ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๔

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เอกนิบาต

ปาฏิโภควรรคที่ ๑

๑. โลภสูตร

ว่าด้วยละโลภะได้เป็นพระอนาคามี

[๑๗๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้

รับรองเธอทั้งหลาย เพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โลภะได้ เราเป็น

ผู้รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 2

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดี

ซึ่งความโลภอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้โลภไปสู่

ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อม

ไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วฉะนี้แล.

จบโลภสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 3

อรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถทีปนี

อิติวุตตกวรณนา

อารัมภกถา

ข้าพเจ้าขอวันทาพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงเป็นนาถะ ผู้มีพระทัยเปี่ยมล้นไป

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จถึงฝั่งสาคร

คือไญยธรรมได้แล้ว ทรงมีนัยเทศนาอัน

วิจิตรสุขุมคัมภีรภาพ.

ข้าพเจ้าขอวันทาพระธรรมนั้น อัน

อุดมที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง-

บูชา ที่นำพาพระอริยสาวกทั้งหลายผู้

สมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะให้พ้นไปจาก

โลก.

ข้าพเจ้าขอวันทาพระสงฆ์ ผู้เป็น

พระอริยะนั้น สถิตมั่นอยู่ในมรรคและผล

สมบูรณ์แล้วด้วยศีลาทิคุณเป็นนาบุญอย่าง

เยี่ยมยอด.

ด้วยเดชานุภาพแห่งบุญที่เกิดจากการ

วันทาพระรัตนตรัยดังได้พรรณนามานี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 4

ขอข้าพเจ้าจงปลอดภัยจากอันตรายในที่ทุก

สถาน ในกาลทุกเมื่อเทอญ. พระธรรม

สังคาหกเถระทั้งหลายผู้จำพรรษาอยู่ในบุรี

มีปกติแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ได้รวบรวม

พระสูตรทั้งหลายที่พระผู้แสวงหาคุณธรรม

อันยิ่งใหญ่ได้ทรงแสดงไว้แล้ว โดยแยก

เป็นนิบาต มีเอกนิบาตเป็นอาทิอันส่อง

แสดงถึงการละซึ่งกิเลสทั้งหลายมีโลภะ

เป็นต้น ไว้อย่างวิเศษเข้าเป็นสายเดียวกัน

แล้วร้อยกรองบทอักษรดังกล่าวมานี้ โดย

เรียกชื่อว่า "อิติวุตตกะ" อันที่จริง การ

แต่งอรรถกถาพรรณนาความลำดับบทที่มี

อรรถอันลึกซึ้ง ในขุททกนิกายเป็นสิ่งที่

ข้าพเจ้าทำได้ยาก เพราะเป็นอรรถที่จะพึง

หยั่งถึงได้ก็ด้วยคัมภีรญาณ แต่เพราะเหตุ

ที่อรรถกถาจะช่วยทรงศาสนาของพระ-

ศาสดาไว้ได้ ทั้งวินิจฉัยของบรรดา

บุรพาจารย์ผู้เปรียบปานด้วยราชสีห์ก็จะยัง

คงดำรงอยู่ด้วย ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักแต่ง

อรรถกถา "อิติวุตตกะ" ไว้ให้ดีตามกำลัง

โดยจะยึดวินิจฉัยของบรรดาบุรพาจารย์นั้น

เป็นหลัก ถือนิกาย ๕ เป็นเกณฑ์ อิงอาศัย

นัยจากอรรถกถาเก่า แม้จะเป็นเพียงคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 5

บอกกล่าวของนิสิต แต่ก็บริสุทธิ์ ไม่

คลาดเคลื่อน เป็นการวินิจฉัยอรรถที่

ละเอียดของบรรดาบุรพาจารย์คณะมหา-

วิหารแล้วเว้นความที่ซ้ำ ๆ กันเสีย.

สาธุชนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย

ได้โปรดตั้งใจสดับการพรรณนาความแห่ง

อรรถกถา "อิติวุตตกะ" นั้น ของข้าพเจ้า

ผู้หวังให้พระสัทธรรมดำรงมั่นอยู่ได้นาน

จะได้จำแนกต่อไปนี้.

อธิบายอิติวุตตกะ

ในคาถานั้น ชื่อว่า อิติวุตตกะจัดเป็นนิบาต ๔ อย่าง คือ เอกนิบาต

ทุกนิบาต ติกนิบาต จตุกกนิบาต. อิติวุตตกะแม้นั้นนับเนื่องในสุตตันตปิฎก

ในปิฎก ๓ อย่าง คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก. นับเนื่องใน

ขุททกนิกาย ในนิกาย ๕ อย่าง คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย

อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย. จัดเป็นอิติวุตตกะ ในนวังคสัตถุศาสน์ คือ

สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม

เวทัลละ. สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์จำนวนเล็กน้อย ในธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐

ที่พระอานนทเถระผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริกปฏิญญาไว้ อย่างนี้ว่า

ธรรมเหล่าใดที่เป็นไปแก่ข้าพเจ้า

ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้าเรียนจากพระ-

พุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ จากภิกษุ ๒,๐๐๐ รวมเป็น

๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 6

โดยพระสูตร รวมพระสูตรไว้ ๑๑๒ พระสูตร คือ ในเอกนิบาต ๒๗ สูตร

ในทุกนิบาต ๒๒ สูตร ในติกนิบาต ๕๐ สูตร ในจตุกนิบาต ๑๓ สูตร. อิติ-

วุตตกะนั้น ในบรรดานิบาต มีเอกนิบาตเป็นนิบาตแรก ในบรรดาวรรค

มีปาฎิโภควรรคเป็นวรรคแรก ในบรรดาสูตรมีโลภสูตรเป็นสูตรแรก. อนึ่ง

อิติวุตตกะแม้นั้น มีคำขึ้นต้นที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ในคราวทำสังคายนา

ใหญ่ครั้งแรก มีอาทิว่า วุตฺต เหต ภควคา เป็นคำแรก. ก็การสังคายนา

ใหญ่ครั้งแรกนี้นั้น ยกขึ้นสู่แบบแผน ปรากฏอยู่ในวินัยปิฎกแล้วแล. อนึ่ง

กถามรรคใดจะพึงกล่าวไว้ เพื่อจะได้เข้าใจในคำขึ้นต้นในที่นี้ กถามรรค

แม้นั้นก็ได้กล่าวไว้แล้ว โดยพิสดารในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ สุมังคลวิลาสินี

เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้ ในอรรถกถานั้นเถิด.

นิทานวรรณนา

ก็คำขึ้นต้นมีอาทิว่า วุตฺต เหต ภควตา และพระสูตรมีอาทิว่า

เอกธมฺม ภิกฺขเว ปชหถ นี้ใด ในคำขึ้นต้นและพระสูตรนั้น บททั้งหลาย

มีอาทิว่า วุตฺต ภควตา เป็นบทนาม. บทว่า อิติ เป็นบทนิบาต. บทว่า

ในบทว่า ปชหถ นี้ เป็นบทอุปสรรค. ว่า ชหถ เป็นบทอาขยาต.

พึงทราบการจำแนกบทในที่ทุกแห่งตามนัยนี้.

อธิบายวุตตศัพท์

อนึ่ง โดยอรรถ วุตตศัพท์ที่มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรดูก่อน ย่อม

ปรากฏในอรรถทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ การหว่านพืช การทำพืชที่หว่านให้

เสมอกัน การโกนผม การเลี้ยงชีวิต ความหลุดพ้น การเป็นไปโดยความเป็น

ปาพจน์ การเล่าเรียน การกล่าว.

จริงอย่างนั้น วุตตศัพท์นั่นมาในการหว่านพืช ในประโยคเป็นต้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 7

โคทั้งหลายของเขากำลังตกลูก พืช

ที่หว่านในนากำลังงอก ผู้ใดไม่ประทุษ-

ร้ายต่อมิตรทั้งหลาย ผู้นั้นย่อมได้บริโภค

ผลของพืชทั้งหลายที่หว่านไว้แล้ว.

มาในการทำพืชที่หว่านให้เสมอกันด้วยวัตถุทั้งหลายมีคราดเป็นต้น ในประโยค

มีอาทิว่า โน จ โข ปฏิวุตฺต. มาในการโกนผมในประโยคมีอาทิว่า

มาณพหนุ่มชื่อ กาปฏิกะ โกนผมแล้ว. มาในการเลี้ยงชีวิต ในประโยคมิอาทิว่า

มีขนตก อาศัยผู้อื่นเลี้ยงชีวิต มีจิตตั้งมฤคอยู่. มาในความหลุดพ้นจากเครื่อง

ผูก ในประโยคมีอาทิว่า ใบไม้เหลืองหลุดจากขั้ว ไม่สามารถกลับเป็นของ

เขียวสดได้อีก แม้ฉันใด. มาในการเป็นไปโดยความเป็นปาพจน์ ในประโยค

มีอาทิว่า คนเหล่าใดขับ ร่าย สาธยายมนต์บทเก่านี้ ในบัดนี้. มาในการ

เล่าเรียนในประโยคมีอาทิว่า ก็คุณที่เล่าเรียนในโลก เป็นคุณที่จะต้องเล่าเรียน

ต่อไป. มาในการกล่าวในประโยคมีอาทิว่า ก็แลสมดังพระดำรัสที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาท

ของเราตถาคตเถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย. แต่ในที่นี้ วุตตศัพท์พึงเห็นว่า

ใช้ในการกล่าว เพราะเหตุนั้น จึงมีความหมายว่า พูด บอก กล่าว. ส่วน

วุตตศัพท์ที่สอง พึงทราบว่า ใช้ในคำพูดและในภาวะที่ประพฤติแล้ว.

อธิบาย หิ และเอตศัพท์

ศัพท์ว่า หิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายนี้ว่า แน่แท้ ชัดแจ้ง. หิ

ศัพท์นั้นส่องความว่า สูตรที่จะกล่าวในบัดนี้ เป็นสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้อย่างชัดแจ้ง. นิบาตทั้งหลายประกอบด้วยความประชุมพร้อมแห่งศัพท์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 8

ที่บอกความหมาย. จริงอยู่ นิบาตเหล่านั้น ช่วยขยายความที่จะพึงกล่าวให้

ชัดขึ้น.

เอต ศัพท์ในบทว่า เอต นี้ มาในอรรถว่า ประจักษ์ชัดในที่ใกล้ชิด

ตามที่กล่าวแล้ว ในประโยคมีอาทิว่า

ก็บุคคลใดถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม

และพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ เห็นอริยสัจ ๔

คือ ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความพ้นทุกข์

และอริยมรรคมีองค์ ๘ อันมีปกติยังผู้ปฏิบัติ

ให้ถึงความพ้นทุกข์ ด้วยปัญญาอันชอบ

การถึงสรณะของบุคคลนั้นนั่นแล เป็นที่

พึงอันเกษม นั่นเป็นที่พึ่งอันสูงสุด เพราะ

ว่าบุคคลอาศัยสรณะนั่นแล้ว ย่อมพ้นจาก

ทุกข์ทั้งหมด.

แต่ที่มาในอรรถว่า ประจักษ์ชัดในที่ใกล้ชิดที่กำลังกล่าวถึงอยู่ ใน

ประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลปุถุชนเมื่อกล่าวสรรเสริญคุณของพระ

ตถาคตพึงกล่าวด้วยคำสรรเสริญ คำสรรเสริญนั่นเป็นเพียงเล็กน้อย เพียงขึ้นต่ำ

เพียงแค่ศีล. อนึ่ง ในที่นี้ เอต ศัพท์พึงเห็นว่า ใช้ในความหมายว่า ประจักษ์

ชัดในที่ใกล้ชิดที่กำลังกล่าวถึงอยู่นั่นแล. เพราะว่า สูตรที่กำลังกล่าวถึง ด้วย

สามารถแห่งการพิจารณา พระอานนท์เถระผู้ธรรมภัณฑาคาริก ดำรงอยู่แล้ว

ในวุฒิธรรมกล่าวไว้ในครั้งแรกว่า เลต ดังนี้.

อธิบายคำว่า ภควา

ในบทว่า ภควตา นี้ พึงทราบอธิบายดังนี้ บทว่า ภควา เป็น

คำเรียกบุคคลผู้เป็นที่เคารพ. เป็นความจริง คนทั้งหลายในโลกมักเรียกบุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 9

ผู้เป็นที่เคารพว่า ภควา. และพระตถาคต ชื่อว่า เป็นที่เคารพของสัตว์ทั้งหลาย

เพราะทรงวิเศษด้วยสรรพคุณ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ภควา. แม้พระ

โบราณาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้ว่า

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐที่สุด

คำว่า ภควา เป็นคำสูงสุด พระตถาคตนั้น

ทรงเป็นผู้ควรแก่ความเคารพคารวะ ด้วย

เหตุนั้น จึงขนานพระนานว่า ภควา.

อันที่จริง คำพูดที่ระบุถึงบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด กล่าวกันว่า ประเสริฐ

ที่สุด เพราะดำเนินไปด้วยกันกับคุณอันประเสริฐที่สุด. อีกประการหนึ่ง ที่ชื่อ

ว่า วจนะ เพราะอรรถว่า อันบุคคลกล่าว ได้แก่ความหมาย. เพราะเหตุนั้น

ในบทว่า ภควาติ วจน เสฏ จึงมีความหมายว่า ความหมายใดที่จะพึง

พูดด้วยคำว่า ภควา นี้ ความหมายนั้นประเสริฐที่สุด. แม้ในบทว่า ภควาติ

วจนมุตฺตม นี้ ก็นัยนี้แล. บทว่า คารวยุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่า ทรงเป็นผู้

ควรแก่ความเคารพคารวะ เพราะทรงประกอบด้วยคุณของบุคคลผู้เป็นที่เคารพ.

อีกประการหนึ่ง พระตถาคต ชื่อว่า ทรงควรแก่ความเคารพ ก็เพราะเหตุที่

ทรงควรซึ่งการการทำความเคารพอย่างดียิ่ง. หมายความว่า ทรงควรแก่ความ

เคารพ. เมื่อเป็นเช่นนั้น คำว่า ภควา นี้ จึงเป็นคำเรียกบุคคลผู้วิเศษโดยคุณ

บุคคลผู้สูงสุดกว่าสัตว์ และบุคคลผู้เป็นที่เคารพคารวะ ดังนี้แล.

อีกประการหนึ่ง พึงทราบความหมายของบทว่า ภควา ตามนัยที่มา

ในนิทเทสว่า

พระพุทธเจ้านั้น บัณฑิตขนานพระ

นามว่า ภควา เพราะเหตุที่พระองค์ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 10

มีภคธรรม ๑ ทรงมีปกติเสพภคธรรม ๑

ทรงมีภาคธรรม ๑ ทรงจำแนกแจกแจง

ธรรม ๑ ทรงทำลายนามรูป ๑ ทรง

เป็นที่เคารพ ๑ ทรงมีภาคยธรรม ๑

ทรงมีพระองค์อบรมดี แล้วด้วยญายธรรม

จำนวนมาก ๑ ทรงถึงที่สุดแห่งภพ ๑.

และด้วยอำนาจแห่งคาถานี้ว่า

เพราะเหตุที่ พระพุทธเจ้าทรงมีภาคย-

ธรรม ๑ ทรงมีภัคคธรรม ๑ ทรงประกอบ

ด้วยภัคคธรรม ๑ ทรงจำแนกแจกแจง

ธรรม ๑ ทรงมีคนภักดี ๑ ทรงคายการ

ไปในภพทั้งหลาย ๑ ฉะนั้น จึงได้รับ

ขนานพระนามว่า ภควา.

ก็ความหมายนี้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในพุทธานุสตินิทเทส ในวิสุทธิมรรค

อย่างครบถ้วน เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้แล้วใน

วิสุทธิมรรคนั้นเถิด.

ความหมายของภควาอีกนัยหนึ่ง

อีกนัยหนึ่ง. พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม

พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ผู้อบรมพุทธกรรม

พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรม

พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภคธรรม

พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีคนภักดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 11

พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภคธรรม

พระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภาคธรรม.

พระชินเจ้าทรงพระนามว่า ภควา

เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม ๑

ทรงอบรมพุทธกรธรรม ๑ ทรงเสพภาค-

ธรรม ๑ ทรงเสพภคธรรม ๑ ทรงมีคน

ภักดี ๑ ทรงคายภคธรรม ๑ ทรงคายภาคธรรม ๑.

ในความหมายเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

๑. ทรงมีภาคธรรม

พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรง

มีภาคธรรม เป็นอย่างไร ? คือ กองธรรม ได้แก่ ส่วนแห่งคุณมีศีลเป็นต้น

ที่วิเศษยิ่ง ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่นมีอยู่ คือ หาได้เฉพาะแก่พระตถาคตเจ้า

จริงอย่างนั้น พระตถาคตเจ้านั้น ทรงมี คือ ทรงได้ภาคแห่งคุณ ได้แก่ส่วน

แห่งคุณ อันเป็นนิรัติสัย (ไม่มีส่วนแห่งคุณอื่นที่ยิ่งกว่า) ไม่จำกัดประเภท

ไม่มีที่สุด ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น มีอาทิอย่างนี้ คือ ศีล สมาธิ

ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ หิริ โอตตัปปะ ศรัทธา วิริยะ สติ

สัมปชัญญะ สีลวิสุทธิ จิตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ สมถะ วิปัสสนา กุศลมูล ๓

สุจริต ๓ สัมมาวิตก ๓ อนวัชชสัญญา ๓ ธาตุ ๓ สติปัฎฐาน ๔

สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๘ อริยมรรค อริยผล ๔ ปฎิสัมภิทา ๔

ญาณกำหนดรู้กำเนิด ๔ อริยวงศ์ ๔ เวสารัชชญาณ ๔ องค์ของภิกษุผู้

บำเพ็ญเพียร ๕ สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ สัมมาสมาธิมีญาณ ๕ อินทรีย์ ๕

พละ ๕ นิสสารณียธาตุ ๕ วิมุตตายตนญาณ (ญาณเป็นบ่อเกิดแห่งวิมุตติ) ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 12

วิมุตติปริปาจนียปัญญา (ปัญญาเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ) ๕ อนุสติฐาน

(ที่ตั้งแห่งอนุสติ ) ๖ คารวะ ๖ นิสสารณียธาตุ ๖ สัตตวิหารธรรม ๖

อนุตริยะ ๖ นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อภิญญา ๖ อสาธารณญาณ ๖

อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ โพชฌงค์ ๗ สัปปุริสธรรม ๗

นิชชรวัตถุ ๗ สัญญา ๗ เทศนาว่าด้วยทักขิไณยบุคคล ๗ เทศนาว่าด้วย

พลธรรมของพระขีณาสพ ๗ เทศนาว่าด้วยหตุให้ได้ปัญญา ๘ สัมมัตต-

ธรรม ๘ การล่วงพ้นโลกธรรม ๘ อารัมภวัตถุ ๘ อักขณเทศนา (เทศนา-

ว่าด้วยขณะที่ไม่สามารถประพฤติพรมจรรย์ได้) ๘ มหาบุรุษวิตก ๘ เทศนา

ว่าด้วยอภิภายตนะ ๘ วิโมกข์ ๘ ธรรมที่มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ องค์

ของภิกษุผู้บำเพ็ญเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๙ เทศนาว่าด้วยสัตตาวาส ๙ อุบาย

กำจัดอาฆาตวัตถุ สัญญา ๙ นานัตตธรรม ๙ อนุปุพพวิหารธรรม ๙

นาถกรณธรรม ๑๐ กสิณายตนะ (บ่อเกิดกสิณ) ๑๐ กุศลกรรมบถ ๑๐

สัมมัตตธรรม ๑๐ อริยวาสธรรม ๑๐ อเสกขธรรม ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐

อานิสงส์เมตตา ๑๑ อาการธรรมจักร ๑๒ ธุดงค์คุณ ๑๓ พุทธญาณ ๑๐

วิมุตติปริปาจนียธรรม ๑๕ อานาปานสติ ๑๖ อตปนียธรรม ๑๖ พุทธ-

ธรรม ๑๘ ปัจจเวกขณญาณ ๑๙ ญาณวัตถุ ๔๔ อุทัยพพยญาณ ๕๐

กุศลธรรมมากกว่า ๕๐ ญาณวัตถุ ๗๗ สมาบัติสองล้านสี่แสนโกฎิ มหาวชิร-

ญาณ ๕ เทศนานัยว่าด้วยการพิจารณาปัจจัยในอนันตนยสมันตปัฏฐานปกรณ์

และญาณแสดงถึงอาสยะเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายไม่มีที่สุดในโลกธาตุอันไม่มี

ที่สุด. เพราะเหตุนั้น เมื่อควรจะขนานพระนามว่า ภาควา เพราะเหตุที่ทรง

มีภาคแห่งคุณ ตามที่ได้กล่าวจำแนกไว้แล้ว ท่านก็ขนานพระนามว่า ภควา

โดยรัสสะ อา อักษรเป็น อะ อักษร. พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า

ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม ดังพรรณนามานี้ก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 13

เพราะเหตุที่ภาคแห่งคุณทั้งหมด มี

ศีลเป็นต้น มีอยู่ในพระสุคตอย่างครบถ้วน

ฉะนั้น บัณฑิต จึงขนานพระนามพระองค์

ว่า ภควา.

๒. ทรงอบรมพุทธกรธรรม

พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรง

อบรมพุทธกรธรรมเป็นอย่างไร คือ พุทธกรธรรม (ธรรมที่ทำให้เป็น-

พระพุทธเจ้า) เหล่านั้นใดมีอาทิอย่างนี้ คือ บารมี ๑๐ ได้แก่ ทานบารมี

ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี

อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐

รวมเป็นบารมี ๓๐ ถ้วน สังคหวัตถุ ๔ มีทานเป็นต้น อธิษฐานธรรม ๔

มหาบริจาค ๕ คือ การบริจาคร่างกาย การบริจาคนัยนา (ดวงตา) การบริจาค

ทรัพย์ การสละราชสมบัติ การบริจาคบุตรและภรรยา บุพประโยค บุพจริยา

การกล่าวธรรม พระจริยาที่เป็นประโยชน์แก่โลก พระจริยาที่เป็นประโยชน์

แก่พระญาติ พระจริยาที่เป็นประโยชน์ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้า ที่พระมหา-

สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความขวนขวาย เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งมวล

ผู้ประมวลธรรม ๘ ประการ มีความเป็นมนุษย์เป็นต้นไว้อย่างพร้อมมูลแล้ว

กระทำมหาภินิหารไว้ เพื่อบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ ควรบำเพ็ญให้บริบูรณ์

หรือเมื่อว่าโดยย่อ คือ พุทธกรธรรมที่เป็นเหตุเพิ่มบุญ เพิ่มญาณ (ปัญญา)

พุทธกรธรรมเหล่านั้นที่พระองค์ทรงบำเพ็ญ คือ สั่งสมมา โดยเคารพอย่าง

ครบถ้วนไม่ขาดสาย สิ้นเวลา ๔ อสงไขย กำไรแสนกัป นับแต่มหา-

ภินิหาร (ที่ได้รับจากพระพุทธที่ปังกร) มา โดยที่พุทธกรธรรมเหล่านั้นมิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 14

ได้อยู่ในภาคเสื่อม มิได้อยู่ในภาคเศร้าหมอง หรือมิได้อยู่ในภาคหยุดชะงัก

โดยที่แท้อยู่ในภาคคุณวิเศษที่สูง ๆ ขึ้นไป มีอยู่แก่พระองค์ เพราะฉะนั้น

พระองค์จึงทรงพระนามว่า ภตวา (ผู้บำเพ็ญพุทธกรธรรม) ดังนั้น เมื่อ-

ควรขนานพระนามว่า ภตวา แต่กลับถวาย พระนามว่า ภควา เพราะ

แปลงอักษร ต ให้เป็นอักษร ค ตามนัยแห่งนิรุกติศาสตร์. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ภตวา มีความว่า ทรงสั่งสม คือ อบรมไว้ ได้แก่บำเพ็ญพุทธกร-

ธรรม ตามที่กล่าวแล้วนั้นนั่นแล. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะ

หมายความว่า ทรงอบรมพุทธกรธรรม แม้ด้วยประการฉะนี้.

เพราะเหตุที่พระโลกนาถ ทรงอบรม

สัมภารธรรมทั้งหมด มีทานบารมีเป็นต้น

เพื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ ฉะนั้น จึง

ถวายพระนามว่า ภควา.

๓. ทรงเสพภาคธรรม

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพ

ภาคธรรมเป็นอย่างไร ? คือ ส่วนแห่งสมาบัติที่ใช้ทุกวันนับได้จำนวนสองหมื่น

สี่พันโกฏิเหล่าใดมีอยู่ พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงส้องเสพ ได้แก่

ทรงทำให้มากอยู่เนืองนิตย์ ซึ่งส่วนแห่งสมาบัติเหล่านั้นไม่มีเหลือ เพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก และเพื่อประทับอยู่อย่างเป็นสุขในปัจจุบันของ

พระองค์ เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า

ทรงเสพภาคธรรม. อีกประการหนึ่ง ในธรรมทั้งหลายที่ควรรู้ยิ่ง มีกุศล

เป็นต้น และมีขันธ์เป็นต้น ธรรมเหล่าใดเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่งด้วยอำนาจเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 15

ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นต้น หรือเป็นส่วนที่ควรรู้ยิ่ง โดยย่อก็มีอยู่ ๔ อย่าง

แต่เมือว่าโดยพิสดารก็คือ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนที่ควรกำหนดรู้หลายประเภท

โดยนัยเป็นต้นว่า จักษุเป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ฯลฯ ชราและมรณะเป็นสิ่งที่

ควรกำหนดรู้ ๑ ธรรมทั้งหลายเป็นส่วนที่ต้องละหลายประเภท โดยนัยเป็นต้น

ว่า เหตุเกิดของจักษุต้องละ ฯลฯ เหตุเกิดของชราและมรณะต้องละ ๑ ธรรม

ทั้งหลายเป็นส่วนต้องทำให้แจ้งหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า การดับของจักษุ

ต้องทำให้แจ้ง ฯลฯ การดับของชราและมรณะต้องทำให้แจ้ง ๑ ธรรมทั้งหลาย

เป็นส่วนต้องทำให้เจริญหลายประเภทโดยนัยเป็นต้นว่า ปฏิปทาที่มีปกติให้ถึง

ความดับแห่งจักษุต้องเจริญ ฯลฯ สติปัฏฐาน ๔ ต้องเจริญ ๑ ธรรมเหล่านั้น

ทั้งหมด พระพุทธเจ้าทรงใช้ ทรงคบ ทรงเสพด้วยอำนาจอารมณ์ ภาวนา

และอาเสวนะตามควร. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความ

ว่า ทรงเสพภาคธรรมดังพรรณนามาฉะนี้

อีกประการหนึ่ง พระพุทธเจ้าทรงเสพ ทรงปรารถนาด้วยพระ-

มหากรุณาว่า หมวดธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านี้เป็นส่วนแห่งคุณคือ เป็นภาคแห่ง

คุณทีทั่วไป ทำไฉนหนอ หมวดธรรมเหล่านั้นจะพึงดำรงมั่นอยู่ในสันดานของ

เวไนยสัตว์. และความปรารถนานั้นของพระองค์ ก็ได้นำผลมาให้สมพระประสงค์.

พระพุทธเจ้าจึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพภาคธรรม

ดังพรรณนามาฉะนี้.

เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้า ทรงเสพ

ทรงปรารถนาภาคแห่งคุณ คือ การบรรลุ

ไญยธรรมเพื่อเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่

สัตว์ทั้งหลาย ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า

ภควา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 16

๔. ทรงเสพภคธรรม

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงเสพ

ภคธรรม เป็นอย่างไร ? คือ ว่าโดยย่อก่อน สมบัติทั้งหลายทั้งที่เป็นโลกิยะ

และโลกุตระชื่อว่า ภคะ เพราะอันบุคคลทั้งหลายผู้ทำบุญไว้แล้ว ถึงพร้อมด้วย

ปโยคะ เสพได้ตามควรแก่สมบัติ. ก่อนอื่นในภคธรรมทั้งสองนั้น ภคธรรม

ที่เป็นโลกิยะอันสูงสุดอย่างยิ่งยวด พระตถาคตเจ้า ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์

ก่อนที่จะได้ตรัสรู้ ก็ได้เสวย คบ เสพมาแล้ว ซึ่งพระองค์ทรงดำรงอยู่ แล้ว

จึงได้พิจารณาพุทธกรรรมอย่างครบถ้วน บ่มพุทธธรรมให้สุกเต็มที่ ต่อ

เมื่อได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรมเหล่านั้น อันเป็น

โลกุตระประกอบด้วยภาวะอันไม่มีโทษลึกซึ้ง ไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น. ส่วนที่

ว่าโดยพิสดาร พระตถาคตเจ้า (ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์) ก็ได้เสวย คบ เสพ

ภคธรรม (อันเป็นโลกิยะ) ที่ไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่นหลายอย่างคือ ความ

เป็นพระเจ้าประเทศ ความเป็นเอกราช จักรพรรดิราชสมบัติ และเทวราช-

สมบัติเป็นต้น และครั้นได้เป็นพระพุทธเจ้า ก็ได้เสวย คบ เสพภคธรรม

(อันเป็นโลกุตระ) ที่ไม่สาธารณะแก่บุคคลอื่นหลายอย่างคือ อุตริมนุสธรรม

มีฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ญาณทัสสนะ การเจริญมรรคและการทำ

ผลให้แจ้งเป็นต้น.

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะความหมายว่า ทรงเสพ

ภคธรรม ดังพรรณนามาฉะนี้.

เพราะเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงเสพโลกิยสมบัติ และโลกุตรสมบัติ

จำนวนมาก ฉะนั้น จึงได้รับขนานพระ-

นามว่า ภควา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 17

๕. ทรงมีคนภักดี

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงมีคน

ภักดี เป็นอย่างไร ? คือ พระองค์ทรงมีคนภักดี คือ มีคนที่ภักดีอย่างมั่นคง

อยู่มาก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทรงมีคนภักดี. เป็นความจริง พระตถาคตเจ้า

ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะพรั่งพร้อมด้วยคุณวิเศษที่มีอำนาจหาที่เปรียบ

ประมาณมิได้ อาทิพระมหากรุณาและพระสัพพัญญุตญาณ ชื่อว่า สูงสุดกว่า

สรรพสัตว์ เพราะทรงมีอุปการะอย่างยิ่งยวดในหมู่สัตว์กับทั้งเทวดาและมนุษย์

ด้วยปโยคสมบัติอันยอดเยี่ยม นิรัติสัย มีการบำบัดสิ่งไม่เป็นประโยชน์ถึงก่อน

มีการจัดสิ่งที่เป็นประโยชน์สุขให้ครบถ้วนเป็นเบื้องหน้า ชื่อว่า สูงสุดกว่า

สรรพสัตว์ เพราะทรงมีรูปกายประดับด้วยคุณวิเศษอันไม่สาธารณะแก่บุคคล

อื่น เช่น มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมีที่

แผ่ซ่านออกไปวาหนึ่งเป็นต้น ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงประกอบ

ด้วยเสียงสดุดีที่แสนไพบูลย์แสนบริสุทธิ์ แผ่ไปในไตรโลกเป็นไปโดยนัยเป็นต้น

ว่า อิติปิโส ภควา ซึ่งพระองค์ทรงได้มาจากพระคุณตามที่เป็นจริง ชื่อว่า

สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เพราะทรงดำรงมั่นอยู่ในพระคุณ มีความมักน้อยและ

ความสันโดษเป็นต้นที่ถึงขั้นเป็นบารมีขั้นสูงสุด ชื่อว่า สูงสุดกว่าสรรพสัตว์

เพราะทรงประกอบด้วยคุณวิเศษอันยิ่งยวดมีทสพลญาณ และจตุเวสารัชชญาณ

เป็นต้น ชื่อว่า ทรงเป็นยอด คือ ทรงเป็นฐานให้เกิดความภักดีอย่างพร้อม

มูล เพราะทรงเป็นบ่อเกิดแห่งความเอื้อเฟื้อ ความนับถือและความเคารพ

อย่างมากของสัตว์ทั้งหลายไม่จำกัดรวมทั้งเทวดาและมนุษย์ เพราะทรงเป็นผู้ที่

น่าเลื่อมใสทุกด้าน โดยทรงนำความเลื่อมใสมาให้โดยประการทั้งปวงในโลก-

สันนิวาสผู้ยึดถือประมาณ ๔ อย่างนี้ คือ ผู้ถือรูปเป็นประมาณก็เลื่อมใสในรูป ๑

ผู้ถือเสียงเป็นประมาณก็เลื่อมใสในเสียง ๑ ผู้ถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 18

ก็เลื่อมใสในความเศร้าหมอง ๑ ผู้ถือธรรมเป็นประมาณก็เลื่อมใสในธรรม ๑.

บุคคลเหล่าใดตั้งอยู่ในโอวาทของพระองค์ ประกอบพร้อมด้วยความเลื่อมใสอัน

ไม่หวั่นไหว ความภักดีของบุคคลเหล่านั้น อันใครๆ จะเป็นสมณะ พราหมณ์

เทวดา มาร หรือพรหม ก็ลักไปไม่ได้. เป็นความจริง บุคคลเหล่านั้น

แม้ตนเองจะต้องเสียชีวิต ก็จะไม่ยอมทิ้งความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้น หรือ

คำสั่งของพระองค์ ก็เพราะต่างมีความภักดีอย่างมั่นคง. ด้วยเหตุนั้นแล

พระพุทธเจ้า จึงตรัสว่า

ผู้ใดแลเป็นปราชญ์ เป็นผู้กตัญญูกต-

เวที ผู้นั้นย่อมเป็นกัลยาณมิตรและมีความ

ภักดีอย่างมั่นคง

และว่า ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรตั้งอยู่เสมอฝั่งเป็นธรรมดา ไม่

ล้นฝั่ง ฉันใด ภิกษุทั้งหลาย เหล่าสาวกของเราก็จะไม่ยอมล่วงละเมิดสิกขาบท

ที่เราตถาคตบัญญัติแล้วแก่สาวกทั้งหลาย แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ฉันนั้น

เหมือนกันแล. พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า

ทรงมีคนภักดี ดังพรรณนามาฉะนี้ เมื่อควรจะขนานพระนามว่า ภตฺตวา

แต่กลับขนานพระนามว่า ภควา โดยลบ ต อักษรเสียตัวหนึ่งแล้วแปลง

อักษรอีกตัวหนึ่งให้เป็น ค อักษร ตามนัยแห่งนิรุกติศาสตร์.

เพราะเหตุที่พระศาสดาผู้ประกอบ

ด้วยพระคุณอันยิ่งยอด ทรงมีปกติแสวงหา

ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลก ทรงมีคน

ภักดีมาก ฉะนั้น จึงได้รับขนานพระนาม

ว่า ภควา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 19

๖. ทรงคายภคธรรม

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคาย

ภคธรรมเป็นอย่างไร ? คือ เพราะเหตุที่พระตถาคตเจ้า แม้ครั้งยังเป็นพระ-

โพธิสัตว์ทรงบำเพ็ญบารมีในอดีตชาติ ได้ทรงคายขยอกทิ้งซึ่งสิริและอิสริยยศ

ที่เรียกว่า ภคะ อย่างไม่ใยดีเหมือนทรงบ้วนก้อนเขฬะทิ้งฉะนั้น. จริงอย่างนั้น

อัตภาพที่พระองค์ทรงสละสิริราชสมบัติอันเป็นเช่นกับราชสมบัติของเทวดาด้วย

อำนาจการบำเพ็ญเนกขัมมบารมี กำหนดจำนวนไม่ได้ในชาติทั้งหลาย มีอาทิ

อย่างนี้ คือ ในคราวเกิดเป็นโสมนัสสกุมาร ในคราวเกิดเป็นหัตถิปาลกุมาร

ในคราวเกิดเป็นอโยฆรบัณฑิต ในคราวเกิดเป็นมูคปักขบัณฑิต (พระเตมีย์)

ในคราวเกิดเป็นพระเจ้าจูฬสุตโสม. แม้ในอัตภาพก่อน ๆ พระองค์ก็มิได้

สำคัญสิริจักรพรรดิราชสมบัติมีความเป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ อันเป็นเช่นเดียว

กับความเป็นใหญ่ในเทวโลก และยศที่สง่างามด้วยรัตนะ ๗ ซึ่งเป็นที่อาศัย

ของสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิทีอยู่แค่เอื้อมว่า ยิ่งไปกว่าหญ้า ทรงละทิ้งไป

อย่างไม่ใยดี แล้วเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ จนได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณ

ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคายภคธรรมมีสิริ

เป็นต้น ดังพรรณนามาฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายชื่อว่า ภค เพราะ

เป็นเครื่องไป คือ เป็นไปสม่ำเสมอแห่งนักษัตรทั้งหลายที่ชื่อว่า ภา อัน

อาศัยโลกพิเศษซึ่งจำแนกเป็นภูเขาสิเนรุ ยุคันธร อุตตรทวีป กุรุทวีปและ

ภูเขาหิมวันต์เป็นต้น ชื่อว่า โสภา เพราะมีความตั้งมั่นตลอดกัป. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงคาย คือ ทรงละภคธรรม แม้เหล่านั้น ด้วยการละฉันทราคะ

อันปฏิพัทธ์ในภคธรรมนั้น เพราะก้าวล่วงซึ่งสัตตาวาสอันอยู่อาศัยภคธรรมนั้น.

พระพุทธเจ้าพระนามว่า ภควา เพราะทรงคายภคธรรมทั้งหลาย แม้ด้วย

ประการฉะนี้.

* ปาฐะ เป็นมูคผกฺก แต่ในชาดก เป็น มูคปกฺข แปลตามชาดก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 20

พระสุคตพระนามว่า ภควา เพราะ

ทรงละจักรพรรดิสิริ ยศ อิสริยะ สุข

และการสะสมโลก.

๗. ทรงคายภาคธรรม

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรง-

คายภาคธรรมเป็นอย่างไร ? คือ ชื่อว่า ภาคะ ได้แก่ โกฏฐาสทั้งหลาย.

โกฏฐาสเหล่านั้นมีหลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์ อายตนะ ธาตุเป็นต้น แม้ขันธ์

อายตนะ ธาตุเป็นต้นนั้น ก็มีโกฎฐาสหลายอย่าง ด้วยอำนาจขันธ์มีรูป

เวทนาเป็นต้น และด้วยอำนาจขันธ์ที่เป็นอดีตเป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตัดขาดกิเลสเป็นเหตุให้เนิ่นช้าทั้งหมด (ปปัญจะ) กิเลสเครื่องประกอบ

ไว้ทั้งหมด (โยคะ) กิเลสเครื่องรัดรึง (คัณฐะ) ทั้งหมด กิเลสเครื่องผูกมัด

ไว้ทั้งหมด (สังโยชน์) ได้แล้ว จึงบรรลุอมตธาตุ ทรงคายขยอกทิ้งภาค-

ธรรมเหล่านั้นโดยมิทรงใยดี คือ ไม่เสด็จหวนกลับมาหาภาคธรรมเหล่านั้น.

จริงอย่างนั้น พระองค์ทรงคาย ขยอก สลัด ทิ้งส่วนแห่งธรรมทั้งหมดทีเดียว

โดยไม่มีส่วนเหลือ แม้ด้วยการจำแนกธรรมไปตามลำดับบทมีอาทิ คือ ปฐวี

อาโป เตโช วาโย ซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่งทีเดียว จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา

กาย มนะ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ จักษุวิญญาณ ฯลฯ

มโนวิญญาณ จักษุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส จักษุสัมผัสชาเวทนา ฯลฯ มโน-

สัมผัสชาเวทนา จักษุสัมผัสชาสัญญา ฯลฯ มโนสัมผัสชาสัญญา จักษุ

สัมผัสชาเจตนา ฯลฯ มโนสัมผัสชาเจตนา รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา

รูปวิตก ฯลฯ ธรรมวิตก รูปวิจาร ฯลฯ ธรรมวิจาร ทั่วถ้วนทุกอย่าง. สมจริง

ดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ ดังนี้ว่า อานนท์ สิ่งใดที่ตถาคตสละแล้ว คายแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 21

พ้นแล้ว ละได้แล้ว สละคืนแล้ว ตถาคตจักกลับมาหาสิ่งนั้นอีก เรื่องนี้ไม่ใช่

ฐานะจะมีได้. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า

ทรงคายภาคธรรม ดังว่ามานี้.

อีกประการหนึ่ง บทว่า ภาเค วมิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงคาย ขยอก สละ ทิ้งธรรมทั้งหมด คือ กุศลธรรมและอกุศลธรรม

ธรรมที่มีโทษและไม่มีโทษ ธรรมที่เลวและประณีต ธรรมที่มีส่วนเปรียบ

ด้วยธรรมดำ และธรรมขาว ทางพระโอษฐ์คืออริยมรรคญาณ และทรง

แสดงธรรมเพื่อความเป็นอย่างนั้น แก่บุคคลเหล่าอื่น. สมจริงดังพระดำรัสที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้ธรรมทั้งหลายเธอก็

ต้องละ จะป่วยกล่าวไปไยถึงอธรรมเล่า ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตจึงแสดงธรรม

เปรียบด้วยแพแก่เธอทั้งหลาย เพื่อต้องการให้ถ่ายถอน มิใช่เพื่อให้ยึดถือ

เป็นต้น. พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า ภควา เพราะหมายความว่า ทรงคาย

ภาคธรรม แม้ดังพรรณนามาฉะนี้.

เพราะเหตุที่ธรรมดำและธรรมขาว

ซึ่งแยกประเภทออกเป็น ขันธ์ อายตนะ

ธาตุเป็นต้น อันพระพุทธเจ้าผู้ทรงแสวงหา

พระคุณอันยิ่งใหญ่ทรงคายได้แล้ว ฉะนั้น

พระองค์จึงได้รับขนานพระนานว่า ภควา.

ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์จึงกล่าวว่า

พระชินเจ้าทรงพระนามว่า ภควา

เพราะหมายความว่า ทรงมีภาคธรรม ทรง

อบรมพุทธกรธรรม ทรงเสพภาคธรรม

ทรงมีภคธรรม ทรงมีคนภักดี ทรงคาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 22

ภคธรรม ทรงคายภาคธรรม.

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น.

ความหมายของ อรห

บทว่า อรหตา ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ชื่อว่า เป็น

พระอรหันต์ เพราะเหตุเหล่านี้คือ เพราะทรงห่างไกลจากกิเลสทั้งหลาย ๑

เพราะทรงทำลายข้าศึกคือกิเลสไม่มีส่วนเหลือ ๑ เพราะทรงทำลายซี่กำแห่ง

สังสารจักร ๑ เพราะทรงควรแก่ปัจจัยเป็นต้น ๑ เพราะไม่มีความลับ ในการ

ทำบาป ๑. นี้คือความย่อในบทนี้ ส่วนความพิสดารพึงทราบตามนัยที่กล่าว

แล้วในวิสุทธิมรรคเถิด.

อนึ่ง ในอธิการนี้พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ ด้วยบทว่า ภควตา นี้

ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระรูปกาย อันไม่สาธารณ์แก่บุคคลอื่น

ประดับ ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อนุพยัญชนะ ๘๐ และพระเกตุมาลา

มีรัศมีแผ่ไปได้ประมาณ ๑ วา ของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ชื่อว่าทรงบุญ-

ลักษณะไว้ตั้ง ๑๐๐ เพราะทรงมีบุญสมภารที่ทรงสั่งสมไว้หลายอสงไขยกัป

ด้วยการแสดงว่าพระองค์ทรงคายภาคยธรรมได้แล้ว. ด้วยบทว่า อรหตา นี้

ท่านแสดงถึงความถึงพร้อมด้วยพระธรรมกายที่เป็นอจินไตย อาทิ พลญาณ ๑๐

เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณญาณ ๖ และอาเวณิกพุทธธรรม (ธรรมเฉพาะ

พระพุทธเจ้า) ๑๘ เพราะแสดงการบรรลุสัพพัญญุตญาณมีการสิ้นอาสวะเป็น

ปทัฏฐาน โดยการแสดงการละกิเลสที่ไม่มีส่วนเหลือด้วยบททั้งสอง ท่านแสดง

ถึงความที่พระองค์อันนักปราชญ์ชาวโลกนับถือมาก ๑ ความที่พระองค์อัน

คฤหัสถ์และบรรพชิตพึงเข้าไปหา ๑ ความที่พระองค์ทรงสามารถในการบำบัด

ทุกข์ทางกาย และทางใจของคฤหัสถ์ และบรรพชิตเหล่านั้น ผู้เข้าไปหา ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 23

ความที่พระองค์ทรงมีอุปการะด้วยอามิสทาน และธรรมทาน ๑ ความที่พระ-

องค์ทรงสามารถในการชักนำประชาชนให้ประกอบด้วยคุณที่เป็นโลกิยะ และ

โลกุตระ ๑. อนึ่ง ด้วยบทว่า ภควตา นี้ ท่านแสดงความถึงพร้อมด้วยจรณะ

(ของพระองค์) โดยแสดงความประกอบพร้อมด้วยวิหารธรรม อันวิเศษมีทิพ-

วิหารธรรมเป็นต้น อันเป็นยอดในบรรดาจรณธรรมทั้งหลาย. ด้วยบทว่า

อรหตา นี้ ท่านแสดงความถึงพร้อมด้วยวิชชา โดยแสดงการบรรลุอาสวักขย-

ญาณ อันเป็นยอด (สูงสุด) ในวิชชาทุกประการ. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทแรก

(ภควตา) ท่านประกาศถึงการประกอบด้วยเวสารัชชญาณข้อหลัง ๒ ข้อ โดย

แสดงความที่อันตรายิกธรรม และนิยยานิกรรม อันพระองค์ทรงจำแนกไว้

ไม่มีผิดพลาด. ด้วยบทหลัง (อรหตา) ท่านประกาศถึงการประกอบด้วย

เวสารัชชญาณข้อแรก ๒ ข้อ โดยแสดงการละกิเลส พร้อมทั้งวาสนาได้ไม่มี

เหลือ.

อนึ่ง ด้วยบทแรก (ภควตา) ท่านประกาศถึงความบริบูรณ์แห่ง

อธิษฐานธรรมคือสัจจะ และอธิษฐานธรรมคือจาคะ โดยแสดงถึงปฏิญญาสัจจะ

วจีสัจจะ และญาณสัจจะของพระตถาคต โดยแสดงถึงการสละทิ้งกามคุณ

ความเป็นใหญ่ทางโลก ยศ ลาภ และสักการะเป็นต้น และโดยแสดงถึงการ

สละทิ้งอภิสังขารคือกิเลสไม่มีเหลือ. ด้วยบทที่ ๒ (อรหตา) ท่านประกาศ

ถึงความบริบูรณ์แห่งอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ และอธิษฐานธรรมคือปัญญา

โดยแสดงถึงการได้บรรลุ การสงบระงับสังขารทั้งหมด และโดยแสดงถึงการ

บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ.

จริงอย่างนั้น ความมีอธิษฐานธรรมคือสัจจะเป็นบารมีของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ผู้ครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ ได้ทำอภินิหารไว้ในโลกุตรคุณ

ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงบำเพ็ญบารมีทุกข้อตามปฏิญญา เนื่องจากทรง

ประกอบด้วยพระมหากรุณาธิคุณ ความมีอธิษฐานธรรมคือจาคะเป็นบารมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 24

ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงสละทิ้งสิ่งที่เป็นข้าศึก ความมีอธิษฐานธรรมคือ

อุปสมะเป็นบารมี ถึงความบริบูรณ์ เพราะทำจิตให้สงบด้วยคุณทั้งหลาย รวม

ความว่า อธิษฐานธรรมคือปัญญา ถึงความบริบูรณ์ เพราะความที่พระองค์

ทรงฉลาดในอุบายอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น ดังพรรณนามานี้แล. อนึ่ง

อธิษฐานธรรมคือสัจจะ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงปฏิญญาว่า จักให้ไม่ทำ

ชนผู้ขอให้คลาดเคลื่อน (พลาดหวัง) คือ เพราะทรงให้โดยไม่ทำปฏิญญาให้

คลาดเคลื่อน อธิษฐานธรรมคือจาคะ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงสละ

ไทยธรรม อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงระงับภัย

คือ โลภะ โทสะ โมหะ ได้ในเมื่อผู้รับไทยธรรมไม่มี และไทยธรรมคือทาน

หมดไป อธิษฐานธรรมคือปัญญา ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงให้ตามควร

ตามกาล และตามวิธี และเพราะทรงยิ่งด้วยปัญญา. ความบริบูรณ์แห่งอธิษฐาน

ธรรม ๔ แม้ในบารมีที่เหลือก็พึงทราบตามนัยนี้. ก็บารมีทั้งหมด อบรม

(ทำให้เกิดมี) ด้วยสัจจะ เด่นชัดด้วยจาคะ เพิ่มพูนด้วยอุปสมะ บริสุทธิ์ด้วย

ปัญญา รวมความว่า อธิษฐานธรรม คือ สัจจะของพระตถาคต ผู้ประกอบ

ด้วยอธิษฐานธรรม ๔ ถึงความบริบูรณ์ ดังพรรณนามานี้.

ศีลวิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรม

คือสัจจะ อาชีววิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน

ธรรมคือจาคะ จิตวิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษ-

ฐานธรรมคืออุปสมะ ทิฏฐิวิสุทธิ ถึงความบริบูรณ์ เพราะทรงประกอบด้วย

อธิษฐานธรรมคือปัญญา อนึ่ง ศีลของพระตถาคตนั้น พึงทราบด้วยการอยู่

ร่วมกัน เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ. ความสะอาด พึง

ทราบด้วยการแลกเปลี่ยน (สังโวหาร) เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรม

คือ จาคะ. กำลังใจ พึงทราบในคราวมีอันตรายทั้งหลาย เพราะทรงประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 25

อธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. ปัญญา พึงทราบในคราวสนทนา เพราะทรง

ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา. อนึ่ง พระตถาคต อันโทสะประทุษร้าย

ไม่ได้ ทรงยับยั้งพระทัยให้อยู่เหนือโทสะได้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน.

ธรรมคือสัจจะ พระตถาคต อันโลภะให้ละโมบไม่ได้ ทรงเสพปัจจัย เพราะ

ทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ. พระตถาคต อันภัยทำให้หวาดกลัว

ไม่ได้ ทรงหลีกเว้นได้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ.

พระตถาคต อันโมหะให้หลงไม่ได้ ทรงขจัดโมหะเสียได้ เพราะทรงประกอบ

ด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา.

อนึ่ง การที่ทรงบรรลุถึงเนกขัมมสุข ของพระตถาคตนั้น ท่านแสดง

ไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ. การที่ทรงบรรลุถึง

ปวิเวกสุข ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ.

การที่ทรงบรรลุถึงอุปสมสุข ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน-

ธรรมคืออุปสมะ. การที่ทรงบรรลุถึงสัมโพธิสุข ท่านแสดงไว้ เพราะทรง-

ประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา.

อีกอย่างหนึ่ง การที่ทรงบรรลุถึงปีติและสุขอันเกิดจากวิเวก ท่าน

แสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ การทราทรงบรรลุถึง

ปีติ และสุขอันเกิดจากสมาธิ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน-

ธรรมคือจาคะ. การที่ทรงบรรลุถึงสุขทางกายอันเกิดจากปีติ ท่านแสดงไว้

เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. การที่ทรงบรรลุถึงอุเบกขา

และสุขอันเกิดจากความบริสุทธิ์ของสติ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วย

อธิษฐานธรรมคือปัญญา.

อนึ่ง การที่ทรงประกอบด้วยความสุขอันเกิดจากปัจจัย ซึ่งมีบริวาร

สมบัติเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 26

สัจจะ เหตุทีไม่ตรัสให้คลาดเคลื่อน. การที่ทรงประกอบด้วยความสุขตามสภาวะ

ซึ่งมีความสันโดษเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน-

ธรรมคือจาคะ เหตุที่พระองค์ไม่มีโลภะ. การที่ทรงประกอบด้วยความสุขอัน

เกิดจากเหตุมีความเป็นผู้ได้ทำบุญไว้แล้วเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะ

ทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ เหตุที่พระองค์ไม่ทรงถูกกิเลส

ครอบงำ. การที่ทรงประกอบด้วยความสุขอันเกิดจากความสงบระงับทุกข์ ซึ่ง

มีวิมุตติสมบัติเป็นลักษณะ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐาน-

ธรรมคือปัญญา เหตุที่ทรงบรรลุนิพพานได้ด้วยญาณสมบัติ.

อนึ่ง การที่ตรัสรู้และแทงตลอดศีลขันธ์อันเป็นอริยะได้สำเร็จ ท่าน

แสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือสัจจะ การที่ตรัสรู้และ

แทงตลอดสมาธิขันธ์อันเป็นอริยได้สำเร็จ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบ

ด้วยอธิษฐานธรรมคือจาคะ. การที่ตรัสรู้และแทงตลอดปัญญาขันธ์อันเป็น

อริยะได้สำเร็จ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคือปัญญา.

การที่ตรัสรู้และแทงตลอดวิมุตติขันธ์อันเป็นอริยะได้สำเร็จ ท่านแสดงไว้

เพราะทรงประกอบด้วยอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. ความสำเร็จแห่งปัจจัย ๔

ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือสัจจะ ความสำเร็จแห่งการ

สละทิ้งทั้งปวง ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือจาคะ. ความ

สำเร็จแห่งอินทรียสังวร ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือ

อุปสมะ ความสำเร็จแห่งพุทธิ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรม

คือปัญญา. และความสำเร็จแห่งนิพพาน ท่านก็แสดงไว้ เพราะทรง

บำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือปัญญานั้น . อนึ่ง การได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ท่านแสดง

ไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือสัจจะ การได้อริยวงศ์ ๔ ท่านแสดง

ไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือจาคะ. การได้อริยวิหารธรรม ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 27

ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคืออุปสมะ. การได้อริยโวหาร

๔ ท่านแสดงไว้ เพราะทรงบำเพ็ญอธิษฐานธรรมคือปัญญา.

อีกนัยหนึ่ง ท่านประกาศพระมหากรุณาของพระตถาคตเจ้า โดย

แสดงการที่พระองค์ทรงปรารถนาโลกิยสมบัติ และโลกุตรสมบัติ แก่สัตว์

ทั้งหลาย ด้วยบทว่า ภควตา นี้. ประกาศปหานปัญญา โดยแสดงการ

ที่พระองค์ทรงสมบูรณ์ด้วยการละด้วยบทว่า อรหตา นี้. บรรดาพระปัญญา

และพระกรุณาทั้งสองนั้น ประกาศการที่พระองค์ทรงบรรลุความเป็นพระ-

สัทธรรมราชา ด้วยพระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรงจำแนกธรรมไว้

อย่างดี ด้วยพระกรุณา. ประกาศการที่พระองค์ทรงหน่ายในสังสารทุกข์ ด้วย

พระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรงทำลายสังสารทุกข์ด้วยพระกรุณา.

ประกาศการที่พระองค์ทรงกำหนดรู้สังสารทุกข์ด้วยพระปัญญา ประกาศการที่

พระองค์ทรงเริ่มแก้ทุกข์ของบุคคลอื่นด้วยพระกรุณา. ประกาศการที่พระองค์

ทรงมีพระทัยมุ่งมั่นต่อปรินิพพานด้วยพระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรง

บรรลุปรินิพพานนั้น ด้วยพระกรุณา. ประกาศการที่พระองค์ทรงข้ามพ้นสังสาร

ด้วยพระองค์เอง ด้วยพระปัญญา ประกาศการที่พระองค์ทรงยังบุคคลเหล่าอื่น

ให้ข้ามพ้นสังสารด้วยพระกรุณา. ประกาศความสำเร็จแห่งความเป็นพุทธะด้วย

พระปัญญา ประกาศความสำเร็จแห่งพุทธกิจ ด้วยพระกรุณา.

อีกประการหนึ่ง ประกาศภาวะที่พระองค์ทรงเผชิญอยู่ในสังสารใน

ภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ ด้วยพระกรุณา ประกาศการที่พระองค์ไม่ยินดีในสังสาร

นั้น ด้วยพระปัญญา. อนึ่ง ประกาศการที่พระองค์ทรงทำบุคคลเหล่าอื่นให้

ได้รับอภิเษก (ด้วยน้ำอมฤต) ด้วยพระกรุณา ประกาศการที่พระองค์ไม่ทรง

หวั่นเกรงบุคคลเหล่าอื่น ด้วยพระปัญญา. (ประกาศพระดำรัสที่ว่า) เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 28

รักษาคนอื่น ก็ชื่อว่า รักษาตนด้วยพระกรุณา (ประกาศพระดำรัสที่ว่า) เมื่อ

รักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาบุคคลอื่นด้วย ด้วยพระปัญญา. อนึ่ง ประกาศการที่

พระองค์ไม่ทำบุคคลอื่นให้เดือดร้อน ด้วยพระกรุณาประกาศการที่พระองค์

ไม่ทำพระองค์เองให้เดือดร้อน ด้วยพระปัญญา. ด้วยการที่ไม่ทรงทำพระองค์

เองให้เดือดร้อนนั้น จึงเป็นอันสำเร็จภาวะเป็นบุคคลที่สี่ (พระอรหันต์) ใน

บรรดาบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเองเป็นต้น. อนึ่ง ประกาศ

ความที่พระองค์ทรงเป็นที่พึ่งของโลก ด้วยพระกรุณาประกาศความที่พระองค์

ทรงเป็นที่พึ่งของพระองค์เอง ด้วยพระปัญญา. อนึ่งประกาศภาวะที่พระองค์

ไม่มีอาการฟุบลง (ด้วยอำนาจความเกียจคร้าน) ด้วยพระกรุณา ประกาศภาวะ

ที่พระองค์ไม่มีอาการฟูขึ้น (ด้วยอำนาจกิเลส) ด้วยพระปัญญา.

อนึ่ง ในบรรดาสรรพสัตว์ การทรงอนุเคราะห์ หมู่ชน

ของพระตถาคตเจ้า มีเพราะพระกรุณา แต่พระตถาคตเจ้าก็หาได้

มีพระทัยปราศจากพระกรุณาในที่ทุกแห่งไม่ เพราะทรงคล้อยตามพระ-

ปัญญา พระองค์ทรงมีพระทัยปล่อยวางในธรรมทั้งปวง ก็ด้วยพระปัญญา

แต่พระองค์ก็หาได้ทรงประพฤติเพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทุกประเภทไม่ เพราะทรง

คล้อยตามพระกรุณา. เหมือนอย่างว่า พระกรุณาของพระตถาคตเจ้า เว้น

จากความเสน่หา และความโศก ฉันใด พระปัญญาของพระองค์ก็ฉันนั้น

คือพ้นจากอหังการ และมมังการ รวมความว่า พระกรุณาและปัญญา (ของ

พระองค์) ต่างชำระกันและกันให้บริสุทธิ์ จึงควรเห็นว่า เป็นพระคุณบริสุทธิ์

อย่างยิ่ง. บรรดาพระกรุณาและพระปัญญาทั้งสองนั้น ขอบเขตแห่งพระปัญญา

เป็นพละ ขอบเขตแห่งพระกรุณาเป็นเวสารัชชะ. บรรดาพละและเวสารัชชะ

ทั้งสองนั้น เพราะทรงประกอบด้วยพละ พระตถาคตเจ้าจึงไม่ถูกคนอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 29

ครอบงำ เพราะทรงประกอบด้วยเวสารัชชะ พระองค์จึงทรงครอบงำคนอื่น

ได้. ความสำเร็จแห่งสัตถุสัมปทา (ของพระองค์) มีได้เพราะพละทั้งหลาย

ความสำเร็จแห่งศาสนสัมปทามีได้เพราะเวสารัชชะทั้งหลาย. อนึ่ง ความสำเร็จ

แห่งพุทธรัตนะมีได้เพราะพละทั้งหลาย ความสำเร็จแห่งธรรมรัตนะมีได้

เพราะเวสารัชชะทั้งหลาย. นี้เป็นการแสดงเพียงแนวทางการขยายความของ

บททั้งสองที่ว่า ภควตา อรหตา ในที่นี้.

เหตุผลที่กล่าว วุตฺต ไว้สองครั้ง

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านกล่าวคำว่า วุตฺต เหต ภควตา

ไว้แล้ว จึงกล่าวคำว่า วุตฺต ไว้อีกเล่า ? ตอบว่า ท่านกล่าวคำว่า วุตฺต

ไว้อีก ก็เพื่อแสดงความแน่นอน โดยปฏิเสธการได้ฟังตามกันมา. เหมือน

อย่างว่า คนบางคนได้ฟังมาจากคนอื่นแล้วพูด ถ้าว่าเรื่องนั้นคนอื่นนั้นมิได้พูด

เอง คือ คนอื่นนั้นมิได้พูดเอง เพราะมีคนอื่นพูดไว้อีกทีหนึ่ง และเรื่องนั้น

คนอื่นนั้น ก็มิได้พูดเองโดยที่แท้ ได้ฟังมาอีกต่อหนึ่งฉันใด ในที่นี้หาเป็น

ฉันนั้นไม่. เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงสดับมาจากบุคคลอื่น

ตรัสสิ่งที่พระองค์ทรงบรรลุด้วยพระองค์เอง ด้วยพระสยัมภูญาณ เพราะเหตุ

นั้น เพื่อแสดงความแปลกกันของ วุตฺต สองคำนี้ ท่านจึงได้กล่าวคำว่า วุตฺต

ซ้ำถึงสองครั้ง. มีคำอธิบายดังนี้ว่า ก็ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ก็แลข้อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเองตรัสไว้ หาใช่ผู้อื่นกล่าวไว้ไม่เลย หา

ใช่พระองค์ได้ทรงสดับ ต่อมาจากคนอื่นไม่. จริงอยู่ การกล่าวซ้ำย่อมช่วย

ให้เข้าใจความหมายของกันและกันเพราะเหตุนั้น จึงไม่มีข้อเสียหายในเพราะ

การกล่าวซ้ำ. แม้ในที่แห่งอื่นจากที่นี้ก็มีนัย อย่างเดียวกันนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 30

อนึ่ง ที่ท่านกล่าวคำว่า วุตฺต ไว้ซ้ำถึงสองครั้ง ก็เพื่อแสดงว่าไม่มี

การรจนาไว้ก่อน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมได้เหมาะแก่

อัธยาศัยของบริษัทที่มาประชุมกัน เพราะทรงมีปฏิภาณเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

เหตุที่ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่มีกิจรจนาเตรียมไว้ก่อน เปรียบเหมือน

ทานเป็นต้น ก็รจนา (แสดง) ไปตามเหตุการณ์. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดง

คำนี้ไว้ว่า ก็เรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้ว ก็แลเรื่องนั้นหาได้

ทรงประมวลมาด้วยตักกะ คิดไตร่ตรองไว้ก่อนด้วยอำนาจการรจนาไว้ก่อนไม่

โดยที่แท้แล้ว พระองค์ตรัสขึ้นมาอย่างฉับพลัน เหมาะสมแก่อัธยาศัยของ

เวไนยสัตว์เลยทีเดียว.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺต ไว้สองครั้งก็เพื่อแสดงว่าพระ

ดำรัสไม่มีใครปฏิวัติได้. เป็นความจริง พระดำรัสใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้แล้ว ก็เป็นอันตรัสแล้วทีเดียว ใคร ๆ ไม่สามารถจะคัดค้านพระดำรัส

นั้นได้ เพราะอักขระสมบูรณ์ และอรรถก็สมบูรณ์ด้วย. สมจริงดังคำที่ท่าน

กล่าวไว้ดังนี้ว่า ธรรมจักรอันยอดเยี่ยมนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงให้เป็น

ไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี สมณะหรือพราหมณ์

จะปฏิวัติไม่ได้. ท่านกล่าวไว้อีกข้อหนึ่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือ

พราหมณ์พึงมากล่าวในที่นี้ว่า ทุกข์ใดที่พระสมณโคดมบัญญัติไว้ ทุกข์นี้ไม่

ใช่อริยสัจ ข้อที่เราตถาคตจักเว้นทุกขอริยสัจนี้แล้ว บัญญัติทุกข์อื่นว่า เป็น

อริยสัจ ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า

วุตฺต ไว้สองครั้ง ก็เพื่อแสดงว่าพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มี

ใครปฏิวัติได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 31

อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺต ไว้สองครั้งก็เพื่อจะแสดง

ภาวะที่จะให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟังทั้งหลาย. เป็นความจริง บุคคลผู้มิใช่

สัพพัญญูไม่รู้อาสยะเป็นต้น ของบุคคลเหล่าอื่น กล่าวคำใดไม่ถูกเทสะหรือไม่

ถูกกาละ คำนั้นแม้จะเป็นคำจริง ก็ไม่ชื่อว่ากล่าวไว้เลย เพราะไม่สามารถใน

อันให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟังทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปไยถึงคำที่ไม่จริงเล่า. แต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบอาสยะเป็นต้นของบุคคลเหล่าอื่น เทสะ

กาละ และความสำเร็จประโยชน์อย่างถูกต้องทีเดียว เพราะพระองค์ทรงเป็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสพระดำรัสใดไว้ พระดำรัสนั้น ก็ชื่อว่าตรัส

ไว้เสร็จแล้วทีเดียว เพราะให้สำเร็จประโยชน์ตามทีประสงค์แก่ผู้ฟังทั้งหลาย

โดยส่วนเดียว การอ้อมค้อมแห่งพระดำรัสนั้นไม่มี เพราะพระองค์มิได้ตรัส

ไว้. เพราะเหตุนั้น ท่านกล่าวคำว่า วุตฺต ไว้สองครั้งก็เพื่อจะแสดงภาวะที่

จะให้สำเร็จประโยชน์แก่ผู้ฟังทั้งหลายด้วย.

อีกประการหนึ่ง คำที่มีความหมายที่ใคร ๆ เข้าใจไม่ได้ และคำที่

ใคร ๆ ปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้นไม่ได้ ไม่ชื่อว่าฟังเสร็จแล้วฉันใด คำที่

ใคร ๆ รับด้วยดีไม่ได้ ได้ชื่อว่ากล่าวแล้วฉันนั้น. ก็บริษัท ๔ รับพระดำรัส

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดีแล้ว พากันปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า วุตฺต ไว้สองครั้งเพื่อแสดงว่าพระดำรัส

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า สาวกรบไว้ด้วยดีทีเดียว.

อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺต ไว้สองครั้งเพื่อแสดงว่าพระ

ดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ขัดแย้งกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย. เหมือน

อย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมแยกประเภท เป็นกุศล อกุศล

สาวัชชะ(มีโทษ) และอนวัชชะ(ไม่มีโทษ) ปวัตติ(ความเป็นไป) นิวัตติ

(ความหมุนกลับ) สมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ ไม่คลาดเคลื่อน ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 32

แม้พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระธรรมเสนาบดีเป็นต้นก็ฉันนั้น เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ก็ตาม ปรินิพพานแล้วก็ตาม ก็กล่าวคล้อย

ตามเทศนาของพระองค์ หาได้มีวาทะเป็นต่าง ๆ กัน ในเทศนานั้นไม่. เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสไว้

แล้ว ในกาลย่อมาจากนั้น แม้พระอริยสงฆ์ผู้เป็นพระอรหันต์ก็กล่าวไว้. ท่าน

กล่าวคำว่า วุตฺต ไว้อย่างนั้น (ซ้ำสองครั้ง) ก็เพื่อจะแสดงว่าพระดำรัสของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ขัดแย้งกับพระอริยเจ้าทั้งหลายดังพรรณนาฉะนี้.

อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺต ไว้สองครั้งก็เพื่อแสดงว่า

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีนัยอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์ก่อน ๆ ตรัสไว้. แม้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องชาติ โคตร และ

จำนวนอายุเป็นต้น แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ไม่มีความแตกต่างกันด้วย

พระธรรมเทศนา เหมือนกับที่ไม่ทรงมีความแตกต่างกันด้วยพระคุณมีทสพล-

ญาณเป็นต้น. พระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสไม่ขัดกันเองและตรัสคำหน้าไม่ขัด

แย้งกับคำหลังด้วยพระองค์เอง เพราะเหตุนั้น จึงสมด้วยคำที่ท่านกล่าวไว้

ดังนี้ว่า พระพุทธเจ้า ทั้งหลาย และพระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย

ในปัจจุบันตรัสไว้แล้วด้วยพระองค์เองเมื่อก่อนเป็นฉันใด พระผู้มีพระภาค-

เจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ก็ตรัสคำนี้ไว้ฉันนั้น. ท่านกล่าวคำว่า วุตฺต ไว้สอง

ครั้งเพื่อแสดงว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า มีนัยเดียวกับที่พระพุทธเจ้า

พระองค์ก่อน ๆ ตรัสไว้ และมีนัยเดียวกับที่พระองค์เองตรัสไว้ในพระสูตร

อื่น ๆ ดังพรรณนามาฉะนี้. ความไม่ขัดแย้งกันแห่งเทศนาของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ในที่ทุกแห่งเป็นอันท่านแสดงไว้แล้วด้วยคำนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 33

อีกประการหนึ่ง คำว่า วุตฺต คำที่สองพึงเห็นว่าเป็นคำพูดถึงภาวะ

คือ ความยิ่งใหญ่. มีอธิบายดังนี้ว่า ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว

ได้แก่คำพูดที่จะกล่าวต่อไปนี้มีอาทิว่า เอกธมฺม ภิกฺขเว พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ผู้พระอรหันต์ตรัสไว้แล้ว. อีกประการหนึ่ง คำว่า วุตฺต นี้ หมายถึง

พูดถึงบทที่สองอีกบทหนึ่ง โดยที่แท้พึงเห็นว่า มีความหมาย หมายถึงการพูด

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงไว้อย่างนี้ว่า ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว

ก็แลคำนั้นไม่ใช่สักแต่ว่าตรัสไว้แล้ว คือ ไม่ใช่สักแต่ว่าทรงบอกไว้แล้ว โดย

ที่แท้ทรงแสดงถึงกุศลมูลของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง คำว่า วุตฺต ที่เป็นบทที่สองนี้ มีความหมายว่า

ประพฤติ. ก็บทนี้มีอธิบายดังนี้ว่า ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นพระ

อรหันต์ตรัสไว้แล้ว ก็แลคำนั้น ไม่ใช่เพียงแต่สักว่าตรัสไว้แล้ว ที่แท้คำนั้น

ทรงบำเพ็ญ คือ ทรงประพฤติจนเกิดประโยชน์. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงแสดง

ไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีปกติตรัสอย่างใด ก็มีปกติทำอย่างนั้น. อีก

ประการหนึ่ง มีความหมายว่า (คำนั้น) เป็นคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า คือ

ผู้ควรเรียกว่าพระอรหันต์ตรัสไว้แล้ว. อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺต

(คำแรก) ไว้ หมายถึงการทรงยกขึ้นแสดงถ้อยคำแต่โดยย่อ. กล่าวคำว่า วุตฺต

ไว้ซ้ำอีกหมายถึงการแสดงขยายถ้อยคำโดยพิสดาร. เป็นความจริง พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม ทั้งโดยย่อทั้งโดยพิสดาร.

อีกประการหนึ่ง ท่านกล่าวคำว่า วุตฺต เหต ภควตา ไว้แล้ว

ก็กล่าวคำว่า วุตฺต ไว้ซ้ำอีก ก็เพื่อแสดงว่าไม่มีคำพูดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ไม่ดี. เป็นความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละโทษทุกอย่างพร้อมทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 34

วาสนา (ความเคยชิน) ไว้แล้ว มีครรลองแห่งคำพูดไม่ผิดพลาดจึงไม่มีคำพูดที่

ไม่ดีแม้ในกาลไหน ๆ เพราะพระองค์ทรงมีวจีกรรมอันคล้อยตามพระญาณอยู่

ตลอดเวลา. เหมือนอย่างว่า คนบางพวกในโลก พูดอะไร ๆ ออกไปเพราะ

คะนองหรือเพราะความสนุกสนาน เนืองจากเผลอสติ ต่อมา รู้ตัวก็ทำคำพูด

ที่พูดไปแล้วตอนก่อนให้เป็นอันไม่ได้พูด ปรับปรุงคำพูดบ้าง ไม่ปรับปรุง

บ้างเป็นฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าจะเป็นฉันนั้นหามิได้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระทัยมั่นคงอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์

มีความไม่เผลอสติเป็นธรรมดา และมีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เมื่อจะ

ทรงประกาศอริยสัจ ๔ ซึ่งเป็นสวนานุตแอริยะ มีสาระที่น่าสดับให้เป็นเหมือน

โปรยฝนอำมฤตแก่เวไนยสัตว์ทั้งหลายผู้กำลังสดับอรรถที่น้อมนำเข้าไปด้วย

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา อันพระสัพพัญญุตญาณประคับประคองแล้ว อันเป็น

โสตายตนะและรสายตนะ เพราะกรณวิญญูอันพิเศษที่ผ่องใสและบริสุทธิ์ ซึ่ง

ไม่ทั่วไปแก่บุคคลอื่น เกิดมาจากบุญสมภาร อันสั่งสมไว้แล้วตลอดกาล

ประมาณไม่ได้ได้ตรัสพระดำรัสเหมาะแก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ ด้วยภาษาที่

เหมาะแก่สภาวะด้วยพระสุรเสียงที่ก้องกังวาลดังเสียงร้องของนกการเวก. ใน

พระดำรัสนั้น ไม่มีความผิดพลาดแม้เพียงปลายขนทราย แล้วโอกาสที่จะตรัส

พระดำรัสไม่ดีจักมีมาแต่ไหน ? เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงว่า คำใดที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว คำนั้นก็เป็นอันตรัสแล้วทีเดียว ไม่มีพระดำรัสที่ไม่

ได้ตรัสไว้หรือตรัสไว้ไม่ดีในกาลไหน ๆ ท่านจึงกล่าวว่า ก็คำนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว ดังนี้แล้ว กล่าวไว้อีกว่า พระอรหันต์กล่าวไว้แล้ว

เพราะเหตุนั้นในที่นี้จึงไม่มีโทษแห่งคำที่กล่าวซ้ำอีก. พึงทราบว่า ศัพท์ที่

กล่าวซ้ำไว้มีประโยชน์ในที่นี้ดังพรรณนามาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 35

อธิบาย อิติศัพท์

อิติศัพท์นี้ ในบทว่า อิติ เม สุต นี้ แตกต่างกันโดยความหมาย

เป็นอเนกมีอาทิว่า ความหมายว่า เหตุ ความหมายว่า ปริสมาปันนะ ความ-

หมายว่า เป็นเบื้องต้น ความหมายว่า ปทัตถปริยายะ (ขยายความหมายของบท)

ความหมายว่า ปการะ (ประการ) ความหมายว่า นิทัสสนะ ความหมายว่า

อวธารณะ. จริงอย่างนั้น อิติ ศัพท์นั้น ปรากฏในความหมายว่า เหตุ

ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่เรียกว่า รูป เพราะเหตุที่

แตกสลายแล. ปรากฏในความหมายว่า ปริสมาปันนะ. ในประโยคเป็นต้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ขอเธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทของ

เราตถาคตในพระศาสนานี้เถิด อย่าเป็นอามิสทายาทเลย เราตถาคตมีความ

อนุเคราะห์ในเธอทั้งหลาย ทำอย่างไร สาวกทั้งหลายของเราตถาคตจะพึงเป็น

ธรรมทายาท ไม่พึงเป็นอามิสทายาท. ปรากฏความหมายว่า เป็นเบื้องต้น

ในประโยคเป็นต้นว่า งดเว้นจากการดู การฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคม

ดนตรีที่เป็นข้าศึกอย่างนี้ คือ เห็นปานนี้เป็นเบื้องต้น . ปรากฏในความหมายว่า

ปทัตถปริยายะ ในประโยคเป็นต้นว่า คำว่า มาคันทิยะ เป็นชื่อ เป็นสมัญญา

เป็นบัญญัติ เป็นโวหาร เป็นนาม เป็นการตั้งนาม เป็นนามไธย เป็นภาษา

เป็นพยัญชนะ เป็นคำร้องเรียกพราหมณ์นั้น. ปรากฏในความหมายว่า ปการะ

(ประการ) ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลมีภัยเฉพาะหน้า

บัณฑิตไม่มีภัยเฉพาะหน้า คนพาลมีอุปัทวะ บัณฑิตไม่มีอุปัทวะ คนพาล

มีอุปสรรค บัณฑิตไม่มีอุปสรรค ด้วยประการดังพรรณนามานี้แล. ปรากฏ

ในความหมายว่า นิทัสสนะ ในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนกัจจานะ ความเห็น

ที่ว่า มีอยู่แล ก็เป็นที่สุดโต่งอันหนึ่ง ดูก่อนกัจจานะ ความเห็นที่ว่า ไม่มีแล

ก็เป็นที่สุดโต่งอันหนึ่ง. ปรากฏในความหมายว่า อวธารณะ อธิบายว่า ในการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 36

ตกลงใจในประโยคเป็นต้นว่า หากใครจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมี

เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย บุคคลนั้นก็จะพึงถูกคัดค้าน ดังนี้ว่า ชราและมรณะมี

เพราะมีชาติเป็นปัจจัย.

ในที่นี้ อิติศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่า ปรากฏในความหมายว่า ปการะ

นิทัสสนะ และอวธารณะ. บรรดาความหมายทั้ง ๓ อย่างนั้น ด้วยอิติศัพท์

ที่มีความหมายว่า ปการะ พระอานนทเถระ จึงแสดงความหมายนี้ไว้ว่า

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น มีความหมายที่ละเอียดด้วยนัยต่าง ๆ

มีสมุฏฐานมาจากอัธยาศัยเป็นอเนก สมบูรณ์ด้วยอรรถ และพยัญชนะ มี

ปาฏิหาริย์ต่าง ๆ อย่าง ลึกซึ้งด้วยธรรม (เหตุ) อรรถ (ผล) เทศนา และ

ปฏิเวธ มากระทบคลองแห่งโสตประสาทของสรรพสัตว์ คามสมควรแก่ภาษา

ของตน ๆ ว่า ใครเล่าจะสามารถเข้าใจได้ครบทุกประการข้าพเจ้าแม้ยังความ

เป็นผู้ประสงค์จะฟังให้เกิดขึ้นด้วยเรี่ยวแรงทั้งหมด ก็ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ

แม้ข้าพเจ้าก็ฟังมาด้วยประการอย่างหนึ่ง.

อธิบายบทว่า นานานยนิปุณ เป็นต้น

ในบทว่า นานานยนิปุณ เป็นต้นนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้

นัยต่าง ๆ อย่างกัน โดยแยกตามอารมณ์เป็นต้น กล่าวคือ เอกัตตนัย นานัตตนัย

อัพยาปารนัย และธัมมตานัย และกล่าวคือนันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีห-

วิกิฬิตนัย ทิสาโลจนนัย และอังกุสนัย ชื่อว่า นานานัย (นัยต่าง ๆ).

อีกประการหนึ่ง นัยทั้งหลายได้แก่ คติแห่งบาลี. และคติแห่งบาลีเหล่านั้น

ก็มีประการต่าง ๆ กัน ด้วยอำนาจบัญญัตินัย และอนุบัญญัตินัยเป็นต้น ด้วย

อำนาจสังกิเลสภาคิยาทินัย โลกิยาทินัย และตทุภยโวมิสสตานัยเป็นต้น ด้วย

อำนาจกุสลนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจขันธนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจสังคหนัยเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 37

ด้วยอำนาจสมยวิมุตตินัยเป็นต้น ด้วยอำนาจฐปนนัยเป็นต้น ด้วยอำนาจกุสล-

นัยเป็นต้น และด้วยอำนาจติกปัฏฐานนัยเป็นต้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

นานานัย (มีนัยต่าง ๆ กัน ). ความหมายที่ชื่อว่า ละเอียดด้วยนัยต่าง ๆ

เพราะหมายความว่า ละเอียด คือ ละเอียดอ่อน ได้แก่สุขุม ด้วยนัยเหล่านั้น.

อาสยะนั่นแล ชื่อ อัชฌาสัย. และอัชฌาสัยนั้นก็มีหลายอย่าง โดยแยกเป็น

สัสสตทิฏฐิเป็นต้น และโดยแยกเป็นผู้มีธุลี คือ กิเลส ในจักษุน้อยเป็นต้น

จึงชื่อว่า อเนกัชฌาสัย (มีอัชฌาสัยเป็นอเนก) อีกประการหนึ่ง อัชฌาสัย

เป็นอเนก มีอัชฌาสัยของตนเป็นต้น ชื่อว่า อเนกัชฌาสัย. อเนกัชฌาสัยนั้น

เป็นสมุฏฐาน คือ เป็นแดนเกิด ได้แก่ เป็นเหตุแห่งพระพุทธพจน์นั้น

เพราะเหตุนั้น พระพุทธพจน์นั้น จึงชื่อว่า มีอเนกัชฌาสัยเป็นสมุฏฐาน.

(พระพุทธพจน์) ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยอรรถ เพราะเมื่อมีความถึงพร้อมด้วย

อรรถ มีกุศลเป็นต้น จึงประกอบด้วยบทแห่งอรรถ ๖ บท คือ สังกาสนะ

ปกาสนะ วิวรณะ วิภชนะ อุตตานีกรณะ และบัญญัติ ชื่อว่า ถึงพร้อมด้วย

พยัญชนะ เพราะเมื่อมีความถึงพร้อมด้วยพยัญชนะ. ที่ประกาศอรรถนั้นให้

แจ่มแจ้ง จึงประกอบด้วยบทแห่งพยัญชนะ ๖ บท คือ อักขระ บท พยัญชนะ

อาการ นิรุกติ และนิเทศ. ชื่อว่า มีปาฏิหาริย์ต่างอย่างกัน เพราะหมายความว่า

ปาฏิหาริย์ต่างๆ อย่าง คือ มากอย่าง โดยแยกเป็น อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนา-

ปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ และโดยที่ปาฏิหาริย์ทั้ง ๓ นั้น ปาฏิหาริย์

แต่ละอย่างก็แตกต่างกันไปตามอารมณ์เป็นต้น .

อธิบาย คำว่า ปาฏิหาริย์

ในบทว่า วิวิธปาฏิหริย นั้นพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ที่ชื่อว่า

เป็นปาฏิหาริย์ เพราะนำไปเสียซึ่งกิเลสที่เป็นข้าศึก คือ เพราะกำจัดกิเลสมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 38

ราคะเป็นต้น เมื่อความหมายมีอยู่ดังว่ามานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่มี

กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นที่เป็นปฏิปักษ์ ซึ่งจะต้องนำไปกำจัด แม้สำหรับ

ปุถุชนทั้งหลาย เมื่อจิตปราศจากอุปกิเลส ประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ

ขจัดกิเลสที่เป็นปฏิปักษ์ได้แล้ว อิทธิวิธี (การแสดงฤทธิ์ได้) จึงเป็นไป

เพราะเหตุนั้น ตามโวหารที่เป็นไปในที่นั้น ใคร ๆ จึงไม่สามารถกล่าวว่าเป็น

ปาฏิหาริย์ในที่นี้ แต่เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระมหากรุณาธิคุณ

ทรงมีกิเลสที่มีอยู่ในเวไนยสัตว์เป็นปฏิปักษ์ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์

เพราะนำขจัดกิเลสเหล่านั้นไปเสีย.

อีกประการหนึ่ง คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพวกเดียรถีย์เป็น

ปฏิปักษ์ ชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์ ก็เพราะนำ(ขจัด)เดียรถีย์เหล่านั้น. อธิบายว่า

เดียรถีย์เหล่านั้น ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้านำ คือ ขจัด ด้วยอิทธิปาฏิหาริย์

อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ เพราะไม่สามารถในการประกาศ

ทิฏฐิ โดยนำขจัดทิฏฐิได้. อีกประการหนึ่ง บทว่า ปฏิ หมายความว่า

ภายหลัง. เพราะเหตุนั้น ที่ชื่อว่า เป็นปาฏิหาริย์ เพราะหมายความว่า เป็น

สิ่งที่ท่านผู้ทำกิจเสร็จแล้ว พึงนำไป คือ พึงให้เป็นไปภายหลัง ในเมื่อจิตตั้งมั่น

ปราศจากอุปกิเลสแล้ว. อีกประการหนึ่ง เมื่ออุปกิเลสทั้งหลายของตนถูกมรรค

อันประกอบด้วยฌานที่ ๔ นำไป (ขจัด) แล้ว การนำไปในภายหลังชื่อว่า

ปาฏิหาริย์.

ปาฏิหาริย์ทั้งหลาย มีก็เพราะเหตุที่ อิทธิวิธี อาเทสนาวิธี และ

อนุสาสนีวิธี อันท่านผู้ปราศจากอุปกิเลส และทำกิจเสร็จแล้วพึงให้เป็นไปอีก

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ และเพราะเหตุที่เมื่อนำอุปกิเลสทั้งหลายของตน

ออกได้แล้ว จึงนำอุปกิเลสในสันดานของผู้อื่นออก (ภายหลัง). ปาฏิหาริย์

นั่นแล ชื่อว่า ปาฏิหาริย์. อีกประการหนึ่ง คุณชาติแต่ละอย่างที่มีในเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 39

ปฏิหาริย์อันเกิดมาจากอิทธิวิธี อาเทสนาวิธี และอนุสาสนีวิธี ท่านก็เรียกว่า

ปาฏิหาริย์. อีกประการหนึ่ง ฌานที่ ๔ และมรรค ก็ชื่อว่าปาฏิหาริย์ เพราะนำ

ไปซึ่งกิเลสที่เป็นข้าศึก. คุณชาติที่ชื่อว่า ปาฏิหาริย์ เพราะเกิดในฌานที่ ๔

และมรรคนั้นบ้าง เพราะเป็นนิมิตในฌานที่ ๔ และมรรคนั้นบ้าง เพราะมา

จากฌานที่ ๔ และมรรคนั้นบ้าง. ก็เพราะเหตุที่ ตันติตันติเทศนา และอรรถ-

ตันติเทศนา กล่าวคือการบรรลุปาฏิหาริย์นั้น หรือกล่าวคือการแทงตลอด

เหตุผล และการบัญญัติเหตุผลทั้งสองนั้น ลึกซึ้งด้วยเหตุผล เทศนาและปฏิเวธ

อันบุคคลผู้มีได้สั่งสมบุญกุศลไว้หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทรอันสัตว์

ทั้งหลายมีกระต่ายเป็นต้น หยั่งถึงได้ยากฉะนั้น และมีที่พึ่งอันบุคคลเหล่านั้น

หาไม่ได้ ฉะนั้น จึงชื่อว่า ลึกซึ้งด้วยเหตุ ผล เทศนา และปฏิเวธ เพราะ

ประกอบด้วยคัมภีรภาพทั้ง ๔ เหล่านั้น. เสียงแสดงธรรมของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าอย่างเดียวเท่านั้นที่เป็นไปในขณะเดียวกัน เป็นเสียงที่สัตว์ทั้งหลายผู้

ต่างภาษากัน รับฟังได้พร้อมกันตามภาษาของตน ย่อมเป็นไปเพื่อให้เข้าใจ

ความหมายได้. เพราะว่าพุทธานุภาพ เป็นอจินไตย. นักศึกษาพึงเข้าใจว่า

เสียงแสดงธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้า มาสู่คลองแห่งโสตประสาท (มา

กระทบโสตประสาท) ของสรรพสัตว์ตามควรแก่ภาษาของตน ๆ.

ด้วยอิติศัพท์ที่มีความหมายว่า นิทัสสนะ พระอานนทเถระ เมื่อ

จะออกตัวว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่สยัมภู สูตรนี้ข้าพเจ้ามิได้ทำให้แจ้งด้วยตนเอง จึง

กล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้าเองก็ได้ฟังมาอย่างนี้.

พระอานนทเถระ แสดงไข (ขยาย) สูตรทั้งหมดที่จะพึงกล่าวในบัดนี้ ด้วย

อิติศัพท์ที่มีความหมายว่า นิทัสสนะนี้.

ด้วยอิติศัพท์ที่มีความหมายว่า อวธารณะ พระอานนทเถระ เมื่อ

จะแสดงพลังแห่งความทรงจำของตน ซึ่งสมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาค-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 40

เจ้า ทรงสรรเสริญอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเรา

ตถาคตผู้เป็นพหูสูต มีคติ มีสติ มีธิติ เป็นพุทธอุปัฏฐาก อานนท์นี้เป็นยอดและ

สมควรแก่ภาวะที่พระธรรมเสนาบดีสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า ท่านพระอานนท

เป็นผู้ฉลาดในอรรถ เป็นผู้ฉลาดในธรรม เป็นผู้ฉลาดในพยัญชนะ เป็นผู้ฉลาด

ในภาษา เป็นผู้ฉลาดในบทต้นและบทปลาย จึงยังความเป็นผู้ใคร่จะฟังให้เกิด

แก่สัตว์ทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ก็แลสูตรนั้น ไม่ขาดไม่เกิน

ทั้งโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ พึงเห็นว่า เป็นอย่างนี้นั้นแล ไม่พึงเห็นว่า

เป็นอย่างอื่น. บทว่า อญฺถา ความว่า เป็นอย่างอื่นจากอาการที่ได้ฟังมา

เฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่ว่าไม่ใช่เป็นอย่างอื่น จาก

อาการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง. ก็เทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

มีอานุภาพเป็นอจินไตย เทศนานั้นใคร ๆ ไม่สามารถจะเข้าใจได้ครบทุกอย่าง

ความนี้ท่านกล่าวไว้ดังพรรณนามานี้แล. ก็การที่ไม่ผิดพลาดจากอาการที่ได้ฟัง

มาเป็นพลังแห่งความทรงจำ. ก็ในที่นี้ ไม่มีการใช้ความหมายอย่างอื่น เพราะ

ความหมายทั้งสองมีวิสัยเป็นอย่างเดียวกัน เพราะ เมื่อว่าโดยประการนอกนี้

พระเถระก็จะต้องเป็นผู้สามารถ หรือไม่สามารถในการรับเทศนาของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า โดยประการทั้งปวงแล.

เม ศัพท์ใช้ในอรรถ ๓ อย่าง

เม ศัพท์ปรากฏในอรรถ ๓ อย่าง. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์นั้น

มีความหมายว่า มยา ในประโยคเป็นต้นว่า โภชนะนี้อันเราขับกล่อม

คาถาได้มา จึงเป็นของไม่ควรบริโภค. มีความหมายว่า มยฺห (แก่เรา,

แก่ข้าพเจ้า, แก่ฉัน, แก่ข้าพระองค์) ดังในประโยคเป็นต้นว่า ข้าแต่พระองค์-

ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงแสดงธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 41

แก่ข้าพระองค์แต่โดยย่อ. มีความหมายว่า มม (ของเรา, ของข้าพเจ้า, ของฉัน,

ของข้าพระองค์) ดังในประโยคเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลาย

จงเป็นธรรมทายาทของเราตถาคตเถิด. แต่ในที่นี้ประกอบในอรรถ ๒ อย่าง

คือ อันข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว และการฟังมาของข้าพเจ้า ก็ในที่นี้ เม ศัพท์

ทั้ง ๓ อย่าง แม้ถ้าจะปรากฏในความหมายอย่างเดียวกัน เพราะในเมื่อ

ควรจะกล่าวอย่างนี้ว่า บุคคลใดไม่ใช่บุคคลอื่น บุคคลนั้นก็คือตัวเราก็กลับ

เป็นไปในสันดานของตนกล่าวคือเกิดภายในตนไซร้ ถึงกระนั้น เม ศัพท์

นั้นก็ยังมีความหมายที่แตกต่างกันนี้อยู่แล กล่าวคือ แตกต่างกันโดยเป็น

ตติยาวิภัตติและจตุตถีวิภัตติเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เม ศัพท์

ปรากฏในความหมาย ๓ อย่าง.

อธิบาย สุตะศัพท์

สุตะ ศัพท์ ในบทว่า สุต นี้ ที่มีอุปสรรคก็มี ที่ไม่มีอุปสรรคก็มี

แตกต่างโดยความหมายเป็นอเนกมีอาทิ คือ คมนะ. (การไป) วิสสุตะ (ฟัง)

กิลินนะ (เปียกชุ่ม) อุปจิตะ (สั่งสม) อนุยุตตะ (ตามประกอบ, บำเพ็ญ)

สุตวิญเญยยะ (รู้ได้ทางโสตะ) โสตทสารานุสาริวิญญาตะ (รู้ได้ตามกระแส

แห่งโสตทวาร) อธิบายว่า อุปสรรคเป็นตัวขยายกิริยา (ให้มีความหมาย)

พิเศษออกไปก็จริง ถึงกระนั้น เมื่ออุปสรรคนั้น แม้มีอยู่ เพราะขยายความ

ให้ สุตะ ศัพท์นั่นแล ก็ยังกล่าวถึงความหมายนั้น ๆ อยู่ เพราะเหตุนั้น

ในการยกความหมายของ สุตะ ศัพท์ที่ไม่มีอุปสรรคขึ้นมา (เป็นตัวอย่าง)

ท่านจึงยกเอาสุตะศัพท์ทีมีอุปสรรคขึ้นมา (เป็นตัวอย่าง) ด้วย. ในสุตะศัพท์

นั้นมีความหมายดังต่อไปนี้

๑. มีความหมายว่า ไปในประโยคเป็นต้นว่า ไปในกองทัพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 42

๒. มีความหมายว่า ผู้ฟังธรรมแล้วในประโยคเป็นต้นว่า ผู้มีธรรม

ที่ได้ฟังแล้ว เห็น (ธรรม) อยู่.

๓. มีความหมายว่า ผู้เปียกชุ่มด้วยกิเลสยินดีการถูกต้องกายของผู้ชาย

ผู้เปียกชุ่มด้วยกิเลส ในประโยคเป็นต้นว่า ภิกษุณีสุนทรีนันทา ผู้อันราคะ

ราดรดแล้ว ยินดีการถูกต้องกายของชายผู้ถูกราคะราดรดแล้ว.

๔. มีความหมายว่า สั่งสมในประโยคเป็นต้นว่า บุญเป็นอัน ท่าน

ทั้งหลาย สั่งสมไว้แล้ว มิใช่น้อย.

๕. มีความหมายว่า บำเพ็ญฌานในประโยคเป็นต้นว่า นักปราชญ์

เหล่าใด บำเพ็ญฌาน.

๖. มีความหมายว่า รู้แจ้งได้ทางโสตประสาทในประโยคเป็นต้นว่า

รูปอารมณ์ที่ได้เห็นแล้ว สัททารมณ์ที่ได้ฟังแล้ว คันธารมณ์ รสารมณ์ และ

โผฏฐัพพารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว.

๗. มีความหมายว่า ทรงจำไว้ซึ่งอารมณ์ที่รู้แจ้งตามแนวแห่งโสต-

ทวารในประโยคเป็นต้นว่า บุคคลผู้เป็นพหูสูตทรงจำสิ่งที่ได้ฟังมาแล้วสั่งสม

สิ่งที่ได้ฟังมาแล้วไว้.

แต่ในที่นี้ สุตะ ศัพท์นั้น มีความหมายว่า ทรงจำไว้แล้วตามแนว

แห่งโสตทวาร หรือ การทรงจำไว้ตามแนวแห่งโสตทวาร ก็เมื่อ เม ศัพท์

มีความหมายเท่ากับ มยา (อันข้าพเจ้า) จึงมีเนื้อความว่า อันข้าพเจ้าได้ฟัง

มาแล้วอย่างนี้ คือ อันข้าพเจ้าทรงจำไว้แล้วตามแนวแห่งโสตทวาร เมื่อ เม

ศัพท์มีความหมายเท่ากับ มม (ของข้าพเจ้า) จึงมีเนื้อความว่า การฟังของ

ข้าพเจ้า คือ การทรงจำไว้ตามแนวแห่งโสตทวาร เป็นอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 43

พึงทราบวินิจฉัยในบททั้ง ๓ นี้อย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่ อิติ ศัพท์นั้น

พึงเป็นศัพท์ที่อมความหมายของ สุต ศัพท์ไว้ และพึงเป็นศัพท์ที่ขยายความ

ของกิริยาคือ การฟัง ฉะนั้น บทว่า อิติ จึงแสดงถึงหน้าที่ของวิญญาณเป็นต้น.

บทว่า เม แสดงถึงบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว. แม้ทุกพากษ์

(ทุกประโยค) จึงประกอบด้วยความหมายของ เอว ศัพท์นั่นเอง เพราะมี

อวธารณะเป็นผล. ด้วยเหตุนั้น บทว่า สุต จึงเป็นคำแสดงถึงการรับเอามา

ไม่บกพร่อง และไม่ผิดพลาดเพราะปฏิเสธภาวะ คือ การไม่ได้ฟัง. เปรียบ-

เหมือนว่า สิ่งที่ได้ฟังมาแล้วย่อมควรเป็นสิ่งที่จะพึงพูดว่า ได้ฟังมาแล้วฉันใด

การฟังมาด้วยดีนั้น จึงเป็นการรับเอามาไม่บกพร่อง และเป็นการรับเอามา

ไม่ผิดพลาด ฉันนั้นดังนี้. อีกประการหนึ่ง (พึงทราบว่า) ศัพท์ ย่อมบอก

ความหมาย โดยไม่ให้หลงไปในความหมายของศัพท์อื่น. เพราะเหตุที่ บทว่า

สุต นี้ มีความหมายดังนี้ว่า ไม่ได้ฟังมาหามิได้ ฉะนั้น บทว่า สุต จึงชื่อว่า

แสดงการรับเอามาไม่บกพร่อง และไม่วิปริต เพราะปฏิเสธภาวะ คือ การ

ไม่ได้ฟัง. มีคำอธิบายดังนี้ว่า เราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ คือ เราไม่ได้เห็นเอง

ไม่ได้ทำให้แจ้ง ด้วยสยัมภูญาณ หรือไม่ใช่ได้มาโดยประการอื่น และการ

ฟังนั้นก็เป็นการฟังด้วยดีทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง อิติ ศัพท์ ที่มีอวธารณะเป็น

อรรถ (ความหมายห้ามเนื้อความอื่น) มีการ (อธิบาย) ประกอบความดัง

พรรณนามานี้ เพราะเหตุนั้น สุตะศัพท์ ซึ่งเพ่งถึง อิติ ศัพท์นั้น จึงมี

ความหมายว่า กำหนด (แน่นอน) เพราะฉะนั้น นักศึกษาพึงทราบการที่สุตะ

ศัพท์ ปฏิเสธภาวะคือการไม่ได้ฟัง และการที่สุตะศัพท์แสดงการรับเอามา

ไม่บกพร่องและไม่วิปริต.

นักศึกษาพึงเห็นว่า ท่านแต่งอรรถโยชนา ของบททั้ง ๓ (เอวมฺเม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 44

สุต) ด้วยอำนาจเหตุแห่งการฟังและความแปลกกันแห่งการฟังดังพรรณนามา

นี้. อนึ่ง บทว่า อิติ ชื่อว่า ประกาศถึงภาวะคือความเป็นไปในอารมณ์มี

ประการต่าง ๆ เพราะวิญญาณวิถีทีเป็นไปตามแนวแห่งโสตทวารรับเอาอรรถ

และพยัญชนะต่าง ๆ กัน เพราะทำการอธิบายว่า อิติ ศัพท์ มีความหมาย

ถึงอาการ. บทว่า เม ประกาศถึงตน. บทว่า สุต ชื่อว่า ประกาศถึงธรรม

เพราะวิญญาณวิถีตามที่กล่าวแล้วมีปริยัติธรรมเป็นอารมณ์.

ก็ในบทนี้มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ.) มิได้

ทำสิ่งอื่น คือ ข้าพเจ้าได้ฟังธรรมนี้ ด้วยวิญญาณวิถีที่เป็นไปในอารมณ์มี

ประการต่าง ๆ อันเป็นตัวเหตุ. อนึ่ง บทว่า อิติ ชื่อว่า ประกาศถึงสิ่งที่ได้

แสดงมาแล้ว เพราะสิ่งที่จะพึงแสดงก็ไม่มีภาวะที่จะพึงแสดง (อีก) เพราะ

อธิบายว่า อิติ ศัพท์ มีนิทัสสนะเป็นอรรถ. เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า

ท่านเท้าถึงสูตรทั้งหมดด้วยอิติศัพท์. บทว่า เม ประกาศถึงบุคคล บทว่า

สุต ประกาศถึงกิจของบุคคล. ก็กิริยาคือการฟังที่ได้มาด้วยเสียงที่ได้ยินมา

เกี่ยวเนื่องผูกพันอยู่กับสวนวิญญาณ (วิญญาณในการฟัง) ก็ในธรรมประพันธ์

(การเอ่ยถึงธรรม) ที่ประกอบด้วยการกล่าวถึงบุคคลนั้น ย่อมได้กิริยา คือ

การฟัง. บทนั้นมีความย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้า (พระอานนทเถระ) จักแสดงอ้าง

สูตรใด สูตรนั้นข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

อนึ่ง บทว่า อิติ เป็นบทมีการรับเอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ

กัน เพราะความเป็นไปแห่งจิตสันดานใดที่มีอารมณ์ต่าง ๆ กัน . บทว่า อิติ

ก็แสดงถึงอาการต่าง ๆ กัน แห่งจิตสันดานนั้น เพราะทำอธิบายว่า อิติศัพท์

มีความหมายถึงอาการ. ด้วยว่าศัพท์ อิติ นี้ ชื่อว่า เป็นการบัญญัติถึงอาการ

เพราะธรรมทั้งหลายมีสภาวะที่จะต้องบัญญัติ โดยอาศัยอาการคือความเป็นไป

นั้น ๆ. บทว่า เม แสดงถึงกัตตา. บทว่า สุต แสดงถึงอารมณ์. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 45

ว่าธรรมที่จะต้องฟังย่อมเป็นฐานให้บุคคลผู้ทำเป็นไปด้วยอำนาจ กิริยา คือ

การฟัง ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ เป็นอันท่านแสดงถึงการตกลงใจในการรับ

อารมณ์ของผู้ทำผู้พรั่งพร้อมด้วยกิริยา คือ การฟังนั้น ด้วยจิตสันดานที่เป็น

ไปแล้ว โดยประการต่าง ๆ.

อีกประการหนึ่ง บทว่า อิติ แสดงถึงกิจของบุคคล อธิบายว่า

จริงอยู่ ธรรมดาว่ากิจของบุคคลเป็นอันพระอานนทเถระ แสดงแล้วด้วยอิติ

ศัพท์ที่มีภาวะประกาศอรรถว่า นิทัสสนะ หรือว่า อวธารณะ ที่มีอาการแห่ง

ธรรมทั้งหลายที่ได้ฟังมาแล้ว อันตนรับไว้แล้ว เพราะการทรงจำอาการนั้น

เป็นต้นไว้ เป็นความขวนขวายในธรรม ด้วยการยึดมั่น ในโวหารว่าบุคคล.

บทว่า สุต แสดงถึงกิจของวิญญาณ. อธิบายว่า จริงอยู่ กิริยา คือ การฟัง

แม้ของผู้มีวาทะว่า บุคคลจะไม่เพ่งถึงวิญญาณก็หามิได้. บทว่า เม แสดง

ถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยกิจทั้งสอง. อธิบายว่า จริงอยู่ ก็ความเป็นไปของศัพท์

ว่า เม มีธรรมอันวิเศษที่ไม่ฟังมาแล้วเป็นอารมณ์ โดยส่วนเดียวเท่านั้น

และกิจของวิญญาณก็พึงตั้งลงในอารมณ์นั้นนั่นแล. แต่ในที่นี้มีความย่อดังนี้

ว่า อันข้าพเจ้า(พระอานนทเถระ) คือ อันบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณที่มี

หน้าที่ฟัง ได้ฟังมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งวิญญาณที่ได้โวหารว่า ผู้มีหน้า

ที่ฟัง.

อนึ่ง บทว่า อิติ และบทว่า เม เป็นอวิชชมานบัญญัติด้วยอำนาจ

สัจฉิกัฏฐปรมัตถ์ แห่งความหมายที่แจ่มแจ้งและความหมายที่ยอดยิ่ง เพราะ

ว่า ความหมายที่จะพึงเข้าใจได้ด้วยเสียงทั้งหมดก็ดี บัญญัติทั้งมวลเพราะจะ

ต้องปฏิบัติตามแนวทางแห่งการบัญญัตินั่นเองก็ดี ย่อมมีความไม่ขัดแย้งกันใน

บัญญัติทั้ง ๖ นั่นแหละ มีวิชชมานบัญญัติเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ความหมาย

อันใดเป็นความหมายที่ไม่มีอยู่จริง เหมือนมายากลและพยับแดดเป็นต้น และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 46

ไม่ใช่เป็นความหมายที่ไม่สูงสุด เหมือนอย่างความหมายที่ต้องรับไว้ด้วยการฟัง

กันสืบ ๆ มาเป็นต้น ความหมายเป็นปรมัตถสภาวะมีสัททรูปคือเสียงเป็นต้น

และมีการแตกสลาย มีการเสวยอารมณ์เป็นต้น มีอยู่ด้วยอำนาจสัจฉิกัฏฐปรมัตถ์.

ส่วนความหมายอันใดมีความหมายถึงอาการเป็นต้น ที่กำลังกล่าวอยู่ว่า อิติ

และว่า เม ความหมายอันนั้นมิใช่ปรมัตถสภาวะ คือ ไม่ได้ด้วยอำนาจสัจ-

ฉิกัฏฐปรมัตถ์ ชื่อว่า อวิชชมานบัญญัติ. ถามว่า บรรดาบททั้ง ๓ นี้ บท

ใดพึงได้การแสดงอ้างว่า อิติ หรือว่า เม บทนั้นมีอยู่โดยปรมัตถ์หรือ ?

ตอบว่า บทว่า สุต เป็นวิชชมานบัญญัติ. อธิบายว่าอารมณ์ที่ได้รับทาง

โสตประสาทนั้น มีอยู่โดยปรมัตถ์.

อนึ่ง บทว่า อิติ จัดเป็นอุปทายบัญญัติ เพราะจะพึงกล่าวด้วย

อำนาจการพาดพิงถึงอาการทั้งหลาย มีอาการที่ทรงจำไว้เป็นต้นเหล่านั้นได้ก็

โดยอาศัยธรรมทั้งหลายที่มากระทบโสต. บทว่า เม ชื่อว่า เป็นอุปาทาย-

บัญญัติ เพราะจะต้องพูดถึง โดยอาศัยขันธ์ทั้งหลายที่นับเนื่องในสันตติ ซึ่งที่

สูงสุดโดยพิเศษมีการณะเป็นต้น. บทว่า สุต ชื่อว่าเป็นอุปนิธายบัญญัติ

เพราะจะต้องพูดถึง โดยเปรียบเทียบกันอารมณ์ทั้งหลายมีรูปที่ได้เห็นเป็นต้น

โวหารว่า สุตะ แม้เป็นไปในสัททายตนะ ที่เว้นจากสภาวะของรูปที่ได้เห็น

เป็นต้น จะต้องพูดถึงโดยเปรียบเทียบกับรูปที่ได้เห็นเป็นต้น เพราะเป็นสิ่งที่

พึงทราบชัดว่า สิ่งใดไม่มุ่งถึงรูปที่ได้เห็น กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่ได้ทราบ

และอารมณ์ที่ได้รู้แจ้ง สิ่งนั้นจัดเป็นสุตะ เปรียบเหมือนโวหารว่า ทุติยฌาณ

ตติยฌาณเป็นต้น จะต้องพูดถึงโดยอาศัยปฐมฌานเป็นต้น ฉะนั้น เพราะเหตุ

นั้น ท่านจึงประกาศเนื้อความนี้ไว้ว่า ชื่อว่า สุตะ เพราะไม่ใช่ ไม่ได้ฟังมา.

แปลตามเชิงอรรถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 47

อนึ่ง ในที่นี้ ท่านแสดงถึงความไม่หลงลืมออกมาด้วยคำว่า อิติ.

อธิบายว่า ประการที่แตกต่างกันออกไปแห่งความหมายที่ ท่านพระอานนท์

พาดพิงถึงในบทว่า อิติ นี้ท่านแทงตลอดแล้ว ความไม่หลงลืมของท่านจึง

เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยคำว่า อิติ นั้น . เป็นความจริง คนหลงลืมย่อมไม่

สามารถแทงตลอดประการต่าง ๆ ได้. ประการต่าง ๆ คือ การละโลภะเป็น

ต้น และประการที่แทงตลอดไว้ไม่ดี ท่านแสดงไว้ว่าเป็นสุตะ. ท่านแสดง

ความไม่เลอะเลือนด้วยคำว่า สุตะ เพราะอาการแห่งสุตะเป็นอาการที่เห็นอยู่

ตามความเป็นจริง. จริงอยู่ ผู้ใดมีสุตะหลงลืมแล้ว ผู้นั้นย่อมปฏิญญาไม่ได้ว่า

เราได้ฟังมาแล้วในกาลอื่น เพราะความไม่หลงลืม เพราะไม่มีความหลงลืม

หรือเพราะปัญญาที่เกิดในเวลาฟังของพระอานนท์นั้นเอง จึงมีความสำเร็จ

แห่งปัญญาในกาลอื่นจากนั้น ดังพรรณนามาฉะนี้. อนึ่ง เพราะความไม่เลอะ

เลือน จึงมีความสำเร็จแห่งสติ. บรรดาปัญญากับสติทั้งสองนั้น เพราะสติที่

เป็นตัวนำปัญญา จึงมีความสามารถทรงจำพยัญชนะไว้ได้. เพราะว่าอาการ

แห่งพยัญชนะทั้งหลายที่จะพึงแทงตลอด ไม่ลึกซึ้งยิ่งนัก การทรงจำไว้ตามที่

ได้ฟังมานั่นแล เป็นกรณียกิจในเรื่องนั้น เพราะเหตุนั้นความปรากฏของสติ

จึงเป็นของสำคัญ. ปัญญาเป็นคุณ (หนุน) ในข้อนั้น เพราะเหตุที่สติเป็นตัวนำ

ของปัญญา. เพราะปัญญาเป็นตัวนำของสติ จึงมีความสามารถในการแทง

ตลอดความหมายได้. เพราะว่า อาการแห่งความหมายที่จะพึงแทงตลอดเป็น

ของลึกซึ้ง เพราะเหตุนั้น ความขวนขวายของปัญญาจึงเป็นของสำคัญ. สติ

เป็นตัวคุณธรรมในข้อนั้น เพราะเหตุที่ปัญญาเป็นตัวนำของสติ เพราะ

ประกอบด้วยความสามารถทั้งสองนั้น (พระอานนท์) จึงมีความสำเร็จแห่ง

ความเป็นพระธรรมภัณฑาคาริก(พระขุนคลังธรรมะ) เพราะท่านสามารถตาม

รักษาคลังพระธรรมที่สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 48

อีกนัยหนึ่ง พระอานนท์ แสดงการทำไว้ในใจโดยแยบคาย ด้วย

คำว่า อิติ เพราะอรรถแห่ง อาการะ นิทัสสนะ และ อวธารณะที่กล่าวไว้

ด้วยคำว่า อิติ นั้นซึ่งจะกล่าวถึงข้างหน้า อันส่องถึงการแทงตลอด โดย

ประการต่าง ๆ เป็นอรรถไม่วิปริต ก็มีสัทธรรมที่ไม่วิปริตเป็นอารมณ์

อธิบายว่า การแทงตลอด (ธรรม)โดยประการต่าง ๆ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่

ใส่ใจโดยแยบคาย. พระอานนท์ แสดงความไม่ฟุ้งซ่านด้วยคำว่า สุต.

การฟังสูตรที่กำลังกล่าวอยู่ ซึ่งจัดเป็นปกรณ์ด้วยอำนาจนิทานและปุจฉา เว้น

สมาธิเสียย่อมไม่มี เพราะบุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่านจะฟังไม่ได้. เป็นความจริง

บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้อันพระธรรมกถึกกล่าวอยู่ด้วยสมบัติทั้งปวง ก็มัก

กล่าวว่า ข้าพเจ้ามิได้ฟัง นิมนต์พระคุณเจ้ากล่าวซ้ำอีก. อนึ่ง ในที่นี้บุคคล

จะให้อัตตสัมมาปณิธิ และปุพเพกตปุญญตาสำเร็จได้ก็ด้วยโยนิโสมนสิการ

เพราะบุคคลผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือผู้มีได้ทำบุญไว้ในชาติปางก่อนจะมีโยนิ-

โสมนสิการนั้นไม่ได้ บุคคลจะให้สัทธัมมัสสวนะ และสัปปุริสูปัสสยะสำเร็จได้ก็

ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เพราะบุคคลผู้มีได้สดับธรรม และผู้เว้นจากการเข้าไป

นั่งใกล้สัตบุรุษ จะมีความไม่ฟุ้งซ่านนั้นไม่ได้. เป็นความจริง บุคคลผู้มีจิต

ฟุ้งซ่านจะไม่สามารถฟังพระสัทธรรมได้เลย. และบุคคลผู้ไม่เข้าไปนั่งใกล้

สัตบุรุษจะไม่มีการฟัง (ธรรม) เลย.

อีกนัยหนึ่ง เพราะจิตสันดานใดเป็นไปโดยอาการต่าง ๆ กัน จึงมี

การรับ (เข้าใจ) อรรถและพยัญชนะต่าง ๆ ได้ อิติศัพท์ท่านจึงกล่าวว่าเป็น

ศัพท์แสดงอาการต่าง ๆ ของจิตสันดานนั้น. ก็เพราะเหตุที่อาการแห่งพระ-

ดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่งามอย่างนี้ ที่เป็นเหตุให้ประโยชน์ของผู้อื่น

บริบูรณ์ได้ครบถ้วน โดยทำให้ผู้อื่นนั้นหยั่งลงสู่ความสมบูรณ์แห่งพระศาสนา

ทั้งหมด ด้วยการกำหนดประเภทแห่งอรรถและพยัญชนะได้ ย่อมไม่มีแก่บุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 49

ผู้มิได้ตั้งตนไว้ชอบ หรือผู้มีได้ทำบุญไว้ในชาติปางก่อน ฉะนั้น พระอานนท์

จึงแสดงความถึงพร้อมแห่งจักร ๒ ข้อหลังของตน โดยอาการอันงามด้วยคำ

นี้ว่า อิติ. พระอานนท์แสดงความถึงพร้อมแห่งจักร ๒ ข้อข้างต้น เพราะ

ประกอบด้วยการฟัง ด้วยคำว่า สุต. อธิบายว่า การฟัง (ธรรม) ย่อมไม่มี

แก่บุคคลผู้อยู่ในประเทศที่ไม่สมควร หรือผู้เว้นจากการเข้าไปนั่งใกล้สัตบุรุษ

เพราะจักร ๒ ข้อหลังของพระอานนท์นั้นสำเร็จ ความบริสุทธิ์แห่งอาสยะ

จึงเป็นอันสำเร็จด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้ บุคคลผู้ตั้งตนไว้ชอบ และ

ทำบุญไว้ในชาติปางก่อน ชื่อว่าเป็นผู้มีอาสยะบริสุทธิ์ เพราะกิเลสทั้งหลาย

ที่เป็นเหตุให้อาสยะไม่บริสุทธิ์นั้นอยู่ไกล. สมจริง ด้วยพระดำรัสที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า

จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำ

บุคคลนั้นให้ประเสริฐกว่า เหตุนั้น

และว่า ดูก่อนอานนท์ เธอเป็นผู้ที่ได้ทำบุญไว้แล้ว ขอเธอจงหมั่นประกอบ

ความเพียรเถิด ไม่ช้าก็จักได้เป็นผู้ไม่มีอาสวะ. เพราะจักร ๒ ข้างต้นสำเร็จ

ความบริสุทธิ์แห่งปโยคะก็เป็นอันสำเร็จด้วย. อธิบายว่า พระอานนท์ชื่อว่า

เป็นผู้มีปโยคะอันบริสุทธิ์ โดยสาธุชนทั้งหลาย ถือเอาเป็นเยี่ยงอย่างได้ เพราะ

การอยู่ในประเทศอันสมควร และเพราะการเข้าไปนั่งใกล้สัตบุรุษ ก็เพราะ

อาสยะบริสุทธิ์นั้น ความฉลาดในอธิคมสำเร็จได้ ก็เพราะเครื่องเศร้าหมอง

คือตัณหา และทิฏฐิถูกชำระให้บริสุทธิ์แล้วในกาลก่อนนั่นแล. เพราะปโยคะ

บริสุทธิ์ ความฉลาดในอาคมจึงสำเร็จได้. อธิบายว่า พระอานนท์มีกาย

ปโยคะ และวจีปโยคะบริสุทธิ์ มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน เพราะไม่มีวิปปฏิสาร จึงเป็น

ผู้แกล้วกล้าในปริยัติ ถ้อยคำของพระอานนท์ ผู้มีปโยคะและอาสยะบริสุทธิ์

ผู้สมบูรณ์ด้วยอาคมและอธิคม ดังว่ามานี้ สมควรที่จะเป็นคำนำแห่งพระดำรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 50

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอรุณขึ้น ควรมีมาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น

และโยนิโสมนสิการควรเกิดขึ้นก่อนกุศลกรรม เพราะเหตุนั้น พระอานนท์

เมื่อจะตั้งนิทาน (คำเบื้องต้น) ในที่อันควร จึงกล่าวคำว่า อิติ เม สุต

เป็นต้นไว้.

อีกนัยหนึ่ง พระอานนท์แสดงการเกิดมีแห่งสมบัติ คือ อัตถปฏิสัม-

ภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน ด้วยคำว่า อิติ นี้ ที่แสดงถึงการแทงตลอด

โดยประการต่างๆ ตามนัยที่กล่าวแล้วในกาลก่อน. พระอานนท์แสดงการเกิด

มีแห่งสมบัติ คือ ธรรมปฏิสัมภิทา และนิรุตติปฏิสัมภิทา ด้วยคำว่า สุต นี้

ที่แสดงถึงการแทงตลอดที่แตกต่างจากสิ่งที่ควรสดับ เพราะอมความของอิติ-

ศัพท์ไว้ หรือเพราะมุ่งถึงเรื่องที่กำลังกล่าว. อนึ่ง พระอานนท์กล่าวคำนี้ว่า

อิติ ที่แสดงถึงโยนิโสมนสิการ ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล จึงเท่ากับแสดงว่า

ธรรมเหล่านี้ข้าพเจ้าตามเพ่งด้วยใจ ขบคิดแล้วด้วยทิฏฐิ. อธิบายว่า ปริยัติธรรม

ทั้งหลาย ที่บุคคลตามเพ่งด้วยใจ โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสศีลไว้ในสูตรนี้ ตรัสสมาธิไว้ในสูตรนี้ ตรัสปัญญาไว้ในสูตรนี้ ในสูตรนี้

มีอนุสนธิเท่านี้ ที่บุคคลกำหนดรูปธรรมและอรูปธรรม ที่กล่าวไว้ในสูตร

นั้น ๆ ด้วยดี โดยนัยเป็นต้นว่า รูปเป็นอย่างนี้ รูปมีเท่านี้ แล้วขบคิดด้วยทิฏฐิ

อันเกี่ยวเนื่องกับการตรึกตรองไปตามอาการที่ได้ฟังสืบ ๆ มา อันเป็นตัวทน

ต่อการเพ่งพินิจ (พิสูจน์) แห่งธรรมหรือกล่าวคือ เป็นญาตปริญญา ย่อมนำ

ประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้ทั้งแก่ตนและบุคคลอื่นแล. พระอานนท์

เมื่อกล่าวคำว่า สุต นี้ ที่แสดงถึงการประกอบในการฟัง จึงเท่ากับแสดงว่า

ธรรมเป็นอันมาก อันข้าพเจ้าพึงทรงจำได้ สั่งสมไว้ด้วยวาจาแล้ว (สาธยาย)

อธิบายว่า การฟัง การทรงจำ และการสั่งสมปริยัติธรรมไว้ เกี่ยวเนื่องกับการ

เงี่ยโสตลงสดับ. พระอานนท์ แสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 51

โดยภาวะที่ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้วทั้งสองนั้น จึงทำให้

(ผู้ฟัง) เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง. จริงอยู่ บุคคลเมื่อไม่ฟังธรรมที่บริบูรณ์

ด้วยอรรถและพยัญชนะ ย่อมเป็นผู้เหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลใหญ่ เพราะ

เหตุนั้น นักศึกษาพึงทำความเอื้อเฟื้อให้เกิดแล้ว ฟังธรรมเถิด.

ก็ด้วยคำทั้งหมดนี้ว่า อิติ เม สุต ท่านพระอานนท์เมื่อไม่ตั้ง

ธรรมวินัยที่พระตถาคตเจ้าประกาศแล้วเพื่อตนเอง ชื่อว่าก้าวสู่ภูมิของ

อสัตบุรุษ เมื่อปฏิญญาความเป็นพระสาวก ชื่อว่า ก้าวลงสู่ภูมิของสัตบุรุษ

ด้วยประการนั้น ท่านพระอานนท์ ชื่อว่า ยังจิตให้ออกจากอสัทธรรม

ชื่อว่า ยังจิตให้สถิตอยู่ในสัทธรรม. อนึ่ง ท่านพระอานนท์ เมื่อแสดงว่า

คำนั้นคือพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล อันข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

ทั้งหมดทีเดียว ชื่อว่า เปลื้องตน อ้างพระศาสดา แนบแน่นคำของพระชินเจ้า

ตั้งเป็นแบบธรรมเนียมไว้. อนึ่ง ด้วยคำว่า อิติ เม สุต ท่านพระอานนท์

เมื่อไม่ปฏิญญาว่า ธรรมตนเองให้เกิดขึ้น เปิดเผยคำพูดเริ่มต้น (ปุริมพจน์)

ว่า คำนี้ อันข้าพเจ้ารับมาเฉพาะพระพักตร์ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้

แกล้วกล้าด้วยเวสารัชชญาณ ๔ ผู้ทรงไว้ซึ่งทสพลญาณ ผู้ทรงดำรงอยู่ในฐานะ

แห่งบุคคลผู้องอาจ ผู้ทรงมีปกติบันลือสีหนาทผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ ผู้ทรง

เป็นพระธรรมิศร ธรรมราชา ธรรมาธิบดี ผู้ทรงเป็นธรรมประทีป ธรรม-

สรณะ ผู้ทรงหมุนล้อแห่งพระสัทธรรมอันประเสริฐ ผู้เป็นพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ท่านทั้งหลายไม่ควรทำความสงสัยหรือความแคลงใจ ในอรรถหรือ

ธรรมในบทหรือพยัญชนะนี้ ดังนี้ ชื่อว่า ยังความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาในธรรม

วินัยนี้ให้พินาศ ยังสัทธาสัมปทาให้เกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถา

ประพันธ์นี้ไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 52

พระสาวกของพระโคดมเมื่อกล่าวว่า

เอวมฺเม สุต ดังนี้ ชื่อว่า ยังอศรัทธาให้

พินาศ ยังศรัทธาในพระศาสนาให้เจริญ.

ในที่นี้ อาจารย์บางท่านกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไรในสูตรนี้ ท่านจึงไม่

กล่าวคำนี้ทานไว้เหมือนในสูตรอื่น ๆ ที่พระอานนท์กล่าวคำนิทานอ้างกาละเทสะ

(เวลาและสถานที่) ไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุต เอก สมย เล่า. ตอบว่า

เพราะอาจารย์พวกอื่นได้กล่าวไว้ก่อนแล้ว. ก็คำนิทาน (ในสูตรนี้) พระ

เถระมิได้กล่าวไว้ เพราะมีผู้กล่าวไว้แล้ว. อธิบายว่า คำนี้ทานนี้ ท่าน

พระอานนท์มิได้กล่าวก่อน แต่นางขุชชุตตรา ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแต่งตั้งไว้ในเอตทัคคะ เพราะในบรรดาอุบาสิกา นางเป็นพหูสูต เป็น

อริยสาวิกาได้บรรลุเสกขปฏิสัมภิทา กล่าวไว้ก่อนแล้วแก่สตรี ๕๐๐ นาง

ซึ่งมีพระนางสามาวดีเป็นประมุข. ในเรื่องนั้น มีการเล่าไว้เป็นลำดับ ดังต่อ

ไปนี้

ประวัตินางขุชชุตตรา

ได้ทราบว่า นับจากนี้ไปในตอนท้ายแสนกัป พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่า ปทุมุตตระ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักร

อันประเสริฐ แล้วประทับอยู่ในเมืองหงสาวดี. อยู่มาวันหนึ่ง กุลธิดานางหนึ่ง

ในเมืองหงสาวดี ได้ไปยังอารามพร้อมกับอุบาสิกา ซึ่งกำลังไปเพื่อฟังเทศนา

ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงแต่งตั้งอุบาสิกาคนหนึ่งไว้ในเอตทัคคะ

(ตำแหน่งที่เลิศกว่า) อุบาสิกาทั้งหลายผู้เป็นพหูสูต จึงทำบุญแล้วปรารถนา

ฐานันดรนั้น.

ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงพยากรณ์อุบาสิกานั้นว่า ในอนาคตกาล นาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 53

จักได้เป็นอุบาสิกา ผู้เป็นสาวิกาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่า

โคดม จักเป็นผู้เลิศในบรรดาอุบาสิกาผู้เป็นพหูสูตด้วยกัน. นางทำกุศลจน

ตลอดชีวิตแล้ว ก็ไปบังเกิดในเทวโลก (จุติจากเทวโลกแล้ว) ก็มาบังเกิดใน

หมู่มนุษย์อีก เมื่อนางท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลก และมนุษยโลกอย่างนี้แล ล่วง

ไปได้หนึ่งแสนกัป ครั้นแล้วในภัททกัปนี้ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ของเราทั้งหลาย นางก็ได้จุติจากเทวโลกมาถือปฏิสนธิ ในท้องหญิงพี่เลี้ยงใน

เรือนของโฆสิตเศรษฐี.

ชนทั้งหลายได้ตั้งชื่อให้นางว่า อุตตรา ในเวลาที่เกิดมาแล้ว นางได้

กลายเป็นหญิงค่อม เพราะเหตุนั้น จึงปรากฏชื่อว่า ขุชชุตตรา ต่อมา

ในเวลาที่โฆสิตเศรษฐี ถวายนางสามาวดี แก่พระเจ้าอุเทน นาง

ขุชชุตตรานั้น ก็ถูกยกให้ไปเป็นนางปริจาริกา ของนางสามาวดีนั้น

(และ) อยู่ภายในราชสำนักของพระเจ้าอุเทน ก็สมัยนั้น โฆสิตเศรษฐี

กุกกุฏเศรษฐี และปาวาริกเศรษฐี ในเมืองโกสัมพี ได้พากันสร้างวิหาร

๓ แห่ง อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพระตถาคตเจ้าเสด็จจาริกไปใน

ชนบท ถึงพระนครโกสัมพี ก็ได้มอบถวายวิหารแด่พระสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุข แล้วพากันบำเพ็ญมหาทาน. ประมาณเดือนหนึ่งผ่านพ้นไป.

ครั้งนั้น เศรษฐีเหล่านั้นได้มีความคิด ดังนี้ว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ทรงอนุเคราะห์โลกทั้งหมด พวกเราจักให้โอกาสแก่คนอื่นบ้าง.

แม้คนที่อยู่ในตัวเมืองโกสัมพี ก็ได้เปิดโอกาสให้แก่ประชาชนทั่วไป. ตั้งแต่

นั้นมา พวกชาวเมือง ก็พากันถวายมหาทาน โดยรวมคนในถนน (เดียวกัน)

บ้าง โดยรวมกันเป็นคณะบ้าง อยู่มาวันหนึ่ง พระศาสดาอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม

แล้วประทับนั่งในเรือนของนายมาลาการผู้เป็นหัวหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 54

ขณะนั้น นางขุชชุตตรา ได้รับทรัพย์ ๘ กหาปณะ แล้วไปยังเรือน

นั้นเพื่อซื้อดอกไม้ไปให้นางสามาวดี. นายมาลาการผู้เป็นหัวหน้าเห็นนาง

แล้วก็กล่าวว่า แม่อุตตรา วันนี้ (ฉัน ) ไม่มีเวลาที่จะให้ดอกไม้แก่เธอ

ฉันกำลังอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แม้เธอก็จงเป็นสหายใน

การเลี้ยงดูเถิด เมื่อทำอย่างนี้แล้ว เธอก็จักพ้นไปจากการทำการรับใช้บุคคลอื่น

(เสียที). ครั้งนั้น นางขุชชุตตรา ก็ได้ทำการรับใช้ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ในโรงครัว. นางได้เรียนธรรมทั้งหมดที่พระศาสดาตรัสแล้วด้วยอำนาจเป็น

อุปนิสินนกถา ต่อมาได้ฟังอนุโมทนาแล้วได้บรรลุโสดาปัตติผล. ในวันอื่น ๆ

นางให้ ๔ กหาปณะเท่านั้น แล้วรับเอาดอกไม้ไป. แต่ในวันนั้น เพราะได้

เห็นสัจจะ นางไม่ยังจิตให้เกิดในสิ่งของของบุคคลอื่นให้หมดทั้ง ๘ กหาปณะ

แล้วได้รับเอาดอกไม้ไปยังสำนักของนางสามาวดี.

ลำดับนั้น พระนางสามาวดีนั้นได้ถามนางว่า แม่อุตตรา ในวันอื่น ๆ

เธอนำดอกไม้มาให้ไม่มาก แต่วันนี้นำมาให้มาก พระราชาของเราทั้งหลาย

ทรงเลื่อมใสมากขึ้นหรือ ? นางได้ทูลเรื่องทั้งหมดไม่ปกปิดเรื่องที่ตนได้ทำไป

แล้ว เพราะไม่สามารถจะกล่าวเท็จได้ และเมื่อนางถูกถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น

เพราะเหตุไร วันนี้จึงนำดอกไม้มามาก ก็ทูลตอบว่า วันนี้หม่อมฉัน ได้ฟังธรรม

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วได้ทำให้แจ้งซึ่งอมตะ เพราะเหตุนั้น

หม่อมฉันจึงลวงพระองค์ท่านไม่ได้. พระนางสามาวดี ทรงสดับคำนั้นแล้ว

ก็มิได้ทรงขู่ตะคอกว่า เฮ้ยนางทาสีผู้ชั่วร้าย แกจงคืนกหาปณะที่แก (ยักยอก)

เอาไปตลอดเวลาเท่านี้มา (พระนาง) อันบุรพเหตุตักเตือน ได้ตรัสว่า แม่

ขอแม่จงให้พวกเราได้ดื่มน้ำอมฤตที่แม่ได้ดื่มแล้วบ้างเถิด เมื่อนางขุชชุตตรา

ทูลว่า ถ้าอย่างนั้น จงทรงพระกรุณาให้หม่อมฉันอาบน้ำ (ก่อน) ก็ทรงให้

นางอาบน้ำด้วยน้ำหอม ๑๖ หม้อ แล้วรับสั่งให้ประทานผ้าเนื้อเกลี้ยง ๒ ผืน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 55

นางขุชชุตตรานั้น นุ่งผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่งเอาห่มเฉวียงบ่าแล้ว

ปูลาดอาสนะนั่งบนอาสนะถือพัดอันวิจิตร ร้องทักมาตุคามทั้ง ๕๐๐ นางซึ่งนั่ง

อยู่บนอาสนะที่ต่ำกว่า ดำรงอยู่ในเสกขปฏิสัมภิทา แสดงธรรมแก่หญิงเหล่านั้น

ตามนิยามที่พระศาสดาทรงแสดงแล้วนั่นแล. เวลาจบเทศนา หญิงทั้งหลาย

นั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล. หญิงทั้งหมดนั้นไหว้นางขุชชุตตราพลางกล่าวว่า

ข้าแต่แม่เจ้า ตั้งแต่วันนี้ไป ขอแม่เจ้าอย่าได้ท่างานอันต่ำต้อยอีกต่อไปเลย

ขอแม่เจ้าจงดำรงอยู่ในฐานะเป็นมารดา ในฐานะเป็นอาจารย์ของเราทั้งหลาย

เถิด ดังนี้แล้ว ได้ตั้ง (นาง) ไว้ในฐานะเป็นที่เคารพ.

อดีตชาติของนางขุชชุตตรา

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร นางขุชชุตตรานี้จึงบังเกิดเป็นนางทาสี ?

ตอบว่า เล่ากันว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ

นางบังเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีในเมืองพาราณสีเมื่อพระเถรีผู้เป็นพระขีณาสพ

รูปหนึ่งไปยังตระกูลอุปัฏฐาก ก็เรียนว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอแม่เจ้าจงให้กระเช้า

ประดับนั่นแก่ดิฉันเถิด ดังนี้แล้ว สั่งให้คนใช้ทำการรับใช้ (พระเถรี) ฝ่ายพระ-

เถระ คิดว่า เมื่อเราไม่ให้ นางจักเกิดความอาฆาต (ตายแล้ว) จักได้เกิดใน

นรก เมื่อเราให้ นางจักเกิดเป็นทาสีของคนอื่น การที่นาง (เกิด) เป็นทาสี

ดีกว่าการไหม้ในนรก ดังนี้แล้ว อาศัยความกรุณาจึงได้ทำตามคำของนาง.

ด้วยกรรมนั้น นางได้บังเกิดเป็นทาสีของคนอื่นสิ้น ๕๐๐ ชาติ.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร นางจงได้เป็นหญิงค่อม ? ตอบว่า เล่ากันว่า

เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น นางอยู่ในพระราชวังของพระเจ้าพาราณสี

เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นราชกุลุปกะองค์หนึ่งหลังค่อมนิดหน่อย เมื่อจะ

ทำการล้อเลียนต่อหน้าหญิงที่อยู่ด้วยกันกับตน จึงได้แสดงอาการหลังค่อมเป็น

การสนุกสนานตามที่กล่าว เพราะเหตุนั้น นางจึงบังเกิดเป็นหญิงค่อม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 56

ถามว่า ก็นางทำกรรมอะไรไว้จึงเกิดเป็นหญิงมีปัญญามาก ? ตอบว่า

เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น นางอยู่ในพระราชวังของพระเจ้าพาราณสี

เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ เปลี่ยน (มือ) อุ้มบาตรที่เต็มด้วยข้าวปายาส

ร้อน (ที่รับ) จากพระราชวังก็ได้ถวายวลัยงา ๘ อัน ซึ่งเป็นของตนพลาง

เรียนว่า ขอพระคุณเจ้าโปรดวาง (บาตร) ไว้บนวลัยนี้ แล้วอุ้ม (บาตร) เถิด.

พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ทำตามนั้นแล้วมองดู (นาง) นางเรียนว่า วลัย

เหล่านี้ ดิฉันสละถวายแด่พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าจงถือไปเถิด พระปัจ-

เจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ได้ไปยังเงื้อมเขานันทมูลกะ แม้จนวันนี้ วลัยเหล่านั้น

ก็ยังไม่ผุกร่อนเลย. นางเกิดเป็นหญิงมีปัญญามากเพราะผลแห่งกรรมนั้น

ต่อมา สตรี ๕๐๐ นางซึ่งมีพระนางสามนาวดีเป็นประมุข ได้กล่าวกะ

นางว่า ข้าแต่แม่ ขอแม่จงไปยังสำนักของพระศาสดาทุกวัน สดับธรรมที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว (มา) แสดงแก่เราบ้าง. นางได้ทำตามนั้น

ในเวลาต่อมาจึงกลายเป็นผู้ทรงจำพระไตรปิฎก. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึง

ตั้งนางไว้ในเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสิกาสาวิกาของเรา

ที่เป็นพหูสูต ขุชชุตตรานี้เป็นเลิศ อุบาสิกาขุชชุตตรา ผู้เป็นอริยสาวิกา

ได้บรรลุปฏิสัมภิทาอัน พระศาสดาทรงตั้งไว้ในเอตทัคคะ เพราะเป็นพหูสูต

เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี ได้ไปยังสำนักพระศาสดาตามกาล

อันสมควร ได้ฟังธรรมแล้ว กลับไปภายในราชสำนัก เมื่อจะกล่าวธรรมตาม

ที่ได้ฟังมา ตามนิยามที่พระศาสดาทรงแสดงแก่สตรีอริยสาวิกา ๕๐๐ นางมี

พระนางสามาวดีเป็นประมุข เมื่อจะเปลื้องตนประกาศความที่ธรรมตนได้

สดับในสำนักพระศาสดา จึงยกนิทาน (คำเริ่มต้น) ขึ้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า

ก็คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว คือ พระอรหันต์ตรัสไว้แล้วดังพรรณ-

นามาฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 57

ก็เพราะเหตุที่นางขุชชุตตรานั้นได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์ของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าในนครนั้นแล แล้วกล่าวแก่สตรีเหล่านั้น ในวันนั้นด้วย

ฉะนั้นจึงไม่มีประโยชน์ที่จะอ้างเวลาและสถานที่ว่า สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี เพราะเวลาและสถานที่ปรากฏชัดอยู่แล้ว.

ฝ่ายภิกษุณีทั้งหลายก็ได้เรียนเอาสูตรเหล่านี้ในสำนักนางขุชชุตตรานั้น. แม้ใน

หมู่ภิกษุ นิทาน(คำเริ่มต้น) ที่นางขุชชุตตรานั้นยกขึ้นไว้ก็ปรากฏโดยสืบทอด

กันมาอย่างนี้. ต่อมาท่านพระอานนท์ นั่งสั่งคายนาพระธรรมอยู่ในท่ามกลาง

คณะพระเถระ ผู้เชี่ยวชาญมี พระมหากัสสปะเป็นประมุข ในสัทธรรมมณฑป

ที่พระเจ้าอชาตศัตรูทรงให้สร้างขึ้นที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ภายหลังจากเวลา

ที่พระตถาคตเจ้าปรินิพพาน เมื่อจะหลีกเลี่ยง (ไม่ต้องการให้) นิทานของ

สูตรเหล่านี้มี ๒ นิทาน จึงยกนิทานขึ้นตามนิยามที่นางขุชชุตตรานั้นยกไว้

แล้วแล. แต่อาจารย์บางพวกขยายประการในที่นี้ให้มากออกไป. ประโยชน์

อะไรด้วยประการเหล่านั้น.

อิติวุตตกะมี ๑๑๒ สูตร

อีกอย่างหนึ่ง พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย สังคายนาพระธรรมวินัยไว้

โดยนัยต่าง ๆ. จริงอยู่ พระมหาเถระผู้สังคายนาพระธรรมเป็นพระอนุพุทธะ

(ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า). พระมหาเถระเหล่านั้นรู้อาการสังคายนาพระธรรม

วินัย โดยชอบแท้ทีเดียวในทีบางแห่งจึงตั้งนิทาน(คำเริ่มต้น) ไว้โดยนัยเป็นต้น

ว่า เอวมฺเม สุต ในที่บางแห่งตั้งนิทานไว้โดยนัยเป็นต้นว่า เตน สมเยน

ในที่บางแห่งตั้งนิทาน โดยเป็นคาถาพันธ์ (แต่) ในที่บางแห่งไม่ตั้งนิทาน

ไว้ทั้งหมด สังคายนาพระธรรมวินัย โดยแยกเป็นวรรคสังคหะเป็นต้น. บรรดา

อาคตสถานเหล่านั้น ในที่นี้ พระสังคีติกาจารย์ตั้งนิทานไว้โดยนัยเป็นต้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 58

วุตฺต เหต แล้วสังคายนา (พระธรรมวินัย). พุทธวจนะนี้มีองค์ ๙ โดยแยก

เป็น สุตตะ เคยยะ เป็นต้นของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ก็เป็นเหมือน

พุทธวจนะมีองค์ ๙ นั่น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า ก็พุทธวจนะมีองค์

๙ คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นมีน้อย เป็นต้น. ในบรรดา

องค์เหล่านั้น องค์ คือ อิติวุตตกะไม่ปรากฏนิทานอะไร ๆ อย่างอื่นเลย

ยกเว้นคำนี้ว่า วุตฺต เหต ฯเปฯ เม สุต ซึ่งเป็นเครื่องหมายของอิติวุตตกะ

นั้น . ด้วยเหตุนั้น พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า สูตร ๑๑๒ สูตร

ที่เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า วุตฺต เหต ภควตา จัดเป็นอิติวุตตกะ เพราะ

เหตุนั้น พึงทราบว่า พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย หรือแม้พระอริยสาวิกา

ผู้รู้พระประสงค์ของพระศาสดา จึงได้ตั้งนิทานไว้โดยนัยนี้แล เพื่อให้ทราบว่า

สูตรเหล่านี้จักเป็นองค์ คือ อิติวุตตกะ.

กล่าวคำนิทานไว้ทำไม ?

ถามว่า ก็พระอานนท์เมื่อจะทำการรวบรวมพระธรรมวินัย ได้กล่าว

คำนิทานไว้เพื่ออะไร ? ท่านควรทำการรวบรวมพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้มิใช่หรือ ? ข้าพเจ้าจะเฉลย พระอานนท์กล่าวคำนิทานไว้

เพื่อยังความดำรงมั่น ความไม่เลอะเลือน และความเป็นของควรเธอแห่งเทศนา

ให้ถึงพร้อม. เป็นความจริง เทศนาที่ผูกพันอยู่กับข้ออ้าง คือ กาละ (เวลา)

เทสะ (สถานที่) ผู้แสดง และบริษัท ย่อมเป็นเทศนาดำรงอยู่ได้มั่นคง

ไม่เลอะเลือน และเป็นเทศนาควรเธอ. การวินิจฉัยโวหารเป็นเหมือนผูกพัน

อยู่กับเครื่องหมาย คือ เทสะ กาละ กัตตา (ผู้ทำ) และโสตา (ผู้ฟัง)

ก็ท่านพระอานนท์ผู้เป็นขุนคลังแห่งพระธรรมนั้นแล เมื่อพระมหากัสสปะ

ทำการปุจฉาถึงเทสะ (สถานที่ตรัส) เป็นอาทิแห่งพรหมชาลสูตรละมูลปริยาย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 59

สูตรเป็นต้น จะทำการวิสัชนาปุจฉาเหล่านั้นจึงกล่าวคำนิทานไว้โดยนัยเป็น-

ต้นว่า เอวมฺเม สุต แต่ในที่นี้ท่านกล่าวเหตุไว้แล้วแลในเพราะระบุถึงกาละ

และเทสะ.

อีกประการหนึ่ง คำนิทานท่านกล่าวไว้เพื่อประกาศสมบัติของพระ-

ศาสดา. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระตถาคต ทรงสำเร็จ

ความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ เพราะไม่มีการรจนาไว้ก่อน ไม่มีการ

อนุมาน และไม่มีตรรกในปริยัติ. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีความต้ออง

การด้วยการรจนาไว้ก่อนเป็นต้น เพราะทรงมีพระญาณสอดส่องไปไม่ถูก

ขัดขวางในธรรมทั้งปวง และเพราะทรงมีประมาณเป็นหนึ่ง ในไญยธรรม

ทั้งหลาย. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสำเร็จเป็นพระขีณาสพได้ เพราะ

ไม่มีกำมือของอาจารย์ คือ ความตระหนี่ธรรม และความยินดีแม้แต่น้อยใน

ผู้ฟังคำสอน (ของพระองค์) เพราะว่า ธรรมเหล่านั้นหาเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ

โดยตลอดไม่ เพราะฉะนั้น พฤติกรรมที่อนุเคราะห์ผู้อื่น จึงเกิดแก่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ผู้ทรงบริสุทธิ์อย่างยิ่ง. ความสำเร็จเวสารัชชญาณ ๒ ข้อข้างต้น

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า (สัมมาสัมพุทธปฏิญญา ๑ ขีณาสวปฏิญญา ๑)

มีได้ด้วยสัมพุทธภาวะ (ตรัสรู้เองโดยชอบ) และวิสุทธภาวะ (ทรงหมดจด)

ที่บ่งถึงความไม่มีโดยสิ้นเชิงแห่งอวิชชาและตัณหา อันเป็นตัวประทุษร้ายทิฏฐิ-

สัมปทา และสีลสัมปทาเป็นสังกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง) ของผู้แสดง และ

ที่ทำญาณสัมปทา และปหานสัมปทาให้ปรากฏ และความสำเร็จเวสารัชชญาณ

๒ ข้อหลัง (อันตรายิกธรรมวาทะ ๑ นิยยานิกธรรมเทศนา ๑) มีได้ เพราะทรง

สำเร็จความไม่งมงายในอันตรายยิกธรรม และนิยยานิกธรรมนั้น. เพราะเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 60

ด้วยคำนิทาน เป็นอันพระอานนทเถระประกาศ การที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประกอบด้วย เวสารัชชญาณ ๔ อย่าง อันเป็นที่อาศัยบำเพ็ญประโยชน์

เพื่อพระองค์ และประโยชน์เพื่อผู้อื่น เพราะทรงแสดงพระธรรมเทศนา

ด้วยพระปฏิภาณที่เกิดขึ้นตามฐานะที่ควร เหมาะสมกับอัธยาศัยของบริษัท

ผู้ประสบ (พระองค์) แล้วในที่นั้น ๆ. แต่ในที่นี้ ควรประกอบคำพูดว่า การ

ละโทษของกาม โดยไม่มีส่วนเหลือ และโดยการแสดงถึงพระธรรมเทศนา

ตามวิธี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า ท่าน(พระอานนท์)กล่าวนิทานพจน์

ไว้ เพื่อประกาศพระคุณสมบัติของพระศาสดา.

อนึ่ง ในเรื่องนี้ ท่านแสดงถึงการประกาศเนื้อความให้แจ่มแจ้ง ตาม

ที่ได้กล่าวมาแล้ว ในหนหลังนั่นเอง ด้วยบทเหล่านั้นว่า ภควตา อรหตา.

อนึ่ง พระอานนทเถระ กล่าวคำนิคมไว้ เพื่อประกาศคุณสมบัติของพระ-

ศาสนา (คำสอนของพระองค์) เพราะว่า ข้อปฏิบัติของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงมีพระกิริยาทุกอย่างอันพระญาณและพระกรุณาประคองไว้ ที่ไร้ประโยชน์

หรือเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระองค์ เท่านั้น คือการเห็นแก่ตัวจะไม่มี เพราะ

ฉะนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม แม้ทั้งหมดของพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ผู้ทรงมีพระกิริยาทุกอย่างที่เป็นไปแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่นทีเดียว

ที่กำลังกล่าวถึงตามที่เป็นไปแล้ว ชื่อว่า เป็นคำสอน (เหมือนกัน ) เพราะอรรถ

ว่าเป็นเหตุสอนสัตว์ทั้งหลายได้เนือง ๆ ตามความเหมาะสมกับประโยชน์ชาตินี้

ประโยชน์ชาติหน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ใช่เพราะรจนาไว้ทั้งหมด.

ท่านประกาศพระจริตของพระศาสดานี้นั้นไว้ตามสมควร ด้วยนิทานพจน์

ทั้งหลาย ที่อ้างถึงกาละเทสะผู้แสดงและบริษัท. แต่ในที่นี้ ควรประกอบ

ถ้อยคำว่า ที่อ้างถึงผู้แสดงและบริษัทเข้าไว้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า

(สาสนสมฺปตฺติปฺปกาสนตฺถ นิทานวจน ท่านกล่าวนิทานพจน์ไว้ เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 61

ประกาศคุณสมบัติของพระศาสนา).

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวนิทานพจน์ไว้เพื่อแสดงว่า คำสอนเอาเป็น

ประมาณได้ เพราะประกาศว่า พระศาสดาเอาเป็นประมาณได้. ก็การแสดงว่า

คำสอนนั้น เอาเป็นประมาณได้นั้น พึงทราบว่าได้ประกาศไว้แล้ว ด้วยบทเหล่า

นี้ว่า ภควตา อรหตา ตามแนวแห่งนัยที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง. ใน

ที่นี้ คำนี้แสดงเพียงช่องทางของประโยชน์แห่งคำนิทานเท่านั้น ดังนี้แล.

จบนิทานวรรณนา

เอกนิบาตวรรณนา

บัดนี้ ถึงโอกาสแห่งการพรรณนาพระสูตรที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ยกขึ้นโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงละธรรม

อย่างหนึ่ง ดังนี้. ก็การพรรณนาความนี้นั้น เพราะเป็นการปรากฏทีท่าน

กล่าววิจารณ์ ถึงบทตั้งของพระสูตรไว้ ฉะนั้น เราจักวิจารบทตั้งของพระสูตร

ก่อน.

จริงอยู่ บทตั้ง (ของพระสูตร) มี ๔ อย่าง คือ อัตตัชฌาสยะ ๑

ปรัชฌาสยะ ๑ ปุจฉาวสิกะ ๑ อัตถุปปัตติกะ ๑. อันที่จริง พระสูตร

ทั้งหลาย แม้มีประเภทตั้งแสนมิใช่น้อย ก็ไม่เกิน ๑๖ อย่างไปได้โดยปัฏฐานนัย

(การเริ่มต้น) มีสังกิเลสภาคิยะ (เป็นไปในส่วนแห่งความเศร้าหมอง) เป็นต้น

ฉันใด พระสูตรทั้งหลายย่อมไม่เกิน ๔ อย่างไปได้ โดยบทตั้งของพหูสูตร

มีอัตตัชฌาสยะเป็นต้น ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้. ใน ๔ อย่างนั้น อัตตัชฌาสยะ

และอัตถุปปัตติ ย่อมมีความเกี่ยวข้องกับปรัชฌาสยะและปุจฉา เพราะมีความ

สืบเนื่องกันแห่งอัตตัชฌาสยะ และปุจฉา คือ อัตตัชฌาสยะ และปรัชฌาสยะ

อัตตัชฌาสยะ และปุจฉาวสิกะ อัตถุปปัตติกะ และปรัชฌาสยะ อัตถุปปัตติกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 62

และปุจฉาวสิกะ ฉันใด เป็นความจริงแท้ที่แน่นอนที่อัตถุปปัตติ ย่อมมีความ

เกี่ยวข้อง แม้ด้วยอัตตัชฌาสยะ ฉันนั้น แต่อัตถุปปัตติไม่มีความเกี่ยวข้อง

ด้วยอัตตัชฌาสยะเป็นต้น อันเกิดขึ้นแต่ต้น เพราะฉะนั้น ปัฏฐานนัยอันไม่มี

เศษเหลือ จึงไม่เกิด. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงบทตั้งของ

พระสูตรไว้ ๔ อย่าง ด้วยตั้งข้อมูลของบทตั้งที่เหลือ อันเกิดขึ้นเพราะหยั่งลง

ภายในของนัยนั้น.

พึงทราบเนื้อความในสูตรนั้นดังต่อไปนี้ ชื่อว่า นิกเขปะ เพราะ

อรรถว่า อันเขาตั้งไว้. บทตั้งคือพระสูตร ชื่อว่า สุตตนิกเขปะ. อีกอย่างหนึ่ง

การตั้งความ ชื่อว่า นิกเขปะ. การตั้งความแห่งพระสูตร ชื่อว่า สุตตนิกเขปะ.

อธิบายว่า แสดงพระสูตร. อัธยาศัยของตน ชื่อว่า อัตตัชฌาสยะ. ชื่อว่า

อัตตัชฌาสยะ เพราะเป็นเหตุผลของตนนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อัตตัชฌาสยะ

เพราะมีอัธยาศัยของตน แม้ในปรัชฌาสยะ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . ชื่อ ปุจฉาวสะ.

เพราะอำนาจแห่งคำถาม ชื่อว่า ปุจฉาวสิกะ เพราะมีอำนาจแห่งคำถาม.

เรื่องราวอันเป็นเหตุแสดงพระสูตรเกิดขึ้น ชื่อว่า อัตถุปปัตติ อัตถุปตติ

นั้นแล ชื่อว่าอัตถุปปัตติกะ. ชื่อว่าอัตถุปปีตตกะ เพราะมีเรื่องเกิดขึ้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า นิกเขปะ เพราะเป็นเครื่องยกพระสูตรขึ้น ได้แก่

อัตตัชฌาสยะเป็นต้นนั่นเอง. ในอรรถวิกัปนี้ อัธยาศัยของตนชื่อว่า อัตตัชฌาสยะ

อัธยาศัยของคนอื่นชื่อว่า ปรัชฌาสยะ. ชื่อว่าปุจฉา เพราะถูกถาม ได้แก่

เนื้อความที่ควรถาม. ถ้อยคำของผู้รับธรรม อันเป็นไปด้วยคำถาม ชื่อว่า

ปุจฉาวสะ. คำนั้นท่านกล่าวโดยเป็นปุลลิงค์ว่า ปฺจฺฉาวสิโก เพราะเพ่งถึง

ศัพท์ นิกฺเขป. อนึ่ง พึงทราบความในบทนี้ อย่างนี้ว่า เรื่องราวที่เกิดขึ้น

นั้นเอง ชื่ออัตถุปปัตติกะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 63

อีกอย่างหนึ่ง ความที่อัตตัชฌาสยะเป็นความตั้งของพระสูตร ต่าง

ออกไปควรแล้ว เพราะมิได้เพ่งถึงเหตุ มีความแก่กล้าของอินทรีย์เป็นต้น

ของบุคคลเหล่าอื่น. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ด้วยอัชฌาสัยของตนอย่างเดียว

ดังนี้. เพราะให้เทศนาเป็นไป เพื่อดำรงแบบแผนของพระธรรมไว้. ข้อนี้

ไม่ควรท้วงว่า ความไม่กีดกันอัชฌาสยะ และปุจฉาของคนเหล่าอื่น อันเป็น

ปรัชฌาสยะ. และปุจฉาวสิกะ อันเป็นเหตุของเทศนานิมิตที่เป็นไปแล้วใน

อุปปัตติ ในอัตถุปปัตติกะได้อย่างไร หรือความไม่กีดกันของปุจฉาวสิกะ และ

อัตถุปปัตติกะที่เป็นไปแล้ว ด้วยไม่เข้าไปกีดกันปรัชฌาสยะ ในปรัชฌาสยะ

ได้อย่างไร. เป็นการแยกถือเอาแห่งปรัชฌาสยะ และปุจฉาวสิกะ เพราะถือ

เอาโดยความเป็นอัตถุปบัติ แห่งความเกิดของเหตุแสดงพระสูตร อันนอกเหนือ

จากอภินิหารและการสอบถามเป็นต้น. เป็นความจริงดังนั้น การแสดงคุณ

โทษและความเกิดแห่งอามิสเป็นต้น ของพรหมชาลสูตร และธัมมทายาทสูตร

เป็นต้น ท่านเรียกว่า นิมิต. ท่านแสดงปรัชฌาสยะกระทำอัชฌาสยะ เว้นจาก

คำถามของคนเหล่าอื่นให้เป็นนิมิต ท่านแสดงปุจฉาวสิกะ ด้วยสามารถคำถาม

เพราะเหตุนั้น เนื้อความนี้ปรากฏชัดแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันผู้อื่นมิได้

ทูลเชิญ ตรัสพระสูตรเหล่าใดโดยอัชฌาสัยของพระองค์อย่างเดียวเท่านั้น เช่น

อากังเขยยสูตรตุวัฏฏกสูตรเป็นต้น อัตตัชฌาสัยเป็นความตั้งของสูตรเหล่านั้น.

พระสูตรเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจตราอัชฌาสัย ความอดทน

อภินิหารและความรู้ของคนเหล่าอื่นว่า ธรรมอันแก่กล้า อันจะอบรมราหุลให้

พ้นมีอยู่เราพึงนำราหุลไปในความสิ้นอาสวะให้ยิ่งขึ้นไปแล้ว เช่น ราหุโลวาท-

สูตรธัมมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นต้น โดยปรัชฌาสยะ ปรัชฌาสยะเป็นความ

ตั้งของสูตรเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 64

ก็เหล่าเทวดามนุษย์ บริษัท ๔ วรรณะ ๔ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า แล้วทูลถามปัญหาอย่างนั้น ๆ พระสูตรเหล่าใดมีโพชฌงคสังยุต

เป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีผู้ทูลถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระองค์ตรัสโพชฌงค์ โพชฌงค์ ขอพระองค์ตรัสนิวรณ์ นิวรณ์ ดังนี้เป็นต้น

แล้วตรัส ปุจฉาวสิกะเป็นความตั้งของพระสูตรเหล่านั้น. ก็พระสูตรเหล่าใด

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาศัยเหตุที่เกิดขึ้นแล้ว เช่นธัมมทายาทสูตร ปุตต-

มังสูปมสูตร ทารุกขันธูปมสูตรเป็นต้น อัตถุปัตติกะเป็นความตั้งของพระสูตร

เหล่านั้น. ในความตั้งพระสูตร ๔ เหล่านี้ ปรัชฌาสยะเป็นความตั้งของ

พระสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ ท่านยกสูตรนี้ขึ้นด้วยสามารถปรัชฌาสยะ.

ถามว่า ท่านยกขึ้นด้วยอัชฌาสัยของบุคคลเหล่าไหน. ตอบว่า ด้วยอัชฌาสัย

ของบุคคลผู้ไม่เห็นโทษในความโลภ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เป็น

อัตตัชฌาสยะ.

เอกศัพท์ในบทเป็นต้นว่า เอกธมฺม ภิกฺขเว ในสูตรนั้นย่อมมีใน

ความอื่น ดังในประโยคเป็นต้นว่า คนพวกอื่นย่อมกล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและ

โลกเที่ยง นี้เท่านั้นเป็นสัจจะ อย่างอื่นเป็นโมฆะ. ย่อมมีในความประเสริฐ

ดังในประโยคเป็นต้นว่า เจตโส เอโกทิภาว ความที่มีจิตผุดขึ้นดวงเดียว.

ย่อมมีในความไม่มีเพื่อน ดังในประโยคเป็นต้นว่า เอโก วูปกฏฺโ ผู้เดียว

หลีกไป. ย่อมมีในความนับดังในประโยคเป็นต้นว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว

ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะและ

สมัยหนึ่งแล เพื่ออยู่พรหมจรรย์. แม้ในสูตรนี้พึงเห็นว่า ย่อมมีในความนับ.

ธัมมะศัพท์ ย่อมปรากฏในความมี ปริยัติ สัจจะ สมาธิ ปัญญา

ปกติ บุญ อาบัติ สุญญตา เญยยะ สภาวะ เป็นต้น. มีความว่าปริยัติ

ในบทมีอาทิว่า ตถาหิสฺส อิธ ภิกฺขุ ธมฺม ปริยาปุณาติ เป็นความจริง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 65

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเรียนธรรม. มีความว่า สัจจะในบทมีอาทิว่า ทิฏฺ-

ธมฺโม เห็นธรรมแล้ว. มีความว่า สมาธิในบทมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

เหล่านั้น ได้เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้. มีความว่า ปัญญาในบทมีอาทิว่า สจฺจ

ธมฺโม ธิติ จาโค สเว เปจฺจ น โสจติ

ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ๔ ประการ คือ

สัจจะ ธรรม ปัญญา จาคะ ละโลกนี้

ไปแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก.

มีความว่า ปกติในบทมีอาทิว่า ชาติธมฺมาน ภิกฺเว สตฺตาน เอว อิจฺฉา

อุปฺปชฺชติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรารถนาของสัตว์ทั้งหลาย ผู้มีชาติ

เป็นปกติ ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้. มีความว่า บุญในประโยคมีอาทิว่า ธมฺโม หเว

รกฺขติ ธมฺมจารี บุญแล ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม. มีความว่า

อาบัติในประโยคมีอาทิว่า ติณฺณ ธมฺมาน อญฺตเรน วเทยฺย ปาราชิ-

เกน วา สงฺฆาทิเสน วา ปาจิตฺติเยน วา ภิกษุพึงกล่าวถึงอาบัติ ๓ อย่าง คือ

ปาราชิก หรือสังฆาทิเสส หรือปาจิตตีย์อย่างใดอย่างหนึ่ง. มีความว่า สุญญตา

ในบทมีอาทิว่า ตสฺมึ โข ปน สมเย ธมฺมา โหนฺติ ก็ในสมัยนั้นแล

ธรรมทั้งหลายย่อมมี. มีความว่า เญยยะ (ธรรมที่ควรรู้) ในบทมีอาทิว่า

สพฺเพ ธมฺมา สพฺพากาเรน พุทฺธสฺส ภควโต าณมุเขน อาปาถ

อาคจฺฉนฺติ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมมาสู่คลอง โดยญาณมุขของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะโดยอาการทั้งปวง. มีความว่า สภาวะในบทมีอาทิว่า

กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล ธรรมทั้งหลาย

ที่เป็นอกุศล. พึงทราบว่า ในที่นี้ได้แก่สภาวธรรม. เพราะฉะนั้น บทว่า

เอกธมฺม ประสงค์เอาสภาวธรรมอันเศร้าหมองอย่างเดียว. ชื่อว่า เอกธรรม

เพราะอรรถว่าเป็นธรรมเดียว. [พวกเธอจงละ] ซึ่งเอกธรรมนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 66

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ภิกฺขเว ดังนี้. ถามว่า

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรม ย่อมตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ไม่ทรง

แสดงธรรมทีเดียว เพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อให้เกิดสติ. ด้วยว่าภิกษุทั้งหลาย

นั่งคิดอย่างอื่นบ้าง นั่งพิจารณาธรรมบ้าง นั่งมนสิการกรรมฐานบ้าง เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสเรียกก่อน ทรงแสดงธรรมไปเลย ภิกษุทั้งหลาย

ไม่อาจกำหนดได้ว่า เทศนานี้มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นปัจจัย. ต่อเมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกแล้ว ภิกษุทั้งหลายจึงสามารถตั้งสติกำหนดได้.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อให้เกิดสติจึงตรัสเรียกว่า ภิกฺขเว ดังนี้.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงประการข้อปฏิบัติที่ชนเสพที่หย่อน

และยิ่ง ด้วยความสำเร็จในการประกอบคุณ มีความเป็นผู้มีศีลเป็นต้น แก่

ภิกษุเหล่านั้น จึงทรงทำการปรามในความที่จิตน้อมไปในความฟุ้งซ่าน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงการทำภิกษุเหล่านั้นให้หันหน้าต่อพระองค์ ด้วยพระ-

ดำรัส อันแผ่ไปด้วยพระกรุณา น้ำพระทัยเยือกเย็น มีดวงพระเนตรเชื่อมฉ่ำ

เป็นเบื้องต้น ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความใคร่ที่จะฟัง ด้วยพระดำรัสอัน

แสดงถึงความเป็นผู้ใคร่ เพื่อจะกล่าวนั้นเอง ทรงชักจูงให้ตั้งใจฟังด้วยดี

ด้วยมุ่งให้เกิดความรู้นั้นเอง. จริงอยู่ การถึงพร้อมด้วยคำสอนอาศัยการตั้งใจฟัง.

ถามว่า เมื่อเทวดาและมนุษย์แม้เหล่าอื่น อันเนื่องด้วยบริษัทมีอยู่. เพราะ

เหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายเล่า. ตอบว่า เพราะ

ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้เจริญที่สุด เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้นั่งใกล้ เป็นผู้ใกล้ชิด

ทุกเมื่อ จริงอยู่ พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมสาธารณ์แก่

บริษัททั้งปวง. ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุดในบริษัท เพราะเป็นผู้

เกิดก่อน ชื่อว่าประเสริฐที่สุด เพราะปฏิบัติตามพระจริยาของพระศาสดา

เริ่มตั้งแต่การออกบวชเป็นต้น และเพราะรับคำสอนไว้ทั้งหมด ชื่อว่าเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 67

ใกล้ เพราะเมื่อภิกษุทั้งหลายนั่งในที่นั้น เป็นผู้อยู่ใกล้. ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิด

ทุกเมื่อ เพราะเป็นผู้อยู่ในสำนักของพระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้น

ชื่อว่าเป็นผู้ใกล้ชิดทุกเมื่อ เพราะเป็นผู้ปฏิบัติตามคำสั่งสอน อันเป็นที่ตั้งแห่ง

พระธรรมเทศนา และเพราะเป็นผู้มีความวิเศษ. เทศนานี้ หมายถึงภิกษุ

บางพวก เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น.

ว่าด้วยการละ ๕ อย่าง

ชื่อว่าปหานะ ในบทนี้ว่า ปชหถ นี้ มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหาน ๑

วิกขัมภนปหาน ๑ สมุจเฉทปหาน ๑ ปฏิปัสสัทธิปหาน ๑ นิสสรณ-

ปหาน ๑ ในปหานะ ๕ อย่างนั้น การละความโลภเป็นต้น ด้วยความไม่โลภ

เป็นต้น การละสิ่งไม่มีประโยชน์นั้นๆ ด้วยวิปัสสนาญาณ มีการกำหนดนามรูป

เป็นต้น เพราะเป็นปฎิปักษ์กัน เหมือนการกำจัดความมืดด้วยแสงประทีป

ฉะนั้น เช่นการละมลทินมีโลภเป็นต้นด้วยการบริจาค การละทุศีลมีปาณาติบาต

เป็นต้นด้วยศีล การละความไม่มีศรัทธาเป็นต้น ด้วยศรัทธา การละสักกายทิฏฐิ

ด้วยกำหนดนามรูป การละทิฏฐิอันเป็นอเหตุกะและวิสมเหตุ ด้วยการกำหนด

ปัจจัย การละความสงสัยด้วยการข้ามพ้นความสงสัยส่วนอื่นๆ นั้นเสียได้ การ

ละความถือมั่นว่าเราของเรา ด้วยพิจารณาเห็นเป็นกลาปะ (กอง) การละความ

เห็นในสิ่งที่ไม่เป็นมรรคว่าเป็นมรรค ด้วยกำหนดมรรคและอมรรค การละ

อุจเฉททิฏฐิ ด้วยการเห็นความเกิด การละสัสสตทิฏฐิด้วยเห็นความเสื่อม การละ

ความสำคัญในสิ่งที่เป็นภัยว่าไม่เป็นภัย ด้วยการเห็นภัย การละความสำคัญใน

สิ่งที่ชอบใจ ด้วยการเห็นโทษ การละความสำคัญ ในสิ่งที่น่าอภิรมย์ ด้วยการ

พิจารณาถึงความเบื่อหน่าย การละความที่ไม่อยากหลุดพ้น ด้วยญาณ คือ ความ

อยากพ้น การละความไม่วางเฉย ด้วยอุเบกขาญาณ การละธรรมฐิติ ด้วย

อนุโลม การละความเป็นปฏิโลม ด้วยนิพพาน การละความเป็นสังขารนิมิต

ด้วยโคตรภู การละนี้ชื่อว่า ตทังคปหาน (การละชั่วคราว).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 68

การละธรรมมีนิวรณ์เป็นต้น เหล่านั้น ๆ ด้วยอุปจาระและอัปปนาสมาธิ

เหมือนการกำจัด สาหร่ายที่หลังน้ำ ด้วยการทุ่มหม้อน้ำลงไป เพราะห้ามความ

เป็นไป การละนี้ชื่อว่า วิกขัมภนปหาน (การละด้วยการข่มไว้).

การตัดขาดกองกิเลส อันเป็นฝ่ายที่จะให้ตัณหาเกิด ซึ่งท่านกล่าวไว้

โดยนัยเป็นต้นว่า จตุนฺน อริยมคฺคาน ภาวิตฺตา ตตมคฺควโต อตฺตโน

สนฺตาเน ทิฏฺิคตาน ปหานาย เพื่อละทิฏฐิในสันดานของตนผู้มีมรรค

นั้น ๆ เพราะเจริญอริยมรรค ๔ ได้แล้ว การละนี้ชื่อว่า สมุจเฉทปหาน

(ละได้เด็ดขาด).

การละกิเลสทั้งหลาย อันเป็นความสงบในขณะแห่งผล การละนี้ชื่อว่า

ปฏิปัสสัทธิปหาน (ละด้วยความสงบกิเลส). การดับที่ละเครื่องปรุงแต่ง

ทั้งหมดได้แล้ว เพราะสลัดเครื่องปรุงแต่งทั้งหมดได้ นี้ ชื่อว่า นิสสรณปหาน

(การละด้วยการสลัดออก). ในสูตรนี้พึงทราบว่า ได้แก่ สมฺจเฉทปหาน

เพราะท่านประสงค์เอาการละที่ทำให้เป็นพระอนาคามี ด้วยการละ ๕ อย่าง ด้วย

ประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น บทว่า ปชหถ จึงมีความว่า เธอทั้งหลายจงสละ

จงตัดขาดดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอ้างถึงพระองค์ ด้วยคำว่า อห. บทว่า โว

มีวินิจฉัยดังนี้ โวศัพท์นี้ ปรากฏในปฐมาวิภัตติ ทุติยาวิภัตติ ตติยาวิภัตติ

ฉัฏฐีวิภัตติ ปทปูรณะ และจตุตถีวิภัตติ. โว ศัพท์มาในปฐมาวิภัตติ ในบท

เป็นต้นว่า กจฺจิ ปน โว อนุรุทฺธา สมคฺคา สมฺโมทมานา ดูก่อนอนุรุทธะ

และพวกเธอยังพร้อมเพรียง บันเทิงกันดีอยู่หรือ. มาในทุติยาวิภัตติ ในบท

เป็นต้นว่า คจฺฉถ ภิกฺขเว ปณาเมมิ โว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

จงไป เราประณามพวกเธอ. มาในตติยาวิภัตติ ในบทเป็นต้นว่า น โว มม

สนฺติเก วตฺถพฺพ อันพวกเธอไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา. มาในฉัฏฐีวิภัตติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 69

ในบทเป็นต้นว่า สพฺเพส โว สารูปุตฺต สุภาสิต คำสุภาษิตของพวกเธอ

ทั้งหมด. มาในปทปูรณะ ในบทเป็นต้นว่า เย หิ โว อริยา ปริสุทฺธ-

กายกมฺมนฺตา พระอริยะเหล่าใดแลเป็นผู้มีการงานทางกายบริสุทธิ์. มาใน

จตุตถีวิภัตติ ในบทเป็นต้นว่า ปรมตฺถปริยาย โว ภิกฺขเว เทเสสฺสามิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงปรมัตถปริยายแก่พวกเธอ. ในที่นี้พึงทราบว่า

โว ศัพท์มาในจตุตถีวิภัตติ.

บทว่า ปาฏิโภโค ได้แก่ ผู้รับรอง. จริงอยู่ ผู้นั้นอาศัยผู้รับรอง

ยืมทรัพย์ของผู้มีทรัพย์ ฝากไว้แก่ผู้รับรอง เมื่อถึงคราวจะใช้ก็นำทรัพย์จาก

ผู้รับรองนั้นมาใช้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฏิโภโค (ผู้รับรอง). ผู้รับรอง

นั่นแล ชื่อว่า ปาฏิโภโค. บทว่า อนาคามิตาย ได้แก่ เพื่อความเป็น

พระอนาคามี. ชื่อว่าอนาคามี เพราะไม่มาสู่กามภพ ด้วยการถือปฏิสนธิ.

มรรคที่ ๓ พร้อมด้วยผล ชื่อว่าอนาคามี ท่านเรียกว่า อนาคามี เพราะบรรลุ

ธรรมนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงฉลาดในการฝึกเวไนยสัตว์ ทรงแสดงธรรม

อันยิ่งใหญ่ คือ ตติยมรรค อันอนุกูลแก่อัธยาศัยของเวไนสัตว์ ทรงกระทำให้

หนักแน่น ด้วยความบริบูรณ์ในธรรมอันหนึ่ง โดยอุบายฉับพลัน จึงสมเป็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่ กิเลสทั้งหลายอันตติยมรรค

พึงทำลาย มีปฏิฆสังโยชน์เป็นต้น แม้เป็นไปในภูมิอื่นก็ไม่พ้นการละกามฉันทะ

ไปได้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตั้ง

พระองค์ไว้ในความเป็นผู้รับรองเล่า. ตอบว่า เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความ

อุตสาหะในการบรรลุอนาคามิมรรค. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นว่า

เมื่อเรากล่าวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 70

เป็นผู้รับรองเธอทั้งหลาย เพื่อความเป็นพระอนาคามี ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย

เหล่านี้ จะสามารถละธรรมอย่างหนึ่งนั้น แล้วบรรลุตติยภูมิได้แน่นอน ทั้ง

จะเกิดความอุตสาหะว่า พระธรรมสามีตรัสเป็นครั้งแรกว่า เราเป็นผู้รับรอง

ดังนี้ เพราะอย่างนั้น จักสำคัญถึงข้อที่ควรปฏิบัติ ดังนี้ ฉะนั้น. เพื่อให้

ภิกษุทั้งหลายเกิดความอุตสาหะ จึงทรงตั้งพระองค์ไว้ในความเป็นผู้รับรอง

ภิกษุเหล่านั้น เพื่อความเป็นพระอนาคามี.

ว่าด้วยปุจฉา ๕

บทว่า กตม ในบทว่า กตม เกธมฺม นี้ เป็นคำถาม. ก็ธรรมดา

คำถามมีอยู่ ๕ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา ๑ ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา ๑

วิมติเฉทนาปุจฉา ๑ อนุมติปุจฉา ๑ กเถตุกัมยตาปุจฉา ๑.

ในคำถามเหล่านั้น ตามปกติคนเรายังไม่รู้ ไม่เห็น ไม่พิจารณา

ไม่ไตร่ตรอง. ไม่เข้าใจ ไม่แจ้ง ไม่ชัดถึงลักษณะ จึงถามปัญหา เพื่อรู้

เพื่อเห็น เพื่อพิจารณา เพื่อไตร่ตรอง เพื่อเข้าใจ เพื่อแจ้งชัดถึงลักษณะนั้น

นี้ชื่ออทิฎฐโชตนาปุจฉา (ถามเพื่อความสว่างในสิ่งที่ตนไม่เห็น). ตามปกติ

คนรู้แล้ว เห็นแล้ว พิจารณาแล้ว ไตร่ตรองแล้ว เข้าใจแล้ว แจ้งชัดแล้ว

ซึ่งลักษณะ เขาถามปัญหาเพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น นี้ชื่อ ทิฏ-

สังสันทนาปุจฉา (ถามเพื่อเทียบเคียงกับสิ่งที่เห็นแล้ว. ตามปกติคนเป็นผู้ตก

อยู่ในความสงสัย ในความไม่รู้ ในความเคลือบแคลงว่า อย่างนี้หรือหนอ

ไม่ใช่หรือหนอ เป็นอะไรหนอ เป็นอย่างไรหนอ ดังนี้ เขาจึงถามปัญหา

เพื่อขจัดความสงสัย นี้ชื่อ วิมติเฉทนาปุจฺฉา (ถามเพื่อขจัดความสงสัย).

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามปัญหา เพื่อคล้อยตามความเห็น

ด้วยพระดำรัสมีอาทิว่า ต กึ มญฺถ ภิกฺขเว รูป นิจฺจ วา อนิจฺจ วา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอสำคัญความนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 71

นี้ชื่อว่า อนุมติปุจฺฉา (ถามเพื่อคล้อยตาม). พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ปัญหา เพราะมีพระประสงค์เพื่อจะตรัสบอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า จตฺตาโรเม

ภิกฺขเว อาหารา ภูตาน วา สตฺตาน ิติยา สมฺภเวสีน วา

อนุคฺคหาย กตเม จตฺตาโร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร ๔ เหล่านั้นย่อม

เป็นไปเพื่อดำรงชีวิตของเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้ว หรือเพื่ออนุเคราะห์เหล่าสัตว์

จำพวกสัมภเวสี (ผู้แสวงหาที่เกิด) อาหาร ๔ คืออะไรบ้าง นี้ชื่อกเถตุกัม-

ยตาปุจฉา (ถามเพื่อประสงค์จะบอก).

ในคำถามอย่างเหล่านั้น คำถาม ๓ ข้อข้างต้น มิได้มีแก่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย. ถามว่า เพราะเหตุไร จึงไม่มี. ตอบว่า เพราะว่า ในทางทั้ง ๓

สังขตธรรมไรๆ หรืออสังขตธรรม (นิพพาน) พ้นจากทางไปแล้ว ที่จะไม่เห็น

ไม่พิจารณา ไม่ไตร่ตรอง ไม่เข้าใจ ไม่แจ้งชัด มิได้มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ด้วยเหตุนั้น คำถามเพื่อความสว่างในสิ่งที่ไม่เห็น จึงไม่มีแก่พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. การเทียบเคียงกับสมณะหรือพราหมณ์ เทวดา มาร

พรหมอื่น แห่งสังขตธรรมและอสังขตธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น

แทงตลอดแล้วด้วยพระญาณของตน ๆ มิได้มี ด้วยเหตุนั้น แม้คำถามเพื่อ

เทียบเคียงในสิ่งที่เห็นแล้ว จึงมิได้มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น. ก็เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะทั้งหลาย ไม่มีความเคลือบแคลง. ข้ามพ้น

วิจิกิจฉา ปราศจากความสงสัยในธรรมทั้งปวง ฉะนั้น แม้คำถามเพื่อขจัดความ

สงสัย จึงมิได้มีแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น. ส่วนคำถามอีก ๒ ข้อนั้นมีอยู่. ใน

คำถาม ๒ ข้อนั้น พึงทราบว่า คำถามนี้หมายถึง กเถตุกัมยตาปุจฉา.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความที่พระองค์ตรัสถาม

ด้วยคำถามนั้นโดยสรุป จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า โลภ ภิกฺขเว เอกธมฺม

ดังนี้ .

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 72

ในบทว่า โลภ นั้นจึงทรงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า โลภ

ด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องอยากได้ หรืออยากได้เอง หรือเพียงอยากได้เท่านั้น.

ความโลภนั้นพึงเห็นว่า มีลักษณะยึดอารมณ์ ดุจลิงติดตัง มีการเกาะเกี่ยว

อารมณ์เป็นกิจดุจชิ้นเนื้อเขาใส่ลงในกะทะร้อน มีการไม่บริจาคเป็นผลดุจ

สีแห่งน้ำมันแสะยาหยอดตา มีทัศนะในการยินดี ในธรรมอันเป็นเครื่องผูกมัด

เป็นที่ยึดถือเป็นเหตุใกล้ให้เกิดขึ้น เจริญผุดขึ้นเสมอโดยเป็นแม่น้ำ คือตัณหา

พัดพาสัตว์ไปสู่อบาย ดุจแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว พัดพาสัตว์ไปสู่มหาสมุทรฉะนั้น.

โลภศัพท์นี้เป็นคำสามัญที่ว่าด้วยความโลภทั้งปวงก็จริง แต่ในที่นี้พึงทราบว่า

เป็นคำที่ว่าด้วยความกำหนัดในกาม เพราะความโลภนั้นถูกอนาคามิมรรคฆ่า.

บทว่า ปฺน ภิกฺขเว นี้เป็นคำร้องเรียกเพื่อให้ภิกษุผู้หันหน้ารับธรรม

เกิดความเอาใจใส่ในธรรมนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงวางหลักการบรรลุปหานด้วยบทว่า ปชหถ นี้.

อนึ่ง การบรรลุปหานนั้นย่อมเป็นไปกับด้วยการบรรลุ ปริญญา สัจฉิกิริยาและ

ภาวนาด้วย ไม่แยกกันเลย. เป็นอันว่าท่านจัดกิจแห่งสัมมาทิฏฐิ ๔ อย่างลง

ในอริยสัจ ๔ นั่นเอง. อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอละโลภะ

ดังนี้ เป็นอันตรัสถึงการละแม้โทสะเป็นต้นด้วย เพราะมีความเป็นอันเดียว

กับปหาน โดยเนื้อความฉันใด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงการบรรลุปหาน

อันเป็นกิจแห่งสัมมาทิฏฐิ อันเป็นลักษณะแห่งสมุทยสัจ ก็ฉันนั้น เป็นอัน

พระองค์ตรัสถึงลักษณะและกิจของสมุทยสัจ แม้แห่งองค์มรรคที่เหลือ มีสัมมา-

สังกัปปะเป็นต้น อันเป็นเหตุทำร่วมกันแห่ง สัมมาทิฏฐิ นั้นนั่นเอง เพราะ

เหตุนั้น. พึงเห็นว่า ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความขวนขวายในอริย-

มรรคที่ครบถ้วนแล้ว. ความที่ท่านกล่าวถึงความขวนขวายโพธิปักขิยธรรมมี

สติปัฏฐานเป็นต้นไว้ในที่นี้ย่อมมีโดยนัยนี้. พึงให้พิสดารตามสมควร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 73

อีกอย่างหนึ่งในสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงปหานปริญญา(การกำหนดรู้ด้วย-

การละ) ด้วยบทว่า ปชหถนี้. เป็นอันท่านตรัสรู้ ปริญญา แม้ทั้ง ๓ โดย

ความเป็นอธิษฐาน คือ ปหานปริญญานั้น มีตีรณปริญญาเป็นอธิษฐาน และ

ตีรณปริญญา มีญาตปริญญาเป็นอธิษฐาน. ในที่นี้พึงเห็นอย่างนี้ว่า ท่าน

ประกาศกระทำจตุสัจจกรรมฐาน ให้บริบูรณ์พร้อมด้วยผล อีกอย่างหนึ่ง

ท่านแสดง ญานทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญานทัสสนะ)พร้อมด้วยผล.

ก็ญาณทัสสนวิสุทธินั้น มีปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณ-

เป็นเครื่องเห็นทางปฏิบัติ) เป็นที่อาศัย ฯลฯ จิตตวิสุทธิ (ความหมดจดแห่ง

จิต) มีสีลวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งศีล) เป็นที่อาศัย เพราะเหตุนั้น พึงทราบ

ว่า ท่านแสดงวิสุทธิ ๗ แม้ทั้งหมดพร้อมด้วยผล โดยความที่มีลำดับต่าง ๆ

กัน. อันผู้ประสงค์จะละความโลภ ด้วยการบำเพ็ญปริญญา ๓ เพื่อความ

บริสุทธิ์นี้ พึงพิจารณาถึงโทษของความโลภ แล้วปฏิบัติเพื่อละความโลภนั้น

โดยนัยต่าง ๆ ตามแบบบทพระสูตรมีอาทิอย่างนี้ว่า

ความโลภให้เกิดความพินาศ ความ

โลภยังจิตให้กำเริบ ภัยเกิดแต่ภายใน ชน

ย่อมไม่รู้ถึงภัยนั้น คนโลภ ย่อมไม่รู้จัก

อรรถ คนโลภ ย่อมไม่เห็นธรรม

ความโลภ ย่อมครอบงำคน ผู้บอดมืด

ตลอดกาล.

คนที่ถูกราคะย้อมครอบงำ มีจิตยึดถือแล้ว ย่อมฆ่าสัตว์บ้าง ลัก-

ทรัพย์บ้าง ตัดช่องย่องเบาบ้าง ปล้นสะดมบ้าง ทำคนอยู่เรือนหลังเดียวบ้าง

ตกอยู่ในอันตรายบ้าง ล่วงเกินภรรยาคนอื่นบ้าง พูดปดบ้าง ตัณหานั้นเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 74

สมณพราหมณ์ผู้เจริญ ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่เข้าใจ ตกอยู่ในตัณหา ก็ทำให้

สะดุ้งหวั่นไว้ได้เหมือนกัน

บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไป

ตลอดเวลายาวนาน ไม่ล่วงพ้นสงสารอัน

มีความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็นอย่าง

อื่นไปได้ ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี โทษ

เสมอด้วยโทสะไม่มี

เราถูกกามราคะเผา จิตของเราถูก

เผาด้วย ผู้ที่ถูกราคะย้อมย่อมตกไปสู่กระ

แสตัณหา เหมือนแมงมุมตกไปสู่ตาข่ายที่

คนทำเองฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลาย ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อละ

กามราคะได้ คือ การถือเอาอสุภนิมิต ๑ การบำเพ็ญอสุภภาวนา ๑

การคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ การรู้จักประมาณในการ

บริโภค ๑ การคบมิตรดี ๑ การสนทนาเป็นที่สบาย ๑. จริงอยู่แม้เมื่อ

ถือเอาอสุภนิมิต ๑๐ อย่าง ก็ละกามราคะได้ แม้เมื่อขวนขวายบำเพ็ญ

อสุภภาวนาในอสุภะ ที่มีวิญญาณด้วยการเจริญกายคตาสติ ในอสุภะที่ไร้

วิญญาณด้วยพิจารณาศพที่ขึ้นนพองเป็นต้น ก็ละกามราคะได้ แม้ปิดทวารด้วย

ประตู คือ สติ โดยสำรวมในอินทรีย์มีใจเป็นที่ ๖ ก็ละกามราคะได้ แม้เมื่อ

มีโอกาสกลืนคำข้าว ๔-๕ คำจึงดื่มน้ำ แล้วรู้ประมาณในโภชนะเพียงเพื่อให้

ชีวิตเป็นไปตามปกติ ก็ละกามราคะได้. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 75

บริโภคคำข้าว ๔-๕ คำ แล้วพึงดื่ม

น้ำเพียงพอเพื่ออยู่อย่างสบาย ของภิกษุผู้

ปฏิบัติตน.

แม้เมื่อคบคนดี ผู้ยินดีในการเจริญอสุภกรรมฐาน ก็ละกามราคะได้

แม้ในการสนทนาเป็นที่สบายถึงเรื่องอสุภะ ๑๐ ก็ละกามราคะได้. สมดังที่ตรัส

ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภนิมิตมีอยู่ การมนสิการโดยแยบคาย การ

ทำให้มาก การเพิ่มกำลัง ในอสุภนิมิตนั้นย่อมเป็นไป เพื่อไม่ให้เกิดกามฉันทะ

ที่ยังไม่เกิด หรือเพื่อละกามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุปฏิบัติเพื่อละโลภะ

อันได้แก่กามราคะในส่วนเบื้องต้นอย่างนี้ ขวนขวายวิปัสสนาย่อมตัดโลภะนั้น

ได้ด้วยตติยมรรคโดยไม่มีเหลือ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โลภ

ภิกฺขเว เอกธฺมม ปชหถ อห โว ปาฏิใภโค อนาคามิตาย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โลภะได้ เราเป็นผู้รับรองพวก

เธอเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

ในข้อนี้เกจิอาจารย์กล่าวว่า ก็โลภะที่ละในสูตรนี้เป็นอย่างไร

เป็นโลภะในอดีต หรืออนาคต หรือปัจจุบัน. อันที่จริง โลภะในสูตร

นี้พึงละไม่ใช่ทั้งอดีต ทั้งอนาคต เพราะยังไม่มีอดีตอนาคตเหล่านั้น ท่าน

กล่าวไว้ว่า ความจริง จิตดับแล้วหรือยังไม่เกิดหามีไม่. อนึ่ง ความพยายามที่ไม่

มีผลย่อมได้รับ. เมื่อเป็นเช่นนั้นต้องเป็นโลภะปัจจุบันแม้ด้วยประการอย่างนี้

ความพยายามไม่มีผล และมรรคภาวนาเศร้าหมองย่อมได้รับ เพราะความ

พยายามนั้นได้สลายไปเสียแล้ว อีกอย่างหนึ่ง โลภะที่ปราศจากจิตจะพึงมีได้

นัยนี้ท่านไม่ต้องการ. ควรจะกล่าวว่า ความโลภที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน

ละได้โดยนัยที่กล่าวแล้ว. เหมือนอย่างว่าต้นไม้อ่อนยังไม่มีผล บุรุษพึงเอา

จอบตัดต้นไม้นั้นที่โคน เมื่อไม่มีการตัดต้นไม้ ผลเหล่าใดพึงเกิด ผลเหล่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 76

นั้นก็ยังไม่เกิด เพราะต้นไม้ถูกตัด จะพึงเกิดไม่ได้ ฉันใด เมื่อบรรลุอริย-

มรรค ความโลภที่ควรเกิด ย่อมไม่เกิด เพราะถูกกำจัดในปัจจุบันด้วยบรรลุ

อริยมรรค. ความโลภนี้เท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า เกิดเพราะได้ภูมิ. จริงอยู่

เบญจขันธ์อันเป็นอารมณ์ของวิปัสสนา ชื่อว่า ภูมิ เพราะเป็นฐานให้เกิด

ความโลภนั้น. ท่านกล่าวอธิบายความข้อนี้ไว้ว่า ความโลภเกิดเพราะได้ภูมิดัง

ที่จะกล่าวว่า สา ภูมิ เตน ลทฺธา ภูมินั้นอันความโลภได้แล้ว ๑

เกิดเพราะยึดถืออารมณ์ ๑ เกิดเพราะไม่ข่มไว้ ๑ เกิดเพราะไม่ถอน ๑.

บทว่า ตตฺถ คือ ในสูตรนั้น. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระ

สูตรหนึ่งโดยผูกเป็นคาถา. ถามว่าใครกล่าว. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ก็ในฐานะเช่นนั้นอื่น ๆ พระสังคีติกาจารย์เป็นผู้ผูกคาถา. แต่ในที่นี้พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงถือเอาความที่พระองค์ตรัสด้วยอัธยาศัย ของบุคคลผู้ชอบคาถา

จึงตรัสเป็นคาถา.

ในบทคาถานั้นว่า เยน โลเภน ลุทฺธาเส สตฺตา คฺจฉนฺติ

ทุคฺคตึ สัตว์ทั้งหลายโลภแล้วด้วยความโลภใด ย่อมไปสู่ทุคติ อธิบายว่า สัตว์

ทั้งหลายโลภด้วยความโลภใด อันมีลักษณะเกาะอารมณ์ มีกิจรสเกี่ยวข้องแต่

ความโลภนั้น คือ อยากได้ผูกมัดในอายตนะภายในและภายนอก. บทว่า เส

เป็นเพียงนิบาต. ก็นักคิดอักษรทั้งหลายต้องการลง เส อักษรในฐานะเช่นนี้.

สัตว์ไม่ประพฤติสุจริตไร ๆ ในกายสุจริตเป็นต้นเพราะเป็นผู้โลภอย่างเดียวเท่า

นั้น สะสมกายทุจริตเป็นต้น ได้ชื่อว่า สัตว์ เพราะเป็นผู้ต้องอยู่ในรูปเป็น

ต้น ย่อมเข้าถึงนรก กำเนิดเดียรัจฉาน เปรตวิสัยอันได้ ชื่อว่า ทุคติ เพราะ

เป็นที่ให้เกิดทุกข์ด้วยการถือปฏิสนธิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 77

บทคาถาว่า ต โลภ สมฺมทญฺาย ปชหนฺติ วิปสฺสิโน ความว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่งความโลภนั้น ย่อมละเสียได้ อธิบายว่า

ชนชื่อว่า ผู้เห็นแจ้งเพราะเห็นอุปทานขันธ์ ๕ มีรูปเป็นต้นโดยอาการหลายอย่าง

มีความไม่เที่ยงเป็นต้น รู้ความโลภตามที่กล่าวแล้วนั้น โดยชอบ โดย

ชอบเหตุโดยญาณอันไม่วิปริต โดยอาการเหล่านั้น คือ โดยความเป็นจริง โดย

ความเกิด โดยความดับ โดยความชื่นชม โดยความเป็นโทษ โดยความออกไป

คือ รู้ด้วยปัญญา อันได้แก่ ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการรู้) ตีรณปริญญา

(กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา) ย่อมละกิเลสที่เหลือด้วยมรรคปัญญาอันเป็นส่วน

เบื้องต้นของวิปัสสนาปัญญา ด้วยสมุจเฉทปหาน คือ ไม่ให้เกิดขึ้นในสันดาน

ของตนอีกต่อไป.

บทคาถาว่า ปหาย น ปุนายนฺติ อิม โลก กุทาจน ครั้นละ

ได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ ความว่า ครั้นละโลภะนั้นกับ

กิเลสที่เหลือพร้อมด้วยกิเลสที่สำคัญละได้แล้วยังเหลืออยู่หนึ่ง ด้วยอานาคามิ-

มรรค ย่อมไม่มาสู่โลกอัน ได้แก่กามธาตุนี้ ในภายหลังอีก ด้วยการถือปฏิสนธิ

แม้ในกาลไหน ๆ เพราะละโอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ) ได้เรียบ

ร้อยแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาลงด้วยอนาคามิผลด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อยมฺปิ อตโถ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศ

ความด้วยพระสูตรนี้ตั้งแต่สุดนิทานจนถึงจบคาถา. อปิศัพท์เป็นศัพท์ประมวล

ความในพระสูตรที่จะกล่าวอยู่ในบัดนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.

สมุทยสัจมาในพระสูตรนี้โดยสรุป. มรรคสัจมาโดยส่วนของปหาน

สองสัจจะนอกนั้นพึงยกออกไป เพราะทั้งสองสัจจะนั้นเป็นเหตุ. ทุกขสัจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 78

สมุทยสัจ มรรคสัจ ย่อมชัดตามที่กล่าวแล้วในคาถานั่นแล. สัจจะนอกนั้น

ยกออกไป. ในสูตรแม้อื่นจากนี้ก็มีนัยนี้.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑ แห่งการพรรณนาอิติวุตตกะ อรรถกถาขุททก-

นิกาย ชื่อปรมัตถทีปนี.

จบอรรถกถาโลภสูตรที่ ๑

๒. โทสสูตร

ว่าด้วยละโทสะได้เป็นพระอนาคามี

[๑๘๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้

รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ดู-

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือโทสะได้ เราเป็นผู้

รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสดาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง

โทสะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ประทุษร้ายไปสู่

ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้วย่อมไม่มา

สู่โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 79

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบโทสสูตรที่ ๒

อรรถกถาโทสสูตร

สูตรที่ ๒ มีบทเริ่มต้นว่า วุตฺต เหต ฯเปฯ โทส ดังนี้. ใน

สูตรที่ ๒ นั้นมีการพรรณนาบทตามลำดับดังนี้ . เราจักพรรณนาบทไปตาม

ลำดับในสูตรทั้งปวง แม้อื่นจากสูตรนี้อย่างเดียวกับสูตรนี้. เพราะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงตรวจดูอัธยาศัยของบุคคลผู้มากด้วยโทสะ จึงทรงแสดงพระสูตรนี้

เพื่อระงับโทสะ ฉะนั้นจึงตรัสว่า โทส ภิกฺขเว เอกธมฺม ปชหถ ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอละธรรมอย่างหนึ่งคือโทสะได้ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โทส ได้แก่ ความอาฆาตอันเกิดจากอาฆาต-

วัตถุ ๑๘ อย่าง คือ ๙ อย่างท่านกล่าวไว้ในพระสูตรโดยนัยเป็นต้นว่า อนตฺถ

เม อจรีติ อาฆาโต ชายติ ความอาฆาตย่อมเกิดขึ้นว่า เขาได้ประพฤติ

ความพินาศแก่เรา ดังนี้ และ ๙ อย่าง อันตรงกันข้ามกับข้างต้นเป็นต้นว่า

อตฺถ เม นาจริ เขาไม่ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เราดังนี้ กับสิ่งที่ไม่ใช่

ฐานะมีตอและหนามเป็นต้น รวมเป็น ๑๙ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง. ก็ความ

อาฆาตนั้นท่านกล่าวว่า เป็นโทสะ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุประทุษร้าย หรือลง

มือประทุษร้ายเอง หรือเพียงคิดประทุษร้ายเท่านั้น. โทสะนั้นพึงเห็นว่ามี

ลักษณะดุร้าย ดุจอสรพิษที่ถูกทุบ พึงเห็นว่ามีความซ่านไปดุจถูกวางยาพิษ

พึงเห็นว่ามีลักษณะเผานิสัยของตนดุจไฟไหม้ป่า พึงเห็นว่าเป็นการบำรุงความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 80

โหดเหี้ยมดุจศัตรูได้โอกาสแล้ว พึงเห็นว่าเป็นปทัฏฐานแห่งอาฆาตวัตถุตาม

ที่กล่าวแล้ว ดุจของบูดและน้ำมูตรที่เขาทิ้งแล้ว. บทว่า ปชหถ ได้แก่

พวกเธอจงตัดขาด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอาฆาตปฏิวินัย (การปลดเปลื้องความอาฆาต)

ไว้ ๕ อย่าง อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอาฆาตเกิดขึ้นแก่ภิกษุควร

ปลดเปลื้องในอาฆาตปฏิวินัย ๕ เหล่านั้น อาฆาตปฏิวินัย ๕ เป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความอาฆาตเกิดขึ้นในบุคคลใดพึงเจริญ เมตตา กรุณา มุทิตา

อุเบกขา ในบุคคลนั้น หรือพึงปลดเปลื้องความอาฆาตในบุคคลนั้นอย่างนี้ว่า

ความเป็นผู้มีกรรมเป็นของตน พึงตั้งอาฆาตปฏิวินัยในบุคคลนั้นว่า ท่านผู้นี้

เป็นผู้มีกรรมเป็นของตน จักเป็นทายาทของกรรมดังนี้. ท่านกล่าวอาฆาต-

ปฏิวินัย ๕ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ความอาฆาตเกิดแก่ภิกษุ

ควรปลดเปลื้องให้หมดไปในอาฆาตปฏิวินัย ๕ เหล่านี้ อาฆาตปฏิวินัย ๕ เป็นไฉน

ดูก่อนอาวุโส บุคคลบางคนในโลกนี้ มีกายสมาจารไม่บริสุทธิ์ มีวจีสมาจาร

ไม่บริสุทธิ์ ดูก่อนอาวุโส พึงปลดเปลื้องความอาฆาตในบุคคลเห็นปานนั้น

อนึ่ง พระศาสดาทรงสอนไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าผู้ที่พิจารณาโดย

กฎแห่งอาฆาตปฏิวินัยอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๕ อย่างนั้น แล้วยังมีใจประทุษร้าย

แม้ในโจรผู้ต่ำช้าที่เอาเลื่อย เลื่อยอวัยวะน้อยใหญ่จนขาดเป็นสองท่อน ก็ชื่อว่า

เป็นผู้ไม่ทำตามคำสอนของเราดังนี้

คนลามกเท่านั้น โกรธตอบผู้ที่โกรธ

ผู้ไม่โกรธตอบผู้ที่โกรธ ย่อมชนะสงคราม

ที่ชนะได้ยาก ผู้ที่รู้ผู้อื่นโกรธ เป็นผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 81

สติสงบระงับได้ ชื่อว่าประพฤติประโยชน์

สองฝ่ายคือทั้งของตนและทั้งของคนอื่น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๗ ประการเหล่านั้น ก่อศัตรู ทำให้เกิด

ศัตรู ย่อมมาสู่ทั้งสตรีหรือบุรุษผู้มักโกรธ ธรรม ๗ ประการเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ศัตรูในโลกนี้ย่อมปรารถนาต่ออศัตรูอย่างนี้ว่า กระไรหนอผู้นี้

จะพึงมีผิวพรรณเศร้าหมอง ขอนั้น เพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศัตรู

ย่อมไม่พอใจ เพราะเห็นศัตรูมีผิวพรรณงาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนมักโกรธนี้ถูกความโกรธครอบงำ ถูกความ

โกรธชักนำไป แม้เขาอาบน้ำเป็นอย่างดี ลูบไล้เป็นอย่างดี โกนผมและหนวด

นุ่งผ้าขาว ก็ยังมีผิวพรรณเศร้าหมองอยู่นั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นธรรม

ข้อที่หนึ่งที่ก่อศัตรูทำให้เกิดศัตรูย่อมมาสู่ทั้งสตรีหรือบุรุษผู้มักโกรธ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ยังมีอีก ศัตรูย่อมปรารถนาต่อศัตรูอย่างนี้ว่า

กระไรหนอ ผู้นี้พึงอยู่อย่างลำบาก ไม่พึงมีประโยชน์มากมาย ไม่พึงมีสมบัติ

ไม่พึงมียศ ไม่พึงมีมิตร เมื่อตายไปแล้วพึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศัตรูย่อมไม่พอใจในการที่ศัตรูไป

สวรรค์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนมักโกรธนี้ ถูกความโกรธครอบงำ ถูกความ

โกรธนำไป ย่อมประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เขาประพฤติทุจริต ทางกาย

วาจา ใจ เมื่อตายไปแล้ว ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

คนโกรธย่อมไม่รู้อรรถ คนโกรธ

ย่อมไม่เห็นธรรม ฯลฯ

พึงความโกรธ พึงละมานะ พึง

ก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 82

ความโกรธทำให้เกิดความพินาศ

ความโกรธทำให้จิตกำเริบ ฯลฯ

บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อมอยู่

เป็นสุข บุคคลฆ่าความโกรธเสียได้ ย่อม

ไม่เศร้าโศก ดูก่อนพราหมณ์ ความโกรธ

มีรากเป็นพิษ มียอดหวาน

ท่านผู้มีปัญญาดุจแผ่นดิน ท่านจง

งดโทษเสียเถิด บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่มี

ความโกรธเป็นกำลัง.

การแนะนำภิกษุเหล่านั้นในข้อนั้นว่า เธอทั้งหลายจงพิจารณาถึงโทษ

ในโทสะและอานิสงส์ในการละโทสะโดยตรงกันข้าม ดังกล่าวแล้วโดยนัยเป็นต้น

อย่างนี้ด้วยประการฉะนี้แล้ว จงละโทสะในส่วนเบื้องต้นด้วยตทังคปหานเป็นต้น

แล้วพึงขวนขวายวิปัสสนาให้เกิด จงตัดขาด จงละโทสะด้วยตติยมรรคให้หมด

สิ้นไป. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โทส ภิกฺขเว เอกธมฺม

ปชหถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โทสะเสีย

ดังนี้.

บทว่า ทุฏฺาเส ได้แก่ ประทุษร้าย เพราะจิตประทุษร้ายด้วย

ความอาฆาต. บทที่เหลืออันควรกล่าวในสูตรที่ ๒ นี้ มีนัยดังได้กล่าวแล้วใน

อรรถกถาสูตรที่ ๑ นั่นแล.

จบอรรถกถาโทสสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 83

๓. โมหสูตร

ว่าด้วยละโมหะได้เป็นพระอนาคามี

[๑๘๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้

รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือ โมหะได้ เราเป็นผู้รับรอง

เธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง

โมหะ อันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้หลงไปสู่ทุคติ

แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่

โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบโมหสูตรที่ ๓

อรรถกถาโมหสูตร

ในโมหสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โมห ได้แก่ความไม่รู้. จริงอยู่ความไม่รู้นั้นมีประเภทหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 84

อย่าง โดยวิภาคโดยนัยเป็นต้นว่า ความไม่รู้ในทุกข์ ความไม่รู้ในเหตุให้

เกิดทุกข์ ความไม่รู้ในการดับทุกข์ ความไม่รู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

ท่านกล่าวว่า โมหะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุให้หลง หรือหลงไปเอง หรือ

เป็นเพียงความหลงเท่านั้น. พึงเห็นว่า โมหะนั้นมีความที่จิตมืดเป็นลักษณะ

หรือมีความไม่รู้เป็นลักษณะ มีความไม่แทงตลอดเป็นรส หรือมีความปกปิด

สภาพอารมณ์เป็นรส มีการปฏิบัติหลงลืมเป็นอาการปรากฏ หรือปรากฏมืดมัว

เป็นอาการปรากฏ มีการไม่ใส่ใจเป็นปทัฏฐาน เป็นรากแห่งอกุศลทั้งหมด.

บัดนี้ พึงเห็นความแห่งบทว่า ปชหถ ดังนี้

คนหลง ย่อมไม่รู้อรรถ คนหลง

ย่อมไม่รู้ธรรม โมหะ ย่อมครอบงำคน

มืดบอดตลอดกาล โมหะ ให้เกิดความ

พินาศ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นส่วนเบื้องต้นของการเข้าถึงอกุศลกรรม

สัตวโลกถูกโมหะรัดรึงไว้ ปรากฏ

ดุจสิ่งน่าพอใจ

โมหะเป็นเหตุเพื่อให้เกิดกรรมทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพิจารณาโทษ

ในโมหะ โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนพราหมณ์ คนหลงแลถูกโมหะครอบงำ

มีจิตยึดแน่น ย่อมประสบภัยเวรแม้ในปัจจุบัน ย่อมประสบภัยเวรแม้ในภพหน้า

และโดยนัยเป็นต้นว่า ความพินาศใด ๆ พึงเกิดขึ้นด้วยธรรมเศร้าหมอง มี

กามฉันทะเป็นต้น ความพินาศทั้งหมดนั้นมีโมหะเป็นเหตุ และอานิสงส์ใน

การละโมหะ โดยตรงกันข้ามกับโทษนั้น แล้วละโมหะด้วยทังคะเป็นต้นใน

ส่วนเบื้องต้น โดยลำดับการละกามฉันทะเป็นต้นนั่นเอง จงละโมหะอันเป็นเอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 85

ของโลภะและโทสะตามที่กล่าวแล้ว โดยสมุจเฉทด้วยตติยมรรค. ก็ในพระสูตร

นี้ท่านประสงค์เอาโมหะอันอนาคามิมรรคพึงฆ่านั่นเอง.

บทว่า นุฬฺหาเส ได้แก่ ลุ่มหลงในประโยชน์ และมิใช่ประโยชน์

ของตน อันต่างด้วยกุศลอกุศลมีโทษและไม่มีโทษเป็นต้น . บทที่เหลือมีนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาโมหสูตรที่ ๓

๔. โกธสูตร

ว่าด้วยละความโกรธได้เป็นอนาคามี

[๑๘๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้

รับรองเธอทั้งหลาย เพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือโกธะได้ เราเป็นผู้

รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์นี้ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดี

ซึ่งโกธะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้โกรธไปสู่

ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อม

ไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 86

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบโกธสูตรที่ ๔

อรรถกถาโกธสูตร

ในโกธสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โกธ คือ โทสะ เพราะโทสะนั้นแล ท่านกล่าวอย่างนี้รู้ด้วย

อัธยาศัยของบุคคลผู้รู้โดยปริยายของโกธะ ฉะนั้น พึงทราบความในสูตรนี้

โดยนัยที่กล่าวแล้วในสูตรที่ ๒ นั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความโกรธมี

ความขัดเคืองเป็นลักษณะ มีทำความอาฆาตเป็นรส มีความวิบัติแห่งจิตเป็น

อาการปรากฏ ความเน่าของจิต. พึงทราบความต่างกันแม้นี้.

จบอรรถกถาโกธสูตรที่ ๔

๕. มักขสูตร

ว่าด้วยละมักขะได้เป็นพระอนาคามี

[๑๘๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้

รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 87

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือ มักขะได้ เราเป็นผู้

รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง

มักขะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ลบหลู่ไปสู่ทุคติ

แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่

โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมักขสูตรที่ ๕

อรรถกถามักขสูตร

ในมักขสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มกฺข ได้แก่ ลบหลู่คุณท่าน. จริงอยู่ ผิว่าคนลบหลู่นั้นเหมือน

จับคูถแล้วประหารผู้อื่น กายของตนย่อมเปื้อนก่อนทีเดียว แม้ดังนั้น ท่านก็กล่าว

ว่า เป็นผู้มักลบหลู่คุณผู้อื่น เพราะการทำเช่นนั้น โดยประสงค์จะลบหลู่คุณของ

ผู้อื่น. เป็นความจริง คนลบหลู่นั้นย่อมลบหลู่ คือ ล้างคุณของผู้อื่นให้พินาศไป

ดุจผ้าเช็ดน้ำ เช็ดน้ำที่ติดตัวของผู้อาบน้ำ ฉะนั้น จริงอยู่ ท่านกล่าวว่า

มกฺโข (ผู้ลบหลู่คุณท่าน) เพราะทำลายกำจัดสักการะอัน ใหญ่ ซึ่งเป็นที่ปรากฏ

แก่คนเหล่าอื่น. พึงเห็นว่าคนลบหลู่นั้น มีการลบล้างคุณผู้อื่นเป็นลักษณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 88

มีการทำให้คนทั้งหลายพินาศเป็นกิจรส มีการปกปิดคุณของเขาเป็นอาการ

ปรากฏ. แต่โดยใจความ พึงเห็นว่า คนลบหลู่เป็นผู้มีจิตตุบาทสหรคต ด้วย

โทมนัสอันเป็นไป โดยอาการลบล้างคุณของผู้อื่น. บทว่า ปชหถ อธิบายว่า

เธอทั้งหลายจงพิจารณาโทษมีประเภทดังกล่าวแล้วในมักขะนั้น และโทษมีนัย

ดังกล่าวแล้วในโทสะ และอานิสงส์ในการละโทษตามที่กล่าวนั้น แล้วละ

ด้วยตทังคะเป็นต้นในส่วนเบื้องต้น ขวนขวายให้เกิดวิปัสสนา แล้วละไม่ให้มี

ส่วนเหลือด้วยตติยมรรค.

บทว่า มกฺขิตาเส ได้แก่ เป็นผู้ลบล้างคุณของผู้อื่น คือ ป้ายร้าย

ความดีของผู้อื่น. อธิบายว่า เป็นผู้ขจัดคุณแม้ของตน จากการที่ลบล้างคุณ

ของผู้อื่นนั้นด้วย. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนี้แล.

จบอรรถกถามัขสูตรที่ ๕

๖. มานสูตร

ว่าด้วยละมานะได้เป็นอนาคามี

[๑๘๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่งได้ เราเป็นผู้

รับรองเธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายละธรรมอย่างหนึ่ง คือ มานะได้ เราเป็นผู้รับรอง

เธอทั้งหลายเพื่อความเป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 89

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง

มานะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ถือตัวไปสู่ทุคติ

แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่

โลกนี้ในกาลไหน ๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมานสูตรที่ ๖

อรรถกถามานสูตร

ในมานสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มาน ได้แก่ มีใจหยิ่งอาศัยชาติเป็นต้น. ด้วยว่าคนมีใจพอง

นั้น ท่านกล่าวว่า มาโน (ผู้มีความถือตัว) เพราะอรรถว่า เป็นเหตุทำให้

สำคัญโดยนัยเป็นต้นว่า เสยฺโยหมสฺมิ เราเป็นผู้ประเสริฐ หรือสำคัญตนเอง

หรือเป็นผู้ยกย่องการนับถือ. มานะนี้นั้นมี ๓ อย่าง คือ มานะว่า เราเป็นผู้

ประเสริฐกว่า ๑ มานะว่า เราเป็นผู้เสมอเขา ๑ มานะว่า เราเป็นเลว ๑. พึง

เห็นมานะมีการหยิ่งเป็นลักษณะอีก ๙ อย่าง คือ มานะว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ

กว่าผู้ประเสริฐ ๑ เสมอกับผู้ประเสริฐ ๑ เลวกว่าผู้ประเสริฐ ๑ ประเสริฐ

กว่าผู้เสมอ ๑ เสมอกับผู้เสมอ ๑ เลวกว่าผู้เสมอ ๑ ประเสริฐกว่าผู้เลว ๑

เสมอกับผู้เลว ๑ เลวกว่าผู้เลว ๑ มีการถือตัวเป็นกิจรส หรือมีการยกย่อง

เป็นกิจรส มีความเป็นคนพองเป็นอาการปรากฏ หรือมีความยิ่งใหญ่เป็น

อาการปรากฏ เป็นดุจคนบ้า มีความโลภปราศจากทิฏฐิเป็นปทัฏฐาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 90

บทว่า ปชหถ มีอธิบายว่า เธอทั้งหลายจงพิจารณาโทษมีประเภท

เป็นต้นอย่างนี้ว่า มานะทั้งหมดนั้นมีการยกตนและข่มผู้อื่นเป็นนิมิต เป็นเหตุ

ไม่ทำการกราบไหว้การต้อนรับ อัญชลีกรรมและสามีจิกรรมเป็นต้นในท่านผู้

อยู่ในฐานะที่ควรเคารพ เป็นเหตุให้ถึงความประมาทโดยความเมาในชาติและ

เมาในคนเป็นต้น และอานิสงส์ของความไม่มีมานะอันตรงกันข้ามกับโทษนั้น

แล้วเริ่มตั้งจิตอ่อนน้อมในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดุจคนจัณฑาลเข้าไปสู่

ราชสภาแล้วละมานะนั้นด้วยตทังคปหานในส่วนเบื้องต้น เจริญวิปัสสนา ละด้วย

อนาคามิมรรค. ในสูตรนี้ท่านประสงค์มานะอันอนาคามิมรรคพึงฆ่าเท่านั้น.

บทว่า มตฺตาเส ได้แก่เป็นผู้มัวเมาด้วยมานะมีมัวเมาในชาติและมัว

เมาในคนเป็นต้น อันเป็นเหตุให้ถึงความประมาทเป็นต้น ยกย่องตนแล้ว

มัวเมา. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

แต่ใน ๖ สูตร หรือในคาถาทั้งหลายตามลำดับเหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ยังภิกษุทั้งหลายให้ถึงอนาคามิผลแล้วจึงจบเทศนา.

ในท่านผู้บรรลุอนาคามิผลนั้นได้เป็นพระอนาคามี ๕ ด้วยอำนาจภพที่

เกิด คือ อวิหา อตัปปา สุทัสสา สุทัสสี อกนิฏฐา. บรรดาพระอนาคามี ๕

เหล่านั้น ท่านที่เกิดในชั้นอวิหา ชื่อว่า อวิหา. ท่านเหล่านั้นมี ๕ คือ

อนฺตราปรินิพฺพายี (ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง) ๑

อุปหจฺจปรินิพฺพายี (ท่านผู้จะปรินิพพานต่อเมื่ออายุพันกึ่งแล้วจวนถึงที่สุด) ๑

อสขารปรินิพฺพายี (ท่านผู้จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง) ๑

สสขารปรินิพฺพายี (ท่านผู้จะปรินิพพานด้วยต้อใช้ความเพียรเรี่ยวแรง) ๑

อุทฺธโสโตอกนิฏฺคามี (ท่านผู้มีกระแสเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ) ๑. ท่าน

ที่ชื่ออัตปปา สุทัสสา สุทัสสี ก็เหมือนอย่างนั้น แก่ท่านผู้เป็นอุทธังโสโต

อกนิฏฐคามี ย่อมสิ้นสุดในชั้นอกนิฏฐา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 91

บรรดาพระอนาคามี ๕ เหล่านั้น ท่านผู้เกิดในชั้นวิหาเป็นต้นแล้ว

ปรินิพพานด้วยการดับกิเลสเพื่อบรรลุพระอรหัต ไม่เกินกึ่งอายุ ชื่อว่า อนุ-

ตราปรินิพฺพายี. ท่านผู้ปรินิพพานพ้นกึ่งอายุ คือ ๕๐๐ กัป เป็นเกณฑ์

เริ่มต้นในชั้นอวิหาเป็นต้น ชื่อว่า อุปหจฺจปรินิพพายี. ท่านผู้ปรินิพพาน

ด้วยการดับกิเลสโดยลำบากน้อยไม่ต้องทำความเพียรนัก ชื่อว่า อสขารปริ-

นิพฺพายี. ท่านผู้ปรินิพพาน ด้วยความยากลำบากต้องทำความ. เพียรแรงกล้า

ชื่อว่า สขารปรินิพฺพายี. ส่วนท่านที่ชื่อว่า อุทฺธโสโต เพราะมีกระแส

คือตัณหา และกระแสคือมรรคในเบื้องบนโดยถือเบื้องบนในชั้นวิหาเป็นต้น.

ชื่อว่า อกนิฏฺคามี เพราะไม่อาจเกิดในชั้นอวิหาเป็นต้น แล้วบรรลุพระ-

อรหัตได้ จึงดำรงอยู่ในชั้นนั้นชั่วอายุแล้ว จึงไปสู่ชั้นอกนิฏฐาด้วยการถือเอา

ปฏิสนธิ.

ก็ในสูตรนี้พึงทราบอกนิฏฐคามี ๔ หมวดคือ อุทฺธโสโต อกนิฏฺ-

คามี ท่านผู้มีกระแสเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ) ๑ อุทฺธโสโจ นอกนิฏฺ-

คามี (ท่านผู้มีกระแสเบื้องบนไม่ไปสู่อกนิฏฐภพ) ๑ นอุทฺธโสโต อกนิฏฺ-

คามี (ท่านผู้ไม่มีกระแสเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ) ๑ น อุทฺธโสโต น อก-

นิฏฺคามี (ผู้ไม่มีทั้งกระแสเบื้องบน ทั้งไม่ไปสู่อกนิฏฐภพ) ๑. ถามว่า

อย่างไร. ตอบว่า ผู้ที่ชำระเทวโลก ๔ ตั้งแต่ชั้นอวิหาแล้วไปสู่ชั้นอกนิฏฐาจึง

ปรินิพพาน ชื่อ อุทฺธโสโต อกนิฏฺคามี. ท่านผู้ชำระเทวโลก ๓ แล้ว

ดำรงอยู่ในเทวโลกชั้นสุทัสสี จึงปรินิพพาน ชื่อว่า อุทธโสโต นอกนิฏฺ-

คามี ท่านผู้ไปสู่อกนิฏฐภพต่อจากนี้นั่นแลชื่อว่า นอุทฺธโสโต อกนิฏฺคามี.

ส่วนผู้ที่ดำรงอยู่ในเทวโลก ๔ ชั้นต่ำ แล้วปรินิพพานที่ชั้นนั้น ๆ ชื่อว่า

อุทฺธโสโต นอกนิฏฺคามี.

บรรดาพระอนาคามีเหล่านั้น พระอนาคามี ๓ จำพวกคือท่านผู้เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 92

ในชั้นอวิหา แล้วปรินิพพานต่ำกว่า ๑๐๐ กัป ๑ ท่านผู้ปรินิพพานในที่สุด ๒๐๐

กัป ๑ ท่านผู้ปรินิพพาพในเมื่อยังไม่ถึง ๕๐๐ กัป ๑ ชื่อว่าอันตราปรินิพพายี.

สมดังที่ท่านกล่าวว่า อุปฺปนฺน วา สมนนฺตรา อปฺปตฺต วา เวมชฺฌ

เกิดขึ้นแล้วในระหว่างหรือว่ายังไม่บรรลุในท่ามกลาง ดังนี้. จริงอยู่ท่าน

สงเคราะห์แม้มรรคที่บรรลุแล้วด้วย วา ศัพท์.

พระอนาคามีผู้เป็นอันตรายปรินิพพายี ๓ จำพวกอย่างนี้เป็นอุปหัจจปริ-

นิพพายี พวก ๑ เป็นอุทธังโสโต พวก ๑. ในท่านเหล่านั้น ท่านที่เป็นอสังขาร

ปรินิพพายี ๕ เป็นสสังขารปรินิพพายี ๕ รวมเป็น ๑๐. อนึ่ง สุทธาวาส ๔ คือ

ในชั้นอตัปปา สุทัสสา สุทัสสี มีอย่างละ ๑๐ หมวดรวมเป็น ๔๐. เพราะไม่มี

กระแสในเบื้องบนในชั้นอกนิฏฐา จึงเป็นอันตราปรินิพพายี ๓ เป็นอุปหัจจปริ-

นิพพายี ๑ เป็นอสังขารปรินิพพายี เป็นสสังขารปรินิพพายี ๔ รวมเป็น ๘

จึงเป็นพระอนาคามี ๔๘ เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้. พึงเห็นว่าในพระสูตรนี้ท่าน

ถือเอาพระอนาคามีทั้งหมดเหล่านั้น ด้วยคำอันไม่ต่างกัน.

จบอรรถ กถามานสูตรที่ ๖

๗. สัพพสูตร

ว่าด้วยละสรรพธรรมทั้งปวงล่วงทุกข์ได้

[๑๘๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสเเล้ว เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้าได้สดับมา

แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งทั้งปวง ไม่กำหนด

รู้ธรรมที่ควรกำหนดนั้น ยังละกิแลสวัฏไม่ได้ เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความสิ้นทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 93

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งทั้งปวง กำหนดรู้ธรรมที่ควร

กำหนดรู้ทั้งปวง ยังจิตให้คลายกำหนัด ในธรรมที่ควรรู้ยิ่งและธรรมที่ควร

กำหนดรู้นั้น ละกิเลสวัฏได้ เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ผู้ใดรู้ธรรมเป็นรูปในภูมิ ๓ ทั้งปวง

โดยส่วนทั้งปวง ย่อมไม่กำหนัดในสักกาย-

ธรรมทั้งปวง ผู้นั้นกำหนัดรู้ธรรมเป็นไป

ในภูมิ ๓ ทั้งปวงแล้ว ล่วงทุกข์ทั้งปวงได้

โดยแท้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบสัพพสูตรที่ ๗

อรรถกถาสัพพสูตร

ในสัพพสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สพฺพ คือไม่มีเหลือ. สัพพศัพท์นี้บอกถึงสิ่งที่ไม่เหลือ.

สัพพศัพท์นั้นแสดงถึงความไม่มีเหลือของความทั้งหมด เช่นรูปทั้งหมด เวทนา

ทั้งหมดในธรรมอันเนื่องด้วยสักกายะทั้งหมด. อนึ่ง สัพพศัพท์นี้มี ๒ อย่าง

คือสัปปเทสวิสัย (มีบางส่วน) นิปปเทสวิสัย (สิ้นเชิง). จริงดังนั้น สัพพ-

ศัพท์นี้มีข้อที่เห็นได้ในวิสัย ๔ คือ สัพพสัพพวิสัย (ทั้งหมดสิ้นเชิง) ปเทส-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 94

สัพพวิสัย (ทั้งหมดเป็นบางส่วน) อายตนสัพพวิสัย (ทั้งหมดเฉพาะอายตนะ)

สักกายสัพพวิสัย (ทั้งหมดเฉพาะสักกายะ). ในวิสัยเหล่านั้น วิสัยอันมาแล้วใน

สัพพสัพพวิสัย ดังในบทมีอาทิว่า ธรรมทั้งปวงมาสู่พระญาณของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะโดยสิ้นเชิง. มาในสัพพปเทสวิสัย ดังในพุทธพจน์

มีอาทิวา ดูก่อนสารีบุตร เราได้กล่าวแล้วเป็นบางส่วนแก่พวกเธอ มาในอายตน-

สัพพวิสัย ดังในพุทธพจน์มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงจักษุ รูป

ฯลฯ ใจและธรรมทั้งหมดแก่พวกเธอ. มาในสักกายสัพพวิสัยดังในพุทธพจน์

มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมบางส่วนอันเป็นมูลแห่งธรรม

ทั้งปวง. สัพพศัพท์อันมาในสัพพสัพพวิสัยนั้นชื่อนิปปเทสวิสัย. มาใน ๓ วิสัย

นอกนั้น ชื่อสัปปเทสวิสัย. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า มาในสักกายสัพพวิสัย. ก็

บทว่า สพฺพ ในที่นี้ท่านถือเอาธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ อันเป็นอารมณ์แห่ง

วิปัสสนาโดยไม่มีส่วนเหลือ.

บทว่า อนภิชาน ความว่า ภิกษุไม่รู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ทั้งปวง โดย

ความเป็นจริงไม่วิปริต คือไม่รู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่งมีอาทิว่าธรรมเหล่านี้เป็น

กุศล เหล่านี้เป็นอกุศล เหล่านี้มีโทษ เหล่านี้ไม่มีโทษ และมีอาทิว่า เหล่า

นี้เป็นธาตุ ๑๘ นี้เป็นทุกขอริยสัจ นี้เป็นทุกขสมุทยอริยสัจ.

บทว่า อปริชาน ได้แก่ไม่กำหนดรู้. จริงอยู่ ผู้ใดกำหนดรู้ธรรม

เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด ผู้นั้นย่อมรู้ด้วยปริญญา ๓ คือด้วยญาตปริญญา

(กำหนดรู้ด้วยการรู้) ๑ ด้วยตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการพิจารณา) ๑

ด้วยปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยการละเสีย) ๑.

ในปริญญา ๓ นั้น ญาตปริญญาเป็นไฉน. ภิกษุกำหนดรู้นามรูปเป็น

ไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด คือรูปมีประเภทเป็นต้นว่า ภูตรูปและปสาทรูปและนาม

มีประเภทเป็นต้นว่า ผัสสะ ว่านี้ รูป รูปมีเท่านี้ ยิ่งไปจากนี้ไม่มี นี้นาม นามมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 95

เท่านี้ ยิ่งไปจากนี้ไม่มี. โดยความเป็นลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน และ

กำหนดปัจจัยของนามรูปนั้นมีกรรมและอวิชชาเป็นต้น นี้ชื่อว่าญาตปริญญา.

ตีรณปริญญาเป็นไฉน ภิกษุพิจารณาปัจจัยทั้งหมดนั้นทำให้รู้โดยอาการ ๔๒

คือ โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นโรคเป็นต้น นี้ชื่อว่า

ตีรณปริญญา. ปหานปริญญาเป็นไฉน ภิกษุครั้น พิจารณาอย่างนี้แล้วละ

ฉันทราคะในอาการทั้งหมดด้วยมรรคอันเลิศ นี้ชื่อว่าปหานปริญญา. แม้ทิฏฐิ-

วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งทิฏฐิ) กังขาวิตรณวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณ

เป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย) ก็ชื่อว่าญาตปริญญา. มัคคามัคคญาณทัสสน-

วิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง) ปฏิปทา-

ญาณทัสสนวิสุทธิ (ความหมดจดแห่งญาณเครื่องรู้ทางปฏิบัติ) หรือปัญญามี

การพิจารณาธรรมเป็นหมวดเป็นกอง (กลาป) เป็นเบื้องต้นมีอนุโลมเป็นที่สุด

ชื่อว่าตีรณปริญญา การละด้วยอริยมรรค ชื่อว่า ปหานปริญญา. ภิกษุใดกำหนด

รู้ธรรมทั้งหมด ภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ เหล่านี้. แต่ในที่นี้พึง

ทราบว่า กำหนดรู้ด้วยอำนาจแห่งญาตปริญญาและตีรณปริญญา เพราะการละ

วิราคะท่านถือเอาต่างกันด้วยการปฏิเสธ. ความไม่กำหนดรู้ท่านกล่าวหมายถึงผู้ที่

ไม่รู้อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺต อวิราชย ความว่า ภิกษุไม่ยังจิต-

สันดานของตนให้คลายกำหนัด คือไม่คลายกำหนดในธรรมที่ควรรู้ยิ่งนั้น คือ

ในธรรมที่ควรกำหนดรู้อย่างวิเศษ อธิบายว่า ไม่ยังวิราคานุปัสสนา (การ

เห็นเนือง ๆ ในวิราคะ) ให้เกิดขึ้น โดยที่ไม่มีราคะในธรรมที่ควรรู้ยิ่งนั้น.

บทว่า อปฺปชห ได้แก่ไม่ละกิเลสวัฏ อันควรจะละในธรรมที่ควรรู้ยิ่งนั้น

ด้วยมรรคปัญญาอันร่วมกับวิปัสสนาปัญญาโดยไม่มีส่วนเหลือ. พึงทราบแม้

ธรรมที่ควรรู้ยิ่งเป็นต้นด้วยมรรคเจือปนกัน เหมือนข้อนั้น. พึงทราบด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 96

อำนาจจิตต่าง ๆ กัน ในส่วนเบื้องต้น. ญาณอันหนึ่งเท่านั้นยังธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

เป็นต้นให้ถึงโดยลำดับ ด้วยญาตปริญญา ตีรณปริญญาและปหานปริญญาแล้ว

ยังธรรมทั้งหมดนั้นให้สำเร็จด้วยมรรคกิจในขณะเดียวกันนั่นเอง เป็นไปด้วย

ประการฉะนี้. บทว่า อภพฺโพ ทุกฺขกฺขยาย ความว่าเป็นผู้ไม่ควรคือไม่

สามารถเพื่อความสิ้นทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นด้วยการดับกิเลส.

ศัพท์ในบทว่า สพฺพพฺจ โข นี้ เป็นไปในอรรถพยติเรกะ(มีความ

แย้งกัน ). โข ศัพท์เป็นไปอรรถอวธารณ. ด้วยบททั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงถึงเหตุส่วนเดียวแห่งการสิ้นทุกข์อันพิเศษ ที่ควรได้จากการรู้ยิ่ง

เป็นต้น.

คำใดที่ควรกล่าวในบทว่า อภิชานนเป็นต้น คำนั้นท่านได้กล่าวไว้

ชัดเจนแล้ว แต่ในบทนั้นท่านกล่าวโดยการทักท้วง ในบทนี้พึงทราบโดยเป็น

กฏ. ความต่างกันมีดังนี้.

บทว่า อภิชาน ความว่า เป็นผู้รู้ยิ่งซึ่งสักกายสัพพะอันได้แก่

อุปาทานขันธ์ ๕ โดยสรุปและโดยปัจจัยด้วยทำญาณไว้เฉพาะหน้า คือ กำหนด

รู้สักกายสัพพะนั้น โดยถือเอาอาการที่ไม่มีเป็นต้น ด้วยกำหนดตามลักษณะมี

อนิจจลักษะเป็นต้น. บทว่า วิราชย ความว่า กระทำจิตของตนให้คลาย

กำหนัดด้วยรู้ชัดถึงความเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แห่งสักกายสัพพะนั้นโดยชอบ

และก้าวด้วยอานุภาพของญาณมีนิพพิทาญาณ คือ เบื่อหน่ายต่อภัยที่เกิดขึ้น

เป็นต้น ไม่ให้ความกำหนัดแม้เพียงเล็กน้อยเกิดขึ้นในจิตนั้น . บทว่า ปชห

ได้แก่ละ คือ ตัดขาดกิเลสวัฏอันเป็นฝ่ายของสมุทัยด้วยมรรคปัญญาอันประกอบ

กับวุฏฐานคามินีวิปัสสนา.

บทว่า ภพฺโพ ทุกฺขกฺขยาย ได้แก่เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นวิปากวัฏ

ไม่มีส่วนเหลือ หรืออนุปาทิเสสนิพพานธาตุอันเป็นความสิ้นทุกข์ ในสังสารวัฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 97

ทั้งสิ้น เพราะละมลทินคือกิเลสเสียได้ และเพราะสิ้นกรรมวัฏทั้งหมด พึงเห็น

ความในข้อนี้อย่างนี้ว่า เป็นผู้ควรเพื่อบรรลุธรรมนั้นโดยส่วนเดียว.

บทว่า โย สพฺพ สพฺพโต ตฺวา ความว่า ผู้ใดคือผู้ประกอบ

ความเพียร ผู้เจริญวิปัสสนารู้ธรรมเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งปวงโดยส่วนทั้งปวง

คือ โดยจำแนกขันธ์มีกุศลขันธ์เป็นต้น และโดยจำแนกการบีบคั้น มีทุกข์

เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺพโต ได้แก่ รู้โดยอาการทั้งปวง คือ

โดยลักษณะมีหยาบและละเอียดเป็นต้น และโดยลักษณะมีความไม่เที่ยงเป็นต้น

ทั้งปวง หรือเพราะเหตุแทงตลอดด้วยมรรคญาณอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งวิปัส-

สนาแล้ว รู้ด้วยวิปัสสนาญาณ.

บทว่า สพฺพตฺเถสุ น รชฺชติ ได้แก่ ย่อมไม่กำหนัดในสักกาย-

ธรรมทั้งปวงอันมีประเภทต่างกันไม่น้อยโดยมีในอดีตเป็นต้น คือ ไม่ให้ราคะ

เกิดด้วยการบรรลุอริยมรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงความไม่มีแห่งการยึดตัณหานั้น

ด้วยบทว่า สพฺพตฺเถสุ น รชฺชติ นี้ จึงทรงแสดงถึงความไม่มี แม้การ

ยึดผิด ๓ หมวดนี้ คือ นี้ของเรา ๑ นี้เป็นเรา ๑ นี้เป็นอัตตาของเรา ๑

ของผู้ที่ยึดทิฏฐิมานะ เพราะมีสิ่งนั้น เป็นนิมิต. บทว่า ในบทว่า สเว นี้

เป็นเพียงนิบาต. บทว่า เว เป็นพยัตตะ (ความปรากฏ). หรือเป็นนิบาต

ในความนี้ว่า เอกเสน โดยส่วนเดียว. บทว่า สพฺพ ปริญฺา ได้แก่

เพราะกำหนดรู้ธรรมทั้งปวง คือ เพราะกำหนดรู้ธรรมทั้งปวงตามที่กล่าวแล้ว

โดยบรรลุปริญญา. บทว่า โส ได้แก่ พระโยคาจรตามที่กล่าวแล้วหรือ

พระอริยะนั่นเอง. บทว่า สพฺพ ทุกฺข อุปจฺจคา ได้แก่ ล่วง คือ

ก้าวล่วง คือ พ้นทุกข์ในวัฏฏะได้ทั้งหมด.

จบอรรถกถาสัพพสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 98

๘. มานสูตร

ว่าด้วยละมานะไม่ได้ ไม่พ้นความทุกข์

[๑๘๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้มานะ ไม่ยังจิต

ให้คลายกำหนัดในมานะนั้น ยังละมานะนั้นไม่ได้เด็ดขาด เป็นผู้ไม่ควรเพื่อ

ความสิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้มานะ ยังจิตให้

คลายกำหนัดในมานะนั้น ละมานะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความ

สิ้นทุกข์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

หมู่สัตว์นี้ประกอบแล้วด้วยมานะ มี

มานะเป็นเครื่องร้อยรัด ยินดีแล้วในภพ

ไม้กำหนดรู้มานะ ต้องเป็นผู้มาสู่ภพอีก

ส่วนสัตว์เหล่าใดละมานะได้แล้ว น้อมไป

ในธรรมที่เป็นสิ้นนานะ สัตว์เหล่านั้น

ครอบงำกิเลสเครื่องร้อยรัดคือมานะเสียได้

ก้าวล่วงได้แล้วซึ่งกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้ง-

ปวง.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมานสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 99

อรรถกถามานสูตร

ในมานสูตรที่ ๘ ไม่มีเรื่องที่ไม่เคยกล่าว เทศนาเป็นไปด้วยมานะล้วน.

ในคาถาทั้งหลายมีอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า มานูเปตา อย ปชา

ความว่า สัตว์เหล่านี้ได้ชื่อว่า ปชา เพราะเกิดด้วยกรรมกิเลส ประกอบด้วย

มานะอันมีการคือตัวเป็นลักษณะ. บทว่า มานคณฺา ภเว รตา ความว่า

สัตว์ทั้งหลายถูกมานะร้อยรัด คือ ประกอบด้วยมานสังโยชน์ อบรมมาจาก

มานะนั้นเป็นเวลานาน ยินดีในกามภพเป็นต้น ด้วยเหตุผิดในสังขารนั้นว่า

เที่ยง เป็นสุข มีตัวตน เป็นต้น เพราะมัวหมกมุ่นในสังขารทั้งหลายว่า

นี้ของเราด้วยความถือตัว. บทว่า มาน อปริชานนฺตา ความว่า ไม่กำหนด

รู้มานะนั้นด้วยปริญญา ๓ หรือไม่พ้นมานะนั้นด้วยอรหัตมรรคญาณ. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า มาน อปริญฺาย ดังนี้. บทว่า อาคนฺตาโร ปุนพฺภว

ความว่า เป็นผู้ต้องไปคือต้องเข้าไปสู่ภพอันจะต้องเกิดต่อไปอีก หรือสู่สงสาร

อันได้แก่ภพใหม่ จากที่เกิดบ่อย ๆ ด้วยการหมุนเวียนไป ๆ มา ๆ. อธิบายว่า

ไม่พ้นไปจากภพ.

บทว่า เย จ มาน ปหนฺตฺวาน วิมุตฺตา มานสสเย แปลว่า

ก็สัตว์เหล่าใดละมานะได้แล้ว น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นมานะ อธิบายว่า

ก็สัตว์เหล่าใดละมานะเสียด้วยประการทั้งปวง ด้วยอรหัตมรรคแล้ว น้อมไป

คือ น้อมไปด้วยดีในอรหัตผล หรือในนิพพานอันเป็นที่สิ้นสุดมานะด้วยการ

หลุดพ้นกิเลสทั้งมวล อันมีมานะนั้นเป็นตัวเอก.

บทว่า เต มานคณฺาภิภูตา สพฺพ คณฺ อุปจฺจคุ แปลว่า

สัตว์เหล่านั้น ครอบงำกิเลสเครื่องร้อยรัด คือ มานะเสียไค้ ก้าวล่วงกิเลส

เครื่องร้อยรัดทั้งปวง ความว่า สัตว์เหล่านั้น คือ พระอรหันต์ผู้มีสังโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 100

คือ ภพสิ้นไปแล้ว ครอบงำกิเลสเครื่องร้อยรัดคือมานะ กิเลสเครื่องผูกสัตว์ คือ

มานะ ได้โดยประการทั้งปวง ด้วยสมุจเฉทปหาน ตั้งอยู่ ก้าวล่วงวัฏทุกข์ได้โดย

ไม่มีส่วนเหลือ.

ในสูตรนี้และในสูตรที่ ๗ ท่านกล่าวถึงพระอรหัต.

จบอรรถกถามานสูตรที่ ๘

๙. โลภสูตร

ว่าด้วยละความโลภได้เป็นพระอนาคามี

[๑๘๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้โลภะ ไม่ยังจิตให้

คลายกำหนัดในโลภะ ยังละโลภะนั้นไม่ได้เด็ดขาด เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความ

สิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้โลภะ ยังจิตให้คลาย

กำหนัดในโลภะนั้น ละโลภะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดี

ซึ่งความโลภอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้โลภไปสู่

ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อม

ไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบโลภสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 101

๑๐. โทสสูตร

ว่าด้วยละโทสะได้เป็นพระอนาคามี

[๑๘๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้โทสะ ไม่ยังจิตให้

คลายกำหนัดในโทสะนั้น ยังละโทสะนั้นไม่ได้เด็ดขาด เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความ

สิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้โทสะ ยังจิตให้คลาย

กำหนัดในโทสะนั้น ละโทสะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง

โทสะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ประทุษร้ายไปสู่

ทุคติ แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อม

ไม่มาสู่โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบโทสสูตรที่ ๑๐

จบปาฏิโภควรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 102

อรรถกถาโลภสูตรและโทสสูตร

ในโลภสูตรที่ ๙ และโทสสูตรที่ ๑๐ ไม่มีเรื่องที่ไม่เคยพูด. ได้เคย

พูดเรื่องโลภะและโทสะมาแล้ว. พึงเห็นว่าพระสูตรเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแก่ผู้รู้โดยเทศนาวิลาส หรือแก่เวไนยสัตว์ด้วยอัธยาศัย.

จบอรรถกถาโลภสูตรที่ ๙ และโทสสูตรที่ ๑๐

จบปาฏิโภควรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โลภสูตร ๒. โทสสูตร ๓. โมหสูตร ๔. โกธสูตร ๕. มักขสูตร

๖. มานสูตร ๗. สัพพสูตร ๘. มานสูตร ๙. โลภสูตร ๑. โทสสูตร

และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 103

อิติวุตตกะ เอกนิบาต วรรคที่ ๒

๑. โมหสูตร

ว่าด้วยโมหะให้ไปสู่ทุคติ

[๑๘๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้โมหะ ไม่ยังจิตให้

คลายกำหนัดในโมหะนั้น ยังละโมหะนั้นไม่ได้เด็ดขาด เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความ

สิ้นทุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้โมหะ ยังจิตให้คลาย

กำหนัดในโมหะนั้น ละโมหะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง

โมหะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้หลงไปสู่ทุคติ

แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่

โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบโมหสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 104

๒. โกธสูตร

ว่าด้วยโกธะให้ไปสู่ทุคติ

[๑๙๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้โกธะ ไม่ยังจิตให้

คลายกำหนัดในโกธะนั้น ยังละโกธะนั้นไม่ได้เด็ดขาด เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความ

สิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้โกธะ ยังจิตให้คลาย

กำหนัดในโกธะนั้น ละโกธะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง

โกธะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้โกรธไปสู่ทุคติ

แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่

โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบโกธสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 105

๓. มักขสูตร

ว่าด้วยมักขะให้ไปสู่ทุคติ

[๑๙๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้ยิ่ง ไม่กำหนดรู้มักขะ ไม่ยังจิตให้

คลายกำหนัดในมักขะนั้น ยังละมักขะนั้นไม่ได้เด็ดขาด เป็นผู้ไม่ควรเพื่อความ

สิ้นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุรู้ยิ่ง กำหนดรู้มักขะ ยังจิตให้คลาย

กำหนัดในมักขะนั้น ละมักขะนั้นได้เด็ดขาด เป็นผู้ควรเพื่อความสิ้นทุกข์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้เห็นแจ้งทั้งหลาย รู้ชัดด้วยดีซึ่ง

มักขะอันเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ลบหลู่ไปสู่ทุคติ

แล้วละได้ ครั้นละได้แล้ว ย่อมไม่มาสู่

โลกนี้อีกในกาลไหน ๆ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมักขสูตรที่ ๓

สามสูตรมีสูตรที่ ๑ เป็นต้น แม้ในวรรคที่ ๒ มีนัยดังได้กล่าวมาแล้ว

แม้เหตุแห่งเทศนาก็ได้กล่าวมาแล้วอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 106

๔. โมหสูตร

ว่าด้วยโมหะให้ไปสู่ทุคติ

[๑๙๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นแม้นิวรณ์อันหนึ่งอย่างอื่น

ซึ่งเป็นเหตุให้หมู่สัตว์ถูกนิวรณ์หุ้มห่อแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน

เหมือนนิวรณ์ คือ อวิชชานี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ผู้ถูกนิวรณ์

คือ อวิชชาหุ้มห่อแล้วย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุ

ให้หมู่สัตว์ถูกธรรมนั้นหุ้มห่อแล้ว ท่อง-

เที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือนหมู่สัตว์ผู้ถูก

โมหะหุ้นห่อแล้ว ไม่มีเลย ส่วนพระอริย-

สาวกเหล่าใดละโมหะแล้ว ทำลายของ

แห่งความมืดได้แล้ว พระอริยสาวกเหล่า

นั้นย่อมไม่ท่องเที่ยวไปอีก เพราะอวิชชา

อันเป็นต้นเหตุ (แห่งสงสาร) ย่อมไม่มี

แก่พระอริยสาวกเท่านั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบโมหสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 107

อรรถกถาโมหสูตร

ในโมหสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

อักษรในบทเป็นต้นว่า นาห ภิกฺขเว มีอรรถปฏิเสธ. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงอ้างถึงพระองค์ว่า อห. บทว่า อญฺ ได้แก่ ธรรมอื่น

จากนิวรณ์ คือ อวิชชาที่จะต้องกล่าวในบัดนี้ . บทว่า เอกนีวรณมฺปิ ได้แก่

ธรรมป้องกันไม่ให้บรรลุความดีอย่างหนึ่ง. บทว่า สมนุปสฺสามิ ได้แก่

สมนุปัสสนา (การพิจารณาเห็น) ๒ อย่าง คือ ทิฏฐิสมนุปัสสนา (การ

พิจารณาเห็นด้วยทิฏฐิ) ๑ ญาณสมนุปัสสนา (การพิจารณาเห็นด้วยญาณ) ๑.

ในสมนุปัสสนา ๒ อย่างนั้น การพิจารณาเห็นที่มาโดยบาลี มีอาทิว่า

รูป อตฺตโต สมนุปสฺสติ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตัวตน นี้ชื่อ

ทิฏฐิสมุนุปัสสนา. ส่วนสมนุปัสสนาที่มาโดยบาลี มีอาทิว่า อนิจฺจโต สมนุ-

ปสฺสติ โน นิจฺจโต พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณา

เห็นโดยความเป็นของเที่ยง นี้ชื่อว่า ญาณสมนุปัสสนา. ในพระสูตรท่าน

ประสงค์เอาญาณสมนุปัสสนาอย่างเดียว. บทว่า สมนุปสฺสามิ เชื่อมด้วย

อักษร. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราแม้

ตรวจตราดูธรรมทั้งปวง ด้วยสมันตจักษุ (จักษุรอบคอบ) อันได้แก่สัพพัญ-

ญุตญาณ ดุจมะขามป้อมในมือ ก็ยังไม่เห็นแม้นิวรณ์อันหนึ่งอย่างอื่น.

บทว่า เยน นีวรเณน นิวุตา ปชา ทีฆรตฺต สนฺธาวนฺติ

สสรนฺติ แปลว่า หมู่สัตว์ถูกนิวรณ์หุ้มห่อแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้น

กาลนาน ความว่า สัตว์ทั้งหลายถูกนิวรณ์ครอบงำ ปกคลุมหุ้มห่อให้มืดมัว

ไม่ให้เพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อแทงตลอดสภาวธรรมทั้งหลาย เพราะสภาว-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 108

ธรรมถูกปกปิด ย่อมแล่นไปย่อมท่องเที่ยวไปในสงสารอันหาเบื้องต้นมิได้

และในภพใหญ่น้อยตลอดกัปอันกำหนดไม่ได้ โดยประการทั้งปวงด้วยการเกิด

แล้วเกิดอีก. การแล่นไป คือ การก้าวไปในระหว่างอารมณ์ การแล่นไป คือ

การก้าวไปในระหว่างภพ. หรือว่า การแล่นไปด้วยกิเลสมีกำลังแรง การแล่นไป

ด้วยกิเลสมีกำลังอ่อน. หรือว่าการแล่นไปในชาติหนึ่ง คือตายไปชั่วขณะ

การแล่นไปในหลาย ๆ ชาติ คือตายตามคำพูด หรือการแล่นไปด้วยจิต. ดัง

ที่ท่านกล่าวว่า จิตของเขาย่อมแล่นไป การท่องเที่ยวไปด้วยกรรม. พึงทราบ

ความต่างกันของการแล่นไปและการท่องเที่ยวไป ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ยถิยิท ตัดบทเป็น ยถาอิท. ย อักษรเป็นบทสนธิ ทำเป็น

ตรัสสะ ด้วยวิธีสนธิ.

ในบทว่า อวิชฺชานีวรณ นี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้ กายทุจริต

เป็นต้น ชื่อว่า ไม่ควรรู้ โดยอรรถว่า ไม่ควรบำเพ็ญ อธิบายว่า ไม่ควรได้.

ชื่อว่า อวิชฺชา เพราะอรรถว่ารู้สิ่งไม่ควรรู้นั้น. โดยตรงกันข้าม กายสุจริต

เป็นต้น ชื่อว่า เป็นสิ่งควรรู้. ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ไม่รู้สิ่งควรรู้นั้น.

ท่านกล่าวถึงกองขันธ์ทั้งหลาย เครื่องติดต่ออายตนะทั้งหลาย ความ

สูญของธาตุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่ของอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นจริงของ

สัจจะทั้งหลาย ด้วยการบีบคั้นของทุกข์เป็นต้น. ชื่อว่าอวิชชา เพราะอรรถว่า

ไม่รู้เนื้อความ ๔ อย่างนั้น . หรือว่า ชื่อว่าอวิชชา เพราะอรรถว่า ยังเหล่าสัตว์

ให้แล่นไปในสงสารอันไม่มีที่สุด. หรือว่าโดยปรมัตถ์ ชื่อว่าอวิชชา เพราะ

อรรถว่า ย่อมแล่นไป คือ ย่อมเป็นไปในอวิชชมานบัญญัติทั้งหลายมีสตรีและ

บุรุษเป็นต้น ย่อมไม่แล่นไป คือ ย่อมไม่เป็นไปในวิชชมานบัญญัติทั้งหลาย

มีขันธ์เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชา เพราะปกปิดวัตถุและอารมณ์

มีจักขุวิญญาณเป็นต้น และธรรมคือปฏิจจสมุปบาท. นิวรณ์คืออวิชชา ชื่อว่า

อวิชชานิวรณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 109

บทว่า อวิชฺชานีวรเณน หิ ภิก ขเว นิวุตา ปชา ทีฆรตฺต

สนฺธาวนฺติ สสรนฺติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อทำความในก่อนให้

หนักแน่นนั่นเอง. หรือบทก่อนว่า ยถยิท ภิกฺขเว อวิชฺชานีวรณ แปลว่า

เหมือนนิวรณ์คืออวิชชา นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อให้แสดงข้ออุปมาอย่างนี้.

บทนี้ตรัสเพื่อแสดงอานุภาพของนิวรณ์. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอวิชชาเท่านั้น ไม่ตรัสถึงธรรมเหล่าอื่นด้วย ตอบว่า

เพราะอวิชชาเป็นวิเสสปัจจัยแห่งกามฉันทะเป็นต้น ด้วยการปกปิดโทษ. จริง

ดังนั้น กามฉันทะเป็นต้น ย่อมเป็นไปในอาการของโทษที่ถูกอวิชชานั้น

ปกปิดไว้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถามีอาทิว่า นตฺถญฺโ ดังนี้ ด้วยรวบรวม

ความที่ตรัสแล้ว และที่ยังไม่ได้ตรัส. ในบทเหล่านั้น บทว่า นิวุตา ได้แก่

ปกคลุม หุ้มห่อ ปิดบังไว้. บทว่า อโหรตฺต แปลว่า ทั้งกลางวันกลางคืน.

อธิบายว่า ตลอดเวลา. บทว่า ยถา โมเหน อาวุตา ความว่า โดยประการ

ที่หมู่สัตว์ถูกโมหะคืออวิชชานิวรณ์หุ้มห่อปกปิดไว้ ไม่รู้แม้ธรรมที่ควรรู้ด้วยดี

ย่อมท่องเที่ยวไปในสงสาร พึงประกอบเนื้อความว่า ธรรมอย่างหนึ่งอื่น เห็น

ปานนั้นก็ดี นิวรณ์อย่างหนึ่งก็ดี ย่อมไม่มี. บทว่า เย จ โมห ปหนฺตฺวาน

ตโมกฺขนฺธ ปทาลยุ แปลว่า พระอริยสาวกเหล่าใดละโมหะแล้ว ทำลาย

กองแห่งความืดได้แล้ว ความว่า ก็พระอริยสาวกเหล่าใดละโมหะ อันมรรค

นั้น ๆ พึงฆ่า ด้วยมรรคเบื้องต่ำ ด้วยตทังคปหานเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้น

แล้วทำลายกองแห่งความมืด อื่นได้แก่โมหะนั่นเอง ด้วยญาณเปรียบด้วยเพชร

อันเป็นญาณชั้นเลิศ คือ ตัดขาดโดยไม่ให้มีส่วนเหลือ. บทว่า น เต ปุน

สสรนฺติ ความว่า พระอริยสาวกคือพระอรหันต์เหล่านั้น ย่อมไม่ท่องเที่ยวไป

คือ ไม่หันกลับไปในสงสารนี้ ที่ท่านกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 110

ขนฺธาน ปฏิปาฏิ ธาตุ อายตนา น จ

อพฺโพจฺฉินฺน วตฺตมานา สสาโรติ ปวุจฺจติ

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ ยัง

เป็นไปไม่ขาดสาย ท่านเรียกว่าสงสาร.

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ คือ

เป็นมูลเหตุแห่งสงสาร ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเหล่านั้น เพราะตัดขาดแล้ว

โดยประการทั้งปวง ดังนี้.

จบอรรถกถาโมหสูตรที่ ๔

๕. กามสูตร

ว่าด้วยกามตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปนาน

[๑๙๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นแม้สังโยชน์อันหนึ่งอย่างอื่น

ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ประกอบแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือน

สังโยชน์ คือ ตัณหานี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วย

สังโยชน์ คือ ตัณหาย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุรุษ ผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่อง-

เที่ยวไปสิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 111

สงสารอันมีความเป็นอย่างนี้และความเป็น

อย่างอื่นไปได้ ภิกษุรู้ตัณหาซึ่งเป็นแดน

เกิดแห่งทุกข์นี้โดยความเป็นโทษแล้ว เป็น

ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น มีสติ พึง

เว้นรอบ

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบกามสูตรที่ ๕

อรรถกถากามสูตร

ในกามสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า สังโยชน์ เพราะอรรถว่า ผูกมัดบุคคลผู้มีสังโยชน์ไว้ด้วยกรรม

และวิบากอันเป็นทุกข์ หรือด้วยลำดับของภพ ในภพ กำเนิด คติ วิญญาณ

ฐิติ และสัตตาวาส เป็นต้น ชื่อว่า ตัณหา เพราะอรรถว่าเป็นที่มาของ

ความอยาก. ชื่อว่า ตัณหา เพราะอรรถว่า ทำให้สะดุ้งหรือหวาดเสียว. บทว่า

สยุตฺตา ได้แก่ ผูกมัดในอภินิเวสวัตถุ (วัตถุเครื่องยึดมั่น) มีจักษุเป็นต้น .

บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าวแล้วนั่นแล.

อนึ่ง ในที่นี้แม้อวิชชาก็เป็นสังโยชน์ และตัณหาเป็นนิวรณ์ยังมีอยู่

โดยแท้ ถึงดังนั้น ตัณหาย่อมผูกมัดสัตว์ด้วยภพอันมีโทษทีถูกอวิชชาปกปิดไว้

เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงความต่างกันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอวิชชาไว้

ในสูตรก่อนโดยความเป็นนิวรณ์ และตรัสตัณหาไว้ในสูตรนี้โดยความเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 112

สังโยชน์ ทั้งนี้เพื่อให้เห็นความเป็นใหญ่ของนิวรณ์และสังโยชน์. เหมือนอย่างว่า

อวิชชาเป็นใหญ่และเป็นประธานของธรรมเศร้าหมองทั้งหลาย โดยความเป็น

นิวรณ์ ฉันใด ตัณหาก็เป็นใหญ่ เป็นประธานของธรรมเศร้าหมองเหล่านั้น

โดยความเป็นสังโยชน์ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้นเพื่อแสดงความเป็นใหญ่ของธรรม

เศร้าหมองเหล่านั้น จึงตรัสธรรมเหล่านี้อย่างนี้ในสูตรทั้งสอง. อีกอย่างหนึ่ง

ด้วยความต่างกันตรัสอวิชชาว่าเป็นนิวรณ์ เพราะห้ามนิพพานสุข. ตรัส

ตัณหาว่าเป็นสังโยชน์ เพราะผูกมัดสัตว์ไว้ด้วยสังสารทุกข์ สูตรทั้งสอง

ตรัสไว้เป็นสองส่วน โดยทำอันตรายแก่การเห็นการบรรลุหรือโดยเป็นข้าศึก

ของวิชชาและจรณะ. อวิชชาเป็นข้าศึกโดยตรงของวิชชา ทำอันตรายอย่าง

ยอดเยี่ยมแก่การเห็นนิพพาน และการเห็นที่ไม่วิปริต. ตัณหาเป็นข้าศึกโดยตรง

ของจรณธรรมทำอันตรายแก่การบรรลุ คือ แก่การปฏิบัติชอบ ด้วยประการ

ฉะนี้. บุคคลนี้ถูกอวิชชาหุ้มห่อ ทำให้มืดมัว พัวพันด้วยตัณหาโดยประการ

ทั้งปวง ไม่ฟัง มีกิเลสหนาผูกมัดดุจคนบอด ย่อมไม่ก้าวล่วง มหากันดาร

สงสารกันดาร ไปได้เลย. เพื่อแสดงสองหมวดอันเป็นเหตุให้เกิดความพินาศ

จึงตรัสสองหมวดโดยสองส่วน.

จริงอยู่ บุคคลที่มีอวิชชาย่อมเสื่อมประโยชน์ เพราะความเป็นคนโง่

และทำความพินาศให้แก่ตน. ผู้ไม่เสพสิ่งไม่เป็นสัปปายะ ทำดุจคนไม่ฉลาด

เดือดร้อน ดุจคนไม่รู้เพื่อจะทำในสิ่งไม่เป็นสัปปายะ. มักกฏาเลโปปมสูตร

เป็นตัวอย่างของเรื่องนี้. ในสูตรนี้ตรัสสองหมวดโดยส่วนสอง เพื่อแสดง

มูลเหตุของปฏิจจสมุปบาท. ก็โดยความต่างกัน ขอบเขตของอวิชชาเป็นอดีต

ยาวนาน เพราะสัมโมหะมีกำลังแรง. ขอบเขตของตัณหา เป็นอนาคตยาวนาน

เพราะความปรารถนามีกำลังแรงกล้า. จริงดังนั้น คนพาลมากด้วยสัมโมหะ

ย่อมเศร้าโศกถึงอดีต ควรแนะนำคนพาลผู้มากด้วยสัมโมหะนั้น ให้เข้าใจถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 113

ปฏิจจสมุปบาททั้งหมดเป็นต้นว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สังขารทั้งหลาย

มีอวิชชาเป็นปัจจัยดังนี้. คนพาลมากไปด้วยความปรารถนาย่อมบ่นถึงอนาคต

ควรแนะนำคนพาลผู้มากด้วยความปรารถนานั้นให้เข้าใจปฎิจจสมุปบาททั้งหมด

ว่า ตณฺหาปจฺจยา อุปาทาน อุปาทานมีตัณหาเป็นปัจจัย ดังนี้. หรือว่า

ด้วยบทนี้นั่นเองทรงแสดงถึงมูลเหตุของปฏิจจสมุปบาทนั้นตามลำดับ ด้วยการ

เกี่ยวโยงกันจากส่วนเบื้องต้นถึงส่วนเบื้องปลาย ด้วยประการฉะนี้.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบเนื้อความดังต่อไปนี้ บทว่า ตณฺหา ทุติโย

คือ เป็นเพื่อนกับตัณหา. จริงอยู่ ตัณหาย่อมทำสัตว์ผู้ถูกความระหายครอบงำ

ถูกความทุกข์ที่ไม่สนองคุณครอบงำบ้าง อันเป็นหน้าที่ของสหายด้วยความพอใจ

และชักนำ ดุจความสำคัญว่าน้ำในพยับแดด ในที่กันดารไม่มีน้ำ กระทำไม่ให้

เบื่อหน่ายในภพเป็นต้น แล้วเวียนกลับมา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า ตัณหาเป็นเพื่อนของคน ดังนี้. ถามว่า ก็กิเลสเป็นต้นแม้เหล่าอื่น

เป็นปัจจัย เพื่อให้เกิดในภพมิใช่หรือ. ตอบว่า ข้อนั้นจริง. แต่เป็นปัจจัย

พิเศษไม่เหมือนตัณหา. เพราะตัณหาเว้นจากกุศล อกุศล ส่วนปัจจัยพิเศษ

เว้นจากกามาวจรกุศลเป็นต้น เพื่อให้เกิดในภพด้วยรูปาวจรกุศลเป็นต้น เพราะ

ฉะนั้น จึงตรัสว่า สมุทยสจฺจ ดังนี้.

บทว่า อิตฺถภาวญฺถาภาว ได้แก่ความเป็นอย่างนี้ และความเป็น

อย่างอื่น ชื่อว่า อิตฺถภาวญฺถาภาโว. สงสาร ชื่อว่า อิตฺถภาวญฺถาภาโว

เพราะอรรถว่า สงสารมีความเป็นอย่างนี้และความเป็นอย่างอื่น. ในบทนั้น

ความเป็นอย่างนี้ คือ ความเป็นมนุษย์. ความเป็นอย่างอื่น คือ ที่อยู่ของ

สัตว์นอกจากความเป็นมนุษย์นั้น. หรือว่าความเป็นอย่างนี้ ได้แก่ อัตภาพ

ปัจจุบันของเหล่าสัตว์นั้น ๆ. ความเป็นอย่างอื่น ได้แก่อัตภาพอนาคต. หรือว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 114

อัตภาพอื่นมีรูปอย่างนี้ ชื่อว่า อิตถการะ ไม่มีรูปอย่างนี้ ชื่อว่า อัญญถาภาวะ.

บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ย่อมไม่ก้าวล่วงสงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และ

ความเป็นอย่างอื่นนั้น คือ ลำดับ ขันธ์ ธาตุ อายตนะไปได้.

บทว่า เอตมาทีนว ตฺวา ตณฺห ทุกฺขสฺส สมฺภว แปลว่า

ภิกษุรู้ตัณหาอันเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์นี้ โดยความเป็นโทษ ความว่า ภิกษุรู้

ตัณหาอันเป็นแดนเกิด คือ เป็นเหตุเกิดแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้นนี้ อธิบายว่า

รู้โดยความเป็นโทษ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอตมาทีนว ตฺวา ได้แก่

รู้โทษ คือ ความชั่วร้ายอันจะไม่ทำให้ก้าวล่วงสงสารตามที่กล่าวแล้วนั้นไปได้.

บทว่า ตณฺห ทุกฺขสฺส สมฺภว ได้แก่ รู้ตัณหาว่าเป็นเหตุให้เกิดวัฏทุกข์

โดยนัยที่กล่าวแล้ว.

บทว่า วีตตณฺโห อนาทาโน สโต ภิกฺขุ ปริพฺพเช แปลว่า

ภิกษุ เป็นผู้ปราศจากตัณหา ไม่ถือมั่น มีสติ พึงเว้นเสีย ความว่า ภิกษุ

กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ อย่างนี้ เจริญวิปัสสนาไปปราศจากตัณหาตามลำดับ

มรรค ชื่อว่า เป็นผู้ปราศจากตัณหา คือ มีตัณหาพ้นไปแล้ว โดยประการ

ทั้งปวงด้วยมรรคอันเลิศ ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ถือมั่น เพราะไม่มีแม้อะไร ๆ ใน

อุปาทาน ๔ เพราะปราศจากตัณหานั้น หรือเพราะไม่มีการยึดถือ อันได้แก่

ปฏิสนธิต่อไป ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะทำอย่างมีสติในที่ทั้งปวง ด้วยมีสติ

ไพบูลย์ เป็นผู้กำจัดกิเลสได้แล้ว พึงเว้น คือ พึงประพฤติ หรือพึงออกไป

จากความเป็นไปของสังขารด้วยขันธปรินิพพาน.

จบอรรถกถากามสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 115

๖. ปฐมเสขสูตร

ว่าด้วยโยนิโสมนสิการได้บรรลุผลสูงสุด

[๑๙๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล

ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ เราไม่พิจารณาเห็นแม้เหตุอันหนึ่ง

อย่างอื่น กระทำเหตุที่มี ณ ภายในว่ามีอุปการะมาก เหมือนโยนิโสมนสิการ

นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมนสิการโดยแยบคาย ย่อมละอกุศลเสียได้

ย่อมเจริญกุศลให้เกิดมี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ธรรมอย่างอื่นอันมีอุปการะมาก เพื่อ

บรรลุประโยชน์อันสูงสุด แห่งภิกษุผู้เป็น

พระเสขะ เหมือนโยนิโสมนสิการ ไม่มี

เลย ภิกษุเริ่มตั้งไว้ซึ่งมนสิการโดยแยบ-

คาย พึงบรรลุนิพพานอันเป็นที่สิ้นไปแห่ง

ทุกข์ได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบปฐมเสขสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 116

อรรถกถาปฐมเสขสูตร

ในปฐมเสขสูตรพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คำว่า เสกฺโข ในบทว่า เสกฺขสฺส นี้ มีความว่าอย่างไร. ชื่อว่า

เสกขะเพราะได้เสกขธรรม. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ด้วยเหตุ

เพียงเท่าไร ภิกษุชื่อว่าเป็นเสกขะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ประกอบด้วยทิฏฐิอัน

เป็นเสกขะ ฯลฯ ประกอบด้วยสมาธิอันเป็นเสกขะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วย

เหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นเสกขะ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เสกขะ เพราะ

ยังต้องศึกษา. แม้ข้อนี้ก็ตรัสไว้ว่า สิกฺขตีติ โข ภิกฺขเว ตสิมา

เสกฺโขติ วุจฺจจิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุยังต้อศึกษา ฉะนั้นจึงเรียกว่า

เสกขะ. ถามว่า ศึกษาอะไร. ตอบว่า ศึกษาอธิศีลบ้าง อธิจิตบ้าง อธิปัญญาบ้าง

เพราะยังต้องศึกษา ดังนี้แล ฉะนั้นจึงเรียกว่าเสกขะ. แม้ผู้ที่เป็นกัลยาณปุถุชน

กระทำให้บริบูรณ์ด้วยอนุโลมปฏิปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คุ้มครองทวารใน

อินทรีย์ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียรโดยไม่เห็นแก่

นอนมากนัก ประกอบความเพียรด้วยการเจริญโพธิปักขิยธรรมตลอดราตรีต้น

ราตรีปลาย ด้วยหวังว่า เราจักบรรลุ สามัญญผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวันนี้

หรือในวันพรุ่งนี้ ท่านก็เรียกว่า เสกขะ เพราะยังต้องศึกษา ในข้อนี้ท่าน

ประโยคสงค์เอาพระเสขะผู้ยังไม่แทงตลอด ที่แท้ก็เป็นกัลยาณปุถุชน.

ชื่อว่า อปฺปตฺตมานโส เพราะอรรถว่า ยังไม่บรรลุอรหัตผล

ท่านกล่าวราคะว่าเป็นมานสะ ในบทนี้ว่า บทว่า มานส ได้แก่ราคะเที่ยวไป

ดุจตาข่ายลอยอยู่บนอากาศ. ได้แก่จิตในบทนี้ว่า จิต มนะ ชื่อว่า มานสะ.

ได้แก่ พระอรหัตในบทนี้ว่า พระเสกขะ ยังไม่บรรลุพระอรหัต พึงทำกาละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 117

ในหมู่ชน. ในสูตรนี้ท่านประสงค์เอาพระอรหัตอย่างเดียว. ด้วยเหตุนั้นจึงเป็น

อันกล่าวได้ว่า อปฺปตฺตารหตฺตสฺส แปลว่า ยังไม่บรรลุพระอรหัต. บทว่า

อนุตฺตร คือ ประเสริฐที่สุด อธิบาย ว่า ไม่มีเหมือน. ชื่อว่า โยคกฺเขม

ทีเดียว.

บทว่า ปฏฺยมานสฺส ได้แก่ ความปรารถนาสองอย่าง คือ

ตณฺหาปฏฺนา (ความปรารถนาด้วยตัณหา) ๑ ฉนฺทปฏฺนา (ความปรารถนา

ด้วยความพอใจ) ๑. ตณฺหาปฏฺนา ได้ในบทนี้ว่า

ปรารถนา กระซิบกระซาบถึงตัณหา

หรือ บ่นถึงแต่ในการประดับตกแต่ง.

กตฺตุกมฺยตากุสลจฺฉนฺทปฏฺนา ปรารถนาความพอใจในกุศล

ใคร่จะทำได้ในบทนี้ว่า

กระแสตัณหาของคนลามก ถูกตัด

แล้ว ถูกกำจัดแล้ว ถูกทำให้หมดมานะ

แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจง

เป็นผู้มากไปด้วยความปราโมทย์เถิด จง

ปรารถนาความเกษมเถิด.

ในที่นี้ท่านประสงค์เอา ฉันทปัฏฐนานี้แล. ด้วยเหตุนั้น บทว่า

ปตฺถยมานสฺส จึงมีอธิบายว่า เป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำความเกษมจากโยคะนั้น

คือ น้อม โน้ม โอน ไปสู่ความเกษมนั้น.

บทว่า วิหรโต ได้แก่ตัดขาดทุกข์ในอิริยาบถหนึ่ง ด้วยอิริยาบถหนึ่ง

แล้วนำอัตภาพอันยังไม่ตกไป. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความในบทนี้โดยนิเทศนัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 118

(ชี้แจ้ง) มีอาทิว่า ภิกษุน้อมไปอยู่ว่า สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยงย่อมอยู่

ด้วยศรัทธา.

บทว่า อชฺฌตฺติก ได้แก่ มีอยู่ในภายใน คือ ภายในตน ชื่อว่า

อัชฌัตติกะ. บทว่า องฺค ได้แก่เหตุ. บทว่า อิติ กริตฺวา คือ ทำอย่าง

นี้. ความย่อในบทนี้ว่า น อญฺ เอกงฺคมฺปิ สมนุปสฺสามิ นี้มีดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นแม้เหตุหนึ่งอย่างอื่น กระทำเหตุอันมี

ในภายใน คือ เหตุที่ตั้งอยู่ในสันดานของตนอย่างนี้. บทว่า เอว พหุปการ

ยถยิท โยนิโสมนสิกาโร ได้แก่มนสิการโดยอุบาย มนสิการโดยคลองธรรม

มนสิการโดยนัยในอนิจจลักษณะเป็นต้นว่า เป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น หรือการ

พิจารณา การตามพิจารณา การรำพึง การใคร่ครวญ การใส่ใจ อนุโลมใน

ของไม่เที่ยงนี้ ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ.

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงถึงอานุภาพแห่งโยนิโสมนสิการ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมนสิการอยู่โดยแยบคาย ย่อมละอกุศล

ย่อมเจริญกุศล ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โยนิโส มนสิกโรนฺโต ความว่า ยังโยนิโส-

มนสิการให้เป็นไปในอริยสัจ ๔ ว่า นี้ ทุกขอริยสัจ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดังนี้.

ต่อไปนี้เป็นความอธิบายอย่างแจ่มแจ้งในอริยสัจ ๔ นั้น. พระสูตรนี้

หมายเอาเสกขบุคคลโดยไม่แปลกกันโดยแท้. แต่เราจักกล่าวกรรมฐานด้วยสามารถ

มรรค ๔ ผล ๔ โดยทั่วไป โดยสังเขป. พระโยคาวจรใดผู้บำเพ็ญกรรมฐาน

คือ อริยสัจ ๔ เป็นผู้บำเพ็ญกรรมฐาน คือ อริยสัจ ๔ ในสำนักอาจารย์มาก่อน

อย่างนี้ว่า ขันธ์ทั้งหลายอันเป็นไปในภูมิ ๓ มีตัณหา เป็นโทษ เป็นทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 119

ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ความไม่เป็นไปของทั้งสองนั้นเป็นความดับทุกข์

การให้ถึงความดับทุกข์ เป็นมรรค ดังนี้ สมัยต่อมา พระโยคาวจรนั้นขึ้นสู่

วิปัสสนามรรค ย่อมพิจารณาขันธ์อันเป็นไปในภูมิ ๓ โดยแยบคายว่า นี้ทุกข์

คือ พิจารณาและเห็นแจ้งโดยอุบาย คือ โดยคลองธรรม. ความจริง ในสูตรนี้

ท่านกล่าวถึงวิปัสสนาด้วยหัวข้อมนสิการ. พระโยคาวจรย่อมมนสิการโดย

แยบคายว่า ตัณหา มีในภพก่อนอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นั้น ชื่อว่า ทุกข-

สมุทัย. ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า ก็เพราะนี้ทุกข์ นี้สมุทัย ทุกข์ทั้งหลายถึง

ฐานะนี้แล้ว ย่อมดับ ย่อมไม่เป็นไป ฉะนั้นจึงถือว่า นิพพานนี้คือ ทุกขนิโรธ.

พระโยคาวจร ย่อมมนสิการโดยแยบคาย ย่อมพิจารณาและย่อมเห็นแจ้งมรรค

มีองค์ ๘ อันทำให้ถึงความดับทุกข์โดยอุบายโดยคลองว่า นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา.

ในข้อนั้น ชื่อว่ายึดมั่นโดยอุบายนี้ย่อมมีในขันธ์ ๕ ไม่มีในนิพพาน.

เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายดังต่อไปนี้. พระโยคาวจร ยึด มหาภูตรูป ๔ โดยนัย

มีอาทิว่า ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ มีอยู่ในกายนี้ และ อุปาทารูป โดยทำนอง

เดียวกับมหาภูตรูป ๔ นั้น แล้วกำหนดว่า นี้รูปขันธ์ ดังนี้. เมื่อให้กำหนด

ดังนั้น จึงกำหนดถึงธรรม คือ จิตและเจตสิก อันมีรูปขันธ์นั้นเป็นอารมณ์ว่า

ธรรมเหล่านี้คือ อรูปขันธ์ ๔. จากนั้นย่อมกำหนดว่า ขันธ์ ๕ เหล่านี้เป็นทุกข์.

ก็ขันธ์ เหล่านั้นโดยย่อมีสองส่วน คือ นามและรูป. พระโยคาวจรย่อมกำหนด

เหตุและปัจจัยว่า ก็นามรูปนี้ มีเหตุ มีปัจจัย จึงเกิดขึ้น อวิชชา ภพตัณหาเป็นต้น

นี้ เป็นเหตุของนามรูปนั้น อาหารเป็นต้นเป็นปัจจัยของนามรูปนั้น. พระโยคา-

วจรนั้น กำหนดลักษณะพร้อมด้วยกิจรสของปัจจัยทั้งหลายเหล่านั้น และธรรม

ที่เกิดโดยปัจจัย ตามความเป็นจริงแล้ว ยกขึ้นสู่อนิจจลักษณะว่า ธรรมทั้งหลาย

เหล่านี้ไม่มีแล้ว ครั้นมีแล้วย่อมดับไป เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายจึงไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 120

ย่อมยกขึ้นสู่ทุกขลักษณะว่า ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะถูกความเกิด

ความเสื่อม เบียดเบียน. ย่อมยกขึ้นสู่อนัตตลักษณะว่า ธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า

เป็นอนันตตา เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ. พระโยคาวจรครั้นยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์

อย่างนี้แล้ว เห็นแจ้งอยู่กำหนดทางและมิใช่ทางว่า เมื่อวิปัสสนูปกิเลสมีแสงสว่าง

เป็นต้นเกิดขึ้นในขณะอุทยัพพยญาณเกิด นี้ไม่ใช่ทาง อุทยัพพยญาณเท่านั้นเป็น

อุบาย คือ เป็นทางอันเป็นส่วนเบื้องต้นของอริยมรรคแล้ว ยังอุทยัพพยญาณ

และภังคญาณเป็นต้นให้เกิดขึ้นตามลำดับ ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.

ในขณะนั้นพระโยคาวจรย่อมแทงตลอดอริยสัจ ๔ โดยการแทงตลอดครั้ง

เดียวเท่านั้น ย่อมตรัสรู้ด้วยการตรัสรู้ครั้งเดียว. ในอริยสัจนั้นพระโยคาวจร

ย่อมแทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดด้วยกำหนดรู้ ย่อมตรัสรู้ด้วยการตรัสรู้

ครั้งเดียว. ในอริยสัจนั้น พระโยคาวจร แทงตลอดทุกข์ด้วยการแทงตลอดด้วย

กำหนดรู้ แทงตลอดสมุทัยโดยแยบคายด้วยการแทงตลอดด้วยการละ ย่อมละ

อกุศลทั้งปวงได้. พระโยคาวจรแทงตลอดนิโรธโดยการตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง

แทงตลอดมรรคโดยการตรัสรู้ด้วยภาวนา ย่อมเจริญกุศลทั้งปวง. จริงอยู่ อริย-

มรรคชื่อว่ากุศล เพราะอรรถว่ากำจัดสิ่งที่น่าเกลียดโดยตรง ก็เมื่อเจริญอริย-

มรรคแล้ว โพธิปักขิยธรรมอันหาโทษมิได้ เป็นกุศลแม้ทั้งหมดก็ย่อมถึงความ

บริบูรณ์ด้วยภาวนา เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรเมื่อมนสิการโดยแยบคายอย่างนี้

ย่อมละอกุศลเสียได้ ย่อมเจริญธรรมที่เป็นกุศล. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเป็นอาทิว่า พระโยคาวจรย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย

ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแม้ข้ออื่นอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

ภิกษุถึงพร้อมแล้วด้วยโยนิโสมนสิการ ภิกษุจักเจริญมรรคองค์ ๘ อันเป็น

อริยะที่จะพึงหวังได้ จักทำให้มากซึ่งมรรคมีองค์ ๘ อัน เป็นอริยะ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 121

ต่อไปนี้เป็นความย่อแห่งคาถาว่า โยนิโส มนสิกาโร. ชื่อว่า เสกขะ

เพราะยังต้องศึกษาสิกขาบททั้งหลาย หรือเพราะยังมีการศึกษาอยู่เป็นปกติ.

ชื่อว่า ภิกษุ เพราะเห็นภัยในสงสาร. ธรรมไร ๆ อื่นที่มีอุปการะมาก

เหมือนอย่างโยนิโสมนสิการ เพื่อให้ภิกษุผู้ยังเป็นเสกขะนั้นบรรลุพระอรหัต

อัน มีประโยชน์อย่างสูงสุด ย่อมไม่มี. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะ

พระโยคาวจรมุ่งมนสิการ โดยอุบายอันแยบคาย แล้วเริ่มตั้งความเพียรด้วย

สัมมัปปธาน ๔ อย่าง พึงถึงความสิ้นทุกข์ได้ คือ พึงถึง พึงบรรลุพระนิพพาน

อันเป็นที่สิ้นสุดวัฏทุกข์อันเศร้าหมองสิ้นเชิง ฉะนั้น โยนิโสมนสิการจึงเป็น

ธรรมมีอุปการะมาก ดังนี้.

จบอรรถกถาปฐมเสกขสูตรที่ ๖

๗. ทุติยเสขสูตร

ว่าด้วยความมีมิตรดี

[๑๙๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุผู้เป็นพระเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล

ปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม เราไม่พิจารณาเห็นแม้เหตุอันหนึ่ง

อย่างอื่น การทำเหตุที่มี ณ ภายนอกว่ามีอุปการะมาก เหมือนความมีมิตรดี

นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีมิตรดีย่อมละอกุศลเสียได้ ย่อมเจริญ

กุศลให้เกิดมี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 122

ภิกษุใดผู้มีมิตรดี มีความยำเกรง

ความเคารพ กระทำตามคำของมิตรดี

ทั้งหลาย มีสติสัมปชัญญะ ภิกษุนั้นพึง

บรรลุธรรม อันเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์

ทั้งปวงโดยลำดับ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทุติยเสขสูตรที่ ๗

อรรถกถาทุติยเสขสูตร

ในทุติยเสขสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ต่อไปนี้ :-

บทว่า พาหิร ได้แก่ เหตุที่มี ณ ภายนอก จากสันดานในภายใน.

บทว่า กลฺยาณมิตฺตตา ได้แก่บุคคลผู้ที่สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เป็นผู้

กำจัดความชั่วร้าย เป็นผู้ส่งเสริมประโยชน์ เป็นมิตรมีอุปการะทุกสิ่งทุกอย่าง

ชื่อว่า เป็นกัลยาณมิตร. ความเป็นกัลยาณมิตรนั้นชื่อว่า กลฺยาณมิตฺตตา.

ในบทว่า กลฺยาณมิตฺตตา นั้นมีอธิบายดังนี้ ตามปกติกัลยาณมิตร

นี้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วย ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา.

กัลยาณมิตรเพราะถึงพร้อมด้วยศรัทธา ย่อมเชื่อการตรัสรู้ของพระตถาคต

ย่อมไม่สละการแสวงหาประโยชน์สุขในสัตว์ทั้งหลายที่เกิดขึ้น เพราะเหตุการ

ตรัสรู้ชอบนั้น เพราะถึงพร้อมด้วยศีล จึงย่อมเป็นที่รัก และเป็นที่เคารพของ

เพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย เป็นผู้น่ายกย่อง คอยตักเตือน ตำหนิบาป คอย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 123

ว่ากล่าว อดทนถ้อยคำ เพราะถึงพร้อมด้วยสุตะ จึงเป็นผู้กล่าวถ้อยคำที่ลึกซึ้ง

มีขันธ์ อายตนะ สัจจะ ปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น เพราะถึงพร้อมด้วยจาคะ

จึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย เป็นผู้สันโดษ มีความสงัด ไม่คลุกคลี เพราะ

ถึงพร้อมด้วยวิริยะ จึงเป็นผู้เพียรพยายามในการปฏิบัติประโยชน์แก่ตนและ

คนอื่น เพราะถึงพร้อมด้วยสติ จึงเป็นผู้มีสติมั่น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความ

รอบคอบ คือ สติอย่างเยี่ยม เป็นผู้ระลึกได้ จำได้แม้สิ่งที่ทำ แม้คำที่พูด

นานมาแล้ว เพราะถึงพร้อมด้วยสมาธิ จึงเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน เป็นผู้มั่นคง

มีจิตแน่วแน่ และเพราะถึงพร้อมด้วยปัญญา จึงย่อมรู้สิ่งที่ไม่วิปริต.

กัลยาณมิตรนั้น แสวงหาคติธรรมทั้งที่เป็นกุศล และอกุศลด้วยสติ รู้ประโยชน์

สุขของสัตว์ทั้งหลายตามความเป็นจริงด้วยปัญญา เป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านใน

อารมณ์นั้นด้วยสมาธิ ปรามสัตว์ทั้งหลายจากสิ่งไม่เป็นประโยชน์ด้วยความเพียร

ย่อมชักชวนในสิ่งที่มีประโยชน์อย่างเดียว. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ปิโย ครุ ภาวนีโย วตฺตา จ วจนกฺขโม

คมฺภีรญฺจ กถ กตฺตา โน จฏฺาเน นิโยชเย

กัลยาณมิตร เป็นผู้น่ารัก น่าเคารพ

น่ายกย่อง เป็นผู้ว่ากล่าวตักเตือน อดทน

ถ้อยคำ กล่าวถ้อยคำลึกซึ้ง ไม่ชักชวน

ในทางที่ไม่ใช่ฐานะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นกัลยาณมิตรย่อมละอกุศล เจริญกุศล

เพราะเหตุนั้น บุคคลผู้เป็นกัลยาณมิตร อาศัยภิกษุผู้เป็นกัลยาณมิตร ยัง

กัมมัสสกตาญาณให้เกิด ย่อมทำศรัทธาที่เกิดขึ้นแล้วให้คงที่ เกิดศรัทธาแล้ว

ก็เข้าไปหา ครั้นเข้าไปหาแล้ว ย่อมฟังธรรม ครั้นฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้

ศรัทธาในพระตถาคต ด้วยการได้ศรัทธานั้น จึงละการอยู่ครองเรือนออกบวช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 124

ทำปาริสุทธศีล ๔ ให้ถึงพร้อม สมาทานธุตธรรม (ธรรมอันกำจัดกิเลส)

เป็นไปตามกำลัง เป็นผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ เป็นผู้ปรารภความเพียรอยู่ เข้าไปตั้ง

สติไว้ มีสัมปชัญญะ เจริญโพธิปักขิยธรรมตลอดคืนยังรุ่ง ในไม่ช้าทำวิปัสสนา

ให้ตัดขาดอกุศลทั้งหมด ด้วยการบรรลุอริยมรรค และยังกุศลธรรมทั้งปวง

ให้เจริญถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนเมฆิยะ ข้อที่ภิกษุผู้เป็นกัลยาณมิตร หวังต่อสหายดี เพื่อนดี จักเป็น

ผู้มีศีล จักเป็นผู้สำรวมในปาฏิโมกข์ จักเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร

จักเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย จักสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย

ข้อที่ภิกษุผู้เป็นกัลยาณมิตร ฯลฯ เพื่อนดี เป็นผู้มีถ้อยคำขัดเกลากิเลส ถ้อยคำ

เปิดใจอย่างสบาย จักเป็นไปเพื่อความเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว ฯลฯ เพื่อ

นิพพาน คือ

๑. อปฺปิจฺฉกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้มีความปรารถนาน้อย

๒. สนฺตุฏิกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สันโดษ

๓. ปวิเวกกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้สงัด

๔. อสสคิคกถา ถ้อยคำชักนำไม่ให้ระคนด้วยหมู่

๕. วิรยารมฺภกถา ถ้อยคำชักนำให้ปรารภความเพียร

๖. สีลกถา ถ้อยคำชักนำให้ตั้งอยู่ในศีล

๗. สมาธิกถา ถ้อยคำชักนำให้ทำใจให้สงบ

๘. ปญฺากถา ถ้อยคำชักนำให้เกิดปัญญา

๙. วิมุติติกถา ถ้อยคำชักนำให้ทำใจให้พ้นจากกิเลส

๑๐. วิมุตติาณทสฺสนกถา ถ้อยคำชักนำให้เกิดความรู้ความเห็น

ในการพ้นจากกิเลส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 125

ด้วยถ้อยคำเห็นปานนี้ ภิกษุจักได้โดยง่าย จักได้โดยไม่ยาก จักได้

โดยไม่ลำบาก. ข้อที่ภิกษุผู้เป็นกัลยาณมิตร ฯลฯ มีเพื่อนดี จักเป็นผู้ปรารภ

ความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อให้เกิดกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลังใจ มีความ

เพียรมั่นไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ข้อที่ภิกษุผู้เป็นกัลยาณมิตร ฯลฯ

มีเพื่อนดี จักเป็นผู้มีปัญญา จักเป็นผู้ประกอบด้วยอุทยัตถคามินีปัญญา (รู้ความ

เกิดและความเสื่อม) เพื่อให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อันเป็นการตรัสรู้อย่าง

ประเสริฐ พึงทราบนิมิต คือ การหลุดพ้นจากวัฏทุกข์ทั้งสิ้นว่า กลฺยาณ-

มิตฺตตา อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึง

ตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ สัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา มีความ

แก่เป็นธรรมดา ย่อมพ้นจากชาติชรา เพราะอาศัยเราผู้เป็นกัลยาณมิตร. สมดัง

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นกัลยาณมิตร

ย่อมละอกุศล เจริญกุศล ดังนี้.

พึงทราบความแห่งคาถาต่อไปนี้ บทว่า สปฺปฏิสฺโส ชื่อว่า สปฺปฏิสฺ-

โส เพราะเป็นไปกับด้วยความยำเกรง คือ การรับฟัง. เป็นผู้น้อมรับโอวาท

ของกัลยาณมิตร อธิบายว่า เป็นผู้ว่าง่าย. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ให้โอวาทชื่อ

ปติสสะ เพราะปรารถนาให้เกิดประโยชน์สุข. ชื่อสัปปฏิสสะ เพราะเป็นไปกับ

ด้วยความปรารถนานั้น ประกอบด้วยความเคารพ และความเอื้อเฟื้อ. มาก

ด้วยความเคารพยำเกรงในครู. บทว่า สคารโว ได้แก่ ประกอบด้วยคารวธรรม

๖ อย่าง. บทว่า กร มิตฺตาน วจน ได้แก่ กระทำตามโอวาท คือปฏิบัติ

ตามโอวาทของกัลยาณมิตรทั้งหลาย. บทว่า สมฺปชาโน ได้แก่ ประกอบ

ด้วยสัมปชัญญะ ๗ อย่าง. บทว่า ปฏิสฺสโต ได้แก่ มีสติ คือ ทำอย่างมีสติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 126

ด้วยสติอันสามารถให้เกิดความมั่นคงของกรรมฐานได้. บทว่า อนุปุพฺเพน

ได้แก่ โดยลำดับแห่งศีลวิสุทธิเป็นต้น คือโดยลำดับแห่งวิปัสสนาและลำดับ

แห่งมรรคในศีลวิสุทธิเป็นต้นนั้น. บทว่า สพฺพสโยชนกฺขย ความว่า พึงถึง

คือ พึงบรรลุพระนิพพานอันเป็นอารมณ์แห่งพระอรหัต อันเป็นที่สิ้นสุดกล่าว

คือ ความสิ้นแห่งสังโยชน์ทั้งปวง เพราะสังโยชน์ทั้งหมด มีกามราคสังโยชน์

เป็นต้นสิ้นไป.

ในสองสูตรเหล่านี้พึงทราบว่า พระศาสดาทรงถือเอาองค์แห่งความ-

เพียรของการบรรลุอริยมรรค ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาทุติยเสขสูตรที่ ๗

๘. เภทสูตร

ว่าด้วยสังฆเภทให้ตกนรกตลอดกัป

[๑๙๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น

เพื่อความไม่เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อไม่ใช่ความสุขแก่ชนมาก เพื่อความ

ฉิบหายแก่ชนมาก เพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน. คือ สังฆเภท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์แตก

กันแล้วย่อมมีการบาดหมางซึ่งกันและกัน มีการบริภาษซึ่งกันและกัน มีการ

ดูหมิ่นซึ่งกันและกัน มีการขับไล่ซึ่งกันและกัน ในเพราะสงฆ์แตกกันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 127

ชนทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใส ย่อมไม่เลื่อมใส และผู้เลื่อมใสบางพวกย่อมเป็น

อย่างอื่นไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ผู้ทำลายสงฆ์ต้องไปเกิดในอบาย

ตกนรกตั้งอยู่ตลอดกัป ผู้มีความยินดีใน

พวก ตั้งอยู่ในอธรรม ย่อมเสื่อมจากธรรม

อันเกษมาจากโยคะ ผู้นั้นครั้นทำลายสงฆ์

ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมหมกไหม้อยู่

ในนรกตลอดกัป.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบเภทสูตรที่ ๘

อรรถกถาเภทสูตร

ในเภทสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอกธมฺโม ได้แก่ ความตั้งขึ้นของพระสูตรนี้เป็นไฉน.

คือ อตฺถุปฺปตฺติโก (มีเรื่องเกิดขึ้น). ความย่อในข้อนั้นมีดังต่อไปนี้.

มีเรื่องว่า พระเทวทัต ชักชวนพระเจ้าอชาตศัตรูให้ถือผิด ให้ฆ่า

พระเจ้าพิมพิสารผู้เป็นพระชนกของพระองค์บ้าง ชักชวนนายขมังธนูให้ฆ่าบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 128

กระทำโลหิตุบาทด้วยการกลิ้งศิลาบ้าง โทษนั้นยังไม่ปรากฏก่อน แต่ที่ปรากฏ

ตอนปล่อยช้างนาฬาคิรี. ครั้งนั้น มหาชนได้เกรียวกราวขึ้นว่า พระราชาทรง

เที่ยวคบคนชั่วเห็นปานนี้. ได้มีประกาศกันแพร่หลาย. พระราชาครั้นสดับดังนั้น

จึงรับสั่งให้งดถาดอาหาร ๕๐๐ ที่พระองค์พระราชทาน ไม่เสด็จไปอุปถัมภ์

พระเทวทัตอีกต่อไป. แม้ชาวเมืองก็พากันไม่ให้อาหารเพียงทัพพีหนึ่งแก่พระ-

เทวทัตผู้เข้าไปหาตระกูล. พระเทวทัตนั้นเสื่อมจากลาภและสักการะ ประสงค์

จะดำรงชีวิตด้วยการหลอกลวง จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอวัตถุ ๕ ประการ

ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามด้วยพุทธดำรัสมีอาทิว่า อย่าเลยเทวทัต ภิกษุใด

ปรารถนา ภิกษุนั้นจงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรเถิด. พระเทวทัต ยังชนผู้เลื่อมใส

ในความเศร้าหมอง เป็นคนโง่ให้เห็นชอบด้วยวัตถุ ๕ ประการนั้น ให้ภิกษุวัชชี

บุตร ๕๐๐ จับสลาก แล้วทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ได้พาภิกษุเหล่านั้นไปยัง

คยาสีสประเทศ.

ลำดับนั้น พระอัครสาวก ๒ รูป โดยพระพุทธดำรัสของพระศาสดาพา

กันไป ณ คยาสีสประเทศนั้น แสดงธรรมให้ภิกษุ ๕๐๐ เหล่านั้นตั้งอยู่ในอริยผล

แล้วนำกลับมา. ส่วนภิกษุเหล่าใด ชอบใจลัทธิของพระเทวทัตผู้พยายามเพื่อ

ทำลายสงฆ์ ยังยกย่องอยู่อย่างเดิม เมื่อสงฆ์กำลังจะแตก และแตกแล้วได้เกิด

ความชอบใจ ข้อนั้นได้ปรากฏเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่

ภิกษุเหล่านั้น. ในไม่ช้านั่นเอง พระเทวทัตก็ถูกโรคเบียดเบียน อาพาธหนัก

ใกล้จะตาย คิดว่า เราจักถวายบังคมพระศาสดา จึงให้เขานำขึ้นบนเตียงไปวางไว้

ณ ฝั่งสระโบกขรณีใกล้พระเชตวัน ขณะนั้นแผ่นดินก็แยกออก พระเทวทัต

ตกลงไปบังเกิดในอเวจีมหานรก. ร่างของพระเทวทัตสูง ๑๐๐ โยชน์ ถูกหลาว

เหล็กขนาดลำตาลเสียบอยู่ตลอดกัป. และตระกูลประมาณ ๕๐๐ ที่ฝักใฝ่กับ

พระเทวทัตยึดมั่นในลัทธิของพระเทวทัตนั้น พร้อมด้วยพวกก็ไปเกิดในนรก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 129

วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ประชุมสนทนากัน ณ ธรรมสภาว่า อาวุโส

ทั้งหลาย พระเทวทัตทำลายสงฆ์ให้แตกกัน เป็นการทำกรรมหนักนัก. ลำดับนั้น

พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังธรรมสภา ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พวกเธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรเมื่อภิกุษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบ

แล้ว เมื่อจะทรงแสดงถึงโทษในการทำลายสงฆ์ จึงได้ตรัสพระสูตรนี้. แต่อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นความที่พระเทวทัตและผู้ฝักใฝ่ใน

พระเทวทัตนั้น บังเกิดในนรกอย่างนั้นแล้ว เมื่อทรงแสดงโทษในการทำลาย

สงฆ์ จึงทรงแสดงพระสูตรนี้ด้วยอัธยาศัยของพระองค์เอง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกธมฺโม ได้แก่ ธรรมมีโทษมากเป็น

อกุศลอย่างหนึ่ง. บทว่า โลเก ได้แก่สัตวโลก. ในบทว่า อุปฺปชฺชมาโน

อุปฺปชฺชติ นี้ มีอธิบายว่า เมื่อการบาดหมางเป็นต้น อันเป็นไปในการ

ทำลาย เกิดขึ้นในสงฆ์ก็ดี พูดด้วยจะแสดงเภทกรวัตถุ (เรื่องทำให้แตกกัน)

๑๘ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง มีอาทิว่า ธรรม อธรรม ดังนี้ก็ดี ประกาศ

เพื่อให้เกิดความชอบใจในการทำลายสงฆ์นั้นก็ดี ครั้นประกาศจับสลากแล้วก็ดี

สังฆเภท เป็นอันชื่อว่า เกิดขึ้น. เมื่อให้จับสลากแล้ว ภิกษุ ๔ รูป หรือ

เกินกว่า ๔ รูป แยกกันกระทำอุเทศหรือสังฆกรรมเมื่อใด เมื่อนั้น สังฆเภท

ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น. เมื่อทำสังฆเภทแล้ว ชื่อว่า การทำลายได้เกิดขึ้นแล้ว.

กรรมก็ดี อุเทศก็ดี เป็นข้อกำหนดในเหตุแห่งการทำลายสงฆ์ ๕ เหล่านี้ คือ

กรรม อุเทศ โวหาร อนุสสาวนะ (การประกาศ) สลากัคคาหะ (การจับสลาก)

ส่วนโวหาร อนุสสาวนะ และสลากัคคาหะ เป็นส่วนเบื้องต้น.

ในบทว่า พหุชนาทิตาย เป็นต้น มีเนื้อความเชื่อมกัน ดังนี้ ธรรม

อย่างหนึ่งย่อมเกิดขึ้นเพื่อความไม่เกื้อกูลแก่มหาชน โดยห้ามสมบัติมีฌานและ

มรรคเป็นต้น เพื่อไม่ใช่ความสุขแก่มหาชน โดยห้ามสมบัติ คือ สวรรค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 130

เพื่อความฉิบหายแก่มหาชน โดยเป็นเหตุให้เกิดในอบาย เพื่อความไม่เกื้อกูล

แก่มหาชนโดยอกุสลธรรม เพื่อทุกข์ทางกาย ทางใจ อันจะทำให้เกิดในสุคติ

เพราะไม่มีมรรคเกื้อกูล. บทว่า เทวมนุสฺสาน นี้ แสดงถึงบุคคลชั้นยอด

ในเมื่อท่านกล่าวว่า พหุโน ชนสฺส ดังนี้.

อีกนัยหนึ่ง บทว่า พหุชนาหิตาย ได้แก่ เพื่อไม่เกื้อกูลแก่ชนมาก

คือ แก่หมู่สัตว์มาก. อธิบายว่า เพื่อความไม่เป็นประโยชน์ในทิฏฐธรรมและ

สัมปรายภพ บทว่า อสุขาย ได้แก่ เพื่อไม่ใช่ความสุข ในทิฏฐธรรมและ

สัมปรายภพ. อธิบายว่า เพื่อความทุกข์สองอย่าง. บทว่า อนตฺถาย ได้แก่

เพื่อพลาดประโยชน์อย่างยิ่ง. จริงอยู่ พระนิพพาน ชื่อว่า ประโยชน์อย่างยิ่ง.

ประโยชน์ยิ่งกว่าพระนิพพานนั้นไม่มี. บทว่า อหิตาย ได้แก่ เพื่อพลาด

สวรรค์และมรรค. จริงอยู่ ชื่อว่า ประโยชน์เกื้อกูลยิ่งกว่ามรรค อันเป็นทาง

ให้ถึงประโยชน์เกื้อกูล คือ พระนิพพาน ไม่มี. บทว่า ทุกฺขาย ได้แก่

เพื่อทุกข์ในวัฏฏะ โดยพลาดจากอริยสุข. จริงอยู่ ผู้ที่พลาดจากอริยสุขเสียแล้ว

ไม่ควรบรรลุอริยสุขนั้น เขาย่อมน้อมไปในวัฏทุกข์. จริงอยู่ ชื่อว่า สุข

ยิ่งกว่าอริยสุขไม่มี. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สมาธินี้ เป็นสุขใน

ปัจจุบันและเป็นผลของสุขต่อไป.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงโดยสรุปของ บทว่า สฆเภโท

แล้ว เพื่อทรงประกาศภาวะแห่งสังฆเภทนั้น เป็นเหตุของความไม่เกื้อกูลเป็นต้น

โดยส่วนเดียว จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า สเฆ โข ปน ภิกฺขเว ภินฺเน ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภินฺเน เป็นสัตตมีวิภัตติ ในอรรถว่า นิมิต

เหมือนอย่างว่า ในเพราะทรัพย์ไม่เกิดแก่คนไม่มีทรัพย์. อธิบายว่า เพราะเหตุ

แตกกัน. บทว่า อญฺมญฺภณฺฑนานิ ได้แก่ เถียงกันและกันว่า นี้ธรรม

นี้ไม่ใช่ธรรม ของบริษัท ๔ และของผู้ที่เป็นฝ่ายของบริษัทนั้น. จริงอยู่ ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 131

บาดหมางเป็นเบื้องต้นของการทะเลาะ. บทว่า ปริภาสา ได้แก่คุกคามโดยให้เกิด

ความกลัวว่า เราจักทำความฉิบหายนี้ ๆ แก่พวกท่าน ดังนี้ . บทว่า ปริกฺเขปา

ได้แก่ ดูหมิ่นด้วยชาติเป็นต้น คือ ด่าและสบประมาท ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐.

บทว่า ปริจฺจชนา ได้แก่ ขับไล่ให้ออกไปโดยทำอุกเขปนียกรรม (การลงโทษ

ให้ออกจากหมู่) เป็นต้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในเพราะสงฆ์แตกกันนั้น

หรือในเพราะความบาดหมางกันเป็นต้น อันเป็นนิมิตแห่งสังฆเภทนั้น. บทว่า

อปฺปสนฺนา ได้แก่ ชนผู้ไม่รู้ถึงคุณของพระรัตนตรัย. บทว่า นปฺปสีทนฺติ

ได้แก่ ไม่เลื่อมใสอย่างอาการเลื่อมใสในภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุเหล่านี้เป็นผู้

ประพฤติธรรม เป็นผู้ประพฤติสม่ำเสมอเป็นต้น หรือไม่สนใจที่จะฟัง จะเชื่อ

ภิกษุเหล่านั้น . อนึ่ง เป็นผู้ไม่เลื่อมใสในพระธรรมและในพระศาสดาก็เหมือน-

กัน. บทว่า เอกจฺจาน อญฺถตฺต ได้แก่ ปุถุชนผู้มีศรัทธาไม่แก่กล้าก็จะ

เลื่อมใสอย่างอื่นไป.

จะอธิบายในคาถาต่อไป. ในบทว่า อาปายิโก เป็นต้น ชื่อว่า

อาปายิโก เพราะควรจะไปบังเกิดในอบาย. ชื่อว่า เนรยิโก เพราะจะต้อง

เกิดในมหานรก คือ อเวจีนั้น. ชื่อว่า กปฺปฏฺโ เพราะตั้งอยู่ในมหา

นรกนั้นตลอดอันตรกัปหนึ่งบริบูรณ์. ชื่อว่า วคฺครโต เพราะยินดีในพวก

ทำลายสงฆ์ด้วยกัน. ชื่อว่า อธมฺโม เพราะไม่ใช่ธรรม. ชื่อว่า อธมฺมฏฺโ

เพราะตั้งอยู่ในอธรรม คือ ทำลายสงฆ์ด้วยเภทกรวัตถุ (เรื่องทำการทำลาย).

บทว่า โยคกฺเขมโต ได้แก่ ย่อมกำจัด คือ ย่อมเสื่อมจากธรรมอันเกษมจาก

โยคะนั้น. พระอรหัตและพระนิพพาน ชื่อว่า เกษมจากโยคะ เพราะปลอดจาก

โยคะ ๔ แต่ไม่ควรพูดถึง ในการกำจัดพระอรหัตและพระนิพพานนั้นจากธรรม

อันเกษมจากโยคะนั้น. ชื่อว่า สฆ เพราะอรรถว่า สืบต่อจากความเป็นผู้มี

ทิฏฐิและศีลเสมอกัน. ชื่อว่า สมคฺค คือให้ความเกื้อกูลกัน เพราะประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 132

แบบแผนมีกรรมอย่างเดียวกัน. บทว่า เภตฺวาน ได้แก่ ทำลายโดยให้สงฆ์

แตกกัน อันมีลักษณะดังที่ได้กล่าวมาก่อนแล้ว. บทว่า กปฺป ได้แก่ อายุกัป.

ก็อายุกัปในที่นี้ คือ อันตรกัปนั่นเอง. บทว่า นิรยมฺหิ ได้แก่ อเวจี-

มหานรก.

จบเภทสูตรที่ ๘

๙. โมทสูตร

ว่าด้วยสังฆสามัคคีให้ขึ้นสวรรค์

[๑๙๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมือเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น

เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อประโยชน์

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ สังฆสามัคคี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อสงฆ์

พร้อมเพรียงกันอยู่ ย่อมไม่มีการบาดหมางซึ่งกันและกัน ไม่มีการบริภาษ

ซึ่งกันและกัน ไม่มีการขับไล่ซึ่งกันและกัน ในเพราะสังฆสามัคคีนั้น ชน-

ทั้งหลายผู้ยังไม่เลื่อมใสย่อมเลื่อมใส และชนผู้เลื่อมใสแล้วย่อมเลื่อมใสยิ่ง ๆ ขึ้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ความพร้อมเพรียงของหมู่ให้เถิดสุข

และการอนุเคราะห์ซึ่งหมู่ผู้พร้อมเพรียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 133

กันให้เกิดสุข ผู้ยินดีแล้วในหมู่ผู้พร้อม-

เพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่เสื่อม

จากธรรมอันเกษมจากโยคะ ผู้นั้นกระทำ

หมู่ให้พร้อมเพรียงกันแล้ว ย่อมบันเทิงใน

สวรรค์ตลอดกัป.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบโมทสูตรที่ ๙

อรรถกถาโมทสูตร

ในโมทสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอกธมฺโม ได้แก่ ธรรมเป็นกุศล คือ ธรรมไม่มีโทษอย่างหนึ่ง.

ก็หากว่า ความวิวาทจะพึงเกิดขึ้นในสงฆ์ว่า นี้ธรรม นี้ไม่ใช่ธรรมเป็นต้น

ในข้อนั้น วิญญูชนผู้ใคร่ธรรมควรสำเหนียกว่า ข้อนั้นเป็นยานะที่จะมีได้

คือ ความวิวาท เมื่อเจริญขึ้นพึงเป็นไป เพื่อความร้าวรานแห่งสงฆ์ หรือ

เพื่อความทำลายสงฆ์. หากว่า อธิกรณ์นั้นตนยกขึ้นตั้งไว้เอง ควรรีบงดเว้น

จากอธิกรณ์นั้น เหมือนเหยียบไฟ ฉะนั้น. เมื่อถูกคนอื่นยกอธิกรณ์ขึ้น หาก

สามารถจะสงบอธิกรณ์นั้นด้วยตนเอง พึงพยายามไปเสียให้ไกล ปฏิบัติเหมือน

อย่างที่อธิกรณ์นั้นสงบลง. แต่หากไม่สามารถให้สงบด้วยตนเองได้ ความวิวาท

นั้นยังเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น ไม่สงบลงได้ ก็ขอให้เพื่อนสพรหมจารีผู้ใคร่การศึกษา

ผู้เหมาะสมในเรื่องนั้นช่วยเหลือ ระงับอธิกรณ์นั้นโดยธรรม โดยวินัย โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 134

สัตถุสาสน์พึงให้อธิกรณ์สงบอย่างนี้. เมื่ออธิกรณ์สงบอย่างนี้ กุศลธรรมอัน

ทำความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ ท่านประสงค์ว่า เอกธรรม ในที่นี้. จริงอยู่

กุศลธรรมนั้นปลดเปลื้องธรรมเศร้าหมองอันจะนำสิ่งไม่เป็นประโยชน์ และ

ความทุกข์อันควรเกิดของภิกษุทั้งหลาย ผู้ฝักใฝ่ทั้งสองข้างเกิดความสงสัยกัน

ของภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกาผู้ดำรงอยู่ ด้วยประพฤติตามภิกษุเหล่านั้น ของ

อารักขเทวดาเหล่านั้นตลอดถึงเทพและพรหม แล้วนำสิ่งที่เป็นประโยชน์และ

ความสุขให้แก่ชาวโลกพร้อมด้วยเทวดา เพราะกุศลธรรมนั้นเป็นเหตุแห่งกอง

บุญ เป็นที่หลั่งไหลแห่งกุศล. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เอกธมฺโม ภิกฺขเว โลเก อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ พหุชนหิตาย เป็นต้น

แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้น

เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก.

พึงทราบเนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นั้น โดยตรงกันข้ามกับที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในสูตรก่อน. บทว่า สฆสฺส สามคฺคี ได้แก่

ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ คือ ความไม่มีแตกกัน ความมีธรรมอย่างเดียวกัน

และความมีอุทเทสอย่างเดียวกัน.

ในคาถามีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี ความ

พร้อมเพรียงของหมู่ให้เกิดสุข ได้แก่ความสามัคคี ท่านกล่าวว่า เป็นความสุข

เพราะความสามัคคีเป็นปัจจัยแห่งความสุข เหมือนที่ท่านกล่าวว่า สุโข

พุทฺธาน อุปฺปาโท ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นความสุข.

บทว่า สมคฺคานญฺจนุคฺคโห ได้แก่ การอนุเคราะห์ผู้พร้อมเพรียงกัน

ด้วยการอนุโมทนาในความพร้อมเพรียงกัน คือ อนุรูปแก่สามัคคี อธิบายว่า

การถือเอาคือดำรงไว้ เพิ่มกำลังให้ โดยอาการที่ผู้พร้อมเพรียงเหล่านั้นจะไม่

ละความสามัคคี. บทว่า สมคฺค กตฺวาน ได้แก่ กระทำหมู่ที่แตกกันหรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 135

ถึงความร้าวฉานกัน ให้พร้อมเพรียงกัน คือ ให้มีความเกื้อกูลกัน. บทว่า

กปฺป ได้แก่ อายุกัปนั้นเอง. บทว่า สคฺคมฺหิ โมทติ ได้แก่ ครอบงำ

เทวโลกอื่นในกามาวจรเทวโลกโดยฐานะ ๑๐ เสวยทิพยสุข ย่อมบันเทิง คือ

ย่อมเสวย ย่อมเล่น ด้วยความสำเร็จที่ตนปรารถนาแล้ว.

จบอรรถกถาโมทสูตรที่ ๙

๑๐. ปุคคลสูตร

ว่าด้วยจิตขุนมัวพาไปสู่ทุคติ

[๑๙๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้จิตของบุคคลบางคนในโลกนี้

ผู้มีจิตขุ่นมัว ด้วยจิตอย่างนี้แล้ว ถ้าในสมัยนี้ บุคคลนี้พึงกระทำกาละไซร้

เขาถูกกรรมของตนซัดไปในนรก เหมือนถูกนำมาทิ้งลงฉะนั้น ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะจิตของเขาขุนมัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุแห่งจิต

ขุ่นมัวแล สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก อย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระพุทธเจ้าทรงทราบบุคคลบางคน

ในโลกนี้ ผู้มีจิตขุ่นมัวได้ทรงพยากรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 136

เนื้อความนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ในสำนักของ

พระองค์ว่า ถ้าในสมัยนี้ บุคคลนี้พึงทำ

กาละไซร้ เขาพึงเข้าถึงนรก เพราะจิต

ของเขาขุ่นมัว เขาเป็นอย่างนั้น เหมือน

ถูกนำมาทอดทิ้งไว้ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมไปสู่ทุคติ เพราะเหตุแห่งจิตขุ่นมัว

นั้นแล.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพื่อเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปุคคลสูตรที่ ๑๐

จบทุติยวรรคที่ ๒

อรรถกถาปุคคลสูตร

ถามว่า อะไรเป็นอุบัติของสูตรที่ ๑๐. ตอบว่า อัตถุปปัตติกะ (มี

เรื่องเกิดขึ้น).

เล่ากันมาว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย นั่งสนทนากันในธรรมสภาว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญมาก บางคนทำบาปมาก

บางคนทำปนกันไปทั้งสองอย่าง ในบุคคลเหล่านั้น คนที่ทำปนกันทั้งสองอย่าง

ภพหน้าจะเป็นเช่นไร. ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จไปยังธรรมสภาประทับนั่ง

บนบวรพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ ได้สดับถ้อยคำนั้น เมื่อจะทรงแสดงว่า ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจิตเศร้าหมองในเวลาใกล้ตาย ทุคติเป็นอันหวังได้ ดังนี้

จึงทรงแสดงพระสูตรนี้ ด้วยเรื่องที่เกิดขึ้นนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 137

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิธ เป็นนิบาตในการชี้ถึงที่อยู่. ท่านกล่าว อิธ

นิบาตนี้ในที่บางแห่งหมายถึงที่อยู่ ในบทเป็นต้นว่า อิเธว ติฏฺมานสฺส

เทวภูตสฺส เม สโต แปลว่า เมื่อเราเป็นเทพสถิตอยู่ เทวโลกนี้แล.

ในที่บางแห่งหมายถึงศาสนา ในบทมีอาทิว่า อิเธว ภิกฺขเว สมโฌ อิธ

ทุติโย สมโณ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น

สมณะที่สองมีในศาสนานี้. ในที่บางแห่งเป็นเพียงบทบูรณ์ ในบทมีอาทิว่า

อิธาห ภิกฺขเว ภุตฺตาวี อสฺส ปวาริโต แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราอันทายกขอร้องแล้วพึงฉัน. ในที่บางแห่งกล่าวหมายถึงโลก ในบทมีอาทิว่า

อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ แปลว่า พระตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้.

พึงเห็นว่าในสูตรนี้หมายถึงในโลกแม้นี้เท่านั้น.

บทว่า เอกจฺจ ได้แก่ คนหนึ่ง คือคนใดคนหนึ่ง. บทว่า ปุคฺคล

ได้แก่สัตว์. จริงอยู่ สัตว์นั้นท่านเรียกว่าบุคคล เพราะยังกุศลอกุศล และ

วิบากของกุศลอกุศลนั้น ให้บริบูรณ์ตามปัจจัย และเพราะอำนาจความตายกลืน

กิน. บทว่า ปทุฏฺจิตฺต ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวด้วยความประทุษร้าย ด้วยความ

อาฆาต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปทุฏฺจิตฺต ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวด้วยราคะ

เป็นต้นอันเป็นโทษ. อนึ่ง บทว่า เอกจฺจ ในที่นี้ นี้เป็นวิเสสนะของบุคคล

ผู้มีจิตขุ่นมัว. ท่านกล่าวอย่างนั้น ถึงบุคคล ผู้ให้ปฏิสนธิได้ทำเหตุขึ้น. อนึ่ง

เพราะอกุศลยังเป็นไปอยู่ ผู้ใกล้จะตายไม่สามารถจะกลับจิตให้หยั่งลงด้วยกุศล

ได้. ท่านแสดงอาการที่ควรกล่าวในบัดนี้ ด้วยบทว่า เอว ดังนี้. บทว่า

เจตสา ได้แก่ ด้วยจิต คือ ด้วยเจโตปริยญาณ (การกำหนดรู้จิต) ของตน.

บทว่า เจโต ได้แก่ จิตของบุคคลนั้น . บทว่า ปริจฺจ คือ กำหนดรู้.

ถามว่า นี้เป็นวิสัยของยถากัมมูปคญาณ (การรู้ว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม) มิใช่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 138

หรือ. ตอบว่า ข้อนั้นเป็นความจริง แต่ข้อนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจอกุศลจิต

อันเป็นไปในกาลนั้น.

บทว่า อิมมฺหิ จาย สมเย ความว่า หากในกาลนี้หรือในปัจจย-

สามัคคีนี้ บุคคลนี้พึงทำกาละในภายหลังชวนวิถี (วิถีจิตที่แล่นไป). การทำ

กาละย่อมไม่มีในขณะแห่งชวนจิต. บทว่า ยถาภต นิกฺขิตฺโต เอว นิรเย

ความว่า เขาถูกกรรมของตนซัดไป คือตั้งไว้ในนรก เหมือนถูกนำอะไร ๆ

มาทิ้งลงฉะนั้น. บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่ ทั้งขันธ์อันมีใจครองเสีย.

บทว่า ปรมฺมรณา ได้แก่ ในการไม่ยึดถือขันธ์ อันเกิดในระหว่างนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่เพราะตัดขาดชีวิตินทรีย์. บทว่า

ปรมฺมรณา ได้แก่ เบื้องหน้าแต่จุติจิต (จิตที่เคลื่อนไป).

บทว่า อปาย เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของนรกนั่นเอง. จริงอยู่

นรกชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความสุข กล่าวคือความเจริญ. อีกอย่างหนึ่ง

นรกชื่อว่าอบาย เพราะปราศจากความเจริญ อันถือว่าเป็นบุญซึ่งเป็นเหตุแห่ง

สวรรค์และนิพพาน. นรกชื่อว่าทุคติ เพราะเป็นที่ไป คือ เป็นที่อาศัยของ

ทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทุคติ เพราะเป็นที่ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มากด้วยโทสะ

ไปเกิดด้วยกรรมชั่ว. นรกชื่อว่าวินิบาต เพราะเป็นที่ที่สัตว์หมดอำนาจ

ทำกรรมชั่วตกไป หรือเป็นที่ที่สัตว์พินาศมีอวัยวะน้อยใหญ่ย่อยยับตกไป.

ชื่อว่านรก เพราะอรรถว่าหมดความยินดี เพราะความเจริญที่รู้กันว่า เป็น

ความยินดีมิได้มีในนรกนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า ติรัจฉานโยนิ

(กำเนิดเดียรัจฉาน) ด้วยอปายศัพท์. อนึ่ง ติรัจฉานโยนิเป็นอบาย เพราะ

ปราศจากสุคติ นาคราชเป็นต้น ผู้มีศักดิ์ใหญ่เกิดหาใช่ทุคติไม่. ชื่อปิตติวิสัยด้วย

ทุคติศัพท์. จริงอยู่ ปิตติวิสัยนั้น เป็นทั้งอบายเป็นทั้งทุคติ เพราะปราศจากสุคติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 139

และเป็นคติของทุกข์ ไม่ใช่วินิบาต เพราะไม่ตกลงเช่นกับอสูร. ชื่ออสุรกาย

ด้วยวินิปาตศัพท์. ก็อสุรกายนั้นเป็นทั้งอบาย เป็นทั้งทุคติ เพราะอรรถ

ตามที่กล่าวแล้ว ท่านเรียกว่า วินิบาต เพราะตกไปทั้งร่างกาย. ท่านกล่าวนรก

มีประการมากมาย มีอเวจีเป็นต้น ด้วยนรกศัพท์. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวถึงนรก

อย่างเดียวแม้ด้วยทุก ๆ บท. บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ ได้แก่ ถือเอาปฏิสนธิ.

คาถาที่หนึ่งในคาถาทั้งหลาย พระธรรมสังคาหกเถระได้จัดไว้แล้ว

ในสังคีติกาล (เวลาทำสังคายนา). บทว่า ตฺวาน เป็นบุพพกาลกิริยา

จริงอยู่ ญาณก่อนเป็นพยากรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ตฺวาศัพท์ มีเนื้อความ

เป็นเหตุ เหมือนประโยคว่า สีห ทิสฺวา ภย โหติ ภัยย่อมมีเพราะเห็น

สีหะ ดังนี้. อธิบายว่า เพราะความรู้เป็นเหตุ. บทว่า พุทฺโธ ภิกฺขูน

สนฺติเก ความว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์เนื้อความที่พระองค์

ตรัสด้วยสองคาถาเบื้องต้นนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายในสำนักของพระองค์. บทที่

เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาทุติยวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โมหสูตร ๒. โกธสูตร ๓. มักขสูตร ๔. โมหสูตร

๕. กามสูตร ๖. ปฐมเสขสูตร ๗. ทุติยเสขสูตร ๘. เภทสูตร ๙. โมทสูตร

๑๐. ปุคคลสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 140

อิติวุตตกะ เอกนิบาต วรรคที่ ๓

๑. จิตตฌายีสูตร

ว่าด้วยจิตผ่องใสย่อมไปสวรรค์

[๑๙๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดรู้จิตของบุคคลบางคนในโลกนี้ผู้มี

จิตผ่องใสด้วยจิตอย่างนี้แล้ว ถ้าในสมัยนี้บุคคลนี้พึงทำกาละไซร้ เขาพึงเกิด

ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาไว้ ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขา

ผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุแห่งจิตผ่องใสแล สัตว์บางพวกใน

โลกนี้ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระพุทธเจ้าทรงทรามบุคคลบางคน

ในโลกนิมีจิตผ่องใส ได้ทรงพยากรณ์เนื้อ

ความนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ในสำนักของพระ

องค์ว่า ถ้าในสมัยนี้ บุคคลนี้พึงกระทำ

กาละไซร้ บุคคลนี้พึงเข้าถึงสุคติ เพราะ

จิตของเขาผ่องใส เขาเป็นอย่างนั้นเหมือน

เชิญมาฉะนั้น เพราะเหตุแห่งจิตผ่องใสแล

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไปสู่สุคติ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบจิตตฌายีสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 141

ตติยวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาจิตตฌายีสูตร

ในจิตตฌายีสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปสนฺนจิตฺต ได้แก่มีใจเลื่อมใสแล้ว ด้วยความเชื่อในพระ

รัตนตรัย และด้วยความเชื่อในผลของกรรม. บทว่า สุคตึ ได้แก่คติดีหรือ

คติแห่งสุข เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สุคติ. บทว่า สคฺค ได้แก่เลิศด้วยดีด้วย

สมบัติมีรูปเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สวรรค์. ในบทว่า โลก ได้แก่ผล

แห่งบุญและบาป หรือชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าสลายไป. อนึ่ง ในที่นี้แม้

คติของมนุษย์ก็สงเคราะห์ ด้วยสุคติศัพท์. คติของเทวดาก็สงเคราะห์ด้วย

สัคคศัพท์เหมือนกัน. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.

จบอรรถกถาจิตตฌายีสูตรที่ ๑

๒. ปุญญสูตร

ว่าด้วยเรื่องอย่ากลัวต่อบุญเลย

[๒๐๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่า

บุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรารู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง ซึ่งวิบากอันน่าปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 142

น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ที่ตนเสวยแล้วสิ้นกาลนาน แห่งบุญทั้งหลายที่ตน

ได้ทำไว้สิ้นกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด ๗ ปีแล้ว ไม่กลับมาสู่โลกนี้

ตลอด ๗ สังวัฏฏวิวัฏฏกัป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อกัปฉิบหายอยู่เรา

เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อกัปเจริญอยู่ เราย่อมเข้าถึงวิมานเเห่ง

พรหมที่ว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม

เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ใครครอบงำไม่ได้ เป็นผู้สามารถเห็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน

โดยแท้ เป็นผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ อยู่ในวิมานพรหมนั้น ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็เราได้เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ ๓๖ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้า

จักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระธรรมราชามีสมุทรสาครสี่เป็นขอบเขต

เป็นผู้ชนะวิเศษแล้ว ถึงความเป็นผู้มั่นคงในชนบท ประกอบด้วยรัตนะ ๗

ประการ หลายร้อยครั้ง จะกล่าวไปไยถึงความเป็นพระเจ้าประเทศราชเล่า ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ

มากอย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ

ผลวิบากแห่งกรรม ๓ ประการของเราคือ ทาน ๑ ทมะ ๑ สัญญมะ ๑.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษา

บุญนั่นแล อันสูงสุดต่อไปซึ่งมีสุขเป็นกำ

ไร คือ พึงเจริญทาน ๑ ความประพฤติ

สงบ ๑ เมตตาจิต ๑ บิณฑิตครั้นเจริญ

ธรรม ๓ ประการอันเป็นเหตุเกิดแห่งความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 143

สุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มี

ความเบียดเบียน เป็นสุข.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปุญญสูตรที่ ๒

อรรถกถาปุญญสูตร

ในปุญญสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

มาศัพท์ ในบทว่า มา ภิกฺขเว ปุญฺาน นี้ เป็นนิบาตลงใน

อรรถปฏิเสธ. ปุญญศัพท์ มาในผลแห่งบุญ ในประโยคเป็นต้นว่า

กุสลสน ภิกฺขเว ธมฺมาน สมาทานเหตุ เอวมิท ปุญฺ ปวฑฺฒติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผลบุญนี้ย่อมเจริญอย่างนี้เพราะเหตุแห่งการสมาทาน

กุสลธรรมทั้งหลาย. มาในสุจริตอันเป็นกามาวจร และรูปาวจรในประโยค

เป็นต้นว่า อวิชฺชาคโต ย ภิกฺขเว ปุริสปุคฺคโล ปญฺญฺจ (กตฺวา)

สขาร อภิสขโรติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุรุษบุคคลถูกอวิชชครอบงำ

ย่อมปรุงแต่งสังขารเพราะทำบุญ. มาในอุปปัตติภพอันเป็นสุคติวิเศษ ใน

ประโยคมีอาทิว่า ปุญฺญูปค ภวติ วิญฺาณ วิญญาณเข้าถึงบุญย่อมเจริญ.

มาในกุศลเจตนาในประโยคเป็นต้นว่า ตีณีมานิ ภิกฺขเว ปุญฺกิริยา-

วตฺถูนิ ทานมย ปุฺกิริยาวตฺถุ สีลมย ปุญฺกิริยาวตฺถุ ภาวนามย

ปุญฺกิริยาวตฺถุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ เหล่านี้คือ บุญ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 144

กิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน ๑ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล ๑ บุญกิริยาวัตถุ

สำเร็จด้วยภาวนา ๑. แต่ในที่นี้พึงทราบว่ามาในกุศลธรรมในภูมิทั้ง ๓.

ในบทว่า ภายิตฺถ นี้ภัยมี ๒ อย่างคือ ญาณภัย ๑ สารัชชภัย ๑.

ในภัย ๒ อย่างนั้น ญาณภัยมาในบทมีอาทิว่า เทพแม้เหล่าใดมีอายุยืน มีผิว

พรรณงาม มากด้วยความสุข เทพแม้เหล่านั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ

ตถาคต โดยมากก็ถึงความกลัว หวาดสะดุ้ง สังเวช ดังนี้. สารัชชภัยมาใน

บทมีอาทิว่า ภัยได้มีแล้ว ความหวาดสะดุ้งได้มีแล้ว ความสยองเกล้าได้มีแล้ว

ดังนี้. ในที่นี้ประสงค์เอาสารัชชภัยเท่านั้น. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้กลัวต่อบุญที่ภิกษุพึงประพฤติตลอดกาล

มีอาทิอย่างนี้ คือ การสำรวมกาย วาจา ตลอดกาลนาน การบำเพ็ญข้อวัตร

ปฏิบัติ การฉันมื้อเดียว การนอนหนเดียว การฝึกอินทรีย์ การข่มจิตด้วย

ธรรมเครื่องกำจัดกิเลส มีสติสัมปชัญญะ ปรารภความเพียรด้วยการประกอบ

กรรมฐาน พวกเธออย่าได้ถึงความกลัว ความหวาดสะดุ้ง พวกเธออย่าได้กลัว

ต่อบุญ อันให้ความสุขในสัมปรายภพและนิพพาน เพราะภัยเกียดกั้นความสุข

ในปัจจุบันบางอย่างเลย. ความจริงบทนี้เป็นนิบาตลงในอรรถไม่ใช่ของตน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเหตุในความเป็นของไม่ควร

กลัว แต่บุญนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า สุขสฺเสต ดังนี้ สุขศัพท์ในบทว่า

สุขสฺเสต นั้น มาในต้นเค้าของสุขในประโยคมีอาทิว่า สุโข พุทฺธาน

อุปฺปาโท สุขา วิราคตา โลเก ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายนำ

มาซึ่งความสุข ความปราศจากความกำหนัดเป็นสุขในโลก. มาในสุขารมณ์ใน

ประโยคมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูป สุข สุขานุปติต สุขาวกฺกนฺต

ดูก่อนมหาลี ก็เพราะรูปเป็นความสุข ตกลงไปสู่ความสุข ก้าวลงไปสู่ความสุข.

มาในฐานะมีสุขเป็นปัจจัยในประโยคมีอาทิว่า ยาวญฺจิท ภิกฺขเว น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 145

สุกร อกฺขาเนน ปาปุณิตุ ยาว สุขา สคฺคา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การเข้าถึงสวรรค์อันเป็นความสุขเพียงบอกกล่าวเท่านั้น ทำไม่ได้ง่ายนัก.

มาในเหตุแห่งความสุข ในประโยคมีอาทิว่า สุโข ปุญฺสฺส อุจฺจโย

การสั่งสมบุญนำมาซึ่งความสุข. มาในความไม่เบียดเบียน ในประโยคมีอาทิ

ว่า ทิฏฺธมฺมสุขวิหารา เอเต ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ มีความสุข

ในปัจจุบันเป็นวิหารธรรม. นาในนิพพาน ในประโยคมีอาทิว่า นิพฺพาน

ปรม สุข นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. มาในสุขเวทนา ในประโยคมีอาทิว่า

สุขสฺส จ ปหานา ก็เพราะละสุขเสียได้. มาในอุเบกขาเวทนา ใน

ประโยคมีอาทิว่า อทุกฺขมสุข สนฺต สุขมิจฺเจว ภาสิต เมื่อไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข ก็กล่าวได้ว่าเป็นสุขอย่างเดียว. มาในสุขที่น่าปรารถนา ในประโยค

มีอาทิว่า เทฺวปิ มยา อานนฺท เวทนา วุตฺตา ปริยาเยน สุขา เวทนา

ทุกฺขา เวทนา ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวเวทนาแม้สองอย่าง คือ สุขเวทนา

และทุกขเวทนาโดยปริยาย. มาในวิบากที่น่าปรารถนา ในประโยคมีอาทิว่า

สุโข วิปาโก ปุญฺาน วิบากแห่งบุญทั้งหลายเป็นความสุข. ในที่นี้

พึงเห็นว่า มาในวิบากที่น่าปรารถนาเท่านั้น.

ในบทว่า อิฏฺสฺส เป็นต้น พึงทราบเนื้อความดังต่อไปนี้ ชื่อว่า

น่าปรารถนา เพราะควรเสาะหา และเพราะห้ามสิ่งไม่น่าปรารถนา ชื่อว่า

น่าใคร่ เพราะเป็นสิ่งควรให้ใคร่และเพราะก้าวเข้าไปถึงใจ ชื่อว่า น่ารัก

เพราะเป็นสิ่งควรน่ารัก และเพราะให้เกิดความเอิบอิ่ม ชื่อว่า น่าพอใจ

เพราะให้เกิดความนับถือ และเพราะความเจริญแห่งใจ. บทว่า ยทิท

ปุญฺานิ ความว่า คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อ ของความสุข คือ วิบากอันน่า-

ปรารถนา. ความสุขนั่นแหละ คือ บุญ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงอุปจาร

อันไม่ต่างกันแห่งเหตุด้วยผล. ผู้ไม่ประมาทสดับผลอันแจ่มแจ้งชัดเจนของบุญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 146

ที่เขาสั่งสมมาแล้ว ควรทำบุญโดยเคารพ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชักชวนใน

การทำบุญ และให้เกิดความเอาใจใส่ในการทำบุญนั้นของเขาเหล่านั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกมาอ้างถึงวิบากของบุญอันกว้างขวาง

อย่างยิ่ง ปกปิดระหว่างภพ เสวยบุญกรรมที่พระองค์ได้ทำแล้วในสมัยเป็น

สุเนตตะตลอดกาลนาน เมื่อจะทรงกระทำความนั้นให้ปรากฏ จึงตรัสคำเป็น

อาทิว่า อภิชานามิ โข ปนาห ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิชานามิ ได้แก่เรารู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง

คือ เรารู้โดยชัดเจน. บทว่า ทีฆรตฺต ได้แก่ สิ้นกาลนาน. บทว่า ปุญฺาน

ได้แก่ กุศลธรรมมีทานเป็นต้น. บทว่า สตฺต วสฺสานิ ได้แก่ ตลอด ๗ ปี.

บทว่า เมตฺตจิตฺต ความว่า ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า รักใคร่

อธิบายว่า ผูกเยื่อใย. ชื่อว่า เมตตา เพราะความเจริญเป็นไปในมิตร หรือความ

เจริญนั่นเป็นไปต่อมิตร. พึงทราบวินิจฉัยเมตตาโดยลักษณะเป็นต้นต่อไปนี้

เมตตามีอัน เป็นไปในอาการให้ประโยชน์เกื้อกูลเป็นลักษณะ มีการนำสิ่งที่เป็น

ประโยชน์เกื้อกูลเป็นรส มีการปลดเปลื้องความอาฆาตเป็นเครื่องปรากฏ มีการ

แสดงความพอใจของสัตว์ทั้งหลายเป็นปทัฏฐาน. ความสงบพยาบาทเป็นสมบัติ

ของเมตตานั่น ความมีเสน่หาเป็นวิบัติของเมตตา. ชื่อว่า เมตตาจิต เพราะ

จิตมีเมตตา.

บทว่า ภาเวตฺวา ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาธิด้วยหัวข้อ

แห่งจิตอันสหรคตด้วยเมตตา เพราะเหตุนั้น จึงยังเมตตาสมาธิ ยังเมตตา-

พรหมวิหารให้เกิดและให้เจริญ. บทว่า สตฺต สวฏฺฏวิวฏฏกปฺเป ได้แก่

มหากัป ๗. จริงอยู่ ท่านถือเอาแม้สังวัฏฏฐายิและวิวัฏฏฐายิ ด้วยสังวัฏฏะและ

วิวัฏฏศัพท์นั่นเอง. บทว่า อิม โลก ได้แก่กามโลก. บทว่า สวฏฺฏมาเน สุท

ได้แก่ กัปฉิบหายอยู่. บทว่า สุท เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ฉิบทายอยู่.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สวฏฺฏมาเน สุท ดังนี้. บทว่า กปฺเป ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 147

โลก. ก็ท่านกล่าวว่าโลกโดยหัวข้อแห่งกัป. แม้เมื่อโลกสิ้น กัปก็สิ้นไปด้วย.

ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา

กาลย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตนเอง. พึงทราบว่า การอยู่ตลอดกัปในโลกนี้ด้วย

เตโชสังวัฏฏกัปเพราะพระองค์ตรัสไว้ว่า เราเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ.

บทว่า อาภสฺสรูปโค ความว่า เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ โดย

การถือปฏิสนธิในพรหมโลกนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้น

อาภัสสระ. บทว่า วิวฏฺฏมาเน ได้แก่ ดำรงอยู่ อธิบายว่า เกิดอยู่. บทว่า

สุญฺ พฺรหฺมวิมาน อุปฺปชฺชามิ ความว่า เราเข้าถึงวิมานแห่งพรหม

กล่าวคือภูมิแห่งปฐมฌานอันเกิดแล้วแต่ต้น ซึ่งว่าง เพราะไม่มีสัตว์ไร ๆ

อันจะเกิดในที่นั้น ด้วยการถือเอาปฏิสนธิ. บทว่า พฺรหฺมา ความว่าชื่อว่า

พรหม เพราะอรรถว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ชั้นกามาวจร และเพราะอรรถว่า

เกิดจากพรหมวิหารธรรม เพราะงอกงามด้วยคุณธรรมอย่างนั้น ๆ. ชื่อว่า

มหาพรหม เพราะเป็นพรหมผู้ใหญ่กว่าพรหมปาริสัชชะ และพรหมปุโรหิต

ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เพราะปราบปรามพรหมเหล่านั้นได้. ชื่อว่า เป็นผู้อันใคร

ครอบงำไม่ได้ เพราะไม่มีใครครอบงำได้ด้วยคุณธรรม. บทว่า อญฺทตฺถุ

เป็นนิบาตลงในคำแน่นอน. บทว่า ทโส คือ มีปกติเห็น. พระองค์สามารถ

เห็นอดีต อนาคต และปัจจุบันได้. อธิบายว่า เราย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็นด้วย

ความรู้ยิ่ง. เรายังพรหมที่เหลือและยังจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจของเราด้วย

กำลังอิทธิบาทภาวนา เพราะเหตุนั้น ควรประกอบว่า วสวตฺติ โหมิ เรา

เป็นผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ.

ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์แม้ได้สมาบัติ ๘ ก็ยังทรง

ตรวจดูประโยชน์เกื้อกูลของสัตว์อย่างนั้น และการบำเพ็ญบารมีของพระองค์

ยังความใคร่ในภูมิฌานสองเหล่านั้นให้เกิด ทรงท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 148

เมตตาพรหมวิหารธรรม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สตฺต

วสฺสานิ ฯเปฯ วสวตฺตี ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศวิบากอันยิ่งใหญ่ของบุญอันเป็น

รูปาวจรแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงวิบากอันยิ่งใหญ่ แม้ของบุญอันเป็น

กามาวจรจึงตรัสคำมีอาทิว่า ฉตฺตึสกฺขตฺตุ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สกฺโก อโหสึ ความว่า เราไม่เกิดในที่อื่น

ได้เป็นท้าวสักกะจอมเทพ คือ เป็นเทวราชชั้นดาวดึงส์ตลอดเวลา ๓๖ ครั้ง.

ในบทว่า ราชา อโหสึ เป็นต้น มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ราชา

เพราะยังชาวโลกให้ชื่นชมยินดีด้วยอัจฉริยธรรม ๔ และด้วยสังคหวัตถุ ๔.

ชื่อว่า จักรพรรดิ เพราะยังจักรรัตนะให้หมุนไป จักรรัตนะย่อมหมุนไปด้วย

สมบัติจักร ๔ ทั้งยังจักรรัตนะอื่นให้หมุนไปด้วยสมบัติจักร ๔ เหล่านั้น ทั้งมี

จักร คือ อิริยาบถ ๔ หมุนไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลอื่น. อนึ่ง คำว่า

ราชา ในบทนี้เป็นคำสามัญ. บทว่า จกฺกวตฺติ เป็นวิเสสนะ. ชื่อว่า ธมฺมิโก

เพราะประพฤติโดยธรรม. อธิบายว่า ย่อมประพฤติโดยระเบียบแบบแผน

โดยเสมอ. ชื่อว่า ธมฺมราชา เพราะได้รับสมบัติโดยธรรมจึงเป็นพระราชา.

หรือ ชื่อว่า ธมฺมิโก เพราะประพฤติธรรมเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น. หรือชื่อว่า

ธมฺมราชา เพราะประพฤติธรรมเพื่อประโยชน์แก่ตน. ชื่อว่า จาตุรนฺโต

(เป็นพระราชามีสมุทรสาคร ๔ เป็นขอบเขต) เพราะเป็นอิสระในสมุทรสาคร ๔

อธิบายว่า เป็นอิสระในแผ่นดินเพราะมีสมุทร ๔ เป็นขอบเขต และเพราะมี

ทวีป ๔ แวดล้อม. ชื่อว่า วิชิตาวี (ชนะวิเศษแล้ว) เพราะชนะข้าศึกใน

ภายใน และพระราชาทุกพระองค์ในภายนอก โดยไม่ต้องลงอาชญา ไม่ต้องใช้

ศัสตรา. ชื่อว่า ชนปทตฺถาวริยปฺปตฺโต (ผู้ถึงความเป็นผู้มั่นคงในชนบท)

เพราะเป็นผู้ถึงความมั่นคง คือ ความยั่งยืนในชนบทอันใคร ๆ ไม่สามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 149

ให้เคลื่อนไปจากนั้นได้ หรือชนบทถึงความเป็นชนบทมั่นคง ณ ที่นั้นไม่ต้อง

ขวนขวาย ยินดีการงานของตน ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน. ชื่อว่า

สตฺตรตนสมนฺนาคโต (ประกอบด้วยรัตนะ ๗ ประการ) เพราะถึงพร้อมด้วย

รัตนะ ๗ ประการเหล่านี้ คือ จักรแก้ว ๑ ช้างแก้ว ๑ ม้าแก้ว ๑ แก้วมณี ๑

หญิงแก้ว คหบดีแก้ว ๑ ปริณายกแก้ว ๑.

จริงอยู่ ในรัตนะเหล่านั้น พระราชาจักรพรรดิทรงชนะแคว้นที่ไม่มี

ใครชนะได้ด้วยจักรรัตนะ เสด็จเที่ยวไปในแคว้นด้วยช้างแก้ว และม้าแก้ว

อย่างสบาย ทรงปกครองแคว้นด้วยปริณายกแก้ว ทรงเสวยอุปโภคสุขด้วย

รัตนะที่เหลือ. พระเจ้าจักรพรรดินั้นทรงประกอบความสามารถทางอุตสาหะด้วย

รัตนะที่ ๑. ทรงประกอบความสามารถทางพระปัญญาด้วยรัตนะสุดท้าย. ทรง

ประกอบความสามารถทางอำนาจเต็มบริบูรณ์ด้วยช้างแก้ว ม้าแก้ว คหบดีแก้ว.

ผลจากการประกอบความสามารถ ๓ อย่าง ด้วยหญิงแก้ว และแก้วมณี.

พระเจ้าจักรพรรดินั้นเสวยโภคสุขด้วยหญิงแก้วและแก้วมณี. เสวยอิสริยสุขด้วย

รัตนะที่เหลือ. อนึ่ง โดยความต่างกัน ๓ รัตนะข้างต้นของพระเจ้าจักรพรรดิ

สำเร็จด้วยอานุภาพของกรรมอันเกิดจากกุศลมูลคืออโทสะ. ๓ รัตนะตอนกลาง

สำเร็จด้วยอานุภาพของกรรมอันเกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ. รัตนะ ๑ สุด

ท้ายพึงทราบว่า สำเร็จด้วยอานุภาพกรรมอันเกิดจากกุศลมูล คือ อโมหะ.

บทว่า ปเทสรชฺชสฺส ได้แก่ แคว้นน้อย ๆ. บทว่า เอตทโหสิ

ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อทรงพิจารณาถึงสมบัติของพระองค์ได้มีพระดำริ

มีอาทิว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไรของเราหนอ ในกาลเป็นจักรพรรดิครั้ง

สุดท้าย. ความดำริได้สำเร็จทุกประการในภพนั้น ๆ. นี้เป็นการประกอบด้วย

สามารถจักกวัตติกาลในภพนั้น. บทว่า เอวมหิทฺธิโก ความว่า พระเจ้า

จักรพรรดิมีฤทธิ์มากอย่างนี้ เพราะถึงพร้อมด้วยการทรงไว้ซึ่งท้องพระคลังอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 150

มีแก้วมณีและช้างแก้ว เป็นต้นเป็นประมุข และเพราะถึงความเป็นผู้มั่นคงใน

ชนบท. บทว่า เอวมหานุภาโว ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิมิได้ทรงทำการ

เบียดเบียนใคร ๆ ด้วยส่งจักรแก้วเป็นต้นไปทำลาย ทรงมีอานุภาพมากอย่างนี้

เป็นต้นว่า เสด็จขึ้นสู่เวหาสมีพระบัญชาให้พระราชาทุกพระองค์ต้อนรับด้วย

เศียรเกล้า. บทว่า ทานสฺส ได้แก่ ทรงบริจาคไทยธรรมมีข้าวเป็นต้น. บทว่า

ทมสฺส ได้แก่ ทรงฝึกอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น และทรงข่มกิเลสมีราคะเป็นต้น

ด้วยการสมาทาน. บทว่า สญฺมสฺส ได้แก่ เป็นผู้สำรวมกายและวาจา.

ใน ๓ ประการนั้น การกำจัดกิเลสด้วยการสมาทานอันใด อันนั้นเป็นบุญ

สำเร็จด้วยภาวนา. ก็บุญนั้นแลเป็นเมตตาพรหมวิหาร ท่านประสงค์ในที่นี้.

ในอุปจารและอัปปนาทั้งสองอย่างนั้น บุญใดถึงอัปปนา ความเกิดขึ้นใน

ภูมิฌานสองตามที่กล่าวแล้วมีได้ด้วยบุญนั้น. พึงทราบว่า ความเป็นจักร-

พรรดิเป็นต้น ตามควรมีได้ด้วยวิบาก ๓ อย่างนี้.

ด้วยประการดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำพระองค์ให้เป็น

กายสักขี แล้วทรงประกาศความที่บุญมีผลมาก บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความ

นั้นโดยคาถาประพันธ์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุญฺเมว ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุญฺเมว โส สิกฺเขยย ความว่า

กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษา พึงดำรงมั่น พึงเสพธรรมเป็นกุศล ๓ อย่าง

อันได้ชื่อว่า บุญ เพราะให้เกิดผลน่าบูชา และเพราะชำระสันดานของตน.

บทว่า อายตคฺค ความว่า บุญ ชื่อว่า อายตคฺค เพราะมีผลไพบูลย์

มีผลยิ่งใหญ่ หรือสูงสุดต่อไป เพราะมีผลน่ารักน่าพอใจ หรือเพราะเลิศด้วย

ความเจริญ คือ ด้วยความยิ่งใหญ่และสูงสุดด้วยปัจจัย มีโยนิโสมนสิการเป็นต้น.

อักษร เป็นบทสนธิ. อีกอย่างหนึ่ง บุญ ชื่อ อายตคฺค เพราะเลิศ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 151

เป็นประธานทางความเจริญ อันเป็นผลน่าพอใจ. อธิบายว่า ต่อจากนั้นก็มีสุข

เป็นกำไร คือ มีสุขเป็นวิบาก.

ท่านถามว่า ก็บุญนั้นเป็นไฉน และกุลบุตรพึงศึกษาบุญได้อย่างไร.

ตอบว่า พึงบำเพ็ญทาน สมจริยา และเมตตาจิต.

ในบทเหล่านั้น บทว่า สมจริย ได้แก่ ศีลอันบริสุทธิ์มีการประพฤติ

ระเบียบทางกายเป็นต้น เพราะเว้นความประพฤติที่ไม่เป็นระเบียบทางกาย

เป็นต้น . บทว่า ภาวเย ได้แก่ พึงให้เกิด คือ ให้เจริญในสันดานของตน.

บทว่า เอเต ธมฺเม ได้แก่สุจริตธรรมมีทานเป็นต้นเหล่านี้. บทว่า สุขสมุทฺรเย

ได้แก่ มีสุขเป็นอานิสงส์. อาจารย์บางพวกแสดงว่า แม้อานิสงส์ผลก็เป็นสุข

แท้ของธรรมเหล่านั้น. บทว่า อพฺยาปชฺฌ สุข โลก ได้แก่ โลกอัน

ไม่มีความเบียดเบียน คือ ไม่มีทุกข์ เพราะเว้นจากพยาบาท อันมีกามฉันทะ

เป็นต้น. แต่ไม่มีคำพูดถึงการไม่มีความเบียดเบียนต่อผู้อื่น. พรหมโลกของ

ฌานและบุญ ชื่อว่า เป็นสุข และชื่อว่าเป็นสุขโดยส่วนเดียว เพราะมากด้วย

ความสุข ด้วยอำนาจฌานและสมาบัติ. แต่บัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมเข้าถึงโลก

อันเป็นสุข กล่าวคือความเป็นผู้มีสมบัติอื่นจากนั้นของบุญนอกนี้.

ด้วยประการดังนี้ ในสูตรนี้และในคาถาทั้งหลายท่านกล่าวถึงวัฏฏ-

สมบัติอย่างเดียว ฉะนั้นแล.

จบอรรถกถาปุญญสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 152

๓. อุโภอัตถสูตร

ว่าด้วยธรรมอย่างหนึ่งยึดประโยชน์ ๒ อย่าง

[๒๐๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก

แล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๑ ประโยชน์

ในสัมปรายภพ ๑ ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ ความไม่ประมาทในกุศล-

ธรรมทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แลอันภิกษุเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้ง ๒ ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๑

ประโยชน์ในสัมปรายภพ ๑.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความ

ไม่ประมาท ในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิต

ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดประโยชน์นี้ทั้งสอง

ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๑ ประ-

โยชน์ในสัมปรายภพ ๑ นักปราชญ์

กาวว่าเป็นบัณฑิต เพราะการได้ประโยชน์

ทั้ง ๒ นั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบอุโภอัตถสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 153

อรรถกถาอุโภอัตถสูตร

ในอุโภอัตถสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภาวิโต ได้แก่ ทำให้เกิดขึ้น และให้เจริญขึ้น. บทว่า

พหุลีกโต ได้แก่ ทำบ่อย ๆ. บทว่า อตฺโถ ได้แก่ ประโยชน์เกื้อกูล.

จริงอยู่ ประโยชน์เกื้อกูลนั้นท่านกล่าว อตฺโถ เพราะความไม่มีข้าศัก เพราะ

ควรเข้าไปถึง. บทว่า สมธิคฺคยฺห ติฏติ ได้แก่ ยึดไว้โดยชอบ คือ

ไม่ละยังเป็นไปอยู่. บทว่า ทิฏฺธมฺมิก ได้แก่ อัตภาพที่เห็นประจักษ์

ท่านเรียกว่า ทิฏฐธรรม. ความเจริญในทิฏฐธรรม ชื่อว่า ทิฏฐธรรมิกะ.

อธิบายว่า ความเจริญอัน เนื่องอยู่ในโลกนี้. บทว่า สมฺปรายิก ได้แก่โลกอื่น

ชื่อสัมปรายะ เพราะควรไปในเบื้องหน้าด้วยอำนาจธรรม. ความเจริญใน

เบื้องหน้า ชื่อว่า สัมปรายิกะ. ท่านอธิบายว่า ความเจริญอันเนื่องในโลกหน้า.

ถามว่า ประโยชน์ปัจจุบันนั้นคืออะไร หรือประโยชน์ภพหน้าคืออะไร

ตอบว่า กล่าวเพียงโดยย่อ อันใดเป็นความสุขในโลกนี้ และอันใดนำความสุข

มาให้ในโลกนี้ เดี๋ยวนี้ นี้แหละคือประโยชน์ปัจจุบัน. เช่นสุขของคฤหัสถ์

ก่อนมีอาทิอย่างนี้ คือ ของใช้ที่ดี การงานไม่วุ่นวายสับสน รู้วิธีรักษาสุขภาพ

ทำของใช้สะอาด จัดการงานดี ช่างฝ่ายมือและแสวงหาความรู้ สงเคราะห์บริวาร.

ส่วนความสุขของบรรพชิต มีอาทิอย่างนี้ คือ เครื่องใช้ประจำตัว เครื่องใช้

ได้แก่จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช เหล่าใด การได้เครื่องใช้เหล่านั้น

โดยไม่ยาก อนึ่ง การเสพด้วยการพิจารณา การเว้นด้วยการพิจารณาในของใช้

เหล่านั้น การทำวัตถุให้สะอาด ความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัด

ความไม่คลุกคลี. พึงทราบว่า การอยู่ในประเทศอันสมควร การคบสัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 154

การฟังพระสัทธรรม การทำไว้ในใจโดยแยบคายเป็นต้น เป็นธรรมทั่วไปแก่

คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสอง และเป็นความสมควรทั้งสองฝ่าย.

ความไม่ประมาทในบทว่า อปฺปมาโท นี้ พึงทราบโดยตรงกันข้าม

กับความประมาท. ถามว่า ก็ชื่อว่าความประมาทนี้ คืออะไร. ตอบว่า คือ

อาการเลินเล่อ. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ในความประมาทและ

ความไม่ประมาทนั้น ความประมาทเป็นไฉน การปล่อยจิตไปในกามคุณ ๕

ด้วยกายทุจริตก็ดี วจีทุจริตก็ดี มโนทุจริตก็ดี การเพิ่มพูนจิตให้เพลินไปใน

อารมณ์ การไม่ทำความเคารพในการบำเพ็ญกุศลธรรม การทำความเพียรไม่

ติดต่อ การทำอันไม่ยั่งยืน ความประพฤติย่อหย่อน การหมดฉันทะ การ

ทอดธุระ การไม่คบหา การไม่อบรม การไม่ทำให้มาก ความประมาท

ความเลินเล่อ ความเผอเรอเห็นปานนี้ ท่านเรียกว่า ปมาโท (ความประมาท).

เพราะฉะนั้น พึงทราบความไม่ประมาท โดยตรงกันข้ามกับความประมาท

ดังที่กล่าวแล้ว. แท้จริง ความไม่ประมาทนั้นโดยอรรถ ได้แก่การไม่อยู่

ปราศจากสติ. คำว่าไม่ประมาทนี้เป็นชื่อของสติ ที่เข้าไปตั้งไว้เป็นนิจนั่นเอง.

แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ขันธ์ไม่มีรูป ๔ ที่เป็นไป โดยประกอบด้วย

สติสัมปชัญญะ ชื่อว่า ความไม่ประมาท.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภาวิโต พหุลีกโต อันภิกษุเจริญแล้ว

ทำให้มากแล้ว ดังนี้ ถามว่า ความไม่ประมาทนี้พึงให้เจริญอย่างไร. ตอบว่า

การเจริญอย่างเดียวกัน แต่แยกกัน หาชื่อว่า เจริญความไม่ประมาทไม่. การ

ทำบุญ ทำกุศลทั้งหมดอย่างใดอย่างหนึ่ง พึงทราบว่าเป็นการเจริญความไม่

ประมาททั้งนั้น. แต่โดยต่างกันอันได้แก่การเจริญศีล สมาธิ ปัญญา ทั้งหมด

หมายถึงอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ (นิพพาน) การถึงสรณะ และการสำรวมทางกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 155

และทางใจ เพราะเหตุนั้น การเจริญกุศล การเจริญธรรมอันไม่มีโทษพึงทราบ

ว่าเป็นการเจริญความไม่ประมาท.

จริงอยู่ บทว่า อปฺปมาโท นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึง

ประโยชน์ใหญ่ คือ ทรงยึดถือประโยชน์มากดำรงอยู่. ไม่ควรกล่าวว่า

พระธรรมกถึกนำเอาพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกแม้ทั้งสิ้น มากล่าวทำอรรถ

แห่งบท คือ อัปปมาท ออกนอกทางไป. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า

เพราะความไม่ประมาทเป็นธรรมข้อใหญ่. เป็น ความจริงดังนั้น พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า เมื่อใกล้จะปรินิพพานทรงบรรทม ณ ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ ใกล้

เมืองกุสินารา ทรงรวบรวมธรรมที่พระองค์ทรงแสดงมาในเวลา ๔๕ พรรษา

ตั้งแต่การตรัสรู้ลงด้วยบทเดียว จึงได้ประทานพระโอวาทแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด.

และทรงกล่าวขยายความต่อไปว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ทั้ง

หลายบนแผ่นดินเหล่าใดเหล่าหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมลงใน

รอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างท่านกล่าวว่า เลิศกว่ารอยเท้าสัตว์ทั้งหมด เพราะ

เป็นรอยเท้าใหญ่ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นกุศลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ทั้งหมดนั้นมีความไม่ประมาทเป็นมูล รวมลงในความไม่ประมาท ความไม่

ประมาท เรากล่าวว่าเลิศกว่ากุศลธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น ด้วยประการฉะนี้

อธิบายความในคาถาทั้งหลายต่อไปนี้. บทว่า อปฺปมาท ปสสนฺติ

ความว่า บัณฑิตทั้งหลายผู้มีปัญญา มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมสรรเสริญ

คือ ย่อมพรรณนา ย่อมยกย่องความไม่ประมาทในการทำบุญมีทานเป็นต้น.

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะบัณฑิตผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อม

ถือประโยชน์ทั้งสองไว้ได้. ถามว่า ก็ประโยชน์ทั้งสองเหล่านั้น คืออะไร.

ตอบว่า คือประโยชน์ในปัจจุบัน ๑ ประโยชน์ในอนาคต ๑. พึงทราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 156

การแก้บทในคาถานี้อย่างนี้. ในบทว่า ทิฏฺเ ธมฺเม จ โย อตฺโถ ประโยชน์

ในปัจจุบัน ได้แก่ประโยชน์ของคฤหัสถ์ก่อน คือกรรมอันไม่มีโทษ ประโยชน์

ที่คฤหัสถ์ควรจะได้มีวิธีประกอบกสิกรรม และโครักขกรรมเป็นต้น ดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า อนากุลา จ กมิมนฺตา

การงานไม่อากูล ดังนี้. ส่วนของบรรพชิต พึงทราบว่าได้แก่ประโยชน์ มี

ความไม่เดือดร้อนเป็นต้น. ส่วนบทว่า โย จตฺโถ สมฺปรายิโก ประโยชน์

ในสัมปรายภพ พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการประพฤติธรรมของทั้งสองฝ่าย

คือ ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต. บทว่า อตฺถาภิสมยา ได้แก่ เพราะได้

ประโยชน์ คือประโยชน์เกื้อกูลแม้ทั้งสอง. การได้ชื่อว่า สมยะ เพราะร่วมกัน

เกี่ยวข้องกัน ประชุมกัน ด้วยสิ่งที่ควรได้. สมยะนั่นแล คือ อภิสมยะ หรือ

สมยะชื่อว่า อภิสมยะ เพราะความมีหน้าเข้าหากัน . พึงทราบอรรถแห่งบท

ในที่นี้ ดังนี้. ชื่อว่า ธีโร เพราะเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา. อนึ่ง ในที่นี้

พึงทราบการสงเคราะห์แม้พระนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ด้วยอัตถ

ศัพท์. บทที่เหลือชัดดีแล้วทั้งนั้น.

ในสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงวัฏสมบัติอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้ ส่วนใน

คาถาพึงเห็นการสงเคราะห์ซึ่งวิวัฏด้วย. จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

อปฺปมาโท อมตปท ปมาโท มจฺจุโน ปท

อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา

เอต วิเสสโต ตฺวา อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา

อปฺปมาเท ปโมทนฺติ อริยาน โคจเร รตา

ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความ

ไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความ

ตาย ผู้ไม่ประมาทย่อมไม่ตาย คนประมาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 157

เหมือนคนตายแล้ว บัณฑิตทั้งหลายรู้

ความต่างกันในความไม่ประมาทนี้แล้ว

ขึ้นดีในธรรมเป็นโคจรของพระอริยะ

ทั้งหลาย ย่อมบันเทิงในความไม่ประมาท.

เต ฌายิโน สาตติกา นิจฺจ ทฬฺทปรกฺกมา

ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพาน โยคกฺเขม อนุตฺตร

นักปราชญ์ทั้งหลายเหล่านั้น ผู้มี

ความเพ่ง มีความพยายามติดต่อ มีความ

เพียรมั่นเป็นนิจ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน

อันเกษมจากโยคะ ไม่มีอะไรอื่นยิ่งไปกว่า

ดังนี้.

เพราะฉะนั้น ในบทว่า อตฺถาภิสมยา นี้ พึงทราบความแม้ด้วย

ประโยชน์อัน เป็นโลกุตระ.

จบอรรถกถาอุโภอัตถสูตรที่ ๓

๔. เวปุลลปัพพตสูตร

ว่าด้วยกองกระดูกโตเท่าภูเขาก็ล่วงทุกข์ไม่ได้

[๒๐๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนี้ ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลหนึ่งแล่นไปท่องเที่ยวไปตลอดกัป

ร่างกระดูก หมู่กระดูก กองกระดูก พึงเป็นกองใหญ่ เหมือนภูเขาเวปุลล-

บรรพตนี้ ถ้าว่าใคร ๆ จะพึงรวบรวมไปกองไว้ และถ้าว่าส่วนแห่งกระดูก

อันใคร ๆ นำไปแล้วจะไม่พึงฉิบหายไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 158

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาคุณ

อันใหญ่ ตรัสไว้ดังนี้ว่า กองแห่งกระดูก

ของบุคคลคนหนึ่ง พึงเป็นกองเสมอด้วย

ภูเขาโดยกัปหนึ่ง ก็ภูเขาใหญ่ชื่อเวปุลล-

บรรพตนี้นั้นแล อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ตรัสบอกแล้ว สูงยิ่งกว่าภูเขาคิชฌกูฎอยู่

ใกล้พระนครราชคฤห์ของชาวมคธ เมื่อ

ใด บุคคลย่อมพิจารณาเห็นอริยสัจ คือ

ทุกข์ ๑ ธรรมเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ ๑

ธรรมเป็นที่ก้าวล่วงแห่งทุกข์ ๑ อริยมรรค

มีองค์ ๘ อันให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ ๑

ด้วยปัญญาอันชอบ เมื่อนั้นบุคคลนั้นท่อง

เที่ยวไปแล้ว ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง เป็นผู้

กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้เพราะสังโยชน์

ทั้งปวงสิ้นไป.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบเวปุลลปัพพตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 159

อรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตร

ในเวปุลลปัพพตสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คำว่า บุคคล ในบทว่า เอกปุคฺคบสฺส นี้ เป็นโวหารกถา

(กล่าวเป็นโวหาร). จริงอยู่ เทศนาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคมี ๒ อย่าง

คือ สมมติเทศนา และปรมัตถเทศนา. ในเทศนา ๒ อย่างนั้น สมมติ-

เทศนามีอย่างนี้คือ บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา

มาร. ปรมัตถเทศนามีอย่างนี้ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ

สติปัฏฐาน.

ในเทศนา ๒ อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนา

แก่บุคคลผู้ฟังเทศนาโดยสมมติ แล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้. ทรงแสดง

ปรมัตถเทศนาแก่บุคคลผู้ฟังเทศนา โดยปรมัตถแล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้.

พึงทราบอุปมาในข้อนั้นดังต่อไปนี้ เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ฉลาดในภาษาท้อง

ถิ่น พรรณนาความแห่งพระเวท ๓ บอกด้วยภาษาทมิฬแก่ผู้ที่เมื่อเขาสอนด้วย

ภาษาทมิฬก็รู้ความ บอกด้วยภาษาแก่ผู้ที่รู้ด้วยภาษาใบ้เป็นต้นอย่างใดอย่าง

หนึ่ง ฉันใด มาณพทั้งหลายเหล่านั้น อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด เฉียบแหลมย่อม

เรียนศิลปะได้รวดเร็วฉันนั้น. ในข้อนั้นพึงทราบว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค

ดุจอาจารย์ พระไตรปิฎกอันตั้งอยู่ในภาวะที่ควรบอก ดุจไตรเพท ความเป็นผู้

ฉลาดในสมมติและปรมัตถ์ ดุจความเป็นผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น เวไนยสัตว์ผู้

สามารถแทงตลอดด้วยสมมติและปรมัตถ์ ดุจมาณพผู้รู้ภาษาต้องถิ่นต่าง ๆ

การแสดงด้วยสมมติและปรมัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจการบอกด้วยภาษา

ทมิฬเป็นต้นของอาจารย์. ในข้อนี้อาจารย์กล่าวไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 160

พระสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐ ว่าผู้

บอกทั้งหลาย ได้ทรงบอกสัจจะสองอย่าง

คือ สมมติสัจ และปรมัตถสัจ ไม่ได้บอก

สัจจะที่ ๓ อันเป็นคำที่สัจที่กำหนดกันเอา

เองเป็นเหตุสมมติกันในโลก คำอันเป็น

ปรมัตถสัจมีลักษณะเป็นของแท้แต่งธรรม

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น โวหารของพระ

ศาสดาผู้เป็นที่พึ่งของโลก ผู้ฉลาดใน

โวหารทรงกล่าวสมมติสัจ ว่าเป็นอริย-

โวหารแล.

อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุคคลกถา ด้วยเหตุ ๘

ประการ คือ เพื่อแสดงถึงหิริและโอตตัปปะ ๑ เพื่อแสดงความที่สัตว์มีกรรม

เป็นของตน ๑ เพื่อแสดงความเพียรเครื่องกระทำแห่งบุรุษเฉพาะตน ๑

เพื่อแสดงอนันตริยกรรม ๑ เพื่อแสดงพรหมวิหารธรรม ๑ เพื่อแสดง

ปุพเพนิวาสญาณ ๑ เพื่อแสดงทักษิณาวิสุทธิ ๑ เพื่อไม่ละโลกสมมติ ๑.

ก็เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ น่ารังเกียจ น่ากลัว ดังนี้ มหาชน

ย่อมไม่รู้ ย่อมถึงความลุ่มหลง หรือกลายเป็นปรปักษ์ว่า นี่อะไรกัน ขันธ์

ธาตุ อายตนะชื่อว่า น่ารังเกียจ น่ากลัวดังนี้ . แต่เมื่อกล่าวว่า หญิง ชาย

กษัตริย์ พราหมณ์ น่ารังเกียจ น่ากลัวดังนี้ มหาชนย่อมรู้ ย่อมไม่ลุ่มหลง

หรือไม่กลายเป็นปรปักษ์. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา

เพื่อแสดงหิริและโอตตัปปะ. แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ กัมมัสสกา ธาตุ อายตนะ

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุคคลกถา ก็เพื่อ

แสดงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน. แม้เมื่อกล่าวว่า มหาวิหารมีเวฬุวันเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 161

ต้นสร้างขึ้นด้วยขันธ์ ธาตุ อายตนะ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . แม้เมื่อกล่าวว่า

ขันธ์ทั้งหลายฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ ธาตุ อายตนะ กระทำ

กรรมโลหิตุบาท กรรมสังฆเภท ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์

ธาตุ อายตนะ ย่อมมีเมตตาดังนี้ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์

ธาตุ อายตนะ ย่อมระลึกถึงบุพเพนิวาส ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อแสดงความเพียรเฉพาะตน เพื่อ

แสดงอนันตริยกรรม เพื่อแสดงพรหมวิหารธรรม และเพื่อแสดงบุพเพนิวาส.

แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รับทาน มหาชนก็ไม่รู้ ย่อมถึงความ

ลุ่มหลง หรือกลายเป็นปรปักษ์ว่า นี่อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ชื่อว่า

รับทาน. แต่เมื่อกล่าวว่า บุคคลทั้งหลายย่อมรับทานดังนี้ มหาชนย่อมรู้ ไม่

ลุ่มหลงหรือกลายเป็นปรปักษ์. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคล-

กถา เพื่อแสดงทักษิณาวิสุทธิ. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้แล้ว

ไม่ทรงละโลกสมมติ ทรงตั้งอยู่ในความงดงามของโลก พร้อมแสดงธรรมตาม

สมัญญาของโลก เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบุคคลกถาเพื่อ

ไม่ทรงละโลกสมมติ.

แม้ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเมื่อจะทรงแสดง

อรรถที่ควรแสดงด้วยโลกโวหาร จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอกปุคฺคลสฺส ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกปุคฺคลสฺส ได้แก่สัตว์หนึ่ง. บทว่า

กปฺป ได้แก่ตลอดมหากัป. อันที่จริง บทว่า กปฺป นี้ เป็นทุติยาวิภัตติลงใน

อัจจันตสังโยค (สิ้น ตลอด) พึงถือเอากัปที่สัตว์ทั้งหลายแล่นไป ท่องเที่ยว

ไป. บทว่า อฏฺิกกโล ได้แก่ส่วนของกระดูก. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

อฏฺิขโล บ้าง. ความว่า สู่สมกระดูก บทว่า อฏฺิปุญฺโช ได้แก่หมู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 162

กระดูก. บทว่า อฏฺิวาสิ เป็นไวพจน์ของบทว่า อฏฺิปุญฺโช นั้นแล.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ตั้งแต่สะเอวลงมา ชื่อกกละ (ร่าง) บนขึ้นไป

ชั่วลำตาล ชื่อปุญชะ (ก้อน) จากนั้นขึ้นไปเป็นราสิ (กอง). นั่นเป็นเพียง

มติของอาจารย์พวกนั้น. ทั้งหมดนั้นเป็นคำกล่าวซ้ำของสมูหศัพท์นั่นเอง.

บทว่า เวปุลฺลสฺส วา ได้แก่ เพราะนำมาโดยความเปรียบเทียบกัน . บทว่า

สเจ สหารโก อสฺส ความว่า อาจารย์ย่อมกล่าวด้วยกำหนดว่า ผิว่า

ใคร ๆ จะพึงรวบรวมไปกองไว้โดยไม่ให้เรี่ยราด. บทว่า สมฺภตญฺจ น

วินสฺเสยฺย อาจารย์ย่อมกล่าวด้วยกำหนดว่า และถ้าส่วนแห่งกระดูกอันใครๆ

นำไปแล้ว จะไม่พึงฉิบหายไปเพราะไม่ผุ ไม่เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โดยไม่

อันตรธานไป.

ในพระสูตรนี้มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อสัตว์หนึ่งแล่นไป

ท่องเที่ยวไป ตลอดมหากัปหนึ่งโดยเกิดแล้วเกิดอีก ด้วยกรรมกิเลส กอง

กระดูกใหญ่จะพึงมีอย่างนี้ ขนาดภูเขาเวปุลลบรรพต โดยส่วนสูงและส่วนกว้าง

ก็ผิว่าใคร ๆ จะพึงรวบรวมกองไว้ และถ้าว่าส่วนแห่งกระดูกนั้น อันใคร ๆ

นำไปแล้ว จะไม่พึงฉิบหายไปยังคงตั้งอยู่.

ก็นัยนี้ท่านกล่าวเว้นอัตภาพที่เป็นโอปปาติกะ ปราศจากการทอดทิ้ง

กเลวระอันมีสภาพทำลายไป ดุจประทีปที่ดับแล้ว และอัตภาพเล็ก ๆ ซึ่งไม่มี

กระดูกเป็นชิ้นเป็นอัน . แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะนำนัยนี้มาด้วยการ

กำหนด ผิว่า จะพึงมีกองกระดูกของสัตว์เหล่านั้นเสมอเท่าภูเขา ท่านก็กล่าว

ถึงปริมาณของกองกระดูก. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า นี่ไม่ใช่อย่างนั้น

เพราะปริมาณนี้ ท่านกล่าวกำหนดด้วยสัพพัญญุตญาณ ด้วยอำนาจกองกระดูก

ที่ได้ไว้นั่นแหละ ฉะนั้น พึงถือเอาความโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ด้วยประ

การฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 163

พึงทราบความในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. บทว่า มเหสินา ความว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ เพราะค้นหาแสวงหาคุณ

มีศีลขันธ์เป็นต้นอันใหญ่. บทว่า อิติ วุตฺต มเหสินา ความว่า ก็พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงพระองค์ ทำดุจผู้อื่นดังในประโยคมิอาทิว่า ทสพล-

สมนฺนาคโต ภิกฺขเว ตถาคโต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตประกอบแล้ว

ด้วยกำลัง ๑๐ ดังนี้. บทว่า เวปุลฺโล ความว่า ภูเขาได้ชื่อว่า เวปุลละ

เพราะภูเขา ๕ ลูก ตั้งล้อมกรุงราชคฤห์อย่างไพบูลย์. ภูเขาเวปุลลบรรพต

ใหญ่กว่านั้น คือ สูงสุดในส่วนของทิศที่ตั้งอยู่. บทว่า คิชฺฌกูฏสฺส คิริพฺพเช

ได้แก่ ใกล้กรุงราชคฤห์ ชื่อคิริพชบุรี.

ด้วยข้อความเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงถึงโทษใน

วัฏฏะว่า ปุถุชนผู้มีความไม่กำหนดรู้เป็นพื้นฐาน ยังตัดรากของภพไม่ขาด

โดยกาลเพียงนี้ เช่นนี้นี่แลเป็นความรกของป่าช้า บัดนี้ เนื้อจะทรงแสดงว่า

ปุถุชนผู้โง่เขลา เพราะไม่รู้ไม่เข้าใจอริยสัจเหล่าใด จึงเป็นผู้รกในป่าช้าอย่างนี้

พระอริยบุคคลผู้เห็นอริยสัจเหล่านั้น จึงไม่เป็นผู้รกในป่าช้า ดังนี้ จึงตรัสคำ

มีอาทิว่า ยโต จ อริยสจฺจานิ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโต แปลว่า เมื่อใด. บทว่า อริยสจฺจานิ

ได้แก่ ชื่อว่าอริยะ เพราะความหมดทุกข์ และชื่อสัจจะ เพราะความเป็น

ของจริง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอริยสัจ หรือสัจจะทำความเป็นอริยะ จึงชื่อว่า

อริยสัจ. หรือสัจจะอันพระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น พึงแทงตลอด

จึงชื่อว่าอริยสัจ. อีกอย่างหนึ่ง สัจจะของพระอริยะ ชื่อว่าอริยสัจ. จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่ออริยะ เพราะเป็นที่พึ่งไม่เป็นข้าศึกของโลกพร้อมด้วย

เทวโลก. ชื่อว่าสัจจะของพระอริยะนั้น เพราะเห็นด้วยสยัมภูญาณนั้น เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่าอริยสัจ. บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ ได้แก่ ย่อมเห็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 164

ด้วยมรรคปัญญาอันเป็นไปกับด้วยวิปัสสนาปัญญา โดยชอบ โดยเหตุ โดย

ความรู้ ด้วยการกำหนดรู้ การละ การทให้แจ้ง การเจริญและการตรัสรู้.

บทว่า ทุกฺข เป็นต้น แสดงสรูปของอริยสัจ. ในบทว่า ทุกฺข นั้น

ชื่อว่าทุกข์ เพราะความเป็นของน่ารังเกียจ โดยเป็นที่รวมอันตรายหลายอย่าง

และเพราะความว่างเปล่าจากความสุขยั่งยืน สดชื่น ที่พวกชนพาลหมายมั่นไว้

นักหนา. ความเกิดแห่งทุกข์ ชื่อว่าทุกข์สมุทัย เพราะเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์.

นิพพานชื่อว่าเป็นธรรมเป็นที่ก้าวล่วงแห่งทุกข์ เพราะเป็นเหตุล่วงไปแห่งทุกข์

หรือเป็นที่ก้าวล่วงทุกข์อันเป็นอารัมมณปัจจัย. ชื่อว่าอริยะ เพราะไกลจาก

กิเลสทั้งหลาย และเพราะหมดความทุกข์. อริยมรรคมีองค์ ๘ ด้วยสามารถ

แห่งองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น. ชื่อว่ามรรค เพราะฆ่ากิเลสให้สิ้นไป หรือ

เพราะผู้ต้องการนิพพานย่อมแสวงหา หรือ เพราะแสวงหานิพพานเอง. ชื่อว่า

ทุกฺขูปสมคามี เพราะถึงความสงบ คือ ความดับแห่งทุกข์ จากมรรคนั้น

นั่นเอง. เชื่อมกับบทว่า ยโต สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ เมื่อใดบุคคล

ย่อมพิจารณาเห็นอริยสัจ ด้วยปัญญาอันชอบ ดังนี้.

บทว่า ส สตฺตกฺขตฺตุปรม สนฺธาวิตฺวาน ปุคฺคโล ความว่า

พระอริยบุคคลผู้เป็นโสดาบัน มีอินทรีย์อ่อนกว่าทั้งหมด เห็นอริยสัจ ๔ นั้น

ท่องเที่ยวไป คือ แล่นไป ด้วยเกิดติดต่อกันไปในภพเป็นต้น ๗ ครั้งเป็น

อย่างยิ่ง. จริงอยู่ พระโสดาบันทั้งหลาย ๓ จำพวก คือ เอกพิชี (มีพืชคือ

ภพเดียว) ๑ โกลังโกละ (ไปสู่กุละจากกุละ กุละหมายถึงภพ) ๑ สัตตักขัตตุ

ปรมะ (มี ๗ ครั้งเป็นอย่างยิ่ง) ๑ โดยความที่มีอินทรีย์แก่กล้า ปานกลาง

และอ่อน. บทว่า ส สตฺตกฺขตฺตุ ปรม สนฺธาวิตฺวาน นี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสถึงพระโสดาบัน ผู้มีอินทรีย์อ่อนกว่าพระโสดาบันทั้งหมดเหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 165

บทว่า ทุกฺขสฺสนฺตกโร โหติ ความว่า เป็นผู้ทำที่สุด คือทาเป็นครั้งสุดท้าย

แห่งวัฏทุกข์ได้. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า เพราะสังโยชน์ทั้งปวงสิ้นไป

อธิบายว่า เพราะบรรลุมรรคชั้นเลิศโดยลำดับแล้ว สังโยชน์สิ้นไปโดยไม่มี

เหลือเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอายอดแห่งเทศนา ด้วยอรหัตผลนั้นแล.

จบอรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตรที่ ๔

๕. สัมปชานมุสาวาทสูตร

ว่าด้วยสัมปชานมุสาวาท

[๒๐๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลล่วงธรรมอย่างหนึ่งแล้ว เรากล่าวว่า

บาปกรรมไร ๆ อันเขาจะไม่พึงทำไม่มีเลย ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ

สัมปชานมุสาวาท.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บาปกรรน ที่สัตว์ผู้เป็นคนมักพูดเท็จ

ล่วงธรรมอย่างหนึ่งแล้ว ข้ามโลกหน้าเสีย

แล้ว จะไม่พึงทำ ไม่มีเสีย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบสัมปชานมุสาวาทสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 166

อรรถกถาสัมปชานมุสาวาทสูตร

ในสัมปชานมุสาวาทสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-

อะไรเป็นเหตุให้เกิด บทว่า เอกธมฺม อตีตสฺส. เรื่องมีอยู่ว่า

ลาภสักการะเป็นอันมากเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า และภิกษุสงฆ์ เสื่อมจาก

พวกเดียรถีย์. พวกเดียรถีย์เมื่อเสื่อมจากลาภสักการะก็อับเฉา หมดฤทธิ์เดช

เกิดริษยา จึงพากัน ไปชักชวนปริพาชิกา ชื่อจิญจมาณวิกาว่า นี่แน่น้องสาว

เธอจงกล่าวผู้มีพระสมณโคดม ด้วยคำไม่จริงทีเถิด. นางจิญจมาณวิกา ก็เข้า

ไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าซึ่งกำลังทรงแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ได้กล่าวตู่

ด้วยคำไม่จริง ท้าวสักกะได้ประกาศความไม่จริงของนาง ในท่ามกลางบริษัท

มหาชนพากันแช่งด่าว่า อีหญิงกาลกิณี แล้วฉุดกระชากออกจากวิหาร

แผ่นดินได้แยกออกเป็นช่อง นางจิญจมาณวิกา เป็นดุจฟืนติดเปลวไฟนรกไป

บังเกิดในอเวจีมหานรก พวกเดียรถีย์ยิ่งเส อมจากลาภสักการะมากขึ้น.

ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย นาง

จิญจมาณวิกาด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นทักษิไณยบุคคลผู้เลิศ ทรงคุณยิ่ง

ด้วยคำไม่จริง ได้ถึงความพินาศยิ่งใหญ่ ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัย

เหตุนั้น จึงตรัสมหาปทุมชาดกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางจิญจมาณวิกาได้

ด่าเราด้วยคำไม่จริง แล้วถึงความพินาศยิ่งใหญ่ มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อ

ก่อนก็เหมือนกัน เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป จงตรัสพระสูตรนี้ด้วย

บทว่า เอกธมฺมมตีตสฺส ดังนี้ เพื่อให้เรื่องนี้เกิดขึ้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เอกธมฺม ได้แก่ ธรรมคือวจีสัจอย่างหนึ่ง.

บทว่า อตีตสฺส ความว่า เมื่อบุคคลล่วงเลยมารยาท อันพระอริยะทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 167

เว้นโวหารอันมิใช่อริยะ ๘ ประการแล้ว เพื่อดำรงมั่นอยู่ในโวหารอันเป็นอริยะ

๘ ประการ จึงยึดมั่นอยู่ด้วยบทว่า สจฺจ ภเณ น อลิก ควรพูดความจริง

ไม่ควรพูดเหลาะแหละดังนี้ เป็นต้น. บุคคลคือบุรุษ ชื่อว่า บุรุษบุคคล.

อันบุรุษบุคคลนั้น. บทว่า อกรณีย ได้แก่ ไม่อาจเพื่อจะทำ. จริงอยู่ บุคคล

พูดเท็จทั้ง ๆ รู้ กระทำบาปกรรมไร ๆ ไว้ เนื้อเขาพูดว่า ท่านทำกรรมนี้ ยัง

จักยืนยันด้วยคำเท็จว่า เราไม่ได้ทำดังนี้. ก็เมื่อปฏิบัติอยู่อย่างนี้ ยังทำบาป-

กรรมเรื่อย ๆ ไป ย่อมไม่ละอายในบาปกรรมนั้น เพราะล่วงเลยคำสัจอันเป็น

มารยาทที่ดี. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กตม เอกธมฺม

ยทิท ภิกฺขเว สมฺปชานมุสาวาโท ดูก่อนภิกษุทั้งหลา ธรรมอย่างหนึ่ง

เป็นไฉน คือ สัมปชานมุสาวาท ดังนี้.

พึงทราบอธิบายความในคาถา ดังต่อไปนี้. บทว่า มุสาวาทิสฺส

ได้แก่ มักพูดเท็จ ไม่จริง ไม่แท้ เพื่อให้คนอื่นรู้. คำพูด ๑๐ คำ ไม่มี

คำพูดจริงแม้แต่คำเดียว บทว่า ชนฺตุโน ได้แก่สัตว์. จริงอยู่ สัตว์ท่าน

เรียกว่า ชนฺตุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้เกิด. บทว่า วิติณฺฆณปรโลกสฺส ได้แก่

สละโลกหน้าเสียแล้ว. เพราะบุคคลเช่นนี้ย่อมไม่เห็นสมบัติแม้ทั้ง ๓ เหล่านี้

คือ มนุษย์สมบัติ เทวโลกสมบัตินิพพานสมบัติในที่สุด. บทว่า นตฺถิ ปาป

ได้แก่ บาป ชื่อนี้ที่คนเช่นนั้นจะไม่พึงทำ ไม่มี.

จบอรรถกถาสัมปชานมุสาวาทสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 168

๖. ทานสูตร

ว่าด้วยให้ทานที่ให้แล้วมีผลมาก

[๒๐๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทาน

เหมือนอย่างเรารู้ไซร้ สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้แล้ว ก็จะไม่พึงบริโภค อนึ่ง

ความตระหนี่อันเป็นมลทิน จะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่านั้น

ไม่พึงแบ่งคำข้าวคำหลังจากคำข้าวนั้นแล้วก็จะไม่พึงบริโภค ถ้าปฏิคาหกของ

สัตว์เหล่านั้นพึงมี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แต่เพราะสัตว์ทั้งหลายไม่รู้ผลแห่งการ

จำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้ ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายไม่ให้แล้วจึงบริโภค อนึ่ง

ความตระหนี่อันเป็นมลทินจึงยังครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลาย พึงรู้ผลแห่งการ

จำแนกทาน เหมือนอย่างที่ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ตรัสแล้วโดย

วิธีที่ผลนั้นเป็นผลใหญ่ไซร้ สัตว์ทั้งหลาย

พึงกำจัดความตระหนี่ อันเป็นมลทินเสีย

แล้ว มีใจผ่องไส พึงให้ทานทีให้แล้ว มี

ผลมาก ในพระอริยบุคคลทั้งหลายตาม

กาลอันควร อนึ่ง ทายกเป็นอันมาก ครั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 169

ให้ทักษิณาทาน คือ ข้าวในพระทักษิไณย-

บุคคลทั้งหลายแล้ว จุติจากความเป็นมนุษย์

นี้แล้ว ย่อมไปสู่สวรรค์ และทายกเหล่านั้น

ผู้ใคร่กาม ไม่มีความตระหนี่ ไปสู่สวรรค์

แล้วบันเทิงอยู่ในสวรรค์นั้น เสวยอยู่ซึ่ง

ผลแห่งการจำแนกทาน.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทานสูตรที่ ๖

อรรถกถาทานสูตร

ในทานสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอว ในบทว่า เอวญฺเจ นี้ เป็นไปในความอุปมา. บทว่า

เจ เป็นนิบาตลงในปริกัป. บทว่า สตฺตา ได้แก่ ผู้ข้อง คือ ผู้ซ่านไปใน

อารมณ์มีรูปเป็นต้น. บทว่า ชาเนยฺยุ แปลว่า พึงรู้. บทว่า ทานสวิภาคสฺส

ได้แก่ เจตนาที่รวบรวมไทยธรรมมีข้าวเป็นต้น ให้แก่คนอื่นโดยการอนุเคราะห์

และการบูชาอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทาน (การให้) ส่วนเจตนาที่แบ่งส่วน

หนึ่งของวัตถุที่ตนถือเอาไว้บริโภคแล้วให้ชื่อว่า สวิภาค (การจำแนก). บทว่า

วิปาก คือ ผล. บทว่า ยถาห ชานามิ ได้แก่ เหมือนอย่างเรารู้. ข้อนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้

พึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานเหมือนอย่างเรารู้ด้วยกำลังญาณอันเป็นผลแห่งกรรม

โดยประจักษ์ในบัดนี้ มีอาทิว่า ผลทานย่อมมีถึงร้อยเท่าโดยให้ทานแม้แก่สัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 170

เดียรัจฉาน แล้วเสวยสุขเป็นไปในร้อยอัตภาพ ดังนี้. บทว่า น อทตฺวา

ภุญฺเชยฺยุ ความว่า สัตว์ทั้งหลายยังไม่ให้ของที่ควรบริโภคอันมีอยู่แก่ตน

แก่ผู้อื่นก่อนแล้วก็จะยังไม่บริโภค ต่อเมื่อให้แล้วจึงบริโภค. บทว่า น จ

เนส มจฺเฉรมล จิตฺต ปริยาทาย ติฏฺเยฺย อนึ่ง ความตระหนี่อันเป็น

มลทินจะไม่ครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น ความว่า ความตระหนี่อันเป็นมลทิน

อย่างใดอย่างหนึ่งของบรรดาธรรมฝ่ายดำอันเป็นอุปกิเลสทำลายความผ่องใสของ

จิต มีลักษณะไม่ยอมให้สมบัติของตนทั่วไปแก่คนอื่น. อีกอย่างหนึ่ง ความ-

ตระหนี่และมลทินมีอิสสา โลภะและโทสะเป็นต้นอันทำอันตรายแก่ทานแม้อื่น

จะไม่พึงครอบงำจิตของสัตว์เหล่านั้น โดยอาการที่ไม่มีเจตนาจะให้หรือมีเจตนา

ไม่บริสุทธิ์ . ก็ใครเล่าเมื่อรู้ผลของทานโดยชอบจะพึงให้โอกาสแก่ความตระหนี่

อันเป็นมลทินในจิตของตนได้. บทว่า โยปิ เนส อสฺส จริโม อาโลโป

ได้แก่ พึงมีคำข้าวคำหลังทั้งหมดของสัตว์เหล่านั้น. บทว่า จริม กพล

เป็นไวพจน์ของคำว่า อาโลโป นั่นเอง. ข้อนี้ท่านอธิบายว่า ตามปกติ

สัตว์เหล่านี้มีชีวิตอยู่ได้เองด้วยคำข้าวเพียงเท่าใด เหลือคำข้าวไว้คำหนึ่ง

ในคำข้าวเหล่านี้. เพื่อประโยชน์แก่ตน แล้วให้คำข้าวทั้งหมดนอกจาก

ที่เหลือไว้คำหนึ่งนั้นแก่คนที่ต้องการที่มาหา คำข้าวที่เหลือไว้นั้นชื่อว่า

คำหลังในที่นี้. บทว่า ตโตปิ น อสวิภชิตฺวา ภุญฺเชยฺยุ สเว เนส

ปฏิคฺคาหกา อสฺสุ สัตว์เหล่านั้นไม่พึงแบ่งคำข้าวคำหลังจากคำข้าวนั้น

แล้วก็จะไม่พึงบริโภค ถ้าปฏิคคาหกของสัตว์เหล่านั้นพึงมี ความว่า ถ้า

ปฏิคคาหกของสัตว์เหล่านั้นพึงมี สัตว์ทั้งหลายพึงแบ่ง แม้จากคำข้าวมีประมาณ

ตามที่กล่าวแล้ว พึงให้ส่วนหนึ่งแล้วจึงบริโภค สัตว์ทั้งหลายพึงรู้เหมือนอย่าง

ที่เรารู้ผลของการจำแนกทานโดยชัดแจ้งฉะนั้น. ด้วยบทว่า ยสฺมา จ โข

เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังความตามพระพุทธประสงค์ ให้สำเร็จด้วย

เหตุว่า สัตว์เหล่านี้ ไม่รู้ผลในการจำแนกทานอย่างนี้ เพราะผลของกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 171

ยังไม่ประจักษ์ ด้วยบทนี้พึงเห็นว่าพระองค์ทรงแสดงถึงเหตุแห่งการไม่ปฏิบัติ

ในบุญอื่นและแห่งการปฏิบัติในสิ่งมิใช่บุญในคาถาทั้งหลายมีอธิบายดังต่อไปนี้

บทว่า ยถาวุตฺต มเทสินา ความว่า เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ตรัสแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ให้ทานแก่สัตว์เดียรัจฉาน

พึงหวังผลทานถึงร้อยเท่า ดังนี้ หรือโดยนัยมีอาทิในสูตรนี้ว่า เอวญฺเจ

สตฺตา ชาเนยฺย ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้ผลแห่งการจำแนกทานอย่างนั้นดังนี้

อธิบายว่า เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วโดยพระญาณ คือ ทรง

ทราบทางจิต. บทว่า วิปาก สวิภาคสฺส ได้แก่ ผลแห่งกาจำแนก.

ก็จะพูดถึงทานอย่างไรเล่า. บทว่า ยถา โหติ มหปฺผล ควรผูกเป็น

ใจความว่า ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น พึงรู้โดยวิธีที่ผลนั้นเป็นผลใหญ่ไซร้.

บทว่า วิเนยฺย มจฺฉรมล ความว่า สัตว์ทั้งหลายพึงกำจัดความตระหนี่อันเป็น

มลทิน มีจิตผ่องใสโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยความเชื่อผลแห่งกรรม และด้วย

ความเชื่อในพระรัตนตรัย พึงให้ทานที่ให้แล้วแม้น้อยก็มีผลมากในพระอริย-

บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น เพราะเป็นผู้ไกลจากกิเลสทั้งหลายตาม

กาลอันควร. ท่านผู้ควรแก่ทักษิณาทาน เพราะทำให้มีผลมาก ชื่อว่า ทักษิไณย-

บุคคล คือ เป็นผู้ปฏิบัติชอบ. ให้ทักษิณา คือ ไทยธรรมที่ผู้ให้เธอโลกหน้า

ในทักษิไณยบุคคลเหล่านั้นโดยที่ทานนั้นเป็นทานใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง ถามว่า

ควรจะให้ทานอย่างไร. ตอบว่า ควรให้ทักษิณาทานในทักษิไณยบุคคล. อนึ่ง

ผู้ให้จุติจากความเป็นมนุษย์นี้แล้วย่อมไปสู่สวรรค์ ด้วยการปฏิสนธิ. บทว่า

กามกามิโน ความว่า ทายกผู้ใคร่กาม คือ มีความพร้อมในกามทุกอย่าง

เพราะเป็นผู้ทำความดี โดยได้รับกรรมอันเป็นสมบัติแห่งเทพสมบัติอันโอฬาร

ที่ควรใคร่ ย่อมบันเทิง คือ ได้รับความบำรุงบำเรอตามชอบใจ.

จบอรรถกถาทานสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 172

๗. เมตตาภาวสูตร

ว่าด้วยบุญไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งเมตตาจิต

[๒๐๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอุปธิสมบัติ

เป็นเหตุบุญกิริยาวัตถุทั้งหมดนั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งเมตตาเจโต-

วิมุตติ เมตตาเจโตวิมุตตินั้นแล ครอบงำบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น สว่างไสว

ไพโรจน์เปรียบเหมือนรัศมีแห่งดาวชนิดใดชนิดหนึ่ง รัศมีดาวทั้งหมดนั้นย่อม

ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งรัศมีพระจันทร์ รัศมีพระจันทร์นั่นแล ครอบงำรัศมีดาว

เหล่านั้น สว่างไสวไพโรจน์ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนในเมื่อ

อากาศโปร่งปราศจากเมฆในสารทสมัย ในเดือนท้ายแห่งฤดูฝน พระอาทิตย์

ลอยขึ้นไปสู่ท้องฟ้า กำจัดอากาศอันมืดทั้งปวง สว่างไสวไพโรจน์ฉะนั้น อนึ่ง

เปรียบเหมือนดาวประกายพฤกษ์ในปัจจุสสมัยแห่งราตรี สว่างไสวไพโรจน์

ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูจนนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ผู้ใดมีสติ เจริญเมตตาไม่มีประมาณ

สังโยชน์ทั้งหลาย ของผู้นั้นผู้พิจารณาเห็น

ซึ่งธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ ย่อมเป็น

ธรรมชาติเบาบาง ถ้าว่าผู้นั้นมีจิตไม่ประ-

ทุษร้ายซึ่งสัตว์มีชีวิต แม้ชนิดหนึ่ง เจริญ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 173

เมตตาอยู่ไซร้ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีกุศล

เพราะการเจริญเมตตานั้น อันพระอริย-

บุคคลมีใจอนุเคราะห์ซึ่งมีสัตว์มีชีวิตทุกหมู่-

เหล่า ย่อมกระทำบุญเป็นอันมาก พระ-

ราชฤาษีทั้งหลายทรงชนะซึ่งแผ่นดิน อัน

เกลื่อนกล่นด้วยหมู่สัตว์ ทรงบูชาอยู่ซึ่ง

บุญเหล่าใด ( คือ อัสสเมธะ ปุริสเมธะ

สัมมาปาสะ วาชเปยยะ นิรัคคฬะ) เสด็จ

เที่ยวไป บุญเหล่านั้นย่อไม่ถึงแม้เสี้ยวที่

๑๖ แห่งเมตตาจิต อันบุคคลเจริญดีแล้ว

(เหมือนหมู่ดาวทั้งหมด ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่

๑๖ แห่งรัศมีพระจันทร์ฉะนั้น) ผู้ใดมี

ส่วนแห่งจิตประกอบด้วยเมตตาให้สัตว์ทุก

หมู่เหล่า ย่อมไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า

ไม่ชนะเอง ไม่ใช่ผู้อื่นให้ชนะ เวรของ

ผู้นั้นย่อมไม่มีเพราะเหตุอะไร ๆ เลย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบเมตตาภาวสูตรที่ ๗

จบตติยวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 174

อรรถกถาเมตตาภาวสูตร

ในเมตตาภาวสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยานิ กานิจิ ได้แก่ บุญกิริยาวัตถุไม่มีเหลือ. บทว่า

อปธิกานิ ปุญฺกิริยาวตฺถูนิ เป็นคำกำหนดถึงบุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น.

ขันธ์ทั้งหลายท่านเรียกว่าอุปธิในบทนั้น. ศีลเป็นเหตุแห่งอุปธิ หรือ ความ

ขวนขวายอันเป็นอุปธิของขันธ์เหล่านั้น ชื่อว่า โอปธิกะ (มีอุปธิสมบัติเป็นเหตุ)

ทำให้เกิดในอัตภาพในสมบัติภพ คือ ให้ผลอันเป็นไปในปฏิสนธิ. บทว่า

ปุญฺกิริยาวตฺถูนิ คือ ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ เพราะเป็นบุญกิริยาและเป็น

วัตถุแห่งผลานิสงส์นั้น ๆ. ก็บุญกิริยาวัตถุเหล่านั้นโดยย่อมี ๓ อย่าง คือ

ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ ๑ สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ๑ ภาวนา-

มัย บุญสำเร็จด้วยการภาวนา ๑. ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ อย่างนั้น ข้อที่ควร

กล่าวจักมีแจ้งในอรรถกถาติกนิบาตต่อไป.

บทว่า เมตฺตาย เจโตวิมุตฺติยา ได้แก่การเข้าฌานหมวด ๓

และหมวด ๔ ที่ได้ด้วยเมตตาภาวนา. ก็เมื่อกล่าวว่าเมตตาย่อมหมายทั้งอุปจาร

ทั้งอัปปนา. แต่เมื่อกล่าวว่า เจโตวิมุตฺติ ย่อมหมายถึงอัปปนาฌานอย่างเดียว.

ก็อัปปนาฌานนั้นท่านเรียกว่า เจโตวิมุตติ เพราะจิตพ้นด้วยดีจากธรรมอันเป็น

ข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น. บทว่า กล นาคฺฆนฺติ โสฬสึ ได้แก่บุญกิริยา-

วัตถุมีอุปธิเป็นเหตุ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งเมตตาธรรมวิหาร. ข้อนี้ท่าน

อธิบายไว้ว่า กระทำผลแห่งเมตตาเจโตวิมุตติให้เป็น ๑๖ เสี้ยว คือ ให้เป็น

๑๖ ส่วนแล้วทำส่วนหนึ่งจาก ๑๖ ส่วนนั้นให้เป็น ๑๖ ส่วนอีก บุญกิริยา-

วัตถุ มีอุปธิสมบัติเป็นเหตุเหล่าอื่น ยังไม่ถึงส่วนหนึ่งในส่วนที่ ๑๖ นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 175

บทว่า อธิคฺคเหตฺวา คือครอบงำแล้ว. บทว่า ภาสเต คือย่อม

สว่างไสวเพราะหมดจดจากเครื่องเศร้าหมอง. บทว่า ตปเต ได้แก่เผาธรรมอัน

ปฏิปักษ์ไม่ให้มีเหลืออีกเลย. บทว่า วิโรจเต ได้แก่ย่อมไพโรจน์ด้วยสมบัติ

ทั้งสอง. จริงอยู่ เมตตาเจโตวิมุตติ ย่อมสว่างไสวดุจความแจ่มใสอันปราศจาก

ความเศร้าหมอง ได้แก่ความสว่างของดวงจันทร์ ย่อมกำจัด คือ เผาธรรม

เป็นข้าศึก ดุจแสงสว่างกำจัดความมืด ย่อมสว่างไสวไพโรจน์ ดุจดาว

ประกายพฤกษ์โชติช่วง ฉะนั้น.

บทว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาตลงในอรรถแสดงความเปรียบเทียบ.

บทว่า ตารกรูปาน ได้แก่ ความรุ่งเรื่อง. บทว่า จนฺทิยา ชื่อว่า จนฺที

เพราะอรรถว่ามีรัศมี. อธิบายว่า แห่งรัศมี คือ แห่งแสงสว่างของดวงจันทร์

นั้น. บทว่า วสฺสาน ได้แก่ฤดู อันได้ชื่อเป็นพหูพจน์ว่า วสฺสานิ ดังนี้.

บทว่า ปจฺฉิเม มาเส ได้แก่ในเดือน ๑๒. บทว่า สรทสมเย ได้แก่ใน

สารทกาล (ฤดูใบไม้ร่วง). เดือนอัสสยุชะ (เดือน ๑๑) และเดือนกัตติกะ

(เดือน ๑๒) ท่านเรียกฤดูสารทในโลก. บทว่า วิทฺเธ ได้แก่ ลอยขึ้นไป.

อธิบายว่า เคลื่อนคล้อยไปโดยปราศจากเมฆ. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า วิคตวลาหเก

ปราศจากฝน. บทว่า เทเว ได้แก่ในอากาศ. บทว่า นถ อพฺภุสฺสกฺกมาโน

ได้แก่ลอยขึ้นสู่อากาศจากที่โผล่ขึ้น. บทว่า ตมคต ได้แก่อากาศมืด. บทว่า

อภิหฺจจ ได้แก่ทำลาย คือ กำจัด. บทว่า โอสธิตารกา ได้แก่ดาวใดชื่อว่า

โอสธิ (ดาวประกายพฤกษ์) เพราะเป็นเหตุทำให้มีรัศมีมากขึ้น หรือเพราะ

ดาวประกายพฤกษ์เพิ่มให้มีพลังมากขึ้น.

ในบทนี้ท่านกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไร เมื่อยังมีอาสวะอยู่ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เมตตาวิเศษกว่าบุญมีอุปธิสมบัตินอกนี้เล่า. ท่านแก้ว่า

เพราะความปฏิบัติชอบในสัตว์ทั้งหลายด้วยความประเสริฐสุดและกามไม่มีโทษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 176

ก็วิหารธรรมทั้งหลายเหล่านี้เป็นธรรมประเสริฐที่สุด เป็นสัมมาปฏิบัติในสัตว์

ทั้งปวง คือ เมตตาฌาน. ก็เหมือนอย่างว่า พวกพรหมมีจิตไม่ประทุษร้าย

ฉันใด พระโยคีทั้งหลายผู้ประกอบด้วยวิหารธรรมเหล่านี้ ก็เป็นผู้เสมอด้วย

พรหมฉันนั้น. เป็นความจริงอย่างที่ท่านกล่าวว่า เมตฺตา พฺรหฺมวิหารา เมตตา

เป็นพรหมวิหารธรรม. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเมตตาว่า

วิเศษกว่าบุญมีอุปธิสมบัตินอกนี้ เพราะเป็นการปฏิบัติชอบในสัตว์ทั้งหลายด้วย

ความประเสริฐที่สุดและด้วยความไม่มีโทษ. ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ เพราะเหตุ

ไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเมตตาเท่านั้นว่าวิเศษถึงอย่างนี้. ตอบว่า เพราะ

เมตตาเป็นที่ตั้งของพรหมวิหารธรรมนอกนี้ และเพราะกัลยาณธรรมทั้งหมดมี

ทานเป็นต้นครบบริบูรณ์. ก็เมตตานี้ มีความประพฤติอาการอันเป็นประโยชน์

เกื้อกูลในสัตว์ทั้งหลายเป็นลักษณะ มีการประมวลประโยชน์เกื้อกูลเป็นรส มี

การปลดเปลื้องความอาฆาตเป็นเครื่องปรากฏ ผิว่าเมตตาอันบุคคลเจริญแล้วทำ

ให้มากแล้วโดยไม่ว่างเว้น เมื่อเป็นเช่นนั้น ภาวนามีกรุณาเป็นต้น ย่อมสำเร็จ

ได้โดยง่ายทีเดียว เพราะเหตุนั้น เมตตาจึงเป็นที่ตั้งแห่งพรหมวิหารธรรมนอก

นี้. จริงอย่างนั้น เมื่อมีอัธยาศัยเกื้อกูลให้สัตว์ทั้งหลาย ความเป็นผู้นำสัตว์

ให้ออกไปจากทุกข์ ความเป็นผู้ใคร่จะให้สมบัติวิเศษดำรงอยู่ได้นานย่อมสำเร็จ

ได้โดยง่าย เพราะไม่มีการฆ่าอีกฝ่ายหนึ่ง และเพราะมีจิตเป็นไปสม่ำเสมอใน

ที่ทั้งปวง. ก็ด้วยเหตุอย่างนี้ พระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลายผู้น้อมไปในการแบ่ง

ความสุขอันเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งมวล ไม่ทำการแบ่งแยกด้วยการ

เลือกว่า ควรให้แก่ผู้นี้ ไม่ควรให้แก่ผู้นี้ดังนี้ แล้วให้ทานอันเป็นเหตุให้ความ

สุขแก่สรรพสัตว์ไม่เลือกหน้า สมาทานศีลเพื่อประโยชน์แก่สรรพสัตว์ บำเพ็ญ

เนกขัมมะเพื่อให้ศีลบริบูรณ์ ทำปัญญาให้บริสุทธิ์เพื่อความไม่ลุ่มหลงใน

ประโยชน์สุขของสรรพสัตว์ ปรารภความเพียรมั่นเพื่อประโยชน์สู่ยิ่ง ๆ ขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 177

ไป บรรลุความเป็นผู้กล้าด้วยความเพียรอันสูงสุด อดโทษด้วยอัธยาศัยอัน

เป็นประโยชน์นานัปการแก่สรรพสัตว์ ไม่ผิดคำพูดที่ได้ปฏิญาณไว้ด้วยคำ

มีอาทิว่า เราจักให้ จักกระทำสิ่งนี้แก่ท่านเป็นผู้ตั้งใจจริงเพื่อประโยชน์สุขแก่

สรรพสัตว์ เป็นผู้แผ่เมตตาไม่เลื่อนลอยในสรรพสัตว์ เป็นผู้ให้อภัยในความ

ผิดพลาดของสรรพสัตว์ด้วยอัธยาศัยเกื้อกูล แม้เพราะได้ทำอุปการะก่อนก็ไม่

หวังการตอบแทน. พระมหาโพธิสัตว์เหล่านั้นบำเพ็ญบารมีแล้วยังกัลยาณธรรม

ทั้งหมด อันเป็นประเภทแห่งพุทธธรรม ๑๘ หมวด ตลอดถึงทศพลญาณ

จตุเวสารัชญาณ และอสาธารณญาณ ๖ ให้บริบูรณ์. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสเมตตานั้นให้วิเศษกว่าบุญมีอุปธิสมบัตินอกนี้ เพื่อทรงแสดง

ถึงความวิเศษนี้ว่า เมตตาบริบูรณ์ว่ากัลยาธรรมทั้งหมดมีทานเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่เมตตามีอานุภาพ

มากกว่าบุญมีอุปธิสมบัตินอกนี้ด้วยเวลามสูตร. ก็ในสูตรนั้นท่านกล่าวไว้ว่าทาน

ของพระโสดาบันองค์หนึ่งมีผลมากกว่ามหาทานของเวลามพราหมณ์มาก ฉัน

ใด ทานของพระสกทาคามีองค์หนึ่งมีผลมากกว่าพระโสดาบันร้อยหนึ่ง ฯลฯ

ทานของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีผลมากกว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าร้อยองค์ ทาน

ของพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข มีผลมากกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้นั้น

การให้วิหารแก่พระสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ มีผลมากกว่าทานของพระสงฆ์มีพระ

พุทธเจ้าเป็นประมุขนั้นอีก การรับสรณคมน์ มีผลมากกว่าการให้วิหารแก่พระ

สงฆ์นั้นอีก การสมาทานศีลมีผลมากกว่าการรับสรณคมน์อีก การเจริญเมตตา

แม้ชั่วรีดนมโค พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังตรัสว่าผลมากกว่าการสมาทานศีลนั้น

ฉันนั้น ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนคหบดี ข้อที่เวลามพราหมณ์

ได้ให้ทาน อันเป็นมหาทาน ผู้พึงบริโภคทานอย่างเดียวอันเป็นสัมมาทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 178

มีผลมากกว่ามหาทานนั้น อนึ่ง ผู้พึงบริโภคทานของสัตบุรุษผู้มีสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ

และเป็นผู้เว้นจากสุราเมรัย ของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท พึงเจริญ

เมตตาจิตแม้โดยที่สุดชั่วขณะรีดนมวัว ก็มีผลมากกว่านั้นดังนี้. แต่ไม่ควร

กล่าวถึงเมตตานั้นดีเกินกว่าบุญนิดหน่อย เพราะความเป็นบุญประกอบด้วย

มหัคคตกรรม. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

กรรมใดกระทำพอประมาณ ธรรม

นั้นจักไม่เหลือในภพนั้น กรรมใดกระทำ

พอประมาณ กรรมนั้นย่อมไม่ติดอยู่ใน

ภพนั้น ดังนี้.

ก็กามาวจรกรรม ชื่อว่า กระทำพอประมาณ. แต่มหัคคตกรรม ชื่อว่า

กระทำไม่เป็นประมาณ เพราะพ้นประมาณแล้ว ทำเจริญ ด้วยการแผ่ไปโดย

เจาะจงและไม่เจาะจง. กามาวจรกรรมไม่สามารถยึดติดในระหว่างมหัคคตกรรม

หรือเพื่อครอบงำกรรมนั้น แล้วถือโอกาสแห่งผลของตนดำรงไว้ได้. ทีนั้นแหละ

มหัคคตกรรมนั่นแลครอบงำกรรมนิดหน่อยนั้น ดุจห้วงน้ำใหญ่ท่วมน้ำน้อย

แล้วถือโอกาสของตนตั้งอยู่ ห้ามผลของกรรมนั้นแล้ว นำเข้าไปสู่ความเป็น

สหายของพรหมด้วยตนเอง เพราะเหตุนั้น ข้อนี้ จึงเป็นอธิบายของมหัคคต-

กรรมนั้น.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบความดังต่อไปนี้. บทว่า โย ได้แก่ คฤหัสถ์

หรือบรรพชิตคนใดคนหนึ่ง. บทว่า เมตฺต ได้แก่ เมตตาฌาน. บทว่า

อปฺปมาณ ได้แก่ ไม่มีประมาณ ด้วยอำนาจภาวนาและอารมณ์. จริงอยู่

เมตตาไม่มีประมาณด้วยไม่ทำการยึดถือ เป็นส่วนหนึ่งในอารมณ์ ดุจอสุภภาวนา

เป็นต้น ด้วยแผ่ไปโดยไม่เจาะจง และด้วยก็เจริญโดยคล่องแคล่ว เพราะ

ไม่มีความประมาณเป็นอารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 179

บทว่า ตนู สโยชนา โหนฺติ ความว่า สังโยชน์มีปฏิฆสังโยชน์

เป็นต้น อันผู้พิจารณากระทำเมตตาฌานให้เป็นบาท แล้วบรรลุอริยมรรคชั้นต่ำ

ละได้โดยง่ายทีเดียว ย่อมเป็นธรรมชาติเบาบาง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปสฺสโต อุปธิกฺขย ของผู้พิจารณาเห็นธรรมอันเป็นที่

สิ้นไปแห่งอุปธิ. จริงอยู่ นิพพานท่านเรียกว่า ความสิ้นไปแห่งอุปธิ.

พระโยคาวจรย่อมเห็นนิพพานนั้น ด้วยมรรคญาณโดยบรรลุการทำให้แจ้งธรรม

เป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธินั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตนู สโยชนา โหนฺติ

ความว่า จะกล่าวไปไยถึงสังโยชน์แม้ ๑๐ ประการ ของผู้ชื่อพิจารณาเห็น

อันตนบรรลุที่สิ้นไปแห่งอุปธินั้น เพราะวิปัสสนาอันมีเมตตาฌานเป็นปทัฏฐาน

อันตนบรรลุพระอรหัตกล่าวคือความสิ้นไปแห่งอุปธิโดยลำดับย่อมเป็นธรรมชาติ

เบาบาง อธิบายว่า ย่อมละได้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตนู สโยชนา โหนฺติ ความว่า ปฏิฆะและ

สังโยชน์สัมปยุตด้วยปฏิฆะ ย่อมเป็นธรรมชาติเบาบาง. บทว่า ปสฺสโต

อุปธิกฺขย พึงเห็นความในบทนี้ อย่างนี้ว่า ของผู้พิจารณาเห็นเมตตาอันเป็น

ที่สิ้นไปแห่งอุปธิกิเลสแห่งสังโยชน์เหล่านั้นนั่นเอง ด้วยการบรรลุ. ด้วยประ

การฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอานิสงส์แห่งการบรรลุถึงยอดแห่ง

เมตตาภาวนา อันละกิเลสและบรรลุถึงพระนิพพานแล้ว บัดนี้ เพื่อทรงแสดง

ถึงอานิสงส์แม้อย่างอื่น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอกปิ เจ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อทุฏฺิตฺโต ได้แก่ มีจิตไม่ประทุษร้ายด้วย

ความพยาบาท เพราะข่มความพยาบาทได้ด้วยดี ด้วยกำลังเมตตา บทว่า

เมตฺตายติ ได้แก่ ทำเมตตาด้วยการแผ่ประโยชน์เกื้อกูลให้. บทว่า กุสโล

ได้แก่ เป็นผู้มีกุศล คือ มีบุญมาก เพราะความดียิ่ง หรือเป็นผู้มีความเกษม

เพราะปราศจากความพินาศมีปฏิฆะเป็นต้น. บทว่า เตน ได้แก่ เพราะการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 180

เจริญเมตตานั้น. ศัพท์ในบทว่า สพฺเพ จ ปาเณ เป็นนิบาตลงพยติเรกะ

(ความแย้งกัน ). บทว่า มนสานุกมฺปิ ได้แก่ มีใจอนุเคราะห์. ท่านอธิบาย

ข้อนี้ไว้ว่า เมตตาแม้เป็นวิสัยของสัตว์อย่างหนึ่งก็ตาม แต่เป็นกองมหากุศล

พระอริยบุคคลผู้มีจิตบริสุทธิ์ มีใจอนุเคราะห์สัตว์ทั้งปวง ด้วยการแผ่ประโยชน์

เกื้อกูล ดุจบุตรอันเป็นที่รักของตน ย่อมกระทำคือผลิตบุญอันยิ่งใหญ่มากมาย

ไม่สิ้นสุด สามารถผูกพันวิบากของตนให้เป็นไปใน ๖๔ มหากัปได้. บทว่า

สตฺตสณฺฑ ได้แก่ เต็มไปด้วยหมู่สัตว์ คือไม่เว้นว่างจากสัตว์ทั้งหลาย

อธิบายว่า เกลื่อนกล่นด้วยหมู่มนุษย์. บทว่า วิชิตฺวา ได้แก่ ทรงชนะโดย

ธรรมอย่างเดียว ไม่ใช่โดยท่อนไม้และศัสตรา. บทว่า ราชีสโย ได้แก่ พระ

ราชาผู้ทรงธรรมเช่นฤษีทั้งหลาย. บทว่า ยชมานา ได้แก่ ให้ทานเป็นต้น.

บทว่า อนฺปริยคา ได้แก่ เสด็จเที่ยวไป.

ในบทว่า อสฺสเมธ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ได้ยินว่า

สังคหวัตถุ คือ สัสสเมธะ ปุริสเมธะ สัมมาปาสะ วาจาเปยยะ ได้มีมาใน

รัชกาลก่อน ๆ การเก็บส่วนที่ ๑๐ จากข้าวกล้าที่สำเร็จแล้ว ในส่วนที่พระราชา

ทรงสงเคราะห์ชาวโลก ชื่อว่า สัสสเมธะ คือ ทรงฉลาดในการบำรุงข้าวกล้า.

การเพิ่มอาหารและค่าจ้าง แก่ทหารทุก ๖ เดือน ชื่อ ปุริสเมธะ คือ ทรงฉลาด

ในการสงเคราะห์คน. การรับสัญญากู้ในมือของตนจน ยกเว้นดอกเบี้ย ๓ ปี

แล้วเพิ่มทรัพย์ประมาณ ๑ พัน ๒ พัน เพื่อเป็นกำไร ชื่อ สัมมาปาสะ คือ

คล้องมนุษย์ไว้โดยชอบ ดุจประทับผูกไว้ในหทัย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

สัมมาปาสะ. การสงเคราะห์ด้วยวาจาอ่อนหวาน เช่นเรียกว่า พ่อ ลุง เป็นต้น

ชื่อว่า วาจาเปยยะ คือ กล่าวถ้อยคำดูดดื่มน่ารัก. แว่นแคว้นที่พระราชาทรง

สงเคราะห์ ด้วยสังคหวัตถุ ๔ อย่างนี้ ย่อมเป็นแว่นแคว้นที่สมบูรณ์ มั่งคั่ง

มีข้าวน้ำบริบูรณ์ เกษมปลอดภัย. พวกมนุษย์ร่าเริงบันเทิง เล่นหัวฟ้อนรำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 181

กับบุตร เรือนก็ไม่ต้องปิด. นี้ท่านเรียกว่า นิรัคคฬะ เพราะไม่มีกลอนที่

ประตูเรือน. นี้เป็นประเพณีเก่าแก่. แต่ในภายหลัง ครั้งรัชกาลพระเจ้า-

โอกกากราช พวกพราหมณ์ได้เปลี่ยนแปลงสังคหวัตถุ ๔ เหล่านี้ และสมบัติ

ของแว่นแคว้นนี้เสีย. กระทำให้มีค่าสูงขึ้น แล้วจัดเป็นยัญพิธี ๕ ประการ

มี อสฺสเมธ ปุริสเมธ เป็นต้น สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน

พราหมณธัมมิยสูตรว่า

เตส อาสิ วิปลฺลาโส ทิสฺวาน อณุโต อณุ

เต ตตฺถ มนฺเต คณเตฺวา โอกกาก ตทุปาคมุ.

พวกพราหมณ์เหล่านั้นได้มีความวิปลาส

เพราะเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย จากสิ่งเล็กน้อย

ได้ผูกมนต์ในยัญนั้นแล้ว พากันไปเฝ้าพระเจ้า

โอกากราช.

ในยัญเหล่านั้น ยัญชื่ออัสสเมธะ เพราะเป็นที่ฆ่าม้า. อัสสเมธะนี้เป็น

ชื่อของยัญอันเป็นผลที่จะให้ได้สมบัติทั้งปวงที่เหลือ เว้นแผ่นดินและคนเป็น

ยัญพิธีที่น่ากลัว เพทะจะต้องฆ่าสัตว์เลี้ยงอย่างละ ๕๐๐ ถึง ๗ ครั้ง หรือ ๙

ครั้ง ในวันสุดท้ายวันหนึ่ง ที่เสาบูชายัญ ๒๐ เสา อันจะต้องบูชาด้วยการ

บูชายัญ ๒ อย่าง. บทนี้เป็นชื่อของยัญอันเป็นผลให้ได้สมบัติดังได้กล่าวแล้ว

ในอัสสเมธะ อันจะต้องบูชาด้วยการบูชายัญ ๔ อย่างกับพื้นที่. ยัญชื่อว่า

สัมมาปาสะ เพราะเป็นที่คล้องคือซัดไปซึ่งสลักแอกไถ. บทนี้เป็นชื่อของการ

บูชายัญที่เขาสอดสลักแอกไถ คือ ท่อนไม้เข้าไปในช่องแอก แล้วทำแท่นรับ

ในโอกาสที่แอกนั้นตกไป แล้วทวนกลับจำเดิมแต่โอกาสที่เสาบูชายัญเป็นต้น

อันเคลื่อนที่ได้จมลงไปในแม่น้ำสวัสสวดี ทำการบูชายัญ. ยัญชื่อว่า วาชเปยยะ

เพราะเป็นที่ดื่มน้ำศักดิ์สิทธ์ ยัญนี้เป็นชื่อของยัญอันเป็นทักษิณาอย่างละ

สิบเจ็ด ๆ อันมีเสายัญทำวัยไม้มะตูม อันควรบูชาด้วยสัตว์ ๑๗ ด้วยยัญ

อันหนึ่ง. ยัญชื่อว่า นิรัคคฬะ เพราะไม่มีกลอนประตู. ยัญนี้เป็นชื่อของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 182

กำหนดการฆ่าม้าอัน เป็นชื่อโดยปริยาย เป็นทักษิณาให้สมบัติดังกล่าวแล้วใน

อัสสเมธะ อันควรบูชาด้วยยัญ ๙ อย่าง กับด้วยพื้นที่และบุรุษ. บทว่า

จนฺทปฺปภา ได้แก่ รัศมีพระจันทร์. บทว่า ตารคณาว สพฺเพ ความว่า

หมู่ดาวแม้ทั้งหมด ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของรัศมีพระจันทร์ ฉันใด ยัญ

ทั้งหลายมีอัสสเมธะเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของเมตตาจิตที่

กล่าวไว้ดีแล้ว โดยลักษณะที่กล่าวแล้ว ฉันนั้น.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า โย น หนฺติ ดังนี้

เพื่อทรงแสดงถึงอานิสงส์แห่งเมตตาภาวนา อันเป็นปัจจุบันและสัมปรายภพ

แม้อื่นอีก. ในบทเหล่านั้น บทว่า โย ได้แก่ บุคคลผู้ขวนขวายแล้วในการ

เจริญเมตตาพรหมวิหาร. บทว่า น หนฺติ ได้แก่ ไม้เบียดเบียนสัตว์ไร ๆ

หรือไม่ทำร้าย ด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น เพราะข่มพยาบาทไว้ด้วยดี

ด้วยอานุภาพแห่งเมตตานั้นแล. บทว่า น ฆาเตติ ได้แก่ ไม่ชักชวนผู้อื่น

ให้ฆ่าสัตว์. บทว่า น ชินาติ ได้แก่ ไม่ชนะใคร ๆ ด้วยการแข่งดี และ

พูดหาเรื่องทะเลาะกัน. หรือไม่ชนะใคร ๆ ด้วยก่อคดีเป็นต้น หมายจะทำให้

เกิดความเสื่อม เพราะไม่มีการแข่งดีนั่นเอง. บทว่า น ชาปเย ได้แก่

ไม่พึงชักชวนแม้คนอื่นทำให้คนอื่นเขาเสื่อมจากทรัพย์. บทว่า เมตฺตโส

ได้แก่ มีส่วนแห่งจิตสำเร็จด้วยเมตตา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เมตฺตโส เพราะ

มีส่วนแห่งเมตตา คือมีส่วนต่าง ๆ เพราะไม่ละโดยถ่องแท้. บทว่า สพฺพ-

ภูเตสุ ได้แก่ ในสรรพสัตว์. บทว่า เวรนฺตสฺส น เกนจิ ได้แก่ อกุศลเวร

ของผู้นั้นย่อมไม่มี เพราะเหตุอะไร ๆ เลย อธิบายว่า ความพิโรธอันได้แก่

เวรในบุคคล ย่อมไม่มีแก่ผู้มีวิหารธรรมคือเมตตานั้น กับด้วยบุรุษไร ๆ เลย.

จบอรรถกถาเมตตาภาวสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 183

ในเอกนิบาตนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงวิวัฏฏะใน ๑๕ สูตร คือ

ใน ๑๓ สูตรตามลำดับ และในสิกขาสูตร ๒. ตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะใน ๔ สูตร

เหล่านี้คือ นิวรณสูตร ๑ สังโยชนสูตร ๑ อัปปมาสูทตร ๑ อัฏฐิสัญจยสูตร ๑.

แต่ในสูตรนอกนั้นตรัสถึงวัฏฏะอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาเอกนิบาต อิติวุตตกะ

แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อปรมัตถทีปนี

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จิตตฌายีสูตร ๒. อุโภอัตถสูตร ๓. ปุญญสูตร ๔. เวปุลล-

ปัพพตสูตร ๕. สัมปชานมุสาวาทสูตร ๖. ทานสูตร ๗. เมตตาภาวสูตร

และอรรถกถา

ในธรรมหมวดหนึ่งมีพระสูตรรวม ๒๗ สูตร คือ พระสูตรเหล่านี้

๗ สูตร และพระสูตรข้างต้น ๒๐ สูตร ฉะนี้แล.

จบเอกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 184

อิติวุตตกะ ทุกนิบาต วรรคที่ ๑

๑. ปฐมภิกขุสูตร

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการอยู่เป็นทุกข์

[๒๐๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมอยู่

เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบัน

เมื่อตายไปพึงหวังได้ทุคติ ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็น

ทุกข์ มีความเดือดร้อน มีความคับแค้น มีความเร่าร้อน ในปัจจุบัน เมื่อ

ตายไปพึงหวังได้ทุคติ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ภิกษุใดไม่คุ้มครองทวารเหล่านี้ คือ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่รู้จัก

ประมาณในโภชนะ และไม่สำรวมใน

อินทรีย์ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมถึงความทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 185

คือ ทุกข์กาย ทุกข์ใจ ภิกษุเช่นนั้นมีกาย

ถูกไฟ คือ ความทุกข์แผดเผาอยู่ มีใจ

ถูกไฟ คือ ความทุกข์แผดเผาอยู่ ย่อมอยู่

เป็นทุกข์ทั้งกลางวันกลางคืน.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปฐมภิกขุสูตรที่ ๑

ทุกนิบาตวรรณนา

อรรถกถาปฐมภิกขุสูตร

ในปฐมภิกษุสูตรที่ ๑ แห่งทุกนิบาต พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทฺวีหิ ได้แก่ กำหนดจำนวน. บทว่า ธมฺเมหิ ได้แก่

ชี้แจงจำนวนที่กำหนดไว้. บทว่า ทฺวีหิ ธมฺเมหิ ได้แก่ ด้วยอกุศลธรรม

๒ ประการ. บทว่า สมนฺนาคโต คือ ประกอบแล้ว. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม

ได้แก่ ในอัตภาพนี้เท่านั้น. บทว่า ทุกฺข วิหรติ ได้แก่ อยู่เป็นทุกข์ใน

อิริยาบถแม้ ๔ ด้วยทุกข์เพราะกิเลส และด้วยทุกข์ทางกาย ทางใจ. บทว่า

สวิฆาต ได้แก่ มีความเดือนร้อน ด้วยกิเลสอันเข้าไปทำร้ายทางใจและ

ทางกาย. บทว่า สอุปายาส ได้แก่มีความคับแค้น ด้วยความคับแค้นเพราะ

กิเลส ด้วยความเดือดร้อนทางร่างกาย และด้วยความลำบากเหลือกำลัง. บทว่า

สปริฬาห ได้แก่ มีความเร่าร้อน ด้วยความเผาของกิเลส ด้วยความเร่าร้อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 186

เพราะกิเลส และด้วยความเร่าร้อนทางกาย. บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่

ทั้งขันธ์อันมีวิญญาณ (ตาย). บทว่า ปรมฺมรณา ได้แก่ ในการยึดขันธ์

อันเกิดแล้วในระหว่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่

เพราะขาดชีวิตินทรีย์. บทว่า ปรมฺมรณา ได้แก่หลังจากจุติ. บทว่า ทุคฺคติ

ปาฏิกขา ได้แก่ พึงปรารถนาคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ของอบาย ๔ อันได้แก่

ทุคติ. อธิบายว่า มีส่วนแน่นอน.

บทว่า อคุตฺตทฺวาโร ได้แก่ ไม่สำรวมทวาร. แต่ในบางแห่ง

อาจารย์กล่าวว่า บทว่า อคุตฺตทฺวาโร ได้แก่ ในอินทรีย์ทั้งหลาย. อาจารย์

กล่าวถึงความไม่สำรวมอินทรีย์ อันมีใจเป็นที่ ๖ ด้วยบทนั้น. ชื่อว่า ไม่รู้

ประมาณในโภชนะ เพราะไม่รู้ประมาณในโภชนะด้วยการรับและการบริโภค.

เกจิอาจารย์กล่าวว่า เพราะความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

เพราะความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะบ้าง.

ถามว่า ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอีนทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างไร

หรือความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างไร. ตอบว่า เพราะ

ไม่มีความสำรวม หรือความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์โดยแท้. ด้วยว่าสติก็ดี

ความไร้สติก็ดี หาได้เกิดขึ้นเพราะอาศัยจักขุประสาทไม่. อันทีจริง ขณะใด

รูปารมณ์มาสู่ครองจักษุ ขณะนั้น เมื่อภวังค์เกิดขึ้น ๒ ครั้งแล้วดับไป กิริยา-

มโนธาตุยังอาวัชชนกิจให้สำเร็จ เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป จากนั้นจักขุวิญญาณ

ทำหน้าที่เห็น จากนั้นวิปากมโนธาตุ ทำหน้าที่รับ จากนั้นวิปากาเหตุกมโน-

วิญญาณธาตุ ทำหน้าที่พิจารณา จากนั้นกิริยาเหตุกมโนวิญญาณธาตุ ยัง

โวฏฐัพพนกิจ (กำหนดอารมณ์) ให้สำเร็จ เกิดแล้วย่อมดับไป ในระหว่างนั้น

ชวนจิต ย่อมแล่นไป. ในชวนะนั้น ความสำรวมก็ดี ความไม่สำรวมก็ดี

ย่อมมีในสมัยแห่งภวังค์ก็หามิได้ ในสมัยแห่งอาวัชชนะเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 187

ก็หามิได้. ก็ในขณะแห่งชวนจิต หากว่า ความเป็นผู้ทุศีลก็ดี ความไร้สติก็ดี

ความไม่รู้ก็ดี ความไม่อดทนก็ดี ความเกียจคร้านก็ดี ย่อมเกิดขึ้น ย่อมไม่มี

ความสำรวม ภิกษุนั้นแม้เป็นอยู่อย่างนี้ ท่านก็กล่าวว่า เป็นผู้ไม่สำรวมใน

จักขุทวาร. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะเมื่อไม่มีความสำรวมนั้น

แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังค์ก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้วิถีจิตมี

อาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง. ถามว่า เหมือนอย่างไร. ตอบว่า

เหมือนเมื่อประตู ๔ ประตูในเมืองไม่ปิด ประตูเรือน ซุ้มประตูและห้องเป็นต้น

ภายในปิดอย่างดีแล้วก็จริง แม้กระนั้น สิ่งของทั้งหมดภายในเมืองก็เป็นอันชื่อ

ว่าไม่รักษา ไม่คุ้มครองเลย โจรทั้งหลายเข้าไปทางประตูเมือง ปรารถนาสิ่งใด

ก็พึงนำสิ่งนั้นไป ฉันใด เมื่อความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น เกิดขึ้นในชวนจิต

เมื่อไม่มีการสำรวม แม้ทวารก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังค์ก็ไม่เป็นอัน

คุ้มครอง แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็ไม่เป็นอันคุ้มครอง. แม้เมื่อไม่มี

การไม่สำรวมนั้น เมื่อศีลเป็นต้นเกิดขึ้นแล้วในชวนจิต แม้ทวารก็เป็นอัน

คุ้มครอง แม้ภวังค์ก็เป็นอันคุ้มครอง แม้วิถีจิตมีอาวัชชนจิตเป็นต้น ก็เป็น

อันคุ้มครอง. ถามว่า เหมือนอย่างไร. ตอบว่า เหมือนเมื่อประตูเมืองปิด

ดีแล้ว ประตูเรือนเป็นต้นภายในไม่ปิด ก็จริง ถึงกระนั้น สิ่งของทั้งหมด

ภายในเมืองก็ชื่อว่า เป็นอันรักษาดีแล้ว เป็นอันคุ้มครองดีแล้วทีเดียว ก็เมื่อ

ประตูเมืองปิดแล้ว โจรทั้งหลายก็เข้าไปไม่ได้ ฉันใด เมื่อศีลเป็นต้นเกิดขึ้น

แล้วในชวนจิต แม้ทวารก็เป็นอันคุ้มครอง แม้ภวังค์ก็เป็นอันคุ้มครอง แม้

วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นก็เป็นอันคุ้มครอง ฉันนั้นนั่นแล. ฉะนั้น ความไม่

สำรวมแม้เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิต ท่านก็กล่าว สำรวมในจักขุทวาร. แม้

ในทวารที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 188

อินทรีย์ทั้งหลาย และความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วย

ประการฉะนี้.

ถามว่า ก็ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะเป็นอย่างไร

หรือชื่อว่าเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะเป็นอย่างไร. ตอบว่า ก็บุคคลใดเป็น

ผู้มีความอยากมาก ไม่รู้จักประมาณในการรับ บุคคลผู้มีความอยากมากนั้นก็

เหมือนพ่อค้าเร่หิ้วเครื่องประดับ และสิ่งของไปแล้วเก็บสิ่งที่ควรเก็บไว้ในพก

แล้วตะโกนบอกแก่มหาชนผู้เห็นอยู่ว่า พวกท่านจงเอาสิ่งโน้น จงเอาสิ่งโน้น ดังนี้

ฉันใด บุคคลยกย่องศีลก็ดี คัมภีร์ก็ดี คุณของธุดงค์ก็ดี ของตนแม้มีประมาณ

น้อยโดยที่สุดแม้เพียงการอยู่ป่าแก่มหาชนผู้รู้อยู่ ก็และครั้นยกย่องแล้ว เมื่อเขา

เอาเกวียนขนปัจจัยนำเข้าไป ก็ไม่พูดว่า พอละ ยังรับอีก ฉันนั้นเหมือนกัน.

เพราะว่า บุคคลไม่อาจให้สิ่ง ๓ อย่างเต็มได้ คือ ไฟเต็มด้วยเชื้อ มหาสมุทร

เต็มด้วยน้ำ คนมีความอยากมาก เต็มด้วยปัจจัย.

กองไฟ มหาสมุทร และบุคคลผู้มี

ความอยากมากทั้ง ๓ นี้ ไม่เต็มด้วยปัจจัย

เป็นอันมาก.

ด้วยว่าบุคคลผู้มีความอยากมาก ไม่สามารถยึดเหนี่ยวน้ำใจแม้ของ

มารดาผู้บังเกิดเกล้าได้. เพราะบุคคลเห็นปานนี้ ย่อมยังลาภอันยังไม่เกิด

ไม่ให้เกิดขึ้น และย่อมเสื่อมจากลาภอันเกิดขึ้นแล้ว ดังนี้. จะพูดถึงผู้ไม่รู้จัก

ประมาณในการรับก่อน. ผู้ใดปรารถนา อยาก ต้องการ อาหารแม้ได้แล้ว

โดยธรรมโดยเสมอ ไม่เป็นผู้เห็นโทษ ไม่มีปัญญาเป็นเครื่องออกไป บริโภค

เต็มท้อง ตามความต้องการ โดยไม่แยบคาย โดยไม่ใช่อุบาย ดุจอาหาร-

หัตถกพราหมณ์ อลังสาฏกพราหมณ์ ตัตถวัฏฏกพราหมณ์ กากมาสกพราหมณ์

และภุตตวัมมิกพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง เป็นผู้มุ่งเอาแต่ความสุขในการนอน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 189

สุขในการพิง สุขในการหลับ นี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค.

ก็ผู้ใดเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ด้วยสามารถแห่งการรู้ประมาณในการรับ

ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า แม้หากว่าไทยธรรมมีมาก ผู้ให้ประสงค์จะให้น้อย

ผู้รับย่อมรับน้อยตามความประสงค์ของผู้ให้ ไทยธรรมมีน้อยผู้ให้ประสงค์จะ

ให้มาก ผู้รับย่อมรับแต่น้อย ด้วยอำนาจของไทยธรรม ไทยธรรมมีมาก

แม้ผู้ให้ก็ประสงค์จะให้มาก ผู้รับรู้กำลังของตน ย่อมรับแต่พอประมาณเท่านั้น

และการรู้ประมาณในการบริโภค อันได้แก่การพิจารณา ที่ท่านกล่าวโดย

นัยมีอาทิว่า พิจารณาอาหารในอาหารโดยแยบคาย ไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อ

มัวเมา ดังนี้ และโดยนัยมีอาทิว่า ก็ครั้นได้แล้วไม่ปรารถนา ไม่อยาก ไม่

ต้องการบิณฑบาต เป็นผู้เห็นโทษ มีปัญญาเป็นเครื่องออกไป บริโภคแล้วรู้

ด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา แล้วจึงบริโภคอาหารดังนี้ นี้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณ

ในโภชนะ. พึงทราบว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่รู้ประมาณและเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

อย่างนี้.

พึงทราบความในคาถาทั้งหลายต่อไปนี้. ในบททั้งหลายมี จกฺขุ

เป็นต้น พึงทราบเนื้อความต่อไปนี้. ชื่อว่า จักษุ เพราะอรรถว่า เห็น.

อธิบายว่า พอใจรูปหรือดุจบอกถึงความสมและไม่สม. ชื่อว่า โสต เพราะ

อรรถว่า ย่อมฟัง. ชื่อ ฆานะ เพราะว่าอรรถ ดมกลิ่น. ความเป็นอยู่มีชีวิต

เป็นนิมิต มีอาหารเป็นรส. ชื่อว่า ชิวหา เพราะอรรถว่า เรียกหาความ

เป็นอยู่นั้น. ชื่อว่า กาย เพราะอรรถว่า เจริญด้วยความน่าเกลียด. ชื่อว่า

มนะ เพราะอรรถว่า รู้คือรู้แจ้ง. โบราณาจารย์กล่าวว่าชื่อว่า มนะ เพราะ

อรรถว่า ย่อมรู้. อธิบายว่า ย่อมรู้อารมณ์ดุจตวงด้วยทะนาน และดุจชั่งด้วย

น้ำหนัก. พึงทราบเนื้อความแห่งบทในสูตรนี้ เพียงนี้ก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 190

ก็โดยความเป็นจริง จักษุมีสองอย่างคือ มังสจักษุ (ตาเนื้อ) ๑ ปัญญา

จักษุ (ตาปัญญา) ๑. ในจักษุสองอย่างนั้น ปัญญาจักษุมี ๕ อย่างคือ พุทธ-

จักษุ ๑ สมันตจักษุ ๑ ญาณจักษุ ๑ ทิพยจักษุ ๑ ธรรมจักษุ ๑.

ในจักษุห้าอย่างนั้น ชื่อ พุทธจักษุในพุทธวจนะว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย เราตรวจดูสัตวโลกได้เห็นแล้วแล ดังนี้เป็นต้น. ชื่อว่า สมันตจักษุใน

บทว่า สัพพัญญุตญาณท่านเรียกว่า สมันตจักษุ. ชื่อว่า ญาณจักษุในบทว่า

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ดังนี้เป็นต้น. ชื่อทิพยจักษุในพุทธวจนะว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เราได้เห็นแล้วด้วยทิพยจักษุ อันบริสุทธิ์ดังนี้เป็นต้น. ชื่อธรรมจักษุ

ได้แก่ มรรค ๓ เบื้องต้นในบทว่า ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากความ

เศร้าหมอง ได้เกิดขึ้นแล้วดังนี้เป็นต้น . แม้มังสจักษุก็มีสองอย่าง คือ สสัมภาร-

จักษุ ๑ ปสาทจักษุ ๑. ในมังสจักษุสองอย่างนั้น ก้อนเนื้อตั้งอยู่ในเบ้าตา

กำหนดด้วยเบ้าตาทั้งสองข้าง คือ ด้วยกระดูกเบ้าตาชั้นล่าง ด้วยกระดูกคิ้วชั้น

บน ด้วยสมองศีรษะภายใน ด้วยขนตาภายนอก โดยย่อมีสัมภาระ ๑๔ อย่าง

คือ ธาตุ ๔ วัณณะ คันธะ รสะ โอชา สัมภว สัณฐาน ชีวิต ภาวะ

กายปสาท จักขุปสาท โดยพิสดารมีสัมภาระ ๔๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งรูป

๔ เหล่านี้ คือรูป ๔๐ เพราะสัมภาระ ๑๐ เหล่านี้คือ ธาตุ ๔ วัณณะ

คันธะ รส โอชา สัณฐาน สัมภวะ อันอาศัยธาตุ ๔ นั้นแต่ละอย่างมีธาตุ ๔

เป็นสมุฏฐาน สัมภาระ ๔ คือ ชีวิต ภาวะ กายปสาท จักขุปสาท มีกรรมเป็น

สมุฏฐานโดยส่วนเดียวเท่านั้น เมื่อสัตวโลกรู้ว่า จักษุ ขาว กลม หนา

สะอาด ไพบูล กว้างดังนี้ ชื่อว่า ย่อมไม่รู้จักษุ ย่อมรู้วัตถุ โดยความเป็น

จักษุก้อนเนื้อตั้งอยู่ที่เบ้าตาเกี่ยวพันถึง สมอง ศีรษะด้วยด้ายคือเอ็นอันมีสีขาว

บ้าง ดำบ้าง แดงบ้าง เป็นดิน น้ำ ไฟ ลมบ้าง ที่เป็นสีขาว เพราะมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 191

เสหะมาก ที่มีสีดำเพราะดีกำเริบ ที่มีสีแดงเพราะเลือดคั่ง เป็นดังถนนเพราะ

มากด้วยธาตุดิน ชื่อว่าย่อมไหลออกเพราะมากด้วยธาตุน้ำ ว่าย่อมแผดเผา

เพราะมากด้วยธาตุไฟ ชื่อว่าย่อมหมุนไปมา เพราะมากด้วยธาตุลม นี้ชื่อว่า

สสัมภารจักษุ. ประสาทอาศัยมหาภูตรูป ๔ ผูกพันในจักษุนี้ ชื่อ ปสาทจักษุ.

จริงอยู่ ปสาทจักษุนี้ย่อมเป็นไปโดยความเป็นวัตถุทวาร ตามสมควรแก่จักษุ

วิญญาณเป็นต้น .

แม้ในโสตะเป็นต้นพึงทราบความดังต่อไปนี้. โสตะมี ๒ อย่าง คือ

ทิพยโสตะ ๑ มังสโสตะ ๑. ในโสตะ ๒ อย่างนี้ ได้ยินเสียงทั้งสองด้วย

โสดธาตุอันเป็นทิพย์ บริสุทธิ์ล่วงเกินมนุษย์ นี้ชื่อว่า ทิพยโสตะ. ทั้งหมด

มีอาทิว่า มังสโสตะมี ๒ อย่างคือ สสัมภารโสตะ ๑ ปสาทโสตะ ๑ พึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวแล้วในจักษุ. มานะและชิวหาก็เหมือนกัน. แต่กายมีหลายอย่าง

เป็นต้นว่า โจปนกาย กรชกาย สมูหกาย ปสาทกาย. ในกายเหล่านั้น

กายนี้ คือ

ผู้มีปัญญา สำรวมกาย และสำรวม

วาจา ชื่อว่า โจปนกาย.

นิรมิตกายอื่นจากกายนี้ ชื่อ กรชกาย. แต่สมูหกายมีหลายอย่างมาแล้ว

ด้วยสามารถแห่งหมู่วิญญาณเป็นต้น. จริงอย่างนั้น ท่านกล่าวหมู่วิญญาณไว้ใน

บทมีอาทิว่า ดูก่อนอาวุโส หมู่วิญญาณเหล่านี้มี ๖ อย่าง ดังนี้. ท่านกล่าว

ถึงหมู่ผัสสะเป็นต้น ในบทมีอาทิว่า หมู่ผัสสะ ๖ อย่าง ดังนี้. อนึ่ง ท่านกล่าว

เวทนาขันธ์เป็นต้น ในบทมีอาทิว่า กายปัสสัทธิ (ความสงบกาย) กายลหุตา

(ความเบากาย). ท่านกล่าวหมู่ปฐวีธาตุเป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลบางคน

ในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นปฐวีกาย อาโปกาย เตโชกาย วาโยกาย เกสกาย

โลมกาย โดยความเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้. ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 192

ชื่อว่า ปสาทกาย. พึงทราบปสาทกายแม้ในบทนี้ต่อไป. จริงอยู่ ปสาทกายนั้น

ย่อมเป็นไปโดยความเป็นวัตถุทวารตามสมควรแก่กายวิญญาณเป็นต้น. ก็วิญ-

ญาณทั้งหมดที่เรียกว่า มโน ก็จริง แม้ถึงอย่างนั้น พึงทราบว่า ภวังค์

พร้อมด้วยอาวัชชนะเป็นทวาร เพราะในที่นี้ท่านประสงค์เอาความเป็นทวาร.

บทว่า เอตานิ ยสฺส ทฺวารานิ อคุตฺตานิ จ ภิกฺขุโน ความว่า

ภิกษุใดไม่ปิดทวารอันมีใจเป็นที่ ๖ เหล่านี้ด้วยประตู คือ สติ เพราะถึงความ

ประมาทโดยปราศจากสติ. บทว่า โภชนมฺหิ ฯเปฯ อธิคจฺฉติ ความว่า

ภิกษุนั้น ไม่รู้ประมาณในโภชนะตามนัยที่กล่าวแล้ว และเว้นการสำรวมใน

อินทรีย์ทั้งหลาย ย่อมถึงความทุกข์ด้วยประการทั้งปวง คือ ทุกข์กาย ใน

ปัจจุบันด้วยโรคเป็นต้น และในภพหน้าต้องเข้าถึงทุคติ ทุกข์ใจ ด้วยถูกกิเลส

มีราคะเป็นต้นแผดเผา และด้วยความริษยาและความแค้น. เพราะเป็นอย่างนั้น

ฉะนั้น บุคคลเช่นนั้นมีกายถูกไฟทุกข์แผดเผา มีใจถูกไฟทุกข์แผดเผาทั้งใน

โลกนี้และในโลกหน้า ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ตลอดกาลเป็นนิจทั้งกลางวันทั้งกลางคืน

ไม่มีอยู่อย่างเป็นสุข ไม่จำต้องพูดถึงในการไม่ล่วงทุกข์ในวัฏฏะกันละ.

จบอรรถกถาปฐมภิกขุสูตรที่ ๑

๒. ทุติยภิกขุสูตร

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการอยู่เป็นสุข

[๒๐๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 193

เป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อนในปัจจุบัน

เมื่อตายไปพึงได้สุคติ ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้คุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้จักประมาณในโภชนะ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความ

เดือดร้อน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน ในปัจจุบัน เมื่อตายไปพึง

หวังได้สุคติ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ภิกษุได้คุ้มครองดีแล้วซึ่งทวารเหล่า

นี้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ

รู้จักประมาณในโภชนะ และสำรวมใน

อินทรีย์ทั้งหลาย ภิกษุนั้นย่อมถึงความสุข

คือ สุขกาย สุขใจ ภิกษุเช่นนั้นมีกาย

ไม่ถูกไฟ คือ ความทุกข์แผดเผา มีใจ

ไม่ถูกไฟ คือ ความทุกข์ แผดเผา ย่อมอยู่

เป็นสุขทั้งกลางวันกลางคืน.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบทุติยภิกขุสูตรที่ ๒

ในภิกษุสูตรที่ ๒ พึงทราบความโดยตรงกันข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 194

๓. ตปนียสูตร

ว่าด้วยธรรม ๒ อย่างเป็นเหตุให้เดือดร้อน

[๒๐๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้ เป็นเหตุให้เดือดร้อน

๒ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่ได้

ทำความดีงามไว้ ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำบุญอันเป็นเครื่องต่อต้านความ

ขลาดกลัวไว้ ทำแต่บาป ทำอกุศลกรรมอันหยาบช้า ทำอกุศลกรรมอันกล้าแข็ง

บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนว่า เราไม่ได้ทำกรรมงามดังนี้บ้าง ย่อมเดือดร้อนว่า

เราทำแต่บาปดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นเหตุ

ให้เดือดร้อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลผู้มีปัญญาทราม กระทำกาย-

ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และอกุศล-

ธรรมอย่างอื่น อันประกอบด้วยโทษ ไม่

กระทำกุศลธรรม กระทำแต่อกุศลธรรม

เป็นอันมาก เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบตปนียสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 195

อรรถกถาตปนียสูตร

ในตปนียสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตปนียา ความว่า ธรรมชื่อว่า เป็นเหตุให้เดือดร้อน

เพราะเดือดร้อน เบียดเบียน รบกวน ทั้งในโลกนี้แสะโลกหน้า. อีกอย่าง

หนึ่ง ธรรมชื่อเป็นเหตุให้เดือดร้อน เพราะความเดือนร้อนเป็นทุกข์ ธรรม

ทั้งหลายหนุนให้ทุกข์นั้นเกิด และให้ทุกข์นั้นเกิดกำลังทั้งในปัจจุบัน และ

สัมปรายภพ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตปนะ เพราะเป็นเครื่องเดือดร้อน

อธิบายว่า ความเดือดร้อนตามแผดเผาในภายหลัง. ชื่อว่า ตปนียา เพราะ

หนุนโดยความเป็นเหตุแห่งความเดือดร้อนนั้น. บทว่า อกตกลฺยาโณ

ชื่อว่า อกตกลฺยาโณ เพราะไม่ทำความดี ความเจริญ คือ บุญไว้. สอง

บทที่เหลือเป็นไวพจน์ของบทว่า อกตกลฺยาโณ นั้น. จริงอยู่ บุญท่าน

เรียกว่า กัลยาณะ เพราะอรรถว่าเจริญ เพราะเกื้อกูลความเป็นอยู่ และ

เพราะเป็นสุขต่อไป เรียกว่า กุศล เพราะอรรถว่า กำจัดความน่าเกลียด

และความชั่วเป็นต้น เรียกว่า ต่อต้านความกลัว เพราะอรรถว่า ป้องกัน

ความกลัวทุกข์ และความกลัวสงสาร. บทว่า กตปาโป ชื่อว่า ทำบาป

เพราะทำ คือสั่งสมแต่ความชั่ว. สองบทที่เหลือเป็นไวพจน์ของบทว่า

กตปาโป นั่นเอง. ก็อกุศลกรรมท่านเรียกว่า บาป เพราะอรรถว่า ลามก

เรียกว่า ลุทฺธ (หยาบูชา) เพราะเป็นสภาวะร้ายกาจทั้งในขณะที่ตนยังเป็น

ไปอยู่ ทั้งในขณะให้ผล และเรียกว่า กิพฺพิส (กล้าแข็ง) เพราะถูกกิเลส

ประทุษร้าย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงโดยธัมมาธิฏฐานว่า เทฺว ธมฺมา

ตปนียา ธรรม ๒ ประการเป็นเหตุให้เดือดร้อนดังนี้แล้ว จึงทรงแสดงกุศล-

ธรรมที่ยังมิได้ทำ และอกุศลธรรมที่ทำแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงความที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 196

ธรรมเหล่านั้นเป็นเหตุให้เดือดร้อน จึงตรัสว่า บุคคลนั้นย่อมเดือดร้อนว่า

เราไม่ได้ทำกรรมดีดังนี้บ้าง ย่อมเตือนว่า เราทำแต่บาปดังนี้บ้าง ด้วยประการ

ฉะนี้.

อธิบายว่า เขาย่อมเดือดร้อน ย่อมเดือดร้อนในภายหลัง ย่อมเศร้า

โศกในภายหลัง ดังนี้.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบความดังต่อไปนี้. ชื่อว่า ทุจริต เพราะ

ประพฤติน่าเกลียด หรือประพฤติความชั่วเพราะเน่าด้วยกิเลส. ประพฤติชั่ว

ทางกาย หรือประพฤติชั่วเป็นไปทางกาย ชื่อว่า กายทุจริต. แม้วจีทุจริต

มโนทุจริต ก็พึงเห็นอย่างนี้. อนึ่ง กายทุจริตเป็นต้นเหล่านี้ ท่านประสงค์

เอากรรมบถ. บทว่า ยญฺจญฺ โทสสณฺหิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายถึง อกุศลกรรมอันไม่ถึงเป็นกรรมบถ. บทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้

และอกุศลกรรมอย่างอื่น ย่อมนับว่าเป็นกายกรรมเป็นต้น ไม่ได้โดยตรงเพราะ

ยังไม่ถึงความเป็นกรรมบถ ชื่อว่าประกอบด้วยโทษ เพราะเกี่ยวข้องกับกิเลส

มีราคะเป็นต้น กระทำอกุศลกรรมแม้นั้น.

บทว่า นิรย ได้แก่ทุคติแม้ทั้งหมดที่ได้ชื่อว่า นรก เพราะอรรถว่า

ไม่มีความยินดี หรือเพราะอรรถว่าไม่มีความพอใจ หรือนิรยทุกข์ในสุคติทั้ง

หมดเพราะห้ามสุข คือ ความเจริญ. พึงเห็นความในบทนี้อย่างนี้ว่า บุคคล

นั้น คือ บุคคลเช่นนั้นย่อมเข้าถึงเช่นนี้.

อนึ่ง ในสูตรนี้ ควรกล่าวถึงเรื่องของบุคคลเหล่านี้ คือ นันทโคฆาตกะ

สองพี่น้อง คนหนึ่งชื่อ นันทยักษ์ คนหนึ่งชื่อ นันทมาณพ โดยเป็นเหตุที่ให้

เดือดร้อน เพราะกายทุจริต.

เรื่องมีอยู่ว่า สองพี่น้องนั้นฆ่าแม่โคแล้วแบ่งเนื้อออกเป็นสองส่วน.

แต่นั้นคนน้องพูดกะคนพี่ว่า ฉันมีลูกมาก พี่จงให้ไส้ใหญ่เหล่าเหล่านี้แก่ฉันเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 197

ทีนั้น พี่ชายพูดกะน้องชายนั้นว่า เนื้อทั้งหมดแบ่งออกเป็นสองส่วนแล้ว เจ้าจะ

เอาอะไรอีกเล่า จึงตีน้องชายตาย. พี่ชายหันกลับดูน้องชายเห็นตายแล้ว เกิดเสีย

ใจว่าเราทำกรรมหนักนักเราฆ่าน้องชายโดยไม่ใช่เหตุเลย. พี่ชายเกิดความเดือด

ร้อนอย่างแรงกล้า. เขานึกถึงกรรมนั้นทั้งในที่ยืนทั้งในที่นั่ง ย่อมไม่ได้ความ

ผ่องใสใจเลย. แม้การกิน การดื่ม การเคี้ยวของเขาก็มิได้แผ่ความอร่อยไปใน

ร่างกายเลย ได้ปรากฏเพียงหนังหุ้มกระดูกเท่านั้น. ลำดับนั้น พระเถระรูปหนึ่ง

ได้ถามเขาว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านซูบซีดเหลือเกินมีเพียงหนังหุ้มกระดูกเท่านั้น

ท่านเป็นโรคอะไร หรือมีกรรมอะไรที่ทำให้ท่านเดือดร้อน. เขาได้สารภาพ

เรื่องราวทั้งหมด. ลำดับนั้น พระเถระกล่าวแก่เขาว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านทำ

กรรมผิดในที่ไม่น่าจะผิดไว้หนักมาก. ด้วยกรรมนั่นแลเขาตายไปเกิดในนรก.

เดือดร้อนเพราะวจีทุจริตควรกล่าวถึงเรื่อง สุปปพุทธสักกะ โกกาลิกะ

และนางจิญจมาณวิกาเป็นต้น. เดือดร้อนเพราะมโนทุจริต ควรกล่าวถึงเรื่อง

จุกกณะและวัสสัคคัญญะเป็นต้น.

จบอรรถกถาตปนียสูตรที่ ๓

๔. อตปนียสูตร

ว่าด้วยธรรม ๒ ประการไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน

[๒๐๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการนี้ ไม่เป็นเหตุให้เดือดร้อน

๒ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ได้ทำ

ความดีงามไว้ ทำกุศลไว้ ได้ทำบุญอันเป็นเครื่องต่อต้านความขาดกลัวไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 198

ไม่ได้ทำบาป ไม่ได้ทำอกุศลกรรมอันหยาบช้า ไม่ได้ทำอกุศลกรรมอันกล้า

แข็ง บุคคลนั้นย่อมไม่เดือดร้อนว่า เราได้ทำกรรมอันดีงามดังนี้บ้าง ย่อมไม่

เดือดร้อนว่า เราไม่ได้ทำบาปดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการ

นี้แล ไม่เป็นเหตุให้เดือนร้อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลผู้มีปัญญา ละกายทุจริต วจี-

ทุจริต มโนทุจริต และไม่กระทำอกุศล-

กรรมอย่างอื่นใด อันประกอบด้วยโทษ

กระทำแต่กุศลกรรมเป็นอันมาก เมื่อตาย

ไปย่อมเข้าถึงสวรรค์.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบอตปนียสูตรที่ ๔

ในอรรถกถาอตปนียสูตรที่ ๔ พึงทราบเนื้อความโดยตรงกันข้ามกับ

ที่กล่าวแล้วในอรรถกถาตปนียสูตรที่ ๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 199

๕. ปฐมสีลสูตร

ว่าด้วยศีลและทิฏฐิอันลามก

[๒๑๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ อัน

กรรมของตนซัดไปในนรก เหมือนถูกนำมาทิ้งลงฉะนั้น ธรรม ๒ ประการ

เป็นไฉน คือ ศีลอันลามก ๑ ทิฏฐิอันลามก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล อันกรรมของตนซัดไปในนรก เหมือน

ถูกนำมาทิ้งลงฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

นรชนใดผู้มีปัญญาทราม ประกอบ

ด้วยธรรม ๒ ประการนี้ คือ ศีลอันลามก ๑

ทิฏฐิอันลามก ๑ นรชนนั้นเมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงนรก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปฐมสีลสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 200

อรรถกถาปฐมสีลสูตร

ในปฐมสีลสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปาปเกน สีเลน ความว่า อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ความไม่สำรวม

อันทำให้ศีลขาด ชื่อว่า ศีลลามก. ในบทนั้น ผิว่า ความไม่สำรวมเป็นศีล

เหมือนกันไซร้ เพราะความเป็นผู้ทุศีล ศีลนั้น จะเรียกว่า ศีลอย่างไร.

ในบทนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้. ท่านกล่าวสิ่งที่ไม่เห็นในโลกว่าเห็น หรือผู้

ไม่มีศีลว่า เป็นผู้มีศีลดังนี้ฉันใด แม้ในข้อนี้ท่านก็เรียกไม่มีศีลก็ดี ไม่สำรวม

ก็ดี ว่า ศีลฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง เรียกชื่อว่าศีลมีอยู่แม้ในอกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะ

บาลีว่า ดูก่อนคฤหบดี ก็ศีลเป็นอกุศล กายกรรมเป็นอกุศล วจีกรรมเป็นอกุศล

อาชีวะเป็นอกุศล เป็นไฉนดังนี้ เพราะฉะนั้น ความประพฤติชอบทั้งหมดเป็น

ปกติ เหมือนสำเร็จตามสภาพ ด้วยความคุ้นเคย ท่านก็เรียกว่าศีล. บทว่า

ปาปเกน สีเลน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงอกุศลอันลามก เพราะ

อรรถว่าไม่เป็นความฉลาดเลย. บทว่า ปาปิกาย ทิฏฺิยา ได้แก่ มิจฉา-

ทิฏฐิทั้งหมดอันลามก. แต่โดยความพิเศษ ทิฏฐิ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ อเหตุกทิฏฐิ

(ความเห็นว่าหาเหตุมิได้) ๑ อกิริยทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ) ๑

นัตถิกทิฏฐิ (ความเห็นว่าไม่มี) ๑ ลามกกว่า. ในบทนั้น บุคคลผู้ประกอบด้วย

ศีลอันลามกเป็นผู้วิบัติด้วยปโยคะ (ความขวนขวายชอบ) บุคคลผู้ประกอบ

ทิฏฐิอันลามก เป็นผู้วิบัติด้วยอาสยะ (อัธยาศัย) บุคคลผู้วิบัติด้วยปโยคะและ

อาสยะเป็นผู้ตกนรกโดยแท้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล อันกรรมของตนซัดไป

ในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลงฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 201

ในบทว่า ทฺวีหุ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต นี้พึงเห็นเป็นคำแสดงถึง

ลักษณะ มิใช่แสดงถึงแบบแผน. เหมือนอย่างว่า ผิว่าในโลก ความเจ็บป่วย

ทั้งหลายจะพึงมีแก่เราไซร้ ควรให้ยาชนิดนี้ แก่ผู้เจ็บป่วยเหล่านี้ ดังนี้. ใน

ฐานะเช่นนี้ แม้เหล่าอื่นก็มีนัยนี้เหมือนกัน . บทว่า ทุปฺปญฺโ คือ ไม่มีปัญญา

จบปฐมสีลสูตรที่ ๕

๖. ทุติยสีลสูตร

ว่าด้วยศีลและทิฏฐิดี

[๒๑๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ อัน

กรรมของตนนำมาไว้ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาไว้ฉะนั้น ธรรม ๒ ประการ

เป็นไฉน คือ ศีลดี ๑ ทิฏฐิดี ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๒ ประการนี้แล อันกรรมของตนนำมาไว้ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาไว้

ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

นรชนใดผู้มีปัญญา ประกอบด้วย

ธรรม ๒ ประการนี้ คือ ศีลดี ๑ ทิฏฐิดี ๑

นรชนนั้น เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทุติยสีลสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 202

อรรถกถาทุติยสีลสูตร

ในทุติยสีลสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภทฺทเกน สีเลน ได้แก่ ปาริสุทธิศีล ๔ มีกายสุจริตเป็นต้น.

จริงอยู่ ปาริสุทธิศีล ๔ นั้น เป็นความงามในตัวเอง เพราะไม่ต่างเป็นต้น

และนำมาซึ่งคุณอันงามมีสมถะและวิปัสสนาเป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า ภทฺทก (เจริญ). บทว่า ภทฺทิกาย ทิฏิยา ได้แก่กัมมัสสกตญาณ

(ความรู้ว่า สัตว์มีกรรมเป็นของตน) และสัมมาทิฏฐิอันเป็นกรรมบถ.

ในบทนั้น บุคคลผู้ประกอบด้วยศีลอันเจริญ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปโยคะ

ประกอบด้วยทิฏฐิอันเจริญ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอาสยะ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วย

ปโยคะและอาสยะ เป็นผู้เข้าถึงสวรรค์ ด้วยประการฉะนี้. สมดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบธรรมสองอย่าง

เหล่านี้แล เป็นผู้อันกรรมของตนนำมาไว้ในสวรรค์ เหมือนเชิญมาไว้ฉะนั้น.

บทว่า สปฺปญฺโ คือ มีปัญญา. บทที่เหลือพึงรู้ได้ง่ายทั้งนั้น .

จบอรรถกถาทุติยสีลสูตรที่ ๖

๗. อาตาปีสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้มีความเพียรบรรลุธรรมเกษม

[๒๑๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 203

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ ไม่

ควรเพื่อจะตรัสรู้ ไม่ควรเพื่อนิพพาน ไม่ควรเพื่อจะบรรลุธรรมอันเป็นแดน

เกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีความเพียร ผู้มีโอตตัปปะ

ควรเพื่อจะตรัสรู้ ควรเพื่อนิพพาน ควรเพื่อจะบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจาก

โยคะชั้นเยี่ยม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ภิกษุใดไม่มีความเพียร ไม่มีโอต-

ตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรเลว มาก

ไปด้วยถีนมิทธะ ไม่มีหิริ ไม่เอื้อเฟื้อ

ภิกษุเช่นนั้น ไม่ควรเพื่อจะบรรลุญาณ

เป็นเครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ส่วนภิกษุใด

มีสติ มีปัญญาเครื่องรักษาตน มีฌาน

มีความเพียร มีโอตตัปปะ ไม่ประมาท

ตัดกิเลสชาติ เครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วย

ชาติและชราขาดแล้ว พึงบรรลุญาณเป็น

เครื่องตรัสรู้อันยอดเยี่ยม ในอัตภาพนี้แล.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบอาตาปีสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 204

อรรถกถาอาตาปีสูตร

ในอาตาปีสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนาตาปี ได้แก่ ความเพียรชื่ออาตาปะ เพราะอรรถว่า

เผากิเลสทั้งหลาย. ชื่อว่า อาตาปี เพราะมีความเพียร. ชื่อว่า อนาตาปี

เพราะไม่มีความเพียร. ท่านอธิบายว่า เป็นผู้เกียจคร้านเว้นจากสัมมัปปธาน

(ความเพียรชอบ). ความหวาดสะดุ้งต่อบาป ท่านเรียกว่า โอตตัปปะ. ชื่อว่า

โอตตัปปี เพราะมีความหวาดสะดุ้ง. ชื่อว่า อโนตตัปปี เพราะไม่มีความ

หวาดสะดุ้ง ได้แก่ เว้นจากความหวาดสะดุ้ง. อีกอย่างหนึ่ง ความไม่มี

ความเพียรเป็นปฏิปักษ์ต่อความเพียร ได้แก่ความเกียจคร้าน. ชื่อว่า อนาตาปี

เพราะไม่มีความเพียร. ความไม่หวาดสะดุ้งใดที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า บุคคล

ย่อมไม่หวาดสะดุ้งต่อสิ่งที่ควรหวาดสะดุ้ง คือไม่หวาดสะดุ้ง เพราะเข้าถึง

อกุศลธรรมอันลามก ความไม่หวาดสะดุ้งนั้น ชื่อว่า อโนตตาปะ (ไม่มีความ

หวาดสะดุ้ง). ชื่อว่า อโนตตาปี เพราะไม่มีความหวาดสะดุ้ง. พึงทราบ

ความในสูตรนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อภพฺโพ แปลว่า ไม่ควร. บทว่า สมฺโพธาย คือ เพื่อ

อริยมรรค. บทว่า นิพฺพานาย ได้แก่ เพื่ออมตมหานิพพานอันสงบกิเลสได้

โดยสิ้นเชิง. บทว่า อนุตฺตรสฺส โยคกฺเขมสฺส ได้แก่อรหัตผล. จริงอยู่

อรหัตผลนั้นชื่อว่า เป็นอนุตระ (ชั้นเยี่ยม) เพราะไม่มีสิ่งที่ยิ่งกว่า ชื่อว่า

เขมะ (เป็นแดนเกษม) เพราะไม่ถูกโยคะ ๔ เบียดเบียน ท่านจึงกล่าวว่า

นิพพาน และว่าเป็นแดนเกษมจากโยคะ. บทว่า อธิคมาย ได้แก่ เพื่อบรรลุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 205

บทว่า อาตาปี แปลว่า มีความเพียร. จริงอยู่ ผู้มีความเพียรนั้น

เป็นผู้ประกอบด้วยวิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร) ดังที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

ผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้เกิดขึ้น มีกำลังใจ

มีความเพียรมั่น ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย. ชื่อว่า อาตาปี เพราะ

มีปกติเผากิเลสได้โดยสิ้นเชิง. บทว่า โอตฺตปฺปี ได้แก่ ชื่อว่ามีปกติเผา

กิเลส เพราะประกอบด้วยโอตตัปปะ ดังที่ท่านกล่าวไว้อยู่นี้ว่า บุคคลย่อม

เผาสิ่งที่ควรเผา คือ เผาความเกิดแห่งอกุศลธรรมอันลามก ดังนี้ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า โอตตัปปี. จริงอยู่ ผู้ที่ประกอบด้วยหิริ และโอตตัปปะ เพราะเว้น

จากอกุศลธรรมอันลามกนั้น ท่านว่าเป็นผู้มีโอตตัปปะ ด้วยประการฉะนี้. ผู้

ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะ เป็นผู้มีปกติเห็นภัยในโทษแม้มีประมาณน้อย

เป็นผู้ทำความบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย. ท่านแสดงถึงสีลสัมปทาของผู้นั้น ด้วย

ประการฉะนี้. บทว่า อาตาปี ท่านแสดงถึงความที่บุคคลนั้นเป็นผู้ขวนขวาย

ในสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา โดยแสดงถึงการเผากิเลสโดยนัยนี้. อนึ่ง

ความเพียรตามที่กล่าวแล้ว เว้นเสียจาก ศรัทธา สติ สมาธิ ปัญญา จะมี

ไม่ได้ เพราะเหตุนั้น อินทรีย์อันมีศรัทธาครบ ๕ ทำวิมุตติให้แก่กล้า เป็นอัน

ท่านกล่าวโดยอรรถเท่านั้น. ในความสำเร็จเหล่านั้น สัญญาอันเป็นนิพเพธภาคี

(ส่วนแห่งการตรัสรู้) ๖ อย่าง คือ สัญญาในสิ่งไม่เทียงว่าไม่เที่ยง ๑ สัญญา

ในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ๑ สัญญาในทุกข์ว่าเป็นอนัตตา ๑ สัญญาในการละ

ทุกข์ ๑ สัญญาในความสิ้นกำหนัด ๑ สัญญาในนิโรธ ๑ เป็นความสำเร็จ

นั่นเอง

พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงถึงความเป็นผู้ควร เพื่อบรรลุมรรค ผล

นิพพาน เพราะศีล สมาธิ ปัญญา อันเป็นโลกิยะของผู้ประกอบด้วยธรรม

สองเหล่านี้สำเร็จ จึงตรัสว่า อาตาปี จ โข ฯเปฯ อธิคมาย ภิกษุผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 206

ความเพียร มีโอตตัปปะ ควรเพื่อจะตรัสรู้ ควรเพื่อนิพพาน ควรเพื่อจะ

บรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ดังนี้.

ในคาถาทั้งหลาย มีอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า กุสีโต ความว่า ชื่อว่า

กุสีตะ เพราะจม พัวพัน เกี่ยวข้องด้วยธรรมอันลามกซึ่งน่าเกลียดได้แก่กาม-

วิตก พยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก เพราะมากไปด้วยมิจฉาทิฏฐิ. หรือซ่าน

ไปสู่ความน่าเกลียด พ้นไปจากการปฏิบัติชอบ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กุสีตะ

แปลง ท อักษรเป็น ต อักษร. บทว่า หีนวีริโย ได้แก่ ไม่มีความเพียร

คือ เว้นจากการทำความเพียรในอิริยาบถ ๔. เป็นผู้มากไปด้วยถีนมิทธะ

(ความง่วงเหงาหาวนอน) เพราะถีนะอันเป็นความเกียจคร้านทางจิต มีสภาพ

หงอยเหงาเพราะไร้ความอุตสาหะ และมิทธะอันเป็นความเกียจคร้านทางกาย

ไม่มีความองอาจ มีความคับแค้น เป็นสภาวะเป็นไปบ่อย ๆ. ชื่อว่า ไม่มีหิริ

เพราะไม่มีหิริอันมีลักษณะเกลียดความชั่ว และเพราะประกอบด้วยความไม่มี

หิริอันเป็นปฏิปักษ์ต่อหิรินั้น. ชื่อว่าไม่เอื้อเฟื้อ เพราะไม่มีความเอื้อเฟื้อใน

การปฏิบัติชอบ เพราะไม่มีหิริ โอตตัปปะ วิริยะ. อนึ่ง ชื่อว่าไม่เอื้อเฟื้อ

เพราะไม่การทำกิริยาสองอย่าง โดยธรรมและบุคคลแม้โดยไม่มีหิริและ

โอตตัปปะทั้งสองอย่าง. บทว่า ผุฏฺฐุ คือ เพื่อถูกต้อง. บทว่า สมฺโพธิ-

มุตฺตม ความว่า ไม่ควรเพื่อบรรลุพระอรหัตอันสูงสุด กล่าวคือสัมโพธิญาณ.

บทว่า สติมา ได้แก่ มีสติโดยประโยคกอบด้วยสติปัฏฐาน ๔ พร้อม

กับมีความจำดี สามารถระลึกถึงสิ่งที่ทำ คำที่พูดไว้นานแล้วได้. บทว่า นิปโก

ได้แก่ มีปัญญารักษาตน เพราะประกอบด้วยความเฉลียวฉลาด กล่าวคือ

รู้สึกตัวในฐานะ ๗ อย่าง และกล่าวคือเข้าใจการรักษากรรมฐาน. บทว่า

ฌายี ได้แก่ มีฌานด้วยฌาน ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน (การเพ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 207

อารมณ์) ๑ ลักขณูปนิชฌาน (การเพ่งลักษณะ) ๑. บทว่า อปฺปมตฺโต

ได้แก่ ไม่ประมาทด้วยกรรมฐานภาวนา โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุย่อมชำระจิต

จากอาวรณียธรรม (ธรรมป้องกันไม่ให้บรรลุความดี) ด้วยการจงกรม ด้วย

การนั่งตลอดวัน. บทว่า สโยชน ชาติชราย เฉตฺวา ได้แก่ ตัดกิเลส

๑๐ อย่างมีกามราคะเป็นต้น อันได้ชื่อว่าสังโยชน์ เพราะประกอบสัตว์ไว้ด้วย

ชาติ และชราจากมูลรากด้วยการถอนอนุสัย (กิเลสอัน นอนเนื่องอยู่ในสันดาน)

ขาดแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สโยชน ชาติชราย เฉตฺวา ได้แก่ ตัด

กิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วยชาติชราขาดแล้ว. อันที่จริง ผู้ที่ยังตัดสังโยชน์

ขาดไม่ได้ ก็ยังตัดและถอนชาติชราไม่ได้ แต่ผู้ที่ตัดสังโยชน์ได้ ก็ตัดชาติชรา

ขาดได้ เพราะถอนเหตุเสียได้ ฉะนั้น เมื่อตัดสังโยชน์ขาด ก็ชื่อว่า ตัดชาติ

ชราขาดได้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า สโยชน ชาติชราย

เฉตฺวา ดังนี้. บทว่า อิเธว สมฺโพธิมนุตฺตร ผุเส ได้แก่ พึงถูกต้อง

คือ พึงบรรลุพระอรหัต อันล้ำเลิศได้ในอัตภาพนี้แล.

จบอรรถกถาอาตาปีสูตรที่ ๗

๘. ปฐมนกุหนาสูตร

ว่าด้วยแนวปฏิบัติพรหมจรรย์

[๒๑๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะ

หลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 208

ลาภ สักการะ ความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติ ด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราด้วย

อาการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุย่อมอยู่ประพฤติ

เพื่อการสำรวมและเพื่อการละ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้

ทรงแสดงพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร

อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ นิพพาน เพื่อ

การสำรวม เพื่อการละ ทางนี้ พระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายนี้ประโยชน์ใหญ่ ผู้แสวงหา

คุณอันใหญ่ ทรงดำเนินไปแล้ว ชนเหล่า

ใด ๆ ย่อมปฏิบัติพรหมจรรย์นั้น ตามที่

พระพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชนเหล่านั้น ๆ

ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา จัก

กระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้.

เนื้อความแม้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปฐมนกุหนาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 209

อรรถกถาปฐมนกุหนาสูตร

ในปฐมนกุหนาสูตรที่ ๘ ทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ในบทว่า นยิท นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถปฏิเสธ.

ศัพท์นั้นต่อด้วย บทว่า วุสฺสติ. ย อักษรทำเป็นมนสนธิ.

อิท ศัพท์เป็นเพียงนิบาต ในบทมีอาทิว่า เอกมิทาห ภิกฺขเว

สมย อุกฏฺาย วิหรามิ สุภควเน สาลราชมูเล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สมัยหนึ่งนี้ เราอยู่ ณ โคนต้นสาละ ในสุภควันใกล้ศาลาอุกัฏฐ. มาในความ

เห็นชัดในที่ใกล้ ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในบทมีอาทิว่า อิท โข ต

ภิกฺขเว อปฺปมตฺตก โอรมตฺตก สีลมตฺตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อันนั้นนี้แลเป็นเพียงเล็กน้อย เป็นเพียงข้างนี้ เป็นเพียงธรรมดา. มาในความ

เห็นชัดในที่ใกล้ดังที่ท่านกล่าวไว้ในบทมีอาทิว่า

อิท หิ ต เชตวน อิสีสฆนิเสวิต

อาวุฏฺ ธมฺมราเชน ปีติสญฺชนน มม

มหาวิหารเชตวันนี้ อันหมู่ฤษีอาศัย

อยู่ อันพระธรรมราชประทับอยู่ ยังปีติ

ให้เกิดแต่เรา.

ในที่นี้พึงเห็นในความเห็นชัด ในที่ใกล้ดังที่ท่านกล่าวไว้ในสูตรนี้.

พรหมจริยศัพท์มาในการให้ในปุณณกชาดกนี้ว่า

กินฺเต วต กึ ปน พฺรหฺมจริย

กิสฺส สุจิณฺณสฺส อย วิปาโก

อิทฺธิชุติพลวีริยูปปตฺติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 210

อกฺขาหิ เม นาค มหาวิมาน

อหญฺจ ภริยาจ มนุสฺสโลเก

สทฺธา อุโภ ทานปตี อหุมฺหา

โอปานภูต เม ฆร ตาทาสิ

สนฺตปฺปิตา สมณพฺราหฺมณา จ

ต เม วต ต ปน พฺรหฺมจริย

ตสฺส สุจิณฺณสฺส อย วิปาโก

อิทฺธิชุติพลวีริยูปปตฺติ

อิท จ เม ธีร มหาวิมาน.

วัตรและพรหมจรรย์ ของท่านเป็น-

อย่างไร ความเกิดขึ้นแห่งฤทธิ์ ความ

รุ่งเรืองกำลัง และความเพียร นี้เป็นผลของ

ความประพฤติเช่นไร ข้าแต่ท่านผู้ประ-

เสริฐ ขอท่านจงบอกมหาวิมานแก่ข้าพเจ้า

ข้าพเจ้าและภรรยาทั้งสอง เป็นทาน-

บดี มีศรัทธาในมนุษยโลก ครั้งนั้น

เรือนของข้าพเจ้าได้เป็นดังบ่อน้ำ สมณะ

และพราหมณ์ทั้งหลายเอิบอิ่ม นั่นเป็น

วัตรเป็นพรหมจรรย์ของเรา ความเกิดขึ้น

แห่งฤทธิ์ ความรุ่งเรืองกำลัง และความ

เพียร นี้เป็นผลแห่งความประพฤติดีนั้น

ข้าแต่ท่านผู้มีปัญญา นี้แหละเป็นมหาวิมาน

ของเรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 211

มาในความขวนขวาย ในอังกุรเปตวัตถุนี้ว่า

เกน ปาณิ กามทโท เกนปาณิ มธุสฺสโว

เกน เต พฺรหฺมจริเยน ปุญฺ ปาณิมฺหิ อิชฺฌติ

เตน ปาณิ กามทโท เตนฺ ปาณิ มธุสฺสโว

เตน เม พฺรหฺมจริเยน ปุญฺ ปาณิมฺหิ อิชฺฌติ.

ฝ่ามือให้ความต้องการสำเร็จด้วยอะไร

ฝ่ามือมีความอร่อยเป็นที่ไหลออกด้วยอะไร

บุตรย่อมสำเร็จในฝ่ามือ ด้วยพรหมจรรย์

อะไรของท่าน

ฝ่ามือของเราให้ความใคร่สำเร็จ มี

รสอร่อย เป็นที่ไหลออก บุญย่อมสำเร็จ

ที่ฝ่ามือของเรา เพราะพรหมจรรย์นั้น ๆ.

มาแล้วในศีล คือ สิกขาบท ๕ ข้อ ในติตติรชาดกนี้ว่า อิท โข

ต ภิกฺเว ติตฺติริย นาม พฺรหฺมจริย อโหสิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พรหมจรรย์ ชื่อติตติริยะนี้ได้มีแล้ว. มาในพรหมวิหาร ในมหาโควินทสูตร

นี้ว่า ต โข ปน ปญฺจสิข พฺรหฺมจริย เนว นิพฺพิทาย น วิรา-

คาย ฯเปฯ ยาวเทว พฺรหฺมโลกูปปตฺติยา ดูก่อนปัญจสิข พรหมจรรย์

นั้นแล มิใช่เพื่อความเบื่อหน่าย มิใช่เพื่อความปราศจากความกำหนัด ฯลฯ

เพียงเพื่อความเข้าถึงพรหมโลกเท่านั้น. มาแล้วในเมถุนวิรัติ ในสัลเลขสูตรว่า

ปเร อพฺรหฺมจาริโน ภวิสฺสนฺติ มยเมตฺถ พฺรหฺมจาริโน ภวิสฺสาม

พวกอื่นจักไม่เป็นพรหมจารี เราจักเป็นพรหมจารีในที่นี้. มาแล้วในสทาร-

สันโดษ ในมหาธรรมปาลชาดกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 212

มยญฺจ ภริยา นาติกฺกมาม

อมฺเห จ ภริยา นาติกฺกมนฺติ

อญฺตฺร ตาหิ พฺรหฺมจริย จราม

ตสฺมาติหมฺห ทหรา น มิยฺยเร

เราไม่ล่วงละเมิดภรรยา ทั้งภรรยา

ก็ไม่ล่วงละเมิดเรา เราประพฤติพรหม-

จรรย์ ยกเว้นภรรยา เพราะฉะนั้น เด็ก

ทั้งหมายของเรา จึงไม่ตาย.

มาในความเพียร ในโลมหังสสูตรว่า อภิชานามิ โข ปนาห สารี-

ปุตฺต จตุรงฺคสมนฺนาคต พฺรหฺจริย จริตฺวา ตปสี สุท โหมิ ดูก่อนสารี-

บุตร ก็เราประพฤติความเพียรอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์ ๔ จึงรู้ยิ่ง

ได้ยินว่า เราเป็นผู้มีความเพียร.

มาแล้วในอุโบสถมีองค์ ๘ ซึ่งทำด้วยการทรมานตนในนิมิชาดกว่า

หีเนน พฺรหฺมจริเยน ขตฺติเย อุปปชฺชติ

มชฺฌิเมน จ เทวตฺต อุตฺตเมน วิสุชฺฌติ

บุคคลเข้าถึงกษัตริย์ ด้วยพรหม

จรรย์เลว และเข้าถึงความเป็นเทวดาด้วย

พรหมจรรย์ปานกลาง ย่อมบริสุทธิ์ด้วย

พรหมจรรย์สูงสุด.

มาแล้วในอริยมรรค ในมหาโควินทสูตรนั่นแลว่า อิท โข ปน

ปญฺจสิข พฺรหฺมจริย เอกนฺตนิพฺพิทาย วิราคาย ฯเปฯ อยเมว

อริโย อฏฺงฺคิโก มคฺโค ดูก่อนปัญจสิขะ พรหมจรรย์นี้แล เพื่อความ

เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความปราศจากความกำหนัด ฯลฯ นี้แล คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 213

มรรคมีองค์๘อันเป็นอริยะ. มาแล้วในคำสอนทั้งสิ้นอันสงเคราะห์ด้วยสิกขา ๓

ในปาสาทิกสูตรว่า ตยิท พฺรหฺมจริย อิทฺธญฺเจว ผีตญฺจ วิตฺถาริก

พหุชญฺ ปุถุภูต ยาว เทวนนุสฺเสหิ สุปฺปกาสิต พรหมจรรย์นี้นั่น

สมบูรณ์ แพร่หลายพิสดาร รู้กันมาก กว้างขวาง ตลอดถึงเทวดาและมนุษย์

ก็ได้ประกาศเป็นอย่างดี. ในที่นี้ พรหมจริยศัพท์ ย่อมเป็นไปในอริยมรรค

และในคำสอน.

บทว่า วุสฺสติ ได้แก่อยู่ อธิบายว่า ประพฤติ. บทว่า ชนหุกหนตฺถ

ได้แก่ เพื่อหลอกลวงชนคือสัตวโลก โดยนัยมีอาทิว่า โอ พระผู้เป็นเจ้ามีศีล

สมบูรณ์ด้วยวัตร มีความมักน้อย สันโดษ มีความวิเศษมาก มีอำนาจมาก

ดังนี้. บทว่า ชนลปนตฺถ ได้แก่ เพื่อยังมนุษย์ผู้มีจิตเลื่อมใสว่า ทานที่

ถวายแด่พระผู้เป็นเจ้า เห็นปานนี้ จักมีผลมาก ให้กล่าวว่า ต้องการด้วยอะไร

จงนำอะไรมาดังนี้ . บทว่า ลาภสกฺการสิโลกานิสสตฺถ ได้แก่ เพื่ออานิสงส์

อันเป็นปัจจุบันของผู้ประพฤติพรหมจรรย์ คือ การได้ปัจจัย ๔ ที่ท่านกล่าวไว้

โดยความเป็นอานิสงส์ของศีลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุพึงเป็นผู้กระทำ

ให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย พึงหวังได้ว่า เราพึงได้บริขาร คือ จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัช และสักการะอันได้แก่การให้ปัจจัย ๔ โดยเคารพ

ทั้งการเอื้อเฟื้อ การนับถือมาก การทำความเคารพ และความสรรเสริญอัน

ได้แก่ความเฟื่องฟู ความยกย่อง ความมีชื่อเสียง โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุเป็น

ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธุดงค์ เป็นผู้ปรารภความเพียร.

บทว่า อิติ ม ชโน ชานาตุ ผูกเป็นใจความว่า พรหมจรรย์นี้ ภิกษุ

ไม่อยู่เพื่อให้เขายกย่อง ด้วยคุณอันมีอยู่ของตนว่า ชนจงรู้จักคือจงยกย่องเรา

โดยอาทิว่า เมื่อมีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์อย่างนี้ ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล มี

กัลยาณธรรม. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวความในบทนี้ อย่างนี้ว่า บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 214

ชนกุหนตฺถ ได้แก่ เมื่อภิกษุมีความปรารถนาลามก มักมาก เพื่อจะ

หลอกลวงชนด้วยความเท็จ ด้วยกุหนวัตถุ ๓ อย่าง กล่าวคือ ร่ายมนต์ อาศัย

อิริยาบถ เสพปัจจัย. บทว่า ชนลปนตฺถ ได้แก่ เมื่อภิกษุมีความปรารถนา

ลามก เพื่อประจบชนด้วยพูดรำพัน หรือด้วยพูดยกยอ โดยพูดแย้มให้เขารู้

ความหมายเป็นต้น เพื่อปัจจัย. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกานิสสตฺถ ได้แก่

เมื่อภิกษุมีความปรารถนาลามก เพื่อให้สำเร็จอานิสงส์ กล่าวคือลาภ สักการะ

ความสรรเสริญ เพราะเป็นผู้หนักในลาภเป็นต้น. บทว่า อิติ ม ชโน

ชานาตุ ได้แก่ เมื่อมีความปรารถนาลามก ภิกษุไม่อยู่ประพฤติพรหมจรรย์

ด้วยคิดว่า ชนจงรู้จักเราอย่างนี้ ด้วยประสงค์ความยกย่องคุณอันไม่มี. แต่

ความตอนต้นมีสาระกว่า.

บทว่า อถ ในบทว่า อถโข นี้ เป็นนิบาตลงในอรรถ อย่างอื่น.

บทว่า โข เป็นนิบาตลงในอวธารณะ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงว่า อิท ภิกฺขเว พฺรหฺมจริย วุสฺสติ ดังนี้ อันมีความอื่นจากการ

หลอกลวงเป็นต้นนั่นเอง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงถึงประโยคนั้น

จึงตรัสว่า ส วรตฺถญฺเจว ปหานตฺถญฺจ ดังนี้.

ในบทว่า สวรตฺถญฺเจว ปหานตฺถญฺจ นั้น สังวรมี ๕ อย่าง คือ

ปาฏิโมกขสังวร ๑ สติสังวร ๑ ญาณสังวร ๑ ขันติสังวร ๑ วิริยสังวร ๑.

ในสังวร ๕ เหล่านั้น ที่ชื่อว่า ปาติโมกขสังวรมาแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุ

เป็นผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อมด้วยความสำรวมในปาติโมกข์นี้ ท่านเรียกว่า

สีลสังวรก็มี. สติสังวรนี้มาแล้วในบทว่า รกฺขติ จกฺขุนฺทฺริย จกฺขุนฺทฺริเย

สวร อาปชฺชติ ภิกษุย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่า ย่อมถึงความสำรวมใน

จักขุนทรีย์. ญาณสังวรนี้มาแล้วในคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 215

ยานิ โสดานิ โลกสฺมึ สติ เตส นิวารณ

โสตาน สวร พฺรูมิ ปญฺาเยเต ปิถิยฺยเร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

อชิตะ สติเป็นเครื่องห้ามกระแสในโลก

เรากล่าว ความสำรวมกระแสทั้งหลาย

กระแสเหล่านั้น พึงทำลายด้วยปัญญา

ดังนี้.

ขันติสังวรนี้มาแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ขโม โหติ สีตสฺส อุณฺหสฺส

เป็นผู้อดทนต่อความหนาวความร้อน. วีริยสังวรนี้มาแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า

อุปฺปนฺน กามวิตกฺก นาธิวาเสติ ไม่ยอมให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้วท่วมทับ

ได้. แต่โดยเนื้อความ เจตนาและวิรัติที่เป็นไปแล้ว ด้วยการละปาณาติบาต

เป็นต้น และด้วยการกระทำวัตรปฏิบัติ โดยย่อ คือการสำรวมกายและวาจา

ทั้งปวง โดยพิสดาร คือการไม่ล่วงกองอาบัติ ๗ ชื่อว่า สีลสังวร. สติสังวร

คือสตินั่นเอง หรือกุศลขันธ์อันมีสติเป็นประธาน. ญาณสังวร คือญาณนั่นเอง.

กุศลขันธ์อันเป็นไปแล้วด้วยความอดกลั้น เพราะมีอโทสะเป็นประธาน ชื่อว่า

ขันติสังวร. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ปัญญา. ความเพียรอันเป็นไปแล้ว

ด้วยความอดกลั้นกามวิตกเป็นต้น ชื่อว่า วีริยสังวร. ในสังวรเหล่านั้น พึง

ทราบว่า ข้อแรกชื่อว่า สังวร เพราะป้องกันความเป็นผู้ทุศีล มีกายทุจริต

เป็นต้น ข้อสองชื่อว่าสังวร เพราะป้องกันความหลงลืม ข้อสามชื่อว่าสังวร

เพราะป้องกันความไม่รู้ ข้อสี่ชื่อว่าสังวร เพราะป้องกันความไม่อดทน ข้อห้า

ชื่อว่าสังวร เพราะสำรวม คือปิดกั้นความเกียจคร้าน. อธิบายว่า เพื่อการ

สำรวม คือเพื่อให้สำเร็จการสำรวม เพื่อประโยชน์แก่การสำรวมนั้น ด้วย

ประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 216

แม้ปหานะก็มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหานะ ๑ วิกขัมภนปหานะ ๑

สมุจเฉทปหานะ ๑ ปฏิปัสสัทธิปหานะ ๑ นี้สสรณปหานะ ๑. ในปหานะ

เหล่านั้น ข้อที่ควรกล่าวได้กล่าวไว้แล้ว ในอรรถกถาปฐมสูตร ในเอก-

นิบาตมาก่อนแล้ว. อธิบายว่า เพื่อการละ คือ เพื่อให้สำเร็จการละ เพื่อประ-

โยชน์แก่การละ เพราะสละ หรือเพราะก้าวล่วงกิเลสมีราคะเป็นต้นอย่างนั้น ๆ

แม้ทั้ง ๕ อย่าง.

ในบทนั้น เกจิอาจารย์กล่าวว่า การห้ามกิเลสเข้าไปในจิตสันดาน ด้วย

การสำรวม การห้ามกิเลสเข้าไปในจิตสันดาน และการถอนด้วยปหานะ. ก็แม้

โดยทั้งสองอย่างพึงเห็นว่า ทั้งสองอย่างสมบูรณ์ตามควร. ความจริง ธรรม

มีศีลเป็นต้น ชื่อว่าสังวร เพราะการสำรวม ชื่อปหานะ เพราะการละ.

ในคาถาทั้งหลายมีอธิบาย ดังต่อไปนี้. บทว่า อนีติห ได้แก่

อันตรายทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นไปในสัมปรายภพ ท่าน

เรียกว่า จัญไร. ชื่อว่า อีติห เพราะพรหมจรรย์กำจัดจัญไร คือทำให้พินาศ

คือละ. บทว่า อนุ อีติท เป็น อนีติห คือ กำจัดจัญไร ได้แก่ศาสนพรหมจรรย์

และมรรคพรหมจรรย์. อีกอย่างหนึ่ง อุปกิเลสมีตัณหาเป็นต้น ชื่อว่า อีติหา

เพราะนำไป คือเป็นไปกับด้วยจัญไรทั้งหลาย อันหาประโยชน์มิได้. ชื่อว่า

อนีติห เพราะไม่มีจัญไร. หรือลัทธิของเดียรถีย์ ตามความที่ได้กล่าวมาแล้ว

ซึ่งว่า อีติหา พรหมจรรย์นี้ชื่อว่า อนีติห เพราะตรงกันข้ามกับลัทธิเดียรถีย์

นั้น. ปาฐะว่า อนิติห ดังนี้บ้าง. มีอธิบายว่า วิจิกิจฉา ชื่ออิติห เพราะ

มีความจัญไรในธรรมทั้งหลายไม่น้อย. พรหมจรรย์ชื่อว่า อนิติห เพราะไม่มี

ความสงสัย เพราะเมื่อผู้ปฏิบัติตามคำสอน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศ

แล้ว เป็นผู้หมดสงสัย. อธิบายว่า พรหมจรรย์เป็นอปรปัจจัย (ไม่อาศัยสิ่งอื่น).

สมดังที่ท่านกล่าวว่า พระธรรมเป็นอตักกาวจร (ไม่มีวิตกกังวล) เพราะผู้รู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 217

พึงรู้เอง. เพื่อให้ง่ายในคาถา เกจิอาจารย์จึงกล่าวทำเป็นทีฆะ (เสียงยาว)

ว่า อนีติห ดังนี้.

พรหมจรรย์ชื่อว่า เป็นเหตุให้ถึงฝั่งคือนิพพาน เพราะเป็นเหตุให้ถึงที่

สุด คือที่พึ่ง คือฝั่งอันได้แก่นิพพาน. อธิบายว่า มีวิมุตติเป็นรส เพราะวิมุตติ-

เป็นรสเป็นเหตุให้ถึงนิพพาน โดยส่วนเดียวเท่านั้น. พรหมจรรย์นั้นเป็นเหตุให้

ถึงฝั่งคือนิพพาน. บทว่า โส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดทรงบำ

เพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน ทรงทำลายสรรพกิเลส แล้วจึงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัม-

โพธิญาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นได้ทรงแสดง คือทรงชี้แจง. อีก

อย่างหนึ่ง ท่านกล่าวอริยมรรคว่า นิพฺพาโนคโธ หยั่งลงสู่นิพพาน เพราะ

เว้น อริยมรรคนั้นเสียแล้ว จะไม่มีการหยั่งลงสู่พระนิพพานได้เลย และเพราะ

อริยมรรคนั้นไม่หน่วงเหนี่ยวพระนิพพานแล้วจะเป็นไปไม่ได้. อนึ่ง พรหม-

จรรย์นั้นชื่อว่า นิพฺพาโนคธคามิ เพราะเป็นเหตุให้บรรลุพระนิพพานนั้น

โดยส่วนเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นิพฺพาโนคธคามิน ได้แก่ เป็นเหตุ

ให้ถึงภายในแห่งพระนิพพาน. อธิบายว่า มรรคพรหมจรรย์กระทำพระนิพพาน

ให้เป็นอารมณ์ แล้วจึงเป็นไป คือเป็นไปทั่วในภายในพระนิพพานนั้นนั่นเอง

บทว่า มหตฺเถหิ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีตนใหญ่ คือมี

อัธยาศัยยิ่ง. พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่า เป็นผู้แสวงหาคุณ

อันใหญ่ เพราะเสาะแสวงหาพระนิพพานใหญ่ หรือขันธ์มีศีลขันธ์เป็นต้น

อันใหญ่. พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ทรงดำเนินไปแล้ว คือปฏิบัติแล้ว

บทว่า ยถา พุทฺเธน เทสิต ความว่า ชนเหล่าใดปฏิบัติมรรค-

พรหมจรรย์นั้น และศาสนพรหมจรรย์อันมีประโยชน์นั้น โดยอาการที่เราผู้

เป็นสัมมาสัมพุทธะแสดงธรรม มีอภิไญยธรรม (ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง) เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 218

โดยความเป็นอภิไญยธรรมเป็นต้นนั่นแล ชนเหล่านั้นเป็นผู้กระทำตามคำ

สั่งสอน คือกระทำตามโอวาทของเราผู้เป็นศาสดา ผู้พร่ำสอนด้วยประโยชน์

ปัจจุบัน และสัมปรายภพตามสมควร จักกระทำที่สุด คือ ความเป็นไปไม่ได้

แห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น หรือจักกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน อันเป็นที่สุดแห่ง

ทุกข์ได้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาปฐมนกุหนาสูตรที่ ๘

๙. ทุติยนกุหนาสูตร

ว่าด้วยพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร

[๒๑๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะ

หลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์

คือ ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติด้วยคิดว่า ชนจงรู้

จักเราด้วยอาการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุอยู่

ประพฤติเพื่อความรู้ยิ่ง และเพื่อกำหนดรู้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้

ทรงแสดงพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร

อันเป็นเหตุให้ถึงฝั่ง คือ นิพพาน เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 219

ความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ ทางนี้ พระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายผู้มีประโยชน์นี้ใหญ่ ผู้แสวงหา

คุณใหญ่ ทรงดำเนินไปแล้ว ชนเหล่าใด ๆ

ย่อมปฏิบัติพรหมจรรย์นั้น ตามที่พระ-

พุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ชนเหล่านั้น ๆ

ผู้กระทำตามคำสั่งสอนของพระศาสดา

จักกระทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทุติยนกุหนาสูตรที่ ๙

อรรถกถาทุติยนกุหนาสูตร

ในทุติยนกุหนาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิญฺตฺถ ได้แก่ เพื่อความรู้ธรรมทั้งปวง โดยจำแนกมี

กุศลเป็นต้น และโดยจำแนกมีขันธ์เป็นต้น โดยไม่วิปริตด้วยความรู้อันวิเศษยิ่ง.

บทว่า ปริญฺตฺถ ได้แก่ เพื่อกำหนดรู้และเพื่อก้าวล่วงธรรมอันเป็นไปใน

ภูมิ ๓ โดยนัยมีอาทิว่า อิท ทุกฺข นี้เป็นทุกข์ ดังนี้.

ในบทนั้น ความรู้ยิ่งในสิ่งที่ควรรู้ยิ่ง เป็นวิสัยของอริยสัจ ๔. ก็การ

รู้รอบ คือ การกำหนดรู้. ผิว่า การกำหนดรู้เป็นวิสัยของทุกข์สัจไซร้

พรหมจรรย์เว้นจากการตรัสรู้ด้วยปหานะ สัจฉิกิริยา และภาวนาย่อมเป็นไป

ไม่ได้. พึงทราบว่า ในที่นี้ท่านประสงค์เอาปหานะเป็นต้น. บทที่เหลือมีเนื้อ

ความได้กล่าวไว้แล้วในสูตรตามลำดับ.

จบอรรถกถาทุติยนกุหนาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 220

๑๐. โสมนัสสสูตร

ว่าด้วยธรรม ๒ อย่าง ในถึงความสิ้นทุกข์

[๒๑๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสเเล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ เป็นผู้

มากไปด้วยสุขแลโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน เป็นผู้ปรารภความเพียรแล้วโดยแยบคาย

เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ความ

สังเวชในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช ๑ ความเพียรโดยแยบคายแห่ง

บุคคลผู้สังเวช ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ

นี้แล เป็นผู้มากไปด้วยสุขและโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน เป็นผู้ปรารภความเพียร

แล้วโดยแยบคาย เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีความเพียร มี

ปัญญาเครื่องรักษาตน พิจารณาโดยชอบ

แล้วด้วยปัญญา พึงสังเวชในฐานะเป็นที่

ตั้งแห่งความสังเวชทีเดียว ภิกษุผู้มีปกติ

อยู่อย่างนี้ มีความเพียร มีความประพฤติ

สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน หมั่นประกอบอุบายเป็น

เครื่องสงบใจ พึงถึงควานสิ้นไปแห่งทุกข์ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 221

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบโสมนัสสสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๑

อรรถกถาโสมนัสสสูตร

ในโสมนัสสสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า สุขโสมนสฺสพหุโล นี้มีอธิบายดังนี้ บทว่า สุข

ได้แก่ สุขทางกาย. บทว่า โสมนสฺส ได้แก่ สุขทางใจ เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ผู้ที่มีสุขทางกาย และสุขทางใจ เป็นไปเนือง ๆ ว่า เป็นผู้มาก

ไปด้วยความสุขและโสมนัส.

บทว่า โยนิ ได้แก่ กำเนิด มาแล้วในบทมีอาทิว่า จตสฺโส

โข อิมา สารีปุตต โยนิโย ดูก่อนสารีบุตร กำเนิด ๔ เหล่านี้แล.

ได้แก่ เหตุในบทมีอาทิว่า โยนิ เหสา ภูมิ จ ผลสฺส อธิคมาย ก็

และภูมินี้เป็นเหตุเพื่อบรรลุผล ดังนี้. และได้แก่ ช่องคลอด ในบทมีอาทิว่า

น จาห พฺราหฺมณ พฺรูมิ โยนิช มตฺติสมฺภว เตเมน กมฺมชวาตา

นิพฺพตฺติตฺวา อุทฺธปาท อโธสิร สมฺปริวตฺติตฺวา มาตุ โยนิมุเข

สมฺปฏิปาเทนฺติ เราไม่กล่าวผู้ที่เกิดจากช่องคลอด มีมารดาเป็นแดนเกิด ว่า

เป็นพราหมณ์ ลมกรรมชวาต (ลมเบ่ง) เกิดขึ้นกลับเด็กนั้นให้มีเท้าขึ้น ให้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 222

หัวลง แล้วให้ตกไปในช่องคลอดของมารดา. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์เอาเหตุ.

บทว่า อสฺส แปลว่า โดย. บทว่า อารทฺธา ได้แก่ ตั้งไว้ ประคองไว้

หรือให้สำเร็จบริบูรณ์.

ในบทว่า อาสวาน ขยาย นี้ ชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลออก.

ท่านอธิบายว่า อาสวะทั้งหลายไหล คือ ซ่านออกจากตาบ้าง จากใจบ้าง.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลจากธรรมถึงโคตรภู จากโอกาสถึง

ภวัคคพรหม. อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายกระทำโอกาสนั้นในธรรมเหล่านั้น ไว้

ในภายในเป็นไปอยู่. อาการนี้มีความว่า ทำไว้ในภายใน. ชื่อว่า อาสวะ เพราะ

อรรถว่า หมักไว้นาน ดุจเครื่องดองมีน้ำหวานเป็นต้นบ้าง. น้ำหวานเป็นต้น

ที่ชาวโลกหมักไว้นาน เรียกว่า อาสวะ. ก็กิเลสเหล่านี้ควรเป็นอาสวะ เพราะ

อรรถว่า หมักหมมไว้นาน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้มีอาทิว่า ปุริมา

ภิกฺขเว โกฏิ น ปญฺายติ อวิชฺชาย อิโต ปุพฺเพ อวิชฺชา นาโหสิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เบื้องต้นที่สุดของอวิชชา ย่อมไม่ปรากฏ อวิชชามิได้

มีแล้วก่อนจากนี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลไปแล่นไปสู่สัง-

สารทุกข์อันกว้างขวาง. ก็ในที่นี้ไม่มีคำพูดมาก่อน กิเลสทั้งหลาย ย่อมประกอบ

ไว้ในที่ที่พูดถึงอาสวะ. คำหลัง ย่อมประกอบไว้แม้ในกรรม. อนึ่ง อาสวะ

ทั้งหลายหาใช่เป็นกรรมและกิเลสโดยสิ้นเชิงไม่. แม้อันตรายมีประการต่าง ๆ

ก็เป็นอาสวะด้วยแท้. ด้วยว่า อาสวะอันมาในอภิธรรมมี ๔ อย่าง คือ

กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ ทิฏฐาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ เพราะฉะนั้น กิเลส

ทั้งหลายมีกามราคะเป็นต้น ก็เป็นอาสวะ. แม้ในพระสูตรท่านก็กล่าวถึงกรรม

เป็นไปในภูม ๓ และอกุศลธรรมที่เหลือไว้ในที่นี้ว่า นาห จุนฺท ทิฏฐฺธมฺมิ-

กามเยว อาสวาน สวราย ธมฺม เทเสมิ ดูก่อนจุนทะ เราย่อมไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 223

แสดงธรรมเพื่อความสำรวมอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบันเท่านั้น. ใน

บทนี้ว่า ทิฏฺธมฺมิกาน อาสวาน สวราย สมฺปรายิกาน ปฏิฆาตาย

เพื่อความสำร่วมอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบัน เพื่อ กำจัดอาสวะทั้งหลาย

อันเป็นไปในสัมปรายภพ ท่านแสดงถึงการเข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น ทำให้เขา

เดือดร้อน การฆ่า การจองจำเป็นต้น และอันตรายมีประการต่าง ๆ อันเป็น

ทุกข์ในอบาย. ก็อาสวะเหล่านั้นมาในวินัย ๒ อย่าง คือ เพื่อความป้องกัน

อาสวะทั้งหลายอันเป็นไปในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะทั้งหลายอันเป็นไปใน

สัมปรายภพ ๑. อาสวะมาในสัพพาสวสูตร ๓ อย่าง ในบาลีมีอาทิว่า ตโย เม

อาวุโส อาสวา กามาสโว ภวาสโว อวิชฺชาสโว ดูก่อนอาวุโส

อาสวะ ๓ อย่างเหล่านี้ คือ กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดังนี้.

ในสูตรอื่นก็อย่างนั้น. ในอภิธรรม อาสวะ ๓ รวมเป็น ๔ กับทิฏฐาสาวะ.

โดยการแสดงเพื่อให้รู้อาสวะมี ๕ อย่าง คือ อาสวะนำสัตว์ไปนรกก็มี ๑

อาสวะนำสัตว์ไปในกำเนิดเดียรัจฉานก็มี ๑ อาสวะนำสัตว์ไปเปรตวิสัยก็มี ๑

อาสวะนำสัตว์ไปสู่มนุษยโลกก็มี ๑ อาสวะนำสัตว์ไปเทวโลกก็มี ๑. แต่ในที่นี้

ท่านประสงค์เอากรรมเท่านั้นเป็นอาสวะ. ในฉักกนิบาต อาสวะมี ๖ อย่าง

โดยนัยเป็นต้นว่า อตฺถิ อาสวา สวรา ปหาตพฺพา อาสวะทั้งหลายพึงละ

เพราะการสำรวมก็มี. โดยการแสดงถึงความสำรวมอาสวะทั้งปวง อาสวะ

เหล่านั้นมี ๗ อย่าง รวมกับธรรมอันทัสสนะพึงละ. แต่ในที่นี้ โดยการแสดง

ในอภิธรรม พึงทราบว่า ท่านประสงค์เอาอาสวะ ๔.

ในบทว่า ขยาย นี้ การทำลายอาสวะทั้งหลายพร้อมด้วยรสในบทว่า

อาสวะสิ้นไป เสื่อมไป แตกไป ทำลายไป ความไม่เที่ยง ความอันตรธาน

ท่านกล่าวว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย. อาการสิ้นไป ความไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 224

ความสิ้นสุด ความไม่เกิด แห่งอาสวะทั้งหลายในบทนี้ว่า ชานโต อห

ภิกฺขเว ปสฺสโต อาสวาน ขย วทามิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อรู้

เมื่อเห็น เราย่อมกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ดังนี้ ท่านกล่าวว่า

ความสิ้นไปแห่งอาสวะ ดังนี้. อริยมรรคในคาถานี้ว่า

เสกฺขสฺส สิกฺขมานสฺส อุชุนคฺคานุสาริโน

ขยสฺมึ ปม าณ ตโต อญฺา อนนฺตรา

ญาณที่หนึ่ง ในเพราะควานสิ้นไป

ของพระเสกขะผู้ยังต้องศึกษาอยู่ ผู้ดำ-

เนินตามทางตรง จากญาณนั้น ก็รู้ทั่วถึง

เป็นลำดับไป.

ท่านกล่าวว่า ความสิ้นไปแห่งอาสวะ. กล่าวผลในบทนี้ว่า อาสวาน

ขยา สมโณ โหติ เป็นสมณะเพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย. กล่าวนิพพานใน

คาถานี้ว่า

ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจ อุชฺฌานสญฺญิโน

อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา

อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่ผู้มอง

เห็นแต่โทษของผู้อื่น มีความสำคัญใน

การเพ่งโทษเป็นนิจ เขาไกลจากความสิ้น

อาสวะ.

ก็ในสูตรนี้ ท่านกล่าวว่า อาสวาน ขยาย หมายถึงผล. อธิบายว่า

เพื่อประโยชน์แก่อรหัตผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 225

บทว่า สเวชนีเยสุ าเนสุ ได้แก่ในฐานะอันให้เกิดความสังเวช

คือ ในวัตถุอันควรสังเวช มีชาติเป็นต้น . วัตถุอันควรสังเวชเหล่านี้ คือ ชาติ

ชรา พยาธิ มรณะ อันนำไปสู่อบาย ในอดีต ในอนาคตเป็นทุกข์ มีวัฏฏะ

เป็นมูล ในปัจจุบันเป็นทุกข์มีการแสวงหาอาหารเป็นมูล ชื่อว่า ฐานะอันเป็น

ที่ตั้งแห่งความสังเวช. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบบททั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า

โลกสันนิวาส ร้อนระอุ สับสน วุ่นวาย เดินทางผิด โลกอันชรานำเข้าไป

ไม่ยั่งยืน ไม่มีที่ต้านทาน ไม่เป็นอิสระ โลกไม่มีอะไรเป็นของตน ต้องละ

สิ่งทั้งปวงไป โลกพร่องอยู่เป็นนิจ ไม่รู้จักอิ่ม เป็นทาสของตัณหา ดังนี้

ชื่อว่า ฐานะอันให้เกิดความสังเวชในที่นี้. บทว่า สเวชเนน ได้แก่ ด้วย

ความสังเวชอันได้แก่กลัวเกิดอาศัยวัตถุอันควรสังเวชมีชาติเป็นต้น. แต่โดย

อรรถ ญาณพร้อมด้วยโอตตัปปะ ชื่อว่า ความสังเวช. บทว่า สเวคสฺส

ได้แก่ เกิดความสังเวชเพราะทุกข์มีชาติเป็นต้นหลาย ๆ อย่าง นับแต่หยั่ง

ลงสู่ครรภ์เป็นต้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สเวชิต บ้าง. บทว่า โยนิโส

ปธาเนน ได้แก่ ด้วยความเพียร โดยอุบาย คือ ด้วยความเพียรชอบ. จริง

อยู่ สัมมาวายามะนั้นท่านกล่าวว่าเป็นปธาน เพราะเป็นที่ตั้งความเพียรและ

เพราะให้สำเร็จภาวนาชั้นสูงสุด ดุจผู้ที่ละอกุศลธรรมได้ บรรดากุศลธรรม

ย่อมถึงการทำภาวนาให้บริบูรณ์ฉะนั้น.

ในบทนั้น ภิกษุไม่เห็นที่ต้านทาน ที่เร้น ที่พึ่งไร ๆ ในภพเป็นต้น

ด้วยความสังเวช ไม่ติดในภพนั้น มีใจไม่เกี่ยวเกาะ และหมดความรู้สึกในอัน

ที่จะหันกลับไป เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งนั้น จึงเป็นผู้น้อมไปเพื่อนิพพาน

โน้มไปเพื่อนิพพาน โอนไปเพื่อนิพพานโดยแท้. ภิกษุนั้น เป็นผู้มากไปด้วย

โยนิโสมนสิการเพราะอาศัยกัลยาณมิตร เป็นผู้ประกอบไปด้วยอัธยาศัยอัน

บริสุทธิ์ เป็นผู้ประกอบและขวนขวายในสมถวิปัสสนา ย่อมเบื่อหน่ายใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 226

สังขารทั้งปวง ขวนขวายให้เกิดวิปัสสนา. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มากด้วยโยนิโสมนสิ-

การ เป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัยอันบริสุทธิ์ เป็นผู้ประกอบและขวนขวายใน

สมถะและวิปัสสนานี้ พึงทราบความเป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัส ในปัจจุบัน

นั้นแล. ด้วยเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ตั้งอยู่ในสมถะ เป็นผู้ประกอบและขวนขวายใน

วิปัสสนา ย่อมเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ขวนขวายให้เกิดวิปัสสนานั้น พึง

ทราบว่าเป็นผู้ปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

ในคาถาทั้งหลาย พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า สวิชฺเชเถว

ได้แก่พึงสังเวช คือ พึงทำความสลดใจนั้นเอง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

สวิชฺชิตฺวาน ก็มี. อธิบายว่า เป็นผู้มีความสลดใจตามนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ผู้มีปัญญา. อธิบายว่าได้แก่ติเหตุกปฏิสนธิ (การปฏิ-

สนธิด้วยเหตุ ๓ ประการ). บทว่า ปญฺาย สมเวกฺขิย ได้แก่ พิจารณา

สังเวควัตถุ (วัตถุอันควรให้เกิดความสังเวช) ด้วยความสลดใจโดยชอบด้วย

ปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วโดยชอบด้วยปัญญา บทที่เหลือในที่ทั้ง

ปวงมีความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาโสมนัสสสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาวรรคที่ ๑ ในทุกนิบาต

แห่งอรรถกถาอิติวุตตกะ ชื่อปรมัตถวิภาวินี ด้วยประการฉะนี้.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมภิกขุสูตร ๒. ทุติยภิกขุสูตร ๓. ปนียสูตร ๔. อตป-

นียสูตร ๕. ปฐมสีลสูตร ๖. ทุติยสีลสูตร ๗. อาตาปีสูตร ๘. ปฐมนกุ-

หนาสูตร ๙. ทุติยนกุหนาสูตร ๑๐. โสมนัสสสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 227

อิติวุตตกะ ทุกนิบาต วรรคที่ ๒

๑. วิตักกสูตร

ว่าด้วยวิตกของพระพุทธเจ้า ๒ ประการ

[๒๑๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิตก ๒ ประการ คือ เขมวิตก ๑ วิเวกวิตก ๑

ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นไปเนื่อง ๆ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระตถาคตมีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความไม่

เบียดเบียน วิตกนี้นั่นแลของพระตถาคตนั้น ผู้มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มา

ยินดี ยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียน ย่อมเป็นไปเนือง ๆ ว่าเราจะไม่เบียด

เบียนสัตว์อะไร ๆ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคงให้ลำบากด้วยการกระทำนี้ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีความสงัดเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความสงัด วิตก

นี้นั่นแลของพระตถาคตนี้ ผู้มีความสงัดเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความสงัด

ย่อมเป็นไปเนือง ๆ ว่า อกุศลเราละได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุ

นั้นแล แม้เธอทั้งหลายก็จงเป็นผู้มีความไม่เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว

ในความไม่เบียดเบียนอยู่เถิด วิตกนี้นั่นแลของเธอทั้งหลายนั้น ผู้มีความไม่

เบียดเบียนเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความไม่เบียดเบียน จักเป็นไปเนือง ๆ

ว่า เราทั้งหลายจะไม่เบียดเบียนสัตว์อะไร ๆ ผู้สะดุ้งหรือผู้มั่นคงให้ลำบาก

ด้วยการกระทำนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความสงัดเป็นที่

มายินดี ยินดีแล้วในความสงัดอยู่เถิด วิตกนี้นั่นแลของเธอทั้งหลายนั้น ผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 228

ความสงัดเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความสงัด จักเป็นไปเนือง ๆ ว่า อะไร

ชื่อว่าอกุศล อกุศลอะไร ๆ ที่เราทั้งหลายยังละไม่ได้แล้ว เราทั้งหลายจะละ

อกุศลอะไร.

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

วิตก ๒ ประการของพระตถาคตผู้

เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำมารอันผู้อื่น

ไม่พึงครอบงำได้ ย่อมเป็นไปเนื่อง ๆ

พระตถาคตผู้เป็นพระพุทธเจ้านั้นได้แสดง

เขมวิตกข้อที่ ๑ ลำดับนั้น ได้ประกาศวิเวก

วิตกข้อที่ ๒ เรากล่าวมุนีผู้บรรเทาความ

มืด ผู้ถึงฝั่ง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่หลวง

ผู้ถึงคุณอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

พึงถึง ผู้มีความชำนาญ ผู้ไม่มีอาสวะ

ผู้ข้ามวัฏทุกข์อันเป็นยาพิษ ผู้น้อมไปแล้ว

ในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา ผู้ทรงไว้ซึ่งร่าง

กายอันมีในที่สุดนั้นแลว่า ผู้ละมาร ผู้ถึง

ฝั่งแห่งชรา พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดี

มีพระจักษุรอบคอบผู้ปราศจากความโศก

ขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วย (ปัญญา)

ธรรม ย่อมพิจารณาเห็นหมู่ชนผู้ยังข้าม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 229

ความโศกไม่ได้ ผู้ถูกชาติและชราครอบ

งำ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บน

ยอดภูเขาหิน พึงเห็นหมู่ชนได้โดยรอบ

ฉะนั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบวิตักกสูตรที่ ๑

ทุกนิบาทวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาวิตักกสูตร

ในวิตักกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ตถาคตศัพท์ในบทว่า ตถาคต ภิกฺขเว นี้ ย่อมปรากฏในโวหาร

ว่าสัตว์ และสัมมาสัมพุทธะเป็นต้น. ปรากฏในโวหารว่าสัตว์ ในบทมีอาทิว่า

ตถาเหส โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา เป็นความจริงอย่างนั้น สัตว์นี้มี

ความตายเป็นเบื้องหน้า. ปรากฏในโวหารว่า สัมมาสัมพุทธะ ในบทมีอาทิว่า

ตถาคต เทวนนุสฺสปูชิต

พุทฺธ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ

ข้าพเจ้าทั้งหลายขอนอบน้อมพระ-

ตถาคต คือพระพุทธเจ้า ผู้อันเทวดาและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 230

มนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่

ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด.

ปรากฏในโวหารว่า ธรรม ในบทมีอาทิว่า

ตถาคต เทวมนุสฺสปูชิต

ธมฺม นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมพระ

ตถาคตคือพระธรรม ผู้อันเทวดาและ

มนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่

ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด.

ปรากฏในโวหารว่า สงฆ์ ในบทมีอาทิว่า

ตถาคต เทวมนุสฺสปูชิต

สฆ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหตุ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอนอบน้อมพระ-

ตถาคตคือพระสงฆ์ ผู้อันเทวดาและ

มนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี จงมีแก่

ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด.

แต่ในที่นี้ปรากฏในโวหารว่า สัมมาสัมพุทธะ. เพราะฉะนั้น ในบท

ว่า ตถาคต นี้ ท่านกล่าวถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เป็นตถาคต ด้วยเหตุ ๘

ประการ. เหตุ ๘ ประการเป็นไฉน. ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จมาเหมือน

อย่างนั้น. ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จไปเหมือนอย่างนั้น. ชื่อว่าตถาคต เพราะ

ทรงรู้ลักษณะที่แท้จริง. ชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง โดยความ

เป็นจริง. ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงเห็นความแท้จริง. ชื่อว่าตถาคต เพราะทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 231

สั่งสอนสิ่งที่แท้จริง. ชื่อว่าตถาคต เพราะทรงการทำแต่ความแท้จริง. ชื่อว่า

ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำ.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จมาเหมือนอย่าง

นั้นเป็นอย่างไร. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบำเพ็ญทานบารมี ทรงบำ-

เพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี

อธิฏฐานบารมี เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน

คือ บารมี ๑๐ เหล่านี้ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทรงบริจาคมหา-

บริจาค ๕ เหล่านี้ คือ บริจาคอวัยวะ ๑ บริจาคตน ๑ บริจาคทรัพย์ ๑

บริจาคภริยา ๑ บริจาคราชสมบัติ ๑ โดยทำนองเดียวกับที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เสด็จมาอย่างใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา

ทั้งหลาย ก็เสด็จมาอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. สมดังที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า

ยเถว โลกมฺหิ วิปสฺสิอาทโย

สพฺพญฺญุภาว มุนโย อิธาคตา

ตถา อย ส ยมุนีปิ อาคโต

ตถาคโต วุจฺจติ เตน จกฺขุมา

พระมุนีทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น

เสด็จมาสู่ความเป็นพระสัพพัญญูในโลกนี้

อย่างใด แม้พระศากยมุนีนี้ ก็เสด็จมา

เหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ จึงชื่อว่า ตถาคต.

ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาเหมือนอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ตถาคต ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 232

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะเสด็จไปเหมือนอย่าง

นั้นเป็นอย่างไร. ตอบว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น ซึ่งประสูติ

เดี๋ยวนั้น ครั้นประดิษฐานพระบาททั้งสองเสมอกันบนแผ่นดิน แล้วทรงหัน

พระพักตร์ไปทางทิศอุดร ย่างพระบาท ๗ ก้าวอย่างใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต.

สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

มุหุตฺตาชโต จ ควมฺปติ ยถา

สเมหิ ปาเทหิ ผุสี วสุนฺธร

โส วกฺกมิ สตฺต ปทานิ โคตใน

เสตว ฉตฺต อนุธารยุ มรู

คนฺตวาน โส สตฺต ปทานิ โคตโม

ทิสา วิโลเกสิ สมา สมนฺตโต

อฏฺงฺคุเปต คิรมพฺภุทีรยิ

สีโห ยถา ปุพฺพตมุทฺนิฏฺิโต

พระพุทธเจ้าพระนามว่า ควัมปติ

ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้น ทรงเหยียบแผ่นดิน

ด้วยพระบาททั้งคู่เสมอกัน ฉันใด พระ

โคดมนั้น ก็ฉันนั้น ทรงย่างพระบาทได้ ๗

ก้าว หมู่เทพพากันกั้นเศวตฉัตร ครั้นพระ-

องค์เสด็จไปได้ ๗ ก้าวแล้ว ทรงหยุด

เหลียวแลดูทิศสม่ำเสมอกันโดยรอบ ทรง

เปล่งพระวาจาประกอบด้วยองค์ ๘ เหมือน

ราชสีห์ยืนอยู่บนยอดเขาฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 233

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น จึงชื่อว่าตถาคต ด้วย

ประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงรู้ลักษณะที่แท้จริง

เป็นอย่างไร. ตอบว่า พระองค์ทรงรู้สามัญลักษณ์ พร้อมด้วยลักษณะของ

รูปธรรมและอรูปธรรมทั้งปวง จริงแท้แน่นอน คือ ทรงบรรลุด้วยญาณคติ

ตรัสรู้ไม่ผิดพลาด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. สมดังที่ท่านกล่าวว่า

สพฺเพส ปน ธมมาน สกสามญฺลกขณ

ตถเมวาคโต ยสฺมา ตสฺมา นาโถ ตถาคโต

ก็เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น

นาถะ ทรงรู้สามัญลักษณะของตน แห่ง

ธรรมทั้งปวง แท้จริงทีเดียว ฉะนั้น

พระองค์จึงชื่อว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงรู้ลักษณะที่แท้จริง

ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง

โดยความเป็นจริง เป็นอย่างไร. ตอบว่า อริยสัจ ๔ ชื่อว่า ธรรมแท้จริง.

สมดังที่ตรัสว่า จตฺตารีมานิ ภิกฺขเว ตถานิ อวิตถานิ อนญฺ-

ถานิ กตมานิ จตฺตาริ อิท ทุกฺข อริยสจฺจนฺติ ภิกฺขเว ตถาเมต

อวิตถเมต อนฺญฺกเมต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความจริงแท้แน่นอน ไม่

เป็นอย่างอื่น ๔ อย่างเหล่านี้ ๔ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ ทุกข์นี้เป็นอริยสัจ

เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น. พึงทราบความพิสดารต่อไป พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสรู้อริยสัจเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้

ยิ่งซึ่งธรรมอันแท้จริง. เพราะ คต ศัพท์ ในที่นี้มีความว่าตรัสรู้ยิ่ง. พระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 234

พระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้จริง โดยความเป็นจริง

ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงเห็นความแท้จริง

เป็นอย่างไร. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็นโดยอาการทั้งปวง

ซึ่งรูปารมณ์อันมาทางจักขุทวาร ของสัตว์ทั้งหลายหาประมาณมิได้ ในโลกธาตุ

อันไม่มีประมาณในเทวโลก พร้อมด้วยมนุษยโลก เมื่อทรงรู้ทรงเห็นอย่างนี้

ทรงจำแนกรูปารมณ์นั้น ด้วยอารมณ์น่าปรารถนาเป็นต้น หรือด้วยการได้บท

ในเพราะ ทิฏฐะ สุตะ มุตะ วิญญาตะ โดยนัยมีอาทิว่า รูปที่แสดงสีแสงอาศัย

มหาภูตรูป ๔ เป็นไปกับด้วยความกระทบกระทั่ง มีสีเขียว สีเหลืองเป็น

รูปารมณ์เป็นไฉน โดยชื่อมากมาย หรือโดย ๑๓ วาระ. หรือโดย ๕๒ นัย

เป็นความจริงแท้ทีเดียว ไม่จริงไม่มี. ในเสียงเป็นต้น อันมาทางโสตทวาร

เป็นต้น ก็มีนัยนี้. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ย ภิกฺขเว สเท-

วกสฺส โลกสฺส ฯเปฯ สเทวมนุสฺสาย ทิฏฺ สุต มุต วิญฺาต ปตฺต

ปริเยสิต อนุวิจริต มนสา ตมห ชานามิ ตมห อภิญฺาสึ ต

ตถาคตสฺส วิทิต ตถาคตสฺส อุปฏฺาสิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารู้

รู้ยิ่ง อารมณ์ที่เห็น ที่ฟัง ที่รู้ ที่รู้ยิ่ง ที่ถึง ที่แสวงหา ที่ตามเที่ยวไปของ

โลกพร้อมกับเทวโลก ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดาแลมนุษย์ ด้วยใจ อารมณ์นั้น

ตถาคตรู้แล้ว รู้ยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว แก่ตถาคต ได้ปรากฏแล้ว แก่ตถาคต. ด้วย

ประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงเห็นความแท้จริง. พึง

ทราบความหมายของบทว่า ตถาคโต ในอรรถว่า เห็นความแท้จริงในที่นี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงสั่งสอนสิ่งที่แท้จริง

เป็นอย่างไร. ตอบว่า ตลอดราตรีใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสรู้พระอนุตร-

สัมมาสัมโพธิญาณ ตลอดราตรีใด เสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ในระหว่างนี้ คำสอนมีสุตตะ เคยยะเป็นต้นใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 235

ในเวลาปริมาณ ๔๕ พรรษา ทั้งหมดนั้นบริสุทธิ์ บริบูรณ์ ย่ำยีความมัวเมาใน

ราคะเป็นต้น เป็นสิ่งจริงแท้แน่นอน เป็นเช่นเดียวกัน. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ยญฺจ จุนฺท รตฺตึ ฯเปฯ ตถาคโตติ วุจฺจติ ดูก่อนจุนทะ

ราตรีใด ตถาคตตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ราตรีใด ตถาคตปรินิพพาน

ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในระหว่างนี้ ตถาคต กล่าวพูดชี้แจงคำสอนใด

ทั้งหมดนั้นเป็นความจริงแท้ ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต.

คต ศัพท์ในที่นี้มีความว่า กล่าว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรง

สั่งสอนสิ่งที่แท้จริง. อีกอย่างหนึ่ง การกล่าว ชื่อว่า อาคท อธิบายว่า คำพูด.

พึงทราบบทสำเร็จในที่นี้ อย่างนี้ว่า ชื่อตถาคโต แปลง เป็น ในบทว่า

ตโถ อวีปริโต อาคโท อสฺส มีคำพูดจริงแท้ไม่แปรผัน.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงกระทำแต่ความแท้

จริง เป็นอย่างไร. ตอบว่า จริงอยู่ กายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมอนุโลม

ตามวาจา แม้วาจาก่อนุโลมตามกาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเป็น

ผู้พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น และทำอย่างใด พูดอย่างนั้น เมื่อพระองค์เป็นอย่างนี้

วาจาเป็นอย่างใด แม้กายก็ไป คือ เป็นไปอย่างนั้น และกายเป็นอย่างใด

แม้วาจาก็เป็นอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ยถาวาที ภิกฺขเว ตถาคโต ตถาการี ตถาวาที

อิติ ยถาวาที ตถาการี ยถาการี ตถาวาที ตสิมา ตถาคโตติ วุจฺจติ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น

เพราะตถาคตพูดอย่างใด ทำอย่างนั้น ทำอย่างใด พูดอย่างนั้น ฉะนั้นจึง

ชื่อว่า ตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อตถาคต เพราะทรงกระทำแต่ความ

แท้จริง ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อตถาคต เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำ

เป็นอย่างไร. ตอบว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำภวัคคพรหมไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 236

ในเบื้องบน ที่สุดอเวจีไว้ในเบื้องล่าง ทรงครอบงำ สรรพสัตว์ในโลกธาตุอันหา

ประมาณมิได้ในเบื้องขวาง คุณของพระองค์ชั่งหรือวัดไม่ได้ ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง

ปัญญาบ้าง วิมุตติบ้าง วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง โดยแท้จริง พระองค์อันบุคคลชั่ง

ไม่ได้ วัดไม่ได้ เป็นเทวดายิ่งกว่าเทวดา ไม่มีเทวดายิ่งกว่า เป็นท้าวสักกะยิ่ง

กว่าท้าวสักกะทั้งหลาย เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหมทั้งหลาย สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

สเทวเก ภิกฺขเว โลเก ฯเปฯ สเทวมนุสฺสาย ตถาคโต อภิภู อนภิภูโต

อญฺทตฺถุทโส วสวตฺติ ตสฺมา ตถาคโตติ วุจฺจติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตถาคต เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ไม่มีผู้ครอบงำได้ เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง ยังสัตว์ให้อยู่ใน

อำนาจ ในโลกพร้อมกับเทวโลก ฯลฯ ในหมู่สัตว์พร้อมกับเทวดาและมนุษย์

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต. นี้เป็นบทสำเร็จในข้อนั้น คำพูดก็เหมือนยา

เป็นเยื้องกรายแห่งเทศนา และเป็นการสะสมบุญ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั้นผู้มีอานุภาพมาก ทรงย่ำยีผู้กล่าวคัดค้านทั้งหมด และโลกพร้อมด้วย

เทวโลก ดุจหมอยาปราบงูด้วยยาทิพย์ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามีคำพูด

วิเศษตามที่กล่าวแล้ว จริงแท้ไม่แปรผัน ในการครอบงำชาวโลกทั้งปวง

เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ชื่อ ตถาคโต เพราะแปลง เป็น ด้วย

ประการฉะนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อ ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำ

ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ ตถาคต เพราะรู้ คือ ตรัสรู้ด้วยความแท้จริง.

อธิบายว่า ชื่อตถาคต เพราะรู้ คือ หยั่งรู้โลกทั้งสิ้นด้วยติรณปริญญาอันแท้จริง.

ชื่อตถาคต เพราะละโลกสมุทัย (ตัณหาเป็นต้นเหตุให้เกิดโลก) ด้วยปหาน-

ปริญญาอันแท้จริง. ชื่อตถาคต เพราะบรรลุโลกนิโรธ (ความดับตัณหา

เป็นเหตุให้เกิดโลก) ด้วยการทำให้แจ้งอันแท้จริง. ชื่อตถาคต เพราะทรงไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 237

คือปฏิบัติโลกนิโรธคามินีปฏิปทา (ปฏิบัติปฏิปทาให้ถึงความดับตัณหาเป็นเหตุ

ให้เกิดโลก) ด้วยภาวนาอันแท้จริง. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า โลโก

ภิกฺขเว ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺโธ ฯเปฯ ตสฺมา ตถาคโตติ วุจฺจติ ดู

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตตรัสรู้ยิ่งถึงโลก ตถาคตแยกออกจากโลกแล้ว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตตรัสรู้ยิ่งถึงโลกสมุทัย ตถาคตละโลกสมุทัยได้แล้ว ตถาคต

ตรัสรู้ยิ่งโลกนิโรธ ตถาคตทำให้แจ้งโลกนิโรธแล้ว ตถาคตตรัสรู้ยิ่งโลก-

นิโรธคามินีปฏิปทา ตถาคตเจริญโลกนิโรธคามินีปฏิปทาชัดแจ้งแล้ว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ตถาคตตรัสรู้ยิ่งถึงสิ่งทั้งปวง ของเทวโลกพร้อมด้วย

มนุษยโลกนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต ด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อ ตถาคต ด้วยเหตุอื่นอีก ๘ ประการ คือ

ชื่อตถาคต เพราะเสด็จมาเพื่อความแท้จริง. ชื่อตถาคต เพราะเสด็จไปเพื่อ

ความแท้จริง. ชื่อตถาคต เพราะทรงตรัสรู้ความจริงแท้. ชื่อตถาคต เพราะ

เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น. ชื่อตถาคต เพราะเป็นเหมือนอย่างนั้น. ชื่อตถาคต

เพราะเป็นไปเหมือนอย่างนั้น. ชื่อตถาคต เพราะไม่เสด็จไปจากความแท้จริง.

ชื่อว่าตถาคต เพราะความที่พระองค์เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะเสด็จมาเพื่อความแท้จริง

เป็นอย่างไร. ตอบว่า มหาปฏิญญาอันใด ที่พระผู้มีภาคภาคเจ้า ผู้เป็นสุเมธดาบส

ได้บำเพ็ญอภินิหารอันประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ ดังที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

อภินิหารย่อมสำเร็จ เพราะถึงพร้อม

ด้วยธรรม ๘ ประการ คือ ความเป็น

มนุษย์ ๑ ความพรั่งพร้อมด้วยเพศ ๑ เหตุ ๑

การเห็นพระศาสดา ๑ การบรรพชา ๑

การถึงพร้อมด้วยคุณ ๑ อธิการะ ๑ ความ

มีฉันทะ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 238

ดังนี้ ให้เป็นไปแล้ว ณ บาทมูลของพระทีปังกรทศพลว่าเราข้ามโลก

พร้อมทั้งเทวโลกแล้ว จักยังสัตว์ให้ข้ามบ้าง เราพ้นแล้วจักยังสัตว์ให้พ้นบ้าง

เราฝึกแล้ว จักให้สัตว์ฝึกบ้าง เราปลอดโปร่งแล้ว จักให้สัตว์ปลอดโปร่งบ้าง

เราปรินิพพานแล้ว จักให้สัตว์ปรินิพพานบ้าง ดังนี้. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

กิมฺเม เอเกน ติณฺเณน ปุริเสน ถามทสฺสินา

สพฺพญฺญุต ปาปุณิตฺวา สนฺตาเรสฺส สเทวก

อิมินา เม อธิกาเรน ปุริเสน ถามทสฺสินา

สพฺพญฺญุต ปาปุณิตฺวา ตาเรมิ ชนต พหุ

สสารโสต ฉินฺทิตฺวา วิทฺธเสตฺวา ตโย ภเว

ธมฺมนาว สมารุยฺห สนฺตาเรสฺส สเทวก

กิมฺเม อฺาตเวเสน ธมฺม กจฺจิกเตนิธ

สพฺพญฺญุต ปาปุณิติวา พุทฺโธ เหสฺส สเทวเก

เราบรรลุความเป็นพระสัพพัญญูแล้ว

ประโยชน์อะไร ด้วยเราผู้เป็นบุรุษมีกำลัง

ใจ จะข้ามไปผู้เดียว จักยังมนุษย์พร้อม

ทั้งเทวดาให้ข้ามบ้าง.

เราบรรลุความเป็นสัพพัญญูแล้ว

เป็นบุรุษมีกำลังใจด้วยกุศลของเรานี้ จะ

ให้ชนเป็นอันมากข้ามบ้าง.

เราตัดกระแสสงสารได้แล้ว กำจัด

ภพ ๓ ได้แล้ว ขึ้นสู่เรือ คือ พระธรรม

ได้แล้ว จักให้มนุษย์พร้อมด้วยเทวดาข้าม

บ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 239

เราบรรลุความเป็นพระสัพพัญญู

แล้ว ประโยชน์อะไร ด้วยเราผู้ทำให้แจ้ง

พระธรรมด้วยเพศที่ไม่มีใครรู้จัก จักเป็น

พระพุทธเจ้าในโลกนี้กับทั้งเทวโลก ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นโลกนาถ ไม่ทรงกล่าวให้ผิดมหาปฏิญญานั้น

อัน เป็นเหตุแห่งการค้นคว้าพิจารณา และสมาทานซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งธรรม

อันทำให้เป็นพระพุทธเจ้า แม้ทั้งสิ้น เพราะพระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน

มีทานบารมีเป็นต้น โดยครบบริบูรณ์เป็นลำดับ ๕ ด้วยความเคารพตลอด

อสงไขยกับแสนมหากัป ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ มีบริจาคอวัยวะเป็นต้น

ทรงเพิ่มพูนอธิฏฐาน ๔ มีสัจจาธิฏฐานเป็นต้น ทรงสั่งสมบุญสมภาร และ

ญาณสมภาร ทรงยังความเพียรในเบื้องต้น ประพฤติธรรมในเบื้องต้น ทรง

บอกธรรม และทรงประพฤติเป็นประโยชน์แก่พระญาติเป็นต้น ให้ดียิ่งขึ้น

ทรงบรรลุพุทธริยาอันเป็นที่สุดอย่างยิ่ง แล้วจึงตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพ-

ญาณ ฉะนั้น มหาปฏิญญานั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงจริงแท้ ไม่เป็น

อย่างอื่น ความไม่จริงแท้แม้เพียงปลายขนทรายย่อมไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น. จริงอย่างนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๔ พระองค์เหล่านี้ คือ

พระทีปังกรทศพล พระโกณฑัญญะ พระสุมังคละ ฯลฯ พระกัสสปะ ทรงอุบัติ

แล้วตามลำดับ ได้พยากรณ์สุเมธดาบสนั้นว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงได้รับพยากรณ์ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

๒๔ องค์อย่างนี้ ครั้นทรงได้รับอานิสงส์ที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมี

ควรได้แล้วจึงเสด็จมา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะมา คือบรรลุ

ความเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งด้วยความจริงแท้ อันเป็นมหาปฏิญญาดังที่ได้กล่าวแล้วนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อตถาคตเพราะเสด็จมาเพื่อความแท้จริงด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 240

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อตถาคต เพราะเสด็จไปเพื่อความแท้จริง

เป็นอย่างไร. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นโลกนาถทรงเห็นหมู่สัตว์ได้รับ

ทุกข์ใหญ่ และความคับแค้น ทรงตั้งพระหฤทัยว่า ไม่มีใครอื่นจะเป็นที่พึ่ง

ของหมู่สัตว์นั้นได้ เท่านั้นซึ่งพ้นแล้วจากสังสารทุกข์นี้ จักให้หมู่สัตว์นั้น

พ้นบ้าง ดังนี้ จึงได้ทรงบำเพ็ญบารมียิ่งใหญ่ ด้วยพระมหากรุณา. ก็ครั้น

ทรงบำเพ็ญแล้ว ทรงขวนขวาย เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่สัตว์โลกทั้งสิ้นตามที่

ทรงตั้งปณิธานไว้ ไม่ทรงห่วงใยร่างกาย และชีวิต ทรงบำเพ็ญทุกรจริยาที่ทำ

ได้ยากอย่างยิ่ง ให้จิตเกิดความหวาดสะดุ้ง แม้ด้วยเหตุเพียงผู้อื่นได้ยินได้ฟัง

เข้า ทรงปฏิบัติโดยประการที่การปฏิบัติของพระมหาโพธิสัตว์ทั้งหลาย อันจะ

เป็นส่วนแห่งการละ หรือจะเป็นส่วนแห่งความเศร้าหมอง หรือจะเป็นส่วน

แห่งความตั้งอยู่ ก็ไม่ใช่ ที่แท้ยังมีส่วนอันวิเศษยิ่งขึ้นไปอีก จึงทรงรวบรวม

โพธิสมภารไม่ให้มีเหลือตามลำดับ แล้วบรรลุสัมโพธิญาณอันยอดยิ่ง. แต่นั้น

ทรงคอยตักเตือนผู้อื่นด้วยพระมหากรุณานั้น ทรงละความยินดีในความสงัด

และความสุขคือความหลุดพ้นอันสงบอย่างยิ่ง ไม่ทรงคำนึงถึงความยกย่อง

ดูหมิ่นและอาการผิดปกติที่ชนเหล่านั้นทำให้เกิดขึ้นในโลกอันมากด้วยชนพาล

ทรงสำเร็จพุทธกิจไม่มีเหลือโดยการแนะนำเวไนยชน. อาการที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงเข้าถึงด้วยพระมหากรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ในพุทธกิจนั้น จักมีแจ้ง

ข้างหน้า. พระมหากรุณาในสัตว์ทั้งหลายของพระโลกนาถผู้เป็นพระพุทธเจ้า

เป็นอย่างใด แม้ของท่านผู้เป็นพระโพธิสัตว์ก็เป็นอย่างนั้น เป็นของแท้จริง

ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะเป็นเช่นเดียวกันในสูตรทั้งปวง มีมหาภินิหารกาลสูตร

เป็นต้น และโดยประการทั้งปวง เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อ

ตถาคต เพราะเสด็จไป คือ ดำเนินไปเพื่อประโยชน์แก่โลกทั้งสิ้น ด้วยพระ-

มหากรุณาอันแท้จริง มีรสเสมอกันในสรรพสัตว์อันไม่มีกำหนดแม้ ๓. พระผู้-

มีพระภาคเจ้าชื่อตถาคต เพราะเสด็จไปเพื่อความแท้จริง ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 241

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคตเพราะตรัสรู้ความแท้จริง

เป็นอย่างไร. ตอบว่า อริยมรรคญาณ ๔ ชื่อว่า ความแท้จริง. จริงอยู่

อริยมรรคญาณเหล่านั้น ชื่อว่า แท้จริง ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่ผิดสภาวะ

และลักษณะพร้อมด้วยรส ของอริยสัจ ๔ อันเป็นเหตุแห่งความเป็นไป การ

กลับไปและทั้งสองอย่างนั้น รวบรวมธรรมที่ควรรู้ไว้ทั้งหมดอย่างนี้ว่า นี้ทุกข์

นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ และของ

ธรรมทั้งหลายเพื่อความเป็นไปโดยอาการไม่วิปริต อันได้แก่การไม่ลุ่มหลง

และการตรัสรู้ในอริยมรรคญาณนั้น ซึ่งได้ด้วยการตัดขาดฝ่ายที่เศร้าหมอง

ตรัสรู้ผูกพันสภาวะตามเป็นจริง อันมีวิภาคแห่งอริยมรรคญาณนั้นเป็นต้นว่า

ทุกข์ มีการเบียดเบียน ปรุงแต่ง เผา แปรปรวน เป็นอรรถ สมุทัย มีการ

ขวนขวายเป็นเหตุ พัวพัน ห่วงใยเป็นอรรถ นิโรธ เป็นเครื่องสลัดออก สงัด

จากกิเลส ไม่ปรุงแต่งอมตะเป็นอรรถ มรรค นำออกไป เป็นเหตุ เป็นทัสสนะ

เป็นอธิบดี เป็นอรรถดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีผู้อื่นแนะนำ ทรงรู้คือ

บรรลุ อริยมรรคญาณเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ความแท้จริง.

มรรคญาณควรให้แจ่มแจ้งด้วยประการใด อัปปฏิหตญาณ (ญาณที่ไม่-

มีอะไรกระทบได้ ) จตุปฏิสัมภิทาญาณ (ญาณคือปฏิสัมภิทา ๔ ) จตุเวสารัชช-

ญาณ(ญาณคือเวสารัชชธรรม ๔ ) ปัญจคติปริจเฉทญาณ (ญาณคือกำหนดคติ ๕)

ฉ อสาธารณญาณ (ญาณคืออสาธารณะ ๖ ) สัตตโพชฌังควิภาวนญาณ (ญาณ-

คือทำให้แจ้งซึ่งโพชฌงค์ ๗) อัฎฐมัคคังควิภาวนญาณ ญาณคือทำให้แจ้ง

ซึ่งองค์แห่งมรรค ๘) นวานุปุพวิหารสมาปัตติญาณ ( ญาณ คือการเข้าอนุปุพ-

วิหาร ๙ ) และ ทศพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต ๑๐) ของพระผู้-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 242

มีพระภาคเจ้า ควรให้แจ่มแจ้งในกาล ๓. ในมรรคญาณนั้นควรรู้อย่างใด

อย่างหนึ่ง มีสภาวกิจเป็นต้น มีที่อยู่วิเศษเป็นต้นและมีนามและโคตรอัน

เนื่องด้วยขันธ์เป็นต้น ในขันธ์ธาตุอายตนะที่เป็นอดีตอันแตกต่างกันมีเลวเป็น

ต้นของสัตว์ผู้แตกต่างกันมีความเลวเป็นต้น อันไม่มีประมาณในโลกธาตุอันไม่

มีประมาณ. อนึ่ง พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ข้องไม่มีอะไรกระทบ

แล้ว ในความวิเศษมี วรรณ สันฐานกลิ่นรสและผัสสะเป็นต้นของรูปธรรม

อันเกิดขึ้นเพราะปัจจัยนั้น ๆ ในรูปธรรมทั้งหลายอันละเอียดยิ่ง ตั้งอยู่ภายใน

และอยู่ไกล อันเนื่องด้วยอนินทรีย์ ย่อมเป็นไปโดยประจักษ์ในที่ทั้งปวงดุจ

มะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ. ญาณเหล่านี้ คือ ญาณในอนาคตและปัจจุบันก็

เหมือนอย่างนั้น ชื่อว่า อัปปฏิหตญาณในกาล ๓. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่า

อัปปฏิหตญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะในส่วนอดีต อนาคต ปัจจุบัน.

ก็ญาณเหล่านั้น ชื่อว่า จริงแท้ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่ผิดไปจากสภาวลักษณะ

พร้อมด้วยรสแห่งธรรมทั้งหลายในญาณนั้น ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุ

ญาณเหล่านั้นด้วยสยัมภูญาณ จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงรู้ความจริงแท้

ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ปฏิสัมภิทามี ๘ อย่างคือ อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉาน-

ในอรรถ) ๑ ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม) ๑ นิรุตติปฏิสัมภิทา

(ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ ๑ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา(ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ) ๑.

ในปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ญาณอันเป็นประเภทในอรรถเพื่อสามารถทำให้

แจ้งและกำหนดพร้อมด้วยลักษณะของประเภทแห่งอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัม-

ภิทา ญาณอันเป็นในธรรมเพื่อสามารถทำให้แจ้ง และกำหนดพร้อมด้วย

ลักษณะแห่งประเภทของธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ญาณอันเป็นไปในการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 243

เข้าใจภาษา (เข้าใจพูด) เพื่อสามารถทำให้แจ้งและกำหนดพร้อมด้วยลักษณะ

ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ญาณอันเป็นไปในปฏิภาณ (ความเฉียบแหลม)

เพื่อสามารถทำให้แจ้งและกำหนดพร้อมด้วยลักษณะ แห่งประเภทของปฏิภาณ

ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ความรู้

ในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้ในอรรถ ในธรรม ในการเข้าใจภาษา ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ความ

รู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ก็ในอัตถปฏิสัมภิทานี้โดยย่อ

ผลของเหตุชื่อว่า อรรถ เพราะไม่มีทุกข์และเพราะควรถึงอย่างยิ่ง. แต่โดย

ประเภท ธรรม ๕ อย่างเหล่านี้ คือ สิ่งใด ๆ ที่อาศัยปัจจัยเกิดขึ้น ๑ ความ

ดับกิเลส ๑ คำพูดที่มีประโยชน์ ๑ วิบาก ๑ กิริยา ๑ ชื่อว่า อรรถ. ญาณ

อันเป็นประเภทในอรรถนั้นของผู้พิจารณาอรรถนั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.

โดยย่อ ปัจจัยชื่อว่า ธรรม. เพราะปัจจัยนั้นย่อมจัด. ย่อมให้ประพฤติและย่อมให้

บรรลุถึงประโยชน์นั้น ๆ ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ธรรม. แต่โดยประเภท ธรรม

๕ อย่างเหล่านี้คือ ความเกิดแห่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑ เหตุ ๑ อริยมรรค ๑

คำที่เป็นภาษิต ๑ กุศล ๑ ชื่อว่า ธรรม. ญาณอันเป็นประเภทในธรรมนั้นของ

ผู้พิจารณาธรรมนั้นชื่อ ธัมมปฏิสัมภิทา. แม้ข้อนี้ท่านก็กล่าวไว้ว่า ความรู้ใน

ทุกข์ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกข์สมุทัย ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้ในทุกขนิโรธ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้ในผลของเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว เจริญ

แล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว ความรู้ใน

ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น เกิดแล้ว เจริญแล้ว

เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดยิ่งแล้วจากธรรมใด ความรู้ในธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 244

นั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในชราและมรณะ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา

ความรู้ในเหตุเกิดชราและมรณะ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการดับ

ชราและมรณะ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในปฏิปทาให้ถึงความดับชรา

และมรณะ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในชาติ ในภพ ในอุปทาน

ในตัณหา ในเวทนา ในผัสสะ ในสฬายตตนะ. ในนามรูป ในวิญญาณ ใน

สังขารทั้งหลาย ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้ในเหตุเกิดสังขารชื่อว่า

ธัมมปฏิสัมภิทา ความรู้ในการดับสังขาร ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา ความรู้

ในปฏิปทาให้ถึงความดับสังขาร ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมรู้ธรรมคือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ นี้ท่าน

เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา ภิกษุนั้นย่อมรู้ความแห่งภาษิตนั้น ๆ ว่านี้เป็น

ความแห่งภาษิตนี้ ดังนี้ ท่านเรียกว่า อัตถปฏิสัมภิทา กุศลธรรมทั้งหลาย

เป็นไฉน คือ สมัยใด กามาวจรกุศลจิต ปรารภ รูปารมณ์ ฯลฯ ธัมมารมณ์

สหรคตด้วยโสมนัส สัมปยุตด้วยญาณเกิดขึ้นแล้ว สมัยนั้น ธรรมเป็นผัสสะ

ไม่ฟุ้งซ่าน ฯลฯ ความรู้ในกุศลธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา

ความรู้ในวิบากของกุศลธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา เป็นอาทิ.

พึงทราบความพิสดารต่อไป.

ภาษาตามสภาพ คือ คำพูดที่เป็นจริง ในอรรถและในธรรมนั้น

ความรู้อันเป็นประเภทของภาษาถิ่นของสัตว์ทั้งปวง ในการพูดภาษาตามสภาพ

โดยภาษามคธว่า นี้เป็นภาษาตามสภาพ นี้มิใช่ภาษาตามสภาพดังนี้ ชื่อว่า

นิรุตติปฏิสัมภิทา. ความรู้ในญาณของผู้พิจารณากระทำญาณ แม้ทั้งหมด

อันเป็นไปแล้วโดยพิสดารด้วยโคจรกิจ (ธรรมเป็นอารมณ์) ในญาณเหล่านั้น

ตามที่กล่าวแล้วให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ปฏิสัมภิทาญาณ

๔ เหล่านี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุด้วยพระองค์เองจึงเป็นสิ่งจริงแท้

แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่เป็นไปในอาการวิปริต โดยไม่ผิดในวิสัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 245

ของตนนั้น ๆ มีอรรถและธรรมเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต

เพราะทรงรู้ความแท้จริง แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ ทรงเห็น ทรงบรรลุ ตรัสรู้ยิ่งถึงข้อ

ควรแนะนำทั้งปวงนั้น โดยอาการทั้งหมด. จริงดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสรู้อภิไญยธรรม เพราะเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ตรัสรู้ปริไญยธรรมเพราะ

เป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ตรัสรู้ปหาตัพพธรรม เพราะเป็นธรรมที่ควรละ

ตรัสรู้สัจฉิกาตัพพธรรม เพราะเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ตรัสรู้ภาเวตัพพธรรม

เพราะเป็นธรรมที่ควรทำให้เจริญ โดยที่สมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา

มารพรหมไร ๆ ไม่สามารถจะท้วงพระองค์ ด้วยความเป็นธรรมได้ว่า ธรรม

เหล่านั้นพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ได้ตรัสรู้ ดังนี้.

ชื่อปหาตัพพธรรม ได้แก่ อนุปปัตติธรรมทั้งปวง ซึ่งพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงละได้แล้ว ณ โคนต้นโพธิ์ โดยไม่มีเหลือ ไม่มีกิจที่จะต้องทำ

ยิ่งกว่า เพื่อละปหาตัพพธรรมนั้นอีก. จริงดังนั้น กิเลสพันครึ่ง อันต่างด้วย

โลภะ โทสะ โมหะ การใส่ใจวิปริต ความไม่ละอายใจ ความไม่กลัวบาป

ความง่วงเหงาหาวนอน ความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ การตีเสมอ

ความริษยา ความตระหนี่ เจ้าเล่ห์ โอ้อวด หัวดื้อ แข่งดี ถือตัว ดูหมิ่นท่าน

มัวเมา เลินเล่อ อกุศลมูล ๓ ทุจริต ความจำผิด ๆ มลทิน วิตก ความ

หลอกลวง การแสวงหา ตัณหา การแสวงหาผิด ๔ อย่าง อาสวะ เครื่องร้อยรัด

โอฆะ โยคะ (กิเลสเครื่องผูก) อคติ การยึดถือเพราะตัณหา นิวรณ์ ๕

ความเสื่อมเสียทางใจ การผูกพันทางใจ เหตุแห่งวิวาท ๖ อนุสัย (กิเลส

นอนเนืองอยู่ในสันดาน) ๗ มิจฉัตตะ ๘ อาฆาตวัตถุ (วัตถุทำให้อาฆาต) ๙

รากเง้าตัณหา อกุศลกรรมบถ ๑๐ การแสวงหาไม่สมควร ๒๑ ทิฏฐิ ๖๒

ตัณหาวิปริต ๑๐๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละ ทรงตัดขาด ทรงถอนได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 246

พร้อมด้วยวาสนา โดยที่สมณะ ฯลฯ หรือพรหมไร ๆ ไม่สามารถท้วง

พระองค์ ด้วยความเป็นธรรมได้ว่า กิเลสเหล่านี้พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงละ

ไม่ได้ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงอันตรายิกธรรม อันต่างด้วยกรรมวิบาก

กิเลส การกล่าวโทษ การล่วงละเมิดอาชญา ว่าควรเพื่ออันตรายโดยส่วน-

เดียว โดยที่สมณะ ฯลฯ หรือพรหมไร ๆ ไม่สามารถท้วงพระองค์ได้ว่า

อันตรายิกธรรมเหล่านั้นไม่ควรเพื่ออันตรายโดยการเสพ. อนึ่ง พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์อย่างเยี่ยม มีอริยมรรคเป็น

อันดับแรก มี ๗ ส่วน เป็น ๓๗ ประเภท สงเคราะห์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา

เพื่อความสลัดออกจากวัฏทุกข์โดยไม่เหลือ ธรรมนั้นย่อมนำผู้ปฏิบัติออกจากวัฏ-

ทุกข์ โดยส่วนเดียว โดยที่สมณะหรือพราหมณ์ ฯลฯ หรือพรหมไร ๆ ไม่สามารถ

ท้วงพระองค์ โดยความเป็นธรรมได้ว่า ธรรมเครื่องนำออกจากทุกข์ที่พระ-

องค์ทรงแสดงไม่นำออกจริง ดังนี้. ดังที่มีผู้กล่าวว่า เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงรู้ธรรมเหล่านั้น พระองค์มิได้ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้ จริงดังนี้. พึงทราบ

ความพิสดารต่อไป. จตุเวสารัชชญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นไปแล้ว

โดยอาการไม่วิปริต เพราะตรัสรู้ความจริงแท้ ของความวิเศษแห่งญาณปหานะ

และเทศนาของพระองค์ ชื่อว่า จริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงรู้ความจริงแท้ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง คติมี ๕ อย่าง คือ นิรยคติ ๑ ติรัจฉานคติ ๑ เปตคติ ๑

มนุษยคติ ๑ เทวคติ ๑. ในคติ ๕ อย่างนั้น คติทั้งหมดนี้ คือ มหานรก

๘ ขุม มีสัญชีวนรกเป็นต้น อุสสทนรก ๑๖ ขุม มีกุกกุลนรก เป็นต้น และ

โลกันตนรก ชื่อว่านรก เพราะไม่มีความชื่นใจ มีแต่ทุกข์โดยส่วนเดียว และ

ชื่อว่าคติ เพราะต้องไปด้วยกรรมของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่านิรยคติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 247

แม้สีตนรกซึ่งมืดตื้อ ก็รวมอยู่ภายในนรกเหล่านั้น. สัตว์ทั้งหลายมีหนอน แมลง

ตั๊กแตน งู นก สุนัขบ้านและสุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ชื่อติรัจฉาน เพราะเป็น

สัตว์ไปขวาง. ชื่อติรัจฉานคติ เพราะไปสู่ความเป็นเดียรัจฉานนั่นเอง. ชื่อว่า

เปตะ เพราะเปรตทั้งหลาย มีปรทัตตูปชีวิเปรต และนิชฌามตัณหิกเปรต

เป็นต้น มีแต่ความหิวกระหายไป คือ ปราศจากความสุขสบาย มากไปด้วย

ความทุกข์. ชื่อว่า เปตคติ เพราะไปสู่ความเป็นเปรตนั่นเอง. แม้พวกอสูร

มีกัญชิกาสูรเป็นต้น ก็อยู่ภายในเปรตเหล่านั้น.

ผู้อยู่ในมหาทวีป ๔ มีชมพุทวีปเป็นต้น กับผู้อยู่ในทวีปเล็ก ๆ ชื่อว่า

มนุษย์ เพราะเป็นผู้มีใจสูง. ชื่อว่ามนุษยคติ เพราะไปสู่ความเป็นมนุษย์นั่นเอง.

หมู่เทพ ๒๖ เหล่านี้ คือ ตั้งแต่เทพชั้นจาตุมมหาราชิกา จนถึงเทพ

ผู้ได้เนวสัญญานาสัญญายตนะ ย่อมเพลิดเพลิน คือเล่นกีฬา และรุ่งเรื่อง

ด้วยฤทธานุภาพของตน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เทวะ. ชื่อว่า เทวคติ เพราะ

ไปสู่ความเป็นเทวดานั่นเอง.

ก็คติเหล่านี้ เพราะความต่างกันของอุบัติภพ อันเกิดด้วยกรรมวัฏฏะ

(ความหมุนเวียนแห่งกรรม) นั้น ๆ ฉะนั้น โดยเนื้อความได้แก่ วิบากขันธ์

และกฏัตตารูป (รูปเกิดแต่กรรม).

ในคตินั้น ญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเป็นไปโดยฐานะ โดยเหตุ

ด้วยอำนาจเหตุผล การจำแนก และการกำหนดตามความสามารถว่า คติชื่อนี้

ย่อมเกิดด้วยกรรมชื่อนี้. หมู่สัตว์เหล่านี้แตกต่างกัน โดยการจำแนกอย่างนี้

เป็นส่วนหนึ่ง เพราะกรรมนั้นแตกต่างกัน โดยการจำแนกอย่างนี้ ด้วยความ

ต่างของปัจจัย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ปญฺจ

โข อิมา สารีปุตฺต ฯเปฯ ตญฺจ ปชานามิ ความว่า ดูก่อนสารีบุตร

คติ ๕ เหล่านี้แล คติ ๕ เป็นไฉน คติ ๕ คือ นรก ๑ กำเนิดเดียรัจฉาน ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 248

เปรตวิสัย ๑ มนุษย์ ๑ เทวดา ๑ ดูก่อนสารีบุตร เรารู้นรก เหตุที่สัตว์ไป

สู่นรก และทางปฏิบัติให้สัตว์ไปสู่นรก เรารู้ถึงผู้ปฏิบัติตายไปแล้ว จะต้อง

เข้าถึงบาย ทุคติ วินิบาต นรกด้วย. ก็ญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านี้

ข้อว่า เป็นญาณจริงแต่แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่ผิดพลาดด้วยความ

เป็นไปแห่งอาการวิปริตในวิสัยนั้น ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต

เพราะตรัสรู้ความจริงแท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง การประกาศความต่างกัน มีความเป็นผู้มีธุลี คือ กิเลสน้อย

เละธุลีคือกิเลสมากเป็นต้น ด้วยการตรัสรู้ถึงความขาดแคลน แห่งโยคะมีศรัทธา

เป็นต้นของสัตว์ทั้งหลาย เป็นไปแล้วโดยอาการ ๕๐ นั้นเป็นพระปรีชากำหนด

รู้ถึงความหย่อนและยิ่งของอินทรีย์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. สมดังที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า บุคคลผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีธุลีคือกิเลสน้อย บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มี

ธุลีคือกิเลสมาก ดังนี้.

พึงทราบความพิสดารต่อไปนี้. อัธยาศัยเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลาย

โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลนี้มีธุลีคือกิเลสน้อย บุคคลนี้เป็นสัสสตทิฏฐิ บุคคลนี้

เป็นอุจเฉททิฏฐิ บุคคลนี้ตั้งอยู่ในขันติอันเป็นอนุโลม (ผ่อนผัน) บุคคลนี้

ตั้งอยู่ในยถาภูตญาณ (กำหนดรู้ตามความเป็นจริง) บุคคลนี้เป็นกามาสยะ

(มีอัธยาศัยไปในกาม) บุคคลนี้ไม่มีอัธยาศัยไปในเนกขัมมะเป็นต้น บุคคลนี้

เป็นเนกขัมมาสยะ (มีอัธยาศัยมุ่งไปในการออกจากกาม) บุคคลนี้ไม่มีอัธยาศัย

ไปในกามเป็นต้น และโดยนัยมีอาทิว่า กามราคะของบุคคลนี้จัดมาก แต่ไม่

มีปฏิฆะ (ความคับแค้น) เป็นต้น ปฏิฆะของบุคคลนี้แรงมาก แต่ไม่มีกามราคะ

เป็นต้น บุญญาภิสังขาร (สภาพตกแต่งบุญ) ของบุคคลนี้ยิ่ง อปุญญาภิสังขาร

(สภาพตกแต่งบาป) อเนญชาภิสังขาร (สภาพตกแต่งความไม่หวั่นไหว) ไม่ยิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 249

อปุญญาภิสังขาร ของบุคคลนี้ยิ่ง บุญญาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ไม่ยิ่ง

อเนญชาภิสังขารของบุคคลนี้ยิ่ง บุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร ไม่ยิ่ง

กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริตของบุคคลนี้ยิ่ง บุคคลนี้น้อมไปในความเลว

บุคคลนี้น้อมไปในความประณีต บุคคลนี้ประกอบด้วยอาวรณกรรม บุคคลนี้

ประกอบด้วยอาวรณกิเลส บุคคลนี้ประกอบด้วยอาวรณวิบาก บุคคลนี้ไม่

ประกอบด้วยอาวรณกรรม บุคคลนี้ไม่ประกอบด้วยอาวรณกิเลส บุคคลนี้ไม่

ประกอบด้วยอาวรณวิบาก นั้น เป็นอาสยานุสยญาณ (ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัย

และกิเลสอันนอนเนืองอยู่ในสันดาน) ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นไปแล้วโดย

อาการ ประกาศให้แจ้งตามความเป็นจริง.

พระบาลีมีอาทิว่า อิธ ตถาคโต สตฺตาน อาสย ชานาติ

อนุสย ชานาติ จริต ชานาติ อธิมุตฺตึ ชานาติ ภพฺพาภพฺเพ

สตฺเต ชานาติ ความว่า พระตถาคตในศาสนานี้ ทรงรู้อัธยาศัย ทรงรู้

กิเลสอันนอนเนืองในสันดาน ทรงรู้จริต ทรงรู้อธิมุตติ (ความมุ่งหมาย)

ของสัตว์ทั้งหลาย ทรงรู้ภัพสัตว์ และอภัพสัตว์ทั้งหลาย ท่านกล่าวหมายถึง

อาสยานุสยญาณ. ยมกปาฏิหาริยญาณ ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีการกระทำ

หลายอย่าง และการเนรมิตด้วยฤทธิ์อันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น ปรากฏเป็นกองไฟ

และท่อน้ำ ออกจากพระวรกายเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องหน้า และเบื้องหลัง

จากพระเนตรขวาซ้าย จากพระกรรณ พระนาสิก จะงอยพระอังสา พระปรัศว์

พระหัตถ์และพระบาท และจากขุมพระโลมาในระหว่างนิ้วพระหัตถ์ และ

พระบาท. พระบาลีมีอาทิว่า อิธ ตถาคโต ยมกปาฏิหาริย กโรติ ฯเปฯ

อุทกธารา ปวตฺตติ ความว่า พระตถาคตในศาสนานี้ ทรงการทำยมก-

ปาฏิหาริย์ อันไม่ทั่วไปด้วยสาวกทั้งหลาย กองไฟพลุ่งขึ้นจากพระวรกาย

เบื้องบน ท่อน้ำพุ่งจากพระวรกายเบื้องล่าง กองไฟพลุ่งขึ้นจากพระวรกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 250

เบื้องล่าง ท่อน้ำพุ่งจากพระวรกายเบื้องบน ดังนี้ ท่านกล่าวหมายถึง

ยมกปาฏิหาริย์.

ญาณคือพระมหากรุณาสมาบัติ อันเป็นปัจจัยหยั่งลงสู่พระมหากรุณา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นไปแล้วโดยนัยต่าง ๆ ด้วยมีพระประสงค์จะนำ

หมู่สัตว์ ซึ่งถูกทุกข์และธรรมมากมายมีราคะและชาติเป็นต้น เบียดเบียนออกไป

จากทุกข์และธรรมนั้น. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวว่าญาณคือพระมหากรุณาสมาบัติ

ของพระตถาคตเป็นไฉน ท่านได้จำแนกไว้โดยอาการ ๘๙ อย่าง โดยนัยมีอาทิ

ว่าพระมหากรุณาหยั่งลงในสัตว์ทั้งหลาย ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะ

ทรงเห็นด้วยอาการมาก. พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น

เป็นไปต่อเนื่อง เพียงทรงหวังเพื่อสามารถให้รู้ถึงธรรมธาตุเพียงใด สังขตธรรม

และอสังขตธรรมเป็นต้นเพียงใด ทั้งหมดนั้นโดยอาการทั้งปวง เว้นคำชี้แจง

ผู้อื่น ชื่อสัพพัญญุตญาณ เพราะตรัสรู้สังขตธรรมอสังขตธรรมและสมมติสัจ

โดยตลอดทุกเมื่อ ท่านเรียกว่า อนาวรณญาณ หมายถึงความเป็นไปอันไม่ข้อง

เพราะหมดอาวรณ์ในสิ่งนั้น. นี้เป็นสังเขปในเรื่องนี้ ส่วนความพิสดารจักมี

ข้างหน้า อสาธารณญาณ ๖ อย่าง ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านี้ ชื่อว่า

จริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่ผิดพลาดแห่งวิสัย ตามความสามารถ

โดยไม่เป็นไปในอาการวิปริต พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะ

ทรงรู้ความจริงแท้ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ญาณประกาศโพชฌงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นไปแล้วโดย

สรุปอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑

ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติสัมโพชฌงค์ ๑ ปัสสัทธิ-

สัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ๑ ดังนี้ โดย

สามัญลักษณะอย่างนี้ว่า ธรรมสามัคคีมีสติเป็นต้น อันเป็นปฏิปักษ์ต่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 251

อันตรายทั้งหลายไม่น้อย มีความหดหู่ ฟุ้งซ่าน การหน่วงเหนียว ประกอบ

ความเพียรมุ่งแต่กามสุข และทำคนให้ลำบาก ยึดมั่นความเห็นว่า ขาดสูญ

ความเห็นว่าเที่ยงเป็นต้นใด อริยสาวกตื่น คือ ลุกขึ้นจากความหลับคือกิเลส

แทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ด้วยธรรมสามัคคีใด

ธรรมสามัคคีนั้นท่านเรียกว่า โพธิ (ความตรัสรู้) ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะ

เป็นองค์แห่งธรรมสามัคคีอันเป็นเหตุตรัสรู้นั้น อริยสาวกย่อมตรัสรู้ด้วยธรรม

สามัคคีตามที่กล่าวแล้ว ท่านก็เรียกว่า โพธิ ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็น

องค์แห่งการตรัสรู้นั้น ดังนี้. โดยลักษณะอันวิเศษอย่างนี้ว่า สติสัมโพชฌงค์

มีการเข้าไปตั้งไว้เป็นลักษณะ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ มีการสอดส่องธรรมเป็น

ลักษณะ วิริยสัมโพชฌงค์ มีการประคองไว้เป็นลักษณะ ปีติสัมโพชฌงค์

มีการแผ่ไปเป็นลักษณะ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ มีความสงบเป็นลักษณะ สมาธิ-

สัมโพชฌงค์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ มีการพิจารณา

เป็นลักษณะดังนี้ โดยแสดงความเป็นไปในขณะเดียวกัน ด้วยเป็นอุปการะ

ของกันและกันแห่งโพชฌงค์ ๗ โดยนัยมีอาทิว่า ในโพชฌงค์เหล่านั้น สติ-

สัมโพชฌงค์เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติประกอบปัญญารู้รอบ-

ตอบ คือ สติอย่างยิ่ง ระลึกถึงตามระลึกถึงแม้สิ่งที่ทำ แม้คำที่พูดไว้นาน

แล้วได้ ดังนี้ โดยแสดงวิสัย การทำให้แจ้งและความเป็นไปแห่งโพชฌงค์

เหล่านั้นโดยนัยมีอาทิว่า ในโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์เป็นไฉน

สติมีอยู่ในธรรมทั้งหลายในภายใน สติมีอยู่ในธรรมทั้งหลายในภายนอก ดังนี้

โดยแสดงวิธีเจริญโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เจริญสติสัมโพชฌงค์ อาศัยความสงัด อาศัยความปราศจากราคะ อาศัยความ

ดับตัณหา น้อมไปในความเสียสละดังนี้ โดยอาการต่าง ๆ อย่างนี้ โดยจำแนก

ออกถึงเก้าหมื่นหกพันนัย มีอาทิว่า โพชฌงค์ ๗ เป็นไฉน สมัยใด ภิกษุใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 252

ธรรมวินัยนี้เจริญฌาน ฯลฯ สมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเกิด ในโพชฌงค์ ๗ นั้น สติสัมโพชฌงค์เป็นไฉน

คือ สติ อนุสติ ดังนี้ ชื่อว่า เป็นญาณจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น

เพราะกล่าวไม่ผิดความนั้น ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้

ความจริงแท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ คือ บรรลุ

ญาณอันแท้จริง ด้วยอำนาจแห่งปัญญาวิเศษอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น มีประเภท

ไม่มีที่สุดและหาประมาณมิได้ มีสติปัฏฐาน สัมมัปปธานและญาณอันทำให้แจ้ง

เป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วโดยสรุปอย่างนี้ว่า ในอริยสัจ ๔ นั้น อริยสัจ คือ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ

ฯลฯ สัมมาสมาธิ ดังนี้ โดยสามัญลักษณะอย่างนี้ว่า ชื่อว่า อริยะ เพราะ

ไกลจากกิเลสทั้งปวง เพราะทำความเป็นอริยะ และเพราะได้อริยผล ชื่อว่า

อัฏฐังคิกะ (มีองค์ ๘) เพราะอริยะมี ๘ อย่าง อละเพราะเป็นเหตุโดยส่วนเดียว

เพื่อบรรลุถึงนิพพาน ชื่อว่า มรรค เพราะทำลายกิเลสให้สิ้นไป ผู้หวังประโยชน์

แสวงหา หรือแสวงหาพระนิพานด้วยตนเอง ดังนี้ โดยลักษณะวิเศษอย่างนี้ว่า

สัมมาทิฏฐิ มีการเห็นชอบเป็นลักษณะ สัมมาสังกัปปะมียกขึ้นชอบเป็นลักษณะ

สัมมาวาจา มีการกำหนดชอบเป็นลักษณะ สัมมากัมมันตะ มีการสร้างสรรค์

ชอบเป็นลักษณะ สัมมาอาชีวะ มีความผ่องใสชอบเป็นลักษณะ สัมมาวายามะ

มีการประคองไว้ชอบเป็นลักษณะ สัมมาสติ มีการตั้งไว้ชอบเป็นลักษณะ

สัมมาสมาธิ มีความไม่ฟุ้งซ่านชอบเป็นลักษณะ ดังนี้ โดยการจำแนกหน้าที่

อย่างนี้ว่า สัมมาทิฏฐิ ละมิจฉาทิฏฐิกับกิเลสอันเป็นข้าศึกของตนแม้อื่น กระทำ

พระนิพพานให้เป็นอารมณ์ และเห็นสัมปยุตธรรมโดยความไม่ลุ่มหลงด้วยการ

กำจัดโมหะอันปกปิดพระนิพพานนั้น แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้นก็เหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 253

ละมิจฉาสังกัปปะเป็นต้น กระทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ และกระทำการยกขึ้นชอบ

การกำหนด การสร้างสรรค์ ความผ่องใส การประคอง การตั้งไว้ การตั้งมั่น

แห่งสหชาตธรรมทั้งหลาย ดังนี้ โดยจำแนกความเป็นไปในภาคต้นและภาคหลัง

อย่างนี้ว่า สัมมาทิฏฐิในภาคต้น มีขณะต่าง ๆ กัน มีอารมณ์ มีทุกข์เป็นต้น

ต่างหากในกาลแห่งมรรค มีขณะอันเดียวกัน กระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์

โดยกิจย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง มีอาทิว่า รู้ในทุกข์ดังนี้ แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น

ในภาคต้นก็มี ขณะต่าง ๆ กัน มีอารมณ์ต่าง ๆ กัน ในกาลแห่งมรรคมีขณะ

อันเดียวกัน มีอารมณ์อันเดียวกัน ในอริยมรรคเหล่านั้น สัมมาสังกัปปะโดย

กิจย่อมได้ชื่อ ๓ อย่าง มีอาทิว่า ความดำริในการออกจากกาม ดังนี้ อริยมรรค

๓ มี สัมมาวาจาเป็นต้น มีจำแนกเป็นอาทิว่า เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากพูดเท็จ

ดังนี้ เป็นวิรัติบ้าง เป็นเจตนาบ้าง ในขณะแห่งมรรคเป็นวิรัติ สัมมาวายามะ

และสัมมาสติโดยกิจย่อมได้ชื่อ ๔ อย่าง ด้วยอำนาจสัมมัปปธานและสติปัฏฐาน

แต่สัมมาสมาธิ แม้ในขณะแห่งมรรคก็ต่าง ๆ ด้วยปฐมฌานเป็นต้น. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ความจริงแท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปแล้ว เหมือน

อย่างนั้นเป็นอย่างไร. ตอบว่า การเกิด การตรัสรู้ การประกาศธรรมวินัย

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอย่างนั้น. ถามว่า

ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ตอบว่า การเกิดเป็นต้นเหล่านั้น อันพระโลกนาถ

ปรารถนาแล้วและพระพฤติแล้ว ซึ่งประโยชน์ใด เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่

เป็นอย่างอื่นโดยประพฤติประโยชน์ไม่วิปริต เพราะพูดไม่ผิด เพื่อให้ประโยชน์

นั้นสำเร็จโดยส่วนเดียว จริงดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นพระโพธิสัตว์

ทรงบำเพ็ญเหตุแห่งความเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหมด มีการบำเพ็ญสมติงสบารมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 254

เป็นต้น ดังได้กล่าวแล้วประทับอยู่ ณ ชั้นดุสิตบุรี พวกเทพในหมื่นจักรวาล

ได้สดับพุทธโกลาหลจึงประชุมร่วมกันเข้าไปเฝ้ากราบทูลวิงวอนว่า

กาโลโข เต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุกุจฺฉิย

สเทวก ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อนต ปท

ข้าแต่พระมหาวีระ ถึงเวลาแล้วที่

พระองค์จะเสด็จอุบัติ ในพระครรภ์พระ-

มารดา ขอพระองค์ทรงยังเทวดาพร้อมด้วย

มนุษย์ให้ข้ามพ้น ตรัสรู้อมตบทเถิด

ดังนี้ บุพนิมิตเกิดแล้ว ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ทรงดำริว่า บัดนี้

เราจักเกิดในกำเนิดมนุษย์แล้วจักตรัสรู้ดังนี้ ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ

พระมหามายาเทวีในศากยราชตระกูลในวันเพ็ญเดือน ๘ เหล่าเทวดาและมนุษย์

ต่างพากันดูแลรักษาตลอด ๑๐ เดือน ครั้นถึงเวลาใกล้รุ่งในวันเพ็ญเดือน ๖

ก็ทรงประสูติ ในขณะประสูติบุพนิมิต ๓๒ ประการ ได้ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์

เหมือนในขณะถือปฏิสนธิ. โลกธาตุหนึ่งหมื่น สะเทื้อน สะท้าน หวั่นไหว.

แสงสว่างหาประมาณมิได้ แผ่ซ่านไปในหมื่นจักรวาล คนตาตาบอดก็ได้เห็น

เหมือนประสงค์จะดูสิริอันหาประมาณมิได้. คนหูหนวกก็ได้ยินเสียง คนใบ้

ก็คุยกันได้ คนค่อมก็ตัวตรง คนเปลี้ยก็เดินได้สรรพสัตว์ที่ถูกจองจำ ก็พ้น

จากเครื่องจองจำด้วยขื่อคาเป็นต้น ไฟในนรกทั้งหมดดับ ความหิวกระหาย

ในเปรตวิสัยสงบ ภัยมิได้มีแก่เดียรัจฉานทั้งหลาย โรคของสรรพสัตว์

สงบ สรรพสัตว์พูดจาน่ารัก ม้าร้องด้วยเสียงไพเราะ ช้างส่งเสียงกระหึม

สรรพดุริยางค์บรรเลงเสียงกงวานขึ้นเอง เครื่องประดับมีสวมข้อมือ

เป็นต้น ของมนุษย์ทั้งหลาย ไม่ประยุกต์กันเลย ยังเปล่งเสียงออกมาอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 255

ไพเราะ. ทั่วทุกทิศสว่างไสว ลมพัดเย็นอ่อน ๆ ทำให้สัตว์ทั้งหลายเกิด

ความสุข. ฝนตกในเวลามิใช่กาล น้ำพุพุ่งจากแผ่นดินไหลไป นกทั้งหลาย

ไม่บินไปทางอากาศ. แน่น้ำไม่ไหลเอ่ออยู่กับที่ น้ำในมหาสมุทรมีรสหวาน.

เมื่อดวงอาทิตย์ลับไปแล้ว ยังส่องแสงสว่างอยู่ ความสว่างทั้งหมดโชติช่วงใน

อากาศ. หมู่เทพทั้งหมดที่เหลือ เว้นอรูปาวจรเทพและสัตว์นรกทั้งหมด ได้

ปรากฏรูปให้เห็น. ต้นไม้ ฝาประตู และหินเป็นต้น ก็กั้นไว้ไม่ได้. สัตว์

ทั้งหลายไม่มีจุติอุปบัติ. กลิ่นทิพย์ฟุ้งตลบอบอวล ขจัดกลิ่นที่ไม่น่าปรารถนา

ทั้งหมด. ต้นไม้มีผลทุกชนิดก็ออกผลสมบูรณ์ มหาสมุทรก็ดาดาษไปด้วย

ดอกบัว ๕ ชนิดเต็มไปทั้งหมด บรรดาดอกไม้ทุกชนิด ทั้งที่เกิดบนบกและ

เกิดในน้ำก็บานสะพรั่ง. ขันธปทุม (บัวกอ) ก็บานสะพรั่งที่กอ สาขาปทุม

(บัวก้าน) ก็บานสะพรั่งที่ก้าน ลดาปทุม (บัวเถา) ก็บานที่เถา ทัณฑ-

ปทุม (บัวลำต้น ) ก็เจาะพื้นดิน แผ่นหินโผล่ออกมา มีใบตั้งร้อย

ฉลุมอยู่เบื้องบน ๆ. โอลัมพกปทุม (บัวห้อยย้อย) ก็เกิดบนอากาศ. ฝน

ดอกไม้ก็ตกไปโดยรอบ บนอากาศดนตรีทิพย์ก็บรรเลงกระหึม หมื่นโลกธาตุ

ทั้งสิ้น มีพวงมาลาอย่างเดียวกัน ดุจช่อมาลาที่ร้อยห้อยไว้ ดุจกำมาลาที่มัด

วางไว้ และดุจแท่นมาลาที่ประดับตกแต่งไว้ ได้มีพัดวาลวิชนีคลี่ออก อบ

ด้วยกลิ่นดอกไม่และกลิ่นธูป ดูงดงามยิ่งนัก. อนึ่ง บุพนิมิตเหล่านั้นได้เป็น

นิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษไม่น้อย ที่พระโพธิสัตว์บรรลุแล้วในเบื้องบน.

เพราะปรากฏความอัศจรรย์ไม่น้อยอย่างนี้ การเกิดที่พระโพธิสัตว์นั้นปรารถนา

ประโยชน์อันใดไว้ ก็ได้เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น เพื่อความ

สำเร็จอภิสัมโพธิญาณนั้นโดยส่วนเดียว. อนึ่ง พวกพ้องที่ควรแนะนำเพื่อการ

ตรัสรู้ ที่ชื่อพุทธเวไนยนั้นทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเเนะนำด้วย

พระองค์เองทั้งนั้น โดยไม่มีเหลือเลย มิใช่สาวกแนะนำ สาวกเวไนย และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 256

ธรรมเวไนย แม้เหล่านั้นอันพระสาวกเป็นต้น แนะนำแล้วก็ย่อมเข้าถึงและ

จักเข้าถึงข้อแนะนำ ด้วยประการฉะนี้. การตรัสรู้ยิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ปรารถนาประโยชน์อันใดไว้ การตรัสรู้ยิ่งเพื่อความสำเร็จประโยชน์นั้นโดย

ส่วนเดียว เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น.

อีกอย่างหนึ่ง การตรัสรู้ยิ่งแม้อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ยิ่ง

ซึ่งสภาวะแห่งไญยธรรมที่ควรตรัสรู้ โดยไม่เหลือไม่วิปริต ด้วยพระญาณของ

พระองค์อันเกี่ยวเนื่องเพียงนึก ดุจมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือฉะนั้น ดังนี้

ก็เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ตรวจดูวิธีที่ควรแสดงอย่างนั้น ๆ แห่งธรรมเหล่านั้น ๆ และอัธยาศัย กิเลส

อันนอนเนื่องอยู่ในสันดาน และความพอใจในความประพฤติของสัตว์เหล่า

นั้น ๆ ไม่ทรงละความเป็นธรรม ไม่ทรงเร่งรีบให้เป็นไปเพียงโวหาร ทรง

ประกาศความเป็นธรรม ทรงพร่ำสอนตามความผิด ตามอัธยาศัย และตาม

ความเป็นธรรม ทรงแนะนำแล้ว เวไนยสัตว์ทั้งหลาย ให้เวไนยสัตว์บรรลุถึง

อริยภูมิ. แม้การประกาศธรรมวินัยของพระองค์ เพื่อความสำเร็จประโยชน์นั้น

และเพื่อความเป็นไปตามเป็นจริง ก็เป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุ อมตมหานิพพานธาตุ อันยังมี

เบญจขันธ์อยู่ พ้นจากสภาวะที่เป็นรูปและไม่เป็นรูป มีผัสสะ เวทนาเป็นต้น

ล่วงสภาวะแห่งโลก เพราะไม่มีการแตกทำลาย ไม่มีแสงสว่างด้วยอะไร ๆ

เพราะไม่มีเกี่ยวข้อง เว้นจากภาวะมีคติเป็นต้น เพราะไม่มีแสงสว่างนั่นเอง

ไม่มีที่อาศัย ไม่มีอารมณ์ ท่านเรียกว่า อนุปาทิเสสบ้าง เพราะไม่มีแม้เพียง

กิเลสแห่งการยึดถือเป็นต้น อันได้แก่ขันธ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงข้อนี้ จึงตรัสว่า อตฺถิ ภิกฺขเว

ตทายตน ฯเปฯ เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 257

ในอายตนะที่มีอยู่ ไม่มีดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีอากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญ-

จายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ไม่มีโลกนี้ ไม่มี

โลกหน้า และไม่มีพระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราไม่กล่าวถึงการมา การไป การตั้งอยู่ การจุติ การอุปบัติ การไม่มีที่

อาศัย การไม่เป็นไป การไม่มีอารมณ์นั่นแล นี้แลที่สุดแห่งทุกข์. การดับ

อุปาทานขันธ์ทั้งหลายทั้งปวง การสงบสังขารทั้งปวง การสละกิเลสทั้งปวง

การสงบทุกข์ทั้งปวง การถอนอาลัยทั้งปวง การตัดขาดวัฏฏะทั้งปวง อมต-

มหานิพพานธาตุ นั้นมีลักษณะสงบโดยสิ้นเชิง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า จริงแท้

แน่นอนไม่เป็นอย่างอื่น ไม่ว่าในกาลไหน ๆ เพราะไม่ผิดสภาวะตามที่กล่าว

แล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อ ตถาคต เพราะเสด็จไป เสด็จเข้าถึง เสด็จถึง

ทรงปฏิบัติ คือบรรลุอภิชาติเป็นต้นเหล่านี้ เหมือนอย่างนั้น. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะเสด็จไปเหมือนอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะเป็นอย่างนั้น คือ

อย่างไร. ตอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในก่อนเป็นอย่างใด แม้

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นอย่างนั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร ท่านอธิบายไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น เป็นอย่างใด โดยย่อ คือ ด้วยมรรคศีล

ผลศีล โลกิยศีล โลกุตรศีลแม้ทั้งหมด ด้วยมรรคสมาธิ ผลสมาธิ โลกิย-

สมาธิ โลกุตรสมาธิแม้ทั้งหมด ด้วยมรรคปัญญา ผลปัญญา โลกิยปัญญา

โลกุตรปัญญาแม้ทั้งหมด ด้วยสมาปัตติวิหารธรรมสองล้านสี่แสน ที่ทรง

ปฏิบัติตามทุก ๆ วัน ด้วยตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิ-

ปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ แต่โดยพิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้นเป็น

อยู่ใด ด้วยอานุภาพอันเป็นอจินไตย ไม่มีที่สุดประมาณไม่ได้ ด้วยคุณคือ

ที่รู้ทุกสิ่งทุกอย่าง แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลายก็เป็นอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 258

อันที่จริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายทั้งปวง มีความต่างกันด้วย

ความต่างกัน ๕ ประการเหล่านี้ คือ ความต่างกันด้วยอายุ ๑ ความต่างกัน

ด้วยขนาดพระวรกาย ๑ ความต่างกันด้วยตระกูล ๑ ความต่างกันด้วยการ

บำเพ็ญทุกรกิริยา ๑ ความต่างกันด้วยพระรัศมี ๑. แต่ไม่มีความต่างกันไร ๆ

ในวิสุทธิ มีศีลวิสุทธิเป็นต้น และในคุณที่พระองค์ทรงแทงตลอด ในการปฏิบัติ

สมถะและภาวนา. ที่แท้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะเหล่านั้น ไม่ต่างกัน

และกันดุจทองคำที่แตกในท่ามกลาง. เพราะฉะนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งหลายในก่อนเป็นอย่างใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ก็เป็นอย่างนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะเป็นเหมือนอย่างนั้น ด้วยประการ

ฉะนี้. อนึ่ง คต ศัพท์ในบทว่า ตถาคโต นี้ มีความว่า วิธะ. แต่ชาวโลก

กล่าวคตศัพท์ ประกอบด้วยวิธศัพท์ ลงในอรรถว่า ประการ.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะทรงเป็นไปเหมือน

อย่างนั้น เป็นอย่างไร. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะมีการ

ถึง การไป การดำเนินไป คือความเป็นไปทางกาย วาจา และจิต เหมือน

อย่างนั้นตามความชอบใจ เพราะประกอบด้วยอิทธานุภาพอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น

เพราะได้อนาวรณญาณเพื่อการปฏิบัติบารมีขั้นอุกฤษฏ์ แห่งอัตถปฏิสัมภิทา

เป็นต้น และเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีการกระทบกระทั่งในที่ไหน ๆ ใน

ความเป็นไปทางกายเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อตถาคต เพราะเป็นไป

เหมือนอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ไปจากความจริงแท้เป็นอย่างไร.

ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ่า ชื่อว่า อคตะ เพราะพระองค์ไม่มีการไป. กล่าว

คือความเป็นไปอันเป็นปฏิปักษ์ต่อความจริงแท้นั้น ในการสำเร็จโพธิสมภาร.

ก็ความไม่ไปของพระองค์นั้นนั้น ไม่วิปริต ในการบำเพ็ญทานเพื่อขจัดความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 259

ตระหนี่เป็นต้น ด้วยพระญาณอันเป็นไปโดยนัยมีการพิจารณาโทษและอานิสงส์

เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะไม่ไปจากญาณอันจริงแท้.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อ อคตะ เพราะไม่มีการไปในคติ ๕

กล่าวคือ ความเป็นไปในการปรุงแต่งกิเลส หรือความเป็นไปแห่งขันธ์. ความ

ไม่ไปของพระองค์นั้น เพราะเป็นไปด้วยสอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสส-

นิพพาน ด้วยอริยมรรคญาณอันจริงแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต

เพราะไม่ไปจากความจริงแท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะความที่พระองค์

เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น เป็นอย่างไร. ตอบว่า บทว่า ตถาคตภาเวน ได้แก่

เพราะความเป็นจริงของพระตถาคต อธิบายว่า เพราะความมีจริง. ถามว่า

ก็ตถาคตนั้นคือใคร พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะมีอะไร. ตอบว่า

มีพระสัทธรรม. เพราะสัทธรรมคืออริยมรรค ไปแล้วเหมือนอย่างที่ควรไป

ด้วยการละเด็ดขาด โดยถอนฝ่ายของกิเลสไม่ให้เหลือ ด้วยกำลังสมถะและ

วิปัสสนาอันแนบแน่น.

ผลธรรมไปแล้ว คือ เป็นไปเหมือนอย่างที่ควรไป ด้วยการละอย่าง

สงบ ตามสมควรแก่มรรคของตน ส่วนนิพพานธรรม พระพุทธเจ้าเป็นต้น

ทรงรู้คือทำให้แจ้งเหมือนอย่างที่พระองค์ทรงรู้ คือแทงตลอดด้วยปัญญา สำเร็จ

ด้วยการสงบทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้น ด้วยเหตุนั้น พระธรรมจึงชื่อว่า ตถาคต.

แม้ปริยัติธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทรงรู้ ทรงประกาศ ทรงให้

เป็นไปเหมือนอย่างที่พระพุทธเจ้าแต่ก่อน ให้เป็นไปแล้วตามสมควร มี

อัธยาศัยเป็นต้น ของเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจสุตตะ เคยยะ เป็นต้น

และด้วยอำนาจการประกาศความเป็นไปเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระธรรม

จึงชื่อว่า ตถาคต. พระธรรมอันสาวกทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้า รู้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 260

รู้ทั่วถึงแล้ว เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ เพราะเหตุนั้น

พระธรรมจึงชื่อว่า ตถาคต. ด้วยประการฉะนี้ แม้พระสัทธรรมทั้งหมด

ก็ชื่อว่า ตถาคต. สมดังที่ท้าวสักกะจอมเทพตรัสไว้ว่า

ตถาคต เทวมนุสฺสปูชิต

ธมฺม นมสฺสาม สุวติถิ โหตุ

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระธรรม คือ

พระตถาคต อัน เทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว

ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

เถิด ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระสัทธรรมนั้น. อนึ่ง

แม้พระอริยสงฆ์ก็เหมือนอย่างพระธรรม. พระสงฆ์ ชื่อว่า ตถาคต เพราะ

บรรลุธรรมนั้น ๆ เหมือนอย่างที่ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน และเพื่อประโยชน์

ผู้อื่นมุ่งปฏิบัติ สมถะและวิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้นให้บริสุทธิ์ แล้วพึง

บรรลุด้วยมรรคนั้น ๆ ฉะนั้น อีกอย่างหนึ่ง พระสงฆ์ ชื่อว่า ตถาคต

เพราะตรัสรู้ และเพราะบอกได้เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงนัย

มีปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น ฉะนั้น. สมดังที่ท้าวสักกเทวราชตรัสไว้ว่า

ตถาคต เทวมนุสฺสปูชิต

สฆ นมสฺสาม สุวตฺถิ โหติ

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสงฆ์ คือ

พระตถาคตผู้อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว

ขอความสวัสดี จงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

เถิด ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าตถาคต เพราะมีพระสงฆ์เป็นสาวก. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า ตถาคต เพราะความที่พระองค์เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 261

ข้อนี้ก็เป็นเพียงพูดกัน ในการแสดงถึงความที่พระตถาคต เสด็จไป

เหมือนอย่างนั้นเท่านั้น. แต่โดยแท้จริงแล้ว พระตถาคตเท่านั้นพึงพรรณนา

ความที่พระตถาคตเสด็จไปเหมือนอย่างนั้น. เพราะข้อนี้เป็นบทบาทของพระ-

ตถาคต เป็นมหาคติ มหาวิสัยที่ใหญ่หลวง. ไม่ควรพูดว่า พระธรรมกถึก

อ้างพุทธพจน์อันเป็นไตรปิฎกเหมือนพุทธพจน์แห่งบทอัปปมาทะโดยเป็นความ

ยุติ เป็นพระธรรมกถึกนอกรีตนอกรอย ดังนี้. ในข้อนั้นท่านกล่าวไว้ว่า

ยเถว โลเก ปุริมา มเหสิโน

สพฺพญฺญุภาว มุนโย อิธาคตา

ฯเปฯ

ตถาคโต เตน สมงฺคิภาวโต

พระมุนีทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง

ใหญ่แต่ก่อนมาสู่ความเป็นพระสัพพัญญูใน

โลกนี้ฉันใด แม้พระศากยมุนีนี้ก็เสด็จมา

ฉันนั้น ท่านจึงเรียกว่า ตถาคต.

พระชินะทั้งหลาย ละมลทินมีกาม

เป็นต้นโดยไม่เหลือแล้วไปด้วยสมาธิญาณ

ฉันใด พระศากยมุนีผู้มีปัญญารุ่งเรือง

แต่ก่อนเสด็จไปแล้วอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้น

จึงชื่อว่า ตถาคต.

พระชินะผู้เป็นศากยะ ผู้เลิศตรัสรู้

ลักษณะมีธาตุ และอายตนะเป็นต้นอย่าง

จริงแท้ โดยจำแนกเป็นสภาวะและสามัญ

ด้วยพระสยัมภูญาณ เหมือนอย่างนั้นจึง

ชื่อว่า ตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 262

พระชินะตรัสรู้สัจธรรมทั้งหลาย

จริงแท้ด้วยสมันตจักษุ ทำให้แจ้งอิทัป-

ปัจจยตา (สิ่งนี้เป็นเหตุของสิ่งนี้) ที่แท้

จริงโดยประการทั้งปวง โดยที่ไม่มีผู้อื่น

แนะนำ เหมือนอย่างนั้น ด้วยเหตุนั้นจึง

ชื่อว่า ตถาคต.

การเห็นอันแท้จริงของพระชินะ ใน

โลกธาตุ แม้มีประเภทไม่น้อยในโคจร-

ธรรมมีรูปายตนะเป็นต้น อันมีประเภท

วิจิตร ด้วยเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต

ผู้เห็นโดยรอบ.

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรม

อันแท้จริงเท่านั้น ทรงกระทำสมควรตาม

พระดำรัสของพระองค์ ทรงปกครองโลก

ให้ประพฤติด้วยคุณทั้งหลาย แม้ด้วยเหตุ

นั้น จึงชื่อว่า ตถาคต ผู้แนะนำโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงรู้ด้วยการ

กำหนดรู้เหมือนอย่างนั้น อย่างแท้จริงโดย

ประการทั้งปวง ทรงก้าวล่วงโลกอันเป็น

แดนเกิด ทรงถึงความดับด้วยการกระทำ

อันประจักษ์ และทรงถึงอริยมรรค จึง

ชื่อว่า ตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 263

พระนาถะเพราะเสด็จมาเพื่อประ-

โยชน์แก่โลกด้วยปฏิญญา อันแท้จริง

เหมือนอย่างนั้นโดยประการทั้งปวง และ

เสด็จไปด้วยพระกรุณา อันแท้จริงในกาล

ทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระชินะ จึงชื่อว่า

ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้พระญาณ

อันแท้จริงโดยตรัสรู้วิสัยตามความเป็นจริง

เสด็จมาเหมือนอย่างนั้นตั้งแต่เกิด จึงชื่อว่า

ตถาคต เพราะยังประโยชน์ให้ถึงพร้อม.

ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ แต่-

ก่อนเหล่านั้นเป็นอย่างใด แม้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นี้ก็เป็นอย่างนั้น วาจาที่

เปล่งออกมาตามความพอใจ เหมือนอย่าง

นั้น เพราะเป็นตัวของตัวเอง จึงชื่อว่า

ตถาคต บุคคลผู้เลิศ.

การไปก่อนโดยเป็นข้าศึกแห่ง โพธิ-

สมภาร ย่อมไม่มีหรือแม้การท่องเที่ยวไป

ในสงสาร ของพระนาถะนั้นก็ไม่มี ทิฏฐิ

ของพระนาถะผู้เห็นที่สุดภพ ย่อมไม่มี

เพราะฉะนั้น ท่านผู้ไม่ไปจากความจริงแท้

จึงชื่อว่า ตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 264

พระตถาคต ผู้ทรงธรรม ทรงละ

มลทิน อันผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ พึงละ

อย่างใด ท่านผู้เป็นอริยะ ผู้แนะนำอย่าง

วิเศษ ก็ไปอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ตถาคต เพราะความเป็นผู้มีความพร้อม

เพรียง.

อธิบายบทว่า อรหา ในบทว่า อรหนฺต สมฺมาสมฺพุทฺธ นี้

ได้กล่าวไว้ในหนหลังแล้ว. ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง

โดยชอบและด้วยพระองค์เอง. ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะตรัสรู้ธรรมที่ควร

แนะนำ อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยพระองค์เอง โดยไม่วิปริต จากอาการทั้งปวง

แห่งธรรมทั้งหมดนั้น. ด้วยบทนี้เป็นอันท่านแสดงถึงการบรรลุสัพพัญญุตญาณ

อันได้แก่ อนาวรณญาณ อันเนื่องด้วยความหวังสามารถให้บรรลุธรรมทั้งปวง

โดยอาการทุกอย่าง เว้นการสอนผู้อื่น.

ถามว่า อนาวรญาณอื่นจากสัพพัญญุตญาณมิใช่หรือ คำที่ว่า

อสาธารณญาณ ๖ เป็นพุทธญาณโดยประการอื่นก็ผิดน่ะซิ. ตอบว่า ไม่ผิด

เพราะความที่ญาณเดียวเท่านั้นท่านกล่าวเป็นสองอย่าง เพื่อแสดงความไม่ทั่วไป

ด้วยญาณเหล่าอื่น โดยประเภทอันเป็นไปแห่งวิสัย เพทะว่าญาณนั้นอย่างเดียว

เท่านั้น ท่านกล่าวว่า เป็นสัพพัญญุตญาณ เพราะเป็นวิสัยแห่งธรรมที่สมมติ

ว่าเป็นสังขตะและอสังขตะโดยไม่เหลือ และท่านกล่าวว่า เป็นอนาวรณญาณ

อาศัยความประพฤติที่หมดความข้อง เพราะไม่มีเครื่องกั้นในญาณนั้น เหมือน

อย่างที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาเป็นอาทิว่า ชื่อว่า สัพพัญญุตญาณ เพราะ

รู้สังขตะและอสังขตะทั้งหมดไม่มีเหลือ ชื่อว่า อนาวรณญาณ เพราะไม่มี

เครื่องกั้นในญาณนั้น. เพราะฉะนั้นโดยเนื้อความ ญาณทั้งสองนั้นจึงไม่มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 265

ต่างกัน พึงปรารถนาญาณนี้โดยส่วนเดียวเท่านั้น. ความที่สัพพัญญุตญาณและ

อนาวรณญาณ เป็นญาณทั่วไป และไม่เป็นอารมณ์แห่งธรรมทั้งหมด พึงประสบ

โดยประการอื่น. จริงอยู่ พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีเครื่องกั้น แม้

เพียงอณูหนึ่ง. อนึ่ง ความที่อนาวรณญาณเป็นโดยประการอื่นจากความไม่เป็น

อารมณ์แห่งธรรมทั้งปวง เป็นไปไม่ได้ ความเป็นอนาวรณญาณ เพราะ

ความเป็นเองโดยเป็นเครื่องกั้นในญาณก็จะมีไม่ได้.

อีกอย่างหนึ่ง อนาวรณญาณอื่นจากสัพพัญญุตญาณจงยกไว้. แต่ใน

ที่นี้ท่านประสงค์เอาสัพพัญญุตญาณเท่านั้นว่าเป็นอนาวรณญาณ เพราะเป็นไป

โดยไม่มีอะไรกระทบในที่ทั้งปวง. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัพพัญญู

ทรงรู้ทุกอย่าง เพราะบรรลุพระสัพพัญญุตญาณนั้นนั่นเอง ท่านจึงกล่าวว่า

เป็นพระสัมมาสัมพุทธะ. เพราะทรงรู้ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่คราวเดียวเท่านั้น.

อนึ่ง ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า บัญญัติมีวิโมกข์เป็นที่สุดนี้ พร้อมกับการ

ได้การทำให้แจ้งพระสัพพัญญุตญาณ ณ โคนโพธิ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

เป็นพุทธะนี้ คือ พุทโธ ดังนี้. จริงอยู่ การที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

สมารถบรรลุธรรมไม่มีเหลือ ในพระสันดานย่อมมีได้ โดยการบรรลุญาณ

อันสามารถให้ตรัสรู้ธรรมทั้งปวง. ในที่นี้ท่านกล่าวว่า ก็ญาณเมื่อเป็นไป

ย่อมเป็นไปในวิสัยทั้งหมดคราวเดียวเท่านั้นหรือ หรือว่าเป็นไปตามลำดับ

ดังนี้. ก็ในข้อนี้ ผิว่า ญาณเป็นไปในวิสัยทั้งหมดเพียงคราวเดียวเท่านั้น

การตรัสรู้โดยจำแนก ดุจของผู้เพ่งจิตแต่ไกล ในการเข้าไปตั้งร่วมกันของ

สังขตธรรมทั้งหลาย อันแตกต่างกัน มีอดีต อนาคต ปัจจุบัน ภายใน

และภายนอกเป็นต้น และสมมติธรรมอันเป็นสังขตะ ก็ไม่พึงมีหรือ. ก็

เมื่อเป็นอย่างนั้น ญาณย่อมต้องกันในข้อว่า ธรรมทั้งปวงย่อมเป็นวิสัย

แห่งพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยรูปที่สลายไป ดุจโดยอาการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 266

เป็นอนัตตาของผู้เห็นว่า สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวง

เป็นอนัตตา ดังนี้. แม้ชนเหล่าใดกล่าวว่า พระญาณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เว้นการกำหนดอันเป็นวิสัยแห่งลักษณะไญยธรรมทั้งปวงดำรงอยู่ ย่อมเป็นไป

ตลอดกาล ด้วยเหตุนั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น จึงชื่อว่า สพฺพวิทู

ก็ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว แม้คำว่า.

จร สมาหิโต นาโค ติฏฺนฺโตปิ สมาหิโต ผู้ประเสริฐ เมื่อ

เดินไปก็มั่นคง แม้เมื่อยืนอยู่ก็มั่นคง ดังนี้ เป็นคำที่กล่าวถูกแล้ว แม้โทษ

ที่กล่าวดังนั้นก็ไม่มีแก่ชนเหล่านั้น. พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงเป็น

วิสัยเฉพาะเท่านั้น เพราะลักษณะแห่งไญยธรรมที่ดำรงอยู่เป็นอารมณ์ และ

เพราะไม่มีสมมติธรรมที่เป็นอดีตและอนาคต เพราะฉะนั้น ที่กล่าวว่าพระญาณ

ย่อมเป็นไปคราวเดียวเท่านั้นดังนี้ จึงไม่ถูก. แม้ถึงจะกล่าวว่า พระญาณย่อม

เป็นไปในวิสัยทั้งปวง ตามลำดับอย่างนี้ก็ไม่ถูก. เพราะว่า เมื่อกำหนดเอา

ไญยธรรมที่แตกต่างกันไม่น้อย โดยสภาพชาติและภูมิเป็นต้น และโดยทิศ ถิ่น

และกาลเป็นต้น ตามลำดับ การตรัสรู้ไญยธรรมนั้นโดยไม่เหลือ ย่อมเกิดไม่ได้

เพราะไญยธรรมไม่มีสิ้นสุด. ก็ชนเหล่าใดกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็น

พระสัพพัญญู โดยกำหนดมุ่งหมายว่า กระทำไญยธรรมให้ประจักษ์เป็นเอกเทศ

เพราะไม่พลาดประโยชน์ แม่ที่เหลือก็อย่างนั้น ดังนี้ ก็พระญาณนั้นไม่มีการ

คาดคะเน เพราะหมดข้อสงสัย จริงอยู่ ญาณที่ยังมีการคาดคะเนในโลก ยังผูกพัน

ด้วยความสงสัย ดังนี้ คำพูดของชนเหล่านั้น ไม่ถูก เพราะไม่มีการกำหนดมุ่ง

หมายว่า กระทำให้ประจักษ์เป็นเอกเทศแห่งไญยธรรม โดยไม่พลาดประโยชน์

ในเมื่อไญยธรรมทั้งปวงไม่ประจักษ์ แม้ที่เหลือก็เป็นอย่างนั้น ดังนี้ . เพราะ

ญาณที่เหลือยังไม่ประจักษ์ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ญาณนั้นประจักษ์ ความที่

ญาณนั้นเหลือก็จะพึงมีไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ญาณทั้งหมดนั้นจึงไม่เป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 267

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะไม่ใช่ที่จะต้องวิจาร. สมดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พุทฺธวิสโย ภิกฺขเว อจินฺเตยฺโย น จินฺเตตพฺโพ

โย จินฺเตยฺย อุมฺมาทสฺส วิฆาตสฺส ภาคี อสฺส ความว่า ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย พุทธวิสัยอันเป็นอจินไตย ไม่ควรคิด ผู้ใดคิด ผู้นั้นจะพึงเป็น

ผู้มีส่วนแห่งความบ้าคลั่ง. ก็ข้อสันนิษฐานในเรื่องนี้เป็นดังนี้. ญาณอย่างใด

อย่างหนึ่ง ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาจะทรงรู้ทั้งสิ้น หรือเอกเทศ

พระญาณย่อมเป็นไปโดยประจักษ์ เพราะไม่มีอะไรทำให้ติดขัดในพระญาณนั้น

อนึ่ง ความตั้งมั่นเป็นนิจ ก็จะพึงมีไม่ได้ เพราะเป็นไปเกี่ยวเนื่องด้วยความ

ปรารถนาของท่าน โดยไม่ใช่วิสัยของญาณทั้งสิ้นอันผู้ปรารถนาจะรู้ เพราะ

ไม่มีความฟุ้งซ่าน พึงปรารถนาความหวังนั้นโดยส่วนเดียวเท่านั้น.

พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เป็นวิสัยในอดีตและอนาคต ก็

เป็นพระญาณประจักษ์ เพราะเว้นจากการยึดถือโดยคาดคะเน และถือโดย

การตรึกโดยบาลีว่า ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเนื่องด้วยการพิจารณา เนื่องด้วย

ความปรารถนา เนื่องด้วยมนสิการ เนื่องด้วยจิตตุปบาทของพระผู้มีพระภาค-

เจ้าผู้เป็นพุทธะ. ถามว่า โทษของผู้ที่กล่าวว่า ก็ในฝ่ายหนึ่งปรารถนาจะรู้ญาณ

ทั้งสิ้น เมื่อใด เมื่อนั้น พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นสกลวิสัย

คราวเดียวเท่านั้น พึงเป็นไปโดยรูปอันสลายไปดังนี้ จึงไม่มีมิใช่หรือ ตอบว่า

เพราะญาณนั้นยังไม่บริสุทธิ์. จริงอยู่ พุทธวิสัยนั้นเป็นอจินไตยบริสุทธิ์ ด้วย

ประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง ความเป็นอจินไตยแห่งพระญาณ ของพระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะ จะพึงมีไม่ได้ เพราะเป็นไปเสมอกับญาณของชนมาก

โดยประการอื่น เพราะฉะนั้น แม้ธรรมทั้งสิ้นเป็นอารมณ์ ก็กระทำธรรม

เหล่านั้นที่ให้กำหนดไว้ดีแล้ว ให้เป็นไป ดุจธรรมนั้น มีธรรมอันเดียวเป็น

อารมณ์ เพราะเหตุนั้น พระญาณนี้จึงเป็นอจินไตยในที่นี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 268

พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง

โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ตามสมควรแก่ความปรารถนา ต่างกรรมต่าง

วาระกัน หรือตามลำดับ ในที่เดียวกันอย่างนี้ว่า ไญยธรรมมีประมาณเท่าใด

ญาณก็มีประมาณเท่านั้น ญาณมีประมาณเท่าใด ไญยธรรมก็มีประมาณเท่านั้น

ญาณมีไญยธรรมเป็นที่สุด ไญยธรรมก็มีญาณเป็นที่สุด. นั้นคือสัมมาสัมพุทธะ.

บทว่า เทฺว วิตกฺกา ได้แก่ วิตกชอบ ๒ อย่าง. ในวิตก ๒ อย่างนั้น

ชื่อว่า วิตก เพราะตรึกหรือเป็นเหตุตรึก หรือความตรึก. วิตกนั้น มีการ

ปลูกฝังอารมณ์เป็นลักษณะ มีการกระทบกระทั่งเป็นรส มีการนำจิตมาใน

อารมณ์เป็นเครื่องปรากฏ. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เทฺว วิตกฺกา เพราะ

ทำวิตกนั้นให้เป็นสอง โดยประเภทแห่งวิสัย. บทว่า สมุทาจรนฺติ ได้แก่

ย่อมเป็นไปเนือง ๆ เสมอและโดยชอบ. ก็อาการนี้มีความว่า ขอบเขต. บทว่า

ตถาคต อรหนฺต สมฺมาสมฺพุทฺธ นี้ โดยประโยคนั้นเป็นทุติยาวิภัตติลง

ในอรรถแห่งฉัฏฐีวิภัตติ. มีอธิบายว่า วิตก ๒ ประการ ของพระตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่ก้าวล่วงขอบเขตกันและกันเอง และโดยชอบใน

วิสัยของตน ๆ ย่อมเป็นไปเนือง ๆ ถามว่า ก็อะไรเป็นวิสัยของวิตกเหล่านั้น

หรืออะไรเป็นขอบเขต และวิตกเหล่านั้นไม่ก้าวล่วงขอบเขต แล้วเป็นไป

เนือง ๆ อย่างไร. ตอบว่า วิตก ๒ อย่างเหล่านี้ คือ เขมวิตก ๑ ปวิเวก-

วิตก ๑ ชื่อว่าวิตก. ในวิตก ๒ อย่างนั้น เขมวิตกประกอบด้วยกรุณาอย่าง

วิเศษของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วยังได้ประกอบด้วยเมตตาและมุทิตาอีก เพราะ

ฉะนั้น เขมวิตกนั้นพึงทราบว่า เป็นส่วนเบื้องต้น และประกอบด้วยสมาบัติ

คือมหากรุณา และสมาบัติมีเมตตาเป็นต้น. ส่วนปวิเวกวิตกเป็นส่วนเบื้องต้น

และประกอบด้วยผลสมาบัติ ยังได้รับทิพวิหารธรรมเป็นต้นอีก. วิตกเป็น

วิสัยของวิตก ๒ อย่างแม้นั้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น ความเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 269

ไปแม้เป็นไปอยู่มากในสันดานหนึ่ง ด้วยการแทรกซึมเข้าไปในขอบเขต ย่อม

ไม่มี เพราะเป็นไปในวิสัยร่วมกันตลอดเวลา.

ในวิตก ๒ อย่างนั้น เขมวิตกพึงให้แจ่มแจ้ง ด้วยการหยั่งลงสู่พระ-

กรุณาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ปวิเวกวิตกพึงให้แจ่มแจ้งด้วยสมาบัติทั้งหลาย.

ต่อไปนี้เป็นความแจ่มแจ้งในเขมวิตกนั้น ควรกล่าวถึงเขมวิตก ด้วยอำนาจ

ปฐมฌาน แม้ในสมาบัติในส่วนเบื้องต้น แห่งมหากรุณาสมาบัติ ด้วยการเห็น

อาการมีความที่โลกสันนิวาสเป็นของร้อนเป็นต้น ด้วยไฟมีไฟ คือราคะเป็นต้น

โดยนัยมีอาทิว่า โลกนี้ถูกเผาให้ร้อน มีแต่ทุกข์ ดังนี้. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

พระมหากรุณาในสัตว์ทั้งหลายหยั่งลง แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะ

ผู้ทรงเห็น โดยอาการเป็นอันมากว่า โลกสันนิวาสร้อน โลกสับสนวุ่นวาย

เดินทางผิด ถูกชรานำเข้าไปไม่ยั่งยืน ไม่มีที่ต้านทาน. ไม่เป็นอิสระ ไม่เป็น

เจ้าของ ละทุกสิ่งทุกอย่างไป พร่อง ไม่อิ่ม เป็นทาสของตัณหา โลกสันนิวาส

ไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่ซ่อน ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีที่อาศัย ฟุ้งซ่าน ไม่สงบ มี

ลูกศร ถูกลูกศรเป็นอันมากทิ่มแทง ปิดกั้นด้วยความมืดคืออวิชชา ถูกล้อม

ด้วยกรง คือกิเลส ตกอยู่ในอวิชชา มืดตื้อ ถูกร้อยรัด ยุ่งดุจด้ายของช่างหูก

ร้อยรัดเป็นกลุ่มก้อน เป็นดุจหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่พ้นอบาย ทุคติ

วินิบาต สงสาร.

ทรงเห็นว่า โลกถูกเสียบแทงโดยโทษอันมีพิษคืออวิชชา เป็นโทษ

เพราะกิเลส รุงรังยุ่งเหยิงด้วยราคะ โทสะ โมหะ ถูกสวมมัดด้วยตัณหา

ถูกตาข่ายคือตัณหาครอบ ถูกกระแสคือตัณหาพัดไป ประกอบด้วยเครื่องผูก

คือตัณหา หมกมุ่นด้วยอนุสัยคือตัณหา ร้อนด้วยความร้อนคือตัณหา ถูกความ

เร่าร้อนคือตัณหาเผาผลาญ สวมมัดด้วยทิฏฐิ ถูกตาข่าย คือ ทิฏฐิครอบถูก

กระแส คือ ทิฏฐิพัดไป ประกอบด้วยเครื่องผูก คือ ทิฏฐิ หมกมุ่นด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 270

อนุสัย คือ ทิฏฐิ ร้อนด้วยความร้อน คือ ทิฏฐิ ถูกความเร่าร้อน คือ ทิฏฐิ

เผาผลาญ เข้าถึงชาติ ติดตามด้วยชรา ถูกพยาธิครอบงำ ถูกมรณะกำจัด

ตกถึงทุกข์ ห่อหุ้มด้วยตัณหา ล้อมด้วยกำแพง คือ ชรา แวดวงด้วยบ่วง คือ

มัจจุ มีเครื่องผูกพันมาก ผูกด้วยเครื่องผูก คือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ

ทิฏฐิ กิเลสและทุจริต เดินไปในที่คับแคบมาก หมกมุ่นด้วยเครื่องพัวพันมาก

ตกลงไปในเหวใหญ่ เดินไปในที่กันดารมาก เดินไปสู่สงสารใหญ่ หมุนกลับ

ลงไปในหลุมใหญ่ ตกลงไปในบ่อลึก โลกสันนิวาสถูกกำจัด ร้อนด้วยไฟ คือ

ราคะ โทสะ โมหะ ชุ่มไปด้วย ชาติ ฯลฯ อุปายาส ย่อมลำบาก ไม่มี

ที่ต้านทานเป็นนิตย์ ถูกลงอาชญา โจรชุกชุม ผูกพันอยู่ในวัฏฏะ ปรากฏใน

ตะแลงแกง ไร้ที่พึ่ง น่าสงสารอย่างยิ่ง ถูกทุกข์ทิ่มแทง ถูกเบียดเบียนตลอด

กาลนาน กำหนัดอยู่เป็นนิตย์ กระหายอยู่เป็นนิตย์ บอด มองไม่เห็น ตาเสีย

ไม่เป็นผู้นำ แล่นไปนอกลู่ เดินไปผิดทาง ตกลงไปในห้วงใหญ่ หมกมุ่น

ด้วยทิฏฐิ ๒ ปฏิบัติผิดด้วยทุจริต ๓ ประกอบด้วยโยคะ ๘ ร้อยรัดด้วยเครื่อง

ร้อยรัด ๔ ยึดมั่นด้วยอุปาทาน ๔ เข้าถึงคติ ๕ กำหนัดด้วยกามคุณ ๕ ถูก

นิวรณ์ ๕ ทับ ทะเลาะกันด้วยเหตุวิวาท ๖ กำหนัดด้วยหมู่ตัณหา ๖ หมกมุ่น

ด้วยทิฏฐิ ๖ เสาะส่ายไปด้วยอนุสัย ๗ ประกอบด้วยสังโยชน์ ๗ เย่อหยิ่งด้วย

มานะ ๗ หมุนไปตามโลกธรรม ๘ นำไปด้วยมิจฉัตตะ ๘ ประทุษร้ายด้วย

บุรุษโทษ ๘ ผูกอาฆาตด้วยอาฆาตวัตถุ ๙ เย่อหยิ่งด้วยมานะ ๙ กำหนัดด้วย

ธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙ เศร้าหมองด้วยกิเลสวัตถุ ๑๐ ผูกอาฆาตด้วยอาฆาต

วัตถุ ๑๐ ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประกอบด้วยสังโยชน์ ๑๐ นำไป

ด้วยมิจฉัตตะ ๑๐ ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ประกอบด้วยอันตคาหิก-

ทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ หน่วงเหนี่ยวด้วยธรรมทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา ๑๐๘ หมกมุ่น

ด้วยทิฏฐิ ๖๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 271

ทรงเห็นว่า เราข้ามแล้ว โลกยังไม่ข้าม เราพ้นแล้ว โลกยังไม่พัน

เราฝึกแล้ว โลกยังไม่ฝึก เราสงบแล้ว โลกยังไม่สงบ เราปลอดโปร่งแล้ว

โลกยังไม่ปลอดโปร่ง เราดับกิเลสแล้ว โลกยังไม่ดับกิเลส เราข้ามแล้ว

เพียงพอเพื่อให้โลกข้ามบ้าง เราพ้นแล้ว เพื่อให้โลกพ้นบ้าง เราฝึกแล้ว

เพื่อให้โลกฝึกบ้าง เราสงบแล้ว เพื่อให้โลกสงบบ้าง เราปลอดโปร่งแล้ว

เพื่อให้โลกปลอดโปร่งบ้าง เราปรินิพพานแล้ว เพื่อให้ผู้อื่นปรินิพพานบ้าง

ดังนี้.

ก็การหยั่งลงสู่พระเมตตาในสัตว์ทั้งหลายของพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงให้

แจ่มแจ้ง โดยนัยนี้แล. จริงอยู่ แม้เมตตาน้อมนำความสุข ซึ่งเป็นปฏิปักษ์

ต่อทุกข์อันเป็นวิสัยแห่งกรุณาเข้าไปในสัตว์ทั้งหลาย ก็ยังเป็นไปได้ เพราะ

เหตุนั้น อัพยาบาทวิตกและอวิหิงสาวิตก จึงชื่อว่า เขมวิตกในบทนี้. ส่วน

ปวิเวกวิตก ได้แก่ เนกขัมมวิตกนั่นเอง. อนึ่ง พึงทราบความเป็นไปด้วย

อำนาจการพิจารณาปฐมฌานอันเป็นส่วนเบื้องต้นในทิพวิหารธรรม และอริย-

วิหารธรรมแห่งปวิเวกวิตกนั้น. ในปวิเวกวิตกนั้น สมาปัตติวิหารธรรมเหล่าใด

อันนับได้สองล้านสี่แสนโกฏิ โดยใช้ทุก ๆ วันของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระ-

ญาณอันเนืองด้วยสมาธิจริยาและญาณจริยาอันเป็นไปแล้วด้วยความประพฤติใน

ก่อน และสมาบัติสองล้านสี่แสนโกฏิและปัญญาของสมาปัตติวิหารธรรมเหล่าใด

ท่านกล่าวว่าเป็นมหาวชิรญาณ พึงทราบความเป็นไปเนืองๆแห่งปวิเวกวิตก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยอำนาจแห่งสมาปัตติวิหารธรรมเหล่านั้น. อนึ่ง

พึงชี้แจงเนื้อความนี้แม้โดยมหาสัจจกสูตร. ในสูตรนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เรานั้นแล นั่งสงบจิตในภายใน ในสมาธินิมิต

ก่อนนั้น เราอยู่เป็นสุขตลอดกัปเป็นนิตย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 272

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำพระสูตรนี้เพื่อแสดงว่า เมื่อสัจจก-

นิคัณฐบุตรกล่าวว่า สมณโคดมมีรูปงาม น่าเลื่อมใส ช่องพระทนต์สนิทเป็น

ระเบียบ พระชิวหาอ่อน พระสุรเสียงไพเราะ คงจะให้บริษัทพอใจด้วยเหตุ

นั้นจึงเที่ยวไป แต่ในใจของสมณโคดมผู้เที่ยวประกาศให้รู้อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี

สมาธิ ดูก่อนอัคคิเวสสนะ ตถาคตมิได้เที่ยวประกาศให้บริษัทพอใจดุจจับโจร

ได้พร้อมด้วยของกลางแน่นอน ตถาคตแสดงธรรมแก่บริษัทมีจักรวาลเป็นที่สุด

ให้ความเหมาะสม ไม่ซ่อนเร้น ไม่ติด ประกอบผลแห่งผลสมาบัตินั้นนั่นเอง

เพราะว่างจากการอยู่ผู้เดียว ดังนี้.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกำหนดกาลโดยส่วนเบื้องต้นในขณะที่

บริษัทให้สาธุการหรือครองธรรมแล้วทรงเข้าผลสมาบัติในขณะหายใจเข้าหายใจ

ออก อนึ่ง เมื่อหมดเสียงร้องสาธุการมิได้ทรงกำหนด ทรงออกจากสมาบัติ

ในที่สุดการครองธรรมแล้ว จึงทรงแสดงธรรมเริ่มตั้งแต่ตอนที่ทรงพักไว้. จริง

อยู่การเข้าสู่ภวังค์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเบาบาง. พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง

เข้าสมาบัติในขณะหายใจเข้า หายใจออก. พึงทราบความเป็นไปเนือง ๆ แห่ง

เขมวิตกและปวิเวกวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยอำนาจสมาบัติตามที่กล่าว

แล้วอันเป็นไปกับด้วยส่วนในเบื้องต้น ด้วยประการฉะนี้.

ในความเป็นไปเนือง ๆ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีธรรมนั้นเป็น

สมังคี และทรงบรรลุธรรมอันเกษมอยู่ เพราะไม่มีภัยแต่ไหน ๆ ด้วยอานุภาพ

แห่งอัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตกอันละความมีพยาบาทวิตกและวิหิงสาวิตก

เป็นต้น. และแต่นั้น จิตก็มีความเกษมปลอดภัยตลอดกาล. เพราะฉะนั้น

เขมวิตก แม้ทั้งสองอย่าง ก็ย่อมกระทำความเกษมแก่ทั้งสองอย่างด้วย. ก็วิเวก

๓ อย่าง คือ กายวิเวก ๑ จิตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก ๑ และวิเวก ๕ อย่าง คือ

ตทังควิเวก (สงัดชั่วขณะ) ๑ วิกขัมภนวิเวก (สงัดด้วยการข่มไว้) ๑ สมุจ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 273

เฉทวิเวก (สงัดด้วยการตัดขาด) ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวก (สงัดด้วยการสงบระงับ) ๑

นิสสรณวิเวก (สงัดด้วยการออกไป) ๑ ย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยอานุภาพ

แห่งเนกขัมมวิตกอันละความเศร้าหมองมีกามวิตกเป็นต้น.

วิตกนั้นชื่อ ปวิเวกวิตก เพราะวิตกสหรคตด้วยความสงัดจากอารมณ์

และจากสัมปโยคะ ตามสมควร. ก็วิตก ๒ อย่างเหล่านั้น แม้มีลักษณะที่แยก

ออกแล้ว ก็ยังเป็นไปเพื่อความเป็นอุปการะแก่กันและกัน ของผู้เป็นอาทิกรรมิก

(ผู้ทำกรรมครั้งแรก).

จริงอยู่ ปวิเวกวิตกย่อมมีเพื่อเขมวิตกอันยังไม่เกิด ที่เกิดแล้วก็เพื่อ

ความไพบูลย์ยิ่งขึ้น ฉันใด เขมวิตกก็ฉันนั้น ย่อมมีเพื่อปวิเวกวิตกอันยังไม่เกิด

ให้เกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็มี เพื่อความไพบูลย์ยิ่งขึ้น. จริงอยู่ เมตตาวิหารธรรม

เป็นต้น จะมีไม่ได้ในระหว่างที่กายและจิตหลีกออกไป เพราะเว้นจากการละ

พยาบาทเป็นต้น จิตวิเวกเป็นต้นก็ไม่มี เพราะเหตุนั้น พึงเห็นธรรมเหล่านี้ว่ามี

อุปการะแก่กันและกัน. ก็เขมวิตกและปวิเวกวิตกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรง

ละความเศร้าหมองได้โดยประการทั้งปวง ย่อมนำประโยชน์สุขแม้เพียงขณะ

หายใจเข้าเพื่อประโยชน์แก่สัตวโลก. พึงเชื่อมบทว่า เขโม จ วิตกฺโก

ปวิเวโก จ วิตกฺโก (เขมวิตก และปวิเวกวิตก) ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกล่าวคำเป็นอาทิว่า อพฺยาปชฺฌาราโม

มีความไม่พยาบาทเป็นที่มายินดี ดังนี้ เพื่อทรงชี้แจงถึงวิตก ๒ อย่าง ที่ได้

ทรงยกขึ้นมาแสดงไว้แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

การไม่พยาบาท การไม่ทำให้ใคร ๆ ได้ยาก ซึ่งว่า อัพยาปัชฌะ

ในบทว่า อพฺยาปชฺฌาราโม นั้น. ความไม่พยาบาทนั้นชื่อว่า อพฺยาปชฺฌา-

ราโม เพราะมีความไม่พยาบาทเป็นที่มายินดี. ชื่อว่า อพฺยาปชฺฌรโด

ได้แก่ ยินดีแล้วในความไม่พยาบาท คือ ไม่ยินดีในการเสวนะ. บทว่า เอเสว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 274

ตัดบทเป็น เอโส เอว. บทว่า อิริยาย คือ ด้วยการกระทำ. อธิบายว่า

ด้วยความขวนขวายทางกายและวาจา. บทว่า น กิญฺจิ พฺยาพาเธมิ ได้แก่

เราจะไม่เบียดเบียน ไม่ทำให้ในบรรดาสัตว์ที่เลวเป็นต้น สัตว์ไร ๆ ผู้สะดุ้ง

เพราะประกอบด้วยความสะดุ้งคือตัณหาเป็นต้น ผู้มั่นคง เพราะละกิเลสทั้งปวง

อันทำให้ดิ้นรนได้แล้ว เพราะไม่มีความพยาบาทนั้นให้ลำบาก.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระกรุณาเป็นอัชฌาสัยมากด้วยมหากรุณา-

สมาบัติ ตรัสไว้อย่างนี้ สมควรแก่พระกรุณาเป็นอัชฌาสัยที่พระองค์ทรง

ปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงถึงอวิหิง-

สาวิตกและอัพยาบาทวิตก. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสข้อนี้ไว้ว่า เราปฏิบัติอย่างนี้

อยู่ด้วยสมาปัตติวิหารธรรมอย่างนี้ รับสักการะ ความเคารพ การนับถือ

การไหว้ และการบูชา ที่ผู้ปรารถนาบุญทำอย่างนี้ ด้วยกิริยาท่าทางนี้ คือ

ด้วยการปฏิบัตินี้ จึงไม่เบียดเบียนสัตว์ไร ๆ. อีกประการหนึ่ง เราเพิ่มพูน

ประโยชน์สุขทั้งที่เป็นทิฏฐธัมมิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์และ ปรมัตถ-

ประโยชน์แก่สัตว์เหล่านั้น ดังนี้. บทว่า ย อกุสล ต ปหีน ความ

ว่า เราละคือถอนอกุศลหนึ่งพันห้าร้อย และมีประเภทมากมาย สัมปยุต-

อกุศลนั้นทั้งหมด ณ โคนโพธินั้นเอง. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

สมุจเฉทปหานวิเวก และปฏิปัสสัทธิวิเวก พร้อมกับนิสสรณวิเวกอันเป็นวิเวก

ที่พระองค์ยกขึ้น แต่ในข้อนี้ อาจารย์บางพวกยกขึ้นแม้ในตทังควิเวกและวิก-

ขัมภนวิเวก อันที่จริงในข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงความสิ้นกิเลสของ

พระองค์พร้อมด้วยปฏิปทาที่พระองค์ทรงบรรลุ ด้วยประการฉะนี้.

ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังพระอัธยาศัยในปวิเวกที่พระองค์

สั่งสมมาตลอดกัปอันนับไม่ได้ให้ถึงที่สุด พร้อมกับพระอัธยาศัยในการออกไป

แล้วทรงเข้าผลสมาบัติอันมีการออกไปนั้นเป็นอัธยาศัย ทรงทำให้แจ้งด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 275

หัวข้อ คือ การละกิเลสและการพิจารณาของพระองค์ ก็ในข้อนี้พระศาสดาทรง

ยกวิตก ๒ อย่างเหล่านี้ เพื่อเนื้อความอันใด บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงเนื้อความ

อันนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตสฺมาติห ภิกฺขเว ดังนี้. จริงอยู่ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงเริ่มพระธรรมเทศนานี้ อันว่าด้วยวิตก ๒ อย่างนี้ เพื่อให้ภิกษุ

ทั้งหลายตั้งอยู่ในวิตกนั้นด้วยหัวข้อ คือ การแสดงถึงความเป็นไปเนือง ๆ ของ

พระองค์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ได้แก่เพราะเขมวิตกและปวิเวกวิตกเท่า

นั้นย่อมเป็นไปเนือง ๆ แก่เราผู้ยินดีแล้ว ใน อัพยาปัชฌวิเวก (ความสงัด-

คือความมิใช่พยาบาท). บทว่า ติห เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อพฺยาปชฺฌารามา

วิหรถ ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดีด้วยเมตตาวิหารธรรมและกรุณา-

วิหารธรรมในสัตว์ทั้งปวงอยู่เถิด. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถึงการ

กระทำพยาบาทและกิเลส อันตั้งอยู่แห่งเดียวกันกับพยาบาทนั้นให้ไกลแสนไกล.

บทว่า โว ในบทว่า เตส โว นี้เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า ปวิเวการามา วิหรถ ความว่า พวกเธอจงกระทำวิเวก

ทั้งหมด คือ วิเวกมีกายวิเวกเป็นต้น และวิเวกมีตทังควิเวกเป็นต้น ให้เป็นที่

ควรมายินดีอยู่เถิด. บทว่า อิมาย มย เป็นต้น เป็นบทแสดงถึงอาการเป็น

ไปแห่งเขมวิตกของภิกษุเหล่านั้นฉันใด บทว่า กึ อกุสล เป็นต้นเป็นบท

แสดงอาการเป็นไปแห่งปวิเวกวิตกฉันนั้น. ในบทนั้นมีความว่า อันผู้ใคร่จะ

บำเพ็ญธรรมที่ไม่มีโทษ เป็นผู้แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ควรกระทำการแสวง

หากุศลธรรม ฉันใด แม้อันผู้ใคร่จะละธรรมที่มีโทษ ก็ไม่ควรการทำการแสวง

หาอกุศล ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า กึ อกุสล

เป็นต้น. จริงอยู่ ปริญญาภาวนา ปหานภาวนาและสัจฉิกิริยาภาวนา เป็นเบื้อง

ต้นแห่งอภิญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 276

ในบทเหล่านั้น บทว่า กึ อกุสล ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงถึงวิธีพิจารณาอกุศลโดยกิจว่า อะไรชื่อว่าอกุศล โดยสภาวะ อะไรชื่อว่า

เป็นลักษณะ หรืออะไรชื่อว่าเป็นรส เป็นเครื่องปรากฏ และเป็นปทัฏฐานแห่ง

อกุศลนั้น. อนึ่ง วิตกนี้มาแล้วโดยอาทิกรรมิกะ (ผู้ทำกรรมครั้งแรก). บททั้ง

สองนี้ว่า กึ อปฺปหีน กึ ปชหาม มาแล้วโดยพระเสกขะ (ผู้ยังต้องศึกษา).

เพราะฉะนั้น บทว่า กึ อปฺปหีน ได้แก่ ในบรรดาอกุศลทั้งหลายมีกามราค-

สังโยชน์เป็นต้น อกุศลอะไรที่เราทั้งหลายยังตัดไม่ได้ด้วยมรรค บทว่า กึ

ปชหาม ได้แก่เราจะถอนอกุศลอะไร. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กึ ปชหาม

ความว่า บัดนี้ เราจะละอกุศลส่วนอะไรในวิตก ปริยุฎฐาน และอนุสัย. แต่

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กิมปฺปหีน อกุศลอะไรที่เรายังละไม่ได้. ท่านอธิบาย

ว่า บรรดาอกุศลหลายอย่าง เช่นทิฏฐิและสังโยชน์เป็นต้น อกุศลอะไรที่เรา

ยังละไม่ได้โดยประการไร หรือโดยมรรคอะไร. บทที่เหลือมีนัยดังได้กล่าว

แล้วนั้นแล.

ในคาถาทั้งหลายมีอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า พุทฺธ ความว่า ชื่อว่า

พุทธะ เพราะตรัสรู้ เพราะแทงตลอดธรรมไม่ผิดไปจากอริยสัจ ๔ ด้วยพระ

สยัมภูญาณ คือ เพราะไม่มีไญยธรรมนอกจากสัจธรรม. สมดังที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

อภิญฺเยฺย อภิญฺาต ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิต

ปหาตพฺพ ปหีนำ เม ตสฺมา พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ

ดูก่อนพราหมณ์ กิจที่ควรรู้ยิ่งเรา

รู้แล้ว กิจที่ควรเจริญเราเจริญแล้ว กิจที่

ควรละเราได้ละแล้ว เพราะฉะนั้น เราจึง

เป็นพุทธะ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 277

พระพุทธเจ้าชื่อว่า ผู้ข่มมารอันผู้อื่นไม่พึงข่มได้ เพราะอดกลั้น เพราะนำไป

ซึ่งพระโพธิสัมภารและพระมหากรุณาธิคุณทั้งสิ้น อันผู้อื่นข่มไม่ได้ อนึ่ง

เพราะอดกลั้น เพราะครอบงำมารทั้งหลาย ๕ อันผู้อื่นข่มไม่ได้ เพราะยาก

เพื่อจะอดกลั้น เพื่อจะครอบงำ เพราะอดกลั้น เพราะนำไปซึ่งพุทธกิจอันผู้

อื่นข่มไม่ได้ อันได้แก่การพร่ำสอนด้วยทิฏฐธรรมิกประโยชน์ สัมปรายยิก-

ประโยชน์และปรมัตถประโยชน์ แก่เหล่าเวไนยสัตว์ ตามสมควร ด้วยการตรัสรู้

แจ้งมีอาสยะ (อัธยาศัย) อนุสยา (กิเลสอันนอนเนืองอยู่ในสันดาน) จริยา-

ธิมุตติ (ความพอใจในความประพฤติ) เป็นต้น หรือเพราะประกาศสาธุการ

ในพุทธกิจนั้น เฉพาะคนอื่นเว้นพระโพธิสัตว์ไม่สามารถ เพื่ออดกลั้น เพื่อ

นำไปได้.

บทว่า น ในบทว่า สมุทาจรนฺติ น เป็นเพียงนิบาตหรือมี

ความเท่ากับ น ตถาคต. พระมุนีชื่อ ตโมนุทะ เพราะบรรเทา คือ ซัด

ไปซึ่งอันธการ คือ โมหะ กล่าวคือความมืดในสันดานของตนและผู้อื่น. พระ

มุนีชื่อว่า ปารคตะ เพราะถึงฝั่ง คือ นิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปารคตะ

เพราะถึงฝั่ง คือ ที่สุดแห่งสังสารทุกข์ทั้งสิ้น อันเป็นอภินิหารใหญ่ซึ่งเป็นไป

แล้วโดยนัยมีอาทิว่า มุตฺโต โมเจสฺสามิ เราพ้นแล้วจักให้สัตว์พ้นบ้างดังนี้

หรือแห่งคุณ คือ พระสัพพัญญูทั้งหลาย. พระมุนีนั้นผู้บรรเทาความมืด ผู้ถึง

ฝัง. อธิบายว่า พระพุทธเจ้าผู้ถึงคุณอันควรถึงจากการถึงฝั่งนั้นนั่นเอง คือ ถึง

คุณทั้งปวงมีศีลเป็นต้นและมีทศพลญาณเป็นต้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง

หลายพึงถึง. บทว่า วสิม ความว่า พระมุนีชื่อว่า วสิมา เพราะมีความ

เป็นผู้ชำนาญ มีอาวัชชนะเป็นต้นอย่างยิ่ง อันเนื่องด้วยความหวังในฌานเป็น

ต้นและความเป็นผู้ชำนาญทางจิตอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น ได้แก่ฤทธิ์อันเป็นอริยะ.

พระมุนีนั้นผู้มีความชำนาญ. อธิบายว่า ผู้มีอำนาจ. พระมุนีชื่อว่า อนาสวะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 278

เพราะไม่มีอาสวะมีกามาสวะเป็นต้นทั้งหมด. พระมุนีชื่อว่า วิสันตระ เพราะ

ละความไม่เป็นระเบียบมีความไม่เป็นระเบียบทางกายเป็นต้น หรือเพราะข้าม

มลทิน คือ กิเลสทั้งปวง กล่าว คือยาพิษ หรือข้ามภัยอันเป็นทุกข์ในวัฏฏะทั้ง

สิ้นอันเป็นยาพิษแล้วข้ามไป. พระมุนีนั้นผู้ข้ามวัฏทุกข์อันเป็นยาพิษ. พระ

มุนีผู้น้อมไปแล้วในอรหัตผล และนิพพานอันเป็นที่สิ้นตัณหา. ชื่อว่า มุนี

เพราะประกอบด้วยความดีเยี่ยมด้วยญาณ คือ ความเป็นผู้นิ่งหรือด้วยความเป็น

ผู้นิ่งทางกายเป็นต้น เพราะไปในอรหัตผลและนิพพาน.

ก็บทว่า มุนี ความว่า มุนีมีหลายอย่าง คือ อาคาริยมุนี ๑ อนา-

คาริยมุนี ๑ เสกขมุนี ๑ อเสกขมุนี ๑ ปัจเจกมุนี ๑ มุนิมุนี ๑. ในมุนี

เหล่านั้น คฤหัสถ์ผู้บรรลุผล ผู้รู้แจ้งคำสอน ชื่อว่า อาคาริยมุนี. บรรพชิต

เช่นเดียวกันนั้น ชื่อว่า อนาคาริยมุนี. พระเสกขะ ๗ จำพวก ชื่อว่าเสกขมุนี.

พระขีณาสพชื่อว่า อเสกขมุนี. พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่า ปัจเจกมุนี พระ

สัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่า มุนิมุนี. ในที่นี้ประสงค์เอาพระมุนิมุนีนี้.

พระมุนีชื่อว่า อันติมเทหธารี เพราะเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมี

ในที่สุด คือสุดท้าย เพราะไม่มีภพใหม่อีกต่อไป. พระมุนีนั้นผู้ทรงไว้ซึ่ง

ร่างกาย้อนมีในที่สุด. พระมุนี ชื่อว่า มารชหะ เพราะสละกิเลสมารเป็นต้นได้

โดยชอบ. พระมุนี ชื่อว่า ปารคู เพราะเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชราทั้งปวง มีชรา

ปรากฏเป็นต้น ด้วยบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน เพราะตัดขาดเหตุแห่งชราเสียได้.

ก็ในที่นี้ พึงเห็นว่าท่านกล่าวการถึงฝั่ง แห่งชาติ มรณะ โสกะเป็นต้น

ด้วยหัวข้อแห่งชรา. เชื่อมความว่า เรากล่าวว่าวิตก ๒ ประการ ของพระตถาคต

ผู้เป็นอย่างนั้น ๆ ย่อมเป็นไปเนือง ๆ ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงวิตก ๒ ประการ ด้วยคาถาที่ ๑ จากนั้นทรงแสดงปวิเวกวิตกด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 279

คาถาที่ ๒ บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงเขมวิตก จึงตรัสคาถาที่ ๓ ว่า เสเล ยถา

ดังนี้เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เสเล ยถา ปพฺพตมุทฺธนิฏฺิโต ได้แก่

เปรียบเหมือนบุรุษยืนอยู่บนยอดภูเขาทึบลูกเดียว สำเร็จด้วยหิน. เมื่อยืนอยู่

บนภูเขานั้น ไม่มีการยกคอตั้ง และเหยียดมือเป็นต้น. บทว่า ตถูปม คือ

เปรียบด้วยภูเขาหิน อันเทียบกันได้กับผู้มีปัญญานั้น. พึงทราบความสังเขปใน

ข้อนี้ ดังต่อไปนี้ บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาหิน พึงเห็นหมู่ชนโดยรอบได้

ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีปัญญาดี คือมีปัญญางาม มีพระจักษุรอบคอบ

ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ขึ้นสู่ปราสาทอันสำเร็จด้วยธรรม คือ สำเร็จด้วยปัญญา

ผู้ปราศจากความโศก ย่อมพิจารณา ใคร่ครวญ ไตร่ตรอง ถึงหมู่สัตว์ผู้ยัง

ข้ามความโศกไม่ได้ ถูกชาติชราครอบงำ. ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ เหมือน

อย่างว่า บุรุษกระทำนากว้างใหญ่โดยรอบที่เชิงภูเขา แล้วปลูกกระท่อมใน

แนวทุ่งที่นานั้น พึงก่อไฟตอนกลางคืน ปรากฏความมืดประกอบด้วยองค์ ๔

ที่นั้น เมื่อบุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนยอดภูเขาแลดูภูมิประเทศ นาไม่ปรากฏ

แนวทุ่งไม่ปรากฏ กระท่อมไม่ปรากฏ คนนอนในที่นั้นไม่ปรากฏ พึงปรากฏ

เพียงเปลวไฟที่กระท่อมเท่านั้น ฉันใด เมื่อพระตถาคตขึ้นสู่ปราสาทสำเร็จ

ด้วยธรรม ทางตรวจดูหมู่สัตว์ ก็ฉันนั้น สัตว์ที่มิได้ทำความดี แม้นั่งที่ข้างขวา

ในวิหารเดียวกัน ก็มิได้มาสู่คลองแห่งพุทธญาณ เป็นดุจลูกศรที่ซัดไปในตอน

กลางคืน แต่เวไนยบุคคลผู้ทำความดี แม้ยืนอยู่ในที่ไกล ก็มาสู่คลองของ

พระตถาคตนั้น ดุจไฟ ดุจภูเขาหิมพานต์. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโต จ ปพฺพโต

อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺตึ ขิตฺตา ยถา สรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 280

สัตบุรุษ ย่อมปรากฏในที่ไกล ดุจ

ภูเขาหิมพานต์ อสัตบุรุษย่อมไม่ปรากฏ

ในที่นี้ เหมือนลูกศรที่ซัดไปในเวลา

กลางคืน ฉะนั้น.

ในสูตรนี้ และในคาถาทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงกระทำ

พระองค์ดุจผู้อื่น.

จบอรรถกถาวิตักกสูตรที่ ๑

๒. เทศนาสูตร

ว่าด้วยพระธรรมเทศนา ๒ ประการ

[๒๑๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนา ๒ ประการ ของพระตถาคต-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมมีโดยปริยาย ๒ ประการเป็นไฉน คือ ธรรม

เทศนาประการที่ ๑ นี้ว่า เธอทั้งหลายจงเห็นบาปโดยความเป็นบาป ธรรม

เทศนาประการที่ ๒ แม้นี้ว่า เธอทั้งหลายครั้นเห็นบาปโดยความเป็นบาปแล้ว

จงเบื่อหน่าย จงคลายกำหนัด จงปลดเปลื้องในบาปนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ธรรมเทศนา ๒ ประการนี้ ของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมมี

โดยปริยาย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 281

เธอจงเห็นการแสดงโดยปริยายของ

พระตถาคต พระพุทธเจ้าผู้อนุเคราะห์สัตว์

ทุกหมู่เหล่า ก็ธรรม ๒ ประการ พระ-

ตถาคต พระพุทธเจ้า ผู้อนุเคราะห์สัตว์

ทุกหมู่เหล่าประกาศแล้ว. เธอทั้งหลาย

ผู้ฉลาดจงเห็นบาป จงคลายกำหนัดใน

บาปนั้น เธอทั้งหลายผู้มีจิตคลายกำหนัด

จากบาปนั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์

ได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบเทศนาสูตรที่ ๒

อรรถกถาเทศนาสูตร

ในเทศนาสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ปริยายศัพท์ในบทว่า ปริยาเยน นี้ มาในความว่า เทศนาในบทมี

อาทิว่า มธุปิณฺฑิกปริยาโย เตฺวว น ธาเรหิ ท่านจงทรงจำเทศนานั้นไว้ว่า

เป็นมธุปิณฑิกปริยายเทศนา ดังนี้ . มาในความว่า เหตุในบทมีอาทิว่า อตฺถิ

เขฺวส พฺราหฺมณ ปริยาโย เยน ม ปริยายน สมฺมา วทมาโน วเทยฺย

อกิริยวาโท สมโณ โคตโม ดูก่อนพราหมณ์ เหตุนี้มีอยู่แล เมื่อจะกล่าว

กะเราโดยชอบด้วยเหตุ พึงกล่าวว่า สมณโคดม เป็นอกิริยวาท (วาทะว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 282

ไม่เป็นอันทำ) ดังนี้. มาในความว่า วาระในบทมีอาทิว่า กสฺส นุ โข

อานนฺท อชฺช ปริยาโย ภิกฺขุนิโย โอวทิตุ ดูก่อนอานนท์ วันนี้ถึง

วาระของใครจะสอนภิกษุณีทั้งหลาย ดังนี้. ก็ในที่นี้ สมควรทั้งในวาระ ทั้งใน

เหตุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น ธรรมเทศนา ๒ อย่าง ของตถาคต

ย่อมมีขึ้นโดยเหตุ และโดยวาระตามสมควร ดังนี้ นี้เป็นอธิบายในบทนี้.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า บางครั้งทรงจำแนกกุศลธรรมและอกุศล-

ธรรม ตามสมควรแก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้

เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ

ธรรมเหล่านี้ควรเสพ ธรรมเหล่านี้ไม่ควรเสพ ดังนี้ ทรงแสดงให้รู้โดยไม่ปน

อกุศลธรรมเข้ากับกุศลธรรม ทรงแสดงธรรมว่า พวกเธอจงเห็นบาปโดยความ

เป็นบาป. บางครั้งทรงประกาศโทษ โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปาณาติบาตที่บุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ให้เป็นไปในนรก

ให้เป็นไปในกำเนิดเดียรัจฉาน ให้เป็นไปในเปรตวิสัย ปาณาติบาตที่เบากว่า

บาปทั้งปวง ทำให้มีอายุน้อย ดังนี้ ทรงให้พรากจากบาปด้วยนิพพิทาเป็นต้น

ทรงแสดงธรรมว่า พวกเธอจงเบื่อหน่าย จงคลายกำหนัด ดังนี้.

บทว่า ภวนฺติ ได้แก่ ย่อมมี คือ ย่อมเป็นไป. บทว่า ปาป

ปาปกโต ปสฺสถ ความว่า พวกเธอจงเห็นธรรมอันลามกทั้งปวง โดยเป็น

ธรรมลามก เพราะนำสิ่งไม่เป็นประโยชน์ และทุกข์มาในปัจจุบันและอนาคต.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นิพฺพินฺทถ ความว่า พวกเธอเห็นโทษมีอย่างต่างๆ

กัน โดยนัยมีอาทิว่า บาปชื่อว่าเป็นบาป เพราะเป็นของลามก โดยความ

เป็นของเลวส่วนเดียว ชื่อว่า เป็นอกุศล เพราะเป็นความไม่ฉลาด ชื่อว่า

เป็นความเศร้าหมอง เพราะทำจิตที่เคยประภัสสร และผ่องใสให้พินาศจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 283

ความประภัสสรเป็นต้น ชื่อว่า ทำให้มีภพใหม่ เพราะทำให้เกิดทุกข์ในภพบ่อยๆ

ชื่อว่ามีความกระวนกระวาย เพราะเป็นไปกับด้วยความกระวนกระวาย คือ

ความเดือดร้อน ชื่อว่า มีทุกข์เป็นวิบาก เพราะให้ผลเป็นทุกข์อย่างเดียว ชื่อว่า

เป็นเหตุให้มีชาติ ชรา และมรณะต่อไป เพราะทำให้มีชาติ ชรา และมรณะ

ในอนาคตตลอดกาลนานไม่มีกำหนด สามารถกำจัดประโยชน์สุขทั้งหมดได้

และเห็นอานิสงส์ในการละบาปนั้นด้วยปัญญาชอบ จงเบื่อหน่าย คือ ถึงความ

เบื่อหน่ายในธรรมอันลามกนั้น เมื่อเบื่อหน่ายพึงเจริญวิปัสสนาแล้วจงคลาย

กำหนัด และจงปลดเปลื้องจากบาปนั้นโดยความเป็นบาป ด้วยบรรลุอริยมรรค

หรือจงคลายกำหนัดด้วยการคลายอย่างเด็ดขาด ด้วยมรรค แต่นั้นจงปลดเปลื้อง

ด้วยปฏิปัสสัทธิวิมุตติด้วยผล.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาป ได้แก่ ชื่อว่า บาป เพราะเป็นของลามก.

ถามว่า ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ตอบว่า ชื่อว่า บาป เพราะเป็นสิ่งน่ารังเกียจ

คือ พระอริยะเกลียดโดยความเป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นต้น ยังสัตว์ให้ถึง

ทุกข์ในวัฏฏะ. ถามว่า ก็บาปนั้นเป็นอย่างไร. ตอบว่า เป็นธรรมชาติทำให้

เกิดในภูมิ ๓ พวกเธอเห็นบาปโดยความเป็นบาป มีเนื้อความตามที่กล่าวแล้ว

เจริญวิปัสสนาโดยนัยมีอาทิว่า โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์

โดยความเป็นโรค โดยความเป็นลูกศร โดยความเป็นของชั่ว โดยความ

เบียดเบียน ดังนี้ จงเบื่อหน่ายในบาปนั้น. บทว่า อยมฺปิ ทุติยา ได้แก่

ธรรมเทศนาประการที่ ๒ นี้ เป็นการเลือกปฏิบัติจากธรรมนั้น อาศัยธรรม-

เทศนาประการที่ ๑ อันแสดงถึงสิ่งไม่เป็นประโยชน์และความฉิบหายโดยความ

แน่นอน.

พึงทราบอธิบายในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. บทว่า พุทฺธสฺส ได้แก่

พระสัพพัญญพุทธเจ้า. บทว่า สพฺพภูตานุกมฺปิโน ได้แก่ พระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 284

ผู้อนุเคราะห์สัตว์ทั้งหมดด้วยมหากรุณา. บทว่า ปริยายวจน ได้แก่ การกล่าว

คือ การแสดงโดยปริยาย. บทว่า ปสฺส คือ ทรงร้องเรียกบริษัท. ท่านกล่าว

หมายถึง บริษัทผู้เป็นหัวหน้า. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสว่า ปสฺส หมายถึงพระองค์เท่านั้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในบาปนั้น.

บทว่า วิรชฺชถ ความว่า พวกเธอจงละความกำหนัด. บทที่เหลือมีนัยดัง

ได้กล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาเทศนาสูตรที่ ๒

๓. วิชชาสูตร

ว่าด้วยวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งกุศลธรรม

[๒๑๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเป็นหัวหน้าแห่งอกุศลธรรม อหิริกะ

อโนตตัปปะเป็นไปตาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนวิชชาแลเป็นหัวหน้าแห่งการ

ถึงพร้อมแห่งกุศลธรรม หิริและโอตตัปปะเป็นไปตาม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ทุคติอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้

และในโลกหน้า ทั้งหมดมีอวิชชาเป็นมูล

อันความปรารถนาและความโลภก่อขึ้น ก็

เพราะเหตุที่บุคคลเป็นผู้มีความปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 285

ลามก ไม่มีหิริ ไม่เอื้อเฟื้อ ฉะนั้น จึงย่อม

ประสบบาป ต้องไปสู่อบาย เพราะบาปนั้น

เพราะเหตุนั้น ภิกษุสำรอกฉันทะ โลภะ

และอวิชชาได้ ให้วิชชาบังเกิดขึ้นอยู่ พึง

ทุคติทั้งปวงเสียได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบวิชชาสูตรที่ ๓

อรรถกถาวิชชาสูตร

ในวิชชาสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุพฺพงฺคมา ได้แก่ เป็นหัวหน้าโดยอาการ ๒ อย่าง คือ

โดยสหชาตปัจจัยและอุปนิสสยปัจจัย. หรือเป็นประธานแห่งอกุศลธรรมเบื้อง-

หน้า. จริงอยู่ การเกิดขึ้นแห่งอกุศล เว้นจากอวิชชาเสียแล้วย่อมมีไม่ได้.

บทว่า สมาปตฺติยา ได้แก่ ความเป็นไปเพื่อได้ความจริงอันถึงเฉพาะหน้า.

ความเป็นอุปนิสสยปัจจัยแห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย โดยความเป็นปัจจัยแห่ง

อโยนิโสมนสิการด้วยการปกปิดโทษแห่งความเป็นไปของอกุศล และโดยความ

ที่ยังละไม่ได้ ย่อมปรากฏในความนั้น.

คติแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ทุคติในคาถานี้ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์มีพยาธิ

และมรณะเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง กายทุจริต วจีทุจริต

และมโนทุจริต ชื่อว่า ทุคติ เพราะคติที่ถูกกิเลสมีราคะเป็นต้นประทุษร้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 286

เป็นไปทางกาย วาจา และใจ. บทว่า อสฺมึ โลเก ได้แก่ ในโลกนี้หรือ

ในมนุษยคติ. บทว่า ปรมฺหิ จ ได้แก่ ในคติอื่นจากมนุษยคตินั้น. บทว่า

อวิชฺชามูลิกา สพฺพา ได้แก่ ความวิบัติแห่งทุจริต แม้ทั้งหมดนั้นมีอวิชชา

เป็นมูลอย่างเดียว เพราะมีอวิชชาเป็นหัวหน้าโดยนัยดังกล่าวแล้ว. บทว่า

อิจฺฉาโลภสมุสฺสยา ความว่า ชื่อว่า อิจฺฉาโลกสมุสฺสยา เพราะอันความ

ปรารถนามีลักษณะแสวงหาสิ่งอันยังไม่ถึงพร้อม และอันความโลภมีลักษณะ

อยากได้สิ่งอันถึงพร้อมแล้ว ก่อขึ้น คือ สะสม. บทว่า ยโต ได้แก่ เพราะ

มีอวิชชาเป็นเหตุ เป็นผู้ถูกอวิชชาปกปิด. บทว่า ปาปิจฺโฉ ได้แก่ ผู้มีความ

ปรารถนาลามกไม่เห็นโทษ ทำความหลอกลวงเป็นต้น ด้วยการยกย่องคุณที่ไม่มี

เพราะมีความปรารถนาลามก เพราะถูกอวิชชาปกปิด. พึงเห็นว่า แม้ความ

ปรารถนาในคนก็เป็นอันถือเอาด้วยความโลภเหมือนกัน. บทว่า อนาทโร

ได้แก่ เว้นจากความเอื้อเฟื้อในเพื่อนสพรหมจารี เพราะไม่มีโอตตัปปะอันถือ

โลกเป็นใหญ่. บทว่า ตโต ได้แก่ เพราะเป็นเหตุแห่งอวิชชาความปรารถนา

ลามก ความไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ. บทว่า ปสวติ ได้แก่สะสมบาป มีกาย

ทุจริตเป็นต้น. บทว่า อปาย เตน คจฺฉติ ได้แก่ ย่อมไป คือ ย่อมเข้า

ถึงอบายมีนรกเป็นต้น เพราะบาปตามที่ขวนขวายนั้น. บทว่า ตสฺมา ได้แก่

เพราะอวิชชาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นรากเหง้าแห่งทุจริตทั้งปวง และเป็นเหตุแห่ง

ความเศร้าหมองอันเป็นแดนเกิดในทุคติทั้งปวง อย่างนี้ ฉะนั้น ภิกษุสำรอกความ

ปรารถนา ความโลภ อวิชชา อหิริกะ และอโนตตัปปะได้ ละด้วยสมุจเฉท.

ถามว่า สำรอกอย่างไรจึงจะให้วิชชาเกิดขึ้นได้. ตอบว่า ขวนขวายตามลำดับ

วิปัสสนาและตามลำดับมรรคแล้วยังวิชชา คือ อรหัตมรรคให้เกิดในสันดาน

ของตน. บทว่า สพฺพา ทุคฺคติโย ได้แก่ พึงละ คือ พึงสละพึงก้าวล่วง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 287

ทุคติ กล่าวคือทุจริตแม้ทั้งปวง หรือคติ ๕ ทั้งปวงอันชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะ

เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ในวัฏฏะ. จริงอยู่ กรรมวัฏและวิปากวัฏเป็นอันละได้ด้วย

การละกิเลสวัฏนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวิชชาสูตรที่ ๓

๔. ปัญญาสูตร

ว่าด้วยขาดปัญญาพาให้เสื่อมมีปัญญาพาให้เจริญ

[๒๑๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่า

เสื่อมสุด สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน มีความคับแค้น

มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม สัตว์เหล่านั้น

ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน

ในปัจจุบันเทียวแล เมื่อตายไปพึงหวังได้สุคติ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้ตั้งมั่น

ลงแล้วในนามรูป เพราะความเสื่อมไปจาก

ปัญญา โลกพร้อมด้วยเทวโลกย่อมสำคัญ

ว่า นามรูปนี้เป็นของจริง ปัญญาอันให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 288

ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุด

ในโลก ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ

ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีสติ มีปัญญาร่าเริง

ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปัญญาสูตรที่ ๔

อรรถกถาปัญญาสูตร

ในปัญญาสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุปริหีนา ได้แก่ เสื่อมสุด. บทว่า เย อริยาย ปญฺาย

ปริหีนา ความว่า สัตว์เหล่าใด เสื่อมจากวิปัสสนาปัญญา และมรรคปัญญา

อันเป็นอริยะ คือ บริสุทธิ์ เพราะตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งหลาย ด้วยการรู้ความเกิด

และความเสื่อมของขันธ์ ๕ และด้วยการแทงตลอดอริยสัจ ๔ สัตว์เหล่านั้นเสื่อม

คือ เสื่อมมากเหลือเกินจากสมบัติอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ. ถามว่า ก็สัตว์

เหล่านั้นเป็นจำพวกอะไร. ตอบว่า เป็นความจริงดังนั้น สัตว์เหล่าใดประกอบ

ด้วยเครื่องกั้น คือ กรรม สัตว์เหล่านั้นเสื่อม คือ พร่อง คือ เสื่อมมากโดย

ส่วนเดียว โดยความเป็นผู้แน่นอนต่อความเห็นผิด. ดังที่ท่านกล่าวว่า ทุคฺคติ

ปาฏิกงฺขา ทุคติเป็นอันหวังได้ ดังนี้. แม้พร้อมเพรียงด้วยเครื่องกั้น คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 289

วิบากก็เสื่อม. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบในธรรมฝ่ายขาว ผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ

เว้นจากเครื่องกั้น ๓ อย่าง และเป็นผู้ประกอบด้วยกัมมัสสกตาญาณ ชื่อว่า

ไม่เสื่อม. คำที่เหลือ พึงทราบโดยทำนองอันมีนัยดังที่กล่าวแล้ว.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า ปญฺาย เป็น

ปัญจมีวิภัตติ. ความว่า เพราะความเสื่อมไปจากวิปัสสนาญาณและมรรคญาณ.

หรือบทว่า ปญฺาย นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ. ความว่า เพราะเสื่อมไปแห่งญาณ

ดังที่ได้กล่าวแล้ว. อนึ่ง การไม่ให้เกิดขึ้นแห่งญาณที่ควรให้เกิดนั่นแล เป็น

ความเสื่อมในบทนี้. บทว่า นิวิฏฺ นามรูปสฺมึ ได้แก่ ผู้ตั้งมั่นแล้ว คือ

หยั่งลงแล้วในนามรูป คือ ในอุปาทานขันธ์ ๕ ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิโดย

นัยมีอาทิว่า เอต มม นั่นของเราดังนี้ เพราะความเสื่อมไปจากปัญญานั้น.

บทว่า อิท สจฺจนฺติ มญฺติ ได้แก่ ย่อมสำคัญว่านามรูปนี้เท่านั้นเป็น

ของจริง อย่างอื่นเป็นโมฆะดังนี้. พึงเปลี่ยนวิภัตติเป็น สเทวเก โลเก ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงธรรมฝ่ายเศร้าหมองในคาถาที่ ๑

อย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อจะทรงประกาศอานุภาพแห่งปัญญาว่า กิเลสวัฏ ย่อม

เป็นไปด้วยความมั่นหมายและยึดมั่นในนามรูป เพื่อมิให้เกิดอันใด การเข้าไป

ตัดวัฏฏะเพื่อให้เกิดอันนั้น ดังนี้จึงตรัสคาถาว่า ปญฺา หิ เสฏฺา โลกสฺมึ

ปัญญาแล ประเสริฐที่สุดในโลก ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โลกสฺมึ ได้แก่สังขารโลก. ธรรมเช่นกับ

ปัญญาในสังขารทั้งหลาย ในสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่มีดุจพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

จริงอยู่ กุศลธรรมทั้งหลายมีปัญญาเป็นอย่างยิ่ง และธรรมอันไม่มีโทษทั้งปวง

เป็นอันสำเสร็จเพราะความสำเร็จแห่งปัญญา. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ว่า สมฺมาทิฏฺิสฺส สมฺมาสงฺกปฺโป โหติ ความดำริชอบย่อมมีแก่ผู้เห็น

ชอบดังนี้. ก็ปัญญาที่ประสงค์เอาในที่นี้ท่านยกย่องว่า ประเสริฐที่สุด. เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 290

ทรงแสดงถึงความเป็นไปนั้น จึงตรัสว่า ยาย นิพฺเพธคามินี ปัญญาอันให้ถึง

ความชำแรกกิเลส ดังนี้เป็นต้น.

อธิบายความแห่งบทนั้นว่า ปัญญาใดอันให้ถึงความชำแรกกิเลสว่า

ปัญญานี้ถึงความชำแรก คือ ทำลายกิเลสมีกองโลภะเป็นต้นอันยังไม่เคยชำแรก

ยังไม่เคยทำลาย ย่อมไป ย่อมเป็นไป โยคาวจรย่อมรู้ ย่อมทำให้แจ้งนิพพาน

และอรหัตอันเป็นที่สิ้นไป เป็นที่สุดแห่งชาติ กล่าวคือ ความเกิดครั้งแรก

แห่งขันธ์ทั้งหลายในหมู่สัตว์ ในภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติและสัตตาวาส

นั้น ๆ และกรรมภพอันมีชาตินั้นเป็นนิมิต โดยชอบไม่วิปริต ด้วยปัญญาใด

ปัญญานี้เป็นมรรคปัญญาพร้อมด้วยวิปัสสนา ประเสริฐที่สุดในโลก ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยกย่องพระขีณาสพ ผู้ถึงพร้อม

แล้วด้วยบุญญานุภาพตามที่กล่าวแล้ว จึงตรัสพระคาถาสุดท้ายว่า เตส เทวา

มนุสฺสา จ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระ

องค์นั้น ดังนี้.

อธิบายความแห่งบทนั้นว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมกระหยิ่มรัก

ใคร่ต่อพระขีณาสพเหล่านั้น ผู้ชื่อว่าเป็นสัมพุทธะด้วยการตรัสรู้อริยสัจ ๔

เพราะสำเร็จโสฬสกิจ มีปัญญาเป็นต้นในอริยสัจ ๔ ชื่อว่าผู้มีสติ เพราะมีสติ

ไพบูลย์ ชื่อว่าผู้มีปัญญาร่าเริง ด้วยถึงความไพบูลย์แห่งปัญญา เพราะถอน

ความลุ่มหลงเสียได้โดยนัยดังกล่าวแล้ว หรือว่า ชื่อว่าผู้มีปัญญาร่าเริง ความ

โสมนัส ความยินดี ความบันเทิง ตั้งแต่เป็นผู้บริบูรณ์ด้วยศีลเป็นต้นใน

ส่วนเบื้องต้น จนถึงทำนิพพานให้แจ้ง ชื่อว่าผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด

เพราะเป็นผู้สิ้นภวสังโยชน์โดยประการทั้งปวง ย่อมปรารถนาเพื่อบรรลุความ

เป็นอย่างนั้นบ้างว่า บุญญานุภาพน่าอัศจรรย์ ถ้ากระไร แม้เราก็ควรเป็นผู้ข้าม

พ้นทุกข์ทั้งปวงเช่นนี้ได้บ้าง ดังนี้.

จบอรรถกถาปัญญาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 291

๕. ธรรมสูตร

ว่าด้วยเรื่องสุกธรรมประจำโลก ๒ ประการ

[๒๒๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุกธรรม ๒ ประการนี้ย่อมรักษาโลก ๒

ประการเป็นไฉน คือ หิริ ๑ โอตตัปปะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าสุก-

ธรรม ๒ ประการนี้จะไม่พึงรักษาโลกไซร้ ในโลกนี้ก็ไม่พึงปรากฏว่า มารดา

น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครู โลกจะถึงความปะปนกัน

ไป เหมือนอย่างแพะ แกะ ไก่ สุกร สุนัข สุนัขจิ้งจอกฉะนั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สุกธรรม ๒ ประการนี้ยังรักษาโลกอยู่ ฉะนั้นจึง

ยังปรากฏว่า มารดา น้า ป้า ภรรยาของอาจารย์ หรือว่าภรรยาของครู.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ถ้าสัตว์เหล่าใด ไม่มีหิริและโอต-

ตัปปะในกาลทุกเมื่อไซร้ สัตว์เหล่านั้นมี

สุกธรรมเป็นมูลปราศไปแล้ว เป็นผู้ถึง

ชาติและมรณะ ส่วนสัตว์เหล่าใด เข้าไป

ตั้งหิริและโอตตัปปะไว้โดยชอบในกาลทุก

เมื่อ สัตว์เหล่านั้นมีพรหมจรรย์งอกงาม

เป็นผู้สงบ มีภพใหม่สิ้นไปแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 292

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบธรรมสูตรที่ ๕

อรรถกถาธรรมสูตร

ในธรรมสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุกฺกา ชื่อว่า สุกธรรมเพราะเป็นธรรมขาว ก็สุกธรรม

ย่อมเป็นไปเพื่อความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง โดยความเป็นธรรมขาว เพราะเหตุนั้น

ธรรมทั้งหลายชื่อว่า ขาว เพราะเป็นธรรมขาวบริสุทธิ์ . ธรรมทั้งหลายที่เป็น

กุศลทั้งปวง แม้โดยพร้อมด้วยรสชื่อว่า ธรรมขาว เพราะตรงข้ามกับความเป็น

ธรรมดำ. ด้วยว่าเพราะธรรมขาวเกิดขึ้น จิตจึงเป็นประภัสสรบริสุทธิ์. บทว่า

ธมฺมา ได้แก่ธรรมเป็นกุศล. บทว่า โลก ได้แก่สัตวโลก. บทว่า ปาเลนฺติ

ได้แก่ วางขอบเขตรักษาด้วยการรองรับไว้ ทรงไว้.

ในบทว่า หิริ จ โอตฺตปฺปญฺจ นี้พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้

ชื่อว่า หิริ เพราะอันเขาละอาย. หรือชื่อว่า หิริ เพราะเป็นเหตุละอาย.

แม้ข้อนี้ท่านก็กล่าวไว้ว่า ข้อที่อันบุคคลละอายด้วยสิ่งที่ควรละอาย คือ ละอาย

ต่อความเกิดแห่งอกุศลธรรมอันลามก ท่านเรียกว่า หิริ. ชื่อว่า โอตตัปปะ

เพราะกลัว. หรือชื่อว่า โอตตัปปะ เพราะเป็นเหตุกลัว. แม้ข้อนี้ท่านก็กล่าว

ไว้ว่า ข้อที่กลัวสิ่งที่ควรกลัว คือ กลัวต่อความเกิดแห่งอกุศลธรรมอันลามก

ท่านเรียกว่า โอตตัปปะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 293

ในหิริและโอตตัปปะนั้น หิริ เกิดขึ้นในภายใน โอตตัปปะเกิดขึ้น

ในภายนอก. หิริ ถือตนเป็นใหญ่ โอตตัปปะถือโลกเป็นใหญ่. หิริตั้งอยู่ใน

ความละอายเป็นสภาพ. โอตตัปปะตั้งอยู่ในความกลัวเป็นสภาพ. หิริ มีลักษณะ

ยำเกรง. โอตตัปปะ มีลักษณะเห็นภัยอันเป็นโทษที่น่ากลัว.

ในหิริและโอตตัปปะนั้น หิริ เกิดขึ้นในภายในย่อมเกิดด้วยเหตุ ๔

อย่าง คือ นึกถึงชาติ นึกถึงวัย นึกถึงความเป็นผู้กล้า นึกถึงความเป็น

ผู้คงแก่เรียน ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า บุคคลนึกถึงชาติอย่างนี้ก่อนว่า ชื่อ

ว่าการกระทำความชั่วนี้ ไม่ใช่เป็นการกระทำของตนผู้มีชาติเจริญ เป็นการ

กระทำของชาวประมงเป็นต้น ผู้มีชาติต่ำ ผู้เจริญด้วยชาติเช่นท่านไม่ควรกระ

ทำกรรมนี้ ดังนี้ แล้วไม่กระทำกรรมชั่ว เกิดหิริขึ้น. อนึ่ง นึกถึงวัยอย่าง

นี้ว่า ชื่อว่า การกระทำกรรมชั่วนี้เป็นกรรมที่คนหนุ่ม ๆ ควรกระทำ คนที่

ตั้งอยู่ในวัยเช่นท่านไม่ควรทำกรรมนี้ แล้วไม่กระทำกรรมชั่วมีปาณาติบาต

เป็นต้นเกิดหิริขึ้น. อนึ่ง นึกถึงความเป็นผู้กลัวอย่างนี้ว่า ชื่อว่า การกระทำ

ความชั่วนี้เป็นการกระทำของผู้ที่มีกำลังอ่อนแอ ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยกำลังเช่นท่าน

ไม่ควรกระทำกรรมนี้ ดังนี้แล้ว ไม่กระทำกรรมชั่วมีปาณาติบาตเป็นต้น เกิด

หิริขึ้น. อนึ่ง นึกถึงความเป็นผู้คงแก่เรียนอย่างนี้ว่า ชื่อว่าการกระทำความ

ชั่วนี้เป็นการกระทำของอันธพาล. มิใช่เป็นการกระทำของบัณฑิต ผู้เป็น

บัณฑิตคงแก่เรียนเช่นท่านไม่ควรกระทำกรรมนี้ ดังนี้แล้ว ไม่กระทำความชั่วมี

ปาณาติบาตเป็นต้น เกิดหิริขึ้น. บุคคลยังหิริอันเกิดในภายในให้เกิดขึ้นด้วย

เหตุ ๔ ประการอย่างนี้ ก็และครั้นให้เกิดแล้ว พิจารณาถึงหิริในจิตของตน

แล้วไม่กระทำกรรมชั่ว. หิริ ชื่อว่าเกิดขึ้นในภายในด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า โอตตัปปะ ชื่อว่า เกิดในภายนอกเป็นอย่างไร. ตอบว่า

บุคคลนึกอยู่ว่า หากว่าท่านจักกระทำกรรมชั่วนั้น ท่านจักได้รับความติเตียน

ในบริษัท ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 294

วิญญูชนทั้งหลาย จักติเตียนท่าน

เหมือนชาวเมือง รังเกียจของสกปรก ท่าน

ถูกผู้มีศีลกำจัดเสียแล้ว จักเป็นภิกษุอยู่ได้

อย่างไร ดังนี้

ย่อมไม่กระทำกรรมชั่ว ด้วยโอตตัปปะอันเกิดแล้วในภายนอก. โอตตัปปะ

ชื่อว่า ตั้งขึ้นในภายนอก ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า หิริ ชื่อว่า ถือตนเป็นใหญ่เป็นอย่างไร. ตอบว่า กุลบุตร

บางคนในโลกนี้ กระทำตนให้เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า แล้วไม่ทำกรรมชั่ว ด้วย

เห็นว่า ผู้บวชด้วยศรัทธาเป็นผู้คงแก่เรียน ผู้กล่าวสอนธุดงค์ เช่นท่านไม่ควร

ทำกรรมชั่ว ดังนี้. หิริ ชื่อว่า ถือคนเป็นใหญ่ ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า โส อตฺตานเยว อธิปตึ กตฺวา อกุสล

ปชหติ กุสล ภาเวติ สาวชฺช ปชหติ อนวชฺช ภาเวติ สทฺธมตฺตาน

ปริหรติ ความว่า บุคคลนั้นนึกทำตนเป็นใหญ่ แล้วละอกุศล เจริญกุศล

ละสิ่งมีโทษ เจริญสิ่งไม่มีโทษ รักษาตนให้บริสุทธิ์ ดังนี้.

ถามว่า โอตตัปปะ ชื่อว่า ถือโลกเป็นใหญ่ เป็นอย่างไร. ตอบว่า

กุลบุตรบางคนในโลกนี้ นึกถึงโลกเป็นใหญ่เป็นผู้เจริญ แล้วไม่กระทำความชั่ว.

ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า โลกสันนิวาสนี้ใหญ่นักแล ในโลกสันนิวาสใหญ่มี

สมณพราหมณ์ ผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตของผู้อื่น ท่านเหล่านั้นย่อมเห็น

แต่ไกล ไม่เห็นแม้ในที่ใกล้ ย่อมรู้จิตด้วยจิต ท่านเหล่านั้นก็จักประกาศให้รู้

จักเรา อย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงดูกุลบุตรนี้ เขามีศรัทธาออกบวชแล้วยัง

เกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามกอยู่อีก ดังนี้. มีเทวดาผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ

รู้จิตของผู้อื่น เทวดาเหล่านั้นย่อมเห็นแม้แต่ไกล เขาไม่ปรากฏแม้ในที่ใกล้

ย่อมรู้จิตด้วยจิต เทวดาเหล่านั้นก็จักประกาศให้รู้จักเราอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 295

จงดูกุลบุตรนี้มีศรัทธาออกบวช แล้วยังเกลือกกลั้วด้วยอกุศลธรรมอันลามก

อยู่อีกดังนี้ กุลบุตรนั้นกระทำโลกให้เป็นใหญ่ แล้วจึงละอกุศล ดังนี้.

โอตตัปปะถือโลกเป็นใหญ่ ด้วยประการฉะนี้.

ในบทว่า สชฺชาสภาวสณฺิตา นี้ พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้

อาการแห่งความละอายชื่อว่า ลชฺชา. หิริตั้งอยู่โดยสภาพนั้น ความกลัวใน

อบายชื่อว่า ภัย. โอตตัปปะตั้งอยู่โดยสภาพนั้น ทั้งสองอย่างนั้นเป็นอันปรากฏ

ในการเว้นจากความชั่ว.

ในหิริและโอตตัปปะนั้น มีวินิจฉัยว่า เหมือนอย่างว่า ก้อนเหล็ก ๒

ก้อน ก้อนหนึ่งแม้เย็นก็เปื้อนคูถ ก้อนหนึ่งร้อนจัด ใน ๒ ก้อนนั้น วิญญูชน

เกลียดก้อนที่เย็นเพราะเปื้อนคูถ จึงไม่จับ อีกก้อนหนึ่งไม่จับเพราะกลัว

ความร้อน ฉันใด บัณฑิตเกลียด ไม่ทำความชั่วเพราะละอาย กลัวอบาย

ไม่ทำความชั่วเพราะเกรงกลัว ก็ฉันนั้น. หิริตั้งอยู่ในสภาพแห่งความละอาย

โอตตัปปะตั้งอยู่ในสภาพแห่งความกลัว.

ถามว่า หิริ มีลักษณะยำเกรง โอตตัปปะมีลักษณะเห็นภัยอันเป็นโทษ

ที่น่ากลัวนั้นอย่างไร. ตอบว่า จริงอยู่ บุคคลบางคนยังหิริอันมีลักษณะยำเกรง

ให้เกิดขึ้น ด้วยเคารพในผู้นั้น โดยอาการ ๔ อย่าง คือ นึกถึงความเป็นใหญ่

โดยชาติ ๑ นึกถึงความเป็นใหญ่โดยเป็นผู้สอน ๑ นึกถึงความเป็นใหญ่ใน

มรดก ๑ นึกถึงความเป็นใหญ่ในทางประพฤติพรหมจรรย์ ๑ แล้วไม่ทำ

ความชั่ว. บางคนกลัวโดยความเป็นโทษ ด้วยเหตุ ๔ อย่าง คือ อัตตานุวาทภัย

(กลัวถูกติเตียนตน) ๑ ปรานุวาทภัย (กลัวผู้อื่นติเตียน) ๑ ทัณฑภัย (กลัวถูก

ลงอาญา) ๑ ทุคติภัย (กลัวตกนรก) ๑ แล้วเกิดโอตตัปปะอันมีลักษณะ

เห็นภัย อันมีโทษน่ากลัว แล้วจึงไม่ทำกรรมชั่ว. อนึ่ง ในข้อนี้เมื่อท่านกล่าว

ถึงหิริโอตตัปปะ อันเกิดในภายในเป็นต้น โดยความเป็นสิ่งปรากฏในที่นั้น ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 296

บางครั้งหิริโอตตัปปะนั้นไม่พรากจากกันและกันเลย. เพราะความละอายไม่มี

กลัวย่อมมีไม่ได้ หรือความกลัวต่อบาปไม่มี ความละอายย่อมมีไม่ได้ ด้วย

ประการฉะนี้.

บทว่า อิเม เจ ภิกฺขเว เทฺว สุกฺกา ธมฺมา โลก น ปาเลยฺยุ

ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผิว่า ธรรมไม่มีโทษ ๒ อย่างเหล่านี้ ไม่พึง

รักษาโลก คือ ผิว่า ธรรมรักษาโลกไม่พึงมี. บทว่า นยิธ ปญฺาเยถ

มาตา ความว่า ในโลกนี้มารดาผู้บังเกิดเกล้า ก็จะไม่พึงปรากฏด้วยความ

เคารพว่า นี้มารดาของเรา ดังนี้ คือ ไม่พึงได้ชื่อว่า นี้เป็นมารดา. แม้ใน

บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มาตุจฺฉา ได้แก่ น้า. บทว่า มาตุลานี

ได้แก่ ภรรยาของลุง (ป้า). บทว่า ครูน ได้แก่ ผู้อยู่ในฐานะควรเคารพ

มีลุง อา และพี่ชายใหญ่เป็นต้น. บทว่า สมฺเภท ได้แก่ ปะปนกันหรือ

ทำลายมารยาทอันดี. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงข้ออุปมา ด้วยบทเป็นต้นว่า

ยถา อเชฬกา ดังนี้. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายเหล่านี้ ย่อมไม่รู้ด้วยความเคารพ

ยำเกรงว่า นี้มารดาของเรา หรือน้าของเรา ดังนี้ . สัตว์ทั้งหลายย่อมปฏิบัติผิด

แม้ในวัตถุที่อาศัยเกิด. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงนำการ

เปรียบเทียบมา จึงได้นำแพะและแกะเป็นต้นมา. ความย่อในข้อนี้มีดังนี้.

สัตว์เดียรัจฉานทั้งหลายมีแพะแกะเป็นต้น เว้นจากหิริและโอตตัปปะ ไม่สำคัญ

มารดาเป็นต้น ทำลายประเพณีสมสู่กันได้ทุกหนแห่ง ฉันใด มนุษยโลกนี้

ก็ฉันนั้น ผิว่า ไม่มีธรรมคุ้มครองโลก ก็จะพึงสมสู่กันได้ทุกหนทุกแห่ง.

เพราะธรรมคุ้มครองโลกเหล่านี้ ยังคุ้มครองโลกอยู่ ฉะนั้น จึงไม่มีการสมสู่กัน

ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 297

ในคาถาทั้งหลายมีอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า เว ในบทว่า เยส เว

หิริโอตฺตปฺป เป็นเพียงนิบาต. ความว่า สัตว์เหล่าใดไม่มี คือ ไม่ได้เข้าถึง

หิริและโอตตัปปะ ในกาลทุกเมื่อ คือตลอดกาล. บทว่า โวกฺกนฺตา สุกฺกมูลา

เต ความว่า สัตว์เหล่านั้นก้าวล่วง คือพ้นจากกุศล เพราะทำกรรมอันตัดขาด

กุศลมูล หรือเพราะไม่มีหิริและโอตตัปปะอันเป็นที่ตั้งแห่งกุศลกรรม มีสุก-

ธรรมไปปราศแล้ว ก้าวล่วงแล้ว เป็นผู้ถึงชาติและมรณะ เพราะมีสภาพเกิด

ตายบ่อย ๆ ย่อมไม่พ้นสงสารไปได้.

บทว่า เยสญฺจ หิริโอตฺตปฺป ความว่า ก็สัตว์เหล่าใดเข้าไปตั้ง

ธรรมเหล่านี้ คือ หิริและโอตตัปปะไว้โดยชอบ ในกาลเป็นนวกะ มัชฌิมะ

และเถระตลอดวันตลอดคืนในกาลทุกเมื่อ คือ ตลอดกาล สัตว์เหล่านั้นเกลียด

กลัว ละบาป ด้วยตทังคปหานเป็นต้น. บทว่า วิรุฬฺหพฺรหฺมจริยา ความว่า

สัตว์เหล่านั้นถึงความงอกงาม ด้วยศาสนพรหมจรรย์ และมรรคพรหมจรรย์

เป็นผู้สงบเพราะสงบกิเลส หรือมีคุณคือความสงบโดยประการทั้งปวง ด้วย

การบรรลุมรรคชั้นสูง เป็นผู้มีภพใหม่สิ้นแล้ว เพราะความสิ้นภพใหม่

จบอรรถกถาธรรมสูตรที่ ๕

๖. อชาตสูตร

ว่าด้วยการไม่เกิดอีกเป็นสุขในโลก

[๒๒๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 298

ปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าธรรมชาติ

อันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่งแล้ว จักไม่ได้มี

แล้วไซร้ การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว

ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุ

ที่ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่ง

แล้วมีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยทำ

แล้ว ปรุงแต่งแล้ว จึงปรากฏ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ธรรมชาติอันเกิดแล้ว มีแล้ว เกิดขึ้น

พร้อมแล้ว อันปัจจัยทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว

ไม่ยั่งยืน ระคนแล้วด้วยชราและมรณะ

เป็นรังแห่งโรค ผุผัง มีอาหารและตัณหา

เป็นแดนเกิด ไม่ควรเพื่อยินดีธรรมชาติ

นั้น การสลัดออกซึ่งธรรมชาตินั้น เป็น

บทอันระงับ จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ยั่งยืน

ไม่เกิด ไม่เกิดขึ้นพร้อม ไม่มีความโศก

ปราศจากธุลี ความดับแห่งทุกขธรรม

ทั้งหลาย คือ ความที่สังขารสงบระงับ

เป็นสุข.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบอชาตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 299

อรรถกถาอชาตสูตร

ในอชาตสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺถิ ภิกฺขเว ถามว่า เกิดอะไรขึ้น. ตอบว่า ได้ยินว่า

วันหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศโทษในสงสารโดยอเนกปริยาย

แล้วทรงแสดงพระธรรมปฏิสังยุตด้วยพระนิพพาน ด้วยการชี้แจงเป็นต้น ภิกษุ

ทั้งหลายได้เกิดปริวิตกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสงสารนี้พร้อมด้วยเหตุด้วย

การณะทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น แต่มิได้ตรัสถึงการณะไร ๆ แห่งนิพพานอัน

เข้าไปสงบสงสารนั้น ข้อนี้นั้นมิใช่เหตุ ย่อมได้โดยทางสัจฉิกัตถปรมัตถ์หรือ

อย่างไร. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงกำจัดความสงสัยของภิกษุ

เหล่านั้น เพื่อทำลายวาทะอัน ผิดของสมณพราหมณ์ในโลกนี้ ผู้มีทิฏฐิมากใน

ภายนอก ผู้ปฏิบัติผิดดุจโลกายติกะเป็นต้นว่า จริงอยู่ โดยปรมัตถ์ชื่อว่านิพพาน

ย่อมไม่มีเพียงกล่าวว่า นิพพาน นิพพาน เท่านั้น เพราะมีสภาวะที่ตนยังไม่ได้

เพื่อแสดงความมีแห่งอมตมหานิพพานโดยปรมัตถ์ และเพื่อแสดงถึงความมี

อานุภาพมีการออกไปแห่งอมตมหานิพพานเป็นต้น จึงได้ทรงภาษิตสูตรนี้ด้วย

อุทานอันเป็นกำลังแห่งปีติ. เป็นความจริงพระสูตรนี้สงเคราะห์เข้าในอุทานด้วย

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ ได้แก่ มีอยู่ คือ ได้โดยปรมัตถ์.

บทแม้ทั้งหมดว่า อชาต อภูต อกต อสงฺขต เป็นไวพจน์ของกันและกัน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อชาต เพราะไม่เกิด คือ ไม่บังเกิดโดยความพร้อมเพรียง

แห่งเหตุ กล่าวคือการประชุมแห่งเหตุปัจจัย ดุจเวทนาเป็นต้น . ชื่อว่า อภูต

เพราะเว้นเหตุแล้ว จะไม่เป็น ไม่ปรากฏ ไม่เกิดเอง. ชื่อว่า อกต เพราะ

อันปัจจัยไม่กระทำแล้วด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะไม่เกิดและเพราะไม่-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 300

เป็นอย่างนี้. อนึ่ง ท่านกล่าวว่า อสงฺขต (อันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้ว) เพื่อ

แสดงว่า สภาพอันเกิดแล้ว เป็นแล้ว ย่อมมีแก่สังขตธรรมมีนามรูปเป็นต้น

หาได้มีแก่นิพพาน อันมีสภาพเป็นอสังขตะไม่. ชื่อว่า สงฺขต เพราะอันปัจจัย

ปรุงแต่งแล้ว. อนึ่ง ชื่อว่า อสงฺขต เพราะอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้ว และ

เว้นจากลักษณะอันปัจจัยปรุงแต่งแล้ว. ท่านกล่าวว่า อกต (อันปัจจัยไม่ทำ

แล้ว ) เพื่อแสดงว่า อันปัจจัยไร ๆ ไม่ทำแล้วด้วยความสงสัยว่า เมื่อเสร็จสิ้น

สภาพแห่งการเกิดด้วยเหตุไม่น้อยอย่างนี้ จะพึงมีทำด้วยเหตุหนึ่งเท่านั้นหรือ

หนอ ท่านกล่าวว่า อภูต (ไม่เป็นแล้ว) เพื่อกลับความสงสัยเท่านั้นว่า

ธรรมชาตินี้ แม้ไม่มีปัจจัยก็ยังเป็นแล้ว ปรากฏแล้วเองหรือหนอ. ท่านกล่าวว่า

อชาต เพื่อแสดงว่า ความที่ธรรมชาตินี้อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ไม่กระทำ

ไม่เป็น นี้ เพราะความเป็นธรรมชาติที่ไม่เกิดทุกสิ่งทุกอย่าง พึงทราบความ

ที่บทแม้ทั้ง ๔ เหล่านี้ มีเนื้อความอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความที่นิพพานมีอยู่โดยปรมัตถ์ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมชาติอันไม่เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยไม่ทำแล้ว ไม่ปรุงแต่ง

แล้วมีอยู่ เพื่อจะทรงแสดงเหตุในธรรมชาตินั้น จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า โน เจต

ภิกฺขเว ดังนี้.

พึงทราบความสังเขปแห่งบทนั้นดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผิว่า

อสังขตธาตุมีสภาพไม่เกิด เป็นต้น จักไม่ได้มีคำ ไม่พึงมี การสลัดออก คือ

การเข้าไปสงบวัฏฏะโดยไม่เหลือแห่งสังขาร กล่าวคือ ขันธบัญจกมีรูปเป็นต้น

อันมีความเกิดเป็นสภาพ จะไม่พึงปรากฏ คือ ไม่พึงได้ ไม่พึงมีในโลกนี้.

เพราะธรรมคืออริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์ เป็น

ไปอยู่ ย่อมตัดขาดกิเลสทั้งหลายโดยไม่เหลือ ด้วยเหตุนั้น ความไม่เป็นไป

ความไปปราศ การสลัดออกซึ่งวัฏทุกข์แม้ทั้งหมดย่อมปรากฏในนิพพานนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 301

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้น ทรงแสดงถึงความที่นิพพานมีอยู่ โดยแย้งกัน

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงนิพพานนั้นโดยคล้อยตามกัน จึงตรัสคำมีอาทิว่า

ยสฺมา จ โข ดังนี้. คำนั้นมีความดังได้กล่าวแล้ว. อนึ่ง ในข้อนี้เพราะ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงอนุเคราะห์โลกทั้งปวงทรงแสดงความความเป็นเอง

โดยปรมัตถ์แห่งนิพพานธาตุด้วยสูตรแม้นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ

อันไม่เกิดแล้วมีอยู่ ด้วยบทพระสูตรไม่น้อยมีอาทิว่า ธรรมไม่เป็นปัจจัย

ธรรมเป็นอสังขตะมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นไม่ใช่แผ่นดิน ฐานะ

แม้นี้แลเห็นได้ยาก คือ การสงบสังสารทั้งปวง การสละกิเลสทั้งปวง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมอันเป็นอสังขตะ และปฏิปทาให้ถึงอสังขตะ

แก่พวกเธอ ฉะนั้นจึงไม่ควรคัดค้าน ความสงสัยหรือความเคลือบแคลง มิได้

มีแก่ผู้รู้ทั้งหลาย ผู้ยังไม่ประจักษ์ในข้อนั้น การวิจารณ์ข้อยุติโดยยกหัวข้อขึ้น

อธิบายในเรื่องนี้ เพื่อบรรเทาความสงสัยของบุคคลผู้ไม่มีปัญญา. การสลัดออก

อันมีสภาพไกลจากนั้นซึ่งเป็นปฏิปักษ์แห่งกามและรูปทั้งหลายอันยิ่ง เพราะ

ความเป็นผู้กำหนดรู้ ย่อมปรากฏ ฉันใด อันการสลัดออกซึ่งมีสภาพไกลไป

จากนั้น อันเป็นปฏิปักษ์แห่งสังขตธรรมทั้งปวงซึ่งมีปัจจัยนั้นเป็นสภาพ พึงมี

ฉันนั้น. การสลัดออกนั้นเป็นอสังขตธาตุ.

พึงทราบบางอย่างยิ่ง ๆ ขึ้นไป วิปัสสนาญาณ หรืออนุโลมญาณมี

สังขตธรรมเป็นอารมณ์ ไม่สามารถจะละกิเลสทั้งหลายได้ด้วยการละเด็ดขาด.

อนึ่ง ญาณในปฐมฌานเป็นต้น อันมีสมมติสัจเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลาย

ได้ด้วยการข่มไว้เท่านั้น ละไม่ได้ด้วยเด็ดขาด. อารมณ์อันมีสภาพผิดไปจาก

ทั้งสองนั้น พึงมีได้แก่ญาณ อันมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ และมีสมมติสัจเป็น

อารมณ์ เพราะไม่สามารถละกิเลสทั้งหลายได้เด็ดขาด แต่อริยมรรคญาณอัน

ทำการละกิเลสเหล่านั้นได้เด็ดขาด นั่นคืออสังขตธาตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 302

บทว่า อตฺถิ ภิกฺขเว อชาต อภูต อกต อสงฺขต นี้เป็นคำ

สอนถึงความที่นิพพานมีอยู่โดยปรมัตถ์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ไม่ผิด

จริงอยู่ คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ไม่ผิดเป็นปรมัตถ์เหมือนอย่างที่ตรัสไว้

ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สพฺเพ ธมฺมา

อนตฺตา ดังนี้. อนึ่ง นิพพานศัพท์เป็นปรมัตถวิสัยตามที่เป็นจริง ในวิสัย

ไหน ๆ เพราะมีความเป็นไปใกล้เคียง เหมือนสีหศัพท์ฉะนั้น. พึงทราบความ

ที่อสังขตธาตุมีอยู่โดยปรมัตถ์แม้โดยยุติ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า อสังขตธาตุมี

อยู่โดยปรมัตถ์ เพราะมีสภาพพ้นจากความวิปริตนอกนั้นเหมือนคำว่าปฐวีธาตุ

เวทนาเป็นต้น ดังนี้.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบอธิบายต่อไปนี้ บทว่า ชาต ได้แก่ ชื่อ

ชาต เพราะอรรถว่า เกิด อธิบายว่า ถึงลักษณะแห่งชาติ. บทว่า ภูต

ชื่อว่า ภูต เพราะอรรถว่า เป็น อธิบายว่า ไม่เป็น แล้วเป็น. บทว่า

สมุปฺปนฺน ได้แก่ เกิดขึ้นแล้วด้วยความมีประโยชน์และเกิดขึ้นแล้วด้วยธรรม

อันมีประโยชน์. บทว่า กต ได้แก่ เกิดด้วยปัจจัยอันเป็นเหตุ. บทว่า สงฺขต

ได้แก่ ชื่อว่า สงฺขต เพราะอันปัจจัยนั่นแลปรุงแต่งแล้ว. คำนั้นทั้งหมด

เป็นชื่อของการเกิดแห่งปัจจัย ชื่อว่า อทฺธุว (ไม่ยั่งยืน) เพราะเว้นจากสิ่ง

ที่มีสาระอันเป็นของเที่ยงเป็นต้น. ชื่อว่า ชรามรณสงฺฆาฏ (ระคนแล้วด้วย

ชราและมรณะ) เพราะระคน คือ เกี่ยวข้องด้วยชราและมรณะโดยส่วนเดียว

เท่านั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชรามรณสงฺฆฏ บ้าง. อธิบายว่า ถูกชรา

และมรณะเบียดเบียนคือบีบคั้น. ชื่อว่า โรคนิทฺธ (เป็นรังแห่งโรค) เพราะ

เป็นรังแห่งโรคหลายอย่างมีโรคคาเป็นต้น. ชื่อว่า ปภงฺคุณ (ผุพัง) เพราะ

มีปกติผุพังเป็นอย่างยิ่ง โดยการแสดง โดยความพยายาม. ชื่อว่า อาหารเนตฺ-

ติปฺปภว (มีอาหารและตัณหาเป็นแดนเกิด) เพราะมีอาหาร ๔ อย่าง และ

เนตติ คือ ตัณหา เป็นแดนเกิด คือ เป็นสมุฏฐาน. ปัจจัยแม้ทั้งหมดเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 303

อาหาร. แต่ในบัดนี้พึงทราบว่า โทษทั้งหลายชื่อว่า ตัณหา เพราะตัณหาท่าน

ใช้ศัพท์ว่า เนตติ. เพราะฉะนั้น ชื่อว่า อาหารเนตฺติภว เพราะมีอาหาร

และตัณหาเป็นแดนเกิด หรือชื่อว่า อาหาร เพราะอรรถว่า นำไป ชื่อตัณหา

เพราะอรรถว่า เป็นไป แม้อย่างนี้ก็ชื่อว่า อาหารเนตฺติปฺปภว.

บทว่า นาล ตทภินนฺทิตุ ได้แก่ไม่ควรยินดี พอใจอุปาทานขันธ์ ๕

อันเป็นไปยิ่งด้วยปัจจัยอย่างนี้ จากนั้นก็เป็นของไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ด้วย

ตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า ตสฺส นิสฺสรณ ความว่า การสลัดออก คือ

การออกไปแห่งสักกายะนั้นดังได้กล่าวแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ชาต ภูต เกิดแล้ว

เป็นแล้ว ดังนี้ ชื่อว่าเป็นบท เพราะควรเข้าถึงด้วยการล่วงสังสารทุกข์ อันชื่อว่า

ระงับ เพราะไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น และสังขารทั้งปวงอันมีสภาพไม่สงบ

เพราะความสงบแห่งกิเลสและสังขารนั่นแล เพราะมีความสรรเสริญ ชื่อว่า

จะคาดคะเนเอาไม่ได้ เพราะไม่มีอารมณ์แห่งในการคาดคะเน ชื่อว่าเป็นของ

ยั่งยืน เพราะอรรถว่าเที่ยง จากนั้นก็ไม่เกิด ไม่เกิดพร้อม ชื่อว่า ไม่มีความโศก

เพราะไม่มีเหตุให้โศก ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะธุลีมีราคะเป็นต้นปราศจาก

แล้วชื่อว่า ความดับ เพราะเป็นเหตุดับแห่งทุกขธรรมมีชาติเป็นต้น ชื่อว่า

เป็นความสงบแห่งสังขาร เพราะเป็นเหตุสงบแห่งสังขารทั้งปวงอันเป็นทุกข-

ธรรม จากนั้นก็ชื่อว่าเป็นความสุข เพราะเป็นความสุขโดยส่วนเดียว. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงยกย่องอมตมหานิพพานเท่านั้นด้วยบททั้งหมด.

พระผู้มีพระภาคะจ้าทรงยังนิพพานให้แจ่มแจ้งด้วยแย้งกันในคาถาที่ ๑

ด้วยการคล้อยตาม ด้วยคาถาที่ ๒ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาอชาตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 304

๗. ธาตุสูตร

ว่าด้วยเรื่องนิพพานธาตุ ๒ ประการ

[๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน

คือ สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์

ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้

โดยชอบ ภิกษุนั้น ย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์

อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕

เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ

ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่

ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มี

สังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ เวทนาทั้งปวงใน

อัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้นให้

เพลิดเพลินมิได้แล้ว จักเย็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 305

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระ-

ตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่-

อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อัน

นิพพานธาตุอย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่า

สอุปาทิเสสะ เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไป

สู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)

เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งทลายโดยประการ

ทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิ-

เสสะ ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง

แล้วนี้ มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหา

เครื่องนำไปสู่ภพ ชนเหล่านั้นยินดีแล้วใน

นิพพานเป็นที่สิ้นกิเลส เพราะบรรลุธรรม

อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบธาตุสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 306

อรรถกถาธาตุสูตร

ในธาตุสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เทฺวมา ตัดบทเป็น เทฺว อิมา. ตัณหาท่านเรียกว่า วานะ.

ชื่อว่า นิพพาน เพราะออกจากตัณหา หรือเป็นที่ไม่มีตัณหา หรือเมื่อ

บรรลุนิพพานแล้วตัณหาไม่มี. ชื่อว่า นิพพานธาตุ เพราะนิพพานนั้นชื่อว่า

ธาตุ เพราะอรรถว่า ไม่มีสัตว์ ไม่มีชีวะ และเพราะอรรถว่า เป็นสภาพทั่วไป.

แม้ผิว่า นิพพานธาตุนั้นไม่ต่างกันโดยปรมัตถ์ แต่ปรากฏโดยปริยาย

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เทฺวมา ภิกฺขเว นิพฺพานธาตุโย

ดังนี้ ทรงหมายถึงความต่างกันโดยปริยายนั้น เพื่อทรงแสดงถึงประเภทตาม

พระประสงค์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สอุปาทิเสสา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น ขันธบัญจกชื่อว่า อุปาทิ เพราะให้เกิดโดยความเป็น

ผลจากกิเลสทั้งหลายมีตัณหาเป็นต้น. อุปาทิที่เหลือชื่อว่า อุปาทิเสสะ. ชื่อ

ว่า อุปาทิเสสา เพราะพร้อมกับอุปาทิเสสะ. เพราะความไม่มีสอุปาทิเสสะ

นั้น จึงชื่อว่า อนุปาทิเสสา

บทว่า อรห ได้แก่ ไกลจากกิเลส อธิบายว่า มีกิเลสอยู่ไกล. สมดัง

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ อรห โหติ

อารกาสฺส โหนฺติ ปาปกา อกุสลา ธมฺมา สกิเลสิกา โปโนพฺภวิกา

สตรีา ทุกฺขวิปากา อายตึ ชาติชรามรณิยา เอว โข ภิกฺขเว อรห

โหติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นอรหันต์ นั้นอย่างไร

ภิกษุนั้นเป็นผู้ไกลจากอกุศลธรรมอันลามก ความเศร้าหมอง การมีภพใหม่

ความกระวนกระวาย วิบากแห่งทุกข์ ชาติชรามรณะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 307

อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าเป็นอรหันต์. บทว่า ขีณาสโว ความว่าชื่อว่า ขีณาสพ

เพราะอาสวะ ๔ มีกามาสวะเป็นต้น ของพระอรหันต์สิ้นแล้ว ตัดขาดแล้ว

ละได้แล้ว สงบแล้ว ไม่ควรจะเกิด ถูกไฟคือญาณเผาแล้ว. บทว่า วุสิตวา

ความว่า ชื่อว่าอยู่จบแล้ว เพราะอยู่แล้ว อยู่อาศัยแล้ว อาศัยแล้ว สะสมจรณะ

แล้วในครุสังวาสบ้าง ในอริยมรรคบ้าง ในอริยวาส ๑๐ บ้าง. บทว่า กตกร-

ณีโย ความว่า ชื่อว่าทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว เพราะพระเสกขะ ๗ ตั้งแต่

กัลยาณชนผู้เป็นปุถุชน ชื่อว่า ทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔ กิจที่ควรทำทั้งหมด

พระขีณาสพทำเสร็จ คือเสร็จสิ้นแล้ว กิจที่ควรทำเพื่อบรรลุความสิ้นทุกข์ยิ่ง

กว่านี้ไม่มี. แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสไว้ว่า

ตสฺส สมฺมา วิมุตฺตสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน

กตสฺส ปฏิจโย นตฺถิ กรณีย น วิชฺชติ

ภิกษุผู้มีจิตสงบแล้ว พ้นแล้วโดย

ชอบนั้น กระทำเสร็จแล้ว ไม่มีการสะสม

กิจที่ควรทำไม่มี ดังนี้.

บทว่า โอหิตภาโร ได้แก่ ภาระ ๓ อย่าง คือ ขันธภาระ ๑

กิเลสภาระ ๑ อภิสังขารภาระ ๑. ภาระแม้ ๓ อย่างนี้เหล่านี้ อันภิกษุนั้น

ปลงแล้ว คือยกลงแล้ว วางแล้ว ทำให้ตกไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

โอหิตภาโร (ปลงภาระลงได้แล้ว). บทว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ ได้แก่

บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว. ท่านกล่าวว่า สกตฺถ (ประโยชน์ของตน) ก็มี.

เปลี่ยน เป็น ก. ชื่อว่า อนุปฺปตฺตสทตฺโถ เพราะประโยชน์ของตน

อันภิกษุบรรลุแล้ว. พึงทราบ พระอรหัตว่า สทฺตโถ. จริงอยู่ พระอรหัตนั้น

ชื่อว่า เป็นประโยชน์ตน เพราะเป็นประโยชน์ตน ด้วยอรรถว่าเนื่องด้วยตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 308

ด้วยอรรถว่าไม่ละตน และด้วยเป็นประโยชน์อย่างยิ่งของตน. บทว่า ปริกฺ-

ขีณภวสโยชโน ได้แก่ ชื่อว่า สังโยชน์ในภพ เพราะสังโยชน์เหล่านั้น คือ

กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส

ภวราคะ อิสสา มัจฉริยะ และอวิชชาสังโยชน์ย่อมประกอบ คือ เข้าไปผูก

สัตว์ทั้งหลายไว้ในภพ หรือภพด้วยภพ. ชื่อว่ามีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว เพราะ

สังโยชน์เหล่านั้นของพระอรหันต์สิ้นแล้ว คือท่านละได้แล้ว ถูกไฟคือญาณ

เผาแล้ว. บทว่า สมฺมทญฺา ในบทว่า สมฺมทญฺา วิมุตฺโต นี้ได้

แก่ เพราะรู้โดยชอบ. ข้อนี้ท่านอธิบายไว้ว่า เพราะรู้ คือ พิจารณา ไตร่

ตรอง แจ่มแจ้ง ทำให้ชัด ตามความเป็นจริงโดยชอบ ซึ่งการตั้งอยู่แห่ง

ขันธ์ทั้งหลายโดยเป็นขันธ์ แห่งอายตนะทั้งหลายโดยเป็นอายตนะ แห่งธาตุ

ทั้งหลายโดยเป็นของสูญ แห่งทุกข์โดยการบีบคั้น แห่งสมุทัยโดยเป็นที่เกิด

แห่งทุกข์ แห่งนิโรธโดยเป็นความสงบแห่งมรรคโดยเป็นทัสสนะ หรือซึ่ง

ประเภทมีอาทิอย่างนี้ว่า สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งหลายทั้งปวง

ไม่เที่ยง ดังนี้.

บทว่า วิมุตฺโต ได้แก่ วิมุตติ ๒ อย่าง คือ จิตวิมุตติ และ

นิพพาน. จริงอยู่ พระอรหันต์ชื่อว่า พ้นด้วยจิตวิมุตติบ้าง ชื่อว่า พ้นใน

นิพพานบ้าง เพราะพ้นจากกิเลสทั้งปวง ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า สมฺมทญฺา วิมุตฺโต (พ้นเพราะรู้โดยชอบ).

บทว่า ตสฺส ติฏฺนฺเตว ปญฺจินฺทริยานิ ความว่า อินทรีย์ ๕

มีจักขุนทรีย์เป็นต้น ของพระอรหันต์นั้น ยังตั้งอยู่ตราบเท่ากรรมอันเป็นเหตุ

ให้เกิดในภพสุดท้าย ยังไม่สิ้นไป. บทว่า อวิคตตฺตา ได้แก่ เพราะยังไม่ดับ

ด้วยการดับคือความไม่เกิด. บทว่า มนาปามนาป ได้แก่ อารมณ์มีรูปที่น่า

พอใจ และไม่น่าพอใจเป็นต้น. บทว่า ปจฺจนุโภติ ได้แก่ ย่อมเสวย คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 309

ย่อมได้. บทว่า สุขทุกฺข ปฏิสเวเทติ ได้แก่ ย่อมเสวยสุขและทุกข์อัน

เป็นวิบาก คือย่อมได้ด้วยไตรทวาร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอุปาทิเสสะ ด้วยเหตุเพียงนี้แล้ว

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตสฺส โย

ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ได้แก่ พระอรหันต์ผู้ยังมีสอุปาทิเสสะ

นั้น. บทว่า โย ราคกฺขโย ได้แก่ ความสิ้นไป คืออาการสิ้นไป ความ

ไม่มี ความไม่เกิดในที่สุดแห่งราคะ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้. เป็นอันแสดง

ถึงสอุปาทิเสสนิพพานธาตุอันสิ้นราคะเป็นต้น ด้วยเหตุเพียงนี้.

บทว่า อิเธว ได้แก่ ในอัตภาพนี้แล. บทว่า สพฺพเวทยิตานิ

ได้แก่ เวทนาทั้งหมดมี สุขเวทนาเป็นต้น. อัพยากตเวทนา กุสลากุสลเวทนา

ท่านละได้ก่อนแล้ว. บทว่า อนภินนฺทิตานิ ได้แก่ อันกิเลสมีตัณหาเป็นต้น

ให้เพลิดเพลินไม่ได้แล้ว. บทว่า สีติภวิสฺสนฺติ ได้แก่ จักเย็น ด้วยความ

สงบส่วนเดียว ได้แก่ความสงบระงับความกระวนกระวายในสังขาร คือ จักดับ

ด้วยการดับอันไม่มีปฏิสนธิ. มิใช่เพียงเวทนาอย่างเดียวเท่านั้น จักดับ แม้

ขันธ์ ๕ ทั้งหมดในสันดานของพระขีณาสพก็จักดับ. ท่านใช้เทศนาด้วยหัวข้อ

ว่า เวทยิตะ.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า จกฺขุมตา ได้แก่

ผู้มีจักษุด้วยจักษุทั้งหลาย ๕ คือ พุทธจักษุ ธรรมจักษุ ทิพจักษุ ปัญญาจักษุ

สมันตจักษุ. บทว่า อนิสฺสิเตน ได้แก่ ไม่อาศัยธรรมไร ๆ โดยเป็นที่อาศัย

ของตัณหาและทิฏฐิ หรือไม่ผูกพันด้วยเครื่องผูกคือราคะเป็นต้น . บทว่าตาทินา

ได้แก่ ผู้คงที่อันมีลักษณะคงที่ กล่าวคือความเป็นผู้มีสภาพเป็นหนึ่ง ใน

อารมณ์ทั้งปวง มีอิฏฐารมณ์เป็นต้น ด้วยอุเบกขามีองค์ ๖. บทว่า ทิฏฺ-

ธมฺมิกา ได้แก่ นิพพานธาตุอันมีคือ เป็นไปในอัตภาพนี้. บทว่า ภวเนตฺติ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 310

สขยา ได้แก่ เพราะสิ้นตัณหาอันนำไปสู่ภพ. บทว่า สมฺปรายิกา ได้แก่

อันมีในเบื้องหน้า คือในส่วนอื่นจากทำลายขันธ์. บทว่า ยมฺหิ ได้แก่ ใน

อนุปาทิเสสนิพพาน. บทว่า ภวานิ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส อุบัติภพ

ไม่เหลือโดยประการทั้งปวงย่อมดับ คือ ย่อมไม่เป็นไป บทว่า เต ได้แก่

ชนเหล่านั้นมีจิตพ้นแล้วอย่างนี้. บทว่า ธมฺมสาราธิคมา ได้แก่ เพราะ

เป็นผู้มีวิมุตติเป็นสาระคือเพราะบรรลุพระอรหัตอันป็นสาระในธรรมทั้งหลาย

แห่งธรรมวินัยนี้. บทว่า ขเย ได้แก่ยินดี ยินดียิ่งแล้วในนิพพานอันเป็นที่

สิ้นกิเลสมีราคะเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง อันเป็นสาระในธรรมทั้งหลาย โดย

ความเป็นของเที่ยง และโดยความเป็นของประเสริฐที่สุด เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า มีธรรมเป็นสาระ คือนิพพาน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

วราโค เสฏฺโ ธมฺมาน วิราโค เตส อคฺคมกฺขายติ วิราคะประเสริฐ

กว่าธรรมทั้งหลาย และวิราคะท่านกล่าวว่า เลิศกว่าธรรมเหล่านั้น. ชนทั้ง

หลายยินดีแล้วในอนุปาทิเสสนิพพานเป็นที่สิ้นสังขารทั้งปวง เพราะเหตุบรรลุ

ธรรมอันเป็นสาระนั้น. บทว่า ปหสุ คือ ละแล้ว. บทว่า เต เป็นเพียง

นิบาต. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ ๗

๘. สัลลานสูตร

ว่าด้วยการหลีกเร้นมีผล ๒ อย่าง

[๒๒๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 311

ยินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายใน

เนื่อง ๆ มีฌานไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคารอยู่เถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว

ในความหลีกเร้น ประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายในเนือง ๆ มีฌาน

ไม่เสื่อม ประกอบด้วยวิปัสสนาพอกพูนสุญญาคารอยู่ พึงหวังได้ผล ๒ อย่าง

คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระ-

อนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนเหล่าใดมีจิตสงบแล้ว มีปัญญา

เป็นเครื่องรักษาตน มีสติ มีฌาน ไม่มี

ความเพ่งเล็งในตามทั้งหลาย ย่อมเห็นแจ้ง

ธรรมโดยชอบ เป็นผู้ยินดีแล้วในความไม่

ประมาท มีปกติเห็นภัยในความประมาท

ชนเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อม

รอบ ย่อมมีในที่ใกล้นิพพานเทียว.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบสัลลานสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 312

อรรถกถาสัลลานสูตร

ในสัลลานสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปฏิสลฺลานารามา ได้แก่ เป็นผู้หลีกเลี่ยงจากสัตว์และสังขาร

เหล่านั้น ๆ แล้วหลีกเร้นอยู่ผู้เดียว ชื่อว่ามีกายวิเวก เพราะเสพเอกมรรค. ชื่อว่า

ปฏิสลฺานารามา เพราะเป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่ยินดีถือเป็นที่ชอบใจ.

บาลีว่า ปฏิสลฺลานารามา ดังนี้บ้าง. ชื่อว่าปฏิสลฺลานารามา เพราะเป็น

ผู้มีความหลีกเร้นดังกล่าวแล้วเป็นที่มายินดี เพราะควรมายินดี. บทว่า วิหรถ

ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้เป็นอย่างนี้อยู่เถิด. ชื่อว่าปฏิสลฺลานรตาเพราะ

เป็นผู้ยินดีแล้ว คือ ยินดีเป็นนิจ เบิกบานแล้วในความหลีกเร้น.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ การประกอบความเพียรและความเป็นผู้มีการหลีก

เร้น อันเป็นนิมิตแห่งการประกอบความเพียรนั้น ท่านแสดงไว้แล้ว. การ

ประกอบความเพียรเว้นจากธรรมทั้งหลายเหล่านี้ คือ สีลสังวร ความเป็นผู้มี

ทวารคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ สติ

และสัมปชัญญะ ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่าธรรมแม้เหล่านั้น

ท่านกล่าวไว้ในที่นี้โดยเนื้อความเท่านั้น.

บทว่า อชฺฌตฺต เจโตสมถมนฺยุตฺตา ได้แก่ประกอบจิตของตน

ไว้ในสมถะ. บทว่า อชฺฌตฺต อตฺตโน นี้ ความอย่างเดียวกัน พยัญชนะ

เท่านั้นต่างกัน . บทว่า สมถ เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ

โดยประกอบตามศัพท์. บทว่า อนิรากตชฺฌานา ได้แก่ มีฌานไม่นำออกไป

ภายนอกหรือมีฌานไม่เสื่อม. บทนี้ว่า การนำออกหรือความเสื่อมชื่อว่านิรากต

ดุจในคำมีอาทิว่า ถมฺภ นิรกตฺวา นิวาตวุตฺติ การประพฤติอ่อนน้อมเพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 313

ไม่ยอมรับความดื้อ. บทว่า วิปสฺสนาย สมนฺนาคตา ได้แก่ประกอบแล้ว

ด้วยอนุปัสสนา ๗ อย่าง.

อนุปัสสนา ๗ อย่าง คือ อนิจจานุปัสสนา (การเห็นว่าไม่เที่ยง) ๑

ทุกขานุปัสสนา (ความเห็นว่าเป็นทุกข์) ๑ อนัตตานุปัสสนา (ความเห็นว่าไม่-

เป็นตัวตน) ๑ นิพพิทานุปัสสนา (ความเห็นด้วยความเบื่อหน่าย) ๑ วิราคานุ-

ปัสสนา (ความเห็นในการปราศจากราคะ) ๑ นิโรธานุปัสสนา (ความเห็นใน-

การดับทุกข์) ๑ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา (ความเห็นในการสละทิ้ง) ๑ วิปัสสนา

เหล่านั้นพิสดารแล้วในวิสุทธิมรรค.

บทว่า พฺรูเหตาโร สุญฺาคาราน ได้แก่ เจริญสุญญาคาร.

อนึ่ง ในบทว่า สุญฺาคาราน นี้ ได้แก่ ความสงัดอย่างใดอย่างหนึ่งเป็น

ฐานะอันสมควรแก่การบำเพ็ญภาวนา. ภิกษุทั้งหลายเรียนกรรมฐานทั้งสมถ-

กรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานแล้ว เข้าไปยังสุญญาคารตลอดคืนและวัน

นั่งบำเพ็ญภาวนาพึงทราบว่าเป็นผู้พอกพูนสุญญาคาร. ส่วนผู้อยู่แม้ในปราสาท

ชั้นเดียวเป็นต้นเพ่งอยู่ ก็พึงทราบว่าเป็นผู้พอกพูนสุญญาคารเหมือนกัน.

ความเป็นผู้มีกายหลีกเร้นอยู่อันใดที่ท่านตั้งไว้ในบทนี้ว่า ปฏิสลฺลา-

นา รามา ภิกฺขเว วิหรถ ปฏิสลฺลานรตา ความเป็นผู้มีกายหลีกเร้นอยู่นั้น

ย่อมมีแก่ผู้มีศีลบริสุทธิ์ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีศีลหรือมีศีลไม่บริสุทธิ์ เพราะผู้มี

ศีลบริสุทธิ์นั้นไม่มีการหมุนกลับจิตจากรูปารมณ์เป็นต้น. อรรถแห่งความ

พยายามท่านกล่าวไว้ในบทว่า สีลวิสุทฺธิ ทสฺสิตา สีลวิสุทธิท่านแสดงไว้

แล้ว. ท่านกล่าวถึงสมาธิภาวนาด้วยบท ๒ บทว่า อชฺฌตฺตญฺเจโตสมถม-

นุยุตฺตา (การประกอบจิตของตนไว้ในสมถะในภายใน) ๑ อนิรากตชฺฌานา

(มีฌานไม่เสื่อม) ๑. ท่านจัดปัญญาภาวนาไว้ด้วยบทนี้ว่า วิปสฺสนาย สมนฺ-

นาคตา ดังนี้. ท่านแสดงสิกขา ๓ เป็นโลกิยะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 314

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงถึงผลอันมีแน่แท้ของผู้

ตั้งอยู่ในสิกขา ๓ เหล่านั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปฏิสลฺลานารามา ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า พฺรูเหตาน คือ เจริญ. บทว่า ทวินฺน

ผลาน ได้แก่ ผลที่ ๓ และที่ ๔. บทว่า ปาฏิกงฺข ได้แก่ พึงปรารถนา คือ

มีแน่แท้. บทว่า อญฺา ได้แก่พระอรหัต. จริงอยู่ พระอรหัตนั้นท่าน

เรียกว่า อญฺา เพราะรู้ไม่เกินขอบเขตที่รู้ได้ด้วยมรรคญาณเบื้องต่ำและ

เพราะไม่มีกิจที่จะต้องรู้เบื้องสูง เพราะพระอรหันต์เป็นผู้มีความรู้บริบูรณ์แล้ว.

บทว่า สติ วา อุปาทิเสเส ได้แก่ เมื่อยังมีกิเลสเหลืออยู่ไม่สามารถจะละได้

หรือเมื่อมีญาณยังไม่แก่กล้า กิเลสที่ควรจะละได้ด้วยญาณอันแก่กล้านั้นก็ละ

ไม่ได้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายถึงกิเลสนั้น จึงตรัสว่า สติ วา อุปาทิ-

เสเส ดังนี้. และเมื่อยังมีกิเลสอยู่ การปรุงแต่งขันธ์ทั้งหลายก็ยังคงอยู่นั้นเอง.

ในสูตรนี้ท่านแสดงธรรม ๒ อย่าง คือ อนาคามิผล ๑ อรหัตผล ๑

ด้วยประการฉะนี้. ในสูตร ๒ สูตรนี้อกจากนี้ก็เหมือนในสูตรนี้.

ในคาถาทั้งหลาย มีอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า เย สนฺตจิตฺตา ได้แก่

พระโยคาวรจรเหล่าใด ชื่อว่า มีจิตสงบแล้ว เพราะกิเลสสงบด้วยตทังคปหาน.

ปัญญาท่านเรียกว่า เนปกฺก (ปัญญาเครื่องรักษาตน). ชื่อว่า นิปกา เพราะ

ประกอบด้วยปัญญานั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงญาณเครื่องบริหารกรรม-

ฐานแก่ชนเหล่านั้น ด้วยบทว่า เนปกฺก นี้. บทว่า สติมนฺโต จ ฌายิโน

ได้แก่ ชื่อว่า มีสติ เพราะสติอันเป็นเหตุไม่ละกรรมฐาน ในการยืนและการนั่ง

เป็นต้น ชื่อว่ามีฌาน เพราะมีฌานมีลักษณะเข้าไปเพ่งอารมณ์. บทว่า สมฺมา

ธมฺม วิปสฺสนฺติ กาเมสุ อนเปกฺขิโน ความว่า ไม่มีความเพ่งเล็ง คือ

ไม่มีความต้องการในวัตถุกามและกิเลสกามโดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลายเปรียบ

เหมือนโครงกระดูกในก่อนนั้นแล ด้วยพิจารณาถึงโทษ ครั้นละกามทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 315

เหล่านั้นแล้วกระทำอุปจารสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิให้เป็นบาท แล้วกำหนด

นามรูปและปัจจัยแห่งนามรูปนั้น ย่อมเห็นธรรมคือขันธ์ ๕ ไม่วิปริตโดยชอบ

ตามลำดับมีการพิจารณากลาปะ (กลุ่มก้อน) เป็นต้น โดยความเป็นของไม่

เพียงเป็นต้น. บทว่า อปฺปมาทรตา ได้แก่ ยินดี คือยินดียิ่งในความไม่

ประมาท ด้วยการเจริญสมถะและวิปัสสนามีประการดังกล่าวแล้ว คือไม่ให้คืน

และวันล่วงไปด้วยความประมาทในธรรมนั้น . บทว่า สนฺตา แปลว่ามีอยู่. บาลี

ว่า สตฺตา ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า ได้แก่บุคคล. บทว่า ปมาเท ภยทสฺสิโน

ได้แก่เห็นภัยในความประมาทมีการเข้าถึงนรกเป็นต้น. บทว่า อภพฺพาปริหา-

นาย ได้แก่ ชนเห็นปานนั้นเหล่านั้นเป็นผู้ไม่ควรเพื่อความเสื่อมรอบจากธรรม

คือสมถะและวิปัสสนา หรือจากมรรคผล. ด้วยว่าชนทั้งหลายไม่เสื่อมจาก

สมาบัติ คือ สมถวิปัสสนา และย่อมบรรลุมรรคผลที่ตนยังไม่บรรลุ. บทว่า

นิพพานสฺเสว สนฺติเก ได้แก่ ในที่ใกล้แห่งนิพพานและแห่งอนุปาทิเสส-

นิพพานนั้นเอง. ไม่นานนัก ชนเหล่านั้นจักบรรลุนิพพานนั้นด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสัลลานสูตรที่ ๘

๙. สิกขาสูตร

ว่าด้วยสิกขามีอานิสงส์ ๒ อย่าง

[๒๒๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 316

ปัญญายิ่ง มีวิมุตติเป็นสาระ มีสติเป็นใหญ่อยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

เธอทั้งหลายมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญายิ่ง มีวิมุตติเป็นสาระ มีสติเป็น

ใหญ่อยู่ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน

หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ก็เป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เรากล่าวมุนีผู้มีสิกขาบริบูรณ์ มี

ความไม่เสื่อมเป็นธรรมดา มีปัญญายิ่ง มี

ปกติเห็นที่สุด คือความสิ้นไปแห่งชาติ

ผู้ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุดนั้นแล ว่า

ผู้ละมาร ผู้ถึงฝั่งแห่งชรา เพราะเหตุนั้น

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้ยินดี

ในฌาน มีจิตตั้งมั่นแล้วในกาลทุกเมื่อ

มีความเพียร มีปกติเห็นที่สุด คือ ความ

สิ้นไปแห่งชาติ ครอบงำมารพร้อมด้วย

เสนาได้แล้ว เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติ และ

มรณะ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบสิกขาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 317

อรรถกถาสิกขาสูตร

ในสิกขาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า สิกฺขา ในบทว่า. สิกฺขานิสสา นี้ เพราะต้องศึกษา.

สิกขานั้นมี ๓ อย่าง คือ อธิสีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ อธิปัญญาสิกขา ๑

ซึ่งว่า สิกฺขานิสสา เพราะมีสิกขา ๓ อย่างนั้นเป็นอานิสงส์ มิใช่ลาภ สักการะ

และความสรรเสริญ บทว่า วิหรถ ได้แก่ เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็น

อานิสงส์อยู่เถิด. อธิบายว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้เห็นอานิสงส์ในสิกขา ๓ อย่าง

นั้น คือ เห็นอานิสงส์ที่ควรจะได้ด้วยสิกขา ๓ อย่างนั้นอยู่เถิด. บทว่า

ปญฺญตรา ความว่า ชื่อว่า มีปัญญายิ่ง เพราะในสิกขา ๓ อย่างนั้นมี

ปัญญา ได้แก่ อธิปัญญาสิกขา มีปัญญานั้นยิ่ง คือ เป็นประธานประเสริฐสุด.

อธิบายว่า ผู้ที่มีสิกขาเป็นอานิสงส์อยู่ เป็นผู้มีปัญญายิ่ง ดังนี้. บทว่า วิมุตฺติ-

สารา ได้แก่ ชื่อว่า มีวิมุตติเป็นสาระ เพราะมีวิมุตติอันได้แก่ อรหัตผลเป็น

สาระ. อธิบายว่า ถือเอาวิมุตติตามที่กล่าวแล้วนั่นแล โดยความเป็นสาระแล้ว

ตั้งอยู่. จริงอยู่ ผู้ที่มีสิกขาเป็นอานิสงส์และมีปัญญายิ่ง ย่อมไม่ปรารถนาภพวิ-

เศษ. อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายหวังความเจริญ ย่อมปรารถนาวิมุตติเท่านั้นโดย

ความเป็นสาระ. บทว่า สตาธิปเตยฺยา ได้แก่ชื่อว่า มีสติเป็นใหญ่ เพราะ

มีสติเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่า ทำให้เจริญ. อธิปติ นั่นแลทำให้เป็น อธิปเตยฺย

อธิบายว่า มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน ๔ ขวนขวายในการเจริญสมถะและวิปัสสนา

ด้วยหลักวิปัสสนามีกายานุปัสสนาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความในบทนี้

อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์

กระทำการศึกษาสิกขา ๓ อย่าง ในการได้ขณะที่ได้ยากเห็นปานนี้ ให้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 318

อานิสงส์อยู่เถิด และเมื่ออยู่อย่างนี้ จงเป็นผู้มีปัญญายิ่ง คือ ยิ่งด้วยปัญญา

จงเป็นผู้ประกอบด้วยโลกุตรปัญญาอยู่เถิด ครั้นเป็นอย่างนี้แล้ว จงเป็นผู้มี

วิมุติเป็นสาระ มีนิพพานเป็นสาระ ไม่มีอย่างอื่นเป็นสาระอยู่เถิด ข้อที่เธอ

ทั้งหลายจงเป็นผู้มีสติเป็นใหญ่ จงเป็นผู้ขวนขวายในการเจริญสติปัฏฐาน หรือ

จงเป็นผู้มีจิตมีสติรักษาในที่ทั้งปวงอยู่เถิด นั้นเป็นอุบายของความเป็นอย่างนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชักชวนภิกษุทั้งหลายในสิกขา ๓ ด้วยประการ

ฉะนี้ ทรงแสดงถึงอุบายที่จะให้สิกขา ๓ ที่ควรศึกษาถึงความบริบูรณ์โดย

สังเขป บัดนี้ เมื่อจะทรงประกาศถึงความปฏิบัตินั้นไม่เป็นโมฆะด้วยเห็นผล

วิเศษของผู้ปฏิบัติตามที่ได้สอนไว้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สิกฺขานิสสาน ดังนี้

ข้อนั้นมีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้ว.

ในคาถาทั้งหลายมีอธิบายดังต่อไปนี้ บทว่า ปริปุณฺณสิกฺข ได้แก่

พระอเสกขะผู้มีสิกขาบริสุทธิ์ด้วยการบรรลุผลอันเลิศ. วิมุตติทั้งหลายอันกำเริบ

ท่านเรียกว่า หานธรรม (มีความเสื่อมเป็นธรรมดา) ในบทว่า อปหานธมิม

นี้. ก็ปหานธรรม ได้แก่ มีความเสื่อมเป็นธรรม มีความกำเริบเป็นธรรมดา.

ชื่อว่า อปหานธมฺโม เพราะไม่มีความเสื่อมเป็นธรรมดา. บาลีว่า อกุปฺป-

ธมฺโม อปหานธมฺโม ดังนี้บ้าง. มีความอย่างเดียวกัน. ชื่อว่า ขยนฺโต

เพราะมีความสิ้นไปเป็นที่สุด. ความสิ้นไปแห่งชาติ ชื่อว่า ชาติขยนฺโต

ได้แก่ นิพพานนั้นเอง. ชื่อว่า ชาติขยนฺตทสฺสี เพราะเห็นนิพพานนั้น.

บทว่า ตสฺมา ได้แก่ เพราะที่สุดแห่งการถึงฝั่งแห่งชรานี้ เป็นอานิสงส์

แห่งการทำสิกขาให้บริบูรณ์. บทว่า สทา คือ ตลอดกาลทั้งหมด. บทว่า

ณานรตา ได้แก่ ยินดีแล้วในฌาน ๒ อย่าง คือ ลักขณูปนิชฌาน (การ

เข้าไปเพ่งลักษณะ) ๑ อารัมมณูปนิชฌาน (การเข้าไปเพ่งอารมณ์) ๑ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 319

มีจิตตั้งมั่นจากฌานนั้น. บทว่า มาร สเสน อภิภุยฺย ได้แก่ ครอบงำ

มาร ๔ อย่างพร้อมด้วยเสนามาร อันได้แก่ เสนา คือ กิเลส และเสนา คือ

ความพินาศ ไม่ให้เหลือ. จริงอยู่ กิเลสทั้งหลายท่านเรียกว่า เสนา เพราะ

เข้าถึงความเป็นสหายแม้ของเทวบุตตมารในการฆ่าคุณความดี อนึ่ง ความพินาศ

มีโรคเป็นต้น ก็เป็นเสนาของมัจจุมาร. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า

กามา เต ปมา เสนา ทุติยา อรติ วุจฺจติ

ตติยา ขุปฺปิปาสา เต จตุตฺถี ตณฺหา ปวุจฺจติ

ปญฺจมี ถีนมิทฺธนฺเต ฉฏฺา ภิรู ปวุจฺจติ

สตฺตมี วิจิกิจฺฉา เต มกฺโข ถมฺโภ จ อฏฺโม

โลโภ สิโลโก สกฺกาโร มิจฺฉา ลทฺโธ จ โย ยโส

โย จตฺตาน สมุกฺกโส ปเร จ อวชานติ

เอสา นมุจิ เต เสนา กณฺหฺสสาภิปฺปหาริณี

น น อสุโร ชินาติ เชตฺวา จ ลภเต สุข

กามทั้งหลายเหล่านั้น ท่านกล่าวว่า

เป็นเสนาที่ ๑ ความริษยาเป็นเสนาที่ ๒

ความอยากความกระหายเป็นเสนาที่ ๓

ตัณหาเป็นเสนาที่ ๔ ถีนมิทธะเป็นเสนาที่

๕ ความขลาดเป็นเสนาที่ ๖ ความสงสัย

เป็นเสนาที่ ๗ ความลบหลู่ ความหัวดื้อ

ความโลภ ความสรรเสริญ สักการะ ความ

เห็นผิด ยศที่ได้รับแล้ว การยกตน และ

การข่มผู้อื่นเป็นเสนาที่ ๘ สารทำลายนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 320

เป็นเสนาของท่าน มีปกติทำลายความ

ชั่วร้าย อสูรชนะมารนั้นไม่ได้ ก็ครั้น

ชนะได้แล้ว ย่อมได้ความสุข.

เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺป โก ชญฺา มรณ สุเว

น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา

ควรทำความเพียร ในวันนี้ทีเดียว

ใครจะรู้ว่าความตายจะมีในวันพรุ่งนี้ เพราะ

การผัดเพี้ยนความตายอันมีเสนาใหญ่นั้น

ของเราทั้งหลายมีไม่ได้เลย ดังนี้.

บทว่า ภวถ ชาติมรณสฺส ปารคา ได้แก่ เธอทั้งหลายจงเป็น

ผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและมรณะ คือ ถึงนิพพานเถิด.

จบอรรถกถาสิกขาสูตรที่ ๙

๑๐. ชาคริยสูตร

ว่าด้วยผู้ตื่นอยู่ มีผล ๒ อย่าง

[๒๒๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุพึงเป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น

มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส และพึงเป็นผู้เห็นแจ้งใน

กุศลธรรมทั้งหลาย สมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้นเนือง ๆ เถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 321

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมีความเพียรเป็นเครื่องตื่น มีสติสัมปชัญญะ

มีจิตตั้งมั่น เบิกบาน ผ่องใส เห็นแจ้งในกุศลธรรมทั้งหลายสมควรแก่กาล

ในการประกอบกรรมฐานนั้นเนือง ๆ พึงหวังผล ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง

คือ อรหัตผลในปัจจุบันหรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ ความเป็นพระอนาคามี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เธอทั้งหลายคืนอยู่ จงฟังคำนี้ เธอ

เหล่าใดผู้หลับแล้ว เธอเหล่านั้นจงตื่น

ความเป็นผู้ตื่นจากความหลับเป็นคุณประ-

เสริฐ เพราะภัยย่อมไม่มีแก่ผู้ตื่นอยู่ ผู้ใด

ตื่นอยู่ มีสติสัมปชัญญะ มีจิตตั้งมั่น

เบิกบาน และผ่องใส พิจารณาธรรมอยู่

โดยชอบโดยกาลอันควร ผู้นั้นมีสมาธิ

เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว พึงกำจัดความ

มืดเสียได้ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงคบ

ธรรมเครื่องเป็นผู้ตื่น ภิกษุผู้มีความเพียร

มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน มีปกติได้

ฌาน ตัดกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ด้วย

ชาติและชราได้แล้ว พึงถูกต้องญาณอัน

เป็นเครื่องตรัสรู้อย่างยอดเยี่ยมในอัตภาพ

นี้แล.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบชาคริยสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 322

อรรถกถาชาคริยสูตร

ในชาคริยสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชาคโร ได้แก่ เป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น คือ

ปราศจากความหลับ ประกอบความเพียร ขวนขวายในการมนสิการกรรมฐาน

ตลอดคืนและวัน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุในศาสนานี้

ชำระจิตจากอาวรณียธรรม (ธรรมเครื่องกัน) ด้วยการนั่งจงกรมตลอดวัน

ชำระจิตจากอาวรณียธรรม ด้วยการนั่งจงกรมตลอดปฐมยามของราตรี สำเร็จ

สีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามของราตรี มีสติสัมปชัญญะด้วยการ

ทับเท้าด้วยเท้า มนสิการถึงอุฏฐานสัญญา (ความสำคัญในการลุกขึ้น) แล้ว

ชำระจิตจากอาวรณียธรรม ด้วยการลุกขึ้นนั่งจงกรมตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี

อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดราตรีต้น

และราตรีปลาย.

ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะ (มีอรรถรวบรวม). เมื่อพูดตั้งร้อย

เป็นต้น ย่อมประมวลด้วย ศัพท์. บทว่า อสฺส แปลว่า พึงเป็น. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า ชาคโร จ ภิกฺขุ วิหเรยฺย ภิกษุพึงมีความเพียรอยู่.

บทว่า สโต ได้แก่ มีสติโดยไม่อยู่ปราศจากสติ ด้วยไม่ละกรรมฐานในที่

ทั้งปวง และโดยกาลทั้งปวง. บทว่า สนฺปชาโน ได้แก่ มีสัมปชัญญะด้วย

อำนาจแห่งสัมปชัญญะ ๔ อย่าง อันเป็นไปในฐานะของสัตว์. บทว่า สมาหิโต

ได้แก่มีจิตตั้งมั่น คือมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ.

บทว่า ปมุทิโต ได้แก่ เบิกบาน คือมากด้วยความปราโมทย์ เพราะเห็น

อานิสงส์แห่งการปฏิบัติ และเพราะเห็นการปรารภความเพียรไม่เป็นโมฆะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 323

ด้วยการบรรลุความวิเศษยิ่ง ๆ ขึ้นไป. บทว่า วิปฺปสนฺโน ได้แก่ ผ่องใส

ด้วยดี เพราะเป็นผู้มากด้วยศรัทธา ในสิกขาอันเป็นข้อปฏิบัติจากความเบิกบาน

นั้น และในพระศาสนาผู้ทรงแสดงข้อปฏิบัติ. พึงเชื่อมความว่า สพฺพตฺถ

อสฺส พึงมีในที่ทั้งปวง. หรือเชื่อม สพฺพตฺถ วิหเรยฺย พึงอยู่ในที่ทั้งปวง.

บทว่า ตตฺถ กาลวิปสฺสี จ กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ เห็นแจ้ง

ในกาลนั้น หรือเห็นแจ้งสมควรแก่กาลในการประกอบกรรมฐานนั้น. ถามว่า

ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ตอบว่า ภิกษุเริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วพิจารณา ด้วยการ

พิจารณาเป็นกลุ่มก้อนเป็นต้น เว้นอสัปปายธรรม ๗ มีอาวาสเป็นต้น แล้วเสพ

สัปปายธรรม ไม่ถึงความสิ้นสุดลงในระหว่าง มีตนส่งไปแล้ว กำหนดอาการ

ที่จิตตั้งมั่น ประพฤติอนิจจานุปัสสนาเป็นต้น ในลำดับโดยเคารพ พึงเป็นผู้

เห็นแจ้ง สมควรแก่กาลในกาลนั้น ๆ หรือในการประกอบกรรมฐานนั้นอย่างนี้

คือ ในกาลใดวิปัสสนาจิตหดหู่ ในกาลนั้นพึงเห็นแจ้ง ในโพชฌงค์มีธัมม-

วิจยสัมโพชฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ และปีติสัมโพชฌงค์ ก็ในกาลใดจิตฟุ้งซ่าน

ในกาลนั้นพึงเห็นแจ้งในธรรมคือโพชฌงค์ อันหาโทษมิได้เป็นกุศล ได้แก่

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดังนี้. แต่

สติสัมโพชฌงค์พึงปรารถนาในทุก ๆ กาลทีเดียว สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า สติญฺจ ขฺวาห ภิกฺขเว สพฺพติถก วทามิ ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย เรากล่าวว่าสติจำต้องปรารถนาในที่ทั้งปวง ดังนี้ . ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงความเพียรเป็นเครื่องตื่น ด้วยเทศนา

อันเป็นบุคลาธิษฐาน แล้วจึงทรงประกาศธรรมอันมีการประกอบความเป็น

เครื่องตื่นสมบูรณ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงวาระแห่งการพิจารณา พร้อมด้วย

อุบการกธรรม (ธรรมเกื้อหนุนกัน ) ของภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา โดยสังเขปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 324

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงความไม่ดูแคลน ต่อการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติอยู่อย่างนั้น

จึงตรัสคำมีอาทิว่า ชาครสฺส ภิกฺขเว ภิกฺขุโน ดังนี้.

การยึดถือสติสัมปชัญญะในการประกอบความเพียรนั้น นำมาซึ่งความ

บันเทิงและความเลื่อมใส อันจำปรารถนาในที่ทั้งปวง. การถือเอาห้องแห่ง

วิปัสสนาอันถึงความแก่กล้าแล้ว ชื่อว่า วิปัสสนาสมควรแก่กาลในการประกอบ

กรรมฐานนั้น. เมื่อวิปัสสนาญาณกล้าแข็งดำเนินไปตามวิถี พ้นจากอุปกิเลส

แล้วนำไปอยู่ ความปราโมทย์ยิ่งและความเลื่อมใสของพระโยคี ย่อมมีในที่

ใกล้แห่งการบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยความปราโมทย์และความเลื่อมใสนั้น. สมดัง

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธาน อุทยพฺพย

ลภติ ปีติปาโมชฺช อมต ต วิชานต

ปามุชฺชพหุโล ภิกฺขุ ปสนฺโน พทฺธสาสเน

อธิคจฺเฉ ปท สนฺต สงฺขารูปสม สุข

เมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็นความเกิด

และความเสื่อมแห่งขันธ์ทั้งหลาย เมื่อนั้น

ผู้รู้แจ้งอมตธรรมนั้น ย่อมได้ปีติและปรา-

โมทย์ ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์

เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา พึงบรรลุทาง

อันเป็นความสงบ อันเข้าไปสงบสังขาร

นำความสุขมาให้ ดังนี้.

บทว่า ชาครนฺตา สุณาเถต ความว่า เธอทั้งหลายตื่นอยู่ เพื่อตื่น

จากความหลับคือความประมาท ความหลับคืออวิชชาโดยส่วนเดียวเท่านั้น

คือประกอบความเพียรด้วยการขวนขวายธรรม มีสติสัมปชัญญะเป็นต้น จงฟัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 325

คำของเรานี้. บทว่า เย สุตฺตา เต ปพุชฺฌถ ความว่า เธอเหล่าใดเป็น

ผู้หลับ คือ เข้าถึงความหลับ ด้วยการนอนหลับตามที่กล่าวแล้ว เธอเหล่านั้น

จงยึดอินทรีย์ พละและโพชฌงค์ ด้วยการประกอบความเพียรแล ขวนขวาย

วิปัสสนา จงตื่นจากหลับนั้นด้วยการปฏิบัติความไม่ประมาทเถิด. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ชาครนฺตา คือ เป็นนิมิตแห่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น บทว่า เอต

ในบทว่า สุณาเถต นี้ ท่านกล่าวไว้แล้ว. ถามว่า คำนั้นคืออะไร. ตอบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วว่า เย สุตฺตา เต ปพุชฺฌถ เธอเหล่าใดหลับ

เธอเหล่านั้นจงตื่น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า เย สุตฺตา ได้แก่ เธอเหล่าใดหลับแล้ว

ด้วยการนอนหลับคือกิเลส เธอเหล่านั้นจงตื่น ด้วยการตรัสรู้อริยมรรค. บทว่า

สุตฺตา ชาคาริย เสยฺโย นี้ เป็นคำกล่าวถึงเหตุแห่งการตรัสรู้. เพราะความ

เป็นผู้ตื่น คือการตื่นมีประการดังกล่าวแล้ว จากการหลับดังกล่าวแล้ว เป็น

คุณประเสริฐ คือน่าสรรเสริญ นำประโยชน์สุขมาให้แก่กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์

ฉะนั้น เธอทั้งหลายจงตื่น. บทว่า นตฺถิ ชาครโต ภย นี้แสดงถึงอานิสงส์

ในความเป็นผู้ตื่นนั้น. ด้วยว่าผู้ใดเป็นผู้ตื่น เพราะประกอบด้วยธรรมเป็น

เครื่องตื่น มีศรัทธาเป็นต้น ย่อมตื่นคือไม่เข้าถึงการหลับคือความประมาท

วัฏภัยแม้ทั้งหมด คืออัตตานุวาทภัย ปรานุวาทภัย ทัณฑภัย ทุคติภัย อันมี

ชาติเป็นต้นเป็นนิมิต ย่อมไม่มีแก่ผู้นั้น.

บทว่า กาเลน ได้แก่ โดยกาลแห่งอาวาสสัปปายะอันตนได้แล้ว.

บทว่า โส เป็นเพียงนิบาต. บทว่า สมฺมา ธมฺม ปริวิมสมโน ความว่า

พิจารณาโดยรอบ คือเห็นแจ้งโดยอาการทั้งปวง โดยประการที่ความเบื่อหน่าย

และความคลายกำหนัดเป็นต้นย่อมเกิด ด้วยการรู้ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ อัน

เป็นอารมณ์แห่งวิปัสสนาโดยชอบ. บทว่า เอโกทิภูโต ได้แก่ ชื่อว่า เอโกทิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 326

สมาธิ เพราะมีสมาธิอันเป็นธรรมเอก คือประเสริฐที่สุดผุดขึ้น. ชื่อว่า

เอโกทิภูโต เพราะมีสมาธิอันเป็นธรรมเอกผุดขึ้น. พึงเห็นคำอันเป็นบท

แห่งภูตศัพท์ ในบทนี้ ดุจบทแห่งศัพท์ว่า อคฺคิอาหิตาทิ ไฟถูกจุดแล้ว . อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า เอโกทิภูโต เพราะเป็นธรรมเอกผุดขึ้นคือถึงแล้ว. ใน

บทว่า เอโกทิ นี้ ท่านประสงค์เอาสมาธิอันเลิศ. ก็ในบทว่า สมาหิโต นี้

ได้แก่ วิปัสสนาสมาธิ พร้อมด้วยสมาธิอันมีฌานเป็นบาท. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

กาเลน คือโดยกาลแทงตลอดมรรค. บทว่า สมฺมา ธมฺม ปริวีมสมาโน

ได้แก่ พิจารณาจตุสัจจธรรม ด้วยปริญญาภิสมัย (การตรัสรู้ด้วยการกำหนดรู้)

เป็นต้นโดยชอบ คือ ตรัสรู้ด้วยเอกาภิสมัย (ตรัสรู้ธรรมเป็นเอก). บทว่า

เอโกทิภูโต ได้แก่ ชื่อว่า เอโกทิ เพราะเป็นธรรมเอก คือประเสริฐ

ไม่มีธรรมร่วมผุดขึ้น. ทำกิจ ๔ ให้สำเร็จ คือตั้งไว้โดยชอบ. ธรรมนั้นเป็น

ธรรมเอกผุดขึ้นแล้ว. บททั้งปวงเช่นกับบทก่อนนั่นเอง. บทว่า วิหเน ตม

โส ได้แก่ พระอริยสาวกผู้เป็นอย่างนี้นั้นพึงกำจัด คือพึงตัดความมืด คือ

อวิชชา ด้วยอรหัตมรรคโดยไม่เหลือ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงความที่การปฏิบัติไม่เป็นโมฆะ

ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อทรงชี้ชวนให้มั่นคงในข้อนั้น จึงตรัสคาถา

สุดท้ายว่า ตสฺมา หเว ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการเจริญสมถะและ

วิปัสสนาของผู้ตื่นอยู่ ด้วยการไม่อยู่ปราศจากสติเป็นต้น ย่อมถึงความบริบูรณ์

อริยมรรคย่อมปรากฏโดยลำดับ จากนั้นวัฏภัยทั้งหมดย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น.

บทว่า หเว คือ มั่นคงโดยส่วนเดียว. บทว่า ภเชถ แปลว่า พึงคบ.

อธิบายว่า ภิกษุคบธรรมเป็นเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้ และประกอบด้วยคุณ มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 327

ความเป็นผู้มีความเพียรเป็นต้นทำลายสังโยชน์ พึงถูกต้อง คือพึงบรรลุสัม-

โพธิญาณอันยอดเยี่ยม ได้แก่ญาณอันเป็นผลเลิศ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว

นั่นแล.

จบอรถกถาชาคริยสูตรที่ ๑๐

๑๑. อปายสูตร

ว่าด้วยชน ๒ พวก เกิดในอบาย

[๒๒๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชน ๒ พวกนี้จักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก

เพราะไม่ละความประพฤติชั่วช้า ๒ พวกเป็นไฉน คือ ผู้ไม่ใช่พรหมจารีปฏิ-

ญาณว่าเป็นพรหมจารี ๑ ผู้ตามกำจัดชนผู้ประพฤติพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์

บริบูรณ์ ด้วยอพรหมจรรย์อันไม่มีมูล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชน ๒ พวกนี้แล

จักเกิดในอบาย จักเกิดในนรก เพราะไม่ละความประพฤติชั่วช้านี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนผู้กล่าวคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก

ก็หรือชนใดทำบาปกรรมแล้วกล่าวว่า ไม่-

ได้ทำ แม้คนทั้ง ๒ นั้น ย่อมเข้าถึงนรก

เหมือนกัน ชนทั้ง ๒ พวกนั้น เป็นมนุษย์

ผู้มีกรรมอันเลวทราม ละไปแล้ว ย่อมเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 328

ผู้เสมอกันในโลกหน้า คนเป็นอันมากอัน

ผ้ากาสาวะพันคอ มีธรรมอันลามกไม่สำ-

รวม คนลามกเหล่านั้นย่อมเข่าถึงนรก

เพราะกรรมอันลามกทั้งหลาย ก้อนเหล็ก

ร้อนเปรียบด้วยเปลวไฟ อันผู้ทุศีลบริโภค

แล้ว ยังประเสริฐกว่า ผู้ทุศีล ไม่สำรวม

พึงบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น จะ

ประเสริฐอะไร.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบอปายสูตรที่ ๑๑

อรรถกถาอปายสูตร

ในอปายสูตรที่ ๑๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปายิกา ชื่อว่า อบาย เพราะจักเกิดในอบาย. ชื่อว่า

นรก เพราะจักเกิดในนรก. บทว่า อิทมฺปหาย ได้แก่ เพราะไม่ละ

ความประพฤติชั่วช้า ๒ อย่างอันจะกล่าวถึงในบัดนี้. อธิบายว่า เพราะไม่สละ

วาจา จิต และทิฏฐิ อันเป็นไปแล้วด้วยการปฏิบัติมาอย่างนั้น ยกย่องมา

อย่างนั้น. บทว่า อพฺรหฺมจารี ความว่า ชื่อว่า พรหมจารี เพราะ

พระพฤติพรหมจรรย์ คือ ธรรมอันประเสริฐที่สุด. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

พรหมจารี เพราะมีความประพฤติพรหมจรรย์อันประเสริฐที่สุด ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 329

อพฺรหฺมจารี เพราะไม่ใช่พรหมจารี. อธิบายว่า คนทุศีลเป็นพรหมจารีปลอม.

บทว่า พฺรหฺมจารีปฏิญฺโ ได้แก่ มีปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นพรหมจารี.

บทว่า ปริปุณฺณ ได้แก่ ไม่พิกล เพราะไม่มีอวัยวะหักเป็นต้น. บทว่า ปริสุทฺธ

ได้แก่ บริสุทธิ์ เพราะไม่มีอุปกิเลส. บทว่า อมูลเกน ได้แก่ ด้วยอพรหม-

จรรย์ คือ ด้วยความประพฤติไม่ประเสริฐ เว้นจากข้อมูลมีเหตุเป็นต้น คือ

เว้น จากการท้วงอันไม่มีมูลเหล่านั้น คือ ได้เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว ได้รังเกียจแล้ว.

บทว่า อนุทฺธเสติ ได้แก่ ทั้งที่รู้อยู่ว่า ผู้นี้บริสุทธิ์ ยังกำจัด รุกราน ท้วง

หรือด่า.

บทว่า อภูตวาที ได้แก่ ยังไม่เห็นโทษของผู้อื่นเลย กล่าวมุสาวาท

โดยไม่เป็นจริง ไร้ประโยชน์ แล้วตู่ผู้อื่น. บทว่า กตฺวา ได้แก่ ก็หรือผู้ใด

กระทำกรรมลามกแล้วยังกล่าวว่า เรามิได้ทำกรรมนี้. บทว่า อุโภปิ เต

เปจฺจ สมา ได้แก่ ชนแม้ ๒ พวกเหล่านั้น ครั้นไปสู่โลกอื่นจากโลกนี้แล้ว

เป็นผู้เสมอกันโดยคติ เพราะเข้าถึงนรก. ในนรกนั้นกำหนดคติของชน ๒ พวก

ไว้ แต่ไม่ได้กำหนดอายุของพวกเขาไว้. เพราะคนทำบาปมาก ย่อมไหม้ใน

นรกนาน คนทำบาปน้อย ย่อมไหม้ในนรกตลอดกาลเล็กน้อย ก็เพราะกรรม

ของชน ๒ พวกเหล่านั้น ลามกเหมือนกัน ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ ชนทั้ง ๒ เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทรามละโลก

นี้ไปแล้ว ดังนี้. ควรเชื่อมบทว่า ปรตฺถ ด้วยบทว่า ปรโต เปจฺจ ดังนี้ .

อธิบายว่า ผู้มีกรรมเลวทรามละไปแล้ว คือ ไปจากโลกนี้แล้ว ย่อมเป็นผู้

เสมอกันในโลกหน้า ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงวิบากแห่งมุสาวาทอันเป็นไป

แล้ว ด้วยการกล่าวตู่คำที่ไม่เป็นจริง และปกปิดโทษที่เป็นจริง บัดนี้ เพื่อให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 330

เกิดสังเวชด้วยการเห็นวิบากแห่งกรรมชั่ว ของภิกษุชั่วมากซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้น

จึงได้ตรัสคาถา ๒ คาถา ด้วยประการฉะนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กาสาวกณฺา ได้แก่ มีคอพันด้วยผ้ากาสาวะ

เพราะมีรสฝาดและสีเหลือง. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ ธรรมลามก. บทว่า

อสฺญฺตา ได้แก่ เว้นจากการสำรวมทางกายเป็นต้น . บทว่า ปาปา ได้แก่

บุคคลลามกเห็นปานนั้น เกิดด้วยกรรมลามก ย่อมเสวยทุกข์ใหญ่ตามนัยที่กล่าว

แล้วในลักขณสังยุตมีอาทิว่า แม้ร่างกายของเขาก็ร้อนโพลง มีไฟลุก แม้สังฆาฏิ

ก็ร้อน ดังนี้.

ในคาถาที่ ๓ พึงทราบความย่อต่อไปนี้. บทว่า ยญฺเจ ภุญฺเชยฺย

ได้แก่ คนทุศีล คือ ไม่มีศีล ไม่สำรวมด้วยกายเป็นต้น ปฏิญาณว่าเราเป็น

สมณะ รับก้อนข้าวที่ชาวแว่นแคว้นให้ด้วยศรัทธา บริโภคก้อนเหล็กร้อนมี

แสงไฟอันผู้ทุศีลบริโภคยังประเสริฐกว่า คือ ดีกว่าคนทุศีลนั้น. ถามว่า เพราะ

เหตุไร. ตอบว่า เพราะการบริโภคก้อนเหล็กเป็นเหตุ เขาก็พึงไหม้ในอัตภาพ

เดียวเท่านั้น. ส่วนคนทุศีลบริโภคของที่เขาให้ด้วยศรัทธา เขาพึงไปเกิดในนรก

หลายร้อยชาติ.

จบอรรถกถาอปายสูตรที่ ๑๑

๑๒. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยเรื่องทิฏฐิพัวพันพาไป

[๒๒๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 331

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอันทิฏฐิ ๒ อย่าง

พัวพันแล้ว บางพวกย่อมติดอยู่ บางพวกย่อมแล่นเลยไป ส่วนพวกที่มีจักษุ

ย่อมเห็น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมติดอยู่อย่างไรเล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายมีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วใน

ภพ เพลิดเพลินด้วยดีในภพ เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ จิต

ของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ดำรงอยู่

ด้วยดี ย่อมไม่น้อมไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อม

ติดอยู่อย่างนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างไร

เล่า ก็เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชังอยู่ด้วยภพนั่นแล

ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญว่า แน่ะท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อใด

คนนี้เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่เกิดอีก

นี้ละเอียด นี้ประณีต นี้ถ่องแท้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวก

ย่อมแล่นเลยไปอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างไรเล่า ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็น (ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว)

จริง ครั้นเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความ

เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 332

อริยสาวกใดเห็นขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว

และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่

เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมน้อมไปใน

นิพพานตามความเป็นจริงเพราะภวตัณหา

หมดสิ้นไป ถ้าว่าอริยสาวกนั้นกำหนดรู้

ขันธ์ ๕ ที่เกิดแล้ว ปราศจากตัณหาในภพ

น้อยและภพใหญ่แล้วไซร้ ภิกษุทั้งหลาย

ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่เกิด

แห่งอัตภาพที่เกิดแล้ว.

เนื้อควานแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบทิฏฐิสูตรที่ ๑๒

จบวรรคที่ ๒

อรรถกถาทิฏฐิสูตร

ในทิฏฐิสูตรที่ ๑๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทฺวีหิ ทิฏฺิคเตหิ นี้ ทิฏฺิคต ก็คือทิฏฐินั่นแหละ ดุจ

ในบทมีอาทิว่า คูธคต มุตฺตคต (คูถ มูตร) ดังนี้. ทิฏฐิทั้งหลายอันมี

ฐานะเป็นทิฏฐิ เพราะเป็นเพียงถึงทิฏฐิโดยประการที่ว่างจากอาการถือเอา ด้วย

ทิฏฐิเหล่านั้น. บทว่า ปริยุฏฺิตา ได้แก่ ครอบงำหรือพัวพัน. ศัพท์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 333

ปริยุฏฐาน มีอรรถว่า พัวพันดุจในบทมีอาทิว่า โจรา มคฺเค ปริยุฏฺึสุ

พวกโจรดักอยู่ที่หนทาง ดังนี้. บทว่า เทวา ได้แก่ อุบัติเทพ. ก็อุบัติเทพ

เหล่านั้นท่านเรียกว่า เทวา เพราะเล่น คือ เล่นด้วยกามคุณอันยิ่งและสูงสุด

และด้วยฌานเป็นต้น หรือถึง คือ บรรลุประโยชน์ที่ตนปรารถนาด้วยอานุภาพ

แห่งฤทธิ์. ชื่อว่า มนุสฺสา เพราะเป็นผู้มีใจสูง. อนึ่ง บทนี้ท่านกล่าวด้วย

การชี้แจงเป็นเยี่ยมเหมือนอย่างที่ว่า สตฺถา เทวมนุสฺสาน เป็นศาสดาแห่ง

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. บทว่า โอลิยนฺติ เอเก ความว่า เทวดาและ

มนุษย์บางพวกย่อมพัวพัน ย่อมติด ย่อมถึงการซบ ย่อมไม่ออกไปจากนั้น

ด้วยควานเห็นว่าเที่ยง อันเป็นการติดและการยึดมั่นในภพทั้งหลายว่า สสฺสโต

อตฺตา จ โลโก จ ตน และโลกเที่ยง ดังนี้. บทว่า อติธาวนฺติ

ความว่า ไม่ถือความสัมพันธ์โดยความเป็นเหตุผลของสภาวธรรม แม้มีสภาพ

ทำลายไปโดยปรมัตถ์ ย่อมแล่นไปในภพนั้น ๆ เอง ด้วยการถือแม้นัยอันเป็น

ความต่างกัน เพราะฉะนั้น ย่อมแล่นไป คือ ก้าวล่วงความเป็นธรรมในการ

ทักท้วง การปฏิบัติเพื่อดับภพในความสูญว่า อุจฺฉิชฺชติ อตฺตา จ โลโก จ

นโหติ ปรมฺมรณา ตนและโลกย่อมขาดสูญ เบื้องหน้าแต่ตาย ย่อมไม่มี.

ศัพท์ในบทว่า จกฺขุมนฺโต จ ปสฺสติ ลงในอรรถแย้งกัน. ก็เทวดาและ

มนุษย์ผู้มีปัญญาจักษุด้วยความแก่กล้าของญาณ แห่งการถึงพร้อมด้วยการ

ประกอบในเบื้องตน ไม่อาศัยที่สุดทั้งสอง คือ ความเที่ยง และความขาดสูญ

ด้วยปัญญาจักษุนั้นแล กระทำให้ประจักษ์ด้วยการเห็นข้อปฏิบัติสายกลาง. จริงอยู่

เทวดา เละมนุษย์เหล่านั้นย่อมเห็นโดยไม่คิดว่า ธรรมชาตินี้อาศัยเพียงนามรูป

เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น เที่ยงก็ไม่ใช่ แม้ขาดสูญก็ไม่ใช่ ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ดังนี้ เพื่อ

ทรงแสดงถึงความติดเป็นต้น โดยบุคลาธิษฐาน ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 334

ในบทเหล่านั้น บทว่า ภวา ได้แก่ กามภพ รูปภพ อรปภพ. ยังมี

ภพอื่นอีก ๓ คือ สัญญีภพ (ภพของผู้มีสัญญา) อสัญญีภพ (ภพของผู้ไม่มี-

สัญญา) เนวสัญญีนาสัญญีภพ (ภพของผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่).

ยังมีภพอื่นอีก ๓ คือ เอกโวการภพ (ภพของผู้มีขันธ์เดียว) จตุโวการภพ

(ภพของผู้มีขันธ์ ๔) ปัญจโวการภพ (ภพของผู้มีขันธ์ ๕). ชื่อว่า ภวารามา

เพราะยินดีพอใจด้วยภพเหล่านั้น ชื่อว่า ภวรตา เพราะยินดี คือยินดียิ่งใน

ภพทั้งหลาย. ชื่อว่า ภวสมุทฺทิตา เพราะเพลิดเพลินด้วยดีในภพทั้งหลาย.

บทว่า ภวนิโรธาย ได้แก่เพื่อดับภพเหล่านั้นให้สิ้นสุด คือ เพื่อไม่ให้เกิดต่อ

ไป. บทว่า ธมฺเม เทสิยมาเน ได้แก่ เมื่อนิยยานิกธรรม อันพระตถาคต

ทรงประกาศแล้ว คือ ทรงบอกอยู่. บทว่า น ปกฺขนฺทติ ได้แก่

จิตไม่เข้าไป คือ ไม่หยั่งลง เพราะมีความหดหู่เป็นธรรมดาเพราะยึดมั่น

ในความเป็นของเที่ยง. บทว่า น ปสีทติ ได้แก่ ไม่ถึงความเลื่อมใส คือ

ไม่เชื่อธรรมนั้น. บทว่า น สนฺติฏฺติ ได้แก่จิตไม่ดำรงอยู่ คือ ไม่ตั้งอยู่

ไม่น้อมไปในเทศนานั้น. เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมคิดอยู่ในภพด้วยความ

ยึดมั่นในความเป็นของเที่ยง. บทว่า อฏฺฏิยมานา ความว่า เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายเห็นชราโรคและมรณะเป็นต้น และการฆ่า การจองจำ การตัดเป็นต้น

แล้วถูกความทุกข์เหล่านั้นบีบคั้นด้วยภพ อันมีทุกข์เหล่านั้นพร้อม เป็นผู้ยึด

มั่นในทุกข์. บทว่า หรายมานา ได้แก่ ระอา. บทว่า ชิคุจฺฉมานา ได้แก่

เผาอยู่โดยเป็นของปฏิกูล. บทว่า วภว ได้แก่ความขาดสูญ บทว่า อภินนฺทติ

ได้แก่ย่อมเพลิดเพลินเพราะความพะวง ด้วยความยินดีตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า

ยโต โข กิร โภ เป็นต้น แสดงถึงอาการยินดีของเทวดาและมนุษย์

เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 335

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยโต แปลว่า เมื่อใด. บทว่า โภ เป็นอาลปนะ.

บทว่า อย อตฺตา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงสิ่งที่พระองค์กำหนดด้วย

ความเป็นตัวการเป็นต้น. บทว่า อุจฺฉิชฺชติ แปลว่าขาดสูญ บทว่า วินฺสสติ

ได้แก่ไม่ปรากฏ ถึงความพินาศ คือ ความไม่มี. บทว่า น โหติ ปรมฺมรณา

ได้แก่ตายแล้วย่อมไม่เกิดอีก. บทว่า เอต สนฺต ได้แก่ความขาดสูญเป็นต้น

ของตนนี้ ชื่อว่า สงบ เพราะสงบจากอารมณ์ทั้งปวงและเพราะสงบจากความ

เดือนร้อนทั้งปวง ชื่อว่า ประณีต เพราะความเป็นของละเอียด ชื่อว่า ถ่องแท้

เพราะไม่ผิดจากความจริง. ในบทเหล่านั้น เทวดาและมนุษย์กล่าวบททั้งสองนี้

ว่า สนฺต ปณีต ด้วยความยินดียิ่งในตัณหา. กล่าวบทว่า ยาถาว ด้วยความ

ยินดียิ่งในทิฏฐิ. กล่าวบทว่า เอว ด้วยยึดมั่นในความขาดสูญตามที่กล่าวแล้ว

อย่างนี้. บทว่า ภูต ได้แก่ขันธบัญจก. ด้วยว่า ขันธบัญจักนั้นท่านกล่าวว่า

ภูต เพราะเกิดด้วยปัจจัยและเพราะมีอยู่โดยปรมัตถ์. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภูตมิท ภิกฺขเว สมนุปสฺสถ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงพิจารณาขันธบัญจกนี้. ภิกษุย่อมเห็นโดยความเป็นจริง โดยไม่

วิปริต โดยมีลักษณะและโดยสามัญลักษณะ. เพราะขันธบัญจกนี้เป็นเพียงนาม-

รูป อธิบายว่า ภิกษุย่อมเห็นขันธบัญจกนี้เป็นเพียงนามรูป ด้วยการเห็นนามรูป

พร้อมด้วยปัจจัยอย่างนี้ ในนามรูปนั้น ธรรมทั้งหลายมีปฐวีธาตุเป็นต้น เหล่านี้

เป็นรูป ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นต้นเหล่านี้เป็นนาม ขันธบัญจกเหล่านี้เป็น

ลักษณะเป็นต้นของนามรูปเหล่านั้น อวิชชาเป็นต้นเหล่านั้นเป็นปัจจัยของนาม-

รูปเหล่านั้น และด้วยอนิจจานุปัสสนาเป็นต้นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ทั้งหมด

ไม่มีแล้วเกิดมี มีแล้วเสื่อม เพราะฉะนั้น ธรรมทั้งหลายจึงไม่เที่ยง เพราะไม่

เที่ยงจึงเป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ จึงเป็นอนัตตา ดังนี้. ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้เป็นอันทรงแสดงวิปัสสนาภูมิ อันมีตรุณวิปัสสนา (วิปัสนาอย่างอ่อน)

เป็นที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 336

บทว่า นิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อความเบื่อหน่ายธรรมชาติอันเป็นไป

ในภูมิ ๓ อันได้แก่ ขันธปัญจก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงพลววิปัสสนา

(วิปัสสนาแรงกล้า) ด้วยบทนี้. บทว่า วิราคาย ได้แก่ เพื่อวิราคะคือเพื่อ

คลายกำหนัด ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงมรรค บทว่า

นิโรธาย ได้แก่เพื่อดับแม้ด้วยบทนี้พระองค์ก็ทรงแสดงถึงมรรคเหมือนกัน

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นิโรธาย พระองค์ทรงแสดงถึงอนุปาทิเสสนิพพาน

พร้อมด้วย ปฏิปัสสัทธินิโรธ (การดับด้วยความสงบ). บทว่า เอว

จกฺขุมนฺโต ปสฺสนฺติ ได้แก่ ผู้มีปัญญาจักษุย่อมเห็นจตุสัจจธรรมด้วยจักษุ

คือมรรคปัญญาโดยส่วนอันมีในเบื้องต้นอย่างนี้.

ในคาถาทั้งหลายพึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า โย ภูต ภูตโต

ทิสฺวา ความว่า พระอริยสาวกใดเห็นขันธปัญจกที่เกิดแล้ว โดยความเป็น

จริง คือ โดยสภาพที่ไม่วิปริต ด้วยมรรคปัญญาอันประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา

ด้วยบทนี้ พระองค์ทรงแสดงถึงปริญญาภิสมัย (การตรัสรู้ด้วยกำหนดรู้).

บทว่า ภูตสฺส จ อติกฺกม ได้แก่ ภาวนาภิสมัย (การตรัสรู้ด้วยภาวนา).

จริงอยู่ อริยมรรคท่านกล่าวว่า ก้าวล่วงขันธปัญจกที่เกิดแล้ว เพราะเป็นเหตุ

ก้าวล่วงขันธปัญจกที่เกิดแล้ว. บทว่า ยถาภูเต ได้แก่ น้อมไปในนิพพาน

อันมีสภาพเป็นสัจจธรรมไม่วิปริต. ด้วยบทนี้ พระองค์ทรงแสดงถึงสัจฉิกิริยา-

ภิสมัย (การตรัสรู้ด้วยการทำให้แจ้ง). บทว่า ภวตณฺหาปริกฺขยา ได้แก่

เพราะสิ้นไป คือ เพราะตัดขาดภวตัณหา ด้วยประการทั้งปวง. ด้วยบทนี้

พระองค์ทรงแสดงถึง สมุทยปหาน (การละตัณหาอันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์).

ก็บทว่า สเจ ในบทว่า สเจ ภูต ปริญฺโ โส นี้ เป็นเพียงนิบาต.

อธิบายว่า ถ้าว่า อริยสาวกนั้น กำหนดรู้ขันธปัญจกที่เกิดแล้ว คือ กำหนด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 337

รู้ขันธ์ เพราะสิ้นภวตัณหาด้วยมรรคอันเป็นอุบายก้าวล่วงขันธปัญจกะที่เกิดแล้ว

แต่นั้นก็น้อมไปในนิพพานตามเป็นจริง. บทว่า ภวาภเว ความว่า ภิกษุ

ปราศจากตัณหา คือ ทำลายกิเลสได้แล้ว ในภพน้อยและภพใหญ่ หรือใน

เพราะการเห็นความขาดสูญเป็นต้น ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ คือถึงความเป็นผู้ไม่มี

บัญญัตินั่นเอง เพราะความไม่เกิด คือ ไม่เกิดอีกต่อไปแห่งอัตภาพ อันได้แก่

อุปาทานขันธ์ที่เกิดแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบเทศนาด้วยอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุ.

พระองค์ตรัสถึงวัฏฏะในสูตรที่ ๑๑ ในวรรคนี้ ตรัสถึงวัฏฏะและ

วิวัฏฏะในสูตรที่ ๓-๔-๕ และในสูตรสุดท้าย ด้วยประการฉะนี้. แม้ในสูตร

ที่เหลือก็พึงทราบว่า เป็นวิวัฏฏะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ ๑๒

จบอรรถกถาทุกนิบาตอิติวุตตกะแห่งอรรถกถา

ขุททกนิกาย ชื่อว่า ปรมัตถวิภาวินี

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิตักกสูตร ๒. เทศนาสูตร ๓. วิชชาสูตร ๔. ปัญญาสูตร

๕. ธรรมสูตร ๖. อชาตสูตร ๗. ธาตุสูตร ๘. สัลลานสูตร ๙. สิกขาสูตร

๑๐. ชาคริยสูตร ๑๑. อปายสูตร ๑๒. ทิฎฐิสูตร และอรรถกถา.

จบทุกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 338

อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ ๑

๑. อกุศลมูลสูตร

ว่าด้วยอกุศลมูล ๒ ประการ

[๒๒๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ ประการนี้ ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือ โลภะเป็นอกุศลมูล ๑ โทสะเป็นอกุศลมูล ๑ โมหะเป็น

อกุศลมูล ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

โลภะ โทสะ และโมหะ เกิดแล้ว

ในตน ย่อมเบียดเบียนบุรุษผู้มีจิตอันลามก

เหมือนขุยไผ่ ย่อมเบียดเบียนไม้ไผ่

ฉะนั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบอกุศลอมูลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 339

ติกนิบาตวรรณนา

วรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาอกุศลมูลสูตร

ในอกุศลมูลสูตรที่ ๑ แห่งติกนิบาต พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตีณิ เป็นการกำหนดนับจำนวน. บทว่า อิมานิ เป็นคำ

ชี้ชัดถึงสิ่งที่อยู่เฉพาะหน้า. บทว่า อกุสลมูลานิ เป็นตัวอย่างแห่งธรรมที่

ทรงกำหนดไว้. ในบทว่า อกุสลมูลานิ นั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ กิเลสชาติ

ชื่อว่า เป็นอกุศลมูล เพราะมันเป็นทั้งอกุศล เป็นทั้งรากเง่า (ของอกุศล).

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเป็นอกุศลมูล เพราะเป็นรากเง่า (ของอกุศลทั้งหลาย)

โดยความหมายว่า เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เป็นปกวะ (แดนเกิดก่อน) เป็น

ชนกะ (ผู้ให้กำเนิด) เป็นสมุฏฐาปกะ (ผู้สถาปนา) เป็นนิพพัตตกะ

(ผู้ให้เกิด) แห่งอกุศลธรรมทั้งหลาย คือเป็นทั้งการณะ (เหตุ) แห่งอกุศลธรรม

ทั้งหลาย. เพราะว่าการณะ ท่านเรียกว่า เหตุ เพราะเป็นแดน คือเป็นไป

แห่งผล เรียกว่า ปัจจัย เพราะเป็นเหตุให้ผลอาศัยเป็นไป เรียกว่า ปภวะ

เพราะเป็นแดงเกิดก่อนแห่งผล เรียกว่า ชนกะ เพราะยังผลของตนให้เกิด

เรียกว่า สมุฏฐาปกะ เพราะให้เผล็ดผล และเรียกว่า นิพัตตกะ เพราะยัง

ผลให้เกิดขึ้น ฉันใด กิเลสชาติมีโลภะเป็นต้น ชื่อว่าเป็นรากเง่า เพราะอรรถ

ว่าเป็นที่ตั้ง (แห่งอกุศลทั้งหลาย) ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า บทว่า

อกุสลมูลานิ หมายความว่า เป็นเหตุให้ (อกุศลธรรมทั้งหลาย) สำเร็จความ

เป็นธรรมที่ตั้งไว้สมบูรณ์แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 340

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความโลภที่ให้อกุศลทั้งหลายสำเร็จ

ความเป็นอกุศล เป็นมูลฐานของอกุศลทั้งหลาย มีโลภเป็นต้น เหมือนพืช

(พันธุ์) ของข้าวสาลีเป็นต้น เป็นมูลฐานของข้าวสาลีเป็นต้น และเหมือนน้ำ

ใสดุจแก้วมณี เป็นต้น เป็นมูลฐานของประกาย ของอัญญมณีเป็นต้น ฉะนั้น.

เมื่อเป็นเช่นนั้น ในรูปที่มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐาน ไม่พึงมีความที่อกุศลธรรม

เหล่านั้น เป็นเหตุ เป็นปัจจัย เพราะว่า รูปที่มีอกุศลจิตเป็นสมุฏฐานเหล่านั้น

ให้สำเร็จความเป็นอกุศลธรรมแก่มันไม่ได้ แต่ว่าไม่ใช่จะเป็นปัจจัยไม่ได้

สมจริง ดังคำที่ตรัสไว้ว่า เหตุเป็นปัจจัย โดยเหตุปัจจัย แก่ธรรมทั้งหลายที่

สัมปยุตด้วยเหตุ และรูปทั้งหลาย ที่มีธรรมสัมปยุตด้วยเหตุเหล่านั้น เป็น

สมุฏฐาน.

ก็ความที่มีโมหะเป็นอกุศล ไม่พึงมีแก่อเหตุกสัตว์ เพราะไม่มีรากเง่า

อย่างอื่น ที่ให้สำเร็จความเป็นอกุศล. อนึ่ง ความที่ธรรมทั้งหลายมีโลภะ

เป็นต้น เป็นอกุศลเป็นต้น สำเร็จแล้วโดยสภาวะพึงมีได้ แต่ความที่ธรรม

ทั้งหลาย ที่สัมปยุตด้วยโลภะเป็นต้นเหล่านั้นเป็นอกุศลเป็นต้น เป็นธรรม

เนื่องด้วยโลภะเป็นต้น พึงมีได้ดังนี้ แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ความที่อกุศลธรรม

ทั้งหลาย แม้มีอโลภะเป็นต้น เป็นกุศลสำเร็จได้โดยสภาวะ เหมือนความที่

โสภะเป็นต้น เป็นอกุศลสำเร็จได้โดยสภาวะนั้น ดังนั้น อโลภะเป็นต้น พึงเป็น

กุศลอย่างเดียว ไม่เป็นอัพยากฤตและไม่มีอยู่ด้วย. เพราะฉะนั้น นักศึกษา

ควรแสวงหาสภาพของกุศลธรรมเป็นต้น แม้ในรากเง่าทั้งหลายเหมือนใน

สัมปยุตธรรมทั้งหลาย. บัณฑิตพึงถือเอามูล (รากเง่านั่นแหละ) ว่าเป็นเหตุ

ดุจโยนิโสมนสิการเป็นต้น เป็นเหตุแห่งความเป็นกุศล (และ) ดุจอโยนิโส-

มนสิการเป็นต้น เป็นเหตุแห่งความเป็นอกุศล. เมื่อไม่ถือเอามูลฐานแห่งความ

โลภเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งการยังความเป็นอกุศลให้สำเร็จ แล้วถือเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 341

(มูลฐาน) ด้วยอำนาจแห่งการยังความเป็นธรรมที่ประดิษฐานไว้อย่างดีแล้ว ให้

สำเร็จอย่างนี้ ก็ไม่มีโทษอะไร. เพราะว่าธรรมทั้งหลายที่ได้เหตุและปัจจัยแล้ว

จะประดิษฐานมั่นคง เหมือนต้นไม้ที่มีรากแผ่ไพศาล ส่วนธรรมที่เว้นจากเหตุ

จะไม่ประดิษฐานมั่นคง เหมือนงาและสาหร่ายมีพืชเป็นต้น เพราะฉะนั้น

กิเลสทั้ง ๓ อย่าง จึงชื่อว่าเป็นอกุศลมูล เพราะเป็นมูลเหตุที่เป็นอุปการะ

แก่อกุศลธรรมทั้งหลาย โดยความหมายมีเหตุเป็นต้น. แต่เพราะเหตุที่จิต-

ตุปบาทที่เป็นอกุศลที่พ้นจากกิเลสที่เป็นรากเง่าย่อมไม่มี ฉะนั้น พึงทราบว่า

ด้วยกิเลสที่เป็นมูลทั้ง ๓ พระองค์ทรงแสดงคลุมเอากองอกุศลทั้งหมดไว้.

เพื่อจะทรงแสดงอกุศลมูลเหล่านั้น โดยสรุป จึงตรัสคำมีอาทิว่า โลโภ

อกุสลมูล ความโลภเป็นอกุศลมูล ดังนี้. บรรดาคำเหล่านั้น คำที่จะต้องกล่าว

ในความโลภเป็นต้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล้วทั้งนั้น ก็ใน

ตอนนั้นความโลภเป็นต้น อันมรรคที่ ๓ จะพึงฆ่ามีมาแล้ว แต่ในพระสูตรนี้

ความโลภเป็นต้น ไม่มีเหลือเลย นี่แหละเป็นข้อที่แตกต่างกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาดังต่อไปนี่ บทว่า ปาปเจตส ได้แก่

จิตลามก เพราะประกอบด้วยอกุศลธรรม. บทว่า หึสนฺติ ความว่า ย่อม

เบียดเบียนในขณะแห่งความเป็นไปของตน และในขณะแห่งวิบากในอนาคต.

บทว่า อตฺตสมฺภูตา ความว่า เกิดแล้วในตน. บทว่า ตจสาร ได้แก่

ไม้มีหนาม อธิบายว่า ไม้ไผ่. บทว่า สมฺผล ได้แก่ ผลของตน. มีอธิบาย

ว่า ไม่เป็นไม้มีแก่นข้างใน เหมือนไม้ตะเคียน และไม้ประดู่ลายเป็นต้น

(แต่) เป็นไม้ไผ่เป็นต้น ที่ได้นามว่า ตจสาระ เพราะมีแก่นอยู่ข้างนอก คือ

ความโลภเป็นต้นที่เกิดในคนนั่นเอง จะยังบุคคลผู้มีจิตลามก ปราศจากแก่น

คือศีลในภายในให้พินาศไป เหมือนขุยไผ่ที่เกิดในตนนั่นเอง ย่อมเบียดเบียน

คือให้ต้นไผ่พินาศไป ฉะนั้น. ่

จบอรรถกถาอกุศลมูลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 342

๒. ธาตุสูตร

ว่าด้วยธาตุ ๓ อย่าง

[๒๒๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ?

คือ รูปธาตุ ๑ อรูปธาตุ ๑ นิโรธธาตุ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุ ๓

อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตนนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนเหล่าใดกำหนดรู้รูปธาตุแล้ว ไม่

ดำรงอยู่ในอรูปธาตุ น้อมไปในนิโรธ

ชนเหล่านั้นเป็นผู้ละมัจจุเสียได้พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าผู้หาอาสวะนี้ได้ ถูกต้องอมต-

ธาตุอันหาอุปธิมิได้ ด้วยนามกาย แล้ว

กระทำให้แจ้งซึ่งการสละคืนอุปธิ ย่อม

แสดงบทอันไม่มีความโศก ปราศจากธุลี.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบธาตุสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 343

อรรถกถาธาตุสูตร

ในธาตุสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ธาตุโย ความว่า ชื่อว่าธาตุ เพราะหมายความว่า ทรงไว้

ซึ่งผล และสภาวะของตน. เพราะว่า บรรดาผล และสภาวะ ทั้ง ๒ อย่างนี้

สิ่งที่ให้เกิดผล ชื่อว่า ธาตุ เพราะหมายความว่า ทรงไว้ซึ่งผลของตน และ

สภาวะของตน นอกจากนี้ ชื่อว่า ธาตุ เพราะหมายความว่า ทรงไว้เฉพาะ

สภาวะอย่างเดียว. รูปภพ ชื่อว่า รูปธาตุ ที่มาของธาตุ พึงกำหนดด้วยภพ

ที่มาของภพ พึงกำหนดด้วยธาตุ ดังนั้น ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

การกำหนดด้วยภพ. เพราะฉะนั้น รูปธาตุ คือรูปาวจรธรรมที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า รูปาวจรธรรม คืออะไร ? คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ

ที่ท่องเที่ยวไปในภพนี้ คือนับเนื่องในภพนี้ โดยเบื้องต่ำ กำหนดเอาเทวโลก

เป็นที่สุด เบื้องบนกำหนดเทพ (พรหม) ชั้นอกนิฏฐา ไว้ในภายในธรรม

เหล่านี้ ชื่อว่ารูปาวจร.

อรูปภพ ชื่อว่า อรูปธาตุ ถึงในพระสูตรนี้ ก็ตรัสถึงการกำหนด

ด้วยภพ. ดังนั้น อรูปธาตุ คือ อรูปาวจรธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้อย่างนี้ว่า อรูปาวจรธรรม คืออะไร ? คือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ

ที่ท่องเที่ยวไปในภพนี้ คือนับเนื่องในภพนี้โดยเบื้องต่ำกำหนดด้วยเทพ (พรหม)

ผู้เกิดในชั้นอากาสานัญจายตนะไว้ในภายใน เบื้องบนกำหนดด้วยเทพ (พรหม)

ที่เกิดในชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า อรูปาวจรธรรม.

พระนิพพาน พึงทราบว่า ชื่อว่า นิโรธธาตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 344

อีกนัยหนึ่ง ความเป็นไปแห่งธรรมที่ประกอบด้วยรูป คือเนื่องด้วยรูป

ชื่อว่า รูปธาตุ ได้แก่ ปัญจโวการภพ และเอกโวการภพ. กามภพและ

รูปภพทั้งสิ้น สงเคราะห์เข้ากับปัญจโวการภพและเอกโวการภพนั้น ความ

เป็นไปแห่งธรรม ที่เว้นจากรูป ชื่อว่า อรูปธาตุ ได้แก่ จตุโวการภพ.

อรูปภพ สงเคราะห์เข้ากับอรูปธาตุนั้น ดังนั้น ด้วยบททั้งสอง จึงเป็นอัน

ทรงแสดงถึงภพ ๓ อันเป็นไปในสังสารทั้งหมด. แต่ด้วยบทที่ ๓ ทรงสงเคราะห์

อสังขตธรรมเท่านั้น ดังนั้น ในสูตรนี้ มรรคและผลทั้งหลายจึงชื่อว่า เป็น.

ธรรมที่พ้นจาก ๓ ภพ แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่าด้วยบททั้งสองว่า ธรรมที่

เป็นสภาวะของรูป ชื่อว่า รูปธาตุ ธรรมที่เป็นสภาวะของอรูป ชื่อว่า อรูปธาตุ

ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงเบญจขันธ์โดยไม่มีส่วนเหลือ และว่า

ธรรมที่เป็นอารมณ์ของรูปตัณหา ชื่อว่า รูปธาตุ ที่เป็นอารมณ์ของอรูปตัณหา

ชื่อว่า อรูปธาตุ. คำทั้งหมดนั้น มิได้ทรงประสงค์เอาในสูตรนี้ เพราะฉะนั้น

พึงทราบเนื้อความตามนัยที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า รูปธาตุ ปริญฺาย

ความว่า กำหนดรู้ความเป็นไปแห่งธรรมอันเนื่องด้วยรูป ด้วยปริญญา ๓

มีญาตปริญญาเป็นต้น. บทว่า อรูเปสุ อสณฺิตา ความว่า ไม่ประดิษฐาน

อยู่แล้ว คือไม่พัวพันอยู่ในธรรมทั้งหลายที่เป็นอรูปาวจร ด้วยอำนาจภวราคะ

และด้วยอำนาจภวทิฏฐิ. ภิกษุทั้งหลายสวดกันว่า อรูเปสุ อสณฺฑิตา ก็มี

ความหมายก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน. ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสการกำหนดรู้ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓. บทว่า นิโรเธ เย วิมุจฺ-

จนฺติ ความว่า ชนผู้เป็นพระขีณาสพเหล่าใด พ้นจากกิเลสโดยไม่มีเหลือ

ในพระนิพพานที่เป็นอารมณ์ด้วยสมุจเฉท (วิมุตติ) และปฏิปัสสัทธิ (วิมุตติ)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 345

ด้วยสามารถแห่งมรรคผลชั้นสูง. บทว่า เต ชนา มจฺจุหายิโน ความว่า

ชนผู้เป็นพระขีณาสพเหล่านั้น ล่วงพ้นความตายได้แล้ว.

พระผู้มีพระเจ้า ครั้นทรงแสดง การบรรลุอมตธรรม โดยการ

ก้าวล่วงธาตุทั้ง ๓ อย่างนี้แล้ว เมื่อจะยังอุตสาหะในการบรรลุอมตธรรมนั้น

แก่ชนเหล่านั้นว่า ปฏิปทานี้ด้วย ทางที่เราตถาคตดำเนินไปแล้วด้วย เ รา

ตถาคตแสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลายดังนี้ จึงตรัสพระคาถาที่สอง (ต่อไป).

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเยน ความว่า ด้วยนามกาย (หรือ)

ด้วยมรรคและผลทั้งหลาย. บทว่า ผุสิตฺวา แปลว่า บรรลุแล้ว. บทว่า

นิรูปธึ ความว่า เว้นจากอุปธิทุกอย่างมีขันธูปธิเป็นต้น. บทว่า อุปธิ-

ปฏินิสฺสคฺค ได้แก่ เหตุเป็นเครื่องสละ คือ อุปธิเหล่านั้นนั่นแหละ เพราะว่า

อุปธิทั้งหมด เป็นอันพระขีณาสพสละคืนแล้ว ด้วยการกระทำให้แจ้งซึ่งพระ-

นิพพาน ด้วยมรรคญาณ เพราะฉะนั้น การกระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ด้วย

มรรคญาณนั้น จึงเป็นเหตุแห่งการสละคืนอุปธิเหล่านั้น. บทว่า สจฺฉิกตฺวา

ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้หาอาสวะมิได้ ทรงกระทำ (อมตธาตุ) ให้

ประจักษ์แก่พระองค์ด้วยการเข้าผลสมาบัติ ตามกาลที่สมควร ทรงแสดงบท

คือ พระนิพพานนั่นแหละ ที่ไม่เศร้าโศก ปราศจากธุลี เพราะฉะนั้น

บัณฑิตควรกระทำความขะมักเขม้น เพื่อบรรลุบท คือ พระนิพพานนั้น.

จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 346

๓. ปฐมเวทนาสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ ประการ

[๒๓๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ?

คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เวทนา ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้มีจิตตั้งมั่น

ผู้รู้ทั่ว มีสติ ย่อมรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิด

แห่งเวทนา ย่อมรู้ชัดซึ่งธรรมเป็นที่ดับ

แต่งเวทนา และมรรคอันให้ถึงความสิ้น

ไปแห่งเวทนา ภิกษุหายหิวแล้ว ดับรอบ

แล้ว เพราะความสิ้นไปแต่งเวทนาทั้งหลาย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปฐมเวทนาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 347

อรรถกถาปฐมเวทนาสูตร

ในปฐมเวทนาสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เวทนา ความว่า เจตสิกธรรม ชื่อว่า เวทนา เพราะรู้

คือ เสวยรสแห่งอารมณ์. เพื่อจะทรงแสดงเวทนาเหล่านั้น โดยจำแนกออกไป

จึงตรัสคำมีอาทิว่า สุขา เวทนา ดังนี้. บรรดาศัพท์เหล่านั้น สุขศัพท์

ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง ด้วยสามารถแห่งอัตถุทธารกัณฑ์.

แต่ ทุกข ศัพท์ มาในเรื่องของทุกข์ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ชาติปิ

ทุกฺขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์). มาในอารมณ์ที่เป็นทุกข์ เช่นในประโยค

มีอาทิว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูป ทุกฺข ทุกฺขานุปติต ทุกฺขาวกฺกนฺต

ดูก่อนมหาลี เพราะเหตุที่รูปเป็นทุกข์ ถูกทุกข์ติดตาม (และ) หยั่งลงสู่ทุกข์.

มาในการสะสมทุกข์ ดังในประโยคมีอาทิว่า ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย การสั่งสม

บาปเป็นทุกข์. มาในฐานะอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ ดังในประโยคว่า ยาวญฺจิท

ภิกฺขเว น สุกร อกฺขาเนน ปาปุณิตุ ยาว ทุกฺขา นิรยา เพียงเท่านี้

จะกล่าวให้ถึงกระทั่งนรกเป็นทุกข์ ไม่ใช่ทำได้ง่าย. มาแล้วในทุกขเวทนา

เช่นในประโยคมีอาทิว่า สุขสฺส จ ปหานา ทุกฺขสฺส จ ปทานา เพราะ

ละสุข และละทุกข์เสียได้. แม้ในพระสูตรนี้ก็มาแล้วในทุกขเวทนาเท่านั้น.

แต่โดยอรรถพจน์ ชื่อว่า สุข เพราะยังผู้เสวยให้สบาย. ชื่อว่าทุกข์ เพราะยัง

ผู้เสวยให้ลำบาก. เวทนา ชื่อว่า อทุกขมสุข เพราะไม่ทุกข์ไม่สุข.

อักษร (ในคำว่า อทุกฺขมสุขา) ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งบทสนธิ.

บรรดาเวทนาทั้ง ๓ เหล่านั้น เวทนาที่มีการเสวยอิฏฐารมณ์เป็น

ลักษณะ ชื่อว่า สุขเวทนา. ที่มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นลักษณะ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 348

ทุกขเวทนา. ที่มีการเสวยอารมณ์ที่ผิดจาก ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า อทุกขมสุข-

เวทนา เพราะฉะนั้น การเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนาและทุกขเวทนา จึงปรากฏ

(ชัด) แต่อทุกขมสุขเวทนา ไม่ปรากฏ (ชัด). ด้วยว่า ในเวลาใด ความสุข

เกิดขึ้น ในเวลานั้น ความสุขจะทำสรีระทั้งสิ้น ให้สะท้าน เคล้าคลึง แผ่ซ่าน

ไปทั่วร่างทั้งสิ้น เหมือนให้บริโภคเนยใส ที่หุงแล้วร้อยครั้ง เหมือนทาด้วย

น้ำมันงาที่เคี่ยวตั้งร้อยครั้ง และเหมือนให้ความเร่าร้อนดับไปด้วยน้ำพันหม้อ

เกิดขึ้น เหมือนจะเปล่งวาจาออกมาว่า โอ ! สุขจริง โอ ! สุขจริง เมื่อใด

ทุกข์เกิดขึ้น เมื่อนั้น ทุกข์จะทำให้สรีระทั้งสิ้นสะท้าน เคล้าคลึง แผ่ซ่านไป

ตลอดร่าง เหมือนสอดกระเบื้องร้อน ๆ เข้าไป และเหมือนเอาน้ำทองแดงละลาย

แล้วราด เกิดขึ้นเหมือนให้บ่นเพ้อว่า โอ ! ทุกข์จริง โอ ! ทุกข์จริง ดังนี้.

ดังนั้น ความเกิดขึ้นแห่งสุขเวทนา และทุกขเวทนา จึงปรากฏชัด ส่วน

อทุกขมสุขเวทนา รู้ได้ยาก ชี้ให้เห็นได้ยาก มืดมน อทุกขมสุขเวทนานั้น

เป็นเวทนามีอาการเป็นกลาง ๆ โดยขัดกับอารมณ์ที่น่ายินดี และยินร้าย ใน

เวลาที่สุขและทุกข์ปราศไป ย่อมปรากฏชัดแก่ผู้ถือเอาโดยนัยนี้เท่านั้น.

เปรียบเหมือนอะไร ? เปรียบเหมือนทางที่เนื้อผ่านไปแล้วบนแผ่น-

หิน โดยเป็นทางที่เฉียดเข้าไป ในภูมิประเทศที่มีฝุ่น ในตอนต้นทางและ

ปลายทาง ฉันใด ภาวะแห่งการเสวยอารมณ์ที่เป็นกลางก็ฉันนั้นเหมือนกัน

จะรู้ได้ด้วยการเสวยสุขและทุกข์ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. การยึดถือเอา

มัชฌัตตารมณ์ เป็นเหมือนการเดินไปบนแผ่นหิน (ของเนื้อ) เพราะไม่มี

การยึดอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์. และการเสวยมัชฌัตตารมณ์นั้น ก็คืออทุก-

ขมสุขเวทนานั่นแหละ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ในพระสูตรนี้ แม้พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ก็ตรัสเวทนาไว้ ๓ อย่าง โดยเป็นสุข ทุกข์ และอทุกขมสุขเวทนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 349

(ก็จริง) แต่ ในที่บางแห่ง ตรัสเวทนาไว้ ๒ อย่าง โดยเป็นสุขเวทนา และ

ทุกขเวทนา. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท เราตถาคตกล่าวเวทนา

ไว้ ๒ อย่าง โดยปริยาย คือสุขเวทนาและทุกขเวทนาดังนี้. แม้ในที่บางแห่ง

ตรัสไว้ ๓ อย่าง โดยแยกเป็นสุขส่วน ๑ ทุกข์ส่วน ๑ อทุกขมสุขส่วน ๑

ว่าสุขเวทนาเป็นสุขในฐิติขณะ แต่เป็นวิปริฌามทุกข์ (ทุกข์เมื่อสุขกลายเป็น

ทุกข์) ทุกขเวทนาเป็นทุกข์ในฐิติขณะ แต่เป็นวิปริฌานสุข (เมื่อทุกข์เปลี่ยน

เป็นสุข) ส่วนอทุกขมสุขเวทนา เป็นญาณสุข (สุขเกิดแต่ญาณ) (แต่) เป็น

อญาณทุกข์ (ทุกข์เกิดแต่ความไม่รู้). ในที่บางแห่งตรัสเวทนาแม้ทั้งหมดโดย

ความเป็นทุกข์. สมดังที่ตรัสไว้ว่า การเสวยอารมณ์ (เวทนา) ทุก ๆ อย่าง

เราตถาคตกล่าวว่า (รวมอยู่) ในทุกข์.

ในข้อนั้น พึงมีคำท้วงว่า ถ้าในสูตรอื่น ๆ คล้ายอย่างนี้ และใน

พระอภิธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ได้ตรัสเทศนาทั้ง ๓ ไว้แล้วไซร้ เมื่อ

เป็นเช่นนั้น เหตุไฉนจึงตรัสไว้อย่างนี้ว่า การเสวยอารมณ์ (เวทนา) ทุกอย่าง

เราตถาคตกล่าวว่าเป็นทุกข์ และว่า ดูก่อนอานนท์ และเวทนาทั้งสองอย่าง

เราตถาคตกล่าวไว้โดยอ้อม ดังนี้. ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดย

ทรงหมายเอาคำทั้งสองนี้ เพราะฉะนั้น เทศนานั้นจึงจัดเป็นเทศนาโดยอ้อม.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ ความแปรปรวนของ

สังขาร เราตถาคตกล่าวหมายถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ความเสวยอารมณ์

(เวทนา) ทุก ๆ อย่าง เราตถาคตกล่าวว่าเป็นทุกข์. และว่า อานนท์เวทนา

ทั้ง ๒ อย่าง เราตถาคตกล่าวไว้โดยปริยาย. เพราะว่า ในบรรดาเวทนาทั้ง

๓ เหล่านี้ ความที่เวทนาทั้ง ๒ อย่างเหล่านี้ คือ สุขเวทนา ๑ อทุกขม-

สุขเวทนา ๑ เป็นทุกข์โดยตรงไม่มี แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า เป็น

ทุกข์โดยปริยาย เพื่อจะทรงแสดงแก่ผู้ไม่มีฉันทะในเวทนาทั้งสองนั้น ตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 350

อัธยาศัยของเวไนยสัตว์ เพราะฉะนั้น เทศนาแบบนั้นจึงจัดเป็นเทศนาโดยอ้อม

ส่วนเทศนาว่าด้วยเวทนา ๓ นี้ เป็นเทศนาโดยตรง เพราะมีอธิบายว่า กล่าว

ตามสภาวธรรม. เพราะฉะนั้นในข้อนี้ กถานี้ของอาจารย์ทั้งหลาย จึงมีเพื่อ

ความลงกัน.

ส่วนผู้ที่ชอบพูดพล่อย ๆ กล่าวว่า เทศนาว่าด้วยเวทนา ๓ เป็นเทศนา

โดยอ้อมเหมือนกัน เพราะกล่าวถึงความเป็นทุกข์ ๒ อย่าง. เขาพึงถูกทักท้วง

อย่างนี้ว่า ท่านอย่าพูดอย่างนั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเวทนาทุกอย่าง

ว่าเป็นทุกข์ โดยมีพระประสงค์ว่า ดูก่อนอานนท์ ความแปรปรวนแห่งสังขาร

เราตถาคตกล่าวหมายถึงความไม่เที่ยงของสังขาร ความเสวยอารมณ์ (เวทนา)

ทุกๆ อย่าง เราตถาคตกล่าวว่าเป็นทุกข์. ก็ถ้าในเรื่องนี้ เทศนาที่ว่าด้วยหมวด

๓ แห่งเวทนาพึงเป็นเทศนาโดยอุ้มไซร้ คำที่ข้าพเจ้ากล่าวหมายเอานี้ ก็ควร

พูดได้ละซิว่า เวทนาเป็น ๓ แต่คำนี้ก็หาได้กล่าวไว้ไม่.

อีกอย่างหนึ่ง ข้อความนี้นั้นเอง ควรกล่าวได้ว่า ดูก่อนอาวุโส

ก็อะไรเล่าเป็นพระประสงค์ เพื่อจะทรงแสดงเวทนาทั้ง ๓. ถ้าหากจะมีผู้พูดว่า

เวทนา ๓ พระองค์ตรัสไว้ ตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์ว่า ทุกขเวทนาอย่างอ่อน

เป็นสุขเวทนา อย่างแรงเป็นทุกขเวทนา อย่างกลางเป็นอทุกขมสุขเวทนา

ดังนี้ไซร้ แท้จริงในเวทนาเหล่านั้น ความเจริญแห่งสุขเวทนาเป็นต้น หามี

แก่สัตว์ทั้งหลายไม่ ดังนี้ . เขาจะต้องถูกทักท้วงว่า ดูก่อนอาวุโส ก็อะไรเล่า

เป็นสภาวะของทุกขเวทนา ที่เป็นเหตุให้เวทนาทั้งหมดถูกเรียกว่าเป็นทุกข์

ผิว่า เวทนาใดเกิดขึ้น สัตว์ทั้งหลายประสงค์จะให้จากไปอย่างเดียว นั่นแหละ

เป็นสภาวะของทุกขเวทนา ส่วนเวทนาใดเกิดขึ้นแล้ว สัตว์ทั้งหลายไม่ประสงค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 351

จะให้จากไปเลย (และ) เวทนาใดเกิดขึ้น ไม่ประสงค์ทั้งสองอย่าง เวทนานั้น

จะพึงเป็นทุกขเวทนาได้อย่างไร ? แท้จริง เวทนาใดตัดรอนสุขนิสัยของตน

เวทนานั้นก็เป็นทุกข์ เวทนาใดกระทำการอนุเคราะห์ (สุขนิสัยของตน) เวทนา

นั้นจะพึงเป็นทุกข์ได้อย่างไร ? และอีกอย่างหนึ่ง พระอริยเจ้าทั้งหลาย เห็น

สภาพูดเป็นทุกข์ สภาพนั้นเป็นสภาวะของทุกขเวทนา พระอริยะทั้งหลาย

เห็นเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ และเวทนา

ก็เป็นสภาพที่มีอยู่เป็นประจำ เพราะฉะนั้น เวทนาเหล่านั้นจะพึงมีภาวะเป็น

ทุกข์อย่างอ่อน อย่างกลาง และอย่างแรงกล้าได้อย่างไร ? และถ้าเวทนาทั้งหลาย

พึงมีความเป็นทุกข์ เพราะความที่สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์เท่านั้นไซร้ เทศนา

ที่ทรงจำแนกความเป็นทุกข์ออกไปดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นทุกข์

มี ๓ อย่างเหล่านี้ คือ ทุกฺขทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือ ทุกขเวทนา)

วัปริณามทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือ ความเปลี่ยนแปลงของสุข) สงฺขาร-

ทุกฺขตา (ความเป็นทุกข์ คือ สังขาร) ก็พึงไร้ประโยชน์ละซี่ และเมื่อเป็น

เช่นนั้น พระสูตรนั้นแหละ จะพึงถูกคัดค้านว่า ก็ถ้าคำที่ว่าทุกขเวทนาอย่างอ่อน

(เป็นสุขเวทนา) ในรูปาวจรฌาน ๓ ข้างนี้ก็ถูก เพราะบ่งถึงสุขเวทนา

อย่างกลาง (เป็นอทุกขมสุข) ในจตุตถฌาน และอรูปฌาน เพราะบ่งถึง

อทุกขมสุขเวทนา เมื่อเป็นเช่นนั้น คำว่า รูปาวจรสมาบัติ ๓ อย่างข้างต้น

สงบกว่าจตุตถฌานสมาบัติ และอรูปสมาบัติ ก็ถูกค้านด้วยละซี.

อีกอย่างหนึ่ง ความที่ทุกขเวทนาเป็นของยิ่งกว่ากัน ในสมาบัติที่สงบ

และประณีตกว่ากัน จะถูกได้อย่างไร ? เพราะฉะนั้น ความที่เทศนาว่าด้วย

เวทนา ๓ เป็นเทศนาโดยอ้อม จึงไม่ถูก.

ถามว่า ในสมาบัติทั้ง ๓ เบื้องต้น ก็คำใดที่ตรัสไว้ว่า สัญญาวิปลาส

ในทุกข์ว่าเป็นสุข คำนั้นเป็นอย่างไร ? ตอบว่า ข้อนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 352

ตรัสหมายเอา สัญญาในความเป็นสุขโดยส่วนเดียว และสัญญาในทุกขนิมิต

ว่าเป็นสุขนิมิต เพราะทรงรู้ตามความจริง ชื่อวิปริณามทุกข์ และสังขารทุกข์.

ถามว่า แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น ส่วนพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เวทนาที่เป็นสุข พึงเห็นโดยความเป็นทุกข์ดังนี้ เป็นอย่างไร ?

ตอบว่า คำนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อทรงประกอบความให้สนิทในการ

ทรงแสดงความเปลี่ยนแปลง เพราะความที่ทุกข์นั้น เป็นอุบายให้เข้าถึงความ

คลายกำหนัดในสุขเวทนานั้น และเพราะความที่สุขเวทนาคล้อยไปหาทุกข์มาก.

จริงอย่างนั้น บัณฑิตทั้งหลายเห็นสุขว่าเป็นทุกข์นั่นเอง ดำเนินไปแล้ว เพราะ

สุขเป็นเหตุของทุกข์ และเพราะสุขถูกทุกขธรรมเป็นอเนกประการติดตาม.

แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ สุขเวทนาก็ไม่มีเลย เพราะเหตุแห่งความสุขไม่มี

กำหนดแน่นอน เพราะว่า เครื่องบริโภคและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ที่สมมติ

กันว่าเป็นเหตุแห่งสุขเวทนานั่นแหละ เมื่อบริโภคและใช้สอยเกินประมาณ

และไม่ถูกกาล ย่อมถึงความเป็นเหตุแห่งทุกขเวทนา แต่ไม่สมควรกล่าวว่า

สุขเกิดขึ้นด้วยเหตุอันใด ความทุกข์ก็เกิดขึ้นด้วยเหตุอันนั้น เหมือนกัน เพราะ

ฉะนั้น เครื่องบริโภคและเครื่องนุ่งห่มเหล่านั้น จึงไม่ใช่เหตุแห่งความสุข.

แต่เป็นสัญญา (เครื่องหมาย) แห่งความสุขของผู้ไม่รู้ (คนโง่) ทั้งหลายใน

เมื่อทุกข์ปราศไปในระหว่าง. อุปมาเหมือนผู้ยังอยู่ในอิริยาบถ (เดียว) มีการ

ยืนเป็นต้น เป็นเวลานาน ๆ (จะมีความสำคัญว่าเป็นสุข) ในเมื่อเปลี่ยนอิริยาบถ

(เป็นอิริยาบถอื่น) จากอิริยาบถนั้น และเหมือน(ความสำคัญว่าเป็นสุข) ของ

ผู้แบกของหนัก ในเมื่อวางของหนักและเมื่อ (ร่างกาย) สงบ เพราะฉะนั้น

จะไม่มีความสุขเลยหรือ ? ข้อนี้นั้น เป็นการกำหนดความที่ทุกข์ไม่มีกำหนด

แน่นอน โดยไม่ได้กำหนดรู้เหตุแห่งสุข โดยถูกต้องนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 353

แท้จริง สุขเป็นเพียงอารมณ์เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้

เพราะทรงมนสิการถึงเหตุแห่งความสุขอย่างเดียว ความสุขนั้นต่างกันโดยการ

กำหนดสรีระที่เป็นไปในภายใน ส่วนทั้งสองอย่างนั้นที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เกิดขึ้น

ในที่เดียวกัน พึงทราบว่าเป็นเหตุแห่งความสุขเป็นต้น.

ก็ทั้งสองอย่างนั้น ชนิดใดเป็นเหตุแห่งสุขเวทนา ชนิดนั้นแม้บางครั้ง

ก็ไม่เป็นเหตุแห่งทุกขเวทนา เพราะฉะนั้น เวทนาที่ท่านกำหนดไว้นั่นแหละ

เป็นเหตุแห่งความสุขเป็นต้น อุปมาเสมือนหนึ่งว่า เตโชธาตุ (จากอุณหภูมิ)

กระทบพืชชนิดใด บรรดาข้าวสาลี ข้าวยวะ พืชผักและข้าวกล้าเป็นต้น ระหว่าง

ที่ตั้งลำต้นได้แล้ว ก็เป็นเหตุแห่งความยินดีและมีรสอร่อย แต่แม้บางครั้ง

กระทบพืชชนิดนั้นเหมือนกัน แต่ก็ไม่เป็นเหตุแห่งความยินดี และมีรสอร่อย

ฉันใด ข้ออุปไมยก็พึงทราบฉันนั้นเหมือนกัน. แม้บางคราว เวทนาที่ยังไม่

ปราศไปจากทุกข์ ก็ได้รับสุขเวทนาอย่างอื่น ในกาลนั้น จะมีความสำคัญใน

ความสุขนั่นแหละว่าเป็นสุข ไม่ใช่เพียงเวลาที่ความทุกข์ปราศไป เหมือนความ

สำคัญในความสุขว่าเป็นสุข ของผู้เมื่อยล้าในการเดินทาง และเดือดร้อน

เพราะความกระวนกระวาย ในเพราะการนวดพื้น และการผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ

ฉะนั้น. โดยประการอื่น แม้ในระหว่างกาล สุขสัญญาพึงมีได้ในเวลาที่อันตราย

ผ่านไป แต่ในขณะที่เพียงแต่ทุกข์ผ่านไป การกำหนดว่าเป็นสุขพึงมี เพราะ

ไม่เข้าไปได้เวทนาพิเศษ. และข้ออุปไมยนี้ ก็พึงสำเร็จอย่างนั้น โดยส่วนเดียว

นั่นเอง เมื่อใด สัตว์ทั้งหลายปรารถนายิ่งซึ่งอารมณ์ทั้งหลาย ที่ประณีต ๆ ยิ่ง

ในรูปอย่างเดียว ด้วยความลำบากมาก และเมื่อนั้น ผู้ใดผู้หนึ่ง ก็ไม่สามารถ

ทำการตอบสนองสัตว์เหล่านั้นได้ ด้วยปัจจัยเพียงเท่าที่ได้มา มีแต่จะให้เกิด

ตัณหาขึ้น ดังนี้แล. เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงเกิดขึ้น ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น

ความสำคัญว่าเป็นสุขพิเศษ เมื่อเกิดขึ้นโดยความที่วัตถุทั้งหลาย มีของหอม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 354

มีรสอร่อย และสุขสัมผัสเป็นต้น เป็นอย่างอื่นไปพึงเกิดในฆานทวาร ชิวหา-

ทวาร และกายทวารทั้งหลาย และในโสตทวารอันเป็นที่รับรองเสียงแห่งดุริยางค์

มีองก์ ๕ คล้ายกับทิพสังคีต. เพราะเหตุนั้น ในทุกขเวทนาอย่างเดียว สุข

สัญญาจึงไม่มี เพราะทุกข์ในระหว่างผ่านไป ถึงสุขสัญญาก็ไม่มี ในขณะ

เพียงแต่ทุกข์ผ่านไปอย่างเดียว. เวทนาทั้ง ๓ พระองค์ทรงกำหนดไว้ โดยอาคม

โดยข้อยุติ เพราะฉะนั้น เทศนาว่าด้วยเวทนา ๓ หมวด ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงเป็นนีตัตถเทศนา (เทศนาที่มีเนื้อความนำออกไปแล้ว คือทรงแสดงเฉพาะ

บุคคล) อย่างเดียว ไม่ใช่เนยยัตถเทศนา (เทศนาที่มีเนื้อความซึ่งจะต้องนำ

ออกแสดงแก่คนทั่วไป) ควรเข้าใจความหมายดังว่ามานี้ ถ้าผู้ใดเข้าถึงเทศนา

นั้น ตามที่พรรณนามานี้ไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าผู้นั้นเข้าไม่ถึงเทศนานั้น

เขาจะต้องถูกส่งไปว่า จงไปตามสบายของตน ดังนี้.

เวทนา ๓ เหล่านั้น ที่มีลักษณะถูกกำหนด สภาวะที่ขัดแย้งกัน ดัง

พรรณนามานี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว. ก็และเวทนาทั้ง ๓

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ แก่พระโยคาวจรทั้งหลายผู้ประกอบการ

บำเพ็ญวิปัสสนา โดยมุขคือเวทนา. เพราะว่า กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ

รูปกรรมฐาน และอรูปกรรมฐาน. ในกรรมฐานทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะตรัสรูปกรรมฐาน ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งการมนสิการโดยสังเขปบ้าง

ด้วยสามารถแห่งการมนสิการโดยพิสดารบ้าง ด้วยสามารถแห่งการกำหนดธาตุ

เป็นต้นอย่างนั้นบ้าง แต่เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐาน ก็ตรัสด้วยสามารถแห่ง

ผัสสะบ้าง ด้วยสามารถแห่งเวทนาบ้าง ด้วยสามารถแห่งจิตบ้าง. เพราะว่า

พระโยคาวจรบางรูปเมื่อระลึกถึงอารมณ์ที่เข้าสู่คลอง ผัสสะมีจิตและเจตสิกตก

ไปครั้งแรกในอารมณ์นั้น ถูกต้องอารมณ์นั้นอยู่ ก็จะปรากฏชัด. สำหรับ

พระโยคาวจรบางรูป เวทนาที่เสวยอารมณ์นั้นเกิดขึ้น จะปรากฏชัด. (แต่)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 355

สำหรับบางรูป วิญญาณที่รู้อารมณ์นั้นเกิดขึ้น จะปรากฏชัด. เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอรูปกรรมฐานตามที่ปรากฏโดยอัธยาศัยของบุคคล

นั้น ๆ ไว้ ๓ อย่าง โดยมีผัสสะเป็นต้นเป็นประธาน.

ในบุคคล ๓ ประเภทนั้น ผัสสะปรากฏชัดแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นจะกำหนด

อารมณ์มีผัสสะเป็นที่ ๕ นั่นแหละว่า ไม่ใช่ผัสสะอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น ถึง

เวทนาที่เสวยอารมณ์นั้นนั่นแหละ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับผัสสะนั้น ถึงสัญญาที่

จำอารมณ์นั้นอยู่ ถึงเจตนาที่คิดถึงอารมณ์นั้นอยู่ ถึงวิญญาณที่รู้ชัดซึ่งอารมณ์

นั้นอยู่ ก็จะเกิดพร้อมกับผัสสะนั้น. เวทนาปรากฏแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นจะกำหนด

อารมณ์มีผัสสะเป็นที่ ๕ เหมือนกันว่า ไม่ใช่เวทนาอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น

ถึงสัมผัสที่ถูกต้องอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น ถึงสัญญาที่จำได้อยู่

ถึงเจตนาที่นึกคิดอยู่ ถึงสัญญาที่รู้แจ้งอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับเวทนานั้น.

วิญญาณปรากฏชัดแก่ผู้ใด แม้ผู้นั้นก็จะกำหนดอารมณ์ มีผัสสะเป็นที่ ๕

เหมือนกับว่า ไม่ใช่แต่วิญญาณอย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้น แม้ผัสสะที่ถูกต้องอยู่

ซึ่งอารมณ์นั้นนั่นแหละ ก็จะเกิดขึ้นพร้อมกับด้วยวิญญาณนั้น แม้เวทนาที่

เสวยอารมณ์อยู่ แม้สัญญาที่จำได้อยู่ แม้เจตนาที่คิดนึกอยู่ ก็จะเกิดขึ้นพร้อม

กับวิญญาณนั้น.

พระโยคาวจรนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า ธรรมทั้งหลายมีผัสสะเป็นที่ ๕

เหล่านี้ อาศัยอะไรอยู่ดังนี้ จะรู้ชัดว่า อาศัยวัตถุอยู่. กรชกาย ชื่อว่า วัตถุ.

คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ก็แลวิญญาณของเรานี้ อิงอาศัยอยู่ใน

กรชกายนี้ เนื่องแล้วในกรชกายนี้ ทรงหมายเอากรชกายใด กรชกายนั้น

โดยเนื้อความ ได้แก่ภูต และอุปทายรูปทั้งหลาย. เธอเห็นเป็นเพียงนามกับ

รูปเท่านั้นว่า บรรดา ๒ อย่างนี้ วัตถุเป็นรูป ธรรมมีผัสสะเป็นที่ ๕ เป็นนาม

ด้วยประการดังกล่าวมานี้ ในสองอย่างนี้ รูปได้แก่รูปขันธ์ นามได้แก่ขันธ์ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 356

ที่ไม่ใช่รูป ดังนั้นจึงรวมเป็นเพียงขันธ์ ๕. แท้จริง เบญจขันธ์ที่จะพ้นจาก

นามรูป หรือนามรูป ที่จะพ้นจากเบญจขันธ์ไปเป็นไม่มี. เธอเมื่อใคร่ครวญ

อยู่ว่าเบญจขันธ์เหล่านี้ มีอะไรเป็นเหตุ ก็เห็นว่ามีอวิชชาเป็นเหตุ แต่นั้นจะ

ยกเบญจขึ้นธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ด้วยสามารถแห่งนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยว่า นาม

รูปนี้เป็นทั้งปัจจัย เป็นทั้งปัจจัยเกิดขึ้น ไม่มีสัตว์หรือบุคคลอย่างอื่น

มีเพียงกองสังขารล้วน ๆ เท่านั้น แล้วท่องเที่ยวพิจารณาตามลำดับวิปัสสนาว่า

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ดังนี้. เธอจำนงหวัง ปฏิเวธ (การตรัสรู้ ) อยู่ว่า

(เราจะตรัสรู้) ในวันนี้ ๆ ในสมัยเช่นนั้น ได้ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย

โภชนะเป็นที่สบายหรือการฟังธรรมเป็นที่สบายแล้ว นั่งโดยบัลลังก์เดียวเท่า

นั้น ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุด ย่อมดำรงอยู่ในพระอรหัตผล. พึงทราบกรรม-

ฐานจนถึงพระอรหัต ของชน ๓ เหล่า ดังที่พรรณนามานี้. แต่ในพระสูตร

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสอรูปกรรมฐาน ตามอัธยาศัยของผู้ที่จะตรัสรู้

ด้วยสามารถแห่งเวทนา จึงตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งเวทนา.

ปกิณณกกถา

ในพระสูตรนี้ พึงทราบปกิณณกะดังนี้คือ

ลักษณะ ๑ อธิฏาน ๑ อุปปัตติ ๑

อนุสัย ๑ ฐานะ ๑ ปวัตติกาล ๑ อันทรีย์ ๑

ทุวิธาทิตา ๑.

บรรดาปกิณณกะ ๘ อย่างนั้น ลักษณะข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในหนหลัง

แล้วทีเดียว. ผัสสะ ชื่อว่า อธิฏาน. ก็เพราะพระบาลีว่า ผสฺสปจฺจยา

เวทนา เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาดังนี้ ผัสสะจึงเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา.

จริงอย่างนั้น ผัสสะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปรียบเทียบด้วยอุปมากับ

แม่โคที่เขาถลกหนังแล้ว เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งเวทนา. บรรดาเวทนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 357

เหล่านั้น ผัสสะที่ให้เสวยสุข เป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ผัสสะที่ให้เสวยทุกข์

เป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ผัสสะที่ให้เสวยอทุกขมสุขเวทนา เป็นที่ตั้งแห่ง

อทุกขมสุขเวทนา อธิบายว่า ได้แก่อาสันนการณ์ (เหตุใกล้).

ถามว่า เวทนา เป็นปทัฏฐานของอะไร. ตอบว่า เวทนาเป็นปทัฏฐาน

ของตัณหา โดยมีความปราถนายิ่ง ๆ ขึ้นไป โดยพระบาลีว่า เวทนาปจฺจยา

ตณฺหา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี.

ถามว่า สุขเวทนา เป็นปทัฏฐานแห่งตัณหา จงยกไว้ก่อน แต่เวทนา

นอกนี้ (ทุกขเวทนาและอทุกขมสุขเวทนา) เป็นปทัฏฐานแห่งตัณหาได้อย่างไร.

ข้าพเจ้าจะเฉลยต่อไป ก่อนอื่น แม้ผู้พรั่งพร้อมด้วยความสุขยังปรารถนาความสุข

เช่นนั้น หรือความสุขที่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้ที่ถูกความ

ทุกข์ครอบงำ. และอทุกขมสุข ท่านเรียกว่าสุขเหมือนกัน เพราะเป็นความ

สงบ เวทนาแม้ทั้ง ๓ จึงเป็นปทัฏฐานแห่งตัณหา.

เหตุเป็นที่เกิด ชื่อว่า อุปปัตติ. แท้จริง สัตว์และสังขารทั้งหลาย

ที่เป็นอิฎฐารมณ์ เป็นเหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งสุขเวทนา. สัตว์และสังขารเหล่านั้น

นั่นแหละ ที่เป็นอนิฎฐารมณ์ เป็นเหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งทุกขเวทนา ที่เป็น

มัชฌัตตารมณ์ เป็นเหตุเป็นที่เกิดขึ้นแห่งอทุกขมสุขเวทนา ก็ในอุปัตติเหตุนี้

พึงทราบความเป็นอิฎฐารมณ์และอนิฎฐารมณ์ โดยการถือเอาอาการของเวทนา

นั้นจากวิบาก.

บทว่า อนุสโย ความว่า ในบรรดาเวทนาทั้ง ๓ เหล่านี้ เพราะ

สุขเวทนา ราคานุสัยจึงนอนเนื่องอยู่ เพราะทุกขเวทนา ปฏิฆานุสัย จึงนอน

เนื่องอยู่ เพราะอทุกขมสุขเวทนา อวิชชานุสัย จึงนอนเนื่องอยู่. สมดัง

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เพราะเวทนาเป็นสุขแล ราคานุสัย

จึงนอนเนื่องอยู่ ดังนี้เป็นต้น. นักศึกษาพึงจัด ทิฏานุสัย และมานานุสัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 358

ที่เป็นฝักฝ่ายของราคะ เข้าในราคานุสัยนี้ด้วย. เพราะผู้มีทิฏฐิทั้งหลาย ย่อม

เชื้อมั่นในสักกายะ (กายของตน) โดยนัยมีอาทิว่า เป็นของยั่งยืน เพราะเพลิด

เพลินกับความสุข. และผู้มีมานะมาแต่กำเนิด อ้างมานะโดยนัยมีอาทิว่า เรา

เป็นผู้ประเสริฐที่สุด. ส่วนวิจิกิจฉานุสัย ที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งอวิชชา ก็ต้อง

จัดเข้าไว้ด้วย. สมดังที่ตรัสไว้ในปฏิจจสมุปปาทวิภังค์ว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย

วิจิกิจฉาจึงมี. และอนุสัยทั้งหลาย ยังมีการดำเนินไปด้วยกำลังอยู่ เพราะภาวะ

ที่ยังละไม่ได้ในสันดานนั้น ๆ. เพราะฉะนั้น คำว่า สุขาย เวทนาย ราคา-

นุสโย อนุเสติ จึงได้ความว่า ราคะที่ควรแก่การเกิดขึ้น ในเมื่อได้เหตุที่

เหมาะสม จึงเป็นเสมือนนอนอยู่ในสันดานนั้น เพราะยังละไม่ได้ด้วยมรรค.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้.

บทว่า าน ความว่า กายและจิตเป็นฐานของเวทนา. สมดังที่ตรัส

ไว้ว่า ในสมัยนั้น ความสุขทางกาย ความยินดี การเสวยสุข อันเกิดแต่กาย

สัมผัสอันใด และว่า ในสมัยนั้น ความสุขทางใจ ความยินดี การเสวยสุข

อันเกิดแต่สัมผัสทางใจอันใด ดังนี้.

ปวัตติขณะและการนับความเป็นไป ชื่อว่า ปวัตติกาล อธิบายว่า

ความที่สุขเวทนาเป็นสุขและความที่ทุกขเวทนาเป็นทุกข์ ท่านกำหนดแล้วด้วย

ปวัตติขณะ. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เวทนาที่เป็นสุขแล

เป็นฐิติสุข (สุขในฐิติขณะ) แต่เป็นวิปริณามทุกข์ (ทุกข์เมื่อเปลี่ยนแปลง)

ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เวทนาที่เป็นทุกข์แล เป็นฐิติทุกข์ (ทุกข์ในฐิติขณะ)

แต่เป็นวิปริณามสุข (สุขเมื่อเปลี่ยนแปลง). อธิบายว่า ความมีอยู่แห่งสุขเวทนา

เป็นความสุข ความไม่มีแห่งสุขเวทนา เป็นทุกข์ ความมีอยู่แห่งทุกขเวทนา

เป็นทุกข์ ความไม่มีอยู่แห่งทุกขเวทนา เป็นสุข. การนับความเป็นไปแห่ง

อทุกขมสุขเวทนา คือการนับ การไม่นับ ได้แก่ การรู้ การไม่รู้ ซึ่งความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 359

เป็นไป แห่งอทุกขมสุขเวทนา เป็นเครื่องกำหนคความเป็นสุขและเป็นทุกข์.

ก็แลแม้คำนี้ ท่านก็กล่าวไว้ว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ เวทนาที่ไม่ใช่สุข ไม่ใช่

ทุกข์แล เป็นญาณสุข (สุขเพราะรู้) แต่เป็นอญาณทุกข์ (ทุกข์เพราะไม่รู้).

บทว่า อินฺทริย ความว่า จริงอยู่ เวทนา ๓ มีสุขเวทนาเป็นต้น

เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกไว้ โดยอินทรีย์ ๕ ประการ คือ

สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โสมนัสสินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ อุเบกขินทรีย์ เพราะ

อรรถว่าเป็นอธิบดี. อธิบายว่า ความยินดีทางกาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกว่า สุขินทรีย์. ความไม่ยินดี ตรัสเรียกว่า ทุกขินทรีย์. ส่วนความ

ยินดีทางใจ ตรัสเรียกว่า โสมนัสสินทรีย์. ความไม่ยินดี ตรัสเรียกว่า

โทมนัสสินทรีย์. แม้ทั้งสองอย่าง ไม่ตรัสเรียกว่า ความยินดี ความไม่ยินดี

เป็นอุเบกขินทรีย์. ถามว่า ในข้อนี้มีอะไรเป็นเหตุเล่า. ตอบว่า เพราะไม่มี

ความแตกต่างกันว่า อทุกขมสุขเวทนา พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสจำแนกไว้

เหมือนสุขเวทนาทุกขเวทนา ทางกายและทางใจที่ตรัสจำแนกไว้ว่า สุขินทรีย์

โสมนัสสินทรีย์ ทุกขินทรีย์ โทมนัสสินทรีย์ดังนี้. เพราะว่า สุขเวทนา

มีการอนุเคราะห์เป็นสภาพ ส่วนทุกขเวทนามีการแผดเผาเป็นสภาพ อย่างหนึ่ง

ทำการอนุเคราะห์กาย อีกอย่างหนึ่งทำการแผดเผาใจ ฉันใด อทุกขสุขเวทนา

ไม่เหมือนอย่างนั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมิได้ตรัสจำแนกไว้

เพราะไม่มีความแตกต่างกัน.

บทว่า ทุวิธาทิตา ความว่า แท้จริง เวทนาแม้ทั้งหมด โดยความหมาย

ว่า เสวยอารมณ์ ก็มีอย่างเดียวเท่านั้น แต่โดยแยกที่อาศัย ก็มีสองอย่าง

คือ เวทนาทางกาย และเวทนาทางใจ. (โดยอารมณ์) มี ๓ อย่าง คือ

สุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา โดยอำนาจกำเนิด ๔

มี ๔ อย่าง โดยอำนาจอินทรีย์ และโดยอำนาจคติมี ๕ อย่าง โดยอำนาจทวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 360

และโดยอำนาจอารมณ์มี ๖ อย่าง โดยการประกอบกับวิญญาณธาตุ ๗ มี ๗ อย่าง

โดยมีโลกธรรม ๘ เป็นปัจจัย มี ๘ อย่าง โดยการจำแนกสุขเป็นต้น แต่ละอย่าง

ออกเป็นอดีตเป็นต้น มี ๙ อย่าง. เวทนาเหล่านั้นแหละ โดยแยกเป็นภายใน

และภายนอก มี ๑๘ อย่าง โดยแยกอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น ออกเป็นอย่างละ ๓

ตามอำนาจของสุขเป็นต้น ก็ (๑๘) เท่านั้นเหมือนกัน. อธิบายว่า ในรูปารมณ์

สุขบ้าง ทุกข์บ้าง อทุกขมสุขบ้างเกิดขึ้น. แม้ในอารมณ์มีสัททารมณ์เป็นต้น

นอกนี้ก็เช่นนั้นเหมือนกัน. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยอำนาจมโนปวิจาร ๑๘ เวทนา

ก็มี ๑๘. สมดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า บุคคลเห็นรูปด้วย

จักษุแล้ว ย่อมเข้าไปพิจารณารูป อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ย่อมพิจารณารูป

อันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปพิจารณารูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ได้ยิน

เสียงด้วยโสต ฯลฯ รู้ธรรมด้วยใจ ย่อมเข้าไปพิจารณาธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่ง

โสมนัส ย่อมเข้าไบ่พิจารณาธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ย่อมเข้าไปพิจารณา

ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เวทนาจึงมี ๑๘

อย่าง. อีกประการหนึ่ง เวทนาเป็น ๓๖ อย่างนี้ คือ เคหสิตโสมนัส (โสมนัส

ที่เป็นเจ้าเรือน) ๖ เคหสิตโทมนัส (โทมนัสที่เป็นเจ้าเรือน) ๖ เคหสิตอุเบกขา

(อุเบกขาที่เป็นเจ้าเรือน) ๖ โสมนัสเป็นต้นที่อาศัยเนกขัมมะ ก็มีเหมือนกัน.

เวทนามีถึง ๑๐๘ คือ เวทนาในอดีต ๓๖ ในอนาคต ๓๖ ในปัจจุบัน ๓๖.

ในอธิการแห่งเวทนาน พึงทราบความที่เวทนามี ๒ อย่างเป็นต้น ดังพรรณนา

มานี้แล.

จบปกิณณกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 361

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า สมาหิโต ความว่า

เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ แยกประเภทเป็น อุปจารสมาธิ และอัปปนา-

สมาธิ. ด้วยบทว่า สมาหิโต นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการ

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งสมถภาวนา. บทว่า สมฺปชาโน ความว่า รู้ชัดอยู่

โดยชอบ ด้วยสัมปชัญญะ ๔ ประการ มีสาตถกสัมปชัญญะเป็นต้น. ด้วยบทว่า

สมฺปชาโน นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการประกอบเนือง ๆ ซึ่ง

วิปัสสนา. บทว่า สโต ความว่า เป็นผู้ตั้งสติ ด้วยบทว่า สโต นั้น ธรรม

ทั้งหลายย่อมถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา โดยนัยแห่งสมถะและวิปัสสนา. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความเป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยวิปัสสนานุโยคนั้น. บท

ว่า เวทนา จ ปชานาติ ความว่า พุทธสาวกเมื่อกำหนดรู้ ด้วยปริญญา

๓ ในส่วนเบื้องต้น โดยจำแนกตามความเป็นจริงว่า เวทนาเหล่านี้ เวทนามี

เท่านี้ และโดยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้นว่า เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์

มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนี้แล้ว เจริญวิปัสสนา ย่อมรู้ชัดด้วย

การแทงตลอด ด้วยการกำหนดรู้ ด้วยอริยมรรค. บทว่า เวทนาญฺจ สมฺภว

ได้แก่ สมุทยสัจ. บทว่า ยตฺถ เจตา นิรุชฺฌนฺติ ความว่า ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้ เวทนาย่อมดับไปในที่ใด ที่นั้นเป็นนิโรธสัจ. บทว่า ขยคามิน เชื่อม

ความว่า รู้อริยมรรคที่เป็นเหตุให้ถึงความสิ้นไปแห่งเวทนาด้วย. บทว่า

เวทนาน ขยา ความว่า เพราะคับโดยไม่ให้เกิดขึ้นแห่งเวทนาทั้งหลาย

ด้วยอริยมรรคที่แทงตลอด สัจจะทั้ง ๔ ดังนี้. บทว่า นิจฺฉาโต ปริพฺพุโต

ความว่า หมดตัณหา คือ ละตัณหาได้ เป็นผู้ปรินิพพานแล้ว ด้วยกิเลสปริ-

นิพพาน และขันธปรินิพพาน.

จบอรรถกถาปฐมเวทนาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 362

๔. ทุติยเวทนาสูตร

ว่าด้วยเวทนา ๓ ประการ

[๒๓๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวทนา ๓ ประการนี้ ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือ สุขเวทนา ๑ ทุกขเวทนา ๑ อทุกขมสุขเวทนา ๑ ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย พึงเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ พึงเห็นทุกขเวทนาโดย

ความเป็นลูกศร พึงเห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของไม่เที่ยง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ภิกษุเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นทุกข์ เห็น

ทุกขเวทนาโดยความเป็นลูกศร เห็นอทุกขมสุขเวทนาโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นพระอริยะผู้เห็นโดยชอบ ตัดตัณหา

ขาดแล้ว ล่วงสังโยชน์แล้ว ได้กระทำแล้วซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ เพราะการละมานะ

โดยชอบ

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ภิกษุใดได้เห็นสุขโดยความเป็นทุก

ได้เห็นทุกข์โดยความเป็นลูกศร ได้เห็น

อทุกขมสุขอันละเอียดโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง ภิกษุนั้นแลเป็นผู้เห็นโดยชอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 363

ย่อมหลุดพ้นในเวทนานั้น ภิกษุนั้นแลอยู่

จบอภิญญา ระงับแล้ว ก้าวล่วงโยคะ

ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบทุติยเวทนาสูตรที่ ๔

อรรถกถาทาติเวทนาสูตร

ในทุติยเวทนาสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทุกฺขโต ทฏฺพฺพา ความว่า สุขเวทนาพึงเห็นด้วยญาณ-

จักษุว่าเป็นทุกข์ ด้วยอำนาจแห่งวิปริณามทุกข์. บทว่า สลฺลโต ทฏฺพฺพา

ความว่า ทุกขเวทนาพึงเห็นว่าเป็นเหมือนลูกศร เพราะความเป็นทุกขทุกข์

(เป็นทุกข์เพราะทนอยู่ไม่ได้) โดยหมายความว่า นำออกไปได้ยาก คือโดย

ความหมายว่า รบกวนได้แก่ มีความหมายว่า บีบคั้นในภายใน. บทว่า

อนิจฺจโต ความว่า อทุกขมสุขเวทนา พึงเห็นว่าไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับ

ไม่มี เพราะมีการเกิดขึ้นแล้วเสื่อมไปในที่สุด เพราะเป็นของชั่วคราว และ

เพราะเป็นของขัดแย้งกับความเที่ยง.

ก็ในเรื่องเวทนานี้ ถึงเวทนาทั้งหมด ต้องเห็นโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยงก็จริง แต่เพราะพระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า การเห็น

ทุกข์เป็นเครื่องหมายแห่งวิราคะ เป็นความยินดียิ่งกว่าการเห็นความไม่เที่ยง

จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนาพึงเห็นโดยความเป็นทุกข์ ทุกข-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 364

เวทนาพึงเห็นโดยความเป็นเหมือนลูกศร. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสคำนี้ไว้อย่างนั้น เพื่อจะให้เกิดความเบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย ที่ปุถุชน

ยึดมั่นว่าเป็นสุข. ด้วยคำว่า ทุกฺขโต นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึง

ความที่สุขเวทนานั้นว่าเป็นทุกข์ เพราะเป็นทุกข์ประจำสังขาร. เพราะเหตุที่

ความสุขเป็นวิปริณามทุกข์ โดยพระบาลีว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์

ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขเวทนาต้องเห็น

โดยความเป็นทุกข์ ดังนี้แล้ว เพราะเหตุที่ทุกขเวทนาเป็นทุกขทุกขะ (ทุกข์

เพราะทนอยู่ไม่ได้) สำหรับชนทั้งหลายผู้คิดอยู่ว่า แม้ความสุขยังเป็นถึงเช่นนี้

ความทุกข์จะถึงขนาดไหนเล่า ? ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า ทุกขเวทนาต้องเห็นโดย

เป็นเหมือนลูกศร. แต่เมื่อจะทรงแสดงว่า เวทนานอกนี้เป็นทุกข์ เพราะเป็น

สังขารทุกข์นั่นเอง จึงได้ตรัสว่า อทุกขมสุขเวทนาต้องเห็นโดยความเป็นของ

ไม่เที่ยง ดังนี้.

อนึ่ง บรรดาคำเหล่านั้น ด้วยคำนี้ว่า สุขเวทนาต้องเห็นโดยความ

เป็นทุกข์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงอุบาย สำหรับถอนราคะ เพราะว่า

ราคานุสัยนอนเนื่องอยู่ (ในสันดาน) เพราะสุขเวทนา. ด้วยคำนี้ว่า ทุกขเวทนา

ต้องเห็นโดยเป็นเหมือนลูกศร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอุบายสำหรับ

ถอนโทสะ เพราะปฏิฆานุสัยนอนเนื่องอยู่ (ในสันดาน) เพราะทุกขเวทนา.

ด้วยคำนี้ว่า อทุกขมสุขเวทนาต้องเห็นโดยความไม่เที่ยง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงอุบายสำหรับถอนราคะ โทสะ โมหะ เพราะอวิชชานุสัยนอนเนื่อง

อยู่ (ในสันดาน) เพราะอทุกขมสุขเวทนา.

ทำนองเดียวกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการละสังกิเลสคือ

ตัณหาด้วยพุทธพจน์ข้อแรก เพราะสังกิเลสคือตัณหานั้น เป็นเหตุให้พอใจ

ในสุข. ทรงแสดงการละสังกิเลสคือทุจริต ด้วยพระพุทธพจน์ข้อที่ ๒ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 365

ว่าสัตว์ทั้งหลายไม่รู้จักทุกข์ตามความเป็นจริง จึงประพฤติทุจริต เพื่อแก้ทุกข์

นั้น. ทรงแสดงการละสังกิเลสคือทิฏฐิ ด้วยพระพุทธพจน์ข้อที่ ๓ เพราะผู้ที่

เห็น อทุกขมสุข โดยความไม่เที่ยงอยู่ จะไม่มีสังกิเลสคือทิฏฐิ. อนึ่ง ทรงแสดง

อทุกขมสุขเวทนา ว่าเป็นเครื่องหมายแห่งอวิชชา เพราะความที่สังกิเลสคือ

ทิฏฐิ เป็นเครื่องหมายแห่งอวิชชา อีกอย่างหนึ่ง ด้วยพระพุทธพจน์ข้อแรก

ทรงแสดงถึงการกำหนดรู้วิปริณามทุกข์. ด้วยข้อที่ ๒ ทรงแสดงถึงการกำหนดรู้

ด้วยทุกขทุกขะ. ด้วยข้อที่ ๓ ทรงแสดงถึงการกำหนดรู้สังขารทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง

ด้วยพุทธพจน์ข้อแรก ทรงแสดงถึงการกำหนดรู้อิฏฐารมณ์. ด้วยพระพุทธพจน์

ข้อที่ ๒ ทรงแสดงถึงการกำหนดรู้อนิฏฐารมณ์. ด้วยพระพุทธพจน์ข้อที่ ๓ ทรง

แสดงถึงการกำหนดรู้ด้วยมัชฌัตตารมณ์ เพราะเมื่อคลายกำหนัดธรรมารมณ์

เหล่านั้นแล้ว แม้อารมณ์ทั้งหลาย ก็เป็นอันคลายกำหนัดไปด้วย พึงทราบดัง

พรรณนามานี้.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบว่า การหลุดพ้นโดยไม่มีที่ตั้ง ด้วยทุกขา-

นุปัสสนา เป็นอันทรงแสดงแล้ว ด้วยการกำหนดการละราคะเป็นข้อแรก. การ

หลุดพ้นโดยไม่มีนิมิต ด้วยอนิจจานุปัสสนาเป็นอันทรงแสดงแล้ว ด้วยการ

กำหนดการละโทสะ เป็นข้อที่ ๒. การหลุดพ้นโดยเป็นของว่างเปล่า ด้วย

อนัตตานุปัสสนา เป็นอันทรงแสดงแล้ว ด้วยการกำหนดการละโมหะเป็น

ข้อที่ ๓.

บทว่า ยโต เท่ากับ ยทา หรือ ยสฺมา (แปลว่า เมื่อใดหรือ

เพราะเหตุใด). บทว่า อริโย ความว่า เป็นผู้อยู่ไกลจากกิเลสทั้งหลาย คือ

เป็นผู้บริสุทธิ์. บทว่า สมฺมทฺทโส ความว่า มีปกติเห็นเวทนาทั้งหมด หรือ

สัจจะทั้ง ๔ ไม่ผิดพลาดไป. บทว่า อจฺเฉจฺฉิ ตณฺห ความว่า ตัดตัณหา

อันมีเวทนาเป็นราก ด้วยมรรคเบื้องปลาย ได้แก่ตัดขาดโดยไม่เหลือ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 366

วิวตฺตยิ สโยชน ความว่า หมุนสังโยชน์ ๑๐ อย่างไปได้โดยรอบ คือทำให้

ไม่มีราคะ. บทว่า สมฺมา ได้แก่โดยเหตุ คือโดยการณ์. บทว่า มานาภิสมยา

ความว่า เพราะตรัสรู้ด้วยการเห็น หรือเพราะตรัสรู้ด้วยการละซึ่งมานะ.

อธิบายว่า อรหัตมรรคเห็นมานะ ด้วยอำนาจแห่งกิจ นี้เป็นการบรรลุ

ด้วยการเห็นซึ่งมานะนั้น. ก็มานะที่อริยมรรคเห็นแล้วนั้น อันอริยมรรคนั้น

ย่อมละได้ในทันใดนั้นเอง เหมือนชีวิตของสัตว์ที่ถูกกัดแล้ว ย่อมละได้ด้วยพิษ

ที่กัดแล้ว นี้เป็นการบรรลุด้วยการละซึ่งมานะนั้น. บทว่า อนฺตมกาสิ

ทุกฺขสฺส ความว่า พระอริยสาวกได้ทำที่สุดกล่าวคือเงื่อน ได้แก่สุดสาย

ปลายทาง แห่งวัฏทุกข์ทั้งหมด. มีอธิบายว่า ได้การทำทุกข์ให้เหลือไว้เพียง

ร่างกายในชาติสุดท้าย.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ บทว่า โย ได้แก่

พระอริยสาวกใด. บทว่า อทฺทา แปลว่า ได้เห็นแล้ว. อธิบายว่า เห็น

สุขเวทนาโดยเป็นทุกข์. แท้จริง สุขเวทนาเป็นเสมือนโภชนะที่เจือด้วยยาพิษ

ในเวลาบริโภคจะให้ความอร่อย ในเวลาเปลี่ยนแปลงไป ย่อมเป็นทุกข์อย่าง

เดียว. บทว่า ทุกฺขมทกฺขิ สลฺลโต ความว่า ทุกขเวทนาเมื่อเกิดขึ้นก็ดี

ถึงฐิติขณะ (ดำรงด์อยู่) ก็ดี แตกดับไปก็ดี ย่อมเบียดเบียนทั้งนั้น เหมือน

ลูกศรกำลังเสียบเข้าสรีระก็ดี หยุดอยู่ก็ดี กำลังถอนออกก็ดี ย่อมให้เกิดความ

เจ็บปวดทั้งนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เห็นทุกข์นั้น

โดยเป็นลูกศร. บทว่า อทกฺขิ น อนิจฺจโต ความว่า เห็นอทุกขมสุข-

เวทนานั้น แม้ที่เกิดขึ้นละเอียดกว่า เพราะเป็นภาวะที่ละเอียดกว่าสุขและทุกข์

โดยความไม่เที่ยง เพราะมีความไม่เที่ยงเป็นที่สุด. บทว่า สเว สมฺมทฺทโส

ความว่า พระอริยสาวกนั้นเอง มีปกติเห็นเวทนาทั้ง ๓ โดยเป็นทุกข์เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 367

โดยถูกต้องถ่องแท้. บทว่า ยโต ก็เท่ากับ ยสฺมา (แปลว่า เพราะเหตุใด).

บทว่า ตตฺถ แปลว่า ในเวทนา. บทว่า วิมุจฺจติ ความว่า ย่อมพ้น

ด้วยสามารถแห่งสมุจเฉทวิมุตติ. มีคำอธิบายดังนี้ เพราะเหตุที่ท่านเห็นสุข

เป็นต้น โดยความเป็นทุกข์เป็นต้น ฉะนั้น ท่านจึงหลุดพ้นในเวทนานั้น

ด้วยสามารถแห่งการตัดขาด เพราะละฉันทราคะ ที่เนื่องด้วยเวทนานั้น. ด้วยว่า

เมื่อกล่าวถึง ย ศัพท์ ก็ควรนำเอา ต ศัพท์มากล่าวไว้ด้วย.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยโต ความว่า สำรวมแล้ว คือมีตนอันระวัง

แล้ว ด้วยกาย วาจา และใจ อีกอย่างหนึ่ง พระอริยสาวกชื่อว่า ยโต เพราะ

พยายาม คือเริ่มตั้งความเพียร อธิบายว่า สืบต่อกัน ไป. บทว่า อภิญฺา-

โวสิโต ความว่า เสร็จสิ้นแล้ว คือทำกิจเสร็จแล้ว ด้วยอภิญญา ๖ เพราะ

เจริญกรรมฐาน มีสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ โดยมีเวทนาเป็นหลัก. บทว่า สนฺโต

ได้แก่ผู้สงบแล้ว ด้วยการสงบกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า โยคาติโค ความว่า

พระโยคาวจร ผู้ก้าวล่วงโยคะทั้ง ๔ อย่าง มีกามโยคะเป็นต้น ชื่อว่า มุนี

เพราะรู้ประโยชน์เกื้อกูลทั้งสองอย่าง.

จบอรรถกถาทุติยเวทนาสูตรที่ ๔

๔. ปฐมเอสนาสูตร

ว่าด้วยการแสวงหา ๓ ประการ

[๒๓๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้ ๓ ประการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 368

เป็นไฉน ? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหา

พรหมจรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้มีจิตตั้งมั่น

ผู้รู้ทั่ว มีสติ ย่อมรู้ชัดซึ่งการแสวงหา

ทั้งหลายเหตุเกิดแห่งการแสวงหาทั้งหลาย

ธรรมเป็นที่ดับแห่งการแสวงหาทั้งหลาย

และมรรคอันให้ถึงความสิ้นไปแห่งการ

แสวงหาทั้งหลาย ภิกษุหายหิวแล้ว ดับ

รอบแล้ว เพราะควานสิ้นไปแห่งการ

แสวงทาทั้งหลาย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปฐมเอสนาสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมเอสนาสูตร

ในปฐมเอสนาสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

การแสวงหา คือการเสาะหา ได้แก่การค้นหา ชื่อว่า เอสนา.

เพื่อจะทรงแสดงการแสวงหาเหล่านั้น โดยจำแนกออกไป จึงตรัสคำมีอาทิว่า

กาเมสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 369

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเมสนา คือการแสวงหากามหรือ

การแสวงหากล่าวคือกาม ชื่อว่า กาเมสนา. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า บรรดาเอสนา (การแสวงหา) เหล่านั้น กาเมสนา เป็นไฉน คือ

ความพอใจในกาม ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ความสิเนหา

ในกาม ความกระวนกระวายในกาม ความสยบในกาม การหยั่งลงสู่กาม ในกาม

ทั้งหลาย นี้เราตถาคตเรียกว่า กาเมสนา เพราะฉะนั้น กามราคะพึงทราบว่า

เป็น กามเอสนา. แม้ในภเวสนา (การแสวงหาภพ) ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า บรรดา เอสนา เหล่านั้น ภเวสนา เป็นไฉน ความพอใจ

ในภพ ฯลฯ การหยั่งลงสู่ภพในภพทั้งหลาย อันใด นี้เราตถาคตเรียกว่า ภวเอ-

สนา เพราะฉะนั้น ความกำหนัด ในการแสวงหากาม คือความปรารถนารูปภพ

และอรูปภพ พึงทราบว่าเป็น ภวเอสนา.

การแสวงหาพรหมจรรย์ ชื่อว่า พรหมจริยเอสนา. เหมือนอย่าง

ที่ตรัสไว้ว่า บรรดาเอสนาเหล่านั้น พรหมจริยเอสนา เป็นไฉน ทิฏฐิ

ทิฏฐิคตะ รกชัฏคือทิฏฐิ กันดารคือทิฏฐิ เสี้ยนหนามคือทิฏฐิ ความ

ดิ้นรนคือทิฏฐิ สังโยชน์คือทิฏฐิ การถือเอา การรับ การยึดมั่น

การลูบคลำ ทางที่ผิด คัลลองที่ผิด ความเห็นผิด ลัทธิ การยึดถือ

การแสวงหาที่ผิด ชนิดนี้ใด ว่า ๑. โลกเที่ยง ๒. โลกไม่เที่ยง

๓. โลกมีที่สุด ๔. โลกไม่มีที่สุด ๕. ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น

๖. ชีพเป็นอย่างหนึ่ง สรีระเป็นอย่างหนึ่ง ๗. สัตว์หลังจากตายแล้ว

ยังมี ๘. สัตว์หลังจากตายแล้ว ไม่มี ๙. สัตว์หลังจากตายแล้ว

มีบ้าง ไม่มีบ้าง ๑๐. สัตว์หลังจากตายแล้ว มีก็ไม่ใช่ ไม่มีก็ไม่ใช่

นี้เราตถาคตเรียกว่า พรหมจริยเอสนา เพราะฉะนั้น การแสวงหาพรหม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 370

จรรย์ที่สมมติกันว่าเป็นทิฏฐิ พึงทราบว่า ได้แก่การแสวงหาทิฏฐิพรหมจรรย์

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงราคะและทิฏฐิว่าเป็น

เอสนา.

ก็ไม่ใช่เพียงราคะและทิฏฐิอย่างเดียวที่ทรงแสดงว่าเป็นเอสนา แม้

กรรมที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับราคะและทิฏฐินั้น ก็ทรงแสดงว่าเป็นเอสนา แม้

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า บรรดา เอสเนา เหล่านั้น กามเอสนา

คืออะไร ? คือ กามราคะ (และ) กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็น

อกุศล ตั้งอยู่ในที่อันเดียวกันกับกามราคะ นี้เราตถาคตเรียกว่า กามเอสนา.

บรรดาเอสนาเหล่านั้น ภวเอสนา คืออะไร ? คือ ภวราคะและกายกรรม

วจีกรรม มโนกรรม ที่เป็นอกุศล ตั้งอยู่ในที่อันเดียวกันกับภวราคะนั้น

นี้เราตถาคตเรียกว่า ภวเอสนา. บรรดาเอสนาเหล่านั้น พรหมจริเยสนา

คืออะไร ? คือ อันตคาหิกทิฏฐิ (และ) กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ที่เป็นอกุศล ตั้งอยู่ในที่อันเดียวกับอันตคาหิกทิฏฐินั้น นี้เราตถาคตเรียกว่า

พรหมจริเยสนา พึงทราบเอสนา ๓ เหล่านั้น ดังพรรณนามานี้.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายต่อไปนี้ ธรรมทั้งหลายที่มีอวิชชา

เป็นต้น และตัณหาที่เป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นแห่งเอสนา ชื่อว่า

สนฺภโว ในคำว่า สมฺภว นี้ อธิบายว่า ได้แก่สมุทัย. บทว่า ยตฺถ

เจตา นิรุชฺฌนฺติ ความว่า พรหมจริยเอสนา ย่อมดับไปด้วยปฐมมรรค

กามเอสนา ย่อมดับไปด้วยอนาคามิมรรค ภวเอสนา ย่อมดับไปด้วยอรหัต-

มรรค พึงทราบตามที่พรรณนามานี้. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาปฐมเอสนาสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 371

๖. ทุติยเอสนาสูตร

ว่าด้วยที่ตั้งแห่งทิฏฐิ

[๒๓๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้ ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหม-

จรรย์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

การแสวงหากาม การแสวงหาภพ

กับการแสวงหาพรหมจรรย์ การยึดมั่นว่า

จริงดังนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เกิดขึ้น การ

แสวงหาทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิ

พระอรหันต์ผู้ไม่ยินดีแล้วด้วยความยินดี

ทั้งปวง ผู้น้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา

สละคืนเสียแล้ว ถอนขึ้นได้แล้ว ภิกษุ

เป็นผู้ไม่มีความหวัง ไม่มีความสงสัย

เพราะความสิ้นไปแห่งการแสวงหาทั้ง-

หลาย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทุติยเอสนาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 372

อรรถกถาทุติยเอสนาสูตร

ในทุติยเอสนาสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พฺรหฺมจริเยสนา สห ความว่า พร้อมกับด้วยการแสวงหา

พรหมจรรย์. ก็ด้วยการลบวิภัตติออกเสีย ศัพท์ว่า พฺรหฺมจริเยสนา นี้

จึงเป็นศัพท์นิเทศ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พฺรหฺมจริยเอสนา นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ

(แต่) ลงในอรรถแห่งตติยาวิภัตติ มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ กามเอสนา ภวเอสนา

รวมกับ พรหมจริยเอสนา จึงเป็นเอสนา ๓ อย่าง. ในบรรดาเอสนาเหล่านั้น

เพื่อจะทรงแสดงพรหมจริยเอสนาโดยสรุป พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ไว้ว่า

อิติ สจฺจปรานาโส ทิฏฺิฏานา สมุสฺสยา การยึดมั่นว่าจริง ดังนี้

เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิที่เกิดขึ้น ดังนี้ .

คำนั้นมีอธิบายดังนี้ การยึดมั่นว่า สิ่งนี้เป็นจริงอย่างนี้ ด้วยประการ

อย่างนี้ ชื่อว่า อิตสจฺจปรามาโส. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงอาการ

คือ ความเป็นไปแห่งทิฏฐิไว้ว่า "สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเป็นโมฆะ" ทิฏฐิ

นั่นแหละ ชื่อว่า ทิฏฺิฏานา เพราะเป็นเหตุแห่งอนัตถะทุกอย่าง สมดังที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวโทษที่จะ

พึงตำหนิว่า มีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่งดังนี้ และมีคำอธิบายว่า มิจฉาทิฏฐิ

เหล่านั้นแหละ ทั้งที่เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ทั้งเป็นที่เกิดขึ้น โดยเป็นที่เกิดแห่ง

กิเลส มีโลภะเป็นต้น ทิฏฐิทั้งหลายที่ยึดมั่นผิด ๆ ว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่น

เป็นโมฆะ ดังนี้ เป็นทั้งเหตุแห่งอนัตถะทุกอย่าง เป็นทั้งเหตุแห่งการก่อทุกข์

คือกิเลส จึงชื่อว่า พฺรหฺมจริยเอสนา. ด้วยบทแห่งพระคาถาว่า อิติสจฺจ-

ปรามาโส ทิฏฺฐฏฺานา สมุสฺสยา นี้ พึงทราบว่า เป็นอันพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 373

ทรงแสดงพรหมจริยเอสนาไว้แล้ว โดยอาการแห่งการเป็นไป และโดยความ

สำเร็จ. บทว่า สพฺพราควิรตสฺส ความว่า พระอรหันต์ผู้คลายความกำหนัด

จากกามราคะ และภวราคะทั้งหลาย ทั้งปวง ดังแต่นั้นไป ก็ชื่อว่า ผู้หลุดพ้น

เพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เพราะพ้น ในเพราะพระนิพพาน กล่าวคือ

ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา. บทว่า เอสนา ปฏินิสฺสฏฺา ความว่า

กามเอสนาและภวเอสนา เป็นอันท่านสลัดออกแล้ว คือละแล้วโดยประการ

ทั้งปวง. บทว่า ทิฏฺิฏฺานา สมูหตา ความว่า เป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิกล่าวคือ

พรหมจริยเอสนา และถูกถอนขึ้นด้วยปฐมมรรคนั่นเอง. บทว่า เอสนาน ขยา

ความว่า เพราะสิ้นไป คือ เพราะดับไปโดยไม่เกิดขึ้น แห่งการแสวงหา

ทั้ง ๓ อย่างเหล่านี้ ตรัสเรียกว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลสได้แล้ว ตรัสเรียกว่า

นิราโส เพราะหาความหวังมิได้ โดยประการทั้งปวง และตรัสเรียกว่า อก-

ถังกถี เพราะละการกล่าวถ้อยคำว่าอย่างไร ด้วยความสงสัยที่เป็นทิฏฐิได้แล้ว.

จบอรรถกถาทุติยเอสนาสูตรที่ ๖

๗. ปฐมอาสวสูตร

ว่าด้วยอาสวะ ๓ ประการ

[๒๓๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ?

คือ กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อาสวะ ๓ ประการนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 374

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

สาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีจิตตั้งมั่น

ผู้รู้ทั่ว มีสติ ย่อมรู้ชัด ซึ่งอาสวะทั้งหลาย

เหตุเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย ธรรมเป็นที่

ดับแห่งอาสวะทั้งหลาย และมรรคอันให้

ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ภิกษุ

หายหิวแล้ว ดับรอบแล้ว เพราะความสิ้น

ไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบปฐมอาสวสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมอาสวสูตร

ในปฐมอาสวสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

อาสวะในกามทั้งหลาย ชื่อว่า กามาสวะ อีกอย่างหนึ่ง อาสวะ

กล่าวคือกาม ชื่อว่า กามาสวะ แต่โดยเนื้อความ กามราคะ และความ

ยินดียิ่งในรูปเป็นต้น ชื่อว่า กามสวะ. ฉันทราคะ ในรูปภพและอรูปภพ

ความใคร่ในฌาน ราคะอันสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ และความปรารถนาในภพ

ชื่อว่า ภวาสวะ. อวิชชานั่นแหละ ชื่อว่า อวิชชาสวะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 375

ในบทว่า อาสวานญฺจ สมฺภว นี้ อโยนิโสมนสิการ และ

กิเลสทั้งหลายมีอวิชชาเป็นต้น ชื่อว่า เป็นเหตุเกิดแห่งอาสวะทั้งหลาย. สมดังคำ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชาเกิดก่อน ความ

ไม่ละอายแก่ใจ ความไม่เกรงกลัวต่อบาป จะคล้อยตามการถึงพร้อมแห่ง-

อกุศลธรรมทั้งหลาย. บทว่า มคฺคญฺจ ขยคามิน ความว่า ซึ่งพระอริยมรรค

อันเป็นเหตุให้ถึงธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะด้วย. บรรดาอาสวะเหล่านั้น

กามาสวะจะละได้ด้วยอนาคามิมรรค ภวาสวะ และอวิชชาสวะ จะละได้

ด้วยอรหัตมรรค. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า แม้กามาสวะ ก็ถูกมรรค

เบื้องปลายฆ่า เหมือนกามุปปาทาน. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปฐมอาสวสูตรที่ ๗

๘. ทุติยอาสวสูตร/H2

ผู้สิ้นอาสวะย่อมชนะมารพร้อมทั้งพาหนะ

[๒๓๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน

คือ กามาสวะ ๑ ภวาสวะ ๑ อวิชชาสวะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะ ๓

ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 376

ภิกษุใดมีกามาสวะสิ้นไปแล้ว สำรอก

อวิชชาออกได้แล้ว และมีภวาสวะหมดสิ้น

แล้ว ภิกษุนั้นพ้นวิเศษแล้ว หาอุปธิมิได้

ชนะมารพร้อมด้วยพาหนะแล้ว ย่อมทรง

ไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทุติยอาสวสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ ไม่มีข้อความที่ไม่เคยมีมาก่อน.

๙. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยตัณหา ๓ ประการ

[๒๓๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหา ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ?

คือ กามตัณหา ๑ ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตัณหา ๓ ประการนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 377

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ชนทั้งหลาย ประกอบแล้วด้วยตัณหา

เครื่องประกอบสัตว์ไว้ มีจิตยินดีแล้วใน

ภพน้อยและภพใหญ่ ชนเหล่านั้นประกอบ

แล้วด้วยโยคะ คือ บ่วงแห่งมาร เป็นผู้

ไม่มีความเกษจากโยคะ สัตว์ทั้งหลายผู้ถึง

ชาติและมรณะ ย่อมไปสู่สงสาร ส่วนสัตว์

เหล่าใดละตัณหาได้ขาด ปราศจากตัณหา

ในภพน้อยและภพใหญ่ ถึงแล้วซึ่งความ

สิ้นไปแห่งอาสวะ สัตว์เหล่านั้นแล ถึงฝั่ง

แล้วในโลก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบตัณหาสูตรที่ ๙

อรรถกถาตัณหาสูตร

ในตัณหาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

กิเลสชาติ ชื่อว่า ตัณหา เพราะหมายความว่าทะยานอยาก. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่าตัณหา เพราะหวั่นไหวอารมณ์มีรูปเป็นต้น บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงแยก

ตัณหานั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า กามตัณหา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 378

บรรดาตัณหาทั้ง ๓ นั้น ราคะที่ประกอบไปด้วยเบญจกามคุณ ชื่อว่า

กามตัณหา. ฉันทราคะในรูปภพและอรูปภพ ความใคร่ในฌาน ราคะที่

สหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ และความปรารถนาด้วยอำนาจแห่งภวราคะ ชื่อว่า

ภวตัณหา. ราคะที่สหรคตด้วยอุจเฉททิฏฐิ ชื่อว่า วิภวตัณหา. อีกอย่างหนึ่ง

ตัณหาที่เหลือแม้ทั้งหมด เว้นตัณหาสองอย่างข้างหลัง ชื่อว่า กามตัณหา

ทั้งนั้น. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ในตัณหาเหล่านั้น ภวตัณหา

คืออะไร ? คือความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัด กล้าแห่งจิต

อันสหรคตด้วยสัสสตทิฏฐิ นี้เราตถาคตเรียกว่า ภวตัณหา. ในตัณหาเหล่านั้น

วิภวตัณหาคืออะไร ? คือ ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ความกำหนัดกล้าแห่ง

จิต นี้เราตถาคตเรียกว่า วิภวตัณหา. ตัณหาที่เหลือเรียกว่า กามตัณหา.

ก็ตัณหาทั้ง ๓ เหล่านี้ แยกแต่ละอย่างออกเป็น ๖ โดยประเภทอารมณ์ คือ

รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา จึงเป็นตัณหา ๑๘ อย่าง ตัณหาเหล่านั้น

รวมเป็น ๓๖ คือ ตัณหาในรูปภายในเป็นต้น ๑๘ ตัณหาในรูปภายนอก

เป็นต้น ๑๘ ดังนั้น จึงรวมเป็นตัณหา ๑๐๘ โดยแยกเป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖

ปัจจุบัน ๓๖ (แต่) ตัณหานั้น เมื่อทำการสงเคราะห์อีก จัดโดยไม่เกี่ยวกับ

การแยกประเภทตามกาล (ทั้ง ๓) ก็มี ๓๖ เท่านั้นเอง เมื่อไม่ทำการจำแนก

รูป (ตัณหา) เป็นต้น ออกเป็นภายใน ภายนอก ก็จะมี ๑๘ เท่านั้น เมื่อ

กระทำเพียงการจำแนกตามอารมณ์มีรูปเป็นต้น ก็เหลือ ๖ เท่านั้น ตัณหา

เหล่านั้น เมื่อจัดโดยไม่ทำการจำแนกไปตามอารมณ์ ก็มีเพียง ๓ เท่านั้นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า ตณฺหาโยเคน

ความว่า ด้วยเครื่องผูกคือตัณหา เชื่อมความว่า ประกอบด้วยกามโยคะ และ

ภวโยคะ. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ถูกประกอบไว้ในภพเป็นต้น เพราะเหตุนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า รตฺตจิตฺตา ภวาภเว มีจิตยินดีแล้วในภพน้อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 379

และภพใหญ่ อธิบายว่า มีจิตข้องอยู่แล้ว ในภพน้อย และภพใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ภโว ได้แก่ สัสสตทิฏฐิ. บทว่า อภโว ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ

เพราะฉะนั้น ชนเหล่านั้นเป็นผู้มีจิตติดข้องอยู่ในภวาภวะ คือสัสสตทิฏฐิ

และอุจเฉททิฏฐิทั้งหลาย ด้วยคำว่าภวาภวะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ภวตัณหา และวิภวตัณหา. ในธรรมฝ่ายนี้ พึงทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงกามตัณหาอย่างเดียวไว้ ด้วยบทนี้ว่า ตณฺหาโยเคน ดังนี้. บทว่า

เต โยคยุตฺตา มารสฺส ความว่า บุคคลเหล่านั้น คือผู้เป็นอย่างที่ว่ามานี้

ถูกประกอบแล้ว คือถูกผูกไว้แล้วด้วยเครื่องผูกกล่าวคือบ่วงแห่งมาร เพราะว่า

ราคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นเครื่องผูกของมาร เป็นบ่วงของมาร.

สมดังที่มารกราบทูลว่า

บ่วงนี้ใดที่มีอยู่ในใจ เที่ยวไปได้ใน

อากาศสัญจรไปอยู่ เราจักผูกท่านด้วยบ่วง

นั้น ดูก่อนสมณะ ท่านจักไม่พ้นเรา ดังนี้.

เหล่าสัตว์ชื่อว่าผู้ไม่เกษมจากโยคะ เพราะยังไม่ได้บรรลุนิพพาน และ

พระอรหัตที่ชื่อว่าเป็นแดนเกษมจากโยคะ เพราะถูกโยคะทั้ง ๔ ขัดขวาง

ชื่อว่าชน เพราะเป็นที่เกิดกิเลส และอภิสังขารทั้งหลายติดต่อกัน ไป

ชื่อว่าสัตว์ เพราะติดคือข้องอยู่ในรูปเป็นต้น จะไปสู่สงสาร กล่าวคือการ

เกิดขึ้นต่อ ๆ แห่งขันธ์เป็นต้น ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ และอายตนะ

ทั้งหลาย เป็นไปอยู่ไม่ขาดสาย เรียกว่า

สงสาร

คือ จะไม่พ้นไปจากสงสารนั้น. เพราะเหตุไร เพราะประกอบด้วย

เครื่องผูกคือ ตัณหา. สัตว์ทั้งหลายผู้มีปกติไปสู่ความเกิดความตาย คือเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 380

ผู้มีปกติเข้าถึงความเกิด ความตายบ่อย ๆ นั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ทรงแสดงวัฏฏะด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ จึง

ตรัสคาถาว่า เย จ ตณฺห ปหนฺตฺวาน ดังนี้. พระคาถานั้น เข้าใจง่าย

อยู่แล้วเพราะนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง.

จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๙

๑๐. มารเธยยสูตร

ว่าด้วยธรรม ๓ เครื่องก้าวล่วงบ่วงมาร

[๒๓๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-

สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ

ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้ว ย่อมรุ่งเรื่องดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น ธรรม ๓ ประการ

เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบแล้ว

ด้วยศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยสมาธิขันธ์อัน

เป็นของพระอเสขะ ๑ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญาขันธ์อันเป็นของพระ-

อเสขะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบแล้ว ด้วยธรรม ๓ ประการ

นี้แล ก้าวล่วงบ่วงแห่งมารแล้ว ย่อมรุ่งเรื่องดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 381

ภิกษุใด เจริญศีล สมาธิ และปัญญา

ดูแล้ว ภิกษุนั้น ก้าวล่วงบ่วงแห่งมาร

ได้แล้ว ย่อมรุ่งเรื่อง ดุจพระอาทิตย์ฉะนั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมารเธยยสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๑

อรรถกถามารเธยยสูตร

มารเธยยสูตรที่ ๑๐ มีการเกิดขึ้นอย่างไร ? เล่ากันมาว่า วันหนึ่ง

พระบรมศาสดา มีบริษัทผู้เป็นพระเสกขะเป็นส่วนมากแวดล้อมแล้ว ประทับนั่ง

ตรวจดูอัธยาศัยของบริษัทเหล่านั้น เมื่อจะทรงชมเชยอเสขภูมิ จึงตรัสพระสูตร

นี้ไว้ เพื่อให้เกิดอุตสาหะในการบรรลุคุณพิเศษ ที่สูง ๆ ขึ้นไป.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทเป็นต้นว่า อติกฺกมฺม มีความสังเขป

ดังต่อไปนี้ (ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓) จะรุ่งโรจน์ ก้าวล่วง คือ ล่วงเลย

ได้แก่ครอบงำ ที่ตั้งแห่งมารคืออารมณ์ ได้แก่วิสัย คือฐานะเป็นที่ตั้งแห่ง

อิสริยะของมาร ดุจพระอาทิตย์. พระอาทิตย์ที่พ้นจากความมืดมัว มีเมฆ

เป็นต้น ประกอบด้วยคุณสมบัติ ๓ ประการ คือ ฤทธิ์ อานุภาพ และเดช

ของตนพุ่งขึ้นสู่นภากาศ ไพโรจน์ สว่างไสว แผดแสง ข่ม ขับ ครอบงำ

กำจัดความมืด ที่อยู่ในอากาศทั้งหมด ฉันใด ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ประกอบด้วยคุณธรรม ๓ ประการ พ้นจากอุปกิเลสทุกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 382

ย่อมรุ่งโรจน์ ครอบงำพฤติการแห่งธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ กล่าวคือที่ตั้ง

แห่งมาร ฉะนี้แล.

ธรรมชื่อว่า เสกขะ ในบทว่า อเสกฺเขน นี้ เพราะเกิดแล้วในเพราะ

สิกขาทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายชื่อว่าเสกขะ เพราะธรรมเหล่านี้

เป็นของพระเสกขะ ๗ จำพวก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เสกขะ เพราะกำลังศึกษา

อยู่ด้วยตนเองทีเดียว โดยที่ยังศึกษาไม่สำเร็จ ได้แก่มรรคธรรมและผลธรรม

เบื้องต่ำ ๓ อย่าง แต่ผลธรรมอันเลิศ (อรหัตผล) ไม่เป็นเสกขธรรมเพราะ

ไม่มีศีลที่จะต้องศึกษาในเบื้องสูง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อเสกขะ. เพราะว่า

นี้เป็นการคัดค้านในธรรมที่ยังมีความสงสัยในความเป็นพระเสกขะ เพราะฉะนั้น

ทั้งในโลกิยธรรม และนิพพานธรรม พึงทราบว่า ยังไม่ควรแก่ความเป็น

อเสขธรรม. เพราะว่า สิกขา กล่าวคือ ศีล สมาธิ ปัญญา ที่พ้นแล้วจากกิเลส

ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตน คือบริสุทธิ์แล้ว ที่ควรกล่าวได้ว่า เป็นสิกขาที่ดียิ่ง

เพราะไม่เข้าถึงแม้ความเป็นอารมณ์ของอุปกิเลสทั้งหลาย มีอยู่ในมรรคผลทั้ง

๘ เพราะเหตุนั้น แม้ธรรมคืออรหัตผล ก็จะเป็นธรรมเกิดขึ้นในเพราะสิกขา

เหล่านั้น เหมือนกับธรรม คือมรรค ๔ และผล ๓ เบื้องต่ำ ฉะนั้น ก็เมื่อ

พระอรหันต์ผู้ประกอบด้วยสิกขานั้น ยังเป็นเสกขะเหมือนท่านนอกนี้ ก็จะพึงมี

ความสงสัยว่า ที่ชื่อว่าเสกขะ เพราะอรรถว่าธรรมเหล่านี้ เป็นของเสกขบุคคล

เพราะอรรถว่า ศีลเป็นสิกขาของท่านเหล่านี้มีอยู่ เพราะเหตุนั้น เพื่อจะห้าม

ความสงสัยนั้นเสีย ท่านจึงกล่าวคำว่า อเสกฺขา ไว้ เป็นการปฏิเสธภาวะ

แห่งเสกขบุคคลตามที่กล่าวแล้ว. เพราะว่าสิกขาทั้งหลาย ที่เป็นไปอยู่ใน

อรหัตผล จะไม่ทำกิจของการศึกษา เพราะเสร็จกิจของการศึกษาแล้ว จะเป็น

ไปโดยความเป็นผลของการศึกษาอย่างเดียว. เพราะฉะนั้น สิกขาเหล่านั้น

จึงไม่ควรเรียกว่า สิกขา. ทั้งผู้ที่พร้อมด้วยสิกขานั้น ก็ไม่ควรเรียกว่าเสกขบุคคล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 383

อนึ่ง ธรรมที่สัมปยุตด้วยสิกขานั้น ก็ไม่ได้มีการศึกษาเป็นปกติ. ผลธรรม

อันเลิศ (อรหัตผล) ก็ไม่เป็นเสกขธรรมตามความหมาย มีอาทิอย่างนี้ว่า

เกิดแล้วในสิกขาทั้งหลาย. ส่วนสิกขาในผลเบื้องต่ำทั้งหลาย ยังทำกิจของการ

ศึกษา ในสกทาคามิมรรคอยู่เพราะความเป็นอุปนิสัยของวิปัสสนาเป็นต้น

เพราะฉะนั้น สิกขาทั้งหลายจึงควรเรียกว่า สิกขา และผู้ที่พร้อมเพรียงด้วย

สิกขานั้น ก็ควรเรียกว่าเสกขบุคคล ทั้งธรรมที่สัมปยุตด้วยสิกขานั้น ก็เป็น

ธรรมมีการศึกษาเป็นปกติ. เสกขธรรมทั้งหลายต้องเป็นเสกขธรรมอยู่นั่นเอง

ตามความหมายที่กล่าวแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง ถ้าจะมีคำท้วงว่า บทว่า เสกฺขา เป็นคำเรียกพระ-

อริยะทั้งหลาย ผู้ยังไม่สำเร็จการศึกษา ดังนี้ (ส่วน) บทว่า อเสกฺขา เป็นคำ

แสดงถึงพระอริยสาวกทั้งหลาย ผู้สำเร็จการศึกษา เพราะฉะนั้น โลกิยธรรม

และนิพพานธรรม หาควรเป็นอเสกขธรรมไม่ ธรรมทั้งหลายที่ถึงความเจริญ

เป็นทั้งเสกขธรรม เป็นทั้งอเสกขธรรม ความที่ธรรมบางประเภท ในบรรดา

เสกขธรรมทั้งหลายที่ถึงความเจริญแล้ว เป็นอเสกขธรรมก็ถูกต้อง เพราะ

ฉะนั้น ธรรมคืออรหัตมรรคทั้งหลาย เป็นอเสกขธรรมก็ถูกต้อง เพราะ

อธิบายอย่างนี้ว่า ถึงความเจริญแล้ว และเป็นเสกขธรรม ตามความหมายที่

กล่าวแล้ว ดังนี้หรือ ? ตอบว่า ข้อนั้นหาเป็นเช่นนั้นไม่ เพราะการเรียก

อย่างนั้น (มี) ในธรรมที่คล้ายกัน . เพราะว่า อรหัตผลมีการกระทำที่ไม่แตกต่าง

ออกไปจากอรหัตมรรค เว้นไว้แต่การกระทำหน้าที่ มีปริญญาเป็นต้น (ของ

อรหัตมรรค) และความเป็นวิบากของ (อรหัตผล) เพราะฉะนั้น เสกขธรรม

เหล่านั้นแหละ อาจกล่าวได้ว่า ถึงความเป็นอรหัตผล และวิปากสุข (ความ

สุขที่เกิดแต่ผล) เป็นสุขประณีตกว่ากุศลสุข (สุขที่เกิดแต่กุศล) เพราะสงบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 384

กว่ากัน. เพราะฉะนั้น ธรรมที่ถึงความเจริญนั่นแหละยังมีอยู่ ฉะนั้นจึงเรียกว่า

อเสกขธรรม.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศอานุภาพของพระขีณาสพ

ด้วยการถึงพร้อมด้วยธรรมเหล่านั้น โดยทรงจำแนกอเสกขธรรมเหล่านั้น

ออกเป็น ๓ อย่าง ตามอำนาจของขันธ์ไว้ในที่นี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า อเสกฺเขน

สีลกฺขนฺเธน ดังนี้.

เนื้อความของสีลศัพท์ ในคำว่า สีลกฺขนฺเธน นั้น ข้าพเจ้าได้กล่าว

แล้วในหนหลัง. ส่วนขันธศัพท์ มีประโยคที่เห็นได้ (ใช้ได้) ในอรรถทั้งหลาย

เป็นอันมาก คือในกอง ในบัญญัติ ในความงอกงาม ในคุณธรรม. จริงอย่างนั้น

ขันธศัพท์มาในกอง ในประโยคมีอาทิว่า อาโป น้ำที่นับไม่ถ้วน คำนวณ

ไม่ได้ ย่อมถึงการนับว่า เป็นกอง (ห้วงน้ำ) ใหญ่ทีเดียว. มีมาในบัญญัติ ใน

ประโยคมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ ที่กำลัง

ถูกกระแสน้ำคงคาพัดมา. มาในความงอกงาม ดังในประโยคมีอาทิว่า จิต

มโน มานัส หทัย ปัณฑระ มนะ มนายตนะ วิญญาณ วิญญาณขันธ์.

มาในคุณธรรม ดังในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ ขันธ์ทั้ง ๓

ไม่ได้สงเคราะห์เข้าด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ เลย ดูก่อนวิสาขะผู้มีอายุ แต่ว่า

อริยมรรคมีองค์ ๘ สงเคราะห์เข้าด้วยขันธ์ทั้ง ๓ อย่างแล. แม้ในพระสูตรนี้

ขันธศัพท์พึงเห็นว่า (มาแล้ว) ในคุณธรรมอย่างเดียว. เพราะฉะนั้น จึงมี

อธิบายว่า ด้วยคุณธรรมกล่าวคือศีลที่เป็นอเสกขะ.

บทว่า สมนฺนาคโต ความว่า ประกอบพร้อมแล้ว คือเป็นผู้

พรั่งพร้อมแล้ว. ชื่อว่า สมาธิ เพราะเป็นเหตุตั้งมั่น หรือเพราะตั้งมั่นเอง

หรือความตั้งมั่น แห่งจิตนั่นเอง. ชื่อว่า ปัญญา เพราะรู้ คือแทงตลอดตาม

เป็นจริง โดยประการทั้งหลาย. ขันธ์คือศีลนั่นเอง ชื่อว่า ศีลขันธ์ แม้ในสมาธิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 385

และปัญญาที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ

สัมมาอาชีวะ อันเป็นผลเลิศ ชื่อว่า สีลขันธ์ที่เป็นอเสกขะ โดยสภาพนั่นเอง

ในบรรดาขันธ์เหล่านั้น. สัมมาสมาธิก็เช่นกัน (คือเป็นผลอันเลิศ) ชื่อว่า

สมาธิขันธ์ที่เป็นอเสกขะ. ส่วนสัมมาวายามะ และสัมมาสติ ถึงการสงเคราะห์

เข้าในสมาธิขันธ์ เพราะเป็นอุปการะแก่สมาธิขันธ์นั้น. สัมมาทิฏฐิก็เช่นนั้น

(คือเป็นผลเลิศ) ชื่อว่า ปัญญาขันธ์ที่เป็นอเสกขะ. สัมมาสังกัปปะ ถึงการ

สงเคราะห์เข้าในปัญญาขันธ์ เพราะเป็นอุปการะแก่ปัญญาขันธ์ ด้วยประการ

ดังพรรณนามานี้ ในข้อนี้พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมคือ

อรหัตผลทั้ง ๘ สงเคราะห์เข้ากับขันธ์ทั้ง ๓.

บทว่า ยสฺส เอเต สุภาวิตา มีการเชื่อมความว่า พระอรหันต์

รูปใด อบรมตามขันธ์ที่เป็นอเสขะ มีศีลเป็นต้นเหล่านี้ดีแล้ว คือเจริญดีแล้ว

พระอรหันต์นั้น ย่อมรุ่งโรจน์เหมือนดวงอาทิตย์. บางท่านสวดว่า ยสฺส เจเต

ดังนี้ก็มี. ศัพท์ของบทว่า เจเต นั้น เป็นเพียงนิบาต.

ในวรรคนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวัฏฏะไว้ในสูตรแรก ตรัสวิวัฏฎะ

ไว้ในสูตรสุดท้าย ส่วนในสูตรนอกนี้ ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ ดัง

พรรณนามานี้.

จบอรรถกถามารเธยยสูตรที่ ๑๐

จบวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อกุศลมูลสูตร ๒. ธาตุสูตร ๓. ปฐมเวทนาสูตร ๔. ทุติยเวทนา

สูตร ๕. ปฐมเอสนาสูตร ๖. ทุติยเอสนาสูตร ๗. ปฐมอาสวสูตร ๘. ทุติย

อาสวสูตร ๙. ตัณหาสูตร ๑๐. มารเธยยสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 386

อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ ๒

๑. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร

ว่าด้วยเรื่องทำบุญ ๓ ประการ

[๒๓๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ

สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือ ทานมัยบุญกิริยาวัตถุ ๑ ภาวนามัยบุญกิริยาวัตถุ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษา

บุญนั่นแล อันให้ผลเลิศต่อไป ซึ่งมีสุข

เป็นกำไร คือ พึงเจริญทาน ๑ ความ

ประพฤติเสมอ ๑ เมตตาจิต ๑ บัณฑิต

ครั้นเจริญธรรม ๓ ประการอันเป็นเหตุให้

เกิดความสุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลก

อันไม่มีความเบียดเบียน.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพ-

เจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 387

วรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาปุญญกิริยาวัตถุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยใน ปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๑ แห่ง วรรคที่ ๒

ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุญฺกิริยาวตฺถูนิ ความว่า กุศลทั้งหลายที่ให้เกิดผลในภพ

ที่ควรบูชา หรือชำระสันดานของตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าบุญ บุญเหล่านั้น

ด้วย ชื่อว่า เป็นกิริยา เพราะต้องทำด้วยเหตุด้วยปัจจัยทั้งหลายด้วย เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยา. และบุญกิริยานั่นเอง ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ

เพราะความเป็นที่ตั้งแห่งอานิสงส์นั้น ๆ.

บทว่า ทานมย ได้แก่เจตนาเป็นเครื่องบริจาคไทยธรรมของตนแก่

ผู้อื่น ด้วยสามารถแห่งการอนุเคราะห์ หรือด้วยสามารถแห่งการบูชาของผู้ที่

ตัดราก คือ ภพยังไม่ขาด. ชื่อว่าทาน เพราะเป็นเหตุให้เขาให้. ทานนั่นเอง

ชื่อว่า ทานมัย. เจตนาที่เป็นไปแล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้วในกาลทั้ง ๓ คือใน

กาลอันเป็นส่วนเบื้องต้น ตั้งแต่การให้ปัจจัย ๔ เหล่านั้นเกิดขึ้น ๑ ในเวลา

บริจาค ๑ ในการโสมนัสจิตระลึกถึงในภายหลัง (จากที่ให้แล้ว ) ๑ ของผู้ให้

สิ่งนั้นๆ ในบรรดาปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น หรือในบรรดาทานวัตถุ ๑๐ อย่าง

มีข้าวเป็นต้น หรือบรรดาอารมณ์ ๖ มีรูปเป็นต้น ชื่อว่าบุญกิริยาวัตถุ ที่

สำเร็จด้วยการให้ทาน.

บทว่า สีลมย ได้แก่ เจตนาที่เป็นไปแล้ว แก่บุคคลผู้สมาทานศีล ๕

ศีล ๘ หรือศีล ๑๐ ด้วยสามารถแห่งการกำหนดให้เป็นนิจศีล และอุโบสถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 388

ศีลเป็นต้น (หรือ) ผู้ที่คิดว่า เราจะบวชเพื่อบำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ แล้วไป

วิหาร บวช ผู้จะยังมโนรถให้ถึงที่สุดระลึกอยู่ว่า เราบวชแล้ว เป็นการดี

แล้วหนอ บำเพ็ญปาฏิโมกข์ให้บริบูรณ์ด้วยศรัทธา พิจารณาปัจจัย ๔ มีจีวร

เป็นต้น ด้วยปัญญาสำรวมจักษุทวารเป็นต้น ในรูปเป็นต้นที่มาสู่คลอง ด้วย

สติ และชำระอาชีวปาริสุทธิศีล ด้วยความเพียร ย่อมตั้งมั่น เพราะฉะนั้น

เจตนานั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล

อนึ่ง เจตนาของภิกษุผู้พิจารณาเห็นแจ้งซึ่ง จักษุ โสตะ ฆานะ

ชิวหา กาย มนะ โดยไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาด้วยวิปัสสนามรรค

ที่กล่าวแล้วในปฏิสัมภิทา ๑ เจตนา ของผู้พิจารณาเห็นแจ้งรูปทั้งหลาย ฯลฯ

ธรรมทั้งหลาย จักขุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณ จักขุสัมผัส ฯลฯ มโนสัมผัส

จักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ มโนสัมผัสสชาเวทนา รูปสัญญา ฯลฯ ธรรมสัญญา

(และ) ชรามรณะ โดยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ๑ ฌาน-

เจตนาที่เป็นไปแล้วในอารมณ์ ๓๘ ประการมีปฐวีกสิณเป็นต้น ๑ เจตนาที่

เป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการสั่งสมและมนสิการเป็นต้น ในบ่อเกิดแห่ง

งาน บ่อเกิดแห่งศิลปะ และฐานะที่ตั้งแห่งวิชา ที่ไม่มีโทษ ๑ อันใด ผู้ยัง

เจตนาทั้งหมดนั้นให้เจริญ ด้วยบุญกิริยานี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า บุญกิริยา-

วัตถุ ที่สำเร็จด้วยภาวนา ตามนัยที่กล่าวแล้วดังนี้แล.

ก็ในบรรดากรรมทั้ง ๓ อย่างนี้ เมื่อกระทำกรรมอย่างหนึ่ง ๆ ด้วย

กาย จำเดิมแต่ส่วนเบื้องต้น ตามสมควร กรรมเป็นกายกรรม. เมื่อเปล่ง

วาจาอันเป็นประโยชน์แก่กรรมนั้น กรรมเป็นวจีกรรม เมื่อไม่ยังองค์ คือ

กายและองค์ คือ วาจาให้หวั่นไหว คิดด้วยใจ (อย่างเดียว) กรรมเป็นมโน

กรรม. อีกอย่างหนึ่ง ในเวลาที่ผู้ให้ข้าวเป็นต้นให้ (ทาน) โดยคิดว่า เราจะ

ให้ข้าวและน้ำเป็นต้นก็ดี โดยระลึกถึงทานบารมีก็ดี บุญกิริยาวัตถุเป็นทาน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 389

มัย. เมื่อให้ทานโดยดำรงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติ บุญกิริยาวัตถุเป็นสีลมัย. เมื่อ

ให้ (ทาน) โดยเริ่มตั้งการพิจารณา (นามรูป) โดยความสิ้นไป โดยความ

เสื่อมไปโดยกรรม บุญกิริยาวัตถุ เป็นภาวนามัย. บุญกิริยาวัตถุ อย่างอื่นอีก

๗ คือ บุญกิริยาวัตถุ ที่สหรคตด้วยความยำเกรง (อ่อนน้อม) ๑ ที่สหรคต

ด้วยการขวนขวาย ๑ การเพิ่มให้ซึ่งส่วนบุญ ๑ การพลอยอนุโมทนา ๑ สำเร็จ

ด้วยการแสดงธรรม ๑ สำเร็จด้วยการฟังธรรม ๑ ความเห็นตรง ๑. ก็แม้

การถึงพระรัตนตรัย ว่าเป็นสรณะ ย่อมสงเคราะห์เข้าด้วยการทำความเห็นให้

ตรงนั่นเอง ก็คำที่ควรกล่าวในเรื่องนี้ จักมีแจ้งข้างหน้า

บรรดาบุญกิริยาวัตถุ ๗ อย่างนั้น บุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยความ

อ่อนน้อม พึงทราบด้วยสามารถแห่งการเห็นภิกษุผู้อาวุโสกว่า แล้วต้อนรับ

รับบาตร และจีวร กราบไหว้ และหลีกทางให้เป็นต้น.

บุญกิริยาวัตถุที่สหรคตด้วยความขวนขวาย พึงทราบด้วยสามารถแห่ง

การทำวัตรปฏิบัติ แก่ภิกษุผู้มีอาวุโสกว่า ด้วยสามารถแห่งการที่เห็นภิกษุเข้า

บ้านเพื่อบิณฑบาต รับบาตร (ของท่าน) แล้ว บรรจุภิกษาแม้ในบ้านให้เรียบ

ร้อย นำเข้าไปถวาย และด้วยสามารถแห่งการรีบนำเอาบาตรมาให้เป็นต้น

โดยที่ได้ยิน (คำสั่ง) ว่าจงไปนำเอาบาตรของภิกษุทั้งหลายมา ดังนี้.

บุญกิริยาวัตถุ คือ การพลอยอนุโมทนา (บุญ) ก็อย่างนั้น พึงทราบ

ด้วยสามารถแห่งการอนุโมทนาส่วนบุญที่ผู้อื่นให้แล้ว หรือบุญที่ผู้อื่นทำแล้ว

ทั้งสิ้นว่า สาธุ (ดีแล้ว). ข้อที่ภิกษุไม่ปรารถนาความช่ำชองในธรรมเพื่อตน

แสดงธรรมแก่ผู้อื่น ด้วยอัธยาศัยที่เต็มไปด้วยความเกื้อกูล นี้ชื่อว่าบุญกิริยา-

วัตถุ สำเร็จด้วยการแสดงธรรม. แต่ว่าการที่ภิกษุรูปหนึ่งตั้งความปรารถนาไว้

ว่า ชนทั้งหลายจักรู้ว่า เราเป็นธรรมกถึกด้วยวิธีอย่างนี้ แล้วอาศัยลาภสักการะ

และการยกย่องแสดงธรรมไม่มีผลมากเลย. การที่คนฟังธรรมด้วยจิตอ่อนโยน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 390

มุ่งแผ่ประโยชน์เกื้อกูล มีโยนิโสมนสิการไปว่า นี้เป็นอุบายให้ได้บำเพ็ญ

ประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น แน่นอน นี้เป็นบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วย

การฟังธรรม. แต่การที่คน ๆ หนึ่ง ฟังธรรมด้วยคิดว่า ชนทั้งหลายจักรู้จัก

เราว่า เป็นผู้มีศรัทธาด้วยวิธีนี้ ไม่มีผลมากเลย. การที่ทิฏฐิดำเนินไปตรง

ชื่อว่าความเห็นตรง (ทิฏฐิชุกรรม) คำว่าทิฏฺิชุคต นี้ เป็นชื่อของสัมมาทัสสนะ

อันเป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า ทานที่ให้แล้วมีผล. เพราะว่าความเห็นตรงนี้

ถึงจะเป็นญาณวิปปยุตในตอนต้น หรือตอนหลัง แต่ในเวลาทำความเห็นให้

ตรงแล้วก็เป็นญาณสัปปยุตนั่นเอง.

แต่อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ทัสนะ คือ ความเห็นด้วยอำนาจแห่ง

การรู้แจ้ง และการรู้ชัด ๑ วิญญาณที่เป็นกุศล ๑ กัมมัสสกตาญาณเป็นต้น ๑

เป็นสัมมาทัสสนะ. บรรดาธรรม ๓ อย่างมีทัสนะเป็นต้นนั้น แม้ในเมื่อ

ญาณยังไม่เกิดขึ้นก็มีการสงเคราะห์ เหตุที่สมควรแก่เหตุเป็นเครื่องอนุสรณ์ถึง

บุญที่ตนได้ทำไว้แล้ว เข้ากับวิญญาณที่เป็นกุศลได้. มีการสงเคราะห์เข้ากับ

กัมมัสสกตาญาณ คือ ความเห็นชอบ ตามคัลลองของกรรมได้. แต่ความเห็น

ตรงนอกนี้ มีการกำหนดธรรมทั้งปวง เป็นลักษณะ. ด้วยว่า เมื่อทำบุญ

อย่างใดอย่างหนึ่ง บุญนั้นก็จะมีผลมาก เพราะเหตุที่ทิฏฐิทั้งหลายตรงนั่นเอง.

แต่ว่า มีการสงเคราะห์ บุญกิริยาวัตถุ ๗ อย่างเหล่านี้เข้ากับบุญกิริยาวัตถุ

๓ อย่างข้างต้นมีทานมัยเป็นต้น . อธิบายว่า บรรดาบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๗ อย่าง

นั้นความอ่อนน้อม (อปจายนมัย) ความขวนขวาย (เวยยาวัจจมัย) สงเคราะห์

เข้าในสีลมัย การเพิ่มให้ซึ่งส่วนบุญ (ปัตติทานมัย) และการพลอยอนุโมทนา

ส่วนบุญ (อนุโมทนามัย) สงเคราะห์เข้าในทานมัย. การแสดงธรรม (ธัมมเท-

สนามัย) และการฟังธรรม (ธัมมัสสวนนัย) สงเคราะห์เข้าในภาวนามัย.

(ส่วน) ความเห็นตรง (ทิฏฐิชุกรรม) สงเคราะห์เข้าในบุญกิริยาวัตถุทั้ง ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 391

อย่าง. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุญกิริยาวัตถุเหล่านั้น มี ๓ อย่าง ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือบุญกิริยาวัตถุสำเร็จ

ด้วยทาน ฯลฯ บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยภาวนา ดังนี้.

ก็ในอธิการนี้ บุญกิริยาวัตถุทั้ง ๓ อย่าง มีการเป็นไปด้วยอำนาจ

แห่งกุศลเจตนา ที่เป็นกามาวจร ๘ ดวง. อุปมาเสมือนหนึ่งว่า เมื่อบุคคล

แสดงธรรมที่คล่องแคล่วก็ไม่คำนึงถึงอนุสนธิเลย ธรรมบางหมวด ก็ดำเนิน

ไปได้ฉันใด เมื่อพระโยคาวจรประกอบเนือง ๆ ซึ่งสมถภาวนา และวิปัสสนา-

ภาวนาที่ช่ำชอง มนสิการด้วยจิตที่เป็นญาณวิปยุต ก็เป็นไปได้ในระหว่าง ๆ

(แต่) ทั้งหมดนั้น เป็นบุญกิริยาวัตถุที่สำเร็จด้วยเจตนาอย่างเดียว ด้วย

สามารถแห่งกุศลเจตนาที่เป็นมหัคคตะ หาเป็นบุญกิริยาวัตถุนอกนี้ไม่ (ทานมัย

สีลมัย). เนื้อความแห่งพระคาถา ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้วในหนหลังทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปุญญกิริยาวัตถุสูตรที่ ๑

๒. จักขุสูตร

ว่าด้วยจักษุ ๓ อย่าง

[๒๓๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ? คือ

มังสจักษุ ๑ ทิพยจักษุ ๑ ปัญญาจักษุ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ๓ อย่าง

นี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 392

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้สูงสุดกว่า

บุรุษได้ตรัสจักษุ ๓ อย่างนี้ คือ มังสจักษุ ๑

ทิพยจักษุ ๑ ปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม ๑

ความบังเกิดขึ้นแห่งมังสจักษุเป็นทางแห่ง

ทิพยจักษุ เมื่อใดญาณบังเกิดขึ้นแล้ว เมื่อ

นั้น บุคคลย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงเพราะ

การได้เฉพาะซึ่งปัญญาจักษุอันยอดเยี่ยม.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบจักขุสูตรที่ ๒

อรรถกถาจักขุสูตร

ในจักขุสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จกฺขูนิ ความว่า ชื่อว่าจักษุ เพราะบอก. อธิบายว่าเป็นไป

เหมือนจะบอกทางที่ราบเรียบ และไม่ราบเรียบ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า จักษุ

เพราะอรรถว่า ชอบใจ. ถามว่า ที่ชื่อว่า ชอบนี้ คืออย่างไร ? ตอบว่า

ชอบใจ. จริงอย่างที่คนทั้งหลายกล่าวว่า (ผึ้ง) ชอบน้ำหวาน (คน) ชอบ-

กับข้าว. อีกอย่างหนึ่ง อายนะเหล่านั้น เมื่อเสวยรสแห่งอารมณ์ย่อมเป็นเสมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 393

ชอบใจอยู่ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าชอบใจ. แต่จักษุเหล่านั้น

โดยสังเขปมี ๒ อย่าง คือ ญาณจักษุ และมังสจักษุ. บรรดาจักษุทั้ง ๒ อย่างนั้น

มังสจักษุ ได้กล่าวไว้ในหนหลังแล้วทั้งนั้น (แต่) ในพระสูตรนี้ ญาณจักษุ

ตรัสแยกไว้เป็น ๒ อย่าง คือ ทิพยจักษุ และปัญญาจักษุ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพจกฺขุ ความว่า จักษุ ชื่อว่า ทิพย์

เพราะเป็นเหมือนทิพย์ อธิบายว่า จักษุของเทวดาทั้งหลาย ที่เกิดแต่สุจริตกรรม

ไม่ถูกน้ำดี เสมหะ และเลือดเป็นต้นปิดบัง เป็นจักษุที่มีประสาทเป็นทิพย์

สามารถรับอารมณ์แม้ไกลได้ เพราะพ้นจากอุปกิเลส. แม้ญาณจักษุนี้ที่เกิดด้วย

พลังแห่งการเจริญวิริยะ ก็เช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นทิพย์

เพราะเป็นเหมือนทิพย์ ญาณจักษุชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะได้มาด้วยสามารถแห่ง

ทิพวิหารธรรม เพราะอาศัยทิพวิหารธรรมของตน เพราะรุ่งโรจน์มากด้วย

การกำหนดอาโลกกสิณ และแม้เพราะมีการกระทำไปได้กว้างขวาง โดยการ

เห็นรูปที่อยู่ในที่นอกกำแพงเป็นต้น ทิพยจักษุทั้งหมดนั้น พึงทราบตามแนว-

แห่งสัททศาสตร์ อายตนะ ชื่อว่า จักษุ เพราะอรรถว่าเป็นเหมือนจักษุ

โดยอรรถว่าเห็น คือ โดยการทำกิจคือการเห็นดังนี้บ้าง. จักษุนั้นด้วย เป็น

ทิพย์ด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทิพยจักษุ.

ธรรมชาติ ชื่อว่า ปัญญา เพราะรู้ชัด. รู้ชัดอะไร ? รู้ชัดอริยสัจ ๔

โดยนัยมีอาทิว่า นี้ทุกข์. สมจริงตามที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า

ดูก่อนอาวุโส ธรรมชาติที่เรียกว่า ปัญญา เพราะรู้ทั่วแล. รู้ทั่วอะไร ? รู้ทั่วว่า

นี้ทุกข์ ดังนี้ เป็นต้น. ส่วนในอรรถกถาท่านกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า ปัญญา

ด้วยสามารถแห่งการบัญญัติ. บัญญัติว่าอย่างไร ? บัญญัติว่า อนิจจัง ...

ทุกขัง...อนัตตา ก็แลปัญญานั้น โดยลักษณะเป็นต้น มีการแทงตลอด

ความจริงเป็นลักษณะ หรือมีการแทงตลอดโดยไม่พลาดพลั้งเป็นลักษณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 394

เหมือนการแทงทะลุของลูกศรที่นายขะมังธนูผู้ฉลาดยิงออกไป มีการส่องให้

เห็นอารมณ์เป็นกิจ เหมือนดวงประทีป มีการไม่หลงเป็นเครื่องปรากฏ เหมือน

มัคคุเทสก์ชั้นดี บอกทางแก่ผู้ไปป่า แต่โดยพิเศษแล้ว ในที่นี้ ทรงประสงค์

เอาปัญญา กล่าวคืออาสวักขยญาณว่า ชื่อว่า ปัญญาจักษุ เพราะหมายความว่า

เห็นสัจจะทั้ง ๔ ซึ่งพระองค์ตรัสหมายเอาว่า จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้

เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว

ดังนี้.

อนึ่ง บรรดาจักษุเหล่านั้น มังสจักษุ เป็นของเล็ก (ปริตตัง)

ทิพยจักษุ เป็นของใหญ่ (มหัคคตะ) นอกนี้ (ปัญญาจักษุ) หาประมาณมิได้

(อัปปมาณัง) มังสจักษุ เป็นรูป สองอย่างนอกนี้เป็นอรูป. ทั้งมังสจักษุ และ

ทิพยจักษุ เป็นโลกิยะยังมีอาสวะ และมีรูปเป็นอารมณ์ นอกนี้ (ปัญญาจักษุ)

เป็นโลกุตระ ไม่มีอาสวะ มีสัจจะทั้ง ๔ เป็นอารมณ์ มังสจักษุเป็นอัพยากฤต

ทิพยจักษุเป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ปัญญาจักษุก็เหมือนกัน (เป็นกุศลก็มี

เป็นอัพยากฤตก็มี) มังสจักษุ เป็นกามาวจร ทิพยจักษุ เป็นรูปาวจร นอกนี้

(ปัญญาจักษุ) เป็นโลกุตระ พึงทราบการจำแนกโดยนัยมีอาทิดังพรรณนา-

มานี้.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า อนุตฺตร

ตรัสหมายถึงปัญญาจักษุ. ด้วยว่าปัญญาจักษุนั้น ชื่อว่า อนุตฺตร เพราะเป็น

อาสวักขยญาณ. บทว่า อกฺขาสิ ปุริสุตฺตโม ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้สูงสุดคือเลิศกว่าคนทั้งหลาย ทรงแสดงไว้. ความเป็นไปแห่งมังสจักษุชื่อว่า

อุปปาทะ. อุบายคือเหตุแห่งทิพยจักษุ ชื่อว่ามรรค อธิบายว่า ทิพยจักษุ

เกิดขึ้นแก่ผู้มีตาดี ตามปกติเท่านั้น เพราะมีการเจริญอาโลกกสิณ แล้วเกิด

ทิพยจักษุญาณขึ้น และอาโลกกสิณนั้นไม่มีในมณฑลแห่งกสิณ โดยเว้นจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 395

อุคคหนิมิต ดังนี้. บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า าณ ได้แก่

อาสวักขยญาณ. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ปญฺาจกฺขุ อนุตฺตร

ปัญญาจักษุ เป็นจักษุยอดเยี่ยม. บทว่า ยสฺส จกฺขุสฺส ปฏิลาภา ความว่า

บุคคลย่อมพ้น คือหลุดพ้นจากวัฏฏะทั้งปวงได้ ด้วยภาวนา เพราะปัญญาจักษุ

ที่ประเสริฐใดเกิดขึ้น.

จบอรรถกถาจักขุสูตรที่ ๒

๓. อินทริยสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๓ ประการ

[๒๔๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็นไฉน ?

คือ อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ปฐมญาณ (อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์)

ยอมเกิดขึ้นแก่พระเสกขะผู้ยังต้องศึกษาอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 396

ผู้ปฏิบัติตามทางอันตรง ในเพราะความ

สินกิเลส พระอรหัต (อัญญินทรีย์) ย่อม

เกิดขึ้นในลำดับแห่งญาณนั้น ญาณ (คือ

ปัจจเวกขณะ) ย่อมเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ

(อัญญาตาอินทรีย์) ผู้พ้นวิเศษแล้ว ผู้คง

ที่ ต่อจากพระอรหัตนั้นว่า วิมุตติของเรา

ไม่กำเริบเพราะความสิ้นไปแต่งกวสังโยชน์

ถ้าว่า บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ผู้ระงับ

แล้ว ยินดีแล้วในสันติบทไซร้ บุคคลนั้น

ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ย่อมทรงไว้

ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบอินทริยสูตรที่ ๓

อรรถกถาอินทริยสูตร

ในอินทริยสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อินฺทฺริยานิ ความว่า ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะอรรถว่าเป็น

ใหญ่ยิ่ง อธิบายว่า ธรรมชาติเหล่าใด เป็นประหนึ่งว่าเป็นใหญ่ในสหชาตธรรม

ทั้งหลาย อันสหชาตธรรมเหล่านั้นจะต้องคล้อยตาม ธรรมชาติเหล่านั้นชื่อว่า

อินทรีย์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะเป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 397

ผู้เป็นใหญ่ เป็นธรรมิศร และประกอบด้วยความเป็นใหญ่แห่งจิตอันยอด-

เยี่ยม ทรงเห็นแล้ว คือทรงบรรลุแล้วก่อนกว่าทุกคน และเพราะทรงเห็นแล้ว

คือ ทรงแสดงแล้วแก่ชนเหล่าอื่น ก่อนกว่าทุกคน และเพราะทรงเห็นแล้ว

ด้วยอารัมมณภาวนา และเสวนา. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะเป็น

เครื่องหมายแห่งบุญกรรมที่เป็นใหญ่ คือเป็นอุปนิสัยแห่งการบรรลุมรรค

ดังนี้บ้าง.

บทว่า อนญฺาตญฺสฺสามีตินฺทฺริย ได้แก่ อินทรีย์ที่เกิดขึ้น

ในตอนต้นนี้ ของผู้ปฏิบัติด้วยคิดว่า เราจักบรรลุอมตบทหรือสัจจธรรมทั้ง ๔

ที่ยังไม่เคยรู้. คือไม่เคยบรรลุ ในสงสารที่มีที่สุด อันบุคคลตามไปไม่รู้แล้ว

นี้เป็นชื่อของปัญญาในโสดาปัตติมรรค. บทว่า อญฺินฺทฺริย ได้แก่เป็นใหญ่

โดยการรู้ทั่ว. ในบทว่า อญฺินฺทฺริย นี้ มีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ อินทรีย์ ชื่อว่า

อญฺา เพราะรู้ทั่ว คือรู้ไม่เกินขอบเขตธรรมที่ได้เห็นแล้ว ด้วยปฐมมรรค-

ญาณนั่นแหละ อุปมาเหมือนปัญญาในปฐมมรรค ย่อมเป็นไปด้วยสามารถ

แห่งการบรรลุ ด้วยปริญญากิจเป็นต้น ในทุกข์เป็นต้น ฉันใด แม้ปัญญานี้

ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น อัญญานั้นด้วย ชื่อว่าเป็นอินทรีย์

ตามความหมายดังที่กล่าวมาแล้วด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัินทรีย์.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอัญญินทรีย์ เพราะเป็นอินทรีย์ของตระอริยบุคคลผู้ชื่อว่า

อัญญะ เพราะอรรถว่ารู้ทั่วถึง. คำว่า อญฺินฺทริย นี้ เป็นชื่อของญาณ

ในที่ ๖ สถานเริ่มต้นตั้งแต่โสดาปัตติผลไป. บทว่า อญฺาตาวินฺทฺริย ได้แก่

อินทรีย์ของพระอริยบุคคลผู้รู้ทั่วถึงแล้ว เพราะเกิดขึ้นแต่ท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว

คือพระขีณาสพ ผู้มีกิจด้วยญาณสำเร็จแล้ว ในสัจจะทั้ง ๔ และเป็นแดนเกิด

แห่งอินทรีย์ ๘ (มรรค ๔ ผล ๔). ก็ในบรรดาอินทรีย์ ๘ อย่างนี้ ข้อแรก

และข้อสุดท้าย พึงทราบว่า ตั้งอยู่ในฐานะอันเดียวด้วยโสดาปัตติมรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 398

และผลที่ ๔ นอกนี้ พึงทราบว่าตั้งอยู่ในฐานะ ๖ อย่าง ด้วยสามารถแห่ง

มรรคและผล นอกจากนี้ (โสดาปัตติผล จนถึงอรหัตมรรค).

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า สิกฺขมานสฺส

ความว่า ศึกษาอยู่ คือบำเพ็ญอยู่ ซึ่งอธิสีลสิกขาเป็นต้น. บทว่า อุชุมคฺคา-

นุสาริโน ความว่า อริยมรรคเรียกว่า ทางตรง. ผู้ชื่อว่าตามระลึกถึง

ทางตรง เพราะระลึกถึงทางตรงนั้นเนือง ๆ เหตุที่เว้นที่สุดสองอย่าง อธิบายว่า

ยังมรรคให้เกิดขึ้นตามลำดับ. บทว่า ขยสฺมึ ความว่า ญาณในมรรคอันเลิศ

(อรหัตมรรค) กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไป เพราะกิเลสสิ้นไปโดยไม่เหลือ

เกิดขึ้นก่อน คือแรกทีเดียว. บทว่า ตโต อญฺา อนนฺตรา ความว่า

ต่อจากมัคคญาณนั้นไป อรหัตผลก็เกิดขึ้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุชุมคฺคา-

นุสาริโน ความว่า สำหรับ พระโยคาวจรผู้ระลึกถึงเนือง ๆ คือติดตาม ได้แก่

ปฏิบัติมรรคชั้นต้นที่เป็นไปแล้ว ด้วยสามารถแห่งการเว้น ความหดหู่ ความ

ฟุ้งซ่าน ความชะงักงัน และความกระตือรือร้นเป็นต้น แล้วเจริญสมถะและ

วิปัสสนา ทำให้เป็นยุคนัทธธรรม (ธรรมคู่แฝด) ในลำดับแห่งโคตรภูญาณ

อนัญญตัญญัสสามีตินทรีย์ คือญาณที่ ๑ จะบังเกิดขึ้นในโสดาปัตติมรรค.

ที่ชื่อว่าเป็นที่สิ้นไป เพราะกิเลสทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน อันท่านเห็นแล้ว

สิ้นไป. บทว่า ตโต อญฺา อนนฺตรา ความว่า ต่อจากปฐมญานนั้น

คือตั้งแต่ระยะเวลาติดต่อกัน ไป จนถึงอัญญาคือมรรคเบื้องสูง (อรหัตมรรค)

อัญญินทรีย์ย่อมเกิดขึ้น. บทว่า ตโต อญฺา วิมุตฺตสฺส ความว่า หลังจาก

อัญญา คืออัญญินทรีย์นั้น คือต่อจากอรหัตมัคคญาณ ปัจจเวกขณญาณย่อม

เกิดขึ้น แก่พระโยคาวจรผู้หลุดพ้นแล้วด้วยอรหัตผล คือ อัญญาตาวินทรีย์

โดยปัญญาวิมุตติ. บทว่า าณ เว โหติ ตาทิโน ความว่า ในเวลา

ต่อจากการบรรลุอรหัตผล ปัจจเวกขณญาณจะเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ ผู้ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 399

ลักษณะของผู้คงที่ ในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า อกุปฺปา เม วิมุตฺติ (วิมุตติของเราไม่กำเริบ) ดังนี้ไว้ (เพื่อจะ

แก้ข้อสงสัย) ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเหตุแห่ง

การที่ผู้หลุดพ้นแล้วไม่กำเริบว่า ภวสโยชนกฺขยา เพราะสิ้นไปแห่งภพและ

สังโยชน์

บัดนี้ เมื่อจะทรงชมเชยพระขีณาสพเช่นนั้น จึงตรัสพระคาถาที่ ๓

ไว้ว่า ส เว อินฺทฺริยสมฺปนฺโน พระขีณาสพนั้นแหละเป็นผู้ถึงพร้อมด้วย

อินทรีย์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อินฺทฺริยสมฺปนฺโน ความว่า ผู้ประกอบ

ด้วยโลกุตรอินทรีย์ ๓ อย่าง ตามที่กล่าวมาแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง เป็นผู้ประกอบ

พร้อมแล้ว คือบริบูรณ์แล้ว ด้วยอินทรีย์ทั้งหลายมีศรัทธาเป็นต้น ที่บริสุทธิ์

บ้าง ที่ได้จากความสงบระงับบ้าง. ต่อจากนั้นไป ประกอบพร้อมแล้ว ด้วย

อินทรีย์ทั้งหลาย มีจักษุเป็นต้น ที่สงบระงับดีแล้ว ที่ปราศจากการส้องเสพ

ที่ผิดแล้ว. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า สนฺโต สงบระงับ

แล้ว อธิบายว่า สงบระงับแล้ว ด้วยสงบความกระวนกระวาย อันเกิดจาก

กิเลสทั้งมวล. บทว่า สนฺติปเท รโต ความว่า ยินดียิ่งแล้ว คือน้อมใจ

ไปแล้ว ในพระนิพพาน. อนึ่ง ในพระคาถานี้ ด้วยบทว่า อินฺทฺริยสมฺปนฺโน

นี้ทรงแสดงความที่พระขีณาสพนั้น เป็นผู้มีมรรคอันเจริญแล้ว และความเป็น

ผู้มีขันธ์อันกำหนดรู้แล้ว ด้วยบทว่า สนฺโต นี้ ทรงแสดงถึงความที่พระ-

ขีณาสพนั้น เป็นผู้ละกิเลสได้แล้ว. แต่ด้วยบทว่า สนฺติปเท รโต ที่ ทรง

แสดงความที่พระขีณาสพนั้นเป็นผู้กระทำให้แจ้ง ซึ่งนิโรธแล้ว. คำที่เหลือมี

นัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอินทริยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 400

๔. อัทธาสูตร

ว่าด้วยกาล ๓ อย่าง

[๒๔๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-

สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัทธา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ?

คือ อดีตอัทธา ๑ อนาคตอัทธา ปัจจุบันอัทธา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อัทธา ๓ อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

สัตว์ทั้งหลายผู้มีความสำคัญในสิ่งที่

พูดกัน ตั้งอยู่เฉพาะแล้วในสิ่งที่พูดกัน

ย่อมเข้าถึงข่าย คือ ความฉิบหาย และข่าย

คือ กิเลสเครื่องประกอบแห่งมัจจุ เพราะ

ไม่กำหนดรู้เรื่องที่พูดกัน พระขีณาสพ

ย่อมไม่สำคัญผู้บงการ เพราะกำหนดรู้

เรื่องที่พูดกัน เพราะท่านถูกต้องวิโมกข์

ด้วยใจ ท่านถูกต้องสันติบทอันยอดเยี่ยม

พระขีณาสพนั้นแล ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วย

เรื่องที่พูดกัน ผู้ระงับแล้ว ยินดีแล้วใน

สันติบท พิจารณาและมีปกติเสพ ตั้งอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 401

ในธรรม ผู้ถึงฝั่งแห่งเวท คือ สัจจะ ๔

ย่อมไม่เข้าถึงการนับว่าเป็นมนุษย์และ

เทวดา.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบอัทธาสูตรที่ ๔

อรรถกถาอัทธาสูตร

ในอัทธาสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

กาล (เวลา) ชื่อว่า อัทธา. ในคำว่า อตีโต อทฺธา เป็นต้น

มีบรรยายไว้ ๒ อย่าง คือบรรยายตามพระสูตร ๑ บรรยายตามพระอภิธรรม ๑.

ในบรรยาย ๒ อย่างนั้น โดยการบรรยายตามพระสูตร เวลาก่อนแต่ปฏิสนธิกาล

ชื่อว่า อดีตอัทธา. เวลาหลังจากจุติ ชื่อว่า อนาคตอัทธา. เวลาในระหว่าง

แห่งปฏิสนธิกับจุติ รวมทั้งจุติและปฏิสนธิ ชื่อว่า ปัจจุบันนัทธา. โดยการ

บรรยายตามพระอภิธรรม เวลาที่ดับไปแล้วตามธรรมดา เพราะผ่านขณะทั้ง ๓

เหล่านี้ คือ อุปปาทักขณะ ฐิติขณะ ภังคขณะไป ชื่อว่า อตีตอัทธา.

เวลาที่ยังไม่ถึงขณะแม้ทั้ง ๓ ชื่อว่า อนาคตอัทธา. เวลาที่พรั่งพร้อมไปด้วย

ขณะทั้ง ๓ ชื่อว่า ปัจจุบันนัทธา.

อีกนัยหนึ่ง ก็การจำแนกกาล มีอดีตเป็นต้นนี้ พึงทราบว่า มี ๔ อย่าง

ด้วยสามารถแห่งอัทธา ๑ สันตติ ๑ สมัย ๑ ขณะ ๑. บรรดา ๔ อย่าง

นั้น การจำแนกโดยอัทธาได้กล่าวมาแล้ว ด้วยอำนาจแห่งสันตติ รูป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 402

ทั้งหลายนี้เหมือนกัน มีฤดูเดียวกันเป็นสมุฏฐาน และมีอาหารอย่างเดียวกัน

เป็นสมุฏฐาน แม้กำลังเป็นไป ด้วยสามารถแห่งเบื้องต้นและเบื้องปลายเป็น

ปัจจุบัน รูปทั้งหลายที่มีฤดูและอาหาร ไม่เหมือนกัน เป็นสมุฏฐาน ก่อนแต่นั้น

เป็นอดีต หลังจากนั้น เป็นอนาคต. รูปทั้งหลายที่เกิดจากจิต อันมีวิถีเดียวกัน

และมีสมาบัติเดียวกันเป็นสมุฏฐาน เป็นปัจจุบัน. ก่อนแต่นั้นเป็นอดีต หลัง

จากนั้นเป็นอนาคต สำหรับรูปทั้งหลายที่มีกรรมเป็นสมุฏฐาน เฉพาะอย่าง

ด้วยสามารถแห่งสันตติ. แต่พึงทราบว่า รูปเฉพาะอย่างนั้น เป็นอดีตเป็นต้น

ด้วยสามารถเป็นผู้อุปถัมภ์ รูปเหล่านั้นนั่นแหละ ที่มีฤดู อาหาร และจิต

เป็นสมุฏฐาน (แต่) ด้วยอำนาจแห่งสมัย รูปทั้งหลายที่กำลังเป็นไปอยู่ ด้วย

สามารถแห่งการสืบต่อ ในสมัย (ต่าง ๆ กัน) เช่น ครู่เดียว เช้าเดียว เย็นเดียว

คืนเดียว วันเดียวเป็นต้น ชื่อว่าเป็นปัจจุบัน ในสมัยนั้น ๆ. ก่อนหน้านั้น

เป็นอดีต หลังจากนั้นเป็นอนาคต นี้เป็นนัยในรูปธรรมก่อน.

ส่วนในอรูปธรรมทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งขณะ ธรรมทั้งหลายที่นับ

เนื่องในขณะทั้ง ๓ มีอุปปาทักขณะเป็นต้น เป็นปัจจุบัน ก่อนแต่นั้นเป็นอดีต

หลังจากนั้นเป็นอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่ทำหน้าที่เป็นเหตุ เป็น

ปัจจัยผ่านไปแล้วเป็นอดีต ธรรมทั้งหลายที่ทำหน้าที่เป็นเหตุเสร็จแล้ว แต่ทำ

หน้าที่เป็นปัจจัยยังไม่สำเร็จ เป็นปัจจุบัน ธรรมทั้งหลายที่ยังไม่ถึงพร้อมด้วยกิจ

(ยังไม่ทำหน้าที่) ทั้ง ๒ อย่าง เป็นอนาคต. อีกอย่างหนึ่ง ในขณะแห่งกิจของตน

ธรรมทั้งหลายเป็นปัจจุบัน ก่อนแต่นั้นเป็นอดีต หลังจากนั้นเป็นอนาคต บรรดา

สภาวะทั้ง ๔ มีอัทธาเป็นต้น การกล่าวถึงขณะเท่านั้น เป็นการบรรยายโดยตรง

ที่เหลือเป็นการบรรยายโดยอ้อม ด้วยว่า ขึ้นชื่อว่าความต่างกันแห่งกาลมีอดีต

เป็นต้นนี้ มีสำหรับธรรมทั้งหลาย ไม่มีสำหรับกาล แต่ว่ากาล โดยปรมัตถ์

ถึงจะไม่มี เพราะหมายเอาธรรมที่มีอดีตเป็นต้นเป็นประเภท แต่ในที่นี้ก็

พึงทราบว่า พระองค์ตรัสไว้ โดยคำมีอาทิว่า อตีโต โดยโวหารนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 403

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อกฺเขยฺยสญฺิโน นี้ดังต่อไปนี้ คำพูด

ชื่อว่า อักเขยยะ เพราะอันเขาพูด คือกล่าว ได้แก่ให้ผู้อื่นรู้ (บัญญัติ) คือ

กถาวัตถุ โดยเนื้อความได้แก่เบญจขันธ์มีรูปเป็นต้น . สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

บุคคลพึงกล่าวกถา ปรารภอดีตอัทธาบ้าง กล่าวปรารภอนาคตอัทธาบ้าง

กล่าวปรารภปัจจุบันอัทธาบ้าง ดังนี้. อนึ่ง ในข้อนี้พึงแสดงเนื้อความแม้ด้วย

สูตรที่กล่าวถึงคลองแห่งนิรุกติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย รูปใดที่เป็นอดีต ได้ดับไปแล้ว ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว มีการกล่าว

ถึงรูปนั้นว่าได้มีแล้ว มีการร้องเรียกรูปนั้นว่าได้มีแล้ว มีการบัญญัติรูปนั้นว่า

ได้มีแล้ว ไม่ใช่มีการกล่าวรูปนั้นว่า จักมี ไม่ใช่มีการกล่าวรูปนั้นว่า กำลังมี

ดังนี้.

ผู้มีความสำคัญหมายในเรื่องที่จะต้องกล่าวถึง ด้วยสามารถแห่งความ

สำคัญ หมายในขันธบัญจก กล่าวถึงเรื่องที่จะต้องกล่าวถึงโดยความเป็นกถาวัตถุ

ที่เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า เรา ของเรา เทวดา มนุษย์ หญิง และชาย

ด้วยประการดังกล่าวแล้ว อธิบายว่า เป็นผู้มีความสำคัญในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕

ว่าเป็นสัตว์ เป็นบุคคลเป็นต้น. สัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่แล้ว ในสิ่งที่จะต้องพูดถึง

ด้วยสามารถแห่งการยึดถือ ด้วยตัณหาและทิฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ตั้งอยู่แล้วโดย

อาการ ๘ ด้วยสามารถแห่งราคะเป็นต้น อธิบายว่า ผู้กำหนัดแล้ว เป็นผู้ดำรง

อยู่แล้วด้วยสามารถแห่งราคะ ผู้อันโทสะประทุษร้ายแล้ว เป็นผู้ดำรงอยู่แล้ว

ด้วยสามารถแห่งโทสะ ผู้หลงแล้ว เป็นผู้ดำรงอยู่แล้วด้วยสามารถแห่งโมหะ

ผู้ถูกทิฏฐิจับต้องแล้ว เป็นผู้ดำรงอยู่แล้วด้วยสามารถแห่งทิฏฐิ ผู้มีกิเลสแรงกล้า

เป็นผู้ดำรงอยู่แล้ว ด้วยสามารถแห่งอนุสัย ผู้ที่ถูกกิเลสรัดรึงไว้ เป็นผู้ดำรง

อยู่แล้วด้วยสามารถแห่งมานะ ผู้ที่ยังตกลงใจไม่ได้ เป็นผู้ดำรงอยู่แล้วด้วย

สามารถแห่งวิจิกิจฉา ผู้ที่มีความฟุ้งซ่าน เป็นผู้ดำรงอยู่แล้ว ด้วยอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 404

อุทธัจจะดังนี้. บทว่า อกฺเขยฺย อปริญฺาย ความว่า เพราะไม่รู้สิ่งที่จะ

ต้องพูดถึงนั้น ในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ด้วยปริญญาทั้ง ๓ ได้แก่เหตุที่ไม่รู้

สิ่งนั้น. บทว่า โยคมายนฺติ มจฺจุโน ความว่า เข้าถึงเครื่องประกอบ

(ข่าย) ของมรณะ คือ เครื่องผูก (สัตว์) ไว้กับด้วยมรณะนั้น อธิบายว่า

ไม่พรากจากกัน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โยคะ ได้แก่อุบาย ท่านอธิบายไว้ว่า

สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงข่ายคือความพินาศ และข่ายคือกิเลสอันเป็นที่ตั้งแห่ง

มาร และเสนามาร ที่ดักไว้ ขึงไว้ ด้วยอุบายนั้น. สมจริงดังคำที่ตรัสไว้ว่า

เพราะความผัดเพี้ยน ด้วยพญามัจ-

จุราช ผู้มีเสนานา ย่อมไม่มีเสีย ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงวัฏฏะ ด้วยพระพุทธพจน์มีประมาณ-

เท่านี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ. จึงตรัสคำมีอาทิว่า อกฺเขยฺยญฺจ

ปริญฺาย ไว้.

ศัพท์ ในบทคาถาว่า อกฺเขยฺยจ ปริญฺาย นั้น ลงในอรรถว่า

พฺยติเรก (แปลกออกไป). พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังคุณพิเศษ ที่พึงได้ด้วย

การกำหนดรู้สิ่งที่กล่าว คือ ที่กำลังตรัสถึงอยู่นั่นแหละ ให้แจ่มแจ้ง ด้วย

ศัพท์นั้น. ทว่า ปริญฺาย ความว่า เพราะกำหนดรู้ว่าเป็นทุกข์ด้วยมัคค-

ปัญญา ที่ประกอบด้วยวิปัสสนา คือเพราะก้าวล่วงทุกข์นั้นด้วยการละกิเลสที่

เนื่องด้วยทุกข์นั้น หรือเพราะยังกิจแห่งปริญญาแม้ทั้ง ๓ ให้ถึงที่สุด. บทว่า

อกฺขาตาร น มญฺติ ความว่า พระขีณาสพชื่อว่าไม่สำคัญหมาย (ว่ามี)

ผู้บงการ เพราะละความสำคัญหมายได้โดยประการทั้งปวง อธิบายว่า ไม่เชื่อ

อะไร ๆ ที่เป็นสภาวะมีผู้สร้างเป็นต้น (ว่า) เป็นอัตตา. บทว่า ผุฏฺโ วิโมกฺโข

มนสา สนฺติปทมนุตฺตร ความว่า เพราะเหตุที่พระขีณาสพถูกแล้ว คือ ต้อง

แล้ว ได้แก่ถึงธรรม คือพระนิพพาน ที่ได้นามว่า วิโมกข์ เพราะพ้นจากสังขต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 405

ธรรมทุกอย่าง (และ) ได้นามว่า สันติบท เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความสงบระงับ

ความเร่าร้อน อันเกิดแต่กิเลสทั้งมวล ฉะนั้นท่านจึงไม่สำคัญหมายว่ามีผู้บงการ.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสการบรรลุทุกขสัจด้วยปริญ-

ญากิจ และบรรลุสมุทยสัจด้วยปหานกิจแล้ว บัดนี้ จึงตรัสการบรรลุมรรค

ด้วยภาวนากิจ และนิโรธ ด้วยสัจฉิกิริยากิจ ด้วยคำนี้ว่า ผุฏฺโ วิโมกฺโข

มนสา สนฺติปทมนุตฺตร (ท่านถูกต้องวิโมกข์ด้วยใจ ท่านถูกต้องสันติบท

อันเยี่ยม) คำนั้นมีอธิบายว่า อริยมรรคชื่อว่าวิโมกข์ เพราะพ้นจากกิเลสทั้งมวล

ด้วยสามารถแห่งการตัดขาด (สมุจเฉทปหาน) ก็โมกข์นั้น ท่านถูกต้องแล้ว

คือสัมผัสแล้ว ได้แก่เจริญแล้วด้วยมรรคกิจ ด้วยเหตุนั้นเอง พระนิพพาน

ที่เป็นสันติบท อันยอดเยี่ยม เป็นอันท่านถูกต้องแล้ว คือสัมผัสแล้ว ได้แก่

ทำให้แจ้งแล้ว. บทว่า อากงฺเขยฺยสมฺปนฺโน ความว่า ผู้หลุดพ้นดีแล้ว

จากอักเขยยนิมิตนั้น เพราะละวิปัลลาสในโลกที่ถูกวิบัติชนิดต่าง ๆ กำจัดแล้ว

เสียได้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมแล้ว ซึ่งอักเขยยนิมิต คือประกอบแล้วด้วยสมบัติ

ทั้งหลาย ที่เกิดแล้วจากการกำหนดรู้ สิ่งที่จะต้องกล่าวถึง. บทว่า สงฺขาย เสวี

ความว่า เป็นผู้มีปกติพิจารณา คือ ใคร่ครวญ แล้วจึงเสพปัจจัยมีจีวรเป็นต้น

เพราะถึงความไพบูลย์แห่งปัญญา. อนึ่งเป็นผู้มีปกติพิจารณาอารมณ์แม้ทุกอย่าง

ที่มาสู่คลอง ส้องเสพอยู่ ด้วยสามารถแห่งฉฬังคุเบกขา เพราะเป็นผู้มีธรรม

อันนับได้แล้ว. บทว่า ธมฺมฏฺโ ความว่า เป็นผู้ดำรงอยู่แล้ว ในอเสก-

ขธรรม หรือนิพพานธรรมนั่นเอง. บทว่า เวทคู ความว่า ผู้ถึงเวท (จบ

ไตรเพท) เพราะถึงฝั่งแห่งอริยสัจ ๔ ที่จะพึงรู้. ผู้มีคุณอย่างนี้ เป็นพระอรหันต์

ย่อมไม่ชื่อว่าเข้าถึงการนับว่าเป็นมนุษย์ หรือเทวดา เพราะไม่มีภพใหม่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 406

บรรดาภพทั้งหลาย ภพไหนๆ อีกต่อไป คือถึงความเป็นผู้หาบัญญัติไม่ได้เลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบเทศนาลง ด้วยอนุปาทาปรินิพพาน ด้วยประการ

ดังพรรณนามานี้.

จบอรรถกถาอัทธาสูตรที่ ๔

๕. ทุจริตสูตร

ว่าด้วยทุจริต ๓ อย่าง

[๒๔๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุจริต ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ?

คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุจริต

๓ อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลผู้มีปัญญาทราม กระทำกาย-

ทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และกระทำ

อกุศลกรรมอย่างอื่นอันประกอบด้วยโทษ

ไม่กระทำกุศลกรรม กระทำอกุศลกรรม

เป็นอันมาก เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงนรก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทุจริตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 407

อรรถกถาทุจริตสูตร

ในทุจริตสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

การประพฤติชั่ว หรือการประพฤติสิ่งเลวร้าย ชื่อว่าทุจริต. การ-

ประพฤติชั่วด้วยกายหรือการประพฤติชั่วที่เป็นไปแล้วทางกาย ชื่อว่ากายทุจริต.

แม้ในบททั้งหลายที่เหลือ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ก็ทุจริตเหล่านี้ ควรจะกล่าวตามบัญญัติบ้าง กล่าวตามกรรมบถบ้าง.

บรรดาทั้งสองอย่างนั้น จะกล่าวตามบัญญัติก่อน การละเมิดสิกขาบทที่ทรง

บัญญัติไว้ ทางกายทวาร เป็นกายทุจริต การละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้

แล้ว ทางวจีทวาร เป็นวจีทุจริต การละเมิดสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ทั้ง ๒ ทาง

เป็นมโนทุจริต นี้แล คือการกล่าวตามบัญญัติ. ส่วนเจตนา ๓ มีปาณาติบาต

เป็นต้น ที่เกิดขึ้นทั้งทางกายทวาร ทั้งทางวจีทวาร ชื่อว่าเป็นกายทุจริต.

เจตนาทั้ง ๔ มีมุสาวาทเป็นต้น ก็เช่นนั้น (ที่เกิดในทางกายทวารและวจีทวาร)

ชื่อว่าเป็นวจีทุจริต ธรรมที่ประกอบด้วยเจตนา ๓ อย่าง คือ อภิชฌา พยาบาท

มิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่าเป็นมโนทุจริต นี้แลคือการกล่าวตามกรรมบถ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไปนี้ บาปธรรม ที่ถึงกรรมบถ

นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยความเป็นกายทุจริตเป็นต้น เพราะ

ฉะนั้น เพื่อจะทรงสงเคราะห์เอาบาปธรรมอย่างอื่นนั้นเข้าด้วย พระองค์จึง

ตรัสว่า อญฺจญฺ โทสสณฺหิต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โทสสณฺหิต ได้แก่ ประกอบด้วยกิเลส

มีราคะเป็นต้น. คำที่เหลือ เข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาทุจริตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 408

๖. สุจริตสูตร

ว่าด้วยสุจริต ๓ อย่าง

[๒๔๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุจริต ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็นไฉน ?

คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สุจริต ๓ อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลผู้มีปัญญา ละกายทุจริต วจี-

ทุจริต มโนทุจริต และไม่กระทำอกุศล-

กรรมอย่างอื่น อันประกอบด้วยโทษ กระ

ทำกุศลเป็นอันมาก เมื่อตายไป ย่อมเข้า

ถึงสวรรค์.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบสุจริตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 409

อรรถกถาสุจริตสูตร

ในสุจริตสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

ความประพฤติดี หรือความประพฤติงาม ชื่อว่าสุจริต. ความประพฤติดี

ด้วยกาย หรือความประพฤติดีที่เป็นไปแล้วทางกาย ชื่อว่า กายสุจริต. แม้ใน

บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

ก็แม้ในพระสูตรนี้ มีกล่าวถึง ๒ อย่างเหมือนกัน คือด้วยสามารถ

แห่งบัญญัติ และด้วยสามารถแห่งกรรมบถ. การไม่ละเมิดสิกขาบทที่ทรง

บัญญัติไว้แล้ว ทางกายทวาร ชื่อว่า เป็นกายสุจริต การไม่ละเมิดสิกขาบทที่

ทรงบัญญัติไว้แล้ว ทางวจีทวาร ชื่อว่าเป็น วจีสุจริต การละละเมิดสิกขาบท

ที่ทรงบัญญัติไว้แล้วทั้ง ๒ ทวาร ชื่อว่า เป็นมโนสุจริต เพราะฉะนั้น บรรดา

กถาทั้งสองอย่างนั้น นี้ เป็นบัญญัติกถา ส่วน เจตนาบ้าง วิรัติบ้าง ๓ อย่าง

ที่เกิดขึ้นแล้วแก่บุคคลผู้งดเว้นจากปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่ากายสุจริต. เจตนา

บ้าง วิรัติบ้าง ๔ อย่างที่เกิดขึ้นแต่ผู้งดเว้นไปจากมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่าเป็น

วจีสุจริต. ธรรมที่สัมปยุตด้วยเจตนา ๓ อย่าง คือ อนภิชฌา อัพยาบาท

สัมมาทิฏฐิเป็นมโนสุจริต. นี้แลคือการกล่าวตามกรรมบถ. คำที่เหลือมีนัยดัง

กล่าวแล้ว.

จบอรรถกถาสุจริตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 410

๗. สุจิสูตร

ว่าด้วยความสะอาด ๓ อย่าง

[๒๔๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ

สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพ-

เจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สะอาด ๓ อย่างนี้

๓ อย่างเป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้สะอาดทางกาย ๑ ความเป็นผู้สะอาดทาง

วาจา ๑ ความเป็นผู้สะอาดทางใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สะอาด

๓ อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า

เป็นต้น ได้กล่าวบุคคลผู้สะอาดทางกาย

ผู้สะอาดทางวาจา ผู้สะอาดทางใจ ผู้หา

อาสวะมิได้ ว่าเป็นผู้สะอาด ผู้ถึงพร้อม

ด้วยความเป็นผู้สะอาด ผู้ละกิเลสทั้งปวง

เสียได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพ-

เจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบสุจิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 411

อรรถกถาสุจิสูตร

ในสุจิสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โสเจยิยานิ ได้แก่ความสะอาด. บทว่า กายโยเจยฺย ได้

แก่ กายสุจริต. แม้วจีโสเจยยะ และ มโนโสเจยยะ ก็ได้แก่วจีสุจริตและ

มโนสุจริตนั่นเอง. สมจริงดังคำที่ตรัสไว้มีอาทิว่า บรรดาโสเจยยะ ๓ อย่าง

นั้น กายโสเจยยะ คืออะไร ? คือเจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากปาณาติบาต.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาดังต่อไปนี้ ชื่อว่าความสะอาดทางกาย

เพราะละกายทุจริตทุกอย่างได้แล้ว ด้วยสามารถแห่งการตัดขาด เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า กายสุจิ. บทว่า โสเจยฺยสมฺปนฺน ความว่า เข้าถึงแล้วด้วย

โสเจยยสมบัติที่บริสุทธิดีแล้ว เพราะระงับกิเลสได้แล้ว. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าว

แล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสุจิสูตรที่ ๗

๘. มุนีสูตร

ว่าด้วยผู้รู้ ๓ อย่าง

[๒๔๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-

สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพ-

เจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง

เป็นไฉน ? คือ ความเป็นผู้รู้ทางกาย ๑ ความเป็นผู้รู้ทางวาจา ๑ ความเป็น

ผู้รู้ทางใจ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ ๓ อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 412

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า

เป็นต้น ได้กล่าวบุคคลผู้รู้ทางกาย ผู้รู้

ทางวาจา ผู้รู้ทางใจ ผู้หาอาสวะมิได้ว่า

เป็นมุนี ผู้ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี มี

บาปอันล้างแล้ว.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพ-

เจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมุนีสูตรที่ ๘

อรรถกถามุนีสูตร

ในมุนีสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า โมเนยฺยานิ นี้ บุคคลชื่อว่า มุนิ เพราะรู้ทั้งโลกนี้และ

โลกหน้า และทั้งประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น ได้แก่ พระเสกขะบุคคล ๗ จำพวก

พร้อมด้วยกัลยาณปุถุชน และพระอรหันต์. แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาพระ-

อรหันต์เท่านั้น. ความเป็นแห่งมุนี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โมเนยยะ ได้แก่

กายสมาจาร วจีสมาจาร และมโนสมาจารของพระอรหันต์. อีกอย่างหนึ่ง

ธรรมคือ โมเนยยปฏิปทา ที่ทำให้เป็นมุนี ชื่อว่า โมเนยยะ.

โมเนยยะเหล่านั้น มีความพิสดารดังต่อไปนี้ บรรดาโมเนยยะทั้ง ๓ นั้น

กายโมเนยยะเป็นอย่างไร ? คือการละกายทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า กายโมนยยะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 413

กายสุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า กายโมเนยยะ ญาณในธรรมที่มีกายเป็นอารมณ์

ชื่อว่า กายโมเนยยะ การกำหนดรู้กาย ชื่อว่า กายโมเนยยะ มรรคที่สหรคต

ด้วยการกำหนดรู้กาย ชื่อว่า กายโมเนยยะ การละฉันทราคะในกาย ชื่อว่า

กายโมเนยะ การเข้าจตุตถฌาน มีการดับกายสังขาร ชื่อว่า กายโมเนยยะ.

บรรดาโมเนยยะทั้ง ๓ นั้น วจีโมเนยยะ เป็นอย่างไร คือการละวจีทุจริต

๔ อย่าง ชื่อว่า วจีโมเนยยะ วจีสุจริต ๔ อย่าง ชื่อว่า วจีโมเนยยะ

ญาณในธรรมมีวาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่า วจีโมเนยยะ การกำหนดรู้วาจา ชื่อว่า

วจีโมเนยยะ มรรคที่สหรคตด้วยการกำหนดรู้วาจา ชื่อว่า วจีโมเนยยะ

การละฉันทราคะในวาจา ชื่อว่า วจีโมเนยยะ การเข้าทุติยฌาน มีการดับ

วจีสังขาร ชื่อว่า วจีโมเนยยะ. บรรดาโมเนยยะทั้ง ๓ อย่างนั้นมโนโมเนยยะ

เป็นอย่างไร ? คือการละมโนทุจริต ๓ อย่าง ชื่อว่า มโนโมเนยยะ มโนสุจริต

๓ อย่าง ชื่อว่า มโนโมเนยยะ ญาณในธรรมมีใจเป็นอารมณ์ ชื่อว่า

มโนโมเนยยะ การกำหนดรู้ใจ ชื่อว่า มโนโมเนยยะ มรรคที่สหรคต

ด้วยการกำหนดรู้ใจ ชื่อว่า นโนโมเนยยะ การละฉันทราคะในใจ ชื่อว่า

มโนโมเนยยะ การเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ มีการดับจิตสังขาร ชื่อว่า

มโนโมเนยยะ แล.

บทว่า นินฺหาตปาปก ความว่า ผู้มีมลทินคือบาปอันล้างดีแล้วด้วย

น้ำอันเลิศ คืออัษฎางคิกมรรค.

จบอรรถกถามุนีสูตรที่*

* ม. โมเนยยสูตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 414

๙. ปฐมราคสูตร

ว่าด้วยผู้ถูกมารผูกไว้

[๒๔๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งยัง

ละไม่ได้แล้ว บุคคลผู้นี้เรากล่าวว่า เป็นผู้อันมารผูกไว้แล้ว สวมบ่วงแล้ว

และถูกมารผู้มีบาปพึงกระทำได้ตามความพอใจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ

โทสะ โมหะ บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งละได้แล้ว บุคคลผู้นี้เรากล่าวว่า มารผูกไม่ได้

สวมบ่วงไม่ได้ และมารผู้มีบาปกระทำตามความพอใจไม่ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระอริยเจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า

เป็นต้น ได้กล่าวบุคคลผู้สำรอกราคะ

โทสะ โมหะ และอวิชชาได้แล้ว ผู้มีตน

อันอบรมแล้วผู้ใดผู้หนึ่ง ว่าเป็นผู้ประเสริฐ

ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ผู้ตรัสรู้แล้ว ผู้ล่วงเวร

และภัย ผู้ละกิเลสทั้งปวงเสียได้.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปฐมราคสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 415

อรรถกถาปฐมราคสูตร

ในปฐมราคสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยสฺส กสฺสจิ เป็นคำกล่าวถึงบุคคลที่ไม่ได้กำหนดแน่นอน.

เพราะฉะนั้น อันบุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง จะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม. บทว่า

ราโค อปฺปหีโน ความว่า กิเลส ชื่อว่า ราคะ เพราะอรรถว่า กำหนัด

อันผู้ใดผู้หนึ่งยังละไม่ได้แล้ว ด้วยสามารถแห่งการตัดขาด (สมุจเฉทปหาน)

คือ ไม่ให้ถึงการไม่ให้เกิดขึ้นเป็นธรรมดาด้วยมรรค. แม้ในโทสะและโมหะ

ทั้งหลายก็มีนัยนี้เหมือนกัน . บรรดากิเลสเหล่านั้น ราคะ โทสะ โมหะ

ที่จะให้ไปอบาย จะละได้ด้วยปฐมมรรค กามราคะอย่างหยาบ และโทสะ-

อย่างหยาบ จะละได้ด้วยทุติยมรรค กามราคะและโทสะเหล่นั้นแหละ จะละ

ไม่มีเหลือเลย ได้ด้วยตติยมรรค. ภวราคะ และโมหะที่เหลือ จะได้ด้วย

มรรคที่ ๔. เมื่อละกิเลสเหล่านี้ได้อย่างนี้ กิเลสแม้ทั้งหมด ก็ย่อมละได้

เหมือนกัน เพราะตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับกิเลสเหล่านั้น . ราคะเป็นต้นเหล่านี้

ตามที่พรรณนามานี้ ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นภิกษุ ภิกษุณีก็ตาม อุบาสกก็ตาม

อุบาสิกาก็ตาม ยังละไม่ได้แล้วด้วยมรรค.

บทว่า พนฺโธ มารสฺส ความว่า บุคคลนี้ เราตถาคตเรียกว่า

ถูกมารคือกิเลสผูกไว้แล้ว และเขาถูกกิเลสมารผูกไว้แล้วด้วยบ่วงอันเลิศใด

ก็เป็นอันถูกแม้อภิสังขารมารเป็นต้นผูกไว้แล้ว ด้วยบ่วงอันเลิศนั้นเหมือนกัน.

บทว่า ปฏิมุกฺกสฺส มารปาโส ความว่า กิเลสกล่าวคือบ่วงแห่งมาร

เป็นอันเขาคือบุคคลนี้ ผู้ยังละกิเลสไม่ได้สวมไว้แล้ว เพราะยังละกิเลสไม่ได้

นั้นนั่นเอง อธิบายว่า คล้องไว้แล้ว คือสอดเข้าไปแล้ว ในจิตสันดานของตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 416

ได้แก่ถูกมารนั้นบังคับให้ผูกเอง. อีกอย่างหนึ่ง บ่วงมาร พึงเป็นของที่เขา

สวมแล้ว. พึงทราบอธิบาย ในธรรมฝ่ายขาวต่อไปนี้ บทว่า โอมุกฺกสฺส

ความว่า บ่วงมารนั้น พึงเป็นของอันเขาเปลื้อง คือแก้แล้ว ได้แก่ตั้งอยู่ไม่ได้.

คำที่เหลือพึงทราบตามบรรยายที่ตรงข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว.

ในพระสูตรนี้ คาถามีมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นฝ่ายขาว

เท่านั้น ในพระคาถานั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ พระอริยะทั้งหลายมี

พระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวถึงพระอริยบุคคล

ผู้สำรอกราคะ โทสะ และอวิชชาออกแล้ว คือให้ดับไปแล้ว ด้วย

มรรคอันเลิศ (อรหัตผล) ผู้มีกายอันอบรมแล้ว ว่าเป็นผู้ประเสริฐ คือเป็น

พระพรหม หรือเป็นผู้ประเสริฐสุด คือบรรลุพระอรหัตแล้ว องค์ใดองค์หนึ่ง

คือองค์หนึ่ง ภายในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้ชื่อว่าอบรมตนแล้ว เพราะ

ที่ศีล สมาธิ และปัญญา พระขีณาสพอื่น ๆ เป็นผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติ

คือปุรพูปนิสัยมาแล้ว และท่านเหล่านั้น ถึงแล้วคือบรรลุแล้ว ซึ่งพระนิพพาน

ด้วยมัชฌิมาปฏิปทาที่สงเคราะห์ด้วยศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ และปัญญาขันธ์ เว้น

จากส่วนสุดทั้งสอง อีกอย่างหนึ่ง ท่านเหล่านั้น แทงตลอดลักษณะที่แท้จริง

แห่งขันธ์เป็นต้น ตามความเป็นจริง ท่านเหล่านั้นรู้ยิ่งแล้วซึ่งทุกข์เป็นต้น

อันเป็นธรรทที่แท้จริง โดยไม่ผิดพลาด และท่านเหล่านั้น เห็นอารมณ์

ทั้งหลายมีเป็นต้น ด้วยสามารถเพียงเห็นเท่านั้น อีกอย่างหนึ่ง พระอริยบุคคล

๘ จำพวกเหล่านี้ มีวาจาเป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งอริยโวหารอย่างเดียว

โดยเว้นโวหารที่ไม่ใช่ของพระอริยะ มีกายเป็นไปแล้วเหมาะสมแก่วาจา และ

มีวาจาเป็นไปแล้ว เหมาะสมแก่กาย ฉันใด พระอริยะทั้งหลายมีพระพุทธเจ้า

เป็นต้น กล่าวคือเรียก ได้แก่สรรเสริญบุคคลนั้น ผู้ไปแล้วอย่างนั้น ท่านว่า

ผู้นี้เป็นพระอริยบุคคล ผู้ชื่อว่า รู้แล้ว เพราะรู้อริยสัจ ๔ ผู้ก้าวล่วงบุคคลเวร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 417

(เวรเกิดจากบุคคล) กิเลสเวร (เวรเกิดจากกิเลส) และภัยมีการติเตียนตน

เป็นต้น ชื่อว่าเป็นผู้ล่วงพ้นเวรภัย ผู้ชื่อว่าละกิเลสทุกอย่างได้ เพราะละกิเลส

และอภิสังขารเป็นต้นทั้งมวลได้ ฉันนั้น.

จบอรรถกถาปฐมราคสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยราคสูตร

ว่าด้วยผู้ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก

[๒๔๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ โทสะ โมหะ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็น

ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ยังละไม่ได้แล้ว ผู้นี้เรากล่าวว่า ข้ามสมุทรที่มีคลื่น

มีระลอก มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราคะ

โทสะ โมหะ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม ละได้แล้ว ผู้นี้เรากล่าวว่า

ข้ามพ้นสมุทรที่มีคลื่น มีระลอก มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำได้แล้ว

ข้ามถึงฝั่งยืนอยู่บนบก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เรากล่าวว่า ผู้ใดสำรอกราคะ โทสะ

โมหะ และอวิชชาได้แล้ว ผู้นั้นข้ามพ้น

สมุทรที่มีสัตว์ร้าย มีผีเสื้อน้ำ มีคลื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 418

น่าพึงกลัว ข้ามได้โดยยาก ได้แล้ว ผู้นั้น

ล่วงธรรมเป็นเครื่องข้อง ละมัจจุราช หา

อุปธิมิได้ ละทุกข์เพื่อความไม่เกิดอีก ถึง

ความขาดสูญแล้ว ย่อมไม่ถึงการนับได้

เธอยังมัจจุราชให้หลงได้แล้ว.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบทุติยราคสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๒

อรรถกถาทุติยราคสูตร

ในทุติยราคสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น อตริ แปลว่า ข้ามไม่ได้แล้ว. บทว่า สมุทฺท ได้แก่

ทะเลคือสงสาร หรือทะเลคืออายตนะ มีจักขุอายตนะเป็นต้น สงสารและ

อายตนะแม้ทั้งสองอย่างนั้น ชื่อว่า สมุทร เพราะเป็นเหมือนทะเล โดยความ

หมายว่า เต็มได้ยาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสมุทร เพราะอรรถว่า เป็นเหมือน

สมุทร อธิบายว่า ชื่อว่าเป็นเหมือนสมุทร เพราะเป็นทีอยู่อาศัยของกิเลส คือ

เพราะสันดานของสัตว์เป็นเรือนของกิเลส. บทว่า สวิจึ ความว่า มีระลอก

โดยระลอกคือความโกรธ และความแค้น . สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

คำว่าภัยคือระลอกนี้แล เป็นชื่อของความโกรธและความแค้น . บทว่า สาวฏฺฏ

ความว่า พร้อมด้วยวังวน โดยวังวนคือกามคุณ ๕. สมจริงตามที่ตรัสไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 419

ดูก่อนภิกษุ คำว่า อาวัฏฏะ นี้ เป็นชื่อของกามคุณที่ ๕. บทว่า สคห สรกฺขส

ความว่า ชื่อว่าประกอบด้วยบุคคลที่เป็นวิสภาคกัน (ศัตรู) เช่นกับด้วยมังกรดุ

ปลาร้าย และผีเสื้อสมุทร เพราะให้เกิดอนัตถะแก่ผู้ไปสู่แหล่งหากินของตน.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ คำว่า สคห สรกฺขส

นี้แล เป็นชื่อของมาตุคาม. บทว่า อตริ ความว่า ข้ามพ้นทะเลตามที่กล่าว

แล้ว ด้วยเรือคือมรรคปัญญา. บทว่า ติณฺโณ แปลว่า ข้ามพ้นไปแล้ว. บทว่า

ปารคโต ได้แก่ ผู้เข้าถึงฝั่ง คือฝั่งข้างโน้นของทะเลนั้น ได้แก่นิโรธ. บทว่า

ถเล ติฏฺติ ความว่า ต่อจากนั้นไป เราตถาคตเรียกเขาว่าเป็นพราหมณ์

ผู้ลอยบาปแล้ว ยืนอยู่บนบก คือ ฝั่งโน้น ได้แก่พระนิพพาน เพราะข้าม

ห้วงน้ำใหญ่มีกามเป็นต้น.

แม้ในพระสูตรนี้ คาถาก็มีมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งธรรมที่เป็นฝ่าย

ขาวเหมือนกัน. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุมฺมิภย ได้แก่ คลื่นและภัย

ตามที่กล่าวแล้ว คลื่นนั้นชื่อว่าเป็นภัย เพราะเป็นแดนน่าสะพึงกลัว. บทว่า

ทุตฺตร ได้แก่ ข้ามได้ยากเหลือเกิน. บทว่า อจฺจตริ แปลว่า ได้ข้ามพ้นแล้ว.

บทว่า สงฺคาติโค ความว่า ชื่อว่าผ่านเครื่องข้องไปแล้ว เพราะเป็นผู้ก้าวเลย

คือละเครื่องข้อง ๕ อย่าง มีราคะเป็นต้นได้แล้ว. บทว่า อฏฺงฺคโต โส

น ปมาณเมติ ความว่า ผู้นั้นเป็นอย่างนั้น คือเป็นพระอรหันต์ ชื่อว่า ผู้ถึง

ความขาดสูญแล้ว เพราะกิเลสมีราคะเป็นต้น ที่เป็นธรรมทำประมาณถึงความ

ดับสูญไปโดยส่วนเดียวโดยแท้. และต่อแต่นั้นไป เป็นผู้ไม่อาจที่ใคร ๆ จะ

นับได้ว่า บุคคลนั้นเป็นเช่นนี้ โดยศีล โดยสมาธิ โดยปัญญา เพราะความ

บริบูรณ์ แห่งธรรมขันธ์มีศีลเป็นต้น ชื่อว่าไม่ถึงการนับได้. อีกอย่างหนึ่ง

ท่านผู้นั้นถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ กล่าวคือ อนุปาทิเสสนิพพาน ชื่อว่า ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 420

ไม่ถึง คือไม่เข้าถึงการนับได้ เพราะเป็นผู้ที่ใคร ๆ ไม่สามารถจะนับได้ว่า

พระอรหันต์นั้น เป็นผู้ดำรงอยู่แล้ว โดยคติชื่อนี้ และเป็นผู้เช่นนี้ โดยชื่อ

และโคตร. ต่อแต่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบพระธรรมเทศนาลง ด้วย

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั่นแหละว่า เราตถาคตกล่าวว่า เธอยังมัจจุราชให้

หลงได้แล้ว คือเป็นผู้ที่พญามัจจุราชไม่สามารถจะติดตามได้.

ในวรรคนี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวัฏฏะไว้ในสูตร

ที่ ๑ ที่ ๕ และที่ ๖ ตรัสวิวัฏฏะไว้ในสูตรที่ ๒ ที่ ๗ และที่ ๘ ตรัสทั้ง

วัฏฏะและวิวัฏฏะ ไว้ในพระสูตรที่เหลือ ด้วยประการดังพรรณนามานี้.

จบอรรถกถาทุติยราคสูตรที่ ๑๐

จบวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุญญกิริยาวัตถุสูตร ๒. จักขุสูตร ๓. อินทรียสูตร ๔. อัทธา-

สูตร ๕. ทุจริตสูตร ๖. สุจริตสูตร ๗. สุจิสูตร ๘. มุนีสูตร ๙. ปฐม-

ราคสูตร ๑๐. ทุติยราคสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 421

อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ ๓

๑. มิจฉาทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเข้าถึงนรก

[๒๔๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้เห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วย

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่น

การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวคำนั้นแลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้

เห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วยกายทุจริต...เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ

ได้ฟังต่อสมณะหรือพราหมณ์อื่นก็หามิได้ ก็แต่ว่า เราตถาคตรู้มาเอง เห็น

มาเอง ทราบมาเอง จึงกล่าวคำนั้นแลว่า เราตถาคตเห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วย

กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่น

การกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลในโลกนี้ ตั้งใจไว้ผิด กล่าว

วาจาผิด กระทำการงานผิดด้วยกาย ผู้มี

การสดับน้อย ทำกรรมอันไม่เป็นบุญไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 422

ในชีวิตอันมีประมาณน้อย ในมนุษยโลกนี้

เขาผู้มีปัญญาทราม เมื่อตายไป ย่อมเข้า

ถึงนรก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบมิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑

วรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตร

ในมิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทิฏา มยา ความว่า สัตว์ทั้งหลายอันเราตถาคตเห็นแล้ว

คือ อันเราตถาคตเห็นแล้ว ได้แก่รู้ประจักษ์แล้ว ด้วยสมันตจักษุ และทิพย-

จักษุ. ด้วยคำว่า ทิฏฺา มยา นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงคัดค้านการ

ได้ฟังตาม ๆ กันมาเป็นต้น และความข้อนี้จักมีมาในพระบาลี ในบัดนี้แหละ.

บทว่า กายทุจฺจริเตน สมนฺ นาคตา ความว่า เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย

กายทุจริต. บทว่า อริยาน อุปวาทกา ความว่า เป็นผู้ว่าร้ายคือด่า ได้แก่

ติเตียนพระอริยะทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น โดยที่สุดแม้พระโสดาบัน

ผู้เป็นคฤหัสถ์ โดยการกล่าวตู่ที่ไม่เป็นจริง อันเป็นเหตุกำจัดคุณความดี

(ของท่าน). บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิกา ได้แก่ ผู้มีความเห็นผิด. บทว่า มิจฺฉา-

ทิฏฺิกมฺมสมาทานา ความว่า ผู้ได้สมาทานกรรมนานาชนิด เหตุที่มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 423

เห็นผิดนั่นแหละ จะสมาทานกรรมแม้อย่างอื่นอีก มีกายกรรมเป็นต้น ที่มี

มิจฉาทิฏฐิเป็นมูลฐาน.

ก็เมื่ออริยุปวาทกรรม และมิจฉาทิฏฐิ พระองค์ทรงถือเอาแล้ว ด้วย

ศัพท์วจีทุจริต และมโนทุจริตนั่นแหละ ในที่นี้แล้ว การตรัสซ้ำอีก ก็เพื่อจะ

ทรงแสดงว่า อริยุปวาทกรรม และมิจฉาทิฏฐิมีโทษมาก ด้วยว่า บรรดา ๒

อย่างนั้น อริยุปวาทมีโทษมาก เท่ากับอนันตริยกรรม. สมดังที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนสารีบุตร เปรียบเหมือนภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ถึงพร้อมด้วยสมาธิ

ถึงพร้อมด้วยปัญญา พึงกระหยิ่มพระอรหัตผลในปัจจุบันทีเดียว ฉันใด ดูก่อน

สารีบุตร ข้ออุปไมยนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เราตถาคตกล่าวว่า ผู้นั้นไม่ละวาจา

นั้นเสีย ไม่ละความคิดนั้นเสีย ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเสีย ก็เที่ยงแท้ที่จะตกนรก

ดังนี้.

กรรมอื่นที่ชื่อว่า จะมีโทษมากว่ามิจฉาทิฏฐิ ไม่มี. สมดังที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่พิจารณาเห็นธรรมอย่างอื่น ที่เป็นธรรม

อย่างเอก ที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษ

ทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภคำมีอาทิว่า ต โข ปน ไว้เพื่อ

ทรงแสดงยืนยันเนื้อความตามที่ตรัสไว้ ว่าเป็นธรรมที่ประจักษ์แก่พระองค์เอง

คำนั้นเข้าใจได้ง่ายอยู่แล้ว .

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า มิจฺฉา มน

ปณิธาย ความว่า ตั้งจิตไว้โดยไม่แยบคาย ด้วยสามารถแห่งธรรมทั้งหลาย

มีอภิชฌาเป็นต้น. บทว่า มิจฺฉาวาจ อภาสิย ความว่า กล่าววาจาผิด

ด้วยสามารถแห่งมุสาวาทเป็นต้น. บทว่า มิจฺฉา กมฺมานิ กตฺวาน ความว่า

ทำกายกรรม ด้วยสามารถแห่งปาณาติบาตเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 424

มิจฺฉา มน ปณิธาย ความว่า ตั้งจิตไว้พลาด ด้วยสามารถแห่งมิจฉาทิฏฐิ.

แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงถึงเหตุ ในการประพฤติทุจริตอย่างนั้น ของเขา.

บทว่า อปฺปสฺสุโต มีอธิบายว่า เว้นจากสุตะที่จะนำประโยชน์เกื้อกูล

มาให้ตนและผู้อื่น. บทว่า อปุญฺกโร ความว่า ต่อนั้นไปนั่นเอง จะทำ

ความผิด คือจะมีความชั่วเป็นธรรมดา เพราะความเป็นผู้ไม่ฉลาดในอริยธรรม.

บทว่า อิมสฺมึ อิธ ชีวิเต ความว่า ในชีวิตอันนิดหน่อย ในโลกนี้คือ

มนุษยโลก. สมดังที่ตรัสไว้ว่า ผู้ที่มีชีวิตอยู่ได้นาน ก็อยู่ได้เพียงร้อยปี หรือ

เกินไปเล็กน้อย. และตรัสว่า มนุษย์ทั้งหลายมีอายุน้อย เพราะฉะนั้น ผู้ที่

เป็นพหูสูต มีปัญญา เร่งรีบทำบุญ แล้วจะได้ไปสวรรค์ หรือดำรงอยู่ใน

พระนิพพาน. ส่วนผู้ใดศึกษาน้อย ไม่บำเพ็ญบุญ ผู้นั้นจะเป็นคนมีปัญญาทราม

เข้าถึงนรก เพราะกายแตกสลายไป.

จบอรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตรที่ ๑

๒. สัมมาทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยผู้เป็นสัมมาทิฏฐิเข้าถึงสวรรค์

[๒๔๙] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตเห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วย

กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ

ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 425

ก็เราตถาคตกล่าวคำนั้นแลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้เห็นสัตว์ผู้

ประกอบด้วยกายสุจริต... เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เพราะได้ฟังต่อสมณะ

หรือพราหมณ์อื่นก็หามิได้ ก็แต่ว่าเรารู้มาเอง เห็นมาเอง ทราบนาเอง จึง

กล่าวว่า เราตถาคต ได้เห็นสัตว์ผู้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต

ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ถือมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ

เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลในโลกนี้ ตั้งใจไว้ชอบ กล่าว

วาจาชอบ กระทำการงานชอบด้วยกาย

ผู้มีการสดับมา ผู้กระทำธรรมเป็นบุญไว้

ในชีวิตอันมีประมาณน้อย ในมนุษยโลกนี้

บุคคลนั้น เป็นผู้มีปัญญา เมื่อตายไป ย่อม

เข้าถึงสวรรค์.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบสัมมาทิฏฐิสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ พึงทราบความตามบรรยายที่ตรงกันข้าม จากที่กล่าวไว้

แล้วในสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 426

๓. นิสสรณสูตร

ว่าด้วยธาตุที่สลัดออก ๓ อย่าง

[๒๕๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุเป็นที่สลัดออก ๓ อย่างนี้ ๓ อย่าง

เป็นไฉน ? คือ เนกขัมมะ (รูปฌาน) เป็นที่สลัดออกซึ่งกามทั้งหลาย ๑

อรูปฌานเป็นที่สลัดออกซึ่งรูปทั้งหลาย ๑ นิโรธเป็นที่สลัดออกซึ่งธรรมชาติ

ที่เกิดแล้ว อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธาตุ

เป็นที่สลัดออก ๓ อย่างนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ภิกษุผู้มีความเพียร รู้ธรรมเป็นที่

สลัดออกซึ่งกาม และอุบายเป็นเครื่อง

ก้าวล่วงรูปทั้งหลาย ถูกต้องธรรมเป็นที่

ระงับสังขารทั้งปวงในกาลทุกเมื่อ ภิกษุ

นั้นแลเป็นผู้เห็นโดยชอบ ย่อมน้อมไปใน

ธาตุนั้น ภิกษุนั้นแลอยู่จบอภิญญา สงบ-

ระงับ ก้าวล่วงโยคะได้แล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบนิสสรณสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 427

อรรถกถานิสสรณสูตร

ในนิสสรณสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นิสฺสรณิยา ความว่า ปฏิสังยุตด้วยธาตุที่สลัดออกไป. บทว่า

ธาตุโย ได้แก่ สภาพที่ว่างจากสัตว์. บทว่า กามาน ได้แก่ กิเลสกาม

และวัตถุกาม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กามาน ได้แก่กิเลสกาม เพราะว่าธาตุ

ทั้งหลายเป็นที่ออกไปจากกิเลสกาม ถึงวัตถุกามก็ออกไปเหมือนกัน ไม่ใช่

ออกไปโดยประการอื่น. สมดังที่ตรัสไว้ว่า

อารมณ์ที่วิจิตรทั้งหลายในโลกไม่ใช่

กาม แต่ความกำหนัดที่เกิดจากความดำริ

ของคน (ต่างหาก) เป็นกาม อารมณ์ที่

วิจิตรทั้งหลาย ก็สถิตอยู่ในโลกอย่างนั้น

นั่นแหละ แต่ธีรชนจะนำความพอใจใน

กามนั้นออกไป.

การปราศไป ชื่อว่า นิสสรณะ. บทว่า เนกฺขมฺม ได้แก่ปรมฌาน.

โดยพิเศษแล้ว เนกขัมมะนั้น พึงเห็นว่า มีอสุภะเป็นอารมณ์ แต่ผู้ใดทำฌาน

นั้นให้เป็นเบื้องบาท พิจารณาสังขารทั้งหลาย บรรลุมรรคที่ ๓ แล้ว จึงทำ

ให้แจ้งซึ่งพระนิพพานด้วยอนาคามิผล จิตของผู้นั้น จะสลัดออกจากกาม

ทั้งหลายโดยส่วนเดียวเท่านั้น ฉะนั้น เนกขัมมะนี้ พึงทราบว่าเป็นการสลัดออก

ซึ่งกามทั้งหลาย อย่างอุกฤษฏ์. บทว่า รูปาน ได้แก่ รูปธรรมทั้งหลาย โดย

พิเศษแล้วก็คือ รูปาวจรธรรมทั้งหมด แยกประเภทเป็นกุศลวิบาก และกิริยา

พร้อมด้วยอารมณ์ทั้งหลาย. บทว่า อรุปฺป ได้แก่ รปาวจรฌาน แต่อาจารย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 428

บางพวกกล่าวเนื้อความของบทว่า กามาน ไว้ว่า ได้แก่ กามาวจรธรรม

ทั้งหมด และกล่าวเนื้อความของบทว่า เนกขัมมะ ว่าได้แก่รูปาวจรฌานทั้ง ๕.

คำนั้นไม่มีในอรรถกถาทั้งหลาย และไม่ถูกด้วย. บทว่า ภูต แปลว่าเกิดแล้ว.

บทว่า สงฺขต ความว่า ที่ปัจจัยทั้งหลายจัดแจง คือ ปรุงแต่ง ทำแล้ว.

บทว่า ปฏิจฺจสมุปฺปนฺน ความว่า เกิดขึ้นจากเหตุ. ด้วยบทแม้ทั้ง ๓ ย่อม

ครอบคลุมไปถึงธรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ โดยไม่เหลือ. พระนิพพาน ชื่อว่า

นิโรธ. ก็ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสการกำหนดรู้กามไว้ด้วยธาตุแรก การ-

กำหนดรู้รูปด้วยธาตุที่ ๒ การกำหนดรู้ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่งทั้งหมดด้วยธาตุ

ที่ ๓ จึงเป็นอันตรัสการก้าวล่วงภพไว้ครบถ้วน.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ บทว่า กามนิสฺสรณ

ตฺวา ความว่า รู้ว่า นี้เป็นการสลัดออกจากกาม และการสลัดออกจากกาม

มีโดยอาการอย่างนี้. ชื่อว่า อติกฺกโม เพราะเป็นเหตุก้าวล่วงคืออุบายแห่ง

การก้าวล่วง. รู้เหตุก้าวล่วงนั้น คืออรูป. ธรรมชื่อว่า สัพพสังขารสมถะ

เพราะเป็นที่สงบระงับแห่งสังขารทั้งมวล ได้แก่พระนิพพาน. เห็นอยู่ซึ่งพระ-

นิพพานนั้น. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นเอง.

จบอรรถกถานิสสรณสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 429

๔. รูปสูตร

ว่าด้วยอรูปละเอียดกว่ารูป

[๒๕๑] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อรูปละเอียดกว่ารูป นิโรธละเอียดกว่า

อรูป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

สัตว์เหล่าใดเข้าถึงรูปภพ และสัตว์

เหล่าใดดำรงอยู่ในอรูปภพ สัตว์เหล่านั้น

ไม่รู้ชัดซึ่งนิโรธเป็นผู้ยังต้องกลับมาสู่ภพ-

ใหม่ ส่วนชนเหล่าใด กำหนดรู้รูปภพแล้ว

ไม่ดำรงอยู่ในอรูปภพชนเหล่านั้นย่อม

น้อมไปในนิโรธ เป็นผู้ละมัจจุเสียได้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาอาสวะมิได้

ถูกต้องอมตธาตุ อันไม่มีอุปธิด้วยนามกาย

แล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งการสละคืนอุปธิ

ย่อมแสดงบทอันไม่มีความโศก ปราศจาก

ธุลี.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบรูปสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 430

อรรถกถารูปสูตร

ในรูปสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า รูเปหิ ความว่า กว่ารูปาวจรธรรมทั้งหลาย. บทว่า สนฺตตรา

ความว่า สงบดีกว่า ด้วยว่ารูปาวจรธรรมทั้งหลาย ชื่อว่าสงบแล้ว เพราะข่ม

กิเลสไว้ได้ เพราะละองค์ที่หยาบมีวิตกเป็นต้นได้ และเพราะมีภูมิมั่นคงแล้ว

ส่วนอรูปธรรมทั้งหลาย มีพฤติกรรมสงบดีกว่ารูปธรรมแม้เหล่านั้น เพราะมี

องค์สงบ และเพราะมีอารมณ์สงบ เพราะฉะนั้น อรูปธรรมเหล่านั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สนฺตตรา (สงบกว่า). พระนิพพาน ชื่อว่า นิโรธ

เพราะว่าผลสมาบัติก็สงบกว่าอรูปฌานที่ ๔ ที่แม้ยังไม่มีความสุขุมเกิด โดย

ที่ยังมีสังขารเหลืออยู่ เพราะสงบความกระวนกระวายอันเกิดแต่กิเลส และ

เพราะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงธรรมเป็นที่สงบแห่ง

สังขารทั้งปวง คือพระนิพพาน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

อรูเปหิ นิโรโธ สนฺตตโร (นิโรธสงบกว่าอรูปทั้งหลาย).

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า รูปฺปคา แปลว่า

ผู้เข้าถึงรูปภพ. จริงอยู่ รูปภพในคาถานี้ พระองค์ตรัสเรียกว่า รูป เหมือน

ในประโยคมีอาทิว่า ยังมรรคให้เจริญเพื่อเข้าถึงรูป. บทว่า อรูปฏฺานิโย

ได้แก่อรูปาวจรทั้งหลาย. ด้วยบทว่า นิโรธ อปฺปชานนฺโต อาคนฺตาโร

ปุนพฺภว สัตว์เหล่านั้นผู้ไม่รู้ชัดซึ่งนิโรธจะมาสู่ภพใหม่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงว่า นิโรธเป็นธรรมสงบกว่ารูปธรรมและอรูปธรรมทั้งหลายนั่นเอง.

บทว่า อรูเปสุ อสณฺหิตา มีอธิบายว่า ชนเหล่าใดไม่ดำรงอยู่ในอรูปภพ

ทั้งหลาย ด้วยความกำหนัดในอรูป คือกำหนดรู้อยู่ แม้ซึ่งอรูปภพเหล่านั้น.

บทว่า เย ในคำว่า นิโรเธ เย วิมุจฺจนฺติ เป็นเพียงนิบาต. คำที่เหลือ

มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังทั้งนั้น.

จบอรรถกถารูปสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 431

๕. ปุตตสูตร

ว่าด้วยบุตร ๓ จำพวก

[๒๕๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตร ๓ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

๓ จำพวกเป็นไฉน คือ อติชาตบุตร ๑ อนุชาตบุตร ๑ อวชาตบุตร ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อติชาตบุตร เป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มารดาบิดาของบุตรในโลกนี้ ไม่ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็น

สรณะ ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ

การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นผู้ทุศีล

มีธรรมอันลามก ส่วนบุตรของมารดาและบิดาเหล่านั้น เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้า

พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์

ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ การดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความประมาท มีศีล มีธรรมอันงาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อติชาตบุตรเป็น

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อนุชาตบุตรเป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มารดาบิดาของบุตรในโลกนี้ ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็น

สรณะ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ การ

ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท มีศีล มีธรรม

อันงาม ส่วนบุตรของมารดาบิดาเหล่านั้น ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

ว่าเป็นสรณะ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 432

การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล

มีธรรมอันงาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนุชาตบุตรเป็นอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อวชาตบุตรเป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มารดาบิดาของบุตรในโลกนี้ ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็น

สรณะ งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ การ

ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เป็นผู้มีศีล มีธรรม

อันงาม ส่วนบุตรของมารดาบิดาเหล่านั้น ไม่ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม

พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ไม่งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด

ในกาม พูดเท็จ การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท เป็นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวชาตบุตร

เป็นอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุตร ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปรารถนา

อติชาตบุตร และอนุชาตบุตรไม่ปรารถนา

อวชาตบุตร ซึ่งเป็นผู้ทำลายตระกูล ส่วน

บุตรเหล่าใดเป็นอุบาสก บุตรเหล่านั้นแล

ชื่อว่าเป็นบุตรในโลก บุตรเหล่านั้นมี

ศรัทธา ถึงพร้อมด้วยศีล ผู้(โอบอ้อมอารี)

รู้ความประสงค์ ปราศจากความตระหนี่

ย่อมรุ่งเรื่องในบริษัททั้งหลาย เปรียบ

เหมือนพระจันทร์พ้นแล้วจากเมฆ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 433

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปุตตสูตรที่ ๕

อรรถกถาปุตตสูตร

ในปุตตสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ลูกที่เกิดจากอก คือกำเนิดจากตน หรือแม้ลูกบุญธรรม ชื่อว่า บุตร.

บทว่า สนฺโต แปลว่า มีอยู่. บทว่า สวิชฺชมานา โลกสฺมึ ความว่า

หาได้ในโลกนี้. ชื่อว่าสันโต เพราะว่ามีอยู่ ชื่อว่า วิชฺชมานา เพราะว่าปรากฏ

แล้ว. บทว่า อติชาโต ความว่า เกิดมาเหนือมารดาบิดาด้วยคุณของตน.

อธิบายว่า มีคุณสูงกว่ามารดาบิดาเหล่านั้น. บทว่า อนุชาโต ความว่า เกิด

มาเป็นผู้ทัดเทียมแก่มารดาบิดาด้วยคุณทั้งหลาย อธิบายว่า มีคุณเสมอด้วย

มารดาบิดาเหล่านั้น. บทว่า อวชาโต ความว่า เกิดมาไม่เท่ามารดาบิดา

ด้วยคุณทั้งหลาย อธิบายว่า มีคุณต่ำกว่ามารดาบิดาเหล่านั้น.

ก็บุตรผู้ประกอบด้วยคุณธรรมเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

ประสงค์เอาแล้วว่า เป็นผู้ยิ่งกว่ามารดาบิดา เสมอมารดาบิดา และต่ำกว่า

มารดาบิดา เพื่อจะทรงแสดงจำแนกคุณธรรมเหล่านั้น จึงทรงตั้งเป็นกเถตุ-

กัมยตาปุจฉา (ถามเพื่อจะตอบเสียเอง) ว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ปุตฺโต

อติชาโต โหติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อติชาตบุตรเป็นไฉน ? ดังนี้แล้ว

จึงทรงปรารภนิเทศไว้ โดยนัยมีอาทิว่า อิธ ภิกฺขเว ปุตฺตสฺส ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 434

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า น พุทฺธ สรณ คตา นั้น ดังต่อ

ไปนี้ พระพุทธเจ้าผู้มีพระคุณความดี เกินหมู่สัตว์ ที่คนทั้งหลายรู้จักกันทั่ว

แล้วว่า พุทฺโธ เพราะหมายเอาพระขันธ์สันดานที่ทรงอบรมแล้ว ด้วยการ

บรรลุวิโมกข์อันยอดเยี่ยม มีพระญาณในธรรมทั้งมวลที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้

เป็นนิมิต หรือการบรรลุสัจจญาณ มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นปทัฏฐาน. สมดัง

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัพพัญญู ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้

พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์ไม่เคยได้

ยินมาในกาลก่อน เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นพระสัพพัญญู ในธรรมเหล่านั้น

และถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในผลธรรมทั้งหลาย จึงทรงพระนามว่า พุทฺโธ

การขยายความศัพท์ว่า พุทฺโธ โดยเนื้อความมีเพียงเท่านี้ก่อน. แต่ว่า

พุทธะ โดยพยัญชนะ พึงทราบความตามนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีความรู้

มีความตื่นแล้ว โดยปราศจากความหลับคือกิเลส พร้อมทั้งวาสนาโดยส่วนเดียว

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธะ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านผู้มีความเบิกบาน โดย-

ความเป็นผู้เบิกบานด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธะ. ผู้ตรัสรู้ (สัจจะ

ทั้ง ๔) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธะ ผู้ให้ผู้อื่นรู้ ผู้ยังหมู่สัตว์ให้รู้ตาม

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธะ. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ทรงพระนามว่า

พุทฺโธ เพราะอรรถว่า ปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะ

ทรงรู้ธรรมทั้งปวง ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะทรงเห็นธรรมทั้งปวง

ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ทรงพระนามว่า พุทฺโธ

เพราะทรงเบิกบานแล้ว ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะมีธรรมกล่าวคือ

อาสวะสิ้นแล้ว ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะมีธรรมกล่าวคือ ไม่มีอุปกิเลส

ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่า ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 435

พระนามว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่า ปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว ทรง

พระนามว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่า ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว ทรงพระ

นามว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่าไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว ทรงพระนามว่า พุทฺโธ

เพราะอรรถว่า ทรงถึงแล้วซึ่งเอกายนมรรค ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะ

อรรถว่า ทรงเป็นผู้เดียวตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ

อันประเสริฐ ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะทรงกำจัดความไม่รู้ เพราะ

ทรงได้ปัญญาเครื่องตรัสรู้ และพระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา บิดา

พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา

มิได้ทำให้ โดยที่แท้แล้ว พระนามนี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามที่เกิด

ขึ้นในที่สุดแห่งการหลุดพ้น) พระนามว่า พุทฺโธ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อม

ด้วยการบรรลุสัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้โพธิ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย

ผู้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้.

สิ่งที่ชื่อว่า เป็นสรณะ เพราะเบียดเบียนทุกข์ภัยเป็นต้น. อธิบายว่า

เบียดเบียนคือให้พินาศ ได้แก่ กำจัดอนัตถะ อบายทุกข์ทุกอย่าง (และ) สังสาร-

ทุกข์ทั้งมวลได้. บทว่า สรณ คตา ความว่า เป็นผู้ถึง คือเข้าถึง (พระ-

พุทธเจ้า) อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายถึง คือคบ ได้แก่ ซ่องเสพ หมายความว่า

เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์นี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเป็นสรณะ (กำจัดภัยได้) ทรงเป็นคติ ทรงเป็นที่ดำเนินไปใน

เบื้องหน้า ทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยว ทรงเป็นผู้ทำลายทุกข์ ทรงจัดแจงประโยชน์

เกื้อกูลของเราทั้งหลาย หรือเราทั้งหลายรู้คือตรัสรู้ (ตาม) อย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่า

เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ (ส่วน) ผู้ถึงโดยนัยตรงกันข้ามกับนัยที่ว่า

มาแล้วนั้น ไม่ชื่อว่าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 436

บทว่า ธมฺม สรณ คตา ความว่า ก็สภาพที่ชื่อว่า พระธรรม

เพราะทรงไว้ซึ่งผู้ได้บรรลุอริยมรรคแล้ว ทำให้แจ้งนิโรธแล้ว ปฏิบัติตามที่

ทรงสอนอยู่ ไม่ให้ตกไปในอบายทั้ง ๔. พระธรรมนั้น โดยเนื้อความได้แก่

พระอริยมรรค และพระนิพพานนั่นเอง. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นสังขตะ. (มีปัจจัยปรุงแต่ง)

มีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ เราตถาคตกล่าวว่า ล้ำเลิศกว่าสังขตธรรม

เหล่านั้น ดังนี้. ความพิสดาร ควรทราบดังต่อไปนี้ พระธรรมไม่ใช่ ได้แก่

อริยมรรค และพระนิพพานเพียงเท่านั้น ที่แท้ได้แก่พระปริยัติธรรมพร้อม

ทั้งพระอริยมรรค และอริยผลด้วย สมจริง ดังที่ตรัสไว้ในฉัตตมาณวก-

วิมานวัตถุว่า

ท่านจงเข้าถึงพระธรรมอันเป็นธรรม

คลายความกำหนัด เป็นธรรมไม่หวั่นไหว

ไม่มีความเศร้าโศก อันปัจจัยอะไรปรุง-

แต่งไม่ได้ ไม่ปฏิกูล เป็นธรรมไพเราะ

ซื่อตรง เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ทรงจำแนกดีแล้วนี้ เพื่อเป็นสรณะคือ

ที่พึงเถิด.

ก็บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น มรรคพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ราค-

วิราคะ ธรรมเป็นเครื่องคลายกำหนัด (อรหัต) ผลตรัสเรียกว่า อเนช อโสก

(ไม่หวั่นไหว ไม่มีความเศร้าโศก). พระนิพพานตรัสเรียกว่า อสังขตธรรม

(อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้) ธรรมขันธ์ทั้งหมด ที่ทรงจำแนกไว้โดยปิฎกทั้ง ๓

ตรัสเรียกว่า อปฺปฏิกูล (ไม่ปฏิกูล) มธุร (ไพเราะ) ปคุณ ซื่อตรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 437

สุวิภตฺต (ทรงจำแนกไว้ดีแล้ว) ผู้ถึงซึ่งพระธรรมนั้นว่าเป็น สรณะ ตามนัย

ที่กล่าวแล้ว ชื่อว่าถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ. (ส่วน) ผู้ถึงโดยนัยตรงกันข้าม

จากที่กล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่ถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ.

ชื่อว่า พระสงฆ์ เพราะประกอบด้วยความสม่ำเสมอกันด้วยศีลและ

ทิฏฐิ. พระสงฆ์นั้น โดยใจความก็ได้แก่ ชุมนุมแห่งพระอริยบุคคล ๘ จำพวก

สมดัง คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิมานวัตถุนั่นแหละว่า

บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวทานอันบุคคล

ให้แล้ว ในพระอริยสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ เป็นคู่

แห่งบุรุษ ๔ เป็นบุรุษบุคคล ๘ เพราะเหตุ

ได้เห็นธรรม ว่ามีผลมาก ท่านจงเข้าถึง

พระสงฆ์นี้ เพื่อเป็นที่พึ่งเถิด ดังนี้.

ผู้ถึงซึ่งพระสงฆ์นั้นว่าเป็นสรณะ ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ชื่อว่าถึง

พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ส่วนผู้ถึงโดยนัยตรงข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว ไม่ชื่อว่า

ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ.

ก็ในเรื่องการถึงสรณคมน์นี้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสรณคมน์ พึง-

ทราบวิธีดังนี้ คือ สรณะ ๑ สรณคมน์ ๑ ผู้ถึงสรณคมน์ ๑ ประเภท

แห่งสรณคมน์ ๑ ผล (แห่งสรณคมน์) ๑ ความเศร้าหมอง (แห่งสรณ-

คมน์) ๑ การขาด (แห่งสรณคมน์) ๑ ความผ่องแผ้ว (แห่งสรณคมน์) ๑.

พึงทราบวินิจฉัย ในวิธีเหล่านั้น โดยอรรถแห่งบทก่อน. ชื่อว่า

สรณะ เพราะกำจัด (ทุกข์ภัยเป็นต้น ) อธิบายว่า รัตนะ คือพระพุทธเจ้า

เป็นต้น ย่อมขจัดภัย ความหวาดกลัวทุกข์ ทุคติ กิเลสทั่วไปได้ คือยังภัย

เป็นต้นให้พินาศไป เพราะการถึงสรณะนั้นนั่นแหละ ของผู้ถึงสรณะทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 438

คำว่าสรณะนี้ เป็นชื่อของพระรัตนตรัย อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าชื่อว่าเป็น

สรณะ เพราะกำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลายด้วยการให้หันเข้าหาประโยชน์ และให้

หันเหออกจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล พระธรรม ชื่อว่าเป็นสรณะ เพราะ

กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลายได้โดยการให้ข้ามพ้นกันดารคือภพ และให้ความ

สบายใจ พระสงฆ์ชื่อว่าเป็นสรณะ (เพราะกำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลายได้)

โดยการทำผู้บำเพ็ญ (บุญ) แม้น้อย ให้ได้รับผลไพบูลย์ เพราะฉะนั้น พระ-

รัตนตรัย จึงชื่อว่าเป็นสรณะ โดยบรรยายแม้นี้. จิตตุปบาท ที่กำจัดกิเลสได้

ด้วยความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้น และความเป็นผู้ตระหนักในพระรัตนตรัย

นั้น ที่เป็นไปแล้ว โดยอาการ คือความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นที่เป็นไป

ในเบื้องหน้า ชื่อว่าสรณคมน์. สัตว์ผู้พร้อมเพรียงด้วยพระรัตนตรัยนั้น ชื่อว่า

ถึงสรณะ อธิบายว่า เข้าถึงด้วยจิตตุปบาทมีประการดังที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า

รัตนะทั้ง ๓ เหล่านี้ เป็นสรณะของเรา รัตนะทั้ง ๓ เหล่านี้เป็นที่เป็นไปใน

เบื้องหน้าของเราดังนี้. พึงทราบวิธี ๓ อย่างนี้คือ สรณะ ๑ สรณคมน์ ๑

ผู้ถึงสรณคมน์ ๑ เท่านี้ก่อน.

ว่าโดยประเภท สรณคมน์มี ๒ อย่าง คือ โลกิยสรณคมน์และโลกุตร-

สรณคมน์ ใน ๒ อย่างนั้น โลกุตรสรณคมน์ โดยอารมณ์ เป็นสรณคมน์

มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ โดยกิจย่อมสำเร็จ เพราะพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น

แก่ผู้เห็นสัจจะแล้ว ด้วยการถึงสรณะและการตัดขาดอุปกิเลส ในขณะแห่งมรรค

(ส่วน) โลกิยสรณคมน์โดยอารมณ์ เป็นสรณคมน์นีพุทธาทิคุณเป็นอารมณ์

ย่อมสำเร็จแก่ปุถุชนทั้งหลาย ด้วยการถึงสรณะ และด้วยการข่มอุปกิเลสไว้.

โลกิยสรณคมน์นั้นโดยความหมาย ตรัสเรียกว่า เป็นการได้เฉพาะซึ่งศรัทธา

ในวัตถุทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ๑ เป็นสัมมาทิฏฐิ มีศรัทธาในวัตถุ

ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเป็นมูล ๑ เป็นทิฏฐชุกรรม ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 439

โลกิยสรณคมน์ นี้นั้น เป็นไปแล้วโดยอาการ ๔ คือ (๑) อัตต-

สันนิยาตนะ การมอบกายถวายตน (๒) ตัปปรายนตา ความมีพระ-

รัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. (๓) สิสสภาวูปคมนะ การเข้าถึง

ความเป็นศิษย์ (๔) ปณิปาตะ การนอบน้อม. ในอาการ ๔ อย่างนั้น

การพลีชีพเพื่อพระพุทธเจ้าเป็นต้น อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอมอบตนแด่พระ-

พุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้ ชื่อว่า

อัตตสันนิยาตนะ

ความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยนั้น เป็นที่พึ่งอาศัย คือความเป็นผู้มีพระ-

รัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นที่ไป

ในเบื้องหน้า มีพระธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีพระสงฆ์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ชื่อว่า ตัปปรายนะ.

การเข้าถึงความเป็นศิษย์ อย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้

อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเป็นอันเตวาสิก ของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ชื่อว่า สิสสภาวูปคมนะ.

การนอบน้อมอย่างยิ่ง ในพระพุทธเจ้าเป็นต้นอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า

ขอกระทำการอภิวาท การต้อนรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรมแก่วัตถุทั้ง ๓

มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั่นแหละ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไป ดังนี้ ชื่อว่า ปณิปาตะ.

จริงอยู่ ผู้ทำการ ๔ อย่างเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เป็นอันถือเอา

สรณคมน์ แล้วทีเดียว อีกประการหนึ่ง พึงทราบการมอบกายถวายตน แม้

อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอสละตน สละชีวิต เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อพระธรรม

เพื่อพระสงฆ์ ทั้งตน ทั้งชีวิต เป็นอันข้าพเจ้าสละแล้วทีเดียว ข้าพาเจ้าขอถึง

พระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 440

พระพุทธเจ้าจงเป็นที่ระลึกเป็นที่ต้านทาน เป็นที่หลีกเร้น (ทุกข์ภัย) ของ

ข้าพเจ้า พึงเห็นการเข้าถึงความเป็นศิษย์ เหมือนการเข้าถึงสรณะ ของพระ-

มหากัสสปเถระอย่างนี้ว่า เราพบพระศาสดา ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วย เราพบพระสุคตก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย เราพบพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย.

พึงทราบความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเหมือน

การถึงสรณะของอาฬวกยักษ์เป็นต้น อย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้านั้นจักออกจากบ้าน ไปสู่

บ้าน ออกจากเมือง ไปสู่เมือง เที่ยว

นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และความ

ที่พระธนรมเป็นธรรมดี.

การนบนอบพึงทราบอย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์ลุกจาก

อาสนะแล้ว ห่มผ้าเฉวียงบ่า ซบเศียรแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า จุมพิต

พระบาทของพระองค์ด้วยปาก ใช้มือนวดพระบาท และประกาศนาม (ของตน)

ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อพรหมายุพราหมณ์ ข้าแต่พระ-

โคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อพรหมายุพราหมณ์ ก็การนบนอบนี้นั้นมี ๔ อย่าง

ด้วยสามารถแห่งการเป็นญาติ ๑ กลัว ๑ เป็นอาจารย์ ๑ เป็นทักขิไณยบุคคล ๑

ใน ๔ อย่างนั้น การถึงสรณะ มีด้วยการนบนอบพระทักขิเณยยบุคคล มิใช่

ด้วยเหตุอื่น. เพราะว่าคนจะถึงสรณะด้วยอำนาจแห่งคุณที่ล้ำเลิศ (ของพระ-

รัตนตรัย) นั่นเอง จะขาดก็ด้วยสามารถแห่งการยึดสิ่งอื่นว่า ประเสริฐ (กว่า)

เพราะฉะนั้น ผู้ใดไหว้ด้วยคิดว่า ท่านผู้นี้เท่านั้น เป็นผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์

เป็นทักขิเณยยบุคคลผู้เลิศในโลก สรณะเป็นอันผู้นั้นถือเอาแล้ว ส่วนผู้ไหว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 441

โดยสำคัญว่า เป็นญาติ เป็นภัย เป็นอาจารย์ หาชื่อว่าถือเอาสรณะไม่. เมื่อ

อุบาสก หรืออุบาสิกาผู้ถึงสรณะอย่างนี้ เมื่อไหว้ญาติผู้แม้บวชในสำนักเดียรถีย์

ทั้งหลาย ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นญาติของเรา สรณะย่อมไม่ขาด จะป่วยกล่าว

ไปไยถึงสรณะของผู้ที่ไหว้ผู้ที่ยังไม่ได้บวชในสำนักเดียรถีย์เป็นต้น เมื่อไหว้

พระราชาเพราะกลัวก็เป็นเช่นนั้น คือสรณะไม่ขาด เพราะว่าพระราชานั้น

เมื่อไม่ไหว้คงจะทำอนัตถะให้ก็ได้ เพราะเป็นผู้ที่ราษฎรบูชา (กราบไหว้)

ดังนี้แล. อนึ่ง ถึงเดียรถีย์ผู้ให้การศึกษาศีลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงจะไหว้

สรณะก็ไม่ขาด ประเภทของสรณคมน์พึงทราบด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็ในสรณคมน์ ๒ อย่างนี้ โลกุตรสรณคมน์ มีสามัญผล ๔ เป็น

วิบากผล มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งมวล เป็นอานิสงสผล สมดังที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ส่วนผู้ใด ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม

และพระสงฆ์ เป็นสรณะ ฯลฯ ผู้นั้น

อาศัยพระพุทธเจ้าเป็นต้นเป็นสรณะ จะ-

พ้นจากทุกข์ทั้งมวล ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง อานิสงสผลแห่งโลกุตรสรณคมน์นั้น พึงทราบ (ด้วย

สามารถแห่ง) การไม่เข้าถึงสังขาร โดยเป็นของเที่ยงเป็นต้น. สมดังคำที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ. ไม่ใช่โอกาส

ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงเข้าถึงสังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเป็น

ของเที่ยง เข้าถึงสังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเป็นสุข เข้าถึงธรรมบางอย่าง

โดยเป็นอัตตา ปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิต

คิดประทุษร้าย ทำโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ อ้าง (นับถือ) ศาสดาอื่น นี้ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 442

เป็นฐานะที่จะมีได้ ดังนี้. ส่วนโลกิยสรณคมน์ มีภวสมบัติบ้าง โภคสมบัติบ้าง

เป็นผลเหมือนกัน สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธ-

เจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ชนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่

อบายภูมิ (เขา) ละร่างอันเป็นของมนุษย์

แล้ว จักยังกายทิพย์ให้บริบูรณ์ ดังนี้.

พระธรรมสังคาหกาจารย์ ได้กล่าวคำแม้อื่นไว้อีกว่า ครั้งนั้นแล

ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วยเทวดา ๘๔,๐๐๐ ได้เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ

ถึงที่อยู่ ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้ กะท้าวสักกะจอมเทพ

ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่งว่า ขอถวายพระพรท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้า

ว่าเป็นที่พึ่ง เป็นการดีแล ดูก่อนจอมเทพ เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้า

เป็นสรณะแล สัตว์บางจำพวกจึงเข้าถึงสุคติ คือโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว

เพราะร่างกายแตกสลายไป ด้วยประการฉะนี้. พวกเขาจะได้รับทิพย์อย่างอื่น

สิบสถาน คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์

รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ ดังนี้. พึงทราบ

ความพิเศษแห่งผลของสรณคมน์ ด้วยสามารถแห่งเวลามสูตรเป็นต้น. ผลแห่ง

สรณคมน์ พึงทราบดังพรรณนามานี้ก่อน.

ก็ในสองอย่างนี้ โลกิยสรณคมน์จักเศร้าหมองด้วยความไม่รู้ ความ

สงสัย และความเห็นผิด ในวัตถุ ๓ ประการ (พระรัตนตรัย) เป็นต้น ไม่

โชติช่วง ไม่กว้างขวาง. ส่วนโลกุตรสรณคมน์ ไม่มีความเศร้าหมอง. อนึ่ง

การขาดแห่งโลกิยสรณคมน์มีสองอย่างคือ (ขาด)ที่มีโทษ และ(ขาด)ที่ไม่มีโทษ

บรรดา ๒ อย่างนั้น ความขาดที่มีโทษ มิได้ เพราะการมอบตนในศาสดาอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 443

เป็นต้น และความขาดที่มีโทษนั้น มีผลไม่น่าปรารถนา. ส่วนความขาดที่

ไม่มีโทษ มีได้เพราะถึงแก่กรรม. ความขาดนั้นไม่มีผล เพราะไม่มีวิบาก

ส่วนโลกุตรสรณคมณ์ ไม่มีการขาดเลย เพราะว่า พระอริยสาวกแม้ในภพอื่น

ก็จะไม่อ้างศาสดาอื่น (ว่าเป็นสรณะ) เพราะฉะนั้น พึงทราบความเศร้าหมอง

และความขาดแห่งสรณคมน์ ดังพรรณนามานี้.

ส่วนความผ่องแผ้ว ก็มีได้เฉพาะโลกิยสรณคมน์เท่านั้น. เพราะว่า

ความเศร้าหมองเกิดขึ้นแก่โลกิยสรณคมน์ใด ความผ่องแผ้วพึงมี เฉพาะโลกิย-

สรณคมน์นั้นเท่านั้น. ส่วนโลกุตรสรณคมน์ ผ่องแผ้วอยู่เป็นนิตย์แล้ว

ฉะนั้นแล.

การยังสัตว์มีชีวิต ซึ่งมีอันจะต้องตกไปเป็นสภาพ โดยหน้าที่ของตน

นั่นเองให้ตกไป ชื่อว่า อติปาตะ ในบทว่า ปาณาติปาโต นี้ อธิบายว่า

ไม่ใช่ให้ค่อย ๆ ตกไป แต่ให้พลันตกไป. อีกอย่างหนึ่ง การใช้ศาสตราเป็นต้น

ครอบงำให้ล่วงตกไป ชื่อว่า อติปาตะ. อธิบายว่า การฆ่าสัตว์มีชีวิต อนึ่ง

ขันธสันดานที่เรียกกันว่าสัตว์ ชื่อว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติปาโต นี้ ขันธ-

สันดานนั้นโดยปรมัตถ์ ได้แก่รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์. แท้จริง

เมื่อรูปชีวิตินทรีย์ที่บุคคลให้พินาศแล้ว อรูปชีวิตินทรีย์นอกนี้ก็พินาศไป

เพราะอรูปชีวิตินทรีย์ เนื่องกับรูปชีวิตินทรีย์นั้น. เจตนาคิดจะฆ่าของผู้มีความ

สำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้น ว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ที่ยังความพยายาม อันเข้าไปตัดขาด

ชีวิตินทรีย์ให้ตั้งขึ้นเป็นไปแล้ว ทางกายทวาร และวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง

ชื่อว่าปาณาติบาต. แท้จริง มหาภูตรูปทั้งหลายที่เกิดขึ้น เพราะปัจจัยคือมหา-

ภูตรูป ที่เป็นเหตุให้ทำความพยายาม ที่เหมือนกับมหาภูตรูปก่อน ๆ จะยังไม่

เกิดขึ้นในภูตรูปเป็นที่อาศัยแห่งชีวิตินทรีย์ที่กำลังเป็นไป (เป็นปัจจุบัน) จะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 444

เกิดขึ้นเฉพาะที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น ด้วยเจตนาอันใด เจตนาอันนั้น ที่ยัง

ประโยคเช่นนั้น ให้ตั้งขึ้น ชื่อว่าปาณาติบาต เพราะว่า ภูตทั้งหลายที่มีความ

พยายามอันได้แล้ว จะไม่ผ่องแผ้วเหมือนภูตก่อน ๆ เพราะฉะนั้น ภูตเหล่านั้น

จึงไม่เป็นเหตุ แห่งภูตทั้งหลายที่มีชาติเสมอกัน . คำว่า กายวจีทฺวาราน

อญฺตรทฺวารปฺปวตฺตา นี้ แสดงถึงความไม่มีแห่งการยังสัตว์มีชีวิตให้ตก

ล่วงไป (ปาณาติบาต) ด้วยวธกเจตนาที่เป็นไปแล้วในมโนทวาร. จริงอยู่

แม้ในกุลุมพสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาวิชชามยฤทธิว่า สมณะ

หรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญทางใจ ย่อมไม่เพ่งเล็ง

สัตว์ที่เกิดในครรภ์ ที่อยู่ในท้องของหญิงอื่น ด้วยใจที่ใฝ่ต่ำ และวิชชามยฤทธิ

นั้น ทิ้งวจีทวารเสียแล้ว ไม่อาจให้เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น วิชชามยฤทธินั้น

จึงสำเร็จด้วยอำนาจแห่งวจีทวารเท่านั้น. แต่วาทะของอาจารย์ที่กล่าวว่า ฤทธิ์ที่

สำเร็จด้วยการภาวนา ท่านประสงค์เอาในกุลุมพสูตรนั้น ผิดจากภูมิอื่นที่กล่าว

ไว้ในกุศลติกะ เวทนาติกะ และวิตักกติกะ.

ปาณาติบาตนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้น

ที่ปราศจากคุณ สัตว์มีชีวิตตัวเล็ก ๆ. ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีชีวิต

ตัวใหญ่. เพราะเหตุไร ? เพราะมีประโยคใหญ่ (มีพิธีการมาก) แม้เมื่อมี

ประโยคเท่ากัน ปาณาติบาต ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีวัตถุใหญ่เป็นต้น.

ในบรรดามนุษย์เป็นต้นผู้มีคุณ ในเพราะผู้มีคุณน้อย ปาณาติบาต ก็มีโทษน้อย

ในเพราะมีคุณมากก็มีโทษมาก แต่เมื่อร่างกายและคุณเสมอกัน ปาณาติบาต

ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อนกำลัง. ชื่อว่า มีโทษมาก

เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า อนึ่งในเรื่องแห่งปาณาติบาตนี้ การที่

ปาณาติบาตมีโทษมาก เพราะมีประโยคและวัตถุใหญ่เป็นต้น พึงทราบโดย

ความมีเจตนาที่เกิดขึ้น เพราะปัจจัยเหล่านั้นมีกำลัง. ความที่ประโยคเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 445

ประโยคใหญ่ ที่ได้เพราะเจตนาอันเป็นตัวให้สำเร็จ ที่ยังกิจของตนให้สำเร็จลง

ด้วยสามารถยังประโยคตามที่ตนประสงค์ให้สำเร็จโดยเร็ว และที่ได้เสวนะ

ด้วยชวนะทั้งหลายที่เป็นไปมากครั้ง บางครั้งเมื่อประโยคเสมอกัน ทั้งในสัตว์

ที่มีชีวิตตัวเล็กและตัวใหญ่ แม้มีอยู่ เจตนาของผู้ฆ่าสัตว์ใหญ่ มีกำลังกล้ากว่า

จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น แม้ความที่วัตถุเป็นของใหญ่ จึงเป็นเหตุแห่งความ

ที่เจตนามีกำลังกว่า ดังนั้นทั้งสองอย่างนี้ จึงเป็นเหตุแห่งความที่ปาณาติบาต

มีโทษมาก โดยภาวะที่เจตนามีกำลังนั่นเอง. อนึ่ง เมื่อความที่สัตว์จะต้องฆ่ามี

คุณมาก ความที่ปาณาติบาตนั้นมีโทษมาก พึงเห็นได้ว่า แม้เจตนาที่ไม่เป็น

อุปการะ แก่การยังเขตพิเศษให้สำเร็จ เป็นเจตนาที่มีกำลังและแรงกล้ากว่า

จะเกิดขึ้น เหมือนเจตนาที่เป็นอุปการะที่เป็นไปแล้ว ในสัตว์ที่จะต้องฆ่านั้น

เพราะฉะนั้น แม้เมื่อความที่ปัจจัยทั้งหลายมีประโยคและวัตถุเป็นต้นไม้ใหญ่

ก็พึงทราบความที่ปาณาติบาตมีโทษมาก ด้วยสามารถแห่งความที่เจตนาเป็น

เจตนามีกำลัง เพราะปัจจัยทั้งหลาย มีความเป็นผู้มีคุณมากเป็นต้นนั่นเอง.

ปาณาติบาตนั้นมีองค์ประกอบ ๕ อย่าง คือ ๑. ปาโณ สัตว์มีชีวิต

๒. ปาณสญฺิตา รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต ๓. วธกจิตฺต จิตคิดจะฆ่า ๔.

อุปกฺกโม ความพยายามที่จะฆ่า ๕. เตน มรณ สัตว์ตายด้วยความพยายาม

นั้น. ปาณาติบาตที่ประกอบไปด้วยองค์ ๕ ไม่พ้นไปจากองค์ ๕ พึงทราบว่า

เป็นปาณาติบาต. ในองค์ประกอบ ๕ อย่างนั้น การรู้ว่าสัตว์มีชีวิต และจิตคิด

จะฆ่า จัดเป็นบุพภาค (ของปาณาติบาต). ส่วนความพยายามที่จะฆ่า เป็น

องค์ประกอบให้วธกเจตนาปรากฏชัด. ปาณาติบาตนั้นมี ๖ ประโยค คือ ๑.

สาหัตถิกประโยค (ฆ่าด้วยมือตนเอง) ๒. อาณัตติกประโยค (ใช้ผู้อื่นฆ่า)

๓. นิสสัคคิยประโยค (การขว้างอาวุธไป ปล่อยอาวุธไป) ๔. ถาวรประโยค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 446

(เครื่องมือฆ่าสัตว์ที่ทำไว้ประจำ) ๕. วิชชามยประโยค (อำนาจคุณแล

ไสยศาสตร์) ๖. อิทธิมยประโยค (การบันดาลด้วยฤทธิ์).

บรรดาประโยคทั้ง ๖ อย่างนั้น ประโยค (การฆ่า) ที่บังเกิดขึ้นด้วย

มือของตน ชื่อว่า สาหัตถิกประโยค ประโยคที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งการ

สั่งบังคับผู้อื่น ชื่อว่า อาณัตติกประโยค ประโยคที่เป็นไปแล้ว ด้วยสามารถ

แห่งการยิงด้วยลูกศร และพุ่งด้วยหอกเป็นต้นออกไป ชื่อว่า นิสสัคคิย-

ประโยค ประโยคที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งการขุดหลุมพรางเป็นต้น ชื่อว่า

ถาวรประโยค ประโยคที่สำเร็จด้วยการร่ายมนต์ เหมือนการร่ายเวทย์ของ

หมออาถรรพ์เป็นต้น ชื่อว่า วิชชามยประโยค ประโยคที่สำเร็จด้วยฤทธิ์

อันเกิดแต่กรรมวิบาก พึงเห็นเหมือนประโยคของผู้มีฤทธิ์ ให้สัตว์มีพิษขบกัด

เป็นต้น.

ในข้อนี้มีผู้กล่าวท้วงว่า ในเมื่อสังขารทั้งหลายมีการดับอยู่ทุก ๆ ขณะ

เป็นสภาพ ใครเล่าเป็นผู้ฆ่า หรือใครถูกฆ่า ถ้าความสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก

มีอยู่ ความสืบต่อแห่งจิตและเจตสิกนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะหวั่นไหวได้

ทั้งใคร ๆ ก็ให้หวั่นไหวไม่ได้ ด้วยสามารถแห่งการสับและการทุบเป็นต้น

เพราะไม่มีรูปร่างไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น การสืบต่อแห่งรูปอันใดมีอยู่ การ

สืบต่อแห่งรูปนั้น อุปมาเหมือนดุ้นฟืนและท่อนไม้ เพราะหาเจตนามิได้

เพราะฉะนั้น จะหาปาณาติบาตไม่ได้ ในการสืบต่อแห่งรูปนั้น ด้วยการสับ

เป็นต้น เหมือนแม้ประโยคในร่างที่ตายแล้ว ปาณาติบาตก็จะพึงมีประโยค

มีการประหาร และไม่ประหารเป็นต้นตามที่กล่าวแล้ว ในสัตว์และสังขารที่

เป็นอดีต เป็นอนาคต หรือปัจจุบัน. ก่อนอื่นในกาลทั้ง ๓ นั้น ประโยค

ตามที่กล่าวแล้ว จะไม่เกิดมีในอดีตและอนาคต เพราะอดีตและอนาคตเหล่านั้น

เป็นสภาวะไม่มีอยู่ ประโยคในปัจจุบัน ที่กำลังบ่ายหน้าไปสู่ความสิ้นสูญไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 447

ก็จะหาประโยชน์มิได้ เพราะสังขารทั้งหลายเป็นไปชั่วขณะ (และ) เพราะ

สังขารทั้งหลายมีการดับไปตามหน้าที่ของตนนั่นแหละ เป็นสภาพ ความตาย

เป็นตัวเหตุแห่งประโยคมีการประหาร และไม่ประหารเป็นต้นก็จะไม่มี เพราะ

เว้นจากเหตุแห่งการสูญในรูป และใครเล่าจะเป็นเจ้าของประโยค เพราะสังขาร

ทั้งหลายไม่มีจิตใจ ปาณาติบาตจะเป็นกรรมพันธ์ของใครเล่า เพราะสังขาร

ที่แตกสลายตลอดเวลาที่พอเหมาะกับการประสงค์จะฆ่านั่นเอง ไม่หยุดอยู่จน

ให้ถึงเวลาสิ้นสุดการกระทำ เนื่องจากเป็นไปชั่วขณะ.

ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป กองสังขารกล่าวคือสัตว์ ที่พร้อมเพรียง

ไปด้วยวธกเจตนา ตามที่กล่าวแล้ว (นั่นแล) เป็นผู้ฆ่า กองแห่งรูปธรรม

และอรูปธรรม ที่มีประโยคแห่งการฆ่า อันกองสังขารให้เป็นไปแล้ว เป็น

เครื่องหมาย อันเป็นที่ตั้งแห่งการกล่าวว่า ชีวิตินทรีย์คือวิญญาณที่ปราศจาก

ไออุ่น ตายแล้วซึ่งควรแก่การเป็นไปในเบื้องบน (สืบต่อกันไปในอนาคต)

เหมือนที่เป็นไปแล้วในกาลก่อน (นั่นแหละ) ถูกฆ่า ในเพราะกระทำประโยค

แห่งการฆ่าตามที่กล่าวแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง การสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก (นั่นเอง)

ถูกฆ่า. แม้เมื่อความที่แห่งการสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก ไม่เป็นอารมณ์ของ

ประโยคแห่งการฆ่ามีอยู่ การสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก แม้นั้นจะขาดสูญไป

โดยการขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งประโยคที่กระทำแล้วในภูตรูป

ทั้งหลาย เพราะความสืบต่อแห่งจิตและเจตสิกนั้น มีพฤติกรรมไม่หย่อนไปกว่า

การสืบต่อแห่งรูป ในปัญจโวการภพ (ขันธ์ ๕) เพราะฉะนั้น ปาณาติบาต

จะไม่เกิดก็หาไม่ ทั้งไม่ใช่ไม่เป็นเหตุ และจะเป็นประโยคที่ไร้ประโยชน์ก็หาไม่

มรณะไม่ใช่ไม่มีเหตุ เพราะ (เหตุ ๓ ประการ) คือ ๑. เพราะสังขาร (นาม)

และกลาปะ (รูป) ที่ควรจะเกิดขึ้นถัดจากนั้น ก็ไม่เกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้น

ด้วยสามารถประโยคที่ทำแล้วในสังขารทั้งหลาย ที่เป็นปัจจุบัน ๒. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 448

ขณิกมรณะของสังขารทั้งหลาย ที่มีอยู่ชั่วขณะพระองค์ไม่ทรงประสงค์เอาโดย

เป็นมรณะในที่นี้และ ๓. เพราะการดับแห่งสันตติ เป็นสิ่งที่มีเหตุตามนัยที่

ได้กล่าวมาแล้ว. สังขารท่านกล่าวว่า ทำเหตุที่มีการยังผลให้เกิดขึ้น โดยสมควร

แก่ตน ๆ แน่นอนด้วยเหตุสักว่า ความมีอยู่ (อัตถิตา) นั่นเอง เพราะเกิดขึ้น

ตามปัจจัย ในสังขารทั้งหลาย แม้ที่ปราศจากเจตนา. ดวงประทีปย่อมส่องสว่าง

ฉันใด เพราะฉะนั้น การเรียกว่าการฆ่า ย่อมปรากฏชัดฉันนั้น และไม่ปรารถนา

เอาปาณาติบาต แห่งจิตเจตสิก (นาม) และกลาปะ (รูป) ที่เกิดพร้อมกับ

ความประสงค์จะฆ่าอย่างเดียว แต่ประสงค์เอาปาณาติบาตแห่งจิต เจตสิกและ

กลาปะ ที่กำลังเป็นไปด้วยสามารถแห่งการสืบต่อเท่านั้น เพราะฉะนั้นกรรมพันธุ์

เพราะปาณาติบาต จึงมีอยู่ทีเดียว และการทำประโยชน์ย่อมปรากฏแก่ประทีป

เป็นต้น ที่กำลังส่องแสงอยู่ด้วยสามารถแห่งการต่อเนื่องกัน ดังนี้แล. ก็แม้ใน

อทินนาทานเป็นต้น ข้อวิจารณ์นี้ควรอธิบายให้ชัด ตามสภาพที่เป็นจริง.

เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตนั้น. ชื่อว่า อปฺปฏิวิรตา เพราะไม่เว้นขาด.

การถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ชื่อว่า อทินนาทาน. ท่านกล่าว

อธิบายไว้ว่า การนำของผู้อื่นไป คือการลักได้แก่ความเป็นขโมย. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า อทินฺน ได้แก่ของที่คนอื่นหวงแหน. คนอื่นเมื่อถึงความ

เป็นผู้ทำตามชอบใจ ในของที่ผู้อื่นหวงแหนอันใด (แม้) ไม่ควรได้รับโทษ

ทัณฑ์ และไม่ควรถูกตำหนิ เถยยเจตนา (ความตั้งใจลัก) ของผู้ที่มีความ

สำคัญในสิ่งของที่ผู้อื่นหวงแหนนั้น ว่าเป็นของที่ผู้อื่นหวงแหน ยังความพยายาม

ถือเอาสิ่งของนั้นให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า อทินนาทาน.

อทินนาทานนั้นชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะของผู้อื่นเลว (ราคาน้อย)

ชื่อว่ามีโทษมากในเพราะของผู้อื่นประณีต (ราคามาก) เพราะเหตุไร ? เพราะ

วัตถุประณีต ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะของผู้อื่นน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก

ในเพราะของผู้อื่นมาก ก็เช่นเดียวกันนั้น. เพราะเหตุไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 449

เพราะวัตถุใหญ่ และเพราะประโยคใหญ่ แต่เมื่อมีวัตถุเสมอกัน

อทินนาทาน ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะวัตถุของผู้มีคุณธรรมสูง ชื่อว่ามีโทษ

น้อย เพราะวัตถุของผู้มีคุณธรรมต่ำกว่าผู้มีคุณธรรมสูงนั้น ๆ โดยหมายเอา

คุณธรรมที่สูงนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ แต่เมื่อวัตถุและคุณไม่เท่ากัน อทินนาทาน

ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะความที่กิเลสและประโยคเป็นของอ่อน ชื่อว่ามีโทษมาก

เพราะกิเลสและประโยคเป็นของกล้า.

อทินนาทานนั้น มีองค์ประกอบ ๕ อย่าง คือ ๑. ปรปริคฺคหิต

(ของที่เจ้าของหวงแหน) ๒. ปรปริคฺคหิตสญฺิตา (รู้อยู่ว่าเป็นของที่

เจ้าของเขาหวงแหน) ๓. เถยฺยจิตฺต (จิตคิดจะลัก) ๔. อุปกฺกโม

(ทำความพยายามที่จะลัก) ๕. เตน หรณ (ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น)

ประโยคมี ๖ อย่าง มีสาหัตถิกประโยคเป็นต้นเหมือนกัน ก็แลประโยคเหล่านั้น

เป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งอวหารเหล่านี้ คือ เถยฺยาวหาร (การลักด้วย

ความขโมย) ๑ ปสยฺยาวหาร (ลักด้วยความข่มขู่) ๑ ปริกปฺปาวหาร

(ลักตามที่กำหนดไว้) ๑ ปฏิจฺฉนฺนาวการ (ลักด้วยกิริยาปกปิด) ๑ กุสาวหาร

(ลักด้วยการสับเปลี่ยนสลาก) ๑. ก็ในบรรดาประโยคเหล่านั้น การลักของ ๆ

ผู้อื่นไปด้วยการร่ายมนต์ ชื่อว่า วิชชามยประโยค การบันดาลมาซึ่งของ ๆ

ผู้อื่น ด้วยกายประโยคและวจีประโยค อันสำเร็จแล้วด้วยอานุภาพของฤทธิ์

เช่นนั้น เว้นจากมนต์ พึงทราบว่า ชื่อว่า อิทธิมยประโยค.

บทว่า กาเมสุ ได้แก่ เมถุนสมาจาร. บทว่า มิจฺฉาจาโร ได้แก่

อาจาระอันลามก ที่ท่านตำหนิไว้แล้วโดยส่วนเดียว. แต่โดยลักษณะ เจตนา

ที่คิดจะล่วงละเมิด อคมนียัฏฐาน (ฐานะที่ไม่ควรล่วงละเมิด) อันเป็นไปแล้ว

ทางกายทวารด้วยความประสงค์จะเสพอสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร

บรรดาอคมนียัฏฐานเหล่านั้น หญิง ๒๐ จำพวก คือหญิง ๑๐ จำพวก มีหญิง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 450

ที่มารดารักษาแล้วเป็นต้น และอีก ๑๐ จำพวก มีหญิงที่ซื้อมาด้วยทรัพย์-

เป็นต้น ชื่อว่าเป็นอคมนียัฏฐานของบุรุษทั้งหลายก่อน แต่ว่าบุรุษอื่นเป็น

อคมนียัฏฐาน สำหรับหญิง ๑๒ จำพวกคือ หญิงที่มีอารักขา และมีอาญา

รอบด้าน ๒ จำพวก และหญิงที่ซื้อมาได้ด้วยทรัพย์เป็นต้นอีก ๑๐ จำพวกใน

จำพวกหญิงทั้งหลาย.

มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะอคมนียัฏฐานที่เว้นจาก

คุณความดีมีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะถึงพร้อมด้วยคุณความดี มีศีล

เป็นต้น อนึ่ง แม้ในอคมนียัฏฐานที่ปราศจากคุณความดี มิจฉาจารของผู้

ประพฤติผิดเพราะข่มขืนก็มีโทษมาก. แต่ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะคนทั้งสอง

มีฉันทะร่วมกัน. ถึงเมื่อคนทั้งสองจะมีฉันทะร่วมกัน กาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่า

มีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อน ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะกิเลส

และความพยายามแรงกล้า.

กาเมสุมิจฉาจารนั้นมีองค์ ๔ คือ อคมนียวัตถุ (วัตถุที่จะพึงล่วงเกิน)

๑ ตตฺถ เสวนจิตฺต (จิตคิดจะเสพในอคมนียวัตถุนั้น) ๑ เสวนปโยโค

(ประโยคในการเสพ) ๑ มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติอธิวาสน (การยังมรรค

ให้ดำเนินไปทางมรรคหรือหยุดอยู่) ๑ ในบรรดาองค์. เหล่านั้น กาเมสุมิจ-

ฉาจารของผู้ที่ให้เป็นไปตามความพอใจของตนมีองค์ ๓ ส่วนของผู้ที่ให้เป็น

ไปแล้วโดยพลการ มีองค์ ๓ เพราะฉะนั้น พึงเห็นว่ามีองค์ ๔ โดยถือเอา

ไม่ให้มีส่วนเหลือ แต่ความสำเร็จประโยชน์จะมีได้ก็ด้วยองค์ ๓ เท่านั้น

กาเมสุมิจฉาจาร มีประโยคเดียว คือสาหัตถิกประโยคเท่านั้น.

บทว่า มุสา ได้แก่กายประโยค และวจีประโยค ที่มุ่งหักราน

ประโยชน์ของผู้มุ่งจะกล่าวให้ผิด เจตนาที่ยังกายประโยคและวจีประโยคในการ

กล่าวให้ผิดต่อผู้อื่น ของผู้นั้น ด้วยความประสงค์จะกล่าวให้ผิดพลาด ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 451

มุสาวาท อีกนัยหนึ่ง เรื่องที่ไม่เป็นจริงชื่อว่ามุสา. การยังผู้อื่นให้เข้าใจเรื่อง

ที่ไม่เป็นจริงนั้น ว่าจริง ว่าแท้ ชื่อว่า วาทะ เพราะฉะนั้น เจตนาของผู้

ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่จริง ว่าจริง ที่ยังประโยคในการให้ผู้อื่น

เข้าใจนั้น ให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า มุสาวาท.

มุสาวาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ตนจะหักรานนั้น

มีน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีมาก. อีกอย่างหนึ่ง

สำหรับคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่าไม่มี เพราะไม่ประสงค์

จะให้ของ ๆ ตน (แก่ผู้อื่น) ชื่อว่ามีโทษน้อย (แต่) ที่กล่าวโดยเป็นพยาน

หักล้างผลประโยชน์ ชื่อว่ามีโทษมาก. สำหรับบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว

โดยนัยแห่งปูรณกถา ว่าวันนี้ ที่บ้าน น้ำมันเห็นจะไหลไปเหมือนแม่น้ำโดย

ประสงค์จะหัวเราะ เพราะได้น้ำมัน หรือเนยใสนิดหน่อย ชื่อว่ามีโทษน้อย

แต่เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ได้เห็นเลยโดยนัยมีอาทิว่า ได้เห็น มุสาวาทชื่อว่า

มีโทษมาก อนึ่ง มุสาวาทชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ตนหักรานประโยชน์

มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้ที่ตนหักรานประโยชน์มีโทษมาก. และ

ความที่มุสาวาทมีโทษน้อย หรือมีโทษมาก จะมีได้ ก็ด้วยสามารถกิเลสอ่อน

และแรงกล้านั่นเอง.

องค์ของมุสาวาทนั้นมี ๔ คือ อตถ วตฺถุ (เรื่องไม่จริง) ๑ วิสวาท-

นจิตฺต (จิตคิดจะพูดให้ผิด) ๑ ตชฺโช วายาโม (ความพยายามอันเกิดแต่

จิตนั้น) ๑ ปรสฺส ตทตฺถวิชานน (การให้ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น) ๑.

จริงอยู่ แม้การให้ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น พึงทราบว่าเป็นองค์ (ประกอบ)

ข้อ ๑ เพราะแม้เมื่อทำประโยค กล่าวโดยประสงค์จะพูดให้ผิด เมื่อผู้อื่น

ไม่เข้าใจเนื้อความนั้น การพูดให้ผิด ก็ไม่สำเร็จ (ความประสงค์). ส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 452

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มุสาวาทมีองค์ประกอบ ๓ คือ อภูตวจน (พูดไม่จริง)

๑ วิสราทนจิตฺต (จิตคิดจะพูดให้ผิด) ๑ ปรสฺส ตทตฺถวิชานน (การ

ให้ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น) ๑ ก็ถ้าบุคคลอื่น พิจารณาแล้วจึงรู้ความหมายนั้น

เพราะรู้ได้ช้า เจตนาที่เป็นเหตุให้กิริยาตั้งขึ้น ย่อมเกี่ยวเนื่องกับมุสาวาทกรรม

ในชั่วขณะนั่นเอง เพราะเจตนาที่เป็นเหตุให้ตกลงใจเป็นไปแล้ว.

บทว่า สุรา ได้แก่สุรา ๕ อย่างคือ ปิฏฺสุรา (สุราทำด้วยแป้ง) ๑

ปูวสุรา (สุราทำด้วยขนม) ๑ โอทนสุรา (สุราทำด้วยข้าวสุก) ๑ กิณฺณปกฺ-

ขิตฺตา (สุราที่เติมด้วยส่าเหล้า) ๑ สมฺภารสยุตฺตา (สุราที่ประกอบด้วย

เครื่องปรุง) ๑. บทว่า เมรย ได้แก่ ของหมักดอง ๕ อย่าง คือ ปุปผาสวะ

(เครื่องดองด้วยดอกไม้) ๑ ผลาสวะ (เครื่องดองด้วยผลไม้) ๑ มัธวาสวะ

(เครื่องดองด้วยน้ำผึ้ง) ๑ คุฬาสวะ (เครื่องดองด้วยน้ำอ้อยงบ) ๑ สัมภาร-

สังยุตตะ (เครื่องดองที่ประกอบด้วยเครื่องปรุง) ๑ แม้ทั้งสองอย่างนั้นชื่อว่า

มัชชะ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเมา เจตนาเป็นเหตุดื่มน้ำเมานั้น

ชื่อว่า ปมาทัฏฐานะ เพราะเป็นเหตุแห่งความประมาท. แต่โดยลักษณะ

เจตนาที่ประมาท อันเป็นไปแล้วทางกายทวาร ด้วยสามารถแห่งความมึนเมา

เริ่มแต่เชื้อน้ำเมากล่าวคือสุราเมรัย ตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า สุราเมรัยมัชช-

ปมาทัฏฐาน.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีองก์ประกอบ ๔ อย่างคือ มชฺชภาโว

(ความเป็นของเมา) ๑ ปาตุกมฺยตาจิตฺต (จิตคิดจะดื่ม) ๑ ตชฺโช

วายาโม (ความพยายามอันเกิดแต่จิตนั้น ) ๑ อชฺโฌหรณ (กลืนให้ล่วงลง

ในลำคอ) ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 453

ก็ภาวะที่สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานนั้น มีโทษโดยส่วนเดียวเพราะเขา

ดื่มด้วยจิตเป็นอกุศลอย่างเดียว. แต่สุรานั้นไม่ไหลเข้าปากของพระอริยสาวก

ทั้งหลาย ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้วัตถุ (ว่าเป็นน้ำเมา). จะป่วยกล่าวไปไยถึงที่รู้อยู่. การ

ดื่มน้ำเมาเพียงเล็กน้อยก็มีโทษน้อย การดื่มน้ำเมาเพียงครั้งอาฬหกะ มากกว่า

น้ำเมาเล็กน้อยนั้น มีโทษมาก. เมื่อดื่มน้ำเมามากแล้วยังสามารถให้กาย

เคลื่อนไหวไปทำกรรมมีการปล้นชาวบ้านเป็นต้น มีโทษมากทีเดียว.

จริงอยู่ การทำชั่วในพระขีณาสพ ถึงขั้นปาณาติบาต มีโทษมาก. การ

ทำชั่วในสำนักของพระขีณาสพ ถึงขั้นอทินนาทาน มีโทษมาก. บาปกรรม

ในเพราะการล่วงเกินภิกษุณี ผู้เป็นพระขีณาสพ ถึงชั้นมิจฉาจาร มีโทษมาก.

การทำชั่วในเพราะการทำลายสงฆ์ (ให้แตกกัน) ด้วยมุสาวาท ถึงขั้นมุสาวาท

มีโทษมาก. การทำชั่วในเพราะกรรมมีการดื่มน้ำเมามาก จนสามารถให้กาย

เคลื่อนไหว ปล้น ฆ่าชาวบ้านเป็นต้น เพราะสุราบาน มีโทษมาก. การทำ

สงฆ์ให้แตกกันด้วยมุสาวาทอย่างเดียว มีโทษมากกว่าบาปกรรมเหล่านี้แม้ทั้ง

ทั้งหมด. เพราะผู้ทำสังฆเภทนั้น ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดกัป.

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัย ในบาปกรรมเหล่านั้นโดยอาการ ๖ อย่างคือ

โดยสภาพ ๑ โดยอารมณ์ ๑ โดยเวทนา ๑ โดยมูล ๑ โดยกรรม ๑

โดยผล ๑.

บรรดาอาการทั้ง ๖ อย่างนั้น ว่าโดยสภาพปาณาติบาตเป็นต้นแม้ทั้ง

หมด เป็นสภาพของเจตนาอย่างเดียว. ว่าโดยอารมณ์ ปาณาติบาต มีสังขาร

เป็นอารมณ์ โดยมีชิวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนาทานมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง

มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. มิจฉาจาร มีสังขารเป็นอารมณ์ด้วยอำนาจโผฏฐัพพะ.

(แต่) อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ มุสาวาทมีสัตว์เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 454

อารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง การดื่มสุรามีสังขารเป็นอารมณ์. ว่า

โดยเวทนา ปาณาติบาตมีเวทนาเป็นทุกข์. อทินนาทานมีเวทนา ๓. มิจฉาจาร

มีเวทนา ๒ ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและมัชฌัตตา (อทุกขมสุขเวทนา) สุรา

บานก็เหมือนกัน (คือมีเวทนา ๒) แต่ทั้งสองอย่าง (คือมิจฉาจารและสุราบาน)

ไม่ใช่มีเวทนาเป็นกลาง ๆ (คืออทุกขมสุข) ด้วยจิตที่เป็นเหตุให้ตกลงใจ

มุสาวาทมีเวทนา ๓. ว่าโดยมูลฐาน ปาณาติบาตมีมูล ๒ ด้วยสามารถแห่งโทสะ

และโมหะ. อทินนาทานและมุสาวาท มีมูล ๒ ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ

หรือด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ. มิจฉาจารและสุราบาน มีมูล ๒ ด้วยสามารถ

แห่งโลภะและโมหะ. ว่าโดยกรรม บรรดาบาปกรรมทั้ง ๕ นี้ มุสาวาทอย่าง

เดียวเป็นวจีกรรม. ที่เหลือทั้ง ๔ ข้อ เป็นกายกรรมทั้งนั้น. ว่าโดยผล ทุก ๆ

ข้อมีผลให้เกิดในอบายทั้งนั้น และถึงในสุคติ ก็ให้ผลไม่น่าปรารถนานานา

ชนิด มีความเป็นผู้มีอายุน้อยเป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงทราบวินิจฉัยในบาป

กรรมเหล่านี้ โดยสภาพเป็นต้นดังพรรณนามานี้.

บทว่า อปฺปฏิวิรตา ได้แก่ ไม่เป็นผู้เว้นขาด เพราะไม่มีสมาทานวิรัติ

และสัมปัตตวรัติ. บทว่า ทุสฺสีลา ความว่า ถัดจากนั้นไป ก็เป็นคนไม่

มีศีล เพราะไม่มีแม้เพียงเบญจศีล. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ธรรมที่ลามก

คืออาจาระที่เลวทราม. บทว่า ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต ความว่าเป็นผู้งด

เว้น คือตั้งอยู่ไกลจากปาณาติบาต เพราะการสมาทานสิกขาบท. แม้ในบทที่

เหลือทั้งหลาย ก็มีนัยนี้.

แม้ในที่นี้ พึงทราบวินิจฉัย โดยสภาพ ๑ โดยอารมณ์ ๑ โดย-

เวทนา ๑ โดยมูลฐาน ๑ โดยธรรม ๑ โดยการสมาทาน ๑ โดย-

การขาด ๑ โดยผล ๑ แห่งเวรมณีทั้งหลาย มี ปาณาติปาตาเวรมณีเป็นต้น

ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 455

จริงอยู่ บรรดาอาการทั้ง ๘ อย่างนั้น โดยสภาพแล้วรมณีทั้ง ๕

เป็นเจตนาบ้าง เป็นวิรัติบ้าง แต่ว่าเทศนามีมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งวิรัติ.

วิรัติของผู้ที่งดเว้น จากปาณาติบาตที่ประกอบด้วยกุศลจิต ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้

ว่า (ในสมัยนั้น วิรัตินั้น) ได้แก่การงด การเว้น จากปาณาติบาต ดังนี้

โดยประเภทมี ๓ อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ ๑ สมาทานวิรัติ ๑ สมุจ-

เฉทวิรัติ ๑ บรรดาวิรัติ ๓ อย่างนั้น วิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้ไม่ได้สมาทานสิกขาบท

(มาก่อน) แต่พิจารณาเห็น ชาติ วัย และความเป็นพหูสูตเป็นต้น ของ

ตน แล้วไม่ฝ่าฝืน วัตถุที่มาประจวบเข้า ด้วยคิดว่า เรื่องนี้ไม่เหมาะแก่-

เราที่จะการทำ ดังนี้ ชื่อว่าสัมปัตตวิรัติ. ส่วนวิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้สมาทาน

สิกขาบท (มาก่อน) แล้ว แม้สละชีวิตของตนที่มีคุณค่ายิ่งกว่าสิกขาบทนั้น ก็

ไม่ล่วงละเมิดวัตถุ เพราะสมาทานสิกขาบทไว้ ชื่อว่าสมาทานวิรัติ. แต่วิรัติที่

สัมปยุตด้วยอริยมรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิรัติ ซึ่งเริ่มแต่เกิดขึ้นแล้ว แม้ความ

คิดว่า เราจักฆ่าสัตว์ ก็ไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยบุคคลทั้งหลาย. ในบรรดาวิรัติ

ทั้ง ๓ นั้น ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาสมาทานวิรัติ.

ว่าโดยอารมณ์ อารมณ์ของปาณาติบาตเป็นต้นนั่นเอง เป็นอารมณ์

ของปาณาติปาตาเวรมณีเป็นต้นนั้น. ด้วยว่า ขึ้นชื่อว่าการงดเว้น จะมีได้ก็

เพราะมีสิ่งที่จะต้องล่วงละเมิดนั่นเอง อนึ่ง กุศลธรรมเหล่านี้ ที่มีชีวิตินทรีย์

เป็นอารมณ์นั้นเอง ย่อมละความทุศีลทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้นได้

เหมือนอริยมรรคที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลายได้ฉะนั้น.

ว่าโดยเวทนา วิรัติทั้งหมด เป็นสุขเวทนาทั้งนั้น. ว่าโดยมูลฐาน

กุศลธรรมเหล่านี้ ของผู้ที่งดเว้น ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ มีมูล ๓ ด้วย

สามารถแห่งอโลภะ อโทสะ และอโมหะ ของผู้ที่งดเว้นด้วยจิตที่เป็นญาณ-

วิปยุต มีมูล ๒ ด้วยสามารถแห่งอโลภะและอโทสะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 456

ว่าโดยกรรม การงดเว้นจากมุสาวาทเป็นวจีกรรม (ส่วน) ที่เหลือเป็น

กายกรรม. ว่าโดยสมาทาน ผู้ไม่ได้รับการสมาทานนั้นในสำนักของผู้อื่นที่เป็น

ครุฏฐานิยบุคคล สมาทานศีล ๕ ด้วยตนเองเป็นเอกัชฌสมาทาน หรือเป็น

ปัจเจกสมาทาน ก็ย่อมเป็นอันสมาทานแล้ว. ว่าโดยการขาด สำหรับคฤหัสถ์

ทั้งหลาย สิกขาบทใดที่ล่วงเกินแล้ว จะขาดเฉพาะสิกขาบทนั้น ๆ เท่านั้น

นอกนี้ไม่ขาด. เพราะเหตุไร ? เพราะคฤหัฤส์ทั้งหลายมีศีล ไม่เกี่ยวเนื่องกัน

(เป็นปัจเจกสมาทาน) รักษาเฉพาะสิกขาบทที่สามารถรักษาได้เท่านั้น. ส่วน

สำหรับบรรพชิต เมื่อล่วงละเมิดสิกขาบทเดียว ก็ขาดทั้งหมด.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ผลโต ดังต่อไปนี้ กับบรรดา เวรมณี

เหล่านี้ ปาณาติปาตาเวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้คือ องฺคปจฺจงฺคสมนฺ-

นาคตา (ความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่) ๑ อาโรหปริณาทสมฺ-

ปตฺติ (ความถึงพร้อมด้วยส่วนสูงและส่วนกว้าง) ๑ ชวนสมฺปตฺติ (ความถึง

พร้อมด้วยเชาว์ไวไหวพริบ) ๑ สุปติฏฺิตปาทตา (ความเป็นผู้มีเท้าตั้งอยู่

เหมาะสม) ๑ จารุตา (ความสวยงาม) ๑ มุทุตา (ความเป็นผู้อ่อนโยน) ๑

สุจิตา (ความสะอาด) ๑ สูรตา (ความกล้าหาญ) ๑ มหาพลตา (ความเป็น-

ผู้มีกำลังมาก) ๑ วิสฏฺวจนตา (ความเป็นผู้มีถ้อยคำสละสลวย) ๑ สตฺตาน

ปิยุมนาปตา (ความเป็นผู้น่ารัก น่าพอใจ ของสัตว์ทั้งหลาย) ๑ อภิชฺช-

ปริสตา (ความเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกัน) ๑ อฉมฺภิตา (ความเป็นผู้ไม่-

สะดุ้งหวาดเสียว) ๑ ทุปฺปธสิยตา (ความเป็นผู้อันใคร ๆ กำจัดได้ยาก)

ปรูปกฺกเมน อมรณตา (ความเป็นผู้ไม่ตายดับการปองร้ายของผู้อื่น)

มหาปริวารตา (ความเป็นผู้มีบริวารมาก) ๑ สุวณฺณตา (ความเป็นผู้มีผิว-

ดังทอง) ๑ สุสณฺานตา (ความเป็นผู้มีทรวดทรงงาม) ๑ อปฺปาพาธตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 457

(ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย) ๑ อโสกตา (ความเป็นผู้ไม่เศร้าโศก) ๑ ปิยม-

นาเปหิ อวิปฺปโยคตา (ความเป็นผู้ไม่พลัดพราก จากของรักของชอบใจ)

ทีฆายุตา (ความเป็นผู้มีอายุยืน) ๑.

อทินนาทานา เวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้คือ มหาธนธญฺตา

(ความเป็นผู้มีทรัพย์ และข้าวเปลือกมาก) ๑ อนนฺตโภคตา (ความเป็นผู้มี

โภคะ อเนุกอนันต์) ๑ ถิรโภคตา (ความเป็นผู้มีโภคะยั่งยืน) ๑ อิจฺฉิตาน

โภคานุ ขิปฺปปฏิลาโภ (การได้โภคทรัพย์ตามที่ต้องการอย่างฉับพลัน)

ราชาทีหิ อสาธารณโภคตา (การมีโภคะไม่ทั่วไปกับพระราชาเป็นต้น ) ๑

อุฬารโภคตา (ความเป็นผู้มีโภคะโอฬาร) ๑ ตตฺถ ตตฺถ เชฏฺกภาโว

(ความเป็นหัวหน้าในที่นั้น ๆ) ๑ นตฺถิภาวสฺส อชานนตา (ความเป็นผู้

ไม่รู้จักคำว่าไม่มี) ๑ สุขวิหารตา (ความเป็นผู้อยู่อย่างสบาย) ๑.

อพฺรหฺมจริยา เวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้ คือ วิคตปจฺจตฺถิกตา

ความเป็นผู้ปราศจากข้าศึก) ๑ สพฺพสตฺตาน ปิยมนาปตา (ความเป็น

ที่รักเป็นที่พอใจของสรรพสัตว์) ๑ อนฺนปานวตฺถจฺฉาทนาทีน ลาภิตา

(ความเป็นผู้มีปกติได้ของต่าง ๆ เช่น ข้าว น้ำ ผ้า และวัตถุเครื่องปกปิด) ๑

สุขสุปนตา (การนอนหลับสบาย) ๑ สุขปฏิพุชฺฌนตา (การตื่นขึ้นมา

สบาย) ๑ อปายภยวิโมกฺโข (การพ้นจากภัยในอบาย) ๑ อิตฺถีภาวนปุ-

สกภาวาน อภพฺพตา (ความไม่ควรแก่การเกิดเป็นหญิง เป็นกะเทย) ๑

อกฺโกธนตา (ความเป็นผู้ไม่โกรธ) ๑ สจฺจการิตา (ความเป็นผู้มีปกติ

ทำจริง) ๑ อมงฺกุภูตตา (ความเป็นผู้ไม่เก้อเขิน) ๑ อาราธนสุขตา (ความ

เป็นผู้มีความสุขด้วยการรับเชิญ) ๑ ปริปุณฺณินฺทฺริยตา (ความเป็นผู้มีอินทรีย์

บริบูรณ์) ๑ นิราสงฺกตา (ความเป็นผู้ปราศจากความระแวง) ๑ อปฺโปสฺกุกฺ-

กตา (ความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย) ๑ สุขวิหารตา (ความเป็นผู้อยู่อย่าง-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 458

เป็นสุข) ๑ อกุโตภยตา (ความเป็นผู้ไม่มีภัยจากที่ไหน ๆ) ๑ ปิยวิปฺปโย-

คาภาโว (ความเป็นผู้ไม่มีการพลัดพรากจากของรัก) ๑. แม้ผลของการงด

เว้นจากมิจฉาจาร ก็รวมอยู่ในผลของการงดเว้นจากการไม่ประพฤติพรหมจรรย์

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อพฺรหฺมจริยา เวรมณี ดังนี้.

มุสาวาทาเวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้ คือ วิปฺปสนฺนินฺทฺริยตา

(ความเป็นผู้มีอินทรีย์ผ่องใส) ๑ วิสฏฺมธุรภาณิตา (ความเป็นผู้มีปกติ

พูดด้วยคำสละสลวย อ่อนหวาน) ๑ สมสิตสุทฺธทนฺตตา (ความเป็นผู้มีฟัน

เรียบเสมอ ทั้งขาว ทั้งสะอาด) ๑ นาติถูลตา (ความเป็นผู้ไม่อ้วนจนเกินไป) ๑

นาติกีสตา (ความเป็นผู้ไม่ผอมจนเกินไป) ๑ นาติรสฺสตา (ความเป็นผู้

ไม่ต่ำเกินไป) ๑ นาติทีฆตา (ความเป็นผู้ไม่สูงเกินไป) ๑ สุขสมฺผสฺสตา

(ความเป็นผู้มีสัมผัสเป็นสุข) ๑ อุปฺปลคนฺธมุขตา (ความเป็นผู้มีกลิ่นปาก-

หอมเหมือนกลิ่นดอกอุบล) ๑ สุสฺสูสกปริสตา (ความเป็นผู้มีบริษัท เชื่อฟัง

ตั้งอยู่ในโอวาท) ๑ อาเทยฺยวจนตา (ความเป็นผู้มีวาจาเชื่อถือได้) ๑

กมลทลสทิสมุทุโลหิตนยชิวฺหตา (ความเป็นผู้มีลิ้น อ่อน แดง และ

บางเหมือนกลีบดอกอุบล) ๑ อลีนตา (ความเป็นผู้ไม่หดหู่) ๑ อนุทฺธตตา

(ความเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน) ๑.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏานาเวรนณี มีผลมีอาทิอย่างนี้ คือ อตีตา-

นาคตปจฺจุปฺปนฺเนสุ กิจฺจกรณีเยสุ อปฺปมาทตา (ความเป็นผู้ไม่ประมาท

ในกิจและกรณียกิจ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน) ๑ าณวนฺตตา

(ความเป็นผู้มีญาณ) ๑ สทา อุปฏฺิตสติตา (ความเป็นผู้มีสติปรากฏอยู่

ทุกเมื่อ) ๑ อุปฺปนฺเนสุ กิจฺจกรณีเยสุ สพฺพฏฺานุปฺตฺติกปฏิภาณวนฺ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 459

ตตา (ความเป็นผู้มีปฏิภาณ เกิดขึ้นทุกสถาน ในเมื่อมีกิจและกรณียกิจเกิดขึ้น)

อนลสตา (ความเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน) ๑ อชฬตา (ความเป็นผู้ไม่โง่เขลา)

อมูคตา (ความเป็นผู้ไม่บ้าใบ้) ๑ อจฺฉมฺภิตา (ความเป็นผู้ไม่หวาดสะดุ้ง)

อสารมฺภตา (ความเป็นผู้ไม่มีการแข็งดี) ๑ อนิสฺสุกิตา (ความเป็นผู้ไม่มี

ความริษยา) ๑ อมจฺฉริตา (ความเป็นผู้ไม่ตระหนี่) ๑ สจฺจวาทิตา

(ความเป็นผู้มีปกติกล่าวคำสัตย์) ๑ อปิสุณ อผรุส อสมฺผปฺปลาปวาทิตา

(ความเป็นผู้มีปกติไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ) ๑ กตญฺญุตา

(ความเป็นคนกตัญญู) ๑ กตเวทิตา (ความเป็นผู้มีกตเวที) ๑ โภควนฺตตา

(ความเป็นผู้มีโภคะ) ๑ สีลวนฺตตา (ความเป็นผู้มีศีล) ๑ อุชุคตา (ความ

เป็นผู้ซื่อตรง) ๑ มหตฺตตา (ความเป็นผู้ไม่โกรธ) ๑ หิโรตฺตปฺปสสมฺ-

ปนฺนตา (ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตัปปะ) ๑ อุชุทิฏฺิตา (ความ

เป็นผู้มีความเห็นตรง) ๑ มหตฺตตา (ความเป็นผู้มีใจใหญ่) ๑ ปณฺฑิตตา

(ความเป็นผู้ฉลาด) ๑ อตฺถานตฺถกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่เป็น-

ประโยชน์ และสิ่งมิใช่ประโยชน์) ๑. ในอธิการนี้ พึงทราบวินิจฉัยโดยสภาวะ

เป็นต้น แม้แห่งปาณาติปาตาเวรมณีเป็นต้น ดังพรรณนามานี้.

บทว่า สีลวา ได้แก่ เป็นผู้มีศีล ด้วยสามารถแห่งเบญจศีลตามที่

กล่าวแล้ว. บทว่า กลฺยาณธมฺโม ได้แก่ เป็นผู้มีธรรมอันงาม อธิบายว่า

มีปัญญาประกอบด้วยทิฏฐิสมบัติ อันส่องถึงสรณคมน์ ก็บุตรคนใด เมื่อมารดา

บิดาไม่มีศรัทธา และเป็นผู้ทุศีล ตนเองก็เป็นเช่นนั้น แม้บุตรนั้นพึงทราบว่า

เป็นอวชาตบุตรทีเดียว. เพราะว่าความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น ท่านกล่าวว่า

เป็นลักษณะของความเป็นอวชาตบุตรในที่นี้ และความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น

นั้น มีอยู่ในอวชาตบุตรนั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกความที่บุตรเป็น

อติชาตบุตรเป็นต้น โดยเปรียบเทียบมารดาบิดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 460

บทว่า โย โหติ กุลคนฺธโน ได้แก่ บุตรผู้ทำลายตระกูล คือ

ทำตระกูลให้พินาศ. จริงอยู่ คนฺธ ศัพท์ ในที่นี้ มีความหมายว่า ทำลาย

ดังในประโยคเป็นต้นว่า อุปฺปลคนฺธปจฺจตฺถิกา ดังนี้. แต่อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า กุลธสโน ดังนี้บ้าง. เนื้อความก็เช่นนั้นเหมือนกัน. บทว่า เอเต

โข ปุตฺตา โลกสฺมึ ความว่า บุตร ๓ จำพวก มีอติชาตบุตรเป็นต้น

เหล่านี้นั่นแหละ ชื่อว่า บุตรมีอยู่ในสัตวโลกนี้ พ้นจากโลกนี้ไปจะมีก็หามิได้.

ก็บรรดาบุตร ๓ จำพวกเหล่านี้ บุตรจำพวกใดเป็นอุบาสก คือบุตรเหล่าใด

เป็นอุบาสกเพราะถึงพร้อมด้วยสรณคมน์ คือเข้าใจหลักธรรม ด้วยกัมมัสสก-

ตาญาณ บุตรเหล่านั้น เป็นบัณฑิตมีปัญญา ถึงพร้อมคือบริบูรณ์ด้วยศีล ๕

และศีล ๑. ชื่อว่า วทัญญู เพราะรู้ (เข้าใจ) คำพูดของยาจกทั้งหลาย โดยการ

ยังความประสงค์ของยาจกเหล่านั้นให้เต็ม โดยเพียงเห็นสีหน้าเท่านั้น อีกอย่าง-

หนึ่ง ชื่อว่า วทัญญู เพราะวิเคราะห์ว่า ได้ยินคำของยาจกเหล่านั้นว่า

โปรดให้ทานเถิด ดังนี้ ก็รู้ความหมายนั้น โดยบริจาค (ทรัพย์) แก่ยาจก

เหล่านั้น ด้วยคิดว่า คนเหล่านี้ไม่เคยให้ทานในกาลก่อน จึงเป็นเช่นนี้

ส่วนเราไม่ควรเป็นอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วทัญญู เพราะวิเคราะห์ว่า

เข้าใจถ้อยคำของบัณฑิตทั้งหลาย ที่แสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน

เป็นต้น ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ปทัญญู" อธิบายว่า เป็นผู้มีปกติ

บริจาคด้วยการเพิ่มให้ ชื่อว่าปราศจากความตระหนี่ เพราะปราศจากมลทินคือ

ความตระหนี่ ในทันใดนั้นเอง. บทว่า อพฺภฆนา ความว่า บุตรเหล่านั้น

ย่อมรุ่งโรจน์ อธิบายว่า งดงาม ในบริษัททั้งหลายมีอุบาสกเป็นต้น และใน

บริษัททั้งหลาย มีกษัตริย์เป็นต้น ดุจพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ กล่าวคือหมอก

หรือพ้นจากเมฆที่หนาทึบ ฉะนั้น.

จบอรรถกถาปุตตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 461

๖. อวุฏฐิกสูตร

ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนฝน ๓ จำพวก

[๒๕๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก

๓ จำพวกเป็นไฉน ? คือ บุคคลผู้เสมอด้วยฝนไม่ตก ๑ ผู้ดุจฝนตกในที่บาง-

ส่วน ๑ ผู้ดุจฝนตกในที่ทั่วไป ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเสมอด้วยฝนไม่ตกเป็นอย่างไร บุคคล

บางคนในโลกนี้ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้

ที่นอน ที่พัก เครื่องอุปกรณ์แสงสว่าง แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คน

เดินทาง วนิพกและยาจกทุกหมู่เหล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เสมอ

ด้วยฝนไม่ตกเป็นอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ดุจฝนตกในที่บางส่วนเป็นอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม

เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องอุปกรณ์แสงสว่าง แก่สมณพราหมณ์

คนกำพร้า คนเดินทาง วนิพกและยาจกบางพวก ไม่ให้แก่บางพวก ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ดุจฝนตกในที่บางส่วนเป็นอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ดุจฝนตกในที่ทั่วไปเป็นอย่างไร บุคคล

บางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้

ที่นอน ที่พัก เครื่องอุปกรณ์แสงสว่าง แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คน-

เดินทาง วนิพก และยาจกทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลดุจฝนตก

ในที่ทั่วไปเป็นอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 462

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลได้พบสมณะ พราหมณ์ คน-

กำพร้า คนเดินทาง วนิพกแล้ว ย่อมไม่

แบ่งข้าว น้ำ และเครื่องบริโภคให้ บัณฑิต

ทั้งหลาย กล่าวบุคคลผู้เป็นบุรุษต่ำช้า

นั้นแลว่า เป็นผู้เสมอด้วยฝนไม่ตก บุคคล

ใดย่อมไม่ให้ไทยธรรมแก่บุคคลบางพวก

ย่อมให้แก่บุคคลบางพวก ชนผู้มีปัญญา

ทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า ดุจฝนตกในที่

บางส่วน บุรุษผู้มีวาจาว่า ภิกษาดี ผู้อนุ-

เคราะห์สัตว์ทั่วหน้า มีใจยินดีประดุจ

โปรยไทยธรรม กล่าวอยู่ว่า จงให้ ๆ ดังนี้

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นเช่นนั้น

รวบรวมทรัพย์ที่ตนได้แล้วด้วย ความหมั่น

โดยชอบธรรม ยังวนิพกทั้งหลายผู้มาถึง-

แล้ว ให้อิ่มหนำด้วยข้าวและน้ำโดยชอบ

เปรียบเหมือนเมฆบันลือ กระหึ่มแล้ว

ย่อมยังฝนให้ตก ยังน้ำให้ไหลนองเต็มที่

ดอนและที่ลุ่ม ฉะนั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบอวุฏฐิกสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 463

อรรถกถาอวุฏฐิกสูตร

ในอวุฏฐิกสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อวุฏฺิกสโม ความว่า เช่นกับด้วยเมฆที่ไม่ทำฝนให้ตก.

เพราะเมฆบางกลุ่ม หนาตั้ง ๑๐๐ ชั้น ๑,๐๐๐ ชั้น ตั้งขึ้น ร้องกระหึ่ม แลบ

แปลบปลาบ ไม่ให้ฝนแม้หยดเดียวตกลงมา แล้วผ่านเลยไป พระผู้มีพระภาค-

เจ้า เมื่อจะทรงแสดงว่า บุคคลบางจำพวกก็มีอุปมาเช่นนั้น จึงตรัสว่า

อวุฏฺิกสโม (บุคคลผู้เสมอด้วยฝนไม่ตก) ดังนี้. บทว่า ปเทสวสฺสี

ความว่า เช่นกับเมฆที่ทำฝนให้ตกบางท้องที่อธิบายว่า บุคคลชื่อว่า ปเทสวาสี

เพราะเป็นเหมือนกับเมฆที่ทำฝนให้ตกบางท้องที่ เมฆบางกลุ่ม เมื่อคนทั้ง

หลายยืนอยู่ในที่แห่งเดียวกันนั่นเอง ตกหยิม ๆ โดยที่คนบางพวกก็เปียก บาง

พวกก็ไม่เบียก พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงบุคคลบางพวก ผู้มีอุปมาอย่าง

นั้น ว่าเป็นเหมือนฝนตก เฉพาะบางท้องที่. บทว่า สพฺพตฺถาภิวสฺสี ความว่า

เสมอกับเมฆที่ให้ฝนตกทั่วไป ทุกแห่งหนคือ ในประเทศ คือแผ่นดินมีพื้น

ปฐพี ภูเขา และสมุทรเป็นต้น อธิบายว่า เมฆบางกลุ่ม กระจายไปทั่วสากล

จักรวาล ให้ฝนตกทั่วทุกหนทุกแห่งทีเทียว พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า

สพฺพตฺถาภิวสฺสี ดังนี้ โดยทรงเปรียบเทียบมหาเมฆที่ตั้งขึ้นใน ๔ ทิศนั้น

กับบุคคลบางจำพวก. บทว่า สพฺเพสาน เท่ากับ สพฺเพส. อีกอย่าง

หนึ่ง ปาฐะ (ในพระบาลี) ก็เป็นอย่างนี้แหละ บทว่า น ทาตา โหติ

ความว่า เป็นผู้มีปกติไม่ให้ทาน. อธิบายว่า ไม่ให้อะไรแก่ใคร ๆ เพราะเป็น

ผู้ตระหนี่เหนียวแน่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 464

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง เขต และไทยธรรม โดยการจำแนกจึงตรัส

คำมีอาทิว่า สมณพฺราหฺมณา ดังนี้. ในคำว่า สมณพฺราหมณา นั้นพระ-

องค์ทรงประสงค์เอาทั้งสมณะที่ลอยบาปแล้ว ทั้งสมณะเพียงสักว่าบรรพชา

ทั้งพราหมณ์ผู้ลอยบาปแล้ว และพราหมณ์เพียงกำเนิดในที่นี้. คนตกยากคือ

คนเข็ญใจ ชื่อว่า กปณะ (คนกำพร้า) คนเดินทางที่สิ้นสะเบียง ชื่อว่า

อัทธิกา (คนเดินทาง) คนเหล่าใด เชิญชวนคนใน (การทำ) ทาน เที่ยวชม

เชยสรรเสริญทาน โดยนัยมีอาทิว่า ท่านทั้งหลาย จงมีจิตใจสูง มีจิตเลื่อมใส

บริจาคของที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาโทษมิได้ ตามกาล ท่านทั้ง

หลาย จะไปสู่สุคติ จะไปสู่พรหมโลก คนเหล่านั้นชื่อว่า วณิพฺพกา (วณิพก).

คนเหล่าใดเที่ยวขอของเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างเดียวว่า ขอท่านทั้งหลายจงให้

เพียงกำมือเดียว เพียงกอบเดียว เพียงขันเดียวเถิดดังนี้ คนเหล่านั้น ชื่อว่า

ยาจก (ผู้ขอ). บรรดาศัพท์เหล่านั้น ด้วยศัพท์ว่า สมณะและพราหมณ์ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงขอบเขตของคุณความดี และขอบเขตของอุปการะ

ด้วยศัพท์ว่า สมณพราหมณะ ทรงแสดงถึงเขตแห่งกรุณา ด้วยศัพท์ว่า กปณะ

เป็นต้น.

บทว่า อนฺน ได้แก่ ของควรเคี้ยว และของควรบริโภคอย่างใด

อย่างหนึ่ง. บทว่า ปาน ได้แก่ เครื่องดื่ม มีน้ำดื่มที่คั้นจากผลมะม่วงเป็นต้น.

บทว่า วตฺถ ได้แก่เครื่องปกปิด มีผ้านุ่ง และผ้าห่มเป็นต้น. บทว่า ยาน

ได้แก่ วัตถุที่ยังการเดินทางให้สำเร็จ มีรถและวอเป็นต้น โดยที่สุดจนถึงรองเท้า.

บทว่า มาลา ได้แก่ ดอกไม้ทุกชนิด แยกประเภทออกเป็นดอกไม้ที่ร้อยและ

ไม่ได้ร้อย. บทว่า คนฺธ ได้แก่ คันชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง และอุปกรณ์แห่ง

เครื่องหอม ทั้งที่บดแล้ว และยังไม่ได้บด. บทว่า วิเลปน ได้แก่ เครื่อง

ประเทืองผิว. บทว่า เสยฺยา ได้แก่เครื่องนอน มีเตียงและตั่งเป็นต้น และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 465

ผ้าปาวาร ผ้าโกเชาว์ เป็นต้น (ผ้ามีขนอ่อน และผ้าทำด้วยขนแกะ). ก็แม้

อาสนะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้ว ด้วยศัพท์ว่า เสยฺย ในคำว่า

เสยฺยาวสถ นี้. บทว่า อาวสถ ได้แก่ ที่อาศัย อันเป็นเครื่องบรรเทาอันตราย

มีลมและแดดเป็นต้น. บทว่า ปทีเปยฺย ได้แก่เครื่องอุปกรณ์แห่งแสงสว่าง

มีประทีปและตะเกียงเป็นต้น.

บทว่า เอว โข ภิกฺขเว ความว่า เมื่อไทยธรรมมีอยู่ บุคคลไม่

ให้ ของที่จะต้องให้อย่างนี้ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง ย่อมเป็น

เช่นกับเมฆที่ไม่ให้ฝนตก. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมฆ

หนา ๑๐๐ ชั้น ๑,๐๐๐ ชั้น ตั้งขึ้นแล้ว ไม่โปรยอะไร ๆ ลงมาเลย จางหายไปฉันใด

คนใดรวบรวมสมบัติอันโอฬาร และไพบูลย์ อยู่ครอบครองเรือนก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ไม่ให้ภิกษาแม้ทัพพีเดียว หรือข้าวยาคู เพียงกระบวยเดียวแก่ใคร ๆ

หลีกไปเสีย. หมดอำนาจ ย่อมไปสู่ปากแห่งมัจจุ คนผู้นั้นย่อมชื่อว่าเหมือน

เมฆ ที่ไม่ให้ฝนตกดังนี้. แม้ในบทที่เหลือ พึงทราบพระดำรัส ตรัสย้ำโดย

นัยนี้.

ก็ในบุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ บุคคลพวกแรกพึงถูกตำหนิ โดยส่วน

เดียวเท่านั้น. คนพวกที่สอง น่าสรรเสริญ คนพวกที่สาม น่าสรรเสริญกว่า

(คนพวกที่สอง). อีกนัยหนึ่ง บุคุคลพวกแรก พึงทราบว่าเลวกว่าบุคคลทุก

ประเภท พวกที่ ๒ พึงทราบว่า ปานกลาง พวกที่ ๓ พึงทราบว่าสูงสุดดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. บทว่า สมเณ เป็น

พหูพจน์ โดยเป็นทุติยาวิภัตติ. แม้ในบทที่เหลือก็เช่นนั้น. บทว่า ลทฺธาน

แปลว่า ได้ (ปฏิคาหก) แล้วปรารถนา สมณะผู้เป็นทักขิไณยบุคคลแล้วถูก

ถามแล้ว ก็ไม่จัดแบ่งให้. บทว่า อนฺนปานญฺจ โภชน ความว่า ไม่จัด

แบ่งข้าวหรือน้ำ หรือโภชนะอันควรแก่การบริโภคอย่างอื่น ที่มีอยู่. ก็ในพระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 466

คาถานี้มีความสังเขปดังนี้ ก็ผู้ใด ได้สมณะผู้เป็นปฏิคาหก ผู้เข้าไปหาแล้ว

โดยที่ตนเองก็มีไทยธรรมอยู่ก็ไม่การทำ แม้เพียงการแจกแบ่งวัตถุมีข้าวเป็น

ต้น ผู้นั้นจักให้ทานอย่างอื่นได้อย่างไร ? บัณฑิตกล่าวคือ เรียกขานเขาผู้

ตระหนี่เหนียวแน่น เห็นปานนั้น เป็นบุรุษอาธรรม เป็นคนเลว ว่าเป็นผู้

เหมือนกับเมฆ ที่ไม่ให้ฝนตก ดังนี้.

บทว่า เอกจฺจาน น ททาติ ความว่า แม้เมื่อของที่จะต้องให้มี

อยู่มากมาย ก็ไม่ยอมให้ แก่คนบางจำพวก ด้วยอำนาจแห่งความโกรธเคือง

ในคนเหล่านั้น หรือด้วยอำนาจแห่งความโลภในไทยธรรม. บทว่า เอกจฺจาน

ปเวจฺฉติ ความว่า แต่ให้แก่บุคคลบางจำพวกเท่านั้น. บทว่า เมธาวิโน

ได้แก่ คนที่มีปัญญา คือเป็นบัณฑิต.

บทว่า สุภิกฺขวาโจ ความว่า ผู้ใดสั่งให้เขาให้ของนั้น ๆ แก่ยาจก

ทั้งหลายผู้เข้าไปหาแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ท่านทั้งหลาย จงให้ข้าว ท่านทั้งหลาย

จงให้น้ำ ผู้นั้น ชื่อว่า สุภิกฺขวาโจ เพราะวิเคราะห์ว่า ผู้มีการออกปากของ่าย

เหตุมีการขอที่หาได้โดยง่าย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สุภิกฺขวสฺสี ดังนี้ ก็มี.

ชาวโลก มีภิกษาหาได้โดยง่ายฉันใด มหาเมฆที่ยังฝนให้ตกชุก ทุกหนแห่ง

ย่อมชื่อว่าโปรยลงมา (ให้ภิกษา) หาง่ายฉันนั้น. แม้บุคคลนี้ก็ฉันนั้น เป็นผู้

ยังฝนให้ตกลงในที่ทุกหนแห่ง ด้วยมหาทาน (ช่วยให้) หาภิกษาได้โดยง่าย.

บทว่า อาโมทมาโน ปกิเรติ ความว่า บุคคลผู้มีมนัสอันยินดีและร่าเริงแล้ว

ให้ทานด้วยมือของตน ย่อมเป็นเสมือนหว่านไทยธรรมลงในนาคือปฏิคคาหก

แม้วาจาก็พร่ำพูดอยู่ว่า ท่านทั้งหลายจงให้ทานเถิด ทานทั้งหลายจงให้ทาน

เถิด ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงภาวะที่เมฆให้ฝนตกทำให้ภิกษา

หาได้ง่าย จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยถาปิ เมโฆ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 467

แม้ในพระคาถานั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ ฟ้า (มหาเมฆ) ร้อง

ด้วยเสียงเบา ๆ ก่อน แล้วจึงร้องกึกก้องไปทั่วทุกห้วงน้ำและลำธารอีก แล้ว

โปรยฝนลงมา ไหลไปให้ที่ลุ่มและที่ดอนทั่วทุกหนแห่ง เต็มเจิ่งไปด้วยอุทกวารี

ทำให้เป็นห้วงน้ำห้วงเดียวกัน ฉันใด บุคคลที่ใจกว้างบางคนในที่นี้คือใน

โลกนี้ ก็ฉันนั้น เพราะเป็นผู้มีใจเสมอในคนทั่วไป เหมือนมหาเมฆนั้น

เพราะต้องให้ฝนตกลงมา เป็นผู้ไม่เกียจคร้าน โดยที่ทรัพย์เป็นของได้มาด้วย

ความหมั่น คือเกิดขึ้นด้วยความขยันหมั่นเพียรของตน รวบรวมทรัพย์นั้นไว้

โดยธรรม คือโดยชอบ ยังวณิพกทั้งหลายผู้ถึงแล้ว คือมาถึงแล้ว ให้อิ่มคือ

ให้อิ่มหนำสำราญ โดยชอบ คือ พอเหมาะแก่กาลเทศะ และเหมาะสมแก่

ความต้องการ โดยชอบทีเดียว ด้วยข้าว น้ำ และไทยธรรมอย่างอื่น ที่เกิด

จากทรัพย์ที่รวบรวมไว้นั้น ดังนี้.

จบอรรถกถาอวุฏฐิกสูตรที่ ๖

๗. สุขสูตร

ว่าด้วยผู้ปรารถนาสุข ๓ ประการพึงรักษาศีล

[๒๕๔] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-

สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตปรารถนาสุข ๓ ประการนี้

พึงรักษาศีล ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ บัณฑิตปรารถนาอยู่ว่า ขอความ

สรรเสริญจงมาถึงแก่เรา ๑ ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นแก่เรา ๑ เมื่อตายไป เรา

จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ๑ พึงรักษาศีล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตปรารถนา

สุข ๓ ประการนี้แล พึงรักษาศีล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 468

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

นักปราชญ์ปรารถนาสุข ๓ ประการ

คือ ความสรรเสริญ ๑ การได้โภคทรัพย์

เครื่องปลื้มใจ ๑ ความบันเทิงในสวรรค์

ในโลกหน้า ๑ พึงรักษาศีล ถ้าว่าบุคคล

แม้ไม่กระทำความชั่ว แต่เข้าไปเสพบุคคล

ผู้กระทำความชั่วอยู่ไซร้ บุคคลนั้น เป็น

ผู้อัน บุคคลพึงรังเกียจในเพราะความชั่ว

และโทษของบุคคลผู้เสพคนชั่วนี้ ย่อม

งอกงาม.

บุคคลย่อมกระทำบุคคลเช่นใดให้

เป็นมิตร และย่อมเข้าไปเสพบุคคลเช่นใด

บุคคลนั้นแลเป็นผู้เช่นกับด้วยบุคคลนั้น

เพราะว่าการอยู่ร่วมกันเป็นเช่นนั้น คนชั่ว

ซ่องเสพบุคคลอื่นผู้บริสุทธิ์โดยปกติอยู่

ย่อมทำบุคคลอื่นผู้บริสุทธิ์โดยปกติที่

ซ่องเสพตน ให้ติดเปื้อนด้วยความชั่ว

เหมือนลูกศรที่แช่ยาพิษ ถูกยาพิษติดเปื้อน

แล้ว ย่อมทำแล่งลูกศรซึ่งไม่ติดเปื้อนแล้ว

ให้ติดเปื้อนด้วยยาพิษ ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 469

นักปราชญ์ไม่พึงเป็นผู้มีคนชั่วเป็น

เพื่อนเลย เพราะความกลัวแต่การเข้าไป

ติดเปื้อน คนใดห่อปลาเน่าไว้ด้วยใบหญ้า

คา แม้หญ้าคาของคนนั้นย่อมมีกลิ่นเหม็น

ฟุ้งไป การเข่าไปซ่องเสพคนพาล ย่อม

เป็นเหมือนอย่างนั้น ส่วนคนใดห่อกฤษณา

ไว้ด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของคนนั้นย่อมมี

กลิ่นหอมฟุ้งไป การเข้าไปซ่องเสพ

นักปราชญ์ย่อมเป็นเหมือนอย่างนั้น เพราะ

เหตุนั้น บัณฑิตรู้ความสำเร็จผลแห่งตน

ดุจห่อใบไม้แล้ว ไม่พึงเข้าไปเสพอสัต-

บุรุษ พึงเสพสัตบุรุษ เพราะว่าอสัตบุรุษ

ย่อมนำไปสู่นรก สัตบุรุษย่อมให้ถึงสุคติ.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบสุขสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 470

อรรถกถาสุขสูตร

ในสุขสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุขานิ ได้แก่ เหตุแห่งความสุข. บทว่า ปตฺถยมาโน

ความว่า ปรารถนาอยู่ คือ จำนงหมายอยู่. บทว่า สีล ได้แก่ ทั้งศีลของ

คฤหัสถ์ และศีลของบรรพชิต อธิบายว่า ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็ต้องรักษาศีลของ

คฤหัสถ์ ถ้าเป็นบรรพชิต ก็ต้องรักษาจาตุปาริสุทธิศีล. บทว่า รกฺเขยฺย

ความว่า สมาทานแล้วไม่ล่วงละเมิด รักษาไว้ด้วยดีนั่นเอง.

บทว่า ปสสา เม อาคจฺฉตุ ความว่า ผู้ฉลาดคือผู้มีปัญญา

ปรารถนาอยู่ว่า ขอกิตติศัพท์อันดีงามของเราจงมาถึงดังนี้ รักษาศีล. อธิบายว่า

กิตติศัพท์อันดีงามของคฤหัสถ์ผู้มีศีล ย่อมฟุ้งขจรไปในท่ามกลางบริษัท โดย

นัยมีอาทิว่า บุตรของตระกูลโน้น ชื่อโน้น เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มี

ศรัทธา เลื่อมใสแล้ว เป็นผู้ให้ (ทาน) เป็นผู้บำเพ็ญ (บุญ) ดังนี้ก่อน

กิตติศัพท์อันดีงามของบรรพชิต ย่อมฟุ้งขจรไปในท่ามกลางบริษัท โดยนัยมี

อาทิว่า ภิกษุชื่อโน้นเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยวัตร สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมด้วยสบาย

มีความเคารพ มีความยำเกรง ดังนี้ . สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดี

ทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง กิตติศัพท์อันดีงามของผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล

ย่อมฟุ้งขจรไป ดังนี้.

อนึ่ง ดังที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากภิกษุพึงหวัง

อยู่ว่า ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่นับถือของ

เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายดังนี้ไซร้ เธอต้องเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย

นั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 471

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า โภคา เม อุปฺปชฺชนฺตุ นี้ ดังต่อไปนี้

ก่อนอื่นเมื่อคฤหัสถ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมอยู่ เขาเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปะและ

ความหมั่นขยันใด ๆ เช่น กสิกรรม พาณิชยกรรม และรับราชการ เมื่อเป็น

เช่นนั้น โภคะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา และโภคะที่เกิดขึ้นแล้ว

จักถึงความเจริญขึ้น เพราะความเป็นผู้ไม่ประมาทในศิลปะ และความ

หมั่นขยันนั้น ตามกาลและตามวิชี. ส่วนบรรพชิต เมื่อสมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร

มีปกติไม่ประมาทอยู่ มนุษย์ทั้งหลายผู้เลื่อมใสแล้ว ในความถึงพร้อมด้วยศีล

และคุณมีความมักน้อยเป็นต้น ของบรรพชิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล จะนำปัจจัย

มาให้อย่างมโหฬาร เมื่อเป็นเช่นนั้น โภคะที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นแก่

บรรพชิตนั้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็จะมั่นคง สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดี

ทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะประสบกองแห่ง

โภคะใหญ่ มีความไม่ประมาทเป็นเหตุ ดังนี้. อนึ่ง สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราจักเป็นผู้ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ดังนี้ไซร้ เธอต้องเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล

ทั้งหลาย ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า ปฏฺยาโน ได้แก่

ปฏฺยนฺโต แปลว่า ปรารถนาอยู่. บทว่า ตโย สุเข เท่ากับ ตีณิ สุขานิ

แปลว่า ความสุข ๓ ประการ. บทว่า จิตฺตลาภ ความว่า ได้ทรัพย์ อธิบายว่า

การเกิดขึ้นแห่งโภคทรัพย์. ก็โดยข้อที่แตกต่างกัน บรรดาความสุขทั้ง ๓

อย่างนี้ พึงทราบว่า ทรงถือเอา เจตสิกสุข ด้วยการสรรเสริญ กายิกสุข

ด้วยโภคะ อุปปัตติสุข ด้วยศัพท์นอกนี้ อนึ่ง พึงทราบว่า ทรงถือเอา

สุขในปัจจุบัน ด้วยศัพท์แรก สุขในสัมปรายิกภพ ด้วยศัพท์ที่ ๓ สุขทั้งสอง

อย่าง ด้วยศัพท์ที่ ๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 472

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงการเว้นจากปาปมิตร และ

การคบหากัลยาณมิตร ที่เป็นเหตุพิเศษของการสรรเสริญเป็นต้น เหมือนศีล

ที่เป็นเหตุ (ธรรมดา) ของการสรรเสริญเป็นต้น พร้อมด้วยโทษและอานิสงส์

จึงตรัสคำมีอาทิว่า อกโรนฺโต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺกิโย ความว่า เขาพึงถูกรังเกียจใน

เพราะความชั่วว่า คนนี้ทำชั่วมาแล้ว หรือจักกระทำต่อไปเป็นแน่. อนึ่ง

เพราะเขาไปมาหาสู่อยู่กับคนชั่วทั้งหลาย.

บทว่า อสฺส ความว่า การกล่าวโทษแม้ไม่เป็นจริง ย่อมงอกงาม

คือถึงความงอกงามไพบูลย์ ได้แก่แผ่ไปเบื้องบน ของบุคคลผู้คบหาคนชั่วนี้

หรือบุคคลนั้น เพราะคบหาสมาคมกับคนชั่วเป็นปกติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

อสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ ได้ความว่าในบุคคลนั้น.

บทว่า สเว ตาทิสโก โหติ ความว่า ผู้ใดคบและเข้าไปคบหาปาปมิตร

หรือกัลยาณมิตร เช่นใด บุคคลนั้นก็จะเป็นเช่นนั้น คือมีบาปธรรม หรือมี

กัลยาณธรรม เหมือนน้ำที่สะอาดและสกปรก ด้วยสามารถแห่งพื้นที่. เพราะ

เหตุไร ? เพราะการอยู่ร่วมกัน เป็นเหตุให้เป็นเช่นนั้น. อธิบายว่า การอยู่

ร่วมกันกับคนชั่วช้า ไม่ควรทำเพราะการอยู่ร่วมกัน คือการคลุกคลีกัน ได้แก่

การสนิทสนมกัน เป็นเหตุให้รับเอากิริยาอาการของคนที่คบ ที่เป็นอุปนิสัย

ของตน เหมือนแก้วผลึก และแก้วมณีที่อยู่ร่วมกันฉะนั้น .

บทว่า เสวมาโน เสวมาน ความว่า คนชั่วเมื่อคบบุคคลอื่นที่

บริสุทธิ์ตามปกติ ที่คบตนอยู่ตลอดกาลเวลา หรือที่เขาคบอยู่ (ย่อมทำให้เขา

แปดเปื้อน). บทว่า สมฺผุฏฺโ สมฺผุส ความว่า คนชั่วที่บุคคลผู้บริสุทธิ์

ตามปกตินั้น สัมผัสเข้าด้วยการอยู่ร่วมกัน คือคบหาสมาคมกัน แม้ตนเอง

เมื่อสัมผัสเขาอยู่อย่างนั้น. บทว่า สโร ทุฏฺโ กลาป วา ความว่า อุปมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 473

เสมือนหนึ่งว่า ลูกศรอาบคือเปื้อนยาพิษ จะแปดเปื้อนแล่งศร คือที่รวม

(กระบอก) ลูกศร แม้ที่ยังไม่แปดเปื้อน ซึ่งคนถูกต้องแล้วฉันใด ตนเองก็

ฉันนั้น ย่อมแปดเปื้อนคนอื่นที่บริสุทธิ์ โดยปกติด้วยความชั่ว. บทว่า

อุปเลปภยา ธีโร ความว่า คนชื่อว่า ธีระ เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา

เครื่องทรงจำ คือคนที่เป็นบัณฑิต ไม่ควรมีคนชั่วเป็นสหาย. บทว่า ปูติมจฺฉ

กุสคฺเคน ความว่า ผู้ใดเอาปลายหญ้าคาผูกปลาที่เป็นปลาเน่า โดยเป็นของ

น่าเกลียด คือผูกโดยพันให้เป็นห่อ หญ้าคาเหล่านั้นของผู้นั้น ถึงไม่เน่า

ก็ชื่อว่าเหม็น เพราะห่อปลาเน่าเข้าไว้ จะส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทีเดียว

ฉันใด. บทว่า เอว พาลูปเสวนา ความว่า การคบหาสมาคมกับคนพาล

พึงเห็นว่ามีอุปมาฉันนั้น. บทว่า เอว ธีรูปเสวนา ความว่า การคบหา

สมาคมกับบัณฑิต ของผู้ไม่มีศีลตามปกติ ย่อมเป็นเหตุให้กลิ่นศีลฟุ้งขจรไป

ด้วยสามารถแห่งการสมาทานศีลเป็นต้น. เหมือนใบไม้ถึงจะไม่มีกลิ่นหอม

แต่ก็ชื่อว่ามีกลิ่นหอมฟุ้งขจรไป เพราะห่อกฤษณาไว้ฉะนั้น.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่การคบมิตรที่ไม่ดี มีโทษเช่นนี้

และการคบมิตรที่ดี มีอานิสงส์อย่างนี้ คือเช่นนี้ ฉะนั้น บัณฑิตรู้ผลของตน

ด้วยการระคบกัน แห่งวัตถุที่มีกลิ่นเหม็นและกลิ่นหอม และการคบหาสมาคม

กับคนดี และคนไม่ดี ดุจห่อ (ปลาร้าและกฤษณา) ด้วยใบไม้ คือเหมือน

ห่อปลาร้าและกฤษณา (ด้วยใบไม้). บทว่า ตฺวา สมฺปากมตฺตโน ความว่า

บัณฑิตรู้คือทราบความสำเร็จผลของตนที่มีทุกข์เป็นกำไร และมีสุขเป็นกำไร

แล้วไม่ควรคบหาอสัตบุรุษ คือมิตรชั่ว ควรเสพแต่สัตบุรุษคือบัณฑิตผู้สงบ

ระงับแล้ว ผู้มีโทษอันคลายแล้ว หรือผู้ที่นักปราชญ์สรรเสริญแล้ว. สมจริง

ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อสัตบุรุษนำไปสู่นรก ส่วนสัตบุรุษให้ถึง

สุคติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 474

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเหตุแห่งความสุข ๓ อย่าง

ตามที่กล่าวมาแล้ว ด้วยพระคาถาแรก แล้วทรงแสดงเหตุเป็นที่มาแห่งความสุข

ความสรรเสริญพร้อมกับการงดเว้น ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ (ต่อความสุข) ด้วย

พระคาถา ๕ พระคาถา ต่อจากนั้นแล้วจึงทรงแสดงความสุขสุดท้าย พร้อมด้วย

เหตุเป็นที่ประสบความสุขแม้ทั้ง ๓ อย่าง ด้วยพระคาถาสุดท้าย.

จบอรรถกถาสุขสูตรที่ ๗

๘. ภินทนสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ต้องแตกเป็นธรรมดา

[๒๕๕] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร

นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีความแตกเป็นที่สุด วิญญาณมี

การคลายไปเป็นธรรมดา ขันธบัญจกทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ

แปรปรวนไปเป็นธรรมดา.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

ภิกษุรู้กายว่ามีความแตกไปเป็นที่สุด

และรู้วิญญาณว่ามีความย่อยยับไป เห็นภัย

ในขันธบัญจกทั้งหลายแล้ว ล่วงชาติและ

มรณะเสียได้ มีตนอันอบรมแล้ว จำนง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 475

อยู่ซึ่งการเป็นที่ดับขันธ์ เพราะบรรลุถึง

ความสงบอย่างยิ่ง.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบภินทนสูตรที่ ๘

อรรถกถาภินทนสูตร

ในภินทนสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภิทุราย ตัดบทเป็น ภิทุโร อย. บทว่า กาโย ได้แก่

รูปกาย. ก็รูปกายนั้น ชื่อว่ากาย เพราะอรรถว่า เป็นที่ประชุมแห่งอวัยวะ

น้อยใหญ่ทั้งหลาย มีผมเป็นต้นด้วย และชื่อว่ากาย เพราะมีวิเคราะห์ว่าเป็น

อายะ คือ เป็นแหล่งเกิดแห่งของน่าเกลียดน่าชังทั้งหลายอย่างนี้บ้าง. ในคำว่า

กาย นั้น มีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ อาการชื่อว่า อาโย เพราะเป็นที่มา.

ถามว่า อะไรมา. ตอบว่า สิ่งที่น่าเกลียดมีผมเป็นต้นมา. ดังนั้น อาการชื่อว่า

กาย เพราะเป็นที่มาแห่งของน่าเกลียดทั้งหลาย ดังนี้บ้าง. แต่โดยใจความแล้ว

ได้แก่ กองแห่งธรรมทั้งหลาย คือภูตรูป และอุปาทายรูปที่เป็นไปอยู่ ด้วย

อำนาจแห่งสันตติ ๔ อย่าง. มีพุทธาธิบายดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปกาย

ที่สำเร็จด้วยมหาภูตทั้ง ๔ นี้ มีการแตกดับ มีการแตกสลายไปเป็นสภาพ มี

การกระจัด กระจายไปทุกขณะเป็นสภาพ. ปาฐะว่า ภิทุราย ดังนี้ก็มี.

เนื้อความก็อย่างนั้นนั่นแหละ. บทว่า วิญฺาณ ได้แก่ กุศลจิตเป็นต้นที่

เป็นไปในภูมิ ๓. ส่วนอรรถพจน์มีดังต่อไปนี้ จิตชื่อว่า วิญญาณ เพราะรู้ชัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 476

ซึ่งอารมณ์นั้น ๆ เพราะว่าการแยกความรู้สึกออกจากความจำได้ คือการรู้ชัด

อารมณ์ ได้แก่ญาณ (อุปลัทธิ) ชื่อว่า วิญญาณ. บทว่า วิราคธมฺม คือ

มีการเสื่อมคลายเป็นธรรมดา อธิบายว่า มีการแตกดับไปเป็นธรรมดา. บทว่า

สพฺเพ อุปธีติ ความว่า อุปธิเหล่านี้คือ อุปธิคือขันธ์ อุปธิคือกิเลส

อุปธิคืออภิสังขาร (กรรม) อุปธิคือเบญจกามคุณ ที่หมายรู้กันว่าอุปธิ

เพราะอรรถว่า เป็นที่เข้าไปทรงทุกข์ไว้ แม้ทั้งหมดได้แก่อุปาทานขันธ์ กิเลส

เป็นอภิสังขารเป็นเบญจกามคุณ ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถว่ามีแล้วกลับไม่มี.

ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าเกิดขึ้น และเสื่อมไป และบีบคั้น ชื่อว่ามีความ

แปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะอรรถว่าละปกติเหตุเป็นสภาวะที่ต้องเปลี่ยน-

แปลงไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ชรากับมรณะ.

ด้วยประการดังที่พรรณนามานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถึงวาระแห่ง

การพิจารณา (สัมมัสสนญาณ) ตามอัธยาศัย แห่งบุคคลผู้รู้อย่างนั้น โดยมุข

คือ อนิจจานุปัสสนา และทุกขาวิปัสสนา ทรงแยกรูปธรรมและวิญญาณออก

จากกัน แล้วทรงรวมธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมดเข้าเป็นอันเดียวกัน

โดยทรงจำแนกออกเป็นอุปธิอีก เพราะบรรดาลักษณะทั้ง ๓ นี้ อนิจจลักษณะ

เห็นได้ง่าย. ก็ในบรรดาลักษณะทั้ง ๓ นี้ ลักษณะ ๒ อย่างเท่านั้น มีมาใน

พระบาลี ก็จริง ถึงกระนั้น โดยพระบาลีว่า สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

พึงเข้าใจว่า แม้อนัตตลักษณะ พระองค์ก็ทรงแสดงไว้แล้ว เหมือนกันด้วย

ทุกขลักษณะนั่นเอง.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาดังต่อไปนี้ บทว่า อุปธีสุ ภย ทิสฺวา

ความว่า เห็นภัยในอุปธิทั้ง ๓ ด้วยสามารถแห่งภยตูปัฏฐานญาณ คือเห็นความ

ที่อุปธิเหล่านั้นเป็นของน่ากลัว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวิปัสสนาที่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 477

กำลังไว้ ด้วยบทว่า อุปธีสุ ภย ทิสฺวา นี้. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

จำแนกภยตูปัฏฐานญาณนั่นแหละออกไปแล้ว ตรัสวิปัสสนาที่มีกำลัง เป็น

อาทีนวานุปัสสนา ๑ นิพพิทานุปัสสนา ๑ โดยเป็นญาณที่แปลกกัน. บทว่า

ชาติมรณมจฺจคา ความว่า ภิกษุพิจารณาอย่างนี้อยู่ จะสืบต่อวิปัสสนาญาณ

ด้วยมรรค แล้วจะบรรลุอรหัตผล ต่อจากมรรคนั้นไป ย่อมชื่อว่าเป็นผู้ล่วงพ้น

ชาติ และมรณะได้ล่วงพ้นได้อย่างไร ? บทว่า สมฺปตฺวา ปรม สนฺตึ

ความว่า เพราะบรรลุสันติธรรม อันยอดยิ่งคือสูงสุด ได้แก่ไม่มีธรรมอื่น

ยิ่งกว่า คือพระนิพพานอันเป็นที่ระงับสังขารทั้งมวล และภิกษุนั้นเป็นอย่างนี้.

บทว่า กาล กงฺขติ ภาวิตตฺโต ความว่า ภิกษุชื่อว่า มีตนอบรมแล้ว

เพราะความเป็นผู้มีกายอันอบรมแล้วด้วยศีล สมาธิ และปัญญา เหตุที่สำเร็จ

การบรรลุภาวนา ด้วยสามารถแห่งอริยมรรค ๔ ไม่อาลัยถึงความตาย และ

ความเป็นอยู่ ย่อมจำนงหวัง คือเล็งเห็นกาลกิริยา ด้วยขันธปรินิพพานของตน

ถ่ายเดียว. เธอไม่มีความปรารถนาในอะไร ๆ ดังนี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

เราตถาคตไม่คำนึงถึงความตาย ไม่

คำนึงถึงชีวิต มุ่งแต่กาลกิริยา (ขันธ-

ปรินพพาน) อย่างเดียว เหมือนลูกจ้าง

มุ่งแต่ค่าจ้างเท่านั้น ดังนี้.

จบอรรถกถาภินทนสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 478

๙. ธาตุสูตร

ว่าด้วยสัตว์ทั้งหลายเสมอกันโดยชาติ

[๒๕๖] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกัน

กับสัตว์ทั้งหลายโดยธาตุแล คือ สัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว ย่อมเทียบเคียงกัน

เสมอกันกับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ย่อมเทียบเคียงกันกับสัตว์

ผู้มีอัธยาศัยดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาล...แม้ในอนาคตกาล...

แม้ในปัจจุบันกาล สัตว์ทั้งหลายย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์

ทั้งหลายโดยธาตุแล คือ สัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกัน

กับสัตว์ผู้มีอัธยาศัยเลว สัตว์ผู้มีอัธยาศัยดี ย่อมเทียบเคียงกัน เสมอกันกับสัตว์

ผู้มีอัธยาศัยดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

กิเลสเกิดเพราะความเกี่ยวข้อง

บุคคลย่อมตัดเสียได้เพราะความไม่เกี่ยว-

ข้อง แม้บุคคลผู้มีความเป็นอยู่ดี แต่อาศัย

บุคคลผู้เกียจคร้านย้อมจมลงในสมุทร คือ

สงสาร เปรียบเหมือนบุคคลขึ้นสู่แพไม้

น้อย ๆ พึงจมลงในมหรรณพ ฉะนั้น

เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงเว้นบุคคลผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 479

เกียจคร้านมีความเพียรอันเลวนั้นเสีย พึง

อยู่ร่วมกับพระอริยเจ้าทั้งหลาย ผู้สงัดแล้ว

ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ผู้มีปกติเพ่ง ผู้ปรารภ

ความเพียรเป็นนิตย์ ผู้เป็นบัณฑิต.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบธาตุสูตรที่ ๙

อรรถกถาธาตุสูตร

ในธาตุสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ธาตุโส ความว่า โดยธาตุ. ธาตุคืออัธยาศัย คือสภาพของ

อัธยาศัย ที่ตรัสเรียกว่า อธิมุตติบ้าง พระองค์ทรงประสงค์เอาว่า ธาตุ (ใน

พระสูตรนี้). บทว่า สสนฺทติ ความว่า เข้ากันได้ คือรวมกันได้ ตามธาตุ

คือตามอัธยาศัย เพราะมีธาตุมีส่วนเสมอกันนั้น. บทว่า สเนนฺติ ความว่า

เป็นผู้มีความคิดร่วมกัน สมาคมกันได้ คือคบหากันได้ ได้แก่เข้าไปหากันได้

เพราะความเป็นผู้มีอัธยาศัยเสมอกันนั่นเอง อีกอย่างหนึ่ง ปรับความชอบใจ

(รสนิยม) ความอดทน และความเห็นให้เสมอกันในเรื่องนั้น ๆ. บทว่า

หีนาธิมุตฺติกา ความว่า ชื่อว่ามีอธิมุตติทราม เพราะมีความโน้มเอียงใน

ธรรมที่ต่ำทราม มีกามคุณเป็นต้น คือมีอัธยาศัยต่ำ. บทว่า กลฺยาณาธิ-

มุตฺติกา ความว่า ชื่อว่ามีอธิมุตติดี เพราะมีความโน้มเอียงในธรรมอันงาม

มีเนกขัมมะเป็นต้น คือ มีอัธยาศัยประณีต. อธิบายว่า ถ้าอาจารย์และอุปัชฌาย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 480

เป็นคนไม่มีศีล แต่อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริก เป็นผู้มีศีล อันเตวาสิกและ

สัทธิวิหาริกเหล่านั้น ย่อมไม่เข้าไปหาอาจารย์และอุปัชฌาย์ จะเข้าหาเฉพาะ

แก่ภิกษุผู้มี (สมณ) สารูปเช่นตน. ก็ถ้าอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นผู้มีศีล

อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกนอกนี้เป็นผู้ไม่มีศีล แม้อันเตวาสิกและสัทธิวิหาริก

เหล่านั้น จะไม่เข้าไปหาอาจารย์และอุปัชฌาย์ จะเข้าไปหาเฉพาะผู้มีอัธยาศัยต่ำ

เช่นเดียวกับตนเท่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า การเข้าไปหาอย่างนี้ จะมี

เฉพาะในปัจจุบันอย่างเดียวก็หามิได้ โดยที่แท้แล้ว แม้ในอดีตและอนาคตก็มี

ดังนี้ จึงตรัสว่า อตีตมฺปิ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. โดยสังเขปแล้ว ผู้ตั้งมั่น

ในสังกิเลสธรรม ชื่อว่าเป็นผู้มีอัธยาศัยชั่ว ผู้ตั้งมั่นในโวทานธรรม ชื่อว่า

มีอัธยาศัยงาม. ถามว่า ก็การที่คนทุศีลคบคนทุศีลเท่านั้น การที่คนมีศีล

คบคนมีศีลเท่านั้น การที่คนมีปัญญาทราม คบคนที่มีปัญญาทรามเท่านั้น

การที่คนมีปัญญา คบคนที่มีปัญญาเท่านั้น นี้ใครกำหนด. ตอบว่า ธาตุ

คืออัธยาศัยกำหนด.

เล่ากันว่า ภิกษุหลายรูปเที่ยวภิกษาจารในบ้านหมู่หนึ่ง. คนเหล่านั้น

นำภัตรเป็นอันมากมาใส่จนเต็มบาตร กล่าวว่า ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายฉัน

ตามส่วน (ที่ต้องการ) แล้วส่งไป. ภิกษุทั้งหลายพูดกันว่า อาวุโสทั้งหลาย

คนทั้งหลายประกอบการงานที่เหมาะสมกับธาตุ (อัธยาศัย) ดังนี้. ธาตุคือ

อัธยาศัย ย่อมกำหนด (งานที่ทำ) อย่างนี้. บัณฑิตพึงแสดงความโดยธาตุ-

สังยุต ดังต่อไปนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าบันทมบนพระแท่นประชวร บนภูเขา

คิชฌกูฏ ทอดพระเนตรดู พระโมคคัลลานะและพระสารีบุตร ที่เฝ้าถวาย

อารักขา แต่ละรูปจงกรมอยู่กับบริษัทของตน จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นหรือไม่ พระสารีบุตรจงกรมอยู่กับภิกษุ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 481

ทั้งหลายจำนวนมาก ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า เห็นพระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้ทั้งหมดแล ล้วนมีปัญญามาก ดังนี้ ควรนำเรื่อง

ทั้งหมดมาแสดงโดยพิสดาร.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไปนี้ บทว่า สสคฺคา ความว่า

เพราะสังกิเลส คือ เพราะประกอบร่วมกัน ด้วยสามารถแห่งการอยู่ร่วมกัน

เป็นต้น . อีกอย่างหนึ่ง เพราะคลุกคลีกันในการคลุกคลี ๕ อย่าง อย่างใด

อย่างหนึ่งอย่างนี้ คือ ทัสสนสังสัคคะ (คลุกคลีด้วยการเห็น) สวนสัง-

สัคคะ (คลุกคลีด้วยการฟัง) สมุลลาปนสังสัคคะ (คลุกคลีด้วยการเจรจา)

สัมโภคสังสัคคะ (คลุกคลีด้วยการใช้ร่วม) กายสังสัคคะ (คลุกคลีด้วยกาย).

บทว่า วนโถ ชาโต ความว่า กิเลสเกิดขึ้น เพราะยังไม่ได้ถอนขึ้นด้วยมรรค.

บทว่า อสสคฺเคน ฉิชฺชติ ความว่า กิเลสขาดไปในตอนต้น โดยการงด

การคลุกคลีกัน มีกายวิเวกเป็นต้น แล้วขาดไปคือละได้อีก ด้วยการไม่เกี่ยวข้อง

โดยส่วนเดียว คือด้วยสมุจเฉทวิเวก. โดยสังเขป การเกิดขึ้นและการดับไป

แห่งอัธยาศัยที่ต่ำ เป็นอันพระองค์ทรงแสดงแล้วโดยสังเขป ด้วยคำเพียงเท่านี้ .

ก็เพราะเหตุที่ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้คลุกคลีกัน และกิเลสเหล่านั้น ก็เกิดขึ้น

และเจริญขึ้น ด้วยอำนาจแห่งความเกียจคร้าน มิใช่ด้วยอำนาจแห่งการปรารภ

ความเพียร ฉะนั้น ภิกษุเว้นบุคคลผู้มีอัธยาศัยต่ำ ผู้เกียจคร้านแล้วคบหาผู้มี

อัธยาศัยงาม ผู้ประกอบความเพียร พึงตัดกิเลสอันเกิดจากการคลุกคลีกันได้

ด้วยการไม่คลุกคลีกัน ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงเนื้อความ ตามที่กล่าวแล้วโดยพิสดาร

จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า ปริตฺต ทารุ เพื่อประกาศโทษแห่งการคบหาผู้เกียจคร้าน

ก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 482

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริตฺต ทารุ ได้แก่ ไม้ท่อนเล็ก ๆ.

บทว่า ยถา สีเท มหณฺณเว ความว่า เหมือนผู้ประสงค์จะข้ามมหาสมุทร

โดยนำเอาแพสำเร็จด้วยไม้ท่อนเล็ก ๆ (ขี่ข้าม) จะไม่ถึงฝั่ง คงจมลงใน

ท่ามกลางมหาสมุทรนั่นเอง พึงตกไปเป็นภักษาของปลาและเต่าฉันใด. บทว่า

เอว กุสีต อาคมฺม สาธุชีวีปิ สีทติ ความว่า ผู้ที่อาศัยคนเกียจคร้าน

ปราศจากการปรารภความเพียร ตกอยู่ในอำนาจกิเลส ถูกเขาทำการคลุกคลี

ถึงจะมีชีวิตราบรื่น มีอาชีพบริสุทธิ์ (และ) มีศีลบริสุทธิ์ (แต่) ถูกกามวิตก

เป็นต้น ที่เกิดขึ้นจากการคลุกคลี่กับคนต่ำ รบกวนอยู่ก็ไม่สามารถไปถึงฝั่งได้

จะจมอยู่ในห้วงมหรรณพนั่นเอง ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ตสฺมา ความว่า

เพราะเหตุที่การคลุกคลีกับคนเกียจคร้าน เป็นเหตุนำอนัตถะอย่างนี้มาให้

ฉะนั้น ภิกษุควรเว้นมิตร ที่ชื่อว่าเกียจคร้าน เพราะจมดิ่งลง โดยการประกอบ

ความเกียจคร้านเนือง ๆ เพราะอาศัยเขา คือ ผู้มีความเพียรต่ำกว่าบุคคลนั้น

นั่นแหละ. ได้แก่ไม่มีความเพียร. แต่พึงอยู่ร่วม คือคบหากับด้วยบัณฑิต

ทั้งหลาย คือผู้มีปัญญานั่นเอง ผู้สงบสงัดแล้ว ด้วยสามารถแห่งกายวิเวก

เป็นต้น และตทังควิเวก เป็นต้น โดยส่วนเดียวนั่นเอง. ผู้ชื่อว่า

เป็นอริยะ เพราะต่อแต่นั้นไปนั้นเอง จะเป็นผู้ไกลจากิเลส ชื่อว่าผู้มีตน

(ใจ) อันส่งไปแล้ว เพราะความเป็นผู้มีตนถูกส่งไปแล้วสู่พระนิพพาน ผู้ชื่อว่า

เพ่งอยู่ (มีฌาน) เพราะเพ่งอยู่ด้วยสามารถแห่งอารัมมณูปณิชฌาน และ

ลักขณูปณิชฌาน ผู้ชื่อว่าปรารภความเพียรแล้ว เพราะเป็นผู้ปรารภความเพียร

โดยความเป็นผู้ประคองความเพียรได้ตลอดกาลทุกเมื่อ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาธาตุสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 483

๑๐. ปริหานสูตร

ว่าด้วยธรรม ๓ ประการเป็นไปเพื่อความเสื่อม

[๒๕๗] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ๓ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้

เสขะในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ยินดีในการงาน ขวนขวาย

ในความเป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ๑ เป็นผู้ขอบคุย ยินดีในการคุย

ขวนขวายในความเป็นผู้ขอบคุย ๑ เป็นผู้ชอบหลับ ยินดีในการหลับ ขวนขวาย

ในความเป็นผู้ชอบหลับ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้แล ย่อม

เป็นไปเพื่อความเสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่

เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ ๓ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เสขะ

ในธรรมวินัยนี้ ไม่เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ไม่ยินดีในการงาน ไม่

ขวนขวายในความเป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ๑ ไม่ชอบคุย ไม่ยินดีในการ

คุย ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ขอบคุย ๑ ไม่ชอบหลับ ไม่ยินดีในการหลับ

ไม่ขวนขวายในความเป็นผู้ชอนหลับ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๓ ประการ

นี้แล ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เสื่อมแก่ภิกษุผู้เสขะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 484

ภิกษุผู้มีการงานเป็นที่มายินดี ยินดี

ในการคุย ชอบหลับและฟุ้งซ่าน ผู้เช่นนั้น

ไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด

เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุพึงเป็นผู้มีกิจน้อย

เว้นจากความหลับไม่ฟุ้งซ่าน ภิกษุผู้เช่น-

นั้นควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปริหานสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๓

อรรถกถาปริหานสูตร

ในปริหานสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปริหานาย สวตฺตนฺติ ความว่า ย่อมมีเพื่อความไม่เจริญ

คือมีเพื่อเป็นอันตรายต่อการบรรลุมรรค. แต่ขึ้นชื่อว่ามรรคที่ได้บรรลุแล้ว

เสื่อมไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงจำแนกธรรมที่ทรงยกขึ้นแสดง

ด้วยสามารถแห่งธรรมาธิษฐานว่า ธรรม ๓ อย่างดังนี้ ด้วยเทศนาที่เป็นบุคลา-

ธิษฐาน จึงตรัสคำมีอาทิว่า อิธ ภิกฺขเว เสโข ภิกฺขุ ดังนี้.

ใน ๓ อย่างนั้น ภิกษุชื่อว่า กัมมารามะ เพราะมีการงานเป็นที่มา

ยินดี เพราะต้องเพลิดเพลินอยู่กับ (การงาน). ชื่อว่า กมฺมรโต เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 485

ยินดีแล้วในการงาน. ชื่อว่า กมฺมารามตมนุยุตฺโต เพราะประกอบเนือง ๆ

คือขวนขวายความยินดียิ่งในงาน คือความเพลิดเพลินในงาน การงานที่จะต้อง

กระทำอย่างนี้ ชื่อว่าการงาน ในบทว่า กมฺมาราโม นั้น เช่นการทำอุปกรณ์

มีอาทิอย่างนี้ คือ การตรวจจีวร การทำจีวร การซ่อมแซมตลกบาตร ผ้าอังสะ

ประคดเอว ธมกรก เชิงบาตร กระเบื้องรองเท้า การปัดกวาด และการ

ปฏิสังขรณ์สิ่งที่ชำรุดและแตกหักเป็นต้นในพระวิหาร จริงอยู่ ภิกษุบางรูป

เมื่อกระทำสิ่งเหล่านี้ ย่อมกระทำสิ่งเหล่านั้นแหละตลอดทั้งวัน. บทว่า

กมฺมาราโม นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาการงานนั้น ส่วนภิกษุใด

ในเวลาทำงานเหล่านี้ เท่านั้น จึงจะทำงานเหล่านี้ ในเวลาเรียนอุเทศก็เรียน

อุเทศ ในเวลาท่องบ่นก็ท่องบ่น ในเวลาทำวัตร มีวัตรคือการปัดกวาดลาน-

พระเจดีย์เป็นต้น กระทำวัตร (คือการปัดกวาด) ลานพระเจดีย์ ในเวลาทำ

มนสิการ ก็ทำมนสิการในสัพพัตถกกรรมฐาน หรือในปาริหาริยกรรมฐาน

ภิกษุนั้นหาชื่อว่า เป็นผู้มีการงานเป็นที่มายินดีไม่ (ไม่หมกมุ่นงาน) การงาน

ของเธอนั้นย่อมเป็นการกระทำที่พระศาสดา ทรงอนุญาตไว้ทีเดียว โดยนัยมี

อาทิว่า ก็เธอเป็นผู้ขยัน ไม่เกียจคร้านในกรณียกิจน้อยใหญ่ ที่เป็นของ

เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย เป็นผู้ประกอบด้วยการใคร่ครวญ อันเป็นอุบายใน

กรณียกิจนั้น สามารถเพื่อจะกระทำ สามารถเพื่อจะจัดแจงได้ ดังนี้.

บทว่า ภสฺสาราโม ความว่า ภิกษุใดยังวันและคืนให้ล่วงไปด้วย

สามารถแห่งการกล่าวถึง ราชกถาเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามไว้แล้ว

ภิกษุนี้เป็นผู้พูดไม่รู้จบ เพราะฉะนั้น ภิกษุนี้ จึงชื่อว่า ภสฺสาราโม (ยินดี

ในการพูด) ส่วนภิกษุใดพูดธรรม วิสัชนาปัญหา เวลากลางคืนบ้าง กลางวัน-

บ้าง ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้พูดน้อย พูดมีสิ้นสุด. เพราะเหตุไร ? เพราะว่า

เธอดำเนินตามวิธีที่พระมีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วทีเดียวว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 486

สำหรับภิกษุทั้งหลายที่ประชุมกันแล้ว มีกิจที่จะต้องกระทำ ๒ อย่างคือ กล่าว-

ธรรม หรือนิ่ง แบบพระอริยะ.

บทว่า นิทฺทาราโม ความว่า ภิกษุใดฉันจนเต็มท้อง เต็มตามที่

ต้องการ ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขในการนอน ความสุขในการเอน

ความสุขในการหลับ และภิกษุใดเดินก็ดี นั่งก็ดี ถูกถีนมิทธะครอบงำหลับอยู่

ภิกษุนี้นั้นชื่อว่า นิทฺทาราโม (ยินดีในความหลับ) ส่วนภิกษุใดมีจิตหยั่งลงสู่

ภวังค์ เพราะอาพาธ (ความเจ็บไข้ของกรชกาย) ภิกษุนี้ หาชื่อว่า นิททฺาราโม

(ยินดีในความหลับ) ไม่. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน

อัคคิเวสนะ ก็แลเราตถาคตรู้อยู่ว่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน เราตถาคตกลับจาก

บิณฑบาต หลังฉันเสร็จแล้ว ปูสังฆาฏิให้เป็น ๔ ชั้น แล้วเป็นผู้มีสติสัมป-

ชัญญะ ก้าวลงสู่ความหลับโดยข้างเบื้องขวา รู้สึกตัวอยู่ ดังนี้.

ก็ในพระสูตรนี้ ถึงกัลยาณปุถุชน ก็พึงทราบว่า เป็นพระเสกขะ

เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ธรรม ๓ อย่างนั้น ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความเสื่อมแห่งการบรรลุคุณพิเศษของกัลยาณปุถุชนแม้ทั้งหมดนั้น และการ

บรรลุคุณพิเศษสูง ๆ ขึ้นไป ของพระเสกขะนอกนี้. พึงทราบการขยายความ

แห่งธรรมฝ่ายขาวตามปริยายที่ตรงข้ามกับที่กล่าวแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า อุทฺธโต ความว่า

ฟุ้งซ่าน คือไม่สงบ เพราะอุทธัจจะ ที่ทำให้จิตฟุ้งซ่าน. บทว่า อปฺปกิจฺจสฺส

ความว่า เธอพึงเป็นผู้มีกิจการน้อย เพราะกระทำในเวลาที่ขวนขวายประกอบกิจ

มีประการดังกล่าวแล้วเท่าที่ทรงอนุญาตไว้. บทว่า อปฺปมิทฺโธ ความว่า

พึงเป็นผู้เว้นจากการหลับ เพราะชาคริยานุโยค ที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า

ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่งตลอดวัน. บทว่า อนุทฺธโต ความว่า เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 487

ไม่มีการพูดเป็นทีมายินดี ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน คือมีจิตสงบ อธิบายว่า

(มีจิต) เป็นสมาธิ เพราะเว้นความฟุ้งซ่านแห่งจิต ที่เกิดขึ้นเพราะมีการพูดคุย

เป็นที่มายินดี. คำที่เหลือเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้นเพราะมีนัยเหมือนที่เคยกล่าวแล้ว

ในก่อน.

ด้วยประการดังพรรณนามานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสวัฏฏะไว้ใน

พระสูตรที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ที่ ๗ ที่ ๘ และที่ ๙ ไว้ในวรรคนี้แล้ว.

(ส่วน) ในวรรคนอกนี้ ตรัสไว้ทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ.

จบอรรถกถาปริหานสูตรที่ ๑๐

จบวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มิจฉาทิฏฐิสูตร ๒. สัมมาทิฏฐิสูตร ๓. นิสสรณสูตร ๔. รูปสูตร

๕. ปุคคสูตร ๖. อวุฏฐิกสูตร ๗. สุขสูตร ๘. ภินทนสูตร ๙. ธาตุสูตร

๑๐. ปริหานสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 488

อิติวุตตกะ ติกนิบาต

วรรคที่ ๔

๑. วิตักกสูตร

ว่าด้วยอกุศลวิตก ๓ ประการ

[๒๕๘] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน

คือ วิตกประกอบด้วยการไม่ให้ผู้อื่นดูหมิ่นตน ๑ วิตกประกอบด้วยลาภ

สักการะและความสรรเสริญ ๑ วิตกประกอบด้วยความเอ็นดูในผู้อื่น ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยการไม่ให้

ผู้อื่นดูหมิ่นตน ผู้หนักในลาภและสักการะ

มีปกติยินดีกับด้วยอำมาตย์ทั้งหลาย เป็น

ผู้ห่างไกลจากความสิ้นไปแห่งสังโยชน์

ภิกษุใดในธรรมวินัยนี้ ละบุตร ปศุสัตว์

การให้กระทำวิวาหะ และการหวงแหน

เสียได้ ภิกษุเช่นนั้น ๆ เป็นผู้ควรเพื่อจะ

บรรลุสัมโพธิญาณอันสูงสุด.

จบวิตักกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 489

วรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาวิตักกสูตร

ในวิตักกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อกุสลา วิตกฺกา ความว่า วิตกทั้งหลายอันเกิดจากความ

เป็นผู้ไม่ฉลาด อธิบายว่า ได้แก่ มิจฉาวิตก. บทว่า อนวญฺตฺติ ในบทว่า

อนวญฺตฺติปฏิสยุตฺโต นี้ ได้แก่การไม่ถูกดูหมิ่นเพราะความที่ตนไม่ถูกผู้อื่น

ดูหมิ่น คือ ไม่ถูกดูแคลน คือ อิจฉาจารที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ คน

เหล่าอื่นไม่พึงดูหมิ่นเรา ดังนี้ คือการเกี่ยวข้องอันประกอบด้วยการไม่ถูกดูหมิ่น

นั้น หรือวิตกอันปฏิสังยุตด้วยการไม่ดูหมิ่น ซึ่งปรารภการคลุกคลีนั้นเป็นไปแล้ว

เพราะฉะนั้น คำว่า อนวญฺตฺติ นี้ เป็นชื่อของวิตกที่ผู้ดำรงอยู่ในอิจฉาจารให้

เป็นไปแล้ว เพราะต้องการความยกย่องว่า กระไรหนอ คนเหล่าอื่นทั้งคฤหัสถ์

และบรรพชิต จะไม่พึงเหยียดหยามเราให้ต่ำต้อย. บทว่า ลาภสกฺการสิโลก-

ปฏิสยุตฺโต ความว่า วิตกที่ประกอบด้วยลาภมีจีวรเป็นต้น สักการะ และ

กิตติศัพท์ โดยทำให้เป็นอารมณ์. บทว่า ปรานุทฺทยตาปฏิสยุตฺโต ความว่า

ประกอบด้วยความรักที่เป็นเจ้าเรือน อันเป็นความเอ็นดูเทียมในผู้อื่น ซึ่ง-

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสหมายเอาว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้คลุกคลี

เพลิดเพลิน โศกเศร้า อยู่กับพระราชา ราชมหาอมาตย์ พราหมณ์ คฤหบดี

เดียรถีย์ และสาวกแห่งเดียรถีย์ทั้งหลาย เมื่อเขาสุข ก็สุขด้วย เมื่อเขาทุกข์

ก็ทุกข์ด้วย ย่อมถึงการประกอบตนในกิจการอันบังเกิดขึ้นแล้วของเขา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 490

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บุคคลผู้ประกอบด้วยการ

ไม่ดูหมิ่น ชื่อว่า อนวญฺตฺติสยุตฺโต บุคคลชื่อว่า ลาภสกฺการคารโว

เพราะมีความตระหนักในลาภสักการะ ไม่ใช่ในธรรม. บุคคลชื่อว่า อมัจจะ

เพราะเป็นผู้ใกล้ชิด คือร่วมสุข ร่วมทุกข์กัน ได้แก่ผู้อุปถัมภ์คล้ายกับสหาย

บุคคลผู้มีปกติยินดี กับด้วยอำมาตย์เหล่านั้น ด้วยอำนาจความรักที่เป็นเจ้าเรือน

ชื่อว่าเป็นผู้ยินดีกับด้วยอมาตย์ทั้งหลาย. ด้วยบทว่า สหนนฺที อมจฺเจหิ นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงถึงวิตกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูผู้อื่น. บทว่า

อารา สโยชนกฺขยา ความว่า บุคคลถกวิตกทั้ง ๓ เหล่านี้ครอบงำ ย่อม

เป็นผู้ห่างไกลจากความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ คือพระอรหันต์. พระอรหันต์นั้น

เป็นของหาได้ยาก สำหรับเขา. บทว่า ปุตฺตปสุ ได้แก่ทั้งบุตร ทั้งสัตว์เลี้ยง.

และด้วยปุตฺตศัพท์ ในคำว่า ปุตฺตปสุ นี้ ทรงสงเคราะห์เอาภรรยาเป็นต้น

ไว้ด้วย. ด้วยปสุศัพท์ ทรงสงเคราะห์เอาม้า กระบือ นา และสวนเป็นต้น

เข้าไว้ด้วย. บทว่า วิวาเห ความว่า ในการให้วิวาทมงคล. ด้วยบทว่า

อาวาโห นี้ ทรงสงเคราะห์เอาอาวาหมงคลเข้าไว้ด้วย. บทว่า สงฺคหานิ

ได้แก่การหวงแหน อธิบายว่า ควรแก่การระมัดระวัง. แต่อาจารย์ทั้งหลาย

กล่าวว่า ได้แก่การสนิทสนม อธิบายว่า สนิทสนมกันฉันมิตร. เธอมีความว่า

ละทิ้งทั้งหมด. บทว่า ภพฺโพ โส ตาทิโส ภิกฺขุ ความว่า เธอสละสิ่ง-

ที่ทำให้เนิ่นช้า ทุกอย่าง. ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเห็นภัยในสงสารด้วยสัมมา-

ปฏิบัติที่พระศาสดาตรัสไว้แล้ว โดยประการใด ชื่อว่าเป็นผู้เช่นนั้น เพราะ

พึงเห็นโดยประการนั้น ย่อมควรเพื่อบรรลุการตรัสรู้อันยอดเยี่ยม คือพระอรหัต.

จบอรรถกถาวิตักกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 491

๒. สักการสูตร

ว่าด้วยผู้ถูกสักการะครอบงำจิต

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้เห็นสัตว์ผู้อันสักการะ

ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เราได้

เห็นสัตว์อันความไม่สักการะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เมื่อตายไป เข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก เราได้เห็นสัตว์อันสักการะและความไม่สักการะทั้งสองครอบงำ

ย่ำยีจิตแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

ตถาคตกล่าวคำนั้นแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้เห็นสัตว์อัน

สักการะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว... เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะ

ได้ฟังต่อสมณะหรือพราหมณ์อันก็หามิได้ ก็แต่ว่าเราตถาคตรู้มาเอง เห็นมา

เอง ทราบมาเอง จึงกล่าวคำนั้นแลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้

เห็นสัตว์อันสักการะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

เราตถาคตได้เห็นสัตว์อันความไม่สักการะครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เข้าถึงอบาย

ทุคติ วินิบาต นรก เราตถาคตได้เห็นสัตว์อันสักการะและความไม่สักการะ

ทั้งสองครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

สมาธิของบุคคลใดผู้อันบุคคลสัก-

การะอยู่ ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท

ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะสักการะและความ

ไม่สักการะทั้งสอง พระอริยเจ้าทั้งหลาย

มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นกล่าว บุคคลมีปกติ

เพ่ง ผู้มีความเพียรเป็นไปติดต่อ ผู้เห็นแจ้ง

ด้วยทิฏฐิอันสุขุม มีความสิ้นอุปทานเป็นที่

มายินดีว่าเป็นสัปบุรุษ.

จบสักการสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 492

อรรถกถาสักการสูตร

ในสักการสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สกฺกาเรน ความว่า อันสักการะ อันเป็นดังเหตุ อีกอย่าง

หนึ่ง บทว่า สกฺกาเรน ความว่า ถูกเหตุหรือสักการะ หรือถูกอกุศลธรรม

มีสักการะเป็นเหตุ (ครอบงำ) อธิบายว่า เพราะอาศัยสักการะ บุคคลบางคน

ในโลกนี้ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครองงำ ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร

คิดว่า เราจักให้สักการะเกิดขึ้น แล้วประพฤติการแสวงหาที่ไม่เหมาะสมมาก

อย่าง จุติจากโลกนี้แล้ว จึงเกิดในอบายทั้งหลาย. ส่วนคนเหล่าอื่นได้สักการะ

อย่างใดแล้ว ถึงความประมาท อันมีสักการะอย่างนั้นเป็นนิมิต ด้วยสามารถ

แห่งมานะ (ความถือตัว) มทะ (ความเมา) และมัจฉริยะ (ความตระหนี่)

เป็นต้น จุติจากโลกนี้แล้ว จึงเกิดในอบายทั้งหลาย ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสหมายเอาว่า ผู้ถูกสักการะครอบงำ มีจิตอันสักการะหุ้มห่อแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิภูตา ความว่า ถูกสักการะทับถมแล้ว.

บทว่า ปริยาทินฺนจิตฺตา ความว่า มีจิตอันสักการะให้ส่ายไปแล้ว คือเป็น

ผู้มีกุศลจิต ถูกอิจฉาจาร และอกุศลมีมานะ และมทะเป็นต้นให้ถึงความสิ้นไป.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริยาทินฺนจิตฺตา ความว่า มีจิตอันสักการะยึดเหนี่ยวไว้

รอบด้าน. อธิบายว่า เป็นผู้มีจิตสันดาน ถูกฝ่ายอกุศลธรรม มีประการดังกล่าว

แล้ว ยึดไว้แล้วรอบด้านโดยไม่มีวาระแห่งกุศลจิตเกิดขึ้น. บทว่า อสกฺกาเรน

ความว่า อันเหตุ คือ อสักการะ ที่ผู้อื่นให้เป็นไปแล้วในตน โดยมุ่งให้ละอาย

โดยเย้ยหยัน หรือถูกอกุศลธรรมมีมานะเป็นต้น ที่มีสักการะเป็นเหตุ (ครอบ-

งำแล้ว). บทว่า สกฺกาเรน จ อสกฺกาเรน จ ความว่า ถูกทั้งสักการะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 493

ที่ใคร ๆ ให้เป็นไปแล้ว ทั้งอสักการะที่ใคร ๆ ให้เป็นไปแล้ว. อธิบายว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาบุคคลเช่นนั้น ที่ตอนต้น ชนเหล่าใดสักการะ

แล้ว ภายหลังชนเหล่านั้นนั่นแหละไม่สักการะ เพราะรู้ว่าไม่มีสารธรรม จึง

ตรัสว่า สกฺกาเรน จ อสกฺกาเรน จ ดังนี้.

ในเรื่องนี้ควรนำเรื่องพระเทวทัตเป็นต้นที่ถูกสักการะครอบงำมาแสดง

(เป็นตัวอย่าง). สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ผลกล้วยแล ฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่

ฆ่าต้นไผ่ สักการะฆ่าคนชั่ว เหมือนลูก

ม้า ฆ่าแม้ม้า อัสดร ดังนี้.

ควรนำเรื่องพระเจ้ากรุงทัณฑกี พระเจ้ากรุงกาลิงคะ และพระเจ้ากรุงเมชฌะ

เป็นต้น มาแสดง (เป็นตัวอย่าง). สมดังคำที่สังกัจจฤาษีกล่าวไว้ว่า

เพราะ พระเจ้าทัณฑกี ทรงโปรย

ธุลีใส่ กีสวัจฉฤาษี (ผู้หาธุลีมิได้) พระ-

องค์พร้อมด้วยประชาชน และแว่นแคว้น

(จึงถึงความพินาศ) เหมือนไม้ที่รากขาด

แล้ว หมกไหม้อยู่ในกุกกุฬนรก ประกาย

ไฟตกถูกต้องพระกายของพระองค์.

อนึ่ง พระเจ้ากาลิงคะ ได้ล่วงเกิน

บรรพชิตผู้สำรวมแล้ว ผู้สอนธรรม ผู้เป็น

สมณะผู้ไม่ประทุษร้าย สุนัขทั้งหลายจึง

รุนกัดพระเจ้ากาลิงคะนั้นผู้ทรงกลิ้งไปมา

อยู่ เหมือนผลมะพร้าว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 494

พระเจ้าเมชฌะคิดประทุษร้ายในมา-

ตังคฤาษี ผู้เรืองยศสรัฐมณฑลของพระเจ้า

เมชฌะ พร้อมด้วยบริษัท ก็ได้สูญสิ้นไป

ในครั้งนั้น ดังนี้.

อัญญเดียรดีย์ทั้งหลาย มีนิครนถนาฏบุตรเป็นต้น ผู้ถูกทั้งสักการะ

และอสักการะครอบงำ ก็ควรนำมาแสดงด้วย.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป บทว่า อุภย ได้แก่ทั้งสักการะ

และอสักการะทั้งสองอย่าง. บทว่า สมาธิ น วิกมฺปติ ความว่า สมาธิย่อม

ไม่หวั่นไหว คือมีสภาพเป็นเอกนั่นแหละตั้งอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท (เพื่อจะทรงแก้คำถาม) ว่า ก็สมาธิของใครเล่า

ไม่หวั่นไหว ? อธิบายว่า ของผู้ชื่อว่ามีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท คือเป็น

พระอรหันต์ เพราะละธรรมที่เป็นเหตุแห่งความประมาท มีราคะเป็นต้นได้

ด้วยดี ด้วยว่า ท่านไม่หวั่นไหว เพราะโลกธรรมทั้งหลาย. บทว่า สุขุม-

ทิฏฺิวิปสฺสก ความว่า ผู้ชื่อว่าเห็นแจ้งด้วยทิฏฐิอันสุขุม เพราะมีความเห็น

แจ้งที่เป็นไปแล้วเนือง ๆ ด้วยทิฏฐิ คือปัญญาอันสุขุม เหตุได้บรรลุผลสมาบัติ.

บทว่า อุปาทานกฺขยาราม ความว่า ผู้ชื่อว่า มีความสิ้นอุปาทานเป็นที่มา

ยินดี เพราะมีอรหัตผลอันเป็นที่สิ้นไป คือเป็นที่สิ้นสุด แห่งอุปาทานทั้ง ๔

ที่ตนจะต้องยินดี. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสักการสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 495

๓. สัททสูตร

ว่าด้วยสมัย ๓ อย่าง

[๒๖๐] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เสียง (ที่เกิดขึ้นเพราะปีติ) ของเทวดา

๓ อย่างนี้ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย ๓ อย่าง

เป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระอริยสาวกย่อมคิดเพื่อจะปลงผม

และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต ในสมัยนั้น เสียงของ

เทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนี้ย่อมคิดเพื่อทำสงคราม

กับมาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๑ ย่อมเปล่งออกไป

ในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.

อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกประกอบความเพียรในการ

เจริญโพธิปักขิยธรรม ๗ ประการ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออก

ไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนั้นทำสงครามกับมาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นเสียงของเทวดา ข้อที่ ๒ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัย

แต่สมัย.

อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่า

เทวดาว่า พระอริยสาวกนี้พิชิตสงความ ชนะแดนแห่งสงครามนั้นแล้ว

ครอบครองอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ ๓ ย่อมเปล่ง

ออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสียง เทวดา ๓ ประการนี้แล ย่อมเปล่งออกไป

ในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 496

แม้เทวดาทั้งหลาย เห็นสาวกของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ชนะสงครามแล้ว

เป็นผู้ใหญ่ ปราศจาความครั่นคร้าม

ย่อมนอบน้อมด้วยคำว่า ข้าแต่ท่านบุรุษ

อาชาไนย ขอนอบน้อมแด่ท่านผู้ครอบงำ

กิเลสที่เอาชนะได้ยาก ชนะเสนาแห่งมัจจุ

ที่กางกั้นไว้มิได้ด้วยวิโมกข์ เทวดาทั้งหลาย

ย่อมนอบน้อมพระขีณาสพผู้มีอรหัตผลอัน

บรรลุแล้วนี้ ด้วยประการฉะนี้ เพราะ

เทวดาทั้งหลายไม่เห็นเหตุ แม้มีประมาณ-

น้อย ของพระขีณาสพผู้เป็นบุรุษอาชาไนย

นั้นอันเป็นเหตุให้ท่านเข้าถึงอำนาจของ

มัจจุได้ ฉะนั้น จึงพากันนอบน้อมพระ

ขีณาสพนั้น.

จบสัททสูตรที่ ๓

อรรถกถาสัททสูตร

ในสัททสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เทเวสุ ความว่า เว้นเทพที่เป็นอรูปาวจร และเทพที่เป็น

อสัญญีทั้งหลาย ในอุบัติเทพอื่นจากนั้น. บทว่า เทวสทฺทา ได้แก่ เสียง

ที่ประมวลมาจากปีติของเทวดาทั้งหลาย. บทว่า นิจฺฉรนฺติ ได้แก่ เปล่งออก

ไปด้วยสามารถแห่งการสนทนาปราศรัยกัน. บทว่า สมยา สมย อุปาทาย

ความว่า อาศัยสมัยที่เหมาะสม มีคำอธิบายว่า เทวดาทั้งหลายดำรงอยู่ในกาลใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 497

อาศัยกาลนั้น เห็นอริยสาวกนั้น. ต่อจากนั้นอาศัยสมัย คือ เวลาที่ประจวบเข้า

นั้น. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า หมายเอาทุกสมัย. อธิบายว่า อาศัยสมัย

นั้น ๆ ของท่านเหล่านั้น.

บทว่า ยสฺมึ สมเย ความว่า ในสมัยที่พระอริยสาวกเห็นโทษใน

กามทั้งหลาย โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลายอุปมาด้วยร่างกระดูก และโทษ

ในการครองเรือน โดยนัยมีอาทิว่า การอยู่ครองเรือนคับแคบเป็นอย่างยิ่ง

และเห็นอานิสงส์ในการออกบวช โดยนัยที่ตรงข้ามกับการอยู่ครองเรือนนั้น

เป็นอย่างดี. เพราะว่าเมื่อนั้นแหละ จิตของพระอริยสาวกนั้น จะน้อมไปใน

บรรพชาโดยส่วนเดียว. บทว่า อริยสาวโก ได้แก่ สาวกของท่านผู้ประเสริฐ

คือพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า คืออริยสาวกผู้ประสงค์จะเข้าถึง ความเป็นสาวก

หรือผู้จะเป็น (อริยสาวก) โดยแน่แท้. คำปรารภนี้ (เทวดากล่าว) หมายเอา

พระสาวกและพระโพธิสัตว์ผู้มีภพสุดท้าย. บทว่า เกสมสฺสุ โอหาเรตฺวา

ความว่า ปลงผมและหนวด คือนำออกไป. บทว่า กาสายานิ วตฺถานิ

อจฺฉาเทตฺวา ความว่า นุ่งห่มผ้าอันเหมาะสมแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ชื่อว่า

กาสายะ เพราะย้อมด้วยน้ำฝาด. บทว่า อคารสฺมา อนคาริย ปพฺพชฺชาย

เจเตติ ความว่า ตั้งใจคือหมายใจบวชว่า เราออกจากอาคารคือเรือนบวช

เป็นบรรพชิตไม่มีเหย้าเรือน อธิบายว่า จักบวช. ก็เพราะเหตุที่กสิกรรมและ

พาณิชยกรรมเป็นต้น ที่เป็นประโยชน์แก่การครองเรือน ท่านเรียกว่า อคาริยะ

และกสิกรรมและพาณิชยกรรมนั้นไม่มีในการบรรพชา ฉะนั้น การบรรพชา

พึงทราบว่า เป็นอนาคาริยะ ในคำว่า อคารสฺมา อนคาริย ปพฺพชฺชาย

เจเตติ นี้. บทว่า มาเรน ได้แก่ กิเลสมาร. บทว่า สงฺคามาย เจเตติ

ความว่า ยังความคิดให้เกิดขึ้นเพื่อต้องการรบ คือเตรียมการเพื่อเอาชัยชนะ

มาร ก็เพราะเหตุที่ แม้เทวบุตรมาร ย่อมพยายามเพื่อ (ทำ) อันตรายแก่บุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 498

ผู้ปฏิบัติเห็นมานั้น ฉะนั้นพึงทราบอรรถาธิบาย ในบทว่า มาเรน ว่าได้แก่

เทวบุตรมารบ้าง. ถึงเทวบุตรมารนี้ ก็จักทำการขัดขวางความปรารถนาของ

ผู้ปฏิบัตินั้นเหมือนกัน. ก็เริ่มแต่วันบรรพชา หรือปลงผมแล้ว เธอสมาทานศีล

รักษาศีลให้บริสุทธิ์ บำเพ็ญสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐาน ชื่อว่า

สกัดกิเลสมารไว้ ด้วยสามารถแห่งตทังคปหาน และวิกขัมภนปหานตาม

สมควร ยังไม่ชื่อว่ารบ เพราะยังไม่มีการประจันบาน ฉะนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า คิดทำสงครามกับมาร ดังนี้.

บทว่า สตฺตนฺน ความว่า โดยหมวดมี ๗ แต่โดยข้อ (ประเภท)

โพธิปักขิยธรรมนั้นมี ๓๗ ข้อ คืออะไรบ้าง ? คือ สติปัฏฐาน ๔

สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗

อริยมรรคมีองค์ ๘. ดังนั้น ว่าโดยประเภท (ข้อ) จึงมี ๓๗ โดยโกฏฐาส

(หมวด) จึงมี ๗ เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สตฺตนฺน

ดังนี้. บทว่า โพธิปกฺขิยาน ความว่า แห่งโพธิปักขิยธรรมที่เป็นฝักฝ่าย

แห่งอริยบุคคล หรือมรรคญาณนั้นเอง ที่ได้นามว่า โพธิ เพราะอรรถว่า

เป็นเหตุตรัสรู้. อธิบายว่า ได้แก่ธรรมที่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งพระโพธิญาณ.

ปาฐะว่า โพธิปกฺขิกาน ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า มีธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิ

หรือประกอบในธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งโพธิ. บทว่า ภาวนานุโยคมนุยุตฺโต

ความว่า ประกอบความเพียรเนือง ๆ ในการเจริญอริยมรรค ให้วิปัสสนา

เขยิบขึ้น. เพราะว่า ในขณะแห่งวิปัสสนาญาณ สติปัฎฐานเป็นต้น ชื่อว่าเป็น

ฝักฝ่ายแห่งโพธิ โดยอ้อม แต่ในขณะแห่งมรรคเท่านั้น สติปัฏฐานเป็นต้น

เหล่านั้น จึงชื่อว่า เป็นโพธิปักขิยธรรมโดยตรง.

บทว่า อาสวาน ขยา ความว่า เพื่อสิ้นอาสวะทั้งหมดมีกามาสวะ

เป็นต้น. อธิบายว่า อาสวะทั้งหลายเมื่อสิ้นไปแล้ว กิเลสแม้ทั้งหมดก็เป็นอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 499

สิ้นไปด้วยเหมือนกัน . ด้วยคำว่า อาสวาน ขยา นั้น เป็นอันตรัสถึงพระ-

อรหัตด้วย. บทว่า อนาสว ความว่า (เจโตวิมุตติ) ที่เว้นจากอาสวะ ด้วย

คำว่า เจโต ในบทว่า เจโตวิมุตฺตึ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาธิที่

สัมปยุตด้วยอรหัตผล และด้วยคำว่าปัญญา ในบทว่า ปญฺาวิมุตฺตึ นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปัญญาที่สัมปยุตด้วยอรหัตผลนั้น. บรรดาเจโตวิมุตติ

และปัญญาวิมุตติ ๒ อย่างนั้น สมาธิพึงทราบว่า ชื่อว่า เจโตวิมุตติ

เพราะพ้นจากสาคร ปัญญาพึงทราบว่า ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจาก

อวิชชา. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิ

ของอริยสาวกนั้นเป็นสมาธินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปัญญาของพระอริย-

สาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์ ด้วยประการฉะนี้แล ภิกษุทั้งหลาย เจโตวิมุตติ

มีได้เพราะการสำรอกราคะ ปัญญาวิมุตติมีได้เพราะการสำรอกอวิชชา.

อีกอย่างหนึ่ง ในคำว่า เจโตวิมุตฺตึ ปญฺาวิมุตฺตึ นี้ ผลของ

สมถะ พึงทราบว่า เป็นเจโตวิมุตติ ผลของวิปัสสนา พึงทราบว่า เป็น

ปัญญาวิมุตติ. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม ความว่า ในอัตภาพนี้เอง. บทว่า

สย อภิญฺา สจฺฉิกิตฺวา ความว่า กระทำให้ประจักษ์ ด้วยปัญญาอัน

พิเศษยิ่ง ด้วยตนเองนั้น แหละคือรู้โดยไม่มีผู้อื่นเป็นปัจจัย. บทว่า อุปสมฺ-

ปชฺช วิหรติ ความว่า ถึงคือให้ถึงพร้อมแล้วอยู่. บทว่า ตเมว สงฺคามสีส

อภิวิชิย อชฺฌาวสติ ความว่า ชนะมารแล้ว ครอบครองตำแหน่งแห่งความ

เป็นใหญ่ คืออรหัตผลสมาบัติ อันเป็นประธานของอริยมรรค กล่าวคือ

สงคราม อันพระอริยสาวกนั้นทำเสร็จแล้ว อธิบายว่า เข้าสมาบัตินั่นเอง.

ก็เสียงของทวยเทพเหล่านี้ กระฉ่อนไปในหมู่เทพ ผู้เห็นความจริงแล้ว. โดย

พิเศษแล้ว พึงทราบว่า ได้แก่ทวยเทพชั้นสุทธาวาส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 500

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า มหนฺต ความว่า

ชื่อว่าเป็นผู้ใหญ่ เพราะใหญ่ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น. บทว่า วีตสารท ความว่า

ปราศจากความครั่นคร้าม คือปราศจากความเก้อเขิน เพราะไม่มีกิเลสที่จะทำ

ให้สะทกสะท้าน. บทว่า ปุริสาชญฺ ความว่า ดูก่อนบุรุษผู้สูงสุด ผู้เป็น

ชาติอาชาไนย ในบุรุษทั้งหลาย เหมือนม้าที่เป็นชาติอาชาไนยเป็นต้น ในสัตว์

ทั้งหลายมีม้าเป็นต้น. บทว่า ทุชฺชยมชฺฌภู ความว่า ครอบงำ คือ ยืดครอง

กองทัพคือกิเลส อันคนส่วนมากก็ไม่สามารถเพื่อจะชนะได้. บางอาจารย์กล่าว

ว่า อชฺชยิ ดังนี้ก็มี. ความหมายก็คือ เอาชนะไม่ได้. บทว่า เชตฺวา

มจฺจุโน เสน วิโมกฺเขน อนาวร ความว่า ชนะเสนาแห่งมัจจุคือมาร

ผู้ชื่อว่าไม่มีใครกั้นไว้ได้ เพราะชนเหล่าอื่นไม่สามารถที่จะขัดขวาง ทัดทานได้

เพราะเป็นเสนามีจำนวนมาก โดยครอบไว้ได้ทั้ง ๓ โลก และโดยจำแนกออก

ไปถึง หนึ่งพันห้าร้อยเป็นต้น. เชื่อมความว่า ข้าแต่บุรุษผู้อาชาไนย ขอ

นอบน้อมแต่ท่านผู้ได้ชัยชนะมาร ที่ชนะได้โดยยากดังนี้. บทว่า อิติ ความว่า

ด้วยประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า หิ เป็นเพียงนิบาต. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงเนื้อความที่ตรัสไว้แล้วนั่นแหละ ด้วยสามารถแห่งนิคมพจน์ (คำ

ลงท้าย) ว่าเทวดาทั้งหลายย่อมนมัสการพระขีณาสพผู้สมประสงค์นั้น

คือผู้บรรลุพระอรหัตแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อิติ ได้แก่ ด้วยเหตุนี้

ก็เหตุนั้นคืออะไร ? คือข้อที่พระอริยบุคคลมีมานัส (อรหัต) อันบรรลุแล้ว

ด้วยการชนะเสนาของนมุจิมาร. อธิบายว่า เทวดาทั้งหลาย ย่อมนมัสการ

พระขีณาสพนั้น.

ด้วยเหตุนี้ เมื่อจะทรงแสดงเหตุนั้น โดยผล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า ตญฺหิ ตสฺส นมสฺสนฺติ เยน มจฺจุวส วเช ดังนี้. บาท-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 501

พระคาถานั้น มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่เทวดาทั้งหลาย แม้แสวงหาอยู่ก็ไม่

เห็นเหตุของพระขีณาสพนั้น ผู้เป็นบุรุษอาชาไนย ผู้ประณีต แม้ประมาณเท่า

อณู ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านประสบ คือเข้าถึงอำนาจแห่งมัจจุคือความตาย ฉะนั้น

วิสุทธิเทพทั้งหลาย จึงนมัสการ.

จบอรรถกถาสัททสูตรที่ ๓

๔. จวมานสูตร

ว่าด้วยเทวดาจุติมีนิมิต ๕ ประการ

[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เทวดาเป็นผู้จะต้องจุติจาก

เทพนิกาย เมื่อนั้น นิมิต ๕ ประการ ย่อมปรากฏแก่เทวดานั้น คือ ดอกไม้

ย่อมเหี่ยวแห้ง ๑ ผ้าย่อมเศร้าหมอง ๑ เหงื่อย่อมไหลออกจากรักแร้ ๑

ผิวพรรณเศร้าหมองย่อมปรากฏที่กาย ๑ เทวดาย่อมไม่ยินดีในทิพอาสน์ของตน ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายทราบว่า เทพบุตรนี้จะต้องเคลื่อนจาก

เทพนิกาย ย่อมพลอยยินดีกะเทพบุตรนั้นด้วยถ้อยคำ ๓ อย่างว่า แน่ะท่าน

ผู้เจริญ ขอท่านจากเทวโลกนี้ไปสู่สุคติ ๑ ครั้น ไปสู่คติแล้ว ขอจงได้ลาภที่ท่าน

ได้ดีแล้ว ๑ ครั้นได้ลาภที่ท่านได้ดีแล้ว ขอเป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยดี ๑.

[๒๖๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง

ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติ

ของเทวดาทั้งหลาย ? อะไรเป็นส่วนแห่งลาภทีเทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว ? อนึ่ง

อะไรเป็นส่วนแห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย ? พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 502

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายความเป็นมนุษย์แล

เป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดาทั้งหลาย ซึ่งเทวดาเกิดเป็นมนุษย์แล้ว

ย่อมได้ศรัทธาในธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว นี้แลเป็นส่วนแห่งลาภ

ที่เทวดาทั้งหลายได้ดีแล้ว ก็ศรัทธาของเทวดานั้นแล เป็นคุณชาติตั้งลง มีมูล

เกิดแล้วประดิษฐานมั่นคง อันสมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม

หรือใคร ๆ ในโลก พึงนำไปไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นส่วน

แห่งการตั้งอยู่ด้วยดีของเทวดาทั้งหลาย.

เมื่อใด เทวดาจะต้องจุติจากเทพนิ-

กายเพราะความสิ้นอายุ เมื่อนั้น เสียง ๓

อย่างของเทวดาทั้งหลายผู้พลอยยินดี ย่อม

เปล่งออกไปว่า แน่ะท่านผู้เจริญ ท่านจาก

เทวโลกนี้ไปแล้วจงถึงสุคติ จงถึงความ

เป็นสหายแห่งมนุษย์ทั้งหลายเถิด ท่าน

เป็นมนุษย์แล้ว จงได้ศรัทธาอย่างยิ่งใน

พระสัทธรรม ศรัทธาของท่านนั้นพึงเป็น

คุณชาติตั้งลงมั่น มีมูลเกิดแล้ว มั่นคงใน

พระสัทธรรมที่พระตถาคตประกาศดีแล้ว

อันใคร ๆ พึงนำไปมิได้ตลอดชีพ ท่านจง

ละกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต และ

อย่ากระทำอกุศลกรรมอย่างอื่นที่ประกอบ

ด้วยโทษ กระทำกุศลด้วยกาย ด้วยวาจา

ให้มาก กระทำกุศลด้วยใจหาประมาณ

มิได้ หาอุปธิมิได้ แต่นั้นท่านจงกระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 503

บุญ อันให้เกิดสมบัติ (อุปธิ) นั้นให้มาก

ด้วยทาน แล้วยังสัตว์แม้เหล่าอื่นให้ตั้งอยู่

ในพระสัทธรรม ในพรหมจรรย์ เมื่อใด

เทวดาพึงรู้แจ้งซึ่งเทวดาผู้จะจุติ เมื่อนั้น

ย่อมพลอยยินดีด้วยความอนุเคราะห์นี้ว่า

แน่ะเทวดา ท่านจงมาบ่อย ๆ.

จบจวมานสูตรที่ ๔

อรรถกถาจวมานสูตร

ในจวมานสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทสว่า ยทา แปลว่าในกาลใด. บทว่า เทโว ได้แก่เทวดาเหล่า

อุปบัติเทพ.

ก็เทวดามี ๓ จำพวก คือ สมมติเทพ ๑ อุปบัติเทพ ๑ วิสุทธิ-

เทพ ๑. ในเทวดา ๓ จำพวกเหล่านั้น กษัตริย์ผู้เป็นพระราชาทั้งหลายชื่อว่า

สมมติเทพ เทวดาผู้สูงกว่านั้นขึ้นเริ่มแต่เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาเป็นต้น

ชื่อว่า อุปบัติเทพ. พระขีณาสพ ชื่อว่า วิสุทธิเทพ. แต่ในพระสูตร

ทรงประสงค์เอาเทพชั้น กามาวจร. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า บทว่า

เทโว ได้แก่ อุปบัติเทพ.

บทว่า เทวกายา ความว่า จากชุมนุมแห่งเทพ หรือจากตำแหน่ง

แห่งเทพ. อธิบายว่า จากเทวโลก. เพราะว่ากายศัพท์นี้ บ่งถึงการอยู่กัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 504

เป็นหมู่. บทว่า จวนธมฺโม ความว่า มีความตายเป็นธรรมดา อธิบายว่า

มีมรณะปรากฏแล้ว เพราะสิ้นอายุหรือเพราะสิ้นบุญ.

บทว่า ปญฺจสฺส ปุพฺพนิมิตฺตานิ ปาตุภวนฺติ ความว่า บุพนิมิต

แห่งความตาย ๕ ประการ ย่อมเกิดขึ้น หรือปรากฏแก่เทพนั้น ผู้มีมรณะ

ปรากฏแล้ว. บทว่า มาลา มิลายนฺติ ความว่า ดอกไม้ที่เทพบุตรนั้น-

ประดับนั้น จะเหี่ยว คือหมดความงดงาม เหมือนโยนไปที่แดดในเวลาเที่ยง.

บทว่า วตฺถานิ กิลิสฺสนฺติ ความว่า (อาภรณ์คือ) ผ้าที่เทพบุตรนั้น

นุ่งห่มแล้ว มีสีเหมือนพระอาทิตย์อ่อน ๆ ที่ทอแสงอยู่ในอากาศที่ปราศจาก

เมฆหมอกในสรทสมัย มีสีต่าง ๆ จางลง ไม่แวววาว เศร้าหมอง เหมือน

ถูกโยนลงไปในโคลนแล้วขยำในขณะนั้นทีเดียว. บทว่า กจฺเฉหิ เสทา

มุจฺขนฺติ ความว่า ในขณะนั้น หยาดเหงื่อ หลั่งไหลออกจากรักแร้ทั้งสองของ

เทพบุตร ผู้มีร่างปราศจากคราบเหงื่อไคลมาก่อน เหมือนแก้วมณี โดยกำเนิด

ที่บริสุทธิ์ดี และเหมือนรูปหล่อทองคำที่ศิลปินผู้เชี่ยวชาญตกแต่งแล้ว ก็ไม่ใช่

ไหลออกจากรักแร้ อย่างเดียวเท่านั้น แม้แต่เหงื่อกาฬ ก็จะไหลออกจาก

ร่างกายทั้งสิ้นของเทพบุตรนั้น โดยที่กายของเทพบุตรเป็นเสมือนหนักอึ้งด้วย

ข่ายที่ประดับประดาล้วนไปด้วยข่ายแห่งมุกดาที่ตนประดับแล้ว. บทว่า กาเย

ทุพฺพณฺณิย โอกฺกมติ ความว่า ในชั้นต้นเริ่มแต่ปฏิสนธิ ร่างกายจะแผ่

รัศมีพวยพุ่งไปตลอดสถานที่โยชน์ ๑ บ้าง ๒ โยชน์บ้าง จนถึงที่ประมาณ ๑๒

โยชน์บ้าง ตามอานุภาพ (ของตน) จะปราศจากชราภาพ มีฟันหักและหนังย่น

เป็นต้น ความหนาว ความร้อน จะไม่เข้าไปกระทบกระทั่ง จะเป็นเหมือน-

เทพธิดารุ่นสาว อายุราว ๑๖ ปี จะเป็นเหมือนเทพบุตรรุ่นหนุ่มอายุราว ๒๐ ปี

(แต่) ในขณะนั้นเอง ความผิดรูปผิดร่าง (ขี้เหล่) จะเข้ามาแทนที่ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 505

สถิตอยู่ในกายที่สิ้นรัศมี หมดเดช. บทว่า สเก เทโว เทวาสเน นาภิรมติ

ความว่า จะไม่ยินดี คือ ไม่ได้ความชื่นใจ ในทิพอาสน์ สำหรับเล่น และ

บำเรอ กับด้วยหมู่สาวสวรรค์ของตน.

ได้ยินว่า ความตายจักมีแก่เทพบุตรนั้น โดย ๗ วันด้วยการนับวัน

ในมนุษย์ เพราะฉะนั้น บุพนิมิตเหล่านี้จึงปรากฏด้วยการเกิดขึ้นแห่งบุพ-

นิมิตนั้น เทพบุตรนั้นย่อมถูกความโศกมีกำลังครอบงำ ด้วยคิดว่า เราต้อง

พลัดพรากจากสมบัติเห็นปานนี้. ด้วยเหตุนี้ ความกระวนกระวายอย่างใหญ่หลวง

ย่อมเกิดขึ้นในกายของเทพบุตรนั้น ด้วยเหตุนั้น เหงื่อจึงไหลออกจากลำตัวโดย

ประการทั้งปวง. เทพบุตรบางองค์ ที่มีทุกข์หาประมาณมิได้ตลอดกาลเนิ่นนานมา

เมื่อไม่สามารถจะยับยั้งทุกข์นั้นไว้ได้ คร่ำครวญปริเทวนาการอยู่ว่า เราร้อน

เรากลุ้ม ไม่ได้ความแช่มชื่นในที่ไร ๆ พรำเพ้อ ละเมื่อ เที่ยวไปในที่นั้น ๆ

บางองค์ตั้งสติได้ แม้ไม่ได้แสดงความผิดปกติทางกายและวาจา เมื่ออดกลั้นทุกข์

คือความพลัดพรากจากของรักไม่ได้ จะเดือดร้อนเที่ยวไป.

ก็บุพนิมิตเหล่านี้ ย่อมปรากฏเฉพาะเทวดาผู้มเหศักดิ์ทั้งหลายเท่านั้น

เหมือนนิมิตทั้งหลาย มีอุกกบาต แผ่นดินไหว และจันทรคราสเป็นต้น จะ

ปรากฏแก่ผู้มีบุญใหญ่ในโลก เช่นพระราชา และราชมหาอมาตย์เป็นต้น

หาปรากฏแก่คนทั่วไปไม่. ก็เทวดาบางเหล่า รู้นิมิตเหล่านั้นที่เกิดแล้วว่า

นิมิตเหล่านี้ชื่อว่า เป็นบุพนิมิตแห่งมรณะ ไม่ใช่รู้หมดทุกองค์ ในเทพบุตร

เหล่านั้น เทพบุตรที่เกิดด้วยกุศลธรรมอย่างอ่อน ก็จะกลัวไปว่า บัดนี้ใครเล่า

จะรู้ว่า เราจักเกิดในที่ไหน ? ส่วนพวกที่มีบุญมาก จะไม่กลัว ไม่หวาดหวั่น

ด้วยคิดว่า เราได้ให้ทานได้รักษาศีล ได้สั่งสมบุญไว้มากแล้ว เราจุติจากโลก

นี้แล้ว เป็นอันหวังได้สุคติทีเดียว. ก็เทวดาทั้งหลาย ครั้นถือเอาบุพนิมิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 506

ที่ปรากฏขึ้นอย่างนี้นั้นแล้ว ย่อมเข้าไปสู่สวนนันทนวัน สวนนันทนวันมีประจำ

อยู่ในเทวโลกทุกชั้นทีเดียว.

บทว่า ตีหิ วาจาหิ อนุโมทนฺติ ความว่า เทวดาทั้งหลายย่อม

อนุโมทนา ด้วยคำทั้ง ๓ ที่ข้าพเจ้าจะกล่าวในบัดนี้ คือ ย่อมยังความรื่นเริง

บันเทิงใจให้เกิดขึ้น ย่อมให้สบายใจ หรือกระทำความบันเทิง อันสมควร

แก่สภาพการณ์ในขณะนั้น ด้วยสามารถแห่งความสบายใจนั้น ส่วนอาจารย์

บางพวกกล่าวความของบทว่า อนุโมทนฺติ เป็นโอวทนฺติ. บทว่า อิโต

ความว่า จากเทวโลก. บทว่า โภ เป็นอาลปนะ (คำร้องเรียก). บทว่า

สุคตึ ได้แก่ คติที่ดี อาจารย์ทั้งหลายกล่าวหมายถึงมนุษยโลก. บทว่า คจฺฉ

ความว่า เข้าถึงด้วยสามารถแห่งการถือปฏิสนธิ.

บทว่า เอว วุตฺเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงถ้อยคำ

ที่เทวดาเหล่านั้นจะพึงกล่าวแก่เทพบุตรนั้น โดยนัยมีอาทิว่า ท่านจากเทวโลก

นี้แล้ว จงไปสู่สุคติเถิด ในครั้งนั้นอย่างนี้. ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง คือรูปหนึ่ง

ผู้ไม่ปรากฏโดยนามและโคตร นั่งอยู่ในบริษัทนั้น เป็นผู้ฉลาดในอนุสนธิ

ได้กราบทูลคำนี้อาทิว่า กึ นุ โข ภนฺเต อะไรหนอแล พระพุทธเจ้าข้า

นี้ด้วยประสงค์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสุคติเหล่านี้ไว้ โดยไม่แปลกกัน

ไม่แจ่มแจ้งเลย อย่ากระนั้นเลย เราจักให้พระองค์ตรัสสุคติ เป็นต้นเหล่านั้น

ให้ชัดเจน (กว่านี้อีก) ความเป็นมนุษย์อันเทวดาทั้งหลายประสงค์ยิ่งนัก โดย

เป็นเหตุแห่งการได้เฉพาะซึ่งคุณพิเศษมีศรัทธาเป็นต้น และโดยเป็นเหตุแห่ง

การเข้าถึงความเป็นเทวดา เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุ ความเป็นมนุษย์แล เป็นส่วนแห่งการไปสู่สุคติของเทวดาทั้งหลายดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 507

บทว่า สุคติคมนสงฺขาต ความว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้แล้วโดยชอบว่า ไปสู่สุคติ อธิบายว่า ทรงสรรเสริญ คือทรงชมแล้ว.

บทว่า ย ในคำว่า ย มนุสฺสภูโต นี้ เป็นกิริยาปรามาส. ด้วยบทว่า ย

นั้น ท่านเท้าความถึงกิริยาคือการได้เฉพาะ ในบทว่า ปฏิลภติ นี้ อธิบายว่า.

ได้เฉพาะซึ่งศรัทธา. บทว่า มนุสฺสภูโต ความว่า เกิดแล้วในมนุษย์ทั้งหลาย

อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ถึงความเป็นมนุษย์ เพราะเหตุที่ผู้ที่เกิดในเทวโลกโดย

มากยากที่จะได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระตถาคตเจ้า ไม่เหมือนมนุษย์

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มนุสฺสภูโต ดังนี้.

บทว่า ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย ความว่า ในคำสอนที่สงเคราะห์ด้วย

สิกขา ๓ ที่พระตถาคต คือพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว.

เพราะว่า คำสอนนั้น ท่านเรียกว่าธรรมวินัย เพราะชื่อว่า ธรรม

เหตุที่ไม่ปราศไปจากธรรม และชื่อว่า วินัย เพราะฝึกเวไนยสัตว์ ตามสมควร

แก่กิเลส. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะแนะนำผู้มีกำเนิด

แห่งบุคคล ผู้มีนัยน์ตามีธุลีน้อย ที่ชื่อว่าเป็นธรรม เพราะไม่ปราศไปจากธรรม

เหตุที่สมบูรณ์ไปด้วยอุปนิสัย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่าธรรมวินัย เพราะ

ฝึกด้วยธรรมอย่างเดียว ไม่ใช่ฝึกด้วยท่อนไม้และศาสตรา. อีกอย่างหนึ่ง ท่าน

เรียกว่า ธรรมวินัย เพราะการฝึกนั้นประกอบด้วยธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ท่าน

เรียกว่า ธรรมวินัย เพราะนำเข้าไปหาธรรม เพื่อมรรค ผล และนิพพาน

ตามลำดับ อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะเป็นเครื่องแนะนำที่เป็น

ไปแล้ว โดยธรรม มีมหากรุณาและพระสัพพัญุตญาณเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง

ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะพระธรรมเป็นเครื่องนำเข้าไปหาธรรม ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นองค์ธรรม เป็นธรรมกาย เป็นธรรมสวามี ไม่ใช่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 508

นำเข้าไปหาธรรมของนักตรรกวิทยาทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านเรียกว่า

ธรรมวินัย เพราะเป็นเครื่องแนะนำที่เป็นไปแล้วในธรรม คือ มรรคผลหรือ

ในธรรม อันเป็นวิสัยที่จะพึงให้สำเร็จ. ในพระธรรมวินัยนั้น.

บทว่า สทฺธ ปฏิลภติ ความว่า ยังศรัทธาให้เกิดขึ้นโดยนัยมีอาทิว่า

สฺวากฺขาโต ภควคา ธมฺโม (ธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว)

อธิบายว่า ผู้มีศรัทธา เมื่อปฏิบัติในธรรมวินัยนี้ ตามที่ทรงสอนไว้ ย่อมยัง

ใจให้ยินดีในทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถ-

ประโยชน์ ในบทว่า สุลทฺธลาภสงฺขาต นี้ มีอธิบายว่า การใช้เงิน ทอง

นา และสวนเป็นต้น ย่อมนำความสุขในการใช้สอยมาให้สรรพสัตว์ ห้ามทุกข์

มีความหิวและความระหายเป็นต้น บรรเทาความยากจนเงินทองเสียได้ เป็น

เหตุให้ได้รับรัตนะ มีมุกดาเป็นต้นและนำมาซึ่งสันตติในโลกมาให้ฉันใด แม้

ศรัทธาที่เป็นโลกิยะและโลกุตระก็ฉันนั้น จะนำวิบากสุขที่เป็นโลกิยะและ

โลกุตระมาให้ตามที่เกิดขึ้น จะหักห้ามทุกข์มีชาติชราเป็นต้นเสียได้ จะระงับ

ความยากจนคุณธรรมเสียได้ จะเป็นเหตุให้ได้รับรัตนะมีสติสัมโพชฌงค์เป็น

ต้น และจะนำมาซึ่งสันตติในโลก แก่เหล่าชนผู้ปฏิบัติ ด้วยสัทธาธุระ. สม

จริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีลเอิบอิ่ม

ด้วยยศและโภคะ จะอยู่ประเทศใด ๆ ก็

เป็นผู้ที่เขาบูชาแล้วในประเทศนั้น ๆ ที่

เดียว ดังนี้.

พึงทราบความได้เฉพาะซึ่งศรัทธา เป็นลาภอันบุคคลได้ดีแล้ว ดัง

พรรณนามานี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 509

ก็เพราะเหตุที่การได้เฉพาะซึ่งศรัทธานี้ เป็นลาภที่ติดตามตนไปได้

ไม่ทั่วไปแก่คนอื่น เป็นเหตุให้ได้สมบัติทุกอย่าง และเป็นเหตุแห่งการได้โลกิย-

ทรัพย์ มีเงินทองเป็นต้น อธิบายว่า ผู้มีศรัทธาเท่านั้น จะทำบุญมีทานเป็น

ต้นได้ แล้วจะประสบทรัพย์ที่เป็นอุปกรณ์เครื่องปลื้มใจอันมโหฬาร และจะ

ยังประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่นนั่นแหละให้ถึงพร้อมด้วยบุญนั้น แต่บุญเหล่า

นั้น จะไม่อำนวยประโยชน์ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า แก่ผู้ไม่มีศรัทธาเลย.

พึงทราบว่าศรัทธาเป็นลาภที่ได้ด้วยดี ด้วยประการดังพรรณนามานี้. จริง

อย่างนั้น ท่านพรรณนาศรัทธาไว้ ด้วยเหตุมิใช่น้อย ในฐานะต่าง ๆ กันว่า

ศรัทธารวบรวมสะเบียงไว้บ้าง ศรัทธาเป็นเพื่อนที่สองของบุรุษบ้าง ศรัทธา

เป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจของบุรุษในโลกนี้บ้าง ช้างตัวประเสริฐ มีศรัทธาเป็น

งวงบ้าง ศรัทธา เป็นพืช เป็นตบะ เป็นฝนบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกดำรงอยู่ในศรัทธาบ้าง ย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธาบ้าง ดังนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำมีอาทิว่า สา โข ปนสฺส ดังนี้

เพื่อจะทรงแสดงถึงศรัทธา ชนิดที่หยั่งลงลึกอันเป็นเหตุให้ชื่อว่าเป็นผู้ดำรง

มั่นในกุศลธรรม ในพระศาสนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺส นี้ มีความหมายเท่ากับ ภเวยฺย

แปลว่า พึงเป็น. บทว่า นิวิฏฺา ความว่า ตั้งมั่น คือแซกซึมเข้าไปสู่จิต-

สันดาน. บทว่า มูลชาตา ได้แก่มีรากเกิดแล้ว. ถามว่า ก็อะไรเล่า ชื่อว่า

เป็นรากของศรัทธา ? ตอบว่า การทำไว้ในใจโดยอุบาย อันเป็นเหตุแห่ง

ความเธอ ในวัตถุที่ควรเธอ เป็นรากของศรัทธา. อีกประการหนึ่ง พึงทราบ

องค์แห่งโสดาปัตติมรรค ๔ อย่างคือ การคบหาสัตบุรุษ ๑ การฟังธรรม

(ของสัตบุรุษ) ๑ การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมโดยสมควร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 510

แก่ธรรม ๑ ว่าเป็นรากแห่งศรัทธา. บทว่า ปติฏฺิตา ได้แก่หยั่งลงแล้ว

โดยเป็นภาวะที่ใคร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ เพราะบรรลุอริยมรรค. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ทฬฺหา อสหาริยา ดังนี้. บทว่า ทฬฺหา

แปลว่ามั่นคง. บทว่า อสหาริยา ความว่า เป็นสิ่งที่อันใคร ๆ ไม่สามารถ

เพื่อจะนำไปได้ หรือให้หายไป หรือนำออกไปได้.

เทวดาเหล่านั้นหวังจะให้เทพบุตรนั้นได้บรรลุโสดาปัตติผล จึงกล่าว

อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้. เพราะว่าเทวดาเหล่านั้น ปรารถนาพระอริยบุคคล

ผู้สมควรแก่การเข้าไปเสวยกามสุข ในเทวโลกของคนเท่านั้น. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ดูก่อนเทพ ท่านจงมาบ่อย ๆ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. แม้การตายเพราะหมด

บุญย่อมมีได้ด้วยการเข้าไปตัดขาดแห่งชีวิตินทรีย์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า ย่อมจุติเพราะสิ้นอายุ. บทว่า อนุโมทต ความว่า

ผู้อนุโมทนาอยู่. บทว่า มนุสฺสาน สหพฺยต ได้แก่ถึงความเป็นผู้อยู่ร่วม

กันด้วยมนุษย์ทั้งหลาย. ชื่อว่า สหัพยะ เพราะอรรถว่าอยู่ร่วม ได้แก่เป็นไป

ด้วยกัน ภาวะแห่งสหัพยะนั้น ชื่อว่า สหัพยตา. บทว่า นิวิฏฺสฺส ความว่า

พึงเป็นคุณชาติตั้งมั่นลง. บทว่า ยาวชีว ความว่า เพียงไรแต่การดำเนินไป

แห่งชีวิต. อธิบายว่า จนกว่าจะถึงปรินิพพาน. บทว่า อปฺปมาณ ความว่า

เว้นจากประมาณ ด้วยสามารถแห่งการกระทำให้มาก ให้โอฬาร และทำให้

มากครั้ง ด้วยความเคารพ. บทว่า นิรูปธึ ความว่า เว้นจากอุปธิ คือ

สังกิเลส อธิบายว่า บริสุทธิ์อย่างยิ่ง คือปราศจากมลทินโทษ.

ก็เพราะเหตุที่เทวดาเหล่านั้น ไม่ปรารถนามหัคคตกุศล เพราะยังไม่

อยากพ้นไปจากกามโลก ย่อมปรารถนาเฉพาะบุญที่เป็นกามาจรอย่างเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 511

ฉะนั้นในพระสูตรนี้ พึงทราบความอย่างนี้ว่า ท่านจุติจากเทวโลกนี้แล้ว

เกิดในหมู่มนุษย์ รู้เดียงสาแล้ว ละทุจริตทุกอย่างมีกายทุจริตเป็นต้น สั่งสม

สุจริตทั้งมวลมีกายสุจริตเป็นต้น ให้โอฬาร ให้ไพบูลย์ แล้วจงเป็นผู้มีศรัทธา

ที่มาแล้ว ด้วยอริยมรรค. ก็เพราะเหตุที่เทวดาเหล่านั้น ยังปรารถนาปฐมมรรค

บ้าง ทุติยมรรคบ้าง ในโลกุตรธรรมทั้งหลาย เพราะเหตุที่ตนยังล่วงการเกิด

ในเทวโลกไปไม่ได้ ฉะนั้น พึงทราบความแห่งบททั้งหลายว่า อปฺปมาณ

นิรูปธึ ด้วยสามารถแม้แห่งกุศลเหล่านั้นว่า กุศลชื่อว่า หาประมาณมิได้

เพราะเข้าไปตัดกิเลสทั้งหลาย มีกามราคะอย่างหยาบ ที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน

ในฐานะเป็นศัตรูเป็นต้น อันกระทำซึ่งประมาณ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า หาอุปธิ

มิได้ เพราะละขันธูปธิที่ควรแก่การเกิดขึ้น จากภพที่ ๗ และอภิสังขารูปธิ

ที่เกิดแต่ขันธูปธินั้น ทั้งกิเลสูปธิ อันมรรคนั้น ๆ พึงฆ่า และเพราะอาศัย

พระนิพพานกล่าวคือธรรมชาติที่ไม่มีอุปธิ เหตุที่อุปธิเหล่านั้นเกิดขึ้นไม่ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงกรรมที่ปิดประตูอบายไว้ โดย

ส่วนเดียวอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงกรรมจะให้เกิดสวรรคสมบัติ

จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตโต โอปธิก ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอปธิก ได้แก่ ให้เผล็ดผลเป็นอุปธิ.

อธิบายว่า ให้เกิดสมบัติคืออัตภาพ และโภคสมบัติ. ก็อัตภาพท่านเรียกว่า

อุปธิ. ดังที่ตรัสไว้ว่า มีอยู่กรรมสมาทานที่เป็นบาปบางอย่าง ที่ขัดขวาง

อุปธิสมบัติยังไม่ให้ผล ดังนี้. แม้กามคุณก็ตรัสเรียกว่า อุปธิ ดังที่ตรัสไว้ว่า

ความเศร้าโศกของนรชนมีเพราะอุปธิ.

ในคำว่า อุปธีหิ นรสฺส โสจน นี้ มีอรรถพจน์ดังต่อไปนี้ อัตภาพ

และกามคุณ ชื่อว่า อุปธิ เพราะเป็นที่อันสัตว์ทรงไว้ซึ่งสุขและทุกข์. บุคคลชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 512

โอปธิกะ เพราะมีอุปธิเป็นเหตุ เป็นปกติ หรือควรซึ่งอุปธิ กระทำบุญนั้น

ให้มาก คือให้โอฬาร.

ถามว่า ทำอย่างไร. ตอบว่า ทำด้วยทาน. เพราะว่า ทานคนนอกนี้

ทำได้ง่าย เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า ทาเนน

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หมายเอาอภัยทานด้วย. ไม่ใช่ตรัสอามิสทานเท่านั้น

เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เอาศีลเข้าไว้ด้วย.

ก็เพราะเหตุที่เทวดาเหล่านั้น ปรารถนาความเสื่อมแห่งกายอสูร และ

ความบริบูรณ์ของกายเทพ โดยส่วนเดียวเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อจะทรง

แสดงอุบายแก่เทพบุตรนั้น จึงประกอบเทพบุตรไว้ในธรรมทาน ด้วยบาท

แห่งคาถาว่า อญฺเปิ มจฺเจ สทฺธมฺเม พฺรหฺมจริเย นิเวสย (ยังสัตว์

แม้เหล่าอื่นให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม ที่เป็นพรหมจรรย์) ดังนี้.

บทว่า ยทา วิทู ความว่า เวลาใด เทวดาทั้งหลายพึงรู้ คือพึงทราบ

เทวดาผู้จะจุติ เวลานั้น เทวดาทั้งหลายจะอนุโมทนา ด้วยความอนุเคราะห์

คือด้วยความเป็นผู้ใคร่ เพื่อบำบัดทุกข์ ตามที่กล่าวแล้ว นี้ว่า ดูก่อนเทพ

ท่านจงมา คือจงลับมาสู่เทวกายนี้ บ่อย ๆ ดังนี้.

จบอรรถกถาจวมานสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 513

๕. โลกสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๓ จำพวกอุบัติขึ้นในโลก

[๒๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลก

ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก

เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระ-

อรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว

ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของ

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคต

พระองค์นั้นทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ ๑ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อ

เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก

เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง พระสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้นแหละเป็นพระ-

อรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว

มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้ว

เพราะรู้โดยชอบ สาวกนั้นแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งาม

ในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์

สิ้นเชิง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้บุคคลที่ ๒ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลกย่อมอุบัติขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 514

เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์

โลก เพื่ออประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

อีกประการหนึ่ง พระสาวกของพระศาสดาพระองค์นั้นแหละ ยังเป็น

ผู้ศึกษาปฏิบัติอยู่ มีพระปริยัติธรรมสดับมามาก ประกอบด้วยศีลและวัตร

แม้พระสาวกนั้นก็แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด

ประกาศพรหมจรรย์พรอัมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ ๓ นี้ เมื่ออุบัติขึ้นในโลกย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูล

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อ

ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกนี้แล เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติเพื่อเกื้อกูล

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อ

ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

พระศาสดาแล ผู้แสวงหาคุณอัน

ใหญ่ เป็นบุคคลที่หนึ่ง ในโลก พระสาวกผู้

เกิดตามพระศาสดานั้น ผู้มีตนอันอบรม

แล้ว ต่อมาพระสาวกอื่นอีกแม้ยังศึกษา

ปฏิบัติอยู่ ได้สดับมามากประกอบด้วยศีล

และวัตร บุคคล ๓ จำพวกเหล่านั้น เป็น

ประเสริฐสุดในเทวดาและมนุษย์ บุคคล

๓ จำพวกเหล่านั้น ส่องแสงสว่าง แสดง

ธรรมอยู่ ย่อมเปิดประตูแห่งอมตนิพพาน

ย่อมช่วยปลดเปลื้องชนเป็นอันมากจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 515

โยคะ ชนทั้งหลายผู้ปฏิบัติตามอริยมรรค

ที่พระศาสดาผู้นำพวก ผู้ยอดเยี่ยมทรง-

แสดงดีแล้ว เป็นผู้ไม่ประมาทในศาสนา

ของพระสุตะ ย่อมกระทำซึ่งที่สุดแห่ง

ทุกข์ในอัตภาพนี้ได้แท้.

จบโลกสูตรที่ ๕

อรรถกถาโลกสูตร

ในโลกสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

โลกในบทว่า โลเก นี้ มี ๓ คือ สัตวโลก ๑ สังขารโลก ๑

โอกาสโลก ๑. ในโลกทั้ง ๓ นั้น หมู่สัตว์ทั้งหลายที่เนื่องด้วยอินทรีย์ ที่เป็น

ไปด้วยสามารถแห่งการสืบต่อ แห่งรูปธรรม อรูปธรรม และทั้งรูปธรรม

และอรูปธรรม ชื่อว่า สัตวโลก. โลกที่แยกประเภทออกไปเป็น พื้นดิน

และภูเขาเป็นต้น ชื่อว่า โอกาสโลก. ขันธ์ทั้งหลายในโลกทั้งสอง ชื่อว่า

สังขารโลก. ในโลกทั้ง ๓ นั้น ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ประสงค์เอาสัตวโลก. เพราะฉะนั้น บทว่า โลเก จึงได้แก่ สัตวโลก.

แม้ในโลกเหล่านั้น บุคคล ๓ ประเภท ไม่อุบัติในเทวโลก ไม่อุบัติในพรหม-

โลก(แต่)อุบัติในมนุษยโลก. ถึงในมนุษยโลกก็อุบัติในจักรวาลอื่น อุบัติขึ้น

ในจักรวาลนี้เท่านั้น ถึงแม้ในจักรวาลนี้ ก็ไม่อุบัติขึ้นในที่ทั่วไป พระตถาคตเจ้า

เสด็จอุบัติขึ้นในมัชฌิมประเทศ (ที่มีอาณาเขต) ยาว ๓๐๐ โยชน์ กว้าง ๒๕๐

โยชน์ รอบด้าน ๙๐๐ โยชน์ ที่กำหนดไว้อย่างนี้ คือ ด้านทิศบูรพา มีนิคม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 516

ชื่อ กชังคละ ถัดจากนั้นไปมีบ้าน ชื่อว่า มหาสารคาม ถัดจากนั้นไป เป็น

ปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ ด้านทิศอีสาน มีแม่น้ำ ชื่อว่า

สัลลวดี ถัดจากนั้น ไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ ด้าน

ทักษิณ มีนิคม ชื่อว่า เสตกัณณะ ถัดจากนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมใน

เป็นมัชฌิมประเทศ ด้านทิศเหนือ มีภูเขาชื่อว่า อุสีรธชะ ถัดจากนั้นไป

เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมประเทศ. มิใช่แต่พระตถาคตเจ้าจะเสด็จ

อุบัติขึ้นอย่างเดียวเท่านั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอัครสาวก พระอสีติ-

มหาเถระ พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิ และพราหมณ์

คฤหบดีผู้มีหลักฐาน ย่อมบังเกิดในมัชฌิมประเทศนี้เหมือนกัน ก็ในพระสูตรนี้

ได้นัยนี้ในตถาคตวาระอย่างเดียว ด้วยสามารถแห่งสัพพัตถกนัย ในพระสูตร

นอกนี้ ได้นัยด้วยสามารถแห่งเอกเทศนัย.

ก็แม้คำทั้งสองว่า อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชนฺติ นี้ เป็นคำที่กล่าว

ให้แปลกไปเท่านั้น พึงทราบอรรถาธิบายในคำนี้อย่างนี้ว่า บุคคล ๓ ประเภท

เมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน มิใช่เกิดขึ้นด้วยเหตุอื่น

เพราะในคำว่า อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชนฺติ นี้ ใคร ๆ ไม่สามารถจะเปลี่ยน

(ห้าม) ลักษณะแห่งศัพท์แบบนี้โดยเป็นลักษณะแห่งศัพท์แบบอื่นไปได้.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลประเภทนั้น ชื่อว่าจะอุบัติ ชื่อว่ากำลังอุบัติ ชื่อว่า

อุบัติแล้ว เพราะฉะนั้น พึงทราบความแตกต่างแห่งกาล ดังนี้.

พระตถาคตเจ้า เมื่อทรงบำเพ็ญมหาภินิหาร ทรงแสวงหาพุทธการ-

กธรรม ทรงบำเพ็ญบารมี ทรงบริจาคมหาบริจาคทั้ง ๕ ทรงบำเพ็ญญาตัตถ-

จริยา ยังโลกัตถจริยา พุทธัตถจริยา ให้ถึงที่สุด แล้วบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย

สถิตอยู่ในดุสิตพิภพ จุติจากดุสิตพิภพนั้นแล้ว ทรงถือปฏิสนธิในภพสุดท้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 517

ประทับอยู่ท่ามกลางเรือน เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบำเพ็ญความเพียร

อย่างใหญ่หลวง มีพระญาณแก่กล้าเสด็จขึ้นสู่โพธิมณฑล ทรงกำจัดมารและ

พลแห่งมาร ในปฐมยามทรงระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยมาในก่อน ในมัชฌิมยาม

ทรงชำระทิพยจักษุ ในปัจฉิมยาม ทรงหยั่งพระญาณลงในปฏิจจสมุปบาท

ทรงพิจารณาสังขารทั้งปวงโดยอเนกประการ ทรงแทงตลอดโสดาปัตติมรรค

จนถึงกระทำให้แจ้งพระอนาคามิผล ชื่อว่าจะอุบัติ. ในขณะแห่งอรหัตมรรค-

จิต ชื่อว่า กำลังอุบัติ. แต่ในขณะแห่งอรหัตผลจิต ชื่อว่า เสด็จอุบัติแล้ว.

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีกิจคือการยังอิทธิวิธีญาณเป็นต้นให้เกิดขึ้น

ตามลำดับ เหมือนพระสาวกทั้งหลาย. แต่ว่า ประมวล (กอง) พระพุทธคุณ

แม้ทั้งหมด ชื่อว่าหลั่งไหลมาแล้ว พร้อมด้วยอรหัตมรรคนั่นเอง. เพราะฉะนั้น

บุคคลทั้ง ๓ ประเภทเหล่านั้น จึงชื่อว่า อุบัติขึ้นแล้วในขณะแห่งอรหัตผลจิต

เพราะกิจทุกอย่างบังเกิดแล้ว. ในพระสูตรนี้ ตรัสว่า อุปฺปชฺชติ ทรงหมายถึง

ขณะแห่งอรหัตผลจิต. นี้เป็นอรรถาธิบาย ในคำว่า อุปฺปนฺโน โหติ นี้.

ถึงพระสาวกผู้ขีณาสพ สร้างสมบุญสมภารที่เป็นเหตุแห่งสาวกโพธิ-

ญาณ บำเพ็ญคตปัจจาคตวัตร อันเป็นบุรพประโยค บุรพจริยา บังเกิดใน

ภพสุดท้าย รู้เดียงสาตามลำดับแล้ว เห็นโทษในสงสาร จงใจบรรพชายังบรรพชา

ให้ถึงสุดยอด บำเพ็ญศีลาทิคุณเป็นต้นอยู่ ประพฤติสมาทานธุดงคธรรม หมั่น

ประกอบความเพียร เครื่องตื่น ยังญาณทั้งหลายให้เกิดแล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา

แม้เมื่อบรรลุซึ่งมรรคเบื้องต่ำ ชื่อว่าจะอุบัติ. ในขณะแห่งอรหัต-

มรรคจิต จึงจะชื่อว่า กำลังอุบัติ. แต่ในขณะแห่งอรหัตผลจิต ชื่อว่า

อุบัติแล้ว. ส่วนพระเสกขะตั้งแต่บุรพูปนิสัย จนถึงโคตรภูญาณ ชื่อว่าจะอุบัติ

ในขณะแห่งปฐมมรรคจิต ชื่อว่ากำลังอุบัติ. จำเดิมแต่ขณะแห่งปฐมผล ชื่อว่า

อุบัติแล้ว. ด้วยคำเพียงเท่านี้ เป็นอันข้าพเจ้า กล่าวเนื้อความแห่งบททั้งหลายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 518

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ เมื่อจะอุบัติย่อมอุบัติขึ้นในโลก

ดังนี้ ไว้สมบูรณ์แล้ว.

บัดนี้ ข้าพเจ้าจะวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า พหุชนหิตาย ต่อไป. บทว่า

พหุชนหิตาย ความว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน. บทว่า พหุชนสุขาย

ความว่า เพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน. บทว่า โลกานุกมฺปาย ความว่า

อาศัยความอนุเคราะห์สัตวโลก. ถามว่า สัตวโลก ประเภทไหน ?. ตอบว่า

ประเภทที่สดับพระธรรมเทศนาของพระตถาคตเจ้าแล้ว แทงตลอดธรรม

ดื่มน้ำอมฤต.

พรหม ๑๘ โกฏิ มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นประมุข แทงตลอดธรรม

ด้วยการแสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แทงตลอดธรรม

จนถึงการทรงแนะนำสุภัททปริพพาชก (ให้ได้บรรลุ) ด้วยอาการอย่างนี้

นับไม่ถ้วน สัตว์ที่ได้บรรลุธัมมาภิสมัยในฐานะทั้ง ๔ เหล่านี้ คือ ในเวลา

ทรงแสดงมหาสมยสูตร ในเวลาทรงแสดงมงคลสูตร จูฬราหุโลวาทสูตร และ

สมจิตตสูตร ไม่มีกำหนดจำนวน. ทั้งนี้ก็ด้วยความอนุเคราะห์สัตวโลก

หาประมาณมิได้นั้น. การบังเกิดขึ้น แห่งพระอรหันตสาวก และพระเสขบุคคล

ก็เพื่อจะอนุเคราะห์สัตวโลก. พึงทราบอรรถาธิบายเช่นนี้ ด้วยสามารถแห่งสัตว์

ผู้บรรลุปฏิเวธ ด้วยเทศนา ที่พระธรรมเสนาบดีเป็นต้น และพระเถระทั้งหลาย

ผู้เป็นคลังแห่งพระธรรมแสดงแล้วบ้างด้วยสามารถแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้แทงตลอด

ด้วยเทศนาที่พระมหินทเถระเป็นต้นแสดงแล้วในกาลต่อมาบ้าง ด้วยสามารถ

แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้อาศัยคำสอน ดำรงอยู่ในทางแห่งสวรรค์ และพระนิพพาน

ในอนาคตกาลจนถึงวันนี้ คือต่อแต่นี้ไป.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พหุชนหิตาย ความว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูล

แก่คนเป็นอันมาก อธิบายว่า ทรงชี้หิตสุขทั้งที่เป็นปัจจุบันและสัมปรายิกภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 519

แก่ชนเหล่านั้น ด้วยพระปัญญาสมบัติ. บทว่า พหุชนสุขาย ความว่า

เพื่อประโยชน์สุขแก่คนเป็นอันมาก อธิบายว่า ทรงมอบให้ซึ่งอุปกรณ์แห่ง

ความสุขด้วยจาคสมบัติ. บทว่า โลกานุกมฺปาย ความว่า เพื่อทรงอนุเคราะห์

แก่สัตวโลก. อธิบายว่า อันชาวโลกได้รับการรักษา คุ้มครอง ดุจมารดาบิดา

ด้วยเมตตาสมบัติ และกรุณาสมบัติ. บทว่า อตฺถาย หิตาย สุขาย

เทวมนุสฺสาน ความว่า ในพระสูตรนี้ วาระแรกทรงแสดงการอุบัติขึ้นแห่ง

พระตถาคตเจ้า เพื่อการบรรลุนิพพาน มรรค และผล แห่งสัตวโลกเหล่านั้น

โดยถือเอาเวไนยสัตว์ ที่เป็นภัพพบุคคลนั่นแหละ ด้วยเทวศัพท์และมนุสสศัพท์

แต่ในวาระที่ ๒ และที่ ๓ คำว่า อตฺถาย หิตาย สุขาย เทวมนุสฺสาน

พึงประกอบด้วยสามารถแห่งพระอรหันต์ แลพระเสกขบุคคล. บรรดาบท

เหล่านั้น ด้วยบทว่า อตฺถาย นี้ มีพุทธาธิบายว่า เพื่อประโยชน์อย่างยิ่ง

คือเพื่อพระนิพพาน. ด้วยบทว่า หิตาย มีอธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่มรรค

ที่จะให้สำเร็จพระนิพพานนั้น. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าประโยชน์เกื้อกุลที่จะยิ่งไปกว่า

มรรคที่เป็นเหตุให้บรรลุพระนิพพานนั้น เป็นไม่มี. ด้วยบทว่า สุขาย มี

พุทธาธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่ผลสมาบัติ เพราะไม่มีความสุข (อื่น) ที่จะ

ยิ่งไปกว่าผลสมาบัตินั้น. สมดังที่ตรัสไว้ว่า สมาธินี้ เป็นทั้งความสุขในปัจจุบัน

และเป็นทั้งมีสุขเป็นผล ในกาลต่อไป. เนื้อความแห่งบททั้งหลาย มีอาทิว่า

ตถาคโต ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง.

พึงทราบวินิจฉัย ในบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ดังต่อไปนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสมบูรณ์ คือ ประกอบด้วยวิชชา ๓ ตามนัยที่มาแล้ว

ในภยเภรวสูตรบ้าง วิชชา ๖ มาแล้วด้วยสามารถแห่งอภิญญา ๖ บ้าง วิชชา ๘

มาแล้วในอัตพัฏฐสูตรบ้าง และจรณธรรม ๑๕ ประการ มีศีลสังวรเป็นต้น

ไม่สาธารณะทั่วไปแก่สาวกอื่น. เพราะฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า วิชฺชาจรณ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 520

สมฺปนฺโน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า สุคโต เพราะเสด็จไปงดงามบ้าง

เพราะเสด็จไปสู่ที่ดีบ้าง เพราะเสด็จไปโดยชอบบ้าง เพราะตรัสโดยชอบบ้าง.

ทรงพระนามว่า โลกวิทู เพราะทรงรู้แจ้งโลกโดยประการทั้งปวง. ทรงพระ-

นามว่า อนุตฺตโร เพราะไม่มีผู้ยอดเยี่ยมกว่า. ทรงพระนามว่า ปุริสทมฺมสารถิ

เพราะยังบุรุษที่ควรฝึก คือบุรุษที่เป็นเวไนยสัตว์ ให้ระลึกได้ ได้แก่ทรงแนะนำ.

ทรงพระนามว่า สตฺถา เพราะทรงพร่ำสอนตามสมควรด้วยทิฏฐธัมมิกัตถ-

ประโยชน์ สัมปรายิกัตถประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์. ทรงพระนามว่า

พุทฺโธ เพราะตรัสรู้ด้วยพระญาณที่เกิดขึ้นเองโดยอาการทั้งปวง เพื่อเวไนยสัตว์

ทั้งมวล. นี้เป็นความสังเขป ในบทว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เป็นต้นนี้.

ส่วนความพิสดาร ควรถือเอาจากคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

บทว่า โส ธมฺม เทเสติ อาทิ ฯเปฯ ปริโยสานกลฺยาณ

ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงอาศัยความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย

จึงทรงสละวิเวกสุขอันยอดเยี่ยม ทรงแสดงธรรม ก็แลเมื่อทรงแสดงธรรม

นั้น น้อยก็ตาม มากก็ตาม ชื่อว่า ทรงแสดธรรม มีความงามในเบื้องต้น

เป็นอาทิประการเดียว. ข้อนี้อย่างไร ? คือแม้พระคาถา ๆ เดียว ก็ชื่อว่ามี

ความงามในเบื้องต้น ด้วยบาทแรก ชื่อว่ามีความงามในท่ามกลางด้วยบาทที่สอง

และบาทที่สาม ชื่อว่า มีงามในที่สุด ด้วยบาทสุดท้ายเพราะมีธรรมสละสลวย

ไปทุกขั้นตอน พระสูตรตอนเดียว ชื่อว่า งามในเบื้องต้น ด้วยนิทาน (คำ-

เริ่มต้น) ชื่อว่างามในปริโยสาน ด้วยคำนิคม (คำลงท้าย) ชื่อว่างามในท่ามกลาง

ด้วยคำที่เหลือ. พระสูตร มีอนุสนธิต่าง ๆ กัน (หลายตอน) ชื่อว่างามใน

เบื้องต้น ด้วยอนุสนธิต้น ชื่อว่างามในปริโยสาน ด้วยอนุสนธิปลาย ชื่อว่า

งามในท่ามกลาง ด้วยอนุสนธิที่เหลือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 521

อีกประการหนึ่ง ศาสนธรรมแม้ทั้งสิ้น ชื่อว่างามในเบื้องต้น ศีล

อันเป็นประโยชน์ของตน ชื่อว่างามในท่ามกลาง ด้วยสมถวิปัสสนามรรค

และผล ชื่อว่างามในปริโยสาน ด้วยพระนิพพาน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่างาม-

ในเบื้องต้น ด้วยศีลและสมาธิ ชื่อว่างามในท่ามกลางด้วยวิปัสสนาและมรรค

ชื่อว่างามในที่สุดด้วยพระนิพพาน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่างามในเบื้องต้น เพราะ

พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ตรัสรู้ดีแล้ว ชื่อว่างามในท่ามกลาง เพราะพระธรรม

เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ชื่อว่างามในปริโยสาน เพราะความ

ปฏิบัติดีแห่งพระสงฆ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่างามในเบื้องต้น ด้วยอภิสัมโพธิญาณ

ชื่อว่างามในท่ามกลาง ด้วยปัจเจกโพธิญาณ ชื่อว่างามในที่สุด ด้วยสาวก-

โพธิญาณ ที่ผู้ปฏิบัติจะพึงได้บรรลุ เพราะฟังแล้วก็เป็นอย่างนั้น. และพระ

ธรรมนี้ ที่บุคคลฟังอยู่ ย่อมนำความดีนั้นแหละมาให้แม้ด้วยการฟัง เพราะข่ม

นิวรณ์ใด. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่างามในเบื้องต้น เมื่อปฏิบัติอยู่ย่อมนำความสุข

นั้นแหละมาให้โดยแท้แม้ด้วยการปฏิบัติ เพราะนำความสุขอันเกิดแต่สมถะและ

วิปัสสนามาให้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า งามในท่ามกลาง และผู้ปฏิบัติอย่างนั้น

เมื่อผลแห่งการปฏิบัติเสร็จสิ้นแล้ว ย่อมนำความงามนั่นแหละมาให้ แม้ด้วยผล

แห่งการปฏิบัติ เพราะนำความเป็นผู้คงที่มาให้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีความ

งามในปริโยสาน. อนึ่ง สารธรรมนั้น ชื่อว่า มีความงามในเบื้องต้น ด้วย

ความบริสุทธิ์แห่งแดนเกิด เพราะเป็นแดนเกิดแห่งที่พึ่ง ชื่อว่า มีความงาม

ในท่ามกลาง ด้วยความบริสุทธิ์แห่งประโยชน์. ชื่อว่ามีความงามในปริโยสาน

ด้วยความบริสุทธิ์แห่งกิจ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า โส

ธมฺม เทเสติ อาทิ ฯเปฯ ปริโยสานกลฺยาณ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 522

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมอันใด ย่อมทรงประกาศ

ศาสนพรหมจรรย์ และมรรคพรหมจรรย์ ทรงแสดงโดยนัยต่าง ๆ กัน

พรหมจรรย์นั้น ชื่อว่า สาตฺถ เพราะสมบูรณ์ด้วยอรรถ ชื่อว่า สพฺยญฺชน

เพราะสมบูรณ์ด้วยพยัญชนะ ตามฐานานุรูป. ชื่อว่า สาตฺถ เพราะประกอบ

ไปด้วยสังกาส (ทำให้รู้ชัด) ประกาศ การเปิดเผย การจำแนก การทำให้

ง่าย บัญญัติ และอรรถ บท ชื่อว่า สพฺยญฺชน เพราะสมบูรณ์ด้วย อักขระ

บท พยัญชนะ อาการ นิรุกติ และนิเทศ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สาตฺถ

เพราะเป็นของลึกซึ้งโดยอรรถ และลึกซึ้งโดยการแทงตลอด ชื่อว่า สพฺย-

ญฺชน เพราะเป็นของลึกซึ้งโดยธรรม และลึกซึ้งโดยเทศนา. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า สาตฺถ เพราะเป็นวิสัยแห่งอัตถปฏิสัมภิทา และปฏิภาณปฏิสัมภิทา

ชื่อว่า สพฺยญฺชน เพราะเป็นวิสัยของ ธรรมปฏิสัมภภทา และนิรุตติ-

ปฏิสัมภิทา. พรหมจรรย์ ชื่อว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของ ปริกขกชน

(ปัญญาชน) เพราะเป็นสิ่งอันบัณฑิตพึงซ่องเสพ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สาตฺถ

พรหมจรรย์เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสของโลกิยชน เพราะเป็นสิ่งที่ควรเชื่อถือ

เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สพฺยญฺชน. ชื่อว่า สาตฺถ เพราะมีคำอธิบายลึกซึ้ง

ชื่อว่า สพฺยญฺชน เพราะมีบทตื้น.

พรหมจรรย์ ชื่อว่า เกวลปริปุณฺณ เพราะบริบูรณ์ไปทั้งหมด

เหตุไม่มีข้อที่จะต้องนำเข้าไปเพิ่มเติม. ชื่อว่า ปริสุทฺธ เพราะไม่มีโทษ

เหตุไม่มีสิ่งที่จะต้องนำออกไป. อีกอย่างหนึ่ง พรหมจรรย์ ชื่อว่า สาตฺถ

เพราะมีความช่ำชองอันบุคคลพึงบรรลุได้ด้วยการปฏิบัติ ชื่อว่า สพฺยญฺชน

เพราะมีความฉลาดในอธิบายด้วยปริยัติ. ชื่อว่า ปริปุณฺณ เพราะบริบูรณ์ไป

ด้วยธรรมขันธ์ทั้ง ๕ มีศีลเป็นต้น ชื่อว่า ปริสุทฺธ เพราะปราศจากอุปกิเลส

เพราะประพฤติเพื่อรื้อถอนกิเลส และเพราะไม่มุ่งโลกามิส. ชื่อว่า พรหมจรรย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 523

เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ปฏิบัติกำหนดด้วยสิกขา ๓ เพราะผู้เป็นพรหม คือผู้ประเสริฐ

ที่สุด จะต้องประพฤติ และเป็นจริยาของผู้เป็นพรหมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สาตฺถ สพฺยญฺชน ฯเปฯ ปกาเสติ ดังนี้

บทว่า ปโม ได้แก่ บุคคลผู้ชื่อว่า ที่ ๑ เพราะเป็นไปตามลำดับ

แห่งการนับ และเพราะเป็นผู้สูงกว่าชาวโลกทั้งปวง. บทว่า ตสฺเสว สตฺถุ

สารโก ได้แก่ พระสงฆ์เช่นกับพระธรรมเสนาบดี ผู้เกิดแล้วในที่สุดแห่งการ

ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระคุณตาม

ที่กล่าวแล้วนั่นแหละ มิใช่เป็นสาวกของพระศาสดา ด้วยเหตุแห่งการปฏิญญา

เหมือนพระปูรณกัสสปเป็นต้น . บทว่า ปาฏิปโท ความว่า ชื่อว่า ปาฏิบท

เพราะเกิด คือเป็นโดยอริยชาติ ด้วยอริยมรรคอันกล่าวถึงข้อปฏิบัติ อธิบายว่า

มีกิจด้วยการปฏิบัติยังไม่สำเร็จ คือกำลังปฏิบัติอยู่. พระอริยบุคคล ชื่อว่า

พหุสฺสุโต เพราะมีปริยัติธรรม มี สุตะ และเคยยะ เป็นต้น อันสดับ

แล้วมาก. ชื่อว่า สีลวตูปปนฺโน เพราะเข้าถึง คือสมบูรณ์ ได้แก่ ประกอบ

ไปด้วยศีล มีปาฏิโมกขสังวรศีลเป็นต้น และด้วยธุดงควัตร มีการอยู่ป่า

เป็นวัตรเป็นต้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า พระธรรมเทศนา ชื่อว่า เป็น

เทศนานุเคราะห์แก่ชาวโลก เพราะอัธยาศัยเกื้อกูล และพระธรรมเทศนา

นั้น เนื่องในบุคคล ๓ จำพวกเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้. ข้อความที่เหลือ

รู้ได้ง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า ตสฺสนฺวโย

ความว่า สาวกชื่อว่าผู้ตามเสด็จ คือเกิดภายหลังพระองค์ ด้วยการคล้อยตาม

ข้อปฏิบัติ และพระธรรมเทศนาของพระศาสดาพระองค์นั้น. ชื่อว่า ส่องแสง-

สว่าง เพราะกำจัดความมืดคืออวิชชา ส่องแสงสว่างกล่าวคือ แสงสว่างแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 524

พระธรรมในสันดานของตน และสันดานของผู้อื่น. บทว่า ธมฺมมุทีรยนฺตา

ได้แก่ กล่าวจตุราริยสัจจธรรม. บทว่า อปราปุรนฺติ ความว่า ย่อมเปิด

ประตูแห่งอมตะ คือ พระนิพพาน ได้แก่ อริยมรรค. บทว่า โยคาความว่า

จากกามโยคะเป็นต้น. บทว่า สตฺถวาเหน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พระนามว่า สัตถวาหะ (ผู้นำหมู่) เพราะนำหมู่ คือ เวไนยสัตว์ คือ ขนสัตว์

ออกจากกันดาร คือ ภพ. ด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้นำหมู่พระองค์นั้น.

บทว่า สุเทสิต มคฺคมนุกฺกมนฺติ ความว่า เวไนยสัตว์ย่อมคล้อยตาม คือ

ปฏิบัติ อริยมรรคที่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงแสดงแล้วโดยชอบ ตามแนว

ทางแห่งเทศนาของพระองค์. บทว่า อิเธว ความว่า ในอัตภาพนี้เอง.

คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโลกสูตรที่ ๕

๖. อสุภสูตร

ว่าด้วยเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกาย

[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้พิจารณาเห็น

อารมณ์ว่าไม่งามในกายอยู่ จงเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะหน้าในภายใน

และจงพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อเธอทั้งหลายพิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งามในกายอยู่ ย่อมละราคานุสัยใน

เพราะความเป็นธาตุงามได้ เมื่อเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งอานาปานสติไว้เฉพาะ

หน้าในภายใน ธรรมเป็นที่มานอนแห่งวิตกทั้งหลาย (มิจฉาวิตก) ในภาย

นอก อันเป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ย่อมไม่มี เมื่อเธอทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 525

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อม

เกิดขึ้น.

ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งาม

ในกาย มีสติเฉพาะในลมหายใจ มีความ

เพียรทุกเมื่อ พิจารณาเห็นซึ่งนิพพานอัน

เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ภิกษุนั้นแล ผู้

เห็นโดยชอบพยายามอยู่ ในนิพพานเป็นที่

ระงับ แห่งสังขารทั้งปวง ภิกษุนั้นแล ผู้อยู่

จบอภิญญาสงบระงับล่วงโยคะเสียได้แล้ว

ชื่อว่าเป็นมุนี.

จบอสุภสูตรที่ ๖

อรรถกถาอสุภสูตร

ในอสุภสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสุภานุปสฺสี ความว่า เธอทั้งหลายเมื่อพิจารณาเห็นว่า

ไม่งาม ชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่งาม คืออาการที่ไม่งามในกาย ด้วย

สามารถแห่งอาการ ๓๒ และด้วยสามารถแห่งการน้อมนำเข้าไปหานิมิตที่ตน

ถือเอาแล้ว ในศพที่ขึ้นพองแล้วเป็นต้นอยู่. บทว่า อานาปานสฺสติ ได้แก่

สติในลมหายใจ คือสติที่ปรารภลมหายใจนั้นเป็นไป. อธิบายว่า สติที่กำหนด

ลมหายใจเข้าลมหายใจออก. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ มีอาทิว่า ลมหายใจเข้า

ชื่อว่า อานะ ไม่ใช่ลมหายใจออก ลมหายใจออกชื่อว่า ปานะ ไม่ใช่ลมหายใจเข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 526

บทว่า โว แปลว่า เพื่อเธอทั้งหลาย. ในบทว่า อชฺฌตฺต นี้ ท่านประสงค์

เอาอารมณ์ภายใน. บทว่า ปริมุข ได้แก่ เฉพาะหน้า. บทว่า สุปติฏฺิตา

ความว่า สติที่ตั้งมั่นไว้แล้วด้วยดี. ท่านอธิบายไว้ว่า ก็อานาปานสติจงเป็น

อันเธอทั้งหลายเข้าไปตั้งไว้แล้วด้วยดี เฉพาะหน้ากรรมฐานดังนี้ . อีกอย่าง

หนึ่ง บทว่า ปริมุข ความว่า มีการนำออกไปตามที่กำหนดไว้แล้ว สมจริง

ดังที่พระสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคว่า บทว่า ปริ มีความหมายว่า

กำหนด บทว่า มุข มีความหมายว่านำออก. บทว่า สติ มีความหมายว่า

เข้าไปตั้งไว้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า จงตั้งสติไว้เฉพาะหน้า

ดังนี้. ด้วยบทว่า ปริมุข สตึ นี้ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

แสดงถึงการเจริญกรรมฐาน คือ อานาปานสติ ๑๖ ประเภท ในสติ-

ปัฏฐาน ๔.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงสมถกัมมัฏฐาน และวิปัสสนา

กัมมัฏฐาน ที่เป็นสัปปายะแก่ผู้มีราคจริต และวิตกจริต ด้วยสามารถแห่งการ

พิจารณากายเนือง ๆ ด้วยการทำไว้ในใจว่าปฏิกูล โดยสังเขปเท่านั้นอย่างนี้

แล้ว. บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเฉพาะวิปัสสนากัมมัฎฐานล้วน ๆ จึงตรัสคำมี

อาทิว่า สพฺเพสงฺขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี วิหรถ ดังนี้.

ในวิปัสสนากัมมัฏฐาน พึงทราบหมวดทั้ง ๔ นี้ คือ อนิจจัง ๑

อนิจจลักษณะ ๑ อนิจาปุปัสสนา ๑ อนิจจานุปัสสี ๑. ขันธบัญจก

ชื่อว่า อนิจจัง เพราะมีแล้วกลับไม่มี เพราะประกอบด้วยความเกิดขึ้นและความ

เสื่อมไป เพราะเป็นไปชั่วคราว และเพราะแย้งต่อนิจจะ (ความเที่ยง). อาการ

ที่มีแล้ว กลับไม่มีอันใดของขันธบัญจกนั้น อันนั้นชื่อว่า อนิจจลักษณะ.

วิปัสสนาที่ปรารภอนิจจลักษณะนั้นเป็นไป ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา พระ-

โยคาวจรผู้เห็นแจ้ง อนิจจลักษณะนั้นว่าไม่เที่ยง ชื่อว่า อนิจจานุปัสสี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 527

ก็ในสติปัฏฐานนี้ ควรจะกล่าวอสุภกถา ๑๑ อย่าง ให้ถึงปฐมฌาน อานาปานกถา

ที่มีวัตถุ ๑๖ ให้ถึงจตุตถฌาน และวิปัสสนากถาโดยพิสดาร แต่อสุภกถา

เป็นต้นนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในปกรณ์พิเศษ ชื่อว่า วิสุทธิมรรค โดย

ครบถ้วนทุกอาการ เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัย ดังที่ข้าพเจ้ากล่าวไว้แล้ว

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นเถิด.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงผลพิเศษ ที่จะพึงให้สำเร็จด้วยอสุภานุปัสสนา

เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมีอาทิว่า อสุภานุปสฺสีน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภาย ธาตุยา ความว่า ในความเป็น

ของงาม อธิบายว่า ในสุภนิมิต. บทว่า ราคานุสโย ได้แก่ กามราคา-

นุสัยนั้น ที่ควรแก่การเกิดขึ้นในเพราะสุภารมณ์. กามราคานุสัยนั้น พระ

โยคาวจรละได้ด้วยอนาคามิมรรค ที่ตนถือเอาอสุภนิมิต ของผู้พิจารณาเห็น

อสุภะในอาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น หรือในซากศพที่ขึ้นพองเป็นต้น แล้วยัง

ปฐมฌานให้เกิดขึ้นในเพราะอสุภนิมิตนั้น ทำปรมฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท

เริ่มตั้งวิปัสสนาแล้วจึงบรรลุ อธิบายว่า ตัดขาดโดยประการทั้งปวง. สมดังที่

ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วว่า ควรเจริญอสุภะเพื่อละกามราคะ ดังนี้.

บทว่า พาหิรา ความว่า อกุศลธรรมที่ชื่อว่า ข้างนอก คือที่ชื่อว่า

เป็นภายนอก เพราะเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์ในภายนอก และไม่นำประโยชน์มาให้.

บทว่า วิตกฺกาสยา ได้แก่ มิจฉาวิตก มีความดำริในกามเป็นต้น. ก็มิจฉาวิตก

เหล่านั้น ที่ยังละไม่ได้ จะคล้อยตามอาสยะ (กิเลสที่นอนเนื่อง) พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า วิตกฺกาสยา เพราะเมื่อมีความพร้อมเพรียงแห่งปัจจัย

ก็จะเกิดขึ้นได้. ก็ในวิตกทั้ง ๓ นี้ กามวิตก พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือ

เอาแล้ว ด้วยศัพท์ว่า กามราคะนั่นเอง. เพราะฉะนั้น วิตกที่เหลือจากกามวิตก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 528

นั่นแหละ พึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว. บทว่า วิฆาตปกฺขิกา

ความว่า เป็นส่วนแห่งความทุกข์ คือกระทำการเกิดขึ้นแห่งความทุกข์ ด้วย

อำนาจแห่งความอยาก. บทว่า เต น โหนฺติ ความว่า ละกามวิตกเหล่านั้นได้.

มหาวิตก ๙ อย่าง พร้อมด้วยกามวิตก ๘ คือ พยาบาทวิตก (วิตกถึงพยาบาท)

วิหิงสาวิตก (วิตกถึงการเบียดเบียน) ญาติวิตก (วิตกถึงหมู่ญาติ) ชนบท-

วิตก (วิตกถึงชนบท) อมราวิตก (วิตกถึงเทวดา) วิตกที่ประกอบด้วย

ความไม่ดูหมิ่น วิตกที่ประกอบด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ

วิตกที่ประกอบด้วยความเอ็นดูในผู้อื่น ที่ข่มได้ในเบื้องต้น ด้วยสมาธิ

ที่เกิดเพราะอานาปานสติจะละได้ โดยไม่มีเหลือ ตามสมควรด้วยอริยมรรค

ที่ทำวิปัสสนานั้นให้เป็นเบื้องบาทแล้วจึงบรรลุ. สมจริงดังคำที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พึงเจริญอานาปานสติ เพื่อเข้าไปตัดเสียซึ่งวิตก ดังนี้.

บทว่า ยา อวิชฺชา สา ปหียติ ความว่า อวิชชาใดที่ปกปิดสภาพ

แห่งความจริง ทำความฉิบหายให้ทุกอย่าง เป็นมูลฐานแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น

อวิชชานั้น ผู้พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงอยู่จะตัดขาดได้. ได้ยินว่า บทว่า ยา

อวิชฺชา สา ปหียติ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยสามารถแห่ง

พระขีณาสพผู้เป็นสุกขวิปัสสกผู้อยู่จบพรหมจรรย์ โดยอาการแห่งอนิจจลักษณะ

ข้อนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้. เมื่อพระโยคาวจรทั้งหลายเริ่มตั้งสัมมัสสน-

ญาณ เห็นแจ้งสังขารทั้งปวงที่เป็นไปในภูมิ ๓ โดยความไม่เที่ยงเป็นต้น

วิปัสสนาที่เป็นวุฏฐานคามินี ทีเป็นไปอยู่ว่าไม่เที่ยงดังนี้ สืบต่อได้ด้วยมรรค

ในเวลาใด ในเวลานั้น อรหัตมรรคก็จะเกิดขึ้นตามลำดับ เมื่อท่านเหล่านั้น

พิจารณาอนิจจลักษณะเนือง ๆ อยู่ ก็จะละอวิชชาได้โดยไม่เหลือ อรหัตมรรควิชชา

จะเกิดขึ้น. คำว่า อนิจฺจานุปสฺสีน วิหรต นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

โดยอนิจจลักษณะ เป็นธรรมปรากฏแก่พระโยคาวจรเหล่านั้น. หรือโดยเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 529

อุบายในการถือเอาลักษณะทั้งสองนอกนี้ แต่ไม่ได้ตรัสไว้ โดยที่พระโยคาวจร

จะพึงพิจารณาลักษณะอย่างเดียวเท่านั้นเนือง ๆ. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา

ดังนี้ ทั้งยังตรัสคำอื่นไว้ว่า ดูก่อนเมฆิยะ ก็อนัตตสัญญาของผู้มีอนิจจสัญญา

จะตั้งมั่น ผู้มีอนัตตสัญญา จะถึงการถอนอัสมิมานะขึ้นได้ ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า อานาปาเน

ปฏิสฺสโต ความว่า มีสติเฉพาะ ๆ ในอานาปานนิมิต อธิบายว่า เข้าไป

ตั้งสติไว้มั่น. บทว่า ปสฺส ความว่า เห็นอยู่ซึ่งพระนิพพาน อันเป็นที่ระงับ

สังขาร ด้วยญาณจักษุ อันเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะ. บทว่า อาตาปี สพฺพทา

ความว่า มีความเพียรอยู่เนืองๆ ในธรรมมีอสุภานุปัสสนา (การพิจารณาเห็น

ว่าไม่งาม) เป็นต้น โดยไม่หยุดชะงักในระหว่าง คือประกอบแล้วประกอบเล่า

(ทำสม่ำเสมอ). บทว่า ยโต ได้แก่ พยายามอยู่ อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่เป็น

ผู้แน่นอนในธรรมนั้น คือในพระนิพพานอันเป็นที่ระงับแห่งสังขารทั้งปวงด้วย

สัมมัตตนิยาม หลุดพ้นด้วยการหลุดพ้น ด้วยอำนาจอรหัตผล. คำที่เหลือ

มีนัยดังที่กล่าวแล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถาอสุภสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 530

๗. ธรรมสูตร

ว่าด้วยปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

[๒๖๕] เมื่อภิกษุกล่าวว่า ผู้นี้ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม ด้วย

การพยากรณ์ด้วยธรรมอันสมควรใด ธรรมอันสมควรนี้ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้

ปฏิบัติธรรมอันสมควรแก่ธรรม ดังนี้ ชื่อว่าย่อมกล่าวธรรมอย่างเดียว ย่อม

ไม่ตรึกถึงวิตกที่ไม่เป็นธรรม ภิกษุเว้นการกล่าวอธรรมและการตรึกถึงอธรรม

ทั้ง ๒ นั้น เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่.

ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้ว

ในธรรม ค้นคว้าธรรมอยู่ ระลึกถึงธรรม

อยู่เนื่อง ๆ ย่อมไม่เสื่อมจากพระสัทธรรม

ภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอน

อยู่ก็ดี ให้จิตของตนสงบอยู่ ณ ภายใน

ย่อมถึงความสงบอันแท้จริง.

จบธรรมสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 531

อรรถกถาธรรมสูตร

ในธรรมสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธรรม ในบทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิ-

ปนฺนสฺส นี้ ธรรมที่สมควรแก่ธรรมนั้น คือธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติเบื้องต้น

มีศีลวิสุทธิเป็นต้น แก่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น คือกำลังปฏิบัติ

เพื่อบรรลุ (โลกุตรธรรม) นั้น. บทว่า อยมนุธมฺโม โหติ ความว่า

ธรรมนี้เป็นธรรมมีสภาพสมควร คือมีสภาพเหมาะสม. บทว่า เวยฺยากรณาย

ได้แก่ ด้วยกถาสำหรับพูดกัน. บทว่า ย ในคำว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ย

เป็นปฐมาวิภัตติใช้ในอรรถตติยาวิภัตติ มีคำอธิบายว่า ภิกษุเมื่อพยากรณ์อยู่ว่า

เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั้น ควรชื่อว่า พยากรณ์อยู่โดยชอบทีเดียว

ด้วยธรรมอันสมควรใด เธอไม่ควรถูกวิญญูชนตำหนิ เพราะข้อนั้นเป็นเหตุ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ย เป็นกิริยาปรามาส. ด้วยบทว่า ย นั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงถึงการกล่าวธรรมนั่นแหละ. และการตรึกถึงธรรมวิตก

ด้วยเหมือนกัน ซึ่งเป็นเหตุสมควร คือเป็นเหตุเหมาะสมแก่กถา สำหรับ

พูดกันว่า ธรรมนี้เหมาะสมแก่ผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ธรรมนี้สมควร

อย่างนั้น ดังนี้ ด้วยอุเบกขาที่สัมปยุตด้วยญาณ ในเมื่อไม่มีกิจทั้งสองอย่างนั้น.

บทว่า ภาสมาโน ธมฺม เยว ภาเสยฺย ความว่า ถ้าหากภิกษุพูดอยู่

ก็พึงชื่อว่าพูดธรรม คือกถาวัตถุ ๑๐ อย่างนั่นเอง ไม่ใช่พูดอธรรมอันมีความ

มักมากเป็นต้น ที่ตรงข้ามกับกถาวัตถุ ๑๐ อย่างนั้น. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า กถาอันเป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส เป็นที่สบายในการเปิดจิตนี้ใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 532

ย่อมเป็นไป เพื่อนิพพิทาโดยส่วนเดียว เพื่อสำรอกกิเลส เพื่อดับกิเลส เพื่อ

ความสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อพระนิพาน คือ อัปปิจฉกถา

สันตุฏฐิถถา ปวิเวกกถา อสัคคกถา วิริยารัมภกถา สีลกถา สมาธิกถา

ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปารถนา

ได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ซึ่งกถาเห็นปานนั้น เพราะผู้มีปกติได้กถาที่มี

การขัดเกลาเท่านั้นจึงควรกล่าวธรรมนั้น. ด้วยคำว่า ภาสมาโน ธมฺมเยว

ภาเสยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึง การถึงพร้อมด้วยกัลยาณมิตร.

บทว่า ธมฺมวิตกฺก ความว่า เมื่อภิกษุวิตกถึงเนกขัมมวิตกเป็นต้น

ที่ไม่ปราศไปจากธรรมอยู่ อุตสาหะจักเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป ด้วยคิดว่า เราจัก

บำเพ็ญปฏิปทามีศีลเป็นต้นให้บริบูรณ์. แต่วิตกนั้น พึงทราบว่ามีมากประเภท

เพราะเป็นไปด้วยสามารถแห่งการเว้นธรรมที่เป็นอุปการะ แล้วเพิ่มพูนธรรม

ที่เป็นอุปการะแก่ศีลเป็นต้น (และ) ด้วยสามารถแห่งการนำความที่ธรรม

เป็นไปในส่วนแห่งความเสื่อมออกไป แต่ไม่ตั้งอยู่แม้ในความเป็นธรรมที่เป็น

ไปในส่วนแห่งความมั่นคงแล้ว ยังความเป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งคุณพิเศษ

และความเป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนแห่งความเบื่อหน่าย ให้ถึงพร้อม. บทว่า

โน อธมฺมวิตกฺก มีความว่า ไม่พึงตรึกถึงกามวิตก.

บทว่า ตทุภย วา ปน ความว่า ภิกษุเว้นการพูดธรรม เพื่ออนุ-

เคราะห์ชนเหล่าอื่น และการตรึกธรรมเพื่ออนุเคราะห์ตนนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้แล้ว ก็อีกอย่างหนึ่ง เว้นขาด คือ ไม่ปฏิบัติ ได้แก่ ไม่ทำทั้งสอง

อย่างนั้น. บทว่า อุเปกฺขโก ความว่า เป็นกลางในข้อปฏิบัติอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 533

เพิ่มพูนเฉพาะสมถภาวนา และวิปัสสนาภาวนาเท่านั้นอยู่ อีกอย่างหนึ่ง

เป็นผู้วางเฉยเเม้ในการปฏิบัติสมถะ ทำวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างเดียวอยู่ คือ

ยังวิปัสสนาให้ก้าวสูงขึ้น วางเฉยแม้ในวิปัสสนานั้น ด้วยสามารถแห่งสังขารู-

เปกขาญาณ พึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่ โดยที่วิปัสสนานั้นจะเป็นญาณแก่กล้า

เข้มแข็ง ผ่องใส ไหลไปจนกว่าวิปัสสนาญาณจะถูกสืบต่อด้วยมรรค.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป ภิกษุ ชื่อว่า ผู้มีธรรมเป็นที่

มายินดี เพราะมีธรรม คือ สมถะและวิปัสสนา เป็นที่มายินดี ด้วยอรรถว่า ควร

ยินดี. ชื่อว่า ผู้ยินดีแล้วในธรรม เพราะยินดีแล้วในธรรมนั่นเอง. ชื่อว่า

ค้นคว้าธรรม เพราะวิจัยธรรมนั่นแหละบ่อยๆ คือระลึกถึงธรรมนั้น อธิบายว่า

กระทำไว้ในใจ. บทว่า อนุสฺสร ความว่า ระลึกถึงธรรมนั้นนั่นแหละเนือง ๆ

ด้วยสามารถแห่งภาวนาที่สูง ๆ ในรูป. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ผู้มีธรรมเป็นที่

มายินดี เพราะ มีธรรมมีศีลเป็นต้น เป็นที่มายินดี ด้วยอรรถว่า ต้องยินดี

ด้วยสามารถแห่งการดำรงอยู่ในศีล ที่เป็นบ่อเกิดแห่งวิมุตติ แล้วแสดงแก่ผู้อื่น.

ชื่อว่า ผู้ยินดีแล้วในธรรม เพราะยินดีแล้ว คือยินดียิ่งแล้ว ในธรรมนั้น

อย่างนั้นนั่นแหละ. ภิกษุเมื่อแสวงหาการดำเนินแห่งธรรมทั้งหลาย มีศีลเป็นต้น

เหล่านั้นนั่นเอง ชื่อว่า ค้นคว้าธรรมอยู่ เพราะคิดค้นธรรมมีเนกขัมมสังกัปปะ

เป็นต้น โดยไม่ให้โอกาสแก่กามวิตกเป็นต้นเลย. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเมื่อเผาวิตก

ทั้งสองอย่างนั้น (กามวิตก พยาบาทวิตก) โดยเป็นวิตกอย่างหยาบ วางเฉยแล้ว

ระลึกถึงเนืองๆ ซึ่งธรรมคือสมถะและวิปัสสนานั่นเอง ด้วยสามารถแห่งภาวนา

ที่สูง ๆ ขึ้นไป คือให้เป็นไปด้วยสามารถแห่งการเพิ่มพูน. บทว่า สทฺธมฺมา

ความว่า ไม่เสื่อมจากโพธิปักขิยธรรมที่แยกประเภทออกไปเป็น ๓๗ ประการ

และจากโลกุตรธรรม ๙ อย่าง อธิบายว่า ไม่นานก็จะได้บรรลุโลกุตรธรรมนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 534

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงวิธีแห่งการระลึกถึงธรรม

นั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า จร วา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จร วา ความว่า เดินไปด้วยสามารถ

แห่งการเที่ยวภิกษาจาร หรือว่าด้วยสามารถแห่งการจงกรม. บทว่า ยทิ วา

ติฏฺ ความว่า เดินอยู่ก็ดี นั่งแล้วก็ดี. บทว่า อุท วา สย ความว่า

นอนอยู่ก็ดี ดำรงอยู่ในอิริยาบถแม้ทั้ง ๔ อย่างนี้. บทว่า อชฺฌตฺต สมย

จิตฺต ความว่า ในจิตของตนสงบ คือระงับอยู่ ในภายในอารมณ์กล่าวคือ

กัมมัฏฐาน ตามที่กล่าวมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งการระงับ คือด้วยสามารถ

แห่งการละกิเลสทั้งหลาย มีราคะเป็นต้น. บทว่า สนฺติเมวาธิคจฺฉติ ความว่า

ถึงความสงบโดยส่วนเดียว คือพระนิพพานเท่านั้น.

จบอรรถกถาธรรมสูตรที่ ๗

๘. อันธการสูตร

ว่าด้วยอุกุศลและกุศลวิตก ๓ ประการ

[๒๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลวิตก ๓ ประการนี้ การทำ

ความมืดมน ไม่กระทำปัญญาจักษุ กระทำความไม่รู้ ยังปัญญาให้ดับ เป็น

ไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน อกุศลวิตก ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือ กามวิตก ๑ พยาบาทวิตก ๑ วิหิงสาวิตก ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อกุศลวิตก ๓ ประการนี้แล กระทำความมืดมน ไม่กระทำปัญญาจักษุ กระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 535

ความไม่รู้ ยังปัญญาให้ดับ เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อ

นิพพาน.

[๒๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลวิตก ๓ ประการนี้ ไม่กระทำ

ความมืดมน การทำปัญญาจักษุ กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไป

ในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไปเพื่อนิพพาน กุศลวิตก ๓ ประการ

เป็นไฉน ? คือ เนกขัมมวิตก ๑ อพยาบาทวิตก ๑ อวิหิงสาวิตก ๑ ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย กุศลวิตก ๓ ประการนี้แล ไม่กระทำความมืดมน กระทำปัญญาจักษุ

กระทำญาณ ยังปัญญาให้เจริญ ไม่เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งความคับแค้น เป็นไป

เพื่อนิพพาน.

พึงตรึกกุศลวิตก ๓ ประการ แต่พึง

นำอกุศลวิตก ๓ ประการออกเสีย พระ-

โยคาวจรนั้นแล ยังมิจฉาวิตกทั้งหลายให้

สงบระงับ เปรียบเหมือนฝนยังธุลีที่ลมพัด

ฟุ้งขึ้นแล้วให้สงบฉะนั้น พระโยคาวจรนั้น

มีใจอันเข้าไปสงบวิตก ได้ถึงสันติบทคือ

นิพพานในปัจจุบันนี้แล.

จบอันธการสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 536

อรรถกถาอันธการสูตร

ในอันธการสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อกุสลวิตกฺกา ได้แก่ วิตกทั้งหลายที่เกิดแต่ความไม่ฉลาด.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า อนฺธกรณา ดังต่อไปนี้ วิตก ชื่อว่า

กระทำความมืดมน เพราะเกิดขึ้นเองแก่ผู้ใด จะทำให้ผู้นั้นมืดมน เพราะ

ห้ามการเห็นตามความจริง ชื่อว่า ไม่ทำปัญญาจักษุ เพราะไม่ทำให้เกิด

ปัญญาจักษุ. ชื่อว่า กระทำความไม่รู้ เพราะทำความไม่รู้. บทว่า ปญฺา-

นิโรธา ความว่า ชื่อว่า ยังปัญญาให้ดับ เพราะดับปัญญา ๓ อย่างเหล่านี้

คือ กัมมัสสกตาปัญญา ๑ ฌานปัญญา ๑ วิปัสสนาปัญญา ๑ โดยทำ

ไม่ให้เป็นไป. ชื่อว่า เป็นไปในฝักใฝ่แห่งความคับแค้น เพราะเป็น

ไปในฝักฝ่ายแห่งวิฆาตะ กล่าวคือทุกข์ เหตุที่ให้ผลอันไม่น่าปรารถนา.

ชื่อว่า ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน เพราะไม่ยังกิเลสนิพพาน ให้เป็นไป. บทว่า

กามวิตกฺโก ได้แก่ วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยธรรม อธิบายว่า กามวิตกนั้นเป็น

วิตกที่ประกอบด้วยกิเลสกามแล้วเป็นไปในวัตถุกาม. วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยพยาบาท

ชื่อว่า พยาบาทวิตก. วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยวิหิงสา ชื่อว่า วิหิงสาวิตก.

และวิตกทั้ง ๒ อย่างนี้ (กามวิตก และพยาบาทวิตก) เกิดขึ้นในสัตว์บ้าง

ในสังขารบ้าง. อธิบายว่า กามวิตก เกิดขึ้นแก่ผู้วิตกถึงสัตว์หรือสังขาร

อันเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ. พยาบาทวิตก เกิดขึ้นในสัตว์หรือสังขารอันไม่-

เป็นที่รัก ไม่เป็นที่พอใจ ตั้งแต่เวลาที่โกรธ (เขา) แล้วมองดู จนถึงให้

ฉิบหายไป. วิหิงสาวิตก ไม่เกิดขึ้นในสังขารทั้งหลาย (เพราะว่า) ธรรมดา

สังขารที่จะให้เป็นทุกข์ไม่มี แต่จะเกิดขึ้นในสัตว์ทั้งหลาย ในเวลาที่คิดว่า

ขอสัตว์เหล่านี้ จงลำบากบ้าง จงถูกฆ่าบ้าง จงขาดสูญบ้าง จงพินาศบ้าง

อย่าได้มีเลยบ้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 537

ก็ความดำริในกามเป็นต้น ก็คือกามวิตกเป็นต้นเหล่านั้นนั่นเอง.

อธิบายว่า โดยเนื้อความแล้ว กามวิตกเป็นต้น กับกามสังกัปปะเป็นต้น

ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย. ส่วนสัญญาที่สัมปยุตด้วยกามเป็นต้นนั้น ชื่อว่า กาม-

สัญญาเป็นต้น. ก็ (เพราะเหตุที่) ความแปลกกัน แห่งกามธาตุเป็นต้น จะพึง

หาได้ เพราะมาแล้วในพระบาลีว่า ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบ

ด้วยกาม มิจฉาสังกัปปะนี้เรียกว่า กามธาตุ ความตรึก ความตรึกตรอง อัน

ประกอบด้วยพยาบาท ทิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า พยาบาทธาตุ ความที่จิต

อาฆาตในอาฆาตวัตถุ ๑๐ ความอาฆาตมาดร้าย ความที่จิตไม่แช่มชื่น นี้

เรียกว่า พยาบาทธาตุ. ความตรึก ความตรึกตรอง อันประกอบด้วยวิหิงสา

มิจฉาสังกัปปะ นี้เรียกว่า วิหิงสาธาตุ. บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียน

สัตว์ ด้วยวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือฝ่ามือ ก้อนดิน ท่อนไม้ ศัสตรา หรือ

เชือก นี้เรียกว่า วิหิงสาวิตก.

ฉะนั้น กถา ๒ อย่างในกามธาตุทั้ง ๓ นั้น ท่านร้อยกรองไว้หมด

และไม่คละกัน. บรรดาธาตุทั้ง ๓ นั้น เมื่อถือเอากามธาตุ ธาตุทั้ง ๒ แม้

นอกนี้ ก็ชื่อว่าย่อมเป็นอันถือเอาแล้วด้วย แต่ครั้นทรงนำออกจากกามธาตุ

นั้นแล้ว ก็จะทรงชี้ได้ว่า นี้เป็นพยาบาทธาตุ นี้เป็นวิหิงสาธาตุ ฉะนั้น กถานี้

จึงชื่อว่า สัพพสังคาหิกา. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสถึงกามธาตุ ก็ทรง

วางพยาบาทธาตุไว้ในตำแหน่งแห่งพยาบาทธาตุ วางวิหิงสาธาตุไว้ในตำแหน่ง

แห่งวิหิงสาธาตุ แล้วตรัสบอกธาตุที่เหลือว่า ชื่อว่า เป็นกามธาตุ. ฉะนั้นกถานี้

จึงชื่อว่า อสัมภินนกถา.

พึงทราบเนื้อความในธรรมฝ่ายขาว โดยปริยายที่แยกจากที่กล่าวแล้ว

ดังต่อไปนี้ วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยเนกขัมมะ ชื่อว่า เนกขัมมวิตก เนกขัมม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 538

วิตกนั้น เป็นกามาวจรในส่วนเบื้องต้นที่เจริญอสุภ เป็นรูปาวจรในฌานที่มีอสุภ

เป็นอารมณ์ เป็นโลกุตระในเวลามรรคผลเกิดขึ้น เพราะทำฌานนั้นให้เป็น

เบื้องบาท. วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยความไม่พยาบาท ชื่อว่า อพยาบาทวิตก.

อพยาบาทวิตกนั้น เป็นกามาวจรในส่วนเบื้องต้น ที่เจริญเมตตาเป็นรูปาวจร

ในฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์ เป็นโลกุตระในเวลาที่มรรคผลเกิดขึ้น เพราะ

กระทำฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท. วิตกที่ปฏิสังยุตด้วยอวิหิงสา ชื่อว่า

อวิหิงสาวิตก อวิหิงสาวิตกนั้น เป็นกามาวจรในส่วนเบื้องต้นที่เจริญกรุณา

เป็นรูปาวจรในส่วนที่มีกรุณาเป็นอารมณ์ เป็นโลกุตระในเวลาที่มรรคผล

เกิดขึ้น เพราะกระทำฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท แต่เมื่อใดอโลภะเป็นประธาน

เมื่อนั้น เมตตาและกรุณา ทั้งสองอย่างนอกนี้ ก็จะคล้อยตามอโลภะนั้น เมื่อใด

เมตตาเป็นประธาน เมื่อนั้นอโลภะเป็นกรุณา ทั้ง ๒ อย่างนอกนี้ ก็จะคล้อย

ตามเมตตานั้น เมื่อใดกรุณาเป็นประธาน เมื่อนั้นอโลภะและเมตตา ทั้ง ๒

อย่างนอกนี้ ก็จะคล้อยตามกรุณานั้น. เนกขัมมสังกัปปะ เป็นต้น ก็คือ

เนกขัมมวิตกเป็นต้นเหล่านี้นั่นเอง อธิบายว่า โดยเนื้อความแล้ว เนกขัมมวิตก

เป็นต้น กับเนกขัมมสังกัปปะเป็นต้น ไม่มีข้อแตกต่างกันเลย แต่สัญญาที่

สัมปยุตด้วยเนกขัมมวิตกเป็นต้น ชื่อว่า เนกขัมมสัญญาเป็นต้น.

ก็เพราะเหตุที่เนกขัมมธาตุเป็นต้น มีความแตกต่างกัน เพราะมีมา

ในพระบาลีว่า ความตรึก ความตรึกตรอง ความดำริชอบ อันประกอบไป

ด้วยเนกขัมมะ นี้เรียกว่า เนกขัมมธาตุ กุศลธรรมแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า

เนกขัมมธาตุ. ความตรึก ความตรึกตรอง ความดำริ อันประกอบไปด้วย

ความไม่พยาบาท นี้เรียกว่า อพยาบาทธาตุ ความมีไมตรี กิริยาที่มีไมตรี

เมตตาเจโตวิมุตติในสัตว์ทั้งหลาย นี้เรียกว่า อพยาบาทธาตุ. ความตรึก

ความตรึกตรอง ความดำริ อันประกอบด้วยอวิหิงสา นี้เรียกว่า อวิหิงสา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 539

ธาตุ. ความกรุณา กิริยาที่กรุณา สภาพที่กรุณาในสัตว์ทั้งหลาย กรุณา

เจโตวิมุตติในสัตว์ทั้งหลาย นี้เรียกว่า อวิหิงสาธาตุ. แม้ในสุกกปักษ์นี้

กถาทั้ง ๒ อย่าง คือ สัพพสังคาหิกากถา อสัมภินนกถา ก็พึงทราบตามนัย

ที่กล่าวมาแล้วนั่นแล. ข้อความที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า วิตกฺกเย ได้แก่

ในหมวด ๓ แห่งวิตก. บทว่า นิรากเร ความว่า ออกจากสันดานของตน

คือพึงบรรเทา อธิบายว่า พึงละ. บทว่า สเว วิตกฺกานิ วิจาวิตานิ สเมติ

วุฏฺีว รช สมูหต ความว่า อุปมาเสมือนหนึ่งว่า ในเดือนท้ายฤดูร้อน

เมื่อเมฆนอกกาลเวลา ก้อนใหญ่ตกต่ำลงมา ฝนจะให้ฝุ่น ที่กองรวมกันอยู่ที่

แผ่นดิน ที่ลมพัดฟุ้งขึ้นโดยทั่ว ๆ ไป ให้สงบลงได้ในทันใด ฉันใด พระ-

โยคาวจรนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน จะให้วิตกที่ท่องเทียวไปในมิจฉาวิตก และ

วิจารที่สัมปยุตด้วยวิตกนั้น สงบคือระงับลงได้ ได้แก่ตัดขาดไป และพระ

โยคาวจรผู้เป็นอย่างนั้น มีใจสงบด้วยวิตก คือมีอริยมรรคจิต ที่ชื่อว่า

สงบแล้วด้วยวิตก เพราะระงับมิจฉาวิตกทุกอย่างได้ จะได้ถึง คือได้บรรลุ

สันติบท คือพระนิพพานในโลกนี้แหละ คือในปัจจุบันนี้ทีเดียว.

จบอรรถกถาอันธการสูตรที่ ๘

๙. มลสูตร

ว่าด้วยมลทินภายใน ๓ ประการ

[๒๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม ๓ ประการนี้ เป็นมลทิน

ภายใน (มลทินของจิต) เป็นอมิตรภายใน เป็นศัตรูภายใน เป็นเพชฌฆาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 540

ภายใน เป็นข้าศึกภายใน ๓ ประการเป็นไฉน ? คือ โลภะ ๑ โทสะ ๑

โมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรม ๓ ประการนี้แล เป็นอมิตร

เป็นศัตรู เป็นเพชฌฆาต เป็นข้าศึกภายใน.

โลภะให้เกิดความฉิบหาย โลภะทำจิต

ให้กำเริบ ชนไม่รู้สึกโลภะนั้นอันเกิดแล้ว

ในภายในว่าเป็นภัย คนโลภย่อมไม่รู้

ประโยชน์นี้ ย่อมไม่เห็นธรรม โลภะย่อม

ครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ

ย่อมมีในขณะนั้น ก็ผู้ใดละความโลภได้

ขาด ย่อมไม่โลภในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง

ความโลภ ความโลภอันอริยมรรคย่อมละ

เสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบเหมือนหยดน้ำ

ตกไปจากใบบัวฉะนั้น.

โทสะให้เกิดความฉิบหาย โทสะทำ

จิตให้กำเริบ ชนไม่รู้จักโทสะนั้นอันเกิด

ในภายในว่าเป็นภัย คนโกรธย่อมไม่รู้จัก

ประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โทสะย่อม

ครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ

ย่อมมีในขณะนั้น ก็บุคคลใดละโทสะได้

ขาด ย่อมไม่ประทุษร้ายในอารมณ์เป็นที่

ตั้งแห่งความประทุษร้าย โทสะอันอริย-

มรรคย่อมละเสียได้จากบุคคลนั้น เปรียบ

เหมือนผลตาลสุกหลุดจากขั้วฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 541

โมหะให้เกิดความฉิบหาย โมหะ

ทำจิตให้กำเริบ ชนไม่รู้สึกโมหะนั้นอัน

เกิดในภายในว่าเป็นภัย คนหลงย่อมไม่

รู้จักประโยชน์ ย่อมไม่เห็นธรรม โมหะ

ย่อมครอบงำนรชนในขณะใด ความมืดตื้อ

ย่อมมีในขณะนั้น บุคคลใดละโมทะ

ได้ขาด ย่อมไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้ง

แห่งความหลง บุคคลนั้นย่อมกำจัดความ

หลงได้ทั้งหมด เปรียบเหมือนพระอาทิตย์

อุทัยจัดมืดฉะนั้น.

จบมูลสูตรที่ ๙

อรรถกถามลสูตร

ในมลสูตรที่สูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

อนฺตรา ศัพท์ ในบทว่า อนฺตรามลา นี้ มาในเหตุ เช่นใน

ประโยคมีอาทิว่า

ชนทั้งหลาย ย่อมประชุมสนทนา

กันที่ฝั่งแม่น้ำ ในโรงที่พัก ในสภา และ

ในถนน ส่วนเราและท่าน มีอะไรเป็นเหตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 542

มีมาในขณะเช่นในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หญิง

คนใดคนหนึ่ง กำลังล้างภาชนะอยู่ ได้เห็นข้าพระองค์ในขณะฟ้าแลบ ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง มีมาในช่อง เช่นในประโยคมีอาทิว่า ธารน้ำร้อน ไหลมาจาก

ช่องนรกใหญ่ ๒ ขุม. มีมาในผ้าห่ม เช่นในประโยคมีอาทิว่า

ดูก่อนนางเทพธิดา ผู้มีผ้านุ่งผ้าห่ม

และธงอันล้วนแล้วแต่สีเหลือง ประดับ-

ประดาด้วยเครื่องอลังการสีเหลือง เธอถึง

จะไม่ได้ตกแต่งด้วยผ้าสีเหลืองเลยก็งดงาม

ตามธรรมชาติ.

มีมาในจิต เช่นในประโยคมีอาทิว่า จิตของผู้ใดไม่มีความกำเริบ ดังนี้.

แม้ในที่นี้ พึงทราบว่า อันตราศัพท์ได้ความหมายว่า ในจิตนั่นเอง เพราะฉะนั้น

อกุศลธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อนฺตรา เพราะมีอยู่ในภายใน คือจิต. ชื่อว่า

เป็นมลทิน เพราะทำความมัวหมองให้แก่สันดานที่มันเกิดขึ้น.

ขึ้นชื่อว่า มลทิน ในบทว่า อนฺตรามลา นั้นมี ๒ อย่างคือ

มลทินของร่างกาย ๑ มลทินของใจ ๑ ในมลทิน ๒ อย่างนั้น มลทินของ

ร่างกาย ได้แก่ เหงื่อไคลเป็นต้น เกิดแล้วในร่างกาย และลอองธุลีที่ปลิวมา

จับอยู่ในร่างกายนั้น มลทินนั้น จะนำออกไปได้ก็ด้วยน้ำ (แต่) สังกิเลส

หาเป็นเช่นนั้นไม่ แต่ (เพราะ) สังกิเลสมีราคะเป็นต้น ที่เป็นมลทินของจิต

จะนำออกไปได้ด้วยพระอริยมรรคเท่านั้น. สมจริงดังที่พระโบราณาจารย์กล่าว

คำนี้ไว้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นมหาฤษี

นี้ได้ตรัสไว้ว่า เมื่อรูปเศร้าหมองแล้ว คน

ทั้งหลายก็จะเศร้าหมอง เมื่อรูปบริสุทธิ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 543

แล้ว คนทั้งหลายก็จะบริสุทธิ์ แต่พระผู้-

แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ตรัสไว้ว่า เมื่อจิต

เศร้าหมองแล้ว คนทั้งหลายจะเศร้าหมอง

เมื่อจิตบริสุทธิ์แล้ว คนทั้งหลายก็จะ

บริสุทธิ์.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัตว์ทั้งหลายจะเศร้าหมอง เพราะจิตเศร้าหมอง จะบริสุทธิ์ เพราะจิตผ่องแผ้ว

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงว่า พึงปฏิบัติเพื่อชำระ

มลทินแห่งจิต จึงตรัสไว้ในพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มลทินแห่งจิต

เหล่านี้มี ๓ อย่างดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสว่า ก็อกุศลมลมีโลภะเป็นต้น เหล่านี้

เกิดขึ้นแล้วในจิตของสัตว์ทั้งหลาย จะทำความเศร้าหมองให้ คือจะเสริมสร้าง

ความเศร้าหมองนานัปการ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นมลทินของใจ ฉันใด

โลภะเป็นต้นเหล่านั้น ก็ฉันนั้น ครั้นเกิดขึ้นในสัตว์นั่นเอง จะนำอนัตถะ

นานาชนิดมาให้ จะให้เกิดทุกข์นานัปการแก่สัตว์ทั้งหลาย เหมือนอมิตร และ

ศัตรู ที่กินร่วมกัน นอนร่วมกัน ก็คอยหาโอกาสอยู่ฉะนั้น จึงตรัสคำมีอาทิ

ไว้ว่า อนฺตรา อมิตฺตา ดังนี้.

ในบรรดาอมิตรเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า อมิตร เพราะตรงข้ามกับมิตร

ชื่อว่าเป็นศัตรู เพราะทำหน้าที่ของศัตรู ชื่อว่าเป็นเพชฌฆาต เพราะเบียดเบียน

ชื่อว่าเป็นข้าศึก เพราะเป็นข้าศึกโดยตรง. ในบทว่า อนฺตรา อมิตฺตา นั้น

พึงทราบความที่กิเลสมีโลภะเป็นอาทิ เป็นอมิตรเป็นต้น โดยอาการ ๒ อย่าง

อธิบายว่า บุคคลผู้มีเวร เมื่อได้โอกาสก็จะตัดศีรษะของคู่เวรด้วยศาสตราบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 544

ยังอนัตถะอย่างใหญ่หลวงให้เกิดขึ้นโดยอุบายบ้าง. และโลภะเป็นต้นเหล่านี้

จะยังอนัตถะเช่นนั้น หรือมีกำลังมากกว่านั้นให้เกิดขึ้นโดยการตัดรอนศีรษะ

คือปัญญา ๑ โดยการมอบกำเนิดให้ ๑. อย่างไร ? อธิบายว่า เมื่ออิฏฐารมณ์

เป็นต้นมาสู่คลองในจักษุทวาร ความโลภเป็นต้นจะปรารภอิฏฐารมณ์เป็นต้น

เหล่านั้นเกิดตามควร. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ศีรษะคือปัญญาของเรา ก็จะชื่อว่า

ถูกบั่นทอนแล้ว แม้ในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยนี้เหมือนกัน. พึงทราบความ

คล้ายคลึงกันแห่งอมิตรเป็นต้น โดยการบั่นทอนศีรษะคือปัญญา ด้วยประการ

ดังพรรณนามานี้ก่อน. แต่โลภะเป็นต้น ที่เป็นอกุศลมีกรรมเป็นเหตุ จะนำ

เข้าไปสู่กำเนิดทั้ง ๔ มีอัณฑชะกำเนิดเป็นต้นเป็นประเภท ภัยอย่างใหญ่หลวง

๒๕ ประการ ที่มีการเข้าไปสู่กำเนิดเป็นมูล และกรรมกรณ์ ๓๒ ประการ จะมา

ถึงเขาทีเดียว. ความคล้ายคลึงกันแห่งอมิตรเป็นต้น ของกิเลสมีโลภะเป็นต้น

เหล่านั้น พึงทราบแม้โดยการมอบกำเนิด ๔ ให้โดยประการอย่างนี้ ดังนั้นจึง

เป็นอันว่า โลภะเป็นต้น พระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว ด้วยคำมีอาทิว่า อนฺตรา

อมิตฺตา เพราะความคล้ายคลึงกันแห่งอมิตรเป็นต้น และเพราะเป็นธรรมที่

เกิดขึ้นในจิต. อีกอย่างหนึ่ง ความโลภเป็นต้น ย่อมกระทำได้ ซึ่งสิ่งที่อมิตร

ไม่ลามารถจะกระทำได้ และความเป็นอมิตรเป็นต้นก็เกิดจากความโลภเป็นต้น

เพราะฉะนั้น พึงทราบความที่อกุศลธรรมเหล่านั้นเป็นอมิตรเป็นต้น. สมจริง

ดังที่ตรัสไว้ว่า

จอมโจร เห็นจอมโจร หรือคู่เวร

เห็นคู่เวร แล้วพึงกระทำความพินาศอันใด

ให้กัน จิตที่ตั้งไว้ผิด พึงทำให้เขาเลวร้าย

ไปยิ่งกว่านั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 545

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ ความโลภ ชื่อว่า อนตฺถ-

ชนโน เพราะยังอนัตถะให้เกิดขึ้นแก่ตนและผู้อื่น. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า คน

โลภ ก่อกรรมแม้ใดด้วยกายวาจาใจ แม้กรรมนั้นก็เป็นอกุศล คนโลภ ถูกความ

โลภครอบงำแล้ว มีจิตถูกความโลภกลุ้มรุมแล้ว ย่อมก่อให้เกิดทุกข์เเก่ผู้อื่น

โดยไม่เป็นจริง ด้วยการฆ่า ด้วยการจองจำ ด้วยการให้เสื่อมเสีย ด้วยการ

ติเตียน หรือด้วยการขับไล่ ด้วยการอวดอ้างว่า ฉันเป็นคนมีกำลัง ตั้งอยู่ใน

กำลัง แม้ใด แม้ข้อนั้นก็เป็นอกุศล อกุศลธรรมอันลามกเป็นอันมาก ที่เกิดจาก

ความโลภ มีความโลภเป็นเหตุ มีความโลภเป็นแดนเกิด มีความโลภเป็นปัจจัย

เหล่านี้ ย่อมเกิดมีแก่บุคคลนั้น ด้วยประการฉะนี้. แม้คำอื่นก็ตรัสไว้มีอาทิว่า

ดูก่อนพราหมณ์ ผู้ที่กำหนัดแล้วแล ถูกราคะครอบงำแล้ว มีจิตถูกราคะกลุ้มรุม

แล้ว คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเพื่อเบียด-

เบียนตนเองและผู้อื่นบ้าง ย่อมเสวยทุกข์ โทมนัส แม้ทางใจ ดังนี้.

บทว่า จิตฺตปฺปโกธโน ความว่า ยังจิตให้สะเทือน อธิบายว่า

ความโลภเมื่อเกิดขึ้นในวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความโลภ จะยังจิตให้สะเทือน

ให้หวั่นไหว ให้เปลี่ยนแปลงไป ให้ถึงความพิการเกิดขึ้นไม่ให้เป็นไปด้วย

สามารถแห่งความเลื่อมใสเป็นต้น. บทว่า ภยมนิตรโต ชาต ต ชโน

นาวพุชฺฌติ ความว่า พาลมหาชนนี้ จะไม่รู้สึก คือไม่รู้จัก สิ่งนั้นกล่าวคือ

โลภะ. ที่เกิดขึ้นในระหว่าง คือในภายใน ได้แก่ ในจิตของตนนั่นเอง ว่าเป็นภัย

คือเป็นเหตุแห่งภัย มีการเกิดอนัตถะ และความกำเริบแห่งจิตเป็นต้น. บทว่า

ลุทฺโธ อตฺถ น ชานาติ ความว่า คนผู้โลภแล้ว ย่อมไม่รู้อัตถะ คือ

ประโยชน์เกื้อกูล มีประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นเป็นต้น ตามความจริง.

บทว่า ธมฺม น ปสฺสติ ความว่า คนผู้โลภแล้ว คือถูกความโลภครอบงำแล้ว

มีจิตถูกความโลภกลุ้มรุมแล้ว ย่อมไม่เห็น คือไม่รู้โดยประจักษ์ แม้ซึ่งธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 546

อันเป็นทางแห่งกุศลกรรมบถ ๑๐ จะป่วยกล่าวไปไยถึงจะได้เห็นอุตตริมนุสส-

ธรรม (ธรรมอันยอดเยี่ยมของมนุษย์). แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสคำมี

อาทิไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ คนผู้กำหนัดแล้วแล อันราคะครอบงำแล้ว มีจิตถูก

ราคะกลุ้มรุมแล้ว ย่อมไม่รู้ประโยชน์ตน ตามความจริงบ้าง ย่อมไม่รู้ประโยชน์

ผู้อื่นตามความจริงบ้าง ย่อมไม่รู้ทั้งประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นทั้งสอง

อย่างตามความจริงบ้าง ดังนี้.

บทว่า อนฺธตม ได้แก่ ความมืดอันกระทำความบอด. บทว่า ย

เท่ากับ ยตฺถ แปลว่า ในที่ใด. จริงอยู่ ก็บทว่า ย นี้ เป็นปฐมาวิภัตติ

ใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ อธิบายว่า ในเวลาใด ความโลภครอบงำ คือหุ้มห่อ

นรชน ในเวลานั้น จะมีความมืดมน อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ย เป็นตติยาวิภัตติ

มีการประกอบความว่า เพราะเหตุทีความโลภ เมื่อเกิดขึ้น ย่อมครอบงำ คือ

หุ้มห่อนรชน ฉะนั้นเมื่อนั้นจะมีความมืดมน ดังนี้ เพราะ ย ต ศัพท์

มีความเกี่ยวเนื่องกันโดยส่วนเดียว. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ย เป็นกิริยาปรามาส.

ในบทว่า โลโภ สหเต นี้มีความว่า การครอบงำ คือการเผชิญแห่งโลภะ

นี้ใด อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้ว การครอบงำ คือการเผชิญนี้นั้น

คือการดำเนินไป ได้แก่ การเกิดขึ้นแห่งความมืด อันกระทำความบอด.

อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ความโลภ ย่อมครอบงำ คือเผชิญ

นรชนใด ในเวลานั้น ความมืดบอด ย่อมมีแก่นรชนนั้น และต่อแต่นั้น

คนโลภแล้ว ย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภแล้ว ย่อมไม่เห็นธรรม.

บทว่า โย จ โลภ ปหนฺตฺวาน ความว่า ในชั้นต้น บุคคลผู้ใด

ละโลภะได้ด้วยสมถวิปัสสนาตามสมควร ด้วยสามารถแห่งตทังคปหาน และ

วิกขัมภนปหาน แล้วจะไม่โลภในรูปเป็นต้น ที่เป็นทิพย์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 547

โลภที่ปรากฏแล้ว ด้วยอานุภาพแห่งวิปัสสนาที่มีกำลัง เพราะเหตุที่ละได้

อย่างนั้น. บทว่า โลโภ ปหียเต ตมฺหา ความว่า ความโลภอันอริยมรรค

ละได้ คือสลัดไปได้ ได้แก่ สละไปโดยส่วนเดียวจากพระอริยบุคคลนั้น.

เหมือนอะไร ? บทว่า อุทพินฺทุว โปกฺขรา ความว่า เหมือนหยาดน้ำ

ที่กลิ้งออกจากใบบัว. แม้บรรดาคาถาที่เหลือ ก็พึงทราบความตามนัยนี้.

อนึ่ง พึงทราบความที่โทสะให้เกิดอนัตถะ และความที่โทสะเป็นเหตุ

แห่งความเสื่อมประโยชน์ ตามแนวแห่งสุตตบท ที่มาแล้วโดยนัย มีอาทิว่า

ผู้ที่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว ทำกรรมแม้ใดด้วยกาย วาจา และใจ แม้กรรมนั้นก็

เป็นอกุศล ผู้ที่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว อันโทสะครอบงำแล้ว มีจิตถูกโทสะ

กลุ้มรุมแล้ว ยังทุกข์แม้ใดให้เกิดแก่ผู้อื่น โดยไม่เป็นจริง ด้วยการฆ่า

การจองจำ ด้วยการให้เสื่อมเสีย ด้วยการติเตียน หรือด้วยการขับไล่ว่า ฉัน

มีกำลัง ฉันตั้งอยู่ในกำลังดังนี้ แม้ทุกข์นั้นก็เป็นอกุศล อกุศลธรรมทั้งหลาย

ที่ลามก มากอย่างที่เกิดแต่โทสะ มีโทสะเป็นเหตุ มีโทสะเป็นสมุทัย มีโทสะ

เป็นปัจจัยเหล่านี้ จะเกิดมีขึ้นแก่เขาดังนี้. อนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์ ผู้อันโทสะ

ประทุษร้ายแล้วแล อันโทสะครอบงำแล้ว ผู้มีจิตอันโทสะหุ้มห่อแล้ว คิด

เพื่อเบียดเบียนคนบ้าง คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเพื่อเบียดเบียนทั้งตน

และผู้อื่นบ้าง เสวยทุกข์ โทมนัส ทางใจบ้าง ดังนี้ อนึ่ง ดูก่อนพราหมณ์

ผู้ที่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้วแล ถูกโทสะครอบงำแล้ว ผู้มีจิตอันโทสะหุ้มห่อ

แล้ว ย่อมไม่รู้ประโยชน์ตนตามเป็นจริงบ้าง ไม่รู้ประโยชน์ผู้อื่นตามความ

เป็นจริงบ้าง ไม่รู้ประโยชน์ทั้งสองอย่าง ตามความเป็นจริงบ้าง ดังนี้.

อนึ่ง พึงทราบความที่โมหะ ให้เกิดอนัตถะ และความที่โมหะเป็น

เหตุแห่งความเสื่อมจากประโยชน์ ตามแนวแห่งสุตตบท ที่มาแล้วโดยนัยมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 548

อาทิว่า ผู้หลงแล้ว ทำกรรมแม้ใดด้วย กาย วาจา ใจ ดังนี้ และโดยนัย

มีอาทิว่า ดูก่อนพรหมณ์ ผู้หลงแล้วแล ถูกโมหะครอบงำแล้ว ผู้มีจิตถูก

โมหะหุ้มห่อแล้ว คิดเพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง ดังนี้ และโดยนัยมีอาทิว่า

ผู้หลงลืม ย่อมไม่รู้ประโยชน์ตน ตามความเป็นจริงบ้าง ดังนี้.

บทว่า ตาลปกฺกว พนฺธนา ความว่า โทสะอันพระโยคาวจร

นั้นละได้ คือสลัดออกได้จากจิต เพราะการเกิดขึ้นแห่งมรรคญาณที่ ๓ เหมือน

ผลตาลหล่นจากขั้ว เพราะไออุ่นเกิดขึ้น. บทว่า โมห วิหนฺติ โส สพฺพ

ความว่า พระอริยบุคคลนั้น ฆ่า คือกำจัด ได้แก่ ตัดขาดซึ่งโมหะทั้งหมด

คือไม่ให้เหลือด้วยมรรคที่ ๔. บทว่า อาทิจฺโจ วุทย ตม ความว่า

เหมือนพระอาทิตย์ อุทัย คือโผล่ขึ้น กำจัดความมืด คือ อันธการ ฉะนั้น.

จบอรรถกถามลสูตรที่ ๙

๑๐. เทวทัตตสูตร

ว่าด้วยพระเทวทัตเยียวยาไม่ได้เพราะอสัทธรรม ๓

[๒๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัตผู้อันอสัทธรรม ๓ ประการ

ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยา

ไม่ได้ อสัทธรรม ๓ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเทวทัต

ผู้อันความเป็นผู้มีความปรารถนาลามกครองงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย

เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้ พระเทวทัตผู้อันความเป็นผู้มีมิตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 549

ชั่วครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็นผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียว

ยาไม่ได้ ก็เมื่อมรรคและผลที่ควรการทำให้ยิ่งมีอยู่ พระเทวทัตถึงความพินาศ

เสียในระหว่าง เพราะการบรรลุคุณวิเศษมีประมาณเล็กน้อย ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย พระเทวทัตผู้อันอสัทธรรม ๓ ประการนี้แล ครอบงำย่ำยีจิตแล้ว เป็น

ผู้เกิดในอบาย เกิดในนรก ตั้งอยู่ตลอดกัป เยียวยาไม่ได้.

ขอใคร ๆ อย่าได้เป็นผู้มีความ

ปรารถนาลามก อุบัติในโลกเลย คติของ

บุคคลผู้มีความปรารถนาลามกเช่นไรท่าน

ทั้งหลายจงรู้คติเช่นนั้นด้วยเหตุแม้นี้ เรา

ได้สดับมาแล้วว่า พระเทวทัต โลกรู้กัน

ว่า เป็นบัณฑิต ยกย่องกันว่า มีตนอัน

อบรมแล้ว ดุจรุ่งเรืองอยู่ด้วยยศ ดำรงอยู่

แล้ว พระเทวทัตนั้นประพฤติตามความ

ประมาท เบียดเบียนพระตถาคตพระองค์

นั้น ถึงอเวจีนรกอันมีประตู ๔ น่าพึงกลัว

ก็ผู้ใดพึงประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษ

ร้ายผู้ไม่กระทำกรรมอันลามก ผลอันลามก

ย่อมถูกต้องผู้นั้นแล ผู้มีจิตประทุษร้าย ผู้

ไม่เอื้อเฟื้อ ผู้ใดพึงสำคัญสมุทรว่าจะประ-

ทุษร้ายได้ด้วยหม้อยาพิษ (หม้อเดียว) ผู้

นั้นพึงประทุษร้ายด้วยหม้อยาพิษนั้นไม่ได้

เพราะว่าสมุทรที่น่ากลัว ใหญ่มากฉันใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 550

ผู้ใดย่อมเบียดเบียนพระตถาคต ผู้ดำเนิน

ไปโดยชอบมีจิตสงบระงับ ด้วยความ

ประทุษร้าย ความประทุษร้ายย่อมไม่งอก

งามในพระตถาคตพระองค์นั้น ฉันนั้น

ภิกษุผู้ดำเนินไปตามทางของพระพุทธเจ้า

หรือของพระสาวก ของพระพุทธเจ้าใด

พึงถึงความสิ้นไปแห่งทุกข์ ภิกษุผู้เป็น

บัณฑิต พึงกระทำ ผู้เช่นนั้น ให้เป็น

มิตร และพึงส้องเสพผู้นั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพ-

เจ้าได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบเทวทัตตสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๔

อรรถกถาเทวทัตตสูตร

ในเทวทัตตสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในพระสูตร มีอาทิว่า ตีหิ ภิกฺขเว อสทฺธมฺเมหิ อภิภูโต

มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร.

มีเรื่องพิสดารว่า เนื้อพระเทวทัต ตกอเวจีมหานรกแล้ว ภิกษุผู้เป็น

พวกของพระเทวทัต และพวกอัญญเดียรดีย์ทั้งหลาย ได้พากันโพนทะนาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 551

พระเทวทัตถูกพระสมณโคดมสาปแช่ง จึงถูกแผ่นดินสูบ. คนทั้งหลายได้ฟังดัง

นั้นแล้ว พวกไม่เลื่อมใสในพระศาสนา เกิดความสงสัยขึ้นว่า ข้อนี้จะพึงเป็น

เหมือนที่คนทั้งหลายพูดหรือไม่. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลพฤติการณ์นั้น แด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะตรัสปฏิเสธความเข้าใจ

ผิดของคนเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตไม่ให้การสาปแช่งแก่ใคร ๆ

เพราะฉะนั้น พระเทวทัตจึงไม่ใช่ถูกเราตถาคตสาปแช่ง พระเทวทัตตกนรก

โดยกรรมของตนนั่นแหละ ดังนี้ จึงตรัสพระสูตรนี้โดยเป็นเหตุเกิดแห่งเรื่องนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสทฺธมฺเมหิ ได้แก่ธรรมของอสัตบุรุษ.

บทว่า อเตกิจฺโฉ ความว่า เยียวยาไม่ได้ อธิบายว่า แก้ไขไม่ได้ เพราะ

การเกิดในอเวจี ไม่มีการแก้ไข เหตุที่พระเทวทัตเป็นผู้ไม่ควรที่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายจะให้กลับใจ. พระเทวทัต ชื่อว่า ปาปิจฺโฉ เพราะมีความปรารถนา

ลามกเป็นไป โดยประสงค์จะประกาศคุณความดี (ของตน) ที่ไม่มีอยู่. ภาวะ

ของผู้มีความปรารถนาลามกนั้น ชื่อว่า ปาปิจฺฉตา. ถูกความปรารถนาลามก

นั้น (ครอบงำแล้ว). พระเทวทัตนั้นเกิดความปรารถนาขึ้นว่า เราจักเป็น

พระพุทธเจ้า เราจักปกครองหมู่สงฆ์. พระเทวทัตชื่อว่า มิตรเลวทราม

เพราะมีมิตรเลวทราม คือลามก มีพระโกถาลิกะเป็นต้น. ภาวะของผู้มีมิตร

ลามกนั้น ชื่อว่า ปาปมิตฺตตา. ถูกความเป็นผู้มีมิตรลามกนั้นครอบงำแล้ว.

บทว่า อุตฺตริกรณีเย ความว่า เมื่อมรรคผลอันเป็นกรณียกิจเบื้องสูง อัน

บุคคลพึงบรรลุด้วยฌานและอภิญญา อันตนยังไม่ได้บรรลุแล้วมีอยู่ อธิบายว่า

ยังไม่ได้บรรลุมรรคผลนั้น ด้วยอาการอย่างนั้น. บทว่า โอรมตฺตเกน

ความว่า เพียงเล็กน้อย คือเพียงฌานและอภิญญาเท่านั้น. บทว่า วิเสสา-

ธิคเมน ความว่า เพราะบรรลุอุตตริมนุสสธรรม. บทว่า อนฺตรา แปลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 552

ในท่ามกลาง. บทว่า โวสาน อาปาทิ ความว่า ยังไม่เสร็จกิจเลย แต่

สำคัญว่า เราเสร็จกิจแล้ว จึงถึงความพินาศจากสมณธรรม.

ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

ประกาศโทษในความเป็นปุถุชนโดยพิเศษด้วยพระสูตรนี้ว่า ความเป็นปุถุชน

ของเขาหนักเพราะเหตุที่จะยังสมบัติ มีฌาน และอภิญญาเป็นที่สุดให้เกิดขึ้นได้

แต่ก็ยังละเหตุแห่งทุกข์มีอย่างต่างๆ อันจะนำอนัตถะมาให้มิใช่น้อย การอวดคุณ

ความดีที่ไม่มีอยู่ การคบหาอสัตบุรุษ และการประกอบความเกียจคร้านเนือง ๆ

ไม่ได้จักได้ประสบโทษที่แก้ไขไม่ได้ ตั้งอยู่ตลอดกัป ในอเวจีมหานรก ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. ศัพท์ว่า มา เป็นนิบาต

ใช้ในอรรถว่าปฏิเสธ. บทว่า ชาตุ แปลว่า โดยส่วนเดียว. บทว่า โกจิ

เป็นคำเรียกรวมทั้งหมด. บทว่า โลกสฺมึ ได้แก่ ในสัตวโลก. ท่านอธิบาย

ไว้ว่า ขอบุคคลไรๆ ในสัตวโลกนี้ อย่าได้มีความปรารถนาลามกโดยส่วนเดียว.

บทว่า ตทิมินาปิ ชานาถ ปาปิจฺฉาน ยถา คติ ความว่า คติอย่างไร

คือความสำเร็จอย่างไร ได้ผลในภายหน้าเช่นใด ของบุคคลผู้มีความปรารถนา

ลามก เธอทั้งหลายจงรู้คตินั้น แม้ด้วยเหตุนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงอ้างพระเทวทัตเป็นตัวอย่าง จึงตรัสอย่างนี้.

บทว่า ปณฺฑิโตติ สมญฺาโต ความว่า ที่รู้กันว่าเป็นบัณฑิต

เพราะเป็นคนคงแก่เรียน. บทว่า ภาวิตตฺโตติ สมฺมโต ความว่า ที่ยกย่อง

กันว่ามีตนอันอบรมแล้ว ด้วยฌานและอภิญญาทั้งหลาย. จริงอย่างนั้น พระ-

เทวทัตนั้น ในชั้นต้นได้เป็นผู้ที่แม้พระธรรมเสนาบดีก็สรรเสริญว่า เป็น

โคธิบุตร ผู้มีฤทธิ์มาก เป็นโคธิบุตร ผู้มีอานุภาพมาก. บทว่า ชลว ยสสา

อฏฺา เทวทตฺโตติ วิสฺสุโต ความว่า ได้มีชื่อระบือ คือปรากฏอย่างนี้ว่า

พระเทวทัตเป็นเหมือนรุ่งเรื่อง เป็นเหมือนเด่นอยู่ ดำรงอยู่แล้ว ด้วยเกียรติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 553

และบริวารของตน. ปาฐะว่า เม สุต ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ข้าพเจ้าได้ฟังแล้ว

คือเพียงได้ฟังมาได้แก่ การที่พระเทวทัตเป็นบัณฑิตเป็นต้นนั้น เป็นเพียงที่

ข้าพเจ้าฟังมาเท่านั้น เพราะพระเทวทัตเป็นอย่างนั้น โดยสองสามวันเท่านั้น.

บทว่า โส ปมาทมนุจิณฺโณ อาสชฺช น ตถาคต ความว่า

พระเทวทัตนั้นเป็นอย่างนี้ ไม่รู้ประมาณของตน ถึงความประมาท โดยแต่งตั้ง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้เสมอกับตน ว่า ถึงพระพุทธเจ้าจะเป็นศากยบุตร แม้

เราก็เป็นศากยบุตร ถึงพระพุทธเจ้าจะเป็นพระสมณะ แม้เราก็เป็นพระสมณะ

ถึงพระพุทธเจ้าจะเป็นผู้มีฤทธิ์ แม้เราก็เป็นผู้มีฤทธิ์ ถึงพระพุทธเจ้าจะมี

ทิพจักษุ แม้เราก็มีทิพจักษุ ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะมีทิพโสต แม้เราก็มีทิพโสต

ถึงแม้พระพุทธเจ้าจะได้เจโตปริยญาณ แม้เราก็ได้เจโตปริยญาณ ถึงแม้

พระพุทธเจ้าจะรู้ธรรมที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน แม้เราก็รู้ธรรม

เหล่านั้น ดังนี้ กระทบกระทั่ง เบียดเบียนพระตถาคตเจ้า เพราะถูกมาร

ดลใจ (ให้ฮึกเหิม) ว่าบัดนี้ เราจักเป็นพระพุทธเจ้า เราจักบริหารภิกษุสงฆ์.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปมาทมนุชิโน ดังนี้บ้าง. คำนั้นก็มีใจความว่า

เมื่อถึงความประมาทตามนัยที่กล่าวแล้ว อาศัยความประมาท เสื่อมคลายจาก

ฌานและอภิญญา พร้อมกับจิตตุปบาทที่วางตนคู่กัน (ตีเสมอ) พระพุทธเจ้า

ทีเดียว. บทว่า อวีจินิรย ปตฺโต จตุทฺวาร ภยานก ความว่า ถึงนรก

ใหญ่ที่ได้นามว่า อเวจี เพราะเปลวไฟ หรือสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น มีอยู่เป็น

นิรันดร ชื่อว่า มี ๔ ประตู เพราะประกอบด้วยประตูใหญ่ ๔ ประตู ในด้าน

ทั้ง ๘ อันน่ากลัวยิ่งนัก ด้วยสามารถแห่งการถือปฏิสนธิ. สมดังทีพระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 554

(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย) ก็มหานรก

นั้น มี ๔ มุม ๔ ประตู แยกออกเป็นห้อง ๆ

มีกำแพงเหล็กเป็นขอบเขต ครอบด้วย

ฝาเหล็ก มีพื้นปูด้วยเหล็ก ไฟลุกโชน

ประกอบด้วยเปลว แผ่ไปไกล ๑๐๐ โยชน์

โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ ดังนี้.

บทว่า อทุฏสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตไม่ถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว. บทว่า

ทุพฺเภ ได้แก่ ทุสฺเสยฺย (แปลว่า พึงประทุษร้าย). บทว่า ตเมว ปาป

ผุสติ ความว่า ผลชั่ว คือ ผลของบาปที่ต่ำทราม จะถูกต้องคือถึง ได้แก่

ครอบงำคนเลวทราม ผู้ประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้ายนั้นนั่นแหละ. บทว่า

เภสฺมา ความว่า ทะเลเป็นเสมือนให้คนกลัว เพราะความกว้างและความลึก

อธิบายว่า ทั้งกว้างทั้งลึก. บทว่า วาเทน ได้แก่ด้วยโทสะ. บทว่า วิหึสติ

ความว่า เบียดเบียน คือ รุกราน. บทว่า วาโท ตมฺหิ น รูหติ ความว่า

โทสะที่ผู้อื่นปลูกฝังในพระตถาคตเจ้านั้น จะไม่งอกขึ้นคือจะไปตั้งอยู่ อธิบาย

ว่า จะไปให้เกิดความพิการ (ความกระเทือนพระทัย) แก่พระองค์ เหมือน

หม้อยาพิษ (หม้อเดียว) จะทำให้เกิดความแปรเปลี่ยนแก่สมุทรหาได้ไม่

ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่า พระเทวทัตเป็นผู้ไม่พ้นไป

จากทุกข์ ด้วยการทรงแสดงว่า พระเทวทัตผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลามก

เป็นต้น ได้เข้าถึงนรกแล้ว ด้วยคาถา ๖ คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะ

ทรงแสดงเหตุสิ้นทุกข์ ของผู้ประกอบด้วยธรรมที่ตรงกันข้ามกับความปรารถนา

ลามกนั้น จึงได้ตรัสคาถาสุดท้ายไว้ว่า ตาทิส มิตฺต เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 555

พระคาถาสุดท้ายมีเนื้อความว่า ภิกษุเดินตามทาง คือดำเนินตาม

ทางเดินของผู้ใดที่ปฏิบัติชอบแล้ว ได้แก่ปฏิบัติโดยชอบแล้ว จะพึงถึงความ

สิ้นไป คือความสิ้นสุดแห่งวัฏทุกข์ทั้งสิ้น ด้วยการประกอบ ด้วยคุณความดี

มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตคือ ผู้มีปัญญาควรทำผู้เช่นนั้น

คือพระพุทธเจ้าหรือสาวกของพระพุทธเจ้า ให้เป็นมิตรของตน คือทำความ

สนิทสนมกับท่าน และควรคบหาสมาคม คือควรเข้าไปนั่งใกล้ท่านนั่นเอง.

จบอรรถกถาเทวทัตตสูตรที่ ๑๐

เป็นอันว่าในวรรคนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิวัฏฏะไว้ในสูตรที่ ๖

และที่ ๗ และตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้ในสูตรทั้งหลาย นอกจากนี้.

จบวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. วิตักกสูตร ๒. สักการสูตร ๓. สัททสูตร ๔. จวมานสูตร

๕. โลกสูตร ๖. อสุภสูตร ๗. ธรรมสูตร ๘. อันธการสูตร ๙. มลสูตร

๑๐. เทวทัตตสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 556

อิติวุตตกะ ติกนิบาต วรรคที่ ๕

๑. ปสาทสูตร

ว่าด้วยความเลื่อมใส ๓ ประการ

[๒๗๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-

สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้

๓ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ไม่มีเท้าก็ดี มี ๒ เท้าก็ดี

มี ๔ เท้าก็ดี มีเท้ามากก็ดี มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี

มีสัญญาก็มิใช่ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี มีประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เลิศกว่าสัตว์ประมาณเท่านั้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใส

ในบุคคลผู้เลิศ ก็และผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าผู้เลิศ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมก็ดี อสังขตธรรมก็ดี มีประมาณ

เท่าใด วิราคะ คือ ธรรมเป็นที่บรรเทาความเมา นำเสียซึ่งความระหาย

ถอนขึ้นด้วยดีซึ่งอาลัย ตัดซึ่งวัฏฏะ สิ้นไปแห่งตัณหา สิ้นกำหนัด ดับ นิพพาน

บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรมและอสังขตธรรมเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในวิราคธรรม ชนเหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรม

อันเลิศ ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในธรรมอันเลิศ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์

๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 557

สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าสังขตธรรม

เหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในธรรมคืออริยมรรค ชน

เหล่านั้นชื่อว่าเลื่อมใสในธรรมอันเลิศ ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใส

ในธรรมอันเลิศ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่ก็ดี คณะก็ดี มีประมาณเท่าใด หมู่สาวก

ของพระตถาคต คือ คู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศกว่าหมู่และ

คณะเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ ชนเหล่านั้น

ชื่อว่าเลื่อมใสในหมู่ผู้เลิศ ก็ผลอันเลิศย่อมมีแก่บุคคลผู้เลื่อมใสในพระสงฆ์

ผู้เลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสอันเลิศ ๓ ประการนี้แล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

เมื่อชนทั้งหลายเลื่อมใสแล้วใน

พระรัตนตรัยที่เลิศ โดยความเป็นของเลิศ

รู้แจ้งธรรมอันเลิศ เลื่อมใสแล้วในพระ-

พุทธเจ้าผู้เลิศ ซึ่งเป็นทักขิไณยบุคคลผู้

ยอดเยี่ยม เลื่อมใสแล้วในธรรมอันเลิศ

ซึ่งเป็นที่สิ้นกำหนัด และเป็นที่สงบ เป็น

สุข เลื่อมใสแล้วในพระสงฆ์ผู้เลิศ ซึ่ง

เป็นบุญเขตอย่างยอดเยี่ยม ถวายทานใน

พระรัตนตรัย ที่เลิศ บุญที่เลิศย่อมเจริญ

อายุ วรรณะ ยศ เกียรติคุณ สุขะและ

พละอันเลิศย่อมเจริญ นักปราชญ์ถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 558

ไทยธรรมแก่พระรัตนตรัยที่เลิศ ตั้งมั่นอยู่

ในธรรมอันเลิศแล้ว เป็นเทวดาหรือเป็น

มนุษย์ก็ตาม เป็นผู้ถึงควานเป็นผู้เลิศ

บันเทิงอยู่.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบปสาทสูตรที่ ๑

อรรถกถาปสาทสูตร

ในปสาทสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

อคฺค ศัพท์นี้ ในคำว่า อคฺคปฺปสาทา นี้ปรากฏ (ในความหมายว่า)

เบื้องต้น ที่สุด ส่วน และประเสริฐที่สุด. จริงอย่างนั้น อคฺค ศัพท์ นี้

ปรากฏในความหมายเบื้องต้น เช่น (ในประโยค) ว่าสหายผู้เฝ้าประตูเอ๋ย

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจะปิดประตูสำหรับนิครนถ์ และนิครันถีทั้งหลาย

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป (เรา) ถึง (พระรัตนตรัย) เป็นที่ระลึกตลอดชีวิต.

ปรากฏในความหมายที่สุด เช่นในประโยคมีอาทิว่า เอาปลายนิ้วนั้นนั่นแหละ

ลูบปลายนิ้วนั้น (และ) ปลายอ้อยและปลายไม้ไผ่. ปรากฏในส่วน เช่นใน

ประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนแห่งขาทนียโภชนียะที่มีรสเปรี้ยว

ก็ตาม ส่วนแห่งขาทนียโภชนียะที่มีรสหวานก็ตาม ส่วนแห่งขาทนียโภชนียะ

ที่มีรสขมก็ตาม เราตถาคตอนุญาตให้แจกแบ่งกัน ตามส่วนแห่งวิหาร หรือ

ตามส่วนแห่งบริเวณ. และปรากฏในความหมายว่า ประเสริฐที่สุด เช่นใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 559

ประโยคมีอาทิว่า ท่านผู้นี้ เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นผู้สูงสุด

เป็นผู้ล้ำเลิศ กว่าบุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ เราเป็นผู้ประเสริฐของชาวโลก.

แม้ในพระสูตรนี้ อคฺค ศัพท์นี้ พึงทราบว่า ปรากฏในความหมายประเสริฐ-

ที่สุดเท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ความเลื่อมใสในสิ่งที่ล้ำเลิศทั้งหลาย

คือสิ่งที่ประเสริฐสุด จึงชื่อว่าเป็นสิ่งที่ล้ำเลิศ หรือความเลื่อมใสที่เป็นสิ่ง

ประเสริฐสุด จึงชื่อว่าเป็นความเลื่อมใสที่ล้ำเลิศ. อนึ่ง ในความหมายอย่างก่อน

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพระรัตนตรัยมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นไว้ด้วยอัคคศัพท์.

ในสัตวโลกเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้ประเสริฐก่อน

โดยความหมายว่าไม่มีผู้เปรียบ โดยความหมายว่าเป็นผู้วิเศษ ด้วยคุณความดี

และโดยความหมายว่าไม่มีผู้เสมอเหมือน. จริงอยู่ พระองค์ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ

โดยความหมายว่า ไม่มีผู้เปรียบ เพราะทรงทำอภินิหารมามาก และการสั่งสม

บารมี ๑๐ ประการมาเป็นเบื้องต้น จึงไม่เป็นเช่นกับคนทั้งหลายที่เหลือ เพราะ

พระคุณคือพระโพธิสมภารเหล่านั้น และเพราะพุทธคุณทั้งหลาย. ชื่อว่าเป็น

ผู้ล้ำเลิศ เพราะเป็นผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ แม้โดยความหมายว่า เป็นผู้วิเศษ

ด้วยคุณความดี เพราะพระองค์มีพระคุณมีพระมหากรุณาคุณเป็นต้น ที่วิเศษ

กว่าคุณทั้งหลายของสรรพสัตว์ที่เหลือ. ชื่อว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ แม้โดยความหมายว่า

ไม่มีผู้เสมอเหมือน เพราะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้เอง เป็นผู้เสมอ

โดยพระคุณทางรูปกาย และพระคุณทางธรรมกายกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า-

ทั้งหลาย ในปางก่อน ผู้ไม่เสมอเหมือนกับสรรพสัตว์. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ท่านเรียกว่า เป็นผู้เลิศในโลก เพราะมีปรากฏการณ์ที่หาได้ยาก เพราะความ

เป็นอัจฉริยะ. เพราะนำมาซึ่งหิตสุขแก่คนหมู่มาก และเพราะความเป็นผู้ไม่เป็น

ที่สอง (ของใคร) และไม่มีใครเป็นสหาย (ร่วมคิด) เป็นต้น เช่นที่ตรัสไว้

ในปาฐะ (พระบาลี) ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 560

ผู้เป็นเอก หาได้ยากในโลก. บุคคลผู้เป็นเอกคือใคร ? คือ พระตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก

จะอุบัติขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก เมื่ออุบัติขึ้น

ในโลก จะอุบัติขึ้น เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก ฯลฯ บุคคลผู้เป็น

เอกนั้น คือ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก

เมื่อเกิดขึ้นในโลก จะเกิดขึ้น ไม่เป็นที่ ๒ (ของใคร) ไม่มีใครเป็นสหาย

(ร่วมคิด) ไม่มีผู้เทียบ ไม่มีผู้เทียม ไม่มีบุคคลเทียมทัน ไม่มีผู้เสมอ ไม่มี

ผู้เสมอเหมือน เป็นผู้ล้ำเลิศกว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นเอก (นั้น)

คือใคร คือพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. แม้พระธรรมและพระสงฆ์

ก็ชื่อว่าล้ำเลิศกว่าพระธรรมและพระสงฆ์เหล่าอื่น (ของลัทธิอื่น) โดยความ-

หมายว่า ไม่มีสิ่งเหมือนและผู้ละม้าย และโดยเป็นของมีปรากฏการณ์ที่หาได้ยาก

เพราะเป็นผู้มีคุณความดีพิเศษเป็นต้น. จริงอย่างนั้น พระธรรมและพระสงฆ์

เหล่าอื่น จะละม้ายหรือมีความเลวน้อยกว่าคุณวิเศษมีความที่พระธรรมเป็น

สวากขาตธรรม และความที่พระสงฆ์นั้นเป็นผู้ปฏิบัติดีเป็นต้น หามีไม่ คือ

จะเป็นผู้ประเสริฐสุดมาแต่ไหน. ก็แหละพระธรรมและพระสงฆ์ (ในพระ-

ศาสนานี้) ชื่อว่า ประเสริฐที่สุด กว่าพระธรรมและพระสงฆ์อื่นเหล่านั้น

เพราะเป็นธรรมและเป็นหมู่ที่มีคุณวิเศษในตัวเองนั่นแหละ. อนึ่ง พระธรรม

และพระสงฆ์เหล่านั้น เป็นเหตุนำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขมาให้ชนหมู่มาก

เพราะเป็นความเกิดขึ้นที่หาได้ยากและเป็นสิ่งที่น่าอัศจรรย์ และมีสภาพไม่เป็น

ที่ ๒ ของใคร และไม่มีใครเป็นสหาย (ร่วมคิด) เป็นต้น. แท้จริง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเป็นผู้มีความปรากฏที่หาได้ยาก เพราะธรรมที่ล้ำเลิศอันใด แม้

พระธรรมและพระสงฆ์ ก็เป็นผู้มีความปรากฏที่หาได้ยาก็เพราะธรรมที่ล้ำเลิศ

อันนั้น. แม้ในความเป็นอัจฉริยะเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ความเลื่อมใส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 561

ในสิ่งที่ล้ำเลิศ คือ สิ่งที่ประเสริฐ สูงสุด ที่บวร ได้แก่ สิ่งที่วิเศษด้วยคุณ

อย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัคคัปปสาทา (ความเลื่อมใสในสิ่งที่ล้ำเลิศ)

แต่ความเลื่อมใสที่เป็นของล้ำเลิศ เพราะเกิดขึ้นในพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ผู้ล้ำเลิศตามที่กล่าวมาแล้ว ในความหมายที่ ๒ ชื่อว่า เป็นความเลื่อมใสอัน-

ล้ำเลิศ. ส่วนชนเหล่าใด ดำเนินมาแล้ว ตามทางของพระอริยเจ้า มีความ

เลื่อมใสหยั่งลงแล้ว ความเลื่อมใสเหล่านั้น เป็นความเลื่อมใสล้ำเลิศโดยส่วน-

เดียวนั่นเอง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัคคัปปสาทา. ดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย อริยสาวกในพระศาสนานี้เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยความเลื่อมใสที่

หยั่งลงแล้วในพระพุทธเจ้าดังนี้เป็นต้น . อนึ่ง ความเลื่อมใสเหล่านี้ ชื่อว่า

เป็นความเลื่อมใสล้ำเลิศ เพราะมีผลล้ำเลิศบ้าง. สมจริงดังที่พระองค์ได้ตรัส

ไว้ว่า ก็เมื่อบุคคลเลื่อมใสในสิ่งที่เลิศแล้ว ผลเลิศก็จะมี.

บทว่า ยาวตา ความว่ามีประมาณเท่าใด. บทว่า สตฺตา ได้แก่

สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย. บทว่า อปาทา ได้แก่ หาเท้ามิได้. บทว่า ทฺวิปาทา

ได้แก่ มีเท้า ๒ เท้า. แม้ใน ๒ บทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. วา ศัพท์

เป็นสมุจจยัตถะ ไม่ใช่เป็นวิกัปปัตถะ (มีความหมายรวม ไม่ใช่แยกแปล

และไม่ใช่แปลว่าหรือ) เหมือนในคำนี้ว่า กามาสวะที่ยังไม่เกิดขึ้นจะเกิดขึ้นบ้าง

กามาสวะที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญขึ้นบ้าง มีความหมายว่า ยังไม่เกิดขึ้น และ

เกิดขึ้นแล้ว และในคำนี้ว่า เพื่อการดำรงอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายที่เป็นภูตบ้าง

เพื่ออนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลายที่เป็นสัมภเวสีบ้าง มีความหมายว่า ทั้งภูตและ

สัมภเวสี และในคำว่า จากไฟบ้าง จากน้ำบ้าง จากความแตกแยกมิตรสัมพันธ์

กันบ้าง มีความหมายว่า ทั้งจากไฟ ทั้งจากน้ำ และจากความแตกจาก

มิตรสัมพันธ์กัน ฉันใด แม้ในคำว่า อปาทา วา ฯเปฯ อคฺคมกฺขายติ

(ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ กล่าวว่าเลิศ) นี้ ก็ฉันนั้น พึงทราบความหมายด้วยอำนาจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 562

การรวมกันว่า ทั้งไม่มีเท้า ทั้งมี ๒ เท้า ด้วยเหตุนั้นข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า

วา ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ ไม่ใช่เป็นวิกัปปัตถะ. บทว่า รูปิโน วา ได้แก่

มีรูป. บทว่า อรูปิโน วา ได้แก่ ไม่มีรูป. บทว่า สญฺิโน วา ได้แก่

มีสัญญา ชื่อว่า ไม่มีสัญญา เพราะหาสัญญามิได้. สัตว์ทั้งหลายที่นับเนื่องใน

ภวัคพรหม ชื่อว่า มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระธรรมราชาทรงแสดงเท้าความถึงภพทั้ง ๙

โดยไม่มีเหลือ คือ กามภพ ๑ รูปภพ ๑ อรูปภพ เอกโวการภพ ๑ จตุโวการ-

ภพ ๑ ปัญจโวการภพ ๑ สัญญีภพ ๑ อสัญญีภพ ๑ เนวสัญญีนาสัญญีภพ ๑.

อธิบายว่า บรรดาภพทั้ง ๙ นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

กามภพ รูปภพ ปัญจโวการภพ เอกโวการภพไว้ด้วย รูป ศัพท์. ทรงแสดง

อรูปภพ จตุโวการภพ ไว้ด้วย อรูป ศัพท์. ส่วนสัญญีภพเป็นต้นทรงแสดงไว้

โดยสรุปนั่นเอง. ด้วยอปาทศัพท์เป็นต้น ทรงแสดงเอกเทศ (ส่วนหนึ่ง)

ของกามภพปัญจโวการภพและสัญญีภพ.

ถามว่า ก็เหตุไฉน ในที่นี้พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไปทรงทำการหมาย

เอาสัตว์ไม่มีเท้าเป็นต้น โดยไปทรงหมายเอาสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้นว่าเป็นผู้เลิศ

กว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย เหมือนในอทุติยสูตร (สูตรที่ว่าด้วยบุคคลเอกที่ไม่

เป็นที่ ๒ ของใคร) แต่ทรงหมายเอาสัตว์ไม่มีเท้าเป็นต้น ? ข้าพเจ้าจะกล่าวตอบ

ในอทุติยสูตร (สูตรว่าด้วยบุคคลอย่างเอกที่ไม่เป็นที่ ๒ ของใคร) ก่อน

พระองค์ทรงหมายเอาสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น ด้วยอำนาจที่เป็นผู้ประเสริฐกว่า

บุคคลผู้ชื่อว่าประเสริฐที่สุด เมื่อจะอุบัติขึ้นในโลกนี้ จะไม่อุบัติขึ้นในจำพวก

สัตว์ผู้ไม่มีเท้า หรือมี ๔ เท้า หรือมีมากเท้า แต่จะอุบัติขึ้นในจำพวกสัตว์ผู้มี

๒ เท้าเท่านั้น. ในสัตว์มี ๒ เท้าจำพวกไหน ? ในจำพวกมนุษย์และเทวดา

ทั้งหลายเท่านั้น. เมื่ออุบัติขึ้นในจำพวกมนุษย์ จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้าผู้ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 563

สามารถ ให้สัตวโลกทั้งมวลเป็นไปในอำนาจ (ของพระองค์) แต่ในอรรถกถา

อังคุตตรนิกาย ท่านกล่าวไว้ว่า ทรงสามารถให้สัตวโลกสามพันโลกธาตุเป็นไป

ในอำนาจ. เมื่ออุบัติขึ้นในจำพวกเทพจะอุบัติเป็นท้าวมหาพรหม ผู้ให้สัตว์

หมื่นโลกธาตุเป็นไปในอำนาจ ชนผู้เป็นกัปปิยการก หรืออารามิกชน ย่อมถึง

พร้อมแก่พระพุทธเจ้านั้น ด้วยประการดังนี้ ท่านจึงกล่าวไว้ในอทุติยสูตร

นั้นว่า เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลายโดยประเสริฐแม้กว่ามนุษย์และเทวดา

นั้นนั่นเอง. แต่ในพระสูตรนี้ตรัสไว้อย่างนี้ โดยครอบคลุมไปถึงสัตว์ไม่มี-

เหลือว่า ก็สัตว์ทั้งที่เนื่องด้วยอัตภาพมีประมาณเท่าใด หาเท้ามิได้ก็ตาม ฯลฯ

มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ก็ตาม บรรดาสัตว์เหล่านั้น พระตถาคตเจ้า

บัณฑิตกล่าวว่า เป็นผู้เลิศ. ก็คำว่า เตส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถนิท-

ธารณะ (สิ่งที่รวมกันอยู่ซึ่งจะต้องแยกออก). ม อักษร ทำการเชื่อมบท

แยกบทออกเป็น อคฺโค อกฺขายติ ดังนี้.

บทว่า อคฺโค วิปาโก โหติ ความว่า ความเลื่อมใสใดของผู้-

เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เลิศ ความเลื่อมใสนั้นเป็นสิ่งล้ำเลิศ เป็นสิ่ง

ประเสริฐ เป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นสิ่งสุดยอด เพราะฉะนั้น แม้ผลของความ

เลื่อมใสนั้น ก็เป็นสิ่งล้ำเลิศ เป็นสิ่งประเสริฐ เป็นสิ่งสูงสุด เป็นสิ่งสุดยอด

เป็นสิ่งโอฬารที่สุด เป็นสิ่งประณีตที่สุด แต่ความเลื่อมใสนั้น ยังมี ๒ อย่าง

โดยแยกเป็นโลกิยะ และโลกุตระ ใน ๒ อย่างนั้น (จะว่าถึงผล) ของความ

เลื่อมใสที่เป็นโลกิยะก่อน ควรทราบการประกอบผลพิเศษของความเลื่อมใส

ด้วยสามารถแห่งสุตตบท มีอาทิอย่างนี้ว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธ-

เจ้าแล้วสิ ว่าเป็นสรณะ ชนเหล่านั้นจัก

ไม่ไปอบายภูมิ พวกเขาละร่างมนุษย์ไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 564

แล้ว จักให้กายทิพย์บริบูรณ์. เพราะว่า

ปีติที่มีอยู่ ในกายของผู้กำหนดว่า พุทฺโธ

เป็นสิ่งประเสริฐกว่า ปีติของชาวชมพูทวีป

แม้โดยกสิณ ช้างแสนเชือก ม้าแสนตัว

รถเทียมด้วยม้าหนึ่งแสน หญิงสาวผู้ตก

แต่งด้วยแก้วมณีและแก้วกุณฑลแสนคน

ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ อันจำแนกแล้ว

๑๖ ครั้ง แห่งการย่างเท้าก้าวเดียว.

ข้าแต่ท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้า เป็นที่ระลึกเป็นการดีแล

เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะแล ท่านจอมเทพ สัตว์ทั้งหลาย

บางจำพวกในโลกนี้ หลังจากตายแล้ว เพราะกายแตกสลายไป จะเข้าถึง

สุคติ คือ โลกสวรรค์ อย่างนี้ สัตว์เหล่านั้น จะประสบสิ่งเป็นทิพย์อย่างอื่น

โดยฐานะ ๑๐ อย่างคือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ ความสุขทิพย์ ยศทิพย์

อธิปไตยทิพย์ รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์.

เพราะฉะนั้น ความเลื่อมใสนั้นพึงทราบว่า อำนวยวิบากเป็นสุข ในสัมปัต-

ติภพ พร้อมด้วยการให้อบายทุกข์หมุนกลับ (ห้ามอบายทุกข์ได้). ส่วนความ

เลื่อมใสที่เป็นโลกุตระ ให้วิบากที่เป็นสามัญผลด้วย ยังวัฎทุกข์ให้หมุน

กลับด้วย (ห้ามวัฏทุกข์ไว้). และความเลื่อมใสแม้ทั้งหมดนี้ จะให้วัฏทุกข์

หมุนกลับได้ในสัมปรายภพทีเดียว. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สมัยใด อริยสาวกระลึกถึงศรัทธาของตน สมัยนั้น จิตของท่านจะไม่ถูกราคะ

กลุ้มรุม จะไม่ถูกโทสะกลุ้มรุม จะไม่ถูกโมหะกลุ้มรุมเลย สมัยนั้น จิตของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 565

ท่านจะดำเนินไปตรงทีเดียว ผู้มีจิตดำเนินไปตรงแล้ว ความปราโมทย์จะเกิด

ขึ้น ผู้มีปราโมทย์ (บรรเทิง) แล้วปีติจะเกิดขึ้น จะรู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้ ไม่มีอีกแล้ว. สภาวธรรม ชื่อว่าธรรม. บทว่า สงฺขตา

ความว่า ธรรมทั้งหลายที่ปัจจัยทั้งหลาย ปรุงแต่งเสร็จ เรียบร้อยแล้ว เพราะ

ฉะนั้นจึง ชื่อว่า ปรุงแต่งแล้ว คือ ธรรมที่มีปัจจัย. (ส่วน) ธรรมทั้งหลายที่

ทั้งเหตุทั้งปัจจัยอะไร ๆ ไม่ได้ทำ คือ ไม่ได้ปรุงแต่งแล้ว เพราะฉะนั้นจึง

ชื่อว่า อสังขตะ คือ พระนิพพานที่หาปัจจัยไม่ได้. ธรรมทั้งหลายที่ชื่อว่า

อสังขตะ เพราะขัดแย้งต่อสังขตธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น (คำนี้) จึงเป็น

พหูพจน์. บทว่า วิราโค เตส อคฺคมกฺขายติ ความว่า บรรดาสังขต-

ธรรมและอสังขตธรรมทั้งหลาย เหล่านั้น อสังขตธรรม กล่าวคือ วิราคะ

บัณฑิตเรียกว่า เลิศ คือประเสริฐ ได้แก่สูงสุด หมายความว่าล้ำเลิศเพราะ

เป็นสิ่งละเอียด และสุขุมตามสภาพนั่นเอง เพราะเป็นสิ่งสงบและประณีตกว่า

เพราะเป็นสิ่งลึกซึ้งเป็นต้น และเพราะเป็นความสร่างเมาเป็นต้น. บทว่า

ยทิท เป็นนิบาต ความหมายคือ โย อย (แปลว่านี้ใด). คำว่า มทนิมฺมทโน

เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของนิพพานเหมือนกัน. จริงอย่างนั้น ความ

เมาทุกอย่าง มีเมาเพราะมานะ เมาในความเป็นบุรุษเป็นต้น จะสร่างไป คือ

ถูกทำลายเพราะมาถึงนิพพานนั้น ความระหายทั้งหมดมีระหายกามเป็นต้น ก็จะ

ถูกนำออกไป ถึงความอาลัยทั้งมวล มีอาลัยในกามเป็นต้น ก็จะถูกถอนขึ้น

กรรมวัฏ กิเลสวัฏ และวิปากวัฏทั้งผอง ก็จะถูกตัดขาด ตัณหาทั้งปวงที่แยก

ประเภทออกเป็น ๑๐๘ อย่าง ก็จะสิ้นไป กิเลส ก็จะสำรอกออกหมด ทุกข์

ย่อมจะดับไปสิ้น เพราะมาถึงนิพพานนั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า มทนิมฺมทโน (สร่างเมา) ฯลฯ นิโรโธ (ดับทุกข์). อนึ่ง ตัณหานี้

ใด ที่ท่านเรียกว่า วานะ เพราะตั้งวิเคราะห์ว่า นำไป คือเย็บภพเข้ากับภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 566

(และ) กรรมเข้ากับผล ตัณหา คือ วานะนั้น ไม่มีในธรรมชาตินี้ หรือเมื่อ

บรรลุถึงธรรมชาตินั้นแล้ว วานะนั้น ไม่มีแก่พระอริยบุคคล เพราะฉะนั้น

ธรรมชาตินั้น จึงชื่อว่า นิพพาน.

แม้ในคำว่า อคฺโค วิปาโก โหติ นี้ ควรทราบผลพิเศษของความ

เลื่อมใสในพระธรรม ด้วยสามารถแห่งสุตตบท มีอาทิว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระธรรม

ว่าเป็นที่ระลึกแล้วสิ ฯลฯ เพราะว่าปีติที่มี

อยู่ในกายของผู้กำหนดว่า ธมฺโม เป็นสิ่ง

ประเสริฐทีเดียว

ข้าแต่ท่านจอมเทพ การถึงพระธรรม เป็นสรณะ เป็นการดีแล

ข้าแต่ท่านจอมเทพ เพราะเหตุแห่งการถึงพระธรรมเป็นสรณะแล คนบาง

จำพวกในโลกนี้ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์. เมื่อเป็นเช่นนั้น ในข้อนี้ ความเลิศ

ก็ชื่อว่า มาแล้วด้วยสามารถแห่งอสังขตธรรมเท่านั้น. แม้ความสามารถแห่ง

อริยมรรค ก็ได้เนื้อความนี้เหมือนกัน เพื่อแสดงถึงการออกไปแห่งสังขตธรรม

ทั้งหมด. สมจริงตามที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขตธรรมทั้งหลายมี

ประมาณท่าใด อริยมรรคมีองค์ ๘ บัณฑิตกล่าวว่า เลิศ กว่าสังขตธรรม

เหล่านั้นดังนี้ และว่าอัฏฐังคิกมรรค ประเสริฐที่สุดดังนี้.

บทว่า สงฺฆา วา คณา วา ได้แก่ หมู่หรือคณะ ในโลกกล่าว

คือ ชุมนุมชน มีประมาณเท่าใด. บทว่า ตถาคตสาวกสงฺโฆ ได้แก่

สงฆ์สาวกของพระตถาคตเจ้า ผู้รวมกันด้วยความเสมอกันแห่งทิฏฐิ และศีล

กล่าวคือ ชุมนุมพระอริยบุคคล ๘ จำพวก. บทว่า เตส อคฺคมกฺขายติ

ความว่า สงฆ์สาวกของพระตถาคตเจ้า บัณฑิตกล่าวว่า เลิศ คือประเสริฐ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 567

สุด ได้แก่ สูงสุด หมายความว่า ล้ำเลิศ ด้วยคุณวิเศษ มีศีล สมาธิ ปัญญา

และวิมุตติเป็นต้นของตน. บทว่า ยทิท ความว่า เหล่านี้ใด. บทว่า จตฺตาริ

ปุริสยุคานิ ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ คู่ โดยเป็นคู่ ๆ อย่างนี้ คือ ท่านผู้ดำรง

ในมรรคที่ ๑ ท่านผู้ดำรงอยู่ในผลที่ ๑ นี้คู่ ๑ จนถึงท่านผู้ดำรงอยู่ในมรรคที่ ๔

ท่านผู้ดำรงอยู่ในผลที่ ๔ นี้คู่ ๑. บทว่า อฏฺ ปุริสปุคฺคลา ได้แก่

บุรุษบุคคล ๘ จำพวก ด้วยอำนาจบุรุษบุคคลตามนัยนี้ คือ บุรุษบุคคลผู้

ดำรงอยู่ในปฐมมรรค คน ๑ บุรุษบุคคลผู้ดำรงอยู่ในปฐมผล คน ๑. ก็

ในที่นี้ บทเหล่านี้ คือ ปุริโส ก็ตาม ปุคฺคโล ก็ตาม มีความหมาย

อย่างเดียวกัน. แต่คำนี้พระองค์ตรัสไว้ด้วยอำนาจแห่งเวไนยสัตว์. บทว่า

เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ ความว่า โดยเป็นคู่ คู่บุรุษ ๔ คู่ เหล่านี้

โดยแยกกัน บุรุษบุคคล ๘ จำพวกนี่แหละ ชื่อว่า สงฆ์สาวกของพระผู้มี

พระภาคเจ้า.

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า อาหุเนยฺโย เป็นต้นต่อไป สิ่งของชื่อว่า

อาหุนะ เพราะเขาพึงนำมาบูชา. อธิบายว่า พึงนำมาจากที่ไกล แล้วถวาย

แด่ท่านทั้งหลายผู้มีศีล. คำนี้เป็นชื่อของปัจจัย ๔. พระสงฆ์ชื่อว่าเป็นผู้ควร

รับของที่เขาพึงนำมาบูชานั้น เพราะทำให้เป็นทานมีผลมาก เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า อาหุเนยยะ. อีกอย่างหนึ่ง แม้สมบัติทั้งมวล ที่เขาพึงนำมาแม้แต่

ที่ไกลแล้ว บูชาไว้ในไฟคืออาหุนะนี้ หรือไฟคืออาหวนะ ควรแก่สักการะ

เป็นต้น เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อาหวนียะ. ไฟของพราหมณ์ทั้งหลายนี้ใด

ชื่อว่า อาหวนียะ ที่เป็นเหตุให้พราหมณ์เหล่านั้นมีลัทธิว่า ยัญที่บูชาแล้วมี

ผลมาก ถ้าหากไฟนั้นชื่อว่า อาหวนียะ เพราะภาวะที่บูชาแล้วมีผลมาก

พระสงฆ์นั่นเอง ก็ชื่อว่า อาหวนียะ เพราะยัญที่บูชาแล้วในพระสงฆ์ ก็มี

ผลมาก ดังที่ตรัสไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 568

ก็การบูชาของผู้บูชา ท่านผู้อบรม

คนแล้วผู้เดียว แม้เพียงครู่เดียวเท่านั้น

ประเสริฐกว่าการบูชาของผู้บำเรอ (บูชา)

ไฟในป่า เป็นเวลาร้อยปี การบูชาเป็น

เวลาร้อยปี จะประเสริฐอะไรเล่า ?

บทว่า อาหวนีโย นี้นั้น ในนิกายอื่น โดยเนื้อความแล้ว เป็น

อันเดียวกันกับบทว่า อาหุเนยฺโย ในพระสูตรนี้ แต่โดยพยัญชนะแล้ว

ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น. เพราะฉะนั้น ท่านจึงทำการพรรณนาความไว้

อย่างนี้.

แต่ว่า ของที่จะให้แขก (ของรับแขก) ที่จัดไว้ด้วยสักการะ เพื่อ

ประโยชน์แก่ญาติและมิตรทั้งหลาย ผู้เป็นที่รักใคร่ เป็นที่พอใจ ที่มา ๆ แล้ว

จากทิศและทิศเฉียง พระองค์ตรัสเรียกว่า ปาหุนะ ในคำว่า ปาหุเนยฺ โย นี้

ของที่จะให้แขกแม้นั้น เว้นคนเหล่านั้น คือ แขกประเภทนั้น แล้วควรถวาย

แก่พระสงฆ์เท่านั้น. อนึ่ง เพราะว่าพระสงฆ์นั่นจะปรากฏ แม้ในระหว่าง

พุทธันดรหนึ่งและไม่ดาษดื่น. แต่ในที่นี้ ความหมายของบทมีดังนี้ พระสงฆ์

ประกอบแล้ว ด้วยธรรมทั้งหลาย อันกระทำความเป็นผู้น่ารัก น่าพอใจ ดังนั้น

ตามที่พรรณนามานี้ พระสงฆ์จึงชื่อว่า ปาหุเนยฺโย เพราะของต้อนรับ

ควรจะถวายแก่ท่าน และท่านควรรับของต้อนรับ ส่วนอรรถาธิบายของ

อาจารย์ทั้งหลาย ที่มีบาลีว่า ปาหวนีโย มีว่า เพราะเหตุที่พระสงฆ์ควรซึ่ง

การทำก่อน ฉะนั้น พระสงฆ์จึงชื่อว่า ปาหวนีโย เพราะคนทั้งหลายควร

นำของมาบูชาก่อนผู้อื่น. อีกอย่างหนึ่ง พระสงฆ์ชื่อว่า ปาหวนีโย เพราะควร

ซึ่งการบูชา โดยประการทั้งปวง. ในพระสูตรนี้ พระสงฆ์นี้นั้น พระองค์

ตรัสเรียกว่า ปาหุเนยฺโย โดยอรรถาธิบายนั้นนั่นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 569

บทว่า ทกฺขิณา ความว่า พระสงฆ์ชื่อว่า ทักขิเณยยะ เพราะควร

ซึ่งทานที่คนทั้งหลายเชื่อปรโลกแล้วถวายซึ่งทักษิณานั้น หรือเป็นผู้เกื้อกูลแก่

ทักษิณา เพราะให้ทักษิณาหมดจด โดยทำให้มีผลมาก. พระสงฆ์ชื่อ อัญชลี-

กรณียะ เพราะควรซึ่งอัญชลีกรรม (การไหว้) ที่ชาวโลกทั้งหมดทำ โดย

วางมือทั้ง ๒ ไว้บนศีรษะ. บทว่า อนุตฺตร ปุญฺกฺเขตฺต โลกสฺส ได้แก่

เป็นสถานที่งอกงามแห่งบุญของสัตวโลกทั้งมวล ไม่มีสถานที่อื่นเหมือน.

อุปมาเสมือนหนึ่งว่า สถานที่ ๆ ข้าวสาลีแดง หรือข้าวยวะงอกงาม ชาวโลก

เรียกว่า นาข้าวสาลี นาข้าวยวะ ฉันใด พระสงฆ์ก็ฉันนั้น เป็นสถานที่

งอกงามแห่งบุญของสัตวโลก พร้อมทั้งเทวโลก. เพราะว่า บุญทั้งหลายที่ให้

เกิดประโยชน์เกื้อกูล และความสุขแก่สัตวโลก อาศัยพระสงฆ์แล้วจึงงอกงาม

ขึ้น เพื่อฉะนั้น พระสงฆ์จึงชื่อว่า เป็นนาบุญของสัตวโลก ไม่มีนาบุญอื่น

ยิ่งกว่า.

แม้ในที่นี้ก็ควรทราบ การประกอบผลพิเศษของความเลื่อมใสใน

พระสงฆ์ ด้วยสามารถแห่งสุตตบท มีอาทิอย่างนี้ว่า

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระสงฆ์

ว่าเป็นที่พึ่งแล้วซิ ฯลฯ เพราะว่าปีติที่มีอยู่

ในกายของผู้กำหนดอยู่ (ในใจ) ว่า สงฺโฆ

เป็นสิ่งที่ประเสริฐทีเดียว

ข้าแต่ท่านจอมเทพ การถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เป็นการดีแล เพราะ

เหตุแห่งการถึงพระสงฆ์เป็นสรณะแล ท่านจอมเทพ ฯลฯ คนบางจำพวกใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 570

โลกนี้ ฯลฯ โผฏฐัพพทิพย์. ด้วยพระพุทธพจน์นั้น พึงทราบความที่ความ

เลื่อมใสนั้น เป็นของล้ำเลิศ และความที่ความเลื่อมใสนั้น มีผลเลิศ. อนึ่ง

พึงทราบความที่ความเลื่อมใสมีผลเลิศ ด้วยสามารถแห่งการให้สำเร็จผลอัน

โอฬาร มีอาทิอย่างนี้ว่า การตัดขาดวัฏทุกข์ เริ่มต้นแต่การเกิดในภพที่ ๗

เป็นต้น เพราะได้เฉพาะซึ่งการเห็นอันยอดเยี่ยม เป็นเหตุแห่งการบรรลุความ

สุขที่ยอดเยี่ยม.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้. บทว่า อคฺคโต

ความว่า ผู้เลื่อมใสแล้ว ในพระรัตนตรัยอันล้ำเลิศ โดยความเป็นของเลิศ

นั่นเอง. บทว่า อคฺค ธมฺม ความว่า รู้อยู่ คือทราบอยู่. ซึ่ง

สภาวะที่ล้ำเลิศ คือ ความที่พระพุทธเจ้า เป็นผู้ตรัสรู้ดีแล้ว ความที่

พระธรรมเป็นธรรมดี และความที่พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ได้แก่ภาพที่

สูงสุดของพระรัตนตรัย ที่ไม่ทั่วไปแก่สิ่งอื่น หรือสภาพของคุณความดี มี

ทศพลญาณเป็นต้น (ของพระพุทธเจ้า) ความเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ดีแล้ว (ของพระธรรม) และความเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้วเป็นต้น (แห่ง

พระสงฆ์).

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงพระรัตนตรัยอันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความเลื่อมใสอันเลิศ โดยทั่วไปอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงพระ-

รัตนตรัยนั้น โดยไม่ทั่วไป ด้วยการทรงจำแนกออกไป จึงได้ตรัสคำมีอาทิ

ไว้ว่า อคฺเค พุทฺเธ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปสฺนฺนาน ความว่า เลื่อมใสแล้ว คือ

น้อมใจเชื่อแล้ว ด้วยความเลื่อมใสที่ตั้งมั่นแล้ว และด้วยความเลื่อมใสนอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 571

จากนี้. บทว่า วิราคูปสเม ความว่า ที่คลายกำหนัดและที่สงบ. อธิบายว่า

ที่เป็นเหตุคลายกำหนัดล่วงส่วนแห่งราคะทั้งหมด และที่เป็นเหตุสงบล่วงส่วน

แห่งกิเลสทั้งมวล. บทว่า สุเข ความว่า ที่ชื่อว่าเป็นสุข เพราะพระธรรม

เป็นเหตุสิ้นวัฏทุกข์ และเพราะพระธรรมเป็นเหตุแห่งความสุข เพราะระงับ

สังขารทั้งหลาย. บทว่า อคฺคสฺมึ ทาน ททต ความว่า ให้ทานอยู่ คือ

บริจาคไทยธรรมอยู่ ในพระรัตนตรัยที่ล้ำเลิศ.

บรรดารัตนะทั้ง ๓ เหล่านั้น เหล่าชนเมื่อบำรุงคือบูชาพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ผู้ยังทรงดำรงพระชนม์อยู่ ด้วยปัจจัยสี่ และบำรุงคือบูชาได้แก่

สักการะพระธาตุเจดีย์เป็นต้น อุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสด็จปรินิพพาน

แล้ว ชื่อว่า ถวายทานในพระพุทธเจ้า. บทว่า ธมฺม ปูเชสฺสาม ความว่า

ชนเหล่าใดอุปฐากคือบูชา ได้แก่สักการะอยู่ซึ่งบุคคลทั้งหลายผู้ทรงธรรม

ด้วยปัจจัยสี่ และเมื่อสร้างพระธรรมไว้ให้ดำรงอยู่ตลอดกาลนาน ชื่อว่า ให้

ทานในพระธรรม. เมื่ออุปฐากคือบูชา ได้แก่สักการะพระอริยสงฆ์อย่างนั้น

ด้วยปัจจัย ๔ และปฏิบัติอย่างนั้น แม้ในภิกษุนอกจากนี้ อุทิศพระอริยสงฆ์นั้น

ชื่อว่า ถวายทานในพระสงฆ์.

บทว่า อคฺค ปุญฺ ปวฑฺฒติ ความว่า เมื่อชนทั้งหลายมีใจ

เลื่อมใสในพระรัตนตรัยอย่างนี้ ยังการบริจาคอย่างโอฬาร และการบูชา

สักการะอย่างโอฬารให้เป็นไป เป็นอันก่อสร้างกุศลที่ล้ำเลิศคือ โอฬารทุก ๆ

วัน .

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงความที่บุญนั้นเป็นของล้ำเลิศ เพราะมีผลเลิศ

จึงตรัสคำมีอาทิไว้ว่า อคฺค อายุ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺค อายุ ได้แก่ อายุทิพย์ (เทวดา)

หรืออายุมนุษย์ที่ล้ำเลิศคือยืนที่สุด. บทว่า ปวฑฺฒติ ความว่า เพิ่มพูนสูง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 572

ขึ้นรูป. บทว่า วณฺโณ ได้แก่ รูปสมบัติ. บทว่า ยโส ได้แก่ บริวาร-

สมบัติ. บทว่า กิตฺติ ได้แก่ เสียงสดุดีกึกก้อง. บทว่า สุข ได้แก่ ความสุข

ทางกายและความสุขทางใจ. บทว่า พล ได้แก่ กำลังกายและกำลังความรู้.

บทว่า อคฺคสฺส ทาตา ความว่า ถวายแก่พระรัตนตรัยอันล้ำเลิศ อีกอย่างหนึ่ง

บำเพ็ญบุญในพระรัตนตรัยนั้น โดยทำการถวายไทยธรรมอันเลิศให้โอฬาร.

บทว่า อคฺคธมฺมสมาหิโต ความว่า ดำรงอยู่แล้ว คือ ประกอบแล้วด้วย

ธรรมคือความเลื่อมใส และธรรมมีทานเป็นต้น ที่ล้ำเลิศ ได้แก่ประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว หรือประกอบด้วยธรรมทั้งหลาย มีความ

รักใคร่และความพอใจของคนจำนวนมากเป็นต้น ที่เป็นผลของความเลื่อมใส

นั้น. บทว่า อคฺคปฺปตฺโต ปโมทติ ความว่า ประสบความล้ำเลิศ คือ

ความประเสริฐสุด ในหมู่สัตว์ที่ตนเกิดแล้ว หรือเป็นผู้บรรลุมรรคผลที่เป็น

โลกุตระแล้ว ย่อมบันเทิงคือรื่นเริงใจ ได้แก่พอใจมาก ดังนี้แล.

จบอรรถกถาปสาทสูตรที่ ๑

๒. ชีวิตสูตร

ว่าด้วยก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น

[๒๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอยู่เพราะการแสวงหาก้อน-

ข้าวนี้ เป็นกรรมที่ลามกของบุคคลผู้เป็นอยู่ทั้งหลาย บุคคลผู้ด่าย่อมด่าว่า

ท่านผู้นี้มีบาตรในมือ ย่อมเที่ยวแสวงหาก้อนข้าวในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็กุลบุตรทั้งหลาย เป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ อาศัยอำนาจแห่งเหตุ ไม่

ได้ถูกพระราชาทรงให้นำไปจองจำไว้เลย ไม่ได้ถูกพวกโจรนำไปกักขังไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 573

ไม่ได้เป็นหนี้ ไม่ได้ตกอยู่ในภัย เป็นผู้มีความเป็นอยู่เป็นปกติ ย่อมเข้าถึง

ความเป็นอยู่ด้วยการแสวงหาก้อนข้าวนั้น ด้วยคิดว่า ก็แม้พวกเราแล เป็นผู้

ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว

ถูกทุกข์ติดตามแล้ว ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว แม้ไฉน การการทำซึ่งที่สุดแห่ง

กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จะพึงปรากฏ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรผู้บวชแล้วอย่างนี้

เป็นผู้มีอภิชฌามาก มีความกำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท

มีความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุน

ไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ เรากล่าวบุคคลนี้ว่า มีอุปมาเหมือนดุ้นฟืนในที่เผาผี

ที่ไฟติดทั่วแล้วทั้งสองข้าง ตรงกลางเปื้อนคูถ จะใช้ประโยชน์เป็นฟืนในบ้าน

ในป่า ก็ไม่สำเร็จฉะนั้น บุคคลนี้เสื่อมแล้วจากโภคะแห่งคฤหัสถ์ และไม่

ยังผลแห่งความเป็นสมณะให้บริบูรณ์ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

บุคคลผู้มีส่วนชั่ว เสื่อมแล้วจาก

โภคะแห่งคฤหัสถ์ ย่อมขจัดผลแห่งความ

เป็นสมณะให้กระจัดกระจายไป เหมือน

ดุ้นฟืนในที่เผาผีฉิบหายไปอยู่ ฉะนั้น

ก้อนเหล็กร้อนเปรียบด้วยเปลวไฟ อัน

บุคคลบริโภคแล้ว ยังจะดีกว่า บุคคลผู้

ทุศีล ผู้ไม่สำรวม พึงบริโภคก้อนข้าว

ของชาวแว่นแคว้นจะดีอะไร.

จบชีวิตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 574

อรรถกถาชีวิตสูตร

ชีวิตสูตรที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงไว้ด้วยอำนาจเหตุที่

เกิดขึ้น.

ดังได้ทราบมาว่า สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่

นิโครธาราม ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ ภิกษุทั้งหลายพากันปูที่นั่งที่นอนสำหรับภิกษุ

อาคันตุกะทั้งหลาย กำลังเก็บบาตรและจีวรอยู่ และสามเณรทั้งหลายพากันรับ

เอาลาภ ของภิกษุทั้งหลาย ผู้มาแล้วมาถึงแล้ว ในที่ ๆ แจกลาภได้ส่งเสียงอึกทึก

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียงนั้นแล้ว ได้ทรงประณาม (ขับไล่) ภิกษุ

เหล่านั้น. ได้ทราบว่า ภิกษุเหล่านั้น เป็นภิกษุใหม่ทั้งนั้นมาสู่พระธรรมวินัยนี้

ยังไม่นาน. ท้าวมหาพรหมทราบพฤติการณ์นั้นแล้ว ได้เสด็จมาแล้ว ทูลขอ

พระพุทธานุเคราะห์ แก่ภิกษุที่ถูกประณามเหล่านั้นว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพอพระทัยภิกษุสงฆ์. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรง

เปิดโอกาสให้ท้าวมหาพรหมนั้น. ทีนั้นท้าวมหาพรหมได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เปิดโอกาสให้ข้าพระองค์แล้วได้ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้วได้เสด็จหลีกไป. ครั้งนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงดำริว่า ขอพระภิกษุสงฆ์จงมาเถิด แล้วได้ทรงแสดงอาการแก่

พระอานนทเถระ. เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุเหล่านั้นจึงถูกพระอานนทเถระเรียก

ให้มาหา ได้พากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ยินดีแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่สมควร

ข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาหาพระธรรมเทศนาที่จะเป็นสัปปายะ

ของภิกษุเหล่านั้น ทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ถูกเราตถาคตประณาม เพราะ

เหตุแห่งอามิส ธรรมเทศนาว่าด้วยก้อนข้าวที่ทำเป็นคำ ๆ จะเป็นสัปปายะของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 575

ภิกษุเหล่านั้น ดังนี้แล้ว จึงได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้ว่า อนฺตมิท ภิกฺขเว

ดังนี้เป็นต้น.

ในพระธรรมเทศนานั้น อันต ศัพท์นี้ มาแล้วในความหมายว่าส่วน

เช่นในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีอยู่สมณพราหมณ์บางพวก

เป็นปุพพันตกับปิกะ (ลัทธิที่อ้างถึงส่วนเบื้องต้นคือผู้สร้าง) มีทิฏฐิคล้อยตาม

ส่วนเบื้องต้น. มาแล้วในความหมายว่าตัดขาด เช่นในคำทั้งหลายมีอาทิว่า

ท่านได้ทำที่สุดแห่งทุกข์แล้ว โลกนี้มีที่สุดหมุนไปรอบๆ. มาแล้วในความหมาย

ว่าครอบงำ เช่นในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ปฐวีธาตุอาศัยภูมิภาคที่ปกคลุมด้วย

ของเขียว กั้นด้วยถนน มีภูเขาขวางกั้น. มาแล้วในความหมายว่า อวัยวะ

ในร่างกาย เช่นในคำทั้งหลายมีอาทิว่า ใส้ใหญ่ สายรัดใส้. มาแล้วในความ

หมายว่า จิต เช่นตัวอย่างในคำทั้งหลายมีอาทิว่า

ก็คนบางจำพวกมีบริวารห้อมล้อม

เที่ยวไปอยู่ภายใน (จิต) ไม่บริสุทธิ์ แต่

ภายนอก (กาย) งดงาม.

มาแล้วในความหมายว่า ภายใน เช่นในคำทั้งหลายมีอาทิว่า อุบล

ปทุม หรือบุณฑริก บางเหล่าเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ มีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ จม

และพอกพูนอยู่ในภายใน (น้ำ). มาแล้วในความหมายว่า ลามก เช่นในคำ

ทั้งหลายมีอาทิว่า

บรรดามฤคทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอก

เป็นสัตว์เลวทราม บรรดาปักษีทั้งหลาย

กาเป็นสัตว์ชั้นต่ำ บรรดาต้นไม้ทั้งหลาย

ต้นระหุ่งเป็นต้นไม่ชนิดเลว ของเลวทราม

ทั้ง ๓ อย่างมาประชุมกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 576

แม้ในพระสูตรนี้ พึงทราบความหมายในสิ่งที่เลวทรามเท่านั้น เพราะ

ฉะนั้น บทว่า อนฺตมิท ภิกฺขเว ชีวิกาน จึงมีอรรถาธิบายว่า ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย ชีวิต (ความเป็นอยู่) นี้ เป็นชีวิตที่ต่ำทราม คือ ล้าหลัง

ได้แก่ ลามก หมายความว่า เลวกว่าความเป็นอยู่ทุกชนิด ของผู้เลี้ยงชีพ

ทั้งหลาย.

บทว่า ยทิท ปิณฺโฑลฺย ความว่า ชีวิตของผู้เลี้ยงชีพด้วยการ

แสวงหาก้อนข้าว คือ ด้วยการเที่ยวขอเขา นี้ใด. ก็ในบทว่า ปิณฺโฑลฺย

นี้ มีอรรถแห่งบทดังต่อไปนี้ บุคคลชื่อว่า ปิณโฑละ เพราะเที่ยวไปเพื่อ

ก้อนข้าว. กิจกรรมของผู้เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าวนั้น ชื่อว่า ปิณโฑลยะ

อธิบายว่า ผู้เลี้ยงชีพด้วยการแสวงหาก้อนข้าว.

การด่า ชื่อว่า อภิลาปะ อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลาย โกรธแล้ว

จะด่าคนที่เป็นศัตรูของตนว่า แกควรจะนุ่งผ้าเก่า ๆ มีมือถือกระเบื้อง

เที่ยวแสวงหาก้อนข้าว (ขอทาน). อีกอย่างหนึ่ง จะด่าอย่างนี้ทีเดียวว่า แก

ไม่มีอะไรที่จะต้องทำแล้วหรือ จึงได้ละทิ้งหิริโอตตัปปะทั้งที่ยังมีกำลังและ

ความเพียรแล้วเป็นคนกำพร้ามีมือถือบาตร ขอทานเขากิน.

บทว่า ตญฺจโข เอต ความว่า (ย่อมเข้าถึง) แม้ซึ่งการสาปแช่ง

คือความเป็นอยู่ด้วยการแสวงหาก้อนข้าวนี้นั้น. บทว่า กุลปุตฺตา อุเปนฺติ

อตฺถวสิกา ความว่า กุลบุตรโดยกำเนิด และกุลบุตรผู้มีอาจาระในศาสนา

ของเรา เป็นผู้อยู่ในอำนาจอรรถ คือ เป็นผู้อยู่ในอำนาจเหตุ คืออาศัย

อำนาจเหตุแล้วเข้าถึง คือ ประสบ. พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ราชาภินีตา

เป็นต้น (ดังต่อไปนี้) คนเหล่าใดถูกพระราชาให้จองจำไว้ในเรือนจำ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 577

กินของหลวง หนีไปบวช คนเหล่านั้น ชื่อว่า ราชาภินีตา เพราะถูกนำไป

ยังที่จองจำ. ส่วนคนเหล่าใดถูกพวกโจรจับในดง เมื่อบางเหล่าถูกฆ่าให้ตาย

(แต่) บางเหล่าขอร้องว่านายขอรับ (ถ้า) พวกผมถูกพวกท่านปล่อยไปแล้ว

จักครองเรือนแล้วบวช จักทำบุญใด ๆ มีพุทธบูชาเป็นต้นในที่นั้น ๆ จักให้

ส่วนบุญจากบุญนั้น ๆ แก่ท่านทั้งหลาย ดังนี้แล้ว เป็นผู้อันโจรเหล่านั้นปล่อย

ไปแล้วบวช คนเหล่านั้นชื่อว่า โจราภินีตา เพราะเป็นผู้ถูกโจรนำไปยังที่ ๆ

จะถูกฆ่าให้ตาย แต่คนเหล่าใดกู้หนี้แล้วไม่สามารถใช้หนี้ได้หนีไปบวช คน

เหล่านั้น ชื่อว่า อีณัฏฏา (เป็นลูกหนี้) เชื่อมบทว่า ก็แลกุลบุตรทั้งหลายใน

ศาสนาของเราตถาคต ได้ถูกพระราชาให้นำไป ฯลฯ มีการเลี้ยงชีพตามปกติ

เข้าถึงความเป็นผู้ขอทานนี้นั้น อีกอย่างหนึ่ง เข้าถึงด้วยคิดว่า เราทั้งหลายถูก

ชาติ ฯลฯ ครอบงำแล้วแม้ไฉน. . .จะพึงปรากฏ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอติณฺณมฺหา ตัดบทเป็น โอติณฺณา

อมฺหา (เราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกชาติ ฯลฯ ครอบงำแล้ว).

ในบทว่า ชาติยา เป็นต้น (พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้) การก่อเกิด

ครั้งแรกของขันธ์ทั้งหลาย ในหมู่สัตว์นั้น ๆ ชื่อว่า ชาติ ความหง่อมชื่อว่า

ชรา ความแตกดับ ชื่อว่า มรณะ. ความเร่าร้อน คือ การแผดเผาภายใน (ใจ)

ของผู้ถูกความเสื่อม เพราะญาติ โรค โภคะ ศีลและทิฏฐิ กระทบกระทั่ง ชื่อว่า

โสกะ. ความพิลาบร่ำทางวาจา ของผู้ถูกความเสื่อมเสียกระทบกระทั่งแล้วชื่อ

ว่า ปริเทวะ. การเบียดเบียนทางกาย ของผู้มีกายถูกโผฎฐัพพะที่ไม่น่าปรารถนา

กระทบ ชื่อว่า ทุกข์. การเบียดเบียนทางใจ ของผู้มีจิตถูกกระทบกระเทือนใน

อาฆาตวัตถุทั้งหลาย ชื่อว่า โทมนัส. ความลำบากแรงกล้า ที่เกิดจากกลุ้มใจ

ของผู้ถูกความเสื่อมแห่งญาติเป็นต้นกระทบ ผู้ไม่สามารถจะยับยั้งไว้ได้ แม้

ด้วยการครวญคราง ชื่อว่า อุปายาส. ผู้ถูกทุกข์ทั้งหลายมีชาติเป็นต้นครอบงำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 578

แล้ว ชื่อว่า ถูกทุกข์ติดตามแล้ว คือ ผู้ถูกทุกข์ทั้งหลายมีชาติทุกข์เป็นต้นสอดแทรก

เข้าไปภายใน. บทว่า ทุกฺขปเรตา ความว่า ผู้ถูกทุกข์และเหตุเป็นที่ตั้งแห่ง

ความทุกข์ ครอบงำแล้ว. อธิบายว่า ชาติเป็นต้น ชื่อว่า ทุกข์ เพราะเป็นที่ตั้ง

แห่งความทุกข์ โสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ชื่อว่า ทุกข์ เพราะเป็น

ตัวทุกข์. บทว่า อปฺเปวนาม ฯเปฯ ปญฺาเยถ ความว่า ชื่อแม้ไฉน

การทำการตัดขาด คือ กิริยาที่สิ้นสุดลงแห่งกองทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นนี้ จะพึง

ปรากฏ.

คำว่า โส จ โหติ อภิชฺฌาลุ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

เพื่อทรงแสดงถึงกุลบุตรผู้ให้ความคิดเกิดขึ้นในเบื้องต้นว่า เราจักทำที่สุดแห่ง

ทุกข์ แล้วบวช แต่ภายหลังไม่สามารถทำการบวชนั้นให้เป็นแบบนั้นได้ (ทำที่

สุดแห่งทุกข์ไม่ได้). บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺฌาลุ ได้แก่ผู้เพ่งสิ่งของๆ

ผู้อื่น. บทว่า ติพฺพสาราโค ความว่า ผู้มีราคะมาก. บทว่า พฺยาปนฺนจิตฺโต

ความว่า ผู้มีจิตวิบัติ เพราะเป็นจิตเสียด้วยพยาบาท. บทว่า ปทุฏฺมน-

สงฺกปฺโป ความว่า ผู้มีจิตถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว ด้วยสามารถแห่งการ

เข่นฆ่าพวกอื่น เหมือนโคดุมีเขาแหลม. บทว่า มุฏฺสฺสติ ความว่า เป็นผู้

มีสติหลงลืม คือ ทำ (อะไร) ไว้ที่นี้แล้ว ก็ระลึกในที่นี้ไม่ได้เหมือนกาซ่อน

ก้อนข้าวไว้ และเหมือนสุนัขซ่อนเนื้อไว้แล้ว นึกไม่ได้ฉะนั้น. บทว่า

อสมฺปชาโน ความว่า ไม่มีปัญญา คือ เว้นจากการกำหนดขันธ์เป็นต้น.

บทว่า อสมาหิโต ความว่า หยุดนิ่งอยู่ไม่ได้ เหมือนเรือที่ผูกไว้ที่กระแส

น้ำเชี่ยว. บทว่า วิพฺภนฺตจิตฺโต ความว่า ตื่นตกใจเหมือนเนื้อขึ้นสู่ทาง.

บทว่า ปากตินฺทฺริโย ความว่า เป็นผู้ไม่สำรวมอินทรีย์เหมือนคฤหัสถ์ทั้งหลาย

ผู้ไม่สำรวมอินทรีย์มองดูคนที่ตนหวงแหน เพราะไม่มีการสำรวม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 579

บทว่า ฉวาลาต ได้แก่ ดุ้นฟืน ในที่ที่เผาศพ. บทว่า อุภโต

ปทิตฺต มชฺเฌ คูลคต ความว่า ดุ้นฟืนยาวประมาณ ๘ นิ้ว ไฟติดทั้ง

๒ ข้าง ตรงกลางก็เปื้อนคูถ. บทว่า เนว คาเม ความว่า จริงอยู่ ถ้าหาก

ดุ้นฟืนนั้น เป็นของที่ใคร ๆ (นึกว่า) สามารถนำเข้าไปใช้เพื่อประโยชน์แก่

แอกไถ ไม้จันทันและไม้ฝ้าได้ไซร้ ก็ต้องผ่าเพื่อเป็นฟืนใช้ในบ้าน ถ้าเป็น

ของที่ใคร ๆ (นึกว่า) สามารถนำเข้าไปใช้เพื่อประโยชน์แก่ไม่ปูพื้นและเตียง

เป็นต้นที่กระท่อมนาได้ไซร้ ก็ต้องผ่าเพื่อใช้เป็นฟืนในป่า. แต่เพราะเหตุที่

แม้ประโยชน์ทั้ง ๒ อย่างนั้น ใคร ๆ ไม่อาจ (นำมาใช้ได้) ฉะนั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงตรัสไว้อย่างนี้.

บทว่า ตถูปมาห ความว่า เราตถาคตเรียกบุคคลตามที่กล่าวมาแล้ว

นี้ว่า อุปมาเหมือนอย่างนั้น คือ เช่นฟืนเผาศพ. บทว่า คิหิโภคา จ

ปริหีโน ความว่า เป็นผู้เสื่อมจากโภคะที่จะต้องได้เมื่อคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้

ครองเรือนอยู่ แบ่งมรดกอยู่ และโดยประการอื่นด้วย. บทว่า สามญฺตฺถญฺจ

ความว่า จะไม่ยังสามัญผลที่สัทธิวิหาริกเเละอันเตวาสิก ดำรงอยู่ในโอวาทของ

อุปัชฌาย์และอาจารย์ทั้งหลายแล้ว จะพึงถึงด้วยสามารถแห่งปริยัติและปฏิเวธ

ให้บริบูรณ์.

อนึ่ง พึงทราบว่า พระศาสดาไม่ได้ทรงนำอุปมานี้มา ด้วยสามารถ

แห่งบุคคลผู้ทุศีล แต่ทรงนำมาด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผู้ไม่

เกียจคร้าน ผู้มีจิตถูกโทษทั้งหลาย มีอภิชฌาเป็นต้น ประทุษร้ายแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ บทว่า คิหิโภคา

ความว่า จากเครื่องอุปโภคที่ให้เกิดกามสุข. บทว่า ปริหีโน ได้แก่ เสื่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 580

โทรมแล้ว. บทว่า สามญฺตฺถ ได้แก่ ทั้งพหูสูตในทางปฏิเวธ ทั้งพหูสูต

ในทางปริยัติ. เพราะว่าคนเช่นนั้น ไม่สามารถจะได้ฟังเรื่องที่ยังไม่ได้ฟัง และ

ยังเรื่องที่ได้ฟังแล้วให้แจ่มกระจ่าง เพราะเป็นผู้เกียจคร้าน. คนชั่วหมดสง่า

เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า เสื่อมจากโภคะ คือคนไม่มีบุญ ได้แก่บุรุษกาลกรรณี.

บทว่า ปริธสมาโน ความว่า พินาศอยู่. บทว่า ปกิเรติ ความว่า เรี่ยราด คือ

กระจัดกระจายไป. คำทั้งหมดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอา การไม่

เกิดขึ้นแห่งความเจริญ คือสามัญผลนั้นเอง. บทว่า ฉวาลาต วินสฺสติ

ความว่า บุคคลนั้นคือชนิดนั้น จะไม่ประกอบประโยชน์ให้แก่ใคร ๆ เลย

พินาศไปเหมือนดุ้นฟืนเผาศพดังที่กล่าวมาแล้ว เพราะเป็นผู้พลาดจากประโยชน์

ทั้ง ๒. ถึงจะไม่ได้ทำการละเมิดทางกายและวาจา แต่เมือไม่ชำระจิตให้สะอาด

ก็พินาศ จะป่วยกล่าวไปไยถึงได้ทำการละเมิดทางกายและทางวาจาเล่า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงโทษในความทุศีล โดยการทรง

แสดงถึงส่วนแห่งทุกข์ในอบายของเขาแล้ว ด้วยคำว่า ทุสฺสีโล เมื่อทรงพระ

ประสงค์ จะให้สัตว์ทั้งหลายสงัดจากโทษของความทุศีลนั้น จึงตรัสพระคาถา

ไว้โดยนัยมีอาทิว่า กาสาวกณฺา ดังนี้. เนื้อความของพระคาถาทั้ง ๒ นั้น

ได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลังที่เดียวแล.

จบอรรถกถาชีวิตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 581

๓. สังฆาฏิสูตร

ว่าด้วยผู้ประพฤติธรรมอยู่ไกลเหมือนอยู่ใกล้พระองค์

[๒๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิแล้วพึงเป็นผู้

ติดตามไปข้างหลัง ๆ เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มี

อภิชฌาเป็นปกติ มีความกำหนัดแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มี

ความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุน

ไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็

อยู่ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม

เมื่อไม่เห็นธรรมย่อมเชื่อว่าไม่เห็นเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึง

อยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีความ

กำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจชั่ว

ร้าย มีสติมั่น รู้สึกตัว มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์

โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้น

เพราะเหตุไร ? เพราะภิกษุนั้น ย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา.

บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น ยัง

เป็นไปตามตัณหา ดับความเร่าร้อนไม่ได้

แม่หากว่าพึงเป็นผู้ติดตามพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ผู้ดับความ

เร่าร้อนได้แล้วไซร้ บุคคลนั้นผู้กำหนัด

ยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี เพียงในที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 582

ไกลเท่านั้น ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต รู้

ธรรมด้วยปัญญา เป็นเครื่องรู้ธรรมอันยิ่ง

เป็นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ สงบระงับ

เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ไม่มีลมฉะนั้น บุค-

คลนั้นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความ

เร่าร้อนได้แล้ว ผู้ไม่กำหนัดยินดี ชื่อว่า

พึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาความ

หวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว

ปราศจากความกำหนัดยินดี ในที่ใกล้แท้.

จบสังฆาฏิสูตรที่ ๓

อรรถกถาสังฆาฏิสูตร

ในสังฆาฏิสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยต่อไป.

บทว่า สงฺฆาฏิกณฺเณ ได้แก่ ที่ชายจีวร. บทว่า คเหตฺวา ความว่า

เกาะ. บทว่า อนุพนฺโธ อสฺส ความว่า พึงติดตามไป. มีพุทธาธิบายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูป ในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเสมือนใช้มือของ

คนเกาะชายสุคตมหาจีวร ที่เราตถาคตห่มแล้ว ติดตามเราตถาคตไป คือ

เป็นผู้อยู่ใกล้ชิดเราตถาคตอย่างนี้.

บทว่า ปาเท ปาท นิกฺขิปนฺโต ความว่า ทอดเท้าของตนลง

ที่รอยเท้าของเราตถาคต ผู้กำลังเดินไป คือในที่ ๆ เราตถาคตวางเท้าลง ถัด

จากการยกเท้าขึ้นแล้ว. ด้วยคำทั้ง ๒ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า

ผิว่า เธอจะไม่ละทิ้ง (ห่างเหิน) ที่ยืน ที่เดิน (ของเราตถาคต) อยู่ใกล้เรา

ตถาคตตลอดทุกเวลาไซร้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 583

บทว่า โส อารกาว มยฺห อหญฺจ ตสฺส ความว่า ภิกษุนั้น

เมื่อไม่บำเพ็ญปฏิปทาที่เราตถาคตกล่าวแล้วให้บริบูรณ์ ก็ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ไกล

เราตถาคตทีเดียว เราตถาคต ก็ชื่อว่า อยู่ไกลเธอเหมือนกัน. ด้วยคำนี้

พระองค์ทรงแสดงว่า การเห็นพระตถาคตเจ้า ด้วยมังสจักษุก็ดี การอยู่รวมกัน

ทางรูปกายก็ดี ไม่ใช่เหตุ (ของการอยู่ใกล้) แต่การเห็นด้วยญาณจักษุเท่านั้น

และการรวมกันด้วยธรรมกายต่างหาก เป็นประมาณ (ในเรื่องนี้). ด้วยเหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าภิกษุ

นั้นไม่เห็นธรรม เมื่อไม่เห็นธรรม ก็ไม่เห็นเราตถาคต. ในคำว่า ธมฺม น

ปสฺสติ นั้น มีอธิบายว่า โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ชื่อว่า ธรรม ก็เธอไม่

อาจจะเห็นโลกุตรธรรมนั้นได้ ด้วยจิตที่ถูกอภิชฌาเป็นต้นประทุษร้าย เพราะ

ไม่เห็นธรรมนั้น เธอจึงชื่อว่า ไม่เห็นธรรมกาย สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนวักกลิ เธอจะมีประโยชน์อะไร ด้วยกายอันเปื่อยเน่า

นี้ที่เธอได้เห็นแล้ว ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดแล เห็นธรรม ผู้นั้น ก็เห็นเรา

ตถาคต ผู้ใดเห็นเราตถาคต ผู้นั้น ก็เห็นธรรม ดังนี้ และว่า เราตถาคตเป็น

พระธรรม เราตถาคตเป็นพระพรหมดังนี้ และว่า เป็นธรรมกายบ้าง เป็น

พรหมกายบ้าง ดังนี้ เป็นต้น.

บทว่า โยชนสเต ความว่า ในพื้นที่มีประมาณร้อยโยชน์ อธิบาย

ว่า ในที่มีร้อยโยชน์เป็นที่สุด. คำที่เหลือ พึงทราบ โดยบรรยายที่ผิดจากที่

กล่าวมาแล้ว. และพึงทราบความที่ท่านเป็นผู้ไม่มีการเพ็งเล็งเป็นปกติ ด้วย

สามารถแห่งการบรรลุอริยมรรค.

พึงทราบวินิจฉัยคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ บทว่า มหิจฺโฉ

ความว่า ชื่อว่าผู้มีความมักมาก เพราะมีความกำหนัดแรงกล้าในกามทั้งหลาย.

บทว่า วิฆาตวา ความว่า ชื่อว่าผู้มีความคับแค้น เพราะมีความดำริด้วยใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 584

ที่ถูกความอยากประทุษร้ายแล้ว เพราะเป็นผู้มีความมักมาก ด้วยอำนาจแห่ง

การอาฆาตในสัตว์ทั้งหลาย และเพราะไม่ได้ตามที่ต้องการ. บทว่า เอชานุโค

ความว่า เมื่อติดตามตัณหานั้นไป เหมือนเป็นทาสของตัณหา กล่าวคือความ

หวั่นไหวยังไม่ดับ เพราะถูกความกระวนกระวายเกิดแต่กิเลส มีราคะเป็นต้น

ครอบงำแล้ว คือติดอยู่แล้ว ด้วยความจำนงอารมณ์มีรูปเป็นต้น. บทว่า ปสฺส

ยาวญฺจ อารกา มีอธิบายว่า ผู้มีความมักมาก ถึงอยู่ แม้ใกล้พระสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ผู้ไม่หวั่นไหว ผู้ดับ (ทุกข์) ได้แล้ว ผู้ปราศจากความกำหนัดแล้ว

ตามอำนาจแห่งโอกาส แต่ยังเป็นผู้คับแค้น ติดตามกิเลสชื่อตัณหาไป ยัง

ดับทุกข์ไม่ได้ ยังกำหนัดคือยังเป็นพาลปุถุชนตามสภาวธรรม ชื่อว่า เห็น

พระองค์ได้ตลอดเวลาที่ประทับอยู่ในที่ไกล แม้การจะกราบทูล ก็ไม่ใช่ทำ

ได้ง่าย. สมจริงตามที่ตรัสไว้ว่า

นักปราชญ์กล่าวว่า ท้องฟ้ากับแผ่น

ดินอยู่ไกลกัน ฝั่งมหาสมุทรก็อยู่ไกลกัน

เหมือนกัน แต่ท่านกล่าวว่า ธรรมของ

สัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษไกลกัน

ยิ่งกว่านั้น.

บทว่า ธมฺมมภิญฺาย ความว่า เพราะรู้ยิ่ง คือเข้าใจได้แก่ทราบ

สัจธรรมทั้งสี่ในตอนต้น ด้วยญาตปริญญา และตีรณปริญญาตามสมควร.

บทว่า ธมฺมมญฺาย ความว่า รู้ธรรมนั้นนั่นแหละ ในตอนต่อมาด้วย

มรรคญาณตามขอบเขต ด้วยอำนาจปริญญาเป็นต้น. บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่

ผู้เป็นบัณฑิต เพราะเป็นพหูสูตในทางปฏิเวธ. บทว่า รหโทว นิวาเต จ

ความว่า เป็นผู้ไม่หวั่นไหว คือเว้น จากการหวั่นไหว เพราะกิเลสเงียบสงบอยู่

เหมือนห้วงน้ำในที่สงัดลมฉะนั้น. (อธิบายว่า) ห้วงน้ำนั้นในที่สงัดลม ไม่ถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 585

ลมพัด จะเรียบราบอยู่ (ไม่มีคลื่น) ฉันใด แม้ภิกษุนี้ผู้มีกิเลสสงบแล้ว

เว้นจากความหวั่นไหว เพราะกิเลสจะสงบอยู่ด้วยสมาธิที่สัมปยุตด้วยอรหัตผล

ในที่ทุกแห่ง คือ จะเป็นผู้มีสภาพสงบทีเดียวตลอดกาลทุกเมื่อ. บทว่า อเนโช

ความว่า ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์ มีสภาพไม่หวั่นไหวเป็นต้น โดยโอกาส

ถึงจะอยู่ไกลพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้มีสภาพไม่หวั่นไหว ก็เหมือนกับอยู่ไม่ไกล

คือในสำนักนั่งเอง ตามสภาวธรรม ดังนี้.

จบอรรถกถาสังฆาฏิสูตรที่ ๓

๔. อัคคิสูตร

ว่าด้วยไฟ ๓ กอง

[๒๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้ ๓ กองเป็นไฉน ? คือ

ไฟคือราคะ ๑ ไฟคือโทสะ ๑ ไฟคือโมหะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฟ ๓

กองนี้แล.

ไฟคือราคะ ย่อมเผาสัตว์ผู้กำหนัด

แล้วหมกมุ่นแล้วในกามทั้งหลาย ส่วนไฟ

คือโทสะ ย่อมเผานรชนผู้พยาบาท มี

ปกติฆ่าสัตว์ ส่วนไฟคือโมหะ ย่อมเผา

นรชนผู้ลุ่มหลง ไม่ฉลาดในอริยธรรม

ไฟ ๓ กองนี้ย่อมตามเผาหมู่สัตว์ผู้ไม่รู้สึก

ว่าเป็นไฟ ผู้ยินดียิ่งในกายตน ทั้งในภพนี้

และภพหน้า สัตว์เหล่านั้นย่อมเพิ่มพูน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 586

นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานอสุรกายและ

ปิตติวิสัย เป็นผู้ไม่พ้นไปจากเครื่องผูก

แห่งมาร.

ส่วนสัตว์เหล่าใดประกอบความเพียร

ในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทั้งกลางคืนกลางวัน สัตว์เหล่านั้นผู้มี

ความสำคัญอารมณ์ว่า ไม่งามอยู่เป็นนิจ

ย่อมดับไฟ คือ ราคะได้ ส่วนสัตว์ทั้งหลาย

ผู้สูงสุดในนรชน ย่อมดับไฟคือโทสะได้

ด้วยเมตตา และดับไฟคือโมหะได้ด้วย

ปัญญาอันเป็นเครื่องให้ถึงความชำแรก

กิเลส สัตว์เหล่านั้นมีปัญญาเป็นเครื่อง

รักษาตน ไม่เกียจคร้านทั้งกลางคืนกลาง-

วัน ดับไฟมีไฟคือราคะเป็นต้นได้ ย่อม

ปรินิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ ล่วงทุกข์

ได้ไม่มีส่วนเหลือ บัณฑิตทั้งหลายผู้เห็น

อริยสัจผู้ถึงที่สุดแห่งเวท รู้แล้วโดยชอบ

ด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ซึ่งความสิ้นไป

แห่งชาติ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่.

จบอัคคิสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 587

อรรถกถาอัคคิสูตร

ในอัคคิสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยต่อไปนี้ :-

ชื่อว่าไฟ เพราะความหมายว่า ลวกลน. ไฟคือราคะ ชื่อว่า

ราคัคคิ. เพราะว่า ราคะเมื่อเกิดขึ้นจะลวกลนคือไหม้สัตว์ทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้น จึงตรัสเรียกว่า อัคคิ. ในโทสะ และโมหะ ๒ อย่างนอกจากนี้ ก็มี

นัยนี้เหมือนกัน.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ราคคฺคิ เป็นต้นต่อไป. ไฟติดขึ้นเพราะ

อาศัยเชื้ออันใด ก็จะไหม้เชื้อนั้น (ลุกฮือ) เร่าร้อนมากทีเดียว ฉันใด ราคะ

เป็นต้น แม้เหล่านั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นเองในสันดานใด ก็จะเผาลน

สันดานนั้นให้กลัดกลุ้มมากขึ้น เป็นสิ่งที่ดับได้ยาก. บรรดาสัตว์ที่ถูกราคะ

เป็นต้นเผาลนเหล่านั้น เหล่าสัตว์ที่ถูกความกลัดกลุ้มเผาลนหทัย ประสบ

ความตายเพราะความทุกข์ คือไม่ได้สิ่งที่ต้องการ (ไม่สมหวัง) หาประมาณ

มิได้. นี้เป็นการเผาลนของราคะก่อน. แต่โดยพิเศษแล้ว ได้แก่เทพเจ้าเหล่า

มโนปโทสิกา (จุติเพราะทำร้ายใจ) เพราะการเผาลนของโทสะ. เทพเจ้าเหล่า

ขิฑฑาปโทสิกา (จุติเพราะเพลิดเพลินกับการเล่น) เป็นตัวอย่าง เพราะ

การเผาลนของโมหะ. เพราะว่า ความเผลอสติของเทพเจ้าเหล่านั้นมีได้ ด้วย

อำนาจโมหะ เพราฉะนั้น เทพเจ้าเหล่านั้น เมื่อปล่อยเวลารับประทานอาหาร

ให้ล่วงเลยไป ด้วยอำนาจการเล่นจนทำกาละ นี้ คือการเผาลนแห่งราคะเป็นต้น

ที่มีผลทันตาเห็นก่อน. แต่ที่มีผลในสัมปรายิกภพซึ่งร้ายแรงกว่า และยับยั้ง

ได้ยาก มีขึ้นด้วยอำนาจแห่งการเกิดขึ้นในนรกเป็นต้น. และอรรถาธิบายนี้

ควรขยายให้แจ่มชัด ตามอาทิตตปริยายสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 588

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายต่อไป. บทว่า กาเมสุ มุจฺฉิเต

ความว่า ถึงการสยบคือความโง่ ได้แก่ความประมาท หมายความว่า มิจฉาจาร

ด้วยอำนาจภาวะที่จะต้องดื่มด่ำในวัตถุกามทั้งหลาย. บทว่า พฺยาปนฺเน ความว่า

มีจิตถึงความพินาศ. เชื่อมความว่า เผาอยู่. คำว่า นเร ปาณาติปาติโน นี้

เป็นชื่อของไฟคือโทสะ. บทว่า อริยธมฺเม อโกวิเท ความว่า ชนเหล่าใด

เว้นการทำไว้ในใจ ซึ่งการเรียนและการซักถาม ในธรรมทั้งหลายมีขันธ์และ

อายตนะเป็นต้น ทั่วทุกอย่างชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฉลาดในธรรม ชนเหล่านั้นถูก

ความงมงายครอบงำแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า. ชื่อว่า เป็นผู้งมงาย

โดยพิเศษ. บทว่า เอเต อคฺคี อชานนฺตา ความว่า ไม่รู้อยู่ว่า ไฟราคะ

เป็นต้นเหล่านี้ เผาลนอยู่ทั้งในภพนี้ และในสัมปรายภพ คือ ไม่แทงตลอด

ด้วยอำนาจแห่งการบรรลุ ด้วยปริญญากิจ และด้วยสามารถแห่งการบรรลุ

ด้วยปหานกิจ. บทว่า สกฺกายาภิรตา ความว่า เพลิดเพลินยินดียิ่งนักใน

กายของตนคือในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ ด้วยอำนาจตัณหาและทิฏฐิ. บทว่า

วฑฺฒยนฺติ ความว่า เพิ่มพูนคือสะสมไว้ โดยการให้เกิดขึ้นบ่อย ๆ. บทว่า

นิรย ได้แก่ นรกทุก ๆ ขุม คือ นรกใหญ่ ๘ ขุม และอุสสทนรก ๑๖ ขุม.

บทว่า ติรจฺฉานญฺจ โยนิย ได้แก่ กำเนิดเดียรฉานด้วย. บทว่า อสุร

ได้แก่ อสุรกาย เชื่อมความว่า เพิ่มปิตติวิสัยเข้าไปด้วย.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงวัฏฏะโดยมุข คือ การแสดงภาวะ

ที่ไฟราคะเป็นต้น เผาลนทั้งในภพนี้และภพหน้า ด้วยพระดำรัสเพียงเท่านี้แล้ว

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ ด้วยการดับไฟราคะเป็นต้นเหล่านั้น จึงตรัส

คำมีอาทิไว้ว่า เย จ รตฺตินฺทิวา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยุตฺตา ความว่า ประกอบแล้ว ด้วย

สามารถแห่งการประกอบเนือง ๆ ซึ่งภาวนา. บรรดาภาวนาทั้ง ๒ นั้น ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 589

ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงแสดงความที่ไฟราคะเป็นต้น

ดับได้ ไม่ใช่ในศาสนาอื่น. อนึ่ง เมื่อจะทรงแสดงวิธีดับไฟราคะเป็นต้น

เหล่านั้น และอสุภกรรมฐานที่ไม่ทั่วไปแก่ศาสนาอื่น โดยสังเขปเท่านั้น จึง

ตรัสไว้ว่า

ท่านเทล่านั้นมีความสำคัญว่าไม่งาม

อยู่เนืองนิตย์ย่อมดับไฟราคะได้ แต่ผู้สูง

สุดกว่านรชนดับไฟโทสะได้ ด้วยเมตตา

ส่วนไฟโมหะ ท่านดับได้ด้วยปัญญานี้ ที่

เป็นเหตุให้เจาะทะลุไปเป็นปกติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสุภสญฺิโน ความว่า ผู้ชื่อว่ามี

อสุภสัญญาเป็นปกติ (มีความสำคัญหมายว่าไม่งาม) เพราะประกอบความ-

เพียรเนือง ๆ ในอสุภภาวนา ด้วยอำนาจอาการ ๓๒ และด้วยอำนาจอารมณ์

มีซากศพที่ขึ้นพองเป็นต้น . บทว่า เมตฺตาย ความว่า ด้วยเมตตาภาวนา

ที่ตรัสไว้ว่า เธอมีจิตสรหคตด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศ ๆ หนึ่งอยู่ และใน

พระคาถานี้ ผู้ศึกษาพึงทราบการดับไฟราคะและไฟโทสะ ด้วยอนาคามิมรรค

ที่เกิดขึ้นโดยทำฌานที่มีอสุภะเป็นอารมณ์ และ (ฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์)

ให้เป็นเบื้องบาท. บทว่า ปญฺาย ความว่า ด้วยมรรคปัญญาที่ประกอบด้วย

วิปัสสนาปัญญา ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ยาย นิพฺเพธ-

คามินี เพราะว่า ปัญญานั้นจะทะลุทะลวงกิเลสและขันธ์ไปคือเป็นไป เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า นิพเพธคามินี (เจาะทะลุไป).

บทว่า อเสส ปรินิพฺพนฺติ ความว่า ท่านเหล่านั้นให้ไฟราคะ

เป็นต้น ดับไปไม่มีเหลือ ด้วยอรหัตมรรคแล้วดำรงอยู่ ด้วยสอุปาทิเสส-

นิพพานธาตุ ชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน เพราะถึงความไพบูลย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 590

แห่งปัญญา ชื่อว่า เป็นผู้ไม่ซึมเซาตลอดทั้งคืนทั้งวัน เพราะเป็นผู้ละความ

เกียจคร้านได้โดยเด็ดขาดมาก่อนแล้วด้วยสัมมัปปธาน และเพราะเป็นผู้ขยัน

หมั่นเพียรด้วยการเข้าผลสมาบัติ ชื่อว่า ดับสนิทไม่มีเหลือ ด้วยอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุ เพราะจิตดวงหลัง (สุดท้าย) ดับแล้ว และต่อจากนั้นไป ก็จะ

ข้ามไป คือ ก้าวล่วงวัฏทุกข์ไปได้ ไม่มีเหลือคือไม่เหลือไว้เลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงความดับด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

แก่เหล่าภิกษุผู้ดับไฟราคะเป็นต้น ได้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงชมเชย

(ภิกษุเหล่านั้น) ด้วยคุณธรรมทั้งหลายที่เธอได้แทงตลอดกันแล้ว จึงได้ตรัส

พระคาถาสุดท้ายไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อริยทฺทส ความว่า ท่านเหล่าใดเห็นอยู่

ซึ่งธรรมที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย คือ บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น จะ

พึงเห็น หรือเห็นพระนิพพาน ที่ชื่อว่าอริยะ เพราะไกลจากกิเลสทั้งหลาย อีก

อย่างหนึ่ง เห็นอยู่ ซึ่งสัจจะทั้ง ๔ ที่ประเสริฐ เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้นจึง

ชื่อว่า อริยทฺทส (ผู้เห็นสัจจะอันประเสริฐ). ท่านเหล่าใดถึงที่สุดแห่งพระเวท

คือ มรรคญาณ หรือถึงที่สุดแห่งสงสารด้วยพระเวท (คือมรรคญาณ) นั้น

เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้น จึงชื่อว่า เวทคุโน (ผู้ถึงที่สุดแห่งพระเวท).

บทว่า สมฺมทญฺาย ความว่า เพราะรู้กุศลธรรมเป็นต้น และขันธ์เป็นต้น

ที่จะต้องรู้ทุกอย่าง โดยชอบนั่นเอง. คำที่เหลือมีนัยเหมือนที่กล่าวมาแล้ว.

จบอรรถกถาอัคคิสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 591

๕. อุปปริกขยสูตร

ว่าด้วยผู้ตัดเรื่องข้องได้ไม่มีภพใหม่

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุพิจารณาอยู่ด้วยประใด ๆ

วิญญาณของเธอไม่ฟุ้งซ่านแล้ว ไม่ส่ายไปแล้ว ไม่หยุดอยู่แล้วในภายใน

ภิกษุพึงพิจารณาด้วยประการนั้น ๆ เมื่อภิกษุไม่สะดุ้งเพราะไม่ถือมั่น ความ

สมภพ คือ ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์ คือ ชาติ ชราและมรณะ ย่อมไม่มีต่อไป.

ภิกษุผู้ละธรรมเป็นเครื่องข้อง ๗

ประการได้แล้ว ตัดตัณหาเป็นเหตุนำไป

ในภพขาดแล้ว มีสงสาร คือ ชาติหมดสิ้น

แล้ว ภพใหม่ของเธอย่อมไม่มี.

จบอุปปริกขยสูตรที่ ๕

อรรถกถาอุปปริกขยสูตร

ในอุปปริกขยสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตถา ตถา ความว่า โดยประการนั้น ๆ . บทว่า อุปริกฺเขยฺย

ความว่า พึงพิจารณาไต่ตรองดูหรือตรวจตราดู. บทว่า ยถา ยถาสฺส

อุปปริกฺขโต ความว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาอยู่โดยประการใด ๆ. บทว่า

พหิทฺธา จสฺส วิญฺาณ อวิกฺขิตฺต อวิสฏ ความว่า วิญญาณ (จิต)

ของเธอ ชื่อว่า เป็นจิตไม่ฟุ้งซ่าน เพราะไม่มีความฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นในอารมณ์

มีรูปเป็นต้น ภายนอก คือเป็นจิตตั้งมั่น พึงเป็นจิตไม่ซัดส่ายไปจากอารมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 592

กรรมฐานนั้นนั่นเอง มีพุทธานิบายนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุรูปนี้

ผู้ปรารภวิปัสสนาใคร่ครวญ คือ พิจารณาสังขารทั้งหลาย ได้แก่ ถือเอานิมิต

ในสมถะ ด้วยอำนาจแห่งการกำหนดอาการที่จิตตั้งมั่นมาก่อนแล้วให้สัมมสน-

ญาณเป็นไป ตลอดเวลาไม่มีระหว่างขั้นโดยเคารพวิปัสสนาจิตของตนจะไม่พึง

เกิดขึ้น ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่นอกไปจากกรรมฐาน คือ ไม่พึงเป็น

ฝักฝ่ายแห่งความฟุ้งซ่าน เพราะปรารภความเพียรมากเกินไป โดยประการ

ใด ๆ ภิกษุพึงพิจารณา คือ ไตร่ตรอง โดยประการนั้น ๆ ดังนี้. บทว่า

อชฺฌตฺต อสณฺิต ความว่า เพราะเหตุที่ (จิตของเธอ) ชื่อว่าหยุดอยู่แล้ว

เพราะหยุดอยู่ ด้วยอำนาจแห่งความปั่นป่วน ชื่อว่าในภายใน คือ ในอารมณ์

กรรมฐานกล่าวคืออารมณ์ที่มีอยู่ในภายใน โดยการครอบงำความเกียจคร้าน

ไว้ได้ เพราะเหตุที่เบื่อความเพียรดำเนินไปเพลาลงแล้ว สมาธิก็จะมีกำลัง

แต่เมื่อพระโยคาวจรประกอบความเพียรสม่ำเสมอ แล้วจิตก็ชื่อว่าเป็นจิตไม่-

หยุดอยู่ คือ เป็นจิตดำเนินไปสู่วิถีแล้ว ฉะนั้น ภิกษุนั้น พึงพิจารณาโดยประการ

ที่เมื่อเธอพิจารณาแล้ว วิญญาณ (จิต) จะไม่พึงหยุดอยู่ในภายใน คือ จะพึง

ดำเนินไปสู่วิถี. บทว่า อนุปาทาย น ปริตสฺเสยฺย มีการเชื่อมความว่า

ภิกษุนั้น ควรพิจารณาโดยประการที่เมื่อเธอพิจารณาอยู่จะไม่ยึดถือสังขาร

อะไร ๆ ในรูปเป็นต้น ด้วยอำนาจการยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิว่า นั่นเป็น

ของเรา นั่นเป็นอัตตาของเราแล้ว ต่อแต่นั้นไปนั่นเอง ก็จะไม่พึงหวาดสะดุ้ง

ด้วยอำนาจการยึดถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ. ถามว่า ก็เมื่อพิจารณาอยู่อย่างไร

ทั้ง ๓ อย่างนี้ (จิตหยุด ไม่หยุด ดำเนินสู่วิถี) จึงจะมี. แก้ว่า เมื่อเธอระลึก

ถึงธรรมที่เป็นฝ่ายความฟุ้งซ่านและที่เป็นฝ่ายแห่งความเกียจคร้าน ประกอบ

ความเพียรให้สม่ำเสมอ ชำระจิตให้สะอาดจากวิปัสสนูปกิเลส ในตอนต้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 593

(ต่อไป) ก็พิจารณาโดยที่วิปัสสนาญาณจะดำเนินไปสู่วิปัสสนาวิถีโดยชอบ

นั่นเอง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงอุบายสำหรับชำระจิตให้สะอาดจาก

ความเพียรมากเกินไป ความเพียรหย่อนเกินไป และวิปัสสนูปกิเลส ด้วย

ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิประกอบแล้ว แก่ภิกษุผู้บำเพ็ญกรรมฐานมีสัจจะ

ทั้ง ๔ เป็นอารมณ์อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงว่า เมื่อพระโยคาวจร

ชำระวิปัสสนาญาณให้สะอาดอย่างนั้น ไม่นานเลยก็จะเป็นไปเพื่อสืบต่อด้วย

วิปัสสนามรรคแล้วก้าวล่วงวัฏทุกข์ทั้งสิ้นได้ จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า พหิทฺธา

ภิกฺขเว วิญฺาเณ ดังนี้. คำนั้น มีนัยดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

ส่วนพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า การสมภพ คือ

การเกิดขึ้นแห่งทุกข์ คือ ชาติ ชราและมรณะ จะไม่มีต่อไป มีเนื้อความ ดังนี้

คือ เมื่อกิเลสสิ้นไปแล้ว ด้วยมรรคเบื้องปลาย ตามลำดับ มรรคโดยไม่มีเหลือเลย

เพราะสืบต่อด้วยวิปัสสนามรรคอย่างนี้ การสมภพ กล่าวคือเหตุเกิดขึ้นแห่ง

วัฏทุกข์ทั้งสิ้น คือ ชาติ ชราและมรณะจะไม่มี และการอุบัติขึ้นแห่งวัฏทุกข์

ทั้งสิ้น ก็จะไม่มี ในกาลต่อไป คือ ในอนาคต อีกอย่างหนึ่ง เหตุเกิดแห่ง

ทุกข์ กล่าวคือชาติ ก็จะไม่มี และการเกิดแห่งทุกข์ คือ ชราและมรณะ ก็จะ

ไม่มี.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาต่อไป บทว่า สตฺตสงฺคปฺปหีนสฺส

ความว่า ผู้ชื่อว่าละเครื่องข้อง ๗ อย่างได้ เพราะละเครื่องข้อง ๗ อย่าง

เหล่านี้ได้ คือ เครื่องข้องคือตัณหา ๑ เครื่องข้องคือทิฏฐิ ๑ เครื่องข้องคือ

มานะ ๑ เครื่องข้องคือโกธะ ๑ เครื่องข้องคืออวิชชา ๑ เครื่องข้องคือกิเลส ๑

เครื่องข้องคือทุจริต ๑. ส่วนอาจารย์บางเหล่ากล่าวว่า เครื่องข้อง ๗ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 594

คือ อนุสัย ๗ นั่นเอง. บทว่า เนตฺติจฺฉนฺนสฺส ความว่า ผู้ตัดกิเลสที่จะ

นำไปสู่ภพขาดแล้ว. บทว่า วิกฺขีโณ ชาติสสาโร ความว่า ก็สงสาร

ที่ชื่อว่าเป็นตัวชาติ เพราะเป็นเหตุของชาติ โดยการเป็นไปด้วยสามารถแห่ง

การเกิดขึ้นแล้ว ๆ เล่า ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ชาติสสาโร สงสาร คือ

ชาตินั้นสิ้นสุดแล้ว คือ สุดสิ้นลงแล้ว เพราะตัณหาที่นำไปสู่ภพถูกตัดขาดแล้ว

ต่อแต่นั้นนั่นเอง ภพใหม่ของท่านก็จะไม่มี ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอุปปริกขยสูตรที่ ๕

๖. อุปปัตติสูตร

ว่าด้วยการเข้าถึงกาม ๓ ประการ

[๒๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การเข้าถึงกาม ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็น

ไฉน ? คือ เหล่าสัตว์ผู้มีกามอันปรากฏแล้ว ๑ เทวดาผู้ยินดีในกามที่ตน

นิรมิตเอง ๑ เทวดาผู้ให้อำนาจเป็นไปในกามที่ผู้อื่นนิรมิตให้ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็เข้าถึงกาม ๓ อย่างนี้แล.

เหล่าสัตว์ผู้มีกาม อันปรากฏแล้ว

เทวดาผู้ยินดีในกามนิรมิตเอง เทวดาผู้ยัง

อำนาจให้เป็นไป ทั้งมนุษย์และสัตว์ผู้บริ-

โภคกามเหล่าอื่น ซึ่งเป็นผู้ฉลาดในการ

บริโภคกาม ย่อมไปก้าวล่วงสงสารอันมี

ความเป็นอย่างนี้ และมีความเป็นอย่างอื่น

ไปได้ บัณฑิตพึงสละกามทั้งที่เป็นของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 595

ทิพย์ทั้งที่เป็นของมนุษย์เสียทั้งหมด บัณ-

ฑิตทั้งหลาย ตัดกระแสตัณหาในปิยรูป

และสาตรูป ที่บุคคลก้าวล่วงได้โดยยาก

ได้แล้ว ย่อมปรินิพพานโดยไม่มีส่วนเหลือ

ล่วงทุกข์ได้โดยไม่มีส่วนเหลือ บัณฑิต

ทั้งหลายผู้เห็นอริยสัจ รู้ถึงเวท รู้แล้ว

โดยชอบด้วยปัญญาเป็นเครื่องรู้ยิ่งซึ่งความ

สิ้นไปแห่งชาติ ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่.

จบอุปปัตติสูตรที่ ๖

อรรถกถาอุปปัตติสูตร

ในอุปปัตติสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กามูปปตฺติโย ได้แก่ การได้กาม หรือการซ่องเสพกาม.

บทว่า ปจฺจุปฏฺิตกามา ได้แก่ เป็นผู้ใคร่อยู่เป็นนิตย์ คือ มี

อารมณ์เป็นนิตย์ เช่นมนุษย์ทั้งหลาย. อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลาย ตกอยู่

ในอำนาจวัตถุเป็นนิตย์ ที่จิตปฏิพัทธ์อยู่ ถึงจะนำเอามาตุคามนั้นแหละมาให้

ตั้งร้อย ตั้งพัน ก็ยังรับอยู่ได้เป็นประจำ. และเทวดาบางพวก (ก็เหมือนกัน).

อธิบายว่า เทวดาผู้อยู่ในเทวโลก ๔ ชั้น นับแต่เทวดาชั้นจาตุมหาราชิกาไป

ก็ตกอยู่ในอำนาจวัตถุเป็นนิตย์เหมือนกัน . ก็ในข้อนี้ มีเรื่องของปัญจสิขเทพ-

บุตร เป็นตัวอย่าง. ถึงสัตว์ที่เกิดในอบายที่เหลือ บางเหล่า เว้นสัตว์นรกที่

เกิดในอบาย ก็เหมือนกัน คือ ตกอยู่ในอำนาจวัตถุเนืองนิตย์ทั้งนั้น เพราะว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 596

ปลา ก็ตกอยู่ในอำนาจของปลาตัวเมียของตน เต่าก็ตกอยู่ในอำนาจของเต่าตัว

เมียของตนเป็นอันว่า สัตว์เดียรัจฉานแม้ทั้งหมด และเปรตจำพวกวินิปาติกะ

ย่อมตกอยู่ในอำนาจวัตถุเนืองนิตย์ ดังพรรณนามานี้ เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้

ตั้งแต่สัตว์ที่เกิดในอบายที่เหลือ จนถึงเทวดาเหล่าชั้นดุสิต เว้นสัตว์นรก

ชื่อว่า มีกามปรากฏแล้ว.

บทว่า นิมฺมานรติโน ความว่า เทวดาทั้งหลาย ชื่อว่า นิมมานรดี

เพราะมีความยินดีในสมบัติเนรมิต ที่เนรมิตขึ้นเอง. อธิบายว่า เทวดาเหล่า

นั้น ย่อมปรารถนา รูปชนิดใด ด้วยสามารถแห่งรูปสีเขียว รูปสีเหลือง

เป็นต้น ก็เนรมิตรูปชนิดนั้นแล้วยินดีอยู่ เหมือนเทวดาเหล่า มนาปกายิกา

ผู้อยู่เฉพาะหน้าท่านพระอนุรุทธเถระฉะนั้น.

บทว่า ปรนิมฺมิตวสวตฺติโน ความว่า เทวดา ชื่อว่า ปรนิมมิ-

ตวสวัตดี เพราะตกอยู่ในอำนาจกาม ที่เทพเหล่าอื่นเนรมิตไว้. อธิบายว่า

เทวดาเหล่าอื่นรู้ใจของเทวดาชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี แล้วเนรมิต กามโภคะให้

ตามใจชอบ เทวดาเหล่านั้น จึงตกอยู่ในอำนาจกามโภคะนั้น. ถามว่า เทวดา

เหล่านั้นรู้ใจของผู้อื่นได้อย่างไร ? แก้ว่า รู้ได้ ด้วยสามารถแห่งการคบหา

กันมาเป็นประจำ อธิบายว่า เหมือนเจ้าพนักงานห้องเครื่อง ผู้ฉลาดรู้พระ

กระยาหารที่พระราชาผู้เสวย ชอบเสวย ฉันใด เทวดาเหล่าอื่นก็รู้อารมณ์ที่

เทวดาชั้นปรนิมมิตวัตดี ชอบใจ โดยปกติ ย่อมเนรมิต อารมณ์เช่นนั้น

แหละ ฉันนั้น เทวดาเหล่านั้นตกอยู่ในอำนาจอารมณ์นั้น ย่อมบริโภคกาม

ทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งการเสพเมถุนเป็นต้น. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

กามกิจ ของเทวดาเหล่านั้น ย่อมสำเร็จด้วยเหตุเพียงยิ้มแย้ม ด้วยเหตุเพียง

การมองดู ด้วยเหตุเพียงสวมกอด และด้วยเหตุเพียงจับมือ ดังนี้. ในอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 597

ท่านค้านคำนั้นไว้ว่า ก็เหตุเพียงการยิ้มแย้มเป็นต้นนั้น ไม่มี. อธิบาย

ว่า ผู้ที่ไม่ถูกต้องกันด้วยกาย กามกิจคือโผฏฐัพพะ ย่อมไม่สำเร็จได้เลย.

สำหรับเทวดาชั้นกามาวจรทั้ง ๖ มีกามเป็นปกติเหมือนกัน. สมดังคำที่พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

พวกเทวดา กามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น

เหล่านี้ เพียบพร้อมไปด้วยกามคุณทั้งปวง

อายุของพวกเทวดากามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น

นับรวมกันทั้งหมดเป็นเท่าไร ?

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาทั้งหลายต่อไป. บทว่า เย จญฺเ

ได้แก่ เทวดาเหล่าอื่นจากเทวดาที่กล่าวมาแล้ว และมนุษย์ผู้บริโภคกาม ทั้ง

สัตว์ผู้เข้าถึงอบายบางเหล่า ทั้งหมด. บทว่า อิตฺถภาวญฺถาภาว

ความว่า เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น ย่อมไม่เป็นไปล่วง ถึงไม่ก้าวล่วง

สงสาร สองประเภท คือ อัตภาพตามที่ได้มานี้ ๑ ความเป็นอย่างอื่นจากนี้

กล่าวคือ อุปบัติภพอื่น ๑. บทว่า สพฺเพ ปริจฺจเช กาเม ความว่า

มนุษย์และเทวดาทั้งหมดนั้น ถึงสละกามทั้งหมด แยกประเภทเป็นกามทิพย์

เป็นต้น ทั้งที่เป็นวัตถุกาม และกิเลสกาม อธิบายว่า เมื่อละกิเลสกรรม

ด้วยอนาคามิมรรคนั่นแหละชื่อว่า สละวัตถุกาม. บทว่า ปิยรูปสาตรูปคธิต

ความว่า กำหนัดแล้วยินดีแล้ว ในปิยรูปทั้งหลาย ด้วยความพอใจสุขเวทนา

ในรูปเป็นต้น. บทว่า เฉตฺวา โสต ทุรจฺจย ความว่า ตัดขาดกระแส

ตัณหาที่ผู้อื่นก้าวล่วงได้โดยยาก คือข้ามได้ยาก. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้ว

ในหนหลังทั้งนั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาอุปปัตติสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 598

๗. กามสูตร

ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยกามไปสู่สงสาร

[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ

ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ เป็นผู้ยังมา ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้ (คือ

อัตภาพแห่งมนุษย์) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกาม-

โยคะ (แต่) ยังประกอบด้วยภวโยคะ เป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ พรากแล้วจาก

ภวโยคะ เป็นพระอรหันตขีณาสพ.

สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้วด้วยกาม

โยคะและภวโยคะ ย่อมไปสู่สงสารซึ่งมี

ปกติถึงความเกิดและความตาย ส่วนสัตว์

เหล่าใดละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด แต่ยัง

ไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ยังประกอบ

ด้วยภวโยคะ สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า

เป็นพระอนาคามี ส่วนสัตว์เหล่าใดตัด

ความสงสัยได้แล้ว มีมานะและมีภพใหม่

สิ้นแล้ว ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลายแล้ว สัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้ว

ในโลก.

จบกามสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 599

อรรถกถากามสูตร

ในกามสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กามโยคยุตฺโต ความว่า ราคะที่ประกอบด้วยเบญจกามคุณ

ชื่อว่า กามโยคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยกามโยคะนั้น ชื่อว่า กามโยคยุตฺโต.

บทว่า กามโยคยุตฺโต นี้ เป็นชื่อของ กามราคะ ที่ยังตัดไม่ขาดแล้ว.

ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจในรูปภพ และอรูปภพทั้งหลาย ชื่อว่า

ภวโยคะ. ความใคร่ในฌาน และราคะอันประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ ก็

อย่างนั้น คือ ชื่อว่า ภวโยคะ (เหมือนกัน ). บุคคลผู้ประกอบด้วยภวโยคะ

นั้น ชื่อว่า ภวโยคยุตฺโต. อธิบายว่า ยังละภวราคะไม่ได้ บทว่า อาคามี

ความว่า บุคคลแม้จะดำรงอยู่ในพรหมโลก ก็ยังมาสู่มนุษยโลกนี้เป็นปกติ

ด้วยสามารถแห่งการถือปฏิสนธิ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดังนี้. อธิบายว่า มีอันต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้

กล่าวคืออัตภาพแห่งมนุษย์เป็นธรรมดา ได้แก่มีการบังเกิดในมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นปกติ. เพื่อจะทรงแสดงว่า ก็กามโยคะเป็นเหตุแห่งการมาสู่ความเป็น

อย่างนี้ในมนุษยโลกนี้โดยแท้ ถึงกระนั้นผู้ใดประกอบกามโยคะ ผู้นั้นย่อม

ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบแม้ภวโยคะโดยส่วนเดียวดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสคำทั้งสองไว้รวมกันว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วย

กามโยคะ และประกอบแล้วด้วยภวโยคะ ดังนี้.

แม้อสุภฌาน ก็ชื่อว่า กามโยควิสโยโค ในบทว่า กามโยค-

วิสยุตฺโต นี้. อนาคามิมรรคที่พระอริยบุคคลบรรลุแล้ว โดยกระทำอสุภฌาน

นั้นให้เป็นบาท ชื่อว่าผู้พรากจากกามโยคะโดยส่วนเดียวเท่านั้น. เพราะเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 600

นั้น พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลแห่งมรรคที่ ๓ ท่านจึงเรียกว่า กามโยค-

วิสยุตฺโต (พรากแล้วจากกามโยคะ) ดังนี้. ก็เพราะเหตุที่ฉันทราคะในรูปภพ

และอรูปภพ อันพระโยคาวจรยังละไม่ได้ ด้วยอนาคามิมรรค ฉะนั้น พระ-

โยคาวจรนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภวโยคยุตฺโต เพราะยังละภวโยคะไม่ได้.

บทว่า อนาคามี ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้ไม่มาสู่กามโลก ด้วยสามารถ

แห่งการถือปฏิสนธิ. อธิบายว่า พระอนาคามีบุคคล ชื่อว่าไม่ต้องมาสู่

ความเป็นอย่างนี้ เพราะสำเร็จความเป็นผู้ไม่มีสังโยชน์ในภายใน ด้วยการ

เพิกถอนเสียได้ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์โดยไม่มีส่วนเหลือ พร้อมกับด้วย

สามารถแห่งการพรากจากกามโยคะนั่นเอง เป็นผู้ปรินิพพานในชั้นนั้น มีอัน

ไม่กลับมาเป็นธรรมดา.

ก็ภวโยคะอันพระอริยบุคคลใดละได้แล้วโดยไม่มีส่วนเหลือ แม้

กิเลสที่เหลือมีอวิชชาโยคะเป็นต้น ย่อมชื่อว่าเป็นอันพระอริยบุคคลนั้นละได้

แล้วทีเดียว เพราะเหตุที่กิเลสเหล่านั้น ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน เพราะเหตุนั้น

พระอริยบุคคลผู้มีสังโยชน์คือภพอันสิ้นแล้วนั้น ท่านจึงเรียกว่า พระอรหันต-

ขีณาสพ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ พรากแล้วจากภวโยคะ เป็นพระ

อรหันตขีณาสพ ดังนี้. ก็ในอธิการนี้ พึงเห็นว่า พระอนาคามีผู้พรากแล้ว

จากกามโยคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อตรัสสรรเสริญ ตติยมรรค

ดุจการละ สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส ของจตุตถฌาม (และสรรเสริญ)

จตุตถมรรค ดุจความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ คือ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพต-

ปรามาส ฉะนั้น. ปุถุชนทั้งหมด พร้อมด้วยพระโสดาบัน และพระสกทา-

คามี พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาแล้วด้วยบทแรก. พระอนาคามีทั้งหมด

ทรงถือเอาแล้วด้วยบทที่สอง. ส่วนพระอรหันต์ทรงถือเอาด้วยบทที่สาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 601

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงยังพระเทศนาให้จบลงด้วยยอด คือ

พระอรหัต.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาทั้งหลายต่อไป บทว่า อุภย ความว่า

โดยส่วนสอง อธิบายว่า ประกอบด้วยกามโยคะ และภวโยคะทั้งสอง. บทว่า

สตฺตา คจฺฉนฺติ สสาร ความว่า สัตว์ ๓ ประเภทเหล่านี้คือ ปุถุชน

พระโสดาบัน พระสกทาคามี ยังต้องไปคือท่องเที่ยวไป เพราะยังละกามโยคะ

และภวโยคะไม่ได้ ต่อจากนั้นก็จะเป็นผู้ไปสู่ชาติและมรณะ.

ในบรรดาพระโสดาบันบุคคล ๓ จำพวก คือ เอกพีชี โกลังโกละ

สัตตักขัตตุปรมะเหล่านี้ พระโสดาบันผู้มีอินทรีย์อ่อนกว่าเขาทั้งหมด ชื่อว่า

สัตตักขัตตุปรมะ ท่านย่อมไม่เกิดในภพที่ ๘ แต่ยังต้องท่องเที่ยวไปด้วย

สามารถแห่งการเกิดของตนที่ธรรมดากำหนดไว้. พระโสดาบันแม้นอกนี้ก็

เหมือนกัน. แม้บรรดาพระสกทาคามีทั้งหลาย พระสกทาคามีใดบรรลุสกทา-

คามิมรรคในโลกนี้แล้วบังเกิดในเทวโลก มาบังเกิดในโลกนี้อีก พระสกทาคามี

นั้น ชื่อว่าท่องเที่ยวด้วยสามารถแห่งชาติที่ตนกำหนดแล้ว. แต่พระสกทาคามี

บุคคลเหล่าใด ย่อมบังเกิดในเทวโลกนั้น ๆ แหละ หรือในมนุษยโลกนั่นเอง

โดยเว้นโวมิสสกนัย พระสกทาคามีเหล่านั้น ยังต้องท่องเที่ยวไปอยู่นั่นเอง

เพราะยังต้องไปบังเกิดบ่อย ๆ จนกว่าอินทรีย์จะแก่กล้า โดยได้บรรลุมรรค

ชั้นสูงๆ ขึ้นไป. แต่ในปุถุชนเรื่องที่จะต้องกล่าวถึงไม่มีเลย เพราะสังโยชน์

ในภพทั้งปวงยังไม่หมดสิ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบแล้วด้วย

กามโยคะ และภวโยคะ ทั้งสองย่อมไปสู่

สงสาร ซึ่งมีปกติถึงความเกิดและความ

ตาย ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 602

บทว่า กาเม ปหนฺตฺวาน ความว่า ละกิเลสกามทั้งหลาย กล่าวคือ

กามราคะ ด้วยพระอนาคามิมรรค. บทว่า ฉินฺนสสยา ความว่า มีความ

สงสัยอันตัดขาดแล้วด้วยดี ก็แลการตัดความสงสัยนั่นแล จะมีได้ก็ด้วยพระ-

โสดาปัตติมรรคเท่านั้น. ก็เพื่อจะทรงสรรเสริญมรรคที่ ๔ จึงตรัสไว้อย่างนี้.

อธิบายว่า พระอรหันต์ทั้งหลายทรงประสงค์เอาว่า ผู้ตัดความสงสัยได้แล้วใน

พระคาถานี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ขีณมานปุนพฺภวา

มีมานะและภพใหม่สิ้นแล้ว ดังนี้. พระอริยบุคคลชื่อว่า มีมานะและภพใหม่

สิ้นแล้ว เพราะท่านมีมานะทั้ง ๙ และภพใหม่ต่อไปสิ้นแล้ว โดยประการ

ทั้งปวง. ก็ในบทว่า ขีณมานปุนพฺภวา นี้ กิเลสอันมรรคที่ ๔ พึงฆ่าทั้งหมด

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วด้วยมานศัพท์ หรือด้วยสามารถแห่งลักษณะ

เพราะกิเลสมีอรรถอย่างเดียวกับมานะนั้น. ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็น

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยที่พระขีณาสพมีอาสวะสิ้นแล้ว. อนุปาทิ-

เสสนิพพานธาตุ เป็นอันพระองค์ตรัสแล้ว โดยที่พระขีณาสพมีภพใหม่

สิ้นแล้ว. คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถากามสูตรที่ ๗

๘. กัลยาณสูตร

ว่าด้วยศีลงามธรรมงามปัญญางาม

[๒๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมงาม มีปัญญา

งาม เรากล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็นบุรุษผู้

สูงสุดในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ เป็นผู้มี่ศีล สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยอาจาระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 603

และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีศีลงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีล

งามด้วยประการดังนี้.

ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบ

ด้วยความเพียรในการเจริญโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการเนือง ๆ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีธรรมงามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม

ด้วยประการดังนี้.

ภิกษุเป็นผู้มีปัญญางามอย่างไร ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้กระทำให้แจ้ง

ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มี

ปัญญางามอย่างนี้แล ภิกษุเป็นผู้มีศีลงาม มีธรรมงาม มีปัญญางาม ด้วย

ประการนี้ เรากล่าวว่า เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ เป็น

บุรุษสูงสุดในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุใดไม่มีการทำชั่วด้วยกาย วาจา

ใจ พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้า

เป็นต้น กล่าวภิกษุผู้มีหิรินั้นแลว่าผู้มีศีล

งาม.

ภิกษุใดเจริญดีแล้วซึ่งธรรมทั้งหลาย

อันให้ถึงอริยมรรคญาณเป็นเครื่องตรัสรู้ดี

ที่ตนได้บรรลุแล้ว พระอริยเจ้าทั้งหลายมี

พระพุทธเจ้าเป็นต้นกล่าวภิกษุผู้ไม่มีกิเลส

เครื่องฟูขึ้นนั้นแลว่า ผู้มีธรรมอันงาม.

ภิกษุรู้ชัดซึ่งความสิ้นไปแห่งทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 604

ของตนในอัตภาพนี้แล พระอริยเจ้าทั้ง

หลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น กล่าวภิกษุ

ผู้ไม่มีอาสวะ สมบูรณ์ด้วยธรรมเหล่านั้น

ผู้ไม่มีทุกข์ ตัดความสงสัยได้แล้ว ไม่

อาศัยละกิเลสทั้งหมดในโลกทั้งปวงนั้นแล

ว่าผู้มีปัญญางาม.

จบกัลยาณสูตรที่ ๘

อรรถกถากัลยาณสูตร

ในกัลยาณสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กลฺยาณสีโล ความว่า ผู้มีศีลอันงาม คือ มีศีลสมบูรณ์แล้ว

ได้แก่ มีศีลบริบูรณ์แล้ว. ในองคคุณทั้ง ๓ นั้น ภิกษุชื่อว่า มีศีลบริบูรณ์

ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือด้วยการเห็นโทษแห่งศีลวิบัติโดยชอบนั่นเอง ๑

ด้วยการเห็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติ ๑. แต่ในข้อที่ว่ามีศีลอันงามนี้ พึงทราบ

ความที่ศีลนั้นงามด้วยสามารถแห่งมรรคศีลและผลศีล ที่พ้นจากข้อผูกพัน

ทั้งหมด (และ) บริบูรณ์โดยอาการทั้งปวง.

โพธิปักขิยธรรมทั้งหมด ทรงประสงค์เอาว่า กัลยาณธรรม

เพราะฉะนั้น ภิกษุชื่อว่า มีกัลยาณธรรม เพราะมีโพธิปักขิยธรรม มีสต-ิ

ปัฏฐานเป็นต้น อันงดงาม.

และภิกษุผู้มีปัญญางามด้วยสามารถแห่งมรรคผลปัญญานั่นแล ชื่อว่า

ผู้มีปัญญางาม อธิบายว่า ธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ที่เป็นโลกุตรธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 605

เท่านั้น ชื่อว่า เป็นกัลยาณธรรมโดยส่วนเดียว เพราะเป็นธรรมมีอันไม่กำเริบ

เป็นสภาพ.

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ภิกษุชื่อว่า มีศีลอันงามด้วยสามารถ

แห่งจตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่ามีธรรมอันงาม ด้วยสามารถแห่งธรรมคือวิปัสสนา-

มรรค ชื่อว่า มีปัญญาอันงาม ด้วยสามารถแห่งมรรคผลปัญญา. อาจารย์

พวกหนึ่ง กล่าวว่า ศีลธรรมและปัญญาเหล่านั้น ก็คืออเสขะ. ส่วนอาจารย์

เหล่าอื่น กล่าวว่า มรรคศีล และผลศีล ของพระโสดาบันและ

พระสกทาคามีทั้งหลาย ชื่อว่า กัลยาณศีล เพราะฉะนั้น ทั้งพระ

โสดาบัน และพระสกทาคามี ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอา

แล้ว ด้วยบทว่า กลฺยาณสีโล นี้. อธิบายว่า พระโสดาบันและพระ-

สกทาคามีเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย ธรรม คือ

อนาคามิมรรค และอนาคามิผล และธรรมคือมรรคอันเลิศ ชื่อว่าเป็นกัลยาณ-

ธรรม เพราะว่า ในบรรดาธรรมเหล่านั้น โพธิปักขิยธรรม ย่อมถึงความ

บริบูรณ์ด้วยภาวนา เพราะฉะนั้น พระอริยบุคคล ๓ จำพวก นับแต่ พระ-

อริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรคที่ ๓ ไป ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือ

เอาแล้ว ด้วยบทว่า กลฺยาณธมฺโม นี้ ปัญญาในผลอันเลิศ (อรหัตผล)

ชื่อว่า ปัญญางาม เพราะถึงที่สุดแห่งกิจด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น พระอรหันต์

ผู้ถึงความไพบูลย์แห่งปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้มีกัลยาณธรรม

บุคคลอย่างว่ามานี้แหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาแล้ว. เพราะ

ฉะนั้น จะมีประโยชน์อะไร ด้วย (ข้อโต้แย้ง) อันทำให้เนิ่นช้านี้ ในข้อนี้

ธรรมคือมรรคอันเลิศ และผลอันเลิศ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 606

กัลยาณศีลเป็นต้น ดังนั้น ข้อนี้ จึงเป็นความชอบใจของพวกเราทั้งหลาย

เพราะว่า โดยวิภาคแห่งธรรมแล้ว นี้เป็นปุคคลวิภาค มิใช่ธรรมวิภาค.

พระนิพพาน อันสงัดจากสังขตธรรมทุกอย่าง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัส เรียกว่า ล้วน ๆ ในบทว่า เกวลี นี้ เพราะไม่มีอะไร ๆ เจือปน ชื่อว่า

เป็นพระอรหันต์ล้วน ๆ เพราะท่านบรรลุพระนิพพานแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า เป็นพระอรหัต อย่างเดียว เพราะบริบูรณ์ด้วยปหานภาวนา และบริบูรณ์

ด้วยธรรมอันหาโทษมิได้ เป็นปริโยสาน และเพราะมีความสุขอันเจริญตา

เจริญใจ เพราะมีความงามอยู่ในตัว ชื่อว่า พระขีณาสพล้วน ๆ เพราะได้

บรรลุพระอรหัตนั้น. ชื่อว่า อยู่จบพรหมจรรย์ เพราะอยู่จบมรรคพรหมจรรย์

คือยังมรรคพรหมจรรย์ ให้สำเร็จตั้งอยู่แล้ว. ภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกว่าอุตตมบุรุษ (บุรุษสูงสุด) เพราะประกอบไปด้วย อเสกขธรรม ที่สูงสุด

หรือยอดเยี่ยม.

ถามว่า ในบทว่า สีลวา นี้ ชื่อว่าศีล ด้วยอรรถว่าอะไร ? ตอบว่า

ชื่อว่า ศีล ด้วยอรรถว่า ปกติ. ถามว่า ที่ชื่อว่า ปกติ เป็นอย่างไร ?

ตอบว่า ได้แก่ สมาธาน (ความตั้งมั่น) อธิบายว่า ได้แก่ ความ

เป็นผู้มีกายกรรมเป็นต้น เรียบร้อย ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์.

อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ การเข้าไปทรงไว้ อธิบายว่า ได้แก่ ภาวะที่เข้าไป

ทรงไว้ ด้วยสามารถแห่งการดำรงไว้ซึ่งกุศลธรรม มีฌานเป็นต้น เพราะฉะนั้น

ชื่อว่า ศีล เพราะตั้งมั่นหรือเพราะรองรับไว้. นี้ ว่าด้วยอรรถแห่งศีล โดย

นัยแห่งลักษณะของศัพท์ก่อน. ส่วนอาจารย์พวกอื่นพรรณนาความโดยนัยแห่ง

นิรุกติว่า สีลัฏะ มีสิระเป็นอรรถ สีลัฏะ มีสีตละเป็นอรรถ สีลัฏะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 607

มีสิวะเป็นอรรถ. บุคคล ชื่อว่า สีลวา เพราะยังศีลนั้นให้บริบูรณ์ หรือ

เพราะมีศีล โดยความดียิ่ง. อธิบายว่า สมบูรณ์ด้วยศีล ด้วยสามารถแห่ง

จตุปาริสุทธิศีล. อาจารย์บางพวกให้อรรถาธิบายว่า เพื่อจะทรงแสดงศีลที่

เป็นหลักในบรรดาจตุปาริสุทธิศีลเหล่านั้นให้พิสดาร พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุโต ดังนี้.

ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า แม้โดยบททั้งสอง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสปาฏิโมกขสังวรศีลไว้แล้ว (แต่) เพราะศีลคือปาฏิโมกขสังวรนั่นเอง ใน

บทนอกนี้ อินทริยสังวรศีล จึงเป็นเพียงการรักษาทวาร ๖ เท่านั้น อาชีว-

ปาริสุทธิศีล เป็นเพียงการยังปัจจัยให้เกิดขึ้นโดยธรรมอย่างเดียว ปัจจยสัน-

นิสิตศีล เป็นเพียงการพิจารณาปัจจัยที่ได้มาแล้ว ว่านี้เป็นประโยชน์ แล้วจึง

บริโภคเท่านั้น ว่าโดยตรงแล้ว ศีล ก็คือปาฏิโมกขสังวรนั่นเอง ภิกษุใด

มีศีลขาดแล้ว ภิกษุนั้นเปรียบเหมือนบุรุษผู้มีหัวขาดแล้ว ไม่ต้องกล่าวถึง

(ในเรื่อง) มือและเท้า ว่าจะต้องรักษาอวัยวะที่เหลือไว้ ส่วนภิกษุใด ศีลไม่ขาด

ภิกษุนั้น เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีศีรษะยังไม่ขาด ย่อมสามารถรักษาศีลเหล่านั้น

ทำให้เป็นปกติได้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยกปาฏิโมกขสังวรศีล

นั่นแหละ ขึ้นไว้ด้วยบทว่า สีลวา นี้ แล้วเพื่อจะยังปาฏิโมกขสังวรศีลนั้นให้

พิสดาร จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุโต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิโมกฺข ได้แก่ ศีลคือสิกขาบท.

อธิบายว่า ศีลคือสิกขาบทนั้น ชื่อว่า ปาฏิโมกข์ เพราะยังสัตว์ผู้คุ้มครอง

รักษาศีล คือสิกขาบทนั้น ให้พ้น คือ หลุดพ้น จากทุกข์ทั้งหลาย มีทุกข์ที่

ทำให้ต้องเกิดในอบายเป็นต้น. ความสำรวมระวัง ชื่อว่า สังวร ได้แก่

การไม่ล่วงทางกาย ทางวาจา. ความสำรวมคือปาฏิโมกข์ ชื่อว่า ปาฏิโมกขสังวร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 608

ภิกษุ ชื่อว่า ปาฏิโมกขสังวรสังวุตะ เพราะสำรวมแล้ว คือ มีกายวาจา

อันปิดกั้นแล้ว ด้วยปาฏิโมกขสังวรนั้น. บทว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุโต นี้

เป็นเครื่องชี้ชัดถึงความที่ภิกษุนั้นตั้งมั่นแล้วในศีลนั้น. บทว่า วิหรติ แสดง

ถึงความพร้อมเพรียงแห่งการอยู่สมควรแก่ปาฏิโมกขสังวรนั้น. บทว่า อา-

จารโคจรสมฺปนโน แสดงถึงธรรมที่เป็นอุปการะแก่การสำรวมในพระปา-

ฏิโมกข์ในเบื้องต่ำ และแก่การตามประกอบคุณพิเศษในเบื้องสูง. บทว่า

อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี แสดงถึงสภาพธรรมดาของการไม่เคลื่อน

จากปาฏิโมกขศีล. บทว่า สมาทาย แสดงถึงการถือเอาสิกขาบททั้งหลาย

โดยไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า สิกฺขติ แสดงถึงภาวะ คือ ความพร้อมเพรียง

ในสิกขา. บทว่า สิกฺขาปเทสุ แสดงถึงธรรมที่จะต้องศึกษา.

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะอรรถว่า มีปกติตกไปในอบาย

ทั้งหลาย มากครั้ง เพราะเหตุที่กิเลสทั้งหลายมีกำลังด้วย เพราะความที่การทำ

ความชั่ว ทำได้ง่ายด้วย และเพราะการทำบุญทำได้โดยยาก ได้แก่ ปุถุชน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะอรรถว่า ถูกแรงกรรมซัดไปในภพ

เป็นต้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ชื่อว่า มีการดำเนินไปเป็นปกติ เพราะหมุน

ไปรอบ โดยหาที่ตั้ง (อันแน่นอน) ไม่ได้ ดุจเครื่องสูบน้ำ (สำหรับตักน้ำ)

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะยังอัตภาพให้ตกไปในสัตตนิกายนั้น ๆ ด้วย

อำนาจแห่งมรณะ ได้แก่สัตตสันดาน คือ จิตนั่นเอง. ศีล ชื่อว่า ปาฏิโมกข์

เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ผู้จะตกไปนั้น ให้พ้นจากสังสารทุกข์ อธิบายว่า สัตว์

พ้น แล้ว (จากทุกข์) ด้วยความหลุดพ้นแห่งจิต. ดังคำที่ตรัสไว้ว่า สัตว์

บริสุทธิ์ได้ เพราะความผ่องแผ้วแห่งจิต บ้าง ว่า จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ

ทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น บ้าง ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 609

อีกอย่างหนึ่ง บุคคล ชื่อว่า ปาติ เพราะอรรถว่า ตกไป คือ

ดำเนินไป ได้แก่ เป็นไปในสงสารด้วยเหตุที่เป็นเค้ามูลมีอวิชชาเป็นต้น.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า เมื่อหมู่สัตว์ผู้มีอวิชชา เป็นที่

กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ (ที่สุดเบื้องต้น

ย่อมไม่ปรากฏ) ดังนี้. สังวรชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุ

หลุดพ้น จากสังกิเลสทั้ง ๓ มีตัณหาเป็นต้น ของสัตว์ผู้จะตกไปนั้น. บทนั้น

พึงทราบว่า สำเร็จรูปเป็นสมาส เหมือนคำมีอาทิ ตณฺหากาโล ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง สภาพ ชื่อว่า ปาติ เพราะอรรถว่า ยังสัตว์ให้ตกไปให้

ถึงความเสื่อมคือให้ถึงทุกข์ ได้แก่ จิต. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

โลกอันจิตย่อมนำไป อันจิตย่อมฉุดไปดังนี้. สังวร ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะ

อรรถว่าเป็นเครื่องพ้นของสัตว์ผู้จะตกไปนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะ

อรรถว่าเป็นเหตุตกไปในอบายทุกข์ หรือในสังสารทุกข์ ได้แก่ สังกิเลส มี

ตัณหาเป็นต้น. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ มีอาทิว่า ตัณหายังบุรุษ

ให้เกิดและบุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อน ดังนี้. สังวร ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะ

อรรถว่าพ้นไปจากกิเลสเป็นเหตุให้สัตว์ตกไปนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมชาติชื่อว่า ปาติ เพราะเป็นที่ตกไป ได้แก่

อายตนะภายใน และภายนอก ๖. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ว่า

เมื่ออายตนะ ๖ เกิดขึ้น โลกจึงเกิดขึ้น โลกย่อมทำความชมเชย ในอายตนะ ๖

ดังนี้. สังวร ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะอรรถว่า พ้นจากกิเลสเป็นเหตุให้

ตกไป กล่าวคืออายตนะภายใน และอายตนะภายนอก ๖ นั้น. อีกอย่างหนึ่ง

สภาพ ชื่อว่า ปาติ เพราะอรรถว่า มีกาตกไป คือ ให้ถึงความเสื่อม ได้แก่

สงสาร. สังวร ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะพ้นจากสงสารนั้น.

๑. ส ๑/๕๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 610

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ธรรมิศร ชาวโลกขนาน

พระนามว่า บดี เพราะความเป็นผู้ยิ่งใหญ่กว่าโลกทั้งปวง. ภิกษุย่อมหลุดพ้น

ด้วยอุบายนั้น เพราะเหตุนั้น อุบายนั้น จึงชื่อว่า โมกขะ อุบายเป็นเครื่อง

หลุดพ้นของผู้ที่เป็นบดี อันพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงบัญญัติแล้ว เพราะ

เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปติโมกข์. ปติโมกข์นั่นเอง ก็คือ ปาติโมกข์. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่า เป็นบดี เพราะอรรถว่า สูงสุด โดยความ

เป็นรากเง่าของคุณทั้งปวงด้วย ชื่อว่า โมกขะ เพราะอรรถว่าเป็นไปตามที่กล่าว

แล้วด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปติโมกข์. ปติโมกข์นั่นเอง ก็คือ

ปาติโมกข์. สมดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำว่า ปาติโมกข์นี้ เป็นหัวหน้า คำว่า

ปาติโมกข์นี้เป็นประธาน พึงทราบความพิสดารต่อไป.

อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ ลงในอรรถว่า ปการะ. ศัพท์ อติ เป็น

นิบาตใช้ในอรรถว่าเกินส่วน. เพราะฉะนั้น สังวร ชื่อว่า ปาติโมกข์ เพราะ

อรรถว่า ยังสัตว์ให้พ้นเกินส่วน. โดยประการทั้งหลาย. ก็ศีลนี้ ตัวเอง

ไปพร้อมกับสมาธิ ไปพร้อมกันกับปัญญาด้วยสามารถแห่งตทังคะ. ชื่อว่า

ปาติโมกข์ เพราะยังสัตว์ให้พ้น คือหลุดพ้น เกินส่วน ด้วยสามารถวิกขัม-

ภนปหาน และสมุจเฉทปหาน. ก็ศีลนั้นแหละ คือ พระปาติโมกข์.

อีกอย่างหนึ่ง สังวร ชื่อว่า ปฏิโมกข์ เพราะอรรถว่า หลุดพ้น

เฉพาะ ๆ. อธิบายว่า พ้นเฉพาะ คือเป็นส่วน ๆ จากโทษที่จะพึงล่วงละเมิด

นั้น ๆ. ปฏิโมกข์ ก็คือ ปาฏิโมกข์. อีกอย่างหนึ่ง พระนิพพาน ชื่อว่า

โมกขะ. สังวร ชื่อว่า ปฏิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องพ้นเฉพาะ คือ

เป็นเหมือนรูปเปรียบแห่งโมกขะนั้น. อธิบายว่า ปาฏิโมกขสีลสังวร ย่อม

เป็นเหมือนพระอาทิตย์ยามรุ่งอรุณ และธรรมที่มีส่วนเปรียบด้วยโมกขธรรม

นั้น อันเป็นแดนอุทัยแห่งพระนิพพาน เพราะยังกิเลสให้ดับตามสมควร เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่า ปฏิโมกข์. ปฏิโมกข์นั้นแหละ คือ ปาฏิโมกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 611

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปฏิโมกข์ เพราะอรรถว่า ดำเนินไปสู่ความ

หลุดพ้น คือ มุ่งหน้าสู่พระนิพพาน. ปฏิโมกข์นั่นเอง ก็คือ ปาฏิโมกข์.

ในอธิการนี้ พึงทราบความแห่งศัพท์ว่า ปาฏิโมกข์ เท่าที่พรรณนามานี้ก่อน.

กุศลธรรม ชื่อว่า สังวรด้วยอรรถว่า เป็นเครื่องระวัง คือ ปิดกั้นไว้.

สังวร คือ พระปาฏิโมกข์ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ปาฏิโมกขสังวร. แต่โดย

อรรถ ได้แก่ เจตนาเครื่องงดเว้นจากโทษที่จะพึงก้าวล่วงบาปธรรมนั้น ๆ.

ภิกษุผู้เข้าถึง คือ ประกอบไปด้วยปาฏิโมกขสังวรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสเรียกว่า ปาฏิโมกฺขสวรสวุโต (ผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในพระ

ปาฏิโมกข์). สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิภังค์ว่า ภิกษุ ย่อมเป็น

ผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อมแล้ว เข้าไปใกล้แล้ว เข้าไปใกล้พร้อมแล้ว ถึงพร้อม

แล้ว ประกอบแล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ปาฏิโมกฺขสวรสวุโต. บทว่า วิหรติ ความว่า ย่อมอยู่ คือผลัดเปลี่ยน

ได้แก่ เป็นไปด้วยการอยู่ โดย (การผลัดเปลี่ยน) อิริยาบถ.

บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ความว่า ภิกษุชื่อว่า สมบูรณ์ด้วย

อาจาระและโคจร เว้นอโคจรมีหญิงแพศยาเป็นต้น เพราะสมบูรณ์ด้วยอาจาร

สมบัติอันสมควรแก่ภิกษุ ดังที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า ความไม่ล่วงละเมิดเป็นไป

ทางกาย ความไม่ล่วงละเมิดเป็นไปทางวาจาดังนี้ เพราะเว้นอนาจารโดยประ

การทั้งปวง โดยไม่กระทำมิจฉาอาชีวะมีการให้ไม้ไผ่เป็นต้น และการคะนอง

ทั้งหลายมีการคะนองกายเป็นต้น และด้วยโคจร กล่าวคือ สถานที่อันสมควร

เพื่อจะเข้าไปเพื่อประโยชน์แก่บิณฑบาตเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุใด มีความเคารพ มีความยำเกรงในพระศาสดา

มีความเคารพ มีความยำเกรงในเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย ถึงพร้อมด้วย

หิริและโอตัปปะ นุ่งห่ม เป็นปริมณฑล ทอดตาลงต่ำ สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 612

มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยการก้าวไป ด้วยการถอยกลับ

ด้วยการเหลียวซ้าย ด้วยการแลขวา ด้วยการเหยียดเท้า ด้วยการเหยียดออก

ที่น่าเลื่อมใส รู้ประมาณในการบริโภค ตามประกอบความเพียร ประกอบ

ด้วยสติและสัมปชัญญะ มีความปรารถนาน้อย สันโดษ สงัดแล้ว ไม่คลุก-

คลี (ด้วยหมู่) กระทำโดยเคารพในอภิสมาจาริกวัตร มากไป ด้วยความเคารพ

ยำเกรงอยู่ ภิกษุนี้ ท่านกล่าวว่าสมบูรณ์ด้วยอาจาระ.

ก็โคจรมี ๓ อย่างคือ อุปนิสัยโคจร อารักขโคจร อุปนิพันธโคจร.

ในโคจร ๓ อย่างนั้น กัลยาณมิตร ผู้ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ คือ

กถาวัตถุ ๑๐ มีลักษณะดังกล่าวแล้วอาศัยภิกษุใด ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยได้ฟัง

ทำข้อที่ฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง บรรเทาความสงสัยเสียได้ กระทำความเห็นให้ตรง

ยังจิตให้เลื่อมใส และเมื่อติดตามศึกษา ภิกษุใดอยู่ ย่อมเจริญด้วยศรัทธา

เจริญด้วยศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า อุปนิสัยโคจร.

ภิกษุใด เข้าไปในละแวกบ้าน เดินไปสู่ถนนทอดตาลงต่ำ มองดูชั่วแอก

สำรวมแล้วเดินไป ไม่มองดูช้าง ไม่มองดูม้า ไม่มองดูรถ ไม่มองดูคนเดินเท้า

ไม่มองดูสตรี ไม่มองดูบุรุษ ไม่เพ่งดูทิศน้อย ทิศใหญ่ ภิกษุนี้นั้น ชื่อว่า

อารักขโคจร. ส่วน อุปนิพันธโคจร ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นที่

ซึ่งภิกษุเข้าไปผูกพันจิตของตนไว้. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ก็ อารมณ์อันเป็นของบิดาตน อันเป็นโคจรของภิกษุ คืออะไร ? คือ สติ-

ปัฏฐาน ๔ ดังนี้. ดังนั้น ภิกษุผู้ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร

เพราะประกอบด้วยอาจารสมบัติ ตามที่กล่าวมาแล้ว และโคจรสมบัตินี้.

บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี ความว่า มีปกติเห็น

ภัยในโทษทั้งหลาย ต่างด้วยอกุศลจิตตุปบาทในเสขิยวัตร ที่ต้องแล้วโดยไม่

ได้ตั้งใจ เป็นต้น มีประมาณน้อย คือ มีประมาณเท่าอณู. อธิบายว่า ภิกษุ

ใด เห็นโทษมีประมาณเท่าปรมาณู ทำให้ใหญ่ เหมือนขุนเขาสิเนรุราชที่สูง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 613

ถึง ๖๘ แสนโยชน์ ก็ดี ภิกษุใด เห็นอาบัติเพียงทุพภาสิตอัน (มีโทษ)

เบากว่าอาบัติทั้งปวง ทำให้ (หนัก) เหมือนอาบัติปาราชิก ก็ดี ภิกษุนี้

ชื่อว่า มีปกติเห็นภัยในโทษทั้งหลาย มีประมาณน้อย. บทว่า สมาทาย

สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ความว่า ในบรรดาสิกขาบททั้งหลาย สิกขาบทอย่าง

ใดอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องศึกษา สมาทานสิกขาบทนั้น หมดทุกสิ่งทุกอย่าง

คือ ครบถ้วนโดยประการทั้งปวง ได้แก่ ไม่ให้เหลือ แล้วศึกษา คือ

บำเพ็ญให้เป็นไป.

บทว่า อิติ กลฺยาณสีโล ความว่า เป็นผู้มีศีลอันงามด้วยประการ

นี้ อธิบายว่า ศีลที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ด้วยสามารถแห่ง

บุคลาธิษฐาน แล้วทรงย้ำด้วยสามารถแห่งบุคลาธิษฐานที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมชื่อว่า เป็นผู้มีศีลอันงาม ด้วยประการอย่างนี้แล

นั้นเองอันพระองค์ตรัสไว้ว่า อิติ กลฺยาณสีโล เป็นผู้มีศีลงาม ด้วยประการ

ฉะนี้ ดังนี้อีก เพื่อจะทรงแสดงว่า ศีลนี้ เป็นที่ตั้งของธรรมเหล่านั้น โดย

มีพระประสงค์ จะทรงเสดงธรรมที่ตรัสไว้แล้วในบท ว่า กลฺยาณธมฺโม นี้.

บททั้งปวงมีอาทิว่า สตฺตนฺน โพธิปกฺขิยาน มีเนื้อความดังกล่าวในหน

หลังแล้วแล. คำว่า กลฺยาณสีโล เป็นต้น เป็นคำตรัสย้ำอีก.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป บทว่า ทุกฺกฏ แปลว่า

กระทำแล้วชั่ว อธิบายว่า ได้แก่ ทุจริต. บทว่า หิรีมน ความว่า มี

ความละอาย คือ ถึงพร้อมด้วยหิริ. อธิบายว่า ได้แก่ สภาวะที่รังเกียจ

ความประพฤติชั่วโดยประการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หิรีมน ได้แก่

จิตที่ประกอบด้วยหิริ. ก็ในอธิการนี้ พึงทราบว่า ทรงถือเอาแม้โอตัปปะ

ไว้ด้วยศัพท์ว่า หิริแล้วทีเดียว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงเหตุแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 614

ความเป็นผู้ทุจริต โดยประการทั้งปวง ด้วยศัพท์ว่า หิริโอตัปปะ ชื่อว่า ย่อม

ทรงยังความเป็นผู้มีศีลอันงามให้แจ่มแจ้ง โดยเหตุ.

ภิกษุชื่อว่า สมฺโพธิคามิโน เพราะถึง คือ ประสบสัมโพธิญาณ คือ

อริยมรรคญาณ. อธิบายว่า เป็นไปในฝักฝ่ายแห่งโพธิ. บทว่า อนุสฺสท

ความว่า เว้นจากกิเลสที่ฟูขึ้นมีราคะเป็นต้น. บางอาจารย์ กล่าวว่า ตถาวิธ

ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า คำว่า หมั่นประกอบเนือง ๆ ซึ่งการเจริญโพธิปักขิย-

ธรรมนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วในกาลก่อน อย่างใด ๆ ก็เป็น

อย่างนั้น คือเป็นเช่นนั้น.

บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ วัฏทุกข์ หรือเหตุแห่งวัฏทุกข์. บทว่า

อิเธว ขยมตฺตโน ความว่า ย่อมรู้ชัดซึ่งความสิ้นไป คือความไม่บังเกิดขึ้น

แห่งชัฏคือกิเลส อันเป็นเหตุแห่งวัฏทุกข์ของตน คือเป็นไปในฝักฝ่ายแห่ง

สมุทัย ด้วยการบรรลุความสิ้นไปแห่งอาสวะในอัตภาพนี้แหละ คือในอัตภาพ

นี้ทีเดียว. อีกอย่างหนึ่ง ย่อมรู้ซึ่งความสิ้นไป คือความหมดไปแห่งวัฏทุกข์

นั่นแหละ ด้วยความดับแห่งจริมกจิต ในอัตภาพนี้ทีเดียว.

บทว่า เตหิ ธมฺเมหิ สมฺปนฺน ความว่า ประกอบแล้วด้วยธรรม

มีศีลตามที่กล่าวแล้วเป็นต้นเหล่านั้น. บทว่า อสิต ความว่า ไม่อาศัย คือ

ไม่เนื่องในอะไรๆ เพราะละธรรมเป็นเครื่องอาศัย คือ ตัณหาและทิฏฐิได้แล้ว.

บทว่า สพฺพโลกสฺส ได้แก่ ในสัตว์โลกทั้งปวง. คำที่เหลือมีนัย ดังกล่าว

แล้วทั้งนั้น.

จบอรรถกถากัลยาณสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 615

๙. ทานสูตร

ว่าด้วยทาน ๒ อย่าง

[๒๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑

ธรรมทาน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาทาน ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่าง คือ การแจกจ่ายอามิส ๑ การ

แจกจ่ายธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ การ

แจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ คือ

การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บรรดาการอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ.

พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัสทานใด

ว่าอย่างยิ่ง ยอดเยี่ยม พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงสรรเสริญการแจกจ่ายทานใดว่า

อย่างยิ่งยอดเยี่ยม วิญญูชนผู้มีจิตเลื่อมใส

ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสงฆ์

ผู้เป็นเขตอันเลิศ รู้ชัดอยู่ซึ่งทานและการ

แจกจ่ายทานนั้น ๆ ใครจะไม่พึงบูชา

(ให้ทาน) ในกาลอันควรเล่า ประโยชน์

อย่างยิ่งนั้น ของผู้แสดงและผู้ฟังทั้ง ๒ ผู้

มีจิตเลื่อมใสในคำสั่งสอนของพระสุคต

ย่อมหมดจด ประโยชน์อย่างยิ่งนั้น ของผู้

ไม่ประมาทแล้วในคำสั่งสอนซึ่งพระสุคต

ย่อมหมดจด.

จบทานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 616

อรรถกถาทานสูตร

ในทานสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทาน ได้แก่ สิ่งที่พึงให้. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาพร้อมด้วยวัตถุ

ชื่อว่า ทาน. บทว่า ทาน นี้ เป็นชื่อของการบริจาคสมบัติ. บทว่า อามิสทาน

ความว่า ปัจจัย ๔ ชื่อว่าอามิสทาน ด้วยสามารถแห่งความเป็นของที่จะต้องให้.

อธิบายว่า ปัจจัย ๔ เหล่านั้น ท่านเรียกว่า อามิส เพราะเป็นเครื่องจับต้อง

ด้วยกิเลสมีตัณหาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง เจตนาเป็นเครื่องบริจาคปัจจัย ๔

เหล่านั้น ชื่อว่า อามิสทาน.

บทว่า ธมฺมทาน ความว่า บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ เมื่อ

(แสดง) จำแนกกุศลกรรมบถ และอกุศลกรรมบถออกไปว่า ธรรมเหล่านี้

เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ

ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้ตำหนิ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ ธรรมเหล่านี้

สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งไร้ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ธรรมเหล่านี้

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดังนี้ กระทำกรรมและผล

กองกรรมให้ปรากฏ ดุจชี้ให้เห็นโลกนี้และโลกหน้า โดยประจักษ์แสดงธรรม

ให้เลิกละอกุศลธรรม ให้ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งหลาย นี้ชื่อว่า ธรรมทาน.

ส่วนบุคคลบางพวก ชี้แจงสัจจะทั้งหลายให้แจ้งชัดว่า ธรรมเหล่านี้เป็น

อภิญไญยธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นปริญไญยธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นปหาตัพพ-

ธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นสัจฉิกาตัพพธรรม ธรรมเหล่านี้เป็นภาเวตัพพธรรม

ดังนี้ แสดงธรรมอันเป็นข้อปฏิบัติ เพื่อบรรลุอมตธรรม นี้ชื่อว่า ธรรมทาน

ขึ้นสุดยอด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 617

บทว่า เอตทคฺต ตัดบทเป็น เอต อคฺค แปลว่า (ธรรมทานนี้

เป็นเลิศ). บทว่า ยทิท ความว่า บรรดาทานสองอย่างเหล่านี้ ธรรมทาน

ที่กล่าวแล้วนี้นั้น เป็นเลิศคือประเสริฐสุด ได้แก่สูงสุด. อธิบายว่า บุคคล

จะหลุดพ้นจากอนัตถะทั้งปวง คือก้าวล่วงทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้ เพราะอาศัย

ธรรมทาน อันเป็นอุบายเครื่องยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน. ก็ธรรมทานที่เป็น

โลกิยะ เป็นเหตุแห่งทานทุกอย่าง คือเป็นรากเง่าของสมบัติทั้งปวง. ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

การให้ทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง

รสแห่งพระธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง

ความยินดีในธรรม ย่อมชนะความยินดี

ทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหา ย่อมชนะ

ทุกข์ทั้งปวง ดังนี้.

ในอธิการนี้ อภัยทานพึงทราบว่า ทรงสงเคราะห์เข้ากันด้วยธรรมทาน

นั่นเอง. การไม่บริโภคปัจจัยทั้งหลายเสียเอง แต่ปัจจัย ๔ อันตนพึงบริโภค

แล้วแจกจ่ายแก่คนเหล่าอื่น โดยมีความประสงค์ จะเผื่อแผ่แก่คนทั่วไป ชื่อว่า

อามิสสวิภาโค (แจกจ่ายอามิส). ความเป็นผู้ไม่มีความขวนขวายน้อย แสดง

อ้างธรรมที่ตนรู้แล้ว คือบรรลุแล้วแก่คนเหล่าอื่น โดยมีความประสงค์จะ

เผื่อแผ่ธรรมแก่คนทั่วไป ชื่อว่า ธมฺมสวิภาโค (แจกจ่ายธรรม). การ

อนุเคราะห์ การสงเคราะห์คนเหล่าอื่น ด้วยปัจจัย ๔ และด้วยสังคหวัตถุ ๔

ชื่อว่า อามิสานุคฺคโห (อนุเคราะห์ด้วยอามิส). การอนุเคราะห์ การสงเคราะห์

คนเหล่าอื่น ด้วยธรรม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ ชื่อว่า ธมฺมานุคฺคโห

(อนุเคราะห์ด้วยธรรม). คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 618

พึงทราบวินิจฉัยคาถาทั้งหลาย ดังต่อไปนี้ บทว่า ยมาหุ ทาน

ปรม ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายตรัส ทานใดว่าเยี่ยม คือ สูงสุด

โดยความที่จิต (เจตนา) เขต (ปฏิคาหก) และไทยธรรมเป็นของโอฬาร

หรือโดยยังโภคสมบัติเป็นต้นให้บริบูรณ์ คือยังโภคสมบัติเป็นต้นให้เผล็ดผล

อีกอย่างหนึ่ง ตรัสว่าเยี่ยม เพราะย่ำยี คือกำจัดธรรมที่เป็นปฎิปักษ์อื่น ๆ

มีโลภะและมัจฉริยะเสียได้. บทว่า อนุตฺตร ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทั้งหลายตรัสทานใด ชื่อว่าเว้นจากทานอื่นที่ยอดเยี่ยมกว่า และให้สำเร็จ

ความยิ่งใหญ่ เพราะยังเจตนาสมบัติเป็นต้นให้เป็นไปดียิ่ง และเพราะความ

เป็นทานมีผลเลิศ โดยความเป็นยอดทาน. แม้ในบทว่า ย สวิภาค นี้

พึงนำเอาบททั้งสองว่า ปรม อนุตฺตร มาเชื่อมประกอบเข้าด้วย. บทว่า

อวณฺณยิ ความว่า ประกาศแล้ว คือ สรรเสริญแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทายกเมื่อให้โภชนะ ชื่อว่า ย่อมให้ฐานะทั้ง ๕ แก่

ปฏิคาหกทั้งหลาย ดังนี้ และโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าสัตว์

ทั้งหลายพึงรู้ผลของการจาแนกทานอย่างนี้ ดังนี้.

ก็เพื่อจะทรงแสดงทานและวิธีที่การจำแนกทาน ว่า (มีผล) อย่างยิ่ง

คือยอดเยี่ยมนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่ามีอาทิว่า อคฺคมฺหิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคมฺหิ ความว่า ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

และในพระอริยสงฆ์ผู้ประเสริฐที่สุด คือเป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม เพราะ

ประกอบไปด้วยคุณพิเศษมีศีล เป็นต้น. บทว่า ปสนฺนจิตฺโต ความว่า

ยังจิตให้เลื่อมใส คือกำหนดด้วยความเชื่อกรรมและผลแห่งกรรม และความ

เชื่อในพระรัตนตรัย. อธิบายว่า ทานคือการให้ไทยธรรมแม้น้อย ย่อมมี

อานุภาพมาก คือสว่างโชติช่วง แผ่ไพศาลไปได้มาก เพราะความถึงพร้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 619

ด้วยจิต (เจตนาสัมปทา) และเพราะความถึงพร้อมด้วยเขต (ปฏิคาหก)

สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วว่า

เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักษิณาทาน

(ที่บำเพ็ญ) ในพระตถาคตเจ้า พระสัมมา

สัมพุทธเจ้า และสาวกของพระองค์ ชื่อว่า

มีผลน้อยย่อมไม่มี ดังนี้.

บทว่า วิญฺญู ได้แก่ ผู้มีปัญญา. บทว่า ปชาน ความว่า รู้ชัด

ซึ่งผลของทานและอานิสงส์ของทาน โดยชอบทีเดียว. บทว่า โก น ยเชถ

กาเล ความว่า ใครเล่าจะไม่ให้ทานในกาลเวลาที่สมควร. อธิบายว่า ทาน

ย่อมสำเร็จ (เกิดมีพร้อม) เฉพาะในเวลาที่ประจวบกับเหตุ ๓ อย่างเหล่านี้

คือ ศรัทธา ๑ ไทยธรรม ๑ ปฏิคาหก ๑ ไม่ใช่เกิดมีได้โดยประการอื่น.

อีกอย่างหนึ่ง จะให้ (ทาน) แก่ปฏิคาหกทั้งหลายได้ ในกาลอันควร (เท่านั้น).

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงการจำแนกและอนุเคราะห์ด้วย

อามิสทาน ด้วยพระคาถาที่หนึ่งอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงการจำแนก

และการอนุเคราะห์ด้วยธรรมทาน จึงตรัสพระคาถาที่สองว่า เย เจว ภาสนฺติ

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุภย ความว่า คนทั้ง ๒ ฝ่าย คือ

ผู้แสดง (และ) ผู้ฟัง (ผู้รับ) ที่ท่านกล่าวไว้แล้วว่า ภาสนฺติ สุณนฺติ (ย่อม

กล่าว ย่อมฟัง) ดังนี้. ก็ในบทว่า อุภย นั้น มีความย่อดังต่อไปนี้ คน

เหล่าใด มีจิตเลื่อมใสแล้วในศาสนา คือ พระสัทธรรมของพระสุคต คือ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตั้งอยู่ในธรรมที่เป็นประธาน คือ วิมุตตายตนะย่อมแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 620

ด้วย ย่อมฟังด้วย ประโยชน์กล่าวคือ ธรรมทาน การแจกจ่ายธรรม และการ

อนุเคราะห์ด้วยธรรมของผู้แสดงและปฏิคาหกเหล่านั้น ชื่อว่า ยอดเยี่ยม เพราะ

ยังปรมัตถประโยชน์ให้สำเร็จ ชื่อว่า ย่อมบริสุทธิ์ เพราะหมดจด จากมลทิน

ที่ทำความเศร้าหมอง ทุกอย่างมีความเศร้าหมองเพราะตัณหาเป็นต้น. ถามว่า

ของคนเช่นไร ? ตอบว่า ของคนผู้ไม่ประมาทในคำสอนของพระสุคต ก็คน

เหล่าใดไม่ประมาท ในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือในโอวาทที่ทรง

พร่ำสอนที่พระองค์ทรงประกาศแล้วโดยสังเขปอย่างนี้ว่า

การไม่ทำบาปทั้งปวง ๑ การยัง

กุศลให้ถึงพร้อม ๑ การยังจิตของตนให้

ผ่องแผ้ว ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย

ดังนี้ แล้วยังสิกขา ๓ มี อธิสีลสิกขาเป็นต้น ให้ถึงพร้อม โดยเคารพ

ประโยชน์ย่อมบริสุทธิ์ แก่คนเหล่านั้น ย่อมยังคนเหล่านั้นให้ผ่องแผ้วเกิน

เปรียบ ด้วยอรหัตผลวิสุทธิ ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาทานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 621

๑๐. ธรรมสูตร

ว่าด้วยวิชชา ๓ ประการ

[๒๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่า

เป็นพราหมณ์โดยธรรม เราย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่าเป็นพราหมณ์ โดยเหตุ

เพียงการกล่าวตามคำที่เขากล่าวไว้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เราย่อมบัญญัติ

บุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์โดยธรรม เราย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่า

เป็นพราหมณ์โดยเหตุเพียงการกล่าวตามคำที่เขากล่าวไว้แล้ว อย่างไร.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้

เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง

ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ

ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏฏะและวิวัฏฏกัป

เป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง

ว่าในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร

อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติ

จากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น

มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์

อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้มาเกิดในภพนี้

เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วย-

ประการฉะนี้ ภิกษุนั้นได้บรรลุวิชชาที่ ๑ นี้แล้วกำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชา

เกิดขึ้นแล้ว กำจัดความมืดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว สมเป็นผู้ไม่ประมาท

มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 622

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว

ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน

บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์

เหล่านี้ประกอบด้วย กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า

เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต

มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ

สัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ดังนี้ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์

กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี

ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์

ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๒ นี้ กำจัดอวิชชา

ได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว กำจัดความมืดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว สมเป็น

ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุการทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ เธอได้บรรลุวิชชาที่ ๓ นี้ กำจัดอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว

กำจัดความมืดได้แล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว สมเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็น

พราหมณ์โดยธรรม ย่อมไม่บัญญัติบุคคลอื่นว่าเป็นพราหมณ์ โดยเหตุเพียง

กล่าวตามคำที่เขากล่าวไว้แล้ว อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 623

เรากล่าวผู้ระลึกถึงชาติก่อนได้ เห็น

ทั้งสวรรค์และอบาย และถึงความสิ้นไป

แห่งชาติ เป็นมุนี ผู้อยู่จบพรหมจรรย์

เพราะรู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นผู้มีไตรวิชา

ด้วยวิชชา๓ ว่าเป็นพราหมณ์ เราไม่กล่าว

บุคคลอื่นผู้มีการกล่าวตามที่เขากล่าวไว้

แล้วว่าเป็นพราหมณ์.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบธรรมสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๕

จบติกนิบาต

อรรถกถาธรรมสูตร

ในธรรมสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ธมฺเมน ได้แก่ ญายธรรม คือ โดยเหตุ โดยการณ์ กล่าวคือ

สัมมาปฏิบัติ อธิบายว่า ภิกษุย่อมเป็นผู้มีวิชชา ๓ ด้วยปฏิปทาใด ปฏิปทานั้น

พึงทราบว่า ธรรมในอธิการนี้. ก็ปฏิปทานั้น คืออะไร ? คือ จรณสัมปทา ๑

วิชชาสัมปทา ๑. บทว่า เตวิชฺช ความว่า ประกอบแล้วด้วยวิชชา ๓ มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 624

ปุพเพนิวาสานุสติญาณ เป็นต้น. บทว่า พฺราหฺมณ ได้แก่ พราหมณ์

ผู้ลอยบาปแล้ว. บทว่า ปญฺาเปมิ ความว่า ให้รู้ทั่ว คือแต่งตั้งให้เป็น

พราหมณ์. บทว่า นาญฺ ลปิตลาปนมตฺเตน ความว่าเราตถาคตไม่บัญญัติ

คนอื่น คือผู้เป็นพราหมณ์เพียงโดยกำเนิดว่าเป็นพราหมณ์โดยเหตุเพียงการ-

กล่าวตามที่อัฏฐกฤาษีเป็นต้นเรียกขานแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ลปิตลาปนมตฺเตน ความว่า ด้วยเหตุเพียง

เล่าเรียน หรือให้เล่าเรียนมนต์ทั้งหลาย. ก็พราหมณ์ทั้งหลาย เรียกขานผู้ใด

ที่มีวิชชา ๓ เพราะการเล่าเรียนหมวด ๓ แห่งพระเวท มีสามเวทเป็นต้น

ว่าเป็นพราหมณ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงคัดค้านคำของพราหมณ์นั้น แท้จริง

โดยปรมัตถ์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภเทศนานี้ไว้ ตามอัธยาศัย

ของผู้ที่จะตรัสรู้อย่างนั้น เพื่อจะทรงแสดงว่า ก็พราหมณโภวาทีเหล่านี้ ผู้อัน

อวิชชาหุ้มห่อแล้ว เรียกขาน พราหมณ์ผู้ไม่มีวิชชา ๓ เลยว่าเป็นพราหมณ์

ผู้มีวิชชา ๓ แต่ผู้มีวิชชาตามที่กล่าวมานี้ จึงจะชื่อว่าเป็นพราหมณ์.

ในอธิการนั้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ เพราะผู้ที่ถึงพร้อม ด้วยวิชชา

ย่อมเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจรณะโดยแท้ เพราะเว้นจรณสมบัติเสียแล้ว จะมี

วิชชาสมบัติไม่ได้ ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะทรงบัญญัติ

พราหมณ์ โดยหัวข้อ คือ วิชชาเท่านั้น การทำจรณสมบัติให้หยั่งลงสู่ภายใน

ทรงตั้งหัวข้อเทศนาไว้ว่า ธมฺเมนาห ภิกฺขเว เตวิชฺช พฺราหฺมณ

ปญฺาเปมิ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติบุคคลผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็น

พราหมณ์โดยธรรม) ดังนี้ แล้วทำเป็น กเถตุกัมยตาปุจฉาว่า กถญฺจาห

ภิกฺขเว ธมฺเมน เตวิชฺช พฺราหฺมณ ปญฺาเปมิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 625

ก็เราตถาคต บัญญัติผู้ได้วิชชา ๓ ว่าเป็นพราหมณ์โดยธรรม อย่างไร

ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงจำแนกหมวด ๓ แห่งวิชชา โดยเทศนาที่เป็นบุคลา-

ธิษฐาน จึงตรัสคำมีอาทิว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกวิหิต ความว่า มีอย่างมิใช่น้อย

หรือเป็นไปแล้ว คือพรรณนาแล้ว โดยอเนกประการ. บทว่า ปุพฺเพนิวาส

ได้แก่ ขันธสันดานที่ตนเคยอยู่อาศัยแล้วในภพนั้น ๆ เริ่มต้นแต่ภพที่เป็นอดีต

อันหาระหว่างคั่นไม่ได้. บทว่า นิวุฏ ความว่า อันตนเคยอยู่อาศัยแล้ว

คือเป็นมาแล้วตามลำดับ ได้แก่ ขันธ์ที่เกิดแล้วดับไปในสันดานของตน. อีก

อย่างหนึ่ง ได้แก่ ขันธ์มีการอยู่อาศัยแล้วเป็นธรรมดา คือว่าขันธ์ที่ตนเคยอาศัย

แล้ว โดยโคจรเป็นทีอยู่อาศัย ได้แก่ ขันธ์ที่รู้แล้วด้วยวิญญาณของตน หรือที่รู้

แล้วด้วยวิญญาณของผู้อื่น ในเพราะการระลึกถึงการหมุนเวียนที่ขาดไปแล้ว

เป็นต้น. บทว่า อนุสฺสรติ ความว่า ตามระลึก โดยลำดับชาติ อย่างนี้ว่า

ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง หรือได้แก่ระลึกถึงเนือง ๆ คือ เมื่อจิตโน้มไปแล้ว

ย่อมระลึกในลำดับแห่งบริกรรม.

ศัพท์ว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาต ใช้ในอรรถที่แสดงถึงอาการที่ปรารภ

แล้ว. ด้วยบทว่า เสยฺยถีท นั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรง

แสดงอาการแห่งบุพเพนิวาสญาณนี้ ที่ชื่อว่า เป็นอันพระโยคาวจรปรารภ

แล้ว จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอกปิ ชาตึ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า

เอกปิ ชาตึ ได้แก่ ขันธสันดานแม้อันหนึ่ง ซึ่งมีปฏิสนธิเป็นมูล มีจุติ

เป็นปริโยสาน นับเนื่องแล้วในภพหนึ่ง. แม้ในบทว่า เทฺวปิ ชาติโย เป็น

ต้น ก็มีนัยนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 626

และพึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อเนเกปิ สวฏฺฏกปฺเป ดังต่อไปนี้

กัปที่เสื่อม ชื่อว่า สังวัฏฏกัป กัปที่เจริญ ชื่อว่า วิวัฏฏกัป. ใน กัปทั้ง

๒ อย่างนั้น สังวัฏฏัฏฐายีกัป ทรงถือเอาแล้วด้วย สังวัฏฏกัป และวิวัฏ-

ฏัฏฐายีกัป ทรงถือเอาแล้วด้วยวิวัฏฏกัป เพราะมี สังวัฏฏกัป นั้นเป็น

มูล. ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ อสังไขยกัป ๔ เหล่านั้นใดที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อสงไขยกัป เหล่านี้มี ๔, ๔ อย่างคืออะไรบ้าง ? คือ สังวัฏฎกัป

(ระยะกาลที่จักรวาลเริ่มถูกทำลาย ด้วยไฟ น้ำ หรือลม ทุกสิ่งในจักรวาล

สลายไปสู่ธาตุเดิม ย่อยไปไม่มีเหลือ) ๑ สังวัฏฏัฏฐายีกัป (ระยะกาล

ที่ไม่มีอะไร ไปจนถึงเริ่มกำเนิดของและสิ่งต่าง ๆ) ๑ วิวัฏฏกัป (ระยะกาล

เริ่มก่อตัวขึ้นใหม่ ของสิ่งทั้งหลาย จนถึงทุกสิ่งในจักรวาลเจริญเต็มที่)

วิวัฏฏัฏฐายีกัป (ระยะกาลที่จักรวาลสมบูรณ์จนถึงเริ่มเสื่อมสลายอีก)

๑ อสังไขยกัปเหล่านั้น ย่อมเป็นอันพระองค์ทรงกำหนดถือเอาแล้ว. ในอสัง-

ไขยกัป ๔ อย่างเหล่านั้น สังวัฏฏกัป มี ๓ คือ เตโชสังวัฏฏกัป ๑ อาโป

สังวัฏฏกัป ๑ วาโยสังวัฏฏกัป ๑. เขตแห่งสังวัฏฏกัปมี ๓ คือ ชั้น

อาภัสสรพรหม ๑ สุภกิณหพรหม ๑ เวหัปผลพรหม ๑. เวลาที่กัป

พินาศด้วยไฟ ไฟไหม้ต่ำกว่าชั้นอาภัสสรพรหม เวลาที่กัปพินาศด้วยน้ำ ย่อม

ทำลายต่ำกว่าชั้นสุภกิณหพรหม เวลาที่กัป พินาศด้วยลม ลมพัดทำลายต่ำกว่า

ชั้นเวหัปผลพรหม. แต่ว่าโดยพิสดารแล้ว แสนแห่งจักรวาล ย่อมพินาศร่วม

กันหมด.

ภิกษุเห็นปานนี้ นี้ เมื่อระลึกถึงขันธ์ที่ตนเคยอยู่อาศัยมาก่อน ดัง

พรรณนามานี้ ย่อมระลึกได้หลาย สังวัฏฏกัป บ้าง หลายวิวัฏฏกัป บ้าง

หลายสังวัฏฏวิวัฏฏกัป บ้าง. ระลึกได้อย่างไร ? ระลึกได้โดยนัยมีอาทิว่า

อมุตฺราสึ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 627

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมุตฺราสึ ความว่า เราได้ (เกิด)

มีแล้ว ในสังวัฏฏกัปโน้น หรือในภพโน้น หรือในกาเนิดโน้น หรือใน

คติโน้น หรือในวิญญาณฐิติโน้น หรือในสัตตาวาสโน้น หรือในสัตตนิกาย

โน้น. บทว่า เอว นาโม ความว่า เรามีชื่อว่า ติสสะ หรือมีชื่อว่า

ปุสสะ. บทว่า เอว โคตฺโต ความว่า เราเป็นโคดมโคตรหรือ เราเป็น

กัสสปโคตร. บทว่า เอว วณฺโณ ความว่า เรามีสีขาว หรือมีสีคล้ำ.

บทว่า เอวมาหาโร ความว่า เรามีข้าวสุกแห่งข้าวสาลี และเนื้อเป็นอาหาร

หรือบริโภคผลไม้ที่เป็นไปแล้ว. บทว่า เอวสุขทุกฺขปฏิสเวที ความว่า

หรือเราเสวยสุขและทุกข์ ต่างโดยเป็นสามิสสุขและนิรามิสสุขเป็นต้น อันเป็น

ไปทางกาย และทางใจ มีประการมิใช่น้อย. บทว่า เอวมายุปริยนฺโต

ความว่า เรามีอายุประมาณ ๑๐๐ ปีเป็นกำหนด หรือมีอายุประมาณ ๘๔ แสนกัป

เป็นกำหนด. บทว่า โส ตโต จุโต อมุตฺร อุทปาทึ ความว่า เรานั้น

ครั้นจุติจากภพ จากกำเนิด จากคติ จากวิญญาณฐิติ จากสัตตาวาส หรือ

จากสัตตนิกายนั้น ๆ แล้ว มาเกิด ในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ

ในสัตตาวาส หรือในสัตตนิกายชื่อโน้น. บทว่า ตฺตราปาสึ ความว่า หรือ

ว่าเราเป็นเช่นนั้นมาแล้ว ได้กลับมามีในภพ ในกำเนิด ในคติ ในวิญญาณฐิติ

ในสัตตาวาส หรือในสัตตนิกายแม้นั้นอีก. บทว่า เอวนฺนาโม เป็นต้น

มีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

อีกอย่างหนึ่ง เพราะคำว่า เราได้มีแล้วในภพโน้น นี้เป็นการระลึกถึง

ตามสมควรแก่อภินิหาร ตามกำลังของตน ของพระโยคาวจรผู้พิจารณาเจริญ

ขึ้นไปโดยลำดับ คำว่า เรานั้นจุติจากภพนั้นแล้วนี้ เป็นการพิจารณาของพระ-

โยคาวจรผู้พิจารณาย้อนหลัง ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อมุตฺร อุทปาทึ (เราได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 628

เกิดในภพโน้น) ในลำดับแห่งการบังเกิดในภพนี้ นี้ว่า อิธูปปนฺโน (เรา

เกิดแล้วในภพนี้).

บทว่า ตตฺราปาสึ ความว่า เราได้ (เกิด) มีแล้วในภพ ฯลฯ หรือ

ในสัตตนิกาย แม้นั้น. บทว่า เอว นาโม ความว่า เราชื่อ ทัตตะ หรือชื่อ

มิตตะ. บทว่า เอว โคตฺโต ความว่า เราเป็นวาสิฏฐโคตร หรือกัสสปโคตร.

บทว่า เอววณฺโณ ความว่า เรามีสีดำหรือสีขาว. บทว่า เอวมาหาโร

ความว่า เรามีอาหารบริสุทธิ์ หรือมีข้าวสุกแห่งข้าวสาลีเป็นต้น เป็นอาหาร.

บทว่า เอวสุขทุกฺขปฏิสเวที ความว่า เราเสวยสุขอันเป็นทิพย์ หรือเสวย

สุขและทุกข์อันเป็นของมนุษย์. บทว่า เอวมายุปริยนฺโต ความว่า เรา

มีอายุเท่านั้น ๆ เป็นอย่างยิ่ง เป็นกำหนดอย่างนี้. บทว่า โส ตโต จุโต

ความว่า เรานั้นจุติจากภพเป็นต้น นั้น ๆ. บทว่า อิธูปปนฺโน ความว่า

เราเกิดเป็นมนุษย์ในภพสุดท้ายนี้. บทว่า อิติ แปลว่า ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สาการ สอุทฺเทส ความว่า พร้อมทั้งอุทเทส ด้วยสามารถแห่ง

นามและโคตรเป็นต้น พร้อมทั้งอาการด้วยสามารถแห่งวรรณะเป็นต้น, อธิบาย

ว่า สัตว์ทั้งหลาย ย่อมเรียกร้องกันว่า ติสสะ ว่าโคตมะ โดยชื่อและโคตร

ย่อมปรากฏโดยความแตกต่างกัน เป็นคนผิวคล้ำ เป็นคนผิวขาว โดยวรรณะ

เป็นต้น เพราะฉะนั้น นามและโคตร จึงเป็นอุเทศ นอกนี้เป็นอาการ.

บทว่า อยมสฺส ปมา วิชฺชา อธิคตา ความว่า วิชชานี้

ชื่อว่า ที่หนึ่ง โดยเป็นวิชชาที่ภิกษุนี้ได้บรรลุเป็นครั้งแรก คือ วิชชา ย่อม

ชื่อว่า เป็นอันภิกษุบรรลุแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอรรถว่า กระทำให้

ปรากฏ. ถามว่า ก็ภิกษุนี้ กระทำอะไร ให้แจ่มแจ้ง ? ตอบว่า กระทำ

บุพเพนิวาสญาณให้แจ่มแจ้ง. โมหะอันปกปิดเสียซึ่ง วิชชานั้น ท่านเรียกว่า

อวิชชา เพราะอรรถว่ากระทำบุพเพนิวาสญาณนั้นแหละ ไม่ให้ปรากฏ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 629

ตโม ความว่า โมหะนั่นแหละท่านเรียกว่า ตโม (ความมืด) เพราะอรรถว่า

ปกปิดไว้. บทว่า อาโลโก ความว่า วิชชานั่นแหละ ชื่อว่า อาโลกะ เพราะ

อรรถว่า กระทำเพื่อแสงสว่าง. ก็ในบทว่า อาโลโกนี้ ได้ความดังนี้ว่า

วิชชา อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว. บทที่เหลือเป็นการกล่าวสรรเสริญ. ก็ใน

อธิการนี้ บัณฑิตพึงประกอบ ความว่า วิชชานี้แล อันภิกษุนั้นบรรลุแล้ว

คือ ความไม่รู้ ซึ่งวิชชาที่ภิกษุนั้น บรรลุแล้ว อันเธอกำจัดแล้ว คือ ทำ

ให้พินาศแล้ว. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะวิชชา บังเกิดแล้ว.

แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็มีนัยนี้แหละ.

บทว่า ยถา ในบทว่า ยถาต นี้ ใช้ในอรรถว่า อุปมา. บทว่า ต

เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ชื่อว่า ผู้ไม่ประมาท เพราะไม่อยู่ปราศจาก

สติ ชื่อว่า มีความเพียร เพราะมีความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน ชื่อว่า

ผู้มีตนอันส่งไปแล้ว คือมีจิตอันส่งไปแล้ว เพราะไม่อาลัย ในร่างกาย และ

ชีวิต. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ ดังนี้ เมื่อภิกษุ ผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนอันส่งไปแล้ว อยู่ อวิชชา พึงถูกกำจัด วิชชา พึงบังเกิดขึ้น ความ

มืดพึงถูกกำจัด แสงสว่าง พึงเกิดขึ้นฉันใด อวิชชา อันภิกษุนั้นกำจัดแล้ว

วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ความมืดอันภิกษุนั้นกำจัดแล้ว แสงสว่างเกิดขึ้นแล้ว ฉัน

นั้นเหมือนกัน เธอได้ผลอันสมควรแก่การตามประกอบความเพียรนั้นแล้วอยู่

ดังนี้.

ในบทว่า ทิพฺเพน จกฺขุนา นี้ คำใดที่ควรกล่าว คำนั้นข้าพเจ้า

กล่าวไว้หมดแล้วในหนหลัง. บทว่า วิสุทฺเธน ความว่า ทิพยจักษุ ชื่อว่า

ย่อมบริสุทธิ์ เพราะเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ โดยมองเห็นสัตว์ผู้จุติและอุปบัติ.

อธิบายว่า ภิกษุใดเห็นเพียงสัตว์ที่จุติเท่านั้น ไม่เห็นสัตว์ที่อุปบัติ ภิกษุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 630

ย่อมถือเอาซึ่งอุจเฉททิฏฐิ. ภิกษุใดเห็นเพียงสัตว์ที่อุปบัติเท่านั้น ไม่เห็นสัตว์ที่

จุติ ภิกษุนั้นย่อมถือเอานวสัตตปาตุภาวทิฏฐิ (ทิฏฐิคือความปรากฏในสัตตาวาส

๙). ก็เพราะเหตุที่ภิกษุผู้เห็นทั้งสองอย่าง ย่อมก้าวล่วงทิฏฐิแม้ทั้งสองได้ ฉะนั้น

ทัสสนะนั้นของภิกษุนั้น จึงเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ. ก็ภิกษุผู้เป็นพุทธบุตรนี้

ย่อมเห็นทั้งสองอย่าง (ทั้งสัตว์ที่กำลังจุติ และสัตว์ที่กำลังอุปบัติ). ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ทิพยจักษุชื่อว่า วิสุทธิ เพราะความเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ

โดยมองเห็นสัตว์ผู้จุติและอุปบัติ. อีกอย่างหนึ่ง ทิพยจักษุ ชื่อว่า วิสุทธิ

เพราะเว้นจากอุปกิเลส ๑๑ อย่าง. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ทิพยจักษุ

ชื่อว่าบริสุทธิ์ แล้ว เพราะไม่เข้าไปเศร้าหมองด้วยอุปกิเลส ๑๑ อย่าง ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า ดูก่อนอนุรุทธะ เพราะเรารู้ว่า วิจิ-

กิจฉาเป็นอุปกิเลสของจิต ดังนี้ แล้วจึงละวิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย

รู้ว่าอโยนิโสมนสิการ ถีนมิทธะ ความหวาดเสียว ความเย่อหยิ่ง ความชั่วร้าย

ความเพียรที่ปรารภเกินไป ความเพียรที่ย่อหย่อนเกินไป ตัณหาที่คอยกระซิบ

ความสำคัญสภาวะว่าต่างกัน ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป เป็นอุปกิเลสของจิต

ดังนี้แล้ว จึงละถีนมิทธะ ฯลฯ ลักษณะที่เพ่งเล็งรูปเกินไป อันเป็นอุปกิเลส

ของจิตเสีย* ดังนี้. ชื่อว่าก้าวล่วงจักษุอันเป็นของมนุษย์ เพราะเห็นรูปได้ไกล.

เกินกว่า (ทัสสนวิสัย) อันเป็นอุปจารของมนุษย์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าก้าว-

ล่วงจักษุอันเป็นของมนุษย์ เพราะก้าวล่วงมังสจักษุอันเป็นของมนุษย์. ด้วย

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงเสียซึ่งจักษุของมนุษย์นั้น. บทว่า สตฺเต ปสฺสติ

ความว่า ย่อมเห็นคือมองดู ได้แก่เล็งเห็นหมู่สัตว์ทั้งหลาย เหมือนมนุษย์

มองดูด้วยมังสจักษุ.

ในบทว่า จวมาเน อุปปชฺชมาเน นี้ ท่านแสดงความว่า ใน

* ม. ๑๔/๓๐๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 631

ขณะที่จุติ หรือในขณะที่อุปบัติ พระอริยบุคคลไม่สามารถเพื่อจะเห็นได้ แม้

ด้วยจักษุอันเป็นทิพย์ แต่สัตว์เหล่าใดใกล้จะจุติ (หรือ) จักจุติในบัดนี้ สัตว์

เหล่านั้น ท่านประสงค์เอาว่ากำลังจุติ และสัตว์เหล่าใด ถือปฏิสนธิแล้ว หรือ

เกิดแล้วในบัดเดี๋ยวนี้ สัตว์เหล่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า กำลังอุปบัติ พระ

อริยบุคคลย่อมเห็นสัตว์เหล่านั้นผู้กำลังจุติ ผู้กำลังอุปบัติเห็นปานนี้. บทว่า

หีเน ความว่า น่าดูหมิ่น น่าดูแคลน ด้วยสามารถแห่งชาติ ตระกูล และ

โภคะเป็นต้น เพราะประกอบไปด้วยผลของโมหะ. บทว่า ปณีเต ความว่า

ตรงข้ามกับความเลวทรามนั้น เพราะประกอบไปด้วยผลของอโมหะ. บทว่า

สุวณฺเณ ความว่า ประกอบแล้วด้วยวรรณะอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอ

ใจ เพราะประกอบด้วยผลของอโทสะ. บทว่า ทุพฺพณฺเณ ความว่า ประ

กอบไปด้วยวรรณะอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เพราะประ-

กอบไปด้วยผลของโทสะ. อธิบายว่า มีรูปงาม มีรูปชั่ว. บทว่า สุคเต

ความว่า ไปสู่สุคติ (ได้ดี) หรือมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก เพราะประกอบไปด้วย

วิบากคืออโลภะ. บทว่า ทุคฺคเต ความว่า ไปสู่ทุคติ (ตกยาก) หรือ

ยากจน มีน้ำและข้าวไม่บริบูรณ์ เพราะประกอบไปด้วยผลคือโลภะ. บทว่า

ยถากมฺมูปเค ความว่า ในหมู่สัตว์ผู้ไปตามกรรม ตามที่ตนสั่งสมไว้.

บรรดาบทเหล่านั้น กิจของทิพยจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว

ด้วยบทมีอาทิว่า ปุริเมหิ จวมาเน ดังนี้. ก็ด้วยบทนี้ เป็นอันพระองค์ตรัส

ถึงกิจของญาณที่ต้องเข้าไปกำหนดว่าสัตว์ทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม. และ

ลำดับแห่งการบังเกิดขึ้นนี้ของญาณนั้น ดังนี้. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญ

อาโลกกสิณ มุ่งหน้าตรงไปยังนรกเบื้องล่าง ย่อมเห็นเหล่าสัตว์นรก กำลังเสวย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 632

ทุกข์อย่างมหันต์ การเห็นนี้เป็นกิจของทิพยจักขุญาณอย่างเดียว. ก็ภิกษุนั้น

มนสิการอยู่อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้กระทำกรรมอะไรหนอแล จึงเสวยทุกข์เช่น

นี้. ลำดับนั้น ญาณมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ว่ากระทำกรรมชื่อนี้ จะเกิด

แก่ภิกษุนั้น. ในเบื้องบนก็เหมือนกัน ภิกษุเจริญอาโลกกสิณ มุ่งหน้าตรง

ไปยังเทวโลก ย่อมเห็นสัตว์ทั้งหลายในสวนนันทนวัน มิสสกวัน และ

ปารุสกวันเป็นต้น กำลังเสวยสมบัติอยู่ แม้การเห็นนี้ ก็จัดเป็นกิจของทิพย-

จักขุญาณเหมือนกัน. ภิกษุนั้นมนสิการอยู่อย่างนี้ว่า สัตว์เหล่านี้กระทำกรรม

อะไรหนอแล จึงเสวยสมบัตินี้. ลำดับนั้น เธอจะเกิดญาณที่มีกรรมนั้นเป็น

อารมณ์ว่า ทำกรรมชื่อนี้. นี้ชื่อว่า ยถากมฺมูปคญาณ (ญาณที่จะต้องเข้า

ไปกำหนดว่าสัตว์ทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรม) และแม้ยถากัมมูปคญาณนี้

ก็ไม่มีการแยกบริกรรม แม้อนาคตังสญาณก็ไม่มีการแยกบริกรรม เหมือน

ยถากัมมูปคญาณฉะนั้น. อธิบายว่า ญาณเหล่านี้มีทิพยจักษุเป็นบาททั้งนั้น

ย่อมสำเร็จพร้อมกันกับทิพยจักษุ. คำใดที่จะต้องกล่าวในบทมีอาทิว่า กาย-

ทุจฺจริเตน คำนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้หมดแล้วในหนหลัง.

ในวาระนี้ วิชชาที่สัมปยุตด้วยทิพยจักขุญาณ ชื่อว่า วิชชา. อวิชชา

ที่ปกปิดจุติและปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลายไว้ ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือมีนัย

ดังกล่าวแล้วทั้งหมด. ในตติยวาร วิชชาที่สัมปยุตด้วยอรหัตมรรคญาณ ชื่อว่า

วิชชา. อวิชชาที่ปกปิดสัจจธรรมทั้ง ๔ ไว้ ชื่อว่า อวิชชา. คำที่เหลือเข้าใจ

ได้ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวไว้แล้วในหนหลัง. บทว่า เอว โข

เป็นต้น เป็นนิคมนพจน์

ในพระคาถาทั้งหลาย มีความย่อดังต่อไปนี้ ภิกษุใดได้รู้แล้วคือบรรลุ

ซึ่งบุพเพนิวาสญาณ ตามที่กล่าวแล้ว ได้แก่รู้โดยกระทำให้ปรากฏ ตามนัย

ทีกล่าวแล้ว. ปาฐะเป็น โย เวทิ ก็มี. อธิบายว่า ภิกษุใดกระทำบุพเพ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 633

นิวาสญาณให้ปรากฏ ดำรงอยู่แล้ว. ภิกษุย่อมเห็นสวรรค์ กล่าวคือเทวโลก

๒๖ ชั้น และอบาย ๔ อย่าง ด้วยทิพยจักษุ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.

บทว่า อถ ความว่า ต่อแต่นั้น เธอถึงคือบรรลุพระอรหัตกล่าวคือ

ความสิ้นไปแห่งชาติ หรือพระนิพพานนั่นเอง ลำดับนั้น เธอรู้สัจจธรรมทั้ง ๔

อันพระอริยบุคคลพึงรู้ด้วยมรรคปัญญา ที่ตั้งมั่นเพราะอภิญญา ชื่อว่าอยู่จบ

พรหมจรรย์ คือประสบความสำเร็จแล้ว เพราะเสร็จกิจแล้ว ชื่อว่าเป็นมุนี

คือเป็นพระขีณาสพ เพราะประกอบด้วยโมไนยธรรม ย่อมชื่อว่าเป็นพราหมณ์

ผู้มีวิชชา ๓ เพราะประกอบด้วยวิชชา ๓ ตามที่กล่าวแล้วเหล่านี้ และเพราะ

ลอยบาปได้แล้ว โดยประการทั้งปวง ด้วยวิชชาที่ ๓ ต่อแต่นั้น เพราะเหตุใด

เพราะเหตุนั้น เราตถาคตจึงเรียกภิกษุนั้นแหละ ว่าเป็นพราหมณ์ผู้มีวิชชา ๓

แต่เราตถาคตไม่เรียกคนอื่น คือคนผู้มีการกล่าวตามที่เขาเรียกขาน ได้แก่

บุคคลอื่นผู้ท่องบทแห่งมนต์ มียชุเพทเป็นต้น ว่าเป็นพราหมณ์ผู้มีวิชชา ๓.

ด้วยประการดังพรรณนามานี้ พึงทราบว่า ในวรรคนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสวัฏฏะไว้ในสูตรที่ ๒ ตรัสวิวัฏฏะไว้ในสูตรที่ ๕ ที่ ๘ และที่ ๑๐

ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะไว้ในพระสูตรนอกนี้.

จบอรรถกถาธรรมสูตรที่ ๑๐

จบวรรควรรณนาที่ ๕

จบอรรถกถาติกนิบาต อิติวุตตกะ

ในอรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อว่าปรมัตถทีปนี

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปสาทสูตร ๒. ชีวิตสูตร ๓. สังฆาฎิสูตร ๔. อัคคิสูตร

๕. อุปปริกขยสูตร ๖. อุปปัตติสูตร ๗. กามสูตร ๘. กัลยาณสูตร

๙. ทานสูตร ๑๐. ธรรมสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 634

อิติวุตตกะ จตุกนิบาต

๑. พราหมณสูตร

ว่าด้วยการให้ทาน ๒ อย่าง

[๒๘๐] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้

สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตเป็นพราหมณ์ผู้ควรด้วยการขอ

มีมืออันล้างแล้วทุกเมื่อ ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด เป็นหมอผ่าตัดกิเลส

เธอทั้งหลายเป็นบุตรผู้เนื่องในอกเรา เกิดแต่ปาก เกิดแต่ธรรม อันธรรม

นิรมิตแล้ว เป็นทายาทแห่งธรรม ไม่เป็นทายาทแห่งอามิส ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ทาน ๒ อย่างนี้ คือ อามิสทาน ๑ ธรรมทาน ๑ บรรดาทาน ๒

อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแจกจ่าย ๒ อย่างนี้ คือ

การแจกจ่ายอามิส ๑ การแจกจ่ายธรรม ๑ บรรดาการแจกจ่าย ๒ อย่างนี้

การแจกจ่ายธรรมเป็นเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การอนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้

คือ การอนุเคราะห์ด้วยอามิส ๑ การอนุเคราะห์ด้วยธรรม ๑ บรรดาการ

อนุเคราะห์ ๒ อย่างนี้ การอนุเคราะห์ด้วยธรรมเป็นเลิศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การบูชา ๒ อย่างนี้ คือ การบูชาด้วยอามิส ๑ การบูชาด้วยธรรม ๑ บรรดา

การบูชา ๒ อย่างนี้ การบูชาด้วยธรรมเป็นเลิศ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 635

สัตว์ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระ-

ตถาคตผู้ได้บูชาธรรม ผู้ไม่มีความตระหนี่

ผู้มีปกติอนุเคราะห์สัตว์ทุกหมู่เหล่า ผู้

ประเสริฐสุดในเทวดาและมนุษย์ ผู้ถึงฝั่ง

แห่งภพเช่นนั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.

จบพราหมณสูตรที่ ๑

จตุกนิบาตวรรณนา

อรรถกถาพราหมณสูตร

ในพราหมณสูตรที่ ๑ แห่งจตุกนิบาต มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อห เป็นบทแสดงถึงอัตตา (ตัวเรา). อธิบายว่า อัตตา

กล่าวคือสันดานอันเป็นของตน ที่เที่ยงแท้ไม่ใช่บุคคลอื่น เรียกว่า อห (ตัวเรา).

ก็พระศาสดาทรงปฏิญญาอยู่ว่า เรามี คือเมื่อทรงปฏิญญาความเป็นพราหมณ์

โดยปรมัตถ์ ที่กำลังตรัสถึงว่า อห (เราตถาคต) ว่ามีอยู่ในพระองค์ จึงได้

ตรัส ว่า เราตถาคตมี และบทว่า เราตถาคต มี พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็มิได้

ตรัสเหมือนอย่างที่ปุถุชนทั้งหลาย ผู้ยังละอนุสัย คือ ทิฏฐิและมานะไม่ได้แล้ว

พูดเบ่งด้วยอำนาจการยึดมั่นด้วยทิฏฐิมานะ และความดูหมิ่นว่า เรามี เราเป็น

พรหม เป็นมหาพรหม และว่า เราประเสริฐกว่า. แต่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 636

ทรงละทิฏฐานุสัยและมานานุสัยได้แล้วโดยประการทั้งปวง ไม่ทรงแล่นเลย

สมัญญา ทรงยังธรรมให้ประดิษฐานอยู่ในสันดานของเวไนยสัตว์โดยไม่ขัด-

ขวางกับสมญาโลก ทรงปฏิญญาว่า คุณเช่นนั้นมีอยู่ในพระองค์อย่างครบถ้วน

จึงตรัสว่า เราตถาคตมี. บทว่า พฺราหฺมโณ มีความว่า ชื่อว่า พราหมณ์

เพราะลอยบาปแล้ว และเพราะพูดถึงพระพรหม. ก็ในพระดำรัสนี้มีอธิบาย

ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์. เพราะพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงถึงฝั่งแห่งการสมาทานวัตร มีทานและสัญญมะเป็นต้น ซึ่ง

บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง ด้วยการประพฤติตปะไม่มีเหลือ ทรงอยู่จบพรหม-

จรรย์แล้วด้วยดีทีเดียว ทรงถึงที่สุดแห่งเวททั้งหมด ทรงมีวิชชาและจรณะ

บริสุทธิ์ดีแล้ว ทรงล้างมลทิน คือบาปได้โดยประการทั้งปวง ตรัสถึง คือตรัส

บอกพระพรหม กล่าวคืออริยมรรคอันยอดเยี่ยม และทรงประกาศศาสน-

พรหมจรรย์อันบริสุทธิ์ดีแล้ว ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระองค์ ชื่อว่า เป็น

พราหมณ์โดยปรมัตถ์ เพราะทรงลอยบาปได้แล้ว โดยประการทั้งปวง และ

เพราะตรัสถึง คือ ตรัสบอกพระพรหม (แก่ผู้อื่น).

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความเป็นพราหมณ์อันยอด-

เยี่ยมของพระองค์ ในโลกกับทั้งเทวโลกอย่างนี้แล้ว เพื่อจะทรงแสดงว่ากรรม ๖

มีทานเป็นต้น ที่พราหมณ์บัญญัติไว้สำหรับพราหมณ์ ซึ่งบริสุทธิ์ดี มีอยู่ใน

พระองค์อย่างอุกฤษฏ์ จึงตรัสคำว่า ยาจโยโค เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาจโยโค ได้แก่ ทรงประกอบด้วย

ภาวะที่ควรแก่ผู้ขอ. ชนเหล่าใด ขอ เหตุนั้น ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ยาจะ.

ก็ในที่นี้ ผู้ขอเหล่านั้น พึงทราบว่า ได้แก่เวไนยสัตว์. อธิบายว่า ผู้ขอเหล่านั้น

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทูลขอให้ทรงแสดงธรรมว่า ข้าแต่พระองค์-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 637

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมเถิด ขอพระสุคตเจ้าจง

ทรงแสดงธรรมเถิด. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงทำการริดรอนความ

ปรารถนาของผู้ขอเหล่านั้น แสดงธรรมตามความพอใจ (ของผู้ขอ) ทรง

ประทานพระธรรมทาน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทรงมีความเหมาะสมแก่ผู้ขอ.

พระองค์ไม่ทรงเหินห่างจากผู้ขอเหล่านั้นในกาลทุกเมื่อ คือ ตลอดเวลา. อีก-

ประการหนึ่ง บทว่า ยาจโยโค ได้แก่ เป็นผู้ควรแก่การขอ. อธิบายว่า

พระองค์ ชื่อว่า เป็นผู้ควรที่จะขอ เพราะทรงสนองความต้องการ (ของผู้ขอ)

ได้. ปาฐะว่า ยาชโยโค ดังนี้ก็มี. ในบทว่า ยาชโยโค นั้น มีอธิบายว่า

มหาทาน เรียกว่า ยาชะ อธิบายว่า การบูชา. แต่ในที่นี้ พึงทราบว่า ได้แก่

ธรรมทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบในทาน เพราะเหตุนั้นจึง

ชื่อว่า ยาชโยคะ (เป็นผู้ประกอบในทาน). บทว่า สทา แปลว่า ในกาลทุกเมื่อ.

อธิบายว่า ทรงมีวัตรที่พึงอนุสรณ์ถึงและทรงมีพระสัทธรรมเป็นมหาทาน.

อีกประการหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกอบสัตว์ด้วย ยาชะ (ทาน)

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ยาชโยคะ อธิบายว่า ทรงประกอบสัตว์ทั้งหลายด้วย

ยาชะกล่าวคือทาน ๓ อย่าง ตามสมควร คือ ทรงประกอบสัตว์ไว้ในทานนั้น.

อาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ยาชโยโค สตต ดังนี้ก็มี.

บทว่า ปยตปาณิ ได้แก่ พระองค์ทรงมีพระหัตถ์บริสุทธิ์. อธิบายว่า

บุคคลใด น้อมไปในทาน เมื่อจะให้อามิสทาน ย่อมเป็นผู้ล้างมือใน

กาลทุกเมื่อทีเดียว เพื่อให้ไทยธรรมโดยเคารพด้วยมือของตน บุคคลนั้น

ท่านเรียกว่า ปยตปาณิ (ผู้ล้างมือแล้ว). แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรง

น้อมไปในธรรมทาน ทรงประกอบขวนขวายในธรรมทานตลอดกาลทุกเมื่อ

โดยเคารพ เพราะเหตุดังว่ามานี้ ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 638

ทรงล้างมือแล้ว. และบทว่า สทา พึงประกอบเข้ากับบทว่า ปยตปาณิ

นี้ด้วย. บทว่า สทา ปยตปาณิ ความว่า ก็พระศาสดาทรงยังการให้พระ-

สัทธรรม ให้เป็นไปแก่สัตว์โลกผู้เป็นเวไนยสัตว์ในกาลทุกเมื่อ คือ ทุกเวลา

โดยไม่ทรงแบ่งแยก ชื่อว่า ทรงประกอบขวนขวายในธรรมทานนั้นอยู่.

อีกนัยหนึ่ง ภาวนาเรียกว่า โยคะ. เหมือนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า ปัญญา ย่อมเกิดจาก โยคะ (การประกอบ) เพราะเหตุนั้น ในบทว่า

ยาชโยโค จึงมีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบเนือง ๆ ซึ่ง

ยาชภาวนา คือ บริจาคภาวนา. จริงอยู่ ในกาลก่อนแต่การตรัสรู้ พระผู้มี

พระภาคเจ้า แม้เป็นพระโพธิสัตว์ อันพระกรุณากระตุ้นแล้วทรงเพิ่มพูนทาน

โดยไม่มีส่วนเหลือ ทรงบำเพ็ญบารมีถึงขั้นอุกฤษฏ์ในทานนั้นแล้ว บรรลุ

พระอภิสัมโพธิญาณ แม้เป็นพระพุทธเจ้าแล้วก็ยังทรงเพิ่มพูนทาน ๓ อย่าง

ทรงประทานพระธรรมทานโดยพิเศษ ทั้งยังทรงแนะนาผู้อื่นไว้ในธรรมทาน

นั้น. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงประทานคุณทรัพย์ตาม

ความประสงค์แก่ผู้ขอที่เป็นเวไนยสัตว์ ให้เป็นธรรมทาน ซึ่งแยกเป็นโลกิย-

ทรัพย์และโลกุตรทรัพย์มีอาทิอย่างนี้คือ บางคน ได้ทรงประทาน

สรณะ (๓) ให้ บางคน ได้ทรงประทานศีล ๕ ให้ บางคน ได้ทรง

ประทานศีล ๑๐ ให้ บางคนได้ทรงประทานปาริสุทธิศีล ๔ ให้ บางคน

ได้ทรงประทานธุตธรรมให้ บางคน ได้ทรงประทานฌาน ๔ ให้ บางคน

ได้ทรงประทานสมาบัติ ๘ ให้ บางคน ได้ทรงประทานอภิญญา ๕ มรรค ๔

สามัญผล ๔ วิชชา ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ ให้ และทรงแนะนำบุคคลอื่นว่า

ท่านทั้งหลายจงให้ ชื่อว่า ทรงเพิ่มพูนบริจาคภาวนา. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบเนือง ๆ ซึ่งบริจาคภาวนา.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปยตปาณิ ได้แก่ มีพระหัตถ์แบออกแล้ว. อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 639

ทรงประกอบขวนขวายในการให้พระสัทธรรม ไม่ทำกำมือแห่งอาจารย์ (ไม่หวง)

เหมือนบุคคลผู้แบมือออกเพื่อจะให้อะไร ๆ ที่อยู่ในมือ พร้อมทั้งพูดว่า เชิญ

มา รับเอาเถิดฉะนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปยตปาณิ ได้แก่ มีพระหัตถ์

อาจหาญ อธิบายว่า ทรงกระทำความอาจหาญในการทรงประทานพระธรรม

เหมือนบุคคลผู้มีมืออาจหาญเพื่อจะให้อามิสทานฉะนั้น.

บทว่า อนฺติมเทหธโร ความว่า (พระผู้มีพระภาคเจ้า) ทรงไว้

ซึ่งอัตภาพครั้งสุดท้าย เพราะธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็นพราหมณ์บริบูรณ์ด้วย

การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์. อธิบายว่า สำหรับบุคคลผู้ยังมิได้อยู่จบพรหมจรรย์

ยังจะพึงมีคติที่มีสมัญญาว่า ต่ำต้อยเป็นต้น เพราะละธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็น

คนต่ำต้อยยังไม่ได้ คือ ยังจะพึงมีการนอนในครรภ์ต่อไป. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดงว่า พระองค์ทรงเป็นพราหมณ์ ผู้อยู่จบ

พรหมจรรย์แล้วอย่างแท้จริง.

บทว่า อนุตฺตโร ภิสโก สลฺลกตฺโต ความว่า (พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า) ชื่อว่า เป็นนายแพทย์ผู้ยอดเยี่ยม เพราะทรงเยียวยาโรคคือวัฏทุกข์

ที่เยียวยาโดยยากได้ ชื่อว่า เป็นศัลยแพทย์ผู้ยอดเยี่ยม เพราะตัด คือ ถอนขึ้น

ได้โดยเด็ดขาดซึ่งลูกศรมีราคะเป็นต้น ที่คนอื่นยังถอนไม่ขึ้น. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ตรัสการทำบุคคลเหล่าอื่นให้เป็นพราหมณ์ได้โดยทรงประดิษฐาน

ธรรมทงั้หลายที่ทำให้เป็นพราหมณ์ได้โดยตรงซึ่งประดิษฐานอยู่แล้วในพระองค์

ไว้ในสันตติของบุคคลอื่นด้วยคำว่า อนุตฺตโร ภิสโก สลฺลภตฺโต นี้.

บทว่า ตสฺส เม ตุมฺเห ปุตฺตา ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขอ

เธอทั้งหลายจงเป็นบุตร คือ จงเป็นผู้เกิดจากตนของเราตถาคตนั้น คือ ผู้เห็น

ปานนี้. บทว่า โอรสา ได้แก่ ผู้ผูกพันอยู่ในอก. เหมือนอย่างว่าโอรส คือ

บุตรผู้เกิดจากตนของสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งทรัพยสมบัติที่เป็นของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 640

บิดา เป็นพิเศษฉันใด แม้พระอริยบุคคลเหล่านี้ก็ฉันนั้น เกิดแล้วในอริยชาติ

ในที่สุดแห่งการฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงชื่อว่า เป็นโอรส เพราะ

เป็นผู้มีส่วนแห่งวิมุตติสุข และรัตนะคือพระอริยธรรมซึ่งเป็นของ พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า นั้นอย่างแน่นอน. อีกประการหนึ่ง พระอริยสาวกทั้งหลายที่กำลัง

ก้าวลง และก้าวลงแล้วสู่อริยภูมิด้วยอานุภาพแห่งธรรมเทศนาของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ชื่อว่า ย่อมควรเป็นผู้ที่ใคร ๆ จะพึงกล่าวว่า เป็นบุตร ผู้เกิด

แต่อกโดยตรง เพราะท่านมีอภิชาติ (การเกิด) อันความพยายามให้เกิดแล้ว

ที่พระอุระของพระศาสดา จริงอย่างนั้น พระอริยบุคคลเหล่านั้น อันพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงทำไว้ในหทัย ด้วยการตรวจดูอาสยะ อนุสัย จริยา และ

อธิมุตติ เป็นต้น และด้วยการทรงคิดถึงสิ่งที่เป็นโทษเนือง ๆ ทรงกันออกจาก

สิ่งที่เป็นโทษแล้ว ให้ประดิษฐานอยู่ในสิ่งที่ไม่เป็นโทษ ทรงเลี้ยงดูให้เติบโต

โดยการเลี้ยงดูร่างกายด้วยธรรมมีศีลเป็นต้น.

บทว่า มุขโต ชาตา ความว่า พระอริยบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า

เกิดจากพระโอษฐ์ เพราะเกิดในอริยชาติ ด้วยพระธรรมเทศนาที่เกิดจาก

พระโอษฐ์. อนึ่ง พระอริยบุคคลทั้งหลาย เกิดแล้วโดยอริยมรรคชาติจาก

ปากทางแห่งกุศลธรรมทั้งหมด คือปาฏิโมกข์ที่ไม่ทั่วไปกับธรรมอื่น หรือจาก

วิโมกขมุข กล่าวคือวิปัสสนาอันเป็นเหตุให้ถึงการออกไป(วุฏฐานคามินีวิปัสสนา)

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เกิดจากพระโอษฐ์. พระอริยบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า

เกิดในธรรม เพราะว่า เกิดในศาสนธรรม หรือในธรรมคืออริยมรรค ซึ่ง

ประมวลไตรสิกขาไว้. พระอริยบุคคลทั้งหลาย ชื่อว่า อันธรรมเนรมิต เพราะ

หมายความว่า อันธรรมนั้นนั่นเอง นิรมิตคือสร้างแล้ว. พระอริยบุคคล

ทั้งหลาย เป็นทายาททางธรรมมีสติและธรรมวิจยะเป็นต้น ไม่ใช่เป็นทายาท-

ทางอามิสมีลาภและสักการะเป็นต้น. อธิบายว่า เป็นธรรมทายาท ไม่ใช่เป็น

อามิสทายาทเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 641

ธรรมในบทว่า ธมฺมทายาทา โน อามิสทายาทาเยว นั้นมี ๒

อย่าง คือ นิปปริยายธรรม (ธรรมโดยตรง) ๑ ปริยายธรรม (ธรรมโดยอ้อม) ๑

แม้อามิสก็มี ๒ อย่าง คือ นิปปริยายอามิส (อามิสโดยตรง) ๑ ปริยายอามิส

(อามิสโดยอ้อม) ๑. มีอธิบายอย่างไร ? มีอธิบายว่า โลกุตรธรรม ๙

อย่าง แยกประเภทเป็นมรรค (๔) ผล (๔) นิพพาน (๑) จัดเป็นนิปปริยาย-

ธรรมโดยแท้ หาจัดเป็นธรรมโดยปริยาย คือ โดยเหตุหรือโดยเลศอะไรๆ ไม่

ส่วนกุศลที่เข้าไปอาศัยวิวัฏฏะนี้ใด คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อปรารถนา

วิวัฏฏะ จึงให้ทาน สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรม ทำการบูชาพระศาสดาด้วย

ของหอมและพวงมาลัยเป็นต้น ฟังธรรม แสดงธรรม ทำฌานสมาบัติให้บังเกิด

เขาเมื่อทำอยู่อย่างนี้ย่อมได้นิปปริยายธรรม คือ อมตนิพพานโดยลำดับ กุศลนี้

ชื่อว่า ปริยายธรรม. อนึ่ง ปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น ชื่อว่า นิปปริยายอามิส

เหมือนกัน หาใช่เป็นอามิสโดยปริยาย คือ โดยเหตุหรือโดยเลศอย่างอื่นไม่.

ส่วนกุศลที่เป็นเหตุให้ถึงวัฏฏะนี้ใด คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เมื่อปรารถนา

วัฏฏะต้องการภพที่พร้อมด้วยสมบัติจึงให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้บังเกิด เขา

เมื่อทำอยู่อย่างนี้ ก็ได้สมบัติของเทวดาและมนุษย์ตามลำดับ กุศลนี้ชื่อว่า

ปริยายอามิส.

บรรดาธรรม ๒ อย่างนั้น แม้นิปปริยายธรรมก็เป็นของพระผู้มี

พระภาคเจ้าทีเดียว. อธิบายว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอก

ภิกษุทั้งหลายจึงได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้

ดังนี้ว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงยังมรรคที่ยัง

ไม่เกิดขึ้นให้เกิดขึ้น ทรงยังมรรคที่เกิดไม่พร้อมให้เกิดพร้อม (ทรงสร้าง

มรรคา) ฯลฯ ส่วนสาวกทั้งหลาย ในบัดนี้ที่มาในภายหลัง เป็นผู้ดำเนินไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 642

ตามมรรคอยู่ และว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น เมื่อรู้

(ก็ทรงบอกว่ารู้) เมื่อเห็น (ก็ทรงบอกว่า) เห็น ทรงมีพระจักษุ ทรง

มีพระญาณ ทรงมีธรรม ทรงเป็นพรหม ทรงบอก ทรงขยาย ทำให้ผู้ฟัง

น้อมไปสู่อรรถ ทรงประทานอมตะ ทรงเป็นเจ้าของธรรม ทรงเป็นพระ-

ตถาคต. แม้ปริยายธรรมก็เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน. อธิบายว่า

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกนั่นเอง สาวกทั้งหลายจึงทราบว่า บุคคล

ผู้ปรารถนาวิวัฏฏะให้ทาน ฯลฯ ทำสมาบัติให้บังเกิด ย่อมได้อมตนิพพาน

โดยลำดับ. แม้นิปปริยายอามิส ก็เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือนกัน.

อธิบายว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต ภิกษุทั้งหลายจึงได้จีวร

อันประณีต เริ่มต้นตั้งแต่เรื่องของหมอชีวก. สมด้วยพระดำรัสที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตอนุญาตคหบดีจีวร

ภิกษุรูปใดปรารถนา ขอภิกษุรูปนั้นจงเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรเถิด ภิกษุ

รูปใดปรารถนา ขอภิกษุรูปนั้นจงยินดีคหบดีจีวร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรา

ตถาคตสรรเสริญความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้. เพราะพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้วเช่นนั้น ภิกษุทั้งหลายจึงได้บริโภคปัจจัยแม้นอกนี้

ดังพรรณนามาฉะนี้. แม้ปริยายอามิสก็เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหมือน

กัน. อธิบายว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกนั่นเอง สาวกทั้งหลายจึง

ทราบว่า บุคคลผู้ปรารถนาภพที่สมบูรณ์ด้วยสมบัติ ให้ทาน สมาทานศีล ฯลฯ

ทำสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ย่อมได้ปริยายอามิส คือ ทิพยสมบัติ (และ) มนุษย-

สมบัติ โดยลำดับ. เพราะเหตุที่ ทั้งนิปปริยายธรรม ทั้งปริยายธรรม ทั้ง

นิปปริยายอามิส ทั้งปริยายอามิส เป็นของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งนั้น ฉะนั้น

เมื่อจะทรงแสดงว่า พระองค์ทรงเป็นเจ้าของในธรรมนั้น และในธรรมและ

อามิสนั้น เมื่อจะทรงประกอบสาวกเหล่านั้นไว้ เฉพาะในธรรมและอามิสที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 643

ประเสริฐกว่า ซึ่งนำประโยชน์สุขมาให้โดยส่วนเดียว จึงตรัสอย่างนี้ว่า ขอเธอ

ทั้งหลายจงเป็นบุตร เป็นโอรสของเราตถาคตอย่างนั้นเถิด ฯลฯ อย่าเป็น

อามิสทายาทเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศความเป็นพราหมณ์ โดยปรมัตถ์

ของพระองค์ และความที่พระอริยสาวกทั้งหลาย เป็นบุตรผู้เกิดแต่อกเป็นต้น

ของพระองค์ ผู้มีการสมาทานวัตรอันบริบูรณ์ ผู้ทรงบำเพ็ญตบะ ทรงอยู่จบ

พรหมจรรย์แล้วโดยชอบทีเดียว ทรงสมบูรณ์ด้วยวิชชาและจรณะอันบริสุทธิ์

ดีแล้ว ทรงถึงฝั่งคือที่สุดแห่งเวทไม่มีส่วนเหลือ ทรงลอยบาปทั้งปวงได้แล้ว

ทรงเป็นผู้ควรแก่การขอตลอดกาลเป็นนิตย์ ทรงถึงความเป็นทักขิไณยบุคคล

ผู้ยอดเยี่ยมในโลก กับทั้งเทวโลก ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงพระองค์ว่า เป็นเหมือนราชสีห์ ใน

ประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า สีหะ นั่นแลเป็นชื่อของพระตถาคต

ผู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเหมือนบุรุษผู้ชี้ทาง ในประ

โยคนี้ว่า ดูก่อนติสสะ คำว่า บุรุษผู้ฉลาดในทาง นั่นแลเป็นชื่อของ

พระตถาคต เป็นเหมือนพระราชา ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนเสละ เราตถาคต

เป็นพระราชา เป็นเหมือนนายแพทย์ ในประโยคนี้ว่า ดูก่อน สุนักขัตตะ

คำว่า นายแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด นั่นแลเป็นชื่อของพระตถาคต เป็น

เหมือนพราหมณ์ ในประโยคนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า พราหมณ์

นั่นแลเป็นชื่อของพระตถาคต. แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัส

พระองค์ว่า เป็นเหมือนพราหมณ์.

พราหมณ์ทั้งหลายย่อมสำคัญพราหมณกิจของพราหมณ์ ภายนอกจาก

ศาสนานี้ ผู้ประกอบด้วยคุณมีทานเป็นต้น เหล่าใด ว่าบริบูรณ์ เพื่อจะทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 644

ประกาศว่า คุณมีทานเป็นต้นของพระองค์เลิศ และประเสริฐกว่าคุณเหล่านั้น

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเริ่มคำว่า เทฺวมานิ ภิกฺขเว ทานานิ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาคา ได้แก่ มหายัญ. อธิบายว่า

มหาทาน ซึ่งท่านเรียกว่า ของบูชา ดังนี้บ้าง. บรรดายัญ ๒ อย่างนั้น ยัญ

คืออามิส พึงทราบว่า เป็นเหมือนทานของเวลามพราหมณ์ ทานของพระ

เวสสันดร และยัญของพระเจ้ามหาวิชิตราช. ยัญคือธรรม พึงทราบว่า ได้แก่

การที่ทรงแสดงมหาสมยสูตร มงคลสูตร จูฬราหุโลวาทสูตร สมจิตตสูตร

เป็นต้น. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาดังต่อไปนี้ บทว่า อสชฺชิ แปลว่า พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ให้แล้ว. บทว่า อมจฺฉรี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ชื่อว่า ทรงปราศจากจากความตระหนี่ เพราะทรงละความตระหนี่ทั้งหมดได้

แล้วอย่างเด็ดขาด ณ โคนโพธินั่นเอง. บทว่า สพฺพสตฺตานุกมฺปิ ความว่า

(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ทรงมีปกติอนุเคราะห์สรรพสัตว์ด้วยพระมหากรุณา

เหมือนบิดาอนุเคราะห์บุตรสุดที่รัก ฉะนั้น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า

พระมหามุนี ทรงมีพระทัยสม่ำเสมอ

ในนายขมังธนู ในพระเทวทัต ในโจร

องคุลิมา ในช้างธนบาล และในพระ-

ราหุล.

บทที่เหลือเข้าใจได้ง่ายอยู่แล้ว.

จบอรรถกถาพราหมณสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 645

๒. จัตตาริสูตร

ว่าด้วยปัจจัยน้อยหาง่ายไม่มีในโทษ ๔

[๒๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยน้อยหาได้ง่าย และไม่มีโทษ

อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาจีวร ผ้าบังสุกุล น้อย

หาได้ง่าย และไม่มีโทษ บรรดาโภชนะ คำข้าวที่ได้ด้วยปลีแข้ง น้อย หา

ได้ง่าย และไม่มีโทษ บรรดาเสนาสนะ โคนไม้ น้อยหาได้ง่าย และไม่มีโทษ

บรรดาเภสัช มูตรเน่าน้อย หาได้ง่ายและไม่มีโทษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ปัจจัยน้อย หาได้ง่ายและไม่มีโทษ ๔ อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

ตถาคตกล่าวธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของภิกษุซึ่งเป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยที่น้อย

หาได้ง่ายและไม่มีโทษ ว่าเป็นองค์แห่งความเป็นสมณะ.

ความคับแค้นแห่งจิต ย่อมไม่มีแก่

ภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัยน้อย หาได้ง่าย

และไม่มีโทษ เพราะปรารภเสนาสนะ

จีวรปานะและโภชนะ ทิศของเธอชื่อว่าไม่

กระทบกระเทือน ภิกษุผู้สันโดษ ไม่

ประมาท ยึดเหนี่ยวเอาไว้ได้ซึ่งธรรมอัน

สมควรแก่ธรรมเครื่องความเป็นสมณะที่

พระตถาคตตรัสบอกแล้วแก่เธอ.

จบจัตตาริสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 646

อรรถกถาจัตตาริสูตร

ในจัตตาริสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺปานิ แปลว่า (ปัจจัย ๔) มีน้อย. บทว่า สุลภานิ

คือ อันบุคคลพึงได้โดยง่าย คือ สามารถจะหาได้ในที่ใดที่หนึ่ง. บทว่า

อนวชฺชานิ คือ ชื่อว่า เว้นจากโทษ ได้แก่ ชื่อว่า ไม่มีโทษ เพราะ

การมาบริสุทธิ์ และเพราะไม่มีภาวะเป็นที่ตั้งแห่งกิเลสมีการประดับกายเป็นต้น.

ในบทว่า อปฺปานิ (มีน้อย) สุลภานิ (หาได้ง่าย) และบทว่า อนวชฺชานิ

(ไม่มีโทษ) นั้น มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความไม่มี

ทุกข์อันเกิดจากการแสวงหาไว้ เพราะความที่ปัจจัย ๔ หาได้ง่าย. ทรง

แสดงความไม่มีทุกข์อันเกิดจากการรักษาไว้ เพราะความที่ปัจจัย ๔ มีน้อย.

ทรงแสดงความที่ปัจจัย ๔ เป็นของสมควรแก่ภิกษุ เพราะใคร ๆ ติเตียน

ไม่ได้ เหตุที่เป็นของไม่มีโทษ. ทรงแสดงความที่ปัจจัย ๔ ไม่เป็นที่ตั้ง

แห่งความหวังอันเล็กน้อย เพราะเป็นของมีน้อย. ทรงแสดงว่าปัจจัย ๔ ไม่

เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะหาได้ง่าย. ทรงแสดงว่าปัจจัย ๔ เป็น

ที่ตั้งแห่งนิสสรณปัญญา ด้วยอำนาจแห่งโทษ เพราะหาโทษมิได้. ปัจจัย ๔

ไม่ยังโสมนัสให้เกิด เพราะลาภตามที่ได้เนื่องจากมีน้อย ไม่ยังโทมนัสให้เกิด

เพราะไม่ได้ เนื่องจากหาได้ง่าย ไม่ยังอัญญาณุเบกขา ซึ่งมีความเดือดร้อน

เป็นนิมิตให้เกิด เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความไม่เดือดร้อน เนื่องจากไม่มีโทษ.

บทว่า ปสุกูล ความว่า จีวรที่เลือกเก็บเอาเศษผ้าที่หล่นตามถนน

เป็นต้นมาทำ ซึ่งได้นามอย่างนี้ว่า บังสุกูล เพราะว่า เป็นเหมือนกองฝุ่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 647

โดยความหมายว่า อยู่สูง เนื่องจากอยู่บนฝุ่นทั้งหลายในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง

มีถนน ป่าช้า และกองขยะเป็นต้น และเพราะหมายความว่า ไป คือ ถึง

ความเป็นของน่าเกลียด เหมือนฝุ่น. บทว่า ปิณฺฑิยาโลโป ความว่า โภชนะ

ที่ตนเที่ยวไปด้วยพลังปลีแข้งแล้วได้มาในเรือน กะประมาณเพียงหลังละคา.

บทว่า รุกฺขมูล แปลว่า ที่ใกล้ต้นไม้แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งเหมาะสมแก่วิเวก.

บทว่า ปติมุตฺต ได้แก่ น้ำมูตรโคชนิดใดชนิดหนึ่ง. อธิบายว่า ร่างกาย

แม้มีผิวพรรณดุจทองคำ ก็เป็นร่างกายที่เปื่อยเน่าอยู่นั่นเองฉันใด น้ำมูตรแม้

จะใหม่ก็เป็นน้ำมูตรเน่าฉันนั้นเหมือนกัน. ในเรื่องนั้น อาจารย์บางพวกเรียก

ชิ้นสมอที่ดองด้วยมูตรโคว่า น้ำมูตรเน่า. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เภสัช

ชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เขาสละ คือ ทิ้ง ได้แก่ นำออกมาจากร้านตลาด เป็นต้น

เพราะเป็นของเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาว่า เป็นน้ำมูตรเน่า.

บทว่า ยโต โข เป็นปัญจมีวิภัตติลงในปัจจัตตะ. มีคำอธิบายว่า ย โข.

ด้วยเหตุนั้น บทว่า ยโต โข จึงคลุมถึงกิริยาที่ท่านกล่าวไว้ว่า ตุฏฺโฐ โหติ.

บทว่า ตุฏฺโ แปลว่า สันโดษ. บทว่า อิทมสฺสาห ความว่า ความ

สันโดษด้วยปัจจัย ๔ ตามที่กล่าวแล้วซึ่งมีน้อย (แต่) หาได้ง่ายใด เรา

ตถาคตกล่าวความสันโดษนี้ว่า เป็นองค์ของความเป็นสมณะ คือ องค์ที่ทำ

ให้เป็นสมณะองค์ใดองค์หนึ่ง คือ องค์หนึ่ง ในองค์ทั้งหลายมีศีลสังวรเป็นต้น

ของภิกษุนี้. เพราะว่า จตุปาริสุทธิศีลของภิกษุผู้สันโดษ ย่อมบริบูรณ์ดี

สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา ย่อมถึงความบริบูรณ์. อีกประการหนึ่ง.

อริยมรรค ชื่อว่า สามัญญะ (ความเป็นสมณะ). ว่าโดยย่อ สามัญญะนั้น

มีองค์ ๒ คือ องค์ภายนอก ๑ องค์ภายใน ๑. บรรดาองค์ทั้งสองนั้น

องค์ภายนอก ได้แก่ สัปปุริสูปัสสยะ (การเข้าไปคบหาสัตบุรุษ) ๑ สัทธัม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 648

มัสสวนะ (การฟังธรรมของสัตบุรุษ) ๑. ส่วนองค์ภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ

(การทำไว้ในใจโดยแยบคาย) ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ (การปฏิบัติธรรม-

สมควรแก่ธรรม) ๑. บรรดาธรรมเหล่านั้น เพราะเหตุที่ธรรมเหล่านั้นเป็นตัว

ธัมมานุธัมมปฏิบัติด้วย เป็นมูลรากแห่งธัมมานุธัมมปฏิบัตินั้นด้วย ตาม

สมควร ได้แก่ ธรรมทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ อัปปิจฉตา (ความมักน้อย)

สันตุฏฐิตา (ความสันโดษ) ปวิวิตตตา (ความเป็นผู้สงัด) อสังสัฏฐตา (ความ

เป็นผู้ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ) อารัทธวิริยตา (ความเป็นผู้ปรารภความเพียร).

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ เราตถาคตกล่าวสันโดษนี้ว่า เป็น

องค์แห่งความเป็นสมณะองค์ใดองค์หนึ่ง ของภิกษุนั้น.

บทว่า เสนาสนนารพฺภ ได้แก่อาศัยเสนาสนะมีวิหารเป็นต้น และ

เสนาสนะมีเตียงและตั่งเป็นต้น. ในบทว่า จีวร ปานโภชน มีการเชื่อมความ

ว่า ปรารภ สบงจีวรเป็นต้น น้ำดื่มมีน้ำมะม่วงเป็นต้น และวัตถุที่พึงบริโภค

มีขาทนียะและโภชนียะเป็นต้น. มีวาจาประกอบความว่า ความคับแค้น คือ

ภาวะที่ใจถูกกระทบกระทั่ง ได้แก่ ความทุกข์ใจ ไม่มี. ก็ในข้อนี้มีความย่อ

ดังนี้ว่า ความเคียดแค้นแห่งจิตอันใด เพราะไม่ได้ปัจจัยที่ต้องการ ย่อมมี

แก่ภิกษุผู้ไม่สันโดษ ผู้แสวงหาปัจจัยมีเสนาสนะเป็นต้น ด้วยการไปสู่ที่

ที่จะพึงได้ด้วยหวังว่า ในอาวาสชื่อโน้น ปัจจัยทั้งหลายหาได้ง่าย ก็ดี ด้วย

การโต้เถียงกันว่า ปัจจัยนี้ถึงแก่ผม ไม่ถึงแก่ท่าน ก็ดี ด้วยการทำงานเป็นต้น

ก็ดี ความเคียดแค้นนั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สันโดษในปัจจัยเหล่านั้น

บทว่า ทิสา นปฺปฏิหญฺติ ความว่า เพราะสันโดษ ทิศทั้งหลายจึงไม่ถูก

กระทบกระทั่ง เนื่องจากภิกษุผู้สันโดษ เป็นผู้ไปได้ทั้ง ๔ ทิศ. สมด้วยพระ

ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 649

ภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตาม

ได้ ย่อมเป็นผู้ไปได้ทั้ง ๔ ทิศ และไม่

ถูกกระทบกระทั่ง.

อธิบายว่า ภิกษุใดเกิดความคิดขึ้นว่า เราไปที่โน้นแล้วจักได้ปัจจัยมีจีวรเป็น

ต้น ทิศของภิกษุนั้น ชื่อว่า ถูกกระทบกระทั่ง. ส่วนภิกษุใด ไม่เกิดความ

คิดอย่างนี้ขึ้นมา ทิศของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่ถูกกระทบกระทั่ง.

บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติทั้งหลาย. บทว่า

สามญฺสฺสานุโลมิกา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายมีความมักน้อยเป็นต้น ซึ่ง

เหมาะสมแก่สมณธรรม แก่สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา หรือแก่อริย-

มรรคนั่นแล. บทว่า อธิคฺคหิตา ความว่า ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดย่อมเป็น

อันภิกษุผู้มีจิตยินดีแล้ว คือ ภิกษุผู้มีจิตสันโดษแล้ว บรรลุแล้ว คือ ครอบงำ

ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ยึดไว้ได้แล้ว ได้แก่ เป็นธรรมมีอยู่ภายใน ไม่ใช่มีอยู่

ภายนอก.

จบอรรถกถาจัตตาริสูตรที่ ๒

๓. ชานสูตร

ว่าด้วยรู้อะไรเห็นอะไร

[๒๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ

ทั้งหลาย ของภิกษุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เราตถาคตไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง

หลายของภิกษุผู้ไม่รู้ไม่เห็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้อะไร เห็นอะไร

อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 650

เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกขสมุทัย อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่

เห็นอยู่ว่า นี้ทุกขนิโรธ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป.

ปฐมญาณ (คืออนัญญตัญญัสสามี-

ตินทรีย์)ย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสกขะผู้ศึกษา

อยู่ ผู้ปฏิบัติตามทางตรง ในเพราะโสดา-

ปัตติมรรคอันเป็นเครื่องทำกิเลสทั้งหลาย

ให้สิ้นไป ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง (คืออัญญิน-

ทรีย์) อันยอดเยี่ยม ย่อมเกิดขึ้นในลำดับ

แต่ปฐมญาณนั้น ตั้งแต่ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง

คืออัญญินทรีย์นั้นไป วิมุตติญาณอันสูงสุด

ย่อมเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ ผู้พ้นวิเศษแล้ว

ญาณในอริยมรรค อันเป็นที่สิ้นไปแห่ง

อาสวะ และสังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น

ว่า สังโยชน์ทั้งหลายสิ้นไปแล้ว คนพาล

ผู้เกียจคร้าน ไม่รู้แจ้ง ไม่พึงบรรลุนิพพาน

อันเป็นที่ปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัด

ทั้งปวงนี้ได้เลย.

จบชานสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 651

อรรถกถาชานสูตร

ในชานสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชานโต แปลว่า รู้อยู่. บทว่า ปสฺสโต แปลว่า เห็นอยู่.

ก็ถ้าว่า ทั้งสองบทนี้ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ

เท่านั้นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอาศัยลักษณะแห่งญาณ

แสดงอ้างบุคคล ด้วยบทว่า ชานโต. เพราะว่า ญาณ มีการรู้เป็นลักษณะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจของญาณ แสดงอ้างบุคคล ด้วยบทว่า

ปสฺสโต. เพราะว่า บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยญาณ อาศัยอำนาจของการเห็น

จึงจะเห็นวิวัฏฏธรรมทั้งหลายด้วยญาณ เปรียบเหมือนคนมีตาดี มองเห็นรูป

ทั้งหลายฉะนั้น. อีกประการหนึ่ง บทว่า ชานโต แปลว่า รู้อยู่ด้วยอนุโพธ-

ญาณ (ญาณเป็นเครื่องรู้ตาม). บทว่า ปสฺสโต แปลว่า เห็นอยู่ด้วย

ปฎิเวธญาณ (ญาณเครื่องแทงตลอด). อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยปฏิโลม ได้แก่

เห็นอยู่ด้วยทัสสนมรรค รู้อยู่ด้วยภาวนามรรค. ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า

รู้อยู่ด้วยญาตปริญญา ติรณปริญญา และปหานปริญญา เห็นอยู่ด้วยวิปัสสนา

ขั้นยอด. อีกประการหนึ่ง รู้ทุกข์โดยการรู้ด้วยการกำหนดรู้ เห็นนิโรธโดย

การรู้ด้วยการทำให้แจ้ง และเมื่อญาณทั้งสองนั้น มีการรู้ด้วยการละและการเจริญ

ก็เป็นอันสำเร็จด้วยทีเดียว ดังนั้น จึงเป็นอันตรัสถึงการบรรลุสัจจะทั้ง ๔. แต่

ในเรื่องนี้ เมื่อใด ท่านประสงค์เอาวิปัสสนาญาณ เมื่อนั้น พึงเห็นว่า บททั้งสอง

คือ ชานโต ปสฺสโต เป็นการแสดงถึงเหตุของมรรค แต่เมื่อใด ประสงค์

เอามรรคญาณ เมื่อนั้นพึงเห็นว่า บททั้งสองแสดงกิจของมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 652

บทว่า อาสวาน ขย มีอธิบายดังต่อไปนี้ การละ ความสิ้นไป

อย่างเด็ดขาด ความไม่เกิดขึ้น อาการสิ้นไป ความไม่มีแห่งอาสวะทั้งหลาย

เรียกว่า ความสิ้นอาสวะ (ดัง) ในสัพพาสวสังวรปริยายสูตร ซึ่งมาแล้ว

อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวความสิ้นอาสวะสำหรับบุคคล

ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ และ (ดัง) ในสุตตบทมีอาทิว่า เจโตวิมุตติ ที่ไม่มีอาสวะ

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปแล้ว. ผล เรียกว่า ความสิ้นอาสวะ (ดัง) ในประโยค

เป็นต้นว่า บุคคล ชื่อว่า เป็นสมณะ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป. นิพพาน

เรียกว่า ความสิ้นอาสวะ (ดัง) ในประโยคเป็นต้นว่า

อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่บุคคล

นั้น ผู้มีปกติตามเห็นโทษของบุคคลอื่น

มีปกติยกโทษ (ผู้อื่น) อยู่เป็นนิตย์ บุคคล

นั้นชื่อว่า อยู่ห่างไกลจากนิพพาน.

มรรค เรียกว่า ความสิ้นอาสวะ (ดัง) ในอินทริยสูตรและในสูตรนี้ที่มาอย่างนี้ว่า

เมื่อเสกบุคคลศึกษาอยู่ ฯลฯ แต่นั้น

อรหัตผลย่อมมี แก่บุคคลผู้หลุดพ้นแล้ว

ญาณย่อมมีแก่บุคคลผู้คงที่.

เพราะเหตุนั้น จึงมีคำอธิบายว่า เราตถาคตกล่าวถึงการบรรลุอริยมรรค สำหรับ

บุคคลผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ ตามนัยที่กล่าวไว้แล้ว.

บทว่า โน อชานโต โน จ อปสฺสโต ความว่า ก็บุคคลใด

ไม่รู้ ไม่เห็น เราตถาคตไม่กล่าวการบรรลุอริยมรรคไว้สำหรับบุคคลนั้น. ผู้รู้

เหล่าใดกล่าวความหมดจดจากสังสารวัฏไว้สำหรับบุคคลผู้ไม่รู้ ไม่เห็น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงปฏิเสธผู้รู้เหล่านั้น ด้วยบทนี้ว่า โน อชานโต โน จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 653

อปสฺสโต. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุบายไว้ด้วย ๒ บทแรก

ตรัสปฏิเสธสิ่งที่มิใช่อุบายด้วยบทว่า โน อชานโต โน จ อปสฺสโต นี้.

อนึ่ง เมื่อว่าโดยย่อ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในสูตรนี้ว่า ญาณ

เป็นเครื่องทำอาสวะให้สิ้นไป ที่เหลือเป็นบริขารของญาณนั้น.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงญาณที่บุคคลรู้อยู่ เห็นอยู่เป็นเหตุให้สิ้นอาสวะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มปุจฉาว่า กิญฺจ ภิกฺขเว ชานโต (รู้อะไร

ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้.

ในคำว่า กิญฺจ ภิกฺขเว ชานโต นั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้. ความรู้มี

มากอย่าง. อธิบายว่า ภิกษุบางรูปเป็นผู้มีปัญญา รู้จักทำร่ม บางรูปรู้จักทำ

จีวรเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นดำรงอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติทำงาน

เช่นนี้ ความรู้นั้น ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นปทัฏฐานของมรรคและผล. ส่วน

ภิกษุใดบวชในศาสนาแล้ว รู้จักทำเวชกรรมเป็นต้น อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญ

แก่ภิกษุนั้นนั่นเองผู้รู้อยู่อย่างนี้. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

จะทรงแสดงเฉพาะเรื่องที่รู้ เรื่องที่เห็น ซึ่งเป็นเหตุให้อาสวะทั้งหลายสิ้นไป

จึงตรัสคำว่า อิท ทุกฺข เป็นต้น.

ในคำนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ สัจจกัมมัฏฐาน ๔ อันใดที่ควรกล่าวไว้

สัจจกัมมัฏฐานนั้น ได้กล่าวไว้แล้วโดยสังเขปแล ในโยนิโสมนสิการสูตรใน

ตอนต้น. อนึ่ง ในคำนั้น ท่านได้ทำการขยายความไว้โดยนัยเป็นต้นว่า ภิกษุ

ทำไว้ในใจโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์ เพราะ (มีหลักฐาน) มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย ภิกษุเมื่อทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมละอกุศล เจริญกุศลได้.

ในที่นี้ พึงประกอบเข้าตามนัยมีอาทิว่า สำหรับภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ โดย

มรรคญาณด้วยอำนาจการแทงตลอดด้วยปริญญา คือ ด้วยอำนาจการตรัสรู้ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 654

ปริญญาว่า นี้ทุกข์ เพราะ (มีหลักฐาน) มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อภิกษุรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป. อนึ่ง พึงทราบว่า

ในอาสวะทั้งหลาย ทิฏฐาสวะสิ้นไป เพราะปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค)

กามาสวะสิ้นไป เพราะตติยมรรค (อนาคามิมรรค) ภวาสวะ และอวิชชาสวะ

สิ้นไปเพราะจตุตถมรรค.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า วิมุตฺติาณ

ได้แก่ ปัจจเวกขณญาณในวิมุตติ นิพพาน และผล. บทว่า อุตฺตม ได้แก่

ชื่อว่า สูงสุด เพราะมีธรรมขั้นสูงสุดเป็นอารมณ์. บทว่า ขเย าณ ได้แก่

ญาณ (ความรู้) ในความสิ้นไปแห่งอาสวะและสังโยชน์ คือ ในอริยมรรค

อันทำอาสวะและสังโยชน์ให้สิ้นไป. ควรนำมาเชื่อมไว้ แม้ในที่นี้ว่า ญาณ

ว่า สังโยชน์ทั้งหลายสิ้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการพิจารณา

กิเลสที่ละได้แล้ว ด้วยบทว่า ขีณา สโยซนา อิติ าณ นั้น.

ปัจจเวกขณญาณทั้ง ๔ เป็นอันกล่าวไว้แล้วในที่นี้ดังพรรณนามาฉะนี้.

แท้จริง ในสูตรนี้ ไม่มีการพิจารณาถึงกิเลสที่ยังเหลืออยู่ เพราะพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงมุ่งถึงการบรรลุอรหัตผล. อนึ่ง ในบทว่า ชานโต ปสฺสโต

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกิจของสัมมาทิฏฐิว่า สำคัญยิ่งในการบรรลุ

นิพพาน ฉันใด เมื่อจะทรงแสดงว่า แม้กิจของสัมมัปปธาน ก็จำต้องปรารถนา

ให้ยิ่งฉันนั้นเหมือนกัน จึงตรัสคาถาสุดท้ายว่า น เตฺววิท กุสีเตน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น เตฺววิท ตัดบทเป็น น ตุ เอว อิท.

ตุ ศัพท์ เป็นเพียงนิบาต. อักษรในบทว่า พาเลนมวิชานตา ทำการ

เชื่อมบท. ก็ในบทนี้ มีความย่อดังนี้ว่า นิพพานนี้เป็นเครื่องเปลื้องคัณฐะ

(กิเลสเครื่องร้อยรัด) ทั้งหมดมีอภิชฌากายคัณฐะเป็นต้น คือ เป็นนิมิต

(เครื่องหมาย) แห่งการเปลื้องการพ้น ซึ่งจะพึงบรรลุได้ด้วยเสกขมรรค และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 655

อเสกขมรรค อันบุคคลผู้ไม่รู้แจ้งสัจจะ ๔ ตามความเป็นจริงโดยนัยเป็นต้นว่า

นี้ทุกข์ ผู้ชื่อว่าเป็นคนโง่ คือ ผู้ไม่เข้าใจ เพราะไม่รู้แจ้งนั้นนั่นแล ไม่

สามารถบรรลุได้ ฉันใด แม้บุคคลผู้เกียจคร้านไม่มีความเพียร ก็ไม่สามารถ

บรรลุได้ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงต้องปรารภความเพียรเพื่อบรรลุนิพพาน

นั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภ

ความเพียร ไม่ใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน

ขอเธอทั้งหลายจงปรารภ จงบากบั่น จง

ประกอบอยู่ได้คำสอนของพระพุทธเจ้าเถิด

ขอเธอทั้งหลาย จงทำลายเสนามฤตยู ให้

เหมือนช้างทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้นเถิด.

จบอรรถกถาชานสูตรที่ ๓

๔. สมณสูตร

ว่าด้วยสมณะหรือพราหมณ์ไม่รู้จริง

[๒๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราตถาคตหายกย่องว่าเป็น

สมณะในหมู่สมณะหรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้น

หาได้ทำให้แจ้งซึ่งผล คือ ความเป็นสมณะ และผลคือความเป็นพราหมณ์ด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไม่ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 656

เหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล เราตถาคต

ยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะและยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์

และท่านเหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งผลต่อความเป็นสมณะ และผลคือความ

เป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

สมณพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดซึ่ง

ทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่

ดับทุกข์ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง

และไม่รู้ชัดซึ่งมรรคอันให้ถึงความสงบ

แห่งทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้น เสื่อม

แล้วจากเจโตวิมุตติและจากปัญญาวิมุตติ

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล เป็นผู้เข้าถึง

ชาติและชรา ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าใด

รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมซาติ

เป็นที่ดับแห่งทุกข์ ไม่มีส่วนเหลือโดย

ประการทั้งปวง และรู้ซัดซึ่งมรรคอันให้ถึง

ความสงบแห่งทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่า

นั้น ถึงพร้อมด้วยเจโตวิมุตติและปัญญา-

วิมุตติ เป็นผู้ควรเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้าถึงชาติ

และชรา.

จบสมณสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 657

อรรถกถาสมณสูตร

ในสมณสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เย หิ เกจิ ได้แก่ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง. บทว่า อิท

ทุกฺขนฺติ ยถาภูต นปฺปชานนฺติ ความว่า ไม่รู้คือไม่แทงตลอดทุกขสัจ

อันไม่วิปริต ด้วยมรรคปัญญาที่ประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา โดยสภาวะและ

ลักษณะแห่งกิจที่แท้จริงว่า นี้ทุกข์ ทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มีทุกข์ยิ่งไปกว่านี้.

แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. ในบทว่า น เม เต ภิกฺขเว เป็นต้น

มีความย่อดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลทั้งหลายผู้มิได้ประกอบ

กัมมัฏฐานมีสัจจะ ๔ เป็นอารมณ์ จะเป็นสมณะได้ก็เพียงโดยการบรรพชา

และจะเป็นพราหมณ์ได้ก็เพียงโดยชาติ บุคคลเหล่านั้น เราตถาคตมิได้ยอมรับ

คือรับรองว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะผู้มีบาปอันสงบแล้วและว่าเป็นพราหมณ์

ในหมู่พราหมณ์ผู้ลอยบาปแล้ว เพราะเหตุไร ? เพราะบุคคลเหล่านั้นไม่มี

ธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ และทำให้เป็นพราหมณ์. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสคาว่า น จ ปเนเต อายสฺมนฺโต เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามญฺตฺถ ได้แก่ ผล กล่าวคือคุณ

เครื่องเป็นสมณะ อธิบายว่า ได้แก่ สามัญผล ๔. บทว่า พฺรหฺมญฺตฺถ

เป็นไวพจน์ของบทว่า สามญฺตถ นั้นนั่นแล. ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่ง

กล่าวว่า บทว่า สามญฺตฺถ ได้แก่อริยมรรค ๔ บทว่า พฺรหฺมญฺตฺถ

ได้แก่ อริยผล ๔. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ในสุกกปักษ์ (ธรรม

ฝ่ายขาว) พึงทราบความหมาย โดยบรรยายตรงข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว.

ในคาถาทั้งหลาย คำที่ไม่เคยมี ไม่มี.

จบอรรถกถาสมณสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 658

๕. สีลสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้น

[๒๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดถึงพร้อมแล้วด้วยศีล

สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะเป็นผู้กล่าวสอน ให้รู้แจ้ง ให้

เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรม

ได้อย่างดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวการเห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี

การฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การไปนั่งใกล้ภิกษุ

เหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี ว่า

มีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อภิกษุซ่องเสพคบหา เข้าไป

นั่งใกล้ภิกษุเห็นปานนั้น ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์

วิมุตติญาณทัสนขันธ์ แม้ที่ยังไม่บริบูรณ์ ก็ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เห็นปานนี้นั้น เราตถาคตกล่าวว่า เป็นศาสดาบ้าง

นำพวกไปบ้าง ละข้าศึก คือกิเลสบ้าง กระทำแสงสว่างบ้าง กระทำโอกาสบ้าง

กระทำความรุ่งเรืองบ้าง กระทำรัศมีบ้าง ทรงคบเพลิงไว้บ้าง เป็นอริยะบ้าง

มีจักษุบ้าง ดังนี้.

การได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีตน

อันอบรมแล้ว ผู้มีปกติเป็นอยู่โดยธรรม

ย่อมเป็นเหตุแห่งการกระทำซึ่งความ

ปราโมทย์แก่บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้ง บัณ-

ฑิตทั้งหลาย ฟังคำสอนของพระอริยเจ้า

ทั้งหลายผู้กระทำรัศมี ผู้กระทำแสงสว่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 659

เป็นนักปราชญ์ ผู้มีจักษุ ผู้ละข้าศึก คือ

กิเลส ประกาศพระสัทธรรมยังสัตวโลก

ให้สว่าง แล้วรู้โดยชอบซึ่งความสิ้นไป

แต่งชาติด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมไม่มาสู่

ภพใหม่.

จบสีลสูตรที่ ๕

อรรถกถาสีลสูตร

ในสีลสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า สีลสมฺปนฺนา นี้มีอธิบายว่า โลกิยศีลและโลกุตรศีลของ

พระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า ศีล. ภิกษุทั้งหลายชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยศีล เพราะ

หมายความว่า สมบูรณ์คือประกอบด้วยศีลนั้น ๆ. แม้ในสมาธิและปัญญา

มีนัย นี้แล. ส่วนวิมุตติ ได้แก่ผลวิมุตตินั่นแล. วิมุตติญาณทัสสนะ ได้แก่

ปัจจเวกขณญาณ. ในอธิการนี้ ธรรม ๓ มีศีล เป็นต้น เป็นทั้งโลกิยะ

และโลกุตระ. วิมุตติเป็นโลกุตระอย่างเดียว วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นโลกิยะ

อย่างเดียว.

ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ผู้กล่าวสอน เพราะหมายความว่า กล่าวสอน คือ

พร่ำสอนบุคคลเหล่าอื่น ด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกกัตถประโยชน์

และปรมัตถประโยชน์ตามควร. บทว่า วิฺาปกา ได้แก่ช่วยบุคคลเหล่าอื่น

ให้เข้าใจกรรมและผลของกรรม. อนึ่ง ในบทว่า วิญฺาปกา นั้น มีอธิบายว่า

ช่วยบุคคลเหล่าอื่นให้เข้าใจ คือให้รู้ซึ่งธรรมทั้งหลาย ด้วยนัย ๓ อย่าง ตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 660

ลักษณะของตน คือ ตามสามัญลักษณะ โดยการจำแนกเป็นกุศลเป็นต้น

โดยการจำแนกเป็นขันธ์เป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล

ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ. บทว่า

สนฺทสฺสกา ได้แก่ แสดงธรรมเหล่านั้นแล ให้บุคคลอื่นเห็นได้ชัด เหมือน

จับธรรมเหล่านั้นด้วยมือ. บทว่า สมาทปกา ได้แก่ ทำให้บุคคลเหล่าอื่น

สมาทานศีลเป็นต้น ที่ยังมิได้สมาทาน คือ ทำบุคคลเหล่าอื่นนั้นให้ดำรงอยู่

ในศีลเป็นต้นนั้น. บทว่า สมุตฺเตชกา ความว่า ทำจิตของบุคคลทั้งหลาย

ผู้ดำรงอยู่ในกุศลธรรมอย่างนี้ให้อาจหาญด้วยดี ด้วยการแนะนำในการบำเพ็ญ

อธิจิตขั้นสูงขึ้นไป คือทำจิตของเขาให้ผ่องใสด้วยการพิจารณา โดยประการที่

เขาจะบรรลุคุณวิเศษได้. บทว่า สมฺปหสกา ความว่า ทำจิตของบุคคล

เหล่าอื่นนั้นให้ร่าเริงด้วยดี ด้วยคุณวิเศษตามที่ได้แล้ว และที่จะพึงได้ในขั้นสูง

คือ ทำจิตของเขาให้ยินดีด้วยดี ด้วยอำนาจความพอใจที่ได้แล้ว. บทว่า อล

สมกฺขาตาโร ได้แก่ เป็นผู้สมควร คือบอกธรรมได้โดยชอบทีเดียว ได้แก่

ด้วยประสงค์จะอนุเคราะห์ ไม่ทำธรรมที่ตนได้เล่าเรียนมา คือตามที่กล่าวแล้ว

ให้เสื่อมสูญไป.

อีกประการหนึ่ง. บทว่า สนฺทสฺสกา ความว่า ภิกษุเมื่อแสดงธรรม

ก็แสดงด้วยดีทีเดียว ทั้งปวัตติ (ความเป็นไป) และนิวัตติ (ความหมุนกลับ )

ตามสภาวลักษณกิจที่แท้จริง. บทว่า สมาทปกา ความว่า ยังผู้ฟังให้ยึดถือ

เนื้อความนั้นนั่นแล โดยให้เนื้อความนั้นตั้งมั่นอยู่ในจิต. บทว่า สมุตฺเตชกา

ความว่า ยังผู้ฟังให้ผ่องใสหรือรุ่งเรื่องด้วยดีทีเดียว ด้วยการให้เกิดอุตสาหะ

ในการรับเอาเนื้อความนั้น. บทว่า สมฺปหสกา ความว่า ยังผู้ฟังให้ร่าเริง

คือให้ยินดีด้วยดีทีเดียวซึ่งเนื้อความนั้น ด้วยการแสดงอานิสงส์ในการปฏิบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 661

บทว่า อล สมกฺขาตาโร ความว่า เป็นผู้สามารถที่จะบอกได้ ตามนัยที่

กล่าวแล้ว คือ เป็นผู้แสดงสัทธรรม ได้แก่ ปฏิเวธสัทธรรม หรือสัทธรรม

ทั้ง ๓ อย่าง.

บทว่า ทสฺสนมฺปห ตัดบทเป็น ทสฺสน ปิ อห. ก็การเห็นนี้

นั้นมี ๒ อย่างคือ การเห็นด้วยจักษุ ๑ การเห็นด้วยญาณ ๑. บรรดาการ

เห็นทั้ง ๒ อย่างนั้น การมองดูพระอริยเจ้าทั้งหลายด้วยดวงตา (แสดงความ)

เลื่อมใส ชื่อว่า การเห็นด้วยจักษุ. สวนการบรรลุธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็น

พระอริยะ และความเป็นพระอริยะด้วยวิปัสสนา มรรคและผล ชื่อว่า การเห็น

ด้วยญาณ. แต่ในความหมายนี้ ท่านประสงค์เอาการเห็นด้วยจักษุ. เพราะว่า

แม้การมองดูพระอริยเจ้าทั้งหลาย ด้วยดวงตา (แสดงความ) เลื่อมใส ก็มี

อุปการะมากทีเดียวแก่สัตว์ทั้งหลาย. บทว่า สวน ได้แก่ การได้ยินด้วยหู เมื่อ

คนทั้งหลายพูดกันว่า พระขีณาสพ. ชื่อโน้น อยู่ในรัฐหรือชนบท ในคามหรือ

นิคม ในวิหารหรือในถ้ำ ชื่อโน้น นี้ ก็มีอุปการะมากเหมือนกัน. บทว่า

อุปสงฺกมน ความว่า การเข้าไปหาพระอริยเจ้าทั้งหลาย ด้วยความคิดเห็น

แบบนี้ว่า เราจักถวายทาน จักถามปัญหา จักฟังธรรม หรือจักทำสักการะ.

บทว่า ปยิรุปาสน ได้แก่ การเข้าไปนั่งใกล้ เพื่อถามปัญหา อธิบายว่า

การได้สดับ คุณความดีของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เข้าไปหาพระอริยเจ้าเหล่านั้น

นิมนต์แล้วถวายทาน หรือทำวัตร แล้วถามปัญหาโดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ อะไร คือ กุศล ? การทำการรับใช้เป็นต้น จัดเป็นการเข้าไป

นั่งใกล้เหมือนกัน. บทว่า อนุสฺสตึ ได้แก่ การที่บุคคลผู้นั่งในที่พักกลาง

คืนและที่พักกลางวัน ระลึกถึงเนือง ๆ ซึ่งคุณวิเศษมีทิพวิหารธรรมเป็นต้น

ของพระอริยเจ้าเหล่านั้น เป็นอารมณ์ว่า บัดนี้ พระอริยเจ้าทั้งหลาย กำลังยับ

ยั้งอยู่ในสถานที่ทั้งหลายมีพุ่มไม้ ถ้ำ และมณฑปเป็นต้น ด้วยความสุขอันเกิด

จากฌาน วิปัสสนามรรคและผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 662

อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่น้อมนึกถึงโอวาทที่ได้จากสำนักของพระอริยเจ้า

เหล่านั้น แล้วระลึกถึงเนือง ๆ อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศีลไว้ใน

ที่นี้ ตรัสสมาธิไว้ในที่นี้ ตรัสวิปัสสนาไว้ในที่นี้ ตรัสมรรคไว้ในที่นี้ ตรัสผลไว้

ในที่นี้. บทว่า อนุปพฺพชฺช ได้แก่ การทำจิตให้เลื่อมใสในพระอริยเจ้าทั้งหลาย

แล้วออกจากเรือนบวชในสำนักพระอริยเจ้าเหล่านั้น. อธิบายว่า การทำจิตให้

เลื่อมใสในพระอริยเจ้าทั้งหลาย แล้วบวชในสำนักพระอริยเจ้าเหล่านั้นนั่นแล

เที่ยวไปจำนงหวังอยู่ซึ่งโอวาทานุสาสนีของพระอริยเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า การบวช

ตาม. การบวชแม้ของบุคคลผู้เที่ยวไปหวังโอวาทานุสาสนี ในสำนักบุคคลเหล่า

อื่น ก็ชื่อว่า บวชตาม. การบวชแม้ของบุคคลผู้บวชในสำนักอื่น เพราะความ

เลื่อมใสในพระอริยเจ้าทั้งหลาย แล้วเที่ยวไปจำนงหวังโอวาทานุสาสนี ในสำนัก

พระอริยเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่า บวชตามเหมือนกัน . ส่วน การบวชแม้ของ

บุคคลผู้บวชในสำนักบุคคลอื่น เพราะความเลื่อมใสในบุคคลอื่น แล้วเที่ยวไป

จำนงหวังโอวาทานุสาสนี. ของบุคคลอื่นเหมือนกัน ไม่ชื่อว่า เป็นการบวช

ตาม. ก็บรรดาบุคคลที่บวชตามนัยดังกล่าวแล้ว ก่อนอื่นผู้บวชตามพระมหา-

กัสสปเถระ มีจำนวน ๑๐๐,๐๐๐ คน. ผู้บวชตามพระจันทคุตตเถระ

ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระนั่นแล ก็มีจำนวนเท่ากัน. พระสุริยคุตตเถระ

ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระจันทคุตตเถระแม้นั้น พระอัสสคุตตเถระผู้เป็น

สัทธิวิหาริกของพระสุริยคุตตเถระแม้นั้น พระโยนกธัมมรักขิตเถระ ผู้

เป็นสัทธิวิหาริกของพระอัสสคุตตเถระแม้นั้น ก็มีผู้บวชตามจำนวนเท่ากัน.

ฝ่ายพระกนิษฐภาดาของพระเจ้าอโศก ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระโยนก-

ธัมมรักขิตเถระนั้น ได้มีชื่อว่า ติสสเถระ บุคคลผู้บวชตามพระติสสเถระ

นั้น ได้มีจำนวนนับได้ ๒๕๐ โกฏิ. ส่วน บุคคลผู้บวชตามพระมหา-

มหินทเถระ ผู้ยังชาวเกาะให้เลื่อมใส นับจำนวนไม่ได้. ในเกาะลังกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 663

บุคคลผู้บวชด้วยความเลื่อมใสในพระศาสดา จนตราบเท่าทุกวันนี้ ชื่อว่า

บวชตามพระมหามหินทเถระทั้งนั้น.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงเหตุที่พระองค์ตรัสว่า การเห็นพระอริยเจ้า

เหล่านั้นเป็นต้น มีอุปการะมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ตถารูเป

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถารูเป ได้แก่ พระอริยเจ้าเช่นนั้น

คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.

เพราะเหตุที่การเห็น การฟัง และการหมั่นระลึกถึงเป็นเหตุ (ฐาน)

ของการเข้าไปหา และการเข้าไปนั่งใกล้ ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงเฉพาะการ

เข้าไปหา และการเข้าไปนั่งใกล้ ไม่พาดพิงถึงการเห็น การได้ยิน และการ

หมั่นระลึกถึง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสวโต ภชโต ปยิรุปาสโต

ดังนี้. ก็เพราะได้เห็น ได้ฟัง และระลึกถึงเนือง ๆ กุลบุตรจึงเกิดศรัทธาใน

พระอริยเจ้าทั้งหลาย แล้วเข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้พระอริยเจ้าเหล่านั้น ถาม

ปัญหา ได้สวนานุตริยะแล้ว ก็จักบำเพ็ญคุณมีศีลเป็นต้น ที่ยังไม่บริบูรณ์

ให้บริบูรณ์ดังนี้แล. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า กุลบุตรผู้เกิดศรัทธาย่อม

เข้าไปหา เมื่อเข้าไปหา ย่อมนั่งใกล้ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสวโต ได้แก่ เข้าไปหาตามเวลาอัน

สมควรด้วยการทำวัตรและวัตรตอบ. บทว่า ภชโต ได้แก่คบอยู่ด้วยอำนาจ

ความรักและภักดี. บทว่า ปยิรุปาสโต ได้แก่ เข้าไปนั่งใกล้ด้วยการถาม

ปัญหาและทำตามข้อปฏิบัติ. นักศึกษาพึงทราบการจำแนกความหมายของบท

ทั้ง ๓ ดังว่ามานี้. ความบริบูรณ์แห่งวิมุตติญาณทัสสนะ พึงทราบได้โดยการ

เกิดขึ้นแห่งปัจจเวกขณญาณที่ ๑๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 664

ในบทว่า เอวรูปา จ เต ภิกฺขเว ภิกฺขู เป็นต้น พึงทราบ

วินิจฉัยดังต่อไปนี้. ภิกษุเหล่าใดเห็นปานนี้ คือ เป็นเช่นนี้ ได้แก่ ทำลาย

กิเลสได้หมดสิ้น เพราะประกอบด้วยคุณภาพที่กล่าวแล้ว ภิกษุเหล่านั้นเรียกว่า

ศาสดา เพราะพร่ำสอนโดยการประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ในประโยชน์

เกื้อกูลมีทิฏฐธัมมิถัตถประโยชน์เป็นต้นบ้าง เรียกว่า นายคาราวาน (ผู้นำหมู่

พ่อค้า) เพราะช่วยสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้นจากชาติกันดารเป็นต้นบ้าง

เรียกว่า ผู้ละกิเลสเครื่องยียวน เพราะละกิเลสเครื่องยียวนมีราคะเป็นต้น

ได้ด้วยตนเอง และสอนคนอื่นให้ละตามบ้าง เรียกว่า ผู้บรรเทาความมืด

เพราะบรรเทาความมืด คือ อวิชชาด้วยตนเอง และสอนผู้อื่นให้บรรเทา

ตามบ้าง เรียกว่า ผู้ทำแสงสว่างเป็นต้น เพราะทำให้เกิดแสงสว่างคือปัญญา

โอภาสดือปัญญา และความโชติช่วงคือปัญญาในสันดานของตนและบุคคล

อื่นบ้าง อนึ่ง เรียกว่า ผู้ทำรัศมีบ้าง ผู้ทรงคบเพลิงบ้าง เพราะทำธรรม

ให้ดาดาษด้วยรัศมี คือ ญาณ เรียกว่า พระอริยะ เพราะเป็นผู้ห่างไกลจาก

กิเลสทั้งหลาย ๑ เพราะไม่ดำเนินไปในทางที่ไม่ควรดำเนิน ๑ เพราะดำเนิน

ไปในทางที่ควรดำเนิน ๑ เพราะอันชาวโลกกับทั้งเทวโลกพึงดำเนินตาม ๑

เรียกว่า ผู้มีจักษุ เพราะได้ปัญญาจักษุและธรรมจักษุอย่างดียิ่ง.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า ปาโมชฺชกรณฏฺ-

าน ได้แก่ ที่ตั้ง คือ เหตุให้บังเกิดความบันเทิงใจที่ปราศจากอามิส. ท่าน

กล่าวถึงนิทัสสนะ (ตัวอย่าง) ที่จะพึงกล่าวในบัดนี้ว่า เอต. บทว่า วิชานต

ได้แก่ รู้จักความเศร้าหมองและความผ่องแผ้ว ตามความเป็นจริง. บทว่า

ภาวิตตฺตาน ได้แก่ ผู้มีสภาวะ (จิต) อันอบรมแล้ว อธิบายว่า ผู้มีสันดาน

อบรมแล้วด้วยการอบรมกายเป็นต้น. บทว่า ธมฺมชีวิน ความว่า ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 665

ผู้มีปกติเป็นอยู่โดยธรรม เพราะละมิจฉาชีพแล้วเลี้ยงชีวิตโดยธรรม คือ ด้วย

ญายธรรม เพราะนำอัตภาพไปด้วยธรรม คือ ด้วยญายธรรมบ้าง เพราะ

เป็นอยู่ด้วยผลธรรมอันเลิศ เนื่องจากมากด้วยสมาบัติบ้าง. ในบทนี้มีความย่อ

ดังนี้ว่า การเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้อบรมตนแล้ว ผู้สำเร็จสมาธิภาวนาและ

ปัญญาภาวนาแล้ว ผู้ชื่อว่า เป็นอยู่โดยธรรม เพราะการอบรมตนและสำเร็จ

ภาวนานั้นนั่นเอง. ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งปีติและปราโมทย์โดยส่วนเดียวเท่านั้น

สำหรับบุคคลผู้มีปัญญารู้แจ้ง เพราะเป็นเหตุแห่งความบริบูรณ์ แห่งคุณทั้งหลาย

มีศีลเป็นต้น ซึ่งมีความไม่เดือดร้อนเป็นนิมิต.

บัดนี้ เพื่อแสดงความที่การเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายนั้นเป็นเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสสองคาถาท้ายว่า เต โชตยนฺติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ได้แก่ พระอริยเจ้าเหล่านั้น ผู้อบรม

ตนแล้ว มีปกติอยู่โดยธรรม. บทว่า โชตยนฺติ ได้แก่ ทำให้ปรากฏ. บทว่า

ภาสยนฺติ ได้แก่ ทำโลกให้สว่างด้วยแสงสว่างแห่งพระสัทธรรม. อธิบายว่า

แสดงธรรม. บทว่า เยส ได้แก่ พระอริยเจ้าเหล่าใด. บทว่า สาสน

ได้แก่ โอวาท. บทว่า สมฺมทญฺาย ได้แก่ รู้โดยชอบทีเดียวด้วยญาณ

อันเป็นส่วนเบื้องต้น. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 666

๖. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยที่เกิดตัณหามี ๔ อย่าง

[๒๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้น

ในที่เกิดแห่งตัณหา ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตัณหา

เมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งจีวร ๑ เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต ๑

เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ ๑ หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติและวิบัติ ๑ ด้วยประการ

ฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นในที่เป็นที่

เกิดแห่งตัณหา ๔ อย่างนี้แล.

บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่อง-

เที่ยวไปอยู่สิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วง

สงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และความ

เป็นอย่างอื่นไปได้ ภิกษุรู้โทษนี้แล้วว่า

ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นผู้มีตัณหา

ปราศจากไปแล้ว ไม่ถือมั่น มีสติ พึง

เว้นรอบ.

จบตัณหาสูตรที่ ๖

อรรถกถาตัณหาสูตร

ในอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า ตณฺหุปฺปาทา นี้ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่า อุปปาทะ เพราะ

หมายความว่า เป็นที่เกิดขึ้น. ถามว่า อะไรเกิดขึ้น ? ตอบว่า ตัณหา.

ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ชื่อว่า ตัณหุปปาทะ. อธิบายว่า เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 667

คือ เป็นเหตุแห่งตัณหา. บทว่า ยตฺถ ได้แก่ ในอารมณ์เหล่าใดที่เป็น

นิมิต. บทว่า อุปฺปชฺชมานา ได้แก่ มีปกติเกิดขึ้น. ในบทว่า จีวรเหตุ

นี้ มีอธิบายว่า ตัณหาย่อมเกิดขึ้น เพราะเหตุแห่งจีวรว่า เราจักได้จีวร

ที่น่าชอบใจ. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัย นี้แล. อนึ่งศัพท์ว่า อิติ ในบทว่า

อิติ ภวาภวเหตุ นี้ เป็นนิบาตใช้ใน ความหมายว่า นิทัสสนะ เหมือน

อย่างที่มีความหมายว่า แม้เพราะเหตุแห่งจีวรเป็นต้น. อนึ่ง ในบทว่า

ภวาภว นี้ ท่านประสงค์เอาเนยใสและเนยข้นเป็นต้นทีประณีต ๆ เพราะหมาย

ความว่า เป็นเหตุให้มีความไม่มีโรค. บรรดาสมบัติและภพทั้งหลาย สมบัติ

และภพที่ประณีตและประณีตกว่า ท่านเรียกว่า ภวาภวะดังนี้บ้าง. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า ภโว ได้แก่ สมบัติ. บทว่า อภโว ได้แก่ วิบัติ. บทว่า ภโว

ได้แก่ วุฑฒิ (ความเจริญ). บทว่า อภโว ได้แก่ หานิ (ความเสื่อม).

และตัณหา ก็มีภวาภวะนั้นเป็นนิมิตจึงเกิดขึ้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ภวาภวเหตุ วา ดังนี้.

คาถาทั้งหลาย มีความหมายดังกล่าวแล้วในตอนต้นนั่นแล. อนึ่ง

บทว่า ตณฺหาทุติโย ได้แก่ มีตัณหาเป็นสหาย. อธิบายว่า สัตว์นี้ เมื่อ

ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏ ซึ่งมีที่สุดเบื้องต้นอันใคร ๆ ตามรู้ไม่ได้ ก็มิได้

ท่องเที่ยวไปคนเดียว แต่ว่าได้ตัณหาเป็นที่สอง คือ เป็นเพื่อนท่องเที่ยวไป.

จริงอย่างนั้น ตัณหานั้น ไม่ให้สัตว์ได้คิดถึงการตกไปในเหวนั้น ให้เห็นแต่

เฉพาะอานิสงส์ในภพทั้งหลาย แม้อากูลด้วยโทษเป็นอเนก เหมือนพรานตีผึ้ง

ฉะนั้น จึงให้สัตว์หมุนอยู่ในข่ายที่ไร้ประโยชน์. บทว่า เอตมาทีนว ตฺวา

ความว่า รู้โทษนั้น คือ ที่หมายรู้ว่าเป็นอย่างนี้ และเป็นอย่างอื่นในขันธ์

ทั้งหลายทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน. บทว่า ตณฺหา ทุกฺขสฺส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 668

สมฺภว ความว่า รู้ว่า ตัณหาเป็นบ่อเกิด คือ เป็นแดนเกิด ได้แก่ เป็นเหตุ

แห่งภัยและวัฏทุกข์.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงการที่ภิกษุรูปหนึ่งเจริญวิปัสสนาแล้ว

บรรลุอรหัตผลด้วยคำเพียงเท่านี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงชมเชยภิกษุผู้ขีณาสพนั้น

จึงตรัสคำว่า วีตตณฺโห เป็นต้น.

ส่วนคำใดที่มิได้กล่าวไว้ในที่นี้ คำนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วในตอนต้น

นั่นแล.

จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๖

๗. พรหมสูตร

ว่าด้วยตระกูลมีบุตรบูชามารดาบิดา

[๒๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใด บุตรบูชามารดาและบิดา

อยู่ในเรือนของตน ตระกูลนั้นชื่อว่ามีพรหม มีบุรพเทวดา มีบุรพาจารย์

มีอาหุไนยบุคคล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหม เป็นชื่อของมารดาและบิดา

คำว่าบุรพเทวดา เป็นชื่อของมารดาและบิดา คำว่าบุรพาจารย์ เป็นชื่อของ

มารดาและบิดา คำว่าอาหุไนยบุคคล เป็นชื่อของมารดาและบิดา ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร ? เพราะมารดาและบิดาเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ถนอมเลี้ยง เป็น

ผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร.

มารดาและบิดา เราตถาคตกล่าวว่า

เป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ เป็นอาหุไนย-

บุคคลของบุตร เพราะเป็นผู้อนุเคราะห์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 669

บุตร เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตพึง

นอบน้อมและพึงสักการะมารดาและบิดา

ทั้งสองนั้น ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน

การขัดสี การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า

บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ บุคคลนั้น

ในโลกนี้ทีเดียว เพราะการปฏิบัติในมารดา

และบิดา บุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมบันเทิง

ในสวรรค์.

จบพรหมสูตรที่ ๗

อรรถกถาพรหมสูตร

ในพรหมสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สพฺรหฺมกานิ ความว่า ชื่อว่า เป็นตระกูลมีผู้ประเสริฐที่สุด.

บทว่า เยส ความว่า ของตระกูลเหล่าใด. บทว่า ปุตฺตาน ความว่า

อันบุตรทั้งหลาย. ก็คำว่า ปุตฺตาน นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในความหมาย

ของตติยาวิภัตติ เพราะประกอบเข้ากับศัพท์ ปูชิต. บทว่า อชฺฌาคาเร

ความว่า ในเรือนของตน. บทว่า ปูชิตา โหนฺติ ความว่า เป็นผู้ที่บุตร

ทั้งหลายปฏิบัติแล้ว ด้วยสิ่งของที่มีอยู่ในเรือน คือ ปรนนิบัติแล้ว ด้วยสิ่งที่

พึงพอใจ และด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายและเป็นประโยชน์แก่การพูดจา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสรรเสริญตระกูล ที่บุตรบูชามารดา

บิดาว่า ชื่อว่าเป็นตระกูลที่มีพระพรหม อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงภาวะที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 670

ตระกูลเหล่านั้นเป็นตระกูลที่น่าสรรเสริญยิ่งขึ้นไป จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า

ชื่อว่า มีบุรพเทพ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ เพื่อจะทรงให้มารดาบิดาเหล่านั้นสำเร็จความเป็นพรหมเป็นต้น. ใน

ข้อนั้น มีการอธิบายความให้แจ่มชัด ดังต่อไปนี้.

คำว่า พฺรหฺม เป็นชื่อของผู้ประเสริฐที่สุด. อธิบายว่า มารดาและ

บิดาทั้งหลายจะไม่ละทิ้งภาวนา ๔ อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา

ในบุตรทั้งหลาย เหมือนท้าวมหาพรหมไม่ละทิ้งภาวนา ๔ อย่างฉะนั้น.

ภาวนา ๔ อย่างนั้น พึงทราบได้ในกาลนั้น ๆ คือ เมื่อบุตรยังอยู่ในอุทร

มารดาบิดาจะเกิดเมตตาจิตขึ้นว่า เมื่อไรหนอ เราจักได้เห็นบุตรน้อยไม่มีโรค

มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบบริบูรณ์. แต่เมื่อใด บุตรน้อยนั่นยังอ่อน นอนแบเบาะ

อยู่ ถูกไรหรือเรือดกัด หรือถูกการนอนไม่สบายบีฑา ร้องไห้สะอึกสะอื้นอยู่

เมื่อนั้น มารดาบิดาได้ยินเสียงบุตรแล้ว จะเกิดความกรุณาขึ้น. แต่เวลาบุตร

วิ่งเล่นไปมา หรือเวลาอยู่ในวัยที่สวยงาม (รุ่นหนุ่มสาว) มารดาบิดามองดู

ลูกน้อยแล้ว จิตใจจะรื่นเริงบันเทิง เหมือนผ้าฝ้ายที่ฟอกแล้วร้อยครั้ง ที่หย่อน

ลงไปแล้ว ในฟองเนยใส เมื่อนั้น มารดาบิดา จะมีมุทิตา. แต่เมื่อใดบุตร

ของมารดาบิดาเหล่านั้น รับหน้าที่เลี้ยงเมีย แยกเรือนไปอยู่ต่างหาก เมื่อนั้น

มารดาบิดาจะเกิดความมีใจเป็นกลางขึ้นว่า บัดนี้ บุตรน้อยของเราสามารถ

เลี้ยงชีพได้ตามธรรมดาของตนแล้ว เธอเป็นอย่างนี้ ในเวลานั้น (มารดาบิดา)

จะมีอุเบกขา. คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหมนี้ เป็นชื่อของมารดา

บิดา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะมารดาบิดาทั้งหลายเป็นเหมือน

พระพรหม เหตุที่ได้พรหมวิหารทั้ง ๔ อย่าง ในบุตรทั้งหลายตามกาลเวลา

ดังที่พรรณนามานี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 671

เทพ ๓ เหล่า

เทพ ๓ เหล่า คือ สมมติเทพ (เทวดาโดยสมมติ) ๑ อุปปัตติเทพ

(เทวดาโดยกำเนิด) ๑ วิสุทธิเทพ (เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ) ๑ ชื่อว่าเทพ

ในคำว่า ปุพฺพเทวา นี้. บรรดาเทพ ๓ จำพวกเหล่านั้น กษัตริย์ผู้เป็น

พระราชา ชื่อว่า สมมติเทพ. เพราะว่า กษัตริย์ผู้เป็นพระราชาเหล่านั้น

ที่ชาวโลกเรียกกันว่า เทพ (และ) เทพี เป็นผู้ทรงข่มและทรงอนุเคราะห์

ชาวโลกได้เหมือนเทพเจ้า. เหล่าสัตว์ที่อุบัติขึ้นในเทวโลก ตั้งแต่เทพชั้น

จาตุมมหาราชิกา จนถึงภวัคคพรหม ชื่อว่า อุปปัตติเทพ. พระขีณาสพ

ชื่อว่า วิสุทธิเทพ เพราะหมดจดจากกิเลสทั้งมวล. ในข้อนั้นมีอรรถพจน์

ดังต่อไปนี้. เหล่าสัตว์ชื่อว่าเทพ เพราะเล่น, สนุกสนาน, เฮฮา, รุ่งเรื่องอยู่

และชนะฝ่ายตรงข้าม.

บรรดาเทพ ๓ จำพวกเหล่านั้น วิสุทธิเทพประเสริฐกว่าเทพทุกเหล่า.

วิสุทธิเทพเหล่านั้นมุ่งแต่ความเสื่อมไปแห่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และการ

เกิดขึ้นแห่งประโยชน์แก่เขาเหล่านั้น โดยส่วนเดียว ไม่คำนึงถึงความผิดที่

พาลชนทำไว้เลย ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข โดยการ

ประกอบพรหมวิหารธรรมตามที่กล่าวแล้ว และนำความที่สักการะมีผลมากและ

อานิสงส์มากมายมาให้ชนเหล่านั้น เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ฉันใด แม้

มารดาบิดาทั้งหลาย ก็เช่นนั้น เหมือนกัน มุ่งแต่ความเสื่อมไปแห่งสิ่งที่ไม่เป็น

ประโยชน์ และการเกิดขึ้นแห่งประโยชน์แก่เขาเหล่านั้น โดยส่วนเดียว ไม่

คำนึงถึงความผิดของบุตรทั้งหลาย เป็นทักขิไณยบุคคลผู้ยอดเยี่ยม ปฏิบัติอยู่

เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพราะได้พรหมวิหารทั้ง ๔ อย่าง

โดยนัยที่ได้กล่าวมาแล้ว นำมาซึ่งความที่อุปการะที่บุตรทำแล้วในตนให้เป็น

อุปการะมีผลานิสงส์มากมาย. และมารดาบิดาเหล่านั้นเป็นเทพมาแต่ต้นทีเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 672

เพราะมีอุปการะแก่บุตรเหล่านั้น ก่อนกว่าเทพทั้งมวล. เพราะเหตุนี้ บุตรเหล่านั้น

รู้จักเทพเหล่าอื่นว่าเป็นเทพ ให้เทพเหล่านั้นพอใจ เข้าไปนั่งใกล้เทพเหล่านั้น

ครั้นรู้วิธีให้เทพพอใจแล้ว ปฏิบัติอยู่อย่างนั้น ก็ได้ประสบผลของข้อปฏิบัตินั้น

ด้วยอำนาจของมารดาบิดาเหล่านั้นก่อน ฉะนั้น เทพเหล่าอื่นนั้น จึงชื่อว่า

เป็นปัจฉาเทพ (เทพองค์หลัง). ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ปุพฺพเทวา นี้ เป็นชื่อของมารดาบิดาทั้งหลาย.

บทว่า ปุพฺพาจริยา ได้แก่ เป็นอาจารย์คนแรก อธิบายว่า มารดา

บิดาเมื่อจะให้ลูกสำเหนียก ก็ให้เรียนให้สำเหนียกตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ว่าจงนั่งอย่างนี้

จงเดินอย่างนี้ จงยืนอย่างนี้ จงนอนอย่างนี้ จงเคี้ยวอย่างนี้ จงกินอย่างนี้

คนนี้เจ้าควรเรียกพ่อ คนนี้ควรเรียกพี่ชาย น้องชาย คนนี้ควรเรียกพี่สาว

น้องสาว สิ่งนี้ควรทำนะ สิ่งนี้ไม่ควรทำนะ ที่โน้นควรเข้าไปนะ ที่โน้นไม่

ควรเข้าไปนะ ดังนี้. ต่อมา แม้อาจารย์อื่น ๆ จึงจะให้ศึกษาศิลปะ มีอาทิอย่างนี้

คือ การนับนิ้วมือ อาจารย์อื่น ๆ ให้สรณะ ให้ตั้งอยู่ในศีล ให้บรรพชา ให้เรียน

ธรรม ให้อุปสมบท และให้บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. ดังนั้น อาจารย์

เหล่านั้นทั้งหมด จึงชื่อว่าเป็นปัจฉาจารย์ (อาจารย์คนหลัง) ส่วนมารดาบิดา

ชื่อว่า เป็นอาจารย์ก่อนกว่าทุกคน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ปุพฺพาจริยา นี้ เป็นชื่อของมารดาบิดา

ทั้งหลาย ดังนี้.

บทว่า อาหุเนยฺยา ความว่า สิ่งของชื่อว่า อาหุนะ เพราะเขาต้อง

นำมาบูชา คือผู้หวังผลวิเศษต้องนำมาจากที่ไกลแล้ว จึงถวายในท่านผู้มีคุณ

ทั้งหลาย. คำว่า อาหุนะ นี้ เป็นชื่อของข้าว น้ำ และผ้าสำหรับปกปิดกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 673

เป็นต้น. มารดาบิดาย่อมควรซึ่งของควรบูชานั้น เพราะเป็นนาสำหรับปลูกฝัง

อุปการธรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อาหุเนยยะ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า อาหุเนยยะ นี้

เป็นชื่อของมารดาบิดาทั้งหลาย.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงเหตุ ในภาวะที่มารดาบิดาเหล่านั้นเป็นพรหม

เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า ต กิสฺส เหตุ

พหุการา (ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมีอุปการะมาก).

บทว่า ต กิสฺส เหตุ มีอรรถาธิบายว่า ถ้าหากมีคำถามว่า เพราะ

เหตุไร คำว่า พฺรหฺมา เป็นต้นนั้น จึงเป็นชื่อของมารดาบิดา. บทว่า

พหุการา ได้แก่ มีอุปการะมาก. บทว่า อาปาทกา ได้แก่ ผู้ถนอม

กล่อมเกลี้ยง คือเลี้ยงดูชีวิต. อธิบายว่า ชีวิตของบุตรทั้งหลาย มารดาบิดา

ถนอมคือเลี้ยงดู ได้แก่สืบต่อ หมายความให้เป็นไปคือให้ถึงพร้อม โดยการ

ติดพันกันไปเนือง ๆ. บทว่า โปสกา ความว่า เลี้ยงดูโดยให้ดื่มเลือดในหทัย

ให้มือเท้าเจริญเติบโตขึ้น. บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร ความว่า

ขึ้นชื่อว่า การเห็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ในโลกนี้ เกิดมีแก่บุตรทั้งหลาย

ได้ เพราะอาศัยมารดาบิดา เพราะฉะนั้น มารดาบิดาเหล่านั้น จึงชื่อว่า

เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตรเหล่านั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความที่มารดาบิดาเหล่านั้น เป็นผู้

มีอุปการะมาก (และ) เหตุแห่งความเป็นพรหมเป็นต้น ด้วยประการดังนี้

ที่เป็นเหตุให้บุตรไม่สามารถจะทำการตอบแทน (คุณ) มารดาบิดาให้สิ้นสุดได้

ด้วยโลกิยอุปการะ โดยปริยายไร ๆ เลย. เพราะว่า ถ้าหากบุตรตั้งใจว่า เรา

จักทำการตอบแทนอุปการคุณมารดาบิดา แล้วพยายามลุกขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 674

ให้มารดาสถิตอยู่บนบ่าขวา ให้บิดาสถิตอยู่บนบ่าซ้าย มีอายุยืนหนึ่งร้อยปี

ก็ประคบประหงมท่านตลอดเวลาหมดทั้งร้อยปี ทำนุบำรุงท่านด้วยปัจจัย ๔

และด้วยเครื่องอบ การนวดฟั้น การให้อาบน้ำ และการดัดกายเป็นต้น ตาม

ที่ท่านชอบใจ ไม่รังเกียจแม้แต่มูตรและกรีส (อุจจาระ) ของท่านเหล่านั้นไซร้.

ด้วยการปรนนิบัติถึงเพียงนี้ ก็ไม่ชื่อว่า บุตรได้ทำการตอบแทน

มารดาบิดา เว้นแต่จะให้ท่านดำรงอยู่ในคุณความดีพิเศษ มีสัทธาเป็นต้น.

สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เราตถาคตไม่เรียกว่า เป็นการตอบแทนที่ดีแก่ท่านทั้ง ๒ นั้น ท่านทั้ง ๒ นั้น

คือใคร คือมารดาและบิดา ภิกษุทั้งหลาย (ถ้า) บุคคลจะเอาบ่าข้างหนึ่งแบก

มารดาไว้ เอาอีกข้างหนึ่งแบกบิดาไว้ มีอายุยืนได้ร้อยปี มีชีวิตอยู่ตั้งร้อยปี

ทั้งปรนนิบัติท่าน ด้วยการอบ การนวด การให้อาบน้ำ และการดัดกาย

ท่านทั้ง ๒ และให้ท่านถ่ายมูตรและกรีสบนบ่านั้นนั่นเอง แต่หาได้ชื่อว่า

ปรนนิบัติหรือทำการตอบแทนคุณมารดาบิดาไม่เลย ภิกษุทั้งหลาย และจะ

สถาปนามารดาบิดาไว้ในไอศวรรยาธิปัตย์ราชสมบัติ ในพื้นมหาปฐพีนี้ ที่มี

รัตนะทั้ง ๗ เพียงพอ ก็ไม่ชื่อว่า ปรนนิบัติหรือทำการตอบแทนคุณมารดา

บิดาได้เลย ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? ภิกษุทั้งหลาย เพราะมารดา

บิดามีอุปการะมาก เป็นผู้กล่อมเกลี้ยงเลี้ยงดูบุตร แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลาย บุตรคนใดแลชักชวนมารดาบิดา ผู้ไม่มีศรัทธาให้ตั้งมั่น

ให้ประดิษฐานอยู่ในสัทธาสัมปทา...ผู้ไม่มีศีล... ในสีลสัมปทา...ผู้ตระหนี่...

ในจาคสัมปทา ชักชวนท่านผู้ทรามปัญญาให้ตั้งมั่น ให้ประดิษฐานอยู่ในปัญญา-

สัมปทา ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุทั้งหลาย การปรนนิบัติเป็นอันบุตรได้

ทำแล้ว ได้ตอบแทนแล้ว และได้ทำให้ยิ่งแล้วแก่มารดาบิดาทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 675

อนึ่ง พึงทราบพระสูตร ที่ให้สำเร็จความที่มารดาบิดาเป็นผู้มีอุปการะ

มากแก่บุตร มีอาทิอย่างนี้ว่า การบำรุงมารดาบิดา การสงเคราะห์บุตรและ

ภรรยา และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การบำรุงมารดาบิดา บัณฑิตบัญญัติ

ไว้ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป. บทว่า วุจฺจเร ได้แก่ เรียก

คือกล่าว. บทว่า ปชาย อนุกมฺปกา ความว่า มารดาบิดาบั่นทอนชีวิตผู้อื่น

บ้าง เลียสละสิ่งของ ๆ ตนบางสิ่งบางอย่างบ้าง ประคับประคองคุ้มครองประชา

(คือบุตร) ของตนไว้ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้เอ็นดู คืออนุเคราะห์

ประชาคือบุตร. บทว่า นมสฺเสยฺย ความว่า ไปยังที่บำรุงเช้าเย็น ทำความ

นอบน้อม ด้วยคิดว่า นี้เป็นนาบุญที่สูงสุดของเรา. บทว่า สกฺกเรยฺย ความว่า

พึงนบนอบด้วยสักการะ.

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงสักการะนั้น จึงได้ตรัสคำมีอาทิว่า อนฺเนน

ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺเนน ความว่า ด้วยข้าวยาคู ข้าวสวย

และของขบเคี้ยว. บทว่า ปาเนน ความว่า ด้วยน้ำปานะ ๘ อย่าง. บทว่า

วตฺเถน ความว่า ด้วยผ้านุ่งผ้าห่ม. บทว่า สยเนน ความว่า ด้วยที่นอนมีเตียง

ตั่ง ฟูกและหมอนเป็นต้น . บทว่า อุจฺฉาทเนน ความว่า ด้วยเครื่องอบที่

กำจัดกลิ่นเหม็นแล้วทำให้มีกลิ่นหอม. บทว่า นหาปเนน ความว่า ด้วยการ

ให้อาบน้ำ โดยใช้น้ำอุ่นรดในหน้าหนาว และใช้น้ำเย็นรดในหน้าร้อน. บทว่า

ปาทาน โธวเนน จ ความว่า ด้วยการล้างเท้าด้วยน้ำอุ่นและน้ำเย็น และ

ด้วยการชโลมด้วยน้ำมัน.

บทว่า น ในคำว่า ตาย น ปริจริยาย นี้ เป็นเพียงนิบาต.

(บทว่า ปาริจริยาย) ได้แก่ ด้วยการบำรุงบำเรอ ดังที่กล่าวมาแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 676

บทว่า ปาริจริยาย ความว่า ด้วยการทะนุบำรุงด้วยวิธี ๕ อย่าง มีการเลี้ยงดู

การทำกิจให้ และการดำรงวงสกุลเป็นต้น . สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า ดูก่อนบุตรคหบดี มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า (ตะวันออก)

บุตรควรทะนุบำรุงด้วยสถาน ๕ คือ

๑. ท่านได้เลี้ยงเรามาแล้ว เราจักเลี้ยงดูท่านเหล่านั้น

๒. เราจักทำกิจของท่าน

๓. เราจักดำรงวงศ์ตระกูลไว้

๔. เราจักปฏิบัติตนเป็นผู้รับมรดก

๕. เมื่อมารดาบิดาล่วงลับไปแล้ว เราจักเพิ่มทักษิณาทานให้

ดูก่อนบุตรคหบดี มารดาบิดาผู้เป็นทิศเบื้องหน้า ที่บุตรทะนุบำรุงด้วย

สถาน ๕ เหล่านี้แล้วแล จะอนุเคราะห์บุตรด้วยสถาน ๕ คือ ๑. ห้ามบุตรจาก

ความชั่ว ๒. ให้บุตรตั้งมั่นอยู่ในความดี ๓. ให้บุตรศึกษาเล่าเรียน ๔. หา

ภรรยาที่เหมาะสมให้ ๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในสมัย. อีกอย่างหนึ่ง บุตรคนใด

บำรุงมารดาบิดาโดยทำให้เลื่อมใสอย่างยิ่งในวัตถุทั้ง ๓ (พระรัตนตรัย) ให้ดำรง

อยู่ในศีล หรือให้ประกอบในการบรรพชา บุตรนี้ พึงทราบว่าเป็นผู้ล้ำเลิศ

บรรดาผู้บำรุงมารดาบิดาทั้งหลาย.

พระพุทธเจ้า เมื่อจะทรงแสดงว่า ก็การบำรุงนี้นั้น เป็นเหตุ

นำประโยชน์เกื้อกูล และความสุขในโลกทั้ง ๒ มาให้แก่บุตรจึงไว้ตรัสไว้ว่า

คนทั้งหลาย จะพากันสรรเสริญเขา

ในโลกนี้ที่เดียว เขาละโลกนี้ไปแล้ว ก็

ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 677

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ ความว่า ในโลกนี้. อธิบายว่า

มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย จะสรรเสริญ คือ ยกย่อง ได้แก่ ชมเชย บุคคล

ผู้อุปรากมารดาบิดา ด้วยการบำรุงบำเรอท่าน และเอาเขาเป็นทิฏฐานุคติ

(เป็นเยี่ยงอย่าง) แม้ตนเอง ก็ปฏิบัติในมารดาบิดาของตนอย่างนั้นแล้ว ย่อม

ประสบบุญมากมาย. บทว่า เปจฺจ ความว่า ผู้บำรุงมารดาบิดาไปสู่ปรโลก

แล้ว สถิตอยู่ในสวรรค์ ย่อมจะรื่นเริงบรรเทิงเพลิดเพลินใจ ด้วยทิพยสมบัติ

ทั้งหลาย.

จบอรรถกถาพรหมสูตรที่ ๗

๘. พหุการสูตร

ว่าด้วยผู้มีอุปการะมาก

[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเป็นผู้มี

อุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้เธอทั้งลายก็จงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พราหมณ์

และคฤหบดีทั้งหลาย จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง

งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ

บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นเถิด ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างอาศัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจ

อามิสทานและธรรมทาน อยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อต้องการสลัดโอฆะ

เพื่อจะทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบด้วยประการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 678

คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่าง-

อาศัยกันและกัน ๒ ฝ่าย ย่อมยังสัท-

ธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างยอดเยี่ยม ให้

สำเร็จ (คือ) บรรพชิตทั้งหลายย่อม

ปรารถนาเฉพาะจีวร บิณฑบาต ที่นอน

ที่นั่ง และคิลานปัจจัย อันเป็นเครื่อง

บรรเทาเสียซึ่งอันตรายจากคฤหัสถ์ทั้งหลาย

ส่วนคฤหัสถ์ทั้งหลายผู้อยู่ครองเรือน

อาศัยพระอริยบุคคลผู้ปฏิบัติชอบแล้วเชื่อ-

ถือซึ่งถ้อยคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย มี

ปกติเพ่งพินิจด้วยปัญญาอันบริสุทธิ์ดี

ประพฤติธรรมอันเป็นทางไปสู่สุคติใน

ศาสนานี้ ปกติเพลิดเพลิน เป็นผู้ใคร่

กามบันเทิงอยู่ในเทวโลก.

จบพหุการสูตรที่ ๘

อรรถกถาพหุการสูตร

ในพหุการสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พฺราหฺมณคฺคหปติกา ได้แก่ ผู้เป็นทั้งพราหมณ์ เป็นทั้ง

คหบดี. ทุกจำพวกเมื่อครองเรือน ยกเว้นพวกพราหมณ์ พึงทราบว่า ชื่อว่า

เป็นคหบดี ในที่นี้. บทว่า เย เท้าความถึงผู้ที่อ้างมาโดยไม่แน่นอน. บทว่า

เต เป็นทุติยาวิภัตติพหุวจนะ. ก็ในข้อนี้มีเนื้อความย่อดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 679

ทรงแสดงว่าคฤหัสถ์มีอุปการะแก่ภิกษุ

ภิกษุทั้งหลาย พราหมณคหบดีทั้งหลาย ผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย

ซึ่งได้แก่ ทั้งพราหมณ์ทั้งผู้ครองเรือนที่เหลือ เธอทั้งหลายเท่านั้นที่เขาพากัน

ทำนุบำรุงด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น โดยคิดว่า (นี้) เป็นบุญเขตของ

เราทั้งหลาย ซึ่งพวกเราจะพากันประดิษฐานไว้ซึ่งทักษิณา ให้มีค่าสูง มีผล

อันงามเลิศ มีวิบากเป็นสุข เป็นไปเพื่อให้เกิดในสวรรค์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงว่า คฤหัสถ์ทั้งหลายเป็นผู้มี

อุปการะแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยการถวายอามิส คือ โดยการแจกแบ่งอามิส

ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยอามิส อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงว่า

แม้ภิกษุทั้งหลาย ก็มีอุปการะแก่คฤหัสถ์เหล่านั้น (เหมือนกัน) โดยการให้ธรรม

คือ การแจกแบ่งพระธรรม ได้แก่ โดยการอนุเคราะห์ด้วยพระธรรม จึงได้ตรัส

คำมีอาทิไว้ว่า ตุมฺเหปิ ภิกฺขเว. คำนั้น ก็มีนัยดุจที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง.

ด้วยคำนี้ พระองค์ตรัสถึงอะไร ? ตรัสถึง ความอ่อนน้อมต่อบิณฑ-

บาต (เคารพบิณฑบาต). ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะเหตุที่พราหมณคหบดีเหล่านี้ ไม่ใช่ญาติ ไม่ใช่มิตร ไม่ใช่ลูกหนี้

ของเธอทั้งหลาย โดยที่แท้แล้ว เขาต้องการผลวิเศษ โดยเข้าใจว่า สมณะเหล่านี้

เป็นผู้ประพฤติชอบ ปฏิบัติชอบ บุญที่เราทั้งหลายทำ ในสมณะเหล่านี้ จักมี

ผลานิสงส์มาก ดังนี้ จึงทะนุบำรุงเธอทั้งหลายด้วยปัจจัย ๔ มีจีวรเป็นต้น

ฉะนั้น เธอทั้งหลายควรให้ความประสงค์นั้นของพวกเขาเต็มเปี่ยม ถึงพร้อม

ด้วยความไม่ประมาทเถิด แม้ธรรมเทศนา ก็จะงดงามและน่าถือเอาสำหรับเขา

เหล่านั้นผู้ทำตามอยู่นั่นแหละ ไม่ใช่สำหรับคนเหล่าอื่นนอกจากนี้ เธอทั้งหลาย

พึงทำความไม่ประมาทในสัมมาปฏิบัติ ดังที่พรรณามานี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 680

ในคำทั้งหลายมีอาทิว่า เอวมิท ภิกฺขเว มีความย่อดังต่อไปนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างก็อาศัยกันด้วยอำนาจ

อามิสทานและธรรมทานมีประการดังที่กล่าวมานี้อย่างนี้แล้ว อยู่ประพฤติ

ศาสนพรหมจรรย์ และมรรคพรหมจรรย์นี้ ด้วยอำนาจการนิยมอุโบสถศีล

เป็นต้น และด้วยอำนาจปาริสุทธศีล ๔ เป็นต้น เพื่อต้องการถอนโอฆะ

ทั้ง ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกาม (โอฆะ) เป็นต้น และเพื่อทำที่สุดแห่ง

วัฏทุกข์แม้ทั้งหมด โดยชอบนั่นเอง.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป. บทว่า สาคารา ได้แก่

คฤหัสถ์ทั้งหลาย. บทว่า อนาคารา ได้แก่ ผู้สละเรือนออกบวช. บทว่า

อุโภ อญฺโญฺนิสฺสิตา ความว่า ทั้ง ๒ ฝ่ายนั้นต่างก็อาศัยกัน.

อธิบายว่า คฤหัสถ์ ผู้มีเรือนอาศัยธรรมทานของบรรพชิต ผู้ไม่มีเรือน

และบรรพชิตผู้ไม่มีเรือนก็อาศัยการถวายปัจจัยของคฤหัสถ์ผู้มีเรือน. บทว่า

อาราธยนฺติ ความว่า ให้สำเร็จ คือ ให้ถึงพร้อม. บทว่า สทฺธมฺม

ได้แก่ ปฏิบัติสัทธรรมและปฏิเวธสัทธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะ

ทรงแสดงพระธรรมที่สูงสุด ในบรรดาสัทธรรมเหล่านั้น จึงได้ตรัสว่า

โยคกฺเขม อนุตฺตร (คือ) พระอรหัตและพระนิพพาน. บทว่า สาคาเรสุ

ความว่า จากคฤหัสถ์ผู้มีเรือนทั้งหลาย. บทนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในความหมาย

ปัญจมีวิภัตติ. อีกอย่างหนึ่ง (หมายความว่า) ในสำนักของคฤหัสถ์ทั้งหลาย

ผู้มีเรือน. บทว่า ปจฺจย ได้แก่ ปัจจัย ๒ อย่าง ที่เหลือจากที่กล่าวมาแล้ว

คือ บิณฑบาตและเภสัช. บทว่า ปริสฺสยวิโนทน ได้แก่ที่อยู่อาศัยมีวิหาร

เป็นต้น ที่บำบัดอันตรายมีอันตรายที่เกิดจากฤดูเป็นต้น.

บทว่า สุคต ได้แก่ พระอริยบุคคล ๘ จำพวกพร้อมด้วยกัลยาณ-

ปุถุชนทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติชอบแล้ว. ความจริง พระสาวกพระองค์ทรงประสงค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 681

เอาว่า สุคต ในพระคาถานี้. บทว่า ฆรเมสิโน ได้แก่ ผู้แสวงหาเรือน.

อธิบายว่า ผู้มีปกติอยู่บ้านครอบครองเรือนแสวงหาอุปกรณ์แห่งโภคทรัพย์

และคุณธรรมมีศีลของคฤหัสถ์เป็นต้น. บทว่า สทฺทหนฺตา อรหต ความว่า

ผู้เชื่อถ้อยคำของพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้เป็นพระอรหันต์ หรือเชื่อข้อ

ปฏิบัติชอบของท่านเหล่านั้น. อธิบายว่า เชื่อมั่นอยู่ว่า ท่านเหล่านี้เป็นผู้ปฏิบัติ

ชอบแน่นอน สำหรับผู้ปฏิบัติตามที่ท่านเหล่านี้บอก การปฏิบัตินั้นก็จะเป็นไป

เพื่อสวรรคสมบัติและนิพพานสมบัติ. ปาฐะว่า สทฺทาตา ดังนี้ก็มี. บทว่า

อริยปญฺาย ความว่า ด้วยปัญญาที่บริสุทธิ์ดีแล้ว. บทว่า ฌายิโน ความว่า

ผู้เพ่งด้วยฌานทั้ง ๒ คือ อารัมมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน. บทว่า

อิธ ธมฺน จริตฺวาน ความว่า ครั้นปฏิบัติธรรมมีศีลเป็นต้น ที่เป็นทาง

แห่งโลกิยสุขและโลกุตรสุข ในอัตภาพนี้ หรือในศาสนานี้แล้ว จะไปสู่สุคติ

ตลอดเวลาที่ยังไม่บรรลุปรินิพพาน. บทว่า นนฺทิโน ความว่า ชื่อว่า ผู้มีปกติ

เพลิดเพลิน เพราะประกอบด้วยปีติและโสมนัส. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

บทว่า ธมฺม จริตฺวาน มคฺค ความว่า บรรลุโสดาปัตติมรรค. บทว่า

เทวโลกสฺมึ ความว่า ในเทวโลกชั้นกามาพจรทั้ง ๖ ชั้น. บทว่า โมทนฺ-

ติ กามกามิโน ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ใคร่กาม คือ เป็นผู้ประสงค์บรรเทิงอยู่

เพราะสำเร็จตามวัตถุที่ประสงค์แล้ว.

จบอรรถกถาพหุการสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 682

๙. กุหนาสูตร

ว่าด้วยการหลอกลวง

[๒๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นผู้หลอกลวง

มีใจกระด้าง ประจบประแจง ประกอบด้วยกิเลสอันปรากฏดุจเขา มีกิเลสดุจ

ไม้อ้อสูงขึ้น มีใจไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่นับถือเราตถาคต ภิกษุ

เหล่านั้นปราศไปแล้วจากธรรมวินัยนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุเหล่าใด

เป็นผู้ไม่หลอกลวง ไม่ประจบประแจง เป็นนักปราชญ์ มีใจไม่กระด้าง มีใจ

ตั้งมั่นดี ภิกษุเหล่านั้นแล เป็นผู้นับถือเราตถาคต ไม่ปราศไปแล้วจากธรรม

วินัยนี้ และย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้.

ภิกษุเหล่าใดเป็นผู้หลอกลวง มีใจ

กระด้าง ประจบประแจง ประกอบด้วย

กิเลสอันปรากฏดุจเขา มีกิเลสดุจไม้อ้อสูง

ขึ้น มีใจไม่ตั้งมั่น ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่

งอกงามในธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงแสดงแล้ว ส่วนภิกษุเหล่าใดเป็นผู้ไม่

หลอกลวง ไม่ประจบประแจง เป็นนัก-

ปราชญ์ มีใจไม่กระด้าง มีใจตั้งมั่นดี

ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อมงอกงามในธรรมอัน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

จบกุหนาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 683

อรรถกถากุหนาสูตร

ในกุหนาสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กุหา ได้แก่ เป็นผู้หลอกลวงด้วยเครื่องหลอกลวงมีการร่าย

มนต์เป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้ทำการลวง เพื่อต้องการประกาศคุณความดี

ที่ตนไม่มีแล้วให้ผู้อื่นสนเท่ห์. บทว่า ถทฺธา ความว่า เป็นผู้มีใจกระด้าง

เพราะความโกรธและมานะ คือ เป็นผู้ไม่ทำความยำเกรงอย่างยิ่งในครูทั้งหลายผู้

ควรทำความเคารพไม่อ่อนน้อมเที่ยวไปมาเหมือนกลิ่นขี้เหล็กเข้าไปแล้วยืนแข็ง

ทื่ออยู่ฉะนั้น เพราะความโกรธที่ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า คนมักโกรธเป็นผู้มาก

ด้วยความแค้นใจ ถูกว่า แม้นิดเดียวก็ข้อจงใจ โกรธ พยาบาท แผ่อำนาจไป

ดังนี้ด้วย เพราะความเป็นผู้ว่ายากที่ตรัสไว้แล้วอย่างนี้ว่า คนว่ายากเป็น

ผู้ประกอบด้วยธรรมที่ทำให้ว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับเอาอนุสาสนีด้วยความ

เคารพดังนี้ด้วย เพราะความเมาแยกออกเป็นควานเมาในชาติเป็นต้น ที่ตรัส

ไว้แล้วอย่างนี้ว่า ความเมาในชาติ ความเมาในโคตร ความเมาเพศ ความเมา

ในความไม่มีโรค ความเมาในความหนุ่มสาว (และ) ความเมาในชีวิต ดังนี้

ด้วย. บทว่า ลปา ความว่า เป็นผู้ประจบประแจง คือ เป็นผู้สงเคราะห์

ตระกูลด้วยอำนาจมิจฉาชีพ. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า เป็นผู้พูด เพื่อปัจจัย

ด้วยสามารถถ้อยคำที่ประดิษฐ์ประดอยแล้ว และด้วยสามารถแห่งอุบายโกง.

บทว่า สิงฺคี ความว่า วาจาที่ประกอบด้วยกิเลสที่เด่นชัด เช่นกับ

เขาสัตว์ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า คำพูดดุจเขาสัตว์ เป็นไฉน. การพูด มีแง่งอน

ภาวะที่พูดแง่งอน การพูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม กิริยาที่พูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม

การพูดมีเหลี่ยมมีคู ภาวะที่พูดมีเหลี่ยมมีคู อันใด นี้เรียกว่าคำพูดดุจเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 684

สัตว์ (มีแง่งอน). บทว่า อนฺนฬา ความว่า ผู้เป็นเหมือนไม้อ้อที่ชูขึ้น

คือเที่ยวไปยกตนที่มีใจว่างเปล่าจากคุณวิเศษ คล้ายไม้อ้อชูขึ้นมาอ้าง. บทว่า

อสมาหิตา ความว่า เป็นผู้ไม่ได้ แม้เพียงเอกัคคตาจิต.

บทว่า น เม เต ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา ความว่า ภิกษุของเรา

ตถาคตเหล่านั้น ไม่ใช่เป็นคนของเราตถาคต. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า

มยฺห (ของเราตถาคต) นี้ เพราะภิกษุเหล่านั้นบวชอุทิศพระองค์. แต่เพราะ

เหตุที่ภิกษุเหล่านั้นไม่ปฏิบัติชอบ โดยประกอบการหลอกลวงเป็นต้น ฉะนั้น

พระองค์จึงไม่ตรัสเรียกว่า มามกะ(เป็นคนของเราตถาคต).ด้วยบทว่า อปคตา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงว่า ถึงแม้ว่า ภิกษุเหล่านั้นบวชแล้วในศาสนา

ของเราตถาคต แต่เพราะไม่ปฏิบัติตามที่เราตถาคตสอน จึงเท่ากับไปแล้วจาก

พระธรรมวินัยนี้นั่นเอง คือ ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าอยู่ไกลแสนไกลจากศาสนานี้.

สมจริงดังที่ตรัสคำนี้ไว้ว่า

ท้องฟ้ากับพื้นปฐพี นักปราชญ์

กล่าวว่าอยู่ไกลัน และฝั่งมหาสมุทร

(ทั้ง ๒) นักปราชญ์ก็กล่าวว่าอยู่ไกลกัน ข้า

แต่พระราชา แต่ธรรมของสัตบุรุษกับของ

อสัตบุรุษ นักปราชญ์ กล่าวว่าไกลกันยิ่ง

กว่านั้นเสียอีก.

บทว่า วุฑฺมึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺล อาปชฺชติ ความว่า และภิกษุเหล่า

นั้นผู้มีสภาพหลอกลวงเป็นต้น จะไม่เข้าถึง อธิบายว่า ไม่ประสบซึ่งความเจริญ

ตามอำนาจของความเจริญด้วยคุณความดีมีศีลเป็นต้น ซึ่งความงอกงามตาม

๑. ปาฐะว่า จาตุริย ปาริกฺกติย แต่ในขุททกวัตถุวิภังค์ อภิธรรมว่า จาตุริย ปริกฺขตตา

ปาริกฺขติย จึงแปลตามบาลีในอภิธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 685

สภาพด้วยความไม่หวั่นไหว อยู่ในคุณความดีมีศีลเป็นต้นนั้น ซึ่งความ

ไพบูลย์ด้วยความบริบูรณ์ด้วยธรรมขันธ์มีศีลเป็นต้น โดยความแผ่ไปในที่

ทุกแห่ง.

บทว่า เต จ โข เม ภิกฺขเว ภิกขู มามกา ความว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย แม้นอกนี้ว่า เม (ของเราตถาคต) เพราะ

บวชอุทิศพระองค์. อนึ่ง ตรัสเรียกว่า มามกะ (เป็นคนของเราตถาคต) เพราะ

เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว. ธรรมฝ่ายขาวพึงทราบโดยบรรยายที่ผิดไปจากที่กล่าวมา

แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า งอกงามอยู่ในธรรมมีศีลเป็นต้นนั้น จนถึงอรหัต-

มรรค. แต่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้ว จึงจะชื่อว่า ถึงความงอกงามไพบูลย์,

คาถาเข้าใจง่ายอยู่แล้ว.

จบอรรถกถากุหนาสูตรที่ ๙

๑๐. ปุริสสูตร

ว่าด้วยเหมือนบุรุษถูกกระแสน้ำพัดไป

[๒๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงถูกกระแสแห่ง

แม่น้ำ คือ ปิยรูปและสาตรูปพัดไป บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งเห็นบุรุษนั้นแล้ว

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านถูกกระแสแห่งแม่น้ำ คือ ปิยรูป

และสาตรูปพัดไปแม้โดยแท้ แต่ท่านจะตกถึงห้วงน้ำที่มีอยู่ภายใต้แห่งแม่น้ำนี้

ซึ่งมีคลื่น มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีรากษส (ผีเสื้อน้ำ) ย่อมเข้าถึงความตายบ้าง

ความทุกข์ปางตายบ้าง ลำดับนั้นแล บุรุษนั้นได้ฟังเสียงของบุรุษนั้นแล้ว

พึงพยายามว่ายทวนกระแสน้ำด้วยมือทั้ง ๒ และด้วยเท้าทั้ง ๒ ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 686

ทั้งหลาย เราตถาคตแสดงข้ออุปมานี้แล เพื่อจะให้แจ่มแจ้งซึ่งเนื้อความ ก็ใน

อุปมานี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า กระแสแห่งแม่น้ำ

นี้แล เป็นชื่อแห่งตัณหา คำว่า ปิยรูปและสาตรูป เป็นชื่ออายตนะภายใน ๖

คำว่า ห้วงน้ำในภายใต้ เป็นชื่อแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คำว่า มีคลื่น

เป็นชื่อแห่งความโกรธและความแค้นใจ คำว่า มีน้ำวน เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕

คำว่า มีสัตว์ร้าย มีรากษส เป็นชื่อของมาตุคาม คำว่า ทวนกระแสน้ำ

เป็นชื่อของเนกขัมมะ คำว่า พยายามด้วยมือทั้งสองและด้วยเท้าทั้งสอง เป็น

ชื่อแห่งการปรารภความเพียร คำว่า บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่ง เป็นพระนามของ

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ภิกษุพึงละกามทั้งหลาย แม้กับด้วย

ทุกข์เมื่อปรารถนาซึ่งความเกษมจากโยคะ

ต่อไป พึงเป็นผู้มีสัมปชัญญะ มีจิตหลุด

พ้นแล้วด้วยดี ถูกต้องวิมุตติในกาลเป็นที่

บรรลุมรรคและผลนั้นภิกษุนั้นผู้ถึงเวทอยู่

จบพรหมจรรย์แล้ว ถึงที่สุดแห่งโลกเรา

กล่าวว่า เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว.

จบปุริสสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 687

อรรถกถาปุริสสูตร

ในปุริสสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ศัพท์ว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถแสดงการเปรียบเทียบ.

ความหมายว่า ฉันใด. บทว่า นทิยา โสเตน โอวุยฺเหยฺย ความว่า พึง

ถูกกระแสน้ำของแม่น้ำที่มีกระแสไหลเชี่ยว พัดลงไปใต้ คือนำลงไปข้างล่าง.

บทว่า ปิยรูปสาตรูเปน ความว่า เขาคิดว่า เราจักเก็บเอาแก้วมณีและทอง

คำเป็นต้น หรือของที่น่ารัก คือ สิ่งของที่เป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ

ที่มีอยู่ในแม่น้ำนั้น หรือบนฝั่งนอก (ฝั่งหน้า) ของแม่น้ำนั้นกระโดดลงไปใน

แม่น้ำแล้ว คงจมลอยไปตามกระแสน้ำที่เป็นตัวการ มีสภาพน่ารัก น่าชื่นใจ.

ศัพท์ว่า กิญฺจาปิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า ยอมรับแต่ไม่

สรรเสริญ. ยอมรับอะไร ? ไม่สรรเสริญอะไร ? ยอมรับสิ่งของที่น่ารัก ที่

ชายคนนั้นต้องประสงค์ ว่ามีอยู่ ณ ที่นั้น แต่ไม่สรรเสริญการไปอย่างนั้น

เพราะเป็นสิ่งที่มีโทษ. มีคำอธิบายนี้ไว้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ แม้ว่าสิ่งของ

ที่น่ารัก ที่ท่านต้องประสงค์จะหาได้ในที่นั้นไซร้ แต่ในเพราะการไปอย่างนี้

จะมีโทษอย่างนี้ คือท่านจะต้องตกถึงห้วงน้ำข้างล่าง แล้วถึงความตายหรือ

ความทุกข์ปางตาย.

บทว่า อตฺถิ เจตฺถ เหฏฺา รหโท ความว่า ในภูมิภาค

ตามกระแสน้ำด้านใต้แม่น้ำนี้ลงไปมีสระใหญ่สระหนึ่ง ลึกและกว้างเหลือเกิน

และสระนั้น ชื่อว่ามีคลื่น เพราะคลื่นคือฟองขนาดมหึมา คล้ายกับยอดเขา

แก้วมณีที่ก่อตัวขึ้น เพราะถูกลมพัดมารอบด้าน ชื่อว่ามีน้ำวน โดยมีน้ำวน

คล้ายกับ ไฟใต้น้ำ เหตุที่มี่ห้วงน้ำใหญ่ไพบูลย์ไหลวนอยู่ในที่นั้น ๆ ด้วยห้วง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 688

มหรรณพของแม่น้ำน้ำที่ไหลเชี่ยวกรากมาก่อนในภูมิประเทศที่ไม่เสมอ ชื่อว่า

มีรากษส มีการจับสัตว์กินโดยผีเสื้อน้ำ ดีใจดุร้าย ดูน่ากลัวเหลือเกิน

ครอบครอง สระนั้น อยู่ ทำสัตว์ทั้งหลายที่ลงสู่ห้วงน้ำนั้นนั่นเอง ให้เป็น

เหยื่อของตนเป็นประจำ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามีสัตว์ร้าย โดยปลาร้ายและมังกรเป็นต้น ชื่อว่า

มีผีเสื้อ เพราะผีเสื้อน้ำตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า ย ได้แก่ ห้วงน้ำที่มีภัย

เฉพาะหน้าอย่างนี้. บทว่า อนฺโภ ปุริส เป็นอาลปนะ (คำร้องเรียก). บทว่า

มรณ วา นิคฺจฺฉสิ ความว่า ชายคนนั้นถูกคลื่นเหล่านั้น ซัดแล้วหรือตก

ไปในน้ำวนเหล่านั้นแล้ว ไม่สามารถจะโผล่ศีรษะขึ้นได้ (จักถึงความตาย)

อีกอย่างหนึ่ง ตกเจ้าปากปลาร้ายหรือมังกรเหล่านั้น หรือตกอยู่ในเงื้อมมือ

ผีเสื้อน้ำนั้นแล้ว จักถึงความตายบ้าง. ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อยังมีอายุ (ชีวิต)

เหลือรอดพ้นความตายนั้นไปได้ ก็จะเข้าถึงความทุกข์ปางตาย คือความทุกข์

มีความตายเป็นประมาณ โดยถูกคลื่นเป็นต้นเหล่านั้นให้เกิดขึ้นแล้ว และตีซัด

แล้ว.

บทว่า ปฏิโสต วายเมยฺย ความว่า เขาเมื่อก่อนลอยไปตามกระแสน้ำ

แต่พอได้ยินคำพูดของชายคนนั้นแล้ว เกิดความกลัวเป็นกำลังขึ้นว่า ได้ทราบ

ว่าอนัตถะปรากฏแก่เราแล้ว ดูเหมือนว่าเรากลิ้งเข้าปากมัจจุราชแล้ว จึงควร

หมุนตัวกลับ พยายามใช้มือและเท้า โดยเพิ่มอุตสาหะขึ้นเป็นทวีคูณ ไม่ช้าเลย

ก็จะถึงฝั่ง. บทว่า อตฺถสฺส วิญฺาปนาย ความว่า เราตถาคตทำการ

เปรียบเทียบไว้ เพื่อให้เข้าใจเนื้อความที่เกื้อกูลแก่การแทงตลอดสัจจะทั้งสี่.

บทว่า อยญฺเจเวตฺถ อตฺโถ ได้แก่ ข้อความอุปไมยที่ชักเอาอุปมา

(คำเปรียบเทียบ) มาเพื่อให้เข้าใจนี้นั่นเอง คือที่กำลังกล่าวอยู่ในบัดนี้ ได้แก่

ที่เราตถาคตประสงค์เอาแล้วในที่นี้. ในคำว่า ตณฺหาเยต อธิวจน นี้ พึงทราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 689

ความคล้ายคลึงกันแห่งกระแสตัณหาโดยอาการ ๔ อย่าง คือ โดยการหลั่งไหล

ออกมาตามลำดับ ๑ โดยการไหลทะยอยกัน ไปไม่ขาด ๑ โดยเป็นเหตุให้จมลง

๑ โดยข้ามได้โดยยาก ๑. อุปมาเสมือนหนึ่งว่า เมื่อมหาเมฆเบื้องบนหลั่งฝนลง

มา น้ำจะเต็มลำธารละหานห้วย เคลื่อนจากลำธารเป็นต้นนั้นแล้ว ก็จะเต็มหนอง

เคลื่อนจากหนองนั้นแล้ว ก็จะเต็มลำน้ำน้อย (คลอง) จากลำน้ำน้อยนั้น ก็จะ

ไหลเข้าสู่ลำน้ำใหญ่ กลายเป็นห้วงน้ำห้วงเดียวไหลไป ชาวโลกเรียกว่า นทีโสต

(กระแสน้ำ) ฉันใด ความโลภในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น มีประเภท

เป็นอเนก ด้วยสามารถแห่งอารมณ์ที่มีอยู่ในภายในและภายนอกเป็นต้น

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นแล้วก็ถึงความเจริญยิ่งขึ้น ตามลำดับ พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า กระแสตัณหา. อนึ่ง กระแสน้ำตั้งแต่ไหลมาจนถึง

ตกสมุทร เมื่อไม่มีปัจจัยที่จะให้มันขาด ก็จะยังไม่ขาด ไหลติดต่อกันไปตาม

ลำดับ ฉันใด แม้กระแสตัณหาก็เช่นนั้น เหมือนกัน เริ่มต้นแต่ไหลมา เมื่อ

ไม่มีปัจจัยที่จะให้มันขาด ก็จะไม่ขาดลง จะมุ่งหน้าสู่สมุทร คืออบายไหลไป

โดยไหลทะยอยกันไปไม่ขาด. แต่กระแสน้ำจะให้สัตว์ที่ตกลงไปภายในกระแส

จมลง ไม่ให้โผล่ศีรษะขึ้นมาได้ ให้ถึงความตายบ้าง ความทุกข์ปางตายบ้าง

ฉันใด ถึงกระแสตัณหาก็ฉันนั้น จะให้สัตว์ผู้ตกลงไปภายในกระแสของตน

จมลงไป ไม่ไห้โผล่ศีรษะขึ้นมาได้ ให้ถึงความตายบ้าง ความทุกข์ปางตายบ้าง

โดยการตัดรากกุศลธรรมให้ขาดไป และโดยการเข้าไปสู่สังกิเลสธรรม.

อนึ่ง กระแสของแม่น้ำไหลไปอยู่ โดยความเป็นห้วงมหรรณพ ชื่อว่า

ข้ามได้โดยยาก เพราะ (ผู้จะข้าม) ต้องอาศัยชายฉลาด เพื่อผูกแพหรือต่อเรือ

และเพื่อนำส่ง สร้างอัธยาศัย (ความตั้งใจ) เพื่อจะไปฝั่งนอกแล้ว ทำความ

พยายามที่เกิดจากอัธยาศัยนั้น จึงข้ามไปได้ไม่ใช่คนพอดีพอร้าย ก็ข้ามไปได้

ฉันใด แม้กระแสตัณหาที่เป็นเหมือนห้วงน้ำคือกาม และห้วงน้ำคือภพก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 690

ชื่อว่าข้ามได้ยาก เพราะผู้มีปัญญาเครื่องรักษาตน เพื่อจะบำเพ็ญสมถกรรมฐาน

และวิปัสสนากรรมฐาน ต้องตั้งอัธยาศัย (ตั้งใจ) ไว้ว่า เราจักบรรลุอรหัตผล

แล้วอาศัยกัลยาณมิตร ลงเรือคือสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน ทำ

ความพยายามโดยชอบจึงจะข้ามได้ ไม่ใช่คนพอดีพอร้ายก็ข้ามได้. ควรเข้าใจ

ความที่ตัณหา เป็นเสมือนกระแสของแม่น้ำ โดยอาการ ๔ อย่าง คือ โดย

การหลั่งไหลออกไปตามลำดับ ๑ โดยการไหลทะยอยกันไปไม่ขาด ๑ โดยการ

ให้จมลง ๑ โดยข้ามได้ยาก ๑ ดังที่พรรณนามานี้.

บทว่า ปิยรูปสาตรูป ความว่า รูปที่มีสภาพน่ารักในกำเนิดที่น่ารัก

ชื่อว่า ปิยรูป รูปที่มีสภาพอร่อย (ชื่นใจ) ในกำเนิดที่อร่อยชื่อว่า สาตรูป.

อธิบายว่า มีสภาพน่าปรารถนา. บทว่า ฉนฺเนต ตัดบทเป็น ฉนฺน เอต

(คำนี้เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ อย่าง).

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า อชฺฌตฺติกาน นี้ต่อไป. อายตนะทั้งหลาย

ชื่อว่า อัชฌัตติกะ (ภายใน) เพราะเหมือนเป็นไปแล้ว โดยทำตนเองให้เป็น

เรื่องเป็นราว ด้วยความประสงค์นี้ว่า เราทั้งหลายจักถึงการยึดถือว่าเป็นอัตตา

อย่างนี้. ในคำว่า อชฺฌตฺติกาน นั้น อัชฌัตตะภายในมี ๔ อย่าง คือ

โคจรอัชฌัตตะ (อารมณ์ภายใน) ๑ นิยกอัชฌัตตะ (ภายในอันเป็นของตน) ๑

วิสัยอัชฌัตตะ (วิสัยภายใน) ๑ อัชฌัตตอัชฌัตตะ (ภายในจริง ๆ) ๑. บรรดา

อัชฌัตตะ ๔ อย่างนั้น อัชฌัตตะนี้ที่ตรัสไว้ในคำทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ว่า

ผู้ยินดีแล้วในภายใน เป็นผู้ตั้งมั่นแล้ว ชื่อว่า โคจรอัชฌัตตะ. อัชฌัตตะนี้

ที่มาแล้วว่า ความผ่องใส (แห่งใจ) ภายใน ชื่อว่า นิยกอัชฌัตตะ. อัชฌัตตะนี้

ที่มาแล้วอย่างนี้ว่า เพราะไม่ได้มนสิการถึงนิมิตทั้งหมด พระโยคาวจรจึงเข้าถึง

ความว่างภายในอยู่ ชื่อว่า วิสยอัชฌัตตะ. อัชฌัตตะที่ตรัสไว้ในคำนี้ว่า ธรรม

ทั้งหลายที่เป็นภายใน ธรรมทั้งหลายที่เป็นภายนอก ชื่อว่า อัชฌัตตอัชฌัตตะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 691

(อัชฌัตตะจริง ๆ). แม้ในที่นี้ ก็ทรงประสงค์เอาอัชฌัตตะข้อนี้เท่านั้น. เพราะ

ฉะนั้นท่านจึงกล่าวไว้ว่า อัชฌัตตะนั้นเอง ชื่อว่า อัชฌัตติกะ. อีกอย่างหนึ่ง

อายตนะทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น ที่มีอยู่ในภายในเหล่านั้น เหมือนในประโยค

ทั้งหลายมีอาทิว่า ธรรมภายใน ธรรมภายนอก ชื่อว่าอัชฌัตติกะ เพราะอรรถ

ตามที่กล่าวมาแล้วนั่นแหละ. คำว่าอายตนาน นั่นเป็นชื่อของอายตนะที่เป็นไป

ภายในเหล่านั้น.

ในคำว่า อายตนาน นี้ มีอธิบายว่า ธรรมชาติทั้งหลาย ชื่อว่า

อายตนะ เพราะเป็นที่เกิด ๑ เพราะเป็นที่ขยายไปแห่งสิ่งน่าชื่นใจ เพราะนำไป

สู่วัฏฏะที่ยาวยืด ๑. เพราะว่า ธรรมทั้งหลายคือจริง และเจตสิกที่มีทวารนั้น ๆ

บรรดาจักขุทวารเป็นต้น เป็นที่ตั้งย่อมเกิดขึ้น คือตั้งขึ้น ได้แก่สืบต่อ หมาย-

ความว่าพยายามไป ตามหน้าที่ของตน ๆ มีการเสวยอารมณ์เป็นต้น และ

อายตนะเหล่านี้ ย่อมต่อคือขยายธรรมเหล่านั้นที่เป็นสิ่งน่าชื่นใจ อนึ่ง

วัฏทุกข์ใด ที่หมุนไปในสงสารที่ไม่มีใครตามพบที่สุด คือยาวยืดเหลือเกิน

อายตนะทั้งหลายจะนำไป คือหมุนไปสู่วัฏทุกข์นั้น ดังนั้น ธรรมเหล่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่าอายตนะ โดยประการทั้งปวง เพราะเป็น

ที่เกิด เพราะขยายสิ่งที่น่าชื่นใจ และเพราะนำไปสู่วัฏฏะที่ยาวยืด. อีกอย่างหนึ่ง

พึงทราบว่า ชื่อว่าอายตนะ เพราะหมายความว่า เป็นสถานที่อยู่อาศัย ๑

เพราะหมายความว่า เป็นบ่อเกิด ๑ เพราะหมายความว่า เป็นสถานที่ชุมนุม

กัน ๑ เพราะหมายความว่า เป็นถิ่นกำเนิด ๑ และเพราะหมายความว่า

เป็นเหตุ ๑. จริงอย่างนั้น ในทางโลก สถานที่เป็นที่อยู่อาศัย เรียกกันว่า

อายตนะ (ถิ่นที่อยู่) เช่นในประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า อิสสรายตนะ (ถิ่นของ

พระอิศวร) เทวายตนะ (ถิ่นของเทวดา). บ่อเกิด เรียกว่า อายตนะ เช่นใน

ประโยคทั้งหลายว่า บ่อทอง สุวณฺณายตน บ่อแก้ว รตนายตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 692

แต่ในทางศาสนา สถานที่ประชุมกัน เรียกว่า อายตนะ เช่น ในคาถา

ทั้งหลายมีอาทิว่า

นกทั้งหลาย ประชุมกันในที่อันเป็น

ที่รื่นรมย์ใจ.

ถิ่นกำเนิด เรียกว่าอายตนะ เช่นโนประโยคทั้งหลายมีอาทิว่า ทักขิณาบถ

เป็นที่กำเนิดของโคทั้งหลาย. เหตุเรียกว่าอายตนะ เช่นในประโยคทั้งหลาย

มีอาทิว่า เขาถึงภาวะที่จะต้องศึกษาในที่นั้น ๆ นั่นแหละ เมื่อมีเหตุ (ที่สมควร).

อนึ่ง ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น ๆ อาศัยอยู่ที่จักขุทวารเป็นต้น เพราะ

มีพฤติกรรมเกี่ยวเนื่องกับจักขุทวารเป็นต้นนั้น เพราะเหตุนั้น จักขุทวารเป็น

ต้นนั้น จึงชื่อว่า เป็นสถานที่อยู่อาศัยของธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้น. และ

ธรรมเหล่านั้นกลาดเกลื่อนอยู่ในจักขุทวารเป็นต้นเหล่านั้น เพราะอาศัยจักขุ-

ทวารเป็นต้นนั้น เพราะเหตุนั้น จักขุทวารเป็นต้นจึงชื่อว่าเป็นบ่อเกิดของธรรม

เหล่านั้น. อายตนะชื่อว่าเป็นสถานที่ชุมนุม เพราะเป็นที่มารวมกัน (แห่งธรรม

ทั้งหลาย) ในจักขุทวารเป็นต้นนั้น โดยเป็นที่ตั้งและเป็นประตู และชื่อว่า

เป็นถิ่นกำเนิด เพราะธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นที่จักขุทวารเป็นต้นนั้นนั่นเอง

โดยเป็นที่อาศัยของธรรมเหล่านั้น ทั้งชื่อว่าเป็นเหตุ เพราะเมื่อจักษุเป็นต้น

ไม่มี ธรรมคือจิตและเจตสิกเหล่านั้นก็ไม่มี จึงเป็นอันว่า จักขุทวารเป็นต้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า อายตนะ เพราะเหตุเหล่านี้คือ เพราะหมาย

ความว่า เป็นสถานที่อยู่อาศัย ๑ เพราะหมายความว่า เป็นบ่อเกิด ๑ เพราะ

หมายความว่า เป็นสถานที่ชุมนุม ๑ เพราะหมายความว่า เป็นถิ่นกำเนิด ๑

เพราะหมายความว่า เป็นเหตุ ๑. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส

ว่า คำว่า อายตนาน นี้ เป็นชื่อของอายตนะภายในทั้ง ๖ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 693

ถ้าว่าธรรมทั้งหลายแม้มีรูปเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

โดยเป็นปิยรูป สาตรูป (รูปเป็นที่รัก เป็นที่ชื่นใจ) เพราะเป็นที่ตั้งแห่ง

ตัณหาว่า ตัณหานี้ เมื่อจะเกิด ก็เกิดขึ้นที่รูปอันเป็นปิยรูปสาตรูปในโลก

แล้วไซร้ ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสไว้แล้วว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย คำว่า ปิยรูปสารรูปนี้แล เป็นชื่อของอายนะภายใน ๖ ดังนี้

เพื่อจะทรงแสดงว่า จักษุเป็นต้น เหมาะที่จะขยายความ (นิเทศ) ว่า เป็น

ปิยรูปสาตรูปที่ดีเหลือเกิน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความเสน่หาอย่างยิ่ง โดยนัย

มีอาทิว่า จักษุของเรา โสตของเรา เพราะพ้นจักษุเป็นต้นไปแล้ว การบัญญัติ

ว่าอัตตาก็จะมีไม่ได้.

กามธาตุพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า เป็นของต่ำ ในคำว่า

โอรมฺภาคิยาน นี้. (อกุศลธรรม) ที่เนื่องด้วยกามธาตุนั้น ชื่อว่า โอรัมภาคะ

(เป็นส่วนเบื้องต่ำ). สังโยชน์ที่ประกอบด้วยส่วนเบื้องต่ำ (โอรัมภาคะ) นั้น

โดยความเป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า โอรัมภาคิยะ. กิเลสชาต ชื่อว่า

สังโยชน์ เพราะประกอบบุคคลผู้มีกิเลสขาดไว้ในวัฏฏะ. คำนี้เป็นชื่อของ

สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะและพยาบาท. อธิบายว่า

สังโยชน์เหล่านั้น เป็นปัจจัยของสังขารทั้งหลายที่เข้าถึงกามภพ ผูกสัตว์ทั้งหลาย

ไว้ ด้วยกามภพซึ่งเป็นส่วนต่ำ เพราะเป็นของต่ำ คือ เป็นของเลวกว่ารูปธาตุ

และอรูปธาตุ. ด้วยคำว่า โอรมฺภาคิยา นั่นนั้นเอง พึงทราบว่า พระองค์

ได้ทรงแสดงถึงความที่สังโยชน์เหล่านั้น เป็นเช่นกับด้วยห้วงน้ำที่อยู่ภายใต้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า อุมฺมิภย นี้แล เป็นชื่อของความโกรธ

และความคับแค้นใจ. ชื่อว่า ภัย เพราะเป็นแดนกลัว. ภัยคือคลื่น เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่า อุมมิภัย. ชื่อว่า โกธะ เพราะหมายความว่าโกรธเคือง. ความโกรธ

นั่นเอง ชื่อว่า อุปายาส เพราะหมายความว่า เกาะไว้แน่นโดยการบีบบังคับใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 694

และกาย และการเกิดความสั่นสะท้านขึ้น. และในคำว่าอุปายาสนี้ พึงทราบ

ความที่ความโกรธและความคับใจ เป็นเช่นกับคลื่น เพราะกลิ้งไปทับสัตว์ที่มี

กำลังเสมอตนหลายวาระ ไม่ให้ผงกหัวขึ้นมาได้แล้วให้ถึงความพินาศย่อยยับไป.

อนึ่ง พึงทราบความที่กามคุณทั้งหลาย เป็นเช่นกับด้วยน้ำวน

เพราะให้สัตว์ทั้งหลายที่ถูกกิเลสครอบงำแล้ว ท่องเที่ยวไปในอัตตา (ตน)

กล่าวคืออารมณ์มีรูปที่ชื่นใจเป็นต้นอย่างนี้ คือ จากรูปนี้ ไปรูปนั่น และ

จากรูปนั้นมารูปนี้ แล้วให้เวียนวนไปโดยไม่ให้แม้จิตเกิดขึ้นในเนกขัมมะ

ที่เป็นสิ่งนอกจากกามคุณนั้นแล้วให้ถึงความเสื่อมเสียไป. อุปมาเสมือนหนึ่งว่า

แม้รากษสจับกุมสัตว์กินข่มขู่จับคนผู้เข้าไปในแดนที่หากินของตน ผู้เว้นจาก

การระมัดระวัง ถึงคนผู้อยู่ในที่ที่ไม่ใช่แดนหากิน (ของมัน ) ก็นำเอาไปสู่

แดนหากิน (ของมัน ) ด้วยเล่ห์ของรากษสแล้วทำเขาผู้หมดอำนาจให้ไม่สามารถ

จะช่วยตัวเองได้ พะเน้าพะนอ ปรนนิบัติ แม้ด้วยวรรณะ พละ โภคะ ยศ และ

ความสุข ให้ถึงความพินาศย่อยยับอย่างใหญ่หลวง ฉันใด แม้มาตุคามก็ฉันนั้น

ข่มขู่จับชายผู้ไม่เข้มแข็งเว้นจากโยนิโสมนสิการด้วยเยื้องกราย คือ การยิ้มของตน

ที่เป็นเล่ห์กระเท่ของหญิง ถึงชายชาติผู้เข้มแข็ง ก็พะเน้าพะนอ ด้วยมายาหญิง

โดยการประเล้าประโลมด้วยรูปของตนเป็นต้น ทำชายผู้หมดอำนาจให้เป็นผู้

ไม่สามารถจะยังธรรมที่เป็นอุปการะแก่ตนมีศีลเป็นต้น ให้ถึงพร้อมได้ปรนปรือ

ด้วยการสรรเสริญคุณความดีเป็นต้น แล้วให้ถึงความพินาศย่อยยับอย่างใหญ่

หลวง. พึงทราบความที่มาตุคามเป็นเช่นกับด้วยรากษส จับกุมสัตว์ดังที่

พรรณนามานี้. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย คำว่า อาวฏฺฏ นี้แล เป็นชื่อของกามคุณทั้ง ๕ และคำว่า คาหรกฺข-

โส นี้แลเป็นชื่อของมาตุคาม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 695

การบรรพชา ปฐมฌานพร้อมด้วยอุปจาร วิปัสสนาปัญญา และนิพพาน

ชื่อว่า เนกขัมมะ ในคำว่า ปฏิโสโตติ โข ภิกฺขเว เนกฺขมฺมสฺเสต อธิวจน

(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ทวนกระแสนี้แล เป็นชื่อของเนกขัมมะ) นี้.

กุศลธรรมแม้ทั้งหมด ก็ชื่อว่า เนกขัมมะ. สมจริงดังที่พระองค์ได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า

กุศลธรรม แม้ทั้งหมด คือ บรรพชา

ปฐมฌาน นิพพาน และวิปัสสนา เรา

ตถาคต เรียกว่า เนกขัมมะ.

ก็ผู้ศึกษาพึงทราบความที่บรรพชาเป็นต้นเหล่านี้ เป็นเช่นกับการ

ทวนกระแส โดยการทวนต่อกระแสแห่งตัณหา. เพราะว่า โดยความไม่

แปลกกันแล้ว ธรรมวินัย ชื่อว่า เนกขัมมะ. การตั้งใจของเขา ๑ การบรรพชา

ของเขา ๑ ธรรมวินัย ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ทวนกระแส

ตัณหา. สมจริง ตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ว่า

ผู้กำหนัดแล้ว ด้วยอำนาจราคะ ถูก

กองแห่งความมืดปิดบังไว้แล้ว จะไม่เห็น

พระธรรมที่ไปทวนกระแส (พระนิพพาน)

ที่ละเมียดละไมลึกซึ้ง เห็นได้ยาก และ

ละเอียด.

บทว่า วิริยาสนฺภสฺส ความว่า ผู้มีความเพียรประกอบด้วย

สัมมัปปธาน ๔ อย่าง. ความคล้ายคลึงกันของการข้ามพ้นกระแสตัณหา แยกออก

เป็นกามโอฆะเป็นต้น แห่งพระโยคาวจรนั้น (กับ) ความพยายาม เพื่อข้ามพ้น

กระแสน้ำ ของจตุรงคิกเสนา ด้วยมือด้วยเท้า เป็นที่ปรากฏชัดแล้วทีเดียว.

ความคล้ายคลึงกันของบุรุษผู้มีจักษุ ยืนริมฝั่งแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว (กับ)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 696

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุโดยจักษุ ๕ ประการ ผู้เสด็จข้ามโอฆะ

ทั้ง ๔ มีกามโอฆะเป็นต้นได้แล้ว ประทับยืนบนบก คือ พระนิพพานที่เป็น

ฝั่งนอก ของห้วงน้ำนั้น เป็นสิ่งที่ปรากฏชัดแล้ว เช่นกัน. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า จกฺขุมา ปุริโส ฯเปฯ สมฺพุทฺธสฺส

บุรุษผู้มีจักษุ ฯลฯ สัมมาสัมพุทธเจ้า.

ในเรื่องนั้น มีคำเปรียบเทียบกับอุปไมยดังต่อไปนี้ กระแสตัณหา

ที่กำลังไหลไป โดยการไหลทะยอยกันเหมือนกระแสน้ำในแม่น้ำ. สัตว์ที่ถูก

กระแสตัณหาพัดไป โดยการหมุนเวียนไปในสังสารวัฏที่ไม่มีใครตามพบที่

สุดเหมือนบุรุษที่ถูกกระแสน้ำพัดไป. ความยึดมั่นในจักษุเป็นต้น ของพระ

โยคาวจรนี้เหมือนความยึดมั่นในปิยรูปสาตรูปนั้น ของบุรุษนั้น. การชุมนุม

แห่งสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ อย่าง ที่คับคั่งไปด้วยความโกรธ ความคับใจ

กามคุณและมาตุคาม เหมือนห้วงน้ำภายใต้ที่มีคลื่นมีน้ำวนและรากษส. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงมีสมันตจักษุ (ทรงเห็นได้รอบด้าน) ทรงทราบโทษ

ของสงสารวัฏทั้งหมด และเญยยธรรมทั้งมวลแล้ว เสด็จประทับยืนบนบก

คือ พระนิพพาน ที่เป็นฝั่งนอก แห่งกระแสตัณหา เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ

ทราบเนื้อความนั้นตามความจริงแล้ว ยืนอยู่ที่ฝั่งนอกแห่งกระแสของแม่น้ำ

นั้น. การที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิบายตัณหาเป็นต้น และโทษของ

ตัณหานั้นให้แจ่มชัด ด้วยพระมหากรุณาแก่สัตว์ผู้ถูกกระแสตัณหาพัดพา

ไปเหมือนการที่บุรุษผู้มีจักษุ บอกห้วงน้ำและโทษของห้วงน้ำด้วยความ

กรุณาแก่บุรุษคนนั้น ผู้ถูกพัดพาไปในกระแสแห่งแม่น้ำนั้น. การเข้าถึงอบาย

ก็ดี การเข้าถึงทุกข์ในสุคติก็ดี ของผู้ไม่รับเอาพระดำรัสของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เหมือนการถึงความตายและการประสบความทุกข์ปางตายในห้วงน้ำนั้น

ของบุรุษคนนั้น ผู้ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของบุรุษผู้มีจักษุนั้นไปตามกระแสน้ำ อนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 697

การรับเอาพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ปรารภความเพียรด้วยสามารถ

แห่งเนกขัมมะมีการพิจารณาโทษในตัณหาเป็นต้น แล้วบวชทวนกระแสแห่ง

ตัณหาเป็นต้น และการก้าวล่วงกระแสตัณหา ด้วยการปรารภความเพียรนั้น

นั่นเอง คือ การถึงฝั่ง คือ พระนิพพาน แล้วอยู่อย่างสบาย ตามชอบใจ

ด้วยอำนาจอรหัตผลสมาบัติ เหมือนการเชื่อถ้อยคำของบุรุษคนนั้น (ผู้ชี้-

โทษให้เห็น) แล้ว ทำความพยายามด้วยมือและเท้า (มือพุ้ยน้ำและเท้าถีบน้ำ)

และเหมือนการถึงฝั่งนอกด้วยความพยายามนั้นแล้วไปสู่สถานที่ ๆ คนต้องการ

ได้อย่างสะดวกสบาย ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลาย (ต่อไป) บทว่า สหาปิ ทุกเขน

ชเหยฺย กาเม ความว่า ภิกษุ เมื่อทำความเพียรเนือง ๆ ในสมถกรรมฐาน

และวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อบรรลุฌานและมรรค ถ้าหากบรรดาข้อปฏิบัติ

เหล่านั้น บุพภาคปฏิบัติสำเร็จได้โดยยากโดยลำบาก คือ ลงสู่วิถีไม่ได้โดยสะดวก

ด้วยบุพภาคภาวนา เพราะกิเลสทั้งหลายยังมีกำลัง หรือเพราะความเพียร

ยังไม่แก่กล้าไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็พึงละกามได้ แม้พร้อมด้วยความลำบาก

คือ พึงใช้ปฐมฌานข่มไว้พลาง ใช้มรรคที่ ๓ ตัดขาดไปพลาง จะละกามกิเลสได้.

ด้วยคำว่า สหาปิ ทุกฺเขน กาเม นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงฌาน

และมรรคที่เป็นทุกขาปฏิปทา. บทว่า โยคกฺเขม อายตึ ปฏฺยาโน ความว่า

ปรารถนา คือ มุ่งหวังพระอรหัตผลที่ตนยังไม่ถึง.

จริงอยู่ ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้ คือ เธอ ปรารถนาอยู่ว่า แม้

ถ้าหากว่า เราจะบรรลุฌานและมรรคเบื้องสูงได้โดยยากโดยลำบากในบัดนี้ไซร้

แต่เราก็จะอาศัยฌานนี้และมรรคเบื้องสูงนี้ บรรลุอรหัตผลแล้วจักเป็นผู้เสร็จกิจ

ละทุกข์ทั้งปวงเสียได้ดังนี้แล้ว พึงละกามทั้งหลายพร้อมด้วยฌานเป็นต้นได้

โดยลำบาก. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใดมากด้วยกามวิตก บวชปฏิบัติการชำระศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 698

หรือข้อปฏิบัติเบื้องต้นของฌานเป็นต้น อยู่ด้วยอำนาจของกัลยาณมิตรมีน้ำตานอง

หน้าร้องไห้ไป ข่มวิตกไป โดยยากโดยลำบาก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หมายเอาบุคคลนั้นว่า พึงละกามพร้อมด้วยความลำบาก. เพราะว่า กุลบุตรนั้น

เมื่อละกามได้ โดยยากเย็นให้ฌานเกิดขึ้นแล้ว ทำฌานนั้นให้เป็นเบื้องบาท

พิจารณาเห็นแจ้งอยู่. พึงดำรงอยู่ในอรหัตผลตามลำดับ. ด้วยเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ว่า ปรารถนาธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะต่อไป.

บทว่า สมฺปชาโน ความว่า รู้ทั่วถึง โดยชอบนั่นเอง ด้วยมรรค

ปัญญาที่ประกอบด้วยวิปัสสนา. บทว่า สุวิมุตฺตจิตฺโต ได้แก่ เป็นผู้มีจิต

หลุดพ้นแล้วด้วยดี ด้วยผลวิมุตติ ในลำดับแห่งการบรรลุอริยมรรคนั้น. บทว่า

วิมุตฺติยา ผสฺสเย ตตฺถ ตตฺถ ความว่า พึงสัมผัส คือ ถึง ได้แก่บรรลุ

หมายความว่า ทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติ คือ พระนิพพาน ในเวลาบรรลุมรรคผล

นั้น ๆ. แท้จริงคำว่า วิมุตฺติยา นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในความหมายของทุติยา-

วิภัตติ. อีกอย่างพึงสัมผัส คือ ถูกต้อง ได้แก่ ถึงมรรคจิตของตนด้วยวิมุตติ

ที่เป็นอารมณ์ในเวลานั้น ๆ คือ ในเวลาเข้าผลสมาบัตินั้น ๆ อธิบายว่า พึงอยู่

ด้วยผลสมาบัติที่หยั่งลงสู่พระนิพพาน. บทว่า ส เวทคู ความว่า ผู้นั้น ชื่อว่า

เป็นผู้จบพระเวท เพราะถึง คือ แทงตลอดสัจจะ ๔ อย่างด้วยมรรคญาณ

กล่าวคือพระเวท. บทว่า โลกนฺตคู ความว่า เป็นผู้ไปจบแดนขันธโลก.

คำที่เหลือ เข้าใจง่ายอยู่แล้ว.

จบอรรถกถาปุริสสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 699

๑๐. จรสูตร

ว่าด้วยวิตก ๓ อย่าง

[๒๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือ

วิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เดินไปอยู่ หากว่าภิกษุย่อมรับกามวิตก

พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ไม่ละเสีย ไม่บรรเทาเสีย ไม่ทำให้

สิ้นสุดเสีย ไม่ให้ถึงความไม่มีไซร้ ภิกษุแม้เที่ยวไปอยู่เป็นอยู่แล้วอย่างนี้

เราตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียร ไม่มีโอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความ

เพียรเลว ตลอดกาลเป็นนิตย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาท-

วิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยืนอยู่...ผู้นั่งอยู่...ถ้าแม้กามวิตก

พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนอยู่ ตื่นอยู่ หากว่า

ภิกษุย่อมรับกามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ไม่ละเสีย ไม่-

บรรเทาเสีย ไม่กระทำให้สิ้นสุดเสีย ไม่ให้ถึงความไม่มีไซร้ ภิกษุแม้นอนอยู่

ตื่นอยู่ เป็นอยู่แล้วอย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้ไม่มีความเพียร ไม่มี

โอตตัปปะ เกียจคร้าน มีความเพียรอันเลว ตลอดกาลเป็นนิตย์.

[๒๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือ

วิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เที่ยวไปอยู่ หากว่าภิกษุย่อมไม่รับกามวิตก

พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นสุดเสีย

ให้ถึงความไม่มีไซร้ ภิกษุแม้เที่ยวไปอยู่เป็นอยู่อย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า

เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ตลอดกาล

เป็นนิตย์ ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ

ผู้ยืนอยู่...ผู้นั่งอยู่...ถ้าแม้กามวิตก พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตก ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 700

เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้นอนอยู่ ตื่นอยู่ หากว่าภิกษุย่อมไม่รับกามวิตก พยาบาทวิตก

หรือวิหิงสาวิตกนั้นไว้ ละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้สิ้นสุดเสีย ให้ถึงความ

ไม่มีไซร้ ภิกษุแม้นอนอยู่ ตื่นอยู่ เป็นอยู่แล้วอย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า

เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ตลอดกาล

เป็นนิตย์.

ภิกษุใดเที่ยวไปอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่

หรือนอนอยู่ ย่อมตรึกถึงวิตกอันลามก

อันอาศัยแล้วซึ่งเรือนไซร้ ภิกษุนั้นชื่อว่า

ดำเนินไปตามทางผิดหมกมุ่นอยู่ในอารมณ์

อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ภิกษุเช่นนั้น

เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะถูกต้องซึ่งสัมโพธิญาณ

อันสูงสุด ภิกษุใดเที่ยวไปอยู่ ยืนอยู่ นั่งอยู่

หรือนอนอยู่ สงบระงับวิตกได้แล้ว ยินดี

ในธรรมเป็นที่สงบวิตก ภิกษุเช่นนั้น

เป็นผู้ควรเพื่อจะถูกต้องซึ่งสัมโพธิญาณอัน

สูงสุด.

จบจรสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 701

อรรถกถาจรสูตร

ในจรสูตรที่ ๑๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จรโต ได้แก่ กำลังเดินหรือกำลังจงกรมอยู่. บทว่า

อปฺปชฺชติ กามวิตกฺโก วา ความว่า ถ้าว่า คือ ผิว่า วิตกที่ประกอบ

ด้วยกามหรือ... จะเกิดขึ้นในเพราะปัจจัยเช่นนั้น เพราะยังไม่ปราศจากราคะ

ในวัตถุกามทั้งหลายไซร้. บทว่า พฺยาปาทวิตกโก วา วิหึสาวิตกฺโก วา

มีการเชื่อมความว่า ถ้าหาก วิตกที่ประกอบด้วยความพยาบาทที่มีความอาฆาต

เป็นนิมิต หรือวิตกที่ประกอบด้วยวิหิงสา ด้วยอำนาจแห่งการเบียดเบียนผู้อื่น

ด้วยก้อนดินและตะพดเป็นต้น เกิดขึ้นไซร้. บทว่า อธิวาเสติ ความว่า

ถ้าให้กามวิตกตามที่กล่าวแล้วนั้น ที่เกิดขึ้นในจิตของตนคามปัจจัยพักอาศัยอยู่

คือ ยกจิ ของตนออกไปแล้ว ให้มัน พักอาศัยอยู่ เพราะไม่มีการพิจารณา

โดยนัยมีอาทิว่า วิตกนี้ เป็นของเลวแม้ด้วยเหตุนี้ เป็นอกุศลแม้ด้วยเหตุนี้

เป็นสิ่งมีโทษแม้ด้วยเหตุนี้ ก็วิตกนั้นแล ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง

ดังนี้ไซร้ และเมื่อให้มันพักอาศัยอยู่นั่นแหละก็ยังละมันไม่ได้ คือยังสลัดออก

ไปไม่ได้ ด้วยอำนาจตทังคปหานเป็นต้น เพราะสลัดออกไม่ได้นั้นนั่นแหละ

ก็จะบรรเทาไม่ได้ คือกำจัดออกไป ได้แก่นำออกไปจากจิตสันดานไม่ได้

เพราะบรรเทาไม่ได้อย่างนั้น ก็จะทำให้สูญสิ้นไปไม่ได้ คือทำกามวิตกเป็นต้น

นั้น ให้ปราศจากที่สุดไปไม่ได้. อธิบายว่า ผู้มีความเพียรส่งใจไปแล้ว (ไม่-

อาลัยชีวิตแล้ว) จะทำโดยวิธีที่แม้ที่สุดของวิตกเหล่านั้น จะไปหรืออยู่โดยที่สุด

แม้เพียงแต่ความแตกหักไป แต่ภิกษุนี้หาทำเหมือนอย่างนั้นไม่. ผู้ศึกษาควร

ทราบเนื้อความโดยประกอบ เจ ศัพท์เข้าด้วยคำมีอาทิว่า วิตกที่เป็นอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 702

นั่นเอง จะไม่ถึงความไม่มีหามิได้ คือ จะไม่ถึงความไม่มีภายหลัง ถ้าหาก

ยังละไม่ได้ไซร้. บทว่า จร ได้แก่ จรนฺโต (แปลว่าเดินไปอยู่). บทว่า

เอวภูโต ได้แก่ เป็นผู้พร้อมพรั่งด้วยวิตกที่เลวมีกามวิตกเป็นต้นอย่างนี้

บทว่า อนาตาปี อโนตฺตปฺปี ความว่า ผู้ชื่อว่าไม่มีความเพียร เพราะ

ไม่มีความเพียรที่เป็นเหตุแผดเผากิเลส ชื่อว่า ไม่มีความเกรงกลัว เพราะไม่มี

ความเกรงกลัว ที่มีลักษณะสะดุ้งกลัวต่อบาป ร้อนรนและรุ่มร้อนเพราะบาป.

บทว่า สตต สมิต ความว่า ตลอดกาลทุกเมื่อเป็นนิจ. บทว่า กุสีโต

หีนวีรีโย ความว่า ภิกษุนั้นเราตถาคตเรียก คือกล่าวว่า ชื่อว่า เป็นผู้เกียจ

คร้าน. เพราะเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว จุ่มจมอยู่ในธรรมฝ่ายอกุศล

และชื่อว่าเป็นผู้เสื่อมจากความเพียรแล้ว คือ เว้นจากความเพียรแล้ว เพราะ

ไม่มีความเพียร คือ สัมมัปปธาน. บทว่า ิตสฺส ความว่า ผู้ยืนอยู่เพราะ

งดการเดิน เพื่อจะทรงแสดงวิธีที่วิตกทั้งหลายเกิดขึ้นอยู่แก่ผู้พร้อมมูลด้วย

ความเกียจคร้านนั้น จึงได้ตรัสไว้ว่า ผู้ตื่นอยู่ เพราะทรงเพิ่มอิริยาบถนอน

เข้าในความเกียจคร้านเป็นพิเศษ.

พึงทราบวินิจฉัย ในธรรมฝ่ายขาวต่อไป. บทว่า ตญฺเจ ภิกฺขุ

นาธิวาเสติ ความว่า ถ้าหากกามวิตกเป็นต้น เกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้แม้ปรารภ

ความเพียรแล้วพักอยู่ เพราะการประกอบพร้อมมูล ด้วยปัจจัยเช่นนั้นที่อบรม

มาตลอดกาลนาน ในสงสารที่ไม่รู้เบื้องต้น หรือเพราะสติฟั่นเฟือนไซร้ คือ

ถ้าหากภิกษุ ยกจิตของตนนั้นขึ้นแล้ว แต่ไม่ให้กามวิตกเป็นต้นนั้น ยับยั้งอยู่

ไซร้ อธิบายว่า ไม่ให้มันยับยั้ง อยู่ในภายในไซร้. เมื่อไม่ให้มันยับยั้งอยู่

จะทำอย่างไร ? ละไป ทิ้งไป. ทิ้งไป เหมือนเทหยากเยื่อด้วยตะกร้าฉะนั้น

หรือ ? หามิได้. อีกอย่างหนึ่ง บรรเทา คือกำจัด ได้แก่ นำออกไป.

นำออกไป (ไล่ไป) เหมือนนำโคพลิพัทธ์ออกไป ด้วยปฏักหรือ ? หามิได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 703

โดยที่แท้แล้ว ทำให้สิ้นสูญไป คือ ทำให้ปราศจากที่สุด ได้แก่ ทำกิเลส

เหล่านั้น โดยวิธีที่ แม้แต่ที่สุด ของวิตกเหล่านั้นก็ไม่เหลืออยู่ โดยที่สุดแม้

แต่เพียงความแตกหักไป.

ก็เธอจะทำวิตกเหล่านั้น ให้เป็นอย่างนั้นได้อย่างไร ? (ได้) ให้ถึง

ความไม่มี คือ ให้ถึงความไม่มีในภายหลัง. มีอธิบายว่า ไม่กระทำ โดยที่

กามวิตกเป็นต้น ถูกข่มไว้แล้วอย่างสบายด้วยวิกขัมภนปหาน. ในคำทั้งหลาย

มีอาทิว่า เอวภูโต มีเนื้อความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า เป็นผู้

มีอาสยกิเลสหมดจดดีแล้ว เพราะกามวิตกเป็นต้น ไม่จอดอยู่ (ในใจ) และ

ชื่อว่า เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์แล้ว เพราะอาสยสมบัตินั้นด้วย เพราะประโยค-

สมบัติ ที่มีอาสยสมบัตินั้น เป็นนิมิตด้วย เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วใน

อินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะเป็นผู้ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่ เราตถาคตกล่าวว่า ชื่อว่า

เป็นผู้มีความเพียรที่ยังกิเลสให้เร่าร้อน เพราะประกอบด้วยความเพียร มี

ลักษณะเผาลนกิเลสทั้งหลาย ด้วยอำนาจตทังคปหานเป็นต้น ชื่อว่า เป็นผู้มี

โอตตัปปะ เพราะประกอบด้วยความสะดุ้งต่อบาปโดยประการทั้งปวง ชื่อว่า

เป็นผู้ปรารภความเพียรแล้ว เพราะความสำเร็จแห่งสัมมัปธาน ๔ อย่าง ด้วย

สามารถแห่งการประนอบเนือง ๆ ซึ่งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนาติดต่อกัน

คือทั้งคืนทั้งวันติดต่อกันไป เป็นนิจนิรันดร์ ชื่อว่า เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว คือ

เป็นผู้มีจิตส่งไปแล้วสู่พระนิพพาน. คำที่เหลือมีนัย ดังกล่าวมาแล้วนั่นแหละ.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายต่อไป. วัตถุกามตรัสเรียกว่า

เคหะ ในคำว่า เคหนิสฺสิต นี้ เพราะผู้ครองเรือนทั้งหลายยังสละทิ้งไม่ได้

๑ ปาฐะว่า อนภาว เข้าใจว่าเป็น อภาว จึงได้แปล ตามที่เข้าใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 704

คือ เพราะเป็นสภาพของผู้ครองเรือนทั้งหลาย หรือเพราะเป็นธรรมเนียม

ประจำเรือน. อีกอย่างหนึ่ง. กามวิตกเป็นต้น ชื่อว่า เคหนิสสิตะ เพราะ

เป็นสถานที่อาศัยอยู่ หรือเป็นที่ตั้งของกิเลสกามทั้งหลาย โดยที่เป็นสิ่งผูกพัน

อยู่กับเรือน. บทว่า กุมฺมคฺค ปฏิปนฺโน ความว่า เพราะเหตุที่ อภิชฌา

เป็นต้น และธรรมที่ตั้งอยู่ในที่เดียวกันกับอภิชฌาเป็นต้น เป็นทางที่ต่ำช้า

เพราะนอกทางของอริยมรรค ฉะนั้น บุคคลผู้มากด้วยกามวิตก ชื่อว่า ดำเนิน

ไปสู่ทางต่ำช้า. บทว่า โมหเนยฺเยสุ มุจฺฉิโต ความว่า สยบ คือ มัวเมา

ได้แก่ หมกมุ่นอยู่แล้ว ในรูปเป็นต้น ที่เป็นไปพร้อมเพื่อโมหะ. บทว่า

สมฺโพธึ ได้แก่ อริยมรรคญาณ. บทว่า ผุฏฺฐุ ได้สัมผัส คือ ถึงแล้ว.

อธิบายว่า ผู้เช่นนั้น นั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร แต่ไหนแต่ไรมา จะไม่

บรรลุธรรมเป็นที่สงบวิตกนั้น.

บทว่า วิตกฺก สมยิตฺวาน ความว่า ระงับมิจฉาวิตก ตามที่กล่าว

แล้ว ด้วยกำลังแห่งภาวนามีปฏิสังขานะเป็นอารมณ์. บทว่า วิตกฺกูปสเม

รโต ความว่า ยินดีแล้ว คือยินดีเฉพาะแล้ว โดยอัธยาศัยในอรหัตผล

หรือพระนิพพานนั่นเอง ที่เป็นธรรมระงับมหาวิตกทั้ง ๘ ประการ บทว่า

ภพฺโพ โส ตาทิโส ความว่า บุคคลปฏิบัติชอบอยู่ ตามที่กล่าวมาแล้ว

นั้น ระงับวิตกทุกอย่างได้ ด้วยกำลังแห่งสมถะและวิปัสสนา ในส่วนเบื้องต้น

โดยอำนาจของตทังคปหานเป็นต้น ตามสมควร ดำรงอยู่ ครั้นเลื่อนวิปัสสนา

ให้สูงขึ้นไปแล้ว จะเป็นผู้ควร คือ สามารถ เพื่อสัมผัสคือบรรลุ สัมโพธิ-

ญาณอันยอดเยี่ยม กล่าวคือ อรหัตมรรคญาณ และกล่าวคือพระนิพพาน

ตามลำดับแห่งมรรค ดังนี้แล.

จบอรรถกถาจรสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 705

๑๒. สัมปันนสูตร

ว่าด้วยสมบูรณ์ด้วยธรรมปฏิบัติ

[๒๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์

มีปาติโมกข์สมบูรณ์ สำรวมแล้วด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระ

และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลายเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายมีศีลสมบูรณ์ มีปาติโมกข์

สมบูรณ์ สำรวมแล้วด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มี

ปกติเห็นภัยในโทษอันมีประมาณน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

จะมีกิจอะไรที่เธอทั้งหลายพึงกระทำให้ยิ่งขึ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้

อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ ของภิกษุผู้เดินไปอยู่ เป็น

ธรรมชาติปราศไปแล้ว อันภิกษุผู้เดินไปอยู่ละวิจิกิจฉาได้แล้ว ปรารภความ

เพียรไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไว้มั่น ไม่หลงลืม กายระงับแล้ว ไม่ระส่ำระสาย

ตั้งจิตมั่น มีอารมณ์อันเดียว ภิกษุผู้เดินไปอยู่เป็นอย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่าเป็น

ผู้มีความเพียร มีโอตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดียว ตลอดกาลเป็น

นิตย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ

ของภิกษุผู้ยืนอยู่เป็นธรรมชาติปราศไปแล้ว . . . ถ้าแม้อภิชฌา พยาบาท

ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ ของภิกษุผู้นั่งอยู่เป็นธรรมชาติปราศไปแล้ว . . .

ถ้าแม้อภิชฌา พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ ของภิกษุผู้นอนอยู่

ตื่นอยู่ เป็นธรรมชาติปราศไปแล้ว อันภิกษุผู้นอนอยู่ ตื่นอยู่ ละวิจิกิจฉา

ได้แล้ว ปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน ตั้งสติไว้มั่น ไม่หลงลืม กายระงับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 706

แล้ว ไม่ระส่ำระสาย ตั้งจิตไว้มั่น มีอารมณ์อันเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุแม้ผู้นอนอยู่ ตื่นอยู่เป็นอยู่แล้วอย่างนี้ เราตถาคตกล่าวว่า เป็นผู้มีความ

เพียร มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดียว ตลอดกาลเป็นนิตย์.

ภิกษุเพียรอยู่ พึงเดิน ยืน นั่ง นอน

คู้เข้า เหยียดออก ซึ่งอวัยวะมีมือและเท้า

เป็นต้นนี้ อนึ่ง ภิกษุพิจารณาโดยชอบ

ซึ่งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่ง

ธรรมขันธ์ ในเบื้องบน เบื้องขวาง เบื้องต่ำ

จนตลอดภูมิเป็นที่ไปแห่งสัตว์ผู้สัญจรไป

บนแผ่นดิน พระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้น ได้กล่าวภิกษุผู้มีปกติ

อยู่อย่างนั้น มีความเพียร มีความประพฤติ

สงบ ไม่ฟุ้งซ่าน มีญาณทัศนวิสุทธิสมควร

แก่ธรรมเป็นเครื่องสงบใจ ศึกษาอยู่ มีสติ

ทุกเมื่ออย่างนั้นว่า เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว

ตลอดกาลเป็นนิตย์.

จบสัมปันนสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 707

อรรถกถาสัมปันนสูตร

ในสัมปันนสูตรที่ ๑๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า สมฺปนฺนสีลา นี้ สมฺปนฺน สมบูรณ์ มี ๓ อย่าง คือ

เต็มบริบูรณ์ ๑ พรั่งพร้อม ๑ หวานอร่อย ๑. บรรดาสัมปันนศัพท์ทั้ง ๓

อย่างนั้น สัมปันนศัพท์ที่มีความหมายว่า เต็มบริบูรณ์ เช่นในประโยคนี้ว่า

ข้าแต่ท่านท้าวโกสีย์ นกแขกเต้า

ทั้งหลาย พากันจิกกินรวงข้าวสาลีที่ (มี

เมล็ด) เต็มบริบูรณ์ ข่าแต่ท่านท้าวพระ-

พรหม ข้าพเจ้าขอประกาศให้ท่านทราบ

ข้าพเจ้าไม่สามารถจะห้ามพวกมันได้.

สัมปันนศัพท์ที่มีความหมายว่า พรั่งพร้อม เช่นในประโยคนี้ว่า ภิกษุ

เป็นผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปใกล้ เข้าไปใกล้ชิด พรั่งพร้อมประกอบด้วย

ปาติโมกขสังวรนี้. สัมปันนศัพท์ที่มีความหมายว่า หวานอร่อย เช่นในประโยค

นี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พื้นล่างมหาปฐพีนี้มีรสอร่อย เป็นสิ่งที่ชอบใจ

เหมือนน้ำผึ้งหวานที่ไม่มีโทษ. แต่ในที่นี้ สัมปันนศัพท์เหมาะในความหมาย

ว่า เต็มบริบูรณ์บ้าง ในความหมายว่า พรั่งพร้อมบ้าง. เพราะฉะนั้น พึง

ทราบเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า บทว่า สมฺปนฺนสีลา ได้แก่ เป็นผู้มีศีล

บริบูรณ์บ้าง เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยศีลบ้าง. บรรดาความหมายทั้ง ๒ อย่างนั้น

ตามความหมายนี้ว่า มีศีลบริบูรณ์แล้ว มีอธิบายว่า ศีลชื่อว่าเป็นศีลสมบูรณ์

แล้ว เหมือนความบริบูรณ์ของนา เพราะปราศจากโทษของนา (วัชพืช).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 708

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า ความบริบูรณ์ของศีล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ เพราะปราศจากโทษของศีล เหมือนความบริบูรณ์ของนา เพราะ

ปราศจากโทษของนา (วัชพืช). ส่วนตามความหมายนี้ว่า เป็นผู้พรั่งพร้อม

ด้วยศีล มีพุทธาธิบายไว้ว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้พรั่งพร้อม ถึงการรวมลง

เป็นผู้ประกอบด้วยศีลอยู่เถิด. ในจำนวน ๒ อย่างนั้น ความเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์

มีได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ด้วยการเห็นโทษของศีลวิบัติ ๑ ด้วยการเห็น

อานิสงส์ของศีลสมบัติ ๑. โทษ และอานิสงส์ทั้ง ๒ อย่างนั้น พึงทราบตามนัย

ที่ได้กล่าวไว้แล้ว ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค คำใดที่ข้าพเจ้าควรจะกล่าวในที่นี้

โดยนัยมีอาทิว่า บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทเพียงเท่านี้ว่า ผู้มีศีลสมบูรณ์แล้ว

ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นจะทรงแสดงปาริสุทธศีล ๔ จึงทรง

แสดงศีลที่เป็นหลักไว้ด้วยคำนี้ว่า เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยปาฏิโมกขสังวร. คำนั้น

ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้ในหนหลังนั้นแล้ว.

บทว่า กิมสฺส อุตฺตรึ กรณีย มีเนื้อความว่า ถ้าหากจะมีคำถามว่า

เธอทั้งหลายผู้มีศีลสมบูรณ์แล้วอยู่อย่างนี้ จะพึงมีอะไรที่จะต้องทำ คือจะต้อง

ปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไปเล่า ? ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกอบ

ภิกษุทั้งหลายไว้ในศีลสัมปทา พร้อมด้วยอุบายที่จะเป็นเหตุให้ถึงพร้อมด้วยคำ

มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงพากันมีศีลสมบูรณ์อยู่อย่างนี้เถิด

ดังนี้ ได้ทรงเริ่มพระธรรมเทศนา ยกบุคคลจำนวนมากขึ้นเป็นที่ตั้งแล้ว บัดนี้

เมื่อจะทรงแสดงพระธรรมเทศนานั้น ด้วยสามารถแห่งการยกบุคคลคนเดียว

ขึ้นเป็นที่ตั้ง เพราะเหตุที่พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงจะเป็น

ไปแล้ว โดยการยกบุคคลคนเดียวขึ้นเป็นที่ตั้ง แต่ก็เป็นพระธรรมเทศนาที่ยก

บุคคลเป็นอเนกขึ้นเป็นที่ตั้ง เพราะเป็นสาธารณะแก่สรรพสัตว์ จึงตรัสคำ

มีอาทิไว้ว่า จรโต เจปิ ภิกฺขเว ภิกฺขุโน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากว่า. . .

แก่ภิกษุผู้กำลังเดินไปไซร้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 709

พึงทราบวินิจฉัยในคำเหล่านั้นต่อไป. กิเลสชาติ ชื่อว่า อภิชฌา

เพราะเป็นเหตุเพ่งเล็ง. คำว่า อภิชฺฌาย นี้ เป็นชื่อของโลภะที่มีลักษณะเพ่งเล็ง

สิ่งของ ๆ ผู้อื่น. อกุศลธรรมชื่อว่าพยาบาท เพราะเป็นเหตุให้จิตถึงความพินาศ

คือเป็นจิตเสีย. คำนี้เป็นชื่อของโทสะที่มีอาฆาตวัตถุ ๑๙ อย่างเป็นอารมณ์

เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่า เขาได้ประพฤติอนัตถะแก่เราแล้ว. พึงทราบความ

พิสดารของอภิชฌาและพยาบาททั้ง ๒ อย่างนั้น โดยนัยมีอาทิว่า บรรดาธรรม

เหล่านั้น กามฉันท์คืออะไร ? ความพอใจกาม ความเสน่หากาม ความ

ระหายกาม ความร้อนรนเพราะกาม ความสยบอยู่กับกาม การหยั่งลงสู่กาม

ในกามทั้งหลายดังนี้ อนึ่ง คือ ความโลภ ความละโมบ ภาวะของผู้ละโมบ

แล้ว ความกำหนัดมาก ความกำหนัดจัด ภาวะของผู้กำหนัดมาก ความเพ่งเล็ง

โลภะ อกุศลมูล ดังนี้ และโดยนัยมีอาทิว่า ความพยาบาท คือ ความร้ายกาจ

ความใจร้าย ภาวะของผู้มีจิตถูกโทสะประทุษร้ายแล้ว ความพยาบาท ความถึง

ความพินาศแห่งจิต ภาวะของผู้พยาบาท ความพิโรธ ความพิโรธตอบ ความ

ดุร้าย การให้ผู้อื่นหลั่งน้ำตา ความไม่พอใจแห่งจิตดังนี้. บทว่า วิคโต โหติ

ความว่า ทั้งอภิชฌา ทั้งพยาบาทนี้ เป็นของปราศไปแล้ว คือ ไปปราศแล้ว

อธิบายว่า ละได้แล้ว. ด้วยคำเพียงเท่านี้ เป็นอันพระองค์ทรงแสดงถึงการ

ละกามฉันทนิวรณ์ และพยาบาทนิวรณ์ได้แล้ว .

บทว่า ถีนมิทฺธ ได้แก่ ทั้งถีนะทั้งมิทธะ. บรรดาถีนะและมิทธะ

ทั้ง ๒ อย่างนั้น ภาวะที่จิตไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่าถีนะ. คำว่า ถีนะ นี้

เป็นชื่อของความเกียจคร้าน. ความที่ขันธ์ทั้ง ๓ มีเวทนาขันธ์เป็นต้น ไม่ควร

แก่การงานชื่อว่า มิทธะ. คำว่า มิทธะ นี้เป็นชื่อของความเป็นผู้ปั่นป่วน.

ผู้ศึกษาพึงทราบความพิสดารของถีนะและมิทธะทั้ง ๒ ศัพท์ โดยนัย

มีอาทิว่า บรรดาถีนะและมิทธะทั้ง ๒ นั้น ถีนะคืออะไร ? คือ ความที่จิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 710

ไม่เหมาะสม ความที่จิตไม่ควรแก่การงาน ความหดหู่ ความหวั่นไหวแห่งจิต

บรรดาถีนะและมิทธะ ๒ อย่างนั้น มิทธะคืออะไร ? คือ ความที่กายไม่

เหมาะสม ความที่กายไม่ควรแก่การงาน ความล้า ความเมื่อยขบแห่งกาย.

บทว่า อุทฺธจฺจกุกฺกุจฺจ ได้แก่ ทั้งความฟุ้งซ่านทั้งความรำคาญใจ.

บรรดาอุทธัจจะและกุกกุจจะนั้น อาการของจิตที่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่า อุทธัจจะ.

ความเดือดร้อนเพราะบาปที่ทำไว้เป็นปัจจัย ของผู้ไม่ได้ทำความดีไว้ ทำแต่

ความชั่วไว้ ชื่อว่า กุกกุจจะ ผู้ศึกษาพึงทราบความพิสดารของอุทธัจจะ และ

กุกกุจจะทั้ง ๒ นั้น โดยนัยมีอาทิว่า บรรดาอุทธัจจะและกุกกุจจะทั้ง ๒ นั้น

อุทธัจจะคืออะไร ? คือ ความฟุ้ง ความไม่สงบแห่งจิต ความซัดส่ายแห่งจิต

ความหมุนเวียนแห่งจิต. พึงทราบอาการที่เป็นไป (พฤติการณ์ของนิวรณ์ทั้ง ๒

นั้น) โดยนัยมีอาทิว่า เราไม่ได้ทำความดีไว้ เราไม่ได้ทำกุศลไว้ เราไม่ได้

ทำการต้านทานสิ่งที่น่ากลัวไว้ เราทำบาปไว้แล้ว เราทำกรรมชั่วช้าไว้แล้ว

เราทำความผิดไว้แล้ว ดังนี้.

บทว่า วิจิกิจฺฉา ได้แก่ ความสงสัยในพระพุทธเจ้าเป็นต้น. ผู้ศึกษา

พึงทราบความพิสดารของวิจิกิจฉานั้น โดยนัยมีอาทิว่า ย่อมสงสัยคือแคลงใจ

ได้แก่ไม่น้อมใจเชื่อ หมายความว่า ไม่เลื่อมใสในพระศาสดาดังนี้ และโดยนัย

มีอาทิว่า บรรดานิวรณ์เหล่านั้น วิจิกิจฉาคืออะไร ? คือ ความกังขา ความ

กินแหนง ภาวะของผู้กินแหนง ความเคลือบแคลง ความแคลงใจ ความ

สองเงื่อน ทางสองแพร่ง ความสงสัย ความยึดถือหลายอย่าง ความสับสน.

ความกระเสือกกระสน ความยึดถือไม่รอบคอบ ความหวาดสะดุ้งแห่งจิต

รอยขีดเขียนในใจ ดังนี้.

และในที่นี้ พระองค์ทรงประสงค์เอาการข่มอภิชฌา และพยาบาท

เป็นต้นเหล่านั้นเท่านั้น ด้วยอำนาจแห่งการพรากออกไป และด้วยอำนาจแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 711

การละอภิชฌาและพยาบาทเป็นต้น ซึ่งพระองค์ตรัสหมายเอาว่า เธอละความ-

โลภคืออภิชฌาแล้ว มีจิตปราศจากอภิชฌาอยู่ ชื่อว่า ชำระจิตให้ผ่องใสจาก

อภิชฌา ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาทอยู่ ชื่อว่า

ชำระจิตให้ผ่องใสจากความประทุษร้ายคือพยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้

ปราศจากถิ่นมิทธะ มีอาโลกสัญญา (หมายรู้แสงสว่าง) มีสติสัมปชัญญะอยู่

ชื่อว่า ชำระจิตให้ผ่องใสจากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะได้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิต

สงบอยู่ในภายใน ชื่อว่า ชำระจิตให้ผ่องใสจากอุทธัจจกุกกุจจะ ละความสงสัย

ได้แล้ว เป็นผู้ข้ามความสงสัยได้ เป็นผู้หายสงสัย ไม่สงสัยในกุศลธรรม

ทั้งหลาย ชื่อว่า ชำระจิตให้ผ่องใสจากความสงสัย. บรรดาการละและการเกิด

ขึ้นนั้น การละนิวรณ์มีอยู่โดยวิธีใด ควรทราบวิธีนั้น (ต่อไป).

ก็การละนิวรณ์เหล่านั้น มีอย่างไร ? การละกามฉันท์ มีโดยการทำ

ไว้ในใจโดยแยบคายในอสุภนิมิต. ส่วนการเกิดขึ้น (แห่งกามฉันท์) มีโดยการ

ทำไว้ในใจโดยไม่แยบคายในสุภนิมิต ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุภนิมิตมีอยู่ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ

ในสุภนิมิตนั้น เป็นเหตุนำผลมาให้ (อาหารปัจจัย) เพื่อกามฉันท์ที่ยังไม่เกิด

ได้เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่งขึ้น เพื่อความไพบูลย์แห่งกามฉันท์ที่เกิดขึ้น

แล้วบ้าง. การละกามฉันท์ที่เกิดขึ้นโดยอโยนิโสมนสิการ ในสุภนิมิตอย่างนี้

มีอยู่โดยโยนิโสมนสิการในอสุภนิมิต โดยตรงกันข้ามกับอโยนิโสมนสิการ ใน

สุภนิมิตนั้น. บรรดานิมิตทั้ง ๒ อย่างนั้น อสุภบ้าง อสุภารมณ์บ้าง ชื่อว่า

อสุภนิมิต. การมนสิการโดยอุบาย คือมนสิการในทาง ได้แก่มนสิการว่า

ไม่เที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยงบ้าง ว่าเป็นทุกข์ในสิ่งที่เป็นทุกข์บ้าง ว่าเป็นอนัตตา

ในสิ่งที่เป็นอนัตตาบ้าง ว่าไม่งามในสิ่งที่ไม่งามบ้าง ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ.

เมื่อให้มนสิการนั้นเป็นไปมากครั้งในนิมิตนั้น ย่อมละกามฉันท์ได้. ด้วยเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 712

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย อสุภนิมิต การทำให้มาก

ซึ่งโยนิโสมนสิการ ในอสุภนิมิตนั้น นี้เป็นเหตุนำผลมา (อาหารปัจจัย) เพื่อ

ความไม่เกิดขึ้นแห่งกามฉันท์ที่ยังไม่เกิดบ้าง เพื่อละกามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

ธรรมสำหรับละกามฉันท์ ๖ ข้อ

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์ คือ

๑. การเรียนเอาอสุภนิมิต

๒. การประกอบความเพียรเนือง ๆ ในอสุภภาวนา

๓. ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้ว ในอินทรีย์ทั้งหลาย

๔. ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร

๖. ถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ.

อธิบายว่า ผู้กำลังเรียนอสุภนิมิต ๑๐ อย่างอยู่ ย่อมละกามฉันท์ได้

ผู้กำลังเจริญอสุภนิมิตอยู่ ก็ละกามฉันท์ได้ ผู้ปิดทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย

แล้วก็ละได้ ผู้รู้ประมาณในการฉันอาหาร เพราะความเป็นผู้มีปกติยังอัตภาพ

ให้เป็นไปได้โดยดื่มน้ำ (ก่อน) ทั้ง ๆ ที่ยังมีโอกาส (ฉันได้อีก) ๔-๕ คำ

ก็ละกามฉันท์ได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า

ควรงดฉันข้าว ๔-๕ คำไว้แล้วดื่มน้ำ

เพียงพอเพื่อจะอยู่อย่างสบายสำหรับภิกษุ

ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว.

ผู้กำลังคบหากัลยาณมิตร เช่นกับพระติสสเถระ. ผู้เจริญอสุภกรรมฐาน

ละกามฉันท์ได้ก็มี. ละได้ด้วยกถาที่เป็นสัปปายะอาศัยอสุภ ๑๐ ในสถานที่ยืน

และที่นั่งเป็นต้น ก็มี. ด้วยเหตุนั้น พระผู้นี้พระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า

ธรรม ๖ อย่าง ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 713

การเกิดขึ้นแห่งพยาบาท มีโดยอโยนิโสมนสิการ ในปฏิฆนิมิต.

ปฏิฆะ ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต ในคำว่า ปฏิฆนิมิตฺเต อโยนิโสมนสิกาเรน

นั้น แม้ปฏิฆารมณ์ก็คือปฏิฆนิมิต. อโยนิโสมนสิการ (การทำไว้ในใจโดยไม่-

แยบคาย) ในปฏิฆนิมิตนั้น มีลักษณะเดียวกันในที่ทุกแห่งทีเดียว พยาบาท

ย่อมเกิดขึ้น แก่ผู้ให้อโยนิโสมนสิการเป็นไปมากครั้งในนิมิตนั้น . ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า มีอยู่ภิกษุทั้งหลาย ปฏิฆนิมิต

การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ ในปฏิฆนิมิตนั้น เป็นอาหารปัจจัย (เหตุ-

นำมา) เพื่อการเกิดขึ้นแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่งขึ้น

เพื่อความไพบูลย์แห่งพยาบาท ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

ส่วนผู้ทำไว้ในใจโดยแยบคาย ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตติ จะมีการละ

(พยาบาท) ได้. บรรดาคำว่า เมตตา และเจโตวิมุตตินั้น เมื่อกล่าวคำว่า

เมตตาก็ใช้ได้ (หมายถึง) ทั้งอัปปนาทั้งอุปจาร แต่เมื่อกล่าวว่า เจโตวิมุตติ

ก็ใช้ได้ (หมายถึง) เฉพาะอัปปนาเท่านั้น. โยนิโสมนสิการ มีลักษณะดังที่

กล่าวมาแล้วนั่นเอง. เมื่อให้โยนิโสมนสิการนั้นเป็นไปมากครั้งในเมตตานั้น

ก็ละพยาบาทได้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า มีอยู่ภิกษุ-

ทั้งหลาย เมตตาเจโตวิมุตติ การทำไว้ในใจให้มาก โดยอุบายอันแยบคายใน

เมตตาเจโตวิมุตตินั้น นี้เป็นอาหารปัจจัย (เหตุนำมา) เพื่อการไม่เกิดขึ้นแห่ง

พยาบาท ที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เพื่อการละพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

ธรรมสำหรับละพยาบาท ๖ ข้อ

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ เป็นไปเพื่อละพยาบาท คือ

๑. การเรียนเมตตานิมิต

๒. การเจริญเมตตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 714

๓. การพิจารณาความที่สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน

๔. ความเป็นผู้มากไปด้วยการพิจารณา

๕. ความมีกัลยาณมิตร

๖. การกล่าวคำที่เป็นสัปปายะ.

อธิบายว่า ผู้กำลังเรียนเมตตาด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปทั่วทิศทั้งโดย

เจาะจง ทั้งโดยไม่เจาะจง อย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมละพยาบาทได้. แม้ผู้กำลังเจริญ

เมตตาด้วยสามารถแห่งการแผ่ไปทั่วทิศโดยเจาะจง โดยไม่เจาะจง ก็ละพยาบาท

ได้. ผู้กำลังพิจารณาถึงความมีกรรมเป็นของตน ของคนทั้ง ๒ คือของตนเอง

และของผู้อื่นอย่างนี้ว่า ตัวเจ้าโกรธคน ๆ นั้นแล้ว จักทำอะไร (เขา) ได้

จักสามารถให้คุณธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ของเขาพินาศไปได้หรือ ? ตัวเจ้า

มาแล้วตามกรรมของตน ก็จักไปตามกรรมของตนมิใช่หรือ ? ธรรมดาความ-

โกรธผู้อื่น ก็เหมือนกับความประสงค์ จะหยิบถ่านไฟที่ปราศจากเปลว ท่อน

เหล็กแดงและอุจจาระแล้ว ขว้างคนอื่น ถึงคนนั่นโกรธเจ้าก็จักทำอะไร (เจ้า)

ได้ เขาจักสามารถให้ธรรมทั้งหลายมีศีลเป็นต้น ของเจ้าพินาศไปได้หรือ ?

คนนั่นเขามาตามกรรมของคน ก็จักไปตามกรรมของตนนั่นแหละดังนี้ ย่อมละ

พยาบาทได้ พิจารณาแล้ว ยืนอยู่ที่ ๆ พิจารณาย่อมละพยาบาทได้ คบหากัลยาณ-

มิตรผู้ยินดีในเมตตาภาวนา ย่อมละพยาบาทได้. ย่อมละพยาบาทได้แม้ด้วย

กถาที่เป็นสัปปายะอาศัยเมตตาในที่ ๆ ยืน และที่ ๆ นั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ธรรม ๖ ประการเป็นไปเพื่อละพยาบาท.

การเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะ โดยอโยนิโสมนสิการในอกุศลธรรมมีอรติ

เป็นต้น. ความเอือมระอา ชื่อว่า อรติ. ความเกียจคร้านทางกาย ชื่อว่า

ตันทิ. การบิดคร้านกาย ชื่อว่า วิชัมภิกา. ความมึนงงเพราะภัต คือ ความอึดอัด

เพราะภัต ชื่อว่า ภัตตสัมมทะ (ความเมาอาหาร). อาการที่จิตห่อเหี่ยว ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 715

ความหดหู่จิต. เมื่อยังอโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากครั้งในอกุศลธรรมเหล่านี้

ถีนมิทธะ ย่อมเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไค้ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มีอยู่ อรติ (ความเอือมระอา) ตันทิ (ความคร้านกาย)

วิชัมภิกา (ความบิดคร้านกาย) ความหดหู่ใจ การทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ

ในอรติเป็นต้นเหล่านั้น นี้ เป็นเหตุนำผลมาให้ (อาหารปัจจัย) เพื่อการ

เกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง เพื่อความไพบูลย์

แห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง. ส่วนการละถีนมิทธะ มีโดยโยนิโสมนสิการ

ในอารัมภธาตุเป็นต้น. ความเพียรที่เริ่มต้น ชื่อว่า อารัมภธาตุ. ความเพียร

ที่มีกำลังมากกว่านั้น เพราะออกไปแล้วจากความเกียจคร้าน ชื่อว่า นิกขมธาตุ.

ความเพียรที่มีกำลังมากกว่านั้นในรูป เพราะก้าวไปสู่สถานที่ข้างหน้า ชื่อว่า

ปรักกมธาตุ.

ผู้ยังโยนิโสมนสิการให้เป็นไปมากครั้ง ในวิริยะ ๓ ประเภท นี้จะละ

ถีนมิทธะได้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า มีอยู่ ภิกษุ-

ทั้งหลาย อารัมภธาตุ ๑ นิกกมธาตุ ๑ ปรักกมธาตุ ๑ การทำให้มากซึ่ง

โยนิโสมนสิการ ในธาตุเหล่านั้น นี้เป็นเหตุนำผลมา (อาหารปัจจัย) เพื่อ

ความไม่เกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดบ้าง เพื่อละถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

ธรรมสำหรับละถีนมิทธะ ๖ ข้อ

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการเหล่านั้น เป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ

๑. การบริโภคโภชนะที่เหลือเพื่อแต่พอประมาณ

๒. การผลัดเปลี่ยนอิริยาบถ

๓. การมนสิการอาโลกสัญญา

๔. การอยู่แต่ในที่แจ้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 716

๕. ความมีกัลยาณมิตร

๖. การกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ.

อธิบายว่า ผู้บริโภคโภชนะเยี่ยงอาหารหัตถกพราหมณ์ ภุตตวัมมิก-

พราหมณ์ ตัตถวัฏฏกพราหมณ์ อลังสาฏกพราหมณ์ และกากมาสกพราหมณ์

แล้ว นั่ง ณ ที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ความง่วงเหงาหาวนอนจะมาทับ

ถมเหมือนช้างใหญ่มาทับ. แต่เมื่อภิกษุเว้นระยะไว้ ๔-๕ คำแล้วดื่มน้ำเเล้วยัง

อัตภาพให้เป็นไปตามปกติ ความง่วงเหงาหาวนอนนั้นจะไม่มี. ผู้รับโภชนะ

ที่เหลือเฟือ แต่พอประมาณอย่างนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้. ผู้เปลี่ยนอิริยาบถอื่น

ไปจากอิริยาบถที่ตนก้าวลงสู่ความง่วงเหงาหาวนอนบ้าง ในเวลากลางคืน

มนสิการถึงแสงพระจันทร์แสงประทีปแสงคบเพลิง เวลากลางวันมนสิการถึง

แสงพระอาทิตย์บ้าง อยู่ ณ ที่กลางแจ้งบ้าง คบหาสมาคมกัลยาณมิตร ผู้ปราศ

จากความง่วงเหงาหาวนอน เช่นพระมหากัสสปเถระบ้าง ก็ย่อมละถีนมิทธะได้.

ย่อมละถีนมิทธะได้ แม้ด้วยกถาที่เป็นสัปปายะอาศัยธุดงค์ ในที่นั่งและที่นอน

เป็นต้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า ธรรม ๖ ประการ

ย่อมเป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ.

อุทธัจกุกกุจจะมีการเกิดขึ้น เพราะมนสิการโดยไม่แยบคายในความ

ไม่สงบแห่งจิต. อาการที่ (จิต) ไม่สงบแล้ว ชื่อว่า อวูปสมะ. โดยเนื้อความ

ได้แก่ อุทธัจจกุกกุจจนั้นนั่นเอง. ผู้ยังอโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบ

แห่งจิต ให้เป็นไปมากครั้ง อุทธัจจกุกกุจจะจะเกิดขึ้น. ด้วยเหตุนั้น นี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความไม่สงบแห่งจิต

การกระทำให้มากซึ่งอโยนิโสมนสิการ ในความไม่สงบแห่งจิตนั้น นี้ เป็นเหตุ

นำผลมาให้ (อาหารปัจจัย) เพื่อการเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะ ที่ยังไม่

เกิดขึ้นบ้าง เพื่อความเจริญยิ่ง ความไพบูลย์แห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 717

แล้วบ้าง. แต่เมื่อมนสิการโดยแยบคาย ในความสงบแห่งใจ กล่าวคือสมาธิ

อยู่ การละ (อุทธัจจกุกกุจจะ) ก็จะมี ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้

ตรัสไว้ว่า มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ความสงบแห่งจิต การการทำให้มาก ซึ่งโยนิ-

โสมนสิการ ในความสงบแห่งจิตนั้น นี้เป็นเหตุนำผลมาให้ (อาหารปัจจัย)

เพื่อการไม่เกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ

ที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง.

ธรรมสำหรับละอุทธัจจกุกกุจจะ ๖ ข้อ

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ

คือ

๑. ความเป็นพหูสูต

๒. การสอบถาม

๓. ความรอบรู้ (ชำนาญ) ในพระวินัย

๔. การคบหาสมาคมผู้ใหญ่

๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร

๖. การกล่าวคำที่เป็นสัปปายะ.

(อธิบายว่า) ผู้เรียน ๑, ๒, ๓, ๔ หรือ ๕ นิกาย ด้วยสามารถแห่ง

บาลี และด้วยสามารถแห่งเนื้อความ (อรรถกถา) โดยความเป็นพหูสูตอยู่

ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. ผู้มากไปด้วยการสอบถามสิ่งที่เป็นกัปปิยะและอกัป-

ปิยะบ้าง ผู้รอบรู้ เพราะความเป็นผู้ประพฤติมาจนชำนาญ ในภาระวินัยบัญญัติ

บ้าง ผู้เข้าไปหาพระเถระผู้เจริญ คือ ผู้ใหญ่บ้าง ผู้คบหากัลยาณมิตร ผู้ทรง-

พระวินัย เช่นกับพระอุบาลีเถระบ้าง ย่อมละอุทธัจจกุกกุจจะได้. ย่อมละอุทธัจจ-

กุกกุจจะได้ แม้โดยการกล่าวถ้อยคำเป็นที่สบาย ที่อาศัยสิ่งที่ควรและไม่ควร ณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 718

ที่ยืนและที่นั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า

ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจกุกกุจจะ.

วิจิกิจฉา มีการเกิดขึ้นโดยอโยนิโสมนสิการ ในธรรมทั้งหลายที่เป็น

ที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา ความสงสัยนั่นเอง ชื่อว่า ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งวิจิกิจฉา

เพราะเป็นเหตุให้สงสัยบ่อย ๆ เมื่อให้อโยนิโสมนสิการ ในวิจิกิจฉานั้นเป็นไป

บ่อย ๆ วิจิกิจฉาก็เกิดขึ้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า

มีอยู่ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย การกระทำให้มากซึ่งอโย-

นิโสมนสิการ ในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยนั้น นี้เป็นเหตุนำผลมาให้

(อาหารปัจจัย) เพื่อการเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด บ้างเพื่อความเจริญ

ยิ่ง เพื่อความไพบูลย์แห่งวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วบ้าง. ส่วนการละวิจิกิจฉามีได้

ด้วยโยนิโสมนสิการ ในธรรมทั้งหลายมีกุศลเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้า จึงได้ตรัสไว้ว่า มีอยู่ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศล

และอกุศล ธรรมทั้งหลายที่มีโทษและไม่มีโทษ ธรรมทั้งหลายที่ควรเสพ

และไม่ควรเสพ ธรรมทั้งหลายที่เป็นส่วนดำส่วนขาว การทำให้มากซึ่งโยนิ-

โสมนสิการในธรรมเหล่านั้น นี้เป็นเหตุนำผลมาให้ (อาหารปัจจัย) เพื่อการ

ไม่เกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉา ที่ยังไม่เกิดขึ้นบ้าง เพื่อการละวิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว

บ้าง.

ธรรมสำหรับละวิจิกิจฉา ๖ ข้อ

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมไปเพื่อการละวิจิกิจฉา คือ

๑. ความเป็นพหูสูต

๒. การซักถาม

๓. ความรอบรู้ในพระวินัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 719

๔. ความเป็นผู้มากไปด้วยอธิโมกข์

๕. ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร

๖. การกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ.

ผู้เรียนเอานิกาย ๑ บ้าง ฯลฯ ๕ นิกายบ้าง ด้วยอำนาจแห่งบาลี

และด้วยอำนาจแห่งเนื้อความ (อรรถกถา) ย่อมละวิจิกิจฉาได้. ผู้สอบถามมาก

ในธรรมทั้งหลาย มีประเภทกุศลเป็นต้น ปรารภพระไตรรัตน์บ้าง ผู้รอบรู้

(ชำนาญ) เพราะความเป็นผู้ประพฤติจนชำนาญในพระวินัยบ้าง ผู้มากไป

ด้วยอธิโมกข์ กล่าวคือ ความเชื่อที่พึงกำหนดแน่ในพระรัตนตรัยบ้าง ผู้คบ

หาสมาคมกัลยาณมิตรผู้น้อมไปในศรัทธา เช่นกับพระวักกลิเถระบ้าง ย่อมละ

วิจิกิจฉาได้. ย่อมละวิจิกิจฉาได้แม้โดยการกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ อาศัยคุณ

ของพระรัตนตรัย ณ ที่ยืนและที่นั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงได้ตรัสไว้ว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา.

ก็ในอธิการนี้ บรรดานิวรณ์เหล่านี้ ที่ละได้แล้วด้วยอำนาจการข่มไว้

ด้วยธรรมเหล่านั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว กามฉันทนิวรณ์ มีการละได้เด็ดขาด

ด้วยอรหัตมรรคก่อน. ถิ่นมิทธนิวรณ์และอุทธัจจนิวรณ์ ก็อย่างนั้น (คือ มี-

การละได้เด็ดขาดด้วยอรหัตมรรค). ส่วนพยาบาทนิวรณ์และกุกกุจจนิวรณ์มี

การละได้เด็ดขาดด้วยอนาคามิมรรค. วิจิกิจฉานิวรณ์มีการละได้เด็ดขาดด้วย

โสดาปัตติมรรค. เพราะฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงธรรมที่เป็นอุปการะแก่การ

ละนิวรณ์เหล่านั้น อย่างนั้น จึงได้ทรงปรารภคำมีอาทิไว้ว่า อารทฺธ โหติ

วิริย (วิริยะเป็นอันปรารภแล้ว). อีกอย่างหนึ่ง การละนิวรณ์มีอภิชฌาเป็นต้น

ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ก็คือวิริยะที่ได้ปรารภแล้วนี้นั่นเอง. เพราะเหตุที่แต่ไหน

แต่ไรมาแล้ว ผู้ชื่อว่าเกียจคร้านแล้ว เพราะปราศจากความเพียร ชื่อว่า มี

๑. แปลตามเชิงอรรถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 720

สติหลงลืมแล้ว เพราะไม่เข้าไปตั้งสติไว้ ชื่อว่า มีกายมีความกระวนกระวาย

เพราะว่าระงับความกระวนกระวายยังไม่ได้ ชื่อว่า มีจิตฟุ้งซ่าน เพราะว่ามี

จิตยังไม่ได้ตั้งมั่นแล้ว ไม่อาจจะยังธรรมเหล่านั้นให้เกิดขึ้นได้ จะป่วยกล่าว

ไปไย ถึงจะยังธรรมนอกจากนี้ให้เกิดขึ้นได้ ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงถึงวิธี

ที่การไปปราศ คือ การละอภิชฌาเป็นต้นนั้น จะสำเร็จแก่ผู้ปฏิบัติได้ จึงได้

ทรงปรารภคำมีอาทิไว้ว่า อารทฺธ โหติ วิริย (วิริยะเป็นอันได้ปรารภแล้ว).

คำนั้นมีเนื้อความว่า ความเพียรเป็นอันเธอปรารภแล้ว คือประคอง

ไว้แล้ว มีอธิบายว่า เป็นไปแล้วโดยไม่ย่อหย่อน เพื่อละนิวรณ์เหล่านั้นคือ

เพื่อประโยชน์แก่การตัดขาดสังกิเลสธรรมแม้ทั้งหมด. และความเพียร ชื่อว่า

เป็นอันไม่หลบหลีกแล้ว เพราะไม่ถึงความหดหู่ในระหว่าง เหตุที่ปรารภแล้ว

นั่นเอง. บทว่า อุปฏฺิตา สติ อปฺปมุฏฺา ความว่า ไม่ใช่เพียงความ

เพียรอย่างเดียวเท่านั้น (ที่ปรารภแล้ว) ถึงสติก็เป็นอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว เพราะ

ความมุ่งหน้าต่ออารมณ์ อนึ่งชื่อว่า ไม่หลงลืมแล้ว เพราะเข้าไปตั้งไว้แล้ว

นั่นเอง และเพราะความสามารถระลึกถึงเรื่องที่ทำ คำที่พูดไว้นานแล้วได้.

บทว่า ปสฺสทฺโธ ความว่า แม้กายของเธอก็เป็นอันสงบระงับแล้ว เพราะ

ระงับความกระวนกระวายกายและจิตได้. เพราะเหตุที่บรรดานามกายและรูป-

กายทั้ง ๒ อย่างนั้น เมื่อนามกายสงบแล้ว แม้รูปกายก็เป็นอันสงบไปด้วย

ทีเดียว ฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ปสฺสทฺโธ กาโย

(กายระงับ) โดยไม่ให้แปลกไปว่า นามกาโย รูปกาโย. บทว่า อสารทฺโธ

ความว่า และผู้นั้นชื่อว่า ไม่ระส่ำระสายแล้ว เพราะเป็นผู้สงบแล้วนั่นเอง.

มีอธิบายไว้ว่า เป็นผู้มีความกระวนกระวายปราศไปแล้ว. บทว่า สมาหิต

จิตฺต เอกคฺค ความว่า แม้จิตของเธอ เป็นเสมือนตั้งมั่นแล้วโดยชอบ คือ

เสมือนตั้งไว้แล้ว ด้วยดี ได้แก่ เป็นเสมือนแนบแน่นแล้ว และเพราะตั้งมั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 721

แล้วนั่นเอง จึงมีอารมณ์เลิศเป็นอันเดียว คือไม่หวั่นไหว ได้แก่ ไม่ดิ้นรน

หมายความว่า ไม่เอนเอียง. ด้วยคำเพียงเท่านี้ เป็นอันพระองค์ตรัสถึงปฏิปทา

อันเป็นเบื้องต้นแห่งฌานและมรรค. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ถึงกำลังเดินไป เราตถาคต

ก็กล่าวว่า เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ปรารภความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว

เป็นไปเนืองนิจติดต่อกันไป. เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์นั้น ได้กล่าวไว้ใน

หนหลังนั่นแล้ว.

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายต่อไป. บทว่า ยต จเร ความว่า

ภิกษุพึงเดินไปเพียรไป. อธิบายว่า แม้กำลังสำเร็จการเดินด้วยสามารถจงกรม

เป็นต้น คือ เพียรสืบต่อพยายามอยู่ ด้วยสามารถแห่งความเพียร คือ

สัมมัปปธานดังที่กล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุยังฉันทะให้เกิดขึ้นพยายามอยู่

เพื่อความไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด ควรสำเร็จการเดินไป

เป็นต้น โดยวิธีที่จะละอกุศลธรรมทั้งหลายได้ กุศลธรรมทั้งหลาย จะถึงความ

บริบูรณ์ด้วยภาวนา. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็มีนัยนี้.

ส่วนอาจารย์บางเหล่ากล่าวเนื้อความของบท ยต นี้ว่าได้แก่ สยโต

(สำรวมแล้ว). บทว่า ติฏฺเ ได้แก่ พึงเดินไป คือ พึงสำเร็จการเดิน.

บทว่า อจฺเฉ ได้แก่ พึงนั่ง. บทว่า สเย ได้แก่ พึงนอน. บทว่า ยตเมน

ปสารเย ความว่า ภิกษุเพียรคือหมั่นอยู่ ได้แก่ เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยความ

เพียรตามที่กล่าวมาแล้ว พึงเหยียดออกไปซึ่งมือและเท้าเป็นต้นนั่น ที่ควร

เหยียดออกไป. อธิบายว่า พึงละทิ้งความประมาทในที่ทุกสถาน.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงข้อปฏิบัติ ที่ภิกษุเมื่อปฏิบัติอยู่ ชื่อ ว่า เป็น

ผู้เพียร คือ หมั่นอยู่ จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า อุทฺธ. บรรดาบทเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 722

บทว่า อุทฺธ ได้แก่ เบื้องบน. บทว่า ติริย ได้แก่ ด้านขวาง. อธิบายว่า

ในทิศาภาครอบด้านด้วยสามารถแห่งทิศตะวันออกเป็นต้น. บทว่า อปาจิน

ได้แก่ ทิศเบื้องล่าง. บทว่า ยาวตา ชคตา คติ ความว่า

ความเป็นไปของสัตวโลก ที่จำแนกออกเป็นสัตว์และสังขารมีประมาณเท่าใด

ในความเป็นไปมีประมาณเท่านั้น อธิบายว่า ในที่ทุกแห่งหน. ด้วยคำมี

ประมาณเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงโดยทรงสงเคราะห์เอาอารมณ์

ของสัมมสนญาณเข้าไว้ โดยไม่มีเหลือ. บทว่า สมเวกฺขิตา ความว่า ได้

พิจารณาแล้วโดยชอบ คือ โดยเหตุ ได้แก่ โดยนัย. มีอธิบายว่า เป็นผู้

พิจารณาเห็นแจ้ง ด้วยอำนาจแห่งอนิจจลักษณะเป็นต้น. บทว่า ธมฺมาน

ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่สูญจากสัตว์. บทว่า ขนฺธาน ได้แก่ ขันธ์ ๕ มี

รูปเป็นต้น . บทว่า อุทยพฺพย ได้แก่ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไป.

มีคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุพึงเป็นผู้พิจารณาเห็น คือ พิจารณาเห็นเนือง ๆ

ซึ่งความเกิด โดยอาการ ๒๕ อย่าง และความเสื่อมสิ้นไป โดยอาการ ๒๕

อย่าง ด้วยอุทยัพพยญาณ ที่บรรลุได้ด้วยการพิจารณาความไม่เที่ยงเป็นต้น

แห่งรูปธรรมและอรูปธรรมทั้งมวล กล่าวคือ อุปทานขันธ์ทั้ง ๕ ที่แตกต่าง

กันโดยจำแนกออกเป็นอดีตเป็นต้น ในสัตวโลกแม้ทั้งหมดที่สงเคราะห์เป็น ๓

คือ เบื้องบน ด้านขวาง เบื้องล่าง.

บทว่า เจโตสมถสามีจึ ได้แก่ ญาณทัสสนวิสุทธิ ที่เป็นปฏิปทา

สมควรแก่อริยมรรค กล่าวคือ เจโตสมถะ เพราะสงบระงับสังกิเลสแห่งจิต

ได้สิ้นเชิง. บ่ทว่า สิกฺขมาน ได้แก่ ปฏิบัติอยู่ คือ เจริญอยู่ หมายความ

ว่า ยังญาณที่สูง ๆ ขึ้นไปให้เกิดขึ้น. บทว่า สทา ความว่า ตลอดกาลทุก

เมื่อ คือ ทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน. บทว่า สต ความว่า ผู้ทำสติ ด้วยสติที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 723

ประกอบด้วยสัมปชัญญะ ๔. บทว่า สตต ปหิตตฺโต ความว่า พระอริย-

เจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ตรัสแล้ว คือ ย่อมตรัส ได้แก่

ย่อมบอกซึ่งภิกษุอย่างนั้นว่า เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ตลอดกาลทุกเมื่อ คือ

เป็นผู้ส่งใจไปสู่นิพพาน. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสัมปันนสูตรที่ ๑๒

๑๓. โลกสูตร

ว่าด้วยตรัสรู้โลกพร้อมเหตุเกิดและความดับ

[๒๙๓] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-

สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตตรัสรู้โลกแล้ว พรากแล้ว

จากโลก ตรัสรู้เหตุเกิดโลกแล้ว ละเหตุเกิดโลกได้แล้ว ตรัสรู้ความดับแห่ง

โลกแล้ว ทำให้แจ้งความดับโลกแล้ว ตรัสรู้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่ง

โลกแล้ว เจริญปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สิ่งใดที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-

พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว

แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ เพราะสิ่งนั้นพระตถาคตตรัสรู้แล้ว ฉะนั้น

บัณฑิตจึงกล่าวว่าพระตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตย่อมตรัสรู้

อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส

นิพพานธาตุในราตรีใด ย่อมตรัสบอกแสดงซึ่งพุทธพจน์อันใดในระหว่างนี้

พุทธพจน์นั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นแลไม่เป็นไปอย่างอื่น ฉะนั้น บัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 724

จึงกล่าวว่าเป็นพระตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตตรัสอย่างใด ทำ

อย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น เพราะเหตุดังนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า

พระตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทรงครอบงำโลกพร้อมทั้งเทวโลก

มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

อันใคร ๆ ครอบงำไม่ได้ ทรงเห็นโดยถ่องแท้ ยังอำนาจให้เป็นไป เพราะ

เหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า พระตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

พระพุทธเจ้าทรงรู้โลกทั้งหมด ใน

โลกทั้งปวงด้วยพระปัญญาอันยิ่ง ตาม

ความเป็นจริง ทรงพรากแล้วจากโลก

ทั้งหมด ไม่มีผู้เปรียบในโลกทั้งปวง เป็น

นักปราชญ์ ทรงครอบงำมารทั้งหมด

สังขารทั้งหมด ทรงปลดเปลื้องกิเลสเครื่อง

ร้อยรัดได้ทั้งหมด ความสงบอย่างยวดยิ่ง

คือ นิพพาน ซึ่งไม่มีภัยแต่ไหน ๆ พระ-

พุทธเจ้าพระองค์นี้ทรงถูกต้องแล้ว พระ

พุทธเจ้าพระองค์นี้ทรงมีอาสวะสิ้นแล้ว

ไม่ทรงมีทุกข์ ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว

ทรงถึงความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งหมด ทรง

น้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่าเป็น

พระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 725

นั้น ชื่อว่าเป็นสีหะผู้ยอดเยี่ยม ทรงประกาศ

พรหมจักรแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก เพราะ

เหตุดังนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ถึง

พระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะย่อมมาประชุม

กันน้อมนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ผู้มีพระคุณใหญ่ ผู้ปราศจากความ-

ครั่นคร้าม บรรดาบุคคลผู้ฝึกหัดอยู่

พระพุทธเจ้าผู้ทรงฝึกแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ

สุด บรรดาบุคคลผู้สงบอยู่ พระพุทธเจ้า

ผู้แสวงหาคุณผู้สงบแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ

สุด บรรดาบุคคลผู้พ้นอยู่ พระพุทธเจ้า

ทรงพ้นแล้วเป็นผู้เลิศ บรรดาบุคคลผู้

ข้ามอยู่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงข้ามพ้นแล้ว

เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเหตุนั้นแล เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระพุทธ-

เจ้าพระองค์นี้ ผู้มีพระคุณใหญ่ ผู้ปราศจาก

ความครั่นคร้ามด้วยคิดว่า บุคคลผู้เปรียบ

ด้วยพระองค์ย่อมไม่มีในโลกพร้อมทั้ง

เทวโลก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.

จบโลกสูตรที่ ๑๓

จบจตุกนิบาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 726

อรรถกถาโลกสูตร

ในโลกสูตรที่ ๑๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ความหมายของโลก

บทว่า โลโก ความว่า ชื่อว่าโลก เพราะหมายความว่าย่อยยับไป

หักพังไป. โดยเนื้อความได้แก่อริยสัจ ๒ ข้อต้น แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ได้แก่

ทุกขอริยสัจ. โลกนี้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง ทั้งโดยจำแนกออกไป

และโดยสรุปว่า สัตวโลก สังขารโลก และโอกาสโลก.

อีกอย่างหนึ่ง โลกมีมากอย่าง ด้วยสามารถแห่งขันธโลกเป็นต้น.

ถามว่า โลกคืออะไร ? คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก

วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก ๑ คือ สัตว์ทั้งมวล

ดำรงอยู่ด้วยอาหาร โลก ๒ คือ นาม ๑ รูป ๑ โลก ๓ คือ เวทนา ๓ โลก

๔ คือ อาหาร ๔ โลก ๕ คือ อุปาทานขันธ์ ๕ โลก ๖ คือ อายตนะที่เป็นไป

ภายใน ๖ โลก ๗ คือ วิญญาณฐิติ ๗ โลก ๘ คือ โลกธรรม ๘ โลก ๙

คือ สัตตาวาส ๙ โลก ๑๐ คือ อายตนะ ๑๐ โลก ๑๒ คือ อายนะ ๑๒

โลก ๑๘ คือ ธาตุ ๑๘ โลกแม้จำแนกออกไปมากอย่าง ดังที่พรรณนามานี้

ย่อมถึงการสงเคราะห์ คือการรวมลงในอุปาทานขันธ์ ๕ เท่านั้น. และอุปา-

ทานขันธ์ก็เป็นทุกขอริยสัจ คือแม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ฯลฯ โดยย่นย่อ

แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็เป็นทุกข์ ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 727

เนื้อความได้แก่อริยสัจ ๒ อย่างข้างต้น แต่ในพระสูตรนี้ พึงทราบว่า ได้แก่

ทุกขอริยสัจ.

ถามว่า ก็ความหมายว่าย่อยยับไป หักพังไป ย่อมมีอยู่ในขันธ์ ๕ โดย

ไม่แปลกกัน ไม่ใช่หรือ ? ตอบว่า มีอยู่จริง แต่สิ่งใดที่ยึดถือไว้ว่า จะไม่

ย่อยยับไป สิ่งนั้นหาเป็นอย่างนั้นไม่ ย่อมย่อยยับหักพังไป โดยส่วนเดียวเท่านั้น

เพราะฉะนั้น สภาพนั้นจึงชื่อว่าโลก. โลกศัพท์ พึงทราบว่า กำหนดลงไป

แน่นอนแล้วในอุปาทานขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น . เพราะเหตุนั้น คำว่า โลก

จึงเป็นทุกขสัจเท่านั้น. แม้ผิว่า เนื้อความแห่งตถาคตศัพท์ ข้าพเจ้าได้จำแนก

ไว้แล้ว โดยนัยต่าง ๆ อย่างพิสดาร ในตถาคตสูตร ในเบื้องหลังไซร้ ถึง

อย่างนั้น ในที่นี้ก็จะมีการขยายความให้ชัด โดยมุขคือการพรรณนาเนื้อความ

ของพระบาลี ดังต่อไปนี้.

บทว่า อภิสมฺพุทฺโธ ความว่า ก่อนอื่นโดยไม่แปลกกัน ตามการ

จำเเนกที่ได้กล่าวไว้แล้ว แต่ตอนก่อนว่า อภิญฺเยฺยโต (โดยธรรมที่ควรรู้ยิ่ง)

ปริญฺเยฺยโต (โดยธรรมที่ควรกำหนดรู้) หรือโดยการจำแนกเป็นกุศลและ

อกุศลเป็นต้น ที่แยกออกเป็นอาสยกิเลส อนุสยกิเลส จริยาและอธิมุตติเป็นต้น

ก็หรือว่า โดยแปลกกันที่แยกเป็นประมาณแห่งวรรณะ (สี) และสัณฐาน

เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้คือทรงทราบ ได้แก่ทรงกระทำประโยชน์

ที่คนทั้งหลายพึงรู้โดยประการใด ๆ ให้ประจักษ์แก่พระองค์ โดยประการนั้นๆ

โดยชอบคือไม่ผิดพลาด ด้วยสยัมภูญาณที่ยิ่งยวด มีอาทิว่า ผู้นี้มีอาสยะยั่งยืน

(อัธยาศัยเป็นสัสตะ) ผู้นี้มีอาสยะขาดสูญ (อัธยาศัยเป็นอุจเฉทะ) และมีอาทิว่า

ปฐวีธาตุ มีลักษณะแข้นแข็ง อาโปธาตุ มีลักษณะไหลไป เพราะฉะนั้น จึง

ทรงพระนามว่า อภิสัมพุทธะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 728

บทว่า โลกสฺมา ความว่า จากโลกตามที่กล่าวแล้ว บทว่า วิสยุตฺโต

ความว่า ไม่เกี่ยวข้องแล้ว อธิบายว่า พ้นไปจากโลกนั้น เพราะตัดขาด

สังโยชน์ทั้งหมด ที่เนื่องด้วยโลกนั้นออกไปได้โดยชอบทีเดียว.

บทว่า โลกสมุทโย ได้แก่ตัณหา ตามสุตตันตนัย แต่ตามอภิธรรมนัย

ได้แก่กิเลส ๑,๕๐๐ พร้อมด้วยอภิสังขารทั้งหลาย. บทว่า ปหีโน ได้แก่

ทรงละกิเลสพร้อมทั้งวาสนาได้ ด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน ด้วยอรหัตมรรค-

ญาณที่โพธิมณฑล. บทว่า โลกนิโรโธ ได้แก่ พระนิพพาน บทว่า สจฺฉิกโต

ได้แก่ ทำให้ประจักษ์แก่พระองค์เอง. บทว่า โลกนิโรธคามินีปฏิปทา

ได้แก่อัษฎางคิกมรรค อันเป็นอริยะสงเคราะห์ลงในขันธ์ ๓ มีศีลขันธ์เป็นต้น.

เพราะว่า ทางนั้นไปถึงคือบรรลุถึงพระนิพพานอันเป็นที่ดับโลก หรืออัน

พระอริยเจ้าทั้งหลายดำเนินไปเพื่อพระนิพพานนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า

โลกนิโรธคามินีปฏิปทา (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับโลก).

ด้วยคำเพียงเท่านี้ เป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเนื้อความ

นี้ว่า ชื่อว่าตถาคต เพราะตรัสรู้ยิ่ง คือถึงตามความเป็นจริง ซึ่งสิ่งที่แท้จริง

อธิบายว่า อริยสัจ ๔ ชื่อว่า ตถา (สิ่งที่แท้จริง). ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่แท้จริง ไม่ผิดพลาด ไม่เป็นอย่างอื่น

เหล่านี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่างคืออะไร ? คือ ภิกษุทั้งหลาย คำว่า นี้ทุกข์

นั่นเป็นสิ่งที่แท้จริง นั่นเป็นสิ่งที่ไม่ผิดพลาด นั่นเป็นสิ่งที่ไม่เป็นอย่างอื่น.

พึงทราบความพิสดารต่อไป.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปเพื่อสิ่งที่แท้จริง ชื่อว่า

ตถาคต เพราะทรงถึงสิ่งที่แท้จริง. อนึ่ง บทว่า คโต ได้แก่ทรงบรรลุแล้ว

คือทรงผ่านมาแล้ว หมายความว่า ทรงถึงแล้ว อธิบายว่า ทรงปฏิบัติแล้ว.

มีคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึง คือบรรลุแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 729

ซึ่งสากลโลก ด้วยติรณปริญญา ที่เป็นความจริง ไม่ผิดพลาด ฉะนั้น พระองค์

จึงทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะพระตถาคตตรัสรู้โลกแล้ว. ทรงพระนามว่า

ตถาคต เพราะเสด็จถึง คือ เสด็จผ่านโลกสมุทัย (เหตุเกิดโลก) มาแล้วด้วย

ปหานปริญญา ที่เป็นความจริง ไม่ผิดพลาด ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ

เสด็จถึงคือทรงลุถึงโลกนิโรธ (เหตุดับโลก) ด้วยการทำให้แจ้ง ที่เป็นความจริง

และทรงพระนามว่าตถาคต เพราะทรงถึงคือทรงปฏิบัติ ข้อปฏิบัติให้ถึงความ

ดับโลก ที่แท้จริงไม่ผิดพลาด. ผู้ศึกษาพึงทราบเนื้อความแห่งพระบาลีนี้

ด้วยอำนาจการแสดงถึงความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นพระตถาคต ด้วย

ประการอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความที่พระองค์เป็นพระตถา-

คต ด้วยอำนาจแห่งการตรัสรู้อริยสัจ ๔ ด้วยประการดังนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะ

ทรงแสดงถึงความที่พระองค์เป็นพระตถาคตนั้น แม้ด้วยอำนาจแห่งการตรัสรู้

ธรรมที่พระองค์ทรงเห็นแล้วเป็นต้น ในสัจจะ ๔ เหล่านั้น จึงได้ตรัสคำมีอาทิ

ไว้ว่า ย ภิกฺขเว. แต่ในอรรถกถาอังคุตตรนิกายท่านกล่าวคำมีอาทิไว้ว่า ครั้น

ตรัสความที่พระองค์เป็นพุทธเพราะสัจจะทั้ง ๔ แล้วดังนี้ คำนั้น ท่านกล่าวไว้

เพื่อแสดงว่า ศัพท์ว่า ตถาคต และศัพท์ว่า พุทธ โดยเนื้อความแล้วไม่มีเหตุ

แตกต่างกันเลย อนึ่ง ความจริงพระบาลีก็เป็นไปแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺ ได้แก่ อายตนะคือรูป. บทว่า

สุต ได้แก่ อายตนะคือเสียง. บทว่า มุต ได้แก่อายตนะคือกลิ่น อายตนะ

คือรส และอายตนะคือโผฏฐัพพะ เพราะจะต้องประจวบเข้า จึงจะรับ

เอาได้. บทว่า วิญฺญฺาต ได้แก่ ธรรมารมณ์ มีสุขทุกข์เป็นต้น. บทว่า

ปตฺต ได้แก่ ที่มาประจวบเข้าโดยได้แสวงหาหรือไม่ได้แสวงหาก็ตาม. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 730

ปริเยสิต ได้แก่แสวงหาอารมณ์ที่มาประจวบเข้าบ้าง ที่ไม่มาประจวบเข้าบ้าง.

บทว่า อนุวิจรต มนสา ได้แก่ อารมณ์ที่ทรงใคร่ครวญด้วยใจ. ควรจะ

เชื่อมความว่า ถามว่า ใคร่ครวญด้วยใจของใคร ? ตอบว่า ด้วยใจของสัตวโลก

พร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สเทวกสฺส โลกสฺส ต่อไป. สัตวโลก

พร้อมด้วยเทวโลกทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สเทวโลกะ. แห่งสัตวโลก

พร้อมทั้งเทวโลกนั้น. แม้ในบทที่เหลือ ก็มีนัยนั้นเหมือนกัน. ก็ด้วยคำว่า

สเทวกะ ในพระสูตรนี้ พึงทราบถึงการทรงถือเอาเทวดาชั้นกามาพจร ๕ ชั้น.

ด้วยคำว่า สมารกะ พึงทราบถึงการทรงถือเอาเทวดาชั้นกามาพจรชั้นที่ ๖.

ด้วยคำว่า สพรหมกะ พึงทราบถึงการทรงหมายเอาชั้นพรหมมีพรหมกายิกะ

เป็นต้น. ด้วยคำว่า สสฺสมณพฺราหฺมณี พึงทราบถึงการทรงถือเอาสมณ-

พราหมณ์ ผู้เป็นข้าศึกต่อพระศาสนา และการทรงถือเอาสมณพราหมณ์ผู้ระงับ

บาป และลอยบาปได้แล้ว. ด้วยคำว่า ปชา พึงทราบถึงการทรงถือเอาสัตวโลก.

ด้วยคำว่า สเทวมนุสฺส พึงทราบถึงการทรงถือเอาสมมติเทพ และมนุษย์

ที่เหลือ เมื่อเป็นเช่นนี้ สัตวโลกพร้อมด้วยเทวดามารและพรหม ในพระสูตรนี้

พึงทราบว่าทรงถือเอาแล้วด้วยบททั้ง ๓ สัตวโลกเท่านั้น พึงทราบว่าทรงถือเอา

แล้วด้วยบททั้งสอง ด้วยอำนาจประชาสัตว์. อีกนัยหนึ่งเทวโลกชั้นอรูปาพจร

พระองค์ถือเอาแล้วด้วยศัพท์ว่า สเทวกะ. เทวโลกชั้นฉกามาวจร ด้วยคำว่า

สมารกะ. พรหมโลกชั้นที่มีรูป ด้วยคำว่า สพรหมกะ. สัตวโลกที่เหลือ

พร้อมด้วยสมมติเทพทั้งหลาย ทรงถือเอาแล้วด้วยคำว่า สัสสมณพราหมณ-

ศัพท์เป็นต้น.

ก็อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงมีสัตวโลกทั้งหมด

เป็นอารมณ์ ได้ทรงประกาศความเป็นผู้ได้ตรัสรู้แล้ว โดยการกำหนดอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 731

อุกฤษฏ์ ด้วยคำว่าสเทวะในพระสูตรนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ชนเหล่าใดจะพึงมี

ความเข้าใจผิดว่า ขึ้นชื่อว่ามาร ชื่อวสวัตดีมีอานุภาพมาก เป็นใหญ่ในสวรรค์

ชั้นฉกามาพจรมีอยู่. แต่พระพรหมมีอานุภาพมากแม้กว่ามารนั้นใช้นิ้วทั้ง ๑๐

ส่องแสงสว่างไปในหมื่นจักรวาล เสวยสุขอันเกิดจากฌานสมาบัติชั้นสูงมีอยู่.

และสมณพราหมณ์จำนวนมากผู้มีฤทธิ์ มีทิพยจักษุ รู้จิตใจของผู้อื่นมีอานุภาพ

มาก ยังมีอยู่ ทั้งหมู่สัตว์นี้ ที่ไม่มีที่สิ้นสุด หาประมาณมิได้ก็ยังมี อารมณ์

ของสัตว์เหล่านี้ทั้งหมดนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงรู้แล้ว โดย

ไม่มีเหลือเทียวหรือ ? พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงขจัดความเข้าใจผิด

ของชนเหล่านั้น จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า สเทวกสฺส โลกสฺส. ส่วนโบรา-

ณาจารย์ ได้กล่าวไว้ว่า บทว่า สเทวกสฺส คลุมถึงสัตวโลกไม่มีเหลือ

พร้อมด้วยเทวดาทั้งหลาย บทว่า สมารกสฺส คลุมถึงสัตวโลกไม่มีเหลือ

พร้อมด้วยมาร บทว่า สพฺรหฺมกสฺส คลุมถึงสัตวโลกไม่มีเหลือพร้อมด้วย

พรหมทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงใส่สัตว์แม้ทั้งหมดผู้เข้าถึง

ภพทั้ง ๓ ลงใน ๓ บทอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงใช้ ๒ บทคลุมอีก จึงได้ตรัสไว้ว่า

สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย สเทวมนุสฺสาย (อันหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์). พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครอบ-

คลุมสัตว์ทั้งหมด ที่กำหนดด้วยขันธ์ทั้ง ๓ ไว้ ด้วยทั้ง ๕ บทอย่างนี้.

ด้วยบทว่า ยสฺมา ต ตถาคเตน อภิสมฺพุทฺธ (เพราะเหตุที่

อารมณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสรู้แล้ว) พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงแสดงคำนี้ไว้ คือ รูปารมณ์อันใด มีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้น มาสู่คลอง

ในจักขุทวารของสัตว์โลกพร้อมทั้งเทวโลก ในโลกธาตุที่หาประมาณมิได้

รูปารมณ์นั้นทั้งหมด พระตถาคตเจ้าได้ทรงรู้แล้วอย่างนี้ว่า สัตว์นี้เห็น

รูปารมณ์นี้ในขณะนี้แล้ว ดีใจหรือเสียใจ หรือเกิดมีใจเป็นกลาง. สัททารมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 732

มีเสียงกลอง เสียงตะโพนเป็นต้น อันใด ก็เช่นนั้นมาสู่คลองในโสตทวาร

ของสัตวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ในโลกธาตุที่หาประมาณมิได้ คันธารมณ์มีกลิ่น

เกิดแต่รากเหง้า และเปลือกเป็นต้น (อันใด) มาสู่คลองในมานทวาร...

รสารมณ์มีรสเกิดแต่รากเหง้า และรสเกิดแต่ลำต้นเป็นต้น (อันใด) มาสู่คลอง

ในชิวหาทวาร...โผฏฐัพพารมณ์แยกออกเป็นปฐวีธาตุ เตโชธาตุและวาโยธาตุ

มีแข็งและอ่อนเป็นต้น (อันใด) มาสู่คลองในกายทวาร (ของสัตวโลกพร้อมทั้ง

เทวโลกในโลกธาตุที่หาประมาณมิได้) พระตถาคตเจ้าได้ทรงทราบโผฏฐัพ-

พารมณ์อันนั้นทั้งหมดอย่างนี้ว่า สัตว์นี้ ถูกต้องโผฏฐัพพะชื่อนี้ในขณะนี้แล้ว

เป็นผู้ดีใจหรือเสียใจ หรือเกิดมีใจเป็นกลาง. ธรรมารมณ์ที่แยกออกเป็นสุข

เป็นต้น (อันใด) ก็เช่นนั้นมาสู่คลอง ในมโนทวารของสัตวโลก พร้อมทั้ง

เทวโลกนี้ ในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ ธรรมารมณ์นั้นทั้งหมด พระตถา-

คตเจ้า ได้ตรัสรู้แล้วอย่างนี้ว่า สัตว์นี้รู้ธรรมารมณ์ชื่อนี้ ในขณะนี้แล้ว

เป็นผู้ดีใจหรือเสียใจ หรือเกิดมีใจเป็นกลาง. เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่สัตวโลก

พร้อมทั้งเทวโลกนี้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบแล้ว ได้รู้แล้ว พระตถาคตเจ้า

จะไม่ทรงเห็น ไม่ทรงได้ยิน ไม่ทรงทราบหรือไม่ทรงรู้ ย่อมไม่มี. แต่รูป

เป็นต้น ที่มหาชนนี้แสวงหาแล้ว แต่ไม่ได้ประสบมีอยู่บ้าง ที่ไม่ได้แสวงหา

ก็ไม่ประสบมีอยู่บ้าง ที่แสวงหาแล้ว ได้ประสบมีอยู่บ้าง ที่ไม่ได้แสวงหา

แต่ได้ประสบมีอยู่บ้าง. รูปเป็นต้น แม้ทั้งหมดที่ชื่อว่าพระตถาคตเจ้าไม่ทรง

ประสบแล้ว คือไม่ทรงทำให้แจ้งด้วยญาณแล้ว ย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ

ขึ้นชื่อว่า รูปารมณ์อันใด ที่มาสู่คลองในจักษุทวาร ของสัตว์ทั้งหลาย หา-

ประมาณมิได้ ในโลกธาตุทั้งหลายหาประมาณมิได้ มีอยู่ รูปารมณ์นั้นพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ทรงเห็นโดยอาการสิ้นเชิง. ก็รูปารมณ์นั้นอันพระผู้มี-

พระภาคเจ้า นี้ ผู้ทรงรู้ทรงเห็นอยู่อย่างนี้ เมื่อทรงจำแนกออกไป ตามชื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 733

มากมาย ตามวาระ ๑๓ วาระ ตามนัย ๕๒ นัย โดยนัยมีอาทิว่า รูปคืออะไร ?

คือรูปายตนะซึ่งได้แก่รูปที่อาศัยมหาภูตรูปทั้ง ๔ แสดงออกเป็นสีแสง มีสีเขียว

สีเหลือง (เป็นต้น ) มีการกระทบได้ ดังนี้ ด้วยสามารถอิฏฐารมณ์และอนิฏ-

ฐารมณ์เป็นต้น หรือด้วยสามารถแห่งบทที่ได้อยู่ ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน

กลิ่น รส และโผฏฐัพพะที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แล้ว ก็เป็นอย่างนั้น

นั่นเอง ไม่มีผิดไปจากนั้น. ในเสียงเป็นต้น ที่มาสู่คลอง แม้ในโสตทวาร

เป็นต้น ก็มีนัยนี้.

บทว่า ตสฺมา ตถาคโตติ วุจฺจติ ความว่า พระพุทธเจ้า

บัณฑิตเรียกว่า ตถาคต เพราะสิ่งที่ชาวโลกกล่าวแล้วโดยประการใด ก็ตรัส

แล้วโดยประการนั้นเหมือนกัน. ส่วนคำใดที่ตรัสไว้ในพระบาลีว่า อภิสมฺพุทฺธ

(ตรัสรู้แล้ว) คำนั้นมีความหมายเท่ากับตถาคตศัพท์. ด้วยคำว่า ตถาคโต นี้

เป็นอันทรงแสดงเนื้อความนี้ไว้ว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะความเป็นผู้ทรงแสดง

อย่างนั้นเป็นปกติ. สมจริงตามที่ท่านพระธรรมเสนาบดี (สารีบุตร) ได้กล่าว

ไว้แล้วว่า

ไม่มีอะไรในโลกนี้ ที่พระตถาคต-

เจ้าพระองค์นั้นไม่ทรงเห็น และที่ควรรู้

แต่ไม่ทรงรู้ พระองค์ทรงรู้ยิ่งทุกสิ่งที่ควร

แนะนำ เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรง

เป็นผู้มีพระจักษุรอบด้าน (สมันตจักขุ).

ถึงในพระสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราตถาคตรู้สิ่งที่ชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ พร้อมทั้งเทวดา

และมนุษย์ ได้เห็น ได้ยิน ได้ทราบได้รู้ ได้ประสบ ได้แสวงหา ได้ใคร่ครวญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 734

แล้วด้วยใจ เราตถาคต ได้รู้สิ่งนั้นแล้ว ตถาคตได้ทราบสิ่งนั้นแล้ว สิ่งนั้น

ได้ปรากฏแก่ตถาคตแล้ว.

บทว่า ยญฺจ ภิกฺขเว รตฺตึ ตถาคโต อนุตฺตร สมฺมาสมฺโพธึ

อภิสมฺพุชฺฌติ (ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเจ้า ได้ตรัสรู้ อนุตร-

สัมมาสัมโพธิญาณ ในราตรีใด) ความว่า ก็ในราตรีที่มีพระจันทร์เพ็ญใน

วิสาขมาสใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะหมาย-

ความว่า เสด็จมาแล้วอย่างนั้นเป็นต้น ประทับนั่งบนบัลลังก์ที่ไม่มีใครพิชิตได้

ที่ดวงโพธิ์ ทรงทำลายศีรษะของมารทั้ง ๓ แล้ว ทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ

อันยอดเยี่ยม เพราะไม่มีญาณอื่นยิ่งกว่า คือ พระสัพพัญญุตญาณพร้อมด้วย

อาสวักขยญาณ. บทว่า ยญฺจ รตฺตึ อนุปาทิเสสาย นิพฺพานธาตุยา

ปรินิพฺพายติ (และในราตรีใด ทรงปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน-

ธาตุ) ความว่า ก็ในราตรีที่มีพระจันทร์เพ็ญในวิสาขมาสใดนั่นแหละ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในระหว่าง

นางรังทั้งคู่ ที่สาลวโนทยานอันเป็นสถานที่พักผ่อนของชาวมัลละ ในเมือง

กุสินารา. บทว่า ย เอตสฺมึ อนฺตเร ความว่า ในท่ามกลางระหว่าง

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุทั้ง ๒ อย่างนี้ คือใน

ปฐมโพธิกาลบ้าง ในมัชฌิมโพธิกาลบ้าง ในปัจฉิมโพธิกาลบ้าง ในระยะกาล

ประมาณ ๔๕ ปี พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระธรรมไว้ แยกประเภท

เป็นสุตตะ และเคยยะเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งการทรงชี้แจง คือ ตรัสบอก

ด้วยอำนาจแห่งการทรงยกขึ้นแสดง ทรงแสดงไขด้วยสามารถแห่งการทรง-

จำแนกออกไป. บทว่า สพฺพ ต ตเถว โหติ (พระพุทธพจน์นั้นทั้งหมด

ย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นเอง) ความว่า พระพุทธพจน์ทั้งหมด คือ ที่มีองค์ ๙

มีสุตตะและเคยยะเป็นต้นนั้น คือ ที่ทรงแสดงแล้วในระหว่างนี้ โดยอรรถและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 735

โดยพยัญชนะแล้ว ไม่มีที่น่าตำหนิ ไม่บกพร่อง ไม่เกิน บริบูรณ์โดยอาการ

ทุกอย่าง สร่างจากเมา คือ ราคะ ฯลฯ สร่างจากเมา คือ โมหะ ไม่มีข้อ

พลั้งพลาด แม้เพียงเท่าปลายขนทรายในพระพุทธพจน์นั้น เป็นอย่างนั้น

เท่านั้น เหมือนสิ่งที่ประทับด้วยดวงตราดวงเดียวกัน เหมือนสิ่งที่ตวงด้วย

ทะนานเดียวกัน และเหมือนสิ่งที่ชั่งด้วยเครื่องชั่งอย่างเดียวกัน ไม่เป็นอย่างอื่น

เพราะตรัสสอนเพื่อประโยชน์น์แก่ผู้ใดก็ยังประโยชน์ให้สำเร็จแก่ผู้นั้น โดยส่วน-

เดียวนั่นเอง เพราะฉะนั้น พระพุทธพจน์นั้น จึงเป็นของแท้ ไม่แปรผัน

ไม่เป็นอย่างอื่น. ด้วยคำว่า ท่านแสดงว่า ชื่อว่าตถาคต เพราะเป็นผู้มีปกติ

ตรัสอย่างนั้น. คตศัพท์ นี้ มีความหมายเท่าคทะ เพราะแปลง ท อักษรเป็น

ต อักษร. เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสอย่างนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง การกล่าว ชื่อว่า อาคโท. ความหมายว่า การตรัส. การตรัส

อย่างนั้น คือ ไม่ผิดพลาด มีอยู่แก่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เหตุนั้นพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะแปลงอักษร ท. เป็นอักษร ต.

ผู้ศึกษาควรทราบบทสำเร็จรูป ในคำว่า ตถาคต นี้ ตามที่พรรณนามานี้เถิด.

บทว่า ยถาวาที ตถาการี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อ

ทรงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ตรัสธรรมเหล่าใดว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล

มีโทษ วิญญูชนตำหนิ ที่บุคคลสมาทานครบถ้วนแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อสิ่งที่

ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข พระองค์ทรงละธรรมเหล่านั้นได้เอง

โดยส่วนเดียวนั่นแหละ. ส่วนธรรมเหล่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ไม่มีโทษ วิญญูชนสรรเสริญ ที่บุคคลสมาทานครบ

ถ้วนแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ธรรมเหล่านั้น

พระองค์ทรงเข้าถึงด้วยพระองค์เองอยู่แล้ว โดยส่วนเดียว. เพราะเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 736

พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงทราบว่า ตรัสอย่างใดก็ทรงทำได้อย่างนั้น. บทว่า

ยถาการี ตถาวาที ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปฏิบัติชอบแล้ว

ด้วยสามารถแห่งการยังศีลเป็นต้นให้บริบูรณ์ ชื่อว่า ทรงทำอย่างใดด้วยพระ

องค์เอง ก็ตรัสอย่างนั้น ด้วยสามารถแห่งการยังผู้อื่น ให้ดำรงอยู่ในธรรมมี

ศีลเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยพระธรรมเทศนา. อธิบายว่า พระวรกายของ พระ

ผู้มีพระภาคเจ้า อนุโลมตามพระวาจา แม้พระวาจาก็ทรงอนุโลมตามพระกาย.

เพราะเหตุนั้นพระองค์ จึงชื่อว่า เป็นผู้ตรัสอย่างใด ก็ทรงทำอย่างนั้น และ

ทรงทำอย่างใด ก็ตรัสอย่างนั้น. อนึ่ง อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงเป็นอย่างนั้น มีพระวาจาอย่างใด แม้พระกายก็ไปแล้ว คือ เป็นไป

แล้ว อย่างนั้น และพระกายของพระองค์เป็นไปแล้ว (ทรงทำ) อย่างใด แม้

พระวาจาก็ไปแล้ว คือเป็นไปแล้วอย่างนั้น.

บทว่า อภิภู อนภิภูโต ความว่า เบื้องบนจรดภวัคคพรหม เบื้อง

ล่างจรดอเวจีนรก เป็นที่สุด ด้านขวางในโลกธาตุหาประมาณมิได้ พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงครอบงำสัตว์ทั้งมวล ด้วยศีลบ้าง ด้วยสมาธิบ้าง ด้วย

ปัญญาบ้าง ด้วยวิมุตติบ้าง ด้วยวิมุตติญาณทัสนะบ้าง พระองค์ไม่มีใครชั่ง

ไม่มีประมาณ ไม่มีผู้เสมอ ไม่มีผู้สม่ำเสมอ ไม่มีผู้เสมอเหมือน ไม่มีผู้เทียม

ไม่มีบุคคลเทียม ไม่มีผู้เท่า ไม่มีผู้เปรียบเทียบ ทรงเป็นพระราชาไม่มีผู้ยิ่ง

กว่า ทรงเป็นเทพเหนือเทพ ทรงเป็นท้าวสักกะเหนือท้าวสักกะ ทรงเป็นพระ

พรหมเหนือพระพรหม เพราะเหตุนั้นนั่นเอง จึงไม่มีใครครอบงำพระองค์

ได้ เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า อนภิภูโต (ไม่มีผู้ครอบงำได้.

ศัพท์ว่า อญฺทตฺถุ เป็นนิบาต. ใช้ในความหมายว่า โดยส่วนเดียว. อธิบายว่า

สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ชื่อว่า เนยยะ (ควรแนะนำ ควรรู้) สิ่งนั้นทั้งหมด จะเห็นได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 737

เหมือนผลมะขามป้อมในอุ้งมือ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทสะ (ผู้ทรงเห็น).

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระหามว่า วสวัตดี เพราะทรงให้สัตว์ทั้งหลาย

เป็นไปในอำนาจ ด้วยการทรงทราบอาสยะเป็นต้น (ของเขา) ไม่มีผิดพลาด

และด้วยการทรงนำเขาให้เข้าไปหาประโยชน์เกื้อกูล ทรงให้สังขารทั้งหลายเป็น

ไปในอำนาจ ด้วยสามารถแห่งการนำไปสู่ความเป็นอย่างอื่นตามภาวะ (ทรง-

บังคับพระกายได้) ทรงยังสมาบัติและจิตให้เป็นไปในอำนาจ เพราะทรง

ประพฤติมาจนชำนาญ โดยอาการทุกอย่าง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ชื่อว่า ทรงแสดงความที่พระองค์ทรงเป็นพระตถาคต เพราะความ

หมายว่าทรงครอบงำ. (สัตว์).

ในข้อนั้น พึงทราบบทสำเร็จรูป ดังต่อไปนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้ทรงเป็นเสมือนมียาขนานวิเศษ จึงทรงพระนามว่า อคทะ ก็ยาขนานวิเศษ

นั้น ได้แก่อะไร ? ได้แก่ ความงามแห่งพระธรรมเทศนา และความหนาแน่น

แห่งบุญ. อธิบายว่า ด้วยเหตุนั้นนั่นเอง พระผู้มีพระภาคเจ้า นั่นจึงทรง

มีพุทธานุภาพมาก ทรงครอบงำผู้ใส่ร้ายทุกคนและสัตวโลกพร้อมทั้งเทวโลก

ได้เหมือนหมองู ปราบงูด้วยยาทิพย์ ฉะนั้น. ยาขนานวิเศษ คือ ความงาม

แห่งพระธรรมเทศนาและความหมายแน่นแห่งบุญ ที่เป็นยาขนานที่แท้ คือไม่

ปลอม ในการทรงครอบงำ (รักษา) สัตวโลกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมี

อยู่ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น พึงทราบว่า ทรงพระนามว่า

ตถาคต โดยแปลงอักษร ท. ให้เป็นอักษร ต. ด้วยประการดังนี้. ด้วยเหตุ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคต

ครอบงำสัตวโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ ยังอำนาจให้เป็นไป เพราะเหตุนั้น

บัณฑิตจึงเรียกว่า พระตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 738

พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายต่อไป. บทว่า โลก อภิญฺาย

ความว่า ทรงรู้ขันธ์เป็นที่อยู่อาศัยในโลกธาตุทั้ง ๓. บทว่า สพฺพโลเก

ยถาตถ ความว่า ทรงรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่ควรรู้ ในขันธ์เป็นที่อยู่อาศัยในโลก

ธาตุทั้ง ๓ นั้น ตามที่เป็นจริงคือไม่ผิด. บทว่า สพฺพโลกวิสยุตฺโต

ความว่า ทรงพรากไปคือ ทรงพ้นไปแล้วจากโลกแม้ทั้งหมด ด้วยการทรงละ

โยคะ ๔ อย่างโดยไม่มีเหลือ. บทว่า อนูสโย ความว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ชื่อว่า ไม่ทรงมีอุสยกิเลส (กิเลสที่หนาแน่น) โดยอุสยกิเลส คือ

ตัณหา และทิฏฐิ คือทรงละเว้นจากอุสยกิเลสเหล่านั้น ในโลกแม้ทั้งหมด.

บทว่า สพฺพาภิภู ความว่า ผู้ทรงครอบงำอารมณ์ทั้งหมด มีรูปเป็นต้น คือ

สังขารทั้งหมด ได้แก่ มารแม้ทั้งหมดแล้วดำรงอยู่. บทว่า ธีโร ได้แก่

ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา เครื่องทรงจำ. บทว่า สพฺพคณฺปฺปโมจโน ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปลื้องกิเลสมีกายคันถะ คือ อภิชฌาเป็นต้น

ทั้งหมดเสด็จดำรงอยู่แล้ว ชื่อว่า ทรงเปลื้องกิเลส คือ คันถะทั้งหมดออกไปได้

เพราะทรงเปลื้องกิเลสเหล่านั้นออกจากสันดานของเวไนยสัตว์ ด้วยพระธรรม

เทศนาที่ไพเราะของพระองค์. บทว่า ผุฏฺสฺส ตัดบทเป็น ผุฏฺา อสฺส

(แปลว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ทรงสัมผัสแล้ว). คำว่า อสฺส

นี้เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในความหมายของตติยาวิภัตติ. ความหมายว่า อันพระ

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นี้ ทรงสัมผัสแล้ว. บทว่า ปรมา สนฺติ (ความ-

สงบอันยอดยิ่ง) ได้แก่ พระนิพพาน. เพราะว่า พระนิพพานนั้น อันพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสัมผัสแล้ว ด้วยการสัมผัสด้วยญาณนั้น. ด้วยเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสไว้ว่า พระนิพพาน จะมีภัยมาจากไหน.

อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า ปรมา สนฺติ ได้แก่ความสงบอย่างยอดเยี่ยม.

ถามว่า ความสงบอย่างยอดเยี่ยมนั้น คืออะไร ? ตอบว่า คือพระนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 739

ก็เพราะเหตุที่ในพระนิพพาน จะมีภัยมาแต่ไหน ฉะนั้น พระนิพพานนั้น

พระองค์จึงตรัสว่า จะมีภัยมาแต่ไหน. บทว่า อนิโฆ ได้แก่ ทรงไม่มีทุกข์.

บทว่า สพฺพโลกวิสยุตฺโต ความว่า ทรงถึงความสิ้นไป คือ ความสิ้นสุด

ได้แก่ ความไม่มีโดยส่วนเดียว แห่งกรรมทั้งมวล. บทว่า วิมุตฺโตอุปธิสขเย

ความว่า ทรงหลุดพ้นแล้ว ควยผลวิมุตติ ที่มีพระนิพพานนั้นเป็นอารมณ์ใน

พระนิพพาน กล่าวคือ ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ. บทว่า เอส โส เท่ากับ

เอโส โส (แปลว่า นั้นนั่น). บทว่า สีโห อนุตฺตโร ความว่า พระ

ตถาคตเจ้า ทรงพระนามว่า เป็นยอดสีหะ เพราะความหมายว่า ทรงอด

กลั้นอันตรายทั้งหลายได้ และเพราะความหมายว่า ทรงฆ่ากิเลสได้. บทว่า

พฺรหฺม ความว่า ประเสริฐสุด. บทว่า จกฺก ได้แก่ พระธรรมจักร.

บทว่า ปวตฺตติ ความว่า ทรงหมุน (แสดง) พระธรรมจักรให้ได้ ๓ รอบ

มีอาการ ๑๒. บทว่า อิติ ความว่า ทราบพระคุณของพระตถาคตอย่างนี้

แล้ว. บทว่า สงฺคมฺม ได้แก่ มาชุมนุมกัน. บทว่า ต นมสฺสนฺติ

ความว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น ผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

พากันนมัสการพระตถาคตเจ้า พระองค์นั้น ผู้ชื่อว่า มีพระคุณใหญ่

เพราะทรงประกอบด้วยคุณความดี มีศีลเป็นต้นมากมาย ผู้ชื่อว่า ทรงปราศ

จากความครั่นคร้าม เพราะทรงประกอบด้วยพระธรรมที่ทำให้ทรงแกล้วกล้า

๔ อย่าง.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้มีเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้น พากันเอ่ยถึงพลาง นมัสการไปพลาง จึงได้ตรัสคำมี

อาทิไว้ว่า ทนฺโต. คำนั้นมีเนื้อความง่ายอยู่แล้วแล.

จบอรรถกถาโลกสูตรที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 740

ในจตุกนิบาตนี้ พึงเข้าใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวัฏฏะไว้ใน

สูตรที่ ๖ และที่ ๗ ได้ตรัสวิวัฏฏะไว้ในสูตรที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๑ ที่ ๑๒ และ

ที่ ๑๓. ได้ตรัสทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะไว้ในสูตรที่เหลือ ด้วยประการดังนี้.

จบอรรถกถาจตุกนิบาต อิติวุตตกะ อรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อ

ปรมัตถทีปนี ด้วยประการดังนี้แล.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. พราหมณสูตร ๒. จัตตาริสูตร ๓. ชานสูตร ๔. สมณสูตร

๕. ศีลสูตร ๖. ตัณหาสูตร ๗. พรหมสูตร ๘. พหุการสูตร ๙. กุหนา-

สูตร ๑๐. ปุริสสูตร ๑๑. จรสูตร ๑๒. สัมปันนสูตร ๑๓. โลกสูตร และ

อรรถกถา.

จบอิติวุตตกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 741

อวสานกา

ก็ด้วยกถามรรคเพียงเท่านี้

พระอริยเจ้าผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่

ทั้งหลาย ผู้เชี่ยวชาญในอภิญญา ๖ ประการ

ผู้แตกฉานในปฏิสัมภิทา ผู้รับธุระพระ-

ศาสนา ร้อยกรองพระธรรมวินัยไว้ใน

ปางก่อน ได้รวบรวมพระสูตร ๑๑๒ สูตร

ไว้ ที่พระมเหสี สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรง

เป็นธรรมิสราธิบดีในแผ่นดิน ทรงเห็นแจ้ง

ทั้งธรรมทั้งโลก ผู้ทรงทราบวิธีแสดงธรรม

แก่เหล่าสัตว์ ผู้ควรจะรู้พระธรรมทั้งหลาย

ผู้ทรงแสวงหาประโยชน์นี้เกื้อกูลแก่สัตวโลก

ทั้งมวล ทรงอาศัยเหตุนั้น ๆ แล้วทรง

แสดงไว้ โดยแยกออกไปเป็นเอกกนิบาต

เป็นต้น ตามประเภทธรรมที่กล่าวไว้ว่า

อิติวุตตกะนั้นใด เพื่อจะประกาศเนื้อความ

แห่งอิติวุตตกะนั้น การสังวรรณนา

เนื้อความอันใด ที่ข้าพเจ้า (พระธรรม

ปาลาจารย์) ได้ปรารภดีแล้ว โดยได้อาศัย

นัยแห่งอรรถกถาเก่า. การสังวรรณนา

อันนั้น โดยชื่อแล้ว ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้าที่ 742

เป็นเครื่องประกาศปรมัตถธรรม ในพระ-

สูตรทั้งหลาย ในอิติวุตตกะนั้นตามสมควร

ไม่มีการวินิจฉัยค้างไว้ ถึงความสำเร็จ

เสร็จสินลงไปแล้ว โดยภาณวารแห่ง

พระบาลี ประมาณ ๓๘ ภาณวาร.

ด้วยเหตุดังนี้ ด้วยอานุภาพแห่งบุญ

ที่ข้าพเจ้า ผู้แต่งอรรถกถานั้นได้รับแล้ว

ขอสรรพสัตว์จงยังพระศาสนาของพระ-

โลกนาถให้สว่างไสวไป ด้วยข้อปฏิบัติมี

ศีลเป็นต้นที่บริสุทธิ์ จงเป็นผู้มีส่วนแห่ง

วิมุตติรส. ขอพระศาสนาของพระสัมมาสัม

พุทธเจ้า จงสถิตอยู่ในโลกตลอดจิรกาล.

ขอสรรพสัตว์จงมีความเคารพในพระ

ศาสนานั้น ตลอดกาลเนืองนิตย์. แม้ฝน

ก็ขอจงตกต้องตามฤดูกาล ขอท่านผู้เป็น

ใหญ่ในแผ่นดิน ผู้ยินดีในพระสัทธรรม

จงทรงปกครองโลก โดยธรรมเทอญ.

อรรถกถาอิติวุตตกะ ที่ข้าพเจ้า พระธรรมปาลาจารย์ วัดท่าพุทรา

แต่งไว้จบลงแล้ว ด้วยประการดังนี้แล.

๑. ปาฐะว่า ปทริติฏฺวิหารวาสินา แต่ฉบับพม่าเป็น พทฺรติฏฺวิหารวาสินา แปลตามฉบับ

พม่า เพราะมีตรงกันหลายแห่ง.