ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๖

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สุตตนิบาต จูฬวรรคที่ ๒

รตนสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความสวัสดีมีด้วยพระไตรรัตน์

[๓๑๔] ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้ว

ในประเทศนี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด

ประชุมกันแล้ว ในอากาศก็ดี ขอหมู่ภูต

ทั้งปวง จงเป็นผู้มีใจดี และขอจงฟังภาษิต

โดยเคารพ ดูก่อนภูตทั้งปวง เพราะเหตุนั้น

แล ท่านทั้งหลายจงตั้งใจฟัง ขอจงแผ่เมตตา

จิตในหมู่มนุษย์

มนุษย์เหล่าใดนำพลีกรรมไปทั้ง

กลางคืนกลางวัน เพราะเหตุนั้นแล ท่าน

ทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษามนุษย์

เหล่านั้น

๑. บาลีเล่มที่ ๒๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 2

ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใด อัน

ประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอ

ด้วยพระตถาคตไม่มีเลย พุทธรัตนะแม้นี้

เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอ

ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระศากยมุนีผู้มีพระหฤทัยดำรงมั่น

ได้บรรลุธรรมใดอันเป็นที่สิ้นกิเลส เป็นที่

สำรอกกิเลส เป็นอมตธรรม เป็นธรรม

ประณีต ธรรมชาติอะไร ๆ อันเสมอด้วย

พระธรรมนั้นย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้

เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอ

ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด ทรง

สรรเสริญแล้วซึ่งสมาธิใด ว่าเป็นธรรมอัน

สะอาด บัณฑิตทั้งหลายกล่าวสมาธิใด ว่า

ให้ผลในลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้น

ย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน

ประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมี

แก่สัตว์เหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 3

บุคคล ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษ

ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้น ควร

แก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระสุคตเจ้า

ทานที่บุคคลถวายแล้วในท่านเหล่านั้น ย่อม

มีผลมาก สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอัน

ประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมี

แก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใดในศาสนา

ของพระโคดม ประกอบด้วยดีแล้ว มีใจมั่น

คง เป็นผู้ไม่มีความห่วงใย พระอริยบุคคล

เหล่านั้น บรรลุอรหัตผลที่ควรบรรลุ หยั่ง

ลงสู่อมตนิพพาน ได้ซึ่งความดับกิเลส โดย

เปล่า เสวยผลอยู่ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะ

อันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดี

จงมีแก่สัตว์เหล่านี้

เสาเขื่อนที่ฝังลงดิน ไม่หวั่นไหว

เพราะลมทั้งที่ทิศ ฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็น

อริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นสัตบุรุษ

ผู้ไม่หวั่นไหวเพราะโลกธรรม มีอุปมาฉันนั้น

สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย

สัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 4

พระอริยบุคคลเหล่าใด ทำให้แจ้งซึ่ง

อริยสัจทั้งหลาย อันพระศาสดาทรงแสดงดี

แล้ว ด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง พระอริยบุคคล

เหล่านั้น ยังเป็นผู้ประมาทอย่างแรงกล้าอยู่

ก็จริง ถึงกระนั้นท่านย่อมไม่ยึดถือเอาภพที่

๘ สังฆรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วย

สัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

สักกายทิฏฐิและวิจิกิจฉา หรือแม้สี-

ลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งยังมีอยู่ ธรรม

เหล่านั้นอันพระอริยบุคคลนั้นละได้แล้ว

พร้อมด้วยความถึงพร้อม แห่งการเห็น

(นิพพาน) ทีเดียว อนึ่ง อริยบุคคลเป็น

ผู้พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ ทั้งไม่ควรเพื่อทำ

อภิฐานทั้ง ๖ สังฆรัตนะแม้นี้ เป็นรัตนะอัน

ประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมี

แก่สัตว์เหล่านี้

พระอริยบุคคลนั้น ยังทำบาปกรรม

ด้วยกาย ด้วยวาจา หรือด้วยใจก็จริง ถึง

กระนั้น ท่านก็ไม่ควรเพื่อจะปกปิดบาปกรรม

นั้น ความที่บุคคลผู้มีธรรมเครื่องถึงนิพพาน

อันตนเห็นแล้ว เป็นผู้ไม่ควรเพื่อปกปิดบาป

กรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว สังฆ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 5

รัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจา

นี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พุ่มไม้ในป่ามียอดอันบานแล้วใน

เดือนต้นในคิมหันตฤดู ฉันใด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ทรงแสดงธรรมอันประเสริฐ

ยิ่ง เป็นเครื่องให้ถึงนิพพาน เพื่อประโยชน์

เกื้อกูล มีอุปมาฉันนั้น พุทธรัตนะแม้นี้ เป็น

รัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความ

สวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ทรงทราบ

ธรรมอันประเสริฐ ทรงประทานธรรมอัน

ประเสริฐ ทรงนำมาซึ่งธรรมอันประเสริฐ

ไม่มีผู้ยิ่งไปกว่า ได้ทรงแสดงธรรมอันประ-

เสริฐ พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์

เหล่านี้

พระอริยบุคคลเหล่าใด ผู้มีจิตอัน

หน่ายแล้วในภพต่อไป มีกรรมเก่าสิ้นแล้ว

ไม่มีกรรมใหม่เครื่องสมภพ พระอริยบุคคล

เหล่านั้นมีพืชอันสิ้นแล้ว มีความพอใจไม่

งอกงามแล้ว เป็นนักปราชญ์ ย่อมนิพพาน

เหมือนประทีปอันดับไปฉะนั้น สังฆรัตนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 6

แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอ

ความสวัสดีจงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศ

นี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใด ประชุมกัน

แล้วในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการ

พระพุทธเจ้าผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดา

และมนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดี

จงมีแก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศ

นี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว

ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระ-

ธรรมอันไปแล้วอย่างนั้น อันเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมี

แก่สัตว์เหล่านี้

ภูตเหล่าใดประชุมกันแล้วในประเทศ

นี้ก็ดี หรือภุมมเทวดาเหล่าใดประชุมกันแล้ว

ในอากาศก็ดี เราทั้งหลายจงนมัสการพระ-

สงฆ์ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายบูชาแล้ว ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์

เหล่านี้.

จบรตนสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 7

ปรมัตถโชติกา

อรรถกถาขุททกนิกาย สุตตนิบาต

จูฬวรรคที่ ๒

อรรถกถารตนสูตรที่ ๑

รตนสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ยานีธ ภูตานิ ดังนี้.

พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร.

พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.

ดังได้สดับมา ในอดีตกาล อุปัทวะทั้งหลาย มีทุพภิกขภัยเป็นต้น

เกิดขึ้นแล้วให้เมืองเวสาลี เจ้าลิจฉวีทั้งหลายได้เสด็จไปยังเมืองราชคฤห์ ทูลขอ

นำพระผู้มีพระภาคเจ้ามายังเมืองเวสาลี เพื่อให้ภัยเหล่านั้นสงบ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าซึ่งเจ้าลิจฉวีทรงนิมนต์มาแล้วอย่างนี้ ได้ตรัสพระสูตรนี้ (รตนสูตร)

เพื่อให้อุปัทวะทั้งหลายเหล่านั้นสงบ นี้คือใจความสังเขปในรตนสูตรนั้น.

แต่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้พรรณนาถึงการเกิดขึ้นแห่งพระสูตร

นั้น จำเดิมแต่เรื่องเมืองเวสาลี พึงทราบเหตุเกิดขึ้นแห่งรตนสูตรนั้น ดัง

ต่อไปนี้ :-

ดังได้สดับมา ครรภ์ตั้งขึ้นแล้วในท้องแห่งอัครมเหสีของพระราชาใน

เมืองพาราณสี พระนางทรงทราบการที่พระครรภ์ตั้งขึ้นนั้นแล้ว จึงได้กราบทูล

๑. อรรถกถาสุตตนิบาต ภาค ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 8

แด่พระราชา พระราชาก็ได้ทรงพระราชทานการบริขารพระครรภ์ พระนาง

ซึ่งมีพระครรภ์อันชนทั้งหลายบริหารอยู่โดยชอบ ในเวลาที่พระครรภ์แก่ ก็ได้

เสด็จไปยังเรือนประสูติ หญิงผู้มีบุญทั้งหลายย่อมตลอดบุตรในเวลาใกล้รุ่ง

ก็พระนางเป็นหญิงผู้หนึ่งในบรรดาหญิงผู้มีบุตรเหล่านั้น เพราะเหตุนั้นในเวลา

ใกล้รุ่งพระนางจึงประสูติชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่งเช่นกับครั่งสดและดอกชบา ต่อจากนั้น

พระอัครมเหสีทรงดำริว่า ความเสื่อมเกียรติพึงบังเกิดขึ้นแก่เรา เฉพาะ

พระพักตร์ของพระราชา ด้วยเหตุที่ว่าพระเทวีเหล่าอื่นประสูติพระโอรสทั้งหลาย

เช่นกับด้วยแท่งทอง (แต่) พระอัครมเหสีประสูติชิ้นเนื้อ ดังนี้. เพราะกลัว

ความเสื่อมเกียรตินั่น จึงทรงใส่ชิ้นเนื้อนั้นลงในภาชนะใบหนึ่ง ครอบด้วย

ภาชนะอีกใบหนึ่ง แล้วทรงประทับตราด้วยพระราชลัญจกรแล้วทรงให้ปล่อยไป

ในกระแสแห่งแม่น้ำคงคา พอมนุษย์ทั้งหลายลอยภาชนะนั้นเท่านั้น เทวดาทั้ง

หลายก็จัดการอารักขา และเทวดาทั้งหลายได้เขียนแผ่นทองคำด้วยชาด ผูกไว้ที่

ภาชนะนั้น ว่าเป็นสิ่งที่เกิดจากพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ต่อแต่นั้น

ภาชนะนั้นไม่ได้ถูกอันตรายทั้งหลาย มีภัยเกิดแต่คลื่นเป็นต้นประทุษร้าย ได้

ลอยไปตามกระแสแห่งแม่น้ำคงคา.

ก็โดยสมัยนั้น ดาบสตนหนึ่งอาศัยสกุลนายโคบาลอยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา

ดาบสนั้นก้าวลงสู่แม่น้ำคงคาแต่เช้าตรู่ ได้เห็นภาชนะนั้นกำลังลอยมา ได้ถือ

เอาแล้วด้วยสำคัญว่าเป็นของบังสุกุล ต่อจากนั้น ฤาษีนั้นก็ได้เห็นแผ่นอักขระ

นั้น และรอยประทับตราด้วยพระราชลัญจกรที่ภาชนะนั้น แก้ออกแล้วได้เห็น

ชิ้นเนื้อนั้น ครั้นเห็นแล้ว ฤาษีนั้นก็คิดว่า จะต้องเป็นครรภ์ เพราะว่าเนื้อ

เช่นนั้นไม่มีกลิ่นและไม่เน่า ฤาษีนั้นจึงได้นำชิ้นเนื้อนั้นไปสู่อาศรม วางไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 9

ในที่บริสุทธิ์ ต่อมาโดยกาลล่วงไปได้กึ่งเดือน ชิ้นเนื้อก็เกิดเป็น ๒ ชิ้น ดาบส

เห็นชิ้นเนื้อนั้นแล้วก็ตั้งไว้ให้ดีขึ้นอีกกว่าเดิม ต่อจากนั้นโดยกาลล่วงไปได้ครึ่ง

เดือนอีก ชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่ง ๆ ก็เกิดมีปุ่มขึ้นชิ้นละ ๕ ปุ่ม เพื่อประโยชน์แก่

มือ เท้า และศีรษะ ดาบสเห็นแล้วก็ตั้งไว้ให้ดียิ่งขึ้นอีก ต่อแต่นั้นโดยกาล

ล่วงไปได้ครึ่งเดือน ชิ้นเนื้อชิ้นหนึ่งก็เกิดเป็นทารก เช่นกับด้วยแท่งทอง

ชิ้นเนื้ออีกชิ้นหนึ่งก็เกิดเป็นทาริกา เช่นกับแท่งทอง พระฤาษีเกิดความสิเน่หา

เพียงดังบุตรในเด็กทั้งสองนั้น ก็น้ำนมได้เกิดขึ้นจากหัวแม่มือของดาบส จำเดิม

แต่นั้นมา เมื่อใดดาบสได้น้ำนมและภัต เมื่อนั้นท่านก็ฉันภัตนั้น แล้วใส่น้ำนม

ลงในปากของทารกทั้งสอง สิ่งใด ๆ เข้าไปในท้องของเด็กทั้งสองนั้น สิ่งนั้น

ทั้งหมดย่อมปรากฏราวกะว่า วางอยู่ในภาชนะแก้วมณีฉะนั้น เด็กทั้งสองนั้น

เป็นผู้ไม่มีผิว ได้มีด้วยอาการอย่างนี้ อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ผิวของเด็ก

ทั้งสองนั้นแนบสนิทกันและกัน ประดุจเย็บตั้งไว้ฉะนั้น เด็กทั้งสองนั้นจึง

ปรากฏชื่อว่า ลิจฉวี เพราะเหตุที่เป็นผู้ไม่มีผิว หรือเพราะเหตุที่ว่ามีผิว

แนบสนิท ด้วยประการฉะนี้. พระดาบสเลี้ยงทารกทั้งสองอยู่ เข้าไปสู่บ้าน

เพื่อบิณฑบาตในเวลาสาย กลับมาในเวลาสายยิ่ง พวกนายโคบาลทราบถึง

ความขวนขวายนั้นของดาบสนั้นแล้ว จึงเรียนว่า ท่านผู้เจริญ การเลี้ยงเด็ก

เป็นความกังวลของบรรพชิตทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงให้เด็กทั้งสองแก่พวก

กระผม พวกกระผมจักเลี้ยงเสียเอง ท่านจงได้กระทำสมณธรรมของตนเกิด

ดาบสรับว่า ดีละ.

นายโคบาลทั้งหลาย ได้ทำทางให้สม่ำเสมอในวันที่สอง โปรยดอกไม้

ให้ยกธงชัยและธงปฏาก ไปยังอาศรมด้วยทั้งดนตรีทั้งหลายที่ประโคมอยู่ ดาบส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 10

กล่าวว่า เด็กทั้งสองเป็นผู้มีบุญมาก ขอให้พวกท่านจงเลี้ยงให้เจริญ ด้วยการ

เอาใจใส่จริง ๆ ก็ครั้นเลี้ยงให้เจริญแล้ว จงทำอาวาหะและวิวาหะกะกันและ

กัน พวกท่านทำให้พระราชาทรงพอพระทัย (ด้วยการถวาย) ปัญจโครส

แล้วจงถือเอาภูมิภาค พากันสร้างนคร จงอภิเษกพระกุมารไว้ในพระนคร

ดังนี้แล้ว จึงได้มอบทารกทั้งสอง (แก่พวกโคบาล) พวกโคบาลเหล่านั้น

รับคำว่า สาธุ ดังนี้แล้ว นำทารกทั้งสองไปเลี้ยงไว้ เด็กทั้งสองเจริญวัยขึ้น

แล้วเล่นอยู่ ได้ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ประหารพวกเด็กของนายโคบาลเหล่าอื่น

ในที่ทะเลาะกันทั้งหลาย พวกเด็กเหล่านั้นก็ร้องไห้ ครั้นถูกมารดาและบิดาถาม

ว่าร้องไห้ทำไม ก็ตอบว่า เด็กสองคนที่ไม่มีพ่อไม่มีแม่ ที่ดาบสเลี้ยงไว้ ตี

พวกข้าพเจ้า.

ลำดับนั้น มารดาบิดาของเด็กเหล่านั้นจึงกล่าวว่า เด็ก ๒ คนนี้ เบียด

เบียนเด็กเหล่าอื่น ทำให้เด็กเหล่าอื่นได้รับความทุกข์ พวกเราไม่ควรสงเคราะห์

เด็ก ๒ คนนี้ ๆ พวกเราควรเว้นเสีย เล่ากันมาว่านับตั้งแต่นั้นมา ดินแดนแห่ง

นี้ จึงเรียกกันว่า "วัชชี" ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์. ต่อแต่นั้นนายโคบาล

ทั้งหลาย ทำให้พระราชาทรงโปรดปรานแล้ว ก็ได้ถือเอาพื้นที่แห่งนั้น พวก

นายโคบาลสร้างนครขึ้น ณ สถานที่นั้นนั่นเอง แล้วอภิเษกพระกุมารซึ่งมี

ชันษา ๑๖ ยกให้เป็นพระราชา และพวกนายโคบาล ได้ทำกติกาข้อห้ามเกี่ยว

กับทาริกาและพระราชานั้นไว้ว่า จะไม่พึงนำทาริกามาแต่ภายนอก ไม่พึงให้

ทาริกาจากที่นี้แก่ใคร ๆ. เพราะการอยู่ร่วมกันเป็นครั้งแรกของพระราชาและ

พระราชินีนั้น ก็เกิดทารกขึ้น ๒ คนเป็นหญิง ๑ ชาย ๑ ทารกเกิดครั้งละ

๒ คน อย่างนี้ถึง ๑๖ ครั้ง. ต่อจากนั้น ชนทั้งหลายได้ล้อมพระนครแห่งนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 11

เพื่อให้เด็กเหล่านั้น ซึ่งเจริญขึ้นเป็นลำดับ ถือเอาสวนอุทยาน เป็นที่รื่นรมย์

ที่อยู่ บริวารและสมบัติด้วยกำแพง ๓ ชั้น ซึ่งห่างกันชั้นละ ๓ คาวุต เพราะเหตุ

ที่นครแห่งนั้นต้องทำให้ขยายออกบ่อย ๆ จึงได้ชื่อว่า เวสาลี นี้คือเรื่อง

เมืองเวสาลี.

แต่เมืองเวสาลีนี้ ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอุบัติขึ้นแล้ว

เป็นเมืองที่มั่งคั่งไพบูลย์ ก็ในเมืองเวสาลีนั้นมีพระราชาถึง ๗,๗๐๗ พระองค์

ถึงแม้พระยุพราช เสนาบดีและขุนคลังเป็นต้น ก็มีจำนวนเท่านั้นเหมือนกัน

สมดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล เมืองเวสาลีเป็น

เมืองมั่งคั่ง กว้างขวาง มีคนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น มีภิกษาหาได้ง่าย

มีปราสาท ๗,๗๐๗ หลัง มีเรือนยอด ๗,๗๐๗ หลัง มีสวน ๗,๗๐๗ แห่ง

สระโบกขรณี ๗,๗๐๗ สระ.

โดยสมัยอื่นมีภิกษาหาได้ยาก ฝนแล้ง ข้าวกล้าเสียหาย ครั้งแรก

คนยากจนตายก่อน คนทั้งหลายทิ้งซากศพของตนเข็ญใจเหล่านั้นไว้นอกเมือง

เพราะกลิ่นซากศพของคนที่ตายทั้งหลาย พวกอมนุษย์ทั้งหลายก็เข้าเมือง

ต่อแต่นั้นคนก็ตายมากต่อมาก เพราะความปฏิกูลนั้น อหิวาตกโรคย่อมเกิดขึ้น

แก่สัตว์ทั้งหลาย เมื่อเมืองเวสาลีถูกทุพภิกขภัย อมนุษยภัย และโรคภัย

๓ ประการ ประทุษร้ายแล้ว ดังกล่าวมานี้ ชาวเมืองทั้งหลายก็เข้าไปกราบทูล

พระราชาว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ภัย ๓ ประการ เกิดขึ้นแล้วในพระนคร ใน

สมัยก่อน นับจากนี้ไป จนถึง ๗ ชั่วราชสกุล ภัยเห็นปานนี้ไม่เคยเกิดขึ้น

แต่ได้บังเกิดขึ้นแล้ว ณ บัดนี้ เห็นจะเป็นเพราะพระองค์ไม่ตั้งอยู่ในธรรม.

๑. พระวินัยมหาวรรค ๕/ข้อ ๑๒๘ จีวรขันธกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 12

พระราชารับสั่งให้ประชุมชนทั้งปวงประชุมกันที่สัณฐาคาร แล้วจึง

ตรัสว่า ขอให้พวกท่านจงตรวจดูว่าเราไม่ตั้งอยู่ในธรรมในข้อใด ชนทั้งปวง

พิจารณาประเพณีทุกอย่างอยู่ ก็ไม่ได้พบข้อบกพร่องอะไร (ของพระราชา)

ต่อแต่นั้น ประชาชนเมื่อไม่เห็นความผิดของพระราชา จึงพากันคิดว่า ภัยนี้จะพึง

สงบได้อย่างไร ในบรรดาคนเหล่านั้น คนบางพวกเสนอว่า ถ้าว่าครูทั้ง ๖

ได้ปรากฏแล้ว ภัยก็จักสงบ ในเมื่อครูทั้ง ๖ เหล่านี้ พอสักว่าก้าวลง (ยัง

เมืองเวสาลีเท่านั้น). คนบางพวกเสนอว่า ได้ยินว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว

ในโลกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์เกื้อกูล

แก่สัตว์ทั้งปวง พระองค์มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ในเมื่อพระองค์สักว่า

ทรงก้าวลง (ยังเมืองเวสาสี) ภัยทั้งปวงก็พึงสงบลงได้ เพราะเหตุนั้นคน

เหล่านั้นจึงพอใจ กล่าวว่า บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ

ที่ไหน เมื่อพวกเราส่งข่าวสารเชิญเสด็จแล้ว พระองค์จะพึงเสด็จมาหรือ.

ลำดับนั้นคนอีกพวกหนึ่งพูดขึ้นว่า ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้เอ็นดู

(ต่อสัตวโลก) เพราะเหตุไรพระองค์จะไม่เสด็จมา ก็บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้นประทับอยู่ในเมืองราชคฤห์ และพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงอุปัฏฐาก

พระองค์อยู่ บางที่พระเจ้าพิมพิสารนั้น จะไม่ยอมให้พระองค์เสด็จมา คน

เหล่านั้นจึงพูดกันว่า ถ้าอย่างนั้นท่านทั้งหลายจงให้พระราชาทรงยินยอม แล้ว

จงนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา.

เจ้าลิจฉวี ๒ พระองค์ ได้ถวายเครื่องบรรณาการเป็นอันมาก พร้อม

ด้วยพลนิกายหมู่ใหญ่ ส่งไปยังสำนักพระราชาว่า ขอพวกท่านจงให้พระเจ้า-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 13

พิมพิสารอนุญาตแล้ว จงนำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้ามา. ชนเหล่านั้นไปแล้ว

ถวายเครื่องบรรณาการแด่พระราชาแล้ว ชี้แจงให้พระองค์ทรงทราบความเป็น

ไปนั้นแล้วทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ขอพระองค์จงทรงส่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไปยังนครของพวกข้าพระองค์ พระราชาไม่ทรงรับแต่ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงรู้

เอาเอง ชนเหล่านั้นกราบทูลว่า ดีละ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวาย

บังคมแล้ว ทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภัย ๓ ประการเกิดขึ้นแล้ว

ในนครของพวกข้าพระองค์ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาไซร้ ความสวัสดีก็

จะพึงมีแก่พวกข้าพระองค์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพิจารณาแล้ว จึงทรงรับด้วย

ทรงทราบชัดว่า เมื่อเราแสดงรัตนสูตรในเมืองเวสาลีแล้ว อารักขาจะแผ่ไป

ตลอดแสนโกฏิจักรวาล ในเวลาจบพระสูตร ธรรมาภิสมัยจักมีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐.

ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ

แล้ว ก็รับสั่งให้ป่าวประกาศไปในพระนครว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับการ

นิมนต์เสด็จไปยังเมืองเวสาลีแล้ว จึงได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบ

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงรับการเสด็จไปเมืองเวสาลีหรือ ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร พระเจ้าพิมพิสาร

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงทรงประทับรอ

จนกว่าหม่อมฉันจะตระเตรียมหนทางเสด็จเรียบร้อย.

ครั้งนั้นแล พระเจ้าพิมพิสาร ทรงกระทำพื้นที่ประมาณ ๕ โยชน์

ในระหว่างเมืองราชคฤห์และแม่น้ำคงคา ให้สม่ำเสมอ แล้วให้สร้างวิหารไว้ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 14

สถานที่โยชน์ละ ๑ แห่ง แล้วให้กราบทูลเวลาเสด็จแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าอันภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปแวดล้อม เสด็จไปแล้ว พระราชา

รับสั่งให้โปรยดอกไม้ ๕ สี ตลอดหนทาง ๕ โยชน์ถึงแค่เข่า รับสั่งให้ยกธงชัย

ธงแผ่นผ้า ตั้งหม้อน้ำที่เต็มเอาไว้ และต้นกล้วยเป็นต้น ทรงให้ยกเศวตฉัตร

๒ ชั้น เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และเศวตฉัตรชั้นเดียวสำหรับพระภิกษุรูปหนึ่งๆ

กระทำอยู่ซึ่งการบูชา ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น พร้อมด้วยบริวารของ

พระองค์ ทรงนิมนต์ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าประทับอยู่ในวิหารแห่งหนึ่ง ๆ

แล้วทรงถวายมหาทาน แล้วนำเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำคงคาโดยใช้เวลา ๕ วัน.

พระเจ้าพิมพิสารทรงประดับเครื่องด้วยเครื่องประดับทุกอย่าง ที่ฝั่งแม่น้ำ

คงคานั้น แล้วส่งพระราชาสารไปทูลพระราชาเมืองเวสาลีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จมาแล้ว ขอพวกท่านทั้งปวงจงตระเตรียมทางเสด็จ จงกระทำการต้อนรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้นทรงดำริว่า พวกเราจักทำการ

บูชาให้เป็นสองเท่า แล้วทรงให้กระทำพื้นที่ประมาณ ๓ โยชน์ ในระหว่าง

เมืองเวสาสีและแม่น้ำคงคาให้สม่ำเสมอ แล้วทรงตระเตรียมเศวตฉัตร ๔ ชั้น

เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และเศวตฉัตร ๒ ชั้นสำหรับภิกษุรูปหนึ่ง ๆ เมื่อจะ

กระทำการบูชาจึงได้มาประทับยืนอยู่ ณ ฝั่งแห่งแม่น้ำคงคา พระเจ้าพิมพิสาร

ทรงให้สร้างเรือ ๒ ลำ กระทำมณฑป ประดับด้วยพวงดอกไม้เป็นต้น ให้ปู

พุทธอาสน์ซึ่งสำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวง บนเรือลำนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งบนพุทธอาสน์นั้น แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ขึ้นเรือ แล้วก็นั่ง ณ ที่อัน

สมควร พระราชาเมื่อตามส่งเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จสงไปในน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 15

ประมาณแค่พระศอ แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักอยู่

ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้นี่แหละ จนกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสด็จมาแล้วเสด็จกลับ

(ขึ้นฝั่ง)

เทวดาทั้งหลายในเบื้องบนจนถึงอกนิษพรหม ได้กระทำการบูชา.

นาคทั้งหลายมีนาคพวกกัมพลัสสตระเป็นต้น ผู้อาศัยอยู่ที่ภายใต้เแม่น้ำคงคา

กระทำแล้วซึ่งการบูชา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปในเเม่น้ำคงคาระยะทาง

ประมาณ ๑ โยชน์ แล้วเข้าสู่เขตแดนของชาวเมืองเวสาลี ด้วยการบูชาที่

ยิ่งใหญ่อย่างนี้. ต่อจากนั้น กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย เมื่อกระทำการบูชาเป็น

๒ เท่า แห่งการบูชาที่พระเจ้าพิมพิสารนั้นทรงกระทำแล้ว ทรงต้อนรับพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าในน้ำประมาณแค่พระศอ โดยขณะนั้นนั่นเอง โดยครู่นั้น

มหาเมฆซึ่งมียอดแผ่ออกไปด้วยความมืดมน มีสายฟ้าปลาบแปลบ คำรามอยู่

ตกแล้วทั้ง ๔ ทิศ ต่อจากนั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงก้าวพระบาทแรก

พอเหยียบที่ฝั่งแม่น้ำคงคา (เท่านั้น) ฝนโบกขรพรรษก็ตก คนเหล่าใดต้องการ

จะเปียก คนเหล่านั้นเท่านั้น จึงเปียก คนที่ไม่ต้องการเปียก ก็ไม่เปียก น้ำ

ประมาณแค่เข่า แค่ขา แค่สะเอว แค่คอ ย่อมไหลไปในที่ทั้งปวง ซากศพ

ทั้งปวงถูกน้ำพัดพาไปในแม่น้ำคงคา ภาคพื้นก็บริสุทธิ์ กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลาย

ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในทุก ๆ กึ่งโยชน์ ถวายมหาทาน กระทำกรรม

บูชา ๒ เท่า โดยใช้เวลา ๓ วัน นำเสด็จสู่กรุงเวสาลี เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จถึงกรุงเวสาลีแล้ว ท้าวสักกะจอมเทพ มีหมู่เทพดาอยู่ข้างหน้าเสด็จมา

เพราะเทพดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน พวกอมนุษย์ก็หนีไปโดยมาก พระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 16

พระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ประตูพระนคร ตรัสเรียกพระอานนท์มาแล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนรตนสูตรนี้ แล้วถืออุปกรณ์แห่งพลีกรรม

พร้อมด้วยลิจฉวีกุมารทั้งหลาย เที่ยวไปอยู่ในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น แห่งเมือง

เวสาลี จงกระทำพระปริตร (ป้องกัน ) ดังนี้แล้วได้ตรัสรตนสูตร.

มีคำถามว่า ก็พระสูตรนี้ใครกล่าวไว้อย่างนี้ กล่าวไว้เมื่อใด ที่ไหน

และเพราะเหตุไร การวิสัชนาปัญหา พระโบราณาจารย์ทั้งหลายได้พรรณนา

ไว้โดยพิสดาร จำเดิมแต่เรื่องเมืองเวสาลี.

ในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้ายังเสด็จไม่ถึงเมืองเวสาลีนั้นแล ท่านพระ-

อานนท์ได้เรียนรัตนสูตรนี้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อกำจัดอุปัทวะ

เหล่านั้น ที่ประตูพระนครเวสาลี สวดอยู่เพื่อป้องกัน ใช้บาตรของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตักน้ำ เที่ยวประพรหมอยู่ทั่วพระนคร ก็เมื่อพระเถระกล่าวคำว่า

ยงฺกิญฺจิ เท่านั้น พวกอมนุษย์ทั้งหลายที่อาศัยกองหยากเยื่อ และประเทศ

แห่งฝาเรือนเป็นต้น ซึ่งยังไม่หนีไปในกาลก่อน ก็พากันหนีไปทางประตูทั้ง ๔.

ประตู (ทั้ง ๔) ไม่มีที่ว่าง ต่อจากนั้นอมนุษย์บางพวก เมื่อไม่ได้ที่ว่าง

(โอกาส) เพื่อออกไปที่ประตูทั้งหลาย ก็ทำลายกำแพงหนีไป เมื่อพวก

อมนุษย์ไปกันแล้ว โรคของมนุษย์ทั้งหลายก็สงบ มนุษย์เหล่านั้นออก (จาก

เรือนของตน) บูชาพระเถระด้วยของหอมและดอกไม้ทุกชนิดเป็นต้น มหาชน

ได้ใช้ของหอมทั้งปวงทาสัณฐาคารในท่ามกลางนคร กระทำเพดานซึ่งประดับ-

ประดาด้วยรัตนะ ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ให้ปูพุทธอาสน์ไว้ ณ

สัณฐาคารนั้น แล้วได้นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 17

เข้าไปยังสัณฐาคาร ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ซึ่งเขาปูลาดไว้แล้ว ฝ่ายภิกษุ.

สงฆ์แล รวมทั้งพระราชาทั้งหลาย และมนุษย์ทั้งหลาย ก็ได้นั่ง ณ โอกาส

สมควร แม้ท้าวสักกะจอมเทพ ก็นั่งกับเทวบริษัทในเทวโลกทั้งสอง เทวดา

เหล่าอื่นก็ได้นั่งด้วยเทวบริษัทเช่นกัน ฝ่ายพระอานนทเถระ เที่ยวไปยังนคร

เวสาลีจนทั่ว กระทำอารักขา แล้วมาพร้อมกับชาวนครเวสาลี นั่งลงแล้ว ณ

ส่วนข้างหนึ่ง ณ สัณฐาคารนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสรตนสูตรนั้นนั่นแล

แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งปวง.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๑ ว่า ยานีธ ภูตานิ ดังต่อไปนี้ :-

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ยานิ ความว่า ภูตเหล่าใดมีศักดิ์น้อย

ก็ตาม มีศักดิ์มากก็ตาม.

บทว่า อิธ ได้แก่ในประเทศนี้ ท่านกล่าวหมายถึงสถานที่ประชุมกัน

ในขณะนั้น.

บทว่า ภูตานิ คำอธิบายว่า ถึงแม้ ภูต ศัพท์จะใช้ในความหมาย

เหล่านี้ คือ

๑. หมายถึงสิ่งที่เป็นจริง ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้น

อย่างนี้ว่า ภูตสฺมึ ปาจิตฺติย เป็นปาจิตตีย์ในเพราะบอกอุตตริมนุษย์ธรรมที่

มีจริงแต่อนุปสัมบัน

๒. หมายถึงเบญจขันธ์ ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้นอย่าง

นี้ว่า ภูตมิท ภิกฺขเว สมนุปสฺสถ ภิกษุทั้งหลาย เธอจงพิจารณาเบญจขันธ์นี้.

๓. หมายถึงรูปมีปฐวีธาตุเป็นต้น ในธาตุทั้ง ๔ ดังในประโยคทั้งหลาย

เป็นต้นอย่างนี้ว่า จตฺตาโร โข ภิกฺขุ มหาภูตา เหตู ดูก่อนภิกษุ มหา-

ภูตรูป ๔ แลเป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 18

๔. หมายถึงพระขีณาสพ ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้น

อย่างนี้ว่า โย จ กาลฆโส ภูโต บุคคลใดเป็นผู้กลืนกินกาล.

๕. หมายถึงสัตว์ทั้งปวง ดังในประโยคทั้งหลาย มีประโยคเป็นต้น

อย่างนี้ว่า สพฺเพว นิกฺขิปิสฺสนฺติ ภูตา โลเก สมุสฺสย สัตว์ทั้งปวงแล

ย่อมทิ้งร่างกายไว้ในโลก.

๖. หมายถึงต้นไม้เป็นต้น ดังในประโยคทั้งหลายมีประโยคเป็นต้น

อย่างนี้ว่า ภูตคามปาตพฺยตาย ปาจิตฺติย เป็นอาบัติปาจิตตีย์ในเพราะ

พรากภูตคาม.

๗. หมายถึงหมู่สัตว์ ซึ่งอยู่ภายใต้ชั้น จาตุมมหาราชิกาลงมา ดังใน

ประโยคทั้งหลาย มีประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ภูเต ภูตโต สญฺชานาติ ย่อม

รู้สัตตนิกายทั้งหลาย โดยความเป็นสัตตนิกาย ดังนี้ก็จริง ถึงกระนั้นในรตน-

สูตรนี้ บัณฑิตก็พึงเห็นว่า ภูต ศัพท์ ใช้ในอมนุษย์ทั้งหลายโดยไม่แปลกกัน.

บทว่า สมาคตานิ ได้แก่ประชุมกันแล้ว เทวดาทั้งหลายที่เกิดแล้ว

ณ ภาคพื้น ชื่อว่า ภุมฺมานิ (ภุมเทวดา)

วา ศัพท์ ใช้ในวิกัปปัตถะ (แปลว่า หรือ) เพราะเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงกระทำวิกัปอันหนึ่งนี้ว่า ภุมเทวดาทั้งหลาย เหล่าใด

หรือภูตทั้งหลายเหล่าใดที่ประชุมกันแล้วในที่นี้ แล้วตรัสว่า ยานิว อนฺตลิกฺเข

หรือเทพเหล่าใดซึ่งประชุมกันแล้วในอากาศ ดังนี้ เพื่อกระทำวิกัปที่สอง

อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ภูตทั้งหลายเหล่าใดเกิดแล้วในอากาศ ประชุมกัน

แล้วในที่นี้.

ก็ในคำว่า ภูตานิ นี้ ภูตสัตว์เหล่าใด ตั้งแต่ชั้นยามาจนถึงชั้นอกนิฏฐ-

ภพซึ่งบังเกิดแล้วในอากาศ พึงทราบว่า เป็นภูตในอากาศ ก็เพราะเหตุที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 19

เกิดในวิมานที่ปรากฏอยู่ในอากาศ ภูตทั้งหลายที่เกิดในภายใต้แต่อากาศนั้น

ภูต นับจำเดิมแต่ภูเขาสิเนรุจนถึงภูตสัตว์ที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้และเครือเถา

เป็นต้นบนพื้นดิน และที่เกิดแล้วบนพื้นดิน ภูตสัตว์เหล่านั้นทั้งหมดพึงทราบ

ว่าเป็น ภุมฺมานิ ภูตานิ เพราะเหตุที่เกิดแล้วในที่ ๆ เกี่ยวเนื่องกับ

พื้นดิน และในที่ทั้งหลายมีต้นไม้ เครือเถา และภูเขาเป็นต้น บนพื้นดิน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิกัป (กำหนด) อมนุษย์ภูตแม้ทั้งหมด ด้วยสองบท

ว่า ภุมฺมานิ วา ยานิ วา อนฺตลิกฺเข แล้วกำหนดด้วยบทเดียวอีก

ตรัสว่า สพฺเพว ภูตา สุมนา ภวนฺตุ ขอภูตสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีใจดี.

บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ ศัพท์ว่า เอว ใช้ในอรรถแห่ง

อวธารณะ อธิบายว่า ไม่ยกเว้นแม้สักผู้หนึ่ง อมนุษย์ทั้งหลายชื่อว่า ภูต.

สองบทว่า สุมนา ภวนฺตุ ได้แก่ เป็นผู้มีใจถึงความสุข คือว่า

เป็นผู้มีปีติและโสมนัสเกิดแล้ว.

สองศัพท์ว่า อโถปิ เป็นนิบาตทั้งสองคำ ใช้ในอรรถแห่งวากยปท-

วิกัปปัตถะ เพื่อใช้ประกอบในกิจอื่น.

๓ บทว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิต ความว่า ขอให้ภูตทั้งปวง

จงตั้งใจ คือทำไว้ในใจ ได้แก่ประมวลมาด้วยใจทั้งหมด จงฟังเทศนาของเรา

ซึ่งจะนำสมบัติอันเป็นทิพย์ และโลกุตตรสุขมาให้ ในพระสูตรนี้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงกำหนดภูตสัตว์ทั้งหลาย ด้วยคำที่กำหนดไว้ไม่แน่นอนว่า ยานีธ

ภูตานิ สมาคตานิ ภูตเหล่าใดมาประชุมกันแล้วในที่นี้ ดังนี้ อย่างนี้แล้ว

จึงทรงกำหนดด้วยสองบทอีกว่า ภุมฺมานิ วา ยานิว อนฺตลิกฺเข ภุมเทวดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 20

ทั้งหลาย หรือเทวดาทั้งหลายเหล่าใดในอากาศ แล้วทรงกระทำให้เป็นอัน

เดียวกันอีกว่า สพฺเพว ภูตา ภูตทั้งปวง แล้วทรงประกอบไว้ในอาสยสมบัติ

ด้วยคำนี้ว่า สุมนา ภวนฺตุ จงเป็นผู้มีใจดี แล้วทรงประกอบในปโยคสมบัติ

ด้วยคำนี้ว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิต ขอจงตั้งใจฟังโดยเคารพ อนึ่ง

ทรงประกอบในโยนิโสมนสิการสมบัติ และในโฆสสมบัติ ด้วยคำว่า สกฺกจฺจ

สุณนฺตุ ภาสิต ทรงประกอบในอัตตสัมมาปณิธิสมบัติ และสัปปุริสูปนิสสย-

สมบัติ และทรงประกอบในสมาธิสมบัติ ปัญญาสมบัติ และเหตุสมบัติ ด้วย

คำว่า สกฺกจฺจ สุณนฺตุ ภาสิต จึงได้ตรัสพระคาถานี้.

คำที่ว่า ตสฺมาหิ ภูตา เป็นต้น เป็นคาถาที่สอง ในบรรดาคำ

เหล่านั้น คำว่า ตสฺมา เป็นคำบอกเหตุ คำว่า ภูตา เป็นคำเชื้อเชิญภูต.

คำว่า นิสาเมถ แปลว่า จงฟัง.

คำว่า สพฺเพ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ ท่านได้อธิบายไว้อย่างไร

ท่านได้อธิบายไว้ว่า เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย (เทวดา) ได้ละทิพยสถาน

และอุปโภคสมบัติ บริโภคสมบัติ ได้มาประชุมกันในที่นี้เพื่อฟังธรรม หาได้

มาเพื่อจะดูนักฟ้อนแสดงการฟ้อนรำไม่ เพราะฉะนั้นแล ขอภูตทั้งปวงจงฟัง

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่าเทพเหล่านั้นเป็นผู้มีใจดี

และเห็นว่าเทพเหล่านั้นต้องการที่จะฟังโดยเคารพ จึงได้ตรัสด้วยพระดำรัสว่า

สกฺกจฺจ สุณนฺตุ จงฟังโดยเคารพ ก็เพราะที่ท่านทั้งหลายประกอบด้วย

อัตตสัมมาปณิธิ โยนิโสมนสิการ และอาสยสุทธิ โดยความเป็นผู้มีใจดี

ทั้งประกอบด้วยปโยคสุทธิทั้งหลาย โดยมีสัปปุริสูปนิสสยะ และปรโตโฆสะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 21

เป็นปทัฏฐาน เพราะต้องการจะฟังโดยเคารพ ฉะนั้นแล ขอให้ภูตทั้งปวงจง

ตั้งใจฟัง.

อีกประการหนึ่ง คำใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่สุดแห่งคาถา

แรกว่า ภาสิต พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอ้างถึงคำนั้นโดยความเป็นเหตุ จึง

ตรัสว่า ธรรมดาว่าภาษิตของเรา บุคคลได้โดยยากอย่างยิ่ง เพราะเหตุที่ขณะ

ซึ่งเว้นจากขณะทั้งปวงเป็นขณะที่หาได้ยาก ทั้งเป็นคำมีอานิสงส์เป็นอเนก

เพราะเป็นไปด้วยปัญญาคุณและกรุณาคุณ และเราต้องการที่จะพูดคำนั้น จึง

ได้กล่าวว่า สุณนฺตุ ภาสิต ขอจงฟังคำที่เรา (ตถาคต) พูด เพราะเหตุ

นั้นแล คำว่า ภูตา นิสาเมถ สพฺเพ (ขอภูตทั้งปวงจงพึง) นี้ เราได้

กล่าวแล้วด้วยบทที่เป็นคาถานี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบเหตุนั้นอย่างนี้แล้ว จึงทรงประกอบ

ภูตให้ตั้งใจฟังคำภาษิตของพระองค์ ได้ทรงเริ่มเพื่อจะตรัสคำที่ควรฟังว่า

เมตฺต กโรถ มานุสิยา ปชาย ขอจงแผ่เมตตาจิตไปในหมู่มนุษย์ ดังนี้.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า หมู่สัตว์คือมนุษย์นี้ใด อันอุปัทวะทั้ง

๓ ประทุษร้ายแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงเข้าไปตั้งเมตตา คือ มิตรภาพ ได้แก่

ความเป็นผู้มีอัธยาศัยเกื้อกูลในหมู่สัตว์ที่เป็นมนุษย์นั้น แต่อาจารย์บางพวก

เรียกมนุษย์ว่า ปชา คำนั้นไม่ถูก เพราะไม่ได้เป็นสัตตมีวิภัติ และอาจารย์

พวกอื่นก็พรรณนาเนื้อความแม้ใดไว้ เนื้อความแม้นั้นก็ไม่ถูก แต่ในคาถานี้มี

อธิบายว่า เราหาได้เรียก (อย่างนั้น ) ด้วยกำลังแห่งความเป็นใหญ่ว่า เป็นพระ

พุทธเจ้าไม่ แต่สิ่งใดเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ท่านทั้งหลายด้วย แก่หมู่มนุษย์

ด้วย เราก็ได้กล่าวสิ่งนั้นว่า ท่านทั้งหลายจงสร้างเมตตาจิตในหมู่มนุษย์ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 22

ก็ในคำว่า เมตฺต กโรถ มานุสิยา ปชาย นี้ พึงทราบวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้ :-

ชนเหล่าใด สร้างเมตตาจิตด้วยสามารถแห่งพระสูตรทั้งหลาย มีอาทิ

อย่างนี้ว่า :-

พระราชาผู้ประกอบด้วยธรรม เช่น

กับฤาษี ชนะแผ่นดินอันประกอบด้วยหมู่-

สัตว์เจริญรอยตามกัน บูชายัญเหล่าใด คือ

อัสสเมธะ ๑ (ทรงพระปรีชาในการบำรุงสัตว์

พาหนะมีม้าเป็นต้น) ปุริสเมธะ ๑ (ทรงพระ

ปรีชาในการเกลี้ยกล่อมประชาชน ๑) สัมมา-

ปาสะ ๑ (ทรงมีพระอัธยาศัยดุจบ่วงคล้อง

น้ำใจประชาชน ๑) วาชเปยยะ ๑ (ทรงมี

พระวาจาเป็นที่ดูดดื่มใจคน ๑) นิรัคคฬะ

(ทรงปกครองพระนครไม่ต้องมีกลิ่นกลอน ๑)

มหายัญเหล่านั้น ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งเมตตา

จิตที่อบรมดีแล้ว ถ้าหากว่าบุคคลไม่มีจิต

ประทุษร้าย ย่อมแผ่เมตตาไปยังสัตว์แม้ตัว

หนึ่ง เพราะเหตุนั้น กุศลจึงมี ผู้มีใจเกื้อกูล

ต่อสัตว์ทั้งปวงเป็นผู้ประเสริฐทำบุญมาก.

๑. อัง. อัฏฐก. ๖๒/ข้อ ๙๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 23

และด้วยอำนาจของอานิสงส์ของเมตตา ๑๑ อย่าง พึงทราบว่า เมตตา

ของชนเหล่านั้นมีประโยชน์เกื้อกูล เมตตาอันบุคคลกระทำในเทพเจ้าเหล่าใด

ด้วยสามารถแห่งข้อความทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า บุคคลมีใจเกื้อกูลต่อเทวดา

ย่อมเห็นแต่สิ่งที่เจริญใจทุกเมื่อ ดังนี้ พึงทราบว่า เมตตาของชนแม้เหล่านั้น

มีประโยชน์เกื้อกูล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดง ลักษณะแห่งเมตตาจิตทั้ง ๒ อย่าง

ดังที่กล่าวมาแล้วนั้นว่า มีประโยชน์เกื้อกูลอย่างนี้ จึงตรัสว่า เมตฺต กโรถ

มานุสิยา ปชาย ท่านทั้งหลายจงแผ่เมตตาจิตไปในหมู่มนุษย์ ดังนี้ บัดนี้

เมื่อจะแสดงอุปการะจึงตรัสว่า

ทิวา จ รตฺโต จ หรนฺติ เย พลึ

ตสฺมา หิ เน รกฺขถ อปฺปมตฺตา

มนุษย์เหล่าใด นำพลีกรรมไปทั้ง

กลางวันกลางคืน เพราะเหตุนั้นแล ท่าน

ทั้งหลาย จงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษามนุษย์

เหล่านั้นเถิด.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า มนุษย์เหล่าใด สร้าง (รูป) เทวดา

ด้วยจิตรกรรมและปฏิมากรรมเป็นต้น และเข้าไปยังเจดีย์และต้นไม้ทั้งหลาย

แล้วกระทำพลีกรรมในกลางวัน อุทิศเทวดาทั้งหลายก็ดี กระทำพลีกรรมใน

เวลากลางคืน ในข้างแรมเป็นต้นก็ดี หรือถวายสลากภัตรเป็นต้นแล้ว กระทำ

พลีกรรมในเวลากลางวัน โดยการอุทิศส่วนบุญให้แก่อารักขเทวดาจนถึงเทพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 24

ชั้นพรหมก็ดี จัดให้มีการฟังธรรมเป็นต้นตลอดทั้งคืน ด้วยการยกฉัตรและ

ประทีปดอกไม้ แล้วทำพลีกรรมในเวลากลางคืน ด้วยการอุทิศให้ซึ่งส่วนบุญ

ก็ดี มนุษย์ทั้งหลายอันพวกท่านจะไม่พึงรักษาได้อย่างไร เพราะเหตุว่า มนุษย์

เหล่านั้นกระทำพลีกรรม อุทิศพวกท่านเท่านั้น ทั้งกลางวันและกลางคืน

อย่างนี้.

คำว่า ตสฺม หิ เน เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงรักษา คือ

จงคุ้มครองมนุษย์เหล่านั้น แม้เพราะเหตุแห่งพลีกรรม และขอให้พวกท่านจง

ขจัดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ของมนุษย์เหล่านั้นออกเสีย แล้วนำสิ่งที่เป็นประโยชน์

มาให้ ขอให้พวกท่านเป็นผู้ไม่ประมาท ตั้งความเป็นผู้กตัญญูนั้น ๆ ไว้ในใจ

ระลึกอยู่เป็นนิจเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่มนุษย์ทั้งหลายมีอุปการะ

ต่อเทวดาทั้งหลายอย่างนี้แล้ว จึงทรงเริ่มเพื่อประกอบสัจวาจา โดยนัยมีอาทิ

ว่า ยกิญฺจิ วิตฺต เพื่อการเข้าไปสงบอุปัทวะของมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น

และเพื่อการฟังธรรมของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยกระทรงประกาศ

พระพุทธคุณเป็นต้น.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยกิญฺจิ ได้แก่ สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งไม่มี

ส่วนเหลือ อันท่านกำหนดเอา ด้วยสามารถแห่งการกำหนดที่ไม่แน่นอน

คือสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งได้โวหารในสิ่งนั้น ๆ.

ทรัพย์ชื่อว่า วิตฺต. ทรัพย์ที่ชื่อว่า วิตฺต เพราะอรรถว่า ก็ทรัพย์

นั้นยังความปลื้มใจให้เกิดขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 25

ด้วยคำว่า อิธ วา ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงมนุษยโลก.

ด้วยคำว่า หุร วา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงโลกที่เหลือซึ่งนอกจาก

มนุษยโลกนั้น. ก็ด้วยคำว่า หุร วา นั้น เว้นมนุษยโลกและโลกสวรรค์แล้ว

ก็พึงพราบว่า หมายถึง โลกที่เหลือมีนาคและครุฑเป็นต้น เพราะท่านได้

กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า สคฺเคสุ วา ดังนี้ เว้นมนุษย์ทั้งหลายเสียแล้ว

ศัพท์ว่าโลกทั้งปวงก็ถึงพร้อม.

ด้วยบททั้งสองนี้ สิ้งใดที่เป็นเครื่องใช้สอยเป็นเครื่องประดับ หรือ

บริโภคของมนุษย์ทั้งหลาย มีทอง เงิน แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์

แก้วประพาฬ แก้วทับทิม และแก้วลายเป็นต้น หรือทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันใด

ของนาคและครุฑเป็นต้น ซึ่งบังเกิดแล้วในวิมานแก้ว บนพื้นดิน ซึ่งดาษดา

ไปด้วยทรายมุกดาและทรายแก้ว ในภพทั้งหลายซึ่งกว้างถึง ๑๐๐ โยชน์เป็น

อเนก คำนั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้.

คำว่า สคฺเคสุ วา ได้แก่ เทวโลกชั้นกามาวจรและรูปาวจรทั้งหลาย.

ที่ชื่อว่า สวรรค์ เพราะอรรถว่า ก็เทพเจ้าเหล่านั้นย่อมเคลื่อนไป

คือว่า ย่อมไปด้วยกรรมอันงาม.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สวรรค์ เพราะว่า เป็นสถานที่ที่เลิศด้วยดี

ดังนี้ก็มี.

บทว่า ย ได้แก่ ทรัพย์อันใดที่มีเจ้าของก็ตาม ไม่มีเจ้าของก็ตาม

ในคำว่า รตน นี้มีอรรถวิเคราะห์ว่า สิ่งใดย่อมนำมา คือว่าย่อมพามา ซึ่ง

ความยินดี ได้แก่ ย่อมยังความยินดีให้เกิด ให้เจริญ เหตุนั้นสิ่งนั้นชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 26

รัตนะ. สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่บุคคลทำการบูชา มีค่ามาก ชั่งไม่ได้ พบเห็นได้

โดยยาก และไม่ใช่เป็นของที่สัตว์ต่ำต้อยบริโภค คำนี้ เป็นชื่อของรัตนะนั้น

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า :-

สิ่งที่บุคคลทำ ความยำเกรง มีค่ามาก

ชั่งไม่ได้ เห็นได้ยาก และไม่ใช่ของที่สัตว์

ต่ำทรามบริโภค เพราะเหตุนี้ เราจึงเรียกว่า

รัตนะ ดังนี้.

คำว่า ปณีต ได้แก่ ประเสริฐที่สุด คือมีค่าสูง ได้แก่ ไม่ใช่มีค่าน้อย

คือเป็นที่พอใจ.

ก็ด้วยบทที่เป็นพระคาถานี้ สิ่งใดซึ่งมีเจ้าของอยู่ในสวรรค์ทั้งหลาย

มีวิมานซึ่งสำเร็จด้วยรัตนะทั้งปวง อันมีประมาณหลายร้อยโยชน์เป็นอเนก

เช่น สุธรรมสภา และเวชยันตปราสาทเป็นต้นก็ดี สิ่งใดซึ่งไม่มีเจ้าของอยู่ใน

วิมานว่าง ในเมื่อสัตว์ทั้งหลายทำอบายภูมิให้เต็ม เพราะเว้นจากพุทธุปบาทกาล

ก็หรือว่าแม้สิ่งอื่นใด ซึ่งเป็นรัตนะที่ไม่มีเจ้าของ ซึ่งอยู่ที่พื้นดิน มหาสมุทร

และป่าหิมพานต์เป็นต้น สิ่งนั้นเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว

ศัพท์ว่า ในบาทพระคาถาที่ว่า น โน สม อตฺถิ ตถาคเตน

ดังนี้ ใช้ในอรรถปฏิเสธ.

ศัพท์ว่า โน ใช้ในอรรถอวธารณะ.

บทว่า สม ได้แก่ เสมอ.

บทว่า อตฺถิ ได้แก่ มีอยู่.

บทว่า ตถาคเตน ได้แก่ ด้วยพระพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 27

ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงประกาศทรัพย์และรัตนะนี้ใดไว้ ก็ในคำว่าทรัพย์และรัตนะนี้ รัตนะ

แม้อย่างหนึ่งที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มีเลย.

จริงอยู่ รัตนะนั้นแม้ใด ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่า อันบุคคล

ทำความยำเกรง คืออย่างไร คือจักรรัตนะ และมณีรัตนะ ของพระเจ้า-

จักรพรรดิ เมื่อรัตนะได้บังเกิดขึ้นแล้ว มหาชนไม่ทำการบูชาในที่อื่น ใคร ๆ

จะถือดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไปยังยักขสถานและภูตสถานหามีไม่ คน

ทุกคนจะทำความยำเกรง ซึ่งจักรรัตนะและมณีรัตนะเท่านั้นปรารถนาพรนั้น ๆ

ก็สิ่งที่เขาปรารถนาแล้ว และปรารถนาแล้วบางอย่างย่อมสำเร็จได้ รัตนะแม้นั้น

ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี ถ้าหากว่าทีชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าบุคคล

ทำความยำเกรงแล้วไซร้ พระตถาคตแล ก็จัดเป็นรัตนะ.

จริงอยู่ เมื่อพระตถาคตอุบัติขึ้นแล้ว เทวดาและมนุษย์ผู้มีศักดิ์ใหญ่

เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น หาได้ทำความยำเกรงในที่อื่น

ไม่ ทั้งไม่ยอมบูชาสิ่งอื่นใด จริงอย่างนั้น ท้าวสหัมบดีพรหม บูชาพระตถาคต

ด้วยพวงรัตนะเท่าภูเขาสิเนรุ เทพเจ้าและมนุษย์เหล่าอื่น มีพระเจ้าพิมพิสาร

พระเจ้าโกศล และอนาถบิณฑิกะเป็นต้น ก็บูชาพระตถาคตเจ้าตามกำลัง

พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงสละพระราชทรัพย์ถึง ๙๖ โกฏิ ให้ทรงสร้างพระ-

วิหาร ๘๔,๐๐๐ แห่ง ทั่วชมพูทวีป อุทิศซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ปรินิพพาน

แล้ว ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงชนเหล่าอื่นที่ทำความยำเกรง อีกประการหนึ่งการ

กระทำความยำเกรงและการเคารพ ย่อมเป็นไปเจาะจงต่อสถานที่ประสูติ สถาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 28

ที่ตรัสรู้ สถานที่แสดงธรรมจักร และสถานที่ปรินิพพาน หรือปฏิมากรรม

และเจติยสถานเป็นต้น ของพระกัสสปพุทธเจ้า แม้ปรินิพพานแล้ว เหมือนกับ

การทำาการบูชาแสดงทำความเคารพเจาะจงต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า รัตนะ

ที่จะเสนอด้วยพระตถาคตจึงไม่มี แม้เพราะอรรถว่าอันบุคคลทำการบูชาอย่างนี้.

อนึ่ง รัตนะนั้นแม้ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่ามีค่ามากเหมือนกับ

ผ้าซึ่งทำในแคว้นกาสี ดังที่พระผู้มีประภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผ้า

กาสิกพัสตร์ แม้จะเก่าแต่ก็ยังมีสีสวยด้วย สัมผัสนิ่มด้วย มีค่ามากด้วย"

ดังนี้ ผ้ากาสิกพัสตร์แม้นั้น ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี. ก็ถ้าหากว่าผ้า

กาสิกพัสตร์นั้นชื่อว่าเป็นรัตนะ เพราะอรรถว่ามีค่ามากไซร้ พระตถาคตเจ้า

แลก็จัดเป็นรัตนะ. จริงอย่างนั้น พระตถาคตย่อมรับ แม้ผ้าบังสุกุลของชน

เหล่าใด ผ้าบังสุกุลนั้นของชนเหล่านั้นเป็นของมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เช่น

เดียวกับผ้าของพระเจ้าอโศกมหาราช ผ้าของพระเจ้าอโศกมหาราชนี้ ก็พึงเป็น

รัตนะได้ เพราะเป็นผ้าที่มีค่ามาก รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า เพราะ

อรรถว่ามีค่ามากอย่างนี้ ย่อมไม่มี ก็ในเรื่องแห่งรัตนะนี้ พึงทราบถึง

สุตตบทนี้ ที่ยังความไม่มีโทษให้สำเร็จได้ เพราะกล่าวถึงความมีค่ามากอย่างนี้

ว่า พระตถาคตเจ้าย่อมทรงรับ ซึ่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และเภสัชช-

บริกขารของชนทั้งหลายเหล่าใดแล การที่พระตถาคตเจ้ารับจีวรเป็นต้นนั้น

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก แก่ชนทั้งหลายเหล่านั้น เรากล่าวการรับนี้ว่ามี

ผลมากมีอานิสงส์มาก ก็เพราะตถาคตเป็นผู้มีค่ามาก ภิกษุทั้งหลาย เราเรียก

บุคคลนี้ ซึ่งมีอุปมาเช่นนั้น เหมือนกับผ้ากาสิกพัสตร์นั้นว่า มีค่ามากนะภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 29

ทั้งหลายดังนี้. ชื่อว่า รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคต เพราะอรรถว่ามีค่ามาก

อย่างนี้ ย่อมไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง รัตนะแม้ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าชั่งได้ คืออย่าง

ไร คือจักรรัตนะที่บังเกิดขึ้นแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งมีดุมสำเร็จด้วยแก้วอินท -

นิล. มีซี่กำหนึ่งพันซี่สำเร็จด้วยรัตนะ ๗ ประการ มีกงสำเร็จด้วยแก้วประพาฬ

มีที่ต่อสำเร็จด้วยทองสีแดง ซึ่งมีซี่กำเกลี้ยงๆ อัน หนึ่ง วางอยู่บนกำทุก ๆ สิบซี่

ซึ่งเขาทำไว้เพื่อให้ต้องลมแล้วเปล่งเสียง มีเสียงประดุจดนตรีประกอบด้วยองค์

๕ ซึ่งบรรเลงได้ไพเราะ ฉะนั้น ณ ที่ข้างทั้งสองของดุม มีหน้าสิงห์โตอยู่

๒ หน้า ซึ่งภายในมีรูดุจรูของล้อเกวียนฉะนั้น บุคคลผู้ที่กระทำหรือให้กระทำ

จักรรัตนะนั้นไม่มี จักรรัตนะนั้น ปรากฏขึ้นด้วยอุตุซึ่งมีกรรมเป็น

ปัจจัย.

พระราชาทรงบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประการอันใด ทรงสนาน

พระเศียรในวันเพ็ญ ๑๕ ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถ ทรงรักษาอุโบสถเสด็จไปยัง

เบื้องบนปราสาทอันประเสริฐ ประทับนั่งระลึกถึงศีลทั้งหลายอยู่ ได้เห็น

จักรรัตนะซึ่งตั้งขึ้นอยู่ดุจพระจันทร์เพ็ญ และดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น ซึ่งบุคคล

ย่อมได้ยินเสียงตั้งแต่ ๑๒ โยชน์ มีวรรณะปรากฏตั้งแต่ ๓ โยชน์ ซึ่งมหาชน

เกิดโกลาหลขึ้นอย่างยิ่งว่า เห็นจะมีพระจันทร์หรือพระอาทิตย์ขึ้นเป็นดวงที่

สอง ดังนี้ปรากฏอยู่ ได้ลอยมาเบื้องบนพระนคร ปรากฏอยู่ในด้านทิศตะวัน

ออกของภายในราชบุรี ไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ลอยเด่นอยู่ ประดุจไม่

ไหวติง ในที่อันสมควร เพื่อให้มหาชนบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 30

ช้างแก้ว (หัตถิรัตนะ) ซึ่งอุบัติความพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น

เป็นช้างเผือกเท้าสีแดง เป็นสัตว์ที่แข็งแรง มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ เกิดจาก

สกุลช้างอุโบสถ หรือสกุลช้างฉัททันต์ ถ้าหากว่ามาจากสกุลช้างอุโบสถ ก็เป็น

ช้างที่เป็นหัวหน้าโขลงของช้าง ถ้าหากว่ามาจากช้างสกุลฉัททันต์ ก็เป็นช้าง

ตัวสุดท้อง มีการศึกษาอบรมมาดี ควรแก่การฝึก. ช้างนั้นพาบริษัทไปสิ้น

๑๒ โยชน์ครอบงำทั่วชมพูทวีป แล้วกลับมาสู่ราชธานีของตน ในเวลาก่อน

อาหารเช้านั่นเทียว.

ม้าแก้ว (อัสสรัตนะ) ซึ่งเกิดติดตามพระราชาแม้นั้น ก็เป็นม้าสีขาว

เท้าแดง ศีรษะดำ ขนเหมือนหญ้าปล้อง มาจากสกุลม้าวลาหก คำที่เหลือ

ในเรื่องม้าแก้วนี้ ก็เช่นเดียวกับเรื่องช้างแก้วนั้นเอง.

แก้วมณี (มณีรัตนะ) เกิดติดตามพระราชาแม้นั้น แก้วมณีนั้น

เป็นแก้วไพฑูรย์ สวยงามโชติช่วง ซึ่งได้เจียระไนไว้ดี ทั้ง ๘ เหลี่ยม เช่นกับ

รูปดุมเกวียน มาจากภูเขาเวปุลละ แก้วมณีนั้น ขึ้นสู่ยอดธงของพระราชาแล้ว

ย่อมส่องสว่างไปในที่มืด แม้ประกอบด้วยองค์ ๔ ได้ถึง ๑ โยชน์ ซึ่งพวก

มนุษย์ทั้งหลายสำคัญว่าเป็นกลางวันเพราะแสงสว่าง แล้วประกอบการงานทั้ง

หลาย โดยที่สุดย่อมเห็นได้แม้มดดำและมดแดง

นางแก้ว (อิตถีรัตนะ) เกิดติดตามพระเจ้าจักรพรรดิแม้นั้น เป็น

อัครมเหสีโดยปกติ หรือไม่ก็เสด็จมาจากอุตตรกุรุทวีป หรือไม่ก็มาจากสกุล

มัททราช เว้นจากโทษ ๖ ประการ มีสูงเกินไปเป็นต้น เปล่งปลั่งล่วงผิวพรรณ

ของมนุษย์ แต่ไม่ถึงผิวพรรณอันเป็นทิพย์ ซึ่งในเวลาพระราชาเย็น พระกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 31

ก็อุ่น ในเวลาพระราชาร้อน พระกายของนางแก้วก็เย็น มีสัมผัสนิ่ม ดุจปุย

นุ่นที่เขาชีถึง ๗ ครั้ง มีกลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากพระกาย มีกลิ่นอุบลฟุ้งออก

จากพระโอษฐ์ ประกอบด้วยคุณเป็นอเนก มีการเสด็จลุกขึ้นก่อนเป็นต้น.

ขุนคลังแก้ว (คหปติรัตนะ) เกิดขึ้นติดตามพระเจ้าจักรพรรดินั้น

เป็นเศรษฐีที่ทำการงานตามปกติของพระราชา เพราะพอจักรรัตนะอุบัติขึ้นแล้ว

ทิพยจักษุก็อุบัติขึ้น เพราะมีทิพยจักษุนั้นแล้วก็เห็นขุมทรัพย์ทั้งที่มีเจ้าของบ้าง

ไม่มีเจ้าของบ้าง ในที่ประมาณได้ ๑ โยชน์โดยรอบ ขุนคลังนั้นเข้าไปเฝ้า

พระราชาแล้ว ปวารณาตัวว่า ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์จงมีความขวน-

ขวายน้อย ข้าพระองค์จักทำกิจที่ควรทำด้วยทรัพย์เพื่อพระองค์

แม้ขุนพลแก้ว (ปริณายกรัตนะ) ก็เกิดติดตามพระเจ้าจักรพรรดิ

แม้นั้น ซึ่งเป็นราชโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา พอเมื่อจักรรัตนะอุบัติขึ้น

ก็เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาและความเฉียบแหลมอย่างเหลือล้น ขุนพลแก้วนั้น

กำหนดรู้จิตของบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ด้วยจิต (ของตน) ทั้งสามารถจะ

ทำการข่มและการยกย่อง เขาเข้าไปเฝ้าพระราชาแล้วทูลปวารณาว่า ข้าแต่

สมมติเทพ ขอพระองค์จงเป็นผู้ขวนขวายน้อย ข้าพระองค์จะปกครองราชสมบัติ

เพื่อพระองค์.

ก็หรือว่ารัตนะเห็นปานนี้แม้อื่นใด. ก็ชื่อว่ารัตนะเหมือนกับพระอรรถ-

กถาจารย์ว่าอัน ใคร ๆ ชั่งไม่ได้ ซึ่งมีค่าที่ใคร ๆ ไม่อาจที่จะชั่งตวงแล้วตีราคาว่า

มีค่า ๑๐๐ หรือมีค่า ๑,๐๐๐ หรือมีค่า ๑ โกฏิ แม้รัตนะอย่างหนึ่ง ในบรรดา

รัตนะเหล่านี้ ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะไม่มี ก็ถ้าหากว่ารัตนะอื่นใด พึงเป็นรัตนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 32

เพราะอรรถว่าใคร ๆ ชั่งไม่ได้แล้ว ไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จัดเป็นรัตนะ ด้วย

ว่าพระตถาคตเจ้าอันใคร ๆ ไม่อาจที่จะชั่งตวงโดยศีล หรือโดยสมาธิ หรือโดย

คุณอย่างใดอย่างหนึ่งมีพระปัญญาคุณเป็นต้นได้ เมื่อจะกำหนดว่า พระตถาคตเจ้า

นั้นมีคุณเท่านี้ บุคคลที่จะเสมอ หรือจะเปรียบเทียบได้กับพระตถาคตเจ้านี้

เพราะฉะนั้น รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า ย่อมไม่มี แม้เพราะอรรถว่า

อันใคร ๆ ชั่งไม่ได้ ดังพรรณามาฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง แม้รัตนะใดชื่อว่าเป็นรัตนะ เพราะอรรถว่า อันบุคคล

เห็นได้โดยยาก เหมือนอย่างพระเจ้าจักรพรรดิ และรัตนะของพระองค์ มี

จักรแก้วเป็นต้น ซึ่งปรากฏว่าเห็นได้ยาก รัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะ

ย่อมไม่มี ก็ถ้าหากว่าที่ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่าอันบุคคลเห็นได้โดยยาก

แล้วไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จัดเป็นรัตนะ รัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิเป็น

ต้น หรือว่ารัตนะอื่นใดเป็นอเนกซึ่งเกิดในกัปหนึ่ง (ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะ

จะมีแต่ที่ไหน ก็เพราะเหตุที่ว่าในอสงไขยกัปโลกว่างจากพระตถาคตเจ้า เพราะ

ฉะนั้น พระตถาคตเจ้าเท่านั้น ชื่อว่าอันบุคคลเห็นได้โดยยาก เพราะทรงอุบัติ

ขึ้นในบางครั้งบางคราวเท่านั้น สมจริงดังคำที่พระผู้มีประภาคเจ้าตรัสไว้ใน

สมัยปรินิพพานว่า

"ดูก่อน อานนท์ เทวดาทั้งหลายพากันยกโทษว่า พวกเราพากันมา

จากที่ไกล เพื่อจะได้เข้าเฝ้าพระตถาคตเจ้า เพราะว่าพระตถาคตอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอุบัติขึ้นในโลกในกาลบางครั้งบางคราวเท่านั้น ก็ใน

๑. ที. มหา. ๑๐/ ข้อ ๑๓๐ มหาปรินิพพานสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 33

วันนี้การปรินิพพานแห่งพระตถาคตเจ้า จักมีในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี ก็ภิกษุ

ผู้มีศักดิ์ใหญ่นี้ยืนบังอยู่ข้างหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พวกเราทั้งหลายไม่อาจ

จะเห็นพระตถาคตในกาลภายหลัง (จากนี้)

รัตนะจะเสมอด้วยพระตถาคต แม้เพราะอรรถว่าอันบุคคลเห็นได้โดย

ยากอย่างนี้ ย่อมไม่มี.

อีกประการหนึ่ง แม้รัตนะใด ที่ชื่อว่าเป็นรัตนะเพราะอรรถว่าอันสัตว์

ที่ไม่ต่ำทรามบริโภค คือ จักรรัตนะเป็นต้น ของพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะ

ว่าจักรรัตนะเป็นต้นนั้นมิได้บังเกิดขึ้นเพื่อการบริโภค (ใช้สอย) แม้ของชน

ทั้งหลายผู้มีทรัพย์ถึงแสนโกฏิก็ดี ของชนทั้งหลายผู้อยู่บนชั้นปราสาทอันประ

เสริฐ ๗ ชั้นก็ดี ของบุรุษผู้ต่ำทรามผู้เกิดในสกุลต่ำมีคนจัณฑาล ช่างสาน

นายพราน ช่างไม้ ช่างรถ คนเทขยะก็ดี โดยที่สุดแม้ความฝัน แต่จักรรัตนะ

นั้นเป็นของควรบริโภคของสัตว์ผู้ไม่ต่ำทรามเท่านั้น เพราะบังเกิดขึ้นเพื่อการ

บริโภคของพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้อุภโตสุชาติ ซึ่งบำเพ็ญจักรวรรดิวัตร ๑๐ ประ

การบริบูรณ์เท่านั้น แม้จักรรัตนะเป็นต้นนั้น ที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่

มี ก็ถ้าหากว่า ทีชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภคแล้วไซร้

พระตถาคตเจ้าแล ก็จัดเป็นรัตนะ ด้วยว่าพระตถาคตเจ้าชื่อว่าไม่ควรแก่การ

บริโภค (ไม่ควรแก่การนับถือ) ของสัตว์ทั้งหลายผู้ต่ำทราม ซึ่งไม่มีอุปนิสัย ของ

ครูทั้ง ๖ มีปูรณกัสสปเป็นต้น ซึ่งมีความเห็นวิปริตและของคนเหล่าอื่นเห็นปานนี้

โดยที่สุดแม้ด้วยความฝัน (คือไม่เคยแม้แต่ฝันถึง) เเต่ว่าพระตถาคตเจ้าเป็นผู้

ควรแก่การบริโภคของชนทั้งหลาย ผู้มีอุปนิสสัยถึงพร้อม ผู้สามารถเพื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 34

บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในที่สุดแเห่งคาถาอันประกอบด้วยบท ๔ ผู้มีนิพเพธิก-

ญาณทัสสนะ มีพระพาหิยทารุจีริกะเป็นต้น และแห่งพระมหาสาวกผู้เกิด

ในสกุลใหญ่เหล่าอื่น ด้วยว่าอริยสาวกเหล่านั้น ยังการบริโภคนั้นให้สำเร็จอยู่

ด้วยอนุตตริยะทั้งหลายมีทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ. ปาริจริยานุตตริยะ

เป็นต้น ชื่อว่าได้บริโภคซึ่งพระตถาคตเจ้า รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า

แม้เพราะอรรถว่าสัตว์ที่ไม่ต่ำทรามบริโภค ดังนี้ ย่อมไม่มี.

แม้รัตนะใด ที่ชื่อว่า รัตนะ เพราะอรรถว่าทำความยินดีให้เกิดโดยไม่

แปลกกัน เช่นจักรรัตนะของพระเจ้าจักรพรรดิ จริงอยู่พระเจ้าจักรพรรดิพอ

ทอดพระเนตรเห็นจักรรัตนะนั้นเท่านั้น ก็ทรงมีพระทัยยินดี จักรรัตนะนั้นชื่อ

ว่าทำความยินดีให้เกิดแก่พระเจ้าจักรพรรดิ แม้อย่างนี้.

ข้ออื่นยังมีอยู่อีก พระเจ้าจักรพรรดิ ทรงจับพระสุวรรณภิงคารด้วย

พระหัตถ์เบื้องซ้าย แล้วทรงแกว่งจักรรัตนะด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา โดยทรง

อธิษฐานว่า ขอจักรรัตนะจงหมุนไป ขอให้จักรรัตนะอันประเสริฐจงได้

ชัยชนะ ดังนี้ ต่อจากนั้น จักรรัตนะก็เปล่งเสียงไพเราะ ดุจดนตรีประกอบ

ด้วยองค์ห้าไปอยู่สู่ทิศตะวันออกทางอากาศ พระเจ้าจักรพรรดิทรงติดตาม

จักรรัตนะนั้น ซึ่งไปไม่สูงเกินไป ไม่ต่ำเกินไป ซึ่งไปอยู่โดยภายใต้ต้นไม้

ที่สูง ๆ และโดยเบื้องบนแห่งต้นไม้ที่ต่ำๆ ทั้งหลาย พร้อมด้วยเสนาทั้ง

หลายที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ซึ่งมีขบวนแผ่กว้างถึง ๑๒ โยชน์ ด้วยอานุภาพ

แห่งจักรรัตนะ ทรงรับเครื่องบรรณาการ มี ผลไม้ ดอกไม้ และใบไม้อ่อน

เป็นต้น ที่ต้นไม้ทั้งหลาย และทรงรับเครื่องบรรณาการจากมือของชนทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 35

ผู้ถือบรรณาการมาถวายแล้ว และทรงสั่งสอนพระราชาผู้เป็นศัตรู ผู้เสด็จมา

แล้วด้วยความยำเกรงอย่างยิ่ง มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์

จงได้เสด็จมาแล ดังนี้ โดยนัย (แห่งคำสอน) ว่า ท่านทั้งหลายไม่ควรฆ่า

สัตว์ ดังนี้ เป็นต้น เสด็จไปอยู่. ก็พระราชาทรงปรารถนาจะเสวย หรือ

ทรงปรารถนาจะทรงพักกลางวัน ในที่ใด จักรแก้วก็จะลงจากอากาศในที่นั้น

ประดิษฐานอยู่ที่ภูมิภาคอันสม่ำเสมอ ซึ่งควรแก่การทำกิจทั้งปวงมีน้ำเป็นต้น

เหมือนแล่นมาบทภาคพื้นดินด้วยเพลา ฉะนั้น. เมื่อพระราชาทรงปรารถนา

จะเสด็จไปอีก จักรแก้วก็เปล่งเสียงไพเราะ โดยนัยก่อนนั้นแล ซึ่งบริษัท

มีประมาณ ๑๒ โยชน์ ได้ฟังเสียงแล้วก็พากันไปทางอากาศ จักรแก้ว

ย่อมร่อนลงสู่มหาสมุทรทางทิศตะวันออกโดยลำดับ เมื่อจักรแก้วนั้นร่อนลงสู่

มหาสมุทร น้ำประมาณ ๑ โยชน์ หลีกออกไปดำรงอยู่ดุจมีฝากั้นไว้ มหาชน

ย่อมเห็นซึ่งรัตนะทั้งหลาย ๗ ประการตามลำดับ พระราชาทรงจับสุวรรณ-

ภิงคาร ทรงอธิษฐานว่า ขอรัชชสีมาของเราจงเป็นไปจำเดิมแต่นี้ ดังนี้

แล้วก็ใช้น้ำประพรม แล้วเสด็จกลับ หมู่เสนาอยู่ข้างหน้า จักรแก้วอยู่ข้างหลัง

พระราชาเสด็จอยู่ตรงกลาง สถานที่ที่จักรแก้วร่อนลงแล้ว และร่อนลงแล้ว

ย่อมทำน้ำให้เต็ม (อีก) จักรแก้วย่อมไปที่มหาสมุทร แม้ทางด้านทิศทักษิณ

ทิศประจิม และทิศอุดร โดยอุบายนี้ จักรแก้วไปจรดทิศทั้ง ๔ แล้วขึ้นไปสู่

อากาศ ประมาณ ๓๐๐ โยชน์ พระราชาประทับอยู่บนจักรแก้วนั้น ทรงได้

ชัยชนะอันพระองค์ทรงชนะแล้ว ด้วยอานุภาพของจักรแก้ว ทรงตรวจดู

จักรวาลหนึ่ง ๆ ซึ่งประดับด้วยทวีปใหญ่ ๔ ทวีป และทวีปน้อย ๒ พันทวีป

อย่างนี้ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 36

๑. ปุพพวิเทหทวีป ซึ่งมีปริมณฑลถึง ๗ พันโยชน์ ซึ่งประดับด้วย

ทวีปน้อย ๕๐๐.

๒. อุตตรกุรุทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๘ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีป

น้อย ๕๐๐.

๓. อมรโคยานทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๗ พันโยชน์ ประดับด้วยทวีป

น้อย ๕๐๐.

๔. ชมพูทวีป ซึ่งมีปริมณฑล ๑ หมื่นโยชน์ ประดับด้วยทวีปน้อย

๕๐๐ ราวกะว่าทรงตรวจอยู่ซึ่งป่าปุณทรีกะ ซึ่งมีดอกบานงามสะพรั่ง ฉะนั้น ก็

เมื่อพระราชานั้นทรงตรวจอยู่อย่างนั้น ความยินดีมิใช่น้อย ก็ได้บังเกิดขึ้น จักร

รัตนะนั้นทำความยินดีให้เกิดขึ้นแก่พระราชา แม้ดังพรรณนามาอย่างนี้. แม้

จักรรัตนะนั้นที่จะเสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มี ก็ถ้าหากว่า จักรแก้วชื่อว่ารัตนะ

เพราะอรรถว่าให้เกิดความยินดีไซร้ พระตถาคตเจ้าแล ก็จักชื่อว่ารัตนะเช่นกัน.

จักรรัตนะนี้จักทำอะไรได้ เพราะว่าความยินดีของพระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งเกิดขึ้น

แล้วจากรัตนะแม้ทั้งปวง มีจักรรัตนะเป็นต้น ย่อมไม่เข้าถึงแม้ซึ่งการนับ แม้ซึ่ง

เสี้ยว แม้ซึ่งส่วนแห่งความยินดีอันเป็นทิพย์ใด พระตถาคตเจ้าย่อมยังความ

ยินดีในปฐมฌาน ยังความยินดีในทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจม-

ฌานยังความยินดีในอากาสานัญจายตนฌาน ยังความยินดีในวิญญานัญจายตน-

ฌาน ยังความยินดีในอากิญจัญญายตนฌาน ยังความยินดีในเนวสัญญานาสัญ-

ญายตนฌาน ยังความยินดีในโสดาปัตติมรรค ยังความยินดีในโสดาปัตติผล ยัง

ความยินดีในสกทาคามิมรรค สกทาคามิผล อนาคามิมรรค อนาคามิผล และยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 37

ความยินดีในอรหัตมรรค อรหัตผล อันยิ่งกว่าและประณีตกว่า กว่าความ

ยินดีอันเป็นทิพย์แม้นั้น ให้เกิดแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้รับพระโอวาท

ของพระองค์ รัตนะที่จะเสมอด้วยพระตถาคตเจ้า แม้เพราะอรรถว่ายังความ

ยินดีให้เกิดย่อมไม่มี.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ารัตนะนี้มี ๒ อย่าง คือ วิญญาณกรัตนะ

รัตนะที่มีวิญญาณ ๑ อวิญญาณกรัตนะ รัตนะที่ไม่มีวิญญาณ ๑ ในสองอย่างนั้น

จักรแก้วและแก้วมณี ก็หรือว่ารัตนะแม้อื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับอนินทรีย์ มีทอง

และเงินเป็นต้น ชื่อว่า อวิญญาณกรัตนะ รัตนะมีช้างแก้วเป็นต้น มีขุน-

พลแก้วเป็นที่สุด ก็หรือว่ารัตนะแม้อื่นใดเห็นปานนี้ ที่เกี่ยวเนื่องกับอินทรีย์

ชื่อว่า สวิญญาณกรัตนะ.

ในอวิญญาณกรัตนะ และสวิญญาณกรัตนะทั้งสองนี้ ดังที่กล่าวมานี้

ท่านกล่าวว่า สวิญญาณกรัตนะเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะเหตุที่ว่า รัตนะมีทอง เงิน แก้วมณี และแก้วมุกดา

เป็นต้น ซึ่งไม่มีวิญญาณ ถูกเขานำมาใช้ เพื่อเป็นเครื่องประดับของรัตนะ

ทั้งหลายมีช้างแก้วเป็นต้น ซึ่งมีวิญญาณ.

แม้สวิญญาณกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ ติรัจฉานรัตนะ ๑ มนุสส-

รัตนะ ๑ ใน ๒ อย่างนั้น มนุสสรัตนะท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะดิรัจฉานรัตนะ ถูกเขานำมาใช้ เพื่อมนุสสรัตนะ

แม้มนุสสรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ อิตถีรัตนะ ๑ ปุริสรัตนะ ๑ ใน ๒ อย่าง

นั้น ปุริสรัตนะ ท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 38

ถามว่า เพราะเหตุไร เพราะว่าอิตถีรัตนะ ถึงภาวะเป็นผู้รับใช้ของ

ปุริสรัตนะ

เเม้ปุริสรัตนะก็มี ๒ คือ อาคาริกรัตนะ ๑ อนาคาริกรัตนะ ๑ ในสอง

อย่างนั้น อนาคาริกรัตนะ ท่านกล่าวว่าเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะเหตุที่ว่า ในบรรดาอาคาริกรัตนะทั้งหลาย แม้

พระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นผู้เลิศ (กว่าโดยภพ) ก็ถวายบังคมอนาคาริกรัตนะ

ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทรงเข้าไปอุปัฏฐากและทรงเข้าไปนั่งใกล้ จึงได้ทรง

บรรลุทิพยสมบัติและมนุษยสมบัติ แล้วได้บรรลุนิพพานสมบัติในที่สุด.

แม้อนาคาริกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ อริยรัตนะ และปุถุชนรัตนะ

อย่างนี้.

แม้อริยรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ เสกขรัตนะและอเสกขรัตนะ แม้

อเสกขรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ สุกขวิปสสกรัตนะ และสมถยานิกรัตนะ.

แม้สมถยานิกรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ สาวกบารมีปัตตรัตนะ (รัตนะ

ที่บรรลุสาวกบารมี) และสาวกบารมีอปัตตรัตนะ (รัตนะที่ไม่บรรลุสาวก-

บารมีญาณ)

ในบรรดาสาวกบารมีรัตนะทั้งสองนั้น สาวกบารมีปัตตรัตนะ ท่าน

กล่าวว่าเป็นเลิศ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะท่านผู้บรรลุสาวกบารมีเป็นผู้มีคุณมาก ปัจเจกพุทธ-

รัตนะท่านกล่าวว่าเลิศกว่าสาวกบารมีปัตตรัตนะ เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 39

เป็นผู้มีคุณมาก ก็สาวกทั้งหลายมีร้อยเป็นอเนก แม้เช่นกับพระสารีบุตร และ

พระโมคคัลลานะย่อมไม่เข้าถึงแม้ซึ่งส่วนแห่งร้อย แม้ซึ่งส่วนเเห่งพัน แห่ง

พระคุณทั้งหลายของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง สัมมาสัมพุทธรัตนะ ท่านจึง

กล่าวว่าเป็นเลิศ แม้กว่าปัจเจกพุทธรัตนะ.

ถามว่า เ พราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะมีคุณมาก ก็ถ้าหากว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

นั่งสมาธิอยู่ทั่วชมพูทวีป ก็ย่อมไม่เข้าถึงการนับ ไม่เข้าถึงเสี้ยว ไม่เข้าถึงส่วน

แห่งเสี้ยว แห่งคุณทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์หนึ่ง สมจริงดังคำที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้าก็ตาม มี ๒ เท้า

ก็ตาม มีสี่เท้าก็ตาม มีเท้ามากก็ตาม มีรูปก็ตาม ไม่มีรูปก็ตาม

มีสัญญาก็ตาม ไม่มีสัญญาก็ตาม มีประมาณเท่าใด พระตถาคตเจ้าแล

ท่านกล่าวว่าเป็นยอดแห่งสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น" รัตนะที่จะเสมอด้วย

ตถาคตรัตนะ ย่อมไม่มีโดยปริยายไร ๆ อย่างนี้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าจึงตรัสว่า น โน สม อตฺถิ ตถาคเตน ทรัพย์และรัตนะนั้นที่จะเสมอ

ด้วยพระตถาคตไม่มีเลย.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความที่พุทธรัตนะไม่เสมอด้วยรัตนะ

เหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อการเข้าไปสงบ อุปัทวะที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่สัตว์

เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า หาได้อาศัยชาติ หาได้อาศัยโคตร หาได้อาศัย

๑. อัง. จตุกก. ๒๑/ ข้อ ๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 40

การเกิดขึ้นในสกุล และหาได้อาศัยการเป็นผู้มีผิวพรรณงามเป็นต้นไม่ แต่ได้

ทรงอาศัย ความที่พุทธรัตนะเป็นรัตนะที่ไม่มีประมาณด้วยคุณทั้งหลายมีสีล

ขันธ์และสมาธิขันธ์เป็นต้นในโลก ตั้งแต่อเวจี จนถึงภวัคคพรหมเป็นที่สุด.

จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า

อิทฺปิ พุทฺเธ รตน ปณีต

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต

ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแต่สัตว์

ทั้งหลายดังนี้.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจหรือรัตนะอย่างใด

อย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือในสวรรค์ทั้งหลาย พุทธรัตนะ

แม้นี้ ชื่อว่าประณีต เพราะไม่เสมอเหมือนกับทรัพย์เครื่องปลื้มใจหรือรัตนะนั้น

ด้วยคุณทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ถ้าหากว่าคำที่กล่าวนี้ เป็นคำสัตย์จริง ด้วยความ-

สัจนี้ ขอความสวัสดีจงมี คือ ขอความดีงาม ได้แก่ ความไม่มีโรค ความไม่

มีอุปัทวะ จงมีแก่ปาณะสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้. ก็ในข้อนี้มีอธิบายว่า จักษุ ชื่อว่า

เป็นของสูญ สูญจากความเป็นตน หรือจากความเป็นของที่เกี่ยวเนื่องกับตน

ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า "ดูก่อนอานนท์ จักษุแลชื่อว่าเป็นของสูญ

จากตนหรือจากสิ่งที่เกี่ยวเนื่องกับตน" แต่เมื่อถือเอาโดยประการนอกนี้ จักษุ

ก็จักไม่พึงสำเร็จด้วยคำว่า ตน หรือสิ่งที่เนื่องด้วยตน ฉันใด คำที่ว่ารัตนะ

อันประณีตก็พึงทราบเนื้อความนี้ว่า ความเป็นรัตนะอันประณีต คือรัตนภาพ

ประณีต แต่เมื่อถือเอาโดยประการนอกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็หาได้สำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 41

ว่าเป็นรัตนะไม่ ฉันนั้น ด้วยว่าในที่ใดไม่มีรัตนะ ที่นั้นก็ยังสำเร็จว่าเป็นรัตนะ

ได้ แต่ในที่ใดมีความเป็นรัตนะ ที่ถึงความสัมพันธ์กัน โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง

กล่าวคือประโยชน์ มีการกระทำความเคารพเป็นต้น ที่นั้นก็ย่อมปรากฏว่าเป็น

รัตนะได้ ก็หมายถึงความเป็นรัตนะ เพราะฉะนั้น ที่นั้นจึงสำเร็จว่ารัตนะได้

เพราะความมีอยู่แห่งความเป็นรัตนะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตน พึงทราบเนื้อความ

ในคำนี้อย่างนี้ว่า โดยเหตุแม้นี้ พระพุทธเจ้าแล จัดว่าเป็นรัตนะก็ด้วย

พระคาถา มีประมาณเท่าที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วนี้ ความสวัสดีเกิด

แล้ว แก่ราชสกุล ภัยก็สงบแล้ว. ด้วยคาถาแม้นี้ อาชญา (อำนาจป้องกัน )

อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจวาจาด้วยพุทธคุณอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะตรัสด้วยธรรมคุณคือพระนิพพาน จึงทรงเริ่มว่า ขย วิราค อมต ปณีต

เป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้ :-

เพราะเหตุที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น สิ้นไปแล้วคือสิ้นไปรอบแล้ว

เพราะกระทำพระนิพพานให้แจ้ง หรือเพราะเหตุที่ว่า พระนิพพานนั้น เป็น

ธรรมชาติสักว่า ไม่บังเกิดขึ้น ดับและสิ้นไปแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น เหล่านั้น

และเพราะเหตุที่พระนิพพานนั้น ไม่ประกอบด้วยราคะเป็นต้น ทั้งโดยสัมปโยค

ทั้งโดยอารมณ์ หรือเพราะเหตุที่ว่าพระนิพพานนั้น อันพระอริยบุคคลทำให้

แจ้งแล้ว กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ก็พลัดพรากออกไปโดยส่วนเดียว คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 42

สำรอกไป ได้แก่ กระจัดกระจายไป ฉะนั้นพระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า

ขย ธรรมเป็นที่สิ้นไป และเรียกว่า วิราค ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส.

อนึ่ง เพราะความเกิดขึ้นของพระนิพพานนั้น ไม่ปรากฏ ความเสื่อม

ไปก็ไม่ปรากฏ การเป็นอย่างอื่นแห่งพระนิพพานนั้น ซึ่งดำรงอยู่แล้ว ก็ไม่

ปรากฏ ฉะนั้นพระนิพพานนั้น ท่านจึงเรียกว่า อมต เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า

ไม่เกิด ไม่แก่ และไม่ตาย. ก็พระนิพพานนั้นชื่อว่า ปณีต เพราะอรรถว่า

สูงสุด และเพราะอรรถว่า ไม่เร่าร้อน.

สองบทว่า ยทชฺฌคา ความว่า (พระศากยมุนี) ได้ทรงบรรลุ

แล้วคือว่าทรงประสบแล้ว ได้แก่ได้แล้ว คือทำให้แจ้งแล้ว ซึ่งพระธรรมใด

ด้วยกำลังแห่งญาณของพระองค์.

บทว่า สกฺยมุนี ได้แก่ ที่ชื่อว่า สักยะ เพราะประสูติในศากยสกุล

ชื่อว่า มุนี เพราะพระองค์ทรงประกอบด้วยโมเนยยธรรม ศากยะนั้นเอง

เป็นมุนี จึงชื่อว่า ศากยมุนี.

บทว่า สมาหิโต ได้แก่ มีจิตตั้งมั่นด้วยอริยมรรคสมาธิ.

บาทคาถาว่า น เตน ธมฺเมน สมตฺถิ กิญฺจิ ความว่า ธรรมชาติ

ไร ๆ ที่จะเสมอด้วยพระธรรมที่พระศากยมุนี ผู้ได้นามว่า ขย เป็นต้นนั้น

ซึ่งทรงบรรลุแล้วย่อมไม่มี. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ แม้ใน

ระหว่างแห่งพระสูตร (ในตอนกลางของอัคคัปปสาทสูตร) ว่า ภิกษุทั้งหลาย

ธรรมทั้งหลายมีประมาณเท่าใด ทั้งที่เป็นสังขตะก็ตาม เป็นอสังขตะก็ตาม

วิราคะ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 43

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่นิพพานธรรม เป็นธรรมไม่

เสมอด้วยธรรมเหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อความเข้าไปสงบแห่งอุปัทวะ

ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้วแก่สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ทรงอาศัยความที่ธรรมรัตนะ คือ

พระนิพพาน เป็นธรรมไม่เช่นกับคุณธรรมทั้งหลาย มีขยธรรม วิราคธรรม

อมตธรรม และปณีตธรรม จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า

อิทมฺปิ ธมฺเม รตน ปณีต

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประ-

ณีต ด้วยสัจวาจานี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่

สัตว์เหล่านี้ ดังนี้.

เนื้อความแห่งคาถานั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว

ในคาถาก่อนนั้นแล อาชญา (อำนาจป้องกัน) แห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์

ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจวาจา ด้วยธรรมคุณคือพระนิพพาน

อย่างนี้แล้ว แม้ในบัดนี้เมื่อจะตรัสธรรมคุณคือมรรค จึงทรงเริ่มว่า ยมฺพุทฺธ-

เสฏฺโ ปริวณฺณยี สุจึ ดังนี้.

ในพระคาถานี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า พุทธะ โดยนัยว่า พระองค์ทรง

ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น, ชื่อว่า ประเสริฐที่สุด เพราะอรรถว่า พระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 44

องค์เป็นผู้สูงสุด หรือเป็นผู้ควรสรรเสริญ พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นด้วย เป็น

ผู้ประเสริฐด้วย เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า พุทธเสฏฺโ พระพุทธเจ้าผู้ประ-

เสริฐที่สุด, อีกอย่างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าประเสริฐที่สุดในบรรดา

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ พระอนุพุทธะ และพระปัจเจกพุทธะ เพราะเหตุ

นั้น จึงชื่อว่า พุทฺธเสฏฺโ พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด, พระพุทธเจ้าผู้

ประเสริฐที่สุดพระองค์นั้น ย่อมยกย่องคือว่าย่อมสรรเสริญได้แก่ ย่อมประกาศ

ซึ่งพระธรรมใด ในที่นั้น ๆ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ก็ทางอันประกอบด้วย

องค์ ๘ เป็นทางเกษมกว่าทางทั้งหลาย เพราะเป็นทางเพื่อบรรลุพระนิพพาน

และว่า ภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงสัมมาสมาธิ ซึ่งเป็นอริยะ ซึ่งมีทั้งเหตุ

มีทั้งบริขาร (เครื่องแวดล้อม)

บทว่า สุจึ ได้แก่ ผ่องแผ้วที่สุด เพราะกระทำการตัดมลทินคือ

กิเลส.

บาทคาถาว่า สมาธิมานนฺตริกญฺมาหุ ความว่า ก็บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวสมาธิใด ที่ว่าเป็นสมาธิที่ให้ผลในลำดับ เพราะให้ผลในลำดับแห่งการ

เป็นไปของตน อย่างแน่นอนทีเดียว ก็เมื่อมรรคสมาธิบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่มี

อันตรายไร ๆ ที่จะห้ามความบังเกิดขึ้นแห่งผลของมรรคสมาธินั้นเหมือนอย่าง

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ก็บุคคลนี้พึงปฏิบัติ เพื่อการทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล และ

พึงเป็นเวลาที่ไฟไหม้กัป คือว่าบุคคลนี้ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล

ตราบใดกัปก็ยังไม่ไหม้ตราบนั้น. บุคคลนี้เราเรียกว่าฐิตกัปปี ผู้มีกัปอันตั้ง

อยู่แล้ว บุคคลผู้เป็นมรรคสมังคีแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ฐิตกัปปี (เหมือนกัน ).

บาลีว่า อุทยฺหนเวลา ของ ยุ. เป็น อุฑฺฑหนเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 45

บาทคาถาว่า สมาธินา เตน สโม น วิชฺชติ ความว่า รูปาวจร-

สมาธิ หรืออรูปาวจรสมาธิไร ๆ ที่จะเสมอด้วยสมาธิที่ให้ผลในลำดับ (มรรค

สมาธิ) อันสะอาค ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐที่สุด ทรงสรรเสริญแล้วนั้น

ย่อมไม่มี

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะแม้ท่านผู้อุบัติแล้วในพรหมโลกนั้น ๆ เพราะเหตุที่

ได้เจริญรูปาวจร และอรูปาวจรสมาธิเหล่านั้นแล้ว ก็ยังมาอุบัติในอบายภูมิทั้ง

หลายมีนรกเป็นต้นได้อีก และเพราะเหตุที่พระอริยบุคคลเป็นผู้เพิกถอนการ

เกิดในภพทั้งปวงเสียได้ เพราะท่านได้เจริญอบรมอรหัตสมาธินี้แล้ว เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้แม้ในหว่างแห่งพระสูตร ว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสังขตะมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘

เรากล่าวว่าเป็นเลิศกว่าธรรมเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสความที่อานันตริกสมาธิ (อรหัตมรรค

สมาธิ) เป็นสมาธิที่ไม่เสมอกับสมาธิเหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยความ

ที่ธรรมรัตนะคือมรรค เป็นรัตนะที่ไม่เสมอ (กับรัตนะเหล่าอื่น) โดยนัยก่อน

นั้นแล จึงทรงประกอบสัจวาจา ว่า

อิทมฺปิ ธมฺเม รตน ปณีต

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น อันบัณฑิตพึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้า

กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งพระคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย

ในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว.

๑. อัคคัปปสาทสูตร อัง. จตุกฺก. ๒๑/ ข้อ ๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 46

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจวาจา แม้ด้วยธรรมคุณ คือมรรค

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงปรารภแม้เพื่อจะกล่าวซึ่งสังฆคุณ จึงตรัสว่า เย

ปุคฺคลา เป็นต้น.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เป็นบทตั้ง ซึ่งไม่กำหนดแน่นอน.

คำว่า ปุคฺคลา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย.

บทว่า อฏฺ เป็นการกำหนดนับจำนวนบุคคลเหล่านั้น. จริงอยู่

พระอริยบุคคล เหล่านั้นมี ๘ จำพวก คือ ท่านผู้ปฏิบัติแล้ว ๔ จำพวก และ

ท่านผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ๔ จำพวก.

สองบทว่า สต ปสฏฺา (อันสัตบุรุษสรรเสริญ) ความว่า อัน

สัตบุรุษทั้งหลายคือพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวกทั้งหลายและ

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่าอื่นสรรเสริญแล้ว.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะพระอริยบุคคล ๘ จำพวกเหล่านั้น ประกอบด้วยคุณ

มีศีลที่เกิดพร้อมกันเป็นต้น ด้วยว่าพระอริยบุคคลเหล่านั้นมีคุณหลายประการ

มีศีล สมาธิ ปัญญา ที่เกิดร่วมกันเป็นต้น ดุจดอกไม้ทั้งหลาย มีดอกจำปา

ดอกพิกุล และดอกโกสุมเป็นต้น ซึ่งมีคุณหลายอย่าง มีสีและกลิ่นที่เกิด

พร้อมกันเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระอริยบุคคลเหล่านั้น จึงเป็นที่รักที่พอใจ

ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย และเป็นผู้ที่สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เย ปุคฺคลา อฏฺ สต ปสฏฺา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 47

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เย เป็นอุทเทส (บทตั้ง) ที่ไม่กำหนดแน่.

คำว่า ปุคฺคลา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลาย.

คำว่า อฏฺสต ได้แก่ การกำหนดคุณของพระอริยบุคคลเหล่านั้น

ว่ามี ๑๐๘.

จริงอยู่ พระอริยบุคคล ๘ จำพวกเหล่านั้น รวมเป็น ๕๔ จำพวก

คือ พระโสดาบัน ๓ จำพวก คือเอกพิธี ๑ โกลังโกละ ๑ สัตตักขัตตุปรมะ ๑

พระสกทาคามี ๓ จำพวก คือ ผู้ได้บรรลุผลแล้วในกามภพ รูปภพ

อรูปภพ พระโสดาบัน และพระสกทาคามี เหล่านั้น แม้ทั้งหมดรวมเป็น ๒๔

จำพวก ด้วยสามารกแห่งปฎิปทา ๔ (๔x๖)

พระอนาคามี ๔ จำพวก คือ พระอนาคามีในชั้นอวิหาภูมิ ๕

จำพวก คือ อันตราปรินิพพายี ๑ อุปหัจจปรินิพพายี ๑ สสังขารปรินิพพายี ๑

อสังขารปรินิพพายี ๑ และอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ ในอตัปปาภูมิ สุทัสสา

ภูมิ สุทัสสีภูมิ ก็เหมือนกัน (คือมีภูมิละ ๕ จำพวก) แต่ในอกนิฏฐภูมิมี ๔

จำพวกเว้นอุทธังโสโต พระอรหันต์ ๒ จำพวกคือสุกขวิปัสสกะ ๑ สมถยานิ-

กะ ๑ และท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๔ จำพวก (รวมเป็น ๕๔ จำพวก) พระอริย-

บุคคลทั้ง ๕๔ จำพวกเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เอา ๒ คูณด้วยอำนาจแห่งสัทธาธุระ

และปัญญาธุระ จึงรวมเป็นพระอริยบุคคล ๑๐๘ จำพวก คำที่เหลือมีนัย

อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล.

บาทคาถาว่า จติตาริ เอตานิ ยุคานิ โหนฺติ ความว่า พระอริย-

บุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ซึ่งท่านแสดงไว้ว่า ๘ จำพวก หรือ ๑๐๘ จำพวก

โดยพิสดาร แต่โดยสังเขปมี ๔ คู่ คือ บุคคลผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และตั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 48

อยู่ในโสดาปัตติผลคู่ ๑ จนถึงบุคคลผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรคและตั้งอยู่ในอร-

หัตผลคู่ ๑.

คำว่า เต ในคำนี้ว่า เต ทกฺขิเณยฺยา เป็นการขยายความกำหนด

ถึงพระอริยบุคคลตามที่ท่านแสดงไม่กำหนดไว้ในต้อนต้น

บุคคลเหล่าใด ซึ่งท่านกล่าวได้โดยพิสดารว่ามี ๘ จำพวกหรือ ๑๐๘

จำพวก แต่โดยสังเขปมี ๔ คู่ ดังนี้ พระอริยบุคคลเหล่านี้แม้ทั้งหมด.

พระอริยบุคคลทั้งหลายชื่อว่า ทกฺขิเณยฺยา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า

ย่อมควรซึ่งทักษิณา. ไทยธรรมที่บุคคลเชื่อกรรม และเชื่อผลของกรรมให้

อยู่โดยไม่คำนึงถึงเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้จักทำเวชกรรมนี้แก่เรา

จะทำการรับใช้เรา ดังนี้ ชื่อว่า ทักษิณา. บุคคลทั้งหลายผู้ประกอบด้วย

คุณมีศีลเป็นต้น ชื่อว่า ย่อมควรซึ่งทักษิณา ก็พระอริยบุคคลเหล่านี้เป็นเช่น

นั้น เพราะเหตุนั้น พระอริยบุคคลเหล่านั้นท่านจึงเรียกว่า ทักขิเณยยบุคคล.

สองบทว่า สุคตสฺส สาวกา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระ-

นามว่า สุคโต เพราะพระองค์ประกอบด้วยการเสด็จไปที่งดงาม เพราะพระ-

องค์เสด็จถึงฐานะที่งาม เพราะพระองค์เสด็จไปดี และเพราะพระองค์เสด็จไป

ด้วยดีนั้นเอง บุคคลเหล่านั้นแม้ทั้งหมดย่อมฟัง (ซึ่งคำสอน) ของพระสุคตเจ้า

นั้น เพราะเหตุนั้น ชนเหล่านั้น จึงชื่อว่า สาวก (ผู้ฟังคำสอนของพระสุคต)

ก็คนแม้เหล่าอื่นย่อมฟังคำสอนของพระสุคตก็จริง แต่ว่าฟังแล้วหาได้

กระทำกิจที่ตนจะพึงการทำไม่ แต่สาวกทั้งหลายเหล่านี้ ฟังแล้วกระทำตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 49

ธัมมานุธัมมปฏิบัติที่ควรกระทำ บรรลุแล้วซึ่งมรรคและผลทั้งหลาย เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า สาวก.

บาทคาถาว่า เอเตสุ ทินฺนานิ มหปฺผลานิ ความว่า ทานทั้งหลาย

แม้จะน้อยที่บุคคลให้แล้วในสาวกของพระสุคตเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ ชื่อว่า มีผล

มาก เพราะทักษิณาทานเข้าถึงความบริสุทธิ์ ฝ่ายปฏิคคาหก (ผู้รับ) เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้แม้ในตอนกลาง ๆ แห่งอัคคัปปสาทสูตรว่า

ภิกษุทั้งหลาย หมู่หรือคณะมีประมาณเท่าใด หมู่แห่งสาวกของพระตถาคต เรา

กล่าวว่าเลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น คือคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ บุรุษบุคคล ๘ นี่

คือสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชนทั้งหลายเหล่าใดเลื่อมใสแล้วในสงฆ์

สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมได้รับผลเลิศ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสถึงคุณของสังฆรัตนะ ด้วยสามารถบุคคล

ผู้ตั้งอยู่ในมรรคและผลแม้ทั้งปวง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณข้อนั้น

ประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน

ตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งพระคาถาเหล่านี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิ-

จักรวาลรับแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสัจวาจา ด้วยคุณของสังฆรัตนะด้วย

สามารถแห่งท่านผู้ตั้งอยู่ในมรรค และท่านผู้ตั้งอยู่ในผลอย่างนี้แล้ว บัดนี้

ต่อแต่นั้นทรงปรารภจะตรัสสัจวาจา ด้วยคุณแห่งพระขีณาสพทั้งหลายผู้เสวย

ความสุขอันเกิดจากผลสมาบัติบางจำพวกเท่านั้น จึงตรัสว่า เย สุปฺปยุตฺตา

เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 50

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เป็นคำยกขึ้นแสดงโดยไม่กำหนด

บทว่า สุปฺปยุตฺตา ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยดี อธิบายว่า พระอริย-

บุคคลเหล่านั้น ละอเนสนามีอย่างต่าง ๆ อาศัยการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์ เริ่ม

ประกอบตนไว้ด้วยวิปัสสนา.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุปฺปยุตฺตา ได้แก่ประกอบด้วยกายประโยค

และวจีประโยคอันบริสุทธิ์. ด้วยบทว่า สุปฺปยุตฺตา นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงถึงศีลขันธ์ ของพระอริยบุคคลเหล่านั้น.

สองบทว่า มนสา ทฬฺเหน ความว่า ด้วยใจที่มั่นคง อธิบายว่า

ด้วยจิตที่ประกอบด้วยสมาธิที่มั่นคง ด้วยบทว่า มนสา ทฬฺเหน นี้ พระผู้-

มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงสมาธิขันธ์ของพระอริยบุคคลเหล่านั้น.

บทว่า นิกฺกามิโน ความว่า เป็นผู้ไม่อาลัยในกายและชีวิต คือไม่

มีความห่วงใยด้วยกิเลสทั้งปวงที่ได้กระทำไว้ ด้วยความเพียรที่เป็นปัญญาธุระ

ด้วยบทว่า นิกฺกามิโน นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงปัญญาขันธ์ที่ถึง

พร้อมด้วยความเพียรของพระอริยบุคคลเหล่านั้น.

บทว่า โคตมสาสนมฺหิ ความว่า ในศาสนาของพระตถาคตเจ้า

พระนามว่า โคดม โดยพระโคตรนั้นเอง. ด้วยบทว่า โคตมสาสนมฺหิ นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความไม่มี ความไม่ห่วงใยกิเลสทั้งหลายที่กระทำ

ไว้แล้ว เพราะความไม่มีแห่งคุณ มีการพยายามดีเป็นต้น แห่งพระอริยบุคคล

ทั้งหลาย ผู้กระทำความเพียรเพื่อความไม่ตายมีประการต่าง ๆ ในภายนอกจาก

ศาสนาของพระสมโคดมนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 51

บทว่า เต เป็นคำแสดงถึงฐานะที่พระองค์ได้แสดงไว้ในตอนต้น. ใน

บทว่า ปตฺติปตฺตา นี้ มีวิเคราะห์ดังนี้.

ที่ชื่อว่า ปตฺติ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า อันบุคคลพึงบรรลุ. พระ

อริยบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าควรบรรลุ ได้แก่ ผู้ควรบรรลุ พระอริยบุคคล

เหล่านั้น บรรลุผลใดแล้ว เป็นผู้มีความเกษมจากโยคะโดยส่วนเดียว.

คำว่า ปตฺติปตฺตา นั้นเป็นชื่อแห่งพระอรหัตผล.

พระอริยบุคคลบรรลุแล้วซึ่งพระอรหัตผลนั้น เพราะเหตุนั้น พระ-

อริยบุคคลเหล่านั้น ชื่อว่า ปตฺติปตฺตา ผู้บรรลุผลที่ควรบรรลุ.

บทว่า อมต ได้แก่ พระนิพพาน.

บทว่า วิคยฺห ได้แก่ หยั่งลงแล้วด้วยอำนาจแห่งอารมณ์.

บทว่า ลทฺธา ได้แก่ ได้แล้ว.

บทว่า มุธา ได้แก่ โดยไม่เสื่อม คือว่าได้กระทำให้เสียไปแม้

๑ กากณิก.

บทว่า นิพฺพุตึ ได้แก่ ผลสมาบัติ เป็นที่สงบระงับความกระวน-

กระวายแห่งกิเลส.

บทว่า ภุญฺชมานา คือ เสวยอยู่ ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ท่าน

กล่าวอธิบายไว้ว่า พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่าใด ชื่อว่าประกอบแล้วด้วยดี

เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยศีล ชื่อว่าเป็นผู้ไม่มีความเยื่อใย เพราะถึงพร้อม

ด้วยปัญญาด้วยจิตใจพี่มั่นคง เพราะเหตุที่สมบูรณ์ด้วยสมาธิ ในศาสนาของ

พระโคดมนี้ พระอริยบุคคลทั้งหลายเหล่านั้น หยั่งลงแล้วสู่อมตะ ด้วยสัมมา-

ปฏิปทาได้แล้วซึ่งความดับ ที่รู้กันว่า ผลสมาบัติโดยไม่เสื่อม บริโภคอยู่ เป็น

ผู้ชื่อว่าได้บรรลุผลที่ควรบรรลุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 52

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคุณแห่งพระสังฆรัตนะด้วยอำนาจบุคคลผู้

เป็นขีณาสพซึ่งเสวยความสุขอันเกิดจากผลสมาบัติเท่านั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้

ทรงอาศัยคุณนั้นเอง ประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต

เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นพึงทราบโดยนัย ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในตอน

ต้นนั้นแล.

อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฎิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะ อันมีพระสงฆ์เป็นตั้ง ด้วยคุณ

แห่งพระขีณาสพบุคคลทั้งหลายอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะกล่าวถึงคุณของพระ

โสดาบันอันประจักษ์แก่ชนจำนวนมากเท่านั้น จึงทรงเริ่มว่า ยถินฺทขีโล

ปวึ สิโต สิยา ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ยถา เป็นคาอุปมา.

คำว่า อินฺทขีโล นี้เป็นชื่อแห่งเสาไม้แก่น ที่เขาขุดแผ่นดินตอกลง

ไปลึก ๘ ศอก หรือ ๑๐ ศอก ที่ระหว่างประตูเพื่อป้องกันประตูพระนคร.

บทว่า ปวึ ได้แก่ พื้นดิน.

บทว่า สิโต ได้แก่ ฝั่งตั้งไว้ภายในดิน.

บทว่า สิยา ได้แก่ พึงเป็น.

สองบทว่า จตุพฺภิ วาเตภิ คือเพราะลมที่มาจากทิศทั้งสี่.

บทว่า อสมฺปกมฺปิโย ได้แก่ ไม่อาจจะให้หวั่นไหวหรือจะให้

เคลื่อนได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 53

บทว่า ตถูปม ได้แก่ มีอย่างนั้น.

บทว่า สปฺปุริส ได้แก่ บุรุษผู้สูงสุด.

บทว่า วทามิ แปลว่า ย่อมกล่าว.

บาทพระคาถาว่า โย อริยสจฺจานิ อเวจฺจ ปสฺสติ ความว่า ผู้ใด

หยั่งลงด้วยปัญญาเห็นอริยสัจ ๔. อริยสัจในพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่

ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

แต่ในที่นี้ มีความสังเขปดังต่อไปนี้ :-

เสาเขื่อนที่เขาฝังดินไว้ จะไม่พึงหวั่นไหวเพราะลมจากทิศทั้ง ๔ ได้

เพราะเหตุที่มีโคนอยู่ลึกฉันใด ผู้ใดพิจารณาเห็นอริยสัจทั้งหลาย เราเรียกผู้นี้ว่า

สัตบุรุษ ซึ่งมีอุปมาฉันนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะบุคคลแม้นี้เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยลมคือการกล่าวของ

พวกเดียรถีย์ทั้งปวง ดุจเสาเขื่อนไม่หวั่นไหว เพราะลมจากทิศทั้ง ๔ ฉะนั้น

คือว่า เป็นผู้อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะให้หวั่นไหว หรือเพื่อจะให้เคลื่อนจาก

ความเห็นนี้ได้ เพราะฉะนั้น แม้ในพระสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนตะปูเหล็กหรือเสาเขื่อน ซึ่งมีโคนอยู่ลึก ฝัง

ไว้ดีแล้ว ไม่โอนเอน คือไม่หวั่นไหว แม้หากว่าจะมีลมฝนที่แรงกล้าพัดมาจาก

ทิศตะวันออก ก็ไม่หวั่นไหว ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อน แม้หากว่าจะมีลมฝนแรง

กล้าพัดมาจากทิศตะวันตก ฯลฯ แม้ว่าจะมีลมฝนแรงกล้าพัดมาจากด้านทิศใต้

ฯลฯ แม้ว่าจะมีลมฝนแรงกล้าพัดมาจากด้านทิศเหนือ ตะปูเหล็กหรือเสาเขื่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 54

นั้นก็ไม่พัง ไม่หวั่นไหว ไม่สะเทือน ไม่เคลื่อน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะเหตุที่เสาเขื่อนนั้นมีโคนลึก เพราะเหตุที่เสาเขื่อนเขาฝังไว้ดี

แล้วแม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ก็ฉันนั้น

เหมือนกันแล ย่อมทราบตามความเป็นจริงว่า นี่คือ ทุกข์ นี่คือเหตุให้เกิดทุกข์

นี่คือความดับทุกข์ นี่คือทางให้ถึงความดับทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้นหาได้

มองดูหน้าสมณพราหมณ์เหล่าอื่นไม่ว่า สมณะหรือพราหมณ์ผู้นี้เป็นผู้รู้อยู่

ย่อมรู้ เห็นอยู่ ย่อมเห็น ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเป็น

เพราะว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นได้เห็นอริยสัจ ๔ แจ่มชัดแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคุณแห่งพระสังฆรัตนะ ด้วยอำนาจแห่ง

พระโสดาบัน ซึ่งคนเป็นจำนวนมากเห็นได้ประจักษ์เท่านั้น อย่างนี้แล้ว บัดนี้

ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน

ปณีต ดังนี้.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วใน

ตอนต้นนั้นเอง อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะซึ่งพระสงฆ์เป็นที่ตั้ง ด้วยคุณของ

พระโสดาบันโดยไม่เเปลกกันอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงตรัสว่า พระโสดาบัน ๓

จำพวกเหล่านั้น คือ เอกพิชี ๑ โกลังโกละ ๑ สัตตักขัตตุปรมะ ๑ เหมือน

อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า บุคคลบางพวกในโลกนี้บรรลุโสดาบัน เพราะความสิ้น

ไปแห่งสังโยชน์ทั้ง ๓ บุคคลนั้นบังเกิดอีกชาติเดียวเท่านั้น ก็ทำที่สุดทุกข์ได้

๑. สัง. มหา. ๒๙/ข้อ ๑๗๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 55

บุคคลนี้ชื่อว่า เอกพีชี อนึ่งบุคคลใด ท่องเที่ยวไปสู่สกุล ๒ หรือ ๓ สกุล

(เกิด ๒ หรือ ๓ ชาติ) แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้ชื่อว่า โกลังโกละ

อนึ่งบุคคลใด ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกสิ้น ๗ ครั้ง (ร่วมกัน) แล้ว

ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ เพื่อจะตรัสถึงคุณของ

พระโสดาบัน ผู้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ อันเป็นผู้น้อยกว่าพระโสดาบัน ๓ จำพวก

นั้น จึงทรงเริ่มว่า เย อริยสจฺจานิ วิภาวยนฺติ ดังนี้เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านั้น คำนี้ว่า เย อริยสจฺจานิ มีนัยอันข้าพเจ้ากล่าว

แล้วนั้นแล

บทว่า วิภาวยนฺติ ความว่า กำจัดความมืดคือกิเลสที่ปกปิดสัจจะ

ด้วยโอภาส คือ ปัญญา กระทาประกาศของตนให้ปรากฏ.

บทว่า คมฺภีรปญฺเน ได้เเก่ ด้วยปัญญาที่ประดิษฐานไว้ อันบุคคล

ไม่พึงได้ด้วยญาณของโลก แม้พร้อมทั้งเทวโลก เพราะเหตุที่เป็นผู้มีปัญญา

ไม่อาจจะประมาณได้ มีคำอธิบายว่า ด้วยสัพพัญญุตญาณ

บทว่า สุเทสิตานิ ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้

แล้วด้วยดี ด้วยนัยทั้งหลายเหล่านั้น ๆ มีโดยย่อ โดยพิสดาร สากล และ

โดยรวบรัด เป็นต้น

บาทคาถาว่า กิญฺจาปิ เต โหนฺติ ภุสปฺปมตฺตา ความว่า บุคคลทั้ง

หลายผู้มีอริยสัจอันทำให้แจ้งแล้วเหล่านั้น แม้บางคราวถึงฐานะเป็นที่ตั้งความ

ประมาท เช่นเมื่อเป็นเทวราชหรือพระเจ้าจักรพรรดิเป็นต้น เป็นผู้ประมาท

อย่างยิ่งก็จริง ถึงกระนั้นพระอริยบุคคลเหล่าใด ดำรงอยู่แล้วด้วยการดับอภิ-

สังขารวิญญาณ ด้วยโสดาปัตติมรรคญาณ จะพึงทานามรูปให้เกิดขึ้นในสังสารวัฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 56

อันมีเบื้องต้นและที่สุด อันใคร ๆ ไม่รู้แล้วสิ้น ๗ ภพ จะไม่ทำภพที่ ๘ ให้

บังเกิดขึ้น เพราะดับนามรูปเหล่านั้นเสียได้ เพราะนามรูปถึงการตั้งอยู่ไม่ได้

แต่ได้เจริญวิปัสสนาในภพที่ ๗ นั่นเอง ก็จะได้บรรลุพระอรหันต์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณแห่งสังฆรัตนะด้วยอำนาจแห่งพระ

โสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณนั้นนั่นเอง ทรง

ประกอบสัจวาจาว่า อิทฺมปิ สงฺเฆ รตน ปณีต ดังนี้.

เนื้อความแห่งบาทคาถานั้น พึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วใน

ตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาลได้รับแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสสัจจะ อันมีพระสงฆ์เป็นที่ตั้ง ด้วย

คุณคือการไม่ทรงคำนึงถึงภพที่ ๘ ของพระโสดาบัน ผู้สัตตักขัตตุปรมะอย่างนี้

แล้ว บัดนี้เพื่อจะตรัสถึงคุณของพระโสดาบันนั้นนั่นเอง แม้ผู้ยังต้องเกิดอยู่

สิ้น ๗ ภพว่ายังพิเศษกว่าบุคคลทั้งหลายเหล่าอื่น ซึ่งยังละความยึดมั่นในภพ

ไม่ได้จึงทรงเริ่มว่า สหาวสฺส ทสฺสนสมฺปทาย ดังนี้เป็นต้น.

ในคาถานั้น ศัพท์ว่า สหาว ได้แก่ พร้อมนั้นเอง.

บทว่า อสฺส ได้แก่ พระโสดาบันจำพวกใดจำพวกหนึ่ง ในบรรดา

พระโสดาบันทั้ง ๓ จำพวก ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า พระโสดาบัน

เหล่านั้นย่อมไม่ถือเอาภพที่ ๘ บังเกิดขึ้น.

บทว่า ทสฺสนสมฺปทาย ได้แก่ ด้วยความถึงพร้อมด้วยโสดาปัตติ-

มรรค จริงอยู่โสดาปัตติมรรค ท่านเรียกว่า ทัสสนะ เพราะเห็นพระนิพพานได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 57

ก่อนกว่าพระอริยะทุกจำพวก เพราะความถึงพร้อมแห่งกิจอันท่านเห็นพระ

นิพพานแล้วจะพึงกระทำ ความที่โสดาปัตติมรรคนั้นปรากฏในตน ชื่อว่า

ทสฺสนสมฺปทา ความถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ด้วยความถึงพร้อมด้วยทัสสน-

สัมปทานนั่นเอง.

คำว่า สุ ในพระคาถานี้ว่า ตยสฺสุ ธมฺมา ชหิตา ภวนฺติ เป็น

นิบาต ใช้ในอรรถทำบทให้เต็ม เหมือนคำว่า สุ ในประโยคทั้งหลาย มี

ประโยคอย่างนี้ว่า อิทสุ เม สาริปุตฺต มหาวิกฏโภชนสฺมึ โหติ.

ในประโยคนี้มีเนื้อความเพียงนี้ว่า ก็เพราะพระโสดาบันนั้นละคือสละ

ธรรม ๓ ประการเสียได้ พร้อมด้วยทัสสนสัมปทานั้น เพื่อแสดงถึงธรรมที่

พระโสดาบันละได้แล้วในบัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สกฺกายทิฏฺิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ

สีลพฺพต วาปิ ยทตฺถิ กิญฺจิ

สักกายทิฏฐิ และวิจิกิจฉา หรือ

สีลัพพตปรามาส อันใดอันหนึ่งมีอยู่ ดังนี้.

ในคาถานั้นพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ทิฏฐิ มีวัตถุ ๒๐ ในกายที่มีอยู่ ได้แก่ ในกายกล่าวคืออุปาทาน-

ขันธ์ ๕ ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง แม้ทิฏฐิที่มีอยู่ในกาย ที่ชื่อว่า

สักกายทิฏฐิ อธิบายว่า ทิฏฐิที่มีอยู่ในกาย มีประการดังข้าพเจ้ากล่าวแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า สักกายทิฏฐิ ก็เพราะอรรถว่า เป็นทิฏฐิในกายที่มีอยู่

นั่นเอง อธิบายว่า ทิฏฐิที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ตัวตนกล่าวคืออรูปขันธ์เป็นต้น

ในกายที่มีอยู่มีประการตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ชื่อว่าสักกายทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 58

ก็ทิฏฐิทุกประการ เป็นอันพระโสดาบันนั้นละได้แล้ว ก็เพราะท่านละ

สักกายทิฏฐินั้นได้แล้วนั่นเอง ก็สักกายทิฏฐินั้นเป็นมูลรากแห่งทิฏฐิทั้งปวง

เหล่านั้น.

ปัญญา ท่านเรียกว่า จิกิจฺฉิต คุณชาติเครื่องเยียวยา เพราะเข้า

ไปสงบพยาธิ (คือกิเลส) ทั้งปวง ปัญญาที่เป็นตัวเยียวยานั้น ไปปราศจาก

คุณชาตินี้ หรือว่าคุณชาตนี้ ไปปราศจากปัญญาที่เป็นตัวเยียวยานั้น เพราะ

เหตุนั้น คุณชาตินั้น จึงชื่อว่า วิจิกิจฺฉิต (วิจิกิจฉา) คำว่า วิจิกิจฺฉิต

นั้นเป็นชื่อแห่งความสงสัยในวัตถุ ๘ ประการ ตามที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยว่า

" ความสงสัยในพระศาสดา " ดังนี้เป็นต้น ก็เพราะเหตุที่พระโสดาบันละความ

สงสัยนั้นเสียได้ ความสงสัยทุกอย่างจึงเป็นอันท่านละได้แล้ว เพราะความสงสัย

นั้น เป็นมูลรากแห่งความสงสัยทั้งปวง.

ศีลหลายประการ มีศีลอย่างใด ศีลอย่างสุนัขเป็นต้น และวัตร มีวัตร

ของโค และวัตรของสุนัขเป็นต้น ซึ่งมาแล้วในสูตรทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

" ความบริสุทธิ์ของสมณพราหมณ์ ภายนอกศาสนานี้ ย่อมมีด้วยศีล (เช่นศีล

อย่างโคเป็นต้น ) ความบริสุทธิ์ย่อมมีด้วยวัตร เช่นวัตรของโคเป็นต้น " ดังนี้.

ท่านเรียกว่า ศีลพรต เพราะละศีลพรตนั้นเสียได้ ตบะที่ไม่ตายแม้ทั้งปวงมี

นัคคิยตบะ ตบะของคนเปลือย และมุณฑิยตบะ ตบะของคนโล้นเป็นต้น ก็

เป็นอันพระโสดาบันละได้. เพราะว่าศีลพรตนั้นเป็นมูลรากแห่งศีลพรตทั้งปวง

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ในที่สุดแห่งคำทั้งปวง (ท้ายบาท-

คาถา) ว่า ยทตฺถิ กิญฺจิ บัณฑิตพึงทราบว่า ก็สักกายทิฏฐิ ในคำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 59

สกฺกายทิฏฺิ วิจิกิจฺฉิตญฺจ สีลพฺพต วาปิ นี้ อันพระโสดาบันละเสียได้

ด้วยความถึงพร้อมแห่งการเห็นทุกข์ ละวิจิกิจฉาเสียได้ ด้วยความถึงพร้อมแห่ง

การเห็นสมุทัย ละสีลัพพตปรามาสเสียได้ ด้วยการเห็นพระนิพพานด้วยมรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงการละกิเลส แห่งพระโสดาบันบุคคล

อย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงการละวิปากวัฏ ในเมื่อกิเลสวัฏยังมีอยู่

จึงตรัสว่า จตูหปาเยหิ จ วิปฺปมุตฺโต เป็นต้น.

ในพระคาถานั้น นรก สัตว์เดรัจฉาน ปิตติวิสัยและอสุรกาย ชื่อว่า

อบาย ๔ อธิบายว่า ก็พระอริยบุคคล (โสดาบัน) นี้ แม้อุบัติอยู่ในภพ ๗

(๗ ชาติ) ก็พ้นแล้วจากอบายทั้ง ๔ เหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงการที่พระโสดาบันนั้นละ

วิปากวัฏได้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงการละแม้กรรมวัฏอันเป็นมูลราก

ของวิปากวัฏนี้ จึงตรัสว่า ฉ จาภิานานิ อภพฺโพ กาตุ เป็นผู้ไม่ควร

เพื่อจะทำอภิฐาน ๖.

กรรมที่หยาบช้าชื่อว่า อภิฐาน ก็พระโสดาบันนี้เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะ

ทำอภิฐานเหล่านั้น ก็อภิฐาน ๖ เหล่านี้ ผู้ศึกษาพึงทราบว่า กรรมคือ มาตุฆาต

ปิตุฆาต อรหันตฆาต โลหิตุปบาท สังฆเภท และการถือศาสดาอื่น ซึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคัมภีร์เอกนิบาต โดยนัยว่า ภิกษุทั้งหลาย

ก็ข้อที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงฆ่ามารดานี้ ไม่ใช่ฐานะ

ไม่ใช่โอกาส ดังนี้เป็นต้น แม้ว่าพระอริยบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะ

ไม่พึงฆ่า แม้มดดำมดแดงก็จริง แต่ถึงกระนั้น อภิฐาน ๖ เหล่านั้น พระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 60

พระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ เพื่อจะติเตียนความเป็นปุถุชน ด้วยว่าปุถุชนย่อมกระทำ

แม้ซึ่งอภิฐานอันมีโทษมากอย่างนี้ เพราะตนยังไม่ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ แต่ผู้ถึง

พร้อมด้วยทิฏฐิ ไม่ควรเพื่อจะทำอภิฐานเหล่านั้น.

ก็ อภัพพ ศัพท์ ในบาทคาถาว่า ฉ จาภิานานิ อภพฺโพ กาตุ

นี้ เป็นการแสดงถึงการไม่กระทำอภิฐาน ๖ แม้ในระหว่างภพเป็นอรรถ.

จริงอยู่ แม้ในระหว่างภพ พระอริยบุคคลนี้ แม้ไม่ทราบว่าตนเป็นพระ-

อริยสาวก ก็ย่อมไม่กระทำเวร ๕ มีการฆ่าสัตว์เป็นปกติเป็นต้น หรืออภิฐาน

๖ เหล่านี้ พร้อมกับการนับถือศาสดาอื่น คือไม่กระทำฐานะ ๖ ซึ่งอาจารย์

บางพวกกล่าวว่า อภิฐาน ๖ ดังนี้ก็มี. ก็ในข้อนี้มีเรื่องเด็กหญิงชาวบ้านผู้เป็น

อริยสาวิกา ซึ่งถือเอาปลาตายเป็นต้นเป็นตัวอย่าง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถึงคุณของพระอริยสาวก ผู้แม้อุบัติแล้ว

สิ้น ๗ ภพ ซึ่งเป็นสังฆรัตนะ ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีคุณพิเศษกว่า

บุคคลทั้งหลาย ซึ่งยังละความยึดมั่นในภพไม่ได้เหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้

ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ

รตน ปณีต เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วใน

ตอนต้นนั้นแล อาชญาแห่งคาถาแม้นี้อันอมนุษย์ในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะอันเป็นสังฆาธิษฐาน (มีพระสงฆ์

เป็นที่ตั้ง) แห่งพระอริยบุคคลผู้แม้เกิดแล้วสิ้น ๗ ภพ ด้วยอำนาจผู้มีคุณพิเศษ

กว่าบุคคลทั้งหลาย ที่ยังละความยึดมั่นในภพไม่ได้เหล่าอื่นอย่างนี้แล้ว บัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 61

เพื่อจะตรัสถึงบุคคลแม้ผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ แม้จะอยู่ด้วยความประมาท

ด้วยคุณคือการไม่ปกปิดสิ่งที่ตนได้กระทำไปแล้วว่า พระโสดาบันผู้ถึงพร้อม

ด้วยทัสสนะ หาใช่เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะกระทำอภิฐาน ๖ อย่างเดียวไม่ แต่ท่าน

ได้เคยทำแม้บาปเล็กน้อยไร ๆ แล้ว ก็ไม่ควรแม้เพื่อจะปกปิดบาปนั้น ดังนี้

จึงได้ทรงเริ่มว่า กิญฺจาปิ โส กมฺม กโรติ ปาปก พระอริยบุคคลนั้น

แม้จะทำบาปกรรมก็จริง ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความแห่งบาทพระคาถานั้น ว่า พระอริยบุคคลนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วย

ทัสสนะ อาศัยความอยู่ด้วยความประมาท เพราะความหลงลืมสติบ้าง ก็งดเว้น

การล่วงละเมิดด้วยการจงใจที่เป็นโลกวัชชะ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมาย

เอาว่า สาวกทั้งหลายของเราย่อมไม่ก้าวล่วงสิกขาบท ที่เราบัญญัติไว้เพื่อสาวก

ทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ดังนี้. ย่อมกระทำปาปกรรมอย่างอื่น มี

กุฏิการสหไสยา (คือการนอนในกุฏิเดียวกันกับอนุปสัมบันเกิน ๓ คืน หรือใน

กุฏิเดียวกันกับมาตุคามแม้คืนเดียว) ด้วยกายหรือกระทำบาปกรรมมีการก้าวล่วง

สิกขาบท ที่เป็นปทโสธัมมะ (การสอนธรรมแก่อนุปสัมบันโดยว่าพร้อมกัน)

อุตฺตรึฉปฺปญฺจวาจาธมฺมเทสนา (การแสดงธรรมแก่มาตุคาม ซึ่งไม่มี

ผู้ชายเป็นเพื่อนเกิน ๕-๖ คำ) การพูดเพ้อเจ้อ และการพูดส่อเสียดเป็นต้น

ด้วยวาจา หรือว่าทำบาปกรรมมีการไม่พิจารณา แล้วใช้สอยเป็นต้น ในการ

ยินดีเงินและทองเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดโลภะ โทสะ และการใช้สอยจีวร

เป็นต้น พระอริยบุคคลนั้น ไม่ควรเพื่อจะปกปิดกรรมนั้น พระอริยบุคคลนั้น

รู้ว่า กรรมนี้เป็นสิ่งไม่ควร ตนไม่ควรกระทำ แม้จะปกปิดไว้ครู่เดียวแต่ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 62

เปิดเผยเสียในศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ ย่อมกระทำคืนเสียตามธรรม

ในขณะนั้นนั่นเอง หรือว่าสำรวมในสิ่งที่ควรสำรวมอย่างนี้ว่า เราจักไม่ทำอีก.

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่ควรกล่าวถึงทิฏฐิบท.

ตอบว่า เพราะความที่บุคคลผู้มีธรรมคือพระนิพพานอันตนเห็นแล้ว

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะปกปิดกรรมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว อธิบายว่า

ความที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ ผู้มีบทคือพระนิพพานอันตนเห็นแล้ว

กระทำบาปกรรมแม้ปานนั้น ไม่ควรเพื่อจะปกปิดกรรมนั้น.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ อย่างไร ?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เด็กอ่อนยัง

เยาว์นอนหงาย ใช้มือหรือเท้าถูกถ่านเพลิง ก็จะพึงหดกลับได้เร็วพลัน ฉันใด

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรมดาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิก็ฉันนั้นเหมือนกัน

พระอริยบุคคลนั้นแม้จะต้องอาบัติก็จริง การออกจากอาบัติเห็นปานนั้นปรากฏ

อยู่ ถึงกระนั้นพระอริยบุคคลนั้นก็แสดงเปิดเผยทำให้แจ้งในพระศาสดา หรือ

ในเพื่อนสพรหมจารีผู้รู้ ครั้นแสดงเปิดเผยทำให้แจ้งแล้ว ก็สำรวมระวังต่อ

ไป ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงคุณของพระสังฆรัตนะ ผู้ถึงพร้อม

ด้วยทัสสนะ เเม้อยู่ด้วยความประมาท ด้วยคุณคือการไม่ปกปิดกรรมที่ตนทำ

แล้ว อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจาว่า

อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 63

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วใน

ตอนต้นนั้นเอง อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาล

รับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสัจจะอันเป็นสังฆาธิษฐาน แห่ง

บุคคลทั้งหลายผู้นับเนื่องในพระสงฆ์ ด้วยการประกาศคุณนั้น ๆ อย่างนี้แล้ว

บัดนี้ ทรงอาศัยแม้พระปริยัติธรรม ที่พระองค์เมื่อทรงแสดงคุณของพระรัตน-

ตรัยได้ทรงแสดงไว้ โดยสังเขปในที่นี้และโดยพิสดารในที่อื่น เมื่อจะกล่าว

สัจจะอันเป็นพุทธาธิษฐาน มีพระพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง อาศัยปริยัติธรรมเเม้นั้น

จึงทรงเริ่มอีกว่า วนปฺปคุมฺเพ ยถา ผุสฺสิตคฺเค เป็นต้น

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้น ดังต่อไปนี้ :-

หมู่แห่งไม้ทั้งหลาย ซึ่งตั้งอยู่แล้ว คือตั้งขึ้นแล้ว ด้วยการขึ้นหนาแน่น

ชื่อว่า วน ป่า.

พุ่มไม้ ซึ่งเจริญแล้วด้วยราก แก่น กระพี้ เปลือก กิ่งและใบทั้งหลาย

ชื่อว่า ปคุมโพ พุ่มไม้.

พุ่มไม้ในป่าชื่อว่า วนปฺปคุมโพ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า

วนปฺปคุมโพ นี้นั้น. (เป็นสัตตมีวิภัตติ) ว่า วนปฺปคุมเพ ก็แม้เมื่อเป็น

อย่างนี้ ใคร ๆ ก็อาจจะกล่าวได้ว่า วนสณฺโฑ (ชัฎแห่งป่า) ไพรสณฑ์

เหมือนอย่างคำทั้งหลายมีคำเป็นต้นว่า อตฺถิ สวิตกฺกสวิจาเร อตฺถิ อวิ-

ตกฺกอวจารมตฺเต สุเข ทุกฺเข ชีเว ดังนี้.

คำว่า ยถา เป็นคำอุปมา ยอดของต้นไม้นั้นบานแล้ว เหตุนั้น

ต้นไม้นั้น ชื่อว่า ผุสิตคฺเค มียอดบานแล้ว อธิบายว่า มีดอกเกิดแล้ว

ที่กิ่งน้อยกิ่งใหญ่ทุกกิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 64

คำว่า ผุสิตคฺโค นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ผุสิตคฺเค

โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล.

บาทพระคาถาว่า คิมฺหานมาเส ปมสฺมึ คิมฺเห ได้แก่ ใน

เดือนหนึ่ง บรรดาเดือนในฤดูร้อน ๔ เดือน ถ้าหากว่าจะกล่าวว่าในเดือนใด

เดือนหนึ่ง ก็ต้องอธิบายว่า ในเดือนจิตรมาส (เดือน ๔) อันเริ่มฤดูร้อนแรก

จริงอยู่ เดือนจิตรมาสนั้น ท่านเรียกว่า ปมคิมฺโห (ฤดูร้อนเดือนแรก) และ

ว่า พาลวสนฺโต (ฤดูใบไม้เริ่มผลิ) บทต่อแต่นั้นเนื้อความปรากฏชัดแล้ว

ทั้งนั้น.

ก็คำว่า ปมคิมฺเห นี้ ในคาถานี้ มีการประมวลมาเป็นอรรถ กอ

ไม้ซึ่งได้ปริยายนามว่า พุ่มไม้อ่อน ๆ ที่มีกิ่งยอดผลิบานสะพรั่ง ในป่าอันหนา

แน่นด้วยต้นไม้นานาชนิด ในวสันตฤดูอ่อน ๆ ซึ่งชื่อว่าปฐมคิมหะ จัดว่า

เป็นป่าที่สวยงามอย่างยิ่งฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงปริยัติธรรม

อันประเสริฐที่ให้ถึงพระนิพพาน โดยทรงแสดงหนทางให้ถึงพระนิพพาน หา

ใช่แสดงเพราะเหตุแห่งลาภ หรือเพราะเหตุแห่งสักการะเป็นต้นไม่ แต่

พระองค์เป็นผู้มีพระทัยประกอบด้วยอุตสาหะ และเอ็นดูอย่างยิ่ง ได้ทรงแสดง

ด้วยพระมหากรุณาอย่างเดียว เพื่อประโยชน์สุขอย่างยิ่งเเก่สัตว์ทั้งหลาย อุปมา

ฉันนั้น เพราะความที่แห่งพระธรรมของพระองค์ เป็นธรรมที่มีสิริ คือ ความ

งามอย่างยิ่ง ด้วยดอกอันต่างด้วยประโยชน์นานัปกร มีขันธ์ อายตนะ เป็น

ต้น หรือมีสติปัฏฐานและสัมมัปปธานเป็นต้น หรือมีศีลขันธ์และสมาธิขันธ์

เป็นต้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 65

ก็ในคำว่า ปรม หิตาย นี้ เป็นอนุนาสิก (นิคคหิต ออกเสียงขึ้น

จมูก) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อสะดวกในการประพันธ์คาถา แต่เนื้อ

ความมีดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดง (ธรรมอันประเสริฐ) เพื่อพระ

นิพพานอันมีประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงพระปริยัติธรรมอันเช่นกับพุ่มไม้

ในป่าที่มียอดคือดอกบานสะพรั่งนี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง

ทรงประกอบสัจวาจาเป็นพุทธาธิษฐานว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตน ปณีต

เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้น

แต่ก็พึงประกอบบทอย่างเดียว อย่างนี้ว่า พุทธรัตนะกล่าวคือ พระปริยัติ-

ธรรม มีประการตามที่กล่าวแล้วแม้นั้น เป็นรัตนะอันประณีต อาชญาแห่ง

คาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลายในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสสัจจะเป็นพุทธาธิษฐานด้วยอำนาจพระ

ปริยัติธรรมอย่างนี้แล้ว บัดนี้เพื่อจะตรัสด้วยโลกุตรธรรมจึงทรงเริ่มว่า วโร

วรญฺญู วรโท วราหโร ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วโร ความว่า ผู้อันชนทั้งหลาย

ผู้มีอธิมุตติอันประณีต ปรารถนาแล้วว่า โอ ! หนอ แม้พวกเราพึงเป็นเช่นนี้

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วโร ประเสริฐ เพราะประกอบด้วยคุณที่ประเสริฐ

อธิบายว่า เป็นผู้สูงสุด คือประเสริฐที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 66

บทว่า วรญฺญู ได้แก่ รู้พระนิพพาน จริงอยู่ พระนิพพาน ชื่อว่า

ประเสริฐ เพราะอรรถว่าสูงสุดกว่าธรรมทั้งปวง ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ-

องค์นี้ทรงทราบพระนิพพานนั้นด้วยพระองค์เอง ที่ควงแห่งต้นโพธิ.

บทว่า วรโท ความว่า ทรงประทานพระธรรมอันประเสริฐ อันเป็น

ส่วนแห่งธรรมเครื่องแทงตลอด หรืออันเป็นส่วนแห่งวาสนาแก่ภิกษุทั้งหลาย

มีพระปัญจวัคคีย์ ภัททวัคคีย์ และชฎิลทั้งหลายเป็นต้น และแก่เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายเหล่าอื่น.

บทว่า วราหโร ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชาวโลกเรียกกันว่า

ผู้นำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ เพราะพระองค์นำมรรคอันประเสริฐมา จริงอยู่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น บำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน จำเดิมแต่พระพุทธเจ้า

พระนามว่า ทีปังกร ทรงนำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐอันเป็นของเก่าซึ่งพระสัม-

มาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ทรงดำเนินไปแล้ว เพราะเหตุนั้นชาวโลก

จึงเรียก (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ว่า วราหโร ผู้นำมาซึ่งมรรคอันประเสริฐ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นชื่อว่าผู้ประเสริฐ เพราะได้เฉพาะ

ซึ่งสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า ทรงทราบสิ่งอันประเสริฐ เพราะกระทำให้แจ้งซึ่ง

พระนิพพาน ชื่อว่า ประทานสิ่งอันประเสริฐ เพราะทรงประทานสุขอันเกิดจาก

วิมุตติ แก่สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่า ทรงนำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ เพราะนำข้อปฏิบัติ

อันสูงสุดมาให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นชื่อว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มี

ใครที่จะยิ่งกว่า(พระองค์) ด้วยโลกุตรคุณทั้งหลายเหล่านี้.

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะทำให้

บริบูรณ์ในอุปสมาธิษฐาน ชื่อว่า ทรงรู้สิ่งที่ประเสริฐ เพราะทำให้บริบูรณ์ใน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 67

ปัญญาธิษฐาน ชื่อว่า ทรงประทานสิ่งที่ประเสริฐ เพราะทำให้บริบูรณ์ในจาคา-

ธิษฐาน. ชื่อว่า ทรงนำสิ่งที่ประเสริฐมาให้ เพราะทำให้บริบูรณ์ในสัจจาธิษฐาน

ชื่อว่า ผู้ทรงนำมาซึ่งมัคคสัจจะอันประเสริฐ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะ

เป็นที่ตั้งแห่งบุญ ชื่อว่า ทรงรู้สิ่งอันประเสริฐ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งปัญญา ชื่อ

ว่า ทรงประทานสิ่งอันประเสริฐ เพราะทรงประทานอุบายนั้น ๆ แก่ชนทั้งหลาย

ผู้ต้องการความเป็นพุทธะ ชื่อว่า ทรงนำมาซึ่งสิ่งอันประเสริฐ เพราะทรงนำมา

ซึ่งอุบายนั้น ๆ แก่ชนทั้งหลายผู้ต้องการเป็นพระปัจเจกพุทธะ ชื่อว่า เป็นผู้

ประเสริฐ เพราะไม่มีใครจะเสมอเหมือนในคุณนั้น ๆ หรือว่าเพราะพระองค์

เป็นผู้ไม่มีอาจารย์ หรือเพราะพระองค์เป็นอาจารย์ของชนเหล่าอื่น ชื่อว่า ได้ทรง

แสดงพระธรรมอันประเสริฐ เพราะทรงแสดงพระธรรมอันประเสริฐ อันประกอบ

ด้วยคุณ มีความเป็นสวากขาตธรรมเป็นต้น เพื่อคุณนั้น ๆ แก่ชนทั้งหลาย

ผู้ต้องการเป็นสาวก คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแหละ ดังนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคุณของพระองค์ด้วยโลกุตรธรรม ๙

อย่าง อย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยพระคุณข้อนั่นเอง จึงทรงประกอบสัจวาจา

อันเป็นพุทธาธิษฐานว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตน ปณีต เอเตน สจฺเจน

สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น อันผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้า

กล่าวไว้ในตอนต้นนั้นแล แต่ในที่นี้พึงทราบโยชนาอย่างนี้อย่างเดียวว่า พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ได้ทรงทราบโลกุตตรธรรมอันประเสริฐใด ได้ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 68

ประทานโลกุตตรธรรม ๙ อันประเสริฐใด ได้ทรงนำมา ซึ่งโลกุตตรธรรม ๙

อันประเสริฐใด และได้ทรงแสดงโลกุตตรธรรม ๙ อันประเสริฐใด พุทธรัตนะ

แม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต ดังนี้ อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย

ในแสนโกฏิจักรวาลรับเเล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยพระปริยัติธรรมและโลกุตตรธรรม

ตรัสสัจจะอันเป็นพุทธาธิษฐานด้วย ๒ พระคาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงอาศัย

คุณคือการบรรลุอนุปาทิเสสนิพพานแห่งท่านทั้งหลายผู้ได้ฟังพระปริยัติธรรม

นั้นแล้ว และได้ปฏิบัติตามกระแสแห่งธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว ก็ได้บรรลุโลกุตตร-

ธรรม ๙ ประการ เพื่อจะตรัสสัจวาจาอันเป็นสังฆาธิษฐานอีก จึงทรงเริ่มว่า

ขีณ ปุราณ นว นตฺถิ สมฺภว.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขีณ ได้แก่ สิ้นรอบแล้ว หรือตัด

ได้เด็ดขาดแล้ว

บทว่า ปุราณ ได้แก่ เก่า

บทว่า นว ได้แก่ ซึ่งเป็นอยู่ในปัจจุบัน

บทว่า นตฺถิสมฺภว ได้แก่ ความปรากฏว่าไม่มีอยู่.

บทว่า วิรตฺตจิตฺตา ได้แก่ เป็นผู้มีจิตปราศจากราคะ.

สองบทว่า อายติเก ภวสฺมึ ได้แก่ในอนาคตกาล คือในภพใหม่.

บทว่า เต ความว่า ท่านเหล่าใดมีกรรมเก่าสิ้นแล้ว กรรมใหม่ก็

ไม่มี และท่านเหล่าใด มีจิตปราศจากราคะในภพต่อไป ท่านเหล่านั้น ชื่อว่า

ภิกษุขีณาสพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 69

บทว่า ขีณพีชา ได้แก่ มีพืชตัดขาดแล้ว.

บทว่า อวิรูฬฺหิฉนฺทา คือ เว้นจากความพอใจที่เจริญขึ้น.

บทว่า นิพฺพนฺติ ได้แก่ ย่อมดับ.

บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.

สองบทว่า ยถายมฺปทีโป ได้แก่ เปรียบเหมือนประทีปนี้.

มีคำถามว่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร ? ตอบว่า ท่านอธิบายไว้ว่า

กรรมใดซึ่งเป็นกรรมเก่า ได้แก่เป็นกรรมในอดีต แม้ซึ่งเกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย

แล้วดับไป ชื่อว่าผลไม่สิ้นแล้วนั่นเอง เพราะสามารถจะนำปฏิสนธิมา เหตุที่

ยังละยางเหนียวคือตัณหาไม่ได้ กรรมเก่านั้นของสัตว์เหล่าใด ชื่อว่า สิ้นแล้ว

เพราะไม่สามารถจะให้วิบากต่อไปได้ เนื่องจากยางเหนียวคือตัณหาได้เหือด

แห้งไป ด้วยอรหัตมรรคญาณ เปรียบประดุจพืชที่ไฟไหม้แล้วฉะนั้น และกรรม

อันใดของสัตว์เหล่านั้น ซึ่งเป็นไปอยู่ในปัจจุบัน ด้วยสามารถแห่งการบูชา

พระพุทธเจ้าเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า กรรมใหม่ ก็กรรมใหม่

นั้นของชนเหล่าใด ชื่อว่าไม่มีสมภพ เพราะไม่สามารถจะให้ผลต่อไปได้ เพราะ

ประหาณตัณหาแล้วนั่นแหละ เปรียบประดุจดอกไม้ที่หลุดจากขั้วแล้วฉะนั้น

และชนทั้งหลายเหล่าใด ชื่อว่า คลายกำหนัดในภพต่อไปได้แล้ว เพราะละ

เสียได้ซึ่งตัณหานั้นเอง ชนทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุขีณาสพ ชื่อว่า มี

พืชสิ้นแล้ว เพราะสิ้นปฏิสนธิวิญญาณซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในคาถานี้ว่า

กมฺม เขตฺต วิญฺาณ พีช กรรม เป็นเนื้อนา วิญญาณ เป็นพืช ดังนี้

๑. อัง. ติก ๒๐/ ข้อ ๕๑๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 70

เป็นต้น เพราะความสิ้นกรรมนั้นเอง. แม้ความพอใจด้วยอำนาจตัณหา กล่าว

คือตัณหาในภพใหม่ซึ่งเจริญขึ้นแม้อันใด ได้มีแล้วในกาลก่อน เพราะตัณหา

ที่เจริญขึ้นแม้นั้นอันตนละเสียได้ ด้วยการละสมุทัยนั่นเอง พระอริยบุคคลเหล่า

นั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้มีความพอใจอันไม่เจริญขึ้น เพราะไม่มีสมภพ (ความเกิด)

ในเวลาจุติ เหมือนในกาลก่อน จึงชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ เพราะถึงพร้อมด้วย

ปัญญา ย่อมดับเสียได้ เพราะความดับแห่งวิญญาณดวงสุดท้าย เหมือนดวง

ประทีปนี้ที่ดับไปฉะนั้น ได้แก่ ย่อมล่วงบทบัญญัติมีอาทิอย่างนี้ว่า เป็นรูปหรือ

เป็นอรูปอีก.

เล่ากันมาว่า ในสมัยนั้นในบรรดาดวงประทีปทั้งหลายที่เขาจุดไว้ เพื่อ

บูชาเทวดาประจำพระนคร ดวงประทีปดวงหนึ่งดับไป พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงแสดงถึงดวงประทีปที่ดับไปนั้นจึงตรัสว่า ยถายมฺปทีโป เหมือนดวง

ประทีปนี้ทีดับไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถึงคุณแห่งการบรรลุ อนุปาทิเสส-

นิพพาน ของพระอริยบุคคลทั้งหลาย ผู้ได้สดับพระปริยัติธรรมที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ด้วยพระคาถา ๒ คาถาแรกนั้น แล้วปฏิบัติตามกระแสเเห่ง

ธรรมที่ตนได้ฟังมาแล้วนั้นแล ได้บรรลุโลกุตตรธรรมทั้ง ๙ ประการ อย่างนี้

แล้ว บัดนี้ทรงอาศัยคุณข้อนั้นนั่นเอง เพื่อจะทรงประกอบสัจวาจา เป็นสังฆา-

ธิษฐาน จึงตรัสเทสนาว่า อิทมฺปิ สงฺเฆ รตน ปณีต เอเตน สจฺเจน

สุวตฺถิ โหตุ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบโดยนัยอันข้าพเจ้า กล่าวแล้ว

ในตอนต้น แต่ก็พึงทราบวาจาประกอบความอย่างนี้อย่างเดียวว่า สังฆรัตนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 71

กล่าวคือพระนิพพานของภิกษุขีณาสพทั้งหลาย โดยประการตามที่เรากล่าวไว้

แล้วแม้นี้ เป็นรัตนะอันประณีต อาชญาแห่งคาถาแม้นี้ อันอมนุษย์ทั้งหลาย

ในแสนโกฏิจักรวาลรับแล้ว.

ในที่สุดแห่งพระเทศนา ความสวัสดีได้มีแก่ราชสกุลแล้ว อุปัทวะ

ทั้งปวงสงบแล้ว สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม.

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพทรงดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย

คุณพระรัตนตรัยประกอบสัจวาจา ทำความสวัสดีแก่ชาวพระนครแล้ว แม้

เราเองก็จะพึงอาลัยคุณพระรัตนตรัย กล่าวบางสิ่งบางอย่าง เพื่อความสวัสดีแก่

ชาวพระนคร จึงได้ตรัส ๓ คาถาสุดท้ายว่า

ยานีธ ภูตานิ สมาคตานิ

ภุมฺมานิ วา ยานิ ว อนฺตลิกฺเข

ตถาคต เทวมนุสฺสปูชิต

พุทฺธ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ ดังนี้เป็นต้น.

พึงทราบวินิจฉัย ในพระคาถาทั้ง ๓ นั้น ดังต่อไปนี้ :-

เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้า ได้รับขนานนามว่า พระตถาคต ก็เพราะ

พระองค์ทรงถึงประโยชน์เหมือนอย่างบุคคลทั้งหลายผู้ขวนขวาย เพื่อประโยชน์

สุขแก่ชาวโลกจะพึงถึง เพราะพระองค์เสด็จไปโดยประการที่ชาวโลกผู้ขวนขวาย

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกเหล่านี้จะพึงไป เพราะพระองค์ทรงทราบถึงสิ่งที่

ชาวโลกผู้ขวนขวาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกเหล่านี้จะพึงทราบ เพราะ

พระองค์ทรงรู้โดยประการที่ชนเหล่านี้จะพึงรู้และเพราะพระองค์เสด็จไปอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 72

และเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายบูชากันเหลือเกิน

ด้วยวัตถุมีดอกไม้และของหอมเป็นต้น ซึ่งเกิดในภายนอก (ตน) และด้วยการ

ปฏิบัติมีการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นต้น ซึ่งเกิดในตน เพราะฉะนั้น

ท้าวสักกะจอมเทพ จึงได้ทรงรวบรวมเทวบริษัททั้งหมด พร้อมกับพระองค์

ตรัสว่า

ตถาคต เทวมนุสฺสปูชิต

พุทธ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ.

ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนมัสการพระ-

พุทธเจ้า ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้อันเทวดา

และมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดีจึงมีแก่

สัตว์เหล่านั้น ดังนี้.

ก็เพราะในฝ่ายพระธรรม มรรคธรรมอันบุคคลจะพึงถึงได้ด้วยกำลัง

แห่งสมถะและวิปัสสนาทั้งคู่ ฉันใด นิพพานธรรมอันพระอริยบุคคลผู้ตัดธรรม

อันเป็นฝ่ายกิเลส ก็ถึงได้ฉันนั้น พระธรรมอันบุคคลถึงเเล้วคือแทงตลอดแล้ว

ด้วยปัญญา ฉันใด นิพพานธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้นทรงบรรลุแล้ว

ย่อมสำเร็จได้ ก็เพราะกำจัดทุกข์ทั้งปวงได้ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึง

เรียกว่า ตถาคต พระธรรมที่บุคคลถึงแล้วอย่างนั้น.

อนึ่ง เพราะเหตุที่แม้พระสงฆ์ ท่านก็เรียกว่า ตถาคต ผู้ถึง

เหมือนกัน เพราะท่านถึงความเป็นพระสงฆ์ได้ด้วยมรรคนั้น ๆ เหมือนกับ

บุคคลผู้ปฏิบัติเป็นประโยชน์แก่ตนจะพึงถึง เพราะฉะนั้น ท้าวสักกะจึงตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 73

แม้ใน ๒ คาถาที่เหลือว่า ข้าพเจ้าทั้งหลายจะนมัสการพระธรรม

อันไปแล้วอย่างนั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่สัตว์ทั้งหลาย, ข้าพเจ้า

ทั้งหลายจะนมัสการพระสงฆ์ ผู้ไปแล้วอย่างนั้นขอความสวัสดีจงมี

แก่สัตว์ทั้งหลาย ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแหละ

ดังนี้แล.

ท้าวสักกะจอมเทพ ครั้นตรัส ๓ คาถานี้ อย่างนี้แล้ว ทรงกระทำ

ประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้เสด็จไปยังเทพนคร พร้อมด้วยเทพ-

บริษัท ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงรัตนสูตรนั้นนั่นแล แม้ในวันที่สอง

สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ก็ได้บรรลุธรรมอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอยู่อย่างนี้จน

ถึงวันที่ ๗. การบรรลุธรรมก็ได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ทุก ๆ วัน เหมือนอย่าง

นั้นนั่นเทียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับอยู่ในเมืองเวสาลีเป็นเวลาครึ่งเดือน

แล้วทรงประกาศว่า เราจักไปเมืองราชคฤห์ ต่อจากนั้นพระราชาทั้งหลายก็ได้

นำเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา ด้วยใช้เวลา ๓ วันอีกพร้อมด้วย

เครื่องสักการะที่จัดถวายเป็นสองเท่า (ของพระเจ้าพิมพิสาร) นาคราชทั้งหลาย

บังเกิดในแม่น้ำคงคาคิดกันว่า พวกมนุษย์กระทำสักการะแด่พระตถาคตเจ้า

พวกเราจักไม่ทำอะไรกันหรือ นาคราชทั้งหลายจึงได้เนรมิตเรือทั้งหลาย ซึ่ง

สำเร็จด้วย ทอง เงิน และแก้วมณี ให้ปูลาดบัลลังก์ทั้งหลายที่สำเร็จด้วย

ทอง เงิน และแก้วมณีเหมือนกัน ได้กระทำน้ำให้ดารดาษไปด้วยดอกปทุม

๕ สี แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาณเจ้ากราบทูลว่า ขอพระองค์จงอนุเคราะห์

ข้าพระองค์ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ครั้นทรงรับนิมนต์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 74

แล้ว ก็เสด็จลงเรือรัตนะ ภิกษุ ๕๐๐ รูปก็ลงเรือของตน ๆ นาคราชทั้งหลาย

ได้นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ให้เสด็จเข้าไปสู่นาคพิภพ.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่นาคบริษัทตลอดคืน

ทั้งสิ้น ณ นาคพิภพนั้น ในวันที่สอง นาคราชทั้งหลายได้ถวายมหาทานด้วย

ขาทนียะและโภชนียะอันเป็นทิพย์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแล้วเสด็จ

ออกจากนาคพิภพ. ภุมมัฏฐเทวดาคิดว่า พวกมนุษย์ทั้งหลายและนาคทั้งหลาย

ย่อมกระทำสักการะแก่พระตถาคต พวกเราจักไม่ทำอะไรกันหรือ ดังนี้แล้ว

จึงได้ยกฉัตรซ้อนฉัตร ขึ้นที่ป่า พุ่มไม้ ต้นไม้ และภูเขาเป็นต้น โดยอุบายนี้

นั้นเอง มหาสักการะอันพิเศษบังเกิดขึ้นแล้วตราบถึงภพของอกนิษฐพรหม

แม้พระเจ้าพิมพิสารก็ได้ทรงทำสักการะเป็นทวีคูณ กว่าสักการะที่เจ้าลิจฉวี

ทั้งหลายกระทำ ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา พระองค์ได้นำเสด็จ

พระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังกรุงราชคฤห์โดยใช้เวลา ๕ วัน โดยนัยที่กล่าวแล้วใน

ตอนก่อนนั้นแล.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ภิกษุทั้งหลาย

ที่ประชุมกัน ณ โรงกลม ภายหลังภัต เกิดการสนทนากันในระหว่างดังนี้ว่า

" โอ ! อานุภาพของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า ภูมิภาค ๘ โยชน์จากฝั่งนี้และ

ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคาอันพระราชาและมหาชนกระทำภาคพื้นที่เป็นที่ลุ่มและ

ที่ดอนให้เสมอกัน เกลี่ยด้วยทรายแล้วลาดด้วยดอกไม้ น้ำในแม่น้ำคงคา

ประมาณ ๑ โยชน์ ก็ดาษดาไปด้วยดอกปทุมนานาพรรณ เทวดาทั้งหลาย

ยกฉัตรซ้อนฉัตรขึ้นถึงชั้นอกนิษฐภพทีเดียว เจาะจง (อุทิศ) พระพุทธองค์"

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 75

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเป็นไปนั้น เสด็จออกจากพระ-

คันธกุฎี ไปยังโรงกลม (หอประชุม) ด้วยปาฏิหาริย์ที่เหมาะสมในขณะนั้น

ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้แล้ว ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น

ประทับนั่งแล้วแลได้ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลาย

นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องทั้งปวงให้ทรงทราบ.

พระผู้พระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย การบูชาพิเศษนี้หาได้

เกิดขึ้นด้วยพุทธานุภาพของเราไม่ หาได้เกิดขึ้นด้วยอานุภาพของนาค เทพ

และพรหมไม่ โดยที่แท้แล การบูชาพิเศษนี้ เกิดขึ้นแล้วด้วยอานุภาพแห่ง

การบริจาคมีประมาณน้อย. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกข้าพระองค์ไม่ทราบการบริจาคอันมีประมาณน้อยนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลาย

ขอพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดย

ประการที่ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงทราบเรื่องนั้นได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว

ได้มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า สังขะ ในเมืองตักกสิลา มาณพชื่อว่า สุสิมะ

ที่เป็นบุตรของพราหมณ์นั้น มีอายุราว ๑๖ ปี วันหนึ่งได้เข้าไปหาบิดา ไหว้

แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. บิดาพูดกับบุตรนั้นว่า พ่อสุสิมะ อะไรกัน. บุตร

นั้นพูดว่า คุณพ่อครับ ผมต้องการจะไปศึกษาศิลปวิชาที่เมืองพาราณสี.

บิดาพูดว่า " ลูกสุสิมะ ถ้าอย่างนั้น (เจ้าจงไปเถิด) เพื่อนของพ่อ

เป็นพราหมณ์ชื่อโน้น เจ้าไปยังสำนักของพราหมณ์นั้นแล้ว จงเรียนวิชาเถิด"

ดังนี้ แล้วมอบทรัพย์ให้พันกหาปณะ สุสิมะมาณพนั้นรับทรัพย์ ๑ พันกหาปณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 76

นั้นแล้ว ไหว้อำลามารดาบิดา ไปสู่เมืองพาราณสีโดยลำดับ เข้าไปหาอาจารย์

ด้วยวิธีประกอบด้วยมารยาทเรียบร้อย ไหว้แล้ว แนะนำตน อาจารย์ทราบว่า

เด็กหนุ่มนี้เป็นบุตรเพื่อนของเรา จึงรับมาณพ (นั้น ) แล้วได้กระทำการ

ต้อนรับทุกอย่าง.

มาณพนั้นบรรเทาความเมื่อยล้าจากการเดินทางไกล (พักผ่อน) แล้ว

ได้มอบทรัพย์ ๑ พันกหาปณะนั้นไว้ที่ใกล้เท้าอาจารย์ ขอโอกาสเรียนศิลปวิทยา

อาจารย์ให้โอกาสแล้วก็ให้ศึกษา มาณพนั้นเรียนได้ไวด้วย เรียนได้มากด้วย

และจดจำสิ่งที่เรียนไว้แล้ว ๆ ไม่ลืม เหมือนน้ำมันที่ใส่ไว้ในภาชนะทองฉะนั้น

ได้เรียนศิลปวิทยา ซึ่งคนทั่วไปใช้เวลาเรียน ๑๒ ปี (โดยใช้เวลาเรียน) เพียง

๒-๓ เดือนเท่านั้น เขาเมื่อจะกระทำการสาธยาย ย่อมเห็นเบื้องต้น และ

ท่ามกลางของศิลปะนั้นได้ แต่ไม่เห็นที่สุด. ครั้งนั้นเขาจึงเข้าไปหาอาจารย์

แล้วเรียนว่า กระผมย่อมเห็นเบื้องต้นและท่ามกลางเท่านั้นของศิลปะนั้น แต่

ไม่เห็นที่สุด. อาจารย์กล่าวว่า ดูก่อนพ่อ แม้เราเองก็ไม่เห็นเหมือนกัน.

มาณพจึงเรียนถามว่า ข้าแต่ท่านอาจารย์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ใครเล่าย่อมทราบ

ที่สุดเเห่งศิลปะนี้ได้. อาจารย์ตอบว่า ดูก่อนพ่อ ที่ป่าอิสิปตนะมีฤาษีทั้งหลาย

อยู่ ฤาษีเหล่านั้นพึงทราบได้. มาณพกล่าวว่า ท่านอาจารย์กระผมเข้าไปหา

ฤาษีเหล่านั้นแล้วจักไต่ถาม. อาจารย์ตอบว่า เจ้าจงถามตามสบายเถิดพ่อ.

มาณพนั้นไปยังป่าอิสิปตนะ เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว เรียน

ถามว่า ท่านทั้งหลายทราบเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด (ของศิลปะ) หรือ.

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตอบว่า ดูก่อนอาวุโส ใช่แล้ว พวกเราทราบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 77

มาณพเรียนว่า ท่านทั้งหลายจะให้กระผมศึกษาบ้างได้ไหม พระปัจเจกพุทธเจ้า.

ทั้งหลายตอบว่า อาวุโส ถ้าอย่างนั้นเจ้าจงบวช (เสียก่อน) ด้วยว่าผู้ที่ไม่บวช

ไม่อาจศึกษาได้. มาณพเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดีละ ท่านทั้งหลายจงให้

กระผมบวช ท่านทั้งหลายกระทำสิ่งที่ท่านทั้งหลายปรารถนาแล้ว จงให้กระผม

ทราบที่สุดแห่งศิลปะเถิด.

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นให้มาณพนั้นบวชแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะ

สั่งสอน ในกัมมัฏฐานได้ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ให้ศึกษาอภิสมาจาริก-

วัตร โดยนัยเป็นต้นว่า ท่านพึงนุ่งอย่างนี้ ท่านพึงห่มอย่างนี้ ก็สุสิมะนั้น

ศึกษาอยู่ที่ป่าอิสิปตนะนั้น ได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณโดยไม่นานเลย เพราะ

(ความที่ตน) สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย ท่านจึงได้ปรากฏในเมืองพาราณสีทั้งสิ้นว่า

พระปัจเจกพุทธเจ้าสุสิมะเกิดขึ้นแล้ว ท่านถึงความเลิศด้วยลาภ เลิศด้วยยศ

มีบริวารพรั่งพร้อม พระปัจเจกพุทธเจ้าสุสิมะนั้น ไม่นานเลยก็ปรินิพพาน

เพราะท่านได้ทำกรรมที่เป็นเหตุให้มีอายุน้อยไว้. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

และหมู่มหาชนกระทำซึ่งสรีรกิจของพระปัจเจกพุทธเจ้าสุสิมะนั้น ถือเอาแล้ว

ซึ่งพระธาตุทั้งหลายให้ประดิษฐานไว้ในพระสถูปที่ประตูพระนคร.

ครั้งนั้นแล สังขพราหมณ์คิดว่า บุตรของเราไปนานแล้ว และเราก็

ไม่ทราบความเป็นไปของบุตรนั้น ดังนี้. ต้องการที่จะพบบุตร จึงออกจาก

เมืองตักกสิลา ไปถึงเมืองพาราณสีโดยลำดับ เห็นหมู่มหาชนประชุมกันอยู่

จึงดำริว่า ในบรรดาหมู่ชนเป็นอันมาก คงจะมีใครสักคนหนึ่งทราบความเป็นไป

แห่งบุตรของเราบ้างเป็นแน่ ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปในที่นั้นถามว่า เด็กหนุ่ม

ชื่อว่าสุสิมะมาในที่นี้มีอยู่ พวกท่านทราบความเป็นไปของเขาบ้างแหละหรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 78

มหาชนตอบว่า ใช่แล้วพราหมณ์ เราทั้งหลายทราบอยู่ สุสิมะมาณพเป็นผู้จบ

ไตรเพทในสำนักของพราหมณ์ในนครนี้. บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลาย แล้วสำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุ สถูปองค์นี้ มหาชนให้สร้างประดิษฐานไว้เพื่อสุสิมะปัจเจกพุทธ-

เจ้าพระองค์นั้น.

สังขพราหมณ์นั้นใช้มือทุบแผ่นดินร้องไห้คร่ำครวญ ไปยังลานเจดีย์

นั้น ถอนหญ้าทั้งหลายขึ้นแล้ว ใช้ผ้าห่ม (ห่อ) ขนทรายมา แล้วเกลี่ยลงที่

ลานพระเจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ประพรมด้วยน้ำ จากคณโฑ (ลักจั่น)

กระทำบูชาด้วยดอกไม้ป่าทั้งหลาย ใช้ผ้าห่มยกทำเป็นธงปฏากขึ้น ผูกร่มของตน

ไว้เบื้องบนสถูป แล้วหลีกไป.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำอดีตนิทานมาอย่างนี้แล้วเมื่อทรงสืบต่อ

อนุสนธิชาดกนั้น ให้เชื่อมกับเหตุการณ์ในปัจจุบัน จึงตรัสธรรมกถาแก่ภิกษุ

ทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่พึงเห็นข้อนั้นอย่างนี้ว่า คนอื่น

จะพึงมีได้แล สังขพราหมณ์ได้มีแล้วในสมัยนั้นแน่แท้ เราเองได้เป็นสังข-

พราหมณ์โดยสมัยนั้น เราได้ถอนหญ้าที่ลานพระเจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้า

ชื่อว่าสุสิมะ ด้วยผลที่ไหลออกแห่งกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายได้กระทำ

หนทางประมาณ ๘ โยชน์ ให้ปราศจากตอและหนาม แล้วกระทำพื้นที่ให้เสมอ

สะอาด เราได้เกลี่ยทรายลงที่ลานพระเจดีย์นั้น ด้วยผลที่ไหลออกแห่งกรรม

ของเรานั้น ชนทั้งหลายได้เกลี่ยทรายในหนทางประมาณ ๘ โยชน์ เราได้ทำ

การบูชาด้วยดอกไม้ป่าที่พระเจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยผลที่ไหลออก

แห่งกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายได้ทำการลาดดอกไม้ ด้วยดอกไม้นานาชนิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 79

ทั้งบนบกและในน้ำในหนทางประมาณ ๘ โยชน์ เราได้ทำการประพรมภาคพื้น

ด้วยน้ำที่ลานพระเจดีย์นั้น ด้วยน้ำในคนโฑ ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรม

ของเรานั้น ฝนโบกขรพรรษจึงตกลงในเมืองเวสาลี เราได้ยกธงปฏากและ

ผูกฉัตรไว้ที่เจดีย์ของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรม

ของเรานั้น มนุษย์และเทวดาทั้งหลายได้ยกธงปฏากและยกฉัตรซ้อนฉัตรขึ้นจน

ถึงอกนิษฐภพ ภิกษุทั้งหลาย การบูชาพิเศษเพื่อเรานี้ มิได้บังเกิดขึ้นด้วย

พุทธานุภาพ มิได้เกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งนาค เทพ และพรหม แต่ได้

บังเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งการบริจาคอันมีประมาณน้อย (ของเรา) ดังกล่าว

มานี้แล.

ในที่สุดแห่งพระธรรมกถา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

มตฺตาสุขปฺปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุล สุข

จเช มตฺตาสุข ธีโร สมฺปสฺส วิปุล สุข

ถ้าหากว่า บุคคลพึงเห็นความสุขอัน

ไพบูลย์ เพราะการสละความสุขอันพอประ-

มาณไซร้ (ก็พึงสละความสุขพอประมาณ

เสีย) นักปราชญ์เมื่อเห็นความสุขอันไพบูลย์

ก็พึงละความสุขพอประมาณเสีย.

จบอรรถกถารตนสูตร

แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 80

อามคันธสูตรที่ ๒

ว่าด้วยมีกลิ่นดิบไม่มีกลิ่นดิบ

ติสสดาบสทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ ด้วยคาถา

ความว่า

[๓๑๕] สัตบุรุษทั้งหลายบริโภค

ข้าวฟ่าง ลูกเดือย ถั่วเขียว ใบไม้ เหง้ามัน

และผลไม้ที่ได้แล้วโดยธรรม หาปรารถนา

กาม กล่าวคำเหลาะแหละไม่.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ พระองค์เมื่อเสวยเนื้อชนิดใด ที่ผู้

อื่นทำสำเร็จดีแล้ว ตบแต่งไว้ถวายอย่างประ-

ณีต เมื่อเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี ก็ชื่อว่า

ย่อมเสวยกลิ่นดิบ.

แต่พระองค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่ง

พรหม พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า กลิ่นดิบย่อม

ไม่ควรแก่เรา แต่ยังเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสาลี

กับเนื้อนกที่บุคคลปรุงดีแล้ว.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ ข้าพระองค์ขอทูลถามความข้อนี้กะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 81

พระองค์ว่า กลิ่นดิบของพระองค์มีประการ

อย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า

การฆ่าสัตว์ การทุบตี การตัด การ

จองจำ การลัก การพูดเท็จ การกระทำ

ด้วยความหวัง การหลอกลวง การเรียน

คัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์ และการคบหาภรรยา

ผู้อื่น นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่

ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมใน

กามทั้งหลาย ยินดีในรสทั้งหลาย เจือปน

ด้วยของไม่สะอาด มีความเห็นว่าทานที่

บุคคลให้แล้วไม่มีผล มีการงานไม่เสมอ

บุคคลพึงแนะนำได้โดยยาก นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ

ของชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า

กลิ่นดิบเลย.

ชนเหล่าใดผู้เศร้าหมอง หยาบช้า

หน้าไหว้หลังหลอก ประทุษร้ายมิตร ไม่มี

ความกรุณา มีมานะจัด มีปกติไม่ให้ และ

ไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 82

ของชนเหล่านี้ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่า

กลิ่นดิบเลย.

ความโกรธ ความมัวเมา ความเป็น

คนหัวดื้อ ความตั้งอยู่ผิด มายา ริษยา

ความยกตน ความถือตัว ความดูหมิ่น และ

ความสนิทสนมด้วยอสัตบุรุษทั้งหลาย นี้ชื่อว่า

กลิ่นดิบ เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบ

เลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประ-

พฤติลามก กู้หนี้มาแล้วไม่ใช้ พูดเสียดสี

พูดโกง เป็นคนเทียม เป็นคนต่ำทราม

กระทำกรรมหยาบช้า นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของ

ชนเหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่น-

ดิบเลย.

ชนเหล่าใดในโลกนี้ มีปกติประ-

สัตว์ทั้งหลาย ชักชวนผู้อื่นประกอบการ

เบียดเบียน ทุศีล ร้ายกาจ หยาบคาย ไม่

เอื้อเฟื้อ นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชนเหล่านั้น

เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 83

สัตว์เหล่าใดกำหนัดแล้วในสัตว์

เหล่านี้ โกรธเคือง ฆ่าสัตว์ ขวนขวายใน

อกุศลเป็นนิตย์ ตายไปแล้วย่อมถึงที่มืด มี

หัวลง ตกไปสู่นรก นี้ชื่อว่ากลิ่นดิบของชน

เหล่านั้น เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบ

เลย.

การไม่กินปลาและเนื้อ ความเป็น

คนประพฤติเปลือย ความเป็นคนโล้น การ

เกล้าชฎา ความเป็นผู้หมักหมมด้วยธุลี การ

ครองหนังเสือพร้อมทั้งเล็บ การบำเรอไฟ

หรือแม้ว่าความเศร้าหมองในกายที่เป็นไป

ด้วยความปรารถนา ความเป็นเทวดา การ

ย่างกิเลสเป็นอันมากในโลก มนต์และการ

เซ่นสรวง ยัญและการซ่องเสพฤดู ย่อมไม่

ยังสัตว์ผู้ไม่ข้ามพ้นความสงสัยให้หมดจดได้.

ผู้ใด คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหก

เหล่านั้น รู้แจ้งอินทรีย์แล้ว ตั้งอยู่ในธรรม

ยินดีในความเป็นคนตรงและอ่อนโยน ล่วง

ธรรมเป็นเครื่องข้องเสียได้ ละทุกข์ได้ทั้ง-

หมด ผู้นั้นเป็นนักปราชญ์ ไม่ติดอยู่ในธรรม

ที่เห็นแล้ว และฟังแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 84

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบอกความ

ข้อนี้บ่อย ๆ ด้วยประการฉะนี้ ติสสดาบส

ผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์ได้ทราบความข้อนั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมุนี ทรงประกาศ

ด้วยพระคาถาทั้งหลาย อันวิจิตรว่า บุคคล

ผู้ที่ไม่มีกลิ่นดิบ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่

อาศัยแล้ว ตามรู้ได้ยาก.

ติสสดาบสฟังบทสุภาษิตซึ่งไม่มีกลิ่น

ดิบ อันเป็นเครื่องบรรเทาเสียซึ่งทุกข์ทั้งปวง

ของพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นผู้มีใจนอบน้อม

ถวายบังคมพระบาทของตถาคต ได้ทูลขอ

บรรพชา ณ ที่นั่งนั่นแล.

จบอามคันธสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 85

อรรถกถาอามคันธสูตรที่ ๒

อามคันธสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สามากจิงฺคูลกจีนกานิ จ เป็นต้น

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ :-

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น พราหมณ์ชื่อว่า อามคันธะ

บรรพชาเป็นดาบสพร้อมกับมาณพ ๕๐๐ คน ให้สร้างอาศรมอยู่ในระหว่าง

ภูเขา (หุบเขา) มีเผือกมันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร อยู่ที่หุบเขาแห่งนั้น

ดาบสไม่บริโภคปลาและเนื้อเลย. ครั้งนั้นโรคผอมเหลืองก็เกิดขึ้นแก่ดาบส

เหล่านั้น ผู้ไม่บริโภคของเค็ม ของเปรี้ยวเป็นต้น. ต่อแต่นั้น ดาบสเหล่านั้นก็

พูดกันว่า เราจะไปยังถิ่นมนุษย์ เพื่อเสพของเค็มและของเปรี้ยว ดังนี้แล้ว จึงได้

เดินทางไปถึงปัจจันตคาม ในปัจจันตคามนั้นมนุษย์ทั้งหลายเห็นดาบสเหล่านั้น

แล้ว ก็เลื่อมใสในดาบสเหล่านั้น นิมนต์ให้ฉันอาหาร มนุษย์ทั้งหลายได้น้อม

เตียง ตั่ง ภาชนะสำหรับบริโภคและน้ำมันทาเท้าเป็นต้น แก่ดาบสเหล่านั้น

ผู้ทำภัตกิจเสร็จแล้ว แสดงที่เป็นที่อยู่ด้วยกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

ขอท่านทั้งหลายจงอยู่ในที่นี้. ขอพวกท่านอย่าได้กระสันต์ ดังนี้แล้วก็พากัน

หลีกไป แม้ในวันที่สอง พวกมนุษย์ได้ถวายทานแก่ดาบสเหล่านั้น แล้วได้

ถวายทานวันละ ๑ บ้านตามลำดับเรือนอีก ดาบสทั้งหลายอยู่ในที่นั้นสิ้น ๔ เดือน

มีร่างกายแข็งแรงขึ้น เพราะได้เสพรสเค็มและรสเปรี้ยว จึงได้บอกแก่มนุษย์

ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย (อาวุโสทั้งหลาย) พวกเราจะไปละ. มนุษย์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 86

ได้ถวายน้ำมันและข้าวสารเป็นต้น แก่ดาบสเหล่านั้น. ดาบสเหล่านั้นถือเอา

น้ำมันและข้าวสารเป็นต้นเหล่านั้น ได้ไปยังอาศรมของตนนั้นเอง (ตามเดิม)

ก็ดาบสเหล่านั้นได้มาสู่บ้านนั้นทุก ๆ ปีเหมือนอย่างเคยปฏิบัติมา แม้พวกมนุษย์

ทราบว่าดาบสเหล่านั้นพากันมา จึงได้ตระเตรียมข้าวสารเป็นต้น ต้องการเพื่อ

จะถวายทาน และได้ถวายทานแก่ดาบสเหล่านั้นผู้มาแล้ว เหมือนเช่นทุกครั้ง.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดงธรรม-

จักรอันบวรแล้ว เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีโดยลำดับ ประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี

นั้น ทรงเห็นอุปนิสสัยสมบัติของดาบสเหล่านั้น เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีนั้น

มีหมู่ภิกษุแวดล้อม เสด็จจาริกไปอยู่ เสด็จถึงบ้านนั้นตามลำดับ มนุษย์ทั้งหลาย

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ถวายมหาทาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ธรรมแก่มนุษย์เหล่านั้น ด้วยพระธรรมเทศนานั้น มนุษย์เหล่านั้นบางพวก

สำเร็จเป็นพระโสดาบัน บางพวกสำเร็จเป็นพระสกทาคามี และพระอนาคามี

บางพวกบรรพชาแล้วบรรลุพระอรหัต พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จกลับมายัง

กรุงสาวัตถีเช่นเดิมอีก. ครั้งนั้น ดาบสเหล่านั้นได้มาสู่บ้านนั้น มนุษย์ทั้งหลาย

เห็นพวกดาบสแล้ว ก็ไม่ได้ทำการโกลาหลเช่นกับในคราวก่อน ดาบสทั้งหลาย

ถามพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลาย เพราะเหตุไรมนุษย์เหล่านี้จึงไม่เป็น

เช่นกับคราวก่อน หมู่บ้านแห่งนี้ ถูกลงราชอาชญาหรือหนอแล หรือว่าถูก

ประทุษร้ายด้วยทุพภิกขภัย หรือว่ามีบรรพชิตบางรูปซึ่งสมบูรณ์ด้วยคุณมีศีล

เป็นต้นมากกว่าพวกเรา ได้มาถึงหมู่บ้านแห่งนี้.

มนุษย์เหล่านั้นเรียนว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บ้านนี้จะถูกลงราชอาชญา

ก็หาไม่ ทั้งจะถูกประทุษร้ายด้วยทุพภิกขภัยก็หาไม่ ก็แต่ว่าพระพุทธเจ้าทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 87

อุบัติขึ้นแล้วในโลก พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงแสดงธรรมเพื่อ

ประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก ได้เสด็จมา ณ หมู่บ้านแห่งนี้. อามคันธดาบส

ฟังคำนั้นแล้วจึงพูดว่า คหบดีทั้งหลาย พวกท่านพูดว่า พุทฺโธ ดังนี้หรือ ?

มนุษย์ทั้งหลายกล่าวขึ้นสิ้น ๓ ครั้งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า

ย่อมกล่าวว่า พุทฺโธ ดังนี้. อามคันธดาบสยินดีแล้วเปล่งวาจาแสดงความ

ยินดีว่า แม้เสียงว่า พุทฺโธ นี้แล เป็นเสียงที่หาได้ยากในโลก ดังนี้

จึงได้ถามว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นเสวยกลิ่นดิบหรือหนอแล หรือว่าไม่

เสวยกลิ่นดิบ.

พวกมนุษย์ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อะไรคือกลิ่นดิบ อามคันธดาบส

กล่าวว่า ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย ปลาและเนื้อชื่อว่ากลิ่นดิบ. มนุษย์ทั้งหลาย

กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยปลาและเนื้อ. ดาบสฟังคำ

นั้นแล้วก็เกิดวิปฏิสาร (เดือดร้อนใจ) ว่า บุคคลผู้นั้นจะพึงเป็นพระพุทธเจ้า

หรือ หรือว่าไม่พึงเป็นพระพุทธเจ้า. ดาบสนั้นคิดอีกว่า ชื่อว่าการปรากฏขึ้น

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย บุคคลได้โดยยาก เราไปเฝ้าพระองค์แล้วถาม

จักทราบได้.

ต่อจากนั้น ดาบสนั้นจึงได้ไปยังที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ถามหนทาง

นั้นกะมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้รีบร้อนประดุจแม่โคที่หวงลูก ได้ไปถึงกรุงสาวัตถี

โดยการพักคืนหนึ่งในที่ทุกแห่ง เข้าไปยังพระเชตวันนั้นแล พร้อมกับบริษัท

ของตน. แม้พระผู้มีพระภาคเข้าทรงประทับนั่งบนอาสนะเพื่อแสดงธรรมใน

สมัยนั้น ดาบสทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้นิ่งไม่ถวายบังคม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 88

ได้นั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปราศรัยแสดงความชื่นชม

กับดาบสเหล่านั้น โดยนัยว่า ท่านฤาษีทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพออดทนได้

ละหรือ ดังนี้เป็นต้น. แม้ดาบสเหล่านั้นก็ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ข้าพระองค์ทั้งหลายพออดทนได้ ดังนี้เป็นต้น. ลำดับนั้นอามคันธฤาษี ได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์เสวยกลิ่นดิบ

หรือไม่เสวย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พราหมณ์ ชื่อว่ากลิ่นดิบนั้นคือ

อะไร ? ดาบสนั้นทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ปลาและเนื้อชื่อว่ากลิ่นดิบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ปลาและเนื้อไม่ใช่กลิ่นดิบ ก็แล

กิเลสทั้งปวงที่เป็นบาป เป็นอกุศลธรรม ชื่อว่ากลิ่นดิบ แล้วตรัสว่า ดูก่อน

พราหมณ์ ตัวท่านเองได้ถามถึงกลิ่นดิบในกาลบัดนี้ก็หามิได้ แม้ในอดีต

พราหมณ์ชื่อว่าติสสะก็ได้ถามถึงกลิ่นดิบกะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ

แล้ว ก็ติสสพราหมณ์ได้ทูลถามแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพยากรณ์

แล้วอย่างนี้ ดังนี้ แล้วได้ทรงนำมาซึ่งพระคาถาที่ติสสพราหมณ์ และพระผู้มี

พระภาคเจ้ากัสสปะตรัสแล้วนั้นแล เมื่อจะให้อามคันธพราหรมณ์ทราบด้วยคาถา

เหล่านี้ จะตรัสว่า สามากจิงฺคูลกจีนกานิ จ ดังนี้เป็นต้น. นี่คือเหตุเกิด

ขึ้นแห่งพระสูตรนี้ ในที่นี้เพียงเท่านี้ก่อน แต่ในอดีตกาลมีเหตุเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์พระนามว่ากัสสปะ บำเพ็ญบารมี ๘ อสงไขย

กับแสนกัป ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีชื่อว่า ธนวดี ปชาบดีของ

พรหมทัตตพราหมณ์ในเมืองพาราณสี แม้อัครสาวกก็เคลื่อนจากเทวโลกในวัน

นั้นเหมือนกัน อุบัติในครรภ์ของปชาบดีของพราหมณ์ผู้เป็นอนุปุโรหิต การถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 89

ปฏิสนธิและการคลอดจากครรภ์ของพระโพธิสัตว์ และอัครสาวกทั้งสองนั้น ได้

มีแล้วในวันเดียวกันนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้ ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อบุตรของ

พราหมณ์คนหนึ่งว่า กัสสปะ บุตรของพราหมณ์คนหนึ่งว่า ติสสะ ในวันเดียว

กันนั้นเอง. เด็กทั้งสองเหล่านั้นเป็นสหายเล่นฝุ่นกันมา ได้ถึงความเจริญวัย

โดยลำดับ. บิดาของติสสะได้สั่งลูกชายว่า ดูก่อนพ่อ สหายกัสสปะนี้ออกบวช

แล้ว จะเป็นพระพุทธเจ้า แม้เจ้าเองบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า พระนาม

ว่ากัสสปะนั้นแล้ว ก็จะพึงทำการสลัดออกจากภพเสียได้. ติสสะนั้นรับว่า

ดีละ แล้วก็ไปยังสำนักของพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อนสหาย แม้เราทั้งสอง

จักบรรพชาด้วยกัน. พระโพธิสัตว์รับว่า ดีละ. ต่อจากนั้นในกาลที่สหายทั้งสอง

เจริญวัยโดยลำดับ ติสสะพูดกับพระโพธิสัตว์ว่า สหาย มาเถิดเราจะบรรพชา

ด้วยกัน. พระโพธิสัตว์มิได้ออกบรรพชา. ติสสะคิดว่า ญาณของสหายนั้น

ยังไม่ถึงกาลแก่รอบก่อน ดังนี้แล้ว ตนเองจึงได้ออกบวชเป็นฤาษี ให้สร้าง

อาศรมอยู่ที่เชิงภูเขาในป่า. ในสมัยต่อมา แม้พระโพธิสัตว์ ทั้ง ๆ ที่ดำรงอยู่

ในเรือนนั้นเอง ก็กำหนดอานาปานสติ ทำฌาน ๔ และอภิญญาให้บังเกิดขึ้น

แล้วเสด็จไปที่ใกล้โคนต้นโพธิด้วยปราสาท (ด้วยฤทธิ์) แล้วอธิษฐานอีกว่า

ขอปราสาทจงดำรงอยู่ในที่ตามเดิมนั้นแล. ปราสาทนั้นก็ไปประดิษฐานอยู่ใน

ที่ของตนตามเดิม. ได้ยินว่าพระโพธิสัตว์ที่มิใช่บรรพชิต ไม่อาจจะเข้าถึงโคน

ต้นโพธิได้ เพราะฉะนั้น พระโพธิสัตว์บรรพชาแล้วจึงไปถึงโคนต้นโพธิ นั่ง

ทำความเพียรอยู่ ๗ วัน ทำให้แจ้งแล้วซึ่งสัมโพธิญาณโดยใช้เวลา ๗ วัน.

ณ กาลครั้งนั้น ที่ป่าอิสิปตนะมีบรรพชิตอยู่ถึง ๒ หมื่นรูป ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ตรัสเรียกบรรพชิตเหล่านั้นมาแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 90

ทรงแสดงธรรมจักร ในเวลาจบพระสูตรนั้นเอง บรรพชิตทุกรูปก็เป็นพระ-

อรหันต์ ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น มีภิกษุ ๒ หมื่นรูปเป็น

บริวาร ประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนะนั้นนั่นเอง และพระเจ้ากาสีพระนามว่า กิกี

ทรงอุปัฏฐากพระองค์ด้วยปัจจัย ๔.

ต่อมาวันหนึ่ง บุรุษชาวเมืองพาราณสีคนหนึ่ง แสวงหาวัตถุทั้งหลาย

มีแก่นจันทน์เป็นต้นที่ภูเขา ลุถึงอาศรมของติสสดาบส อภิวาทดาบสนั้นแล้ว

ได้ยืนอยู่ ณ ข้างหนึ่ง. ดาบสเห็นบุรุษนั้นแล้วถามว่า ท่านมาจากที่ไหน

บุรุษนั้นตอบว่า ผมมาจากเมืองพาราณสีขอรับ. ดาบสถามว่า ความเป็นไปที่

เมืองพาราณสีนั้นเป็นอย่างไรบ้าง. บุรุษนั้นตอบว่า ท่านผู้เจริญ พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ. บังเกิดขึ้นแล้วที่เมืองพาราณสีนั้น. ดาบส

ได้สดับคำที่ฟังได้โดยยากก็เกิดปีติโสมนัส แล้วถามว่า พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เสวยกลิ่นดิบหรือไม่เสวย. บุรุษนั้นถามว่า กลิ่นดิบคืออะไรขอรับ.

ดาบสตอบว่า กลิ่นดิบคือปลาและเนื้อสิคุณ.

บุรุษนั้นตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยปลา

และเนื้อ. ดาบสฟังคำนั้น แล้วก็เกิดวิปฏิสาร ดำริอีกว่า เราจะไปทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ถ้าหากว่าพระองค์จักตรัสว่า เราบริโภคกลิ่นดิบ

ต่อแต่นั้น เราก็จะห้ามพระองค์ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นไม่เหมาะสม

แก่ชาติและสกุลของพระองค์ ดังนี้แล้วคิดว่า เราบวชในสำนักของพระพุทธเจ้า

พระองค์นั้น จักกระทำการสลัดออกจากภพได้ ดังนี้แล้วจึงได้ถือเอาอุปกรณ์

(บริขาร) ที่เบา ๆ ไปถึงเมืองพาราณสีในเวลาเย็น โดยการพักราตรีเดียวในที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 91

ทั้งปวง เข้าไปแล้วสู่ป่าอิสิปตนะนั้นเอง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบน

อาสนะ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนาอยู่ในสมัยนั้นนั่นเอง. ดาบสเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไม่ถวายบังคม เป็นผู้นิ่งได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นดาบสนั้นแล้ว ตรัสปฏิสันถารโดยนัยที่ข้าพเจ้า

กล่าวแล้ว ในตอนต้นนั้นแล. แม้ดาบสนั้นกล่าวคำทั้งหลายเป็นต้นว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะผู้เจริญ พระองค์ทรงพออดทนได้อยู่หรือ.'

ดังนี้เป็นต้น แล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระกัสสปะผู้เจริญ พระองค์เสวยกลิ่นดิบหรือไม่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

พราหมณ์ เราหาได้เสวยกลิ่นดิบไม่. ดาบสทูลว่า ข้าแต่พระกัสสปะผู้เจริญ

สาธุ สาธุ พระองค์เมื่อไม่เสวยซากศพของสัตว์อื่น ได้ทรงกระทำกรรมดีแล้ว

ข้อนั้นสมควรแล้วแก่ชาติ สกุล และโคตร ของพระกัสสปะผู้เจริญ.

ต่อแต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงดำริว่า เราพูดว่าเราไม่บริโภค

กลิ่นดิบ ดังนี้หมายถึง (กลิ่นดิบ) คือกิเลสทั้งหลาย พราหมณ์เจาะจงเอา

ปลาและเนื้อ ทำอย่างไรหนอ เราจะไม่เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาตพรุ่งนี้ จะพึง

บริโภคบิณฑบาตที่เขานำมาจากวังของพระเจ้ากิกิ คาถาปรารภกลิ่นดิบจักเป็น

ไปอย่างนี้ ต่อแต่นั้นเราจะให้พราหมณ์เข้าใจได้ ด้วยพระธรรมเทศนา

ด้งนี้แล้ว ทรงทำบริกรรมสรีระแต่เช้าตรู่ในวันที่สอง เสด็จเข้าไปยังพระคันธ-

กุฎี ภิกษุทั้งหลายเห็นพระคันธกุฎีปิด จึงรู้ได้ว่าวันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ไม่ประสงค์จะเสด็จเข้าไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย จึงได้กระทำปทักษิณพระ

คันธกุฎี แล้วเข้าไปเพื่อบิณฑบาต แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากพระคันธกุฎี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 92

แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ฝ่ายดาบสแลต้มกิ่งใบไม้ แล้วเคี้ยวกิน

แล้วนั่งอยู่ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้ากาสิกราชพระนามว่า กิกิ

เห็นภิกษุทั้งหลายเที่ยวบิณฑบาตจึงตรัสถามว่า ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จไปไหน และได้ทรงสดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในวิหาร มหา-

บพิตร. แล้วจึงได้ทรงสั่งโภชนะที่ถึงพร้อมด้วยกับและรสต่าง ๆ สมบูรณ์ด้วย

ชนิดของเนื้อแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

อำมาตย์ทั้งหลายไปสู่วิหาร กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายน้ำ

ทักษิโณทก เมื่อจะอังคาสก็ได้ถวายข้าวยาคู อันถึงพร้อมด้วยเนื้อนานาชนิด

เป็นครั้งแรก ดาบสเห็นแล้วจึงได้ยืนคิดอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเสวย

หรือไม่หนอ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อดาบสนั้นดูอยู่นั้นแล จึงทรงดื่มข้าวยาคู

ทรงใส่ชิ้นเนื้อเข้าไปในพระโอษฐ์ ดาบสเห็นเเล้วก็โกรธ เมื่อพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงดื่มข้าวยาคูเสร็จแล้ว อำมาตย์ทั้งหลายก็ได้ถวายโภชนะอันประกอบ

ด้วยกับข้าว อันมีรสต่าง ๆ อีก ดาบสเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโภชนะ

แม้นั้นเสวยอยู่ ก็โกรธยิ่งขึ้น กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ฉันปลาและเนื้อ.

ครั้งนั้น ดาบสได้เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงทำภัตกิจเสร็จ

แล้ว ทรงล้างมือและเท้าประทับนั่งอยู่ ทูลว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะผู้เจริญ ท่านตรัส

คำเท็จ ข้อนั้นไม่ใช่กิจของบัณฑิต ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายทรง

ติเตียนมุสาวาทไว้แล้ว แม้พวกฤาษีเหล่านั้นเหล่าใดยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย

มูลผลาผลในป่า อยู่ ณ เชิงเขา ฤาษีแม้เหล่านั้นก็ไม่ยอมพูดเท็จ เมื่อจะ

พรรณหาคุณทั้งหลายของฤาษีทั้งหลายด้วยพระคาถา จึงกล่าวว่า สามากจิงฺ-

คูลกจีนกานิ จ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 93

ติญชาติและธัญชาติที่เข้าถึงซึ่งความเป็นสิ่งอันบุคคลขจัด (เปลือก

ออกเสียแล้ว) หรือว่าเลือกเอาแต่รวงทั้งหลายแล้วถือเอา ชื่อว่า ข้าวฟ่าง

ในคาถานั้น อนึ่ง ลูกเดือย (จิงฺคูลกา) มีรวงซึ่งมีสัณฐานเหมือนดอกกณวีระ.

ถั่วเขียว (จีนกานิ) ซึ่งเขาปลูกแล้ว เกิดขึ้นที่เชิงเขาในดง ชื่อว่า

จีนกานิ.

ใบไม้ (สีเขียว) อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปตฺตปฺผล.

เผือกมันอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มูลปฺผล.

ผลไม้และผลเถาวัลย์อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ควิปฺผล.

อีกประการหนึ่ง เผือกมัน ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า มูล.

ผลไม้และผลแห่งเถาวัลย์ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า ผล.

ผลแห่งกระจับและแห้วเป็นต้น ซึ่งเกิดในน้ำ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า

ควิปฺผล.

สองบทว่า ธมฺเมน ลทฺธ ความว่า ละมิจฉาชีพ มีการเป็นทูต

รับใช้ และการไปสื่อข่าว แล้วได้มาด้วยการท่องเที่ยวขอเขาเลี้ยงชีพ.

พระอริยเจ้าทั้งหลายผู้สงบ ชื่อว่า สต.

บทว่า อสมานา ได้แก่ บริโภคอยู่.

ด้วยบาทพระคาถาว่า น กามกามา อลิก ภณนฺติ ฤๅษีย่อม

แสดงถึงการติเตียนต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการสรรเสริญฤๅษีทั้งหลายว่า

ฤๅษีทั้งหลายเหล่านั้น ไม่ยึดถือของของตน บริโภคอยู่ซึ่งข้าวฟ่างเป็นต้นเหล่านั้น

อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่พูดคำเหลาะแหละเพราะปรารถนากาม คือว่าปรารถนากาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 94

อยู่ก็ไม่พูดคำเท็จ อย่างที่พระองค์ปรารถนากามทั้งหลายอันมีรสอร่อยเป็นต้น

เสวยกลิ่นดิบอยู่นั้นแล ก็ยังตรัสว่า พราหมณ์ เราหาบริโภคกลิ่นดิบไม่

ชื่อว่าตรัสคำไม่จริง (เหลาะแหละ) ดังนี้. พราหมณ์ครั้นติเตียนพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยการอ้างคำสรรเสริญฤๅษีทั้งหลายอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดง

เรื่องการติเตียนตามที่ตนประสงค์ จะติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยนิปปริยาย

จึงได้กล่าวว่า ยทสมาโน เป็นต้น.

อักษรในคาถานั้นเป็นการเชื่อมบท แต่เนื้อความมีดังต่อไปนี้ :-

เนื้อนกมูลไถหรือเนื้อนกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งกระทำดีแล้วด้วยการ

บริกรรมในเบื้องต้น มีการล้างและการหั่นเป็นต้น สำเร็จดีแล้วด้วยการบริกรรม

ในภายหลัง มีการปรุงและการย่างเป็นต้น อันชนเหล่าอื่นผู้ใคร่ธรรมซึ่งสำคัญ

อยู่ว่า ท่านผู้นี้ไม่ใช่มารดา ไม่ใช่บิดา (ของเรา) แต่อีกอย่างหนึ่งแล ท่าน

ผู้นี้เป็นทักขิเณยยบุคคล ดังนี้ ได้ถวายไป ชื่อว่าตกแต่งดีแล้วในการการทำ

สักการะ.

ชื่อว่า ประณีต คือตกแต่งเรียบร้อย คือว่าประณีต เพราะเป็น

โภชนะมีรสเลิศ เพราะเป็นโภชนะมีโอชะ เพราะเป็นโภชนะที่สามารถจะนำมา

ซึ่งกำลังและไขมัน พระองค์เสวยอยู่ คือให้นำมาอยู่ คือว่าพระองค์เสวยเนื้อ

อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียวก็หามิได้ โดยที่แท้แล พระองค์เสวยข้าวสาลีแม้นี้

ได้แก่ ข้าวสุกแห่งข้าวสาลีซึ่งได้เลือกกากออกแล้ว ดาบสเรียกพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วยอ้างพระโคตรว่า ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระองค์นั้นเสวยกลิ่นดิบ.

พระองค์เสวยอยู่ซึ่งเนื้อชนิดใดชนิดหนึ่ง และเสวยอยู่ซึ่งข้าวสาลีนี้ ข้าแต่ท่าน

กัสสปะ พระองค์ชื่อว่าเสวยกลิ่นดิบ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 95

ดาบสครั้นติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะอาหารอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะยกเรื่องมุสาวาทขึ้นติเตียน จึงกล่าวว่า น อามคนฺโธ ฯเปฯ สุสงฺขเตหิ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ดาบสเมือกล่าวบริภาษอยู่ว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม ผู้เว้นจากคุณของพราหมณ์ ข้า

แต่ท่านผู้เป็นพราหมณ์ผู้สมมติแต่เพียงชาติ พระองค์เป็นผู้ที่ข้าพระองค์ทูลถาม

ในกาลก่อนแล้ว พระองค์ก็ตรัสอย่างนี้ว่า คือว่าพระองค์ตรัสโดยส่วนเดียว

อย่างนี้ว่า กลิ่นดิบไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า ดังนี้.

บทว่า สาลีนมนฺน ได้แก่ ข้าวสุกแห่งข้าวสาลี.

บทว่า ปริภุญฺชมาโน ได้แก่ บริโภคอยู่.

บาทคาถาว่า สกุนฺตมเสหิ สุสงฺขเตหิ ความว่า ดาบสกล่าวถึง

เนื้อนกซึ่งพระราชานำมาถวายแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าในครั้งนั้น ก็ดาบสเมื่อจะ

กล่าวอย่างนี้นั้นเอง จึงได้แหงนมองดูพระวรกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ใน

เบื้องล่างตั้งแต่ฝ่าพระบาทจนถึงปลายพระเกศาในเบื้องบน จึงได้เห็นความ

สมบูรณ์แห่งพระลักษณะอันประเสริฐ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ประ-

การ รวมทั้งได้เห็นการแวดล้อมแห่งพระรัศมีที่ขยายออกไปวาหนึ่ง จึงคิดว่า

ผู้ที่มีกายประดับด้วยมหาปุริสลักษณะเป็นต้นเห็นปานนี้ ไม่ควรที่จะพูดเท็จ ก็

พระอุณาโลมนี้ ซึ่งเกิดขึ้นในระหว่างคิ้ว สีขาวอ่อนนุ่มคล้ายนุ่น และขนที่

ขุมขนทั้งหลาย เป็นอเนกเกิดขึ้นแก่ท่านผู้นี้. เพราะผลอันไหลออกแห่งสัจวาจา

แม้ในระหว่างภพนั่นเอง ก็บุคคลเช่นนี้นั้นจะพูดเท็จในบัดนี้ได้อย่างไร กลิ่น

ดิบของพระผู้มีพระภาคเจ้าจะต้องเป็นอย่างอื่นแน่แท้ พระองค์ตรัสคำนี้หมายถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 96

กลิ่นอันใดว่า พราหมณ์เราหาได้บริโภคกลิ่นดิบไม่ ดังนี้ ไฉนหนอเราจะพึง

ถามถึงกลิ่นนั้น เป็นผู้มีมานะมากับเกิดขึ้นแล้ว เมื่อจะเจรจาด้วยอำนาจโคตร

นั้นเอง จึงกล่าวคาถาที่เหลือนี้ว่า :-

ข้าแต่ท่านกัสสปะ ข้าพระองค์ขอ

ถามเนื้อความนี้กะพระองค์ว่า กลิ่นดับของ

พระองค์มีประการเป็นอย่างไร ดังนี้.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแก้ถึงกลิ่นดิบแก่พราหมณ์นั้น

จึงตรัสพระดำรัสเป็นต้นว่า ปาณาติปาโต ดังนี้.

การฆ่าสัตว์ชื่อว่า ปาณาติบาต ในคาถานั้น. ในคำว่า วธจฺเฉท-

พนฺธน นี้ มีอธิบายว่า การทุบตีทำร้ายสัตว์ทั้งหลายด้วยท่อนไม้เป็นต้น ชื่อว่า

วธะ การทุบตี การตัดมือและเท้าเป็นต้น ชื่อว่า เฉทะ การตัด การจอง

จำด้วยเชือกเป็นต้น ชื่อว่า พันธนะ การจองจำ.

การลักและการพูดเท็จ ชื่อว่า เถยยะและมุสาวาท.

การให้ความหวังเกิดขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า เราจักให้ เราจักกระทำ

แล้วก็ทำให้หมดหวังเสีย ชื่อว่า นิกติ การกระทำให้มีความหวัง.

การให้ผู้อื่นถือเอาสิ่งที่ไม่ใช่ทองว่าเป็นทองเป็นต้น ชื่อว่า วัญจนา

การหลอกลวง.

การเล่าเรียนคัมภีร์เป็นอเนกที่ไม่มีประโยชน์ ชื่อว่า อัชเฌนกุตติ

การเรียนคัมภีร์ที่ไร้ประโยชน์.

ความพระพฤติผิดในภรรยาที่ผู้อื่นหวงแหน ชื่อว่า ปรทารเสวนา

การคบหาภรรยาผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 97

บาทพระคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มสโภชน ความว่า ความ

ประพฤติด้วยอำนาจอกุศลธรรม มีปาณาติบาตเป็นต้นนี้ ชื่อว่า อามคันธะ

กลิ่นดิบ คือ เป็นกลิ่นทีมีพิษ เป็นกลิ่นดุจซากศพ. ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะไม่เป็นที่พอใจ เพราะคลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาดคือ

กิเลส เพราะเป็นของที่สัปบุรุษทั้งหลายเกลียด และเพราะนำมาซึ่งความเป็น

กลิ่นที่เหม็นอย่างยิ่ง.

สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด ซึ่งมีกิเลสอันบังเกิดขึ้นแล้ว ด้วยกลิ่นดิบ

ทั้งหลายเหล่าใด สัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่งกว่า

กลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้น แม้ร่างที่ตายแล้วของคนที่หมดกิเลสทั้งหลาย ก็ยัง

ไม่จัดว่ามีกลิ่นเหม็น เพราะฉะนั้น กลิ่นนี้ (คือการฆ่าสัตว์เป็นต้น ) จึงเป็น

กลิ่นดิบ ส่วนเนื้อและโภชนะที่ผู้บริโภคไม่ได้เห็น ไม่ได้ยิน และไม่ได้รังเกียจ

(คือไม่สงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อตน) จัดเป็นสิ่งหาโทษมิได้ เพราะฉะนั้น เนื้อและ

โภชนะจึงไม่ใช่กลิ่นดิบเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนากลิ่นดิบโดยนัยหนึ่ง ด้วยเทศนา

ที่เป็นธรรมาธิษฐานอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเหตุที่สัตว์เหล่านั้น ๆ ประกอบ

ด้วยกลิ่นดิบทั้งหลายเหล่านั้น ๆ สัตว์ผู้หนึ่งเท่านั้น จะประกอบด้วยกลิ่นดิบ

ทุกอย่างก็หามิได้ และกลิ่นดิบทุกอย่าง จะประกอบกับสัตว์ผู้เดียวเท่านั้น ก็หา

มิได้ ฉะนั้นเมื่อจะทรงประกาศกลิ่นดิบเหล่านั้น ๆ แก่สัตว์เหล่านั้น เมื่อจะ

ทรงวิสัชนากลิ่นดิบด้วยเทศนาที่เป็นบุคคลธิษฐานก่อนโดยนัยว่า ชนทั้งหลาย

เหล่าใดในโลกนี้ ไม่สำรวมแล้วในกามทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น จึงได้ทรงภาษิต

พระคาถา ๒ พระคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 98

ในบาทพระคาถานั้น คาถาว่า เย อิธ กาเมสุ อสญฺตา ชนา

ความว่า ปุถุชนจำพวกใดจำพวกหนึ่งในโลกนี้ ไม่สำรวม เพราะทำลายความ

สำรวมเสียแล้ว ในกามทั้งหลายกล่าวคือการเสพกาม โดยการเว้นเขตแดนใน

ชนทั้งหลายมีมารดาและน้าสาวเป็นต้น.

สองบทว่า รเสสุ คิทฺธา ความว่า เกิดแล้ว คือเยื่อใยแล้ว สยบแล้ว

คือได้ประสบแล้ว ในรสทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยชิวหาวิญญาณเป็นผู้มีปกติ

เห็นว่าไม่มีโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องสลัดออก บริโภครสทั้งหลายอยู่.

บทว่า อสุจีกมิสฺสิตา ความว่า คลุกเคล้าด้วยของไม่สะอาด

กล่าวคือมิจฉาทิฏฐิมีประการต่าง ๆ เพื่อประโยชน์แก่การได้รส เพราะความติด

ในรสนั้น.

บทว่า นติถีกทิฏฺิ ความว่า ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ อย่าง

เช่น มิจฉาทิฏฐิข้อที่ว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผลเป็นต้น.

บทว่า วิสมา ความว่า ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้น ที่ไม่สม่ำเสมอ.

บทว่า ทุรนฺนยา ความว่า เป็นผู้อันบุคคลอื่นแนะนำได้โดยยาก

ได้แก่ ผู้ที่ประกอบด้วยการไม่สละคืน การยึดมั่นถือมั่นในทิฏฐิที่ผิด ๆ.

บทว่า เอสามคนฺโธ ความว่า พึงทราบกลิ่นดิบที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าแสดงเฉพาะในบุคคล ด้วยคาถานี้ว่ามี ๖ ชนิด ด้วยอรรถที่

พระองค์ตรัสไว้ในตอนต้น แม้อื่นอีกว่า ความไม่สำรวมในกาม ๑ การติด

ในรส ๑ อาชีววิบัติ ๑ นัตถิกทิฏฐิ ๑ ความเป็นผู้ไม่สม่ำเสมอในทุจริตมีกาย

ทุจริตเป็นต้น ๑ ความเป็นผู้แนะนำได้ยาก ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 99

คำว่า น หิ มสโภชน ความว่า ก็เนื้อและโภชนะหาใช่กลิ่นดิบ

ไม่ ด้วยอรรถตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้นั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในคาถาที่ ๒ ดังต่อไปนี้.

สองบทว่า เย ลูขสา ความว่า ชนเหล่าใด เศร้าหมอง ไม่มีรส

อธิบายว่า ประกอบตนไว้ในอัตตกิลมถานุโยค.

บทว่า ทารุณา ได้แก่ หยาบช้า กักขละ คือประกอบด้วยความ

เป็นผู้ว่ายาก.

บทว่า (ปร) ปิฏฺิมสิกา ความว่า ต่อหน้า ก็พูดไพเราะ แล้วก็

พูดติเตียนในที่ลับหลัง จริงอยู่ ชนทั้งหลายเหล่านี้ ไม่อาจจะแลดูซึ่งหน้าได้

เป็นราวกะว่าแทะเนื้อหลังของชนทั้งหลายลับหลัง เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียก

ว่า หน้าไว้หลังหลอก.

บทว่า มิตฺตทุพฺภิโน คือ ผู้ประทุษร้ายมิตร มีคำอธิบายว่า ปฏิบัติ

ผิดต่อมิตรทั้งหลายผู้ให้ความคุ้นเคย ในเรื่องภรรยา ทรัพย์ และชีวิต ใน

ที่นั้น ๆ.

บทว่า นิกฺกรุณา ความว่า ปราศจากความเอ็นดู คือต้องการให้

สัตว์ทั้งหลายพินาศ.

บทว่า อติมาโน ได้แก่ ประกอบด้วยการถือตัวจัด ดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า คนบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นผู้อื่นด้วยกระทบถึงชาติ

กำเนิด ฯลฯ หรือด้วยอ้างถึงวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ความถือตัวเห็นปานนี้

ใด ฯลฯ ความเป็นผู้มีจิตเหมือนกับธง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 100

บทว่า อทานสีลา คือ มีปกติไม่ให้ ได้แก่ มีจิตใจน้อมไปเพื่อไม่ให้

อธิบายว่า ไม่ยินดีในการจ่ายแจก.

หลายบทว่า น จ เทนฺติ กสฺสจิ ความว่า ก็เพราะเหตุที่มีปกติไม่

ให้นั้น แม้จะเป็นผู้ถูกขอก็ไม่ยอมให้อะไรแก่ใคร ๆ คือว่าเป็นเช่นกับด้วย

มนุษย์ในสกุลอทินนปุพพกะพราหมณ์ ย่อมจะเกิดเป็นนิชฌามตัณหิกเปรต

ในสัมปรายภพ.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาทานสีลา ดังนี้ก็มี ความว่า เป็นผู้มี

ปกติรับอย่างเดียว แต่ก็ไม่ยอมให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ.

บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มสโภชน ความว่า ผู้ศึกษาพึง

ทราบว่ากลิ่นดิบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเจาะจงบุคคลทั้งหลายด้วยคาถา

นี้มี ๘ ชนิด ด้วยอรรถตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในตอนต้นอื่นอีก

คือ ความเป็นผู้มีรสที่เศร้าหมอง ๑ ความทารุณ ๑ หน้าไหว้หลังหลอก ๑

ความเป็นผู้คบมิตรชั่ว ๑ การไร้ความเอ็นดู ๑ การถือตัวจัดหนึ่ง ๑ การมี

ปกติไม่ให้ ๑ และการไม่สละ ๑ เนื้อและโภชนะให้ใช้กลิ่นดิบเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัส ๒ พระคาถาด้วยเทศนาเป็นบุคลาธิษ-

ฐานอย่างนี้แล้ว ก็ได้ทรงทราบถึงการอนุวัตรตามอัธยาศัยของดาบสนั้นอีก จึง

ได้ตรัสพระคาถา ๑ (คาถา) ด้วยเทศนาที่เป็นธรรมาธิษฐาน.

ความโกรธในพระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าว

ไว้แล้วในอุรคสูตร ความมัวเมาแห่งจิต มีประเภทดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ในวิภังค์โดยนัยว่า ความเมาในคติ ความเมาในโคตร ความเมาใน

ความไม่มีโรค เป็นต้น ชื่อว่า มโท ความเมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 101

ความเป็นผู้แข็งกระด้าง ชื่อว่า ถมฺโภ ความเป็นคนหัวดื้อ.

การตั้งตนไว้ในทางที่ผิด ได้แก่การตั้งตนไว้ผิดจากพระดำรัสที่พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยอันชอบธรรม ชื่อว่า ปจฺจุปฺปฏฺานา การตั้ง

ตนไว้ผิด.

การปกปิดบาปที่ตนกระทำไว้ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าจำแนกไว้ใน

คัมภีร์วิภังค์ โดยนัยเป็นต้นว่า คนบางคนในโลกนี้ประพฤติกายทุจริต ชื่อว่า

มายา หลอกลวง.

การริษยาในลาภสักการะของบุคคลอื่นเป็นต้นชื่อว่า อุสฺสุยา ริษยา.

คำที่บุคคลยกขึ้น มีการอธิบายว่า การยกตนขึ้น ชื่อว่า ภสฺสสมุสฺ-

โสโย การยกตน.

ความถือตัวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า คน

บางคนในโลกนี้ถือตัวว่าเสมอกับผู้อื่นในกาลก่อน ด้วยชาติกำเนิดเป็นต้น ฯลฯ

หรือด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่มาภายหลังยกตนว่าเสมอ ไม่ยอมรับว่าตน

เองเลวกว่าคนอื่น มานะเห็นปานนี้ใด ฯลฯ ความเป็นผู้มีจิตดุจธง ชื่อว่า

มานาติมาโน การถือตัว.

การสมาคมกับอสัปบุรุษทั้งหลาย ชื่อว่า อสพฺภิสนฺถโว การสมาคม

กับอสัตบุรุษ.

บาทพระคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มสโภชน ความว่า อกุศล

ราศี ๙ อย่างมีความโกรธเป็นต้นนี้ พึงทราบว่า เป็นกลิ่นดิบ โดยอรรถ

ตามที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ในตอนต้นนั้นแล เนื้อและโภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่น

ดิบเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 102

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงแสดงกลิ่นดิบ ๙ อย่าง ด้วยเทศนาที่เป็น

ธรรมาธิษฐานอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงวิสัชนากลิ่นดิบด้วยเทศนาที่เป็นบุคลา-

ธิษฐานที่นัยตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแลแม้อีก จึงได้ทรงภาษิต

๓ พระคาถา.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เย ปาปสีลา ความว่า ชนเหล่าใด

ปรากฏในโลกว่ามีปกติประพฤติชั่ว เพราะเป็นผู้มีความประพฤติชั่ว.

การยืมหนี้แล้วฆ่าเจ้าหนี้เสียเพราะไม่ใช้หนี้นั้น และการพูดเสียดแทง

เพราะคำส่อเสียด ตามนัยที่กล่าวไว้ในวสลสูตร ชื่อว่า อิณฆาตสูจกา ผู้ฆ่า

เจ้าหนี้และพูดเสียดแทงเจ้าหนี้.

บาทคาถาว่า โวหารกูฏา อิธ ปาฏิรูปิกา ความว่า ชนทั้งหลาย

ดำรงอยู่แล้ว ในฐานะที่ตั้งอยู่ในธรรม (เป็นผู้ตัดสินความ) รับค่าจ้างแล้ว ทำ

เจ้าของให้พ่ายแพ้ ชื่อว่าผู้พูดโกง เพราะประกอบด้วยโวหารที่โกง ชื่อว่า

ปาฏิรูปิกา คนผู้หลอกลวง เพราะเอาเปรียบผู้ตั้งอยู่ในธรรม.

อีกประการหนึ่ง บทว่า อิธ ได้แก่ ในศาสนา.

บทว่า ปาฏิรูปิกา ได้แก่ พวกคนทุศีล.

จริงอยู่. เพราะเหตุคนทุศีลเหล่านั้น มีการสำรวมอิริยาบถให้งดงาม

เรียบร้อย เป็นต้น ซึ่งจะเปรียบได้กับท่านผู้มีศีล ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นคนผู้

หลอกลวง

บาทคาถาว่า นราธมา เยธ กโรนฺติ กิพฺพิส ความว่า ชนเหล่า

ใด เป็นคนต่ำทรามในโลกนี้ ย่อมกระทำกรรมหยาบช้า กล่าวคือการปฏิบัติผิด

ในมารดาและบิดาทั้งหลาย และในพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 103

บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มสโภชน ความว่า กลิ่นชนิดนี้

ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ด้วยคาถานี้ อันตั้งอยู่แล้วในบุคคล เป็น

บุคลาธิษฐาน ผู้ศึกษาพึงทราบกลิ่นแม้อื่นอีก ๖ ชนิด โดยอรรถที่ข้าพเจ้า

กล่าวไว้แล้วในกาลก่อนว่า ความเป็นผู้มีปกติประพฤติชั่ว ๑ การกู้หนี้มาแล้ว

ไม่ใช้ ๑ การพูดเสียดสี ๑ การเป็นผู้พิพากษาโกง ๑ การเป็นคนหลอกลวง

๑ การกระทำที่หยาบช้า ๑ เนื้อและโภชนะไม่ใช่กลิ่นดิบเลย ดังนี้.

บาทคาถาว่า เย อิธ ปาเณสุ อสยตา ชนา ความว่า ชนเหล่า

ใดในโลกนี้ ฆ่าสัตว์ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง เพราะประพฤติตามความอยาก

ชื่อว่าไม่สำรวมแล้ว เพราะไม่กระทำแม้สักว่าความเอ็นดูในสัตว์.

บาทคาถาว่า ปเร สมาทาย วิเหสมุยฺยุตา ความว่า ถือเอา

ทรัพย์หรือชีวิตอันเป็นของที่มีอยู่ของบุคคลอื่น ต่อแต่นั้นก็ประกอบการเบียด

เบียน โดยการใช้ฝ่ามือ ก้อนดิน และท่อนไม้ต่อชนทั้งหลายผู้อ้อนวอนหรือ

ห้ามอยู่ว่า "ท่านทั้งหลายอย่าทำอย่างนี้" ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง จับสัตว์ทั้งหลายเหล่าอื่นได้แล้ว ก็ยึดถือไว้อย่างนี้ว่า

เราจะฆ่าสัตว์ ๑๐ ตัวในวันนี้ จะฆ่า ๒๐ ตัวในวันนี้ ดังนี้ แล้วก็ทำการ

เบียดเบียนสัตว์เหล่านั้น ด้วยการฆ่าและการจองจำเป็นต้น.

บทว่า ทุสฺสีลลุทฺทา ความว่า ผู้ทุศีล เพราะประพฤติชั่ว และ

ชื่อว่าผู้ดุร้าย เป็นผู้มีการงานหยาบช้า เพราะเป็นผู้มีฝ่ามือเปื้อนเลือด ชน

ทั้งหลายผู้มีกรรมอันเป็นบาป มีชาวประมง นายพรานเนื้อและนายพรานนก

เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ในพระคาถานี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 104

บทว่า ผรุสา ได้แก่ มีวาจาหยาบคาย.

บทว่า อนาทรา ได้แก่ผู้เว้นจากความเอื้อเฟื้ออย่างนี้ว่า พวกเรา

จักไม่กระทำในบัดนี้ พวกเราเห็นบาปนี้ จักงดเว้น ดังนี้.

บาทคาถาว่า เอสามคนฺโธ น หิ มสโภชน ความว่า กลิ่นนี้

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยคาถานี้ ซึ่งตั้งอยู่แล้วในบุคคลทั้งที่ข้าพเจ้า

กล่าวไว้แล้ว และยังไม่ได้กล่าวโดยกาลก่อน เป็นต้นว่า การฆ่า การตัด

และการจองจำ ชื่อว่า ปาณาติบาต ดังนี้.

บัณฑิตพึงทราบ กลิ่นดิบ ๖ ชนิด คือ ความไม่สำรวมในสัตว์

ทั้งหลาย ๑ การเบียดเบียนสัตว์เหล่าอื่น ๑ ความเป็นผู้ทุศีล ๑ ความเป็นผู้

ร้ายกาจ ๑ ความเป็นผู้หยาบคาย ๑ ความเป็นผู้ไม่เอื้อเฟื้อ ๑ เนื้อและ

โภชนะไม่ชื่อว่ากลิ่นดิบเลย สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในตอนต้นว่า ข้อนั้น

ท่านหาได้กล่าวไว้อีกด้วยเหตุทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า เพื่อปรารถนาจะฟัง

เพื่อการกำหนด เพื่อกระทำให้มั่นคง ไม่.

ก็เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสถึงเนื้อความนี้ไว้ข้าง

หน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ถึงฝั่งแห่งมนต์ ได้ตรัสบอกเนื้อความนี้อย่างนี้

บ่อย ๆ ชื่อว่าให้ผู้อื่นทราบเนื้อความนั้น.

บาทคาถาว่า เอเตสุ คิทฺธา วิรุทฺธาติปาติโน ความว่า กำหนัด

แล้ว ด้วยความกำหนัดในสัตว์เหล่านั้น โกรธแล้วด้วยโทสะ ไม่เห็นโทษด้วย

โมหะ และฆ่าสัตว์ด้วยการประพฤติผิดในสัตว์ทั้งหลายบ่อย ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 105

อีกอย่างหนึ่ง ราคะ โทสะ และโมหะ กล่าวคือ ความกำหนัด ความ

โกรธ และการฆ่าสัตว์เหล่าใด ชนทั้งหลายกำหนัด โกรธ และฆ่าสัตว์ด้วย

ราคะ โทสะ และโมหะเหล่านั้น ตามที่มันเกิดขึ้นในบาปกรรมทั้งหลาย ซึ่ง

ท่านกล่าวแล้วโดยนัยว่า การฆ่า การตัด และการจองจำในสัตว์เหล่านี้ ชื่อว่า

ปาณาติบาต.

บทว่า นิจฺจุยฺยุตา ความว่า ประกอบในอกุศลกรรมอยู่เป็นนิตย์

คือบางคราวพิจารณาแล้วก็ไม่งดเว้น.

บทว่า เปจฺจ ได้แก่ ไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น.

บาทคาถาว่า ตม วชนฺติ เย ปตนฺคติ สตฺตา นิรย อวสิรา

ความว่า ชนเหล่าใดไปสู่ที่มืด กล่าวคือ โลกันตริกนรกอันมืดมนอนธกาล

หรืออันต่างด้วยสกุลมีสกุลต่ำเป็นต้น และสัตว์เหล่าใด ผู้มีหัวตกลง ได้แก่

มีศีรษะตกลงไปเบื้องล่าง เพราะย่อมตกลงไปยังนรก อันต่างด้วยอเวจีนรก

เป็นต้น.

บทว่า เอสามคนฺโธ ความว่า กลิ่นดิบ ๓ ประเภทโดยอรรถตาม

ที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว อันเป็นเค้ามูลแห่งกลิ่นดิบทั้งปวง อันต่างโดยความ

กำหนัด. ความโกรธ และการฆ่าสัตว์ เพราะเป็นเหตุให้สัตว์เหล่านั้นไปสู่ที่มืด

และตกนรก นี้ ชื่อว่า กลิ่นดิบ.

บทว่า น หิ มสโภชน ความว่า แต่เนื้อและโภชนะ ไม่ชื่อว่า

กลิ่นดิบเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 106

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนากลิ่นดิบโดยปรมัตถ์ และทรง

ประกาศความที่กลิ่นดิบเป็นทางแห่งทุคติอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ดาบสมีความสำคัญ

ในปลาเนื้อและโภชนะใดว่าเป็นกลิ่นดิบ และมีความสำคัญว่าเป็นทางแห่ง

ทุคติ เป็นผู้ปรารถนาความบริสุทธิ์ ด้วยการไม่บริโภคปลาและเนื้อนั้น จึง

ไม่ยอมบริโภคโภชนะ คือปลาและเนื้อนั้น เมื่อจะทรงแสดงซึ่งความที่เนื้อและ

โภชนะนั้นและโภชนะอื่น ๆ เห็นปานนั้น ไม่สามารถจะชำระตนให้บริสุทธิ์ได้

จึงตรัสคาถาที่ ๖ นี้ว่า น มจฺฉมส เป็นต้น.

ในคาถานั้น พึงเชื่อมบททั้งปวง (คือ บทว่า โสเธติ มจฺจ

อวิติณฺณกงฺข ย่อมไม่ยังสัตว์ผู้ข้ามความสงสัยไม่ได้ให้บริสุทธิ์ได้) ด้วยบท

สุดท้ายอย่างนี้ว่า การไม่กินปลาและเนื้อ มิได้ทำสัตว์ผู้ข้ามความสงสัยไม่ได้

ให้บริสุทธิ์ได้ การบวงสรวง การบูชายัญ และการซ่องเสพฤดู หาได้

ยังสัตว์ผู้ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ให้บริสุทธิ์ได้ ก็ในข้อนี้ พระโบราณาจารย์

ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้ว่า คำว่า น มจฺฉมส ได้แก่ ปลาและเนื้อ มิได้

ทำบุคคลผู้ไม่บริโภคให้บริสุทธิ์ได้ การไม่บริโภคปลาและเนื้อก็ไม่อาจจะ

ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้เหมือนกัน ดังนี้เป็นต้น. ด้วยว่าการกล่าว อย่างนี้จะ

พึงดีกว่า (คือเข้าใจได้ง่ายกว่า) แม้พระบาลีก็มีอยู่ว่า การไม่กินปลากินเนื้อ

ย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ คือว่า ความเป็นผู้ไม่บริโภคต่าง ๆ ซึ่งปลาและ

เนื้อย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่บริโภคปลาและเนื้อ

ย่อมไม่ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 107

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านก็ทิ้งความเป็นผู้ไม่บริโภคเสีย ?

ตอบว่า ข้อนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะว่าการทรมานตน ที่เหลือ

ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วแม้ทั้งหมด ย่อมถึงการสงเคราะห์ในคำนี้ว่า เย วาปิ

โลเก อมรา พหู ตปา เพราะเหตุที่ท่านสงเคราะห์เข้าด้วยการย่างกิเลส

เพื่อปรารถนาความเป็นเทวดา.

ความเป็นคนเปลือยกาย ชื่อว่า นคฺคิย.

ความเป็นคนโล้น ชื่อว่า มุณฺฑิย.

การเกล้าชฎาและการเป็นผู้หมักหมมด้วยธุลี ชื่อว่า ชฎาชลฺล.

เล็บและหนังเสือ ชื่อว่า ขราชินานิ.

การบำเรอไฟ ชื่อว่า อคฺคิโหตสฺสุปเสวนา.

ความเศร้าหมองทางกายอันเป็นไปแล้ว เพื่อปรารถนาความเป็น

เทวดา ชื่อว่า อมรา.

บทว่า พหู ได้แก่ เป็นอเนก โดยต่างด้วยการนั่งกระโหย่ง เป็นต้น

การย่างกิเลสทางกาย ชื่อว่า ตปา.

เวททั้งหลาย ชื่อว่า มนฺตา.

กรรม คือการบูชาไฟ ชื่อว่า อาหุติ.

ยัญ ที่ชื่อว่า อัสวเมธ เป็นต้น และการซ่องเสพฤดู ชื่อว่า

ยญฺมุตูปเสวนา.

การซ่องเสพสถานที่ร้อน ในฤดูร้อน การซ่องเสพรุกขมูล ในฤดูฝน

การซ่องเสพคือการเข้าไปสู่ชลาลัย ในฤดูหนาว ชื่อว่า การซ่องเสพฤดู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 108

บาทพระคาถาว่า น โสเธติ มจฺจ อวิติณฺณกงฺข ได้แก่ ย่อม

ไม่ทำสัตว์ผู้ยังข้ามความสงสัยไม่ได้ ให้บริสุทธิ์ ด้วยความบริสุทธิ์จากกิเลส

หรือด้วยความบริสุทธิ์จากภพ เพราะเมื่อยังมีมลทิน คือความสงสัย สัตว์ก็

เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ และตัวท่านเองก็ชื่อว่า ยังมีความสงสัยอยู่นั่นเอง.

ก็ในคาถานี้ มีอธิบายว่า คำว่า อวิติณฺณกงฺข นี้ พึงเป็นคำที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในเนื้อเกิดความสงสัยขึ้นแก่ดาบสว่า ทางแห่ง

ความบริสุทธิ์จะไม่พึงมี ด้วยเหตุมีการไม่บริโภคปลาและเนื้อเป็นต้น หรือ

หนอแล ดังนี้ เพราะได้ฟัง ซึ่งคำทั้งหลายมีคำเป็นต้นว่า นมจฺฉมส ดังนี้

ก็ความสงสัย ในพระผู้มีพระภาคเจ้า อันใด เกิดขึ้นแก่ดาบสนั้น เพราะฟังว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เสวยปลาและเนื้อดังนี้ คำนี้บัณฑิตพึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายถึงความสงสัยนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบทแสดงความที่บุคคลไม่สามารถจะทำตน

ให้บริสุทธิ์ด้วยการไม่บริโภคปลาเนื้อเป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงแสดง

พระธรรมที่สามารถจะทำสัตว์ให้บริสุทธิ์ได้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า โสเตสุ

คุตฺโต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสเตสุ ได้แก่ ในอินทรีย์ ๖.

บทว่า คุตฺโต ได้แก่ประกอบด้วยการคุ้มครองคือการสำรวมอินทรีย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงศีล ซึ่งมีอินทรีย์สังวรเป็นบริวาร ด้วยคำมี

ประมาณเท่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 109

สองบทว่า วิทิตินฺทฺริโย จเร ความว่า ทราบอินทรีย์ทั้ง ๖

ด้วยญาตปริญญา พึงประพฤติให้ปรากฏ อธิบายว่าพึงมี พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงการกำหนดนามรูปแห่งบุคคลผู้มีศีลอันบริสุทธิ์แล้ว ด้วยเหตุมี

ประมาณเท่านี้.

สองบทว่า ธมฺเน ิโต ได้แก่ ดำรงอยู่ในธรรมคืออริยสัจ ๔ อัน

จะพึงบรรลุได้ด้วยอริยมรรค.

ด้วยคำว่า ธมฺเม ิโต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงภูมิ

แห่งพระโสดาบัน.

สองบทว่า อชฺชวมทฺทเว รโต ได้แก่ ยินดีแล้วในความเป็นคน

ตรง และในความเป็นคนอ่อนโยน. ด้วยคำว่า อชฺชวมทฺทเว รโต นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงภูมิของพระสกทาคามี ด้วยว่าพระสกทาคามี

ยินดีแล้วในความซื่อตรงและในความอ่อนโยน เพราะความที่ท่าน ทำให้เบา

บางซึ่งกิเลสทั้งหลาย มีอันกระทำความคดกายเป็นต้น และทำราคะและโทสะ

อันกระทำความแข็งกระด้างแห่งจิต ให้เบาบางลง.

บทว่า สงฺคาติโค ได้แก่ ข้ามพ้นเครื่องข้องคือ ราคะและโทสะ

เสียได้. ด้วยบทว่า สงฺคาติโค นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงภูมิแห่ง

พระอนาคามี.

บทว่า สพฺพทุกฺขปฺปหีโน ความว่า ชื่อว่าละทุกข์ทั้งปวงเสียได้

เพราะละเหตุแห่งทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นเสียได้. ด้วยคำว่า สพฺพทุกฺขปฺปหีโน นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอรหัตภูมิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 110

บาทพระคาถาว่า น ลิมฺปติ ทิฏฺสุเตสุ ธีโร ความว่า ผู้นั้น

บรรลุแล้วซึ่งพระอรหัต โดยลำดับอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ เพราะถึง

พร้อมด้วยความเพียร ย่อมไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งหลาย ที่ตนเห็นแล้วและฟัง

แล้วด้วยการติดอย่างใดอย่างหนึ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เทศนาจบลงด้วยธรรมเทศนา ที่เป็นบุคลา-

ธิษฐาน อย่างเดียวก็หามิได้ แต่ให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัตทีเดียวว่า

บุคคลนั้นย่อมไม่คิดในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เห็น ทั้งที่ได้ฟัง และในธรรม

ทั้งหลาย ทั้งที่ตนทราบและได้รู้ จึงเป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความบริสุทธิ์อย่างยิ่ง

โดยแท้.

ต่อจากนี้ไปพระธรรมสังคีติกาจารย์ ได้กล่าว ๒ พระคาถาว่า

อิจฺเจตมตฺถ ดังนี้เป็นต้น.

ผู้ศึกษาพึงทราบ เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังต่อไปนี้ :-

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะ ได้ตรัสบอก คือตรัส

เนื้อความนี้ให้พิสดาร ด้วยเทศนาที่เป็นธรรมาธิษฐาน และที่เป็นบุคลา

ธิษฐานด้วยคาถาเป็นอเนกบ่อย ๆ จนกระทั่งดาบสนั้น ได้ทราบชัดดัง

พรรณนามาฉะนี้.

สามบทว่า น เวทยิ มนฺตปารคู ความว่า ก็ติสสพราหมณ์

แม้นั้น ผู้ถึงซึ่งฝั่งแห่งมนต์ คือผู้ถึงฝั่งเเห่งเวท ได้ทราบคือได้รู้ ซึ่งเนื้อความ

นั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 111

ตอบว่า เพราะพระมุนี ทรงประกาศด้วยคาถาทั้งหลายที่ไพเราะ

ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดยบท ทั้งโดยกระแสแห่งเทศนา.

ถามว่า เป็นเช่นไร ?

ตอบว่า บุคคลที่ไม่มีกลิ่นดิบ ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว

ตามรู้ได้ยาก ที่ชื่อว่าผู้ไม่มีกลิ่นดิบ ก็เพราะไม่มีกิเลสอันเป็นกลิ่นดิบ ที่ชื่อว่า

อสิตะ ก็เพราะไม่มีตัณหาและทิฏฐิเข้าไปอาศัย, ชื่อว่าเป็นผู้ตามรู้ได้ยาก

ก็เพราะใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะแนะนำได้ด้วยสามารถแห่งทิฎฐิในภายนอกว่า

สิ่งนี้ประเสริฐกว่า สิ่งนี้ประเสริฐ ดังนี้เป็นต้น

ก็ติสสพราหมณ์ฟังบทสุภาษิต ได้แก่ฟังพระธรรมเทศนา ที่ตรัส

ดีแล้ว ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงประกาศแล้วอย่างนี้ เป็น

ผู้มีใจนอบน้อม ได้แก่เป็นผู้มีจิตนอบน้อม ถวายบังคม พระผู้พระภาคเจ้า

ผู้ไม่มีกลิ่นดิบ คือผู้ไม่มีเครื่องข้องคือกิเลส ผู้บรรเทาความทุกข์ทั้งปวงเสียได้

ได้แก่ผู้บรรเทาความทุกข์ในวัฏฏะทั้งปวงเสียได้ แล้ว ถวายบังคมพระบาท

ของพระตถาคตเจ้าด้วยเบญจางคประดิษฐ์.

บาทคาถาว่า ตเถว ปพฺพชฺชมโรจยิตฺถ มีคำอธิบายว่า ติสสดาบส

ได้ทูลขอ คือได้ทูลอ้อนวอนขอ ซึ่งบรรพชา กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

พระนามว่ากัสสปะพระองค์นั้น ผู้ประทับนั่งบนอาสนะนั้นนั่นเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะติสสดาบสนั้นว่า "เธอจงเป็นภิกษุ

มาเถิด" ดังนี้ ดาบสนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยบริขาร ๘ ในทันใดนั้นเอง

เป็นดุจพระเถระมีพรรษาตั้งร้อยมาทางอากาศถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 112

โดยการล่วงไป เพียง ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ได้บรรลุสาวกบารมีญาณ ได้เป็น

อัครสาวก ชื่อว่า ติสสะ. (สาวกที่สองของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น)

ชื่อว่า ภารทวาชะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า (กัสสปะ) พระองค์นั้น จึงมีคู่

แห่งพระสาวก มีชื่อว่า ติสสะ และ ภารทราชะ ด้วยประการฉะนี้

ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า แห่งเราทั้งหลาย ทรงนำพระคาถา ๑๔ พระ

คาถาแม้ทั้งสิ้น ที่ติสสพราหมณ์กล่าว ในตอนต้น ๓ คาถา ที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ทรงพระนามว่า กัสสปะ ตรัส ในท่ามกลาง ๙ คาถา และที่พระสังคีติ-

กาจารย์ทั้งหลาย กล่าวในที่สุด ๒ คาถา ในกาลครั้งนั้น (พระองค์) ทรง

กระทำให้บริบูรณ์แล้ว ทรงพยากรณ์กลิ่นดิบแก่ดาบส ๕๐๐ มีอาจารย์เป็น

ประธาน อันชื่อว่า อามคันธสูตร นี้.

พราหมณ์อามคันธะนั้น ครั้นสดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ก็มีใจ

อ่อนน้อมเหมือนอย่างที่กล่าวแล้วนั้นแหละ ถวายบังคมที่พระบาทของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า (โคตมะ) ทูลขอบวชพร้อมกับ ด้วยบริษัท (ของตน) พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ได้ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด ดาบสเหล่านั้น

ถึงความเป็น เอหิภิกขุ เหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ เป็นดุจพระเถระมีพรรษา

ตั้งร้อยมาทางอากาศถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยเวลา ๒-๓ วัน เท่านั้น

ทุกท่านก็ได้ประดิษฐานอยู่ในพระอรหัต อันเป็นผู้ที่เลิศ ดังนี้แล.

การพรรณนาอามคันธสูตร แห่งอรรถถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 113

หิริสูตรที่ ๓

ว่าด้วยผู้มีหิริไม่มีบาป

[๓๑๖] บุคคลผู้ไม่มีหิริ เกลียดหิริ

กล่าวอยู่ว่าเราเป็นเพื่อนของท่าน ไม่เอื้อเฟื้อ

การงานแห่งมิตรของตน พึงรู้ว่า นั่นไม่ใช่

มิตรของเรา.

มิตรใดพูดวาจาน่ารัก แต่ไม่ประ-

กอบด้วยประโยชน์ในมิตรทั้งหลาย บัณฑิต

ย่อมกำหนดรู้ผู้นั้นว่า ไม่ทำตามคำพูด.

มิตรใดหวังความแตกกัน ไม่ประ-

มาท คอยหาความผิดเท่านั้น มิตรนั้นไม่

ควรเสพ ส่วนมิตรที่วางใจได้ เหมือนบุตร

ที่เกิดแต่อก ซึ่งผู้อื่นกล่าวเหตุตั้งร้อยอย่าง

พันอย่าง ก็ให้แตกกันไม่ได้ มิตรนั้นและควร

เสพ.

ความเพียร อันเป็นเหตุกระทำความ

ปราโมทย์ นำความสรรเสริญมาให้ นำสุข

มาให้ ผลานิสงส์อันนำธุระสมควรแก่บุรุษ

ไปอยู่ ย่อมเจริญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 114

บุคคลดื่มรสแห่งความอิ่มเอิบใน

ธรรม ดื่มรสอันเกิดแต่ความสงัดกิเลสและ

รสแห่งความสงบแล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่มีความ

กระวนกระวายไม่มีบาป.

จบหิริสูตรที่ ๓

อรรถกถาหิริสูตรที่ ๓

หิริสูตร มีคำเริ่มต้นว่า หิรินฺตรนฺต ดังนี้.

ถามว่า มีเหตุเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีเหตุเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้ :-

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย ยังไม่ทรงอุบัติขึ้น พราหมณ์

มหาศาลคนหนึ่ง ในเมืองสาวัตถี เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์สมบัติถึง ๘๐ โกฏิ

ก็พราหมณ์นั้นมีบุตรอยู่ คนหนึ่งซึ่งเป็นที่รักเป็นที่พอใจ พราหมณ์นั้นเลี้ยงบุตร

ชายนั้นให้เจริญขึ้นด้วยอุปกรณ์ที่จะอำนวยความสุขนานัปการ ดุจเลี้ยงดู

เทวกุมารฉะนั้น ยังไม่ทันมอบทรัพย์สมบัตินั้นให้บุตรนั้นเลย ก็ได้ถึงแก่กรรม

ไปพร้อมกับนางพราหมณี.

ต่อจากนั้น โดยกาลล่วงไปแห่งมารดาบิดาของมาณพนั้น ผู้รักษา

เรือนคลัง ก็เปิดห้องทรัพย์สมบัติ เมื่อจะมอบทรัพย์สมบัติก็พูดว่า ท่านครับ

ทรัพย์นี้เป็นส่วนที่มีอยู่ของมารดาบิดาของท่าน ทรัพย์นี้เป็นส่วนที่มีอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 115

ของปู่ย่า (ตายาย) ทรัพย์นี้ตกมาถึงชั่ว ๗ สกุล ดังนี้. มาณพเห็นทรัพย์แล้ว

ก็ดำริว่า ทรัพย์นี้เท่านั้นยังปรากฏอยู่ ส่วนชนทั้งหลายผู้สั่งสมทรัพย์นี้ไว้หา

ปรากฏอยู่ไม่ (เขาเหล่านั้น) ทั้งหมดทีเดียวได้ตกไปยังอำนาจของพระยามัจจุ-

ราช และเมื่อไปอยู่ ก็หาได้นำอะไรจากโลกนี้ไปไม่ ทุกคนจำต้องละโภคสมบัติ

ทั้งหลายไปปรโลกกันอย่างนี้ เว้นจากสุจริตเสียแล้ว ใคร ๆ ก็ไม่อาจนำอะไร

ติดตัวไปได้ ไฉนหนอข้าพเจ้าจะพึงบริจาคทรัพย์นี้แล้ว ถือเอาทรัพย์คือสุจริต

ที่เราจะสามารถนำติดตัวไปได้ เขาเมื่อสละอยู่ซึ่งทรัพย์วันละแสนกหาปณะ ก็

ดำริอีกว่า ทรัพย์นี้ก็ยังเพียงพอ ประโยชน์อะไรด้วยการบริจาคอันมีประมาณ

น้อยอย่างนี้ ไฉนหนอเราพึงให้มหาทาน พราหมณ์นั้นกราบทูลแด่พระราชา

ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์มีทรัพย์ในเรือนอยู่จำนวนเท่านี้ ข้าพระองค์

ปรารถนาจะให้มหาทานด้วยทรัพย์นั้น ดังข้าพระองค์ขอวโรกาส ข้าแต่มหา-

ราชเจ้า ขอพระองค์จงรับสั่งให้ป่าวประกาศในพระนคร พระราชารับสั่งให้

กระทำอย่างนั้น พราหมณ์นั้นได้บรรจุภาชนะทั้งหลายของเหล่าชนผู้มาแล้ว

และมาแล้วให้เต็ม แล้วได้บริจาคทรัพย์ทั้งสิ้นโดยเวลา ๗ วัน ก็ครั้นบริจาค

แล้วจึงดำริว่า การกระทำการบริจาคใหญ่อย่างนี้แล้วอยู่ครองเรือนไม่สมควร

ไฉนหนอเราพึงบวช ต่อจากนั้นเขาจึงได้บอกเรื่องนี้แก่บริวารชน. บริวารชน

เหล่านั้น กล่าวว่า ข้าแต่นาย ท่านอย่าได้คิดว่าทรัพย์หมดสิ้นไปแล้ว พวก

ข้าพเจ้าจะทำการสั่งสมทรัพย์ ด้วยอุบายต่าง ๆ โดยใช้เวลาเล็กน้อยเท่านั้น

แล้วก็ขอร้องพราหมณ์นั้นโดยประการต่าง ๆ พราหมณ์นั้นไม่สนใจการขอร้อง

ของพวกบริวารชนเหล่านั้น ได้ออกบวชเป็นดาบส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 116

ในบรรดาดาบสเหล่านั้น ดาบสมีอยู่ ๘ จำพวกคือ

๑. สปุตตกภริยา ๒. อุญฺฉาจาริกา

๓. สมฺปตฺตกาลิกา ๔. อนคฺคิปกฺกิกา

๕. อสฺสมุฏฺิกา ๖. ทนฺตลุยฺยกา

๗. ปวตฺตผลิกา ๘. วณฺฏมุตฺตกา

ในดาบสทั้ง ๘ จำพวกนั้น ดาบสทั้งหลายมีเกณิยชฎิลเป็นต้น ซึ่ง

บวชพร้อมกับบุตรภรรยา แล้วเลี้ยงชีวิตด้วยเกษตรกรรมและวาณิชกรรมเป็น

ต้น ชื่อว่า สปุตฺตกภริยา

ดาบสทั้งหลายที่ให้สร้างอาศรมอยู่ที่ประตูพระนคร แล้วให้กุมารทั้ง

หลายมีกุมารของกษัตริย์และกุมารของพราหมณ์เป็นต้น ศึกษาศิลปะเป็นต้น

ไม่ยอมรับเงินทอง ถือเอาเฉพาะสิ่งของที่เป็นกัปปิยะ มีงาและข้าวสารเป็นต้น

ชื่อว่า อุญฺฉาจาริกา ดาบสจำพวก อุญฺฉาจาริกา เหล่านั้นดีกว่าดาบส

พวก สปุตฺตกภริยา

พวกดาบสที่รับอาหารในเวลาแห่งอาหาร (เท่านั้น) เลี้ยงชีวิตอยู่ ชื่อ

ว่า สมฺปตฺตกาลิกา ดาบสจำพวก สมฺปติตกาลิกา เหล่านั้นดีกว่าดาบส

จำพวก อุญฺฉาจาริกา

พวกดาบสที่เคี้ยวกินใบไม้และผลไม้ที่ไม่สุกด้วยไฟ เลี้ยงชีวิตอยู่ ชื่อว่า

อนคฺคิปกฺกิกา ดาบสจำพวก อนคฺคิปกฺกิกา เหล่านั้นดีกว่าดาบสจำพวก

สมฺปตฺตกาลิกา

พวกดาบสที่ถือก้อนหินเท่ากำมือ (และถือมีดและศัสตรา) เป็นต้น

อย่างอื่นใดเที่ยวไปอยู่ เคี้ยวกินเปลือกจากต้นไม้ที่ประสบเข้าเฉพาะหน้าใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 117

กาลที่ตนหิว อธิฐานองค์อุโบสถทั้งหลาย แล้วเจริญพรหมวิหาร ๔ อยู่ ชื่อ

ว่า อสฺสมุฏฺิกา ดาบสจำพวก อสฺสมุฏฺิกา เหล่านั้น ดีกว่าดาบสจำพวก

อนคฺคิปกฺกิกา

พวกดาบสผู้ไม่ถือก้อนหินเท่ากำมือเป็นต้น ใช้ฟันแทะซึ่งเปลือกไม้

จากต้นไม้ที่ประสบเข้าในเวลาหิว อธิษฐานองค์อุโบสถ เจริญพรหมวิหารอยู่

ชื่อว่า ทนฺตลุยฺยกา ดาบสจำพวก ทนฺตลุยฺยกา เหล่านั้น ดีกว่าดาบส

จำพวก อสฺสมุฏฺิกา.

พวกดาบสซึ่งอาศัยสระที่เกิดเอง (เช่นหนองบึงเป็นต้น) หรือไพรสณฑ์

อยู่ รากไม้อันใดมีรากแห่งภิงสะ (เหง้าบัว) เป็นต้น ซึ่งมีอยู่ในสระนั้น หรือ

ไม้อันใด ซึ่งมีอยู่ในเวลามีดอกในราวป่า หรือผลไม้อันใดซึ่งมีอยู่ในราวป่า

ในเวลามีผล ก็เคี้ยวกินรากดอกและผลนั้นนั่นเอง เมื่อดอกและผลไม่มี ก็

เคี้ยวกินโดยที่สุดแม้สะเก็ดของต้นไม้ในราวป่านั้น แต่ก็ไม่ยอมไปในที่อื่น

เพื่อประโยชน์แก่อาหารเลย ได้กระทำการอธิฐานองค์อุโบสถ และเจริญ

พรหมวิหารอยู่ ชื่อว่า ปวตฺตผลิกา ดาบสจำพวก ปวตฺตผลิกา เหล่านั้น

ดีกว่าดาบสจำพวก ทนฺตลุยฺยกา.

พวกดาบสที่เคี้ยวกินใบไม้ที่ตกที่พื้นดินอย่างเดียว ชื่อว่า วณฺฎ-

มุตฺตกา คำที่เหลือเป็นเช่นกับในก่อนนั้นเอง ดาบสจำพวก วณฺฎมุตฺตกา

เหล่านั้นประเสริฐกว่าดาบสทุกจำพวก.

ส่วนพราหมณ์กุลบุตรนี้ดำริว่า เราจักบรรพชา บรรพชาที่เลิศใน

บรรดาดาบสพรรพชาทั้งหลาย (การบวชเป็นดาบสทั้งหลาย) ดังนี้แล้วก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 118

บรรพชาเป็น วณฺฏมุตฺตกบรรพชา นั้นเอง ให้สร้างอาศรมเลยภูเขา ๒-๓

ลูกไปอยู่ในหิมวันตประเทศ.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดงพระ

ธรรมจักรอันประเสริฐแล้ว เสด็จไปยังกรุงสาวัตถีโดยลำดับ ประทับอยู่ใน

พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกะในกรุงสาวัตถี.

ก็โดยสมัยนั้นแล บุรุษชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง เสาะแสวงหาแก่น-

จันทน์เป็นต้นอยู่ที่ภูเขา ได้ไปถึงอาศรมของดาบสนั้น ไหว้ดาบสแล้วก็ยืน

อยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ดาบสนั้นเห็นเขาแล้วก็ถามว่า ท่านมาจากไหน. เขาตอบ

ว่า ผมมาจากกรุงสาวัตถี ขอรับ. ดาบสถามว่า ในกรุงสาวัตถีนั้นเหตุการณ์เป็น

อย่างไร. เขาตอบว่า ท่านขอรับ พวกคนในกรุงสาวัตถีนั้นไม่ประมาท พา

กันทำบุญทั้งหลายมีการให้ทานเป็นต้น.

ดาบสถามว่า พวกเขาได้ฟังโอวาทของใคร. เขาตอบว่า ของพระผู้

มีพระภาคพุทธเจ้า.

ดาบสรู้สึกงงงวยด้วยการฟังเสียงว่า พุทธะ จึงถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้

เจริญ ท่านพูดว่า พระพุทธเจ้าดังนี้หรือ ดาบสได้ถามถึง ๓ ครั้งโดยนัยที่

ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในอามคันธสูตรนั้นแล จึงดีใจว่า แม้เสียงนั้นแลก็หา

ได้ยาก ดังนี้ เป็นผู้ปรารถนาจะไปยังสำนักของพระผู้พระภาคเจ้า จึงดำริว่า

การไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเปล่า ๆ หาควรไม่ เราจะพึงพาอะไร

หนอแลไป ดาบสนั้นจึงดำริอีกว่า ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายหาทรง

หนักในอามิสไม่ เอาเถิด เราจะนำธรรมบรรณาการไป ดังนี้แล้วจึงได้แต่ง

ปัญหา ๔ ข้อ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 119

๑. มิตรเช่นไรไม่ควรคบ ๒. มิตรเช่นไรควรคบ

๓. ความพยายามเช่นไรควรประกอบ ๔. รสอะไรเลิศกว่ารสทั้งหลาย

ดาบสนั้นพาปัญหาเหล่านั้นแล้ว มุ่งหน้าไปยังมัชฌิมประเทศ เดินไป

ถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับแล้ว เข้าไปยังพระเชตวัน แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็ประทับนั่งบนอาสนะ เพื่อแสดงพระธรรมเทศนา ในสมัยนั้นอยู่ทีเดียว เขา

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วไม่ยอมไหว้ ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสคำที่บันเทิงใจ โดยนัยว่า ท่านฤาษี ท่านสบายดีหรือ ดังนี้เป็น

ต้น แม้ดาบสนั้นก็แสดงความชื่นชมตอบ โดยนัยว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

ข้าพระองค์สบายดี (พอทนได้) ดังนี้แล้วจึงคิดว่า ถ้าหากท่านผู้นี้จักเป็นพระ

พุทธเจ้าไซร้ เมื่อเราทูลถามปัญหาด้วยใจ พระองค์ก็จะทรงแก้ด้วยวาจา ดัง

นี้ แล้วจึงทูลถามปัญหาเหล่านั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยใจเท่านั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าอันพราหมณ์ทูลถามแล้ว เพื่อจะแก้ปัญหาข้อต้นก่อน จึงทรงเริ่ม

ว่า หิรินฺตรนฺต เป็นต้น แล้วจึงตรัสอีกสองคาถาครึ่ง.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบดังนี้ :-

บทว่า หิรินฺตรนฺต ก้าวล่วงอยู่ซึ่งความละอาย คือไม่มีหิริ ได้แก่

ไม่มียางอาย.

บทว่า วิชิคุจฺฉมาน ได้แก่ เห็นว่าราวกะว่าสิ่งไม่สะอาด คนไม่มี

หิริย่อมเกลียดความละอาย ย่อมเห็นราวกะว่าของไม่สะอาด เพราะเหตุนั้น

บุคคลจึงไม่คบ คือไม่เข้าไปใกล้ชิด ซึ่งบุคคลผู้ไม่มีหิรินั้น เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า วิชิคุจฺฉมาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 120

บาทคาถาว่า สขาหมสฺมิ อิติ ภาสมาน ความว่า ผู้กล่าวอยู่โดย

นัยมีอาทิอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน ข้าพเจ้าเป็นสหายของท่าน ปรารถนาประโยชน์

ท่าน แม้ชีวิตของข้าพเจ้า ก็ยอมสละเพื่อท่านได้ ดังนี้.

บาทคาถาว่า สยฺหานิ กมฺมานิ อนาทิยนฺต ความว่า ก็แม้กล่าว

อย่างนี้แล้ว ก็ไม่เอื้อเฟื้อ คือไม่ตั้งใจเพื่อจะกระทำการงาน ของมิตรของตน

คือกรรมทั้งหลายของมิตรของตน.

อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ไม่การทำอยู่แม้สักว่าความเอื้อเฟื้อในการงาน

นั้นด้วยจิต แต่โดยที่แท้แล แสดงอยู่ซึ่งความเสื่อม (ฉิบหาย) ในกิจการทั้ง

หลายที่เกิดขึ้นเท่านั้น.

บาทคาถาว่า เนโส มมนฺติ อิติ น วิชฺญฺา ความว่า บุรุษผู้

เป็นบัณฑิตพึงทราบชัดซึ่งบุคคลนั้น คือคนเห็นปานนั้น อย่างนี้ว่า คนเช่นนี้

เป็นมิตรเทียม คนเช่นนี้หาใช่มิตรของเราไม่ ดังนี้.

บทว่า อนนฺวย ความว่า มิตรเทียมนั้น ย่อมพูดว่า เราจักให้

จักการทำประโยชน์อันใด ก็มิได้ติดตามประโยชน์อันนั้น (คือไม่ทำตามที่พูด)

หลายบทว่า ปิย วาจ โย มิตฺเตสุ ปกุพฺพติ ความว่า มิตร

ใด ปราศรัยถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้วและยังไม่มาถึง ชื่อว่าสงเคราะห์อยู่ซึ่งสิ่งที่หา

ประโยชน์มิได้ ชื่อว่าย่อมยังวาจาที่รักให้เป็นไปในมิตรทั้งหลาย ด้วยเหตุสัก

ว่า เงาแห่งตัวอักษรอย่างเดียวเท่านั้น.

สองบาทคาถาว่า อกโรนฺต ภาสมาน ปริชานนฺติ ปณฺฑิตา

ความว่า บัณฑิตทั้งหลายกำหนดรู้บุคคลนั้น คือบุคคลเห็นปานนั้น ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 121

ไม่การทำตามคำที่ตนพูด พูดอยู่ด้วยวาจาอย่างเดียว อย่างนี้ว่า บุคคลนี้ชื่อ

ว่า มีวาจาเป็นอย่างยิ่ง (ดีแต่ปาก) ไม่ใช่มิตร เป็นมิตรเทียม ดังนี้.

สองบาทคาถาว่า น โส มิตฺโต โย สทา อปฺปมตฺโต เภทาสงฺกี

รนฺธเมวานุปสฺสิ ความว่า ผู้ใดหวังแต่ความแตกร้าวเท่านั้น ไม่ประมาทอยู่

ทุกเมื่อ ด้วยมารยาทที่เรียบร้อย คือด้วยวาจาไพเราะที่ตนทำขึ้น ย่อมเเสวงหา

ซึ่งโทษเท่านั้น อย่างนี้ว่า สิ่งใดก็ตาม ที่บุคคลการทำแล้ว ด้วยไม่มีสติ ด้วย

ไม่มีมนสิการ หรือว่าไม่ได้กระทำด้วยความไม่รู้ บุคคลนั้นจักติเตียนเราเมื่อใด

เมื่อนั้นเราจักโต้ตอบเขา ด้วยการกระทำนั้น ดังนี้ มิตรนั้นบุคคลไม่ควรคบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนาปัญหาแรกนี้ว่า "ไม่ควรคบมิตร

เช่นไร" ดังนี้อย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาที่สองจึงตรัสกิ่งพระคาถานี้

ว่า ยสฺมึ จ เสติ.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ก็บุตรนอนอยู่บนอกของบิดา ไม่

รังเกียจสงสัยเหตุทั้งหลายเป็นต้นว่า เมื่อเรานอนอยู่บนอกของบิดานี้ จะพึง

มีความทุกข์หรือความไม่สบายใจ จึงหมดความสงสัยนอนอยู่ ชื่อฉันใด ด้วย

การไว้ใจต่อมิตร มิตรกระทำอยู่ซึ่งความคุ้นเคย (ไว้วางใจ) ในภรรยา ทรัพย์

และชีวิตเป็นต้น หมดความสงสัยโดยความเป็นมิตรนั้นอยู่ ฉันนั้นเหมือน

กัน ก็มิตรใด ซึ่งผู้อื่นกล่าวเหตุตั้งร้อยอย่างพันอย่างก็ไม่แตกกัน มิตรนั้นแล

ควรคบ. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวิสัชนาแม้ปัญหาที่สองว่า มิตรเช่นไร

ควรคบ ดังนี้แล้ว เพื่อจะทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๓ จึงตรัสพระคาถาว่า ปา-

มุชฺชกรณ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 122

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า บุคคลย่อมทำซึ่งความปราโมชด้วยการ

กระทำฐานะใด เหตุนั้นการการทำฐานะนั้นชื่อว่า ปามุชฺชกรณ เหตุที่

กระทำซึ่งความปราโมทย์.

บทว่า าน ได้แก่ เหตุ (ที่กระทำความปราโมทย์).

ถามว่า ก็เหตุนั้นคืออะไร ?

ตอบว่า เหตุนั้นคือความเพียร จริงอยู่ ความเพียรท่านเรียกว่า

ตัวสร้างความปราโมทย์ เพราะยังปิติปราโมทย์และความสุขที่อิงอาศัยธรรมให้เกิด

ขึ้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยอันเรา

กล่าวไว้ดีแล้วนี้ ผู้ใดปรารภความเพียรผู้นั้นย่อมอยู่เป็นสุข บุคคลย่อมนำมา

ซึ่งความสรรเสริญตัวเหตุใด เหตุนั้น ชื่อว่า ปสสาวหน เหตุนำมาซึ่งความ

สรรเสริญ.

ผลานิสงส์ที่หวังอยู่ย่อมยังผลอันเป็นสุขให้เจริญ คือ ให้วัฒนาด้วย

อุปจารแห่งผล เพราะนำมาซึ่งทิพยสุขและมนุษยสุขตั้งแต่ต้น (และ) นำมา

ซึ่งนิพพานสุขในที่สุด.

บาทพระคาถาว่า วหนฺโต โปริส ธุร ความว่า ถือเอาซึ่งภาระ

อันสมควรแก่บุรุษอยู่ ชื่อว่าทำฐานะ กล่าวคือความเพียรอันเป็นสัมมัปปธาน

ให้เจริญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๓ อย่างนี้ว่า "ควร

เสพความพยายามเช่นไร" ดังนี้แล้ว เพื่อทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๔ จึงตรัสคาถาว่า

ปวิเวกรส เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิเวโก ความว่า ผลอันเลิศท่านเรียกว่า

รสแห่งวิเวกนั้น เพราะเกิดแต่ความสงัดจากกิเลส ผลอันเลิศซึ่งสัมปยุตด้วย

วิเวกนั้น ชื่อว่า สุข เพราะอรรถว่า ชื่นใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 123

บทว่า อุปสมสฺส เป็นต้น ความว่า ผลอันเลิศนั้นนั่นเอง ชื่อว่า

รสแห่งธรรมปีติ เพราะเกิดขึ้นแล้วในที่สุดแห่งความสงบกิเลส หรือเพราะ

เป็นอารมณ์แห่งความสงบ กล่าวคือพระนิพพาน เพราะเหตุนั้นบุคคลดื่มแล้ว

ซึ่งผลอันเลิศนั้นนั่นเอง คือซึ่งรสแห่งวิเวกนั้น และซึ่งรสแห่งความสงบนั้น

เพราะเป็นรสแห่งปีติที่เกิดขึ้นแล้วแต่อริยธรรม หรือเกิดขึ้นแล้วในธรรม

กล่าวคือพระนิพพาน ชื่อว่าดื่มอยู่ซึ่งรสแห่งธรรมปีติ เป็นผู้ไม่มีความกระวน-

กระวาย ไม่มีบาป แม้ดื่มแล้วก็หมดความกระวนกระวาย เพราะไม่มีความ

กระวนกระวายแห่งกิเลส แม้ดื่มอยู่ก็ชื่อว่าไม่มีบาป เพราะคนละบาปได้แล้ว

เพราะฉะนั้น ผลอันเลิศคือรสแห่งวิเวกนี้ จึงเลิศกว่ารสทั้งหลาย.

แต่อาจารย์บางพวกประกอบว่า ธรรมเหล่านี้คือธรรม ๓ อย่าง มีรส

แห่งวิเวกเป็นต้นนั้นเอง ด้วยสามารถแห่งฌาน นิพพาน และปัจจเวกขณะ

และด้วยสามารถแห่งกายวิเวก จิตตวิเวก และอุปธิวิเวก. บทก่อนนั้นแลดี.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงวิสัชนาปัญหาที่ ๔ อย่างนี้ ชื่อว่ายัง

เทศนาให้จบลงด้วยยอดคือพระอรหัต.

ในที่สุดแห่งเทศนา พราหมณ์ได้บรรพชาในสำนักของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า โดยวันเล็กน้อยเท่านั้น ก็ได้เป็นพระอรหันต์ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา

ดังนี้แล.

จบการพรรณนาหิริสูตร ในอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 124

มงคลสูตรที่ ๔

ว่าด้วยอุดมมงคล ๓๘

[๓๑๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วง

ไปแล้ว เทวดาคนหนึ่งมีรัศมีอันงดงามยิ่ง ทำพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง

ไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

[๓๑๘] เทวดาและมนุษย์เป็นอันมาก

ผู้หวังความสวัสดีได้พากันคิดมงคลทั้งหลาย

ขอพระองค์ได้โปรดตรัสอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระคาถาตอบว่า

การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑

การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

การอยู่ในประเทศอันสมควรมงคล ๑ ความ

เป็นผู้มีบุญอันทำไว้แล้วในกาลก่อน ๑ การ

ตั้งตนไว้ชอบ ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

พาหุสัจจะ ๑ ศิลปะ ๑ วินัยที่ศึกษา

ดีแล้ว ๑ วาจาสุภาษิต ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 125

การบำรุงมารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑

การสงเคราะห์บุตรภรรยา ๑ การงานอันไม่

อากูล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

ทาน ๑ การประพฤติธรรม ๑ การ

สงเคราะห์ญาติ ๑ กรรมอันไม่มีโทษ ๑ นี้

เป็นอุดมมงคล.

การงดเว้นจากบาป ๑ ความสำรวม

จากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทใน

ธรรมทั้งหลาย ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

การเคารพ ๑ ความประพฤติถ่อม-

ตน ๑ ความสันโดษ ๑ ความกตัญญู ๑

การฟังธรรมตามกาล ๑ นี้เป็นอุดมมงคล.

ความอดทน ๑ ความเป็นผู้ว่าง่าย ๑

การได้เห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนา

ธรรมตามกาล ๑ นี้เป็นอุดมมลคล.

ความเพียร ๑ พรหมจรรย์ ๑ การเห็น

อริยสัจ ๑ การกระทำนิพพานให้แจ้ง ๑ นี้เป็น

อุดมมงคล.

จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลาย

ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว ๑ ไม่เศร้าโศก

๑ ปราศจากธุลี ๑ เป็นจิตเกษม ๑ นี้เป็น

อุดมมงคล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 126

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายทำมงคล

เช่นนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ปราชัยในข้าศึกทุกหมู่

เหล่า ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน นี้

เป็นอุดมมงคลของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้น.

จบมงคลสูตรที่ ๔

อรรถกถามงคลสูตรที่ ๔

คาถาที่ ๑ (มี ๓ มงคล)

มงคลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร.

ตอบว่า พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.

ดังได้สดับมา ในชมพูทวีป มหาชนประชุมกันในที่ทั้งหลายมีประตู

พระนคร สันถาคาร (ห้องโถง) และที่ประชุมเป็นต้น ในที่นั้น ๆ แม้ให้เงิน

และทองแล้ว ก็ชวนกันและกันกล่าวพาหิรกถา มีเรื่องการลักนางสีดาเป็นต้น

มีประการต่าง ๆ เรื่องหนึ่ง ๆ กว่าจะจบลง ก็ใช้เวลาถึง ๔ เดือน ในบรรดา

พาหิรกถาเหล่านั้น มงคลกถาก็ตั้งขึ้นว่า อะไรหนอแล ชื่อว่า มงคล สิ่งที่เห็น

แล้วหรือ ชื่อว่า มงคล. สิ่งที่ฟังแล้วหรือ ชื่อว่า มงคล. สิ่งที่ได้ทราบแล้วหรือ

ชื่อว่า มงคล. ใครเล่ารู้จักมงคล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 127

ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งชื่อว่า ทิฏฐมังคลิกะ พูดว่า ข้าพเจ้าย่อมรู้จัก

มงคล สิ่งที่เห็นแล้ว ชื่อว่า เป็นมงคลในโลก รูปที่สมมติกนว่าเป็นมงคลยิ่ง

ชื่อว่าสิ่งที่เห็นแล้ว คือ คนบางตนในโลกนี้ตื่นแต่เช้าตรู่ เห็นนกแอ่นลมบ้าง

เห็นต้นมะตูมหนุ่มบ้าง, หญิงมีครรภ์บ้าง, กุมารทั้งหลายซึ่งประดับตกแต่งแล้ว

บ้าง, หม้อน้ำที่เต็มบ้าง, ปลาตะเพียนสดบ้าง, ม้าอาชาไนยบ้าง, รถเทียมม้าอา-

ชาไนยบ้าง, โคอุสภะบ้าง, แม่โคบ้าง สีแดงบ้าง ก็หรือว่าเห็นรูปแม้อื่นใดที่

สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่งเห็นปานนี้ นี้เขาเรียกกันว่า ทิฏฐมงคล.

คำของชายคนนั้น บางพวกก็ยอมรับ บางพวกก็ไม่ยอมรับ ชนพวก

ใดไม่ยอมรับ ชนพวกนั้นก็ถูกเถียงกับนายทิฏฐมังคลิกะนี้.

ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งชื่อว่า สุตมังคลิกะ กล่าวว่า แน่ะผู้เจริญ ชื่อว่า

จักษุนี้ เห็นรูปที่ดีบ้าง ที่งามบ้าง ไม่งามบ้าง ที่ชอบใจบ้าง ที่ไม่ชอบใจบ้าง

ถ้าหากว่ารูปที่ตานั้นเห็นแล้วจักพึงเป็นมงคลไซร้ แม้รูปทุกชนิดก็พึงเป็นมงคล

รูปที่เห็นแล้วจึงไม่ใช่เป็นมงคล แต่อีกอย่างหนึ่งแล เสียงที่ฟังแล้ว (ต่างหาก)

เป็นมงคล (เพราะว่า) เสียงที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่าสิ่งที่ได้ฟังแล้ว

คือ คนบางคนในโลกนี้ลุกขึ้นแต่เช้าแล้ว ย่อมฟังเสียงว่า วัฑฒะ เจริญบ้าง,

ว่า วัฑฒมานะ เจริญอยู่บ้าง, ปุณณะ เต็มบ้าง, ปุสสะ ขาวบ้าง, สุมนา

ดอกมะลิบ้าง, สิริ มิ่งขวัญบ้าง สิริวัฒน์ เจริญด้วยมิ่งขวัญบ้าง, หรือว่า

วันนี้ฤกษ์ดี, ยามดี, วันดี, มงคลดี หรือฟังเสียงที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง

อย่างใดอย่างหนึ่งเห็นปานนี้ นี้เขาเรียกกันว่า สุตมงคล คำแม้ของสุตมังคลิกะ

นั้น บางพวกก็ยอมรับ บางพวกก็ไม่ยอมรับ พวกใดไม่ยอมรับ พวกนั้นก็

ถกเถียงกับนายสุตมังคลิกะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 128

ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งชื่อว่า มุตมังคลิกะ พูดว่า ท่านผู้เจริญ สิ่งที่ได้

ฟังนี้ บุคคลย่อมได้ฟังสิ่งที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ถ้าหากสิ่งที่

ไดฟังนั้นเป็นมงคลไซร้ แม้ทุกสิ่งที่ได้ฟังก็เป็นมงคลหมด เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้

ฟังหาเป็นมงคลไม่ แต่อีกประการหนึ่งแล สิ่งที่ได้ทราบจัดว่าเป็นมงคล กลิ่น รส

โผฏฐัพพะ ที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่าสิ่งที่ได้ทราบเป็นมงคล คือบุคคล

บางคนในโลกนี้ ตื่นแต่เช้า สูดกลิ่นดอกไม้มีกลิ่นดอกปทุมบ้าง เคี้ยวไม้ชำระ

ฟันสีขาวบ้าง จับต้องแผ่นดินบ้าง จับต้องข้าวกล้าที่เขียวสดบ้าง จับต้องโคมัย

สดบ้าง จับต้องเต่าบ้าง จับต้องเกวียนบรรทุกงาบ้าง ดอกไม้บ้าง ผลไม้บ้าง

หรือว่า ย่อมลูบไล้ร่างกายอย่างดีด้วยดินขาว (ดินสอพอง) นุ่งผ้าสาฏกสีขาวบ้าง

โพกผ้าขาวบ้าง. ก็หรือว่าสูดกลิ่นแม้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่สมมติกันว่าเป็น

มงคลยิ่งเห็นปานนี้ หรือว่าลิ้มรส . . .หรือว่าถูกต้องโผฏฐัพพะ... นี้เขาเรียก

กันว่า มุตมงคล. คำของนายมุตมังคลิกะแม้นั้น บางพวกก็เชื่อถือ บางพวก

ไม่เธอถือ.

ในบรรดาคนเหล่านั้น นายทิฏฐมังคลิกะ ไม่อาจจะให้นายสุตมังคลิกะ

และนายมุตมังคลิกะยินยอมได้ หายสุตมังคลิกะก็ไม่อาจจะให้นายทิฏฐมงคลิกะ

และหายสุตมังคลิกะยินยอมได้ นายทิฏฐมังคลิกะและนายสุตมังคลิกะนอกนี้ก็

ไม่อาจให้นายมุตมังคลิกะยินยอมได้ ก็ในบรรดามนุษย์เหล่านี้ มนุษย์เหล่าใด

เชื่อถือคำของนายทิฏฐมังคลิกะ มนุษย์เหล่านั้นก็ลงสันนิษฐานกันว่า สิ่งที่

เห็นแล้วเท่านั้นเป็นมงคล มนุษย์เหล่าใดเชื่อคำของนายสุตมังคลิกะและ

นายมุตมังคลิกะ มนุษย์เหล่านั้นก็ลงสันนิษฐานว่า สิ่งที่ได้ฟังแล้วเท่านั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 129

มงคล (หรือว่า) สิ่งที่ได้ทราบแล้วเท่านั้นเป็นมงคล ถ้อยคำปรารภมงคลนี้

ปรากฏไปทั่วแล้วในชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยประการฉะนี้.

ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งสิ้นรวมกันเป็นพวก ๆ คิด

มงคลทั้งหลายกันว่า "อะไรหนอแล เป็นมงคล" แม้อารักขเทวดาทั้งหลายของ

พวกมนุษย์เหล่านั้นฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ก็คิดมงคลทั้งหลายกันเหมือนกัน ภุมม-

เทวดาทั้งหลายที่เป็นมิตรของเทวดาเหล่านั้นมีอยู่, ครั้งนั้น ภุมมเทวดาทั้งหลาย

ฟังจากเทวดาเหล่านั้นแล้ว ก็คิดมงคลทั้งหลายเหมือนกัน, อากาสัฏฐเทวดาที่

เป็นมิตรของภุมมเทวดาแม้เหล่านั้นก็มีอยู่...ฯลฯ เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกา

ที่เป็นมิตรของอากาสัฏฐเทวดาก็มีอยู่ โดยอุบายนี้นั้นแล จนถึงอกนิษฐเทวดาที่

เป็นมิตรของสุทัสสีเทวดาก็มีอยู่ ครั้งนั้น แม้อกนิษฐเทวดาฟังจากสุทัสสีเทวดา

นั้นแล้ว ก็รวมกันเป็นพวก ๆ เหมือนอย่างนั้น คิดมงคลทั้งหลาย การคิดเรื่อง

มงคลเกิดขึ้นในที่ทุกแห่งจนถึงหมื่นจักรวาลด้วยประการฉะนี้. ก็การคิดเรื่อง

มงคลนั้น ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว แม้อันนักคิดทั้งหลายวินิจฉัยกันอยู่ว่า สิ่งนี้เป็น

มงคล ๆ ก็ไม่ถึงการตกลงกันได้เลย คิดกันอยู่สิ้นเวลา ๑๒ ปี พวกมนุษย์

พวกเทวดาและพวกพรหมทั้งปวง เว้นพระอริยสาวกทั้งหลาย แตกกันเป็น

๓ พวก คือ พวกทิฏฐมังคลิกะพวก ๑ พวกสุตมังคลิกะพวก ๑ พวกมุต-

มังคลิกะพวก ๑ ไม่มีใครแม้คนเดียวที่ชื่อว่าถึงการตัดสินใจได้ตามความเป็น

จริงว่า สิ่งนี้เท่านั้นเป็นมงคล ความโกลาหลเรื่องมงคลเกิดขึ้นแล้วในโลก.

ชื่อว่า โกลาหลมี ๕ อย่าง คือ กัปปโกลาหล ๑ จักกวัตติโกลา-

หล ๑ พุทธโกลาหล ๑ มังคลโกลาหล ๑ โมเนยยโกลาหล ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 130

ในบรรดาโกลาหลเหล่านั้น พวกเทพชั้นกามาวจร สนานเกล้า สยาย

ผม ร้องไห้น้ำตานองหน้า ใช้มือเช็ดน้ำตา นุ่งห่มผ้าสีแดง ถือเพศที่แปลก ๆ

อย่างยิ่ง เที่ยวบอกไปในถิ่นมนุษย์ว่า โดยกาลล่วงไปแสนปี กัปจักสิ้น โลกนี้

จักพินาศ และมหาสมุทรจักเหือดแห้ง มหาปฐพีนี้และภูเขาสิเนรุราช จักไหม้

พินาศ ความพินาศแห่งโลก จักมีถึงพรหมโลก แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย

ขอท่านทั้งหลายจงเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา และเจริญอุเบกขาเถิด ท่าน

ทั้งหลายจงบำรุงเลี้ยงมารดาบิดา ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล จงตื่น

อย่าประมาท นี้ชื่อว่า กัปปโกลาหล.

เทวดาชั้นกามาวจรนั้นแหละ เทียวบอกไปในถิ่นมนุษย์ว่า โดยกาลล่วง

ไป ๑๐๐ ปี พระเจ้าจักรพรรดิ จักทรงอุบัติขึ้นในโลก นี้ชื่อว่า จักกวัตติ-

โกลาหล.

ส่วนเทพเจ้าชั้นสุทธาวาสทั้งหลาย ประดับประดาด้วยพรหมาภรณ์

กระทำผ้าโพกศีรษะสำหรับพรหมไว้บนเศียร เกิดปีติโสมนัสระลึกถึงพุทธคุณ

เที่ยวบอกไปในถิ่นมนุษย์ว่า โดยกาลล่วงไป ๑,๐๐๐ ปี พระพุทธเจ้าจักทรง

อุบัติขึ้นในโลก นี้ชื่อว่า พุทธโกลาหล.

พวกเทพเจ้าชั้นสุทธาวาสนั้นเอง ทราบวาระจิตของมนุษย์แล้ว ก็

เที่ยวบอกไปในถิ่นมนุษย์ว่า โดยกาลล่วงไป ๑๒ ปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจัก

ตรัสมงคล นี้ชื่อว่า มังคลโกลาหล.

เทพเจ้าทั้งหลายชั้นสุทธาวาสนั้นแล เที่ยวบอกไปในถิ่นมนุษย์ว่า โดย

กาลล่วงไป ๗ ปี ภิกษุรูปหนึ่ง จักประชุมพร้อมกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วทูลถามโมเนยยปฎิปทา นี้ชื่อว่า โมเนยยโกลาหล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 131

ในบรรดาโกหาหลทั้ง ๕ ประการเหล่านี้ มังคลโกลาหลนี้ เกิดขึ้น

แล้วในโลก ในเมื่อพวกเทพดาและมนุษย์ทั้งหลายแตกกันเป็น ๓ พวก ด้วย

สามารถแห่งทิฏฐิมงคลเป็นต้น ครั้งนั้น เมื่อเทพเจ้าทั้งหลายและมนุษย์ทั้ง

หลายค้นหากันแล้ว ๆ ไม่ได้มงคลทั้งหลายอยู่ โดยล่วงไป ๑๒ ปี เทวดาทั้ง

หลายชั้นดาวดึงส์ ก็มาประชุมพร้อมกัน ติดร่วมกันอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้

นิรทุกข์ทั้งหลาย เจ้าของเรือน (พ่อเจ้าเรือน) ย่อมบอกเนื้อความแก่พวกชน

ในเรือน, นายบ้าน ย่อมบอกเนื้อความแก่ชนทั้งหลายผู้อยู่ในบ้าน, พระราชา

ย่อมตรัสบอกเนื้อความแก่พวกมนุษย์ทั้งปวง แม้ฉันใด ท้าวสักกะจอมเทพนี้

ซึ่งเป็นผู้เลิศและประเสริฐ คือเป็นอธิบดีแห่งเทวโลกทั้งสอง ด้วยบุญ ด้วยเดช

ด้วยความเป็นใหญ่ (และ) ด้วยปัญญา ไฉนหนอ พวกเราจะพึงบอกเนื้อความ

นี้แก่ท้าวสักกะจอมเทพฉันนั้นเหมือนกัน. เทวดาเหล่านั้นจึงพากันไปยังสำนัก

ของท้าวสักกะ ถวายบังคมท้าวสักกะจอมเทพ ผู้มีพระวรกายย้อนเป็นสิริประดับ

ด้วยฉลองพระองค์และอาภรณ์ แวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร ๒ โกฏิกึ่ง ผู้ประ

ทับนั่งแล้วบนแท่นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่โคนต้นปาริฉัตร ตามสมควรแก่

ขณะนั้น ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูลเนื้อความนี้ว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้นิรทุกข์ ขอเดชะ ขอพระองค์พึงทราบเถิดว่า บัดนี้มงคลปัญหาได้

เกิดขึ้นแล้ว (คือ) เทวดาและมนุษย์พวกหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่เห็นแล้วเป็นมงคล

พวกหนึ่งกล่าวว่าสิ่งที่ได้ฟังแล้วเป็นมงคล อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า สิ่งที่ได้ทราบ

แล้วเป็นมงคล ในบรรดาทั้ง ๓ พวกนั้น พวกข้าพระองค์และพวกอื่น ก็ตก

ลงกันได้ ดังพวกข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระองค์ทรงพยากรณ์ (มงคล

ปัญหา) แก่พวกข้าพระองค์ตามความเป็นจริงเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 132

เทวราชแม้โดยปกติทรงมีปัญญา ตรัสถามว่า มงคลคาถานี้เกิดที่

ไหนก่อน. เทวดาทั้งหลายก็ทูลว่า พวกข้าพระองค์ได้ฟังมงคลปัญหานี้ ของ

พวกเทพชั้นจาตุมมหาราช ต่อจากนั้นเทวดาทั้งหลายก็ทูลว่า พวกเทพเจ้าชั้น

จาตุมมหาราชทั้งหลาย (ได้ฟังปัญหา) ของพวกอากาสัฏฐเทวดา พวกอากาสัฏฐ

เทวดาก็ได้ฟังปัญหาของพวกภุมมเทวดา พวกภุมมเทวดาก็ได้ฟังปัญหาของ

พวกเทวดาผู้รักษามนุษย์ พวกเทพยดาซึ่งรักษามนุษย์ก็กล่าวว่า ปัญหาตั้งขึ้น

แล้วในมนุษยโลก.

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพจึงตรัสถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า (ขณะ

นี้) ประทับอยู่ที่ไหน. พวกเทวดาทั้งหลายก็กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พระองค์

ประทับอยู่ในมนุษยโลก. ท้าวสักกะตรัสถามว่า ใครได้ทูลถามปัญหานั้นกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. เทพยดาทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่เทวะ ยังไม่มีใครทูล

ถาม. ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เพราะเหตุไรหนอแล พวกท่านจึงละเลย

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้แสดงมงคลที่ไม่มีส่วนเหลือ แล้วสำคัญเรา

ว่าเป็นผู้ควรถาม ชื่อว่าทิ้งไฟเสียแล้ว มาใช้แสงหิ่งห้อย ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์

ทั้งหลาย พวกท่านจงไป จงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พวก

ท่านก็จักได้การตอบปัญหาซึ่งมีสิริ (มีคุณค่า) อย่างแน่นอน.

ท้าวสักกะเทวราชจึงตรัสสั่งเทพบุตรองค์หนึ่งว่า ท่านจงทูลถามพระผู้-

มีพระภาคเจ้า เทพบุตรองค์นั้นประดับองค์ด้วยเครื่องอลังการตามสมควรขณะ

นั้น โชติช่วงอยู่ ประดุจสายฟ้า มีหมู่เทพแวดล้อมมายังพระมหาวิหารเชตวัน

กราบถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อจะทูลถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 133

มงคลปัญหา จึงได้กล่าวด้วยคาถา. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแก้ปัญหา

นั้นของเทพบุตรนั้น จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

เนื้อความแห่งคำทั้งหลายมีคำว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้นในพระสูตร

นั้นแต่โดยย่อ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาแห่งกสิภารทวาชสูตร

ส่วนชนทั้งหลายผู้ปรารถนาความพิสดาร พึงถือเอาเนื้อความโดยนัยอันข้าพเจ้า

กล่าวแล้ว ในอรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อ ปปัญจสูทนี

ก็ในกสิภารทวาชสูตร ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

ในบ้านพราหมณ์ชื่อ เอกนาฬา ในทักขิณาคิรีชนบท ในแคว้นมคธ (แต่) ใน

มงคลสูตรนี้ ท่านกล่าวว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระเชตวัน อาราม

ของอนาถปิณฑิกเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทที่ไม่เคย

พรรณาในมงคลสูตรนี้ เริ่มต้นแต่บทว่า สาวตฺถิย เป็นต้นไป คือ

บทว่า สาวตฺถิย ได้แก่ ในพระนครซึ่งมีชื่ออย่างนี้.

ดังได้สดับมา นครนั้นได้เป็นสถานที่อยู่ของฤาษี ชื่อว่า สวัตถะ

นครนั้นชาวโลกเรียกว่า สาวัตถี ด้วยสามารถที่เป็นอิตถีลิงค์ เหมือนที่อยู่

ของฤาษีชื่อว่า กุสัมพะ ชาวโลกเรียกว่า โกสัมพี ที่อยู่ของฤาษีชื่อว่า กากัณฑะ

ชาวโลกเรียกว่า กากัณฑี ฉะนั้น แต่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า

เพราะเหตุที่เมื่อชนทั้งหลายถามถึงกองเกวียนที่มารวมกันอยู่ ณ ที่นั้นว่า มี

สินค้าอะไรบ้าง ชนทั้งหลายก็ตอบว่ามีสินค้าทุกอย่าง เพราะฉะนั้น สถานที่นี้

ชาวโลกจึงเรียกว่า สาวัตถี หมายเอาคำนั้น. ในพระนครสาวัตถีนั้น. ด้วยคำว่า

สาวตฺถิย นี้ พระอานนทเถระแสดงถึงโคจรคามของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 134

ราชกุมารชื่อว่า เชตะ มีอยู่ สถานที่นั้นชื่อว่า เชตวัน เพราะเป็น

ป่าของเจ้าเชตนั้น เนื่องจากเจ้าเช่นนั้นปลูกบำรุงให้เจริญไว้. ในพระเชตวัน

นั้น. คหบดีชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ เพราะอรรถว่าเป็นผู้มีก้อนข้าวสำหรับคน

อนาถาทั้งหลาย. แห่งอนาถบิณฑิกะคหบดีนั้น. อธิบายว่า ในอารามที่คหบดี

ชื่อว่า อนาถบิณฑิกะ สร้างสำเร็จโดยการบริจาคทรัพย์ ๕๔ โกฏิ ด้วยคำว่า

อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม นี้เป็นอันพระอานนท์แสดงถึงที่อยู่อันสมควรแก่

บรรพชิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

ศัพท์ว่า อถ ใช้ในอรรถว่า ไม่กำหนดกาล (แน่นอน)

ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า แสดงถึงระหว่างแห่งอธิการ

ด้วยคำว่า อถ โข นั้น พระอานนท์แสดงถึงเวลาที่ไม่กำหนดนั้นแล ว่า ใน

ระหว่างอธิการนี้ เรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าในวิหารนั้น. ถาม

ว่า เรื่องนั้นคืออะไร. ตอบว่า เรื่องนั้นคือ เทวดาองค์ใดองค์หนึ่งเป็นต้น เกิด

ขึ้นแล้วในระหว่างแห่งอธิการ.

ในบรรดาคำทั้งสองนั้น คำว่า อญฺตรา เป็นการแสดงถึงสิ่งที่ไม่ได้

กำหนดแน่นอน จริงอยู่ เทวดาองค์นั้นไม่ปรากฏชื่อและโคตร เพราะฉะนั้น

พระอานนท์จึงกล่าวว่า อญฺตรา (เทวดา) องค์ใดองค์หนึ่ง เทวดาก็คือ

เทพเจ้านั่นเอง คำว่า เทวดา นี้ใช้ทั่วไปทั้งเทวดาผู้หญิงและผู้ชาย แต่ในพระ

สูตรนี้ เทวดาเป็นผู้ชายเท่านั้น. เทวบุตรองค์นั้น. แต่ท่านกล่าวว่า เทวดา

ดังนี้ เพราะเหตุไร. ตอบว่า เทวบุตรที่ท่านเรียกว่า เทวดา ก็ด้วยอำนาจ

สาธารณนาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 135

อภิกฺกนฺต ศัพท์ ในคำนี้ว่า อภิกฺกนฺตาย รตฺติยา ปรากฏใน

อรรถว่าสิ้นไป (ขยะ) ดี (สุนทร) งาม (อภิรูป) น่าชื่นชม (อัพภานุโมทนา)

เป็นต้น.

ในบรรดาคำเหล่านั้น อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า สิ้นไป

ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค็ผู้เจริญ ราตรีล่วงไป

แล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุสงฆ์ก็นั่งอยู่นานแล้ว ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุ

ทั้งหลายเถิด ดังนี้.

อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ดี ในประโยคทั้งหลายมีอาทิ

อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ดีกว่า ประณีตกว่า บุคคลทั้ง ๔ จำพวกเหล่านี้.

อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า งาม ในประโยคทั้งหลายมีอาทิ

อย่างนี้ว่า

ใครนะ มีผิวพรรณงามยิ่ง รุ่งเรือง

อยู่ด้วยฤทธิ์ ด้วยศ ส่องทิศทั้งปวงให้สว่าง

ไสวอยู่ ย่อมไหว้เท้าทั้งสองของเรา ดังนี้.

อภิกฺกนฺต ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า น่าชื่นชม ในประโยคทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าชื่นชม แต่ในมงคลสูตรนี้

อภิกนฺต ศัพท์ใช้ในอรรถว่า ขยะ สิ้นไป เพราะเหตุนั้น เมื่อราตรีล่วงแล้ว

อธิบายว่า เมื่อราตรีสิ้นแล้ว.

อภิกฺกนฺต ศัพท์ ในคำว่า อภิกนฺตวณฺณา นี้ ใช้ในอรรถว่างาม.

ส่วน วณฺณ ศัพท์ ปรากฎในอรรถทั้งหลายมีอรรถว่า ผิวพรรณ

(ฉวิ) การชมเชย (ถุติ) สกุลวงศ์ (กุลวัคคะ) เหตุ (การณะ) รูปร่าง

(สัณฐานะ) ประมาณ (ปมาณะ) และอายตนะคือสี (รูปายตนะ) เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 136

ในบรรดาอรรถเหล่านั้น วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ผิวพรรณ

ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์มี

วรรณะเพียงดังทอง.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า การชมเชย ในประโยคทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี การชมเชยพระสมณโคดมเหล่านี้ ท่าน

รวบรวมไว้ตั้งแต่เมื่อใด.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า สกุลวงศ์ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิ

อย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วรรณะเหล่านี้มีอยู่ ๔ จำพวก.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า เหตุ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิ

อย่างนี้ว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไรหนอแล ภิกษุ จึงถูกเรียกว่า

เป็นผู้ขโมยกลิ่น.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า รูปร่าง ในประโยคทั้งหลายมี

อาทิอย่างนี้ว่า นิรมิตรูปแห่งพระยาช้างใหญ่.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า ประมาณ ในประโยคทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า บาตรมี ๓ ขนาด.

วณฺณ ศัพท์ ปรากฏในอรรถว่า อายตนะคือสี ในประโยค

ทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า วรรณะ คันธะ รสะ โอชะ.

แต่ในมงคลสูตรนี้ วณฺณ ศัพท์นั้น พึงเห็นว่า ปรากฏในอรรถว่า

ผิวพรรณ.

เพราะเหตุนั้น เทพบุตรนั้นเป็นผู้มีวรรณะงามยิ่ง อธิบายว่า มี

ผิวพรรณงาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 137

เกวล ศัพท์ ในคำว่า เกวลกปฺป นี้ มีอรรถเป็นอเนก คือมีอรรถว่า

ไม่มีส่วนเหลือ อนวเสสะ, โดยมาก เยภุยยะ, ไม่เจือกัน อัพยามิสสะ

ไม่ใช่มาก อนติเรกะ, มั่นคง ทัฬหัตถะ, แยกจากกัน วิสังโยคะ เป็นต้น.

จริงอย่างนั้น เกวล ศัพท์นั้นมีอรรถว่า ไม่มีส่วนเหลือ ในประ-

โยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงประกาศ)

พรหมจรรย์บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง (ไม่มีส่วนเหลือ)

เกวล ศัพท์นั้นมีอรรถว่า เป็นไปโดยมาก ในประโยคทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า ก็ชาวอังคะและชาวมคธะส่วนมากถือขาทนียะและโภชนียะเป็น

อันมากจักเข้าไปหา.

เกวล ศัพท์มีอรรถว่า ไม่เจือกัน ในประโยคทั้งหลายมีอาทิ

อย่างนี้ว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นย่อมมีได้.

เกวล ศัพท์มีอรรถว่า ไม่ใช่มาก ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่าง

นี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ จักบรรลุคุณวิเศษ. เพราะอาศัยเหตุสักว่าศรัทธาอย่าง

เดียว แน่แท้.

เกวล ศัพท์มีอรรถว่า มั่นคง ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สัทธิวิหาริกของพระอนุรุทธะ ผู้มีอายุ ชื่อว่า พาหิกะ

ดำรงอยู่เพื่อทำลายสงฆ์ อย่างเดียว (มั่นคง).

เกวล ศัพท์มีอรรถว่า การแยกจากกัน ในประโยคทั้งหลายมี

อาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้อยู่แต่ผู้เดียว ท่านเรียกว่า บุรุษผู้สูงสุด.

แต่ในมงคลสูตรนี้ ท่านประสงค์เอา เกวล ศัพท์นั้นซึ่งมีอรรถว่า

ไม่มีส่วนเหลือ (ทั้งสิ้น).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 138

ส่วน กปฺป ศัพท์นี้ มีอรรถเป็นอเนก เป็นต้นว่า ความเชื่อถือ

อภิสัททหนะ, โวหาร โวหาระ, กาล กาละ, บัญญัติ บัญญัติ, การตัด

เฉทนะ, กำหนด วิกัปปะ, ข้ออ้าง เลสะ, โดยรอบ สมันตภาวะ เป็นต้น.

จริงอย่างนั้น กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า เชื่อถือ ในประโยคทั้งหลาย

มีอาทิอย่างนี้ว่า ข้อนั้นบุคคลพึงน้อมใจเชื่อ ต่อพระสมณโคดมผู้เจริญพระองค์

นั้น ซึ่งเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยประการใดแล.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า โวหาระ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้บริโภคผลไม้ ด้วยสมณกัปปะทั้ง ๕.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า กาละ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

ได้ยินว่า โดยสมัยใด เราจักอยู่ตลอดกาลเป็นนิจ.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า บัญญัติ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

เพราะเหตุนี้ พระกัปปะ ผู้มีอายุ.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า การตัด ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

เขาประดับตกแต่งแล้ว ตัดผม โกนหนวดแล้ว.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า กำหนด ในประโยคทั้งหลายอาทิมีอาทิอย่างนี้ว่า

กัปปะว่า ถ้าหากว่าตะวันคล้อยไปชั่ว ๒ องคุลี (ภิกษุวัชชีย่อมบัญญัติว่า)

ย่อมควรเพื่อฉันอาหารได้.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า ข้ออ้าง ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

ข้ออ้างเพื่อจะนอนมีอยู่.

กปฺป ศัพท์มีอรรถว่า โดยรอบ ในประโยคทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้

ว่า ทำพระเวฬุวันโดยรอบทั้งสิ้นให้สว่างไสว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 139

แต่ในมงคลสูตรนี้ ท่านประสงค์เอา กปฺป ศัพท์ ในความหมายว่า

โดยรอบ.

เพราะเหตุนั้นในคำว่า เกวลกปฺป เชตวน นี้ พึงเห็นเนื้อความ

อย่างนี้ว่า ยังพระเชตวันทั้งสิ้นโดยรอบ.

บทว่า โอภาเสตฺวา ความว่า แผ่ไปแล้วด้วยแสงสว่าง อธิบายว่า

กระทำแล้วให้สว่างเป็นอันเดียวกัน คือให้โชติช่วงเป็นอันเดียวกัน ดุจ

พระจันทร์และพระอาทิตย์ ฉะนั้น.

คำว่า เยน ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ เป็นตติยาวิภัตติ

ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ.

บัณฑิตพึงเห็นเนื้อความในคำว่า ยตฺถ ภควา ตตฺถ อุปสงฺกมิ นี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่ใด ก็เข้าไปเฝ้าแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ในที่นั้น โดยกาลนั้น, อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในคำว่า เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย พึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเหตุใด เทวบุตรก็เข้าเฝ้า

ด้วยเหตุนั้น ดังนี้

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพึงเข้าไป

เฝ้าโดยเหตุไร ? ตอบว่า เข้าไปเฝ้าแล้ว มีคำอธิบายว่า ไปแล้ว ด้วย

ความประสงค์ที่จะบรรลุคุณวิเศษที่ประการต่าง ๆ ดุจไม้ใหญ่ที่ผลิดอกอกผล

อยู่เป็นนิจ อันหมู่นกทั้งหลายเข้าไปหาอยู่ ด้วยประสงค์จะบริโภคผลที่อร่อย

ฉะนั้น. คำว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นการแสดงถึงการสิ้นสุดแห่งการเข้าไปเฝ้า

อีกอย่างหนึ่ง เทวดานั้น ไปแล้วอย่างนี้ มีคำอธิบายว่า ไปแล้วสู่สถานที่อัน

ใกล้กว่า คือที่ใกล้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าต่อจากนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 140

คำว่า ภควนฺต อภิวาเทตฺวา ความว่า ถวายบังคมคือนอบน้อม

นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า.

คำว่า เอกมนฺต เป็นคำแสดงถึง นปุสกสิงค์ มีคำอธิบายว่า

ณ โอกาสข้างหนึ่ง คือ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า เอกมนฺต

เป็นทุติยวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ (แปลว่า ณ, ใน).

คำว่า อฏฺาสิ เป็นการปฏิเสธอิริยาบถอื่นมีการนั่งเป็นต้น อธิบายว่า

สำเร็จการยืน ได้แก่ เป็นผู้ยืนอยู่แล้ว. ถามว่า ก็เทวดานั้นยืนอย่างไร ?

ชื่อว่า ยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

ตอบว่า เทวดาเว้นแล้วซึ่งโทษ (๘ อย่าง) เหล่านี้คือ ไม่ยืนข้าง

หลัง ๑ ไม่ยืนข้างหน้า ๑ ไม่ยืนใกล้ ๑ ไม่ยืนไกล ๑ ไม่ยืนตรงหน้า ๑

ไม่ยืนเหนือลม ๑ ไม่ยืนต่ำกว่า ๑ ไม่ยืนสูงกว่า ๑ ชื่อว่า ยืนแล้ว ณ

ส่วนข้างหนึ่ง.

ถามว่า ก็เทวบุตรนี้ยืนเท่านั้น ไม่นั่ง เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะเทวดาทั้งหลายประสงค์จะกลับไว อธิบายว่า จริงอยู่

เทวดาทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์บางอย่างเท่านั้น จึงมายังมนุษยโลก ซึ่ง

เปรียบประดุจส้วมที่เต็มด้วยของไม่สะอาด ก็โดยปกติมนุษยโลกเป็นของปฏิกูล

แก่เทวดาเหล่านั้น เพราะเป็นสถานที่มีกลิ่นเหม็นนับจำเดิมแต่ ๑๐๐ โยชน์

พวกเทวดาจึงไม่ยินดีในมนุษยโลกนั้น เพราะเหตุนั้นเทวดานั้นทำธุระที่ตน

มาเสร็จแล้ว ก็ไม่ยอมนั่ง เพราะต้องการจะกลับไว ชนทั้งหลายย่อมนั่ง เพื่อ

จะบรรเทาความอ่อนเพลียแห่งอิริยาบถ อันเกิดจากการเดินเป็นต้น อันใด

ความเพลียอันนั้นของเทวดาทั้งหลายย่อมไม่มี เพราะฉะนั้นเทวดาจึงไม่ยอมนั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 141

ก็มหาสาวกทั้งหลายเหล่าใด ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่แล้ว เทวดาก็

นับถือมหาสาวกเหล่านั้น จึงไม่นั่ง. อีกอย่างหนึ่ง เทวดาไม่ยอมนั่งเพราะ

เคารพในพระพุทธเจ้า ด้วยว่าเมื่อเทวดาทั้งหลายจะนั่ง อาสนะก็บังเกิดขึ้น

เทวดาไม่ปรารถนาอาสนะนั้นจึงไม่คิดแม้เพื่อจะนั่ง ได้ยืนอยู่แล้ว ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง.

คำว่า เอกมนฺต ิตา โข สา เทวตา ความว่า เทวดานั้น

ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล ด้วยเหตุเหล่านี้อย่างนี้.

คำว่า ภควนฺต คาถาย อชฺฌภาสิ อธิบายว่า ได้ทูลแล้วกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำที่นิยมอักขระบท (คือด้วยคาถา).

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า พหู เป็นการแสดงการนับที่ไม่แน่นอน

มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายว่า ด้วยคำว่า พหู นั้น ย่อมมีร้อยเป็นอเนก มีพัน

เป็นอเนก มีแสนเป็นอเนก.

สัตว์โลกที่ชื่อว่า เทพ เพราะอรรถว่า ย่อมเล่น อธิบายว่า เทวดา

ทั้งหลายย่อมเล่นด้วยกามคุณ ๕ หรือว่าย่อมโชติช่วงด้วยสิริของตน อีกอย่าง

หนึ่ง เทวดามี ๓ ประเภท ด้วยอำนาจสมมติเทพ อุปัตติเทพ และวิสุทธิเทพ.

เหมือนอย่างที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ว่า คำว่า เทว ได้แก่เทพ ๓ ประเภท

คือ สมมติเทพ ๑ อุปปัตติเทพ ๑ วิสุทธิเทพ ๑ อธิบายว่า พระราชาทั้งหลาย

พระเทวีทั้งหลาย และพระราชกุมารทั้งหลาย พระราชกุมารีทั้งหลาย ชื่อว่า

สมมติเทพ. เทพในสวรรค์ชั้นนั้นๆ นับตั้งแต่เทพชั้นจาตุมมหาราชไป ชื่อว่า

อุปปัตติเทพ. พระอรหันตขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า วิสุทธิเทพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 142

ในบรรดาเทพ ๓ จำพวกเหล่านั้น อุปปัตติเทพ ท่านประสงค์เอา

ในพระสูตรนี้.

สัตว์โลกที่ชื่อว่า มนุษย์ เพราะอรรถว่าเป็นเหล่ากอแห่งพระมนู ก็

พระโบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า สัตว์โลกทั้งหลายที่ชื่อว่ามนุษย์ เพราะ

เป็นผู้มีใจสูง.

มนุษย์เหล่านั้นมี ๔ จำพวกคือ พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป ๑ พวก

มนุษย์ชาวอมรโคยาน พวกมนุษย์อุตตรกุรุ ๑ พวกมนุษย์ชาวปุพพวิเทหะ ๑

มนุษย์ชาวชมพูทวีป ท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.

สัตว์ทั้งหลายย่อมถึงความเจริญด้วยเหตุเหล่านี้ เหตุนั้น เหตุเหล่านี้

จึงชื่อว่า มงคล อธิบายว่า ย่อมถึงความสำเร็จ คือความเจริญ.

คำว่า จินฺตยุ ได้แก่ คิดกันแล้ว.

คำว่า อากงฺขมานา ได้แก่ ปรารถนาอยู่ คือต้องการอยู่ หวังอยู่

บทว่า โสตฺถาน ได้แก่ ความสวัสดี มีคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ซึ่ง

ความมีอยู่แห่งคำทั้งหลายอันงาม คือดี คือสวย อันเป็นไปในทิฏฐธรรมและ

สัมปรายภพทั้งปวง.

คำว่า พฺรูหิ ได้แก่ จงแสดง คือ จงประกาศ จงบอก จงเปิดเผย

จงจำแนก จงทำให้แจ้ง.

คำว่า มงฺคล ได้แก่ เหตุแห่งความสำเร็จ คือเหตุแห่งความเจริญ

ได้แก่ เหตุแห่งสมบัติทั้งปวง.

๑. ในบางแห่งว่า อปรโคยานทวีป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 143

คำว่า อุตฺตม ได้แก่ ประเสริฐ คือ เลิศ ได้แก่ นำมาซึ่งประโยชน์

สุขแก่โลกทั้งปวง นี้คือการอธิบายตามลำดับบทแห่งคาถา. ส่วนการประมวล

เนื้อความมีดังต่อไปนี้.

เทพบุตรนั้น เชิญเทวดาทั้งหลายในหมื่นจักรวาลให้ประชุมกันใน

จักรวาลอันเดียวนี้ เพื่อต้องการจะฟังมงคลปัญหา ได้เห็นแล้วซึ่งเทวดา มาร

และพรหมทั้งปวง ผู้เนรมิตอัตภาพให้ละเอียด ประมาณเท่าปลายขนทราย

เส้นหนึ่ง เป็น ๑๐ องค์บ้าง ๒๐ บ้าง ๓๐ บ้าง ๔๐ บ้าง ๕๐ บ้าง ๖๐ บ้าง

๗๐ บ้าง ๘๐ บ้าง ผู้ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับนั่งเหนือ

บวรพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดไว้แล้ว ผู้รุ่งโรจน์ก้าวล่วง (เทพ, มาร, และพรหม)

เหล่านั้น ด้วยพระสิริและพระเดช และได้ทราบถึงความปริวิตกแห่งใจของ

พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้ที่ยังไม่ได้ทราบในสมัยนั้นด้วยใจ เพื่อจะถอน

เสียซึ่งลูกศรคือความสงสัยของเทพเจ้าและมนุษย์ทั้งปวง จึงได้ทูลว่า เทพเจ้า

เเละมนุษย์เป็นอันมาก หวังอยู่ซึ่งความสวัสดี คือปรารถนาความสวัสดีแห่งตน

จึงพากันคิดมงคลทั้งหลายข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์เป็นผู้ซึ่งข้าพระองค์

ทูลถามแล้ว ตามความอนุมัติของเทพเจ้าเหล่านั้น และด้วยความอนุเคราะห์

ของมนุษย์ทั้งหลาย ขอจงตรัสบอกซึ่งมงคลอย่างสูงสุด คือว่าขอพระองค์ได้

อาศัยความอนุเคราะห์ต่อข้าพระองค์ทั้งหลาย โปรดตรัสบอกมงคลอันสูงสุด

เพราะจะนำประโยชน์สุขมาให้โดยส่วนเดียว แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ทั้งปวง

ทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของเทพบุตรนี้อย่างนี้แล้ว จึงตรัส

พระคาถาว่า อเสวนา จ พาลาน เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 144

การไม่คบ คือการไม่เข้าไปนั่งใกล้ ชื่อว่า อเสวนา ในพระคาถา

นั้น. ในคำว่า พาลาน มีวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใด ย่อมอ่อนแอ

เหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า คนพาล.

ถามว่า ย่อมอ่อนแอ เพราะเหตุไร ? ตอบว่า ชนทั้งหลายย่อม

เป็นอยู่สักว่าลมหายใจเข้าออก อธิบายว่า ไม่ได้เป็นอยู่ด้วยปัญญา. ซึ่งคนพาล

ทั้งหลายเหล่านั้น.

ในคำว่า ปณฺฑิตาน มีวิเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายเหล่าใดย่อมดำเนิน

ไปด้วยปัญญา เหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า บัณฑิต อธิบายว่า ชนทั้งหลาย

ย่อมดำเนินไป ด้วยญาณคติในประโยชน์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นไปในปัจจุบัน

ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ. ซึ่งบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น.

การคบ คือการเข้าไปนั่งใกล้ ได้แก่ การมีบุคคลนั้นเป็นสหาย

การมีบุคคลนั้นเป็นเพื่อน ชื่อว่า เสวนา.

การทำสักการะ การทำความเคารพ การนับถือและการกราบไหว้

ชื่อว่า บูชา.

คำว่า ปูชเนยฺยาน หมายถึง ผู้ควรแก่การบูชา.

คำว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวบรวม

การกระทำทั้งหมดคือ การไม่คบคนพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาบุคคล

ที่ควรบูชา ๑ เข้าด้วยกันแล้วตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตม ข้อนั้นเป็นมง-

คลอันสูงสุด มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ท่านจงถือเอาในคำที่ท่านถามว่า

ขอพระองค์จงตรัสบอกมงคลอันสูงสุด ทั้ง ๓ นี้ ว่า เป็นมงคลอันสูงสุดก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 145

ดังนี้ก่อน นี้คือการอธิบายบทแห่งพระคาถานี้. ส่วนการอธิบายเนื้อความแห่ง

พระคาถานั้น ผู้ศึกษาพึงทราบอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับคำของเทพบุตรนี้ อย่างนี้แล้ว จึง

ตรัสพระคาถานี้ว่า อเสวนา จ พาลาน การไม่คบคนพาลทั้งหลาย

ดังนี้เป็นต้น.

ในข้อนี้มีกถา (ถ้อยคำที่ควรพูด) อยู่ ๔ ประการดังนี้คือ ปุจฉิตกถา ๑

อปุจฉิตกถา ๑ สานุสันธิกถา ๑ อนนุสันธิกถา ๑.

ในถ้อยคำทั้ง ๔ ประเภทนั้น ถ้อยคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อมีผู้

ทูลถามในปัญหาทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระโคดม ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน

ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ว่า ผู้ฟัง ทำอย่างไร จึงชื่อว่า เป็นผู้ฟังที่ดี

และว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านข้ามโอฆะได้อย่างไรหนอ ดังนี้ ตรัสตอบ

แล้ว ชื่อว่า ปุจฺฉิตกถา.

ถ้อยคำที่พระองค์ซึ่งไม่มีผู้ทูลถาม ปัญหาทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

สิ่งใดที่ชนพวกอื่นกล่าวว่าเป็นสุข สิ่งนั้นพระอริยเจ้ากล่าวว่าเป็นทุกข์ ดังนี้

ตรัสแล้ว ด้วยสามารถอัธยาศัยของตน (ผู้ฟัง) เท่านั้น ชื่อว่า อปุจฺฉิตกถา.

พระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ทั้งปวงชื่อว่า สานุสนฺธิกถา

เพรา พระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลายเราจะแสดงธรรมที่มีเหตุซึ่งผู้ฟังอาจครองตาม

ให้เห็นจริงได้.

อนนุสนฺธิกถา (ถ้อยคำที่พูดขึ้นมาโดยไม่มีเหตุผล) ไม่มีใน

ศาสนานี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 146

ในบรรดากถาทั้งหลายเหล่านี้ มงคลกถานี้ชื่อว่า ปุจฉิตกถา เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งเทวบุตรทูลถามแล้วได้ตรัสไว้ ดังพรรณนามานี้.

ก็ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในปุจฉิตกถา ดังต่อไปนี้ :-

ในบรรดาบุคคลทั้งหลายที่ควรคบและไม่ควรคบ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสบอกถึงบุคคลที่ไม่ควรคบก่อน แล้วตรัสบอกถึงบุคคลที่ควรคบในภายหลัง

เปรียบเหมือนบุรุษผู้ฉลาด เป็นผู้ฉลาดในหนทางและที่ไม่ใช่หนทาง เมื่อ

มีผู้ถามถึงทาง จึงได้บอกทางที่ควรละก่อน แล้วบอกทางที่ควรถือเอาในภาย

หลังนั้นว่า ในสถานที่ชื่อโน้นมีทางอยู่สองแพร่ง ในบรรดาทางทั้งสองนั้น

ท่านจงละทางซ้าย แล้วถือเอาทางขวา ฉะนั้น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นเช่นกับคนที่ฉลาดในหนทาง สมดังที่พระ-

ธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ดูก่อนติสสะ คำว่าบุรุษผู้ฉลาดในหนทางนี้แล

เป็นชื่อแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยว่าพระองค์ทรงฉลาดใน

โลกนี้ ฉลาดในโลกอื่น ฉลาดในบ่วงของมัจจุ ฉลาดในธรรมที่ไม่ใช่บ่วงของ

มัจจุ ฉลาดในบ่วงของมาร ฉลาดในธรรมที่มิใช่บ่วงของมาร พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเมื่อตรัสบอกถึงบุคคลที่ไม่ควรเสพก่อนจึงตรัสว่า อเสวนา จ พาลาน

การไม่คบคนพาลทั้งหลาย และเมื่อตรัสบอกบุคคลที่ควรเสพ จึงตรัสว่า

ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา การคบบัณฑิตทั้งหลาย.

ด้วยว่า พวกคนพาลอันบุคคลไม่ควรคบ คือไม่ควรเข้านั่งใกล้ก่อน

ราวกะว่าทางที่ควรเว้น ต่อจากนั้นก็ควรคบคือควรเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตทั้งหลาย

ดุจทางที่ควรถือเอา. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสมงคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 147

จึงได้ตรัสถึงการไม่คนพวกคนพาลก่อน (ตรัส) ถึงการคบบัณฑิตทั้งหลายใน

ภายหลัง. ตอบว่า เพราะเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถือเอาแล้วซึ่งความเห็น

อันเป็นมงคล ในมงคลทั้งหลายมีทิฏฐิมงคลเป็นต้นนี้ เพราะด้วยการเสพกับ

คนพาล และมงคลทิฏฐินี้ก็เป็นอัปมงคล ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรง

ติเตียนการคลุกคลีกับอกัลยาณมิตร ซึ่งหักรานประโยชน์ในโลกนี้ ในโลกอื่น

นั้น และเมื่อทรงสรรเสริญการคบกัลยาณมิตรผู้ทำประโยชน์ในโลกทั้งสองให้

สำเร็จ จึงได้ตรัสการไม่คบพวกคนพาลก่อน และตรัสการคบบัณฑิตทั้งหลาย

ในภายหลัง แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น.

สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้วด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาต

เป็นต้นเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชื่อว่า คนพาล. ในบรรดาคนพาลและบัณฑิต

ทั้งสองนั้น พวกคนพาลเหล่านั้น บัณฑิตจะพึงทราบได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง

สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาล

มีพาลลักษณะ ๓ ประการเหล่านี้ ดังนี้

อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายเหล่านี้คือ ครูทั้งหกมีปูรณกัสสปเป็นต้น

ชนทั้งหลายมีพระเทวทัต พระโกกาลิกะ พระกฏโมสกติสสะ พระขัณฑเทวีบุตร

พระสมุททัตตะ และนางจิญจมาณวิกาเป็นต้น และพระภาดาของพระเจ้าทีฆวิท

ในอดีตกาล เเละสัตว์เห็นปานนี้เหล่าอื่น พึงทราบว่า คนพาล ชนเหล่านั้น

ย่อมทำตนเองและชนทั้งหลายที่ทำตามถ้อยคำของตนให้ถึงความพินาศ ด้วยตน

ที่ถือเอาผิดประดุจเรือนที่ถูกไฟไหม้ทั่วแล้วฉะนั้น เหมือนอย่างพระภาดาของ

พระเจ้าทีฆวิทมีอัตภาพประมาณ ๖0 โยชน์ นอนหงายตกไป อันไฟไหม้อยู่

๑. อัง. ติก. ๒๐/ ข้อ ๔๔๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 148

ในมหานรกสิ้น ๔ พุทธันดร และเหมือนอย่างสกุล ๕๐๐ สกุลซึ่งชอบใจทิฏฐิ

ของพระองค์เข้าถึงความเป็นสหายของพระองค์นั้นแหละไหม้อยู่ในมหานรก

สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลายไฟพ้นจากเรือนไม้อ้อ

และเรือนหญ้าแล้วย่อมติดแม้เรือนยอด ซึ่งฉาบทาทั่วแล้ว ลมเข้าไม่ได้มีกลอน

ปิดสนิท หน้าต่างปิดแล้ว แม้ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย ภัยทั้งหลายอย่างใด

อย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้น ภัยเหล่านั้นทั้งหมดย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิต

ไม่ อุปัทวะทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ อุปสรรคทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง

ย่อมเกิดขึ้น อุปสรรคเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเกิดแต่คนพาล หาเกิดแต่บัณฑิตไม่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แล คนพาลจึงเป็นผู้มีภัย บัณฑิตไม่มีภัย

คนพาลมีอุปัทวะ บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ คนพาลมีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค

ฉันนั้นเหมือนกันแล.

อีกอย่างหนึ่ง คนพาลเป็นเช่นกับปลาเน่า บุคคลที่คนคนพาลนั้นเป็น

เช่นกับใบไม้ที่ห่อปลาเน่า คนพาลจึงถึงความเป็นผู้ที่วิญญูชนทั้งหลายจะพึง

ทิ้งเสีย และถึงความเป็นผู้ที่วิญญูชนทั้งหลายจะพึงรังเกียจ สมจริงดังคำที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

นรชนใดย่อมใช้ปลายหญ้าคาผูกซึ่ง

ปลาเน่า แม้หญ้าคาก็เหม็นเน่า มีกลิ่นฟุ้งไป

ฉันใด การคบคนพาลก็ฉันนั้น.

ก็แม้ อกิตติบัณฑิต เมื่อท้าวสักกะจอมเทพประทานพรอยู่ ก็ได้

กล่าวอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 149

บุคคลไม่พึงเห็น ไม่พึงฟังคนพาล

และไม่พึงอยู่ร่วมกับคนพาล ไม่ควรสนทนา

ปราศรัยกับคนพาล และไม่ควรพอใจการ

สนทนาปราศรัยกับคนพาล

(ท้าวสักกะตรัสถามว่า)

ดูก่อนกัสสปะ คนพาลได้ทำอะไร

ให้แก่ท่านแลหรือ ท่านจงบอกถึงเหตุ ดู

ก่อนกัสสปะ เพราะเหตุไร ท่านจึงชมต้อง

การเห็นคนพาล

(อกิตติดาบสตอบว่า)

(เพราะ) คนพาลมีปัญญาทราม ย่อม

แนะนำสิ่งที่ไม่ควรแนะนำ ย่อมประกอบใน

สิ่งที่ไม่ใช่ธุระ การแนะนำในทางที่ผิด ๆ

เป็นความประเสริฐ (ของคนพาล) คนพาล

แม้เขาพูดดี ๆ ก็โกรธ คนพาลนั้นย่อมไม่รู้

จักอุบายเครื่องแนะนำ การไม่เห็นคนพาล

นั้นเสียได้เป็นการดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงติเตียนการคบคนพาลโดยประการทั้งปวง

อย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า การไม่คบพวกคนพาลเป็นมงคล บัดนี้เมื่อจะตรัส

สรรเสริญการคบบัณฑิตจึงตรัส ปณฺฑิตานณฺจ เสวนา ว่าเป็นมงคล.

สัตว์ทั้งหลายที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ มีปาณาติบาตเป็นต้น

จำพวกใดจำพวกหนึ่งชื่อว่า บัณฑิต ในบรรดาการคบคนพาลและบัณฑิตทั้ง

สองนั้น บัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น จะพึงทราบได้โดยอาการ ๓ อย่าง ดังที่ตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 150

ไว้ในพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต มีบัณฑิตลักษณะอยู่ ๓ ประ-

การเหล่านี้ ดังนี้เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอสีติมหาสาวก

รวมทั้งสาวกของพระตถาคตเจ้าเหล่าอื่น และชนทั้งหลายมีสุเนตตดาบส มหา-

โควินทพราหมณ์ วิธูรบัณฑิต สรภังคดาบส มโหสถบัณฑิต สุตโสมบัณฑิต

พระเจ้านิมิราช อโยฆรกุมาร และอกิตติบัณฑิตเป็นต้น พึงทราบว่า บัณฑิต.

บัณฑิตเหล่านั้นเป็นผู้สามารถกำจัดภัยอุปัทวะและอุปสรรคทั้งปวงของ

พวกตน ผู้กระทำตามถ้อยคำของตน (บัณฑิต) ดุจการอารักขาในเวลามีภัย

ดุจประทีปในที่มืด และดุจการได้ข้าวและน้ำเป็นต้น ในเวลาที่ถูกความทุกข์

อันเกิดจากความหิวกระหายเป็นต้นครอบงำ ฉะนั้น.

จริงอย่างนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย นับไม่ถ้วน ไม่มีประมาณ

อาศัยแล้วซึ่งพระตถาคตถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ บางพวกดำรงอยู่ในพรหมโลก

บางพวกเกิดแล้วในเทวโลก สกุล ๘๐,๐๐๐ สกุลทำใจให้เลื่อมใสในพระสารีบุตร

เถระ อุปัฏฐากพระเถระด้วยปัจจัย ๔ บังเกิดแล้วในสวรรค์. สกุลทั้งหลาย

ทำใจให้เลื่อมใสแล้วในพระมหาสาวกทั้งปวงมีพระมหาโมคคัลลานะ และพระ-

มหากัสสปะเป็นต้นก็บังเกิดในสวรรค์เหมือนอย่างนั้น ชนทั้งหลายบางพวกซึ่ง

เป็นสาวกของสุเนตตศาสดาเท่านั้น บังเกิดแล้วในพรหมโลก บางพวกถึงความ

เป็นสหายของเทพทั้งหลายชั้นปรนิมมิตวสวัตตี ฯลฯ หรือบางพวกถึงแล้วซึ่ง

ความเป็นสหายของคหบดีมหาศาล สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย ภัยย่อมไม่มีแต่บัณฑิต อุปัทวะย่อมไม่มีแต่บัณฑิต อุปสรรค

ย่อมไม่มีแต่บัณฑิต.

๑. อัง. ติก. ๒๐/ ข้อ ๔๔๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 151

อีกประการหนึ่ง บัณฑิตเช่นกับภัณฑะแห่งของหอมมีกฤษณาและ

ดอกไม้เป็นต้น บุคคลที่คบบัณฑิตนั้น เป็นเช่นกับด้วยใบไม้ที่ห่อของหอมมี

กฤษณาและดอกไม้เป็นต้น ย่อมถึงความเป็นผู้อันวิญญูชนทั้งหลายพึงสรรเสริญ

และความเป็นผู้เป็นที่ฟูใจแห่งวิญญูชนทั้งหลาย สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า

ก็นรชนใดย่อมใช้ใบไม้ห่อกฤษณา

แม้ใบไม้ทั้งหลาย มีหอมฟุ้งขจรไปฉันใด

การคบนักปราชญ์ก็ฉันนั้น.

ก็แม้อกิตติบัณฑิต เมื่อท้าวสักกะจอมเทพประทานพรอยู่ ได้กล่าว

อย่างนี้ว่า

บุคคลพึงเห็นนักปราชญ์ พึงฟังนัก-

ปราชญ์ พึงอยู่ร่วมดับนักปราชญ์ พึงกระทำ

การสนทนาปราศรัยกับนักปราชญ์นั้น และ

พึงชอบใจในการสนทนากับนักปราชญ์นั้น.

(ท้าวสักกะตรัสถามว่า)

ดูก่อนกัสสปะ นักปราชญ์ได้ทำอะไร

ให้แก่ท่านหรือหนอ ท่านจงบอกถึงเหตุ ดู

ก่อนกัสสปะ เพราะเหตุไร ท่านจึงปรารถนา

เห็นนักปราชญ์.

(อกิตติดาบสทูลสว่า)

เพราะนักปราชญ์เป็นผู้มีปัญญาย่อม

แนะนำอุบายที่ควรแนะนำ นักปราชญ์นั้น

ย่อมประกอบในสิ่งที่เป็นธุระ การแนะนำดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 152

เป็นความดีของนักปราชญ์นั้น นักปราชญ์นั้น

เขาพูดชอบก็ไม่โกรธ นักปราชญ์นั้นย่อมรู้

จักอุบายเครื่องแนะนำ การสมาคมกับนัก-

ปราชญ์นั้นจึงเป็นความดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญการคบหาบัณฑิต โดย

ประการทั้งปวง จึงตรัสว่า การเสพบัณฑิตทั้งหลายเป็นมงคล ดังพรรณนามา

ฉะนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงสรรเสริญการบูชาปูชนียบุคคลทั้งหลาย ผู้เข้าถึงแล้ว

ซึ่งภาวะที่ควรบูชาโดยลำดับ ด้วยการไม่เสพคนพาลทั้งหลาย และด้วยการ

เสพบัณฑิตทั้งหลายนั้น จึงตรัสว่า ปูชา จ ปูชนียาน เอตมฺมงฺคลมมุตฺตม

การบูชาปชนียบุคคลทั้งหลาย นี้เป็นอุดมมงคล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ชื่อว่าเป็น พุทธะ เพราะเว้นจากโทษ

ทั้งปวง และเพราะประกอบด้วยพระคุณทั้งปวง พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระ-

อริยสาวกทั้งหลาย ผู้มาในภายหลังแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ชื่อว่า ปูชนีย-

บุคคล ในพระคาถานั้น ด้วยว่าการบูชาพระทักขิเณยยบุคคลเหล่านั้นแม้จะน้อย

ก็ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขตลอดกาลนาน ก็ในข้อนี้มีนายสุมนมาลาการ

เป็นต้นเป็นตัวอย่าง. ในเรื่องการบูชาบุคคลที่ควรบูชา นำความสุขมาให้ตลอด

กาลนานนั้น ข้าพเจ้าจะยกเรื่องเพียงเรื่องเดียวเป็นตัวอย่าง.

ดังได้สดับมา ในเวลาเช้าวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่ง (สบง)

เรียบร้อยแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต

ครั้งนั้นนายสุมนมาลาการ ถือดอกไม้ทั้งหลายเพื่อพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแคว้น

มคธ กำลังไปอยู่ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ยังผู้อื่นให้เลื่อมใส ผู้ควรเลื่อมใส

ผู้ประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ทรงรุ่งเรื่อง

อยู่ด้วยพุทธสิริ ผู้เสด็จถึงประตูพระนคร (พอดี) นายสุมนมาลาการนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 153

ครั้นเห็นแล้วก็ได้มีความดำริอย่างนี้ว่า พระราชาทรงรับดอกไม้ทั้งหลายแล้ว

จะพึงประทานทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ หรือ ๑,๐๐๐ กหาปณะ (แก่เรา) ก็ทรัพย์

นั้นพึงเป็นความสุขยิ่งกว่าในโลกนี้ แต่การบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้ามีผลประมาณ

มิได้ นับมิได้ ย่อมนำความสุขมาสิ้นกาลนาน เอาเถิด เราจะบูชาพระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

นายสุมนมาลาการนั้น มีใจเลื่อมใส ถือดอกไม้กำมือหนึ่ง ซัดไปแล้ว

เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดอกไม้ทั้งหลายไปทางอากาศ ได้เป็น

เพดานดอกไม้ ดำรงอยู่แล้วเบื้องบนรองพระผู้มีพระภาคเจ้า นายมาลาการ

เห็นอานุภาพนั้นแล้ว ย่อมมีใจเลื่อมใสยิ่งขึ้น ได้ซัดดอกไม้ไปอีกกำมือหนึ่ง

ดอกไม้เหล่านั้น ไปเป็นเกราะดอกไม้ดำรงอยู่แล้ว นายมาลาการซัดดอกไม้ไป

ถึง ๘ กำมือด้วยอาการอย่างนี้ ดอกไม้เหล่านั้นไปเป็นเรือนยอด. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ประทับอยู่แล้วภายในเรือนยอด หมู่มหาชนประชุมกันแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสรรเสริญนายมาลาการ จึงได้ทรงกระทำการแย้ม

พระโอษฐ์ให้ปรากฏ พระอานนทเถระคิดว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทำการ

แย้มทั้งหลายให้ปรากฏ เพราะเรื่องมิใช่เหตุ มิใช่ปัจจัย ดังนี้แล้วจึงทูลถาม

ถึงเหตุที่ทำให้แย้มพระโอษฐ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ นายมาลา-

การนี้ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสิ้นแสนกัป ในที่สุดก็จะได้เป็น

พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า สุมนิสสระ ด้วยอานุภาพแห่งหารบูชานี้.

ก็ในที่สุดแห่งพระวาจา เพื่อจะแสดงพระธรรมเทศนา จึงได้ตรัส

พระคาถานี้ว่า

บุคคลทำกรรมใดแล้ว ไม่เดือดร้อน

ในภายหลัง กรรมนั้นแลที่บุคคลทำแล้วเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 154

กรรมดี นายสุมนมาลาการเอิบอิ่มแล้วด้วย

กรรมใดย่อมเสวยวิบากแห่งกรรมใด (กรรม

นั้นแล) อันบุคคลทำแล้วเป็นกรรมดี ดังนี้.

ในที่สุดแห่งคาถา สัตว์ทั้งหลาย ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม.

การบูชาปูชนียบุคคลเหล่านั้น แม้จะน้อยอย่างนี้ ก็พึงทราบว่า ย่อม

เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขสิ้นกาลนาน ก็การบูชานั้นเป็นอามิสบูชาเท่านั้น (ยังให้

ผลถึงเพียงนี้) จะป่วยกล่าวไยถึงการปฏิบัติบูชา เพราะกุลบุตรเหล่าใด ย่อม

บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการถึงรัตนะ ด้วยการรับสิกขาบท ด้วยการ

สมาทานองค์อุโบสถ และด้วยคุณทั้งหลายของตนมีปาริสุทธิศีล ๔ เป็นต้น

ใครเล่าจักพรรณนาผล แห่งการบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นได้

ก็ชนทั้งหลายเหล่านั้นท่านกล่าวว่า ย่อมบูชาพระตถาคตเจ้าด้วยการบูชาอย่าง

ยิ่ง เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ ในมหาปรินิพพานสูตรว่า อานนท์ ภิกษุก็ดี

ภิกษุณีก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี คนใดแลปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมปฏิบัติ

สมควร มีปกติประพฤติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมสักการะ เคารพ นับถือ

บูชา ตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง แม้การบูชาพระปัจเจกพุทธะ และพระ-

อริยสาวกทั้งหลาย ก็พึงทราบว่านำประโยชน์สุขมาให้เช่นกัน โดยทำนองเดียว

กับการบูชานี้.

อีกอย่างหนึ่ง (พึงทราบบุคคลผู้ควรบูชาในข้อนี้อย่างนี้ว่า) พี่ชายก็ดี

พี่หญิงก็ดี ชื่อว่าเป็นบุคคลที่ควรบูชาของน้องชายหรือน้องหญิง สำหรับ

คฤหัสถ์ทั้งหลาย, บิดามารดาเป็นบุคคลผู้ควรบูชา สำหรับบุตร, สามี แม่ผัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 155

พ่อผัว เป็นบุคคลผู้ควรบูชาสำหรับหญิงสาวในสกุลทั้งหลาย ด้วยว่าการบูชา

แม้ซึ่งบุคลเหล่านี้ ชื่อว่าเป็นมงคลเหมือนกัน เพราะการบูชานั้น ท่านนับ

ว่าเป็นกุศลธรรม และเพราะการบูชานั้น เป็นเหตุแห่งความเจริญแห่งอายุเป็น

ต้น สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ชนเหล่าใดแล จักเป็นผู้เกื้อกูล

แก่มารดา เป็นผู้เกื้อกูลแก่บิดา เกื้อกูลแก่สมณะ เกื้อกูลแก่พราหมณ์ จัก

สมาทานประพฤติกุศลธรรมนี้อยู่ เพราะเหตุแห่งการสมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น

ชนเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง ดังนี้เป็นต้น

ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๓ ประการคือ การ

ไม่คบคนพาลทั้งหลาน ๑ การคบบัณฑิตทั้งหลาย ๑ การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

ทั้งหลาย ๑ ด้วยประการฉะนี้.

ในมงคลทั้ง ๓ ประการนั้น การไม่คบคนพาลทั้งหลาย พึงทราบว่า

เป็นมงคล เพราะป้องกันอันตรายมีภัยเป็นต้นเสียได้ เนื่องจากการคบคนพาล

เป็นปัจจัย และเพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์เกื้อกูลในโลกทั้งสอง การคบ

บัณฑิตทั้งหลาย และการบูชาทั้งหลาย พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุ

แห่งนิพพานและสุคติ โดยนัยที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว ด้วยการพรรณนาผลและ

สมบัติของการบูชานั้น. แต่ว่าต่อจากนี้ไป ข้าพเจ้าจักไม่ได้แสดงมาติกาเลย

กำหนดมงคลได้ ณ ที่ใด ก็จักพรรณนาความเป็นมงคล ณ ที่นั้น.

จบการพรรณาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

อเสวนา จ พาลาน เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 156

คาถาที่ ๒ (มี ๓ มงคล)

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้อันเทวดาทูลเชื้อเชิญเพื่อให้ตรัสมงคลเดียวว่า

ขอพระองค์จงตรัสบอกมงคลอันสูงสุด ดังนี้ อย่างนี้ ก็ตรัสถึง ๓ มงคล

ด้วยคาถาเดียว เหมือนบุรุษที่มีจิตใจกว้างขวาง เขาขอน้อย ก็ให้มากฉะนั้น

เพราะเหตุที่พระองค์ทรงปรารถนาจะให้เทวดาทั้งหลายได้สดับแม้ยิ่งขึ้นไปกว่า

นั้น และเพราะมงคลมีอยู่หลายอย่าง พระองค์จึงเริ่มตรัสถึงมงคลทั้งหลายเป็น

อเนก แม้อีก ด้วยพระคาถาทั้งหลายว่า ปฏิรูปเทสวาโส จ ดังนี้เป็นต้น

เพราะความที่พระองค์เป็นผู้ปรารถนาจะชักนำสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นไว้ในสิ่งที่

เป็นประโยชน์เกื้อกูลนั้น ๆ อันเป็นมงคล.

ในพระคาถาที่ ๒ นั้น ข้าพเจ้าจะได้พรรณาบทคาถาที่ ๑ ก่อน. คำว่า

ปฏิรูโป แปลว่า สมควร. บ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี ชนบทก็ดี หรือโอกาส

เป็นที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลายแห่งใดแห่งหนึ่ง ชื่อว่า เทสะ.

การอยู่ในประเทศนั้นชื่อว่า วาสะ.

บทว่า ปุพฺเพ ได้แก่ กาลก่อน คือ ในชาติทั้งหลายที่ล่วงมาแล้ว.

ความเป็นผู้มีกุศลอันสั่งสมไว้แล้วชื่อว่า กตปุญฺตา.

จิตท่านเรียกว่า อัตตา อีกอย่างหนึ่ง อัตภาพทั้งสิ้น ท่านก็เรียกว่า

อัตตา.

การตั้งความปรารถนา อธิบายว่า การประกอบไว้ คือการวางไว้

ซึ่งตนนั้นโดยชอบ ชื่อว่า สัมมาปณิธิ.

คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแหละ ดังนี้แล. นี่คือการ

พรรณนาเฉพาะบทในคาถานี้ ส่วนการพรรณนาเนื้อความ พึงทราบดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 157

ที่ชื่อว่า ปฏิรูปเทส ได้แก่ประเทศใดที่บริษัททั้ง ๔ เที่ยวไป ประ-

เทศที่บุญกิริยาวัตถุทั้งหลายมีทานเป็นต้นย่อมเป็นไป ประเทศที่นวังคสัตถุศาสน์

ย่อมรุ่งเรือง การอยู่ในปฏิรูปเทสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล

เพราะเป็นปัจจัยแห่งการบำเพ็ญบุญของสัตว์ทั้งหลาย ก็ในข้อนี้มีเรื่องของชาว

ประมงผู้เข้าไปสู่เกาะสิงหลเป็นต้นเป็นตัวอย่าง.

อีกนัยหนึ่ง ที่ชื่อว่าปฏิรูปเทส ได้แก่ ประเทศ คือ (โพธิมณฑล)

ควงแห่งต้นโพธิเป็นที่ตรัสรู้แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ประเทศที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแสดงพระธรรมจักร ประเทศ คือควงแห่งต้นคัณฑามพพฤกษ์ที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงเแสดงยมกปาฏิหาริย์ทรงทำลายความมัวเมาของเดียรถีย์ทั้งปวง

ในท่ามกลางบริษัท (ซึ่งมาประชุมกันในเนื้อที่) ถึง ๑๒ โยชน์ ประเทศที่เสด็จ

ลงจากเทวโลก (ที่สังกัสสนคร) ก็แม้หรือว่า ประเทศอื่นใดอันเป็นที่ประทับ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีเมืองสาวัตถีและเมืองราชคฤห์เป็นต้น การอยู่ใน

ปฏิรูปเทสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็น มงคล เพราะเป็นปัจจัยให้

ได้อนุตตริยะ ๖ ประการ.

อีกนัยหนึ่ง (ที่ชื่อว่าปฏิรูปเทส) ได้แก่ประเทศ ในทิศตะวันออก

มีนิคมชื่อว่า กชังคละ ต่อจากนิคมนั้นไปเป็นบ้านมหาสาลา ต่อจากบ้านมหา

สาลานั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ.

ในทิศอาคเณย์ (ปุรตฺถิมทกฺขิณาย อนุทิสาย) มีแม่น้ำชื่อว่า

สัสลวดี ต่อจากแม่น้ำสัลลวดีนั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิม-

ประเทศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 158

ในทิศใต้ (ทกฺขิณาย ทิสาย) มีนิคนชื่อว่าเสตะกัณณิกะ ถัดจาก

นิคมนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ

ในทิศตะวัน (ปจฺฉิมาย ทิสาย) มีร้านพราหมณ์ชื่อ ถูนะ

ถัดจากบ้านพราหมณ์ชื่อถูนะไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิม

ประเทศ.

ในทิศอุดร (เหนือ) (อุตฺตราย ทิสาย) มีภูเขาชื่อว่า อุสีรัทธชะ

ต่อจากภูเขานั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ.

มัชฌิมประเทศนี้ยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐ โยชน์ วัด โดยรอบได้

๙๐๐ โยชน์มัชฌิมประเทศน์ ชื่อว่า ปฏิรูปเทส.

พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นอิสริยาธิบดี แห่งทวีปใหญ่ ๔ ทวีปและทวีป

น้อย ๒,๐๐๐ ทวีป ก็ทรงอุบัติไหมัชฌิมประเทศนี้ พระมหาสาวกทั้งหลาย มี

พระสารีบุตรและพระโมคัลคัลลาน์เป็นต้น ซึ่งบำเพ็ญบารมีหนึ่งอสงไขยแสนกัป

ก็บังเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย บำเพ็ญบารมี ๒

อสงไขยกับแสนกัป ก็อุบัติขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้ และพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งหลายผู้บำเพ็ญบารมี ๔ อสงไขย หรือ ๘ อสงไขย หรือ ๑๖ อสงไขย กับ

แสนกัป ก็บังเกิดขึ้นในมัชฌิมประเทศนี้.

ในมัชฌิมประเทศนั้น สัตว์ทั้งหลายรับโอวาทของพระปัจเจกพุทธเจ้า

แล้วดำรงอยู่ในเบญจศีล ก็มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ดำรงอยู่ในโอวาท

ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็เหมือนกัน แต่ดำรงอยู่ในโอวาทของพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้า และพระสาวกทั้งหลายแล้ว มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ด้วย มีนิพพานเป็นที่ไปในเนื่องหน้าด้วย การอยู่ในประเทศนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าตรัสว่าเป็น มงคล เพราะเป็นปัจจัยแห่งสมบัติทั้งหลายเหล่านี้ด้วย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 159

การสั่งสมกุศลปรารภพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระขีณาสพ

ทั้งหลายในชาติที่ล่วงมาแล้ว ชื่อว่า ปุพฺเพ กตปุญฺตา แม้ปุพเพกตปุญญตา

นั้นก็ชื่อว่าเป็น มงคล.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะคำอธิบายว่า บุคคลย่อมบรรลุพระอรหันต์ได้ในที่สุด

แห่งคาถา แม้ประกอบด้วยบท ๔ อันท่านแสดงแล้วต่อพระพักตร์ของพระ-

พุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า ซึ่งตนฟังแล้วเฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลาย หรือเฉพาะหน้าของพระพุทธสาวก.

ก็มนุษย์ผู้ใดได้สั่งสมบุญไว้ในปางก่อน เป็นผู้มีมูลแห่งกุศลอันหนา

ขึ้นแล้ว มนุษย์ผู้นั้นเจริญวิปัสสนาแล้วย่อมถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะได้ ด้วย

กุศลมูลนั้นนั่นเอง เหมือนอย่างพระเจ้ามหากัปปินะ และอัครมเหสีของพระองค์

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปุพฺเพ จ กตปุญฺตา มงฺคล.

ข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึง การตั้งตนไว้ชอบ ต่อไป คือ บุคคลบางคน

ในโลกนี้ ทำตนซึ่งเป็นผู้ทุศีล ให้ตั้งอยู่ในศีล ทำตนซึ่งไม่มีศรัทธาให้ตั้งอยู่ใน

ศรัทธาสัมปทา ทำตนซึ่งเป็นคนตระหนี่ให้ตั้งอยู่ในจาคะสัมปทา นี้ท่านเรียกว่า

อตฺตสมฺมาปณิธิ การตั้งตนไว้ชอบ การตั้งตนไว้ชอบนี้ จัดว่าเป็นมงคล.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะเป็นเหตุให้ละเวร ที่เป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ

และให้บรรลุอานิสงส์ต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 160

ด้วยคาถาแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมงคล ๓ มงคลเท่านั้นคือ

การอยู่ในปฏิรูปเทส ๑ การกระทำบุญไว้ในปางก่อน ๑ การตั้งตนไว้ชอบ ๑

ดังพรรณนามาฉะนี้ ก็ความที่แห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้า

อธิบายให้แจ่มแจ้งแล้วในมงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

ปฏิรูปเทสวาโส จ ดังนี้เป็นต้น

คาถาที่ ๓ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบอธิบายในมงคลข้อว่า พาหุสจฺจญฺจ เป็นต้นนี้

ดังต่อไปนี้.

ความเป็นผู้ได้สดับมาก ชื่อว่า พาหุสจฺจ.

ความเป็นผู้ฉลาดในหัตถกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งชื่อว่า สิปฺป (ศิลปะ)

การฝึกกายวาจาและจิต ชื่อว่า วินโย (วินัย)

บทว่า สุสิกฺขิโต ได้แก่ ศึกษาแล้วด้วยดี.

บทว่า สุภาสิตา ได้แก่ กล่าวแล้วด้วยดี.

บทว่า ยา เป็นการแสดงถึงคำที่ไม่แน่นอน.

คำที่เปล่ง คำที่เป็นทาง ชื่อว่า วาจา.

คำที่เหลือ มีนัยดังข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล นี้คือการพรรณนาเฉพาะ

บทในพระคาถานี้ ส่วนการพรรณนาเนื้อความ ผู้ศึกษาพึงทราบดังนี้.

ที่ชื่อว่า พาหุสจฺจ ได้แก่ การทรงไว้ซึ่งคำสอนของพระศาสดา ที่

ท่านพรรณนาไว้ โดยนัยว่า ภิกษุเป็นพหูสูต ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมไว้ซึ่งสุตะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 161

ดังนี้เป็นต้น และโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้

เป็นผู้สดับมาก คือทรงไว้ซึ่งสุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ เป็นต้น พาหุสัจจะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ละอกุศลธรรม และ

บรรลุกุศลธรรม และเพราะเป็นเหตุทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจจะ โดยลำดับ.

สมจริงดังคำ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสาวกได้สดับ

แล้วแล ย่อมละอกุศล บำเพ็ญกุศล ละธรรมที่มีโทษ บำเพ็ญธรรมที่ไม่มี

โทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์อยู่ ดังนี้เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แม้อื่นอื่นกว่า ภิกษุย่อมเข้าไปเพ่ง ซึ่งเนื้อ-

ความแห่งธรรมทั้งหลายที่ตนทรงไว้แล้ว เมื่อเธอเข้าไปเพ่งอยู่ซึ่งเนื้อความ

ธรรมย่อมทนต่อการเพ่งพินิจ เมื่อมีการอดทนต่อการเพ่งพินิจธรรมอยู่

ความพอใจก็เกิดขึ้น ผู้ที่เกิดความพอใจ ย่อมอุตสาหะ เมื่ออุตสาหะ ย่อม

ไตร่ตรอง เมื่อไตร่ตรอง ย่อมเพียรพยายาม เมื่อเพียรพยายาม ก็ย่อมทำให้แจ้ง

ซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.

อีกอย่างหนึ่ง แม้พาหุสัจจะของฆราวาส ที่ไม่มีโทษ พึงทราบว่า เป็น

มงคล เพราะนำประโยชน์สุขในโลกทั้งสองมาให้.

ชื่อว่า ศิลปะ (มี ๒ ชนิด) คือ อาคาริยศิลปะ และอนาคาริยศิลปะ

ในศิลปะทั้งสองอย่างนั้น อาคาริยศิลปะ ได้แก่ การงานที่เว้นจากการเบียด-

เป็นสัตว์อื่น เว้นจากอกุศล มีการงานของนายช่างแก้ว และนายช่างทอง

เป็นต้น อาคาริยศิลปะนั้น ชื่อว่า เป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์ใน

โลกนี้ (ส่วน) การจัดทำสมณบริขารมีการจัดแจงและการเย็บจีวรเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 162

ชื่อว่า อนาคาริยศิลปะ ศิลปะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพรรณนาไว้ใน

ที่นั้น ๆ โดยนัยว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ขยัน ในกิจที่ควร

กระทำทั้งน้อยและใหญ่ของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ดังนี้เป็นต้น (และ) ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า นี่คือธรรมอันทำที่พึ่ง ดังนี้ พึงทราบว่า เป็น

มงคล เพราะนำประโยชน์เกื้อกูลและความสุขในโลกทั้ง ๒ มาให้ตนและชน

เหล่าอื่น.

ที่ชื่อว่า วินย มี ๒ อย่าง คือ อาคาริยวินัย ๑ อนาคาริยวินัย ๑

ในสองอย่างนั้น การเว้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า อาคาริยวินัย. วินัยนั้น

ชื่อว่า อันบุคคลศึกษาดีแล้ว ด้วยการไม่ต้องโทษ คือสังกิเลสในวินัยนั้น

และด้วยการกำหนดคุณแห่งความประพฤติ ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่ง

ประโยชน์เกื้อกูลและความสุขในโลกทั้งสอง.

ส่วนการไม่ต้องอาบัติ ๗ กอง ชื่อว่า อนาคาริยวินัย แม้อนาคา-

ริยวินัยนั้น ชื่อว่า อันภิกษุศึกษาดีแล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล. อีก

อย่างหนึ่ง ปาริสุทธิศีล ๔ ชื่อว่า อนาคาริยวินัย. อนาคาริยวินัยนั้น อันภิกษุ

ศึกษาอยู่ โดยประการที่ตนดำรงอยู่ในอนาคาริยวินัยนั้นแล้ว บรรลุพระอรหัต

ชื่อว่าศึกษาดีแล้ว พึงทราบว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้บรรลุโลกิยสุขและ

โลกุตรสุข.

วาจาที่เว้นจากโทษมีมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่า วาจาสุภาษิต สมดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย วาจาที่ประกอบด้วยองค์ ๔ เป็น

วาจาสุภาษิต ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง วาจาที่ไม่เพ้อเจ้อ ก็ชื่อว่า วาจาสุภาษิต

เหมือนกัน เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 163

สัตบุรุษทั้งหลายกล่าววาจาสุภาษิตว่า

เป็นวาจาสูงสุด เป็นที่หนึ่ง บุคคลพึงกล่าว

วาจาอันเป็นธรรม ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่

เป็นธรรมนั้น เป็นที่สอง พึงกล่าววาจาเป็น

ที่รัก ไม่พึงกล่าววาจาอันไม่เป็นที่รักนั้น

เป็นที่สาม พึงกล่าววาจาจริง ไม่พึงกล่าว

วาจาเหลาะแหละนั้น เป็นที่สี่ ดังนี้.

แม้วาจาสุภาษิตธรรมนี้ พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งประโยชน์

เกื้อกูลและความสุขในโลกทั้งสอง. ก็เพราะเหตุที่วาจาสุภาษิตนี้นับเนื่องอยู่ใน

วินัยอยู่แล้วนี้เอง ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่สงเคราะห์วาจาสุภาษิตนี้ด้วย

วินัยศัพท์ สงเคราะห์แต่วินัย (เท่านั้น ด้วยวินัยศัพท์)

อีกอย่างหนึ่ง จะมีประโยชน์อะไรด้วยความลำบากนี้ วาจาเป็นเครื่อง

แสดงพระธรรมแก่คนเหล่าอื่น ก็พึงทราบว่า เป็นวาจาสุภาษิต ในที่นี้ จริงอยู่

วาจาสุภาษิตนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นปัจจัยให้

สัตว์ทั้งหลายได้บรรลุประโยชน์เกื้อกูล และความสุขในโลกทั้งสอง และพระ-

นิพพาน ท่านกล่าวไว้ว่า

พระพุทธเจ้าตรัสวาจาใด อันเกษม

เพื่อบรรลุพระนิพพาน เพื่อกระทำที่สุดทุกข์

วาจานั้นแล สูงสุดกว่าวาจาทั้งหลาย.

ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ ประการคือ ความ

เป็นพหูสูต (พาหุสัจจะ) ๑ ศิลปะ ๑ วินัยที่ศึกษาดีแล้ว ๑ วาจาสุภาษิต ๑

๑. สุภาสิตสูตร สัง. สคาถา. ๑๕/ข้อ ๗๓๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 164

ด้วยประการฉะนี้ ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้น เป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบาย

ให้แจ่มแจ้ง ในมงคลนั้น ๆ แล้ว ดังนี้แล.

การพรรณนาความแห่งพระคาถานี้ว่า

พาหุสจฺจญฺจ เป็นต้น จบ

คาถาที่ ๔ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยในบาทคาถานี้ว่า มาตาปิตุอุปฏฺาน

ดังนี้เป็นต้น ดังต่อไปนี้.

มารดาด้วย บิดาด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มาตาปิตุ มารดา

และบิดา.

การบำรุง ชื่อว่า อุปฏฺาน.

บุตรทั้งหลายด้วย ภรรยาทั้งหลายด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

ปุตฺตทารสฺส ซึ่งบุตรและภรรยา.

การสงเคราะห์ ชื่อว่า สงฺคโห.

การงานทั้งหลาย เป็นการงานที่อากูลหามิได้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

อนากุลา.

การงานทั้งหลายนั้นเอง ชื่อว่า กมฺมนฺตา.

คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล. นี้คือการพรรณนาเฉพาะ

บท ส่วนการพรรณนาเนื้อความ ผู้ศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้.

สตรีผู้ให้เกิด ท่านเรียกว่า มารดา, บิดาก็เหมือนกัน.

การกระทำอุปการะด้วยการล้างเท้า การนวด การอบ การอาบน้ำ

และการให้ปัจจัย ๔ ชื่อว่า อุปัฏฐานะ การบำรุง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 165

พึงทราบอธิบายในการบำรุงเลี้ยงนั้น ดังต่อไปนี้. เพราะเหตุที่

มารดาบิดา เป็นผู้มีอุปการะมาก หวังประโยชน์ เป็นผู้อนุเคราะห์ต่อบุตร

ทั้งหลาย ซึ่งท่านเห็นบุตรเหล่านั้น เล่นอยู่ข้างนอก มีสรีระเปื้อนฝุ่นมาแล้ว

ก็เช็ดฝุ่นให้ กอดจูบที่ศีรษะและยังความรักให้เกิด. บุตรทั้งหลายเลี้ยงมารดาบิดา

ด้วยการทูนไว้บนศีรษะแม้สิ้น ๑๐๐ ปี ก็ไม่สามารถที่จะตอบแทนอุปการคุณ

แห่งการบำรุงเลี้ยงนั้นได้ และเพราะเหตุที่ท่านทั้งสองนั้น เป็นผู้บำรุง เป็นผู้

เลี้ยงดู เป็นผู้แสดงโลกนี้ เป็นผู้เสมอกับพระพรหม เป็นบุพพาจารย์ ฉะนั้น

การบำรุงเลี้ยงมารดาบิดาทั้งสองนั้น จึงนำมาซึ่งการสรรเสริญในโลกนี้ ละไป

แล้ว ก็นำความสุขในสวรรค์มาให้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นมงคล

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

มารดาบิดาทั้งหลาย ผู้อนุเคราะห์แก่

ปชา (บุตรธิดา) ท่านเรียกว่า เป็นพรหม

ว่าเป็นบุพพาจารย์ ว่าเป็นอาหุเนยยบุคคล

ของบุตรทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล บัณฑิต

พึงนอบน้อมและสักการะมารดาบิดาเหล่า

นั้น ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การอบ

การอาบน้ำ และการล้างเท้า ด้วยการปรน-

นิบัติในมารดาบิดาทั้งสองนั้น บัณฑิตทั้ง-

หลายย่อมสรรเสริญบุคคลนั้น ในโลกนี้นั้น

แล เขาละโลกนี้ไปแล้ว ย่อมบันเทิงใน

สวรรค์ ดังนี้.

๑. ขุ. อิติวุตตกะ ๒๕/ ข้อ ๒๘๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 166

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า การบำรุงมี ๕ อย่าง มีการเลี้ยงดู การกระทำ

หน้าที่ และการดำรงวงศ์ตระกูลเป็นต้น การบำรุงนั้น พึงทราบว่า เป็น

มงคล เพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์เกื้อกูล ในปัจจุบัน ๕ อย่าง มีการห้าม

จากบาปเป็นต้น สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน

คฤหบดีบุตร มารดาบิดาซึ่งเป็นทิศเบื้องหน้า บุตรพึงบำรุง ด้วยสถาน ๕

คือ

๑. เราอันท่านเลี้ยงมาแล้ว จักเลี้ยงท่านตอบ

๒. เราจักกระทำกิจ ของมารดาบิดาเหล่านั้น

๓. เราจักดำรงวงศ์สกุลของมารดาบิดาเหล่านั้น

๔. เราจักรักษาทรัพย์สมบัติของมารดาบิดาเหล่านั้น

๕. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อท่านทั้งสองล่วงลับไปแล้ว เราจักเพิ่มให้ซึ่ง

ทักษิณา (ทำบุญอุทิศให้) ดังนี้.

ดูก่อนคฤหบดีบุตร มารดาบิดาซึ่งเป็นทิศเบื้องหน้า อันบุตรบำรุง-

ด้วยสถาน ๕ เหล่านี้แล จักอนุเคราะห์บุตร ด้วยสถาน ๕ คือ

๑. ท่านทั้งสองย่อมห้าม (บุตร) จากบาป

๒. ย่อมให้ตั้งอยู่ในความดี

๓. ย่อมให้ศึกษาศิลปะ

๔. ย่อมหาภรรยาที่สมควรให้

๕. ย่อมมอบทรัพย์สมบัติให้ในสมัย ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 167

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใด ย่อมบำรุงมารดาและบิดา ด้วยการให้เลื่อมใส

ในพระรัตนตรัย หรือด้วยให้สมาทานศีล หรือด้วยให้บรรพชา ผู้นี้จัดว่าเป็น

ยอดของชนทั้งหลายผู้บำรุงมารดาบิดาในโลกนี้.

การบำรุงมารดาบิดานั้นของผู้นั้น เป็นการกระทำการตอบแทนต่อ

อุปการคุณ ที่มารดาและบิดากระทำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์ทั้งหลายที่เป็นไปในปัจจุบัน และ

เป็นไปในสัมปรายภพมิใช่น้อย.

ในคำว่า ปุตฺตทารสฺส นี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บุตรทั้งหลายก็ดี ธิดาทั้งหลายก็ดี ที่เกิดแล้วของตน ย่อมถึงการ

นับว่าบุตรทั้งนั้น. ภรรยาชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาภรรยา ๒๐ จำพวก

ชื่อว่า ทาระ.

บุตรทั้งหลายด้วย ทาระทั้งหลายด้วย ชื่อว่า ปุตฺตทารา (บุตรและ

ภรรยาทั้งหลาย). ซึ่งบุตรและภรรยานั้น. การกระทำอุปการะด้วยฐานะทั้งหลาย

มีการยกย่องเป็นต้น ชื่อว่า สังคหะ การกระทำอุปการะนั้น พึงทราบว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์เกื้อกูลอันเป็นไปในปัจจุบัน มีความ

เป็นผู้จัดการงานดีเป็นต้น. สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดู

ก่อนคฤหบดี ภรรยาซึ่งเป็นทิศเบื้องหลัง สามีพึงบำรุงด้วยสถาน ๕ แลคือ

๑. ด้วยการยกย่อง ๒. ด้วยการไม่ดูหมิ่น

๓. ด้วยการไม่ประพฤตินอกใจ ๔. ด้วยการมอบความเป็นใหญ่ให้

๕. ด้วยการให้เครื่องประดับ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 168

ดูก่อนคฤหบดีบุตร ภรรยาผู้เป็นทิศเบื้องหลัง อันสามีพึงบำรุงด้วย

ฐานะ ๕ เหล่าแล ย่อมอนุเคราะห์สามีด้วยฐานะ ๕ คือ

๑. เป็นผู้จัดการงานดี

๒. เป็นคนสงเคราะห์คนข้างเคียง (ของสามี) ดี

๓. เป็นผู้ไม่ประพฤตินอกใจ

๔. ย่อมรักษาทรัพย์ที่สามีหามาได้ไว้

๕. เป็นคนขยันไม่เกียจคร้านในการงานทั้งปวง ดังนี้.

เพราะสงเคราะห์ (รวม) บุตรภรรยา ที่ทรงแสดงไว้ในสิงคาลสูตร

นี้ว่า บุตรและภรรยา พึงทราบว่าเป็นทิศเบื้องหลังดังนี้ ด้วยภริยาศัพท์.

อีกอย่างหนึ่ง นัยอื่นอีก มีดังต่อไปนี้ :-

การสงเคราะห์ด้วยทาน ปิยวาจา และอัตถจริยา ที่ประกอบด้วย

ธรรม ชื่อว่า สัวคหะ คือ การให้เสบียงในวันอุโบสถทั้งหลาย การให้

ดูนักษัตรในวันนักขัตฤกษ์ทั้งหลาย การกระทำมงคลในวันมงคลทั้งหลาย

การโอวาทสั่งสอนในประโยชน์ทั้งหลาย ที่เป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ

การสงเคราะห์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่ง

ประโยชน์เกื้อกูล อันเป็นไปในปัจจุบัน และสัมปรายภพ โดยนัยก่อนนั่นแล

และเพราะเป็นเหตุแห่งความเป็นผู้แม้อันเทวดาทั้งหลายพึงนอบน้อม. สมจริง

ดังคำที่ท้าวสักกะจอมเทพตรัสไว้ว่า

คฤหัสถ์เหล่าใด เป็นผู้กระทำบุญ มี

ศีล เป็นอุบาสก ย่อมเลี้ยงภรรยาโดยธรรม

ดูก่อนมาตลี เราย่อมนอบน้อมคฤหัสถ์เหล่า

นั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 169

การงานทั้งหลายมีเกษตรกรรม โครักขกรรม และพาณิชกรรมเป็นต้น

พึงเว้นแล้วจากการงานที่อากูล นี้การทำเวลาให้ล่วงไป การกระทำที่ไม่สมควร

กระทำ และการการทำย่อหย่อนเป็นต้น เพราะประกอบด้วยความเป็นผู้

รู้กาล เพราะมีปกติการทำเหมาะสม เพราะไม่เกียจคร้าน เพราะถึงพร้อม

ด้วยความอุตสาหะและความเพียร และเพราะเป็นการงานที่ไม่เสื่อมเสีย ชื่อว่า

การงานที่ไม่อากูล. การงานที่ไม่อากูลนี้ อันบุคคลประกอบแล้วอย่างนี้ เพราะ

เหตุที่ตนเอง บุตรภรรยา หรือทาส และกรรมกรทั้งหลายเป็นผู้ฉลาด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการได้ทรัพย์ ข้าว-

เปลือก และความเจริญในปัจจุบันนี้เทียว. สมจริงตามพระดำรัสที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

บุคคลผู้มีการงาน กระทำสมควร

เป็นปกติ ขยัน ย่อมหาทรัพย์ได้ ดังนี้.

และว่า

บุคคลที่ชอบนอนหลับกลางวัน ขี้-

เกียจลุกขึ้นกลางคืน เมาเป็นนิตย์ เป็นนัก-

เลง ไม่อาจจะอยู่ครองเรือนให้ดีได้ ประโยชน์

ทั้งหลายย่อมล่วงเลยบุรุษผู้ทอดทิ้งการงาน

ด้วยอ้างเลสว่า เวลานี้หนาวนัก เวลานี้ร้อน

นัก เวลานี้เย็นเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 170

ส่วนผู้ใดไม่สำคัญความหนาวเเละ

ความร้อนยิ่งไปกว่าหญ้า กระทำกิจของบุรุษ

อยู่ ผู้นั้นย่อมไม่เสื่อมจากความสุขดังนี้.

และว่า

เมื่อบุคคลรวบรวมโภคะทั้งหลายอยู่

เหมือนภมรผนวกอยู่ซึ่งรังฉะนั้น โภคะทั้ง

หลายย่อมถึงการสั่งสม ดุจจอมปลวก อัน

ตัวปลวกก่อขึ้นฉะนั้น ดังนี้.

ด้วยพระคาถาแม้นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ ประการนี้

คือ การบำรุงมารดา ๑ การบำรุงบิดา ๑ การสงเคราะห์บุตรและภรรยา ๑

การงานทั้งหลายที่ไม่อากูล ๑

อีกอย่างหนึ่ง คาถานี้มี ๕ มงคลเพราะแยกการสงเคราะห์บุตรและ

ภรรยาออกเป็น ๒. อีกอย่างหนึ่งมี ๓ มงคล เพราะรวมการบำรุงมารดาบิดา

เป็นข้อเดียวเท่านั้น ก็ความที่แห่งมงคลเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบาย

ให้แจ่มแจ้งแล้วในมงคลนั้น ๆ นั่นแล.

จบการพรรณหาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

มาตาปิตุอุปฏฺาน เป็นต้น

คาถาที่ ๕ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในคาถานี้ว่า ทานญฺจ ดังนี้ เป็นต้น

ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 171

ที่ชื่อว่า ทาน เพราะอรรถว่าสิ่งของเป็นเครื่องให้. มีคำอธิบายว่า

สิ่งของของตนอันบุคคลย่อมมอบให้แก่ผู้อื่น.

การประพฤติธรรม หรือการประพฤติที่ไม่ไปปราศจากธรรม ชื่อว่า

ธรรมจริยา.

ชนทั้งหลายเหล่านี้ อันเราทั้งหลายย่อมรู้จัก เพราะเหตุนั้นชนทั้งหลาย

เหล่านี้ จึงชื่อว่า ญาติ.

การงานทั้งหลายที่มีโทษหามิได้ ชื่อว่า การงานไม่มีโทษ. มีคำ

อธิบายว่า การงานทั้งหลายที่บัณฑิตไม่ติเตียน คือไม่ครหา. คำที่เหลือมีนัย

อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล. นี้คือการพรรณนาเฉพาะบท. ส่วนการพรรณนา

เนื้อความ ผู้ศึกษาพึงทราบดังต่อไปนี้.

เจตนาเป็นเครื่องบริจาคทานวัตถุ ๑๐ อย่าง มีข้าวเป็นต้น ซึ่งมี

ความยินดีในเบื้องต้น เจาะจงผู้อื่น ชื่อว่า ทาน.

อีกอย่างหนึ่ง อโลภะ ที่สัมปยุตด้วยเจตนานั้น ชื่อว่า ทาน. ด้วยว่า

บุคคลย่อมมอบให้ซึ่งวัตถุนั้นแก่บุคคลอื่น ด้วยอโลภะนั้น เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ที่ชื่อว่า ทาน เพราะอรรถว่าวัตถุเป็นเครื่องให้. ทานนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ได้บรรลุผลวิเศษทั้งหลายอัน

เป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ มีความเป็นที่รักของชนเป็นอันมากเป็นต้น.

ก็ในข้อนี้ พึงระลึกถึงพระสูตรทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนสีหะ ทายก

ที่เป็นทานบดี ย่อมเป็นที่รักเป็นที่พอใจของชนเป็นอันมาก ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทานมี ๒ อย่างคือ อามิสทาน และธรรมทาน

ในทาน ๒ อย่างนั้น อามิสทาน มีประการอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 172

การแสดงธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว อันเป็นที่สิ้น

ทุกข์และนำความสุขมาให้ ในโลกนี้และโลกหน้า เพราะปรารถนาประโยชน์

เกื้อกูลแก่บุคคลเหล่าอื่น ชื่อว่า ธรรมทาน. ก็ในบรรดาทาน ๒ อย่างนี้

ธรรมทานนี้เท่านั้นจัดว่าเป็นเลิศ. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

การให้ธรรม ชนะการให้ทั้งปวง

รสแห่งธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง ความยินดี

ในธรรม ย่อมชนะควานยินดีทั้งปวง ความ

สิ้นตัณหา ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.

ในทานทั้ง ๒ อย่างนั้น ความที่อามิสทานเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้กล่าว

ไว้แล้วนั้นแล ส่วนธรรมทาน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งคุณทั้งหลาย มีความเป็นผู้รู้

จักอรรถเป็นต้น ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นมงคล สมจริงดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุแสดงธรรมดาตามที่ได้ฟังมา

ตามที่ได้เรียนมา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร โดยประการใด ๆ บุคคลนั้นเป็นผู้รู้แจ้ง

ซึ่งอรรถ (รู้ผล) และเป็นผู้รู้แจ้งซึ่งธรรม (รู้เหตุ) ในธรรมนั้น ๆ โดย

ประการนั้น ๆ ดังนี้เป็นต้น.

การประพฤติกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า ธรรมจริยา. ดังนี้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย การประพฤติธรรม คือ

การประพฤติสม่ำเสมอทางกายมี ๓ อย่างแล ดังนี้เป็นต้น. ก็การประพฤติธรรม

นี้นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้อุบัติในโลกสวรรค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 173

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดี

ทั้งหลาย เพราะเหตุแห่งธรรมจริยาและสมจริยาแล สัตว์ทั้งหลายบางพวกใน

โลกนี้ ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เบื้องหน้าแต่การตายเพราะกายแตก ดังนี้.

ชนทั้งหลายผู้มีความเกี่ยวข้องกันทั้งทางฝ่ายมารดาหรือบิดา จนถึง

๗ ชั่วโคตร ชื่อว่า ญาติ.

การสงเคราะห์ซึ่งญาติเหล่านั้น ผู้ซึ่งอันความเสื่อมโภคะหรือความ

เสื่อมเพราะความเจ็บป่วยครอบงำแล้วซึ่งมายังสำนักของตน ด้วยวัตถุทั้งหลาย

มีอาหาร เสื้อผ้า ทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้นตามกำลัง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษ มีการสรรเสริญ

เป็นต้น อันเป็นไปในปัจจุบัน และการบรรลุคุณวิเศษมีการไปสู่สวรรค์เป็นต้น

อันเป็นไปในสัมปรายภพ.

การงานทั้งหลาย มีการสมาทานศีลอุโบสถ การกระทำการขวนขวาย

การปลูกไม้ดอก ไม้ผลและต้นไม้ และการสร้างสะพานเป็นต้น ชื่อว่า การงาน

ที่ไม่มีโทษ. จริงอยู่การงานที่ไม่มีโทษเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุประโยชน์สุขนานัปการ ก็ในข้อนี้

พึงระลึกถึงสูตรทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนวิสาขา ข้อที่สตรีหรือบุรุษ

บางคนในโลกนี้ เข้าอยู่จำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์แปด เบื้องหน้าแต่การ

ตายเพราะกายแตก จะพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาทั้งหลายชั้นจาตุมมหา-

ราชิกา นั้นเป็นฐานะที่จะมีได้แล ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ ประการคือ ทาน ๑ ธรรมจริยา ๑

การสงเคราะห์ญาติทั้งหลาย ๑ การงานทั้งหลายที่ไม่มีโทษ ๑ ด้วยพระคาถานี้

ดังพรรณนามาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 174

ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าอธิบายไว้ชัดแล้ว ใน

มงคลนั้น ๆ นั่นแล.

จบการพรรณเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

ทานญฺจ เป็นต้น

คาถาที่ ๖ (มี ๓ มงคล)

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถานี้ว่า อารตี วิรตี เป็นต้น

ดังต่อไปนี้.

การงด ชื่อว่า อารตี. การเว้น ชื่อว่า วิรตี.

อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมเว้น (จากบาป) ด้วยเจตนานี้

เหตุนั้น เจตนานี้ ชื่อว่า วิรัติ. (ที่ชื่อว่า วิรัติ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็น

เครื่องงดเว้นแห่งสัตว์ทั้งหลาย หรือเป็นเครื่องให้สัตว์ทั้งหลายงดเว้น).

บทว่า ปาปา ได้แก่ จากอกุศล.

ที่ชื่อว่า มชฺช เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความเมา การดื่มซึ่งมัชชะ

(น้ำเมา) ชื่อว่า มชฺชปาน. (เว้น ) จากการดื่มน้ำเมานั้น. การสำรวมชื่อว่า

สยโม. ความไม่ประมาทชื่อว่า อปฺปมาโท. บทว่า ธมฺเมสุ ได้แก่ ใน

กุศลธรรมทั้งหลาย. คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วแล. นี้คือการพรรณนา

เฉพาะบท. ส่วนการพรรณนาเนื้อความ พึงทราบดังต่อไปนี้.

การไม่ยินดีของบุคคลผู้มีปกติเห็นโทษในบาป ด้วยใจนั้นแล ชื่อว่า

การงด. การเว้นด้วยกายและด้วยวาจา ด้วยสามารถแห่งกรรมและทวาร ชื่อว่า

วิรัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 175

ก็ชื่อว่าวิรัตินั้นมี ๓ อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ ๑ สมาทานวิรัติ ๑

สมุจเฉทวิรัติ ๑.

ในวิรัติทั้ง ๓ อย่างนี้ การงดเว้นของกุลบุตรจากวัตถุที่ประจวบเข้า

เพราะอาศัยชาติ หรือสกุล หรือโคตรของตน โดยนัยว่า ข้อที่เราจะพึงฆ่าสัตว์

พึงถือเอาของที่เจ้าของเขาไม่ให้นี้ไม่ควร ชื่อว่า สัมปัตตวิรัติ. ส่วนว่ากุลบุตร

ไม่ประพฤติล่วงเกินสิกขาบทมีปาณาติบาตเป็นต้น จำเดิมแต่ความเป็นไปแห่ง

วิรัติ อันเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งการสมาทานสิกขาบท ชื่อว่า สมาทาน

วิรัติ.

ภัยเวร ๕ ประการ ของพระอริยสาวกสงบระงับไป จำเดิมแต่ความ

เป็นไปแห่งวิรัติอันสัมปยุตด้วยอริยมรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิรัติ.

อกุศล ๔ อย่างนั้นใด กล่าวคือกรรมกิเลสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

พิสดารอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร กรรมกิเลสคือปาณาติบาต อทินนาทาน

กาเมสุมิจฉาจาร เเละมุสาวาท ดังนี้ ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์รวบรวมไว้

ด้วยคาถาอย่างนี้ว่า

บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่สรรเสริญ

(กรรมกิเลส ๔ ประการคือ) ปาณาติบาต ๑

อทินนาทาน ๑ มุสาวาท ๑ การประพฤติผิด

ภรรยาผู้อื่น ๑ ดังนี้.

อกุศลทั้ง ๔ ประการ ชื่อว่า บาป.

การงดเว้นจากบาปนั้น การงดและการเว้นทั้งหมดนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษนานาประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 176

มีการละเวรภัยอันเป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพเสียได้ ก็ในข้อนี้พึงระลึก

ถึงพระสูตรทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร พระอริยสาวกเป็นผู้

งดเว้นจากปาณาติบาตแล.

ก็ข้าพเจ้าจะได้กล่าวถึงการสำรวมจากการดื่มน้ำเมาต่อไป.

ก็คำว่า มชฺชปานา จ สยโม นี้ เป็นชื่อแห่งการงดเว้นจากที่ตั้ง

แห่งความประมาท คือการดื่มซึ่งน้ำเมากล่าวคือสุราและเมรัย ก็เพราะเหตุ

ที่บุคคลผู้ดื่มน้ำเมาเป็นปกติ ย่อมไม่รู้อรรถ ย่อมไม่รู้ธรรม ย่อมทำอันตราย

แก่มารดา ทำอันตรายแก่บิดา ทำอันตรายแม้แก่พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-

พุทธเจ้า และสาวกของพระตถาคต ย่อมถูกติเตียนในปัจจุบัน เข้าถึงทุคติ

ในสัมปรายภพ (และ) ถึงความเป็นบ้าในภพต่อ ๆ ไป. ส่วนการงดเว้นจาก

การดื่มน้ำเมา ย่อมบรรลุซึ่งการดับโทษเหล่านั้นเสียได้ และบรรลุความถึง

พร้อมแห่งคุณ ซึ่งตรงกันข้ามกับโทษที่กล่าวแล้วนั้น. เพราะฉะนั้น การงดเว้น

จากการดื่มน้ำเมานี้ พึงทราบว่า เป็นมงคล.

ชื่อว่าความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ข้าพเจ้าจะได้กล่าวต่อไป

โดยเนื้อความ ความไม่อยู่ปราศจากสติในกุศลธรรมทั้งหลาย พึงทราบ

โดยนัยตรงกันข้ามกับความประมาท ที่ตรัสไว้ในคัมภีร์วิภังค์ว่า การกระทำ

โดยไม่เคารพในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย การกระทำไม่ติดต่อ การกระทำ

ไม่มั่นคง ความประพฤติท้อแท้ การหมดความพอใจ การทอดธุระ การไม่

ซ่องเสพ การไม่เจริญ การไม่กระทำให้มาก การไม่อธิษฐาน (ไม่ตั้งใจไว้)

การไม่ประกอบเนือง ๆ ซึ่งกุศลธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ความประมาท. ความ

๑. อภิ. วิ. ๓๕/ ข้อ ๘๑๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 177

ประมาท คือ กิริยาที่ประมาท สภาพที่เป็นผู้มัวเมา เห็นปานนี้ใด นี้เราเรียกว่า

ความประมาท ดังนี้ ชื่อว่า ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย.

ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลายนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุกุศลธรรมนานาประการ หรือเพราะ

เป็นเหตุแห่งการบรรลุอมตธรรม ในข้อนั้น พึงระลึกถึงคำสอนของพระศาสดา

มีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเป็นเครื่องเผา

กิเลสส่งไปอยู่อย่างนี้เป็นต้น และว่า ความไม่ประมาทเป็นหนทางแห่งความ

ไม่ตาย ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสมงคล ๓ ประการ คือ การงดเว้น จากบาป ๑

การสำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๑ ความไม่ประมาทในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ ด้วย

คาถานี้ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้ชัดเจนแล้ว

ในมงคลนั้น ๆ นั่นเอง ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

อารตี วิรตี เป็นต้น

คาถาที่ ๗ (มี ๕ มงคล)

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคาถานี้ว่า คารโว จ เป็นต้นดังต่อไปนี้.

ความเคารพ ชื่อว่า คารวะ.

ความประพฤติถ่อมตน ชื่อว่า นิวาตะ.

ความสันโดษ ชื่อว่า สันตฏุฐี.

การรู้อุปการะที่ผู้อื่นทำแล้ว ชื่อว่า กตัญญุตา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 178

บทว่า กาเลน ได้แก่ โดยขณะ คือ โดยสมัย.

การฟังธรรมชื่อว่า ธัมมัสสวนะ คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้ว

นั้นแหละ. นี่คือการพรรณนาเฉพาะบท ส่วนการพรรณนาเนื้อความ พึงทราบ

ดังต่อไปนี้.

การกระทำความเคารพ การกระทำความหนักแน่น ความเป็นผู้มี

คารวะตามสมควร ในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า สาวกของพระ

ตถาคตเจ้า อาจารย์ อุปัชฌาย์ มารดาบิดา พี่ชายพี่สาว เป็นต้น ที่ควร

แก่การกระทำความเคารพ ชื่อว่า คารวะ เพราะคารวะนี้นั้น เป็นเหตุแห่ง

การไปสู่สุคติภพเป็นต้น เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ (ในจูฬกัมมวิภังคสูตร) ว่า

บุคคลกระทำความเคารพในบุคคลผู้ควรเคารพ ได้แก่นับถือคนที่ควร

นับถือ บูชาคนที่ควรบูชา บุคคลเช่นนั้น เบื้องหน้าแต่การตายเพราะกายแตก

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยกรรมนั้นอันเขาให้พรั่งพร้อมสมาทานแล้ว

อย่างนี้. ถ้าหากว่าเบื้องหน้าแต่การตายเพราะกายแตก เขาไม่เข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ ถ้ามาสู่ความเป็นมนุษย์ จะอุบัติในที่ใด ๆ ในภายหลัง ย่อมเป็นคน

มีสกุลสูง ในที่นั้น ๆ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย

อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้. ๗ ประการ อะไรบ้าง คือ มีความเคารพ

ในพระศาสดาเป็นต้น เพราะฉะนั้น ความเคารพ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เป็นมงคล.

ความเป็นผู้อ่อนน้อม คือความเป็นผู้มีความประพฤติถ่อมตน ชื่อว่า

นิวาตะ ความประพฤติถ่อมตน. บุคคลประกอบด้วยความเป็นผู้ประพฤติ

ถ่อมตนใด ถูกนำมานะออกแล้ว ถูกนำความกระด้างออกแล้ว เป็นผู้เสมอด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 179

ผ้าเช็ดเท้า เป็นผู้เสมอด้วยโคเขาขาด และเป็นผู้เสมอด้วยงูที่ถูกถอนเขี้ยวเสีย

แล้ว เป็นผู้มีวาจาอ่อนหวานไพเราะและเสนาะโสต นี้ชื่อว่า นิวาตะ. นิวาตะ

นี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการได้คุณ

มียศเป็นต้น ก็ท่านได้กล่าวไว้ว่า บุคคลที่มีความประพฤติถ่อมตนเช่นนั้น

เป็นผู้ไม่กระด้างแล้ว ย่อมได้ยศ ดังนี้เป็นต้น.

ความพอใจด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ชื่อว่า สันตุฏฐี ความสัน โดษ.

ความสันโดษนั้นมี ๑๒ อย่าง คือ ในจีวรมี ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ

ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ. แม้ในบิณฑบาตเป็นต้นก็มีอย่างละ ๓

เหมือนกัน การพรรณนาประเภทแห่งสันโดษนั้นมีดังต่อไปนี้.

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ได้จีวรดีก็ตามไม่ดีก็ตาม เธอยังอัตภาพให้

เป็นไปด้วยจีวรนั้นนั่นแหละ ไม่ปรารถนาจีวรอื่น แม้เมื่อจะได้จีวรมาอีก

ก็ไม่ยอมรับ นี้คือความยินดีตามมีตามได้ (ยถาลาภสัน โดษ) ในจีวรของภิกษุ

นั้น แต่ถ้าหากว่าภิกษุนั้นเป็นผู้อาพาธ เมื่อครองจีวรหนัก (กายย่อมน้อมลง)

เธอย่อมลำบาก เธอก็เปลี่ยนจีวรนั้นกับภิกษุผู้เป็นสภาคกันเสีย แล้วยังอัตภาพ

ให้เป็นไปด้วยจีวรที่เบา นี้จัดว่าสันโดษเหมือนกัน นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษ

ในจีวรของภิกษุนั้น.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีปกติได้ปัจจัยที่ประณีต ภิกษุรูปนั้นได้จีวร

มีค่ามากผืนใดผืนหนึ่ง ในบรรดาปัจจัยทั้งหลาย มีบาตรและจีวรเป็นต้น

แล้วคดว่า จีวรอันมีค่ามากนี้ สมควรแก่พระเถระทั้งหลาย ผู้บวชมานาน

หรือผู้เป็นพหูสูต ดังนี้แล้วจึงได้ถวายจีวรนั้นเเก่พระเถระเหล่านั้น ตนเอง

ถือเอาจีวรที่ไม่มีเจ้าของ จากกองหยากเยื่อ หรือจากป่า หรือจากที่แห่งใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 180

แห่งหนึ่งทำเป็นสังฆาฏิ แม้ทรงผ้านั้นไว้ ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษแล. นี้ชื่อว่า

ยถาสารุปปสันโดษ ในจีวรของภิกษุนั้น.

ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ได้บิณฑบาต จะเศร้าหมองก็ตาม ประณีต

ก็ตาม เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑบาตนั้นนั่นเอง ไม่ต้องการบิณฑบาต

อื่น แม้เมื่อจะได้ก็ไม่ยอมรับ นี้ชื่อว่ายถาลาภสันโดษ ในบิณฑบาตของภิกษุนี้.

แต่ถ้าหากว่าภิกษุเป็นผู้อาพาธ ฉันบิณฑบาตที่เลว ก็ถึงความป่วยหนัก

ภิกษุนั้นก็ถวายบิณฑบาตแก่ภิกษุที่เป็นสภาคกัน แล้วฉันเนยใส นมส้ม น้ำผึ้ง

และนมสด เป็นต้น จากมือของภิกษุนั้นแล้วประพฤติสมณธรรมอยู่ ก็จัดว่า

สันโดษอยู่นั่นเอง นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ ในบิณฑบาตของภิกษุนั้น.

ภิกษุอีกรูปหนึ่งได้บิณฑบาตอันประณีต เธอคิดว่า บิณฑบาตนี้

เหมาะสมสำหรับพระเถระทั้งหลาย ผู้บวชมานาน และแก่เพื่อนสพรหมจารี

ทั้งหลายเหล่าอื่น ผู้เว้นจากบิณฑบาตอันประณีตแล้ว ไม่อาจจะให้อัตภาพเป็น

ไปได้ ดังนี้แล้วจึงถวายบิณฑบาตอันประณีตนั้นแก่พระเถระ หรือภิกษุเหล่านั้น

เสีย ตนเองเที่ยวบิณฑบาต แม้ฉันอาหารที่เจือกัน (ฉันรวมกันหลาย ๆ สิ่ง)

ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษอยู่นั้นเอง นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษ ในบิณฑบาต

ของภิกษุนี้.

ก็เสนาสนะถึงแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เธอก็พอใจด้วยเสนาสนะ

นั้นนั่นเอง ไม่รับเสนาสนะอื่นอีก ซึ่งมาถึงเข้าแม้จะดีกว่า นี้ชื่อว่า ยถาลาภสัน-

โดษ ในเสนาสนะของภิกษุนั้น.

ถ้าหากว่าเธออาพาธ อยู่ในเสนาสนะที่ไม่มีลม ย่อมเดือดร้อนอย่างยิ่ง

ด้วยโรคดีเป็นต้น เธอจึงถวายเสนาสนะแก่ภิกษุที่เป็นสภาคกัน อยู่ในเสนา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 181

สนะที่มีลมและหนาวเย็น. ซึ่งถึงเข้าแก่ภิกษุนั้น แม้ประพฤติสมณธรรมอยู่

ก็เป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ ในเสนาสนะของภิกษุ

นั้น.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ไม่ยอมรับเสนาสนะที่ดีแม้มาถึงเข้า คิดว่า เสนาสนะ

ที่ดีเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อภิกษุนั่งอยู่ในเสนาสนะที่ดีนั้น ก็ย่อมก้าว

ลงสู่ถีนมิทธะได้ ก็เมื่อเธอถูกความหลับครอบงำ ตื่นขึ้นอยู่ กามวิตกทั้งหลาย

ก็ฟุ้งขึ้น ภิกษุนั้นปฏิเสธเสนาสนะที่ดีนั้น แล้วอยู่ในเสนาสนะแห่งใดแห่งหนึ่ง

มีที่โล่งแจ้ง โคนไม้ และกองฟางเป็นต้น ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษอยู่นั่นเอง

นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษ ในเสนาสนะของภิกษุนั้น.

ก็ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้เภสัช จะเป็นลูกสมอ หรือมะขามป้อม

ก็ตาม ยังอัตภาพนั้นให้เป็นไปด้วยเภสัชนั้นนั่นเอง ไม่ปรารถนาเเม้เนยใส

น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น ที่ภิกษุเหล่าอื่นได้มาแล้ว แม้จะได้มาก็ไม่ยอมรับ

นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษ ในคิลานปัจจัยลงภิกษุนั้น.

ก็ถ้าภิกษุเป็นผู้อาพาธต้องการน้ำมัน (แต่) ได้น้ำอ้อยมา เธอให้

น้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุที่เป็นสภาคกันแล้ว ทำยาด้วยน้ำมันจากมือแห่งภิกษุนั้น

แม้ประพฤติสมณธรรมอยู่ ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษอยู่นั้นเอง นี้ชื่อว่า ยถาลาภ-

สันโดษ ในคิลานปัจจัยของภิกษุนี้.

ภิกษุอีกรูปหนึ่ง วางชิ้นสมอที่ดองด้วยน้ำมูตรไว้ในภาชนะใบหนึ่ง

อันภิกษุอื่นพูดอยู่ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าหากว่าท่านต้องการ ท่านก็จงถือ

เอาของหวาน ๔ อย่างในภาชนะใบหนึ่ง ถ้าหากว่าพยาธิของภิกษุนั้นย่อมสงบ

ได้ ด้วยเภสัชอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาเภสัช ๒ อย่างเหล่านั้น ใช่แต่เท่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 182

นั้น สมอดองด้วยน้ำมูตรเน่า บัณฑิตทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นต้น

สรรเสริญแล้ว และภิกษุนี้ก็คิดว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บรรพชาอาศัย

ยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า. เธอพึงทำความอุตสาหะในยาดองด้วยน้ำมูตรเน่านั้น

(พึงฉัน ) ตลอดชีวิต จึงห้ามเภสัชที่เป็นของหวานทั้ง ๔ เสีย แล้วทำยาด้วย

สมอดองน้ำมูตรเน่า ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งเทียว นี้ชื่อว่า ยถาสารุปป-

สันโดษ ในคิลานปัจจัยของภิกษุนั้น.

สันโดษนี้ทั้งหมดมีประเภทดังกล่าวมาแล้วอย่างนี้ ท่านเรียกว่า

สันตุฏฐี. สันตุฏฐีนั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการละบาป

ธรรมทั้งหลาย มีความปรารถนาเกินไป ความปรารถนาลามก ความอยาก

ใหญ่เป็นต้น และการบรรลุคุณธรรม เพราะเป็นเหตุแห่งสุคติ เพราะเป็น

เหตุแห่งการสั่งสมอริยมรรค และเพราะเป็นเหตุแห่งความเที่ยวไปสะดวกใน

ทิศทั้ง ๔ เป็นต้น. และท่านกล่าวไว้ว่า

ผู้ที่สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้

เป็นผู้เที่ยวไปสะดวกในทิศทั้ง ๔ และเป็น

ผู้ไม่คับแค้น ดังนี้เป็นต้น.

การรู้อุปการคุณที่คนใดคนหนึ่งได้กระทำไว้ จะน้อยหรือมากก็ตาม

โดยการระลึกถึงบ่อย ๆ ชื่อว่า กตัญญุตา. อีกอย่างหนึ่ง บุญทั้งหลายนั่นเอง

ชื่อว่ามีอุปการะมากแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะป้องกันอันตรายจากทุกข์ มีทุกข์ใน

นรกเป็นต้น เพราะการระลึกถึงอุปการะแม้แห่งบุญเหล่านั้น ก็พึงทราบว่า

กตัญญุตา.

๑. ขัคควิสาณสูตร ขุ. สุ ๒๕/ ข้อ ๒๙๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 183

ความเป็นผู้กตัญญูนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะ

เป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษมีประการต่างๆมีความเป็นผู้อันสัปบุรุษทั้งหลาย

พึงสรรเสริญเป็นต้น ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บุคคล

ที่หาได้ยากในโลกเหล่านี้มีอยู่ ๒ จำพวก. ๒ จำพวกอะไรบ้าง คือ ผู้ที่ทำ

อุปการะก่อน ๑ ผู้กตัญญูกตเวที ๑.

ในกาลใด จิตสหรคตด้วยอุทธัจจะ หรือถูกกามวิตกอย่างใดอย่างหนึ่ง

มีกามวิตกเป็นต้นครอบงำ การฟังธรรมเพื่อบรรเทากามวิตกเป็นต้นนั้นในกาล

นั้น ชื่อว่า กาเลน ธมฺมสฺสวน การฟังธรรมตามกาล. อาจารย์พวกอื่น

กล่าวว่า การฟังธรรมทุก ๆ วันที่ ๕ (แห่งสัปดาห์) ชื่อว่าฟังธรรมตามกาล

อย่างที่ท่านพระอนุรุทธะผู้มีอายุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ทุก ๆ ๕

วันแล พวกข้าพระองค์พึงนั่งสนทนาธรรมกถากันตลอดคืนยังรุ่ง พระพุทธะ-

เจ้าข้า.

อีกอย่างหนึ่ง ในกาลใด บุคคลเข้าไปหากัลยาณมิตรทั้งหลายแล้ว

สามารถจะฟังธรรมที่จะบรรเทาความสงสัยของตนเสียได้ การฟังธรรมแม้ใน

กาลนั้น พึงทราบว่า การฟังธรรมตามกาล ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุเข้าไปหา

ท่านผู้รู้เหล่านั้นสอบถามปัญหา และย่อมแก้ปัญหาตามกาลอันสมควรดังนี้เป็น

ต้น. การฟังธรรมตามกาลนี้นั้น ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้บรรลุคุณ

วิเศษมีประการต่าง ๆ มีการละนิวรณ์ การเห็นอานิสงส์ ๔ ประการ และ

การบรรลุการสิ้นอาสวะเป็นต้น สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระอริยสาวกตั้งใจมนสิการ น้อมเข้ามาในใจโดย

ประการทั้งปวง จงใจฟัง ฟังธรรมอยู่ ในสมัยนั้น นิวรณ์ ๕ ประการ ย่อม

๑. ม. มู ๑๒/ ข้อ ๓๖๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 184

ไม่มีแก่เธอ และตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมหวังอานิสงส์ ๔ ประ

การ แห่งธรรมทั้งหลายตามที่ตนได้ฟังมา แห่งธรรมทั้งหลายที่ตนแทงตลอด

แล้ว ฯลฯ และว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ อันภิกษุอบรมแล้ว

โดยชอบ ปฏิบัติตามโดยชอบตามกาล ย่อมให้ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลายโดยลำดับ.

๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ การฟังธรรมตามกาล ๑ ดังนี้เป็นต้น

ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๕ ประการคือ

ความคารวะ ๑

ความถ่อมตน ๑

ความสันโดษ ๑

ความเป็นผู้กตัญญู ๑

การฟังธรรมตามกาล ๑ ดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบายให้แจ่มแจ้ง

แล้วในมงคลข้อนั้น ๆ นั่นแล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า

คารโว จ นิวาโต เป็นต้น

คาถาที่ ๘ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในมงคลข้อว่า ขนฺตี จ เป็นต้น ดังต่อไปนี้.

ความอดทน ชื่อว่า ขันติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 185

การว่ากล่าวได้โดยง่าย เพราะความเป็นผู้ปกติรับด้วยมือขวา(เคารพ)

มีอยู่ในบุคคลนี้ เพราะเหตุนี้ บุคคลนี้จึงชื่อว่า สุวโจ ผู้ว่าได้โดยง่าย.

กรรมของผู้ว่าง่ายนั้นชื่อว่า โสวจสฺส ภาวะแห่ง โสวจสฺส นั้นชื่อว่า

โสวจสฺสตา ความเป็นผู้ว่าได้โดยง่าย.

นักบวชทั้งหลาย ที่ชื่อว่า สมณะ ก็เพราะสงบระงับกิเลสเสียได้.

การดู ชื่อว่า ทัสสนะ การสนทนาซึ่งพระธรรมชื่อว่า ธัมมสากัจฉา

คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล นี่คือการพรรณนาเฉพาะบท ส่วน

การพรรณนาเนื้อความพึงทราบดังต่อไปนี้.

อธิวาสนขันติ ชื่อว่า ขันติ. ภิกษุประกอบแล้ว ด้วยขันติ ก็เป็นผู้

ไม่หวั่นไหว ราวกะว่าไม่ได้ยิน และราวกะว่าไม่ได้เห็น ในเมื่อบุคคลด่าอยู่

ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ หรือเบียดเบียนอยู่ ด้วยกรรมทั้งหลายมีการฆ่าและการจอง

จำเป็นต้น เสมือนขันติวาทีดาบสฉะนั้น. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า สมณะเป็น

ผู้แสดงความอดทน ในอดีตสิ้นกาลนาน

(เพราะ) พระเจ้ากาสิกราช ได้รับสั่งให้ตัด

ซึ่งขันติวาทีดาบสนั้น ผู้ดำรงอยู่แล้วด้วย

ขันตินั้นแล ดังนี้.

หรือว่าภิกษุย่อมมนสิการ โดยความเป็นผู้กระทำว่าดี ราวกะท่าน

ปุณณเถระผู้มีอายุ เพราะไม่ถือโทษยิ่งกว่านั้น ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า (พระ

ปุณณเถระกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าหาก

ว่าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตกะจักด่า จักบริภาษข้าพระองค์ไซร้ ในการด่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 186

บริภาษนั้น ข้าพระองค์จักคิดอย่างนี้ว่า ดีหนอ ที่มนุษย์เมืองสุนาปรันตกะ ฯลฯ

ดีทีเดียวหนอ ที่พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตกะเหล่านี้ไม่ใช้ฝ่ามือประหารข้าพระ-

องค์ดังนี้เป็นต้น และอธิวาสนขันติที่ภิกษุประกอบแล้ว เป็นผู้ที่แม้ฤาษีทั้งหลาย

พึงสรรเสริญ ดังที่สรภังคฤาษีกล่าวไว้ว่า

บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้ จะไม่

เศร้าโศกในกาลไหน ๆ ฤาษีทั้งหลายสรร-

เสริญการละความลบหลู่ ท่านทั้งหลายจง

อดทนคำหยาบคายที่คนทั้งปวงกล่าวแล้ว

สัปบุรุษทั้งหลายกล่าวขันตินี้ว่าสูงสุด ดังนี้.

ภิกษุเช่นนั้นแม้เทวดาทั้งหลายก็สรรเสริญ ดังที่ท้าวสักกะจอมเทพ

ตรัสไว้ว่า

ผู้ใดแล เป็นคนมีกำลัง อดกลั้นต่อ

คนผู้ทรุพลไว้ ความอดกลั้นของบุคคลนั้น

บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า เป็นขันติอย่างยิ่ง

เพราะคนทุรพลต้องอดทนอยู่เป็นนิตย์.

ผู้ที่มีความอดทนแม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ตรัสสรรเสริญ ดังที่พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ผู้ใดไม่โกรธไม่ประทุษร้าย ย่อมอด

กลั้นต่อการฆ่าและการจองจำ เราเรียกผู้นั้น

ซึ่งมีขันติเป็นพลัง ผู้มีพลังเป็นเสนา ว่า

เป็นพราหมณ์.

๑. สัง. สคาถวรรค ๑๕/ ข้อ ๘๗๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 187

ก็ขันตินี้นั้น พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการได้รับ

คุณทั้งหลาย ที่ท่านกล่าวพรรณนาไว้ในที่นี้เหล่านี้ และคุณทั้งหลายเหล่าอื่น.

การไม่ถึงความฟุ้งซ่าน หรือความเป็นผู้นิ่ง หรือคิดถึงคุณและโทษ

ในเมื่อตนถูกว่ากล่าวประกอบด้วยธรรม (แต่) ทำความเอื้อเฟื้อความเคารพ

และความอ่อนน้อมอย่างยิ่งแล้วกล่าวว่า ดีละ (ที่ท่านได้กรุณาว่ากล่าวตักเตือน

ข้าพเจ้า) ดังนี้ชื่อว่า โสวจสฺสตา ความเป็นผู้ว่าง่าย ความเป็นผู้ว่าง่ายนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ได้โอวาทและอนุศาสนี

จากสำนักของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย และเพราะเป็นเหตุให้ได้ละโทษและ

บรรลุคุณ.

การเข้าไปหา การอุปัฏฐาก การระลึกถึง การฟังและการเห็นบรรพ-

ชิตทั้งหลายผู้มีกิเลสอันสงบแล้ว ผู้อบรมกาย วาจา จิตและปัญญาแล้ว ผู้

ประกอบด้วยความฝึกฝนและความสงบอย่างสูง ชื่อว่า การเห็นสมณะทั้งหลาย

การเข้าไปหาทั้งหมดเป็นต้นนั้น ท่านกล่าวว่า ทัสสนะ (การเห็น) เพราะ

ไม่ได้แสดงสิ่งที่ต่ำช้า ข้อนี้พึงทราบว่าเป็นมงคล เพราะเหตุไร เพราะมีอุป-

การะมาก และพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวเเม้การ

เห็นว่ามีอุปการะมากแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ดังนี้เป็นอาทิ เพราะกุลบุตรที่

ปรารถนาประโยชน์ เห็นภิกษุทั้งหลายผู้ทรงศีลมาถึงประตูเรือน ถ้าหากว่า

ไทยธรรมมีอยู่ ก็พึงต้อนรับด้วยไทยธรรม ตามกำลัง ถ้าหากว่าไทยธรรม

ไม่มี ก็พึงไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เมื่อการไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์นั้น

ไม่สำเร็จ (ไหว้ไม่สะดวก) ก็พึงประคองอัญชลีนมัสการ แม้เมื่อการประคอง

อัญชลีนมัสการนั้นไม่สำเร็จ ก็พึงนั่งมองด้วยจิตที่เลื่อมใส ด้วยนัยน์ตาทั้งสอง

ที่ประกอบด้วยความรัก เพราะว่าด้วยบุญที่มีการมองดูอย่างนี้เป็นมูลเหตุ โรค

นัยน์ตาก็ดี โทษก็ดี ฝ้าก็ดี ไฝก็ดี ย่อมไม่มีตลอดพันชาติเป็นอเนก เขามี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 188

จักษุที่แจ่มใส ประกอบด้วยสิริ มีวรรณะ ๕ เช่น กับด้วยหน้าต่างแก้วมณี

ที่เปิดไว้ในวิมานแก้ว เป็นผู้มีปกติได้สมบัติทุกอย่าง ทั้งในเทวโลก ทั้งใน

มนุษยโลกประมาณสิ้นแสนกัป ข้อที่บุคคลมีปัญญา เกิดเป็นมนุษย์มีปัญญา

จะพึงเสวยวิบากสมบัติเห็นปานนั้น ด้วยคุณซึ่งเกิดจากการเห็นสมณะที่เป็นไป

โดยชอบ นี้ไม่น่าอัศจรรย์ (แต่) ข้อที่บัณฑิตทั้งหลายกล่าวสรรเสริญวิบาก

สมบัติ แห่งการเห็นสมณะซึ่งเกิดจากเหตุ เพียงศรัทธาอย่างเดียวเท่านั้น แม้

ของสัตว์ดิรัจฉานทั้งหลาย อย่างนี้ว่า

นกฮูกชื่อว่าโกสิยะนี้มีนัยน์ตากลม

อยู่ที่ภูเขาเวทิยกะมานาน มีความสุขหนอ

ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้เสด็จลุก

ขึ้นตามกาล

นกฮูกนั้นทำใจให้เลื่อมใสในเรา

(ตถาคต) ในภิกษุสงฆ์ผู้เลิศ จะไม่ไปสู่

ทุคติสิ้นแสนกัป

เคลื่อนจากเทวโลกแล้ว อันกุศล-

กรรมตักเตือนแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้า

ปรากฏพระนามว่า โสมนัส ผู้มีพระญาณ

อันไม่สิ้นสุด ดังนี้ (จึงเป็นสิ่งน่าอัศจรรย์)

ชื่อว่า การสนทนาธรรมตามกาล (กาเลน ธมฺมสากจฺฉา) ข้าพเจ้า

จะได้กล่าวต่อไป ในเวลาพลบค่ำ หรือในเวลาใกล้รุ่ง ภิกษุนักพระสูตร ๒

รูป สนทนาพระสูตรกัน นักวินัย ๒ รูป สนทนาพระวินัยกัน นักอภิธรรม

๒ รูป สนทนาอภิธรรมกัน พระภิกษุผู้กล่าวชาดก ๒ รูป สนทนาชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 189

กัน พระภิกษุผู้เรียนอรรถกถา ๒ รูป สนทนาอรรถกถากัน หรือว่าภิกษุทั้งหลาย

ย่อมสนทนากันในกาลนั้น ๆ เพื่อชำระจิตที่หดหู่ ฟุ้งซ่าน และสงสัยเป็นไป

ในเบื้องหน้า การสนทนาธรรมตามกาลนั้น ท่านเรียกว่า เป็นมงคล เพราะ

เป็นเหตุแห่งคุณทั้งหลาย มีความเป็นผู้ฉลาดในอาคม (ปริยัติ) เป็นต้น.

ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ มงคล คือ ขันติ ๑

โสวจัสสตา ๑ การเห็นสมณะทั้งหลาย ๑ การสนทนาธรรมตามกาล ๑ ดัง

พรรณนามาฉะนี้ และความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าก็ได้อธิบายไว้

ชัดเจนแล้วในมงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งคาถานี้ว่า

ขนฺตี จ เป็นต้น

คาถาที่ ๙ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคาถามีบทว่า ตโป จ เป็นต้นดังต่อไปนี้

ธรรมที่ชื่อว่า ตบะ เพราะอรรถว่าแผดเผาบาปธรรมทั้งหลาย. ความประพฤติ

ที่ประเสริฐ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า พรหมจรรย์. อีกอย่างหนึ่ง ความประพฤติ

ของพรหมทั้งหลาย ชื่อว่า พรหมจรรย์ มีคำอธิบายว่า ความประพฤติอย่าง

ประเสริฐ. การเห็นอริยสัจทั้งหลาย ชื่อว่า อริยสจฺจานทสฺสน อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า อริยสจฺจานิ ทสฺสน ดังนี้ก็มี ข้อนี้ไม่ดี.

ที่ชื่อว่า นิพพาน เพราะออกจากกิเลสเครื่องร้อยรัด ที่ชื่อว่า วานะ.

การทำให้แจ้ง ชื่อว่า สจฺฉิกิริยา.

การทำให้แจ้ง ซึ่งพระนิพพาน ชื่อ นิพฺพานสจฺฉิกิริยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 190

คำที่เหลือมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล นี่คือการพรรณาเฉพาะ

บท ส่วนการพรรณนาเนื้อความ ผู้ศึกษาพึงทราบ ดังต่อไปนี้.

การสำรวมอินทรีย์ โดยแผดเผาอกุศลธรรมทั้งหลาย มีอภิชฌาและ

โทมนัสเป็นต้น หรือความเพียร อันแผดเผาความเกียจคร้านชื่อว่า ตปะ.

เพราะว่าบุคคลที่ประกอบด้วยตปะนั้น ท่านเรียกว่า อาตาปี ผู้มีตบะ หรือ

ผู้มีความเพียรเป็นเครื่องแผดเผาบาป.

ตบะนี้นั้น พึงทราบว่า เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ละอภิชฌาเป็นต้น

เสียได้ และเป็นเหตุให้ได้ฌานเป็นต้น.

ชื่อว่า พรหมจรรย์ เป็นชื่อแห่งเมถุนวิรัติ, สมณธรรม, ศาสนา

และมรรค จริงอย่างนั้น เมถุนวิรัติในธรรมทั้งหลาย มีคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า

บุคคลละความประพฤติที่ไม่ประเสริฐ เป็นผู้มีปกติประพฤติประเสริฐ ดังนี้

ท่านเรียกว่า พรหมจรรย์.

สมณธรรมทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส เราอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ ท่านก็เรียกว่า พรหมจรรย์.

ศาสนาในธรรมทั้งหลาย มีคำเป็นอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป

เราจักยังไม่ปรินิพพาน ตราบเท่าที่พรหมจรรย์ของเรานี้ จักไม่บริบูรณ์ ไม่

แพร่หลาย กว้างขวาง มีคนรู้จักมาก ดังนี้ ท่านก็เรียกว่า พรหมจรรย์.

มรรคในคำทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ อัฏฐังคิกมรรค

อันประเสริฐนี้เท่านั้นแล เป็นตัวพรหมจรรย์ คือ สัมมาทิฏฐิ ดังนี้ ท่านก็

เรียกว่า พรหมจรรย์. แต่ในพระสูตรนี้ คำทั้งปวงที่เหลือก็ใช้ได้ เพราะยึดถือ

เอามรรคเป็นเบื้องหน้าในการเห็นอริยสัจ ก็พรหมจรรย์นี้นั้นพึงทราบว่าเป็น

มงคล เพราะเป็นเหตุแห่งการบรรลุคุณวิเศษ มีประการต่าง ๆ สูง ๆ ขึ้นไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 191

การเห็นมรรค ด้วยสามารถแห่งการบรรลุอริยสัจ ๔ มีเนื้อความที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในกุมารปัญหา ชื่อว่า อริสัจจานทัสสนะ

การเห็นอริยสัจนั้นท่านกล่าวว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้ท่านพ้นจากทุกข์

ในสังสารเสียได้.

ชื่อว่า การกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน ข้าพเจ้าจักได้กล่าวต่อไป. ใน

มงคลสูตรนี้ คำว่า อรหัตผล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์ไว้ว่า นิพพาน

เพราะว่าอรหัตผลนั้น เรียกว่า นิพพาน เพราะออกจากตัณหาที่เรียกว่า

วานะ เพราะร้อยรัดคติ ๕ ไว้. การบรรลุหรือการพิจารณาพระนิพพานนั้น

ท่านเรียกว่า สัจฉิกิริยา การกระทำให้แจ้ง แต่การกระทำให้แจ้วพระนิพพาน

นอกนี้ สำเร็จได้ ก็ด้วยการเห็นอริยสัจเท่านั้น เพราะเหตุนั้นพระนิพพานนี้

จึงไม่ได้ประสงค์เอาในมงคลนี้ การกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนี้ พึงทราบว่า

เป็นมงคล เพราะเป็นเหตุให้อยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ดังพรรณนามาฉะนี้.

ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ ประการคือ ตบะ ๑

พรหมจริยา ๑ การเห็นอริยสัจ ๑ การทำนิพพานให้แจ้ง ๑ ดังพรรณนามา

ฉะนี้ ก็ความที่ธรรมเหล่านั้นเป็นมงคล ข้าพเจ้าได้อธิบายไว้ชัดเจนแล้วใน

มงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งคาถานี้ว่า

ตโป จ เป็นต้น

คาถาที่ ๑๐ (มี ๔ มงคล)

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในมงคลข้อว่า ผุฏฺสฺส โลกธมฺเมหิ เป็น

ต้นนี้ ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 192

บทว่า ผุฏฺสฺส ได้แก่ สัมผัส คือถูกต้อง ได้แก่ ถึงพร้อม.

ธรรมทั้งหลายในโลก ชื่อว่า โลกธรรม มีคำอธิบายว่า โลกยังเป็น

ไปอยู่ตราบใด ธรรมทั้งหลายก็ไม่หมุนกลับตราบนั้น.

มโน คือ มานัส ชื่อว่า จิต.

บทว่า ยสฺส ได้แก่ พระนวกะ หรือพระมัชฌิมะ หรือพระเถระ.

บทว่า น กมฺปติ ได้แก่ ไม่หวั่น ไม่สะเทือน.

บทว่า อโสก ได้แก่ไม่เศร้าโศก คือถอนลูกศรคือความโศกเสียได้.

บทว่า วิรช ได้แก่ ผู้ปราศจากราคะ คือผู้กำจัดราคะได้แล้ว.

บทว่า เขม ได้แก่ ไม่มีภัย คือไร้อุปัทวะ คำที่เหลือมีนัยดังข้าพเจ้า

กล่าวแล้วแล นี้เป็นการพรรณนาเฉพาะบทก่อน ส่วนการพรรณนาเนื้อความ

พึงทราบดังต่อไปนี้.

จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ก็ไม่หวั่นไหว คือ

จิตของผู้ใด อันโลกธรรมทั้ง ๘ มีลาภเป็นต้น ถูกต้องแล้ว คือครอบงำแล้ว

ย่อมไม่หวั่นไหว ได้แก่ ไม่คลอนแคลน ไม่สะเทือน จิตนั้นของบุคคลนั้น

อันใคร ๆ ไม่พึงให้หวั่นไหวได้ เพราะนำโลกุตรมรรคมาให้.

ถามว่า ก็จิตของใครถูกโลกธรรมเหล่านี้ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว.

ตอบว่า จิตของพระอรหันตขีณาสพ ย่อมไม่หวั่นไหว หาใช่จิต

ของใครอื่นไม่ สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ภูเขาศิลาแท่งทึบ ย่อมไม่หวั่นไหว

เพราะลมฉันใด รูป รส เสียง กลิ่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 193

สัมผัส รวมทั้งธรรมที่น่าปรารถนา และ

ธรรมนี้ไม่น่าปรารถนา หาได้ทำจิตซึ่งตั้งมั่น

หลุดพ้นแล้วของท่านผู้คงที่ให้หวั่นไหวไม่

ทั้งท่านย่อมเห็นความสิ้นไปแห่งสภาวธรรม

เหล่านั้นด้วย ดังนี้

จิตของพระขีณาสพเท่านั้น ชื่อว่า อโสก ไม่เศร้าโศก. จริงอยู่

จิตของพระขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่า ไม่เศร้าโศก เพราะไม่มีความโศก ที่ท่าน

เรียกกันโดยนัยว่า ความโศก ความเศร้าโศก ความเป็นผู้เศร้าโศก ความ

เศร้าโศกในภายใน ความแห้งเกรียมในภายใน ความที่ใจเผาไหม้ ดังนี้เป็นต้น.

อาจารย์บางพวก เรียกจิตที่ไม่เศร้าโศกนี้ว่า พระนิพพาน.

จิตที่ไม่เศร้าโศกนั้น ท่านไม่ต่อกับบทก่อน (จิตที่ถูกโลกธรรม)

เหมือนอย่างว่า คำว่าจิตไม่เศร้าโศกเป็นจิตของพระขีณาสพฉันใด แม้คำว่า

จิตที่ปราศจากธุลี จิตเกษม ก็เป็นจิตของพระขีณาสพเหมือนกันฉันนั้น ด้วยว่า

จิตของพระขีณาสพนั้น ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะเป็นจิตที่ปราศจากธุลีคือ

ราคะ โทสะ และโมหะ และ ชื่อว่า เกษม เพราะเป็นจิตที่ปลอดจากโยคะ

ทั้งสี่ เพราะจิตของพระขีณาสพนี้ แม้จะมี ๓ อย่าง (อโสก วิรช เขม)

ด้วยสามารถที่ท่านถือเอาในปวัตติขณะนั้น ๆ แสดงไว้โดยอาการนั้น ๆ ก็พึง

ทราบว่า เป็นมงคล เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้ยอดเยี่ยมในโลก มีความที่ขันธ์

ไม่เป็นไปอีกเป็นต้น (ไม่ต้องเกิดอีก) และนำมาซึ่งความเป็น อาหุเนยยบุคคล

เป็นต้น.

๑. อัง. ฉักก. ๒๒/ ข้อ ๓๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 194

ด้วยพระคาถานี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๔ ประการ ความที่จิต

ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรม ๘ อย่าง ๑ จิตไม่เศร้าโศก ๑ จิตปราศจากธุลี ๑

จิตเกษม ๑ ดังพรรณนามาฉะนี้ ก็ความที่แห่งธรรมเหล่านี้เป็นมงคล ข้าพเจ้า

ได้อธิบายไว้ชัดเจนแล้ว ในมงคลนั้น ๆ นั่นแหละ ดังนี้แล

จบการพรรณนาเนื้อความ แห่งคาถาที่ว่า

ผุฏฺสฺส โลกธมฺเมหิ เป็นต้นนี้

คาถาที่ ๑๑

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสมงคล ๓๘ ประการ ด้วยพระคาถา ๑๐ พระ-

คาถาว่า อเสวน จ พาลาน ดังนี้เป็นต้น ดังพรรณนามาฉะนี้. บัดนี้

เมื่อจะทรงชมเชยมงคล ที่พระองค์ตรัสไว้เหล่านี้แล จึงได้ตรัสพระคาถาสุดท้าย

นี้ว่า เอตาทิสานิ กตฺวาน ดังนี้เป็นต้น.

การพรรณนาเนื้อความแห่งพระคาถาสุดท้ายนั้น มีดังต่อไปนี้.

คำว่า เอตาทิสานิ ความว่า มงคลทั้งหลาย มีการไม่เสพพวกคน

พาลเป็นต้น เช่นนี้ เหล่านี้ คือที่มีประการอันเรากล่าวแล้ว.

บทว่า กตฺวาน ได้แก่ การทำแล้ว จริงอยู่บท ๓ บท คือ กตฺวาน

กตฺวา กริตฺวา โดยเนื้อความก็ไม่ใช่อื่น (ถือเป็นอันเดียวกัน)

บทว่า สพฺพตฺถมปราชิตา ความว่า เป็นผู้แม้อันศัตรูอย่างหนึ่งใน

บรรดาศัตรู ๔ ประเภท อันต่างโดยขันธมาร กิเลสมาร อภิสังขารมาร และ

เทวปุตตมาร จะให้พ่ายแพ้ไม่ได้ อธิบายว่า ทำมารทั้ง ๔ ประเภทเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 195

ให้พ่ายแพ้เสียเอง ก็ อักษรในคำว่า สพฺพตฺถมปราชิตา นี้ พึงทราบว่า

เป็นการเชื่อมบท (บทสนธิ)

บาทคาถาว่า สพฺพตฺถ โสตถึ คจฺฉนฺติ ความว่า บุคคลกระทำ

ตามมงคล เหล่านี้แล้ว เป็นผู้ที่มารทั้ง ๔ ให้แพ้ไม่ได้ ย่อมถึงความสวัสดี

ในที่ทั้งปวง คือในโลกนี้และโลกหน้า และในสถานที่ทั้งหลาย มีทางเดิน

จงกรมเป็นต้น มีคำอธิบายว่า อาสวะ การเข่นฆ่า และความเร่าร้อนเหล่า

ใด จะพึงเกิดขึ้น จากการคบคนพาลเป็นต้น ชนทั้งหลายเหล่านั้นย่อมถึงความ

สวัสดี เพราะไม่มีอาสวะ การเข่นฆ่าและความเร่าร้อนเหล่านั้น ถือว่า เป็นผู้

ไม่มีอุปัทวะ ไม่มีอุปสรรค มีความเกษม ไม่มีภัย ย่อมถึงความสวัสดีได้

ก็อนุนาสิก (นิคคหิต) ในคำว่า สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ นี้ พึงทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อความสะดวกในการประพันธ์คาถา พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลง ด้วยบาทพระคาถานี้ว่า ตนฺเตส มงฺคลมุตฺตม.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลงอย่างไร ?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลง โดยพุทธประสงค์

อย่างนี้ว่า ดูก่อนเทวบุตร ก็เพราะชนเหล่าใดกระทำตามมงคลเหล่านี้ อย่างนี้

ชนเหล่านั้นย่อมถึงความสวัสดีในที่ทั้งปวง ฉะนั้น ท่านจงถือเอามงคลทั้ง ๓๘

ประการ มีการไม่เสพพวกคนพาลเป็นต้นนั้น เป็นมงคลอย่างสูงสุด ได้แก่

ประเสริฐที่สุด คือเลิศสำหรับชนทั้งหลายเหล่านั้น ผู้กระทำตามมงคลเหล่านี้นี้.

ก็ในที่สุดแห่งพระเทศนา ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้จบลงแล้ว

อย่างนี้ เทวดาประมาณแสนโกฏิบรรลุพระอรหัต. ผู้ที่บรรลุเป็นพระ

โสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี นับไม่ถ้วน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 196

ต่อจากนั้นในวันที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระอานนทเถระ

มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อคืนนี้เทวดาองค์หนึ่งเข้ามาหาเราแล้วถาม

มงคลปัญหา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจึงได้กล่าวมงคล ๓๘ ประการ แก่เทวดานั้น

ดูก่อนอานนท์ เธอจงเรียนมงคลนี้ ครั้นเรียนมงคลปริยาขึ้นแล้วจงบอกภิกษุ

ทั้งหลาย. พระเถระเรียนเอาแล้ว จึงได้บอกภิกษุทั้งหลาย มงคลสูตรนี้นั้น

อาจารย์นำสืบ ๆ กันมา ย่อมเป็นมาได้จนถึงทุกวันนี้ พรหมจรรย์นี้พึงทราบ

ว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ประกาศดีแล้ว จนกระทั่งบริบูรณ์ แพร่หลาย

กว้างขวาง มีคนรู้กันมาก และเป็นปึกแผ่น ด้วยประการฉะนี้.

สรุปมงคล ๓๘

บัดนี้ เพื่อความฉลาดในการอบรมญาณ ในมงคลเหล่านี้นั้น แหละ จึง

มีโยชนา (วาจาประกอบการอธิบายความให้เชื่อมกัน) จำเดิมแต่ต้นดังต่อไปนี้.

สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ผู้ใคร่ต่อความสุขในโลกนี้ โลกหน้าและโลกุตร-

สุข ละการเสพคนพาล อาศัยบัณฑิตทั้งหลาย บูชาซึ่งบุคคลทั้งหลาย ที่ควร

บูชา อันการอยู่ในประเทศอันสมควร และการเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วใน

ปางก่อน ตักเตือนอยู่ ในการสั่งสมกุศล จึงตั้งตนไว้ชอบ มีอัตภาพอันประดับ

แล้ว ด้วยพาหุสัจจะ ศิลปะ และวินัย กล่าวอยู่ซึ่งวาจาสุภาษิต อันสมควร

แก่วินัย ตนยังไม่ละความเป็นคฤหัสถ์ตราบใด ก็ชำระหนี้เก่าโดยการเลี้ยงดู

มารดาบิดาอยู่ตราบนั้น ประกอบหนี้ใหม่ด้วยการสงเคราะห์บุตรและภรรยาอยู่

บรรลุถึงความสำเร็จแห่งสมบัติ มีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้น ด้วยความ

เป็นผู้มีการงานไม่อากูล ถือเอาสาระแห่งโภคะด้วยการให้ทานและสาระแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 197

ชีวิตด้วยการประพฤติธรรม กระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนของตน ด้วยการ

สงเคราะห์ญาติ และกระทำประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนอื่น ด้วยการประกอบการงาน

ที่ปราศจากโทษ เว้นการเบียดเบียนคนอื่น ด้วยการงดจากบาปและการเบียด-

เบียนตน ด้วยการสำรวมจากการดื่มน้ำเมา เจริญธรรมฝ่ายกุศลทั้งหลาย ด้วย

ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย สละเพศคฤหัสถ์ ด้วยความเป็นผู้ฉลาดใน

กุศลธรรมที่ตนเจริญแล้ว แม้ดำรงอยู่แล้วในความเป็นบรรพชิต ก็ยินดีความ

ถึงพร้อมด้วยวัตร ด้วยความเคารพและความอ่อนน้อม ในทักขิเณยยบุคคล

ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า พุทธสาวก อุปัชฌาย์และอาจารย์เป็นต้น. สละ

ความคิดในปัจจัย ด้วยความสันโดษ ดำรงอยู่ในสัปปุริสภูมิ ด้วยความกตัญญุ

ละจิตที่ท้อแท้เสียได้ด้วยการฟังธรรม ครอบงำอันตรายทั้งปวงเสียได้ด้วยความ

อดทน ทำคนให้มีที่พึ่งด้วยการเป็นผู้ว่าง่าย เห็นอยู่ซึ่งการประกอบความเพียร

ในการปฏิบัติ ด้วยการเห็นสมณะ บรรเทาความสงสัยในธรรมทั้งหลายอันเป็น

ที่ตั้งแห่งความสงสัยเสียได้ด้วยการสนทนาธรรม ทำศีลวิสุทธิให้บริบูรณ์ ด้วย

การสำรวมอินทรีย์และตบะ ทำจิตตวิสุทธิให้บริบูรณ์ด้วยพรหมจรรย์คือสมณ-

ธรรม ทำวิสุทธิอีก ๔ อย่างที่เหลือจากนั้นให้บริบูรณ์ (ทิฏฐิ, กังขา, มัคคา,

ปฏิปทา) บรรลุญาณทัสสนวิสุทธิ. อันเป็นปริยายแห่งอริยสัจจทัสสนะ ด้วย

ปฏิปทา (ข้อปฏิบัติ) นี้ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน กล่าวคือ

อรหัตผล ซึ่งครั้นทำให้แจ้งแล้ว ก็เป็นผู้มีจิตไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม ๘

ดุจภูเขาสิเนรุไม่หวั่นไหว เพราะลมและฝนฉะนั้น จึงเป็นบุคคลที่ไม่เศร้าโศก

มีจิตปราศจากธุลี มีจิตเกษม ก็บุคคลเหล่าใดเป็นผู้มีจิตเกษม บุคคลเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 198

เป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในที่ทั้งปวง และย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

เอตาทิสานิ กตฺวาน สพฺพตฺถมปราชิตา

สพฺพตฺถ โสตฺถึ คจฺฉนฺติ ตนฺเตส มงคลมุตฺตม.

เหล่าชนครั้นกระทำการมงคลทั้ง ๓๘

ประการเหล่านี้แล้ว ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ใน

ที่ทั้งปวง ย่อมถึงความสวัสดีในที่ทุกสถาน

การถึงความสวัสดีนั้นเป็นมงคลอย่างสูงสุด

ของชนเหล่านั้น.

จบการพรรณนามงคลสูตร ในอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 199

สูจิโลมสูตรที่ ๕

ว่าด้วยกิเลสเป็นเหตุเกิด

[๓๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่บน (แท่นหิน) เตียงมี

แม่แคร่ในที่อยู่ของสูจิโลมยักษ์ ใกล้ บ้านคยา ก็สมัยนั้นแล ขรยักษ์และ

สูจิโลมยักษ์เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น ขรยักษ์

ได้กล่าวกะสูจิโลมยักษ์ว่า นั่นสมณะ สูจิโลมยักษ์ได้กล่าวกะขรยักษ์ว่า นั่น

ไม่ใช่สมณะ นั่นเป็นสมณะเทียม เราทราบชัดว่า สมณะหรือสมณะเทียมเพียงไร

ลำดับนั้น สูจิโลมยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว

น้อมกายของตนเข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นกาย

(ของสูจิโลมยักษ์) ออกไป สูจิโลมยักษ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านกลัว

ข้าพเจ้าหรือสมณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เราไม่กลัวท่านดอกผู้มีอายุ

แต่สัมผัสของท่านลามก.

ส. ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าจักถามปัญหากะท่าน ถ้าท่านไม่พยากรณ์

ไซร้ ข้าพเจ้าจักควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้งเสีย หรือจักฉีกหทัยของท่าน

เสีย หรือจักจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไป ในแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น.

พ. เราไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ผู้ซึ่งจะควักดวงจิตของ

เราออกโยนทิ้ง หรือจะฉีกหทัยของเราเสีย หรือจะจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 200

ไปในแม่น้ำคงคาฝั่งโน้น ผู้มีอายุ ก็แลท่านปรารถนาจะถามปัญหาข้อใด ก็จง

ถามเถิด.

ลำดับนั้นแล สูจิโลมยักษ์ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

[๓๒๐] ราคะและโทสะมีอะไรเป็น

เหตุเกิด ความไม่ยินดี ความยินดี ขนลุก

ขนพอง เกิดแต่อะไร วิตกทั้งหลายเกิดแต่

อะไร แล้วจึงปล่อยลงไปหาใจที่เป็นกุศล

เหมือนพวกเด็กน้อยเอาด้ายผูกตีนกาแล้ว

ปล่อยลงไป ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า

ราคะและโทสะมีอัตภาพเป็นเหตุเกิด

ความไม่ยินดี ความยินดี ขนลุกขนพอง

เกิดแต่อัตภาพนี้ วิตกทั้งหลายเกิดแต่อัตภาพ

นี้ แล้วปล่อยลงไปหาใจที่เป็นกุศล เหมือน

พวกเด็กน้อยเอาด้ายผูกตีนกา แล้วปล่อยลง

ไปฉะนั้น.

กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น เกิดแต่

ความเยื่อใย เกิดในตน เหมือนย่านไทรเกิด

แต่ต้นไทร ฉะนั้น กิเลสเป็นอันมาก ซ่าน

ไปแล้วในกามทั้งหลาย เหมือนเถาย่านทราย

รึงรัดไปแล้วในป่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 201

สัตว์เหล่าใด ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่กิเลส

นั้นว่ามีกิเลสใดเป็นเหตุ สัตว์เหล่านั้นย่อม

บรรเทาซึ่งหมู่กิเลสนั้นได้ ท่านจงฟังเถิด

ยักษ์ สัตว์เหล่าใดย่อมบรรเทาซึ่งหมู่กิเลสได้

สัตว์เหล่านั้นย่อมข้ามพ้นซึ่งโอฆะอันข้ามได้

โดยยาก ที่ยังไม่เคยข้ามแล้ว เพื่อความ

ไม่เกิดอีก.

จบสูจิโลมสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูจิโลมสูตรที่ ๕

สูจิโลมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า การเกิดขึ้นของพระสูตรนี้ จักมีแจ้ง (จักปรากฏ) โดยนัย

ที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้ ในการพรรณนาเนื้อความ. ก็ในคำว่า คยาย วิหรติ

ฏงฺกิตมญฺเจ สูจิโลมสฺส ยกฺขสฺส ภวเน นี้. พึงทราบวินิจฉัยว่า คยา

คืออะไร เตียงที่มีตั่งคืออะไร และเพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ประทับอยู่ที่ภพของยักษ์นั้น ข้าพเจ้าจะได้กล่าวเฉลยต่อไป.

บ้านก็ดี ท่า (น้ำ) ก็ดี ท่านเรียกว่า คยา บ้านและท่าแม้ทั้งสองนั้น

สมควรในพระสูตรนี้ ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ในประเทศที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 202

ไม่ไกลแห่งบ้านคยา ท่านก็เรียกว่า คยาย วิหรติ ประทับอยู่ที่บ้านคยา

ก็ในที่ใกล้ คือ ที่ไม่ไกล ได้แก่ ที่ใกล้ประตูแห่งบ้านนั้น มีเตียงที่มีแม่แคร่

นั้นตั้งอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ที่ท่าคยา ท่านก็เรียกว่า คยาย

วิหรติ ประทับอยู่ที่ท่าคยา และที่ท่าคยานั้น มีเตียงที่มีแม่แคร่นั้นตั้งอยู่.

เตียงหิน ซึ่งเขายกหินแผ่นกว้างไปวางไว้บนก้อนหิน ๔ ก้อน เรียกว่า

เตียงมีเเม่แคร่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยเตียงมีแม่แคร่นั้นอันเป็นภพของ

ยักษ์ดุจภพของอาฬวกยักษ์.

ก็อีกประการหนึ่ง เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสมาบัติ

อันประกอบด้วยพระมหากรุณา ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วย

พุทธจักษุ ได้ทรงเห็นอุปนิสสัยแห่งโสดาปัตติผลแม้ของยักษ์ทั้งสอง คือ

สูจิโลมยักษ์และขรยักษ์ ฉะนั้นจึงทรงถือบาตรและจีวร ภายในอรุณนั้นเอง

(ในเวลาอรุณขึ้น) ได้เสด็จยังประเทศอัน เป็นท่านั้น แม้เป็นภูมิภาคซึ่ง

สกปรก อันเป็นที่ไหลออกแห่งของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ มีน้ำลาย และ

น้ำมูกเป็นต้นของประชาชน ซึ่งมาประชุมกันจากทิศต่าง ๆ แล้วประทับ

นั่งบนเตียงที่มีแม่แคร่นั้น อันเป็นภพของสูจิโลมยักษ์ เพราะเหตุนั้น พระ-

อานนทเถระจึงกล่าวว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับบนเตียงมีแม่แคร่

อันเป็นภพของสูจิโลมยักษ์ ใกล้บ้านคยา (หรือใกล้ท่าคยา).

คำว่า เตน โข ปน สมเยน ความว่า สมัยใดพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ที่ภพของสูจิโลมยักษ์นั้น สมัยนั้น ขรยักษ์และสูจิโลมยักษ์ได้ก้าว

เข้าไปในที่ไม่ไกลแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 203

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ยักษ์ทั้งสองนั้นจึงก้าวเข้าไป ข้าพเจ้าจะกล่าว

ต่อไป.

ในบรรดายักษ์ทั้งสองนั้น จะได้พูดถึงยักษ์ตนหนึ่งก่อน คือ ใน

อดีตกาล ชายผู้หนึ่งไม่ได้บอกกล่าวเลย ถือเอาน้ำมันของสงฆ์ไปทาสรีระของคน

เพาะกรรมนั้นเขาจึงไหม้ในนรก และมาบังเกิดในกำเนิดยักษ์ ที่ฝั่งแห่งสระ

โบกขรณีแห่งคยา เขามีอวัยวะแปลกประหลาด ด้วยวิบากอันเหลือลงแห่งกรรมนั้น

นั่นเอง และผิวหนังของเขามีสัมผัสหยาบเช่นกับกระเบื้องอิฐ ได้ยินว่า เมื่อใด

เขาต้องการจะให้ผู้อื่นกลัว เมื่อนั้น เขาก็ขยายผิวหนังอันเช่นกับกระเบื้องทำให้

กลัว ยักษ์นั้นจึงได้นามว่า ขรยักษ์ ก็เพราะเหตุที่มีสัมผัสหยาบนั้นเอง

ด้วยประการฉะนี้.

(ส่วน) สูจิโลกยักษ์นอกนี้ ในสมัยแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสปะ เป็นอุบาสกไปวัดฟังธรรมเดือนละ ๘ ครั้ง วันหนึ่งเมื่อเขาประกาศ

การฟังธรรมกัน เขาก็เล่นอยู่ที่นาของตน ใกล้ประตูสังฆาราม ฟังเสียงการ

โฆษณาแล้ว ก็คิดว่า ถ้าว่าเราจะอาบน้ำไซร้ ก็จักชักช้า ดังนี้ ทั้ง ๆ ที่มี

ร่างกายสกปรกนั้นเอง ก็เข้าไปยังโรงอุโบสถ แล้วก็นอนหลับไปบนเครื่องลาด

อันมีค่ามาก ด้วยความไม่เอื้อเฟื้อ อาจารย์ทั้งหลายผู้กล่าวคัมภีร์สังยุตตนิกาย

กล่าวว่า เขาผู้นี้เป็นภิกษุนั้นเอง หาใช่อุบาสกไม่ ด้วยกรรมนั้น และด้วย

กรรมอื่นอีก เขาจึงไหม้ในนรก และมาเกิดในกำเนิดยักษ์ที่ฝั่งแห่งสระโบกขรณี

เขาเป็นผู้มีรูปร่างน่าเกลียดด้วยวิบากอันเหลือลงแห่งกรรมนั้น ก็ที่กายของ

สูจิโลมยักษ์นั้นมีขนเหมือนเข็ม ก็ยักษ์นั้นทำสัตว์ทั้งหลายที่ควรให้ตกใจ ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 204

กลัวอยู่ดุจทิ่มแทงด้วยเข็มฉะนั้น เขาจึงได้ชื่อว่า สูจิโลมยักษ์ ก็เพราะเหตุที่เขา

มีขนดุจเข็มนั่นเอง ด้วยประการฉะนี้. ยักษ์ทั้งสองนั่นออกจากภพของตนเพื่อ

ไปหากิน ไปได้ครู่เดียวก็กลับมา โดยทางที่ตนไปนั้นเอง มาถึงยังทิสาภาค

นอกนี้ ได้ก้าวเข้าไปในที่ไม่ไกลจากพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ในคำว่า อถ โข ขโร เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ยักษ์ทั้งสองเหล่านั้นจึงได้กล่าวอย่างนี้ ?

ตอบว่า ขรยักษ์ได้เห็นอาการของสมณะแล้วกล่าวกะสูจิโลมยักษ์ส่วน

สูจิโลมยักษ์เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ผู้ใดกลัวผู้นั้นหาใช่สมณะไม่ แต่จะต้อง

เป็นสมณะเทียม เพราะเปรียบเทียบกับสมณะ (แท้) เพราะฉะนั้น เมื่อจะ

ดูหมิ่นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เช่นนั้น แม้จะกล่าวด้วยความรุนแรงว่า บุรุษผู้นี้

หาใช่สมณะไม่ เขาเป็นสมณะปลอม เมื่อใคร่จะทดลองอีกจึงกล่าวว่า เราทราบ

อยู่เพียงไรเป็นต้น.

คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า อถ โข เป็นต้น ซึ่งท่านกล่าวไว้จำเดิมแต่

คำนี้ว่า สูจิโลโม ยกฺโข จนถึงคำว่า อปิจ เต สมฺผสฺโส ปาปโก

ก็อีกอย่างหนึ่ง สัมผัสของท่านเลว ดังนี้ เนื้อความตื้นทั้งนั้น ด้วยว่าใน

คำนั้น พึงทราบสัมพันธ์อย่างนี้ เพียงอย่างเดียวว่า คำว่า ภควโต กาย

หมายถึงน้อมกายของตนเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ต่อจากนั้นสูจิโลมยักษ์

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงหวาดหวั่นอยู่ จึงกล่าวว่า "สมณะ เราจะถาม

ปัญหากะท่าน" ดังนี้เป็นต้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร สูจิโลมยักษ์จึงถามปัญหา ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 205

ตอบว่า ก็สูจิโลมยักษ์นั้นคิดว่า สมณะนี้เป็นมนุษย์ ย่อมไม่กลัว

เรา ด้วยสัมผัสอันเป็นของอมนุษย์อันหยาบอย่างนี้ นี้. เอาเถอะ เราจะถาม

สมณะนั้น ในปัญหาอันเป็นพุทธวิสัย สรณะนี้จักตอบไม่ได้ในปัญหานั้น

แน่แท้ ต่อแต่นั้นเราก็จะเบียดเบียนสมณะนั้นได้ อย่างนี้ดังนี้แล้วจึงได้ถาม

ปัญหา. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับปัญหานั้นแล้ว ตรัสว่า น ขฺวาห ต

อาวุโส เป็นต้น (อาวุโส เราไม่กลัวท่านดอก แต่สัมผัสของท่านเลว) คำ

ทั้งปวงนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยอาการทุกอย่าง ตามนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว

ในอาฬวกสูตรนั้นเอง.

ครั้งนั้นแล สูจิโลมยักษ์ได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระคาถาว่า

ราโค จ โทโส จ เป็นต้น.

ในบรรดาคำเหล่านั้น ราคะและโทสะมีนัยอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นเอง.

บทว่า กุโต นิทานา ได้แก่ มีอะไรเป็นนิทาน คือมีอะไรเป็นเหตุ

พึงทราบการอาเทส โต ปัจจัย แห่งสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ.

(ในคำว่า กุโต นิทานา) ในสมาสไม่มีการลบ โต ปัจจัยนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า นิทานา ได้แก่เกิดแล้ว อธิบายว่าบังเกิดขึ้นแล้ว.

เพราะฉะนั้น จึงมีคำอธิบายว่า เกิดแล้วแต่ที่ไหน คือเกิด ได้แก่ บังเกิดแล้ว

แต่ที่ไหน. ในคำว่า อรตี รตี โลมหโส กุโตชา ความว่า สูจิโลมยักษ์ถามว่า

ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ คือ ความไม่พอใจซึ่งท่านแจกไว้อย่างนี้ว่า อรติ

อรติกา อนภิรติ อนตฺตมนตา อุกฺกณฺติา ปริตสฺสิตา ในเสนาสนะ

อันสงัด หรือในอธิกุศลธรรมทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ ความยินดีใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 206

กามคุณทั้งห้า ๑ ความสะดุ้งแห่งจิต ที่ถึงความนับว่าขนพองสยองเกล้าเพราะ

เป็นที่ตั้งแห่งความสะดุ้งกลัว ๑ เกิดจากอะไร.

สองบทว่า กุโต สมุฏฺาย ได้แก่ เกิดแต่ไหน ?

คำว่า มโน หมายถึง กุศลจิต.

วิตก ๙ อย่างมีกามวิตกเป็นต้น ซึ่งท่านกล่าวไว้ในอุรคสูตร ชื่อว่า

วิตกฺกา. ด้วยบาทพระคาถาว่า กุมารกา ธงฺกมิโวสฺสชนฺติ สูจิโลมยักษ์

ถามว่า พวกเด็กชาวบ้านเล่นอยู่ เอาด้ายผูกตีนกาไว้แล้ว ปล่อยไป ได้แก่

โยนไป ฉันใด อกุศลวิตกเกิดขึ้นแต่ที่ไหน ย่อมหยั่งลงสู่ใจคือกุศล ฉันนั้น.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแก้ปัญหาเหล่านั้นของสูจิโลม

ยักษ์นั้น จึงได้ตรัสคาถาที่สองว่า ราโค จ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิโต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึง

อัตภาพ. จริงอยู่ ราคะและโทสะเกิดจากอัตภาพ ความไม่ยินดี ความยินดี

และความขนพองสยองเกล้าก็เกิดจากอัตภาพ และอกุศลวิตกมีกามวิตกเป็นต้น

ก็ตั้งขึ้นจากอัตภาพเหมือนกัน แล้วหยั่งลงไปในใจคือกุศล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงห้ามถึงเหตุ มีปกติเป็นต้นอย่างอื่นนั้น ด้วยคำว่า อัตภาพนั้น

จึงตรัสว่า เกิดแล้วแต่อัตภาพนี้ คือเกิดขึ้นแต่อัตภาพนี้ ชื่อว่า ตั้งขึ้น

พร้อมแล้ว แต่อัตภาพนี้. ก็ความสำเร็จแห่งศัพท์ ในคำว่า อิโต สมุฏฺาย

มโน วิตกฺกา เป็นต้นนี้ พึงทราบโดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในคาถาที่ ๑.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงวิสัชนาปัญหาเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว เมื่อ

จะทรงยังเนื้อความที่พระองค์ตรัสไว้ว่า วิตกทั้งหลายเกิดแล้วแต่อัตภาพ คือ

เกิดจากอัตภาพ มีสมุฏฐานแต่อัตภาพ ในคำทั้งหลายมีคำว่า อิโต นิทานา

เป็นต้น ให้สำเร็จ จึงตรัสว่า เสฺนหชา อตฺตสมฺภูตา เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 207

กิเลสทั้งปวงมีราคะเป็นต้นเหล่านี้ มีวิตกเป็นปริโยสาน เกิดด้วยความ

เยื่อใย ด้วยอำนาจตัณหา และเมื่อเกิดขึ้นอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าเกิดแล้วในตน

อันเป็นปริยายแห่งอัตภาพ ซึ่งต่างโดยอุปาทานขันธ์ ๕ เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสฺนหชา อตฺตสมฺภูตา บทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงกระทำอุปมา ซึ่งส่องถึงเนื้อความนั้น จึงตรัสว่า นิโคฺรธสฺเสว ขนฺธชา

เหมือนย่านไทรเกิดแต่ต้นไทรฉะนั้น ย่านทั้งหลายเกิดแล้วที่ลำต้นทั้งหลาย

ในต้นไทรนั้น ชื่อว่าเกิดแล้วแต่ลำต้น.

คำว่า ขนฺธชา เป็นชื่อของย่านไทรทั้งหลาย.

ถามว่า ท่านกล่าว อธิบายไว้อย่างไร.

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ย่านไทรทั้งหลาย ชื่อว่าเกิดแล้ว

แต่ลำต้นของต้นไทร. เมื่อยางเหนียวแห่งรสอันเกิดแต่น้ำยังมีอยู่ ก็ย่อมเกิด

ขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้น ก็ย่อมเจริญขึ้น ในประเภทแห่งกิ่งทั้งหลายเหล่านั้น ๆ

ที่ต้นไทรนั้นเอง ฉันใด กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเหล่านี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เมื่อความเสน่หาคือตัณหาในภายในยังมีอยู่ ก็เกิดขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้น ก็ย่อม

เจริญขึ้นในทวาร อารมณ์ และวัตถุทั้งหลาย อันต่างด้วยประเภทมีจักษุเป็นต้น

เหล่านั้น ๆ ในอัตภาพนั้นนั่นเอง. คำว่า กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเหล่านี้

เกิดแต่อัตภาพ เกิดจากอัตภาพ และมีอัตภาพเป็นสมุฏฐานดังนี้. นี้ บัณฑิต

พึงทราบ ดังพรรณนามา.

ส่วนในคาถากึ่งที่เหลือ มีการพรรณนาเนื้อความ ซึ่งอธิบายรวม ๆ

กันทั้งหมด ดังต่อไปนี้ :-

ก็กิเลสทั้งหลายเหล่านี้เป็นอันมาก ซึ่งเกิดแล้วในตนอย่างนี้ ซ่านไป

แล้วในกามทั้งหลาย คือว่า กิเลสทั้งหลายเหล่านี้แม้ทั้งสิ้น โดยประการทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 208

คือ ตัวราคะซึ่งเกิดขึ้นในตน ด้วยอำนาจแห่งกามคุณ ๕ ก็ดี โทสะซึ่งเกิดขึ้น

ในตนด้วยอำนาจแห่งอาฆาตวัตถุเป็นต้นก็ดี กิเลสทั้งหลายมีความไม่พอใจ

เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นในตนด้วยอำนาจแห่งประเภทแห่งกิเลสนั้น ๆ นั่นเองก็ดี

มีเป็นอันมาก คือมีอเนกประการ ซ่านไปแล้ว คือติดแล้ว ข้องแล้ว เกี่ยว

พันไว้ดำรงอยู่แล้ว โดยประการนั้น ๆ ในวัตถุกามทั้งหลายเหล่านั้น ๆ ด้วย

สามารถแห่งวัตถุ ทวาร และอารมณ์เป็นต้น.

ถามว่า เหมือนกับอะไร.

ตอบว่า เหมือนกับเถาย่านทราย ปกคลุมแล้วในป่า. (ธรรมดาว่า)

เถาย่านทรายทั้งหลาย ซึ่งปกคลุมอยู่แล้วในป่า ย่อมเป็นเถาวัลย์ซึ่งรึงรัด คือ

เกี่ยวเกาะ คล้องเอาไว้ รึงรัดเอาไว้ ที่ต้นไทรทั้งหลาย อันต่างด้วยกิ่งน้อย

และกิ่งใหญ่ทั้งหลาย เป็นต้น ดำรงอยู่แล้ว ฉันใด สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่กิเลสนั้น เกิดจากเหตุอะไร. ที่ซ่านไปในวัตถุกามทั้งหลาย

ซึ่งมีมากประเภทอย่างนี้. ดูก่อนยักษ์ ท่านจงฟัง สัตว์เหล่านั้นย่อมบรรเทา

ซึ่งหมู่กิเลสนั้นเสียได้ว่าเหตุเป็นแดนเกิด ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโตนิทาน เป็นการแสดงถึงนปุงสกลิงค์.

ด้วยคำว่า ยโตนิทาน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไรไว้. สัตว์-

เหล่าใดย่อมรู้หมู่แห่งกิเลสนั้นอย่างนี้ว่า เกิดจากเหตุอะไร สัตว์เหล่านั้น

รู้ซึ่งหมู่แห่งกิเลสนั้นว่า ย่อมเกิดขึ้นในอัตภาพซึ่งเยื่อใยแล้วด้วยยางเหนียว

คือตัณหา แล้วชำระยางเหนียวคือตัณหานั้นเสีย ด้วยไฟคือภาวนาญาณ มี

อาทีนวานุปัสสนาเป็นต้น ย่อมบรรเทา ได้แก่ย่อมละ คือว่า ย่อมทำให้สิ้นสุด

ดูก่อนยักษ์ ท่านจงฟังสุภาษิตนั้นของเราทั้งหลาย. ในคำว่า ยโตนิทาน นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง การกำหนดรู้ทุกข์ ด้วยการทราบชัดซึ่งอัตภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 209

และซึ่งการละสมุทัย ด้วยการบรรเทาหมู่แห่งกิเลส มีราคะเป็นต้น อันเป็น

ยางเหนียวคือตัณหา สัตว์เหล่าใดย่อมบรรเทาหมู่แห่งกิเลสนั้นเสียได้ สัตว์

เหล่านั้นชื่อว่า ย่อมข้ามพ้นโอฆะอันข้ามได้โดยยาก คือ ที่ตนยังไม่เคยข้าม.

ด้วยบทว่า อปุนพฺภวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงมรรคภาวนา

และการทำนิโรธให้แจ้ง อธิบายว่า ก็สัตว์เหล่าใด ย่อมบรรเทาหมู่แห่งกิเลส

นั้นเสียได้ สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า อบรมมรรคโดยแท้ ด้วยว่าหากเว้นจาก

มรรคภาวนาเสียแล้ว การบรรเทากิเลสจะมีไม่ได้ และสัตว์เหล่าใดอบรมมรรค

อยู่ สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าย่อมข้ามโอฆะ แม้ทั้ง ๔ อย่าง มีกามโอฆะเป็นต้น

นี้เสียได้ ด้วยญาณปกติ ที่ข้ามได้โดยยาก จริงอยู่ การข้ามโอฆะจะมีได้

ก็เพราะมรรคภาวนา.

บทว่า อติณฺณปุพฺพ ได้แก่ ที่ตนยังไม่เคยข้ามไป แม้ในที่สุดแห่ง

ความฝัน โดยระยะกาลอันยาวนานนี้.

บทว่า อปุนพฺภวาย ได้แก่ เพื่อพระนิพพาน.

ยักษ์ที่เป็นสหายกันแม้ทั้งสองเหล่านั้น ฟังถ้อยคำที่แสดงสัจจะ ๔

ประการนี้ ดังนี้ ก้าวเข้าไปอยู่โดยลำดับ ด้วยปัญญาที่ตนอบรมดีแล้วอย่างไร

ดังคำเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงจำธรรมไว้ได้ ย่อมเข้าไป

ใคร่ครวญอรรถแห่งธรรมที่ตนทรงจำไว้ได้แล้ว ดังนี้ ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

ในที่สุดแห่งคาถานั้นเอง เป็นผู้มีความเลื่อมใส และเป็นผู้มีผิวพรรณเพียง

ดังทอง ประดับด้วยอลังการอันเป็นทิพย์น่าเลื่อมใส.

จบการพรรณนาสูจิโลมสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 210

ธรรมจริยสูตรที่ ๖

ว่าด้วยการประพฤติธรรม

[๓๒๑] พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าว

ความประพฤติทั้งที่เป็นโลกิยะ และโลกุตระ

ทั้งสองอย่างนี้ คือ ธรรมจริยาและ

พรหมจรรย์ ว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่อันสูงสุด

ถึงแม้บุคคลออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต

ถ้าบุคคลนั้น เป็นชาติปากกล้า ยินดี

แล้วในความเบียดเบียนแสวงหาอยู่ ความ

เป็นอยู่ของบุคคลนั้นเลวทราม ย่อมยังกิเลส

ธุลีมีราคะเป็นต้นของตนให้เจริญ.

ภิกษุยินดีแล้วในความทะเลาะ ถูก

ธรรมคือโมหะหุ้มห่อแล้ว ย่อมไม่รู้ธรรมที่

พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

แม้อันเหล่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักบอก

แล้ว ภิกษุผู้ถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ทำตนที่

อบรมแล้วให้ลำบากอยู่ ย่อมไม่รู้ความ

เศร้าหมอง ย่อมไม่รู้ทางอันให้ถึงนรก.

๑. อรรถกถาเป็น กปิลสูตร. ๒. แปลจาก มโค ตามยุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 211

เมื่อไม่รู้ก็เข้าถึงวินิบาต จากครรภ์

เข้าถึงครรภ์ จากที่มืดเข้าถึงที่มืด ภิกษุผู้เช่น

นั้นแล ละไปแล้ว ย่อมเข้าถึงความทุกข์

ก็บุคคลใดผู้มีการงานเศร้าหมองเห็นปานนี้

ตลอดกาลนาน พึงเป็นผู้เต็มแล้วด้วยบาป

เหมือนหลุมคูถที่เต็มอยู่นานปี พึงเป็นหลุม

เต็มด้วยคูถ ฉะนั้น.

บุคคลนั้นเป็นผู้มีกิเลสเครื่องยียวน

หมดจดได้โดยยาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายจงรู้จักบุคคลผู้อาศัยเรือน ผู้มี

ความปรารถนาลามก ผู้มีความดำริลามก

ผู้มีอาจาระและโคจรลามกเห็นปานนี้.

เธอทั้งปวงพึงเป็นผู้พร้อมเพรียงกัน

เว้นบุคคลนั้นเสีย จงกำยัดบุคคลผู้เป็นเพียง

ดังแกลบ จงคร่าบุคคลผู้เป็นเพียงดัง

หยากเหยื่อออกเสีย แต่นั้นจงขบบุคคลลีบผู้

ไม่ใช่สมณะ แต่มีความสำคัญว่าเป็นสมณะ

ไปเสีย.

ครั้นกำจัดบุคคลผู้มีความปรารถนา

ลามก มีอาจาระและโคจรลามกออกไปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 212

เธอทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้ว มีความเคารพกัน

และกัน จงสำเร็จการอยู่ร่วม ด้วยบุคคลผู้

บริสุทธิ์ทั้งหลาย แต่นั้น เธอทั้งหลายผู้

พร้อมเพรียงกัน มีปัญญาเครื่องรักษาตน

จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

จบธรรมจริยสูตรที่ ๖

อรรถกถาปิลสูตรที่ ๖

กปิลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ธมฺมจริย ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการอุบัติขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีการอุบัติขึ้นดังต่อไปนี้ :-

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะเสด็จปรินิพพานแล้วโดยนัย

ที่กล่าวแล้วในหมวดสูตรนั่นแล กุลบุตร ๒ พี่น้องออกบวชในสำนักแห่งสาวก

ทั้งหลาย ผู้พี่ชื่อว่า โสธนะ ผู้น้องชื่อว่า กปิละ ท่านทั้งสองมีมารดาชื่อ

ว่า สาธนี มีน้องสาวชื่อว่า ตาปนา ทั้งมารดาและน้องสาวนั้นบวชในสำนัก

นางภิกษุณี ต่อแต่นั้นภิกษุแม้ทั้งสองเหล่านั้น ก็เรียนถามว่า ข้าแต่ท่านผู้

เจริญ ในพระศาสนามีธุระอยู่กี่อย่าง ดังนี้ ฟังคำตอบแล้วโดยนัยอันข้าพเจ้า

กล่าวแล้วในเหมวดสูตรนั้นแล. ในบรรดาพระภิกษุทั้งสองนั้น พระผู้พี่

คิดว่า เราจะบำเพ็ญวาสธุระ (ธุระเป็นเครื่องอบรมตน) ดังนี้แล้วก็อยู่ใน

๑. บาลีว่า ธรรมจริยสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 213

สำนักของอุปัชฌาย์และอาจารย์ทั้งหลายเป็นเวลา ๕ ปี มีพรรษา ๕ ฟังกรรม-

ฐานจนถึงอรหัตแล้วจึงเข้าไปสู่ป่า พยายามอยู่ก็ได้บรรลุพระอรหัต.

พระกปิละคิดว่า เรายังหนุ่มอยู่ก่อน ในเวลาแก่แล้วเราจะบำเพ็ญแม้

วาสธุระดังนี้แล้ว ก็เริ่มคันถธุระ ได้เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกแล้ว พระกปิละ

นั้นมีบริวาร เพราะอาศัยปริยัติ เพราะอาศัยบริวาร ลาภก็เกิดขึ้น พระกปิละ

นั้นเมาด้วยการเมาในการที่ตนเป็นพาหุสัจจะ สำคัญตนว่าเป็นบัณฑิต มีความ

สำคัญว่าตนรู้ แม้ในสิ่งที่ตนยังไม่รู้ กล่าวสิ่งที่เป็นกัปปิยะที่ภิกษุเหล่าอื่นกล่าว

แล้วว่าเป็นอกัปปิยะ แม้สิ่งที่เป็นอกัปปิยะว่าเป็นกัปปิยะ แม้สิ่งที่มีโทษว่าไม่

มีโทษ แม้สิ่งที่ไม่มีโทษว่ามีโทษ.

ต่อแต่นั้น พระกปิละนั้น อันภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักโอวาทอยู่

โดยนัยว่า คุณกปิละ คุณอย่าได้พูดอย่างนี้ ดังนี้เป็นต้น ก็เที่ยวขู่ตะคอกภิกษุ

ทั้งหลายด้วยคำทั้งหลายว่า พวกท่านเหมือนกับคนมีกำมือเปล่า จะรู้อะไร ดังนี้

เป็นต้นอยู่นั้นแล ภิกษุทั้งหลายได้บอกเรื่องนี้ แม้แก่พระโสธนเถระผู้เป็นพี่

ชายของท่าน แม้พระโสธนเถระนั้นก็ได้เข้าไปหาพระกปิละนั้นแล้วพูดว่า คุณ

กปิละ การปฏิบัติชอบของภิกษุทั้งหลายเช่นคุณเป็นอายุของพระศาสนา ดูก่อน

อาวุโส คุณอย่าได้พูดแม้สิ่งที่เป็นกัปปิยะ ฯลฯ สิ่งที่มีโทษว่าไม่มีโทษ. พระ

กปิละนั้นก็ไม่สนใจคำของพระโสธนเถระผู้เป็นพี่ชายแม้นั้น. ลำดับนั้น พระ

โสธนเถระได้กล่าวกะพระกปิละขึ้น ๒-๓ ครั้งว่า

ผู้อนุเคราะห์จะพึงพูดคำหนึ่ง หรือ

๒ คำ ไม่พึงพูดให้มากไปกว่านั้น (เพราะ

ว่าถ้าท่านผู้อนุเคราะห์จะพึงกล่าวให้มากไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 214

กว่านั้น) จะพึงมีโทษในสำนักของพระ

อริยะได้ ดังนี้

แล้วก็งดเว้นเสีย (หยุดพูด) แล้วจึงกล่าวว่า อาวุโส คุณนั้นเองจะปรากฏ

ด้วยกรรมของคุณ ดังนี้แล้วก็หลีกไป จำเดิมแต่นั้นมา ภิกษุทั้งหลายที่มีศีล

เป็นที่รัก ก็ทอดทิ้งพระกปิละนั้นเสีย.

พระกปิละนั้นเป็นผู้ประพฤติชั่ว มีภิกษุประพฤติชั่วแวดล้อมอยู่ วัน

หนึ่งคิดว่า เราจะลงอุโบสถ แล้วก็ขึ้นสู่อาสนะอันประเสริฐ จับพัด

อันวิจิตร พอนั่งลงก็พูดขึ้น ๓ ครั้งว่า อาวุโสทั้งหลาย ปาติโมกข์ย่อมควร

แก่ภิกษุทั้งหลายในที่นี้หรือ. ครั้งนั้น แม้ภิกษุรูปหนึ่งก็ไม่ได้พูดว่า ปาติโมกข์

ย่อมควรแก่ข้าพเจ้า ทั้งก็ไม่ได้พูดว่าปาติโมกข์ย่อมควรแก่พระกปิละนั้น หรือ

แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น. ลำดับนั้นพระกปิละนั้นก็พูดว่า เมื่อปาติโมกข์พวก

เราฟังก็ดี ไม่ฟังก็ดี ชื่อว่าวินัยไม่มีหรอก ดังนี้แล้วก็ลุกขึ้นจากอาสนะ

พระกปิละนั้น ทำพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่ากัสสปะให้

เสื่อมถอย คือให้พินาศแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ครั้งนั้น พระโสธนเถระก็ได้ปรินิพพานในวันนั้นนั่นเอง. พระกปิละ

แม้นั้นทำศาสนานั้นให้เสื่อมถอยลงไปอย่างนี้แล้ว เมื่อถึงแก่กรรม ก็บังเกิด

ในอเวจีมหานรก มารดาและน้องสาวของท่านแม้นั้นถึงทิฏฐานุคติของพระ

กปิละนั้นนั่งเอง ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายที่มีศีลเป็นที่รัก ทำกาละแล้วก็บังเกิด

ในนรก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 215

ก็ในกาลครั้งนั้นนั่นแล บุรุษประมาณ ๕๐๐ คน ทำบาปกรรมทั้งหลาย

มีการฆ่าชาวบ้านเป็นต้น เลี้ยงชีวิตด้วยความเป็นโจร ถูกมนุษย์ชาวชนบท

ติดตามหนีไปอยู่ ได้เข้าไปสู่ป่า ไม่เห็นที่กำบังหรือที่นั่งอะไรในป่านั้น ได้

เห็นภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรรูปหนึ่ง ซึ่งอยู่ในประเทศไม่ไกล ไหว้แล้วก็กล่าวว่า

ท่านขอรับ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของพวกกระผม. พระเถระกล่าวว่า ที่พึ่งเช่น

กับศีลสำหรับท่านทั้งหลายไม่มี ขอให้ท่านทุกคนจงสมาทานเบญจศีล โจร

เหล่านั้นรับคำแล้วก็สมาทานศีล. พระเถระกล่าวว่า บัดนี้พวกท่านเป็นผู้มีศีล

แล้ว เมื่อท่านทั้งหลายแม้ถูกปลงชีวิตของตนให้พินาศอยู่ ท่านทั้งหลายอย่า

ได้ประทุษร้ายใจ(อย่าโกรธ) พวกโจรเหล่านั้นรับคำแล้ว.

ครั้งนั้น ชาวชนบทเหล่นั้นมาถึงแล้วก็มองหาอยู่ ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้

บ้าง ก็ได้พบโจรเหล่านั้นแล้วพากันปลงชีวิตเสียสิ้นทุกคน. โจรเหล่านั้นกระ

ทำกาละแล้วบังเกิดในกามาวจรเทวโลก บรรดาโจรเหล่านั้น โจรผู้เป็นหัวหน้า

ได้เป็น เทพบุตรผู้เป็นหัวหน้า โจรนอกนี้ได้เป็นบริวารของเทพบุตรผู้เป็น

หัวหน้านั่นเอง ท่านเหล่านั้นท่องเที่ยวกลับไปกลับมาอยู่ ให้พุทธันดรหนึ่งสิ้น

ไปในเทวโลก แล้วเคลื่อนจากเทวโลกในกาลแห่งพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย

เทพบุตรผู้เป็นหัวหน้าได้ถือปฏิสนธิในท้องแห่งภรรยาของชาวประมง ผู้เป็น

หัวหน้าสกุล ๕๐๐ สกุล ในบ้านชาวประมงซึ่งมีอยู่ที่ประตูเมืองสาวัตถี เทพบุตร

พวกนี้ ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของภรรยาของชาวประมงที่เหลือทั้งหลาย เขา

เหล่านั้นได้ถือปฏิสนธิและออกจากครรภ์ในวันเดียวกันนั้นเอง ด้วยประการ

ฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 216

ต่อมา หัวหน้าชาวประมงคิดอยู่ว่า ในบ้านนี้เด็กทั้งหลายแม้เหล่าอื่น

ซึ่งเกิดในวันนี้มีอยู่หรือหนอแล ได้พบทารกเหล่านั้นแล้วก็คิดว่า เด็กเหล่านี้

จักเป็นสหายของบุตรของเรา แล้วจึงได้ให้วัตถุที่ควรเลี้ยงดูแก่เด็กเหล่านั้นทุก

คน เด็กเหล่านั้นทั้งหมดเป็นสหายเล่นฝุ่นด้วยกัน ได้ถึงความเจริญวัยโดยลำดับ

เด็กชื่อว่าโสชะเป็นผู้เลิศกว่าเด็กเหล่านั้น.

ครั้งนั้น แม้ภิกษุชื่อว่ากปิละก็มาเกิดเป็นปลาสเหมือนทอง แต่ปาก

เหม็น ในแม่น้ำอจิรวดี ด้วยเศษกรรมที่เหลือลงในนรก ต่อมาวันหนึ่ง เด็ก

ชาวประมงเหล่านั้นทั้งหมด ถือเอาแห (อวน) แล้วคิดว่า เราจักฆ่าปลาทั้งหลาย

แล้วจึงไปที่แม่น้ำเหวี่ยงแหลงไป ปลานั้นเข้าไปสู่แหของชาวประมงเหล่านั้น

หมู่บ้านชาวประมงทั้งหมดเห็นปลานั้นแล้ว ก็พากันพูดเสียงดังลั่น พากันพูดว่า

บุตรของพวกเราจับปลาทั้งหลายครั้งแรก ๆ ก็จับได้ปลาทอง ความเจริญจักมี

แก่เด็ก ๆ เหล่านั้น และบัดนี้พระราชาคงพระราชทานทรัพย์มากแก่เรา

ทั้งหลาย.

ครั้งนั้น สหายทั้ง ๕๐๐ คนแม้เหล่านั้น เอาปลาลงใส่ในเรือแล้วยก

เรือขึ้นได้ไปสู่สำนักของพระราชา พระราชาทอดพระเนตรแล้วตรัสว่า นั่นอะไร

สหาย พวกเขาทูลว่า ปลา พระเจ้าข้า พระราชาทอดพระเนตรเห็นปลาสีทองก็

ทรงดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงทราบเหตุที่ปลานี้มีสีทอง ดังนี้แล้วจึง

รับสั่งให้ถือปลาแล้วได้เสด็จไปยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาที่ปลา

อ้าปากขึ้น พระเชตวันก็มีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง. พระราชาทูลถามพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะเหตุไร ปลาจึงเกิดเป็นปลามีสีทอง และ

เพราะเหตุไร กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของปลานั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 217

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มหาบพิตร ปลานี้เป็นภิกษุพหูสูต ผู้เรียน

จบปริยัติ ชื่อว่า กปิละ ในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ

เป็นผู้ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายซึ่งไม่เชื่อถ้อยคำของตน เป็นผู้ทำศาสนาของพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าให้เสื่อมไป เพราะกรรมที่เธอทำพระศาสนาของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระองค์นั้นให้เสื่อมไป เธอจึงบังเกิดในอเวจีมหานรก และก็มาเกิดเป็น

ปลาในบัดนี้ ด้วยเศษแห่งวิบาก ด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรมที่เธอได้กล่าว

พุทธพจน์ สรรเสริญพระพุทธเจ้าเป็นเวลานาน เธอจึงได้วรรณะเช่นนี้ เพราะ

เหตุที่เธอได้ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปากของปลานั้น

มหาบพิตร ตถาคตจะให้ปลานั้นพูด.

พระเจ้าปเสนทิโกศลทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระพุทธเจ้าข้า.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามปลานั้นว่า เจ้าคือกปิละหรือ. ปลาตอบ

ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกแล้วพระพุทธเจ้าข้า ข้าพระองค์ชื่อว่ากปิละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า เธอมาจากไหน. ปลาตอบว่า ข้าพระองค์มาจาก

อเวจีมหานรกพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า พระโสธนะไปไหน.

ปลาตอบว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระโสธนะปรินิพพานเเล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า นางสาธนีไปไหน. ปลาตอบว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นางสาธนีเกิดในนรก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ว่า นางตาปนาไปไหน. ปลาทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นางตาปนาเกิด

ในมหานรก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า บัดนี้เจ้าจักไปไหน. ปลาตอบว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จักไปสู่มหานรก. ในทันใดนั่นเองปลานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 218

อันความวิปฏิสารครอบงำ ใช้ศีรษะฟาดเรือแล้วก็ตายไปเกิดในมหานรก มหา-

ชนเกิดความสังเวช ขนลุกชูชัน. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระธรรม

อันสมควรแก่ขณะนั้น ในบริษัท ซึ่งมีทั้งคฤหัสถ์เเละบรรพชิตที่มาพร้อมกัน

ได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว.

การประพฤติธรรมมีกายสุจริตเป็นต้น ชื่อว่า ธมฺมจริย ในพระคาถา

นั้น. มรรคพรหมจรรย์ ชื่อว่า พฺรหฺมจริย.

บาทพระคาถาว่า เอตทาหุ วสุตฺตม ความว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย

กล่าวถึงการประพฤติสุจริตทั้งที่เป็นโลกีย์และโลกุตระแม้ทั้งสองนี้ว่า เป็นสมบัติ

สูงสุด เพราะยังสัตว์ให้ประสบความสุขในสวรรค์และนิพพาน อธิบายว่า รัตนะ

อันอุดมคือรัตนะที่ไม่ทั่วไปแก่ชนทั้งหลายมีพระราชาเป็นต้น เพราะเป็นรัตนะ

ที่สามารถติดตามชนทั้งหลายผู้สั่งสมบุญไว้ ชื่อว่า วสุตตมะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงแสดงว่าการปฏิบัติชอบเท่านั้นย่อมเป็นที่พึ่ง

ของคฤหัสถ์เเละบรรพชิตได้ ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ บัดนี้เมื่อจะทรงติเตียน

พระภิกษุชื่อกปิละหรือภิกษุผู้เช่นนั้นเหล่าอื่น ด้วยการแสดงความไม่มีสาระใน

บรรพชา ที่เว้นจากการปฏิบัติจึงตรัสว่า ปพฺพชิโตปิ เจ โหติ เป็นต้น.

ในคำว่า. ปพฺพชิโตปิ เจ โหติ นี้ มีการพรรณนาเนื้อความดังต่อ

ไปนี้ :-

ก็ผู้ใดผู้หนึ่งสละเพศคฤหัสถ์ ถ้าแม้บวชด้วยการบวชไม่มีเรือนจาก

เรือน มีเนื้อความตามที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้น ด้วยการเข้าถึงเหตุสักว่า

การปลงผมและการนุ่งผ้าย้อมฝาดเป็นต้น ถ้าหากว่าเป็นคนปากกล้า คือว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 219

ผู้พูดคำหยาบ ยินดีในการเบียดเบียน เพราะพอใจในการเบียดเบียนอันมีประ

การต่าง ๆ เป็นผู้ประดุจเนื้อร้าย เพราะเป็นผู้เช่นกับเนื้อร้าย เพราะไม่มีหิริ

โอตตัปปะ

บาทคาถาว่า ชีวิต ตสฺส ปาปิโย ความว่า ชีวิตของบุคคลนั้น คือ

ผู้เห็นปานนั้น เป็นบาปยิ่ง คือ เลวยิ่ง.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะทำธุลีมีประการต่าง ๆ มีราคะเป็นต้นของตนให้เจริญ

ขึ้น ด้วยการปฏิบัติผิดนี้. ก็ชีวิตของบุคคลนั้นจะเป็นชีวิตที่ชั่ว ด้วยเหตุนี้

อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ แต่โดยที่แท้บุคคลเห็นปานนี้ นี้ ได้แก่ภิกษุที่

ยินดีในการทะเลาะ เพราะเป็นคนมีปากจัด ถูกโมหะธรรมรึงรัดแล้ว เพราะ

ถึงความงมงายในการที่จะรู้แจ้งซึ่งอรรถแห่งสุภาษิต ย่อมไม่ทราบแม้ซึ่งคำที่

ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รักกล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านกปิละผู้มี

อายุ ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้. จงยึดถือเรื่องนั้นโดยปริยายนี้ ไม่รู้จักพระธรรม

ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ คือไม่รู้จักพระธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้ แม้ตน

จะกล่าวอยู่โดยประการต่าง ๆ แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ชีวิตของภิกษุนั้นชื่อว่าเป็น

ชีวิตชั่ว (เพราะว่า) ในครั้งนั้น ภิกษุเห็นปานนี้นั้น เพราะเหตุที่ตนพอใจใน

การเบียดเบียน เมื่อเบียดเบียนอยู่ซึ่งตนที่อบรมแล้ว คือว่าเบียดเบียนอยู่ซึ่ง

ภิกษุขีณาสพผู้มีตนอันอบรมแล้ว มีพระโสธนเถระเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า

" ท่านทั้งหลายซึ่งบวชเมื่อแก่เฒ่า ย่อมไม่รู้พระวินัย ไม่รู้พระสูตร ไม่รู้

พระอภิธรรม" ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 220

ก็คำว่า วิเหย นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบถึงพระบาลีที่เหลือว่า วิเหส ภาวิตตฺตาน

กโรนฺโต โดยนัยที่กล่าวเเล้ว ฉัฏฐีวิภัตติย่อมสำเร็จโดยนิปปริยายอย่างนี้.

บาทคาถาว่า อวิชฺชาย ปุรกฺขโต ความว่า ผู้ถูกอวิชชามีการ

ปกปิดการเห็นโทษเป็นต้น ในการเบียดเบียนตนที่อบรมแล้ว กระทำไว้ใน

เบื้องหน้า จึงไม่รู้จักสังกิเลส โดยการพิฆาตจิตในปัจจุบันอันเป็นไปแล้ว

โดยการเบียดเบียนตนที่อบรมแล้ว ของบรรพชิตที่เหลือทั้งหลาย และไม่รู้จัก

ทางที่จะไปสู่นรก โดยกระทำตนให้เข้าถึงนรกต่อไป ก็เมื่อไม่รู้ก็เข้าถึงวินิบาต

อันต่างด้วยอบายทั้ง ๔ โดยทางนั้น และในวินิบาตนั้น เข้าสู่ครรภ์จากครรภ์

สู่ที่มืดจากที่มืด คืออยู่ในครรภ์มารดาในหมู่สัตว์หนึ่ง ๆ สิ้นร้อยครั้งบ้าง

พันครั้งบ้าง และจากความมืดคืออสุรกายสู่ความมืด แม้ดวงจันทร์และดวง

อาทิตย์ก็ไม่อาจขจัดได้ ภิกษุเช่นนั้นนั่นแลละไปแล้ว คือไปจากโลกนี้สู่ปรโลก

แล้ว ก็เข้าถึงทุกข์มีประการต่าง ๆ ดุจปลาชื่อว่ากปิละนี้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เหมือนหลุมคูถพึงเป็นหลุมหมักหมมอยู่นานปีเต็มเปี่ยมด้วย

คูถนั้น (คือว่า) เปรียบเหมือนหลุมคูถในวัจจกุฎี หมักหมมอยู่นานปี คือ

สิ้นปีเป็นอเนก พึงเต็มบริบูรณ์อยู่ด้วยคูถถึงขอบปากเป็นเวลาหลายปี หลุมคูถ

นั้นแม้อันบุคคลล้างอยู่ด้วยน้ำตั้งร้อยหม้อ ตั้งพันหม้อ ก็ล้างให้สะอาดได้ยาก

เพราะขจัดกลิ่นเหม็นและสีน่าเกลียดให้ปราศจากไปได้ยาก ฉันใด บุคคลเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 221

ปานนี้ใด พึงเป็นผู้มีการงานเศร้าหมอง สิ้นกาลนานเหมือนหลุมคูถ เป็น

บุคคลที่เต็มไปด้วยบาป เพราะเพียบพร้อมไปด้วยคูถคือบาป ก็บุคคลเห็น

ปานนี้นั้น ผู้มีการงานอันเศร้าหมอง เป็นผู้ชำระให้สะอาดได้โดยยาก แม้จะ

เสวยวิบากแห่งกิเลส (เพียงดังนั้น) นั้น สิ้นกาสนาน ก็หาบริสุทธิ์ได้ไม่

ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ภิกษุเช่นนั้นนั่นแลละไปแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์

สิ้นกาลนาน แม้ประมาณมิได้โดยการนับปี.

อีกอย่างหนึ่ง ในคาถานี้มีสัมพันธ์ดังต่อไปนี้.

ในบาทพระคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุผู้เช่นนั้นแล

ละไปแล้วย่อมเข้าถึงทุกข์ ดังนี้ จะพึงมีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็ภิกษุนี้

ท่านทั้งหลายสามารถจะกระทำโดยประการที่ละไปแล้วจะไม่เข้าถึงทุกข์ได้หรือไม่

ตอบว่า ไม่สามารถ

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะภิกษุนี้เปรียบเหมือนหลุมคูถที่เต็มอยู่นานปี ก็พึงเป็น

หลุมที่เต็มด้วยคูถ ดังนี้.

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงไว้ก่อนทีเดียวว่า ภิกษุทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายจงรู้จักบุคคลเห็นปานนั้นผู้อาศัยเรือน คือว่าพึงทราบบุคคลเห็น

ปานนั้นผู้อาศัยกามคุณทั้ง ๕ ผู้ชื่อว่ามีความปรารถนาลามก เพราะประกอบ

ด้วยความปรารถนาลามก อันเป็นไปโดยอาการคือการปรารถนาคุณที่ไม่มีจริง

ผู้ชื่อว่ามีความดำริชั่ว เพราะประกอบด้วยความดำริทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น

ผู้ชื่อว่ามีความประพฤติชั่ว เพราะประกอบด้วยความประพฤติชั่ว มีการประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 222

ล่วงศีลอันเป็นไปทางกายเป็นต้น และอันต่างด้วยประเภทมีการให้ไม้ไผ่เป็นต้น

(เพื่อประจบชาวบ้าน) ผู้ชื่อว่า การโคจรอันชั่ว เพราะการท่องเที่ยวไปในที่ไม่

ดี ในที่ไม่สมควร มีสำนักหญิงแพศยาเป็นต้น ท่านทั้งหลายทั้งปวง จงเป็น

ผู้สามัคคีกัน เว้นบุคคลนั้นเสีย และอย่าถึงความขวนขวายน้อย ด้วยเหตุสักว่า

การเว้นภิกษุนั้นเท่านั้น แต่โดยแท้แล ท่านทั้งหลายจงกำจัดบุคคลนั้น ผู้เป็น

เพียงดังแกลบ จงคร่าบุคคลผู้เป็นดังหยากเยื่อออกเสีย คือว่าจงคร่าบุคคล

ผู้เป็นเพียงดังหยากเยื่อนั้นโดยไม่ต้องไยดีประดุจหยากเยื่อ และจงคร่าบุคคล

ผู้เป็นดังแกลบ ประดุจราชบุรุษคร่าคนจัณฑาลซึ่งเป็นโรคเรื้อมีแผลแตกไหล

ออก ผู้เข้าไปในท่ามกลางแห่งกษัตริย์เป็นต้น คือว่าท่านทั้งหลายจงจับบุคคล

นั้นที่มือหรือที่ศีรษะแล้วคร่าออกไป เหมือนอย่างท่านพระมหาโมคคัลลานะ

จับปาปบุคคลนั้นที่แขนดึงออกไปจากซุ้มประตูภายนอกแล้วใส่ลูกดาล (กุญแจ)

เสีย. แม้ฉันใด ท่านทั้งหลายก็จงคร่าบุคคลนั้นเสียฉันนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า ชื่อว่าสังฆารามเขาสร้างไว้สำหรับผู้มีศีลทั้งหลาย ไม่ได้สร้าง

ไว้สำหรับภิกษุทั้งหลายที่ทุศีล. ต่อแต่นั้นไป ท่านทั้งหลายจงขับบุคคลลีบ

ผู้ไม่ใช่สมณะซึ่งถือตัวว่าเป็นสมณะออกไปเสีย เหมือนอย่างว่า ข้าวลีบทั้งหลาย

แม้ปราศจากข้าวสารในภายใน แต่ก็ปรากฏเหมือนข้าวเปลือก เพราะมีแกลบ

อยู่ข้างนอก ฉันใด ปาปภิกษุทั้งหลายก็ฉันนั้น แม้เว้นจากคุณสมบัติมีศีล

เป็นต้นในภายใน แต่ก็ปรากฏเหมือนกับภิกษุ ด้วยบริขารมีผ้ากาสาวะเป็นต้น

ในภายนอก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า ปลาปา คนลีบ ท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 223

จงคร่าบุคคลลีบเหล่านั้นเสีย คือจงโปรยไป ได้แก่งกำจัดบุคคลลีบเหล่านั้น

เสีย ซึ่งไม่ใช่สมณะโดยปรมัตถ์ แต่สำคัญตนว่าเป็นสมณะ ในภาวะสักว่าเพศ

ครั้นกำจัดผู้มีความปรารถนาลามก ผู้มีอาจาระและโคจรอันลามกได้แล้วอย่างนี้

เธอทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้ว มีความเคารพกันและกัน จงสำเร็จการอยู่ร่วมด้วย

บุคคลผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กปฺปยฺวโห ความว่า จงสำเร็จ มีคำ

ที่ท่านกล่าวอธิบายว่า จงกระทำ.

บทว่า ปฏิสฺสตา ได้แก่ มีความเคารพ มีความยำเกรงกันและกัน.

บาทคาถาว่า ตโต สมคฺคา นิปกา ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสถ ความว่า

เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านทั้งหลายผู้บริสุทธิ์แล้วอย่างนี้ สำเร็จอยู่ซึ่งการอยู่ร่วมกับ

ผู้บริสุทธิ์ทั้งหลาย เป็นผู้พร้อมเพรียงกันโดยความเป็นผู้มีทิฏฐิและศีลเสมอกัน

เป็นผู้มีปัญญารักษาคน ด้วยปัญญาที่ถึงความแก่รอบโดยลำดับ ท่านทั้งหลาย

ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ มีทุกข์ในวัฏฏะเป็นต้นนี้ได้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงให้เทศนาจบลงด้วยลงคือพระอรหัตทีเดียวแล.

ในที่สุดแห่งพระเทศนา บุตรชาวประมงจำนวน ๕๐๐ เหล่านั้น

ถึงความสังเวช เมือปรารถนาจะทำที่สุดทุกข์ ได้บรรพชาในสำนักของผู้มี

พระภาคเจ้า ต่อกาลไม่นานเลย ก็ทำที่สุดทุกข์ได้ ได้เป็นผู้มีการบริโภคเป็น

อันเดียวกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการบริโภคธรรมคืออาเนญชวิหารสมาบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 224

ก็อาเนญชวิหารสมบัตินั้น ชื่อว่าเป็นสมาบัติที่มีการบริโภคเป็นอัน

เดียวกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ของภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นอย่างนี้.

ก็สมาบัตินั้น พึงทราบด้วยสามารถแห่ง ยโสชสูตร ที่ข้าพเจ้ากล่าว

ไว้แล้วในอุทานนั้นแหละ ดังนี้แล.

จบ การพรรณนากปิลสูตรแห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 225

พราหมณธัมมิกสูตรที่ ๗

ว่าด้วยพราหมณธรรม

[๓๒๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พราหมณ์

มหาศาลชาวแคว้นโกศลเป็นอันมาก ผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยมา

โดยลำดับ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้สนทนาปราศรัยกับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

บัดนี้ พวกพราหมณ์ย่อมปรากฏในพราหมณธรรมของพวกพราหมณ์เก่าหรือ ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย บัดนี้ พวกพราหมณ์หา

ปรากฏในพราหมณ์ธรรมของพวกพราหมณ์เก่าไม่.

พ. ขอประทานพระวโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดตรัสพราหมณ์

ธรรมของพวกพราหมณ์เก่า แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด ถ้าท่านพระโคดมไม่

มีความหนักพระทัย.

ภ. ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงตั้งใจ จง

ใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสคาถาประพันธ์นี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 226

[๓๒๓] ฤาษีทั้งหลายมีในครั้งก่อน

สำรวมตน มีตบะ ละเบญจกามคุณแล้ว ได้

ประพฤติประโยชน์ของตน ๆ

พวกพราหมณ์แต่เก่าก่อนไม่มีสัตว์

เลี้ยง ไม่มีเงิน ไม่มีสิ่งของต่าง ๆ พราหมณ์

เหล่านั้น มีทรัพย์และข้าวเปลือกอันเป็น

ส่วนแห่งการสาธยายมนต์ ได้รักษาขุมทรัพย์

อันประเสริฐไว้

ภัตที่ประตูเรือน ทายกทั้งหลายเริ่ม

ทำตั้งไว้แล้ว เพื่อพราหมณ์เหล่านั้น ทายก

ทั้งหลายได้สำคัญภัตนั้นว่า เป็นของที่ตน

ควรให้แก่พราหมณ์เหล่านั้น ผู้แสวงหาภัต

ที่เริ่มทำไว้แล้วด้วยศรัทธา

ชาวชนบท ชาวแว่นแคว้น ผู้มั่งคั่ง

ด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ และด้วยที่นอน

และที่อยู่ ได้นอบน้อมพราหมณ์เหล่านั้น

พราหมณ์ทั้งหลายผู้อันธรรมรักษา

แล้ว ใคร ๆ ไม่พึงฆ่า ไม่พึงชนะ ใคร ๆ

ไม่พึงห้ามพราหมณ์เหล่านั้น ที่ประตูแห่ง

สกุลทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 227

พราหมณ์เหล่านั้นประพฤติพรหม-

จรรย์ตั้งแต่เป็นเด็กมาตลอดเวลา ๔๘ ปี ได้

เที่ยวไปแสวงหาวิชชาและจรณะในกาลก่อน

พราหมณ์เหล่านั้นไม่ไปหาหญิงอื่น

ทั้งไม่ซื้อภรรยา อยู่ร่วมกัน เพราะความรัก

ความชอบใจเสมอกันเท่านั้น

พราหมณ์ผู้เป็นสามี ย่อมไม่ร่วมกับ

ภรรยาผู้เว้นจากกระดูก นอกจากสมัยที่ควรจะ

ร่วม พราหมณ์ย่อมไม่ร่วมเมถุนธรรมในระ-

หว่างโดยแท้

พราหมณ์ทั้งหลายสรรเสริญพรหม-

จรรย์ ศีล ความเป็นผู้ซื่อตรง ความอ่อน

โยน ตบะ ความสงบเสงี่ยม และความไม่

เบียดเบียน และแม้ความอดทน

พราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหม ผู้มีความ

บากบั่นมั่นคง เป็นผู้สูงสุดกว่าพราหมณ์

เหล่านั้น และพราหมณ์นั้นย่อมไม่เสพเมถุน-

ธรรมโดยที่สุดแม้ในความฝัน

พราหมณ์บางพวก ผู้มีชาติแห่งบุคคล

ผู้รู้แจ้งในโลกนี้ ศึกษาตามตัววัตรของพราหมณี

ผู้เสมอด้วยพรหมนั้นอยู่ ได้สรรเสริญ

พรหมจรรย์ ศีลและแม้ขันติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 228

พราหมณ์ทั้งหลายขอข้าวสาร ที่นอน

ผ้า เนยใสและน้ำมัน แล้วรวบรวมไว้โดย

ธรรม ได้กระทำยัญ คือทาน แต่วัตถุมีข้าว

สารเป็นต้นที่เขาให้แล้วนั้น

ในยัญที่ตนตั้งไว้ พราหมณ์เหล่านั้น

ไม่ฆ่าแม่โคเลย มารดาบิดา พี่น้องชายหรือ

ญาติเหล่าอื่น มิตรผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ฆ่าแม่โค

ซึ่งเป็นที่เกิดแห่งปัญจโครสอันเป็นยา ฉันใด

แม่โคเหล่านี้ให้ข้าว ให้กำลัง ให้

วรรณะ และให้ความสุข พราหมณ์เหล่านั้น

ทราบอำนาจประโยชน์นี้แล้ว จึงไม่ฆ่าแม่

โคเลย ฉันนั้น

พราหมณ์ทั้งหลายผู้ละเอียดอ่อน มี

ร่างกายใหญ่ มีวรรณะ มียศ ขวนขวายใน

กิจน้อยใหญ่ โดยธรรมของตน ได้ประพฤติ

แล้วด้วยข้อปฏิบัติอันเป็นเหตุให้หมู่สัตว์นี้

ถึงความสุขในโลก

ความวิปลาสได้มีแก่พราหมณ์เหล่า

นั้น เพราะได้เห็นกามสุขอัน (ลามก) น้อย

ที่เกิดขึ้นจากกามคุณอันเป็นของ (ลามก)

น้อย พราหมณ์ทั้งหลายได้ปรารถนาเพ่งเล็ง

สมบัติของพระราชา เหล่านารีที่ประดับดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 229

แล้ว รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ที่สร้างตก

แต่งไว้เป็นอย่างดี มีการขลิบอันวิจิตร พื้น

ที่เรือน เรือนที่สร้างกั้นเป็นห้อง ๆ และโภค

สมบัติซึ่งเป็นของมนุษย์อันโอฬาร เกลื่อน

กล่นไปด้วยฝูงโค ประกอบไปด้วยหมู่นารี

ผู้ประเสริฐ

พราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์ในที่นั้น

แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าโอกกากราชใน

กาลนั้น กราบทูลว่า พระองค์มีทรัพย์และ

ข้าวเปลือกมากมาย ขอเชิญพระองค์ทรง

บูชายัญเถิด พระราชทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

ของพระองค์มีมาก

ลำดับนั้นแล พราหมณ์ทั้งหลายยัง

พระราชาผู้ประเสริฐ ให้ทรงยินยอมบูชา

ยัญ อัสสเมธะ ปุริสเมธะ (สัมมาปาสะ)

วาชเปยยะ นิรัคคฬะ

พระราชาทรงบูชายัญเหล่านี้แล้ว ได้

พระราชาทานทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้งหลาย คือ

แม่โค ที่นอน ผ้า เหล่านารีที่ประดับดีแล้ว

รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ที่สร้างตกแต่งไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 230

เป็นอย่างดี มีการขลิบอันวิจิตร รับสั่งให้

เอาธัญชาติต่าง ๆ บรรจุเรือนที่น่ารื่นรมย์

อันกั้นไว้เป็นห้อง ๆ จนเต็มทุกห้อง แล้วได้

พระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้งหลาย

ก็พราหมณ์เหล่านั้นได้ทรัพย์ในที่

นั้น ชอบใจการสั่งสมเสมอ ตัณหาย่อมเจริญ

ยิ่งแก่พราหมณ์เหล่านั้น ผู้มีความปรารถนา

อันหยั่งลงแล้ว พราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์

ในที่นั้นแล้ว ได้เข้าเฝ้าพระเจ้าโอกกากราช

อีก

กราบทูลว่า แม่โคทั้งหลายเกิดขึ้น

เพื่อประโยชน์สำหรับรับใช้ในสรรพกิจของ

มนุษย์เหมือนน้ำ แผ่นดิน เงิน ทรัพย์ และ

ข้าวเหนียวฉะนั้น เพราะว่าน้ำเป็นต้นนั้นเป็น

เครื่องใช้ของสัตว์ทั้งหลาย ขอพระองค์ทรง

บูชายัญเถิด ราชสมบัติของพระองค์มีมาก

ขอเชิญพระองค์ทรงบูชายัญเถิด พระราช-

ทรัพย์ของพระองค์มีมาก

ลำดับนั้นแล พราหมณ์ทั้งหลายยัง

พระราชาผู้ประเสริฐให้ทรงยินยอมบูชายัญ

แล้ว ในการบูชายัญ พระราชาทรงมีรับสั่ง

ให้ฆ่าแม่โคหลายแสนตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 231

แม่โคทั้งหลายเสมอด้วยแพะ สงบ

เสงี่ยม ถูกเขารีดนมด้วยหม้อ ย่อมไม่เบียด

เบียนด้วยเท้า ด้วยเขา ด้วยอวัยวะอะไร ๆ

โดยแท้ พระราชารับสั่งให้จับแม่โคเหล่านั้น

ที่เขา แล้วให้ฆ่าด้วยศัสตรา

ลำดับนั้น เทวดา พระอินทร์ พระ

พรหม อสูรและผีเสื้อน้ำ ต่างเปล่งวาจาว่า

มนุษย์ไม่มีธรรม แล่นไปเพราะศัสตราตก

ลงที่แม่โค

โรค ๓ ชนิด คือ ความปรารถนา ๑

ความอดอยาก ๑ ความชรา ๑ เพราะปรารภ

สัตว์เลี้ยงทั้งหลาย ได้มีในกาลก่อน ได้แพร่

โรคออกเป็น ๙๘ ชนิด

บรรดาอาชญาทั้งหลาย อธรรมนี้

เป็นของเก่า เป็นไปแล้ว แม่โคทั้งหลายผู้

ไม่ประทุษร้าย ย่อมถูกฆ่า คนผู้บูชายัญทั้ง

หลายย่อมเสื่อมจากธรรม ธรรมอันเลวทราม

นี้เป็นของเก่า วิญญูชนติเตียนแล้วอย่างนี้

วิญญูชนเห็นธรรมอันเลวทรามเช่น

นี้ในที่ใด ย่อมติเตียนคนผู้บูชายัญในที่นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 232

เมื่อธรรมของพราหมณ์เก่าฉิบหายแล้วอย่าง

นี้ ศูทรและแพศย์แตกกันแล้ว กษัตริย์เป็น

อันมากแตกกันแล้ว ภรรยาดูหมิ่นสามี

กษัตริย์พราหมณ์ผู้เป็นผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพรหม

แพศย์และศูทรเหล่าอื่น ผู้อันโคตรรักษาแล้ว

ไม่คำนึงถึงเรื่องชาติ ได้ตกอยู่ในอำนาจแห่ง

กามทั้งหลาย.

[๓๒๔] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์มหาศาล

เหล่านั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ทรงประกาศธรรมโดย

อเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง

หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยหวังว่าคนมีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น พวกข้าพระ-

องค์ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ กับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ

ขอพระองค์โปรดทรงจำพวกข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบพราหมณธัมมิกสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 233

อรรถกถาพราหมณธัมมิกสูตรที่ ๗

พราหมณธัมมิกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า การเกิดขึ้นของพระสูตรนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วโดยนัย

เป็นต้นว่า อถ โข สมฺพหุลา ในนิทานแห่งสูตรนั้น.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า สมฺพหุลา ได้แก่ มากคือมิใช่น้อย.

บทว่า โกสลกา ได้แก่ ชาวเมืองโกศล.

บทว่า พฺราหฺมณมหาสาลา ความว่า พวกพราหมณ์โดยชาติ ชื่อ

ว่า มหาศาล เพราะเป็นผู้มีสาระมาก.

ได้ยินว่า พราหมณ์เหล่าใด มีทรัพย์เฉพาะที่ฝั่งไว้ได้ ๘๐ โกฏิ

พราหมณ์เหล่านั้นท่านเรียกว่าพราหมณ์มหาศาล และพราหมณ์เหล่านี้ก็เป็น

เช่นนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พราหมณ์มหาศาล.

บทว่า ชิณฺณา ได้แก่เป็นผู้มีความชรา คือถูกความชราให้ถึงภาวะ

มีฟันหักเป็นต้น.

บทว่า วุฑฺฒา ได้แก่ ถึงเขตแดน (ของข่าย) แห่งความเจริญ แห่ง

อวัยวะน้อยใหญ่.

บทว่า มหลฺลกา ได้แก่ประกอบด้วยความเป็นผู้มีชาติเป็นคนแก่

มีคำอธิบายว่า เกิดมาแล้วนาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 234

บทว่า อทฺธคตา ได้แก่ ไปสู่ทางไกล (กาลไกล) อธิบายว่าล่วงไป

ได้สอง สามรัชกาล.

สองบทว่า วโย อนุปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงปัจฉิมวัย.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ชิณฺณา ได้แก่ เก่า มีคำอธิบายว่า ล่วงสกุล

ที่เป็นไปตลอดกาลนาน.

บทว่า วุฑฺฒา ได้แก่ ประกอบด้วยคุณวุฒิมีสีลาจาร เป็นต้น

บทว่า มหลฺลกา ได้แก่ ประกอบด้วยความเป็นผู้มีโภคะมาก จึง

ชื่อว่า มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก.

บทว่า อทฺธคตา ได้แก่ เดินไปสู่มรรค คือเที่ยวไปไม่ก้าวล่วง

มารยาท มีจริยาวัตรของพวกพราหมณ์เป็นต้น.

สองบทว่า วโย อนุปฺปตฺตา ได้แก่ ไม่เข้าถึงภาวะแห่งชาติวุฒิ อัน

เป็นวัยสุดท้าย.

พึงทราบวาจาประกอบความในพระสูตรนี้อย่างนี้ คำที่เหลือในพระ-

สูตรนี้ปรากฏชัดแล้ว.

หลายบทว่า ภควตา สทฺธึ สมฺโมทึสุ ความว่า พราหมณ์เหล่า

นั้น เมื่อจะถามถึงคำทั้งหลายมีคำว่า ท่านสบายดีหรือ ชื่อว่ามีความชื่นชม

กันและกัน ก็พราหมณ์เหล่านั้นชื่นชม ด้วยถ้อยคำใดเป็นต้นว่า พระโคดมผู้

เจริญ สบายดีหรือ พระองค์ยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ พระองค์มีอาพาธ

น้อยหรือ มีโรคน้อยหรือ มีกำลังหรือมีความเบาใจหรือ มีการอยู่สบายหรือ

ย่อมให้ระลึกถึงถ้อยคำนั้นที่ควรชื่นชม ที่ควรระลึกถึง คือให้สิ้นสุดลง ให้จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 235

ลงโดยอเนกปริยายอย่างนี้ว่า เพื่อให้ชื่นชมโดยให้เกิดความชื่นชม กล่าวคือ

ปีติปราโมทย์ และเพื่อให้ระลึกถึงกาลแม้นานได้ คือให้เป็นไปชั่วนิรันดร์

เพราะเป็นผู้มีอรรถะและพยัญชนะไพเราะ อันพระอรหันต์พึงชื่นชม และให้

ระลึกถึง โดยความเป็นคำที่พระอรหันต์พึงระลึกถึง ถ้อยคำที่พึงชื่นชมโดยมี

ความสุขในขณะที่ฟังอยู่ และให้ระลึกถึง โดยมีความสุขในขณะที่ระลึกถึงอยู่

เป็นถ้อยคำที่จะพึงชื่นชม เพราะเป็นถ้อยคำที่บริสุทธิ์โดยพยัญชนะ เป็นถ้อย

คำที่จะพึงระลึกถึง โดยเป็นถ้อยคำที่บริสุทธิ์โดยอรรถะเหมือนอย่างนั้น เป็นผู้

ใคร่จะถามถึงประโยชน์ที่ตนมา ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

คำนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในอรรถกถามงคลสูตร โดยนัยว่า

ไม่นั่งข้างหลัง ไม่นั่งข้างหน้า ไม่

นั่งใกล้ ไม่นั่งไกล ไม่นั่งข้าง ๆ ไม่นั่ง

เหนือลม ไม่นั่งที่ต่ำ ไม่นั่งที่สูง ดังนี้เป็นต้น

พราหมณ์มหาศาลเหล่านั้น ผู้นั่งอยู่แล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่งอย่างนี้แล

ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ถามว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นกราบทูลว่าอย่างไร ?

ตอบว่า พราหมณ์เหล่านั้นได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า สนฺทิสฺสนฺติ

นุ โข ดังนี้. คำทั้งหมดนั้นมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น. ก็ในคำว่า สนฺทิสฺสนฺติ

นุ โข เป็นต้นนี้ พึงทราบเพียงอธิบาย ที่ไม่ได้กล่าวไว้ในตอนต้นบทเหล่านี้

โดยนัยนี้.

สองบทว่า พฺราหฺมณาน พฺราหฺมณธมฺเม ความว่า พราหมณ์

ธรรมใด ละทิ้งธรรมอันเนื่องด้วยกาละและเทศะเป็นต้นเสียแล้ว, ในพราหมณ์

ธรรมนั้นเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 236

สองบทว่า เตนหิ พฺราหฺมณา ความว่า เพราะท่านทั้งหลายได้

ขอร้องข้าพเจ้า ฉะนั้น ดูก่อนพราหมณ์ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงฟัง คือจง

เงี่ยโสตลงฟัง จงตั้งใจฟังให้ดี คือเมื่อกระทำไว้ในใจโดยแยบคายอยู่ ก็จงฟัง

ด้วยปโยคสุทธิ จงกระทำไว้ในใจด้วยดีด้วยอาสยสุทธิ คือว่า จงพึงด้วย

ความไม่ฟุ้งซ่าน จงทำไว้ในใจด้วยดีด้วยการประคอง (จิต) ไว้ ดังนี้ เป็นต้น

ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลทั้งหลายเหล่านั้นเมื่อจะรับแม้ซึ่งคำนั้น ที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสแล้วจึงได้ตอบรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า คือ เป็นผู้ปรากฏ

เฉพาะพระพักตร์ รับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เอว โภ.

อีกอย่างหนึ่ง พราหมณ์ทั้งหลายรับฟังแล้ว มีคำอธิบายว่ารับรู้แล้ว

เพราะตนปรารถนาจะการทำตาม ซึ่งเนื้อความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ท่านทั้งหลายจงฟัง จงกระทำไว้ในใจให้ดี. ครั้งนั้นแล เมื่อพราหมณ์เหล่านั้น

รับคำอยู่อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสเนื้อความนี้.

ถามว่า พระองค์ตรัสว่าอย่างไร ?

ตอบว่า พระองค์ตรัสว่า วิสโย ปุพฺพกา เป็นต้น.

ในคาถานั้น บัณฑิตพึงทราบในคาถาที่ ๑ ก่อน.

บทว่า สยตตฺตา ความว่า ผู้มีจิตสำรวมแล้ว ด้วยการสำรวมในศีล.

บทว่า ตปสฺสิโน ความว่า ผู้ประกอบด้วยการสำรวมอินทรีย์.

บทว่า อตฺตทตฺถมจาริสุ ได้แก่ กระทำประโยชน์แก่ตน มีการ

สาธยายมนต์ และการเจริญพรหมวิหาร เป็นต้น.

คำที่เหลือแจ่มแจ้งแล้วทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 237

แม้ในคาถาทั้งหลายมีคาถาที่สองเป็นต้น ก็มีการพรรณนาเนื้อความ

โดยย่อ ดังต่อไปนี้

บาทพระคาถาว่า น ปสู พฺราหฺมณานาสุ ความว่า พวกพราหมณ์

รุ่นเก่า (โบราณ) ไม่มีปศุสัตว์ คือพวกพราหมณ์เหล่านั้นไม่ทำการเลี้ยงปศุสัตว์.

บาทพระคาถาว่า น หิรญฺ น ธานิย ความว่า ก็พวกพราหมณ์ไม่มี

เงินและโดยที่สุดแม้แต่มาสกราคาต่ำที่สุด อนึ่งพราหมณ์เหล่านั้นไม่มีแม้แต่พืช

พันธุ์ธัญญาหารอันต่างโดยบุพพัณชาติ และอปรัณชาติ มีข้าวเจ้า ข้าวสาลี

ข้าวเหนียว และข้าวละมานเป็นต้น เพราะว่าพราหมณ์เหล่านั้นสละเงิน

ทองเสียแล้ว เป็นผู้ไม่ทำการสั่งสม มีการสาธยายเป็นทรัพย์และข้าวเปลือก

อย่างเดียว คือเป็นผู้ประกอบด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก กล่าวคือการสาธยาย

มนต์ ก็วิหารธรรมมีเมตตาเป็นต้นนี้ใด ท่านเรียกว่าพรหมนิธิ (การสั่งสม

อย่างประเสริฐ) เพราะเป็นธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ และเพราะสามารถติด

ตามตนไปได้ ก็พวกพราหมณ์ทั้งหลายรักษาขุมทรัพย์อันประเสริฐนั้นไว้ โดย

การประกอบการอบรมวิหารธรรมมีเมตตาเป็นต้นนั้น เนือง ๆ.

บาทพระคาถาว่า ย เนส ปกต อาสิ ความว่า ภัตที่ประตูเรือนใด

ที่เขาเริ่มทำไว้เพื่อพราหมณ์เหล่านี้ ผู้มีวิหารธรรมอยู่อย่างนี้ คือ เป็นภัตที่

เขาทำอุทิศพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น.

บาทพระคาถาว่า ทฺวารภตฺต อุปฏฺิต ความว่า ภัตที่ทายกเหล่านั้น ๆ

เตรียมแล้ว ตั้งไว้ที่ประตูเรือนของตน ด้วยคิดว่า เราจักถวายแก่พราหมณ์

ทั้งหลาย ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 238

บทว่า สทฺธาปกต ได้แก่ เริ่มทำไว้ด้วยศรัทธา มีคำอธิบายว่า ที่

จะพึงให้ด้วยศรัทธา.

ในคำว่า เอสาน มีวิเคราะห์ว่า ชนเหล่าใดย่อมแสวงหา เหตุนั้น

ชนเหล่านั้นชื่อว่า เอสา ผู้แสวงหา มีคำอธิบายว่า แก่พราหมณ์ทั้งหลาย

เหล่านั้น ผู้แสวงหา คือเสาะหา เที่ยวแสวงหา

บทว่า ทาตเว ได้แก่ พึงให้.

บทว่า ตทมญฺิสุ ได้แก่ ไม่ดูหมิ่นภัตนั้น อธิบายว่าชนทั้งหลาย

ผู้ให้ ได้สำคัญภัตนั้นที่ตนเตรียมตั้งไว้ที่ประตู อันตนจะพึงถวายด้วยศรัทธา

คือว่า อันตนพึงให้แก่พราหมณ์เหล่านั้นผู้แสวงหาอยู่ หาได้สำคัญยิ่งไปกว่า

นั้นไม่ ด้วยว่าพราหมณ์เหล่านั้น ซึ่งไม่ต้องการได้มีแล้วโดยประการอื่น (ไม่

แสวงหาภัต) พราหมณ์เหล่านั้นพอใจแล้ว เพราะเป็นผู้มีอาหารและเครื่องนุ่ง

ห่มเป็นอย่างยิ่งอย่างเดียว (คือต้องการอาหารและเครื่องนุ่งห่มเท่านั้น)

บทว่า นานารตฺเตหิ ได้แก่ ด้วยผ้าที่ย้อมด้วยสีต่าง ๆ ด้วยที่นอน

ที่ปูลาด แล้วด้วยเครื่องปูนอนอันวิจิตร ด้วยปราสาทที่ประเสริฐ มีปราสาท

ชั้นเดียวและ ๒ ชั้นเป็นต้น.

บทว่า อาวสเถหิ ได้แก่ด้วยอุปกรณ์ทั้งหลายเห็นปานนั้น.

ชาวชนบท ชาวแว่นแคว้น คือ ชาวชนบทที่อยู่ในส่วนหนึ่ง ๆ ของ

ประเทศ และชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้นบางพวก ๆ ย่อมนอบน้อมพราหมณ์ทั้ง

หลาย ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ประดุจบุคคลนอบน้อมเทพเจ้าทั้งหลายว่า

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพราหมณ์ทั้งหลาย ดังนี้. พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 239

บุคคลนอบน้อมอยู่อย่างนี้เป็นผู้อันชาวโลกไม่พึงฆ่า จะไม่พึงฆ่าอย่างเดียวเท่า

นั้นก็หาไม่ แต่ไม่พึงชนะ แม้เพื่อจะเบียดเบียน และไม่พึงชนะ เพราะพราหมณ์

เหล่านั้นครอบงำไม่ได้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะพราหมณ์เหล่านั้นอันธรรมรักษาไว้แล้ว ด้วยว่า

พราหมณ์เหล่านั้นรักษาธรรมคือศีลห้าแล้ว ชื่อว่าเป็นผู้อันธรรมรักษาแล้ว

เพราะพระบาลีว่า ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารึ ธรรมแล ย่อมรักษา

ผู้ประพฤติธรรมดังนี้ จึงชื่อว่าเป็นผู้อันใคร ๆ ไม่พึงฆ่า และไม่พึงชนะ.

บาทพระคาถาว่า น เน โกจิ นิวาเรสิ ความว่า ใคร ๆ ไม่ควร

ห้ามพราหมณ์เหล่านั้น ที่ประตูแห่งสกุลทั้งหลาย ชื่อว่าที่ประตูแห่งสกุล ใน

ที่ทั้งปวง คือทั้งภายนอก ทั้งภายใน แม้โดยประการทั้งปวง พึงทราบอธิบาย

ในพระคาถานี้อย่างนี้ว่า เพราะมนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้มีความคุ้นเคยอย่างยิ่งใน

พราหมณ์เหล่านั้นว่า ท่านไม่ควรเข้าไปยังสถานที่ชื่อนี้ดังนี้ พราหมณ์เหล่า

ใดแม้จะเป็นพราหมณ์จัณฑาล พราหมณ์เหล่านั้นอันธรรมรักษาแล้วอย่างนี้

อันใคร ๆ ไม่ห้ามแล้ว ที่ประตูแห่งสกุลทั้งหลายเที่ยวไปอยู่ ประพฤติพรหม

จรรย์ตั้งแต่เป็นเด็ก โดยการประพฤติจำเดิมแต่กาลเป็นเด็กสิ้นเวลา ๔๘ ปี

คือ ๘ ปีกับ ๔๐ ปี ก็จะป่วยกล่าวไปไยในพราหมณ์ทั้งหลาย มีพราหมณ์ผู้

เสมอด้วยพรหมเป็นต้นเล่า.

ก็พราหมณ์เหล่านั้นประพฤติพรหมจรรย์อยู่อย่างนี้นั่นแล ได้เที่ยว

แสวงหาวิชชาและจรณะอยู่ในกาลก่อน จะเป็นผู้ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ก็หา

มิได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 240

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิชฺชาปริเยฏฺิ ได้แก่ การแสวงหา

มนต์ สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า พราหมณ์นั้นเรียนมนต์ทั้งหลายอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ตั้งแต่เป็นเด็กตลอด ๔๘ ปี.

บทว่า จรณปริเยฏฺิ ได้แก่ การรักษาศีล พระบาลีว่า วิชฺชาจรณ-

ปริเยฏฺิ ดังนี้ก็มี ความว่า ได้เที่ยวไปเพื่อแสวงหาวิชชาและจรณะ อธิบาย

ว่า พราหมณ์ทั้งหลายเป็นผู้เสมอด้วยเทวดา หรือเป็นผู้มีมารยาท ประพฤติ

พรหมจรรย์ตามที่กล่าวแล้ว ต่อจากประพฤติพรหมจรรย์นั้นแล้ว แม้มาครอง

ฆราวาส ก็ไม่ถึงหญิงอื่นไม่ว่าจะเป็นหญิงกษัตริย์ หรือหญิงคนใดคนหนึ่ง

ในบรรดาหญิงทั้งหลาย มีหญิงแพศย์ (พ่อค้า) เป็นต้น. ต่อแต่นั้น พราหมณ์

เหล่านั้น หาได้ให้เงิน ๑๐๐ หรือ ๑๐๐๐ กหาปณะแล้วซื้อภรรยามาไม่ เหมือน

อย่างบุคคลบางจำพวก ที่ซื้อภรรยากันในปัจจุบัน พราหมณ์เหล่านั้น ย่อม

แสวงหาภรรยาโดยธรรม คืออย่างไร คือพราหมณ์ทั้งหลาย(เหล่าอื่น)ประพฤติ

พรหมจรรย์สิ้นเวลา ๔๘ ปี (สึกแล้ว) แล้วเที่ยวขอหญิงสาวในวันนั้นนั่นเอง

ด้วยการกล่าวว่า ข้าพเจ้าประพฤติพรหมจรรย์มาเป็นเวลา ๔๘ ปี ถ้าหากว่า

เด็กหญิงที่ถึงพร้อมด้วยวัยแล้วมีอยู่ ขอให้พวกท่านจงให้แก่ข้าพเจ้า ต่อแต่

นั้น บุคคลซึ่งมีธิดาที่เจริญวัย ประดับประดาธิดานั้นแล้ว นำออกมาให้ใน

มือของพราหมณ์ ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูนั้นเอง เมื่อจะหลั่งน้ำก็กล่าวว่า ข้าแต่

พราหมณ์ ข้าพเจ้าให้ธิดานี้ เพื่อเป็นภรรยาของท่าน เพื่อประโยชน์แก่การ

เลี้ยงดู ดังนี้แล้วก็ให้ไป ถ้าหากว่าชนทั้งหลายถามว่า ก็เพราะเหตุไรพราหมณ์

เหล่านั้นแม้เที่ยวประพฤติพรหมจรรย์นานอย่างนี้แล้ว ก็ยังแสวงหาภรรยาอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 241

ไม่ประพฤติพรหมจรรย์จนตลอดชีวิต ก็พวกพราหมณ์เหล่านั้นจะมีความเห็น

ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใดไม่ให้บุตรเกิดขึ้น ผู้นั้นเป็นผู้กระทำการ

ตัดสกุลวงศ์ เพราะการตัดสกุลวงศ์นั้น ย่อมหมกไหม้ในนรก.

ได้ยินว่า คน และ สัตว์ ๔ จำพวก คือ ไส้เดือน ๑ นกต้อยติวิด

๑ นางนกกระเรียน ๑ พราหมณ์ ๑ ย่อมกลัวสิ่งที่ไม่ควรกลัว

ได้ยินว่าไส้เดือนทั้งหลายเป็นสัตว์ที่มีปกติกินดินแต่พอประมาณ

เพราะกลัวแผ่นดินใหญ่หมดไป ไม่ยอมกินดินมาก ๆ นางนกต้อยติวิด นอน

หงายบนไข่ เพราะกลัวอากาศจะตกทับ นางนกกะเรียน ไม่ยอมเหยียบแผ่นดิน

เต็มเท้าทั้งสอง เพราะกลัวแผ่นดินจะถล่ม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมแสวงหา

ภรรยา เพราะกลัวสกุลวงศ์จะขาดสูญ ท่านกล่าวไว้ในคาถานี้ว่า :-

สัตว์ที่งมงาย ๔ จำพวกเหล่านี้คือ

ไส้เดือน ๑ นางนกต้อยติวิด ๑ นกกระ-

เรียน ๑ พราหมณ์ผู้เคร่งครัดในธรรมเนียม

๑ ย่อมกลัวสิ่งที่ไม่ควรกลัว ดังนี้.

พราหมณ์ทั้งหลายแม้แสวงหาภรรยาโดยธรรมอย่างนี้ อยู่ร่วมกันเพราะ

ความรัก เสมอกันเท่านั้น และอยู่ด้วยกันด้วยกาย ด้วยความรักที่เสมอกัน คือ

ด้วยความรักกันและกันเท่านั้น มีคำอธิบายว่า เป็นผู้มีจิตร่วมกัน คลึงเคล้า

ถูกต้องกัน พอใจการอยู่ร่วมกัน หาได้อยู่ร่วมกันโดยการไม่รัก หรือด้วยการ

ข่มขี่กันไม่ พราหมณ์แม้ทำการอยู่ร่วมกันด้วยความรักที่เสมอกันอย่างนี้อยู่ ก็

ย่อมไม่ร่วมกับภรรยาผู้เว้นจากระดู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 242

สองบทว่า อญฺตฺร ตมฺหา ความว่า ในสมัยที่มีระดูอันใด

พราหมณ์พึงเข้าถึงนางพราหมณี ในสมัยนั้น คือ เว้นซึ่งสมัยนั้น พราหมณ์

ผู้สามีก็ไม่ร่วมกับภรรยา ผู้เว้นแล้วจากระดู คือผู้เว้นจากระดู ตราบเท่าที่สมัยนั้น

ยังไม่มาถึงอีก คือย่อมไม่ร่วมในระหว่างโดยแท้.

บทว่า เมถุนฺธมฺม ได้แก่ เพื่อธรรมของคนคู่ กล่าวกันว่า เมถุน

ธมฺม นั้น เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถจตุตถีวิภัตติ.

สองบทว่า นาสฺสุ คจฺฉนฺติ ได้แก่ ย่อมไม่ถึง.

อธิบายว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นผู้เสมอด้วยเทพและมีมรรยาท

ชื่อว่า พราหมณ์ แต่โดยไม่แปลกกัน คนแม้ทุกจำพวกพึงสรรเสริญ

พรหมจรรย์ ฯลฯ.

เมถุนวิรัติ ชื่อว่า พรหมจรรย์ ในคาถานั้น.

สิกขาบท ๔ ที่เหลือ ชื่อว่า ศีล.

ความเป็นผู้ซื่อตรง ชื่อว่า อาชวะ โดยความก็คือ ความเป็นผู้ไม่

โอ้อวด ความเป็นผู้ไม่มีมายา.

ความเป็นผู้อ่อนโยน ชื่อว่า มัททวะ โดยอรรถก็คือ ความไม่แข็ง

กระด้าง และความไม่ถือตัว.

การสำรวมอินทรีย์ ชื่อว่า ตปะ.

ความเป็นผู้สงบเสงี่ยม ความมีสุขโดยปกติ ความประพฤติเรียบร้อย

ไม่น่ารังเกียจ ชื่อว่า โสรัจจะ.

ความเป็นผู้มีชาติแห่งผู้ไม่เบียดเบียนกันด้วยฝ่ามือเป็นต้น ความเป็น

ผู้มีกรุณา ชื่อว่า อวิหิงสา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 243

ความอดทน คือความอดกลั้น (อธิวาสนขันติ) ชื่อว่า ขันติ.

พราหมณ์ทั้งหลายสรรเสริญคุณทั้งหลายเหล่านี้อย่างนี้ ส่วนพราหมณ์

เหล่าใด ไม่อาจเพื่อยินดีในข้อปฏิบัติ โดยประการทั้งปวงได้ แม้พราหมณ์

เหล่านั้น ก็มีปกติเห็นในคุณธรรมเหล่านั้นว่ามีประโยชน์ จึงสรรเสริญคือชมเชย

ด้วยวาจา ก็เมื่อพราหมณ์เหล่านั้นสรรเสริญอยู่อย่างนี้ว่า พราหมณ์ใดเป็นผู้

เสมอด้วยพรหม เป็นผู้มีความบากบั่นมั่นคง เป็นผู้สูงกว่าพราหมณ์เหล่านั้น

และพราหมณ์นั้นย่อมไม่เสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ความฝัน ดังนี้.

พระคาถาว่า โย จ เนส ฯเปฯ นาคมา ความว่า พราหมณ์ใด

เป็นผู้เสมอด้วยพรหม คือเป็นพราหมณ์ที่สูงสุดเสมอด้วยพระพรหม เป็นผู้สูง

สุดกว่าพราหมณ์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นผู้มีความบากบั่นมั่นคง เพราะประกอบ

ด้วยความบากบั่นอันมั่นคง.

วา ศัพท์ในคำว่า ส วา ใช้ในอรรถว่า ทำให้แจ่มแจ้ง.

ด้วย วา ศัพท์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมยังพราหมณ์นั้นนั่นแล

ให้แจ่มแจ้งว่า พราหมณ์คนนั้น คือ คนเห็นปานนั้น.

สองบทว่า เมถุน ธมฺม ได้แก่ การเข้าถึงเมถุน.

สองบทว่า สุปินนฺเตปิ นาคมา ได้แก่ ไม่ถึงแม้โดยความฝัน

ตั้งแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสว่า พราหมณ์บางพวก ผู้มีชาติแห่งบุคคล

ผู้รู้แจ้งในโลกนี้ ศึกษาตามวัตรของพราหมณ์ ผู้เสมอด้วยพรหมนั้นอยู่

สรรเสริญพรหมจรรย์ ศีล และแม้ขันติ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงด้วยสามารถแห่งที่สุดเบื้องต้น

โดยนัยที่พระองค์ตรัสไว้แล้ว ในคาถาที่ ๙ แห่งสูตรนี้นั้นแล จึงทรงประกาศ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 244

พราหมณ์ทั้งหลายที่เสมอด้วยเทพ ด้วยว่าบัณฑิตทั้งหลายผู้มีชาติแห่งผู้รู้แจ้ง

เหล่านั้น ศึกษาวัตรของพราหมณ์ผู้เสมอด้วยพรหมนั้นอยู่ ย่อมสรรเสริญวัตร

ของพราหมณ์ ด้วยการบรรพชาและด้วยการเจริญฌาน และพราหมณ์เหล่านั้น

ย่อมสรรเสริญคุณมีพรหมจรรย์เป็นต้น เหล่านี้ ด้วยข้อปฏิบัติเท่านั้น พราหมณ์

แม้ทุกจำพวกเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน โทณ-

สูตร ในปัญจกนิบาตนั้นแล บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญ

พราหมณ์ทั้งหลายที่มีมรรยาท จึงตรัสว่า ตณฺฑุล สยน เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า บรรดาพราหมณ์เหล่านั้น พราหมณ์

เหล่าใดเป็นผู้มีมารยาท แต่ถ้าหากว่าประสงค์จะกระทำยัญ ลำดับนั้นพราหมณ์

เหล่านั้นก็ขอข้าวสาร ที่นอนอันต่างด้วยเตียงและตั่งเป็นต้น ผ้าอันต่างด้วยผ้า

ทำด้วยเปลือกไม้เป็นต้น และเนยใสและน้ำมันอันต่างด้วยเนยใสอันเกิดจากโค

และน้ำมันงาเป็นต้น อันมีประการต่าง ๆ เพราะพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้เว้นแล้ว

จากการรับของดิบและข้าวเปลือก คือว่าขอแล้วโดยธรรม ได้แก่ โดยธรรม

กล่าวคือฐานะที่เจาะจง ซึ่งท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อม

ยืนเจาะจง (โดยธรรม) นี้คือการขอของพระอริยเจ้าทั้งหลาย ลำดับนั้นจึงได้

รวบรวมคือนำมารวมไว้ ซึ่งวัตถุมีข้าวสารเป็นต้นนั้น ที่ผู้ประสงค์จะให้

ถวายไว้.

พระบาลีว่า สมุธาเนตฺวา ดังนี้ก็มี. เนื้อความก็อันเดียวกันนี้นั้นเอง.

พึงประกอบยัญ แต่วัตถุนั้น คือว่าถือเอาจากวัตถุนั้น แล้วได้ทำทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 245

ก็เมื่อกระทำ ย่อมไม่ฆ่าโคทั้งหลาย คือพราหมณ์เหล่านั้นไม่ฆ่า

แม่โคทั้งหลายในเพราะยัญกล่าวคือทาน ที่ปรากฏขึ้นแล้วนี้อย่างนี้. ก็ในคำว่า

คาโว นี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวถึงสัตว์ทุกจำพวก โดยยกแม่โคขึ้นเป็นประธาน.

ถามว่า เพราะเหตุไร พราหมณ์เหล่านั้นจึงไม่ฆ่าสัตว์ทุกจำพวก.

ตอบว่า เพราะพราหมณ์เหล่านั้นประกอบด้วยคุณ มีพรหมจรรย์

เป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง เมื่อจะว่าโดยพิเศษ พราหมณ์เหล่านั้นไม่ฆ่าโคทั้งหลาย

เหมือนกับมารดาบิดา พี่ชายน้องชาย และญาติทั้งหลายแม้เหล่าอื่น ในบรรดา

บทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ยาสุ ชายนฺติ โอสถา ความว่า รสแห่ง

โคทั้งหลาย ๕ ชนิด อันเป็นเภสัชสำหรับโรคทั้งหลาย มีโรคน้ำดีเป็นต้น

ย่อมเกิดในแม่โคเหล่าใด.

ในบททั้งหลายมี อนนฺทา เป็นต้น มีอธิบายว่า เพราะเมื่อชน

ทั้งหลายบริโภคปัญจโครสอยู่ ความหิวก็สงบลงได้ กำลังก็เพิ่มขึ้น ผิวพรรณ

ก็ผ่องใส สุขกายสุขใจย่อมเกิดขึ้น ฉะนั้นพึงทราบว่าปัญจโครสเหล่านี้ ชื่อว่า

ให้ข้าว ให้กำลัง ให้วรรณะและให้ความสุข. คำที่เหลือในคาถานี้มีเนื้อความ

ตื้นทั้งนั้น.

พราหมณ์เหล่านั้น เมื่อไม่ฆ่าแม่โคทั้งหลาย ในเพราะยัญทั้งหลาย

อย่างนี้ เป็นผู้มีร่างกายอันบ่อเกิดแห่งบุญอนุเคราะห์แล้ว จึงเป็นผู้ละเอียดอ่อน

มีร่างกายใหญ่ มีวรรณะ มียศ ขวนขวายในกิจน้อยใหญ่โดยธรรมของตน

ได้ประพฤติแล้วด้วยข้อปฏิบัติ อันเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถึงความสุขในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 246

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขุมาลา ได้แก่ เป็นผู้ละเอียดอ่อน

เพราะเป็นผู้มีฝ่ามือและฝ่าเท้าอ่อนนุ่ม.

บทว่า มหากายา ได้แก่ (เป็นผู้มีกายใหญ่) เพราะเป็นผู้ถึงพร้อม

ด้วยกายที่สูงและใหญ่.

บทว่า วณฺณวนฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีวรรณะ เพราะเป็นผู้มีผิวพรรณ

เพียงดังทอง และเพราะเป็นผู้ประกอบด้วยทรวดทรงที่สมส่วน.

บทว่า ยสสฺสิโน ได้แก่ เป็นผู้มียศ เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยลาภ

และบริวาร (อันเกิดจากบุญ).

สองบทว่า เสหิ ธมฺเมหิ ได้แก่ ด้วยจารีตทั้งหลายที่เป็นของตน.

บาทคาถาว่า กิจฺจากิจฺเจสุ อุสฺสุกา ความว่า เป็นผู้ถึงความ

ขวนขวายว่า ควรการทำสิ่งนี้ในกิจทั้งหลาย ไม่ควรกระทำสิ่งนี้ในสิ่งที่ไม่ควร

กระทำทั้งหลาย พราหมณ์สมัยก่อนเหล่านั้นเป็นผู้เห็นปานนั้น จึงเป็นผู้น่าดู

น่าเลื่อมใส ควรแก่ทักษิณาของชาวโลกอย่างยิ่ง เป็นผู้ปราศจากความ

เสนียดจัญไร ภัย อุปัทวะ ตราบเท่าที่ยังปฏิบัติด้วยข้อปฏิบัตินี้ในโลก ซึ่งเป็น

เหตุให้หมู่สัตว์ถึงคือบรรลุถึงความสุข หรือถึงความสุขได้แก่บรรลุถึง

ความเจริญ.

ด้วยสองบทว่า อย ปชา พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงแสดงซึ่ง

สัตว์โลก.

แต่โดยกาลล่วงไป เมื่อพวกพราหมณ์เหล่านั้นต้องการทำลายมารยาท

(จารีตประเพณีของตน) เสีย ความวิปลาสก็ได้มีแก่พราหมณ์เหล่านั้น เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 247

ได้เห็นกามสุขอัน เล็กน้อย (ลามก) ที่เกิดขึ้นจากกามคุณอันเป็นของ เล็กน้อย

(ลามก) พราหมณ์ทั้งหลายได้ปรารถนาเพ่งเล็ง (ต้องการ) สมบัติของพระราชา

เหล่านารีที่ประดับดีแล้ว รถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ที่สร้างตกแต่งไว้เป็น

อย่างดี มีการขลิบอันวิจิตร พื้นที่เรือนทั้งหลาย เรือนทั้งหลายที่กั้นเป็นห้อง ๆ

แยกกำหนดเป็นส่วน และโภคสมบัติอันเป็นของมนุษย์อันโอฬาร เกลื่อนกล่น

ไปด้วยฝูงโค ประกอบไปด้วยหมู่นารีผู้ประเสริฐ.

ในคาถานั้น ความสำคัญผิด ชื่อว่า วิปลาส.

สองบทว่า อณุโต อณุ อธิบายว่า เพราะเห็นกามสุขอันเล็กน้อย

ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว จากกามคุณอันเป็นของเล็กน้อย เพราะอรรถว่า ลามก เพราะ

อรรถว่านิดหน่อย เพราะอรรถว่าไม่เจริญ (อปายฏฺเน) โดยไม่เข้าถึงซึ่ง

การนับ เข้าในการเปรียบเทียบกับสุขซึ่งเกิดจากฌานอัปปมัญญา และนิพพาน

หรือเพราะเห็นกามสุขเล็กน้อยโดยเป็นความสุขซึ่งเกิดจากสมาบัติอันเป็น

โลกิยะ อันตนได้แล้ว ซึ่งเป็นของเล็กน้อย เพราะเทียบกับโลกุตรสุข คือ

เพราะเห็นกามสุขอันเล็กน้อย แม้เพราะเป็นของเล็กน้อย.

บทว่า ราชิโน วา ได้แก่ ของพระราชาเทียว.

บทว่า วิยาการ ได้แก่ สมบัติ.

บทว่า อาชญฺสยุตฺเต ได้แก่ เทียมด้วยม้าอาชาไนย.

บทว่า สุกเต ได้แก่ สำเร็จดีแล้วด้วยทารุกรรมและโลหกรรม.

บทว่า จิตฺตสิพฺพเน ได้แก่ มีการขลิบอันวิจิตร ด้วยสามารถแห่ง

เครื่องอลงกรณ์ (การประดับ) ด้วยวัตถุทั้งหลายปีหนังสีหะเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 248

บทว่า นิเวสเน ได้แก่ เครื่องเรือน.

บทว่า นิเวเส จ ได้แก่ เรือนที่เขาให้สร้างไว้ในที่นั้น ๆ.

บทว่า วิภตฺเต ได้แก่ อันแบ่งไว้ด้วยสามารถแห่งส่วนยาว และ

ส่วนกว้าง.

สองบทว่า ภาคโส มิเต ได้แก่ ที่กำหนดกระทำไว้เป็นส่วน ๆ

ด้วยสามารถแห่งสนาม ประตู ปราสาท และเรือนยอดเป็นต้น.

ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ความสำคัญผิดได้มีแล้วแก่พราหมณ์

เหล่านั้น เพราะความเป็นไปในวัตถุทั้งหลายเหล่านี้ ซึ่งเป็นทุกข์เท่านั้นว่าเป็น

สุข เพราะตรงกันข้ามกับความสำคัญในการออกบวช อันเป็นไปแล้วในกาลก่อน

เพราะได้เห็นกามสุขที่รู้กันว่าเป็นของเล็กน้อย โดยความเป็นของเล็กน้อย ๑

สมบัติของพระราชา ๑ นารีที่ประดับแล้วทั้งหลาย ๑ รถทั้งหลาย ๑ เครื่องเรือน

ทั้งหลาย ๑ ตัวเรือนทั้งหลาย ๑ ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว (โดยความเป็น

ของเล็กน้อย) พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นมีความเห็นวิปริตอย่างนี้ จึงเพ่งเล็ง

โภคะ ซึ่งเป็นของมนุษย์อันโอฬาร อันเกลื่อนกล่นไปด้วยฝูงโค อันประกอบ

ไปด้วยหมู่นารีผู้ประเสริฐ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โคมณฺฑลปริพฺยุฬฺห ได้แก่ เกลื่อนกล่น

ไปด้วยฝูงโคทั้งหลาย.

บทว่า นารีวรคณายุต ได้แก่ ซึ่งประกอบด้วยหมู่นารีผู้ประเสริฐ.

บทว่า อุฬาร ได้แก่ ไพบูลย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 249

สองบทว่า มานุส โภค ได้แก่ วัตถุเครื่องใช้มีเครื่องเรือนเป็นต้น

ของมนุษย์ทั้งหลาย.

บทว่า อภิชฺฌายึสุ ความว่า ยังตัณหาให้เจริญ ปรารถนาเพ่งเล็งว่า

โอหนอ วัตถุนี้ พึงเป็นของเรา.

พราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นคิดว่า ก็มนุษย์เหล่านี้ เพ่งเล็งอยู่อย่างนี้

เป็นผู้สนานดีแล้ว ลูบไล้ดีแล้ว ตัดผม โกนหนวดแล้ว สวมเครื่องประดับ

คือพวงมาลัย บำเรออยู่ด้วยก้านคุณทั้งห้า แต่เราทั้งหลายสิ แม้อันมนุษย์

เหล่านั้นนอบน้อมอยู่อย่างนี้ เป็นผู้มีร่างกายเศร้าหมองด้วยคราบเหงื่อ มีเล็บ

และขนรักแร้งอกยาว เป็นผู้ไร้โภคะ ถึงความเป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่งอยู่ ก็มนุษย์

เหล่านี้ เที่ยวสัญจรไปด้วยพาหนะทั้งหลาย มีการนั่งบนคอช้าง นั่งบนหลังม้า

ขึ้นวอ และนั่งรถทองคำเป็นต้น (ฝ่าย) พวกเราสิต้องเดินด้วยเท้า มนุษย์

เหล่านี้อยู่บนพื้นปราสาท มีปราสาท ๒ ชั้นเป็นต้น พวกเราสิอยู่ที่ในป่าและ

โคนต้นไม้เป็นต้น และมนุษย์เหล่านี้นอนบนที่นอนอันประเสริฐซึ่งปูลาดแล้ว

ด้วยวัตถุทั้งหลายมีผ้าโกเชาว์ขนยาวเป็นต้น พวกเราสิปูลาดเสือลำแพนและ

ท่อนหนังนอนบนพื้นดิน ก็มนุษย์เหล่านี้บริโภคโภชนะมีรสนานาชนิด พวกเราสิ

ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยการเที่ยวภิกขาจาร (อุญฺฉาจริยาย) แม้พวกเราจะพึง

เป็นเช่นกับมนุษย์เหล่านี้ ได้อย่างไรหนอแล ดังนี้ และได้ตกลงใจว่า เรา

ต้องปรารถนาทรัพย์ เราทั้งหลายผู้เว้นจากทรัพย์ไม่อาจจะได้รับสมบัตินี้ได้

ดังนี้แล้วจึงทำลายเวททั้งหลาย (ไม่เรียนพระเวท) ทำมนต์ของเก่าซึ่งประกอบ

ด้วยธรรมให้เสื่อม (พินาศ) ไป แต่งมนต์หลอกลวงอันไม่ประกอบด้วยธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 250

ขึ้นมา (แทนที่) เป็นผู้ต้องการทรัพย์ จึงได้เข้าไปหาพระเจ้าโอกกากราช

แล้วได้ประกอบกรรมทั้งหลายมีการถวายพระพรเป็นต้น แล้วกราบทูลว่า

มหาบพิตร อาตมาภาพทั้งหลายมีบทมนต์เก่าแก่ ซึ่งสืบต่อกันมาตามประเพณี

ในวงศ์ของพราหมณ์ พวกเราไม่ได้กล่าวมนต์นั้นแก่ใคร ๆ เพราะเป็นความลับ

ของอาจารย์ มหาบพิตรเป็นผู้สมควรจะสดับมนต์นั้น ดังนี้แล้ว จึงได้พรรณนา

ยัญวิธี มีอัสสเมธะเป็นต้น ก็ครั้นสรรเสริญแล้ว เมื่อจะให้พระราชาทรงอุตสาหะ

จึงได้ทูลว่า มหาบพิตร ขอพระองค์จงทรงบูชายัญ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระองค์จะ

เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยทรัพย์และข้าวเปลือก พระองค์ไม่มีความบกพร่องในสัมภาระ

เครื่องบูชายัญ เพราะว่าเมื่อพระองค์ทรงบูชาอย่างนี้อยู่ วงศ์กษัตริย์ของพระ-

องค์ชั่ว ๗ สกุล จักบังเกิดในสวรรค์ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

ทรงแสดงความเป็นไปนั้นของพราหมณ์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ว่าพราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์ในที่นั้นแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระเจ้าโอกกากราชใน

กาลนั้น กราบทูลว่า พระองค์มีทรัพย์และข้าวเปลือกมากมาย ขอเชิญพระองค์

ทรงบูชายัญเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่นั้น มีคำอธิบายว่า

พราหมณ์ทั้งหลายเพ่งเล็งโภคะใด ได้กระทำโภคะนั้นให้เป็นเหตุ (นิมิต).

คำว่า ตนฺนิมิตฺต นี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่าเหตุ (นิมิต).

สองบทว่า ตทุปาคมุ ได้แก่ เข้าไปหาแล้วในกาลนั้น.

บาทคาถาว่า ปหุตธนธญฺโสิ อธิบายว่า พระองค์จะเป็นผู้มีทรัพย์

และข้าวเปลือกมากในสัมปรายภพ ด้วยว่าอาจารย์ผู้ฉลาดในศัพท์ทั้งหลาย

ปรารถนากล่าวความหวัง (ของพระราชา) ในปัจจุบันให้เป็นไปแม้ในอนาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 251

บทว่า ยชสฺสุ ได้แก่ จงบูชา. สองบทว่า วิตฺต ธน พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ที่ชื่อว่า วิตฺต ทรัพย์ ก็เพราะเป็นเหตุให้ปลื้มใจประดุจ

รัตนะมีทองเป็นต้น ที่ชื่อว่า ธน ทรัพย์ เพราะเป็นเหตุกระทำให้สำเร็จ.

อีกอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า วิตฺต ได้แก่ อุปกรณ์มีเครื่องประดับเป็นต้น

ที่เป็นเหตุให้ปลื้มใจนั้นเอง ซึ่งมาแล้วในคำทั้งหลายมีคำว่า อุปกรณ์แห่งทรัพย์

เครื่องปลื้มใจเป็นอันมาก.

วัตถุทั้งหลายมีทองและเงินเป็นต้นชื่อว่า ธน ทรัพย์.

ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์ทั้งหลาย

แล้วได้เข้าเฝ้าพระเจ้าโอกกากราชในกาลนั้น.

ถามว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นทูลว่าอย่างไร ?

ตอบว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้นทูลว่า มหาบพิตร พระองค์มีทรัพย์

เครื่องปลื้มใจ และเงินทองอยู่มาก ขอพระองค์จงบูชายัญ พระองค์จักเป็นผู้มี

ทรัดย์และข้าวเปลือกมาก แม้ในอนาคต. ลำดับนั้นแล พระราชาผู้ประเสริฐ

อันพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวเหตุอย่างนี้แล้วให้ยินยอมอยู่ จึงได้ทรงบูชายัญ

อัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาชเปยยะ นิรัคคฬะ พระราชาทรงบูชายัญ

เหล่านี้แล้ว ก็ได้พระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สญฺตฺโต ได้แก่ ให้ทรงทราบแล้ว.

บทว่า รเถสโภ ได้แก่ ผู้เช่นกันโคอุสภะ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว

ในกษัตริย์ทั้งหลายซึ่งมีรถมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 252

ชนทั้งหลาย ย่อมฆ่าม้า ในยัญนี้ เพราะเหตุนั้น ยัญนี้จึงชื่อว่า

อัสสเมธะ.

คำว่า อัสสเมธะ นี้เป็นชื่อของยัญซึ่งมีทรัพย์สมบัติทั้งปวงที่เหลือ

เป็นเครื่องทักษิณามีเครื่องบูชา ๒๑ อย่าง ซึ่งบูชาด้วยยัญบริวาร ๒ ชนิด

เว้นที่ดินและบุรุษ.

ชนทั้งหลาย ย่อมฆ่าบุรุษในยัญนี้ เหตุนี้ ยัญนี้จึงชื่อว่า ปุริสเมธะ.

คำว่า ปุริสเมธะ นี้เป็นชื่อแห่งยัญอันมีทรัพย์สมบัติ ซึ่งกล่าวแล้วในอัสสเมธะ

พร้อมทั้งที่ดินเป็นเครื่องทักษิณาทาน ซึ่งจะพึงบูชาด้วยยัญบริวาร ๔ ชนิด.

ชนทั้งหลายย่อมคล้องเครื่องบูชาในยัญนี้ เหตุนี้ยัญนี้จึงชื่อว่า สัมมา-

ปาสะ.

คำว่า สัมมาปาสะ นี้เป็นชื่อของการบูชาด้วยสาตรา ที่ผู้บูชาใส่สลัก

เครื่องบูชาเข้าไปทุก ๆ วัน แล้วสร้างเวที (แท่นบูชา) ในโอกาสที่สลักเครื่อง

บูชานั้นตกลง แล้วเดินกลับตั้งแต่ที่ ๆ ตนดำลงในแม่น้ำสรัสสตี และบูชา

ด้วยเครื่องบูชาทั้งหลาย มีหลักสำหรับผูกสัตว์บูชายัญเป็นต้นที่จะนำไปได้.

ชนทั้งหลาย ย่อมดื่มน้ำที่ให้กำลังในยัญพิธีนี้ (น้ำศักดิ์สิทธิ์) เหตุนั้น

ยัญพิธีนี้ จึงชื่อว่า วาชเปยยะ. คำว่า วาชเปยยะ นี้เป็นชื่อแห่งการบูชายัญ

ที่มีหลักบูชายัญทำด้วยไม้มะตูม มีเครื่องบูชาอย่างละ ๑๗ ชนิด ที่จะพึงบูชา

ด้วยปศุสัตว์ ๑๗ ชนิด ด้วยยัญบริวารอีกอย่างหนึ่ง.

ลิ่มสลักทั้งหลายไม่มีในยัญนี้ เหตุนี้ยัญนี้ จึงชื่อว่า นิรัคคฬะ. คำว่า

นิรัคคฬะนี้ เป็นชื่อแห่งการกำหนดอัสสเมธะ จึงมีชื่อโดยปริยายว่า สัพพเมธะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 253

มีสมบัติทั้งปวงเป็นเครื่องทักษิณา ตามที่กล่าวไว้ในอัสสเมธะ พร้อมกับที่ดิน

กับบุรุษทั้งหลาย ที่จะพึงบูชาด้วยยัญบริวารอีก ๒ ชนิด. คำเหลือในคาถานี้

ชัดเจนแล้วทั้งนั้น.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสิ่งที่พระองค์ตรัสไว้ว่า พฺราหฺมณาน อทา

ธน จึงตรัส ๒ คาถานี้ว่า คาโว สยนญฺจ ดังนี้เป็นต้น.

ด้วยว่า พระราชา (พระเจ้าโอกกากราช) พระองค์นั้น ทรงดำริว่า

พราหมณ์ทั้งหลายลำบากอยู่ด้วยอาหารที่เศร้าหมองสิ้นกาลนาน จงได้บริโภค

ปัญจโครสกันเถิด ดังนี้แล้ว จึงได้พระราชทานฝูงโค พร้อมทั้งโคที่ประเสริฐ

(โคพันธุ์ดี) แก่พราหมณ์เหล่านั้น. อนึ่งพระองค์ทรงดำริว่า พวกพราหมณ์

ลำบากอยู่ ด้วยการนอนบนดิน ด้วยการนุ่งผ้าเนื้อหยาบ ด้วยการนอนคนเดียว

ด้วยการเที่ยวไปด้วยเท้า และด้วยการอยู่ในสถานที่ทั้งหลาย มีป่าและโคนต้นไม้

เป็นต้น ขอจงได้เสวยสุขในที่ทั้งหลาย มีการนอนบนเครื่องลาดอันประเสริฐ

มีผ้าโกเชาว์เป็นต้น ดังนี้แล้วจึงได้พระราชทานของมีค่าทั้งหลาย และที่นอน

เป็นต้นแก่พราหมณ์เหล่านั้น พระองค์ได้พระราชทานสิ่งอื่น ๆ มีประการต่าง ๆ

นี้ อย่างนี้ และทรัพย์มีเงินและทองเป็นต้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า พระราชาได้พระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้งหลายคือแม่โค ที่

นอน ผ้า เหล่านารีที่ประดับดีแล้ว รถเทียมม้าอาชาไนย ที่ช่างตกแต่งไว้เป็น

อย่างดี มีการขลิบอันวิจิตร รับสั่งให้เอาธัญชาติต่าง ๆ บรรจุเรือนที่น่ารื่นรมย์

อันกั้นไว้เป็นห้อง ๆ จนเต็มทุกห้อง พระราชทานทรัพย์แก่พราหมณ์ทั้งหลาย

ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 254

ก็พวกพราหมณ์เหล่านั้นได้ทรัพย์ในที่นั้น จากสำนักของพระราชานั้น

อย่างนี้แล้ว ชอบใจสั่งสมเสมอ ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่พราหมณ์เหล่านั้นผู้มี

ความปรารถนาหยั่งลงแล้ว พราหมณ์เหล่านั้นผูกมนต์เหล่านั้นแล้วได้เข้าไป

เฝ้าพระเจ้าโลกกากราชอีก.

ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พวกพราหมณ์เหล่านั้น ได้ทรัพย์

ในการบูชาอย่างนั้น ๆ จากสำนักพระราชานั้นแล้ว ก็แสวงหาอาหารและเสื้อผ้า

เพียงอย่างเดียวเท่านั้นอยู่ทุก ๆ วันเป็นเวลานาน จึงได้ยินดีการสั่งสมวัตถุกาม

มีประการต่าง ๆ. ต่อจากนั้น เมื่อพราหมณ์เหล่านั้น ผู้ก้าวลงสู่ความอยาก ผู้มี

จิตอันรสตัณหาหยั่งลงแล้ว ด้วยสามารถแห่งความยินดีอันเกิดจากปัญจโครส

มีนมสดเป็นต้น ตัณหาก็เจริญยิ่งขึ้นเพราะอาศัยเนื้ออย่างนี้ว่า ปัญจโครส

ทั้งหลายแม้มีน้ำนมสดเป็นต้น ของโคทั้งหลายยังอร่อย (สาธูนิ) เพียงนี้. แล้ว

เนื้อของโคเหล่านั้นจักอร่อยกว่าแน่แท้ ต่อจากนั้นพวกพราหมณ์ก็คิดว่า ถ้า

พวกเราจักฆ่าโคแล้วจักบริโภค ก็จะเป็นผู้ถูกติเตียนได้ อย่ากระนั้นเลย พวก

เราพึงผูกมนต์ทั้งหลายขึ้น (ดีกว่า)

ลำดับนั้น พวกพราหมณ์ก็ได้ทำลายพระเวทอีกครั้งหนึ่ง คือผูกมนต์

ทั้งหลายเหล่านั้นในที่นั้น ตามสมควรแก่เรื่องนั้น ๆ แล้วผูกมนต์โกงทั้งหลาย

โดยยึดถือมนต์เดิมนั้นเป็นเครื่องหมาย มีความปรารถนาทรัพย์ได้เข้าไปเฝ้า

พระเจ้าโอกกากราชอีก เพื่อจะทูลเนื้อความนี้จึงกราบทูลว่า

แม่โคทั้งหลายเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์สำหรับใช้ในสรรพกิจของมนุษย์

ทั้งหลาย เหมือนน้ำ แผ่นดิน เงิน ทรัพย์ และข้าวเหนียวฉะนั้น เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 255

ว่าน้ำเป็นต้นนั้น เป็นเครื่องใช้ของมนุษย์ทั้งหลาย ขอพระองค์ทรงบูชายัญเถิด

ราชสมบัติของพระองค์มีมาก ขอเชิญพระองค์ทรงบูชายัญเถิด พระราชทรัพย์

ของพระองค์ก็มีมาก.

ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า พวกพราหมณ์ทั้งหลายทูลว่า ข้า

แต่มหาบพิตร แม่โคเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การใช้ของมนุษย์ทั้งหลาย เหมือน

กับน้ำ ถึงการนำไปใช้เพื่อสัตว์ทั้งหลาย ในกิจการทั้งปวง มีล้างมือเป็นต้น

ฉะนั้น บาปเพราะการฆ่าแม่โคเหล่านั้นย่อมไม่มี เพราะเหตุไร ? เพราะโค

นั้นเป็นเครื่องใช้ (บริกขาร) คือว่าเกิดขึ้นเพื่ออุปกรณ์ของสัตว์ทั้งหลายคือว่าโค

ทั้งหลายเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การนำไปใช้สอยในกิจการทั้งหลายของมนุษย์

ทั้งหลาย เหมือนแผ่นดินใหญ่นี้ ถึงการนำไปใช้ในกิจการทั้งปวง มีการเดิน

และการยืนเป็นต้น เหมือนเงินกล่าวคือกหาปณะ ทรัพย์อันต่างด้วยทองและ

เงินเป็นต้น และข้าวเปลือกอันต่างข้าวเหนียวและข้าวละหานเป็นต้น ย่อม

ทั้งการใช้สอยในกิจการทั้งปวง มีสัพโยหารเป็นต้น ขอพระองค์จงฆ่าโค

เหล่านี้บูชายัญ ที่ประการต่าง ๆ ๆ ราชสมบัติของพระองค์มีมากเชิญพระองค์

ทรงบูชายัญเถิด ราชทรัพย์ของพระองค์มีมาก ดังนี้.

โดยนัยที่กล่าวแล้วในก่อนอย่างนี้นั้นแล ลำดับนั้นแล พระราชาผู้

ประเสริฐอันพราหมณ์ทั้งหลายให้ยินยอมแล้ว ได้ให้ฆ่าแม่โคทั้งหลาย ๑ แสน

ตัว ในยัญพิธี แม่โคทั้งหลายเหล่าใด เสมอด้วยแพะ สงบเสงี่ยม ถูกเขารีดนมลง

หม้อ ย่อมไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) ด้วยเท้า ไม่เบียดเบียนด้วยเขา ไม่เบียดเบียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 256

ด้วยอวัยวะอะไร ๆ เลย พระราชาผู้ไม่เคยฆ่าซึ่งสัตว์ใด ๆ ในกาลก่อนแต่กาล

นั้น ก็จับโคเหล่านั้นที่เขาทั้งหลายแล้วให้ฆ่าด้วยศัสตรา อธิบายว่า ได้ยินว่า

ในกาลนั้นพวกพราหมณ์ทั้งหลายทำหลุมยัญให้เต็มด้วยแม่โคทั้งหลาย แล้วก็ผูก

โคอุสภะตัวเป็นมงคล นำไปสู่บาทมูลของพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่

มหาบพิตร ขอพระองค์จงบูชายัญด้วยโค ทางแห่งพรหมโลกของพระองค์ก็จัก

บริสุทธิ์ พระราชาผู้ทรงกระทำกิจอันเป็นมงคลแล้ว ก็ทรงจับพระขรรค์ได้

ทรงรับสั่งให้ฆ่าแม่โคทั้งหลาย หลายแสนตัวเป็นอเนก พร้อมกับโคตัวประ

เสริฐ พราหมณ์ทั้งหลาย เชือดเนื้อทั้งหลายที่หลุมยัญแล้วบริโภค ในกาลนั้น

พวกพราหมณ์ได้ห่มผ้ากัมพลสีเหลือง ขาวและแดง ให้ฆ่าโคทั้งหลายแล้ว ได้

ยินว่าโคทั้งหลายเห็นพวกพราหมณ์ทั้งหลายห่มแล้วก็เกิดความหวาดเสียวเพราะ

อาศัยผ้านั้นเป็นเหตุ เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า น ปาทา

ฯเปฯ ฆาตยิ.

หลายบทว่า ตโต เทวา เป็นต้น ความว่า เมื่อพระราชาพระองค์

นั้นทรงเริ่มให้ประหารโคทั้งหลายอย่างนี้ ครั้งนั้น คือในระหว่างนั้นนั่นเอง

เทวดาทั้งหลายชั้นจาตุมหาราชิกา พระพรหมทั้งหลาย ซึ่งได้นามในพวก

พราหมณ์ทั้งหลายว่าเป็นบิดา ท้าวสักกะจอมเทพ อสูรและรากษสทั้งหลาย ผู้

อยู่ที่เชิงภูเขา ที่รู้กันว่าทานพยักษ์ก็เปล่งวาจาอย่างนี้ว่า อธรรม จึงได้พากัน

กล่าวว่า น่าติเตียน พวกมนุษย์ เป็นมนุษย์อธรรม เสียงนั้นได้ดังไปตั้งแต่

พื้นดินจนถึงพรหมโลกเพียงครู่เดียวเท่านั้น โลกได้เต็มรอบด้วยอธิการอัน

เดียวกัน ถามว่าเพราะเหตุไร ตอบว่า เพราะศัสตราตกลงบนแม่โค อธิบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 257

ว่า เพราะศัสตราตกลงบนแม่โค พวกเทวดาเป็นต้นจะพากันเปล่งเสียงร้องอย่าง

เดียวก็หามิได้ ความพินาศแม้อย่างอื่นนี้ก็ได้เกิดขึ้นเเล้วในโลก ท่านกล่าว

อธิบายไว้ว่า ก็โรค คือ ความอยาก ความอดอยาก ความทรุดโทรม เหล่านั้น

มี ๓ ชนิด ซึ่งมิแล้วในกาลก่อน ได้แก่ตัณหา คือความปรารถนาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ๑

ความหิว ๑ ความแก่หง่อม ๑ ก็โรคเหล่านั้นของพวกสัตว์ได้แพร่ออกเป็น ๙๘

ชนิด อธิบายว่าถึงแล้วซึ่งความเป็นโรค ๙๘ อย่างโดยประเภทที่โรคตาเป็นต้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงติเตียน การปรารภปศุสัตว์ จึง

ตรัสว่า เอโส อธมฺโม ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถาทั้งหลายเหล่านั้นว่า คำนี้กล่าวคือการปรารภ

ปศุสัตว์เป็นทัณฑ์ (คือกรรม) อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาทัณฑ์ ๓ อย่างมีกาย

ทัณฑ์เป็นต้น ชื่อว่า เป็นอธรรม เพราะไปปราศจากธรรม ได้เป็นธรรมที่

หยั่งลงแล้ว คือได้เป็นธรรมที่เป็นไปแล้ว ก็ธรรมนั้นแล ชื่อว่าเป็นธรรมเก่า

เพราะเป็นไปจำเดิมแต่กาลบัดนั้นมา แม่โคทั้งหลายชื่อว่าเป็นสัตว์ไม่ประทุษ-

ร้าย เพราะไม่เบียดเบียนด้วยอวัยวะไร ๆ มีเท้าเป็นต้น จำเดิมแต่การก้าวลง

ใด ๆ ย่อมถูกฆ่า ชนผู้บูชายัญทั้งหลายได้แก่ชนทั้งหลายผู้บูชาซึ่งยัญ เมื่อให้

ฆ่าแม่โคเหล่าใดอยู่ก็ย่อมเสื่อม คือว่า ย่อมฉิบหายจากธรรม (เพราะเหตุแห่ง

การฆ่าแม่โคเหล่านั้น)

บาทพระคาถาว่า เอวเมโส อณุธมฺโม ความว่า ธรรมอันเลวทราม

คือ ธรรมอันต่ำ มีคำอธิบายว่า เป็นอธรรม นี้อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 258

อีกอย่างหนึ่ง ก็เหตุที่แม้ธรรมคือการให้ (ทาน) ก็มีอยู่น้อยในธรรม

นี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อณุธมฺโม หมายเอาธรรม คือ

ทานที่น้อยนั้น.

บทว่า ปุราโณ ได้แก่ เป็นกาลเวลาที่ช้านานเพียงนั้น.

บาทพระคาถาว่า เอว ธมฺเม วิยาปนฺเน ได้แก่ เมื่อพราหมณธรรม

อันเป็นของเก่าฉิบหายแล้วอย่างนี้ พระบาลีว่า วิยาวตฺเต ดังนี้ก็มี อธิบายว่า

ได้แก่ เป็นธรรมที่เปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่น.

บาทพระคาถาว่า วิภินฺนา สุทฺธเวสฺสิกา ความว่า พวกศูทรและ

แพศย์ทั้งหลายสามัคคีกันอยู่ในกาลก่อน พวกเขาแม้เหล่านั้นก็แตกกัน.

บาทพระคาถาว่า ปุถุ วิภินฺนา ขตฺติยา ความว่า แม้พวกกษัตริย์

เป็นอันมาก ก็แตกกัน.

บาทพระคาถาว่า ปตึ ภริยา อวมญฺถ ความว่า และภรรยาซึ่งสามี

ให้ดำรงอยู่ในพลังคือความเป็นใหญ่ เมื่อครองเรือน เป็นผู้เข้าถึงแล้วด้วยพลัง

ทั้งหลาย มีพลังแห่งบุตรเป็นต้น ดูหมิ่น ได้แก่ดูแคลน คือดูถูกสามี ได้แก่

ไม่บำรุงโดยเคารพ.

พระคาถาว่า ขตฺติยา พรฺหฺมพนฺธู จ...กามาน วสมาคมุ

ความว่า พวกกษัตริย์และพวกพราหมณ์ พวกแพศย์และศูทรอื่นใดเป็นผู้

แตกกันอย่างนี้แล้ว ผู้ชื่อว่าอันโคตรรักษาแล้ว เพราะอันโคตรของตน ๆ

รักษาไว้ โดยประการที่จะไม่ระคนปนกัน (กับวรรณะอื่นนอกจากวรรณะของ

ตน) พวกชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ทำวาทะว่าชาตินั้นฉิบหายแล้ว ได้แก่ทำ

วาทะแม้ทั้งปวงนี้ว่า เราเป็นกษัตริย์ เราเป็นพราหมณ์ เป็นต้นให้ฉิบหายแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 259

ไปสู่อำนาจแห่งกามทั้งหลาย กล่าวคือกามคุณ ๕ ได้แก่ถึงซึ่งความอยาก มีคำ

อธิบายว่า ชนเหล่านั้นไม่กระทำสิ่งไร ๆ ที่ไม่ควรกระทำก็หามิได้ คือกระทำ

สิ่งที่ไม่ควรกระทำ เพราะกามเป็นเหตุ.

ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคุณของพวกพราหมณ์โบราณ

ด้วยคาถา ๙ คาถาว่า อิสโย ปุพฺพกา อย่างนี้แล้ว ได้ทรงแสดงความ

ประพฤติที่เสมอด้วยพรหม ด้วยคาถาว่า โย เนส ปรโม เป็นต้น ความ

ประพฤติที่เสมอด้วยเทพ ด้วยคาถาว่า ตสฺส วตฺตมนุสิกฺขนฺตา เป็นต้น

ซึ่งความประพฤติเรียบร้อยด้วยคาถา ๔ คาถาว่า ตณฺฑุล สยน เป็นต้น

ซึ่งความประพฤติที่แตกทำลายด้วยคาถา ๑๗ คาถาว่า เตส อาสิ วิปลฺลาโส

เป็นต้น.

และเมื่อจะแสดงถึงการปฏิบัติออกนอกทางของพวกเทพเป็นต้น ด้วย

การปฏิบัติผิด ด้วยการประพฤตินั้น แล้วให้เทศนาจบลง. แต่พวกพราหมณ์

จัณฑาลพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้จัดไว้ในที่นี้เลย เพราะเหตุไร. เพราะไม่มี

การกระทำการปฏิบัติผิดไร ๆ ก็เมื่อความถึงพร้อมแห่งพราหมณ ธรรมมีอยู่

ธรรมของพราหมณ์ทั้งหลายก็ฉิบหายแล้ว เพราะเหตุนั้นนั่นแล โทณพราหมณ์

จึงทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกข้าพระองค์ทั้งหลาย

ก็บำเพ็ญแม้พราหมณจัณฑาลให้บริบูรณ์ไม่ได้. คำที่เหลือในคาถานี้ มีนัยอัน

ข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งพราหมณธัมมิกสูตร

แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถโชติกา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 260

นาวาสูตรที่ ๘

ว่าด้วยอุปมาเหมือนเรือข้ามฝั่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

[๓๒๕] ก็บุรุษพึงรู้แจ้งธรรมจาก

บุคคลใด พึงบูชาบุคคลนั้น เหมือนเทวดา

บูชาพระอินทร์ฉะนั้น บุคคลนั้นเป็นพหูสูต

ผู้อันเตวาสิกนั้น ย่อมชี้แจงธรรมให้แจ่มแจ้ง.

บุรุษผู้มีปัญญา ไม่ประมาท คบ

บุคคลผู้เป็นพหูสูตเช่นนั้น กระทำธรรมนั้น

ให้มีประโยชน์ใคร่ครวญแล้ว ปฏิบัติธรรม

สมควรแก่ธรรม ย่อมเป็นผู้รู้แจ่มแจ้ง แสดง

ธรรมแก่ผู้อื่นและเป็นผู้ละเอียด.

อันเตวาสิก ซ่องเสพอาจารย์ผู้ประ-

กอบด้วยธรรมน้อย เป็นคนเขลา ผู้ยังไม่

บรรลุประโยชน์ และริษยา ไม่ยังธรรมให้

แจ่มแจ้งในศาสนานี้เทียว ยังข้ามความสงสัย

ไม่ได้ ย่อมเข้าถึงความตาย.

บุคคลไม่ยังธรรมให้แจ่มแจ้งแล้ว

ไม่ใคร่ครวญเนื้อความในสำนักแห่งบุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 261

ผู้เป็นพหูสูตทั้งหลาย ไม่รู้ด้วยตนเอง ยัง

ข้ามความสงสัยไม่ได้ จะสามารถให้ผู้อื่น

เพ่งพินิจได้อย่างไร.

เหมือนคนข้ามแม่น้ำที่มีน้ำมาก มี

กระแสไหลเชี่ยว ถูกน้ำพัดลอยไปตามกระ

แสน้ำ จะสามารถช่วยให้ผู้อื่นข้ามได้อย่าง

ไร ฉะนั้น.

ผู้ใดขึ้นสู่เรือที่มั่นคง มีพายและถ่อ

พร้อมมูล ผู้นั้นรู้อุบายในเรือนั้น เป็นผู้

ฉลาด มีสติ พึงช่วยผู้อื่นแม้จำนวนมากใน

เรือนั้น ให้ข้ามได้ แม้ฉันใด

ผู้ใดไปด้วยมรรคญาณทั้ง ๔ อบรม

ตนแล้ว เป็นพหูสูต ไม่มีความหวั่นไหว

เป็นธรรมดา ผู้นั้นแลรู้ชัดอยู่ พึงยังผู้อื่นผู้ตั้ง

ใจสดับและสมบูรณ์ด้วยธรรมอันเป็นอุปนิสัย

ให้เพ่งพินิจได้ ฉันนั้น.

เพราะเหตุนั้นแล บุคคลควรคบ

สัปบุรุษผู้มีปัญญา เป็นพหูสูต บุคคลผู้คบ

บุคคลเช่นนั้น รู้ชัดเนื้อความแล้ว ปฏิบัติ

อยู่ รู้แจ้งธรรมแล้ว พึงได้ความสุข.

จบนาวาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 262

อรรถกถาธรรมสูตรที่ ๘

ธรรมสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺมา หิ ธมฺม ดังนี้.

พระสูตรนี้ท่านเรียกว่า นาถสูตร ก็มี.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า ก็พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสปรารภพระสารีบุตรผู้มี

อายุ นี่คือความสังเขปในพระสูตรนี้ ส่วนความพิสดารพึงทราบจำเดิมแต่กาล

ที่พระอัครสาวกทั้งสองอุบัติขึ้น คือ

ดังได้สดับมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ทรงอุบัติขึ้น พระอัคร-

สาวกทั้งสองบำเพ็ญบารมีอยู่ ๑ อสงไขยกับแสนกัป แล้วบังเกิดในเทวโลก

บรรดาอัครสาวกทั้ง ๒ นั้น ท่านแรก (พระสารีบุตร) เคลื่อนจากเทวโลกแล้ว

ก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางพราหมณีชื่อว่า รูปสารี แห่งพราหมณ์ผู้เป็นนาย

บ้านซึ่งมีทรัพย์ถึง ๕๖๐ โกฏิ ในบ้านอันเป็นที่อยู่อาศัยของพวกพราหมณ์

ชื่อว่า อุปติสสคาม อันอยู่ไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์. ท่านที่สอง (พระ-

โมคคัลลานะ) ถือปฏิสนธิในท้องของนางพราหมณีชื่อว่า โมคคัลลานี แห่ง

ท่านพราหมณ์ผู้เป็นนายบ้าน ซึ่งมีทรัพย์จำนวน ๕๖๐ โกฎิ เช่นกัน ณ บ้าน

ที่อยู่อาศัยของพวกพราหมณ์ชื่อ โกลิตคาม ในที่ไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์นั้น

เช่นกัน (โดยถือปฏิสนธิ) ในวันนั้นนั่นเอง.

๑. บาลีว่า นาวาสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 263

การถือปฏิสนธิและการออกจากครรภ์แห่งท่านทั้งสองนั้น ได้มีแล้ว

ในวันเดียวกันเช่นกัน ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อให้เด็กคนหนึ่งในบรรดาเด็กสอง

คนนั้นว่า อุปติสสะ เพราะเกิดในอุปติสสคาม และตั้งชื่อเด็กอีกคนหนึ่งว่า

โกลิตะ เพราะเกิดในโกลิตคาม ก็ในวันเดียวกันเหมือนกัน เด็กทั้งสองนั้น

เป็นสหายวิ่งเล่นมาด้วยกัน ถึงความเจริญโดยลำดับ สหายคนหนึ่ง ๆ มีมาณพ

เป็นบริวารคนละ ๕๐๐ สหายทั้งสองนั้น เมื่อจะไปสู่อุทยานก็ตาม สู่ท่าน้ำก็

ตาม ย่อมไปพร้อมกับบริวารนั่นเอง สหายคนหนึ่ง (อุปติสสะ) ไปด้วยวอทอง

๕๐๐ หลัง สหายคนที่สอง (โกลิตะ) ไปด้วยรถเทียมม้าอาชาไนย ๕๐๐ คัน.

ก็ ณ กาลครั้งนั้น ในเมืองราชคฤห์ได้มีมหรสพบนยอดเขาในกาล

ตามลำดับกาล (ตามเทศกาล) ในเวลาเย็น พวกชาวแคว้นอังคะและแคว้นมคธะ

ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นคนฉลาด มีขัตติยราชกุมารเป็นต้น ได้ประชุมกัน ณ สถานที่

นั้น ในท่ามกลางพระนคร ก็นั่งชมมหรสพชนิดต่าง ๆ อยู่บนสถานที่ทั้งหลาย

ที่ปูลาดไว้เป็นอย่างดี มีเตียงและตั่งเป็นต้น. ครั้งนั้น สหายทั้งสองเหล่านั้น

พร้อมกับบริวาร ก็ไปในที่นั้น แล้วนั่งบนอาสนะทั้งหลายที่ปูลาดไว้ มีเตียง

และตั่งเป็นต้น ชมมหรสพอยู่ได้มีความคิดว่า ยังไม่ถึงร้อยปีในระหว่างนี้ก็จัก

ตายดังนี้. ความตายได้มาปรากฏแก่อุปติสสะนั้นประดุจจับอยู่ที่หน้าผาก. ความ

คิดเช่นเดียวกันนี้ก็ได้เกิดขึ้นแก่โกลิตมาณพเช่นกัน. เมื่อนักฟ้อนทั้งหลายมี

จำนวนมิใช่น้อยฟ้อนรำอยู่ จิตใจของสหายทั้งสองนั้นมิได้น้อมไปในเหตุแม้

สักว่าจะดู โดยที่แท้ความสังเวชเท่านั้นเกิดขึ้น.

ลำดับนั้น เมื่อมหรสพเลิกแล้ว บริษัทหลีกไปแล้ว เมื่อสหายทั้ง

หลายเหล่านั้นพร้อมกับบริวารหลีกไปแล้ว โกลิตะจึงได้ถามอุปติสสะว่า เพื่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 264

เพราะเหตุไร ท่านไม่มีแม้สักว่าความบันเทิงในการชมฟ้อนรำเป็นต้น เขาได้

บอกเนื้อความนั้นแก่โกลิตะนั้น แล้วได้ถามเนื้อความแม้เช่นเดียวกันนั้น แม้

โกลิตะนั้นก็ได้นอกความเป็นไปของตนแก่อุปติสสะนั้น แล้วกล่าวต่อไปว่า มา

เถิดสหาย เราจักไปบวชแล้วแสวงหาอมตธรรมกันเถิด. อุปติสสะตอบรับว่า

ดีแล้วเพื่อน ต่อจากนั้นสหายทั้งสองได้สละสมบัตินั้นแล้ว ได้เดินทางมาถึง

กรุงราชคฤห์โดยลำดับอีก.

โดยสมัยนั้นแล ปริพาชก ชื่อว่า สัญชัย อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์.

สหายทั้งสองนั้น พร้อมด้วยมาณพบริวารคนละ ๕๐๐ บวชในสำนักของสัญชัย

นั้น โดย ๒-๓ วันเท่านั้น ก็เรียนจบไตรเพท และลัทธิของปริพาชกทั้งหมด

สหายทั้งสองนั้น เมื่อเข้าไปพิจารณาถึงเบื้องต้นและท่ามกลางและที่สุดของศา-

สตร์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่เห็นที่สุด จึงได้ถามอาจารย์ว่า เบื้องต้นและท่ามกลาง

แห่งศาสตร์ทั้งหลายเหล่านี้ปรากฏอยู่. แต่ที่สุดไม่ปรากฏ เพราะสิ่งที่บุคคลจะ

พึงบรรลุให้ยิ่งขึ้นด้วยคิดว่า ตนจะพึงบรรลุสิ่งชื่อนี้ได้ด้วยศาสตร์เหล่านี้ ดังนี้

ย่อมไม่มี แม้อาจารย์สัญชัยนั้นก็กล่าวว่า แม้เราเองก็ไม่เห็นที่สุดแห่งศาสตร์

เหล่านี้เช่นนั้นเหมือนกัน. สหายทั้งสองนั้นจึงพูดกันว่า ถ้าอย่างนั้น พวกเราจะ

แสวงหาที่สุดแห่งศาสตร์เหล่านั้น อาจารย์จึงพูดกะพวกเขาว่า พวกเธอพึงแสวง

หาตามสบายเถิด. สหายทั้งสองนั้นอันอาจารย์สัญชัยนั้นอนุญาตแล้วอย่างนี้ เมื่อ

จะแสวงหาอมตธรรม เที่ยวไปอยู่ เป็นผู้ปรากฏแล้วในชมพูทวีป ชนทั้งหลาย

มีกษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้น อันสหายทั้งสองเหล่านั้นถามแล้ว ก็ตอบให้

แจ่มแจ้งยิ่งขึ้นไม่ได้ แต่เมื่อชนทั้งหลายพูดว่า อุปติสสะ โกลิตะ ชนเหล่าใด

ที่พูดว่า พวกเราไม่รู้จักท่านทั้งสองนั้นเลย ดังนี้ย่อมไม่มี สหายทั้งสองจึง

เป็นผู้ปรากฏ (เป็นที่รู้จักกัน ) อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 265

เมื่อสหายทั้งสองเหล่านั้น เที่ยวแสวงหาอมตธรรมอยู่อย่างนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก ทรงแสดงธรรมจักรอัน

ประเสริฐแล้ว ได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ ก็ปริพาชกทั้งสองนั้น

เที่ยวไปยังชมพูทวีปทั้งสิ้น การท่องเทียวไปขอพักไว้ก่อน เมื่อไม่ได้อมต-

ธรรม โดยที่สุดแม้สักว่าการตอบปัญหาเกี่ยวกันที่สุด จึงได้ไปยังกรุงราชคฤห์

อีก. เรื่องทั้งหมด นับตั้งแต่ข้อความที่ว่า ครั้งนั้นแล พระอัสสชิผู้มีอายุ

นุ่งห่มแล้วในเวลาเช้าดังนี้เป็นต้น จนถึงกาลที่สหายทั้งสองนั้นได้บรรพชา พึง

ทราบโดยพิสดารโดยนัยที่มาแล้วในบรรพชาขันธกะ.

เมื่อสหายทั้งสองเหล่านั้นบวชแล้วอย่างนี้ ท่านพระสารีบุตรได้กระทำ

ให้แจ้งซึ่งสาวกบารมีญาณ โดยระยะกาลกึ่งเดือน พระสารีบุตรนั้น เมื่อใดอยู่

ในวิหารเดียวกันกับพระอัสสชิเถระ เมื่อนั้น ท่านไปสู่ที่อุปัฏฐากของพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว ต่อจากนั้นก็ไปสู่ที่อุปัฏฐากพระเถระด้วยความเคารพว่า พระ

ผู้มีอายุนี้เป็นบุรพาจารย์ของเราทั้งหลาย เราได้อาศัยท่านผู้มีอายุนี้ จึงได้รู้คำ

สอนของพระพุทธเจัา เเต่ว่าเมื่อใดท่านมิได้อยู่ในวิหารเดียวกันกับพระอัสสชิ-

เถระ เมื่อนั้นพระเถระอยู่ ณ ทิศใด ท่านก็หันหน้าไปยังทิศนั้น ไหว้ด้วย

เบญจางคประดิษฐ์ แล้วประคองอัญชลีนมัสการ ภิกษุทั้งหลายเห็นการกระทำ

นั้นแล้ว จึงสนทนากันว่า พระสารีบุตรเป็นถึงอัครสาวก ยังไหว้ทิศอยู่แม้

ทุกวันนี้ ท่านเห็นจะยังละทิฏฐิของพวกพราหมณ์ไม่ได้.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียงสนทนานั้น ด้วยโสตธาตุอัน

เป็นทิพย์. เมื่อทรงแสดงพระองค์ผู้นั่งอยู่ บนพุทธอาสน์อันบวรที่เขาปูลาดไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 266

แล้วนั้นแล ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุทั้งหลาย เดี๋ยวนี้เธอทั้งหลายนั่ง

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นได้ทูลบอกความเป็นไปนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระสารีบุตรหาได้นอบ

น้อมทิศไม่ เธอได้รู้พระศาสนาเพราะอาศัยผู้ใด เธอจึงได้ไหว้นมัสการนอบ

น้อมผู้นั้น ซึ่งเป็นอาจารย์ของตน ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นผู้บูชาอาจารย์

ดังนี้แล้ว เพื่อจะแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้วในที่นั้น จึงได้

ตรัสพระสูตรนี้.

ในบรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ยสฺมา หิ ธมฺม

ปุริโส วิชญฺา ความว่า บุคคลฟังแล้วซึ่งปริยัติธรรม อันต่างด้วยปิฎกสาม

หรือว่าฟังแล้วซึ่งปฏิเวธธรรมอันต่างโดยโลกุตรธรรมเก้า ที่บุคคลฟังปริยัติ-

ธรรมแล้วจะพึงบรรลุ จากบุคคลใด คือพึงรู้แจ้งคือว่าพึงทราบ.

พระบาลีว่า วิเทยฺย ดังนี้ก็มี เนื้อความนั้นก็เหมือนกัน.

บาทคาถาว่า อินฺทว น เทวตา ปูชเยยฺย ความว่า เทวดาทั้ง

หลายในเทวโลกทั้งสอง ย่อมบูชาท้าวสักกะจอมเทพฉันใด บุคคลนั้นลุกขึ้น

แต่เช้าตรู่แล้ว เมื่อกระทำวัตรปฏิบัติทั้งปวง มีการถอดรองเท้าเป็นต้น พึง

บูชา ได้แก่ พึงสักการะ เคารพบุคคลนั้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า อาจารย์นั้นผู้เป็นพหูสูตอันอันเตวาสิกบูชาแล้ว มีจิตเลื่อมใส

ในอันเตวาสิกนั้น ย่อมชี้แจงธรรมให้แจ่มเเจ้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 267

สองบาทพระคาถาว่า โส ปูชิโต ฯเปฯ ปาตุกโรติ ธมฺม ความ

ว่า อาจารย์นั้นผู้ชื่อว่าเป็นพหูสูตด้วยสามารถแห่งปริยัติและปฏิเวธ อันศิษย์

บูชาแล้วอย่างนี้ มีจิตเลื่อมใส (พอใจ) ในอันเตวาสิกนั้น ย่อมกระทำให้แจ่ม

แจ้ง คือว่าย่อมแสดงซึ่งปริยัติธรรม ด้วยสามารถแห่งเทศนานั้นแล และ

ซึ่งปฏิเวธธรรมที่ตนฟังการแสดงแล้ว จะพึงบรรลุได้ ตามที่อาจารย์สั่งสอน

ด้วยการปฏิบัติ คือว่า ย่อมกระทำให้แจ่มแจ้งซึ่งปริยัติธรรมด้วยเทศนา หรือ

ซึ่งปฏิเวธธรรมที่ตนได้บรรลุแล้วด้วยสามารถแห่งอุปมา.

บาทพระคาถาว่า ตทฏฺิกตฺวาน นิสมฺม ธีโร ความว่า บุรุษชื่อว่า

เป็นนักปราชญ์ เพราะสามารถฟังธรรมแล้วทรงจำไว้ได้ กระทำธรรมที่อาจารย์

ผู้เลื่อมใสแล้วอย่างนี้ ทำให้ปรากฏแล้วให้มีประโยชน์.

บาทพระคาถาว่า ธมฺมานุธมฺม ปฏิปชฺชมาโน ความว่า เจริญอยู่

ซึ่งวิปัสสนาภาวนา อันชื่อว่าเป็นธรรมสมควร เพราะเป็นธรรมที่อนุโลมแก่

โลกุตรธรรม.

บาทพระคาถาว่า วิญฺญู วิภาวี นิปุโณ จ โหติ ความว่า เป็นผู้

รู้แจ้งด้วยการบรรลุ ด้วยปัญญา กล่าวคือ ความเป็นผู้รู้แจ้ง ชื่อว่าเป็นผู้

แจ่มแจ้ง เพราะรู้แจ้งแล้วสามารถจะกระทำให้ปรากฏ ให้คนแม้เหล่าอื่นทราบ

ได้ และชื่อว่าเป็นผู้ละเอียดอ่อน เพราะเป็นผู้แทงตลอดซึ่งอรรถะอันสุขุม

อย่างยิ่ง.

บาทพระคาถาว่า โย ตาทิส ภชติ อปฺปมตฺโต ความว่า ผู้ใดเป็น

ผู้ไม่ประมาท คือเป็นผู้มีความเลื่อมใสในอาจารย์นั้น เป็นเบื้องหน้า คบอาจารย์

ผู้เป็นพหูสูตเช่นนั้น คือผู้มีประการอันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 268

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสรรเสริญ การคบอาจารย์ที่เป็นบัณฑิต

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะติเตียนการคบอาจารย์ที่โง่เขลา จึงตรัสคาถานี้ว่า

ขุทฺทญฺจ พาล เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขุทฺท ความว่า ซึ่งอาจารย์ผู้ประกอบ

ด้วยกายกรรมเป็นต้นอันเล็กน้อย ชื่อว่า ผู้โง่ (พาล) เพราะไม่มีปัญญา.

บทว่า อนาคตตฺถ ความว่า ผู้มีประโยชน์ คือปริยัติและปฏิเวธ

อันตนไม่บรรลุแล้ว.

บทว่า อุสุยฺยก ได้แก่ ผู้ชื่อที่อดทนไม่ได้อยู่ ซึ่งความเจริญของ

อันเตวาสิก เพราะความเป็นผู้ริษยา. คำที่เหลือในคาถานี้ โดยบท (คือโดย

พยัญชนะ) ก็ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น แต่โดยอธิบาย พึงทราบเนื้อความแห่ง

พระคาถานั้นอย่างนี้ว่า อาจารย์ใดมักจะได้บริขารทั้งหลาย มีจีวรเป็นอัน

มากเป็นต้น ก็ไม่สามารถเพื่อจะให้จีวรเป็นต้น (หรือว่าย่อมไม่ให้แม้สักว่า

คำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ในธรรมทานแก่อันเตวาสิกทั้งหลาย อันเตวาสิก

ซ่องเสพอยู่ ซึ่งอาจารย์นั้น ผู้ประกอบด้วยธรรมน้อย เพราะเป็นผู้ประกอบ

ด้วยธรรมมีความเป็นธรรมน้อยเป็นต้นเหล่านี้ ผู้โง่เขลา ผู้ไม่ได้บรรลุประ-

โยชน์ ผู้ริษยา แม้ตนของก็จะกลายเป็นคนโง่ (ไปด้วย) โดยนัยที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า บุคคลห่อปลาเน่าด้วยหญ้าคา ดังนี้เป็นต้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้น

ไม่กระทำให้แจ่มแจ้ง และไม่ทราบปริยัติธรรม หรือปฏิเวธธรรมอะไร ๆ

แม้มีประมาณน้อยในศาสนานี้ ทั้งยังข้ามความสงสัยในธรรมทั้งหลายไม่ได้

ย่อมเข้าถึงความตาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 269

บัดนี้ เมื่อจะกระทำเนื้อความแห่งพระคาถานั้นนั่นแลให้ปรากฏ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระคาถาว่า ยถา นโร ดังนี้เป็นต้น.

ในคำทั้งหลายเหล่านั้น คำว่า อาปค ได้แก่ แม่น้ำ.

บทว่า มโหทก ได้แก่ น้ำมาก.

บทว่า สลิล ได้แก่ ไหลไปแล้วจากที่นี้และที่นี้ มีคำอธิบายว่า

แผ่กว้างออกไป. พระบาลีว่า สริต (ไหลไป) ดังนี้ก็มี เนื้อความก็อย่างนั้น

เหมือนกัน.

บทว่า สีฆโสต ได้แก่ พัดพาสิ่งที่ควรพัดพาไปได้ มีคำอธิบายว่า

ไหลไปด้วยกำลังแรง. โส อักษร ในคำนี้ว่า กึ โส และด้วย โส อักษร

นี้ว่า โส วุยฺหมาโน เป็นคำสักว่านิบาต เพราะเป็นคำแสดงถึงนระนั้น

เป็นคำที่ท่านอธิบายว่า กสุ เหมือนประโยคว่า น ภวิสฺสามิ นาม โส

วินสฺสิสฺสามิ นาม โส (ข้าพเจ้าชื่อว่าจักไม่เป็น ข้าพเจ้าแลชื่อว่าจักฉิบหาย

ละสิ)

บทว่า ธมฺม ได้แก่ ธรรมสองอย่างที่กล่าวไว้แล้วในตอนต้นนั้นเอง.

บทว่า อนิสามยตฺถ ได้แก่ ไม่ใคร่ครวญแล้วซึ่งเนื้อความ.

คำที่เหลือในพระคาถานี้ โดยบทปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น ส่วนโดย

อธิบาย ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความในพระคาถานี้ อย่างนี้ว่า นรชนคนใด

คนหนึ่ง ลงสู่แม่น้ำมีประการดังกล่าวมาแล้ว อันแม่น้ำนั้นพัดไปอยู่ ไปตาม

กระแสน้ำ คือว่า ไปตามอยู่ซึ่งกระแสน้ำนั้นเอง จักสามารถเพื่อจะทำบุคคล

อื่นที่อยู่บนฝั่ง คือว่าจักอาจเพื่อจะทำบุคคลอื่นให้ฝั่งได้อย่างไร ฉันใด

พระบาลีว่า สกฺกติ ดังนี้ก็มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 270

บุคคลไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมแม้ ๒ อย่าง ด้วยปัญญาของตนแล้ว

และไม่ใคร่ครวญเนื้อความแม้สักว่า คำว่า อนิจจัง คำว่า ทุกขัง และคำว่า

อนัตตา ในสำนักของบุคคลผู้เป็นพหูสูตทั้งหลาย ไม่รู้อยู่เพราะความที่ตนไม่รู้

ได้ด้วยตนเอง และชื่อว่ายังข้ามความสงสัยไม่ได้ เพราะตนยังไม่ได้พิจารณา

ใคร่ครวญ และอาจเพื่อจะทำบุคคลอื่นให้เพ่งเล็ง คือให้เพ่งพินิจได้อย่างไร

ดังนี้. ในข้อนี้ผู้ศึกษาพึงระลึกถึงสุตตบท มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนจุนทะ

ผู้นั้นแล ชื่อว่า บ่นเพ้ออยู่ด้วยตนเอง ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงกล่าวอุปมา เพื่อกระทำเนื้อความให้

ปรากฏ เพราะบุคคลไม่สามารถจะทำผู้อื่นให้เพ่งเล็งถึงคนพาล ด้วยการคบคน

พาลอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงได้ตรัส ๒ พระคาถาว่า ยถาปิ นาว เป็นต้น เพื่อ

จะตรัสซึ่งอุปมา เพื่อทำเนื้อความให้ปรากฏ เพราะเป็นผู้สามารถเพื่อจะทำผู้อื่น

ให้เพ่งพินิจได้ถึงบัณฑิต ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ในคำนี้ว่า ผู้ใด

ไม่ประมาท คบคนเช่นนั้น ดังนี้เป็นต้น.

ในบรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผิเยน ได้แก่ ไม้พาย.

บทว่า อริตฺเตน ได้แก่ ถ่อ (ท่อนไม้ไผ่)

บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเรือนั้น.

บทว่า ตตฺรุปายญฺญู ได้แก่ เป็นผู้รู้อุบาย ด้วยการให้บรรลุถึงหน

ทาง เพราะรู้อุบายมีการนำเรือมาและการแล่นเรือ (ใบ) ไป เป็นต้น และชื่อว่า

เป็นผู้ฉลาด เพราะความเป็นผู้มีสิกขาอันได้ศึกษาแล้ว และเพราะมีความฉลาด

เป็นประมาณ ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้ (ปัญญา) เพราะสามารถจะกำจัดอันตราย

ที่บังเกิดขึ้นแล้วได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 271

บทว่า เวทคู ได้แก่ มรรคญาณทั้งสี่ กล่าวคือการรู้.

บทว่า ภาวิตตฺโต ได้แก่ มีจิตอันมรรคภาวนานั้นนั่นแลอบรมแล้ว.

บทว่า พหุสฺสุโต ได้แก่ มีนัยอันกล่าวแล้วในกาลก่อน.

บทว่า อเวธธมฺโม ได้แก่ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมทั้ง ๘

เป็นสภาพ.

คาถาว่า โสตาวธานูปนิสูปปนฺเน ได้แก่ ได้เกิดขึ้นแล้วโดยการเงี่ย

โสตลงสดับ และด้วยอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลาย. คำที่เหลือมีเนื้อความ

เข้าใจง่ายทั้งนั้น แม้โยชนาในการอธิบาย ก็สามารถจะให้ทราบชัดได้โดยนัย

ที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงไม่ต้องอธิบายให้พิสดาร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอุปมามีเนื้อความ คือการกระทำความ

เป็นผู้สามารถ เพื่อจะให้ผู้อื่นเพ่งพินิจถึงบัณฑิตให้ปรากฏ อย่างนี้แล้ว เมื่อ

จะทรงประกอบไว้ด้วยการคบบัณฑิตนั้น จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายนี้ว่า ตสฺมา

หเว ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความย่อในพระคาถาสุดท้ายนั้น มีดังต่อไปนี้ :-

เพราะเหตุที่ชนทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ย่อมบรรลุคุณวิเศษ

ได้ด้วยการคบบัณฑิต ฉะนั้นแล บุคคลพึงคบสัตบุรุษ. ถามว่า คบสัตบุรุษ

เช่นไร. ตอบว่า บุคคลพึงคบสัตบุรุษผู้มีปัญญาด้วย ผู้เป็นพหุสูตด้วย คือว่า

ผู้มีปัญญา ด้วยความถึงพร้อมแห่งปัญญา และผู้เป็นพหูสูตด้วยมีสุตะทั้งสอง

ประการตามที่กล่าวแล้ว เพราะบุคคลนั้นเมื่อคบผู้มีปัญญาเช่นนั้นอยู่ รู้แล้ว

ซึ่งธรรมที่ผู้นั้นกล่าวแล้ว และทราบแล้วซึ่งอรรถ (ผล) อย่างนี้ ปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 272

อยู่ซึ่งธรรมตามที่อาจารย์ผู้มีปัญญานั้นสอนแล้ว ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว

ด้วยสามรถแห่งการแทงตลอดได้ด้วยข้อปฏิบัตินั้น พึงได้ คือพึงถึง ได้แก่

พึงบรรลุซึ่งโลกุตรสุข อันต่างด้วยมรรคผลและนิพพาน เพราะฉะนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงให้พระเทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัต ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งธรรมสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 273

กิงสีลสูตรที่ ๙

ว่าด้วยบรรลุประโยชน์สูงสุดด้วยปกติอย่างไร

ท่านพระสารีบุตรทูลถามด้วยคาถาว่า

[๓๒๖] นรชนพึงมีปกติอย่างไร มี

ความประพฤติอย่างไร พึงพอกพูนกรรม

เป็นไฉน จึงจะเป็นผู้ดำรงอยู่โดยชอบ

และพึงบรรลุถึงประโยชน์อันสูงสุดได้ พระ-

เจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

นรชนพึงเป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อม

ต่อบุคคลผู้เจริญ ไม่ริษยา และเมื่อไปหาครู

ก็พึงบุคคลผู้เจริญ ไม่ริษยา และเมื่อไปหาครู

ที่ครูกล่าวแล้ว พึงฟังสุภาษิตโดยเคารพ.

พึงไปหาครูผู้นั่งอยู่ในเสนาสนะของ

ตนตามกาล ทำมานะดุจเสาให้พินาศ พึง

ประพฤติอ่อนน้อม พึงระลึกถึงเนื้อความ

แห่งภาษิต ธรรมคือบาลี ศีล พรหมจรรย์

และพึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อด้วยดี.

นรชนมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดี

แล้วในธรรม ตั้งอยู่ในธรรม รู้จักวินิจฉัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 274

ธรรม ไม่พึงประพฤติถ้อยคำที่ประทุษร้าย

ธรรมเลย พึงให้กาลสิ้นไปด้วยภาษิตที่แท้.

นรชนละความรื่นเริง การพูดกระ-

ซิบ ความร่ำไร ความประทุษร้าย ความ

หลอกลวงที่ทำด้วยมารยา ความยินดี ความ

ถือตัว ความแข่งดี ความหยาบคาย และ

ความหมกมุ่นด้วยกิเลสดุจน้ำฝาด พึงเป็นผู้

ปราศจากความมัวเมา ดำรงในนั้น เที่ยวไป.

นรชนเป็นนี้ รู้แจ่งสุภาษิตที่เป็น

สาระ รู้แจ้งสูตรและสมาธิที่เป็นสาระ

ปัญญาและสุตะ ย่อมไม่เจริญแก่นรชนผู้เป็น

คนผลุนผลัน เป็นคนประมาท.

ส่วนนรชนเหล่าใด ยินดีแล้วใน

ธรรมที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว นรชน

เหล่านั้น เป็นผู้ประเสริฐ ว่าสัตว์ที่เหลือด้วย

วาจา ด้วยใจ และการงาน นรชนเหล่านั้น

ดำรงอยู่ด้วยดีแล้วในสันติ โสรัจจะ และ

สมาธิ ได้บรรลุถึงธรรมอันเป็นสาระแห่งสติ

และปัญญา.

จบกิงสีลสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 275

อรรถกถากิงสีลสูตรที่ ๙

กิงสีลสูตร มีคำเริ่มต้นว่า กึสีโล ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเถิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ : -

สหายฆราวาสของพระสารีบุตรผู้มีอายุคนหนึ่ง เป็นบุตรของพราหมณ์

ซึ่งเป็นสหายของวังคันตพราหมณ์ ผู้เป็นบิดาของพระเถระนั้นเอง บริจาค

ทรัพย์ ๕๖๐ โกฏิ แล้วบวชในสำนักของพระสารีบุตรเถระผู้มีอายุ เรียนแล้ว

ซึ่งพุทธวจนะทั้งสิ้น พระเถระได้โอวาทแล้ว ได้ให้กรรมฐานแก่ท่านโดยมาก

พระภิกษุนั้นก็ยังไม่บรรลุคุณวิเศษด้วยกรรมฐานนั้นได้ ต่อจากนั้นพระเถระ

ทราบว่า ภิกษุรูปนี้เป็นพุทธเวไนย ดังนี้แล้ว จึงได้พาพระภิกษุนั้นมา

ยังสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามว่า นรชนเป็นผู้มีศีลเช่นไรเป็นต้น

ไม่เจาะจงบุคคล ปรารภภิกษุนั้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึงเรื่อง

อื่น จากเรื่องที่พระสารีบุตรถามนั้น แก่พระสารีบุตรนั้น.

คำว่า กึสีโล ในพระคาถานั้น ความว่า ประกอบแล้วด้วยจารีตศีล

เช่นไร หรือว่าเป็นผู้มีปกติเช่นไร.

บทว่า กึสมาจาโร ได้แก่ ประกอบด้วยความประพฤติเช่นไร.

บาทคาถาว่า กานิ กมฺมานิ พฺรูหย ความว่า กระทำกรรมทั้งหลาย

มีกายกรรมเป็นต้นอย่างไร ให้เจริญอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 276

บาทพระคาถาว่า นโร สมฺมา นิวิฏฺสฺส ความว่า นระเป็นผู้ยินดี

แล้ว คือว่า พึงเป็นผู้ดำรงอยู่แล้วโดยชอบในพระศาสนา.

บาทพระคาถาว่า อุตฺตมตฺถญฺจ ปาปุเณ มีคำอธิบายว่า และพึง

บรรลุพระอรหัต อันเป็นประโยชน์สูงสุดกว่าประโยชน์ทั้งปวง.

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรำพึงอยู่ว่า สารีบุตรบวชแล้ว

ได้กึ่งเดือน ก็บรรลุสาวกบารมีญาณ เพราะเหตุไรจึงถามปุถุชนปัญหาอันเป็น

อาทิกัมมิกะจึงทรงทราบว่า พระสารบุตรทูลถามปรารภ สัทธิวิหาริก จึงไม่ได้

ทรงจำแนกจารีตศีล ที่พระสารีบุตรกล่าวด้วยคำถามเลย เมื่อจะทรงแสดง

ธรรมด้วยสามารถสัปปายะแก่ภิกษุนั้น จึงตรัสพระคาถาว่า วุฑฺฒาปจายี ดัง

นี้เป็นต้น วุฑฒบุคคล ทั้งหลายในคำว่า วุฑฺฒาปจายี นั้นมี ๔ จำพวก

คือ ปัญญาวุฑฒบุคคล ๑ คุณวุฑฒบุคคล ๑ ชาติวุฑบุคคล ๑ วุฑฒ-

บุคคล ๑.

จริงอยู่ ภิกษุที่เป็นพหูสูต แม้โดยกำเนิดจะเป็นคนหนุ่มก็ตาม ก็ชื่อ

ว่า ปัญญาวุฑฒะได้ เพราะเป็นผู้เจริญแล้ว ด้วยปัญญา คือ พาหุสัจจะใน

สำนัก (ในระหว่าง) แห่งภิกษุเเก่ผู้มีการศึกษาน้อยทั้งหลาย ด้วยว่าแม้ภิกษุแก่

ทั้งหลายเรียนอยู่ซึ่งพุทธวจนะ ในสำนักของภิกษุหนุ่มนั้น และหวังอยู่ซึ่ง

โอวาท การวินิจฉัยความ และการแก้ปัญหาทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุหนึ่งที่ถึง

พร้อมด้วยอธิคม (บรรลุคุณวิเศษมีฌานและมรรคผลเป็นต้น ) ชื่อว่า คุณ

วุฑฒะ ผู้เจริญโดยคุณ ด้วยว่าแม้ภิกษุแก่ทั้งหลาย ดำรงอยู่ในโอวาทของ

ภิกษุหนุ่มนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อมบรรลุอรหัตผลได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 277

อนึ่ง พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ แม้ทรงพระเยาว์ เป็นกษัตริย์ผู้ได้รับ

มุรธาภิเษกแล้ว หรือจะเป็นพราหมณ์ก็ตาม ก็เป็นผู้ควรแก่การกราบไหว้ของ

ชนที่เหลือ ชื่อว่า ชาติวุฑฒะ ผู้เจริญโดยชาติ.

ส่วนคนที่เกิดก่อนทุกจำพวก ชื่อว่า วัยวุฑฒะ ผู้เจริญโดยวัย.

ในบรรดาวุฑฒบุคคล ๔ จำพวกเหล่านั้น เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย

แล้ว ใคร ๆ ผู้จะเสมอด้วยพระสารีบุตรเถระในทั้งปัญญาย่อมไม่มี เพราะ

เหตุที่ท่านได้บรรลุสาวกบารมีญาณทั้งปวง พร้อมด้วยคุณทั้งหลายในเวลาครึ่ง

เดือน พระสารีบุตรนั้น แม้โดยชาติสกุล ก็อุบัติแล้วในสกุลพราหมณ์มหาศาล

พระสารีบุตรนั้น แม้จะเสมอกันโดยวัยกับภิกษุนั้น (ผู้เป็นสหายของท่าน) ก็ชื่อ

ว่าเจริญแล้ว ด้วยเหตุทั้ง ๓ ประการเหล่านี้ ส่วนในพระคาถานี้พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า วุฑฺฒาปจายี ทรงหมายเอาการที่พระสารีบุตรนั้น เป็น

ผู้เจริญแล้ว ด้วยปัญญาวุฒิและคุณวุฒิทั้งหลายนั่นเอง บุคคลจึงควรกระทำ

ความยำเกรงต่อวุฑฒบุคคลทั้งหลายเช่นนั้น บุคคลพึงเป็นผู้ชื่อว่าไม่ริษยา

เพราะปราศจากความริษยาในอิฏฐผลทั้งหลายมีลาภเป็นต้น ของวุฑฒบุคคล

ทั้งหลายเหล่านั้นนั่นแล เพราะฉะนั้น เนื้อความนี้จึงเป็นการอธิบายบทต้น.

ส่วนในคำว่า กาลญฺญู จสฺส นี้มีอธิบายว่า บุคคลเมื่อราคะบังเกิด

ขึ้นแล้ว แม้ไปหาครูทั้งหลายอยู่ เพื่อจะบรรเทาราคะนั้น ก็ชื่อว่า กาลฺญู

เมื่อโทสะบังเกิดขึ้น เมื่อโมหะบังเกิดขึ้น ฯลฯ เมื่อโกสัชชะบังเกิดขึ้น แม้ไป

หาครูทั้งหลายเพื่อจะบรรเทาอกุศลธรรมนั้น ๆ ก็ชื่อว่า กาลญฺญู ผู้รู้กาล

เพราะบุคคลจะพึงเป็นกาลัญญูได้ ก็เพราะไปหาครูทั้งหลายอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 278

สองบทว่า ธมฺมึ กถ ได้แก่ ประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา

บทว่า เอรยิต คือ กล่าวแล้ว.

บทว่า ขณญฺญู ได้แก่ รู้อยู่ว่า บุคลลผู้รู้ขณะแห่งถ้อยคำนั้น เป็น

บุคคลหาได้ยาก หรือว่า นี้เป็นขณะแห่งการฟังซึ่งถ้อยคำเช่นนี้.

สองบทว่า สุเณยฺย สกฺกจฺจ ได้แก่ พึงพึงถ้อยคำนั้นโดยเคารพ.

อธิบายว่าบุคคลจะพึงฟังถ้อยคำนั้นอย่างเดียวก็หามิได้ แม้ถ้อยคำอื่นเป็นสุภาษิต

อันปฏิสังยุตด้วยพุทธคุณเป็นต้น บุคคลก็พึงฟังโดยเคารพเช่นกัน.

ในบาทคาถาว่า กาลญฺญู จสฺส ครูน ทสฺสนาย นี้ มีวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้.

ภิกษุแม้ทราบนัยที่ท่านกล่าวไว้ในคำนี้ว่า กาลญฺญู จสฺส ครูน

ทสฺสนาย และทราบการบรรเทาราคะเป็นต้น ที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่ตน เมื่อไปสู่

สำนักของครูทั้งหลาย ก็พึงไปสู่สำนักของครูทั้งหลายโดยกาลอันสมควร โดย

กระทำไว้ในใจว่า เราจักบำเพ็ญกรรมฐาน และจักเป็นผู้รักษาธุดงค์ มิใช่เห็น

อาจารย์ยืนอยู่แล้ว ณ ถามที่ใดที่หนึ่งในบรรดาที่ทั้งหลาย มีที่ไหว้พระเจดีย์

ที่ลานต้นโพธิ์ ทางเที่ยวบิณฑบาต และเวลาเที่ยงตรงเป็นต้น แล้วพึงเข้าไป

เพื่อถามปัญหา แต่พึงกำหนดอาจารย์ผู้นั่งอยู่แล้วบนอาสนะของตนในเสนา-

สนะของตน ซึ่งมีความกระวนกระวายอันสงบเเล้ว เข้าไปหาเพื่อถามวิธีแห่ง

กรรมฐานเป็นต้น ก็ภิกษุแม้เมื่อเข้าไปหาอย่างนี้แล้ว ทำความหัวดื้อให้พินาศ

แล้ว เป็นผู้ประพฤติอ่อนน้อม คือว่าทำมานะที่กระทำความแข็งกระด้างให้

พินาศแล้ว มีความประพฤติถ่อมตน เป็นผู้เช่นกับผ้าเช็ดเท้า โคเขาขาด และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 279

งูที่ถูกเขาถอนเขี้ยวออกเสียแล้ว พึงเข้าไปหา ลำดับนั้น ก็พึงอนุสรณ์ถึง

อรรถ ธรรม ความสำรวม พรหมจรรย์ และพึงประพฤติโดยเอื้อเฟื้อ ซึ่ง

(คำที่) ครูนั้นกล่าวแล้ว.

บทว่า อตฺถ ได้แก่ เนื้อความแห่งภาษิต.

บทว่า ธมฺม ได้แก่ ธรรมคือบาลี.

บทว่า สยม ได้แก่ ศีล.

คำว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์ที่เหลือ.

บาทคาถาว่า อนุสฺสเร เจว สมาจเร จ ความว่า พึงระลึกถึง

โอกาสที่อาจารย์นั้นกล่าวถึงธรรมะ ความสำรวม (และ) พรหมจรรย์ และไม่

ใช่พอใจด้วยเหตุสักว่าระลึกถึงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่พึงประพฤติเอื้อเฟื้อ

คือประพฤติชอบ สมาทานวัตรปฏิบัติแม้ทั้งหมดนั้นให้เป็นไป อธิบายว่าพึง

กระทำการขวนขวายในการทำให้กถาเหล่านั้นเป็นไปในตน ด้วยว่าบุคคลเมื่อ

กระทำอยู่อย่างนี้ ชื่อว่ากระทำสิ่งที่ควรทำ ก็เบื้องหน้าต่อแต่นั้นไป บุคคล

นั้น ชื่อว่า มีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม ดำรงอยู่แล้วในธรรม

พึงเป็นผู้วินิจฉัยธรรม.

ก็คำว่า ธรรม ในบททั้งปวงในคาถานี้ ได้แก่สมถะและวิปัสสนา

ก็คำว่า อาราโม และ คำว่า รติ มีเนื้อความอันเดียวกัน ความยินดี

รื่นรมย์ในธรรมของบุคคลนั้นมีอยู่ เหตุนั้นบุคคลนั้น ชื่อว่า ธมฺมาราโม ผู้

มีธรรมเป็นที่มายินดี.

บุคคลยินดีแล้วในธรรม ชื่อว่า ธมฺมรโต หาใช่ยินดีสิ่งอื่นไม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 280

บุคคลชื่อว่าตั้งอยู่แล้วในธรรม ก็เพราะปฏิบัติธรรม บุคคลย่อมรู้ซึ่ง

การวินิจฉัยธรรมว่านี้เป็นอุทยญาณ นี้เป็นวยญาณ เพราะเหตุนั้น บุคคลนี้จึง

ชื่อว่า ธมฺมวินิจฺฉยญฺญู ผู้รู้ซึ่งการวินิจฉัยธรรม. บุคคลพึงเป็นบุคคลเห็น

ปานนี้ เมื่อเป็นบุคคลเช่นนี้ได้แล้ว ดิรัจฉานกถามีการพูดถึงพระราชาเป็นต้น

นี้ใด มีอยู่ คำที่เป็นดิรัจฉานกถานั้นย่อมประทุษร้ายต่อธรรม คือสมถะและ

วิปัสสนา เพราะให้เกิดความยินดีในรูปเป็นต้นในภายนอกแก่ตรุณวิปัสสกบุคคล

ฉะนั้น ดิรัจฉานกถานั้นท่านจึงเรียกว่า วาทะที่เป็นอันตรายต่อธรรม บุคคล

ไม่พึงประพฤติวาทะที่ทำอันตรายต่อธรรมนั้นเลย โดยที่แท้เมื่อจะซ่องเสพ

สัปปายะทั้งหลาย มีอาวาสสัปปายะ และโคจรสัปปายะเป็นต้น ก็พึงแนะนำ

ด้วยคำที่เป็นสุภาษิตที่แท้จริง วาจาทั้งหลายที่ปฏิสังยุตด้วยสมถะ และ

วิปัสสนา ชื่อว่า วาจาที่แท้จริงในพระคาถานี้. บุคคลพึงแน่ะนำคือว่า

พึงชักนำ ได้แก่ พึงยังกาลเวลาให้สิ้นไป ด้วยคำที่เป็นสุภาษิตทั้งหลายเห็น

ปานนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงกระทำอุปกิเลสให้ปรากฏแก่ภิกษุผู้

เจริญสมถะและวิปัสสนา ซึ่งพระองค์ตรัสไว้โดยย่ออย่างยิ่งในคำนี้ว่า ธมฺม-

สนฺโทสวาท ดังนี้ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า หสฺส จ ชปฺป พร้อมกับอุปกิเลส

แม้อื่นจากนั้น.

พระบาลีว่า หาส ดังนี้ก็มี.

ก็ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา พึงการทำสักว่าความยิ้มแย้มเท่านั้นในเรื่องที่

ควรหรรษา ไม่พึงพูดคำกระซิบที่ไร้ประโยชน์ ไม่พึงกระทำการคร่ำครวญใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 281

การฉิบหายแห่งญาติเป็นต้น ไม่พึงกระทำความฉุนเฉียวให้เกิดขึ้นแม้ในเมื่อ

ถูกตอและหนามตำเป็นต้น.

บุคคลควรละโทษเหล่านี้ คือ มายาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน

คำว่า มายากต ๑ ความหลอกลวง ๓ อย่าง ๑ ความพอใจในปัจจัยทั้งหลาย ๑

การถือตัวด้วยชาติกำเนิดเป็นต้น ๑ ความแข่งดีกล่าวคือความยินดีที่เป็นข้าศึก ๑

ความหยาบคายอันมีการพูดหยาบเป็นลักษณะ ๑ ธรรมที่ประดุจน้ำย้อมฝาด

ทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ๑ ความหมกมุ่น (ลุ่มหลง) อันมีความอยากเกินประ-

มาณเป็นลักษณะ ๑ การทำให้เห็นว่าโทษเหล่านี้ (อันบุคคลพึงละเสีย) ประ

ดุจผู้ต้องการความสุขละหลุมถ่านเพลิง ประดุจคนรักความสะอาด หลีกที่ ๆมี

คูถเสียฉะนั้น และประดุจผู้รักชีวิต หลีกสัตว์ร้ายทั้งหลายมีอสรพิษเป็นต้นเสีย

ฉะนั้น. ก็ครั้นละแล้วเป็นผู้บรรเทาความมัวเมาได้แล้ว เพราะขจัดความมัวเมา

ในความไม่มีโรคเป็นต้น ชื่อว่ามีตนดำรงมั่นแล้ว เพราะไม่มีความฟุ้งซ่าน

แห่งจิต พึงประพฤติ. ก็บุคคลนั้น ครั้นปฏิบัติแล้วอย่างนี้ จะพึงบรรลุพระ

อรหัตด้วยภาวนาอันบริสุทธิ์ จากอุปกิเลสทั้งปวงต่อกาลไม่นานเลย เพราะเหตุ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หสฺส จ ชปฺป ฯเปฯ ิตตฺโต ดังนี้.

ภิกษุประกอบด้วยอุปกิเลสซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยว่า

หสฺส ชปฺป เป็นต้น เพราะเป็นผู้ผลุนผลัน จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่พิจารณาเสีย

ก่อนแล้วกระทำ และกำหนัดแล้วด้วยอำนาจราคะ ประทุษร้ายแล้วด้วยอำนาจ

โทสะไปอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้ประมาทแล้ว. โอวาทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดย

นัยว่า บุคคลไม่กระทำให้ติดต่อในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย และบุคคลพึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 282

ฟังสุภาษิตทั้งหลายของบุคคลเห็นปานนั้นโดยเคารพ ดังนี้เป็นต้น จัดว่าเป็น

โอวาทที่ไร้ประโยชน์ เพราะฉะนั้น บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง

ความที่บุคคลนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญ มีสุตะเป็นอัน แห่งสังกิเลสนี้ด้วย

เทศนาอันเป็นบุคลาธิษฐาน จึงตรัสพระคาถานี้ว่า วิญฺาตสารานิ ดังนี้

เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ก็สาระจะพึงมีได้ ก็เพราะรู้แจ้ง

สุภาษิตทั้งหลายที่ปฏิสังยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา ถ้าหากว่าสุภาษิตเหล่านั้น

อันภิกษุรู้แจ้งได้ก็เป็นการดี (ถ้าหากไม่รู้แจ้งได้) เมื่อเป็นเช่นนั้น คำสักว่า

เสียงเท่านั้น อันบุคคลนั้นถือเอาแล้ว เขาจะทำอะไรไม่ได้เลย ชนทั้งหลาย

ย่อมรู้แจ้งซึ่งสุภาษิตเหล่านี้ด้วยญาณอันสำเร็จด้วยสุตะใด ญาณที่สำเร็จด้วย

สุตะนั้น ชื่อว่าสุตญาณที่สำเร็จด้วยสุตะนี้แล ชื่อว่า วิญญาตสมาธิสาระ

รู้แจ้งสมาธิสาระ.

ในบรรดาธรรมทั้งหลายที่บุคคลรู้แจ้งแล้วเหล่านั้น ๆ สมาธิใด คือ

ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ก็เป็นข้อปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น นี่คือสาระของ

สมาธินั้น ก็ด้วยเหตุสักว่ารู้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น หาสำเร็จประโยชน์อะไรไม่

แต่ว่านระนี้ใดชื่อว่า เป็นคนผลุนผลัน เพราะความเป็นไปด้วยอำนาจราคะเป็น

ต้น และชื่อว่า ประมาท เพราะมีปกติทำไม่ติดต่อในการอบรมกุศลธรรมทั้ง

หลายเป็นต้น บุคคลนั้นเป็นผู้ถือเอาสักว่าเสียงเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญา

คือการรู้แจ้งสุภาษิตนั้น จะเจริญแก่บุคคลนั้นหาได้ไม่ เพราะเขาไม่รู้แจ้ง

ซึ่งเนื้อความ ทั้งสุตะก็หามีแก่เขาไม่ เพราะไม่มีข้อปฏิบัติเพื่อความเป็น

อย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 283

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความเสื่อมแห่งปัญญา และความ

เสื่อมแห่งสุตะของชนทั้งหลาย ผู้ประมาทอย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะแสดงการ

บรรลุสาระทั้งสองประการนั้น แห่งบุคคลผู้ไม่ประมาทแล้วทั้งหลายจึงตรัสว่า

ธมฺเม จ เย ฯเปฯ สารมชฺฌคู ดังนี้.

ในบรรดาคำเหล่านั้น ธรรมคือสมถะและวิปัสสนา ชื่อว่า ธรรม ที่

พระอริยเจ้าประกาศแล้ว จริงอยู่พระพุทธเจ้าแม้สักพระองค์หนึ่ง ไม่ทรงแสดง

ธรรม คือ สมถะและวิปัสสนาแล้ว ชื่อว่าปรินิพพานย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น

นรชนเหล่าใดยินดีแล้วในธรรมนี้แล ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว นรชนเหล่านั้น

เป็นผู้มีความยินดีออกแล้ว จัดว่าเป็นผู้ไม่ประมาท เป็นผู้มีความเพียรติดต่อ

จึงเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลายที่เหลือ ด้วยวาจา ด้วยใจ และด้วยกาย

คือว่า นรชนเหล่านั้นเป็นผู้ประเสริฐ ได้แก่ไม่มีใครเสมอเหมือน คือเป็นผู้เลิศ

เป็นผู้ประเสริฐที่สุด กว่าสัตว์ที่เหลือทั้งหลาย ด้วยวาจา ด้วยใจ และด้วยกาย

เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยวจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓ กายสุจริต ๓ ด้วยคำมี

ประมาณเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงศีล อันสัมปยุตด้วยอริยมรรค

ซึ่งมีศีลเป็นเบื้องต้น นรชนเหล่านั้นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้วอย่างนี้ ดำรงอยู่แล้ว

ในสันติ โสรัจจะ และสมาธิ จึงชื่อว่าเป็นผู้บรรลุ สาระธรรมแห่งสุตะ และ

ปัญญา นรชนเหล่าใดยินดีแล้วในธรรม ที่พระอริยเจ้าประกาศแล้ว นรชน

เหล่านั้นจะเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ที่เหลือทั้งหลาย ด้วยวาจาเป็นต้น อย่างเดียว

ก็หามิได้ แต่โดยที่แท้แล บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ดำรงอยู่แล้วในสันติและ

โสรัจจะ และในสมาธิ คือว่า เป็นผู้บรรลุแล้วซึ่งสารธรรม คือว่า เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 284

เข้าถึงแล้ว (ซึ่งสารธรรม) แห่งสุตะและปัญญา เท่านั้นเป็นคำที่ถูกต้อง ตาม

ความประสงค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺติ ได้แก่ นิพพาน.

บทว่า โสรจฺจ หมายถึงปัญญาที่เป็นตัวแทงตลอดสภาวธรรมตาม

ความเป็นจริง เพราะความเป็นผู้ยินดีในธรรมที่ดีงาม ความดีงามด้วยสันติ

มีอยู่ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สันติโสรัจจะ คำว่า สันติโสรัจจะนี้ เป็นชื่อ

แห่งมรรคปัญญา อันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์.

คำว่า สมาธิ ได้แก่ มรรคสมาธิ ที่สัมปยุตด้วยนิพพานนั้น.

คำว่า สณฺิตา ได้แก่ ดำรงอยู่แล้วด้วยธรรมทั้งสองอย่างนั้น.

วิมุตติ คืออรหัตผล ชื่อว่า สาระแห่งแห่งสุตะและปัญญา ด้วยว่า

พรหมจรรย์นี้มีวิมุตติเป็นสาระ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น ด้วย

ธรรมะ และแสดงปฏิปทาอันเป็นส่วนอื่นด้วยขันธ์แม้ทั้ง ๓ เหล่านี้ คือ ศีลขันธ์

เป็นต้นว่า อนุตฺตรา วจสา ซึ่งปัญญาขันธ์ และสมาธิขันธ์ ด้วยปัญญาที่

งาม ด้วยสันติ และด้วยสมาธิ ในคาถาสุดท้ายนี้อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง

วิมุตติที่ไม่กำเริบด้วยสุตะ และปัญญาอันเป็นสาระ จึงให้พระเทศนาจบลงด้วย

ยอดคือพระอรหัต.

ก็ในที่สุดแห่งพระเทศนา ภิกษุรูปนั้น ก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล ต่อมา

อีกไม่นานนัก ก็ได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต อันเป็นผลที่เลิศ ดังนี้แล.

จบการพรรณนากิงสีลสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 285

อุฏฐานสูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยตื่นจากความหลับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า

[๓๒๗] เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด

จงนั่งเถิด เธอทั้งหลายจะได้ประโยชน์อะไร

ด้วยความหลับ เพราะความหลับจะเป็น

ประโยชน์อะไรแก่เธอทั้งหลาย ผู้เร่าร้อน

เพราะโรค คือ กิเลสมีประการต่าง ๆ ถูก

ลูกศร คือ ราคะเป็นต้นแทงแล้ว ย่อยยับอยู่

เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด จงนั่งเถิด จง

หมั่นศึกษาเพื่อสันติเถิด.

มัจจุราชอย่ารู้ว่าเธอทั้งหลายประมาท

แล้ว อย่ายังเธอทั้งหลายผู้ตกอยู่ในอำนาจ

ให้ลุ่มหลงเลย เธอทั้งหลายจงข้ามตัณหา

อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้

เทวดาและมนุษย์ ผู้มีความต้องการอาศัยรูป

เป็นต้น ดำรงอยู่.

ขณะอย่าได้ล่วงเธอทั้งหลายไปเสีย

เพราะว่าผู้ล่วงขณะเสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียด

กันในนรก เศร้าโศกอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 286

ความประมาทเป็นดุจธุลี ตกต้อง

แล้วเพราะความมัวเมาในปฐมวัยนอกนี้

ความประมาทเป็นดุจธุลี ตกต้องแล้วเพราะ

ความมัวเมาในวัย เพราะฉะนั้น กุลบุตรผู้

เป็นบัณฑิต พึงถอนลูกศร คือ กิเลสมีราคะ

เป็นต้นของตนเสีย ด้วยความไม่ประมาท

และด้วยวิชชา.

จบอุฏฐานสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาอุฏฐานสูตรที่ ๑๐

อุฏฐานสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อุฏฺหถ ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้น ดังต่อไปนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี ทรงอยู่

ในมหาวิหารเชตวันในเวลากลางคืน ในเวลาเช้ามีพระภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จ

เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี แล้วเสด็จออกจากพระนคร ทางประตูด้านทิศ

ตะวันออก ได้เสด็จไปยังปราสาทของมิคารมารดา (วัดบุพพาราม) เพื่อ

ประทับในเวลากลางวัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 287

ได้ยินว่า การประทับอยู่ที่พระเชตวันวิหารในเวลากลางคืนแล้ว เสด็จ

เข้าไปทรงพักในเวลากลางวัน ในปราสาทของมิคารมารดา และการเสด็จ

ประทับในปราสาทของมิคารมารดาในเวลากลางคืน แล้วเสด็จเข้าไปทรงพัก

ในเวลากลางวันในพระเชตวันวิหาร นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิบัติมาเป็น

ประจำ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพื่อทรงอนุเคราะห์สกุลทั้งสองนั้นประการหนึ่ง เพื่อประ-

โยชน์จะแสดงถึงคุณแห่งการบริจาคใหญ่ (ของท่านทั้งสองนั้น) อีกประการหนึ่ง.

ก็ ณ ภายใต้ปราสาทแห่งมิคารมารดา ได้มีเรือนยอดอยู่ ๕๐๐ ห้อง

ซึ่งภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ได้อาศัยอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดานั้น เมื่อใด

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ภายใต้ปราสาท (ชั้นล่าง) ในกาลนั้นภิกษุทั้งหลาย

ก็ไม่ขึ้นไปบนปราสาทชั้นบน ด้วยความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ในวัน

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปยังห้องเรือนยอดในปราสาทชั้นบน เพราะ

เหตุนั้น ภิกษุจำนวน ๕๐๐ รูป จึงเข้าไปยังห้องทั้ง ๕๐๐ ห้อง ในปราสาท

ชั้นล่าง ก็ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเทียว เป็นพระบวชใหม่ ได้มาสู่ธรรมวินัยนี้

ยังไม่นาน มีจิตใจฟุ้งซ่านดุจไม้อ้อ มีอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า ภิกษุเหล่านั้น

เข้าไปยังห้องเหล่านั้นแล้ว ก็นอนหลับในเวลากลางวัน ลุกขึ้นในตอนเย็น

ประชุมกันที่ลานใหญ่ กล่าวสนทนากันว่า วันนี้ท่านได้อะไรในโรงภัต

ท่านได้ไปที่ไหน ภิกษุเหล่านั้นพากันกล่าวอามิสกถา มีประการต่าง ๆ ทำ

เสียงดังลั่นว่า ดูก่อนอาวุโส กระผมได้ไปยังปราสาทของพระเจ้าโกศล กระผม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 288

ได้ไปยังบ้านของอนาถปิณฑิกะ ในพระราชวังของพระเจ้าโกศล และที่บ้าน

ของอนาถบิณฑิกกะนั้น มีวิธีจัดโภชนะเห็นปานนี้ และเห็นปานนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียงนั้น ทรงดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ทั้ง ๆ

ที่อยู่กับเรา ก็ยังมัวเมาประมาทอย่างนี้ น่าอนาถ ภิกษุเหล่านี้ได้กระทำสิ่งที่

ไม่ควรกระทำ ดังนี้แล้ว จึงทรงดำริถึงการที่จะให้พระมหาโมคคัลลานเถระ

มา ในขณะนั้นนั่นเอง ท่านพระมหาโมคคัลลานะผู้มีอายุ ทราบวาระจิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้มาด้วยฤทธิ์ ได้ถวายบังคม ณ เบื้องพระบาทนั้นเอง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก พระมหาโมคคัลลานเถระ

นั้นว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เพื่อนสพรหมจารีของเธอเหล่านี้ เป็นผู้มัวเมา

ประมาท ดีละ เธอจงทำภิกษุเหล่านั้นให้สลดใจ. พระมหาโมคคัลลานเถระ

ผู้มีอายุนั้น รับสนองพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้ พระพุทธเจ้าข้า แล้วจึงเข้า

อาโปกสิณในทันใดนั้นเอง ใช้หัวแม่เท้าทำพื้นมหาปราสาทซึ่งตั้งอยู่ในชั้น

กามภูมิ ให้หวั่นไหว พร้อมกับส่วนแห่งแผ่นดิน ซึ่งปราสาทตั้งอยู่ ประดุจ

พายุใหญ่ ทำนาวาให้หวั่นไหวฉะนั้น.

ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นกลัวแล้ว ร้องเสียงลั่น ต่างทิ้งจีวรของตน ๆ

พากันออกไปจากประตูทั้งสี่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพระองค์ แก่

ภิกษุเหล่านั้น เป็นราวกะว่าเสด็จเข้าไป สู่พระคันธกุฎีทางประตูอื่น ภิกษุ

เหล่านั้นเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็ได้ยืนถวายบังคม. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสถามว่า พวกเธอกลัวอะไร ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ปราสาทของมิคารมารดานี้ ใครทำให้หวั่นไหว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 289

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอทราบไหมว่าใครทำ

ให้หวั่นไหว ภิกษุทั้งหลายทูลว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ปราสาทหลังนี้

โมคคัลลานะทำให้หวั่นไหว เพื่อจะทำบุคคลเช่นกับพวกเธอ ซึ่งมีสติหลงลืม

ไร้สัมปชัญญะ อยู่ด้วยความประมาท ให้สังเวช แล้วจึงได้ตรัสพระสูตรนี้

เพื่อทรงแสดงพระธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺหถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงลุก

ขึ้นจากอาสนะ. คือว่า จงเพียร พยายาม คือว่า อย่าเกียจคร้าน.

บทว่า นิสีทถ ความว่า ท่านทั้งหลายจงนั่งคู้บัลลังก์ เพื่อตามประกอบ

กรรมฐาน.

บาทพระคาถาว่า โก อตฺโถ สุปิเตน โว ความว่า ท่านทั้งหลาย

ซึ่งบวชแล้ว เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน จะได้ประโยชน์อะไรด้วยการหลับ คือว่า

ไม่มีใครสามารถ จะบรรลุถึงประโยชน์ได้ด้วยการหลับ.

บาทพระคาถาว่า อาตุราน หิ กา นิทฺทา สลฺลวิธาน รุปฺปต

ความว่า ก็ชื่อว่าในที่ใด ความหลับย่อมไม่มีแก่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ทุรนทุราย

ด้วยโรค มีโรคตาเป็นต้น ซึ่งตั้งขึ้นแล้ว ที่ส่วนแห่งร่างกายแม้เล็กน้อย ผู้ถูก

ลูกศรชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดาลูกศรเหล็ก ลูกศรกระดูก ลูกศรงา (ฟัน)

ลูกศรเขา และลูกศรไม้ ซึ่งเข้าไปสู่ร่างกาย แม้สักว่านิ้วเดียว หรือสองนิ้ว

ก็ในที่นั้น ท่านทั้งหลาย ซึ่งมีจิตและร่างกายอยู่ทั้งสิ้น ผู้บริโภคแล้ว กระวน

กระวายอยู่ ด้วยโรคคือกิเลสนานัปการ ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว และผู้ชื่อว่าถูกลูกศร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 290

แทงแล้ว เพราะถูกลูกศร ๕ ชนิด มีลูกศรคือ ราคะเป็นต้น เสียบแทงเข้า

ไปในหทัยแล้ว ย่อยยับอยู่ จะมีการหลับได้อย่างไร.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสดังนี้ แล้วเพื่อจะทำภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น

ให้อุตสาหะ และให้สังเวชยิ่ง ๆ ขึ้นอีก จึงได้ตรัสว่า อุฏฺหถ ฯเปฯ

วสานุเค ดังนี้.

ในพระคาถานั้น มีการพรรณนาเนื้อความพร้อมทั้งอธิบายและโยชนา

ดังต่อไปนี้ :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเธอทั้งหลายถูกลูกศรคือกิเลสเสียบแทงแล้ว

อย่างนี้ จะมีเวลามัวเมาประมาทอยู่เพราะเหตุไร ภิกษุทั้งหลาย พระศาสดา

(ทรงประกาศพรหมจรรย์) ที่ยอดเยี่ยมที่สุดนี้มาอยู่เฉพาะหน้า (ของท่าน

ทั้งหลาย) ด้วยว่าในกาลก่อนแต่กาลนี้ เธอทั้งหลายหลับแล้ว อยู่ที่ภูเขาทั้งหลาย

และแน่น้ำเป็นเวลานาน หลับแล้วที่ยอดไม้อันไม่เสมอกัน ก็เพราะเหตุที่ไม่

เห็นอริยสัจทั้งหลาย เพื่อทำที่สุดแห่งความหลับนั้น เธอทั้งหลายจงลุกขึ้นเถิด

จงนั่ง และศึกษาเพื่อสันติให้มั่นคง เนื้อความในบาทแห่งพระคาถานั้นนัย

อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั้นแล.

ส่วนคำว่า สนฺติ ในบาทที่สอง หมายถึงสันติ ๓ อย่างคือ อัจจันต-

สันติ (สันติอย่างสูงสุด) ๑ ตทังคสันติ (สันติด้วยองค์นั้น ) ๑ สมมติสันติ ๑

(สันติตามสมมติ)

คำว่า สันติ นี้เป็นชื่อแห่งพระนิพพาน วิปัสสนา และทิฏฐิคตะ แต่

ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึง อัจจันสันติ คือพระนิพพาน พระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 291

พระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า เพื่อประโยชน์แก่พระนิพพาน ขอท่านทั้งหลายจง

หมั่นศึกษา คือว่า ขอให้ท่านทั้งหลายเป็นผู้มีความบากบั่นไม่ท้อถอย ศึกษาเถิด.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า พระยามัจจุราช ทราบว่าท่านทั้งหลายประมาทแล้ว ก็อย่า

ได้ทำท่านทั้งหลาย ผู้ตกอยู่ในอำนาจให้ลุ่มหลงเลย คือว่า การอันได้นามว่า

พระยามัจจุราช ทราบอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้ประมาทแล้ว ก็อย่าได้ทำ

ท่านทั้งหลาย ผู้ตกอยู่ในอำนาจให้ลุ่มหลงเลย มีคำอธิบายว่า ท่านทั้งหลาย

ย่อมไปสู่อำนาจของพระยามัจจุราชนั้น ได้โดยประการใด พระยามัจจุราชนั้น

กระทำท่านทั้งหลาย ผู้อยู่ในอำนาจโดยประการนั้น ก็อย่าให้ท่านทั้งหลายได้

ลุ่มหลงเลย.

เพราะเมื่อบุคคลไปอยู่สู่อำนาจของพระยามารนั้น เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ อาศัยรูปเป็นต้น ดำรงอยู่ได้ด้วยตัณหาใด ท่าน

ทั้งหลายจงข้ามซึ่งตัณหานั้น อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ขณะอย่าได้ล่วงเธอ

ทั้งหลายไปเสีย เพราะว่าผู้ล่วงขณะเสียแล้ว เป็นผู้ยัดเยียดกันในนรกย่อมเศร้า-

โศก คือว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้มีความต้องการ ได้แก่ผู้ต้องการ

รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อาศัยคืออิงอาศัย ได้แก่เป็นผู้แอบแนบ

ซึ่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้น ย่อมดำรงอยู่ได้ด้วยตัณหาใด ของเธอทั้งหลายจง

ข้าม คือว่าจงข้ามพ้นซึ่งตัณหานั้น ได้แก่ตัณหาในภพและในโภคะ ที่ชื่อว่า

ซ่านไป เพราะเป็นธรรมชาติที่แผ่ซ่าน กว้างขวางลุ่มลึก และไพศาลในอารมณ์

ทั้งหลาย มีประการต่าง ๆ ขณะอย่าได้ล่วงเลยที่ในทั้งหลายไปเสีย คือว่าขณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 292

แห่งการบำเพ็ญสมณธรรม ของท่านทั้งหลายนี้ อย่าได้ผ่านไปเสีย, เพราะว่า

ขณะเห็นปานนี้นี่แหละ ของชนทั้งหลายเหล่าใดผ่านพ้นไป และชนทั้งหลาย

เหล่าใดผ่านพ้นขณะนี้ไปเสีย ชนทั้งหลายเหล่านั้นคือผู้ล่วงขณะไปเสียนั้นแล

ยัดเยียดกันอยู่ในนรก ย่อมเศร้าโศก คือว่าดำรงอยู่ในอบายแม้ทั้ง ๔ ที่รู้กัน

ว่านรก เพราะอรรถว่าหาความสุขใจมิได้. ย่อมเศร้าโศกโดยนัยว่า กรรมดี

พวกเรามิได้ทำไว้เลย ดังนี้เป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นอุตสาหะ และสลดใจ

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงติเตียนการที่ภิกษุเหล่านั้นอยู่ด้วยความประมาท

นั้น แล้วให้ภิกษุเหล่านั้นทุกรูปเทียว ดำรงอยู่ในความไม่ประมาท จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า ปมาโท รโช ดังนี้เป็นต้น.

โดยสังเขป ความอยู่ปราศจากสติ ชื่อว่า ความประมาทในคาถานี้

ความประมาทนั้น ชื่อว่าเป็นธุลี เพราะอรรถว่าเป็นมลทินของจิต ธุลีนั้น

ติดตามซึ่งความประมาทนั้น ความผิดซึ่งติดตามความประมาท เกิดขึ้นเพราะ

ความประมาทติดตามมาก็คือความประมาทนั้นเอง ความประมาทแม้นั้น ชื่อว่า

เป็น ธุลี ด้วยว่าแต่ไหนแต่ไรมา ชื่อว่า ความประมาทที่ไม่เป็นธุลีไม่มีเลย.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอรรถอะไรไว้ ด้วยบทว่า

ปมาโท นั้น.

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอรรถไว้ว่า ท่านทั้งหลายอย่า

ได้ถึงความวางใจว่า ขณะนี้พวกเรายังหนุ่มสาวอยู่ก่อน พวกเราจักรู้ได้ในภาย

หลังเพราะว่า ความประมาทแม้ในเวลาเป็นหนุ่มสาว ก็จัดว่าเป็น ธุลี ความ

ประมาทในวัยกลางคนก็มี ในวัยแก่ก็มี จัดว่าเป็น ธุลีใหญ่ เพราะติดตาม

ความประมาท จึงจัดว่าเป็นกองหยากเยื่อทีเดียว เหมือนกับธุลีที่มีอยู่วันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 293

หรือ ๒ วันในเรือน ก็จัดว่าเป็นธุลีอยู่นั้นเอง แต่ธุลีนั้นเมื่อเพิ่มขึ้น เก็บไว้

ถึง ๑ ปี ก็จัดเป็นกองหยากเยื่อทีเดียว แต่แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ เมื่อภิกษุเรียน

พุทธพจน์ในปฐมวัย แล้วเจริญสมณธรรมในมัชฌิมวัยและปัจฉิมวัยอยู่ หรือ

ว่า ภิกษุเรียนพุทธพจน์ในปฐมวัยแล้วสดับตรับฟัง (เพิ่มเติม) ในมัชฌิมวัย

แม้กระทำสมณธรรมอยู่ในปัจฉิมวัย ก็ยังไม่จัดว่าอยู่ด้วยความไม่ประมาท แต่

ว่าภิกษุใดอยู่ด้วยความประมาทในวัยทั้งปวง ทั้งนอนตลอดวัน และประกอบคำ

เพื่อได้อามิส เช่นอย่างท่านทั้งหลายอยู่ ความประมาทในปฐมวัยนั้นของภิกษุ

นั้นนั่นแล จัดว่าเป็นธุลี และความประมาทใหญ่ ซึ่งติดตามความประมาท

ในวัยนอกนี้ จัดว่าเป็นธุลีกองใหญ่ทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงติเตียนการที่ภิกษุเหล่านั้น อยู่ด้วยความ

ประมาทอย่างนี้ เมื่อจะทรงชักชวนในความไม่ประมาทจึงตรัสว่า อปฺปมาเทน

วิชฺชาย อพฺพุฬฺเห สลฺลมตฺตโน ดังนี้.

เนื้อความแห่งสองบาทพระคาถามนี้ พระผู้มีพระภาคทรงยังพระ-

เทศนาให้จบลง ด้วยอดคือพระอรหัตว่า ความประมาทแม้ในกาลทั้งปวงนี้

ชื่อว่าเป็นธุลีอย่างนี้. กุลบุตรผู้เป็นบัณฑิตพึงถอนลูกศร ๕ อย่าง มีราคะเป็น

ต้น ที่อาศัยหทัยของตนด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือการอยู่โดยไม่ปราศจาก

สติ และด้วยวิชชา กล่าวคือ อาสวักยญาณ.

ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ภิกษุเหล่านั้นแม้ ๕๐๐ รูป ถึงความ

สังเวช กระทำไว้ในใจซึ่งพระธรรมเทศนานั้นนั่นแล พิจารณาอยู่ เริ่มเจริญ

วิปัสสนาแล้วดำรงอยู่ในพระอรหัต ดังนี้แล.

จบการพรรณนาเนื้อความแห่งอุฏฐานสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 294

ราหุลสูตรที่ ๑๑

ว่าด้วยไม่ดูหมิ่นบัณฑิต

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

[๓๒๘] เธอทั้งหลายย่อมไม่ดูหมิ่น

บัณฑิต เพราะการอยู่ร่วมกันเนื่อง ๆ แล

หรือ การทรงคบเพลิง เพื่อมนุษย์ทั้งหลาย

เธอนอบน้อมแล้วแลหรือ.

พระราหุลกราบทูลว่า

ข้าพระองค์ย่อมไม่ดูหมิ่นบัณฑิต

เพราะการอยู่ร่วมกันเนือง ๆ การทรงคบ

เพลิงเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย ข้าพระองค์นอบ-

น้อมแล้วเป็นนิตย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เธอละกามคุณห้ามีรูปเป็นที่รัก เป็น

ที่รื่นรมย์ใจ ออกบวชด้วยศรัทธาแล้ว จง

กระทำที่สุดทุกข์เถิด.

เธอจงคบกัลยาณมิตร จงเสพที่นอน

ที่นั่งอันสงัดเงียบ ปราศจากเสียงกึกก้อง

จงรู้จักประมาณในโภชนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 295

เธออย่าได้กระทำความอยากในวัตถุ

เป็นที่เกิดตัณหาเหล่านี้ คือ จีวร บิณฑบาต

ที่นอน ที่นั่ง และปัจจัย เธออย่ากลับมาสู่

โลกนี้อีก จงเป็นผู้สำรวมในปาติโมกข์และ

ในอินทรีย์ ๕ จงมีสติไปแล้วในกาย จงเป็น

ผู้มากไปด้วยความเบื่อหน่าย.

จงเว้นสุภนิมิต อันก่อให้เกิดความ

กำหนัด จงอบรมจิตให้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง

ให้ตั้งมั่นดีแล้วในอสุภภาวนา จงอบรม

วิปัสสนา จงละมานานุสัย แต่นั้นเธอจักเป็น

ผู้สงบ เพราะการละมานะเที่ยวไป.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนท่านพระราหุล ด้วยพระคาถา

เหล่านี้เนือง ๆ ด้วยประการฉะนี้.

จบราหุลสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาราหุลสูตรที่ ๑๑

ราหุชสูตร มีคำเริ่มต้นว่า กจฺจิ อภิณฺหสวาสา ดังนี้.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นไร ?

ตอบว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 296

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ได้เสด็จจากควง

ต้นโพธิ ไปยังกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับ ณ กรุงกบิลพัสดุ์นั้น พระราหุลได้ทูล

ขอความเป็นรัชทายาทว่า ข้าแต่พระสมณะ ขอพระองค์จงทรงประทาน

ความเป็นรัชทายาทแก่กระหม่อมฉัน ดังนี้ จึงได้รับสั่งแก่พระสารีบุตรเถระว่า

เธอจงให้ราหุลกุมารบรรพชา เรื่องทั้งปวงนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่

ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาขันธกะ (พระวินัย) ก็พระราหุลได้บรรพชา

แล้วอย่างนี้ ถึงความเจริญแล้ว พระสารีบุตรนั้นแล ก็ได้ให้อุปสมบท ส่วน

พระโมคคัลลานเถระเป็นกรรมวาจาจารย์ของพระราหุลนั้น.

พระราหุลเถระ ยังไม่ได้บรรลุอริยภูมิตราบใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็

ทรงโอวาทพระเถระนั้น ตราบนั้น ตั้งแต่กาลที่ท่านยังเป็นหนุ่ม ด้วยทรงพระ-

ดำริว่า กุมารนี้ สมบูรณ์ด้วยชาติเป็นต้น กุมารนั้นอย่าได้ทำการถือตัวหรือ

การหยิ่งเพราะอาศัย ชาติ โคตร ตระกูล และผิวพรรณเป็นต้น ดังนี้แล้ว

จึงได้ตรัสพระสูตรนี้บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น ก็คำว่า ได้ยินว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสสอนท่านพระราหุลเถระ ด้วยพระคาถาเหล่านี้เนือง ๆ ด้วยประการฉะนี้

ดังนี้ นี้ พระอานนทเถระกล่าวไว้แล้ว ในที่สุดแห่งพระสูตร.

ความย่อในคาถาที่ ๑ ในราหุลสูตรนั้น มีดังต่อไปนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนราหุล

เธอไม่ได้ดูหมิ่นบัณฑิต ด้วยเรื่องมีชาติเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะ

เหตุที่อยู่ร่วมกันเป็นนิจแลหรือ ชื่อว่าการทรงไว้ซึ่งคบเพลิง เพราะการทรงไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 297

ซึ่งประทีปคือญาณ และประทีปคือธรรมเทศนา อันเธอนอบน้อมต่อมนุษย์

ทั้งหลายหรือ ต่อว่าอันเธอบูชาแล้วเป็นนิจแลหรือ ดังนี้.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุล เมื่อจะแสดง

ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์หาได้กระทำการถือตัวหรือการ

เย่อหยิ่ง เพราะเหตุที่อยู่ร่วมกัน เหมือนกับคนต่ำต้อยดูถูกท่านผู้ฉลาดไม่

จึงได้กราบทูลคาถาตอบนี้ว่า นาห อภิณฺหสวาสา ดังนี้. คาถาตอบนั้นมี

เนื้อความง่ายทั้งนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงโอวาทพระราหุลเถระนั้น ให้

ยิ่งขึ้น จึงได้ตรัสพระคาถาที่เหลือทั้งหลายว่า ปญฺจ กามคุเณ ดังนี้เป็นต้น

ในพระคาถาที่เหลือนั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

เพราะเหตุที่กามคุณทั้ง ๕ มีรูปเป็นที่รัก มีชาติเป็นที่รัก สำหรับ

สัตว์ทั้งหลาย อันสัตว์ทั้งหลายปรารถนาต้องการยิ่งนัก และใจของสัตว์เหล่า

นั้นก็ยินดี ก็ท่านพระราหุลละกามคุณเหล่านั้นแล้ว ออกจากพระราชวังด้วย

ศรัทธา หาใช่พระราชาทรงนำออกไม่ หาใช่โจรนำออกไปไม่ ไม่ใช่ผู้ที่เป็น

หนี้ ไม่ใช่ผู้ที่กลัวภัย ไม่ใช่ผู้ที่บวชเพื่อเลี้ยงชีวิต พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

ยังพระราหุลนั้น ให้ทรงกล้าหาญด้วยพระดำรัสที่ว่า เธอออกจากพระราชวังด้วย

ศรัทธาดังนี้ ก็เพราะท่านละกามคุณทั้ง ๕ อันเป็นปิยรูป และเป็นที่รื่นรมย์

แห่งใจได้แล้ว เมื่อจะทรงชักชวนในการปฏิบัติที่สมควรแก่เนกขัมมะนี้ จึง

ตรัสว่า เธอจงเป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์เถิด ดังนี้.

ในคำว่า พระราหุลออกบวชด้วยศรัทธา ดังนี้นั้น หากจะพึงมีคำถาม

สอดเข้ามาว่า ก็ท่านผู้มีอายุ ปรารถนาอยู่ซึ่งรัชสมบัติอัน พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 298

ทรงให้บรรพชาโดยพลการมิใช่หรือ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พระราหุลออกจากพระราชวังด้วยศรัทธา ดังนี้ อันข้าพเจ้า

จะได้กล่าวเฉลย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ก็เพราะพระราหุลมีพระทัยน้อม

ไปในเนกขัมมะ จริงอยู่ท่านผู้มีอายุนี้ มีพระทัยน้อมไปในเนกขัมมะนานแล้ว

คือเมื่อเป็นพระยานาคราช ชื่อว่า สังขะ ได้เห็นสามเณร ชื่อว่า อุปเรวัต

ซึ่งเป็นโอรสของพระปทุมุตตรพุทธเจ้า ได้ถวายทานเป็นเวลา ๗ วัน ปรารถนา

ความเป็นอย่างนั้น (คือความเป็นสามเณร) จึงถึงพร้อมด้วยความปรารถนา

และอภินิหาร จำเดิมแต่นั้นมา บำเพ็ญบารมีอยู่เป็นเวลาแสนกัป อุบัติแล้วใน

ภพสุดท้าย พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแหละทรงทราบความที่พระผู้มีอายุนั้น มีพระ-

ทัยน้อมไปในบรรพชาอย่างนี้ ด้วยว่าญาณนี้เป็นญาณหนึ่งในตถาคตพลญาณ

ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ท่านออกจากพระราชวังด้วยศรัทธา.

อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า สทฺธาเยว ฆรา นิกฺขมฺม นี้ มีอธิบายว่า

เธอออกจากพระราชวัง ด้วยศรัทธามาสิ้นกาลนานแล้ว บัดนี้ก็จงทำที่สุดแห่ง

ทุกข์เถิด.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะแสดงข้อปฏิบัติ ด้วยการกระทำที่สุด

ทุกข์ในวัฏฏะตั้งต้นแต่การละสมุทัย จึงตรัสพระคาถานี้ว่า มิตฺเต ภชสฺสุ

กลฺยาเณ ดังนี้เป็นต้น.

พึงทราบอธิบายในพระคาถานี้ดังต่อไปนี้.

ชนทั้งหลายผู้ยิ่งด้วยศีลเป็นต้น ชื่อว่า กัลยาณมิตร บุคคลคบอยู่ซึ่ง

กัลยาณมิตรเหล่านั้น ย่อมเจริญด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ประดุจต้นสาละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 299

ใหญ่อาศัยป่าหิมวันต์ เจริญอยู่ด้วยรากเป็นต้น เพราะเหตุนั้นพระผู้มีพระภาค

เจ้าจึงตรัสว่า มิตฺเต ภชสฺสุ กลฺยาเณ ดังนี้.

สองบาทพระคาถาว่า ปนฺตญฺจ สยนาสน วิวิตฺต อปฺปนิคฺโฆส

ความว่า ก็ที่นอน ที่นั่งใด เป็นที่สงัด คืออยู่ไกล เงียบ ได้แก่ไม่เกลื่อนกล่น

ปราศจากเสียงกึกก้อง. ความสำคัญว่า ป่า ย่อมเกิดขึ้นในเสนาสนะใด ด้วย

เสียงแห่งสัตว์มีเนื้อและสุกรเป็นต้น เธอจงเสพที่นอนที่นั่งเห็นปานนั้น.

บาทพระคาถาว่า มตฺตญฺญู โหหิ โภชเน ได้แก่ จงเป็นผู้รู้ประมาณ

(ในโภชนะ) อธิบายว่า เธอจงรู้จักประมาณในการรับ และประมาณในการ

บริโภค. ในประมาณทั้งสองอย่างนั้น ผู้รู้จักประมาณในการรับ เมื่อไทยธรรม

มีน้อยทั้งเมื่อทายกต้องการจะให้น้อย ก็จงรับแต่น้อยเท่านั้น เมื่อไทยธรรมมี

น้อย แต่ทายกแม้จะต้องการให้มาก ก็ควรรับแต่น้อยเหมือนกัน แต่เมื่อไทย-

ธรรมมีมาก ทายกต้องการจะให้น้อย ก็ควรรับน้อยเหมือนกัน มีเมื่อไทยธรรม

แม้มีมาก ทั้งทายกก็ต้องการจะให้มาก ก็ควรจะรู้กำลังของตนแล้วรับ อีกอย่าง

หนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายเฉพาะความประมาณเท่านั้น ดังนี้แล.

ภิกษุผู้รู้ประมาณในการบริโภค พิจารณาโดยแยบคายแล้ว พึงฉัน

โภชนะ ประดุจบุคคลบริโภคเนื้อบุตร และประดุจบุคคลใช้น้ำมันหยอดเพลา

ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแนะนำด้วยการคบกัลยาณมิตร อันเป็น

อุปการะแก่พรหมจรรย์และให้พระราหุลสมาทานในปาริสุทธิศีล คือการบริโภค

ปัจจัยโดยตรัสถึงการใช้สอยเสนาสนะเป็นประธาน ด้วยพระคาถานี้อย่างนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 300

บัดนี้ เพราะเหตุที่การเลี้ยงชีพผิดจะมีได้ ก็เพราะความอยากในจีวรเป็นต้น

ฉะนั้น จึงทรงปฏิเสธมิจฉาชีพนั้น เมื่อจะให้พระราหุลเถระสมาทานอยู่ใน

อาชีวปาริสุทธิศีลนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า จีวเร ปิณฺฑปาเต จ ดังนี้.

ในพระคาถาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺจเย ได้แก่ คิลานปัจจัย

(ปัจจัยเพื่อคนไข้)

บทว่า เอเตสุ ได้แก่ ในเรื่องที่ให้ภิกษุทั้งหลายเกิดความอยากใน

ปัจจัย ๔ อย่างเหล่านี้มีจีวรเป็นต้น.

สองบทว่า ตณฺหมากาสิ ความว่า (เมื่อเห็นโทษโดยนัยว่า) ปัจจัย

ทั้ง ๔ อย่างเหล่านั้นเป็นเครื่องเกื้อกูลแก่บุคคลทั้งหลาย ผู้ทุรนทุรายอยู่เป็นนิจ

ก็เพื่อประโยชน์แก่การปกปิดอวัยวะที่ทำความละอายให้กำเริบเป็นต้นนั้นเอง

ย่อมเป็นเครื่องค้ำจุนซึ่งร่างกายอันทุรพลยิ่งนัก ประดุจเสาเป็นเครื่องค้ำเรือน

เก่าฉะนั้น ดังนี้ ก็อย่าให้ความอยากเกิดขึ้น เมื่อไม่ให้เกิดขึ้นอยู่ ได้แก่

เมื่อไม่ให้บังเกิดขึ้นอยู่ ก็จงอยู่ (ด้วยการไม่ให้ตัณหาบังเกิดขึ้นนั้น)

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะว่าเธออย่าได้มาสู่โลกอีก.

บาทพระคาถาว่า มา โลก ปุนราคมิ ความว่า ก็บุคคลกระทำซึ่ง

ความอยากในปัจจัยเหล่านี้อยู่ ถูกความอยากคร่ามาอยู่ ย่อมมาสู่โลกนี้แม้อีก

เธอนั้นอย่าได้ทำความอยากในปัจจัยเหล่านี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ เธอก็จักไม่มาสู่

โลกนี้อีก.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระราหุลทราบว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธออย่าได้กระทำความอยากในจีวรดังนี้ จึงได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 301

สมาทานธุดงค์ ๒ ข้อที่เกี่ยวกับ จีวร คือ ปังสุกูลิกังคธุดงค์ ๑ เตจีวริกังค-

ธุดงค์ ๑.

ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเราว่า เธอ

อย่าได้กระทำความอยากในบิณฑบาต จึงได้สมาทานธุดงค์ ๕ ข้อที่เกี่ยวกับ

บิณฑบาตคือ ปิณฑปาติกังคธุดงค์ ๑ สปทานจาริกังคธุดงค์ ๑ เอกาสนิกังค

ธุดงค์ ๑ ปัตตปิณฑิกังคธุดงค์ ๑ ขลุปัจฉาภัตติกังคธุดงค์ ๑.

ท่านพระราหุลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเราว่า เธออย่า

ได้ทำความอยากในเสนาสนะดังนี้ จึงได้สมาทานธุดงค์ ๖ ข้อ ที่เกี่ยวข้องด้วย

เสนาสนะคือ อารัญญิกังคธุดงค์ ๑ อัพโภกาสิกังคธุดงค์ ๑ รุกขมูลิกังคธุดงค์

๑ ยถาสันถติกังคธุดงค์ ๑ โสสานิกังคธุดงค์ ๑ เนสัชชิกังคธุดงค์ ๑.

ท่านพระราหุลนั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเราว่า เธออย่า

ได้กระทำความอยากในคิลานปัจจัย จึงเป็นผู้สันโดษแล้วด้วยความสันโดษ ๓

ในปัจจัยทั้งปวงคือ ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษ

เป็นผู้มีปกติรับคำสอนด้วยความเคารพ เหมือนกุลบุตรที่ว่าง่าย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงให้ท่านพระราหุลสมาทานด้วยอาชีวปาริ-

สุทธิศีลแล้ว บัดนี้ เมื่อจะให้ท่านสมาทานในศีลที่เหลือ และในสมถะและ

วิปัสสนาทั้งหลายจึงตรัสว่า สวุโต ปาติโมกฺขสฺมึ ดังนี้เป็นต้น.

ในบรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น ในบาทคาถานี้ว่า สวุโต ปาติโมกฺ-

ขสฺมึ พึงเพิ่มบาลีที่เหลือเข้าว่า ภวสฺสุ หรือพึงทราบสัมพันธ์ด้วยบทสุด

ท้ายว่า ในบาทคาถาที่ ๒ ก็พึงเติมบาลีที่เหลือเข้าเช่นเดียวกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักชวนท่านพระราหุล ในปาติโมกขสังวรศีล

และอินทริยสังวรศีล ด้วยพระดำรัส ๒ อย่างเหล่านี้ อย่างนี้. ก็ในพระคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 302

อินฺทฺริเยสุ จ ปณฺจสุ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรีย์ ๕ ประการ ด้วย

สามารถแห่งเนื้อความที่ปรากฏแล้ว. เเต่โดยลักษณะแล้วพึงทราบว่า แม้

อินทรีย์ที่ ๖ ก็เป็นอันพระองค์ตรัสไว้แล้วเหมือนกัน. บาทพระคาถาว่า สตี

กายคตา ตฺยตฺถุ ความว่า สติอันเป็นไปในกาย [กายคตาสติ] อันต่างด้วย

จตุธาตุววัฏฐาน สัมปชัญญะ ๔ อานาปานสติ และอาหาเรปฏิกูลสัญญา จงมี

คือว่า จงเกิดมีแก่ท่านผู้ดำรงอยู่แล้ว ในจตุปาริสุทธิศีล ๔ อย่างนี้ คือว่า จง

เจริญกายคตาสตินั้น.

บาทพระคาถาว่า นิพฺพิทาพหุโล ภว ความว่า ท่านจงเป็นผู้มาก

ด้วยความเบื่อหน่ายในสังสารวัฏ คือว่า จงมีความสำคัญหมายในโลกทั้งปวง

ว่า ไม่น่ายินดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุปจารภูมิ อันเป็นส่วนแห่งการแทง

ตลอด ด้วยคำแม้ประมาณเท่านี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอัปปนาภูมิ จึงตรัสคำ

เป็นต้นว่า นิมิตฺต ปริวชฺเชหิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิมิตฺต ได้แก่ สุภนิมิตอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ราคะ. ด้วยคำว่า นิมิตฺต นั้นนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงทำสุภนิมิต

นั้น ให้วิเศษในรูปอีก จึงตรัสว่า สุภ ราคุปสญฺหิต สุภนิมิตที่ก่อให้เกิด

ความกำหนัด.

บทว่า ปริวชฺเชหิ ได้แก่ จงเว้นด้วยมนสิการ.

บาทพระคาถาว่า อสุภาย จิตฺต ภาเวหิ ความว่า จงอบรมจิตโดย

ประการที่อสุภภาวนาในกายที่มีวิญาณ หรือไม่มีวิญญาณสำเร็จได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 303

บาทพระคาถาว่า เอกคฺค สุสมาหิต ความว่า จิตเช่นนี้ของท่าน

จะเป็นจิตที่มีอารมณ์เดียวได้ โดยอุปจารสมาธิ (และ) จะเป็นจิตตั้งมั่นได้ด้วย

อัปปนาภูมิแห่งจิตนั้นอย่างนี้แล้ว เมื่อจะแสดงวิปัสสนาจึงตรัสว่า อนมิตฺต

เป็นต้น

บรรดาบทเหล่านี้ บาทพระคาถาว่า อนิมิตฺตญฺจ ภาเวหิ อธิบายว่า

ท่านผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยสรมาธิ อัน เป็นส่วนแห่งการแทงตลอดอย่างนี้ จงเจริญ

วิปัสสนา จริงอยู่ วิปัสสนาย่อมได้โวหาร (การเรียก) ว่า อนิมิตฺต เพราะ

ไม่ถือเอาซึ่งนิมิตทั้งหลายมีราคนิมิตเป็นต้น โดยนัยว่า อนิจจานุปัสสนาญาณ

ย่อมพันจากนิมิต (การกำหนดหมาย) ว่าเที่ยง จึงเป็นอนิมิตตวิโมกข์ เหมือน

อย่างที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะกล่าวได้ว่า ดูก่อนอาวุโส ข้าพเจ้านั้นแล เข้า

เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตอยู่ เพราะการไม่ใส่ใจซึ่งนิมิตทั้งปวง ดูก่อนอาวุโส

เมื่อข้าพเจ้าอยู่ อยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่นี้ อนิมิตตานุสารีวิญญาณ ย่อมมีได้

ดังนี้.

บาทพระคาถาว่า มานานุสยมุชฺชห ความว่า เธอจะละ ได้แก่จงสละ

คือจงสลัดทิ้งเสีย ซึ่งมานานุสัยโดยลำดับ เป็นต้นอย่างนี้ว่า ดูก่อหเมฆิยะ

เมื่อบุคคลได้อนิมิตตสัญญา ด้วยการเจริญ อนิมิตตภาวนานี้ แล้วเป็นผู้มีความ

สำคัญว่าไม่เทียง อนัตตา ก็ย่อมดำรงมั่นได้ ผู้มีความสำคัญว่าไม่ใช่ตน ย่อม

บรรลุถึงการถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะ ดังนี้.

สองบาทพระคาถาว่า ตโต มานาภิสมยา อุปสนฺโต จริสฺสสิ

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้พระเทศนาจบลง ด้วยอดคือพระอรหัตว่า

๑. สัง. สฬายตนะ ๑๙/ ข้อ ๕๒๓ ๒. อัง. นวก. ๒๗/ ข้อ ๒๐๗.(ตอนสุดท้าย)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 304

ต่อแต่นั้น เพราะการบรรลุ คือเพราะความสิ้นไปเสื่อมไป ได้แก่เพราะการละ

คือเพราะการสละคืนซึ่งมานะ ด้วยอริยมรรคอย่างนี้ เธอจักเป็นผู้สงบคือคับ

สนิท ได้แก่เป็นผู้เย็น คือว่าเป็นผู้เว้นแล้วจากความกระวนกระวายและความ

เร่าร้อนทั้งปวง จักเทียวไปคือว่าจักอยู่ ด้วยธรรมเครื่องอยู่คือผลสมาบัติอย่าง

ใดอย่างหนึ่งบรรดาสุญญตนิมิต อนิมิตตนิมิต และอปณิหิตนิมิตตราบเท่าที่

เข้าสู่นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

ต่อจากนี้ไปคำว่า อิตฺถ สุท ภควา เป็นต้น เป็นคำของพระสังคีติ-

กาจารย์.

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อิตฺถ สุท ได้แก่ ได้ยินมาอย่างนี้ มีคำ

อธิบายว่า อย่างนี้นั้นแล. คำที่เหลือในคาถานี้มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ก็ท่านพระราหุล อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานโอวาทอยู่อย่างนี้

ดำรงอยู่แล้วในพระอรหัตพร้อมกับเทวดาทั้งหลายเป็นอเนก ในที่สุดแห่ง

จูฬราหุโลวาทสูตร ในเมื่อธรรมทั้งหลายอันเป็นทั้งแห่งการแก่รอบเพื่อการไค้

วิมุตติถึงความแก่รอบแล้ว.

จบการพรรณนาราหุลสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อปรมัตถโขติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 305

วังคีสสูตรที่ ๑๒

ว่าด้วยสงสัยปรินิพพาน

[๓๒๙ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ ใกล้เมือง

อาฬวี ก็สมัยนั้นแล พระเถระชื่อ นิโครธกัปปะ เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน

พระวังคีสะปรินิพพานแล้วไม่นานที่อัคคาฬวเจดีย์ ครั้งนั้น ท่านพระวังคีสะ

หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌาย์

ของเราปรินิพพานแล้วหรือหนอแล หรือว่ายังไม่ปรินิพพาน ครั้นเวลาเย็น

ท่านพระวังคีสะออกจากที่หลีกเร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค-

เจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส ข้าพระองค์หลีกออกเร้นอยู่

ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นอย่างนี้ว่า พระอุปัชฌาย์ของเราปรินิพพาน

เเล้วหรือหนอแล หรือว่ายังไม่ได้ปรินิพพาน ลำดับนั้น ท่านพระวังคีสะลุก

จากอาสนะ กระทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาค-

เจ้า แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

[๓๓๐] ข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอทูล

ถามพระศาสดาผู้มีพระปัญญาไม่ทราม ข้า-

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงเห็นธรรมอัน

มั่นคง พระองค์ทรงขนานนามแห่งภิกษุผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 306

เป็นพราหมณ์ ผู้ตัดความสงสัย มีชื่อเสียง

มียศ ผู้คุ้มครองตนได้ มุ่งวิมุตติ ปรารภ

ความเพียร กระทำกาละที่อัคคาฬวเจดีย์ ที่

ข้าพระองค์ได้ประพฤตินอบน้อมท่านอยู่ว่า

นิโครธกัปปะ นิพพานแล้ว.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศากยะ

มีพระจักษุรอบคอบ แม้ข้าพระองค์ทั้งหมด

ย่อมปรารถนาเพื่อจะรู้พระสาวกนั้น ข้าพระ-

องค์ทั้งหลายตั้งโสตไว้ชอบแล้วเพื่อจะฟัง

พระองค์เป็นพระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมของข้าไ

พระองค์ทั้งหลาย ขอทรงโปรดตรัสความ

สงสัยของข้าพระองค์ทั้งหลาย ขอพระองค์

ตรัสบอกความข้อนี้แก่พระองค์เถิด.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีปัญญาเสมอด้วย

แผ่นดิน มีพระจักษุรอบคอบ ขอพระองค์

โปรดตรัสบอกภิกษุผู้เป็นพราหมณ์ ผู้ปริ-

นิพพานแล้ว อนึ่ง ขอพระองค์ตรัสในท่าม

กลางข้าพระองค์ทั้งหลาย เหมือนอย่างท้าว-

สหัสสเนตร พระนามว่าสักกะ ย่อมตรัสใน

ท่ามกลางแห่งเทวดาทั้งหลาย ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 307

กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ในโลกนี้ เป็นทางแห่งโมหะ เป็นฝักฝ่าย

แห่งความไม่รู้ เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย

กิเลสเครื่องร้อยรัดเหล่านั้น มาถึงพระตถา-

คตผู้มีจักษุผู้ยิ่งกว่านระทั้งลายแล้วย่อมไม่มี

ก็ถ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็น

บุรุษ จะไม่พึงกำจัดเหล่ากิเลสเสีย โดยส่วน

เดียวเหมือนลมไม่พึงกำจัดเมฆไซร้ สัตว์โลก

ทั้งหมดถูกความไม่รู้ปกคลุมแล้ว พึงเป็น

โลกมืด เหมือนโลกที่ถูกเมฆปกคลุมแล้ว

เป็นโลกมืด ฉะนั้น.

นรชนทั้งหลายแม้มีความรุ่งเรือง จะ

ไม่พึงเดือดร้อน ส่วนนักปราชญ์ทั้งหลาย

เป็นผู้กระทำความรุ่งเรือง ข้าแต่พระองค์

ผู้เป็นนักปราชญ์ เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์

ย่อมสำคัญพระองค์ว่าเป็นนักปราชญ์ และ

ว่าผู้กระทำความรุ่งเรือง เหมือนอย่างนั้นนั่น

แล ข้าพระองค์ทั้งหลายทราบอยู่ ซึ่งพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้เห็นแจ่มแจ้ง จึงเข้ามาเฝ้า

ขอพระองค์โปรดตรัสบอก ทรงกระทำให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 308

แจ่มแจ้งซึ่งภิกษุชื่อนิโครธกัปปะแก่ข้าพระ-

องค์ทั้งหลายในบริษัทเถิด.

พระองค์ผู้มีพระดำรัสไพเราะ ขอ

จงตรัสถ้อยคำอันไพเราะเถิด ขอพระองค์

จงค่อยเปล่งด้วยพระสุรเสียงอันพระองค์ทรง

กำหนดดีแล้ว เหมือนหมู่หงส์ยกคอขึ้นแล้ว

ค่อย ๆ เปล่งเสียงอันไพเราะ ฉะนั้น.

ข้าพระองค์ทั้งหมดเป็นผู้ปฏิบัติตรง

จะคอยฟังพระดำรัสอันไพเราะของพระองค์

ข้าพระองค์ขอทูลวิงวอนให้พระองค์ผู้ละชาติ

และมรณะได้แล้ว ทรงกำจัดบาปไม่มีส่วน

เหลือให้ทรงแสดงธรรม การกระทำความ

ใคร่หามีแก่ปุถุชนทั้งหลายไม่ ส่วนการ

กระทำความพิจารณาย่อมมีแก่พระตถาคต

ทั้งหลาย.

ไวยากรณ์อันสมบูรณ์นี้ เป็นของ

พระองค์ผู้มีพระปัญญาผุดขึ้นดี ทรงเรียนดี

แล้ว.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระ-

ปัญญาไม่ทราม อัญชลีไม่มีในภายหลังนี้ ข้า-

พระองค์ประณมดีแล้ว พระองค์ทรงทราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 309

อยู่ซึ่งคติของภิกษุชื่อนิโครธกัปปะ อย่าได้

ทรงทำข้าพระองค์ให้หลงเลย.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีความ

เพียรไม่ทราม พระองค์ทรงรู้แจ้งอริยธรรม

อันประเสริฐยิ่ง ทรงทราบอยู่ซึ่งไญยธรรม

ทั้งปวง อย่าได้ทรงทำข้าพระองค์ให้หลงเลย

ข้าพระองค์หวังจะได้สดับพระดำรัสของ

พระองค์อยู่ เหมือนบุรุษผู้ร้อนแล้วเพราะ

ความร้อนในฤดูร้อน หวังจะได้น้ำ ฉะนั้น.

ขอพระองค์จงยังสัททายตนะ คือ

สุตะให้ตกเถิด ภิกษุชื่อนิโครธกัปปะได้

ประพฤติพรหมจรรย์ ตามความปรารถนา

พรหมจรรย์อะไร ๆ ของท่านไม่เปล่า นิพ-

พานแล้ว อนุปาทิเสสนิพพานธาตุหรือ

หรือว่าเป็นผู้พ้นวิเศษแล้วยังมีอุปาทานเหลือ

อยู่ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะขอฟังความข้อ

นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยพระคาถาว่า

ภิกษุชื่อนิโครธกัปปะ ได้ตัดตัณหา

ในนามรูปนี้ ที่เป็นพระแสแห่งกัณหมาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 310

อันนอนเนื่องแล้วสิ้นกาลนาน เธอได้ข้าม

พ้นชาติและมรณะไม่มีส่วนเหลือ ปรินิพ-

พานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประเสริฐสุดด้วยอินทรีย์

๕ เป็นต้น ได้ตรัสอย่างนี้.

ท่านพระวังคีสะกราบทูลว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระ-

องค์นี้ได้ฟังแล้ว ย่อมเลื่อมใสพระดำรัสของ

พระองค์ ได้ยินว่า ข้าพระองค์ได้ทูลถาม

ถึงพรหมจรรย์อันไม่เปล่า พระองค์ผู้เป็น

พราหมณ์ไม่ล่วง ข้าพระองค์ผู้สาวกของ

พระพุทธเจ้า เป็นผู้มีปรกติกล่าวอย่างใด

กระทำอย่างนั้น ได้ตัดข่ายอันมั่นคงนั้น ๆ

ของมัจจุราชผู้มีมายาขาดแล้ว.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุชื่อ

นิโครธกัปปะผู้สมควร ได้เห็นเบื้องต้นแห่ง

อุปาทาน ได้ล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้แสนยาก

แล้วหนอ.

จบวังคีสสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 311

อรรถกถานิโครธกัปปสูตรที่ ๑๒

นิโครธกัปปสูตร มีคำเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น ดังนี้.

พระสูตรนี้ท่านเรียกว่า วังคีสสูตร ดังนี้ก็มี.

ถามว่า พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า การเกิดขึ้นแห่งพระสูตรนี้นั่นแล ท่านกล่าวไว้ในนิทานแห่ง

พระสูตรนั้นแล้ว.

บรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น มีเนื้อความ

อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นแหละ เพราะข้าพเจ้าได้ทิ้งเนื้อความเช่นนั้น เหล่านั้น

และเหล่าอื่นเสีย จักพรรณนาเฉพาะนัยที่ยังมิได้กล่าวไว้แล้วเท่านั้น.

บทว่า อคฺคาฬเว เจติเย ได้แก่ ที่อัคคาฬวเจดีย์ในเมืองอาฬวี จริง

อยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังไม่ทรงอุบัติขึ้น ได้มีเจดีย์เป็นอเนก มีอัคคาฬว-

เจดีย์ และโคตมเจดีย์เป็นต้น ซึ่งเป็นภพที่อยู่ของพวกยักษ์และนาคเป็นต้น

(แต่) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอุบัติขึ้นแล้ว พวกมนุษย์ทั้งหลายก็รื้อ

เจดีย์เหล่านั้น สร้างเป็นวัดเสีย และมนุษย์ทั้งหลาย ก็เรียกกันโดยชื่อนั้นนั่นแล

มีคำอธิบายว่า เพราะพระเถระอยู่ในวัด กล่าวคืออัคคาฬวเจดีย์.

แม้คำว่า อายสฺมา ในคำว่า อายสฺมโต วงคีสสฺส นี้ เป็นคำ

ที่กล่าวด้วยความรัก.

คำว่า วังคีสะ นั่นเป็นชื่อของพระเถระนั้น พระวังคีสเถระนั้น ชน

ทั้งหลายพึงทราบกันอย่างนี้ จำเดิมแต่เกิดมา.

๑. บาลีว่า วังคีสสตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 312

ได้ยินว่า วังคีสะนั้นเป็นบุตรของปริพพาชก เกิดในครรภ์ของนาง

ปริพพาชิกา ด้วยอานุภาพแห่งวิชาอย่างหนึ่งซึ่งตนรู้ ได้เคาะกระโหลกศีรษะ

คนตาย แล้วก็รู้คติกำเนิดของสัตว์ทั้งหลาย. ได้ยินว่า แม้พวกมนุษย์ก็ได้นำ

กระโหลกศีรษะของพวกญาติของตน ซึ่งตายแล้วมาจากป่าช้า แล้วถามคติ

กำเนิดของญาติเหล่านั้นกะวังคีสะ ท่านก็ทำนายว่า บุคคลผู้นั้นเกิดในนรก

ชื่อโน้น บุคคลผู้นั้นเกิดในมนุษยโลกที่โน้น พวกมนุษย์เหล่านั้น อันพระ-

วังคีสะนั้นทำนายแล้ว (ทำให้งงงวยแล้ว) จึงได้ให้ทรัพย์เป็นจำนวนมากแก่เขา

ด้วยอาการอย่างนี้ เขาจึงได้ปรากฏ (มีชื่อเสียง) ไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น

วังคีสะนั้นบำเพ็ญบารมีมาแล้ว ๑ แสนกัป บริบูรณ์ด้วยอภินีหาร มีบุรุษ

ห้าพันคนแวดล้อม ท่องเที่ยวไปในคาม นิคม ชนบท และราชธานีทั้งหลาย

ได้บรรลุถึงเมืองสาวัตถีโดยลำดับ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี พวกชาวเมืองสาวัตถีถวายทานในเวลาก่อนภัตแล้ว

ในเวลาหลังภัตต่างก็นุ่งห่มเรียบร้อย ถือดอกไม้และของหอมเป็นต้น ย่อมไป

สู่พระเชตวันเพื่อฟังธรรม วังคีสะนั้นเห็นชาวเมืองเหล่านั้นแล้วก็ถามว่า

มหาชนพากันไปไหน.

ครั้งนั้นชนเหล่านั้นก็บอกเขาว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก

กำลังทรงแสดงธรรม เพื่อประโยชน์สุขแก่ชนเป็นอันมาก พวกเราจะไปใน

ที่นั้น แม้วังคีสะนั้นพร้อมกับคนเหล่านั้นรวมทั้งบริวารของตนไปแล้ว ปราศรัย

กับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งแล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกวังคีสะนั้นว่า ดูก่อนวังคีสะ เธอรู้วิชาที่เคาะกระโหลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 313

ศีรษะของมนุษย์ทั้งหลายแล้ว บอกคติกำเนิดได้หรือ ดังนี้ วังคีสพราหมณ์

ทูลว่า ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ย่อมทราบอย่างนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้ารับสั่งให้นำศีรษะของมนุษย์ผู้เกิดแล้วในนรกมาแล้ว ทรงแสดง

(แก่วังคีสพราหมณ์นั้น) เขาใช้เล็บเคาะแล้วทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ

นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในนรก พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงศีรษะทั้งหลาย

ของมนุษย์ทั้งหลาย ผู้เกิดแล้วในคติทั้งปวงโดยอาการอย่างนี้ แม้เขาก็ทราบ

และได้กราบทูลเหมือนอย่างนั้น ทีนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงศีรษะของ

พรขีณาสพแก่เขา เขาเคาะแล้วบ่อย ๆ ก็ไม่ทราบ (ว่าไปเกิดที่ไหน) ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนวังคีสะ ในศีรษะนี้ไม่ใช่วิสัยของเธอ นี้เป็น

วิสัยของเรา นี้คือศีรษะของพระขีณาสพ แล้วจึงตรัสพระคาถานี้ว่า

คติ มิคาน ปวน อากาโส ปกฺขิน คติ

วิภโว คติ ธมฺมาน นิพฺพาน อรหโต คติ.

ป่าใหญ่เป็นคติของเนื้อทั้งหลาย

อากาศเป็นคติของนกทั้งหลาย ความเจริญ

เป็นคติของธรรมทั้งหลาย นิพพานเป็นคติ

ของพระอรหันต์ ดังนี้.

วังคีสะสดับคาถาแล้วทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดมผู้เจริญ ขอพระองค์

จงให้วิชชานี้แก่ข้าพระองค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า วิชชานี้มิได้สำเร็จแก่

ชนทั้งหลายผู้ไม่บวช. วังคีสะนั้นทูบว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ให้ข้า

พระองค์บวชแล้ว จงการทำสิ่งที่พระองค์ต้องการ เเล้วให้วิชชานี้ แก่ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 314

ในขณะนั้นพระนิโครธกัปปเถระอยู่ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าวึงทรงสั่งพระเถระนั้นว่า นิโครธกัปปะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้วังคีสะ

นี้บวช. พระเถระนั้นให้วังคีสะนั้นบวชแล้ว ได้บอกตจปัญจกกรรมฐาน

พระวังคีสะได้บรรลุปฏิสัมภิทาโดยลำดับ ได้เป็นพระอรหันต์ และเป็นผู้ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกย่องไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลาย

วังคีสะนี้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้สาวกของเราผู้มีปฏิภาณ.

อุปัชฌาย์ของท่านพระวังคีสะ ซึ่งได้ร้องเรียกกันอย่างนี้ เป็นพระเถระ

ชื่อว่านิโครธกัปปะ ผู้มีโวหาร (การร้องเรียก) อันได้แล้วอย่างนี้ เพราะไตร่

ตรองสิ่งที่มีโทษและไม่มีโทษเป็นต้น.

คำว่า กัปปะ เป็นชื่อของพระเถระนั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกท่านว่า นิโครธกัปปะ เพราะท่านบรรลุพระอรหัตที่โคนต้นนิโครธ

ต่อจากนั้นแม้ภิกษุทั้งหลายก็เรียกท่านอย่างนั้น ท่านถึงความเป็นผู้มั่นคงใน

พระศาสนา จึงชื่อว่า เถระ.

หลายบทว่า อคฺคาฬเว เจติเย อจิรปรินิพฺพุโต โหติ ได้แก่

พระนิโครธกัปปเถระนั้นนิพพานแล้วไม่นานที่เจดีย์นั้น.

บทว่า รโหคตสฺส ปฏิสลฺลีนสฺส ได้แก่ ผู้มีกายหลีกเร้นออกจาก

หมู่ ผู้มีจิตหวนกลับจากอารมณ์นั้น ๆ เร้นอยู่.

หลายบทว่า เอว เจตโส ปริวิตกฺโก อุทปาทิ ได้แก่ เกิดปริวิตก

ด้วยอาการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 315

ถามว่า เพราะเหตุไร จึงเกิดปริวิตกขึ้น.

ตอบว่า เพราะพระอุปัชฌาย์นั้นไม่ได้อยู่เฉพาะหน้า และเพราะพระ

อุปัชฌาย์นั้นอันท่านเห็นแล้ว และมีการคุ้นเคย จริงอยู่ในเวลาที่พระนิโครธ-

กัปปะนั้นปรินิพพาน พระวังคีสะนี้ ไม่ได้อยู่เฉพาะหน้า แต่การคุ้นเคยใน

กาลก่อน มีการรำคาญมือเป็นต้นของพระเถระนั้น เป็นผู้ที่พระวังคีสะนั้นเคย

เห็นมาแล้ว และการประพฤติเช่นนั้น ก็ย่อมมีได้ทั้งแก่ผู้ที่มิใช่ขีณาสพ ทั้ง

แก่พระขีณาสพทั้งหลาย โดยความประพฤติในกาลก่อน จริงอย่างนั้น พระ-

ปิณโฑลภารทวาชะ ไปสู่อุทยานของพระเจ้าอุเทนเท่านั้น เพื่อประโยชน์

แก่การอยู่ในกลางวัน (พักผ่อน) ในภายหลังภัต ด้วยความประพฤติในกาล

ก่อนนี้คือ ในกาลก่อนท่านเป็นพระราชา ได้ปฏิบัติอยู่ในที่นั้น พระควัมปติ

เถระไปยังเทววินานว่างในดาวดึงส์ภพ ด้วยความประพฤติในกาลก่อนนี้ คือ

ท่านเป็นเทวบุตรปฏิบัติอยู่ในเทววิมานนั้น.

ภิกษุชื่อว่า ปิลินทวัจฉะ เรียกผู้อื่นว่า คนถ่อย ด้วยความประพฤติ

ในกาลก่อนนี้คือ ท่านเป็นพราหมณ์อยู่ ๕๐๐ ชาติ ไม่มีกำเนิดอื่นปนเลย

ได้กล่าวกะผู้อื่นเหมือนอย่างนั้น เพราะฉะนั้น ความปริวิตกแห่งใจจึงได้บังเกิด

ขึ้นแก่พระวังคีสะนั้น เพราะท่านมิได้อยู่เฉพาะหน้า เพราะท่านไม่เคยเห็น

และคุ้นเคยอย่างนี้ว่า อุปัชฌาย์ของเรานิพพานแล้วหรือว่ายังไม่นิพพาน

ข้อความต่อจากนั้นมีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ก็ในคำว่า เอกส จีวร กตฺวา นี้ ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ ก็เพื่อทำ

จีวรให้แน่น (รัดกุม) บ่อย ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 316

ก็คำว่า เอกส นี้ เป็นชื่อของผ้าที่ท่านห่มเฉวียงบ่าข้างซ้ายวางไว้

เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความแห่ง เอกส นี้ อย่างนี้ว่า กระทำจีวรโดย

ประการที่จีวรนั้นจะห่มคลุมบ่าข้างซ้ายวางไว้ คำที่เหลือชัดแล้วทั้งสิ้น.

บทว่า อโนมปญฺ ได้แก่สิ่งที่ต่ำ ท่านเรียกว่า เล็กน้อย เลวทราม

ซึ่งพระศาสดาผู้มีปัญญาทรามหามิได้ อธิบายว่า ผู้มีปัญญามาก.

สองบทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ได้แก่ โดยประจักษ์นั้นเอง หรืออธิบายว่า

ในอัตภาพนี้นั่นเอง.

บทว่า วิจิกิจฺฉาน ได้แก่ ความปริวิตกเห็นปานนั้น.

บทว่า าโต ได้แก่ ปรากฏแล้ว.

บทว่า ยสสฺสี ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยสาภและบริวาร.

บทว่า อภินิพฺพุตตฺโต ได้แก่ มีจิตอันคนคุ้มครองแล้ว หรือมีจิต

อันไฟไม่ไหม้อยู่.

สองบทว่า ตยา กต ความว่า พระองค์กล่าวว่า นิโครธกัปปะ

ก็เพราะท่านนั่งแล้วที่โคนต้นนิโครธ ได้ทรงตั้งชื่อไว้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมพิจารณาด้วยพระองค์โดยประการใด ย่อมตรัสเรียกโดยประการนั้น แต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเรียกพระนิโครธกัปปะนั้นอย่างนั้น ก็เพราะเหตุที่ท่าน

นั่งแล้ว ที่ต้นนิโครธนั้นเอง อีกอย่างหนึ่ง ก็เพราะว่า ท่านได้บรรลุพระอรหัต

ที่ต้นนิโครธนั้น.

ด้วยคำว่า พฺราหฺมณสฺส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงชาติ

ได้ยินว่า พระนิโครธกัปปะนั้น ออกบวชจากสกุลพราหมณ์มหาศาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 317

สองบทว่า นมสฺส อจรึ ความว่า นมัสการอยู่แล้ว.

บทว่า มุตฺยเปกฺโข ความว่า หวังวิมุตติกล่าวคือพระนิพพาน

อธิบายว่า ปรารถนาพระนิพพาน.

พระวังคีสะเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ทฬฺหธมฺมทสฺสี จริงอยู่

พระนิพพานชื่อว่าเป็นธรรมที่มั่นคง เพราะอรรถว่าไม่แตก ก็พระผู้มีพระภาค

เจ้า ย่อมทรงแสดงพระนิพพานนั้น เพราะเหตุนั้น พระวังคีสะจึงเรียก

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่า ทฬฺหธมฺมทสฺสี ผู้แสดงธรรมอันมั่นคง.

แม้ด้วยบทว่า สกฺกา พระวังคีสะ ย่อมเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

แล ด้วยคุณนาม.

ด้วยสองบทว่า มยมฺปิ สพฺเพ พระวังคีสู่สงเคราะห์บริษัทที่เหลือ

แล้ว แสดงซึ่งตน ย่อมร้องเรียก.

แม้ด้วยบทว่า สมนฺตจกฺขุ ท่านก็เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล

ด้วยสัพพัญญุตญาณ.

บทว่า สมฺมวฏฺิตา ได้แก่ ตั้งไว้แล้วโดยชอบ คือทำให้เป็นหลัก

ตั้งไว้แล้ว.

บทว่า โน ได้แก่ ของเราทั้งหลาย.

บทว่า สวนาย ได้แก่ เพื่ออันฟังไวยากรณ์ปัญหานี้.

บทว่า โสตา ได้แก่ โสตินทรีย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 318

คำว่า ตุว โน สตฺถา ตวมนุตฺตโรสิ นี้ เป็นเพียงคำชมเชย

เท่านั้น.

หลายบทว่า ฉินฺเทว โน วิจิกิจฺฉ ได้แก่ พระวังคีสะนั้นผู้หมด

ความสงสัยแล้ว ด้วยความสงสัยในอกุศล แต่ก็พูดหมายถึงความปริวิตกนั้น

ซึ่งเปรียบดุจความสงสัยนั่นเอง.

สองบทว่า พฺรูหิ เมต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นศากยะ พระ-

องค์เป็นผู้ที่ข้าพระองค์ทูลขอแล้ว เพื่อให้บอกซึ่งสาวกใด ขอพระองค์จึงตรัส

บอกซึ่งสาวกนั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์แม้ทุกคน ปรารถนาจะรู้สาวกนั้น

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ก็พระองค์เมื่อตรัสบอกอยู่ ก็

จงบอกซึ่งพราหมณ์นั้นผู้ปรินิพพานแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญา

พระองค์ทรงทราบพระเถระนั้นผู้ปรินิพพานแล้ว ก็จงบอกในท่ามกลางของข้า-

พระองค์ทั้งหลาย คือจงตรัสบอกในท่ามกลางของข้าพระองค์ทุกคน โดยประการ

ที่ข้าพระองค์ทุกคนจะพึงทราบได้.

คำว่า สกฺโกว เทวาน สหสฺสเนตฺโต นี้ เป็นคำชมเชยเท่านั้น

คำนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ท้าวสักกะผู้มีดวงตาหนึ่งพัน ผู้มีพระวาจาอันเทพเจ้า

เหล่านั้นรับแล้วโดยเคารพ ย่อมตรัสในท่ามกลางแห่งเทวดาทั้งหลายฉันใด

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์มีพระวาจาอันข้าพระองค์ทั้งหลายรับแล้ว

ก็จงตรัสในท่ามกลางแห่งข้าพระองค์ทั้งหลายฉันนั้น.

พระวังคีสะ เนื้อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล เพื่อจะยังความ

เป็นผู้กล่าวให้เกิดขึ้น จงได้กล่าวคาถาแม้นี้ว่า เยเกจิ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 319

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น

พระวังคีสะเรียกว่าเป็นทางแห่งโมหะ ว่าเป็นฝักฝ่ายแห่งความไม่รู้ และว่า

เป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย เพราะไม่ได้ละโมหะและความสงสัย ในเพราะมิได้ละ

เครื่องร้อยรัดเหล่านั้น เครื่องร้อยรัดเหล่านั้นทั้งหมดมาถึงพระตถาคตเจ้าแล้ว

ย่อมถูกกำจัด ได้แก่จักพินาศไป ด้วยพลังแห่งเทศนาของพระตถาคต.

ถามว่า เครื่องร้อยรัดเหล่านั้นถูกกำจัดได้ด้วยเหตุไร ?

ตอบว่า กิเลสชาติเหล่านั้นมาถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีจักษุพระองค์

นี้แล ซึ่งยิ่งกว่านระทั้งหลาย ย่อมถูกกำจัดแล้ว คำอันเป็นบาทพระคาถาว่า

จกฺขุมฺหิ เอต ปรม นราน ดังนี้ เป็นคำอันท่านกล่าวไว้ว่า เพราะพระ-

ตถาคตเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้มีจักษุอย่างยิ่งกว่านระทั้งหลาย เพราะทำปัญญาจักษุ

ในการกำจัดกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้งปวงให้เกิดขึ้น.

พระวังคีสเถระเมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล เพื่อจะยัง

ความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะกล่าวให้เกิดขึ้น จึงได้กล่าวคาถาแม้นี้ว่า โน เจ หิ

ชาตุ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชาตุ เป็นคำโดยส่วนเดียว.

บทว่า ปุริโส ท่านพระวังคีสะหมายถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวแล้ว.

บทว่า โชติมนฺโต ได้แก่ ชนทั้งหลายผู้มาตามพร้อมแล้วด้วย

ความรุ่งเรื่อง คือปัญญา มีพระสารีบุตรเป็นต้น. ท่านกล่าวโดยคาถานี้ไว้ว่า

ผิว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า จะไม่พึงกำจัดกิเลสทั้งหลายด้วยพลังแห่งเทศนา

เหมือนกับลมอันต่างด้วยลมมาทางทิศตะวันออกเป็นต้น จะไม่พึงกำจัดเมฆแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 320

ไซร้ สัตว์โลกแม้ที่ปกปิดด้วยความไม่รู้ ก็จะพึงเป็นผู้มืด ประดุจโลกที่ถูก

เมฆปกปิดไว้ ก็จะเป็นโลกมืด คือมีการมืดมนเป็นอันเดียวกัน แม้หรือว่า

ชนทั้งหลายเหล่านี้ใด ซึ่งมีความรุ่งเรื่องในบัดนี้ ปรากฏอยู่ มีพระสารีบุตร

เป็นต้น แม้ชนทั้งหลายเหล่านั้น ก็ไม่พึงเดือดร้อน.

พระวังคีสเถระ เมื่อชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล เมื่อจะยังความ

เป็นผู้ใคร่จะกล่าวให้เกิดขึ้นโดยนัยก่อนนั้นแล จึงได้กล่าวคาถาแม้นี้ว่า ธีรา

เป็นต้น เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ก็บุรุษทั้งหลายผู้เป็นนักปราชญ์

คือผู้เป็นบัณฑิต เป็นผู้กระทำความรุ่งเรือง ย่อมให้ความรุ่งเรืองแห่งปัญญา

เกิดขึ้น ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงกล้าหาญ ผู้ประกอบด้วยปธานวิริยะ

ฉะนั้น ข้าพระองค์ย่อมสำคัญ คือว่า ย่อมสำคัญพระองค์ว่าเป็นนักปราชญ์

และว่าเป็นผู้กระทำความรุ่งเรืองเหมือนอย่างนั้น ด้วยว่าข้าพระองค์ทั้งหลาย

เมื่อทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เห็นแจ่มแจ้ง คือผู้เห็นซึ่งธรรมทั้งปวง

ตามความเป็นจริงอยู่ จึงได้เข้าไปหาพระองค์อย่างนี้. เพราะฉะนั้น ขอพระองค์

จงกระทำให้แจ่มแจ้ง คือว่าจงตรัสบอก ฯลฯ ได้แก่จงประกาศซึ่งพระกัปป-

เถระ ได้แก่พระนิโครธกัปปะ ในบริษัททั้งหลายแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย.

พระวังคีสะเมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล เพื่อจะยังความ

เป็นผู้ใคร่จะกล่าวให้เกิดขึ้นโดยนัยก่อนนั้นแล จงกล่าวคาถาแม้นี้ว่า ขิปฺป

ดังนี้เป็นต้น. เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระดำรัส

อันไพเราะ ขอพระองค์จงเปล่งถ้อยคำอันไพเราะโดยพลัน คือว่าจงอย่าได้ชักช้า

อยู่ ซึ่งตรัสพระดำรัสอันไพเราะ คือว่าอันนำมาซึ่งความรื่นรมย์แห่งใจ เปรียบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 321

เหมือนสุวรรณหงส์ไปสู่ที่หากิน ได้พบสระที่เกิดเองและราวป่า จึงโก่งคอ

เมื่อจะไม่รีบร้อน จึงค่อย ๆ เปล่งเสียง ด้วยจะงอยปากสีแดง คือร้องด้วยเสียง

อันไพเราะฉันใด แม้พระองค์เองก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงค่อย ๆ เปล่งด้วย

พระสุรเสียงอันไพเราะ อันเป็นมหาปุริสลักษณะอย่างหนึ่งนี้ ที่พระองค์ทรง

กำหนดไว้ดีแล้ว ได้แก่ที่พระองค์กำหนดตกแต่งไว้ด้วยดี ข้าพระองค์แม้

ทั้งปวงเหล่านี้แล เป็นผู้ตรงคือเป็นผู้ไม่มีใจฟุ้งซ่าน จักสดับพระสุรเสียงที่

พระองค์ทรงเปล่งแล้ว.

พระวังคีสะ เมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล เมื่อจะยังความ

เป็นผู้ใคร่ที่จะกล่าวให้เกิดขึ้นโดยนัยก่อนนั้นแล จึงกล่าวคาถาแม้นี้ว่า ปหีน-

ชาติมรณ ดังนี้เป็นต้น พึงทราบวิเคราะห์ในคำว่า อเสส นั้นว่า บาปใด

ย่อมไม่เหลืออยู่ เหตุนั้นบาปนั้น ชื่อว่า อเสสะ ซึ่งพระองค์ผู้ทรงกำจัดบาป

อันไม่มีส่วนเหลือนั้น มีคำอธิบายว่า ดังพระอริยเจ้ามีพระโสดาบัน เป็นต้น

ผู้ซึ่งละชาติและมรณะได้ ไม่มีอะไรเหลือ ฉะนั้น

บทว่า นิคฺคยฺห ได้แก่ ขอร้องด้วยดีแล้ว กล่าวคือรบเร้าแล้ว.

บทว่า โธน ได้เเก่ ผู้มีบาปธรรมทั้งปวงอันกำจัดแล้ว.

บทว่า วาเทสฺสามิ ได้แก่ข้าพระองค์จะขอให้พระองค์ตรัสพระธรรม.

บาทพระคาถาว่า น กามกาโร หิ ปุถุชฺชนาน ความว่า ด้วยว่าการ

กระทำความใคร่ ย่อมไม่มีแก่ปุถุชนทั้งหลายเท่านั้น อธิบายว่า ปุถุชนปรารถนา

จะทราบหรือจะกล่าวสิ่งใด ก็ไม่อาจที่จะทราบหรือจะกล่าวสิ่งนั้น ได้ทั้งหมด.

บาทพระคาถาว่า สงฺเขยฺยกาโร จ ตถาคตาน ความว่า ส่วนการ

กระทำการพิจารณา คือว่า การกระทำที่มีปัญญาเป็นสภาพถึงก่อน ย่อมมีแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 322

พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย อธิบายว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมทรง

ปรารถนาจะทรงทราบ หรือตรัสสิ่งใด ก็สามารถทราบหรือตรัสสิ่งนั้นได้

(ทั้งหมด).

บัดนี้ พระวังคีสะเมื่อจะประกาศ ซึ่งการกระทำการพิจารณานั้น จึง

กล่าวคาถานี้ว่า สมฺปนฺนเวยฺยากรณ ดังนี้เป็นต้น.

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงอย่างนั้น

ไวยากรณ์อันสมบูรณ์มีอันเป็นไปที่พระองค์ตรัสไว้ดีแล้ว อันพระองค์ผู้มี

พระปัญญารุ่งเรือง ทรงเรียนมาดีแล้วในที่นั้น ๆ นี้ไม่ผิด อันชนทั้งหลาย

เห็นแล้วในพระดำรัสทั้งหลาย ที่พระดำรัสอย่างนี้ว่า สันตติมหาอำมาตย์เหาะ

ขึ้นสู่อากาศ ชั่วระยะ ๗ ลำตาลแล้วจักปรินิพพาน และว่า สุปปพุทธศากยะ

จักถูกแผ่นดินสูบในวันที่ ๗ ดังนี้. ก็ต่อจากนั้นพระวังคีสะประนมอัญชลีให้ดี

ยิ่งขึ้น แล้วทูลว่า อัญชลีครั้งหลังนี้ อันข้าพระองค์ประณมดีแล้ว คือว่า

อัญชลีแม้อีกครั้งหนึ่งนี้ อันข้าพระองค์ประนมดีแล้ว ดียิ่งขึ้น.

บทว่า มา โมหยิ ความว่า พระองค์เมื่อทรงทราบอยู่ คือทรงรู้

อยู่ซึ่งคติกำเนิดของพระเถระชื่อว่ากัปปะ ก็อย่าทรงให้ข้าพระองค์ทั้งหลายหลง

อยู่ด้วยการไม่ตรัสตอบเลย พระวังคีสะเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำว่า

อโนมปัญญา ผู้มีปัญญาไม่ทราบ.

ก็พระวังคีสะเมื่อจะทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงการไม่หลงนั้นแหละ

ปริยายแม้อื่น จึงกล่าวคาถานี้ว่า ปโรวร ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๖ - หน้าที่ 323

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโรวร ได้แก่ ที่งามและที่ไม่งาม

หรือที่อยู่ไกลและที่อยู่ใกล้ ด้วยสามารถแห่งโลกิยธรรม และโลกุตรธรรม.

บทว่า อริยธมฺม ได้แก่ จตุสัจธรรม.

บทว่า วิทิตฺวา ได้แก่ แทงตลอด.

บทว่า ชาน ได้แก่ รู้อยู่ซึ่งไญยธรรมทั้งปวง.

บทว่า วาจาภิกงฺขามิ ได้แก่ ข้าพระองค์หวังอยู่ซึ่งพระวาจาของ

พระองค์ ประดุจบุรุษผู้มีตัวอันร้อนในฤดูร้อน ลำบากอยู่ สะดุ้งแล้วหวังอยู่

ซึ่งน้ำฉะนั้น.

บทว่า สุตมฺปวสฺส ได้แก่ ขอพระองค์จงหลั่ง คือว่าจงเปล่ง

ได้แก่