านมาในที่นี้

เพื่ออนุเคราะห์อุบาสกคนใด แม่ข้าพเจ้าทั้งหลายก็

ต้องการจะเห็นอุบาสกคนนั้น ท่านรักอุบาสกคนใด

ก็เป็นลาภของอุบาสกคนนั้น.

เทพบุตรกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 651

ผู้ใดเป็นกัลบกมีชื่อว่าสัมภวะ อาศัยการตัดผม

เลี้ยงชีพ เขาเป็นคนรับใช้ของพวกท่าน ท่านทั้งหลาย

จงรู้ผู้นั้นว่าเป็นอุบาสก ท่านทั้งหลายอย่าได้ดูหมิ่น

อุบาสกนั้น อุบาสกนั้นเป็นผู้ละมุนละไม ( น่ารัก ).

พวกพ่อค้ากล่าวว่า

ข้าแต่เทวดา พวกข้าพเจ้ารู้จักช่างตัดผมคนที่

ท่านพูดถึง แต่ไม่รู้ว่าเขาเป็นเช่นนี้เลย ข้าแต่เทวดา

ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ฟังคำของท่านแล้ว จักบูชาอุบาสก

นั้นอย่างโอฬาร.

เทพบุตรกล่าวว่า

มนุษย์ในกองเกวียนนี้ ไม่ว่าคนหนุ่มคนแก่

หรือคนปูนกลาง หมดทุกคนนั้นแหละจงขึ้นวิมาน

พวกคนตระหนี่จงดูผลของบุญทั้งหลาย.

พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวคาถาไว้ตอนจบเรื่องว่า

พ่อค้าเหล่านั้นทั้งหมดในที่นั้น ต่างคนต่างเข้า

ห้อมล้อมกัลบกนั้น พากันขึ้นสู่วิมาน ดุจภพดาวดึงส์

ของท้าววาสวะ (พระอินทร์) พ่อค้าเหล่านั้นทั้งหมด

ในที่นั้น ต่างคนต่างประกาศความเป็นอุบาสก ได้

เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน

งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา และไม่กล่าวเท็จ ยินดี

ด้วยภรรยาของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 652

พ่อค้าเหล่านั้นทั้งหมดในที่นั้น ครั้นต่างคน

ต่างประกาศความเป็นอุบาสกแล้ว บันเทิงอยู่ด้วย

เทพฤทธิ์เนือง ๆ ได้รับอนุญาตแล้วหลีกไป พ่อค้า

เหล่านั้นมีความต้องการทรัพย์ ปรารถนากำไร ไป

ถึงสินธุประเทศและโสวีระประเทศ พยายามค้าขาย

ตามปรารถนา มีลาภผลบริบูรณ์ กลับมาปาฏลิบุตร

อย่างปลอดภัย พ่อค้าเหล่านั้นไปสู่เรือนของตน มี

ความสวัสดี พร้อมหน้าบุตรภรรยา มีความ

เพลิดเพลิน ปลาบปลื้ม ดีใจ ชื่นใจ ได้ทำการบูชา

เสริสสกเทพบุตรอย่างโอฬาร ช่วยกันสร้างเทวาลัย

ชื่อเสริสสกะขึ้น การคบสัตบุรุษสำเร็จประโยชน์

เช่นนี้ การคบผู้มีคุณธรรมมีประโยชน์มาก เพื่อ

ประโยชน์ของอุบาสกคนเดียว พ่อค้าทั้งหมดก็ได้

ประสบความสุข.

จบเสริสสกวิมาน

อรรถกถาเสรีสกวิมาน

เสรีสกวิมาน มีคาถาว่า สุโณถ ยกฺขสฺส จ วาณิชาน จ

เป็นต้น. เสรีสกวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วท่านพระกุมาร-

กัสสปะพร้อมด้วยภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ไปถึงเสตัพยนคร ได้เปลื้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 653

พระยาปายาสิผู้เข้าไปหาตนในนครนั้น จากมิจฉาทิฏฐิ ให้ดำรงอยู่ใน

สัมมาทิฏฐิ จำเดิมแต่นั้นมา พระยาปายาสิเป็นผู้ขวนขวายในบุญ เมื่อ

ถวายทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ได้ถวายทานโดยไม่เคารพ เพราะ

มิได้เคยสร้างสมในทานนั้น ในเวลาต่อมาทำกาลกิริยาตายไปบังเกิดใน

เสรีสกวิมาน [ ใกล้ต้นซึก ] ในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช.

เล่ากันมาว่า ในอดีตกาล ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า

กัสสปะ พระเถระขีณาสพองค์หนึ่ง เที่ยวบิณฑบาตในบ้านแห่งหนึ่งแล้ว

ได้ทำภัตกิจที่สวนแห่งหนึ่งนอกบ้านทุกวัน คนเลี้ยงโคคนหนึ่งเห็นดัง

นั้น คิดว่า พระผู้เป็นเจ้าลำบากเพราะแสงแดด มีจิตเลื่อมใสได้เอาเสา

ไม้ซีก ๔ ต้น กระทำมณฑปกิ่งไม้ถวาย อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปลูก

ต้นซีกใกล้มณฑป ดังนี้ก็มี เขาทำกาละตายไปบังเกิดในสวรรค์ชั้นจาตุ-

มหาราช ด้วยบุญกรรมนั้นเอง ที่ประตูวิมานได้บังเกิดสวนไม้ซึกซึ่งมี

ดอกพรั่งพร้อมด้วยสีและกลิ่นงดงามอยู่ทุกเวลา ส่องถึงกรรมเก่าของเขา

ด้วยเหตุนั้น วิมานนั้นจึงรู้กันทั่วว่าเสรีสกะ อนึ่ง เทพบุตรนั้นเวียนว่าย

อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายตลอดพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้

เป็นพระควัมปติ ในคฤหัสถ์ ๔ คนมีวิมลเป็นต้นซึ่งเป็นสหายของพระ-

ยสเถระ ตั้งอยู่ในพระอรหัตด้วยพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เห็นวิมานว่างนั้น จึงไปพักกลางวันอยู่เนือง ๆ ด้วยอำนาจบุญกรรมที่

สั่งสมไว้ในกาลก่อน.

ต่อมา พระควัมปติเถระพบปายาสิเทพบุตรในที่นั้น ถามว่า ผู้มี

อายุ ท่านเป็นใคร เมื่อปายาสิเทพบุตรตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ข้าพเจ้าคอพระยาปายาสิ มาเกิดในที่นี้ จึงกล่าวว่า ท่านเป็นมิจฉาทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 654

มีทัศนะวิปริตมิใช่หรือ มาเกิดในที่นี้ได้อย่างไร ครั้งนั้น ปายาสิเทพบุตร

กล่าวกะพระเถระว่า พระผู้เป็นเจ้ากุมารกัสสปเถระเปลื้องข้าพเจ้าจาก

มิจฉาทิฏฐิ แต่ข้าพเจ้าบังเกิดในวิมานว่างก็ด้วยบุญกิริยาที่กระทำโดยไม่

เคารพ ดีแล้วเจ้าข้า เวลาท่านกลับไปมนุษยโลก ขอท่านโปรดบอก

กล่าวแก่ชนบริวารของข้าพเจ้าว่า พระยาปายาสิถวายทานโดยไม่เคารพ

มาเกิดในวิมานไม้ซึกซึ่งเป็นวิมานว่าง ท่านทั้งหลายจงทำบุญโดยเคารพ จง

ตั้งใจให้แน่วแน่ เพื่อมาเกิดในวิมานนั้น พระเถระก็ได้กระทำอย่างว่านั้น

เพื่ออนุเคราะห์เทพบุตรนั้น แม้พวกชนบริวารเหล่านั้น ฟังคำของพระ-

เถระแล้ว ตั้งใจทำบุญอย่างนั้น ได้บังเกิดในเสรีสกวิมานไม้ซึก ท้าว

มหาราชเวสวัณได้แต่งตั้งเสรีสกเทพบุตรให้เป็นเจ้าหน้าที่ผู้อารักขามรรคา

เพื่อจะปลดเปลื้องอันตรายแต่อมนุษย์ แก่พวกมนุษย์ที่เดินทางในทางที่

ขาดร่มเงาและน้ำ ณ พื้นที่ทะเลทราย.

สมัยต่อมา พวกพ่อค้าชาวอังคะและมคธ เอาสินค้าบรรทุกเกวียน

เต็มพันเล่ม เดินทางไปสินธุประเทศและโสวีระประเทศ ในทางทะเลทราย

ไม่เดินทางในกลางวัน เพราะกลัวร้อน เดินทางในกลางคืน เพราะใช้

ดวงดาวเป็นสัญญาณเครื่องกำหนดหมาย พวกเขาพากันเดินหลงทางไปยัง

ทิศทางอื่น ในระหว่างพ่อค้าเหล่านั้น มีอุบาสกคนหนึ่งเป็นคนมีศรัทธา

เลื่อมใส สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัยที่จะได้บรรลุพระอรหัต

ไปค้าขายเพื่อบำรุงเลี้ยงบิดามารดา เมื่อจะอนุเคราะห์อุบาสกนั้น เสรีสก-

เทพบุตรจึงแสดงองค์พร้อมด้วยวิมาน และครั้นแสดงแล้ว ได้ถามว่า

เหตุไร พวกท่านจึงเดินทางสายนี้ ซึ่งไม่มีร่มเงาและน้ำ ทั้งยังเป็นทะเล-

ทราย พวกเขาได้บอกถึงเรื่องที่พวกตนมาในที่นั้นแก่เทพบุตรนั้น การ

แสดงข้อความนั้น เป็นคาถารวบรวมคำกล่าวคำโต้ตอบของเทพบุตรและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 655

ของพ่อค้าทั้งหลายไว้. เพื่อแสดงความสัมพันธ์ของคาถาเหล่านั้น พระ-

ธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายได้เริ่มดังคาถาต้นไว้สองคาถาว่า

ขอท่านทั้งหลายจงฟังคำของเทวดา และของ

พวกพ่อค้าในทางทะเลทรายที่ได้มาพบกันในเวลานั้น

และฟังถ้อยคำที่เทวดาและพวกพ่อค้าโต้ตอบกันโดย

ประการใด ขอท่านทั้งปวงจงฟังคำนั้น โดยประการ

นั้นเถิด ยังมีพระยานามว่าปายาสิ มียศ ถึงความ

เป็นสหายของภุมเทวดา บันเทิงอยู่ในวิมานของตน

เป็นเทวดา ได้มาสนทนากะพวกมนุษย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุโณถ เป็นคำบังคับให้ฟัง ความว่า

ท่านทั้งหลายจงพึงคำที่พวกเรากล่าวอยู่ในบัดนี้. บทว่า ยกฺขสฺส ได้แก่

เทวดา ด้วยว่าเทวดา ท่านเรียกว่า ยักษ์ เพราะเป็นผู้ควรบูชาของพวก

มนุษย์และของเทวดาบางพวก อนึ่ง ท้าวสักกะก็ดี ท้าวจาตุมหาราชก็ดี

บริษัทของท้าวเวสวัณก็ดี บุรุษก็ดี ท่านก็เรียกว่า ยักษ์.

จริงอย่างนั้น ท้าวสักกะ ท่านเรียกว่า ยักษ์ ได้ในประโยคเป็นต้น

ว่า อติพาฬฺห โข อย ยกฺโข ปมตฺโต วิหรติ ยนฺนูนาห อิม

ยกฺข สเวเชยฺย ท้าวสักกะนี้อยู่อย่างประมาทหนักหนา อย่ากระนั้นเลย

เราพึงยังท้าวสักกะนี้ให้สังเวช.

ท้าวมหาราชทั้งหลาย ท่านเรียกว่า ยักษ์ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า

จตฺตาโร ยกฺขา ขคฺคหตฺถา ท้าวมหาราชทั้งสี่ถือพระขรรค์.

บริษัทของท้าวเวสวัณ ท่านเรียกว่า ยักษ์ ได้ในประโยคเป็นต้น

ว่า สนฺติ หิ ภนฺเต อุฬารา ยกฺขา ภควโต อปฺปสนฺนา ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 656

พระองค์ผู้เจริญ ยังมีบริษัทของท้าวเวสวัณเป็นอันมาก ไม่เลื่อมใส

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

บุรุษ ท่านเรียกว่า ยักษ์ ได้ในประโยคเป็นต้นว่า เอตฺตาวตา

ยกฺขสฺส สุทฺธิ เพียงเท่านี้ก็เป็นความสุทธิ์ของบุรุษ.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาบริษัทของท้าวเวสวัณ.

บทว่า วาณิชาน จ ท่านกล่าวลบนิคหิต เพื่อสะดวกในการ

ผูกคาถา.

บทว่า สมาคโม แปลว่า มาพบกัน. บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ใน

ทะเลทรายใด. บทว่า ตทา ได้แก่ ในเวลาที่หลงทางไปนั้น. บทว่า

อิตริตเรน จาปิ ได้แก่ กันและกัน บทนี้ พึงประกอบกับบท ยถา

ในข้อนี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้ เสรีสกเทพบุตรและพวกพ่อค้าได้พบกัน

ณ ที่ใด [ทางทะเลทราย] ในคราวนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรื่องนั้น

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำที่พูดกันดี เจรจากันไพเราะ ที่เสรีสกเทพบุตรและ

พวกพ่อค้าเหล่านั้นให้เป็นไปแล้วโดยเรื่องใด ขอท่านทั้งปวงจงตั้งใจฟัง

เรื่องนั้น. บทว่า ภุมฺมาน ได้แก่ เหล่าภุมเทวดา.

บัดนี้ เป็นคาถาถามของเทพบุตร ว่า

ดูก่อนมนุษย์ทั้งหลาย พวกท่านกลัวทางคดเคี้ยว

ใจเสียอยู่ในที่น่าสงสัยว่ามีภัยในป่าในถิ่นอมนุษย์ใน

ทางกันดาร ไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร เดินไปได้แสนยาก

กลางทะเลทราย ในทะเลทรายนี้ไม่มีผลไม้ ไม่มี

เผือกมัน ไม่มีเชื้อไฟ ในที่นี้ จะมีอาหารแต่ที่ไหน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 657

นอกจากฝุ่นและทราย ที่แดดแผดเผาทั้งร้อนทั้ง

ทารุณ เป็นที่ดอน ร้อนดังแผ่นเหล็กเผาไฟ หาความ

สุขมิได้ เทียบเท่านรก [ในปรโลก] เป็นที่อยู่ของ

พวกมนุษย์หยาบช้า ยุคโบราณ เป็นภูมิประเทศ

เหมือนถูกสาปไว้ เออที่พวกท่านหวังอะไร เพราะ

เหตุไรจึงไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วน ตามกันเข้ามายังประ-

เทศถิ่นนี้พร้อมกัน เพราะความโลภ ความกลัว หรือ

เพราะหลงทาง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วงฺเก ได้แก่ ที่น่าสงสัย ซึ่งผู้เข้าไป

แล้ว มีความสงสัยในชีวิตว่า จักเป็น จักตายหนอ ในป่าเช่นนั้น.

บทว่า อมนุสฺสฏฺาเน ได้แก่ เป็นที่สัญจรของพวกอมนุษย์มีปิศาจเป็นต้น

หรือไม่ใช่เป็นทางโคจรของพวกมนุษย์. บทว่า กนฺตาเร ได้แก่ ทุ่งที่

ไม่มีน้ำ ภูมิประเทศชื่อว่า กันดาร เพราะอรรถว่า เป็นที่ให้ข้ามน้ำ

นำน้ำไปด้วย ได้แก่ ที่ที่ต้องถือเอาน้ำข้ามไป ด้วยเหตุนั้น เทพบุตร

จึงกล่าวว่า อปฺโปทเก ไม่มีน้ำ. อปฺป ศัพท์ในที่นี้ มีความว่า ไม่มี

เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อปฺปิจฺโฉ มีความปรารถนา อปฺปนิคฺโฆโส

ไม่มีเสียงอึกทึก. บทว่า วณฺณุปถสฺส มชฺเฌ ความว่า ท่ามกลาง

ทะเลทราย. บทว่า วงฺกมฺภยา แปลว่า กลัวแต่ทางคดเคี้ยว เมื่อควรจะ

กล่าวว่า วงฺกภยา เพราะอรรถว่า พวกเขามีแต่ความกลัวแต่ทางคดเคี้ยว

กล่าวเสียว่า วงฺกมฺภยา ลงนิคหิต (แล้วแปลงเป็น ม) เพื่อสะดวก

ในการผูกคาถา และบทนี้ ท่านกล่าวหมายถึงภัยที่เกิดขึ้นแก่พวกเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 658

ก่อนที่จะเข้าไปในทะเลทราย. บทว่า นฏฺมนา ได้แก่ มีใจเสีย เพราะ

จำทางไม่ได้ อธิบายว่า หลงทาง. บทว่า มนุสฺสา เป็นคำเรียกพ่อค้า

เหล่านั้น [ อาลปนะ ].

บทว่า อิธ ได้แก่ ในทะเลทรายนี้. บทว่า ผลา ประกอบความว่า

ไม่มีผลไม้ทั้งหลายมีมะม่วง ชมพู่ ตาล และมะพร้าวเป็นต้น. บทว่า

มูลมยา จ ความว่า เหง้านั่นแหละ ชื่อว่าสำเร็จแต่เหง้า ท่านกล่าวหมายเอา

เหง้าที่เกิดแต่ไม้เถาเป็นต้น. บทว่า อุปาทาน นตฺถิ ความว่า ไม่มีอาหาร

อะไร ๆ อีกอย่างหนึ่ง เชื้อ ชื่อว่า อุปาทาน แม้เพียงเชื้อไฟก็ไม่มี

แล้ว จะมีอาหารในทะเลทรายนี้แต่ไหน คือเพราะเหตุไร ดังนี้ก็จริง ถึง

อย่างนั้น ท่านกล่าวคำเป็นต้นว่า อญฺตฺร ปสูหิ ดังนี้ ก็เพื่อแสดง

สิ่งที่มีอยู่ในทะเลทรายนั้น.

บทว่า อุชฺชงฺคล ความว่า ภูมิประเทศเศร้าหมองสีเทามอ ๆ

ไม่มีน้ำ เรียกว่า ชังคละ ที่ดอน ก็ที่ตรงนั้นเป็นที่ดอนมากกว่าที่ดอน

ทั่วไป ดังนั้นเทพบุตรจึงกล่าวว่า อุชฺชงฺคล. ด้วยเหตุนั้น เทพบุตรจึง

กล่าวว่า ตตฺตคมิว กปาล ความว่า เหมือนแผ่นเหล็กถูกไฟเผา และใน

ที่นี้ท่านกล่าวลงนิคหิต เพื่อสะดวกในการผูกคาถา พึงทราบว่า ตตฺตมิว

นั่นเอง. บทว่า อนายส ความว่า ชื่อว่า อนายะ เพราะอรรถว่า เป็น

ที่ไม่มีอายะคือความสุข ชื่ออนายสะ เพราะอรรถว่า เสื่อมชีวิต คือให้

ชีวิตพินาศ เพราะไม่มีความสุขนั้นแหละ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ อนายสะ

เพราะไม่เป็นสุข. บทว่า ปรโลเกน ได้แก่ เปรียบด้วยนรก จริงอยู่

นรกเป็นโลกปรปักษ์ คือเป็นข้าศึกของสัตว์ทั้งหลาย เพราะทำความพินาศ

ให้โดยส่วนเดียว ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปรโลก เป็นพิเศษ อนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 659

นรกนี้ ชื่อว่า อายสะ เพราะทำด้วยเหล็กโดยรอบ ส่วนที่ดอนนี้ ชื่อว่า

อนายสะ เพราะไม่มีเหล็กนั้น เทพบุตรแสดงว่า คล้ายนรก เพราะเป็น

ที่เกิดทุกข์มาก บางพวกกล่าวว่า อนสฺสย ความว่า ไม่เป็นที่ตั้งแห่ง

ความสุข. บทว่า ลุทฺทานมาวาสมิท ปุราณ ความว่า ที่นี้ ตั้งนาน

มาแล้วเป็นที่อยู่ของพวกมนุษย์หยาบช้าทารุณมีปิศาจเป็นต้น. บทว่า อภิ-

สตฺตรูโน ความว่า เหมือนถูกสาป เช่นที่พวกฤาษีโบราณสาปว่า จง

เศร้าหมอง มีอาการเลวร้ายอย่างนี้.

บทว่า เกน วณฺเณน ได้แก่ เพราะเหตุไร. บทว่า กิมาสมานา

แปลว่า หวังอะไร. บทว่า หิ เป็นเพียงนิบาต บางท่านกล่าว ปเทสมฺปิ

ความว่า ประเทศแม้ชื่อนี้. บทว่า สหสา สเมจฺจ ความว่า ไม่พิจารณา

ถึงโทษและคุณ ตามกันเข้าไป คือเข้าไปพร้อมกัน. บทว่า โลภา ภยา

ความว่า ถูกผู้ไม่หวังดีบางคนล่อลวงเข้าไปเพราะความโลภ หรือถูก

อมนุษย์เป็นต้นบางคนทำให้ตกใจ เข้าไปเพราะความกลัว. บทว่า อถ วา

สมฺปมุฬฺหา ได้แก่ เพราะไปผิดทาง ประกอบความว่า เข้าไปเรื่อย ๆ

ถึงประเทศถิ่นนี้.

บัดนี้ พวกพ่อค้ากล่าวว่า

พวกข้าพเจ้าเป็นนายกองเกวียนอยู่ในแคว้นมคธ

และแคว้นอังคะ บรรทุกสินค้ามา ต้องการทรัพย์

ปรารถนากำไร จะพากันไปยังสินธุประเทศและ

โสวีระประเทศเวลากลางวัน ข้าพเจ้าทุกคนทนความ

ระหายน้ำไม่ได้ ทั้งมุ่งหมายจะอนุเคราะห์สัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 660

พาหนะ รีบเดินทางมาในกลางคืนซึ่งเป็นเวลาวิกาล

ข้าพเจ้าทั้งหลายจึงได้พลาดทาง ไปผิดทาง หลงทาง

ไม่รู้ทิศ เดินเข้าไปในป่าที่ไปได้แสนยาก กลาง

ทะเลทราย วุ่นวายเหมือนคนตาบอด ข้าแต่ท่านเทวะ

ผู้ควรบูชา พวกข้าพเจ้าได้พบวิมานอันประเสริฐ

และตัวท่านนี้ ซึ่งไม่เคยพบมาก่อน จึงหวังจะรอด

ชีวิตยิ่งกว่าแต่ก่อน เพราะพบกัน พวกข้าพเจ้าจึง

พากันร่าเริงดีใจและปลื้มใจ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มคเธสุ องฺเคสุ จ สตฺถวาหา

ความว่า เป็นทั้งนายกองเกวียน เป็นทั้งเจ้าของกองเกวียน นำสินค้ามา

แลกเปลี่ยนสินค้า เป็นผู้เกิดเติบโตในแคว้นมคธและในแคว้นอังคะ เป็น

ชาวแคว้นนั้น. บทว่า ปณิย แปลว่า สินค้า. บทว่า เต ได้แก่ พวก

ข้าพเจ้านั้น. บทว่า ยามเส แปลว่า พากันไป. บทว่า สินฺธุโสวีรภูมึ

ได้แก่ สินธุประเทศ และโสวีระประเทศ. บทว่า อุทฺทย ได้แก่

ผลประโยชน์เป็นรายได้ส่วนเกิน [ กำไร ]. บทว่า อนธิวาสยนฺตา

แปลว่า ทนไม่ได้. บทว่า โยคฺคานุกมฺป ได้แก่ อนุเคราะห์สัตว์ทั้ง-

หลายมีโคเป็นต้น . บทว่า เอเตน เวเคน ได้แก่ ด้วยความเร็ว ที่เป็น

เหตุให้พวกข้าพเจ้าพากันมา คือเป็นผู้มาก่อนพบท่าน. บทว่า รตฺตึ มคฺคึ

ปฏิปนฺนา ความว่า เดินทางกลางคืน. บทว่า วิกาเล ได้แก่ ไม่ถูกกาล

ไม่ถูกเวลา.

บทว่า ทุปฺปยาตา ได้แก่ ไปได้โดยยาก คือไปไม่ถูกทาง เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 661

ไปไม่ถูกทางนั้นนั่นแหละจึงชื่อว่าพลาดทาง. บทว่า อนฺธาคุลา ความว่า

ชื่อว่าบอด เพราะไม่มีจักษุคือปัญญาที่สามารถรู้ทาง จึงวุ่นวายเหมือนคน

ตาบอด เพราะบอดนั้นแหละจึงชื่อว่าวุ่นวาย และที่ชื่อว่า ไปผิดทาง

เพราะเป็นผู้หลงทาง. บทว่า ทิส ได้แก่ ทิศที่ควรจะไป คือทิศที่สินธุ-

ประเทศและโสวีระประเทศตั้งอยู่. บทว่า ปมุฬฺหจิตฺตา ได้แก่ มีจิตหลง

สนิทโดยไม่สงสัยทิศ. บทว่า ตฺวญฺจ แปลว่า ซึ่งท่านด้วย. บทว่า ยกฺข

เป็นคำร้องเรียก [อาลปนะ]. บทว่า ตตุตฺตรึ ชีวิตมาสมานา ความว่า

ความสงสัยในชีวิตอันใดเกิดขึ้นว่า ต่อแต่นี้ พวกเราคงไม่รอดชีวิตกันละ

มาบัดนี้ พวกเราก็หวังจะรอดชีวิตแม้ยิ่งกว่าความสงสัยในชีวิตอันนั้น.

บทว่า ทิสฺวา แปลว่า เพราะเหตุที่พบ. บทว่า ปตีตา แปลว่า ร่าเริง.

บทว่า สุมนา แปลว่า ถึงโสมนัส [ ดีใจ ]. บทว่า อุทคฺคา แปลว่า

ปลื้มใจ ด้วยปีติที่ฟูขึ้น.

เมื่อพวกพ่อค้าเล่าความเป็นไปของตนอย่างนี้แล้ว เทพบุตรได้ถาม

ด้วยคาถาสองคาถาอีกว่า

ดูก่อนพ่อทั้งหลาย พวกท่านไปทะเลทราย

ทั้งฝั่งโน้น ทั้งฝั่งนี้ และไปทางที่มีเชิงหวายและ

หลักตอ ไปหลายทิศที่ไปได้ยาก คือมีแม่น้ำและที่

ขรุขระของภูเขา เพราะโภคทรัพย์เป็นต้นเหตุ พวก

ท่านไปยังแว่นแคว้นของพระราชาอื่น ๆ ได้เห็นพวก

มนุษย์ชาวต่างประเทศ เราขอฟังสิ่งอัศจรรย์ที่พวก

ท่านได้ฟังหรือได้เห็นมา ในสำนักของพวกท่าน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 662

เนื้อความของสองคาถานั้น ดังต่อไปนี้ บทว่า ปาร สมุทฺทสฺส

เป็นต้น ความว่า ไปทะเลทราย คือหนทางที่ประกอบด้วยทรายทั้งฝั่งโน้น

ฝั่งนี้ ชื่อว่า ทางที่มีเชิงหวาย เพราะเถาหวายพันกันจะต้องไปให้ดี สู่ทาง

ที่มีหลักตอ เพราะจะต้องก่อนหลักตอทั้งหลายแล้วจึงไปได้ ทิศเป็นอันมาก

ที่ไปได้ยาก อย่างนี้คือแม่น้ำมีแม่น้ำจันทรภาคาเป็นต้น และประเทศที่

ไม่เรียบราบของภูเขาทั้งหลาย เพราะโภคทรัพย์เป็นเหตุ และพวกท่าน

เมื่อไปอย่างนี้ ก็โลดแล่นเข้าไปถึงแว่นแคว้นของพระราชาอื่น ๆ เห็น

พวกมนุษย์ชาวต่างประเทศ คือผู้อยู่ต่างถิ่น ในแว่นแคว้นนั้น สิ่งอัศจรรย์

คือควรยกนิ้วให้อันใด ที่พวกท่าน คือท่านทั้งหลายผู้เป็นอย่างนี้ ได้

ฟังหรือได้เห็น ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลาย เราขอฟังสิ่งอัศจรรย์อันนั้น ใน

สำนักของพวกท่าน เทพบุตรประสงค์จะให้พ่อค้าเหล่านั้นกล่าวถึงความ

อัศจรรย์แห่งวิมานของตน จึงถาม ด้วยประการฉะนี้.

ถูกเทพบุตรถามอย่างนี้แล้ว พวกพ่อค้ากล่าวว่า

ข้าแต่พ่อกุมาร สมบัติของมนุษย์ที่แล้ว ๆ มา

ทั้งหมด พวกข้าพเจ้าไม่เคยได้ยินหรือได้เห็น

อัศจรรย์กว่าวิมานของท่านนี้เลย พวกข้าพเจ้าดูวิมาน

ของท่านอันมีรัศมีไม่ทรามแล้วไม่อิ่มเลย สระโบก-

ขรณีเลื่อนลอยไปในอากาศ มีสวนป่าไม้มาก มี-

บุณฑริกบัวขาวมาก มีต้นไม้ออกผลเป็นนิจ โชย-

กลิ่นหอมตลบไป เสาวิมานเหล่านี้เป็นเสาแก้ว

ไพฑูรย์ สูงร้อยศอก ส่วนยาวประดับด้วยศิลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 663

แก้วประพาฬ แก้วลายและแก้วทับทิม มีรัศมีโชติ

ช่วง วิมานงามนี้ของท่านนี้มีเสาพันหนึ่ง มีอานุภาพ

หาที่เปรียบมิได้ อยู่บนเสาเหล่านั้น ประกอบด้วย

รัตนะภายใน ภายนอกล้อมด้วยไพทีทอง และกำบัง

อย่างดีด้วยแผ่นทอง วิมานของท่านนี้สว่างด้วยทอง

ชมพูนุท ส่วนนั้น ๆ เกลี้ยงเกลาประกอบด้วยบันได

และแผ่นกระดานของปราสาท มั่นคงงดงาม ส่วน

ประกอบเข้ากันสนิท ชวนพิศอย่างยิ่ง น่าลิงโลดใจ

ภายในวิมานรัตน์ มีข้าวน้ำอุดมสมบูรณ์ ตัวท่าน

อันหมู่เทพอัปสรห้อมล้อมเอิกอึง ด้วยเสียงตะโพน

เปิงมางและดนตรี อันทวยเทพกราบไหว้ด้วยการ

สดุดี และวันทนา ท่านนั้นตื่นอยู่ด้วยหมู่เทพนารี

บันเทิงอยู่ในวิมานปราสาทอันประเสริฐน่ารื่นรมย์ใจ

มีอานุภาพเป็นอจินไตย ประกอบไปด้วยคุณทุกอย่าง

ดังท้าวเวสวัณในนลินีสถานมีดอกบัว ท่านเป็นเทวดา

หรือเป็นยักษ์ หรือเป็นท้าวสักกะจอมเทพ หรือ

เป็นมนุษย์ พวกพ่อค้าเกวียนถามท่าน ขอท่านโปรด

บอกทีเถิด ท่านเป็นเทวดาชื่อไร.

บรรดาบทเหล่านั้น ท่านเรียกเทพบุตรด้วยบทว่า กุมาร เพราะ

อยู่ในปฐมวัย. บทว่า สพฺพ ท่านกล่าวหมายเอาเทพบุตรและสิ่งที่เกี่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 664

เนื่องด้วยวิมานของเทพบุตรนั้น. บทว่า โปกฺขรญฺโ แปลว่า สระโบก-

ขรณี. บทว่า สตมุสฺสิตาเส แปลว่า สูงร้อยศอก. บทว่า สีลาปวาฬสฺส

แปลว่า ด้วยศิลาและแก้วประพาฬ ความว่า สำเร็จด้วยศิลา สำเร็จด้วย

แก้วประพาฬ. บทว่า อายตสา แปลว่า ส่วนยาว อีกอย่างหนึ่ง ความ

ว่า กว้างออกไป ๘ ส่วน ๑๘ ส่วน และ ๓๒ ส่วน เป็นต้น.

บทว่า เตสูปริ ได้แก่ เบื้องบนเสาเหล่านั้น. บทว่า สาธุมิท

ความว่า วิมานของท่านนี้งาม. บทว่า รตนฺนตร ได้แก่ มีรัตนะภายใน

ภายนอกประกอบด้วยรัตนะอื่น ๆ มีหลายอย่าง ที่ฝาเสาและบันไดเป็น

ต้น. บทว่า กญฺจนเวทิมิสฺส ความว่า ประกอบ คือล้อมด้วยไฟที่ทำ

ด้วยทอง. บทว่า ตปฺปนียปฏฺเฏหิ จ สาธุฉนฺน ความว่า กำบังอย่างดี

ในที่นั้น ๆ ด้วยเครื่องกำบังที่สำเร็จด้วยทอง และที่สำเร็จด้วยรัตนะมิใช่

น้อย.

บทว่า ชมฺโพนทุตฺตตฺตมิท ความว่า วิมานของท่านนี้ มีแสง

ทองชมพูนุทส่องสว่างโดยมาก. บทว่า สุมฏฺโ ปาสาทโสปานผลูปปนฺโน

ความว่า ส่วนนั้น ๆ ของวิมานนั้น เกลี้ยงดี คือขัดไว้อย่างดี และ

ประกอบด้วยปราสาทติด ๆ กันนั้น ๆ มีบันไดวิเศษและแผ่นกระดานที่

น่ารื่นรมย์. บทว่า ทฬฺโห แปลว่า มั่นคง. บทว่า วคฺคุ แปลว่า งดงาม

สูงเด่น. บทว่า สุสงฺคโต ได้แก่ มีส่วนประกอบเข้ากันได้ดี มีส่วน

ประกอบปราสาทเหมาะกันและกัน. บทว่า อตีว นิชฺฌานขโม ความว่า

ทนต่อการพินิจอย่างเหลือเกิน เพราะความเป็นของผุดผ่อง. บทว่า

มนุญฺโ แปลว่า เป็นที่รื่นรมย์ใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 665

บทว่า รตนนฺตรสฺมึ ความว่า สำเร็จด้วยรัตนะ คือ ภายในวิมาน

เป็นรัตนะหรือเป็นสาระ. บทว่า พหุอนฺนปาน ความว่า ข้าวและน้ำที่

น่ารักเป็นอันมาก ก็มี คือหาได้. บทว่า มุรชอาลมฺพรตูริยสงฺฆุฏฺโ

ความว่า เอิกอึงอยู่เป็นนิจด้วยเสียงตะโพน เปิงมาง และดนตรีอื่น ๆ.

บทว่า อภิวนฺทิโตสิ ความว่า เป็นผู้อันหมู่ทวยเทพนมัสการแล้ว หรือ

ชมเชยแล้ว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ถุติวนฺทนาย ดังนี้.

บทว่า อจินฺตโย ได้แก่ มีอานุภาพเป็นอจินไตยไม่ควรคิด. บทว่า

นลินฺยา ประกอบความว่า ท่านบันเทิงอยู่เหมือนท้าวเวสวัณมหาราช

บันเทิงอยู่ในสถานที่เล่นซึ่งมีชื่ออย่างนี้ว่า นลินี.

บทว่า อาสิ ได้แก่ อสิ ภวสิ แปลว่า ท่านเป็น. บทว่า

เทวินฺโท ได้แก่ ท้าวสักกเทวราช. บทว่า มนุสฺสภูโต ได้แก่ เกิดใน

หมู่มนุษย์ คือเป็นชาติมนุษย์ พ่อค้าทั้งหลายแม้จะถามความเป็นเทวะ

เป็นต้น แต่ยังสงสัยความเป็นยักษ์อยู่ จึงกล่าวว่า ยกฺโข.

บัดนี้ เทพบุตรนั้นเมื่อจะให้พวกพ่อค้ารู้จักตน จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าพเจ้าเป็นเทวดาชื่อเสรีสกะ เป็นผู้รักษา

ทางกันดาร คุ้มครองทะเลทราย ทำตามเทวบัญชา

คำสั่งของท้าวเวสวัณ จึงดูแลรักษาประเทศถิ่นนี้อยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหมฺหิ ยกฺโข ความว่า ข้าพเจ้าเป็น

เทวดา. บทว่า กนฺตาริโย ได้แก่ เป็นเจ้าพนักงานในทางกันดารคอย

อารักขา. บทว่า คุตฺโต แปลว่า คุ้มครอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว

ว่า อภิปาลยมิ ดูแลรักษา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 666

บัดนี้ พวกพ่อค้าเมื่อถามถึงกรรมเป็นต้นของเทพบุตรนั้น กล่าวว่า

วิมานนี้ท่านได้มาเอง หรือเกิดโดยความ

เปลี่ยนแปลง ท่านทำเองหรือเทวดาทั้งหลายให้

พ่อค้าเกวียนทั้งหลายถามท่าน วิมานที่น่าภูมิใจนี้

ท่านได้มาอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิจฺจลทฺธ ได้แก่ เกิดขึ้นเอง

อธิบายว่า ได้อย่างที่ต้องการ. บทว่า ปริณามช เต ได้แก่ เปลี่ยนแปลง

ด้วยโชคและสังคมความเกี่ยวข้อง หรือเปลี่ยนแปลงไปตามกาล. บทว่า

สยกต ความว่า ท่านทำเอง อธิบายว่า ท่านใช้เทพฤทธิ์ให้บังเกิดขึ้น

เอง. บทว่า อุทาหุ เทเวหิ ทินฺน ความว่า เทวดาทั้งหลายที่ท่านทำ

ให้ยินดี สละให้ด้วยอำนาจความเลื่อมใส.

บัดนี้ เทพบุตรเมื่อจะปฏิเสธประการทั้ง ๔ (ที่ถาม) แล้วอ้าง

บุญเท่านั้น ได้กล่าวคาถาว่า

วิมานนี้ มิใช่ข้าพเจ้าได้มาเอง มิใช่เกิดโดย

การเปลี่ยนแปลง มิใช่ข้าพเจ้าทำเอง มิใช่เทวดา

ทั้งหลายให้ วิมานที่น่าภูมิใจนี้ ข้าพเจ้าได้มาด้วย

บุญกรรมที่มิใช่บาปของตน.

พวกพ่อค้าได้ฟังดังนั้นแล้ว ยกหลัก ๘ ประการเหล่านั้น ในคาถา

ว่า นาธิจฺจลทฺธ เป็นต้น ว่าเป็นบุญญาธิการทีเดียว และถามสรูปบุญ

อีกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 667

อะไรเป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของท่าน นี้

เป็นวิบากแห่งบุญอะไรที่ท่านสั่งสมไว้ดีแล้ว พ่อค้า

เกวียนทั้งหลายถามท่าน วิมานนี้ท่านได้มาอย่างไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วต ได้แก่ สมาทานวัตร. บทว่า

พฺรหฺมจริย ได้แก่ ความประพฤติประเสริฐที่สุด.

เทพบุตรปฏิเสธคำถามเหล่านั้นอีก เมื่อจะแสดงตนและบุญตามที่ได้

สั่งสมไว้ กล่าวว่า

ข้าพเจ้ามีนามว่าปายาสิ เมื่อครั้งรับราชการ

[เป็นเจ้าเมืองเสตัพยะ] แคว้นโกศล ข้าพเจ้าเป็น

นัตถิกทิฏฐิ (มีความเห็นผิดว่าไม่มีบุญบาป ) เป็น

คนตระหนี่ มีธรรมอันลามก มีปกติกล่าวว่าขาดสูญ

ได้มีสมณะนามว่ากุมารกัสสปะ ผู้โอฬาร เป็นพหูสูต

กล่าวธรรมได้วิจิตร ท่านได้แสดงธรรมกถาโปรด

ข้าพเจ้าในครั้งนั้น ได้บรรเทาทิฏฐิที่เป็นข้าศึกใจ

[ มิจฉาทิฏฐิ ] ของข้าพเจ้าได้ ข้าพเจ้าได้ฟังธรรม-

กถาของท่านนั้นแล้ว ได้ปฏิญาณตนเป็นอุบาสก งด

เว้นจากปาณาติบาต เว้นขาดจากอทินนาทานในโลก

ไม่ดื่มน้ำเมา และไม่กล่าวมุสา ยินดีด้วยภริยาของ

ตน ข้อนั้นเป็นวัตรและเป็นพรหมจรรย์ของข้าพเจ้า

นี้เป็นวิบากแห่งบุญที่ข้าพเจ้าสั่งสมไว้ดีแล้ว วิมานนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 668

ข้าพเจ้าได้มาด้วยบุญกรรมที่มิใช่บาปเหล่านั้นแหละ.

ข้อนั้น เข้าใจง่ายทั้งนั้น.

ลำดับนั้น พวกพ่อค้าได้เห็นเทพบุตรและวิมานของเทพบุตรนั้น

ชัดแจ้ง จึงเชื่อผลแห่งกรรม เมื่อประกาศความเชื่อในผลแห่งกรรมของ

ตน ได้กล่าวสองคาถาว่า

ได้ยินว่า คนทั้งหลายที่มีปัญญา พูดแต่คำจริง

คำของบัณฑิตทั้งหลาย จึงไม่แปรปรวนกลับกลาย

เป็นอย่างอื่น คนทำบุญจะไปในที่ใด ๆ ย่อมมีแต่

ของที่น่ารักน้ำใคร่ บันเทิงอยู่ในที่นั้น ๆ ความโศก

ความร่ำให้ การฆ่า การจองจำ และเหตุเกิดเรื่อง

เลวร้าย มีอยู่ในที่ใด ๆ คนทำบาป ก็ย่อมไปในที่

นั้น ๆ ย่อมไม่พ้นทุคติไปได้ไม่ว่าในกาลไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสกปริทฺทโว แปลว่า ความโศก

และความร่ำไห้ เหตุเกิดความพินาศ ท่านเรียกว่า ปริกิเลส.

เมื่อพวกเขากำลงพูดกันอยู่อย่างนี้แล เปลือกฝักซึก ที่แก่จัด ขั้วหลุด

เพราะความแก่จัด ก็หล่นจากต้นซึก ใกล้ประตูวิมาน ด้วยเหตุนั้น

เทพบุตรพร้อมด้วยเทพบริวารก็โทมนัสเสียใจ พวกพ่อค้าเห็นดังนั้น จึง

กล่าวคาถาว่า

พ่อกุมาร เพราะเหตุอะไรหนอ เทพบริวารจึง

กลายเป็นผู้ฟั่นเฟือนในชั่วครู่นี้ เหมือนน้ำถูกกวน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 669

ให้ขุ่น โทมนัสความเสียใจ จึงได้มีแก่เทพบริวารนี้

และตัวท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมุฬฺหรูโปว ความว่า เหมือนผู้มี

สภาพหลงไปหมด เพราะความโศก. บทว่า ชโน ได้แก่ ชนคือเทวดา.

บทว่า อสฺมึ มุหุตฺเต ได้แก่ ในชั่วครู่นี้. บทว่า กลลีกโต ได้แก่

ถูกทำให้เป็นเหมือนเปือกตม อธิบายว่า ขุ่นเหมือนน้ำที่อยู่กับเปือกตม.

บทว่า ชนสฺสิมสฺส ตุยฺหญฺจ ได้แก่ แก่เทพผู้เป็นบริวารของท่านนี้

และแก่ตัวท่าน. บทว่า อปฺปจฺจโย ได้แก่ ความโทมนัส.

เทพบุตรได้ฟังดังนั้นแล้ว กล่าวว่า

ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลาย กลิ่นหอมทิพย์เหล่านี้

หอมฟุ้งจากป่าไม้ซึก หอมตลบอบอวลทั่ววิมานนี้

กำจัดความมืด ได้ทั้งกลางวันกลางคืน ล่วงไปร้อยปี

เปลือกฝักของต้นซึกเหล่านี้ จะแตกออกเป็นฝัก ๆ

เป็นอันรู้ว่า ร้อยปีของมนุษย์ล่วงไปแล้ว ดูก่อน

พ่อค้าทั้งหลาย ตั้งแต่ข้าพเจ้าเกิดในเทวดาหมู่นี้

ดำรงอยู่ในวิมานนี้ ๕๐๐ ปีทิพย์แล้วจึงจุติ เพราะ

สิ้นบุญ เพราะสิ้นอายุ เพราะความโศกนั้นนั่นแล

ข้าพเจ้าจึงซบเซา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิรีสวนา ได้แก่ จากป่าไม้ซึก

เทพบุตรเรียกพวกพ่อค้าว่า ตาตา กลิ่นหอมทิพย์เหล่านี้ คือที่ประจักษ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 670

แก่พวกท่านและข้าพเจ้า มีกลิ่นหอมเหลือเกินทีเดียว ย่อมฟุ้ง คือตลบ

ไปโดยรอบ กลิ่นทิพย์เหล่านั้น เมื่อฟุ้งไปอย่างนี้ ย่อมฟุ้งตลบ

อบอวลทั่ววิมานนี้ ให้รับกลิ่นได้อย่างดีทีเดียว มิใช่แต่หอมตลบ

อย่างเดียวเท่านั้น ที่จริงยังกำจัดความมืดด้วยรัศมีของตนอีกด้วย ด้วยเหตุ

นั้น เทพบุตรจึงกล่าวว่า ทิวา จ รตฺโต จ ตม นิหนฺตวา ดังนี้.

บทว่า อิเมส ได้แก่ ต้นซึกทั้งหลาย. บทว่า สิปาฏิกา ได้แก่

เปลือกฝักผลซึก. บทว่า ผลติ ความว่า สุกแล้วหล่นจากขั้ว หรือว่า

ฝักแตกแล้ว ก็ร่วงไป. บทว่า มานุสฺสก วสฺสสต อตีต ความว่า

เพราะล่วงไปร้อยปี เปลือกฝักต้นซึกนี้จะแตก และที่แตกแล้วก็มี ฉะนั้น

ร้อยปีมนุษย์ของข้าพเจ้าจึงล่วงไปแล้ว ตั้งแต่คือจำเดิมแต่ข้าพเจ้าเข้าถึง

คือบังเกิด ในหมู่นี้คือในเทพหมู่นี้ ข้าพเจ้ามีอายุ ๕๐๐ ปีทิพย์ เพราะ-

ฉะนั้น อายุของข้าพเจ้ากำลังสิ้น ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงซบเซาเพราะความโศก

ดังนี้ เทพบุตรชี้แจงดังกล่าวมาฉะนี้ ด้วยเหตุนั้น เทพบุตรจึงกล่าวว่า

ทิพฺพานห วสฺสสตานิ ปญฺจ ฯ เป ฯ เตเนว โสเกน ปมุจฺฉิโตสฺมิ

ดังนี้.

ลำดับนั้น พวกพ่อค้าพากันพูดปลอบโยนเทพบุตรนั้นว่า

ท่านได้วิมานซึ่งหาที่เปรียบมิได้เป็นเวลานาน

ท่านเป็นเช่นนั้น จะเศร้าโศกไปทำไมเล่า ผู้มีบุญ

น้อยเข้าอยู่วิมานชั่วเวลาสั้น ๆ ควรเศร้าโศกแท้.

ในคาถานั้น อธิบายว่า ใคร ๆ ก็ตามที่มีอายุน้อยมีบุญน้อย ควรจะ

เศร้าโศกเพราะอาศัยความตาย แต่เทพบุตรเช่นท่านพรั่งพร้อมด้วยอานุ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 671

ภาพทิพย์ มีอายุถึง ๙ ล้านปีอย่างนี้ จะเศร้าโศกไปทำไมเล่า คือไม่ควร

เศร้าโศกทีเดียว เทพบุตรสบายใจด้วยคำปลอบโยนเพียงเท่านั้นเอง รับ

คำพวกพ่อค้าเหล่านั้น และเมื่อชี้แจงแก่พ่อค้าเหล่านั้นกล่าวคาถาว่า

ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลาย ข้อที่ท่านทั้งหลายกล่าว

วาจาน่ารักตักเตือนข้าพเจ้านั้น สมควรแก่ข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าจะต้องคุ้มครองพวกท่าน ขอท่านทั้งหลายจง

ไปยังที่ที่พวกท่านปรารถนาโดยสวัสดีเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุจฺฉวึ ได้แก่ สมควร คือ การ

กล่าวตักเตือนของพวกท่านนั่นแล สมควร. บทว่า โอวทิยญฺจ เม ต

ความว่า คำนั้นอันพวกท่านกล่าวอยู่ คือพึงกล่าวเป็นโอวาท แก่ข้าพเจ้า

ประกอบความว่า เพราะท่านทั้งหลายกล่าววาจาน่ารัก คือคำเป็นที่รัก

ด้วยคำว่า กถ นุ โสเจยฺย เป็นต้น กะข้าพเจ้าคือแก่ข้าพเจ้าใด อีก

อย่างหนึ่ง การพูด การกล่าวด้วยวาจาน่ารัก ใด การกล่าวนั้นของ

พวกท่านนั่นแหละสมควร อีกอย่างหนึ่ง เพราะท่านทั้งหลายกล่าววาจา

น่ารักใด ฉะนั้น การกล่าววาจาน่ารักของท่านทั้งหลายนั้น เป็นอันท่าน

ทั้งหลายตักเตือนคือพึงกล่าวสอนด้วย ข้าพเจ้าควรกระทำให้เหมาะแก่

โอวาทด้วย สมควรแก่ข้าพเจ้า อันข้าพเจ้ากระทำแล้ว เพื่อจะตอบคำถาม

ที่จะมีขึ้นว่า ทำข้อนั้นอย่างไร ดังนั้นเทพบุตรจึงกล่าวว่า ตุมฺเห จ โข

ตาตา เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มยานุคุตฺตา ความว่า

ข้าพเจ้าจะตามคุ้มครองรักษาพวกท่าน จนกว่าพวกท่านจะล่วงพ้นทาง

กันดาร ในทะเลทรายที่พวกอมนุษย์ยึดครองนี้ ไปคือถึง ที่ที่ปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 672

คือตามชอบใจ สู่ความสวัสดี คือโดยปลอดภัย.

ลำดับนั้น พวกพ่อค้าเมื่อจะประกาศความเป็นผู้กตัญญู ได้กล่าว

คาถาว่า

ข้าพเจ้าทั้งหลายมีความต้องการทรัพย์ ปรารถ-

นากำไร จึงพากันไปยังสินธุประเทศและโสวีระ-

ประเทศ พวกข้าพเจ้าจักประกอบกรรมตามสมควร

จักเสียสละอย่างบริบูรณ์ กระทำการฉลองเสรีสก-

เทพบุตรอย่างโอฬาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปโยคา ได้แก่ ประกอบกรรม

ตามสมควรแก่ปฏิญญาที่ทำไว้ในบัดนี้. บทว่า ปริปุณฺณจาคา แปลว่า

มีจาคะบริบูรณ์ คือบริจาคของที่น่าใคร่เพื่องานฉลองอย่างโอฬาร. บทว่า

มห ได้แก่ การฉลองเป็นการบูชา (บูชาด้วยการฉลอง).

เทพบุตรปฏิเสธงานฉลองและชักชวนพ่อค้าเหล่านั้น ในสิ่งที่ควร

ทำอีก กล่าวคาถาว่า

ท่านทั้งหลายอย่าได้ทำการบูชาเสรีสกเทพบุตร

เลย สิ่งที่พวกท่านพูดถึงทั้งหมด จักมีแก่พวกท่าน

ท่านทั้งหลายจงงดเว้นการกระทำที่เป็นบาป และจง

ตั้งใจประกอบตามซึ่งธรรมเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย วเทถ ความว่า ท่านทั้งหลาย

หวังเดินทางถึงสินธุประเทศและโสวีระประเทศโดยปลอดภัย และหวัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 673

กำไรรายได้อันไพบูลย์ในประเทศนั้น กล่าวคำเป็นต้นว่า คนฺตฺวา มย

ดังนี้ ใด ข้อนั้นทั้งหมดจักมีแก่พวกท่าน คือแก่ท่านทั้งหลายอย่างนั้น

ทีเดียว ท่านทั้งหลายจงอย่าสงสัยในเรื่องนั้น แต่จำเดิมแต่นี้ไป ท่าน

ทั้งหลายต้องงดเว้นการกระทำที่เป็นบาปมีปาณาติบาตเป็นต้น. บทว่า

ธมฺมานุโยค ได้แก่ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกุศลธรรมมีให้ทานเป็นต้น.

บทว่า อธิฏฺหาถ ได้แก่ จงตามศึกษา นี้เป็นการฉลองเสรีสกเทพบุตร

เสรีสกเทพบุตรชี้แจงดังกล่าวมาฉะนี้.

เทพบุตรเมื่อจะอนุเคราะห์อุบาสกผู้ใด ก็ประสงค์จะรักษาและ.

ป้องกันพ่อค้าเหล่านั้นไว้ เมื่อเทพบุตรระบุเกียรติคุณของอุบาสกผู้นั้นแล้ว

แนะนำอุบาสกผู้นั้นแก่พ่อค้าเหล่านั้น ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

ในหมู่พ่อค้าเกวียนนี้ มีอุบาสกผู้เป็นพหูสูต

สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร มีศรัทธา มีจาคะ มีความ

ละมุนละไม มีปัญญาประจักษ์ เป็นผู้สันโดษ เป็น

ผู้มีความรู้ ไม่พูดเท็จทั้งรู้ ไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น

ไม่พูดส่อเสียดให้เขาแตกกัน พูดแต่วาจาอ่อนหวาน

น่ารัก มีความเคารพ มีความยำเกรง มีวินัยไม่เป็น

คนเลว เป็นผู้บริสุทธิ์ในอธิศีล เป็นคนเลี้ยงบิดา

มารดาโดยธรรม มีความประพฤติประเสริฐ เขา

แสวงหาโภคะทั้งหลาย เพื่อเลี้ยงบิดามารดา มิใช่

เพื่อตน เมื่อบิดามารดาล่วงลับแล้ว เป็นผู้น้อมไป

ในเนกขัมมะ จักประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนตรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 674

ไม่คดโกง ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา ไม่พูดมีเลศนัย

เขาเป็นผู้ทำแต่กรรมดี ตั้งอยู่ในธรรมเช่นนี้ จะพึง

ได้ความทุกข์อย่างไรเล่า เพราะอุบาสกนั้นเป็นเหตุ

ข้าพเจ้าจึงได้ปรากฏตัว ดูก่อนพ่อค้าทั้งหลายเอ๋ย

เพราะฉะนั้น พวกท่านจงเห็นธรรมเถิด เพราะ

เว้นจากอุบาสกนั้นเสียแล้ว ท่านทั้งหลายจะวุ่นวาย

เหมือนคนบอดหลงเข้าไปในป่า เป็นเถ้าถ่านไป อัน

คนอื่นทอดทิ้งสัตบุรุษ อุบาสก] นั้น กระทำได้

ง่าย การคบหาสัตบุรุษนำสุขมาให้หนอ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺเฆ ได้แก่ หมู่พ่อค้าเกวียน. บทว่า

วิจกฺขโณ ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่จะพึงทำนั้น ๆ. บทว่า สนฺตุสฺสิโต

ได้แก่ เป็นผู้สันโดษ. บทว่า มุติมา ความว่า เป็นผู้มีความรู้ เพราะ

รู้ถึงประโยชน์โลกนี้และประโยชน์โลกหน้า ด้วยกัมมัสสกตาญาณเป็นต้น.

บทว่า สญฺชานมาโน น มุสา ภเณยฺย ความว่า ไม่พูดเท็จ

ทั้งที่รู้. บทว่า เวภูติก ความว่า ไม่พึงทำ คือไม่พึงกล่าวคำส่อเสียด

ที่ได้ชื่อว่า เวภูติกะ เพราะกระทำผู้ที่เกื้อกูลกันต้องพรากจากกัน.

บทว่า สปฺปติสฺโส ได้แก่ มีความยำเกรง คือมีความสงบเสงี่ยม

เพราะมีความประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน ในบุคคลที่อยู่ในฐานะเป็นครู

ชื่อว่า สัปปติสสะ เพราะอรรถว่า เป็นไปกับด้วยความยำเกรง. บทว่า

อธิสีเล ได้แก่ ในอธิสีลสิกขาที่อุบาสกพึงรักษา. บทว่า อริยวุตฺติ ได้แก่

มีความประพฤติบริสุทธิ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 675

บทว่า เนกฺขมฺมโปโณ ได้แก่ น้อมไปในพระนิพพาน. บทว่า

จริสฺสติ พฺรหฺมจริย ความว่า จักบวชประพฤติศาสนพรหมจรรย์.

บทว่า เลสกปฺเปน ได้แก่ ใช้เลศที่เหมาะ. บทว่า น จ โวหเรยฺย

ความว่า ไม่พึงเปล่งคำพูด ด้วยอำนาจมายาสาไถย. บทว่า ธมฺเม ิโต

กินฺติ ลเภถ ทุกฺข ความว่า ผู้ตั้งอยู่ในธรรม คือผู้ประพฤติธรรม

ประพฤติสม่ำเสมอ โดยนัยที่กล่าวแล้วอย่างนี้ จะพึงได้ คือพึงถึงความ

ทุกข์ อย่างไร คือด้วยประการไร.

บทว่า ต การณา ได้แก่ อุบาสกนั้นเป็นนิมิต คือเพราะเหตุ

แห่งอุบาสกนั้น. บทว่า ปาตุกโตมฺหิ อตฺตนา ความว่า ข้าพเจ้าเอง

นี่แหละ ได้ปรากฏตัวแก่ท่านทั้งหลาย ปาฐะว่า อตฺตาน ก็มี ความว่า

ข้าพเจ้าได้ทำตนของข้าพเจ้าให้ปรากฏแก่ท่านทั้งหลาย. บทว่า ตสฺมา

ความว่า เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าประพฤติอ่อนน้อมซึ่งพระธรรม เมื่อรักษา

พระธรรมนั้น ก็ชื่อว่ารักษาพวกท่านด้วย ฉะนั้น พวกท่านจงเห็น

พระธรรม คือจงตรวจดูพระธรรมเท่านั้นว่าควรประพฤติ. บทว่า อญฺตฺร

เตนหิ ภสฺมิ ภเวถ ความว่า ถ้าท่านทั้งหลายเว้นอุบาสกนั้นพากันมา

ก็จะกลายเป็นผู้ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย ถึงความเป็นเถ้าถ่านในทะเลทรายนี้.

บทว่า ขิปฺปมาเนน ได้แก่ ทอดทิ้ง เย้ยหยัน บีบคั้นอยู่อย่างนี้. บทว่า

ลหุ แปลว่า ทำได้ง่าย. บทว่า ปเรน แปลว่า ยิ่ง อีกอย่างหนึ่ง

แปลว่า ผู้อื่น เพราะเหตุนั้น การคบสัตบุรุษจึงเป็นสุขแท้แล อธิบายว่า

ผู้ที่ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ถึงถูกใคร ๆ ว่ากล่าวอะไร ๆ ก็ไม่

โต้ตอบ.

พวกพ่อค้าประสงค์จะทราบว่า อุบาสกที่เทพบุตรกล่าวถึงทั่วไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 676

อย่างนี้ [ เป็นใคร ] โดยสรูปเจาะจง จึงกล่าวคาถาว่า

ข้าแต่เทวดา อุบาสกนั้น คือใคร ทำงาน

อะไร เขาชื่ออะไร เขาโคตรอะไร ท่านมาในที่นี้

เพื่ออนุเคราะห์อุบาสกคนใด แม่ข้าพเจ้าทั้งหลายก็

ต้องการจะเห็นอุบาสกคนนั้น ท่านรักอุบาสกคนใด

ก็เป็นลาภของอุบาสกคนนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กินฺนาม โส ความว่า โดยชื่อ

สัตว์เกิด คือสัตว์ผู้นั้น คือใคร. บทว่า กิญฺจ กโรติ กมฺม ความว่า

บรรดางานทั้งหลายมีกสิกรรมและวณิชยกรรมเป็นต้น เขาทำงานเช่นไร.

บทว่า กึ นามเธยฺย ความว่า บรรดาชื่อมี ติสสะ ผุสสะ เป็นต้น

ชื่อที่บิดามารดาตั้งให้เขาชื่ออะไร หรือบรรดาโคตรมีภัคควะ ภารทวาชะ

เป็นต้น เขาโคตรอะไร. บทว่า ยสฺส ตุว ปิเหสิ ความว่า ท่านรัก

อุบาสกคนใด.

บัดนี้ เทพบุตรเมื่อแสดงอุบาสกนั้นโดยชื่อและโคตรเป็นต้น กล่าวว่า

ผู้ใดเป็นกัลบกมีชื่อว่าสัมภวะ อาศัยการตัดผม

เลี้ยงชีพ เขาเป็นคนรับใช้ของพวกท่าน ท่าน

ทั้งหลายจงรู้ผู้นั้นว่าเป็นอุบาสก ท่านทั้งหลายอย่า

ได้ดูหมิ่นอุบาสกนั้น อุบาสกนั้นเป็นผู้ละมุนละไม

[ น่ารัก ].

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปฺปโก แปลว่า ช่างตัดผม. บทว่า

สมฺภวนามเธยฺโย แปลว่า มีชื่ออย่างนี้ว่าสัมภวะ. บทว่า โกจฺฉผลูปชีวี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 677

แปลว่า ผู้อาศัยเก้าอี้หวายและผลเลี้ยงชีพ [ช่างตัดผม] ที่ชื่อว่า โกจฉะ

ในบทว่า โกจฺฉผลูปชีวี นั้น ได้แก่ เครื่องสำเร็จการหวีผมเป็นต้น

เพื่อจัดระเบียบทรงผมเป็นต้น. บทว่า เปสิโย ได้แก่ ผู้รับใช้ คือผู้ทำ

การขวนขวายช่วยเหลือ.

บัดนี้ พ่อค้าทั้งหลายรู้จักอุบาสกนั้นแล้ว กล่าวว่า

ข้าแต่เทวดา พวกข้าพเจ้ารู้จักช่างตัดผมคนที่

ท่านพูดถึง แต่ไม่รู้ว่าเขาเป็นเช่นนี้เลย ข้าแต่เทวดา

ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ฟังคำของท่านแล้ว จักบูชาอุบาสก

นั้นอย่างโอฬาร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชานามเส ความว่า พวกข้าพเจ้ารู้จัก

ผู้ที่ท่านกล่าวถึงนั้นโดยเฉพาะ. บทว่า เอทิโส อธิบายว่า พวกเราไม่

รู้เลยว่า อุบาสกนั้นเป็นเช่นนี้ อย่างที่ท่านประกาศเกียรติคุณ คือมิได้รู้

อย่างที่ท่านประกาศ.

บัดนี้ เพื่อจะยกพ่อค้าเหล่านั้นขึ้นสู่วิมานของตนแล้วสั่งสอน จึง

กล่าวคาถาว่า

มนุษย์ในกองเกวียนนี้ ไม่ว่าคนหนุ่ม คนแก่

หรือคนปูนกลาง หมดทุกคนนั่นแหละจงขึ้นวิมาน

พวกคนตระหนี่จงดูผลของบุญทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหนฺตา แปลว่า คนแก่. บทว่า

อาลมฺพนฺตุ แปลว่า จงขึ้น. บทว่า กทริยา แปลว่า คนตระหนี่ คือ

คนมีปกติไม่บริจาค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 678

บัดนี้ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายกล่าวคาถาไว้ ๖ คาถา

ตอนจบเรื่องว่า

พ่อค้าเหล่านั้นทั้งหมดในที่นั้น ต่างคนต่างเข้า

ห้อมล้อมกัลบกนั้น พากันขึ้นสู่วิมาน ดุจภพดาวดึงส์

ของท้าววาสวะ [ พระอินทร์ ] พ่อค้าเหล่านั้นทั้งหมด

ในที่นั้น ต่างคนต่างประกาศความเป็นอุบาสก ได้เป็น

ผู้งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน

งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา และไม่กล่าวเท็จ ยินดี

ด้วยภรรยาของตน พ่อค้าเหล่านั้น ทั้งหมดในที่นั้น

ครั้นต่างคนต่างประกาศความเป็นอุบาสกแล้ว บันเทิง

อยู่ด้วยเทพฤทธิ์เนือง ๆ ได้รับอนุญาตแล้ว หลีกไป

พ่อค้าเหล่านั้นมีความต้องการทรัพย์ ปรารถนากำไร

ไปถึงสินธุประเทศ และโสวีระประเทศ พยายาม

ค้าขายตามปรารถนา มีลาภผลบริบูรณ์ กลับ

มาปาฏลิบุตรอย่างปลอดภัย พ่อค้าเหล่านั้นไปสู่เรือน

ของตน มีความสวัสดี พร้อมหน้าบุตรภรรยา มี

ความเพลิดเพลิน ปลาบปลื้ม ดีใจ ชื่นใจ ได้ทำ

การบูชาเสรีสกเทพบุตรอย่างโอฬาร ช่วยกันสร้าง

เทวาลัย ชื่อเสรีสกะ การคบสัตบุรุษสำเร็จประโยชน์

เช่นนี้ การคบผู้มีคุณธรรม มีประโยชน์มาก เพื่อ

ประโยชน์ของอุบาสกคนเดียว พ่อค้าทั้งหมดก็ได้

ประสบความสุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 679

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อห ปุเร ความว่า ต่างชิงกันพูดว่า

ฉันก่อน ๆ. พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวว่า เต ตตฺถ สพฺเพว พ่อค้า

เหล่านั้นทั้งหมดในที่นั้น ดังนี้แล้วกล่าวคำว่า สพฺเพว เต พ่อค้าเหล่า

นั้นทั้งหมด ดังนี้อีก ก็เพื่อแสดงว่า พ่อค้าเหล่านั้นทั้งหมดมีความขะมัก

เขม้นในการขึ้นวิมานด้วยประการใด พ่อค้าทั้งหมดได้ขึ้นวิมานนั้นด้วย

ประการนั้น ไม่มีอันตรายในการขึ้นแก่ใคร ๆ. บทว่า มสกฺกสาร ใน

บาทคาถาว่า มสกฺกสาร วิย วาสวสฺส ท่านกล่าวหมายถึงสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์ อีกอย่างหนึ่งหมายถึงสวรรค์ทั้งหมด แต่ในที่นี้ พึงทราบว่า

ภพท้าวสักกะ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มสกฺกสาร วิย วาสวสฺส

ดังนี้.

ครั้งนั้น พ่อค้าเหล่านั้นเห็นวิมานแล้วมีจิตเลื่อมใส ตั้งอยู่ในโอวาท

ของเทพบุตรนั้น ดำรงอยู่ในสรณคมน์และศีลห้า ได้ไปถึงประเทศที่ตน

ปรารถนา โดยความสวัสดี ด้วยอานุภาพของเทพบุตรนั้น เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า เต ตตฺถ สพฺเพว เป็นต้น ในคาถานั้นประกอบความว่า

พ่อค้าเกวียนบันเทิงอยู่ด้วยเทพฤทธิ์เนือง ๆ ได้รับอนุญาตแล้ว หลีกไป

ถามว่า ใครเป็นผู้อนุญาต ตอบว่า เทพบุตร ความปรากฏดังนี้แล.

บทว่า ยถาปโยคา แปลว่า ทำความพยายามตามความมุ่งหมาย.

บทว่า ปริปุณฺณลาภา แปลว่า มีลาภสำเร็จแล้ว. บทว่า อกฺขต ได้แก่

ถึงกรุงปาลิบุตรโดยไม่วุ่นวาย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อกฺขต แปลว่า

ไม่ป่วยไข้ ไม่ถูกเบียดเบียน ความว่า โดยไม่มีอันตราย.

บทว่า สงฺฆร แปลว่า เรือนของตน. บทว่า โสตฺถิวนฺโจ ได้แก่

ประกอบด้วยความสวัสดี คือมีความปลอดภัย ด้วยบททั้ง ๔ บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 680

อานนฺที เป็นต้น ท่านกล่าวถึงความเป็นผู้มีความสบายใจทั้งนั้น. บทว่า

เสรีสก เต ปริเวณ มาปยึสุ ความว่า เพื่อตั้งอยู่ในความเป็นผู้กตัญญู

หลุดพ้นปฏิสวะการรับคำ พวกพ่อค้าได้สร้างเทวาลัย คือที่อยู่ ชื่อว่า

เสรีสกะ ตามชื่อของเทพบุตร พรั่งพร้อมด้วยปราสาทเรือนยอดและที่พัก

กลางคืนเป็นต้น ล้อมด้วยกำแพง ประกอบด้วยซุ้มประตู มีบริเวณโดย

เพ่งพิจารณาโดยแบบแผนที่กำหนดไว้นั่นแหละ.

บทว่า เอตาทิสา แปลว่า เป็นเช่นนี้ คือป้องกันสิ่งที่ไม่เป็น

ประโยชน์ และให้สำเร็จประโยชน์ได้อย่างนี้. บทว่า มหตฺถิกา แปลว่า

มีประโยชน์ใหญ่ มีอานิสงส์มาก. บทว่า ธมฺมคุณาน แปลว่า มีคุณ

ความดีไม่ผิดเพี้ยน เพราะเพื่อสัตว์ผู้เดียว สัตว์ทั้งหมด คือสัตว์ที่นับ

เนื่องในกองเกวียนเหล่านั้นทั้งหมดทีเดียว ในที่นั้น ก็พลอยมีความสุข

ประสบความสุขถึงความเกษมสำราญ.

ฝ่ายสัมภวอุบาสกเรียนคาถาประพันธ์ที่ดำเนินไปโดยคำกล่าวคำโต้

ตอบของปายาสิเทพบุตร และพ่อค้าเหล่านั้น โดยทำนองที่ได้ฟังนั่นแหละ

และบอกกล่าวแก่พระเถระทั้งหลาย อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปายาสิ-

เทพบุตร กล่าวแก่ท่านพระสัมภวเถระ. พระมหาเถระทั้งหลายมีพระยส-

เถระเป็นประมุข ได้ยกเรื่องนั้นขึ้นสู่สังคายนาในคราวสังคายนาครั้งที่สอง

ฝ่ายสัมภวอุบาสกบวชเมื่อบิดามารดาล่วงลับไปแล้ว ได้ดำรงอยู่ในพระ-

อรหัต.

จบอรรถกถาเสรีสกวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 681

๑๑. สุนิกขิตตวิมาน

ว่าด้วยสุนิกขิตตวิมาน

พระมหาโมคคัลลานเถระ ถามเทพบุตรองค์หนึ่งว่า

[๘๕] วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์

โดยรอบมีห้องรโหฐานงามโอฬาร ๗๐๐ ห้อง ล้วน

เสาแก้วไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องปูลาดที่งดงาม ท่าน

นั่งและดื่มกินในวิมานนั้น และพิณทิพย์ก็บรรเลง

ไพเราะ มีกามคุณห้า มีรสเป็นทิพย์ และเทพนารีที่

แต่งองค์ด้วยทองฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมี

วรรณะงามเช่นนั้น เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จ

แก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพบุตรผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมี

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าได้จัดดอกไม้ที่เขาวางกันไว้ไม่เรียบร้อย

ให้เรียบร้อย แล้ววางไว้ที่พระสถูปของพระสุคต จึง

เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พรั่งพร้อมไปด้วย

กามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 682

มีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่

ข้าพเจ้า และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า

เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้

และรัศมีของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบสุนิกขิตตวิมาน

จบภาณวารที่ ๔

อรรถกถาสุนิกขิตตวิมาน

สุนิกขิตตวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิท มณิถูณ เป็นต้น. สุนิกขิตต-

วิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน กรุงสาวัตถี

สมัยนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะจาริกไปในเทวโลก ถึงสวรรค์ชั้น

ดาวดึงส์ ขณะนั้นเทพบุตรองค์หนึ่งยืนอยู่ที่ประตูวิมานของตน เห็นท่าน

พระมหาโมคคัลลานะเกิดความเคารพนับถือมาก เข้าไปหาแล้วไหว้ด้วย

เบญจางคประดิษฐ์ ยืนประคองอัญชลีอยู่.

เล่ากันมาว่า เทพบุตรนั้น ในอดีตกาล ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่ากัสสปะเสด็จดับขันธปรินิพพาน มหาชนได้สร้างพระสถูปทอง

โยชน์หนึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระองค์ บริษัท ๔ ได้พากัน

เข้าไปบูชาพี่พระเจดีย์ด้วยของหอมดอกไม้และธูปเป็นต้นเสมอ ๆ เมื่อคน

อื่น ๆ ไปบูชาด้วยดอกไม้ที่พระเจดีย์นั้น อุบาสกคนหนึ่งเห็นดอกไม้ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 683

วางไว้ไม่เรียบร้อยในที่ที่คนทั้งหลายเหล่านั้นบูชา จึงจัดวางดอกไม้เหล่า

นั้นอย่างเรียบร้อยทีเดียวในที่นั้นเอง ได้บูชาด้วยดอกไม้ซึ่งจัดอย่างวิเศษ

เป็นส่วน ๆ มีสัณฐานน่าดูน่าเลื่อมใส ครั้นแล้วก็ยึดการบูชาด้วยดอกไม้

นั้นเป็นอารมณ์ ระลึกถึงพระคุณของพระศาสดา มีจิตเลื่อมใส ตั้งบุญ

นั้นไว้ในหทัย.

เวลาต่อมา อุบาสกนั้นทำกาละตายไปบังเกิดในวิมานทอง ๑๒ โยชน์

ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานุภาพแห่งกรรมนั้นเอง เขาได้มีอานุภาพ

มากและบริวารมาก. คำว่า ตสฺมึ ขเณ อญฺตโร เทปุตฺโต ฯ เป ฯ

อฏฺาสิ ดังนี้ กล่าวหมายถึงเทพบุตรนั้น.

ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามถึงกรรมสุจริตที่เทพ-

บุตรกระทำ โดยมุ่งประกาศสมบัติตามที่ได้ไว้ ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง ๑๒ โยชน์ โดยรอบมี

ห้องรโหฐานงามโอฬาร ๗๐๐ ห้อง ล้วนเสาแก้ว

ไพฑูรย์ ปูลาดด้วยเครื่องปูลาดที่งดงาม ท่านนั่ง

และดื่มกินในวิมานนั้น และพิณทิพย์ก็บรรเลงไพเราะ

มีกามคุณห้า มีรสเป็นทิพย์ และเทพนารีที่แต่งองค์

ด้วยทองฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร ท่านจึงมีวรรณะ

งามเช่นนั้น เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่

ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทพบุตรผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถาม

ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 684

บุญอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมี

ของท่านจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นได้กล่าวถึงกรรมที่ตนการทำแก่พระมหาโมคคัลลานเถระ

นั้นด้วยคาถาหลายคาถา พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายเมื่อแสดงเรื่องนั้น

กล่าวว่า

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว

ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าได้จัดดอกไม้ที่เขาวางกันไว้ไม่เรียบร้อย

ให้เรียบร้อย แล้ววางไว้ที่พระสถูปของพระสุคต จึง

เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก พรั่งพร้อมไปด้วย

กามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึง

มีวรรณะเช่นนี้ เพราะบุญนั้น ผลอันนี้จึงสำเร็จแก่

ข้าพเจ้า และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดขึ้นแก่

ข้าพเจ้า.

ข้าแต่ท่านภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอ

บอกท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ทำบุญ

ใดไว้ เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรือง

อย่างนี้ และรัศมีของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุนฺนิกฺขิตฺต มาล ได้แก่ วางไว้ไม่

เรียบร้อย เพราะวางตามสะดวกใจ ไม่วางโดยจัดแต่งเป็นพิเศษมีวาง

ติด ๆ กันเป็นต้น ในสถานที่กระทำการบูชาที่พระเจดีย์ อีกอย่างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 685

ดอกไม้วางไว้ไม่เรียบร้อยเพราะถูกลมพัด. บทว่า สุนิกฺขิปิตฺวา ได้แก่

วางไว้เรียบร้อย คือวางให้น่าดูน่าเลื่อมใส โดยจัดแต่งเป็นพิเศษ. บทว่า

ปติฏฺเปตฺวา ได้แก่ ให้ดอกไม้ตั้งอยู่อย่างวิเศษเป็นส่วน ๆ เป็นต้น

อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า เมื่อวางดอกไม้นั้น เพ่ง

พระเจดีย์ของพระศาสดา ให้กุศลธรรมตั้งอยู่ในสันดานของเรา. คำที่

เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสุนิกขิตตวิมาน

จบอรรถกถาสุนิกขิตตวรรคที่ ๗ ประดับด้วยเรื่อง ๑๑ เรื่อง ใน

วิมานวัตถุ แห่งปรมัตถทีปนี อรรถกถาขุททกนิกาย ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาปุริสวิมาน

รวมวิมานที่มีในวรรคนี้คือ

๑. จิตตลดาวิมาน ๒. นันทนวิมาน ๓. มณิถูณวิมาน ๔. สุวรรณ-

วิมาน ๕. อัมพวิมาน ๖. โคปาลวิมาน ๗. กัณฐกวิมาน ๘. อเนก-

วัณณวิมาน ๙. มัฏฐกุณฑลีวิมาน ๑๐. เสริสสกวิมาน ๑๑. สุนิกขิตต-

วิมาน และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 686

นิคมกถา

คำท้ายเรื่อง

ก็ด้วยกถาเพียงที่กล่าวมานี้

เทศนาอันใด อำนวยประโยชน์แก่โลกทั้งปวง

เมื่อจะประกาศสมบัติมีวิมานเป็นต้น ของเทวดาทั้ง-

หลาย และเหตุของวิมานนั้นแก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อม

ชี้ชัดถึงความที่บุญทั้งหลายแม้จำนวนเล็กน้อย ก็มี

ผลโอฬารเพราะเจตนา [ ของทายก ] และพระ-

ทักขิไณยบุคคลพรั่งพร้อม. พระธรรมสังคาหกาจารย์

ทั้งหลายผู้ฉลาดในกถาวัตถุ และรู้เรื่องอย่างดี ร่วม

กันสังคายนา เทศนาใดไว้ว่า วิมานวัตถุ เพื่อจะ

ประกาศความของวิมานวัตถุนั้น ข้าพเจ้าได้อาศัย

นัยที่มาในอรรถกถาเก่า จึงเริ่มแต่งอรรถกถา ซึ่งมี

ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี เพราะประกาศปรมัตถ์อรรถ

อย่างสูง ในวิมานวัตถุนั้น ตามสมควรในเรื่องนั้น ๆ

อรรถกถาปรมัตถทีปนีนั้น มีบาลีจำนวน ๑๗ ภาณวาร

มีวินิจฉัยอันไม่สับสน ก็จบลงแล้ว ดังนั้น ข้าพเจ้า

ผู้แต่งอรรถกถาปรมัตถทีปนีนั้น ได้ประสบบุญอันใด

ด้วยอานุภาพแห่งบุญอันนั้น ขอสัตว์ผู้มีเรือนร่างจง

หยั่งรากมั่นคงลงสู่คำสั่งสอนของพระโลกนาถ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย วิมานวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 687

ข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้นอันบริสุทธิ์ จงเป็นภาคีมีส่วน

แห่งวิมุตติรสกันหมดทุกตัวสัตว์เถิด. ขอศาสนาของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำรงยั่งยืนอยู่ในโลก ขอ

หมู่ปราณสัตว์ทุกหมู่เหล่า จงมีความเคารพในศาสนา

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นเป็นนิจเถิด ขอฝนจง

ตกต้องตามฤดูกาล ขอพระราชาผู้เป็นเจ้าแผ่นดิน

ผู้แนบแน่นในพระสัทธรรม จงปกครองประชาชาว

โลก โดยธรรม เทอญ.

จบอรรถกถาขุททกนิกาย วิมานวัตถุ ชื่อปรมัตถทีปนี ที่อาจารย์

ธรรมปาละผู้อยู่ในพทรติตถวิหารแต่งไว้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวิมานวัตถุ