ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย สุตตนิบาต

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๕

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อุรควรรคที่ ๑ สุตตนิบาต

อุรคสูตรที่ ๑

ว่าด้วยการกำจัดความชั่วเหมือนพิษงู

[๒๙๔] ภิกษุใดแล ย่อมกำจัดความ

โกรธที่เกิดขึ้นแล้ว เหมือนหมอกำจัดพิษงูที่

ซ่านไปแล้วด้วยโอสถ ฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า

ย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือน

งูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดตัดราคะได้ขาด พร้อมทั้ง

อนุสัยไม่มีส่วนเหลือ เหมือนบุคคลลงไป

ตัดดอกปทุมซึ่งงอกขึ้นในสระฉะนั้น ภิกษุ

นั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 2

ภิกษุใดยังตัณหาให้เหือดแห้งไปทีละ

น้อย ๆ แล้วตัดเสียให้ขาดโดยไม่เหลือ ภิกษุ

นั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดถอนมานะพร้อมทั้งอนุสัย

ไม่มีส่วนเหลือ เหมือนห้วงน้ำใหญ่ถอน-

สะพานไม้อ้อที่ทุรพลฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า

ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงู

ละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดค้นคว้าอยู่ (ด้วยปัญญา) ไม่

ประสบอัตภาพอันเป็นสาระในภพทั้งหลาย

เหมือนพราหมณ์ค้นคว้าอยู่ ไม่ประสบดอก

ที่ต้นมะเดื่อฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่ง

ฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบ

เก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

กิเลสเป็นเครื่องให้กำเริบ ย่อมไม่มี

ภายในจิตของภิกษุใด และภิกษุใดล่วงเสีย

ได้แล้ว ซึ่งความเจริญและความเสื่อมอย่างนี้

ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอก

เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 3

ภิกษุใดกำจัดวิตกได้แล้ว ปราบปราม

ดีแล้ว ในภายใน ไม่มีส่วนเหลือ ภิกษุนั้น

ชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้เหมือน

งูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่

ล่วงกิเลสเป็นเครื่องให้เนิ่นช้ามิได้หมดแล้ว

ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น

ทั้งหมด นี้เป็นของแปรผัน ไม่แล่นเลยไป

ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่ง

ฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบ

เก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น

ทั้งหมด นี้เป็นของแปรผัน ปราศจาก

ความโลภ ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก

ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอก

เสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้ว

ฉะนั้น.

ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากราคะ

ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 4

ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากโทสะ

ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้น

ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดรู้ว่า ธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้น

ทั้งหมดนี้เป็นของแปรผัน ปราศจากโมหะ

ไม่แล่นเลยไป ไม่ล้าอยู่ในโลก ภิกษุนั้น

ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้

เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดไม่มีอนุสัยอะไร ๆ ถอน

อกุศลมูลได้แล้ว ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมละฝั่งใน

และฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่

คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดไม่มีกิเลสอันเกิดแต่ความ

กระวนกระวายอะไร ๆ อันเป็นปัจจัยเพื่อมา

สู่ฝั่งใน ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่ง

นอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า

แล้วฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 5

ภิกษุใดไม่มีกิเลสอันเกิดแต่ตัณหา

ดุจป่าอะไร ๆ อันเป็นเหตุเพื่อความผูกพัน

เพื่อความเกิด ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งใน

และฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่

คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

ภิกษุใดละนิวรณ์ ๕ ได้แล้ว ไม่มี

ทุกข์ ข้ามความสงสัยได้แล้ว มีลูกศรปราศ

ไปแล้ว ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่ง

นอกเสียได้ เหมือนงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่า

แล้วฉะนั้น.

จบอุรคสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 6

อรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถโชติกา

(ปฐมภาค)

อรรถกถาอุรควรรค สุตตนิบาต

อรรถกถาอุรคสูตร

ข้าพเจ้าขอนอบน้อม แด่พระผู้มี-

พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์

นั้น.

ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษาจารย์) ขอ

ถวายอภิวาทแด่พระรัตนตรัย อันสูงสุดกว่า

สิ่งที่ควรไหว้ทั้งหลาย แล้วจักอธิบายความ

แห่งสุตตนิบาต ที่พระโลกนาถเจ้า ผู้ทรง

แสวงหาทางแห่งการหลุดพ้นจากโลก ผู้ทรง

มีปกติละเสียซึ่งความเสียหาย (แม้) เล็กน้อย

ได้ทรงแสดงไว้แล้วในคัมภีร์ขุททกนิกาย.

ก็สุตตนิบาตนี้ ได้หยั่งลง (มีอยู่)

ในคัมภีร์ขุททกนิกายนั่นเอง เพราะฉะนั้น

ข้าพเจ้าจักได้อธิบายความแห่งสุตตนิบาต

แม้นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 7

หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร

คัมภีร์นี้ซึ่งเกลื่อนกล่นไปด้วยคาถานับร้อย

ประกอบด้วยเคยยะและเวยยากรณะ จึงได้

ชื่อว่า สุตตนิบาต เล่า ?

ตอบว่า ที่เรียกว่าสูตร เพราะพระ-

พุทธเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เพราะไหลออกซึ่ง

ประโยชน์ทั้งหลาย เพราะเป็นเครื่องต้านทาน

ไว้ เพราะไข และเพราะแสดงออกซึ่งอรรถ

ทั้งหลายด้วยดี นิบาตนี้ อันพระธรรมสังคาห-

กาจารย์เจ้าทั้งหลาย รวบรวมพระสูตร

ทั้งหลายเห็นปานนั้น แล้วย่อลงไว้โดย

ประการนั้นๆ ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า สุตตนิบาต.

อนึ่ง พระสูตรแม้ทั้งหมด โดย

กำหนดแล้วก็เป็นพระดำรัสของพระพุทธเจ้า

ผู้คงที่ และคัมภีร์นี้เป็นการรวบรวม

พระสูตรเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า

สุตตนิบาต เพราะไม่มีลักษณะพิเศษที่เป็น

เครื่องหมายให้เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นไปได้.

ก็สุตตนิบาตนี้ ซึ่งได้รับการตั้งชื่ออย่างนี้. เมื่อว่าโดยวรรคแล้วก็มี

๕ วรรค คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 8

๑. อุรควรรค

๒. จูฬวรรค

๓ มหาวรรค

๔. อัฏฐกวรรค

๕. ปารายนวรรค.

บรรดาวรรคทั้งห้านั้น อุรควรรค เป็นวรรคแรก เมื่อว่าโดยสูตรแล้ว

ในอุรควรรคมี ๑๒ สูตร ในจูฬวรรคมี ๑๔ สูตร ในมหาวรรคมี ๑๒ สูตร

ในอัฏฐกวรรคมี ๑๖ สูตร ในปารายนวรรคมี ๑๖ สูตร จึงรวมเป็น ๗๐ สูตร.

บรรดาพระสูตรเหล่านั้น อุรคสูตรเป็นสูตรแรก เมื่อว่าโดยประมาณ

แห่งปริยัติแล้ว ก็มี ๘ ภาณวาร

แต่เมื่อว่าโดยปริมาณแห่งวรรค สูตรและปริยัติอย่างนี้ อุรคสูตรนี้

ก็มีคาถาแรก นี้ว่า

โย จ อุปฺปติต วิเนติ โกธ

วิสฏ สมฺปวิสว โอสเถภิ

โส ภิกฺขุ ชหาติ โอรปาร

อุรโค ชิณฺณมิว ตจ ปุราณ

ภิกษุใดแล ย่อมกำจัดความโกรธที่

เกิดขึ้นแล้ว เหมือนหมอกำจัดพิษงูที่ซ่านไป

แล้วด้วยโอสถฉะนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละ

ซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ เหมือนงูละ

คราบเก่าที่คร่ำคร่าแล้วฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 9

เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้ เพื่อจะได้อธิบายความแห่งคาถานั้น ท่านจึง

ได้กล่าวปัญหากรรมนี้ว่า

คาถานี้ ใครกล่าว ? กล่าวที่ไหน ?

กล่าวเมื่อใด ? กล่าวเพราะเหตุไร ? ข้าพเจ้า

จักประกาศวิธีนี้ แล้วอธิบายความแห่งคาถา

นั้น.

ถามว่า ก็คาถานี้ใครกล่าว ? กล่าวที่ไหน ? กล่าวเมื่อใด ? และ

กล่าวเพราะเหตุใด ?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงได้รับพยากรณ์ใน

สำนักพระพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์ ทรงบำเพ็ญบารมีตราบเท่าเสวยพระชาติเป็น

พระเวสสันดร แล้วทรงอุปบัติในดุสิตภพ. พระองค์ทรงจุติแม้จากดุสิตภพ

นั้นแล้ว ก็ทรงอุบัติในศากยตระกูล ได้เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรลุ

สัมมาสัมโพธิญาณ ณ ควงไม้โพธิ แล้วทรงแสดงธรรมจักร ทรงแสดงธรรม

เพื่อประโยชน์แก่เทวดาและมนุษย์โดยลำดับ. คาถานี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้นผู้เป็นสยัมภู ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้ได้ด้วยพระองค์เอง ตรัสไว้แล้ว

ก็คาถานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว เพื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนา

แก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้อยู่ในเมืองอาฬวี ในกาลที่พระองค์ทรงบัญญัติภูตคาม-

สิกขาบท (สิกขาบทที่ห้ามพรากของเขียว เช่นตัดต้นไม้เป็นต้น) ในเมือง

อาฬวีนั้น

การวิสัชนา โดยสังเขปในคาถาที่หนึ่งนี้ มีเพียงเท่านี้ ส่วนการวิสัชนา

โดยพิสดาร ผู้ศึกษาพึงทราบได้ ด้วยสามารถแห่งทูเรนิทาน อวิทูเรนิทาน

และสันติเกนิทาน ดังต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 10

ในนิทาน (เหตุเกิด) ทั้ง ๓ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า ทูเรนิทาน ได้แก่

กถาที่กล่าวถึงเรื่องของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า

ทีปังกรจนถึงปัจจุบัน

ที่ชื่อว่า อวิทูเรนิทาน ได้แก่ กถาที่กล่าวถึงเรื่องของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตั้งแต่ดุสิตภพจนถึงปัจจุบัน

ที่ชื่อว่า สันติเกนิทาน ได้แก่ กถาที่ปรารภเรื่องของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตั้งแต่โพธิมณฑลจนถึงปัจจุบัน

เพราะในนิทานทั้งสามนั้น อวิทูเรนิทานและสันติเกนิทาน จัดเข้าใน

ทูเรนิทานนั่นเอง ฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบวิสัชนาในที่นี้โดยพิสดาร ด้วย

สามารถแห่งทูเรนิทานเท่านั้น

ก็การวิสัชนานี้นั้น ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆษาจารย์) ได้กล่าวไว้แล้ว

ในอรรถกถาชาดก เพราะฉะนั้น ในที่นี้จึงไม่ต้องกล่าวให้พิสดารอีก. เพราะ

ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยพิสดารที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในอรรถกถาชาดกนั่นเอง

ส่วนความแปลกกันมีดังต่อไปนี้ :-

ในคาถาที่หนึ่ง (ในอรรถกถาชาดก) เรื่องบังเกิดขึ้นในเมืองสาวัตถี.

ในพระสูตรนี้เรื่องบังเกิดขึ้นในเมืองอาฬวี ดังที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าว

ไว้ว่า สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์เมืองอาฬวี.

ก็สมัยนั้นแล พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวี พากันทำนวกรรมอยู่ ตัดต้นไม้เองบ้าง

ให้คนอื่นตัดบ้าง แม้ภิกษุชาวเมืองอาฬวี รูปหนึ่งก็ตัดต้นไม้ เทวดาที่สิงอยู่

ที่ต้นไม้นั้น ได้กล่าวคำนี้กะภิกษุนั้นว่า " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านต้องการทำ

ที่อยู่ของตน จงอย่าทำลาย (ตัด) ที่อยู่ของข้าพเจ้า ภิกษุนั้นไม่สนใจ

ยังตัดอยู่นั้นเอง และได้สับเอาแขนลูกของเทวดานั้นเข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 11

ครั้งนั้นแล เทวดานั้น มีความดำริดังนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงฆ่า

ภิกษุนี้เสียในที่นี้ทีเดียว ครั้งนั้นแล เทวดานั้นได้มีความคิดอีกว่า ก็การที่

เราพึงฆ่าพระภิกษุรูปนี้เสียในที่นี้นั่นเองไม่ควรเลย ไฉนหนอเราพึงกราบทูล

เรื่องนี้แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้งนั้นแล เทวดานั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับแล้ว

ได้กราบทูลเรื่องนี้ให้ทรงทราบ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า สาธุ ๆ เทพดา เธอดีนักแล เทพดา

ที่เธอไม่ปลงชีวิตภิกษุนั้นเสีย ดูก่อนเทพดา ถ้าหากว่า เธอจะพึงปลงชีวิต

พระภิกษุนี้แล้วไซร้ เธอจะประสบบาปมาก จงไปเถิด เทพดา ต้นไม้ใน

โอกาสโน้นว่างอยู่ เธอจงเข้าสิงสถิตอยู่ที่ต้นไม้นั้น

ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เพื่อจะกำจัดความ

โกรธที่บังเกิดขึ้นแล้วแก่เทวดานั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า

ผู้ใดแลพึงยับยั้งความโกรธที่บังเกิด-

ขึ้นไว้ได้ ผู้นั้น ก็ดุจบุคคลหยุดรถที่ไปอย่าง

รวดเร็วไว้ได้ ฉะนั้น*.

ต่อแต่นั้น เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูล (พระผู้มีพระภาคเจ้า) เพราะ

เหตุที่ได้ฟังพวกมนุษย์กล่าวโทษอย่างนี้ว่า อย่างไรกันนะ พวกสมณศากยบุตร

จักตัดต้นไม้เองบ้าง จักให้บุคคลอื่นตัดบ้าง พวกสมณศากยบุตร ย่อมเบียด-

เบียนสิ่งที่มีชีวิต ซึ่งมีอินทรีย์อันเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงบัญญัติ

สิกขาบทนี้ว่า เป็นปาจิตตีย์ เพราะพรากภูตคาม ดังนี้แล้ว เพื่อจะทรง

แสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายที่มาในที่นั้นจึงได้ตรัสคาถานี้ว่า

๑. ขุ. ธ. ๓๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 12

ภิกษุใดแลกำจัดความโกรธที่บังเกิด

ขึ้นแล้ว เหมือนหมองูกำจัดพิษงูที่ซ่านไป

แล้วด้วยโอสถฉะนั้น ดังนี้.

เรื่องเดียวกันนี้เอง ถึงการสงเคราะห์ (ปรากฏว่ามีอยู่) ในที่มา

แห่งคือ ในวินัย ในธรรมบท (และ) ในสุตตนิบาต ด้วยประการฉะนี้

ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ มาติกานั้นใด ท่านตั้งไว้แล้วว่า

คาถานี้ ใครกล่าว ? กล่าวที่ไหน ?

กล่าวเมื่อใด ? กล่าวเพราะเหตุไร ? ข้าพเจ้า

จักประกาศวิธีนี้ แล้วอธิบายความแห่งคำนั้น

มาติกานั้น เป็นอันข้าพเจ้าประกาศแล้วทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดาร ยกเว้นการ

อธิบายความ (เท่านั้น ) ก็ในคาถาที่หนึ่งนี้ มีอรรถาธิบายดังต่อไป :-

บทว่า โย ได้แก่ ภิกษุใด คือเช่นไร คือบวชจากขัตติยสกุลก็ตาม

บวชจากพราหมณสกุลก็ตาม จะเป็นผู้บวชใหม่ก็ตาม จะเป็นพระมัชฌิมะก็ตาม

จะเป็นพระเถระก็ตาม.

บทว่า อุปฺปติต ได้แก่ ที่ตกไปแล้ว ที่ไปแล้ว ที่เป็นไปแล้ว

เบื้องบน ๆ มีคำอธิบายว่าที่บังเกิดขึ้นแล้ว.

ธรรมดาว่า ความโกรธที่บังเกิดขึ้นนี้ มีหลายประเภท คือ

วัตตมานะ ๑ ภุตวาปคตะ ๑ โอกาสกตะ ๑ ภูมิลัทธะ ๑.

บรรดาความโกรธทั้ง ๔ ประเภทนั้น ความพร้อมเพรียงแห่งการ

บังเกิดขึ้นเป็นต้น ที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งแม้ทั้งหมด ชื่อว่า วัตตมานุปปันนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 13

ซึ่งท่านกล่าวหมายเอาว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว ธรรมทั้งหลายที่ไม่

เกิดขึ้น ธรรมทั้งหลายที่มีปกติเกิดขึ้น.

กุศลและอกุศล กล่าวคือภุตวาปคตะ ที่เสวยรสแห่งอารมณ์แล้วดับไป

และสังขาตะที่เหลือ กล่าวคือภุตวาปคตะที่ไม่ถึงขณะทั้ง ๓ มีอุปปาทขณะ

เป็นต้นแล้วดับไป ชื่อว่า ภุตวาปคตุปันนะ. ภุตวาปคตุปปันนะนี้นั้น

พึงเห็นได้ ในคำว่า " ทิฏฐิที่เป็นบาปเห็นปานนี้บังเกิดขึ้นแล้ว " และในสูตร

ทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ " เมื่อสติสัมโพชฌงค์เกิดขึ้นแล้ว การบำเพ็ญภาวนา

ให้บริบูรณ์ก็ย่อมมีได้ ฉันใด "

กรรมที่ท่านกล่าวแล้วโดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า " กรรมทั้งหลาย ที่ทำ

แล้วในกาลก่อนของเขาเหล่านั้นใด " ดังนี้ แม้เป็นกรรมที่ล่วงแล้ว ก็ชื่อว่า

โอกาสกตุปปันนะ เพราะห้ามวิบากของกรรมอื่นแล้ว ให้โอกาสแก่วิบาก

ของตนตั้งอยู่ และเพราะวิบากที่ได้โอกาสแล้วอย่างนั้น แม้ยังไม่บังเกิดขึ้น

ก็บังเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน ในเมื่อได้ทำโอกาสอย่างนี้แล้ว.

อกุศลที่ยังไม่ได้ถอนขึ้น ในภูมิทั้งหลายเหล่านั้น ชื่อว่า ภูมิลัทธุป-

ปันนะ

ผู้ศึกษาพึงทราบ ความต่างกันแห่งภูมินี้และภูมิที่ได้แล้ว คือขันธ์ ๕

ที่เป็นไปในภูมิ ๓ อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ. กิเลสชาตที่

สมควรบังเกิดขึ้นในขันธ์ ๕ ชื่อว่า ภูมิลัทธะ. เพราะเหตุนั้นแล ภูมินั้นจึง

ชื่อว่าเป็นภูมิอันได้แล้ว ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภูมิลัทธะ.

ก็ภูมิลัทธะนั้น จะพึงได้ก็ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ จริงอยู่ กิเลส

แม้ทั้งหมด ย่อมบังเกิดขึ้นปรารภขันธ์ทั้งหลาย ของพระขีณาสพทั้งหลาย

๑. อภิ. ส ๒. ๒. ส. ขนฺธวารวคฺค ๙๗. ๓. ที. ม. มหาสติปฏฺานสูตฺต ๓๕๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 14

แม้ที่ท่านกำหนดแล้ว อันต่างด้วยขันธ์ในอดีตเป็นต้น ก็ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์

ดุจกิเลสที่บังเกิดขึ้นแก่นันทมาณพ และบุตรเศรษฐีชื่อว่า โสเรยยกะ เป็นต้น

เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายของพระมหากัจจายนะ และของนางอุบลวรรณาเถรี

เป็นต้น. ก็ถ้าหากว่าอารมณ์นี้ จะพึงชื่อว่าภูมิลัทธะแล้วไซร้ ใคร ๆ ก็ไม่พึง

ละมูลแห่งภพได้ เพราะเหตุที่อารมณ์นั้นอันใคร ๆ ไม่พึงละได้ แต่พึงทราบว่า

ที่ชื่อว่า ภูมิลัทธะ ก็ด้วยสามารถแห่งวัตถุ.

ด้วยว่า ขันธ์ทั้งหลายที่มิได้กำหนดแล้วด้วยวิปัสสนา ย่อมบังเกิด

ขึ้นในวัตถุใด ๆ กิเลสชาตที่มีวัฏฏะเป็นมูล ก็ย่อมนอนเนื่องในขันธ์เหล่านั้น

นับตั้งแต่ได้บังเกิดขึ้นในวัตถุนั้น ๆ. กิเลสชาตนั้น พึงทราบว่าภูมิลัทธุป-

ปันนะ เพราะอรรถว่ายังละไม่ได้ ก็กิเลสทั้งหลายที่ยังละไม่ได้ และที่ยัง

นอนเนื่องอยู่ในขันธ์เหล่าใด (ย่อมบังเกิดขึ้น) แก่บุคคลใดในวัตถุนั้น ขันธ์

เหล่านั้นนั่นเอง ของบุคคลนั้นเป็นที่ตั้งของกิเลสเหล่านั้น หาใช่ขันธ์ของ

บุคคลเหล่าอื่นไม่. ก็ขันธ์ที่เป็นอดีตเท่านั้น เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสทั้งหลาย ที่

บุคคลนั้นยังละไม่ได้ และที่นอนเนื่องอยู่ในอดีตขันธ์ทั้งหลาย หาใช่ขันธ์

นอกจากนี้ไม่ ในขันธ์ที่เป็นอนาคตเป็นต้นก็มีนัยนี้ (เหมือนกัน) อนึ่ง

ขันธ์ที่เป็นกามาวจรเท่านั้น เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสทั้งหลายที่สัตว์ยังละไม่ได้ และ

ที่นอนเนื่องอยู่ในกามาวจรขันธ์ทั้งหลาย หาใช่ขันธ์นอกนี้ไม่ ในขันธ์ที่เป็น

รูปาวจรและอรูปาวจรก็นัยนี้ (เหมือนกัน).

ก็กิเลสชาตอันมีวัฏฏะเป็นมูลนั้น ๆ มีอยู่ในขันธ์ทั้งหลาย ของพระ-

อริยบุคคลใด ๆ ในบรรดาพระโสดาบันเป็นต้น อันพระอริยบุคคลนั้น ๆ ย่อม

ละได้ด้วยมรรคนั้น ๆ ขันธ์เหล่านั้น ๆ ของพระอริยบุคคลนั้น ๆ จะนับว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 15

เป็นภูมิไม่ได้ เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งกิเลสอันมีวัฎฏะเป็นมูลเหล่านั้น ๆ ที่พระ-

อริยบุคคลนั้น ๆ ละได้แล้ว. แต่ว่ากรรมที่ทำไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง จะเป็น

กุศลก็ตาม เป็นอกุศลก็ตาม ย่อมมีแก่ปุถุชนได้ เพราะกิเลสที่มีวัฏฏะเป็นมูล

อันปุถุชนยังละไม่ได้โดยประการทั้งปวง เพราะเหตุนั้น วัฏฏะของปุถุชนนั้น

จึงเป็นไปเพราะกิเลสเป็นปัจจัย.

กิเลสชาตมีวัฏฏะเป็นมูลนั้น ของบุคคลนั้น ไม่ควรกล่าวว่ามีในรูป

ขันธ์เท่านั้น ไม่มีในขันธ์ทั้งหลาย มีภาวนาขันธ์เป็นต้น ฯลฯ หรือไม่ควร

กล่าวว่า มีในวิญญาณขันธ์เท่านั้น ไม่มีในขันธ์ทั้งหลายมีรูปขันธ์เป็นต้น.

เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่ว่ากิเลสชาตนั้นนอนเนื่องอยู่ในขันธ์ทั้ง ๕ โดยไม่

พิเศษกว่ากัน (โดยไม่แปลกกัน) คืออย่างไร คือกิเลสชาตที่นอนเนื่องอยู่ใน

ขันธ์ ๕ นั้น เปรียบเหมือนรสแห่งพื้นดินเป็นต้น ซึ่งติดอยู่ที่ต้นไม้ฉะนั้น

เหมือนอย่างว่า เมื่อต้นไม้ใหญ่ขึ้นอยู่ที่พื้นดิน อาศัยรสแห่งดินและรสแห่งน้ำ

เจริญงอกงามขึ้น ด้วยราก ลำต้น กิ่ง ใบอ่อน ใบแก่ ดอก และผล

เพราะได้อาศัยรสแห่งดินและรสแห่งน้ำนั้นเป็นปัจจัย ทำท้องฟ้าให้เต็ม มีการ

สืบต่อเชื้อสายของต้นไม้ไว้ ก็เพราะพืชที่สืบต่อกันมา ดำรงอยู่ได้จนถึงกัลปาว-

สาน รสแห่งแผ่นดินเป็นต้นนั้น ไม่ควรจะกล่าวว่า มีอยู่ที่รากเท่านั้น หา

ได้มีอยู่ที่ลำต้นเป็นต้นไม่ ฯลฯ หรือไม่ควรจะกล่าวว่า มีอยู่ที่ผลเท่านั้น หา

ได้มีอยู่ที่รากเป็นต้นไม่ เพราะเหตุไร เพราะรสแห่งแผ่นดินเป็นต้นซ่านไป

ในรากเป็นต้น (ของต้นไม้นั้น) ทั้งหมดทีเดียว โดยไม่พิเศษกว่ากันฉันใด

กิเลสชาตก็ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 16

อีกอย่างหนึ่ง เหมือนอย่างว่า บุรุษบางคนเบื่อในดอกและผลเป็นต้น

ของต้นไม้นั้นนั่นแหละ จะพึงใส่ยาพิษชื่อ มัณฑุกกัณฑกะ ลงที่ต้นไม้ในทิศ

ทั้งสี่ เมื่อเป็นเช่นนั้นต้นไม้นั้น ได้รับสัมผัสที่เป็นพิษนั้นถูกต้องเข้าแล้ว ก็

ไม่พึงสามารถเพื่อจะให้การสืบต่อเกิดขึ้นอีกได้ เพราะมีน้ำออกน้อยเป็นธรรมดา

เนื่องจากรสแห่งแผ่นดินและรสแห่งน้ำถูกยาพิษครอบงำแล้วฉันใด กุลบุตรผู้

เบื่อหน่ายในความเป็นไปของขันธ์ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปรารภการเจริญมรรค

๔ ในสันดานของตน ดุจการที่บุรุษนั้นประกอบยาพิษในทิศทั้ง ๔ เมื่อเป็น

เช่นนั้น ขันธสันดานนั้นของกุลบุตรนั้น ที่แตกต่างกันโดยกรรมทั้งปวง มี

กายกรรมที่เข้าถึงสักว่าความเป็นกิริยาเป็นต้น เพราะกิเลสมีวัฏฏะเป็นมูลถูก

สัมผัสคือยาพิษในมรรคทั้ง ๔ นั้นครอบงำแล้วโดยประการทั้งปวง จึงไม่

สามารถที่จะทำสันดานคือภพใหม่ให้บังเกิดขึ้นได้ เพราะถึงความไม่เกิดขึ้นใน

ภพใหม่เป็นธรรมดา แต่ว่าอนุปาทานย่อมดับไปอย่างเดียว เพราะความดับไป

แห่งปุริมวิญญาณ ดุจไฟป่าบังเกิดขึ้นแล้วดับไปเพราะหมดเชื้อฉะนั้น ผู้ศึกษา

พึงทราบความต่างกันแห่งภูมิ และภูมิลัทธะ ดังพรรณนามาฉะนี้

อีกอย่าง อุปปันนะแม้อื่นอีก ๔ อย่าง คือ

๑. สมุทาจารุปปันนะ

๒. อารัมมณาธิคคหิตุปปันนะ

๓. อวิกขัมภิตุปปันนะ

๔. อสมุหตุปปันนะ.

ในอุปปันนะทั้ง ๔ นั้น ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ชื่อว่า สมุ-

ทาจารุปปันนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 17

ก็กิเลสชาต แม้ยังไม่เกิดขึ้นในส่วนเบื้องต้น ในอารมณ์ที่มาสู่ครอง

แห่งจักขุทวารเป็นต้น ท่านเรียกว่า อารัมมณาธิคคหิตุปปันนะ เพราะ

ต้องบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในส่วนอื่น เพราะเหตุที่ตนได้รับอารมณ์ได้แล้ว

นั่นเอง ในข้อนี้มีกิเลสชาตที่บังเกิดขึ้นแก่พระมหาติสสเถระ ผู้เที่ยวไปบิณฑ-

บาตในกัลยาณคาม เพราะการเห็นรูปที่เป็นวิสภาคกันเป็นตัวอย่าง พึงทราบ

ประโยคในคำทั้งหลายมีคำว่า กามวิตกบังเกิดขึ้นแล้ว แก่บุคคลนั้นดังนี้

เป็นต้น.

กิเลสชาตที่ข่มไม่ได้ด้วยอำนาจของสมถะ และวิปัสสนาอย่างใดอย่าง

หนึ่ง แม้ไม่มาสู่การสืบต่อแห่งจิตแล้ว ก็ชื่อว่า อวิกขัมภิตุปปันนะ เพราะ

ไม่มีเหตุที่จะห้ามการบังเกิดขึ้นได้ อวิกขัมภิตุปปันนะนั้น พึงเห็นในอาคต

สถานทั้งหลาย เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานัสสติสมาธิแม้นี้แล

ที่บุคคลอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว เป็นธรรมชาติสงบระงับ, ประณีต, ไม่

ต้องรดน้ำก็เย็น เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขและย่อมทำให้อกุศลบาปธรรม ที่

เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไปโดยฐานะ ดังนี้.

ส่วนกิเลสชาต แม้ที่ข่มได้แล้วด้วยสมถะและวิปัสสนา ท่านเรียกว่า

อสมหตุปปันนะ เพราะอธิบายว่า ไม่ล่วงการบังเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เพราะ

เหตุที่กิเลสชาตนั้น ยังถอนไม่ได้ด้วยอริยมรรค ก็ในข้อนี้มีกิเลสชาตที่บังเกิด

ขึ้นแก่พระเถระ ผู้ได้สมาบัติแปด ซึ่งกำลังเหาะไปในอากาศได้ฟังเสียงเพลง

ขับของสตรีผู้กำลังเก็บดอกไม้ทั้งหลาย ที่ต้นไม้มีดอกอยู่ ณ ชายป่าซึ่งขับร้อง

อยู่ด้วยเสียงอันไพเราะเป็นตัวอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 18

ผู้ศึกษาพึงทราบการประกอบประโยคแห่งอุปปันนะนั้น ในคำทั้งหลาย

เป็นต้นว่า พระอริยบุคคล ผู้ทำให้มากซึ่งมรรคอันประกอบด้วยองค์แปด

อันประเสริฐ พึงยังธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธานไปใน

ระหว่างทีเดียว ก็อารัมมณาธิคคหิตุปปันนะ อวิกขัมภิตุปปันนะ และอสมูห-

ตุปปันนะ แม้ทั้ง ๓ อย่างนี้ พึงทราบว่า ย่อมถึงการสงเคราะห์ด้วยภูมิลัทธะ

นั้นแล.

เมื่อกิเลสชาตมีประเภทตามที่กล่าวแล้วนั้น เกิดขึ้นแล้วอย่างนี้นั่นเอง

ความโกรธนี้ก็พึงทราบว่า บังเกิดขึ้นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งภูมิลัทธุปปันนะ

อารัมมณาธิคคตุปปันนะ อวิกขัมภิตุปปันนะ และอสมูหตุปปันนะ.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะว่า บุคคลพึงกำจัดความโกรธนั้น ด้วยวิธีอย่างนี้

ด้วยว่า บุคคลย่อมสามารถจะกำจัดความโกรธที่บังเกิดขึ้นแล้ว ซึ่งมีประเภท

ตามที่กล่าวมาอย่างนี้ ด้วยวินัยอย่างใดอย่างหนึ่งได้ ก็กิเลสชาตนี้ใด กล่าวคือ

วัตตมานะ ภุตวาปคตะ โอกาสคตะ และสมุทาจาระ บังเกิดขึ้นแล้ว ความ

พยายามในกิเลสชาตนี้นั้น ย่อมไม่มีผล และไม่สามารถจะบังเกิดขึ้น ๆ ด้วยว่า

ความพยายามในกิเลสชาต (คือความโกรธ) ที่เป็นภุตวาปคตะ ชื่อว่า ไม่มีผล

เพราะกิเลสนั้นดับไปแล้ว ในระหว่างแห่งความพยายาม แม้ในความโกรธ

ที่เป็นโอกาสคตะก็เหมือนกัน ความพยายามในกิเลสชาตที่เป็นวัตตมานุป

ปันนะ และสมุทาจารุปปันนก็ไม่สามารถที่จะทำได้ เพราะความเศร้าหมอง

และความผ่องแผ้วไม่บังเกิดขึ้นพร้อมกัน.

ก็ในบทว่า วิเนติ นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 19

ชื่อว่า วินัย มี ๒ อย่าง ใน ๒ อย่างนี้

อย่างหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น ๕ อย่าง ใน ๕ อย่าง

นั้น วินัยนี้ ท่านเรียกว่า วิเนติ ก็ด้วยวิธี

๘ อย่าง.

ด้วยว่า วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ อสังวรวินัย ๑ ก็ใน

วินัย ๒ อย่างนี้ วินัยหนึ่ง ๆ แบ่งเป็น ๕ อย่าง ก็แม้สังวรวินัยนี้ก็มี ๕ อย่าง

คือ

๑. ศีลสังวร

๒. สติสังวร

๓. ญาณสังวร

๔. ขันติสังวร

๕. วิริยสังวร.

แม้ปหานวินัย ก็มี ๕ อย่าง คือ

๑. ตทังคปหาน

๒. วิกขัมภนปหาน

๓. สมุจเฉทปหาน

๔. ปฏิปัสสัทธิปหาน

๕. นิสสรณปหาน.

ในสังวรวินัยทั้ง ๕ อย่างนั้น ความสำรวมซึ่งมาแล้ว ในคำทั้งหลาย

เป็นต้นว่า ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง เป็นผู้เข้าถึงพร้อมแล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้

ชื่อว่า ศีลสังวร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 20

ความสำรวมซึ่งมาแล้ว ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมรักษา

จักขุนทรีย์ ย่อมถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ชื่อว่า สติสังวร.

ความสำรวมซึ่งมาแล้ว ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อน

อชิตะ กระแส (กิเลส) เหล่าใดมีอยู่ในโลก

สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เราเรียก

เครื่องกั้นกระแสทั้งหลายว่า สังวร กระแส

เหล่านั้น อันบุคคลย่อมกั้นเสียได้ด้วยปัญญา

ดังนี้

ชื่อว่า ญาณสังวร.

ความสำรวมซึ่งมาแล้ว ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมอดทนต่อ

ความหนาว ต่อความร้อน ดังนี้ ชื่อว่า ขันติสังวร.

ความสำรวมซึ่งมาแล้ว ในคำทั้งหลายเป็นต้นว่า ภิกษุย่อมยับยั้ง คือว่า

ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ดังนี้ พึงทราบว่า วิริยสังวร.

ก็ความสำรวมนี้แม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า สังวร ก็เพราะสำรวมระวัง

กายทุจริต และวจีทุจริต เป็นต้น ที่จะพึงสำรวมระวัง เรียกว่า วินัย

เพราะกำจัดกายทุจริต และวจีทุจริตเป็นต้น ที่จะพึงกำจัดตามความเป็นจริง.

สังวรวินัย พึงทราบว่า แบ่งเป็น ๕ อย่าง อย่างนี้ก่อน.

อีกอย่างหนึ่ง การสืบต่อสันดานที่ไม่มีประโยชน์อันใด เป็นไปอยู่

ในองค์แห่งวิปัสสนาทั้งหลาย มีนามรูปปริเฉท (การกำหนดรู้นามรูป) เป็นต้น

ด้วยอำนาจที่ยังละตนไม่ได้อยู่เพียงใด การละสันดานที่ไม่มีประโยชน์นั้น ๆ

ด้วยญาณนั้น ๆ ก็ย่อมมีอยู่เพียงนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 21

คืออย่างไร ? คือ การละสักกายทิฏฐิ ด้วยการกำหนดนามรูป ละ

อเหตุกทิฏฐิ และวิสมเหตุกทิฏฐิ ด้วยการกำหนดปัจจัย ละความสงสัย ด้วย

การข้ามพ้นความสงสัย อันเป็นส่วนอื่นแห่งการกำหนดปัจจัยนั้นนั่นเอง ละการ

ยึดถือว่าเรา ว่าของเรา ด้วยการพิจารณากลาปะ ละความสำคัญว่ามรรคใน

ธรรมที่ไม่ใช่มรรค ด้วยการกำหนดมรรคและธรรมที่ไม่ใช่มรรค ละอุจเฉท-

ทิฏฐิด้วยการเห็นความเกิดขึ้น ละสัสสตทิฏฐิ ด้วยการเห็นความเสื่อม ละความ

สำคัญว่าสิ่งที่ไม่มีภัย ในสิ่งที่มีภัย ด้วยการเห็นภัย, ละความสำคัญว่าความยินดี

ด้วยการเห็นโทษ ละความสำคัญว่าความยินดียิ่ง ด้วยการตามเห็นความ

เบื่อหน่าย มีความเป็นผู้ไม่ใคร่เพื่อจะพ้น ด้วยมุญจิตุกัมยตาญาณ ละความ

ไม่วางเฉย ด้วยอุเบกขาญาณ ละธัมมทิฏฐิ ด้วยอนุโลมญาณ และละการ

กำหนดสังขารนิมิต อันตรงกันข้ามกับพระนิพพาน ด้วยโคตรภูญาณนี้ ชื่อว่า

ตทังคปหาน.

ก็การละนิวรณ์ทั้งหลาย ที่สมาธิอันต่างด้วยอุปจารสมาธิ และอัปปนา

สมาธิกำจัดเสียได้ จนกระทั่งตนไม่เสื่อม (จากสมาธินั้น) และยังเป็นไปอยู่

และการละกล่าวคือการไม่บังเกิดขึ้นแห่งปัจจนิกธรรมมีวิตกเป็นต้น ตามสมควร

แก่ตน ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน.

ก็การละกล่าวคือการตัดขาด ซึ่งกองแห่งกิเลสอันเป็นฝ่ายของสมุทัย

ที่ท่านกล่าวไว้แล้วโดยนัยเป็นต้นว่า เพื่อละทิฏฐิตามหน้าที่ของตน ในสันดาน

ของตน โดยประกอบด้วยองค์มรรคนั้น ๆ เพราะได้เจริญอริยมรรค ๔ แล้ว

โดยความไม่เป็นไปโดยส่วนเดียวอีก นี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 22

ก็การที่กิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผล ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิ

ปหาน.

ส่วนพระนิพพาน ที่ละสังขตธรรมทั้งปวงเสียได้ เพราะสลัดสังขตธรรม

ทั้งปวงออกไปได้ ชื่อว่า นิสสรณปหาน.

ก็เพราะเหตุที่การละแม้ทั้งหมดนี้ ชื่อว่า ปหาน เพราะอรรถว่าสละ

ชื่อว่าวินัย เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกำจัด ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ปหานวินัย.

อีกอย่างหนึ่ง การละนี้ท่านเรียกว่า ปหานวินัย ก็เพราะความมีอยู่

แห่งวินัยนั้น ๆ โดยการละความประพฤติล่วงละเมิดข้อนั้น ๆ เสียได้ แม้

ปหานวินัยนี้ พึงทราบว่า แบ่งเป็น ๕ อย่าง ดังพรรณนามาฉะนี้.

วินัยเหล่านี้ จัดเป็น ๑๐ อย่าง เพราะวินัยข้อหนึ่ง แบ่งเป็น ๕

ด้วยประการฉะนี้.

ในวินัยทั้ง ๑๐ อย่างนี้ เว้นปฏิปัสสัทธิวินัย และนิสสรณวินัยเสียแล้ว

วินัยนี้ ท่านเรียกว่า วิเนติ (ย่อมกำจัด) ด้วยปริยายนั้น ๆ ด้วยวินัย ๘ อย่าง

ที่เหลือ ย่อมกำจัดอย่างไร ? คือ ด้วยว่า บุคคลเมื่อกำจัดกายทุจริตและ

วจีทุจริต ด้วยศีลสังวร ชื่อว่า ย่อมกำจัดความโกรธที่ประกอบด้วยกายทุจริต

และวจีทุจริตนั้น แม้กำจัดอยู่ ซึ่งอภิชฌาและโทมนัสเป็นต้น ด้วยสติสังวร

และปัญญาสังวร ชื่อว่าย่อมกำจัดความโกรธที่ประกอบด้วยโทมนัส แม้เมื่อ

อดทนความหนาว เป็นต้น ด้วยขันติสังวรอยู่ ชื่อว่า ย่อมกำจัดความโกรธ

อันเกิดแต่อาฆาตวัตถุนั้น ๆได้ แม้กำจัดพยาบาทวิตก ด้วยวิริยสังวรอยู่ ชื่อว่า

ย่อมกำจัดความโกรธ ที่ประกอบด้วยพยาบาทวิตกนั้นได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 23

ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน และสมุจเฉทปหาน ย่อมมีได้ (ย่อมเกิด

ได้) ด้วยธรรมเหล่าใด บุคคลแม้ละอยู่ซึ่งธรรม (อกุศลธรรม) เหล่านั้นๆ ด้วย

ไม่ให้ธรรมเหล่านั้นเป็นไปในตน ก็ชื่อว่า ย่อมกำจัดความโกรธที่มีฐานอันเดียว

กับธรรมที่จะพึงประหาณเสียด้วยองค์นั้น ๆ อันตนจะพึงข่ม และอันตนจะพึง

ละเสีย.

ก็ในที่นี้ แม้วินัยจะเกิดมีขึ้นไม่ได้เพราะปหานวินัยก็จริง แต่การละ

ย่อมมีได้ด้วยธรรมเหล่าใด บุคคลแม้กำจัดอยู่ด้วยธรรมเหล่านั้น ท่านก็เรียกว่า

ย่อมกำจัดด้วยปหานวินัยโดยปริยาย.

ส่วนในกาลแห่งปฏิปัสสัทธิปหาน บุคคลนั้นท่านเรียกว่า ย่อมหา

กำจัดอะไร ด้วยธรรมทั้งหลายเหล่านั้นได้ไม่ ก็เพราะเหตุที่นิสสรณปหาน

เป็นสภาพธรรมอันผู้ปฏิบัติไม่พึงให้เกิดขึ้นได้ เพราะเหตุที่ไม่มีสิ่งที่จะพึงกำจัด.

ก็ในวินัย ๑๐ อย่างนี้ เว้นปฎิปัสสัทธิวินัยและนิสสรณวินัยเสียแล้ว

วินัยนี้ท่านเรียกว่า ย่อมกำจัดได้โดยปริยายนั้น ๆ ด้วยวินัย ๘ อย่างที่เหลือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำจัดอาฆาตไว้ ๕ อย่าง อย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาฆาตซึ่งเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุ อันเธอจะพึงกำจัดเสียได้

โดยประการทั้งปวง ในเพราะการกำจัดเสียได้ซึ่งอาฆาตใด ก็การกำจัดซึ่ง

อาฆาตเหล่านี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่างอะไรบ้าง ? คือ ภิกษุทั้งหลาย อาฆาต

พึงบังเกิดขึ้นในบุคคลใด ภิกษุพึงเจริญเมตตาในบุคคลนั้น...พึงเจริญกรุณา...

พึงเจริญมุทิตา....พึงเจริญอุเบกขาในบุคคลนั้น พึงทำอมนสิการ (ความไม่

ใส่ใจ) ในบุคคลนั้นต่อไป อาฆาตในบุคคลนั้น อันภิกษุพึงกำจัดอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 24

หรือว่าภิกษุพึงตั้ง (พิจารณา) ความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของของตน

นั่นเอง ในบุคคลนั้นไว้ให้มั่นคงว่า ท่านผู้มีอายุนี้ มีกรรมเป็นของของตน

มีกรรมเป็นทายาท มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ มีกรรมเป็น

ที่พึ่งอาศัย จักทำกรรมอันใดไว้ดีหรือชั่ว ก็จักเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น และ

ท่านกล่าวการกำจัดอาฆาต ๕ อย่าง โดยนัยแม้มีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มี

อายุ อาฆาตบังเกิดขึ้นแล้วแก่ภิกษุ อันท่านพึงกำจัดเสียได้โดยประการทั้งปวง

ในเพราะการกำจัดอาฆาตใด การกำจัดอาฆาตเหล่านี้มี ๕ อย่าง ๕ อย่าง

อะไรบ้าง ? คือ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีกายสมาจาร

ไม่บริสุทธิ์ มีวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีกายและวจีสมาจารไม่บริสุทธิ์ บุคคล

พึงกำจัดอาฆาตในบุคคลเห็นปานนี้แล บุคคลนี้แม้กำจัดอาฆาตอย่างใดอย่าง

หนึ่ง ในบรรดาอาฆาต ๕ อย่างนั้น ท่านเรียกว่า วิเนติ (ย่อมกำจัด).

อีกอย่างหนึ่ง เพราะเมื่อภิกษุระลึกถึงโอวาทของพระศาสดาอย่างนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้หากว่าพวกโจรที่มีใจต่ำช้า พึงเอาเลื่อยมีคมสองข้าง

ตัดอวัยวะน้อยใหญ่ ผู้ใดพึงยังใจให้ประทุษร้ายแม้ในโจรนั้น เธอนั้นไม่ชื่อว่า

ทำตามคำสอนของเรา เพราะทำใจให้ประทุษร้ายในโจรนั้น ดังนี้ เมื่อระลึก

ถึงโอวาทของพระศาสดาที่ตรัสไว้อีกว่า

ผู้ใดย่อมโกรธตอบต่อผู้โกรธแล้ว

ผู้นั้นแลเลวเสียกว่าผู้โกรธทีแรกนั้นอีก

เพราะเหตุที่โกรธตอบเขานั้น ผู้ที่ไม่โกรธ

ตอบต่อผู้ที่โกรธตนแล้ว ชื่อว่าย่อมชนะสง-

ครามซึ่งชนะได้แสนยาก ผู้ที่รู้ว่าคนอื่นโกรธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 25

แล้วเป็นผู้มีสติสงบเสงี่ยม ชื่อว่า ประพฤติ

ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย คือ ทั้งฝ่ายตน และ

ผู้อื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเหล่านี้ เป็นธรรมอันบุคคล

ผู้เป็นข้าศึกมุ่งแล้ว เป็นธรรมอันบุคคลผู้เป็นศัตรูพึงทำแก่กัน ย่อมมาถึงหญิง

หรือชายผู้เป็นคนขี้โกรธ ธรรม ๗ ประการอะไรบ้าง ? คือ

(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนที่เป็นศัตรูกันในโลกนี้ ย่อมปรารถนา

ต่อคนที่เป็นศัตรู (ของตน) อย่างนี้ว่า โอหนอ ! ขอให้เจ้าคนนี้ พึงเป็น

ผู้มีผิวพรรณทราม ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่า

คนที่เป็นศัตรูกัน ย่อมไม่ยินดีในการที่คนที่เป็นศัตรูของตนมีผิวพรรณเปล่ง-

ปลั่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษบุคคลขี้โกรธนี้ถูกความโกรธครอบงำ มีความ

โกรธออกหน้า แม้เขาจะอาบน้ำแล้วอย่างสะอาด ลูบไล้อย่างดี ตัดผมและ

หนวดแล้ว นุ่งผ้าสะอาดก็จริง ถึงกระนั้น เขามีความโกรธครอบงำแล้ว

ย่อมมีผิวพรรณทรามแท้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมข้อที่หนึ่งนี้ ที่บุคคล

ผู้เป็นศัตรูกันชอบใจ ที่บุคคลผู้เป็นศัตรูกันพึงทำแก่กัน ย่อมมาถึงหญิงหรือ

ชายผู้ขี้โกรธ

(๒) ภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอีก ศัตรูย่อมหวังต่อศัตรู (ของตน)

อย่างนี้ว่า ขอให้บุคคลนี้พึงนอนเป็นทุกข์ ฯลฯ

(๓) ฯลฯ ขออย่าให้มันมีทรัพย์พอใช้จ่าย ฯลฯ

(๔) ฯลฯ ขออย่าให้มันมีโภคทรัพย์ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 26

(๕) ฯลฯ ขออย่าให้มันมียศ ฯลฯ

(๖) ฯลฯ ขออย่าให้มันมีเพื่อน ฯลฯ

(๗) ฯลฯ เพราะกายแตกเบื้องหน้าแต่ตาย ขอให้มันเข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศัตรู

ย่อมไม่ยินดีด้วยการไปสุคติของศัตรู (ของตน) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษ

บุคคลขี้โกรธนี้ ถูกความโกรธครอบงำแล้ว มีความโกรธออกหน้า ย่อม

ประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจา และทางใจ เขาครั้นประพฤติทุจริตทางกาย

ทางวาจาและทางใจแล้ว เบื้องหน้าแต่การตายเพราะกายแตก เป็นผู้ถูกความ

โกรธครอบงำแล้ว ก็ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดังนี้

และแม้เมื่อพิจารณาโทษในความโกรธ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า

คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนโกรธ

ย่อมไม่เห็นกรรม ความโกรธย่อมครอบงำ

นรชนใด ความมืดบอดก็ย่อมมีแก่นรชนนั้น

ในกาลนั้น สัตว์ทั้งหลายโกรธเพราะความ

โกรธใดแล ย่อมเข้าถึงทุคติ ท่านผู้มีปัญญา

เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ดีแล้วจึงละความโกรธ

นั้นเสีย.

บุคคลพึงละความโกรธ พึงสละมานะ

พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย.

ความโกรธก่อให้เกิดเสื่อมเสีย ความ

โกรธทำจิตให้กำเริบ คนย่อมไม่รู้จักความ

โกรธที่เกิดขึ้นแล้ว แต่จิตว่า เป็นภัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 27

ดูก่อนท่านผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน

ท่านจงข่มความผิดพลาดครั้งหนึ่งเสีย

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่มีความโกรธเป็น

พลัง ดังนี้.

ความโกรธก็ย่อมถึงความกำจัดไป ฉะนั้น บุคคลนี้ แม้พิจารณา

อย่างนี้แล้วกำจัดความโกรธอยู่ ท่านเรียกว่า วิเนติ (ย่อมกำจัด).

บทว่า โกธ ได้แก่ ความอาฆาตที่เกิดขึ้นแต่อาฆาตวัตถุอย่างใด

อย่างหนึ่ง ในบรรดาอาฆาตวัตถุ ๑๘ คือ อาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง ที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระสูตร โดยนัยว่า " ย่อมบังเกิดอาฆาตขึ้นว่า เขาได้

ประพฤติความฉิบหายให้แก่เรา เป็นต้น " และอาฆาตวัตถุ ๙ อย่าง ซึ่ง

สำเร็จแล้วโดยนัยตรงกันข้ามกับอาฆาตวัตถุ ๙ อย่างแรกนั้นนั่นแลว่า เขาไม่ได้

ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เรา เป็นต้น จึงรวมเป็นอาฆาตวัตถุ ๑๙

พร้อมกับอัฏฐานะ มีตอและหนามตำเป็นต้น.

บทว่า วิสฏ ได้แก่ ซ่านไป.

บทว่า สปฺปวิส ได้แก่ พิษงู.

คำว่า อิว เป็นคำอุปมา. ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า สปฺปวิสว

ก็เพราะลบอิอักษรออกเสีย.

บทว่า โอสเถภิ ได้แก่ ด้วยยาทั้งหลาย ท่านอธิบายไว้ว่า " ผู้ใด

ย่อมกำจัด คือ ย่อมอดกลั้น ได้แก่ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้ถึง

ที่สุด ซึ่งความโกรธที่เกิดขึ้นแล้วตามอรรถที่กล่าวแล้ว คือ ที่ซึมซาบไปทั่ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 28

จิตสันดานแล้วตั้งอยู่ด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอุบายเครื่องกำจัด

ทั้งหลาย ตามที่กล่าวแล้ว เหมือนหมอที่กำจัดพิษ ซึ่งถูกงูกัด พึงกำจัดพิษงู

ที่แผ่ซ่านไปทั่วร่างกายแล้วคงอยู่ด้วยยานานาชนิด บรรดายาที่ทำด้วยรากไม้

ต้นไม้ เปลือกไม้ ใบ และดอก เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือด้วยโอสถ

ที่จัดปรุงขึ้น ได้ฉับพลันทีเดียวฉะนั้น.

บาทพระคาถาว่า โส ภิกฺขุ ชหาติ โอรปาร ความว่า ภิกษุ

นั้นกำจัดความโกรธอยู่อย่างนี้ เพราะเหตุที่ความโกรธท่านละเสียได้สิ้นเชิง

ด้วยมรรคที่สาม (อนาคามิมรรค) ฉะนั้น ภิกษุนั้น พึงทราบว่า ย่อมละ

โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ประการที่เรียกกันว่า โอปาระฝั่งในเสียได้ แต่เมื่อ

กล่าวโดยไม่แปลกกันแล้ว คำว่า ปาร เป็นชื่อของฝั่ง ฉะนั้น ท่านจึง

เรียกว่า โอรปาร ก็เพราะอธิบายว่าฝั่งในด้วยเป็นฝั่งแห่งทะเล คือสังสารวัฏ

เหล่านั้นด้วย.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุใดกำจัดความโกรธที่บังเกิดขึ้นเสียได้ เหมือน

หมอกำจัดพิษงูที่ซ่านไปด้วยโอสถ ฉะนั้น ภิกษุนั้น กำจัดความโกรธได้สิ้นเชิง

ด้วยมรรคที่สาม แล้วตั้งอยู่ในอนาคามิผล ชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอก

เสียได้.

ในคำว่า โอรปาร นั้น อัตภาพของตน ชื่อว่า โอร ฝั่งใน.

อัตภาพของคนอื่น ชื่อว่า ปาร ฝั่งนอก.

อีกอย่างหนึ่ง อายตนะภายใน ๖ ชื่อว่าฝั่งใน อาตยนะภายนอก ๖

ชื่อว่า ฝั่งนอก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 29

อนึ่ง มนุษยโลกชื่อว่าฝั่งใน เทวโลกชื่อว่าฝั่งนอก กามธาตุชื่อว่า

ฝั่งใน รูปธาตุและอรูปธาตุชื่อว่าฝั่งนอก กามและรูปภพ ชื่อว่า ฝั่งใน อรูปภพ

ชื่อว่า ฝั่งนอก. อัตภาพชื่อว่าฝั่งใน อุปกรณ์แห่งความสุขของอัตภาพชื่อว่า

ฝั่งนอก.

ภิกษุละอยู่ซึ่งฉันทราคะ ในฝั่งในและฝั่งนอกนี้ ด้วยมรรคที่สี่อย่างนี้

ท่านเรียกว่า ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ ก็ในฝั่งในและฝั่งนอกนี้ พระ-

อนาคามีไม่มีฉันทราคะเลยในอัตภาพนี้เป็นต้น เพราะเหตุที่ท่านละกามราคะ

ได้แล้วแม้ก็จริง แต่ถึงกระนั้น ท่านก็ยังกล่าวว่า ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกได้

ด้วยการละฉันทราคะ ในพระคาถานั้น เพราะสงเคราะห์ฝั่งในและฝั่งนอก

ทั้งหมดนี้เข้าด้วยกัน ก็เพื่อจะประกาศคุณแห่งมรรคที่ ๔ นั้น เหมือนมรรคที่

๓ เป็นต้น.

บัดนี้ เพื่อจะประกอบเนื้อความนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

อุปมาว่า เหมือนกับงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าไปฉะนั้น.

ในพระคาถานั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ สัตว์ที่ชื่อว่า งู เพราะอรรถ

วิเคราะห์ว่า ไปด้วยอก. คำว่า อุรโค เป็นชื่อของงู งูนั้นมี ๒ ชนิด คือ

งูที่มีกามเป็นรูป ๑ งูที่มีอกามเป็นรูป ๑ แม้งูที่มีกามเป็นรูปก็มี ๒ ชนิด คือ

งูที่เกิดในน้ำ ๑ งูที่เกิดบนบก ๑ งูที่เกิดในน้ำย่อมได้กามรูปในน้ำเท่านั้น

หาได้กามรูปบนบกไม่ ดุจสังขปาลนาคราช ในสังขปาลชาดก. งูที่เกิดบนบก

ย่อมได้กามรูปบนบกเท่านั้น หาได้กามรูปในน้ำไม่ งูนั้นย่อมลอกหนังที่

เรียกกันว่า คร่ำคร่า เพราะเป็นของแก่ และว่าเก่า เพราะดำรงอยู่สิ้นกาลนาน

จึงลอกคราบไปด้วยวิธี ๔ อย่างคือ ๑. ดำรงอยู่ในชาติกำเนิดของตน

๒. เกลียดอยู่ ๓. เพราะอาศัย ๔. ด้วยกำลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 30

ชาติกำเนิดของงูชื่อว่า สชาติ ได้แก่ การมีตัวยาว ด้วยว่างูทั้งหลาย

ย่อมไม่ล่วงชาติกำเนิดของตน ในฐานะทั้ง ๕ คือ ๑. ในกาลอุบัติ ๒. ในกาล

จุติ ๓. ในกาลล่วงความหลับที่ตนปล่อยแล้ว ๔. ในกาลเสพเมถุนกับ

นางนาคที่มีชาติกำเนิดเสมอกัน ๕. ในกาลลอกคราบ เพราะเมื่อใดก็ตามที่งู

ลอกคราบ เมื่อนั้นงูนั้นทั้ง ๆ ที่ยังดำรงอยู่ในชาติกำเนิดของตนนั่นเอง ก็ย่อม

ลอกคราบ แม้ดำรงอยู่ในชาติกำเนิดของตน รังเกียจอยู่ (อึดอัดอยู่) ก็ย่อม

ลอกคราบ.

งูที่ชื่อว่า เกลียดคราบอยู่ คือ เมื่อใดก็ตามที่ตนเป็นผู้พ้นจากคราบ

ในฐานะกึ่งหนึ่ง ไม่พ้นจากคราบไปในฐานะกึ่งหนึ่ง ห้อยอยู่ เมื่อนั้น งูนั้น

อึดอัดอยู่ ย่อมลอกคราบนั้นไป.

ก็งูนั้น แม้รังเกียจอยู่อย่างนี้ อาศัยระหว่างท่อนไม้บ้าง ระหว่างรากไม้

บ้าง ระหว่างแผ่นหินบ้าง ย่อมลอกคราบนั้นไป.

ก็งูนั้นได้อาศัยระหว่างท่อนไม้เป็นต้น แม้เมื่อจะลอกคราบไป ทำ

กำลังให้เกิดแล้ว กระทำความอุตสาหะ กระทำหางให้คดด้วยความเพียร กาลัง

เห็นอยู่นั่นเอง แผ่พังพานก็ย่อมลอกคราบไปได้ งูนั้นครั้นลอกคราบอย่างนี้แล้ว

ก็ย่อมหลีกไปได้ตามปรารถนา ฉันใด ภิกษุแม้นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ปรารถนา

จะละฝั่งในและฝั่งนอก ย่อมละไปได้ด้วยอาการ ๔ คือ

๑. แม้ดำรงอยู่แล้วในชาติกำเนิดของตน

๒. เกลียดอยู่ลอกคราบไป

๓. ย่อมลอกคราบไปเพราะอาศัย

๔. ย่อมลอกคราบไปด้วยกำลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 31

ศีลชื่อว่าชาติกำเนิดของภิกษุ เพราะพระบาลีว่า เราเกิดแล้วแต่อริยชาติ

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุเป็นคนมีปัญญาดำรงอยู่ใน

ศีลแล้ว เป็นต้น. ภิกษุดำรงอยู่ในชาติของตนนี้ อย่างนี้แล้ว เกลียดซึ่งฝั่งใน

แต่ฝั่งนอกมีอัตภาพของตนเป็นต้นนั้น ซึ่งยังทุกข์ให้เกิดขึ้น เพราะการเห็น

โทษในเรื่องนั้น ๆ ดุจงูเกลียดอยู่ซึ่งคราบอันเก่าคร่ำคร่าของตนฉะนั้น อาศัย

กัลยาณมิตรทั้งหลาย ทำกำลังกล่าวคือความเพียรอันมีประมาณยิ่งให้เกิดขึ้น

แบ่งกลางคืนและกลางวันออกเป็น ๖ ส่วน แล้วเพียรพยายามอยู่ โดยนัยที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า ภิกษุชำระจิตให้สะอาดจากอาวรณียธรรมทั้งหลาย ด้วยการเดิน

จงกรมและด้วยการนั่งตลอดทั้งวัน ดังนี้เป็นต้น นั่งคู้บัลลังก์ ดุจงูทำหาง

ของตนให้คดฉะนั้น ภิกษุแม้นี้พยายามอยู่ เพราะความที่ตนมีความบากบั่น

ไม่ท้อถอย ดุจงูที่กำลังมองดูฉะนั้น ภิกษุแม้นี้ ทำความแผ่ไปแห่งญาณให้

บังเกิดขึ้น ดุจงูแผ่พังพานไปฉะนั้น ก็ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ ดุจงู

ลอกคราบฉะนั้น ก็ครั้นสละฝั่งในและฝั่งนอกได้แล้ว เป็นผู้มีคราบอันละแล้ว

ดุจงูลอกคราบแล้วฉะนั้น ภิกษุแม้นี้ เป็นผู้มีภาระอันปลงลงแล้ว ย่อมก้าว

ไปสู่ทิศคืออนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้ตามปรารถนา เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุใดกำจัดความโกรธที่เกิดขึ้นแล้ว

เสียได้ ดุจหมองูกำจัดพิษงูที่ซ่านไปด้วย

โอสถฉะนั้น ภิกษุนั้นย่อมละฝั่งในและฝั่ง

นอกเสียได้ ดุจงูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าเสีย

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 32

คาถาที่หนึ่งนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงด้วยอด คือ พระอรหัต

ด้วยประการฉะนี้แล.

บัดนี้ ถึงลำดับการพรรณนาเนื้อความแห่งคาถาที่ ๒ ในคาถาที่ ๒ นั้น

มีมาติกา (หัวข้อ) ดังนี้เหมือนกันว่า

คาถานี้ใครกล่าว ? กล่าวที่ใด ?

กล่าวเมื่อใด ? กล่าวเพราะเหตุไร ? ข้าพเจ้า

จักประกาศวิธีนี้ แล้วทำการอธิบายความ

แห่งพระคาถานั้น.

ต่อแต่นั้นไป ก็เพราะกลัวความพิสดารเกินไปในคาถาทั้งปวง นับ

แต่นี้ไป ข้าพเจ้าจะไม่ยกมาติกามาแสดง แสดงอยู่ซึ่งเนื้อความแห่งคาถานั้นๆ

โดยนัยแสดงเหตุเกิดขึ้นเท่านั้น จักกระทำการอธิบายเนื้อความ คือ คาถาที่ ๒

นี้ว่า โย ราคมุทจฺฉิทา อเสส เป็นต้น. คาถาที่ ๒ นั้น มีเหตุเกิดขึ้น

ดังต่อไปนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้เมืองสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล บุตรช่างทองคนหนึ่ง

ซึ่งเป็นอุปัฏฐากของพระสารีบุตรเถระ ได้บวชในสำนักของพระเถระ พระเถระ

คิดว่า อสุภกรรมฐานเหมาะสำหรับคนหนุ่มทั้งหลาย จึงได้ให้อสุภกรรมฐาน

แก่พระหนุ่มนั้น เพื่อกำจัดราคะ. จิตแม้สักว่า เสพคุ้นในกรรมฐานนั้น ก็ไม่

เกิดแก่พระภิกษุนั้น ท่านจึงได้บอกแก่พระเถระว่า กรรมฐานนี้ไม่เป็นอุปการะ

แก่ผม พระเถระคิดว่า กรรมฐานนี้เหมาะสำหรับคนหนุ่มทั้งหลาย จึงได้ให้

กรรมฐานนั้นนั่นแลซ้ำอีก ๔ เดือนผ่านไปอย่างนี้ ภิกษุนั้นไม่ได้คุณวิเศษแม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 33

สักอย่างหนึ่ง. ต่อจากนั้น พระเถระจึงได้กราบทูลถึงเรื่องภิกษุนั้นแม้แด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สารีบุตร การรู้กรรมฐานที่สบาย

แก่ภิกษุนั้น ไม่ใช่วิสัยของเธอ ภิกษุนี้เป็นผู้ที่พระพุทธเจ้าจะพึงแนะนำ

ดังนี้แล้ว จึงทรงเนรมิตดอกปทุมมีสีประภัสสร (สีเลื่อม ๆ พราย ๆ) ด้วยฤทธิ์

ทรงประทานในมือของพระภิกษุนั้นแล้ว ตรัสว่า เอาเถิดภิกษุ เธอจงเอาก้าน

ดอกปทุมนี้ปักลงบนเนินทราย ที่ร่มเงาหลังวิหาร และจงนั่งขัดสมาธิหันหน้า

ไปหาดอกปทุมนั้น ระลึกภาวนาอยู่ว่า โลหิต ๆ (สีแดง ๆ) ทราบว่า ภิกษุนี้

เคยเกิดเป็นช่างทองอย่างเดียวมาถึง ๕๐๐ ชาติ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงทราบว่า นิมิตแห่งสีแดง เหมาะสำหรับภิกษุนั้น จึงได้ทรงประทาน

โลหิตกรรมฐานแก่ภิกษุนั้น ภิกษุนั้นได้กระทำตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แนะนำ เพียงชั่วครู่เท่านั้น ก็ได้บรรลุแม้ฌาน ๔ ในที่นั้นตามลำดับ ปรารภ

ฌานกีฬาโดยนัย มีอนุโลมและปฏิโลมเป็นต้น ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอธิษฐานว่า ขอดอกปทุมนี้จงเหี่ยว ภิกษุนั้นออกจากฌาน เห็นดอกปทุมนั้น

ซึ่งเหี่ยวแห้งไปเป็นสีดำ จึงได้อนิจจสัญญาว่า รูปที่ประภัสสรถูกชราย่ำยีแล้ว

ต่อแต่นั้น ท่านได้นำดอกปทุมที่เหี่ยวแห้งนั้น น้อมเข้าไปแม้ภายใน ต่อจากนั้น

ท่านได้เห็นภพทั้ง ๓ ปรากฏดุจไฟติดทั่วแล้วว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้น

เป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา.

ก็ในที่ไม่ไกลจากภิกษุนั้นผู้เห็นอยู่อย่างนี้ มีสระบัวอยู่สระหนึ่ง พวก

เด็ก ๆ ลงไปในสระนั้น หักดอกปทุมทั้งหลาย แล้ว (นำมา) ทำเป็นกองไว้

ดอกปทุมในน้ำเหล่านั้น ปรากฏแก่ภิกษุนั้น ดุจเปลวไฟที่ป่าไม้อ้อ ใบทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 34

(ของดอกปทุมเหล่านั้น) หล่นลงก็ปรากฏแก่ภิกษุนั้นดุจตกลงไปในเหว ส่วน

ยอดของดอกปทุมที่ทิ้งไว้บนบก เหี่ยวแห้งไปแล้ว ปรากฏดุจถูกไฟไหม้

ครั้งนั้น เมื่อภิกษุนั้นเพ่งพินิจธรรมทั้งปวงตามกระแสแห่งธรรมนั้นอยู่. ภพ

ทั้งสามก็ปรากฏเป็นสภาพหาที่พึ่งพิงไม่ได้ ประดุจเรือนถูกไฟไหม้ ฉะนั้น.

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งที่ประทับอยู่ในพระคันธกุฎีนั่นเอง

ก็ทรงแผ่รัศมีแห่งพระสรีระไปเบื้องบนพระภิกษุนั้น และพระรัศมีนั้นก็ท่วมทับ

ใบหน้าของภิกษุนั้นเต็มที่ ลำดับนั้น ท่านนึกรำพึงอยู่ว่า นี้อะไรกัน ได้เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าราวกะว่าเสด็จมาประทับยืนอยู่ใกล้ จึงได้ลุกขึ้นจากอาสนะ

ประคองอัญชลี.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความสบายของพระภิกษุนั้น

เมื่อจะทรงแสดงธรรมจึงได้ตรัสโอภาสคาถานี้ ว่า โย ราคมุทจฺฉิกา อเสส

เป็นต้น.

ในคาถานั้น ที่ชื่อว่าราคะ ก็ด้วยอำนาจแห่งความรัญจวน. คำว่า

ราคะนี้ เป็นชื่อแห่งราคะ คือ กามคุณ ๕.

บทว่า อุทจฺฉิกา ได้แก่ ย่อมตัด คือหัก ได้แก่ ทำให้พินาศ. จริงอยู่

นักประพันธ์ทั้งหลาย ย่อมปรารถนาคำที่เป็นวัตตมานาวิภัตติว่า ฉินฺทติ แม้

สำหรับคำทั้งหลายที่เป็นอดีตกาล.

บทว่า อเสส ได้แก่ไม่มีส่วนเหลือ (คือหมดสิ้นทั้งอนุสัย).

สองบทว่า ภึสปุปฺผว สโรรุห ความว่า ราวกะว่า ดอกบัวนี้งอก

ขึ้นแล้วในสระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 35

บทว่า วิคยฺห ได้แก่ ลงแล้ว อธิบายว่า เข้าไปแล้ว . คำที่เหลือ

เช่นเดียวกับที่กล่าวมาในตอนต้นนั่นเอง.

ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายอะไรไว้ ?

ตอบว่า เปรียบเหมือนเด็กเหล่านี้ลงสู่สระ เด็ดดอกปทุม ซึ่งงอกใน

สระ ชื่อฉันใด ภิกษุใด หยั่งลงแล้วสู่โลกสันนิวาส คือ ไตรธาตุนี้ เข้าถึงแล้ว

ซึ่งนัย มีอาทิอย่างนี้ว่า

ไฟที่จะเสมอด้วยราคะไม่มี เราย่อม

เร่าร้อนด้วยกามราคะ จิตของเราถูกกามราคะ

เผาไหม้อยู่ สัตว์ทั้งหลายเหล่าใดถูกราคะ

ย้อมแล้ว ย่อมตกลงไปสู่กระแสแห่งกิเลส

ทั้งหลาย ประดุจแมลงมุมตกลงไปสู่สายใย

ที่ตนเองทำไว้ฉะนั้น.

ดูก่อนอาวุโส บุคคลผู้ถูกราคะย้อมแล้วแล มีจิตถูกราคะครอบงำแล้ว

ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ดังนี้แล้ว ก็ถอนราคะไปทีละน้อยอยู่ ด้วยการพิจารณาโทษ

ของราคะ ด้วยการสำรวมทั้งหลาย มีการสำรวมศีลเป็นต้น มีประการตามที่

ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว และด้วยความสำคัญว่า ไม่งามในวัตถุทั้งหลาย ทั้งที่มี

วิญญาณและไม่มีวิญญาณ ชื่อว่าย่อมตัดกิเลสที่เหลือด้วยอนาคามิมรรค และ

แม้กิเลสที่ยังเหลืออยู่ (อีก) จากอนาคามิมรรคนั้นเสียได้ด้วยอรหัตมรรค ภิกษุ

นั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ โดยประการที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วใน

ตอนต้นนั่นเอง ดุจงูละคราบที่เก่าคร่ำคร่าไปฉะนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 36

คาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ด้วยยอดคือพระอรหัต ด้วย

ประการฉะนี้ ก็ในที่สุดแห่งเทศนา ภิกษุนั้นดำรงอยู่แล้วในพระอรหัต.

ถามว่า คาถาที่ว่า โย ตณฺหมุทจฺฉิทา เป็นต้น มีเหตุเกิดขึ้น

เป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่เมืองสาวัตถี ภิกษุรูปหนึ่ง

อยู่ที่ฝั่งสระโปกขรณี ชื่อ คัคครา กำลังตรึกอกุศลวิตกอยู่ด้วยอำนาจของตัณหา

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของท่าน จึงได้ทรงภาษิตโอภาสคาถานี้.

ในพระคาถานั้น ที่ชื่อว่าตัณหา เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องสะดุ้ง (แห่ง

หมู่สัตว์) อธิบายว่า หมู่สัตว์ย่อมไม่ถึงความอิ่ม ด้วยอารมณ์ทั้งหลาย คำว่า

ตัณหานี้ เป็นชื่อของกามตัณหา ภวตัณหา และวิภวตัณหา.

บทว่า สุรต ได้แก่ไปแล้ว คือ เป็นไปแล้ว มีคำอธิบายว่า ท่วมทับ

สัตวโลก ตั้งแต่ภวัครพรหมดำรงอยู่.

บทว่า สีฆสร ได้แก่มี ปกติไปรวดเร็ว มีคำอธิบายว่า ตัณหาซึ่งไม่

คำนึงถึงโทษ ที่เป็นไปในปัจจุบันและสัมปรายภพ สามารถเพื่อจะให้ถึงจักรวาล

อื่นบ้าง ภวัครพรหมบ้าง โดยครู่เดียวเท่านั้น.

ผู้ใดทำตัณหานี้ ซึ่งซ่านไปอย่างรวดเร็ว แม้โดยประการทั้งปวง

ให้เหือดแห้งไปทีละน้อย ๆ โดยการพิจารณาถึงโทษอย่างนี้ว่า

ก็ชนเหล่าใดปรารถนาอยู่ ซึ่งตัณหา

อันกว้างขวางในเบื้องบน อันบุคคลให้เต็ม

ได้โดยยาก อันมีปกติซ่านไป ย่อมติดมั่น

ตัณหานั้น ชนเหล่านั้น ย่อมเป็นผู้ทรงไว้

ซึ่งจักร (ล้อ) ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 37

บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยว

ไปอยู่ตลอดกาลนาน ย่อมไม่ข้ามพ้น

สังสารวัฏ ซึ่งมีความเป็นอย่างนี้ และไม่มี

ความเป็นอย่างอื่น

และว่า " มหาบพิตร โลกพร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาส

ของตัณหา " ดังนี้ และด้วยคุณทั้งหลายมีศีลสังวรเป็นต้น มีประการดังที่

ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว แล้วตัดตัณหาไม่ให้เหลือ ด้วยอรหัตมรรค ภิกษุนั้นชื่อว่า

ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกได้ โดยประการทั้งปวง ในขณะนั้นนั่นเอง. ในที่สุด

แห่งเทศนา พระภิกษุนั้นดำรงอยู่แล้วในพระอรหัต.

มีคำถามว่า คาถาที่ว่า โย มานมูทพฺพธิ เป็นต้น มีเหตุบังเกิด

ขึ้นเป็นอย่างไร ?

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทัปอยู่ในเมืองสาวัตถี ภิกษุรูปหนึ่ง

อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ คงเห็นสะพานไม้อ้อที่เขาทำไว้ที่กระแสน้ำอันมีน้ำน้อยในฤดูร้อน

ถูกห้วงน้ำใหญ่ไหลในภายหลังพัดแล้ว ก็เกิดความสังเวชขึ้นว่า " สังขารทั้งหลาย

ไม่เที่ยง " ได้ยืนอยู่แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของท่าน จึง

ได้ทรงเปล่งโอภาสคาถานี้.

มานะคือความฟูขึ้นแห่งใจ ซึ่งมีชาติกำเนิดเป็นต้นเป็นวัตถุ ชื่อว่า

มานะ ในคาถานั้น. มานะนั้นมี ๓ อย่าง คือ ๑. การถือว่าเราเป็นผู้เลิศกว่า

เขา ๒. การถือว่าเราเป็นผู้เสมอเขา ๓. การถือว่าเราเป็นผู้เลวกว่าเขา.

อีกอย่างหนึ่ง มานะมี ๙ อย่าง คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 38

๑. เป็นผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา

๒. " สำคัญตัวว่า เสมอเขา

๓. " สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา

๔. เป็นผู้เสมอเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา

๕. " สำคัญตัวว่า เสมอเขา

๖. " สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา

๗. เป็นผู้เลวกว่าเขา สำคัญตัวว่า เลิศกว่าเขา

๘. " สำคัญตัวว่า เสมอเขา

๙. " สำคัญตัวว่า เลวกว่าเขา.

คำอธิบายว่า ภิกษุใดฆ่ามานะ แม้มีประการทั้งปวงนั้น ด้วยการ

พิจารณาเห็นโทษในมานะนั้น โดยนัยว่า

สัตว์ทั้งหลาย เมาแล้วแล เพราะ

มานะใด ย่อมไปสู่ทุคติเป็นต้น.

และด้วยศีลสังวรเป็นต้น มีประการดังที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ได้ทีละ

น้อย ๆ ชื่อว่าถอนขึ้นซึ่งมานะ อันเช่นกับสะพานไม้อ้อ เพราะความที่กิเลส

ทั้งหลายไม่มีกำลัง และมีกำลังทราม (และ) ถอนกิเลสที่เหลือด้วยอรหัตมรรค

อันเช่นกับห้วงน้ำใหญ่ เพราะโลกุตรธรรรมทั้งหลายมีกำลังยิ่งนัก เมื่อถอนขึ้น

ด้วยสามารถแห่งการละเสียไม่ให้เหลือ ชื่อว่า ย่อมฆ่า (ซึ่งมานะ) ภิกษุนั้น

ชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ แม้โดยประการทั้งปวง ในขณะนั้น

นั่นเอง. ในที่สุดแห่งเทศนา ภิกษุนั้นดำรงอยู่แล้วในพระอรหัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 39

มีคำถามว่า คาถาที่ว่า โย นาชฺฌคมา เป็นต้น มีเหตุเกิดขึ้น

เป็นอย่างไร ?

ตอบว่า การเกิดขึ้นแห่งคาถานี้ และแห่งคาถา ๑๒ คาถาเหล่าอื่น

ซึ่งต่อจากนี้ ก็เป็นเช่นเดียวกันนั่นเอง คือ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล

พราหมณ์คนหนึ่ง เมื่อบุตรสาวของตนดำรงอยู่ในปฐมวัยที่คนอื่นจะพึงขอได้

คิดว่า " เราจักประดับตกแต่งบุตรสาวด้วยดอกไม้ ที่คนถ่อยไร ๆ ไม่เคยใช้สอย

แล้วส่งไปสู่สกุลสามี " พราหมณ์นั้นเมื่อตรวจค้นทั่วกรุงสาวัตถี ทั้งภายใน

และภายนอกกรุง ก็ไม่ได้พบแม้สักว่าดอกหญ้าไร ๆ ที่คนถ่อยไม่เคยใช้สอย

ครั้นเขาได้เห็นพวกเด็กลูกพราหมณ์เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นพวกนักเลงประชุม

กันอยู่จึงคิดว่า " ข้าพเจ้าจักถามพวกเด็กเหล่านี้ ในเด็กเป็นจำนวนมาก จัก

ต้องมีใครสักคนหนึ่งรู้แน่นอน " แล้วจึงได้ถามพวกเด็กพราหมณ์เหล่านั้น.

พวกเด็กพราหมณ์เหล่านั้น เมื่อจะเย้ยหยันพราหมณ์นั้น จึงกล่าวว่า

ท่านพราหมณ์ ธรรมดาว่าดอกมะเดื่อใคร ๆ ในโลกก็ไม่เคยใช้สอยกัน ท่าน

จงให้ธิดาประดับด้วยดอกมะเดื่อนั้น แล้วจงให้ (ธิดาของท่าน) ในวันที่สอง

พราหมณ์ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ยังไม่ได้รับประทานอาหาร ก็ไปยังป่ามะเดื่อบนฝั่ง

แม่น้ำอจิรวดี แสวงหาต้นไม้ต้นหนึ่ง ๆ อยู่ ก็ไม่ได้พบแม้สักว่าขั้วแห่งดอก

(มะเดื่อ) ครั้งนั้นเมื่อเลยเวลาเที่ยงไปแล้ว พราหมณ์ก็ได้ไปเป็นครั้งที่สอง

ก็ที่ป่ามะเดื่อนั้น ภิกษุรูปหนึ่งนั่งพักกลางวันมนสิการกรรมฐานอยู่ ที่โคนต้น

มะเดื่ออันรื่นรมย์ต้นหนึ่ง. พราหมณ์นั้นเข้าไปในที่ ๆ พระภิกษุนั้นนั่งอยู่นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 40

ไม่สนใจ นั่งแล้วครู่หนึ่ง ก็กลับนั่งยอง ๆ ครู่หนึ่ง แล้วลุกขึ้นยืนครู่หนึ่ง

ค้นอยู่ซึ่งต้นไม้นั้น ในระหว่างกิ่งและคาคบทั้งปวง ลำบากอยู่ (เหน็ดเหนื่อยอยู่).

ลำดับนั้น ภิกษุนั้นกล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า ่" พราหมณ์ท่านแสวงหา

อะไร ? "

พราหมณ์นั้นตอบว่า " ผมแสวงหาดอกมะเดื่อขอรับ "

ภิกษุนั้นกล่าวว่า " พราหมณ์ ธรรมดาว่าดอกมะเดื่อไม่มีในโลก

คำพูดนี้ (คำว่าดอกมะเดื่อมี) เป็นคำเท็จ ท่านอย่าได้ลำบากเลย "

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัยของภิกษุนั้น จึงทรง

เปล่งรัศมี แล้วได้ตรัสโอภาสคาถาทั้งหลายเหล่านี้ แก่ภิกษุนั้น ผู้มีมานะมาก

อันประมวลมาถึงพร้อมแล้วว่า โย นาชฺฌคมา ภเวสุ สาร เป็นต้น

ผู้ศึกษาควรกล่าวคาถาทุกคาถา.

ในบรรดาคาถาเหล่านั้น จะได้กล่าวถึงคาถาที่ ๑ ก่อน. บทว่า

นาชฺฌคมา ได้แก่ ไม่ถึง คือ ไม่ประสบ.

บทว่า ภเวสุ ได้แก่ ในกามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญีภพ

อสัญญีภพ เนวสัญญีนาสัญญีภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ และปัญจ-

โวการภพ.

บทว่า สาร ได้แก่ ภาวะที่เที่ยง หรืออัตภาพ.

บทว่า วิจิน คือ แสวงหาอยู่ด้วยปัญญา.

คำว่า ปุปฺผมิว อุทุมฺพเรส เป็นต้น มีเนื้อความและโยชนา

ดังนี้ว่า ก็พระโยคาวจร เลือกอยู่ด้วยปัญญา ก็ไม่พบสาระไร ๆ ในภพทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 41

เหมือนพราหมณ์นี้ เมื่อเลือกดอกที่ต้นมะเดื่อทั้งหลาย ก็ไม่พบดอกมะเดื่อ

ฉะนั้น พระโยคาวจรนั้น เห็นแจ้งธรรมเหล่านั้นอยู่ โดยความไม่เที่ยงและ

โดยความเป็นสภาพไม่ใช่ตน เพราะอรรถว่าหาสาระไม่ได้ บรรลุอยู่ซึ่ง

โลกุตรธรรมทั้งหลายโดยลำดับ ชื่อว่าย่อมละซึ่งฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้เหมือน

งูละคราบเก่าที่คร่ำคร่าเสียฉะนั้น. แต่ในคาถาที่เหลือทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักไม่

กล่าวโยชนาแห่งคาถานั้น กล่าวเฉพาะเนื้อความที่แปลกกัน เท่านั้น.

ในสองบาทคาถาว่า ยสฺสนฺตรโต น สนฺติ โกปา อิติ ภวา-

ภวตญฺจ วีติวตฺโต นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ อันตรศัพท์นี้ปรากฏ

ในอรรถทั้งหลายเป็นอันมาก มีอรรถว่าเหตุ อรรถว่าท่ามกลาง และอรรถว่า

จิต เป็นต้นอย่างนี้ว่า

ชนทั้งหลาย ประชุมปรึกษากัน ที่

ฝั่งแม่น้ำ ที่หนทาง ที่สภา และที่ถนน ส่วน

ข้าพเจ้าและท่านมาประชุมกัน เพราะเหตุ

อะไร ?

ว่า " บุคคลย่อมถึงที่สุด ในท่ามกลางได้ ด้วยการบรรลุคุณวิเศษ อันมี

ประมาณน้อย " และว่า

ความโกรธก่อให้เกิดความฉิบหาย

ความโกรธทำให้จิตกำเริบ ชนย่อมไม่รู้จัก

ความโกรธนั้นซึ่งบังเกิดขึ้นแต่จิตที่เป็นภัย.

แต่ในที่นี้ อันตรศัพท์ ใช้ในอรรถว่าจิต.

๑. ส. สคาถา. ๒๖๑. ๒. อ. สตฺตก. ๙๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 42

บาทคาถาว่า ยสฺสนตรโตโต น สนฺติ โกปา ความว่า ความโกรธ

ย่อมไม่มีในใจของผู้ใด เพราะความโกรธนั้น ท่านถอนขึ้นเสียแล้วด้วยมรรค

ที่ ๓.

ก็เพราะเหตุที่สมบัติ ชื่อว่า ภวะ วิบัติชื่อ วิภวะ อนึ่ง ความเจริญ

ชื่อว่า ภวะ ความเสื่อมชื่อว่า วิภวะ ความเที่ยงชื่อว่า ภวะ ความขาดสูญ

ชื่อว่า วิภวะ บุญชื่อว่า ภวะ บาปชื่อว่า วิภวะ เมื่อว่าโดยใจความแล้ว

ทั้งวิภวะทั้งอภวะก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง ฉะนั้น ในคำว่า ภวาภวตญฺจ

วีติวตฺโต นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ภิกษุนั้นชื่อว่า ล่วงความเสื่อม

และความเจริญ มีประการเป็นอเนก ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ด้วยอำนาจ

แห่งสมบัติ วิบัติ ความเจริญ ความเสื่อม ความเที่ยง ความขาดสูญ บุญ

และบาป ด้วยมรรคทั้ง ๔ โดยนัยนั้น ๆ ตามสมควรแก่เหตุ.

ก็ในข้อว่า ยสฺส วิตกฺกา เป็นต้นนี้ มีอธิบายว่าภิกษุใด พิจารณา

เห็นโทษในวิตกนั้น ๆ แล้วกำจัดคือทำให้สงบ ได้แก่เผาผลาญ วิตก ๙ อย่าง

คือ :-

วิตก ๓ อย่าง คือ

๑. กามวิตก (ความดำริในทางกาม)

๒. พยาบาทวิตก (ความดำริในการปองร้าย)

๓. วิหิงสาวิตก (ความดำริในการเบียดเบียน)

วิตก ๓ อย่าง คือ

๑. ญาติวิตก (การคิดกังวลถึงญาติ)

๒. ชนปทวิตก (การคิดกังวลถึงชนบท)

๓. อมรวิตก (การคิดกังวลถึงความไม่ตาย)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 43

วิตก ๓ อย่าง คือ

๑. ปรานุททยตาปฏิสังยุตตวิตก (ความคิดกังวลที่ประกอบ

ด้วยความเป็นผู้เอ็นดูผู้อื่น)

๒. ลาภสักการสิโลกวิตก (ความคิดกังวลถึงลาภสักการะและ

ชื่อเสียง)

๓. อนวัญญัตติปฏิสังยุตตวิตก (ความคิดกังวลที่ประกอบด้วย

การไม่ดูหมิ่น).

โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในสมันตภัตรกสูตร ด้วยการ

พิจารณาธรรมที่ปฏิปักษ์กัน และด้วยมรรคเบื้องต่ำทั้ง ๓ อันสามารถที่จะละ

วัตถุนั้น ๆ เสียได้.

ผู้ศึกษาพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ก็วิตกที่เหลืออันภิกษุกำจัดได้แล้ว

อย่างนี้ ทำให้สงบราบคาบในภายใน ย่อมไม่เกิดขึ้นอีกในจิตที่เป็นไปใน

ขันธสันดานของตน อันเกิดในภายในตน ฉันใด กิเลสที่เหลือที่พระอรหันต์

ตัดได้แล้วก็ฉันนั้น เพราะสิ่งที่ตัดได้แล้วท่านเรียกว่า " กัปปิตะ" ดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า กปฺปิตเกสมสฺสุ (ผู้มีผมและหนวดอันปลงแล้ว).*

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคาถานี้ว่า โย นาจฺจสารี เป็นต้น

ดังต่อไปนี้ :-

สองบทว่า โย นาจฺจสารี ได้แก่ ภิกษุใดไม่แล่นเลยไป.

บทว่า น ปจฺจสารี คือ ไม่ล้าอยู่.

* อ. สตฺตก ๙๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 44

ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?

ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ก็ภิกษุใดตกไปอยู่ในอุทธัจจะ

ด้วยการปรารภความเพียรจัด ชื่อว่า ย่อมแล่นเลยไป เมื่อตกไปในโกสัชชะ

ด้วยความเพียรที่หย่อนเกินไป ชื่อว่าย่อมล้าอยู่ อนึ่ง เมื่อทำตนให้ลำบาก

ด้วยภวตัณหา ชื่อว่า ย่อมแล่นเลยไป เมื่อประกอบกามสุขอยู่ด้วยกามตัณหา

ชื่อว่าย่อมล้าอยู่ ด้วยสัสสตทิฏฐิ ชื่อว่าย่อมแล่นเลยไป ด้วยอุทเฉททิฏฐิ

ชื่อว่าย่อมล้าอยู่ เมื่อเศร้าโศกถึงอดีตอยู่ ชื่อว่าย่อมแล่นเลยไป เมื่อเพ้อหวัง

อนาคตอยู่ ชื่อว่าย่อมล้าอยู่ ด้วยปุพพันตานุทิฏฐิ ชื่อว่าย่อมแล่นเลยไป

ด้วยอปรันตานุทิฏฐิ ชื่อว่าย่อมล้าอยู่ เพราะฉะนั้น ภิกษุใดเว้นที่สุด ๒ อย่าง

นี้ได้แล้ว ปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทาอยู่ ชื่อว่าไม่แล่นเลยไปและไม่ล้าอยู่.

บาทคาถาว่า สพฺพ อจฺจุคมา อิม ปปญฺจ ความว่า ก็แลผู้ใด

ก้าวล่วง คือ ข้ามพ้น อธิบายว่า ก้าวล่วงเสียด้วยดี ซึ่งความเนิ่นช้า ๓ อย่าง

คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ อันมีเวทนา สัญญา และวิตก เป็นแดนเกิด

ทั้งปวงเสียได้ ด้วยมัชฌิมาปฏิปทา อันมีอรหัตมรรคเป็นที่สุด.

ก็ในคาถาต่อจากนั้น มีความแปลกกันเพียงเท่านี้ว่า สพฺพ วิตถมิท

ตฺวา โลเก. เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า บทว่า สพฺพ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ

มีคำอธิบายว่า ทั้งสิ้นคือเต็ม.

ก็แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ในคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา

สังขตธรรม อันต่างโดยขันธ์ อายตนะ และธาตุ ที่เป็นโลกีย์ซึ่งเข้าถึงวิปัสสนา

เท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 45

บทว่า วิตถ ได้แก่ ความแปรผัน มีคำอธิบายว่า ชื่อว่า แปรผัน

เพราะความเป็นโดยประการที่พวกคนพาลยึดถือเอาด้วยอำนาจกิเลสว่า เที่ยง

หรือว่า ยั่งยืน ว่าเป็นสุข หรือว่า สวยงาม หรือว่า เป็นตัวตน.

บทว่า อิท ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงตรัสธรรมชาติ

มีขันธ์เป็นต้นทั้งหมดนั้นนั่นแล โดยภาวะที่เห็นประจักษ์.

บทว่า ตฺวา ได้แก่ ทราบด้วยมรรคปัญญา อธิบายว่า ก็แลภิกษุใด

ทราบธรรมชาติมีขันธ์เป็นต้นนั้น โดยความไม่หลง และโดยอารมณ์.

บทว่า โลเก ได้แก่ ในโอกาสโลก. เชื่อมความว่า รู้ว่าธรรมชาติ

มีขันธ์เป็นต้นทั้งปวงนี้เป็นของแปรผัน.

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้ง ๔ เบื้องหน้าแต่นี้ไป ดังต่อไปนี้ :-

ศัพท์เหล่านี้คือ วีตโลโภ วีตราโค วีตโทโส วีตโมโห มีความ

แปลกกัน (ไม่เหมือนกัน).

ในบรรดาคำทั้ง ๔ นี้ ที่ชื่อว่าโลภะ ด้วยอำนาจแห่งความโลภ (อยากได้)

คำว่า โลภะ นี้ เป็นคำที่รวมอกุศลธรรมฝ่ายโลภะเข้าไว้ทั้งหมด เป็นชื่อแห่ง

อกุศลมูลที่หนึ่ง หรือเป็นชื่อแห่งวิสมโลภะ โลภธรรมนั้นใด บางคราวย่อม

เกิดขึ้นได้แม้ในวัตถุทั้งสาม คือ โภคะ ๑ รัฐ ๑ หมู่บ้าน ๑ ที่ชื่อว่าราคะ

ด้วยสามารถแห่งความรัญจวน ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า โลภธรรมย่อมบังเกิด

ขึ้นในสตรีทั้งหลายรุ่นพี่น้องหญิง รุ่นธิดา. คำว่า ราคะ นี้ เป็นชื่อของราคะ

คือกามคุณทั้งห้า.

ที่ชื่อว่า โทสะ ด้วยสามารถแห่งการประทุษร้าย. คำว่า โทสะ นี้

เป็นชื่อของความโกรธที่ข้าพเจ้าได้กล่าวมาแล้วในตอนต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 46

ที่ชื่อว่า โมหะ ด้วยสามารถแห่งความหลง. คำว่า โมหะ นี้ เป็น

ชื่อแห่งความไม่รู้ในอริยสัจ ๔. ก็เพราะเหตุที่ภิกษุเกลียดโลภะ ในบรรดา

โลภะ ราคะ โทสะ และโมหะนั้น จึงเริ่มเจริญวิปัสสนาว่า ทำไฉนหนอ

ข้าพเจ้าพึงกำจัดโลภะ เป็นผู้ปราศจากความโลภ เพราะฉะนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงการละฝั่งในและฝั่งนอกทั้งปวง อันเป็นอุบายเครื่อง

ละโลภ อันเป็นเครื่องแสดงความแปรผันแห่งสังขารทั้งหลาย และเป็นอานิสงส์

แห่งการละโลภะ จึงทรงตรัสคาถานี้ ในแม้คาถาทั้งหลาย เบื้องหน้าแต่นี้

(ต่อจากนี้) ก็นัยนี้ (เหมือนกัน) แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ภิกษุนั้นซึ่ง

ปรารภวิปัสสนาแล้ว เกลียดธรรมเหล่านั้น จึงกล่าวคาถารูปละ ๑ คาถา ใน

พระสูตรนี้ โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วนั่นเอง ท่านชอบใจคำใด ก็พึงถือเอา

คำนั้น ในคาถาทั้ง ๔ ต่อจากนี้ ก็นัยนี้ (เหมือนกัน) แต่การพรรณนาความ

ในคาถานี้ ดังต่อไปนี้.

อกุศลธรรมเหล่าใด ย่อมนอนเนื่องอยู่ในสันดานทั้งหลาย เพราะ

อรรถว่ายังละไม่ได้ เหตุนั้นอกุศลธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อนุสัย คำว่า อนุสัย

นี้เป็นชื่อแห่งกามราคะ ปฏิฆะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ภวราคะ และอวิชชา

ที่ชื่อว่ามูล เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งอาการของตน แห่งสัมปยุตธรรม

ทั้งหลาย ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะอรรถว่าไม่เกษม. ที่ชื่อว่ามูล เพราะอรรถว่า

เป็นที่ตั้งแห่งสัมปยุตธรรมนั้นบ้าง ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะอรรถว่า มีโทษและ

มีวิบากเป็นทุกข์.

คำว่า มูลและอกุศลทั้ง ๒ อย่างนี้ เป็นชื่อแห่งโลภะ โทสะ และโมหะ

จริงอยู่ อกุศลมูลเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้อย่างนี้ โดยนัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 47

เป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย โลภะเป็นอกุศลด้วย เป็นอกุศลมูลด้วย. อนุสัยเหล่านี้

บางอย่างไม่มีแก่ภิกษุใด เพราะเธอละเสียได้ ด้วยมรรคนั้น ๆ อย่างนี้ และอนุสัย

เหล่านี้ก็เป็นอกุศลมูล อันภิกษุถอนขึ้นได้แล้วแล อธิบายว่า ถอนเสียแล้ว.

ก็พวกอาจารผู้รู้ลักษณะของศัพท์ ปรารถนาการลง เส อักษร สำหรับคำที่

เป็นปฐมาวิภัตติพหุวจนะ แต่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย พรรณนาว่า ศัพท์ว่า

เส เป็นนิบาต. ท่านชอบใจคำใด ก็พึงถือเอาคำนั้น.

ก็ในคาถานี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุนั้น คือผู้มีอย่างนี้ เป็นพระขีณาสพ ก็พระขีณาสพย่อมไม่ยึดมั่น

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสว่า พระขีณาสพย่อมละ ครั้นละแล้วก็ดำรงอยู่ แม้

ก็จริง ถึงกระนั้นพระองค์ก็ยังตรัสว่า ภิกษุนั้น ย่อมละฝั่งนอกและฝั่งในเสียได้

ด้วยลักษณะของคำที่เป็นปัจจุบัน ในวิภัตติที่เป็นปัจจุบันใกล้อดีต.

อีกอย่างหนึ่ง ก็ภิกษุปรินิพพานอยู่ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ บัณฑิต

พึงทราบว่า ย่อมละฝั่งในและฝั่งนอก กล่าวคืออายตนะภายในและอายตนะ

ภายนอกของตนเสียได้.

พึงทราบความไม่มีอนุสัยในพระคาถานั้น โดยแยกเป็น ๒ ส่วน คือ

ตามลำดับกิเลส และตามลำดับมรรค.

ก็เมื่อว่าตามลำดับกิเลส ความไม่มีแห่งกามราคานุสัย และปฏิฆานุสัย

ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่สาม. ความไม่มีแห่งมานานุสัย ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่สี่

ความไม่มีแห่งทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่หนึ่ง ความ

ไม่มีแห่งภวราคานุสัยและอวิชชานุสัย ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่สี่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 48

เมื่อว่าตามลำดับมรรค ความไม่มีแห่งทิฏฐานุสัย และวิจิกิจฉานุสัย

ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่หนึ่ง ความไม่มีแห่งกามราคานุสัยและอวิชชานุสัย ย่อมมี

ได้ด้วยมรรคที่สาม ความไม่มีแห่งมานานุสัย ภวราคานุสัย และอวิชชานุสัย

ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่สี่.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า ก็เพราะเหตุที่อนุสัยทั้งปวง เป็นอกุศลคือกามราคานุสัย

และภวราคานุสัยเท่านั้น ถึงการสงเคราะห์เข้าด้วยโลภะเป็นอกุศลมูล. ปฏิฆานุสัย

และอวิชชานุสัย ย่อมถึงการนับว่า โทสะเป็นอกุศลมูล โมหะเป็นอกุศลมูล

ส่วนทิฏฐิ มานะ และวิจิกิจฉานุสัย ไม่จัดเป็นอกุศลมูลข้อใดเลย.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะภิกษุปรารถนาการละกิเลส ด้วยสามารถแห่งความ

ไม่มีอนุสัย และด้วยสามารถแห่งการถอนอกุศลมูลเสียได้ ฉะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุใดไม่มีอนุสัยไร ๆ ถอนอกุศลมูลได้แล้ว.

ในบาทพระคาถาว่า ยสฺส ทรถชา เป็นต้นนี้ พึงทราบวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้ :-

กิเลสที่เกิดขึ้นครั้งแรก ชื่อว่าทรถะ เพราะอรรถว่า เร่าร้อน ส่วน

กิเลสที่เกิดต่อมา ชื่อว่า ทรถชา เพราะเกิดจากกิเลสเป็นเครื่องกระวนกระวาย

เหล่านั้น ความถือตัวตนชื่อว่า โอร สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

คำว่า โอริมนฺตีร นี้ เป็นชื่อของการถือตัวถือตน.

คำว่า อาคมนาย ได้แก่ เพื่อการอุบัติขึ้น.

บทว่า ปจฺจยาเส ได้แก่ ปัจจัยทั้งหลายนั่นเอง.

ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 49

ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ก็ภิกษุไม่มีกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดความกระวน

กระวายบางอย่าง ซึ่งเป็นปัจจัยแห่งการยึดถืออุปาทานขันธ์ เพราะเหตุที่กิเลส

เหล่านั้นตนละเสียได้แล้ว ด้วยอริยมรรค ภิกษุนั้นชื่อว่าละฝั่งในและฝั่งนอก

เสียได้ โดยนัยที่ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นนั่นเอง.

แม้ในคาถาที่ว่า ยสฺส วนถชา เป็นต้นนี้ บัณฑิตพึงทราบกิเลส

ทั้งหลายที่เกิดจากป่า ดุจกิเลสทั้งหลายที่เกิดจากความกระวนกระวาย แต่ใน

อรรถแห่งคำ มีแปลกกันดังต่อไปนี้ :-

ธรรมชาติที่ชื่อว่าป่า ก็เพราะอรรถว่า ปรารถนาหรือต้องการ อธิบาย

ว่า ย่อมจำนง คือ ย่อมขอ ย่อมคบ คำว่า วนะนี้ เป็นชื่อของตัณหา.

จริงอยู่ ตัณหานั้น ท่านเรียกว่าวนะ เพราะปรารถนา คือ เพราะไหลออกมา

แห่งอารมณ์ทั้งหลาย ตัณหา (วนะ) ย่อมแผ่ไปด้วยอำนาจที่มีอารมณ์เป็น

ปริยุฏฐาน (กลุ้มรุม) เพราะเหตุนั้น ตัณหานั้นจึงชื่อว่า วนถะ คำว่า วนถะ นี้

เป็นชื่อแห่งตัณหานุสัย กิเลสทั้งหลายที่เกิดจากป่าคือตัณหา ชื่อว่า วนถชา

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กิเลสแม้ทั้งหมด ท่านเรียกว่า วนถะ เพราะ

อรรถว่าเป็นเครื่องรกชัฏ ส่วนกิเลสที่เกิดขึ้นต่อ ๆ มา ชื่อว่า วนถชา ก็ใน

ที่นี้ท่านประสงค์เอาเนื้อความในสุภสูตรเพียงเท่านี้ แต่เนื้อความนอกจากนี้

ตรงกับที่ตรัสไว้ในพระคาถาธรรมบท.

สองบทว่า วินิพนฺธาย ภวาย ได้แก่เพื่อความผูกพันในภพ อีก

อย่างหนึ่ง ความว่า เมื่อความผูกพันในอารมณ์ทั้งหลายแห่งจิต หรือเพื่อความ

อุบัติขึ้นต่อไป เหตุนั่นเอง จึงชื่อว่า เหตุกัปปา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 50

คำว่า นิวรณ์ ในคาถานี้ว่า โย นีวรเณ เป็นต้น มีวิเคราะห์ว่า

ที่ชื่อว่านิวรณ์ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ย่อมทำจิตให้เดือนร้อน อธิบายว่า

เป็นเครื่องปกปิดจิต.

บทว่า ปหาย ได้แก่ ทิ้งเสีย.

บทว่า ปญฺจ เป็นการกำหนดนับนิวรณ์เหล่านั้น ภิกษุที่ชื่อว่า

ไม่มีทุกข์ เพราะไม่มีความทุกข์ ที่ชื่อว่าข้ามความสงสัยเสียได้ เพราะตนข้าม

ความสงสัยได้แล้ว ที่ชื่อว่ามีลูกศรออกแล้ว เพราะเป็นผู้มีลูกศรไปปราศแล้ว

ถามว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ตอบว่า ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ภิกษุใด

เห็นนิวรณ์ทั้งห้า มีกามฉันท์เป็นต้น และเห็นโทษในนิวรณ์ทั้งหลาย โดย

ความเป็นของเสมอกันและโดยพิเศษ โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน

สมันตรภัตรกสูตร จึงละ (นิวรณ์เหล่านั้น) ได้ด้วยมรรคนั้น ๆ ชื่อว่าเป็นผู้

ไม่มีทุกข์ เพราะความไม่มีแห่งทุกข์ คือ กิเลสทุกข์ เพราะเหตุที่ตนละนิวรณ์

เหล่านั้นได้แล้วนั่นเอง ชื่อว่า ข้ามพ้นความสงสัยเสียได้ เพราะท่านข้ามพ้น

ความสงสัยที่เป็นไปแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า ในอดีตกาลนานมาแล้ว เราได้

เป็นแล้วหรือหนอ ชื่อว่าสลัดลูกศรเสียได้ เพราะท่านปราศจากลูกศรทั้งห้า

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ในบรรดาลูกศรเหล่านั้น ลูกศร ๕ อย่างเป็นไฉน ๕ อย่าง

คือ ลูกศรคือราคะ ลูกศรคือโทสะ ลูกศรคือโมหะ ลูกศรคือมานะ ลูกศร

คือทิฏฐิ ภิกษุนั้นชื่อว่าละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้

แล้วในตอนต้นนั่นเอง.

แม้ในพระคาถานั้น บัณฑิตพึงทราบการละนิวรณ์ ๒ อย่างเช่นกัน

คือ โดยลำดับกิเลส ๑ โดยลำดับแห่งมรรค ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 51

ก็เมื่อว่าตามลำดับกิเลส การละกามฉันทนิวรณ์และพยาบาทนิวรณ์

ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่ ๓ การละถีนมิทธนิวรณ์และอุทธัจจนิวรณ์ ย่อมมีได้

ด้วยมรรคที่ ๔ การละกุกกุจจนิวรณ์กล่าวคือความเดือดร้อน ที่เป็นไปแล้ว

โดยนัยเป็นต้นว่า " กุศลเราไม่กระทำแล้วหนอ " และวิจิกิจฉานิวรณ์ ย่อม

มีได้ด้วยมรรคที่ ๑.

แต่เมื่อว่าตามลำดับมรรค การละกุกกุจจนิวรณ์และวิจิกิจฉานิวรณ์

ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่ ๑ การทำกามฉันทนิวรณ์และพยาบาทนิวรณ์ให้เบาบาง

ย่อมมีได้ด้วยมรรคที่ ๒ การละกามฉันทะและพยาบาทนิวรณ์ได้สิ้นเชิงย่อมมีได้

ด้วยมรรคที่ ๓ การละถีนมิทธนิวรณ์ และอุทธัจจนิวรณ์ ย่อมมีได้ด้วยมรรค

ที่ ๔ ฉะนี้แล.

ภิกษุใดละนิวรณ์ทั้งหลายได้อย่างนี้ เป็นผู้ไม่มีทุกข์ข้ามความสงสัย

เสียได้ ปราศจากลูกศร ภิกษุนั้นชื่อว่าย่อมละฝั่งในและฝั่งนอกเสียได้ ดุจงู

ละคราบเก่าที่คร่ำคร่าไปฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัตทีเดียว

ในที่สุดแห่งพระธรรมเทศนา ภิกษุนั้นดำรงอยู่แล้วในพระอรหัต.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คาถาใด ๆ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

แล้วแก่ภิกษุเหล่านั้น โดยประการใด ๆ ภิกษุนั้น ๆ ดำรงอยู่แล้วในพระอรหัต

ในที่สุดแห่งพระคาถานั้น ๆ โดยประการนั้น ๆ.

จบอรรถกถาอุรคสูตร

แห่ง

อรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 52

ธนิยสูตรที่ ๒

ว่าด้วยคาถาโต้ตอบระหว่างนายธนิยะกับพระพุทธเจ้า

นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า

[๒๙๕] เรามีข้าวสำเร็จแล้ว มีน้ำนม

รีด (จากแม่โค) รองไว้แล้ว มีการอยู่กับ

ชนผู้เป็นบริวาร ผู้มีความประพฤติอนุกูล

เสมอกันที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี เรามุงบังกระ-

ท่อมแล้ว ก่อไฟไว้แล้ว แน่ะฝน หากว่า

ท่านย่อมปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า

เราเป็นผู้ไม่โกรธ มีกิเลสดุจหลักตอ

ปราศไปแล้ว เรามีการอยู่สิ้นราตรีหนึ่งที่

ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี กระท่อมมีหลังคาอันเปิด

แล้ว ไฟดับแล้ว แน่ะฝน หากว่าท่าน

ปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.

นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า

เหลือบและยุงย่อมไม่มี โคทั้งหลาย

ย่อมเที่ยวไปในประเทศใกล้แม่น้ำ ซึ่งมีหญ้า

งอกขึ้นแล้ว พึงอดทนแม้ซึ่งฝนที่ตกลงมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 53

ได้ แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญตก

ลงมาเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า

ก็เราผูกแพไว้แล้ว ตกแต่งดีแล้ว

กำจัดโอฆะ ข้ามถึงฝั่งแล้ว ความต้องการ

ด้วยแพย่อมไม่มี แน่ะฝน หากว่าท่าน

ปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.

นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า

ภริยาเชื่อฟังเรา ไม่โลเล เป็นที่

พอใจ อยู่ร่วมกันสิ้นกาลนาน เราไม่ได้ยิน

ความชั่วอะไร ๆ ของภริยานั้น แน่ะฝน

หากท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า

จิตเชื่อฟังเรา หลุดพ้นแล้ว เรา

อบรมแล้ว ฝึกหัดดีแล้วสิ้นกาลนาน และ

ความชั่วของเราย่อมไม่มี แน่ะฝน หากว่า

ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.

นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า

เราเป็นผู้เลี้ยงตนด้วยอาหารและ

เครื่องนุ่งห่มและบุตรทั้งหลายของเราดำรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 54

อยู่ดี ไม่มีโรค เราไม่ได้ยินความชั่วอะไร ๆ

ของบุตรเหล่านั้น แน่ะฝน หากว่าท่าน

ปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า

เราไม่เป็นลูกจ้างของใคร ๆ เราเที่ยว

ไปด้วยความเป็นพระสัพพัญญูผู้ไม่มีความ

ต้องการในโลกทั้งปวง เราไม่มีความต้องการ

ค่าจ้าง แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญ

ตกลงมาเถิด.

นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า

โคแก่ ลูกโคอ่อนที่ยังไม่ได้ฝึก แม่

โคที่มีครรภ์ ลูกโคหนุ่ม แม่โคตัวปรารถนา

ประเวณีก็มีอยู่ อนึ่ง แม้โคที่เป็นเจ้าฝูงแห่ง

โคก็มีอยู่ แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็

เชิญตกลงมาเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า

โคแก่ ลูกโคอ่อนที่ยังไม่ได้ฝึก

แม่โคที่มีครรภ์ ลูกโคหนุ่ม แม่โคที่ปรารถนา

ประเวณีก็ไม่มี อนึ่ง แม้โคที่เป็นเจ้าฝูงแห่ง

โคก็ไม่มี แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็

เชิญตกลงมาเถิด.

นายธนิยะคนเลี้ยงโคได้กล่าวคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 55

เสาเป็นที่ผูกโคเราฝังไว้แล้ว ไม่

หวั่นไหว เชือกสำหรับผูกพิเศษประกอบ

ด้วยปมและบ่วงเราทำไว้แล้ว สำเร็จด้วย

หญ้ามุงกระต่ายเป็นของใหม่มีสันฐานดี

สำหรับผูกโคทั้งหลาย แม้โคหนุ่ม ๆ ก็ไม่

อาจจะให้ขาดได้เลย แน่ะฝน หากว่าท่าน

ปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า

เราจักไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีก

เหมือนโคตัดเชือกสำหรับผูกขาดแล้ว

เหมือนช้างทำลายเถากระพังโหมได้แล้ว

ฉะนั้น แน่ะฝน หากว่าท่านปรารถนาก็เชิญ

ตกลงมาเถิด.

ฝนได้ตกเต็มทั้งที่ลุ่ม ทั้งที่ดอน ใน

ขณะนั้นเอง นายธนิยะคนเลี้ยงโค ได้ยิน

เสียงฝนตกอยู่ ได้กราบทูลเนื้อความนี้ว่า

เป็นลาภของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอ ที่ข้า

พระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่

พระองค์ผู้มีจักษุ ข้าพระองค์ขอถึง พระองค์

ว่าเป็นสรณะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นมหามุนี

ขอพระองค์ทรงเป็นพระศาสดาของข้าพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 56

องค์ ทั้งภริยาทั้งข้าพระองค์เป็นผู้เชื่อฟัง

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสุคต ข้า-

พระองค์เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติ และมรณะ

จะเป็นผู้กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้.

มารผู้มีบาปได้กล่าวคาถาว่า

คนย่อมเพลิดเพลินเพราะอุปธิทั้ง

หลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีบุตร ย่อม

เพลิดเพลินเพราะบุตร บุคคลมีโค ย่อม

เพลิดเพลินเพราะโค ฉะนั้น คนผู้ไม่มีอุปธิ

ย่อมไม่เพลิดเพลินเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาตอบว่า

คนย่อมเศร้าโศกเพราะอุปธิทั้งหลาย

เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีบุตร ย่อมเศร้าโศก

เพราะบุตร บุคคลผู้มีโค ย่อมเศร้าโศก

เพราะโค ฉะนั้น คนผู้ไม่มีอุปธิ ย่อมไม่

เศร้าโศกเลย.

จบธนิยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 57

อรรถกถาธนิยสูตร

ธนิยสูตร ประกอบด้วยคาถาว่า ปกฺโกทโน เป็นต้น

ธนิยสูตรนี้ มีเหตุอุบัติขึ้นเป็นอย่างไร ? ธนิยสูตรนี้ มีเหตุอุบัติขึ้น

ดังต่อไปนี้ :-

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี โดยสมัยนั้น คนเลี้ยง

โคชื่อ ธนิยะ อาศัยอยู่บนฝั่งแม่น้ำมหี บุพกรรมของนายธนิยะนั้นมีดังต่อไป

นี้ :-

เมื่อคำสอนของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ ยังปรากฎอยู่

นายธนิยะผู้นี้ได้ถวายสลากภัตร ๒๐ ที่ แด่พระสงฆ์ทุกวันสิ้น ๒ หมื่นปี เขา

จุติจากชาตินั้นแล้ว ก็บังเกิดในเทวโลกทั้งหลายทีเดียว ทำพุทธันดรหนึ่งให้สิ้น

ไปในเทวโลก พอถึงกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ก็บังเกิดเป็น

บุตรเศรษฐี ในนครธรรมโกรัณฑะซึ่งเป็นนครที่ขึ้นอยู่ในปัพพตรัฐ ในตอน

กลางของวิเทหรัฐ. เขาอาศัยฝูงโคเลี้ยงชีพ ด้วยว่าเขามีโคประมาณ ๓๐,๐๐๐ ตัว

เขารีดนมจากแม่โค ๒๗,๐๐๐ ตัว ธรรมดาว่าพวกเลี้ยงโคทั้งหลายไม่ได้อยู่

ประจำที่ พวกเขาอยู่บนบก ๔ เดือนในฤดูฝน อีก ๘ เดือนที่เหลือ พวกเขา

ได้หญ้าและน้ำที่โคสะดวกก็อยู่ที่นั้น และที่นั้นจะต้องเป็นฝั่งแม่น้ำ หรือไม่ก็

ฝั่งสระน้ำที่เกิดเองตามธรรมชาติ.

ต่อมาในฤดูฝน นายธนิยะผู้นี้ได้ออกจากบ้านที่ตนอยู่ไปเสาะแสวงหา

ช่องทาง (โอกาส) เพื่อให้โคทั้งหลายอยู่อย่างสบาย จึงได้เข้าไปยังโอกาสที่แม่น้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 58

มหามหีแยกออกเป็น ๒ สาย ถึงการนับว่า (เรียกกันว่า) กาฬมหี สาย ๑

มหามหี สาย ๑ เมื่อไหลไป ก็มาบรรจบกันที่ใกล้ทะเลอีก แล้วได้ทำให้เกิด

เกาะในระหว่างขึ้น เขาจึงสร้างโรงสำหรับโคทั้งหลายและที่อยู่ของตนขึ้น

(ณ สันดอนอันเป็นเกาะแห่งนั้น) ได้เข้าอยู่อาศัย เขามีบุตร ๗ คน มีธิดา

๗ คน สะใภ้ ๗ คน และกรรมกรเป็นจำนวนมาก.

ธรรมดาว่า คนเลี้ยงโคทั้งหลาย ย่อมทราบนิมิตแห่งฝน (คือ) เมื่อ

ใดนกทั้งหลายทำรังบนยอดไม้ ปูทั้งหลายปิดรูที่ใกล้แม่น้ำ ย่อมใช้รู (ใหม่)

ใกล้ที่ดอน ในกาลนั้น คนเลี้ยงโคทั้งหลายย่อมถือว่า จักมีฝนชุก แต่เมื่อใด

นกทั้งหลายย่อมทำรังเหนือพื้นน้ำในที่ต่ำ ปูทั้งหลายปิดรูที่ใกล้ที่ดอน (บนบก)

ย่อมใช้รูใกล้แม่น้ำ ในกาลนั้น คนเลี้ยงโคทั้งหลายย่อมถือว่า จักมีฝนน้อย

ครั้งนั้น นายธนิยะนั้น กำหนดนิมิตว่าจักมีฝนดี พอฤดูฝนใกล้เข้ามา

ก็ออกจากเกาะที่อยู่ในระหว่าง (แม่น้ำ) สร้างสถานที่ของตนขึ้นในสถานที่

น้ำท่วมไม่ถึง แม้ในเมื่อฝนตกอยู่สิ้น ๗ สัปดาห์ ที่ฝั่งหนึ่งของแม่น้ำมหามหี

สร้างโรงโคล้อมที่อยู่ไว้โดยรอบ แล้วก็อยู่ในที่นั้น.

ครั้งนั้น เมื่อเขาทำการตระเตรียมวัสดุมีไม้และหญ้าเป็นต้นแล้ว เมื่อ

พวกลูก ๆ ภรรยา และพวกคนทั้งหลายทั้งปวงอยู่พร้อมหน้ากัน เมื่อของเคี้ยว

และของบริโภคนานาประการที่ตนได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว กลุ่มแห่งเมฆฝน

ทั้งหลายก็ตั้งขึ้นทั้ง ๔ ทิศโดยรอบ.

นายธนิยะนั้น รีดนมจากแม่โคทั้งหลาย ให้ลูกโคทั้งหลายอยู่ในคอก

ทั้งหลาย ให้สุมควันเพื่อโคทั้งหลายขึ้นทั่วทั้ง ๔ ทิศ (เพื่อไล่ยุง) ให้บริวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 59

ชนทุกคนบริโภคแล้ว ให้ทำกิจทุกอย่างแล้ว ให้ตามประทีปขึ้นในที่นั้น ๆ

ตนเองบริโภคภัตรด้วยน้ำนมสด นอนอยู่บนที่นอนอันใหญ่ เห็นสิริสมบัติ

ของตนแล้ว ก็มีความยินดี นอนฟังเสียงฟ้าร้องมาจากทิศเบื้องหน้า ได้เปล่ง

อุทานนี้ว่า

เรามีข้าวสำเร็จแล้ว มีน้ำนมรีด(จาก

แม่โค) รองไว้แล้ว มีการอยู่กับชนผู้เป็น

บริวาร ผู้มีความประพฤติอนุกูลเสมอกัน ที่

ใกล้ฝั่งแม่น้ำมหี เรามุงบังกระท่อมแล้ว

ก่อไฟไว้แล้ว แน่ะฝน เมื่อเป็นเช่นนี้ หาก

ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.

พรรณนาความในคาถาที่ ๑ นั้น ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปกฺโกทโน ได้แก่ ภัตรที่เสร็จแล้ว.

บทว่า พุทฺธขีโร ได้แก่ น้ำนมที่เขารีดจากแม่โคทั้งหลายแล้วถือเอา

นายธนิยะย่อมแสดงตนเองด้วยคำว่า อห (ข้าพเจ้า).

บทว่า อสฺมิ ได้แก่ ความเป็นอย่างนั้นของตน อธิบายว่าเรามีข้าวสุก

และ รีดนมแล้ว.

ศัพท์ว่า อิติ ความว่า นายธนิยโคปะกล่าวแล้วอย่างนี้ แต่ในคัมภีร์

นิทเทส ท่านกล่าวอรรถแห่งอิติศัพท์ไว้อย่างนี้ว่า ศัพท์ว่า อิติ ใช้ในการเชื่อม

บท เป็นการเกี่ยวข้องกันแห่งบท เป็นการทำบทให้เต็ม เป็นที่ประชุมแห่ง

อักษร เป็นความสละสลวยแห่งพยัญชนะ คำว่า อิติ นี้ เป็นชื่อแห่งบทเบื้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 60

ปลาย อิติศัพท์แม้นั้นบัณฑิตพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเอาเนื้อความนี้เท่านั้น

ก็อิติศัพท์ ซึ่งประกาศเนื้อความนั้นนั่นแล แห่งบทที่ท่านกล่าด้วยบทเบื้องต้น

ว่า ท่านกล่าวไว้แล้วอย่างนี้เป็นการเชื่อมบทด้วยบทเบื้องปลาย โดยนัยมีอาทิ

อย่างนี้ว่า อิติ เมตฺเตยฺโย หรือว่า อิติ ภควา หาใช่โดยประการอื่นไม่.

สองบทว่า ธนิโย โคโป เป็นชื่อรวมของเศรษฐีบุตรนั้น ด้วยว่า

นายธนิยโคปะนั้น ชื่อว่าธนิยะ ก็เพราะประกอบพร้อม (มั่งคั่ง) ไปด้วยทรัพย์

(ธนะ) คือ โค ที่ท่านกล่าวให้พิเศษไว้อย่างนี้ว่าทรัพย์ที่จะเสมอด้วยโคไม่มี

ดังนี้ ก็หมายถึงการที่นายโคปะนั้นเป็นผู้มีอุปการะมากแก่ชาวโลก โดยการให้

ปัญจโครส ในบรรดาทรัพย์ทั้ง ๕ อย่าง มีอสังหาริมทรัพย์เป็นต้น เว้น

ทรัพย์ที่จะติดตามตนไปได้มีทานและศีลเป็นต้น โดยเป็นอสังหาริมทรัพย์ มี

นา สวน และอารามเป็นต้นบ้าง โดยเป็นทรัพย์ที่เดินได้มีวัวและม้าเป็นต้น

บ้าง โดยเป็นสังหาริมทรัพย์มีเงินและทองเป็นต้นบ้าง โดยเป็นทรัพย์ที่มี

อวัยวะสมบูรณ์อันเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะเป็นต้น ชื่อว่าโคปะ ก็เพราะการเลี้ยง

โคทั้งหลาย.

ด้วยว่า ผู้ใดเลี้ยงโคของตน ผู้นั้นชื่อว่าโคปะ ส่วนผู้ใดเลี้ยงโคของ

คนเหล่าอื่น เป็นผู้รับค่าจ้าง ผู้นั้นชื่อว่านายโคบาล ก็บุตรเศรษฐีนั้นเป็นผู้เลี้ยง

โคของตนเท่านั้น เขาจึงได้ขนานนามว่า โคปะ.

บทว่า อนุตีเร คือที่ใกล้ฝั่ง.

บทว่า มหิยา ได้แก่ แห่งแม่น้ำที่มีชื่อว่า มหามหี.

การอยู่ร่วมกันกับบริวารชนที่สมานสามัคคีกัน ที่มีความประพฤติ

เกื้อกูลกัน การอยู่ร่วมกันนั้น เป็นการอยู่ร่วมของผู้ใด ก็นายธนิยโคปะนี้

เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า การอยู่ร่วมกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 61

บทว่า ฉนฺนา ได้แก่ ทำให้ฝนรั่วรดไม่ได้ ด้วยการมุงด้วยเครื่องมุง

คือหญ้าและใบไม้ทั้งหลาย.

คำว่า กุฏิ นี้ เป็นชื่อของเรือนนั้น.

บทว่า อาหิโต คือ นำมาแล้ว หรือก่อไว้แล้ว. ไฟชื่อว่า คินิ ไฟ

ท่านเรียกว่า คินิ ในฐานะนั้น ๆ.

บทว่า อถ เจ ปตฺถยสิ มีคำอธิบายว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าว่าท่าน

ปรารถนาในบัดนี้.

บทว่า ปวสฺส ความว่า จงรด คือจงหลั่งลง ได้แก่จงปล่อยน้ำลงมา

นายธนิยะเรียกเมฆฝนว่าเทวะ. การพรรณนาเฉพาะในคาถานี้เพียงเท่านี้ก่อน

ส่วนการพรรณนาเนื้อความมีดังต่อไปนี้.

นายธนิยโคปะนี้ นอนแล้วในเรือนอันเป็นที่นอนของตนอย่างนี้ ฟัง

แล้วซึ่งเสียงร้องของเมฆ (เสียงฟ้าร้อง) กล่าวอยู่ว่า เรามีข้าวหุงเสร็จแล้ว

ย่อมแสดงถึงการเตรียมไว้อย่างดีของตน อันเป็นอุบายที่จะให้ระงับความทุกข์

กาย และเป็นเหตุแห่งความสุขกาย เขาเมื่อกล่าวว่า เรารีดนมเสร็จแล้ว ชื่อว่า

ย่อมแสดงถึงการจัดการดีของตน อันเป็นอุบายเพื่อเข้าไประงับทุกข์ทางใจ

และเป็นเหตุแห่งความสุขใจ เมื่อกล่าวว่า ที่ฝั่งแม่น้ำมหี ย่อมแสดงถึงสมบัติ

คือสถานที่อยู่ เขากล่าวอยู่ว่า การอยู่ร่วมกัน ย่อมแสดงถึงความไม่มีความ

เศร้าโศก อันมีการพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นเหตุ ในกาลเช่นนั้น เมื่อกล่าว

ว่า เรามุงกระท่อมแล้ว ย่อมแสดงถึงการกำจัดคือความปราศจากความทุกข์

อันเป็นทุกข์ทางกาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 62

บทว่า อาหิโต คินิ ความว่า เพราะเหตุที่นายโคบาลทั้งหลาย

ก่อไฟ ๓ ชนิด คือ ไฟล้อมรอบ ไฟควัน และไฟผิง และพวกนายโคบาลเหล่า

นั้นก็ได้ก่อไฟทั้ง ๓ ชนิดนั้นขึ้น ในเรือนของนายธนิยโคปะนั้น เพราะฉะนั้น

เขาเมื่อกล่าวว่า เราก่อไฟแล้ว หมายถึงไฟล้อมรอบในทิศทั้งปวง ย่อม

แสดงถึงการป้องกันการเข้ามาแห่งเนื้อร้าย เมื่อกล่าวว่า เราก่อไฟแล้ว หมาย

เอาไฟควัน ซึ่งก่อจากวัตถุทั้งหลายมีโคมัยเป็นต้น ในท่ามกลางแห่งใดทั้งหลาย

ย่อมแสดงถึงการไม่มีการเบียดเบียนโคทั้งหลายที่เกิดจากเหลือบและยุงเป็นต้น

เมื่อกล่าวว่า เราก่อไฟเสร็จแล้ว หมายถึงไฟผิงในที่นอนทั้งหลายของพวก

โคบาล ย่อมแสดงถึงการกำจัดอาพาธอันเกิดจากความหนาวของพวกนายโคบาล

เขาแสดงอยู่อย่างนี้ ก็เกิดความปีติและโสมนัสขึ้นเพราะตนเองก็ดี โคทั้งหลาย

ก็ดี บริวารชนก็ดี ไม่มีอาพาธไร ๆ ซึ่งมีฝนเป็นปัจจัย จึงกล่าวว่า แน่ะฝน

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากว่า ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.

เมื่อนายธนิยะ กล่าวคาถานี้อยู่อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับ

อยู่ในพระคันธกุฎี ในพระเชตวันมหาวิหาร ได้ทรงสดับเสียงของนายธนิยะ

นั้น ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์ ซึ่งบริสุทธิ์ล่วงเลยโสตธาตุของมนุษย์ ก็แล

ครั้นทรงสดับแล้ว ทรงตรวจดูอยู่ซึ่งโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นนายธนิยะ

พร้อมกันภรรยาของเขา ก็ทรงทราบว่า แม้สามีภรรยาคู่นี้ ถึงพร้อมแล้วด้วย

เหตุ ถ้าเราจักไปแสดงธรรม เขาแม้ทั้งคู่ก็จักบวชแล้วบรรลุพระอรหัต ถ้าเรา

จักไม่ไป พรุ่งนี้เขาทั้งสองจักพินาศเพราะห้วงน้ำ.

ในขณะนั้นนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จไปยังสถานที่อยู่ของ

นายธนิยะ โดยทางอากาศซึ่งเป็นระยะทาง ๗ โยชน์ จากเมืองสาวัตถี ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 63

ประทับยืนอยู่เบื้องบนกระท่อมของเขา นายธนิยะก็ยังกล่าวคาถานั้นอยู่บ่อย ๆ

ยังไม่จบ แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้วก็ยังกล่าวอยู่นั่นเอง ก็พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับคาถานั้นแล้ว เพื่อจะแสดงว่า ชนทั้งหลาย

ผู้พอใจแล้ว หรือเป็นผู้สละแล้วด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ แต่ก็หาเป็นอย่างนี้

ไม่ จึงได้ภาษิตคาถาตอบ ที่เหมือนกันโดยพยัญชนะ แต่ต่างกันโดยอรรถ

นี้ว่า

เราเป็นผู้ไม่โกรธ มีกิเลสดุจหลักตอ

ปราศไปแล้ว เรามีการอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง ที่

ฝั่งแม่น้ำมหี กระท่อมมีหลังคาอันเปิดแล้ว

ไฟก็ดับแล้ว แน่ะฝน เมื่อเป็นเช่นนี้ หาก

ท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญตกลงเถิด.

ด้วยว่า บททั้งหลายมีบทว่า " ปกฺโกทโน " และบทว่า " อกฺโกธโน "

โดยอรรถไม่เข้ากัน (ไม่เหมือนกัน) ดุจฝั่งนี้และฝั่งโน้นของมหาสมุทรฉะนั้น.

แต่พยัญชนะบางตัวในคาถาทั้ง ๒ นี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น บางบทใน

คาถาทั้ง ๒ นี้จะเหมือนโดยพยัญชนะ.

ในคาถาต้นนั้น บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งบทที่เหมือนกัน โดย

นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ส่วนการพรรณนาทั้งโดยพยัญชนะทั้งโดยความ แห่ง

บทที่ต่างกันมีดังนี้ :-

บทว่า อกฺโกธโน คือมีความไม่โกรธเป็นสภาพ ด้วยว่าความโกรธ

ซึ่งเป็นอาฆาตวัตถุมีประการดังที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในตอนต้นนั้นใด แม้หน่อย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 64

หนึ่งบังเกิดขึ้นอยู่แก่คนบางคน ทำใจให้เราเร่าร้อนแล้วก็สงบลงได้. แต่

บางคน ย่อมทำหน้าสยิ้วด้วยความโกรธใด ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว มีกำลังแรงกว่า

ความโกรธที่นิดหน่อยนั้น คนบางคนปรารถนาจะกล่าวคำหยาบ ด้วยความ

โกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น จึงทำเหตุสักว่า คางสั่น (ปากสั่น) คนอีกพวกหนึ่ง

กล่าวคำหยาบด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น อีกพวกหนึ่ง แสวงหา

ท่อนไม้และศาสตรา เหลียวดูทิศทั้งหลายด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น

อีกพวกหนึ่งจับท่อนไม้และศาสตรา ด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น อีก

พวกหนึ่งถือท่อนไม้เป็นต้น วิ่งเข้าใส่ด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น อีก

พวกหนึ่งประหาร ๒-๓ ครั้ง ด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น อีกพวก-

หนึ่งฆ่าแม้กระทั่งญาติสายโลหิตของตนด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น อีก

พวกหนึ่ง เกิดวิปฏิสาร (เดือดร้อน) ขึ้นด้วยความโกรธที่มีกำลังแรงกว่านั้น

แล้วฆ่าตัวเอง ดุจอำมาตย์ชาวกาลคามในเกาะสิงหล. ก็ด้วยเหตุประมาณเท่านี้

ความโกรธจัดว่าถึงความเพิ่มพูนขึ้นอย่างยิ่ง.

ความโกรธนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละได้แล้วที่โคนต้นโพธิ์นั้นเอง

มีรากอันขาดแล้ว ดุจตาลยอดด้วนฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า " เราเป็นผู้ไม่โกรธ."

บทว่า วิคตขีโล ได้แก่ มีกิเลสดังหลักตอ.

ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึงกิเลสเพียงดังตะปูตรึงใจ ๕

เหล่านั้นใดไว้ เพราะความที่จิตเป็นสภาพแข็งกระด้าง. เมือฝนอันเป็นเหตุ

แห่งกุศลมีการฟังพระสัทธรรมเป็นต้น แม้ตกรดอยู่ที่จิตอันเป็นดุจหลักตอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 65

เพราะกิเลสเพียงหลักตอเหล่าใด กุศลก็ไม่งอกขึ้น เปรียบเหมือนแม้เมื่อฝนตก

อยู่ตลอด ๘ เดือน ในภูมิภาค อันเป็นเหมือนหลักตอ (มีหินกรวดมาก)

ข้าวกล้าทั้งหลายก็งอกขึ้นไม่ได้ฉะนั้น กิเลสเพียงดังหลักตอเหล่านั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงละได้แล้วโดยประการทั้งปวง ที่ควงแห่งต้นโพธิ์นั่นเอง เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เราเป็นผู้มีกิเลสดุจหลักตอปราศไปแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีการอยู่สิ้นราตรี เพราะฉะนั้น พระองค์

จึงชื่อว่ามีการอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง. เหมือนอย่างว่า นายธนิยะนั้น เข้าอยู่ประจำ

ตลอด ๔ เดือน ที่ฝั่งแม่น้ำมหามหีนั้น ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเป็น

ฉันนั้นก็หามิได้ ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าอยู่ในที่นั้นเพียงคืนนั้น

เท่านั้น เพราะความเป็นผู้ทรงใคร่ประโยชน์แก่นายธนิยะนั้น ฉะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เราอยู่สิ้นราตรีหนึ่ง.

บทว่า วิวฏา ได้แก่ ไม่มีหลังคา. อัตภาพชื่อว่า กุฎี. ด้วยว่า

อัตภาพอาศัยอำนาจแห่งประโยชน์นั้น ๆ ท่านเรียกว่ากายบ้าง ว่าคูหาบ้าง ว่า

เคหะบ้าง ว่าสันเทหะบ้าง ว่านาวาบ้าง ว่ารถบ้าง ว่าวณะ (แผล) บ้าง

ว่าธชะ (ธง) บ้าง ว่าวัมมิกะ (จอมปลวก) บ้าง ว่ากุฎี (กระท่อม) บ้าง ว่า

กุฏิกาบ้าง. ในที่นี้ อัตภาพพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า กุฎี เพราะอาศัย

กระดูกเป็นต้น ถึงการนับเข้า (ว่าเป็นกาย) เหมือนกุฎีที่ได้นามว่า เรือน

ก็เพราะอาศัยไม้เป็นต้น สมดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ (ในมหาหัตถีปโทปม-

สูตร) ว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้ อาศัยเถาวัลย์ ดิน และ

หญ้าเป็นธรรมชาติแวดล้อมแล้ว ย่อมถึงการนับว่าเป็นเรือนแม้ฉันใด ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 66

ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยกระดูก อาศัยเอ็น เนื้อ หนัง เป็นธรรมชาติ

แวดล้อมแล้ว ย่อมถึงการนับว่ารูป ฉันนั้นนั่นแล.

อีกอย่างหนึ่ง อัตภาพชื่อว่า กุฎี ก็เพราะเป็นที่อยู่ของลิง คือ จิต

สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ก็กุฎี คือร่างกระดูกนี้ เป็นที่อยู่ของ

ลิง เพราะฉะนั้น ลิงจึงออกจากกุฎีที่มีประตู

พยายามอยู่บ่อย ๆ ย่อมเที่ยวไปทางประตู.

ฝน คือกิเลสมีราคะเป็นต้น ย่อมรั่วรดซึ่งกุฎีใดบ่อย ๆ เพราะสัตว์

ทั้งหลายถูกปกปิดไว้ ด้วยเครื่องปิด คือ ตัณหา มานะ และทิฏฐิ กุฎีนั้น

มีหลังคาอันเปิดแล้ว สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้(ในคัมภีร์อุทาน) ว่า

ฝนคือกิเลสย่อมรั่วรดสิ่งที่ปกปิด

ย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิด เพราะฉะนั้น พึงเปิด

สิ่งที่ปกปิดไว้เสีย เมื่อเป็นอย่างนี้ ฝนคือ

กิเลสย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิดไว้นั้น.

คาถานี้ท่านกล่าวไว้ในที่ ๒ แห่ง คือในขันธกวินัยและในเถรคาถา

ในบรรดาอาคตสถานทั้ง ๒ แห่งนั้น ในขันธกะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ เพราะอาศัยประโยชน์นี้ว่า ภิกษุใดปกปิดอาบัติไว้ กิเลสทั้งหลาย

และอาบัติทั้งหลาย ย่อมรั่วรดจิตภิกษุนั้นบ่อย ๆ ส่วนภิกษุใดไม่ปกปิดอาบัติ

ไว้ กิเลสทั้งหลายและอาบัติทั้งหลายย่อมไม่รั่วรดจิตของภิกษุนั้น (ส่วน) ใน

เถรคาถา ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ใดมีกิเลสดุจหลังคา มีราคะเป็นต้น กิเลสนั้นย่อม

๑. คาถานี้ ไม่พบในเถรคาถา แต่ปรากฏอยู่ใน ขุททกนิกาย อุทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 67

รั่วรดเรือน คือจิตที่ปกปิดไว้นั้นของผู้นั้น เพราะเรือนนั้นเป็นที่เกิดของ

กิเลสมีราคะเป็นต้น ในอารมณ์ทั้งหลายมีอิฏฐารมณ์เป็นต้น หรือผู้ใดเมื่อ

กิเลสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมอดกลั้นไว้.

ฝน คือกิเลสก็ย่อมรั่วรดกระท่อม คืออัตภาพของภิกษุนั่นเอง ที่

ปกปิดไว้ด้วยหลังคา คือกิเลสอันตนอดกลั้นเอาไว้ บ่อย ๆ. การที่หลังคา คือ

กิเลส อันผู้ใดกำจัดเปิดออกแล้ว ด้วยลม คืออรหัตมรรคญาณ ฝน คือ

กิเลสก็ย่อมไม่รั่วรดเรือน คือจิตของผู้นั้น เพราะฉะนั้น เนื้อความนี้ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาแล้วในที่นี้.

ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำจัดเครื่องปกปิด (หลังคา) ตามที่

กล่าวแล้ว โดยนัยตามที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า

" กระท่อมมีหลังคาอันเปิดแล้ว."

บทว่า นิพฺพุโต คือเข้าไปสงบแล้ว ด้วยว่า สรีระทั้งหมดนี้ร้อน

แล้วด้วยไฟ ๑๑ กองใด ไฟ ๑๑ กองนั้นชื่อว่า คินิ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ (ในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค) ว่า " ร้อนแล้วด้วยไฟ คือราคะ

เป็นต้น " เพราะฉะนั้น พึงตรวจดูความพิสดาร จากพระสูตรข้างต้นนั้น

ไฟนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าดับสนิทแล้วที่ควงแห่งต้นโพธิ์นั่นแล ด้วยน้ำ

คืออริยมรรค. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ไฟดับแล้ว ".

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าทรงตักเตือน คือโอวาท

สั่งสอนนายธนิยะ ผู้ยินดีอยู่ด้วยสิ่งอันไม่ควรยินดี โดยทรงยกเอาสิ่งอื่นมา

แสดงอ้างนั่นเทียว คืออย่างไร ? คือ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 68

ว่า เราไม่โกรธ ก็ย่อมแสดงว่า ดูก่อนธนิยะ ท่านยินดีว่าเรามีข้าวหุงเสร็จแล้ว

ก็ข้าวสุกอันบุคคลพึงหุงด้วยการสิ้นไปแห่งทรัพย์ตลอดชีวิต การสิ้นทรัพย์

เป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ในบรรดาทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์เพราะการรักษาเป็นต้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านชื่อว่าเป็นผู้ยินดีลงด้วยทุกข์ซิ. แต่ข้าพเจ้ายินดีอยู่ว่า

" เราเป็นผู้ไม่โกรธ " จึงชื่อว่ายินดีแล้ว ด้วยความไม่มีทุกข์ ทั้งในปัจจุบัน

ทั้งในสัมปรายภพ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสว่า เราไม่มีกิเลสเพียงดังหลักตอ ชื่อว่า

ย่อมแสดงว่า (ดูก่อนธนิยะ) ท่านยินดีว่า " เรารีดนมเสร็จแล้ว " จึงคิดว่า

" เราไม่ต้องทำงานแล้ว " หมดธุระแล้ว จึงยินดี แต่เราพอใจว่า " เราไม่มี

กิเลสประดุจหลักตอ " เป็นผู้เสร็จกิจแล้ว จึงยินดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า " เราอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำมหีสิ้นราตรีหนึ่ง "

ชื่อว่าย่อมแสดงว่า (ดูก่อนธนิยะ) ตัวท่านยินดีอยู่ว่า เราอยู่ร่วมกันที่ฝั่งแม่น้ำ

มหี (กับด้วยภรรยา สะใภ้ และกรรมกร) ชื่อว่ายินดีแล้ว ด้วยการอยู่ร่วม

ประจำถึง ๔ เดือน ก็การอยู่ประจำย่อมมีได้ ด้วยการเกี่ยวข้องด้วยที่อยู่ การ

เกี่ยวข้องด้วยที่อยู่นั้นเป็นความทุกข์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ตัวท่านก็ชื่อว่าเป็นผู้

พอใจด้วยทุกข์นั่นเอง ส่วนข้าพเจ้าพอใจอยู่ว่า เราอยู่สิ้นราตรีเดียว ชื่อว่า

พอใจด้วยการไม่อยู่ประจำ ก็การไม่อยู่ประจำย่อมมีได้เพราะการไม่เกี่ยวข้อง

ด้วยที่อยู่ และการไม่มีความเกี่ยวข้องเป็นความสุข ฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเป็นผู้

พอใจด้วยความสุขทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสว่า " กระท่อมมีหลังคาเปิดแล้ว " ชื่อว่า

ย่อมแสดงว่า (ดูก่อนธนิยะ) ตัวท่านยินดีอยู่ว่า " เรามุงบังกระท่อมแล้ว "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 69

ชื่อว่ายินดี เพราะเหตุที่เรือนได้มุงบังไว้แล้ว ก็แม้เมื่อท่านมุงเรือนแล้วก็ตาม

ท่านเมื่อถูกห้วงน้ำใหญ่ทั้ง ๔ ที่เกิดขึ้นจากฝน คือกิเลสซึ่งรั่วรดกระท่อมคือ

อัตภาพของท่านได้พัดไปอยู่ ก็จะถึงความพินาศ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านก็พึงชื่อว่า

เป็นผู้ยินดีด้วยสิ่งที่ไม่ควรยินดีนั่นเอง แต่ข้าพเจ้ายินดีอยู่ว่า " กระท่อมมี

หลังคาอันเปิดแล้ว " ชื่อว่ายินดีโดยความที่กระท่อม คืออัตภาพไม่มีหลังคา

คือกิเลส ก็เมื่อเราเปิดกระท่อมแล้วอย่างนี้ เราถูกห้วงน้ำทั้ง ๔ ที่เกิดขึ้นจาก

ฝน ซึ่งรั่วรดกระท่อม คืออัตภาพของเรานั้น ไม่ได้พัดไปอยู่ จะไม่พึงถึง

ความพินาศได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้ยินดี ด้วยสิ่งที่ควรยินดีเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า " ไฟดับแล้ว " ชื่อว่าย่อมแสดงว่า

ดูก่อนธนิยะ ท่านยินดีว่า " เราได้ก่อไฟแล้ว " คิดว่า เราผู้ไม่ได้สร้างเครื่อง

ป้องกันอันตรายเลย ได้เป็นผู้สร้างเครื่องป้องกันอันตรายแล้ว แต่ข้าพเจ้า

ยินดีอยู่ว่า " ไฟดับแล้ว " ชื่อว่ายินดีแล้ว เพราะเหตุที่เราได้ทำเครื่องป้องกัน

อันตรายไว้แล้ว เพราะไม่มีเครื่องเร่าร้อนแต่ไฟ ๑๑ กอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสว่า " แน่ะฝน เมื่อเป็นเช่นนี้ หากว่า

ท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด " ชื่อว่าย่อมแสดงว่า คำนี้ย่อมงาม (ย่อมถูก

ต้อง) สำหรับคนทั้งหลายเช่นเราผู้ปราศจากความทุกข์แล้ว ผู้ประสบความสุข

แล้ว ผู้ได้ทำกิจทั้งปวงแล้ว เพราะฉะนั้น แน่ะฝน ถ้าท่านปรารถนาก็เชิญตกลง

มาเถิด เพราะเมื่อท่านตกหรือไม่ตกก็ตาม ความเจริญหรือความเสื่อมก็หามีแก่

เราไม่. ส่วนตัวท่านกล่าวอย่างนี้เพราะเหตุไร ?

เพราะฉะนั้น พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ชื่อว่า

ตรัสไว้แล้วโดยชอบทีเดียว เพราะว่า ก็พระองค์เมื่อตรัสอย่างนี้ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 70

ทรงตักเตือน คือ โอวาท สั่งสอนนายธนิยะ ผู้ยินดีอยู่ด้วยสิ่งที่ไม่ควรยินดีเลย

โดยนำสิ่งอื่นมาเป็นเครื่องอ้างนั่นเอง.

คนเลี้ยงโคชื่อว่าธนิยะ แม้สดับพระคาถานี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้แล้วอย่างนี้ ก็ไม่พูดว่าใครนี้กล่าวคาถา พอใจยิ่งด้วยภาษิตนั้น ประสงค์

ที่จะฟังคาถาเห็นปานนั้นอีก จึงได้กล่าวคาถาแม้อีกว่า อนฺธกมกฺสา

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อนฺธกา เป็นชื่อของเหลือบ แต่อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า คำว่า อนฺธกา เป็นชื่อของเหลือบสีน้ำตาล (ปิงฺคลมกฺขิกา)

ก็มี ยุงนั้นเองชื่อว่า มกสา. บทว่า น วิชฺชเร คือ ไม่มี. ภูมิประเทศอันชุ่มชื้น

ในคำว่า กจฺเฉ มี ๒ ชนิด คือ ภูมิประเทศอันชุ่มชื้นใกล้แม่น้ำ ๑

ภูมิประเทศอันชุ่มชื้นใกล้ภูเขา ๑ ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา

ภูมิประเทศอันซุ่มชื้นใกล้แม่น้ำ.

บทว่า รุฬฺหติเณ คือ ในหญ้าที่งอกขึ้น. บทว่า จรนฺติ ความว่า

ย่อมหากิน. บทว่า วุฏมฺปิ ได้แก่ ฝนหลายชนิด มีฝนที่มากับลม (ลม

เจือฝน) เป็นต้น. ก็ฝนเหล่านั้น ข้าพเจ้าจักได้ประกาศในอาฬวกสูตร. แต่

ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสหมายถึงฝนที่ตกในฤดูฝน (วสฺสวุฏฺิ).

บทว่า สเหยฺยุ คือ พึงอดทน. คำที่เหลือชัดแล้วทั้งนั้น.

ในคาถาที่ ๓ นี้ ผู้ศึกษาพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ :- เหลือบและยุง

เหล่าใด ห้อมล้อมกินเลือด (ของโคทั้งหลาย) อยู่ ย่อมทำให้โคทั้งหลายถึง

ความพินาศโดยครู่เดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น พอฝนตกลงมาเท่านั้น พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 71

นายโคบาลเหล่านั้น จึงใช้ดินร่วน (ฝุ่น) และกิ่งไม้ ฆ่าเหลือบและยุงเหล่านั้นเสีย.

นายธนิยะเมื่อแสดงถึงความเกษมแห่งโคทั้งหลาย เพราะเหลือบและยุงเหล่านั้น

ไม่มี และ (แสดงถึง) ความไม่ลำบาก เพราะได้กล่าวถึงการไม่มีอันตราย

ในการเดินทางไกล ด้วยการเที่ยวไปในภูมิประเทศที่ชุ่มชื้น ซึ่งมีหญ้างอกแล้ว

ชื่อว่าย่อมแสดงว่า โคทั้งหลายของคนเหล่าอื่น ปรากฏอยู่ด้วยการรบกวนของ

เหลือบและยุง ลำบากอยู่ด้วยการเดินทางไกล ฝ่ายผอมไปเพราะได้หญ้าน้อย

ไม่พึงอดทนแม้ฝนที่ตกลงมาครั้งเดียวได้ฉันใด โคทั้งหลายของเราจะเป็น

อย่างนั้นก็หามิได้ แต่โคทั้งหลายของเรา พึงอดทนฝนที่ตกลงมาได้ถึง ๒ ครั้ง

หรือ ๓ ครั้ง เพราะไม่มีอันตรายประการดังกล่าวแล้ว.

ลำดับนั้น เพราะเหตุที่นายธนิยะ กำลังอยู่ในเกาะในระหว่าง (แม่น้ำ

ทั้งสองสาย) เห็นภัยแล้วก็ผูกแพขึ้น แล้วข้ามแม่น้ำมหามหี ถึงภูมิประเทศที่

ชุ่มชื้นนั้นแล้ว ก็สำคัญอยู่ว่า เรามาดี ดำรงอยู่ในที่ปลอดภัยแล้ว จึงได้กล่าว

อย่างนี้ แต่เขาก็ยังดำรงอยู่ในที่มีภัยอยู่นั่นเอง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อทรงพรรณนาถึงสถานที่ที่นายธนิยะนั้นมา สถานที่พระองค์เสด็จมา ความ

ประเสริฐกว่า และความประณีตกว่านั้น จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า พทฺธา หิ

ภิสี เป็นต้น อันเป็นส่วนเสมอกันแห่งเนื้อความ หาได้ตรัสส่วนที่เสมอกัน

แห่งพยัญชนะไม่.

ในพระคาถาที่ ๔ นั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- แพที่เขาผูก

ทำให้แผ่ออก คือให้กว้างออก เขาเรียกกันในโลกว่า ภิสี. แต่ในธรรมวินัย

ของพระอริยเจ้า อริยมรรค ท่านเรียกว่า แพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 72

มัคคะ ๑ ปัชชะ ๑ ปถะ ๑ ปันถะ ๑

อัญชสะ ๑ วฏุมายนะ ๑ นาวา ๑ อุตตรเสตุ ๑

กุลละ ๑ ภิสิ ๑ สังกมะ ๑ อัทธานะ ๑

ปภวะ ๑ (แต่ละอย่าง) ท่านประกาศไว้แล้ว

ในที่นั้น ๆ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงโอวาทอยู่ ซึ่งนายธนิยะนั้นโดยนัยก่อนนั่นแล

ด้วยคาถาแม้นี้ พึงทราบว่า พระองค์ตรัสแล้วซึ่งเนื้อความนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนธนิยะ ท่านผูกแพแล้ว ข้ามแม่น้ำ

มหี มาถึงที่นี้แล้ว และแพของท่าน ท่านก็จักต้องผูก แม้อีกนั่นเอง และ

แม่น้ำท่านก็จักต้องข้ามอีก ทั้งที่นั้นจะเป็นที่ปลอดภัยก็หามิได้. ส่วนแพที่เรา

ทำองค์อริยมรรคให้ร่วมในจิตดวงเดียว แล้วผูกไว้ด้วยเครื่องผูก คือ ญาณ

ด้วยการไม่ก้าวล่วงกันและกัน เพราะไม่มีเครื่องผูกที่จะผูกอีก เพราะไปตาม

สภาวะที่มีรสอันเดียวกัน เนื่องจากบริบูรณ์ด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗. ชื่อว่า

ผูกไว้ดี (เตรียมไว้ดีแล้ว) เพราะใคร ๆ ในเทวดาและมนุษย์ไม่อาจที่จะแก้ได้

เพราะไม่มีเครื่องประกอบที่จะพึงผูก เราเป็นผู้ข้ามแล้วด้วยแพนั้นถึงประเทศ

แห่งฝั่งที่เราปรารถนาในกาลก่อนแล้ว และแม้ไปอยู่ จะไปถึงประเทศบางแห่ง

เท่านั้น เหมือนพระโสดาบันเป็นต้นก็หามิได้. โดยที่แท้ เราไปถึงฝั่งคือ

ความสิ้นไปแห่งอาสวะ หรือฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง คือ บรรลุถึงพระนิพพาน

อันสุขุม ปลอดภัยแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ติณฺโณ ได้แก่บรรลุสัพพัญญุตญาณ. บทว่า

ปารคโต ได้แก่ บรรลุพระอรหัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 73

หากจะมีคำถามว่า พระองค์กำจัดอะไรจึงถึงฝั่งได้ ? ตอบว่า

พระองค์ทรงกำจัดโอฆะ ๔ อย่าง มีกาโมฆะเป็นต้น ข้ามโอฆะแล้ว หรือ

ล่วงพ้นโอฆะแล้วจึงถึงฝั่งได้.

ก็ในบัดนี้ เราไม่มีความต้องการด้วยแพอีก เพราะไม่มีฝั่งที่จะต้อง

ข้ามไป เพราะฉะนั้น การพูดของเราเท่านั้น ถูกต้องแล้ว แน่ะฝน เมื่อเป็น

เช่นนี้ หากท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด.

นายธนิยะ สดับพระดำรัสนั้นแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า โคปี มม

อสฺสวา เป็นต้น.

บรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น ด้วยบทว่า โคปี นายธนิยะ ย่อม

แสดงถึง ภริยา.

บทว่า อสฺสวา ได้แก่ เป็นผู้เชื่อฟัง คือมีปกติฟังคำสั่งไม่ว่าใน

กิจการใด ๆ.

บทว่า อโลลา ความว่า ด้วยว่ามาตุคาม (สตรี) เป็นผู้โลเล

ด้วยความโลเล ๕ ประการคือ ๑. ความโลเลในอาหาร ๒. ความโลเลใน

เครื่องประดับ ๓. ความโลเลในบุรุษอื่น ๔. ความโลเลในทรัพย์ ๕. ความโลเล

ในการเดินทาง. จริงอย่างนั้น มาตุคามโดยที่สุดย่อมบริโภคภัตรตามปกติบ้าง

ย่อมเคี้ยวกินของควรเคี้ยวที่มาถึงมือบ้าง ได้ทรัพย์ ๒ เท่า แล้วดื่มสุราบ้าง

เพราะเป็นผู้โลเลในอาหาร อันต่างด้วยภัตร ขนมและสุราเป็นต้น เพราะโลเล

ในเครื่องประดับ เมื่อไม่ได้เครื่องประดับอย่างอื่น โดยที่สุดแม้เสยผมด้วย

น้ำมันงาเจือน้ำก็ย่อมลูบหน้า เพราะเหตุที่โลเลในบุรุษอื่น โดยที่สุดแม้แต่บุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 74

(ของตน) เรียกอยู่ในประเทศเช่นนั้น ก็ย่อมคิดถึงด้วยอำนาจอสัทธรรมก่อน

เพราะโลเลในทรัพย์ ได้พญาหงส์ทองแล้ว ก็เสื่อมจาก (ขน) ทอง (ของ

พญาหงส์นั้น) เพราะโลเลในการเดินทาง (การเที่ยวเตร่) มาตุคามจึงเป็นผู้

มักไปในที่มีสวนเป็นต้น ย่อมทำทรัพย์ทั้งปวงให้ฉิบหาย.

ในคาถานั้น นายธนิยะ เมื่อแสดงอยู่ว่า ความโลเลแม้สักอย่างหนึ่ง

ก็ไม่มีแก่ภริยาของเรา จึงกล่าวว่า เป็นผู้ไม่โลเล.

ด้วยสองบทว่า ทีฆรตฺต สวาสิยา นายธนิยะย่อมแสดงว่า

" ภรรยาของข้าพเจ้าอยู่ร่วมกันสิ้นกาลนาน นับตั้งแต่ข้าพเจ้าเป็นหนุ่มก็เจริญ

ขึ้นโดยมีใจเดียว ย่อมไม่รู้จักบุรุษอื่น เพราะการมีใจเดียวนั้น ".

ด้วยบทว่า มนาปา นายธนิยะย่อมแสดงว่า ภรรยาของข้าพเจ้า

เธอไม่รู้บุรุษอื่นอย่างนี้ ชื่อว่าย่อมแนบใจของข้าพเจ้าทีเดียว.

ด้วยบาทพระคาถาว่า ตสฺสา น สุณามิ กิญฺจิ ปาป นายธนิยะ

ย่อมแสดงว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ยินโทษแห่งการประพฤตินอกใจไร ๆ ของภรรยา

นั้นอย่างนี้ว่า ภรรยาของข้าพเจ้านี้ มีการหัวเราะหรือการพูดหยอกเย้ากับชาย

ชื่อนี้.

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงโอวาทนายธนิยะผู้ยินดีอยู่ด้วย

ภรรยา ด้วยคุณเหล่านี้ จึงได้ตรัสคาถานี้ ซึ่งเหมือนกันทั้งโดยอรรถและ

เหมือนกันโดยพยัญชนะว่า จิตฺต มม อสฺสว เป็นต้น โดยนัยก่อนนั่นแล.

บททั้งหลายในคาถาที่ ๖ นั้น เข้าใจง่ายทั้งนั้น แต่มีอธิบายดังต่อไปนี้.

ดูก่อนธนิยะ ท่านดีใจว่า ภรรยาของเราเชื่อฟัง แต่ภรรยาของท่านนั้น

เชื่อฟังบ้าง ไม่เชื่อฟังบ้าง จิตของผู้อื่นรู้ได้ยาก โดยเฉพาะจิตของมาตุคาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 75

ด้วยว่าบุรุษทั้งหลาย แม้จะเลี้ยงมาตุคามด้วยอาหาร ก็ไม่อาจจะรักษาไว้ได้เลย

ก็เพราะเหตุที่จิตเป็นธรรมชาติรักษายากนั้นเอง คนทั้งหลายเช่นท่านไม่อาจที่

จะทราบได้ว่า สตรีมีความประพฤติโลเลหรือเชื่อฟัง หรือ เป็นที่รักหรือเป็น

ที่พอใจ หรือ เป็นผู้ไม่มีความชั่ว แต่จิตของเราเชื่อฟัง ทำตามโอวาท

เป็นไปในอำนาจของเรา เราไม่เป็นไปในอำนาจของจิตนั้น การที่จิตของ

เรานั้นเชื่อฟังนั้น ได้ปรากฏแล้วแก่ชนทั้งปวง ในเมื่อท่อไฟและท่อน้ำ

แห่งฉัพพัณณรังสี เป็นไปอยู่ในตอนแสดงยมกปาฏิหาริย์ ด้วยว่า (ในยมก-

ปาฏิหาริย์นั้น) เราเข้าเตโชกสิณ ในเมื่อนิรมิตไฟขึ้นมา เข้าอาโปกสิณ ใน

เมื่อนิรมิตน้ำ เข้ากสิณมีนีลกสิณเป็นต้น ในเมื่อนิรมิตสีเขียวเป็นต้นขึ้นมา

เพราะว่า แม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะมีจิต ๒ ดวง เป็นไปไม่พร้อมกัน ก็จิต

ดวงเดียวเท่านั้นที่เป็นไปในอำนาจอย่างนี้ โดยความเป็นจิตที่เชื่อฟัง ก็จิต

นั้นแลพ้นแล้ว เพราะพ้นจากความผูกพันแห่งกิเลสทั้งปวง เพราะเหตุที่หลุดพ้น

ไปได้ จิตนั้นจึงไม่โลเล ไม่เหมือนกับภรรยาของท่าน ด้วยว่า จำเดิมแต่กาล

ของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร เป็นต้นมา จิตของเราตั้งมั่นอยู่ด้วยดี

ก็เพราะเราได้อบรมไว้ด้วยบารมี มีทานและศีลเป็นต้น ตลอดกาลนั้น ไม่

เหมือนกับภรรยาของท่าน จิตนี้นั้น ชื่อว่าฝึกดีแล้ว เพราะได้ฝึกแล้วด้วยการ

ฝึกอย่างยอดเยี่ยม เพราะเหตุที่ฝึกดีแล้ว (นี้เอง) จิตของเราจึงสลัดการเสพผิด

ในทวารทั้ง ๖ ด้วยอำนาจของตนได้ จึงชื่อว่า เป็นที่พอใจ เพราะเป็นไป

ตามอำนาจแห่งความประสงค์ของเราได้ ไม่เหมือนภรรยาของท่าน.

ก็ด้วยคาถานี้ว่า ปาป ปน เม น วิชฺชติ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมทรงแสดงความที่จิตของตนนั้นไม่มีบาป เหมือนกับนายธนิยะแสดงความ

ที่ภรรยาของตนไม่มีความประพฤติเสียหาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 76

ก็ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นผู้ไม่มีบาปนั้น หาได้บังเกิดขึ้นใน

กาลที่พระองค์ได้เป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเดียวไม่ (แต่) พึงทราบว่า ได้

บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ แม้เมื่อครองฆราวาสอยู่ ในกาลที่ทรงมีราคะเป็นต้น

ตลอดเวลา ๒๙ ปี. จริงอย่างนั้น แม้ในกาลนั้น กายทุจริตก็ตาม วจีทุจริต

ก็ตาม มโนทุจริตก็ตาม ที่วิญญูชนเกลียด ที่สมควรแก่ผู้ครองเรือน ก็หา

ได้เคยบังเกิดขึ้นแก่พระองค์ไม่. ยิ่งไปกว่านั้น แม้มารจะตามพระตถาคตเจ้า

ถึง ๗ ปี คือ ติดตามพระองค์ ซึ่งยังไม่ได้ตรัสรู้ ๖ ปี ซึ่งตรัสรู้แล้ว (อีก)

๑ ปี ด้วยหวังว่า ไฉนหนอ ข้าพเจ้าพึงเห็นความประพฤติชั่วของสมณโคดม

นั้น แม้เท่าปลายขนทราย.

มารนั้น ครั้นไม่เห็นความประพฤติเสียหายของพระตถาคตเจ้า ก็เกิด

ความเบื่อหน่าย จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า

เราติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ทุก

ย่างก้าว ตลอด ๗ ปี ไม่ได้ประสบแล้ว ซึ่ง

ความผิดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงสิริ.

แม้ในครั้งพุทธกาล อุตตรมาณพ ประสงค์จะเห็นความประพฤติของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงได้ติดตามพระองค์อยู่ถึง ๗ เดือน เขาก็ไม่ได้พบ

โทษสักอย่างหนึ่ง ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จึงได้ลงความเห็นว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าเป็นผู้มีความประพฤติบริสุทธิ์.

ด้วยว่า สิ่งที่พระตถาคตเจ้าไม่ต้องรักษา มีอยู่ ๔ ประการ สมดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ตถาคตไม่ต้องรักษา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 77

๔ ประการเหล่านี้ ๔ ประการอะไรบ้าง คือ

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์

กายทุจริตที่ตถาคตจะพึงรักษา ด้วยคิดว่า ขอคนอื่นอย่าได้ทราบกายทุจริต

ของเราเลย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่ตถาคต

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีความประพฤติทางวาจาบริสุทธิ์

วจีทุจริตที่ตถาคตจะพึงรักษา... ฯลฯ

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีความประพฤติทางใจบริสุทธิ์

มโนทุจริตที่ตถาคตจะพึงรักษา ฯลฯ

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีอาชีวะบริสุทธิ์ การเลี้ยงชีพผิด

(มิจฉาอาชีวะ) ที่ตถาคตเจ้าจะพึงรักษา ด้วยคิดว่า ขอคนอื่นอย่าได้ทราบ

มิจฉาชีพของเราเลย ดังนี้ ย่อมไม่มีแก่ตถาคต.

เพราะเหตุที่บาปไม่มีแก่จิตของพระตถาคต ในกาลที่พระองค์เป็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน บาปก็ไม่มี

แก่จิตของพระองค์เหมือนกัน ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า บาปย่อมไม่มีแก่เรา.

พระคาถานั้นมีอธิบายว่า ใคร ๆ ไม่อาจได้ยินบาปแห่งจิตของเราเลย

เหมือนท่าน (นายธนิยะ) ไม่อาจได้ยินความประพฤติชั่วของภรรยาของท่าน

ฉะนั้น เพราะฉะนั้น ถ้าท่านยินดีแล้วด้วยคุณเหล่านี้ ก็พึงกล่าวว่า แน่ะฝน

เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าหากว่า ท่านปรารถนาก็เชิญตกมาเถิด ก็คำนี้เราก็พึงกล่าว

(เหมือนกัน).

นายธนิยะ ฟังแม้คำนั้นแล้ว ต้องการจะดื่มรสของสุภาษิตแม้ให้ยิ่งขึ้น

ไปกว่านั้น เมื่อจะแสดงความที่ตนเป็นไท จึงกล่าวว่า อตฺตเวตตนภโตหสฺมิ

เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 78

บรรดาบททั้งหลายเหล่านั้น ด้วยบทว่า อตฺตเวตฺตนภโต นายธนิยะ

ย่อมแสดงว่า เราเลี้ยงตัวเองเท่านั้น ด้วยอาหารและเครื่องนุ่งห่ม เราทำงาน

ของตนจึงมีชีวิตอยู่ได้ หาได้รับค่าจ้างของคนอื่น แล้วทำงานเพื่อคนอื่นไม่.

บุตรและธิดาทั้งหลาย ชื่อว่า บุตร บุตรและธิดาเหล่านั้นทั้งปวง ท่านเรียก

รวมกันว่า บุตร เหมือนกัน.

บทว่า สมานิยา ได้แก่ ดำรงอยู่ด้วยดี คือ ไม่แยกกัน.

ด้วยบทว่า อโรคา นายธนิยะย่อมแสดงว่า บุตรและธิดาทุกคนนั่นเอง

ไม่มีอาพาธ ทั้งหมดมีกำลังแข็งแรง.

บาทคาถาว่า เตส น สุณามิ กิญฺจิ ปาป ความว่า เราไม่ได้ยิน

ความชั่วอะไร ๆ ของบุตรและธิดาเหล่านั้นว่า บุตรคนนั้นหรือว่าธิดาคนนี้

เป็นโจร หรือว่าบุตรเหล่านี้ เป็นชู้กับภรรยาของคนอื่น หรือว่าบุตรและธิดา

ทั้งหลายเป็นคนทุศีล.

เมื่อนายธนิยะกล่าวอยู่อย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงโอวาท

นายธนิยะนั้น จึงได้ตรัสคาถานี้ว่า นาห ภตโก เป็นต้น.

บททั้งหลายแม้ในคาถาที่ ๘ นั้น เข้าใจง่ายทั้งนั้น แต่มีอธิบายดัง

ต่อไปนี้ :-

ท่านคิดว่า เราเป็นไท จึงดีใจ แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ท่านทำงาน

ของตน แม้มีชีวิตอยู่ ก็ชื่อว่ายังเป็นทาสอยู่นั่นเอง เพราะท่านเป็นทาสของ

ตัณหา ท่านจึงไม่พ้นจากคำที่ว่าเป็นลูกจ้าง สมจริงดังที่พระรัฐบาลทูลไว้ว่า

สัตวโลก พร่องอยู่เป็นนิตย์ ไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ตกเป็นทาสของตัณหา* เป็นต้น.

* ม. ม. รฏฺ ปาลสุตฺต ๔๐๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 79

แต่เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ เราไม่ใช่ลูกจ้างของใคร เพราะเราไม่ใช่

ลูกจ้างของใครอื่น หรือเป็นลูกจ้างของตนเอง เพราะเหตุไร ? เพราะเรา

ย่อมเที่ยวไปในโลกทั้งปวง ด้วยความเป็นสัพพัญญู ที่ไม่มีความต้องการ

ด้วยว่า เรานับตั้งแต่พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ทีปังกร มาจนถึงการ

ตรัสรู้ ก็เป็นคนรับจ้างของพระสัพพัญญุตญาณตลอดมา แต่เมื่อเราได้

บรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว เราก็เป็นอยู่ด้วยการเป็นพระสัพพัญญู ที่ไม่มี

ความต้องการนั้นแล และด้วยความสุขที่เกิดจากโลกุตรสมาธิ ประดุจข้าราชการ

ที่ไม่ต้องการเงินเดือนฉะนั้น บัดนี้ เรานั้นไม่มีความต้องการด้วยค่าจ้างไร ๆ

ที่จะพึงได้รับ ดุจคนทั้งหลาย เช่นท่านที่ยังละปฏิสนธิไม่ได้จะพึงได้รับกัน

เพราะไม่มีกิจไร ๆ ที่จะยิ่งขึ้น หรือกิจเพียงเล็กน้อย พระบาลีว่า ภฏิยา ก็มี

เพราะฉะนั้น ถ้าท่านยินดี เพราะเห็นว่าตนเป็นไท จะพึงกล่าวว่า แน่ะฝน

เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาเถิด ก็คำนี้ เราเองก็พึงกล่าว

(เช่นกัน).

นายธนิยะฟังพระดำรัสแม้นั้นแล้ว ยังไม่อิ่ม (ด้วยพระดำรัสนั้น) เลย

เมื่อแสดงถึงความบริบูรณ์แห่งฝูงโคที่มีอุปการะ ๕ ประเภท ของตนด้วยคำที่

เป็นสุภาษิต จึงได้กล่าวคาถานี้ว่า อตฺถิ วสา เป็นต้น.

ในคาถานั้น โคแก่ที่ยังไม่ได้ฝึกทั้งหลาย ชื่อว่า วสา ลูกโคหนุ่มที่

กำลังดื่มน้ำนมทั้งหลาย ชื่อว่า เธนุปา อีกอย่างหนึ่ง แม่โคทั้งหลายที่ให้

น้ำนม ชื่อว่า เธนุปา โคทั้งหลายที่มีท้อง ชื่อว่า โคธรณิโย แม่โคทั้งหลาย

ที่ปรารถนาการผสมพันธุ์กับโคถึกทั้งหลาย ซึ่งเจริญวัยแล้ว ชื่อว่า ปเวณิโย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 80

ด้วยสองบทว่า อุสโภปิ ควมฺปติ นายธนิยะย่อมแสดงว่า โคจ่าฝูงนั้น

แม้ใด อันนายโคบาลทั้งหลายอาบน้ำให้แต่เช้าตรู่ ให้กินอาหารแล้ว ให้

เครื่องเจิม ๕ แห่ง สวมพวงมาลัยแล้ว ก็ส่งไปด้วยคำว่า แน่ะพ่อ เจ้าจงไป

จงให้โคทั้งหลายถึงที่หากิน รักษาแล้วจงนำมา ก็โคจ่าฝูงนั้น อันนายโคบาล

ทั้งหลายส่งไปแล้วอย่างนี้ รักษาโคทั้งหลายไม่ให้ไปสู่ที่อโคจร (ที่ไม่ควรไป)

ให้เที่ยวไปในที่โคจร (ที่ควรเที่ยวไปหากิน) กีดกันแล้วจากภัยอันเกิดจาก

สัตว์ร้ายทั้งหลาย มีสิงห์โตและเสือโคร่งเป็นต้น แล้วนำมา โคจ่าฝูงเห็นปานนี้

มีอยู่ในฝูงโคของเรา ในบ้านของเรานี้.

เมื่อนายธนิยะกล่าวแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงโอวาท

นายธนิยะนั้นเหมือนอย่างนั้น จึงได้ตรัสคาถาตรงกันข้ามนี้ว่า นตฺถิ วสา

เป็นต้น.

ก็ในคาถาที่ ๑๐ นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :-

ในศาสนาของเราทั้งหลายนี้ ไม่มีปริยุฏฐานกิเลส (กิเลสที่กลุ้มรุมจิต)

กล่าวคือ วสา (โคแก่) เพราะอรรถว่ายังไม่ได้ฝึก และเพราะอรรถว่าเป็น

โคแก่ หรือว่าไม่มีอนุสัยกิเลส กล่าวคือโคที่ยังดื่มน้ำนม หมายเอาโคหนุ่ม

ทั้งหลาย เพราะอรรถว่า เป็นมูลของโคแก่ที่ยังไม่ได้ฝึกทั้งหลาย หรือหมายถึง

แม่โคนมทั้งหลาย เพราะอรรถว่าไหลออก หรือไม่มีเจตนาที่เป็นไปกับ

ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร กล่าวคือ โคมีครรภ์

เพราะอรรถว่า ทรงไว้ซึ่งครรภ์คือปฏิสนธิ หรือว่าไม่มีความปรารถนากล่าว

คือ ปเวณี คือตัณหา เพราะอรรถว่า ปรารถนาการประกอบ หรือว่าไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 81

อภิสังขารและวิญญาณ กล่าวคือจ่าฝูง เพราะอรรถว่า เป็นใหญ่ เพราะอรรถว่า

ถึงก่อน (เป็นหัวหน้า) และเพราะอรรถว่าประเสริฐที่สุด เรานั้นยินดีแล้วใน

ความไม่มี อันเป็นความเกษมจากโยคะทั้งปวงนี้ แต่ท่านซิยินดีแล้วในความมี

อันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ มีความเศร้าโศกเป็นต้น เพราะฉะนั้น การกล่าวของเรา

ผู้ยินดีแล้วในความเกษมจากโยคะทั้งปวงนี้ จึงถูกต้องแล้ว แน่ะฝน เมื่อเป็น

เช่นนี้ หากท่านปรารถนาก็เชิญตกลงมาซิ.

นายธนิยะฟังแม้พุทธภาษิตนั้นแล้ว ปรารถนาจะเข้าถึงอมตรสแห่ง

สุภาษิต แม้ให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น เมื่อจะแสดงสมบัติคือการผูกฝูงโคของตน

ไว้ที่หลัก จึงกล่าวว่า ขีลา นิขาตา เป็นต้น.

เสาสำหรับผูกโค ชื่อว่า ขีลา. บทว่า นิขาตา ได้แก่ที่เขาตอกปักลง

ไปในพื้นดิน คือ เป็นเสาเล็ก (หรือ) ใหญ่ ที่เขาฝังตั้งไว้แล้ว.

บทว่า อสมฺปเวธี คือ ไม่หวั่นไหว.

เชือกสำหรับผูกพิเศษ ซึ่งประกอบด้วยปมและบ่วง ที่เขาทำไว้แล้ว

ชื่อว่า ทามา.

บทว่า มุญฺชมยา ได้แก่ ที่ทำด้วยหญ้าปล้อง (หญ้ามุงกระต่าย).

บทว่า นวา คือ ทำแล้วไม่นาน (ใหม่).

บทว่า สุสณฺานา ได้แก่ มีสัณฐานดี คือปั้นดี ได้แก่ มีลักษณะดี.

บทว่า น หิ สกฺขินฺติ ได้แก่ จักไม่อาจเลย.

บทว่า เธนุปาปิ เฉตฺตุ ความว่า แม้โคหนุ่มทั้งหลายก็จักไม่อาจจะ

ให้ขาดได้เลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 82

เมื่อนายธนิยะ กล่าวอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบกาล

เป็นที่แก่รอบแห่งอินทรีย์ของนายธนิยะ เมื่อจะทรงโอวาทเขาโดยนัยก่อนนั้นเอง

จึงได้ตรัสคาถาซึ่งแสดงสัจจะ ๔ ประการนี้ว่า อุสโภริว เฉตฺวา เป็นต้น.

พ่อโค คือ โคตัวนำฝูง ได้แก่ โคถึกตัวเป็นจ่าฝูง ชื่อว่า โคอุสโภ

ในคาถานั้น.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โคที่เป็นใหญ่ในฝูงโค ๑๐๐ ตัว ชื่อว่า

โคอุสภะ โคที่เป็นใหญ่ในฝูงโค ๑,๐๐๐ ตัว ชื่อว่า โควสภะ โคที่เป็นใหญ่

ในฝูงโค ๑๐๐,๐๐๐ ตัว ชื่อว่า โคนิสภะ. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า โคที่เป็น

ใหญ่ในตามเขตหนึ่ง ชื่อว่า โคอุสภะ โคที่เป็นใหญ่ในคามเขต ๒ ตำบล ชื่อว่า

โควสภะ โคที่ไม่ถูกกีดกันในคามเขตทั้งปวง ชื่อว่า โคนิสภะ โคเหล่านี้ทั้งหมด

เป็นการเนิ่นช้า (การพูดถึงโคทั้งหมดเป็นการชักช้า).

ก็อีกอย่างหนึ่ง โคเหล่านี้แม้ทั้งหมด พึงทราบว่า โคอุสภะบ้าง ว่า

โควสภะบ้าง ว่าโคนิสภะบ้าง โดยอรรถว่าไม่เทียบเท่ากัน เหมือนอย่างที่เทวดา

กล่าวไว้ (ในสคาถวรรค สังยุตตนิกาย) ว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ เป็นผู้

องอาจ (นิสภะ) หนอ เป็นต้น.

อักษร (ในคำว่า อุสโภริว) เป็นการสนธิบท (ตามหลักไวยากรณ์).

บทว่า พนฺธนานิ ได้แก่ เครื่องผูก คือเชือก และ เครื่องผูก คือ

กิเลส ช้างชื่อว่า นาคะ. บทว่า ปูติลต ได้แก่ เถาหัวเน่า (เถาหัวด้วนก็เรียก)

เหมือนอย่างว่า กายแม้จะมีวรรณะเพียงดังทอง ท่านก็เรียกว่า ปูติกาโย

(กายเน่า). สุนัขแม้จะมีอายุถึง ๑๐๐ ปี ท่านก็เรียกว่า กุกกุระ (ลูกสุนัข)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 83

สุนัขจิ้งจอกแม้จะเกิดในวันนั้น ท่านก็เรียกว่า ชรสิคาละ (สุนัขจิ้งจอกแก่)

ฉันใด เถาหัวเน่า (หัวด้วน) แม้จะสดอยู่อย่างนี้ ท่านก็เรียกว่า ปูติลตา

(เถาหัวเน่า) เพราะอรรถว่าไม่มีแก่น ฉันนั้น.

บทว่า ปทาลยิตฺวา ได้แก่ ตัดแล้ว ครรภ์นั้นเป็นที่นอนด้วย

ชื่อว่า คพฺภเสยฺย (ครรภ์เป็นที่นอน) ในคำว่า คพฺภเสยฺย นั้น ชลาพุชะ

กำเนิด พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วย คัพภศัพท์ กำเนิดที่เหลือพึงทราบว่า

ท่านกล่าวด้วย เสยยศัพท์ อีกอย่างหนึ่ง กำเนิดเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า

ท่านกล่าวโดยยกเอา คัพภศัพท์ ขึ้นมาเป็นประธาน.

คำที่เหลือ (ที่ยังไม่ได้พูดถึง) ในคาถาที่ ๑๒ นี้ เมื่อว่าโดยบทแล้ว

ก็เข้าใจง่ายทั้งนั้น

แต่ในคาถาที่ ๑๒ นี้ มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ :-

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ดูก่อนธนิยะ ท่านยินดีด้วยเครื่องผูก

แต่เราอึดอัดด้วยเครื่องผูก จึงตัดสังโยชน์เบื้องสูง ๕ ชนิดเสียได้ ด้วยความ

เพียรอันมีกำลัง กล่าวคือ อริยมรรคที่ ๔ เปรียบเหมือนโคอุสภะตัวใหญ่ ซึ่ง

สมบูรณ์ด้วยกำลัง และความเพียรสลัดเชือกทั้งหลายออกเสียได้ฉะนั้น (เรา)

ทำลายสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ประการเสียได้ ด้วยความเพียรอันมีกำลัง กล่าวคือ

อริยมรรคเบื้องต่ำ ๓ ประการ ดุจช้างทำลายเถาหัวเน่าให้ขาดไปฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง เราตัด คือทำลายอนุสัยเสียได้ ดุจโคอุสภะทำลายเชือก

เสียได้ฉะนั้น (เรา) ตัด คือ ทำลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งหลายเสียได้ ดุจช้าง

๑. บาลีเป็น ทาลยิตฺวา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 84

ทำลาย เถาหัวเน่า เสียฉะนั้น ฉะนั้น เราจึงไม่เข้าถึงครรภ์ที่สัตว์จะพึงนอนอีก.

เรานั้นพ้นแล้วจากทุกข์ทั้งปวง อันเป็นที่ตั้งแห่งชาติทุกข์ จึงสบาย แน่ะฝน

เมื่อเป็นเช่นนี้ หากท่านปรารถนาจะตก ก็เชิญตกลงมาเถิด เพราะฉะนั้น

(พระองค์) จึงตรัสว่า ถ้าหากว่า แม้ท่านเองต้องการประพฤติให้เหมือนเรา

ก็จงตัดเครื่องผูกทั้งหลายเสียเถิด.

ในคาถาที่ ๑๒ นี้ เครื่องผูกทั้งหลายจัดเป็นสมุทัยสัจ การนอนใน

ครรภ์ จัดเป็นทุกขสัจ.

การไม่เข้าถึงในคำว่า น อุเปยฺย นี้ จัดเป็น นิโรธสัจ ด้วยอำนาจ

อนุปาทิเสสนิพพาน การตัดในคำว่า เฉตฺวา ปทาเลตฺวา นี้ จัดเป็นนิโรธสัจ

ด้วยอำนาจสอุปาทิเสสนิพพาน เครื่องตัดและเครื่องทำลาย จัดเป็นมรรคสัจ.

ในที่สุดพระคาถา คนทั้ง ๔ คือ นายธนิยะ ๑ ภรรยาของเขา ๑

และธิดาของเขา ๒ คน ได้ฟังคาถาที่แสดงสัจ ๔ ประการนี้ อย่างนี้แล้ว ก็

ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล ลำดับนั้น นายธนิยะเห็นแล้วซึ่งธรรมกายของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยปัญญาจักษุ ด้วยศรัทธา ซึ่งตั้งมั่นแล้ว อันเกิดขึ้น

แล้วในพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นมูลด้วยความเลื่อมใสที่ไม่คลอนแคลน ผู้มีหทัย

อันธรรมกายตักเตือนแล้ว คิดแล้วว่า นับตั้งแต่อเวจีเป็นที่สุด จนถึง ภวัคร

พรหม เว้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสีย คนอื่นใครเล่าจักบันลือสีหนาทที่มีกำลัง

เช่นนี้ได้ พระศาสดาของเราเสด็จมาแล้วหนอ ด้วยความดำริว่า เราตัดเครื่อง

ผูกทั้งหลายได้แล้ว และการนอนในครรภ์ของเราไม่มี.

ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งรัศมีแห่งพระกาย ซึ่งเป็น

ราวกะว่าแสงเรืองรองที่รดด้วยน้ำทอง อันงดงามไปด้วยข่ายแห่งฉัพพัณณรังสี

เข้าไปในบ้านของนายธนิยะ ด้วยประสงค์ว่า บัดนี้ เชิญท่านจงดูตามสบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 85

ครั้งนั้น นายธนิยะเห็นบ้านของตน รุ่งเรืองสว่างไสวไปโดยรอบ

ประหนึ่งแสงพระจันทร์และแสงสูรย์สอดส่องเข้าไปข้างใน (บ้าน) และประหนึ่ง

ว่าจะสว่างไสวไปด้วยแสงประทีปตั้งพันดวง ที่ลุกโพลงขึ้นโดยรอบฉะนั้น จึง

เกิดความคิดขึ้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแล้ว.

ก็ในสมัยนั้นเอง แม้ฝนก็ตกลง เพราะเหตุนั้น พระสังคีติกาจารย์

ทั้งหลายจึงกล่าวว่า ฝนได้ตกเต็มทั้งที่ลุ่มทั้งที่ดอน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นินฺน ได้แก่ ที่เป็นเปือกตม. บทว่า

ถล ได้แก่ ที่ดอน. มีคำอธิบายว่า ฝน เมื่อจะทำที่ดอน และที่ไม่ใช่ที่ดอน

ให้เต็ม เสมอกันหมด เริ่มหลั่งเม็ดลงมาแล้ว.

คำว่า ตาวเทว ความว่า ในขณะใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่ง

พระรัศมีไป และนายธนิยะปล่อยรัศมีแห่งจิตที่สำเร็จด้วยศรัทธาไปด้วยคิดว่า

พระศาสดาของเรามาแล้ว ในขณะนั้นฝนก็ตกลงมา. แต่อาจารย์บางพวก

พรรณนาว่า ดวงอาทิตย์ได้ปรากฏขึ้นในขณะนั้นเหมือนกัน.

ก็ในขณะที่นายธนิยะเกิดความระลึกขึ้นได้ ในขณะที่พระตถาคตเจ้า

ทรงแผ่โอภาสไป และในขณะที่ดวงอาทิตย์กำลังโผล่ขึ้นอยู่อย่างนี้ นายธนิยะ

ฟังเสียงฝนที่กำลังตกลง ได้เกิดปีติโสมนัสขึ้น ได้กราบทูลเนื้อความนี้ว่า เป็น

ลาภของข้าพระองค์ทั้งหลายไม่น้อยทีเดียว ดังนั้น (เนื้อความที่อธิบายในตอนนี้)

จึงเป็น ๒ คาถา

ใน ๒ คาถานั้น พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-

เพราะเหตุที่นายธนิยะพร้อมกับบุตรและภรรยาได้เห็นธรรมกายของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการแทงตลอดอริยมรรค เห็นรูปกายของพระองค์ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 86

โลกุตรจักษุ และกลับได้สัทธาที่เป็นโลกิยสัทธา ฉะนั้นเขาจึงกล่าวว่า เป็นลาภ

ของข้าพระองค์ไม่น้อยหนอ ที่ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า.

คำว่า วต ในคำว่า ลาภา วต โน อนปฺปกา นั้น เป็นนิบาต

ใช้ในอรรถว่า ปลื้มใจ.

บทว่า โน คือ ข้าพระองค์ทั้งหลาย. บทว่า อนปฺปกา ได้แก่มาก.

คำที่เหลือเข้าใจง่ายทั้งนั้น.

ส่วนในคำว่า สรณ ต อุเปม นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :-

การถึงสรณะของนายธนิยะนั้น สำเร็จแล้วด้วยการบรรลุมรรคนั้นแล

แม้ก็จริง ถึงกระนั้นในคำนั้น นายธนิยะนั้นถึงการตกลงทีเดียว บัดนี้เขา

กระทำการมอบตนด้วยวาจา อีกอย่างหนึ่ง เขาเมื่อกระทำที่พึ่งด้วยการมอบตน

ให้ปรากฏด้วยสามารถแห่งมรรค และทำสรณะที่ไม่หวั่นไหวนั้น ให้ปรากฏ

ด้วยวาจาแก่คนเหล่าอื่น จึงถึงสรณคมน์ด้วยการนอบน้อมด้วยมือ (อีก).

บทว่า จกฺขุมา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า จักขุมา

(ผู้มีจักษุ) ด้วยจักษุ ๕ คือ ๑. จักษุปกติ ๒. จักษุทิพย์ ๓. ปัญญาจักษุ

๔. สมันตจักษุ ๕. พุทธจักษุ.

นายธนิยะเมื่อกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้มีจักษุ ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์ว่าเป็นที่พึ่ง.

ส่วนคำว่า ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จงเป็นครูของข้าพระองค์ นี้

นายธนิยะทูลขึ้นก็เพื่อทำสรณคมน์ให้บริบูรณ์ ด้วยการเข้าถึงความเป็นศิษย์.

คำว่า ภรรยาด้วย ข้าพระองค์ด้วย เป็นผู้เชื่อฟัง ขอประพฤติ

พรหมจรรย์ในพระสุคตเจ้า นี้ นายธนิยะทูล เมื่อทำสรณคมน์ให้บริบูรณ์

ด้วยสามารถแห่งการสมาทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 87

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจริย เป็นชื่อแห่ง เมถุนวิรัติ

มรรค สมณธรรม ศาสนา และสทารสันโดษ.

ด้วยว่า การงดเว้น จากเมถุน ในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่าพฺรหฺมจารี

อนาจารี ท่านเรียกว่า พรหมจรรย์.

การงดเว้นจากเมถุนในคำทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนปัญจสิขะ

ก็พรหมจรรย์นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว ดังนี้ ท่าน

เรียกว่า มรรค.

พรหมจรรย์ ในคำทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า ดูก่อนสารีบุตร

เราย่อมทราบชัดแล ว่า เราประพฤติพรหมจรรย์ที่ประกอบด้วยองค์ ๔ ดังนี้

ท่านเรียกว่า สมณธรรม.

พรหมจรรย์ ในคำทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า พรหมจรรย์นี้นั้น

รุ่งเรืองและกว้างขวางแล้ว ดังนี้ ท่านเรียกว่า ศาสนา.

พรหมจรรย์ ในคำทั้งหลาย เป็นต้น อย่างนี้ว่า

เราทั้งหลาย ย่อมไม่นอกใจภรรยา

ทั้งหลาย และภรรยาทั้งหลาย ไม่นอกใจเรา

ทั้งหลาย เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์

ในหญิงทั้งหลาย นอกจากภรรยาเหล่านั้น

เพราะเหตุนั้นแล เราทั้งหลายจึงไม่ตาย

แต่หนุ่ม ๆ ดังนี้ ชื่อว่า สทารสันโดษ.

แต่ในคาถานี้ นายธนิยะหมายถึง พรหมจรรย์ คือ มรรคเบื้องบน

๓ ประการ อันมีพรหมจรรย์คือสมณธรรมเป็นประธาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 88

คำว่า สุคเต ได้แก่ในสำนักของพระสุคต. ด้วยว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ท่านเรียกว่า สุคตะ เพราะพระองค์เสด็จไปด้วยดี ไม่ถึงที่สุด ๒ อย่าง (คือ

กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค) เพราะพระองค์ทรงประกอบด้วย

การบรรลุถึงอริยมรรค อันงาม และเพราะพระองค์ทรงบรรลุถึงสถานที่กล่าวคือ

พระนิพพาน อันดีงาม.

ก็คำว่า สุคเต นี้เป็นสัตตมีวิภัตติใช้ในอรรถว่าใกล้ เพราะอธิบาย

ว่า ในสำนักพระสุคต.

คำว่า จรามเส ความว่า พวกเราย่อมประพฤติพรหมจรรย์ ใน

พระสุคตใด ท่านก็จงประพฤติพรหมจรรย์นั้นในพระสุคตนั้น เพราะเหตุนั้น

นายธนิยะจึงกล่าวการประพฤติพรหมจรรย์นั้นในพระสุคตนี้ว่า จรามเส.

แต่พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า คำว่า เส (ในคำว่า จรามเส) เป็น

นิบาต ก็ด้วยคำว่า เส นั้นเอง ในที่นี้ พระอาจารย์ทั้งหลายจึงให้คำจำกัด

พระบาลีว่า จรามเส หมายถึงการอ้อนวอน ท่านชอบใจคำใดก็พึงถือเอาคำ

นั้น.

นายธนิยะ ทูลขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการอ้างถึงการ

ประพฤติพรหมจรรย์อย่างนี้ เมื่อแสดงประโยชน์ของการบรรพชา จึงทูลว่า

ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ เป็นผู้กระทำที่สุดแห่งทุกข์.

พระนิพพาน ชื่อว่าฝั่งอื่นแห่งความเกิดและความตาย พวกเราจักถึง

พระนิพพานนั้น ด้วยอรหัตมรรค.

บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ ทุกข์ในวัฏฏะ. บทว่า อนฺตกรา ได้แก่

กระทำความไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 89

บทว่า ภวามเส คือ ย่อมเป็น อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า โอหนอ

พวกเรา พึงเป็น (ผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์) ดังนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบคำนั้นได้ โดย

นัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ในคำว่า จรามเส นี้.

ได้ยินว่า ก็สามีและภรรยาแม้ทั้งสอง แม้ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึง

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลขอบรรพชาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ขอพระองค์พึงให้ข้าพระองค์ทั้งสองบรรพชาเถิด.

ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เห็นสามีภรรยาแม้ทั้งสองนั้นถวายบังคมแล้ว

กราบทูลขอบรรพชาอยู่ จึงคิดว่า สามีภรรยาทั้งสองนี้ต้องการจะพ้นอำนาจ

ของเราไป เอาเถิด บัดนี้ เราจะทำอันตรายแก่เขาทั้งสองเหล่านั้น ดังนี้แล้ว

เมื่อจะแสดงคุณในการครองเรือน จึงกล่าวคาถานี้ว่า นนฺทติ ปุตฺเตหิ

ปุตฺติมา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นนฺทติ ได้แก่ ยินดีคือชื่นชม. บทว่า

ปุตฺเตหิ ได้แก่บุตรทั้งหลายและธิดาทั้งหลาย. คำว่า ปุตฺเตหิ นั้น เป็นตติยา-

วิภัตติ ใช้ในอรรถว่า กับ หรือใช้ในอรรถว่า ด้วย มีคำอธิบายว่า ย่อมเพลิด

เพลินกับบุตรทั้งหลาย หรือย่อมเพลิดเพลินด้วยบุตรทั้งหลายที่เป็นเหตุ (ให้

เพลิดเพลิน).

บุคคลผู้มีบุตร ชื่อว่า ปุตฺติมา ท่านกล่าวอย่างนี้ด้วยศัพท์ว่า อิติ.

เทวบุตรผู้ทรงเทริดดอกไม้องค์ใดองค์หนึ่ง ในสวรรค์ชั้นวสวัตดีภูมิ

(ปรนิมมิตวสวัตดี) ชื่อว่า มาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 90

ด้วยว่ามารนั้นย่อมทำชนใดที่สามารถจะก้าวล่วงฐานะนั้น (ฐานะที่มาร

ไม่ต้องการ) ย่อมห้ามชนนั้นเสียได้ แต่ถ้าชนใดตนไม่อาจจะห้ามได้ มารนั้น

ก็ปรารภนำความตายแม้แก่ชนนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มาร.

บทว่า ปาปิมา ได้แก่ คนชั่ว หรือคนมีความประพฤติชั่ว คำว่า

ปาปิมานี เป็นคำพูดของพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย.

ก็ในคาถาทั้งปวง คำที่เหลือเป็นเช่นนี้ (เหมือนกัน) อธิบายว่าเปรียบ

เหมือนว่า คนมีบุตรก็เพลิดเพลินด้วยบุตรทั้งหลาย คนมีโคก็เพลิดเพลินด้วย

โคทั้งหลาย ฉันใด คนย่อมเพลิดเพลินเพราะอุปธิทั้งหลาย ฉันนั้น คือว่า

ผู้ใดมีโค แม้ผู้นั้นก็มีโคเป็นที่รัก คือว่า เขาย่อมเพลิดเพลินกับโคเหล่านั้น

หรือว่าย่อมเพลิดเพลินด้วยโคทั้งหลาย อันเป็นเหตุให้ปลื้มใจฉันนั้นเหมือนกัน.

มารครั้นกล่าวอย่างนี้ บัดนี้ ย่อมอ้างถึงเหตุที่จะทำให้ประโยชน์นั้น

สำเร็จ จึงกล่าวว่า อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปธิ ได้แก่อุปธิ ๔ ประการคือ ๑. กามุปธิ

๒. ขันธุปธิ ๓. กิเลสุปธิ ๔. อภิสังขารุปธิ.

จริงอยู่ แม้กามทั้งหลาย ท่านก็เรียกว่า อุปธิ เพราะอรรถแห่งคำนี้ว่า

สุข ในอรรถนี้ อันบุคคลย่อมเข้าไปตั้งไว้เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความสุข ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสุขและโสมนัส

ใดแลที่บังเกิดขึ้นเพราะอาศัยกามคุณ ๕ นี้ ชื่อว่า อัสสาทะแห่งกามทั้งหลาย.

แม้ขันธ์ทั้งหลาย ท่านก็เรียกว่า อุปธิ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ อัน

มีขันธ์เป็นมูล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 91

แม้กิเลสทั้งหลาย ท่านก็เรียกว่า อุปธิ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ใน

อบาย.

แม้อภิสังขารทั้งหลาย ท่านก็เรียกว่า อุปธิ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์

ในภพ.

แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอากามุปธิ กามุปธินั้นมี ๒ อย่าง ด้วยอำนาจ

สัตว์และสังขาร.

ในอุปธิทั้ง ๒ อย่างนั้น จะกล่าวถึงอุปธิที่เกี่ยวกับสัตว์ (ก่อน) มาร

เมื่อแสดงถึงอุปธิที่เกี่ยวกับสัตว์ จึงกล่าวว่า ปุตฺเตหิ โคหิ เป็นต้น แล้วจึง

กล่าวถึงเหตุ (ของอุปธิ) ว่า อุปธีหิ นรสฺส นนฺทนา เป็นต้น.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ก็เพราะเหตุที่กามุปธิเหล่านี้นำปีติและ

โสมนัสมาให้ จึงทำให้คนเพลิดเพลิน เพราะฉะนั้น พึงทราบคำนี้ว่า ผู้มีบุตร

ย่อมเพลิดเพลินด้วยบุตรทั้งหลาย ผู้มีโคก็ย่อมเพลิดเพลินด้วยโคทั้งหลายเหมือน

กัน ตัวท่านเองก็มีบุตรและมีโค เพราะฉะนั้น ท่านจงเพลิดเพลินด้วยโคและ

บุตรเหล่านั้น อย่าได้กลับไปสู่การบรรพชาเลย เพราะความเพลิดเพลินเหล่านี้

ย่อมไม่มีแก่นักบวช เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านแม้ปรารภจะพ้นทุกข์ แต่ก็กลับจะมี

ทุกข์. แม้ในบัดนี้ มารย่อมอ้างถึงเหตุที่ทำให้สำเร็จประโยชน์นั้นว่า น หิ โส

นนฺทติ โย นิรูปธิ เป็นต้น. เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า เพราะผู้ใดไม่มี

อุปธิเหล่านี้ ผู้นั้นพลัดพรากจากญาติทั้งหลายอันเป็นที่รัก ไม่มีอุปกรณ์เครื่อง

เครื่องใช้สอย ย่อมไม่เพลิดเพลิน ฉะนั้น ตัวท่านเอง เว้นอุปธิเหล่านี้เสีย

ออกบวชแล้วก็จักได้รับทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 92

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า มารผู้มีบาปนี้มาแล้ว

เพื่อทำอันตรายแก่คนเหล่านี้ เมื่อจะทรงทำลายวาทะของมาร ด้วยอุปมาที่มาร

นำมานั้นนั่นเอง ประดุจบุคคลทำผลไม้ให้ตกลงด้วยผลไม้ฉะนั้น จึงทรงกลับ

คาถานั้นนั่นเอง เมื่อจะทรงแสดงว่า อุปธิเป็นที่ตั้งแห่งความเศร้าโศก จึงตรัส

ว่า โสจติ ปุตฺเตหิ เป็นต้น.

บททั้งปวงในคาถานั้น เมื่อว่าโดยบทแล้ว ก็เข้าใจง่ายทั้งนั้น แต่มีคำ

อธิบายดังต่อไปนี้ :- ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านอย่าได้พูดอย่างนี้ว่า คนมีบุตรย่อม

เพลิดเพลินด้วยบุตรทั้งหลาย ด้วยว่าความพลัดพราก ความว่างเว้นจากของที่รัก

ที่ชอบใจทั้งสิ้นนั้นแลย่อมมีได้ วิธีนี้บุคคลไม่อาจจะหลีกพ้นได้ เพราะว่าสัตว์

ทั้งหลายมีหทัยที่ถูกลูกศรคือความเศร้าโศก ประมาณยิ่งเสียบแทงแล้ว เพราะ

เหตุที่ต้องพลัดพรากจากบุตรและภรรยาอันเป็นที่รักที่พอใจเหล่านั้น และจาก

สัตว์และสิ่งของทั้งหลาย มีโค ม้าตัวผู้ ม้าตัวเมีย เงินและทองเป็นต้น เป็นบ้า

ไปก็มี มีจิตฟุ้งซ่านไป ถึงความตายก็มี ได้รับทุกข์ปางตายก็มี เพราะเหตุนั้นเอง

คนมีบุตรจึงเศร้าโศกเพราะบุตรก็เพราะตัณหา คนย่อมเศร้าโศกเพราะอุปธิ

ทั้งหลาย เหมือนคนมีบุตรย่อมเศร้าโศกเพราะบุตรทั้งหลาย คนมีโคย่อม

เศร้าโศกเพราะโคทั้งหลายฉะนั้น เพราะเหตุไร ? เพราะคนย่อมเศร้าโศกเพราะ

อุปธิทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่คนเศร้าโศกเพราะอุปธิทั้งหลาย ฉะนั้นนั่นแล

ผู้ใดไม่มีอุปธิ ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศกเลย ผู้ใดชื่อว่าไม่มีอุปธิ เพราะละความ

เกี่ยวข้องในอุปธิเสียได้ ผู้นั้นย่อมมีความสันโดษด้วยจีวร อันเป็นเครื่องบริ-

หารกาย ด้วยบิณฑบาตที่เป็นเครื่องบริหารท้อง จะดำเนินไปด้วยวิธีใด ๆ ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 93

ยึดถือ (ความสันโดษ) เท่านั้น ดำเนินไปอยู่ ก็ย่อมทราบได้ว่า สิ่งอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้ไม่มี ฯลฯ เปรียบเหมือนนกมีแต่ปีก ฯลฯ ก็เพราะฆ่าความ

เศร้าโศกเสียได้อย่างนี้ ผู้ใดไม่มีอุปธิ ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศกเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือ พระอรหัตอย่างนี้

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดไม่มีอุปธิ ผู้ใดไม่มีกิเลส ผู้นั้นย่อมไม่เศร้าโศก ด้วยว่า

ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ อุปธิทั้งหลายหรือมูลแห่งความเศร้าโศกทั้งหลายก็ย่อม

มีอยู่ตราบนั้น ก็เพราะละกิเลสเสียได้ ความเศร้าโศกจึงไม่มี เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงให้เทศนาจบลงด้วยยอดคือพระอรหัตทีเดียว แม้ด้วย

ประการฉะนี้.

ในที่สุดแห่งเทศนา นายธนิยะและภรรยาทั้งสองได้บวชแล้ว พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังวัดเชตวันทางอากาศเช่นเดิม เขาทั้งสองเหล่านั้น

ครั้นบวชแล้วได้ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต พวกโคบาลให้สร้างวิหารเพื่อท่าน

ทั้งสองนั้นในที่เป็นที่อยู่ วิหารนั้น ยังปรากฏชื่อว่า โคปาลกวิหาร มาจน

ทุกวันนี้

จบอรรถกถาธนิยสูตร แห่งคัมภีร์

ขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถทีปนี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 94

ขัคควิสาณสูตรที่ ๓

ว่าด้วยผู้เที่ยวไปคนเดียวเหมือนนอแรด

[๒๙๖] บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้ง

ปวงแล้ว ไม่เบียดเบียนบรรดาสัตว์เหล่านั้น

แม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก ไม่พึงปรารถนาบุตร

จะพึงปรารถนาสหายแต่ที่ไหน พึงเที่ยวไป

ผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยว

ข้องกัน ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย

บุคคลเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเยื่อใย พึง

เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลอนุเคราะห์มิตรสหาย เป็นผู้มี

จิตปฏิพัทธ์แล้ว ชื่อว่าย่อมยังประโยชน์ให้

เสื่อม บุคคลเห็นภัย คือ การยังประโยชน์

ให้เสื่อมในการเชยชิดนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลข้องอยู่แล้ว ด้วยความเยื่อใย

ในบุตรและภริยา เหมือนไม้ไผ่กอใหญ่เกี่ยว

ก่ายกัน ฉะนั้น บุคคลไม่ข้องอยู่ เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 95

หน่อไม้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกไว้แล้ว ย่อม

ไปหากินตามความปรารถนา ฉันใด นรชน

ผู้รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตามความพอใจ

ของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวเหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป

ในการเที่ยว ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย

บุคคลเพ่งความประพฤติตามความพอใจ ที่

พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้วพึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

การเล่น การยินดี ย่อมมีในท่าม-

กลางแห่งสหาย อนึ่ง ความรักที่ยิ่งใหญ่

ย่อมมีในบุตรทั้งหลาย บุคคลเมื่อเกลียดชัง

ความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารอันเป็น

ที่รัก พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

บุคคลย่อมเป็นอยู่ตามสบาย ในทิศ

ทั้งสี่และไม่เดือดร้อน ยินดีด้วยปัจจัยตามมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 96

ตามได้ ครอบงำเสียซึ่งอันตราย ไม่หวาด-

เสียว พึงเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

แม้บรรพชิตบางพวกก็สงเคราะห์ได้

ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์ผู้อยู่ครองเรือนสงเคราะห์

ได้ยาก บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย

ในบุตรของผู้อื่น พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น.

นักปราชญ์ละเหตุ อันเป็นเครื่อง

ปรากฏแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางมีใบ

ร่วงหล่น ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ได้แล้ว

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญา

เครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้มีปรกติ

อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึง

ครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม

มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มี

ปัญญาเครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้

มีปรกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 97

พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละ

แว่นแคว้นอันพระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไป

แต่ผู้เดียว ดุจช้างชื่อมาตังคะละโขลงเที่ยว

อยู่ในป่าแต่ตัวเดียว ฉะนั้น.

เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อม

ด้วยศีลขันธ์เป็นต้น พึงคบสหายผู้ประเสริฐ

สุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประ-

เสริฐสุดและผู้เสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็น

ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลแลดูกำไลทองทั้งสองอันงาม

ผุดผ่อง ที่บุตรแห่งนายช่างทองให้สำเร็จ

ด้วยดีแล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ พึงเที่ยว

ไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่

สอง หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความ

เยื่อใย พึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้

ในอนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 98

ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย

เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลกๆ

บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึง

เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลเห็นภัย คือ จัญไร ฝี อุปัทวะ

โรค ลูกศร และความน่ากลัวนี้ ในกามคุณ

ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น.

บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้

ทั้งปวง คือ หนาว ร้อน หิว ระหาย ลม

แดด เหลือบและสัตว์เสือกคลานแล้ว พึง

เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลพึงเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียวเหมือน

นอแรด เปรียบเหมือนช้างใหญ่ที่เกิดใน

ตระกูลปทุม มีขันธ์เกิดขึ้นแล้ว ละโขลง

อยู่ในป่าตามอภิรมย์ ฉะนั้น.

บุคคลพึงใคร่ครวญถ้อยคำของพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ว่า

การที่บุคคลผู้ยินดีแล้วด้วยการคลุกคลีด้วย

คณะจะพึงบรรลุวิมุตติอันมีในสมัย นั้นไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 99

เป็นฐานะที่จะมีได้พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน

นอแรด ฉะนั้น.

เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้ว

ถึงความเป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มี

ญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ พึง

เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มี

ความกระหาย ไม่ลบหลู่ มีโมหะดุจน้ำฝาด

อันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยาก ครอบงำ

โลกทั้งปวงได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน

นอแรด ฉะนั้น.

กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามก ไม่พึง

เสพด้วยตนเอง ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความ

ฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอัน

ไม่เสมอ ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไป

ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูตทรง

ธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ รู้จัก

ประโยชน์ ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 100

บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี

และกามสุขในโลกแล้ว ไม่เพ่งเล็งอยู่ เว้น

จากฐานะแห่งการประดับ มีปกติกล่าวคำ-

สัตย์ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา

ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามซึ่ง

ตั้งอยู่ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน

นอแรด ฉะนั้น.

บัณฑิตทราบว่าความเกี่ยวข้องใน

เวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้มีสุขน้อย มีความ

ยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี ดังนี้แล้ว

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลายเสีย

เหมือนปลาทำลายข่าย เหมือนไฟไม่หวน

กลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่คะนอง

เท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจอันรักษา

แล้ว ผู้อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว และอันไฟ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 101

คือกิเลสไม่แผดเผาอยู่ พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้น

ทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้วนุ่งห่มผ้ากาสายะ

ออกบวชเป็นบรรพชิต พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้ง-

หลาย ไม่โลเล ไม่เลี้ยงคนอื่น มีปกติเที่ยว

บิณฑบาตตามลำดับตรอก ผู้มีจิตไม่ผูกพัน

ในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕

อย่าง บรรเทาอุปกิเลสทั้งปวงแล้ว ผู้อัน

ทิฏฐิไม่อาศัย ตัดโทษคือความเยื่อใยได้แล้ว

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลละสุข ทุกข์ โสมนัสและ

โทมนัสในกาลก่อนได้ ได้อุเบกขาและสมถะ

อันบริสุทธิ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น.

บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุ

ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 102

ประพฤติไม่เกียจคร้านมีความบากบั่นมั่นคง

ถึงพร้อมแล้ว ด้วยกำลังกาย และกำลังญาณ

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลไม่ละการหลีกเร้นและฌาน มี

ปกติประพฤติธรรม อันสมควรเป็นนิตย์ใน

ธรรมทั้งหลาย พิจารณาเห็นโทษในภพ

ทั้งหลาย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น.

บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา

พึงเป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้าคนใบ้

มีการสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว

เป็นผู้เที่ยง มีความเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่

เที่ยงเป็นต้น เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง

ไม่ข้องอยู่ ในธรรมมีขันธ์และอายตนะ

เป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่าย ไม่ติด

อยู่ด้วยความยินดี และความโลภ เหมือน

ดอกปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 103

บุคคลพึงเสพเสนาสนะอันสงัด เป็น

ผู้เที่ยวไปผู้เดียวเช่นกับนอแรด เหมือน

ราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ครอบงำหมู่เนื้อ

เที่ยวไป ฉะนั้น.

บุคคลเสพอยู่ซึ่งเมตตาวิมุตติ กรุณา-

วิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และอุเบกขาวิมุตติ

ในกาลอันควร ไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวง

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว

ทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้งใน

เวลาสิ้นชีวิต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น.

มนุษย์ทั้งหลายผู้ไม่สะอาด มีปัญญา

มุ่งประโยชน์ตน ผู้ไม่มีเหตุ ย่อมคบหาสมา-

คบมิตรผู้หาได้ยากในทุกวันนี้ เพราะมีเหตุ

เป็นประโยชน์ บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น.

จบขัคควิสาณสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 104

อรรถกถาขัคควิสาณสูตร

วรรรคที่ ๑

คาถาที่ ๑

ขัคควิสาณสูตร เริ่มต้นว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร.

พระสูตรทั้งปวงมีอุบัติ ๔ อย่าง คือ เพราะอัธยาศัยของตน ๑ เพราะ

อัธยาศัยของผู้อื่น ๑ เพราะการเกิดขึ้นแห่งเรื่อง ๑ เพราะอำนาจแห่งคำถาม ๑.

จริงอยู่ สูตรทั้งหลายมีทวยตานุปัสสนาสูตรเป็นต้น มีอุบัติเพราะอัธยาศัยของ

ตน. สูตรทั้งหลายมีเมตตาสูตรเป็นต้น มีอุบัติเพราะอัธยาศัยของผู้อื่น สูตร

ทั้งหลายมีอุรคสูตรเป็นต้น มีอุบัติเพราะการเกิดขึ้นแห่งเรื่อง สูตรทั้งหลายมี

วัมมิกสูตรเป็นต้นมีอุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถาม.

ในสูตรเหล่านั้น ขัคควิสาณสูตรมีอุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถามโดย

ไม่แปลกกัน แต่โดยแปลกกัน เพราะในขัคควิสาณสูตรนี้บางคาถาพระปัจเจก-

สัมพุทธะนั้น ๆ ถูกถามจึงกล่าว บางคาถาไม่ถูกถาม จึงเปล่งอุทานอันสมควร

แก่นัยที่ตนสักว่าบรรลุแล้วเท่านั้น เพราะฉะนั้น บางคาถามีอุบัติเพราะอำนาจ

แห่งคำถาม บางคาถามีอุบัติเพราะอัธยาศัยของผู้อื่น บางคาถามีอุบัติเพราะ

อัธยาศัยของตน. ในอุบัติเหล่านั้น อุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถามโดยไม่แปลก

กันนี้นั้น พึงทราบอย่างนี้จำเดิมแต่ต้น.

ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล

พระอานนท์ผู้มีอายุไปในที่ลับหลีกเร้นอยู่ได้เกิดปริวิตกในใจอย่างนี้ว่า ความ

ปรารถนาและอภินิหารย่อมปรากฏแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาปรากฏแก่พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 105

สาวกทั้งหลาย แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนั้นไม่ ไฉนหนอ เราพึง

เข้าไปเฝ้าทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า. ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามเรื่องนี้ตามลำดับ. ครั้งนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ตรัสปุพพโยคาวจรสูตรแก่ท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์

อานิสงส์ ๕ เหล่านี้ คือ บุคคลย่อมบรรลุอรหัตผลในทิฏฐธรรมในเพราะ

ปุพพโยคาวจรก่อนทีเดียว ถ้าไม่บรรลุอรหัตผลในทิฏฐธรรมก่อนทีเดียว ต่อมา

ก็บรรลุอรหัตผลในเวลาตาย ฯลฯ ต่อมาเป็นเทวบุตรก็บรรลุอรหัตผล ต่อมา

ก็เป็นขิปปาภิญญบุคคล ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ต่อมาก็ย่อมเป็นพระปัจเจกสัมพุทธะในกาลภายหลัง ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึง

ตรัสอีกว่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมดาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยอภินิหาร มีปุพพโยคาวจรธรรม เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธะ และสาวกทั้งหลาย พึงประสงค์ความปรารถนาและอภินิหาร.

ท่านพระอานนท์นั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนาเป็น

พระพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานเท่าไร. พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ความ

ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานโดยการกำหนดอย่างต่ำที่สุดถึง

สี่อสงไขยและแสนกัป โดยกำหนดปานกลาง แปดอสงไขยและแสนกัป โดย

การกำหนดอย่างสูง สิบหกอสงไขยและแสนกัป ประเภททั้ง ๓ นั้น พึงรู้ด้วย

อำนาจแห่งพระพุทธเจ้า ผู้ปัญญาธิกะ ผู้สัทธาธิกะ และผู้วิริยาธิกะ จริงอยู่

พระพุทธเจ้าผู้ปัญญาธิกะ มีศรัทธาน้อยแต่มีปัญญามาก ผู้สัทธาธิกะมีปัญญา

ปานกลางแต่มีศรัทธามาก ผู้วิริยาธิกะมีศรัทธาและปัญญาน้อย แต่มีความเพียร

มาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 106

ก็ข้อที่ บุคคลให้ทานเช่นกับด้วยทานของพระเวสสันดรทุก ๆ วันก็ดี

สั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้น อันสมควรแก่ญาณนั้นก็ดี ยังไม่ถึงสี่อสงไขย

แสนกัปแล้ว ก็เป็นพระพุทธเจ้าในระหว่าง นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะ

เหตุไร เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง ยังไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบ

เปรียบเหมือนข้อที่ข้าวกล้าจะออกรวงได้ โดยล่วงไป ๓ เดือน ๔ เดือน หรือ

๕ เดือน ไม่ถึงกาลนั้น ๆ แล้ว บุคคลจะปรารถนาวันละแสนครั้งทุก ๆ วันก็ดี

รดน้ำวันละแสนครั้งทุก ๆ วันก็ดี จะให้ออกรวงได้โดยภายใน ๑ ปักษ์ หรือ

๑ เดือน นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร เพราะข้าวกล้ายังไม่ตั้งท้อง ยัง

ไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบ ชื่อฉันใด ข้อที่บุคคลให้ทานเช่นกับ

ด้วยทานของพระเวสสันดรทุก ๆ วันก็ดี สั่งสมบารมีธรรมมีศีลเป็นต้น อัน

สมควรแก่ญาณนั้นก็ดี ยังไม่ถึงสี่อสงไขยแสนกัปแล้ว จักเป็นพระพุทธเจ้าใน

ระหว่าง นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ เพราะเหตุไร เพราะญาณยังไม่ตั้งท้อง ยัง

ไม่ถึงความไพบูลย์ ยังไม่ถึงความแก่รอบ ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น

พึงทำการบำเพ็ญบารมีตลอดกาลตามที่กล่าวนั่นเทียว เพื่อประโยชน์แก่ความ

แก่รอบแห่งญาณ ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า โดยกาลแม้

ประมาณเท่านี้ ก็พึงปรารถนาสมบัติ ๘ ประการ ในการสร้างอภินิหาร จริงอยู่

อภินิหารนี้ย่อมสำเร็จได้ ก็เพราะ

การประชุมธรรม ๘ ประการ คือ ความเป็น

มนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑

การเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑ ความ

ถึงพร้อมแห่งคุณ ๑ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 107

คำว่า อภินิหาร นั่นเป็นชื่อแห่งมูลปณิธาน. ในการประชุมธรรม

๘ ประการนั้น คำว่า ความเป็นมนุษย์ ได้แก่ มนุษยชาติ. ด้วยว่านอกจาก

มนุษยชาติแล้ว ปณิธานของบุคคลผู้ดำรงอยู่ในชาติที่เหลือทั้งหลาย แม้ใน

ชาติเทวดาก็ตาม ก็ย่อมสำเร็จไม่ได้ เพราะบุคคลที่ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้น

เมื่อปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ทำบุญกรรมทั้งหลายมีทานเป็นต้นแล้ว

พึงปรารถนาความเป็นมนุษย์เท่านั้น ผู้ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้น พึงตั้งปณิธาน

ด้วยว่า อภินิหารย่อมสำเร็จอย่างนี้.

คำว่า ความถึงพร้อมด้วยเพศ ได้แก่ ความเป็นบุรุษ. ก็ปณิธาน

ของสตรี กะเทย และอุภโตพยัญชนก แม้ดำรงอยู่ในมนุษยชาติ ก็ย่อมสำเร็จ

ไม่ได้ ด้วยว่าบุคคลผู้ดำรงอยู่ในมนุษยชาตินั้น เมื่อปรารถนาความเป็นพระ-

พุทธเจ้า ทำบุญกรรมทั้งหลายมีทานเป็นต้นแล้ว พึงปรารถนาความเป็นบุรุษ

เท่านั้น ผู้ดำรงอยู่ในความเป็นบุรุษนั้น พึงตั้งปณิธาน อภินิหารย่อมสำเร็จได้

ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า เหตุ ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่ง อุปนิสัย แห่งพระอรหัต.

ก็บุคคลใดพยายามอยู่ในอัตภาพนั้น สามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตได้ อภินิหาร

ย่อมสำเร็จแก่บุคคลนั้น หาสำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ไม่ เหมือนสำเร็จแกสุเมธ-

บัณฑิต ฉะนั้น ด้วยว่าสุเมธบัณฑิตนั้น บรรพชาที่บาทมูลของพระพุทธเจ้า

พระนามว่า ทีปังกร ได้เป็นผู้สามารถเพื่อบรรลุพระอรหัตโดยอัตภาพนั้นได้.

คำว่า การเห็นพระศาสดา ได้แก่ การเห็นเฉพาะพระพักตร์

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยว่าอภินิหารย่อมสำเร็จด้วยประการนี้ หาสำเร็จโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 108

ประการอื่นไม่ เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น เพราะสุเมธบัณฑิตนั้น

เห็นพระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร เฉพาะพระพักตร์แล้ว ได้ตั้งความ

ปรารถนา.

คำว่า การบรรพชา ได้แก่ ความเป็นอนาคาริก. ก็ความเป็น

อนาคาริกนั้นแล ย่อมควรในศาสนา หรือในนิกายของดาบสและปริพาชก

ผู้เป็นกรรมวาทีและกิริยวาที เหมือนควรแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น ด้วยว่า

สุเมธบัณฑิตนั้น เป็นดาบส ชื่อสุเมธ จึงตั้งปณิธาน.

คำว่า ความถึงพร้อมแห่งคุณ ได้แก่ การได้คุณธรรมมีฌาน

เป็นต้น. ก็อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคลแม้บวชแล้ว ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณเท่านั้น

ย่อมไม่สำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิตฉะนั้น ด้วยว่า

สุเมธบัณฑิตนั้นได้อภิญญา ๕ และได้สมาบัติ ๘ แล้ว จึงตั้งปณิธาน.

คำว่า อธิการ ได้แก่ การการทำที่ยิ่ง อธิบายว่า การบริจาค.

จริงอยู่ อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคลผู้ทำการบริจาควัตถุมีชีวิตเป็นต้น แล้ว

ตั้งปณิธานไว้เท่านั้น หาสำเร็จแก่บุคคลนอกนี้ไม่เหมือนสำเร็จแก่สุเมธบัณฑิต

ฉะนั้น ก็สุเมธบัณฑิตนั้นทำการบริจาคชีวิตแล้วตั้งปณิธานอย่างนี้ว่า

ขอพระพุทธเจ้า พร้อมด้วยศิษย์

ทั้งหลาย จงทรงเหยียบข้าพเจ้าไป อย่าได้

ทรงเหยียบเปือกตมเลย ขอการกระทำยิ่งนี้

จักเป็นเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า.

คำว่า ความพอใจ ได้แก่ ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทา ความ

เป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้นของบุคคลใดมีกำลัง อภินิหารย่อมสำเร็จแก่บุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 109

นั้น ก็ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้น พึงทราบว่า ถ้าบางคนพึงกล่าวว่า

ใครเล่าไหม้ในนรกตลอดสี่อสงไขยและแสนกัปแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็น

พระพุทธเจ้าดังนี้ไซร้ บุคคลใดได้ฟังคำนั้นแล้ว ย่อมอุตสาหะเพื่อจะกล่าวว่า

เรา ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำของบุคคลนั้นชื่อว่ามีกำลัง.

อนึ่ง ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำนั้น พึงทราบว่า ถ้าบางคนพึง

กล่าวว่า ใครเล่าเหยียบข้ามสกลจักรวาลอันเต็มด้วยถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลว

แล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ใครเล่าเหยียบข้ามสกลจักรวาลอัน

เกลื่อนกล่นด้วยหอกและหลาวแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า

ใครเล่าลุยข้ามสกลจักรวาลอันเต็มด้วยน้ำปริ่มฝั่งแล้ว ย่อมปรารถนาความเป็น

พระพุทธเจ้า ใครเล่าย่ำยีก้าวล่วงสกลจักรวาลซึ่งดารดาษด้วยกอไผ่ชั่วนิรันดร์

แล้ว ย่อมปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้ไซร้ บุคคลใดได้ฟังคำนั้นแล้ว

ย่อมอุตสาหะเพื่อจะกล่าวว่า เรา ความเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะทำของบุคคลนั้น

ชื่อว่ามีกำลัง. สุเมธบัณฑิตประกอบพร้อมด้วยฉันทะ คือ ความเป็นผู้ปรารถนา

เพื่อจะทำเห็นปานนี้ ได้ตั้งปณิธานแล้วแล.

พระโพธิสัตว์ผู้มีอภินิหารสำเร็จแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่ถึงอภัพฐานะ

๑๘ ประการ. จริงอยู่ พระโพธิสัตว์นั้น จำเดิมแต่นั้น ย่อมไม่เป็นคนบอด

แต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนหนวกแต่กำเนิด ๑ ไม่เป็นคนบ้า ๑ ไม่เป็นคนใบ้ ๑

ไม่เป็นคนแคระ ๑ ไม่เกิดในชนชาติมิลักขะ ๑ ไม่เกิดในท้องของนางทาสี ๑

ไม่เป็นคนนิยตมิจฉาทิฏฐิ ๑ ไม่เป็นคนกลับเพศ ๑ ไม่ทำอนันตริยกรรม

ห้าอย่าง ๑ ไม่เป็นคนโรคเรื้อน ๑ อัตภาพสุดท้ายไม่เวียนมาในกำเนิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 110

ดิรัจฉาน ๑ ไม่มีอัตภาพใหญ่กว่าช้าง ๑ ไม่เกิดในขุปปิปาสิกเปรตและนิชฌาม

ตัณหิกเปรต ๑ ไม่เกิดในจำพวกกาลกัญชิกาสูรทั้งหลาย ๑ ไม่เกิดในอเวจี

นรก ๑ ไม่เกิดในโลกันตริกนรก ๑ ไม่เป็นมารในสวรรค์ชั้นกามาวจร ไม่

เกิดในอสัญญีภพในรูปาวจรภูมิ ไม่เกิดในภพสุทธาวาส ไม่เกิดในอันติมภพ

ไม่ก้าวไปสู่จักรวาลอื่น ๑.

ก็พุทธภูมิ ๔ เหล่านี้ใด คือ อุตสาหะ ๑ อุมมัคคะ ๑ อวัฏฐานะ ๑

หิตจริยา ๑ พระโพธิสัตว์เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธภูมิเหล่านั้น. ในพุทธภูมิ

๔ ประการนั้น ความเพียรเรียกว่า อุตสาหะ ปัญญาเรียกว่า อุมมัคคะ

อธิษฐานเรียกว่า อวัฏฐานะ เมตตาภาวนาเรียกว่า หิตจริยา.

ก็อัธยาศัย ๖ ประการ แม้เหล่านี้ใด คือ อัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ

อัธยาศัยเพื่อปวิเวก อัธยาศัยเพื่อความไม่โลภ อัธยาศัยเพื่อความไม่โกรธ

อัธยาศัยเพื่อความไม่หลง อัธยาศัยเพื่อความสลัดออก ย่อมเป็นไปเพื่อบ่ม

โพธิญาณ เพราะพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ประกอบพร้อมด้วยอัธยาศัยเหล่าใด

พระโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้มีอัธยาศัยเพื่อเนกขัมมะ เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในกาม

ผู้มีอัธยาศัยเพื่อปวิเวก เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในการคลุกคลี ผู้มีอัธยาศัย

เพื่อความไม่โลภ เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโลภะ ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความ

ไม่โกรธ เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโทสะ ผู้มีอัธยาศัยเพื่อความไม่หลง

เรียกว่า มีปกติเห็นโทษในโมหะ และผู้มีอัธยาศัยเพื่อความสลัดออก เรียกว่า

มีปกติเห็นโทษในภพทั้งปวง สุเมธบัณฑิตผู้โพธิสัตว์เป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัย

เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 111

ถามว่า ก็การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานเท่าไร

ตอบว่า การปรารถนาเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานถึงสองอสงไขย

และแสนกัป ต่ำกว่านั้นไม่ควร พึงทราบเหตุในการปรารถนาเป็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้านี้โดยนัยที่กล่าวแล้วในบทก่อนนั่นแล. ก็เมื่อบุคคลปรารถนาความเป็น

พระปัจเจกพุทธเจ้า โดยกาลแม้มีประมาณเท่านี้ พึงปรารถนาสมบัติ ๕ ประการ

ในการสร้างอภินิหาร จริงอยู่ พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น มีเหตุแห่งอภินิหาร

เหล่านี้ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความถึงพร้อมด้วยเพศ ๑ การเห็นท่าน

ผู้ปราศจากอาสวะ ๑ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า การเห็นท่านผู้ปราศจากอาสวะ ได้แก่ การเห็นพระพุทธเจ้า พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า หรือพระสาวก องค์ใดองค์หนึ่ง. บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าว

แล้วนั้นแล.

ถามว่า ก็การปรารถนาเป็นพระสาวกทั้งหลายควรนานเท่าไร. ตอบว่า

การปรารถนาเป็นพระอัครสาวกทั้งสอง ควรนานหนึ่งอสงไขยและแสนกัป

การปรารถนาเป็นพระอัครสาวกควรนานแสนกัป ความปรารถนาเป็นพระ-

มารดาพระบิดา อุปัฏฐาก และพระโอรสของพระพุทธเจ้า ควรนานแสนกัป

เหมือนกัน ต่ำกว่านั้นไม่ควร เหตุในการปรารถนานั้นมีนัยดังกล่าวแล้วนั้น

เทียว ก็พระสาวกเหล่านั้นทั้งหมดมีอภินิหารสมบูรณ์ด้วยองค์ ๒ อย่าง คือ

อธิการ ๑ ความพอใจ ๑ เท่านั้น.

พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลาย ตลอดกาลมี

ประเภทตามที่กล่าวแล้ว ด้วยการปรารถนานี้ ด้วยอภินิหารนี้นั้นแลอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 112

เมื่อจะทรงอุบัติขึ้นโลก ก็ทรงอุบัติในตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์.

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมอุบัติในตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์

หรือตระกูลคหบดี ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ส่วนพระอัครสาวกทั้งหลาย ย่อม

เกิดในตระกูลกษัตริย์ หรือตระกูลพราหมณ์เท่านั้น เหมือนพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งปวง ย่อมไม่ทรงอุบัติในกัปกำลังเสื่อม ย่อมทรงอุบัติ

ในกัปกำลังเจริญ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่พบพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อม

อุบัติในกาลอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้

เองด้วย ทรงสอนให้คนเหล่าอื่นรู้ด้วย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสรู้เอง

แต่ไม่อาจสอนให้คนเหล่าอื่นรู้ ย่อมแทงตลอดอรรถรสเท่านั้น ย่อมไม่แทงตลอด

ธรรมรส เพราะพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ย่อมไม่สามารถเพื่อจะยกโลกุตร-

ธรรมเป็นบัญญัติขึ้นแสดงได้ การบรรลุธรรมย่อมมีแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

เหล่านั้น เหมือนความฝันที่คนใบ้ฝัน และเหมือนกับรสแห่งกับข้าวที่พรานป่า

ได้ลิ้มในเมืองฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมบรรลุธรรมทั้งหมดอัน

ต่างโดยอิทธิ สมาบัติ และปฏิสัมปทา แต่เพราะมีคุณพิเศษจึงต่ำกว่าพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย แต่เหนือพระสาวกทั้งหลาย ย่อมยังบุคคลเหล่าอื่นบรรพชา

ให้ศึกษาอภิสมาจาร ด้วยอุเทศนี้ว่า พึงทำความขัดเกลาจิต ไม่พึงท้อถอย

หรือย่อมทำอุโบสถด้วยเหตุเพียงพูดว่า วันนี้ อุโบสถ และเมื่อจะทำอุโบสถ

ย่อมประชุมกันทำที่รัตนมาลา โคนต้นไม้มัญชุสะ ในภูเขาคันธมาทน์แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสการปรารถนาและอภินิหาร อันบริบูรณ์

ด้วยอาการทั้งปวงของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แก่ท่านพระอานนท์แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 113

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ๆ แล ผู้ถึงพร้อมด้วยการ

ปรารถนานี้ และอภินิหารนี้ จึงตรัสขัคควิสาณสูตรนี้ โดยนัยมีอาทิว่า สพฺเพสุ

ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑ. นี้อุบัติแห่งขัคควิสาณสูตร เพราะอำนาจแห่งคำถาม

โดยไม่แปลกกันก่อน บัดนี้ พึงทราบอุบัติโดยแปลกกัน ในขัคควิสาณสูตรนั้น

พึงทราบอุบัติแห่งคาถานี้อย่างนี้ก่อน.

ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ หยั่งลงสู่ปัจเจกโพธิสัตวภูมิ บำเพ็ญ

บารมีทั้งหลายตลอดสองอสงไขยแสนกัป บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป เป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร

ได้ทำสมณธรรม. ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไม่บำเพ็ญวัตรนั่นแล้ว

ชื่อว่า บรรลุปัจเจกโพธิ ไม่มี. ก็วัตรนั้นเป็นอย่างไร. การนำกรรมฐานไปและ

การนำกรรมฐานกลับมา ชื่อว่า คตปัจจาคตวัตร. ข้าพเจ้าพึงกล่าวคตปัจจา-

คตวัตรนั้นโดยประการแจ่มแจ้ง.

ภิกษุในศาสนานี้บางรูปนำไปแต่ไม่นำกลับ บางรูปนากลับแต่ไม่

นำไป บางรูปทั้งไม่นำไป ทั้งไม่นำกลับ บางรูปนำไปด้วย นากลับด้วย

ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุใดตื่นแต่เช้าตรู่ ทำเจติยังคณวัตรและโพธิยังคณวัตร

รดน้ำที่ต้นโพธิ ตักน้ำเต็มหม้อน้ำดื่ม ยืนที่โรงน้ำดื่ม ทำอาจาริยวัตร

อุปัชฌายวัตร สมาทานประพฤติวัตรเล็ก ๘๒ วัตรใหญ่ ๑๔ ภิกษุนั้นทำ

บริกรรมร่างกายเข้าไปสู่เสนาสนะ ยังเวลาให้ล่วงไปในอาสนะสงัดจนถึงเวลา

ภิกขาจาร รู้เวลา นุ่ง คาดประคดเอว ห่มอุตราสงค์ พาดสังฆาฏิ สะพายบาตร

ใส่ใจกรรมฐาน ถึงลานเจดีย์แล้ว ไหว้เจดีย์และต้นโพธิ์ ห่มในที่ใกล้บ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 114

อุ้มบาตรเข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑะ และภิกษุเข้าไปอย่างนี้แล้ว ได้ลาภ มีบุญ

อันอุบาสกอุบาสิกาสักการะ เคารพแล้ว กลับในตระกูลอุปัฏฐาก หรือในศาลา

พัก ถูกอุบาสกอุบาสิกาถามปัญหานั้น ๆ อยู่ ทิ้งมนสิการนั้น ด้วยการแก้

ปัญหา และด้วยฟุ้งซ่านในการแสดงธรรมแก่อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้นแล้วออก

ไป แม้กลับมาสู่วิหารแล้ว ถูกภิกษุทั้งหลายถามปัญหาแล้วกล่าวแก้ แสดงธรรม

ถึงความขวนขวายนั้น ๆ ต้องเนิ่นช้ากับภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ ตลอดปัจฉาภัตร

บ้าง ปุริมยามบ้าง มัชฌิมยามบ้าง ถูกความประพฤติชั่วหยาบทางกายครอบงำ

ย่อมนอนแม้ในปัจฉิมยาม ย่อมไม่มนสิการซึ่งกรรมฐานเลย ภิกษุนี้เรียกว่า

นำไปแต่ไม่นำกลับ.

ส่วนภิกษุใดมากด้วยพยาธิ ฉันอาหารแล้ว ย่อมไม่ย่อยไปโดยชอบ

ในสมัยใกล้รุ่ง ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ไม่อาจเพื่อทำวัตรตามที่กล่าวแล้ว หรือเพื่อ

มนสิการกรรมฐาน ปรารถนายาคู หรือเภสัชเท่านั้น ถือบาตรและจีวรเข้าบ้าน

ตามกาลนั้นเทียว ได้ยาคูหรือเภสัช หรือภัตรในบ้านนั้นแล้ว ล้างบาตรนั่งใน

อาสนะที่ปูแล้ว มนสิการกรรมฐาน บรรลุคุณวิเศษหรือไม่บรรลุ กลับวัดอยู่

ด้วยมนสิการนั้นเท่านั้น ภิกษุนี้เรียกว่า นำกลับแต่ไม่นำไป.

ก็ภิกษุทั้งหลายผู้เช่นนี้ ดื่มยาคู ปรารภวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต

ในพระพุทธศาสนา นับไม่ถ้วน. ภิกษุดื่มยาคูแล้วบรรลุพระอรหัตไม่มีใน

อาสนะใด อาสนะนั้นไม่มีในอาสนศาลา ในบ้านนั้น ๆ ในเกาะลังกา

ส่วนภิกษุใด เป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท ทอดทิ้งธุระ ทำลายวัตร

ทุกอย่าง มีจิตพัวพันด้วยธรรมดุจตะปูตรึงจิต ๕ อย่าง ไม่ตามประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 115

กรรมฐานมนสิการ เข้าบ้านเพื่อบิณฑบาตแล้ว ถูกความเนิ่นช้าเพราะคฤหัสถ์

ให้เนิ่นช้าแล้ว เป็นผู้เปล่ากลับออกมา ภิกษุนี้เรียกว่า ทั้งไม่นำไป ทั้งไม่

นำกลับ.

ส่วนภิกษุใด ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้ว บำเพ็ญวัตรทุกอย่างโดยนัยก่อน

นั่นเทียว นั่งขัดสมาธิ มนสิการกรรมฐานอยู่จนถึงเวลาภิกขาจาร.

ชื่อว่า กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ สัพพัตถกกรรมฐาน ๑ ปาริ-

หาริยกรรมฐาน ๑ เมตตาและมรณสติ ชื่อว่า สัพพัตถกกรรมฐาน กรรม-

ฐานนั้นเรียกว่า สัพพัตถกะ เพราะเป็นกรรมฐานอันพึงปรารถนาในที่ทั้งปวง

ชื่อว่า เมตตา พึงปรารถนาในที่ทั้งปวง มีอาวาสเป็นต้น จริงอยู่ ภิกษุผู้อยู่

ด้วยเมตตาในอาวาส ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของสพรหมจารีทั้งหลาย อันเพื่อน

พรหมจารีนั้น ไม่กระทบกระทั่งถึงผาสุกอยู่ ผู้อยู่ด้วยเมตตาในเทวดาทั้งหลาย

อันเหล่าเทวดารักษาคุ้มครองแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ผู้อยู่ด้วยเมตตาในพระราชา

และมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น อันท่านเหล่านั้นนับถือแล้ว ย่อมอยู่

เป็นสุข ผู้อยู่ด้วยเมตตาในบ้านนิคมเป็นต้น อันมนุษย์ทั้งหลายในที่ทั้งปวงมี

ที่เป็นที่เที่ยวไปเพื่อภิกขาเป็นต้นสักการะเคารพแล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข ผู้ละ

ความใคร่ในชีวิต ด้วยการเจริญมรณานุสติ ไม่ประมาทอยู่.

ก็กรรมฐานใด อันภิกษุพึงบริหารทุกเมื่อ ยึดถือแล้วโดยสมควร

แก่จริตหรือจตุธาตุววัฏฐานกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอสุภะ ๑๐

กสิณ ๑๐ และอนุสติ ๑๐ เป็นต้น กรรมฐานนั้น เรียกว่า ปาริหาริยะ

เพราะเป็นกรรมฐานอันภิกษุพึงบริหาร พึงรักษา และพึงเจริญทุกเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 116

ปาริหาริยกรรมฐานนั้นนั่นแล เรียกว่า มูลกรรมฐาน ดังนี้บ้าง ในกรรมฐาน

ทั้ง ๒ อย่างนั้น ภิกษุมนสิการสัพพัตถกกรรมฐานก่อนแล้ว มนสิการปาริหา-

ริยกรรมฐานใดในภายหลัง ข้าพเจ้าจักแสดงปาริหาริยกรรมฐานนั้น โดย

จตุธาตุววัฏฐานเป็นประธาน.

ด้วยว่า ภิกษุนี้พิจารณากาย ตามที่ดำรงอยู่ ตามที่ตั้งอยู่ โดยความ

เป็นธาตุ มนสิการกรรมฐาน โดยเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดอย่างนี้ว่า ธาตุใด

แข้นแข็งใน ๒๐ ส่วน ซึ่งมีอยู่ในกายนี้ ธาตุนั้น ชื่อว่า ปวีธาตุ ธาตุใด

ทำหน้าที่เอิบอาบถึงความเป็นของเหลว ใน ๑๒ ส่วน ธาตุนั้น ชื่อว่า อาโปธาตุ

ธาตุใดทำความอบอุ่น ถึงความเป็นไออุ่นใน ๔ ส่วน ธาตุนั้น ชื่อว่า เตโชธาตุ

ส่วนธาตุใดทำการค้ำจุน มีลักษณะพัดไปมาใน ๖ ส่วน ธาตุนั้น ชื่อว่า

วาโยธาตุ ก็ในกายนี้ ธาตุใดอันมหาภูตรูป ๔ ไม่ถูกต้อง เป็นช่องว่าง

ธาตุนั้น ชื่อว่า อากาสธาตุ จิตซึ่งเป็นตัวรู้นั้น ชื่อว่า วิญญาณธาตุ

สัตว์หรือบุคคลอื่นที่นอกเหนือไปจากธาตุทั้ง ๖ นั้น หามีไม่ สัตว์หรือบุคคลนี้

ก็คือกองแห่งสังขารล้วน ๆ เท่านั้น ดังนี้ รู้กาล ลุกขึ้นจากอาสนะ นุ่งแล้ว

ไปบ้านเพื่อบิณฑบาต โดยนัยที่กล่าวแล้วในตอนต้นนั้นแล ก็เมื่อจะไปไม่หลง

งมงาย เหมือนปุถุชนคนบอดทั้งหลาย หลงงมงายอยู่ว่า ในการก้าวไปเป็นต้น

ตนย่อมก้าวไป การก้าวไปของตนเกิดแล้ว ดังนี้ หรือว่า เราย่อมก้าวไป

การก้าวไปอันเราให้เกิดแล้ว ดังนี้ ย่อมไปมนสิการอยู่ซึ่งกรรมฐานอันบริบูรณ์

ด้วยอาการทั้งปวงอย่างนี้ว่า ธาตุทั้งหลายซึ่งเกิดขึ้นในแต่ละประการ บรรดา

ประการทั้งหลายมีการยกเท้าขึ้นแต่ละข้างเป็นต้นอย่างนี้ว่า เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 117

เราย่อมก้าวไป วาโยธาตุพร้อมทั้งสัมภาระ ซึ่งมีจิตเป็นสมุฏฐาน ย่อมเกิดขึ้น

พร้อมกับจิตนั้น วาโยธาตุนั้น ย่อมแผ่ทั่วร่างกระดูก ซึ่งสมมติกันว่า ภาย

อันเป็นธาตุซึ่งสั่งสมมาจากปฐวีธาตุเป็นต้นนี้ ต่อจากนั้น ร่างกระดูกซึ่งสมมติ

ว่า กายนี้ ก็ก้าวไปด้วยการแผ่ไปแห่งจิตกิริยาวาโยธาตุ เมื่อร่างกระดูกนั้น

ก้าวไปอยู่อย่างนี้ ในการยกเท้าแต่ละข้างขึ้น ในบรรดาธาตุสี่ เตโชธาตุซึ่งร้อน

ไปตามวาโยธาตุ ก็มีพลังยิ่งขึ้น ธาตุนอกนี้อ่อน แต่ในการนำไป การนำมา

และการนำออกทั้งหลาย วาโยธาตุซึ่งพัดไปตามเตโชธาตุ ก็มีกำลังยิ่งเกิดขึ้น

ธาตุนอกนี้ก็มีกำลังอ่อน แต่ในการลง อาโปธาตุซึมซาบไปตามปฐวีธาตุ มี

กำลังยิ่งเกิดขึ้น ส่วนธาตุนอกนี้อ่อน ในการคู้เข้าและการเหยียดออก ปฐวีธาตุ

ซึ่งได้รับการอุดหนุนจากอาโปธาตุ มีกำลังยิ่งเกิดขึ้น ธาตุนอกนี้มีกำลังอ่อน

ธาตุเหล่านั้นย่อมแตกไปในที่นั้นๆ นั่นแล พร้อมกับจิตที่ทำตนให้เกิดขึ้นนั้น ๆ

ด้วยประการฉะนี้ ในธาตุทั้งสี่นั้น ใครคนหนึ่งย่อมก้าวไป หรือการก้าวไป

ของใคร ดังนี้ และรูปธรรมที่เหลือ ซึ่งถูกธาตุทั้งสี่นั้นครอบงำ จิตซึ่งยัง

รูปธรรมนั้นให้บังเกิดขึ้น และอรูปธรรมที่เหลือ ซึ่งสัมปยุตด้วยจิตนั้น รวม

ความว่า รูปธรรมและอรูปธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงประการอื่นในอาการ

ทั้งหลายมีการนำไปและการนำมาเป็นต้น ซึ่งนอกเหนือไปจากรูปธรรมและ

อรูปธรรมนั้น ย่อมแตกทำลายไปในที่นั้น ๆ นั่นเทียว เพราะฉะนั้น ธาตุ

ทั้งหลายจึงไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นเป็น

อนัตตา ดังนี้.

ก็กุลบุตรทั้งหลายผู้ใคร่ประโยชน์บวชในศาสนาแล้ว อยู่รวมกันตลอด

๑๐ ปีบ้าง ๒๐ ปีบ้าง ๓๐ ปีบ้าง ๔๐ ปีบ้าง ๕๐ ปีบ้าง ๖๐ ปีบ้าง ๗๐ ปีบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 118

๑๐๐ ปีบ้าง กระทำกติกวัตรอยู่ว่า อาวุโสทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเป็นผู้ไม่มี

หนี้สิน ไม่มีภัย ไม่ได้บวชเพื่อประโยชน์แก่ชีวิต บวชเพื่อประสงค์จะพ้น

จากทุกข์ เพราะฉะนั้น กิเลสเกิดแล้วในการไป ก็จงข่มในการไปนั้นเทียว

กิเลสเกิดแล้วในการยืน ในการนั่ง ก็จงข่มในการยืนการนั่งนั่นแล กิเลสเกิด

แล้วในการนอน ก็จงข่มในการนอนนั่นแหละ.

กุลบุตรเหล่านั้น การทำกติกวัตรอย่างนี้แล้ว ไปภิกขาจาร ในระหว่าง

ที่ห่างกันกึ่งอุสุภะ กึ่งคาวุต และคาวุตหนึ่ง มีพลานหิน ก็มนสิการกรรมฐาน

ตามสัญญานั้นแลไปอยู่ ถ้าในการไปกิเลสเกิดขึ้นแก่ใคร ผู้นั้นย่อมข่มกิเลส

นั้นในการไปนั้น เมื่อไม่อาจอย่างนั้น ก็ยืนอยู่ ลำดับนั้นผู้แม้มาภายหลังเขา

ก็ยืนอยู่ เธอก็เตือนตนว่า ภิกษุนี้รู้วิตกอันเกิดขึ้นแก่เจ้าแล้ว เจ้าทำกรรมอัน

ไม่สมควร ดังนี้ จึงเจริญวิปัสสนาหยั่งลงสู่อริยภูมิในที่นั้นแหละ เมื่อไม่อาจ

อย่างนั้นก็นั่ง. ลำดับนั้น แม้ผู้มาภายหลังเขาก็นั่งลง มีนัยนั้นเหมือนกัน.

แม้เมื่อไม่อาจเพื่อหยั่งลงสู่อริยภูมิ ก็ข่มกิเลสนั้น มนสิการกรรมฐานไปอยู่

ย่อมไม่ยกเท้าขึ้น ด้วยจิตปราศจากกรรมฐาน ถ้ายกขึ้น ก็ต้องกลับมาสู่ประเทศ

ก่อนนั่นแล เหมือนพระมหาปุสสเทวเถระ ผู้อยู่ที่อาลินทกะในเกาะลังกา ฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระเถระนั้นบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอยู่อย่างนี้ ถึง ๑๙ ปี

ข่าวว่า แม้พวกมนุษย์เมื่อหว่านและนวดข้าวทำการงานอยู่ในระหว่างทาง เห็น

พระเถระไปอย่างนั้น ก็พูดกันว่า พระเถระนี้กลับไปบ่อย ๆ คงจะหลงทาง

หรือลืมอะไรหนอแล. ท่านไม่สนใจเรื่องนั้น กระทำสมณธรรมด้วยจิตที่

ประกอบด้วยกรรมฐานเท่านั้น ก็บรรลุพระอรหัตในภายใน ๒๐ พรรษา ก็ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 119

วันที่บรรลุพระอรหัต เทวดาผู้สิงสถิตที่สุดท้ายที่จงกรมของพระเถระนั้น ยืน

ส่องประทีปด้วยนิ้วมือทั้งหลาย มหาราชทั้ง ๔ ท้าวสักกะจอมเทวินท์ และ

สหัมบดีพรหมก็ได้ไปสู่ที่บำรุง และพระติสสเถระผู้อยู่ในป่าเห็นแสงสว่างนั้น

จึงถามพระเถระนั้นในวันที่สองว่า ในส่วนราตรีได้มีแสงสว่างในสำนักของท่าน

ผู้มีอายุ นั้นแสงสว่างอะไร. เถระทำไม่สนใจ กล่าวคำมีอาทิว่า ธรรมดา

แสงสว่างอาจเป็นแสงประทีปก็ได้ แสงแก้วมณีก็ได้ พระติสสเถระนั้น เรียนว่า

ท่านปกปิดหรือ พระมหาปุสสเทวเถระปฏิญาณว่า ไม่ปกปิดครับ แล้วได้บอก.

และเหมือนพระมหานาคเถระ ผู้อยู่ในกาลวัลลิมณฑป ได้ยินว่า

พระเถระนั้น บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร คิดว่า เราจะบูชามหาปธานของพระผู้มี

พระภาคเจ้าเป็นครั้งแรกก่อนแล้ว อธิษฐานการเดินจงกรมตลอด ๗ ปี

บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรตลอด ๑๖ ปีอีก ได้บรรลุพระอรหัต เมื่อยกเท้าขึ้น

ด้วยจิตประกอบด้วยกรรมฐานอย่างนี้แล เมื่อยกเท้าขึ้นด้วยจิตปราศจาก

กรรมฐาน ก็จะกลับไปที่ใกล้บ้าน ยืนอยู่ในประเทศที่พึงรังเกียจว่า แม่โค

หรือหนอ บรรพชิตหรือหนอ ห่มสังฆาฏิอุ้มบาตร ถึงประตูบ้านแล้ว ตักน้ำ

จากหนองน้ำ อมน้ำเข้าบ้านด้วยตั้งใจว่า ขอความฟุ้งซ่านในกรรมฐาน อย่าได้

มีแก่เรา แม้ด้วยเหตุสักว่าพูดกะมนุษย์ทั้งหลายผู้เข้ามาเพื่อถวายภิกษา หรือ

ไหว้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงมีอายุยืน ดังนี้. ก็ถ้ามนุษย์ทั้งหลายถามถึงวันว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ วันนี้เป็นวัน ๗ ค่ำ หรือวัน ๘ ค่ำ ท่านก็จะบ้วนน้ำแล้ว

บอก ถ้าไม่มีผู้ถามถึงวัน ในเวลาออกไปก็จะบ้วนที่ประตูบ้านไป.

เหมือนภิกษุ ๕๐ รูป ผู้เข้าจำพรรษาในกลัมพติตถวิหาร ในเกาะ

ลังกานั้นแหละ ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้ทำกติกวัตรในวันวัสสูปนายิกาอุโบสถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 120

ว่า พวกเรายังไม่บรรลุพระอรหัตแล้ว จักไม่พูดกัน เมื่อเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต

ก็จะอมน้ำที่ประตูบ้านแล้วเข้าไป เมื่อเขาถามถึงวัน ก็จะกลืนน้ำบอก เมื่อไม่มี

ใครถามถึงวัน ก็จะบ้วนที่ประตูบ้านแล้วมาวัด มนุษย์ทั้งหลายในที่เหล่านั้น

เห็นสถานที่บ้วนน้ำ ก็รู้ว่า วันนี้พระมาหนึ่งรูป วันนี้พระมาสองรูป ดังนี้

และคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านั้นไม่พูดกับพวกเราเท่านั้น หรือว่า ไม่พูดแม้

กะกันและกัน ผิว่า ไม่พูดแม้กะกันและกันไซร้ จักเป็นผู้ทะเลาะกันแน่ เอาเถิด

พวกเราจักให้ภิกษุเหล่านั้นขอขมากะกันและกัน ดังนี้ ทั้งหมดพากันไปวัด

ครั้นภิกษุ ๕๐ รูป จำพรรษาในวัดนั้นแล้ว ภิกษุ ๒ รูปไม่อยู่ร่วมในโอกาส

เดียวกัน แต่นั้น บรรดามนุษย์เหล่านั้น บุรุษผู้มีปัญญาจึงเรียนอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ โอกาสสำหรับผู้ทะเลาะกัน ย่อมไม่เป็นเช่นนี้ ลานเจดีย์

ลานโพธิ์ก็สะอาดดี ไม้กวาดทั้งหลายก็เก็บไว้ดี น้ำดื่มน้ำใช้ก็ตั้งไว้ดี ดังนี้

มนุษย์เหล่านั้น จึงพากันกลับจากวัดนั้น ภิกษุเหล่านั้นปรารภวิปัสสนาใน

ภายในพรรษานั้นแหละ ก็บรรลุพระอรหัต ปวารณาวิสุทธิปวารณาในวันมหา

ปวารณา.

ภิกษุพึงเป็นดุจพระมหานาคเถระผู้อยู่ในกาลวัลลิมณฑป และดุจพวก

ภิกษุผู้จำพรรษาในกลัมพติตถวิหารอย่างนี้ ย่างเท้าด้วยจิตอันประกอบด้วย

กรรมฐานเท่านั้น ไปถึงที่ใกล้บ้าน อมน้ำ สังเกตถนน ดำเนินไปสู่ถนนที่

ไม่มีพวกทะเลาะเบาะแว้งกัน มีพวกนักเลงสุราเป็นต้น หรือไม่มีพวกสัตว์

มีช้างและม้าที่ดุร้ายเป็นต้น และเมื่อไปบิณฑบาตที่ถนนนั้น ก็ไม่ไปโดย

รีบด่วนเหมือนคนรีบร้อน ชื่อว่า ปิณฑปาติกธุดงค์ โดยรีบด่วนหามีไม่

แต่ย่อมเดินไปไม่หวั่นไหว เหมือนกับเกวียนที่บรรทุกน้ำเต็ม ถึงสถานที่ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 121

ขรุขระ ฉะนั้น ภิกษุนั้นเข้าไปตามลำดับเรือนแล้ว รอเวลาที่สมควรแก่เรือน

นั้น เพื่อสังเกตผู้ประสงค์จะถวาย หรือไม่ประสงค์จะถวาย รับภิกษาแล้วนั่ง

ในโอกาสอันสมควร มนสิการกรรมฐาน เข้าไปตั้งปฏิกูลสัญญาในอาหาร

พิจารณาด้วยอำนาจแห่งอุปมาด้วยน้ำมันหยอดเพลา ผ้าพันแผลและเนื้อบุตร

ฉันอาหารอันประกอบด้วยองค์แปด ไม่ฉันอาหารเพื่อเล่น เพื่อมัวเมา ฯลฯ

และฉันแล้ว ก็ทำกิจด้วยน้ำ บรรเทาความกระวนกระวายด้วยภัตสักครู่หนึ่ง

มนสิการกรรมฐานในภายหลังภัตตลอดปฐมยามและมัชฌิมยามเหมือนในเวลา

ก่อนภัต ภิกษุนี้เรียกว่า นำไปและนำกลับ การนำกรรมฐานไปและการนำ

กรรมฐานกลับนั่น เรียกว่า คตปัจจาคตวัตร ด้วยประการฉะนี้.

ภิกษุเมื่อบำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรอย่างนี้ ถ้าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย

ก็จะบรรลุพระอรหัตในปฐมวัยนั้นแล ถ้าไม่บรรลุในปฐมวัยไซร้ ก็จะบรรลุ

ในมัชฌิมวัย ถ้าไม่บรรลุในมัชฌิมวัยไซร้ ก็จะบรรลุในมรณสมัย ถ้าไม่บรรลุ

ในมรณะสมัยไซร้ ก็จะเป็นเทพบุตรแล้วบรรลุ ถ้าไม่เป็นเทพบุตรบรรลุไซร้

ก็จะเป็นพระปัจเจกสัมพุทธะแล้วจะปรินิพพาน ถ้าไม่เป็นพระปัจเจกสัมพุทธะ

แล้วจะปรินิพพานไซร้ ก็จะเป็นผู้มีขิปปาภิญญา เหมือนพระพาหิยเถระบ้าง

หรือเป็นผู้มีปัญญามาก เหมือนพระสารีบุตรเถระบ้าง ในสำนักของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย.

ก็พระปัจเจกโพธิสัตว์นี้ บวชในพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า กัสสป เป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตรนั่น

ตลอดสองหมื่นปีทำกาละแล้ว อุบัติในเทวโลกชั้นกามาวจร จุติจากเทวโลก

นั้นแล้ว ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี หญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 122

ทั้งหลายผู้ฉลาดย่อมรู้ฐานะที่ตนมีครรภ์ในวันนั้นนั่นเอง และพระอัครมเหสีนั้น

ก็เป็นหญิงพระองค์หนึ่ง บรรดาหญิงเหล่านั้นแล เพราะฉะนั้น พระอัครมเหสี

แม้นั่น ครั้นทราบแล้ว ก็ทรงทูลการตั้งพระครรภ์นั้นแด่พระราชา. การที่

มาตุคามเมื่อสัตว์ผู้มีปัญญาเกิดในครรภ์แล้ว ย่อมได้การบริหารครรภ์นั่นเป็น

ธรรมดา เพราะฉะนั้น พระราชาจึงทรงพระราชทานการบริหารพระครรภ์แก่

พระนาง จำเดิมแต่นั้น พระนางย่อมไม่ได้เพื่อจะทรงกลืนพระกระยาหารบาง

อย่างซึ่งร้อนจัด เย็นจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด ขมจัด เพราะเมื่อมารดา

กลืนอาหารอันร้อนจัด สัตว์ที่อยู่ในครรภ์ ก็เป็นดุจอยู่ในโลหกุมภี เมื่อกลืน

อาหารเย็นจัด ก็เป็นดุจอยู่ในโลกันตนรก เมื่อบริโภคอาหารที่เปรี้ยวจัด เค็มจัด

เผ็ดจัด และขมจัด อวัยวะทั้งหลายของสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ ก็มีเวทนากล้า

เหมือนถูกศัสตราผ่าแล้วราดด้วยน้ำเปรี้ยวเป็นต้น ฉะนั้น ราชบุรุษทั้งหลาย

จึงห้ามพระนางจากแม้การจงกรม การยืน การนั่ง และการนอนเกินไปว่า

ขอสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์อย่ามีทุกข์ เพราะการเคลื่อนไหว พระนางย่อมได้เพื่อ

ทรงกระทำการจงกรมเป็นต้นบนพื้นดินพอประมาณ เพื่อประโยชน์แก่การทา

ให้อ่อน ย่อมทรงได้ข้าวและน้ำที่ดี สบายสมบูรณ์ด้วยสีกลิ่นเป็นต้น ราชบุรุษ

ครั้นกำหนดแล้ว จึงให้พระนางจงกรมให้ลุกขึ้น พระนางได้รับบริหารพระครรภ์

อย่างนี้ ในกาลมีพระครรภ์แก่ ก็เสด็จสู่เรือนประสูติ ประสูติพระโอรสในสมัย

ใกล้รุ่ง ซึ่งถึงพร้อมด้วยธัญลักษณะ บุญลักษณะ เช่นกับก้อนมโนศิลาที่ทา

ด้วยน้ำมันสุก ต่อจากนั้น ในวันที่ห้าราชบุรุษทั้งหลายก็นำพระโอรสนั้น ซึ่ง

ประดับประดาตกแต่งแล้วถวายแด่พระราชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 123

พระราชาทรงยินดี ทรงให้พระพี่เลี้ยง ๖๖ คนเลี้ยงดู พระกุมาร

ทรงเจริญด้วยสมบัติทั้งปวง ต่อกาลไม่นานนัก ก็ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา

พระราชาทรงอภิเษกพระกุมารนั้น ซึ่งมีพระชันษา ๑๖ ปีเท่านั้นไว้ในราชสมบัติ

และทรงให้นักฟ้อน ๓ ประเภท บำรุงเลี้ยงดูพระกุมารนั้น พระราชโอรสได้

อภิเษกแล้ว ทรงครองราชสมบัติ โดยพระนามว่า พรหมทัต ในพระนคร

สองหมื่นนคร ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ก็ในกาลก่อน ชมพูทวีปมีพระนครถึง

แปดหมื่นสี่พันนคร พระนครเหล่านั้น เมื่อเสื่อมก็เหลือสี่หมื่นนคร แต่ใน

กาลที่มีความเสื่อมทุกอย่าง ก็เหลือสองหมื่นนคร พระเจ้าพรหมทัตนี้ทรงอุบัติ

ในกาลที่มีความเสื่อมทุกอย่าง เพราะฉะนั้น พระเจ้าพรหมทัตนั้น ทรงมีพระนคร

สองหมื่นนคร ปราสาทสองหมื่นองค์ ช้างสองหมื่นเชือก ม้าสองหมื่นตัว

รถสองหมื่นคัน ทหารเดินเท้าสองหมื่นคน นางสนมและหญิงนักฟ้อนสองหมื่น

นาง และอำมาตย์สองหมื่นคน พระเจ้าพรหมทัตนั้น ทรงเสวยมหาราชสมบัติอยู่

ทรงทำกสิณบริกรรมอย่างนี้ ทรงยังอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้น

ก็เพราะธรรมดาพระราชาที่ได้อภิเษกแล้ว พึงประทับนั่งในที่ทำการวินิจฉัยคดี

แน่แท้ เพราะฉะนั้น ในวันหนึ่ง ทรงเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ประทับนั่งใน

โรงวินิจฉัย ในที่นั้น มหาชนได้ทำเสียงดังกึกก้อง พระองค์ทรงพระราชดำริว่า

เสียงนี้เป็นอุปกิเลสแก่สมาบัติ ดังนี้ เสด็จขึ้นสู่พื้นปราสาท ประทับนั่งด้วย

พระราชดำริว่า เราจะเข้าสมาบัติ ก็ไม่อาจเพื่อจะเข้าได้ สมาบัติเสื่อมแล้ว

เพราะความฟุ้งซ่านในราชสมบัติ แต่นั้น ทรงพระราชดำริว่า ราชสมบัติ

ประเสริฐ หรือว่า สมณธรรมประเสริฐ ต่อจากนั้น ทรงทราบว่า ความสุข

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 124

ในราชสมบัติมีนิดหน่อย มีโทษมาก ส่วนความสุขในสมณธรรม มีอานิสงส์

มากไพบูล และอันอุดมบุรุษซ่องเสพ แล้วตรัสสั่งอำมาตย์คนหนึ่งว่า เจ้าจง

ปกครองราชสมบัตินี้ โดยราชธรรมโดยสม่ำเสมอ อย่าได้ทำการอันไม่เป็นธรรม

ทรงมอบราชสมบัติทั้งหมด เสด็จขึ้นสู่ปราสาท ประทับอยู่ด้วยความสุขใน

สมาบัติ ใคร ๆ ไม่ได้เพื่อเข้าเฝ้า นอกจากมหาดเล็กผู้ถวายน้ำล้างพระพักตร์

ไม้ชำระพระทนต์ และผู้นำพระกระยาหารเป็นต้น.

ต่อมา พอประมาณกึ่งเดือนผ่านไป พระมเหสีตรัสถามว่า พระราชา

ไม่ทรงปรากฏในที่ใดเลย บรรดาการเสด็จไปอุทยาน การตรวจพล และการดู

การฟ้อนรำเป็นต้น พระองค์เสด็จไป ณ ที่ไหน ราชบุรุษทั้งหลายกราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระนาง พระนางส่งข่าวสารถึงอำมาตย์ว่า เมื่อเจ้ารับราชสมบัติ

แล้ว แม้ตัวฉันเองก็เป็นอันเจ้ารับด้วย เพราะฉะนั้น เจ้าจงมา จงสำเร็จการ

อยู่ร่วมกับฉัน อำมาตย์นั้นปิดหูทั้งสองข้างแล้ว ทูลปฏิเสธว่า ขออย่าได้ยินเรื่อง

นั่น พระนางก็ส่งข่าวสารไปอีกถึง ๒-๓ ครั้ง ทรงคุกคามอำมาตย์ผู้ไม่

ปรารถนาว่า ถ้าท่านไม่ยอมกระทำ เราจะถอดท่านจากตำแหน่งเสีย หรือจะ

ฆ่าท่านเสีย อำมาตย์นั้นกลัวคิดว่า ธรรมดามาตุคามมีความปรารถนารุนแรง

พึงให้กระทำแม้อย่างนี้ ในกาลบางคราวก็ได้ ดังนี้ ในวันหนึ่งได้ไปในที่ลับ

สำเร็จการอยู่ร่วมกับพระนางบนที่บรรทมอันทรงสิริ พระนางทรงมีบุญ มี

สัมผัสอันเป็นสุข อำมาตย์นั้น ถูกราคะอันเกิดจากสัมผัสของพระเมหสีนั้น

ย้อมแล้ว ก็ได้แอบไปบ่อย ๆ ที่พระตำหนักของพระนางนั้น เขาหมดความ

ระแวงเริ่มเข้าไป ดุจเป็นเจ้าของเรือนของตนโดยลำดับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 125

ต่อแต่นั้นมา พวกราชบุรุษก็กราบทูลเรื่องเป็นไปนั้นแด่พระราซา

พระราชาไม่ทรงเชื่อ ก็กราบทูลครั้งที่ ๒ บ้าง ครั้งที่ ๓ บ้าง ลำดับนั้น

พระองค์ประทับนั่งทรงเห็นด้วยพระองค์เอง ได้ตรัสสั่งให้ประชุมอำมาตย์ทุกคน

แล้วตรัสบอกเรื่องเป็นไปนั้น อำมาตย์เหล่านั้นกราบทูลว่า อำมาตย์นี้มีความ

ผิดต่อพระราชา สมควรตัดมือ สมควรตัดเท้า ดังนี้ ได้แสดงกรรมกรณ์

ทั้งหมด ตั้งแต่ให้นอนหงายบนหลาว พระราชาตรัสว่า เราพึงเกิดความเบียด-

เบียนในเพราะฆ่า จองจำ และเฆี่ยนตีอำมาตย์นั้น จะพึงมีปาณาติบาตใน

เพราะปลงชีวิต จะพึงมีอทินนาทานในเพราะริบทรัพย์ พอละด้วยกรรมเห็น

ปานนี้ ที่อำมาตย์นี้ทำแล้ว เราจะปลดอำมาตย์นี้จากราชสมบัติของเราเสีย

อำมาตย์ทั้งหลายได้เนรเทศอำมาตย์นั้นแล้ว อำมาตย์นั้นถือเอาทรัพย์สมบัติ

และบุตรภรรยาของตนไปสู่ต่างประเทศ พระราชาในประเทศนั้น ทรงสดับ

แล้วตรัสถามว่า เจ้ามาทำไม.

อ. ขอเดชะ. ข้าพระพุทธเจ้าปรารถนาจะบำรุงพระองค์พระเจ้าข้า.

พระราชาพระองค์นั้น ทรงรับอำมาตย์นั้น อำมาตย์ได้รับความไว้

วางพระหฤทัยโดยกาลล่วงไปเล็กน้อย ได้ทูลเรื่องนั้น กะพระราชนั้นว่า

ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าเห็นน้ำผึ้งซึ่งไม่มีตัว ผู้กินน้ำผึ้งนั้นก็ไม่มี.

พระราชาทรงพระราชดำริว่า อำมาตย์ประสงค์จะล้อเล่น จึงกล่าวเรื่องนั้น

ทำไมเล่า แล้วไม่ทรงฟัง อำมาตย์นั้นได้โอกาสพรรณนาให้ดีกว่าเดิม

แล้ว ทูลบอกอีก พระราชาตรัสถามว่า นั่นอะไร. นั่นคือราชสมบัติในกรุง-

พาราณสี พระพุทธเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า เธอประสงค์จะนำฉันไปตายหรือ

อำมาตย์นั้นทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พระองค์อย่าได้ตรัสอย่างนั้น ถ้าไม่ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 126

เชื่อ ก็จงทรงส่งคนทั้งหลายไป พระราชาพระองค์นั้น ทรงส่งคนทั้งหลายไป

แล้ว คนเหล่านั้นไปแล้ว ขุดซุ้มประตู ขึ้นทางพระตำหนักบรรทมของ

พระราชา พระราชาทรงเห็นแล้ว ตรัสถามว่า พวกเจ้ามาเพื่ออะไร พวกคน

เหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์เป็นโจร พระราชาจึงตรัสสั่ง

ให้ประทานทรัพย์แก่พวกโจรเหล่านั้น แล้วโอวาทว่า พวกเจ้าอย่าได้ทำอย่างนี้

อีก แล้วก็ทรงปล่อยไป พวกคนเหล่านั้นมาทูลแด่พระราชาของตนนั้น พระ-

ราชานั้นทรงทดลองเหมือนอย่างนั้นแหละ ๒-๓ ครั้ง ทรงพระราชดำริว่า

พระเจ้าพรหมทัตทรงมีศีล แล้วก็ทรงตระเตรียมจตุรงคเสนา เสด็จเข้าสู่นคร

หนึ่งในระหว่างเขตแดน ทรงส่งพระราชสาส์นให้แก่อำมาตย์ในนครนั้นว่า

ท่านจะให้นครแก่เรา หรือว่า จะรบ.

อำมาตย์นั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระเจ้าพรหมทัตว่า ขอพระองค์

จงสั่งว่า ข้าพเจ้าจะรบหรือจะให้นคร พระราชาทรงส่งไปว่า เราไม่พึงรบ

เจ้าให้นครแล้ว จงมาในที่นี้ อำมาตย์นั้นได้กระทำอย่างนั้น ฝ่ายพระราชาผู้

ปฏิปักษ์ทรงยืดนครนั้นแล้ว ก็ส่งทูตไปสู่นครอื่น แม้ในนครที่เหลือทั้งหลาย

ก็เหมือนอย่างนั้น อำมาตย์แม้เหล่านั้นทูลบอกแด่พระเจ้าพรหมทัตเหมือนอย่าง-

นั้น ถูกท้าวเธอตรัสว่า ไม่พึงรบ พึงมาในที่นี้ แล้วมาสู่พระนครพาราณสี

แต่นั้น อำมาตย์ทั้งหลายทูลแด่พระเจ้าพรหมทัตว่า ข้าแต่มหาราช พวกข้า

พระองค์จะรบกับพระราชาผู้ปฏิปักษ์นั้น พระราชาตรัสห้ามว่า ปาณาติบาต

จักมีแก่เรา อำมาตย์ทั้งหลายทูลให้พระราชาทรงยินยอมด้วยอุบายต่าง ๆ ว่า ข้า

แต่มหาราช พวกข้าพระองค์จักจับพระราชานั้นทั้งเป็นแล้ว นำมาในที่นี้ แล้ว

ทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จมา ดังนี้ ก็เริ่มเพื่อจะไป พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 127

ตรัสว่า ถ้าพวกเจ้าจะไม่ทำการนำศัสตราไป การประหารด้วยศัสตราและการปล้น

สดมภ์ เราจะไป อำมาตย์ทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่พระสนมติเทพ พวกข้าพระองค์

จะไม่ทำ จะแสดงภัยแล้วให้หลบหนีไปดังนี้แล้ว จึงเตรียมจตุรงคเสนา ตาม

ประทีปทั้งหลายไว้ในหม้อทั้งหลายแล้ว ไปในราตรี พระราชาผู้ปฏิปักษ์ทรง

ยึดพระนครพาราณสีได้ในวันนั้น ทรงพระราชดำริว่า บัดนี้ เราจะเตรียม-

พร้อมเพื่ออะไร ดังนี้แล้ว จึงให้เลิกการเตรียมพร้อมเสียในราตรี ทรงประมาท

หลับสนิทพร้อมด้วยพลนิกาย.

ลำดับนั้น อำมาตย์ทั้งหลายนำพระเจ้าพาราณสีไปสู่ค่ายของพระราชา

ผู้ปฏิปักษ์ แล้วก็ให้ดับประทีปจากหม้อทุกใบเสีย แล้วได้ทำเสียงแห่งกองทัพ

ซึ่งโชติช่วงพร้อมกัน อำมาตย์ของพระราชาผู้ปฏิปักษ์เห็นพลมีกำลังมาก

ตกใจกลัว เข้าไปเฝ้าพระราชาของตน แล้วทำเลียงดังว่า ขอพระองค์จงลุก

ขึ้น จงเสวยน้ำผึ้งที่ไม่มีตัวผึ้ง อำมาตย์คนที่ ๒ - ที่ ๓ ก็ได้ทำอย่างนั้น

เหมือนกัน พระราชาผู้ปฏิปักษ์ทรงตื่นขึ้นด้วยเสียงนั้น ทรงถึงความกลัว

ความสะดุ้ง เสียงกึกก้องดังขึ้นตั้งร้อย พระราชาผู้ปฏิปักษ์นั้นทรงพระราชดำริ

ว่า เราเชื่อคำพูดของคนอื่น จึงถึงเงื้อมมือของศัตรู ทรงบ่นเพ้อถึงคำนั้น ๆ

ตลอดทั้งคืน ในวันที่ ๒ จึงทรงคิดได้ว่า พระเจ้าพรหมทัตทรงเป็นพระราชา

ทรงธรรม ไม่พึงลงโทษ เราจะไปขอโทษพระองค์ดังนี้แล้ว จึงเสด็จเข้าไป

เฝ้าพระราชา ทรงคุกพระชานุทั้งสองลงแล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า

ขอพระองค์จงทรงอดโทษต่อความผิดของข้าพระองค์เถิด พระราชาทรงโอวาท

พระราชาผู้ปฏิปักษ์นั้นแล้วตรัสว่า ท่านจงลุกขึ้น ข้าพเจ้ายกโทษให้แก่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 128

พระราชาผู้ปฎิปักษ์นั้น พอพระราชาตรัสเท่านั้น ก็ทรงถึงความโล่งพระทัย

อย่างยิ่ง ทรงได้ราชสมบัติในชนบทซึ่งใกล้เคียงพรหมแดนของพระเจ้ากรุง

พาราณสี ทั้งสองพระองค์นั้น ได้เป็นพระสหายกันและกัน.

ครั้งนั้น พระเจ้าพรหมทัตทรงเห็นเสนาทั้งสองฝ่าย ต่างชื่นชมยืน

ร่วมกันอยู่ จึงทรงพระราชดำริว่า หยดโลหิตแม้เพียงแมลงวันตัวเล็ก ๆ ดื่ม

ได้ ก็ไม่บังเกิดในหมู่มหาชนนี้ เพราะโยชน์แก่การตามรักษาจิตของเราคน-

เดียว โอ! ดีจริงหนอ โอ ! ดีนักแล ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุขเถิด

จงอย่ามีเวร จงอย่าเบียดเบียนกัน ดังนี้แล้ว ทรงยังเมตตาฌานให้เกิดขึ้น

ทรงทำเมตตาฌานนั้นแลให้เป็นบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย กระทำให้แจ้ง

ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ ทรงบรรลุความเป็นสยัมภู อำมาตย์ทั้งหลายได้ประชุมกัน

กราบทูลพระเจ้าพรหมทัตนั้น ผู้มีความสุขด้วยมรรคสุข ผลสุข ประทับนั่ง

บนคอช้างว่า ข้าแต่มหาราช กาลนี้เป็นการเสด็จขึ้นสู่พระยาน ขอพระองค์

พึงกระทำสักการะแก่หมู่พลผู้ชนะ พึงพระราชทานอาหารและเสบียงแก่หมู่พล

ผู้แพ้ พระเจ้าพรหมทัตนั้นตรัสว่า ดูก่อนพนาย เราไม่ใช่พระราชา เราชื่อว่า

พระปัจเจกสัมพุทธะ อำมาตย์ทั้งหลายทูลว่า พระองค์ตรัสอะไร พระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้งหลายไม่เป็นเช่นนี้ พระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนพนาย พระปัจ-

เจกพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเช่นไร อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ธรรมดา

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีผมและหนวดประมาณ ๒ องคุลี ทรงบริขาร ๘

พระองค์ทรงลูบพระเศียรด้วยพระหัตถ์เบื้องขวา ทันใดนั้น เพศคฤหัสถ์ ก็

อันตรธานไป เพศบรรพชิตเข้ามาแทนที่ พระองค์ทรงมีพระเกศาและพระมัสสุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 129

ประมาณ ๒ องคุลี ประกอบพร้อมด้วยบริขาร ๘ เป็นเช่นกับพระเถระมี

พรรษา ๑๐๐ พรรษา พระองค์ทรงเข้าจตุตถฌาน ทรงเหาะขึ้นจากคอช้างไป

สู่เวหาส ประทับนั่งบนดอกปทุม อำมาตย์ทั้งหลายไหว้แล้ว ทูลถามว่า ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงบำเพ็ญกรรมฐานอะไร ทรงบรรลุอย่างไร

พระองค์ทรงเห็นแจ้งวิปัสสนา ซึ่งเป็นเหตุให้พระองค์ทรงได้เมตตาณานกรรม-

ฐานบรรลุ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนั้น จึงตรัสอุทานกถา

พยากรณกถา และคาถานี้ว่า สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑ แปลว่า

บุคคลวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพสุ ได้แก่ ที่เหลือลง. บทว่า

ภูเตสุ ได้แก่ ในสัตว์ทั้งหลาย. ความสังเขปในคาถานี้มีเพียงเท่านี้ ส่วนความ

พิสดารข้าพเจ้าจักกล่าวในรัตนสุตตวัณณนา. บทว่า นิธาย ได้แก่ วางแล้ว.

บทว่า ทณฺฑ ได้แก่ อาชญาทางกาย วาจา และใจ. คำว่า ทณฺฑ นั่น

เป็นชื่อของทุจริตทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้น. จริงอยู่ กายทุจริต ชื่อว่า ทัณฑ์

เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้ลงโทษ อธิบายว่า เบียดเบียน คือให้ถึงความ

พินาศ. วจีทุจริต และมโนทุจริตก็เหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง การลงโทษ

ด้วยการประหารนั่นเทียว ชื่อ ทัณฑ์. อธิบายว่า วางทัณฑ์นั้นแล้วดังนี้บ้าง.

บทว่า อวิเหย คือ ไม่เบียดเบียน. บทว่า อญฺตรมฺปิ ได้แก่

แม้ผู้ใดผู้หนึ่ง. บทว่า เตส ได้แก่ บรรดาสัตว์ทั้งเหล่านี้น. บทว่า

ปุตฺตมิจฺเฉยฺย ความว่า ไม่พึงปราถนาบุตรคนใดเลย ในบุตร ๔ จำพวก

เหล่านี้คือ บุตรเกิดจากตน ๑ บุตรเกิดในเขต ๑ บุตรบุญธรรม ๑ บุตรคือลูก

ศิษย์ ๑. บทว่า กุโต สหาย ความว่า จะพึงปรารถนาสหายนั้น แต่ที่ไหน

ด้วยหวังว่า พึงปรารถนาสหาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 130

บทว่า เอโก ความว่า ผู้เดียวด้วยเพศ กล่าวคือบรรพชา ผู้เดียว

ด้วยอรรถว่า ไม่มีเพื่อน ผู้เดียวด้วยการละตัณหา ผู้เดียวด้วยอรรถว่า มี

กิเลสปราศไปแล้วโดยส่วนเดียว ผู้เดียวด้วยอรรถว่า ตรัสรู้ชอบโดยเฉพาะ

ซึ่งปัจเจกโพธิญานแต่ผู้เดียว. จริงอยู่ บุคคลเป็นไปในท่ามกลางสมณะ ตั้งพัน

ชื่อว่า ผู้เดียว เพราะตัดความเกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์เสียได้ ผู้เดียวด้วยเพศกล่าว

คือบรรพชาอย่างนี้. ชื่อว่า ผู้เดียวด้วยอรรถว่า ยืนคนเดียว นั่งคนเดียว

นอนคนเดียว เปลี่ยนอิริยาบถคนเดียว เป็นไปคนเดียว ผู้เดียวด้วยอรรถว่า

ไม่มีเพื่อนอย่างนี้. ชื่อว่า ผู้เดียว ด้วยอรรถว่า ละตัณหาอย่างนี้ว่า

คนมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวอยู่

สิ้นกาลนาน ไม่ก้าวล่วงสังสาร ซึ่งมีความ

เป็นอย่างนี้ ไม่มีความเป็นอย่างอื่น ภิกษุมี

สติ ปราศจากตัณหา ไม่ยึดมั่น รู้โทษ

นั้นแล้ว พึงละเว้นตัณหา อันเป็นแดนเกิด

ของทุกข์เสีย ดังนี้.*

ชื่อว่า ผู้เดียว ด้วยอรรถว่า มีกิเลสปราศไปแล้วโดยส่วนเดียว

อย่างนี้ว่า กิเลสทั้งปวงอันภิกษุนั้นละแล้ว มีรากเหง้าถูกตัดขาดแล้ว เป็นดุจ

ต้นตาล ฯลฯ มีความไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา. ชื่อว่า ผู้เดียว ด้วยอรรถ

อย่างนี้ว่า เป็นผู้ไม่มีอาจารย์ รู้เอง ตรัสรู้ชอบเฉพาะซึ่งปัจเจกโพธิญานได้ด้วย

ตนเองนั้นแล ผู้เดียว ด้วยอรรถว่า ตรัสรู้ชอบเฉพาะซึ่งปัจเจกโพธิญานอย่างนี้.

* อ. จตุกฺก ๑๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 131

บทว่า จเร ได้แก่ จริยา ๘ เหล่านี้ คือ

๑. อิริยาปถจริยา ในอิริยาบถ ๔ สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยปณิธิ

๒. อายตนจริยา ในอายตนะภายใน สำหรับผู้มีทวารอัน

คุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย

๓. สติจริยา ในสติปัฏฐาน ๔ สาหรับผู้อยู่ด้วยความไม่-

ประมาท

๔. สมาธิจริยา ในฌาน ๔ สำหรับผู้ตามประกอบซึ่งอธิจิต

๕. ญาณจริยา ในอริยสัจ ๔ สำหรับผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธิ

๖. มรรคจริยา ในอริยมรรค ๔ สำหรับผู้ปฏิบัติชอบ

๗. ปกติจริยา ในสามัญผล ๔ สำหรับผู้บรรลุผล

๘. โลกัตถจริยา ในสัตว์ทั้งหลาย สำหรับพระพุทธเจ้าทั้ง ๓.

ในพระพุทธเจ้าทั้ง ๓ นั้น พระปัจเจกพุทธะและพระสาวกมีโลกัตถ-

จริยาเพียงบางส่วน สมดังที่ท่านกล่าวว่า คำว่า จริยา ได้แก่ จริยา ๘

ความพิสดารก็คือ อิริยาปถจริยา. อธิบายว่า พึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจริยา

เหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า จริยา ๘ แม้อื่นเหล่านี้ใด คือ บุคคล

เมื่อน้อมใจเชื่อ ย่อมประพฤติตัวศรัทธา เมื่อประคอง ย่อมประพฤติด้วยวิริยะ

เมื่อเข้าไปตั้งมั่น ย่อมประพฤติด้วยสติ ผู้ไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ

เมื่อรู้ชัด ย่อมประพฤติด้วยสัญญา เมื่อรู้แจ้ง ย่อมประพฤติวิญญาณ กุศลธรรม

ทั้งหลายย่อมสืบต่อสำหรับบุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าประพฤติ

อายตนจริยา บุคคลปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมบรรลุถึงคุณวิเศษ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่าประพฤติด้วยจริยาพิเศษ พึงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจริยาเหล่านั้น. นอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 132

ของแรด ชื่อว่า ขัคควิสาณ ในบทว่า ขคฺควิสาณกปฺโป นี้. ข้าพเจ้า

จักประกาศเนื้อความแห่งกัปปศัพท์โดยพิสดาร ในมงคลสุตตวัณณนา แต่ใน

ขัคควิสาณสุตตวัณณนานี้ บัณฑิตพึงทราบการเปรียบเทียบ ดุจในประโยคมี

อาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า บุคคลนี้ ปรึกษาอยู่กับสาวกผู้

สมควรแก่พระศาสดาหนอ อธิบายว่า ผู้เป็นเช่นกันนอแรด.

การพรรณนาเนื้อความตามบทในคาถานี้เพียงเท่านี้ก่อน แต่บัณฑิต

พึงทราบโดยอนุสนธิแห่งการอธิบายอย่างนี้ อาชญามีประการดังกล่าวนี้ใด

อันบุคคลให้เป็นไป คือ ไม่วางในสัตว์ทั้งหลาย ครั้นเมื่ออาชญานั้นอันเรา

ไม่ให้เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น เราชื่อว่าวางอาชญาในสัตว์ทั้งปวงแล้ว

ด้วยเมตตาอันเป็นปฏิปักษ์ต่ออาชญานั้น และด้วยการนำเข้ามาซึ่งประโยชน์

เกื้อกูลแก่คนอื่น และเพราะวางอาชญาได้แล้วนั้นแล ชื่อว่า ไม่เบียดเบียน

บรรดาสัตว์เหล่านั้นแม้ผู้ใดผู้หนึ่งให้ลำบาก เหมือนสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยังไม่วาง

อาชญาย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย ด้วยท่อนไม้บ้าง ศาสตราบ้าง ฝ่ามือบ้าง

ก้อนดินบ้างฉะนั้น อาศัยเมตตากรรมฐานนี้แล้ว พิจารณาเวทนา สัญญา

สังขาร และวิญญาณในสัตว์เหล่านั้น และสังขตธรรมอื่นจากนั้น ตามกระแส

แห่งเมตตากรรมฐานนั้นแล จึงได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณนี้ คำอธิบายเพียงเท่า

นี้ก่อน.

ส่วนอนุสนธิดังนี้ เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสดังนี้แล้ว อำมาตย์

เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พระองค์จะเสด็จไป ณ

ที่ไหน ลำดับนั้น ครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงระลึกว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

องค์ก่อน ๆ อยู่ที่ไหน ครั้นทรงรู้แล้ว จึงตรัสว่า ที่ภูเขาคันธมาทน์ จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 133

กราบทูลอีกว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โอ ! บัดนี้ พระองค์ทรงทอดทิ้ง

ไม่ทรงปรารถนาพวกข้าพระองค์ดังนี้ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านี้ตรัสว่า บุคคล

ไม่พึงปรารถนาบุตร. อธิบายในคาถานั้นดังนี้ บัดนี้ เราไม่พึงปรารถนาบุตร

แม้คนใดเลย ในบรรดาบุตรที่เกิดจากตนเป็นต้น แต่จะพึงปรารถนาสหาย

ผู้เช่นท่านแต่ที่ไหน เพราะฉะนั้น แม้ในพวกท่านทั้งหลาย ผู้ใดต้องการเพื่อ

จะไปพร้อมกับเรา หรือเพื่อเป็นเช่นเรา ผู้นั้นพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรดฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าองค์นั้น ผู้อันอำมาตย์เหล่านั้น

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พระองค์ทรงทอดทิ้ง ไม่ทรงปรารถนา

พวกข้าพระองค์เลย จึงตรัสว่า เราไม่พึงปรารถนาบุตร จะพึงปรารถนาสหาย

แต่ที่ไหน ทรงเห็นคุณแห่งการเที่ยวไปแต่ผู้เดียวของพระองค์ โดยเนื้อความ

ตามที่กล่าวแล้ว ทรงพระปราโมทย์ ทรงเกิดปีติโสมนัส จึงตรัสอุทานคาถา

นี้ว่า

พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น.

พระปัจเจกพุทธเจ้าครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว เมื่อมหาชนเพ่งดูอยู่นั่นเอง

ก็ได้เหาะขึ้นทางอากาศ เสด็จไปสู่ภูเขาคันธมาทน์ ชื่อว่า ภูเขาคันธมาทน์

อยู่เลยภูเขา ๗ ลูก (ในหิมวันตประเทศ) คือ จูฬกาลบรรพต มหากาฬ

บรรพต นาคปลิเวฏฐนาบรรพต จันทสัมภรบรรพต สุริยสัมภรบรรพต

สุวัณณปัสสบรรพต และหิมวันตบรรพต. ที่ภูเขาคันธมาทน์นั้น มี

เงื้อมผา ชื่อว่า นันทมูลกะ เป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และ

มีคูหา ๓ คูหา คือ สุวรรณคูหา มณิคูหา รชตคูหา. ที่ภูเขาคันธมาทน์นั้น

มีต้นไม้ ชื่อ มัญชุสกะ ที่ประตูมณิคูหา สูง ๑ โยชน์ กว้าง ๑ โยชน์

ต้นไม้นั้นบานสะพรั่งทั่วไปในน้ำ หรือบนบก โดยพิเศษในวันที่พระปัจเจก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 134

พุทธเจ้าเสด็จมาถึง ข้างหน้าต้นไม้นั้น มีโรงรัตนะทุกอย่าง ในโรงรัตนะนั้น

ลมสาหรับกวาด ย่อมพัดหยากเยื่อ ลมสาหรับเกลี่ยพื้น ย่อมพัดทรายที่แล้ว

ด้วยแก้วทุกอย่างให้ราบเรียบ ลมสำหรับรดย่อมพัดเอาน้ำจากสระอโนดาต

มารด ลมสำหรับทำกลิ่นหอม ย่อมพัดเอากลิ่นหอมของต้นไม้ที่มีกลิ่นหอม

ทั้งหมดมาจากภูเขาหิมวันต์ ลมสำหรับโปรย ย่อมพัดเอาดอกไม้ทั้งหลายมาโปรย

ลง ลมสำหรับปูลาดย่อมปูลาดในที่ทั้งปวง ในวันที่พระปัจเจกพุทธะเกิดขึ้น

และในวันอุโบสถ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง นั่งประชุมในที่เหล่าใด อาสนะ

ทั้งหลายเป็นอันปูแล้วในที่เหล่านั้นทุกเมื่อ นี้เป็นปกติในภูเขาคันธมาทน์นั้น

พระปัจเจกพุทธะผู้ตรัสรู้ชอบเอง โดยเฉพาะได้เสด็จไปในภูเขาคันธมาทน์นั้น

ประทับนั่ง ณ อาสนะที่ปูลาดแล้ว.

แต่นั้น ถ้าในเวลานั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่าอื่นมีอยู่ พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็ประชุมในขณะนั้น ย่อมนั่งบนอาสนะที่ปูแล้ว

และครั้นนั่งแล้ว ก็เข้าสมาบัติบางอย่างแล้วก็ออก ต่อจากนั้น สังฆเถระก็ถาม

กรรมฐานกะพระปัจเจกพุทธเจ้าที่มาใหม่ว่า บรรลุได้อย่างไร เพื่อประโยชน์

แก่อนุโมทนาของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งปวง แม้ในกาลนั้นพระปัจเจกพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ก็ตรัสอุทานคาถาและพยากรณคาถาของพระองค์นั้นแล แม้

พระผู้มีพระภาคเจ้าอันท่านพระอานนท์ทูลถาม ก็ตรัสคาถานั้นอีกเหมือนกัน

และพระอานนท์ก็ได้กล่าวในคราวทำสังคายนา คาถาแต่ละคาถาได้กล่าวถึง ๔

ครั้ง คือ ในฐานะที่พระเจ้าพรหมทัตตรัสรู้โดยชอบเฉพาะซึ่งปัจเจกสัมโพธิ-

ญาณ ๑ ที่มัญชุสกมาลา ๑ ในกาลที่พระอานนท์ทูลถาม ๑ ในสังคีติกาล ๑ ด้วย

ประการฉะนี้แล.

ปฐมคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 135

คาถาที่ ๒

คาถาว่า สสคฺคชาตสฺส ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

พระปัจเจกโพธิสัตว์แม้นี้ กระทำสมณธรรมโดยนัยก่อนนั่นแล ใน

ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป ตลอด ๒๐,๐๐๐ ปี ในที่สุด

ทำกสิณบริกรรม ยังปฐมฌานให้เกิดขึ้นและกำหนดนามและรูป ทำการพิจารณา

ลักษณะ ยังไม่บรรลุอริยมรรค เกิดในพรหมโลก. เขาจุติจากพรหมโลกนั้น

แล้ว เกิดในครรภ์ของพระอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสี เมื่อให้เจริญ

เติบโตโดยนัยก่อนนั่นเทียว จำเดิมแต่นั้น ก็ไม่ทรงรู้ความแปลกกันว่า นี้สตรี

นี้บุรุษ เพราะอาศัยเหตุนั้น จึงไม่ทรงยินดีในมือของสตรีทั้งหลาย ย่อมไม่อดทน

แม้เหตุสักว่า การอบ การอาบ และการประดับเป็นต้น บุรุษทั้งหลายเท่านั้น

เลี้ยงดูพระราชกุมารนั้น ในเวลาให้เสวยน้ำนม พวกนางนมทั้งหลาย ก็สวม

เสื้อแปลงเพศเป็นบุรุษให้เสวยน้ำนม พระกุมารนั้น สูดกลิ่นของสตรีทั้งหลาย

ทรงลุกขึ้นกันแสง แม้ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว ก็ไม่ทรงปรารถนาเพื่อแตะต้อง

สตรีทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น พระญาติทั้งหลายจึงขนานพระนามของพระกุมาร

นั้นว่า อนิตฺถิคนฺโธ.

ครั้นพระกุมารนั้นมีพระชันษาได้ ๑๖ พระชันษา พระราชาทรง

พระราชดำริว่า เราจักให้กุมารดำรงวงศ์ตระกูล ทรงนำราชกัญญาอัน

สมควรแก่พระกุมารนั้น แต่ตระกูลต่าง ๆ แล้วตรัสสั่งอำมาตย์คนหนึ่งว่า

เจ้าจงให้พระกุมารยินดี อำมาตย์มีความประสงค์เพื่อให้พระกุมารนั้น ให้นักฟ้อน

ทั้งหลายประเล้าประโลม พระกุมารทรงสดับเสียงที่ขับร้องและประโคม จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 136

ตรัสว่า นั่นเสียงของใคร อำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ นั่นเป็นเสียง

ของนักฟ้อนทั้งหลายของพระองค์ ผู้มีบุญทั้งหลาย ย่อมมีนักฟ้อนทั้งหลาย

เช่นนี้ ข้าแต่พระสมมติเทพ พระองค์ทรงมีบุญมาก ขอพระองค์จงทรงอภิรมย์.

พระกุมารทรงตีอำมาตย์ด้วยท่อนไม้ให้ไล่ออกไป อำมาตย์นั้นกราบทูลแด่

พระราชา พระราชาได้ตรัสสั่งอำมาตย์อีกว่า เจ้าจงไปพร้อมกับพระมารดาของ

พระกุมาร แล้วให้พระกุมารยินดี.

พระกุมารนั้น ถูกคนเหล่านั้นบีบคั้นอย่างยิ่งอยู่ จึงได้ประทานทองคำ

อันประเสริฐ แล้วตรัสสั่งพวกช่างทองว่า ท่านทั้งหลายจงทำรูปสตรีให้งาม

พวกช่างทองเหล่านั้น ก็ได้ทำรูปสตรี ซึ่งประดับประดาด้วยเครื่องอลังการ

ทั้งปวงเช่นกับพระวิษณุกรรมเนรมิต แล้วแสดงแก่พระกุมาร พระกุมาร

ทอดพระเนตรแล้วสั่นพระเศียร ด้วยความอัศจรรย์ส่ง ไปแก่พระมารดาและ

พระบิดา ด้วยพระดำรัสว่า ถ้าหม่อมฉันได้สตรีเช่นนี้ก็จะยอมรับ พระมารดา

และพระบิดาก็ทรงดำริว่า บุตรของพวกเรามีบุญมาก นางทาริกาบางคนที่ได้

เคยทำบุญร่วมกับบุตรนั้น จักเกิดแล้วในโลกแน่แท้. ดังนี้แล้ว จึงให้ยกรูป

ทองคำนั้นขึ้นสู่รถ ตรัสสั่งแก่อำมาตย์ทั้งหลายว่า เชิญเถิด ท่านปรารถนา

พึงแสวงหาทาริกาเช่นนี้.

อำมาตย์เหล่านั้นนำไปสู่มหาชนบท ๑๖ แห่ง ไปสู่บ้านนั้น ๆ เห็น

ประชุมชนในที่ใด ๆ ที่ท่าน้ำเป็นต้น จึงตั้งรูปทองคำดุจเทวดา ไว้ในที่

นั้น ๆ ทำการบูชาด้วยดอกไม้และเครื่องอลังการนานาชนิด ผูกเพดานยืน

อยู่ในที่สุดข้างหนึ่ง ด้วยคิดว่า ถ้าจักมีใคร ๆ เคยเห็นเคยได้ยินสตรี ซึ่ง

มีรูปงามเห็นปานนี้ไซร้ เขาจักพูดขึ้น ดังนี้ แล้วเที่ยวไปสู่ชนบททั้งปวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 137

ด้วยอุบายนั่น เว้นมัททรัฐแต่รัฐเดียว. ดูแคลนว่า มัททรัฐนั้น เป็นรัฐเล็ก

ไม่ไปในมัททรัฐนั้นก่อน แล้วกลับ. ลำดับนั้น อามาตย์เหล่านั้นมีความคิดว่า

พวกเราจะต้องไปสู่แม้มัททรัฐก่อน ขอพระราชาอย่าได้ส่งพวกเราผู้เข้าสู่กรุง-

พาราณสีไปอีก ดังนี้ จึงได้ไปสู่สาคลนครในมัททรัฐ.

ก็ในสาคลนคร มีพระราชาพระนามว่า มัททวะ พระธิดาของพระเจ้า

มัททวะนั้น มีพระชันษาได้ ๑๖ ปี มีพระรูปโฉมสวยงามยิ่งนัก และนางวรรณ

ทาสีของพระธิดานั้น ก็ไปสู่ท่าน้ำ เพื่อประโยชน์แก่การตักน้ำอาบ เห็นรูป

ทองคำนั้น ซึ่งอำมาตย์ทั้งหลายตั้งไว้ในที่นั้นแต่ไกลเทียว ก็พูดว่า พระราชบุตรี

ทรงส่งพวกเรา เพื่อประโยชน์แก่น้ำ ก็เสด็จมาเสียเอง แล้วเข้าไปใกล้พูดว่า

สตรีนี้ไม่ใช่เจ้านายของพวกเรา เจ้านายของพวกเราสวยงามยิ่งกว่าสตรีนี้ พวก

อำมาตย์ได้ฟังดังนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระราชา ทูลขอทาริกา โดยนัยอันสมควร

พระราชาแม้นั้น ก็ทรงพระราชทาน ต่อแต่นั้น พวกอำมาตย์ได้ส่งข่าวทูล

พระเจ้ากรุงพาราณสีว่า ทาริกาได้แล้ว พระองค์จักเสด็จมาเอง หรือพวก

ข้าพระองค์เท่านั้น จะนำมา ดังนี้ พระองค์ส่งข่าวไปว่า เมื่อเราไปจักเป็นการ

เบียดเบียนชนบท พวกท่านเท่านั้น จงนำทาริกานั้นมา อำมาตย์ทั้งหลายพา

ทาริกาออกจากพระนคร ส่งข่าวไปถวายพระกุมารว่า ทาริกาเช่นกับรูปทองคำ

ได้แล้ว พระกุมารแม้ทรงสดับข่าวนั้น ก็ถูกราคะครอบงำ เสื่อมจากปฐมฌาน

พระองค์ทรงส่งทูตคนอื่น ๆ ว่า พวกท่านจงนำมาเร็ว พวกท่านจงนำมาเร็ว.

พวกอำมาตย์นั้น ถึงกรุงพาราณสี โดยพักคืนเดียวเท่านั้นในที่ทั้งปวง

ยืนอยู่ในภายนอกพระนคร ส่งข่าวถวายพระราชาว่า พึงเข้าไปในวันนี้หรือไม่

พระราชาตรัสสั่งว่า เรานำนางทาริกาจากตระกูลประเสริฐที่สุด ทำมงคลกิริยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 138

แล้วจักให้เข้ามา ด้วยสักการะอันใหญ่ พวกท่านจงนำนางทาริกานั้นไปสู่

อุทยานก่อน อำมาตย์เหล่านั้นได้ทำตามพระราชโองการแล้ว นางทาริกานั้น

เป็นผู้ละเอียดอ่อนอย่างยิ่ง บอบช้ำแล้วเพราะการกระทบกระแทกแห่งยาน มี

โรคลมเกิดขึ้น เพราะความเมื่อยล้าจากเดินทางไกล จึงได้ทำกาละเสียในคืน

นั้นเอง ดุจดอกไม้ที่เหี่ยวไปฉะนั้น.

พวกอำมาตย์คร่ำครวญว่า พวกเราฉิบหายแล้วจากสักการะ พระราชา

ก็ดี ชาวนครก็ดี ต่างก็คร่ำครวญว่า ตระกูลวงศ์พินาศแล้ว ความวุ่นวายใหญ่

ได้มีแล้วในพระนคร พระกุมารพอได้สดับเท่านั้น ก็ทรงเกิดความเศร้าโศก

อันยิ่งใหญ่ ต่อแต่นั้น พระกุมารก็ทรงปรารภเพื่อขุดรากเหง้าแห่งความเศร้าโศก

พระองค์ทรงดำริว่า ธรรมดาความโศกนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่เกิด แต่ย่อมมีแก่

ผู้เกิดแล้ว เพราะฉะนั้น ความโศกมีเพราะอาศัยชาติ ก็ชาติมีเพราะอาศัย

อะไรเล่า แต่นั้น ทรงมนสิการโดยแยบคาย ด้วยอานุภาพแห่งภาวนาในกาลก่อน

อย่างนี้ว่า ชาติมีเพราะอาศัยภพ ทรงเห็นปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมและปฏิโลม

ทรงพิจารณาสังขารทั้งหลาย ประทับนั่ง ณ ที่นั้นนั่นแล ก็ทรงกระทำให้แจ้ง

ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ อำมาตย์ทั้งหลายเห็นพระกุมารนั้น ทรงมีความสุขด้วย

ความสุขอันเกิดจากมรรคผล มีพระอินทรีย์สงบ พระมานัสสงบ ประทับอยู่

จึงประนมมือกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ ขอพระองค์อย่าทรงเศร้าโศก

เลย ชมพูทวีปใหญ่ ข้าพระองค์จักนำมาซึ่งทาริกาอื่นที่งามกว่า พระกุมารนั้น

ตรัสว่า เราไม่เศร้าโศก แต่หมดความเศร้าโศกแล้ว เราเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า.

คำนั้นทั้งหมด เบื้องหน้าแต่นี้ เป็นเช่นกับคาถาแรก เว้นการพรรณนาคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 139

ก็ในการพรรณนาคาถา บทว่า สสคฺคชาตสฺส ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้อง

เกิดแล้ว ในคาถานั้น ความเกี่ยวข้องมี ๕ อย่าง คือ

๑. ทัสสนสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะการเห็น

๒. สวนสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะการฟัง

๓. กายสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องทางกาย

๔. สมุลลาปนสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะการสนทนา

๕. สัมโภคสังสัคคะ ความเกี่ยวข้องเพราะกินร่วมกัน.

ในความเกี่ยวข้อง ๕ อย่างนั้น ราคะเกิดด้วยอำนาจแห่งจักขุวิญญาณ

วิถี เพราะเห็นซึ่งกันและกัน ชื่อว่า ทัสสนสังสัคคะ. ธิดาของกุฎุมพีผู้มี

จิตรักใคร่ เพราะเห็นภิกษุหนุ่มชื่อ ทีฆภาณกะ ผู้อยู่ในกัลยาณวิหาร ซึ่งกำลัง

ไปสู่กาลทีฆวาปิคาม เพื่อบิณฑบาต ในสีหลทวีป ไม่ได้ภิกษุหนุ่มนั้น ด้วย

อุบายบางอย่าง ก็ทำกาลกิริยา และภิกษุหนุ่มรูปนั้นเอง เห็นผ้านุ่งของธิดานั้น

ก็คิดว่า เราไม่ได้อยู่ร่วมกับนางผู้นุ่งผ้าเห็นปานนี้ แล้วหัวใจแตกตาย เป็น

ตัวอย่างในทัสสนสังสัคคะนั้น.

ก็ราคะเกิดด้วยอำนาจแห่งโสตวิญญาณวิถี เพราะฟังสมบัติมีรูปเป็นต้น

ที่คนอื่นทั้งหลายพูดถึง หรือเพราะตนได้ฟังเสียงหัวเราะ เสียงพูดจา และเสียง

เพลงขับ ชื่อว่า สวนสังสัคคะ. แม้ในสวนสังสัคคะนั้น ภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ

ผู้อยู่ในถ้ำปัญจัคคฬะ กำลังเหาะทางอากาศ ได้ฟังเสียงของธิดาช่างมีดผู้อยู่ใน

คิริคาม ไปสระปทุมพร้อมกับกุมารี ๕ นาง อาบน้ำแล้ว ยกดอกไม้ร้องเพลง

ด้วยเสียงดัง ก็เสื่อมจากคุณวิเศษ เพราะกามราคะ ถึงความพินาศเป็นตัวอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 140

ราคะเกิดเพราะลูบคลำอวัยวะของกันและกัน ชื่อว่า กายสังสัคคะ.

ก็ในกายสังสัคคะนี้ มีภิกษุหนุ่มชื่อ ธรรมภาสกะ เป็นตัวอย่าง ได้ยินว่า ภิกษุ

หนุ่มกล่าวธรรมในมหาวิหาร เมื่อมหาชนมาในมหาวิหารนั้น แม้พระราชาก็

เสด็จไปพร้อมกับชาววัง แต่นั้น ราคะกล้าได้เกิดแก่พระราชธิดา เพราะอาศัย

รูปและเสียงของภิกษุหนุ่มนั้น และเกิดแม้แก่ภิกษุหนุ่มรูปนั้น พระราชาทรง

เห็นเหตุนั้น ทรงกำหนดแล้ว ให้ล้อมด้วยกำแพงคือม่าน เธอทั้งสองนั้น ก็

เคล้าคลึงโอบกอดซึ่งกันและกัน ชนทั้งหลายเลิกผ้าม่านแลดูอีก ก็เห็นเธอ

ทั้งสองถึงแก่ความตายแล้ว.

ก็ราคะเกิดเพราะการสนทนาปราศรัยกะกันและกัน ชื่อว่า สมุลลา-

ปนสังสัคคะ. ราคะเกิดในเพราะทำการบริโภคร่วมกันกับภิกษุณีทั้งหลาย

ชื่อว่า สัมโภคสังสัคคะ ในสังสัคคะแม้ทั้งสองนั้น ภิกษุและภิกษุณีถึงอาบัติ

ปาราชิก. เป็นตัวอย่าง. ได้ยินว่า ในการฉลองมหาวิหาร ชื่อ มิรจิวัฏฏกะ

พระเจ้าทุฏฐคามณีอภยมหาราช ทรงจัดแจงมหาทานอังคาสพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย

ในการฉลองมหาวิหารนั้น เมื่อถวายข้าวยาคูร้อน สามเณรีผู้ยังใหม่กว่าสงฆ์

ได้ถวายวลัยงาแก่สามเณรผู้ใหม่กว่าสงฆ์ ซึ่งไม่มีเชิงรองบาตร ได้ทำการเจรจา

ปราศรัยกัน เธอแม้ทั้งสองนั้นอุปสมบทแล้ว ได้ ๖๐ พรรษา ไปสู่ฝั่งโน้น

ได้รับบุพสัญญา เพราะการเจรจาปราศรัยกะกันและกัน ก็เกิดสิเนหาในทันที

ทันใดนั้นเอง ล่วงละเมิดสิกขาบท ต้องอาบัติปาราชิก.

ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้เกี่ยวข้องกัน ด้วยความเกี่ยวข้องอย่างใด

อย่างหนึ่ง ในความเกี่ยวข้อง ๕ อย่าง ราคะอันมีกำลังย่อมเกิดขึ้น เพราะ

ราคะในกาลก่อนเป็นปัจจัย ด้วยประการฉะนี้. แต่นั้น ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 141

ความเยื่อใย คือ ทุกข์นี้มีประการต่าง ๆ มีความโศกและความคร่ำครวญเป็นต้น

ทั้งที่เป็นทิฏฐธรรมและสัมปรายิกภพย่อมเกิดขึ้น คือ ย่อมบังเกิด ย่อมมี

ย่อมเกิด ติดตามความเยื่อใยนั้นนั่นเอง. ส่วนอาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ได้แก่

การปล่อยใจในอารมณ์ แต่นั้น ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นเพราะความเยื่อใย ดังนี้แล.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ครั้นตรัสอรรถคาถานี้ มีประเภทแห่ง

เนื้อความอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ทุกข์มีความโศกเป็นต้นนี้ใด ย่อมเกิดขึ้นตาม

ความเยื่อใย เรานั้นได้ขุดรากเหง้าของทุกข์นั้น จึงบรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว อำมาตย์เหล่านั้น จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้

พวกข้าพระองค์พึงทำอย่างไร ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสว่า พวกท่านหรือ

พวกอื่น ผู้ใดต้องการพ้นจากทุกข์นี้ ผู้นั้นแม้ทั้งหมดเล็งเห็นโทษอันเกิดแต่

ความเยื่อใย พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น.

ก็คำว่า เล็งเห็นโทษอันเกิดแต่ความเยื่อใยนี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าว

หมายเอาคำที่พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสว่า ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตามความเยื่อใย.

อีกอย่างหนึ่ง พึงเชื่อมความอย่างนี้ว่า ความเยื่อใยย่อมมีแก่บุคคลผู้มีความ

เกี่ยวข้องเกิดขึ้นแล้ว ด้วยความเกี่ยวข้องตามที่กล่าวแล้ว ทุกข์นี้ย่อมเกิดขึ้นตาม

ความเยื่อใย เราเล็งเห็นทุกข์นั้นอันเกิดแต่ความเยื่อใย ทำความเสียดแทงตาม

ที่มาแล้ว จึงบรรลุดังนี้ พึงทราบว่า บาทที่ ๔ พระปัจเจกพุทธเจ้าตรัสแล้ว

ด้วยอำนาจแห่งอุทาน โดยนัยที่กล่าวแล้วในก่อนนั่นเทียว. บททั้งปวงนอกจาก

นั้น เป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วในคาถาต้นนั้นแล.

สังสัคคคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 142

คาถาที่ ๓

คาถาว่า มิตฺเต สุหชฺเช ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

พระปัจเจกโพธิสัตว์นี้ อุบัติโดยนัยที่กล่าวแล้วในคาถาแรกนั้นเทียว

เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ยังปฐมฌานให้เกิดแล้ว ทรงพิจารณาว่า

สมณธรรมประเสริฐ หรือว่า ราชสมบัติประเสริฐ ทรงมอบราชสมบัติในมือ

ของอำมาตย์ ๔ คน แล้วทรงกระทำสมณธรรม อำมาตย์ทั้งหลายแม้พระราชา

ตรัสว่า ท่านทั้งหลายจงทำโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ ก็รับสินบนทำโดยอธรรม

อำมาตย์เหล่านั้น ไม่รับสินบนก็ทำโดยอธรรม รับสินบนแล้ว ทำเจ้าของ

ทั้งหลายให้แพ้ ในกาลครั้งหนึ่ง ให้ราชวัลลภคนหนึ่งให้แพ้ ราชวัลลภนั้น

เข้าไปเฝ้าพร้อมกับพวกพนักงานห้องเครื่องของพระราชา ทูลบอกเรื่องทั้งหมด

ในวันที่ ๒ พระราชาเสด็จไปสู่สถานที่วินิจฉัยด้วยพระองค์เอง แต่นั้น หมู่

มหาชนได้ร้องเสียงดังว่า พวกอำมาตย์ทำเจ้าของมิให้เป็นเจ้าของ ได้กระทำ

เสียงดังเหมือนการรบใหญ่.

ลำดับนั้น พระราชาเสด็จลุกจากสถานที่วินิจฉัย เสด็จขึ้นสู่ปราสาท

ประทับนั่งเพื่อทรงเข้าสมาบัติ แต่ไม่อาจเพื่อทรงเข้าได้ เพราะทรงฟุ้งซ่าน

ด้วยเสียงนั้น พระองค์ทรงพิจารณาว่า เราจะมีประโยชน์อะไรด้วยราชสมบัติ

สมณธรรมประเสริฐกว่า ดังนี้แล้ว ทรงสละความสุขในราชสมบัติ ทรงยัง

สมาบัติให้เกิดขึ้นอีก ทรงพิจารณาเห็นโดยนัยที่กล่าวในกาลก่อนนั่นแล ทรง

กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาณ และถูกทูลถามถึงกรรมฐาน จึงได้ตรัส

คาถานี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 143

ในคาถานั้น คนทั้งหลาย ชื่อว่า มิตร ด้วยอำนาจแห่งความรักใคร่

ชื่อว่า สหาย เพราะความเป็นผู้มีใจดี ก็คนบางพวกเป็นมิตรเท่านั้นไม่เป็น

สหาย เพราะความเป็นผู้ใคร่ประโยชน์เกื้อกูลอย่างเดียว บางพวกเป็นสหาย

เท่านั้น ไม่เป็นมิตร เพราะให้เกิดสุขทางใจ ในการทั้งหลายมีการมา การยืน

การนั่ง และการพูดเจรจาเป็นต้น บางพวกเป็นทั้งสหายเป็นทั้งมิตร ด้วย

อำนาจแห่งธรรมทั้งสองนั้น มิตรสหายเหล่านั้นมี ๒ พวก คือ ฆราวาส ๑

บรรพชิต ๑. ใน ๒ พวกนั้น ฆราวาสมี ๓ พวก คือ ผู้มีอุปการะ ๑ ผู้

ร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑ ผู้อนุเคราะห์ ๑ บรรพชิตโดยพิเศษคือ ผู้บอกประโยชน์

มิตรสหายเหล่านั้นประกอบด้วยองค์ ๔ อย่างนี้ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้มีอุปการะพึงทราบด้วยฐานะ ๔ อย่างคือ

๑. รักษามิตรผู้ประมาทแล้ว

๒. รักษาทรัพย์สมบัติของมิตรผู้ประมาทแล้ว

๓. เป็นที่พึ่งพำนักของมิตรผู้กลัว

๔. เมื่อกรณียกิจเกิดขึ้น ก็เพิ่มโภคทรัพย์ให้มากกว่าที่ออก

ปากขอ.

อนึ่ง ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้ร่วมสุขร่วมทุกข์ พึงทราบด้วย

ฐานะ ๔ อย่าง คือ

๑. บอกความลับแก่มิตร

๒. ปกปิดความลับของมิตร

๓. ไม่ทอดทิ้งมิตรในคราวมีอันตราย

๔. ชีวิตก็สละได้เพื่อประโยชน์แก่มิตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 144

อนึ่ง ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้อนุเคราะห์ พึงทราบด้วยฐานะ

๔ อย่าง คือ

๑. ไม่ดีใจเพราะมิตรยากจน

๒. ดีใจเพราะมิตรมั่งมี

๓. ป้องกันคนติเตียนมิตร

๔. สรรเสริญคนยกย่องมิตร.

อนึ่ง ดูก่อนคฤหบดีบุตร มิตรสหายผู้บอกประโยชน์ พึงทราบด้วย

ฐานะ ๔ อย่าง คือ

๑. ห้ามจากการทำบาป

๒. ให้ตั้งอยู่ในคุณความดี

๓. ให้ได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง

๔. บอกทางสวรรค์ให้.

เพราะฉะนั้น ฆราวาสท่านประสงค์เอาในที่นี้ แต่โดยอรรถ ฆราวาส

และบรรพชิตแม้ทั้งหมด ก็ควร. บทว่า มิตฺเต สุหชฺเช อนุกมฺปมาโน

ความว่า เอ็นดู คือ ประสงค์เพื่อนำเข้ามาซึ่งสุขแก่มิตรสหายเหล่านั้น. บทว่า

หาเปติ อตฺถ ความว่า ยังประโยชน์ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งทิฏฐิธัมมิก-

ประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์ให้เสื่อม คือ ให้พินาศ

อีกอย่างหนึ่ง ยังประโยชน์ ๓ อย่าง แม้ด้วยอำนาจแห่งประโยชน์ตน ประ-

โยชน์คนอื่น และประโยชน์ทั้ง ๒ อย่างนั้น ให้เสื่อม คือ ให้พินาศ ย่อม

ยังประโยชน์ให้เสื่อม คือ ย่อมให้พินาศ ด้วยการยังวัตถุที่ได้แล้วให้พินาศ

และด้วยการไม่ให้เกิดสิ่งที่ยังไม่ได้บ้าง ด้วยวิธีทั้งสองบ้าง. บทว่า ปฏิพทฺธ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 145

จิตฺโต ความว่า บุคคลแม้ตั้งตนไว้ในฐานะต่ำต้อยกว่า เราเว้นจากคนนี้จักไม่

เป็นอยู่ คนนั่นเป็นคติของเรา คนนั่นเป็นผู้นำของเรา ดังนี้ ชื่อว่า เป็นผู้

มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว แม้ตั้งตนไว้ในฐานะสูงส่งว่า คนเหล่านี้เว้นเราเสียแล้วย่อม

ไม่เป็นอยู่ เราเป็นคติของคนเหล่านั้น เป็นผู้นำของคนเหล่านั้น ชื่อว่า เป็น

ผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว. ก็ผู้มีจิตปฏิพัทธ์แล้วอย่างนี้ ท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้.

บทว่า เอต ภย ท่านกล่าวหมายถึงภัยที่ยังประโยชน์ให้เสื่อมนั่น

คือ ความเสื่อมจากสมบัติของตน. บทว่า สนฺถเว ความว่า การเชยชมมี

๓ อย่าง ด้วยสามารถแห่งการเชยชม คือ ตัณหา ทิฏฐิ และมิตร. ในการ

เชยชม ๓ อย่างนั้น ตัณหาแม้ ๑๐๘ ประเภท ชื่อว่า ตัณหาสันถวะ ทิฏฐิ

แม้ ๖๒ ประเภท ชื่อว่า ทิฏฐิสันถวะ การอนุเคราะห์มิตร ด้วยความเป็นผู้

มีจิตปฏิพัทธ์แล้ว ชื่อว่า มิตรสันถวะ มิตรสันถวะนั้น ท่านประสงค์เอาใน

พระสูตรนี้ ด้วยว่า พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เสื่อมจากสมาบัติก็เพราะมิตร

สันถวะนั้น ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เราเล็งเห็นภัยนั่นใน

ที่กล่าวแล้วนั้นแล.

มิตตสุหัชชคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๔

คาถาว่า วโส วิสาโล ดังนี้ มีอุบัติเหตุอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกาลก่อน พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๓ องค์ บวชในพระ-

ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 146

สิ้น ๒๐,๐๐๐ ปี อุบัติในเทวโลก เคลื่อนจากเทวโลกนั้นแล้ว ผู้เป็นหัวหน้า

เกิดในราชตระกูลในกรุงพาราณสี นอกนี้ เกิดในราชตระกูล ในปัจจันต-

ประเทศ ทั้งสองนั้น เรียนกรรมฐาน สละราชสมบัติ บวชเป็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้า โดยลำดับ อยู่ที่เงื้อมนันทมูลกะ ในวันหนึ่งออกจากสมาบัติ ระลึก

ว่า พวกเราทำกรรมอะไร จึงบรรลุถึงโลกุตรสุขนี้ พิจารณาอยู่ ได้เห็นจริยา

ของตน ในกัสสปพุทธกาล ลำดับนั้น ระลึกอีกว่า คนที่ ๓ อยู่ทีไหน

เห็นคนที่ ๓ เสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ระลึกถึงคุณของหัวหน้านั้น คิดว่า

โดยปกติเทียว พระราชาพระองค์นั้น ทรงถึงพร้อมด้วยคุณมีความเป็นผู้

ปรารถนาน้อยเป็นต้น ทรงโอวาทพวกเรา ผู้ประพฤติ อดทนต่อคำพูด

ทรงติเตียนบาป เอาเถิด พวกเราแสดงอารมณ์แล้ว จะเปลื้องพระองค์ ดังนี้

แสวงหาโอกาสอยู่ ในวันหนึ่ง เห็นพระราชาพระองค์นั้น ทรงประดับประดา

ด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง กำลังเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน แล้วเหาะไปทางอา-

กาศยืนอยู่ที่โคนกอไม้ไผ่ ที่ประตูพระราชอุทยาน มหาชนกำลังแลดูพระราชา

ด้วยการดูพระราชาของตน.

ต่อจากนั้น พระราชาทรงแลดูว่า มีใครหนอแลขวนขวายในการดูเรา

ทรงเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และพร้อมกับทรงเห็นนั่นเทียว พระองค์

ทรงเกิดความเสน่หาในพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น พระองค์จึงเสด็จลงจากคอ

ช้าง เสด็จเข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ด้วยอากัปกิริยาอันสงบ แล้ว

ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านมีชื่ออย่างไร พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น

ทูลตอบว่า มหาบพิตร พวกอาตมา ชื่อว่า ผู้ไม่เกี่ยวข้อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 147

ร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่ว่า ผู้ไม่เกี่ยวข้อง มีประโยชน์ อย่างไร.

ป. มหาบพิตร ประโยชน์ คือ ความไม่เกี่ยวข้อง ต่อแต่นั้น เมื่อ

จะแสดงกอไผ่นั้น จึงทูลว่า มหาบพิตร เปรียบเหมือนบุรุษมีดาบในมือ

ตัดรากกอไผ่นั้น ซึ่งเกี่ยวพันราก ลำต้นและกิ่ง โดยประการทั้งปวงอยู่ ดึงมา

ก็ไม่อาจยกขึ้นแม้ฉันใด พระองค์ถูกตัณหาพายุ่งเกี่ยวให้นุงทั้งข้างในและข้าง-

นอก เป็นผู้เกี่ยวข้องซ่านไป ติดอยู่ในตัณหาพายุ่งนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน

หน่อไม้ไผ่นี้ แม้จะอยู่ในท่ามกลางกอไผ่นั้น แต่เพราะกิ่งยังไม่เกิด จึงไม่ติด

กับอะไรอยู่ และใครก็อาจเพื่อจะตัดยอดหรือรากยกไปได้แม้ฉันใด พวกอาตมา

ไม่เกี่ยวข้องในที่ไหน ๆ ย่อมเที่ยวไปทั่วทิศฉันนั้นเหมือนกัน แล้วเข้าฌาน

ที่ ๔ ในทันใดนั้นแล เมื่อพระราชาทรงดูอยู่นั่นเทียว ก็เหาะไปสู่เงื้อมภูเขา

นันทมูล.

แต่นั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า แม้เราพึงเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง

อย่างนี้ในกาลไหนหนอแล แล้วประทับนั่งในที่นั้นแล พระองค์ทรงเห็นแจ้ง

ได้กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ ถูกถามถึงกรรมฐานโดยนัยก่อนเทียว

จึงตรัสพระคาถานี้.

ในคาถานั้น บทว่า วโส ได้แก่ ไม้ไผ่. บทว่า วิสาโล ได้แก่

กว้างขวาง. อักษรลงในอรรถอวธารณะ หรือ เอว อักษร เอว อักษร

ในที่นี้ พึงเห็นด้วยการสนธิ. เอว อักษรเชื่อมกับบทปลายของบทว่า วิสาโล

ข้าพเจ้าจะประกอบเอวอักษรนั้นในภายหลัง. บทว่า ยถา ได้แก่ การเปรียบ-

เทียบ. บทว่า วิสตฺโต ได้แก่ ติดแล้ว คือ พาให้นุง เย็บให้ติดกัน.

บทว่า ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ คือ ในบุตร ธิดา และภริยา. บทว่า ยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 148

อเปกฺขา ได้แก่ ตัณหาอันใด คือ ความเยื่อใยอันใด. บทว่า วสกฬีโรว

อสชฺชมาโน คือ ไม่ข้องอยู่เหมือนหน่อไม้. มีอธิบายอย่างไร ไม้ไผ่กอใหญ่

เกี่ยวก่ายกันฉันใด ความเยื่อใยในบุตรและภรรยา แม้นั้น ชื่อว่า ข้องอยู่แล้ว

เพราะความเป็นธรรมเย็บวัตถุเหล่านั้นตั้งอยู่ ฉันนั้น เรานั้นเห็นโทษในความ

เยื่อใยอย่างนี้ว่า ข้องอยู่แล้ว ด้วยความเยื่อใยนั้น ดุจไม้ไผ่กอใหญ่ฉะนั้น

แล้วตัดเยื่อใยนั้น ด้วยมรรคญาณไม่เกี่ยวข้อง ด้วยอำนาจแห่งตัณหา มานะ

และทิฏฐิ ในรูปเป็นต้น หรือในทิฏฐิเป็นต้น หรือในโลภะเป็นต้น หรือใน

กามภพเป็นต้น หรือในกามราคะเป็นต้น ดุจหน่อไม้ไผ่นี้ จึงบรรลุปัจเจก-

โพธิญาณ ดังนี้. บทที่เหลือพึงทราบ โดยนัยก่อนนั่นแล.

วังสกฬีรคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๕

คาถาว่า มิโค อรญฺมฺหิ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่งเป็นพระโยคาวจร ในพระศาสนาของพระผู้มี

พระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป ทำกาลกิริยาแล้ว เกิดในตระกูลเศรษฐี

อันมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก ในกรุงพาราณสี เขาเป็นคนมีราคะ เพราะ

เหตุนั้น จึงประพฤติล่วงภรรยาคนอื่น ได้ถึงแก่กรรมในชาตินั้นแล้ว เกิดใน

นรก หมกไหม้ในนรกนั้นแล้ว ได้ถือปฏิสนธิเป็นหญิง ในท้องของภรรยา

เศรษฐี ด้วยเศษวิบากที่เหลือ. ร่างกายทั้งหลาย ของสัตว์ทั้งหลายที่มาจาก

นรก ย่อมเป็นของร้อน เพราะเหตุนั้น ภรรยาเศรษฐีทรงครรภ์นั้น ด้วย

ท้องที่ร้อน โดยลำบากยากเข็ญ ได้คลอดเด็กหญิงโดยกาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 149

นางจำเดิมแต่วันเกิดแล้ว เป็นที่เกลียดชังของมารดาบิดา และพวก-

พ้องบริชนที่เหลือ และเจริญวัยแล้ว บิดามารดาให้ในตระกูลใด ก็เป็นที่

เกลียดชังของสามี พ่อผัวแม่ผัว ในตระกูลแม้นั้น ครั้นเขาประกาศนักษัตร

บุตรเศรษฐี เมื่อไม่ปรารถนา เพื่อจะเล่นกับธิดาของเศรษฐีนั้น นำนาง

แพศยา เล่นกีฬา. นางได้ฟังจากสำนักของทาสีทั้งหลาย จึงเข้าไปหาบุตร

เศรษฐี ค่อนว่าด้วยประการต่าง ๆ ว่า ข้าแต่ลูกเจ้า ธรรมดาสตรี แม้ถ้าเป็น

น้องสาวของพระราชาทั้ง ๑๐ พระองค์ก็ดี เป็นธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิก็ดี

แม้ถึงอย่างนั้น ก็เป็นผู้ทำงานรับใช้สามี เมื่อสามีไม่พูดเจรจาด้วย ก็เสวยทุกข์

ดุจถูกยกขึ้นสู่หลาว จึงพูดว่า ถ้าดิฉันควรแก่การอนุเคราะห์ ก็พึงอนุเคราะห์

ถ้าไม่ควรอนุเคราะห์ ก็พึงทิ้งเสีย ดิฉันจักไปสู่ตระกูลญาติของตน บุตรเศรษฐี

กล่าวว่า ช่างเถิด นางคนสวย เจ้าอย่าเศร้าโศก จงเตรียมการเล่น พวกเรา

จักเล่นนักษัตร.

ธิดาเศรษฐีเกิดอุตสาหะด้วยเหตุสักว่าการปราศัยแม้มีประการเพียงนั้น

จึงคิดว่า พรุ่งนี้เราจักเล่นนักษัตร แล้วจัดแจงของเคี้ยวและของบริโภคจำนวน

มาก ในวันที่สอง บุตรเศรษฐีไม่บอก เลยไปในสนามกีฬา นางคิดว่า จักส่ง

ไปในบัดนี้ นั่งแลดูทางอยู่ เห็นตะวันสายแล้ว จึงส่งคนทั้งหลาย คนเหล่านั้น

กลับมาบอกว่า บุตรเศรษฐีไปแล้ว นางจึงถือของเคี้ยวและของบริโภคที่

ตระเตรียมนั้นทั้งหมดขึ้นสู่ยาน ปรารภเพื่อจะไปสู่อุทยาน. ลำดับนั้น พระ

ปัจเจกสัมพุทธเจ้าที่เงื้อมนันทมูลกะออกจากนิโรธในวันที่ ๗ ล้างหน้าที่สระ

อโนดาต เคี้ยวไม้สีฟันนาคลดา นึกอยู่ว่า วันนี้จักเที่ยวไปภิกษา ณ ที่ไหน

เห็นธิดาเศรษฐีนั้น ก็รู้ว่า ธิดาเศรษฐีนี้ ทำสักการะในเราแล้ว กรรมนั้นจักถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 150

ความหมดสิ้นไป ยืนที่พื้นมโนศิลากว้าง ๖๐ โยชน์ ที่ใกล้เงื้อมนั้น นุ่งแล้ว

ถือบาตร จีวร เข้าฌานซึ่งมีอภิญญาเป็นบาท เหาะมาลงที่สวนทางของธิดา

เศรษฐีนั้น มุ่งหน้าไปสู่กรุงพาราณสี ทาสีทั้งหลายเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า

นั้นแล้ว บอกแก่ธิดาเศรษฐี.

นางเห็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นแล้ว ลงจากยาน ไหว้โดยเคารพ

รับบาตรให้เต็มด้วยขาทนียะและโภชนียะที่ถึงพร้อมด้วยรสทั้งปวง และปิดด้วย

ดอกปทุม ทำดอกปทุมไว้ใต้บาตร ถือกำดอกไม้ เข้าไปหาพระปัจเจกสัมพุทธ-

เจ้า ถวายบาตรที่มือของท่าน ไหว้แล้ว มือถือกำดอกไม้ ตั้งปรารถนาว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเกิดในชาติใด ๆ ก็ขอให้เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของ

มหาชนในชาตินั้น ๆ เหมือนดอกไม้นี้เถิด ครั้นตั้งปรารถนาอย่างนี้แล้ว จึง

ตั้งปรารถนาแม้ครั้งที่ ๒ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ การอยู่ในครรภ์เป็นทุกข์ ขอ

ปฏิสนธิพึงมีในดอกปทุมเท่านั้น โดยไม่ต้องอาศัยครรภ์นั้นเถิด แล้วตั้ง

ปรารถนาแม้ครั้งที่ ๓ ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ มาตุคามอันมหาชนพึงรังเกียจ

แม้พระธิดาของพระเจ้าจักรพรรดิก็ยังไปสู่อำนาจบุรุษ เพราะฉะนั้น ขอดิฉัน

อย่าถึงความเป็นสตรี พึงเป็นบุรุษเถิด ตั้งปรารถนาแม้ครั้งที่ ๔ ว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ขอดิฉันพึงก้าวล่วงสังสารทุกข์นี้ บรรลุพระอรหัตอันเป็นอมตะที่

ท่านได้บรรลุแล้วในที่สุดเถิด ครั้นทำความปรารถนา ๔ อย่างนี้แล้ว เอากำ

ดอกปทุมนั้น บูชาพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้ว

ทำความปรารถนาที่ ๕ นี้ว่า ขอดิฉันจงมีกลิ่นและวรรณะเป็นเช่นกับดอกปทุม

นั่นเถิด.

ลำดับนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ารับบาตรและกำดอกไม้แล้ว ยืน

ในอากาศ ทำอนุโมทนาแก่ธิดาเศรษฐี ด้วยคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 151

ขอสิ่งที่ต้องการ ที่ปรารถนาจงสำเร็จ

แก่ท่านโดยเร็วพลันเถิด ขอความดำริทั้งปวง

จงเต็ม เหมือนพระจันทร์วันเพ็ญ ดังนี้

แล้วอธิษฐานว่า ขอธิดาเศรษฐีจงเห็นเราผู้กำลังไปเถิด แล้วไปสู่

เงื้อมนันทมูลกะ. ปีติใหญ่เกิดแล้วแก่ธิดาเศรษฐี เพราะเห็นพระปัจเจก

สัมพุทธเจ้านั้น อกุศลกรรมที่ทำไว้ในระหว่างภพ ก็สิ้นไปเพราะไม่มีโอกาส

นางเป็นผู้บริสุทธิ์ ดุจภาชนะทองแดงที่ขัดด้วยมะขามเปรี้ยว ทันใดนั้น ชน

ทั้งหมดในตระกูลผัว และตระกูลญาติทั้งปวง ก็ยินดีต่อนาง ต่างก็คิดว่า

พวกเราจะทำอะไร แล้วส่งคำที่น่ารักและเครื่องบรรณาการไปให้ บุตรเศรษฐี

ก็ส่งคนทั้งหลายไปว่า พวกท่านจงนำธิดาเศรษฐีมาเร็ว ๆ เราระลึกได้

มาสู่อุทยานแล้ว และจำเดิมแต่นั้น ก็รักนางปกครองดุจจันทน์ที่ลูบไล้ที่อก ดุจ

มุกดาหารที่ห้อยไว้ และดุจระเบียบดอกไม้. นางดำรงอยู่ในชาตินั้น เสวย

อิสริยสุขและโภคสุข ตลอดอายุแล้ว ตายไปเกิดในดอกปทุมในเทวโลก โดย

ความเป็นบุรุษ เทพบุตรนั้น แม้เมื่อจะไป ก็ไปบนกลีบปทุมเท่านั้น เมื่อ

จะยืนก็ดี นั่งก็ดี นอนก็ดี ก็ย่อม ยืน นั่ง นอน แม้บนกลีบปทุมเท่านั้น และ

เทพทั้งหลายจึงได้ขนานนามเทวบุตรนั้นว่า มหาปทุมเทวบุตร เทวบุตรนั้น

ท่องเที่ยวไปมาในเทวโลก ๖ ชั้นเท่านั้น ด้วยอานุภาพนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ก็โดยสมัยนั้น พระเจ้ากรุงพาราณสีทรงมีสตรี ๒๐,๐๐๐ นาง แม้

พระราชาก็ไม่ทรงได้พระโอรสในท้องของสตรีแม้นางหนึ่งเลย อำมาตย์ทั้งหลาย

กราบทูลพระราชาให้ทรงทราบว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พระราชโอรสที่จะสืบ

ตระกูลวงศ์ พระองค์พึงทรงปรารถนา และเมื่อไม่มีพระราชโอรสที่เกิดจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 152

พระองค์ แม้พระราชโอรสเกิดในเขต ก็จะทรงดำรงตระกูลวงศ์ได้ พระเจ้าข้า

พระราชาทรงให้สตรีนักฟ้อนที่เหลือเว้นพระมเหสีประพฤติตามลำพังว่า พวก

เจ้าจงทำการฟ้อนรำโดยธรรม ตลอดเจ็ดวัน แม้อย่างนั้น ก็ไม่ได้พระโอรส

อำมาตย์ทั้งหลายจึงกราบทูลอีกว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาพระมเหสีทรงมีบุญ

และมีปัญญา เลิศกว่าสตรีทั้งปวง ชื่อไฉนพระองค์พึงทรงได้พระราชโอรส ใน

พระครรภ์แม้ของพระมเหสี พระราชาตรัสบอกเนื้อความนั่นแก่พระมเหสี

พระนางทูลว่า จริง มหาราช สตรีใดกล่าวคำสัจ รักษาศีล สตรีนั้นพึงได้บุตร

เพราะสตรีเว้นจากหิริและโอตตัปปะแล้ว บุตรจะมีได้แต่ที่ไหน พระนางเสด็จ

ขึ้นสู่ปราสาท ทรงสมาทานศีล ๕ ทรงนึกถึงบ่อย ๆ เมื่อพระราชธิดาผู้มีศีล

ทรงนึกถึงศีล ๕ พอมีพระทัยปรารถนาพระราชโอรสเกิดขึ้น อาสน์ของท้าว

สักกะก็หวั่นไหว.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะทรงนึกอยู่ ทรงรู้ความนั้น ทรงดำริว่า เราจัก

ให้พรคือบุตรแก่ราชธิดาผู้มีศีล ดังนี้แล้ว เหาะมาประทับยืนตรงพระพักตร์ของ

พระเทวีแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี พระองค์ทรงปรารถนาอะไร. พระราช

โอรส มหาราช. ท้าวสักกะตรัสว่า ดูก่อนพระเทวี เราจะให้พระโอรสแก่

พระองค์ ขอพระองค์อย่าทรงคิด ดังนี้แล้ว เสด็จสู่เทวโลก ทรงนึกอยู่ว่า

ในเทวโลกนี้ เทวบุตรผู้สิ้นอายุมีอยู่หรือหนอ ทรงทราบว่า มหาปทุมเทวบุตร

นี้ จะเคลื่อนจากเทวโลกนี้ เพื่อบังเกิดในเทวโลกชั้นสูง ดังนี้แล้ว เสด็จไปสู่

วิมานของมหาปทุมเทวบุตรนั้น ตรัสขอว่า ดูก่อนพ่อมหาปทุม เจ้าจงไปสู่

มนุษยโลก เทวบุตรนั้นทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์อย่าตรัสอย่างนั้นเลย

มนุษยโลกน่าเกลียด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 153

ส. ดูก่อนพ่อ คนทำบุญในมนุษยโลกแล้วเกิดในเทวโลกนี้ เจ้าจงไป

เพื่อดำรงอยู่ในมนุษยโลกนั้นบำเพ็ญบารมีทั้งหลายเถิด พ่อ !

ม. ข้าแต่มหาราช การอยู่ในครรภ์เป็นทุกข์ ข้าพระองค์ไม่อาจเพื่ออยู่

ในครรภ์นั้น.

ส. ดูก่อนพ่อ เจ้าจะมีประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ในครรภ์เล่า ด้วยว่า

เจ้าได้ทำกรรมโดยประการที่ตนจักเกิดในกลีบปทุมเท่านั้น ไปเถิด พ่อ !

เทวบุตรนั้น เมื่อถูกท้าวสักกะตรัสบ่อย ๆ จึงยอมรับคำเชิญ.

ต่อแต่นั้น มหาปทุมเทวบุตรเคลื่อนจากเทวโลก เกิดในกลีบปทุม

ในสระโบกขรณี ใกล้พระแท่นศิลา ในพระราชอุทยานของพระเจ้ากรุงพาราณสี

ก็ในคืนนั้น พระมเหสีทรงพระสุบินในสมัยใกล้รุ่ง เป็นเหมือนมีสตรี ๒๐,๐๐๐

นางแวดล้อม เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ได้พระโอรสในกลีบปทุม ในสระ

โบกขรณี ใกล้พระแท่นศิลา พระนางทรงรักษาศีลในราตรีจวนสว่าง เสด็จ

ไปที่พระแท่นศิลาอย่างนั้นเทียว ทรงเห็นดอกปทุมดอกหนึ่ง ดอกปทุมนั้น

ไม่อยู่ใกล้ฝั่ง ไม่อยู่ลึก และพร้อมกับทรงเห็นนั้นแล พระนางก็ทรงเกิดความ

เยื่อใยในพระโอรสในดอกปทุมนั้น พระนางเสด็จเข้าไปตามลำพังพระองค์

ทรงจับดอกนั้น พอพระนางทรงจับดอกเท่านั้น. กลีบทั้งหลายก็แย้มออก.

พระนางทรงเห็นทารกดุจรูปทองคำที่ติดอยู่ในกลีบนั้น ครั้นทรงเห็นแล้วเทียว

ก็ทรงเปล่งพระสุรเสียงว่า เราได้บุตรแล้ว มหาชนก็เปล่งเสียงสาธุการตั้งพัน

และพระนางก็ทรงส่งข่าวถวายพระราชา พระราชาทรงสดับแล้ว จึงตรัสถามว่า

ได้บุตรที่ไหน และทรงสดับโอกาสที่ได้แล้ว จึงตรัสว่า อุทยานและปทุมใน

สระโบกขรณี เป็นเขตของเราเท่านั้น เพราะฉะนั้น บุตรคนนี้ชื่อว่า บุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 154

เกิดในเขต เพราะเกิดในเขตของเรา ตรัสให้เสด็จเข้าสู่พระนคร ทรงให้สตรี

๒๐,๐๐๐ นาง ทำหน้าที่พระพี่เลี้ยง สตรีใด ๆ ให้พระกุมารทรงรู้ ทรงเคี้ยว

พระขาทนียะที่ทรงปรารถนาแล้ว ๆ สตรีนั้น ๆ ย่อมได้ทรัพย์พันหนึ่ง ชาว

พระนครพาราณสีทั้งสิ้นเคลื่อนไหว ชนทั้งปวงส่งบรรณาการตั้งพันถวายพระ-

กุมาร พระกุมารถูกมหาชนนำสิ่งนั้น ๆ ทูลว่า จงทรงเคี้ยวสิ่งนี้ จงเสวยสิ่งนี้

ก็ทรงเบื่อระอาด้วยโภชนะ ก็เสด็จไปสู่ซุ้มพระทวาร ทรงเล่นกับก้อนครั่ง.

ในกาลครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง อาศัยกรุงพาราณสีอยู่ที่

อิสิปตนะ ท่านลุกขึ้นตามกาล ทำกิจทั้งปวงมีเสนาสนวัตร บริกรรมร่างกาย

และมนสิการเป็นต้น ออกจากที่หลีกเร้น นึกอยู่ว่า วันนี้ จักรับภิกษาที่ไหน

เห็นสมบัติของพระกุมารแล้ว พิจารณาว่า ในกาลก่อน พระกุมารนี้ทรงทำ

กรรมอะไร ดังนี้ รู้ว่า พระกุมารนี้ได้ถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

เช่นเรา แล้วตั้งปรารถนา ๔ อย่าง ในปรารถนา ๔ อย่างนั้น ๓ อย่างสำเร็จ

แล้ว อีกอย่างหนึ่ง ยังไม่สำเร็จก่อน เราจักให้อารมณ์โดยอุบายแก่พระกุมาร

นั้น ดังนี้แล้ว ได้ไปสู่สำนักของพระกุมาร ด้วยอำนาจแห่งภิกขาจริยา พระ

กุมารทรงเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว ตรัสว่า ข้าแต่พระสมณะ ท่าน

อย่ามาในที่นี้ ด้วยว่า คนเหล่านั้นพึงกล่าวแม้กะท่านว่า จงเคี้ยวสิ่งนี้ จงกิน

สิ่งนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น กลับจากที่นั้น ด้วยคำพูดคำเดียวเท่านั้น เข้า

ไปสู่เสนาสนะของตน.

ฝ่ายพระกุมารตรัสกะชนว่า สมณะนี้พอถูกเราพูดแล้ว ก็กลับ โกรธ

แก่เราหรือหนอ แต่นั้น แม้อันซนเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 155

ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายเป็นผู้โกรธเป็นเบื้องหน้าหามิได้ ย่อมเป็นอยู่ด้วย

ปัจจัยที่คนอื่นถวายด้วยใจเลื่อมใส ดังนี้ ทรงดำริว่า สมณะนั่นคงเป็นอย่างนั้น

จึงทูลแด่พระมารดาและพระบิดาว่า จักยังพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นให้อดโทษ

ดังนี้แล้ว เสด็จทรงช้าง เสด็จไปสู่ป่าอิสิปตนะ ด้วยอานุภาพพระราชาอัน

ยิ่งใหญ่ ทรงเห็นฝูงเนื้อจึงตรัสถามว่า เหล่านั้นชื่ออะไร.

บ. เหล่านั้นชื่อว่า เนื้อ พระเจ้าข้า.

ก. เนื้อเหล่านั้น กล่าวว่า จงเคี้ยวสิ่งนี้ จงกินสิ่งนี้ จงลิ้มสิ่งนี้ ดังนี้แล้ว

ปฏิบัติอยู่ มี หรือ ไม่มี.

บ. ไม่มีพระเจ้าข้า ที่ใดมีหญ้าและน้ำหาง่าย เนื้อทั้งหลายก็อยู่ในที่นั้น.

พระกุมารทรงคิดว่า เนื้อเหล่านี้ ถึงไม่มีใครรักษา ก็ย่อมอยู่ในที่ที่

ปรารถนา ฉันใด ในกาลใดหนอแล แม้เราก็พึงอยู่ ฉันนั้น ดังนี้แล้ว ทรง

ยึดถือข้อนั้นเป็นอารมณ์.

ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้ารู้การเสด็จมาของพระกุมารนั้นแล้ว กวาดทาง

แห่งเสนาสนะ และที่จงกรม ทำให้เกลี้ยง แล้วแสดงรอยเท้าเดินจงกรม ๑-๒-๓

รอย กวาดโอกาสแห่งที่เป็นที่อยู่ในกลางวันและบรรณศาลา ทำให้เกลี้ยง

แล้ว แสดงรอยเท้าเข้าไป แต่ไม่แสดงรอยเท้าออกมา แล้วไปในที่อื่น พระ-

กุมารเสด็จไปในที่นั้น ทรงเห็นประเทศนั้น ซึ่งกวาดทำให้เกลี้ยงแล้ว ทรง

คิดว่า ชะรอยพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นอยู่ในที่นั่น ทรงสดับคำที่บริชนทูล

แล้ว ตรัสว่า ก็พระสมณะนั่นโกรธแม้แต่เช้า บัดนี้เห็นช้างและม้าเป็นต้น

เหยียบโอกาสของตน ก็จะพึงโกรธยิ่งขึ้น พวกท่านจงนั่งในที่นี้เท่านั้น ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 156

แล้ว เสด็จลงจากคอช้าง พระองค์เดียวเท่านั้น เสด็จเข้าสู่เสนาสนะ ทรง

เห็นรอยเท้าในโอกาสที่กวาดดีแล้วตามข้อวัตร มีพระทัยเลื่อมใสว่า พระสมณะ

นี้ จงกรมอยู่ในที่นี้ คงไม่คิดถึงการค้าขายเป็นต้น ชะรอยจะคิดถึงประโยชน์

เกื้อกูลของตนเท่านั้น แน่แท้ เสด็จขึ้นสู่ที่จงกรม ทรงกระทำให้ห่างไกลจาก

วิตกอันหนาแน่น ประทับนั่งบนแผ่นศิลา ทรงมีอารมณ์เดียวเกิดพร้อมแล้ว

เสด็จเข้าสู่บรรณศาลา ทรงเห็นแจ้งอยู่ ทรงบรรลุปัจเจกโพธิญาณ ครั้น

ปุโรหิตทูลถามถึงกรรมฐาน โดยนัยก่อนนั่นแล ประทับนั่งบนนภากาศ ตรัส

พระคาถานี้ว่า

มิโค อรญฺมฺหิ ยถา อพนฺโธ

เยนิจฺฉก คจฺฉติ โคจราย

วิญฺญู นโร เสริต เปกฺขมาโน

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกแล้ว ย่อม

ไปหากินตามความปรารถนา ฉันใด นรชน

ผู้รู้แจ้ง เพ่งความประพฤติตามความพอใจ

ของตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น ดังนี้.

บทว่า มิโค ได้แก่ เนื้อ ๒ ชนิด คือ เนื้อกินหญ้า ๑ เนื้อกิน

รากเหง้า ๑. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า มิโค นั่น เป็นชื่อของสัตว์ ๔ เท้า ที่อยู่ในป่า

ทั้งหมด. อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ท่านประสงค์เอาเนื้อกิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 157

รากเหง้า. บทว่า อรญฺมฺหิ ได้แก่ ในป่าที่เหลือ เว้นบ้านและอุปจารของ

บ้าน. ก็ในคาถานี้ท่านประสงค์เอาป่า. อธิบายว่า ในอุทยาน. คำว่า ยถา

เป็นคำเปรียบเทียบ.

บทว่า อพนฺโธ ความว่า ที่บุคคลไม่ผูกแล้ว ด้วยวัตถุทั้งหลาย

มีเครื่องผูกคือเชือกเป็นต้น. บทว่า เยนิจฺฉก ความว่า เนื้อย่อมปรารถนา

เพื่อไป โดยทิศาภาคใด ๆ ย่อมไปหากิน โดยทิศาภาคนั้น ๆ. สมดังพระดำรัส

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เนื้อในป่า เที่ยวในป่า

ในป่าใหญ่ ไม่ระแวงไป ไม่ระแวงยืน ไม่ระแวงหมอบ ไม่ระแวงนอน

นั้นเพราะเหตุอะไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเนื้อไม่ไปสู่ทางของนายพราน

แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล สงัดจากกาม

ทั้งหลาย ฯลฯ เข้าปฐมฌานอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า ได้

กระทำมารให้มืด ให้ไม่มีเท้า ครั้นฆ่าแล้วก็ไปสู่ที่ที่มารผู้บาปไม่เห็นได้.

บทว่า วิญฺญู นโร ได้แก่ คนเป็นบัณฑิต. บทว่า เสริต ได้แก่

ความประพฤติตามความพอใจของตน คือ ความประพฤติที่ไม่เนื่องกับบุคคล

อื่น. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เนื้อในป่าที่บุคคลไม่ผูกแล้ว ย่อมไปหากิน

ตามความปรารถนาฉันใด แม้เราก็ตัดเครื่องผูกคือตัณหาได้อย่างนั้นแล้ว ก็พึง

ไปฉันนั้น นรชนผู้รู้แจ้ง คือ บัณฑิต เพ่งความประพฤติตามความพอใจของ

ตน พึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวแล.

มิคอรัญญคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 158

คาถาที่ ๖

คาถาว่า อามนฺตนา โหติ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

อำมาตย์ทั้งหลายได้เข้าไปเฝ้า ในสมัยเป็นที่บำรุงใหญ่ ของพระเจ้า-

กรุงพาราณสี ในอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง ทูลขอการไปในที่สุดส่วน

หนึ่งว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ สิ่งที่พึงฟังมีอยู่ดังนี้ เขาก็ลุกไป. คนหนึ่งทูล

ขอกะพระองค์ผู้ประทับนั่งในที่บำรุงใหญ่อีก คนหนึ่งทูลขอช้างกะพระองค์ผู้

ประทับนั่งบนคอช้าง คนหนึ่งทูลขอม้ากะพระองค์ผู้ประทับนั่งบนหลังม้า คน

คนหนึ่งทูลขอรถทองกะพระองค์ผู้ประทับนั่งในรถทอง คนหนึ่งทูลขอวอกะ

พระองค์ผู้ประทับนั่งในวอแล้วไปสู่อุทยาน พระราชาเสด็จลงจากวอประทาน

ให้ คนอื่นทูลขอกะพระองค์ผู้กำลังเสด็จไปสู่จาริกในชนบท พระราชาทรงสดับ

คำของตนแม้นั่น เสด็จสงจากคอช้าง เสด็จไปสถานที่แห่งหนึ่ง.

พระองค์ทรงเอือมระอาด้วยอำมาตย์เหล่านั้น อย่างนี้แล้ว ทรงผนวช

อำมาตย์ทั้งหลายเจริญด้วยอิสริยยศ ในอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์คนหนึ่ง

ไปทูลกะพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงพระราชทานชนบท ชื่อโน้น

ให้แก่ข้าพระองค์ พระราชาตรัสว่า คนชื่อนี้ปกครองชนบทนั้นอยู่ เขาไม่

เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระราชาแล้วทูลว่า ข้าพระองค์จะไป จะยึดชนบทนั้น

ครอบครองดังนี้แล้ว ไปในชนบทนั้นทำการทะเลาะ แม้ทั้งสองมาสู่พระราช

สำนักอีก ทูลบอกโทษของกันและกัน พระราชาทรงพระราชดำริว่า เราไม่อาจ

ให้คนทั้งสองนี้ให้ยินดีได้ ทรงเห็นความโลภของอำมาตย์เหล่านั้น ทรงเห็น

แจ้ง ทรงทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และพระองค์ทรงเปล่งอุทานนี้ โดยนัย

ก่อนนั้นแลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 159

อามนฺตนา โหติ สหายมชฺเฌ

วาเส าเน คมเน จาริกาย

อนภิชฺฌิต เสริต เปกฺขมาโน

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

การปรึกษาในที่อยู่ ที่ยืน ในการไป

ในการเที่ยว ย่อมมีในท่ามกลางแห่งสหาย

บุคคลเพ่งความประพฤติ ตามความพอใจ

ที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว พึงเที่ยวไป

แต่ผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น ดังนี้.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า การปรึกษาโดยประการนั้น ๆ โดยนัยว่า

ท่านจงฟังสิ่งนี้ของข้าพเจ้า ท่านจงให้สิ่งนี้แก่ข้าพเจ้าเป็นต้น. ในที่อยู่กล่าวคือ

ที่พักกลางวัน ในการยืนกล่าวคือการบำรุงใหญ่ ในการไปกล่าวคือการไปสู่

อุทยาน ในการเที่ยว กล่าวคือการเที่ยวในชนบท ย่อมมีแก่บุคคลผู้ดำรงอยู่

แล้ว ในท่ามกลางแห่งสหาย เพราะฉะนั้น เราเบื่อหน่ายในการปรึกษาใน

ท่ามกลางแห่งสหายนั้น เมื่อเล็งเห็นการบรรพชาที่มีอานิสงส์มาก มีสุขโดย

ส่วนเดียว อันอริยชนเสพแล้ว แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เป็นบรรพชาที่พวกคน

ชั่วทั้งปวง ซึ่งถูกความโลภครอบงำแล้ว ไม่ต้องการ ไม่ปรารถนา และ

เพ่งความประพฤติตามความพอใจ ด้วยการไม่ตกอยู่ในอำนาจของบุคคลอื่น

และด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้เป็นอยู่ด้วยธรรมที่พวกบุรุษชั่วไม่เพ่งเล็งแล้ว

ปรารภวิปัสสนา ได้บรรลุปัจเจกสัมโพธิญาณ โดยลำดับ. บทที่เหลือมีนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อามันตคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 160

คาถาที่ ๗

คาถาว่า ขิฑฺฑา รติ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ในกรุงพาราณสี มีพระราชา พระนามว่า เอกปุตติกพรหมทัต ก็

พระราชโอรสพระองค์เดียวนั้น เป็นที่รัก เป็นที่พอพระทัย เป็นผู้เสมอด้วย

ชีวิตของพระองค์ พระองค์ได้พาพระราชโอรสเป็นไปในพระอิริยาบถทั้งปวง

ในวันหนึ่ง พระองค์เมื่อเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ไม่ทรงพาพระราชโอรสนั้น

เสด็จไป. พระกุมารสิ้นพระชนม์ ด้วยพยาธิซึ่งเกิดขึ้นในวันนั้นเท่านั้น อำมาตย์

ทั้งหลายคิดว่า แม้พระหทัยของพระราชาพึงแตก เพราะความเสน่หาในพระ-

ราชโอรส จึงไม่ทูลบอก พากันถวายพระเพลิงพระราชโอรสนั้นเสีย พระราชา

ทรงเมา ด้วยความเมาในน้ำจัณฑ์ในพระราชอุทยาน จึงไม่ทรงระลึกถึงพระ

ราชโอรส ในเวลาทรงสนานและเสวยเป็นต้น แม้ในวันที่สอง ก็ทรงระลึกไม่

ได้เหมือนกัน. ลำดับนั้น ทรงเสวยพระกระยาหาร ประทับนั่งแล้ว ทรงระลึกได้

จึงตรัสว่า จงนำบุตรให้แก่เรา พวกอำมาตย์ทูลบอกเรื่องนั้น โดยวิธีอันสมควร

แด่พระองค์.

ตั้งแต่นั้น พระราชาถูกความโศกครอบงำ ประทับนั่งเท่านั้น ทรง

กระทำให้พระทัยโดยแยบคายว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ก็เกิด

ดังนี้ พระองค์ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท ทั้งอนุโลมและปฏิโลม โดยลำดับ

อย่างนี้ ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกสัมโพธิญาณ. บทที่เหลือเป็นเช่นกับที่

กล่าวแล้วในสังสัคคคาถานั้นแล เว้นอรรถวัณณนาแห่งคาถา.

ก็ในอรรถวัณณนา บทว่า ขิฑฺฑา ได้แก่ การเล่น. การเล่นนั้น

มี ๒ อย่าง คือ การเล่นทางกาย ๑ การเล่นทางวาจา ๑. การเล่นมีอาทิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 161

อย่างนี้ว่า ย่อมเล่นด้วยช้างทั้งหลายบ้าง ด้วยม้าทั้งหลายบ้าง ด้วยรถทั้งหลาย

บ้าง ชื่อว่า การเล่นทางกาย การเล่นมีอาทิอย่างนี้ว่า การขับร้อง การกล่าว

สรรเสริญ มุขเภรี ชื่อว่า การเล่นทางวาจา. บทว่า รติ ได้แก่ การยินดี

ในเบญจกามคุณ. บทว่า วิปุล ความว่า ซึมซาบไปทั่วอัตภาพทั้งสิ้นโดยฐานะ

จนถึงจรดเยื่อกระดูก. คำที่เหลือชัดแล้วทั้งนั้น ก็พึงทราบแม้การประกอบ

อนุสนธิในคาถานี้ โดยนัยที่กล่าวแล้วในสังสัคคคาถาและบททั้งปวงอื่นจากนั้น.

ขิฑฑารติคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๘

คาถาว่า จาตุทฺทิโส ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๕ องค์ บวชแล้วใน

พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร

ตลอด ๒๐,๐๐๐ ปีแล้ว อุบัติในเทวโลก เคลื่อนจากเทวโลกนั้นแล้ว บรรดา

ท่านทั้ง ๕ นั้น ผู้หัวหน้าเป็นพระราชาในกรุงพาราณสี ที่เหลือ ๔ ท่านเป็น

พระราชาธรรมดา พระราชาแม้ทั้ง ๔ นั้น ทรงเรียนกรรมฐาน ทรงสละ

ราชสมบัติแล้วผนวช เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้าโดยลำดับ อยู่ในเงื้อมนันท-

มูลกะ ในวันหนึ่ง ออกจากสมาบัติแล้ว นึกถึงกรรมของตนและสหาย โดยนัย

ที่กล่าวแล้วในวังสกฬีรคาถานั้นแล ครั้นรู้แล้ว ก็แสวงหาโอกาส เพื่อแสดง

อารมณ์โดยอุบาย แก่พระเจ้ากรุงพาราณสี.

ก็พระราชาพระองค์นั้น ทรงสะดุ้งตื่นในราตรีถึง ๓ ครั้ง ทรงกลัว

ร้องพระสุรเสียงผิดแปลก ทรงวิ่งสู่พื้นใหญ่ แม้ถูกปุโรหิตลุกขึ้นตามกาลทูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 162

ถามถึงการบรรทมเป็นสุข ก็ตรัสบอกเรื่องนั้น ทั้งหมดว่า อาจารย์ เราจะมี

ความสุขแต่ที่ไหน ฝ่ายปุโรหิตคิดว่า โรคนี้ไม่อาจจะกำจัดให้หายขาดได้ด้วย

การประกอบยา มีการถ่ายท้องเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เกิดอุบายที่จะ

ให้ทรงเสวยยา จึงทูลพระราชาให้สะดุ้งกลัวยิ่งขึ้นว่า ข้าแต่มหาราช นั่นเป็น

บุพนิมิต แห่งการเสื่อมจากราชสมบัติและอันตรายแก่พระชนมชีพเป็นต้น จึง

ทูลชวนพระราชานั้นประกอบการบูชายัญว่า ขอพระองค์พึงจัดช้าง ม้า รถ

เป็นต้น และเงินทอง มีประมาณเท่านี้ ๆ เป็นทักขิณาบูชายัญ เพื่อให้

อันตรายนั้นสงบ ดังนี้.

แต่นั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเห็นสัตว์หลายพันถูกนำมารวมไว้

เพื่อประโยชน์แก่การบูชายัญ จึงคิดว่า พระราชาเมื่อทรงกระทำกรรมนี้แล้ว

จะเป็นผู้แนะนำให้ตรัสรู้ได้ยาก เอาเถิด พวกเราจะรีบไปเปลื้องพระองค์ก่อน

เทียว แล้วมาโดยนัยที่กล่าวแล้วในวังสกฬีรคาถานั่นแล เที่ยวบิณฑบาตไปที่

ลานฆ่าสัตว์ ในพระลานหลวง พระราชาประทับยืนที่สีหบัญชร ทรงแลดู

พระลานหลวงอยู่ ทรงเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น และพระองค์ก็ทรง

เกิดพระสิเน่หาพร้อมกันการเห็นนั้นแล แต่นั้นทรงให้นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า

เหล่านั้นมา ทรงให้นั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ที่พื้นสำหรับตากอากาศ (ระเบียง)

ทรงให้ฉันโดยเคารพแล้ว ตรัสถามพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทำภัตกิจเสร็จ

แล้วว่า พวกท่านชื่ออะไร.

ป. มหาบพิตร พวกอาตมาชื่อว่า มาจากทิศทั้ง ๔

ร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คำว่าทิศทั้ง ๔ นี้ มีประโยชน์อย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 163

ป. มหาบพิตร ในทิศทั้ง ๔ พวกอาตมาไม่มีภัย หรือความสะดุ้งแห่ง

จิตอะไร ๆ ณ ที่ไหนเลย

ร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภัยนั้นย่อมไม่มีแก่ท่าน เพราะเหตุอะไร ?

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายทูลว่า มหาบพิตร เพราะพวกอาตมา

เจริญเมตตา เจริญกรุณา มุทิตา อุเบกขา เพราะเหตุนั้น ภัยนั้นจึงไม่มีแก่

พวกอาตมา ดังนี้แล้ว ลุกจากอาสนะไปสู่ที่อยู่ของตน.

แต่นั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า สมณะเหล่านี้กล่าวว่า ภัยย่อมไม่

มี เพราะการเจริญเมตตาเป็นต้น แต่พวกพราหมณ์กล่าวสรรเสริญการฆ่าสัตว์

หลายพัน คำของพวกไหนหนอแลเป็นคำจริง ลำดับนั้น พระองค์ทรงมีพระ-

ราชดำรินี้ว่า สมณะทั้งหลายย่อมกล่าวสิ่งที่บริสุทธิ์ ด้วยสิ่งที่บริสุทธิ์เท่านั้น

ส่วนพวกพราหมณ์กล่าวสิ่งที่บริสุทธิ์ ด้วยสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ และใคร ๆ ไม่อาจ

ล้างสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ ด้วยสิ่งที่ไม่บริสุทธิ์ คำของพวกบรรพชิตเท่านั้นเป็นคำจริง

ดังนี้ พระราชานั้นทรงเจริญพรหมวิหารแม้ทั้ง ๔ มีเมตตาเป็นต้น โดยนัยมี

อาทิว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงมีความสุขเถิด ตรัสสั่งอำมาตย์ทั้งหลาย ด้วย

พระทัยแผ่ไปด้วยประโยชน์เกื้อกูลว่า ท่านทั้งหลายจงปล่อยสัตว์ทั้งหมด ขอ

ให้สัตว์ทั้งหลายได้ดื่มน้ำที่เย็น กินหญ้าที่เขียว และลมเย็นจงรำเพยพัดสัตว์

เหล่านั้น อำมาตย์เหล่านั้นได้กระทำอย่างนั้น.

แต่นั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า เราพ้นแล้วจากบาปกรรม ด้วย

คำของกัลยาณมิตรทั้งหลาย ประทับนั่ง ณ ที่นั้นเอง ทรงเห็นแจ้ง ทรงทำ

ให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และครั้นอำมาตย์ทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่มหาราช

ถึงเวลาเสวยพระกระยาหารแล้ว ขอพระองค์จงเสวย จึงตรัสพระดำรัสทั้งปวงว่า

เราไม่ใช่พระราชา โดยนัยก่อนนั้นแล แล้วตรัสอุทานพยากรณคาถานี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 164

ในคาถานั้น บทว่า จาตุทฺทิโส ได้แก่ ผู้อยู่ตามสบายในทิศทั้งสี่.

ที่ชื่อว่า จาตุทฺทิโส แม้เพราะอรรถว่า บุคคลนั้นมีทิศทั้งสี่แผ่พรหมวิหาร

ภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า แผ่ตลอดทิศหนึ่งอยู่. ชื่อว่า ไม่เดือนร้อน เพราะ

อรรถว่า ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย หรือสังขารทั้งหลาย ด้วยภัยในทิศเหล่านั้น

ทิศใดทิศหนึ่ง.

บทว่า สนฺตุสฺสมาโน ความว่า ยินดีด้วยสามารถความยินดี ๑๒

อย่าง. บทว่า อิตริตเรน ได้แก่ ด้วยปัจจัยสูงต่ำ. ในบาทพระคาถาว่า

ปริสฺสยาน สหิตา อจฺฉมฺภี นั้นชื่อว่า ปริสฺสยา ด้วยอรรถว่า ครอบงำ

หรือยังกายและจิตให้เสื่อม ย่อมครอบงำกายและจิตเหล่านั้น ทำสมบัติของกาย

และจิตเหล่านั้นให้เสื่อมเสีย. คำว่า ปริสฺสยา นั้นเป็นชื่อของอันตรายทางกาย

และทางจิต ที่เป็นภายนอกมีสีหะและเสือโคร่งเป็นต้น และที่เป็นภายในมีกาม

ฉันทะเป็นต้น.

ชื่อว่า สหิตา เพราะอรรถว่า ครอบงำอันตรายเหล่านั้น ด้วย

อธิวาสนขันติ และด้วยธรรมมีวิริยะเป็นต้น อธิบายว่า ไม่หวาดเสียว เพราะ

ไม่มีภัยที่จะทำความแข็งกระด้าง. เราเห็นคุณในการปฏิบัติอย่างนี้ว่า บุคคล

ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ เหมือนสมณะ ๔ รูปเหล่านั้น ดำรงอยู่ในสันโดษ

อันเป็นปทัฏฐานแห่งการปฏิบัตินี้ อยู่ในทิศทั้งสี่ด้วยการเจริญเมตตาเป็นต้น

ในทิศทั้งสี่ และเป็นผู้ไม่เดือดร้อน เพราะไม่มีการกระทำความเบียดเบียนใน

สัตว์และสังขารทั้งหลาย บุคคลนั้นชื่อว่า ครอบงำเสียซึ่งอันตรายมีประการที่

กล่าวแล้ว เพราะความเป็นผู้อยู่ในทิศทั้งสี่ และชื่อว่า เป็นผู้ไม่หวาดเสียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 165

เพราะความเป็นผู้ไม่เดือดร้อน ดังนี้แล้ว ปฏิบัติโดยแยบคาย เป็นผู้บรรลุ

ปัจเจกโพธิญาณ.

อีกอย่างหนึ่ง เรารู้ว่า บุคคลยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ เหมือน

สมณะเหล่านั้นเป็นผู้อยู่ในทิศทั้งสี่ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล ปรารถนาอยู่ซึ่ง

ความเป็นผู้อยู่ในทิศทั้งสี่อย่างนี้แล้ว ปฏิบัติโดยแยบคายบรรลุแล้ว เพราะฉะนั้น

แม้คนอื่นเมื่อปรารถนาฐานะเช่นนี้ เป็นผู้ครอบงำเสียซึ่งอันตราย เพราะเป็น

ผู้อยู่ในทิศทั้งสี่ และไม่หวาดเสียว เพราะความเป็นผู้ไม่เดือนร้อน พึงเที่ยว

ไปแต่ผู้เดียว เหมือนนอแรดฉะนั้น. บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

จาตุททิสคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๙

คาถาว่า ทุสฺสงฺคหา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระอัครมเหสีของพระเจ้ากรุงพาราณสีทรงสิ้นพระชนม์ ต่อ

จากนั้น เมื่อวันเป็นที่เศร้าโศกผ่านไปแล้ว อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า

ธรรมดาพระราชาทั้งหลาย ทรงปรารถนาพระมเหสี ในกิจนั้น ๆ แน่แท้ ดัง

ข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอพระองค์ทรงโปรดนำพระเทวีองค์อื่นมาเถิด. พระ-

ราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น พนายจงรู้. อำมาตย์เหล่านั้นแสวงหาอยู่ รู้ว่า

พระราชาในประเทศใกล้เคียง สวรรคตแล้ว พระเทวีของพระองค์ทรงครอบ

ครองราชสมบัติ และพระนางทรงมีพระครรภ์ พระนางนี้ทรงเหมาะสมแก่

พระราชา ดังนี้แล้ว ทูลขอพระนาง. พระนางตรัสว่า ธรรมดาหญิงมีครรภ์

ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของมนุษย์ทั้งหลาย ถ้าท่านรอจนกว่าข้าพเจ้าคลอด ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 166

ตกลงตามนั้น ถ้ารอไม่ได้ ก็จงแสวงหาหญิงอื่นเถิด. อำมาตย์เหล่านั้น ทูล

บอกเนื้อความนั้นแด่พระราชา. พระราชาตรัสว่า แม้พระนางทรงมีครรภ์ก็

ช่างเถิด จงนำมา อำมาตย์เหล่านั้น นำมาแล้ว พระราชาทรงอภิเษกพระนาง

นั้นแล้ว ทรงพระราชทานโภคทรัพย์ทั้งหมดแก่พระมเหสี และทรงสงเคราะห์

ด้วยการสงเคราะห์นานาชนิดแก่บริชนทั้งหลายของพระนาง พระนางประสูติ

พระโอรสตามกาลอันสมควร พระราชาทรงกระทำพระโอรสแม้นั้นในพระเพลา

และในพระอุระ ทุกพระอิริยาบถเหมือนพระโอรสของพระองค์อยู่.

แต่นั้นบริชนของพระเทวีคิดว่า พระราชาทรงสงเคราะห์พระกุมาร

เหลือเกิน พระราชหฤทัยทรงโปรดปรานอย่างยิ่ง เอาเถิด พวกเราจะยุยง

พระกุมารนั้นให้แตกกัน ลำดับนั้น จึงทูลพระกุมารว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า

พระองค์เป็นพระโอรสของพระราชาของพวกข้าพระองค์ ไม่ใช่เป็นพระโอรส

ของพระราชาพระองค์นี้ ขอพระองค์อย่าถึงความคุ้นเคยในพระราชาพระองค์นี้.

ลำดับนั้น พระกุมารอันพระราชาตรัสว่า มาซิ ลูก ! ก็ดี ทรงจับแม้ที่พระ-

หัตถ์ดึงมาก็ดี ก็ไม่ทรงสนิทกับพระราชาเหมือนในกาลก่อน พระราชาทรง

พิจารณาว่า นั่นอะไร ๆ ทรงทราบประพฤติการณ์นั้นแล้ว ทรงพระราชาดำริว่า

เออ ! ชนเหล่านั้น เราแม้สงเคราะห์แล้วอย่างนี้ ยังประพฤติปฏิปักษ์ต่อตระกูล

เทียว ทรงเอือมระอา จึงทรงสละราชสมบัติทรงผนวช. แม้อำมาตย์และ

บริชนมากรู้ว่า พระราชาทรงผนวชแล้ว ก็ออกบวช.

มนุษย์ทั้งหลายรู้ว่า พระราชาพร้อมกับบริชนบวชแล้วก็นำปัจจัยอัน

ประณีตน้อมถวาย พระราชาให้ถวายปัจจัยอันประณีตตามลำดับผู้แก่ ใน

บรรพชิตเหล่านั้น บรรพชิตเหล่าใดได้ปัจจัยดี บรรพชิตเหล่านั้นก็ดีใจ พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 167

บรรพชิตนอกนี้ ก็เพ่งโทษว่า พวกเราทำกิจทั้งปวง มีการกวาดบริเวณเป็นต้น

แต่ได้ภัตเลว และผ้าเก่า ท้าวเธอทรงทราบเรื่องแม้นั้นแล้ว ทรงพระราช-

ดำริว่า เออ ! เมื่อถวายปัจจัยตามลำดับผู้แก่ บรรพชิตทั้งหลายก็เพ่งโทษ

โอ ! บริษัทนี้สงเคราะห์ได้ยาก ดังนี้แล้ว ทรงถือบาตรและจีวรแต่พระองค์

เดียวเสด็จเข้าป่า ปรารภวิปัสสนา ได้กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และ

ชนทั้งหลายผู้มาในที่นั้นทูลถามกรรมฐานได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

ทุสฺสงฺคหา ปพฺพชิตาปิ เอเก

อโถ คหฏฺา ฆรมาวสนฺตา

อปฺโปสฺสุโก ปรปุตฺเตสุ หุตฺวา

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

แม้บรรพชิตบางพวกก็สงเคราะห์ได้

ยาก อนึ่ง คฤหัสถ์อยู่ครองเรือนสงเคราะห์

ได้ยาก บุคคลเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย

ในบุตรของผู้อื่น พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

คาถานั้น โดยเนื้อความชัดแล้วเทียว แต่โยชนามีดังนี้ บรรพชิตพวก

หนึ่งเหล่าใด ถูกความไม่ยินดีครอบงำแล้ว แม้บรรพชิตเหล่านั้นก็สงเคราะห์

ได้ยาก และอนึ่ง คฤหัสถ์ผู้ครองเรือนก็สงเคราะห์ได้ยากเหมือนกัน เราเกลียด

ความเป็นผู้สงเคราะห์ได้ยากนั้น ปรารภวิปัสสนา ได้บรรลุแล้วดังนี้. บทที่

เหลือ พึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

ทุสสังคหคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 168

คาถาที่ ๑๐

คาถาว่า โอโรปยิตฺวา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาพระนามว่า จาตุมาสิกพรหมทัต ในกรุงพาราณสี

เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ในเดือนต้นแห่งฤดูร้อน ทรงเห็นต้นทองหลางซึ่ง

สล้างด้วยใบหนาสีเขียว ในภูมิภาคอันเป็นที่รื่นรมย์ในพระราชอุทยานนั้น

ตรัสว่า จงจัดที่นอนให้เราที่โคนต้นทองหลาง ทรงเล่นในพระราชอุทยาน

แล้ว ทรงบรรทมที่โคนต้นทองหลางนั้น จนถึงเวลาเย็น เสด็จไปสู่พระราช-

อุทยานในเดือนท่ามกลางแห่งฤดูร้อนอีก ในกาลนั้น ต้นทองหลางผลิดอกแล้ว

แม้ในกาลนั้น ก็ทรงกระทำอย่างนั้น เสด็จไปสู่พระราชอุทยานในเดือนท้าย

แห่งฤดูร้อนอีก ในกาลนั้น ต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว เป็นเหมือน

ต้นไม้แห้ง แม้ในกาลนั้น พระองค์ยังไม่ทรงเห็นต้นไม้นั้นเลย ตรัสสั่งให้จัด

ที่บรรทม ที่โคนต้นทองหลางนั้นแหละ ตามที่ทรงประพฤติมาในกาลก่อน.

อำมาตย์ทั้งหลายแม้รู้อยู่ ก็จัดที่บรรทมในโคนต้นทองหลางนั้น เพราะกลัวว่า

พระราชาตรัสสั่งแล้ว.

พระองค์ทรงเล่นในพระราชอุทยาน ในสมัยเย็น ทรงบรรทมที่โคน

ต้นทองหลางนั้น ทรงเห็นต้นไม้นั้นแล้ว ทรงพระราชดำริว่า ในกาลก่อนต้นไม้

นี้ สล้างด้วยใบ น่าดูยิ่งนักเหมือนสำเร็จแล้วด้วยแก้วมณี ต่อแต่นั้น ก็เป็น

ต้นไม้ มีดอกบานสะพรั่งเช่นกับหน่อแก้วประพาฬที่วางไว้ในระหว่างกิ่งซึ่งมี

สีเขียว น่าดูดุจทองคำมีสิริ และภายใต้ภูมิภาคแห่งต้นทองหลางนั้นเล่า ก็

เกลื่อนกล่นด้วยทรายเช่นกับแล้วมุกดาหาร ดารดาษไปด้วยดอกซึ่งหลุดออกจาก

ขั้ว เป็นดุจปูลาดด้วยผ้ากัมพลแดง วันนี้ต้นไม้ชื่อนั้น ยืนต้นอยู่เหลือแต่กิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 169

เหมือนต้นไม้แห้ง โอ ! ต้นไม้นี้ถูกชราเข้ากระทบแล้ว ย่อมร่วงโรยไป ดังนี้

แล้ว ทรงได้อนิจจสัญญาว่า แม้อนุปาทินนสังขาร ยังถูกชรากระทบได้ ก็จะ

ป่วยกล่าวไปไยถึงอุปาทินนสังขารเล่า และพระองค์เมื่อทรงเห็นแจ้ง ซึ่งสังขาร

ทั้งปวงตามทำนองแห่งอนิจจสัญญานั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง แสะโดย

ความเป็นอนัตตา ทรงปรารถนาว่า โอหนอ ! แม้เราพึงปราศจากเพศคฤหัสถ์

เหมือนต้นทองหลางสลัดใบฉะนั้น ทรงบรรทมโดยปรัศว์เบื้องขวาบนพื้นพระ

ที่บรรทมนั้นนั่นแล ก็ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณโดยลำดับ ในกาล

เสด็จไปจากพระราชอุทยานนั้น ครั้นอำมาตย์ทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่มหาราช ได้

เวลาเสด็จกลับแล้วพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า เราไม่ใช่พระราชาเป็นต้น จึงตรัส

พระคาถาโดยนัยก่อนนั่นแลว่า

โอโรปยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ

สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา โกวิฬาโร

เฉตฺวาน ธีโร คิหิพนฺธนานิ

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

นักปราชญ์ละเหตุอันเป็นเครื่อง

ปรากฏแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้นทองหลางมีใบ

ร่วงหล่น ตัดเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ได้แล้ว

พึงเที่ยวผู้เดียวเหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น บทว่า โอโรปยิตฺวา ความว่าทิ้งแล้ว นำออกแล้ว.

บทว่า คิหิพฺยญฺชนานิ ความว่า ผม หนวด ผ้าขาว เครื่องประดับ ระเบียบ

ของหอม ของลูบไล้ สตรี บุตร ทาสี ทาส เป็นต้นเหล่านั้นย่อมแสดงความเป็น

คฤหัสถ์ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า คิหิพฺยฺชนานิ แปลว่า เครื่อง

ปรากฏแห่งคฤหัสถ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 170

บทว่า สญฺฉินฺนปตฺโต ความว่า มีใบหล่นแล้ว. บทว่า เฉตฺวาน

คือ ตัดแล้วด้วยมรรคญาณ. บทว่า ธีโร ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วยมรรค

วิริยะ. บทว่า คิหิพนฺธนานิ ได้แก่ เครื่องผูกคือกาม. เพราะกามทั้งหลาย

เป็นเครื่องผูกแห่งคฤหัสถ์ทั้งหลาย.

เนื้อความตามบทมีเท่านี้ก่อน ส่วนอธิบายมีดังนี้ ก็พระราชาทรง

ดำริอย่างนี้ว่า โอหนอ แม้เราละเหตุอันเป็นเครื่องปรากฏแห่งคฤหัสถ์แล้ว

พึงเป็นเหมือนต้นทองหลางมีใบร่วงหล่นฉะนั้น ทรงปรารภวิปัสสนา บรรลุ

แล้วดังนี้. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล.

โกวิฬารคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

วรรคที่ ๑ จบ

วรรคที่ ๒ คาถาที่ ๑๑ - ๑๒

คาถาว่า สเจ ลเภถ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระปัจเจกโพธิสัตว์ ๒ องค์ บวชในพระ-

ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร

ตลอด ๒๐,๐๐๐ ปี แล้วบังเกิดในเทวโลก เคลื่อนจากเทวโลกนั้นแล้ว คนพี่

เป็นพระราชโอรสของพระเจ้ากรุงพาราณสี คนน้องเป็นบุตรของปุโรหิต. ทั้ง

สองนั้นถือปฏิสนธิในวันเดียวกัน ออกจากครรภ์มารดาในวันเดียวกัน เป็น

สหายเล่นฝุ่นด้วยกัน. บุตรปุโรหิตเป็นคนมีปัญญา เขาได้ทูลพระราชบุตรว่า

ข้าแต่พระสหาย พระองค์จักได้ราชสมบัติ โดยล่วงไปแห่งพระบิดา ข้าพระ-

องค์จักได้ตำแหน่งปุโรหิต พระองค์ได้รับการศึกษาดีแล้ว ควรเพื่อครอบ-

ครองราชสมบัติให้เป็นสุข มาเถิด พวกเราจักเรียนศิลป์ด้วยกัน แต่นั้น ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 171

แม้ทั้งสองเป็นผู้มีกรรมได้สั่งสมแล้วในชาติก่อนเที่ยวหาภิกษาในคามและนิคม

เป็นต้น ไปสู่บ้านในชนบทชายแดน.

ก็พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายเข้าไปสู่บ้านนั้น ในเวลาภิกขาจาร ลำดับ

นั้น มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว เกิดความอุตสาหะย่อมปู

อาสนะ น้อมขาทนียะ โภชนียะอันประณีตถวาย นับถือบูชา สหายทั้งสอง

นั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า มนุษย์ผู้มีตระกูลสูงเช่นพวกเรา ไม่มี เออก็มนุษย์

เหล่านี้ผิปรารถนา ก็ให้ภิกษาแก่พวกเรา ถ้าไม่ปรารถนา ก็ไม่ให้ แต่ย่อม

กระทำสักการะเห็นปานนี้แก่บรรพชิตเหล่านี้ บรรพชิตเหล่านี้คงรู้ศิลป์บาง

อย่างแน่นอน เอาเถิด พวกเราจะเรียนศิลปะในสำนักของบรรพชิตเหล่านั้น

ดังนี้. สหายทั้งสองนั้น ครั้นมนุษย์ทั้งหลายกลับแล้ว ได้โอกาสจึงอ้อนวอน

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายย่อมรู้ศิลปะใด โปรดให้พวกกระผมศึกษา

ศิลปะนั้นด้วย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า ผู้ยังไม่ได้บวชไม่อาจศึกษา

ได้. สหายทั้งสองนั้นจึงขอบรรพชาแล้วบวช.

ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายได้บอกอภิสมาจาริกวัตรแก่

บรรพชิตทั้งสองนั้น โดยนัยมีอาทิว่า ท่านพึงนุ่งอย่างนี้ พึงห่มอย่างนี้ แล้ว

มอบบรรณศาลาให้รูปละหลังว่า ความยินดียิ่งในความเป็นผู้อยู่คนเดียว เป็น

ความสำเร็จแห่งศิลปะนี้ เพราะฉะนั้น พึงนั่งคนเดียวเท่านั้น พึงจงกรม พึง

ยืน พึงนอนคนเดียว. แต่นั้นบรรพชิตทั้งสองนั้นเข้าสู่บรรณศาลาของตน ๆ

แล้วนั่ง. บุตรปุโรหิตได้ความตั้งมั่นแห่งจิต จำเดิมแต่เวลานั่งแล้ว ได้ฌาน

ราชบุตรกระสันโดยครู่เดียวเท่านั้น ก็มาสู่สำนักของบุตรปุโรหิตนั้น บุตร

ปุโรหิตนั้นเห็นราชบุตรนั้น จึงถามว่า อะไร เพื่อน.

ร. ผมกระสัน

ปุ. ถ้าเช่นนั้น จงนั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 172

ราชบุตรนั้น นั่งในที่นั้นชั่วครู่แล้ว กล่าวว่า สหาย ! ได้ยินว่า ความ

ยินดียิ่งในความเป็นผู้อยู่คนเดียว เป็นการสำเร็จแห่งศิลปะนี้. บุตรปุโรหิต

กล่าวว่า อย่างนั้น เพื่อน ! ถ้าเช่นนั้น ท่านจงไปสู่โอกาสที่ตนนั่งนั้นแล

เราจักเรียนความสำเร็จแห่งศิลปะนี้ ราชบุตรนั้นไปแล้ว โดยครู่เดียวเท่านั้น

ก็กระสันอีก จึงมาถึง ๓ ครั้ง โดยนัยก่อนนั่นแล แต่นั้น บุตรปุโรหิตก็ส่ง

ราชบุตรกลับเหมือนอย่างนั้น ครั้นราชบุตรไปแล้ว คิดว่า ราชบุตรนี้ประกาศ

กรรมของตนและของเรา จึงมาในที่นี้เนือง ๆ ท่านจึงออกจากบรรณศาลาเข้า

สู่ป่า.

ฝ่ายราชบุตรนั่งในบรรณศาลาของตน เป็นผู้กระสันแม้อีกโดยครู่เดียว

เท่านั้น จึงมาสู่บรรณศาลาของบุตรปุโรหิตนั้น แม้ค้นหาทางนี้และทางโน้น

ก็ไม่พบบุตรปุโรหิตนั้น จึงคิดว่า ผู้ใดแม้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์นำบรรณาการ

มา ก็ไม่ได้เพื่อเห็นเรา ผู้ชื่อนั้น เมื่อเรามาแล้ว ก็ไม่ประสงค์เพื่อจะให้เห็น

เลย ก็หลีกไปเสีย โอ ! แน่ะจิต เจ้าช่างไม่ละอาย เจ้านำเราใดมาในที่นี้ถึง

สี่ครั้ง บัดนี้ เรานั้น จักไม่เป็นไปในอำนาจของเจ้า แต่จักให้เจ้าเท่านั้นเป็น

ไปในอำนาจของเราแน่นอน ดังนี้แล้วเข้าไปสู่เสนาสนะของตน ปรารภ

วิปัสสนา กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว เหาะไปสู่เงื้อมเขานันทมูลกะ

ฝ่ายบุตรปุโรหิตนอกจากศาลานี้เข้าป่าแล้ว ปรารภวิปัสสนา กระทำให้แจ้งซึ่ง

ปัจเจกโพธิญาณ ได้ไปเหมือนอย่างนั่นเทียว.

พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้ทั้งสองนั้น นั่งบนพื้นมโนศิลาแล้ว ได้กล่าว

อุทานคาถาเหล่านี้รูปละ ๑ คาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 173

สเจ ลเภถ นิปก สหาย

สทฺธึจร สาธุวิหาร ธีร

อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ

จเรยฺย เตนตฺตมโน สตีมา

ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญา

เครื่องรักษาตน ผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติ

อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึง

ครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มีใจชื่นชม

มีสติ เที่ยวไปกับสหายนั้น.

โน เจ ลเภถ นิปก สหาย

สทฺธึจร สาธุวิหาริ ธีร

ราชาว รฏฺ วิชิต ปหาย

เอโก จเร มาตงฺครญฺเว นาโค

หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา

เครื่องรักษาตนผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มีปกติ

อยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงเที่ยว

ไปแต่ผู้เดียว ดุจพระราชาทรงละแว่นแคว้น

อันพระองค์ทรงชนะแล้วเสด็จไปแต่ผู้เดียว

ดุจพญาช้างชื่อมาตังคะ ละโขลงเที่ยวอยู่ใน

ป่าแต่ตัวเดียว ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น บทว่า นิปก ได้แก่ บัณฑิตผู้รอบคอบโดยปกติ คือ

ฉลาดในกสิณบริกรรมเป็นต้น. บทว่า สาธุวิหารึ ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อม

ด้วยอัปปนาวิหาร หรืออุปจาร. บทว่า ธีร ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยธิติ. ในคาถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 174

นั้น ท่านกล่าวถึงความถึงพร้อมด้วย ธิติ ด้วยอรรถว่า นิปกะ แต่ในอรรถกถา

นี้ อธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยธิตินั่นเอง. ความบากบั่นไม่ท้อถอยชื่อว่า ธิติ.

คำว่า ธิติ นั่น เป็นชื่อแห่งความเพียรอันเป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า กาม ตโจ จ

นหารู จ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธีระ แม้เพราะอรรถว่า มีบาปอันลอยแล้ว.

บาทคาถาว่า ราชาว รฏฺ วิชิต ปหาย ความว่าพระราชาผู้ปรปักษ์

ทรงทราบว่า แว่นแคว้นที่ชนะแล้วนำความฉิบหายมาให้ ทรงสละราชสมบัติ

ทรงเที่ยวไปแต่พระองค์เดียวฉันใด บุคคลละสหายที่เป็นพาลแล้ว พึงเที่ยวไป

แต่ผู้เดียวฉันนั้น.

อีกประการหนึ่ง บทว่า ราชาว รฏฺ ความว่า พระเจ้าสุตตโสม

ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่พระองค์เดียวฉันใด และ

พระมหาชนกทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะแล้ว เสด็จเที่ยวไปแต่พระองค์เดียว

ฉันใด บุคคลพึงเที่ยวไปแต่ผู้เดียวฉันนั้น. เนื้อความแห่งคาถานั้น มีเท่านี้.

ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายมีปัญญาเครื่องรักษาตนผู้เที่ยวไปร่วมกันได้ มี

ปกติอยู่ด้วยกรรมดี เป็นนักปราชญ์ไซร้ พึงครอบงำอันตรายทั้งปวง เป็นผู้มี

ใจชื่นชม มีสติเที่ยวไปกับสหายนั้น.

บทที่เหลือ อาจเพื่อรู้ได้ ด้วยทำนองที่กล่าวแล้ว เพราะฉะนั้นจึงไม่

ได้อธิบายให้พิสดาร.

สหายคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๑๓

คาถานี้ว่า อทฺธา ปสสาม ดังนี้ มีอุบัติตั้งแต่พระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลายนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ในพื้นระเบียง เป็นเช่นกับอุบัติในจาตุท-

ทิสคาถานั่นแล. ส่วนความแปลกกันมีดังนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 175

พระราชาพระองค์นั้นทรงสะดุ้งในราตรีถึง ๓ ครั้ง ฉันใด พระราชา

นี้ หาเป็นฉันนั้นไม่ ทั้งยัญก็ไม่ปรากฏแก่พระองค์ ท้าวเธอทรงนิมนต์พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่ง บนอาสนะที่ปูไว้ที่พื้นระเบียงแล้ว ตรัสถามว่า

พวกท่านชื่ออะไร ?

ป. มหาบพิตร พวกอาตมา ชื่อว่า ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ

ร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คำว่า ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษนี้ มีประโยชน์

อย่างไร ?

ป. พวกอาตมาได้สิ่งที่ดีหรือไม่ดี ก็ไม่มีอาการผิดแปลกบริโภค

มหาบพิตร

พระราชาทรงสดับเช่นนั้นแล้ว ทรงพระราชดำรินี้ว่า เอาเถิด เรา

จะพิจารณาสมณะเหล่านี้ว่า เป็นเช่นนี้ หรือไม่ ในวันนั้น ทรงอังคาส

ด้วยข้าวปลายเกรียนกับส้มผักดอง พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็บริโภคไม่

แสดงอาการผิดแปลกเหมือนบริโภคอมตะ พระราชาทรงพระราชดำริว่า สมณะ

เหล่านี้ เป็นผู้ไม่แสดงอาการผิดแปลกเพราะได้ปฏิญญาแล้วในวันที่หนึ่ง เรา

จักรู้ในพรุ่งนี้ จึงทรงนิมนต์เพื่อบริโภคในวันพรุ่งนี้ แม้ในวันที่ ๒ จากนั้น ก็

ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น ก็บริโภคเหมือน

เดิม ลำดับนั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า บัดนี้ เราจักถวายสิ่งที่ดีกว่า

ทดลองดู ดังนี้แล้ว ทรงนิมนต์อีก ทรงกระทำสักการะใหญ่ตลอดสองวัน

ทรงอังคาสด้วยขาทนียะ โภชนียะ อันประณีต พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้เหล่านั้น

ก็บริโภคไม่แสดงอาการผิดแปลกเหมือนเดิม กล่าวมงคลถวายพระราชาแล้ว

หลีกไป.

พระราชาครั้นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นหลีกไปไม่นาน จึงทรงพระ-

ราชดำริว่า พระสมณะเหล่านั้น บริโภคโภชนะไม่มีโทษ โอหนอ ! แม้เราก็พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 176

บริโภคโภชนะไม่มีโทษ ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติมาก สมาทานบรรพชา

ปรารภวิปัสสนา เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงยังอารมณ์ของพระองค์ให้

แจ่มแจ้ง ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายที่โคนต้นไม้รกฟ้าตรัสพระ-

คาถานี้ว่า

อทฺธา ปสสาม สหายสมฺปท

เสฏฺา สมา เสวิตพฺพา สหายา

เอเต อลทฺธา อนวชฺชโภชี

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อม

ด้วยศีลขันธ์เป็นต้น พึงคบสหายผู้ประเสริฐ

สุด ผู้เสมอกัน กุลบุตรไม่ได้สหายผู้ประ-

เสริฐสุดและเสมอกันเหล่านี้แล้ว พึงเป็น

ผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

คาถานั้น ว่าโดยอรรถแห่งบทตื้นทั้งนั้น. ก็สหายทั้งหลายผู้ถึงพร้อม

ด้วยศีลขันธ์เป็นต้น ที่เป็นอเสขะ ในบทว่า สหายสมฺปท นี้อย่างเดียว

เท่านั้น พึงทราบว่า สหายผู้ถึงพร้อม. ส่วนโยชนาในบทนี้ มีดังนี้ สหายผู้

ถึงพร้อมนี้ใดที่กล่าวแล้ว เราย่อมสรรเสริญสหายผู้ถึงพร้อมนั้นแน่แท้ อธิบาย

ว่า เราชื่นชมโดยส่วนเดียวเท่านั้น. อย่างไร. คือ พึงคบสหายผู้ประเสริฐสุด

ผู้เสมอกัน. เพราะเหตุอะไร. เพราะเมื่อกุลบุตรคบสหายผู้ประเสริฐสุด ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 177

คุณธรรมมีศีลเป็นต้นของตน ธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ที่ยังไม่เกิด ย่อม

เกิดขึ้น ที่เกิดแล้ว ย่อมถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ เมื่อคบสหายผู้เสมอกัน

ธรรมทั้งหลายที่ได้แล้ว ย่อมไม่เสื่อม เพราะทรงความเสมอกันและกัน และ

เพราะกำจัดความรังเกียจ แต่กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ ไม่ได้คบสหายผู้ประ-

เสริฐสุด และผู้เสมอกันเหล่านั้น เว้นมิจฉาชีพมีการหลอกลวงเป็นต้น

บริโภคโภชนะที่เกิดขึ้นโดยธรรมและโดยเสมอ และไม่ให้ปฏิฆานุสัยในโภชนะ

นั้นเกิดขึ้น เป็นผู้บริโภคโภชนะไม่มีโทษ เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด

ฉะนั้น เพราะแม้เราเที่ยวไปอย่างนี้ จึงบรรลุสมบัตินี้แล.

อนวัชชโภชิคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๑๔

คาถาว่า ทิสฺวา สุวณฺณสฺส ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

พระเจ้ากรุงพาราณสี พระองค์หนึ่ง เสร็จเข้าที่บรรทมในกลางวัน

ในคิมหสมัย และในพระราชสำนักของพระองค์ นางวรรณทาสีกำลังบด

จันทร์เหลืองอยู่ ในแขนข้างหนึ่งของนาง มีกำไลทองหนึ่งวง ในแขนอีกข้าง

หนึ่ง มีกำไลทองสองวง กระทบกัน กำไลทองหนึ่งวงนอกนี้ไม่กระทบ

พระราชาทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงทรงแลดูนางทาสีบ่อย ๆ พลางทรงพระราช-

ดำริว่า ในการอยู่เป็นหมู่ย่อมมีการกระทบกัน ในการอยู่คนเดียว ย่อมไม่มี

การกระทบ เหมือนอย่างนั้นแล.

โดยสมัยนั้น พระเทวีผู้ทรงประดับประดาด้วยเครื่องอลังการพร้อม

สรรพ์ ประทับยืนถวายงานพัดอยู่ พระนางทรงดำริว่า พระราชาชะรอยจะมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 178

พระหทัยปฏิพัทธ์ในนางวรรณทาสี ทรงให้นางทาสีนั้นลุกออกไป ทรงปรารภ

เพื่อจะทรงบดด้วยพระองค์เอง ในพระพาหาทั้งสองข้างของพระนางมีกำไลทอง

หลายวงกระทบกันเกิดเสียงดังมาก พระราชาทรงเอือมระอายิ่งขึ้น ทั้งที่บรรทม

ด้วยปรัศว์เบื้องขวา ทรงปรารภวิปัสสนา ได้ทำให้แจ้งซึ่งพระปัจเจกโพธิญาณ.

พระเทวีทรงถือจันทน์ เสด็จเข้าเฝ้าพระราชาพระองค์นั้น ซึ่งบรรทม

เป็นสุข ด้วยความสุขอันยอดเยี่ยม ทูลว่า มหาราช หม่อมฉันจะไล้ทา

พระราชตรัสว่า ออกไป อย่าไล้ทา พระนางทูลว่า อะไร มหาราช ! พระราชา

ตรัสว่า เราไม่ใช่ราชา. อำมาตย์ทั้งหลายฟังการสนทนานั้น ของพระราชา

และพระเทวีนั้น อย่างนั้นแล้ว จึงเข้าไปเฝ้า พระราชาผู้อันอำมาตย์เหล่านั้น

ทูลเรียกด้วยวาทะว่า มหาราช จึงตรัสว่า แน่ะพนาย เราไม่ใช่ราชา. บทที่

เหลือเป็นเช่นกับ คำที่กล่าวแล้ว ในคาถาต้นนั้นแล. ส่วนคาถาวัณณนามี

ดังนี้ว่า

ทิสฺวา สุวณฺณสฺส ปภสฺสรานิ

กมฺมารปุตฺเตน สุนิฏฺิตานิ

สงฺฆฏฺฏมานานิ ทุเว ภุชสฺมึ

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลแลดูกำไลทองสองอันงามผุด-

ผ่องที่บุตรแห่งนายช่างทองให้สำเร็จด้วยดี

แล้ว กระทบกันอยู่ในข้อมือ พึงเที่ยวไป

ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 179

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา ได้แก่แลดูแล้ว. บทว่า สุวณฺณสฺส

ได้แก่ ทองคำ. บาลีที่เหลือว่า วลฺยานิ เป็นคำที่นำมาเพิ่มเข้า เพราะอรรถ

ของคำที่เหลือ มีเนื้อความอย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า ปภสฺสรานิ ได้แก่

อันแพรวพราวเป็นปกติ อธิบายว่า มีแสงรุ่งเรือง. บทที่เหลือเป็นบทมีอรรถ

ตื้นทั้งนั้น.

ส่วนโยชนาดังนี้ว่า เราแลดูกำไรทองกระทบกันอยู่ในข้อมือ จึงคิดว่า

เมื่อมีการอยู่เป็นหมู่ ย่อมมีการกระทบกัน เมื่อมีการอยู่คนเดียว หากระทบ

กันไม่ จึงปรารภวิปัสสนา ได้บรรลุแล้ว. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

สุวัณณนาคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๑๕

คาถาว่า เอว ทุติเยน ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง ยังทรงพระเยาว์ มีพระประสงค์

จะทรงผนวช จึงตรัสสั่งอำมาตย์ทั้งหลายว่า พวกท่านจงรับพระเทวีปกครอง

ราชสมบัติเถิด เราจักบวช. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ก็

ราชสมบัติที่ไม่มีพระราชา อันพวกข้าพระองค์ไม่สามารถเพื่อจะรักษาได้

พระราชาในประเทศใกล้เคียงทั้งหลายจะมาแย่งชิงราชสมบัติไป ขอพระองค์

จงทรงรอ จนกว่าพระโอรสองค์หนึ่งทรงเกิดก่อน ดังนี้แล้ว ทูลให้พระราชา

ทรงยินยอม. พระราชาทรงมีพระทัยอ่อน จึงทรงรับ. ต่อมา พระเทวีทรง

พระครรภ์. พระราชาตรัสสั่งอำมาตย์เหล่านั้นแม้อีกว่า พระเทวีทรงครรภ์แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 180

พวกท่านจงอภิเษกบุตรที่เกิดแล้วไว้ในราชสมบัติ ปกครองราชสมบัติเถิด เรา

จักบวช. พวกอำมาตย์ทูลให้พระราชทรงยินยอมแม้อีกว่า ข้าแต่มหาราช ข้อ

นั่นเป็นการรู้ได้ยากว่า พระเทวีจักประสูติพระโอรส หรือพระธิดา ขอพระ-

องค์จงทรงรอประสูติกาลก่อนเถิด. ต่อมา พระนางก็ประสูติพระโอรส. แม้

ในกาลนั้น พระราชาก็ตรัสสั่งอำมาตย์ทั้งหลายเหมือนอย่างนั้น. พวกอำมาตย์

ก็ทูลให้พระราชาทรงยินยอมแม้อีก ด้วยเหตุเป็นอันมากว่า ข้าแต่มหาราช

ขอพระองค์จงรอจนกว่าพระโอรสทรงมีพระกำลังแข็งแรงก่อนเถิด.

แต่นั้น เมื่อพระกุมารทรงมีพละกำลังแข็งแรงแล้ว พระราชาจึงตรัส

ให้ประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้ว ตรัสว่า กุมารนี้มีกำลังแข็งแรงแล้ว พวกท่าน

จงอภิเษกกุมารนั้นในราชสมบัติ ปฏิบัติเถิด ดังนี้ ไม่ทรงประทานพระวโรกาส

ให้แก่พวกอำมาตย์ ตรัสสั่งให้นำบริขารทั้งปวง มีผ้ากาสวพัสตร์เป็นต้น มา

จากภายในตลาด ทรงผนวชในภายในเมืองนั่นเองแล้วเสด็จออกไป เหมือน

พระเจ้ามหาชนก. บริชนทั้งปวง คร่ำครวญนานัปการ ติดตามพระราชา

พระราชาเสด็จไปจนถึงปลายเขตแดนของพระองค์ ทรงทำรอยขีด ด้วยไม้

ธารพระกร ตรัสว่า อย่าพึงข้ามรอยขีดนี้. มหาชนนอนบนพื้นเอาศีรษะจรด

ที่รอยขีดคร่ำครวญอยู่ ทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า บัดนี้พระราชาทรงวางอาชญา

แก่พระองค์ พระราชาจักทรงทำอย่างไร แล้วให้พระกุมารนั้นเสด็จข้ามรอยขีด

ไป. พระกุมารทรงร้องว่า เสด็จพ่อ ! เสด็จพ่อ ! แล้วทรงวิ่งไปทันพระราชา.

พระราชาทรงพระราชดำริว่า เราปกครองมหาชนนั่น เสวยราชสมบัติ บัดนี้

เราไม่อาจเพื่อจะปกครองเด็กคนเดียวหรือไร ทรงพาพระกุมารเสด็จเข้าป่า ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 181

เห็นบรรณศาลาที่พระปัจเจกพุทธเจ้าในปางก่อนอยู่ในป่านั้น จึงประทับอยู่

พร้อมกับพระราชโอรส.

ลำดับนั้น พระกุมารทรงเคยชินแต่ในที่บรรทมอันประเสริฐเป็นต้น

แต่เมื่อบรรทมในที่ลาดด้วยหญ้า หรือ บนพระแท่นที่ถักด้วยเชือก ถูกหนาว

และลมเป็นต้นกระทบ ก็ทรงกันแสงทูลว่า หนาวเสด็จพ่อ ร้อนเสด็จพ่อ

แมลงวันตอมเสด็จพ่อ หม่อมฉันหิวเสด็จพ่อ กระหายเสด็จพ่อ ดังนี้.

พระราชาต้องทรงปลอบโยนพระกุมารนั้น ยังราตรีให้ผ่านไป แม้ในกลางวัน

ก็ต้องเสด็จเที่ยวบิณฑบาตนำภัตไปมอบให้พระกุมารนั้น ภัตนั้นเป็นภัตปนคละ

กัน มากด้วยข้าวฟ่าง ลูกเดือยและแกงถั่วเป็นต้น พระกุมารทรงหิว ก็เสวย

ภัตแม้นั้น ด้วยอำนาจความหิว ต่อกาลไม่นานนัก ก็ทรงผ่ายผอม เหมือน

ดอกประทุมที่วางไว้ในที่ร้อนฉะนั้น.

ส่วนพระปัจเจกโพธิสัตว์ ไม่ทรงแสดงอาการผิดแปลกเลย ทรงเสวย

ด้วยกำลังแห่งการพิจารณา แต่นั้น พระองค์ก็ทรงให้พระกุมารยินยอมตรัสว่า

แน่ะพ่อ ! อาหารอันประณีตย่อมได้ในพระนคร พวกเราจะไปในพระนครนั้น.

พระกุมารทูลว่า ตกลง เสด็จพ่อ. แต่นั้น ก็ทรงนำพระกุมารนั้น เสด็จกลับ

ตามทางที่เสด็จกลับมานั่นเทียว.

ฝ่ายพระเทวี พระมารดาของพระกุมาร ทรงดำริว่า บัดนี้ พระราชา

ทรงพาพระกุมารไปประทับอยู่ในป่าคงไม่นานนัก คงจักเสด็จกลับโดยกาล ๒ - ๓

วันเท่านั้น จึงทรงให้ล้อมรั้วในสถานที่ทรงขีด ด้วยไม้ธารพระกรนั่นแล แล้ว

ประทับอยู่ ลำดับนั้น พระราชาประทับยืนในที่ไม่ไกลจากรั้วนั้น ทรงส่งไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 182

ว่า แน่ะพ่อ มารดาของเจ้านั่งอยู่ในที่นั่น เจ้าจงไป ดังนี้ และประทับยืน

ดูอยู่จนกว่าพระกุมารนั้นเสด็จถึงที่นั้น ด้วยพระดำริว่า ใคร ๆ ไม่พึงเบียด

เบียนกุมารนั้น พระกุมารได้เสด็จไปสู่สำนักของพระมารดา ก็บุรุษผู้อารักขา

ทั้งหลายเห็นพระกุมารนั้นแล้ว ทูลบอกแด่พระเทวี พระเทวีทรงมีสตรีนัก

ฟ้อนรำ ๒๐,๐๐๐ นาง แวดล้อมแล้ว เสด็จไปรับ และตรัสถามเรื่องราวของ

พระราชา ครั้นทรงสดับว่า จักเสด็จมาภายหลัง จึงทรงส่งมนุษย์ทั้งหลาย

ฝ่ายพระราชาก็เสด็จไปสู่ที่อยู่ของพระองค์ในทันทีทันใดนั่นเอง มนุษย์ทั้งหลาย

ไม่เห็นพระราชาก็กลับมา แต่นั้น พระเทวีทรงปราศจากความหวัง ทรงพา

พระราชโอรสกลับถึงพระนคร ทรงอภิเษกพระกุมารนั้นไว้ในพระราชสมบัติ.

ฝ่ายพระราชาเสด็จถึงที่อยู่ของพระองค์แล้ว ประทับนั่งในที่อยู่นั้น

ทรงเห็นแจ้ง ทรงทำให้แจ้งซึ่งพระปัจเจกโพธิญาณ ตรัสอุทานคาถานี้ ใน

ท่ามกลางแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ที่โคนต้นไม้รกฟ้าว่า

เอว ทุติเยน สหา มมสฺส

วาจาภิลาโป อภิสชฺชน วา

เอต ภย อายตึ เปกฺขมาโน

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่

สอง หรือการข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความ

เยื่อใยพึงมีได้อย่างนี้ บุคคลเล็งเห็นภัยนี้ใน

อนาคต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 183

คาถานั้น โดยอรรถแห่งบท ตื้นทั้งนั้น ส่วนอธิบายในคาถานั่น

ดังนี้ การพูดจาของเราให้พระกุมารนั้นยินยอมอยู่ กับพระกุมารที่สองนั่น

ผู้เสวยหนาวและร้อนเป็นต้นนี้ใด การข้องอยู่ด้วยอำนาจแห่งความเยื่อใย พึง

มีได้ในการพูดจานั้น ถ้าเราไม่สละการพูดจาและการข้องอยู่นี้เสีย ต่อแต่นั้น

การที่เราจะพึงพูดจากับพระกุมารที่สอง หรือ การข้องอยู่ในอนาคตก็จะเป็น

เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เราเมื่อเล็งเห็นภัยในอนาคตนี้ว่า การพูดจา

และการข้องอยู่ทั้งสองนั้น เป็นเหตุทำอันตรายแก่การบรรลุคุณวิเศษ ดังนี้

จึงทิ้งกาพูดจาและการข้องอยู่นั้นเสีย ปฏิบัติโดยแยบคายแล้ว ก็ได้บรรลุ

ปัจเจกโพธิญาณ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อายติภยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๑๖

คาถาว่า กามาหิ จิตฺรา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี เศรษฐีบุตรยังหนุ่ม ได้ตำแหน่งเศรษฐี

เศรษฐีบุตรนั้น มีปราสาท ๓ หลัง สำหรับ ๓ ฤดู เศรษฐีบุตรนั้น บำรุง

บำเรอด้วยสมบัติทั้งปวง เหมือนเทพกุมารทั้งที่ยังหนุ่มอยู่ ได้ปรึกษากับมารดา

และบิดาว่า ลูกจักบวช มารดาบิดาเหล่านั้น ก็ห้ามเขา เศรษฐีบุตรนั้น ก็ยืนยัน

เหมือนเดิมนั้นแล มารดาและบิดา ก็ห้ามเขาอีกว่า ดูก่อนพ่อ เจ้าเป็นผู้

ละเอียดอ่อน การบรรพชาทำได้ยาก เป็นเช่นกับเดินไปมาบนคมมีดโกน

เขาก็ยืนยันเช่นเดิมนั้นแล มารดาบิดาเหล่านั้นคิดว่า ถ้าบุตรนี้บวช พวกเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 184

ก็เสียใจ ถ้าห้ามเขา เขานั่นก็จะเสียใจ ช่างเถิด ความเสียใจจงมีแก่พวกเรา

และอย่ามีแก่บุตรนั่น ดังนี้แล้ว ก็อนุญาต.

แต่นั้น เศรษฐีบุตรนั้น ไม่คำนึงถึงบริชนทั้งหมด ที่คร่ำครวญอยู่

ไปสู่ป่าอิสิปตนะ บวชในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย เสนาสนะอัน

โอฬารย่อมไม่ถึงแก่เขา เขาต้องปูเสื่อลำแพนบนเตียงแล้วนอน เขาเคยชิน

แต่ในที่นอนอันประเสริฐ เป็นทุกข์อย่างยิ่งตลอดคืน ทำบริกรรมสรีระแม้แต่

เช้าแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตพร้อมกับพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

ในพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ท่านผู้แก่ย่อมได้อาสนะที่เลิศและบิณฑะที่เลิศ

ผู้ใหม่ย่อมได้อาสนะตามมีตามเกิด และโภชนะอันเลว เศรษฐีบุตรนั้น เป็น

ทุกข์อย่างยิ่ง แม้ด้วยโภชนะอันเลวนั้น โดยล่วงไป ๒ - ๓ วันเท่านั้น ก็ผ่ายผอม

มีวรรณะเศร้าหมอง เบื่อหน่ายในสมณธรรม ซึ่งยังไม่ถึงความแก่รอบตามที่ควร

ต่อแต่นั้น ก็ส่งทูตไปบอกแก่มารดาบิดาแล้วสึก.

เศรษฐีบุตรนั้น ได้กำลังต่อกาลเล็กน้อยเท่านั้น ก็ใคร่เพื่อจะบวชอีก

ต่อแต่นั้น ก็บวชแล้วสึก แม้โดยทำนองนั้นเทียว ในวาระที่ ๓ บวชแล้ว

ปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว กล่าวอุทานคาถานี้ กล่าวแม้

พยากรณ์คาถานี้แล ในท่ามกลางของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแม้อีกว่า

กามา หิ จิตฺรา มธุรา มโนรมา

วิรูปรูเปน มเถนฺติ จิตฺต

อาทีนว กามคุเณส ทิสฺวา

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 185

ก็กามทั้งหลายงามวิจิตร มีรสอร่อย

เป็นที่รื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยรูปแปลก ๆ

บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึง

เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น บทว่า กามา ได้แก่ กาม ๒ อย่างคือ วัตถุกาม ๑

กิเลสกาม ๑. ในกาม ๒ อย่างนั้น ธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นที่รักของใจเป็นต้น

ชื่อว่า วัตถุกาม ธรรมทั้งหลายอันเป็นประเภทแห่งราคะแม้ทั้งหมด เรียกว่า

กิเลสกาม. ก็ในคาถานี้ ท่านประสงค์เอาวัตถุกาม. กามทั้งหลาย ชื่อว่า

งามวิจิตร ด้วยอำนาจแห่งประการหลายอย่างมีรูปเป็นต้น ชื่อว่า มีรสอร่อย

ด้วยอำนาจแห่งความยินดีของชาวโลก ชื่อว่า เป็นที่รื่นรมย์ใจ เพราะอรรถว่า

ยังใจของปุถุชนคนโง่ให้รื่นรมย์.

บทว่า วิรูปรูเปน ความว่า ด้วยรูปแปลก ๆ มีอธิบายว่า ด้วยสภาพ

หลายอย่าง. จริงอยู่ กามเหล่านั้น ชื่อว่า งามวิจิตร ด้วยอำนาจแห่งรูป

เป็นต้น ชื่อว่า มีรูปแปลก ๆ ด้วยอำนาจแห่งสีมีสีเขียวเป็นต้น แม้ในรูป

เป็นต้น แสดงความพอใจด้วยรูปแปลก ๆ นั้น หรือโดยประการนั้น ๆ ย่อม

ย่ำยีจิต คือ ไม่ให้เพื่ออภิรมย์ในบรรพชา ด้วยประการอย่างนั้น.

บทที่เหลือในคาถานั้น ปรากฏชัดแล้ว. แม้คำนิคม อันบัณฑิต

ประกอบด้วยบท ๒ บท หรือ ๓ บทก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนคาถาต้น ๆ

นั่นแล.

กามคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 186

คาถาที่ ๑๗

คาถาว่า อีตี จ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ฝีได้บังเกิดแก่พระราชาในกรุงพาราณสี เวทนากล้าเป็นไป

อยู่ แพทย์ทั้งหลายกราบทูลว่า เว้นจากการผ่าตัดแล้ว ไม่มีความผาสุก พระ-

ราชาทรงให้อภัยแก่แพทย์เหล่านั้นแล้ว ตรัสสั่งให้ทำการผ่าตัด แพทย์เหล่านั้น

ผ่าตัดแล้ว นำพระปุพโพและพระโลหิตออก กระทำให้หมดเวทนาแล้วพันผ้า

พันแผล ทูลตักเตือนโดยชอบในเนื้อและอาหารเศร้าหมอง. พระราชาทรงมี

พระสรีระผอม เพราะโภชนะเศร้าหมอง และฝีของพระองค์ก็แห้ง พระองค์

ทรงสำคัญว่า หายแล้วจึงเสวยพระกระยาหารที่รสเลิศ และแผลซึ่งเกิดจากพระ-

กระยาหารนั้น ก็กำเริบเช่นนั้นอีก ฝีของพระองค์ก็ถึงซึ่งสภาพเช่นเดิมอีกนั้น

เทียว พระองค์ทรงให้ทำการผ่าตัดอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ถูกแพทย์ทั้งหลายทูลบอก

เลิกแล้ว ทรงเบื่อหน่าย สละราชสมบัติอันใหญ่ ทรงเห็นแจ้งในป่า ทรงกระ-

ทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ โดย ๗ ปี ได้ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

อีตี จ คณฺโฑ จ อุปททฺโว จ

โรโค จ สลฺลญฺจ เมต

เอต ภย กามคุเณสุ ทิสฺวา

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลเห็นภัยคือ จัญไร อุปัทวะ

โรค ลูกศร และความน่ากลัวนี้ ในกามคุณ

ทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 187

ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปยังเงื้อมภูเขานันทมูลกะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอติ ได้แก่ ความจัญไร. คำว่า อีติ

นี้ เป็นชื่อแห่งเหตุของความพินาศ อันเป็นส่วนของอกุศลที่จรมา. เพราะ

ฉะนั้น แม้กามคุณเหล่านั้น ก็ชื่อว่า จัญไร เพราะอรรถว่าเป็นเหตุนำมาซึ่ง

ความพินาศหลายอย่าง และเพราะเป็นเหตุให้ตกต่ำอย่างหนัก แม้ฝีย่อม

หลั่งออกซึ่งของไม่สะอาด คือ บวมขึ้นและแก่จัดก็แตกออก เพราะฉะนั้น

กามคุณเหล่านั้น ชื่อว่า ฝี เพราะเป็นที่ไหลออกแห่งของไม่สะอาดคือกิเลส

และเพราะความเป็นของแตกออก เพราะความเป็นของบวมขึ้นแล้ว แก่จัด

ด้วยความเกิด ความแก่และความแตกสลาย ชื่อว่า อุปัทวะ เพราะอรรถว่า

ประทุษร้าย อธิบายว่า ยังความฉิบหายให้เกิด ย่อมย่ำยี คือ ครอบงำ.

คำว่า อุปทฺทโว นั่นเป็นชื่อแห่งอาชญากรรมทั้งหลายมีราชทัณฑ์

เป็นต้น เพราะฉะนั้น แม้กามคุณเหล่านั้น ชื่อว่าอุปัทวะ เพราะเป็นเหตุไม่

ให้ก้าวลงสู่พระนิพพานที่ตนยังไม่รู้ และเพราะเป็นที่ตั้งแห่งอุปัทวะทั้งปวง ก็

เพราะกามคุณเหล่านั้น ยังความเดือนร้อนคือกิเลสให้เกิดขึ้น ยังความไม่มีโรค

กล่าวคือศีลให้ถึงความเหลาะแหละ ย่อมปล้นความไม่มีโรคตามปกตินั้นเสีย

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โรค เพราะอรรถว่า ปล้นความไม่มีโรคนี้ แต่ชื่อว่า

ลูกศร เพราะอรรถว่าตามเข้าไปในภายใน เพราะอรรถว่า กระทำความ

เดือดร้อนในภายใน และเพราะอรรถว่า เป็นของที่นำออกได้แสนยาก ชื่อว่า

ภัย เพราะนำมาซึ่งภัยในทิฏฐธรรมและในสัมปรายิกภพ. สองบทว่า เม เอต

สนธิเป็น เมต แปลว่า ของเรานี้. บทที่เหลือในคาถานี้ ปรากฏชัดแล้ว

แม้คำนิคม ก็พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วแล.

อีติคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 188

คาถาที่ ๑๘

คาถาว่า สีตญฺจ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี พระราชาพระนามว่า สีตาลุกพรหมทัต

ท้าวเธอทรงผนวชแล้ว ประทับอยู่ในกุฏิป่า ก็ครั้นประเทศนั้นหนาว ก็มี

ความหนาว เมื่อร้อน ก็มีความร้อนเท่านั้น เพราะเป็นประเทศตั้งอยู่ในที่โล่ง

ภิกษาในโคจรคามก็ไม่ได้ตามความต้องการ แม้น้ำดื่มสำหรับผู้ดื่ม ก็หาได้ยาก

แม้ลม เหลือบ สัตว์เลื้อยคลานก็เบียดเบียน พระองค์ทรงพระราชดำริดังนี้ว่า

ในที่ประมาณกึ่งโยชน์จากนี้ มีประเทศที่สมบูรณ์ อันตรายทางสรีระเหล่านั้น

แม้ทั้งหมด ย่อมไม่มีในประเทศนั้น อย่าเลย เราพึงไปในประเทศนั้น เมื่อ

อยู่เป็นผาสุก ก็อาจบรรลุสุขได้.

พระองค์ทรงมีพระราชดำริอีกว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลาย ไม่ควร

ตกอยู่ในอำนาจปัจจัย และย่อมยังจิตเห็นปานนั้นให้เป็นไปในอำนาจ จะไม่เป็น

ไปในอำนาจของจิต เราจักไม่ไปละ ครั้นทรงพิจารณาแล้ว ไม่เสด็จไป

ทรงพิจารณาจิตที่เกิดแล้วอย่างนี้ถึงสามครั้งแล้ว เสด็จกลับ ตั้งแต่นั้นก็ประทับ

อยู่ในป่านั้นเที่ยวตลอด ๗ ปี ทรงปฏิบัติชอบอยู่ ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่ง

พระปัจเจกโพธิญาณแล้ว ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

สีตญฺจ อุณฺหญฺจ ขุท ปิปาส

วาตาตเป ฑสสิรึสเป จ

สพฺพานิเปตานิ อภิสมฺภวิตฺวา

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 189

บุคคลพึงครอบงำอันตรายเหล่านี้แม้

ทั้งปวง คือ หนาว ร้อน หิว ระหาย ลม แดด

เหลือบ และสัตว์เลื้อยคลานแล้ว พึงเที่ยวไป

ผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น

ดังนี้แล้ว เสด็จไปสู่เงื้อมแห่งภูเขานันทมูลกะ.

ในคาถานั้น บทว่า สีตญฺจ ได้แก่ หนาว ๒ ชนิด คือ ธาตุใน

ภายในกำเริบเป็นปัจจัย ๑ ธาตุในภายนอกกำเริบเป็นปัจจัย ๑. ร้อนก็เหมือนกัน.

บทว่า ฑสา ได้แก่ แมลงสีเหลือง. บทว่า สิรึสปา ความว่า ทีฆชาติ

เหล่าใดเหล่าหนึ่งเสือกคลานไป. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้ว. แม้คำนิคม ก็พึง

ทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล.

สีตาลุกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๑๙

คาถาว่า นาโค ว ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี พระราชาพระองค์หนึ่ง เสวยราชสมบัติ

เป็นเวลา ๒๐ ปี สวรรคตแล้ว ไหม้อยู่ในนรกตลอด ๒๐ ปีเหมือนกัน เกิดใน

กำเนิดช้าง ในหิมวันตประเทศ มีขันธ์เกิดดีแล้ว มีร่างกายทั้งสิ้นมีสีเหมือน

ดอกปทุม โอฬารเป็นจ่าโขลง เป็นช้างใหญ่. ลูกช้างทั้งหลายแล ย่อมเคี้ยว

กินกิ่งไม้ที่พญาช้างนั้นหักแล้ว แม้ในเวลาก้าวลงสู่น้ำ ช้างพังทั้งหลายก็ลูบไล้

พญาช้างด้วยเปือกตม เรื่องทั้งหมดเป็นเหมือนเรื่องของพญาช้างปาลิไลยกะ

พญาช้างนั้น เบื่อหน่ายหลีกออกจากโขลง แต่นั้นโขลงช้างก็ติดตามพญาช้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 190

นั้นอีก ตามรอยเท้า พญาช้างหลีกไปอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ก็ถูกติดตามอีก จึง

คิดต่อไปว่า บัดนี้ พระนัดดาของเราเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี เอาเถิด

เราพึงไปสู่อุทยานแห่งชาติก่อนของตน พระนัดดานั้น จักรักษาเราในอุทยาน

นั้น ครั้นโขลงช้างหลับในกลางคืนแล้ว จึงละโขลงไปสู่อุทยานนั้นนั่นแล.

คนรักษาพระราชอุทยานเห็นแล้ว ทูลบอกแด่พระราชา พระราชา

ทรงดำริว่า เราจักจับช้าง ดังนี้แล้ว ทรงแวดล้อมด้วยเสนาเสด็จไป ช้างก็

เดินมุ่งหน้าต่อพระราชานั่นเทียว พระราชาทรงพระราชดำริว่า ช้างนี้เดินมา

มุ่งหน้าเรา จึงผูกสอดลูกธนู ประทับยืนอยู่ แต่นั้น ช้างคิดว่า พระราชานั่น

พึงยิงเราแน่ จึงพูดด้วยวาจามนุษย์ว่า พรหมทัต ! อย่ายิงเรา เราเป็นปู่

ของท่าน พระราชาตรัสว่า ท่านพูดอะไร จึงตรัสถามเรื่องราวทั้งหมด แม้

พญาช้างก็บอกเรื่องราวเกี่ยวกับราชสมบัติ ความเป็นไปในนรกและในกำเนิด

ช้างทั้งหมด ส่วนพระราชาทรงประเล้าประโลมว่า อย่ากลัว อย่าให้ใคร ๆ

สะดุ้ง ดังนี้แล้ว ทรงให้บำรุงอาหาร เครื่องลาด และเครื่องช้างแก่พญาช้าง.

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปประทับบนคอช้าง ทรงพระราชดำริว่า

ช้างนี้เคยเสวยราชสมบัติเป็นเวลา ๒๐ ปี ตกนรกแล้ว เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน

ด้วยวิบากที่ยังเหลือนั่นแล เมื่อไม่อดกลั้น ซึ่งการกระทบกระทั่งกันในเพราะ

อยู่ร่วมกันเป็นหมู่ จึงมาในที่นี้ โอ ! การอยู่เป็นหมู่เป็นทุกข์ ส่วนการอยู่

คนเดียวเท่านั้น เป็นสุข ดังนี้ จึงทรงปรารภวิปัสสนาในที่นั้นแหละ ทรง

กระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ, อำมาตย์ทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระราชาพระ-

องค์นั้น ผู้เป็นสุขด้วยโลกุตรสุข ประนมมือกราบทูลว่า ได้เวลาเสด็จสู่พระยาน

แล้ว มหาราช ลำดับนั้น พระองค์จึงตรัสว่า เราไม่ใช่ราชา แล้วตรัส

พระคาถานี้ โดยนัยก่อนนั่นแลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 191

นาโคว ยูถานิ วิวชฺชยิตฺวา

สญฺชาตกฺขนฺโธ ปทุมี อุฬาโร

ยถาภิรนฺต วิหร อรญฺเ

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลพึงเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียวเหมือน

นอแรด เปรียบเหมือนช้างใหญ่ที่เกิดใน

ตระกูลปทุม มีขันธ์เกิดดีแล้ว ละโขลงอยู่ใน

ป่าตามอภิรมย์ ฉะนั้น ดังนี้.

คาถานั้น โดยอรรถแห่งบทปรากฏชัดแล้ว แต่การประกอบอธิบาย

ในคาถานั่นมีดังนี้ ก็คาถานั้นแล ปรากฏแล้วด้วยอำนาจแห่งยุติ แต่ไม่ปรากฏ

ชัดด้วยอำนาจแห่งการตามสดับ อธิบายว่า ช้างนี้ชื่อว่า นาค เพราะอรรถว่า

ไม่มาสู่พื้นที่ที่ไม่ได้ฝึก เพราะความที่ตนฝึกดีแล้ว ในศีลทั้งหลายที่มนุษย์พอใจ

หรือเพราะความที่ตนมีร่างกายใหญ่ ฉันใด แม้เราก็พึงเป็นนาค เพราะไม่มา

สู่พื้นที่ที่ยังไม่ได้ฝึก เพราะความที่ตนฝึกดีแล้ว ในศีลทั้งหลายที่พระอริยเจ้า

พอใจ เพราะไม่ทำบาป และเพราะไม่กลับมาสู่ความเป็นเช่นนี้อีก หรือเพราะ

ความที่ตนมีสรีระคือคุณใหญ่ ชื่อในกาลไรหนอ ฉันนั้น.

อนึ่ง ช้างนั้นละโขลงแล้วอยู่ในป่าตามอภิรมย์ ด้วยความสุขที่เที่ยวไป

โดดเดี่ยว พึงเที่ยวไปตัวเดียว เหมือนนอแรดฉันใด ชื่อในกาลไหนหนอ

แม้เราก็ฉันนั้น อยู่ในป่าตามอภิรมย์ ด้วยวิหารสุขโดยส่วนเดียว ได้แก่ ด้วย

ความสุขที่เกิดจากฌาน คืออยู่ในป่าโดยประการที่ตนจะมีความสุข หรือเท่าที่

เราปรารถนา พึงเที่ยวไปผู้เดียว คือ พึงประพฤติเหมือนนอแรด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 192

อนึ่ง ช้างนั่นชื่อว่ามีขันธ์เกิดดีแล้ว เพราะมีขันธ์ตั้งดีแล้ว ฉันใด

ชื่อในกาลไหนหนอ แม้เราพึงชื่อว่ามีขันธ์เกิดดีแล้ว เพราะความเป็นผู้ใหญ่

ด้วยศีลขันธ์อันเป็นอเสกขะ ฉันนั้น. อนึ่ง ช้างนั้น ชื่อว่า ปทุมี เพราะมีร่างกาย

เช่นกับดอกปทุม หรือเพราะเกิดแล้วในตระกูลช้างปทุม ฉันใด ชื่อกาลไหนหนอ

แม้เราก็พึงชื่อว่าปทุม เพราะความเป็นผู้มีกายตรงเหมือนดอกปทุม หรือเพราะ

เกิดแล้วในดอกปทุม คือ อริยชาติ ฉันนั้น อนึ่ง ช้างนั้นโอฬาร ด้วยเรี่ยวแรง

กำลังและเชาว์เป็นต้น ชื่อในกาลไหนหนอ แม้เราก็พึงโอฬารด้วยคุณธรรม

มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์เป็นต้น หรือด้วยศีล สมาธิ และปัญญาเป็น

เครื่องแทงตลอดเป็นต้น เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าเมื่อคิดอย่างนี้ จึงปรารภ

วิปัสสนา ได้บรรลุปัจเจกโพธิญาณแล.

นาคคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๐

คาถาว่า อฏฺาน ต ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชบุตรของพระเจ้าพาราณสี ยังทรงพระเยาว์ มี

พระประสงค์จะทรงผนวช จึงทรงปรึกษาพระมารดาและพระบิดา พระมารดา

และพระบิดาทรงห้ามพระองค์. พระราชบุตรนั้นแม้ถูกห้ามอยู่ ก็ทรงยืนยันว่า

หม่อมฉันจักบวช แต่นั้นพระมารดาและพระบิดาตรัสเรื่องทั้งหมด เหมือนเรื่อง

เศรษฐีบุตรที่กล่าวแล้วในกาลก่อน ทรงอนุญาตแล้ว แต่ทรงให้ปฏิญญาว่า

ก็ครั้นบวชแล้ว พึงอยู่ในอุทยานเท่านั้น พระองค์ทรงกระทำตามปฏิญญา

พระมารดาของพระองค์ มีหญิงนักฟ้อนรำ ๒๐,๐๐๐ นางแวดล้อมแล้ว เสด็จไป

สู่พระราชอุทยาน ทรงให้พระราชบุตรดื่มยาคู ทรงให้เคี้ยวของขบเคี้ยวเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 193

ทรงสนทนากับพระราชบุตรนั้น จนถึงสมัยเที่ยงวัน ทรงจัดพวกบุรุษคอย

ปฏิบัติแล้ว เสด็จสู่พระนคร ส่วนพระบิดาเสด็จมาในเวลาเที่ยงวัน ทรงให้

พระราชบุตรเสวยแล้ว แม้พระองค์ก็ทรงเสวย สนทนากับพระราชบุตรนั้น

ตลอดวัน ในเวลาเย็น ทรงจัดพวกบุรุษคอยปฏิบัติแล้ว เสด็จเข้าพระนคร

พระราชบุตรนั้น ไม่สงัดตลอดคืนและวันอย่างนี้อยู่.

ก็โดยสมัยนั้นแล พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า อาทิจจพันธุ์ อยู่ที่

เงื้อมภูเขานันทมูลกะ ท่านระลึกถึงอยู่ได้เห็นพระราชบุตรนั้นว่า พระกุมารนี้

ทรงอาจเพื่อจะผนวช แต่ไม่อาจเพื่อจะตัดความเกี่ยวข้องได้ ต่อนั้นก็นึกว่า

พระกุมารนี้จักเบื่อหน่ายด้วยธรรมดาของตนหรือไม่ ในลำดับนั้นก็รู้ว่า เมื่อ

ทรงเบื่อหน่ายด้วยธรรมดา จักมีช้านานอย่างยิ่ง คิดว่า เราจักแสดงอารมณ์

แก่พระกุมารนั้น จึงมาจากพื้นมโนศิลา โดยนัยที่กล่าวแล้วในกาลก่อนนั่นเทียว

อยู่ที่พระราชอุทยาน ราชบุรุษเห็นแล้ว ทูลพระราชาว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระเจ้าข้า. พระราชาทรงมีพระทัยยินดีแล้วว่า บัดนี้ บุตรของเราไม่กระสัน

แล้ว จักอยู่พร้อมด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้า ทรงบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าโดย

เคารพ ทรงร้องขอให้อยู่ในพระราชอุทยานนั้นแล ทรงให้ทำสิ่งทั้งปวง

มีบรรณศาลา ที่พักกลางวัน และที่จงกรมเป็นต้น ทรงนิมนต์ให้อยู่ พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้านั้นอยู่ในพระราชอุทยานนั้น ในวันหนึ่ง ได้โอกาสแล้ว ทูลถาม

พระกุมารว่า พระองค์เป็นอะไร ?

ก. เราเป็นบรรพชิต

ป. ชื่อว่า บรรพชิตทั้งหลายไม่เป็นเช่นนี้

เมื่อพระกุมารทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อเป็นเช่นนั้นบรรพชิต

ทั้งหลายเป็นเช่นไร อะไรไม่สมควรแก่ข้าพเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 194

พระองค์ไม่เพ่งดูสิ่งที่ไม่สมควรแก่พระองค์ พระมารดาของพระองค์เสด็จมาใน

เวลาเช้า พร้อมกับสตรี ๒๐,๐๐๐ นาง ทรงทำให้พระราชอุทยานไม่สงัด

พระบิดาเสด็จมาในเวลาเย็น พร้อมกับพลกายมาก บุรุษผู้ปรนนิบัติทั้งหลายมา

ตลอดคืนทั้งสิ้น ทำพระราชอุทยานไม่สงัดมิใช่หรือ ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลาย

ไม่เป็นเช่นกับพระองค์ แต่เป็นเช่นนี้ แล้วแสดงวิหารแห่งหนึ่งในหิมวันต-

ประเทศด้วยฤทธิ์ แก่พระกุมารที่ประทับยืนอยู่ในที่นั้นนั่นแล.

พระกุมารนั้น เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายในวิหารนั้น ยืนห้อย

แขน กำลังเดินจงกรม และกำลังทำการย้อมและการเย็บเป็นต้น จึงตรัสว่า

ท่านทั้งหลายอย่ามาในที่นี้ และบรรพชาท่านทั้งหลายก็อนุญาตแล้ว. พระ

อาทิจจพันธุ์ปัจเจกพุทธเจ้านั้นทูลว่า ถูกแล้ว การบรรพชาอนุญาตแล้ว ชื่อว่า

สมณะทั้งหลาย จำเดิมแต่กาลที่ตนบวชแล้ว ย่อมได้เพื่อทำการสลัดออกจาก

ทุกข์เพื่อตน และเพื่อไปสู่ประเทศที่ตนต้องการและปรารถนา เหตุมีประมาณ

เท่านี้ ย่อมควร ดังนี้แล้ว ยืนในอากาศได้กล่าวกึ่งคาถานี้ว่า

อฏฺาน ต สงฺคณิการตสฺส

ย ผุสฺสเย สามยิก วิมุตฺตึ

การที่บุคคลผู้ยินดีแล้ว ด้วยการ

คลุกคลีด้วยคณะ จะพึงบรรลุวิมุตติอันมีใน

สมัยนั้น ไม่เป็นฐานที่จะมีได้ ดังนี้แล้ว

เมื่อโอกาสปรากฏอยู่ จึงไปยังเงื้อมแห่งภูเขานันทมูลกะ.

เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าไปแล้วอย่างนี้ พระกุมารนั้นเสด็จเข้าบรรณ-

ศาลาของพระองค์แล้ว ทรงบรรทม. ฝ่ายบุรุษผู้อารักขาประมาทว่า บัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 195

พระกุมารทรงบรรทมแล้ว จักเสด็จไปไหน จึงก้าวสู่ความหลับ พระกุมาร

ทรงทราบว่า บุรุษผู้อารักขานั้นประมาทแล้ว ก็ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้า

สู่ป่า และทรงสงัดในป่านั้น ทรงปรารภวิปัสสนา กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจก

โพธิญาณแล้ว เสด็จไปสู่สถานของพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า

ในที่นั้น ทูลถามว่า พระองค์ทรงบรรลุได้อย่างไร ก็ได้ตรัสกึ่งคาถาที่พระ

อาทิจจพันธุ์กล่าวแล้ว ทำให้บริบูรณ์.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า อฏฺาน ต ความว่า นั้นไม่เป็น

ฐานะที่จะมีได้ อธิบายว่า มิใช่เหตุ. ท่านทำการลบนิคหิตเสีย ดุจในประโยคว่า

อริยสจฺจานทสฺสน แปลว่า การเห็นอริยสัจทั้งหลายเป็นต้น. บทว่า สงฺคณิ-

การตสฺส ได้แก่ ผู้ยินดียิ่งแล้วด้วยคณะ. บทว่า ย นั่นเป็นตติยาวิภัตติ

ดุจในประโยคว่า ย หิริยติ หิริยิตพฺเพน เป็นต้น. บทว่า ผุสฺสเย ความว่า

พึงบรรลุ. บทว่า สามยิก วิมุตฺตึ ได้แก่ โลกิยสมาบัติ. จริงอยู่ โลกิยสมาบัติ

นั้น เรียกว่า วิมุตติอันมีในสมัย เพราะพ้นจากอกุศลธรรมทั้งหลายอันเป็น

ข้าศึก ในสมัยที่ได้สมาธิยังไม่แนบแน่นและแนบแน่นนั่นเอง.

พระกุมารตรัสว่า เราใคร่ครวญคำของพระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า

อาทิจจพันธุ์อย่างนี้ว่า การที่บุคคลผู้ยินดีแล้ว ด้วยการคลุกคลีด้วยคณะ จะพึง

บรรลุวิมุตติอันมีในสมัยนั้น นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ คือ นั้นไม่เป็นเหตุที่

จะมีได้ ดังนี้แล้ว ละความยินดีด้วยการคลุกคลีด้วยคณะ ปฏิบัติโดยแยบคาย

อยู่ จึงได้บรรลุดังนี้ บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อัฏฐานคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

วรรคที่ ๒ จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 196

วรรคที่ ๓

คาถาที่ ๒๑

คาถาว่า ทิฏฺีวิสูกานิ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในกรุงพาราณสี เสด็จไปในที่ลับ

ทรงพระราชดำริว่า ร้อนเป็นต้นซึ่งกำจัดหนาวเป็นต้นมีอยู่ฉันใด วิวัฏฏะซึ่ง

กำจัดวัฏฏะฉันนั้น มีอยู่หรือว่าไม่มี ดังนี้ พระองค์จึงตรัสถามอำมาตย์ทั้งหลาย

ว่า พวกท่านรู้วิวัฏฏะหรือ อำมาตย์เหล่านั้นทูลว่า รู้พระมหาราช. พระราชา

ตรัสถามว่า นั้นเป็นอย่างไร. แต่นั้น อำมาตย์ทั้งหลายทูลบอกสัสสตทิฏฐิและ

อุจเฉททิฏฐิ โดยนัยมีอาทิว่า โลกมีที่สุด.

ลำดับนั้น พระราชาทรงทราบว่า อำมาตย์เหล่านี้ ย่อมไม่รู้ อำมาตย์

เหล่านี้แม้ทั้งหมดเป็นคนเจ้าทิฏฐิ ทรงเห็นความที่อำมาตย์เหล่านั้นเป็นผู้แย้ง

และไม่ควรด้วยพระองค์เองแล้ว ทรงพระราชดำริว่า วิวัฏฏะซึ่งกำจัดวัฏฏะมีอยู่

เราพึงแสวงหาวิวัฏฏะนั้น แล้วทรงสละราชสมบัติผนวช ทรงเห็นแจ้ง

ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว ก็ตรัสอุทานคาถานี้ และพยากรณ-

คาถา ในท่ามกลางพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า

ทิฏฺีวิสูกานิ อุปาติวตฺโต

ปตฺโต นิยาม ปฏิลทฺธมคฺโค

อุปฺปนฺนาโณมหิ อนญฺเนยฺโย

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 197

เราล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้ว

ถึงความเป็นผู้เที่ยง ได้มรรคแล้ว เป็นผู้มี

ญาณเกิดขึ้นแล้ว อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ พึง

เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า ทิฏฺีวิสูกานิ ได้แก่ทิฏฐิ ๖๒ อย่าง.

จริงอยู่ ทิฏฐิเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นข้าศึก เพราะอรรถว่าเป็นข้าศึกต่อสัมมาทิฏฐิ

ในมรรค เพราะอรรถว่าขัดแย้ง และเพราะอรรถว่า ทิ่มแทง. ชื่อว่า ทิฏฐิวิสูกะ

เพราะอรรถว่า เป็นข้าศึกต่อทิฏฐิอย่างนี้. หรือ ทิฏฐินั้นนั่นเองเป็นข้าศึกจึง

ชื่อว่า ทิฏฐิวิสูกะ.

บทว่า อุปาติวตฺโต คือ ก้าวล่วงแล้ว ด้วยทัสสนมรรค.

บทว่า ปตฺโต นิยาม ความว่า บรรลุแล้ว ซึ่งความเป็นผู้เที่ยง

เพราะไม่มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา และเพราะมีการตรัสรู้ชอบเป็นเบื้องหน้า

หรือบรรลุปฐมมรรค กล่าวคือ ความเที่ยงที่สมบูรณ์แล้ว. พระปัจเจก

พุทธเจ้ากล่าวความสำเร็จในปฐมมรรค และการได้เฉพาะซึ่งปฐมมรรค ด้วย

คำมีประมาณเท่านี้ บัดนี้ พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงแสดงการได้เฉพาะซึ่งมรรค

ที่เหลือ ด้วยบทนี้ว่า ปฏิลทฺธมคฺโค ดังนี้.

บทว่า อุปฺปนฺนาโณมฺหิ ความว่า เป็นผู้มีปัจเจกพุทธญาณเกิด

ขึ้นแล้ว. พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงผล ด้วยบทนี้.

บทว่า อนญฺเนยฺโย ความว่า อันบุคคลเหล่าอื่นไม่พึงแนะนำว่า

สิ่งนี้จริง สิ่งนี้ไม่จริง. พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงความเป็นผู้รู้เอง ด้วยบทนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดล่วงพ้นความไม่มีแห่งความเป็นผู้อันผู้อื่นไม่พึง

แนะนำ ในปัจเจกโพธิญาณที่บรรลุแล้ว หรือล่วงพ้นทิฏฐิอันเป็นข้าศึกได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 198

ด้วยสมถวิปัสสนาด้วยตนเอง ถึงความเป็นผู้เที่ยง ด้วยมรรคต้น มีมรรคอัน

ได้เฉพาะแล้ว ด้วยมรรคที่เหลือทั้งหลาย หรือมีญาณเกิดแล้ว ด้วยผลญาณ

ได้บรรลุแล้ว ซึ่งญาณทั้งปวง ด้วยตนเองเท่านั้น เพราะฉะนั้น ผู้นั้นชื่อว่า

อนญฺเนยฺโย อันผู้อื่นไม่พึงแนะนำ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว

นั่นแล.

ทิฏฐิวิสูกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๒

คาถาว่า นิลฺโลลุโป ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า วิเสท (พ่อครัว) ของพระเจ้าพาราณสี ปรุงพระกระยาหาร

ในระหว่างน้อมเข้าถวาย ด้วยความปรารถนาว่า การเห็นโภชนะที่ฟูใจ เป็นรส

ที่ประเสริฐ ทำอย่างไรหนอ พระราชาพึงพระราชทานทรัพย์แก่เรา. พระ-

กระยาหารนั้นยังความประสงค์ที่จะเสวยให้เกิดขึ้นแก่พระราชาด้วยกลิ่นเท่านั้น

จึงทำให้พระเขฬะเกิดขึ้นในพระโอษฐ์ แต่พอพระองค์ทรงใส่พระกระยาหาร

คำแรกลงในพระโอษฐ์ ประสาทสำหรับรับรส ๗ พัน ก็ซาบซ่านดุจถูกน้ำ

อมฤตฉะนั้น วิเสทคิดว่า บัดนี้ พระราชาจักทรงพระราชทานแก่เรา ฝ้าย

พระราชาทรงพระราชดำริว่า พ่อครัวสมควรแก่สักการะ แต่ครั้นทรงลิ้มรส

แล้ว ทรงพระราชดำริว่า เกียรติศัพท์ที่ชั่ว พึงระบือถึงเราผู้สักการะว่า

พระราชานี้เป็นผู้โลภติดในรส จึงไม่ตรัสอะไร ฝ่ายวิเสทก็คิดว่า พระราชา

จักพระราชทานรางวัลในบัดนี้ จนกระทั่งเสวยพระกระยาหารเสร็จอย่างนี้ แม้

พระราชาก็ไม่ตรัสอะไร เพราะทรงกลัวการติเตียน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 199

ลำดับนั้น วิเสทคิดว่า พระราชานี้ไม่มีชิวหาวิญญาณ ในวันที่ ๒

จึงนำพระกระยาหารไม่ดีเข้าทูลถวาย พระราชาเมื่อเสวยอยู่ แม้ทรงรู้ว่า วันนี้

พ่อครัวควรแก่การตะคอก ควรแก่การข่ม ทรงพิจารณาดุจในก่อน ก็ไม่ตรัส

อะไร เพราะทรงกลัวการติเตียน แต่นั้น วิเสทคิดว่า พระราชาไม่ทรงรู้

พระกระยาหารที่ดีที่ไม่ดี ดังนี้แล้ว ถือเอาสิ่งของที่ตนสั่งสมไว้ทั้งหมด ปรุง

พระกระยาหารอย่างใดอย่างหนึ่งถวายแด่พระราชา พระราชาทรงเบื่อหน่ายว่า

โอหนอ ! ความโลภ เราบริโภคตลอด ๒๐,๐๐๐ ปี ก็ไม่ได้แม้มาตรว่าภัต

เพราะความโลภของพ่อครัวนี้ ดังนี้แล้ว ทรงสละพระราชสมบัติ ทรงผนวช

เห็นแจ้งอยู่ ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ ตรัสพระคาถานี้ โดยนัย

ก่อนนั่นแลว่า

นิลฺโลลุโป นิกฺกุโห นิปฺปิปาโส

นิมฺมกฺโข นิทฺธนฺตกสาวโมโห

นิราสโย สพฺพโลเก ภวิตฺวา

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลผู้ไม่โลภ ไม่หลอกลวง ไม่มี

ความกระหาย ไม่ลบหลู่ มีโมหะดุจน้ำฝาด

อันกำจัดเสียแล้ว ไม่มีความอยาก ครอบงำ

โลกทั้งปวงได้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นิลฺโลลุโป ได้แก่ ผู้ไม่มีความโลภ. เพราะ

บุคคลใดถูกความอยากในรสครอบงำแล้ว บุคคลนั้นย่อมโลภจัด และโลภ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 200

บ่อย ๆ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า โลลุโป ผู้มีความโลภ. เพราะฉะนั้น

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น เมื่อจะปฏิเสธความโลภนั้น จึงกล่าวว่า นิลฺโลลุโป

ผู้ไม่โลภ.

ในบทนี้ว่า นิกฺกุโห นี้ บุคคลใดไม่มีเรื่องหลอกลวง ๓ อย่าง

บุคคลนั้นเรียกว่า นิกฺกุโห ผู้ไม่หลอกลวง แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในคาถานี้

มีอธิบายอย่างนี้ว่า ไม่หลอกลวง เพราะไม่ถึงความกระหยิ่ม ในโภชนะอันฟูใจ

เป็นต้น.

ในบทว่า นิปฺปิปาโส นี้ ความอยากดื่ม ชื่อว่า ความกระหาย

ชื่อว่า ไม่มีความกระหาย เพราะไม่มีความกระหายนั้น. อธิบายว่า เว้นแล้ว

จากความเป็นผู้ใคร่จะบริโภค ด้วยความโลภในรสดี.

ในบทว่า นิมฺมกฺโข นี้ การลบหลู่ มีการยังคุณของคนอื่นให้

เสื่อมเสียเป็นลักษณะ ชื่อว่า ไม่ลบหลู่ เพราะไม่มีการลบหลู่นั้น. พระปัจเจก

พุทธเจ้า กล่าวหมายถึงความไม่มีการลบหลู่คุณ ของพ่อครัว ในกาลที่ตน

ยังเป็นคฤหัสถ์.

ในบทว่า นิทฺธนฺตกสาวโมโห นี้ ธรรม ๖ อย่าง คือ ๓ อย่าง

มีราคะเป็นต้น และ ๓ อย่าง มีกายทุจริตเป็นต้น พึงทราบว่า กสาวะ น้ำฝาด

ด้วยอรรถว่าไม่เลื่อมใสตามความเป็นจริง และด้วยอรรถว่าให้ละภาวะตน ให้

ถือภาวะอื่น เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า ในธรรม ๖ อย่างนั้น กสาวะ ๓ เป็น

ไฉน กสาวะ ๓ เหล่านี้ คือราคกสาวะ โทสกสาวะ โมหกสาวะ กสาวะ ๓

แม้อื่นอีก คือ กายกสาวะ วจีกสาวะ มโนกสาวะ. ชื่อว่า มีโมหะดุจน้ำฝาด

อันกำจัดเสียแล้ว เพราะกำจัดโมหะอันเป็นมูลรากแห่งกสาวะ ๕ เว้นโมหะ

ในบรรดากสาวะ ๖ นั้น และกำจัดกสาวะ ๖ อย่างเหล่านั้นทั้งหมดเสียแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 201

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มีโมหะดุจน้ำฝาดอันกำจัดเสียแล้ว เพราะกำจัดกายกสาวะ

วจีกสาวะ และมโนกสาวะ ทั้ง ๓ อย่างนั้น และโมหะเสียแล้ว. ในบรรดากสาวะ

นอกนี้ ความที่บุคคลกำจัดราคกสาวะได้แล้ว ก็เป็นอันกำจัดโทสกสาวะได้ด้วย

เพราะไม่ลบหลู่สำเร็จแล้ว ด้วยความเป็นผู้ไม่โลภเป็นต้นนั่นเทียว.

บทว่า นิราสโย คือ ไม่มีตัณหา. บทว่า สพฺพโลเก ได้แก่

ในโลกทั้งสิ้น. อธิบายว่า ในภพทั้ง ๓ หรือในอายตนะ ๑ ๒ คืองดเว้นภวตัณหา

และวิภวตัณหาแล้ว. บทที่เหลือ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. อีกอย่าง

หนึ่ง นักศึกษาครั้นกล่าวบาททั้ง ๓ แล้ว พึงทำการเชื่อมในบาทนี้ แม้อย่างนี้

ว่า พึงเที่ยวไปผู้เดียว หรือ แม้อย่างนี้ว่า พึงอาจเพื่อเที่ยวไปผู้เดียว ดังนี้.

นิลโลลุปคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๓

คาถาว่า ปาป สหาย ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในกรุงพาราณสี ทรงกระทำ

ประทักษิณพระนครอยู่ ด้วยอานุภาพแห่งพระราชาอันยิ่งใหญ่ ทรงเห็นมนุษย์

ทั้งหลายขนข้าวเปลือกเก่าเป็นต้นออกจากยุ้งฉางไว้ในภายนอก จึงตรัสถาม

อำมาตย์ทั้งหลายว่า ดูก่อนพนาย นี้อะไร ? อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่มหาราช บัดนี้ ข้าวเปลือกใหม่จักเกิดขึ้น มนุษย์เหล่านี้ จึงทิ้งข้าวเปลือก

เก่า เพื่อทำที่ว่างสำหรับข้าวเปลือกใหม่เหล่านั้น. พระราชาตรัสว่า ดูก่อน

พนาย วัตถุสำหรับนางสนมและพลกายเป็นต้น บริบูรณ์แล้วหรือ ?

อ. อย่างนั้น พระมหาราช บริบูรณ์แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 202

ร. ดูก่อนพนาย ถ้าอย่างนั้น จงให้สร้างโรงทาน เราจักให้ทาน

อย่าให้ข้าวเปลือกเหล่านี้ เสียไปเปล่า ๆ.

ลำดับนั้น อำมาตย์ผู้มิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง ทูลว่า ทานที่ให้แล้วไม่มีผล

พวกพาลและพวกบัณฑิต แล่นไป ท่องเที่ยวไป จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ดังนี้

แล้ว ทูลห้ามพระราชานั้น. แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ ท้าวเธอก็ทรงเห็น

คนทั้งหลายยื้อแย่งยุ้งฉาง จึงตรัสสั่งอย่างนั้นเหมือนกัน แม้ครั้งที่ ๓ อำมาตย์

เจ้าทิฏฐินั้น ก็ทูลห้ามพระราชาพระองค์นั้นว่า ข้าแต่มหาราช ทานนี้ คนโง่

บัญญัติไว้ ดังนี้เป็นต้น.

พระองค์ทรงเบื่อหน่ายว่า เราไม่ได้เพื่อให้แม้ของตนเอง เราจะมี

ประโยชน์อะไรกับสหายผู้ลามกเหล่านี้ ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวชแล้ว

ทรงเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และทรงติเตียนสหาย

ผู้ลามกนั้น จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า

ปาป สหาย ปรวชฺชเยถ

อนตฺถทสฺสึ วิสเม นิวิฏฺ

สย น เสเว ปสุต ปมตฺต

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

กุลบุตรพึงเว้นสหายผู้ลามก ไม่พึง

เสพด้วยตนเอง ซึ่งสหายผู้บอกความฉิบหาย

มิใช่ประโยชน์ ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ

ผู้ข้องอยู่ ผู้ประมาท พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 203

คาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ สหายนี้ใด ชื่อว่า ลามก เพราะ

เป็นผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ ๑๐ อย่าง ชื่อว่า อนัตถทัสสี เพราะอรรถว่าชี้บอก

ความฉิบหาย แม้แก่คนเหล่าอื่น และตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ มีกายทุจริต

เป็นต้น กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงเว้นสหายผู้ลามกนั้น ไม่พึงเสพด้วยตนเอง

ซึ่งสหายผู้ชี้บอกความฉิบหาย ผู้ตั้งอยู่ในกรรมอันไม่เสมอ อธิบายว่า ไม่พึง

คบ ด้วยอำนาจของตนด้วยประการนี้ ก็ถ้าตกอยู่ในอำนาจของคนอื่นไซร้

ตนเองจะอาจทำอะไรได้เล่า.

บทว่า ปสุต ได้แก่ ผู้ซ่านไป อธิบายผู้ข้องแล้วในอารมณ์นั้น ๆ

ด้วยอำนาจทิฏฐิ. บทว่า ปมตฺต ได้แก่ ผู้ปล่อยจิตในกามคุณทั้งหลาย หรือ

ผู้เว้นจากกุศลภาวนา. กุลบุตรไม่พึงเสพ คือ ไม่พึงคบ ไม่พึงเข้าไปใกล้

สหายนั้น คือ ผู้เป็นเช่นนั้น โดยที่แท้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น ดังนี้แล.

ปาปสหายคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๔

คาถาว่า พหุสฺสุต ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกาลก่อน ปัจเจกโพธิสัตว์ ๘ องค์ บวชแล้วใน

พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป บำเพ็ญคตปัจจา-

คตวัตรแล้วเกิดในเทวโลก เรื่องทั้งหมดเป็นเช่นกับที่กล่าวแล้วใน อนวัชช-

โภชิคาถา นั่นแล. ส่วนความแปลกกัน ดังนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 204

พระราชาทรงให้พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่งแล้ว จึงตรัสว่า พวก

ท่านชื่อว่าอะไร. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นทูลว่า ดูก่อนมหาบพิตร พวก

อาตมาชื่อว่า พหูสูต. พระราชาทรงมีพระราชหฤทัยยินดีว่า เราชื่อว่า

สุตพรหมทัต ย่อมไม่ถึงความอิ่มด้วยสุตะ เอาเถิด เราจักฟังสัทธรรมเทศนา

อันมีนัยวิจิตร ในสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ดังนี้แล้ว ถวายน้ำ

ทักขิโณทก ทรงอังคาสแล้ว ในที่สุดแห่งภัตกิจ ทรงรับบาตรของพระสังฆเถระ

ทรงไหว้ ประทับนั่งข้างหน้า ด้วยพระดำรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่าน

จงแสดงธรรมกถาเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นทูลว่า มหาบพิตร ขอมหาราช

จงมีความสุข จงสิ้นราคะเถิด แล้วลุกไป. พระราชาทรงพระราชดำริว่า

พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์นี้ ไม่ใช่พหูสูต องค์ที่ ๒ จักเป็นพหูสูต จึงทรง

นิมนต์เพื่อฉันในพรุ่งนี้ ด้วยพระราชดำริว่า เราจักฟังพระธรรมเทศนาอัน

วิจิตรในวันพรุ่งนี้ พระองค์ทรงนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมดจนถึงลำดับ

องค์สุดท้าย ด้วยประการอย่างนี้. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

แสดงบทหนึ่งให้แปลกกันแล้วกล่าวบทที่เหลือเป็นเช่นกันบทต้นว่า ขอพระ-

มหาราชจงสิ้นโทสะ จงสิ้นโมหะ จงสิ้นคติ จงสิ้นวัฏฏะ จงสิ้นอุปธิ จงสิ้น

ตัณหา ดังนี้แล้ว จึงลุกไป.

ลำดับนั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านี้

กล่าวว่า พวกอาตมาเป็นพหูสูต แต่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่มีกถา

อันวิจิตรเลย คำที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นกล่าวแล้วจะมีประโยชน์อะไร

ทรงปรารภแล้ว เพื่อทรงพิจารณาอรรถแห่งถ้อยคำของพระปัจเจกพุทธเจ้า

เหล่านั้น ครั้นทรงพิจารณาอยู่ว่า จงสิ้นราคะ ดังนี้ ก็ทรงทราบว่า เมื่อราคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 205

สิ้นแล้ว โทสะก็ดี โมหะก็ดี กิเลสทั้งหลายอื่นก็ดี ย่อมเป็นอันสิ้นแล้วด้วย

จึงทรงพอพระราชหฤทัยว่า พระสมณะเหล่านี้เป็นพหูสูตโดยตรง เปรียบ

เหมือนบุรุษชี้แสดงแผ่นดินใหญ่ หรืออากาศ ด้วยนิ้วมือ ก็ไม่เป็นอันชี้แสดง

ประเทศสักนิ้วมือเลย แต่ความจริงแล เป็นอันชี้แสดงแผ่นดินและอากาศ

เหมือนกัน ฉันใด พระสมณะเหล่านี้ เมื่อชี้แสดงอรรถองค์ละข้อก็เป็นอัน

ชี้แสดงอรรถอันหาปริมาณไม่ได้ ฉันนั้น. แต่นั้นท้าวเธอทรงปรารถนาอยู่

ซึ่งความเป็นพหูสูต เห็นปานนั้นว่า ชื่อในกาลไหนหนอ แม้เราจักเป็น

พหูสูตอย่างนี้ ทรงสละราชสมบัติ ผนวชแล้วเห็นแจ้งอยู่ ได้ทำให้แจ้งซึ่ง

ปัจเจกโพธิญาณแล้ว ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

พหุสฺสุต ธมฺมธร ภเชถ

มิตฺต อุฬาร ปฏิภาณวนฺต

อญฺาย อตฺถานิ วิเนยฺย กงฺข

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต ทรง-

ธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณ รู้จัก

ประโยชน์ทั้งหลาย กำจัดความสงสัยได้แล้ว

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น

ดังนี้.

ในคาถานั้น มีเนื้อความโดยย่อดังนี้ บทว่า พหุสฺสุต ความว่า

มิตรผู้พหูสูตมี ๒ อย่างคือ ผู้พหูสูตทางปริยัติ เชี่ยวชาญโดยเนื้อความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 206

ในไตรปิฎก ๑ ผู้พหูสูตทางปฏิเวธ เพราะความที่มรรค ผล วิชชา และ

อภิญญาอันตนแทงตลอดแล้ว ๑. ผู้มีอาคมมาแล้ว ชื่อว่า ผู้ทรงธรรม ก็ผู้

ประกอบพร้อมด้วยกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมอันยิ่ง ชื่อว่า ผู้ยิ่ง

ด้วยคุณธรรม ผู้มียุตตปฏิภาณ ๑ ผู้มีมุตตปฏิภาณ ๑ ผู้มียุตตมุตตปฏิภาณ ๑

ชื่อว่า มีปฏิภาณ พึงทราบผู้มีปฏิภาณ ๓ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งปริยัติปฏิภาณ

ปริปุจฉาปฏิภาณ และอธิคมนปฏิภาณ.

จริงอยู่ ปริยัติย่อมแจ่มแจ้งแก่มิตรใด มิตรนั้นชื่อว่า ปริยัติปฏิภาณ

การสอบถามย่อมแจ่มแจ้งแก่มิตรใด ผู้สอบถามอรรถ ญาณ ลักษณะ และ

ฐานาฐานะ มิตรนั้นชื่อว่า ปริปุจฉาปฏิภาณ ธรรมมีมรรคเป็นต้นอันมิตรใด

แทงตลอดแล้ว มิตรนั้นชื่อว่า ปฏิเวธปฏิภาณ บุคคลพึงคบมิตรผู้เป็นพหูสูต

ทรงธรรม ผู้ยิ่งด้วยคุณธรรม มีปฏิภาณนั้นคือมีรูปเห็นปานนั้น แต่นั้นรู้จัก

ประโยชน์ทั้งหลายมีอเนกประการ โดยต่างด้วยประโยชน์ตน ประโยชน์คนอื่น

และประโยชน์ทั้งสอง หรือโดยต่างด้วยทิฏฐธัมมิกประโยชน์ สัมปรายิกประ-

โยชน์ และปรมัตถประโยชน์ ด้วยอานุภาพแห่งมิตรนั้น แต่นั้น กำจัดความ

สงสัยได้แล้ว ในฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยทั้งหลาย มีอาทิว่า ในอดีตกาล

เราได้มีแล้วหรือหนอ ดังนี้แล้ว นำออกไปซึ่งความเคลือบแคลง ให้หมดไป

มีกิจทั้งปวงอันทำแล้วอย่างนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้นแล.

พหุสุตคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 207

คาถาที่ ๒๕

คาถาว่า ขิฑฺฑ รตึ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ในกรุงพาราณสี พระราชาพระนามว่า วิภูสกพรหมทัต เสวยยาคู

หรือพระกระยาหารแต่เช้าตรู่ ทรงให้ตกแต่งพระองค์ ด้วยเครื่องประดับ

นานาชนิด ทรงส่องพระวรกายทั้งสิ้น ในพระฉายใหญ่ ทรงเอาเครื่องประดับ

ที่ไม่ต้องการออกเสีย ให้พนักงานตกแต่ง ด้วยเครื่องประดับอย่างอื่น ใน

วันหนึ่ง เมื่อพระองค์ทรงกระทำอย่างนี้ ก็ถึงเวลาเสวยพระกระยาหารตอนเที่ยง

ครั้งนั้นพระองค์ยังตกแต่งไม่เสร็จเลย ก็ทรงโพกพระเศียร ด้วยผืนผ้า แล้ว

เสด็จเข้าที่บรรทมในกลางวัน เมื่อพระองค์เสด็จลุกขึ้น ทรงกระทำอย่างนั้น

แม้อีก พระอาทิตย์ก็อัสดง. ในวันที่ ๒ ก็ดี ในวันที่ ๓ ก็ดี ก็ทรงกระทำ

อย่างนั้น เมื่อพระองค์ทรงขวนขวายในการตกแต่งอย่างนั้น ก็เกิดพระโรคปวด

ในพระปฤษฏางค์.

พระองค์ทรงพระราชดำริดังนี้ว่า โอ ! โธเอ๋ย เราแม้ตกแต่งอยู่ด้วย

เรี่ยวแรงทั้งหมด ก็ไม่พอใจในเครื่องประดับที่สมควรนี้ ยังความโลภให้เกิด

ขึ้นได้ ก็ขึ้นชื่อว่า ความโลภนั้น ทำให้คนถึงอบาย เอาเถอะ เราจะข่ม

ความโลภนั้น ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่

ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า

ขิฑฺฑ รตึ กามสุขญฺจ โลเก

อนลงฺกริตฺวาน อนเปกฺขมาโน

วิภูสนฏฺานา วิรโต สจฺจวาที

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 208

บุคคลไม่พอใจการเล่น ความยินดี

และกามสุขในโลกแล้วไม่เพ่งเล็งอยู่เว้นจาก

ฐานะแห่งการประดับ มีปกติกล่าวคำสัตย์

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น

ดังนี้.

การเล่น ความยินดีในคาถานั้น ได้กล่าวแล้วในกาลก่อนเทียว. บทว่า

กามสุข ได้แก่ ความสุขในวัตถุกาม. จริงอยู่ วัตถุกามทั้งหลาย เรียกว่า

สุข เพราะเป็นอารมณ์เป็นต้นของความสุข. เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า รูปมีอยู่ ความสุข ติดตามสุข ดังนี้. บุคคลไม่พอใจ คือไม่กระทำว่า

พอละ ซึ่งการเล่น ความยินดี และกามสุขนั่น ในโอกาสโลกนี้ อย่างนี้แล้ว

ไม่ถือสิ่งนั้นว่า ก่อความเดือดร้อน หรือไม่ถือสิ่งนั้นว่าเป็นสาระ.

บทว่า อนเปกฺขมาโน ความว่า มีปกติไม่เพ่งเล็ง คือ ไม่มี

ความอยาก ไม่มีความทะยานอยาก. ในคำว่า วิภูสนฏฺานา วิรโต

สจฺจวาที เอโก จเร นี้ พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า เครื่องประดับมี ๒

อย่าง คือ เครื่องประดับสำหรับฆราวาส ๑ เครื่องประดับสำหรับบรรพชิต ๑

ก็เครื่องประดับสำหรับฆราวาสมีผ้าสาฎก ผ้าโพก ดอกไม้ และของหอม

เป็นต้น ส่วนเครื่องประดับสำหรับบรรพชิตมีเครื่องตกแต่ง คือ บาตรเป็นต้น

เครื่องประดับนั่นเอง ชื่อว่า วิภูสนัฏฐานะ เว้นจากฐานะแห่งการประดับนั้น

ด้วยวิรัติแม้ ๓ อย่าง ชื่อว่า มีปกติกล่าวคำสัตย์ เพราะพูดไม่ผิด ดังนี้แล.

วิภูสนัฏฐานคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 209

คาถาที่ ๒๖

คาถาว่า ปุตฺตญฺจ ทาร ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชโอรสของพระเจ้าพาราณสี ทรงอภิเษกแล้วในกาล

ยังทรงพระเยาว์นั้นเทียว เสวยราชสมบัติ. พระองค์ทรงเสวยพระสิริราชสมบัติ

ดุจพระปัจเจกโพธิสัตว์ที่กล่าวแล้ว ในปฐมคาถา ในวันหนึ่ง ทรงพระราช

ดำริว่า เราสวยราชสมบัติ ย่อมทำทุกข์แก่ชนมาก เราจะมีประโยชน์อะไร

ด้วยบาปนี้ เพื่อประโยชน์แก่การเสวยคนเดียวเล่า เราจะยังสุขใหญ่ให้เกิดขึ้น

ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่ ทรงกระทำให้

แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว ได้ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

ปุตฺตญฺจ ทาร ปิตรญฺจ มาตร

ธนานิ ธญฺานิ พนฺธวานิ

หิตฺวาน กามานิ ยโถธิกานิ

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลละบุตร ภรรยา บิดา มารดา

ทรัพย์ ข้าวเปลือก พวกพ้อง และกามซึ่ง

ตั้งอยู่ตามส่วนแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือน

นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนานิ ได้แก่ รัตนะทั้งหลายมีแก้วมุกดา

แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทองเป็นต้น. บทว่า

ธญฺานิ ได้แก่ อปรธัญชาติ ๗ อย่าง อันต่างด้วย ข้าวสาลี ข้าวเจ้า

ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 210

บทว่า พนฺธวานิ ได้แก่ พวกพ้อง ๔ ประเภท คือ ญาติ โคตร

มิตร และเพื่อนเรียนศิลปะ. บทว่า ยโถธิกานิ คือ ซึ่งตั้งอยู่ตามส่วนของ

ตน ๆ นั่นเทียว. บทที่เหลือ มีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

ปุตตทารคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๗

คาถาว่า สงฺโค เอโส ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี มีพระราชาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า

ปาทโลลพรหมทัต ท้าวเธอเสวยยาคู หรือพระกระยาหาร แต่เช้าตรู่

ทรงชมนักฟ้อน ๓ ประเภทในปราสาททั้ง ๓ คำว่า นักฟ้อน ๓ ประเภท

ได้แก่ นักฟ้อนที่มาจากพระราชาในอดีต ๑ นักฟ้อนที่มาจากพระราชาถัดมา ๑

นักฟ้อนที่ตั้งขึ้นในรัชกาลของพระองค์ ๑.

ในวันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปสู่ปราสาทของนักฟ้อนรุ่นสาวแต่เช้าตรู่

สตรีนักฟ้อนทั้งหลายคิดว่า พวกเราจักให้พระราชาทรงรื่นเริง จึงประกอบ

การฟ้อนรำ ขับร้อง และการประโคม อันน่าจับใจยิ่ง ดุจพวกนางอัปสร

ของท้าวสักกะจอมทวยเทพฉะนั้น พระราชาไม่ทรงพอพระราชหฤทัยว่า การ

ฟ้อนรำของนักฟ้อนรุ่นสาวทั้งหลายนั่น ไม่อัศจรรย์ จึงเสด็จไปสู่ปราสาทของ

นักฟ้อนรุ่นกลาง สตรีนักฟ้อนแม้เหล่านั้น ก็ได้กระทำอย่างนั้นเหมือนกัน.

พระองค์ไม่พอพระราชหฤทัยในสตรีนักฟ้อนรุ่นกลางแม้นั้นเหมือนกัน จึงเสด็จ

ไปสู่ปราสาทของนักฟ้อนรุ่นใหญ่ สตรีนักฟ้อนแม้เหล่านั้น ก็ทำอย่างนั้น

เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 211

พระราชาทรงเห็นการฟ้อนรำเป็นเช่นกับการเล่นกระดูก เพราะสตรี

นักฟ้อนเหล่านั้นเป็นคนแก่เฒ่าล่วง ๒-๓ รัชกาลมาแล้ว และทรงฟังเสียง

ขับร้องอันไม่ไพเราะ จึงเสด็จสู่ปราสาทของนักฟ้อนรุ่นสาว ปราสาทของนัก

ฟ้อนรุ่นกลางไป ๆ มา ๆ อย่างนี้ ก็ไม่ทรงพอพระราชหฤทัยในที่แห่งไหนเลย

ทรงพระราชดำริว่า สตรีนักฟ้อนเหล่านี้ ประสงค์จะให้เรารื่นเริง ดุจเหล่า

นางอัปสรของท้าวสักกะ จอมทวยเทพฉะนั้น จึงประกอบการฟ้อนรำ การ

ขับร้อง และการประโคม เต็มความสามารถทุกอย่าง เรานั้นไม่พอใจในที่

แห่งไหนเลย ทำให้โลภะเจริญขึ้นเท่านั้น ก็ขึ้นชื่อว่า โลภะนั้นเป็นธรรมพึง

ให้ไปสู่อบาย เอาเถิด เราจะข่มโลภะ ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรง

ผนวชแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่ ก็ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ จึงได้

ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

สงฺโค เอโส ปริตฺตเมตฺถ โสขฺย

อปฺปสฺสาโท ทุกฺขเมตฺถ ภิยฺโย

คณฺโฑ เอโส อิติ ตฺวา มติมา

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บัณฑิตทราบว่า ความเกี่ยวข้องใน

เวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้ มีสุขน้อย มี

ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี ดังนี้

แล้ว มีความรู้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 212

คาถานั้นมีอรรถว่า บทว่า สงฺโค เอโส ความว่า พระปัจเจก-

พุทธเจ้าแสดงการอุปโภคของตน ด้วยว่า ความเกี่ยวข้องนั้น ชื่อว่า สังคะ

เพราะอรรถว่าสัตว์ทั้งหลายข้องอยู่ในเบญจกามคุณนั้น ดุจช้างตกอยู่ในเปือกตม

ฉะนั้น.

บทว่า ปริตฺตเมตฺถ โสขฺย ความว่า ในกาลแห่งบริโภคเบญจ-

กามคุณนี้ ชื่อว่ามีสุขน้อย เพราะอรรถว่า ลามก โดยให้เกิดความสำคัญผิด

หรือโดยเนื่องด้วยกามาวจรธรรม มีอธิบายว่า มีนิดหน่อย คือมีชั่วคราว

ดุจสุขในการชมดูการฟ้อนรำที่แสงฟ้าแลบให้สว่างขึ้น ฉะนั้น. โทษของกาม

ทั้งหลาย พึงทราบว่า มีความยินดีน้อย เป็นเพียงหยดน้ำ เมื่อเทียบกับทุกข์

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตร

ในโลกนี้ ย่อมสำเร็จการเลี้ยงชีพ ด้วยการประกอบศิลปะใด คือ การคิด

การนับ ดังนี้เป็นต้น โดยที่แท้ มีทุกข์ยิ่ง คือ มาก เป็นเช่นกับน้ำในสมุทร

ทั้งสี่ เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์

มาก ดังนี้.

บทว่า คณฺโฑ เอโส ความว่า เบญจกามคุณนี้ เปรียบเหมือน

เบ็ด ด้วยสามารถแสดงความยินดีแล้ว คร่ามา. บทว่า อิติ ตฺวา มติมา

ความว่า บุรุษผู้บัณฑิตที่มีความรู้ รู้อย่างนี้แล้ว ก็พึงละกามทั้งหมดเสีย

เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้นแล.

สังคคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 213

คาถาที่ ๒๘

คาถาว่า สนฺทาลยิตฺวาน ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในพระนครพาราณสี มีพระราชาพระนามว่า อนิวัตต-

พรหมทัต ท้าวเธอเสด็จเข้าสู่สงคราม ทรงปราชัยแล้วไม่เสด็จกลับ หรือ

ทรงปรารภพระราชกิจอย่างอื่นยังไม่สำเร็จ ก็ไม่เสด็จกลับ เพราะฉะนั้น ชน

ทั้งหลายจึงเรียกพระองค์อย่างนั้น ในวันหนึ่ง พระองค์เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน

ก็โดยสมัยนั้น ไฟป่าได้ลุกไหม้ ไฟนั้นไหม้ไม้แห้ง และวัตถุมีหญ้าเป็นต้น

ที่ตกหล่น ลามไปไม่หวนกลับ พระราชาทรงเห็นไฟนั้นแล้ว ทรงยังนิมิตอัน

เปรียบด้วยไฟนั้นให้เกิดขึ้นว่า ไฟป่านี้ฉันใด ไฟ ๑๑ อย่าง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ไหม้สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงไปไม่หวนกลับ ก่อทุกข์ใหญ่ให้เกิดขึ้น ชื่อในกาลไหน

หนอ แม้เราเพื่อไม่ให้ทุกข์นี้หวนกลับ พึงเผาไหม้กิเลสทั้งหลาย ด้วยไฟ

คือ อริยมรรคญาณ เหมือนไฟนี้ ไปไม่หวนกลับ.

แต่นั้น พระองค์เสด็จไปสักครู่ ทรงเห็นชาวประมงทั้งหลายกำลังจับ

ปลาในแม่น้ำ ปลาใหญ่ตัวหนึ่งติดข่ายของชาวประมงเหล่านั้น ได้ทำลายข่าย

หนีไป ชาวประมงเหล่านั้นร้องว่า ปลาทำลายข่ายหนีไปแล้ว พระราชาทรง

ฟังคำแม้นั้น จึงยังนิมิตอันเปรียบเทียบด้วยปลานั้นให้เกิดขึ้นว่า ชื่อในกาล

ไหนหนอ แม้เราพึงทำลายข่าย คือ ตัณหาและทิฏฐิ ด้วยอริยมรรคญาณไป

ไม่ติดขัด ดังนี้ พระราชานั้นทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวชแล้ว ปรารภ

วิปัสสนา ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ และตรัสอุทานคาถานี้ว่า

สนฺทาลยิตฺวาน สโยชนานิ

ชาล ว เฉตฺวา สลิลมฺพุจารี

อคฺคี ว ทฑฺฒ อนิวตฺตมาโน

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 214

บุคคลพึงทำลายสังโยชน์ทั้งหลาย

เหมือนปลาทำลายข่ายหนีไป เหมือนไฟไม่

หวนกลับมาสู่ที่ไหม้แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทที่ ๒ แห่งคาถานั้น วัตถุที่สำเร็จด้วยด้ายเรียกว่า ชาล ข่าย.

น้ำ เรียกว่า อัมพุ. ซึ่งว่า อัมพุจารี ปลา เพราะอรรถว่า ว่ายไปในน้ำนั้น.

คำว่า อัมพุจารี นั้นเป็นชื่อของปลา ปลาที่ว่ายไปในน้ำ ชื่อว่า สลิลัมพุจารี.

มีอธิบายว่า ดุจปลาทำลายข่ายในน้ำแห่งนทีนั้น.

ในบาทที่ ๓ สถานที่ถูกไฟไหม้ เรียกว่า ทฑฺฒ แปลว่าที่ไหม้แล้ว.

มีอธิบายว่า ไฟย่อมไม่หวนกลับไปสู่สถานที่ไหม้แล้ว คือ ไม่มาในที่ไหม้แล้ว

นั้นโดยแท้ฉันใด บุคคลไม่กลับสู่ที่แห่งกามคุณที่ไฟ คือ มรรคญาณไหม้แล้ว

คือไม่มาในที่แห่งกามคุณนั้นโดยแท้ ฉันนั้น. บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั้น

แล.

สันทาลนคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๒๙

คาถาว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ ดังนี้ อุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในพระนครพาราณสี พระราชาพระนามว่า จักขุโลล-

พรหมทัต ทรงโปรดการดูนักฟ้อน เหมือนพระเจ้าปาทโลลพรหมทัต. ส่วน

ความแปลกกัน ดังนี้ :-

พระเจ้าปาทโลลพรหมทัตทรงไม่พอพระราชหฤทัยแล้ว เสด็จไป ณ

ที่นั้น ๆ พระเจ้าจักขุโลลพรหมทัตนี้ ทรงเห็นนักฟ้อนนั้น ๆ แล้ว ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 215

เพลิดเพลินยิ่งนัก เสด็จเที่ยวทำตัณหาให้เจริญอยู่ ด้วยการทอดพระเนตรดู

นักฟ้อนที่เยื้องกราย ได้ยินว่า พระองค์ทรงเห็นภริยาของกุฎุมพีคนหนึ่ง ที่

มาดูนักฟ้อน ทรงยังราคะให้เกิดขึ้น แต่นั้น ทรงสลดพระราชหฤทัยว่า เรา

ยังตัณหานี้เจริญอยู่อีก จักเป็นผู้เต็มในอบาย เอาเถิด เราจักข่มราคะนั้น

ดังนี้แล้ว ทรงผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่ ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ

เมื่อจะทรงติเตียนความประพฤติในครั้งก่อนของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้

เพื่อทรงแสดงคุณอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการประพฤตินั้นว่า

โอกฺขิตฺตจกฺขุ น จ ปาทโลโล

คุตฺตินฺทริโย รกฺขิตมานสาโน

อนวสฺสุโต อปริฑยฺหมาโน

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลผู้มีจักษุทอดลงแล้ว ไม่

คะนองเท้า มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว มีใจ

อันรักษาแล้ว ผู้อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว และ

ไฟคือกิเลสไม่แผดเผาอยู่ พึงเที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โอกฺขิตฺตจกฺขุ ได้แก่ ผู้มีจักษุทอดลงต่ำ.

มีอธิบายว่า ผู้วางที่ต่อทั้ง ๗ ตามลำดับแล้ว เพ่งดูชั่วแอก เพื่องดเว้นและ

ดูสิ่งที่ควรละ แต่ไม่ใช่เอากระดูกคางกระทบกับกระดูกอก เพราะผู้มีจักษุทอด

ลงอย่างนี้ ไม่สมควรแก่สมณะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 216

บทว่า น ปาทโลโล ความว่า ไม่เดินส่ายไป ดุจสากเท้าจ้ำไป

เพราะรีบจะเข้าไปในท่ามกลางหมู่อย่างนี้ว่า ที่ ๒ สำหรับคนหนึ่ง ที่ ๓ สำหรับ

คน ๒ คน หรือเว้นจากการเที่ยวไปนานและการเที่ยวไปไม่กลับ.

บทว่า คุตฺตินฺทริโย ได้แก่ มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์

ทั้ง ๖ ด้วยอำนาจที่กล่าวไว้แผนกหนึ่งในคาถานี้.

บทว่า รกฺขิตมานสาโน ความว่า มานัสนั่นเอง ชื่อว่า มานสานะ

มานสานะนั้น อันบุคคลนั้นรักษาแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่า

รกฺขิตมานสาโน แปลว่า มีใจอันตนรักษาแล้ว มีอธิบายว่า มีจิตอันตน

รักษาแล้ว โดยประการที่จิตไม่แปดเปื้อนด้วยกิเลสทั้งหลาย.

บทว่า อนวสฺสโต ความว่า ผู้เว้นจากการรั่วรดของกิเลส ใน

อารมณ์นั้น ๆ ด้วยการปฏิบัตินี้.

บทว่า อปริฑยฺหมาโน ความว่า เพราะเว้นจากการรั่วรดอย่างนี้เอง

อันไฟคือกิเลสทั้งหลายไม่แผดเผาอยู่ หรืออันไฟคือกิเลสทั้งหลายไม่รั่วรดแล้ว

ในภายนอก ไม่แผดเผาอยู่ในภายใน. บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

โอกขิตตจักขุวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๐

คาถาว่า โอหารยิตฺวา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี พระราชาพระนามว่า จาตุมาสิกพรหมทัต

พระองค์อื่นนี้ เสด็จไปทรงกีฬาในพระราชอุทยาน ทุก ๔ เดือน ในวันหนึ่ง

ท้าวเธอเมื่อเสด็จเข้าพระราชอุทยาน ในเดือนท่ามกลางแห่งฤดูร้อน ทรงเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 217

ต้นทองหลางดุจต้นปาริฉัตรในสวรรค์ ซึ่งมีคาคบสะพรั่งด้วยดอก สล้างด้วย

ใบ ใกล้พระทวารแห่งพระราชอุทาน จึงทรงเด็ดเอาดอกหนึ่งแล้ว เสด็จ

เข้าสู่พระราชอุทยาน แต่นั้น อำมาตย์แม้คนหนึ่ง คิดว่า พระราชา

ทรงเด็ดเอาดอกงาม จึงยืนขึ้นบนคอช้างนั่นแล เด็ดเอาดอกหนึ่ง. โดยอุบาย

นั่นเทียว พลกายทั้งหมด จึงเด็ดเอาบ้าง ผู้ไม่ได้ดอก ก็เด็ดเอาแม้ซึ่งใบ

ต้นไม้นั้นจึงปราศจากใบและดอก เหลือแต่ลำต้นเท่านั้น.

ในสมัยเย็น พระราชาเสด็จออกจากพระราชอุทยาน ทรงเห็นต้นไม้

นั้น ทรงพระราชดำริอยู่ว่า ต้นไม้นี้ใครกระทำหรือ ในเวลาเรามา ก็สะพรั่ง

ด้วยดอกสวยงามเป็นเช่นกับแก้วประพาฬ ในระหว่างกิ่งซึ่งมีสีดุจแก้วมณี บัดนี้

กลายเป็นต้นไม้ปราศจากใบและดอกเสียแล้ว ทรงเห็นต้นไม้ไม่ผลิดอกมีใบ

เหลืองหล่นเกลื่อนกล่น ในที่ใกล้ต้นไม้นั้นแล ก็ครั้นทรงเห็นแล้ว พระองค์

ทรงพระราชดำริดังนี้ว่า ต้นไม้นี้ เป็นที่ตั้งแห่งความโลภของชนมาก เพราะมี

กิ่งสะพรั่งด้วยดอก เพราะเหตุนั้น จึงถึงความย่อยยับเพียงชั่วครู่เท่านั้น ส่วน

ต้นไม้อื่นนี้ คงดำรงอยู่เหมือนเดิม เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งความโลภ ราชสมบัติ

แม้นี้ พึงเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ เหมือนต้นไม้ที่มีดอก ส่วนความเป็นภิกษุ

ไม่พึงเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ เพราะฉะนั้น ราชสมบัติแม้นี้ ยังไม่ถูกแย่งชิง

เหมือนต้นไม้นี้ตราบใด เราพึงเป็นผู้ปกปิดด้วยผ้ากาสาวะ ดุจต้นทองหลาง

อื่นนี้ เกลื่อนกล่นด้วยใบเหลืองแล้ว บวชตราบนั้น พระราชานั้นทรงสละราช-

สมบัติ ทรงผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่ ทรงการทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ

แล้วตรัสอุทานคาถานี้ว่า

โอหารยิตฺวา คิหิพฺยญฺชนานิ

สญฺฉินฺนปตฺโต ยถา ปาริฉตฺโต

กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตฺวา

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 218

บุคคลละเพศแห่งคฤหัสถ์ ดุจต้น

ทองหลางมีใบร่วงหล่นแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสา-

ยะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เที่ยวไปผู้เดียว

เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทนี้ว่า กาสายวตฺโถ อภินิกฺขมิตฺวา ดังนี้

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ออกจากเรือนแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสายะ.

บทที่เหลืออาจเพื่อรู้ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้กล่าว

ให้พิสดาร.

ปาริจฉัตตกคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

วรรคที่ ๓ จบ

วรรคที่ ๔

คาถาที่ ๓๑

คาถาว่า รเสสุ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีพระองค์หนึ่ง ทรงแวดล้อมด้วยบุตรอำมาตย์

ทั้งหลายในพระราชอุทยาน ทรงเล่นกีฬา ในสระโบกขรณีที่มีแผ่นศิลา วิเสท

ถือเอารสแห่งเนื้อทั้งปวง ปรุงพระกระยาหารในระหว่าง ซึ่งปรุงดีอย่างยิ่ง ดุจ

อมฤตแล้ว น้อมถวายแด่พระองค์ พระราชานั้นทรงถึงความติดในพระกระ-

ยาหารนั้น ไม่ทรงประทานอะไรให้แก่ใครเลย เสวยแต่พระองค์เดียว เมื่อ

ทรงเล่นในน้ำ และเสด็จออกในเวลามืด ก็รีบเสวย ไม่ได้นึกถึงบริชนซึ่ง

พระองค์เคยเสวยด้วยกันมาแต่กาลก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 219

ต่อมาภายหลัง พระองค์ทรงนึกได้ว่า โอ ! เราทำบาป ที่เราถูก

ความอยากในรสครอบงำ ลืมนึกถึงปวงชน กินแต่ผู้เดียว เอาเถิด เราจะข่ม

ความอยากในรส ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญวิปัสสนา

อยู่ ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ ทรงติเตียนการปฏิบัติในครั้ง

ก่อนของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ อันแสดงถึงข้อปฏิบัติอันเป็นปฏิปักษ์

ต่อการปฏิบัติครั้งก่อนนั้นว่า

รเสสุ เคธ อกร อโลโล

อนญฺโปสี สปทานจารี

กุเล กุเล อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

ภิกษุไม่กระทำความยินดีในรสทั้ง-

หลาย ไม่โลเล ไม่เลี้ยงคนอื่น มีปกติเที่ยว

บิณฑบาตตามลำดับตรอก ผู้มีจิตไม่ผูกพัน

ในตระกูล พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด

ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า รเสสุ ความว่า ไม่กระทำความยินดี คือ

ไม่กระทำความติดในรสอันควรลิ้มทั้งหลาย อันต่างโดยรสเปรี้ยว หวาน ขม

เผ็ด เค็ม เฝื่อน และรสฝาดเป็นต้น มีอธิบายว่า ไม่ยังความอยากให้เกิดขึ้น.

บทว่า อโลโล ความว่า ไม่วุ่นวายในรสพิเศษทั้งหลายว่า เราจัก

ลิ้มรสนี้.

บทว่า อนญฺโปสี ความว่า เว้นจากคนมีสัทธิวิหาริก อันตนจะ

พึงเลี้ยงดูเป็นต้น มีอธิบายว่า ยินดีแล้ว ด้วยเหตุสักว่าการสำรวมทางกาย.

อีกอย่างหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงว่า ในกาลก่อนเราเป็นผู้วุ่นวายใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 220

การกระทำความติดในรสทั้งหลาย ที่อุทยานแล้ว เป็นผู้เลี้ยงคนอื่น ฉันใด

เราไม่เป็นฉันนั้น เป็นผู้วุ่นวายด้วยตัณหาใดแล้ว ทำความยินดีในรสทั้งหลาย

ภิกษุละตัณหานั้น ไม่เลี้ยงคนอื่น เพราะอัตภาพอื่นอันมีตัณหาเป็นมูลไม่เกิด

ต่อไป. อีกอย่างหนึ่ง กิเลส เรียกว่า อญฺโ (อื่น) เพราะอรรถว่าหักราน

ประโยชน์. ในข้อนี้มีอธิบายอย่างนี้ว่า ภิกษุชื่อว่า ไม่เลี้ยงคนอื่น เพราะไม่

เลี้ยงกิเลสเหล่านั้น.

บทว่า สปทานจารี ความว่า มีปกติเที่ยวไปด้วยการไม่ข้ามลำดับ

คือ มีปกติเที่ยวไปตามลำดับ ไม่ละลำดับแห่งเรือน เข้าไปสู่ตระกูลของคน

มั่งคั่งและตระกูลของคนยากจน เพื่อบิณฑบาตเนือง ๆ.

บทว่า กุเล กุเล ลปฺปฏิพทฺธจิตฺโต ความว่า ผู้มีจิตไม่เกี่ยวข้อง

ด้วยอำนาจแห่งกิเลส ในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ในบรรดาตระกูลทั้งหลายมี

ตระกูลกษัตริย์เป็นต้น เป็นผู้ใหม่เป็นนิตย์ ดุจพระจันทร์. บทที่เหลือมีนัยที่

กล่าวแล้วนั่นแล.

รสเคธคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๒

คาถาว่า ปหาย ปญฺจาวรณานิ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในพระนครพาราณสี ทรงได้

ปฐมฌาน ท้าวเธอทรงสละราชสมบัติ เพื่อทรงตามรักษาฌาน ทรงผนวชแล้ว

เจริญวิปัสสนาอยู่ ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ เพื่อจะทรงแสดง

สัมปทาแห่งการปฏิบัติของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 221

ปหาย ปญฺจาวรณานิ เจตโส

อุปกฺกิเลส พฺยปนุชฺช สพฺเพ

อนิสฺสิโต เฉตฺวา สิเนหโทส

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลละธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ๕

อย่าง บรรเทาอุปกิเลสทั้งปวงแล้ว ผู้อันทิฏฐิ

ไม่อาศัย ตัดโทษคือความเยื่อใยได้แล้ว พึง

เที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อาวรณานิ ได้แก่ นิวรณ์ทั้งหลายนั้นแล.

นิวรณ์เหล่านั้น โดยอรรถได้กล่าวแล้ว ในอุรคสูตร ก็นิวรณ์เหล่านั้น เพราะ

กั้นจิต ดุจหมอกเป็นต้น ปิดบังดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เพราะฉะนั้นจึง

เรียกว่า ธรรมเป็นเครื่องกั้นจิต ละนิวรณ์เหล่านั้น ด้วยอุปจาร หรือ ด้วย

อัปปนา.

บทว่า อุปกิเลส ได้แก่ อกุศลธรรมทั้งหลาย ซึ่งเข้ามาเบียด-

เบียน จิต หรือ ธรรมทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น ที่กล่าวแล้ว ในสูตรทั้ง-

หลายมีวัตโถปมสูตรเป็นต้น.

บทว่า พฺยปนุชฺช ความว่า บรรเทาแล้ว คือให้พินาศแล้ว อธิบาย

ว่า ละแล้ว ด้วยวิปัสสนามรรค.

บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ที่เหลือลง. บุคคลถึงพร้อมด้วยสมถะและวิปัส-

สนาอย่างนี้ ชื่อว่า ผู้อันทิฏฐิไม่อาศัย เพราะความที่ทิฏฐินิสสัยอันท่านละแล้ว

ด้วยปฐมมรรค ตัดโทษคือความเยื่อใย อันติดตามไตรธาตุได้แล้วด้วยมรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 222

ที่เหลือทั้งหลาย มีอธิบายว่า ตัดตัณหาราคะได้แล้ว ก็ความเยื่อใยนั่นแล

เรียกว่า โทษ คือ ความเยื่อใย. บทที่เหลือ มีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อาวรณคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๓

คาถาว่า วิปิฏฺิกตฺวาน ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่งในกรุงพาราณสี ทรงได้จตุตถฌาน

ท้าวเธอทรงสละราชสมบัติ เพื่อทรงตามรักษาฌาน ทรงผนวช เจริญวิปัสสนา

อยู่ ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดงสัมปทาแห่งการ

ปฏิบัติของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า

วิปัฏฺิกตฺวาน สุข ทุกฺขญฺจ

ปุพฺเพว จ โสมนสฺสโทมนสฺส

ลทฺธานุเปกฺข สมถ วิสุทฺธ

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลละสุข ทุกข์ โสมนัส และ

โทมนัสในก่อนได้ ได้อุเบกขา และสมถะ

อันบริสุทธิ์แล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วิปิฏฺิกตฺวาร ความว่า ทำไว้ข้างหลัง

คือ ทิ้งแล้ว สละแล้ว. บทว่า สุข ทุกฺขญฺจ ได้แก่ ความสำราญทางกาย

และความไม่สำราญทางกาย. บทว่า โสมนสฺสโทมนสฺส ได้แก่ ความ

สำราญทางใจและความไม่สำราญทางใจ. บทว่า อุเปกฺข ได้แก่ อุเบกขาใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 223

จตุตถฌาน. บทว่า สมถ ได้แก่ สมถะในจตุตถฌานนั่นเทียว. บทว่า วิสุทฺธ

ความว่า ชื่อว่า อันบริสุทธิ์แล้ว เพราะพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลาย

กล่าวคือ นิวรณ์ ๕ วิตก วิจาร ปีติและสุข อธิบายว่า ปราศจากอุปกิเลส

แล้ว ดุจทองคำที่ไล้ดีแล้ว.

ก็โยชนามีดังนี้ ละสุขและทุกข์ อธิบายว่า ทุกข์ในอุปจารภูมิแห่ง

ปฐมฌานนั่นเทียว สุขในอุปจารภูมิแห่งตติยฌาน. มีอธิการว่า ละโสมนัส

และโทมนัสในก่อนได้ เพราะนำ อักษรที่กล่าวไว้ข้างต้นไปไว้ข้างหน้าอีก

ด้วย อักษรนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงว่า ละโสมนัสในอุปจารแห่ง

จตุตถฌาน และโทมนัสในอุปจารแห่งทุติยฌานนั่นเอง. จริงอยู่ อุปจารแห่ง

จตุตถฌาน และอุปจารแห่งทุติยฌานเหล่านั้น เป็นฐานะในการละโสมนัส

และโทมนัสเหล่านั้น โดยทางอ้อม. แต่โดยทางตรง ปฐมฌานเป็นฐานะในการ

ละทุกข์ ทุติยฌานเป็นฐานะในการละโทมนัส ตติยฌาน เป็นฐานะในการละสุข

จตุตถฌานเป็นฐานะในการละโสมนัส. เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ภิกษุเข้าปฐมฌานอยู่ ทุกขินทรีย์ที่เกิดแล้วในปฐมฌานนั้น ย่อมดับไม่มีส่วน

เหลือ ดังนี้เป็นต้น.*

ข้อความนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาธรรมสังคหะ

ชื่ออัฏฐสาลินี. เพราะบุคคลละทุกข์ โทมนัส และสุขในก่อนได้ คือ ในฌาน

ทั้ง ๓ มีปฐมฌานเป็นต้น แล้วจึงละโสมนัสในจตุตถฌานนั้นเอง ได้อุเบกขา

อันสงบบริสุทธิ์ ด้วยปฏิปทานี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว. บทที่เหลือในที่ทั้งปวง

ปรากฏชัดแล้วแล.

วิปิฏฐิกัตวาคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

* ส มหาวาร ๒๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 224

คาถาที่ ๓๔

คาถาว่า อารทฺธวิริโย ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเจ้าปัจจันตราชาพระองค์หนึ่ง (พระเจ้าขุททกราช) ทรง

มีพลกายเป็นทหารประมาณหนึ่งพัน ทรงมีพระราชสมบัติน้อย แต่มีพระปัญญา

มาก ในวันหนึ่ง ท้าวเธอทรงพระราชดำริว่า เราเป็นผู้ขัดสนแม้ก็จริง แต่เรามี

ปัญญาอาจเพื่อจะยึดเอาชมพูทวีปทั้งสิ้นได้ ดังนี้แล้ว ก็ทรงส่งทูตแก่พระเจ้า

สามันตรราชว่า ในภายในเจ็ดวัน จงให้ราชสมบัติแก่เรา หรือจงให้การรบ ต่อ

จากนั้น พระองค์ทรงประชุมเหล่าอำมาตย์ของพระองค์แล้ว ตรัสว่า ข้าพเจ้า

ยังไม่ได้ปรึกษาพวกท่านเลย ได้ทำการผลุนผลัน ได้ส่งทูตอย่างนี้แก่พระราชา

ชื่อโน้น จะพึงทำอย่างไร อำมาตย์เหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์

อาจที่จะทรงเรียกทูตนั้นกลับหรือ ?

ร. ไม่อาจ ทูตนั้นไปแล้ว

อ. ถ้าอย่างนั้น พวกข้าพระองค์ก็ถูกพระองค์ให้พินาศแล้ว เพราะ

เหตุนั้น การตายด้วยมือของคนอื่นเป็นทุกข์ เอาเถิด พวกข้าพระองค์จะฆ่า

กันตาย จะฆ่าตัวตาย จะผูกคอตาย จะดื่มยาพิษตาย.

ในอำมาตย์เหล่านั้น อำมาตย์แต่ละคนได้พรรณนาถึงความตายอย่างนี้

เท่านั้น แต่นั้น พระราชาตรัสว่า มีประโยชน์ด้วยอำมาตย์เหล่านี้ ดูก่อนพนาย

ฉันมีทหารอยู่ดังนี้. ขณะนั้น ทหารหนึ่งพันนั้น ลุกขึ้นทูลว่า ข้าแต่มหาราช

ข้าพระองค์เป็นทหาร พระราชาทรงพระราชดำริว่า เราจักทดลองทหารเหล่านั้น

ดังนี้แล้ว ทรงให้เตรียมเชิงตะกอนไว้ ตรัสว่า ดูก่อนพนาย ฉันได้ทำการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 225

ผลุนผลันชื่อนี้ พวกอำมาตย์คัดค้านการกระทำของฉันนั้น ฉันนั้นจะกระโดด

เข้าสู่เชิงตะกอน ใครบ้างจะกระโดดเข้าพร้อมกับฉัน ใครยอมสละชีวิตเพื่อฉัน

ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว พวกทหาร ๕๐๐ คน พากันลุกขึ้นทูลว่า ข้าพระองค์จะ

กระโดดเข้าไป มหาราช.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะทหาร ๕๐๐ อีกพวกว่า ดูก่อนพ่อ บัดนี้

พวกเธอจักทำอย่างไร ? ทหาร ๕๐๐ เหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช

นี้ไม่ใช่การกระทำของลูกผู้ชาย นั่นเป็นการประพฤติของผู้หญิง ความจริง

พระมหาราชทรงส่งทูตแก่อริราชแล้ว พวกข้าพระองค์จักรบกับพระราชานั้น

จนสิ้นชีวิต. แต่นั้น พระราชาตรัสว่า พวกท่านยอมสละชีวิตเพื่อเราดังนี้แล้ว

ทรงตระเตรียมจตุรงคินีเสนา ทรงแวดล้อมด้วยทหารพันหนึ่งนั้น เสด็จไป

ประทับนั่ง ณ ชายแดนรัชสีมา.

ฝ่ายพระเจ้าปฏิราชนั้นทรงสดับประพฤติการณ์นั้นแล้ว ทรงดีพระทัย

ว่า เอ้อเฮอ ! เจ้าขุททกราชแม้นั้นไม่พอแม้แก่ทาสของเรา ดังนี้แล้ว ทรงยก

กองทัพทั้งหมดเสด็จออก เพื่อรบ พระเจ้าขุททกราชาทรงเห็นพระเจ้าปฏิราช

นั้นผู้ยกทัพออกมาประเชิญหน้า จึงตรัสกะพลกายว่า ดูก่อนพ่อ พวกท่านไม่มาก

ทั้งหมดจงรวมกัน ถือดาบและโล่ วิ่งไปตรงข้างหน้าพระราชานี้โดยเร็ว ทหาร

เหล่านั้นได้กระทำตามพระดำรัส ขณะนั้น กองทัพนั้นแตกออกเป็น ๒ ฝ่าย

ช่องว่างให้ พวกทหารเหล่านั้น จึงได้จับพระราชานั้นทั้งเป็น พวกทหาร

เหล่าอื่นก็หลบหนีไป พระเจ้าขุททกราชทรงวิ่งไปข้างหน้า ด้วยพระดำริว่า

จักฆ่าพระราชานั้น พระเจ้าปฏิราชทรงทูลขออภัยพระเจ้าขุททกราชนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 226

ต่อแต่นั้น พระเจ้าขุททกราชทรงประทานอภัยแก่พระเจ้าปฏิราชนั้น

ทรงให้พระเจ้าปฏิราชนั้นทำการสาบาน ทำให้เป็นพวกของพระองค์แล้ว ทรง

เริ่มเพื่อจะจับพระราชาองค์อื่นทั้งเป็นอีก จึงเสด็จไปพร้อมกับพระเจ้าปฏิราช

นั้น ประทับยืน ณ ชายแดนรัชสีมาของพระเจ้าปฏิราชนั้น ทรงส่งข่าวไปว่า

จงให้ราชสมบัติแก่เรา หรือจงให้การรบ พระราชานั้นทรงพระราชดำริว่า เรา

ไม่กล้ารบคนเดียวได้ จึงทรงมอบราชสมบัติ. โดยอุบายนั่นแล พระราชา

ทั้งหลายรบอยู่ พระราชาเหล่านั้นก็จักทรงพ่ายแพ้. พระราชาเหล่านั้น จึงไม่

ทรงรบ ยอมมอบราชสมบัติให้ พระเจ้าขุททกราชจึงทรงพาพระราชาทั้งหมด

จับพระเจ้ากรุงพาราณสีในที่สุด. พระราชาพระองค์นั้น ทรงมีพระราชา ๑๐๑

พระองค์แวดล้อม ทรงครอบครองราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น เสวยสิริราช

สมบัติ.

ในกาลต่อมา พระองค์ทรงพระราชดำริว่า ในกาลก่อน เราเป็นผู้

ขัดสน ได้เป็นใหญ่แห่งชมพูทวีปทั้งสิ้น ด้วยญาณสมบัติของตน ญาณของเรา

ใดประกอบด้วยโลกิยวิริยะ ญาณนั้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา ย่อมไม่เป็นไป

เพื่อปราศจากราคะ ดีทีเดียว ถ้าเราพึงแสวงหาโลกุตรธรรมด้วยญาณนี้ ลำดับนั้น

จึงทรงพระราชทานราชสมบัติแก่พระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงส่งพระราชบุตร

และพระมเหสีกลับชนบทของตนเรียบร้อยแล้ว ทรงสมาทานบรรพชา ปรารภ

วิปัสสนา ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิญาณ เมื่อจะทรงแสดงวิริยสมบัติ

ของพระองค์ จึงตรัสอุทานคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 227

อารทฺธวิริโย ปรมตฺถปตฺติยา

อลีนจิตฺโต อกุสีตวุตฺตี

ทฬฺหนิกฺขโม ถามพลูปปนฺโน

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุ

ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความ

ประพฤติไม่เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่นคง

ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกายและกำลังญาณ

พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น

ดังนี้.

ในคาถานั้น ชื่อว่า ปรารภความเพียร เพราะอรรถว่า บุคคลนั้น

ปรารภความเพียรแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงความเพียรมีวิริยารัมภะเป็นต้น

ของตน ด้วยบทนี้ นิพพานเรียกว่า ปรมัตถะ เพื่อบรรลุปรมัตถประโยชน์

ด้วยการบรรลุนิพพานนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงผลอันพึงบรรลุด้วยวิริยา-

รัมภะ ด้วยบทนี้.

พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงความที่จิตและเจตสิกอันพลวิริยะสนับสนุน

แล้ว เป็นธรรมชาติไม่หดหู่ ด้วยบทว่า อลีนจิตฺโต นี้ แสดงความไม่เฉื่อยชา

แห่งกาย ในการยืน การนั่ง และการจงกรมเป็นต้น ด้วยบทว่า อกุสีตวุตฺติ นี้

แสดงความเพียรที่ตั้งมั่น ซึ่งเป็นไปแล้ว อย่างนี้ว่า กาม ตโจ จ นฺหารุ จ

ด้วยบทว่า ทฬฺหนิกฺกโม นี้ บุคคลตั้งความเพียรนั้น ในกิจทั้งหลายมีการ

ศึกษาตามลำดับเป็นต้น เรียกว่า ย่อมกระทำให้แจ้ง ซึ่งปรมัตถสัจจะ ด้วยกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 228

อีกอย่างหนึ่ง แสดงความเพียรมีสัมปยุตด้วยมรรค ด้วยบทนี้. จริงอยู่ ความ

เพียรนั้น ชื่อว่า นิกขมะ เพราะเป็นความเพียรที่ได้แล้ว ด้วยการภาวนามั่นคง

และเพราะเป็นความเพียรที่ออกจากธรรมที่เป็นปฏิปักษ์โดยประการทั้งปวง

เพราะฉะนั้น แม้บุคคลผู้สมังคีด้วยความเพียรนั้น จึงชื่อว่า ทัฬหนิกกมะ

เพราะอรรถว่า บุคคลนั้นมีความบากบั่นมั่นคง.

บทว่า ถามพลุปปนฺโน ความว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกาย และ

กำลังญาณ ในขณะแห่งมรรค. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใดถึงพร้อมแล้ว ด้วย

กำลังอันเป็นเรี่ยวแรง เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ถึงพร้อมแล้ว ด้วยกำลัง

เรี่ยวแรง มีอธิบายว่า ไม่ถึงพร้อมแล้ว ด้วยกำลังญาณ. พระปัจเจกพุทธเจ้า

เมื่อจะแสดงการประกอบวิปัสสนาญาณ จึงยังความที่ความเพียรนั้นเป็นประธาน

ให้สำเร็จโดยแยบคาย ด้วยบทนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบบาทแม้ทั้งสาม

ด้วยอำนาจแห่งความเพียรที่เป็นเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่อุกฤษฏ์. บทที่เหลือ

มีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อารัทธวิริยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๕

คาถาว่า ปฏิสลฺลาน ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

คาถานี้มีอุบัติเช่นเดียวกับอาวรณคาถานั่นเทียว จึงไม่มีความแปลกกัน

อย่างใดเลย แต่พึงทราบวินิจฉัยในอัตถวัณณนา.

บทว่า ปฏิสลฺลาน ได้แก่ การหมุนกลับจากสัตว์สังขารเหล่านั้น ๆ

แล้วหลีกเร้น อธิบายว่า ความคบคนผู้เดียว ความเป็นผู้มีคนเดียว กายวิเวก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 229

จิตวิเวกเรียกว่า ฌาน เพราะแผดเผาธรรมที่เป็นข้าศึก และเพราะ

เข้าไปเพ่งอารมณ์และลักษณะ. ในบทนั้น สมาบัติแปดเรียกว่า ฌาน เพราะ

แผดเผาธรรมอันเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์. ใน

คาถานี้ วิปัสสนา มรรคและผล ชื่อว่า ฌาน เพราะแผดเผาธรรมอันเป็น

ข้าศึกมีสัตตสัญญาเป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งลักษณะนั่นเอง. แต่ในที่นี้

ท่านประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌานเท่านั้น ไม่ละ คือ ไม่สละ ไม่ปล่อยซึ่ง

การหลีกเร้นและฌานนั่น ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ธมฺเมสุ ความว่า ในธรรมมีเบญจขันธ์เป็นต้น ที่เข้าถึง

วิปัสสนา. บทว่า นิจฺจ ได้แก่ เนืองนิตย์ สม่ำเสมอ บ่อย ๆ .

บทว่า อนุธมฺมจารี ความว่า ประพฤติวิปัสสนาธรรมอันไปตาม

เพราะปรารภธรรมเหล่านั้นเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า

ธรรม. ธรรมอันอนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อนุธรรม คำว่า อนุธรรม

นั่นเป็นชื่อของวิปัสสนา. ในคาถานั้น เมื่อควรจะกล่าว ธมฺมาน นิจฺจ

อนุธมฺมจารี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็กล่าวว่า ธมฺเมสุ ด้วยการเปลี่ยนวิภัตติ

เพื่อสะดวกแก่การผูกคาถา.

บทว่า อาทีนว สมฺมสิตา ภเวสุ ความว่า บุคคลพิจารณาเห็นโทษ

มีอาการไม่เที่ยงเป็นต้น ในภพทั้งสาม ด้วยวิปัสสนา กล่าวคือความเป็นผู้

ประพฤติตามธรรมนั้น พึงทราบว่า บรรลุแล้วซึ่งกายวิเวกและจิตวิเวกนี้

ด้วยปฏิปทา กล่าวคือวิปัสสนาอันถึงยอดอย่างนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว พึงทราบ

การประกอบ ดังนี้แล.

ปฏิสัลลานคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 230

คาถาที่ ๓๖

คาถาว่า ตณฺหกฺขย ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง ทรงกระทำประทักษิณ

พระนคร ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ สัตว์ทั้งหลายมีหัวใจหมุนไปแล้ว เพราะ

ความงามแห่งพระวรกายของท้าวเธอ จึงไปข้างหน้าบ้าง ไปข้างหลังบ้าง ไป

โดยข้างทั้งสองบ้าง ก็ยังกลับมาแหงนดูพระราชาพระองค์นั้นแล ก็ตามปกติ

แล้ว ชาวโลกไม่อิ่มในการดูพระพุทธเจ้า และในการดูพระจันทร์เพ็ญ สมุทร

และพระราชา.

ในขณะนั้น แม้ภรรยาของกุฎุมพีคนหนึ่ง ขึ้นปราสาทชั้นบน เปิด

หน้าต่าง ยืนแลดูอยู่ พระราชาพอทรงเห็นนางเท่านั้น ก็มีพระราชหฤทัย

ปฏิพัทธ์ จึงตรัสสั่งอำมาตย์ว่า ดูก่อนพนาย เจ้าจงรู้ก่อนว่า สตรีนี้มีสามีแล้ว

หรือยังไม่มีสามี. อำมาตย์นั้นไปแล้ว กลับมาทูลว่า มีสามีแล้ว พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า ก็สตรีนักฟ้อน ๒๐,๐๐๐ นาง

เหล่านี้ อภิรมย์เราคนเดียวเท่านั้น ดุจเหล่านางอัปสร บัดนี้ เรานั้นไม่ยินดี

ด้วยนางเหล่านั้น เกิดตัณหาในสตรีของบุรุษอื่น แม้ตัณหานั้นเกิดขึ้นก่อน ก็

จะฉุดไปสู่อบายเท่านั้น ดังนี้แล้ว ทรงเห็นโทษของตัณหาแล้ว ทรงพระราช

ดำริว่า เอาเถิด เราจะข่มตัณหานั้น ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญ

วิปัสสนาอยู่ ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว จึงตรัสอุทานคาถา

นี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 231

ตณฺหกฺขย ปฏฺย อปฺปมตฺโต

อเนลมูโค สุตฺวา สติมา

สงฺขาตธมฺโม นิยโต ปธานวา

เอโก จเร ขคฺควิสาณกลปฺโป

บุคคลผู้ปรารถนาความสิ้นตัณหา พึง

เป็นผู้ไม่ประมาท ไม่เป็นคนบ้าคนใบ้ มี

การสดับ มีสติ มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว

เป็นผู้เที่ยง มีเพียร พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหกฺขย ได้แก่ พระนิพพาน หรือ

ความไม่เป็นไป แห่งตัณหาที่มีโทษอันตนเห็นแล้วอย่างนี้นั่นเอง. บทว่า

อปฺปมตฺโต ได้แก่ ผู้มีปกติกระทำติดต่อ.

บทว่า อเนลมูโค ได้แก่ ไม่เป็นคนบ้าน้ำลาย. อีกอย่างหนึ่ง คน

ไม่บ้าและคนไม่ใบ้ เป็นบัณฑิต มีอธิบายว่า คนเฉลียวฉลาด.

สุตะอันให้ถึงหิตสุข ของบุคคลนั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น

ชื่อว่า สุตวา มีการสดับ มีอธิบาย ผู้ถึงพร้อมด้วยอาคม. บทว่า สติมา

ได้แก่ ผู้ระลึกถึงกิจทั้งหลายที่ทำไว้นานเป็นต้นได้. บทว่า สงฺขาตธมฺโม

ได้แก่ มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว ด้วยการพิจารณาธรรม. บทว่า นิยโต

ได้แก่ ถึงความเที่ยง ด้วยอริยมรรค. บทว่า ปธานวา ได้แก่ถึงพร้อมแล้ว

ด้วยวิริยคือ สัมมัปปธาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 232

บาลีนั้น พึงประกอบสับเปลี่ยนลำดับว่า บุคคลผู้ประกอบพร้อมแล้ว

ด้วยธรรมทั้งหลาย มีความไม่ประมาทเป็นต้นเหล่านั้น มีเพียร ด้วยความเพียร

อันให้ถึงความเที่ยง เป็นผู้เที่ยง โดยถึงความเที่ยง ด้วยความเพียรนั้น แต่นั้น

มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว ด้วยการบรรลุพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้ ก็พระ-

อรหันต์ เรียกว่า ผู้มีธรรมอันกำหนดรู้แล้ว เพราะไม่มีธรรมที่จะพึงกำหนด

รู้อีก เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า พระอรหันต์ทั้งหลายเหล่าใด เป็นผู้มีธรรม

อันตนกำหนดแล้วแล และพระเสขะและปุถุชนเหล่าใด มีอยู่ในโลกนี้ ดังนี้.

บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ตัณหักขยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๗

คาถาว่า สีโห ว ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง มีพระราชอุทยานอยู่

ในที่ไกล พระองค์ต้องเสด็จลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน เสด็จ

ลงจากพระยานในระหว่างมรรคา ด้วยพระราชดำริว่า เราไปสู่ท่าน้ำแล้วจัก

ล้างหน้า ก็ในประเทศนั้น นางราชสีห์ตกลูกราชสีห์แล้วไปหากิน ราชบุรุษ

เห็นลูกราชสีห์นั้นแล้ว ทูลว่า ลูกราชสีห์ พระเจ้าข้า พระราชาทรงพระราช

ดำริว่า ได้ยินว่า ราชสีห์ไม่กลัวใคร จึงตรัสสั่งให้ตีวัตถุมีกลองเป็นต้น เพื่อ

ทดลองลูกราชสีห์นั้น ลูกราชสีห์ฟังเสียงนั้น ก็นอนตามเดิม พระราชาตรัสสั่ง

ให้ตีวัตถุถึงสามครั้ง ในครั้งที่ ๓ ลูกราชสีห์ก็ชูศีรษะขึ้น แลดูบริษัททั้งหมด

แล้วนอนเหมือนเดิม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 233

ขณะนั้น พระราชาตรัสว่า แม่ของลูกราชสีห์นั้น ยังไม่กลับมาตราบ

ใด พวกเราจะไปตราบนั้น เมื่อจะเสด็จไป ทรงพระราชดำริว่า ลูกราชสีห์

แม้เกิดในวันนั้น ก็ไม่สะดุ้ง ไม่กลัว ชื่อในกาลไหนหนอ เราพึงตัดความ

สะดุ้งเพราะตัณหาและทิฏฐิแล้ว ไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงกลัว พระองค์ทรงยึด

อารมณ์นั้น เสด็จไปอยู่ ทรงเห็นลมพัดไม่ติดตาข่ายทั้งหลาย ที่พวกชาวประมง

จับปลาแล้ว คลี่ตากไว้บนกิ่งไม้ทั้งหลาย ทรงยึดนิมิตแม้นั้นอีกว่า ชื่อในกาล

ไหนหนอ แม้เราพึงทำลายข่ายคือตัณหาทิฏฐิ และข่ายคือโมหะไป ไม่ติดขัด

เช่นนั้น.

ต่อมา พระองค์เสด็จไปสู่พระราชอุทยาน ประทับนั่งที่ฝั่งสระโบกขรณี

ที่มีแผ่นศิลา ทรงเห็นปทุมทั้งหลายที่ต้องลมแล้ว โอนเอนไปถูกน้ำ เมื่อ

ปราศจากลม ก็ตั้งอยู่ตามที่เดิมอีก ไม่เปียกน้ำ จึงทรงถือนิมิตแม้นั้น ว่า

เมื่อไรหนอ แม้เราเกิดแล้วในโลก ไม่พึงติดในโลกดำรงอยู่ เหมือนปทุม

เหล่านี้ เกิดในน้ำ ไม่เปียกน้ำดำรงอยู่ ฉะนั้น.

พระราชานั้น ทรงพระราชดำริบ่อย ๆ ว่า เราไม่พึงสะดุ้ง ไม่พึงติด

ไม่พึงเปียก เหมือนราชสีห์ ลม และปทุม ฉะนั้น แล้วทรงสละราชสมบัติ

ผนวช เจริญวิปัสสนาอยู่ ก็ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว ตรัส

อุทานคาถานี้ว่า

สีโหว สทฺเทสุ อสนฺตสนฺโต

วาโตว ชาลมฺหิ อสชฺชมาโน

ปทุม ว โตเยน อลิมฺปมาโน

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

* ส. นิทาวคฺค ๔๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 234

บุคคลไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่เที่ยง

เป็นต้น เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียง ไม่

ข้องอยู่ในธรรมมีขันธ์ และอายตนะเป็นต้น

เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่าย ไม่ติดอยู่ด้วย

ความยินดีและความโลภ เหมือนดอกปทุม

ไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สีโห ได้แก่ สีหะ ๔ ประเภท คือ ติณสีหะ

นรสีหะ กาฬสีหะ เกสรสีหะ. เกสรสีหะท่านกล่าวว่า เลิศกว่าสีหะ ๓ ประเภท

นั้น เกสรสีหะนั้นเทียว ท่านประสงค์เอาในคาถานี้.

บทว่า วาโต ได้แก่ ลมหลายชนิด ด้วยอำนาจแห่งลมที่พัดมาทาง

ทิศตะวันออกเป็นต้น. บทว่า ปทุม ว ได้แก่ ปทุมหลายชนิด ด้วยอำนาจ

แห่งปทุมแดงและปทุมขาวเป็นต้น. ในลมและปทุมเหล่านั้น ลมอย่างใดอย่าง

หนึ่ง ปทุมอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ควรทั้งนั้น.

ในคาถานั้น เพราะความสะดุ้งย่อมมีได้ เพราะความรักตน และ

ความรักตน ก็คือ ความติดด้วยอำนาจตัณหา แม้ความติดด้วยอำนาจตัณหา

นั้น ย่อมมีได้ เพราะความโลภที่สัมปยุตด้วยทิฏฐิ หรือที่ปราศจากทิฏฐิ ก็

ความโลภนั้น คือ ตัณหานั่นเอง ก็ในคาถานั้น ความข้องย่อมมีด้วยโมหะสำหรับ

บุคคลผู้เว้นจากการพิจารณา และโมหะ ก็คือ อวิชชา ในการนั้น การละตัณหา

ย่อมมีได้ด้วยสมถะ การละอวิชชามีได้ด้วยวิปัสสนา เพราะฉะนั้น บุคคล

ละความรักตนด้วยสมถะแล้ว ไม่สะดุ้งในธรรมมีความไม่เที่ยงเป็นต้น เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 235

ราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียงฉะนั้น ละโมหะด้วยวิปัสสนาปัญญาแล้ว ไม่ข้องอยู่ใน

ธรรมมีขันธ์และอายตนะเป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในข่ายฉะนั้น ละโลภะ

และทิฏฐิที่สัมปยุตด้วยโลภนั่นเอง ด้วยสมถะนั้นแล ไม่ติดอยู่ด้วยความโลภ

คือความยินดีในภพทั้งปวง เหมือนปทุมไม่ติดอยู่ด้วยน้ำ ฉะนั้น

ก็ในที่นี้ ศีลเป็นปทัฏฐานของสมถะ สมถะ คือ สมาธิ วิปัสสนา คือ

ปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อธรรมทั้งสองนั้น สำเร็จอย่างนี้แล้ว ขันธ์ทั้ง ๓

ก็เป็นอันสำเร็จแล้ว. ในขันธ์ ๓ อย่างนั้น บุคคลเป็นผู้กล้าหาญด้วยศีลขันธ์

เขาย่อมไม่สะดุ้ง เพราะความที่ตนประสงค์เพื่อจะโกรธในอาฆาตวัตถุทั้งหลาย

เหมือนราชสีห์ไม่สะดุ้งในเสียงฉะนั้น ผู้มีสภาพอันแทงตลอดแล้ว ด้วยปัญญา

ขันธ์ ย่อมไม่ต้องอยู่ในธรรมอันต่างด้วยขันธ์เป็นต้น เหมือนลมไม่ข้องอยู่ใน

ข่าย ฉะนั้น ผู้มีราคะไปปราศแล้ว ด้วยสมาธิขันธ์ ย่อมไม่ติดอยู่ด้วยราคะ

เหมือนปทุมไม่ติดด้วยน้ำ ฉะนั้น บุคคลไม่สะดุ้ง ไม่ต้องอยู่ ไม่ติด ด้วย

อำนาจแห่งการละอวิชชาตัณหา และอกุศลมูล ๓ ตามความเป็นจริง ด้วย

สมถวิปัสสนา และด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ บัณฑิตพึงทราบ

ด้วยประการฉะนี้. บทที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อสันตสันตคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๘

คาถาว่า สีโห ยถา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระเจ้าพาราณสีพระองค์หนึ่ง ทรงทิ้งทางบ้านใหญ่และ

บ้านน้อย เพื่อทรงปราบปัจจันตชนบทที่กำเริบให้สงบ ทรงถือทางดงดิบ ซึ่ง

เป็นทางตรง เสด็จไปด้วยเสนาหมู่ใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 236

ก็โดยสมัยนั้น ราชสีห์กำลังนอนตากแดดอ่อนอยู่ที่เชิงเขาลูกหนึ่ง

ราชบุรุษเห็นราชสีห์นั้นแล้ว ทูลแด่พระราชา พระราชาทรงพระราชดำริว่า

ได้ยินว่า ราชสีห์ไม่สะดุ้งด้วยเสียง จึงตรัสสั่งให้ทำเสียง ด้วยเสียงกลอง สังข์

และบัณเฑาะว์เป็นต้น ราชสีห์ก็นอนอย่างนั้นเทียว ทรงให้ทำเสียงแม้ในครั้ง

ที่สอง ก็นอนอย่างนั้น ทรงให้ทำเสียงแม้ครั้งที่สาม ราชสีห์จึงคิดว่า ศัตรู

ของเรามีอยู่ ก็ลุกขึ้นยืนผงาดด้วยเท้าทั้งสี่ บันลือสีหนาท พลกายทั้งหลายมี

ควาญช้างเป็นต้น ได้ฟังเสียงบันลือนั้นเทียว ก็ลงจากพาหนะมีช้างเป็นต้น

วิ่งเข้าพงหญ้า หมู่ช้างและหมู่ม้าก็วิ่งเตลิดไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ แม้ช้างพระที่นั่ง

ของพระราชาก็พาพระราชาบุกป่าทึบเป็นต้นหนีไป พระองค์เมื่อไม่สามารถ

เพื่อให้ช้างพระที่นั่งหยุดได้ จึงทรงเหนี่ยวโหนกิ่งไม้ตกลงพื้นดินแล้ว เสด็จ

ไปโดยทางแคบที่เดินได้คนเดียว เสด็จถึงสถานเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลาย จึงตรัสถามพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ณ ที่นั้นว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

พระผู้เป็นเจ้าได้ฟังเสียงบ้างไหม ?

ป. ได้ฟัง พระมหาบพิตร

ร. เสียงอะไร พระผู้เป็นเจ้า

ป. ทีแรก เสียงกลอง เสียงสังข์ เป็นต้น ภายหลัง เสียงราชสีห์.

ร. พระผู้เป็นเจ้ากลัวไหม ? ขอรับ

ป. ไม่กลัวเสียงอะไรเลย พระมหาบพิตร

ร. ก็พระผู้เป็นเจ้าอาจเพื่อกระทำข้าพเจ้ามิให้กลัวเช่นนี้ไหม ?

ป. อาจ พระมหาบพิตร ถ้าพระองค์ทรงผนวช

ร. ข้าพเจ้าจะผนวช พระเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 237

แต่นั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ให้พระราชาพระองค์นั้นทรง

ผนวชแล้ว ให้ทรงศึกษาอภิสมาจาริกวัตร โดยนัยที่กล่าวแล้วในกาลก่อนนั้นแล.

พระราชาแม้พระองค์นั้น ก็ทรงเจริญวิปัสสนา โดยนัยตามที่กล่าวแล้วในกาล

ก่อนนั่นเทียว ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ จึงได้ตรัสอุทานคาถา

นี้ว่า

สีโห ยถา ทาพลี ปสยฺห

ราชา มิคาน อภิภุยฺยจารี

เสเวถ ปนฺตานิ เสนาสนานิ

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลพึงเสพเสนาสนะอันสงัด เป็น

ผู้เที่ยวไปผู้เดียวเช่นกับนอแรด เหมือน

ราชสีห์มีเขี้ยวเป็นกำลัง ข่มขี่ ครอบงำหมู่

เนื้อเที่ยวไป ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น ราชสีห์เป็นสัตว์มีความอดทน มีการฆ่าสัตว์ และมี

เชาว์เร็ว เกสรราชสีห์เท่านั้น ท่านประสงค์เอาในคาถานี้ พลังแห่งเขี้ยวของ

ราชสีห์นั้นมีอยู่ เพราะเหตุนั้น ราชสีห์นั้น จึงชื่อว่า ทาพลี มีเขี้ยวเป็น

กำลัง.

สองบทว่า ปสยฺห อภิภุยฺย พึงประกอบพร้อมด้วย จารี ศัพท์ว่า

ปสยฺหจารี อภิภุยฺยจารี. ในสองศัพท์นั้น ราชสีห์ชื่อว่า ปสยฺยหจารี

เพราะเที่ยวข่มขี่เบียดเบียน ข่มไว้จับยึดไว้ ชื่อว่า อภิภุยฺยจารี เพราะเที่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 238

ครอบงำให้สะดุ้งทำไว้ในอำนาจ ราชสีห์นี้นั้น เที่ยวข่มขี่ด้วยกำลังกาย เที่ยว

ครอบงำด้วยเดช.

ในสองศัพท์นั้น ถ้าใครพึงกล่าวว่า ราชสีห์เที่ยวข่มขี่ครอบงำ ซึ่ง

อะไรดังนี้ไซร้ แต่นั้น พึงทำสัตตมีวจนะว่า มิคาน ให้เป็นทุติยาวจนะ

เปลี่ยนเป็น มิเค ปสยฺห อภิภุยฺยจารี แปลว่าเที่ยวข่มขี่ครอบงำ ซึ่งเนื้อ

ทั้งหลาย.

บทว่า ปนฺตานิ ได้แก่ที่ไกล. บทว่า เสนาสนานิ ได้แก่สถานที่อยู่

อาศัย. บทที่เหลืออาจเพื่อรู้ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วในกาลก่อนนั่นแล เพราะ

ฉะนั้น จึงไม่ได้กล่าวไว้ให้พิสดาร

ทาฐพลิคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๓๕

คาถาว่า เมตฺต อุเปกฺข ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่งทรงได้เมตตาฌาน ท้าวเธอทรงพระ-

ราชดำริว่า ราชสมบัติกระทำอันตรายต่อความสุขในฌาน จึงทรงสละราชสมบัติ

เพื่อทรงรักษาฌานไว้ ทรงผนวชแล้ว ทรงเห็นแจ้งอยู่ได้กระทำให้แจ้ง ซึ่ง

ปัจเจกโพธิญาณ ได้ตรัสอุทานคาถานี้ว่า.

เมตฺต อุเปกฺข กรุณ วิมุตฺตึ

อาเสวมาโน มุทิตญฺจ กาเล

สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 239

บุคคลเสพอยู่ ซึ่งเมตตาวิมุตติ

กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และอุเบกขา

วิมุตติ ในกาลอันสมควรไม่ยินร้ายด้วยโลก

ทั้งปวง พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด

ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น ความเป็นผู้ใคร่เพื่อนำเข้ามาซึ่งหิตสุข โดยนัยว่า ขอ

สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงมีความสุขเถิด ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า เมตตา ความเป็น

ผู้ใคร่เพื่อนำออกไปซึ่งอหิตทุกข์ โดยนัยว่า โอหนอ ! ขอเราพึงพันจากทุกข์

นี้ ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า กรุณา ความเป็นผู้ใคร่เพื่อไม่ให้พลัดพรากจากหิตสุข

โดยนัยว่า สัตว์ผู้เจริญทั้งหลายเพลิดเพลินหนอ เพลิดเพลินดีแท้ดังนี้เป็นต้น

ชื่อว่า มุทิตา ความเป็นผู้วางเฉย ในสุขและทุกข์ทั้งหลายว่า จักปรากฏด้วย

กรรมของตนดังนี้ ชื่อว่า อุเบกขา. แต่ท่านกล่าวเมตตาแล้วกล่าวอุเบกขา แล้ว

กล่าวมุทิตาในภายุหลัง โดยสับเปลี่ยนลำดับ ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การผูกคาถา.

บทว่า วิมุตฺตึ ความว่า ก็ธรรมแม้ ๔ เหล่านั้น ชื่อว่า วิมุตติ เพราะ

เป็นธรรมพ้นแล้ว จากธรรมเป็นข้าศึกทั้งหลายของตน. เพราะเหตุนั้น พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า

บุคคลเสพอยู่ ซึ่งเมตตาวิมุตติ

กรุณาวิมุตติ มุทิตาวิมุตติ และอุเบกขา

วิมุตติ ในกาลอันสมควร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 240

ในคาถานั้น บทว่า อาเสวมาโน ความว่า อบรมอยู่ซึ่งธรรมทั้งสาม

ด้วยอำนาจแห่งฌานหมวดสามและหมวดสี่ ซึ่งอุเบกขาด้วยอำนาจแห่งจตุตถ-

ฌาน.

บทว่า กาเล ความว่า บุคคลเจริญเมตตาแล้ว ออกจากเมตตานั้น

แล้วเสพกรุณา ออกจากกรุณานั้นแล้ว เสพมุทิตา ออกจากมุทิตานั้น หรือ

จากฌานอันไม่มีปีตินอกนี้แล้ว เสพอุเบกขา เรียกว่า เสพอยู่ในกาล. หรือ

เรียกว่าเสพอยู่ในกาลอันผาสุก เพื่อจะเสพ.

บทว่า สพฺเพน โลเกน อวิรุชฺฌมาโน ความว่า ไม่ยินร้ายด้วย

โลกทั้งปวงในทิศทั้งสิบ. จริงอยู่ เพราะความที่ธรรมทั้งหลายมีเมตตาเป็นต้น

อันตนเจริญแล้ว สัตว์ทั้งหลายก็เป็นผู้ไม่น่าเกลียด และปฏิฆะอันก่อความ

โกรธในสัตว์ทั้งหลายย่อมสงบระงับ. เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึง

กล่าวว่าไม่ยินร้ายด้วยโลกทั้งปวงดังนี้. ความสังเขปในคาถานี้มีเท่านี้. ส่วน

เมตตาทิกถา ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาธรรมสังคหะ ชื่ออัฏฐลาลินี.

บทที่เหลือ เป็นเช่นกับนัยก่อนนั่นแล.

อัปปมัญญาคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๔๐

คาถาว่า ราคญฺจ โทส ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อ มาตังคะ องค์สุดท้ายของพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย อยู่อาศัยพระนครราชคฤห์ ในกาลนั้น เมื่อพระ-

โพธิสัตว์ของพวกเราอุบัติแล้ว เทวดาทั้งหลายพากันมา เพื่อประโยชน์ในการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 241

บูชาพระโพธิสัตว์ เห็นมาตังคปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว กล่าวว่า ท่านผู้นิรทุกข์ !

ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ! พระพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก.

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ออกจากนิโรธได้ฟังเสียงนั้นแล้วเห็นความ

สิ้นไปแห่งชีวิตของตนเทียว จึงเหาะไปที่ภูเขาชื่อว่า มหาปปาต ในหิมวันต-

ประเทศซึ่งเป็นที่ปรินิพพานของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น ใส่โครงกระ

ดูกของพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้ปรินิพพานแล้วในกาลก่อนลงในเหว นั่งที่พื้นศิลา

ได้กล่าวคาถานี้ว่า

ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมห

สนฺทาลยิตฺวาน สโยชนานิ

อสนฺตส ชีวิตสงฺขยมฺหิ

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

บุคคลละราคะ โทสะ และโมหะ

แล้วทำลายสังโยชน์ทั้งหลายแล้ว ไม่สะดุ้ง

ในเวลาสิ้นชีวิต พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น ราคะ โทสะ และโมหะ ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในอุรคสูตร.

บทว่า สโยชนานิ ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐. ทำลายสังโยชน์เหล่านั้น

แล้ว ด้วยมรรคนั้น ๆ.

บทว่า อสนฺตส ชีวิตสงฺขยมฺหิ ความว่า การจุติ คือ การแตก

ดับแห่งจิต เรียกว่าความสิ้นชีวิต. ชื่อว่า ไม่สะดุ้ง เพราะละความใคร่ในการ

สิ้นชีวิตนั้นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 242

พระมาตังคปัจเจกพุทธเจ้านั้น แสดงอุปาทิเสสนิพพานธาตุแก่ตนแล้ว

ปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในเวลาจบคาถา ด้วยประการฉะนี้

แล.

ชีวิตสังขยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ ๔๑

คาถาว่า ภชนฺติ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า พระราชาพระองค์หนึ่ง ในพระนครพาราณสี ทรงครอบ-

ครองราชสมบัติกว้างขวาง มีประการที่กล่าวแล้วในคาถาต้นนั้นแล ท้าวเธอทรง

พระประชวรหนัก ทุกขเวทนาเป็นไปอยู่ สตรี ๒๐,๐๐๐ นาง ต่างก็ทำการนวด

พระหัตถ์และพระบาทเป็นต้น อำมาตย์ทั้งหลายคิดว่า บัดนี้พระราชาพระองค์นี้

จักไม่รอดชีวิต เอาเถิด พวกเราจักแสวงหาที่พึ่งแห่งตน ดังนี้แล้ว ไปสู่พระ-

ราชสำนักของพระราชาพระองค์อื่น ก็ทูลขอการบำรุง อำมาตย์เหล่านั้น บำรุง

อยู่ในพระราชสำนักนั้นนั่นแล ก็ไม่ได้อะไรเลย.

ฝ่ายพระราชาทรงหายพระประชวรแล้ว ตรัสถามว่า อำมาตย์ชื่อนี้และ

ชื่อนี้ ไปไหน ? แต่นั้น ทรงสดับประพฤติการณ์นั้นแล้ว สั่นพระเศียรทรง

นิ่งแล้ว อำมาตย์แม้เหล่านั้นสดับว่า พระราชาหายประชวรแล้ว เมื่อไม่ได้

อะไร ๆ ในพระราชสำนักของพระราชาพระองค์อื่นนั้น ประสบความเสื่อม

อย่างยิ่ง จึงกลับมาอีก ถวายบังคมพระราชาแล้ว ยืนอยู่ในที่สุดส่วนหนึ่ง

อำมาตย์เหล่านั้น ถูกพระราชาตรัสถามว่า ดูก่อนพ่อ พวกท่านไปไหนมา จึง

กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พวกข้าพระองค์เห็นพระองค์ทรงทุรพลภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 243

แล้ว จึงไปสู่ชนบทชื่อโน้น เพราะกลัวต่อการเลี้ยงชีวิต พระราชาทรงสั่น

พระเศียรแล้ว ทรงพระราชดำริว่า เอาเถอะ เราพึงทดลองอำมาตย์เหล่านี้ว่า

จะพึงทำอย่างนี้แม้อีกหรือไม่.

พระราชาพระองค์นั้น ทรงแสดงพระองค์ประสบเวทนาหนัก ดุจถูก

พระโรคให้ทรงพระประชวรในกาลก่อนกำเริบ ทรงกระทำความห่วงใยในการ

ประชวร สตรีทั้งหลายก็แวดล้อมทำกิจทุกอย่าง เช่นก่อนนั้นแล อำมาตย์แม้

เหล่านั้น ก็พาชนนั้นมากกว่าเดิม หลีกไปอย่างนั้นอีก พระราชาทรงการทำ

เช่นกับที่กล่าวแล้วทั้งหมด ถึงครั้งที่ ๓ อย่างนี้ แม้อำมาตย์เหล่านั้นก็หลีกไป

เหมือนเดิม.

แต่นั้น พระราชาทรงเห็นอำมาตย์เหล่านั้น มาแล้วแม้ในครั้งที่ ๔

ทรงเบื่อหน่ายว่า โอ ! อำมาตย์เหล่านี้ทิ้งเราผู้ป่วยไม่เยื่อใยหนีไป กระทำชั่ว

หนอ ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวชเห็นแจ้งอยู่ ได้กระทำให้แจ้ง

ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

ภชนฺติ เสวนฺติ จ การณฺตถา

นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา

อตฺตฏฺปญฺา อสุจี มนุสฺสา

เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป

มนุษย์ทั้งหลาย ผู้ไม่สะอาด มีปัญญา

มุ่งประโยชน์ตนผู้ไม่มีเหตุ ย่อมคบหาสมาคม

มิตรผู้หาได้ยากในทุกวันนี้ เพราะมีเหตุเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 244

ประโยชน์ บุคคลพึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือน

นอแรด ฉะนั้น ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภชนฺติ ความว่า แอบเข้าไปนั่งใกล้ด้วยร่างกาย.

บทว่า เสวนฺติ ความว่า ย่อมบำเรอด้วยอัญชลีกรรมเป็นต้นและด้วยความเป็น

ผู้รับใช้. เหตุเป็นประโยชน์ของมนุษย์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น มนุษย์เหล่า

นั้น จึงมีเหตุเป็นประโยชน์ อธิบายว่า เหตุอื่นในการคบและการเสพไม่มี.

เหตุของมนุษย์เหล่านั้นอย่างนี้ มีอธิบายว่า ย่อมเสพเพราะเหตุแห่งตน.

บทว่า นิกฺการณา ทุลฺลภา อชฺช มิตฺตา ความว่า ชื่อว่า ผู้

ไม่มีเหตุเพราะเหตุแห่งการได้ประโยชน์อย่างนี้ว่า พวกเราจักได้ประโยชน์บาง

อย่างจากคนนี้มาเป็นมิตรผู้ประกอบพร้อมด้วยความเป็นมิตรอันประเสริฐ ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วอย่างนี้ว่า

มิตรมีอุปการะ ๑ มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ ๑

มิตรบอกประโยชน์ ๑ มิตรอนุเคราะห์ ๑

ดังนี้อย่างเดียว ซึ่งหาได้ยากในทุกวันนี้.

ปัญญาของมนุษย์เหล่านั้น ตั้งอยู่แล้วในตน มนุษย์เหล่านั้นเห็นแก่

ตนเท่านั้น ไม่เห็นแก่ผู้อื่น เพราะฉะนั้น มนุษย์เหล่านั้น จึงชื่อว่า มีปัญญามุ่ง

ประโยชน์ตน ได้ยินว่า ศัพท์ อตฺตตฺถปญฺา แม้นี้ เป็นบาลีเก่า มีอธิบาย

ว่า ปัญญาของมนุษย์เหล่านั้น ย่อมเพ่งถึงประโยชน์ทั้งหลายที่เห็นในปัจจุบัน

เท่านั้น ย่อมไม่เพ่งถึงประโยชน์ในอนาคต.

๑. ที. ปา. สิงฺคาลกสุตฺต ๑๙๕. ๒. ยุ. ทิฎฺฎฺปญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 245

บทว่า อสุจี ความว่า ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยกายกรรม วจีกรรม

และมโนกรรม อันไม่สะอาดคืออันไม่ประเสริฐ. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่

กล่าวแล้วในกาลก่อนนั่นแล.

การณัตถคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

วรรคที่ ๔ ประกอบด้วยคาถา ๑๑ คาถา จบ

ขัคควิสาณสูตรนั้น มีคาถาจำนวน ๔๑ คาถา ผู้ศึกษาพึงประกอบตาม

สมควรในคาถาทั้งปวง โดยนัยแห่งโยชนาที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในคาถาบาง

แห่งนั่นแล แล้วพึงทราบทั้งโดยอนุสนธิทั้งโดยอรรถดังพรรณนามาฉะนี้ แต่

เราไม่ได้ประกอบในคาถาทั้งปวง เพราะเกรงว่าจะพิสดารเกินไป ดังนี้แล.

จบอรรถกถาขัคควิสาณสูตร แห่งอรรถกถาขททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 246

กสิภารทวาชสูตรที่ ๔

ว่าด้วยศรัทธาเป็นพืช ความเพียรเป็นฝน ปัญญาเป็นแอกและไถ

[๒๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อ

เอกนาฬา ในทักขิณาคิรีชนบท แคว้นมคธ ก็สมัยนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์

ประกอบไถประมาณ ๕๐๐ ในเวลาเป็นที่หว่านพืช ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังที่การงาน

ของกสิภารทวาชพราหมณ์ ก็สมัยนั้นแล การเลี้ยงดูของกสิภารทวาชพราหมณ์

กำลังเป็นไป ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปถึงที่เลี้ยงดู ครั้นแล้ว

ได้ประทับยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนอยู่เพื่อบิณฑบาต ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์แล ย่อมไถและหว่าน ครั้นไถและ

หว่านแล้วย่อมบริโภค แม้พระองค์ก็จงไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้ว

จงบริโภคเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถและ

หว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค.

กสิ. ข้าแต่พระสมณะ ก็ข้าพระองค์ย่อมไม่เห็นแอก ไถ ผาล

ปฏักหรือโค ของท่านพระโคดมเลย ก็แลเมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านพระโคดมตรัส

อย่างนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน ครั้นไถแลหว่านแล้วย่อม

บริโภค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 247

ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

คาถาว่า

[๒๙๘] พระองค์ย่อมปฏิญาณว่าเป็น

ชาวนา แต่ข้าพระองค์ไม่เห็นไถของพระ

องค์ พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอ

ได้โปรดตรัสบอกไถแก่ข้าพระองค์ โดยวิธี

ข้าพระองค์จะพึงรู้จักไถของพระองค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยคาถาว่า

ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียร

ของเราเป็นฝน ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ

หิริของเราเป็นงอนไถ ใจของเราเป็นเชือก

สติของเราเป็นผาลและปฏัก เราคุ้มครอง

กาย คุ้มครองวาจา สำรวมในอาหารในท้อง

ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือ การกล่าวให้

พลาดด้วยสัจจะความสงบเสงี่ยมของเราเป็น

เครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรของเรา

นำธุระไปเพื่อธุระนำไปถึงแดนเกษมจาก

โยคะ ไม่หวนกลับมา ย่อมถึงสถานที่ ๆ

บุคคลไปแล้วไม่เศร้าโศก การไถนานั้น

เราไถแล้วอย่างนี้ การไถนานั้น ย่อมมีผล

เป็นอมตะ บุคคลไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจาก

ทุกข์ทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 248

[๒๙๙] ลำดับนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์เทข้าวปายาสลงในถาด

สำริดใหญ่ แล้วน้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยกราบทูลว่า ขอท่านพระ-

โคดมเสวยข้าวปายาสเถิด เพราะพระองค์ท่านเป็นชาวนา ย่อมไถนา อันมีผล

ไม่ตาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่ควรบริโภค

โภชนะที่ขับกล่อมได้มา ข้อนี้ไม่ใช่ธรรม

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้เห็นอยู่โดยชอบ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงห้ามโภชนะ

ที่ขับกล่อมได้มา ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อธรรม

มีอยู่ การแสวงหานี้เป็นความประพฤติของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เชิญท่านบำรุงพระ-

ขีณาสพ ผู้บริบูรณ์ด้วยคุณทั้งปวง ผู้แสวงหา

คุณอันใหญ่ ผู้มีความคะนองอันสงบแล้ว

ด้วยข้าวและน้ำอย่างอื่นเถิด เพราะว่าเขต

นั้นเป็นเขตของบุคคลผู้มุ่งบุญ.

[๓๐๐] กสิ. ข้าแต่พระโคดม ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้าพระองค์จะถวาย

ข้าวปายาสนี้แก่ใคร.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ เราย่อมไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก

มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 249

ผู้บริโภคข้าวปายาสนั้นแล้ว จะพึงให้ย่อยได้โดยชอบ นอกจากตถาคตหรือ

สาวกของตถาคตเลย ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงทิ้งข้าวปายาสนั้น

เสียในที่ปราศจากของเขียวหรือจมลงในน้ำซึ่งไม่มีตัวสัตว์เถิด.

ลำดับนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์เทข้าวปายาสนั้นให้จมลงในน้ำอัน

ไม่มีตัวสัตว์ พอข้าวปายาสนั้นอันกสิภารทวาชพราหมณ์เทลงในน้ำ (ก็มีเสียง)

ดังจิจจิฏะ จิฏิจิฏะ เป็นควันกลุ้มโดยรอบ เหมือนก้อนเหล็กที่บุคคลเผาให้ร้อน

ตลอดวัน ทิ้งลงในน้ำ (มีเสียง) ดังจิจจิฏะ จิฏิจิฏะ เป็นควันกลุ้มโดยรอบ

ฉะนั้น.

[๓๐๑] ลำดับนั้นแล กสิภารทวาชพราหมณ์สลดใจ มีขนชูชัน

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ หมอบลงแทบพระบาทของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดม

ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ท่านพระโคดมทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบ

เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดช่องที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีป

ไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึง

พระโคดมผู้เจริญกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระโคดม-

ผู้เจริญโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่

วันนี้เป็นต้นไป ขอข้าพระองค์พึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระโคดม

ผู้เจริญเถิด กสิภารทวาชพราหมณ์ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้ว ก็ท่านภารทวาชะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกจากหมู่อยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 250

ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่ช้านักก็ทำให้แจ้งซึ่งที่สุด

แห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ

ต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้

มิได้มี ก็ท่านภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวนพระอรหันต์

ทั้งหลาย.

จบกสิภารทวาชสูตรที่ ๔

อรรถกถากสิภารทวาชสูตร

กสิภารทวาชสูตรเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้ :-

มีอุบัติอย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พราหมณคามชื่อ

เอกนาลา ในทักขิณาคิรีชนบท แคว้นมคธ ทรงยังปุเรภัตกิจเสร็จแล้วใน

บรรดาพุทธกิจ ๒ อย่างนี้คือ ปุเรภัตกิจ ๑ ปัจฉาภัตกิจ ๑ ในเวลาเสร็จ

ปัจฉาภัตกิจ ทรงตรวจดูโลก ด้วยพระพุทธจักษุ ทรงเห็นพราหมณ์ชื่อ

กสิภารทวาชะ ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัต ทรงทราบว่า ครั้นเรา

ไปในพราหมณคามนั้นแล้ว กถาจักเป็นไป แต่นั้น ในเวลาจบกถา พราหมณ์

นั่นฟังธรรมเทศนา บวชแล้ว จักบรรลุพระอรหัต ดังนี้ จึงเสด็จไปใน

พราหมณคามนั้น ทรงยังกถาให้ตั้งขึ้นแล้ว ตรัสพระสูตรนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 251

[ปุเรภัตกิจ]

ในพระสูตรนั้น พึงมีคำถามว่า ปุเรภัตกิจของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เป็นไฉน ปัจฉาภัตกิจเป็นไฉน ข้าพเจ้าจะเฉลยคำถาม พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

ทรงการทำการบริกรรมพระวรกายมีการล้างพระพักตร์เป็นต้น เพื่อทรง

อนุเคราะห์ผู้อุปัฏฐาก และเพื่อให้พระวรกายมีผาสุก ทรงพักอยู่บนอาสนะ

อันสงัด จนถึงเวลาแห่งภิกขาจาร ในเวลาภิกขาจาร ทรงคาดประคดเอว

ทรงห่มจีวร ทรงถือบาตร บางครั้งเสด็จไปพระองค์เดียว บางครั้งมีพระ-

ภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จสู่คามหรือนิคม เพื่อบิณฑบาต บางคราวเสด็จไป

ตามปกติ บางคราวเสด็จไปด้วยปาฏิหาริย์เป็นไปมากมาย คือ ลมอ่อนพัดไป

ข้างหน้าของพระโลกนาถ ผู้เสด็จไปเพื่อบิณฑบาต ยังพื้นดินให้สะอาด เมฆ

โปรยหยดน้ำให้ละอองในหนทางสงบ ตั้งเป็นเพดานในเบื้องบน ลมอื่น ๆ

หอบดอกไม้ทั้งหลายโปรยลงบนทาง ภูมิประเทศที่ดอนก็จะยุบลง ที่ลุ่มก็จะ

ฟูขึ้น ในสมัยจะประทับรอยพระบาท พื้นดินก็ราบเรียบ หรือดอกปทุมทั้งหลาย

ซึ่งมีสัมผัสสบาย ก็ปกปิดรอยพระบาท พอทรงวางพระบาทเบื้องขวาลงภายใน

เสาเขื่อน พระฉัพพัณณรังสีก็เปล่งออกจากพระวรกาย ทำปราสาทและเรือนยอด

เป็นต้นเป็นดุจกรงทอง แผ่ซ่านไปข้างโน้นและข้างนี้ บรรดาช้างม้าและนก

เป็นต้น ดำรงอยู่ในที่ของตน ๆ นั่นเทียว ก็ร้องเสียงระงมไพเราะดุจดุริยางค์

มีกลองและพิณเป็นต้น และบรรดาเครื่องประดับกายของเหล่ามนุษย์ก็กระทำ

เสียงไพเราะเหมือนกัน.

ด้วยสัญญาณนั้น มนุษย์ทั้งหลายก็รู้ว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จไปบิณฑบาตในบ้านนี้ เขาทั้งหลายก็จะนุ่งดี ห่มดี ถือของหอมและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 252

ดอกไม้เป็นต้น ออกจากเรือน ดำเนินไปตามถนน บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยของหอมดอกไม้เป็นต้นโดยเคารพ ทูลขอว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระองค์โปรดทรงให้ภิกษุ ๑๐ รูปแก่ข้าพระองค์ ภิกษุ ๒๐ รูปแก่ข้าพระองค์

ภิกษุ ๑๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์ ดังนี้แล้ว รับบาตรแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ปูอาสนะ ต้อนรับด้วยบิณฑบาตโดยเคารพ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรวจดูสันดานของ

มนุษย์เหล่านั้นแล้ว ทรงแสดงพระธรรมโดยประการที่บางพวกตั้งอยู่ในสรณ-

คมน์ บางพวกตั้งอยู่ในศีล ๕ บางพวกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล

และอนาคามิผล อย่างใดอย่างหนึ่ง บางพวกบวชแล้วตั้งอยู่ในอัครผล คือ

พระอรหัต. ครั้นทรงอนุเคราะห์ชนนั้น ๆ อย่างนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ

เสด็จไปสู่วิหาร ประทับนั่งบนบวรพุทธาสน์ที่ปูแล้ว ในโรงมณฑลนั้น ๆ

รอพระภิกษุทั้งหลายฉันภัตกิจเสร็จ ต่อจากนั้นผู้อุปัฏฐากทูลการเสร็จภัตกิจของ

ภิกษุทั้งหลายให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็เสด็จเข้าพระคันธกุฎี นี้เป็นปุเรภัตกิจก่อน คำใดที่ไม่ได้กล่าวไว้ในสูตรนี้

คำนั้น อันบัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในพรหมายุสูตรนั้นแล.

[ปัจฉาภัตกิจ]

ลำดับนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงกระทำปุเรภัตกิจเสร็จอย่างนี้แล้ว

ประทับนั่ง ณ ที่บำรุงของพระคันธกุฎี ทรงล้างพระบาท ประทับยืน ณ แท่น

ประทับ ทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงยัง

ประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด การเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 253

ขึ้นของพระพุทธเจ้าได้ยาก การกลับได้มนุษย์ได้ยาก ความถึงพร้อมด้วย

ศรัทธาได้ยาก การบรรพชาได้ยาก การฟังธรรมได้ยากในโลก แต่นั้นภิกษุ

ทั้งหลายถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทูลถามกรรมฐาน ครั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้กรรมฐานด้วยอำนาจแห่งจริยาแก่ภิกษุทั้งหลายภิกษุ

เหล่านั้นเรียนกรรมฐาน อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไปสู่สถานที่อยู่

ของตน ๆ บางพวกไปสู่ป่า บางพวกไปสู่รุกขมูล บางพวกไปสู่ที่ทั้งหลายมี

ภูเขาเป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง บางพวกไปสู่ภพของจาตุมมหาราชิกาเป็นต้น

ฯลฯ บางพวกไปสู่ภพชั้นวสวัตดี.

ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าพระคันธกุฎี ถ้าทรงพระ-

ประสงค์ มีพระสติสัมปชัญญะสำเร็จสีหไสยชั่วครู่ โดยปรัศว์เบื้องขวา ครั้นมี

พระวรกายกระปรี้กระเปร่าแล้ว เสด็จลุกขึ้น ทรงตรวจดูโลกในส่วนที่สอง.

ในส่วนที่สาม พระองค์ประทับอยู่อาศัยคามหรือนิคมใด ชนทั้งหลายในคาม-

นิคมนั้น ในปุเรภัต ถวายทาน ในปัจฉาภัตนุ่งดี ห่มดี ถือเอาดอกไม้และ

ของหอมเป็นต้น ประชุมในวิหาร ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป

โดยปาฏิหาริย์อันสมควรแก่บริษัทที่ประชุม ประทับนั่งบนบวรพุทธาสนะที่ปูดี

แล้วในธรรมสภา ทรงแสดงธรรมอันสมควรแก่กาล สมควรแก่ประมาณ

ครั้นทรงรู้กาลแล้ว จึงทรงส่งบริษัทกลับ ถัดจากนั้น ถ้ามีพระประสงค์จะ

ชำระพระวรกาย ก็เสด็จลุกจากพุทธาสนะ เสด็จไปสู่โอกาสที่ผู้อุปัฏฐากตระ-

เตรียมน้ำไว้ ทรงเกาะมือของผู้อุปัฏฐาก รับผ้าอาบน้ำ เสด็จเข้าสู่โรงอาบน้ำ

ฝ่ายผู้อุปัฏฐากนำพุทธาสนะมาปูที่บริเวณพระคันธกุฎี พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 254

ทรงชำระพระวรกายแล้ว ทรงนุ่งผ้าที่ย้อมแล้ว ทรงคาดประคดเอว ทรงห่ม

ผ้าอุตราสงค์ แล้วเสด็จไปในบริเวณพระคันธกุฎีนั้น ประทับนั่งพระองค์เดียว

เท่านั้น หลีกเร้นชั่วครู่.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้น ๆ มาสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ในภิกษุเหล่านั้น บางพวกทูลถามปัญหา บางพวกทูลขอกรรมฐาน

บางพวกทูลขอฟังธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังความประสงค์ของภิกษุ

เหล่านั้นให้สำเร็จจนถึงปฐมยาม ในมัชฌิมยามเทวดาในหมื่นโลกธาตุทั้งหลาย

เมื่อได้โอกาส ก็เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทูลถามปัญหาตามที่ประสงค์ โดย

ที่สุดแม้ ๔ อักษร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้ปัญหาของเทวดาเหล่านั้นอยู่

จนถึงมัชฌิมยาม ต่อจากนั้นทรงกระทำปัจฉิมยามให้เป็น ๔ ส่วน ส่วนหนึ่ง

ทรงอธิษฐานจงกรม ส่วนที่สองเสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ

สำเร็จสีหไสย โดยปรัศว์เบื้องขวา ส่วนที่สาม ทรงยังเวลาให้ล่วงไปด้วย

ผลสมาบัติ ส่วนที่สี่ทรงเข้ามหากรุณาสมาบัติ ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เพื่อ

ทรงดูสัตว์ผู้มีธุลีในจักษุน้อย หรือมีธุลีในจักษุมากเป็นต้น นี้ปัจฉาภัตกิจ.

[โปรดกสิภารทวาชพราหมณ์]

ในที่สุดแห่งส่วนที่สี่ กล่าวคือการตรวจดูโลก แห่งปัจฉาภัตกิจนี้

อย่างนี้แล้ว ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ เพื่อทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้ยังมิได้

กระทำอธิการและได้กระทำอธิการ ในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์

ในทาน ศีล อุโบสถกรรมเป็นต้น ผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย ผู้ถึงพร้อมด้วย

อุปนิสัย และผู้ถึงพร้อมอุปนิสัยคือพระอรหัต ทรงเห็นกสิภารทวาชพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 255

ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยคือพระอรหัต ทรงรู้ว่า ครั้นเราไปในที่นั้นแล้ว กถาจัก

เป็นไป ต่อแต่นั้น ในเวลาจบกถา พราหมณ์นั่นบวชแล้ว จักบรรลุพระอรหัต

ดังนี้แล้ว เสด็จไป ณ ที่นั้น ทรงยังกถาให้ตั้งขึ้นพร้อมแล้ว ได้ตรัสพระสูตรนี้.

ในพระสูตรนั้น คำว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น อันท่านพระอานนท์

ถูกท่านพระมหากัสสปเถระ ผู้ทำธรรมสังคีติ ในมหาสังคีติกาลครั้งแรก ถาม

แล้ว จึงกล่าวแก่พระอรหันต์ ๕๐๐. คำว่า ข้าพเจ้าแลย่อมไถ และหว่าน

เป็นต้น อันกสิภารทวาชะกล่าว. คำว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราก็ไถและหว่าน

เป็นต้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส. คำนั้นแม้ทั้งหมดรวมเข้ากันเรียกว่า

กสิภารทวาชสูตร.

ในกสิภารทวาชสูตรนั้น เอว ศัพท์ ในคำว่า เอว นี้มีอาการเป็น

อรรถ มีนิทัสสนะเป็นอรรถ มีอวธารณเป็นอรรถ. จริงอยู่ พระอานนท์

แสดงเนื้อความนี้ ด้วยเอวศัพท์ที่มีอาการเป็นอรรถ พระดำรัสของพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ละเอียดด้วยนัยต่าง ๆ มีอัชฌาศัยหลายอย่างเป็น

สมุฏฐาน ถึงพร้อมด้วยอรรถพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์หลายอย่าง ลึกโดยธรรม

อรรถ เทศนา และปฏิเวธ มีสภาพอันสัตว์ทั้งปวง พึงเข้ากำหนดตามสมควร

แก่ภาษาของตน ๆ พระดำรัสนั้นใครจะสามารถรู้แจ่มแจ้งได้ โดยประการ

ทั้งปวงเล่า โดยที่แท้ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ คือแม้ข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว

โดยอาการหนึ่ง.

พระอานนท์เมื่อจะเปลื้องตนว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้

ข้าพเจ้าไม่ได้ทำให้แจ่มแจ้ง จึงแสดงไขพระสูตรทั้งสิ้น อันจะพึงกล่าวในบัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 256

ด้วยเอวศัพท์ซึ่งมีนิทัสสนะเป็นอรรถว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ คือได้ฟัง

แล้วอย่างนี้.

ด้วยเอวศัพท์มีอวธารณะเป็นอรรถ พระอานนท์เมื่อจะแสดงกำลัง

ทรงจำของตน อันสมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญ แล้ว

อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอานนท์เป็นเอตทัคคะแห่งภิกษุ

ทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเราที่เป็นพหูสูต มีคติ มีสติ มีธิติ เป็น

อุปัฏฐากดังนี้ ยังความใคร่เพื่อจะฟังให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าได้

สดับมาอย่างนี้ และพระสูตรนั้น พึงเห็นว่าไม่หย่อน ไม่ยิ่งโดยอรรถ หรือ

โดยพยัญชนะ คือ ไม่พึงเห็นโดยประการอื่น อย่างนี้.

ในบทว่า เม สุต นี้ เม ศัพท์มี มยา ศัพท์เป็นอรรถ สุต

ศัพท์มีโสตทวารวิญญาณเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า บทว่า เอมฺเม

สุต ความว่า ข้าพเจ้าทรงจำแล้ว ด้วยโสตวิญญาณวิถี ซึ่งมีโสตวิญญาณ

เป็นเบื้องหน้า อย่างนี้.

บทว่า เอก สมย ความว่า ในกาลครั้งหนึ่ง. บทว่า ภควา ได้แก่

ผู้มีภาคธรรม อธิบายว่า พระผู้มีโชคดี พระผู้ทรงจำแนก. บทว่า มคเธสุ

วิหรติ ความว่า พระราชกุมารทั้งหลาย ผู้เป็นชาวชนบท ชื่อว่า มคธ

ชนบทแม้หนึ่งเป็นที่อยู่ของพระราชกุมารเหล่านั้นเรียกว่า มคธ ตามศัพท์ที่

งอกขึ้น. ในชนบทแคว้นมคธนั้น. ก็อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวอย่างยืดยาว โดย

นัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะพระเจ้าเจติยราชตรัสเท็จถูกแผ่นดินสูบอันบุรุษทั้ง-

หลายทูลว่า ขอพระองค์อย่าเสด็จเข้าสู่หลุม หรือเพราะบุรุษเมื่อค้นหาพระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 257

พระองค์นั้น ขุดแผ่นดินอยู่ ก็ถูกกล่าวว่า ท่านทั้งหลายอย่าทำหลุม เพราะฉะ

นั้น จึงชื่อว่า มคธ. ชอบใจคำใด พึงถือคำนั้นเถิด.

บทว่า วิหรติ ความว่า ทรงกำจัดความเบียดเบียนพระอิริยาบถหนึ่ง

ด้วยพระอิริยาบถอื่น ทรงบริหารพระอัตภาพอันไม่บอบช้ำ มีอธิบายว่า ทรง

ให้เป็นไปอยู่. หรือทรงนำไปซึ่งประโยชน์เกื้อกูลมีอย่างต่าง ๆ แก่สัตว์ทั้งหลาย

ด้วยทิพวิหาร พรหมวิหาร หรือ อริยวิหาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ประทับ

อยู่. บทว่า หรติ มีอธิบายว่า นำเข้าไป น้อมเข้าไป ให้เกิด ให้เกิดขึ้น.

จริงอย่างนั้น ในกาลใด สัตว์ทั้งหลาย ปฏิบัติผิดในกามทั้งหลาย ได้ยินว่า

ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ด้วยทิพวิหาร เพื่อทรงยังกุศลมูล

คือ อโลภะ ให้เกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้นว่า ไฉนหนอ สัตว์ทั้งหลายเห็น

ปฏิบัตินี้แล้ว ยังความพอใจให้เกิดขึ้นในปฏิบัตินั้นแล้ว พึงคลายกำหนัดใน

กามทั้งหลาย.

ก็ในกาลใดสัตว์ทั้งหลายปฏิบัติผิด เพื่อความเป็นใหญ่ ในกาลนั้น

ประทับอยู่ด้วยพรหมวิหาร เพื่อทรงยังกุศลมูล คือ อโทสะให้เกิดขึ้นแก่สัตว์

เหล่านั้นว่า ไฉนหนอ สัตว์ทั้งหลายเห็นปฏิบัตินี้ ยังความพอใจให้เกิดขึ้นใน

ปฏิบัตินั้น พึงยังโทสะให้สงบด้วยอโทสะ.

ส่วนในกาลใด สัตว์ทั้งหลายบวชแล้ว ทะเลาะกันเรื่องธรรม ใน

กาลนั้น ประทับอยู่ด้วยอริยวิหาร เพื่อยังกุศลมูล คือ อโมหะให้เกิดขึ้นแก่

สัตว์เหล่านั้นว่า ไฉนหนอ สัตว์ทั้งหลายเห็นปฏิบัตินี้ ยังความพอใจให้เกิด

ขึ้นในปฏิบัตินี้ พึงยังโมหะให้สงบด้วยอโมหะ แต่ไม่ประทับอยู่ด้วยอิริยาบถ-

วิหารในกาลไหน ๆ หามิได้ เพราะเว้นอริยวิหารนั้น ก็ไม่มีการบริหารพระ-

อัตภาพเลย. ความสังเขปในพระสูตรนี้มีเพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดารข้าพเจ้า

จักกล่าวในมงคลสุตตวัณณนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 258

บทว่า ทกฺขิณาคิริสฺมึ ความว่า ภูเขานั้นใดตั้งล้อมกรุงราชคฤห์

ชนบทโดยทางใต้ของภูเขานั้น เรียกว่า ทักขิณาคิรี หรือบทว่า ทกฺขิณาคิริ

มีอธิบายว่า ในชนบทนั้น คำว่า ทักขิณาคิรีนั้นแล เป็นชื่อแม้แห่งวิหารใน

ชนบทนั้น.

บทว่า เอกนาลาย พฺราหฺมณคาเม เป็นชื่อของบ้านนั้นว่า

เอกนาลา. ก็พราหมณ์จำนวนมากอาศัยอยู่ หรือการเลี้ยงดูพราหมณ์นั้น มีอยู่

ในบ้านนี้ เพราะฉะนั้น บ้านนี้จึงเรียกว่า พราหมณคาม.

บทว่า เตน โข ปน สมเยน ความว่า ในสมัยใด พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงคู้อปราชิตบัลลังก์ ตรัสรู้เฉพาะ ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม

ทรงประกาศพระบวรธรรมจักรแล้ว ทรงอาศัยพราหมณคาม ชื่อเอกนาลา ใน

แคว้นมคธ ทรงรอความแก่รอบแห่งอินทรีย์ของพราหมณ์ ประทับอยู่ ณ

ทักขิณาคิริมหาวิหาร โดยสมัยนั้น อธิบายว่า เป็นเหตุ. ก็นิบาต ๒ อย่างนี้

ในบทว่า โข ปน นี้ พึงเห็นว่า เป็นเพียงให้บทเต็ม หรือมีการแสดง

อธิการอื่นเป็นอรรถ.

บทว่า กสิภารทฺวาชสฺส พฺราหฺมณสฺส ความว่า พราหมณ์นั้น

เลี้ยงชีพด้วยการทำนา และโคตรของพราหมณ์นั้น ชื่อว่า ภารทวาชะ เพราะ

ฉะนั้น จึงเรียกอย่างนั้น.

บทว่า ปญฺจมตฺตานิ มีอธิบายว่า มัตต ศัพท์ ในบทนี้ว่า โภชเน

มตฺตญฺญุตา ย่อมเป็นไปในประมาณฉันใด มัตต ศัพท์ ในบทแม้นี้ว่า

ปญฺจมตฺตานิ ย่อมเป็นไปในประมาณ ฉันนั้น เพราะฉะนั้น การประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 259

ไถประมาณ ๕๐๐ ไม่ขาด ไม่เกิน ได้แก่การประกอบไถ ๕๐๐. บทว่า

ปยุตฺตานิ ได้แก่ถูกประกอบแล้ว มีอธิบายว่า ประกอบแล้วด้วยไถที่วางไว้

บนคอทั้งหลายของโคพลิพัททั้งหลาย.

บทว่า วปฺปกาเล ได้แก่ ในเวลาหว่าน มีอธิบายว่า ในเวลาเป็น

ที่หว่านพืช. วัปปะในบทว่า วปฺปกาเล นั้น มี ๒ อย่าง คือ กัลลวัปปะ ๑

ปังสุวัปปะ ๑ ปังสุวัปปะ ท่านประสงค์ในพระสูตรนี้ และปังสุวัปปะนั้นแล

เป็นการหว่านพืชมงคลในวันที่ ๑.

ในวัปปมงคลนั้นมีอุปกรณ์พร้อมดังนี้ โคพลิพัท ๓,๐๐๐ ตัว ถูก

ตระเตรียมไว้ โคพลิพัททั้งหมดสวมเขาที่ทำด้วยทอง กลีบที่ทำด้วยเงิน ทั้ง-

หมดประดับด้วยระเบียบขาว กลิ่นหอมด้วยกลิ่นทั้งหมด และเจิม ๕ แห่ง มี

อวัยวะน้อยใหญ่ครบบริบูรณ์ ถึงพร้อมด้วยลักษณะทุกอย่าง บางพวกดำเหมือน

ดอกอัญชัน บางพวกขาวเหมือนเงินยวง บางพวกแดงเหมือนแก้วประพาฬ

บางพวกลายเหมือนแก้วลาย. บุรุษไถนา ๕๐๐ ทั้งหมดนุ่งผ้าขาวใหม่ ประดับ

ด้วยระเบียบ วางเทริดดอกไม้บนจะงอยบ่าเบื้องขวา มีส่วนร่างกายลูบไล้ด้วย

น้ำหรดาลและมโนศิลา. ไถหมวดละ ๑๐ ดำเนินการไถ ไถทั้งหลายมีหัว แอก

และปฏักถักด้วยทอง ในไถที่หนึ่ง เทียมโคพลิพัท ๘ ตัว ในไถที่เหลือเทียม

โคพลิพัทไถละ ๔ ตัว โคพลิพัทที่เหลือนำมาเพื่อสับเปลี่ยนโคที่เหนื่อยล้า. ใน

หมวดหนึ่งมีเกวียนบรรจุพืชหมวดละ ๑ เล่ม มีคนไถหมวดละ ๑ คน มีคน

หว่านหมวดละ ๑ คน.

ก็พราหมณ์ให้โกนหนวดแต่เช้าตรู่ อาบน้ำ ลูบไล้ด้วยของหอมทั้ง-

หลาย นุ่งผ้าราคา ๕๐๐ กหาปณะ ทำผ้าราคา ๑,๐๐๐ กหาปณะ เฉวียงบ่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 260

สวมแหวนนิ้วละ ๒ วง รวม ๒๐ วง สวมตุ้มหูสีหะที่หูทั้งสองและโพกผ้าโพก

อย่างดี สวมสร้อยทอง ผู้อันพราหมณ์แวดล้อมแล้วสั่งการงาน. ลำดับนั้น

นางพราหมณีของพราหมณ์นั้นให้หุงข้าวปายาสใส่ในภาชนะหลายร้อย ยกใส่

เกวียนใหญ่ อาบด้วยน้ำหอม ตกแต่งด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง มีหมู่นาง-

พราหมณีแวดล้อมแล้ว ไปสู่ที่การงาน. แม้เรือนของพราหมณ์ ก็ไล้ทาอย่างดี

ด้วยของหอมทั้งหลาย ในที่ทั้งปวงมีพลีกรรมอันทำดีแล้ว ด้วยดอกไม้ทั้งหลาย

และนาก็ยกธงปฏากพร้อมในที่นั้น ๆ. บุรุษเข้างานพร้อมกับบริชนและกรรม-

กรมี ๒,๕๐๐ คน ทั้งหมดนุ่งผ้าใหม่ และโภชนะแห่งข้าวปายาสก็เตรียมแล้ว

สำหรับคนงานทั้งหมด.

ลำดับนั้น พราหมณ์สั่งให้ล้างถาดทองคำสำหรับใส่โภชนะที่ตนเองจะ

บริโภค บรรจุให้เต็มด้วยข้าวปายาส ปรุงแต่งด้วยเนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

เป็นต้น ให้กระทำนังคลพลีกรรม. นางพราหมณีถือภาชนะที่สำเร็จด้วยทอง

เงิน สำริด และทองแดง สำหรับคนไถนาจำนวน ๕๐๐ นั่งถือทัพพีทอง ไป

เลี้ยงดูด้วยข้าวปายาส ฝ่ายพราหมณ์ให้กระทำพลีกรรมเสร็จแล้ว ก็สวมรองเท้า

ทองที่ไล้แล้ว ถือไม้ทองที่ขัดแล้ว เที่ยวสั่งว่า จงให้ข้าวปายาสในที่นี้ จงให้

เนยใสในที่นี้ จงให้น้ำตาลในที่นี้.

ในครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเทียว

ทรงรู้การเลี้ยงดูของพราหมณ์ ทรงดำริว่า นี้เป็นกาลเพื่อฝึกพราหมณ์ดังนี้แล้ว

ทรงนุ่ง คาดประคดเอว ทรงห่มผ้าสังฆาฏิ ทรงถือบาตร เสด็จออกจาก

พระคันธกุฎี ดุจนายสารถีผู้ฝึกบุรุษอันยอดเยี่ยม ฉะนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่าน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 261

พระอานนท์ จึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

นุ่งแล้ว ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น นิบาตว่า อถ ส่องถึงการปรารภเพื่อจะกล่าวถึงข้อ

ความต่อไป. นิบาตว่า โข ลงในการทำบทให้เต็ม. บทว่า ภควา มีนัยที่

กล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า ปุพฺพณฺหสมย ความว่า สมัยส่วนเบื้องต้นของวัน

อธิบายว่า ในเวลาเช้า. หรือ สมัยในเวลาเช้า ชื่อว่า ปุพพัณหสมัย มี

อธิบายว่า ขณะหนึ่งในตอนเช้า. ย่อมได้ทุติยาวิภัตติในอัจจันตสังโยคอย่างนี้.

บทว่า นิวาเสตฺวา แปลว่า ทรงนุ่งแล้ว. บทว่า นิวาเสตฺวา นั่นพึงทราบ

ด้วยอำนาจแห่งการประทับอยู่ในวิหารและการเปลี่ยนแปลง. จริงอยู่ พระผู้มี

พระภาคเจ้าไม่ประทับอยู่ ในก่อนแต่นั้น.

บทว่า ปตฺตจีวร อาทาย ความว่า ทรงถือบาตรด้วยพระหัตถ์

ทั้งสอง ทรงถือจีวรด้วยพระวรกาย อธิบายว่า รับแล้ว ทรงแล้ว. เนื้อความ

แห่งบทว่า ปตฺตจีวร อาทาย นั้น พึงทราบอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า บาตร

อันสำเร็จด้วยศิลามีสีเหมือนแก้วอินทนิล ย่อมมาสู่ท่ามกลางพระหัตถ์ทั้งสอง

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประสงค์จะเสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาต เหมือนแมลงภู่

เข้าสู่ท่ามกลางกลีบปทุมทั้งสองที่บานแล้ว ฉะนั้น. ทรงรับโดยประการใด

ประการหนึ่ง เรียกว่า ทรงถือแล้ว เหมือนถือแล้ว หลีกไป ฉะนั้น.

บทว่า เยน ได้แก่ โดยทางใด. บทว่า กมฺมนฺโต ได้แก่ โอกาส

แห่งการทำการงาน. บทว่า เตน ได้แก่ โดยทางนั้น. บทว่า อุปสงฺกมิ

ได้แก่ เสด็จไปแล้ว. มีอธิบายว่า การงานของกสิภารทวาชพราหมณ์ มี

สมมติโดยทางใด เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 262

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ติดตาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าเล่า ? ข้าพเจ้าขอตอบว่า เพราะในกาลใด พระผู้มีพระภาค-

เจ้ามีพระประสงค์จะเสด็จเข้าไปในที่บางแห่ง เฉพาะพระองค์เดียว ในเวลา

ภิกขาจาร ทรงปิดพระทวาร เสด็จเข้าไปในภายในพระคันธกุฎี แต่นั้นภิกษุ

ทั้งหลายรู้ด้วยสัญญานั้นว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะเสด็จ

เข้าบ้านแต่พระองค์เดียว ได้ทรงเห็นบุคคลที่ควรแนะนำบางอย่างแน่แท้ ภิกษุ

เหล่านั้น ถือบาตรและจีวรของตน ทำประทักษิณพระคันธกุฎี ไหว้แล้วไปสู่

ภิกขาจาร ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำแล้วอย่างนี้ เพราะเหตุ

นั้น ภิกษุทั้งหลายจึงไม่ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า เตน โข ปน สมเยน ความว่า โดยสมัยใด พระผู้มีพระภาค-

เจ้าเสด็จเข้าไปยังที่การงาน โดยสมัยนั้น การเลี้ยงดูของพราหมณ์นั้น กำลัง

เป็นไปอยู่ อธิบายว่า การแจกจ่ายภัตรกำลังเป็นไปอยู่ ดังที่ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้ว

ในตอนต้นว่า นางพราหมณีถือภาชนะที่สำเร็จด้วยทอง เงิน สำริด และ

ทองแดง สำหรับคนไถนาจำนวน ๕๐๐ นั่งถือทัพพีทอง ไปเลี้ยงดูด้วยข้าว

ปายาสดังนี้ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปถึงที่เลี้ยงดู. ถามว่า

เพราะเหตุอะไร ตอบว่า เพราะเพื่อทรงกระทำการอนุเคราะห์พราหมณ์.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังที่เลี้ยงดู เพราะพระองค์มี

พระประสงค์เพื่อเสวย ดุจบุรุษกำพร้าหามิได้ เพราะพระราชาศากยะและโกลิยะ

ฝ่ายละ ๘๒,๐๐๐ พระองค์ ล้วนเป็นพระญาติของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระญาติ

เหล่านั้น อาจเพื่อถวายภัตประจำด้วยสมบัติของตนได้ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 263

ไม่ได้ทรงผนวช เพื่อประโยชน์แก่ภัตร บัณฑิตพึงทราบว่า ก็โดยที่แท้

พระองค์ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ ประการ ทรงบำเพ็ญพระบารมีทั้งหลาย

ตลอดอสงไขยไม่น้อย ทรงผนวชแล้ว ด้วยพระดำริว่า เราพ้นแล้ว จักให้พ้น

เราฝึกแล้ว จักฝึก เราดับแล้ว จักให้ดับ ดังนี้ เพราะฉะนั้น เมื่อจะยังคนอื่น

ให้พ้นและให้ดับ เพราะความที่พระองค์เป็นผู้พ้นแล้ว และดับแล้ว จึงเสด็จ

เที่ยวไปในโลก เสด็จเข้าไปถึงที่เลี้ยงดู เพื่อทรงกระทำอนุเคราะห์แก่พราหมณ์.

บทว่า เอกมนฺต ในคำว่า อุปสงฺกมิตฺวา เอกมนฺต อฏฺาสิ

นั้น เป็นการแสดงถึงภาวนปุงสกลิงค์. มีอธิบายว่า ณ โอกาสหนึ่ง ณ ข้างหนึ่ง.

หรือว่า เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. ได้ประทับยืนในที่ใกล้

พอที่พราหมณ์จะเห็นได้ คือ ในที่จะฟังกถาได้ ได้แก่ในที่สูง ซึ่งพราหมณ์

มองเห็นพระองค์ยืนได้ ก็ครั้นประทับยืนแล้ว ทรงเปล่งแสงสว่างแห่งพระ-

วรกาย อันสว่างยิ่งกว่าแสงสว่างพระจันทร์และพระอาทิตย์ตั้งพันดวง เหมือน

กรงทอง โดยรอบประมาณ ๘๐ ศอก ซึ่งครอบงำแล้ว ทำให้ฝาโรงงาน ต้นไม้

และก้อนดินเหนียวที่ไถแล้วเป็นต้น เป็นเหมือนสำเร็จแล้วด้วยทอง.

ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายบริโภคข้าวปายาสแล้ว เห็นพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าประทับยืนอยู่ในที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ซึ่งมีพระวรกายประดับด้วยลักษณะอัน

ประเสริฐ ๓๒ ประการ อันมีอนุพยัญชนะ ๘๐ เป็นบริวาร มีพระพาหุทั้งคู่

รุ่งเรืองด้วยแสงสว่างวาหนึ่งล้อมรอบ มีพระสิริเปล่งปลั่งด้วยพระเกตุมาลาน่าดู

ยิ่งนัก ดุจสระสะพรั่งด้วยดอกปทุม รุ่งเรืองด้วยพระสิริดุจหมู่ดาวที่ระยิบระยับ

ด้วยข่ายรัศมี ทำให้ท้องฟ้ารุ่งเรือง ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงเหนือยอดภูเขาทอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 264

ฉะนั้น ล้างมือและเท้าแล้ว ประคองแล้วประคองอีก ซึ่งอัญชลี ได้ยืนแวดล้อม

แล้ว กสิภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนเพื่อบิณฑบาต

อันมนุษย์เหล่านั้นแวดล้อมแล้วอย่างนี้แล ครั้นเห็นแล้วจึงทูลคำนี้กะพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์แล ย่อมไถและหว่าน ดังนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุอะไร พราหมณ์นี้จึงกล่าวอย่างนี้ เพราะความ

ไม่เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้น่าเลื่อมใสรอบด้าน อันพึงเลื่อมใส แม้

ถึงแล้ว ซึ่งการฝึกและสมถะอันอุดม หรือว่า เพราะแม้เตรียมข้าวยาคู แก่ชน

๒,๕๐๐ คน แล้วตระหนี่ด้วยภิกษาทัพพีหนึ่ง.

ตอบว่า ไม่ใช่แม้โดยประการทั้งสอง โดยที่แท้แล พราหมณ์นั้น

เห็นชนผู้ไม่อิ่มด้วยการดูพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทิ้งการงาน จึงมีความไม่

พอใจว่า เสด็จมาเพื่อทำการงานของเราให้เสื่อมเสีย เพราะฉะนั้น จึงกล่าว

อย่างนั้น และพราหมณ์นั้น เห็นสมบัติแห่งลักษณะของพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงมีความดำริว่า ถ้าสมณะนี้ประกอบการงานทั้งหลายไซร้ ก็จะได้เป็น

เหมือนแก้วจุฬามณีในศีรษะ ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ประโยชน์ชื่ออะไร ของ

พระสมณะนั้น จักสำเร็จ ด้วยประการดังนี้ พระสมณะนั้น จึงไม่ประกอบ

การงานทั้งหลาย เพราะความที่ตนเป็นคนเกียจคร้าน เที่ยวเพื่อบิณฑบาตใน

ที่ทั้งหลายมีวัปปมงคลกาลเป็นต้นมาบริโภค เที่ยวไปจนร่างกายอ้วนพี ด้วย

เหตุนั้น กสิภารทวาชพราหมณ์จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์แล

ย่อมไถและหว่าน ครั้นไถและหว่านแล้วย่อมบริโภค ดังนี้. อธิบายว่า การงาน

ทั้งหลายของข้าพระองค์ย่อมไม่เสื่อมเสีย พระองค์เป็นผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยลักษณะ

เหมือนอย่างนั้น. อธิบายว่า ข้าแต่พระสมณะ แม้พระองค์ ฯลฯ จักบริโภค

ประโยชน์อะไร ไม่พึงสำเร็จแก่พระองค์ผู้ถึงพร้อมด้วยลักษณะอย่างนี้เล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 265

อนึ่ง กสิภารทวาชพราหมณ์นี้ ได้สดับมาว่า ได้ยินว่า พระกุมาร

อุบัติในศากยราชตระกูล พระองค์ทรงสละจักรพรรดิราชสมบัติ ทรงผนวช

เพราะฉะนั้น จึงรู้ในบัดนี้ว่า พระกุมารนั้น คือพระสมณะนี้ เมื่อจะทำการ

คัดค้านว่า ได้ยินว่า พระองค์ทรงสละจักรพรรดิราชสมบัติ เสด็จออกบวช

แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณะ ข้าพระองค์แล ดังนี้.

อนึ่ง พราหมณ์นี้เป็นคนมีปัญญาเฉียบแหลม ย่อมไม่กราบทูล

กระทบ พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่เห็นพระรูปสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

เมื่อจะกล่าวสรรเสริญพระปัญญาสมบัติ จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระสมณะ

ข้าพระองค์แล ดังนี้ แม้เพื่อให้กถาเป็นไป แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

จะทรงแสดงความที่พระองค์ทรงเป็นชาวนาผู้เลิศในโลกพร้อมกับเทวโลก ด้วย

อำนาจแห่งเวไนยสัตว์ จึงตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ แม้เราแล ดังนี้.

ลำดับนั้น พราหมณ์ได้เกิดความคิดว่า สมณะนี้ตรัสว่า เราก็ไถและ

หว่าน ดังนี้ เราไม่เห็นเครื่องมือสำหรับทำนามีแอกและไถเป็นต้น อันโอฬาร

ของสมณะนั้น สมณะนั้นพูดเท็จหรือไม่หนอ จึงชำเลืองดูพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตั้งแต่พื้นพระบาท จนถึงปลายพระเกสา รู้สมบัติคือลักษณะอันประเสริฐ

๓๒ อย่าง ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เพราะความที่ตนมีอธิการได้กระทำแล้ว

ในอังควิชชา คิดว่า นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ที่สมณะเห็นปานนี้ จะพึง

พูดเท็จ ในทันใดนั้นเทียว ก็เกิดมานะมาก ละการพูดว่า สมณะ ในพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว ทูลร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยพระโคตร จึงกราบทูล

ว่า ก็ข้าพระองค์ย่อมไม่เห็นแอกของท่านพระโคดมเลย. พราหมณ์มีปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 266

เฉียบแหลม กราบทูลอย่างนี้แล้ว ก็รู้ว่า พระสมณะนี้ ตรัสอย่างนี้ หมายถึง

เนื้อความลึกซึ้ง ประสงค์จะรู้เนื้อความที่ทูลถาม ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยคาถา ด้วยเหตุนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า ลำดับนั้น กสิภารทวาช-

พราหมณ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาถาย ได้แก่ ด้วยคำที่กำหนดแล้ว

ด้วยอักษรบท. บทว่า อชฺฌภาสิ ความว่า ได้กล่าวแล้ว. พราหมณ์เมื่อ

ทูลถามถึงการประกอบเครื่องมือของการทำนามีแอกและไถเป็นต้น จึงทูลว่า

ไถ ดังนี้ ในคาถานั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงพระพุทธานุภาพ

ซึ่งเป็นอานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ประกอบด้วยการเปรียบเทียบบุพ-

ธรรมอย่างไร เมื่อจะทรงบัญญัติด้วยรูปธรรม อันเปรียบเทียบด้วยบุพธรรม

จึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืช.

ถามว่า ก็การเปรียบเทียบด้วยบุพธรรมในคาถานี้เป็นอย่างไร พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าอันพราหมณ์ทูลถามถึงการประกอบเครื่องมือของการทานามีแอก

และไถเป็นต้น แล้วมิใช่หรือ ? ก็เมื่อเป็นเช่นนั้นแล เมื่อจะให้พราหมณ์รู้ด้วย

การเปรียบเทียบพืชที่ไม่ได้ทูลถาม จึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืช และเมื่อเช่นนั้น

มีอยู่ กถานี้ ก็ไม่มีอนุสนธินั่นเทียว.

ตอบว่า กถาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่า ไม่มีอนุสนธิ หามีไม่

ทั้งไม่ยกตรัสถึงการเปรียบเทียบด้วยบุพธรรมด้วยก็หามิได้ ก็บัณฑิตพึงทราบ

อนุสนธิในพระสูตรนี้อย่างนี้ ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกพราหมณ์นี้ทูลถาม

ถึงไถด้วยอำนาจแห่งเครื่องมือของการทำนามีแอกและไถเป็นต้น พระองค์ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 267

ตรัสเลี่ยงว่า สิ่งนี้ ไม่ได้ถาม ด้วยความอนุเคราะห์พราหมณ์ เมื่อทรงแสดงไถ

จำเดิมแต่ต้น เพื่อให้พราหมณ์รู้ไถ ซึ่งมีมูล มีอุปการะ มีเครื่องมือ มีผล

จึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืช จริงอยู่ พืชเป็นมูลแห่งการไถ โดยจะพึงทำในเมื่อ

พืชนั้นมี โดยไม่พึงกระทำในเมื่อพืชนั้นไม่มี และโดยพึงกระทำตามประมาณ

แห่งพืชนั้น ครั้นเมื่อพืชมี ชาวนาทั้งหลายจึงทำการไถ เมื่อพืชไม่มี ก็ไม่

ทำการไถ ตามประมาณแห่งพืช ชาวนาทั้งหลายผู้ฉลาด ย่อมไถนาด้วยหวังว่า

ขอพืชอย่าพร่อง ข้าวกล้าของพวกเราอย่าเสื่อม ว่าขอพืชอย่าเกิน ความ

พยายามของพวกเราอย่าสูญเปล่า ก็เพราะพืชนั่นแล เป็นมูล เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงไถจำเดิมแต่ต้น ทรงให้พราหมณ์รู้บุพธรรม

แห่งไถของพระองค์ โดยเปรียบเทียบกับพืชอันเป็นบุพธรรมแห่งไถของ

พราหมณ์ จึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืช พึงทราบการเปรียบเทียบด้วยบุพธรรม

ในพระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

หากมีคำถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมที่พราหมณ์ทูลถาม

เท่านั้น ภายหลังไม่ตรัสธรรมที่พราหมณ์ไม่ทูลถาม เพราะเหตุอะไร ?

ตอบว่า เพราะพระองค์ทรงมีอุปการะแก่พราหมณ์ และเพราะพระองค์

เป็นผู้สามารถในการเชื่อมพระธรรม ก็พราหมณ์นี้มีปัญญา แต่ขาดศรัทธา

เพราะตนเกิดในตระกูลมิจฉาทิฏฐิ และคนที่ขาดศรัทธาแต่มีปัญญา ไม่ปฏิบัติใน

สิ่งที่ไม่เป็นวิสัยของตน ตามศรัทธาของคนเหล่าอื่น ย่อมไม่บรรลุคุณวิเศษ ก็

ศรัทธาของพราหมณ์นั้น แม้มีลักษณะเพียงความไม่เลื่อมใสในการไปปราศกิเลส

และการลุกขึ้นตามกาล ก็ทุรพล เป็นไปพร้อมกับปัญญาที่มีกำลังย่อมไม่ทำความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 268

สำเร็จประโยชน์ ดุจโคเทียมในแอกอันเดียวกันกับช้าง เพราะฉะนั้น ศรัทธา

ของพราหมณ์นั้น ยังมีอุปการะ เนื้อความนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยัง

พราหมณ์นั้นให้ตั้งอยู่ในศรัทธา อันจะพึงตรัสแม้ภายหลัง แต่ตรัสก่อน เพราะ

ความที่พราหมณ์นั้นยังมีอุปการะ อย่างนี้ เหมือนตรัสไว้แม้ในที่อื่น เพราะ

ความที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนาว่า ศรัทธาย่อมรวบรวมเสบียง และว่า

ศรัทธาเป็นเพื่อนสองของคน และว่า ศรัทธาเป็นทรัพย์ประเสริฐสุดของบุรุษ

ในโลกนี้ และว่า คนย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา และว่า มหานาคมีศรัทธา

เป็นมือ และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้มีศรัทธาแล ดังนี้. ฝน

มีอุปการะแก่พืชนั้น ฝนนั้นพระองค์ตรัสในลำดับแห่งศรัทธานั่นแล้ว จึง

เป็นการเหมาะสม เนื้อความนี้ พระองค์ควรตรัสแม้ในภายหลัง แต่ตรัสไว้ก่อน

เพราะความที่พระองค์เป็นผู้สามารถเชื่อมธรรมด้วยประการฉะนี้. และธรรมอื่น

มีงอนไถและเชือกเป็นต้น มีวิธีอย่างนี้.

ในพระสูตรนั้น ศรัทธามีความเลื่อมใสพร้อมเป็นลักษณะ หรือมีการ

หยั่งลงเป็นลักษณะ มีการวิ่งไปเป็นรส มีการน้อมใจเชื่อเป็นปัจจุปัฏฐาน

หรือมีการไม่ขุ่นมัวเป็นปัจจุปัฏฐาน มีโสตาปัตติยังคะเป็นปทัฏฐาน หรือ

มีธรรมควรเชื่อเป็นปทัฏฐาน เป็นความเลื่อมใสของจิต เหมือนความใสของ

วัตถุมีกระจกหรือพื้นน้ำเป็นต้น เป็นที่ผ่องใสของสัมปยุตตธรรมทั้งหลาย ดุจ

แก้วมณีอันยังน้ำให้ใส เป็นที่ผ่องใสของน้ำฉะนั้น.

บทว่า พีช ได้แก่ พืช ๕ ชนิด คือ มูลพืช ขันธพืช ผลุพืช

อัคคพืช พีชพืชเป็นที่ ๕. พืชนั้นแม้ทั้งหมด ย่อมถึงการนับว่าพืชทั้งนั้น

เพราะอรรถว่างอกขึ้น เหมือนอย่างท่านกล่าวไว้ว่า ก็นั่นชื่อว่า พืช เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 269

อรรถว่างอกขึ้น. ในพืชเหล่านั้น พืชอันเกิดแต่รากแห่งการไถของพราหมณ์

ย่อมทำกิจ ๒ อย่างคือ ขั้นต่ำดำรงอยู่ด้วยราก ขั้นสูงออกหน่อ ฉันใด ศรัทธา

อันเป็นรากแห่งการไถของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขั้นต่ำดำรงอยู่ด้วยรากคือศีล

ขั้นสูงออกหน่อสมถะและวิปัสสนา ฉันนั้น.

อนึ่ง พืชนั่นดูดรสแห่งดิน รสแห่งน้ำ ด้วยราก ย่อมเจริญด้วยก้าน

เพื่อรับความแก่รอบแห่งธัญชาติ ฉันใด ศรัทธานี้ก็ฉันนั้น รับรสคือสมณะ

และวิปัสสนา ด้วยรากคือศีล ย่อมเจริญด้วยก้านคืออริยมรรค เพื่อรับความ

แก่รอบแห่งอริยผล.

อนึ่ง พืชนั้นตั้งอยู่ในดินดี ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ด้วยราก

หน่อ ใบ ก้าน ลำต้น และใบเหลือง ยังน้ำนมให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมสำเร็จเป็น

รวงข้าวสาลีอันเต็มด้วยผลข้าวสาลีมิใช่น้อย ฉันใด ศรัทธานี้ก็ฉันนั้น ดำรง

อยู่ในจิตสันดานแล้ว ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ด้วยศีลวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ

ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ และปฏิปทาญาณ-

ทัสสนวิสุทธิ ยังน้ำนมคือญาณทัสสนวิสุทธิให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้สำเร็จ

พระอรหัตผลอันเต็มด้วยปฏิสัมภิทาธรรมมิใช่น้อย เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืช ดังนี้.

ในข้อนั้น พึงมีคำถามว่า ครั้นเมื่อกุศลธรรมมากกว่า ๕๐ อย่าง

เกิดรวมกัน เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ศรัทธาเป็นพืชเล่า ?

ตอบว่า เพราะศรัทธาทำหน้าที่พืช จริงอยู่ ในธรรมเหล่านั้น วิญญาณ

เท่านั้น ย่อมทำหน้าที่รู้แจ้ง ฉันใด ศรัทธาย่อมทำหน้าที่พืชฉันนั้น เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 270

ศรัทธานั้น เป็นรากเหง้าแห่งกุศลทั้งปวง เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า คน

เกิดศรัทธาย่อมเข้าไปหา เมื่อเข้าไปหาย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยหู

เงี่ยหูแล้ว ย่อมฟังธรรม ครั้นฟังแล้ว ย่อมทรงธรรม ย่อมใคร่ครวญอรรถ

แห่งธรรมทั้งหลายที่ทรงแล้ว เมื่อใคร่ครวญอรรถ ธรรมทั้งหลายย่อมทนต่อ

การเพ่ง เมื่อมีการทนต่อการเพ่งธรรม ฉันทะย่อมเกิด ผู้เกิดฉันทะแล้ว ย่อม

อุตสาหะ ครั้นอุตสาหะแล้ว ย่อมเทียบเคียง ครั้นเทียบเคียงแล้วย่อมตั้งมั่น

เป็นผู้มีตนตั้งมั่นแล้ว ย่อมทำให้แจ้ง ซึ่งปรมัตถสัจจะด้วยกาย และย่อมเห็น

แทงตลอด ซึ่งปรมัตถสัจจะนั้นด้วยปัญญา ดังนี้.*

ธรรมใดย่อมแผดเผาอกุศลธรรมทั้งหลายและกาย เพราะเหตุนั้น

ธรรมนั้น จึงชื่อว่า ตบะ ความเพียร คำว่า ตบะนั่น เป็นชื่อแห่งอินทรียสังวร

วิริยธุดงค์ และการบำเพ็ญทุกรกิริยา ก็อินทรียสังวรท่านประสงค์เอาในพระสูตร

นี้. บทว่า วุฏฺิ ได้แก่ ฝนหลายอย่าง มีฝนในฤดูฝน และลมฝนเป็นต้น.

ฝนในฤดูฝนท่านประสงค์เอาในพระสูตรนี้. เหมือนอย่างว่า พืชอันฝนในฤดู

ฝนอนุเคราะห์ดีแล้ว และข้าวกล้าซึ่งมีพืชเป็นมูลของพราหมณ์ ย่อมงอกงาม

ไม่เหี่ยวแห้ง ย่อมถึงความสำเร็จฉันใด ศรัทธาอันอินทรียสังวรอนุเคราะห์ดี

แล้ว และธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ซึ่งมีศรัทธาเป็นมูลของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ย่อมงอกงาม ย่อมไม่เหี่ยวแห้ง ย่อมถึงความสำเร็จฉันนั้น เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตบะคือความเพียรเป็นฝน ดังนี้.

ก็ เม ศัพท์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทว่า ปญฺา เม ดังนี้

นั้น ผู้ศึกษาพึงประกอบในบทแม้เหล่านี้ว่า สทฺธา เม พีช ตโป เม วุฏฺิ

* ม.ม. จงฺกีสุตฺต ๕๘๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 271

แปลว่า ศรัทธาของเราเป็นพืช ความเพียรของเราเป็นฝน ดังนี้. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงอะไรด้วยบทนี้ พระองค์ทรงแสดงว่า ดูก่อนพราหมณ์

เมื่อพืชอันท่านหว่านแล้ว ถ้ามีฝน ก็เป็นการดี ถ้าไม่มีฝน แม้น้ำอันท่าน

จะต้องให้ ฉันใด เมื่องอนไถคือหิริ แอกและไถคือปัญญา เราทำรวมกัน

กับเชือกคือใจ เทียมโคพลิพัทคือความเพียร แทงด้วยปฏักคือสติ หว่านพืช

คือศรัทธา ในนาคือจิตสันดานของตน ชื่อว่าความไม่มีฝนไม่มี ก็ตบะคือ

ความเพียรติดต่อสม่ำเสมอของเรานี้ เป็นฝน.

ชื่อว่า ปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นเครื่องรู้ชัดของบุคคล

หรือบุคคลย่อมรู้เอง. ปัญญานั้นมีหลายอย่าง ต่างโดยกามาวจรเป็นต้น ก็มรรค

ปัญญาพร้อมกับวิปัสสนา ทรงพระประสงค์เอาในคาถานี้. บทว่า ยุคนงฺคล

ได้แก่ แอกและไถ ชื่อว่า ยุคนงฺคล แปลว่า แอกและไถ. ก็แอกและไถ

ของพราหมณ์ ฉันใด ปัญญาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็มีแม้ ๒ อย่าง ฉันนั้น.

ในคาถานั้น แอกเป็นอุปนิสัยของงอนไถ ย่อมอยู่ข้างหน้าเนื่องกับ

งอนไถ เป็นนิสัยของเชือกทั้งหลาย ย่อมทรงไว้ซึ่งการไปร่วมกันของโคพลิพัท

ทั้งหลาย ฉันใด ปัญญาก็ฉันนั้น เป็นอุปนิสัยของธรรมทั้งหลายมีหิริเป็น

ประมุข เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ธรรม (กุศล) ทั้งหมดมีปัญญาเป็นอย่างยิ่ง

และว่า ก็บัณฑิตผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาประเสริฐที่สุด ดุจเดือน

ประเสริฐกว่าดาวทั้งหลายฉะนั้น และปัญญาอยู่หน้าของกุศลธรรมทั้งหลาย

เพราะอรรถว่า เป็นหัวหน้า เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ศีล แม้สิริและธรรม

ของสัตบุรุษย่อมคล้อยตามคนมีปัญญา ปัญญาชื่อว่าเนื่องกับงอนไถ เพราะไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 272

เกิดขึ้นโดยปราศจากหิริ เป็นนิสัยของเชือกทั้งหลาย โดยเป็นนิสสยปัจจัยแห่ง

เชือกคือสมาธิ กล่าวคือใจ ย่อมทรงไว้ซึ่งการไปโดยร่วมกันแห่งโคพลิพัท

คือความเพียร เพราะปฏิเสธการปรารภความเพียรจัดและความย่อหย่อนเกินไป.

ก็ไถประกอบกับผาลแล้ว ย่อมทำลายก้อนดิน ในเวลาไถย่อมชำแรก

วัชพืชที่มีราก ฉันใด ปัญญาที่ประกอบด้วยสติก็ฉันนั้น ย่อมทาลายก้อนแห่ง

อารมณ์อันมีหน้าที่ประชุมความสืบต่อแห่งธรรมทั้งหลาย ในเวลาวิปัสสนา ย่อม

ชำแรกการสืบต่อแห่งกิเลสมูลทั้งหมด ก็ปัญญานั้นแล เป็นโลกุตระอย่างเดียว

และปัญญานอกนี้พึงเป็นโลกิยะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ปัญญาของเราเป็นแอกและไถ ดังนี้.

ชื่อว่า หิริ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นเครื่องละอายของบุคคล

หรือบุคคลย่อมละอายเอง คือเกลียดความเป็นไปแห่งอกุศล โอตตัปปะเป็นอัน

ถือเอาแล้วเทียว โดยความเป็นธรรมไปร่วมกันกับหิริศัพท์นั้น. บทว่า อีสา

ได้แก่ ท่อนไม้ที่ทรงแอกและไถไว้. เปรียบเหมือนงอนไถของพราหมณ์ ย่อม

ทรงไว้ซึ่งแอกและไถ ฉันใด หิริแม้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น ชื่อว่า

ย่อมทรงไว้ซึ่งแอกและไถ กล่าวคือโลกิยปัญญาและโลกุตรปัญญา เพราะเมื่อ

หิริไม่มี ปัญญาก็ไม่มี แอกและไถที่เนื่องด้วยงอนไถ ย่อมทำหน้าที่ไม่ให้หวั่น

ไหว ไม่ย่อหย่อน ฉันใด ก็ปัญญาอันเนื่องด้วยหิริก็ฉันนั้น ย่อมทำหน้าที่

ไม่ให้หวั่นไหว ไม่ย่อหย่อน ไม่เกลื่อนกล่นด้วยความไม่มีหิริ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า หิริ เป็นงอนไถ ดังนี้.

ชื่อว่า มโน ด้วยอรรถวิเคราะห์ว่า ย่อมรู้ คำว่า มโน นั่นเป็นชื่อ

ของจิต ก็สมาธิที่ประกอบพร้อมด้วยจิตนั้น โดยใจเป็นประธาน ทรงพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 273

ประสงค์เอาในคาถานี้. บทว่า โยตฺต ได้แก่ เครื่องผูกคือเชือก. เชือกนั้น

มี ๓ อย่าง คือ เชือกผูกแอกกับงอนไถ ๑ เชือกผูกโคพลิพัททั้งหลายกับ

แอก ๑ เชือกผูกโคพลิพัททั้งหลายกับสารถี ๑. ในเชือก ๓ อย่างนั้น เชือก

ของพราหมณ์ทำงอนไถ แอก และโคพลิพัททั้งหลายให้เกี่ยวเนื่องกัน ย่อม

ยังกิจของตนสำเร็จ ฉันใด สมาธิของพระผู้มีพระภาคเจ้าผูกธรรมคือ หิริ

ปัญญา และวิริยะเหล่านั้นทั้งหมดเทียว ให้เป็นอารมณ์เดียว โดยความเป็น

ธรรมไม่ฟุ้งซ่าน ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ใจ

เป็นเชือก ดังนี้.

ชื่อว่า สติ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นเครื่องระลึกของบุคคล หรือ

บุคคลระลึกถึงประโยชน์ที่ทำไว้แล้วนานเป็นต้นได้ด้วยตนเอง. สตินั้นมีความ

ไม่หลงลืมเป็นลักษณะ. ธรรมชาติใดย่อมให้ดินแตก เพราะเหตุนั้น ธรรมชาติ

นั้นชื่อว่า ผาล. บุคคลย่อมแทงด้วยวัตถุนั้น เพราะเหตุนั้น วัตถุนั้นชื่อว่า

ปาชน ปฏัก ปฏักนั้นเรียกว่า ปาจน (ปฎัก) ในคาถานี้. คำว่า ปาจน

นั้น เป็นชื่อของวัตถุสำหรับแทง (ปฏัก). ผาลและปฏัก ชื่อว่า ผาลปาจน.

ก็ผาลและปฏักของพราหมณ์ฉันใด สติอันประกอบด้วยวิปัสสนา และประกอบ

ด้วยมรรคของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น.

ในข้อนั้น ผาลย่อมตามรักษาไถ และไปข้างหน้าของไถนั้น ฉันใด

สติก็ฉันนั้นเป็นคติของกุศลธรรมทั้งหลาย ระลึกพร้อมอยู่ หรือให้อารมณ์

ทั้งหลายปรากฏขึ้นอยู่ ชื่อว่า ย่อมรักษาไถคือปัญญา. จริงอย่างนั้น สติ

ท่านเรียกว่า อารักขา ดุจในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุอยู่ด้วยจิตอันมีสติเป็น

เครื่องอารักขา ดังนี้* และย่อมนำหน้าปัญญานั้น ด้วยอำนาจความไม่หลงลืม

* ที. ปา. ๒๗๕. สตารกฺเขน เจตสา สมนฺนาคโต วิหรติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 274

เพราะปัญญาย่อมรู้ชัด ซึ่งธรรมทั้งหลายที่มีสติสั่งสมแล้ว ย่อมไม่รู้ชัดซึ่งธรรม

ทั้งหลายที่มีสติหลงลืมแล้ว. เหมือนอย่างว่า ปฏัก แสดงอยู่ ซึ่งภัยคือการแทง

แก่โคพลิพัททั้งหลาย ย่อมไม่ให้หยุด และย่อมห้ามไปนอกทาง ฉันใด

สติก็ฉันนั้น แสดงอยู่ซึ่งภัยในอบาย แก่โคพลิพัทคือวิริยะ ย่อมไม่ให้จมอยู่

ในความเกียจคร้าน ย่อมห้ามอโคจรทั้งหลาย กล่าวคือการกามคุณ ครั้นห้ามแล้ว

ย่อมให้ประกอบในกรรมฐาน และย่อมห้ามการไปนอกทาง เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า สติเป็นผาลและปฏักของเรา ดังนี้.

บทว่า กายคุตฺโต ความว่า คุ้มครองด้วยกายสุจริต ๓ อย่าง.

บทว่า วจีคุตฺโต ความว่า คุ้มครองด้วยวจีสุจริต ๔ อย่าง. ปาฏิโมกสังวรศีล

ตรัสแล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้. ในบทว่า อาหาเร อุทเร ยโต นี้

สำรวมคือสำรวมพร้อมแล้ว อธิบายว่า มีอุปกิเลสไปปราศแล้ว ในปัจจัยแม้

๔ อย่า ง เพราะความที่ปัจจัยทั้งหมดทรงสงเคราะห์แล้ว ด้วยอาหารเป็น

ประธาน. อาชีวปาริสุทธิศีล ตรัสแล้วด้วยบทนี้. บทว่า อุทเร ยโต

ความว่า สำรวม คือ สำรวมพร้อมแล้วในท้อง คือ บริโภคมีกำหนด มี

อธิบายว่า รู้ประมาณในอาหาร. ปัจจัยปฏิเสวนศีล ตรัสแล้วด้วยความเป็นผู้รู้

ประมาณในโภชนะเป็นประธาน ด้วยบทนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไร ด้วยบทนั้น ทรงแสดงว่า ดูก่อน

พราหมณ์ ท่านหว่านพืชแล้ว ย่อมทำรั้วหนาม รั้วไม้ หรือล้อมกำแพง

เพื่อรักษาข้าวกล้า ด้วยรั้วนั้น ฝูงโค กระบือและเนื้อ เมื่อไม่ได้การเข้าไป

ย่อมไม่แย่งกินข้าวกล้าของท่าน ฉันใด เราก็ฉันนั้น หว่านพืชคือศรัทธา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 275

นั้นแล้ว ทำการล้อม ๓ อย่าง อันสำเร็จแต่การคุ้มครองกาย วาจา และอาหาร

เพื่อรักษาข้าวกล้า คือ กุศลอันมีประการต่าง ๆ ด้วยการล้อมนั้น ฝูงโค

กระบือและเนื้อ คือ อกุศลธรรมมีราคะเป็นต้น เมือไม่ได้การเข้าไป ย่อม

ไม่แย่งกินข้าวกล้า คือ กุศลของเรา ดังนี้.

ในบทว่า สจฺจ กโรมิ มิทฺธาน นี้ การตัด การเกี่ยว การถอนขึ้น

ชื่อว่า การถอนหญ้า ด้วยสัจจะอันไม่กล่าวให้พลาดด้วยทวารทั้งสอง. ก็คำว่า

สจฺจ นั่นเป็นทุติยาวิภัตติ พึงทราบว่า ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ. ก็

เนื้อความในบทว่า สจฺจ กโรมิ มิทฺธาน นั้นมีดังนี้ว่า สจฺเจน กโรมิ

นิทฺธาน แปลว่า เราย่อมการทำการถอนหญ้า ด้วยสัจจะ.

มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ท่านไถนาภายนอกแล้ว ย่อมกระทำ

การถอนหญ้าอันประทุษร้ายข้าวกล้า ด้วยมือ หรือด้วยเคียว ฉันใด แม้เรา

ก็ฉันนั้น ไถนาอันมีในภายในแล้ว ย่อมกระทำการถอนหญ้า คือการกล่าว

ให้พลาด ซึ่งประทุษร้ายข้าวกล้า คือ กุศล ด้วยสัจจะ. อีกอย่างหนึ่ง

ญาณสัจจะ ที่เรียกว่า ยถาภูตญาณ พึงทราบว่า สัจจะในบทว่า สจฺจ กโรมิ

นิทฺธาน นี้. ผู้ศึกษาพึงประกอบอย่างนี้ว่า เรากระทำการถอนหญ้าทั้งหลาย

มีอัตตสัญญาเป็นต้น ด้วยสัจจะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นิทฺธาน ได้แก่การตัด การเกี่ยว อธิบายว่า

การถอน. เมื่อเป็นอย่างนั้น ท่านย่อมให้ทาสหรือกรรมกรทำการถอนว่า

เจ้าจงถอนหญ้าทั้งหลาย คือให้ทำการตัด การเกี่ยว การถอน หญ้าทั้งหลาย

ฉันใด เราย่อมกระทำสัจจะฉันนั้น การกล่าวด้วยทุติยาวิภัตตินั่นแล ก็ควร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 276

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สจฺจ ได้แก่ ทิฏฐิสัจจะ การกล่าวด้วย

ทุติยาวิภัตตินั่นแล แม้อย่างนี้ว่า เราย่อมกระทำการถอนนั้น คือ ย่อมกระทำ

กิจอันจะพึงตัด พึงเกี่ยว พึงถอนขึ้น ดังนี้ ก็ควร.

ในบทว่า โสรจฺจ เม ปโมจน นี้ ศีลนั้นใดอย่างนี้ว่า ความ

ไม่ละเมิดทางกาย ความไม่ละเมิดทางวาจานั่นแล เรียกว่า โสรัจจะ ความสงบ

เสงี่ยม ศีลนั้นไม่ประสงค์เอาในคาถานี้ ศีลนั้นได้กล่าวแล้วเทียว โดยนัยมีอาทิ

ว่า คุ้มครองกาย แต่พระอรหัตผลอันท่านประสงค์แล้ว ด้วยว่าพระอรหัตผล

แม้นั้น เรียกว่า โสรัจจะ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยินดีแล้วในนิพพาน

อันสุนทร. บทว่า ปโมจน ได้แก่ เป็นเครื่องสละโยคะ.

มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า การปลดเปลื้องของท่านยังไม่เป็นการ

ปลดเปลื้องเลย เพราะท่านจะพึงประกอบในเวลาเย็น ในวันที่ ๒ หรือในปี

ต่อไปแม้อีก ฉันใด การปลดเปลื้องของเราไม่เป็นฉันนั้น เพราะชื่อว่าการ

ปลดเปลื้องในระหว่างของเราไม่มี ด้วยว่า เราได้ประกอบโคพลิพัท คือ วิริยะ

ทั้งหลายในไถคือปัญญา จำเดิมแต่กาลแห่งพระทศพลพระนามว่า ทีปังกร

ไถอยู่ซึ่งการไถใหญ่ตลอดสี่อสงไขยและแสนกัป ยังไม่เลิกละ ตราบเท่าที่เรา

ยังไม่ได้ตรัสรู้ชอบเฉพาะ ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ และในกาลใด พระ-

อรหัตผลอันมีคุณทั้งหมดเป็นบริวารได้บังเกิดขึ้นแล้วแก่เราผู้ยังกาลนั้นทั้งหมด

ให้สิ้นไปแล้ว นั่งในอปราชิตบัลลังก์ ที่โคนต้นโพธิ์ ในกาลนั้น พระอรหัตผล

นั้นเราได้ปลดเปลื้องแล้ว ด้วยการบรรลุปฏิปัสสัทธิอันยอดเยี่ยมทั้งหมด จัก

ไม่เป็นกิจที่จะพึงประกอบอีกในบัดนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 277

หมายถึงเนื้อความนั่น จึงตรัสว่า ความสงบเสงี่ยมของเรา เป็นเครื่อง

ปลดเปลื้องกิเลส ดังนี้.

ในบทว่า วิริย เม ธุรโธรยฺห นั่น บทว่า วิริย ได้แก่ ปธาน

คือความเพียรที่กล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า การปรารภความเพียรทางกายหรือ

ทางใจ นำธุระไปเพื่อธุระ ชื่อว่า ธุรโธรยฺห อธิบายว่า ย่อมนำธุระไป.

เหมือนอย่าง ไถของพราหมณ์ นำธุระไปเพื่อธุระลากมาทำลายก้อนดินและ

ชำแรกวัชพืชอันมีรากทั้งหลายให้หมดไป ฉันใด ไถคือปัญญาของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าก็ฉันนั้น คร่ามาด้วยความเพียร ย่อมทำลายก้อนดินตามที่กล่าวแล้ว

และชำแรกกิเลสสันดานทั้งหลายให้หมดไป เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระ.

อีกอย่างหนึ่ง ธุระทั้งหลายนำไปซึ่งธุระก่อน นำไปซึ่งมูลธุระ ชื่อว่า

นำธุระไป ธุระด้วย นำธุระไปด้วย ชื่อว่า นำธุระไปเพื่อธุระ. ในข้อนั้น

ไถของพราหมณ์นำธุระไปอันต่างด้วยโคพลิพัท ๔ ตัว ประกอบในไถแต่ละไถ

เมื่อนำไปย่อมยังการทำลายรากหญ้าที่เกิดแล้วและยังไม่เกิด และสมบัติ คือ

ข้าวกล้าให้สำเร็จฉันใด ความเพียรของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น นำธุระ

ไปเพื่อธุระอันต่างด้วยความเพียรคือสัมมัปปธาน ๔ เมื่อนำไป ย่อมยังการทำลาย

อกุศลมูลซึ่งเกิดขึ้นและยังไม่เกิดขึ้น และสมบัติคือกุศลให้สำเร็จ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความเพียรของเรานำธุระไปเพื่อธุระ ดังนี้.

ในบทว่า โยคกฺเขมาธิวาหน นี้ นิพพานเรียกว่า เกษมจากโยคะ

เพราะนิพพานเป็นธรรมเกษมจากโยคะทั้งหลาย นิพพานนั้นชื่อว่า อธิวาหนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 278

เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า อันบุคคลบรรลุแล้วย่อมนำไป หรือย่อมถูกนำไป

เฉพาะหน้า การนำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ชื่อว่า โยคกฺเขมาธิวาหน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไรด้วยบทนั้น ทรงแสดงว่า ไถนำธุระไปเพื่อ

ธุระของท่าน ย่อมนำไปเฉพาะหน้าสู่ทิศตะวันออก หรือทิศใดทิศหนึ่งในทิศ

ทั้งหลายมีทิศตะวันตกเป็นต้น ฉันใด ความเพียรของเราก็ฉันนั้น นำธุระไป

เพื่อธุระ คือนำไปเฉพาะพระนิพพาน และเมื่อนำไปอย่างนี้ ชื่อว่า ไม่หวน

กลับมา ไถของท่านเมื่อนำไป ชื่อว่า นำธุระไปเพื่อธุระ คือ ถึงที่สุดนาแล้ว

กลับมาอีก ฉันใด ความเพียรของเรา ชื่อว่า ไม่หวนกลับมา จำเดิมแต่

พระพุทธเจ้าพระนามว่า ทีปังกร ฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะกิเลสทั้งหลายอันมรรคนั้น ๆ ละแล้วไม่พึงละอีก

ดุจหญ้าทั้งหลายอันไถของท่านตัดแล้ว พึงตัดในสมัยอื่นแม้อีก แม้เพราะฉะนั้น

ความเพียรนั่นเมื่อละกิเลสทั้งหลายอันเห็นแล้ว อันไถแล้ว ด้วยอำนาจแห่ง

ปฐมมรรค ละซึ่งกิเลสทั้งหลายอันหยาบ ด้วยอำนาจมรรคที่สอง ละซึ่งกิเลส

ทั้งหลายอันสหรคตด้วยอำนาจมรรคที่สาม ละซึ่งกิเลสทั้งหมดด้วยอำนาจแห่ง

มรรคที่สี่ ชื่อว่า ไม่หวนกลับมา.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า คจฺฉติ อนิวตฺตนฺต ความว่า เป็นอันเว้น

จากการกลับ คือ ย่อมไป. บทว่า ต ได้แก่ ความเพียรนั้น นำธุระไป

เพื่อธุระ. พึงทราบการตัดบทในบทนี้อย่างนี้ ก็ความเพียรนั้น เมื่อไปอย่างนี้

ย่อมไม่หวนกลับถึงสถานที่ที่ชาวนาไปแล้ว ไม่เศร้าโศก ปราศจากความโศก

ปราศจากความกำหนัด ดุจไถของท่านนั้นนำธุระไปเพื่อธุระ ก็ความเพียรนั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 279

ย่อมถึงสถานที่นั้น. บทว่า ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจติ ความว่า สถานที่ที่

ชาวนาเช่นท่านโจทอยู่ ตักเตือนอยู่ซึ่งความเพียรนั้น อันนำธุระไปเพื่อธุระ

คือวิริยะ ด้วยปฏักคือ สติ ไปแล้วไม่เศร้าโศก ปราศจากความเศร้าโศก

ปราศจากความกำหนดแล้วไม่เศร้าโศก ความเพียรนั้นเป็นการถอนขึ้นซึ่งลูกศร

คือความเศร้าโศกทั้งหมด ย่อมถึงสถานที่กล่าวคือ อมตนิพพาน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงกระทำคำนิคม จึงตรัสพระคาถา

นี้ว่า

การไถนานั้น เราไถแล้วอย่างนี้

การไถนานั้น ย่อมมีผลเป็นอมตะ บุคคล

ไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.

คาถานั้น มีเนื้อความโดยย่อดังนี้ ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงดูการไถนา

นั้น มีศรัทธาเป็นพืช อันความเพียรเป็นฝนอนุเคราะห์แล้ว เราทำแอกและ

ไถ อันสำเร็จแล้วแต่ปัญญา และงอนไถอันสำเร็จแล้วแต่หิริให้เนื่องกัน ด้วย

เชือกอันสำเร็จแล้วแต่ใจ ตอกซึ่งผาลคือสติ ในไถคือปัญญา จับปฏักคือสติ

คุ้มครองด้วยการคุ้มครองกาย วาจา และอาหาร ทำสัจจะเป็นเครื่องถอนหญ้า

นาความสงบเสงี่ยมเป็นเครื่องปลดเปลื้องกิเลส ความเพียรนำธุระไปเพื่อธุระ

นำไปถึงแดนเกษมจากโยคะ ไม่หวนกลับมา ไถแล้ว ให้ถึงสามัญผล ๔ อย่าง

อันมีกสิกรรมเป็นที่สุด.

บทว่า สา โหติ อมตปฺผลา ความว่า การไถนานี้นั้นมีผลเป็น

อมตะ. นิพพานเรียกว่า อมตะ อธิบายว่า การไถนามีนิพพานเป็นอานิสงส์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 280

ก็การไถนานี้นั้นแล ย่อมมีผลเป็นอมตะสำหรับเราคนเดียวเท่านั้น หามิได้

แต่โดยที่แท้แล คนใดคนหนึ่งจะเป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม เป็น

แพศย์ก็ตาม เป็นศูทรก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ย่อม

ไถนานั้น คนนั้นแม้ทั้งหมด ครั้นไถนานั่นแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

คือ ย่อมพ้นจากวัฏทุกข์ ทุกขทุกข์ สังสารทุกข์ วิปริณามทุกข์ทั้งปวง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำนิพพานเป็นที่สุด ด้วยยอดคือพระอรหัต ทรงยัง

เทศนาให้ถึงพร้อมแก่พราหมณ์ ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พราหมณ์ฟังเทศนาอันมีเนื้อความลึกซึ้งแล้ว และทราบว่า

เราบริโภคผลแห่งการทำนาแล้ว ย่อมมีความหิวในวันอื่นทีเดียว แต่การไถนา

ของพระสมณะนั้นมีผลเป็นอมตะ บุคคลบริโภคผลแห่งการไถนานั้น ย่อมพ้น

จากทุกข์ทั้งปวง ดังนี้ เลื่อมใสแล้ว ปรารภแล้ว เพื่อกระทำอาการแห่งผู้

เลื่อมใส เพื่อถวายข้าวปายาส เพราะเหตุนั้น พระอานนทเถระจึงว่า ลำดับ

นั้นแล กสิภารทวาชะ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มหติยา ได้แก่ อันใหญ่. บทว่า

กสปาติยา ได้แก่ ในถาดทองคำ คือ ในถาดทองของตน ซึ่งมีราคาแสน

กหาปณะ. บทว่า วฑฺเฒตฺวา ได้แก่ ตักแล้ว อธิบายว่า เกลี่ยลงแล้ว.

บทว่า ภควโต อุปนาเมสิ ความว่า ทำให้วิจิตรด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และ

น้ำอ้อยเป็นต้น คลุมด้วยผ้า ยกขึ้น แล้วน้อมถวายแด่พระตถาคตโดยเคารพ.

ถามว่า อย่างไร ตอบว่า ขอท่านพระโคดมเสวยข้าวปายาสเถิด เพราะพระ-

องค์ท่านเป็นชาวนา. แต่นั้น ได้กล่าวถึงเหตุอันได้สำเร็จความเป็นชาวนาว่า

ย่อมไถนา อันมีผลไม่ตาย. มีอธิบายว่า เพราะย่อมไถนาอันมีผลไม่ตาย.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า คาถาภิคีตมฺเม เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 281

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาถาภิคีต ได้แก่ ที่ขับกล่อมด้วยคาถา

ทั้งหลาย. อธิบายว่า กล่าวคาถาทั้งหลายแล้วได้มา. บทว่า เม ได้แก่ มยา

อันเรา. บทว่า อโภชเนยฺย ความว่า ไม่ควรบริโภค. บทว่า สมฺปสฺสต

ความว่า ผู้เห็นอยู่ซึ่งอาชีวปาริสุทธิโดยชอบ หรือผู้เห็นอยู่โดยรอบ ชื่อว่า

ผู้เห็นอยู่โดยชอบ อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า เนส ธมฺโม

ความว่า ข้อว่า เราควรบริโภคโภชนะที่ขับกล่อมได้มา นี้ไม่ใช่ธรรม คือ

นั่นไม่ใช่จารีต. เพราะเหตุไร ? เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงห้าม

โภชนะที่ขับกล่อมได้มา คือ ย่อมทรงปฏิเสธ ย่อมไม่ทรงเสวย.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับคาถาเพื่อข้าวปายาส ซึ่งเป็นเหตุ

ให้ตรัสอย่างนี้หรือ ?

ตอบว่า พระองค์ไม่ทรงขับคาถาเพื่อประโยชน์แก่ข้าวปายาสนั้น แต่

โดยที่แท้แล้ว โภชนะที่พระองค์ประทับยืนที่ใกล้นาแต่เช้าตรู่ ไม่ทรงได้แม้

ภิกษาทัพพีหนึ่งแล้ว ประกาศคุณของพระพุทธเจ้าทั้งปวงได้มานี้นั้น เป็นเช่น

กับโภชนะที่นักขับร้องและนักฟ้อนรำทั้งหลาย ฟ้อนและขับร้องได้มา เพราะ

ฉะนั้น จึงตรัสว่า ที่ขับกล่อมได้มา. ก็โภชนะเช่นนั้นย่อมไม่ควรแก่พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เราไม่ควรบริโภคโภชนะ. ก็

โภชนะนั้นไม่สมควรแก่ความเป็นผู้ปรารถนาน้อย แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าเมื่อจะทรงอนุเคราะห์อนุชนรุ่นหลัง จึงตรัสว่า เราไม่ควรบริโภค

โภชนะที่ขับกล่อมได้มานั่น. และพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงปฏิเสธลาภที่เกิดขึ้น

ด้วยคุณของตน แม้อันคนอื่นประกาศแล้ว ณ ที่ใด ๆ เหมือนฆฏิการ บุตร

ช่างหม้อผู้มีความปรารถนาน้อย ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 282

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้ปรารถนาน้อย

ถึงสุดยอดแล้ว จักทรงยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ด้วยการประกาศพระคุณของ

พระองค์ได้อย่างไร เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนั้นเหมาะสมแล้วเทียว.

ตอบว่า ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระองค์เมื่อจะเปลื้องพระองค์จาก

คำติเตียนของชาวโลกนี้ว่า พระสมณโคดมทรงทำพราหมณ์ผู้ไม่เลื่อมใส ไม่

ประสงค์จะถวายให้เป็นผู้ใคร่เพื่อถวาย ด้วยการตรัสคาถา แล้วทรงรับโภชนะ

พระเทศนาของพระสมณโคดมนี้ มีอามิสเป็นเหตุ ดังนี้แล้ว ทรงแสดงเทศนา

ปาริสุทธิ บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอาชีวปาริสุทธิ จึงตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์

เมื่อธรรมมีอยู่ การแสวงหานี้เป็นความประพฤติ ดังนี้.

เนื้อความแห่งพระดำรัสนั้นว่า ดูก่อนพราหมณ์ เมื่ออาชีวปาริสุทธิ-

ธรรม สุจริตธรรม ๑๐ อย่าง หรือจาริตธรรมของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมีอยู่

คือ มีพร้อม ติดตามพร้อม เป็นไปอยู่ การแสวงหา คือ การแสวงหาทั่ว

อันขาวสะอาดโดยส่วนเดียว ดุจเหยียดฝ่ามือในอากาศ นี้เป็นความประพฤติ

คือ เป็นความประพฤติประจำชีวิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ดังนี้.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์เกิดโทมนัสว่า

พระสมณโคดมทรงปฏิเสธข้าวปายาสของเรา ได้ยินว่า โภชนะนั่นไม่ควร

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราย่อมไม่ได้เพื่อถวายสิ่งอื่นในพระองค์เลย และคิดว่า พระ-

สมณโคดมพึงทรงรับสิ่งอื่นกระมัง ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบดังนั้น

แล้ว ทรงดำริว่า เรากำหนดเวลาเพื่อภิกขาจารแล้วจึงมา จักยังพราหมณ์นี้

ให้เลื่อมใส ด้วยกาลเพียงนี้ เมื่อจะยังมโนรถที่พราหมณ์ปรารถนาให้เต็ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 283

เพื่อให้ความเลื่อมใสเกิดแก่พราหมณ์ว่า ก็พราหมณ์ได้ทำโทมนัส บัดนี้ ยัง

จิตให้กำเริบในเราด้วยโทมนัสนั้นแล้ว จักไม่อาจเพื่อแทงตลอด ซึ่งธรรมอัน

ประเสริฐ คือ อมตะ จึงตรัสว่า อญฺเน จ เกวลิน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกวลิน ความว่า ผู้บริบูรณ์แล้วด้วย

คุณทั้งปวง คือ ผู้ปราศจากโยคะทั้งหมดแล้วเทียว. ชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณอัน

ใหญ่ เพราะแสวงหาคุณทั้งหลาย มีศีลขันธ์เป็นต้นอันใหญ่ ชื่อว่า พระขีณาสพ

เพราะความเป็นผู้มีอาสวะทั้งปวงสิ้นหมดแล้ว ชื่อว่า ผู้มีความคะนองอันสงบ

แล้ว เพราะความที่พระขีณาสพมีความคะนองทั้งปวง ซึ่งทำความคะนองมือ

และคะนองเท้าเป็นต้น อันสงบแล้ว. บทว่า อุปฏฺหสฺสุ ความว่า เชิญ

ท่านอังคาส คือ เชิญท่านนับถือ. ครั้นจิตอันพราหมณ์แม้ให้เกิดอย่างนี้แล้ว

พระองค์ตรัสปริยายเท่านั้น แต่ไม่ตรัสว่า ท่านจงนำมา ดังนี้. บทที่เหลือ

ในคาถานี้ มีความตื้นทั้งนั้นแล.

ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า ข้าวปายาสนี้เรานำมาเพื่อพระผู้มีพระภาค-

เจ้า เราไม่ควรให้ข้าวปายาสนั้นแก่ใคร ๆ ตามความพอใจของตนดังนี้แล้ว

กราบทูลว่า ข้าพระองค์จะถวายข้าวปายาสนี้แก่ใคร. แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรู้ข้าวปายาสนั้นว่า ข้าวปายาสนี้มีความไม่ย่อยเป็นธรรมดาแก่คนอื่น ยกเว้น

พระตถาคต และสาวกของพระตถาคต จึงตรัสว่า น ขฺวาหนฺต ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น ทรงถือเอาเทวดาชั้นกามาวจร ๕ ด้วยพระดำรัสว่า

สเทวกะ ทรงถือเอาเทวดาชั้นกามาวจรที่ ๖ ด้วยพระดำรัสว่า สมารกะ ทรง

ถือเอารูปาวจรพรหม ด้วยพระดำรัสว่า สพรหมกะ ส่วนเทวดาชั้นอรูปาวจร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 284

พึงบริโภค เพราะฉะนั้น จึงไม่ต้องแนะนำเพิ่มอีก ทรงถือเอาสมณพราหมณ์

ผู้เป็นข้าศึกหรือเป็นศัตรูต่อศาสนา และทรงถือเอาสมณพราหมณ์ผู้มีบาปสงบ

แล้ว หรือมีบาปอันลอยแล้ว ด้วยพระดำรัสว่า สัสสมณพราหมณี ทรงถือ

เอาสัตวโลก ด้วยพระดำรัสว่า ปชา ทรงถือเอาสมมติเทวดาและมนุษย์ที่เหลือ

ด้วยพระดำรัสว่า สเทวมนุสสะ ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า โอกาสโลกทรง

ถือด้วยพระดำรัส ๓ อย่าง สัตวโลกทรงถือด้วยพระดำรัส ๒ อย่าง ด้วยอำนาจ

แห่งปชา ด้วยประการฉะนี้. ความสังเขปเท่านี้ ส่วนความพิสดาร ข้าพเจ้า

จักพรรณนาไว้ในอาฬวกสูตร.

ถามว่า ก็ข้าวปายาสนี้ อันใคร ๆ ในโลกพร้อมกับเทวโลกเป็นต้น

บริโภคแล้ว จะไม่พึงให้ย่อยได้โดยชอบ เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะใส่โอชะอันละเอียดในข้าวปายาสอันหยาบ. จริงอย่าง

นั้น เทวดาทั้งหลายใส่โอชะในข้าวปายาสนี้ ที่สักว่าพราหมณ์ถืออุทิศพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทีเดียว ดุจในข้าวปายาสของนางสุชาดา ในสูกรมัททวะของนาย

จุนทะที่กำลังปรุง ในคำข้าวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว ๆ ในเมืองเวรัญชา

และในงบน้ำอ้อยที่เหลือในหม้อน้ำอ้อยของพระกัจจายตนะ ในเภสัชชขันธกะ

ฉะนั้น.

ข้าวปายาสนั้นย่อมไม่ย่อยสำหรับเทวดาทั้งหลาย เพราะใส่โอชะอัน

ละเอียดในของที่หยาบ เพราะเทวดาทั้งหลายมีร่างกายสุขุม อาหารของมนุษย์

ที่หยาบ ย่อมไม่ย่อยโดยชอบแก่เทวดาเหล่านั้น. ย่อมไม่ย่อยแม้แก่มนุษย์

ทั้งหลาย เพราะมนุษย์ทั้งหลายมีร่างกายหยาบ ทิพโพชะอันละเอียด ย่อมไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 285

ย่อยโดยชอบแก่มนุษย์เหล่านั้น. แต่สำหรับพระตถาคตย่อมย่อยตามไฟธาตุปกติ

ย่อมย่อยโดยชอบ. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ตามอำนาจแห่งกำลังกายและ

กำลังญาณ และย่อมย่อยสำหรับพระขีณาสพผู้เป็นสาวกของพระตถาคต ด้วย

กำลังสมาธิ และด้วยความเป็นผู้รู้จักประมาณ ย่อมไม่ย่อยสำหรับบุคคลนอกนี้

แม้จะมีฤทธิ์ อีกอย่างหนึ่ง เหตุในเรื่องนี้เป็นอจินไตย นั่นเป็นวิสัยของ

พระพุทธเจ้า.

บทว่า เตนหิ ตฺว มีอธิบายว่า เพราะเราไม่เห็นบุคคลอื่น ข้าว

ปายาสนั้นไม่ควรแก่เรา เมื่อไม่ควรแก่เรา ก็ไม่ควรแม้แก่สาวกของเรา เพราะ

ฉะนั้น ท่าน พราหมณ์.

บทว่า อปฺปหริเต ความว่า ในหญ้าเขียวเล็กน้อย หรือในหญ้า

เขียวงอกเล็กน้อย เป็นเช่นกับพลานหีน. บทว่า อปฺปาณเก ความว่า ใน

ห้วงน้ำใหญ่อันปราศจากตัวสัตว์ หรือเว้นจากตัวสัตว์อันจะพึงตาย เพราะเหตุ

ที่เทข้าวปายาสลง. บทว่า อปฺปาณเก นั่น ตรัสเพื่อประโยชน์แก่การอนุเคราะห์

หญ้าและสัตว์ทั้งหลายรวมทั้งสัตว์ที่อาศัยหญ้า.

บทว่า จิจฺจิฏายติ จิฏิจิฏายติ ความว่า ย่อมทำเสียงอย่างนั้น.

บทว่า สนฺธูมายติ ได้แก่ ควันกลุ้มโดยรอบ. บทว่า สปธุมายติ ได้แก่

ควันกลุ้มมีประมาณยิ่งอย่างนั้นเทียว. ถามว่า ควันกลุ้มได้มีอย่างนั้น เพราะ

เหตุอะไร ตอบว่า เพราะอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ใช่เพราะอานุภาพ

แห่งน้ำ ข้าวปายาส พราหมณ์ เทวดาหรือยักษ์เป็นต้นเหล่าอื่น ความจริง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานอย่างนั้น เพื่อธรรมสังเวชแก่พราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 286

บทว่า เสยฺยถาปิ นาม นั่นเป็นการแสดงข้อเปรียบเทียบ. บทว่า

ยถา ผาโล เป็นอันตรัสแล้วเพียงเท่านี้แล. พราหมณ์สลดจิต มีร่างกาย

ชูชันด้วยขน ได้ยินว่า ขนจำนวน ๙๙,๐๐๐ ขุมในร่างกาย ชูชันขึ้น ดุจฟัน

นาคแก้วมณีที่เขาตอกในฝาทองคำฉะนั้น บทที่เหลือปรากฏแล้วเทียว. ส่วน

พราหมณ์หมอบลงแทบพระยุคลบาท เมื่อจะชมเชยพระธรรมเทศนาของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงกราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้

เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระ-

องค์แจ่มแจ้งนัก ดังนี้.

ก็อภิกกันตศัพท์ในพระสูตรนี้ ใช้ในการอนุโมทนาอย่างยิ่ง ส่วน

การพรรณนาเนื้อความแห่งอภิกกันตศัพท์นั้น จักแจ่มแจ้งโดยพิสดารในอรรถ-

กถาแห่งมูลสูตร พึงทราบว่า ก็เพราะอภิกกันตศัพท์ใช้ในอรรถแห่งการ

อนุโมทนาอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น คำว่า ดีละ ดีแล้ว พระโคดมผู้เจริญ

เป็นอันอธิบายแล้ว.

ก็อภิกกันตศัพท์นี้พึงทราบว่า พราหมณ์ได้กล่าวถึง ๒ ครั้ง ด้วยอำ-

นาจความเลื่อมใส และด้วยอำนาจความสรรเสริญในพระธรรมเทศนานี้ โดย

ลักษณะนี้ว่า

นักปราชญ์พึงทำการกล่าวย้ำ ใน

เพราะความกลัว ในเพราะความโกรธ ใน

เพราะความสรรเสริญ ในเพราะความรีบด่วน

ในเพราะความโกลาหล ในเพราะความอัศ-

จรรย์ ในเพราะความรื่นเริง ในเพราะความ

โศก และในเพราะความเลื่อมใส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 287

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อภิกฺกนฺต ได้แก่ น่าใคร่นัก น่าปรารถนา

นัก น่าพอใจนัก. มีอธิบายว่า ดีอย่างยิ่ง. ในการชมเชยนี้ พราหมณ์ชมเชย

เทศนา ด้วยอภิกกันตศัพท์หนึ่ง ชมเชยความเลื่อมใสของตน ด้วยอภิกกันต-

ศัพท์หนึ่ง. ก็อธิบายในอภิกกันตศัพท์นั่นดังนี้ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต

ของพระองค์ คือ พระธรรมเทศนาของพระโคดมผู้เจริญแจ่มแจ้งนัก ภาษิต

ของพระองค์ คือ ความเลื่อมใสของข้าพระองค์ เพราะอาศัยพระธรรมเทศนา

ของพระโคดมผู้เจริญแจ่มแจ้งนัก หรือ ชมเชยพระดำรัสของพระผู้มีพระภาค-

เจ้านั่นแล หมายถึงประโยชน์อย่างละ ๒ อย่างคือ พระดำรัสของพระโคดม

ผู้เจริญแจ่มแจ้งนัก เพราะยังโทสะให้พินาศ แจ่มแจ้งนักเพราะบรรลุคุณ อนึ่ง

ผู้ศึกษาพึงประกอบด้วยบททั้งหลายอย่างนี้ว่า เพราะให้เกิดศรัทธา เพราะให้

เกิดปัญญา, เพราะมีอรรถ เพราะมีพยัญชนะ, เพราะบทตื้น เพราะอรรถลึก,

เพราะไพเราะหู เพราะถึงใจ, เพราะไม่ยกตน เพราะไม่ข่มผู้อื่น, เพราะเย็น

ด้วยศีล เพราะผ่องแผ้วด้วยปัญญา เพราะในทางอันพึงรื่นรมย์ เพราะกำจัด

ความมัวเมา, เพราะนอนเป็นสุข เพราะประโยชน์เกื้อกูลที่ต้องพิจารณา,

เป็นต้น แม้นอกนี้จากนั้น ชมเชยเทศนาเท่านั้นด้วยอุปมา ๔ ข้อ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิต ความว่า ของที่วางคว่ำปาก

หรือ มีปากคว่ำ. บทว่า อุกฺกุชฺเชยฺย ได้แก่ กระทำปากขึ้น. บทว่า

ปฏิจฺฉนฺน ได้แก่ อันวัตถุทั้งหลายมีหญ้าเป็นต้นปกปิดแล้ว. บทว่า วิวเรยฺย

ได้แก่ เปิดขึ้น. บทว่า มูฬฺหสฺส ได้แก่ ผู้หลงทิศ. บทว่า มคฺค อาจิกฺเขยฺย

ความว่า จับเขาที่แขนแล้ว พึงบอกว่า นั่นทาง. บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 288

ในที่มืดมีองค์ ๔ คือ แรม ๑๔ ค่ำ แห่งกาฬปักษ์ ๑ ราตรีข้างแรม ๑

ป่าพงดงทึบ ๑ แผ่นเมฆ ๑ เนื้อความแห่งบทเท่านี้ก่อน ส่วนการประกอบ

อธิบาย ดังนี้ :-

พระโคดมผู้เจริญทรงยังข้าพระองค์ผู้หันหลังให้พระสัทธรรมผู้ตกอยู่

ในอสัทธรรมให้ออกจากอสัทธรรม เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ ทรงเปิด

พระศาสนาอันปกปิดแล้วด้วยรกชัฏ คือ มิจฉาทิฏฐิ จำเดิมแต่พระศาสนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า กัสสป อันตรธานเปรียบเหมือนเปิดของ

ที่ปิด ทรงบอกทางสวรรค์และทางพระนิพพาน แก่ข้าพระองค์ผู้ปฏิบัติทางชั่ว

ทางผิด เปรียบเหมือนบอกทางแก่ผู้หลงทาง ทรงประกาศธรรมโดยอเนก-

ปริยาย เพราะทรงแสดงโดยปริยายเหล่านั้น โดยตามประทีป คือเทศนาอัน

กำจัดความมืดที่ปกปิดธรรมนั้น แก่ข้าพระองค์ผู้จมอยู่ในความมืด คือ โมหะ

ไม่เห็นอยู่ ซึ่งรูปรัตนะมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น เปรียบเหมือนตามประทีปน้ำมัน

ไว้ในที่มืด ฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ตามมติบางอย่าง เพราะธรรมนี้เป็นเช่นกับหงายของ

ที่คว่ำ ด้วยการเห็นทุกข์ และด้วยการละวิปลาสในสิ่งที่ไม่งามว่าเป็นสิ่งที่งาม,

เป็นเช่นกับเปิดของที่ปิด ด้วยการเห็นสมุทัย และด้วยการละวิปลาสในทุกข์

ว่าสุข, เป็นเช่นกับบอกทางแก่ผู้หลงทาง ด้วยการเห็นนิโรธ และด้วยการละ

วิปลาสในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นสิ่งที่เที่ยง เป็นเช่นกับตามประทีปในที่มืด ด้วย

การเห็นมรรค และด้วยการละวิปลาสในอนัตตาว่าเป็นอัตตา เพราะฉะนั้น

จึงเป็นอันประกาศแล้ว อย่างนี้ว่า เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ ฯลฯ หรือ

ตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 289

ก็เพราะในสูตรนี้ ทรงประกาศศีลขันธ์ ด้วยศรัทธา ความเพียร

และการคุ้มครองกายเป็นต้น ทรงประกาศปัญญาขันธ์ ด้วยปัญญา ทรงประกาศ

สมาธิขันธ์ ด้วยหิริและใจเป็นต้น ทรงประกาศนิโรธ ด้วยธรรมอันเป็นแดน

เกษมจากโยคะ เพราะฉะนั้น จึงทรงประกาศขันธ์ ๓ อริยสัจ ๒ อย่าง โดยย่อว่า

อริยมรรคและนิโรธ ด้วยประการฉะนี้ ทรงประกาศอริยสัจ ๔ ในพระสูตร

นั้น โดยปฏิปักษ์ว่า มรรคเป็นปฏิปักษ์ต่อสมุทัย นิโรธเป็นปฏิปักษ์ทุกข์

โดยปริยาย ๒ ดังกล่าวแล้วนี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ทรงประกาศ

ธรรมโดยอเนกปริยาย.

ในบทว่า เอสาห เป็นต้น เรานั้น ชื่อว่า เอสาห. บทว่า สรณ

คจฺฉามิ ความว่า พราหมณ์หมอบลงแทบพระบาท ถึงด้วยสรณคมน์ตลอด

ชีวิตก็ตาม บัดนี้ เมื่อยินดี จึงกราบทูลด้วยวาจา. หรือ ถึงพระพุทธเจ้าเท่านั้น

เป็นสรณะตลอดชีวิต บัดนี้ ทำพระพุทธเจ้านั้นให้เป็นต้น จึงกราบทูลเพื่อ

ถึงพระธรรมและพระสงฆ์ที่เหลือด้วย.

บทว่า อชฺชตคฺเค ได้แก่ ทำวันนี้ให้เป็นต้น. หรือว่า อชฺชทคฺเค

อักษรทำการเชื่อมบท. มีอธิบายว่า ทำวันนี้เป็นเลิศ ผู้ถึงสรณะตลอด

ชีวิต ชื่อว่า ปาณุเปต. มีอธิบายว่า ชีวิตของข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่ตราบ

ใด ขอพระโคดมผู้เจริญโปรดทรงจำ คือ ทรงรู้ข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้

ถึงสรณะตลอดชีวิต คือ ผู้ถึงสรณะ ด้วยสรณคมน์ ๓ ไม่มีศาสดาอื่นเป็น

สรณะตราบนั้น การปฏิบัติอันสมควรแก่สุตะ เป็นอันพราหมณ์นี้แสดงแล้ว

ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 290

อีกอย่าหนึ่ง พราหมณ์นี้แสดงสมบัติของพระศาสดา ด้วยคำว่า ของ

ที่คว่ำเป็นต้น แสดงสมบัติของศิษย์ ด้วยบทเป็นต้นว่า เอสาห นี้. หรือ

แสดงการได้ปัญญาด้วยบทนั้น แสดงการได้ศรัทธาด้วยบทนี้. บัดนี้ มีความ

ประสงค์เพื่อทำกิจอันผู้มีปัญญาได้ศรัทธาแล้วจะพึงทำ จึงทูลขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ลเภยฺยาห. พราหมณ์มีจิตเลื่อมใสยิ่งในบรรพชานั้น ด้วย

อิทธิฤทธิ์เป็นต้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลขอบรรพชา ด้วยศรัทธาว่า

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงสละจักรพรรดิราชสมบัติแล้ว ทรงบรรพชา ก็จะ

ป่วยกล่าวไปไยถึงเราเล่า เมื่อปรารถนาความเป็นผู้ทำบริบูรณ์ในบรรพชานั้น

จึงทูลขออุปสมบท ด้วยปัญญา. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้ว.

ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เอโก วูปกฏฺโ เป็นต้น

ท่านพระภารทวาชะอยู่ผู้เดียว ด้วยกายวิเวก หลีกออกจากหมู่ด้วยจิตวิเวก ไม่

ประมาทด้วยการไม่ปล่อยสติในกรรมฐาน มีความเพียร ด้วยความเพียรกล่าว

คือความเพียรทางกายและทางจิต มีใจเด็ดเดี่ยว ด้วยความไม่เห็นแก่กายและ

ชีวิต อยู่ด้วยการเปลี่ยนอิริยาบถอย่างหนึ่ง. บทว่า นจิรสฺเสว กล่าวมุ่งถึง

บรรพชา. บทว่า กุลปุตฺตา ได้แก่ กุลบุตร ๒ อย่าง คือ ชาติกุลบุตร ๑

อาจารกุลบุตร ๑. ก็กุลบุตรนี้ ประสงค์เอาแม้ทั้ง ๒ อย่าง.

บทว่า อคารสฺมา ได้แก่ จากเรือน. ก็การงานในการเลี้ยงดูของ

กุฏุมพีมีการทำนาและเลี้ยงโคเป็นต้น เรียกว่า กิจของผู้ครองเรือนนั้น. กิจใน

การครองเรือนย่อมไม่มีในบรรพชานั้น เพราะเหตุนั้น บรรพชานั้น จึงชื่อว่า

อนคาริยะ. คำว่า อนคาริยะ นี้เป็นชื่อของบรรพชา. บทว่า ปพฺพชนฺติ

ความว่า เข้าไป เข้าไปนั่งใกล้. พรหมจรรย์นั้น ยอดเยี่ยม เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 291

พรหมจรรย์นั้น จึงชื่อว่า ตทนุตตระ. บทว่า พฺรหฺมจริยปริโยสาน ได้แก่

ที่สุดแห่งมรรคพรหมจรรย์. อธิบายว่า พระอรหัตผล. จริงอยู่ กุลบุตร

ทั้งหลายย่อมบวชเพื่อประโยชน์แก่พระอรหัตผลนั้น. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม

ได้แก่ ในอัตภาพนั้นเที่ยว. บทว่า สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ความว่า

รู้ประจักษ์ด้วยปัญญาด้วยตนเองเท่านั้น คือ รู้โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย. บทว่า

อุปสมฺปชฺช วิหาสิ ความว่า บรรลุแล้ว หรือให้ถึงพร้อมแล้วอยู่. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงภูมิแห่งการพิจารณาของภารทวาชภิกษุนั้น ด้วยบท

นี้ว่า ก็อยู่อย่างนี้แล้ว ก็ได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ฯลฯ.

ถามว่า ก็ชาติไหนของภารทวาชภิกษุนั้น สิ้นแล้ว และได้รู้ชัดซึ่ง

ชาตินั้นอย่างไร ?

ตอบว่า ชาติอดีตของภิกษุนั้น ไม่สิ้นก่อน เพราะได้สิ้นแล้วในอดีต

เทียว ชาติอนาคตกไม่สิ้นแล้ว เพราะไม่มีความพยายาม ชาติปัจจุบัน ก็ไม่

สิ้นแล้ว เพราะชาติยังมีอยู่ แต่ชาติใดอันต่างด้วยขันธ์หนึ่ง ขันธ์สี่และขันธ์ห้า

ในเอกภพ จตุภพ และปัญจโวการภพพึงเกิดขึ้น เพราะความที่มรรคยังไม่

อบรมแล้ว ชาตินั้น ชื่อว่า สิ้นแล้วโดยถึงความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา เพราะ

ความที่มรรคได้อบรมแล้ว. ภิกษุนั้นพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ด้วยมรรคภาวนา

รู้อยู่ว่า กรรมแม้มีอยู่ในเพราะไม่มีกิเลส จึงไม่มีปฏิสนธิต่อไป ชื่อว่า ย่อมรู้

ชาตินั้น.

บทว่า วุสิต ความว่า อยู่จบแล้ว คือ ทำแล้ว อยู่จบรอบแล้ว

อธิบายว่า กระทำแล้ว ประพฤติแล้ว ให้จบแล้ว. บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่

มรรคพรหมจรรย์. บทว่า กต กรณีย ความว่า กิจ ๑๖ อย่าง ด้วยอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 292

แห่งปริญญาภาวนา ปหานภาวนา และสัจฉิกิริยาภาวนา ด้วยมรรค ๔ ใน

สัจจะ ๔ ให้จบแล้ว. บทว่า นาปร อิตฺถตฺตาย ความว่า มรรคภาวนา

เพื่อความเป็นอย่างนี้ คือ เพื่อความเป็นกิจ ๑๖ อย่าง หรือ เพื่อความสิ้น

กิเลส มิได้มีอีกในบัดนี้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิตฺถตฺตาย ความว่า รู้ชัดว่า ขันธสันดาน

อื่นจากขันธสันดาน อันเป็นไปอยู่ในปัจจุบันนี้ มีประการอย่างนี้ โดยความ

เป็นอย่างนี้ มิได้มี แต่ขันธ์ ๕ เหล่านี้ ได้กำหนดรู้แล้ว ดำรงอยู่ ดุจต้นไม้

ที่มีรากขาดแล้ว ฉะนั้น. บทว่า อญฺตโร ได้แก่ รูปหนึ่ง. บทว่า

อรหต ความว่า ท่านพระภารทวาชะได้เป็นพระอรหันต์ภายในพระมหาสาวก

แห่งพระอรหันต์ทั้งหลาย ได้ยินว่า นี้เป็นอธิบายในกสิภารทวาชสูตรนี้แล.

จบ กสิภารทวาชสุตตวัณณนา แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 293

จุนทสูตรที่ ๕

ว่าด้วยสมณะมี ๔ จำพวก

นายจุนทกัมมารบุตรทูลถามว่า

[๓๐๒] ข้าพระองค์ขอทูลถามพระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นมุนี มีพระปัญญามาก ผู้เป็น

เจ้าของแห่งพระธรรม ผู้มีตัณหาปราศจาก

ไปแล้ว ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ผู้ประเสริฐกว่า

สารถีทั้งหลายว่า สมณะในโลกมีเท่าไร ขอ

เชิญพระองค์ตรัสบอกสมณะเหล่านั้นเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนจุนทะ

สมณะมี ๔ สมณะที่ ๕ ไม่มี เราถูก

ท่านถามซึ่งหน้าแล้ว ขอชี้แจงสมณะทั้ง ๔

เหล่านั้น ให้แจ่มแจ้งแก่ท่าน คือ สมณะ

ผู้ชนะสรรพกิเลสด้วยมรรค ๑ สมณะผู้แสดง

มรรค (แก่ชนเหล่าอื่น) ๑ สมณะเป็นอยู่

ในมรรค ๑ สมณะผู้ประทุษร้ายมรรค ๑.

นายจุนทกัมมารบุตรทูลถามว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสสมณะ

ผู้ชนะสรรพกิเลสด้วยมรรคอะไร สมณะ

เป็นผู้มีปรกติเพ่งมรรคไม่มีผู้เปรียบ สมณะ

เป็นอยู่ในมรรค ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 294

ขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ อนึ่ง

ขอพระองค์ทรงชี้แจง สมณะประทุษร้าย

มรรคให้แจ้งแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสสมณะ

ผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว ผู้ไม่มีกิเลสดุจ

ลูกศร ผู้ยินดียิ่งแล้วในนิพพาน ผู้ไม่มี

ความกำหนัด ผู้คงที่ เป็นผู้นำโลกพร้อม

ด้วยเทวโลกว่า สมณะผู้ชนะสรรพกิเลสด้วย

มรรค ๑.

ภิกษุใดในศาสนานี้รู้ว่า นิพพานเป็น

ธรรมยิ่ง ย่อมบอกได้ ย่อมจำแนกธรรมใน

ธรรมวินัยนี้แล พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัส

ภิกษุที่ ๒ ผู้ตัดความสงสัย ผู้เป็นมุนี ผู้ไม่

หวั่นไหวนั้นว่า สมณะผู้แสดงมรรค.

ภิกษุใด เมื่อบทธรรมอันพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายทรงแสดงไว้ดีแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้ว

มีสติ เสพบทอันไม่มีโทษอยู่ ชื่อว่าเป็นอยู่

ในมรรค พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสภิกษุที่๓

นั้นว่า เป็นอยู่ในมรรค.

บุคคลกระทำเพศแห่งพระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้มีวัตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 295

อันงามให้เป็นเครื่องปกปิดแล้ว มักประพฤติ

แล่นไป ประทุษร้ายตระกูล เป็นผู้คะนอง

มีมายา ไม่สำรวม เป็นคนแกลบ บุคคลนั้น

แลชื่อว่า เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรค

อย่างยิ่งด้วยวัตตปฏิรูป.

ก็พระอริยสาวกผู้ได้สดับ มีปัญญา

ทราบสมณะเหล่านั้นทั้งหมดว่าเป็นเช่นนั้น

เห็นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่ยังศรัทธาของคฤหัสถ์

ผู้ทราบชัดสมณะเหล่านี้ให้เสื่อม จะพึง

กระทำสมณะผู้ไม่ถูกโทษประทุษร้าย ให้

เสมอด้วยสมณะผู้ถูกโทษประทุษร้าย จะพึง

กระทำสมณะผู้บริสุทธิ์ ให้เสมอด้วยสมณะ

ผู้ไม่บริสุทธิ์ อย่างไรได้.

จบจุนทะสูตรที่ ๕

อรรถกถาจุนทสูตร

จุนทสูตรเริ่มด้วยคาถาว่า ปุจฺฉามิ มุนึ ปหุตปญฺ ดังนี้ :-

มีอุบัติอย่างไร ? โดยสังเขปก่อน ในอุบัติ ๔ อย่าง อันต่างเพราะ

อัชฌาสัยของตน เพราะอัชฌาสัยของคนอื่น เพราะอุบัติแห่งเรื่อง และเพราะ

อำนาจแห่งการถาม สูตรนี้มีอุบัติเพราะอำนาจแห่งการถาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 296

ส่วนโดยพิสดาร ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกในแคว้น

มัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มาก เสด็จถึงเมืองปาวา ได้ยินว่า ในครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อันพวันของนายจุนทกัมมารบุตร ใกล้เมือง

ปาวา จำเดิมแต่นี้ไป พึงให้พิสดารโดยนัยที่มาแล้วในสูตรว่า ครั้งนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาเช้า ทรงนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร พร้อมด้วย

พระภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตร ครั้นเสด็จเข้าแล้ว

ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งพร้อมด้วย

พระภิกษุสงฆ์อย่างนี้แล้ว นายจุนทกัมมารบุตรเมื่ออังคาสพระภิกษุสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้น้อมภาชนะทองคำทั้งหลาย แด่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อ

รับพยัญชนะและสูปะเป็นต้น.

ครั้นเมื่อสิกขาบทยังไม่ทรงบัญญัติ ภิกษุบางพวกรับภาชนะทองคำ

บางพวกไม่รับ ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีภาชนะอย่างเดียวเท่านั้น คือ

บาตรเสลมัยของพระองค์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงรับภาชนะที่ ๒ ใน

พระภิกษุเหล่านั้น ภิกษุชั่วรูปหนึ่งใส่ภาชนะทองคำราคาหนึ่งพันที่ถึงเพื่อ

ประโยชน์แก่โภชนะของตน ในถุงกุญแจด้วยไถยจิต. นายจุนทะอังคาสแล้ว

ล้างมือและเท้า นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า แลดูพระภิกษุสงฆ์อยู่ ได้เห็น

ภิกษุนั้น และทำทีเหมือนไม่เห็น ไม่ได้พูดอะไรกะภิกษุนั้น ด้วยความเคารพ

ในพระผู้มีพระภาคเจ้า และในพระเถระทั้งหลายว่า เออก็พวกมิจฉาทิฏฐิ อย่ามี

ถ้อยคำ เขาอยากจะรู้ว่า สมณะทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วยสังวรหรือหนอ

หรือว่า สมณะแม้เช่นนี้มีสังวรแตกแล้ว ในเวลาเย็นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้า แล้วทูลถามว่า ปุจฺฉามิ มุนึ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 297

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุจฺฉามิ มีนัยที่กล่าวแล้วในนิทเทส

นั่นแล โดยนัยมีอาทิว่า การถามสามอย่าง คือ การถามให้สิ่งที่ไม่เห็นให้

แจ่มแจ้ง.

บทว่า มุนึ แม้นั่น มีนัยที่กล่าวแล้วในนิทเทสนั่นเอง โดยนัยมีอาทิว่า

ญาณเรียกว่า โมนะ ปัญญา ความรู้ชัด ฯลฯ สัมมาทิฏฐิใด มุนีประกอบพร้อม

ด้วยญาณนั้น ถึงแล้วซึ่งโมนะ เพราะฉะนั้น โมเนยยะ ๓ อย่าง คือ กาย

โมเนยยะ. ก็ความสังเขปในคาถานี้ ดังนี้. บทว่า ปุจฺฉามิ ความว่า นาย

จุนทกัมมารบุตรเมื่อกระทำโอกาส จึงทูลร้องเรียกผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมุนี.

บทว่า ปหุตปญฺ เป็นต้น เป็นคำกล่าวสรรเสริญ. นายจุนทกัมมารบุตร

สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่าเป็นมุนี ด้วยบทเหล่านั้น. ในบทเหล่านั้น

บทว่า ปหุตปญฺ ได้แก่มีพระปัญญาไพบูล. ก็ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้นมีพระปัญญาไพบูล พึงทราบว่าทรงการทำไญยธรรมเป็นที่สุด. บทว่า

อิต จุนฺโท กมฺมารปุตฺโต นี้ มีนัยที่กล่าวแล้วในธนิยสูตรนั่นแล. ก็เบื้องหน้า

แต่นี้ ข้าพเจ้าไม่กล่าวแม้คำมีประมาณเท่านี้ ทิ้งนัยที่กล่าวแล้วทั้งหมด จัก

พรรณนานัยที่ยังไม่กล่าวเท่านั้น.

บทว่า พุทฺธ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระพุทธะทั้งสาม.

บทว่า ธมฺมสฺสามึ ความว่า ชื่อว่า ผู้เป็นเจ้าของแห่งพระธรรม คือ ผู้มี

พระธรรมเป็นอิสระ ผู้เป็นธรรมราชา ผู้ประพฤติตามอำนาจธรรม เพราะ

ความที่พระองค์ทรงให้มรรคธรรมเกิด ดุจบิดาของบุตรเป็นอาจารย์ของพวก

ศิลปายตนะที่ตนให้เกิดแล้วเป็นต้น. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์

๑. ขุ. จูฬนิทฺเทส. ๖๑. ๒. ขุ. จูฬนิทฺเทส ๖๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 298

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยัง

มรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ทรงบอกมรรคที่ยังไม่ได้บอก ทรงรู้มรรค

ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค ส่วนสาวกทั้งหลาย เป็นผู้คล้อยตามมรรค

อยู่ในปัจจุบัน เป็นผู้ประกอบพร้อมในภายหลัง*.

บทว่า วีตตณฺห ได้แก่ ผู้ปราศจากกามตัณหา ภวตัณหา และ

วิภวตัณหาแล้ว. บทว่า ทิปทุตฺตม ได้แก่ ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย.

ในบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่ทรงเป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้าอย่างเดียว

เท่านั้น ก็จริง ถึงกระนั้น ก็เป็นผู้สุดกว่าสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า ฯลฯ

หรือ เนวสัญญีนาสัญญีทั้งหมด โดยที่แท้เรียกว่า ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า

นั่นเทียว ด้วยอำนาจการกำหนดอย่างสูงสุด. เพราะสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลายชื่อว่า

สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง เพราะพระเจ้าจักรพรรดิ พระมหาสาวกและพระปัจเจก

พุทธเจ้าเป็นต้น ก็เกิดในสัตว์ ๒ เท้านั้น. ก็เมื่อกล่าวว่า ผู้สุดกว่าสัตว์เหล่านั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เป็นอันเรียกว่า ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวงเหมือนกัน.

บทว่า สารถึน ปวร ความว่า ชื่อว่า สารถี เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า

ให้แล่นไป. คำว่า สารถี นั่นเป็นชื่อของผู้ฝึกช้างเป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าสารถีเหล่านั้น เพราะพระองค์ทรงสามารถเพื่อฝึกบุรุษ

ที่ควรฝึกทั้งหลาย ด้วยการฝึกอันยอดเยี่ยม. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ผู้ฝึกช้างย่อมให้ช้างที่ฝึกแล่นไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น หรือทิศตะวันออก

ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ฝึกม้าย่อมให้ม้าที่ฝึก

* ม. อุ. โคปกโมคฺคลฺลานสุตฺต ๙๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 299

แล่นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ฝึกโค ย่อมให้โคที่ฝึกแล่นไปสู่ ฯลฯ ทิศใต้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมให้บุรุษที่ฝึกแล้ว

แล่นไปสู่ทิศทั้งแปด คือ ผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นทิศหนึ่ง ฯลฯ เข้าถึง

สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นทิศที่แปด ดังนี้.

บทว่า กติ ได้แก่ การถามถึงประเภทแห่งเนื้อความ. บทว่า โลเก

ได้แก่ในสัตวโลก. บทว่า สมณา เป็นการแสดงไขอรรถอันพึงถาม. บทว่า

อิงฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถร้องขอ. บทว่า ตทิงฺฆ แยกออกเป็น เต อิงฺฆ

แปลว่า ขอเชิญ ตรัสบอกสมณะเหล่านั้น. บทว่า พฺรูหิ ความว่า ตรัสบอก

คือ จักตรัส.

ครั้นนายจุนทะทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นนายจุนท-

กัมมารบุตรไม่ถามปัญหาของคฤหัสถ์ โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

กุศลเป็นอย่างไร อกุศลเป็นอย่างไร ถามอยู่ซึ่งปัญหาของสมณะ เมื่อทรงระลึก

ทรงรู้ว่า นายจุนทกัมมารบุตรนี้ ถามหมายถึงภิกษุชั่วนั้น เมื่อจะทรงแสดง

ความที่ภิกษุนั้นไม่เป็นสมณะ เพราะสักว่าโวหารบัญญัติ จึงตรัสว่า สมณะ

๔ พวก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุโร เป็นการกำหนดจำนวน. บทว่า

สมณา ความว่า บางคราว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเดียรถีย์ทั้งหลาย โดย

วาทะว่า สมณะ เหมือนที่ตรัสว่า เหล่านั้นใดเป็นวตโกตูหลมงคสของสมณ-

พราหมณ์ผู้ปุถุชน. บางคราวตรัสถึงปุถุชนทั้งหลาย ดุจตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ชนย่อมจำท่านว่า สมณะ สมณะ . บางคราวตรัสถึงพระเสกขะ ดุจ

๑. ม. อุ. สฬายตนวิภงฺคสุตฺต ๓๗๕. ๒. ม. มู. จูฬอสฺสปุรสุตฺต ๔๘๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 300

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะผู้เสกขะมีในศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่ ๒

มีในศาสนานี้. บางคราวตรัสถึงพระขีณาสพทั้งหลาย ดุจตรัสว่า เป็นสมณะ

เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย. บางคราวตรัสถึงพระองค์นั่นแล ดุจตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย คำว่า สมณะ นั่นแล เป็นชื่อของเราตถาคต ดังนี้. แต่ในที่นี้

ตรัสถึงพระอริยะแม้ทั้งหมด และปุถุชนผู้มีศีล ด้วยบททั้งสาม. ด้วยบทที่สี่

ทรงสงเคราะห์ภิกษุนอกนี้แม้ไม่เป็นสมณะมีแต่ผ้าเหลืองพันคอว่า สมณะ ด้วย

เหตุสักว่าโวหารอย่างเดียว แล้วจึงตรัสว่า สมณะมี ๔ พวก ดังนี้.

บทว่า น ปญฺจมตฺถิ ความว่า ชื่อว่า สมณะที่ห้าไม่มีในพระธรรม-

วินัยนี้ โดยเหตุสักว่า โวหาร แม้โดยเหตุสักว่าปฏิญญา. บทว่า เต เต

อาวิกโรมิ ความว่า เราจะทำสมณะ ๔ เหล่านั้น ให้ปรากฏแก่ท่าน. บทว่า

สกฺขิปุฏโ ความว่า ถูกถามซึ่งหน้าแล้ว.

บทว่า มคฺคชิโน ความว่า ผู้ชนะกิเลสทั้งปวงด้วยมรรค.

บทว่า มคฺคเทสโก ได้แก่ ผู้แสดงมรรคแก่ชนเหล่าอื่น.

บทว่า มคฺเค ชีวติ ความว่า ในพระเสขะทั้ง ๗ พระเสขะรูปใด

รูปหนึ่ง ชื่อว่าเป็นอยู่ในมรรคอันเป็นโลกุตระ เพราะการอบรมมรรคอันตน

ยังไม่แสวงหา และปุถุชนผู้มีศีล ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในมรรคอันเป็นโลกิยะ หรือ

ปุถุชนผู้มีศีล พึงทราบว่าเป็นอยู่ในมรรค แม้เพราะเป็นอยู่ด้วยมรรคนิมิตอัน

เป็นโลกุตระ.

บทว่า โย จ มคฺคทูสี ความว่า และสมณะผู้ทุศีล เป็นมิจฉาทิฏฐิ

ชื่อว่า ผู้ประทุษร้ายมรรค เพราะปฏิบัติแม้ขัดกับมรรค.

๑. อ. จุตุกฺก ๓๓๓. ๒. ม. มู. จูฬอสฺสปุรสุตฺต ๔๙๔. ๓. อ. อฎฺฐฺก. ๒๐๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 301

นายจุนทะเมื่อไม่อาจรู้ชัดซึ่ง สมณะ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยก

ขึ้นแสดงโดยย่อว่า สมณะ ๔ เหล่านี้ อย่างนี้ว่า ในสมณะเหล่านี้ สมณะผู้

ชนะด้วยมรรคชื่อนี้ สมณะผู้ประทุษร้ายมรรคชื่อนี้ ดังนี้ เพื่อจะทูลถามอีก

จึงทูลว่า กมฺมคฺคชิน ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มคฺเค ชีวติ เม

ความว่า สมณะนั้นใด เป็นอยู่ในมรรค พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว

ขอจงตรัสบอกสมณะนั้นแก่ข้าพระองค์. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้วเทียว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงขยายสมณะแม้ทั้งสี่แก่

พราหมณ์นั้น ด้วยคาถา ๔ คาถา จึงตรัสว่า โย ติณฺณกถกโถ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ติณฺณกถกโถ วิสลฺโล (สมณะผู้ข้าม

ความสงสัยได้แล้ว ผู้ไม่มีกิเลสดุจลูกศร) นั่น มีนัยที่กล่าวแล้วในอุรคสูตร

นั่นแล. ส่วนความแปลกกัน ดังนี้ :-

เพราะสมณะ คือ พระพุทธเจ้า ทรงประสงค์เอาว่า สมณะผู้ชนะ

สรรพกิเลสด้วยมรรค ด้วยคาถานี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า

สมณะผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว แม้เพราะความไม่รู้ในธรรมทั้งปวง อันสมควร

สงสัย เป็นธรรมอันพระองค์ข้ามได้แล้ว ด้วยสัพพัญญุตญาณ. ก็สมณะทั้งหลาย

มีโสดาบันเป็นต้น มีพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นที่สุด แม้ข้ามความสงสัยได้แล้ว

โดยนัยที่กล่าวแล้วในบทก่อน แต่โดยปริยาย ชื่อว่า ยังไม่ข้ามความสงสัยทีเดียว

เพราะเป็นผู้มีอำนาจญาณไม่กระทบในวิสัยทั้งหลายมีสกทาคามิวิสัยเป็นต้น มี

พุทธวิสัยเป็นที่สุด. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสมณะผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว

โดยประการทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 302

บทว่า นิพฺพานาภิรโต ได้แก่ ยินดีเฉพาะแล้ว ในนิพพาน.

อธิบายว่า มีจิตน้อมแล้วในนิพพานทุกเมื่อ ด้วยอำนาจแห่งผลสมาบัติ. และ

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเป็นเช่นนั้น สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ

เรานั้นแลย่อมตั้งพร้อม ให้สงบ กระทำให้เป็นธรรมเอก ตั้งมั่น ซึ่งจิตใน

ภายในนั้นแลไว้ในสมาธินิมิตอันก่อนนั้นเทียว ในที่สุดแห่งคาถานั้นแล.

บทว่า อนานุคิทฺโธ ความว่า ผู้ไม่มีความกำหนัด ซึ่งธรรมไร ๆ

ด้วยความกำหนัด คือ ตัณหา.

บทว่า โลกสฺส สเทวกสฺส เนตา ความว่า เป็นผู้นำ คือ ให้

ถึงโลกพร้อมด้วยเทวโลก ด้วยการแสดงธรรม โดยสมควรแก่อาสัยและอนุสัย

ให้ถึงการแทงตลอดสัจจะ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อันไม่มีปริมาณ ใน

สูตรทั้งหลายมาก มีปารายนสูตรและมหาสมยสูตรเป็นต้น. อธิบายว่า ให้ข้าม

คือ ให้ถึงฝั่งนอก.

บทว่า ตาทึ ความว่า ผู้เป็นเช่นนั้น มีประการตามที่กล่าวแล้ว

หรือผู้ไม่ผันแปรด้วยโลกธรรมทั้งหลาย. บทที่เหลือในคาถานี้ ปรากฏแล้วแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงขยายสมณะ คือ พระพุทธเจ้าว่า

เป็นพระสมณะผู้ชนะสรรพกิเลสด้วยมรรค ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อ

จะทรงขยายสมณะผู้ขีณาสพ จึงตรัสว่า ปรม ดังนี้.

ในคาถานั้น นิพพาน ชื่อว่า ปรมะ อธิบายว่า เลิศ อุดมกว่าธรรม

ทั้งปวง. บทว่า ปรมนฺติ โยธ ตฺวา ความว่า ภิกษุใดในศาสนานี้รู้ว่า

นิพพานนั้นเป็นธรรมยิ่ง ด้วยปัจจเวกขณญาณ.

๑. ม. มู. มหาสจฺจกสุตฺต ๔๔๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 303

บทว่า อกฺขาติ วิภชติ อิเธว ธมฺม ความว่า ย่อมนิพพาน-

ธรรม คือ กระทำนิพพานธรรมให้ปรากฏแก่คนเหล่าอื่น เพราะความที่

นิพพานธรรมเป็นธรรมอันตนแทงตลอดแล้วว่า นี้นิพพาน ย่อมจำแนกมรรค-

ธรรมว่า เหล่านี้สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ นี้มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐดังนี้ หรือ

ย่อมบอกธรรมแม้ทั้งสอง โดยแสดงอย่างย่อแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคล ย่อมจำแนก

โดยแสดงอย่างพิสดาร แก่วิปจิตัญถญูบุคคล เมื่อบอกและจำแนกอย่างนี้

บันลือสีหนาทว่า ธรรมนี้มีในศาสนานี้เท่านั้น ไม่มีในภายนอกจากศาสนานี้

ชื่อว่า ย่อมบอก และย่อมจำแนก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ว่า ภิกษุใดในศาสนานี้ ย่อมบอก ย่อมจำแนกธรรมในธรรมวินัยนี้แล.

บทว่า ต กงฺขจฺฉท มุนึ อเนช ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ตรัสภิกษุที่ ๒ ผู้ตัดความสงสัย ด้วยการแทงตลอดสัจจะสี่ และด้วยการตัดความ

สงสัยของคนเหล่าอื่น ด้วยเทศนาของตน ผู้เป็นมุนี ด้วยการถึงพร้อมด้วย

โมเนยยะ ผู้ไม่หวั่นไหว เพราะไม่มีตัณหา กล่าว คือ เอชา นั้น คือ เห็น

ปานนั้นว่า สมณะผู้แสดงมรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดแล้วด้วยพระองค์เอง

แม้เป็นผู้แสดงมรรคอันยอดเยี่ยม ด้วยเทศนาแล้ว ทรงแสดงขยายสมณะผู้

ขีณาสพว่า สมณะผู้แสดงมรรค อันสมควรแก่ศาสนาของตน และยังศาสนา

ให้รุ่งเรือง ดุจทูต และดุจราชเลขาของพระราชา ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงขยายสมณะผู้เสขะ และสมณะผู้ปุถุชนมีศีล จึงตรัสว่า

โย ธมฺมปเท ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 304

การพรรณนาบท ในบทเหล่านั้น ปรากฏชัดแล้วแล แต่นัยแห่ง

วัณนนาในคาถานี้ มีดังนี้ :-

ภิกษุใด เมื่อบทธรรม เพราะเป็นบทแห่งนิพพานธรรม อันพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายทรงแสดงไว้ดีแล้ว เพราะทรงแสดงไม่อิงอาศัย ที่สุดทั้งสอง หรือ

เพราะทรงแสดงแล้ว โดยประการต่าง ๆ มีสติปัฏฐานเป็นต้น โดยสมควรแก่

อาสัย แม้เป็นผู้มรรคสมังคี ชื่อว่า เป็นอยู่ในมรรค เพราะเป็นผู้มีมรรคกิจ

อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมด้วยศีล มีสติ ด้วย

สติอันดำรงดีแล้วในกายเป็นต้น หรือระลึกได้ถึงกิจที่ทำแล้วนานเป็นต้นได้

เสพบทอันไม่มีโทษ กล่าวคือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เพราะเป็นบท

อันไม่มีโทษ โดยไม่มีโทษแม้ประมาณน้อย และเป็นบทโดยภาวะเป็นโกฏฐาส

ด้วยการเสพภาวนา จำเดิมแต่ภังคญาณ พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสภิกษุที่ ๓

นั้นว่า เป็นอยู่ในมรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสขยายสมณะผู้เสขะ และสมณปุถุชนผู้

มีศีลว่า เป็นอยู่ในมรรค ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง

ขยายสมณะสักว่าโวหารอย่างเดียว ซึ่งมีผ้าเหลืองพันคอนั้น จึงตรัสว่า ฉทน

กตฺวาน ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ฉทน กตฺวาน ความว่า กระทำความ

สมควรถือเพศ อธิบายว่าทรงเพศ. บทว่า สุพฺพตาน ได้แก่ พระพุทธเจ้า

พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก. จริงอยู่ วัตรของพระพุทธเจ้า พระปัจ-

เจกพุทธเจ้าและสาวก ย่อมงาม เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้นมีพระพุทธเจ้า

เป็นต้น เรียกว่า สุพฺพตา ผู้มีวัตรอันงาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 305

บทว่า ปกฺขนฺที ความว่า แล่นไป คือเข้าไปในภายใน. จริงอยู่

บุคคลผู้ทุศีลกระทำเพศของผู้มีวัตรอันงามให้เป็นเครื่องปกปิด เพื่อปกปิดความ

ที่ตนเป็นผู้ทุศีล เหมือนการปกปิดวัตถุมีหญ้าและใบไม้เป็นต้น เพื่อปกปิด

คูถฉะนั้น ย่อมแล่นไปในท่ามกลางภิกษุว่า แม้เราก็เป็นภิกษุ เมื่อเขาถวายลาภ

ว่า ภิกษุมีพรรษาประมาณเท่านี้ พึงรับลาภนี้ ก็ย่อมแล่นไปเพื่อจะรับว่า

เราก็มีพรรษาประมาณเท่านี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

กระทำเพศแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้มีวัตรอันงาม

ให้เป็นเครื่องปกปิดแล้ว มักประพฤติแล่นไปดังนี้.

บุคคลใดย่อมประทุษร้ายความเลื่อมใส อันเกิดแก่ตระกูลแม้ ๔ มี

ตระกูลกษัตริย์เป็นต้น ด้วยการประพฤติอันไม่สมควร เพราะเหตุนั้น บุคคล

นั้น ชื่อว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายตระกูล. บทว่า ปคพฺโภ ความว่า

ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความคะนองกาย ๘ ฐานะ ความคะนองวาจา ๔

ฐานะ และความคะนองใจมีหลายฐานะ. ความสังเขปในพระสูตรนี้มีเพียงเท่านี้

ส่วนความพิสดารข้าพเจ้าจักพรรณนาในเมตตสุตตวัณณนา.

ชื่อว่า มีมายา เพราะเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยมายาอันปกปิด

กรรมที่ตนทำแล้วเป็นลักษณะ ชื่อว่า ไม่สำรวม เพราะไม่มีการสำรวมศีล

ชื่อว่า เป็นคนแกลบ เพราะความเป็นผู้เช่นกับแกลบ. เปรียบเหมือนแกลบ

แม้เว้นข้าวสารในภายใน แต่ปรากฏเหมือนข้าวเหนียวเมล็ดดีในภายนอก

ฉันใด บุคคลบางคนในศาสนานี้ก็ฉันนั้น แม้เว้นจากคุณสารมีศีลเป็นต้นใน

ภายใน แต่ย่อมปรากฏ เหมือนสมณะ ด้วยเพศสมณะ ปกปิดวัตรอันดีงาม

ฉะนั้น บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นคนแกลบ เพราะความเป็นคนเช่นกับแกลบ

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 306

ก็ในอานาปานสติสูตร แม้ปุถุชนผู้ดีงามอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บริษัทนี้ไม่มีแกลบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้มีแกลบออกแล้ว ดำรงอยู่

ในสาระอันบริสุทธิ์ ดังนี้ ตรัสว่า เป็นคนแกลบ ส่วนในสูตรนี้และในกปิล-

สูตร ผู้ต้องปาราชิกอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงนำคนแกลบ ไม่ใช่สมณะแต่

สำคัญว่า สมณะออกจากที่นั้น* ดังนี้ ตรัสว่า เป็นคนแกลบ.

บทว่า ปฏิรูเปน จร ส มคฺคทูสี ความว่า บุคคลนั้นกระทำ

เพศแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้มีวัตรอันงามให้เป็น

เครื่องปกปิดแล้วนั้น ประพฤติด้วยวัตตปฏิรูป คือ วัตตรูป ได้แก่ด้วย

อาจาระสักว่าภายนอก โดยประการที่ชนย่อมรู้เรา ตามที่ประพฤติอยู่ว่า ภิกษุ

นี้ อยู่ในป่าเป็นวัตร ถือรุกขมูลเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาต

เป็นวัตร ผู้มีความปรารถนาน้อย ผู้สันโดษ ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นสมณะ

ผู้ประทุษร้ายมรรค เพราะประทุษร้ายโลกุตรมรรคของตน และเพราะประทุษ-

ร้ายสุคติมรรคของคนเหล่าอื่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงขยายสมณะผู้สักว่าโวหาร ผู้ทุศีลว่า

เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรค ด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ

จะทรงแสดงความที่สมณะเหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้ากันและกัน จึงตรัสว่า เอเต จ

ปฏิวิชฺฌิ ดังนี้.

คาถามนั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดจะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นกษัตริย์ก็ตาม

เป็นพราหมณ์ก็ตาม คนใดคนหนึ่งก็ตาม ทราบชัด คือรู้ทั่ว กระทำให้แจ้ง

ซึ่งสมณะ ๔ เหล่านั้น ด้วยลักษณะตามที่กล่าวแล้ว สดับลักษณะของสมณะ ๔

* ขุ. สุ. ๓๐๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 307

เหล่านี้ โดยเพียงได้ฟัง ชื่อว่า อริยสาวก เพราะความที่ลักษณะนั้นแลได้ฟังแล้ว

ในสำนักของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีปัญญา ด้วยรู้ชัดว่า ภิกษุรูปนี้ และรูปนี้

มีลักษณะอย่างนี้ รู้สมณะเหล่านั้นนั่นแล ทั้งหมดแม้นี้ว่าเป็นเช่นนั้น สมณะนี้

เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรค ตรัสแล้วในภายหลัง เห็นแล้วอย่างนี้ คือ เห็น

ภิกษุชั่วนั่น แม้ทำความชั่วอย่างนี้.

ในคาถานั้นมีโยชนาดังนี้ ก็พระอริยสาวกผู้ได้สดับ มีปัญญาทราบ

สมณะเหล่านั้นทั้งหมดว่า เป็นเช่นนั้น ด้วยปัญญานั้นอยู่ เห็นแล้วอย่างนี้

ย่อมไม่ยังศรัทธาของคฤหัสถ์ผู้ทราบชัดสมณะเหล่านี้ให้เสื่อม คือ แม้เห็นภิกษุ

ชั่ว ทำกรรมชั่วอย่างนี้แล้ว ไม่ยังศรัทธาให้เสื่อม คือ ไม่ให้เสื่อมเสีย ไม่ให้

ศรัทธาฉิบหาย ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นแสดงความที่สมณะเหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้ากัน

และกัน ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะสรรเสริญพระอริยสาวก ผู้แม้

เห็นแล้วอย่างนี้ รู้สมณะเหล่านั้นทั้งหมดว่าเป็นเช่นนั้น จึงตรัสว่า กถญฺหิ

ทุฏเน ดังนี้.

คาถาวจนะนั้นมีความสัมพันธ์ว่า ก็พระอริยสาวกผู้ได้สดับเรื่องที่

ประกอบแล้วนั่นแล คือ แม้เห็นภิกษุทำความชั่วบางรูป ดังนี้แล้ว รู้สมณะ

เหล่านั้นทั้งหมดว่า เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร

เพราะจะพึงกระทำสมณะผู้ไม่ถูกโทษ

ประทุษร้าย ให้เสมอด้วยสมณะผู้ถูกโทษ

ประทุษร้าย จะพึงกระทำสมณะผู้บริสุทธิ์

ให้เสมอด้วยสมณะผู้ไม่บริสุทธิ์ อย่างไรได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 308

คาถานั้นมีเนื้อความว่า เพราะพระอริยสาวกผู้สดับ มีปัญญา จะพึง

กระทำผู้ไม่ถูกประทุษร้ายนอกนี้ ให้เสมอด้วยสมณะผู้ถูกโทษประทุษร้าย ด้วย

ศีลวิบัติ คือ สมณะผู้ประทุษร้ายมรรค จะพึงการทำสมณะผู้บริสุทธิ์ เป็น

เช่นนั้น ให้เสมอด้วยสมณะผู้ไม่บริสุทธิ์ด้วยกายสมาจารเป็นต้น คือ สมณะ

ผู้สักว่าโวหารผู้สุดท้ายอย่างไรได้ คือ พึงรู้ว่า เป็นเช่นนั้น ดังนี้.

ในการจบพระสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสมรรค หรือ ผล แก่

อุบาสก เพราะอุบาสกนั้นละความสงสัยได้แล้ว ดังนี้แล.

จบจุนทสุตตวัณณนา แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 309

ปราภวสูตรที่ ๖

ว่าด้วยความเสื่อม ๑๒ อย่าง

[๓๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยาม

สิ้นไปแล้ว เทวดาตนหนึ่งมีรัศมีอันงดงามยิ่ง ทำพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้

สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

[๓๐๔] ข้าพระองค์มา เพื่อจะทูลถาม

ถึงผู้เสื่อม และคนผู้เจริญกะท่านพระโคดม

จึงขอทูลถามว่า อะไรเป็นทางของคนเสื่อม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ผู้รู้ดีเป็นผู้เจริญ ผู้รู้ชั่วเป็นผู้เสื่อม

ผู้ใคร่ธรรมเป็นผู้เจริญ ผู้เกลียดธรรมเป็นผู้

เสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้

เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๑.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าขอพระองค์

จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๒ อะไรเป็นทางของ

คนเสื่อม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 310

คนมีอสัตบุรุษเป็นที่รัก ไม่กระทำ

สัตบุรุษให้เป็นที่รัก ชอบใจธรรมของอสัต-

บุรุษ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะ

เหตุนั้นแล เราจงทราบข้อนี้เถิดว่า ความ

เสื่อมนั้นเป็นที่ ๒.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์

จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๓ อะไรเป็นทางของ

คนเสื่อม.

คนใดชอบนอน ชอบคุย ไม่หมั่น

เกียจคร้าน โกรธง่าย ข้อนั้นเป็นทางของ

คนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด

ข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๓.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์

จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๔ อะไรเป็นทางของ

คนเสื่อม.

คนใดสามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดาหรือ

บิดาผู้แก่เฒ่า ผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว ข้อ

นั้นเป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล

เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้น

เป็นที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 311

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-

องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๕ อะไรเป็นทาง

ของคนเสื่อม.

คนใดลวงสมณะพราหมณ์ หรือแม้

วณิพกอื่นด้วยมุสาวาท ข้อนั้นเป็นทางของ

คนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด

ข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๕.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-

องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๖ อะไรเป็นทาง

ของคนเสื่อม.

คนมีทรัพย์มาก มีเงินทองของกิน

กินของอร่อยแต่ผู้เดียว ข้อนั้นเป็นทางของ

คนเสื่อม เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด

ข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๖.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-

องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๗ อะไรเป็นทาง

ของคนเสื่อม.

คนใดหยิ่งเพราะชาติ หยิ่งเพราะ

ทรัพย์ และหยิ่งเพราะโคตร ย่อมดูหมิ่น

ญาติของตน ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม

เพราะเหตุนั้น เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า

ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 312

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-

องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๘ อะไรเป็นทาง

ของคนเสื่อม.

คนใดเป็นนักเลงหญิง เป็นนักเลง

สุรา และเป็นนักเลงการพนันผลาญทรัพย์

ที่ตนหามาได้ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม

เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า

ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๘.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-

องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๙ อะไรเป็นทาง

ของคนเสื่อม.

คนไม่สันโดษด้วยภริยาของตนประ-

ทุษร้ายในภริยาของคนอื่นเหมือนประทุษร้าย

ในหญิงแพศยา ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม

เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า

ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๙.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-

องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๐ อะไรเป็นทาง

ของคนเสื่อม.

ชายแก่ได้หญิงรุ่นสาวมาเป็นภริยา

ย่อมนอนไม่หลับ เพราะความหึงหวงหญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 313

รุ่นสาวนั้น ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม

เพราะเหตุนั้น เราจงทราบชัดข้อนี้เถิดว่า

ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๑๐.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-

องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่๑๑ อะไรเป็นทาง

ของคนเสื่อม.

คนใดตั้งหญิงนักเลงสุรุ่ยสุร่าย หรือ

แม้ชายเช่นนั้นไว้ในความเป็นใหญ่ ข้อนั้น

เป็นทางของคนเสื่อม เพราะเหตุนั่น เราจง

ทราบชัดข้อนี้เถิดว่า ความเสื่อมนั้นเป็นที่ ๑๑.

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระ-

องค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๒ อะไรเป็น

ทางของคนเสื่อม.

ก็บุคคลผู้เกิดในสกุลกษัตริย์ มีโภค-

ทรัพย์น้อย มีความมักใหญ่ ปรารถนา

ราชสมบัติ ข้อนั้นเป็นทางของคนเสื่อม.

บัณฑิตผู้ถึงพร้อมด้วยความเห็นอัน

ประเสริฐ พิจารณาเห็นคนเหล่านี้ เป็นผู้

เสื่อมในโลก ท่านย่อมคบโลกที่เกษม (คน

ผู้เจริญ).

จบปราภวสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 314

อรรถกาปราภวสูตร

ปราภวสูตรเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้ :-

มีอุบัติอย่างไร ? ได้ยินว่า เทวดาทั้งหลายฟังมงคลสูตรแล้ว ได้มี

ปริวิตกนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเจริญและความสวัสดีแก่สัตว์ทั้งหลาย

ในมงคลสูต ตรัสแต่ความเจริญโดยส่วนเดียวเท่านั้น ไม่ตรัสความเสื่อมเลย

เอาเถิด บัดนี้ สัตว์ทั้งหลายย่อมเสื่อม ย่อมพินาศ ด้วยเหตุแห่งความเสื่อมใด

พวกเราจะทูลถามถึงเหตุแห่งความเสื่อมนั้น ของสัตว์เหล่านั้น.

ลำดับนั้น ในวันที่ ๒ แต่วันที่ตรัสมงคลสูตร เทวดาทั้งหลายใน

หมื่นจักรวาล ประสงค์จะฟังพระสูตรว่าด้วยความเสื่อม ประชุมกันในจักรวาล

หนึ่งนี้ จึงนิรมิตอัตภาพละเอียด ๑๐ อัตภาพบ้าง ๒๐ อัตภาพบ้าง ๓๐ อัตภาพ

บ้าง ๔๐ อัตภาพบ้าง ๕๐ อัตภาพบ้าง ๖๐ อัตภาพบ้าง ๗๐ อัตภาพบ้าง

๘๐ อัตภาพบ้าง ในโอกาสที่สุดแห่งปลายขนทรายหนึ่ง ได้ยืนแวดล้อม

พระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่ปูแล้ว รุ่งโรจน์ข่มทับ

เทวดา มาร และพรหมทั้งปวง ด้วยสิริและเดช แต่นั้น เทวบุตรองค์หนึ่ง

ถูกท้าวสักกะจอมเทวินทร์ตรัสสั่งแล้ว ทูลถามปัญหาเกี่ยวกับความเสื่อมกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสสูตรนี้ ด้วยอำนาจ

แห่งการถาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น ท่านพระอานนท์

กล่าว. คาถาในลำดับหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า ปราภวนฺต ปุริส เทวบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 315

กล่าว. คาถาในลำดับหนึ่งอีก โดยนัยมีอาทิว่า สุวิชาโน ภว โหติ และ

คาถาสุดท้าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส. คำนี้นั้นแม้ทั้งหมดประมวลเข้ากันแล้ว

เรียกว่า ปราภวสูตร.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น คำใดจะ

พึงกล่าว คำนั้นทั้งหมดข้าพเจ้าจักกล่าวไว้ในมงคลสุตตวัณณนา. ส่วนในบท

มีอาทิว่า ปราภวนฺต ปุริส ได้แก่ ผู้เสื่อม ผู้เสื่อมเสีย ผู้พินาศ. บทว่า

ปุริส ได้แก่ สัตว์ คือ ผู้เกิดคนใดคนหนึ่ง.

บทว่า มย ปุจฺฉาม โคตม ความว่า เทวบุตรนั้นแสดงตน

พร้อมกับเทวดาที่เหลือทั้งหลาย ทูลร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพระโคตร.

บทว่า ภควนฺต ปุฏฐุมาคมฺม ความว่า ก็ข้าพระองค์มาจากจักรวาลนั้น ๆ

ด้วยหวังว่า จักทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า. เทวบุตรแสดงความเอื้อเฟื้อด้วย

บทนี้.

บทว่า กึ ปราภวโต มุข ความว่า ขอพระองค์โปรดตรัสบอก

แก่ข้าพระองค์ทั้งหลายที่มาแล้วอย่างนี้ว่า อะไรเป็นทาง คือ เป็นประตู เป็น

กำเนิด เป็นเหตุของคนเสื่อม ซึ่งพวกข้าพระองค์พึงรู้คนเสื่อม. เทวบุตร

ทูลถามเหตุแห่งความเสื่อมของคนเสื่อม ที่กล่าวไว้ในบทนี้ว่า ปราภวนฺต

ปุริส ด้วยบทนี้. เพราะเมื่อรู้เหตุแห่งความเสื่อมแล้วก็อาจรู้คนเสื่อมบางคนได้

ด้วยเหตุสามัญนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงปฏิปักษ์ เพื่อทรงกระทำ

ให้ปรากฏด้วยดี แก่เทวบุตรนั้น เมื่อจะทรงแสดงทางแห่งความเสื่อม ด้วย

เทศนามีบุคลาธิษฐาน จึงตรัสว่า สุวิชาโน ภว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 316

คาถานั้นมีเนื้อความว่า คนนี้ใดเจริญคือวัฒนาไม่เสื่อม คนนั้นเป็น

ผู้รู้ได้ง่ายคืออาจเพื่อทราบชัดโดยง่ายคือโดยไม่ยาก ส่วนคนนี้ใดเป็นผู้เสื่อม

เพราะอรรถว่า ย่อมเสื่อม คือย่อมเสียหาย คือย่อมพินาศ ซึ่งพวกท่านถาม

ทางแห่งความเสื่อมของคนเสื่อมนั้นกะเรา คนแม้นั้นก็รู้ได้ง่าย. อย่างไร ?

ก็คนนี้ใคร่ธรรม เป็นผู้เจริญ คือ ย่อมใคร่ กระหยิ่ม ปรารถนาฟัง ปฏิบัติ

ซึ่งธรรมคือกุศลกรรมบถสิบ คนนั้นชื่อว่าเป็นผู้รู้ได้ง่าย เพราะเห็นและฟัง

ปฏิบัตินั้น แล้วพึงรู้ได้ ผู้เกลียดธรรมแม้นอกนี้ เป็นผู้เสื่อม ย่อมเกลียด คือ

ย่อมไม่กระหยิ่ม ไม่ปรารถนา ไม่ฟัง ไม่ปฏิบัติธรรมนั้นนั่นเทียว ผู้เกลียด

ธรรมนั้น ชื่อว่า เป็นผู้รู้ได้ง่าย เพราะเห็นและฟังการปฏิบัติผิดนั่นแล้ว พึง

รู้ได้.

ในคาถานี้ ผู้ศึกษาพึงทราบอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรง

แสดงปฏิปักษ์ ก็ทรงแสดงความเป็นผู้ใคร่ธรรม โดยอรรถ แสดงทาง โดย

ความเจริญแล้ว ทรงแสดงความเป็นผู้เกลียดธรรม เป็นทางแห่งความเสื่อม

ลำดับนั้น เทวดานั้น เพลิดเพลินยิ่งซึ่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลว่า

อิติ เหต.

เนื้อความแห่งคำนั้นว่า เพราะเหตุนั้นแล เราจงทราบชัด คือ จงถือ

จงทรงไว้ ซึ่งข้อนี้โดยประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วนั้นแลว่า ความ

เสื่อมนั้นเป็นที่ ๑ คือ ความเสื่อมนั้น มีความเกลียดธรรมเป็นลักษณะเป็น

ที่ ๑มีอธิบายว่า พวกเราเป็นผู้มาแล้ว เพื่อทราบชัด ซึ่งทางแห่งความเสื่อมเหล่า

ใด ในทางแห่งความเสื่อมเหล่านั้น นี้เป็นทางแห่งความเสื่อมหนึ่งก่อน.

ก็ในคำนั้นมีวิเคราะห์ว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเสื่อมด้วยเหตุนั้น เพราะ

ฉะนั้น เหตุนั้นจึงชื่อว่า ปราภโว แปลว่า ความเสื่อม. ก็สัตว์ทั้งหลายย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 317

เสื่อม เพราะอะไร ก็เพราะเหตุอันเป็นทางคือเป็นการณ์แห่งความเสื่อม ด้วยว่า

ความต่างกันในข้อนี้ มีเพียงพยัญชนะเท่านั้น. แต่โดยอรรถ คำว่า ความเสื่อม

หรือว่า ทางแห่งความเสื่อมไม่มีความต่างกันเลย.

เทพบุตรคิดว่า เราเพลิดเพลินว่า เราทราบชัดทางของคนเสื่อมนั่น

อย่างนี้แล้ว ประสงค์จะรู้ข้ออื่นจากนั้น จึงทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๒ อะไรเป็นทางของคนเสื่อม ดังนี้. ก็

นักศึกษาพึงทราบเนื้อความแม้ในบทที่ ๓ ที่ ๔ อื่นจากนี้เป็นต้น โดยนัย

นี้นั่นแล และพึงทราบเนื้อความแม้ในฝ่ายพยากรณ์ว่า สัตว์เหล่านั้น ๆ

ประกอบพร้อมแล้วด้วยทางแห่งความเสื่อมเหล่านั้น ๆ สัตว์หนึ่งไม่รวมกับสัตว์

ทั้งปวง และสัตว์ทั้งปวงก็ไม่รวมกับสัตว์ผู้หนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงทรงพยากรณ์

ถึงทางแห่งความเสื่อมทั้งหลาย มีอย่างต่างกัน ด้วยเทศนามีบุคลาธิษฐานเท่านั้น

โดยนัยมีอาทิว่า คนมีอสัตบุรุษเป็นที่รัก ดังนี้ เพื่อทรงแสดงทางแห่งความ

เสื่อมนั้น ๆ ของสัตว์เหล่านั้น ในคาถานั้น มีอรรถวัณณนาโดยย่อ ดังนี้ :-

ศาสดาทั้งหก ก็หรือบุคคลแม้เหล่าอื่นผู้ประกอบพร้อมด้วยกายกรรม

วจีกรรม และมโนกรรมอันไม่สงบ ชื่อว่า อสัตบุรุษ อสัตบุรุษเหล่านั้นเป็น

ที่รักของคนนั้น ดุจอเจลกโกรักขัตติยะเป็นต้น เป็นที่รักของคนทั้งหลาย

มีเจ้าสุนักขัตตะเป็นต้น.

พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกก็หรือบุคคลแม้เหล่าอื่น

ผู้ประกอบแล้ว ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันสงบแล้ว ชื่อว่า

สัตบุรุษ ไม่กระทำสัตบุรุษเหล่านั้น ให้เป็นที่รัก อธิบายว่า ไม่กระทำสัตบุรุษ

เหล่านั้น ให้เป็นที่รัก คือ เป็นที่ปรารถนา เป็นที่ใคร่ เป็นที่พอใจของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 318

ก็ความต่างกันแห่งถ้อยคำในคาถานี้ พึงทราบว่า ทรงกระทำแล้ว

ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์ อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า ไม่กระทำสัตบุรุษทั้งหลาย

คือไม่เสพสัตบุรุษทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้ เหมือนอย่างท่านผู้รู้ศัพท์ทั้งหลาย

พรรณนาว่า กระทำพระราชาให้เป็นที่รักในอรรถนี้ว่า ย่อมเสพพระราชา.

บทว่า ปิย ความว่า รัก ดีใจ ปราโมทย์. ทิฏฐิ ๖๒ หรืออกุศล

กรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า ธรรมของอสัตบุรุษ ย่อมชอบใจ ย่อมกระหยิ่ม ย่อม

ปรารถนา ย่อมเสพธรรมของอสัตบุรุษนั้น.

ฐานะ ๓ อย่าง คือ ความเป็นผู้มีอสัตบุรุษเป็นที่รัก ๑ ความเป็นผู้มี

สัตบุรุษไม่เป็นที่รัก ๑ ความชอบใจธรรมของอสัตบุรุษ ๑ ตรัสว่าเป็นทางแห่ง

ความเสื่อม ด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้. ก็คนประกอบพร้อมด้วยฐานะ ๓

อย่างนั้น ย่อมเสื่อม คือ ย่อมเสื่อมเสีย ย่อมไม่ถึงความเจริญในโลกนี้หรือ

ในโลกหน้า เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม. ส่วนความ

พิสดารในคาถานี้ ข้าพเจ้าจักกล่าวในคาถาวัณณนาว่า การคบคนพาล ๑

การคบบัณฑิต ๑.

คนใดไปอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ย่อมหลับนั้นเทียว

คนนั้น ชื่อว่า นิทฺทาสีลี ชอบนอน. ผู้ตามประกอบความยินดีในการคลุก-

คลี คือความยินดีในการคุย ชื่อว่า สภาสีลี ชอบคุย. ผู้เว้นจากเดชแห่ง

ความเพียร เป็นผู้ไม่ลุกขึ้นเป็นปกติ ชื่อว่า อนุฏฺาตา ไม่หมั่น. เป็น

คฤหัสถ์ถูกคนเหล่าอื่นตักเตือน ก็ไม่ปรารภงานของคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิต ก็

ไม่ปรารภงานของบรรพชิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 319

บทว่า อลโส ความว่า ผู้มีความเกียจคร้านเป็นเจ้าเรือน ถูกความง่วง

เหงาครอบงำโดยส่วนเดียว ยืนแล้วก็ยืนอยู่ในที่ยืนนั่นแล นั่งแล้วก็นั่งในที่นั่งนั่น

เทียว ย่อมไม่สำเร็จอิริยาบถอื่น ด้วยความอุตสาหะของตน. ก็ความเกียจคร้าน

อันไม่ปราศไป ในเมื่อไฟไหม้ป่าในอดีตเป็นตัวอย่างในเรื่องนี้. นี้เป็นการกำ

หนดอย่างอุกฤษฏ์ในที่นี้. ก็ความเกียจคร้านแม้โดยกำหนดอย่างเลวกว่านั้น ก็

พึงทราบว่า เกียจคร้านเหมือนกัน.

ความโกรธเป็นเครื่องปรากฏของคนนั้น ดุจธงเป็นเครื่องปรากฏของ

รถ ดุจควันเป็นเครื่องปรากฏของไฟ เพราะฉะนั้น คนนั้นจึงชื่อว่า โกธ-

ปญฺาโณ ผู้โกรธง่าย บุคคลผู้โทสจริต โกรธเร็ว มีจิตเหมือนบาดแผล

ย่อมเป็นเช่นนั้น.

ฐานะ ๕ อย่างคือ ความชอบนอน ความชอบคุย ความไม่หมั่น

ความเกียจคร้าน และความโกรธง่าย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทางแห่ง

ความเสื่อม ด้วยคาถานี้ เพราะคนถึงพร้อมด้วยฐานะ ๕ อย่างนั้น เป็นคฤหัสถ์

ก็ไม่ถึงความเจริญของคฤหัสถ์ เป็นบรรพชิตก็ไม่ถึงความเจริญของบรรพชิต

ย่อมเสียหายถ่ายเดียว ย่อมเสื่อมถ่ายเดียวแน่แท้ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็น

ทางแห่งความเสื่อม.

หญิงผู้ให้เกิดพึงทราบว่า มารดา ชายผู้ให้เกิดนั่นเทียว พึงทราบว่า

บิดา ชื่อว่าผู้แก่เฒ่า เพราะความเป็นผู้มีสรีระหย่อนยาน ชื่อว่า ผ่านวัยหนุ่มไป

แล้ว เพราะก้าวล่วงความเป็นหนุ่มสาว คือมีวัย ๘๐ ปี หรือ ๙๐ ปี ผู้ไม่สามารถ

เพื่อทำการงานทั้งหลายด้วยตนเอง. บทว่า ปหุสนฺโต ความว่าเป็นผู้สามารถ

คือ มีความสำเร็จแล้ว เป็นอยู่อย่างสบาย. บทว่า น ภรติ คือ ไม่เลี้ยงดู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 320

การไม่เลี้ยงคือการไม่เลี้ยงดู การไม่บำรุงมารดาบิดาอย่างเดียวเท่านั้น

ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม ด้วยคาถานี้ เพราะคนประกอบพร้อมด้วยการ

ไม่เลี้ยงมารดาบิดานั่น ย่อมไม่บรรลุถึงอานิสงส์ในการเลี้ยงมารดาบิดาที่ตรัส

ไว้ว่า

บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญคนนั้น

ด้วยการบำรุงบำเรอนั้นในมารดาบิดาในโลก

นี้ เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์*

ดังนี้

ย่อมไม่เลี้ยงแม้มารดาบิดาแน่แท้ ถึงความนินทาและความติเตียนว่า

จักเลี้ยงใครอื่นเล่า และถึงทุคติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมนั่นเทียว เพราะฉะนั้น จึง

ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม.

คนย่อมลวงผู้ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปทั้งหลายแล้ว

ชื่อว่า สมณะ เพราะเป็นผู้สงบแล้ว หรือพราหมณ์แม้ผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์

สมณะผู้เข้าถึงบรรพชา หรือผู้ขอคนใดคนหนึ่ง แม้อื่นจากนั้นด้วยมุสาวาท

เพราะฉะนั้น ผู้ถูกปวารณาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านจงพูดถึงปัจจัยขอแล้ว

หรือว่า รับแล้ว เพิ่มให้น้อยในภายหลัง ก่อทะเลาะวิวาทกับสมณพราหมณ์นั้น.

การลวงพราหมณ์เป็นต้น ด้วยมุสาวาทอย่างเดียวเท่านั้น ตรัสว่า

เป็นทางแห่งความเสื่อม ด้วยคาถานี้ เพราะคนถึงพร้อมด้วยการลวงนั่น ย่อม

ถึงความนินทาในโลกนี้ ถึงทุคติในสัมปรายภพ และวิบัติจากความประสงค์แม้

ในสุคติ สมดังที่ตรัสไว้ว่า เกียรติศัพท์ชั่วของคนทุศีล ผู้มีศีลวิบัติ ย่อมระ-

* อ. จตุกฺก. ๙๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 321

บือทั่ว อนึ่ง ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลถึงพร้อมด้วยธรรม ๔

เหมือนถูกโยนลงในนรกแน่นอน ๔ เหล่าไหน คือ เป็นผู้มีปกติพูดเท็จ ดังนี้

เป็นต้น.

อนึ่ง ตรัสไว้ว่า ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เข้าไปหา

สมณะหรือพราหมณ์แล้ว ปวารณาว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงพูดถึงปัจจัย

เขาไม่ยอมให้ปัจจัยตามที่ปวารณา ถ้าเขาจุติจากโลกนั้นแล้ว ย่อมมาสู่ความ

เป็นอย่างนี้ เขาประกอบการค้าขายใด ๆ นั่นแล การค้าขายนั้นของเขา ย่อม

ถึงการขาดทุน ดูก่อนสารีบุตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ฯลฯ เขาย่อมให้ปัจจัย

ตามที่ปวารณาไว้ตามความประสงค์ ถ้าเขาจุติจากโลกนี้ถึงความเป็นอย่างนี้

เขาประกอบการค้าใด ๆ นั่นแล การค้าขายนั้นของเขา ย่อมได้กำไรตามความ

ประสงค์ ดังนี้ คนถึงการนินทาเป็นต้นเหล่านี้อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมแล

เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า เป็นทางแห่งควานเสื่อม.

บทว่า ปหุตวิตฺโต ได้แก่ มีทอง เงิน และแก้วมณีมาก. บทว่า

สหิรญฺโ คือ มีกหาปณะ. บทว่า สโภชโน คือ ถึงพร้อมด้วยของกิน

คือสูปพยัญชนะมาก. บทว่า เอโก ภุญฺชติ ความว่า ไม่ให้ของกินอันอร่อย

แม้แก่บุตรของตน ย่อมกินในโอกาสลับ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กินของอร่อย

แต่ผู้เดียว.

ความตระหนี่ในของกิน เพราะความเป็นผู้ติดในของกินอย่างเดียว

เท่านั้น ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม ด้วยคาถานี้ เพราะคนถึงพร้อมด้วย

ความตระหนี่ในของกินนั้น ถึงอยู่ซึ่งเหตุทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ ความนินทา

๑. อ. ปญฺจก. ๒๘๐. ๒. อ. จตุกฺก. ๑๐๘ ๓. อ. จตุกฺก ๑๐๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 322

ความตำหนิติเตียน ทุคติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมนั้นเทียว เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า

เป็นทางแห่งความเสื่อม.

ก็พึงประกอบบททั้งหมด ตามทำนองพระสูตร โดยนัยที่กล่าวแล้ว

นั่นแล แต่บัดนี้ ข้าพเจ้ากลัวพิสดารเกินไป จะไม่แสดงนัยแห่งโยชนาทั้งหลาย

จักกล่าวเพียงเนื้อความเท่านั้น.

คนใดยังมานะให้เกิดว่า เราเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยชาติ เป็นผู้หยิ่งเพราะ

มานะนั้น เป็นผู้ลำพอง ดุจสูบเต็มด้วยลมฉะนั้น ย่อมไม่อ่อนน้อมต่อใคร ๆ

คนนั้น ชื่อว่า หยิ่งเพราะชาติ. ในการหยิ่งเพราะทรัพย์ และหยิ่งเพราะโคตร

ก็นัยนี้. บทว่า สญฺาติมญฺเติ ความว่า ย่อมดูหมิ่นแม้ญาติของตน

เพราะชาติ ดุจเจ้าศากยะทั้งหลาย ดูหมิ่นวิฑูฑภะฉะนั้น และย่อมดูหมิ่นแม้

เพราะทรัพย์ว่า คนนี้กำพร้า ยากจน ดังนี้ ย่อมไม่กระทำแม้สักว่า สามีจิ-

กรรม ญาติทั้งหลายเหล่านั้น ย่อมปรารถนาความเสื่อมเท่านั้นแก่คนนั้น. ฐานะ

มี ๔ อย่างโดยอรรถ มีอย่างเดียว โดยลักษณะ ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อม

ด้วยคาถานี้.

บทว่า อิตฺถีธุตฺโต ความว่า เป็นผู้กำหนัดในหญิงทั้งหลาย ให้ทรัพย์

ที่มีอยู่แม้ทั้งหมดแล้ว สงเคราะห์หญิงอื่น ๆ. อนึ่ง ผู้ทิ้งของมีอยู่ของตนแม้

ทั้งหมดแล้ว ประกอบการดื่มสุรา ชื่อว่า เป็นนักเลงสุรา ผู้ทิ้งแม้ผ้าที่ตนนุ่ง

แล้ว ประกอบการ เล่นการพนัน คนที่ถึงพร้อมด้วยฐานะ ๓ เหล่านั้น พึงทราบ

ว่า ผลาญทรัพย์ที่ตนหามาได้ เพราะยังทรัพย์แม้อย่างใดอย่างหนึ่งที่หามาได้

นั้น ให้พินาศ คนอย่างนี้ ย่อมเสื่อมถ่ายเดียว ด้วยเหตุนั้น ฐานะ ๓ อย่างนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อมของคนนั้น ด้วยคาถานี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 323

บทว่า เสหิ ทาเรหิ ได้แก่ ด้วยภรรยาของตน. คนใดไม่สันโดษ

ด้วยภรรยาของตน ประทุษร้ายในหญิงแพศยา หรือ ในภรรยาของคนอื่น คน

นั้น ชื่อว่า ย่อมเสื่อมถ่ายเดียว เพราะการเพิ่มให้ทรัพย์แก่หญิงแพศยา เพราะ

เสพภรรยาของคนอื่น เพราะกรรมกรณ์ราชทัณฑ์เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น

ฐานะ ๒ อย่างนั่น จึงตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อมของคนนั้น ด้วยคาถานี้.

บทว่า อตีตโยพฺพโน ความว่า ชายล่วงวัยหนุ่มอายุ ๘๐ หรือ ๙๐ ปี

แล้ว นำมา คือ บำเรอ. บทว่า ติมฺพรุตฺถนึ ได้แก่ หญิงรุ่นสาวเช่น

ผลมะพลับ คือ หญิงสาวกำดัด. บทว่า ตสฺสา อิสฺสา น สุปฺปติ

ความว่า ความยินดีและการสังวาสกับชายแก่ทั้งหลาย ย่อมไม่เป็นที่ชอบใจของ

หญิงสาวรุ่นกำดัด ชายแก่เมื่อรักษาภรรยาสาวนั้น เพราะความหึงหวงว่า

อย่าพึงปรารถนาชายหนุ่มเลย ชื่อว่า ย่อมนอนไม่หลับ ชายแก่ถูกกามราคะ

สละความหึงหวงแผดเผาอยู่ และไม่ประกอบการงานภายนอก ชื่อว่า ย่อมเสื่อม

ถ่ายเดียว ด้วยเหตุนั้น การนอนไม่หลับเพราะความหึงหวงอย่างเดียวเท่านั้น

ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อมของชายแก่นั้น ด้วยคาถานี้.

บทว่า โสณฺฑึ ความว่า ผู้เหลวไหล คือ ผู้ติดในปลา เนื้อ

และน้ำเมาเป็นต้น. บทว่า วิกิรณึ ได้แก่ ผู้มีปกติใช้จ่ายทรัพย์สุรุ่ยสุร่าย

เพื่อประโยชน์แก่ปลา เนื้อ และน้ำเมาเป็นต้นเหล่านั้น เหมือนฝุ่น ให้ฉิบหาย.

บทว่า ปุริส วาปิ ตาทิส ความว่า คนใดแม้ตั้งชายเช่นนั้นไว้ในความ

เป็นใหญ่ คือ ให้วัตถุมีเครื่องประทับตราเป็นต้นแล้ว ให้กระทำความขวน-

ขวายในฆราวาส ในการงาน หรือ ในโวหารมีการค้าขายเป็นต้น คนนั้นเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 324

ถึงความสิ้นทรัพย์ เพราะโทษของชายนั้น ชื่อว่า ย่อมเสื่อมถ่ายเดียว ด้วย

เหตุนั้น การตั้งหญิงหรือชายเช่นนั้นไว้ในความเป็นใหญ่อย่างเดียวเท่านั้น

ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อมของคนนั้น ด้วยคาถานี้.

ชื่อว่า มีโภคทรัพย์น้อย เพราะไม่มีโภคทรัพย์ทั้งหลายที่สะสมไว้

และเพราะไม่มีทางเจริญแห่งโภคทรัพย์. บทว่า มหาตณฺโห ความว่า ผู้ถึง

พร้อมแล้วด้วยความมักใหญ่ในโภคทรัพย์มาก คือ ไม่สันโดษด้วยโภคทรัพย์

ตามที่ตนหามาได้.

บทว่า ขตฺติเย ชายเต กุเล ความว่า เกิดในตระกูลกษัตริย์

บทว่า โส จ รชฺช ปฏฺยติ ความว่า บุคคลนั้นปรารถนาราชสมบัติอัน

คนเป็นทายาท ซึ่งไม่ควรได้ หรือ ของคนอื่น เพราะความเป็นผู้ใคร่ใน

การปรารถนาราชสมบัติ คือ เพราะความมักใหญ่นั้น โดยมิใช่อุบาย คือ

โดยผิดลำดับ บุคคลนั้น เมื่อปรารถนาอย่างนั้น ให้โภคทรัพย์น้อยแม้นั้น

แก่คนทั้งหลายมีทหารเป็นต้น เมื่อไม่บรรลุถึงราชสมบัติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อม

ถ่ายเดียว ด้วยเหตุนั้น การปรารถนาราชสมบัตินั้นอย่างเดียวเท่านั้น จึง

ตรัสว่า เป็นทางแห่งความเสื่อมของบุคคลนั้น ด้วยคาถานี้.

เบื้องหน้าแต่นั้น ผิว่า เทวดานั้นจะพึงทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๓ ฯลฯ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ขอพระองค์จงตรัสบอกคนเสื่อมที่ ๑๐๐,๐๐๐ ดังนี้ไซร้ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็

พึงตรัสบอกคนเสื่อมแม้เหล่านั้น แต่เพราะเทวดานั้น คิดว่า จะมีประโยชน์

อะไรด้วยคนเสื่อมเหล่านี้ที่ทูลถามแล้ว การทำความเจริญข้อหนึ่งในสูตรนี้ ก็

ไม่มี ดังนี้ เมื่อไม่สนใจฟังทางแห่งความเสื่อมเหล่านั้น ทูลถามแม้เพียงเท่านี้

แล้ว วิปฏิสารนิ่งอยู่ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอัธยาศัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 325

ของเทวดานั้นแล้ว เมื่อจะทรงประมวลเทศนา จึงตรัสพระคาถานี้ว่า เอเต

ปราภเว โลเก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ผู้ถึงพร้อมด้วยการพิจารณา

รอบคอบ. บทว่า สมเวกฺขิยา ความว่า พิจารณาแล้ว ด้วยปัญญาจักษุ

ผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยมรรค ผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยผล ชื่อว่า ประเสริฐ ก็

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ประเสริฐ เพราะอรรถว่า ไม่ดำเนินไปในสิ่งที่ไม่ควร

แนะนำ กล่าวคือ ความเสื่อมนั้น บัณฑิตเห็นคนเสื่อมทั้งหลายแล้ว งดเว้น

ด้วยทัสสนะใด และด้วยปัญญาใด ชื่อว่าผู้ถึงพร้อมด้วยความเห็น เพราะ

ความเป็นผู้ถึงพร้อมแล้ว ด้วยทัสสนะและปัญญานั้น.

บทว่า ส โลก ภชเต สิว ความว่า บัณฑิตนั้น คือ ผู้เห็น

นั้น ย่อมคบ คือ ย่อมเยื่อใย อธิบายว่า ย่อมเข้าไปสู่โลกที่เกษม คือ เทวโลก

อันเป็นอุดมเขต ไม่มีอุปัทวะ.

ในเวลาจบเทศนา เทวดาทั้งหลายฟังทางแห่งความเสื่อมทั้งหลายแล้ว

ตั้งใจมั่นโดยแยบคาย สมควรแก่ความสังเวชที่เกิดขึ้นบรรลุโสดาปัตติผล สก-

ทาคามิผล และอนาคามิผล พ้นที่จะคณนานับเหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

เทวดาทั้งหลายที่บรรลุมรรคผลใน

สูตรนั้น คือ มหาสมัยสูตร มงคลสูตร

สมจิตตสูตร ราหุโลวาทสูตร ธรรมจักรสูตร

ปราภวสูตร และเทวตาสมสูตร มีไม่น้อย

ประมาณไม่ได้ ส่วนธรรมาภิสมัยในปราภว-

สูตรนี้ พ้นที่จะคณนานับ ดังนี้.

จบ ปรารภววสุตตวัณณนา แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 326

วสลสูตรที่ ๗

ว่าด้วยคนถ่อย ๒๐ จำพวก

[๓๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า

ไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ก่อไฟ

แล้วตกแต่งของที่ควรบูชา อยู่ในนิเวศน์ ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก ในพระนครสาวัตถี เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์

ของอัคคิกภารทวาชพราหมณ์ อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ได้เห็นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกลทีเดียว ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า หยุด

อยู่ที่นั่นแหละคนโล้น หยุดอยู่ที่นั่นแหละสมณะ หยุดอยู่ที่นั่นแหละคนถ่อย.

เมื่ออัคคิกภารทวาชพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อย หรือธรรมเป็นเครื่อง

กระทำให้เป็นคนถ่อยหรือ ?

อ. ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่รู้จักคนถ่อยหรือธรรมเป็นเครื่องกระทำ

ให้เป็นคนถ่อย ดีละ ขอท่านพระโคดมจงแสดงธรรมตามที่ข้าพเจ้าจะพึงรู้จัก

คนถ่อยหรือธรรมเป็นเครื่องกระทำให้เป็นคนถ่อยเถิด.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจัก

กล่าว อัคคิกภารทวาชพราหมณ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสพระคาถาประพันธ์นี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 327

[๓๐๖] ๑. คนมักโกรธ ผูกโกรธ

ลบหลู่อย่างเลว มีทิฏฐิวิบัติ และมีมายา

พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๒. คนผู้เบียดเบียนสัตว์ที่เกิดหน-

เดียว แม้หรือเกิดสองหน ไม่มีความเอ็นดู

ในสัตว์ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๓. คนเบียดเบียน เที่ยวปล้น มี

ชื่อเสียงว่า ฆ่าชาวบ้านและชาวนิคม พึงรู้

ว่าเป็นคนถ่อย.

๔. คนลักทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน

ไม่ได้อนุญาตให้ ในบ้านหรือในป่า พึงรู้

ว่าเป็นคนถ่อย.

๕. คนที่กู้หนี้มาใช้แล้วกล่าวว่า หา

ได้เป็นหนี้ท่านไม่ หนีไปเสีย พึงรู้ว่าเป็น

คนถ่อย.

๖. คนฆ่าคนเดินทาง ชิงเอาสิ่งของ

เพราะอยากได้สิ่งของ พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๗. คนถูกเขาถามเป็นพยาน แล้ว

กล่าวคำเท็จ เพราะเหตุแห่งตนก็ดี เพราะ

เหตุแห่งผู้อื่นก็ดี เพราะเหตุแห่งทรัพย์ก็ดี

พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 328

๘. คนผู้ประพฤติล่วงเกิด ในภริยา

ของญาติก็ตาม ของเพื่อนก็ตาม ด้วยข่มขืน

หรือด้วยการร่วมรักกัน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๙. คนผู้สามารถ แต่ไม่เลี้ยงมารดา

หรือบิดาผู้แก่เฒ่าผ่านวัยหนุ่มสาวไปแล้ว

พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๐. คนผู้ทุบตีด่าว่ามารดาบิดาพี่-

ชายพี่สาว พ่อตาแม่ยาย แม่ผัวหรือพ่อผัว

พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๑. คนผู้ถามถึงประโยชน์ บอก

สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ พูดกลบเกลื่อนเสีย

พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๒. คนทำกรรมชั่วแล้ว ปรารถนา

ว่าใครอย่าพึงรู้เรา ปกปิดไว้ พึงรู้ว่าเป็น

คนถ่อย.

๑๓. คนผู้ไปสู่สกุลอื่นแล้ว และ

บริโภคโภชนะที่สะอาด ย่อมไม่ตอบแทน

เขาผู้มาสู่สกุลของตน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๔. คนผู้ลวงสมณะ พราหมณ์

หรือแม้วณิพกอื่น ด้วยมุสาวาท พึงรู้ว่าเป็น

คนถ่อย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 329

๑๕. เมื่อเวลาบริโภคอาหาร คนผู้ด่า

สมณะหรือพราหมณ์และไม่ให้โภชนะ พึงรู้

ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๖. คนในโลกนี้ ผู้อันโมหะครอบ-

งำแล้ว ปรารถนาของเล็กน้อย พูดอวดสิ่ง

ที่ไม่มี พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๗. คนเลวทราม ยกตนและดูหมิ่น

ผู้อื่น ด้วยมานะของตน พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๘. คนฉุนเฉียว กระด้าง มีความ

ปรารถนาลามก มีความตระหนี่ โอ้อวด

ไม่ละอาย ไม่สะดุ้งกลัว พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๑๙. คนติเตียนพระพุทธเจ้า หรือ

ติเตียนบรรพชิต หรือ คฤหัสถ์ สาวกพระ-

พุทธเจ้า พึงรู้ว่าเป็นคนถ่อย.

๒๐. ผู้ใดแลไม่เป็นพระอรหันต์ แต่

ปฏิญาณว่าเป็นพระอรหันต์ ผู้นั้นแลเป็นคน

ต่ำช้า เป็นโจรในโลกพร้อมทั้งพรหมโลก

คนเหล่าใด เราประกาศแก่ท่านแล้ว คน

เหล่านั้นนั่นแล เรากล่าวว่าเป็นคนถ่อย.

บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่

เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 330

เพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ท่าน

จงรู้ข้อนั้น ตามที่เราแสดงนี้ บุตรของคน

จัณฑาลเลี้ยงตัวเองได้ ปรากฏชื่อว่ามาตังคะ

เป็นคนกินของที่ตนให้สุกเอง เขาได้ยศ

อย่างสูงที่ได้แสนยาก กษัตริย์และพราหมณ์

เป็นอันมากได้มาสู่ที่บำรุงของเขา เขาขึ้น

ยานอันประเสริฐ ไปสู่หนทางใหญ่อันไม่มี

ฝุ่น เขาสำรอกกามราคะเสียได้แล้ว เป็นผู้

เข้าถึงพรหมโลก ชาติไม่ได้ห้ามเขาให้เข้า

ถึงพรหมโลก พราหมณ์เกิดในสกุลผู้สาธ-

ยายมนต์ เป็นพวกร่ายมนต์ แต่พวกเขา

ปรากฏในบาปกรรมอยู่เนือง ๆ พึงถูก

ติเตียนในปัจจุบันทีเดียว และภพหน้าก็เป็น

ทุคติ ชาติห้ามกันพวกเขาจากทุคติหรือจาก

ครหาไม่ได้ บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ

ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อย

เพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม.

[๓๐๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว อัคคิกภารทวาช-

พราหมณ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 331

พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ

เปิดของที่ปิด บอกทางแกคนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวัง

คนมีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและ

พระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง

สรณะตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบวสลสูตรที่ ๗

อรรถกถาอัคคิกภารทวาชสูตร*

อัคคิกภารทวาชสูตรเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้ :-

สูตรนั้นเรียกว่า วสลสูตร ดังนี้ ก็มีอุบัติอย่างไร ? พระผู้มีพระภาค-

เจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้

พระนครสาวัตถี ทรงตรวจดูสัตวโลก ด้วยพุทธจักษุ ในเวลาเสร็จภัตกิจ

เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในกสิภารทวาชสูตรนั่นแล ทรงเห็นอัคคิกภาร-

ทวาชพราหมณ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย แห่งสรณะและสิกขาบท ทรงทราบว่า

เมื่อเราไปในที่นั้นแล้ว การสนทนาก็จักเป็นไป ต่อแต่นั้น ในที่สุดแห่งการ

สนทนา พราหมณ์นั่นฟังธรรมเทศนาแล้ว จักถึงสรณะสมาทานสิกขาบท

ทั้งหลาย และได้เสด็จไปในนิเวศน์ของอัคคิกภารทวาชพราหมณ์นั้น เมื่อการ

สนทนาเป็นไปแล้ว พราหมณ์ได้ทูลขอให้ทรงแสดงธรรม จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

* บาลีเป็น วสลสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 332

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น ข้าพเจ้าจัก

พรรณนาไว้ในมงคลสูตร. บทว่า อถโข ภควา ปุพฺพณฺหสมย เป็นต้น

ผู้ศึกษาพึงทราบ โดยนัยที่กล่าวแล้วในกสิภารทวาชสูตรนั่นแล. ในคำว่า

เตน โข ปน สมเยน อคฺคิกภารทวาชสฺส นั้น คำใด ๆ ที่ไม่เคยกล่าว

ข้าพเจ้าจักพรรณนาคำนั้น ๆ นั่นเทียว คือ

ก็พราหมณ์นั้นย่อมบูชา คือ บำเรอไฟ เพราะกระทำอย่างนี้จึงปรากฏ

โดยชื่อว่า อัคคิกะ ปรากฏโดยโคตรว่า ภารทวาชะ เพราะฉะนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า อัคคิกภารทวาชะ.

บทว่า นิเวสเน คือ ใกล้เรือน. ได้ยินว่า ใกล้ประตูนิเวศน์ของ

พราหมณ์นั้น มีโรงบูชาไฟอยู่ที่ระหว่างถนน. แต่นั้น เมื่อควรจะกล่าวว่า

นิเวสนทฺวาเร จึงกล่าวว่า นิเวสเน เพราะบทแม้นั้นนับเนื่องในนิเวศน์

นั่นแล. หรือบทว่า นิเวสเน เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้ อธิบายว่า

ใกล้นิเวศน์.

บทว่า อคฺคิ ปชฺชลิโต โหติ ความว่า ไฟตั้งอยู่ในเตาไฟได้เชื้อ

และลมพัดในเตาที่ทำด้วยไม้ หรือในที่ใกล้ ก็ลุกโพลงมีกลุ่มเปลวไฟพุ่งขึ้น

ข้างบน. บทว่า อาหุตี ปคฺคหิตา ความว่า พราหมณ์อาบน้ำชำระศีรษะแล้ว

ตกแต่งข้าวปายาส เนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น ด้วยสักการะใหญ่. ก็สิ่งใด

สิ่งหนึ่ง ควรบูชาไฟ สิ่งนั้นเรียกว่า อาหุตี.

บทว่า สปทาน ได้แก่ ตามลำดับเรือน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จเที่ยวบิณฑบาตแวะไปในตระกูลสูงและตระกูลต่ำ เพื่อประโยชน์แก่การ

อนุเคราะห์ชนทั้งปวง และด้วยความสันโดษในอาหาร ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า พระองค์เสด็จเที่ยวบินณฑบาตตามลำดับตรอก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 333

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร พราหมณ์เห็นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง ทรงน่าเลื่อมใสรอบด้าน จิตจึง

ไม่เลื่อมใส และเพราะเหตุไร พราหมณ์จึงพูดคำหยาบกะพระผู้มีพระภาคเจ้า

เล่า ?

ตอบว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า การเห็นสมณะ

ในมงคลกิจทั้งหลายเป็นอวมงคล แต่นั้นก็รู้ว่า สมณะโล้นผู้กาลกรรณีเข้ามาสู่

เรือนของเรา ในเวลามหาพรหมบริโภค จึงไม่ยังจิตให้เลื่อมใส ถึงอำนาจ

แห่งการด่าทีเดียว และเมื่อด่าแล้ว ก็เสียใจ จึงเปล่งวาจาอันไม่พอใจว่า

จงหยุดอยู่ที่นั้นแหละ คนโล้น ดังนี้เป็นต้น.

และเพราะแม้ในที่นั้น พราหมณ์ทั้งหลายมีความเห็นว่า คนโล้นเป็น

ผู้ไม่บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น เมื่อรังเกียจว่า คนโล้นไม่บริสุทธิ์ ด้วยเหตุนั้น

จึงเป็นผู้อันเทพและพราหมณ์ไม่บูชา จึงทูลว่า แน่ะคนโล้น. หรือรังเกียจ

อยู่ว่า สมณะนั้นเป็นคนเดน เพราะมีศีรษะโล้น จึงไม่ควรมาสู่ประเทศนี้

และรังเกียจความเป็นสมณะว่า แม้เป็นสมณะก็ไม่สรรเสริญความเศร้าหมอง

ทางกายเช่นนี้ จึงทูลว่า แน่ะสมณะ.

พราหมณ์นี้ จะพูดด้วยอำนาจแห่งการด่าอย่างเดียวก็หาไม่ ยังรังเกียจ

อยู่ว่า คนถ่อยบวชแล้วปลื้มใจ ด้วยการทำการบริโภคร่วมกันกับคนถ่อยเหล่านั้น

สมณะนี้ เลวยิ่งกว่าแม้คนถ่อย จึงทูลว่า แน่ะคนถ่อย หรือแม้สำคัญอยู่ว่า

บาปย่อมมีแก่พวกคนถ่อย ด้วยการดูการบูชา และการฟังมนต์ จึงทูลอย่างนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ถูกพราหมณ์กราบทูลแล้วอย่างนั้น เมื่อจะทรง

ประกาศความที่พระองค์มีพระคุณไม่ทั่วไปเป็นต้นกับสัตว์ทั้งปวง ด้วยสีพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 334

พักตร์อันผ่องใสทีเดียว ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะด้วยพระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วย

ความอนุเคราะห์และเยือกเย็นบนพราหมณ์ จึงตรัสว่า ชานาสิ ปน ตฺว

พฺรหฺมณ แปลว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อยหรือ ? ลำดับนั้น พรา-

หมณ์รู้ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระพักตร์ผ่องใส และพระหฤทัยสม่ำ

เสมอเป็นต้น ฟังพระสุรเสียงไพเราะ ซึ่งทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยอนุเคราะห์

และเย็นสนิท ก็มีหัวใจอันน้ำอมฤตนั่นเทียวรดแล้ว มีใจเป็นของตน มีอินทรีย์

ผ่องใส ละมานะเสียได้ ละคำพูดที่ไม่ควรพูด อันเช่นกับอสรพิษซึ่งมีชาติ

นั้น ๆ เป็นสภาพ สำคัญอยู่ว่า ไฉนหนอ เราจึงพูดถึงชาติเลวว่าเป็นคนถ่อย

โดยปรมัตถ์ เขาหาใช่เป็นคนถ่อยไม่ และความที่ชาติเลวก็หามีไม่ มีแต่ธรรม

ที่ทำให้เป็นคนถ่อย จึงกราบทูลว่า น โข อห โภ โคตม แปลว่า

ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่รู้จักคนถ่อย. ก็ข้อที่บุคคลถึงพร้อมด้วยเหตุ แม้จะ

เป็นคนหยาบคาย เพราะไม่ได้ปัจจัย แต่พอได้ปัจจัย ก็จะเป็นคนละมุนละม่อม

นั่นเป็นธรรมดา.

[สาธุศัพท์]

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า สาธุ นี้ ย่อมปรากฏในอรรถทั้งหลาย

เป็นต้นว่า

๑. อายาจนะ การขอร้อง

๒. สัมปฏิจฉนะ การยอมรับ

๓. สัมปหังสนะ ความร่าเริง

๔. สุนทร ดี

๕. ทัฬหิกรรม การทำให้มั่นคง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 335

ก็สาธุศัพท์ปรากฏในการขอร้อง ดุจในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม

ภนฺเต ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺม เทเสตุ แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์

โดยย่อ.

ปรากฏในการยอมรับ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ ภนฺเตติ

โข โส ภิกฺขุ ภควา ภาสิต อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา แปลว่า

ภิกษุนั้นเพลิดเพลิน อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าดีละพระเจ้าข้า.

ปรากฏในความร่าเริง ดุจในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ สาธุ สารี-

ปุตฺต ดีละ ดีแล้ว สารีบุตร.

ปรากฏในอรรถว่า ดี ดุจในประโยคมีอาทิว่า

สาธุ ธมฺมรุจี ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร

สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณ สุข

พระราชาทรงชอบพระธรรมเป็นคน

ดี คนมีปัญญา เป็นเครื่องปรากฏเป็นคนดี

คนไม่ประทุษร้ายมิตรทั้งหลาย เป็นคนดี

การไม่ทำบาปเป็นเหตุแห่งความสุข.

ปรากฏในการทำให้มั่นคง ดุจในประโยคมีอาทิว่า สาธุก สุณาถ

มสิกโรถ ตถา เต ภาสิสฺสามิ ยถา ตฺว ชานิสฺสสิ แปลว่า ท่านจง

ฟังให้ดี จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวแก่ท่าน โดยประการที่ท่านจักรู้ได้. แต่ใน

ที่นี้ สาธุศัพท์ปรากฏในการขอร้อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 336

บทว่า เตนหิ เป็นการแสดงขยายอธิบายการขอร้องนั้น มีอธิบายว่า

ถ้าท่านประสงค์จะรู้ หรือเป็นการพูดถึงเหตุ. พึงทราบการเชื่อมบทนั้นเข้ากับ

บทอื่นอย่างนี้ว่า เพราะท่านต้องการจะรู้ เพราะฉะนั้น พราหมณ์ ท่านจงฟัง

จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวแก่ท่าน โดยประการที่ท่านจักรู้ ดังนี้.

ก็ในบทเหล่านั้น บทว่า สุณาหิ เป็นการห้ามถึงความฟุ้งซ่านแห่ง

โสตินทรีย์. บทว่า สาธุก มนสิกโรหิ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่านแห่ง

มนินทรีย์ เพราะประกอบการทำให้มั่นคง ในมนสิการ. ก็ในคำทั้งสองนั้น

คำต้น เป็นการห้ามถึงการยึดถือพยัญชนะอย่างผิด ๆ คำหลังเป็นการห้ามถึง

การยึดถืออรรถอย่างผิด ๆ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบพราหมณ์ไว้ใน

การฟังธรรม ด้วยคำต้น ทรงประกอบไว้ในกรรมทั้งหลายมีการทรงไว้และ

การพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายที่ฟังแล้วด้วยคำหลัง และด้วยคำต้น

ทรงแสดงว่า ธรรมนี้มีพยัญชนะ เพราะฉะนั้น ท่านพึงฟัง ด้วยคำหลัง

ทรงแสดงว่า ธรรมนี้มีอรรถ เพราะฉะนั้น ท่านพึงมนสิการ.

อีกอย่างหนึ่ง ทรงประกอบสาธุกบทเข้ากับบททั้งสอง เมื่อทรง

แสดงอรรถนั้นว่า เพราะธรรมนี้ ลึกโดยธรรมและลึกโดยเทศนา เพราะฉะนั้น

ท่านจงให้ดี เพราะเป็นธรรมลึกโดยอรรถและลึกโดยปฏิเวธ เพราะฉะนั้น

ท่านจงสนใจให้ดี ดังนี้ จึงตรัสว่า สุณาหิ สาธุก มนสิกโรหิ แต่นั้น

ทรงปลอบพราหมณ์นั้น ผู้ดุจท้อแท้อยู่ว่า เราจักได้ที่พึ่งในธรรมอันลึกซึ้ง

อย่างนี้อย่างไร จึงตรัสว่า ภาสิสฺสามิ ดังนี้. ในคำนั้น พึงทราบความ

ขวนขวายอย่างนี้ว่า ท่านจักรู้โดยประการใด เราจักกล่าวโดยนัยอันตื้นด้วยบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 337

และพยัญชนะอันกลมกล่อม โดยประการนั้น ต่อจากนั้น อัคคิกภารทวาช-

พราหมณ์เป็นผู้มีความขวนขวายแล้ว จึงทูลรับ มีอธิบายว่า รับแล้ว คือ

รับเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า หรือมุ่งหน้าฟังด้วยการ

ปฏิบัติตามธรรมที่ทรงแสดง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ คือ

ตรัสบอกคำนี้แก่พราหมณ์นั้น. บทมีอย่างนี้ว่า โกธโน อุปนาหี เป็นต้น

ตรัสหมายถึงธรรมที่พึงตรัสบอกในบัดนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โกธโน ได้แก่ ผู้โกรธเป็นปกติ. บทว่า

อุปนาหี ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วยความโกรธ โดยทำความโกรธนั้นนั่นแล

ให้มั่นคง คนใดย่อมล้าง ย่อมลบคุณทั้งหลายของคนอื่นทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น

คนนั้นชื่อว่า มกฺขี ผู้ลบหลู่ คนนั้นเลวด้วย ลบหลู่ด้วย ชื่อว่า ปาปมกฺขี

ผู้ลบหลู่อย่างเลว.

บทว่า วิปนฺนทิฏฺิ ได้แก่ ผู้มีสัมมาทิฏฐิพินาศแล้ว หรือผู้ประกอบ

ด้วยมิจฉาทิฏฐิ ๑๐ อย่าง อันวิบัติ คือ ผิดรูปแล้ว. บทว่า มายาวี ได้แก่

ผู้ประกอบพร้อมด้วยมายามีการปกปิดโทษอันมีอยู่ในตน.

บทว่า ต ชญฺา วสโล อิติ ความว่า ท่านจงรู้บุคคลนั้น คือ

เห็นปานนั้นว่า เป็นคนถ่อย เพราะหลั่งออก เพราะไหลออกและเพราะซ่านไป

แห่งธรรมเลวเหล่านั้น. ด้วยว่าธรรมอันเลวทั้งหมดเกิดแล้วในกระหม่อมของ

พราหมณ์ จริงอยู่ พราหมณ์นี้ โดยปรมัตถ์เป็นคนถ่อยทีเดียว หาได้เรียก

บุคคลอื่น สักว่าความพอใจแห่งหฤทัยของตนไม่.

ในคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการข่มความโกรธของพราหมณ์

นั้น ด้วยบทต้นเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว และเมื่อจะทรงแสดงธรรมมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 338

ความโกรธเป็นต้น ด้วยบุคลาธิษฐานว่า บุคคลเลวมีความโกรธเป็นธรรมดา

จึงทรงแสดงคนถ่อยและธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็นคนถ่อย ด้วยปริยายหนึ่งก่อน

และเมื่อทรงแสดงอย่างนั้น ไม่ทรงทำการข่มคนอื่น และไม่ยกพระองค์ว่า ท่าน

เรา ทรงตั้งพราหมณ์นั้นในความเป็นคนถ่อย และพระองค์ในความเป็น

พราหมณ์ด้วยธรรมนั่นเอง คือ ด้วยความถูกต้องสม่ำเสมอ.

บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธทิฏฐิของพราหมณ์ทั้งหลายว่า บุคคลแม้ทำ

อยู่ซึ่งปาณาติบาต และอทินนาทานเป็นต้น ในกาลบางคราวก็ยังเป็นพราหมณ์

อยู่นั่นเอง และเมื่อจะทรงแสดงโทษในทิฏฐินั้นว่า ก็สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด

ประกอบด้วยอกุศลธรรมเหล่านั้น ๆ ในบรรดาอกุศลธรรมมีความเบียดเบียน

เป็นต้น เมื่อไม่เห็นโทษ ย่อมยึดถือธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นเลวสำหรับ

สัตว์เหล่านั้น จึงเป็นธรรมทำให้เป็นคนถ่อย จึงได้ตรัสคาถามีอาทิอย่างนี้ว่า

เอกช วา ทฺวิช วา เพื่อทรงแสดงคนถ่อย และธรรมทั้งหลายอันทำให้เป็น

คนถ่อย โดยปริยายทั้งหลายแม้อื่นอีก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกช ได้แก่ สัตว์ที่เกิดในกำเนิด

ที่เหลือเว้นสัตว์ที่เกิดในไข่. ก็สัตว์ที่เกิดในกำเนิดนั้น ย่อมเกิดครั้งเดียวเท่านั้น.

บทว่า ทฺวิโช ได้แก่ สัตว์เกิดในไข่ จริงอยู่ สัตว์เกิดในไข่นั้น

ย่อมเกิดสองครั้ง คือ จากท้องแม่ครั้ง ๑ จากกระเปาะฟองไข่ครั้ง ๑ ซึ่งสัตว์

ที่เกิดหนเดียว แม้หรือเกิดสองหนนั้น.

บทว่า โยธ ปาณ ความว่า คนใดในโลกนี้เบียดเบียนสัตว์ บทว่า

วิหึสติ ความว่า ปลงจากชีวิตด้วยประโยค ที่ตั้งขึ้นจากเจตนาที่เป็นไปทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 339

กายทวาร หรือที่ตั้งขึ้นจากเจตนาที่เป็นไปทางวจีทวาร. บาลีว่า ย่อมเบียด-

เบียนทั้งหลาย ดังนี้ก็มี. นักศึกษาพึงทราบความสัมพันธ์ในบทนั้นอย่างนี้ว่า

คนใดในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย มีประเภทอย่างนี้คือ สัตว์ที่เกิด

หนเดียว หรือเกิดสองหน. ตรัสความไม่มีความเอ็นดูด้วยใจ ด้วยบทนี้ว่า

ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์.

บทที่เหลือในคาถานี้ และในคาถาทั้งหลายนอกจากนี้ มีนัยที่กล่าว

แล้วนั้นแล. เพราะข้าพเจ้าจะไม่กล่าวบทแม้มีประมาณเท่านี้ ต่อนี้ไปจะเลี่ยง

บททั้งหลายที่มีเนื้อความง่าย จักกระทำการพรรณนาบทที่ยังไม่พรรณนาเท่า

นั้นแล.

บทว่า หนฺติ คือ ย่อมฆ่า ย่อมให้พินาศ. บทว่า อุปรนฺเธติ

คือ ใช้พรรคพวกยืนแวดล้อมไว้. บทว่า นครานิ แม้ดังนี้ พึงกล่าวด้วย

ศัพท์ในบทนี้ว่า คามานิ นิคมานิ จ. ด้วยการฆ่าและการปล้นนี้ว่า

นิคฺคาหโก สมญฺาโต มีชื่อเสียงอันบุคคลรู้แล้วในโลกว่า ฆ่าชาวบ้าน

ชาวนิคม และชาวนคร.

บทว่า คาเม ยทิ วารญฺเ ความว่า บ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี

ทั้งหมดพร้อมอุปจาร ชื่อว่า บ้าน ในคาถานี้ เว้นบ้านนั้น ที่เหลือชื่อว่า

ป่า. ทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน ที่สัตว์อื่นคุ้มครองยังไม่บริจาค จะเป็นสัตว์ก็ตาม

เป็นสังขารก็ตาม ในบ้านหรือในป่านั้น.

บทว่า เถยฺยา อทินฺน อาทยติ ความว่า ลักทรัพย์ที่ผู้อื่นเหล่านั้น

ไม่ได้ให้ ไม่ได้อนุญาต ด้วยไถยจิต คือ ยังการถือเอาของตนให้สำเร็จ ด้วย

ประโยคอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ด้วยอวหารอย่างใดอย่างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 340

บทว่า อิณมาทาย ความว่า คนที่วางหลักทรัพย์บางอย่างของตน

แล้วกู้หนี้มาใช้ ด้วยการวางหลักทรัพย์ หรือไม่วางหลักทรัพย์บางอย่างกู้หนี้

มาใช้ ด้วยการให้ดอกเบี้ยว่า ข้าพเจ้าจักให้ดอกเบี้ยประมาณเท่านี้ โดยกาล

ประมาณเท่านี้ หรือด้วยทำสัญญาว่า กำไรใดจักมีแต่ทรัพย์นี้ กำไรนั้นจัก

เป็นต้นทุนของเรา หรือของท่านด้วย หรือว่า กำไรต้องแบ่งกันทั้งสองฝ่าย

หนีไปเสีย. บทว่า น หิ เต อิมมตฺถิ ความว่า ผู้อันเจ้าหนี้นั้นทวงอยู่ว่า

ท่านจงให้หนี้แก่ข้าพเจ้า ทั้งที่อยู่ในเรือน ด้วยการพูดอย่างนี้ว่า หนี้ของท่าน

ไม่มีเลย ใครเป็นพยานว่า ข้าพเจ้ากู้หนี้ท่าน ชื่อว่า หนีไปเสีย.

บทว่า กิญฺจิกฺขกมฺยตา ความว่า เพราะต้องการทรัพย์บางอย่าง

เท่านั้น แม้มีประมาณน้อย. บทว่า ปนฺถสฺมึ วชต ชน ความว่า สตรี

หรือบุรุษ คนใดคนหนึ่ง ผู้กำลังเดินทาง. บทว่า หนฺตา กิญฺจิกฺขมาเทติ

ความว่า ฆ่าแล้ว หรือทุบตีแล้ว ชิงเอาของนั้น.

บทว่า อตฺตเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุแห่งชีวิตของตน. เพราะเหตุ

แห่งผู้อื่นก็เหมือนกัน. บทว่า ธนเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุแห่งทรัพย์ ทรัพย์

ของตน หรือทรัพย์ของผู้อื่น. อักษรในบททั้งปวงมีการกำหนดเป็นอรรถ.

บทว่า สกฺขิปุฏฺโ ความว่า ถูกถามว่า ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่ง

นั้น. บทว่า มุสา พฺรูหิ ความว่า เมื่อรู้กฺพูดว่าไม่รู้ หรือเมื่อไม่รู้ก็พูดว่า

รู้ คือ ย่อมทำผู้เป็นเจ้าของมิให้เป็นเจ้าของ ทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ.

บทว่า าตีน ได้แก่ ผู้เป็นเครือญาติ. บทว่า สขี น ได้แก่

ผู้เป็นสหาย. บทว่า ทาเรสุ ได้แก่ ในภรรยาทั้งหลายที่คนอื่นคุ้มครอง.

บทว่า ปฏิทิสฺสติ ความว่า ย่อมปรากฏโดยปฏิกูล อธิบายว่า ปรากฏว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 341

ประพฤติล่วงเกิน. บทว่า สหสา ได้แก่ หญิงไม่ต้องการ โดยพลการ

บทว่า สมฺปิเยน ความว่า ผู้อันภรรยาเหล่านั้น ของคนเหล่านั้นต้องการ

และตนเองก็ต้องการ มีอธิบายว่า แม้ด้วยอำนาจแห่งความรักใคร่ของบุคคล

ทั้งสอง.

บทว่า มาตร วา ปิตร วา ความว่า แม้ผู้เป็นที่ตั้งแห่งเมตตา

อย่างนี้. บทว่า ชิณฺณก คตโยพฺพน ความว่า แม้ผู้เป็นตั้งแห่งกรุณา

อย่างนี้. บทว่า ปหุสนฺโต ความว่า แม้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยประโยชน์ ถึง

พร้อมด้วยอุปกรณ์ ก็ไม่เลี้ยง คือ ไม่เลี้ยงดู.

บทว่า สสุ ได้แก่แม่ผัว. บทว่า หนฺติ ความว่า ประหารด้วยฝ่ามือ

ด้วยก้อนดิน หรือด้วยวัตถุอื่นบางอย่าง ด่า คือ ยังความโกรธให้เกิดแก่บุคคล

นั้น ด้วยวาจา คือ ด้วยคำหยาบ.

บทว่า อตฺถ ได้แก่ ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาสันทิฏ-

ฐิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์. บทว่า ปุจฺฉิโต

สนฺโต ความว่า ถูกถามแล้ว. บทว่า อนตฺถมนุสาสติ ความว่า ย่อม

บอกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลนั่นเทียว แก่เขา. บทว่า ปฏิจฺฉนฺเนน

มนฺเตติ ความว่า แม้เมื่อบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็ย่อมบอกด้วยคำปกปิด

ด้วยบทพยัญชนะที่ไม่ปรากฏโดยที่บุคคลนั้นไม่รู้ หรือย่อมปกปิดสิ่งที่มีเงื่อนงา

บอกสิ่งที่ไม่มีเงื่อนงำเท่านั้น.

บทว่า โย กตฺวา ความว่า ความปรารถนาลามกในส่วนเบื้องต้น

แห่งมายาได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถา มาแล้วอย่างนี้ว่า คนบางคนในโลกนี้

ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกปิดความปรารถนาอันลามก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 342

เพราะเหตุปกปิดทุจริตนั้น คือ ย่อมปรารถนาว่า ขอคนอื่นอย่าพึงรู้เรา มี

การงานปกปิด ด้วยการกระทำโดยประการที่คนอื่นทั้งหลายไม่รู้ และด้วยการ

ไม่เปิดเผยการงานที่ทำแล้วว่า การงานของเขาปกปิด.

บทว่า ปรกุล ได้แก่ ตระกูลญาติ หรือตระกูลมิตร. บทว่า อาคต

ความว่า ย่อมไม่ตอบแทนเขาผู้มาแล้วสู่เรือนตน ผู้ซึ่งคนเคยได้บริโภคอาหาร

มาแล้ว ด้วยวัตถุทั้งหลายมีน้ำและโภชนะเป็นต้น อธิบายว่า ย่อมไม่ให้หรือ

ให้แต่อาหารที่เลว.

บทว่า โย พฺราหฺมณ วา มีนัยที่กล่าวไว้แล้วในปราภวสูตรนั้นแล.

บทว่า ภตฺตกาเล อุปฏฺิเต ความว่า เกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ใน

กาลแห่งโภชนะ บาลีว่า ปรากฏแล้วดังนี้ก็มี อธิบายว่า ผู้มาแล้ว ในกาล

แห่งภัตรแต่เช้า. บทว่า โรเสติ วาจา น จ เทติ อธิบายว่า คนคิดว่า

สมณะหรือพราหมณ์นี้ ใคร่ประโยชน์แก่เรา ไม่มาเพื่อให้เราทำบุญโดยพลการ

ย่อมด่าด้วยคำหยาบที่ไม่สมควร โดยที่สุด ย่อมไม่ให้ แม้สักว่าพบหน้าสมณะ

หรือพราหมณ์นั้น จะป่วยกล่าวไปไยถึงการให้โภชนะเล่า.

บทว่า อสิต โยธ ปพฺรูติ ความว่า คนในโลกนี้พูดคำที่ไม่มี

โดยประการใดที่นิมิตทั้งหลายปรากฏว่า สิ่งนี้และสิ่งนี้จักมีแก่ท่านในวันชื่อ

โน้น บาลีว่า อสนฺติ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เรื่องไม่จริง. บทว่า ปพฺรูติ

ความว่า ย่อมพูด เหมือนนักเลงลวงภรรยาของคนอื่น หรือทาสีของคนอื่นว่า

ในบ้านชื่อโน้น ข้าพเจ้ามีสมบัติประจำเรือนเช่นนี้ จงมา จงไปในบ้านนั้น

ด้วยกัน ท่านจักเป็นแม่เรือนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักให้สมบัตินี้แก่ท่าน. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 343

นิชิคึสาโน ความว่า ต้องการอยู่ คือ แสวงหาอยู่. อธิบายว่า ผู้ประสงค์

จะลวงเขาแล้ว ถือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งหนีไปเสีย.

บทว่า โย จตฺตาน ความว่า ก็คนใดยกตน. บทว่า สมุกฺกเส

ความว่า ย่อมยกตนด้วยมานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้น คือ ตั้งตนไว้ในฐานะสูง.

บทว่า ปเร จ มวชานติ ความว่า ย่อมดูหมิ่นคนเหล่าอื่น คือ ทำให้ต่ำ

ด้วยมานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้นเหล่านั้น. อักษร กระทำการเชื่อมบท.

บทว่า นิหีโน ความว่า ผู้เสื่อมจากคุณวุฒิ หรือถึงความเป็นผู้ตกต่ำ. บทว่า

เสน มาเนน ความว่า ด้วยมานะของตน กล่าวคือ การยกตนและข่มท่าน

นั้น.

บทว่า โรสโก ได้แก่ผู้ฉุนเฉียวคนเหล่าอื่นด้วยกายและวาจา. บทว่า

กทริโย ได้แก่ ผู้ตระหนี่จัด. คำว่า กทริโย นั้น เป็นชื่อของคนผู้ห้าม

คนเหล่าอื่น ที่ให้ทานแก่คนเหล่าอื่น หรือผู้ทำบุญอย่างอื่น. บทว่า ปาปิจฺโฉ

ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยความปรารถนาที่จะยกย่องคุณที่ตนไม่มี. บทว่า มจฺฉรี

ได้แก่ ประกอบด้วยความตระหนี่ในเพราะที่อยู่เป็นต้น. บทว่า สโ ได้แก่

ผู้ประกอบพร้อมด้วยความโอ้อวด มีการประกาศคุณที่ตนไม่มีเป็นลักษณะ.

หรือผู้มักกล่าวคำที่ไม่ชอบ แม้ไม่ประสงค์จะทำ ด้วยคำว่า เราจะทำเป็นต้น.

หิริมีการเกลียดบาปเป็นลักษณะ ไม่มีแก่คนนั้น โอตตัปปะมีการสะดุ้งกลัวบาป

เป็นลักษณะ ไม่มีแก่คนนั้น เพราะฉะนั้น คนนั้นชื่อว่า อหิริโก ไม่ละอาย

อโนตฺตปฺปี ไม่สะดุ้งกลัว.

บทว่า พุทฺธ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. บทว่า ปริภาสติ

ความว่า ติเตียน ด้วยคำว่า ไม่เป็นสัพพัญญูเป็นต้น. และย่อมติเตียนพระสาวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 344

ด้วยคำว่า เป็นผู้ปฏิบัติชั่วเป็นต้น. ก็บทว่า ปริพฺพาชก คหฏฺวา นั่น

เป็นวิเสสนะของสาวกเท่านั้น. อธิบายว่า บรรพชิต หรือคฤหัสถ์ ผู้ถวาย

ปัจจัย ผู้เป็นสาวกพระพุทธเจ้านั้น. โบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมต้องการเนื้อ

ความในคาถานี้ อย่างนี้ว่า ย่อมติเตียนปริพาชกภายนอก หรือคฤหัสถ์คนใด

คนหนึ่ง ด้วยโทษอันไม่เป็นจริง.

บุทว่า อนรห สนฺโต ความว่า ผู้ไม่เป็นพระขีณาสพ. บทว่า

อรห ปฏิชานติ ความว่า ปฏิญาณว่า เราเป็นพระอรหันต์ คือ ย่อมเปล่ง

วาจา ย่อมตะเกียกตะกายด้วยกาย ย่อมปรารถนา ย่อมรับด้วยจิต โดยประการ

ที่บุคคลทั้งหลายรู้เขาว่า คนนี้เป็นพระอรหันต์. บทว่า โจเร ได้แก่ ขโมย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจคำอันอุกฤษฏ์ว่า ในโลกพร้อมทั้งพรหมโลก

อธิบายว่า ในโลกทั้งปวง.

จริงอยู่ พวกผู้ร้ายทำการตัดที่ต่อ การปล้นสดมภ์ การปล้นเรือน

หลังเดียว และการดักปล้นในหนทางเป็นต้นแล้ว ปล้นทรัพย์ของคนเหล่าอื่น

ท่านเรียกว่า โจร ในโลก พวกบรรพชิตปล้นปัจจัยเป็นต้น ด้วยบริษัทสมบัติ

เป็นต้น ท่านเรียกว่า โจร ในพระศาสนา. สนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

[มหาโจร]

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจร ๕ เหล่านี้ มีอยู่ ปรากฏอยู่ใน

โลก ๕ เป็นไฉน คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรบางคนในโลกนี้ คิด

อย่างนี้ว่า ชื่อในกาลไหนหนอ เราผู้อันบริวาร ๑๐๐ คน หรือ ๑,๐๐๐ คน

แวดล้อมแล้ว จักเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานี ฆ่าเอง ให้ฆ่า ตัดเอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 345

ให้ตัด จี้เอง ให้จี้ โดยสมัยอื่น เขามีบริวาร ๑๐๐ คน หรือ ๑,๐๐๐ คน

แวดล้อมแล้ว เที่ยวไปอยู่ในคาม นิคม และราชธานี ฆ่าเอง ฯลฯ ให้จี้ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วบางรูปในศาสนานี้ ก็เหมือนอย่างนั้นแล คิดอย่างนี้ว่า

ชื่อในกาลไหนหนอ เราผู้อันบริวาร ๑๐๐ ฯลฯ แวดล้อมแล้ว จักไปสู่ที่จารึก

ในคาม นิคม และราชธานี ผู้อันคฤหัสถ์ทั้งหลายและบรรพชิตทั้งหลายสักการ

แล้ว เคารพแล้ว นับถือแล้ว บูชาแล้ว ยำเกรงแล้ว ได้จีวร ฯลฯ บริขาร

โดยสมัยอื่นอีก เขาอันบริวาร ๑๐ ฯลฯ เที่ยวไปสู่คาม นิคม ราชธานีสักการะ

แล้ว ฯลฯ ได้จีวร ฯลฯ บริขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มหาโจรที่ ๑ มีอยู่

ปรากฏอยู่ในโลก.

๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุชั่วบางรูปในศาสนานี้

เรียนธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อมเผาตนเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้มหาโจรที่ ๒ ฯลฯ ในโลก.

๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีข้ออื่นอีก ภิกษุชั่วบางรูปในศาสนานี้

กำจัดพรหมจารีผู้บริสุทธิ์ ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ ด้วยพรหมจรรย์อัน

ไม่มีมูล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มหาโจรที่ ๓ ฯลฯ ในโลก.

๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีข้ออื่นอีก ครุภัณฑ์ ครุบริขาร ของสงฆ์

คือ อาราม อารามวัตถุ วิหาร วิหารวัตถุ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน หม้อ-

โลหะ อ่างโลหะ ขวดโลหะ กระทะโลหะ มีด ขวาน ผึ่ง จอบ สิ่ว เถาวัล

ไม้ไผ่ หญ้ามุงกระต่าย หญ้าปล้อง ดินเหนียว เครื่องไม้ เครื่องดินเหนียว

ภิกษุชั่วย่อมสงเคราะห์ ย่อมช่วยเหลือคฤหัสถ์ด้วยครุภัณฑ์ ครุบริขารเหล่านั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มหาโจรที่ ๔ ฯลฯ ในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 346

๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดอวดอุตริมนุสธรรมที่ตนไม่มี ไม่

เป็นจริง ภิกษุนี้เป็นยอดมหาโจรในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ พร้อมทั้งเทวดา

และมนุษย์.

ในโจร ๕ จำพวกนั้น โจรทางโลกย่อมขโมยวัตถุมีทรัพย์และธัญชาติ

เป็นต้น เฉพาะทางโลกเท่านั้น ในบรรดาโจรที่กล่าวแล้วในศาสนา โจรที่ ๑

ย่อมขโมยสักว่าปัจจัยมีจีวรเป็นต้น มีรูปเห็นปานนั้นเท่านั้น โจรที่ ๒ ย่อม

ขโมยประยัติธรรม โจรที่ ๓ ย่อมขโมยพรหมจรรย์ของคนอื่น โจรที่ ๔ ย่อม

ขโมยครุภัณฑ์อันเป็นของสงฆ์ โจรที่ ๕ ย่อมขโมยทั้งคุณทรัพย์ที่เป็นโลกิยะ

และโลกุตระ อันต่างด้วยฌาน สมาธิ สมาบัติ มรรค และผลทั้งปัจจัยมีจีวร

เป็นต้น อันเป็นโลกีย์ เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก้อนข้าวของแว่นแคว้น พวกเธอบริโภคแล้ว ด้วยไถยจิต.

ในโจร ๕ จำพวกนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นโจรในโลก

พร้อมทั้งพรหมโลก ดังนี้ ทรงหมายถึงมหาโจรที่ ๕ นี้ เพราะมหาโจรนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นยอดมหาโจร เพราะขโมยโลกิยทรัพย์และ

โลกุตรทรัพย์อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดอวดอุตริมนุสธรรมที่ตน

ไม่มี ไม่เป็นจริง ภิกษุนี้เป็นยอดมหาโจรในโลกพร้อมทั้งเทวโลก . . . พร้อม

ทั้งเทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงทรงประกาศภิกษุนั้น แม้ในศาสนานี้

ด้วยการกำหนดอย่างสูงนี้ว่า ในโลกพร้อมทั้งพรหมโลก.

ศัพท์ว่า โข ในบทนี้ว่า เอโส โข วสลาธโม มีอวธารณะ

เป็นอรรถ. ด้วยโขศัพท์นั้น ทรงกำหนดลงไปว่า ผู้นั้นแลเป็นคนถ่อยต่ำช้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 347

คือ เลวที่สุดของคนถ่อยทั้งหลาย. เพราะเหตุไร เพราะหลั่งออกซึ่งไถยธรรม

ในวัตถุอันประเสริฐ เขาไม่สละปฏิญาณนั้นตราบใด เขาก็บรรลุแล้วซึ่งธรรม

ที่ทำให้เป็นคนถ่อย เป็นคนถ่อยตราบนั้น.

บทว่า เอเต โข วสลา ความว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

จะทรงแสดงขยายถึงคนถ่อย ๓๓ พวก หรือ ๓๔ พวก ที่ตรัสอย่างนี้ว่า ใน

คาถาที่ ๑ มี ๕ พวก มีมักโกรธเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งอาสยวิบัติ หรือมี

๖ พวก โดยแยกลบหลู่อย่างเลวออกเป็น ๒ อย่าง ในคาถาที่ ๒ มี ๑ คือ ผู้

เบียดเบียนสัตว์ ด้วยอำนาจแห่งประโยควิบัติ ในคาถาที่ ๓ มี ๑ คือ ผู้ฆ่า

ชาวบ้านและชาวนิคม ด้วยอำนาจแห่งประโยควิบัติเท่านั้น ในคาถาที่ ๔ มี ๑

ด้วยอำนาจแห่งไถยาวหาร ในคาถาที่ ๕ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งการตระบัดหนี้

ในคาถาที่ ๖ มี ๑ คือ ฆ่าคนเดินทาง ด้วยอำนาจปสัยหาวหาร ในคาถาที่ ๗

มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งผู้เป็นพยานโกง ในคาถาที่ ๘ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งการ

ประทุษร้ายมิตร ในคาถาที่ ๙ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งผู้อกัตญญู ในคาถาที่ ๑๐

มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งผู้ทำความเสียหาย และเบียดเบียน ในคาถาที่ ๑๑ มี ๑

ด้วยอำนาจแห่งการลวงผู้อื่น ในคาถาที่ ๑๒ มี ๒ ด้วยอำแห่งคนผู้ปกปิด

กรรมและการงาน ในคาถาที่ ๑๓ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งคนอกตัญญูเหมือนกัน

ในคาถาที่ ๑๔ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งการลวง ในคาถาที่ ๑๕ มี ๑ ด้วยอำนาจ

แห่งการเบียดเบียน ในคาถาที่ ๑๖ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งการลวง ในคาถา

๑๗ มี ๒ ด้วยอำนาจแห่งการยกตนข่มท่าน ในคาถาที่ ๑๘ มี ๗ มีฉุนเฉียว

เป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งประโยคและอาสยวิบัติ ในคาถาที่ ๑๙ มี ๒ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 348

อำนาจแห่งการติเตียน ในคาถาที่ ๒๐ มี ๑ ด้วยอำนาจแห่งอัครมหาโจร

ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า คนเหล่าใด เราประกาศแก่ท่านแล้ว คนเหล่านั้นนั่นแล

เรากล่าวว่า เป็นคนถ่อย ดังนี้.

เนื้อความแห่งพระดำรัสนั้น มีดังนี้ :-

คนถ่อยเหล่านั้นใดที่เรากล่าวในกาลก่อนโดยย่ออย่างนี้ว่า ดูก่อน

พราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อยหรือ คนถ่อยเหล่านั้นนั่นแล เราประกาศแล้ว

โดยพิสดาร.

อนึ่ง คนถ่อยเหล่านั้นใด เรากล่าวแล้ว ด้วยอำนาจบุคคล คนถ่อย

เหล่านั้นนั่นแล เราประกาศแล้ว แม้ด้วยอำนาจแห่งธรรม.

อนึ่ง คนถ่อยเหล่าใด เราประกาศแล้วแก่ท่าน คนถ่อยเหล่านั่นแล

เรากล่าวแล้ว ด้วยอำนาจแห่งอริยธรรม หาได้กล่าวด้วยอำนาจแห่งชาติไม่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงคนถ่อยอย่างนี้ โดยนัยมีอาทิว่า

มักโกรธ ผูกโกรธ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธทิฏฐิที่พราหมณ์ ยึดมั่น

อย่างยิ่ง ด้วยสักกายทิฏฐิ จึงตรัสว่า น ชจฺจา วสโล บุคคลไม่เป็นคน

ถ่อยเพราะชาติ.

เนื้อความแห่งคาถานั้นว่า ก็โดยปรมัตถ์ บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะ

ชาติ ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อยเพราะกรรม เป็นพราหมณ์

เพราะกรรม เป็นคนถ่อยเพราะหลั่งออกซึ่งกรรมอันไม่บริสุทธิ์ เป็นพราหมณ์

เพราะลอยกรรมอันไม่บริสุทธิ์ ด้วยกรรมอันบริสุทธิ์ หรือ เพราะท่านสำคัญ

คนเลวว่าเป็นคนถ่อย คนประเสริฐว่าเป็นพราหมณ์ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 349

ยังพราหมณ์ให้รู้เนื้อความแม้อย่างนี้ว่า บุคคลเป็นคนถ่อยเพราะกรรมเลว เป็น

พราหมณ์เพราะกรรมประเสริฐดังนี้ จึงตรัสอย่างนั้น.

บัดนี้ เพื่อทรงยังเนื้อความนั้นนั่นแลให้สำเร็จ ด้วยการทรงแสดง

ขยาย จึงตรัสคถา ๓ คาถา มีอาทิว่า ตทมินาปิ ชานาถ ดังนี้. ในคาถา

เหล่านั้น ๒ คาถามีคาถาละ ๔ บท คาถาหนึ่ง มี ๖ บท.

เนื้อความแห่งคาถาเหล่านั้นว่า ข้อใดมีอาทิว่า บุคคลไม่เป็นคนถ่อย

เพราะชาติ เรากล่าวแล้ว ท่านจงรู้ข้อนั้น ตามที่เราแสดงนี้ มีอธิบายว่า

คำที่เราแสดงขยายนี้ย่อมมีโดยประการใด คือ โดยความเหมือนกันอันใด ท่าน

จงรู้ข้อนั้น โดยประการแม้นี้.

หากจะมีคำถามว่า ตัวอย่างเป็นไฉน ?

ตอบว่า บุตรของคนจัณฑาล เลี้ยงตนเองได้ ฯลฯ เป็นผู้เข้าถึง

พรหมโลก เป็นตัวอย่าง. บุตรของคนจัณฑาล ชื่อว่าจัณฑาลบุตร บุคคลใด

ได้ของที่สุกแล้ว เพื่อประโยชน์แก่การเคี้ยวกินของตนแล้ว หุงของสุกเหล่านั้น

อีก เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า โสปาก ผู้เลี้ยงตนเองมีชื่อว่า มาตังคะ.

บทว่า วิสฺสุโต ความว่า ปรากฏแล้ว ด้วยชาติเลว เป็นอยู่เลว

และมีชื่ออย่างนี้. บทว่า โส ความว่า มาตังคะนั้นเกี่ยวกับบทก่อน ได้ยศ

อย่างสูง คือ บรรลุพร้อมแล้ว ซึ่งยศ คือ เกียรติ การสรรเสริญ น่า

อัศจรรย์ อันอุดม ประเสริฐยิ่ง. บทว่า ย สุทุลฺลภ ความว่า อัน บุคคล

แม้เกิดแล้วในตระกูลสูงก็ได้โดยยาก อันบุคคลผู้เกิดในตระกูลเลว ก็ได้โดย

แสนยาก. อธิบายว่า ก็พวกกษัตริย์พวกพราหมณ์ เป็นอันมาก มาสู่ที่บำรุง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 350

ของมาตังคะนั้น ผู้ได้ถึงยศอย่างนี้ คือ พวกกษัตริย์ พวกพราหมณ์ และ

พวกมนุษย์ ในชมพูทวีปเหล่าอื่นมากมีแพศย์และศูทรเป็นต้น ต่างก็มาสู่ที่

บำรุงโดยมาก เพื่อบำรุงมาตังคะนั้น.

อธิบายว่า มาตังคะนั้นถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียรอย่างนี้ ขึ้น

สู่ยาน คือ สมาบัติแปด ชื่อว่า วิรัช เพราะปราศจากธุลี คือ กิเลส ชื่อว่า

ทางใหญ่ เพราะท่านผู้ใหญ่มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ปฏิบัติแล้ว ที่รู้กันว่า ยาน

ไปสู่พรหมโลก เพราะเป็นยานสามารถเพื่อให้ถึงเทวโลก กล่าวคือ พรหมโลก

ชำรอกกามราคะเสียได้ ด้วยการปฏิบัตินั้น ก็ไม่ได้ห้ามเขาให้เข้าถึงพรหมโลก

คือจากการอุบัติในพรหมโลก ก็ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความนี้ อย่างนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล มหาบุรุษกระทำอยู่ซึ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์

โดยอุบายนั้น ๆ อุบัติในตระกูลของคนจัณฑาล ซึ่งเลี้ยงชีพด้วยอาหารที่ตน

ให้สุกเอง เขามีชื่อว่า มาตังคะ มีรูปร่างไม่น่าดู อาศัยอยู่ในกระท่อมที่ทำ

ด้วยหนังสัตว์ ในภายนอกนคร เที่ยวขอภิกษาในภายในนครเลี้ยงชีวิต.

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อเข้าโฆษณานักษัตรเกี่ยวกับสุราในนครนั้น พวกนัก

เลงพากันเล่นกับบริวารของตน ธิดาของพราหมณ์มหาศาลแม้คนหนึ่ง อายุราว

๑๕-๑๖ ปี มีรูปโฉมน่าดู. น่าเลื่อมใสดุจเทพกัญญา คิดว่า เราจักเล่นตาม

สมควรแก่ตระกูลวงศ์ของตน จึงบรรทุกสัมภาระเกี่ยวกับการเล่นมีของเคี้ยวของ

กินเป็นต้น อย่างเพียงพอใส่เกวียนทั้งหลาย ขึ้นสู่ยานที่เทียมด้วยแม่ม้าขาว-

ปลอด ไปสู่สถานที่ในอุทยาน ด้วยบริวารใหญ่ นางมีชื่อว่า ทิฏฐมังคลิกา

ได้ยินว่า นางไม่ปรารถนาจะเห็นรูปที่ไม่สวยงามด้วยคิดว่า เป็นอวมงคล

ด้วยเหตุนั้น นางจึงเกิดมีชื่อว่า ทิฏฐมังคลิกา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 351

ในกาลครั้งนั้น มาตังคะนั้นลุกขึ้นตามกาลนั่นเทียวนุ่งผ้าเก่า ผูกก้าน

ตาลที่มือ ถือภาชนะเข้าสู่นคร เห็นมนุษย์ทั้งหลายแล้ว ก็เคาะก้านตาลแต่

ไกลแล ลำดับนั้น นางทิฏฐมังคลิกา อันบุรุษทั้งหลายกำลังไล่ชนที่เลวข้าง

หน้า ๆ ว่า พวกท่านจงลุกออกไป จงลุกออกไป นำทางอยู่ ได้เห็นมาตังคะ

ในท่ามกลางประตูนคร จึงกล่าว นั่นใคร. ข้าพเจ้าเป็นลูกคนจัณฑาล ชื่อ

มาตังคะ. นางคิดว่า คนทั้งหลายที่ไปเห็นคนเช่นนี้ จะมีความเจริญแต่ที่ไหน

จึงสั่งให้นำยานกลับ. มนุษย์ทั้งหลายโกรธว่า พวกเราไปสู่อุทยานแล้ว พึงได้

วัตถุมีของเคี้ยวและของกินเป็นต้นใด อันตรายแห่งวัตถุมีของเคี้ยวและของกิน

เป็นต้นนั้นของพวกเรา ถูกมาตังคะกระทำแล้ว จึงพูดว่า พวกท่านจงจับคนจัณ-

ฑาล ประหารด้วยก้อนดินทั้งหลาย รู้ว่าตายแล้ว จึงจับเท้าไปทิ้งที่ส่วนข้างหนึ่ง

กลบด้วยหยากเยื่อแล้วไป เขากลับได้สติแล้ว ลุกขึ้นถามมนุษย์ทั้งหลายว่า

นาย ! ชื่อว่า ประตูเป็นของทั่วไปแก่คนทั้งปวง หรือทำไว้สำหรับพวกพราหมณ์

เท่านั้น. มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ไม่ได้ทำ ประตูเป็นของทั่วไปแก่คนทั้งปวง.

มาตังคะคิดว่า มนุษย์ทั้งหลายให้เราผู้เข้าไปทางประตูที่ทั่วไปแก่ชนทั้งปวงแล้ว

ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยภิกขาจาร ให้ถึงความพินาศย่อยยับนี้ เพราะนางทิฏฐ-

มังคลิกาเป็นเหตุ จึงเที่ยวไปตามถนนสู่ถนน บอกแก่มนุษย์ทั้งหลายแล้ว นอน

ที่ประตูเรือนของพราหมณ์ ด้วยคิดว่า เราไม่ได้นางทิฏฐมังคลิกาแล้ว จักไม่

ลุกขึ้น.

พราหมณ์ฟังว่า มาตังคะนอนที่ประตูเรือน จึงกล่าวว่า ท่านจงให้

กากณิกหนึ่งแก่เขา เอาน้ำมันงาทาตัวแล้ว จงไป มาตังคะนั้นย่อมไม่ปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 352

กากณิกนั้น จึงกล่าวว่า เราไม่ได้นางทิฏฐมังคลิกาแล้ว จักไม่ลุกขึ้น แต่นั้น

พราหมณ์กล่าวว่า จงให้ ๒ กากณิก จงกินมูล ๑ กากณิก เอาน้ำมันงาทาตัว

๑ กากณิก แล้วไป เขาไม่ต้องกากณิกแม้นั้น ยังพูดยืนยันตามเดิมนั่นแล

พราหมณ์ฟังแล้ว ก็สั่งว่า จงให้มาสก บาท กึ่งกหาปณะ ๒ กหาปณะ

๓ กหาปณะ จนถึง ๑๐๐ กหาปณะ เขาก็ไม่ต้องการ ยังพูดยืนยันตามเดิม

นั่นแล เมื่อพวกเขาอ้อนวอนอยู่อย่างนี้นั่นเทียว พระอาทิตย์ก็อัสดง.

ลำดับนั้น นางพราหมณีลงจากปราสาท ให้ล้อมผ้าม่าน เข้าไปหา

มาตังคะนั้นแล้วอ้อนวอน กล่าวว่า แน่ะพ่อมาตังคะ เจ้าจงอดโทษแก่นาง

ทิฏฐมังคลิกาเถิด จงรับ ๑,๐๐๐ กหาปณะ ๒-๓ พันกหาปณะ จนถึงแสน

กหาปณะ เขาก็คงนอนนิ่งอย่างนั่นเทียว เมื่อ ๔-๕ วันล่วงไปอย่างนี้แล้ว

ชนทั้งหลายมีขัตติยกุมารเป็นต้น ให้บรรณาการแม้มากแล้ว เมื่อไม่ได้นาง

ทิฏฐมังคลิกา จึงกระซิบบอกที่หูมาตังคะว่า ธรรมดาบุรุษทั้งหลายทำความ

เพียรหลายปี จึงถึงความปรารถนา ท่านอย่าเบื่อเลย จักได้นางทิฏฐมังคลิกา

โดยล่วงไป ๒-๓ วันแน่แท้. เขาก็คงนอนนิ่งอย่างนั้นนั่นแหละ.

ลำดับนั้น ในวันที่ ๗ พวกคุ้นเคยโดยรอบ ลุกขึ้นกล่าวว่า ท่าน

จงให้มาตังคะลุกขึ้น หรือจงให้ทาริกา อย่าให้พวกเราทั้งหมดเสียหายเลย.

ได้ยินว่า พวกชนเหล่านั้นมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คนจัณฑาลนอนตายอย่างนี้ ใน

ประตูเรือนของคนใด พวกคนที่อยู่ในเรือนโดยรอบละ ๗ หลังคาเรือน พร้อม

ด้วยเรือนของคนนั้น ก็จะกลายเป็นคนจัณฑาลด้วย. แต่นั้น พราหมณ์และ

นางพรหมณี ให้นางทิฏฐมังคลิกานุ่งผ้าเก่าสีเขียว ให้วัตถุทั้งหลายมีกระบวย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 353

และหม้อเป็นต้น นำนางผู้คร่ำครวญอยู่ไปสู่สำนักของมาตังคะนั้นแล้ว กล่าวว่า

เจ้าจงรับทาริกา ลุกขึ้นไปเสีย นางทาริกานั้นยืนที่ข้างกล่าวว่า จงลุกขึ้น. มา-

ตังคะนั้นกล่าวว่า จงจับมือฉันให้ลุกขึ้น แล้วกล่าวว่า พวกเราไม่ได้เพื่ออยู่ภาย

ในนคร มาเถิด จงนำฉันไปสู่กระท่อมหนัง ในภายนอกนคร. นางจูงมือเขา

นำไปที่กระท่อมหนัง. อาจารย์ผู้กล่าวชาดกว่า ให้ขี่หลัง. ก็ครั้นนำไปแล้ว

จึงเอาน้ำมันทาร่างกายของมาตังคะนั้น ให้อาบน้ำด้วยน้ำอุ่น ต้มยาคูให้.

มาตังคะนั้นคิดว่า ขอพราหมณ์กัญญานี้อย่าฉิบหายเลย แล้วไม่กระทำ

การสมสู่ด้วยชาติเทียว พอได้กำลังสักกึ่งเดือนจึงพูดว่า ฉันจะไปป่า เจ้าอย่า

ร้อนใจว่า ชักช้ามาก และสั่งผู้คนในบ้านว่า พวกท่านอย่าละเลยนางนี้ ออก

จากเรือน บวชเป็นดาบส กระทำกสิณบริกรรมโดยไม่นานนัก ก็ยังสมาบัติ ๘

และอภิญญา ๕ ให้เกิดขึ้น คิดว่า ก็บัดนี้ เราจักเป็นที่พึ่งของนางทิฏฐมังคลิกา

จึงเหาะมาทางอากาศลงที่ประตูนคร ส่งข่าวไปยังสำนักของนางทิฏฐมังคลิกา.

นางฟังแล้ว คิดอยู่ว่า เห็นจะเป็นญาติของเราคนหนึ่งบวชแล้ว รู้ว่าเราเป็นทุกข์

จักมาเยี่ยม ดังนี้ จึงไป รู้ว่าเป็นมาตังคะนั้นแล้ว หมอบที่เท้าทั้งสองกล่าวว่า

ท่านทำดิฉันให้หมดที่พึ่ง มาเพื่อประโยชน์อะไร.

มหาบุรุษกล่าวว่า แน่ะนางทิฏฐมังคลิกา เจ้าอย่าเป็นทุกข์เลย ฉัน

จักให้ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้นทำสักการะแก่เจ้า แล้วกล่าวคำนี้ว่า จงไป เจ้าจง

ให้ทำการป่าวประกาศว่า ท้าวมหาพรหมเป็นสามีของดิฉัน ไม่ใช่มาตังคะ

ท้าวมหาพรหมนั้นจักแหวกวิมานจันทร์แล้วมาสู่สำนักของดิฉันในวันที่ ๗.

นางกล่าวว่า ท่านเจ้าขา ดิฉันเป็นธิดาของพราหมณ์มหาศาล ถึง

ความเป็นคนจัณฑาลนี้ เพราะบาปกรรมของตน ไม่อาจเพื่อจะพูดอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 354

มหาบุรุษกล่าวว่า เจ้าไม่รู้จักอานุภาพของมาตังคะ จึงแสดงปาฏิหาริย์

หลายอย่าง โดยประการที่นางยอมเชื่อถือ สั่งนางอย่างนั้นแล้ว ก็ไปสู่ที่อยู่

ของตน. นางได้ทำอย่างนั้น.

พวกมนุษย์ต่างก็เพ่งโทษ หัวเราะว่า ก็นางทิฏฐมังคลิกานี้ ถึงความ

เป็นคนจัณฑาลแล้ว เพราะบาปกรรมของตน จักทำมาตังคะนั้นให้เป็นมหา-

พรหมอีกอย่างไรกัน. นางมีมานะยิ่งนั่นแล จึงเที่ยวประกาศทั่วนครทุก ๆ วัน

ว่า แต่นี้ไปท้าวมหาพรหมจักมาในวันที่ ๖ ที่ ๕ ที่ ๔ ที่ ๓ ในวันพรุ่งนี้

ในวันนี้. มนุษย์ทั้งหลายฟังข่าวที่นางประกาศแล้ว คิดว่า บางครั้ง พึงมีแม้

อย่างนี้ ให้ทำมณฑปที่ประตูเรือนของตน ๆ จัดแจงสถานผูกม่าน ประดับ

ประดาทาริกาผู้เจริญวัย นั่งมองดูอากาศว่า เมื่อท้าวมหาพรหมมาจักถวาย

กัญญาทาน.

ลำดับนั้น มหาบุรุษเมื่อพระจันทร์โผล่ออกสู่พื้นท้องฟ้าในวันเพ็ญ

ก็แหวกวิมานจันทร์ มาปรากฏเป็นรูปท้าวมหาพรหมแก่มหาชนผู้มองดู มหาชน

เข้าใจว่า พระจันทร์ ๒ ดวงเกิดแล้ว แต่นั้น เห็นท้าวมหาพรหมมาโดยลำดับ

ได้ถึงความตกลงว่า นางทิฏฐมังกลิกาพูดจริง นี้เป็นท้าวมหาพรหมเทียว มา

ด้วยเพศของมาตังคะในกาลก่อน เพื่อจะทรมานนางทิฏฐมังคลิกา. มหาบุรุษ

นั้น เมื่อมหาชนมองดูอย่างนั้น จึงลงในที่เป็นที่อยู่ของนางทิฏฐมังคลิกานั่นแล.

ก็ในกาลนั้น นางมีระดู มหาบุรุษนั้นลูบคลำสะดือของนางด้วยนิ้วมือ

ครรภ์ก็ตั้งขึ้นด้วยการลูบคลำนั้น. แต่นั้น จึงกล่าวกะนางว่า ครรภ์ของเจ้า

ตั้งพร้อมแล้ว เมื่อบุตรเกิด เจ้าจงอาศัยบุตรนั้นเลี้ยงชีพ เมื่อมหาชนกำลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 355

มองดู ก็เข้าสู่วิมานจันทร์อีก พวกพราหมณ์พากันกล่าวว่า นางทิฏฐมังคลิกา

เป็นประชาบดีของมหาพรหม เป็นมารดาของพวกเรา จึงมาจากที่นั้น ๆ ประตู

นครก็คับคั่ง ด้วยอำนาจแห่งพวกมนุษย์ ผู้ใคร่เพื่อจะทำสักการะนั้น พวก

พราหมณ์เหล่านั้น ตั้งนางทิฏฐมังคลิกาในกองเงิน ให้อาบน้ำ ตกแต่ง ยก

ขึ้นสู่รถ ให้การทำประทักษิณพระนคร ด้วยสักการะใหญ่ ให้สร้างมณฑป

ในท่ามกลางนคร ตั้งนางไว้ในตำแหน่งที่เห็นว่า ประชาบดีของพรหม ให้อยู่

ในมณฑปนั้นว่า ขอให้นางอยู่ในมณฑปนี้ก่อน จนกว่าพวกเราจะทำโอกาส

เป็นที่อยู่อันเหมาะสมแก่นาง.

นางคลอดบุตรที่มณฑปนั่นเทียว ในวันบริสุทธิ์ พวกพราหมณ์ให้

นางพร้อมกับบุตรอาบน้ำสระเกล้าแล้ว ตั้งชื่อทารกว่า มัณฑัพยกุมาร เพราะ

เหตุเกิดในมณฑป และจำเดิมแต่นั้น พวกพราหมณ์เที่ยวแวดล้อมกุมารนั้นว่า

บุตรของมหาพรหม บรรณาการหลายแสนประการก็มาจากที่นั้น พราหมณ์เหล่า

นั้นตั้งอารักขากุมาร พวกที่มาแล้ว ก็ไม่ได้เพื่อเยี่ยมกุมารได้โดยเร็ว กุมาร

อาศัยความเจริญโดยลำดับ ปรารภแล้วเพื่อจะให้ทาน เขาไม่ให้ทานแก่คน

กำพร้าและคนเดินทาง ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยความหวัง แต่ให้แก่พวกพราหมณ์

เท่านั้น.

มหาบุรุษระลึกว่า บุตรของเราให้ทานหรือไม่ให้ เห็นกุมารกำลังให้

ทานแก่พราหมณ์ทั้งหลายนั่นเทียว จึงคิดว่า เราจักทำโดยประการที่กุมารนี้

ให้ทานแก่ชนทั้งหมด จึงห่มจีวร ถือบาตร เหาะมาทางอากาศ ยืนอยู่ที่

ประตูเรือนของบุตร กุมารเห็นมหาบุรุษนั่นแล้วโกรธว่า สมณะนี้เป็นคนถ่อย

มีเพศน่าเกลียดอย่างนี้ มาจากไหนดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 356

กุโต นุ อาคจฺฉสิ จมฺมวาสิ

โอตฺตลลโก ปสุปิสาจโกว

สงฺการโจฬ ปฏิมุญฺจ กณฺเ

โก เร ตุว โหสิ อทกฺขิเณยฺโย

ท่านนุ่งหนังสัตว์ มีรูปร่างน่าเกลียด

เหมือนปีศาจคลุกฝุ่น มาจากไหนกัน

ท่านสวมท่อนผ้า ซึ่งได้จากกองหยากเยื่อไว้

ที่คอ เป็นผู้ไม่ควรทักษิณา เป็นใครกันนะ

ดังนี้.

พวกพราหมณ์กล่าวว่า จงจับ จงจับ แล้วจับมหาบุรุษนั้น ทุบตี

ให้ถึงความพินาศย่อยยับ มหาบุรุษนั้น เหาะทางอากาศไปยืนอยู่ที่ภายนอกนคร.

เทวดาทั้งหลายโกรธแล้ว จับคอกุมาร เอาเท้าชี้ฟ้า เอาศีรษะลงดิน

ตั้งไว้. กุมารนั้นมีนัยน์ตาถล่น มีน้ำลายไหลออกจากปาก หายใจฆุรุ ฆุรุ

เสวยเวทนา นางทิฏฐมังคลิกาฟังแล้ว ถามว่า มีใครมาหรือ ? เออ บรรพชิต

มา. ไปไหน ?. ไปอย่างนี้. นางไปที่นั้นแล้ว อ้อนวอนว่า ท่านเจ้าขา ขอ

ท่านจงอดโทษแก่ทาสของท่าน ดังนี้แล้ว หมอบลงที่พื้นใกล้เท้าของมหาบุรุษ

นั้น.

ก็โดยสมัยนั้น มหาบุรุษเที่ยวบิณฑบาต ได้ข้าวยาคู กำลังดื่มข้าวยาคู

นั่งอยู่ในที่นั้น เขาให้ข้าวยาคูที่เหลือนิดหน่อยแก่นางทิฏฐมังคลิกา กล่าวว่า

จงไป จงกวนข้าวยาคูนี้ในหม้อน้ำแล้วหยอดที่นัยน์ตา หู รูจมูก และประพรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 357

ร่างกายทั้งสิ้น ของคนผู้พิการทั้งหลาย คนพิการทั้งหลายจักหายพิการ นางได้

กระทำอย่างนั้น แต่นั้น เมื่อกุมารมีร่างกายปกติแล้ว จึงกล่าวว่า มาเถิด

พ่อมัณฑัพยะ พวกเราจักให้มหาบุรุษนั้นอดโทษ แล้วพาบุตรและพราหมณ์

ทั้งปวงให้นอนหมอบที่บาทมูลของมหาบุรุษนั้นแล้วขอขมาให้อดโทษ.

มหาบุรุษนั้นโอวาทว่า พึงให้ทานแก่ชนทั้งปวง กล่าวธรรมกถาแล้ว

ไปสู่ที่อยู่ของตน คิดว่า นางทิฏฐมังคลิกา เราได้ทรมานปรากฏแล้วในสตรี

ทั้งหลาย มัณฑัพยกุมาร ปรากฏแล้วในบุรุษทั้งหลาย บัดนี้ เราพึงทรมานใคร

แต่นั้น ได้เห็น ชาติมันตดาบส ผู้อาศัยพันธุมดีนคร อยู่ที่ฝั่งแห่งกุมภวดีนที

ดาบสนั้นคิดว่า เราเป็นผู้ประเสริฐโดยชาติ จะไม่บริโภคน้ำที่คนอื่นทั้งหลาย

บริโภคแล้ว จึงพักอยู่ที่เหนือแม่น้ำ มหาบุรุษสำเร็จการอยู่เหนือภูมิภาคของ

ดาบสนั้น ในเวลาที่ดาบสนั้นบริโภคน้ำ ก็เคี้ยวไม้สีฟันโยนลงในแม่น้ำ ดาบส

เห็นไม้สีฟันนั้นถูกน้ำพัดไป ก็คิดว่า ใครทิ้งไม้สีฟันนี้ จึงไปทวนกระแส

เห็นมหาบุรุษแล้ว ถามว่า ใครในที่นี้ ?

ม. คนจัณฑาล ชื่อ มาตังคะ อาจารย์.

ด. จงหลีกไปคนจัณฑาล อย่ามาอยู่เหนือแม่น้ำ.

มหาบุรุษตอบรับว่า ดีละ อาจารย์ จึงพักอยู่ที่ใต้แม่น้ำ ไม้สีฟันก็

ทวนกระแสน้ำมาสู่สำนักดาบส ดาบสไปอีกกล่าวว่า ออกไปคนจัณฑาล จง

อย่าอยู่ในที่ใต้แม่น้ำ จงอยู่ในที่เหนือน้ำเท่านั้น มหาบุรุษรับว่า ดีละ อาจารย์

จึงกระทำตามสั่ง ทั้งทำอย่างเดิมอีก ดาบสโกรธว่า ยังทำอย่างนั้นอีก จึงสาปแช่ง

มหาบุรุษว่า ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ขอศีรษะของท่านจงแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง

ฝ่ายมหาบุรุษกล่าวว่า ดีละ อาจารย์ แต่เราจะไม่ให้พระอาทิตย์ขึ้นจึงห้ามมิให้

พระอาทิตย์ขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 358

แต่นั้น ราตรีไม่สว่าง ความมืดเกิดขึ้น ชาวพระนครพันธุมดีกลัว

พากันไปสู่สำนักของดาบสแล้ว ถามว่า ท่านอาจารย์ พวกกระผมจะมีความ

ปลอดภัยหรือหนอ. และชาวพระนครแม้เหล่านั้นก็สำคัญดาบสนั้นว่า เป็น

พระอรหันต์ ดาบสนั้นก็บอกเรื่องทั้งหมดแก่ชาวพระนครเหล่านั้น พวกเขาจึง

เข้าไปหามหาบุรุษอ้อนวอนว่า ท่านเจ้าขา ขอท่านจงปล่อยพระอาทิตย์ มหา-

บุรุษกล่าวว่า ผิว่า พระอรหันต์ของพวกท่านมาขอขมาฉัน ฉันจักปล่อย.

พวกมนุษย์ไปแล้ว กล่าวกะดาบสว่า มาเถิด ท่านผู้เจริญ ท่านจงขอขมา

มาตังคบัณฑิต พวกกระผมอย่าฉิบหาย เพราะเหตุแห่งการทะเลาะของพวกท่าน

ดาบสนั้นกล่าวว่า เราจะไม่ขอขมาคนจัณฑาล มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านให้

พวกกระผมฉิบหาย แล้วพากันจับมือและเท้านำไปสู่สำนักของมหาบุรุษ มหา-

บุรุษกล่าวว่า เมื่อดาบสนอนหมอบใกล้เท้าของเราขอขมาอยู่ เราจะอดโทษให้.

มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจงทำอย่างนี้ ดาบสก็กล่าวว่า เราจะไม่ไหว้คนจัณ-

ฑาล มนุษย์ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านจักไม่ไหว้ตามความพอใจของท่าน ดังนี้แล้ว

จึงจับมือ เท้า หนวด และคอเป็นต้น ให้นอนใกล้เท้าของมหาบุรุษ.

มหาบุรุษนั้นกล่าวว่า เราอดโทษแก่ดาบสนี้ แต่ว่า เราจะไม่ปล่อย

พระอาทิตย์ เพราะความอนุเคราะห์แก่ดาบสนั่นแล เพราะเมื่อพระอาทิตย์มาตร

ว่าขึ้นเท่านั้น ศีรษะของดาบสนั้นจักแตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยง มนุษย์ทั้งหลายจึง

กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า บัดนี้ จะพึงทำอย่างไร มหาบุรุษกล่าวว่า ถ้า

เช่นนั้น พวกท่านจงวางก้อนดินเหนียวบนศีรษะของดาบส และให้อยู่ในน้ำ

ลึกประมาณคอ เราจักปล่อยพระอาทิตย์ พอปล่อยพระอาทิตย์แล้ว ก้อนดิน

เหนียวก็แตกออกเป็นเจ็ดเสี่ยงตกลงมา ดาบสกลัวแล้วหนีไป พวกมนุษย์เห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 359

แล้ว จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ จงดูอานุภาพของสมณะ ดังนี้แล้ว กล่าวเรื่อง

ทั้งหมดให้พิสดารเริ่มต้นแต่การทิ้งไม้สีฟันเป็นต้น เลื่อมใสในมหาบุรุษนั้นว่า

สมณะที่เป็นเช่นนี้ไม่มี.

จำเดิมแต่นั้น คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลายมีกษัตริย์และพราหมณ์

เป็นต้น ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ก็ได้ไปสู่ที่บำรุงของมาตังคบัณฑิต เขาดำรงอยู่

ตามสมควรแก่อายุแล้ว เพราะกายแตกจึงบังเกิดในพรหมโลก ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ตทมินาปิ ชานาถ ฯลฯ พฺรหฺมโลกูปปตฺติยา

ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้สำเร็จว่า บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ

แต่เป็นคนถ่อยเพราะกรรม ดังนี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อให้สำเร็จอย่างนี้ว่า

ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ดังนี้ จึงตรัสว่า

อชฺฌายกกุเล ชาตา ฯ เป ฯ ทุคฺคจฺจา ครหาย วา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺฌายกกุเล ได้แก่เกิดในตระกูลพราหมณ์

ผู้สาธยายมนต์. บาลีว่า อชฺฌายิกกุเล ชาตา ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า เกิด

ในตระกูลพราหมณ์ผู้สาธยายมนต์และไม่ถูกรังเกียจ. มนต์ทั้งหลายเป็นเผ่า-

พันธุ์ของพราหมณ์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พราหมณ์เหล่านั้น จึงชื่อว่า

มนฺตพนฺธวา เป็นพวกร่ายมนต์ คือร่ายพระเวท มีอธิบายว่า มีพระเวท

เป็นที่พึ่งอาศัย.

บทว่า เต จ ปาเปสุ กมฺเมสุ อภิณฺหมุปทิสฺสเร ความว่า

พราหมณ์เหล่านั้น เกิดในตระกูลอย่างนี้แล้ว แม้จะเป็นพวกร่ายมนต์แต่ก็

ปรากฏอยู่เนือง ๆ ในบาปกรรมทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น เมื่อเป็นอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 360

ก็จะพึงถูกติเตียนในปัจจุบันทีเดียว และภพหน้าก็เป็นทุคติ อธิบายว่า พวก

เขาเมื่อปรากฏอยู่อย่างนี้ ในอัตภาพนี้ทีเดียวก็จะพึงถูกมารดาและบิดาติเตียน

อย่างนี้ว่า พวกนี้ไม่ใช่บุตรของพวกเรา พวกมันเกิดชั่ว เป็นขี้เถ้าของตระกูล

จงขับพวกของมันไป ดังนี้บ้าง ถูกพราหมณ์ทั้งหลายติเตียนอย่างนี้ว่า พวก

เหล่านี้เป็นคหบดี พวกเหล่านั้นไม่ใช่พราหมณ์ พวกท่านอย่าให้พวกมันเข้า

ไปในพิธีทั้งหลายมีที่บูชายัญและที่ถวายถาดข้าวสุกด้วยศรัทธาเป็นต้น อย่าพึง

สนทนากับพวกมัน ดังนี้บ้าง ถูกมนุษย์เหล่าอื่นติเตียนอย่างนี้ว่า พวกเหล่านี้

ทำกรรมชั่ว พวกเหล่านี้ไม่ใช่พราหมณ์ ดังนี้บ้าง และภพหน้าของพวกเขา

ก็เป็นทุคติ คือ ปรโลกของพวกมันก็เป็นทุคติอันต่างด้วยนรกเป็นต้น บาลีว่า

สมฺปราเย ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ในปรโลกของพวกเขาก็เป็นทุคติ คือ เป็น

คติแห่งความทุกข์ ได้แก่ เป็นการถึงความทุกข์นั่นเอง.

บทว่า น เน ชาติ นิวาเรติ ทุคฺคจฺจา ครหาย วา ความว่า

ชาตินั้นแม้จะสูงอย่างนั้น ท่านหวังชาติใดโดยความเป็นสาระ ชาตินั้นย่อมไม่

ห้ามกันพวกพราหมณ์ ที่ปรากฏอยู่ในบาปกรรมทั้งหลายนั้น จากทุคติมีประการ

ได้กล่าวแล้ว ในบทนี้ว่า และภพหน้าก็จะเป็นทุคติ หรือจากครหามีประการ

ดังกล่าวแล้วในบทว่า พึงถูกติเตียนในปัจจุบันทีเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงความที่พราหมณ์ทั้งหลาย แม้เกิด

ในตระกูลสาธยายมนต์ก็ยังตกต่ำในปัจจุบันทีเดียว ด้วยอำนาจแห่งกรรมมีการ

ถูกติเตียนเป็นต้น และเมื่อจะทรงแสดงความไม่มีแห่งชาติพราหมณ์ในภพหน้า

ด้วยการถึงทุคติ ทรงยังอรรถแม้นี้ว่า ไม่เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็น

พราหมณ์เพราะกรรม ดังนี้ ให้สำเร็จอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะประมวลอรรถ

แม้ทั้งสอง จึงตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เพราะอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 361

น ชจฺจา วสโล โหติ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ

กมฺมุนา วสโล โหติ กมฺมุนา โหติ พฺราหฺมโณ

บุคคลไม่เป็นคนถ่อยเพราะชาติ ไม่

เป็นพราหมณ์เพราะชาติ แต่เป็นคนถ่อย

เพราะกรรม เป็นพราหมณ์เพราะกรรม ดังนี้.

บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วในกสิภารทวาชสูตรนั่นแล หรือโดยพิเศษ

พึงทราบการประกอบอย่างนี้แห่งบททั้งหลาย มีอาทิว่า นิกฺกุชฺชิต วา ใน

คาถานี้ :-

พระธรรมอันพระโคดมผู้เจริญ ทรงยกข้าพระองค์ผู้หันหลังให้กรรม

ผู้ตกอยู่ในชาติวาทะขึ้นจากความเห็นว่า ชาติเป็นเหตุให้บุคคลเป็นพราหมณ์

และเป็นคนถ่อย เหมือนคนบางคนหงายของที่คว่ำฉะนั้น ทรงเปิดกรรมวาทะ

ที่ชาติวาทะปิดไว้ เหมือนคนเปิดสิ่งที่ปิดฉะนั้น ทรงบอกทางตรง อันไม่

เจือคละด้วยความที่ชาติเป็นเหตุให้เป็นพราหมณ์และให้เป็นคนถ่อย เหมือน

คนบอกทางแก่คนหลงทางฉะนั้น ทรงประกาศแล้ว โดยอเนกปริยาย เพราะ

เป็นธรรมที่ทรงประกาศแล้ว โดยปริยายเหล่านั้น แก่ข้าพระองค์ โดยทรง

ส่องแสงสว่างในการยกเรื่องมาตังคะ เป็นต้นเป็นตัวอย่าง เหมือนบุคคลตาม

ประทีปน้ำมันไว้ในที่มืด ฉะนั้นแล.

จบอัคคิกภารทวาชสุตตวัณณนา แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 362

เมตตสูตรที่ ๘

ว่าด้วยตรัสรู้สันตบท

[๓๐๘] กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์

ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้สันตบท พึงบำเพ็ญ

ไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ

เป็นผู้ตรง ซื่อตรง ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่

เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มี

ความประพฤติเบา มีอินทรีย์อันสงบแล้ว

มีปัญญาเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัว-

พันในสกุลทั้งหลาย และไม่พึงประพฤติ

ทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุ ให้ท่านผู้รู้

เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงเจริญเมตตาในสัตว์

ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข

มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มี

ชีวิตเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เป็นผู้สะดุ้งหรือ

เป็นผู้มั่นคง ไม่มีส่วนเหลือ สัตว์เหล่าใดมี

กายยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ผอม

หรือพี ที่เราเห็นแล้วหรือไม่ได้เห็น อยู่ใน

ที่ไกลหรือในที่ใกล้ ที่เกิดแล้วหรือแสวงหา

ที่เกิด ขอสัตว์ทั้งหมดนั้นจงเป็นผู้มีตนถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 363

ความสุขเถิด สัตว์อื่นไม่พึงข่มขู่สัตว์อื่น

ไม่พึงดูหมิ่นอะไรเขาในที่ไหน ๆ ไม่พึง

ปรารถนาทุกข์ให้แก่กันและกัน เพราะความ

โกรธ เพราะความเคียดแค้น.

มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดใน

ตน แม้ด้วยการยอมสละชีวิตได้ ฉันใด

กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ พึงเจริญเมตตา

มีในใจไม่มีประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉัน-

นั้น กุลบุตรนั้นพึงเจริญเมตตามีในใจไม่มี

ประมาณ ไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน

เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่คับแคบ ไม่มีเวร

ไม่มีศัตรู กุลบุตรผู้เจริญเมตตานั้นยินอยู่ก็ดี

เดินอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พึงเป็นผู้

ปราศจากความง่วงเหงาเพียงใด ก็พึงตั้งสติ

นี้ไว้เพียงนั้น บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิหาร-

ธรรมนี้ ว่าเป็นพรหมวิหารในธรรมวินัยของ

พระอริยเจ้านี้ และกุลบุตรผู้เจริญเมตตาไม่

เข้าไปอาศัยทิฏฐิ เป็นผู้มีศีลถึงพร้อมแล้ว

ด้วยทัศนะ นำความยินดีในกามทั้งหลาย

ออกได้แล้ว ย่อมไม่ถึงความนอนในครรภ์

อีกโดยแท้แล.

จบเมตตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 364

อรรถกถาเมตตสูตร

เมตตสูตรเริ่มต้นด้วยคาถาว่า กรณียมตฺถกุสเลน ดังนี้ :-

มีอุบัติอย่างไร ? ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายถูกเทวดาทั้งหลายข้างภูเขา

หิมวันต์หลอกให้กลัวแล้ว มาสู่กรุงสาวัตถี อันเป็นสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้ เพื่อประโยชน์แก่การป้องกัน และเพื่อ

ประโยชน์แก่กรรมฐานแก่ภิกษุเหล่านั้น ความสังเขปเพียงเท่านี้ก่อน ส่วนความ

พิสดารมีดังนี้ :-

ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อวันเข้าพรรษาใกล้เข้าแล้วประทับ

อยู่ ณ กรุงสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้น ภิกษุชาวเมืองต่าง ๆ จำนวนมาก เรียน

กรรมฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีความประสงค์เพื่อเข้า

จำพรรษา ณ ที่นั้น ๆ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยินว่า ในที่นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกรรมฐาน อันอนุกูลแก่จริตจำนวน ๘๔,๐๐๐ ประเภท

โดยนัยนี้คืออสุภกรรมฐาน ๑๑ อย่าง ด้วยอำนาจแห่งสวิญญาณกะและอวิญ-

ญาณกะ สำหรับผู้ราคจริตทั้งหลาย กรรมฐานมีเมตตาเป็นต้น ๔ อย่าง

สำหรับผู้โทสจริตทั้งหลาย กรรมฐานทั้งหลายมีมรณานุสติกรรมฐานเป็นต้น

สำหรับผู้โมหจริตทั้งหลาย กรรมฐานทั้งหลายมีอานาปานัสสติและปฐวีกสิณ

เป็นต้น สำหรับผู้วิตกจริตทั้งหลาย กรรมฐานทั้งหลายมีพุทธานุสติกรรมฐาน

เป็นต้น สำหรับผู้ศรัทธาจริตทั้งหลาย กรรมฐานทั้งหลายมีจตุววัฏฐานเป็นต้น

สำหรับผู้พุทธิจริตทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 365

ครั้งนั้นแล ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป เรียนกรรมฐานในสำนักของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว แสวงหาเสนาสนะอันสบาย และโคจรคาม ได้เห็น

ภูเขาลูกหนึ่ง ซึ่งต่อเนื่องเป็นอันเดียวกันกับหิมวันต์ที่ปลายแดนโดยลำดับ มี

พื้นศิลาสะพรั่งไปด้วยทรายและแก้วมณีสีเขียว ประดับด้วยราวป่าสีเขียวมีร่มเงา

เย็นและหนาทึบ มีภูมิภาคเกลื่อนกล่นด้วยทรายเช่นกับด้วยพวงแก้วมุกดาและ

แผ่นเงิน แวดล้อมด้วยชลาลัยอันสะอาด จืด เย็นสนิท ลำดับนั้นแล ภิกษุ

เหล่านั้นได้พักอยู่ที่ภูเขานั้นคืนหนึ่ง เมื่อราตรีสว่างแล้ว ทำบริกรรมสรีระเสร็จ

ก็เข้าไปบิณฑบาตยังบ้านหนึ่ง ในที่ไม่ไกลภูเขานั้น บ้านนั้นประกอบด้วย

ตระกูลเข้าไปตั้งบ้านเรือนอย่างหนาแน่นประมาณ ๑,๐๐๐ ตระกูล.

ก็ในบ้านนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีศรัทธา เลื่อมใส พอเห็นภิกษุเหล่านั้น

ก็เกิดความปีติและโสมนัส เพราะการเห็นบรรพชิตในปัจจันตชนบทหาได้โดย

ยาก ยังภิกษุเหล่านั้นให้ฉันแล้ว เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้า

ทั้งหลายจงอยู่ในบ้านนี้แหละตลอดสามเดือน ครั้นขอแล้ว ก็ให้ทำกุฎีสำหรับ

ทำความเพียร ๕๐๐ หลัง จัดแจงเครื่องอุปกรณ์ทุกอย่าง มีเตียง ตั่ง หม้อ

น้ำดื่ม น้ำใช้เป็นต้นไว้ในบ้านนั้น ในวันที่สอง ภิกษุทั้งหลายเข้าไปยังบ้านอื่น

เพื่อบิณฑบาตมนุษย์ทั้งหลายแม้ในบ้านนั้น ก็บำรุงเหมือนอย่างนั้น อ้อนวอน

ให้อยู่จำพรรษา ภิกษุทั้งหลายเห็นว่าไม่มีอันตราย จึงรับนิมนต์ เข้าไปสู่

ราวป่านั้น ปรารภความเพียรตลอดคืนและวันทั้งปวง เคาะระฆังบอกยาม

เป็นผู้อยู่มากไปด้วยโยนิโสมนสิการ นั่งอาศัยโคนต้นไม้.

รุกขเทวดาทั้งหลายปราศจากเดช เพราะเดชของภิกษุผู้มีศีลทั้งหลาย

ลงจากวิมานของตน ๆ แล้วพาเด็กทั้งหลายเที่ยวไปข้างนี้และข้างโน้น เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 366

เมื่อโอกาสในเรือนของชาวบ้านทั้งหลายถูกพระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระ-

ราชายึดครองแล้ว ชาวบ้านทั้งหลายออกจากเรือนไปอยู่ที่อื่น คอยมองดูแต่ไกล

ว่า เมื่อไรหนอ จักไปเสีย ชื่อแม้ฉันใด เทวดาทั้งหลายก็ฉันนั้นและทิ้งวิมาน

ของตน ๆ เที่ยวข้างนี้และข้างโน้น คอยแลดูแต่ไกลเทียวว่า เมื่อไรหนอ

พระคุณเจ้าทั้งหลายจักไปเสีย แต่นั้น ก็คิดร่วมกันอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย

เข้าจำพรรษาต้นอยู่ตลอด ๓ เดือนแน่แท้ แต่พวกเราจักไม่อาจเพื่อจะพาเด็ก

ทั้งหลายลงมาอยู่นานเพียงนั้น เอาเถิด พวกเราจักแสดงอารมณ์อันน่ากลัวแก่

ภิกษุทั้งหลาย และเทวดาเหล่านั้นได้เนรมิตรูปยักษ์ทั้งหลายที่น่ากลัว ในเวลา

ภิกษุทั้งหลายทำสมณธรรมในราตรี ยืนอยู่ข้างหน้า ๆ และร้องเสียงน่าสะพรึง-

กลัว.

เมื่อภิกษุทั้งหลายเห็นอยู่ซึ่งรูปเหล่านั้นและฟังเสียงนั้น หัวใจก็หวั่น-

ไหว และภิกษุทั้งหลายก็มีวรรณะเศร้าหมอง เกิดเป็นโรคผอมเหลือง ด้วย

เหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงไม่อาจเพื่อทำจิตให้เป็นอารมณ์เดียวได้ เมื่อภิกษุ

เหล่านั้น มีจิตไม่มีอารมณ์เดียว และสลดสังเวชบ่อย ๆ เพราะกลัวอารมณ์นั้น

สติก็หลงลืม แต่นั้น เทวดาทั้งหลายก็ประกอบอารมณ์ทั้งหลาย อันมีกลิ่นเหม็น

แก่ภิกษุผู้มีสติหลงลืมเหล่านั้น มันสมองของภิกษุเหล่านั้น เป็นเหมือนถูก

บีบคั้นด้วยกลิ่นเหม็นนั้น เวทนาในศีรษะอันแรงกล้าได้เกิดขึ้นแล้ว และภิกษุ

ทั้งหลายก็ไม่บอกประพฤติการณ์นั้นให้แก่กันและกัน.

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อภิกษุทั้งหมดประชุมกัน ในเวลาบำรุงพระสังฆเถระ

พระสังฆเถระจึงถามว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย เมื่อพวกท่านเข้าสู่ราวป่านี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 367

เพียงวันเล็กน้อย ผิวพรรณก็บริสุทธิ์อย่างยิ่ง ขาวสะอาด และอินทรีย์ทั้งหลาย

ก็ผ่องใส แต่ในบัดนี้ ท่านทั้งหลายผ่ายผอม วรรณะเศร้าหมอง เป็นโรค

ผอมเหลือง ท่านทั้งหลาย ในป่านี้ มีความไม่สบายอย่างไร หรือ ? แต่นั้น

ภิกษุรูปหนึ่งเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในกลางคืน กระผมเห็นและฟังอารมณ์

อันน่าสะพรึงกลัวอย่างนี้และอย่างนี้ และสูดกลิ่นเช่นนี้ ด้วยเหตุนั้น จิตของ

กระผม จึงไม่ตั้งมั่น ภิกษุทั้งหมดก็บอกประพฤติการณ์นั้น ด้วยอุบายนั้น

เหมือนกัน พระสังฆเถระกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อนุญาตการเข้าจำพรรษา ๒ ครั้ง และเสนาสนะนี้ของพวกเราไม่สบาย มาเถิด

อาวุโส พวกเราจักไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามเสนาสนะ

อันสบายอื่น ภิกษุเหล่านั้น ตอบรับพระเถระว่า ดีละท่าน ทั้งหมดเก็บงำ

เสนาสนะแล้ว ถือบาตรจีวร ไม่บอกลาอะไรในตระกูลทั้งหลาย เพราะเป็นผู้

ไม่คลุกคลี หลีกไปสู่จาริกถึงกรุงสาวัตถี ภิกษุเหล่านั้นไปสู่กรุงสาวัตถี โดย

ลำดับ แล้วไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงตรัสพระดำรัสนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้บัญญัติสิกขาบทว่าภิกษุไม่พึงเที่ยวจาริกในภายใน

พรรษาแล้ว เธอทั้งหลายเที่ยวจาริกเพื่ออะไร ภิกษุเหล่านั้นทูลบอกเรื่องทั้งหมด

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใคร่ครวญอยู่ ก็ไม่ทรงเห็น

เสนาสนะอันเป็นที่สบายของภิกษุเหล่านั้น โดยที่สุดแม้สักว่าที่วางตั่งสี่เท้าใน

ชมพูทวีปทั้งสิ้น ครั้นแล้ว จึงตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เสนาสนะอันเป็นที่สบายของพวกเธอไม่มี พวกเธออยู่ในที่นั้นแหละ พึงถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 368

ความสิ้นไปแห่งอาสวะได้ ไปเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัยเสนาสนะ

นั้นอยู่เถิด ก็ถ้าพวกเธอปรารถนาความไม่มีภัยแต่เทวดาทั้งหลายก็จงเรียน

ปริตรนี้ เพราะปริตรนี้ จักเป็นเครื่องป้องกันและเป็นกรรมฐานของพวกเธอ

ดังนี้ จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสพระดำรัสนี้

ว่า ไปเถิด ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอาศัยเสนาสนะนั้นแหละอยู่ จึงตรัสว่า

เออแล ภิกษุผู้อยู่ป่าพึงทราบการคุ้มครอง คือ เมตตา ๒ ปริตร ๒ อสุภะ ๒

มรณสติ ๒ และการพิจารณามหาสังเวควัตถุ ๘ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ

อบายทุกข์ ๔ ชื่อว่า มหาสังเวควัตถุ ๘ ด้วยอำนาจทำในเวลาเย็นและเวลาเช้า

อนึ่ง พึงทราบมหาสังเวควัตถุ ๘ อย่าง คือ ชาติ ชรา พยาธิ มรณะ ๔

อบายทุกข์เป็นที่ ๕ ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอดีต ทุกข์มีวัฏฏะเป็นมูลในอนาคต

ทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูลในปัจจุบัน พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสบอก

การคุ้มครองอย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระสูตรนี้ แก่ภิกษุเหล่านั้น เพื่อเมตตา

เพื่อป้องกัน และเพื่อฌานอันมีวิปัสสนาเป็นบาท ดังนี้.

ในคาถาเหล่านั้น คาถาที่หนึ่งนี้ว่า กรณียมตฺถกุสเลน มีการพรรณ-

นาตามบทอย่างนี้ก่อน. บทว่า กรณีย ได้แก่ ประโยชน์อันควรทำ. อธิบาย

ว่าควรแก่การกระทำ. ปฏิปทา ชื่อว่า ประโยชน์ หรือประโยชน์เกื้อกูลของตน

อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นทั้งหมด เรียกว่า ประโยชน์ เพราะเป็นประโยชน์ที่กุลบุตร

ควรได้รับ เพราะเป็นประโยชน์ที่กุลบุตรพึงเข้าถึง ชื่อว่า เพราะเป็นประโยชน์

ที่กุลบุตรควรได้รับ. ผู้ฉลาดในประโยชน์ ชื่อว่า อัตถกุศล อธิบายว่า ผู้

เฉลียวฉลาดในประโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 369

บทว่า ย เป็นปฐมาวิภัตติ อนิยมสรรพนาม. บทว่า ต เป็น

ทุติยาวิภัตติ นิยมสรรพนาม. หรืยบทว่า ยนฺต แม้ทั้งสองก็เป็นปฐมาวิภัตติ.

บทว่า สนฺติ ปท เป็นทุติยาวิภัตติ. ในบททั้งสองนั้น ชื่อว่า สนฺติ ก็

เพราะโดยลักษณะ ชื่อว่า ปท เพราะเป็นธรรมที่กุลบุตรพึงถึง. บทว่า

สนฺต ปท นั่นเป็นชื่อของพระนิพพาน.

บทว่า อภิสเมจฺจ ได้แก่ บรรลุแล้ว. ชื่อว่า สักกะ เพราะอรรถ

วิเคราะห์ว่า อาจหาญ มีอธิบายว่า เป็นผู้สามารถ เป็นผู้มีกำลังเฉพาะ.

บทว่า อุชู ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความซื่อตรง. ชื่อว่า สุหุชุ

เพราะอรรถว่า ซื่อตรงโดยดี. ชื่อว่า สุวจะ เพราะอรรถว่า ว่าง่าย. บทว่า

อสฺส ได้แก่ พึงเป็น. บทว่า มุทุ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความอ่อนโยน.

ผู้ไม่เย่อหยิ่ง ชื่อว่า อนติมานี.

ก็ในคาถานี้ มีการพรรณนาเนื้อความอย่างนี้ ในบาทคาถานี้ว่า

กรณียมตฺถกุสเลน ยนฺต สน ต ปท อภิสเมจฺจ กิจที่ควรทำก็มี กิจที่

ไม่ควรทำก็มี ในกิจสองอย่างนั้น โดยย่อ สิกขา ๓ เป็นกิจที่ควรทำ กิจมี

อาทิอย่างนี้ว่า ศีลวิบัติ ทิฏฐิวิบัติ อาจารวิบัติ อาชีววิบัติ เป็นกิจไม่ควรทำ

อนึ่ง กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ก็มี กุลบุตรผู้ฉลาดในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

ก็มี.

ในกุลบุตร ๒ พวกนั้น กุลบุตรใดบวชในศาสนานี้แล้ว ย่อมไม่

ประกอบตนโดยชอบ เป็นผู้มีศีลขาด สำเร็จการเลี้ยงชีวิต โดยอาศัยอเนสนา

๒๑ อย่าง คือ ให้ไม้ไผ่ ให้ใบ ให้ดอกไม้ ให้ผลไม้ ให้ไม้สีฟัน ให้น้ำ

ล้างหน้า ให้เครื่องอาบ ให้จุณ ให้ดินเหนียว พูดยกยอเพื่อต้องการให้เขารัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 370

พูดทีเล่นทีจริงเสมอด้วยแกงถั่ว การเป็นคนรับเลี้ยงเด็ก การรับใช้ฆราวาส

การทำเวชกรรม การทำทูตกรรม การไปอย่างผู้ต่ำทราม การให้อาหารเพื่อ

หวังลาภ การทำนายพื้นที่ การทำนายฤกษ์ การดูอวัยวะ และเที่ยวไปใน

อโคจร ๖ อย่าง คือ หญิงแพศยา หญิงม่าย หญิงสาวทึนทึก บัณเฑาะก์

ภิกษุณี และร้านสุรา และอยู่คลุกคลีด้วยพระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา

เดียรถีย์สาวกของเดียรถีย์ การคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ก็หรือ ย่อมเสพ

คบ เข้าไปหาตระกูลทั้งหลายที่ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ด่าบริภาษ ใคร่ความ

ฉิบหาย ใคร่ต่อสิ่งที่ไม่ใช่ประโยชน์เกื้อกูล ความไม่ผาสุกและความไม่เกษม

จากโยคะแก่ภิกษุทั้งหลาย ฯลฯ อุบาสิกาทั้งหลาย กุลบุตรนี้ ชื่อว่า ผู้ฉลาด

ในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์.

ส่วนกุลบุตรใดบวชในศาสนานี้แล้ว ประกอบตนโดยชอบ ละอเนสนา

เป็นผู้ใคร่เพื่อดำรงอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล บำเพ็ญปาฏิโมกขสังวร ด้วยศรัทธา

เป็นหลัก บำเพ็ญอินทริยสังวร ด้วยสติเป็นหลัก บำเพ็ญอาชีวปาริสุทธิ์

ด้วยวิริยะเป็นหลัก บำเพ็ญปัจจยปฏิเสวนา ด้วยปัญญาเป็นหลัก กุลบุตรนี้

ชื่อว่า ผู้ฉลาดในประโยชน์.

หรือ กุลบุตรใดชำระปาฏิโมกขสังวร ด้วยอำนาจแห่งการชำระอาบัติ

๗ กอง อินทริยสังวร ด้วยอำนาจแห่งความไม่เกิดขึ้น แห่งอุปกิเลสทั้งหลาย

มีอภิชฌาเป็นต้น ในอารมณ์ที่มากระทบในทวารทั้งหก ชำระอาชีวปาริสุทธิ์

ด้วยการคบพระพุทธเจ้า อนุพุทธสาวกและบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ที่ผู้รู้สรรเสริญ

แล้ว ด้วยอำนาจแห่งการงดเว้นอเนสนา ชำระปัจจยปฏิเสวนะ ด้วยอำนาจ

แห่งการพิจารณาตามทีกล่าวแล้ว และชำระสัมปชัญญะ ด้วยอำนาจแห่งการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 371

พิจารณาสิ่งที่มีประโยชน์เป็นต้น ในการเปลี่ยนอิริยาบถทั้งสี่ กุลบุตรแม้นี้

ชื่อว่า ผู้ฉลาดในประโยชน์.

หรือ กุลบุตรใดรู้ว่าศีลบริสุทธิ์ได้ เพราะอาศัยญาณ เหมือนผ้าสกปรก

ย่อมสะอาดได้ เพราะอาศัยน้ำสะอาด กระจกเงาผ่องใสได้ เพราะอาศัยขี้เถ้า

ทองบริสุทธิ์ได้ เพราะหลอมในเบ้า ฉะนั้น ล้างอยู่ด้วยน้ำคือญาณ ชื่อว่า

ยังศีลให้บริสุทธิ์ และเป็นผู้ไม่ประมาทเลย ย่อมรักษาศีลขันธ์ของตน เหมือน

นกต้อยตีวิดรักษาไข่ แม่เนื้อจามรีรักษาขนหาง นางนารีผู้มีบุตรน้อยคนเดียว

รักษาบุตรน้อยคนเดียวที่รัก และบุรุษมีนัยน์ตาข้างเดียว รักษานัยน์ตาข้างเดียว

นั้น ฉะนั้น พิจารณาอยู่ทั้งเวลาเย็นทั้งเวลาเช้า ย่อมไม่เห็นโทษแม้มีประมาณ

น้อย กุลบุตรแม้นี้ ชื่อว่า ผู้ฉลาดในประโยชน์.

ก็หรือ กุลบุตรใดดำรงอยู่ในศีลเป็นเครื่องกระทำไม่ให้เดือดร้อน

ประคองปฏิปทาเครื่องข่มกิเลส ครั้นประคองปฏิปทานั้นแล้ว ย่อมทำกสิณ

บริกรรม ครั้นทำกสิณบริกรรมแล้ว ย่อมยังสมาบัติทั้งหลายให้เกิด กุลบุตร

แม้นี้ ชื่อว่า ผู้ฉลาดในประโยชน์.

ก็กุลบุตรใดออกจากสมาบัติ พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว บรรลุ-

พระอรหัต กุลบุตรนี้ เป็นผู้เลิศแห่งกุลบุตรผู้ฉลาดทั้งหลาย.

ในคาถานั้น ภิกษุเหล่านี้แม้ใด เป็นผู้ฉลาดในประโยชน์ที่พรรณนา

แล้ว ตั้งแต่การดำรงอยู่ในศีลเป็นเครื่องกระทำไม่ให้เดือดร้อน หรือตั้งแต่

การประคองปฏิปทาเป็นเครื่องข่มกิเลส ภิกษุเหล่านั้น ท่านประสงค์ว่า เป็น

ผู้ฉลาดในประโยชน์ ในอรรถนี้ และภิกษุเหล่านั้น ก็เป็นอย่างนั้น ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 372

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กรณียมตฺถกุสเลน ด้วยเทศนาอันมี

บุคคลเดียวเป็นที่ตั้ง ทรงหมายถึงภิกษุเหล่านั้น ต่อแต่นั้น จึงตรัสว่า ยนฺต

สนฺต ปท อภิสเมจฺจ แก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้เกิดความสงสัยว่า ประโยชน์

จะพึงทำเป็นอย่างไร อธิบายดังนี้ บทใดอันกุลบุตรผู้ต้องการเพื่อจะอยู่บรรลุ

บท คือ พระนิพพานอันสงบ ด้วยการแทงตลอด ควรกระทำ บทนั้นอัน

พระพุทธเจ้าและพระอนุพุทธะทั้งหลายพรรณนาไว้แล้ว.

ก็ในคาถานี้ บทที่กล่าวแล้วแต่ต้นแห่งคาถาบทนี้ว่า ย ย่อมคล้อยตาม

อธิการว่า กรณีย. บทว่า ต สนฺต ปท อภิสเมจฺจ พึงทราบว่า ก็

เนื้อความนี้มีบาลีที่เหลือ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วิหริตุกาเมน.

อนึ่ง ในบทว่า สนฺต ปท อภิสเมจฺจ นี้ พึงทราบอธิบายอย่างนี้ว่า

กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ รู้บทนิพพานว่า สงบ ด้วยโลกิยปัญญา ด้วย

อำนาจแห่งการฟังเป็นต้น เป็นผู้ใคร่เพื่อจะบรรลุบทนิพพานนั้น พึงกระทำ

กิจที่คล้อยตามอธิการว่า พึงกระทำ.

อนึ่ง เมื่อตรัสว่า กรณียมตฺถกุสเลน จึงตรัสว่า ยนฺต สนฺต ปท

อภิสเมจฺจ แก่ภิกษุทั้งหลายผู้คิดอยู่ว่าอะไร ? ผู้ศึกษาพึงทราบอธิบายบท

นั้นว่า กุลบุตรตรัสรู้บทอันสงบด้วยโลกิยปัญญา พึงกระทำประโยชน์ที่ควร

กระทำ มีอธิบายว่า ประโยชน์นั้นควรทำนั่นเทียว.

ถามว่า ก็ประโยชน์นั้นคืออะไร ตอบว่า นอกจากอุบายเป็นเครื่อง

บรรลุสันตบทนั้น จะพึงมีประโยชน์อื่นอะไรเล่า ก็สันตบทนั้น ได้กล่าวแล้ว

ด้วยบทต้นอันแสดงถึงไตรสิกขา ซึ่งมีอรรถว่าสมควรแก่การกระทำ แม้ก็จริง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 373

ถึงกระนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วในการพรรณนาเนื้อความแห่งบทนั้นว่า

ประโยชน์ควรทำก็มี ประโยชน์ไม่ควรทำก็มี ในประโยชน์ ๒ อย่างนั้น โดย

ย่อไตรสิกขาเป็นประโยชน์ควรทำ แต่เพราะทรงแสดงโดยย่อเกินไป ภิกษุ

เหล่านั้น บางพวกก็รู้ บางพวกก็ไม่รู้ แต่นั้น ทรงแสดงประโยชน์ที่ภิกษุอยู่ป่า

เป็นวัตรจะพึงทำโดยพิเศษให้พิสดาร เพื่อให้ภิกษุพวกที่ยังไม่รู้ได้รู้ จึงตรัส

กึ่งคาถานี้ก่อนว่า เป็นผู้อาจหาญ เป็นผู้ตรง ซื่อตรง ว่าง่าย อ่อนโยน

ไม่เย่อหยิ่ง ดังนี้.

มีอธิบายอย่างไร ? กุลบุตรผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ประสงค์จะตรัสรู้สันตบท

อยู่ หรือตรัสรู้สันตบทนั้น ด้วยโลกิยปัญญา ปฏิบัติเพื่อบรรลุสันตบทนั้น

ไม่อาลัยในกายและในชีวิต ด้วยการถึงพร้อมด้วยความเพียรองค์ที่ ๒ และองค์

ที่ ๔ พึงอาจเพื่อปฏิบัติในการแทงตลอดสัจจะ อนึ่ง พึงเป็นผู้อาจหาญใน

กรณียกิจน้อยใหญ่ของสพรหมจารีทั้งหลายมีกสิณบริกรรม และการสมาทานวัตร

เป็นต้น ในกิจทั้งหลายมีการซ่อมแซมบาตรและจีวรของตน และในกิจเหล่าอื่น

เห็นปานนั้น เป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้าน เป็นผู้สามารถ และแม้จะเป็นผู้

อาจหาญ ก็ต้องเป็นผู้ตรง ด้วยการถึงพร้อมด้วยความเพียรองค์ที่ ๓ และแม้

จะเป็นผู้ตรง ก็ต้องไม่ถึงความพอใจ ด้วยความเป็นผู้ตรงครั้งเดียว พึงเป็น

ผู้ตรงให้ดีกว่า ด้วยการกระทำไม่ย่อหย่อนบ่อย ๆ ตลอดชีวิต หรือเป็นผู้ตรง

เพราะความเป็นผู้ไม่โอ้อวด เป็นผู้ซื่อตรง เพราะความเป็นผู้ไม่มีมายา เป็น

ผู้ตรง ด้วยการละการคดทางกายและทางวาจา เป็นผู้ซื่อตรง ด้วยการละการ

คดทางใจ หรือเป็นผู้ตรง ด้วยการไม่โปรยคุณที่ไม่มี เป็นผู้ซื่อตรง ด้วยการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 374

ไม่รับลาภที่เกิดขึ้นด้วยคุณที่ไม่มี พึงเป็นผู้ตรงและเป็นผู้ซื่อตรง ด้วยอารัมมณู-

ปนิชฌาน และลักขณูปนิชฌาน ด้วยสิกขา ๒ ข้อข้างต้น และสิกขาข้อที่ ๓

และด้วยประโยคาสัยอันบริสุทธิ์.

และจะพึงเป็นผู้ตรง และเป็นผู้ซื่อตรงอย่างเดียวหามิได้ ก็จะต้องเป็น

ผู้ว่าง่ายอีกด้วย จริงอยู่ บุคคลใดถูกเขากล่าวว่า ท่านไม่ควรทำสิ่งนี้ ย่อม

กล่าวว่า ท่านเห็นอะไร ท่านฟังอะไร ท่านเป็นอะไรของผมจึงว่ากล่าว เป็น

อุปัชฌาย์ เป็นอาจารย์ เป็นเพื่อนเห็น เป็นเพื่อนกินหรือ ? หรือย่อม

เบียดเบียนด้วยความเป็นผู้นิ่ง หรือรับแล้วไม่ทำตามที่รับ บุคคลนั้น ย่อมอยู่

ในที่ห่างไกลแห่งการบรรลุคุณวิเศษ.

ส่วนบุคคลใดถูกสั่งสอน ย่อมกล่าวว่า ดีละ ท่านผู้เจริญ ท่านกล่าวดี

อย่างยิ่ง ชื่อว่า โทษของตนเห็นได้โดยแสนยาก ท่านเห็นอย่างนั้นแล้ว พึง

อาศัยความเอ็นดูกล่าวเตือนกระผมแม้อีก กระผมได้รับโอวาทจากสานักของท่าน

นานแล้ว ดังนี้ และปฏิบัติตามที่พร่ำสอน บุคคลนั้น เป็นผู้อยู่ในที่ใกล้แห่ง

การบรรลุคุณวิเศษ. เพราะฉะนั้น บุคคลรับคำของคนอื่นแล้วกระทำอย่างนี้

พึงเป็นผู้ว่าง่าย และพึงเป็นผู้อ่อนโยน เหมือนเป็นผู้ว่าง่าย.

บทว่า มุทุ ความว่า กุลบุตรถูกคฤหัสถ์ทั้งหลายใช้ในกิจทั้งหลาย

มีการไปเป็นทูต และการไปอย่างคนเลวเป็นต้น ไม่ทำความอ่อนแอในกิจนั้น

ต้องเป็นผู้แข็งแรง แต่พึงเป็นผู้อ่อนโยนในข้อวัตรปฏิบัติ และในการประพฤติ

พรหมจรรย์ทั้งสิ้น เป็นผู้ควรแก่การแนะนำในกิจนั้น ๆ ประดุจทองคำที่

ช่างทองหลอมดีแล้ว ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 375

อีกประการหนึ่ง บทว่า มุทุ ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่หน้าสยิ้ว คือเป็น

ผู้มีหน้าเบิกบาน เจรจาไพเราะ ประพฤติปฏิสันถาร เป็นผู้ยึดถือความสุข

มาให้ ดุจวัตถุที่ตั้งดีแล้ว ฉะนั้น และกุลบุตรจะพึงเป็น ผู้อ่อนโยนอย่างเดียว

หามิได้ จะพึงเป็นผู้ไม่เย่อหยิ่งอีกด้วย คือ ไม่พึงดูหมิ่นคนอื่นทั้งหลาย ด้วย

อติมานวัตถุมีชาติและโคตรเป็นต้น พึงเป็นอยู่ด้วยใจ เสมอด้วยเด็กจัณฑาล

ดุจพระสารีบุตรเถระฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสประโยชน์บางอย่างอันควรทำ สำหรับ

ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรโดยพิเศษ ผู้ใคร่เพื่อจะตรัสรู้สันตบทอยู่ หรือ ปฏิบัติ

อยู่เพื่อบรรลุสันตบทนั้น อย่างนี้แล้ว ทรงพระประสงค์จะตรัสประโยชน์ที่ควร

กระทำแม้ยิ่งกว่านั้นอีก จึงตรัสคาถาที่ ๒ นี้ว่า สนฺตุสฺสโก จ ดังนี้.

ในคาถานั้น กุลบุตรชื่อว่า เป็นผู้สันโดษ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า

ย่อมยินดีด้วยสันโดษ ๑๒ อย่าง มีประเภทที่กล่าวแล้ว ในคาถานี้ว่า สนฺตุฏฺี

จ กตญฺญุตา. อีกอย่างหนึ่ง กุลบุตรชื่อว่า เป็นผู้มีความพอใจ เพราะ

อรรถวิเคราะห์ว่า ย่อมพอใจ. กุลบุตรผู้สันโดษ เพราะอรรถว่า ผู้พอใจ

ด้วยของของตน พอใจด้วยของมีอยู่ พอใจโดยชอบ.

ใน ๓ อย่างนั้น ปัจจัยสี่ที่ตนแลรับแล้ว ซึ่งยกขึ้นในมณฑลแห่งการ

อุปสมบทอย่างนี้ว่า อาศัยโภชนะ คือคำข้าวที่หามาได้ด้วยปลีแข้งชื่อว่า ของ

ตน กุลบุตรไม่แสดงอาการผิดแปลกในเวลารับและเวลาบริโภค เป็นอยู่ ด้วย

ปัจจัยสี่นั้น ดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม ที่เขาให้โดยเคารพ หรือ ไม่เคารพก็ตาม

เรียกว่า ผู้พอใจด้วยของของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 376

สิ่งใดอันตนได้แล้ว เป็นของมีอยู่ของตน สิ่งนั้นชื่อว่า ของมีอยู่

กุลบุตรยินดีด้วยของมีอยู่นั้นนั่นแล คือ ไม่ปรารถนาสิ่งอื่นจากของมีอยู่นั้น

สละความเป็นผู้ปรารถนาที่เกินเสีย เรียกว่า พอใจด้วยของมีอยู่.

การละอนุสัยและปฏิฆะในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ ชื่อว่า ชอบ

กุลบุตรพอใจในอารมณ์ทั้งปวงโดยชอบนั้น เรียกว่า พอใจโดยชอบ.

ชื่อว่า ผู้เลี้ยงง่าย เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ผู้อันเขาเลี้ยงโดยง่าย

อธิบายว่า ผู้เลี้ยงดูโดยง่าย จริงอยู่ ภิกษุใดแสดงความเป็นผู้หน้าเสีย และ

ความเป็นผู้ไม่พอใจ ในบิณฑบาตแม้ที่เขาบรรจุข้าวสาลีเนื้อ และข้าวสุก

เป็นต้นเต็มบาตรถวาย หรือผลักบิณฑบาตนั้น ต่อหน้าเขาทั้งหลายว่า พวก

ท่านให้อะไร ย่อมให้แก่สามเณรและคฤหัสถ์เป็นต้น ภิกษุนั่น ชื่อว่า

เลี้ยงยาก. มนุษย์ทั้งหลายเห็นภิกษุนั่น ย่อมหลีกเว้นแต่ไกลทีเดียวว่า ภิกษุ

เลี้ยงยากไม่อาจจะบำรุงเลี้ยงได้.

ส่วนกุลบุตรใดได้บิณฑบาตอย่างใดอย่างหนึ่ง เศร้าหมองก็ตาม

ประณีตก็ตาม น้อยก็ตาม มากก็ตาม มีใจเป็นของตน มีหน้าผ่องใสยังมีชีวิต

ให้เป็นไปอยู่ กุลบุตรนั่น ชื่อว่า เลี้ยงง่าย มนุษย์ทั้งหลายเห็นกุลบุตรนั่น

แล้ว เบาใจอย่างยิ่งว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเราเลี้ยงง่าย ย่อมยินดีด้วยของ

แม้น้อย ๆ พวกเราเท่านั้น จักบำรุงเลี้ยงพระผู้เป็นเจ้านั้น ดังนี้แล้ว ทำ

ปฏิญญา บำรุงเลี้ยง. กุลบุตรมีรูปอย่างนี้ ทรงประสงค์ว่า เป็นผู้เลี้ยงง่ายใน

คาถานี้.

ชื่อว่า มีกิจน้อย เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า กุลบุตรนั้นมีกิจน้อย คือ

ผู้ไม่ขวนขวายในกิจหลายอย่างมีความเป็นผู้ยินดีในการงาน ยินดีในการพูดและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 377

ยินดีในคลุกคลีเป็นต้น. อีกประการหนึ่ง มีคำอธิบายว่า กุลบุตรนั้นเว้นจาก

กิจมีการทำนวกรรมในวิหารทั้งสิ้น การสอนหมู่สงฆ์สามเณรและคนวัดเป็นต้น

กระทำอยู่ซึ่งกิจของตนมีการปลงผม ตัดเล็บ ระบมบาตร และเย็บจีวรเป็นต้น

ชื่อว่า เป็นผู้มีกิจ คือ สมณธรรมเป็นเบื้องหน้า.

ชื่อว่า มีความประพฤติเบา เพราะอรรถว่า กุลบุตรนั้นมีความ

ประพฤติเบา ภิกษุผู้มีสิ่งของมากบางรูป ในเวลาหลีกไปสู่ทิศ ก็ให้มหาชน

ขนบาตรจีวร ผ้าปูที่นอน น้ำมัน น้ำอ้อยจำนวนมากเป็นต้น โดยทูนศีรษะ

บ้าง กระเดียดบ้างเป็นต้น หลีกไปอยู่ ฉันใด กุลบุตรใดไม่เป็นฉันนั้น เป็น

ผู้มีบริขารน้อย ใช้สอยแต่เฉพาะสมณบริขาร ๘ มีบาตรและจีวรเป็นต้นเท่านั้น

ในเวลาหลีกไปสู่ทิศ ก็คือเอาเท่านั้นหลีกไปเหมือนนกมีปีกฉะนั้น. กุลบุตรมี

รูปอย่างนี้ ทรงประสงค์ว่า มีความประพฤติเบาในคาถานี้.

ชื่อว่า มีอินทรีย์อันสงบแล้ว เพราะอรรถว่า กุลบุตรนั้นมีอินทรีย์

ทั้งหลายสงบแล้ว มีอธิบายว่า มีอินทรีย์อันไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจแห่งราคะ

เป็นต้น ในอารมณ์ทั้งหลายมีอิฏฐารมณ์เป็นต้น.

บทว่า นิปโก ได้แก่ ผู้รู้แจ้ง คือ ผู้มีความรู้ ได้แก่ผู้มีปัญญา

อธิบายว่า ผู้ถึงพร้อมแล้ว ด้วยปัญญาเป็นเครื่องตามรักษาศีล ด้วยปัญญา

เป็นเครื่องพิจารณาจีวรเป็นต้น และด้วยปัญญากำหนดรู้สัปปายะ ๗ มีอาวาส

เป็นต้น.

ชื่อว่า ไม่คะนอง เพราะอรรถว่า กุลบุตรไม่มีความคะนอง อธิบายว่า

เว้นจากความคะนองกายมี ๘ ฐานะ ความคะนองวาจามี ๔ ฐานะ และความ

คะนองใจมีหลายฐานะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 378

การกระทำอันไม่สมควรทางกาย ในการเข้าไปหาสงฆ์ คณะ บุคคล

โรงฉัน เรือนไฟ ท่าน้ำ ทางภิกขาจาร และในระหว่างเรือน ชื่อว่า ความ

คะนองกายมี ๘ ฐานะ คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ นั่งรัดเข่าหรือนั่งค้ำเท้า

ในท่ามกลางสงฆ์ อย่างนี้เป็นต้น. ในท่ามกลางคณะก็อย่างนั้น คำว่า ในท่าม

กลางคณะ ได้แก่ ในการประชุมบริษัทสี่. ในบุคคลผู้แก่กว่าก็อย่างนั้น.

ก็ในโรงฉัน ย่อมไม่ให้อาสนะแก่ภิกษุผู้แก่ทั้งหลาย ย่อมกีดกันภิกษุ

ใหม่ทั้งหลาย ด้วยอาสนะ. ในเรือนไฟก็อย่างนั้น ก็ในเรือนไฟนั้น ไม่ขอ

อนุญาตพระภิกษุผู้แก่ทั้งหลาย ทำกิจทั้งหลายมีการก่อไฟเป็นต้น.

ก็ในท่าน้ำ ท่านกล่าวว่า พึงอาบน้ำตามลำดับผู้มา โดยไม่ทำการ

กำหนดว่า ผู้หนุ่ม ผู้แก่ ภิกษุบางรูปไม่เอื้อเฟื้อเรื่องแม้นั้นมาทีหลัง ลงน้ำ

เบียดพระภิกษุผู้แก่ และผู้ใหม่.

ส่วนในทางภิกขาจาร ก็เดินไปข้างหน้า ๆ ของภิกษุผู้แก่ทั้งหลายเพื่อ

อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ บิณฑบาตที่เลิศ เอาแขนกระทบแขนเข้าไปก่อนกว่า

ภิกษุผู้แก่ทั้งหลาย ในการเข้าไปในระหว่างเรือน ย่อมทำการเล่นทางกาย ด้วย

ภิกษุหนุ่มทั้งหลายดังนี้เป็นต้น.

การเปล่งวาจาอันไม่สมควรในสงฆ์ คณะ บุคคล และในระหว่าง

เรือน ชื่อว่า ความคะนองวาจามี ๔ ฐานะ คือ ภิกษุบางรูปในศาสนานี้ไม่

ขออนุญาตแสดงธรรมในท่ามกลางสงฆ์. ในคณะและในบุคคลผู้แก่กว่า มี

ประการที่กล่าวแล้วในกาลก่อน ก็เหมือนอย่างนั้น ภิกษุบางรูปถูกมนุษย์ทั้ง-

หลายถามปัญหาในท่ามกลางสงฆ์นั้น ไม่ขออนุญาตภิกษุผู้แก่กว่าแก้ปัญหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 379

ส่วนในระหว่างเรือน กล่าวคำอย่างนี้ว่า ในที่ชื่อนี้ มีอะไร มีข้าวยาคู หรือ

ของขบเคี้ยว ของขบฉัน ท่านจะให้อะไรแก่เรา ในวันนี้ เราจักขบเคี้ยวอะไร

ฉันอะไร ดื่มอะไร ดังนี้เป็นต้น.

การไม่ถึงอัชฌาจารด้วยกายและวาจาในฐานเหล่านั้น ๆ เลย ตรึกถึง

สิ่งที่ไม่สมควรมีประการต่าง ๆ มีกามวิตกเป็นต้น ด้วยใจอย่างเดียว ชื่อว่า

ความคะนองใจมีฐานะหลายอย่าง.

บทว่า กุเลสุ อนนุคิทฺโธ ความว่า ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลายที่

ตนเข้าหา ด้วยความอยากในปัจจัย หรือ ด้วยอำนาจแห่งการคลุกคลีกับคฤหัสถ์

อันไม่สมควร มีอธิบายว่า ไม่โศกด้วย ไม่เพลิดเพลินด้วย ไม่สุขในสกุลที่

มีความสุข ไม่ทุกข์ในสกุลที่มีความทุกข์ ไม่ถึงการประกอบด้วยตนเอง ใน

กรณียกิจทั้งหลายที่เกิดขึ้น ก็ในคาถานี้ คำว่า อสฺส ใดที่กล่าวในบทว่า

สุวโจ อส ส พึงประกอบคำนั้นพร้อมกับบททั้งปวงอย่างนี้ว่า สนฺตุสฺสโก

จ อสฺส สุภโร จ อสฺส ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสบอกกิจที่ควรทำ แม้ยิ่งกว่านั้น แก่

ภิกษุผู้อยู่ป่าโดยพิเศษ ผู้ประสงค์เพื่อตรัสรู้สันตบทอยู่ หรือใคร่เพื่อปฏิบัติ

เพื่อบรรลุสันตบทอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงพระประสงค์ เพื่อตรัสบอกกิจแม้

ไม่ควรทำ จึงตรัสคาถากึ่งนี้ว่า

และไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อย

อะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่น

ติเตียนได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 380

คาถานั้นมีเนื้อความว่า เมื่อทำประโยชน์ที่ควรทำนี้อย่างนี้ ชื่อไม่พึง

ประพฤติทุจริตทางกาย ทางวาจาและทางใจที่เรียกว่า เล็กน้อย คือ ลามก

และเมื่อไม่ประพฤติทุจริตเล็กน้อย พึงประพฤติทุจริตหยาบอย่างเดียวก็หามิได้

แต่พึงประพฤติทุจริตอะไรเล่า มีอธิบายว่า ไม่พึงประพฤติทุจริตประมาณน้อย

คือ แม้เล็กน้อย แต่นั้นพึงประพฤติ คือ แสดงโทษอันจะพึงเห็นเองของ

ทุจริตนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้.

ก็ในคาถานี้ เพราะผู้ไม่รู้เหล่าอื่นไม่เป็นประมาณ ด้วยว่าผู้ไม่รู้แม้

เหล่านั้น ย่อมทำสิ่งที่ไม่มีโทษให้มีโทษบ้าง ย่อมทำสิ่งที่มีโทษน้อย ให้มีโทษ

มากบ้าง ส่วนท่านผู้รู้ทั้งหลายเท่านั้นเป็นประมาณ เพราะท่านผู้รู้เหล่านั้น

พิจารณาแล้ว ใคร่ครวญแล้ว ย่อมกล่าวติเตียนแก่คนผู้ควรติเตียน ย่อมกล่าว

สรรเสริญแก่คนผู้ควรสรรเสริญ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

วิญฺญู ปเร แปลว่า ท่านผู้รู้เหล่าอื่นดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสอุปจารแห่งกรรมฐาน อันต่างด้วยประ-

โยชน์ที่ควรทำและไม่ควรทำ แก่ผู้อยู่ป่าเป็นวัตรโดยพิเศษผู้ใคร่เพื่อจะตรัสรู้

สันตบทอยู่ หรือ ผู้ใคร่เพื่อปฏิบัติ เพื่อบรรลุสันตบทนั้น และแก่ภิกษุทั้งหลาย

ผู้ใคร่เพื่อจะเรียนกรรมฐานอยู่แม้ทั้งหมด โดยมีภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรเป็นประ-

ธาน ด้วย ๒ คาถากึ่งเหล่านี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อปริตรโดยการทำลาย

ความกลัวแต่เทวดานั้น และเพื่อกรรมฐาน ด้วยอำนาจฌานอันมีวิปัสสนาเป็น

บาทสำหรับภิกษุเหล่านั้น จึงทรงเริ่มตรัสเมตตกถา โดยนัยมีอาทิว่า สุขิโน

วา เขมิโน โหนฺตุ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 381

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขิโน ได้แก่ มีความพร้อมพรั่งด้วยสุข.

บทว่า เขมิโน ได้แก่ ผู้มีความเกษม มีอธิบายว่า ผู้ไม่มีภัย ไม่มีอุปัทวะ.

บทว่า สพฺเพ ได้แก่ ที่เหลือลง. บทว่า สตฺตา ได้แก่ สัตว์มีปราณทั้งหลาย.

บทว่า สุขิตตฺตา ได้แก่ ผู้มีจิตเป็นสุข.

ก็ในคาถานี้ สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย ผู้ศึกษาพึงทราบว่า มีสุขด้วยสุข

ทางกาย มีตนถึงความสุข ด้วยสุขทางใจ หรือมีความเกษมด้วยสุขแม้ทั้งสอง

นั้น หรือด้วยการปลอดจากภัยและอุปัทวะทั้งปวง.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงตรัสอย่างนั้นเล่า ตอบว่า เพราะเพื่อ

ทรงแสดงอาการแห่งเมตตาภาวนา จริงอยู่ พระโยคาวจรพึงเจริญเมตตาอย่าง

นี้ว่า ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุขเถิด หรือว่า จงมีความเกษมเถิด

หรือว่า จงมีตนถึงความสุขเถิด.

ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนาโดยย่อ ตั้งแต่อุปจารสมาธิจนถึงที่สุดแห่ง

อัปปนาสมาธิอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงเมตตาภาวนานั้น แม้โดยพิสดาร

จึงตรัส ๒ คาถาว่า เย เกจิ ดังนี้.

อนึ่ง จิตของกุลบุตรใด สั่งสมแล้วในอารมณ์ต่าง ๆ ย่อมไม่ดำรง

อยู่ในเอกัคคารมณ์ โดยอารมณ์เบื้องต้นเลย แต่วิ่งไปตามประเภทของอารมณ์

แล้วดำรงอยู่ ตามลำดับทีเดียว เพราะฉะนั้น เพื่อจะทรงยังจิตของกุลบุตรนั้น

ซึ่งติดตามแล้ว ติดตามอีก ซึ่งอารมณ์ทั้งหลายอันต่างด้วยทุกะและติกะ มีการ

สะดุ้ง และมั่นคงเป็นต้น ให้ดำรงมั่นอยู่ได้ จึงตรัสคาถาว่า เย เกจิ เป็นต้น.

อีกประการหนึ่ง เพราะอารมณ์ใดแจ่มแจ้งแก่กุลบุตรใด จิตของ

กุลบุตรนั้น ย่อมดำรงมั่นอย่างสบายในอารมณ์นั้น เพราะฉะนั้น ทรงพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 382

ประสงค์เพื่อยังจิตของกุลบุตรนั้น ดำรงมั่นอยู่ในอารมณ์อันแจ่มนั้น จึงตรัส

คาถา ๒ คาถานี้ว่า เย เกจิ อันแสดงประเภทแห่งอารมณ์ที่เป็นทุกะและติกะมี

การสะดุ้งและมั่นคงเป็นต้น แก่ภิกษุเหล่านั้น.

ก็ในคำถานี้ ทรงแสดงทุกะ คือ หมวดสองแห่งสัตว์สะดุ้งและมั่นคง

หมวดสองแห่งสัตว์ที่เห็นและไม่เห็น หมวดสองแห่งสัตว์ที่อยู่ไกลและอยู่ใกล้

หมวดสองแห่งภูตสัตว์และสัมภเวสี และติกะ ๓ คือ หมวดสามแห่งสัตว์ยาว

สั้น และปานกลาง หมวดสามแห่งสัตว์ใหญ่ เล็ก และปานกลาง หมวดสาม

แห่งสัตว์อ้วน เล็ก และปานกลาง เพราะเกิดประโยชน์ในติกะทั้งสามแห่งสัตว์

มีเท้าปานกลาง และในติกะทั้งสองแห่งสัตว์มีเท้าเล็ก ด้วยบททั้งหก มียาว

เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เย เกจิ เป็นคำกล่าวที่ไม่มีส่วนเหลือ.

สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว คือมีลมหายใจนั่นเทียว ชื่อว่า ปาณภูตา. อีกอย่าง

หนึ่ง ชื่อว่า ปาณา เพราะอรรถว่า สัตว์ทั้งหลายมีลมปราณ. ทรงถือเอา

สัตว์มีขันธ์ ๕ ทั้งหลาย ผู้เนื่องด้วยลมอัสสาสะ และลมปัสสาสะ ด้วยบทว่า

ปาณา นี้.

ชื่อว่า ภูตา เพราะอรรถว่า สัตว์ทั้งหลายมีอยู่ ทรงถือเอาสัตว์มีขันธ์

๑ และขันธ์ ๔ ด้วยบทว่า ภูตา นี้. บทว่า อตฺถิ คือ มีอยู่ ปรากฏอยู่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัตว์ทั้งหลายทั้งปวง อันพึงสงเคราะห์

ด้วยทุกะและติกะ ด้วยพระดำรัสนี้ว่า เย เกจิ ปาณภูตตฺถิ รวมเข้ากัน

อย่างนี้แล้ว บัดนี้ ทรงแสดงสัตว์เหล่านั้นแม้ทั้งหมดสงเคราะห์เข้าด้วยทุกะนี้ว่า

ตสา วา ถาวรา วา อนวเสสา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 383

ในคาถานั้น ชื่อว่า ตสา เพราะอรรถว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมสะดุ้ง

ก็คำว่า ตสา นั่น เป็นชื่อแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีตัณหา และมีภัย. ชื่อว่า

ถาวรา เพราะอรรถว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมมั่นคง คำว่า ถาวรา นั่นเป็นชื่อ

ของพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ละการดำเนินไปแห่งตัณหาแล้ว. ชื่อว่า อนวเสสา

เพราะอรรถว่า สัตว์เหล่านั้น ไม่มีส่วนเหลือลง อธิบายว่า แม้ทั้งหมด.

ก็คำใดที่ตรัสแล้วในที่สุดแห่งคาถาที่ ๒ คำนั้นทั้งหมด ผู้ศึกษาพึง

เชื่อมกับทุกะและติกะว่า สัตว์มีชีวิตเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ เป็นผู้สะดุ้ง หรือ

เป็นผู้มั่นคง ไม่มีส่วนเหลือ ขอสัตว์ทั้งหมดแม้เหล่านี้จงเป็นผู้มีตนถึงความ

สุขเถิด สัตว์ทั้งหลายที่เกิดแล้ว หรือที่แสวงหาที่เกิดมีอยู่เพียงไร ขอสัตว์

ทั้งหมดแม้เหล่านี้ จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด ดังนี้.

บัดนี้ พึงทราบอธิบายในบททั้งหกว่า ทีฆา วา เป็นต้น อันแสดง

ถึงติกะทั้งสามมีอาทิว่า ยาว สั้น ปานกลาง. บทว่า ทีฆา ได้แก่มีอัตภาพ

ยาวมีนาค ปลา และเหี้ยเป็นต้น ก็อัตภาพของสัตว์ทั้งหลาย มีนาคเป็นต้น

ในมหาสมุทร มีประมาณหลายร้อยวาบ้าง อัตภาพของสัตว์ทั้งหลายมีปลาและ

เหี้ยเป็นต้น มีประมาณหลายโยชน์บ้าง.

บทว่า มหนฺตา ได้แก่ มีอัตภาพใหญ่ ในทะเลมีเต่าเป็นต้น

บนบกมีช้างและนาคเป็นต้น ในอมนุษย์ทั้งหลายมีทานพเป็นต้น ดังที่ท่าน

กล่าวว่า ราหูเลิศกว่าสัตว์มีอัตภาพทั้งหลาย จริงอยู่ ด้วยตนของราหูนั้น

สูง ๔,๘๐๐ โยชน์ แขนประมาณ ๑.๒๐๐ โยชน์ ระหว่างคิ้ว ๕๐ โยชน์

และระหว่างนิ้วประมาณ ๕๐ โยชน์เหมือนกัน ฝ่ามือ ๒๐๐ โยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 384

บทว่า มชฺฌิมา ได้แก่ อัตภาพของม้า โค กระบือ และสุกร

เป็นต้น. บทว่า รสฺสกา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่มีประมาณต่ำกว่าสัตว์ที่ยาว

และปานกลาง มีคนเตี้ยเป็นต้น ในชาตินั้น ๆ.

บทว่า อณุกา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่มีอัตภาพละเอียด เกิดในน้ำ

เป็นต้น ไม่เป็นอารมณ์ของมังสจักษุ แต่เป็นวิสัยของทิพยจักษุ หรือสัตว์

ทั้งหลายมีเล็นเป็นต้น. อนึ่ง สัตว์เหล่าใด มีประมาณต่ำกว่าสัตว์ที่ใหญ่หรือ

ปานกลาง และกว่าสัตว์อ้วนหรือปานกลางในชาตินั้น ๆ สัตว์เหล่านั้น พึง

ทราบว่า อณุกา.

บทว่า ถูลา ได้แก่ สัตว์ทั้งหลายที่มีอัตภาพกลม มีปลา เต่า

หอยมุกและหอยโข่งเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่มีส่วนเหลือ

ด้วยติกะทั้งสามอย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงตรัสเพื่อทรงแสดง สัตว์เหล่านั้นสงเคราะห์

แม้ด้วยทุกะทั้งสามมีอาทิว่า ทิฏฺา วา เย จ อทิฏฺา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺา ได้แก่ ที่เคยเห็น ด้วยอำนาจ

ที่มาสู่ครองจักษุของตน. บทว่า อทิฏฺา ได้แก่ ที่ดำรงอยู่ในสมุทรอื่น

ภูเขาอื่น และจักรวาลอื่นเป็นต้น.

ก็ทรงแสดงสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ในที่ไกล และในที่ใกล้กับอัตภาพของตน

ด้วยทุกะนี้ว่า เย จ ทูเร วสนฺติ อวิทูเร สัตว์เหล่านั้นพึงทราบด้วยอำนาจ

แห่งสัตว์ไม่มีเท้า และสัตว์สองเท้า ก็สัตว์ทั้งหลายอยู่ในกายของตน เรียกว่า

อยู่ในที่ใกล้ อยู่ในกายภายนอก เรียกว่า อยู่ในที่ไกล อนึ่ง อยู่ในภายใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 385

อุปจาร เรียกว่า อยู่ในที่ใกล้ อยู่ภายนอกอุปจาร เรียกว่า อยู่ในที่ไกล อยู่

ภายในวิหาร คาม ชนบท ทวีป จักรวาล เรียกว่า อยู่ในที่ใกล้ อยู่ใน

จักรวาลอื่น เรียกว่า อยู่ในที่ไกล.

บทว่า ภูตา ได้แก่ เกิดแล้ว คือ เกิดขึ้นแล้ว. สัตว์เหล่าใดเกิด

แล้วเทียว ย่อมไม่ถึงการนับว่า จักมีอีก คำว่า ภูตา นั้น เป็นชื่อของสัตว์

เหล่านั้น ผู้เป็นพระขีณาสพ.

ชื่อว่า สัมภเวสี เพราะอรรถว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมแสวงหาที่เกิด

คำว่า สัมภเวสี นั้น เป็นชื่อของพระเสขะและปุถุชนทั้งหลาย ผู้แสวงหาที่

เกิดแม้ต่อไป เพราะความเป็นผู้ละภวสังโยชน์ยังไม่ได้.

อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแต่ไข่และเกิดแต่ครรภ์ในบรรดากำ-

เกิดทั้งสี่ ยังไม่ทำลายกระเปาะไข่ และไม่ทำลายรกออกมาตราบใด ชื่อว่า สัม-

ภเวสี ตราบนั้น. สัตว์ทั้งหลายที่ทำลายกระเปาะไข่และทำลายรกออกมาในภาย

นอก ชื่อว่า ภูต สัตว์ทั้งหลายที่เกิดจากเถ้าไคล และโอปปาติกสัตว์ ชื่อว่า

สัมภเวสี ในขณะแห่งปฐมจิต จำเดิมแต่ขณะแห่งจิตดวงที่สอง ชื่อว่า ภูต

หรือย่อมเกิดด้วยอิริยาบถใด ยังไม่ถึงอิริยาบถอื่นจากอิริยาบถนั้นตราบใด

ชื่อว่า สัมภเวสี ตราบนั้น ต่อจากนั้นไป จึงชื่อว่า ภูต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนาในสัตว์ทั้งหลาย ด้วย

อำนาจแห่งการปรารถนาเพื่อถึงหิตสุขแก่ภิกษุเหล่านั้น โดยประการต่าง ๆ ด้วย

สองคาถากึ่งว่า สุขิโน วา เป็นต้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเมต-

ตาภาวนานั้น แม้ด้วยอำนาจแห่งการปรารถนาเพื่อไม่ให้ประสบอหิตทุกข์ จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 386

ตรัสว่า น ปโร ปร นิกุพฺเพล. นั่นเป็นบาลีเก่าแก่. บัดนี้ สวดกันว่า

ปรญฺหิ ดังนี้ก็มี นี้ไม่ดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปโร ได้แก่ ชนอื่น. บทว่า ปร ได้แก่

ซึ่งชนอื่น. บทว่า น นิกุพฺเพถ คือ ไม่พึงข่มขู่. บทว่า นาติมญฺเถ

คือ ไม่พึงดูหมิ่นล่วงเกิน. บทว่า กตฺถจิ ได้แก่ ในที่ทั้งหลายมีอาทิว่า

โอกาส คาม เขต ท่ามกลางญาติ หรือ ท่ามกลางบุตร. บทว่า น ได้แก่

เอต.

บทว่า กิญฺจิ ได้แก่ ซึ่งบุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นกษัตริย์ก็ตาม

พราหมณ์ก็ตาม คฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม คนรวยก็ตาม คนจนก็ตาม

เป็นต้น.

บทว่า พฺยาโรสนา ปฏีฆสญฺา ความว่า ด้วยความฉุนเฉียว

โดยพิการทางกายและวาจา และด้วยเคียดแค้น โดยพิการทางใจ. ก็เมื่อควรจะ

ตรัสว่า พฺยาโรสนา ปฏีฆสญฺาย พระองค์ก็ตรัสว่า พฺยาโรสนา ปฏี-

ฆสญฺา เหมือนเมื่อควรจะกล่าวว่า สมฺมทญฺาย วิมุตฺตา ก็กล่าวว่า

สมฺมทญฺา วิมุตฺตา และเมื่อควรจะกล่าวว่า อนุปพฺพสิกขา อนุปุพฺพ-

กิริยาย อนุปุพฺพปฏิปทาย ก็กล่าวว่า อนุปุพฺพสิกฺขา อนุปุพฺพกิริยา

อนุปพฺพปฏิปทา อญฺาราธนา.

บทว่า นาญฺมญฺสฺส ทุกฺขมิจฺเฉยฺย ความว่า ไม่พึงปรารถนา

ทุกข์แก่กันและกัน. มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ไม่พึงเจริญเมตตา ด้วย

อำนาจแห่งการมนสิการมีอาทิว่า จงมีความสุข มีความเกษมเถิด อย่างเดียวเท่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 387

นั้น แต่พึงเจริญมนสิการแม้อย่างนี้ว่า ทำอย่างไรหนอ บุคคลอื่นบางคนไม่พึง

ข่มขู่บุคคลอื่นไร ๆ ด้วยคำโกรธทั้งหลายมีการหลอกลวงเป็นต้น และไม่พึงดู

หมิ่นบุคคลอื่นไร ๆ ในประเทศใดประเทศหนึ่ง ด้วยเรื่องมานะมีชาติเป็นต้น

คือ ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความฉุนเฉียว หรือ เพราะความ

เคียดแค้น.

ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนาโดยเนื้อความ ด้วยอำนาจแห่งการปรารถ-

นาเพื่อความไม่ประสบอหิตทุกข์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเมตตา-

ภาวนานั้นนั่นแล ด้วยคำอุปมา จึงตรัสว่า มาตา ยถา นิย ปุตฺต ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า มารดาพึงถนอมรักษาบุตรคนเดียวซึ่งเกิดใน

ตน คือบุตรที่เกิดจากอก ได้แก่บุตรคนเดียวนั้น ด้วยอายุ คือสละแม้อายุ

ของตน เพื่อป้องกันทุกข์ที่จะมาถึงบุตรนั้น ถนอมรักษาบุตรนั้นฉันใด กุล-

บุตรพึงเจริญเมตตามีในใจนี้ในสัตว์ทั้งปวง คือ พึงยังเมตตาให้เกิด ให้เจริญ

บ่อย ๆ และพึงเจริญเมตตานั้น ด้วยอำนาจแห่งสัตว์ไม่มีปริมาณเป็นอารมณ์

หรือ พึงเจริญเมตตานั้นไม่มีปริมาณ ด้วยอำนาจแห่งการแผ่ไปไม่มีส่วนเหลือ

ในสัตว์หนึ่ง.

ครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนา โดยอาการทั้งปวงอย่างนี้แล้ว บัดนี้

เมื่อจะทรงแสดงการเจริญเมตตาภาวนานั่นแล จึงตรัสว่า เมตฺตญฺจ สพฺพ-

โลกสฺมึ ดังนี้.

ในคาถานั้น ชื่อว่า มิตร เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ย่อมรักใคร่และ

ต้านทาน อธิบายว่า ย่อมเยื่อใย เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยเกื้อกูล และย่อม

รักษาจากการประสบสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ภาวะแห่งมิตร ชื่อว่า เมตตา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 388

บทว่า สพฺพ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า โลกสฺมึ คือ ใน

สัตวโลก. สิ่งที่มีในใจ ชื่อว่า มานัส. ก็มานัสนั้น ตรัสอย่างนี้ก็เพราะเป็น

ธรรมที่สัมปยุตด้วยจิต. บทว่า ภาวเย คือ พึงให้เจริญ. ชื่อว่า ไม่มีประมาณ

เพราะเมตตานั้นไม่มีปริมาณ เมตตานั้น พระองค์ตรัสอย่างนี้ เพราะมีสัตว์

ไม่มีปริมาณเป็นอารมณ์.

บทว่า อุทฺธ ได้แก่ เบื้องบน ทรงถือเอาอรูปภพด้วยบทนั้น.

บทว่า อโธ ได้แก่ เบื้องต่ำ ทรงถือเอากามภพด้วยบทนั้น. บทว่า ติริย

ได้แก่ ท่ามกลาง ทรงถือเอารูปภพด้วยบทนั้น.

บทว่า อสมฺพาธ ได้แก่ เว้นจากความคับแคบ. มีอธิบายว่า มี

เขตแดนทำลายแล้ว ข้าศึกเรียกว่า เขตแดน อธิบายว่า เป็นไปแล้วในเขตแดน

แม้นั้น.

บทว่า อเวร ได้แก่ ปราศจากเวร. มีอธิบายว่า เว้นจากการปรากฏ

แห่งเวรเจตนา แม้ในระหว่าง ๆ.

บทว่า อสปตฺต ได้แก่ ปราศจากข้าศึก. จริงอยู่ บุคคลผู้มีเมตตา

เป็นเครื่องอยู่ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์

ทั้งหลาย ย่อมไม่มีศัตรูไร ๆ ด้วยเหตุนั้น มานัสนั้นของบุคคลนั้น เรียกว่า

ไม่มีศัตรู เพราะความเป็นผู้ปราศจากข้าศึกแล้ว. ก็คำว่า ข้าศึก ศัตรู นั่น

เป็นคำปริยาย นี้เป็นการพรรณนาเนื้อความตามลำดับบท.

ก็การพรรณนาเนื้อความที่ประสงค์ในคาถานี้มีดังนี้ เมตตามีในใจ

นั่นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า กุลบุตรพึงเจริญเมตตามีในใจอันไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 389

ประมาณในสัตว์ทั้งปวง แม้อย่างนี้ ก็กุลบุตรพึงเจริญเมตตาอันไม่มีปริมาณ

อันมีในใจนี้นั้นในโลกทั้งปวง คือ พึงให้เจริญ ได้แก่พึงให้ถึงความเจริญ

ความงอกงาม ความไพบูล อย่างไร คือ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง

ได้แก่ เบื้องสูงจนถึงภัครพรหม เบื้องต่ำจนถึงอเวจี เบื้องขวางตลอดทิศ

ที่เหลือ.

หรือเมื่อจะแผ่เมตตาอันมีในใจ อันไม่มีส่วนเหลือเบื้องสูงไปยังอรูป-

พรหม เบื้องต่ำไปยังกามธาตุ เบื้องขวางไปยังรูปธาตุ และแม้เมื่อเจริญอย่าง

นี้ ก็พึงเจริญทำเมตตาอันมีในใจนั้น ไม่ให้คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

โดยประการที่เมตตาอันมีในใจเป็นธรรมชาติไม่คับแคบ ไม่มีเวร และไม่มี

ศัตรู.

อีกอย่างหนึ่ง เมตตาอันมีในใจอันไม่มีปริมาณนั้นใด ถึงแล้วซึ่งภาวนา

สัมปทา ไม่คับแคบในโลกทั้งปวง ด้วยอำนาจแห่งโอกาสโลก ไม่มีเวร ด้วย

การกำจัดความเคียดแค้นที่ตนมีในสัตว์เหล่าอื่น และไม่มีศัตรู ด้วยการกำจัด

ความเคียดแค้นที่สัตว์เหล่าอื่นมีในตน พึงเจริญ คือ พึงให้เจริญเมตตาอันมี

ในใจเทียว อันไม่มีปริมาณนั้น ไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรูในโลกทั้งสิ้น

ด้วยกำหนด ๓ อย่าง คือ เบื้องบน เบื้องต่ำ และเบื้องขวาง.

ครั้งทรงแสดงการเจริญเมตตาภาวนาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรง

แสดงความไม่มีกำหนดอิริยาบถแก่กุลบุตรผู้ตามประกอบภาวนานั้นอยู่ก่อน จึง

ตรัสว่า ติฏฺ ฯ เป ฯ อธิฏฺเยฺย ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ก็กุลบุตรเมื่อจะเจริญเมตตาอันมีในใจนั่นอย่าง

นี้แล้ว ไม่ทำการกำหนดอิริยาบถ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุนั้นนั่งขัดสมาธิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 390

ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า ดังนี้ กระทำการบรรเทาเมื่อยขบอิริยาบถ

อื่น ๆ ตามสบาย ยืนอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พึงเป็นผู้

ปราศจากความง่วงเหงาเพียงใด ก็พึงตั้งสติในเมตตาฌานนี้ไว้เพียงนั้น.

อนึ่ง ครั้นตรัสการเจริญเมตตาภาวนาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรง

แสดงความเป็นผู้ชำนาญ จึงตรัสว่า ติฏฺญฺจร ดังนี้. ก็กุลบุตรผู้ถึงความ

เป็นผู้ชำนาญ ยืนอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี ย่อมเป็นผู้ใคร่เพื่อตั้งสติในเมตตาฌานนั่น

ตามอิริยาบถ.

อนึ่ง อิริยาบถทั้งหลายมีการยืนเป็นต้นว่า ติฏฺ จร นิสินฺโน ดังนี้

ย่อมไม่ทำอันตรายแก่กุลบุตรนั้น โดยที่แท้ กุลบุตรนั้น ย่อมเป็นผู้ใคร่เพื่อ

จะตั้งสติในเมตตาฌานนั้น ด้วยอิริยาบถเพียงใด ย่อมเป็นผู้ปราศจากความ

ง่วงเหงาเพียงนั้น ความเป็นผู้มีปกติประพฤติเนิ่นช้าในเมตตาฌานนั้น ย่อม

ไม่มีแก่กุลบุตรนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กุลบุตรยืนอยู่

ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วงเหงาเพียง

ใด ก็พึงตั้งสตินี้ไว้เพียงนั้น.

คาถานั้นมีอธิบายอย่างนี้ว่า เมตตานั้นใด ที่ตรัสว่า และกุลบุตรพึง

เจริญเมตตาอันมีในใจไปในโลกทั้งสิ้น ดังนี้ กุลบุตรพึงเจริญเมตตานั้น โดย

ประการที่ไม่ยึดถืออิริยาบถทั้งหลาย มีการยืนเป็นต้น ในอิริยาบถทั้งหลายมี

การยืนเป็นต้น ตามอิริยาบถ เป็นผู้ใคร่เพื่อตั้งสติในเมตตาฌานนั่นตราบใด

พึงตั้งสตินั่นไว้ตราบนั้น.

เมื่อทรงแสดงความเป็นผู้ชำนาญในการเจริญเมตตาอย่างนี้ ทรง

ประกอบกุลบุตรในเมตตาวิหารนั้นว่า พึงตั้งสตินี้ไว้ ดังนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 391

ทรงชมเชยวิหารธรรมนั้น จึงตรัสว่า พฺรหฺมเมต วิหาร อิธมาหุ แปลว่า

บัณฑิตทั้งหลายกล่าววิหารธรรมนี้ว่า เป็นพรหมวิหารในธรรมวินัยของพระ-

อริยเจ้านี้ ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า เมตตาวิหารนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พรรณนาแล้ว เริ่มต้นแต่คำว่า สุขิโน วา เขมิโน โหนฺตุ จนถึงคำว่า

เอต สตึ อธิฏฺเยฺย บัณฑิตทั้งหลายกล่าวเมตตาวิหารนั่นว่าเป็นพรหมวิหาร

คือ กล่าวว่าเป็นธรรมเครื่องอยู่ที่ประเสริฐที่สุดในธรรมวินัยของพระอริยเจ้านี้

เพราะเป็นธรรมปราศจากโทษในทิพวิหาร พรหมวิหาร อริยวิหาร และ

อิริยาบถวิหารทั้งสี่ และเพราะเป็นธรรมทำประโยชน์แก่ตนบ้าง แก่สัตว์เหล่า

อื่นบ้าง เพราะฉะนั้น กุลบุตรยืนอยู่ก็ดี เดินอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี

เป็นนิจ สม่ำเสมอ ไม่จุ้นจ้าน พึงเป็นผู้ปราศจากความง่วงเหงาเพียงใด ก็

พึงตั้งสตินี้ไว้เพียงนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงเมตตาภาวนา โดยประการต่าง ๆ

แก่ภิกษุเหล่านั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพราะเมตตาเป็นธรรมใกล้ต่ออัตตทิฏฐิ

เพราะเป็นธรรมมีสัตว์เป็นอารมณ์ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงแสดงการบรรลุ

อริยภูมิ ทำเมตตาฌานนั้นนั่นแลให้เป็นบาทแก่ภิกษุเหล่านั้น โดยมุข คือ

การกีดกันความยึดถือทิฏฐิ จึงตรัส คือ ให้เทศนาจบด้วยพระคาถานี้ว่า

ทิฏฺิญฺจ อนุปคมฺม และไม่เข้าไปอาศัยทิฏฐิ ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า เมตตาฌานวิหารนี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพรรณนาแล้วว่า พฺรหฺมเมต วิหาร อิธมาหุ แปลว่า บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าววิหารธรรมนี้ว่า เป็นพรหมวิหารในธรรมวินัยของพระอริยเจ้านี้ และ

กุลบุตรออกจากเมตตาฌานวิหารนั้นแล้ว กำหนดรูปธรรม กำหนดอรูปธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 392

ตามทำนองที่กำหนดเป็นต้น ซึ่งธรรมมีวิตกวิจารเป็นต้นในเมตตาฌานวิหาร

นั้น และไม่เข้าไปอาศัยทิฏฐิในกองแห่งสังขารล้วน ๆ ด้วยการกำหนดนาม

และรูปนี้อย่างนี้ว่า บุคคลไม่พึงได้สัตว์ในกองแห่งสังขารนี้ เป็นผู้มีศีล ด้วย

โลกุตรศีล โดยลำดับ ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิใน

โสดาปัตติมรรค อันสัมปยุตด้วยโลกุตรศีล และต่อจากนั้น ความยินดีในวัตถุ

กามทั้งหลายนี้ใด อันเป็นกิเลสกามที่ยังละไม่ได้ ก็พึงนำออกซึ่งความยินดีใน

กามทั้งหลายแม้นั้น ด้วยสกทาคมิมรรคและอนาคามิมรรค และด้วยการละ

ไม่มีส่วนเหลือ ด้วยอานุภาพแห่งมรรคทั้งสองนั้น ครั้นนำออกแล้วคือสงบ

ระงับแล้ว ย่อมไม่ถึงความเป็นสัตว์นอนในครรภ์อีกโดยแท้แล คือ ย่อมไม่

ถึงความนอนในครรภ์อีกโดยส่วนเดียวนั่นเทียว คือ เกิดในสุทธาวาสทั้งหลาย

แล้ว บรรลุพระอรหัต ปรินิพพานในสุทธาวาสนั้นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงยังเทศนาให้จบอย่างนี้แล้ว จึงตรัสกะภิกษุ

เหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไป จงอยู่ในราวป่านั้น และถือ

เอาสูตรนี้แล้ว จงเคาะระฆังประชุมกันในวันเป็นที่ฟังธรรมทั้งแปดแห่งเดือน

กระทำธรรมกถา สอบถาม อนุโมทนา เสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งกรรมฐาน

นี้นั่นแล อมนุษย์แม้เหล่านั้น จักไม่แสดงอารมณ์อันน่ากลัวแก่เธอทั้งหลาย

จักเป็นผู้ใคร่ประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล แน่แท้ ดังนี้.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สาธุ ลุกจากอาสนะอภิวาท

พระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณ ไปในราวป่านั้นแล้ว กระทำอย่างที่

ทรงสั่งสอนนั้น เทวดาทั้งหลายคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ใคร่ประโยชน์

ใคร่ความเกื้อกูลแก่พวกเรา เกิดมีปีติและโสมนัส ปัดกวาดเสนาสนะเองแล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 393

จัดแจงน้ำร้อน ทำการนวดหลัง ทาการนวดเท้า ตระเตรียมอารักขา ภิกษุ

แม้เหล่านั้นเจริญเมตตาอย่างนั่นแล ทำเมตตานั่นเทียวให้เป็นบาท ปรารภ

วิปัสสนา แม้ทุกรูป ก็บรรลุพระอรหัตอันมีผลเลิศ ในภายในไตรมาสนั้นทีเดียว

ปวารณาวิสุทธิปวารณาในมหาปวารณา ดังนี้แล.

ก็กุลบุตรทำประโยชน์อันควรทำ ที่

พระตถาคตเจ้า ผู้ทรงฉลาดในประโยชน์

เป็นใหญ่ด้วยธรรม ตรัสแล้วอย่างนี้ พึงได้

เสวยความสงบแห่งหทัยอย่างยิ่ง ชนผู้มี

ปัญญาอันบริบูรณ์ทั้งหลาย ย่อมได้ตรัสรู้

เฉพาะสันตบท เพราะฉะนั้นแล วิญญูชน

ผู้ใคร่เพื่อตรัสรู้อยู่ซึ่งสันตบทนั้น อันเป็น

อมตะ น่าอัศจรรย์ ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว

พึงทำประโยชน์ที่ควรทำ อันต่างด้วยศีล

สมาธิ และปัญญาอันหมดมลทินเนือง ๆ

ดังนี้แล.

จบอรรถกถาเมตตสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 394

เหมวตสูตรที่ ๙

ว่าด้วยยักษ์ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า

สาตาคิรยักษ์กล่าวว่า

[๓๐๙] วันนี้เป็นอุโบสถที่ ๑๕ ราตรี

อันเป็นทิพย์ปรากฏแล้ว มาเราทั้งสองจงไป

เฝ้าพระโคดม ผู้เป็นพระศาสดามีพระนาม

อันไม่ทรามเถิด.

เหมวตยักษ์ถามว่า

พระโคดมผู้คงที่ทรงตั้งพระทัยไว้ดี

แล้ว ในสัตว์ทั้งปวงแลหรือ พระโคดม

ทรงกระทำความดำริในอิฏฐารมณ์ และ

อนิฏฐารมณ์ให้อยู่ในอำนาจแลหรือ.

สาตาคิรยักษ์ตอบว่า

ก็พระองค์เป็นผู้คงที่ ทรงตั้งพระทัย

ไว้ดีแล้วในสัตว์ทั้งปวง อนึ่ง พระองค์

ทรงกระทำความดำริในอิฏฐารมณ์และ

อนิฏฐารมณ์ ให้อยู่ในอำนาจแล้ว.

เหมวตยักษ์ถามว่า

พระโคดมไม่ทรงถือเอาสิ่งของที่เจ้า-

ของเขาไม่ได้ให้แลหรือ ทรงสำรวมแล้วใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 395

สัตว์ทั้งหลายแลหรือ ทรงห่างไกลจากความ

ประมาทแลหรือ ย่อมไม่ทรงละทิ้งฌาน

แลหรือ.

สาตาคิรยักษ์ตอบว่า

พระองค์ไม่ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของ

เขาไม่ได้ให้ ทรงสำรวมแล้วในสัตว์ทั้งหลาย

และทรงห่างไกลจากความประมาท พระองค์

เป็นผู้ตรัสรู้แล้ว ย่อมไม่ทรงละทิ้งฌาน.

เหมวตยักษ์ถามว่า

พระโคดมไม่ตรัสคำเท็จเท็จหรือ มี

พระวาจาไม่หยาบคายแลหรือ ไม่ตรัสคำ

ส่อเสียดแลหรือ ไม่ตรัสคำเพ้อเจ้อแลหรือ.

สาตาคิรยักษ์ตอบว่า

พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จ มีพระวาจา

ไม่หยาบคาย และไม่ตรัสคำส่อเสียด ตรัส

คำที่เป็นประโยชน์อย่างเดียว เพราะทรง

กำหนดด้วยพระปัญญา.

เหมวตยักษ์ถามว่า

พระโคดมไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย

แลหรือ พระหฤทัยของพระโคดมไม่ขุ่นมัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 396

แลหรือ พระโคดมทรงล่วงโมหะได้แล้วหรือ

พระโคดมทรงมีพระจักษุในธรรมทั้งหลาย

แลหรือ.

สาตาคิรยักษ์ตอบว่า

พระองค์ไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย

และพระหฤทัยของพระองค์ไม่ขุ่นมัว พระ-

องค์ทรงล่วงโมหะได้ทั้งหมด พระองค์ตรัสรู้

แล้ว ทรงมีพระจักษุในธรรมทั้งหลาย.

เหมวตยักษ์ถามว่า

พระโคดมทรงถึงพร้อมแล้ว ด้วย

วิชชาแลหรือ ทรงมีจรณะบริสุทธิ์แลหรือ

อาสวะทั้งหลายของพระองค์นั้นสิ้นไปแล้ว

แลหรือ ภพใหม่ไม่มีแลหรือ.

สาตาคิรยักษ์ตอบว่า

พระองค์ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา

และทรงมีจรณะบริสุทธิ์ อาสวะทั้งหลาย

ของพระองค์สิ้นไปหมดแล้ว ภพใหม่ของ

พระองค์ไม่มี.

เหมวตยักษ์กล่าวว่า

พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนี

ถึงพร้อมแล้ว ถึงพร้อมแล้วด้วยกายกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 397

วจีกรรม และมโนกรรม มาเราทั้งสองจง

ไปเฝ้าพระโคดมผู้ทรงถึงพร้อมแล้วด้วย

วิชชาและจรณะกันเถิด.

เหมวตยักษ์ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

มาเถิด เราจงไปเฝ้าพระโคดมผู้มี

พระชงฆ์เพียงปลีแข้งเนื้อทรายผู้ซูบผอม

เป็นนักปราชญ์ มีพระกระยาหารน้อย ไม่

โลภ เป็นมุนีทรงฌานอยู่ในป่า เราเข้าไป

เฝ้าพระโคดม ผู้ดุจราชสีห์ เสด็จเที่ยวไป

พระองค์เดียว ไม่เสด็จมาสู่ภพใหม่ ไม่มี

ความห่วงใย ในกามทั้งหลาย แล้วจงทูลถาม

ถึงธรรม เป็นเครื่องพ้นจากบ่วงมาร เราจง

ทูลถามพระโคดมผู้ตรัสบอก ผู้ทรงแสดง

ผู้ทรงถึงฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง ผู้ตรัสรู้แล้ว

ผู้ทรงล่วงเวรภัยได้แล้ว.

เหมวตยักษ์ทูลถามว่า

เมื่ออะไรเกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น

โลกย่อมกระทำความเชยชิดในอะไร โลก

ยืดถืออะไร เมื่ออะไรมี โลกจึงเดือดร้อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนเหมวตะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 398

เมื่ออายตนะภายในและภายนอก ๖

เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อมกระทำ

ความเชยชิดในอายตนะภายในและภายนอก

๖ โลกยึดถืออายตนะภายในและภายนอก ๖

นั่นแหละ เมื่ออายตนะภายในและกายนอก

๖ มี โลกจึงเดือดร้อน.

อุปาทานที่เป็นเหตุให้โลกต้องเดือด-

ร้อนเป็นไฉน ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอ

พระองค์ตรัสบอก ซึ่งธรรมชาติเป็นเครื่อง

ออกจากโลก บุคคลจะพ้นจากทุกข์ได้

อย่างไร.

กามคุณ ๕ ในโลกมีใจเป็นที่ ๖ เรา

ประกาศแล้ว บุคคลคลายความพอใจใน

กามคุณ ๕ นี้ได้แล้วย่อมพ้นจากทุกข์ได้ด้วย

อาการอย่างนี้ เราบอกซึ่งธรรมชาติเป็น

เครื่องออกจากโลกนี้ ตามความเป็นจริง

แก่ท่านทั้งหลายแล้ว ถ้าแม้ท่านทั้งหลายพึง

ถามเราพันครั้ง เราก็จะบอกข้อนี้แก่ท่าน

ทั้งหลาย เพราะบุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ได้

ด้วยอาการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 399

ในโลกนี้ใครเล่าข้ามโอฆะได้ ใน

โลกนี้ใครเล่าข้ามอรรณพได้ ใครย่อมไม่

จมลงในอรรณพที่ลึกซึ้ง ไม่มีที่พึ่ง ไม่มี

ที่ยึดเหนี่ยว.

ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล มีปัญญา มี

ใจตั้งมั่นดีแล้ว มีความหมายรู้ ณ ภายใน

มีสติทุกเมื่อ ย่อมข้ามพ้นโอฆะที่ข้ามได้

แสนยาก ผู้นั้นเว้นจากกามสัญญา ล่วง

สังโยชน์ทั้งปวงเสียได้ มีความเพลิดเพลิน

และภพหมดสิ้นแล้ว ย่อมไม่จมลงในอรรณพ

คือ สงสารอันลึก.

เชิญท่านทั้งหลาย ดูพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระปัญญาลึกซึ้ง

ผู้ทรงแสดงเนื้อความละเอียด ไม่มีความ

กังวล ไม่ข้องแล้วในกามภพ พ้นวิเศษแล้ว

ในอารมณ์ทั้งปวง ทรงดำเนินไปในทางอัน

เป็นทิพย์ ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่ เชิญท่าน

ทั้งหลายดู พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ผู้มีพระนามไม่ทราม ผู้ทรงแสดงเนื้อความ

ละเอียด ผู้ทรงให้ปัญญา ไม่ข้องแล้วใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 400

อาลัยในกาม ทรงรู้ธรรมทั้งปวง มีพระ-

ปัญญาดี ทรงดำเนินไปในทางอันเป็นอริยะ

ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่.

วันนี้เราทั้งหลายเห็นดีแล้วหนอ

สว่างไสวแล้ว ตั้งขึ้นดีแล้ว เพราะเรา

ทั้งหลาย ได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงข้าม

โอฆะได้แล้ว หาอาสวะมิได้.

ยักษ์หนึ่งพันทั้งหมดเหล่านี้ มีฤทธิ์

มียศ ย่อมถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

เป็นสรณะด้วยคำว่า พระองค์เป็นพระ-

ศาสดาผู้ยอดเยี่ยมของข้าพระองค์ทั้งหลาย

ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักขอนอบน้อมซึ่ง

พระสัมพุทธเจ้าและความที่พระธรรมเป็น

ธรรมดี เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน จากภูเขา

สู่ภูเขา.

จบเหมวตสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 401

อรรถกถาเหมวตสูตร

เหมวตสูตรเริ่มด้วยคาถาว่า อชฺช ปณฺณรโส ดังนี้ :-

มีอุบัติอย่างไร ? มีอุบัติเพราะอำนาจแห่งคำถาม จริงอยู่ พระผู้มี

พระภาคเจ้า ถูกเหมวตยักษ์ทูลถาม จึงตรัสพระดำรัสว่า ฉสุ โลโก

สมุปฺปนฺโน เมื่ออายตนะหกเกิด โลกก็เกิดขึ้น ดังนี้เป็นต้น.

ในสูตรนั้น คำว่า อชฺช ปณฺณรโส เป็นต้น สาตาคิรยักษ์กล่าว

คำว่า อิติ สาตาคิโร เป็นต้น พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลายกล่าว. คำว่า

กจฺจิ มโน เป็นต้น เหมวตยักษ์กล่าว. คำว่า ฉสุ โลโก เป็นต้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัส คำทั้งหมดนั้นรวมเข้ากัน เรียกว่า เหมวตสูตร. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า สาตาคิรสูตร ดังนี้ก็มี ในสูตรนั้น คาถาว่า อชฺช

ปณฺณรโส เป็นต้น มีอุบัติดังนี้ :-

ในภัตรกัปนี้นั่นแล มนุษย์ทั้งหลายได้กระทำสรีรกิจ ด้วยการบูชา

อย่างใหญ่ แด่พระผู้มีพระภาคสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป ผู้ทรง

อุบัติในสมัยคนทั้งหลายมีอายุ ๒๐,๐๐๐ ปี ทรงดำรงพระชนมายุได้ ๑๖,๐๐๐ ปี

แล้วปรินิพพาน พระธาตุทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป

นั้นไม่กระจัดกระจาย ตั้งอยู่เป็นก้อนเดียวกัน ดุจก้อนทองคำฉะนั้น เพราะนั่น

เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระชนมายุยืนทั้งหลาย ส่วนพระพุทธเจ้า

ผู้ทรงมีพระชนมายุน้อยทั้งหลาย อันชนจำนวนมากยังไม่ทันเห็น ก็เสด็จ

ปรินิพพานก่อน เพราะฉะนั้น จึงทรงอธิษฐานว่า ขอพระธาตุทั้งหลายจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 402

กระจัดกระจาย ด้วยทรงอนุเคราะห์ว่า ชนทั้งหลายในที่นั้น ๆ ทำแม้การบูชา

พระธาตุแล้ว จักประสบบุญ ด้วยเหตุนั้น พระธาตุทั้งหลายของพระพุทธเจ้า

ผู้ทรงมีพระชนมายุน้อยเหล่านั้น จึงกระจัดกระจายไป ดุจเศษส่วนของทองคำ

เหมือนพระธาตุทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ฉะนั้น.

มนุษย์ทั้งหลายได้ทำเรือนบรรจุพระธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ให้มีแห่งเดียวเท่านั้น ให้ประดิษฐ์พระเจดีย์ โดยส่วนสูงและโดยรอบ ๑ โยชน์

พระเจดีย์นั้น มีประตู ๔ แห่ง ห่างกันประตูละ ๑ คาวุต พระเจ้ากิงกิราช

ทรงสร้าง ๑ ประตู พระราชโอรสของพระองค์พระนามว่า ปฐวินธร ทรง

สร้าง ๑ ประตู อำมาตย์ผู้เป็นหัวหน้าของเสนาบดีทั้งหลายสร้าง ๑ ประตู ชาว

ชนบทมีเศรษฐีเป็นหัวหน้าสร้าง ๑ ประตู อิฐก้อนเดียวสำเร็จด้วยทองคำสีสุก

ปลั่ง และสำเร็จด้วยรัตนะต่าง ๆ เทียบเทียมกับรสแห่งทองคำสีสุกปลั่ง แต่

ละก้อนมีราคาหนึ่งแสนกหาปณะ มนุษย์เหล่านั้นได้ทำกิจด้วยดินเหนียว

หรดาลและมโนศิลาทั้งหลาย และกิจด้วยน้ำ ด้วยน้ำมันหอม ได้ประดิษฐ์

พระเจดีย์นั้นไว้.

เมื่อพระเจดีย์ประดิษฐ์อย่างนี้แล้ว กุลบุตร ๒ คนเป็นสหายกันออก

บวชในสำนักของพระสาวกผู้ใหญ่ทั้งหลาย จริงอยู่ พระสาวกผู้ใหญ่ทั้งหลาย

ของพระพุทธเจ้าผู้ทรงมีพระชนมายุยืนเท่านั้น ย่อมให้บรรพชา ให้อุปสมบท

ให้นิสัย สาวกทั้งหลายนอกนี้ย่อมไม่ได้ แต่นั้น กุลบุตรเหล่านั้น ถามว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในศาสนามีธุระเท่าไร พระเถระกล่าวว่า ธุระมี ๒ อย่าง

คือ วาสธุระ ๑ ปริยัติธุระ ๑ ในธุระ ๒ อย่างนั้น กุลบุตรผู้บวชแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 403

อยู่ในสำนักของพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์สิ้น ๕ ปี บำเพ็ญข้อวัตรและ

ปฏิบัติทำปาฏิโมกข์ และภาณวารและสูตร ๒ - ๓ สูตร ให้คล่องแคล่ว เรียน

กรรมฐานเข้าสู่ป่า โดยไม่มีความอาลัยในตระกูล หรือคณะ สืบต่อ พยายาม

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต นี้ชื่อว่า วาสธุระ ส่วนกุลบุตรเล่าเรียน ๑ นิกาย

๒ นิกาย หรือ ๕ นิกาย ตามกำลังของตน พึงตามประกอบศาสนาให้บริสุทธิ์ดี

โดยปริยัติ และโดยอรรถ นี้เรียกว่า ปริยัติธุระ.

ลำดับนั้น กุลบุตรเหล่านั้นกล่าวว่า บรรดาธุระ ๒ อย่าง วาสธุระ

เท่านั้นประเสริฐ คิดว่า ก็พวกเรายังหนุ่ม จักบำเพ็ญวาสธุระในเวลาตนแก่

จักบำเพ็ญปริยัติธุระก่อน จึงปรารภปริยัติ. ท่านทั้งสองโดยปกติเทียว เป็น

คนมีปัญญา ต่อกาลไม่นานนัก ก็มีความรู้อันกระทำแล้วในพุทธพจน์ทั้งสิ้น

และเป็นผู้ฉลาดในการวินิจฉัยในวินัยอย่างยิ่ง ท่านทั้งสองนั้นเพราะอาศัยปริยัติ

จึงมีบริวารเกิดขึ้น เพราะอาศัยบริวารจึงมีลาภ แต่ละรูปมีภิกษุ ๕๐๐ เป็น

บริวาร ท่านเหล่านั้นแสดงอยู่ซึ่งศาสนาของพระศาสดา เป็นเหมือนพุทธกาล

อีก.

ในกาลนั้น ภิกษุ ๒ รูป คือ พระธรรมวาที พระอธรรมวาที ๑

อยู่ในวัดใกล้บ้าน พระอธรรมวาทีเป็นคนดุร้าย หยาบคาย ปากจัด อัชฌาจาร

ของพระอธรรมวาทีนั้น ปรากฏแก่พระธรรมวาทีนอกนี้ แต่พระธรรมวาทีเตือน

พระอธรรมวาทีนั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ กรรมนี้ของท่าน ไม่สมควรแก่ศาสนา

พระอธรรมวาทีจึงคัดค้านว่า ท่านเห็นอะไร ท่านฟังอะไร พระธรรมวาที

อีกรูปจึงกล่าว พระวินัยธรทั้งหลายจักรู้ แต่นั้น พระอธรรมวาทีรู้ว่า ถ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 404

พระวินัยธรทั้งหลายจักวินิจฉัยเรื่องนี้ไซร้ ที่พึ่งของเราในศาสนาจักไม่มีแน่

ประสงค์จะทำเป็นฝักฝ่ายของตน จึงถือบริขารทั้งหลายก่อนเทียว เข้าหา

พระเถระ ๒ รูปนั้น ถวายสมณบริขาร ปรารภเพื่ออยู่ด้วยนิสัยต่อพระเถระ

เหล่านั้น และได้ทำการบำรุงทั้งหมดแก่พระเถระเหล่านั้น ดุจประสงค์เพื่อ

บำเพ็ญข้อวัตรและปฏิบัติโดยเคารพ.

แต่นั้น ในวันหนึ่ง พระอธรรมวาทีไปสู่ที่บำรุง ไหว้แล้ว แม้อัน

พระเถระเหล่านั้นปล่อยไปอยู่ ก็ยังยืนอยู่นั่นเทียว พระเถระทั้งหลายจึงถาม

พระอธรรมวาทีนั้นว่า มีอะไรจะพึงพูดอีกหรือ ? พระอธรรมวาทีนั้นเรียนว่า

มีขอรับผม มีการทะเลาะกับภิกษุรูปหนึ่ง เพราะอาศัยอัชฌาจารของผม ถ้า

ภิกษุนั้นมาที่นี้จักบอกเรื่องนั้นไซร้ โปรดอย่าวินิจฉัยตามวินิจฉัย พระเถระ

ทั้งหลายกล่าวว่า การไม่วินิจฉัยเรื่องที่เกิดตามวินิจฉัยไม่ควร พระอธรรมวาที

นั้นเรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เมื่อท่านทำการวินิจฉัยอย่างนั้น กระผมจะไม่

มีที่พึ่งในศาสนา ความชั่วนั่น จงยกให้แก่กระผมเถิด ขอท่านทั้งหลายอย่า

วินิจฉัยเรื่องนั้น พระวินัยธรเหล่านั้น ถูกพระอธรรมวาทีบีบคั้นอยู่ จึงยอมรับ

พระอธรรมวาทีนั้นรับปฏิญญาของพระวินัยธรเหล่านั้นแล้ว ไปสู่อาวาสนั้นอีก

กล่าวว่า เรื่องทั้งหมดจบแล้ว ในสำนักของพระวินัยธรทั้งหลาย ดูหมิ่นพระ-

ธรรมวาทีนั้นให้หนักข้อยิ่งขึ้น จึงพูดคำหยาบคาย.

พระธรรมวาทีคิดว่า พระอธรรมวาทีนี้มีที่อิงอาศัย จึงออกไปทันที

เข้าไปหาภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ซึ่งเป็นบริวารของพระเถระทั้งหลาย แล้วกล่าวว่า

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย พระเถระควรวินิจฉัยเรื่องที่เกิดขึ้นตามธรรมมิใช่หรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 405

หรือไม่ให้ระลึก ให้แสดงความล่วงเกินกะกันและกันแล้ว พึงทำความสามัคคี

แต่พระเถระเหล่านั้นไม่วินิจฉัยเรื่องเลย ไม่ทำความสามัคคี นั่นเรื่องอะไรกัน

ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นฟังแล้วก็นิ่งเสีย ด้วยคิดว่า เรื่องอะไร ๆ พระอาจารย์ทั้งหลาย

รู้แล้วมิใช่หรือ ? แต่นั้น พระอธรรมวาทีได้โอกาส จึงเบียดเบียนพระธรรม

วาทีนั้นว่า ในกาลก่อนท่านพูดว่า พระวินัยธรทั้งหลายจักรู้ บัดนี้ ท่านจง

บอกเรื่องนั้นแก่พระวินัยธรเหล่านั้น แล้วกล่าวว่า ท่านแพ้แล้วแต่วันนี้ จง

อย่ามาสู่อาวาสนั้น ดังนี้ ก็หลีกไป แต่นั้น พระธรรมวาทีเข้าไปหาพระเถระ

ทั้งหลายกล่าวว่า ท่านทั้งหลายไม่คำนึงถึงพระศาสนา คำนึงถึงแต่บุคคลว่า

ท่านจงบำรุงพวกเรา จงให้พวกเรายินดี ไม่รักษาพระศาสนา แต่รักษาบุคคล

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ท่านทั้งหลายไม่ควรพิจารณาวินิจฉัย พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระนามว่า กัสสป เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้วในวันนี้ ดังนี้แล้ว ร้องด้วย

เสียงอันดัง คร่ำครวญอยู่ว่า พระศาสนาของพระศาสดาพินาศแล้ว ก็หลีกไป.

ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นสลดจิต เกิดความรังเกียจว่า พวกเรา

รักษาบุคคลโยนรัตนะคือพระศาสนาลงในเหว เธอเหล่านั้นถึงแล้ว ประกอบ

แล้วด้วยความรังเกียจนั้นนั่นแล พวกเธอทำกาละแล้ว ไม่อาจเพื่อเกิดใน

สวรรค์ อาจารย์คนหนึ่งเกิดในเหมวตบรรพตในหิมวันตประเทศ เป็นยักษ์

ชื่อว่า เหมวตะ อาจารย์คนที่สองเกิดในสาตบรรพตในมัชฌิมประเทศ เป็น

ยักษ์ชื่อว่า สาตาคิระ ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นผู้เป็นบริวารของอาจารย์ทั้งสองนั้น

ปฏิบัติตามอาจารย์เหล่านั้น ไม่อาจเพื่อเกิดในสวรรค์ ก็เกิดเป็นยักษ์ผู้เป็น

บริวารของยักษ์ทั้งสองนั้น ส่วนคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้ถวายปัจจัยแก่ภิกษุเหล่านั้น

เกิดในเทวโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 406

เหมวตยักษ์และสาตาคิรยักษ์ เป็นเจ้ายักษ์ที่มีอานุภาพมาก ในภายใน

เสนาบดียักษ์ ๒๘ ตน ก็ธรรมดาของเสนาบดียักษ์ทั้งหลายนี้คือ เทวดาทั้งหลาย

ประชุมกันในภคลวติมณฑป บนพื้นมโนศิลา ในหิมวันตประเทศ เพื่อวินิจฉัย

ธรรม เดือนละ ๘ วัน เสนาบดียักษ์ทั้งหลายพึงประชุมกันที่มณฑปนั้น ใน

ขณะนั้น สาตาคิรยักษ์และเหมวตยักษ์พบกันในสมาคมนั้นจำได้ และถามถึง

สถานที่เกิดของตนว่า เพื่อน ! ท่านเกิดในที่ไหน ท่านเกิดที่ไหน เป็นผู้

เดือนร้อนว่า เพื่อน ! พวกเราฉิบหายแล้ว ในกาลก่อน พวกเราทำสมณธรรม

สิ้น ๒๐,๐๐๐ ปี อาศัยสหายชั่วคนเดียว เกิดในกำเนิดยักษ์ ทายกผู้ถวายปัจจัย

ทั้งหลายของพวกเรา เกิดในกามาวจรเทพ ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์กล่าวกะ

เหมวตยักษ์นั้นว่า แนะท่านผู้นิรทุกข์ ! ธรรมดาหิมวันต์สมมติกันว่ามีความ

อัศจรรย์ ท่านเห็นหรือฟังความอัศจรรย์ไร ๆ พึงบอกแก่เราบ้าง ฝ่ายเหมวต

ยักษ์ก็กล่าวว่า แนะท่านผู้นิรทุกข์ ! ธรรมดามัชฌิมประเทศสมมติกันว่ามีความ

อัศจรรย์ ท่านเห็นหรือฟังความอัศจรรย์ไร ๆ พึงบอกแก่เราด้วย เมื่อสหาย

ทั้งสองนั้น ทำกติกากะกันและกันแล้วไม่ละอุบัตินั้นนั่นเทียวอยู่อย่างนี้ พุทธันดร

หนึ่งก็สิ้นไป มหาปฐวีก็หนาขึ้นประมาณ ๑ โยชน์ ๓ คาวุต.

ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์ของพวกเรามีปณิธานอันตนกระทำแล้ว แทบ

บาทมูลของพระพุทธเจ้า ทีปังกร บำเพ็ญบารมีทั้งหลายจนถึงการเกิดเป็น

พระเวสสันดรแล้ว อุบัติในชั้นดุสิต ดำรงอยู่ในชั้นดุสิตนั้นตลอดอายุ ผู้อัน

เทวดาทั้งหลายเชื้อเชิญ โดยนัยที่กล่าวแล้วในธรรมบทนิทานนั่นเทียว แลดู

มหาวิโลกนะ ๕ อย่าง บอกแก่เทวดาทั้งหลาย เมื่อบุรพนิมิต ๓๒ ประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 407

เป็นไปอยู่ ได้ถือปฏิสนธิในโลกนี้ยังหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว เจ้ายักษ์เหล่านี้

แม้เห็นมหาโลกนะเหล่านั้น ก็ไม่รู้ว่าเกิดเพราะเหตุนี้ อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า

ไม่เห็นเลย เพราะเจ้ายักษ์เหล่านั้นมัวเล่นอยู่. ในการประสูติ การออก

อภิเนษกรมณ์ และการตรัสรู้ ก็นัยนี้.

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกปัญจวัคคีย์ ประกาศพระธรรมจักร

อันประเสริฐ มีปริวัฏ ๓ มีอาการ ๓๒ ให้เป็นไปอยู่ ในคราวประกาศ

พระธรรมจักร บรรดาสหายทั้งสองนั้น สาตาคิรยักษ์ตนเดียวเท่านั้น ได้เห็น

แผ่นดินใหญ่หวั่นไหว บุรพนิมิตและปาฏิหาริย์ และเหตุการณ์อุบัติ ครั้นรู้

แล้ว พร้อมกับบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าฟังเทศนา แต่ก็ไม่บรรลุ

คุณวิเศษอะไรเลย เพราะเหตุไร เพราะเขาฟังธรรมอยู่ ก็พลางระลึกถึง

เหมวตยักษ์ แลดูบริษัทว่าสหายของเรามาแล้วหรือไม่ เมื่อไม่เห็นเขา จึงมีจิต

ฟุ้งซ่านว่า สหายของเราผู้ไม่ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อันมีปฏิภาณวิจิตรอย่างนี้ ก็จะโง่เขลา ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระอาทิตย์

แม้อัสดงแล้ว ก็ยังไม่จบเทศนา ขณะนั้น สาตาคิรยักษ์คิดว่า เราจักพาสหาย

มาพร้อมกันสหายนั้น ฟังพระธรรมเทศนา ได้นิรมิตยานทั้งหลาย มีม้า ช้าง

และครุฑเป็นต้น อันยักษ์ ๕๐๐ แวดล้อมแล้วไปมุ่งหน้าต่อหิมวันตประเทศ.

ในกาลนั้น ฝ่ายเหมวตยักษ์ เพราะเหตุอันเป็นบุรพนิมิต ๓๒ ประการ

ในการปฏิสนธิ ประสูติ อภิเนษกรมณ์ การตรัสรู้ และการปรินิพพานนั้นแล

หายไป ไม่ตั้งอยู่นาน แต่ในการประกาศพระธรรมจักร เหตุการณ์เหล่านั้น

มีพิเศษ ตั้งอยู่นานกว่า จึงดับ เพราะฉะนั้น จึงเห็นความปรากฏแห่งความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 408

อัศจรรย์นั้น ในหิมวันตประเทศ เห็นว่า ตั้งแต่เราเกิดมา ภูเขาลูกนี้ไม่เคย

เป็นที่รื่นรมย์อย่างนี้ในกาลไหนเลย เอาเถิด บัดนี้ เราจักพาสหายของเรามา

ชมสิริแห่งดอกไม้นี้กับสหายนั้น จึงมามุ่งหน้าต่อมัชฌิมประเทศ ยักษ์แม้

ทั้งสองนั้นมาพบกันเหนือกรุงราชคฤห์ ได้ถามถึงเหตุการมาของกันและกัน.

เหมวตยักษ์กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ตั้งแต่เราเกิดมา ภูเขาลูกนี้

ไม่เคยเป็นที่รื่นรมย์ ด้วยต้นไม้ทั้งหลายที่สะพรั่งด้วยดอกในฤดูมิใช่กาลอย่างนี้

เลย เพราะเหตุนั้น เราจึงมาด้วยคิดว่า จักชมสิริแห่งดอกไม้พร้อมกับท่าน.

สาตาคิรยักษ์กล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ก็ท่านรู้เหตุการณ์ที่เป็น

เหตุให้เกิดปาฏิหาริย์ให้ดอกไม้บานในฤดูมิใช่กาลหรือ ?

เห. ไม่รู้ ท่านผู้นิรทุกข์.

สา. ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ ปาฏิหาริย์นี้ ไม่ได้เกิดในหิมวันต์แห่งเดียว

เท่านั้น แต่โดยแท้ เกิดในหมื่นโลกธาตุ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว

ในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไปในวันนี้ ด้วยเหตุนั้น ปาฏิหาริย์

จึงเกิดขึ้น.

สาตาคิรยักษ์กล่าวถึงการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้าแก่เหมวตยักษ์อย่างนี้

แล้ว ประสงค์จะนำเหมวตยักษ์นั้นมาสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าว

คาถานี้ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ

โคตมกเจดีย์ สาตาคิรยักษ์นี้ จึงกล่าวอย่างนี้ว่า อชฺช ปณฺณรโส ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อชฺช ได้แก่ คืนและวันนี้เป็นวันที่ ๑๕

ตามปักขคณนา เป็นอุโบสถ เพราะเป็นวันพึงอยู่จำ หรือ ในอุโบสถทั้งสาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 409

วันนี้เป็นอุโบสถที่ ๑๕ ไม่ใช่เป็นอุโบสถที่ ๑๔ ไม่ใช่อุโบสถสามัคคี หรือ

เพราะอุโบสถศัพท์ย่อมเป็นไปในอรรถมากอย่างมีปาฏิโมกขุทเทส องค์ ๘

อุปวาสะ บัญญัติ และวันเป็นต้น จริงอยู่ อุโบสถศัพท์ เป็นไปในปาฏิโมก-

ขุทเทส ในประโยคเป็นต้นว่า อายามาวุโส กปฺปิน อุโปสถ คมิสฺสาม

มาเถิด กัปปินะผู้มีอายุ พวกเราจักไปสู่อุโบสถ. เป็นไปในองค์ ๘ มีเจตนา

งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นต้น ในประโยคมีอาทิว่า เอว อิฏฺงฺคสมนฺนาคโต

โข วิสาเข อุโปสาถ อุปวุฏฺโ ดูก่อนวิสาขะ อุโบสถอันประกอบด้วย

องค์แปดแล อันท่านเจ้าจำแล้วหรือ. เป็นไปในอุปวาสะ ในประโยคมีอาทิว่า

สุทฺธสฺส เว สทา ผคฺคุ สุทฺธสฺสุโปสโถ ผัคคุ ฤกษ์ย่อมบริสุทธิ์สำหรับ

ท่านผู้บริสุทธิ์แล ในกาลทุกเมื่อ อุโบสถย่อมบริสุทธิ์สำหรับผู้บริสุทธิ์. เป็น

ไปในบัญญัติ ในประโยคมีอาทิว่า อุโปสโถ นาม นาคราชา พญานาค

ชื่ออุโบสถ. เป็นไปในวัน ในประโยคมีอาทิว่า ตทหุโปสโถ ปณฺณรเส

สีสนฺหาตสฺส พระเจ้ามหาสุทัสสนะทรงสนานพระเศียร ในวันอุโบสถนั้น

ที่ ๑๕ เพราะเหตุนั้น สาตาคิรยักษ์ห้ามเนื้อความที่เหลือลง กำหนดวันเพ็ญ

ที่ ๑๕ ต่ำ แห่งเดือนอาสาฬหะเท่านั้น จึงกล่าวว่า วันนี้เป็นอุโบสถที่ ๑๕

ดังนี้. อธิบายว่า เมื่อนับวันอย่างนี้ว่า วันที่สองเป็นวันปาฏิบท วันนี้เป็น

อุโบสถที่ ๑๕.

ชื่อว่า ราตรีอันเป็นทิพย์ เพราะอรรถว่า มีความเป็นทิพย์ สิ่งอัน

เป็นทิพย์ทั้งหลายมีอยู่ในราตรีนี้ เพราะเหตุนั้น ราตรีนั้นจึงชื่อว่า เป็นทิพย์

๑. อ. อฏฺ ฐก. ๑๑๔ ๒. ม. มู. วัตถูปมสุตฺต. ๖๕. ๓. ที่. ม. มหาสุทสฺสนสุตฺต. ๒๑๕

๔. ที. ม. มหาสุทัสสนสุตฺต. ๒๑๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 410

ราตรีมีรูปเหล่านั้นเป็นเช่นไร จริงอยู่ ในราตรีนั้น ชมพูทวีปทั้งสิ้นประดับประ-

ดาแล้ว ด้วยแสงสว่างแห่งร่างกาย ผ้า อาภรณ์ และวิมานของเทวดาทั้งหลายที่มา

ประชุมจากหมื่นโลกธาตุ และแสงสว่างแห่งพระจันทร์อันเว้นเครื่องเศร้าหมอง

มีหมอกเป็นต้น และตกแต่งเป็นพิเศษด้วยแสงสว่างแห่งพระวรกายของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ผู้เป็นเทพวิสุทธิ์อย่างยิ่ง ด้วยเหตุนั้น สาตาคิรยักษ์จึงกล่าวว่า

ราตรีอันเป็นทิพย์ปรากฏแล้ว.

สาตาคิรยักษ์เมื่อจะยังความเลื่อมใสแห่งจิตให้เกิดแก่สหาย แม้ด้วยการ

อ้างถึงการพรรณนาคุณแห่งราตรีอย่างนี้แล้ว กล่าวถึงการเสด็จอุบัติแห่ง

พระพุทธเจ้า จึงกล่าวว่า มาเราทั้งสองจงไปเฝ้าพระโคดม ผู้เป็นพระศาสดามี

พระนามอันไม่ทรามเถิด ดังนี้.

ในคาถานั้น ชื่อว่า มีพระนามอันไม่ทราม เพราะอรรถว่า พระองค์

ทรงมีพระนาม ด้วยพระคุณทั้งหลายอันไม่ทราม คือ ไม่ชั่ว บริบูรณ์ด้วย

อาการทั้งปวง จริงอย่างนั้น พระองค์ทรงมีพระนาม ด้วยพระคุณทั้งหลาย

อันไม่ทรามว่า พุทโธ โดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ผู้ตรัสรู้

สัจจะทั้งหลาย ชื่อว่า พุทธะ เพราะอรรถว่า ผู้ยังประชาชนให้ตรัสรู้ และ

ทรงมีพระนาม ด้วยพระคุณอันไม่ทราม โดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่า ภควา เพราะ

อรรถว่า ทรงหักราคะแล้ว ชื่อว่า ภควา เพราะอรรถว่า ทรงหักโทสะแล้ว.

ในพระคุณทั้งหลายมีอาทิว่า เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเอง ถึงพร้อมด้วยวิชชา

และจรณะ ก็นัยนี้. หรือพระองค์ทรงพร่ำสอนเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ใน

ประโยชน์ทั้งหลายมีทิฏฐิธรรมิกประโยชน์เป็นต้นว่า จงละสิ่งนี้ จงสมาทานสิ่งนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 411

ประพฤติ เพราะฉะนั้น จึงทรงเป็นพระศาสดา อีกอย่างหนึ่ง ผู้เป็นพระศาสดา

แม้โดยนัยที่กล่าวแล้ว ในนิเทศมีอาทิว่า เป็นครู เป็นผู้มีโชค เป็นผู้นำหมู่

เหมือนผู้นำกองเกวียน นำหมู่ให้ข้ามทางกันดาร ฉะนั้น. ผู้เป็นพระศาสดา

มีพระนามอันไม่ทรามนั้น.

ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาตลงในอรรถว่า เชื้อเชิญ. บทว่า ปสฺสาม

เป็นการกล่าวถึงปัจจุบันกาล สงเคราะห์ตนเข้ากับเหมวตยักษ์นั้น. บทว่า

โคตม ได้แก่ พระโคดมโคตร. มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ท่านอย่า

ทำความสงสัยว่า เป็นพระศาสดา หรือไม่ใช่พระศาสดา จงเป็นผู้มีความ

ชำนาญโดยส่วนเดียว มาเถิด เราทั้งสองจงไปเฝ้าพระโคดม.

เมื่อสาตาคิรยักษ์กล่าวอย่างนี้แล้ว เหมวตยักษ์คิดว่า สาตาคิระนี้เมื่อ

กล่าวว่า ผู้เป็นพระศาสดามีพระนามอันไม่ทราม ชื่อว่า ประกาศความที่

พระโคดมนั้นเป็นสัพพัญญู และสัพพัญญูทั้งหลายหาได้ยากในโลก โลกถูกผู้

ปฏิญญาว่าเป็นสัพพัญญูเช่นกับปูรณะเป็นต้นนั่นเทียว ทำลายแล้ว ก็ถ้าพระ-

โคดมนั้นเป็นสัพพัญญูไซร้ จักเป็นผู้ถึงลักษณะของผู้คงที่แน่แท้ ด้วยเหตุนั้น

เราจักพิจารณาพระโคดมนั้นอย่างนี้ เมื่อจะถามถึงลักษณะผู้คงที่แล จึงกล่าวว่า

กจฺจิ มโน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กจฺจิ เป็นคำถาม. บทว่า มโน ได้แก่จิต.

บทว่า สุปณิหิโต ความว่า ตั้งมั่นแล้วด้วยดี คือไม่หวั่นไหว ได้แก่

ไม่คลอนแคลนในสัตว์ทั้งปวง คือในภูตทั้งปวง. บทว่า ตาทิโน ได้แก่เป็น

ผู้ถึงลักษณะผู้คงที่นั่นเทียว. หรือ คาถานี้เป็นคำถามเท่านั้นว่า พระศาสดา

ของท่านนั้นเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวงแลหรือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 412

บทว่า อิฏฺเ อนิฏฺเ จ ความว่า ในอารมณ์เห็นปานนั้น.

บทว่า สงฺกปฺปา ได้แก่ วิตก. บทว่า วสีกตา ได้แก่ ไปสู่อำนาจ. มี

อธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ท่านกล่าวถึงพระศาสดาใด พระทัยของพระศาสดา

ของท่านนั้น ผู้ถึงลักษณะของผู้คงที่ตั้งไว้ดีแล้วในสัตว์ทั้งปวงแลหรือ หรือว่า

ปรากฏเหมือนตั้งไว้ดีแล้ว ตราบเท่าที่ยังไม่ได้ปัจจัย อันเป็นเครื่องให้หวั่นไหว

หรือ พระศาสดาของท่านนั้น เป็นผู้คงที่ด้วยพระทัยสม่ำเสมอในสัตว์ทั้งปวง

แลหรือ ก็แล ความดำริด้วยอำนาจแห่งราคะและโทสะเหล่าใด พึงเกิดขึ้นใน

อารมณ์ทั้งหลายที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา พระศาสดาของท่านนั้นทรง

กระทำความดำริเหล่านั้นให้อยู่ในอำนาจแล้วหรือ หรือว่า ย่อมคล้อยตามอำ-

นาจแห่งความดำริเหล่านั้นในกาลบางคราว.

แต่นั้น สาตาคิรยักษ์ยอมรับรู้สัพพัญญูคุณทั้งหมด เพราะความที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ชำนาญพิเศษในความเป็นสัพพัญญู จึงกล่าวว่า

ก็พระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้ว เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สุปณิหิโต ความว่า ทรงตั้งไว้ดีแล้ว คือ

เสมอด้วยแผ่นดิน เพราะอรรถว่าไม่ยินดียินร้าย เสมอด้วยภูเขาสิเนรุ เพราะ

อรรถว่า ไม่หวั่นไหวโดยตั้งมั่นดีแล้ว เสมอด้วยเสาเขื่อน เพราะอรรถว่า

มารสี่อย่างและคุณแห่งปรวาทีไม่พึงให้หวั่นไหว.

ข้อที่พระทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ดำรงอยู่ในความเป็นพระสัพพัญญู

เพราะพระองค์ทรงถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวงตั้งมั่นดีแล้ว ไม่พึงหวั่นไหวใน

บัดนี้นั่น ไม่น่าอัศจรรย์ แต่ที่น่าอัศจรรย์ก็คือ พระองค์แม้เป็นสัตว์ดิรัจฉาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 413

ในกาลมีราคะเป็นต้น เกิดในตระกูลพญาช้างฉัททันต์ถูกแทงด้วยลูกศรอันอาบ

ด้วยยาพิษ ก็ไม่หวั่นไหว ไม่ประทุษร้ายในผู้ฆ่านั้น ทั้งให้จำเริญงาทั้งหลาย

ของตนให้แก่ผู้ฆ่านั้นด้วย อนึ่ง พระองค์คราวเป็นมหากปิ แม้ถูกทุบศีรษะ

ด้วยศิลาก้อนใหญ่ ก็ยังบอกหนทางให้แก่ผู้ทุบนั้นเอง อนึ่ง พระองค์ในคราว

เป็นวิธุรบัณฑิต แม้ถูกจับที่เท้าทั้งสองเหวี่ยงลงเหวกาฬบรรพต ซึ่งลึก ๖๐

โยชน์ ก็ยังแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่ยักษ์นั้นอีก เพราะเหตุนั้น สาตาคิร-

ยักษ์กล่าวชอบทีเดียวว่า ก็พระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้ว.

บทว่า สพฺพภูเตสุ ตาทิโน ความว่า พระทัยของพระองค์ผู้ทรง

ถึงลักษณะของผู้คงที่นั่นเทียว ตั้งมั่นดีแล้วในสัตว์ทั้งปวง ไม่ใช่ปรากฏราวกะ

ว่าตั้งมั่น ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้ปัจจัย. ในคาถานั้น นักศึกษาพึงทราบลักษณะ

ของผู้คงที่ของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยอาการ ๕ อย่าง ดังท่านกล่าวไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้คงที่โดยอาการ ๕ อย่าง คือ คงที่ในอิฏฐารมณ์และ

อนิฏฐารมณ์ ๑ คงที่เพราะอรรถว่าทรงเสียสละ ๑ คงที่เพราะอรรถว่าทรงพ้น

แล้ว ๑ คงที่เพราะอรรถว่าทรงข้ามแล้ว ๑ คงที่เพราะทรงแสดงขยายอาการ

นั้น ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์อย่างไร

คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคงที่ในลาภบ้าง ดังนี้เป็นต้นทั้งหมด ผู้ศึกษา

พึงถือเอาโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในนิทเทส.*

ก็ธรรมทั้งหลายมีลาภเป็นต้น ผู้ศึกษาพึงถือเอาโดยนัยอันให้พิสดาร

แล้ว ในมหาอัฏฐกถาแห่งนิทเทสนั้น หรือ คาถานี้เป็นคำถามเท่านั้นว่า

พระศาสดาของท่านนั้น เป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวงหรือไม่ ในวิกัปนี้ มีอธิบาย

* ขุ. มหานิทฺเทส. ๑๐๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 414

ว่า พระศาสดาของเราทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะพระองค์ทรงมี

พระทัยเสมอในสัตว์ทั้งปวง.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ทรงมีพระทัยเสมอในสัตว์ทั้งปวง

เพราะทรงใคร่ในการนำสุขเข้ามา และเพราะทรงใคร่เพื่อนำทุกข์ออกไป คือ

ในพระองค์ทรงมีพระทัยเช่นใด ในสัตว์เหล่าอื่นก็เช่นนั้น ในพระมารดา

มหามายาเช่นใด ในนางจิญจมาณวิกาก็เช่นนั้น ในพระบิดาสุทโธทนะเช่นใด

ในพระเจ้าสุปปพุทธะก็เช่นนั้น ในพระราหุลโอรสเช่นใด ในผู้ฆ่าทั้งหลายมี

พระเทวทัต ช้างธนบาล และอังคุลิมาลเป็นต้นก็เช่นนั้น ทรงเป็นผู้คงที่แม้

ในโลกทั้งเทวโลก เพราะเหตุนั้น สาตาคิรยักษ์กล่าวชอบทีเดียวว่า พระองค์

เป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวง ดังนี้.

ก็เนื้อความในคาถานี้ว่า อโถ อิฏฺเ อนิฏฺเ จ ผู้ศึกษาพึงเห็น

อย่างนี้ อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จะน่าปรารถนาก็ตาม ไม่น่าปรารถนาก็ตาม

ความดำริด้วยอำนาจแห่งราคะและโทสะเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นในอารมณ์นั้น

โดยประการทั้งปวง พระองค์ทรงกระทำความดำริเหล่านั้นให้อยู่ในอำนาจแล้ว

เพราะความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นพระองค์ทรงละได้แล้ว ด้วยมรรคอัน

ยอดเยี่ยม ย่อมไม่เป็นไปในอำนาจของความดำริเหล่านั้นในกาลไหน ๆ จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีพระดำริไม่ขุ่นมัว มีพระทัยอันพ้นดีแล้ว

มีพระปัญญาอันพ้นดีแล้ว ก็ในคาถานี้ สาตาคิรยักษ์กล่าวความไม่มีอโยนิโส-

มนสิการ ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระทัยตั้งไว้ดีแล้ว พระองค์ทรง

เป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวง อิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ทั้งหลาย จงพึงมีใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 415

อารมณ์ใด อารมณ์นั้น ท่านกล่าวเป็น ๒ อย่าง โดยแยกเป็นสัตว์และสังขาร

กล่าวถึงการละกิเลส โดยความไม่มีมนสิการนั้น ในอารมณ์นั้น เพราะพระองค์

ทรงชำนาญในความดำริ กล่าวถึงความบริสุทธิ์ทางมโนสมาจาร เพราะพระองค์

ทรงมีพระทัยตั้งไว้ดีแล้ว และกล่าวถึงความบริสุทธิ์ทางกายสมาจาร เพราะพระ-

องค์ทรงเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวง และกล่าวถึงความบริสุทธิ์ทางวจีสมาจาร ด้วย

พระวาจา เพราะพระองค์ทรงมีวิตกเป็นมูล โดยความที่พระองค์ทรงชำนาญ

ในความดำริ อนึ่ง กล่าวถึงความไม่มีโทษทั้งปวงมีโลภะเป็นต้น เพราะพระ-

องค์ทรงมีพระทัยตั้งไว้ดีแล้ว กล่าวถึงความเกิดขึ้นแห่งคุณมีเมตตาเป็นต้น

เพราะพระองค์ทรงเป็นผู้คงที่ในสัตว์ทั้งปวง กล่าวถึงฤทธิ์ของพระอริยะ อัน

ต่างโดยความเป็นผู้มีความสำคัญในของปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลเป็นต้น โดยความที่

พระองค์ทรงชำนาญในความดำริ และความที่พระองค์ทรงเป็นสัพพัญญู ผู้

ศึกษาพึงทราบว่า สาตาคิรยักษ์กล่าวแล้ว ด้วยฤทธิ์อันเป็นอริยะนั้น.

เหมวตยักษ์ถามถึงความที่พระองค์ทรงเป็นผู้คงที่ด้วยอำนาจแห่งมโน-

ทวารนั่นเทียวในบทก่อนอย่างนี้แล้ว และพิจารณาถึงพระองค์ผู้ทรงรู้เฉพาะซึ่ง

ความเป็นผู้คงที่นั้น บัดนี้ เพื่อกระทำให้มั่น จึงถามถึงความบริสุทธิ์ทางกาย

ทวาร วจีทวาร และมโนทวาร แม้ด้วยอำนาจแห่งไตรทวาร หรือ โดย

สังเขปในบทก่อนและพิจารณาถึงพระองค์ผู้ทรงรู้เฉพาะซึ่งความบริสุทธิ์นั้น

เมื่อจะถามแม้โดยพิสดาร เพื่อทำให้มั่นคงนั้นแล จึงกล่าว กจฺจิ อทินฺน.

ในคาถานั้น เหมวตยักษ์ถามถึงเจตนางดเว้นจากถือเอาของที่คนอื่น

ไม่ได้ให้ก่อน เพื่อประโยชน์แก่ความสะดวกในการผูกคาถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 416

บทว่า อารา ปมาทมฺหา ความว่า เหมวตยักษ์ถามถึงเจตนางด-

เว้นจากอพรหมจรรย์ โดยความเป็นผู้อยู่ห่างไกลจากการปล่อยจิตในกามคุณ

ทั้งห้า หรือสวดกันว่า อารา ปมทมฺหา ดังนี้ก็มี มีอธิบายว่า ห่างไกล

จากมาตุคาม.

ก็เหมวตยักษ์ถามถึงความที่พระองค์ทรงมีกำลังในการงดเว้นจากกาย-

ทุจริต ๓ อย่างนั้นนั่นแล ด้วยบทนี้ว่า ฌาน น ริญฺจติ ย่อมไม่ทรงละ

ทิ้งฌานแลหรือ เพราะวิรัติของผู้ประกอบด้วยฌานมีกำลังแล.

ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงงดเว้นจาก

อทินนาทานเป็นต้น ในปัจจุบันอย่างเดียวก็หาไม่ แม้ในอดีตกาล ก็ทรงงดเว้น

จากอทินนาทานเป็นต้น ตลอดกาลนาน จึงทรงได้รับมหาปุริสลักษณะนั้น ๆ

ด้วยอานุภาพแห่งวิรัตินั้นนั่นเทียว และโลกพร้อมทั้งเทวโลก กล่าวสรรเสริญ

พระองค์โดยนัยว่า พระสมณโคดมทรงงดเว้นจากอทินนาทาน เป็นต้น เพราะ

ฉะนั้น เมื่อบันลือสีหนาท ด้วยวาจาอันสละสลวย จึงกล่าวว่า พระองค์ไม่

ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ดังนี้ บทนั้นโดยอรรถปรากฏชัดแล้วแล.

ในบาทที่ ๓ แห่งคาถาแม้นี้ บาลีมี ๒ อย่างคือ ปมาทนฺหา ปมทมฺหา

ในบาทที่ ๔ เท่านั้น ผู้ศึกษาทราบเนื้อความว่า บทว่า ฌาน น รญฺจติ

ความว่า พระองค์ย่อมไม่ทรงทำฌานให้ว่าง คือ สูญ ได้แก่ไม่ทรงสละ.

เหมวตยักษ์ฟังความบริสุทธิ์ในกายทวารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะถาม

ถึงความบริสุทธิ์ในวจีทวาร จึงกล่าวว่า กจฺจิ มุสา น ภณติ แปลว่า

พระโคดมไม่ตรัสดำเท็จแลหรือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 417

ในคาถานั้น ชื่อว่า ขีณะ เพราะอรรถว่า ย่อมสิ้นไป อธิบายว่า

ย่อมเบียดเบียน ย่อมบีบคั้น. ทางแห่งวาจา ชื่อว่า พยปถะ ทางแห่งวาจา

ของบุคคลนั้นสิ้นแล้ว เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า ขีณพยปถะ ผู้มีทาง

แห่งวาจาสิ้นแล้ว เหมวตยักษ์ปฏิเสธทางแห่งวาจานั้นด้วย อักษร จึง

ถามว่า มีพระวาจาไม่สิ้นแล้วแลหรือ อธิบายว่ามีพระวาจาหยาบคาย บาลีว่า

นาขีณพฺยปโถ อธิบายว่า มีพระวาจาไม่สิ้นแล้ว จริงอยู่ คำหยาบคายสิ้น

ไปในหทัยทั้งหลายของคนเหล่าอื่นดำรงอยู่ มีอธิบายว่า พระโคดมนั้นไม่มี

พระวาจาคงที่แลหรือ.

บทว่า วิภูติ ได้แก่ ความพินาศ. คำใดย่อมประกาศหรือย่อม

กระทำความพินาศ เพราะเหตุนั้น คำ นั้น ชื่อว่า วิภูติกะ คำที่ทำความ

พินาศ วิภูติกะนั่นเทียว ชื่อว่า เวภูติกะ เรียกว่า เวภูติย ดังนี้บ้าง คำว่า

เวภูติย นั้น เป็นชื่อแห่งคำส่อเสียด จริงอยู่ คำส่อเสียดนั้น ย่อมทำความ

พินาศแก่สัตว์ทั้งหลาย โดยการทำลายกันและกัน จากกันและกัน. บทที่เหลือ

มีอรรถตื้นทั้งนั้น.

ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงงดเว้นจาก

มุสาวาทเป็นต้น ในปัจจุบันอย่างเดียวหามิได้ แม้ในอดีตกาลก็ทรงงดเว้นจาก

มุสาวาทเป็นต้นตลอดกาลนาน และทรงได้มหาปุริสลักษณะนั้น ๆ ด้วยอานุ-

ภาพแห่งวิรัตินั้นนั่นเทียว และโลกพร้อมทั้งเทวโลก ก็กล่าวสรรเสริญพระ-

โคดมนั้นว่า พระสมณโคดมทรงงดเว้นจากมุสาวาท เพราะฉะนั้น เมื่อจะ

บันลือสีหนาท ด้วยวาจาอันสละสลวย จึงกล่าวว่า พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 418

ในคาถานั้น บทว่า มุสา เป็นคำตั้งใจกล่าวให้คนอื่นแตกจากกัน

แห่งคนทั้งหลายมีคนที่เคยเห็นเป็นต้น พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จนั้น ก็ในบาท

ที่ ๒ บาลีว่า น ขีณพฺยปโถ ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความครั้งที่ ๑ บาลีว่า

นาขีณพฺยปโถ ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความครั้งที่ ๒. ในบาทที่ ๔ ปัญญา

เรียกว่า มนฺตา. พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะทรงกำหนดด้วยพระปัญญา จึง

ตรัสแต่คำที่เป็นประโยชน์อย่างเดียว คือ คำที่ไม่ปราศจากประโยชน์ ไม่ตรัส

คำส่อเสียด ด้วยว่า คำที่ไร้ประโยชน์มีความไม่รู้เป็นเบื้องหน้า ย่อมไม่มีแก่

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่า พระองค์ตรัสคำที่เป็นประโยชน์

ด้วยพระปัญญา ดังนี้. บทที่เหลือในคาถานี้ปรากฏชัดแล้วแล.

เหมวตยักษ์ได้ฟังแม้ความบริสุทธิ์ทางวจีทวารอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ

ถามถึงความบริสุทธิ์ทางมโนทวาร จึงกล่าวว่า กจฺจิ น รชฺชติ กาเมสุ

พระโคดมไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลายแลหรือ.

ในคาถานั้น คำว่า กามา ได้แก่ กิเลสกาม วัตถุกาม. เหมวตยักษ์

เมื่อถามว่า พระโคดมไม่ทรงยินดีด้วยกิเลสกาม ในกามเหล่านั้นแลหรือ ชื่อว่า

ย่อมถามถึงความที่พระองค์ไม่ทรงมีอภิชฌาลุ เมื่อถามว่า พระหฤทัยไม่ขุ่นมัว

แลหรือ ชื่อว่า ย่อมถามถึงความที่พระองค์ไม่ทรงมีพยาบาท หมายถึงความ

ขุ่นมัวด้วยพยาบาท เมื่อถามว่า ทรงล่วงโมหะได้แล้วแลหรือ ชื่อว่า ย่อม

ถามถึงความที่พระองค์ทรงมีสัมมาทิฏฐิ เพราะทรงก้าวล่วงโมหะ อันเป็นเหตุ

ให้บุคคลผู้หลงแล้ว ยึดถือมิจฉาทิฏฐิ เมื่อถามว่า ทรงมีพระจักษุในธรรม

ทั้งหลายแลหรือ ชื่อว่า ย่อมถามถึงความที่พระองค์ทรงเป็นพระสัพพัญญู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 419

ด้วยอำนาจแห่งญาณจักษุอันไม่ติดขัดในธรรมทั้งปวง หรือด้วยอำนาจแห่งจักษุ

แม้ทั้งห้าในธรรมทั้งหลาย ซึ่งเป็นวิสัยแห่งจักษุทั้งห้า เพราะคิดว่า พระองค์

ไม่ทรงเป็นพระสัพพัญญู แม้ด้วยความบริสุทธิ์ทางไตรทวารเท่านั้น.

ลำดับนั้น สาตาคิรยักษ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงบรรลุ

พระอรหัตเลย ก็ชื่อว่า ไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย ไม่มีพระหฤทัยขุ่นมัว

ด้วยพยาบาท เพราะความที่กามราคะและพยาบาทอันพระองค์ทรงละได้แล้ว

ด้วยอนาคามิมรรค และชื่อว่า ทรงล่วงโมหะ เพราะความที่โมหะอันปิดบัง

สัจจะซึ่งมีมิจฉาทิฏฐิเป็นปัจจัย อันพระองค์ทรงละได้แล้ว ด้วยโสดาปัตติมรรค

นั่นเทียว ทรงตรัสรู้สัจจะทั้งหลายด้วยพระองค์เอง จึงทรงได้พระนามอันมี

วิโมกข์เป็นที่สุดว่า " พุทโธ " และทรงได้จักษุทั้งหลายตามที่กล่าวแล้ว เพราะ

ฉะนั้น เมื่อจะป่าวประกาศความบริสุทธิ์ทางมโนทวาร และความเป็นพระ-

สัพพัญญูแก่เหมวตยักษ์นั้น จึงกล่าวว่า พระองค์ไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย

เหมวตยักษ์ได้ฟังความบริสุทธิ์ทางไตรทวาร และความเป็นพระ-

สัพพัญญูของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว ก็ดีใจ เบิกบาน มีคลองแห่งคำ

ไม่ติดขัด ด้วยปัญญาอันคล่องแคล่วในพาหุสัจจะ ในอดีตชาติ ประสงค์จะฟัง

สัพพัญญูคุณทั้งหลาย อันน่าอัศจรรย์ จึงกล่าวว่า พระโคดมทรงถึงพร้อมแล้ว

ด้วยวิชชาแลหรือ.

ในคาถานั้น เหมวตยักษ์ถามถึงทัสสนสมบัติด้วยบทนี้ว่า ทรงถึงพร้อม

แล้ว ด้วยวิชชาแลหรือ ถามถึงคมนสมบัติด้วยบทนี้ว่า ทรงมีจรณะบริสุทธิ์

แลหรือ ก็กล่าว จา อักษร เพราะทำให้เป็นทีฆะในบทว่า สสุทฺธจารโณ นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 420

ด้วยอำนาจแห่งฉันทลักษะ อธิบายว่า สสุทฺธจรโณ ถามถึงภารบรรลุ

นิพพานธาตุที่ ๑ ที่เข้าใจกันว่า เป็นการสิ้นไปแห่งอาสวะ ซึ่งจะพึงบรรลุ

ด้วยทัสสนสมบัติ และคมนสมบัตินั่น ด้วยบทนี้ว่า อาสวะทั้งหลายของ

พระองค์นั้นสิ้นไปแล้วแลหรือ ถามถึงความที่พระองค์ทรงสามารถบรรลุ

นิพพานธาตุที่ ๒ หรือความที่พระองค์ทรงทราบสมบัติ คือ ความยินดีอย่างยิ่ง

ดำรงอยู่ด้วยปัจจเวกขณญาณ ด้วยบทนี้ว่า ภพใหม่ไม่มีแลหรือ.

แต่นั้น เพราะวิชชานั่นใด อันพระองค์ตรัสไว้แล้วในสูตรทั้งหลาย

มีภยเภรวสูตรเป็นต้น โดยนัยว่า พระองค์ทรงระลึกถึงปุพเพนิวาสหลายอย่าง

เป็นต้น วิชชา ๘ อย่างนั่นใด ที่ตรัสไว้ในสูตรทั้งหลายมีอัมพัฏฐสูตรเป็นต้น

โดยนัยว่า พระอริยสาวกนั้น เมื่อจิตตั้งมั่นอย่างนี้แล้ว ฯลฯ ไม่ถึงความ

หวั่นไหวแล้ว ย่อมนำจิตออกไป ด้วยญาณทัสสนะ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเข้าถึงด้วยวิชชานั้นแม้ทั้งหมด ที่ถึงพร้อมด้วยอาการทุกอย่าง และจรณะ

๑๕ ประเภทนั่นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า ดูก่อน

มหานาม พระอริยสาวกในศาสนานี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีทวารคุ้มครอง

แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร

เป็นเครื่องตื่น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัทธรรม ๗ มีปกติได้ฌาน ๔ อันเป็น

เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน ซึ่งเป็นไปทางใจโดยเฉพาะ ดังนี้แล้ว ทรง

แสดงขยายไว้ในเสขสูตร โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนมหานาม ก็พระอริยสาวก

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอย่างไร ดังนี้ จรณะนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า

บริสุทธิ์ดีอย่างยิ่ง เพราะทรงละอุปกิเลสทั้งหมด อาสวะทั้งสี่มีกามาสวะเป็นต้น

๑. ม. มู. ภยเภวสุตฺต ๓๕. ๒. ที. สี. อมฺพฎฺฐสุตฺต ๑๒๘. ๓. ๔. ม. ม. เสขปฏิปทาสุตฺต ๒๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 421

แม้ทั้งหมดนี้ ที่เป็นไปกับบริวาร ที่เป็นไปกับวาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

สิ้นไปแล้ว และเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระขีณาสพ ด้วยวิชชาและ

จรณสัมปทานี้ทรงพิจารณาในกาลนั้นว่า ภพใหม่ไม่มี ดังนี้ ดำรงอยู่ เพราะ

ฉะนั้น สาตาคิรยักษ์มีหฤทัยอันทางแห่งการประพฤติให้เกิดอุตสาหะพร้อมแล้ว

ในความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู เมื่อรับรู้พระคุณเหล่านั้น

แม้ทั้งหมด จึงกล่าวว่า พระองค์ทรงถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชา ดังนี้.

แต่นั้น เหมวตยักษ์หมดความสงสัยในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อยู่ในอากาศนั่นแล สรรเสริญพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า และชมเชยสาตาคิรยักษ์ว่า พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนี

ถึงพร้อมแล้ว ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนีถึงพร้อม

แล้ว เป็นอันอธิบายว่า ถึงพร้อมแล้วอีก ด้วยความที่พระองค์ทรงเป็นผู้คงที่

ที่สาตาคิรยักษ์กล่าวไว้ในบทนี้ว่า ก็พระองค์ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้ว ถึงพร้อม

แล้วด้วยกายกรรมที่สาตาคิรยักษ์กล่าวไว้ในบทนี้ว่า พระโคดมไม่ทรงถือเอา

สิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ และถึงพร้อมแล้วอีก ด้วยมโนกรรมที่สาตาคิร-

ยักษ์กล่าวไว้ในบทนี้ว่า พระองค์ไม่ทรงยินดีในกามทั้งหลาย ถึงพร้อมแล้ว

ด้วยวจีกรรม อันเป็นทางแห่งคำพูดที่สาตาคิรยักษ์กล่าวไว้แล้ว ในบทนี้ว่า

พระองค์ไม่ตรัสคำเท็จ.

เหมวตยักษ์แสดงว่า ก็พระหฤทัยที่ถึงพร้อมแล้วอย่างนี้ ชื่อว่าถึง

พร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะ เพราะความที่พระองค์ทรงถึงพร้อมแล้ว ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 422

วิชชาสัมปทา และจรณสัมปทาอันยอดเยี่ยม ท่านสรรเสริญพระโคดมนั้น

ด้วยคุณทั้งหลายเหล่านี้ โดยธรรม โดยนัยมีอาทิว่า ก็พระองค์ทรงตั้งพระทัย

ไว้ดีแล้ว คือ ท่านสรรเสริญพระโคดมนั้น โดยสภาวะ โดยแท้ โดยความ

เป็นจริงนั่นเทียว หาได้สรรเสริญด้วยเหตุสักว่ามีศรัทธาอย่างเดียวไม่.

ต่อแต่นั้น ฝ่ายสาตาคิรยักษ์เมื่อจะสรรเสริญเหมวตยักษ์นั้นแล โดย

อธิบายว่า ท่านมาริส ! ข้อนั้นท่านรู้ดีแล้ว และชมเชยแล้วอย่างนี้ จึงกล่าวว่า

พระหฤทัยของพระโคดมผู้เป็นมุนีถึงพร้อมแล้ว ฯลฯ ท่านชมเชยโดยธรรมดังนี้

ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะชมเชยเหมวตยักษ์นั้น ในการเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าอีก จึงกล่าวว่า มาเราทั้งสองจงไปเฝ้าพระโคดม ผู้ทรงถึงพร้อมแล้ว

ฯลฯ ดังนี้.

ลำดับนั้น เหมวตยักษ์เมื่อจะชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยกำลัง

แห่งพาหุสัจจะในชาติก่อน โดยพระคุณอันตนชอบใจอย่างยิ่ง จึงกล่าวว่า

มาเถิด เราจงไปเฝ้าพระโคดมผู้มีพระชงฆ์เพียงปลีแข้งเนื้อทราย ฯลฯ ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า พระชงฆ์ทั้งหลายของพระโคดมนั้น เพียง

ปลีแข้งเนื้อทราย เพราะเหตุนั้น พระโคดมนั้น จึงมีพระนามว่า เอณิชงฺโฆ

ผู้มีพระชงฆ์เพียงปลีแข้งเนื้อทราย จริงอยู่ พระชงฆ์ทั้งหลาย ของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย เรียวกลมโดยลำดับ ดุจแข้งแห่งเนื้อทราย ด้านหน้าไม่มีพระมังสา

ด้านหลังอูมขึ้น เหมือนท้องจระเข้ ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ซูบผอม คือ

ไม่อ้วน เหมือนบุรุษอื่น เพราะความถึงพร้อมด้วยอวัยวะน้อยใหญ่เห็นปานนั้น

ในที่ควรยาว สั้น เสมอ และกลม หรือชื่อว่า ซูบผอม เพราะความที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 423

พระองค์ทรงกำจัดกิเลสด้วยปัญญา ชื่อว่า เป็นนักปราชญ์ เพราะทรงกาจัด

ข้าศึกภายในและภายนอก ชื่อว่า มีพระกระยาหารน้อย เพราะทรงเสวย

ครั้งเดียว และทรงเสวยมีกำหนด ไม่ใช่มีพระกระยาหารน้อย เพราะทรงเสวย

เพียง ๒-๓ คำ สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนอุทายี ก็เราแลบางครั้งบริโภคอาหารเสมอขอบปากบาตรนี้

บางครั้งก็บริโภคมาก ดูก่อนอุทายี ถ้าสาวกทั้งหลายพึงสักการะ เคารพนับถือ

บูชา ครั้นสักการะ เคารพแล้ว พึงอยู่อาศัยเรา ด้วยคิดว่า พระสมณโคดม

มีพระกระยาหารน้อย และทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีอาหารน้อยไซร้ ดูก่อน

อุทายี สาวกทั้งหลายของเราเหล่านั้นใด มีอาหารโกสะหนึ่งบ้าง กึงโกสะบ้าง

เวฬุวะหนึ่งบ้าง กึงเวฬุวบ้าง สาวกเหล่านั้น ไม่พึงสักการะ ฯลฯ ไม่พึงอยู่

อาศัยเรา โดยธรรมนี้* ดังนี้.

ชื่อว่า ไม่โลภ เพราะไม่มีฉันทราคะในอาหาร ทรงเสวยพระ-

กระยาหารที่ประกอบด้วยองค์แปด ชื่อว่า เป็นมุนี เพราะความถึงพร้อมด้วย

โมเนยยะทรงฌานอยู่ในป่า เพราะทรงเป็นอนาคาริก และเพราะมีพระหฤทัย

โน้มมาในวิเวก ด้วยเหตุนั้น เหมวตยักษ์จึงกล่าวว่า ผู้มีพระชงฆ์เพียงปลีแข้ง

เนื้อทราย ฯลฯ มาเถิด เราจงไปเฝ้าพระโคดม ดังนี้.

ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า สีห เอกจร เพราะ

ความเป็นผู้ใคร่จะฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นอีก.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า สีห ว ความว่า เป็นเช่นกับ

ไกสรสีหะ เพราะอรรถว่า ให้ยินดีได้ยาก เพราะอรรถว่า อดทน และเพราะ

๑. ม.ม. มหาสกลุทายิสุตฺต ๓๑๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 424

อรรถว่า ปลอดภัย ชื่อว่า เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว เพราะไม่มีตัณหาที่

เรียกว่า ตัณหาเป็นเพื่อนสองของคน ชื่อว่า เสด็จเที่ยวไปพระองค์เดียว

แม้เพราะพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ ไม่ทรงอุบัติในโลกธาตุเดียว ผู้ศึกษาพึง

ทราบเนื้อความนั้น ๆ แม้โดยนัยที่กล่าวแล้วในขัคควิสาณสูตร.

บทว่า นาค ได้แก่ ไม่เสด็จมาสู่ภพใหม่ คือ ไม่ไป ไม่มา

สู่ภพใหม่. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นาค เพราะอรรถว่า ไม่ทำบาปบ้าง

มีกำลังบ้าง. นาคนั้น.

บทว่า กาเมสุ อนเปกฺขิน ได้แก่ ไม่มีความห่วงใย เพราะไม่มี

ฉันทราคะในกามแม้ทั้งสองอย่าง.

บทว่า อุปสงฺกมฺม ปุจฺฉาม มจฺจุปาสปโมจน ความว่า พวกเรา

เข้าไปเฝ้าพระโคดมนั้น ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่เห็นปานนั้น ทูลถามถึงธรรม

เป็นเครื่องพ้นจากบ่วงมาร อันเป็นวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิสาม ได้แก่ วิวัฏฏ-

นิพพาน คือ ทูลถามถึงอุบายเป็นเครื่องพ้นจากบ่วงมาร กล่าวคือ ทุกข์และ

สมุทัย เหมวตยักษ์กล่าวคาถานี้ หมายถึงสาตาคิรยักษ์ บริษัทของสาตาคิรยักษ์

และบริษัทของตน.

ก็โดยสมัยนั้น นักษัตรประจำเดือนอาสาฬหะได้ถูกประกาศแล้ว ใน

กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น อุบาสิกา ชื่อ กาฬี กุรรฆริกา ในกรุงราชคฤห์ซึ่ง

ประดับประดาตกแต่งโดยรอบ ดุจเสวยอยู่ซึ่งสิริในเทวนคร ขึ้นสู่ปราสาท

เปิดหน้าต่าง กำลังบรรเทาความแพ้ครรภ์ อยู่ในประเทศที่รับลม เพื่อตาก-

อากาศ ได้ฟังการสนทนาที่ประกอบด้วยพุทธคุณนั้น ของเสนาบดียักษ์เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 425

โดยเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด ครั้นฟังแล้ว ก็เกิดปีติมีพุทธคุณเป็น

อารมณ์ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงถึงพร้อมด้วยพระคุณต่าง ๆ อย่างนี้

ข่มนิวรณ์ทั้งหลายด้วยปีตินั้น ยืนอยู่ในประเทศนั้นแล ก็ดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผล.

ก็ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งนางไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา กาฬี กุรรฆริกา เป็นผู้เลิศแห่ง

อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นสาวิกาของเราที่เลื่อมใสในการฟัง.

เสนาบดียักษ์แม้เหล่านั้น มียักษ์ ๑.๐๐๐ เป็นบริวาร ถึงอิสิปตนะ

ในสมัยแห่งมัชฌิมยาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งประทับนั่งโดยบัลลังก์

ที่ทรงประกาศพระธรรมจักรให้เป็นไป ถวายบังคมชมเชยกราบทูลให้พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงกระทำโอกาส ด้วยคาถานี้ว่า อกฺขาตาร ปวตฺตาร ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ตรัสบอก ด้วยถ้อยคำกำหนดสัจจะทั้งหลาย

โดยนัยเป็นต้นว่า เว้นตัณหาในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็นี้แล ชื่อ ทุกขอริยสัจจะ ผู้ทรงแสดงด้วยการยังกิจญาณและกตญาณให้เป็น

ไปในสัจจะเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เคยฟัง

มาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจจะนั้นนี้แล อันบุคคลพึงกำหนดรู้ หรือ ผู้ตรัส

บอกโดยการตรัสถึงโวหาร โดยประการที่กล่าวไว้ในธรรมทั้งหลายที่บุคคล

จะพึงกล่าว ผู้ทรงแสดงธรรมเหล่านั้น โดยสมควรแก่สัตว์ หรือ ผู้ตรัสบอก

โดยแสดงแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคลและวิปจิตัญญูบุคคล ผู้ทรงแสดงโดยให้เวไนย-

สัตว์ดำเนินตาม หรือ ผู้ตรัสบอกโดยอุทเทส ผู้ทรงแสดงโดยจำแนก โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 426

กล่าวถึงด้วยประการนั้น ๆ หรือ ผู้ตรัสบอกด้วยการแสดงลักษณะของโพธิ-

ปักขิยธรรมทั้งหลาย ผู้ทรงแสดงด้วยการเป็นไปในจิตสันดานของสัตว์ทั้งหลาย

หรือ ผู้ตรัสบอก ด้วยการตรัสบอกสัจจะทั้งหลาย ด้วยปริวัฏ ๓ โดยย่อ ผู้ทรง

แสดง ด้วยการตรัสสัจจะทั้งหลายโดยพิสดาร คือ ผู้ทรงแสดง ด้วยการประกาศ

พระธรรมจักรที่ให้พิสดารแล้ว โดยนัยแห่งปฏิสัมภิทา มีอาทิอย่างนี้ว่า

ธรรมมีสัทธินทริย์เป็นต้น ชื่อว่า ธรรมจักร เพราะอรรถว่า ยังธรรมนั้น ๆ ให้

เป็นไป.

บทว่า สพฺพธมฺมาน ได้แก่ แห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓

ทั้งหลาย.

บทว่า ปารคุ ความว่า ผู้ทรงถึงฝั่ง ด้วยอาการ ๖ คือ อภิญญา ๑

ปริญญา ๑ ปหานะ ๑ ภาวนา ๑ สัจฉิกิริยา ๑ สมาบัติ ๑. จริงอยู่ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวงถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึง

ชื่อว่า อภิญญาปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยอภิญญา ทรงกำหนดรู้อุปาทานักขันธ์ ๕

ถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปริญญาปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยปริญญา ทรง

สละซึ่งกิเลสทั้งปวงถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปหานปารคู ทรงถึงฝั่ง

ด้วยปหานะ ทรงเจริญมรรค ๔ ถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภาวนาปารคู

ทรงถึงฝั่งด้วยภาวนา ทรงการทำให้แจ้งซึ่งนิโรธถึงแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

สัจฉิกิริยาปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยสัจฉิกิริยา ทรงเข้าสมาบัติทั้งปวงถึงแล้ว

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สมาปัตติปารคู ทรงถึงฝั่งด้วยสมาบัติ. ผู้ทรงถึงฝั่ง

แห่งธรรมทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 427

บทว่า พุทฺธ เวรภยาตีต ความว่า ชื่อว่า ผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะความ

ที่พระองค์ทรงตื่นแล้ว จากความหลับคือความไม่รู้ คือ ทรงตรัสรู้ประโยชน์

ทั้งหลาย โดยนัยที่กล่าวแล้วในสรณวัณณนา ชื่อว่า ผู้ทรงล่วงเวรภัยได้แล้ว

เพราะความที่พระองค์ทรงล่วงเวรภัย ๕ อย่างได้แล้ว. เสนาบดียักษ์เมื่อ

สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้แล้ว จึงทรงให้กระทำโอกาสว่า พวกเรา

จงทูลถามพระโคดม ดังนี้.

ลำดับนั้น เหมวตยักษ์ซึ่งเลิศกว่ายักษ์เหล่านั้น ด้วยเดชปัญญาและ

ความต้องการ เมื่อทูลถามปัญหาอันควรถาม ตามความต้องการแล้ว จึง

กล่าวคาถานี้ว่า กิสฺมึ โลโก เมื่ออะไรเกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น ดังนี้.

ในบาทต้นแห่งคาถานั้น บทว่า กิสฺมึ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในลักษณะ

ภาวะโดยภาวะ (ลักขณวันตะ) เมื่ออะไรเกิด โลกจึงเกิดขึ้น ก็นี้เป็น อธิบาย

คาถานี้ เหมวตยักษ์ทูลถามหมายถึงสัตวโลก และสังขารโลก.

บทว่า กิสฺมึ กุพฺพติ สนฺถว ความว่า โลกย่อมกระทำความเชยชิด

ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิว่า " เรา " ว่า " ของเรา " ในอะไร. คำว่า กิสฺมึ เป็น

สัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถอธิกรณะ. บทว่า กิสฺส โลโก เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้

ในอรรถทุติยาวิภัตติ. ก็เนื้อความนี้เป็นข้ออธิบายในคาถานี้ว่า โลกย่อมถึง

การนับว่า โลกยึดถืออะไรไว้.

บทว่า กิสฺมึ โลโก เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งลักขณวันตะ

และอธิกรณะ ก็อธิบายในคาถานี้ว่า เมื่ออะไรมี โลกจึงเดือดร้อน คือ

ถูกเบียดเบียน ถูกให้เจ็บปวด เพราะเหตุอะไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 428

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะเมื่ออายตนะภายในและภายนอก

ทั้งหกเกิดขึ้น สัตวโลกจึงเกิดขึ้น และสังขารโลกก็ย่อมเกิดขึ้น ด้วยอำนาจ

แห่งทรัพย์และธัญชาติเป็นต้น และเพราะสัตวโลกย่อมกระทำความเชยชิดแม้

สองอย่าง ในอายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นแล ในสังขารโลกนี้ หรือ เมื่อยึดถือ

อายตนะคือจักษุว่า " เรา ของเรา " หรือยึดถืออายตนะอื่นในบรรดาอายตนะที่

เหลือ ย่อมยึดถือ เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า คนใดพึงกล่าวว่า จักษุเป็นตัวตน

คนนั้น (พึงยึดถือจักษุนั้นนั่นเทียว) ข้อนั้น ไม่ควร เป็นต้น เพราะโลก

แม้ทั้งสองยึดถืออายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นเทียว ย่อมถึงการนับว่า โลก และเมื่อ

มีอายตนะ ๖ เหล่านั้นนั่นแล สัตวโลกก็ย่อมเดือนร้อน เพราะทุกข์ปรากฏ

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีมือ ก็ย่อม

มีการถือ และการวาง เมื่อมีเท้า ก็มีการก้าวไปและการถอยกลับ เมื่อมีไขข้อ

ก็มีการคู้เข้าและการเหยียดออก เมื่อมีท้อง ก็ต้องมีหิวและกระหาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อมีจักษุ สุขและทุกข์ภายในก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะจักษุสัมผัสเป็น

ปัจจัยอย่างนั้นเหมือนกัน เป็นต้น อนึ่ง เมื่อมีเครื่องรองรับเหล่านั้น สังขาร-

โลกที่ถูกเบียดเบียน ก็ย่อมเดือนร้อน เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

เมื่อมีจักษุ คนก็ย่อมเดือดร้อน ในรูปที่เห็นไม่ได้ กระทบได้ หรือว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย จักษุย่อมเดือดร้อน ในเพราะรูปที่พอใจและไม่พอใจ ดังนี้

เป็นต้น อนึ่ง โลกแม้ทั้งสองย่อมเดือนร้อน เพราะอายตนะภายในและภายนอก

ที่เป็นเหตุเหล่านั้นนั่นแล เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า จักษุ

๑. ม. อุ. ฉฉกฺกสุตฺต ๔๖๓. ๒. ส. สฬายตนอคฺค. ๒๑๓. ๓. อภิธมฺมสงฺคณี. ๑๙๙.

๔. ส. สฬายตนวคฺค. ๒๑๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 429

ย่อมติดอยู่ ในรูปทั้งหลายที่พอใจและไม่พอใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็น

ของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ร้อนเพราะไฟ คือ ราคะ

เป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหานั้น ด้วยอำนาจแห่งอายตนะ

ภายในและภายนอก ๖ จึงตรัสว่า ฉสุ โลโก สมุปฺปนฺโน แปลว่า เมื่อ

อายตนะภายในและภายนอก ๖ เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น ดังนี้.

ลำดับนั้น ยักษ์นั้นกำหนดได้ไม่ดี ซึ่งปัญหาที่ตนทูลถาม ด้วยอำนาจ

แห่งวัฏฏะ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวิสัชนาอย่างย่อ ด้วยอำนาจแห่งอายตนะ ๖

มีความประสงค์เพื่อรู้เนื้อความนั้น และข้อปฏิปักษ์ต่อเนื้อความนั้น เมื่อจะ

ทูลถามวัฏฏะและวิวัฏฏะโดยย่อเท่านั้น จึงทูลว่า กตมนฺต แปลว่า อุปาทาน

ที่เป็นเหตุให้โลกต้องเดือดร้อนเป็นไฉน ดังนี้.

ในคาถานั้น ชื่อว่า อุปาทาน เพราะอรรถว่า อันสัตว์พึงเข้าไปยึดมั่น

คำว่า อุปาทาน นั่นเป็นชื่อของ ทุกขสัจจะนั่นแล.

บาทคาถาว่า ยตฺถ โลโก วิหญฺติ ความว่า เหมวตยักษ์ ผู้อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า เมื่อมีอายตนะภายในและภายนอก ๖ โลกจึง

เดือดร้อน ก็เพราะว่า โลกย่อมเดือนร้อน ในเพราะอุปาทาน ๖ จึงทูลถามถึง

ทุกขสัจจะ โดยย่อเท่านั้น ด้วยคาถากึ่งอย่างนี้ว่า โลกย่อมเดือดร้อนในเพราะ

อุปาทานใด อุปาทานนั้นเป็นไฉน. ส่วน สมุทัยสัจจะ ก็เป็นอันพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้ว โดยความเป็นเหตุแห่งทุกขสัจจะนั้นแล.

เหมวตยักษ์ทูลถามถึงมรรคสัจจะ ด้วยคาถากึ่งนี้ว่า นิยฺยาน ปุจฺฉิโต

แปลว่า พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ถึงธรรมที่เป็นเครื่องนำออกจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 430

โลก จริงอยู่ พระอริยสาวกกำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธ และ

เจริญมรรค ย่อมออกจากโลก ด้วยมรรคสัจจะ เพราะฉะนั้น มรรคสัจจะนั้น

จึงเรียกว่า นิยฺยาน แปลว่า ธรรมที่เป็นเครื่องนำออก. บทว่า กถ ได้แก่

โดยประการไร. บทว่า ทุกฺขา ปมุญฺจติ ความว่า บุคคลจะบรรลุถึงความ

พ้นจากวัฏทุกข์ที่กล่าวว่า อุปาทาน. ทูลถามถึงมรรคสัจจะโดยย่อเท่านั้น ใน

คาถานี้ ด้วยประการฉะนี้ ส่วนนิโรธสัจจะ เป็นอันทรงถือเอาแล้ว โดยความ

เป็นวิสัยของมรรคสัจจะนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าอันยักษ์ทูลถามปัญหา ด้วยอำนาจแห่งสัจจะสี่ที่

ทรงแสดงแล้ว และที่ไม่ได้ทรงแสดง โดยสรุปอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงวิสัชนา

โดยนัยนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า ปญฺจ กามคุณา แปลว่า กามคุณ ๕ ดังนี้.

ในคาถานั้น อายตนะ ๕ ซึ่งเป็นอารมณ์ของใจนั้น เป็นอันทรงถือ

เอาแล้ว ด้วยโคจรศัพท์ กล่าวคือกามคุณ ๕ ใจเป็นที่ ๖ ของอายตนะเหล่านั้น

เพราะฉะนั้น อายตนะเหล่านั่น ชื่อว่า มโนฉฏฺา แปลว่า มีใจเป็นที่ ๖.

บทว่า ปเวทิตา ได้แก่ ประกาศแล้ว. ก็ธรรมายตนะอันเป็นอารมณ์ของ

ใจนั้น เป็นอันทรงถือเอาแล้ว ด้วยศัพท์ คือมนายตนะที่ ๖ ในบรรดา

อายตนะภายใน ในคาถานี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหานี้ว่า อุปาทานเป็นไฉน

ดังนี้ อันเหมวตยักษ์ทูลถามแล้วแม้อีก จึงทรงประกาศทุกขสัจจะด้วยอำนาจ

แห่งอายตนะ ๑๒ แต่เพราะกองแห่งวิญญาณทั้ง ๗ ท่านถือเอาแล้ว ด้วย

มโนศัพท์ ในบรรดาอายตนะทั้ง ๖ นั้น อายตนะ ๕ อย่าง มีจักขวายตนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 431

เป็นต้น อันเป็นวัตถุแห่งวิญญาณธาตุเหล่านั้น เป็นอันท่านถือเอาแล้ว ด้วย

ศัพท์ คือ วิญญาณธาตุ ๕ ข้างต้น ธรรมมายตนะอันเป็นวัตถุและเป็นอารมณ์

แห่งมโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุเหล่านั้น เป็นอันท่านถือเอาแล้ว ด้วยศัพท์

คือ มโนธาตุและมโนวิญญาณธาตุ เพราะฉะนั้น จึงทรงประกาศทุกขสัจจะ

ด้วยอำนาจแห่งอายตนะ ๑๒ แม้ด้วยประการฉะนี้.

ก็เอกเทศแห่งมนายตนะและธรรมายตนะที่เป็นโลกุตระ ท่านมิได้สง-

เคราะห์ไว้ในที่นี้ เพราะท่านแสดงหมายถึงอายตนะที่เป็นเหตุให้โลกเดือนร้อน.

บทว่า เอตฺถ ฉนฺท วิราเชตฺวา ความว่า บุคคลกำหนดอายตนะ

เหล่านั้นเทียว ในทุกขสัจจะอันต่างด้วยอายตนะ ๑๒ โดยประการนั้น ๆ คือ

โดยขันธ์ โดยธาตุ โดยนามรูป ยกขึ้นสู่ไตรลักษณะเห็นแจ้งอยู่ คลาย คือ

นำออก ได้แก่กำจัดความพอใจ คือตัณหาในกามคุณ ๕ นี้ ด้วยวิปัสสนามี

อรหัตมรรคเป็นที่สุดได้โดยประการทั้งปวง.

บทว่า เอว ทุกฺขา ปมุญฺจติ ความว่า ย่อมพ้นจากวัฏทุกข์นั่น

ด้วยประการนี้. ปัญหานี้ว่า ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอพระองค์จงตรัสบอก

ซึ่งธรรมชาติเครื่องออกจากโลก บุคคลจะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร เป็นอันทรง

วิสัชนาแล้ว ด้วยคาถากึ่งนี้ ด้วยประการฉะนี้. และมรรคสัจจะก็เป็นอัน

ทรงประกาศแล้ว ก็สมุทัยสัจจะและนิโรธสัจจะ พึงทราบว่าเป็นอันทรงประกาศ

แล้วเทียว เพราะสงเคราะห์โดยนัยก่อนนั่นแล.

หรือ ทรงประกาศทุกขสัจจะ ด้วยคาถากึ่ง สมุทัยสัจจะด้วยฉันทะ

นิโรธสัจจะ ด้วยวิรัช ในบทว่า คลายแล้ว มรรคสัจจะ โดยพระบาลีว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 432

ย่อมพ้นเพราะวิราคะ หรือ ทรงประกาศมรรคสัจจะ ด้วยนิทัสสนะที่หมายถึง

เอว ศัพท์ ทรงประกาศนิโรธสัจจะ ด้วยการพ้นจากทุกข์ว่า บุคคลย่อมพ้น

จากทุกข์ โดยพระบาลีว่า ทุกฺขนิโรธ เพราะฉะนั้น สัจจะสี่พึงทราบว่า

ทรงประกาศแล้วในคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้.

ทรงประกาศธรรมชาติเครื่องออกจากโลก โดยลักษณะ ด้วยคาถาอัน

บรรจุสัจจะสี่อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงประมวลนิยยานธรรมนั้นนั่นเทียวด้วยความ

ชำนิชำนาญทางนิรุตติของพระองค์ จึงตรัสว่า เอต โลกสฺส นิยฺยาน

ซึ่งธรรมชาติเครื่องออกจากโลกนี้.

ในคาถานี้ บทว่า เอต เป็นการแสดงไขถึงบทที่กล่าวแล้วในบทก่อน.

บทว่า โลกสฺส ได้แก่ จากโลกธาตุทั้งสาม. บทว่า ยถาตถ ได้แก่ ไม่ผิด.

บทว่า เอต โว อหมกฺขามิ ความว่า ถ้าแม้ท่านทั้งหลายพึงถาม

เราพันครั้ง เราก็จะบอกข้อนี้แก่ท่านทั้งหลาย คือ จะไม่บอกข้ออื่น. เพราะ

เหตุไร เพราะบุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ได้ด้วยอาการอย่างนี้ อธิบายว่าไม่ใช่โดย

ประการอื่น. อนึ่ง เราก็จะบอกข้อนี้แก่ท่านทั้งหลายแม้ออกไปแล้ว ๑ ครั้ง

๒ ครั้ง และ ๓ ครั้ง ด้วยนิยยานธรรมนี้ อธิบายว่า เราจะบอกนิยยานธรรม

นั้นแล แม้เพื่อบรรลุคุณวิเศษชั้นสูง เพราะเหตุไร เพราะบุคคลย่อมพ้นจาก

ทุกข์ที่เหลือและไม่มีส่วนเหลือได้ด้วยอาการอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเทศนาให้จบลง ด้วยยอดคือ พระอรหัต

ในเวลาจบเทศนา เสนาบดียักษ์แม้ทั้งสอง ก็ตั้งอยู่แล้ว ในโสดาปัตติผล

พร้อมกับยักษ์ ๑,๐๐๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 433

ลำดับนั้น เหมวตยักษ์แม้โดยปกติ ก็เป็นผู้หนักในธรรม บัดนี้ ตั้ง

อยู่แล้วในอริยภูมิ ยังไม่อิ่มโดยดี เพื่อจะทูลถามเสกขภูมิและอเสกขภูมิ กะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเทศนาที่มีปฏิภาณอันวิจิตร ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงกล่าวคาถาว่า โกสูธ ตรติ โอฆ แปลว่า ในโลกนี้ ใครเล่าข้ามโอฆะได้.

ในคาถานั้น เหมวตยักษ์ทูลถามถึงเสกขภูมิว่า ใครเล่าข้ามโอฆะสี่ได้

ด้วยบทนี้ว่า ในโลกนี้ ใครเล่าข้ามโอฆะได้. โดยไม่แปลกกัน เพราะคำว่า

อณฺณว ได้แก่ ห้วงน้ำซึ่งมีประมาณไม่กว้างและไม่ลึก ก็อีกอย่างหนึ่ง

อรรณพเช่นกับที่ท่านกล่าวว่า ทั้งกว้างกว่าและลึกกว่านั้นแล ชื่อว่า อรรณพ

คือ สังสารวัฏ ก็อรรณพ คือ สังสารวัฏนี้ โดยรอบก็กว้าง เพราะไม่มีที่

สุด โดยเบื้องต่ำ ก็ลึก เพราะไม่มีที่ตั้ง โดยเบื้องบน ก็ลึกเพราะไม่มีที่ยึด

เหนี่ยว เพราะฉะนั้น เหมวตยักษ์จึงทูลถามถึงอเสกขภูมิว่า ในโลกนี้ ใคร

เล่าข้ามอรรณพได้ และใครย่อมไม่จมลงในอรรณพที่ลึกซึ้งนั้น ไม่มีที่พึ่ง

ไม่มีที่ยึดเหนี่ยว.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะภิกษุใดไม่ทำการล่วงละเมิดแม้

เพราะเหตุแห่งชีวิต ถึงพร้อมด้วยศีลทุกเมื่อ และมีปัญญา ด้วยปัญญาที่เป็น

โลกิยะและโลกุตระ ตั้งมั่นดีแล้ว ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ และมรรค

ผลเบื้องต่ำทุกอิริยาบถ ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์ มีปกติคิดซึ่งธรรมภายในอันนำ

ออกจากทุกข์ด้วยวิปัสสนา และถึงพร้อมแล้ว ด้วยสติ คือ ความไม่ประมาท

อันนำมาซึ่งการกระทำติดต่อ ภิกษุนั้น ย่อมข้ามโอฆะนี้ที่ข้ามได้แสนยาก โดย

ไม่มีส่วนเหลือ ด้วยมรรคที่สี่ เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรงวิสัชนาเสกขภูมิ จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 434

ตรัสคาถาที่บรรจุไตรสิกขานี้ว่า สพฺพทา สีลสมฺปนฺโน ผู้ถึงพร้อมแล้ว

ด้วยศีลทุกเมื่อ.

ก็ในคาถานี้ สิกขา ๓ คือ อธิสีสสิกขา ด้วยสีลสัมปทา อธิจิตตสิกขา

ด้วยสติและสมาธิ อธิปัญญาสิกขา ด้วยปัญญา คือ การคิดถึงธรรมภายใน

ท่านกล่าวว่า มีอุปการะและมีอานิสงส์ จริงอยู่ สิกขาทั้งหลาย มีโลกิยปัญญา

และสติเป็นอุปการะ มีสามัญผลเป็นอานิสงส์.

ครั้นทรงแสดงเสกขภูมิ ด้วยคาถาที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ

ทรงแสดงอเสกขภูมิ จึงตรัสคาถาที่สอง.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า บทว่า วิรโต กามสญฺาย ความว่าผู้เว้น

จากกามสัญญาบางอย่าง ด้วยสมุจเฉทวิรัติ อันสัมปยุตด้วยมรรคที่ ๔ โดย

ประการทั้งปวง บาลีว่า วิรตฺโต ดังนี้ก็มี. ในกาลนั้น คำว่า กามสญฺาย

เป็นสัตตมีวิภัตติ แต่ในสคาถวรรค บาลีว่า กามสญฺาสุ ดังนี้ก็มี. ชื่อว่า

ล่วงสังโยชน์ทั้งปวงเสีย เพราะล่วงสังโยชน์ ๑๐ ด้วยมรรคแม้ทั้งสี่ หรือ ล่วง

สังโยชน์เบื้องสูง ด้วยมรรคที่สี่เท่านั้น ชื่อว่า มีความเพลิดเพลินและภพหมด

สิ้นแล้ว เพราะความที่ความเพลิดเพลิน กล่าวคือ ตัณหาพาให้เพลิดเพลินใน

สิ่งนั้น ๆ และภพ ๓ หมดสิ้นแล้ว.

บทว่า โส ได้แก่ ภิกษุผู้ขีณาสพเช่นนั้น ย่อมไม่จมลง ในอรรณพ

คือ สังสารวัฏอันลึก เข้าถึงผลแห่งนิพพานธาตุอันมีเบญจขันธ์เหลือ เพราะ

สิ้นความเพลิดเพลิน และไม่มีเบญจขันธ์เหลือ เพราะสิ้นภพ.

ลำดับนั้น เหมวตยักษ์แลดูสหายและยักษ์บริษัท เกิดปีติแลโสมนัส

ชมเชยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถามีอย่างนี้ว่า คมฺภีรปญฺ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 435

อภิวาทแล้ว พร้อมกับสหายและบริษัทใหญ่ทั้งหมด ทำประทักษิณแล้ว ไปสู่

ที่อยู่ของตน.

ก็คาถาเหล่านั้น มีอรรถวรรณนาดังนี้ บทว่า คมฺภีรปญฺ ความว่า

ทรงถึงพร้อมด้วยพระปัญญาอันลึกซึ้ง. คัมภีรปัญญาในคาถานั้น พึงทราบโดย

นัยที่กล่าวไว้แล้ว ในปฏิสัมภิทานั้นแหละ. จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทานั้น ท่าน

กล่าวไว้มีอาทิว่า ที่ชื่อว่า คัมภีรปัญญา เพราะอรรถว่า ญาณเป็นไปอยู่ใน

ขันธ์ทั้งหลายอันลึกซึ้ง. ผู้มีพระปัญญาอันลึกซึ้งอย่างนี้.

บทว่า นิปุณตฺถทสฺสึ ความว่า ผู้ทรงแสดงเนื้อความแห่งปัญหา

ทั้งหลายที่ชนทั้งหลายมีกษัตริย์และบัณฑิตเป็นต้น ผู้ละเอียดอ่อนปรุงแต่งแล้ว

หรือ ผู้ทรงแสดงเนื้อความละเอียดโดยทรงแสดงเหตุทั้งหลายอันละเอียด แห่ง

อรรถทั้งหลายทั้งคนเหล่าอื่นแทงตลอดได้ยาก.

ชื่อว่า ไม่มีความกังวล เพราะไม่มีความกังวล มีราคะเป็นต้น ชื่อว่า

ไม่ข้องแล้วในกามภพ เพราะไม่ทรงติดอยู่ในกามทั้งสอง และในภพสามอย่าง

ชื่อว่า พ้นวิเศษแล้ว ในอารมณ์ทั้งปวง เพราะไม่มีความผูกพันด้วยฉันทราคะ

ในอารมณ์ทั้งปวง อันต่างด้วยขันธ์เป็นต้น.

บทว่า ทิพฺเพ ปเถ กมมาน ความว่า ทรงดำเนินไปในทางอัน

เป็นทิพย์ อันต่างด้วยสมาบัติแปด ด้วยสามารถแห่งการเข้า. ในคาถานั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงดำเนินไปในทางอันเป็นทิพย์ ในเวลานั้น ก็จริง

ถึงกระนั้น เหมวตยักษ์กล่าวอย่างนั้น ก็เพราะพระองค์ทรงมีความสามารถที่จะ

ก้าวไป ซึ่งหมายถึงการก้าวไปในกาลก่อน หรือเพราะพระองค์ทรงมีความ

ชำนาญอันได้แล้ว ในทางอันเป็นทิพย์นั้น ท่านกล่าวคำนี้ไว้ แม้โดยการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 436

ก้าวไปในธรรมเป็นเครื่องอยู่ตั้งร้อย ๆ อย่าง อันเป็นทางแห่งพระอรหันต์ทั้ง-

หลาย ผู้เป็นวิสุทธิเทพ. ชื่อว่า ทรงแสวงหาคุณอันใหญ่ เพราะทรงแสวงหา

คุณทั้งหลายอันใหญ่.

ในคาถาที่ ๒ เหมวตยักษ์ได้แสดงขยายนิปฺณัตถทัสสิศัพท์อีก เพราะ

ทำอธิบายว่า ตนปรารภความชมเชย โดยปริยายอื่น อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า

ผู้ทรงแสดงเนื้อความละเอียด.

บทว่า ปญฺาทท ได้แก่ ผู้ทรงให้ปัญญา เพราะตรัสข้อปฏิบัติ

อันเป็นไปเพื่อได้ปัญญา.

บทว่า กามาลเย อสตฺต ได้แก่ ไม่ข้องแล้ว ในอาลัย ๒ อย่าง

ด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฏฐิในกามทั้งหลาย.

บทว่า สพฺพวิทุ ได้แก่ ทรงรู้ธรรมทั้งปวง มีอธิบายว่า ทรงเป็น

พระสัพพัญญู.

บทว่า สุเมธ ความว่า ทรงถึงพร้อมด้วยพระเมธา กล่าวคือบารมี-

ปัญญา อันเป็นทางแห่งความเป็นพระสัพพัญญูนั้น.

บทว่า อริเย ปเถ ความว่า ในมรรคอันประกอบด้วยองค์แปด

หรือ ในผลสมาบัติ.

บทว่า กมมาน ได้แก่ ทรงหยั่งลงด้วยพระปัญญา คือ ทรงก้าว

ไป เพราะทรงรู้ลักษณะแห่งมรรคแล้วทรงแสดง หรือ พึงก้าวไปด้วยกำลัง

แห่งการก้าวไป กล่าวคือ มรรคภาวนา ๔ อย่าง เพราะทรงเข้าผลสมาบัติได้

ทุก ๆ ขณะ.

บทว่า สุทิฏฺ วต โน อชฺช ความว่า วันนี้ เราทั้งหลายเห็น

ดีแล้ว อธิบายว่า การเห็น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 437

บทว่า สุปฺปภาต สุหุฏฺิต ความว่า วันนี้ พวกเราเห็นดีแล้ว

หรือ ในวันนี้ ความงามของพวกเราดีแล้ว สว่างแล้ว ได้แก่แจ่มแจ้งแล้ว

วันนี้ พวกเราตั้งดีแล้วหนอ คือ ตั้งขึ้นดีแล้ว เพราะไม่มีอันตราย เพราะ

เหตุไร เพราะเหมวตยักษ์ประกาศความปราโมทย์ปรารภสมบัติ คือ ลาภของ

ตนว่า พวกเราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า เราทั้งหลายได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าแล้ว.

บทว่า อิทฺธิมนฺโต ความว่า ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยฤทธิ์อันเกิด

แก่กรรมวิบาก. บทว่า ยสสฺสิโน ความว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยลาภอันเลิศ

และบริวารอันเลิศ. บทว่า สรณ ยนฺติ ความว่า ยักษ์ทั้งหลายถึงสรณะ

ด้วยมรรคแล้วก็จริง ถึงกระนั้น เหมวตยักษ์ย่อมเปล่งวาจาเพื่อแสดงความที่

ตนเป็นพระโสดาบัน และเพื่อแสดงความเลื่อมใส.

บทว่า คามา คาม ความว่า จากเทวคาม สู่เทวคาม. บทว่า

นคา นค ได้แก่ จากเทวบรรพต สู่เทวบรรพต.

บทว่า นมสฺสมานา สมฺพุทฺธ ธมฺมสฺส จ สุธมฺมต มีอธิบายว่า

ข้าพระองค์ทั้งหลายจักชมเชย ขอนอบน้อมซึ่งความที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ดี

และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี โดยนัยมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองหนอ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว

หนอ และความปฏิบัติดีแห่งสงฆ์ โดยนัยมีอาทิว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าปฏิบัติดีหนอ ดังนี้แล้ว เป็นผู้ประกาศธรรมเที่ยวไป. บทที่เหลือ

ในคาถานี้ ตื้นทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาเหมวตสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 438

อาฬวกสูตรที่ ๑๐

ว่าด้วยเรื่องอาฬวกยักษ์ทูลถามปัญหา

[๓๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ ใกล้

เมืองอาฬวี ครั้งนั้นแล อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จงออกไปเถิดสมณะ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละท่าน แล้วได้เสด็จออกไป อาฬวกยักษ์ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จงเข้ามาเถิดสมณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ

ท่าน แล้วได้เสด็จเข้าไป แม้ครั้งที่ ๒ . . . แม้ครั้งที่ ๓ . . . แม้ครั้งที่ ๔

อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จงออกไปเถิดสมณะ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนท่าน เราจักไม่ออกไปละ ท่านจงกระทำกิจที่ท่าน

จะพึงกระทำเถิด.

อา. ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าจะถามปัญหากะท่าน ถ้าว่าท่านจักไม่

พยากรณ์แก่ข้าพเจ้าไซร้ ข้าพเจ้าจะควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้ง จักฉีกหัวใจ

ของท่าน หรือจักจับที่เท้าทั้งสองของท่านแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคา.

พ. เรายังไม่มองเห็นบุคคลผู้ที่จะพึงควักดวงจิตของเราออกโยนทิ้ง

จะพึงฉีกหัวใจของเรา หรือจะพึงจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคา

ได้ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 439

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดูก่อนท่าน ก็และท่านหวังจะถามปัญหา

ก็จงถามเถิด.

ลำดับนั้น อาฬวกยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า

[๓๑๑] อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่อง

ปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้

อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความ

สุขมาให้ อะไรเล่าเป็นรสยังประโยชน์ให้

สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลาย

ได้กล่าวชีวิตของบุคคลเป็นอยู่อย่างไรว่า

ประเสริฐที่สุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า

ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอัน-

ประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้ ธรรมที่

บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้

สัจจะแลเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารส

ทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวชีวิต

ของบุคคล ผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่า ประเสริฐ

ที่สุด.

บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้อย่างไร

บุคคลย่อมข้ามอรรณพได้อย่างไร บุคคล

ย่อมล่วงทุกข์ได้อย่างไร ย่อมบริสุทธิ์ได้

อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 440

บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา

ย่อมข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท

ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ย่อมบริสุทธิ์

ได้ด้วยปัญญา.

บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร ย่อมหา

ทรัพย์ได้อย่างไร ย่อมได้ชื่อเสียงอย่างไร

ย่อมผูกมิตรทั้งหลายไว้ได้อย่างไร บุคคล

ละจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้า-

โศกอย่างไร.

บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์

ทั้งหลายเพื่อบรรลุนิพพานเป็นผู้ไม่ประมาท

มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ฟังอยู่ด้วยดี

ย่อมได้ปัญญา บุคคลผู้มีธุระ กระทำสมควร

มีความหมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้ บุคคลย่อม

ได้ชื่อเสียงด้วยสัจจะ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้.

ผู้ใดมีศรัทธาอยู่ครองเรือน มีธรรม

๔ ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรม ธิติ จาคะ

ผู้นั้น และจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก

ถ้าว่า เหตุแห่งการได้ชื่อเสียงยิ่งไปกว่าสัจจะ

ก็ดี เหตุแห่งการได้ปัญญายิ่งไปกว่าทมะก็ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 441

เหตุแห่งการผูกมิตรยิ่งไปกว่าจาคะก็ดี เหตุ

แห่งการหาทรัพย์ได้ยิ่งไปกว่าขันติก็ดี มีอยู่

ในโลกนี้ไซร้ เชิญท่านถามสมณพราหมณ์

เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นดูเถิด.

บัดนี้ ข้าพระองค์จะพึงถามสมณ-

พราหมณ์เป็นอันมากทำไมเล่า วันนี้ ข้า-

พระองค์ทราบชัดประโยชน์มีอันเป็นไปในภพ

หน้า พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองอาฬวีเพื่อ

ประทับอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์หนอ

วันนี้ ข้าพระองค์ทราบชัดพระทักขิไณย-

บุคคลผู้เลิศ ที่บุคคลถวายทานแล้วเป็นทาน

มีผลมาก ข้าพระองค์จักนอบน้อมพระสัม-

พุทธเจ้า และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี

เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน จากเมืองสู่เมือง.

จบอาฬวกสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 442

อรรถกถาอาฬวกสูตร

อาฬวกสูตรเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้ :-

มีอุบัติอย่างไร ? อุบัติแห่งอาฬวกสูตรนั้น จักแจ่มแจ้งโดยนัยแห่ง

อัตถวัณณนานั่นเทียว ก็ในอัตถวัณณนา บทว่า เอวมฺเม สุต เอก สมย

ภควา นั่น มีเนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นแล. ก็ในบทว่า อาฬวิย วิหรติ

อาฬวกสฺส ยกฺขสฺส ภวเน นี้มีคำถามว่า อาฬวิคืออะไร และพระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับอยู่ ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์นั้น เพราะเหตุไร ? ข้าพเจ้า

จะตอบคำถาม

คำว่า อาฬวิ นั้น เรียกว่า รัฐบ้าง นครบ้าง แม้ทั้งสองอย่างนั้น

ก็ควรในสูตรนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ ในที่ใกล้อาฬวินครก็เรียกว่า

ประทับอยู่ ใกล้เมืองอาฬวี และในที่ใกล้ คือ ในที่ไม่ไกลแห่งนครนั้น

ประมาณคาวุตหนึ่ง ที่อยู่นั้นก็เรียกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ใน

รัฐอาฬวี ประทับอยู่ใกล้เมืองอาฬวี ที่อยู่นั่นมีในรัฐอาฬวี.

ทรงล่าเนื้อ

ก็เพราะพระราชาพระนามว่า อาฬวกะ ทรงทิ้งนักฟ้อนและเครื่อง

อุปโภคต่าง ๆ เสด็จไปล่าเนื้อทุก ๆ ๗ วัน เพื่อป้องกันโจร เพื่อกีดกัน

ปฏิราชา และเพื่อจะทำความพยายาม ในวันหนึ่ง ได้ทรงกระทำกติกากับ

พลกายว่า เนื้อหนีไปข้างผู้ใด เนื้อนั้นจะต้องเป็นภาระของผู้นั้นเท่านั้น ครั้งนั้น

เนื้อได้หนีไปข้างพระราชาพระองค์นั้นแล พระราชาทรงสมบูรณ์ด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 443

รวดเร็ว ทรงจับธนูติดตามเนื้อนั้นแต่พระองค์เดียว สิ้นทาง ๓ โยชน์ และ

เนื้อทรายทั้งหลายมีกำลังรวดเร็ว ๓ โยชน์.

ลำดับนั้น พระราชาทรงฆ่าเนื้อนั้น ซึ่งหมดกำลังลงน้ำยืนอยู่ ตัดแบ่ง

ออกเป็น ๒ ส่วน แม้พระองค์ไม่ทรงต้องการเนื้อ เพื่อทรงปลดเปลื้องความ

ผิดพลาดว่า พระราชาไม่อาจเพื่อพาเนื้อไปได้ จึงทรงหาบเนื้อเสด็จมา ทรง

เห็นต้นไทรใหญ่ ซึ่งมีใบเขียวหนาแน่นในที่ไม่ไกลพระนคร เสด็จเข้าสู่โคน

ต้นไทรนั้น เพื่อทรงบรรเทาความเมื่อยล้า ก็ในต้นไทรนั้น มียักษ์ชื่อ อาฬวกะ

ได้พรจากสำนักของท้าวเวสวัณมหาราช กินสัตว์ทั้งหลายที่เข้าไปสู่โอกาสที่เงา

ของต้นไม้นั้นแผ่ไปถึงในสมัยเที่ยงวัน อาศัยอยู่ ยักษ์นั้นเห็นพระราชานั้น

ก็เข้ามาเพื่อจะเคี้ยวกิน พระราชาทรงกระทำกติกากับยักษ์นั้นว่า จงปล่อยฉัน

ฉันถูกปล่อยจักส่งมนุษย์และถาดอาหารทุก ๆ วัน ยักษ์ทูลว่า ท่านมัวเมาด้วย

ราชูปโภคจักทรงลืมเสีย ส่วนข้าพเจ้าจะไม่ได้เพื่อกินคนที่ไม่เข้ามาสู่ที่อยู่และ

คนที่ไม่ได้อนุญาต ข้าพเจ้านั้นต้องกินท่าน จึงเป็นอยู่ได้ ดังนี้ จึงไม่ปล่อย

พระราซาจึงทรงยินยอมว่า ข้าพเจ้าไม่ส่งในวันใด ท่านจงจับข้าพเจ้ากินใน

วันนั้น ผู้อันยักษ์นั้นปล่อยแล้ว จึงเสด็จหลีกไปบ่ายพระพักตร์สู่พระนคร.

พลกายตั้งค่ายรออยู่ในทาง เห็นพระราชาแล้วทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช

พระองค์ทรงเมื่อยล้าอย่างนี้ เพราะกลัวแต่ความเมาที่ไม่สมพระเกียรติหรือ

จึงแสดงการต้อนรับ พระราชาตรัสบอกประพฤติการณ์นั้น เสด็จไปสู่พระนคร

เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ตรัสเรียกคนรักษาพระนครตรัสบอกเรื่องนั่น

คนรักษาพระนครทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พระองค์ทรงทำการกำหนด

กาลหรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 444

ร. แน่ะพนาย ! ไม่ได้ทำการกำหนดกาล.

น. ข้าแต่พระสมมติเทพ พระองค์ทรงทำไม่ดีแล้ว เพราะอมนุษย์

ทั้งหลายย่อมได้กาลที่สักว่ากำหนดแล้วเท่านั้น แต่เมื่อพระองค์ไม่ทรงกำหนด-

กาล ชนบทจักมีความลำบาก เอาเถิดพระเทวะ พระองค์ทรงกระทำอย่างนี้

แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ขอพระองค์จงทรงขวนขวายน้อย เสวยราชสมบัติเถิด

ข้าพระองค์จักกระทำสิ่งที่ควรทำในเรื่องนี้.

ส่งคนให้ยักษ์กิน

คนรักษาพระนครนั้น ลุกขึ้นตามกาลนั่นเทียว ไปสู่เรือนจำ กล่าว

หมายถึงนักโทษทั้งหลายที่ต้องถูกประหารว่า ผู้ใดต้องการชีวิต ผู้นั้นจงออกมา

ดังนี้แล้ว รับเอานักโทษที่ออกมาคนแรกให้อาบน้ำและให้บริโภคแล้วส่งไปว่า

เจ้าจงให้ถาดอาหารนี้แก่ยักษ์ ยักษ์นิรมิตอัตภาพอันน่าสะพรึงกลัวแล้วเคี้ยวกิน

นักโทษนั้นที่พอเข้ามาภายในโคนต้นไม้นั่นแล ดุจกินหัวมัน ได้ยินว่า ด้วย

อานุภาพของยักษ์ สรีระทั้งสิ้นรวมทั้งเส้นผมเป็นต้น ของมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นเหมือนก้อนเนยข้น บุรุษที่ไปเพื่อให้นักโทษถือภัตให้แก่ยักษ์ เห็นยักษ์

นั้นแล้วกลัว จึงบอกตามมิตรสหาย.

จำเดิมแต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายโจษจันกันว่า พระราชาจับโจรให้แก่

ยักษ์ ได้งดเว้นจากโจรกรรม โดยสมัยอื่นจากนั้น เรือนจำทั้งหลายจึงว่างเปล่า

เพราะพวกโจรเก่าสิ้นไป เพราะโจรใหม่ทั้งหลายไม่มี ลำดับนั้น คนรักษา

พระนครจึงทูลแด่พระราชา. พระราชาตรัสสั่งให้ทิ้งพระราชทรัพย์ของพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 445

ที่ตรอกแห่งพระนครทั้งหลาย ด้วยทรงหวังว่า จะพึงมีใคร ๆ ถือเอาทรัพย์

ด้วยความโลภบ้าง ก็ไม่มีใครจับต้องทรัพย์นั้น แม้ด้วยเท้า คนรักษาพระนคร

นั้น เมื่อไม่ได้โจรทั้งหลาย จึงบอกแก่อำมาตย์ทั้งหลาย อำมาตย์ทั้งหลายจึง

ทูลว่า พวกข้าพระองค์จะส่งคนแก่ตามลำดับตระกูล ๆ ละ ๑ คนไปให้ แม้โดย

ปกติคนแก่นั้นก็ใกล้ตายแล้ว พระราชาตรัสห้ามว่า มนุษย์ทั้งหลายจักกระทำ

การต่อต้านว่า พระราชาทรงส่งบิดาของพวกเรา ปู่ของพวกเรา พวกท่านอย่า

ชอบใจข้อนั้นเลย พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ ถ้าอย่างนั้น

พวกข้าพระองค์จะส่งทารก ซึ่งกำลังนอนหงาย เพราะทารกเช่นนั้น ย่อม

ไม่มีความเยื่อใยว่า แม่ของเรา พ่อของเรา พระราชาทรงอนุญาต อำมาตย์

เหล่านั้น ก็ได้กระทำอย่างนั้น พวกมารดาของทารกในพระนครก็พาพวกทารก

และพวกสตรีมีครรภ์ ก็พากันหนีให้ทารกทั้งหลายเจริญในชนบทอื่นแล้ว จึง

นำกลับมา เป็นอย่างนี้จนสิ้น ๑๒ ปี.

แต่นั้นในวันหนึ่ง พวกอำมาตย์ค้นหาทั่วพระนคร ก็ไม่ได้ทารกแม้

คนหนึ่ง จึงทูลแด่พระราชาว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ ในพระนครไม่มีทารก

เว้นแต่อาฬวกุมาร พระราชโอรสของพระองค์ในภายในบุรี พระราชาตรัสว่า

บุตรของเราย่อมเป็นที่รักฉันใด ผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าตน ย่อมไม่มีแก่สรรพโลก

ฉันนั้น จงไปเถิด จงให้อาฬวกุมารแม้นั้นแล้ว รักษาชีวิตของเราไว้ ก็โดย

สมัยนั้น พระราชมารดาของพระอาฬวกุมารทรงให้พระโอรสทรงสนานแล้ว

ประดับตกแต่ง สวมเทริดที่ทำด้วยผ้าเปลือกไม้ ให้บรรทมบนพระเพลา

ประทับนั่งอยู่แล้ว ราชบุรุษทั้งหลายไปในที่นั้น ด้วยคำสั่งของพระราชา ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 446

มาเอาพระราชกุมารนั้น จากพระมารดานั้น ผู้กำลังทรงรำพันอยู่ พร้อมด้วย

หญิงพี่เลี้ยง ๑๖,๐๐๐ คน หลีกไป ด้วยกล่าวว่า พระราชกุมารจะเป็นอาหาร

ของยักษ์ในวันพรุ่งนี้.

ทรงทรมานอาฬวกยักษ์

ก็ในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นในสมัยใกล้รุ่ง ทรงเข้า

มหากรุณาสมาบัติ ในพระคันธกุฎีที่พระเชตวันมหาวิหาร เมื่อทรงตรวจดูโลก

ด้วยพุทธจักษุอีก ทรงเห็นอุปนิสัยของการบรรลุพระอนาคามิผล ของพระ-

อาฬวกกุมาร การบรรลุโสดาของยักษ์ และในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐

ได้ดวงตาเห็นธรรม เพราะฉะนั้น เมื่อราตรีสว่างแล้ว ทรงทำปุเรภัตกิจ

เสร็จแล้ว แต่ทรงทำปัจฉาภัตกิจยังไม่เสร็จเทียว เมื่อวันอุโบสถแห่งกาฬปักษ์

เป็นไปอยู่ พระอาทิตย์ขึ้นแล้ว พระองค์เดียวไม่มีเพื่อน ทรงถือบาตรและจีวร

เสด็จไปสิ้นทาง ๓ โยชน์จากกรุงสาวัตถี โดยเสด็จไปด้วยพระบาทนั่นแล

เสด็จเข้าไปยังที่อยู่ของยักษ์นั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในที่อยู่ของ

อาฬวกยักษ์.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โคนต้นไทรซึ่งเป็นที่อยู่

ของอาฬวกยักษ์ หรือในที่อยู่เท่านั้น.

ตอบว่า ในที่อยู่เท่านั้น ด้วยว่า ยักษ์ทั้งหลายย่อมเห็นที่อยู่ของตน

โดยประการใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ประทับอยู่ โดยประการนั้น พระองค์

ทรงไปในที่นั้น ประทับยืนอยู่ที่ประตูที่อยู่ ในกาลนั้น อาฬวกยักษ์ไปสู่สมาคม

แห่งยักษ์ในหิมวันตประเทศ แต่นั้น ยักษ์ชื่อ คัทรภะ ผู้รักษาประตูของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 447

อาฬวกยักษ์ เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า ไหว้แล้ว ทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาในวิกาลหรือ ?

ภ. อย่างนั้น คัทรภะ เรามาแล้ว ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขอพักอยู่ใน

ที่อยู่ของอาฬวกยักษ์คืนหนึ่ง.

ค. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่หนักใจ แต่ว่า ยักษ์นั้น

ร้ายกาจ หยาบคาย ไม่กระทำกิจมีการอภิวาทน์เป็นต้นแม้แก่มารดาและบิดา

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอย่าชอบพระทัยอยู่ในที่นี้เลย.

ภ. ดูก่อนคัทรภะ เรารู้ว่ายักษ์นั้นร้ายกาจ แต่อันตรายไร ๆ จักไม่มี

แก่เรา ถ้าท่านไม่หนักใจ เราขอพักอยู่คืนหนึ่ง.

คัทรภยักษ์ได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ครั้งที่สองว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ อาฬวกยักษ์เป็นเช่นกับกระเบื้องเผาไฟ ย่อมไม่รู้ว่า มารดา

บิดา หรือ สมณพราหมณ์ หรือ ธรรม ย่อมทำการควักดวงใจของพวกคน

ที่มาในที่นี้ออกทิ้งบ้าง ฉีกหัวใจบ้าง จับเท้าโยนไปที่ฝั่งสมุทรอื่น หรือจักรวาล

อื่นบ้าง.

แม้ในครั้งที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เรารู้ คัทรภะ ถ้าท่าน

ไม่หนักใจ เราขอพักอยู่คืนหนึ่ง.

แม้ในครั้งที่สาม คัทรภยักษ์ได้ทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ อาฬวกยักษ์เป็นเช่นกับกระเบื้องเผาไฟ ย่อมไม่รู้ว่า มารดา

บิดา หรือ สมณพราหมณ์ หรือ ธรรม ย่อมทำการควักดวงใจของพวกคน

ที่มาในที่นี้ออกทิ้งบ้าง ฉีกหัวใจบ้าง จับเท้าโยนไปที่ฝั่งสมุทรอื่น หรือจักรวาล

อื่นบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 448

แม้ในครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสว่า เรารู้ คัทรภะ ถ้าท่าน

ไม่หนักใจ เราขอพักอยู่คืนหนึ่ง.

ค. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่หนักใจ แต่ยักษ์นั้นพึงฆ่า

ข้าพระองค์ผู้ไม่บอกแก่ตนแล้วอนุญาต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

จะบอกแก่ยักษ์นั้น.

ภ. ดูก่อนคัทรภะ จงบอกตามสบายเถิด.

คัทรภะทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์นั้นแล

จงรู้ ดังนี้ อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว หลีกไปมุ่งหน้าต่อหิมวันตประเทศ.

แม้ประตูแห่งที่อยู่ก็เปิดเองแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าภายในที่อยู่ ประทับนั่ง ณ รัตนบัลลังก์

อันเป็นทิพย์ ซึ่งอาฬวกยักษ์นั่งเสวยสิริ ในวันทั้งหลายมีวันมงคลเป็นต้นที่

กำหนดแล้ว ทรงเปล่งแสงสว่างแห่งทอง หญิงทั้งหลายของยักษ์เห็นพระผู้มี

พระภาคเจ้านั้นแล้ว มาไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่งแวดล้อม พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสปกิรณกธรรมกถาแก่หญิงเหล่านั้นว่า ในครั้งก่อน พวกท่านได้ให้ทาน

สมาทานศีล บูชาบุคคลอันควรบูชา จึงได้ถึงสมบัตินี้ แม้ในบัดนี้ ก็จงทำ

อย่างนั้นแล อย่าให้ความริษยาและความตระหนี่ครอบงำกะกันและกันอยู่เลย

หญิงเหล่านั้นฟังพระสุรเสียงอันไพเราะของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ให้สาธุการ

ถึงพันครั้ง นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล.

ฝ่ายคัทรภะไปสู่หิมวันตประเทศบอกแก่อาฬวกยักษ์ว่า ข้าแต่ท่าน

นิรทุกข์ เชิญท่านทราบเถิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ วิมานของท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 449

อาฬวกยักษ์นั้นได้ทำสัญญาแก่คัทรภะว่า จงนิ่ง เราจักไปทำสิ่งที่ควรทำ ได้ยิน

ว่า อาฬวกยักษ์นั้นละอายแล้วด้วยมานะของบุรุษ เพราะฉะนั้น จึงห้ามว่า

ใคร ๆ ในท่ามกลางบริษัทอย่าพึงได้ยิน.

ในกาลนั้น สาตาคิรยักษ์และเหมวตยักษ์ ตกลงกันว่า พวกเราไหว้

พระผู้มีพระภาคเจ้าที่พระเชตวันแล้ว จักไปสู่สมาคมแห่งยักษ์ พร้อมกับบริวาร

ไปทางอากาศ ด้วยยานต่าง ๆ ก็ยักษ์ทั้งหลายไม่มีทางในอากาศทั้งปวง มีแต่

ทางในที่เป็นทางจรดวิมานทองทั้งหลายที่ตั้งบนอากาศ ส่วนวิมานของอาฬวก-

ยักษ์ ตั้งอยู่บนดินแวดล้อมไปด้วยกำแพงที่รักษาดีแล้ว มีประตู ป้อม และ

ซุ้มประตูที่จัดไว้เป็นอย่างดี ในเบื้องบนปกปิดด้วยข่ายสำริด เป็นเช่นกับหีบ

สูง ๓ โยชน์ ทางย่อมมีบนวิมานนั้น ยักษ์เหล่านั้นไม่สามารถเพื่อจะไปมาสู่

ประเทศนั้น จริงอยู่ ใคร ๆ ไม่สามารถเพื่อไปโดยส่วนเบื้องบนแห่งโอกาสที่

พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทับ จนถึงภวัครพรหม ยักษ์เหล่านั้นนึกว่า นี้อะไรกัน

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ก็ลงมาดุจก้อนดินที่โยนไปในอากาศฉะนั้น ไหว้

แล้ว ฟังธรรม ทำประทักษิณ ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้า-

พระองค์จะไปสู่สมาคมของยักษ์ สรรเสริญวัตถุสามแล้ว ไปสู่สมาคมของยักษ์.

อาฬวกยักษ์เห็นสาตาคิรยักษ์และเหมวตยักษ์เหล่านั้นแล้วกล่าวว่า ท่านจงนั่ง

ในที่นี้ ถอยให้โอกาส ยักษ์ทั้งสองนั้นประกาศแก่อาฬวกยักษ์ว่า ดูก่อน

อาฬวกะ การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่อยู่ของท่านเป็นลาภของท่าน

ไปเถิดอาวุโส จงเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่อยู่นั่นเทียวอย่างนี้แล หาได้ประทับ

อยู่ที่โคนต้นไทร ซึ่งเป็นที่อยู่ของอาฬวกะไม่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 450

ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ ใกล้เมือง

อาฬวี.

ลำดับนั้นแล อาฬวกยักษ์ ฯลฯ ได้กล่าวคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า จงออกไปเถิด สมณะ. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร อาฬวกยักษ์นี้ จึงทูล

อย่างนั่นเล่า ? ข้าพเจ้าจะตอบ เพราะความที่อาฬวกยักษ์ ประสงค์จะด่า ใน

ข้อนี้ พึงทราบความสัมพันธ์จำเดิมแต่ต้นอย่างนี้ ก็อาฬวกยักษ์นี้เพราะสัทธา-

กถาทำได้ยากแก่คนผู้ไม่มีศรัทธา ดุจกถามีศีลเป็นต้น ทำได้ยากแก่คนทั้งหลาย

มีคนทุศีลเป็นต้น เพราะฉะนั้น ได้ฟังการสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าจาก

สำนักของยักษ์เหล่านั้นแล้ว เป็นผู้มีดวงหทัยเดือดพล่านด้วยความโกรธในภาย

ในดุจก้อนเกลือที่ใส่ลงในไฟ ฉะนั้น จึงพูดว่า ผู้ที่เข้าไปยังที่อยู่ของข้าพเจ้าที่

ชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น คือ ใคร ?

ยักษ์เหล่านั้น เมื่อกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า อาวุโส ท่านไม่รู้พระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้เป็นศาสดาของพวกเรา ซึ่งดำรงอยู่ในดุสิตภพแล้ว ทรงตรวจดู

มหาวิโลกน์ ๕ อย่าง ดอกหรือ จนถึงทรงประกาศธรรมจักรให้เป็นไป กล่าวถึง

บุพนิมิต ๓๒ อย่าง ในกาลทั้งหลายมีปฏิสนธิเป็นต้นแล้ว เตือนว่า อาวุโส

ท่านไม่เห็นอัศจรรย์เหล่านี้ อาฬวกยักษ์นั้นแม้เห็นแล้ว ก็กล่าวว่า ไม่เห็น

เพราะอำนาจแห่งความโกรธ ยักษ์ทั้งสองจึงกล่าวว่า อาวุโส อาฬวกะ ท่าน

พึงเห็นหรือไม่ก็ตาม ประโยชน์อะไรด้วยท่านผู้เห็นอยู่ หรือ ไม่เห็น ท่านจัก

ทำอะไรแก่พระศาสดาของพวกเรา ซึ่งท่านกระทบพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล้ว

จะปรากฏเหมือนลูกโคที่เกิดในวันนั้น ปรากฏในที่ใกล้โคอุสภะตัวใหญ่ซึ่งมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 451

เครื่องประดับที่หนอกโค ดุจลูกช้างอยู่ใกล้ช้างตกมัน ดุจสุนัขจิ้งจอกแก่ อยู่

ใกล้พญาเนื้อมีร่างสวยงาม ประดับด้วยขนคอห้อยลงมางดงาม ดุจลูกกาปีกหัก

ใกล้พญาครุฑซึ่งมีร่างกายแผ่ไปถึง ๑๕๐ โยชน์ ฉะนั้น ท่านจงไป จงทำสิ่ง

ที่ท่านจะพึงกระทำเถิด.

เมื่อยักษ์ทั้งสองกล่าวอย่างนี้แล้ว อาฬวกยักษ์โกรธลุกขึ้นเหยียบพื้น

มโนศิลา ด้วยเท้าเบื้องซ้าย เหยียบยอดภูเขาไกลาส ประมาณ ๖๐ โยชน์ ด้วย

เท้าเบื้องขวา ด้วยกล่าวว่า บัดนี้ จงดูศาสดาของพวกท่านมีอานุภาพมาก หรือ

เราเป็นผู้มีอานุภาพมากกันแน่ ยอดภูเขาไกลาสนั้นก็ปล่อยสะเก็ดออกมา ดุจ

ก้อนเหล็กซึ่งถูกทุบด้วยแท่งเหล็กกระจายออกมา ฉะนั้น อาฬวกยักษ์นั้น ยืนอยู่

ในที่นั้น ประกาศก้องว่า ฉัน คือ อาฬวกะ เสียงแผ่ไปในชมพูทวีปทั้งสิ้น.

ได้ยินว่า เสียง ๔ ประเภทได้ยินในชมพูทวีปทั้งสิ้น คือ

๑. เสียงที่ปุณณกะ ยักขเสนาบดี ชนะพระเจ้าธนัญชัยโกรัพยะ ด้วย

การพนัน ปรบมือประกาศก้องว่า เราชนะแล้ว.

๒. เสียงที่ท้าวสักกะ จอมทวยเทพ เมื่อพระศาสนาของพระผู้มี

พระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป กำลังเสื่อม ทรงทำวิสสุกรรมเทพบุตร ให้เป็น

สุนัข ให้ประกาศทั่วไปว่า เราจักกัดกินภิกษุชั่ว ภิกษุณีชั่ว อุบาสกอุบาสิกา

และคนทั้งหลายที่เป็นอธรรมวาที.

๓. เสียงที่พระมหาบุรุษในเมื่อกษัตริย์ ๗ พระองค์ เข้ายึดพระนคร

ได้แล้ว เพราะเหตุแห่งนางประภาวดี จึงได้ยกนางประภาวดีขึ้นคอช้างไปกับตน

ออกจากพระนครแล้ว ประกาศก้องในกุสชาดกว่า ฉันนี้แหละคือ สีหัสสรกุส

มหาราช.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 452

๔. เสียงที่อาพวกยักษ์ยืนบนยอดเขาไกลาสประกาศว่า เรา คือ

อาฬวกะ.

ก็ในกาลนั้น เสียงนั้นก็เป็นเช่นกับเสียงที่ยักษ์ยืนที่ประตู ๆ ในชมพู-

ทวีปทั้งสิ้นประกาศก้อง และแม้หิมวันตประเทศ ซึ่งมีส่วนกว้างสามพันโยชน์

ก็หวั่นไหวด้วยอานุภาพของยักษ์ อาฬวกยักษ์นั้นก่อลมหมุนให้ตั้งขึ้นด้วยคิดว่า

เราจักให้สมณะหนีไปด้วยลมนั้นนั่นเทียว ลมอันต่างด้วยลมทางทิศตะวันออก

เป็นต้นเหล่านั้น ตั้งขึ้นแล้ว ก็ทำลายยอดภูเขาทั้งหลาย ซึ่งมีประมาณกึ่งโยชน์

๒ โยชน์ ๓ โยชน์ ถอนรากถอนโคนกอไม้และต้นไม้ในป่าเป็นต้น พุ่งตรง

ไปยังอาฬวินคร ทำสถานที่ทั้งหลายมีโรงช้างเก่าเป็นต้นให้แหลกราญ พัดผัน

หลังคาและอิฐให้ลอยละลิ่วไปในอากาศ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานว่า ขอ

ภัยพิบัติจงอย่ามีแก่ใคร ๆ ลมเหล่านั้นพัดถึงพระทศพลแล้ว ไม่สามารถทำแม้

สักว่าชายจีวรให้หวั่นไหวได้.

แต่นั้น อาฬวกยักษ์ก็ทำฝนห่าใหญ่ให้ตกลง ด้วยคิดว่า เราจักให้

น้ำท่วมให้สมณะตาย ฝนทั้งหลายอันต่างด้วยก้อนเมฆ ตั้งร้อยตั้งพันเป็นต้น

ก่อตัวขึ้นแล้วก็ตกลงมา ด้วยความเร็วของกระแสน้ำฝน แผ่นดินก็เป็นช่อง ๆ

ต่อแต่นั้น มหาเมฆก็มาเบื้องบนของราวป่า ก็ไม่อาจที่จะทำแม้สักว่า หยาด-

น้ำค้างให้เปียกที่จีวรของพระทศพลได้.

ต่อแต่นั้น อาฬวกยักษ์ก็ทำฝนแผ่นหินให้ตกลงมา ยอดเขาใหญ่ ๆ

พ่นควันลุกโพลงมาทางอากาศ ถึงพระทศพลแล้ว ก็กลายเป็นดอกไม้ทิพย์

และพวงดอกไม้ทิพย์ แต่นั้น ก็ทำฝนเครื่องประหารให้ตกลงมา อาวุธทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 453

ที่มีคมข้างเดียว ที่มีคม ๒ ข้าง มีดาบหอกและมีดโกนเป็นต้น ก็พุ่งควัน

ลุกโพลงมาทางอากาศ ถึงพระทศพลแล้ว ก็กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ ต่อแต่นั้น

ก็ทำฝนถ่านเพลิงตกลงมา ถ่านเพลิงมีสีดังดอกทองกวาว ก็มาทางอากาศ

ได้กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ตกเรี่ยรายอยู่ที่ใกล้พระบาทของพระทศพล ต่อแต่นั้น

ก็ทำฝนเถ้ารึงตรลบขึ้นมาทางอากาศ ก็กลายเป็นจุณจันทน์ตกลงที่บาทมูล

ของพระทศพล ต่อแต่นั้น ก็ทำฝนทรายให้ตกลงมา ทรายละเอียดอย่างยิ่ง

พ่นควันลุกโพลงมาทางอากาศ กลายเป็นดอกไม้ทิพย์ตกลงที่บาทมูลของพระ-

ทศพล ต่อแต่นั้น ก็ทำฝนเปือกตมตกลงมา ฝนเปือกตมนั้นพ่นควันลุกโพลง

มาทางอากาศ กลายเป็นของหอมอันเป็นทิพย์ตกลงที่บาทมูลของพระทศพล

ต่อแต่นั้น ก็บันดาลให้เกิดความมืดมนอันธการ ด้วยหวังว่า เราจะทำให้

สมณะกลัวแล้วหนีไป ความมืดมนนั้น เป็นเช่นกับความมืดมนที่ประกอบด้วย

องค์ ๔ ถึงพระทศพลแล้วก็อันตรธานไป ดุจถูกกำจัดด้วยแสงพระอาทิตย์

ฉะนั้น.

ยักษ์เมื่อไม่อาจเพื่อจะให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหนีไป ด้วยลมฝน

ฝนหิน ฝนเครื่องประหาร ฝนถ่านเพลิง ฝนเถ้ารึง ฝนทราย ฝนเปือกตม

และความมืดมน ๘ อย่าง อย่างนี้แล้ว ตนเองจึงเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยเสนาประกอบด้วยองค์ ๔ เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ภูตผี ซึ่งมีรูปเป็นอเนก

ประการ มีมือถือเครื่องประหารนานาชนิด คณะภูตเหล่านั้นกระทำสิ่งแปลกๆ

เป็นอเนกประการ เป็นดุจมาเบื้องบนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคำพูดว่า

ท่านทั้งหลายจงจับ จงฆ่าเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 454

อีกอย่างหนึ่ง ภูตเหล่านั้นก็ไม่สามารถที่จะเข้าไปใกล้ชิดพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้เลย ดุจแมลงวันไม่อาจเข้าใกล้ก้อนเหล็กที่กระเด็นออก แม้เมื่อเป็น

เช่นนี้ มารที่โพธิมณฑลกลับไปในขณะที่ตนมาเท่านั้น ฉันใด ภูตพวกนี้

ไม่กลับเหมือนอย่างนั้น ได้กระทำความวุ่นวายต่าง ๆ อยู่ประมาณครึ่งคืน

อาฬวกยักษ์เมื่อไม่อาจทำพระผู้มีพระภาคเจ้าให้หวั่นไหวได้ แม้ด้วยเหตุว่า

การแสดงสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว อันมีเป็นอเนกประการ ในเมื่อครึ่งคืนล่วงไป

แล้วอย่างนี้ จึงคิดว่า ไฉนหนอ เราจะพึงปล่อยทุสสาวุธ ซึ่งใครไม่พึงชนะได้.

ได้ยินว่า อาวุธที่ประเสริฐที่สุดในโลกมี ๔ อย่าง คือ วชิราวุธ

ของท้าวสักกะ คทาวุธ ของท้าวเวสวัณ นยนาวุธ ของพระยายม ทุสสาวุธ

ของอาฬวกยักษ์.

ก็ผิว่า ท้าวสักกะทรงพิโรธแล้ว พึงประหารวชิราวุธบนยอดเขา

สิเนรุไซร้ วชิราวุธนั้น ก็จะพึงชำแรกภูเขาสิเนรุซึ่งสูงหนึ่งแสนหกหมื่นแปดพัน

โยชน์ ลงไปถึงข้างล่าง.

คทาที่ท้าวเวสวัณปล่อยในกาลที่ตนยังเป็นปุถุชน ทำลายศีรษะของ

พวกยักษ์หลายพันแล้ว กลับมาสู่กำมือตั้งอยู่อีก.

ครั้นเมื่อพระยายมพิโรธแล้ว สักว่ามองดูด้วยนยนาวุธ กุมภัณฑ์

หลายพันก็จะลุกเป็นไฟพินาศ ดุจหญ้าและใบไม้บนกระเบื้องร้อน ฉะนั้น.

อาฬวกยักษ์โกรธ ถ้าพึงปล่อยทุสสาวุธในอากาศไซร้ ฝนก็ไม่พึงตก

ตลอด ๑๒ ปี ถ้าปล่อยในแผ่นดินไซร้ วัตถุมีต้นไม้และหญ้าทั้งปวงเป็นต้น

ก็จะเหี่ยวแห้งไม่งอกอีก ภายใน ๑๒ ปี ถ้าพึงปล่อยในสมุทรไซร้ น้ำทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 455

ก็พึงเหือดแห้งดุจหยาดน้ำ ในกระเบื้องร้อน ฉะนั้น ถ้าจะพึงปล่อยในภูเขา

เช่นกับเขาสิเนรุไซร้ ภูเขาก็จะเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ กระจัดกระจายไป.

อาฬวกยักษ์นั้น ปล่อยทุสสาวุธอันมีอานุภาพอย่างนี้ จับยกชูขึ้น

ปวงเทวดาในหมื่นโลกธาตุโดยมาก ก็รีบมาประชุมกันด้วยคิดว่า วันนี้ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจักทรมานอาฬวกะ พวกเราจักฟังธรรมในที่นั้น เทวดาทั้งหลาย

แม้ใคร่จะเห็นการรบ ก็ประชุมกัน อากาศแม้ทั้งสิ้นก็เต็มด้วยทวยเทพด้วยประ-

การฉะนี้ อาพวกยักษ์ท่องเที่ยวเบื้องบน ในที่ใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ปล่อยวัตถาวุธ วัตถาวุธนั้นทำเสียงดังน่าสะพรึงกลัวในอากาศ ดุจอสนิจักร

พ่นควันลุกโพลง มาถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็กลายเป็นผ้าเช็ดพระบาทตก

อยู่ที่บาทมูล เพื่อจะย่ำยีมานะของยักษ์ อาฬวกยักษ์เห็นเหตุนั้นแล้วก็หมดเดช

หมดมานะ ดุจโคอุสภะตัวใหญ่ที่มีเขาขาดแล้ว ดุจงูที่ถูกถอนเขี้ยวเสียแล้ว

ฉะนั้น เป็นผู้มีธง คือ มานะที่ถูกนำออกเสียแล้ว คิดว่า แม้ทุสสาวุธไม่ทำ

ให้สมณะกลัวได้ เหตุอะไรหนอแล ได้เห็นเหตุนี้ว่า สมณะประกอบด้วย

เมตตาวิหารธรรม เอาเถอะ เราจะทำให้สมณะนั้นโกรธแล้ว จักพรากเสียจาก

เมตตา ดังนี้ พระอานนท์จึงกล่าวข้อความนี้ โดยเชื่อมกันนี้ว่า อถโข

อาฬวโก ยกฺโข เยน ภควา ฯ เป ฯ นิกฺขม สมณ แปลว่า ครั้ง

นั้นแล อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ จงออกไป

เถิด สมณะ.

ในบาลีนั้น มีอธิบายอย่างนี้ว่า เพราะท่านอันข้าพเจ้าไม่ได้อนุญาต

แล้ว เข้าไปสู่ที่อยู่ของข้าพเจ้า นั่งในท่ามกลางเรือนหญิง (นางสนม) ดุจเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 456

เจ้าของเรือน การบริโภคสิ่งที่ไม่ได้ให้และการคลุกคลีกับหญิง ไม่สมควรแก่สม-

ณะมิใช่หรือ เพราะฉะนั้น ถ้าท่านตั้งอยู่ในสมณธรรม ก็จงออกไปเถิด สมณะ

ฝ่ายอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อาฬวกยักษ์นี้ ได้กล่าวคำเหล่านี้และคำหยาบคาย

เหล่าอื่นแล้วนั้นเทียว จึงได้ทูลคำนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า อาฬวกยักษ์เป็นผู้แข็ง

กระด้าง อันใครๆ ไม่อาจเพื่อแนะนำ ด้วยความแข็งกระด้างได้ ก็อาฬวกยักษ์

นั้น เมื่อบุคคลทำความแข็งกระด้างอยู่ เขาก็จะพึงดุร้าย ยิ่งประมาณ จะเป็น

ผู้แข็งกระด้างมากขึ้น ดุจทำลายน้ำดีที่จมูกของลูกสุนัขตัวดุร้ายฉะนั้น แต่อาจ

เพื่อแนะนำเขาด้วยคำอ่อนโยนได้ จึงทรงรับคำของอาฬวกยักษ์นั้น ด้วยคำ

น่ารักว่า ดีละ ท่าน ดังนี้แล้ว เสด็จออกไป ด้วยเหตุนั้น พระอานนท์จึง

กล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ท่าน แล้วได้เสด็จออกไป.

แต่นั้น อาฬวกยักษ์เป็นผู้มีจิตอ่อนว่า สมณะนี้เป็นผู้ว่าง่ายหนอ ออก

ไปด้วยคำพูดคำเดียวเท่านั้น การออกไปอย่างนี้เป็นสุข เราต่อยุทธ์กับสมณะ

ตลอดคืน ด้วยเหตุอันไม่สมควรทีเดียว ดังนี้แล้ว จึงคิดอีกว่า ก็บัดนี้ เรา

อาจเพื่อชนะได้ สมณะออกไปเพราะความเป็นผู้ว่าง่ายหรือหนอแล หรือเพราะ

ความโกรธ เอาเถอะ เราจักทดลองสมณะนั้น แต่นั้นจึงกล่าวว่า จงเข้ามาเถิด

สมณะ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสคำอันน่ารักแม้อีก เพื่อทรง

กระทำจิตที่อ่อนให้มั่นคงว่า เป็นผู้ว่าง่าย จึงตรัสว่า ดีละ ท่าน แล้วเสด็จ

เข้าไป อาฬวกยักษ์เมื่อจะทดลองความที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นผู้ว่าง่าย

นั้นบ่อย ๆ จึงกล่าวว่า จงออกไปเถิด จงเข้ามาเถิด ในครั้งที่ ๒ บ้าง ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 457

ครั้งที่ ๓ บ้าง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงกระทำเช่นนั้น ผิว่า ไม่พึงกระทำ

อย่างนั้น จิตของยักษ์อันแข็งกระด้างแม้โดยปกติ ก็จะแข็งกระด้างมากขึ้น ก็

ไม่พึงเป็นภาชนะเพื่อรองรับธรรมกถา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ทรงกระทำสิ่งที่ยักษ์นั้นได้พูด เพื่อให้ยักษ์ซึ่งร้องไห้อยู่ ด้วยการร้องไห้คือ

กิเลสยอมรับ เหมือนมารดาให้หรือทำสิ่งที่บุตรต้องการ เพื่อให้บุตรนั้นผู้

ร้องไห้อยู่ยอมรับ ฉะนั้น เหมือนอย่างว่า นางนมให้สิ่งบางอย่างแก่ทารกผู้ไม่

ดื่มนม พูดปลอบโยนแล้ว ย่อมให้ดื่มได้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ทรงพูดปลอบโยน ด้วยการตรัสคำที่ยักษ์ปรารถนา เพื่อให้ยักษ์

นั้นได้ดื่มน้ำนม คือ โลกุตรธรรม จึงได้ตรัสอย่างนี้. เหมือนอย่าง บุรุษ

ต้องการที่จะให้รสหวาน ๔ อย่าง เต็มในเต้าน้ำ จึงให้ชำระภายในของเต้าน้ำ

นั้นให้สะอาด ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน ทรงประสงค์จะ

ยังน้ำหวาน ๘ อย่าง คือ โลกุตรธรรมให้เต็มในจิตของยักษ์ จึงได้ทรงกระ-

ทำการเสด็จออกไปและเข้ามาถึง ๓ ครั้ง เพื่อชำระมลทิน คือ ความโกรธใน

ภายในแห่งยักษ์นั้น.

ครั้งนั้น อาฬวกยักษ์ยังจิตชั่วให้เกิดขึ้นว่า สมณะนี้เป็นผู้ว่าง่าย ถูก

เราพูดว่า จงออกไปเถิด ก็ออกไป ถูกเราพูดว่า จงเข้ามาเถิด ก็เข้ามา ไฉน

หนอ เราพึงยังสมณะนี้ให้ลำบากตลอดคืนอย่างนี้นั่นแล แล้วจับเท้าทั้งสอง

ขว้างไปที่ฝั่งโน้นของแม่น้ำคงคา ดังนี้ จึงกล่าวครั้งที่ ๔ ว่า จงออกไปเถิด

สมณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเหตุนั้นจึงตรัสว่า น ขฺวาห ทรงทราบว่า

เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว ยักษ์แสวงหาสิ่งที่ควรทำให้ยิ่งกว่านั้น จักสำคัญปัญหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 458

อันจะพึงถาม ข้อนั้นก็จักเป็นการสะดวกแก่ธรรมกถา จึงตรัสว่า น ขฺวาหนฺต

แปลว่า เรายังไม่มองเห็นบุคคลผู้ที่จะพึงควักดวงจิตของเราเป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า ใช้ในการปฏิเสธ. ศัพท์ว่า โข ใช้

ในอวธารณะ. บทว่า อห ได้แก่ การแสดงถึงตน. บทว่า ต เป็นการ

กล่าวถึงเหตุ. ด้วยเหตุนั้น ผู้ศึกษาพึงเห็นเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า เพราะ

เหตุที่ท่านคิดอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ท่าน ข้าพเจ้าจักไม่ออกไป ท่านจงทำสิ่ง

ที่ท่านพึงกระทำเถิด ดังนี้.

แต่นั้น อาฬวกยักษ์ เพราะแม้ในกาลก่อนได้ถามปัญหากะดาบสและ

ปริพาชกผู้มีฤทธิ์มาสู่วิมานของตน ในเวลาไปในอากาศอย่างนี้ว่า วิมานนี้เป็น

วิมานทอง หรือวิมานเงินและวิมานแก้วมณีอย่างใดอย่างหนึ่ง เราจักเข้าไปสู่

วิมานนั้น ดังนี้แล้ว จึงได้เบียดเบียนดาบสและปริพาชกเหล่านั้น ผู้ไม่อาจ

เพื่อจะตอบได้ ด้วยการทำจิตให้ฟุ้งซ่านเป็นต้น อย่างไร ? ก็อมนุษย์ทั้งหลาย

ย่อมทำจิตให้ฟุ้งซ่าน ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยการแสดงรูปอันน่าสะพรึง-

กลัว หรือ ด้วยการขยี้ดวงหทัย ก็ยักษ์นี้รู้ว่า ผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย ย่อมสะดุ้ง

ด้วยการแสดงรูปที่น่าสะพรึงกลัว แล้วเนรมิตอัตภาพอันละเอียด ด้วยอำนาจ

ฤทธิ์ของตน เข้าไปในภายในของท่านผู้มีฤทธิ์เหล่านั้น แล้วขยี้ดวงหทัย แต่นั้น

ความสืบต่อแห่งจิตก็ไม่ปรากฏ เมื่อความสืบต่อแห่งจิตนั้น ไม่ปรากฏ ท่าน

ผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายก็จะเป็นบ้า หรือมีจิตฟุ้งซ่าน ยักษ์ก็จะผ่าอกของผู้ฟุ้งซ่าน

เหล่านั้นอย่างนี้บ้าง แล้วจับเขาเหล่านั้นที่เท้าขว้างไปที่ฝั่งโน้นของแม่น้ำคงคา

บ้าง ด้วยคิดว่า ท่านผู้มีฤทธิ์เห็นปานนี้ อย่ามาสู่ที่อยู่ของเราอีกเลย เพราะฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 459

จึงระลึกถึงปัญหาเหล่านั้น แล้วคิดว่า ไฉนหนอ บัดนี้เราพึงเบียดเบียนสมณะ

นี้อย่างนี้ จึงกล่าวว่า ปญฺหนฺต สมณ เป็นต้น.

ถามว่า ก็ปัญหาเหล่านั้น ยักษ์นั้นได้มาจากไหน ?

ตอบว่า ได้ยินว่า มารดาและบิดาของอาฬวกยักษ์นั้น เข้าไปหา

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป ได้เรียนปัญหา ๘ อย่าง พร้อมกับคำ

แก้ ท่านได้ให้อาฬวกะเรียนปัญหาเหล่านั้นในกาลยังเป็นเด็ก อาฬวกยักษ์นั้น

โดยกาลล่วงไป ก็ลืมคำแก้ แต่นั้นก็ใช้ชาดเขียนลงในแผ่นทองคำด้วยคิดว่า

ปัญหาเหล่านี้จงอย่าพินาศ จึงเก็บไว้ในวิมาน พุทธปัญหาเหล่านั้น เป็น

พุทธวิสัย อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับดังนั้นแล้ว เพราะอันตรายแห่งลาภที่บริ-

จาคแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย หรืออันตรายแห่งชีวิต หรือการทำลาย

สัพพัญญุตญาณและรัศมีวาหนึ่ง อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อทำได้ เพราะฉะนั้น

เมื่อจะทรงแสดงพุทธานุภาพ อันไม่ทั่วไปในโลกนั้น จึงตรัสว่า น ขฺวาหนฺต

อาวุโส ปสฺสามิ สเทวเก โลเก ดังนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความสังเขป ด้วยการทรงแสดงสักว่าเนื้อ

ความแห่งบทเหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า ทรงถือเอากามาวจรเทพ ๕ ชั้น ด้วย

คำว่า สเทวกะ ในบทเหล่านั้น ไม่ตรัสความพิสดาร ด้วยลำดับแห่งการ

ประกอบตามอนุสนธิ ความพิสดารนี้นั้น ข้าพเจ้าจะกล่าว ก็เมื่อเทพทั้งปวงแม้

ทรงถือเอาแล้ว โดยการกำหนดอย่างสูง ด้วยคำว่า สเทวกะ เมื่อหมู่เทพ

ประชุมในที่นั้น เทพเหล่าใดมีความสงสัยว่า วสวัตตีมาร มีอานุภาพมาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 460

เป็นใหญ่ในกามาวจรทั้ง ๖ ชั้น ยินดีในธรรมที่เป็นข้าศึก เกลียดธรรม มีการ

งานหยาบ มารนั้นจะไม่พึงทำความฟุ้งซ่านแห่งจิตเป็นต้น แก่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั้นหรือหนอแล ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สมารเก เพื่อ

ทรงป้องกันความสงสัยของเทวดาเหล่านั้น.

แต่นั้น เทวดาเหล่าใดมีความสงสัยว่า พรหมมีอานุภาพมากย่อมทำ

จักรวาลพันหนึ่งให้สว่างไสว ด้วยนิ้วมือหนึ่ง ด้วย ๒ นิ้ว ฯลฯ ในหมื่น

จักรวาล เสวยสุขในฌานและสมาบัติอันยอดเยี่ยม พรหมแม้นั้น ไม่พึงทำหรือ

เพื่อทรงป้องกันความสงสัยของเทพเหล่านั้น จึงตรัสว่า สพฺรหฺมเก.

ลำดับนั้น เทพเหล่าใดมีความสงสัยว่า สมณพราหมณ์ผู้ปุถุชนเป็น

ข้าศึก เป็นปัจจามิตรต่อศาสนา ถึงพร้อมด้วยกำลังมีมนต์เป็นต้น แม้สมณ-

พราหมณ์ผู้ปุถุชนเหล่านั้น ไม่พึงทำหรือ เพื่อทรงป้องกันความสงสัยของเทพ

เหล่านั้น จึงตรัสว่า สสฺสมณพฺราหฺมณิยา.

ครั้นทรงแสดงความไม่มีใครในฐานะสูงสุดอย่างนี้แล้ว บัดนี้ทรงมุ่งถึง

สมมติเทพและมนุษย์ที่เหลือทั้งหลาย ด้วยคำว่า สเทวมนุสฺสาย แล้วทรง

แสดงความไม่มีใครแม้ในสัตวโลกที่เหลือ ด้วยอำนาจแห่งการกำหนดอย่าง

สูงสุด เพราะฉะนั้น นักศึกษาพึงทราบลำดับแห่งการประกอบอนุสนธิในที่นี้

ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธความลำบากแห่งพระทัยแก่ยักษ์นั้น

อย่างนี้แล้ว เมื่อทรงยังอุตสาหะให้เกิดในการถามปัญหา จึงตรัสว่า ดูก่อนท่าน

ก็และท่านหวังจะถามปัญหา ก็จงถามเถิด ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 461

พระบาลีนั้นมีเนื้อความว่า จงถาม ถ้าหวังจะถาม เราไม่มีความ

หนักใจในการแก้ปัญหา อนึ่ง ทรงปวารณาถึงสัพพัญญุปวารณาที่ไม่ทั่วไปกับ

พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวกและมหาสาวกทั้งหลายว่า ถ้าท่านหวังจะถาม

ก็จงถาม เราจะแก้ปัญหาของท่านทั้งหมด จริงอยู่ แม้ท่านเหล่านั้นย่อมกล่าวว่า

จงถามเถิดท่าน ข้าพเจ้าทั้งหลายฟังแล้วจักรู้ แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่า

ถ้าท่านหวัง ก็จงถามเถิด ท่าน หรือว่า ดูก่อนวาสวะ ถ้าพระองค์ทรงปรารถนา

จะถามปัญหาข้อใดกะอาตมา ก็จงตรัสถามเถิด ย่อมปวารณาถึงสัพพัญญุปวารณา

แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า

ท่านทั้งหลายตั้งใจจะถามสิ่งใดสิ่ง

หนึ่ง ท่านได้โอกาสแล้วก็พึงถามข้อสงสัย

ทั้งปวงของพาวรีพราหมณ์ หรือของท่านเอง

หรือของคนทั้งปวง ดังนี้.

ก็ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุพุทธภูมิแล้ว พึงปวารณาซึ่ง

ปวารณานั้น ไม่อัศจรรย์เลย แต่ที่อัศจรรย์ก็คือ พระโพธิสัตว์แม้เป็นไปอยู่ใน

ปเทสญาณ ในภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ ถูกฤๅษีทั้งหลายขอร้องอย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านโกณฑัญญะ ขอท่านจง

ตอบปัญหาทั้งหลาย นี้คือธรรมในมนุษย์

ทั้งหลาย ภาระนี้ย่อมนำมาซึ่งความรู้อันใด

ฤๅษีทั้งหลายผู้ทรงคุณธรรม ย่อมร้องขอซึ่ง

ความรู้อันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 462

เที่ยวไปสู่ชมพูทวีปทั้งสิ้นถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้พบผู้ที่ตอบปัญหาได้

มีอายุ ๗ ปี โดยกำเนิด กำลังเล่นฝุ่นอยู่บนถนน อันพราหมณ์ผู้ประพฤติ

สุจริตถามแล้ว ในกาลที่ท่านเป็นสรภังคดาบส และในสัมภวชาดกอย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญทั้งหลายได้โอกาสแล้ว

ก็จงถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งที่ท่านคิดไว้

ด้วยใจ ก็ข้าพเจ้ารู้โลกนี้และโลกอื่น ด้วย

ตนเองแล้ว ก็จะตอบปัญหานั้นแก่ท่าน

ทั้งหลาย

ได้ปวารณาซึ่งสัพพัญญุปวารณาอย่างนี้ว่า

เอาเถิด ฉันจะบอกแก่ท่าน เหมือน

อย่างผู้ฉลาดได้บอก ก็ถ้าเขาจะทำหรือไม่ได้

ทำก็ตาม พระราชานั้นแลทรงทราบสิ่งนั้น

ได้ ดังนี้.

เมื่อสัพพัญญุปวารณาอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปวารณาแล้วแก่อาฬวก

ยักษ์อย่างนี้แล้ว ลำดับนั้นแล อาฬวกยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

คาถาว่า กึสูธ วิตฺต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ เป็นคำถาม. ศัพท์ว่า สุ เป็นนิบาต

ใช้ในเหตุสักว่าทำบทให้เต็ม. บทว่า อิธ ได้แก่ ในโลกนี้. บทว่า วิตฺต

ความว่า ชื่อว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ เพราะอรรถว่า ทำความปลื้มใจ. คำว่า

วิตฺต นั่นเป็นชื่อแห่งทรัพย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 463

บทว่า สุจิณฺณ ได้แก่ ทำดีแล้ว. บทว่า สุข ได้แก่ ความสำราญ

ทางกายและทางจิต. บทว่า อาวรหาติ ความว่า ย่อมนำมา นำมาให้

มีอธิบายว่า ย่อมให้ ย่อมให้ถึง.

บทว่า หเว เป็นนิบาตลงในอรรถว่ามั่น. บทว่า สาธุตร ได้แก่

ยังประโยชน์ให้สำเร็จอย่างยิ่ง. บาลีว่า สาทุตร ดังนี้บ้าง. บทว่า รสาน

ได้แก่ กว่าธรรมทั้งหลายที่สำคัญแล้วว่าเป็นรส.

บทว่า กถ ได้แก่ โดยประการไร. ชีวิตของบุคคลเป็นอยู่อย่างไร

ชื่อว่า กถชีวิชีวิต แต่ท่านเรียกตามนาสิก เพื่อสะดวกแก่การผูกคาถา หรือ

บาลีว่า กถชีวึ ชีวิต อธิบายว่า บรรดาบุคคลผู้เป็นอยู่เขามีชีวิตอย่างไร.

บทที่เหลือในคาถานี้ ปรากฏชัดแล้วแล.

อาฬวกยักษ์ทูลถามปัญหา ๔ ข้อเหล่านี้ว่า อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่อง

ปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้ อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้ว

ย่อมนำความสุขมาให้ อะไรเล่าเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย

นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวชีวิตของบุคคลเป็นอยู่อย่างไรว่า ประเสริฐที่สุด

ด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงตอบแก่อาฬวกยักษ์นั้น

โดยนัยที่พระทศพลพระนามว่า กัสสป ทรงตอบแล้ว จึงตรัสคาถานี้ว่า

สทฺธีธ วิตฺต ดังนี้.

ในคาถานั้นมีอธิบายว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอันมีเงินและทองเป็นต้น

ย่อมนำมาซึ่งอุปโภคสุข คือย่อมป้องกันทุกข์มีความหิวกระหายเป็นต้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 464

ยังความยากจนนั่นแลให้สงบ เป็นเหตุแห่งการได้มาซึ่งรัตนะมีแก้วมุกดาเป็นต้น

และย่อมนำมาซึ่งโลกิยสุข ฉันใด แม้ศรัทธาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระก็ฉันนั้น

ย่อมนำมาซึ่งวิบากสุขอันเป็นโลกิยะและโลกุตระตามความเป็นจริง คือ ป้องกัน

ทุกข์มีชาติชราเป็นต้น แก่ผู้ปฏิบัติด้วยธุระคือศรัทธา ย่อมยังความยากจน

ในคุณให้สงบระงับ เป็นเหตุได้มาซึ่งรัตนะมีสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น และ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจ เพราะทำวิเคราะห์ว่า

ย่อมนำมาซึ่งความสืบต่อในโลก ตามพระบาลีว่า

บุคคลผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล

ถึงพร้อมด้วยยศ และโภคะจะไปอยู่ที่ใด ๆ

ก็ย่อมได้บูชาในที่นั้น ๆ.

ก็เพราะทรัพย์เครื่องปลื้มใจต่อศรัทธานั่น ติดตามตนไป ไม่ทั่วไป

แก่ผู้อื่น เป็นเหตุแห่งสมบัติทั้งปวง เป็นต้นเหตุแม้แห่งทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

มีเงินและทองเป็นต้นที่เป็นโลกิยะ เพราะคนมีศรัทธาเท่านั้น ทำบุญทั้งหลาย

มีทานเป็นต้น ย่อมบรรลุถึงทรัพย์เครื่องปลื้มใจ ส่วนทรัพย์เครื่องปลื้มใจของ

คนผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมมีเพื่อความฉิบหายเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า

ประเสริฐที่สุด.

บทว่า ปุริสสฺส เป็นการแสดงกำหนดอย่างสูงสุด เพราะฉะนั้น

ผู้ศึกษาพึงทราบว่า ศรัทธาของบุรุษอย่างเดียวเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอัน

ประเสริฐที่สุดหามิได้ ศรัทธาของคนทั้งหลายมีสตรีเป็นต้น ก็เป็นทรัพย์เครื่อง

ปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดเหมือนกันแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 465

บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคือกุศลกรรมบถ ๑๐ อย่าง หรือธรรม

คือ ทาน ศีล และภาวนา. บทว่า สุจิณฺโณ คือ ที่ทำดีแล้ว ประพฤติ

ดีแล้ว. บทว่า สุขมาวหาติ ความว่า ย่อมนำมาซึ่งสุขของมนุษย์ ดุจสุข

ของโสนเศรษฐีบุตรและรัฐบาลเป็นต้น ทิพยสุขดุจสุขของทวยเทพมีท้าวสักกะ

เป็นต้น และในที่สุด ย่อมนำมาซึ่งนิพพานสุข ดุจสุขของพระอริยเจ้าทั้งหลาย

มีพระมหาปทุมเป็นต้น.

บทว่า สจฺจ ความว่า ก็สัจจศัพท์นี้ ย่อมปรากฏในอรรถหลาย

ประการ คือ ย่อมปรากฏในวาจาสัจ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า พึงกล่าวคำสัจ

ไม่พึงโกรธ ปรากฏในวิรัติสัจ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า สมณะและพราหมณ์

ตั้งอยู่ในความสัจ ปรากฏในทิฏฐิสัจ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า บุคคลกล่าว

คำพูดที่เป็นกุศลต่าง ๆ แล้ว จึงกล่าวคำสัจ เพราะเหตุไร ปรากฏในพราหมณสัจ

ดุจในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณสัจจะ ๔ อย่างเหล่านี้

ปรากฏในปรมัตถสัจจะ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ก็สัจจะมีหนึ่งไม่มีที่สอง

ปรากฏในอริยสัจจะ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า บรรดาสัจจะทั้ง ๔ สัจจะที่เป็น

กุศลมีเท่าไร.

แต่ในที่นี้ ชนทั้งหลายย่อมทำน้ำเป็นต้นให้เป็นไปในอำนาจได้ ย่อม

ข้ามไปสู่ฝั่งแห่งชาติชราและมรณะได้ ด้วยอานุภาพแห่งวาจาสัจอันใด วาจาสัจ

นั้นท่านประสงค์เอาแล้ว เพราะทำปรมัตถสัจจะให้เป็นพระนิพพาน หรือเพราะ

ทำวิรัติสัจจะให้เป็นไปในภายใน เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 466

บุคคลย่อมทดแม้น้ำได้ด้วยสัจจวาจา

บัณฑิตทั้งหลายย่อมกำจัดแม้พิษได้ด้วยสัจจะ

เทพย่อมหลั่งน้ำนมด้วยสัจจะ บัณฑิตทั้ง-

หลายดำรงอยู่ในสัจจะย่อมปรารถนาพระ

นิพพาน รสเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ในแผ่น

ดิน สัจจะเทียวดีกว่ารสเหล่านั้น สมณะและ

พราหมณ์ดำรงอยู่ในสัจจะ ย่อมข้ามฝั่งแห่ง

ชาติมรณะได้ ดังนี้.

บทว่า สาธุตร ได้แก่ หวานกว่า ประณีตกว่า. บทว่า รสาน

ความว่า ธรรมควรลิ้มเหล่าใดเหล่าหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า รสเกิดแต่ราก

รสเกิดแต่ลำต้น ธรรมมีการติเตียนรสแห่งวาจา และพยัญชนะที่เหลือเป็นต้น

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตรสเกิด

แต่ผลทั้งหมด พระโคดมผู้เจริญมีรูปไม่เป็นรส ดูก่อนพราหมณ์ รูปรส

สัททรสเหล่าใดแล ไม่เป็นอาบัติในรสรส ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส

หรือว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นส่วนแห่งอรรถรส ธรรมรส เรียกว่า รส

สัจจะแลดีกว่ารสเหล่านั้น คือ สัจจะนั่นเทียว ดีกว่า คือ ชอบกว่า ประเสริฐ

กว่า อุดมกว่ารสเหล่านั้น.

จริงอยู่ รสทั้งหลายมีรสเกิดแต่รากเป็นต้น พอกพูนสรีระและนำมา

ซึ่งสุขอันประกอบด้วยสังกิเลส ในสัจจรส รสคือวิรัติสัจจะและวาจาสัจจะ ย่อม

พอกพูนจิต ด้วยสมถะและวิปัสสนาเป็นต้น และย่อมนำมาซึ่งสุขอันประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 467

ด้วยอสังกิเลส วิมุตติรส ชื่อว่า ยังประโยชน์ให้สำเร็จ เพราะความเป็นธรรม

อันท่านอบรมแล้วด้วยปรมัตถสัจจรส และชื่อว่าเป็นอรรถรสและธรรมรส

เพราะอาศัยอรรถและธรรมที่เป็นอุบายจะให้บรรลุปรมัตถสัจจรสนั้นเป็นไป

ดังนี้แล.

ก็ในบทนี้ว่า ปญฺาชีวึ ผู้ศึกษาพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ในบุคคล

ผู้บอด ผู้มีตาข้างเดียว และผู้มีตาสองข้างทั้งหลาย บุคคลผู้มีตาสองข้างนี้ใด

เป็นคฤหัสถ์ยินดีข้อปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์มีการขยันทำการงาน ถึงสรณะ

จำแนกทาน สมาทานศีล และอุโบสถกรรมเป็นต้น หรือเป็นบรรพชิตยินดี

ข้อปฏิบัติสำหรับบรรพชิต กล่าวคือศีลอันทำความไม่เดือนร้อน หรืออันต่างด้วย

จิตตวิสุทธิเป็นต้นอันยิ่งกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอยู่ด้วยปัญญา นักปราชญ์ทั้งหลาย

กล่าวชีวิตอันเป็นอยู่ด้วยปัญญาของบุคคลนั้น หรือปัญญาชีวิตของบุคคลผู้เป็น

อยู่ด้วยปัญญานั้นว่า ประเสริฐที่สุด.

ยักษ์ได้ฟังปัญหาแม้ทั้งสี่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตอบแล้วอย่างนี้ มี

ใจเป็นของตน เมื่อจะทูลถามปัญหาทั้งสี่แม้ที่เหลือจึงกล่าวคาถาว่า กถสุ ตรตี

โอฆ บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้อย่างไร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะ

ทรงวิสัชนาแก่ยักษ์นั้น โดยนัยมีในก่อนนั่นเทียว จึงตรัสคาถาว่า สทฺธาย

ตรตี โอฆ บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา.

ในคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ บุคคลใดข้ามโอฆะทั้ง ๔ อย่างได้ บุคคล

นั้นย่อมข้ามอรรณพคือ สังสารบ้าง ย่อมล่วงทุกข์ในวัฏฏะบ้าง ย่อมบริสุทธิ์

จากมลทิน คือ กิเลสบ้าง แม้ก็จริง แต่เมื่อเป็นเช่นนั้น บุคคลไม่มีศรัทธา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 468

เมื่อไม่เชื่อการข้ามโอฆะ ย่อมไม่แล่นไป ประมาทด้วยการปล่อยจิตในกามคุณ

ทั้งห้า ชื่อว่า ย่อมไม่ข้ามอรรณพคือสังสารได้ เพราะตนข้องและเกี่ยวข้องอยู่

ในกามคุณทั้งห้านั้น ผู้เกียจคร้านย่อมอยู่เป็นทุกข์ เกลื่อนกล่นด้วยอกุศลธรรม

ทั้งหลาย ผู้ไม่มีปัญญาเมื่อไม่รู้ทางบริสุทธิ์ ก็ย่อมไม่บริสุทธิ์ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความไม่มีศรัทธา

เป็นต้นนั้น จึงตรัสคาถานี้.

ด้วยคาถานั่น แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว เพราะสัทธิน-

ทรีย์ เป็นปทัฏฐานแห่งโสดาปัตติยังคะ เพราเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงประกาศการข้ามทิฏฐฆะ คือ โสดาปัตติมรรคและโสดาบัน ด้วยบท

นี้ว่า บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา ก็พระโสดาบันถึงพร้อมแล้ว ด้วย

ความไม่ประมาท กล่าวคือ การกระทำติดต่อ ด้วยการเจริญกุศลธรรม ยินดี

มรรคที่ ๒ ย่อมข้ามอรรณพคือ สังสาร อันเป็นที่ตั้งแห่งภโวฆะ อันข้าม

ไม่ได้ด้วยโสดาปัตติมรรคที่เหลือลง ยกเว้นเหตุสักว่ามาสู่โลกนี้ครั้งเดียวเท่านั้น

เพราะเหตุนั้น จึงทรงประกาศการข้ามภโวฆะ คือ สกทาคามิมรรค และ

สกทาคามี ด้วยบทนี้ว่า ย่อมข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท เพราะ

สกทาคามียินดีมรรคที่ ๓ ย่อมล่วงทุกข์ อันเป็นที่ตั้งแห่งกาโมฆะ และที่สำคัญ

ว่ากาโมฆะ อันข้ามไม่ได้ ด้วยสกทาคามิมรรค เพราะเหตุนั้น จึงทรงประ-

กาศการข้ามกาโมฆะ คือ อนาคามิมรรค และอนาคามี ด้วยบทนี้ว่า ย่อม

ล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ก็เพราะอนาคามียินดีมรรคปัญญาที่ ๔ อันบริสุทธิ์

โดยส่วนเดียว ด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ ซึ่งปราศจากเปือกตม ละมลทินอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 469

ละเอียด กล่าวคือ อวิชชา อันละไม่ได้ด้วยอนาคามิมรรค เพราะเหตุนั้น

จึงทรงประกาศการข้ามอวิชโชฆะ คือ อรหัตมรรคและพระอรหันต์ด้วยบทนี้

ว่า ย่อมบริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญา ก็ครั้นตรัสคาถานี้ด้วยยอด คือ พระอรหัต

ในที่สุด ยักษ์ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

บัดนี้ อาฬวยักษ์ถือเอาบทว่า ปัญญา ที่ตรัสในคาถานี้ว่า ย่อม

บริสุทธิ์ได้ด้วยปัญญานั้นแล เมื่อจะทูลถามปัญหา อันคละไปด้วยโลกิยะและ

โลกุตระ ด้วยปฏิภาณของตน จึงกล่าวคาถา ๖ บทนี้ว่า กถสุ ลภเต ปญฺ

แปลว่า บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กถ สุ เป็นการถามถึงการประกอบประโยชน์

ในที่ทั้งปวงนั่นเทียว. ก็อาฬวกยักษ์นี้รู้อรรถมีปัญญาเป็นต้น จึงทูลถามถึงการ

ประกอบซึ่งอรรถนั้นว่า บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร คือ ด้วยการประกอบ

อย่างไร ด้วยการณ์อย่างไร. ในทรัพย์เป็นต้นก็นัยนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงการได้ปัญญา ด้วยการณ์

๔ อย่าง แก่อาฬวกยักษ์นั้น จึงตรัสว่า สทฺทหาโน เป็นต้น.

คาถานั้นมีอธิบายว่า พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก

ผู้อรหันต์บรรลุนิพพาน ด้วยธรรมใด ในบุพภาคอันต่างด้วยกายสุจริตเป็นต้น

ในอปรภาคอันต่างด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ บุคคลเชื่อธรรมนั้น คือ

ธรรมของพระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมได้ปัญญา อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ

เพื่อบรรลุพระนิพพาน ก็แล ย่อมได้ปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วย

เหตุสักว่าศรัทธาเท่านั้น หามิได้ ก็เพราะบุคคลเกิดศรัทธาแล้ว ย่อมเข้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 470

หา เมื่อเข้าไปหา ย่อมนั่งใกล้ เมื่อนั่งใกล้ ย่อมเงี่ยโสต เงี่ยโสตแล้ว ย่อม

ฟังธรรม เพราะฉะนั้น ฟังอยู่ด้วยดี จำเดิมแต่เข้าไปหา จนถึงการฟังธรรม

ย่อมได้ปัญญา.

มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า แม้เชื่อธรรมนั้นแล้ว เข้าไปหาพระ-

อาจารย์และอุปัชฌาย์ตามกาล เข้าไปนั่งใกล้ด้วยการทำวัตร ในกาลใด พระ-

อาจารย์และอุปัชฌาย์มีจิตอันการเข้าไปนั่งใกล้ให้ยินดีแล้ว ประสงค์จะกล่าว

คำไร ๆ ในกาลนั้น ก็เงี่ยโสต ด้วยความเป็นผู้ใคร่จะฟังอันถึงแล้วฟังอยู่

ย่อมได้ปัญญา ก็แม้ฟังอยู่ด้วยดีอย่างนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท ด้วยการไม่อยู่

ปราศจากสติ และมีปัญญาเครื่องสอดส่อง ด้วยความเป็นผู้รู้สุภาษิตและทุภา-

ษิตนั่นแล ย่อมได้ปัญญา บุคคลนอกนี้ ย่อมไม่ได้ปัญญา ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นผู้ไม่ประมาท มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง

เพราะบุคคลปฏิบัติปฏิปทาอันเป็นไปเพื่อได้ปัญญา ด้วยศรัทธาอย่างนี้แล้ว ฟัง

อุบายอันเป็นเครื่องบรรลุปัญญา ด้วยการฟังด้วยดี คือ โดยเคารพ ไม่หลง

ลืมสิ่งถือเอาแล้ว ด้วยความไม่ประมาท และถือเอาสิ่งไม่หย่อน ไม่เกินและ

ไม่ผิด ด้วยความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ย่อมกระทำให้กว้างขวาง

หรือ เงี่ยโสตลง ด้วยการฟังด้วยดี ย่อมฟังธรรมอันเป็นเหตุได้เฉพาะซึ่ง

ปัญญา ครั้นฟังด้วยความไม่ประมาทแล้วย่อมทรงธรรม ย่อมใคร่ครวญอรรถ

แห่งธรรมทั้งหลายที่ทรงจำด้วยความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ใน

ลำดับนั้น ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถ์ โดยลำดับ เพราะฉะนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าถูกอาฬวกยักษ์ทูลถามว่า บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร เมื่อจะทรง

แสดงการณ์ทั้ง ๔ เหล่านี้ จึงตรัสคาถานี้ว่า สทฺทหาโน ฯ ล ฯ วิจกฺขโณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 471

บัดนี้ เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหา ๓ ข้อ อื่นจากนั้น จึงตรัสคาถานี้ว่า

ปฏิรูปการี.

ในคาถานั้น บุคคลใดไม่ทำประโยชน์ทั้งหลายมีเทศะกาละเป็นต้นให้

เสียไป ย่อมกระทำอุบายเป็นเครื่องบรรลุทรัพย์ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระตาม

สมควร เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ปฏิรูปการี กระทำสมควร.

บทว่า ธุรวา ได้แก่ผู้ไม่ทอดทิ้งธุระ ด้วยอำนาจแห่งความเพียร

อันเป็นไปทางจิต.

บทว่า อุฏฺานตา ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยความหมั่น คือ มีความ

บากบั่นไม่ท้อถอย ด้วยอำนาจความเพียรทางกาย โดยนัยมีอาทิว่า ก็บุคคลใด

ไม่สำคัญหนาวและร้อนยิ่งกว่าหญ้า.

บทว่า วินฺทเต ธน ความว่า ย่อมได้โลกิยทรัพย์ ดุจจูฬกันเตวาสี

ได้ทรัพย์จำนวน ๒๐๐,๐๐๐ กหาปณะ ด้วยหนูตัวเดียวต่อกาลไม่นานนัก และ

โลกุตรทรัพย์ ดุจมหาติสสเถระผู้แก่ ฉะนั้น.

ก็พระเถระนั้น คิดว่า เราจักอยู่ด้วยอิริยาบถสาม ทำวัตรในเวลา

ถีนมิทธะมาครอบงำ ทำเทริดใบไม้ให้เปียกแล้ว วางบนศีรษะลงไปในน้ำ

ประมาณแค่คอ ห้ามถีนมิทธะอยู่ ได้บรรลุพระอรหัตโดย ๑๒ ปี.

บทว่า สจฺเจน ความว่า บุคคลย่อมได้ชื่อเสียงอย่างนี้คือ ผู้พูด

คำสัตย์ พูดคำจริง ย่อมได้ชื่อเสียง ด้วยสัจจะบ้าง พระพุทธเจ้า พระปัจเจก-

พุทธเจ้า พระอริยสาวกย่อมได้ชื่อเสียง ด้วยปรมัตถสัจจะบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 472

บทว่า ทท ความว่า เมื่อให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ต้องการ ที่ปรารถนาย่อม

ผูกมิตรไว้ได้ คือ ย่อมให้ถึงพร้อม ย่อมกระทำมิตร หรือ ผู้ให้สิ่งที่ให้

โดยยาก ย่อมผูกมิตรไว้ได้ หรือ สังคหวัตถุทั้ง ๔ นักศึกษาพึงทราบว่า

ทรงถือเอาแล้ว ด้วยหัวข้อว่าทาน มีอธิบายว่า ย่อมทำมิตร ด้วยสังคหวัตถุ

เหล่านั้น.

ครั้นทรงวิสัชนาปัญหาทั้ง ๔ โดยนัยอันคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ

อันทั่วไปแก่คฤหัสถ์และบรรพชิตอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงวิสัชนาปัญหา

ที่ ๕ ด้วยอำนาจแห่งคฤหัสถ์นี้ว่า กถ เปจฺจ น โสจติ จึงตรัสว่า ยสฺเสเต

ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดชื่อว่า มีศรัทธา เพราะความเป็นผู้ประ-

กอบด้วยศรัทธา อันยังกัลยาณธรรมทั้งปวงให้เกิดขึ้น ที่ตรัสไว้ในบทนี้ว่า

สทฺทหาโน อรหต ผู้ครองเรือน คือ แสวงหา เสาะหากามคุณ ๕ ใน

การครองเรือน ผู้บริโภคกาม เป็นคฤหัสถ์มีธรรม ๔ เหล่านี้ คือ สัจจะ มี

ประการที่ตรัสว่า บุคคลย่อมถึงชื่อเสียงด้วยสัจจะ ธรรมที่ตรัสโดยชื่อว่า ปัญญา

เกิดจากการฟังด้วยดี ในบทนี้ว่า ฟังอยู่ด้วยดีย่อมได้ปัญญา ธิติที่ตรัสโดย

ชื่อว่า ธุระ และโดยชื่อว่า อุฏฐานะ ในบทนี้ว่า ผู้มีธุระ มีความหมั่น

และจาคะมีประการที่ตรัสไว้ในบทนี้ว่า ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้ ผู้นั้นแล ละ

ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก คือ ผู้นั้นแลไปจากโลกนี้ สู่ปรโลก ย่อมไม่เศร้า-

โศก ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นวิสัชนาปัญหาแม้ที่ ๕ อย่างนี้แล้วเมื่อจะทรง

เตือนยักษ์นั้น จึงตรัสว่า อิงฺฆ อญฺเปิ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 473

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าตักเตือน.

บทว่า อญฺเปิ ความว่า เชิญท่านถามธรรมทั้งหลายกะสมณ-

พราหมณ์เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นดูเถิด หรือท่านถามสมณพราหมณ์เป็นอันมาก

แม้เหล่าอื่น ที่ปฏิญญาว่าเป็นสัพพัญญูมีปูรณะเป็นต้น.

ในคาถานี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการพรรณนาเนื้อความพร้อมกับโยชนา

โดยย่อนี้ว่า ถ้าเหตุแห่งการถึงเกียรติ ยิ่งไปกว่าสัจจะมีประการอันเรากล่าวแล้ว

ในบทนี้ว่า บุคคลย่อมได้เกียรติ ด้วยสัจจะก็ดี เหตุแห่งการได้โลกิยปัญญา

และโลกุตรปัญญา ยิ่งไปกว่า ทมะ ที่เรากล่าวแล้ว ด้วยอำนาจแห่งปัญญา

ซึ่งเกิดจากการฟังด้วยดี ในบทว่า ผู้ฟังอยู่ด้วยดี ย่อมได้ปัญญาก็ดี เหตุแห่ง

การผูกมิตร ยิ่งไปกว่าจาคะ มีประการที่เรากล่าวแล้ว ในบทนี้ว่า ผู้ให้ย่อม

ผูกมิตรไว้ได้ก็ดี เหตุแห่งการได้โลกิยทรัพย์และโลกุตรทรัพย์ ยิ่งไปกว่าขันติ

กล่าวคือความเพียร อันถึงความเป็นผู้มีอุตสาหะ ด้วยอรรถว่า ทนต่อภาระมาก

ที่เรากล่าว โดยชื่อว่า ธุระ และโดยชื่อว่า อุฏฐานะ เพราะอาศัยอำนาจ

ประโยชน์นั้น ๆ ในบทนี้ว่า ผู้มีธุระ มีความหมั่นก็ดี เหตุแห่งการละจาก

โลกนี้ไปสู่โลกอื่น แล้วไม่มีความเศร้าโศก ยิ่งไปกว่าธรรมทั้ง ๔ เหล่านี้นั่นแล

ที่เรากล่าวอย่างนี้ว่า สัจจะ ธรรม ธิติ จาคะ ก็ดี มีอยู่ในโลกนี้ไซร้

(เชิญท่านถามสมณพราหมณ์ เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นดูเถิด) แต่โดยพิสดาร

ผู้ศึกษาพึงแยกแต่ละบท โดยนัยแห่งการพรรณนาบทที่ยกเนื้อความขึ้นและยก

บทขึ้นอธิบาย แล้วพึงทราบการพรรณนาเนื้อความ.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ยักษ์ทูลว่า บัดนี้ข้าพระองค์

จะพึงถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากทำไมเล่า เพราะความสงสัยที่จะพึงถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 474

สมณพรพมณ์เหล่าอื่นอันตนละได้แล้ว เมื่อจะให้ชนเหล่าอื่นที่ยังไม่รู้เหตุแห่ง

การไม่ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ให้ทราบ จึงทูลว่า วันนี้ ข้าพระองค์

ทราบชัดประโยชน์อันเป็นไปในภพหน้า ดังนี้.

ในบทเหล่านี้ บทว่า อชฺช อธิบายว่า นับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

บทว่า ปชานามิ ความว่า ทราบชัดโดยประการตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า

โย จตฺโถ ความว่า ยักษ์แสดงประโยชน์ในปัจจุบันที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ฟังอยู่ด้วยดี ย่อมได้ปัญญา ด้วยคำมีประมาณเท่านี้

แสดงประโยชน์ในภพหน้า อันกระทำความที่ละโลกนี้ไปแล้วไม่มีความเศร้าโศก

ที่ตรัสว่า ยสฺเสเต จตุโร ธมฺมา ด้วยบทนี้ว่า สมฺปรายโก. ก็คำว่า อตฺโถ

นั่นเป็นชื่อของการณ์.

จริงอยู่ อัตถ ศัพท์นี้ ย่อมเป็นไปในอรรถแห่งบาลี ดุจในประโยค

มีอาทิว่า สาตฺถ สพฺยญฺชน มีอรรถ มีพยัญชนะ เป็นไปในการบอก ดุจ

ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนคหบดี เราไม่ต้องการเงินและทอง เป็นไปใน

ความเจริญ ดุจในประโยคมีอาทิว่า ความเจริญย่อมมีแก่ผู้มีศีลทั้งหลาย เป็นไป

ในประโยชน์เกื้อกูล ดุจในประโยคมีอาทิว่า ย่อมประพฤติประโยชน์แก่ทั้งสอง

ฝ่าย เป็นไปในเหตุว่า เมื่อเหตุเกิดขึ้น ย่อมต้องการบัณฑิต ก็ในที่นี้ ย่อมเป็น

ไปในเหตุ เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความโดยย่อในที่นี้อย่างนี้ว่า เหตุ

แห่งการได้ปัญญาเป็นต้น อันเป็นไปในปัจจุบันใด และเหตุแห่งความที่ละ

โลกนี้ไปแล้วไม่มีความเศร้าโศก อันเป็นไปในภพหน้าใด วันนี้เราทราบชัดซึ่ง

เหตุนั้นด้วยตนเอง โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วนั่นแล บัดนี้ เรานั้น

จะพึงถามสมณพราหมณ์เป็นอันมากทำไมเล่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 475

ยักษ์ทูลว่า ข้าพระองค์ทราบชัดประโยชน์อันเป็นไปในภพหน้าอย่างนี้

แล้ว เมื่อจะแสดงความที่ญาณนั้นมีภพเป็นมูล จึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้า..

เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์หนอ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถาย ความว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือ

เพื่อความรู้. บทว่า ยตฺถ ทินฺน มหปฺผล ความว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว

ในพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศใด ด้วยการบริจาคที่ตรัสไว้ในบทนี้ว่า ยสฺเสเต

จตุโร ธมฺมา เป็นทานที่มีผลมากกว่า ข้าพระองค์ทราบชัดพระทักขิไณย

บุคคลผู้เลิศนั้น. ส่วนพวกเกจิอาจารย์กล่าวว่า อาฬวกยักษ์ทูลอย่างนี้ หมายถึง

พระสงฆ์.

อาฬวกยักษ์แสดงการบรรลุประโยชน์เกื้อกูลของตน ด้วยคาถานี้อย่างนี้

แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงการปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น จึงกราบทูลว่า

โส อห วิจริสฺสามิ. เนื้อความแห่งคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว

ในเหมวตสูตรนั้นแล.

ทรงโปรดพระอาฬวกกุมาร

การจบคาถานี้ ๑ ราตรีสว่าง ๑ การให้เสียงสาธุการดังขึ้น ๑ การนำ

พระอาฬวกกุมารมาสู่ที่อยู่ของยักษ์ ๑ ได้มีแล้วในขณะเดียวกันนั่นแล ด้วย

ประการฉะนี้ ราชบุรุษทั้งหลายพึงเสียงสาธุการแล้ว นึกอยู่ว่า เสียงสาธุการ

เห็นปานนี้ เว้นพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมไม่ดังระบือขึ้นแก่คนเหล่าอื่น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาหนอแล ได้เห็นรัศมีแห่งพระวรกายของพระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 476

พระภาคเจ้าแล้ว ไม่ยืนอยู่ในภายนอกดุจในกาลก่อน หมดความสงสัย เข้าไป

ในภายในนั่นเทียว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่ง ณ ที่อยู่ของยักษ์

และเห็นยักษ์ยืนประคองอัญชลี ครั้นเห็นแล้วได้กล่าวกะยักษ์ว่า ข้าแต่มหายักษ์

พระราชกุมารนี้ถูกนำมาเพื่อพลีกรรมแก่ท่าน เชิญท่านจงเคี้ยว หรือจงกิน

พระราชกุมารนี้ หรือจงทำตามใจชอบเถิด ดังนี้.

อาฬวกยักษ์นั้นละอายแล้วเพราะค่าที่ตนเป็นพระโสดาบัน และถูก

กล่าวอย่างนี้ ข้างหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพิเศษ ลำดับนั้น จึงรับพระกุมาร

นั้นด้วยมือทั้งสอง น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระกุมารนี้เขาส่งให้แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอถวายพระกุมารนี้ แด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเกื้อกูลและอนุเคราะห์ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับทารกนี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ

ความสุข แก่พระราชกุมารนี้ และกล่าวคาถานี้ว่า

ข้าพระองค์มีจิตเบิกบาน มีใจดี ขอ

มอบถวายพระกุมารนี้ ผู้มีลักษณะแห่งบุญ

ตั้งร้อย มีอวัยวะทั้งปวงสมบูรณ์ เพรียบพร้อม

ด้วยพยัญชนะ แด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์

ผู้มีจักษุ ขอพระองค์จงทรงรับพระกุมารนี้ไว้

เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระกุมารแล้ว ก็เมื่อทรงรับได้ตรัสคาถา

เครื่องรักษา เพื่อทรงทำมงคลแก่ยักษ์และกุมาร ยักษ์ให้พระกุมารนั้นถึงสรณะ

ให้เต็มด้วยบาทที่ ๔ ถึงสามครั้ง คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 477

ขอพระกุมารนี้จงทรงมีพระชนมายุ

ยืนนาน ดูก่อนยักษ์ และท่านจงมีความสุข

ด้วย ขอท่านทั้งสองจงไม่มีโรคเบียดเบียน

ดำรงอยู่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกเถิด

ขอพระกุมารนี้ถึงพระพุทธเจ้า ฯ ล ฯ พระ-

ธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานพระกุมารให้แก่ราชบุรุษทั้งหลายว่า

ขอพวกท่านจงยังพระกุมารนี้ให้เจริญเติบโตแล้ว ให้แก่เราอีก. ด้วยประการ

ดังนี้ พระกุมารนั้น จึงเกิดมีพระนามว่า หัตถอาฬวกกุมาร เพราะ

พระกุมารนั้นมาจากมือของราชบุรุษเป็นต้น ไปสู่มือของยักษ์, จากมือของยักษ์

ไปสู่พระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, จากพระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไปสู่มือของราชบุรุษทั้งหลายอีก.

ชนทั้งหลายมีชาวนาและผู้ทำการงานในป่าเป็นต้น ได้เห็นราชบุรุษ

ทั้งหลาย ผู้พาพระกุมารนั้นกลับมามีความกลัวจึงถามว่า ยักษ์ไม่ต้องการ

พระกุมาร เพราะเป็นเด็กเกินไปหรือ ? ราชบุรุษทั้งหลายได้บอกเรื่องทั้งหมด

ว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำความปลอดภัยแล้ว แต่นั้น

ชาวอาฬวินครทั้งสิ้นก็หันหน้าไปทางยักษ์ ด้วยเสียงโกลาหลเป็นอันเดียวกันว่า

สาธุ สาธุ.

ฝ่ายยักษ์ เมื่อกาลเพื่อภิกขาจารของพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ถึง ก็ถือ

บาตรและจีวรมาถึงกลางทางแล้วกลับ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

บิณฑบาตในพระนคร ทรงทำภัตกิจแล้ว ประทับนั่งบนบวรพุทธาสนะที่ปูแล้ว

ณ โคนต้นไม้อันสงัดแห่งหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร แต่นั้น พระราชาพร้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 478

กับหมู่มหาชนและชาวพระนครทั้งหลาย ชุมนุมรวมกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า ไหว้ แวดล้อมแล้ว ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์

ทรงทรมานยักษ์ผู้ทารุณเห็นปานนี้อย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสอาฬวก-

สูตรนั้นนั่นแล เริ่มต้นแต่การรบเป็นต้นแก่ชนเหล่านั้นว่า ยักษ์นี้บันดาลให้

ฝนตก ๙ ชนิด เห็นปานนี้ ได้ทำสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวอย่างนี้ ได้ถามปัญหา

อย่างนี้ เราตถาคตได้แก้แล้วอย่างนี้ แก่ยักษ์นั้น ในเวลาจบคาถา สัตว์

๘๔,๐๐๐ ก็ได้ธรรมาภิสมัย.

ต่อแต่นั้น พระราชาและชาวพระนคร ได้ทำที่อยู่ให้แก่ยักษ์ ในที่

ใกล้ภพของท้าวเวสวัณมหาราช ยังพลีกรรมอันถึงพร้อมด้วยสักการะมีดอกไม้

และของหอมเป็นต้นให้เป็นไปเป็นนิตย์ และปล่อยพระกุมารนั้นผู้ทรงบรรลุ-

นิติภาวะแล้วว่า พระองค์ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงได้ชีวิต ขอจง

เสด็จไป จงทรงนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแล และพระภิกษุสงฆ์.

พระกุมารนั้นเสด็จเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า และพระภิกษุสงฆ์

ต่อกาลไม่นานนัก ก็ทรงดำรงอยู่ในอนาคามิผล ทรงเรียนพระพุทธพจน์ทั้งหมด

เป็นผู้มีอุบาสก ๕๐๐ เป็นบริวาร และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งพระกุมารนั้น

ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หัตถกอาฬวกะ เป็น

เลิศแห่งสาวกทั้งหลายของเรา ผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุสี่

ดังนี้.

จบอรรถกถาอาฬวกสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 479

วิชยสูตรที่ ๑๑

ว่าด้วยเรื่องร่างกาย

[๓๑๒] ถ้าว่าบุคคลเที่ยวไป ยืนอยู่

นั่ง นอน คู้เข่าหรือเหยียดออก นั่นเป็นความ

เคลื่อนไหวของกาย กายประกอบแล้วด้วย

กระดูกและเอ็นฉาบด้วยหนังและเนื้อ ปกปิด

ด้วยผิว เต็มด้วยไส้ อาหาร มีก้อนตับ มูตร

หัวใจ ปอด ม้าม ไต น้ำมูก น้ำลาย เหงื่อ

มันข้น เลือด ไขข้อ ดี เปลวมัน อัน

ปุถุชนผู้เป็นพาล ย่อมไม่เห็นตามความเป็น

จริง อนึ่ง ของอันไม่สะอาดย่อมไหลออก

จากช่องทั้งเก้าของกายนี้ทุกเมื่อ คือขี้ตาจาก

ตา ขี้หูจากหู และน้ำมูกจากจมูก บางคราว

ย่อมสำรอกออกจากปาก ดีและเสลดย่อม

สำรอกออก เหงื่อและหนองฝีซึมออกจาก

กาย อนึ่ง อวัยวะเบื้องสูงของกายนี้เป็น

โพรง เต็มด้วยมันสมอง คนพาลถูกอวิชชา

หุ้มห่อแล้ว ย่อมสำคัญกายนั้นโดยความเป็น

ของสวยงาม.

ก็เมื่อใด เขาตายขึ้นพอง มีสีเขียว

ถูกทิ้งไว้ในป่า เมื่อนั้น ญาติทั้งหลายย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 480

ไม่ห่วงใย สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก หมาป่า

หมู่หนอน กา แร้ง และสัตว์เหล่าอื่น ย่อม

กัดกินกายนั้น ภิกษุในศาสนานี้ ได้ฟังพระ-

พุทธพจน์แล้ว มีความรู้ชัด เธอย่อมกำหนด

รู้กายนี้ ย่อมเห็นตามความเป็นจริงทีเดียว

สรีระที่มีวิญญาณนี้เหมือนสรีระที่ตายแล้ว

นั่น สรีระที่ตายแล้วนั้น เหมือนสรีระที่มี

วิญญาณนี้ ภิกษุพึงคลายความพอใจในกาย

เสียทั้งภายในและภายนอก ภิกษุนั้นมีความ

รู้ชัดในศาสนานี้ ไม่ได้ยินดีแล้วด้วยฉันทรา-

คะ ได้บรรลุอมฤตบท สงบดับไม่จุติ กาย

นี้มีสองเท้า ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น อัน

บุคคลบริหารอยู่ เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ

ถ่ายของไม่สะอาด มีน้ำลายและน้ำมูกเป็น-

ต้นให้ไหลออกจากทวารทั้งเก้า และขับ

เหงื่อไคลให้ไหลออกจากขุมขนนั้น ๆ ผู้ใด

พึงสำคัญเพื่อยกย่องตัวหรือพึงดูหมิ่นผู้อื่น

จักมีอะไร นอกจากการไม่เห็นอริยสัจ.

จบวิชยสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 481

อรรถกถาวิชยสูตร

วิชยสูตร (นันทสูตร) เริ่มต้นด้วยคาถาว่า จร วา ยทิวา ติฏฺ

ดังนี้ เรียกว่า กายวิจฉันทนิกสูตร ดังนี้บ้าง.

มีอุบัติอย่างไร ? ได้ยินว่า สูตรนี้ตรัสไว้ในฐานะ ๒ อย่าง เพราะ

ฉะนั้น วิชยสูตรนั้น จึงมีอุบัติ ๒ อย่าง.

ในสูตรนั้น สตรีที่มีชื่อว่า นันทา มี ๓ นาง คือ นันทา ผู้เป็น

น้องสาวของพระอานนทเถระ* อภิรูปนันทา พระธิดาของพระเจ้าเขมกศากยะ

นันทาผู้ชนบทกัลยาณี บรรพชาแล้ว ด้วยบรรพชาสำหรับมาตุคาม ที่พระผู้-

มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์โดยลำดับ ทรงแนะนำเจ้าศากยะทั้งหลาย

ทรงให้สตรีทั้งหลายมีนางนันทาเป็นต้นบรรพชาอนุญาตแล้ว ก็โดยสมัยนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี นางอภิรูปนันทา มีรูปสวยยิ่งนัก

น่าดู น่าเลื่อมใส ด้วยเหตุนั้น ญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อนางว่า อภิรูปนันทา

ฝ่ายนางนันทาผู้ชนบทกัลยาณี ไม่เห็นสตรีที่มีรูปสวยเสมอกับตน นางทั้งสอง

นั้นเมาแล้วด้วยความเมาในรูป คิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียน ทรง

ครหารูป ทรงแสดงโทษในรูปโดยอเนกปริยาย จึงไม่ไปสู่ที่บำรุงพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทั้งไม่ปรารถนาเพื่อจะเห็น.

หากจะมีคำถามว่า นางไม่เลื่อมใสอย่างนี้ เพราะเหตุไร จึงบรรพชา

เล่า ?

๑. ยุ. นนฺทตฺเถรสฺส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 482

ตอบว่า สัจจกุมารผู้เป็นสามีของนางอภิรูปนันทาได้ทำกาละโดยปกติ

ในวันหมั้นนั้นเทียว ด้วยเหตุนั้น มารดาและบิดาจึงให้นางผู้ไม่ประสงค์

บรรพชา.

ฝ่ายนางนันทาผู้ชนบทกัลยาณี เมื่อท่านพระนันทะบรรลุพระอรหัต

แล้ว ก็หมดความหวังว่า สามีของเรา มหาปชาบดีพระมารดา และพระญาติ

อื่น ๆ บรรพชาแล้ว นางเว้นจากพระญาติทั้งหลาย เมื่อไม่ได้ความสาราญใจ

ในฆราวาสอันเป็นทุกข์จึงบรรพชา หาบรรพชาด้วยศรัทธาไม่.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความแก่รอบแห่งญาณของนาง

ทั้งสองนั้น จึงตรัสสั่งพระนางมหาปชาบดีว่า ภิกษุณีแม้ทั้งหมดจงมารับโอวาท

ตามลำดับ นางทั้งสองนั้น เมื่อถึงวาระของตน ก็สั่งภิกษุณีอื่นไปแทน แต่นั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เมื่อถึงวาระตนเท่านั้น พึงมา ไม่พึงส่งภิกษุณี

อื่นไปแทน อยู่มาวันหนึ่ง นางอภิรูปนันทาได้ไปรับโอวาท พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงทรงยังนางให้สสดใจ ด้วยรูปที่ทรงเนรมิต ให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต

โดยลำดับ ด้วยคาถาในธรรมบทนี้ว่า กระทำสรีระให้เป็น นครแห่งกระดูก

ทั้งหลาย และด้วยเถรีคาถาเหล่านี้ว่า

ดูก่อนนันทา เจ้าจงดูร่างกายอัน

อาดูร ไม่สะอาด เปื่อยเน่า อันกระดูกยกขึ้น

ไหลเข้า ไหลออก ที่พวกคนพาลปรารถนา

ยิ่งนัก เจ้าจงเจริญอสุภนิมิต และจงละมา-

นานุสัยเสีย ต่อแต่นั้น เพราะละมานะเสีย

ได้ เจ้าจักเป็นผู้สงบระงับเที่ยวไป ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 483

อยู่มาวันหนึ่ง ชาวกรุงสาวัตถีในปุเรภัตถวายทาน สมาทาน อุโบสถ

นุ่งดี ห่มดีถือวัตถุมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปสู่พระเชตวัน เพื่อประ-

โยชน์แก่การฟังธรรม ในเวลาจบการฟังธรรมไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้า

สู่พระนคร แม้พระภิกษุณีสงฆ์ฟังธรรมกถาแล้ว ก็ไปสู่สำนักของนางภิกษุณี

มนุษย์และภิกษุณีทั้งหลายในกรุงสาวัตถีนั้น ต่างก็สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ก็ในโลกสันนิวาสมีประมาณ ๔ อย่าง บุคคลเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

แล้ว ชื่อว่าไม่เลื่อมใส ไม่มี จริงอยู่ บุคคลทั้งหลายผู้ถือรูปเป็นประมาณ

เห็นพระรูปของพระผู้มีพระภาคเจ้า ขจิตด้วยลักษณะ วิจิตรด้วยอนุพยัญชนะ

มีพระเกตุมาลารุ่งเรือง มีพระรัศมีวาหนึ่งเปล่งออก ดุจอลังการอันมีประโยชน์

ที่งามพร้อม ซึ่งเกิดขึ้นแก่โลกฉะนั้น ย่อมเลื่อมใส.

ผู้ถือเสียงเป็นประมาณฟังเสียงกิตติศัพท์ในชาดกหลายร้อย ประกอบ

ด้วยองค์แปด ทรงเปล่งออกอย่างอ่อนหวานดุจเสียนกกรวิก เหมือนเสียงแห่ง

พรหม ย่อมเลื่อมใส.

ฝ่ายผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ เห็นความเศร้าหมองด้วยจีวร

เป็นต้น หรือ ความเศร้าหมองด้วยการบำเพ็ญทุกรกิริยา ก็ย่อมเลื่อมใส.

ผู้ถือธรรมเป็นประมาณพิจารณาธรรมขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา

ขันธ์ทั้งหลายมีสีลขันธ์เป็นต้น ย่อมเลื่อมใส เพราะฉะนั้นจึงกล่าวสรรเสริญ

พระผู้มีพระภาคเจ้าในที่ทั้งปวง.

นางนันทาผู้ชนบทกัลยณีแม้ถึงสำนักของภิกษุณีแล้วได้ฟังบุคคลเหล่า-

นั้น กำลังกล่าวสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยอเนกปริยาย ประสงค์จะเข้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 484

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงบอกแก่ภิกษุณีทั้งหลาย พวกภิกษุณีพานางไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้การมาของนางก่อนทีเดียว ทรง

เนรมิตสตรี ที่มีอายุน่าดูยิ่งนัก ประมาณ ๑๕ - ๑๖ ปี ยืนถวายงานพัดอยู่ข้าง

ด้วยกำลังฤทธิ์ของพระองค์ เพื่อทรงกำจัดความเมาในรูป ด้วยรูปนั่นเทียว

ดุจบุรุษต้องการบ่งหนามด้วยหนาม และต้องการถอนลิ่มด้วยลิ่มฉะนั้น นาง

นันทาเข้าไปเฝ้าพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย ไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งใน

ระหว่างภิกษุสงฆ์ เห็นพระรูปสมบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งแต่พื้นพระบาท

จนถึงปลายพระเกสา และเห็นรูปเนรมิตนั้น ซึ่งยืนข้างพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก

คิดว่า โอ ! สตรีนี้รูปสวย ละความเมาในรูปของตน มีอัตภาพอันยินดียิ่งใน

รูปของสตรีนั้น.

แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสตรีนั้นทำให้มีอายุประมาณ ๒๐

ปี ด้วยว่า มาตุคามมีอายุ ๑๖ ปีเท่านั้น ย่อมสวยงาม เกินนั้นไปย่อมไม่สวยงาม

ลำดับนั้น นางนันทาเห็นความเสื่อมแห่งรูปของสตรีนั้น ก็มีฉันทราคะในรูป

นั้น ลดน้อย แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสตรีอย่างนี้ คือ สตรียัง

ไม่คลอด สตรีคลอดครั้งเดียว สตรีกลางคน สตรีแก่ จนถึงสตรีมีอายุ ๑๐๐ ปี

หลังโก่ง ถือไม้เท้า มีตัวตกกระแล้วทรงแสดงการตายของสตรีนั้น อันต่าง

ด้วยซากศพพองขึ้นเป็นต้น อันสัตว์ทั้งหลายมีกาเป็นต้น รุมจิกกิน และมี

กลิ่นเหม็น น่าเกลียด น่าปฏิกูลแก่นางนันทา ผู้แลดูอยู่นั่นเทียว นางนันทา

เห็นมาตุคามนั้น ก็มีอนิจจสัญญาปรากฏขึ้นว่า *กายนี้ทั่วไปทั้งหมด ทั้งแก่เรา

ทั้งแก่คนอื่น อย่างนี้นั่นแล แม้ทุกขสัญญาและอนัตตสัญญาก็ปรากฏขึ้น โดย

* ยุ. กโม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 485

ทำนองอนิจจสัญญานั้น ภพทั้ง ๓ ปรากฏขึ้นไม่เป็นที่พึ่งอาศัย ดุจเรือนถูก

ไฟไหม้ฉะนั้น.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่า จิตของนางนันทาแล่นไปใน

กรรมฐาน จึงตรัสคาถาเหล่านี้ ด้วยอำนาจแห่งสัปปายะแก่นางว่า

ดูก่อนนันทา เจ้าจงดูร่างกายนี้ อัน

อาดูร ไม่สะอาด เปื่อยเน่า อันกระดูกยก

ขึ้นเป็นโครง ไหลเข้าไหลออก ที่พวกคน

พาลปรารถนากันยิ่งนัก สรีระของหญิงนี้

เป็นฉันใด สรีระของเธอนี้ก็จักฉันนั้น สรีระ

ของเธอนั้นฉันใด สรีระของหญิงนี้ก็ฉันนั้น

เธอจงดูธาตุทั้งหลายโดยความเป็นของสูญ

จงอย่ากลับมาสู่โลกนี้อีกเลย จงสำรอกความ

พอใจในภพเสีย แล้วจักเป็นผู้สงบระงับ

เที่ยวไป ดังนี้.

ในเวลาจบคาถา นางนันทาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ลำดับนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งมีสุญญตาเป็นบริวาร เพื่อ

บรรลุมรรคเบื้องบนแก่นาง จึงตรัสพระสูตรนี้ นี้เป็นอุบัติหนึ่งของสูตรนั้นก่อน.

อุบัติที่ ๒.

อุบัติที่ ๒ ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่องของคาถาธรรมบทว่า ก็เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ธิดาของนางสาลวดี คณิกา ซึ่งมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 486

สมุฏฐานได้กล่าวแล้วโดยพิสดาร ในจีวรขันธกะ ชื่อว่า สิริมา ซึ่งเป็นน้องสาว

ของชีวกนั้นใด ได้ตำแหน่งนั้น โดยกาลล่วงไปแห่งมารดา ดูหมิ่นปุณณเศรษฐี

ธิดา ในเรื่องแห่งคาถานี้ว่า พึงชนะความโกรธ ด้วยความไม่โกรธ ขมา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ฟังพระธรรมเทศนา ได้เป็นโสดาบัน ยังนิจภัตร ๘ อย่าง

ให้เป็นไปแล้ว ภิกษุผู้รับนิจภัตรรูปหนึ่ง ปรารภถึงสิริมาธิดานั้น ก็เกิดราคะ

และไม่อาจเพื่อทำแม้อาหารกิจ นอนปราศจากอาหาร. ครั้นภิกษุนั้นนอนอย่าง

นั้นแล นางสิริมาตายไปเป็นเทวีของท้าวสุยาม ในยามภพ.

ในขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว พา

ภิกษุแม้นั้น เสด็จไปดูสรีระของนางสิริมานั้น ซึ่งพระราชาทรงห้ามการเผาศพ

ของนางแล้วให้เก็บไว้ ณ ป่าช้าผีดิบ มหาชนและพระราชาก็ไปดูอย่างนั้น ใน

ชนจำนวนนั้น มนุษย์ทั้งหลายพูดกันว่า ในกาลก่อน การดูนางสิริมาด้วยทรัพย์

๑,๐๐๘ ก็ได้ยาก บัดนี้ในวันนี้ผู้ที่ใคร่จะดูนางแม้ด้วยหนึ่งกากณิก ก็ไม่มี ฝ่าย

สิริมาเทพกัญญา อันรถ ๕๐๐ คันแวดล้อมแล้วไป ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสสูตรนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ชนทั้งหลายที่ประชุม ณ ที่แม้นั้น และคาถา

ในธรรมบทนี้ว่า เธอจงดูร่างกายอันทำวิจิตร เพื่อทรงโอวาทแก่ภิกษุนั้น.

นี้เป็นอุบัติที่ ๒ แห่งสูตรนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จร วา ความว่า ไปด้วยการนำรูปกาย

ทั้งสิ้นไป โดยมุ่งหน้าต่อทิศที่จะพึงไป. บท ยทิ วา ติฏฺ ความว่า ยืนอยู่

โดยไม่มีการยกรูปกายนั้นนั่นเทียว. บทว่า นิสินฺโน อุท วา สย ความว่า

นั่งโดยความที่รูปกายนั้นแลคู้ส่วนเบื้องต่ำ และยกขึ้นซึ่งส่วนเบื้องสูง หรือนอน

โดยเหยียดไปทางขวาง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 487

บทว่า สมฺมิญฺเชติ ปสาเสติ ความว่า คู้เข้าและเหยียดออก ซึ่ง

ข้อต่อนั้น ๆ. บทว่า เอสา กายสฺส อิญฺชนา ความว่า นั่นแม้ทั้งหมดเป็น

ความเคลื่อนไหว ได้แก่ความไหว ความเคลื่อนไปของกายที่มีวิญญาณนี้

นั่นเทียว. ใครอื่นที่ชื่อว่า เที่ยวไปอยู่ หรือเหยียดออกอยู่ในที่นี้ หามีไม่

อนึ่งแล เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะไปเที่ยว วาโยธาตุซึ่งมีจิตนั้นเป็นสมุฏฐาน

ย่อมแผ่ไปสู่ร่างกาย กายนั้นก็มีการนำไปมุ่งหน้าต่อทิศที่จะพึงไป คือความเกิด

ขึ้นในระหว่างส่วน* ก็ย่อมมีด้วยจิตนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า จร เที่ยวไป.

อนึ่ง เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เรายืน วาโยธาตุซึ่งมีจิตนั้นเป็นสมุฏฐาน

ก็ย่อมแผ่ไปสู่ร่างกาย ร่างกายนั้นก็มีการยกขึ้น คือ ความปรากฏแห่งรูป โดย

ฐานเบื้องสูง ก็ย่อมมีด้วยจิตนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ติฏฺ ยืนอยู่.

อนึ่ง เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า เราจะนั่ง วาโยธาตุซึ่งมีจิตนั้นเป็นสมุฏฐาน

ย่อมแผ่ไปสู่ร่างกาย ร่างกายนั้นก็จะมีการคู้เข้าซึ่งส่วนเบื้องต่ำ และการยกขึ้น

ซึ่งส่วนเบื้องสูง ด้วยจิตนั้น คือ ความปรากฏแห่งรูปย่อมมีโดยภาวะอย่างนั้น

ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า นิสินฺโน นั่งแล้ว.

อนึ่ง เมื่อมีจิตเกิดขึ้นว่า เราจะนอน วาโยธาตุซึ่งมีจิตนั้นเป็นสมุฏฐาน

ย่อมแผ่ไปสู่ร่างกาย ร่างกายนั้นก็ย่อมมีการเหยียดออกตามขวาง ด้วยจิตนั้น คือ

ความปรากฏแห่งรูปใด ภาวะอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า สย นอน.

ก็ท่านผู้มีอายุนี้ รูปใดรูปหนึ่งหนึ่ง ที่มีชื่ออย่างนี้ เที่ยวไป ยืนอยู่ นั่ง หรือ

นอน อย่างนี้ ซึ่งเรียกว่า คู้เข้า เหยียดออก ด้วยอำนาจแห่งการคู้เข้าและเหยียด

ออกซึ่งข้อต่อเหล่านั้น ๆ ในอิริยาบถนั้น ๆ เพราะเมื่อจิตจะคู้เข้า หรือเหยียด

* ยุ. เทสนฺตเร รปนฺตรปาตภาโว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 488

ออกเกิดขึ้นอยู่ การเคลื่อนไหวแม้นั้นย่อมมีโดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นแล

เพราะฉะนั้น นั่นเป็นความเคลื่อนไหวของกาย ใคร ๆ อื่นในที่นี้หามีไม่ นี้สูญ

จากสัตว์หรือบุคคลไร ๆ ซึ่งเที่ยวไปอยู่ หรือ เหยียดออก แต่ในที่นี้ มีปรมัตถ์

อย่างเดียวนี้ คือ

ความที่วาโยธาตุต่างกัน ย่อมมีเพราะ

อาศัยความที่จิตต่างกัน ความเคลื่อนไหวของ

กาย ย่อมมีต่าง ๆ เพราะความที่วาโยธาตุ

ต่างกัน ดังนี้.

ด้วยคาถานี้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอิริยาบถหนึ่ง การ

เบียดเบียนกายก็มีด้วยการประกอบ และเพื่อกำจัดความเบียดเบียนกายนั้น

พระองค์จึงทรงกระทำ การสับเปลี่ยนอิริยาบถ เพราะฉะนั้น จึงทรงแสดงทุกข-

ลักษณะ อันอิริยาบถปกปิดไว้ ด้วยบทว่า จร วา เป็นต้นด้วยประการดังนี้

ในกาลเที่ยวไปก็อย่างนั้น เมื่อจะตรัสประเภทแห่งการเที่ยวไปเป็นต้น นั่น

ทั้งหมด เพราะไม่มีการยืนเป็นต้นว่า นั่นเป็นความเคลื่อนไหวของกาย ชื่อว่า

ทรงแสดงอนิจจลักษณะ ซึ่งสันตติปกปิดไว้ และเมื่อความสามัคคีนั้นเป็นไป

แล้ว ก็ตรัสโดยปฏิเสธสัตว์ว่า นั่นเป็นความเคลื่อนไหวของกาย ชื่อว่า ทรง

แสดงอนัตตลักษณะ ซึ่งอัตตสัญญาและความเป็นก้อนปกปิดไว้.

ครั้นตรัสสุญญตากรรมฐาน โดยการแสดงไตรลักษณ์อย่างนี้แล้ว จึง

ทรงปรารภอีกว่า กายประกอบแล้วด้วยกระดูกและเอ็น เพื่อทรงแสดงอสุภะ

ทั้งที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 489

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ก็นั่นเป็นความเคลื่อนไหวของกายใด กายนี้

นั้น ประกอบแล้วด้วยกระดูกและเอ็น เพราะความที่กายนี้ประกอบแล้วด้วย

กระดูกเกิน ๓๐๐ ท่อน และด้วยเอ็น ๙๐๐ เส้น ซึ่งข้าพเจ้าประกาศแล้ว โดย

ประเภทแห่งสี สัณฐาน ทิศ โอกาส และ การกำหนด และโดยอัพยาปารนัย ใน

การพรรณนาถึงอาการ ๓๒ อย่าง ในวิสุทธิมรรค เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาพึง

ทราบว่า ฉาบด้วยหนังและเนื้อ เพราะความที่กายนี้ ฉาบแล้วด้วยหนัง มีหนัง

ปลายเท้าและหนังนิ้วมือเป็นต้น และด้วยเนื้ออันต่างด้วยชิ้นเนื้อ ๙๐๐ ชิ้น ที่

ข้าพเจ้าประกาศไว้แล้ว ในวิสุทธิมรรคนั้นแล มีกลิ่นเหม็น น่าเกลียดปฏิกูล

อย่างยิ่ง.

ในกายนั่น ผู้ศึกษาจะพึงทราบอย่างไร ถ้ากายนี้ไม่พึงปกปิดด้วยผิว

ละเอียดดุจปีกแมลงวัน ซึ่งลอกจากร่างกายทั้งสิ้นของคนปานกลางก็จะมีประมาณ

เท่าเม็ดพุทรา ดุจฝาเรือนไม่ปกปิดด้วยรงค์มีสีเขียว เป็นต้นไซร้ กายนี้ปกปิด

ด้วยผิวแม้ละเอียดอย่างนั้น อันปุถุชนผู้เป็นพาล ปราศจากจักษุ คือ ปัญญา

ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริง.

ก็หนังของร่างกายนั้น อันเขาประเทืองด้วยเครื่องประทินผิว นับว่า

น่าเกลียดและปฏิกูลอย่างยิ่งก็ดี

เนื้อร้อยชิ้นที่กล่าวแล้วว่า

เนื้อมี ๙๐๐ ชิ้น ฉาบแล้วในร่างกาย

เป็นของเปื่อยเน่า ดุจส้วมอันเกลื่อนกล่น

ด้วยหมู่หนอน ฉะนั้น

โดยประเภท อันหนังหุ้มห่อก็ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 490

เอ็น ๙๐๐ เส้น อยู่ในร่างกายมีประ-

มาณหนึ่งวา รึงรัดโครงกระดูกไว้ ดุจเรือน

รึงรัดด้วยเถาวัล ฉะนั้น

ฉาบด้วยเนื้อก็ดี

กระดูก ๓๐๐ ท่อน ที่เอ็นรึงรัดไว้ ตั้งเรียงตามลำดับ เป็นของเน่า

มีกลิ่นเหม็นก็ดี อันปุถุชนผู้เป็นพาล ย่อมไม่เห็นตามความเป็นจริง.

เพราะบัณฑิตไม่ยึดถือผิวเป็นต้นนั้น ใช้จักษุคือปัญญาแทงตลอด ซึ่ง

ซากศพในภายใน และของไม่สะอาด กลิ่นเหม็น น่าเกลียดและปฏิกูลอย่างยิ่ง

มีประการต่าง ๆ ไม่ปรากฏแก่โลกทั้งหมด เพราะความที่กายปกปิดด้วยผิว

ละเอียดดุจปีกแมลงวัน ถูกหุ้มห่อไว้ด้วยหนังที่ประเทืองแล้วด้วยเครื่องประทิน

ผิว พึงเห็นกายอย่างนี้ว่า เต็มด้วยไส้ อาหาร ฯลฯ ดี เปลวมัน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น กายเต็มด้วยไส้ ชื่อว่า อนฺตปูโร เต็มด้วย

อาหาร ชื่อว่า อุทรปูโร. ก็คำว่า อุทร นั่น เป็นชื่อของอาหารใหม่ จริงอยู่

อาหารใหม่นั้น เรียกว่า อุทร โดยชื่อของฐานะ. บทว่า ยกเปฬสฺส ได้แก่

มีก้อนตับ. บทว่า วตฺถิโน ได้แก่มูตร. ก็มูตรนั่น เรียกว่า วตฺถิ โดยมุ่งถึง

ฐานะ. บทว่า ปูโร ได้แก่ กระทำอย่างยิ่ง. เพราะฉะนั้น พึงประกอบอย่างนี้

ว่า เต็มด้วยก้อนตับ เต็มด้วยมูตร. ในหัวใจเป็นต้น ก็นัยนี้. ก็บทว่าไส้

เป็นต้นแม้นั่นทั้งหมด ผู้ศึกษาพึงทราบ ด้วยอำนาจแห่งคำที่กล่าวไว้แล้ว ใน

วิสุทธิมรรค ด้วยประเภทแห่ง สี สัณฐาน ทิศ โอกาส และปริจเฉท และด้วย

อัพยาปารนัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 491

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงซากศพในภายในว่า ในกายนี้ สิ่งที่

ควรถือเอาเช่นกับแก้วมุกดาและแก้วมณีแม้อย่างหนึ่งก็ไม่มีเลย และกายนี้เต็ม

ด้วยของไม่สะอาดทั้งนั้น บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงซากศพในภายในนั้นแล ทำให้

ปรากฏด้วยซากศพที่ออกไปในภายนอก จึงสงเคราะห์สิ่งที่ตรัสแล้วในกาลก่อน

และที่ยังไม่ตรัสเข้าด้วยกัน จึงตรัสสองคาถาว่า อถสฺส นวหิ โสเตหิ แปลว่า

อนึ่ง ของอันไม่สะอาดย่อมไหลออกจากช่องทั้งเก้าของกายนั้น ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถ เป็นการแสดงขยายปริยายอื่น. มีอธิบาย

ว่า ท่านจงดูความไม่สะอาด โดยปริยายแม้อื่นอีก. บทว่า อสฺส ได้แก่กายนี้.

บทว่า นวหิ โสเตหิ ได้แก่ ช่องตา ๒ ช่องหู ๒ ช่องจมูก ๒ ปาก วัจจมรรค

และปัสสาวมรรค. บทว่า อสุจี สวติ ความว่า ของอันไม่สะอาด คือ กลิ่น-

เหม็น และน่าเกลียดอย่างยิ่ง มีประการต่าง ๆ ปรากฏแล้วแก่โลกทั่วไป ย่อม

ไหลออก คือ ย่อมหลั่งออก ย่อมไหลออกไป คันธชาตมีกฤษณาและจันทน์

เป็นต้น หรือ รัตนชาต มีแก้วมณี แก้วมุกดาเป็นต้น อื่นไร ๆ หาไหลออกไม่.

บทว่า สพฺพทา ความว่า ก็ของอันไม่สะอาดนั้นแล ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้

ยืนอยู่ก็ตาม ไปอยู่ก็ตาม ทุกเมื่อ คือ ในกลางคืนบ้าง กลางวันบ้าง เวลาเช้า

บ้าง เวลาเย็นบ้าง.

หากมีคำถามว่า ของอันไม่สะอาดนั้น คืออะไร ? ตอบว่า คือขี้ตา

จากตาเป็นต้น. จริงอยู่ ขี้ตาเช่นกับเนื้อที่ลอกหนังออกแล้ว ย่อมไหลออกจาก

ช่องตาทั้งสองของกายนั้น ขี้หูเช่นกับก้อนธุลี ย่อมไหลออกจากช่องหูทั้งสอง

ขี้มูกเช่นกับน้ำหนองย่อมไหลออกจากช่องจมูกทั้งสอง บุคคลย่อมสำรอกออกจาก

ปาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 492

หากมีคำถามว่า สำรอกอะไร ? ตอบว่า บางคราวย่อมสำรอกน้ำดี

ที่อธิบายว่า ในกาลใด น้ำดีไม่เป็นก้อนกำเริบ ย่อมสำรอกน้ำดีในกาลนั้น.

บทว่า เสมฺห จ ความว่า ย่อมสำรอกน้ำดีอย่างเดียวหามิได้ แม้

น้ำเสมหะที่เป็นก้อน ซึ่งมีประมาณเต็มบาตรหนึ่งนั้นแม้ใด ตั้งอยู่ในช่องท้อง

ย่อมสำรอกน้ำเสมหะแม้นั้น ในกาลบางคราว ก็เสมหะนี้นั้น พึงทราบโดยนัยที่

กล่าวแล้ว ในวิสุทธิมรรค โดยสีเป็นต้น ด้วย ศัพท์ว่า เสมฺห จ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ย่อมสำรอกเสมหะและของอันไม่สะอาดอย่างอื่น

มีอาหารใหม่และโลหิตเป็นต้น เห็นปานนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นกาลัญญู ปุคคลัญญู และปริสัญญู ครั้น

ทรงแสดงการสำรอกของอันไม่สะอาดออกจากทวารทั้งเจ็ดอย่างนี้แล้วต่อจากนั้น

ไม่ทรงแตะต้องทวารทั้งสอง ด้วยพระดำรัสพิเศษ เมื่อจะทรงแสดงการสำรอก

ของอันไม่สะอาดออกจากกายแม้ทั้งหมด โดยปริยายอื่นอีก จึงตรัสว่า กายมฺหา

เสทชลฺลิกา เหงื่อและหนองฝีซึมออกจากกาย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสทชลฺลิกา สัมพันธ์กับบทนี้ว่าเหงื่อ

และน้ำเค็มอันต่างด้วยแผ่นเกลือและเหงื่อไคลของร่างกายนั้น ย่อมซึมออก

ทุกเมื่อ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความที่กายนี้เป็นของอันไม่สะอาด

ด้วยอำนาจแห่งมลทินจากอาหารที่กินและดื่มเป็นต้น เมื่ออาหารที่กินและดื่ม

เป็นต้น หุงต้มด้วยไฟอันเกิดจากกรรม ก็ปรากฏขึ้นไหลออก โดยประเภทมี

อาทิว่า ขี้ตาจากตา แล้วเปื้อนอวัยวะมีตาเป็นต้น แล้วติดอยู่ข้างนอกเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 493

เมื่อหุงต้มภัต คราบข้าวสารและคราบน้ำก็ปรากฏขึ้นกับฟองน้ำแล้ว เปื้อนปาก

หม้อข้าว ติดอยู่ข้างนอกฉะนั้นอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความที่

กายนั้นเป็นของไม่สะอาด เพราะความที่ศีรษะที่สมมติว่าเป็นอุดมมงคลในโลก

ซึ่งคนทั้งหลายถือโดยความเป็นของประเสริฐอย่างยิ่ง ไม่ทำการไหว้แม้แก่บุคคล

ที่ควรไหว้ทั้งหลายแม้นั้นเป็นของไม่มีแก่นสาร และความเป็นของอันไม่สะอาด

จึงตรัสคาถานี้ว่า อถสฺส สุสิร สีส อนึ่ง อวัยวะเบื้องสูงของกายนี้เป็น

โพรง ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สุสิร ได้แก่ ช่อง. บทว่า มตฺถลุงฺคสฺส

ปูรต ความว่า เต็มด้วยมันสมอง ดุจน้ำเต้าเต็มด้วยนมส้ม ฉะนั้น ก็มันสมอง

นี้นั้น ผู้ศึกษาพึงทราบ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรคนั้นแล.

บทว่า สุภโต น มญฺติ พาโล ความว่า คนพาลชอบคิดสิ่งที่

คิดชั่วย่อมสำคัญแม้กายนี้นั้น ซึ่งเต็มด้วยซากศพมีอย่างต่าง ๆ อย่างนี้ คือ

ย่อมสำคัญด้วยด้วยความสำคัญ คือ ตัณหา ทิฏฐิ มานะ แม้ทั้งสามว่า สวย สะอาด

น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ. เพราะเหตุไร เพราะคนพาลถูกอวิชชา

หุ้มห่อแล้ว คือ ถูกโมหะอันปกปิดสัจจะทั้งสี่หุ้มห่อแล้ว คือ เตือนแล้ว ให้

เป็นไปแล้ว ให้ยึดถือแล้วว่า เจ้าจงถืออย่างนี้ ยึดอย่างนี้ สำคัญอย่างนี้

อธิบายว่า เจ้าจงดูตลอดอวิชชาอันเป็นเหตุไม่น่าปรารถนา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอสุภะ ด้วยอำนาจแห่งกายมีวิญญาณ

ครองอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงอสุภะ ด้วยอำนาจแห่งกายไม่มีวิญญาณ

ครอง หรือ เพราะกายแม้ของพระเจ้าจักรพรรดิก็เต็มด้วยซากศพตามที่กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 494

แล้วเหมือนกัน เพราะฉะนั้น เพื่อทรงแสดงอสุภะในสมบัติภพ โดยประการ

ทั้งปวงแล้ว ทรงแสดงในวิบัติภพในบัดนี้ จึงตรัสคาถาว่า ยทา จ โส

มโต เสติ แปลว่า ก็เมื่อใด เขาตายนอนอยู่.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า กายมีอย่างนี้นั่นแล เมื่อใด เขาตายเพราะ

ปราศจากอายุ ไออุ่น และวิญญาณ ขึ้นพองดุจสูบเต็มด้วยลมฉะนั้น มีสีเขียว

เพราะสีแตกสลาย ถูกทิ้งไว้ในป่าช้า เพราะถูกทิ้งไว้ดุจท่อนไม้ไร้ประโยชน์

ฉะนั้น นอนอยู่ ในกาลนั้น ญาติทั้งหลายย่อมไม่ห่วงใยโดยส่วนเดียวว่าบัดนี้

เขาจักไม่ลุกขึ้นอีก.

ในคาถานั้น ทรงแสดงความไม่เที่ยง ด้วยบทว่า มโต ทรงแสดง

ความที่กายไม่ลุกขึ้น ด้วยบทว่า เสติ และทรงประกอบไว้ในการละความ

มัวเมาในชีวิตและกำลัง ด้วยบททั้งสองนั้น ทรงแสดงวิบัติในสัณฐาน ด้วย

บทว่า อุทฺธุมาตโก ทรงแสดงวิบัติในเครื่องประทินผิว ด้วยบทว่า วินีลโก

และทรงประกอบในการละความมัวเมาในรูป และในการละมานะ เพราะอาศัย

ความงามแห่งผิวพรรณด้วยบททั้งสองนั้น ทรงแสดงความไม่มีของที่จะพึงถือเอา

ด้วยบทว่า อปวิฏฺโ ทรงแสดงความเป็นกายอันน่าพึงเกลียด อันไม่ควรเพื่อ

ให้อยู่ในภายใน ด้วยบทว่า สุสานสฺมึ ทรงประกอบในการละความยึดถือว่า

ของเรา และในการละสุภสัญญา ด้วยบทแม้ทั้งสองนั้น ทรงแสดงความไม่มี

กิริยาโต้ตอบ ด้วยบทว่า อนเปกฺขา โหนฺติ าตโย ทรงประกอบใน

การละความมัวเมาในบริวาร ด้วยบทนั้น.

ครั้นทรงแสดงอสุภะด้วยอำนาจกายอันไม่มีวิญญาณครอง ยังไม่แตก-

สลาย ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดง แม้ด้วยอำนาจแห่งกาย

แตกสลาย จึงตรัสคาถาว่า ขาทนฺติ น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 495

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย จญฺเ ความว่า สัตว์ทั้งหลายที่

กินซากศพแม้เหล่าอื่นมีกาและพังพอนเป็นต้น ย่อมกัดกินกายนั้น. บทที่เหลือ

ตื้นทั้งนั้นแล.

ครั้นทรงแสดงกาย ด้วยอำนาจแห่งสุญญตากรรมฐาน โดยนัยมีอาทิ

ว่า จร วา ด้วยอำนาจแห่งอสุภะสำหรับกายที่มีวิญญาณครอง โดยนัยมีอาทิว่า

กายประกอบแล้วด้วยกระดูกและเอ็น ด้วยอำนาจแห่งอสุภะ สำหรับกายที่ไม่มี

วิญญาณครอง โดยนัยมีอาทิว่า ก็เมื่อใด เขาตาย อย่างนี้แล้วทรงประกาศ

ความประพฤติของปุถุชนผู้เป็นพาล และทรงแสดงวัฏฏะ โดยมีอวิชชาเป็น

ประธาน ด้วยบทนี้ว่า คนพาลถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว ย่อมสำคัญกายนั้น

โดยความเป็นของสวยงาม ในกายนี้ อันสูญจากความเที่ยง ความสุขและตัวตน

และแม้อันไม่สวยงามโดยส่วนเดียวอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดงความ

ประพฤติของบัณฑิตในกายนั้น และวิวัฏฏะ โดยมีปริญญาเป็นประธาน จึงทรง

ปรารภว่า สุตฺวาน พุทฺธวจน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุตฺวาน ได้แก่ พิจารณาโดยแยบคาย.

บทว่า พุทฺธวจน ได้แก่ พุทธพจน์อันทำการกำหนดรู้กาย. บทว่า ภิกฺขุ

ได้แก่ พระเสกขะ หรือปุถุชน.

บทว่า ปญฺาณวา ความว่า วิปัสสนา เรียกว่า ปัญญาณ

ผู้ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนานั้น เพราะความเป็นผู้เป็นไปแล้วในประการมี

ความไม่เที่ยงเป็นต้น.

บทว่า อิธ คือ ในศาสนา. บทว่า โส โข น ปริชานาติ

ความว่า ภิกษุนั้นกำหนดรู้กายนี้ ด้วยปริญญา ๓. อย่างไร คือ เหมือนพ่อค้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 496

ผู้ฉลาดแลดูสินค้าว่า นี้และนี้แล้ว เปรียบเทียบว่า เมื่อซื้อสินค้าด้วยทรัพย์

เท่านี้แล จักมีกำไรเท่านี้ ครั้นทำอย่างนั้นแล้ว ถือเอาต้นทุนกับกำไรอีก

ทิ้งสินค้านั้น ชื่อฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อแลดูด้วยจักษุคือญาณว่า

ส่วนเหล่านี้มีกระดูกและเอ็นเป็นต้น และมีผม ขนเป็นต้น ชื่อว่า กำหนดรู้

ด้วยญาตปริญญา เมื่อเทียบเคียงว่า ธรรมเหล่านั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น

อนัตตา ชื่อว่า กำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญา ครั้นเทียบเคียงอย่างนี้แล้ว

ถึงอยู่ซึ่งอริยมรรค ชื่อว่า กำหนดรู้ด้วยปหานปริญญา เพราะละฉันทราคะ

ในกายนั้น หรือเมื่อเห็นด้วยอำนาจแห่งอสุภะของกายที่มีวิญญาณครอง หรือ

ไม่มีวิญญาณครอง ชื่อว่า กำหนดรู้ด้วยญาตปริญญา เมื่อเห็นด้วยอำนาจ

แห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า กำหนดรู้ด้วยตีรณปริญญา คือฉันทราคะ

ออกจากกายนั้น ละกายนั้นด้วยอรหัตมรรค ชื่อว่า กำหนดรู้ด้วยปหานปริญญา.

หากจะมีคำถามว่า เพราะเหตุไร ภิกษุนั้นย่อมกำหนดรู้อย่างนี้.

ตอบว่า เพราะย่อมเห็นตามความเป็นจริง อธิบายว่า เพราะเห็น

ความจริง ก็เมื่อประโยชน์นั่นสำเร็จ ด้วยบทว่า ปญฺาณวา เป็นต้นนั่นเทียว

เพราะปัญญาณวัตรย่อมมีแก่ภิกษุนั้น เพราะฟังพุทธพจน์ และเพราะกายนี้

แม้ปรากฏแก่ชนทั้งปวง อันภิกษุไม่ฟังพุทธพจน์แล้ว ก็ไม่อาจเพื่อกำหนดรู้ได้

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงเหตุแห่งญาณของภิกษุนั้นและ

ความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อเห็นรูปภายนอกทั้งหลายจากกายนี้ อย่างนี้

แล้ว จึงตรัสว่า สุตฺวาน พุทฺธวจน ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภนันทภิกษุณี และภิกษุผู้มีจิตวิปลาส

แล้วนั้น จึงตรัสว่า ภิกฺขุ โดยยังเทศนาให้เป็นไป โดยเป็นบริษัทที่เลิศ

และโดยแสดงภิกษุภาวะ แก่ชนทั้งหลายผู้ถึงการปฏิบัติในกายนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 497

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงประการที่ภิกษุเมื่อเห็นอยู่ ย่อมเห็นตามความ

เป็นจริง ในบาทคาถานี้ว่า ยถาภูตญฺหิ ปสฺสติ แปลว่า เพราะเห็นตาม

ความเป็นจริง ดังนี้ จึงตรัสว่า สรีระที่มีวิญญาณนี้ เหมือนสรีระที่ตายแล้ว

นั่น สรีระที่ตายแล้วนั้น เหมือนสรีระที่มีวิญญาณนี้ ดังนี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า สรีระนี้มีวิญญาณครองและเป็นของอันไม่

สวยงาม ย่อมเดิน ย่อมยืน ย่อมนั่ง ย่อมนอน เพราะยังไม่ปราศจากอายุ

ไออุ่น และวิญญาณ ฉันใด สรีระแม้ไม่มีวิญญาณครองนั่นนอนอยู่ในป่าช้า

ในบัดนี้ ในกาลก่อนก็มีแล้ว เพราะไม่ปราศจากธรรมเหล่านั้น ก็ฉันนั้น.

อนึ่ง สรีระของคนที่ตายแล้วในบัดนี้นั่น ย่อมไม่เดิน ย่อมไม่ยืน

ย่อมไม่นั่ง ย่อมไม่สำเร็จการนอน เพราะปราศจากธรรมเหล่านั้น ฉันใด

สรีระแม้มีวิญญาณครองนี้ เพราะปราศจากธรรมเหล่านั้นจักเป็นฉันนั้น.

อนึ่ง สรีระมีวิญญาณครองนี้ ยังไม่นอนตายในป่าช้าในบัดนี้ ยังไม่

ถึงความเป็นของที่พองขึ้นเป็นต้น ฉันใด แม้สรีระของคนตายแล้วในบัดนี้นั้น

ในกาลก่อนก็ได้เป็นแล้วฉันนั้น.

อนึ่ง สรีระที่ตายแล้ว ไม่มีวิญญาณครอง และเป็นของไม่สวยงาม

นอนอยู่ในป่าช้า และถึงความเป็นของพองขึ้นเป็นต้น ฉันใด สรีระแม้มีวิญญาณ

ครองนี้ ก็จักถึงฉันนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยถา อิท ตถา เอต ความว่า ภิกษุเมื่อ

ทำความที่สรีระที่ตายแล้ว เป็นของเสมอกับตน ย่อมละโทษในภายนอกได้.

บทว่า ยถา เอต ตถา อิท ความว่า เมื่อทำความที่ตนเป็นผู้เสมอด้วยสรีระที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 498

ตายแล้ว ย่อมละความกำหนัดในภายในได้ คือ เมื่อรู้ชัดซึ่งอาการที่ทำสรีระ

ทั้งสองให้เสมอกัน ย่อมละโมหะในสรีระทั้งสองนั้นได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชำระการละอกุศลมูลในส่วนเบื้องต้นนั่นแล

ด้วยการเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว เพราะภิกษุปฏิบัติในการละอกุศลมูล

นั้น ย่อมเป็นผู้สามารถ เพื่อบรรลุอรหัตมรรคสำรอกฉันทราคะทั้งปวง โดย

ลำดับ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ภิกษุพึงคลายความพอใจในกายเสียทั้งภายใน

และภายนอก ดังนี้ บาลีที่เหลือว่า เอว ปฏิปนฺโน ภิกฺขุ อนุปุพฺเพน

แปลว่า ภิกษุปฏิบัติแล้วอย่างนี้ ย่อมสำรอกความพอใจในกายเสียทั้งภายในและ

ภายนอก โดยลำดับ ดังนี้.

ครั้นทรงแสดงเสกขภูมิอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงอเสกขภูมิ

จึงตรัสว่า ฉนฺทราควิรตฺโต โส ภิกษุนั้นไม่ยินดีแล้วด้วยฉันทราคะ.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ภิกษุนั้นมีความรู้ชัดด้วยอรหัตมรรคญาณ ย่อม

บรรลุผลในลำดับแห่งมรรค ในกาลนั้น เรียกว่า ไม่ยินดีแล้วด้วยฉันทราคะ

เพราะความที่ฉันทราคะอันภิกษุนั้นละแล้วโดยประการทั้งปวง และเรียกว่า ได้

บรรลุบทที่ทรงพรรณนาแล้วว่า ชื่อว่า อมตะ เพราะไม่มีความตาย หรือ

เพราะอรรถว่าประณีต ชื่อว่า สันติ เพราะสงบจากสังขารทั้งปวง ชื่อว่า

นิพพาน เพราะไม่มีเครื่องร้อยรัด คือ ตัณหา ชื่อว่า ไม่จุติ เพราะไม่มี

การเคลื่อนไป.

อนึ่ง ภิกษุนั้นมีความรู้ชัดด้วยอรหัตมรรคญาณ ดำรงอยู่ในผล ใน

ลำดับแห่งมรรค พึงทราบว่า ไม่ยินดีแล้วด้วยฉันทราคะ และได้บรรลุบทมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 499

ประการที่กล่าวแล้ว ด้วยบทว่า อชฺฌคา นั้น ทรงแสดงว่า ฉันทราคะนี้

อันภิกษุนั้นละได้แล้ว และนิพพานนี้อันภิกษุนี้ได้แล้ว ดังนี้.

ครั้นตรัสอสุภกรรมฐานพร้อมกับความสำเร็จ ด้วยอำนาจแห่งกายมี

วิญญาณครอง และไม่มีวิญญาณครองอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงติเตียนการอยู่

ด้วยความประมาท ซึ่งทำอันตรายแก่อานิสงส์มากมายอย่างนี้ ด้วยการทรง

แสดงโดยย่ออีก จึงตรัสสองคาถาว่า ทิปาทโกย.

ในคาถานั้น กายทั้งหลายแม้ไม่มีเท้าเป็นต้น เป็นของไม่สะอาดทีเดียว

แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ในคาถานี้ ด้วยอำนาจแห่งการกระทำยิ่งหรือ ด้วยอำนาจ

แห่งการกำหนดอย่างสูง หรือเพราะกายเหล่าอื่นแม้เป็นของไม่สะอาด แต่บุคคล

ปรุงด้วยรสเค็มและรสเปรี้ยวเป็นต้นแล้ว นำไปใช้เป็นอาหารของมนุษย์ทั้ง-

หลายได้ ส่วนกายของมนุษย์หาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะฉะนั้น แม้เมื่อจะทรง

แสดงมนุษย์ซึ่งมีภาวะอันไม่สะอาดยิ่งนัก จึงตรัสว่า ทิปาทโก มีสองเท้า

ดังนี้.

บทว่า อย ได้แก่ ทรงแสดงกายมนุษย์. บทว่า ทุคฺคนฺโธ ความว่า

กายนี้มีกลิ่นเหม็น อันบุคคลปรุงแต่งด้วยดอกไม้และของหอมทั้งหลาย บริหาร

อยู่. บทว่า นานากุณปริปูโร ได้แก่ เต็มไปด้วยซากศพอเนกประการ มี

เส้นผมเป็นต้น.

บทว่า วิสฺสวนฺโต ตโต ตโต ความว่า หลั่งออกอยู่ซึ่งของไม่

สะอาดทั้งหลายมีน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้น จากทวารทั้งเก้า และคราบเหงื่อจาก

ขุมขนทั้งหลาย กระทำความพยายามของคนทั้งหลาย แม้จะพยายามเพื่อปกปิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 500

ด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้นให้ไร้ผล. บัดนี้ท่านจงดูในกายนั้นว่า ด้วยกาย

เช่นนี้ คนพาลไร ๆ จะเป็นชายก็ตาม เป็นหญิงก็ตาม พึงสำคัญเพื่อยกย่องตัว

เอง คือ พึงสำคัญยกย่องตัวเองด้วยความสำคัญ คือ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ

โดยนัยมีอาทิว่า เรา ว่า ของเรา หรือว่า เที่ยง หรือ ตั้งตนไว้ในฐานะสูง

พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยชาติเป็นต้น จักมีอะไรนอกจากการไม่เห็นอริยสัจจะ คือ

เว้นจากความไม่เห็นอริยสัจจะด้วยอริยมรรคแล้ว จักมีอะไรอื่น คือพึงมีแต่

การยกย่องตนและการดูหมิ่นผู้อื่นอย่างนี้ สำหรับผู้นั้น.

ในเวลาจบเทศนา นางนันทาภิกษุณีได้ถึงความสังเวชว่า โอหนอ !

เราช่างพาลเสียกระไร ที่ปรารภเราเท่านั้น ไม่ไปสู่ที่บำรุงของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ผู้ทรงยังพระธรรมเทศนาอย่างต่าง ๆ ให้เป็นไปอย่างนี้ และสังเวชอย่างนี้

แล้ว พิจารณาพระธรรมเทศนานั้นนั่นเทียวได้กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัต ในภาย

ใน ๒-๓ วัน ด้วยกรรมฐานนั้นนั่นแล.

ได้ยินว่า แม้ในฐานะที่สอง ในเวลาจบเทศนา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้

ธรรมาภิสมัย สิริมาเทพกัญญาได้บรรลุอนาคามิผล ส่วนภิกษุนั้นดำรงอยู่ใน

โสดาปัตติผล แล.

จบอรรถกถาวิชยสูตร* แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

* ปุราณโปฏฺ ก. ยุ. กายวิจฺฉนฺทนิกสุตฺตวณฺณนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 501

มุนิสูตรที่ ๑๒

ว่าด้วยคนที่เป็นมุนี

[๓๑๓] ภัยเกิดแต่ความเชยชม ธุลี

คือราคะ โทสะ และโมหะ ย่อมเกิดแต่ที่อยู่

ที่อันมิใช่ที่อยู่และความไม่เชยชมนี้แล พระ-

พุทธเจ้าผู้เป็นมุนีทรงเห็น (เป็นความเห็น

ของมุนี).

ผู้ใดตัดกิเลสที่เกิดแล้ว ไม่พึงปลูก

ให้เกิดขึ้นอีก เมื่อกิเลสนั้นเกิดอยู่ ก็ไม่พึง

ให้หลั่งไหลเข้าไป บัณฑิตทั้งหลายกล่าว

ผู้นั้นว่าเป็นมุนีเอก เที่ยวไปอยู่ ผู้นั้นเป็นผู้

แสวงหาคุณอันใหญ่ ได้เห็นสันติบท.

ผู้ใดกำหนดรู้ที่ตั้งแห่งกิเลส ฆ่าพืช

ไม่ทำยางแห่งพืชให้หลั่งไหลเข้าไป ผู้นั้นแล

เป็นมุนี มีปรกติเห็นที่สุดแห่งความสิ้นไป

แห่งชาติ ละอกุศลวิตกเสียแล้ว ไม่เข้าถึง

การนับว่าเป็นเทวดาและมนุษย์.

ผู้ใดรู้ชัดภพ อันเป็นที่อาศัยอยู่ทั้งปวง

ไม่ปรารถนาภพอันเป็นที่อาศัยอยู่เหล่านั้นแม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 502

ภพหนึ่ง ผู้นั้นแลเป็นมุนี ปราศจากกำหนัด

ไม่ยินดีแล้ว ไม่ก่อกรรม เป็นผู้ถึงฝั่งโน้น

แล้วแล.

อนึ่ง ผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด รู้

แจ้งธรรมทุกอย่าง มีปัญญาดี ไม่เข้าไปติด

(ไม่เกี่ยวเกาะ) ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้

ทั้งหมด น้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา

นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี.

อนึ่ง ผู้มีกำลังคือปัญญา ประกอบ

ด้วยศีลและวัตร มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน

มีสติ หลุดพ้นจากเครื่องข้อง ไม่มีกิเลสดุจ

หลักตอ ไม่มีอาสวะ นักปราชญ์ย่อมประกาศ

ว่าเป็นมุนี.

หรือผู้เป็นมุนี (มีปัญญา) ไม่ประมาท

เที่ยวไปผู้เดียว ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและ

สรรเสริญ ไม่สะดุ้งหวาดเพราะโลกธรรม

เหมือนราชสีห์ ไม่สะดุ้งหวาดเพราะเสียง

ไม่ข้องอยู่ในตัณหาและทิฏฐิ เหมือนลมไม่

ข้องอยู่ในตาข่าย ไม่ติดอยู่กับโลก เหมือน

ดอกบัวไม่ติดอยู่กับน้ำ เป็นผู้นำ ไม่ใช่ผู้ที่

ใคร ๆ อื่นจะพึงนำไปได้ นักปราชญ์ย่อม

ประกาศว่าเป็นมุนี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 503

หรือแม้ผู้ใดไม่ถึงความยินดีหรือยิน-

ร้าย ในเรื่องที่ผู้อื่นกล่าววาจาด้วยอำนาจ

การชมหรือการติ เหมือนเสามีอยู่ที่ท่าเป็นที่

ลงอาบน้ำ ผู้นั้นปราศจากราคะ มีอินทรีย์

ตั้งมั่นดีแล้ว นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็น

มุนี.

หรือแม้ผู้ใดแลดำรงตนไว้ซื่อตรง

ดุจกระสวย เกลียดชังแต่กรรมที่เป็นบาป

พิจารณาเห็นกรรมทั้งที่ไม่เสมอ และที่เสมอ

(ทั้งผิดทั้งชอบ) ผู้นั้นนักปราชญ์ย่อมประกาศ

ว่าเป็นมุนี.

หรือแม้ผู้ใดยังหนุ่มแน่นหรือปูนกลาง

สำรวมตน ไม่ทำบาป เป็นมุนี มีจิตห่างจาก

บาป ไม่โกรธง่าย ไม่ว่าร้ายใคร ๆ ผู้นั้น

นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี.

หรือแม้ผู้ใดอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้

เป็นอยู่ ได้ก้อนข้าวแต่ส่วนที่ดี ส่วนปาน

กลางหรือส่วนที่เหลือ ไม่อาจจะกล่าวชม

ทั้งไม่กล่าวทับถมให้ทายกตกต่ำ ผู้นั้นนัก-

ปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 504

หรือแม้ผู้ใดไม่หมกมุ่นอยู่ในรูปแห่ง

หญิงอะไร ๆ ที่กำลังเป็นสาวเป็นผู้รู้เที่ยวไป

อยู่ ปราศจากความยินดีในเมถุน ไม่กำหนัด

หลุดพ้นแล้วจากควานมัวเมาประมาท ผู้นั้น

นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี.

หรือแม้ผู้รู้จักโลก เห็นปรมัตถประ-

โยชน์ ข้ามพ้นโอฆะและสมุทร เป็นผู้คงที่

ตัดกิเลสเครื่องร้อยรัดได้ขาดแล้ว อันทิฏฐิ

หรือตัณหาอาศัยไม่ได้แล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้นั้น

นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี.

คนทั้งสองไม่เสมอกัน มีที่อยู่และ

ความเป็นอยู่ไกลกัน คือ คฤหัสถ์เลี้ยงลูกเมีย

ส่วนภิกษุไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา มีวัตรงาม

คฤหัสถ์ไม่สำรวมเพราะบั่นรอนสัตว์อื่น ภิกษุ

เป็นมุนี สำรวมเป็นนิตย์ รักษาสัตว์มีชีวิตไว้.

นกยูงมีสร้อยคอเขียว บินไปในอากาศ

ยังสู้ความเร็วของหงส์ไม่ได้ในกาลไหน ๆ

ฉันใด คฤหัสถ์ทำตามภิกษุผู้เป็นมุนี สงัด

เงียบ เพ่งอยู่ในป่าไม่ได้ ฉันนั้น.

จบมุนิสูตรที่ ๑๒

จบอุรควรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 505

อรรถกถามุนิสูตร

มุนิสูตรเริ่มด้วยคาถาว่า สนฺถวาโต ภย ชาต ดังนี้ :-

มีอุบัติอย่างไร ? สูตรทั้งหมดนั่นเทียว ไม่มีอุบัติเดียวกัน จริงอยู่

ในมุนิสูตรนี้ คาถา ๔ คาถาข้างต้นมีอุบัติอย่างนี้ก่อน ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มี

พระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี หญิงยากจนคนหนึ่ง ใกล้วัดในบ้าน

เป็นม่ายผัวตาย จึงให้บุตรบวชในภิกษุทั้งหลาย แม้ตนเองก็บวชในภิกษุณี

ทั้งหลาย เธอแม้ทั้งสองเข้าจำพรรษาในกรุงสาวัตถี ประสงค์จะเยี่ยมกันและกัน

บ่อย ๆ มารดาได้อะไรแล้วก็นำไปให้บุตร แม้บุตรได้อะไรแล้วก็นำไปให้

มารดา คบหากันทั้งเย็น ทั้งเช้าอย่างนี้ แจกสิ่งของที่ได้แล้ว ๆ ให้กัน ยินดี

ไต่ถามสุขทุกข์ หมดความระแวง. เธอทั้งสองคลุกคลีกัน เพราะเห็นกันเนือง ๆ

อย่างนี้ ก็มีความคุ้นเคย เพราะความคลุกคลี มีช่องเพราะความคุ้นเคย มีจิต

ถูกราคะเข้ามากล้ำกราย บรรพชิตสัญญา และมาตุปุตตสัญญา ก็อันตรธานไป

แต่นั้น ก็ทำการล่วงละเมิดเขตแดน เสพอสัทธรรม และถึงความไม่มียศ

พากันสึกอยู่ในท่ามกลางเรือน.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรง

ติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษย่อมรู้หรือหนอว่า มารดาไม่กำหนัด

จัดในบุตร ก็หรือบุตรไม่กำหนัดจัดในมารดา ดังนี้แล้ว ทรงยังภิกษุทั้งหลาย

ให้สลดใจ ด้วยสูตรที่เหลือมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นแม้รูป

หนึ่งอื่น แล้วตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 506

ภิกษุพึงเว้นมาตุคาม ดุจน้ำทองแดง

เหมือนเว้นพิษร้ายกาจ เหมือนเว้นน้ำมัน

ที่เดือดพล่าน ฉะนั้น

จึงทรงภาษิต คาถา ๔ คาถา อันพึงน้อมเข้ามาในตนเหล่านี้ว่า ภัย

เกิดแต่ความเชยชม เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายอีก.

ในคาถานั้น สันถวะ (ความเชยชม) ในกาลก่อนกล่าวไว้เป็น ๓ อย่าง

คือ ตัณหา ทิฏฐิ และ มิตรเภท ในที่นี้ ประสงค์เอา ตัณหาสันถวะ และ

ทิฏฐิสันถวะ หมายถึงสันถวะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู เหมือนภัยเกิดแต่ความเชยชมของโมฆบุรุษนั้น

ก็ภัยนั้น เป็นภัยเกิดแต่กิเลสอันมีกำลัง เพราะตัณหามีความเป็นผู้ใคร่ที่จะเห็น

กันเนือง ๆ ของภิกษุนั้น ซึ่งเป็นเหตุให้เธอไม่อาจเพื่อดำรงอยู่ ได้ประพฤติผิด

ในมารดา หรือเป็นมหาภัย มีการติเตียนตนเป็นต้น ซึ่งเป็นเหตุให้ทิ้งศาสนา

สึกไป ฉะนั้น.

บทว่า นิเกตา ได้แก่ ประเภทแห่งอารมณ์ที่กล่าวไว้ โดยมีอาทิว่า

ดูก่อนคฤหบดี อารมณ์ที่พัวพันด้วยรูปนิมิตและการแผ่ไปแห่งที่อยู่ เรียกว่า

นิเกตสารี ผู้เที่ยวไปในบ้าน.

บทว่า ชายเต รโช ความว่า ธุลีคือ ราคะ โทสะ และ โมหะ ย่อม

เกิด. มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ก็ภัยแต่ความเชยชมเกิดแก่ภิกษุนั้นอย่าง

เดียว ก็หามิได้ โดยที่แท้แล ภัยนั่นใดมีอาสวะเป็นอารมณ์ เรียกว่า นิเกตะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 507

เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่ของกิเลสทั้งหลาย บัดนี้ ธุลีย่อมเกิดแต่ภัยนั้น คือ

แต่ที่อยู่มากขึ้น เพราะความที่ภิกษุนั้นเป็นผู้ทำลายสังวร เพราะความเป็นผู้

ล่วงละเมิดเขตแดน อันเป็นเหตุให้เธอมีจิตเศร้าหมอง จักถึงความพินาศ

ย่อยยับ อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบสองบทนั่นอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พวกท่านจงดู เหมือนภัยนี้เกิดแต่ความเชยชมของโมฆบุรุษนั้น และเหมือน

ธุลีเกิดแต่ที่อยู่ของปุถุชนทั้งปวง ฉะนั้น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงติเตียนการเห็นของปุถุชน ด้วยเนื้อความ

ก่อนนี้ โดยประการทั้งปวงแล้ว เมื่อจะทรงสรรเสริญการเห็นของพระองค์ จึง

ตรัสเนื้อความหลังว่า อนิเกต ที่อันมิใช่ที่อยู่ ดังนี้.

ในคาถานั้น พึงทราบอนิเกตะ โดยปฏิเสธนิเกตะตามที่กล่าวแล้ว

อสันถวะ โดยปฏิเสธสันถวะ คำทั้งสองแม้นั่น เป็นชื่อของพระนิพพาน. บทว่า

เอต เว มุนิทสฺสน ความว่า ที่อันมิใช่ที่อยู่และความไม่เชยชมนี้แล อันมุนี

ผู้รู้เห็นแล้ว. ในคาถานั้น นิบาตว่า เว พึงเห็นในอรรถอันน่าประหลาดใจ.

ก็อธิบายนี้ว่า เมื่อมารดาและบุตรปฏิบัติผิด ด้วยอำนาจที่อยู่และความเชยชม

ที่อันมิใช่ที่อยู่และความไม่เชยชม ชื่อนี้แล อันมุนีเห็นแล้วว่า โอ ! ไม่เคยมี

ดังนี้ เป็นอันสำเร็จแล้ว ด้วย เวนิบาต นั้น. อีกอย่างหนึ่ง การเห็นของมุนี

แม้เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มุนิทัสสนะ ชื่อว่า ทัสสนะ เป็นของควร เป็นของ

ชอบใจ อธิบายว่า ย่อมควรและย่อมชอบใจ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๒ บทว่า โย ชาตมุจฺฉิชฺช ความว่า

ผู้ใดพยายามอยู่โดยประการที่จะละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ตัดกิเลสที่เกิดแล้ว คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 508

มีแล้ว บังเกิดแล้ว ในวัตถุไร ๆ นั่นแล ด้วยยังคุณให้เกิดในวัตถุนั้น และ

กิเลสแม้ยังไม่มาแล้วใด เรียกว่า เกิดอยู่ ด้วยลักษณะกำลังเป็นไป ในที่ใกล้

อันเป็นไปอยู่ เพราะความเป็นกิเลสมุ่งหน้า เพื่อเกิดขึ้น ด้วยการประชุมปัจจัย

มีรูปเห็นปานนั้น ไม่พึงปลูกกิเลสนั้นให้เกิดขึ้นอีก อธิบายว่า พยายามอยู่

โดยประการที่จะมีความไม่เกิดขึ้นแห่งอกุศลที่ยังไม่เกิด ชื่อว่า ไม่พึงให้กิเลส

เกิดขึ้น.

ถามว่า ก็จะไม่พึงให้กิเลสเกิดขึ้นอย่างไร ?

ตอบว่า ไม่พึงให้กิเลสนั้นหลั่งไหลเข้าไป คือ ไม่พึงให้ปัจจัยที่เป็น

เหตุให้กิเลสนั้นเกิดหลั่งไหลเข้าไป ไม่พึงรวมเข้าไว้ ไม่พึงปลูกกิเลสนั้นให้เกิด

ขึ้นอีก ด้วยการทำให้อ่อนกำลังในการก่อตัวอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ผู้ศึกษาพึงทราบการประกอบในคาถานี้อย่างนี้ว่า เพราะ

กิเลสทั้งหลายที่เป็นไปในอดีตก็ดี ก็ตัดด้วยมรรคภาวนา ที่เป็นปัจจุบันก็ดี

ไม่ปลูกด้วยความไม่มีกิเลสส่วนอดีต ที่เป็นอนาคตก็ดี ไม่ให้หลั่งไหลเข้าไปสู่

ความสืบต่อแห่งจิต เพราะไม่มีกิเลสส่วนปัจจุบันนั้น ด้วยการทำลายความ

สามารถแห่งการเกิดเสีย เพราะฉะนั้น ผู้ใดตัดกิเลสที่เกิดแล้ว ด้วยอริยมรรค

ภาวนา ไม่พึงปลูกให้เกิดขึ้นอีก และเมื่อกิเลสนั้นเกิดขึ้นอยู่ ก็ไม่พึงให้กิเลส

แม้ที่เป็นอนาคตหลั่งไหลเข้าไป บัณฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า เป็นมุนีเอก

เที่ยวไปอยู่ และผู้นั้นเป็นผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ได้เห็นสันติบท.

บทว่า เอก ความว่า ชื่อว่า เอก เพราะปราศจากกิเลส หรือ

ชื่อว่า เอก เพราะอรรถว่า ประเสริฐที่สุด. บทว่า มุนี ได้แก่ เป็นมนี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 509

หรือเป็นเอกในมุนีทั้งหลาย. บทว่า จรนฺต ความว่า เที่ยวไปอยู่ ด้วยความ

บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ด้วยโลกัตถจริยา และด้วยจริยาที่เหลือทั้งหลาย.

บทว่า อทฺทกฺขิ ความว่า ได้เห็นแล้ว. บทว่า โส ความว่า

พุทธมุนีที่ตรัสไว้ว่า ผู้ใดตัดกิเลสที่เกิดแล้ว ชื่อว่า ไม่พึงปลูกให้เกิดขึ้นอีก

เพราะความเป็นผู้สามารถในการไม่ปลูก และในการไม่ให้หลั่งไหลเข้าไป เมื่อ

กิเลสนั้นเกิดอยู่ ก็ไม่พึงให้หลั่งไหลเข้าไป. บทว่า สนฺติปท ได้แก่ส่วนแห่ง

สันติ. ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ได้เห็น

อัจจันตสันติ ในโลกที่ตามเห็นอย่างนี้ว่า ประเสริฐที่สุด ในบรรดาสมมติสันติ

ตทังคสันติและอัจจันตสันติ ทั้ง ๓ อันต่างโดยทิฏฐิ ๖๒ วิปัสสนา และนิพพาน.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๓ บทว่า สงฺขาย ได้แก่ นับแล้ว กำ-

หนดแล้ว พิจารณาแล้ว ได้แก่รู้โดยตามความเป็นจริงแล้ว อธิบายว่า กำหนด

รู้แล้ว ด้วยทุกขปริญญา.

บทว่า วตฺถูนิ ความว่า ที่ตั้งแห่งกิเสสทั้งหลาย อันต่างด้วยขันธ์

อายตนะและธาตุ ซึ่งเป็นที่ตั้งให้บุคคลนี้ติดอยู่ในโลกอย่างนี้. บทว่า ปมาย

พีช ความว่า พืช คือ อภิสังขารวิญญาณแห่งวัตถุเหล่านั้นใด ฆ่า คือ

เบียดเบียนทำลายพืชนั้น. อธิบายว่า ละขาดแล้ว ด้วยสมุจเฉทปหาน.

บทว่า สิเนหมสฺส นานุปฺปเวจฺเฉ ความว่า พืชนั้นเปียกชุ่มด้วย

ยาง คือ ตัณหาและทิฏฐิ พึงงอกงามเป็นวัตถุตามที่กล่าวแล้วนั้น ด้วยอำนาจ

แห่งปฏิสนธิต่อไป ไม่ทำยางแห่งพืชนั้นให้หลั่งไหลเข้าไป อธิบายว่า ไม่ทำยาง

นั้นให้หลั่งไหลเข้าไป ด้วยมรรคภาวนา ซึ่งเป็นปฏิปักษ์ต่อยางแห่งพืชนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 510

บทว่า ส เว มุนิ ชาติกฺขยนฺตทสฺสี ความว่า พุทธมุนีนั้น คือ

เห็นปานนั้น ชื่อว่า มีปกติเห็นที่สุดแห่งความสิ้นไปแห่งชาติ เพราะความที่

นิพพานอันเป็นที่สิ้นสุดแห่งชาติและมรณะอันมุนีเห็นแล้ว ด้วยนิพพานสัจฉิ-

กิริยา ละวิตกเสียแล้ว ย่อมไม่เข้าถึงการนับ คือ ละอกุศลวิตกแม้ ๙ ประเภท

ด้วยสัจจภาวนาทั้งสี่นี้ บรรลุสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ กระทำโลกัตถจริยา ชื่อว่า

ไม่เข้าถึงการนับว่า เป็นเทวดาและมนุษย์ ด้วยการบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน.

ธาตุ เพราะความสิ้นไป แห่งจริมวิญญาณโดยลำดับ อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็น

เนื้อความในคาถานี้อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ยังไม่ปรินิพพานนั่นแล ย่อมเข้าถึงการ

นับว่า บุคคลนี้กำหนัดแล้ว หรือ ประทุษร้ายแล้ว เพราะยังไม่ละวิตกมีกาม

วิตกเป็นต้นฉันใด ละวิตกเสียแล้ว ไม่เข้าถึงการนับ ฉันนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่ ๔ บทว่า อญฺาย ความว่า รู้แล้วโดย

นัยมีความไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า สพฺพานิ ได้แก่ ไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า

นิเวสนานิ ได้แก่ ภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น เพราะสัตว์ทั้งหลายย่อม

อาศัยอยู่ในภพเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ภพอันเป็นที่อาศัยอยู่.

บทว่า อนิกามย อญฺตรมฺปิ เตส ความว่า ไม่ปรารถนาภพ

อันเป็นที่อาศัยอยู่เหล่านั้นแม้ภพหนึ่ง เพราะเห็นโทษอย่างนี้ พุทธมุนีนั้น

คือ เห็นปานนั้น ชื่อว่า ปราศจากกำหนัด เพราะความเป็นผู้ปราศจากกำหนัด

คือ ตัณหาแล้ว และชื่อว่า ไม่ยินดีแล้ว เพราะความเป็นผู้ปราศจากกำหนัด

นั้นแล ด้วยกำลัง คือมรรคภาวนา ไม่ก่อกรรม คือ ไม่ทำโดยประการที่

บุคคลพวกหนึ่ง ยังไม่ปราศจากกำหนัดเลย แต่ปฏิญญาว่า เราไม่ยินดีแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 511

บทว่า นายูหติ ความว่า ไม่ทำกุศลหรืออกุศล ซึ่งเกิดแก่ภพอัน

เป็นที่อาศัยอยู่นั้น ๆ เพราะเหตุไร เพราะเป็นผู้ถึงฝั่งโน้นแล้ว อธิบายว่า

เพราะมุนีเห็นปานนั้น เป็นผู้ถึงฝั่งโน้นแล้วแห่งภพอันเป็นที่อาศัยอยู่ทั้งปวง

คือ พระนิพพาน.

ครั้นทรงติเตียนการเห็นของปุถุชนแล้ว ทรงสรรเสริญการเห็นของ

พระองค์ด้วยคาถาที่ ๑ ด้วยประการฉะนี้แล้ว ทรงสรรเสริญการบรรลุสันติบท

ของพระองค์ เพราะความไม่มีกิเลสทั้งหลายซึ่งปุถุชนยังไม่สงบระงับ ด้วย

คาถาที่ ๒ ทรงสรรเสริญการละวิตกไม่เข้าถึงการนับของพระองค์ ด้วยสัจจภาว-

นาทั้งสี่ในที่ตั้งแห่งกิเลสซึ่งปุถุชนยังไม่ละวิตก แล้วเข้าถึงการนับอย่างนั้น ๆ

ด้วยคาถาที่ ๓ ทรงสรรเสริญการไม่ก่อกรรมของพระองค์แม้ต่อไป เพราะไม่

มีตัณหาในภพอันเป็นที่อาศัยอยู่ ซึ่งปุถุชนปรารถนายิ่งนัก ก่อกรรมเพราะ

ภวตัณหา ด้วยคาถาที่ ๔ ทรงจบเทศนาในการอุบัติครั้งแรก ด้วยยอดคือ

พระอรหัตด้วยคาถาทั้งสี่นั่นแล.

คาถาว่า สพฺพาภิภู ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

มหาบุรุษทรงทำมหาภิเนษกรมณ์แล้ว ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ

โดยลำดับ เสด็จไปสู่กรุงพาราณสี เพื่อประโยชน์แก่การยังพระธรรมจักรให้

เป็นไป ทรงพบอุปกาชีวกในระหว่างโพธิมัณฑ์และตำบลคยา และผู้อันอุป-

กาชีวกทูลถามว่า ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ทั้งหลายของท่านผ่องใสแล จึงตรัส

พระดำรัสว่า เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง ดังนี้เป็นต้น อุปกาชีวก ทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 512

เฮ้ย ! อาวุโส สั่นศีรษะสวนทางหลีกไป และไปถึงนาควิกคามแห่งหนึ่ง ใน

วังคชนบทโดยลำดับ หัวหน้าพรานเนื้อเห็นอุปกาชีวกนี้นั้น ก็คิดว่า โอ !

สมณะมักน้อยไม่นุ่งแม้ผ้า สมณะนี้เป็นอรหันต์ในโลก แล้วนำไปสู่เรือน

อังคาสด้วยรสเนื้อ และพร้อมกับบุตรภรรยาไหว้เขาผู้บริโภคแล้ว นิมนต์ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละ ผมจะบำรุงด้วยปัจจัย ได้จัด

โอกาสที่อยู่ให้ อุปกาชีวกนั้น ก็อยู่ในที่นั้น.

พรานเนื้อ เมื่อเนื้อทั้งหลายไม่หนีไกลเพื่อเที่ยวไปในประเทศที่เย็น

สมบูรณ์ด้วยน้ำในคิมหกาล เมื่อจะไปในประเทศนั้น จึงสั่งธิดา ชื่อว่า ฉาวา

ว่า เจ้าจักบำรุงอรหันต์ของพวกเราโดยเคารพ แล้วไปพร้อมกับบุตรและน้อง

ชายทั้งหลาย ก็นางเป็นคนน่าดูถึงพร้อมด้วยสัดส่วน ในวันที่ ๒ อุปกาชีวกมา

สู่เรือน เห็นทาริกานั้นเข้าใกล้ชิดเพื่ออังคาสถูกราคะครอบงำ ไม่อาจเพื่อบริโภค

ถือภาชนภัตรไปสู่ที่อยู่ เก็บภัตรไว้ในที่สุดข้างหนึ่ง คิดว่า ถ้าเราได้นางฉาวา

จะเป็นอยู่ ถ้าไม่ได้ จักตาย ดังนี้ ปราศจากอาหารนอนอยู่ ในวันที่ ๗ พราน

เนื้อกลับมาแล้วถามธิดาถึงประพฤติการณ์ของอุปกาชีวก นางพูดว่า มาใน

วันหนึ่งเท่านั้น แล้วไม่เคยมาอีก พรานเนื้อคิดว่า เราจักเข้าไปหาอุปกาชีวก

นั้นไต่ถามดู ด้วยเพศที่มานั่นแหละ จึงมาในขณะนั้นทีเดียว ลูบเท้าถามว่า

ท่านผู้เจริญไม่ผาสุกหรือ อุปกาชีวกทุรนทุราย กลิ้งไปมาอยู่นั่นเทียว พราน

เนื้อนั้นกล่าวว่า จงพูดเถิด ท่านผู้เจริญ ผมอาจเพื่อทำสิ่งใด จักทำสิ่งนั้น

ทั้งหมด อุปกาชีวกกล่าวว่า ถ้าได้นางฉาวา จะเป็นอยู่ ถ้าไม่ได้ ผมตายใน

ที่นี้แหละประเสริฐกว่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 513

มาควิก. ท่านผู้เจริญ ก็ท่านรู้ศิลปะอะไรบ้าง.

อุปถะ. ไม่รู้เลย.

มาควิก. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านไม่รู้ศิลปะอะไรเลย ไม่อาจเพื่อดำรง

ฆราวาสได้.

อุปกาชีวกนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่รู้ศิลปะอะไรเลย แต่ข้าพเจ้าจักเป็น

ผู้นำเนื้อของท่านและขายเนื้อ ฝ่ายพรานเนื้อกล่าวว่า พวกเราชอบการขายเนื้อ

นั่นแล จึงให้ผ้าเนื้อหนานำสู่เรือนให้ธิดา เพราะอาศัยการอยู่ร่วมของเขาทั้ง-

สองนั้น บุตรก็เกิดแล้ว เขาจึงตั้งชื่อบุตรนั้นว่า สุภัททะ นางฉาวาพูด

เสียดสีอุปกะ ด้วยเพลงขับกล่อมบุตร อุปกะนั้นเมื่อไม่ทนต่อคำเสียดสีนั้น จึง

กล่าวว่า แน่ะ แม่คนสวย ฉันจะไปสู่สำนักของพระอนันตชิน แล้วมุ่งหน้า

ต่อมัชฌิมประเทศหลีกไป.

ก็โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร

ใกล้กรุงสาวัตถี ลำดันนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสั่งภิกษุทั้งหลายก่อนที-

เดียวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดมาถามอยู่ว่า พระอนันตชิน ท่านทั้งหลาย

พึงแสดงเราต่อผู้นั้น ฝ่ายอุปกะแลมาสู่กรุงสาวัตถี โดยลำดับนั่นเทียว ยืนอยู่

ในท่ามกลางวิหารถามว่า สหายของเรา ชื่อ อนันตชิน มีอยู่ในวิหารนี้ ท่านอยู่

ที่ไหน ? ภิกษุทั้งหลายนำอุปกะนั้นไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอันสมควรแก่อุปกะนั้น ในที่สุดแห่งเทศนา อุปกะ

ได้ดำรงอยู่ในอนาคามิผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 514

ภิกษุทั้งหลายฟังประพฤติการณ์ในกาลก่อนของอุปกะนั้นแล้ว ยังถ้อย-

คำให้ตั้งขึ้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่สมณเปลือยปราศจากสิริ

ก่อน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้การตั้งขึ้นแห่งถ้อยคำนั้น เสด็จออกจากพระ-

คันธกุฏิ ประทับนั่งบนพุทธาสนะ ด้วยปาฏิหาริย์ อันสมควรแก่ขณะนั้น

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนาเรื่อง

อะไรหนอ ภิกษุเหล่านั้นทูลบอกเรื่องทั้งหมด แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่แสดงธรรม เพราะไม่มีเหตุไม่มีปัจจัย

ธรรมเทศนาของตถาคตปราศจากมลทิน ใคร ๆ ไม่อาจเห็นโทษในธรรม-

เทศนานั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกะได้เป็นอนาคามีในบัดนี้ เพราะอุปนิสัย

แห่งธรรมเทศนานั้น ได้ทรงภาษิตคาถานี้ ซึ่งแสดงความที่พระองค์ทรงมี

เทศนาอันไม่มีมลทิน.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า ผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด เพราะ

ความที่พระองค์เป็นผู้อันธรรมเหล่านั้นไม่ครอบงำ ด้วยการละฉันทราคะใน

ขันธ์ อายตนะ และธาตุทั้งปวง ที่มีอาสวะ และเพราะความที่พระองค์ทรง

เป็นไปครอบงำธรรมเหล่านั้นหมดไว้ด้วยพระองค์เอง ชื่อว่า รู้แจ้งธรรม

ทุกอย่าง เพราะความที่ธรรมเหล่านั้น และสรรพธรรมเหล่าอื่น อันพระองค์

ทรงรู้แจ้งโดยอาการทั้งปวง ชื่อว่า มีปัญญาดี เพราะความที่พระองค์ทรงถึง

พร้อมแล้วด้วยเมธาอันงาม ซึ่งสามารถในการทรงแสดงธรรมทั้งปวง ชื่อว่า

ไม่เข้าไปติดในธรรมทั้งปวงเหล่านั้น เพราะไม่มีความติด คือ ตัณหาและทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 515

ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเหตุให้คนเข้าไปติดในธรรมทั้งปวง อันต่างด้วยขันธ์ที่มีอาสวะ

เป็นต้น ชื่อว่า ละธรรมได้ทั้งหมด เพราะความที่พระองค์ไม่มีฉันทราคะ

ในสรรพธรรมเหล่านั้น และเพราะพระองค์ทรงละธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ดำรง

อยู่ ชื่อว่า น้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา มีอธิบายว่าน้อมไปยิ่งแล้ว

เพราะความที่พระองค์ทรงน้อมไปแล้วโดยพิเศษในนิพพานอันเป็นที่สิ้นตัณหา

ด้วยจิตอันโน้มไปในอุปธิวิเวก.

บทว่า ต วาปิ ธีรา มุนิ เวทยนฺติ ความว่า สัตว์ ผู้นักปราชญ์

ทั้งหลายย่อมประกาศ คือ ย่อมรู้แม้ผู้นั้นว่า เป็นมุนี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระองค์ให้แจ่มแจ้งว่า ท่านทั้งหลายจงดู

มุนีนี้เป็นผู้ประเสริฐยิ่งเพียงใด เทศนาของมุนี ผู้ประเสริฐยิ่งเพียงนั้นจะมี

มลทินแต่ที่ไหน จริงอยู่ วาศัพท์ ในบทว่า ต วาปิ ธีรา นี้มีความแจ่มแจ้ง

เป็นอรรถ ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า อุปกะแม้เห็นพระตถาคตในกาลนั้น

ไม่เชื่อแล้วว่า พระตถาคตนี้เป็นพุทธมุนี ภิกษุทั้งหลาย ยังถ้อยคำให้ตั้งขึ้น

อย่างนี้แล้ว ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงว่า จงเชื่อก็ตาม

ไม่เชื่อก็ตาม แต่นักปราชญ์ทั้งหลายประกาศผู้นั้นว่า เป็นมุนี จึงตรัสคาถา

นี้แล.

คาถาว่า ปญฺาพล ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

คาถานี้ตรัสปรารภพระเรวตเถระ ในคาถานั้น บัณฑิตพึงทราบการ

บรรพชาจำเดิมแต่ต้นของพระเรวตเถระ การบรรลุคุณวิเศษของท่านผู้บวชแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 516

อยู่ที่วัดป่าตะเคียน โดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในคาถานี้ว่า คาเม วา ยทิ วารญฺเ

และการเสด็จไปและการเสด็จกลับในป่าตะเคียนนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับแล้ว ภิกษุแก่รูปหนึ่งลืมรองเท้าจึงกลับมาเห็น

รองเท้าแขวนที่ต้นตะเคียน ถึงกรุงสาวัตถี เมื่อนางวิสาขาอุบาสิกาถามว่า ข้า

แต่ท่านผู้เจริญ โอกาสเป็นที่อยู่ของพระเรวตเถระเป็นที่รื่นรมย์หรือ เมื่อพูด

รุกรานภิกษุทั้งหลายที่กล่าวสรรเสริญ จึงกล่าวว่า แน่ะ อุบาสิกา ภิกษุเหล่านั้น

พูดเท็จ ภูมิประเทศไม่งาม เศร้าหมองอย่างยิ่ง ป่าตะเคียนนั่นเล่า ก็ขรุขระ

เขาฉันอาคันตุกภัตรของนางวิสาขาแล้ว เพ่งโทษภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมที่โรง

กลมในภายหลังภัตร กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ สิ่งอันจะพึงรื่นรมย์ในเสนาสนะ

ของพระเรวตะพวกท่านเห็นแล้วหรือ ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เหตุการณ์นั้นแล้ว จึงเสด็จออกจากพระคัน

ธกุฎีเสด็จถึงท่ามกลางบริษัท ด้วยปาฏิหาริย์อันสมควรแก่ขณะนั้น ประทับนั่ง

บนพุทธาสนะตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ

นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ถ้อยคำเกิดขึ้นปรารภพระเรวตเถระ พระเรวตเถระเป็นนวกรรมอย่างนี้จักกระทำ

สมณธรรมในกาลไหน ? พระพุทธองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรวตะ

ไม่ได้เป็นนวกรรม เรวตะเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ทรงปรารภพระเรวตะนั้น

แล้ว จึงตรัสคาถานี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า ผู้มีกำลัง คือ ปัญญา เพราะความ

เป็นผู้ประกอบด้วยกำลังคือปัญญา อันสำเร็จการทำให้อ่อนกำลังและการละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 517

กิเลส หรืออันต่างด้วย การแสดงฤทธิ์และการอธิษฐาน ชื่อว่า ประกอบด้วย

ศีลและวัตร เพราะความเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปาริสุทธิศีลสี่ และธุตังควัตร

ชื่อว่า มีจิตตั้งมั่น ด้วยมรรคสมาธิ ผลสมาธิ และอิริยาปถสมาธิ ชื่อว่า

ยินดีในฌาน เพราะความเป็นผู้ยินดีแล้วด้วยฌานอันต่างด้วยอุปจารฌานและ

อัปปนาฌาน หรือในฌาน ชื่อว่า มีสติ เพราะความเป็นผู้ถึงความไพบูล

ด้วยสติ ชื่อว่า หลุดพ้นจากเครื่องข้อง เพราะความเป็นผู้หลุดพ้นจากเครื่อง

ข้อง คือราคะเป็นต้น ชื่อว่า ไม่มีกิเลสดุจหลักตอ ไม่มีอาสวะเพราะไม่มี

กิเลสดุจตะปูตรึงใจ ๕ อย่าง และไม่มีอาสวะ ๔ อย่าง.

บทว่า ต วาปิ ธีรา มุนิ เวทยนฺติ ความว่า อนึ่ง สัตว์ทั้งหลาย

ผู้บัณฑิตย่อมประกาศแม้ผู้นั้น ผู้ประกอบด้วยคุณคือปัญญาเป็นต้น ผู้ปราศจาก

โทษ คือ เครื่องข้องเป็นต้น ว่าเป็นมุนี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญ

พระเรวตเถระว่า ท่านทั้งหลายจงดู พระขีณาสวมุนีนี้ เป็นผู้ประเสริฐสุด

เพียงใด พระมุนีนั้นพึงเห็นว่า เป็นนวกรรม หรือว่าจักกระทำสมณธรรมใน

กาลไหนอย่างไร เพราะพระมุนีนั้น ยังวิหารธรรมนั้นให้จบแล้ว ด้วยกำลัง

คือ ปัญญา หาให้จบด้วยการทำนวกรรมไม่ พระมุนีนั้นทำกิจเสร็จแล้ว จัก

ไม่ทำสมณธรรมในบัดนี้ ก็ วาศัพท์ ในคาถานี้ มีการทำให้แจ่มแจ้งเป็นอรรถ

ดังนี้แล.

คาถาว่า เอก จรนฺต ดั้งนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ตามลำดับ ตั้งแต่

ควงโพธิมัณฑ์ ครั้นสมาคมแห่งพระบิดาและโอรสเป็นไปอยู่ พระผู้มีพระภาค-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 518

เจ้า ผู้อันพระเจ้าสุทโธทนะทรงพระปราโมทย์ ตรัสพระดำรัสเป็นต้นอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ทรงนุ่งผ้าทั้งหลายมีผ้ากาสี

เป็นต้น ซึ่งทอในคันธกรัณฑกะ บัดนี้ ทรงผ้าปังสุกุลทั้งหลายที่ตัดแล้ว

อย่างไร เมื่อจะทรงแนะนำพระราชา จึงตรัสคำมีอาทิว่า

ดูก่อนพระบิดา พระองค์ตรัสถึงผ้า

กาสีที่ทอเป็นผืนใด ผ้าปังสุกุลดีกว่าผ้ากาสี

นั้น ผ้าปังสุกุลนั่น อาตมภาพปรารถนา

ยิ่งนัก ดังนี้.

เมื่อจะทรงแสดงสภาพของพระองค์ยิ่งกว่าโลกธรรมทั้งหลาย จึงตรัส

คาถา ๗ บทนี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่พระราชา.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า ผู้เดียว ด้วยคุณทั้งหลาย กล่าวคือ

บรรพชาเป็นต้น ชื่อว่า เที่ยวไป ด้วยจริยาทั้งหลายมีอิริยาบถเป็นต้น ชื่อว่า

มุนี เพราะถึงพร้อมด้วยโมเนยยธรรม ชื่อว่า ไม่ประมาท เพราะไม่มีความ

ประมาทในฐานะทั้งปวง ชื่อว่า ไม่หวั่นไหว ด้วยอำนาจแห่งความยินร้ายและ

ความยินดีในเพราะนินทาและสรรเสริญเหล่านี้ คือ นินทา อันต่างด้วย

การด่าและการครหาเป็นต้น และการสรรเสริญ อันต่างด้วยการชมเชยคุณ

เป็นต้น ก็โลกธรรมแม้ ๘ อย่าง พึงทราบว่า ตรัสแล้วในคาถานี้ โดยมี

นินทาและการสรรเสริญเป็นประธาน.

ชื่อว่า ไม่สะดุ้งหวาด เพราะไม่เข้าถึงการผิดปกติในเพราะโลกธรรม

ทั้งแปด หรือเพราะไม่มีความสะดุ้งหวาด ในเพราะเสนาสนะที่สงัด เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 519

ราชสีห์ไม่สะดุ้งหวาดในเพราะเสียงมีเสียงกลองเป็นต้น ไม่ข้องอยู่ในข่าย คือ

ตัณหาและทิฏฐิด้วยมรรคทั้งสี่ เหมือนลมไม่ข้องอยู่ในตาข่าย อันต่างด้วย

ตาข่ายที่ทำด้วยด้ายเป็นต้น ชื่อว่า ไม่ติดอยู่กับโลก เพราะละได้แล้วซึ่งความ

ติด คือ ตัณหาและทิฏฐิ อันเป็นเหตุให้สัตว์ทั้งหลายติดอยู่กับโลก ดุจดอกปทุม

แม้เกิดขึ้นโลกแต่ไม่ติดอยู่กับน้ำ ชื่อว่า เป็นผู้นำ ด้วยมรรคนั้น เพราะยัง

มรรคให้ถึงนิพพานให้เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า ไม่ใช่ผู้ที่ใคร ๆ อื่นจะพึงนำไปได้

เพราะความที่พระองค์ทรงแสดงมรรคแก่เทวดาและมนุษย์เหล่าอื่น แต่พระองค์

ไม่มีใคร ๆ อื่นที่จะพึงแสดงมรรคนำไปได้ นักปราชญ์ย่อมประกาศแม้ผู้นั้น

ว่าเป็นมุนี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระองค์ให้แจ่มแจ้งดังพรรณนา

มานี้. บทที่เหลือในคาถานี้ มีนัยกล่าวแล้วนั่นแล.

คาถาว่า โย โอคหเณ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้เองโดยเฉพาะครั้งแรก ทรงมีลาภสักการะ

ใหญ่ให้เป็นไปแล้ว ไม่มีปริมาณเพราะอาศัยพระอภินีหารคุณอันต่างด้วยบารมี

๑๐ อุปปารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ที่ทรงบำเพ็ญตลอดสี่อสงไขยและแสนกัป

พระคุณที่ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายแล้วทรงอุบัติในดุสิตภพ พระคุณที่ประทับ

อยู่ในดุสิตภพนั้น พระมหาวิโลกนคุณ การก้าวลงสู่พระครรภ์ การอยู่ใน

พระครรภ์ การเสด็จออกจากพระครรภ์ การย่างพระบาท การทรงแลดูทิศ

การบันลือดุจพรหม การมหาภิเนษกรมณ์ มหาปธาน การตรัสรู้ การประกาศ

พระธรรมจักร มรรคญาณสี่ ญาณที่ไม่หวั่นไหวในปริญญาแปด* ทศพลญาณ

ญาณกำหนดคติห้า พุทธญาณ ๑๔ อย่าง คือ อสาธารณญาณ ๖ อย่าง

* ยุ. ปริสาสุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 520

พุทธญาณอันไม่ทั่วไปแก่สาวก ๘ อย่าง ญาณกำหนดพุทธคุณ ๑๘ อย่าง

ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง พระคุณตั้งแสนมีญาณวัตถุ ๗๗ อย่างเป็นต้น

เดียรถีย์ทั้งหลายไม่ทนต่อมหาลาภสักการะอันไม่มีปริมาณนั้น จึงใช้นางจิญจ-

มาณวิกาก่ออัปยศให้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในท่ามกลางบริษัทสี่ โดย

นัยที่กล่าวแล้ว ในคาถานี้ว่า เอกธมฺมมตีตสฺส ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายสนทนา

กันเพราะอัปยศนั้นเป็นปัจจัยว่า ครั้นอัปยศชื่อแม้เห็นปานนี้ เกิดขึ้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงมีพระทัยเป็นอย่างอื่นเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทราบเรื่องนั้นแล้ว เสด็จออกจากพระคันธกุฎี เสด็จถึงท่ามกลางบริษัท โดย

ปาฏิหาริย์ อันสมควรแก่ขณะนั้น ประทับนั่ง บนพุทธาสนะ ตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนาเรื่องอะไรหนอ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลบอกเรื่องทั้งหมด แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้คงที่ในเพราะโลกธรรม

ทั้งแปด ดังนี้แล้ว ตรัสคาถานี้ เพื่อประโยชน์แก่การทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ

เหล่านั้น.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า พวกตระกูลสูงก็ตาม พวกตระกูลต่ำก็ตาม

ขัดตัวที่เสาสี่เหลี่ยม หรือแปดเหลี่ยมที่เขาฝังไว้เพื่อประโยชน์แก่การขัดตัวที่

ท่าน้ำ คือ ท่าสำหรับเป็นที่อาบน้ำของมนุษย์ทั้งหลาย เสาจะฟุบลง หรือ

ฟูขึ้น เพราะการขัดตัวนั้น ก็หามิได้ ฉันใด แม้ผู้ใดไม่ถึงความยินดีหรือยินร้าย

ในเรื่องที่ผู้อื่นกล่าววาจาด้วยอำนาจการชม หรือ การติ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

มีอธิบายอย่างไร มีอธิบายว่า ผู้อื่นจะเป็นเดียรถีย์ หรือพวกอื่น กล่าววาจา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 521

ชั้นสูงด้วยอำนาจแห่งการชม หรือวาจาชั้นต่ำด้วยอำนาจแห่งการติเป็นที่สุดใน

เรื่องใด ผู้ใดไม่ถึงความยินดีหรือยินร้ายในเรื่องนั้น เป็นเหมือนเสาที่มีอยู่ที่ท่า

เป็นที่ลงอาบน้ำ เพราะความเป็นผู้คงที่ฉะนั้น.

บทว่า ต วีตราค สุสมาหิตินฺทฺริย ความว่า ผู้นั้น ชื่อว่า ปราศจาก

ราคะ เพราะไม่มีราคะในเพราะอิฏฐารมณ์ และชื่อว่า มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว

เพราะไม่มีโทสะและโมหะในเพราะอนิฏฐารมณ์ หรือมีอินทรีย์ตั้งมั่นโดยดีแล้ว

อธิบายว่า มีอินทรีย์อันรักษาแล้ว คือ มีอินทรีย์อันคุ้มครองแล้ว. พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงสรรเสริญพระองค์ว่า นักปราชญ์ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นว่า เป็น

มุนี คือ ย่อมประกาศว่า เป็นพุทธมุนี จิตของพุทธมุนีนั้น จักเป็นประการอื่น

อย่างไรได้. บทที่เหลือมีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

คาถาว่า โย เว ิตตฺโต ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ธิดาเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ลงจากปราสาท ไปสู่

โรงทอผ้า ในปราสาทชั้นล่าง เห็นคนทั้งหลายสอดกระสวยอยู่ จึงถือเอานิมิต

อันเปรียบกับกระสวยนั้น โดยความที่กระสวยนั้นเป็นธรรมชาติตรงว่า โอหนอ !

สัตว์ทั้งปวงละความคดทางกายและทางวาจา พึงเป็นผู้มีจิตตรง เหมือนกระสวย

นางแม้ขึ้นสู่ปราสาทแล้ว ก็นั่งนึกถึงนิมิตนั้นแลบ่อย ๆ ก็เมื่อนางปฏิบัติแล้ว

อย่างนี้ ไม่นานนัก อนิจจลักษณะก็ปรากฏ และแม้ทุกขลักษณะและอนัตต-

ลักษณะ ก็ปรากฏโดยทำนองนั้นเหมือนกัน.

ลำดับนั้น ภพแม้ทั้งสามก็ปรากฏแก่นางดุจถูกไฟไหม้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงรู้นางผู้กำลังเห็นแจ้งอย่างนั้น ประทับนั่ง ณ พระคันธกุฎีเทียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 522

ทรงเปล่งแสงสว่าง นางเห็นแสงสว่างนั้นนึกว่า นี้อะไร เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ดุจประทับนั่งข้าง ๆ แล้ว ลุกขึ้นยืนประคองอัญชลี ลำดับนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงทราบว่านางมี สัปปายะ จึงตรัสคาถานี้ ด้วยอำนาจแห่ง

พระธรรมเทศนา.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดแลชื่อว่าดำรงตนไว้ เพราะไม่มีความ

เจริญ และความเสื่อม เพราะความเป็นผู้มีจิตเป็นเอกัคคตา และเพราะความ

เป็นผู้มีวิมุตติอันไม่กำเริบ และเพราะไม่มีการเข้าไปสู่ระหว่างภพ เพราะความ

เป็นผู้สิ้นชาติและสังสารหมดแล้ว ชื่อว่า ซื่อตรงดุจกระสวย เพราะละความ

คดทางกาย วาจา และใจได้แล้ว หรือ เพราะไม่มีการลุอคติ ชื่อว่า เกลียดชัง

แต่กรรมที่เป็นบาป คือ เกลียดชังกรรมทั้งหลายที่เป็นบาป ดุจเกลียดคูถ และ

มูตร ฉะนั้น เพราะความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ อธิบายว่า ย่อม

ละอาย. จริงอยู่ โดยการแยกประโยค ตติยาวิภัตติ ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ

ย่อมสำเร็จในศัพทศาสตร์.

บทว่า วีมสมาโน วิสม สมญฺจ ความว่า พิจารณาเห็น คือ

ใคร่ครวญกรรมที่ไม่เสมอมีความไม่เสมอทางกายเป็นต้น และกรรมที่เสมอมี

ความเสมอทางกายเป็นต้น ด้วยมรรคปัญญา โดยให้สำเร็จปหานกิจและภาวนา-

กิจ นักปราชญ์ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นผู้สิ้นอาสวะแล้วว่า เป็นมุนี มีอธิบาย

อย่างไร มีอธิบายว่า ผู้ใดแลพิจารณาเห็นกรรมทั้งที่ไม่เสมอและที่เสมอ ด้วย

มรรคปัญญา โดยนัยตามที่กล่าวแล้ว เป็นผู้ดำรงตนไว้ ผู้นั้นเป็นผู้ตรงดุจ

กระสวยอย่างนี้ ไม่ถึงการล่วงละเมิดอะไร ๆ ชื่อว่า ย่อมเกลียดชังแต่กรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 523

ที่เป็นบาป นักปราชญ์ย่อมประกาศผู้นั้นว่า เป็นนุนี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงมุนีผู้ขีณาสพว่า เป็นเช่นนี้ จึงตรัสคาถา ด้วยอดคือพระ-

อรหัต ในที่สุดเทศนา ธิดาเศรษฐีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ผู้ศึกษาพึงเห็น

เนื้อความแห่ง วาศัพท์ในคาถานี้ ใช้ในวิกัป หรือ สมุจจัย.

คาถาว่า โย สญฺตตฺโต ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เมืองอาฬวี ช่างหูก

คนหนึ่งในนครอาฬวี สั่งธิดาผู้มีอายุ ๗ ปี ว่า ดูก่อนแม่ เมื่อวันวาน กระสวย

ยังเหลืออยู่ เจ้ากรอหลอดด้ายให้เพียงพอแล้ว พึงไปสู่โรงทอผ้าโดยเร็ว อย่า

ประพฤติชักช้านัก นางรับคำว่า ดีละ ช่างหูกนั้นไปสู่โรงงานแล้ว ยืนเลือก

เส้นด้ายอยู่ ในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าออกจากมหากรุณาสมาบัติแล้ว

ตรวจดูโลก ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผล ของทาริกานั้น และธรรมาภิ-

สมัย ของสัตว์ ๘๔,๐๐๐ ในเวลาจบเทศนา ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระแต่

เช้าเทียว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าสู่พระนคร มนุษย์ทั้งหลายเห็นพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้วคิดว่า ในวันนี้ จะพึงมีใครที่จะทรงอนุเคราะห์แน่แท้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงเสด็จเข้าไปแต่เช้าตรู่ จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับยืนอยู่ที่ทางซึ่งนางทาริกากำลังไปสู่สำนักของบิดา.

ชาวนครทั้งหลายปัดกวาดประเทศนั้น ปราบพื้น โปรยดอกไม้ ผูก

เพดาน ปูอาสนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่ปูแล้ว หมู่มหาชน

ยืนแวดล้อม ทาริกานั้นถึงประเทศนั้นแล้ว เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้อันมหาชน

แวดล้อมแล้ว ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกทาริกา

นั้นมาแล้ว จึงตรัสว่า แน่ะทาริกา เจ้ามาจากไหน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 524

ทา. ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. เจ้าจักไปไหน ?

ทา. ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ไม่ทราบหรือ ?

ทา. ทราบ พระพุทธเจ้าข้า.

ภ. ทราบหรือ ?

ทา. ไม่ทราบ พระพุทธเจ้าข้า.

มนุษย์ทั้งหลายฟังดังนั้นแล้ว ก็โพนทะนาว่า ดูเถิด ท่านผู้เจริญ

ทาริกานี้ แม้มาจากเรือนของตน ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม ก็ทูลว่า

ไม่ทราบ และแม้กำลังไปสู่โรงงานทอผ้า ก็ทูลว่า ไม่ทราบ ถูกตรัสว่า ไม่ทราบ

หรือ ก็ทูลว่า ทราบ ถูกตรัสว่า ทราบหรือ ก็ทูลว่า ไม่ทราบ ย่อมทำคำพูด

ทั้งปวงขัดแย้งกันทีเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะทำเนื้อความนั้นให้

ปรากฏแก่มนุษย์ทั้งหลาย จึงตรัสถามว่า เราถามอย่างไร ? เจ้าตอบอย่างไร ?

นางกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ

ใครๆ ย่อมไม่รู้ดิฉันว่า ดิฉันมาจากเรือนไปสู่โรงงานทอผ้า ก็หามิได้ โดยที่แท้

พระองค์ตรัสถามดิฉัน ด้วยอำนาจแห่งปฏิสนธิว่า มาจากไหน ตรัสถามด้วย

อำนาจแห่งจุติว่า จักไปไหน และดิฉันไม่ทราบว่า มาจากไหน จากนรก หรือ

จากเทวโลก เพราะดิฉันไม่ทราบว่า จักไปแม้ที่ไหน นรก หรือ เทวโลก

เพราะฉะนั้น จึงทูลว่า ไม่ทราบ แต่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงมรณะ

จึงตรัสถามดิฉันว่า ไม่ทราบหรือ และดิฉันทราบว่า สัตว์ทั้งหลายทั้งปวงต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 525

ตายแน่นอน ด้วยเหตุนั้น จึงทูลว่า ทราบ ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหมายถึงกาลมรณะ จึงตรัสถามดิฉันว่า ทราบหรือ ? และดิฉันไม่ทราบว่า

จักตายเมื่อไร ในวันนี้ หรือพรุ่งนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงทูลว่า ไม่ทราบ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาปัญหาที่ทาริกานั้นวิสัชนาแล้ว ๆ ว่า

ดีละ ดีแล้ว ฝ่ายหมู่มหาชนได้ให้สาธุการถึงพันครั้งว่า ทาริกานี้เป็นบัณฑิต

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ทาริกามีสัปปายะ เมื่อจะทรงแสดง

พระธรรม จึงตรัสคาถานี้ว่า

โลกนี้มืด ในโลกนี้น้อยคนนักย่อม

เห็นแจ้ง น้อยคนไปสู่สวรรค์ ดุจนกติดข่าย

น้อยตัวที่จะหลุดจากข่าย ฉะนั้น ดังนี้.

ในเวลาจบคาถา ทาริกานั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล สัตว์ ๘๔,๐๐๐

ได้ธรรมาภิสมัย.

นางทาริกานั้นไหว้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ไปสู่สำนักบิดา บิดาเห็น

นาง จึงโกรธว่า มาช้านัก จึงใส่กระสวยอย่างแรง กระสวยพุ่งไปทิ่มท้องของ

ทาริกา นางได้ทำกาละในที่นั้นนั่นแล เขาเห็นแล้ว พิจารณาดูว่า เราไม่ได้

ประหารธิดาของเรา โดยที่แท้ กระสวยพุ่งออกมาโดยแรงไปทิ่มท้องของธิดานี้

เธอยังเป็นอยู่หรือไม่หนอ เห็นนางตายแล้ว จึงคิดว่า มนุษย์ทั้งหลายรู้เราว่า

คนนี้ฆ่าธิดา ก็จะพึงเล่าลือเปิดเผย ด้วยเหตุนั้น แม้พระราชาก็จะพึงลงอาชญา

อย่างหนัก เอาเถิด เราจักหลบหนีไปก่อน.

เขาหลบหนีเพราะกลัวอาชญา ไปถึงโอกาสเป็นที่อยู่ของภิกษุทั้งหลาย

ผู้เรียนกรรมฐานในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว อยู่ในป่า และเข้าไปหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 526

ภิกษุเหล่านั้น ไหว้แล้ว ขอบรรพชา ภิกษุเหล่านั้นให้เธอบวชแล้ว ให้

กรรมฐานเกี่ยวด้วยหมวดห้ามีหนังเป็นที่สุด เธอเรียนกรรมฐานนั้น เพียร

พยายาม ไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต และภิกษุเหล่านั้น เป็นอาจารย์และ

อุปัชฌาย์ของเธอ ลำดับนั้น ในมหาปวารณา ภิกษุทั้งหมดนั่นแล ได้ไปสู่

สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่า จักปวารณาวิสุทธิปวารณา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นปวารณาเสด็จออกพรรษาแล้ว มีพระภิกษุสงฆ์

แวดล้อม เสด็จเที่ยวจาริกในคามและนิคมเป็นต้น เสด็จไปสู่เมืองอาฬวีโดย

ลำดับ ก็มนุษย์ทั้งหลายในเมืองอาฬวีนั้น นิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ทำ

ทานทั้งหลาย เห็นภิกษุนั้นแล้ว พากันกล่าวเสียดสีว่า ท่านฆ่าธิดาแล้ว บัดนี้

มาเพื่อฆ่าใคร ดังนี้ เป็นต้น ภิกษุทั้งหลายได้ฟังดังนั้นแล้ว ในเวลาบำรุง

เข้าไปเฝ้าแล้ว ทูลเรื่องนั่นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ไม่ได้ฆ่าธิดา ธิดานั้นตายตามกรรมของตน เมื่อ

จะทรงประกาศความที่ภิกษุนั้นเป็นมุนีผู้ขีณาสพ อันมนุษย์ทั้งหลายรู้ได้ยาก

จึงตรัสคาถานี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดสำรวมตน ด้วยการสำรวมศีล ในกรรม-

ทวารทั้งสาม ย่อมไม่ทำบาปมีการเบียดเบียนเป็นต้น ด้วยกาย หรือด้วยวาจา

หรือด้วยใจ ก็เป็นหนุ่มคือตั้งอยู่ในวัยหนุ่ม หรือปูนกลาง คือตั้งอยู่ในวัยกลาง

เป็นเถระตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย โดยนัยนั่นแล ไม่ทำบาปนั้นแม้ในกาลไหน ๆ

เพราะเหตุไร เพราะมีตนสำรวมแล้ว อธิบายว่า เพราะมีจิตห่างจากบาปทั้งปวง

ด้วยวิรัติอันยอดเยี่ยม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 527

บัดนี้ พึงทราบโยชนาและอธิบายแห่งบทเหล่านี้ว่า มุนิ อโรสเนยฺโย

น โส โรเสติ กิญฺจิ ดังนี้ :

ผู้นั้น เป็นมุนีผู้ขีณาสพ ไม่โกรธง่าย คือ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อว่าร้าย

คือ เพื่อกระทบ เพื่อเบียดเบียนด้วยกายหรือด้วยวาจา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า

ผู้ฆ่าธิดา หรือว่าเป็นช่างหูก เพราะแม้เขาไม่ว่าร้ายใคร ๆ คือ ไม่กล่าวร้าย

อะไร ๆ คือ ไม่กระทบ ไม่เบียดเบียนว่า เราฆ่าธิดาของเรา ท่านฆ่าหรือผู้

เช่นกับท่านฆ่าเป็นต้น เพราะฉะนั้น ผู้นั้นแม้อันบุคคลไม่พึงว่าร้าย โดยที่แท้

เป็นผู้อันบุคคลพึงนอบน้อมทีเดียว โดยนัยที่กล่าวแล้วว่า จงหยุดเถิด นาค

ท่านอย่าฆ่านาค จงทำการนอบน้อมแก่นาค* ดังนี้.

ในบาทคาถาว่า ต วาปิ ธีรา มุนิ เวทยนฺติ นี้ พึงทราบการ

จำแนกบทอย่างนี้ว่า นักปราชญ์เท่านั้น ย่อมประกาศผู้แม้นั้นว่า เป็นมุนี ก็ใน

บาทคาถานั่นมีอธิบายว่า มนุษย์ผู้พาลเหล่านั้นไม่รู้ผู้นั้นว่า ผู้นี้ไม่ควรว่าร้าย

ดังนี้ ย่อมว่าร้าย ส่วนมนุษย์เหล่าใดเป็นนักปราชญ์ มนุษย์ผู้เป็นนักปราชญ์

เหล่านั้นเทียว ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นว่า เป็นมุนี คือ ย่อมรู้ว่า ผู้นี้เป็นมุนี

ผู้ขีณาสพดังนี้แล.

คาถาว่า ยทคฺคโต ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อว่า ปัญจัคคทายก

เขาเมื่อข้าวกล้าทั้งหลายสำเร็จอยู่ ย่อมให้ทานอันเลิศ ๕ ประการเหล่านี้ คือ

เขตัคคทาน ราสัคคทาน โกฏฐัคคทาน กุมภิอัคคทาน โภชนัคคทาน.

* ม.มู. วมฺมิกสตฺต. ๒๗๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 528

ในทานอันเลิศ ๕ ประการนั้น พราหมณ์เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ก็คนมี

ปัญญาใดให้นำมาซึ่งข้าวสาลี ข้าวเหนียว รวงข้าวละมาน ที่สุกก่อน เตรียม

จัดแจงข้าวยาคู ข้าวปายาสและข้าวเม่าเป็นต้นให้ทานอันเลิศ คนนั้นย่อมได้

ผลอันเลิศ แล้วให้ทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข นี้ชื่อว่า

เขตัคคทาน ของพราหมณ์นั้น.

ก็เมื่อข้าวกล้าทั้งหลายสำเร็จแล้ว เกี่ยวแล้ว และนวดแล้ว ถือเอา

ธัญญะอันประเสริฐให้ทานอย่างนั้นเทียว นี้ชื่อว่า ราสัคคทาน ของพราหมณ์

นั้น.

พราหมณ์ยังยุ้งฉางทั้งหลายให้เต็มด้วยธัญชาติเหล่านั้น ถือเอาธัญญะ

ทั้งหลายที่นำออกครั้งแรก ในการเปิดยุ้งฉางก่อนแล้ว ให้ทานอย่างนั้นเทียว

ชื่อว่า โกฏฐัคคทาน ของพราหมณ์นั้น.

ก็ภัตใด ๆ หุงต้มในเรือนของพราหมณ์นั้น พราหมณ์ไม่ให้ภัตอันเลิศ

จากภัตนั้นแก่บรรพชิตที่มาถึงแล้ว โดยที่สุดแม้แก่เด็กทั้งหลาย ก็ไม่ให้อะไรเลย

นี้ชื่อว่า กุมภิอัคคทาน ของพราหมณ์นั้น.

พราหมณ์ไม่ให้โภชนะที่เขาน้อมมาครั้งแรก ในกาลที่ตนบริโภคอีก

แก่สงฆ์ในกาลแห่งปุเรภัต แก่ยาจกที่มาถึงทั้งหลายในกาลแห่งปัจฉาภัต โดย

ที่สุดแม้แก่สุนัขทั้งหลาย เพราะไม่มีสงฆ์เป็นต้นนั้น ย่อมไม่บริโภค นี้ชื่อว่า

โภชนัคคทาน ของพราหมณ์นั้น พราหมณ์นั้นจึงถูกกำหนดว่า ปัญจัคคทายก

อย่างนี้แล.

อยู่มาวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ด้วยพุทธจักษุ

ในสมัยใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรค ของพราหมณ์นั้น และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 529

นางพราหมณี ทรงกระทำการปฏิบัติพระสรีระ เสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎีแต่เช้าตรู่

เทียว ภิกษุทั้งหลายเห็นพระคันธกุฎีปิดประตูรู้ว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

มีพระประสงค์เพื่อเสด็จเข้าไปสู่บ้านแต่พระองค์เดียว ในเวลาภิกขาจารทำ

ประทักษิณพระคันธกุฎี เข้าไปเพื่อบิณฑบาต ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลา

พราหมณ์บริโภค เสด็จออกเข้าไปในกรุงสาวัตถี มนุษย์ทั้งหลายพอเห็นพระผู้-

มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ก็รู้ว่าในวันนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุเคราะห์สัตว์บาง

คนแน่นอน ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปแต่พระองค์เดียว จึง

ไม่เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์แก่การนิมนต์ แม้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จไปถึงประตูเรือนของพราหมณ์โดยลำดับ ประทับยืนอยู่.

ก็โดยสมัยนั้น พราหมณ์กำลังนั่งรับประทานโภชนะ ส่วนนาง

พราหมณีของพราหมณ์นั้น ยืนพัดอยู่ นางเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วคิดว่า

ถ้าพราหมณ์นี้พึงเห็นไซร้ ก็จะพึงรับบาตรถวายโภชนะทั้งหมด แต่นั้น เราก็

จะพึงหุงต้มโภชนะอีก ก็เกิดความไม่เลื่อมใสและความตระหนี่ จึงเอาพัด

ก้านตาลบังไว้ โดยประการที่พราหมณ์จะมองไม่เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้เหตุนั้น จึงเปล่งแสงสว่างจากพระสรีระ พราหมณ์

เห็นแสงสว่างสีทองแล้ว มองดูว่า นั่นอะไร ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับยืนอยู่ที่ประตู ฝ่ายนางพราหมณีคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าอันพราหมณ์

นั้นเห็นแล้ว จึงวางพัดก้านตาลทันที เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่า นางพราหมณีนั้น

ผู้กำลังยืนอยู่มีสัปปายะ จึงตรัสคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 530

ผู้ใดไม่มีความยึดถือว่า ของเราใน

นามและรูปโดยประการทั้งปวง และไม่

เศร้าโศก เพราะไม่มีความยึดถือนั้น ผู้นั้น

แลเรียกว่า ภิกษุ.

ในเวลาจบคาถานั้นเทียว นางก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

ฝ่ายพราหมณ์ทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้าให้เสด็จเข้าภายในเรือน

กราบทูลให้ประทับนั่งบนอาสนะ ถวายน้ำทักขิโณทก น้อมถวายโภชนะที่เขา

จัดให้แก่ตนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงเป็นทักขิไณยบุคคลที่เลิศ

ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ดีละ ขอพระองค์จงทรงรับโภชนะนั้นของข้าพระองค์

ประดิษฐ์ลงในบาตรของพระองค์เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเสวยแล้ว เพื่อ

อนุเคราะห์แก่พราหมณ์นั้น และทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงรู้ความสบายของ

พราหมณ์ จึงตรัสคาถานี้.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดได้ก้อนข้าวแต่ส่วนที่เลิศ เพราะเป็น

ก้อนข้าวที่ตักมาจากหม้อก่อนทีเดียว แต่ส่วนปานกลาง เพราะเป็นก้อนข้าวที่

ตักมาจากหม้อที่เหลือกึ่งหนึ่งแล้ว ถือเอาจากส่วนที่เหลือนั้น หรือจากส่วน

ที่เหลือ เพราะเป็นก้อนข้าวที่ตักมาจากหม้อที่เหลือประมาณ ๑ ทัพพี หรือ

๒ ทัพพีแล้วถือเอาจากส่วนที่เหลือนั้น.

บทว่า ปรทตฺตูปชีวี ได้แก่ บรรพชิต จริงอยู่ บรรพชิตนั้น

เว้นน้ำและไม้สีฟันแล้ว ย่อมเข้าไปอาศัยอาหารที่เหลืออันผู้อื่นให้เป็นอยู่

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ปรทัตตูปชีวี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 531

บทว่า นาล ถุตุ นาปิ นิปจฺจวาที ความว่า ได้ก้อนข้าวแต่ส่วน

ที่ดี ไม่อาจจะกล่าวชมตน หรือทายก เพราะความเป็นผู้ละความยินดีแล้ว

ได้แต่ส่วนที่เหลือ ก็ไม่อาจแม้เพื่อให้ทายกตกต่ำแล้วกล่าวคำอันไม่เป็นที่รัก

ทั้งหลายโดยนัยมีอาทิว่า ทายกนี้ให้ก้อนข้าวอะไร ดังนี้ เพราะความเป็นผู้ละ

ความยินร้ายได้แล้ว.

นักปราชญ์ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นว่าเป็นมุนี คือ นักปราชญ์เท่านั้น

ย่อมประกาศแม้ผู้นั้น คือผู้ละความยินดีและความยินร้ายได้แล้วว่า เป็นมุนี

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคาถาด้วยยอดคือพระอรหัตแก่พราหมณ์ ด้วย

ประการฉะนี้ ในเวลาจบคาถา พราหมณ์ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล.

คาถาว่า มุนึ จรนฺต ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ได้ยินว่า บุตรเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ถูกบำรุงบำเรออยู่ด้วย

สมบัติทั้งปวง ในปราสาท ๓ หลัง ด้วยอำนาจแห่งฤดู ยังหนุ่มแน่นเป็นผู้

ประสงค์จะบวช แต่นั้น จึงอ้อนวอนมารดาบิดา แล้วบวชและสึกถึง ๓ ครั้ง

ในครั้งที่ ๔ จึงได้บรรลุอรหัต โดยนัยที่กล่าวแล้วในอุบัติแห่งเรื่อง ในคาถา

นี้ว่า กามา หิ จิตฺรา ในขัคควิสาณสูตร ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะภิกษุนั้น

ตามความเคยชินในกาลก่อนว่า ดูก่อนอาวุโส ถึงสมัยเพื่อจะสึกหรือ ภิกษุนั้น

กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส บัดนี้ เราไม่ควรเพื่อจะสึก ภิกษุทั้งหลายฟังดังนั้นแล้ว

จึงทูลบอกแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เป็นจริงดังนั้น บัดนี้ เธอไม่ควรเพื่อจะสึก เมื่อจะทำความที่ภิกษุ

นั้นเป็นมุนีผู้ขีณาสพให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสคาถานี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 532

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ชื่อว่า มุนี เพราะถึงพร้อมด้วยโมเนยยธรรม

เที่ยวไปอยู่ ด้วยความเป็นผู้อยู่คนเดียว หรือด้วยจริยาบางอย่าง บรรดาจริยา

มีประการที่กล่าวแล้วในกาลก่อน ปราศจากความยินดีในเมถุน ด้วยวิรัติอัน

ยอดเยี่ยม เพราะไม่ทำจิตในเมถุนธรรม ดุจในกาลก่อน.

ความสัมพันธ์แห่งบาทที่ ๒ หากจะมีคำถามว่า มุนี เที่ยวไปปราศจาก

ความยินดีในเมถุน เช่นไร ตอบว่า ผู้ใดไม่หมกมุ่นอยู่ในรูปแห่งหญิงอะไร ๆ

ที่กำลังเป็นสาว คือ ผู้ใดไม่หมกมุ่นอยู่ในรูปแห่งหญิงอะไร ๆ เมื่อความสาว

แม้สวยงามเป็นไปอยู่ ด้วยเมถุนราคะ ดุจในกาลก่อน.

อีกอย่างหนึ่ง ในคาถานี้มีเนื้อความอย่างนี้ว่า ผู้ใดไม่หมกมุ่นด้วยราคะ

ในความเป็นหนุ่มของตนหรือของคนอื่นอะไร ๆ อย่างนี้ว่า เรายังหนุ่ม หรือ

หญิงนี้ยังสาว เราจะเสพกามก่อน ก็ปราศจากความยินดีในเมถุนอย่างเดียว

เท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้ งดเว้นแล้วจากความเมาอันต่างด้วยความเมาเพราะ

ชาติเป็นต้น และแม้จากความประมาท กล่าวคือ การปล่อยสติในกามคุณห้า

เพราะความเป็นผู้งดเว้นแล้ว จากความเมาและความประมาท และหลุดพ้นจาก

เครื่องผูกคือกิเลสทั้งปวงอย่างนี้.

หรือคนหนึ่งเป็นผู้งดเว้นแล้ว ด้วยวิรัติแม้เป็นโลกิยะ ฉันใด ผู้นี้

หาเป็นฉันนั้นไม่ ก็หลุดพ้นแล้ว งดเว้นแล้วอย่างไร อธิบายว่า งดเว้นแล้ว

ด้วยวิรัติอันเป็นโลกุตระ เพราะความที่ภิกษุนี้ เป็นผู้หลุดพ้นแล้ว จากเครื่อง

ผูกคือกิเลสทั้งปวง.

บทว่า ต วาปิ ธีรา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า

นักปราชญ์ทั้งหลายเท่านั้น ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นว่า เป็นมุนี ก็ท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 533

ไม่พึงว่ากล่าวภิกษุนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงกล่าวภิกษุนั้น (ว่าเป็น

มุนี) อย่างนี้แล.

คาถาว่า อญฺาย โลก ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ ก็โดยสมัยนั้นแล

พระญาติทั้งหลายได้ทรงกระทำมงคล ๓ ประการ คือ อาภรณมงคล อภิเสก-

มงคล อาวาหมงคล แก่เจ้าชายนันทะ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ถูกนิมนต์

ในงานมงคลนั้น เสด็จไปในงานมงคลนั้น พร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ รูป เสวย

พระกระยาหารเสร็จแล้ว เสด็จออกไปทรงประทานบาตรในพระหัตถ์ของ

เจ้าชายนันทะ เจ้าหญิงชนบทกัลยาณีเห็นเจ้าชายนันทะนั้นเสด็จออกไป จึง

ตรัสว่า ขอพระลูกเจ้าจงด่วนเสด็จกลับมา เจ้าชายนันทะนั้นเมื่อไม่อาจเพื่อทูล

ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับบาตรเถิด ด้วยความเคารพพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ก็เสด็จไปสู่วิหารนั่นเทียว พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนที่บริเวณ

พระคันธกุฎีตรัสว่า จงนำบาตรมา นันทะ ครั้นรับแล้ว ก็ตรัสว่า เธอจักบวช

ไหม ? เจ้าชายนั้น เมื่อไม่อาจปฏิเสธด้วยความเคารพต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทูลว่า จะบวชพระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เจ้าชายนันทะ

ทรงผนวชแล้ว.

ก็พระนันทะนั้น ระลึกถึงคำพูดของเจ้าหญิงชนบทกัลยาณีบ่อย ๆ

ก็กระสัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลบอกเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้ามีพระประสงค์จะทรงกำจัดความไม่ยินดีของพระนันทะจึงตรัสว่า

ดูก่อนนันทะ เธอเคยไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ไหม ? พระนันทะทูลบอกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 534

ข้าพระองค์ไม่เคยไปพระเจ้าข้า แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำพระนันทะ

นั้นไปสู่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้วยอานุภาพของพระองค์แล้วประทับยืนที่ประตู

เวชยันตปราสาท ท้าวสักกะทรงทราบการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้อัน

หมู่อัปสรแวดล้อมแล้ว เสด็จลงจากปราสาท นางอัปสรเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

เคยให้น้ำมันทาเท้าแก่สาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า กัสสป

จึงเป็นผู้มีเท้าดุจเท้าของนกพิราบ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระนันทะว่า ดูก่อนนันทะ

เธอเห็นนางอัปสร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจเท้านกพิราบเหล่านี้ไหม ? เรื่องทั้งหมด

พึงให้พิสดาร คำว่า พึงถือนิมิตและอนุพยัญชนะชื่อของมาตุคาม นั่นไม่มีใน

พระพุทธพจน์แม้ทั้งหมด แต่ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์จะทำลาย

ราคะของพระนันทะออกไป ดุจหมอมีความประสงค์จะกำจัดโทษของผู้เดือนร้อน

ออกไปฉะนั้น เพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดในอุบายโกศล จึงทรงอนุญาต

ให้พระนันทะนั้นถือเอานิมิตและอนุพยัญชนะ เป็นดุจสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ยอด-

เยี่ยมฉะนั้น แต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ว่าพระนันทะยินดียิ่งในพรหมจรรย์

เพราะเหตุแห่งนางอัปสร ทรงสั่งภิกษุทั้งหลายว่า จงเตือนนันทะ ด้วยวาทะว่า

ลูกจ้าง พระนันทะนั้น อันภิกษุเหล่านั้นเตือนอยู่ ละอายแล้วมนสิการโดย

แยบคาย ปฏิบัติแล้วไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัต เทวดาที่สิงสถิต

อยู่ที่ต้นไม้ ใกล้ที่สุดจงกรมของพระนันทะนั้น ได้ทูลบอกเรื่องนั่นแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ญาณก็ได้บังเกิดแม้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุทั้งหลายเมื่อไม่รู้

ก็เตือนพระผู้มีอายุเหมือนอย่างนั้นเทียว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 535

ทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอไม่พึงเตือนนันทะเหมือนอย่างนั้น เมื่อจะทรงแสดง

ความที่พระนันทะนั้นเป็นมุนีผู้ขีณาสพ จึงตรัสคาถานี้ เพื่อทรงแสดงธรรม

แก่ภิกษุเหล่านั้น.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ผู้รู้จัก คือ รู้แล้ว กำหนดแล้วซึ่งโลกมีขันธ์

เป็นต้น ด้วยการกระทำการกำหนดทุกขสัจจะ เห็นปรมัตถประโยชน์ด้วยการ

ทำให้แจ้งซึ่งนิโรธสัจจะ ข้ามพ้น คือ ก้าวล่วงโอฆะ ๔ อย่าง ด้วยการละสมุทัย

และสมุทรคืออายตนะมีจักขุเป็นต้น ด้วยการอดทนต่อกำลังแห่งความเมาในรูป

เป็นต้น เพราะความเป็นผู้ละสมุทัยได้แล้ว กำจัดออกซึ่งสมุทัยนั้น ด้วยมรรค-

ภาวนา.

บทว่า ตาทึ ได้แก่ เป็นผู้คงที่ ด้วยการถึงลักษณะผู้คงที่นี้.

ผู้ศึกษาทราบเนื้อความและอธิบายในคาถานี้อย่างนี้ว่า ก็กองแห่งกิเลสมี

กามราคะเป็นต้นนั่นแลนี้ใด ชื่อว่า โอฆะ เพราะอรรถว่าไหลไป ชื่อว่า

สมุทร เพราะอรรถว่าพุ่งขึ้น โดยปริยายแห่งคติอันน่าเกลียด ข้ามพ้นกองกิเลส

นั้น คือ โอฆะและสมุทรด้วยการละสมุทัย เพราะความเป็นผู้ข้ามพ้นโอฆะ

ได้แล้ว ชื่อว่า เป็นผู้คงที่ เพราะความเป็นผู้ไม่ถึงความผิดปกติ ในคำพูด

ที่ท่านทั้งหลายแม้กล่าวอยู่อย่างนี้ในบัดนี้.

ก็คำว่า ต ฉินฺนคนฺถ อสิต อนาสว นี้ เป็นคำกล่าวสรรเสริญ

พระนันทะนั้น มีอธิบายว่า ชื่อตัดกิเลสเครื่องร้อยรัดได้ขาดแล้ว เพราะความ

ที่คันถะ (เครื่องร้อยรัด) ๔ อย่าง ถูกตัดขาดได้แล้ว ด้วยสัจจภาวนาทั้งสี่นี้

ชื่อว่า อันทิฏฐิหรือตัณหาอาศัยไม่ได้แล้ว เพราะความที่ทิฏฐิหรือตัณหาไม่

อาศัยแล้วในที่ไหน ๆ ชื่อว่า ไม่มีอาสวะ เพราะไม่มีอาสวะทั้งสี่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 536

บทว่า ต วาปิ ธีรา มุนิ เวทยนฺติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงว่า หรือนักปราชญ์ย่อมประกาศแม้ผู้นั้นว่า เป็นมุนีผู้ขีณาสพ แต่

ท่านทั้งหลายผู้ไม่ถูกประกาศ จงกล่าว (ว่าเป็นมุนี) อย่างนี้แล.

คาถาว่า อสมา อุโภ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ภิกษุรูปหนึ่งอาศัยปัจจันตคาม ในแคว้นโกศล อยู่ในป่า ก็พรานเนื้อ

ในบ้านนั้น ไปสู่โอกาสเป็นที่อยู่ของภิกษุนั้น ผูกเนื้อทั้งหลาย เข้าไปสู่ป่า

เห็นพระเถระแม้เข้าไปสู่บ้าน เพื่อบิณฑบาต เมื่อมาจากป่า ก็เห็นพระเถระ

แม้กำลังออกจากบ้าน ก็เกิดความรักใคร่ในพระเถระ ด้วยการเห็นเนือง ๆ

อย่างนี้ ถวายบิณฑบาตที่มีรสแม้แก่พระเถระในเวลาที่ตนได้เนื้อมาก มนุษย์

ทั้งหลายโพนทะนาว่า ภิกษุนี้ย่อมบอกแก่พรานว่า ในประเทศชื่อโน้น เนื้อ

ทั้งหลายย่อมยืน เดินดื่มน้ำที่ควรดื่ม แต่นั้นพรานก็ฆ่าเนื้อทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น

คนทั้งสองจึงรวมกันเลี้ยงชีวิต.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกในชนบท ได้เสด็จไป

สู่ชนบทนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปสู้บ้านเพื่อบิณฑบาต ฟังประพฤติการณ์นั้น

แล้ว ทูลบอกแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดง

ความที่ภิกษุนั้นเป็นมุนีผู้ขีณาสพ ซึ่งไม่สำเร็จการเลี้ยงชีวิตร่วมกับพราน จึง

ตรัสคาถานี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นและพรานนั้น

คนทั้งสองนั้นไม่เสมอกัน มนุษย์ทั้งหลายย่อมกล่าวคำใดว่า มีการเลี้ยงชีพ

ร่วมกัน คำนั้นผิด เพราะเหตุไร เพราะมีที่อยู่และความเป็นอยู่ไกลกัน ที่อยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 537

และความเป็นอยู่ของคนทั้งสองนั้นไกลกัน เพราะเหตุนั้น คนทั้งสองนั้น

จึงชื่อว่า ทูริวิหารวุตฺติโน แปลว่า มีที่อยู่และความเป็นอยู่ไกลกัน.

บทว่า วิหาโร ได้แก่ โอกาสเป็นที่อยู่. ก็โอกาสเป็นที่อยู่นั้นของ

ภิกษุมีในป่า และของพรานมีในบ้าน. บทว่า วุตฺติ ได้แก่ มีความเป็นอยู่.

ก็ความเป็นอยู่นั้นของภิกษุได้แก่การเที่ยวไปเพื่อภิกขาตามตรอกในบ้าน และ

ของพราน คือ การฆ่าเนื้อและนกในป่า.

อีกประการหนึ่ง คฤหัสถ์เลี้ยงลูกเมีย เพราะเหตุนั้น พรานนั้นย่อม

เลี้ยงลูกเมียด้วยกรรมนั้น ส่วนภิกษุผู้ขีณาสพนั้นไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา มี

วัตรงาม คือ เว้นจากความยึดถือว่าเป็นของเราด้วยตัณหาและทิฏฐิในลูกเมีย

ทั้งหลาย ชื่อว่า มีวัตรงาม เพราะความเป็นผู้มีวัตรอันสะอาด และความเป็น

ผู้มีวัตรอันงาม.

อีกประการหนึ่ง คฤหัสถ์ไม่สำรวมเพราะบั่นรอนสัตว์อื่น พรานนั้น

เป็นคฤหัสถ์ ชื่อว่า ไม่สำรวมแล้ว ด้วยกายวาจาและจิต เพราะบั่นรอนสัตว์อื่น

คือ การเข้าไปตัดชีวิตินทรีย์ของสัตว์เหล่านั้น มุนีสำรวมเป็นนิตย์ รักษาสัตว์

มีชีวิตไว้ ส่วนภิกษุนอกนี้เป็นมุนีผู้ขีณาสพ สำรวม คือ สังวรเป็นนิตย์ด้วย

กาย วาจา และจิต ย่อมรักษาสัตว์มีชีวิตไว้ เมื่อเป็นเช่นนี้คนทั้งสองนั้นจัก

มีการเลี้ยงชีพร่วมกันอย่างไรได้ดังนี้แล.

คาถาว่า สิขี ยถา ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?

ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงกบิลพัสดุ์ การสนทนา

ได้เกิดขึ้นแก่ศากยะทั้งหลายว่า ผู้บรรลุโสดาก่อน ย่อมเป็นผู้แก่กว่าผู้บรรลุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 538

โสดาภายหลังโดยธรรม เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้บรรลุโสดาภายหลัง พึงกระทำ

กิจทั้งหลายมีการอภิวาทน์เป็นต้น แก่คฤหัสถ์ผู้บรรลุโสดาก่อน ภิกษุผู้บิณฑบาต

เป็นวัตรรูปหนึ่ง ได้ฟังการสนทนานั้น จึงกราบทูลบอกแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายว่า ก็ชาตินี้เป็นอย่างหนึ่ง เพศเป็นวัตถุพึงบูชา

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอนาคามีเป็นคฤหัสถ์ไซร้ อนาคามีผู้คฤหัสถ์

นั้นพึงการทำกิจทั้งหลายมีการอภิวาทน์เป็นต้น แก่สามเณรแม้ผู้บวชในวันนั้น

เมื่อจะทรงแสดงคุณพิเศษของภิกษุแม้ผู้บรรลุโสดาภายหลัง มีคุณใหญ่ยิ่งกว่า

คฤหัสถ์ผู้บรรลุโสดาก่อนอีก จึงตรัสคาถานี้ เพื่อทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า นกยูงบินไปในอากาศนี้ใดเรียกว่า มีหงอน

เพราะมีภาวะที่หงอนซึ่งเกิดที่ศีรษะ และมีสร้อยคอเขียวที่คอเช่นท่อนแก้วมณี

นกยูงนั้นย่อมไม่ถึงเสี้ยวแม้ที่ ๑๖ ด้วยความเร็วของสุวรรณหงส์ ในบรรดา

หริตหงส์ ตัมพหงส์ กาฬหงส์ ปากหงส์และสุวรรณหงส์ แม้สุวรรณหงส์

ย่อมบินไปได้พันโยชน์บ้าง หนึ่งโยชน์บ้าง โดยครู่เดียว ส่วนนกยูงนอกนี้

ไม่ปรากฏว่าสามารถ แต่หงส์และนกยูงแม้ทั้งสองก็เป็นสัตว์น่าดู เพราะความ

เป็นสัตว์ที่น่าดู ฉันใด คฤหัสถ์แม้บรรลุโสดาก่อนก็ฉันนั้น ย่อมเป็นผู้ที่น่าดู

ด้วยมรรคทัสสนะแม้ก็จริง ถึงอย่างนั้นแล คฤหัสถ์นั้น ทำตามภิกษุผู้บรรลุ

โสดาภายหลังก็ดี ผู้มีภาวะอันเที่ยงตรงน่าดู ด้วยมรรคทัสสนะก็ดี ด้วยเชาว์

ไม่ได้ ถามว่า ด้วยเชาว์ไหน ตอบว่า ด้วยเชาว์คือวิปัสสนาญาณในมรรค

เบื้องสูง เพราะญาณนั้นของคฤหัสถ์เป็นของช้า เพราะความเป็นญาณที่ยุ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 539

ด้วยความยุ่งมีบุตรภรรยาเป็นต้น ส่วนญาณของภิกษุเป็นของเร็ว เพราะความ

ยุ่งนั้นถูกสางแล้ว เนื้อความนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วด้วยบทนี้

ว่า ผู้เป็นมุนี สงัดเงียบเพ่งอยู่ในป่า ก็ภิกษุผู้เสกขมุนีนี้ สงัดเงียบด้วย

กายวิเวกและจิตวิเวก และเพ่งอยู่ในป่าเป็นนิตย์ ด้วยลักขณารัมมณูปนิชฌาน

วิเวกและฌานเห็นปานนี้ของคฤหัสถ์จะมีแต่ที่ไหน ก็อธิบายในคาถานี้ มีเพียง

เท่านี้แล.

จบอรรถกถามุนิสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา

ก็วรรคที่ ๑ โดยชื่อว่า อุรควรรค

โดยนัยแห่งการพรรณนาเนื้อความ จบบริบูรณ์แล้วแล

รวมพระสูตรและอรรถกถาที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อุรคสูตร ๒. ธนิยสูตร ๓. ขัคควิสาณสูตร ๔. กสิภารทวาช-

สูตร ๕. จุนทสูตร ๖. ปราภวสูตร ๗. วสลสูตร ๘. เมตตสูตร

๙. เหมวตสูตร ๑๐. อาฬวกสูตร ๑๑. วิชยสูตร ๑๒. มุนิสูตร บัณฑิต

เรียกว่าอุรควรรค.