ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย อุทาน

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๓

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

โพธิวรรคที่ ๑

๑. ปฐมโพธิสูตร

ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม

[๓๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับอยู่ที่โคนไม้-

โพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียว ตลอด ๗ วัน

ครั้งนั้นแล พอสัปดาห์นั้นล่วงไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธิ

นั้น ไค้ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทอันเป็นอนุโลมด้วยดีตลอดปฐมยาม

แห่งราตรี ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้จึงเกิด คือ

เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ

เพราะวิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬาย-

ตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 2

เวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมี

อุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ

เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยประการ

อย่างนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า

ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่

พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัย

ทั้งปวงของพราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไปเพราะมารู้แจ้ง

ธรรมพร้อมด้วยเหตุ.

จบปฐมโพธิสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 3

ปรมัตถทีปนี อรรถกถา ขุททกนิกาย

อุทานวรรณนา

อารัมภกถา

ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระโลกนาถผู้ประ-

กอบด้วยพระมหากรุณา ผู้ถึงฝั่งสาครคือไญยธรรม ทรง-

แสดงธรรมอันละเอียดลึกซึ้งมีนัยอันวิจิตร.

ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระธรรมอันสูงสุด

ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบูชาแล้ว อันเป็นเหตุนำสัตว์ผู้

เพียบพร้อมด้วยวิชาและจรณะออกจากโลก

ข้าพระพุทธเจ้าขอนอบน้อมนมัสการพระอริยสงฆ์ ผู้

สมบูรณ์ด้วยศีลคุณเป็นต้น ผู้ดำรงอยู่ในมรรคและผล ผู้เป็น

บุญเขตอันยอดเยี่ยม.

บุญอันใดเกิดจากการไหว้พระรัตนตรัยดังกล่าวมานี้ ขอ

ให้ข้าพเจ้า เป็นผู้มีอันตรายอันเดชแห่งบุญขจัดแล้ว ในที่ทุก

สถาน

พระมเหสีเจ้าผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลทรงแสดงอุทาน

ใด ด้วยนิทานนั้นๆ โดยอปทานอันบริสุทธิ์ พระธรรมสัง-

คาหกาจารย์ เมื่อจะยกอุทานทั้งหมดนั้นรวมไว้เป็นหมวด

เดียวกัน แล้วร้อยกรองให้ชื่อว่า อุทาน อันเป็นเครื่องแสดง

ความสังเวชและความปราโมทย์ ในธรรมของพระชินเจ้า

ประดับด้วยคาถาซึ่งมีโสมนัสญาณเป็นสมุฏฐาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 4

การที่ข้าพเจ้ากระทำการขณะพรรณนาอรรถแห่งอุทานนั้น

ทำได้ยาก เพราะจะต้องใช้ญาณอันลึกซึ้งหยั่งลง ก็จริง ถึง

อย่างนั้น เหตุที่สัตถุศาสน์พร้อมทั้งสังวรรณนา ยังคงอยู่ การ

วินิจฉัยของบุรพาจารย์ชาวสีหล ก็ยังคงอยู่เหมือนกัน ฉะนั้น

ข้าพเจ้าจึงยึดเอาสัตถุศาสน์นั้น หยั่งลงสู่นิกายทั้ง ๕ อาศัย

นัยอรรถกถาเก่าอันบริสุทธิ์ดี ไม่ปะปนกัน ยึดเอาลัทธิของ

พระมหาเถระผู้อยู่ในมหาวิหาร เว้นอรรถที่มาซ้ำ ๆ ซาก ๆ

เสีย จักแต่งอรรถกถาอุทานตามกำลังให้ดี ดังนั้น เมื่อข้าพเจ้า

หวังความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม จำแนกอรรถแห่งอุทาน

อยู่ ขอสาธุชนทั้งหลายจงรับเอาด้วยดีเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทาน ความว่า ที่ชื่อว่า อุทาน ด้วย

อรรถว่ากระไร ด้วยอรรถว่าเปล่งออก. ที่ชื่อว่า อุทานนี้ คืออะไร ?

คือ การเปล่งอันตั้งขึ้นด้วยกำลังของปิติ. เหมือนอย่างว่า วัตถุที่จะพึ่ง

นับมีน้ำมันเป็นต้นอันใด ไม่สามารถจะนับเอาประมาณได้ ย่อมไหลไป

วัตถุนั้นเรียกว่า อวเสกะ ไหลลง อนึ่ง สายน้ำใด ไม่อาจขังติดเหมือง

ท่วมไป สายน้ำนั้นเรียกว่า โอฆะ ห้วงน้ำ ฉันใด สิ่งใดที่ตั้งขึ้นด้วย

กำลังปิติ แผ่ซ่านไปด้วยกำลังวิตก ไม่สามารถดำรงอยู่ภายในหทัยได้

ก็ฉันนั้น ความเปล่งออกอันพิเศษนั้นเป็นของยิ่ง ไม่ตั้งอยู่ภายใน ออก

ไปภายนอก ทางวจีทวาร ไม่ถึงการรับเอา เรียกว่า อุทาน อาการอันนี้

ย่อมได้แม้ด้วยอำนาจความสังเวชในธรรม.

อุทานนี้นั้น บางแห่งเป็นไปด้วยอำนาจการประพันธ์เป็นคาถา

บางแห่งเป็นไปด้วยอำนาจคำพูด. ก็ลักษณะอุทานอันใดที่ท่านกล่าวไว้ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 5

อรรถกถาว่า เกี่ยวด้วยคาถาอันสำเร็จมาแต่โสมนัสญาณนั้น กล่าวโดย

ส่วนข้างมาก. ก็โดยมากอุทาน ท่านกล่าวด้วยการปรพันธ์เป็นคาถา

และตั้งขึ้นด้วยอำนาจปีติและโสมนัส แต่อุทาน แม้นอกนี้ ย่อมได้ใน

ประโยคมีอาทิว่า อตุถิ ภิกฺขเว ตทายตน ยตฺถ เนว ปฐวี น อาโป ภิกษุ

ทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในที่ที่ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ ไม่มี และได้ใน

ประโยคมีอาทิว่า สุขกามานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ ชนผู้ใดย่อม

เบียดเบียนเหล่าสัตว์ผู้ใคร่ความสุข ด้วยอาชญา และได้ในประโยคมีอาทิว่า

สเจ ภายถ ทุกฺขสฺส สเจ โว ทุกฺขมปฺปิย ถ้าท่านกลัวทุกข์ ถ้าทุกข์ไม่

เป็นที่รักของท่าน อุทานนี้นั้น ดังกล่าวมาฉะนี้เป็นต้น มี ๓ อย่าง คือ

เป็นสัพพัญญูพุทธภาษิต ๑ เป็นปัจเจกพุทธภาษิต ๑ เป็นสาวกภาษิต ๑.

ใน ๓ อย่างนั้น ปัจเจกพุทธภาษิต มาในขัดควิสาณสูตร โดยนัยมีอาทิว่า

วางอาชญาในสัตว์ทั้งปวง ไม่เบียดเบียนสัตว์

เหล่านั้นแม้ตนหนึ่ง

ฝ่ายสาวกภาษิตมาในเถรคาถา โดยนัยมีอาทิว่า

ราคะทั้งปวงเราละได้แล้ว โทสะทั้งปวงเราถอน

เสียแล้ว โมหะทั้งปวงเราขจัดได้แล้ว เราเป็นผู้ดับ

เย็นสนิทแล้ว

และมาในเถรีคาถาว่า

เราเป็นผู้สำมรวมกาย วาจา และใจถอนตัณหา

พร้อมทั้งรากได้ เป็นผู้ดับเย็นสนิทแล้ว ดังนี้.

ก็อุทานเหล่านั้น เป็นอุทานของพระเถระและพระเถรีเหล่านั้น

อย่างเดียวก็หามิได้ โดยที่แท้เป็นชนิดสีหนาท (การบันลือดุราชสีห์)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 6

ก็มี. อุทานที่เทวดามีท้าวสักกะเป็นต้นภาษิตไว้ มีอาทิว่า อโห ทาน

ปรมทาน กสุสเป สุปฺปติฏฺิต และอุทานที่มนุษย์ทั้งหลาย มีโสณทัณฑ-

พราหมณ์เป็นต้นภาษิตไว้มีอาทิว่า นโม ตสฺส ภควโต เป็นอุทานที่ยก

ขึ้นสู่สังคีติทั้ง ๓ ครั้ง อุทานเหล่านั้นไม่ประสงค์เอาในที่นี้ . ก็ภาษิต

เหล่าใดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเฉพาะพระองค์เองเป็นพุทธพจน์ และ

ภาษิตเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอา เมื่อจะทรงจำแนกแสดง

ปริยัติธรรมออกเป็น ๔ อย่าง ที่ตรัสว่า อุทาน ภาษิตนั้นนั่นแหละพระ-

ธรรมสังคาหกาจารย์ร้อยกรองไว้ว่า อุทาน. อุทานั้นนั่นแหละ ในที่นี้

ถือเอาโดยความเป็นสิ่งที่จะพึงสังวรรณนา.

ส่วนคาถาใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ด้วยคาถามีอาทิว่า

อเนกชาติสสาร ที่เป็นไปด้วยอำนาจอุทานที่ควงแห่งโพธิพฤกษ์ และ

คาถาอุทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าหลายแสนพระองค์ไม่ทรงละ. แต่ครั้น

ต่อมา คาถาเหล่านั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ไม่ได้ร้อยกรอง

ไว้ในอุทานบาลี ร้อยกรองไว้ในธรรมบท เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงแก่ภิกษุผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก. ก็คำอุทานว่า อญฺาสิ วต โภ

โกณฺฑญฺโ อญฺาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ ดังนี้ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสให้มีเสียงกึกก้องแพร่หลาย สามารถประกาศแก่เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ แม้นั้น เป็นเหตุเกิดจากการพิจารณาถึงความ

ลำบากของพระองค์มีผล เพราะอริยมรรคตามที่ทรงแสดงอัน เป็นส่วน

หนึ่งของธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุ เป็นมรรคที่พระเถระบรรลุก่อนกว่า

พระสาวกทั้งปวง ในบรรดาสาวกทั้งหลาย ในเวลาจบเทศนาพระธัมมจัก-

กัปปวัตนสูตร และเป็นเหตุเกิดจากการพิจารณาสัมมาปฏิบัติของภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 7

ทั้งปวง ในครั้งปฐมโพธิกาล เป็นเพียงอุทานที่เกิดจากปีติและโสมนัส

ดุจคำมีอาทิว่า สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายทำให้เรายินดีหนอ ไม่เป็นคำ

ประกาศของความเป็นไปหรือหวนกลับมา ดุจคำมีอาทิว่า ยทา หเว

ปาตุภวนฺติ ธมฺมา เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏ เพราะฉะนั้น

ไม่พึงเห็นว่า พระธรรมสังคาหกาจารย์ร้อยกรองไว้ในอุทานบาลี.

ก็อุทานนี้นั้น นับเนื่องในสุตตันตปิฎกในบรรดาปิฎก ๓ คือ วินัย-

ปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธัมมปิฎก นับเนื่องในขุททกนิกาย ในบรรดา

นิกาย ๕ คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตรนิกาย

และขุททกนิกาย สงเคราะห์เข้าในอุทาน ในบรรดาสัตถุสาสน์มีองค์ ๙

คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก

อัพภูตธรรมและเวทัลละ. สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์เล็กน้อย ในบรรดา

ธรรมขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์ ที่พระธรรมภัณฑาคาริกภิกษุ ปฏิญญา

ไว้อย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าเรียนจากพระพุทธเจ้า ๘๒,๐๐๐ ธรรม-

ขันธ์ จากภิกษุ ๒,๐๐๐ ธรรมขันธ์ รวมเป็นธรรม

ขันธ์ ๘๔,๐๐๐ ธรรมขันธ์

ว่าโดยวรรคมี ๘ วรรค คือ โพธิวรรค มุจจลินทวรรค

นันทวรรค เมฆิยวรรค มหาวรรค ชัจจันธวรรค จูฬวรรค ปาฏลิคามิย-

วรรค. ว่าโดยสูตร สงเคราะห์เป็น ๘๐ สูตร. ว่าโดยคาถา สงเคราะห์

เป็นอุทานคาถา ๙๕ คาถา. ว่าโดยภาณวารประมาณ ๙ ครึ่งภาณวาร.

ว่าโดยอนุสนธิ มี ๑ อนุสนธิ คือ ปุจฉานุสนธิในโพธิสูตรทั้งหลาย.

ในสุปปพุทธสูตร มี ๒ อนุสนธิ คือ ปุจฉานุสนธิและยถานุสนธิ. ใน

สูตรที่เหลือ มีอนุสนธิแต่ละอย่าง ด้วยอำนาจยถานุสนธิ แต่อัชฌาสยานุ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 8

สนธิไม่มีในที่นี้. มีการสงเคราะห์อนุ สนธิ ๘๑ โดยประการทั้งปวง ด้วย

ประการฉะนี้. ว่าโดยบทมี ๒๑,๑๐๐ บท ว่าโดยบาทคาถามี ๘,๔๒๓

คาถา ว่าโดยอักขระมี ๖๗,๓๘๒ อักขระ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว

คำนี้ไว้ว่า

อุทานว่าโดยย่อ ท่านประกาศไว้ว่ามี ๘๐ สูตร

๘ วรรค ๙๕ คาถา ส่วนภาณวาร ว่าโดยประมาณ

มีประมาณ ๙ ครึ่งภาณวาร มีอนุสนธิ ๘๑ อนุสนธิ

ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์แสดงบทอุทานเหล่านี้ คำ-

นวณได้ ๒๑,๐๐๐ บท

แต่เมื่อว่าโดยบทแห่งคาถา

ท่านแสดงไว้ ๘,๔๒๓ บาทคาถาประกาศอักขระ

ไว้ ๖๗,๓๘๒ อักขระ ดังนี้.

บรรดาวรรคทั้ง ๘ ของอุทานนั้น มี โพธิวรรค เป็นเบื้องต้น.

บรรดาสูตร มี โพธิสูตร เป็นที่ ๑. โพธิสูตรแม้นั้น มีนิทานที่ท่าน

พระอานนท์กล่าวไว้ในคราวมหาสังคีติครั้งแรก มีอาทิว่า เอวมฺเม สุต

ดังนี้ เป็นเบื้องต้น. ก็มหาสังคีติครั้งแรกนี้นั้น ยกขึ้นสู่ตันติภาษาใน

วินัยปิฎกนั่นแล. ก็ในที่นี้ กถามรรคที่ควรกล่าวเพื่อความฉลาดในนิทาน

แม้นั้น ท่านก็กล่าวไว้ในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อสุมังคลวิลาสินีนั้นแล

เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวไว้ในอรรถกถา ชื่อว่าสุมังคลวิลา-

สินีนั้นเถิด.

จบอารัมภกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 9

โพธิวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาปฐมโพธิสูตร

ก็ในโพธิสูตรนี้ คำว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น เป็นนิทาน. บรรดา

บทเหล่านั้น ศัพท์ว่า เอว เป็นนิบาต. บทว่า เม เป็นต้น เป็นบทนาม.

บทว่า วิ ในบทว่า อุรุเวลาย วิหรติ นี้ เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หร ติ

เป็นบทอาขยาต. การจำแนกบทในทุกบท พึงทราบโดยนัยนี้ เป็นอันดับ

แรกแล.

แต่เมื่อว่าโดยอรรถ เอว ศัพท์อันดับแรก มีอรรถหลายประเภท

มีอาทิว่า อุปมา อุปเทศ สัมปหังสนะ ครหณะ วจนสัมปฏิคคหะ

อาการ นิทัสสนะ อวธารณะ. ปุจฉา อิทมัตถะ ปริมาณ. จริงอย่าง

นั้น เอว ศัพท์นั้นมาในอุปมา ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า สัตว์ผู้เกิดมา

แล้วพึงทำกุศลให้มาก ฉันนั้น. มาในอุปเทศ (ข้อแนะนำ) ในประโยค

มีอาทิว่า ท่านพึงก้าวไปข้างหน้าอย่างนี้ ท่านพึงถอยกลับอย่างนี้ . มาใน

สัมปหังสนะ (ความร่าเริง) ในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ข้อนั้น เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น. มาใน

ครหณะ (การติเตียน) ในประโยคมีอาทิว่า ก็หญิงถ่อยนี้ กล่าวคุณของ

สมณะโล้นนั้น ในที่ทุกหนทุกแห่ง (ไม่เลือกสถานที่) อย่างนี้ ๆ. มาใน

วจนสัมปฏิคคหะ. (การรับคำ) ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุเหล่านั้นรับ

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เอว ภนเต อย่างนั้นแล พระเจ้าข้า.

มาในอาการ ในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้

ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว อย่างแจ่มแจ้งด้วยอาการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 10

อย่างนี้แล. มาในนิทัสสนะ (การชี้แจง) ในประโยคมีอาทิว่า มาเถิดท่าน

มาณพน้อย จงเข้าไปหาพระสมณะอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วจงถามถึงความ

อาพาธน้อย โรคน้อย ความคล่องแคล่ว พละกำลัง การอยู่ผาสุก กะท่าน

พระสมณะอานนท์ ตามคำของเราว่า สุภมาณพโตเทยยบุตร ถามถึง

อาพาธน้อย โรคน้อย ความคล่องแคล่ว พละกำลัง การอยู่ผาสุก กะ

ท่านพระอานนท์ และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ดังข้าพเจ้าขอโอกาส ขอท่าน

พระอานนท์ จงกรุณาเข้าไปยังนิเวศน์ของ สุภมาณพโตเทยยบุตร. มา

ในอวธารณะ (ห้ามความอื่น) ดูก่อนชาวกาลามะ ท่านสำคัญความข้อนั้น

เป็นอย่างไร ธรรมเหล่านี้ เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล. เป็นอกุศลพระ-

เจ้าข้า มีโทษหรือไม่มีโทษ. มีโทษพระเจ้าข้า. วิญญูชนติเตียนหรือ

สรรเสริญ. วิญญูชนติเตียนพระเจ้าข้า. ธรรมทั้งหลายที่สมาทานให้บริบูรณ์

แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลหรือเพื่อทุกข์ หรือว่าไม่เป็น

ไป หรือในข้อนั้นเป็นอย่างไร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่สมาทาน

ให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ ในข้อนี้

พวกข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนั้น . มาในคำถาม ในประโยคมีอาทิว่า

ชนเหล่านั้น อาบน้ำอย่างดี ลูบไล้อย่างดี ปลงผมและหนวด สวมใส่

มาลัยและเครื่องอาภรณ์ ฯลฯ อย่างนั้นหรือ. มาในอิทมัตถะ (อรรถแห่ง

อิท ศัพท์) ในประโยคมีอาทิว่า สิปปายตนะมากมายที่เข้ากับศิลปะนี้

อาการนี้ มีประการอย่างนี้. จริงอยู่ คต ศัพท์ มีการยักเรียกว่า ประการ.

ศัพท์ว่า วิธาการะ. ก็เหมือนกัน. จริงอย่างนั้น ชาวโลกกล่าว คต ศัพท์

ที่ประกอบกับ วิธ ศัพท์ในอรรถว่าประการ. มาในปริมาณ ในประโยค

มีอาทิว่า มีการเปลี่ยนแปลงเร็วเป็นปริมาณ มีการสิ้นสุดอายุเป็นปริมาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 11

ก็ด้วย เอว ศัพท์ในคำว่า เอว วิตกฺกิต โน ตุมฺเหหิ เอวมายุ-

ปริยนฺโต เอว ศัพท์ที่ชื่อว่า มีอาการเป็นอรรถเท่านั้น เพราะกล่าวอาการ

ถามและอาการปริมาณมิใช่หรือ ? ไม่ใช่ เพราะมีความแปลกกัน. ก็ เอว

ศัพท์ในที่นี้บอกเพียงอาการ ท่านประสงค์เอาว่า มีอาการเป็นอรรถ. แต่

เอว ศัพท์ในคำมีอาทิว่า เอว พฺยา โข บอกความแปลกกันแห่งอาการ.

ก็ เอว ศัพท์เหล่านี้ ที่ชื่อว่าบอกความแปลกกันแห่งอาการ เพราะบอก

อาการแห่งคำถาม และอาการแห่งปริมาณ. ก็เพราะอธิบายอย่างนี้

อุทาหรณ์อุปมามีอาทิว่า สัตว์เกิดมาก็ฉันนั้นจึงจะถูก. ก็ในข้อนั้นมีอธิบาย

ดังนี้ สัตว์ชื่อว่า มัจจะ เพราะมีอันจะพึงตายเป็นสภาวะ จำต้องบำเพ็ญ

บุญเป็นอันมากอันเป็นเช่นกลุ่มดอกไม้ เพราะควรแก่ฐานที่เป็นกองดอก

ไม้ในคาถานี้ว่า

ยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา ภยิรา มหาคุเณ พหู

เอว ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพ กุสล พหุ

นายมาลาการผู้ฉลาด พึงกระทำพวงดอกไม้จาก

กองดอกไม้ให้มาก แม้ฉันใด สัตว์ผู้มีอันจะพึงตาย

เป็นสภาวะเกิดแล้ว จำต้องทำกุศลให้มาก ฉันนั้น

เพราะตั้งขึ้นจากเหตุแห่งการบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น มีเกิดในมนุษย์

การคบหาสัปบุรุษ การฟังพระสัทธรรม การทำไว้ในใจโดยแยบคาย

และการสมบูรณ์ด้วยโภคะ เป็นต้น เพราะประกอบด้วยคุณวิเศษมีความ

งามและมีกลิ่นหอมเป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน จึงมี

กองดอกไม้ และกลุ่มดอกไม้เป็นเครื่องเปรียบ. อาการเปรียบเทียบกลุ่ม

ดอกไม้เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้โดยกำหนดไม่แน่นอน ด้วย ยถา ศัพท์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 12

กล่าวโดยกำหนดแน่นอน ด้วย เอว ศัพท์อีก. ก็อาการเปรียบเทียบนั้น

เมื่อกำหนดลงไป โดยใจความก็เป็นเพียงอุปมาเท่านั้น เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า อุปมาย อาคโต มาในอุปมา ดังนี้ .

อนึ่ง อาการคือการแนะนำในความเพียบพร้อมด้วยมารยาทอันสม-

ควรแก่สมณะที่ท่านแนะนำไว้โดยนัยมีอาทิว่า พึงก้าวไปอย่างนี้ คือโดย

อาการนี้นั้น ว่าโดยอรรถก็คืออุปเทศนั้นเอง เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า เอว ศัพท์มาในอุปเทศ ในประโยคมีอาทิว่า ท่านพึงก้าวไป

อย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้.

ในคำว่า เอวเมต ภควา เอวเมต สุคต นี้ พึงทราบโดยนัยที่

ท่านกล่าวไว้ว่า การหัวเราะ คือ การทำความฟูใจ ได้แก่ ความร่าเริง

โดยประการแห่งคุณที่มีอยู่ในข้อที่ผู้รู้อรรถตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

แล้วทำมิให้คลาดเคลื่อน. ในข้อว่า เอวเมว ปนาย นี้ พึงทราบโดยนัย

ที่กล่าวแล้วว่า เป็นอาการแห่งการติเตียน. ก็อาการคือการติเตียนั้น

ย่อมรู้ได้ว่าท่านประกาศไว้ด้วย เอว ศัพท์ในที่นี้โดยเทียบเคียงกับ ขุสน

ศัพท์ ขู่ว่า หญิงถ่อยเป็นต้น. พึงทราบว่า แม้อาการคือการเปรียบเทียบ

ท่านกล่าวไว้โดยเทียบเคียงศัพท์มี ปุพพราสิ ศัพท์เป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้

โดยอุปมาเป็นต้น เหมือนในอาการติเตียนนี้ .

ด้วยคำว่า เอวญฺจ วเทหิ นี้ ท่านกล่าวว่า อาการคือการกล่าวที่

จะพึงกล่าวในบัดนี้ว่า ข้าพเจ้ากล่าวอาการอย่างใด ท่านจงกล่าวกะสมณะ

อานนท์ด้วยอาการอย่างนั้น ท่านแสดงไขด้วย เอว ศัพท์ เพราะฉะนั้น

เอว ศัพท์นั้น จึงมีนิทัสสนะเป็นอรรถ.

แม้ในบทว่า เอว โน นี้ เพราะเมื่อตั้งคำถามว่า ไม่เป็นอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 13

หรือ หรือว่าในข้อนั้นเป็นอย่างไร ด้วยอำนาจการถือเอาตามอนุมัติ เพื่อ

จะให้รู้การตกลงโดยภาวะที่ทำตามที่กล่าวแล้วนั้น นำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์

และทุกข์มาให้ จึงตอบว่า ในข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้น การสันนิษฐาน

อาการเช่นนั้นย่อมรู้ได้ว่าท่านให้แจ่มแจ้งแล้วด้วย เอว ศัพท์. ก็อาการที่

เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์แห่งธรรมเหล่านั้น เมื่อกำหนด

แน่นอนมีอวธารณะเป็นอรรถ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอว ศัพท์

มาในอวธารณะ ในประโยคมีอาทิว่า เอว โน เอตฺถ โหติ ในข้อนี้

สำหรับข้าพระองค์เป็นอย่างนี้.

ท่านกล่าวถึง เอว ศัพท์เหล่านั้นอันบ่งถึงความแปลกกันแห่งอาการ

อย่างนั้น ว่ามีอรรถอุปมาเป็นต้น เพราะมีความเป็นไปโดยอรรถพิเศษ

มีอุปมาเป็นต้น. ก็ เอว ศัพท์ ในคำว่า เอวมฺภนฺเต นั้น มีการรับคำ

เป็นอรรถ เพราะภิกษุทั้งหลายผู้ประกอบในการใส่ใจด้วยดีซึ่งการฟังธรรม

กล่าวไว้ด้วยสามารถการรู้เฉพาะซึ่งภาวะที่ตนตั้งอยู่ในธรรมนั้น. เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงอธิบายไว้ว่า บทว่า เอวมฺภนฺเต ได้แก่ สาธุ ภนฺเต

สุฏฐุ ภนฺเต ดังนี้. ในที่นี้ เอว ศัพท์นี้นั้น พึงเห็นว่า ลงในอรรถว่า

อาการ นิทัศนะ และอวธารณะ.

ใน ๓ อย่างนั้น ด้วย เอว ศัพท์ มีอาการเป็นอรรถ พระเถระ

แสดงอรรถนี้ว่า ใครสามารถจะรู้พระดำรัสของพระผู้พระภาคเจ้านั้นโดย

ประการทั้งปวง ซึ่งมีนัยต่าง ๆ อันละเอียดเกิดจากอัธยาศัยเป็นอเนก

สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะมีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ลึกโดยธรรม อรรถ

เทศนา และปฏิเวธ อันมาปรากฏทางโสตวิญญาณโดยเหมาะสมแก่ภาษา

ของตน ๆ แห่งสรรพสัตว์ ก็ข้าพเจ้าแม้ทำความประสงค์เพื่อจะฟังให้เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 14

โดยประการทั้งปวงก็ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ คือ แม้ข้าพเจ้า ก็ได้สดับ

มาแล้ว ด้วยอาการอย่างหนึ่ง.

ก็ในที่นี้ นัยมีอย่างต่าง ๆ โดยประเภทอารมณ์เป็นต้น กล่าวคือ

เอกัตตนัย นานัตตนัย อัพยาปารนัย เอวังธัมมตานัย และกล่าวคือ

นันทิยาวัฏฏนัย ติปุกขลนัย สีหวิกกีลิตนัย ทิสาโลจนนัย และ

อังกุสนัย ชื่อว่า นานานัย. อีกอย่างหนึ่ง นัยทั้งหลายมีบาลีเป็นคติ

และนัยเหล่านั้น ชื่อว่า นานานัย เพราะมีประการต่าง ๆ ด้วยอำนาจ

บัญญัติและอนุบัญญัติเป็นต้น ด้วยนัยที่เป็นส่วนแห่งสังกิเลสเป็นต้น และ

นัยที่เป็นโลกิยะเป็นต้น และนัยที่คละกันทั้งสองนั้นด้วยอำนาจกุศลเป็นต้น

ด้วยอำนาจขันธ์เป็นต้น ด้วยอำนาจสังคหะเป็นต้น ด้วยอำนาจสมยวิมุตติ

เป็นต้น ด้วยอำนาจฐปนะเป็นต้น ด้วยอำนาจกุศลมูลเป็นต้น และด้วย

อำนาติกปัฏฐานเป็นต้น. ชื่อว่า ละเอียดโดยนัยต่าง ๆ เพราะละเอียด

อ่อนสุขุมโดยนัยเหล่านั้น.

อาสยะนั้นแหละ ชื่อว่า อัธยาศัย. ก็อัธยาศัยนั้นมีหลายอย่าง

โดยความต่างแห่งภาวะมีความเป็นของเที่ยงเป็นต้น และโดยความต่าง

แห่งความที่สัตว์มีกิเลสดุจธุลีโนดวงตาน้อยเป็นต้น หรือมีอย่างเป็นอเนก

มีอาทิว่า อัธยาศัยของตนเป็นต้น ชื่อว่า อเนกัธยาศัย. อเนกัธยาศัย

นั้น ชื่อว่า อเนกัธยาศัยสมุฏฐาน เพราะมีสมุฏฐานเป็นเหตุเกิดขึ้น.

ชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ เพราะประกอบด้วยบท

แห่งอรรถ ๖ อย่าง คือ สังกาสนะ (คล้ายกัน ) ปกาสนะ (ประกาศ)

วิวรณะ (ไขความ) วิภชนะ (จำแนก) อุตตานีกรณะ (ทำให้ตื้น) และ

บัญญัติ (ชื่อ) และประกอบด้วยบทแห่งพยัญชนะ ๖ อย่าง คือ อักขระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 15

บทพยัญชนะ อาการ นิรุตติ และนิเทศ แห่งสมบัติของอรรถแห่งศีล

เป็นต้น และสมบัติแห่งพยัญชนะอันทำความแจ่มแจ้งแห่งอรรถมีศีลเป็น-

ต้นนั้น

ชื่อว่า มีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ เพราะมีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ หรือมากมาย

โดยความต่างแห่งอิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิ-

หาริย์ และโดยความต่างแห่งอารมณ์เป็นต้นของปาฏิหาริย์แต่ละอย่าง

บรรดาปาฏิหาริย์เหล่านั้น. ในข้อนั้น เมื่อมีอรรถว่า ชื่อว่า ปาฏิหาริย์

เพราะกำจัดธรรมที่เป็นข้าศึก คือ เพราะกำจัดกิเลสมีราคะเป็นต้น กิเลส

มีราคะเป็นต้น ที่เป็นข้าศึกอันจะพึงกำจัดไม่มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. เมื่อ

จิตปราศจากอุปกิเลสประกอบด้วยคุณ ๘ ประการ กำจัดธรรมที่เป็นข้าศึก

ได้แล้ว ปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้ แม้สำหรับปุถุชนก็ยังเป็นไปได้ เพราะ

ฉะนั้น เมื่อว่าโดยโวหารที่เป็นไปในการแสดงฤทธิ์นั้น จึงไม่อาจจะกล่าว

ได้ว่าปาฏิหาริย์ในที่นี้. ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ประกอบด้วยพระมหา-

กรุณายังมีกิเลสที่อยู่ในเวไนยสัตว์เป็นข้าศึกอยู่ไซร้ เพราะกำจัดกิเลสอัน

เป็นข้าศึกนั้นได้ จึงเรียกว่า ปาฏิหาริย์ เมื่อเป็นอย่างนั้น ข้อนั้น จึง

ถูกต้อง.

อีกอย่างหนึ่ง พวกเดียรถีย์ เป็นข้าศึกต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าและ

พระศาสนา เพราะกำจัดพวกเดียรย์เหล่านั้นได้ จึงเรียกว่า ปาฏิหาริย์.

จริงอยู่ เดียรถีย์เหล่านั้น ถูกพระองค์ทรงกำจัด คือขับไล่ออกด้วยอิทธิ-

ปาฏิหาริย์อาเทศนาปาฏิหาริย์และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ด้วยอำนาจการกำจัด

ทิฏฐิและด้วยไม่มีความสามารถในการประกาศทิฏฐิ อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า

ปฏิ นี้ ย่อมให้รู้อรรถของศัพท์ว่า ปจฺฉา นี้ เหมือน ปฏิ ศัพท์ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 16

ประโยคมีอาทิว่า ตสฺมึ ปฏิปวิฏฺมฺหิ อญฺโ อาคจฺฉติ พฺราหฺมโณ เมื่อ

พราหมณ์นั้นเข้าไป พราหมณ์อีกคนหนึ่งจึงมา. เพราะฉะนั้น เมื่อจิตทั้งมั่น

ปราศจากอุปกิเลส บุคคลผู้ทำกิจแล้วพึงนำไป คือให้เป็นไปในภายหลัง

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ปาฏิหาริย์. อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุปกิเลสของตน

ถูกมรรคอันสัมปยุตด้วยฌานที่ ๔ ขจัด แล้ว การกำจัดในภายหลัง ชื่อว่า

ปาฏิหาริย์. อนึ่ง อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนี-

ปาฏิหาริย์ อันผู้ปราศจากอุปกิเลสเสร็จกิจแล้ว พึงให้เป็นไปอีก เพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ อนึ่ง เมื่ออุปกิเลสของตนถูกขจัดแล้ว การ

กำจัดอุปกิเลสในสันดานของบุคคลอื่นก็ย่อมมี เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

มีปาฏิหาริย์. ปาฏิหาริย์นั่นแหละ เป็น ปาฏิหาริย์. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ

ว่าโดยปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์แต่ละอย่างที่มีในหมวดแห่งอิทธิปาฏิหาริย์

อาเทศนาปาฏิหาริย์และอนุสาสนีปาฏิหาริย์ ท่านเรียกว่า ปาฏิหาริย์.

อีกอย่างหนึ่ง ฌานที่ ๔ และมรรค ชื่อว่า ปาฏิหาริย์ เพราะกำจัดธรรม

ที่เป็นข้าศึก. พึงทราบอรรถว่า ปาฏิหาริย์ เพราะเกิดในฌานที่ ๔ และ

มรรคนั้น หรือเป็นนิมิตในฌานที่ ๔ และมรรคนั้น หรือมาจากฌานที่ ๔

และมรรคนั้น ดังนี้.

ก็เพราะเหตุความลึกโดยธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ กล่าวคือ

แบบแผน อรรถ เทศนาและการตรัสรู้ชื่อของแบบแผนเป็นต้นนั้น หรือ

กล่าวคือ เหตุและผลอันเผล็ดมาแต่เหตุ ทั้งเหตุทั้งผล บัญญัติและ

ปฏิเวธ ซึ่งเป็นภาวะอันสัตว์ผู้มิได้สร้างสมกุศลสมภารไว้หาที่พึ่งไม่ได้

และหยั่งรู้ได้ยาก เหมือนมหาสมุทรอันสัตว์ทั้งหลาย มีกระต่ายเป็นต้นไม่

อาจหยั่งถึง เพราะฉะนั้น พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 17

ลึกโดยธรรม อรรถ เทศนา และปฏิเวธ เพราะประกอบด้วยภาวะที่ลึก

๔ ประการนั้น.

การประกาศพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเดียวเท่า

นั้น เป็นไปในขณะเดียว ย่อมควรจะถือเอาได้ไม่ก่อนและไม่หลัง โดย-

ภาษาของตนๆ แห่งสัตว์ทั้งหลายผู้มีภาษาต่าง ๆ กัน. จริงอยู่ พุทธานุภาพ

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอจินไตย เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า ย่อม

ปรากฏทางโสดประสาทของสรรพสัตว์ โดยสมควรแก่ภาษาของตน ๆ.

ด้วย เอว ศัพท์มีนิทัสสนะเป็นอรรถ พระเถระเมื่อจะเปลื้องตนว่า

เราไม่ใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้ เรามิได้ทำให้แจ้งเอง จึงแสดงไขพระสูตร

ทั้งสิ้นที่จะพึงกล่าวในบัดนี้ ว่า เราได้สดับบทแล้วอย่างนี้ คือ แม้เราก็ได้

สดับฟังมาแล้ว อย่างนี้.

ด้วย เอว ศัพท์อันมีอวธารณะเป็นอรรถ พระเถระเมื่อจะแสดง

กำลังการทรงจำของตน โดยสมควรแก่ภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

สรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของ

เรา อานนท์เป็นเลิศของภิกษุผู้เป็นพหูสูต ผู้มีคติ มีสติ มีธิติ (และ)

ผู้เป็นอุปัฏฐาก และคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรสรรเสริญไว้อย่างนี้ว่า

ท่านพระอานนท์เป็นผู้ฉลาดในอรรถ ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ

ฉลาดในนิรุตติ ฉลาดในอักขระ เบื้องต้นและเบื้องปลาย จึงให้เหล่าสัตว์

เกิดความประสงค์ที่จะฟังว่า เราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ และพระสูตรนั้นแล

ว่าโดยอรรถหรือพยัญชนะ ไม่หย่อนไม่ยิ่งกว่ากัน เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงไม่

พึงเห็นโดยประการอื่น. บทว่า อญฺถา คือ โดยประการอื่นจากอาการ

ที่ได้ฟังมาแล้วเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่มิใช่โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 18

ประการอื่นจากอาการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว. จริงอยู่ เทศนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอานุภาพเป็นอจินไตย. เทศนานั้น ใคร ๆ ไม่

อาจรู้ได้โดยอาการทั้งปวง เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวเนื้อความนี้ไว้

ดังนี้ แล. จริงอยู่ กำลังแห่งการทรงจำ ก็คือการที่ไม่ผิดพลาดจากอาการ

ที่ได้ฟังมาแล้วเลย.

เม ศัพท์ ปรากฏในอรรถทั้ง ๓. จริงอย่างนั้น เม ศัพท์นั้นมี

อรรถว่า มยา เหมือนในประโยคมีอาทิว่า คาถาภิคีต เม อโภชเนยฺย

โภชนะที่ได้มาเพราะขับร้อยกรอง อันเราไม่ควรบริโภค. เม ศัพท์มีอรรถ

ว่า มยฺห ในประโยคมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอ

วโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์โดยย่อ.

เม ศัพท์ มีอรรถว่า มม ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอจงเป็นธรรมทายาทของเรา. แต่ เม ศัพท์ในที่นี้ ใช้ในอรรถ ๒ อย่าง

คือ มยา สุต และ มม สุต.

แต่ในที่นี้ เม ศัพท์แม้ทั้ง ๓ อย่าง ย่อมปรากฏในอรรถเดียว

เท่านั้น เพราะเป็นไปในสันดานของตน กล่าวคือ เกิดเฉพาะในตนที่จะ

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สภาวะใด ไม่เป็นอื่น สภาวะนั้นคืออัตตา ก็จริง

ถึงอย่างนั้น ก็รู้ได้ทันทีว่า ความต่างแห่งอรรถนี้ กล่าวคือ ความพิเศษ

แห่งกรณะและสัมปทานะ เป็นต้น. เพราะฉะนั้น พึงเห็นว่า เม ศัพท์

ท่านกล่าวว่า ปรากฏในอรรถ ๓ อย่าง.

สุต ศัพท์ในบทว่า สุต นี้ ทั้งมีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรค มี

ประเภทแห่งอรรถเป็นอันมาก เช่น คมนะ วิสสุตะ กิลินนะ อุปจิตะ

อนุโยคะ โสตวิญเญยยะ โสตทวารานุสารวิญญาตะเป็นต้น . จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 19

อุปสรรคย่อมทำกิริยาให้พิเศษขึ้นก็จริง ถึงกระนั้น แม้เมื่อมีอุปสรรค

สุต ศัพท์นั่นแหละก็บ่งถึงอรรถนั้น เพราะส่องถึงอรรถ เพราะฉะนั้น

ในการขยายความของ สุต ศัพท์ที่ไม่มีอุปสรรค จะถือเอาสุตมีอุปสรรค

ก็ไม่ผิค. ในคำว่า สุต นั้น สุต ศัพท์มีอรรถว่าไป ในประโยคมีอาทิว่า

เสนาย ปสุโต ไปด้วยกองทัพ. สุต ศัพท์มีอรรถว่าวิสสุตธรรมใน

ประโยคมีอาทิว่า สุตธมฺมสฺส ปสฺสโต ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว เห็นอยู่.

สุต ศัพท์มีอรรถว่า กิเลเสน กิลินฺนา กิลินฺนสฺส ในประโยคมีอาทิว่า

ภิกษุณีผู้กำหนัดด้วยราคะ ต่อบุรุษผู้กำหนัดด้วยราคะ. สุตศัพท์มีอรรถว่า

สั่งสมในประโยคมีอาทิว่า ตุมฺเหหิ ปุญฺ ปสุต อนปฺปก ท่านสั่งสม

บุญไว้มิใช่น้อย. สุตศัพท์มีอรรถว่า ณานานุยุตฺตา ในประโยคมีอาทิว่า

เย ฌานปสุตา ธีรา ชนเหล่าใดเป็นนักปราชญ์ประกอบในฌาน. สุต

ศัพท์มีอรรถว่า โสตวิญเญยยะ. ในประโยคมีอาทิ ว่า ทิฏฺ สุต มุต รูป

ที่เห็น เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ. สุตศัพท์ที่มีอรรถว่าทรงความรู้

ตามกระแสแห่งโสตทวาร ในประโยคมีอาทิว่า สุตธโร สุตสนฺนิจโย

ทรงไว้ซึ่งสุตะ สั่งสมสุตะ. แต่ในที่นี้ สุตศัพท์นั้นมีอรรถว่า อุปธาริต

อันท่านทรงไว้ หรือ อุปธารณ การทรงไว้ ตามกระแสแห่งโสตทวาร.

จริงอยู่ เมื่อเมศัพท์มีมยาศัพท์เป็นอรรถ ความว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

อย่างนี้ คือ ทรงไว้ตามกระแสแห่งโสตทวาร ดังนี้ จึงจะควร. เมื่อเมศัพท์

มีมมศัพท์เป็นอรรถ ความว่า การฟังของข้าพเจ้าอย่างนี้ คือ การทรงจำ

ตามกระแสแห่งโสตทวาร ดังนี้ จึงจะถูก.

บรรดาบททั้ง ๓ ตามที่กล่าวมานั้น เพราะเหตุที่เอวศัพท์ ใช้เคียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 20

กับสุตศัพท์ พึงส่องถึงกิริยา คือการฟัง ฉะนั้น บทว่า เอว* เป็นคำ

แสดงไขถึงกิจแห่งวิญญาณที่เป็นไปทางโสตทวาร มีโสตวิญญาณและ

สัมปฏิจฉนะ เป็นต้น และแห่งวิญาณที่เป็นไปทางมโนทวาร อันวิญ-

ญาณทางโสตทวารนั้นนำมา. บทว่า เม เป็นบทแสดงไขถึงบุคคลผู้พรั่ง-

พร้อมด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว. จริงอยู่ พากย์คือคำพูดที่เป็นประโยค

ทุกพากย์ประกอบด้วยอรรถแห่ง เอว อักษรนั่งเอง เพราะพากย์เหล่านั้น

มีอวธารณะเป็นผล. บทว่า สุต เป็นบทแสดงไขถึงการถือเอา ไม่ยิ่งไม่

หย่อนและไม่วิปริต จากการปฏิเสธการไม่ได้ยิน. เหมือนอย่างว่า การ

พึงควรจะกล่าวว่า สุตเมว ฉันใด การฟังนั้นก็ฉันนั้น เป็นการฟังถูกต้อง

คือ เป็นการถือเอาไม่หย่อน ไม่ยิ่ง และไม่วิปริต. อีกอย่างหนึ่ง เสียง

ที่บ่งถึงอรรถโดยส่องถึงอรรถในลำดับแห่งเสียง เพราะเหตุนั้น ในฝ่ายนี้

เพราะเหตุที่สุตศัพท์นี้มีอรรถที่ท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า อสุต น โหติ การ

ไม่ได้ยิน ไม่มี ฉะนั้น บทว่า สุต จึงเป็นบทแสดงไขถึงการถือเอาไม่

หย่อน ไม่ยิ่ง และไม่วิปริต โดยปฏิเสธภาวะที่ไม่ได้ยิน. พระเถระกล่าว

อธิบายคำนี้ไว้ดังนี้ เราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ เราไม่ได้เห็น เราไม่ทำให้

แจ้งด้วยสยัมภูญาณ หรือเราไม่ได้มาโดยประการอื่น. อีกอย่างหนึ่ง เรา

ได้ฟังมาแล้วทีเดียว และการฟังนั้นแลเป็นการฟังชอบแท้. อีกอย่างหนึ่ง

ในเอวศัพท์ซึ่งมีอวธารณะเป็นอรรถ ก็มีอรรถโยชนา การประกอบความ

ดังว่ามานี้. สุตศัพท์ที่เพ่งถึงเอวศัพท์นั้น มีอรรถแน่นอน เพราะฉะนั้น

สุตศัพท์ซึ่งบ่งถึงเอวศัพท์นั้น พึงทราบว่า ปฏิเสธภาวะที่ไม่ได้ยิน และ

* สิงหลว่า- ฉะนั้น บทว่า เอว เป็นคำแสดงถึงกิจแห่งวิญญาณทางมโนทวารอันเกิดขึ้นแล้ว

ในลำดับแห่งวิญญาณทางโสตทวาร มีโสตวิญญาณและสัมปฏิจฉนะเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 21

ว่าเป็นการแสดงไขถึงการถือเอาไม่หย่อน ไม่ยิ่ง และไม่วิปริต ดังนั้น

พึงเห็นว่าท่านกระทำอรรถโยชนาแห่งศัพท์ทั้ง ๓ แม้ด้วยอำนาจแห่งการ

ฟัง เหตุแห่งการฟัง และความแปลกกันแห่งการฟัง.

อนึ่ง บทว่า เอว เป็นการประกาศภาวะแห่งวิญญาณวิถีที่เป็นไป

ตามกระแสแห่งโสตวิญาณนั้น เป็นไปในอารมณ์โดยประการต่างๆ

โดยการยึดเอาอรรถและพยัญชนะต่างๆ เพราะทำอธิบายว่า เอวศัพท์

มีอาการเป็นอรรถ. บทว่า เม เป็นนทประกาศอรรถ. บทว่า สุต เป็น

บทประกาศธรรม เพราะวิญญาณวิถีตามที่กล่าวแล้วมีปริยัติธรรมเป็น

อารมณ์. จริงอยู่ ในข้อนี้มีความสังเขปดังต่อไปนี้ ข้าพเจ้าไม่ได้กระทำ

กิจอย่างอื่น แต่กระทำกิจนี้ ธรรมนี้ข้าพเจ้าได้ฟังแล้วด้วยวิญญาณวิถีอัน

เป็นไปในอารมณ์โดยประการต่าง ๆ อันเป็นตัวเหตุ.

อนึ่ง บทว่า เอว เป็นการประกาศอรรถที่พึงแสดงไข เพราะ

อธิบายว่า เอว ศัพท์มีนิทัสสนะเป็นอรรถ เพราะจะต้องแสดงไขอรรถ

ที่ควรแสดงไข. เพราะฉะนั้น พระสูตรแม้ทั้งสิ้นพึงทราบว่ายึดเอาแล้ว

ด้วยเอวศัพท์. บทว่า เม เป็นการประกาศบุคคล. บทว่า สุต เป็นการ

ประกาศกิจของบุคคล. จริงอยู่ กิริยาที่ฟัง เมื่อได้ด้วยสุตศัพท์ย่อมเนื่อง

ด้วยโสตวิญญาณจิต และในข้อนั้น ย่อมได้การบัญญัติถึงบุคคล แต่ใน

สิ่งที่เนื่องกับธรรมอันเว้นจากบัญญัติถึงบุคคล ย่อมไม่ได้กิริยาคือการฟัง.

สุตศัพท์นั้น มีเนื้อความโดยย่อดังนี้ว่า ข้าพเจ้าจักแสดงไขพระสูตรใด

พระสูตรนั้นข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วอย่างนี้.

อนึ่ง บทว่า เอว เป็นบทแสดงอาการต่าง ๆ ของจิตสันดานที่ยึด

เอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ โดยความเป็นไปแห่งอารมณ์ต่าง ๆ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 22

อธิบายว่า เอวศัพท์มีอาการเป็นอรรถนั้นเอง. จริงอยู่ การบัญญัติอาการ

ว่า เอว นี้ เพราะอาศัยอาการแห่งความเป็นไปนั้น ๆ ของธรรมทั้งหลาย

แล้วจึงบัญญัติขึ้นเป็นสภาวะ. บทว่า เม เป็นการแสดงถึงกัตตุผู้ทำ.

บทว่า สุต เป็นการแสดงถึงอารมณ์. จริงอยู่ ธรรมที่ควรฟังเป็นตั้ง

แห่งความเป็นไปด้วยสามารถแห่งกิริยา คือการฟังของบุคคลผู้กระทำ

กิริยาคือการฟัง. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันแสดงความตกลงแห่งการ

รับอารมณ์ของผู้ทำผู้พรั่งพร้อมด้วยกิริยา คือการฟังนั้น ด้วยจิตสันดาน

อันเป็นไปโดยประการต่าง ๆ.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เอว แสดงกิจของบุคคล. จริงอยู่ ด้วย เอว

ศัพท์มีการประกาศนิทัสสนะหรืออวธารณะ อันมีอาการยึดเอาธรรม

ที่ได้ฟังแล้วเป็นสภาวะ เป็นอันแสดงไขถึงกิจของบุคคลโดยภาวะแห่ง

การยึดถือบัญญัติว่าบุคคล และการขวนขวายในธรรมของการทรงอาการ

นั้น เป็นต้นแล. บทว่า สุต แสดงไขกิจของวิญญาณ. จริงอยู่ กิริยา

คือการฟัง แม้ของผู้มีวาทะว่าบุคคล ไม่มุ่งถึงวิญาณก็หามิได้. บทว่า

เม เป็นการแสดงถึงบุคคลผู้ประกอบกิจทั้งสอง. จริงอยู่ ความเป็นไป

แห่งศัพท์ว่า เม เป็นอารมณ์พิเศษแห่งสัตว์โดยส่วนเดียวเท่านั้น และ

กิจของวิญญาณก็พึงประชุมลงในที่นั้นนั่นแล. ส่วนความย่อในข้อนี้มีดังนี้

ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว โดยโวหารแห่งสวนกิจที่บุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วย

โสตวิญญาณกิจได้แล้วด้วยอำนาจวิญญาณ.

อนึ่ง บทว่า เอว และ เม ชื่อว่า อวิชชมานบัญญัติ บัญญัติในสิ่ง

ที่ไม่มีด้วยอำนาจสัจฉิกัตถปรมัตถ์. ก็เพราะประโยชน์ทั้งปวงที่จะพึงบรรลุ

ด้วยศรัทธา จำต้องปฏิบัติโดยมุขแห่งบัญญัติเท่านั้น ชื่อว่า เป็นความผิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 23

พลาดแห่งบัญญัติทั้งปวง และในบัญญัติ ๖ มีวิชชมานบัญญัติเป็นต้น

เพราะฉะนั้น อรรถที่ไม่เป็นจริงอันใดเหมือนกลลวง มีมายาและพยับแดด

เป็นต้น และอรรถมิใช่อุดมเหมือนจะพึงถือเอาด้วยอาการที่ฟังตามกันมา

เป็นต้น หามีไม่ อรรถนั้นมีสภาวะเป็นปรมัตถ์ มีรูปารมณ์ สัททารมณ์

และรสารมณ์เป็นต้น และมีการสลาย การเสวยอารมณ์เป็นต้น ย่อมมีโดย

สัจฉิกัตถปรมัตถ์. ก็อรรถคืออาการเป็นต้นที่กล่าวว่า เอว และ เม มี

สภาวะมิใช่ปรมัตถ์ เมื่อไม่เข้ากับสัจฉิกัตถปรมัตถ์ ชื่อว่าอวิชชมาน-

บัญญัติ. เพราะฉะนั้น สิ่งที่ท่านทั้งหลายได้นิทเทสว่า เอว หรือ เม จะ

มีอยู่โดยปรมัตถ์ได้อย่างไร. บทว่า สุต ได้แก่ วิชชมานบัญญัติ บัญญัติ

สิ่งที่มีอยู่ จริงอยู่ สิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ได้โดยโสตวิญญาณนั้น โดยปรมัตถ์ ชื่อว่า

วิชชมานบัญญัติแล.

อนึ่ง บทว่า เอว ชื่อว่าอุปาทายบัญญัติ โดยอาศัยธรรมที่มา

ปรากฏทางโสตทวารแล้วยึดเอาอาการคือการทรงจำธรรมเหล่านั้นเป็นต้น .

บทว่า เม ชื่อว่าอุปาทายบัญญัติ เพราะจำต้องกล่าวอาศัยขันธ์ที่นับเนื่อง

ในสันตติอันพิเศษโดยความแปลกกันแห่งการกระทำเป็นต้น. บทว่า สุต

ชื่อว่าอุปนิธานบัญญัติ เพราะจำกล่าวเข้าไปยึดเอาทิฐิเป็นต้น. บัญญัติ

ว่าสุตะแม้เป็นไปในสัททายตนะที่เว้นจากสภาวะ มีรูปที่เห็นแล้วเป็นต้น ก็

จำต้องกล่าวยึดเอารูปที่เห็นเป็นต้น เพราะไม่เพ่งรูปที่เห็นแล้ว อารมณ์ที่

ทราบแล้ว และธรรมที่รู้แจ้งแล้ว ก็รู้แจ้งว่า สิ่งนั้นเราฟังแล้วเหมือน

โวหารว่าที่ ๒ และที่ ๓ เป็นต้น ก็จำต้องกล่าวยึดเอาที่ ๑ เป็นต้น . ก็

บทว่า สุต ในคำว่า อสุต น โหติ นี้มีอรรถที่ท่านกล่าวไว้เพียงเท่านี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 24

ก็ในคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า เอว พระเถระแสดงถึงความไม่หลงลืม.

จริงอยู่ ความแปลกกันโดยประการแห่งพระสูตรที่คนรู้แจ้งแล้ว ท่านพระ-

อานนท์ยึดเอาในคำว่า เอว นี้ ย่อมเป็นอันท่านพระอานนท์แสดงถึงความ

ไม่หลงลืมด้วย เอว ศัพท์นั้น. จริงอยู่ ท่านผู้หลงลืมย่อมไม่สามารถเพื่อจะ

แทงตลอดโดยประการต่าง ๆ. ท่านแสดงประการต่างๆ และประการที่รู้ได้

ยากด้วยอำนาจปัจจยาการว่า พระสูตร. ด้วยคำว่า สุต ท่านแสดงถึงความ

ไม่หลงลืมเรื่องที่ได้ฟังมาแล้ว เพราะอาการแห่งเรื่องที่ได้ฟังมาแล้ว ท่าน

แสดงไว้ตามความเป็นจริง. ก็พระสูตรที่ผู้ใดฟังมาแล้วลืมเสีย ผู้นั้นย่อม

ปฏิญญาไม่ได้ว่า เราได้ฟังมาแล้วในกาลอื่น. ดังนั้น ความสำเร็จแห่ง

ปัญญาในกาลยิ่งกว่านั้นย่อมมีด้วยความไม่หลงลืม ของพระเถระคือไม่มี

ความหลงลืม หรือด้วยปัญญานั้นเองอันเกิดแต่การสดับ ความสำเร็จแห่งสติ

ย่อมมีด้วยความไม่หลงลืมเหมือนกัน. พึงทราบอธิบายในข้อนั้นว่า สติซึ่ง

มีปัญญาเป็นประธาน สามารถห้ามความอื่นโดยพยัญชนะ. จริงอยู่ อาการ

ของพยัญชนะที่จะพึงรู้แจ้งแทงตลอด เป็นอาการไม่ลึกนัก การทรงจำสุตะ

ตามที่ได้ฟังมา จึงเป็นกรณียกิจในข้อนั้น เพราะฉะนั้น สติจึงมีความ

ขวนขวายยิ่งกว่า ส่วนปัญญาเป็นตัวคุณในความพยายามของสตินั้น เพราะ

อธิบายว่า เป็นตัวนำของปัญญา. พึงทราบความที่ปัญญามีสติเป็นตัวนำ

สามารถแทงตลอดอรรถได้. จริงอยู่ อาการที่จะพึงแทงตลอดอรรถได้เป็น

อาการลึกซึ้ง เพราะฉะนั้น ปัญญาจึงมีความพยายามยิ่ง ส่วนสติเป็นตัว

คุณในความพยายามของปัญญานั้น เพราะอธิบายว่า เป็นตัวนำแห่งสติ.

พึงทราบความสำเร็จแห่งความเป็นธรรมภัณฑาคาริก ด้วยความสามารถ

ตามรักษาคลังธรรมอันสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ เพราะประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 25

ด้วยความสามารถของสติและปัญญาทั้งสองนั้น.

อีกนัยหนึ่ง ท่านแสดงโยนิโสมนสิการด้วยคำว่า เอว ก็ความสำเร็จ

อันไม่วิปริตแห่งอรรถของอาการ นิทัสสนะ และอวธารณะ ที่กล่าวด้วย

บทว่า เอว นั้น ส่องถึงการแทงตลอดมีประการต่าง ๆ ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า

เพราะมีธรรมเป็นอารมณ์. ความจริง การแทงตลอดโดยประการต่าง ๆ

โดยอโยนิโสมนสิการ ย่อมมีไม่ได้. ท่านแสดงถึงความไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยคำ-

วา สุต. การฟังพระสูตรที่กล่าวไว้ที่จัดเป็นปกรณ์ด้วยอำนาจคำถามมีอาทิว่า

ปฐมโพธิสูตรท่านกล่าวไว้ในที่ไหน เว้นความตั้งมั่นเสียแล้ว ย่อมมีไม่ได้

เพราะจิตฟุ้งซ่าน จริงอย่างนั้น บุคคลผู้มีจิตฟุ้งซ่าน แม้เขาจะกล่าวด้วย

สมบัติทุกอย่างก็พูดว่า เราไม่ได้ยิน ท่านจงพูดใหม่. ก็ด้วยการใส่ใจโดย

แยบคายในข้อนี้ ย่อมยังอัตตสัมมาปณิธิและปุพเพกตปุญญตาให้สำเร็จ

เพราะผู้ที่มิได้ตั้งคนไว้ชอบและมิได้ทำบุญไว้ในปางก่อนไม่มีโยนิโสมนสิการ

นั้น เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน. ย่อมให้สำเร็จการฟังพระสัทธรรมและการ

คบหาสัปบุรุษ เพราะผู้ที่ไม่ได้สดับและไม่คบหาสัปบุรุษไม่มีโยนิโสมนสิการ

นั้น ด้วยว่า ผู้มีจิตฟุ้งซ่านไม่สามารถฟังได้และผู้ที่ไม่คบหาสัปบุรุษก็ไม่มี

การได้ฟังแล.

อีกนัยหนึ่ง ท่านกล่าวว่า (นั้น) เป็นการแสดงไขจิตสันดานที่

ถือเอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ ด้วยความเป็นไปโดยประการต่าง ๆ ก็

เพราะเหตุที่จิตสันดานนั้น คือ อาการอันเจริญอย่างนี้ เป็นเครื่องการทำ

ประโยชน์เกื้อกูลของผู้อื่นให้บริบูรณ์ทุกอย่าง ด้วยการหยั่งลงสู่ศาสนสมบัติ

ทั้งสิ้น ด้วยการกำหนดประเภทอรรถและพยัญชนะแห่งพระดำรัสของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ตั้งตนไว้ชอบ หรือผู้มิได้ทำบุญไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 26

ในปางก่อน ฉะนั้น ด้วยอาการอันเจริญว่า เอว นี้ พระเถระแสดงจักร

สมบัติ ๒ ข้อ หลังของตน ด้วยการประกอบการฟังว่า สุต พระเถระ

แสดงจักรสมบัติ ๒ ข้อแรก. ความจริง ผู้อยู่ในประเทศอันไม่สมควร

หรือผู้เว้นจากการคบสัปบุรุษ ย่อมไม่มีการฟัง. ดังนั้น ความบริสุทธิ์

แห่งอัธยาศัยของพระเถระ ย่อมสำเร็จด้วยสำเร็จแห่งจักร ๒ ข้อหลัง ผู้ที่

ตั้งตนไว้ชอบและผู้ได้บำเพ็ญบุญไว้ในปางก่อน ย่อมเป็นผู้มีอัธยาศัยบริ-

สุทธิ์ เพราะกิเลสอันเป็นเหตุไม่บริสุทธิ์นั้นอยู่ห่างไกล. จริงอย่างนั้น

ท่านจึงกล่าวไว้ว่า สมฺมาปณิหิต จิตฺต เสยฺยโส น ตโต กเร จิตที่ตั้ง

ไว้ชอบ พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่านั้น และว่า ดูก่อนอานนท์ เธอเป็นผู้

ได้ทำบุญแล้วจงหมั่นประกอบความเพียร เธอจักเป็นผู้มีอาสวะโดยเร็ว

พลัน . ความสำเร็จแห่งการประกอบ เพราะความสำเร็จแห่งจักร ๒ ข้อ

แรก. ก็การประกอบอันบริสุทธิ์ ย่อมมีได้ด้วยการดำเนินตามทิฏฐานุคติ

ของสาธุชน โดยการอยู่ในประเทศอันสมควร และโดยการคบหาสัปปุรุษ.

ก็การสำเร็จด้วยการเป็นเชี่ยวชาญในอธิคม ย่อมมีได้ด้วยความบริสุทธิ์

แห่งอัธยาศัยนั้น เพราะตนได้ชำระสะสางสังกิเลส คือ ตัณหาและทิฏฐิใน

กาลก่อนเรียบร้อยแล้ว การสำเร็จด้วยการเชี่ยวชาญในอาคม ย่อมมีได้

ด้วยความบริสุทธิ์แห่งการประกอบ. จริงอยู่ บุคคลผู้มีกายประโยคและ

วจีประโยคอันบริสุทธิ์ดีแล้ว ชื่อว่ามีจิตไม่ฟุ้งซ่านเพราะไม่มีความเดือด

ร้อน ย่อมเป็นผู้ฉลาดในปริยัติ. ดังนั้น คำของผู้บริสุทธิ์ ด้วยการประกอบ

และอัธยาศัย ผู้สมบูรณ์ด้วยอาคมและอธิคม จึงควรจะเป็นเบื้องต้นแห่ง

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอรุณขึ้นเป็นเบื้องต้นแห่งพระ-

อาทิตย์ขึ้น และเหมือนโยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรม เพราะ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 27

ฉะนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อจะทั้งนิทาน (คำเริ่มต้น) ในฐานะอันควร

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอวมฺเม สุต.

อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงสภาวะแห่งสมบัติ คือ อัตถ-

ปฏิสัมภิทาและปฏิภาณปฏิสัมภิทาของตน ด้วยคำอันแสดงถึงความรู้แจ้ง

ด้วยประการต่าง ๆ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อน ด้วยคำว่า เอว นี้ แสดง

สภาวะคือสมบัติแห่งธัมมปฏิสัมภิทาและนิรุตติปฏิสัมภิทา โดยการเทียบ

เคียง เอว ศัพท์ หรือโดยคำที่แสดงถึงการแทงตลอดประเภทที่ควรฟัง

ด้วยการเพ่งคำที่จะกล่าวถึง ด้วยคำว่า สุต นี้. ก็พระเถระเมื่อจะกล่าวถึง

คำที่แสดงโยนิโสมนสิการว่า เอว นี้ โดยนัยดังกล่าวแล้ว จึงแสดงว่า

ธรรมเหล่านี้ เราเพ่งด้วยใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ. จริงอยู่ ปริยัติธรรม

เราเพ่งด้วยใจโดยนัยมีอาทิว่า ศีลตรัสไว้ในที่นี้ สมาธิตรัสไว้ในที่นี้

ปัญญาตรัสไว้ในที่นี้ อนุสนธิในที่นี้มีประมาณเท่านี้ กำหนดแทงตลอด

ด้วยดี ซึ่งรูปธรรมและอรูปธรรม ซึ่งตรัสไว้ในที่นั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า

รูปมีดังนี้ รูปมีประมาณเท่านี้ ด้วยทิฏฐิอันประกอบด้วยการตรึกตามอาการ

ที่ได้ฟังกันมา อันเป็นการทนท่อการเพ่งธรรม หรือกล่าวคือญาตปริญญา

ย่อมนำหิตสุขแก่ตนและคนเหล่าอื่น. พระเถระเมื่อจะกล่าวคำอั้นแสดงถึง

การประกอบในการฟังว่า สุต นี้ จึงแสดงว่าธรรมเป็นอันมากเราได้ฟังแล้ว

ทรงจำไว้แล้วคล่องปากแล้ว. จริงอยู่ การฟัง การทรงจำและการสะสม

พระปริยัติธรรม เนื่องด้วยการเงี่ยโสตสดับ. แม้ด้วยบททั้งสองนั้น พระ-

เถระเมื่อแสดงความบริบูรณ์แห่งอรรถและพยัญชนะ โดยความเป็นธรรมที่

พระองค์ตรัสดีแล้ว ชื่อว่าให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง. จริงอยู่ คนที่

ไม่ได้ฟังธรรมที่สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะโดยเอื้อเฟื้อ ย่อมเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 28

เหินห่างจากประโยชน์อันยิ่งใหญ่ เพราะฉะนั้น พึงให้เกิดความเอื้อเฟื้อ

ก่อนแล้วจึงสดับธรรมโดยเคารพ.

ก็ด้วยคำทั้งสิ้นว่า เอวมฺเม สุต นี้ ท่านพระอานนท์เมื่อไม่ทรงจำ

ธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วสำหรับตน ย่อมก้าวไปสู่ภูมิอสัปปุรุษ

เมื่อปฏิญาณตนว่าเป็นสาวก ชื่อว่าก้าวลงสู่ภูมิสัปบุรุษ. อนึ่ง ชื่อว่าย่อม

ทำจิตให้ออกจากอสัทธรรม และทำจิตให้ตั้งอยู่ในพระสัทธรรม. พระเถระ

เมื่อจะแสดงว่า สูตรนี้เราฟังมาแล้วทั้งสิ้น ทั้งเป็นพระดำรัสของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้นเอง ชื่อว่าย่อมปลดเปลื้องตน อ้างถึงพระศาสดา

ยึดมั่นพระดำรัสของพระชินเจ้าให้แบบแผนธรรมประดิษฐานอยู่. อีกอย่าง

เมื่อไม่ปฏิญาณว่าตนให้เกิดขึ้นเองด้วยคำว่า เอวมฺเม สุต เมื่อจะเปิดเผย

คำที่ฟังมาก่อน จึงคิดว่าคำนี้เราได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้แกล้วกล้าในเวสารัชชญาณ ๔ ผู้ทรงทศพลญาณ

ผู้ดำรงอยู่ในฐานผู้องอาจ ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดแห่งสรรพสัตว์ ผู้เป็น

ธรรมิศร ธรรมราชา ผู้เป็นอธิบดีในธรรม ผู้เป็นประทีปแห่งธรรม

ผู้เป็นธรรมสรณะ ผู้เป็นจักรพรรดิแห่งพระสัทธรรมอันประเสริฐ ผู้ตรัสรู้

โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ในข้อนี้ เราไม่ควรทำความกังขา หรือความ

เคลือบแคลงในอรรถ ธรรม บท หรือพยัญชนะ ทำความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา

ในธรรมนี้ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งปวงให้พินาศ ให้เกิดสัทธาสัมปทาขึ้น

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ ไว้ว่า

วินาสยติ อสฺสทฺธ สทฺธ วฑฺเฒติ สาสเน

เอวมฺเม สุตมิจฺเจว วท โคตมสาวโก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 29

สาวกของพระโคดมเมื่อกล่าวคำอย่างนี้ว่า เอวมฺ-

เม สุต ย่อมชื่อว่ายังความไม่มี ศรัทธาให้พินาศ ยัง

ศรัทธาให้เจริญในพระศาสนา

บทว่า เอก เป็นการแสดงไขกำหนดการนับ. จริงอยู่ เอก ศัพท์นี้

ปรากฏในอรรถว่า อัญญะ เสฏฐะ อสหายะ และ สังขยา เป็นต้น.

จริงอย่างนั้น เอก ศัพท์นี้ปรากฏในอรรถว่า อัญญะ (อื่น) ในประโยคมี

อาทิว่า คนอีกพวกหนึ่งกล่าวย้ำดังนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง สิ่งนี้เท่านั้น

จริง สิ่งอื่นเปล่า. ปรากฏในอรรถว่า เสฏฐะ (ประเสริฐสุด) ในประโยค

มีอาทิว่า ความที่จิตเป็นเอกผุดขึ้น. ปรากฏในอรรถว่า อสหายะ (ไม่มี

เพื่อน) ในประโยคมีอาทิว่า ผู้เดียว หลีกออกแล้ว. ปรากฏในอรรถว่า

สังขยา (นับ) ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะและสมัยหนึ่ง

แล เพื่อการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์. แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่าใช้ในการนับ

นั่นแหละ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า เอก เป็นการแสดง

กำหนดการนับ. บทว่า สมย เป็นบทแสดงไขเวลาที่กำหนดไว้. บทว่า

เอก สมย เป็นการแสดงเวลาที่ไม่กำหนดแน่นอน. ในคำว่า เอก สมย

นั้น สมยศัพท์ใช้ในอรรถ ๙ อย่าง คือ สมวายะ ๑ ขณะ ๑ กาล ๑

สมุหะ ๑ เหตุ ๑ ทิฏฐิ ๑ ปฏิลาภะ ๑ ปหานะ ๑ ปฏิเวธะ ๑

จริงอย่างนั้น สมยศัพท์นั้น มี สมวายะ(พร้อมเพรียง) เป็น

อรรถ ในประโยคมีอาทิอย่างนี้ว่า ผิไฉนหนอ แม้พรุ่งนี้ เราพึงอาศัย

กาลและความพร้อมเพรียงเข้าไปหา. อธิบายว่า ได้กาลอันควร และความ

พร้อมเพรียงแห่งปัจจัยเพราะฉะนั้น พึงทราบปัจจัยสมวายะ (ความพร้อม

เพรียงแห่งปัจจัย).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 30

มี ขณะ เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็

ขณะและสมัยอันหนึ่งแล เพื่อความอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ อธิบายว่า

โอกาส. จริงอยู่ โอกาสของมรรคพรหมจรรย์ มีการอุบัติขึ้นแห่งพระ

ตถาคตเป็นต้น เพราะเป็นเหตุให้ไค้มรรคพรหมจรรย์นั้นเป็นปัจจัย.

อธิบายว่า ก็สมัยคือขณะ ที่ท่านเรียกว่าขณะและสมัยนั้นเป็นอันเดียวกัน

นั้นเอง.

มี กาล (เวลา) เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า เวลาร้อน เวลา

กระวนกระวาย. มีสมุหะ (ประชุม) เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า มี

การประชุมใหญ่ในป่าใหญ่. จริงอยู่ บทว่า มหาสมโย ความว่า เป็น

ที่ประชุมใหญ่แห่งภิกษุและเทวดาทั้งหลาย.

มีเหตุเป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภัททาลิ แม้เหตุแล

เป็นอันท่านมิได้แทงตลอดแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าแล ประทับอยู่ใน

กรุงสาวัตถี แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็จักทราบว่า ภิกษุชื่อว่าภัททาลิ ไม่

ทำให้บริบูรณ์ในสิกขา ในศาสนาของพระศาสดา ดูก่อนภัททาลิ เหตุแม้

นี้แลเป็นอันเธอไม่ได้แทงตลอดแล้ว. จริงอยู่ เหตุแห่งสิกขาบทท่าน

ประสงค์เอาว่า สมยะ ในที่นี้.

มีทิฏฐิเป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า ก็โดยสมัยนั้นแล อุคคาห-

มานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร อาศัยอยู่ในอารามของพระนางมัลลิกา

มีศาลาหลังเดียว มีต้นมะพลับเรียงราย เป็นที่สอนทิฏฐิ. จริงอยู่ เดียรถีย์

ทั้งหลายนั่งที่อาราม ซึ่งมีศาลาหลังเดียวนั้น บอกสมัยกล่าวคือทิฏฐิของ

ตน ๆ เพราะฉะนั้น อารามของปริพาชกนั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นที่สอน

ทิฏฐิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 31

มีปฏิลาภะ. (การได้เฉพาะ) เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า

นักปราชญ์ท่านเรียกว่าบัณฑิต เพราะได้ประ-

โยชน์ทั้ง ๒ ข้อ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ๑ ประโยชน์

ในภพหน้า ๑.

จริงอยู่ บทว่า อตฺถาภิสมยา ความว่า เพราะได้ประโยชน์ทั้ง-

สองนั้น. มีปหานะ (การละ) เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า ท่านทำที่-

สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะโดยชอบ. อภิสมัยชื่อว่าปหานะ ในคำว่า

อธิกรณะ (การทำให้ยิ่ง) สมยะ (การละ) วูปสมะ (การเข้าไปสงบ)

อปคมะ (การไปปราศ).

มี ปฏิเวธะ (การแทงตลอด) เป็นอรรถ ในประโยคมีอาทิว่า ทุกข์

มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าถูกปัจจัยปรุงแต่ง มีอรรถว่าทำให้เร่าร้อน

มีอรรถว่าแปรปรวน มีอรรถว่าแทงตลอด. จริงอยู่ การแทงตลอดชื่อว่า

อภิสมยะ เพราะจำต้องแทงตลอด. อรรถ คือ อภิสมยะ. ชื่อว่าอภิสมยัฏฐะ

เพราะเหตุนั้น ทุกข์มีการบีบคั้นเป็นต้น ท่านกล่าวรวมเป็นอันเดียวกัน

เพราะจำต้องรู้แจ้งแทงตลอด. อีกอย่างหนึ่ง อรรถอันเป็นอารมณ์แห่ง

อภิสมยะ คือ การแทงตลอด ชื่อว่าอภิสมยัฏฐะ อรรถคือการแทงตลอด

เพราะเหตุนั้น การบีบคั้นเป็นต้นนั้นนั่นแหละ. ท่านจึงกล่าวไว้อย่างนั้น

โดยความเป็นอันเดียวกัน. ในอรรถเหล่านั้น ทุกขสัจเบียดเบียนคนผู้

พรั่งพร้อมด้วยทุกขสัจนั้น คือ กระทำให้เจริญไม่ได้ ชื่อว่าเบียดเบียน.

ความแผดเผา คือ ความเร่าร้อนด้วยอำนาจทุกข์ และความเป็นทุกข์เป็นต้น

ชื่อว่าความเร่าร้อน.

ก็ในข้อนี้ สมัย ชื่อว่า สมวายะ เพราะความสำเร็จ เพราะมีเหตุที่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 32

การกระทำร่วมกัน ย่อพร้อมกัน คือพร้อมเพรียงกัน. สมัย ชื่อว่าขณะ.

เพราะเป็นที่พร้อมกันคือมาพร้อมกันแห่งมรรคพรหมจรรย์ โดยบุคคลผู้

ทรงไว้ซึ่งมรรคพรหมจรรย์นั้น. สมัย ชื่อว่ากาล เพราะเป็นที่ไปพร้อมกัน

หรือเป็นเหตุไปร่วมกันแห่งสัตว์หรือแห่งสภาวธรรม โดยขณะมีอุปาทขณะ

เป็นต้น หรือโดยสัมปยุตธรรมมีสหชาตธรรมเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อว่าโดย

อรรถ กาลแม้จะไม่มีจริงโดยภาวะสักว่าเป็นไปตามธรรม ท่านเรียกโดย

ความสมควรอันสำเร็จมาเพียงความดำริแห่งความเป็นไปของธรรม เหมือน

อธิกรณะ (เป็นที่) และกรณสาธนะ (เป็นเหตุ) แล. สมัย ชื่อว่า สมุหะ

เพราะไป คือเป็นไป ความตั้งอยู่แห่งอวัยวะทั้งหลายเสมอกันหรือพร้อมกัน

เหมือนการประชุมแล. จริงอยู่ การตั้งลงพร้อมกันแห่งอวัยวะนั้นแหละ

ชื่อ สมุหะ (การประชุม) สมัย ชื่อว่า เหตุ เพราะเป็นแดนไป คือเกิด

ขึ้นเป็นไปแห่งผล ในเมื่อมีการประชุมแห่งปัจจัยทั้งหมด เหมือนสมุทัย

แดนเกิดขึ้นแล. สมัย ชื่อว่า ทิฏฐิ เพราะไปพร้อมกัน คือเกี่ยวพันกัน

ไปโดยภาวะเป็นสังโยชน์ เป็นไปในอารมณ์ของตน. อีกอย่างหนึ่ง เพราะ

เป็นเครื่องประกอบโดยภาวะยึดมั่นไป คือเป็นไปตามที่ยึดมั่นของสัตว์

ทั้งหลาย. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายถูกทิฏฐิสังโยชน์ผูกมัดไว้อย่างเหนียวแน่น

แล. สมัย ชื่อว่า ปฏิลาภะ เพราะการประชุม การประจวบ การรวมลง.

สมัย ชื่อว่า ปหานะ เพราะหายไป สาบสูญไป ปราศจากไป. อนึ่ง

สมัย ชื่อว่า อภิสมยะ เพราะเป็นสมัยยิ่งโดยละได้เด็ดขาด เหมืนอภิธรรม

แล. ชื่อว่า อภิสมยะ เพราะพึงถึง คือพึงบรรลุโดยญาณเฉพาะหน้า ได้แก่

หยั่งรู้ ถึงสภาวะแห่งธรรมที่ไม่แปรผัน. ชื่อว่า อภิสมยะ เพราะไป คือ

บรรลุ ตรัสรู้ โดยภาวะเฉพาะหน้า คือโดยชอบ ได้แก่ความหยั่งรู้สภาวะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 33

ตามเป็นจริงแห่งธรรม. พึงทราบความเป็นไปแห่ง สมยศัพท์ ใน

อรรถนั้น ๆ ด้วยอาการอย่างนี้.

พึงทราบเหตุในการขยายอรรถแห่ง สมยศัพท์ เพิ่ม อภิสมยศัพท์.

เข้า โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล. แต่ในที่นี้ สมยศัพท์ ชื่อว่ามีกาลเป็น

อรรถ เพราะอรรถทั้ง ๙ มีสมวายะเป็นต้นไม่มี. พึงทราบสมยศัพท์นั้น

ว่าเป็นกาล ในภาวะแห่งคำเริ่มต้นของเทศนา เหมือนสถานที่ผู้แสดง

และบริษัทแล. ก็เพราะเหตุที่ท่านประสงค์เอากาลว่าสมัยในที่นี้ ฉะนั้น

พระเถระจึงแสดงว่า สมัยหนึ่ง บรรดาสมัยอันเป็นประเภทแห่งกาลเช่น

ปี ฤดู เดือน ครึ่งเดือน กลางคืน กลางวัน เวลาเช้า เที่ยง เย็น

ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม และครู่หนึ่งเป็นต้น .

หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านจึงแสดงไข

ถึงกาลโดยไม่กำหนดแน่นอนทีเดียวนั่นแล แล้วกำหนดแสดงไขโดยฤดู

และปีเป็นต้นก็หามิได้. เฉลยว่า บรรดาสมัยมีปีเป็นต้น เหล่านั้น สูตร

ใด ๆ ที่ท่านกล่าวไว้ใน ปี ฤดู เดือน ปักษ์ ส่วนราตรีหรือส่วนวัน ใด ๆ

ทั้งหมดนั้น พระเถระรู้แจ้งแล้ว คือใช้ปัญญากำหนดด้วยดีแล้ว ก็เพราะ

เหตุที่ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า เราได้ฟังแล้วอย่างนี้ในปีโน้น ฤดูโน้น

ปักษ์โน้น ส่วนราตรีหรือส่วนวันโน้น ใคร ๆ ไม่อาจทรงจำ แสดงเอง

หรือให้ผู้อื่นแสดงได้โดยง่ายทั้งจะต้องกล่าวมากไป ฉะนั้น ท่านจึงประชุม

อรรถนั้นด้วยบทเดียวเท่านั้น แล้วกล่าวว่า เอก สมย ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง พระเถระแสดงว่า สมัยหนึ่ง กล่าวคือสมัยแสดง

ธรรม บรรดาสมัยเหล่านี้ ที่มีประเภทของกาลมากมายทีเดียว อันเป็นการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 34

ประกาศอย่างยิ่งในหมู่เทวดาและมนุษย์สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้ามีอาทิ

อย่างนี้ว่า

สมัยเสด็จลงสู่พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยสลดพระทัย สมัย

เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ สมัยทำทุกรกริยา สมัยชำนะมาร สมัย

ตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณ สมัยประทับอยู่สำราญในปัจจุบัน สมัยแสดง

ธรรม และสมัยปรินิพพาน.

อีกอย่างหนึ่ง พระเถระกล่าวว่า สมัยหนึ่ง หมายเอาสมัยอย่างใด

อย่างหนึ่ง บรรดาสมัยเหล่านี้ คือในสมัยพำเพ็ญกิจแห่งพระปัญญาคุณ

และพระกรุณาคุณ สมัยบำเพ็ญกิจแห่งพระกรุณาคุณ ในสมัยบำเพ็ญ

ประโยชน์ส่วนพระองค์และประโยชน์ผู้อื่น สมัยบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่น

ในสมัยพระกรณียกิจทั้งสองสำหรับผู้ประชุมกัน สมัยแสดงธรรมกถา ใน

สมัยแสดงธรรมและปฏิบัติธรรม สมัยแสดงธรรม.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในสุตตันตปิฎกนี้ ท่านกระทำนิเทศด้วย

ทุติยาวิภัตติ ในอรรถแห่งอัจจันตสังโยคว่า เอก สมย ไม่กระทำเหมือน

อย่างที่ท่านกระทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัติ ในอภิธรรมว่า ยสฺมึ สมเย กา-

มาวจร กุสล จิตฺต อุปฺปนฺน โหติ ดังนี้ และในสุตตบทอื่นจากอภิธรรม

นี้ว่า ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมหิ วิวิจฺจ อกุสเลหิ

ธมฺเมหิ ดังนี้ และในพระวินัย ท่านกระทำนิเทศด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน

สมเยน พุทฺโธ ภควา ดังนี้ ? ตอบว่า เพราะในพระอภิธรรมและ

พระวินัยนั้นมีอรรถเป็นอย่างนั้น แต่ในพระสูตรนี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น.

จริงอยู่ ในปิฎกทั้ง ๓ นั้น อรรถแห่งอธิกรณสาธนะกล่าวคืออาธาระและ

วิสยะในอภิธรรมปิฎก และในสุตตันตปิฎก นอกจากอภิธรรมปิฎกนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 35

และอรรถแห่งลักษณะแห่งภาวะด้วยภาวะ กล่าวคือลักษณะแห่งกิริยาอื่น

ด้วยกิริยาย่อมมี. จริงอยู่ สมัยที่มีกาลเป็นอรรถ และมีสมุหะเป็นอรรถ

จัดเป็นอธิกรณะ. อนึ่ง กาลแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้นตามที่กล่าวแล้วใน

อรรถทั้งสองนั้น แม้ไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์เพราะเป็นเพียงความเป็นไปของ

สภาวธรรม ก็ปรากฏโดยภาวะแห่งอาธาระ. เพราะธรรมที่เป็นไปในขณะ

นั้นไม่มีในกาลก่อนและอื่นจากนั้น เหมือนประโยคมีอาทิว่า ปุพฺพณฺเห

ชาโต (เกิดเวลาเช้า) สายณฺเห ชาโต (เกิดเวลาเย็น) อรรถว่า สมุหะ

พ้นจากส่วนประกอบแม้ไม่มีอยู่โดยปรมัตถ์ ก็ย่อมปรากฏโดยภาวะแห่ง

อาธาระของส่วนประกอบทั้งหลาย โดยรูปสำเร็จเพียงความดำริ เหมือน

ในประโยคมีอาทิว่า กิ่งที่ต้นไม้ ข้าวเหนียวตั้งขึ้นที่กองข้าวเหนียว. กุศล-

จิตฝ่ายกามาวจร ย่อมเกิดในกาลใดและกลุ่มธรรมใด แม้สัมปยุตธรรม

มีผัสสะเป็นต้น ย่อมมีในกาลนั้นและกลุ่มธรรมนั้นนั่นแหละ. ในข้อนั้น

มีอธิบายเพียงเท่านี้ . อนึ่ง ภาวธรรมมีผัสสะเป็นต้น ที่กล่าวไว้ใน

อภิธรรมนั้น ท่านกำหนดด้วยภาวะแห่งสมยศัพท์ กล่าวคือ ขณะ

สมวายะ และเหตุ. เหมือนอย่างว่า ท่านกำหนดกิริยาไปด้วยการกระ

ทำการรีดน้ำนมโค ในคำว่า เมื่อแม่โคถูกรีดน้ำนมแล้ว นายโคบาลก็ไป

เมื่อแม่โคมีน้ำนม นายโคบาลก็มานี้ฉันใด แม้ในพระอภิธรรมนี้ก็ฉันนั้น

เมื่อกล่าวว่า ยสฺมึ สมเย เป็นอัน เข้าใจเนื้อความดังนี้ว่า สำหรับปรมัตถ์

จะเว้นสัตว์ก็ไม่ได้ จะไม่มีสัตว์ก็ไม่ได้ เพราะฉะนั้น สมยศัพท์

ท่านกำหนดกิริยาคืออุปาทขณะแห่งจิต และกิริยาคือการเสวยสภาวธรรม

มีผัสสะเป็นต้น โดยมิใช่กิริยาแห่งสัตว์. อนึ่ง เมื่อสมัยใด เมื่อขณะที่ ๙

ใด เมื่อเหตุมีโยนิโสมนสิการเป็นต้นใด หรือเมื่อความพรั่งพร้อมแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 36

ปัจจัยใด มีอยู่ กามาวจรกุศลจิตย่อมเกิดขึ้น แม้สภาวธรรมมีผัสสะ

เป็นต้น ก็มีในสมัยนั้นในขณะนั้นในเหตุนั้น และในความพรั่งพร้อม

แห่งปัจจัยนั้นแล เพราะฉะนั้น จึงทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติ เพื่อส่อง

อรรถนั้น.

ส่วนในพระวินัย สมยศัพท์มีเหตุเป็นอรรถ เหมือนในประโยค

มีอาทิว่า บุคคลย่อมอยู่เพราะเหตุแห่งข้าว เพราะเหตุแห่งการเชื้อเชิญ และ

มีกรณะเป็นอรรถ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า บุคคลย่อมตัดด้วยขวาน

ย่อมขุดด้วยจอบ. จริงอยู่ สมัยในการบัญญัติสิกขาบทอันใด แม้พระ-

ธรรมเสนาบดีเป็นต้น ก็เข้าใจได้ยาก ด้วยสมัยนั้น อันเป็นกรณะและ

เป็นเหตุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบการล่วงละเมิด จึงให้ประชุมภิกษุ

สงฆ์ สอบถามและติเตียนบุคคลผู้เป็นต้นเหตุ เมื่อจะทรงบัญญัติสิกขาบท

โดยไม่ล่วงเลยเวลา กล่าวคือ สมัยที่ก่อเรื่องนั้น ๆ และไม่เพ่งถึงเหตุ

แห่งการบัญญัติสิกขาบท เหมือนบัญญัติตติยปาราชิกเป็นต้น แล้วประทับ

อยู่ในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น จึงทำนิเทศด้วยตติยาวิภัตติไว้ในพระวินัย

เพื่อส่องอรรถนั้น . แต่สมยศัพท์ที่มีอัจจันตสังโยคเป็นอรรถย่อมมีใน

ที่นี้ และในที่อื่นซึ่งมีกำเนิดอย่างนี้. จริงอยู่ ในสมัยใด อุทานนี้เกิดพร้อม

ด้วยเหตุอันเป็นสมุฏฐาน พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ด้วยการพิจารณา

ธรรมอันมีอริยวิหารธรรมเป็นประธาน ตลอดสมัยนั้นโดยส่วนเดียว

เพราะฉะนั้น จึงกระทำนิเทศด้วยทุติยาวิภัตติ ในพระสูตรนี้ เพื่อส่องอรรถ

แห่งอุปโยคะ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า มาส อชฺเณติ (ย่อมสาธยาย

ตลอดเดือน).

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 37

ต ต อตฺถมเวกฺขิตฺวา ภุมฺเมน กรเณน จ

อญฺตฺถ สมโย วุตฺโต อุปโยเคน โส อิธ.

ท่านพระอานนท์พิจารณาถึงอรรถนั้น ๆ แล้วกล่าว

สมยศัพท์ไว้ในสุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก ด้วย

สัตตมีวิภัตติและตติยาวิภัตติ สมยศัพท์นั้น ท่าน-

พระอุบาลีกล่าวไว้ในวินัยปิฎกนี้ ด้วยทุติยาวิภัตติ.

ส่วนพระโปราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า นิเทศนั่นเป็นความ

ต่างกันเพียงโวหารว่า ยสฺมึ สมเย, ว่า เตน สมเยน, หรือว่า เอก สมย

มีอรรถเป็นสัตตมีวิภัตติทุก ๆ บท. เพราะฉะนั้น แม้เมื่อท่านกล่าว เอก

สมย ก็พึงทราบความว่า เอกสฺมึ สมเย ดังนี้.

บทว่า ภควา เป็นคำบ่งถึงครู. จริงอยู่ ชาวโลกเรียกครูว่า ภควา.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นครูของสรรพสัตว์ เพราะเป็นผู้วิเศษโดยคุณ

ทั้งปวง เพราะฉะนั้น พระองค์ บัณฑิตจงเฉลิมพระนามว่า ภควา

แม้พระโปราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า

ภควาติ รจน เสฏฺ ภควาติ วจนมุตฺตม

ครุคารวยุตฺโต โส ภควา เตน วุจฺจติ.

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐสุด คำว่า ภควา

เป็นคำสูงสุด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ควรแก่ความ

เคารพโดยฐานครู เพราะฉะนั้น พระองค์ บัณฑิต

จึงเฉลิมพระนามว่า ภควา ดังนี้.

ในคำเหล่านั้น คำกล่าวว่า ประเสริฐสุด ท่านกล่าวว่า เสฏฐะ

เพราะเพียบพร้อมด้วยพระคุณอันประเสริฐ. อีกอย่างหนึ่ง อรรถชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 38

วจนะ เพราะอันเขากล่าว บทว่า ภควาติ วจน เสฏฺ ความว่า อรรถ

ที่ควรกล่าวด้วยคำว่า ภควา นี้เป็นอรรถประเสริฐ. แม้ในคำว่า ภควาติ

วจนมุตฺตม นี้ พึงทราบอรรถโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ. บทว่า

คารวยุตฺโต ได้แก่ ชื่อว่าประกอบด้วยความเป็นครู เพราะประกอบด้วย

คุณฐานครู หรือชื่อว่าประกอบด้วยความเคารพ เพราะมีพระกรุณาฐาน

ครูเป็นพิเศษ ภควา นี้ พึงทราบว่าเป็นชื่อของผู้วิเศษด้วยคุณผู้สูงสุดกว่า

สัตว์และผู้ควรเคารพโดยฐานครู. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอรรถแห่งบทว่า

ภควา โดยในที่มาแล้วในนิเทศว่า

ภคี ภชี ภาคี วิภตฺตวา อิติ

อกาสึ ภคฺคนฺติ ครูติ ภาคฺยวา

พหูหิ าเยหิ สุภาวิตตฺตโน

ภวนฺตโค โส ภควาติ วุจฺจติ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น บัณฑิตเฉลิมพระนามว่า

ภควา เพราะเป็นผู้มีโชค เป็นผู้เสพที่สงัด เป็นผู้มี

ส่วนควรรับปัจจัย เป็นผู้จำแนก ได้กระทำการหักภค

ธรรม เป็นครู เป็นผู้มีบุญบารมี เป็นผู้บรมพระองค์-

อย่างดีด้วยญายธรรมอันมาก และเป็นผู้ถึงที่สุดภพ.

และด้วยอำนาจแห่งคาถานี้ว่า

ภาคฺยา ภคฺควา ยุตฺโต ภคฺเคหิ จ วิภตฺตวา

ภตฺตวา วนฺตคมโน ภเวสุ ภควา ตโต .

พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตเฉลิมพระนามว่า

ภควา เพราะเป็นผู้มีภาคยะ. เป็นผู้หักกิเลส เป็น

ผู้ประกอบด้วยภคธรรม เป็นผู้จำแนก เป็นผู้คบ

และเป็นผู้คายการไปในภพเสียได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 39

ก็อรรถแห่งบทว่า ภควา นั้น ๆ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคโดยอาการ

ทั้งปวงเพราะฉะนั้น พึงทราบตามนัยที่กล่าวแล้วในวิสุทธิมรรคนั้นเทอญ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะคบภาคธรรม หรือคายภคธรรม.

จริงอยู่ เพราะตถาคตย่อมคบ สมาคม เสพ ทำให้มากซึ่งบารมีธรรม

มีทานและศีลเป็นต้น และอุตตริมนุสสธรรมมีฌานและวิโมกข์เป็นต้น

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ภควา เพราะคบ

คือปรารถนาอย่างยิ่งซึ่งธรรมเหล่านั้นนั่นแหละว่า อย่างไรหนอ ธรรม

เหล่านี้ จะพึงเกิดขึ้นในสันดานของเวไนยสัตว์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

ภควา เพราะคาย คือถ่ายออกซึ่งความเป็นใหญ่และยศ กล่าวคือภคธรรม

ไม่อาลัยคายทิ้งเสีย เหมือนบุคคลคายทิ้งก้อนเขฬะฉะนั้น จริงอย่างนั้น

พระตถาคตสำคัญสิริราชสมบัติแห่งจักรพรรดิอันอยู่ในพระหัตถ์ ความ

เป็นใหญ่ในทวีปทั้ง ๔ เช่นกับความเป็นใหญ่ในเทวโลก และยศอันรุ่ง-

โรจน์ด้วยรัตนะ ๗ อย่างเป็นที่อาศัยแห่งจักรพรรดิสมบัติ ว่าเหมือนถูก

ไฟไหม้ ไม่ทรงอาลัยละ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ตรัสรู้ชอบด้วยพระ-

องค์เอง ซึ่งสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะฉะนั้น บัณฑิตจึงเฉลิมพระนามว่า

ภควา เพราะคายภคธรรมมีสิริเป็นต้นแม้เหล่านี้. ชื่อว่า ภคา เพราะไป

คือเป็นไปพร้อมนักษัตร ชื่อว่า ภา เหล่านั้น คือเป็นความงามอันอาศัย

โลกอันเป็นที่รองรับ เช่น ภูเขาสิเนรุ ภูเขายุคนธร อุตตรกุรุทวีป และ

ป่าหิมพานต์เป็นต้น เพราะเป็นที่ตั้งอยู่ตลอดกัป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

คายคือละภคธรรมแม้เหล่านั้น ด้วยการละฉันทราคะอันเนื่องกับภคธรรม

นั้น เพราะก้าวล่วงการอยู่ของสัตว์ผู้อาศัยอยู่ในโลกนั้นแล. แม้เมื่อเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 40

อย่างนั้น ก็พึงทราบอรรถของบทว่า ภควา โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ชื่อว่า

ภควา เพราะคายภคธรรม.

ก็ด้วยเหตุเพียงนี้ บรรดาคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า เอวมฺเม สุต พระ-

เถระเมื่อจะกล่าวธรรมตามที่สดับมา จึงกระทำโครงร่างแห่งธรรมของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์. เพราะฉะนั้น พระเถระจึงปลอบโยนชน

ผู้เบื่อหน่ายด้วยการไม่ได้เฝ้าพระศาสดาให้เบาใจว่า นี้ไม่ใช่ปาพจน์ คือ

ธรรมวินัยที่พระศาสดาล่วงไปแล้วนี้ เป็นศาสดาของพวกท่าน. สมจริง

ดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า อานนท์ ธรรมและวินัยอันใดที่เราแสดงแล้ว

บัญญัติแล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นพระศาสดาของ

พวกเธอ ต่อเมื่อเราล่วงไปแล้ว.

ด้วยคำว่า เอก สมย ภควา นี้ พระเถระเมื่อแสดงว่า ในสมัยนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงพระชนม์อยู่ จึงสาธกการปรินิพพานด้วยรูปกาย.

ด้วยเหตุนั้น พระเถระให้ชนผู้มัวเมาเพราะมัวเมาในชีวิตให้สลดใจ และ

ให้เกิดความอุตสาหะในพระสัทธรรมว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์

นั้น ทรงแสดงธรรมมีหลายอย่างเช่นนี้ ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณมีพระกาย

เสมอด้วยโครงร่างเพชร เสด็จปรินิพพานแล้ว ใครอื่นจะพึงให้เกิดความ

หวังในชีวิต.

อนึ่ง เมื่อกล่าวว่า เอว จึงแสดงอ้างเอาเทศนาสมบัติ เพราะ

พระสูตรทั้งสิ้นที่กล่าวอยู่แสดงอ้างถึงบทว่า เอว ดังนี้. ด้วยบทว่า เม สุต

นี้ พระเถระแสดงถึงสาวกสมบัติและสวนสมบัติ เพราะแสดงถึงภาวะที่

ผู้บรรลุปฎิสัมภิทาเป็นธรรมภัณฑาคาริกอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนา

ไว้ในเอตทัคคะในฐานะทั้ง ๕ สดับมาแล้ว และเพราะแสดงความนี้ว่า ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 41

พระสูตรนั่นแลเราได้สดับมาแล้วมิใช่ไม่ได้สดับ และไม่ใช่นำโดยสืบ ๆ

กันมาเท่านั้น. ตัวบทว่า เอก สมย นี้ พระเถระแสดงถึงกาลสมบัติ

เพราะแสดงถึงภาวะที่ประดับด้วยพุทธุปบาทกาลตรงกับสมัยพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับอยู่ที่ตำบลอุรุเวลา. ก็กาลสัมปทามีพุทธุปบาทกาลเป็นที่ยิ่ง.

ด้วยบทว่า ภควา นี้ พระเถระแสดงถึงเทสกสมบัติ เพราะแสดงถึงภาวะ

ที่พระองค์เป็นผู้วิเศษด้วยคุณเป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์และเป็นครู.

บทว่า อุรุเวลาย ได้แก่ ใกล้กองทรายใหญ่ อธิบายว่า ที่กอง

ทรายใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง ทรายท่านเรียกว่า อุรุ เขตแดนท่านเรียกว่า

เวลา. พึงเห็นเนื้อความในคำนี้อย่างนี้ว่า ทรายที่เขานำมาเพราะล่วงเขต

แดน ชื่อว่า อุรุเวลา.

เล่ากันมาว่า ในอดีตกาล เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น ดาบส

หมื่นหนึ่งอยู่ในประเทศนั้นกระทำกติกาวัตรว่า กายกรรมและวจีกรรม

ย่อมปรากฏแม้แก่ชนเหล่าอื่น ส่วนมโนกรรมไม่ปรากฏเลย เพราะฉะนั้น

ผู้ใดตรึกถึงมิจฉาวิตก ผู้นั้น ชื่อว่าจงโจทย์ตนด้วยตนเอง จงใช้ใบไม้ม้วน

ตักทรายมาเกลี่ยลงในที่นี้ นี้เป็นทัณฑกรรมของผู้นั้น. ต่อแต่นั้น ผู้ใดตรึก

ถึงวิตกเช่นนั้น ผู้นั้นจะนำทรายมาด้วยห่อที่ทำด้วยใบไม้แล้วเกลี่ยลงในที่

นั้น. เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงเกิดเป็นกองทรายใหญ่โดยลำดับในที่นั้น. แต่

นั้น. ปัจฉิมาชนตาชน ล้อมกองทรายใหญ่นั้นสร้างเป็นเจดีย์สถาน ท่าน

หมายเอาสถานที่นั้น จึงได้กล่าวดังนี้ว่า บทว่า อุรุเวลาย ได้แก่ ใกล้

กองทรายใหญ่ พึงเห็นความว่า ที่กองทรายใหญ่.

บทว่า วิหรติ เป็นบทแสดงความพรั่งพร้อมด้วยวิหารธรรมอย่างใด

อย่างหนึ่งบรรดาอิริยาบถวิหาร ทิพยวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 42

โดยไม่แปลกกัน. แต่ในที่นี้ บทว่า วิหรติ พึงทราบว่า เป็นบทแสดง

การประกอบอิริยาบถ กล่าวคือการนั่งในบรรดาอิริยาบถ เช่นการยืน

การนั่ง การเดิน และการนอน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิหรติ นั้น พึง

ทราบว่าเป็นการแสดงความพรั่งพร้อมแห่งอริยวิหาร. ในอิริยาบถเหล่า-

นั้น เพราะเหตุที่บุคคลตัดความลำบากอิริยาบถหนึ่งด้วยอิริยาบถหนึ่ง แล้ว

นำอัตภาพไป คือให้เป็นไปโดยไม่ให้ทรุดโทรม เพราะฉะนั้น ในที่นี้

พึงทราบอรรถบทว่า วิหรติ โดยอิริยาบถวิหาร. ก็เพราะเหตุที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงนำไป ทรงนำเข้าไป ทรงนำเข้าไปใกล้ ได้แก่ ให้เกิด

หิตประโยชน์หลายประการแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยทิพยวิหารเป็นต้น เพราะ-

ฉะนั้น เมื่อว่าด้วยทิพยวิหารเป็นต้น พึงทราบอรรถอย่างนี้ว่า นำไป

ต่าง ๆ.

บทว่า นชฺชา ความว่า ชื่อว่านที เพราะไหล คือไหลไป. การ

ไหลไปของแม่น้ำนั้น อธิบายว่า แม่น้ำที่ไหลไป. บทว่า เนรญฺชราย

ความว่า น้ำของแม่น้ำนั้นไม่มีโทษ เพราะฉะนั้น เมื่อควรจะกล่าวว่า

เนลชลาย กล่าวเสียว่า เนรญฺชราย เพราะแปลง อักษรให้เป็น

อักษร. อธิบายว่า น้ำเว้นจากโทษมีเปือกตมสาหร่ายและแหนเป็นต้น.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่าเมื่อควรพูดว่า นีลชลาย กล่าวเสียว่า เนรญฺชราย

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อนั้นนั่นแหละพึงทราบว่า เป็นชื่อแม่น้ำนั้น. เพื่อแสดง

สถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ใกล้ฝั่งแม่น้ำนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

โพธิรุกฺขมูเล ดังนี้.

ในบทว่า โพธิรุกฺขมูเล นั้น มรรคญาณเรียกว่า โพธิ ในประโยค

นี้ว่า โพธิ วุจจติ จตูสุ มคฺเคสุ าณ ดังนี้. สัพพัญญุตญาณ เรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 43

โพธิ ในประโยคนี้ว่า ปปฺโปติ โพธึ วรภูริเมธโส ผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน

อันประเสริฐบรรลุโพธิญาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรลุโพธิแม้

ทั้งสองอย่างนี้ที่ต้นไม้นั้น เพราะเหตุนั้น แม้ต้นไม้นั้น ย่อมได้นามว่า

โพธิพฤกษ์. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า โพธิ

เพราะตรัสรู้โพชฌงค์ ๗. แม้ต้นไม้นั้น ก็ได้นามว่าโพธิพฤกษ์ เพราะ

พระองค์เมื่อตรัสรู้จำต้องอาศัยต้นไม้นั้น แห่งโพธิพฤกษ์นั้น. บทว่า

มูเล แปลว่า ที่ใกล้. จริงอยู่ ศัพท์ว่า มูล นี้ ปรากฏที่มูลคือรากเดิม

ในประโยคมีอาทิว่า พึงถอนราก โดยที่สุดแม้เพียงก้านแฝก. ปรากฏใน

เหตุอันไม่ทั่วไป ในประโยคมีอาทิว่า โลภเจตสิก เป็นอกุศลมูล. ปรากฏ

ในที่ใกล้ ในประโยคมีอาทิว่า เวลาเที่ยงวันเงาแผ่ไป เวลาอับลม ใบไม้

ร่วงหล่นมีกำหนดเพียงใด ใกล้ต้นไม้ มีกำหนดเพียงนั้น. มูลศัพท์แม้

ในที่นี้ ก็ประสงค์เอาในที่ใกล้ เพราะฉะนั้น พึงเห็นความในข้อนี้อย่าง

นี้ว่า ที่ควงคือที่ใกล้แห่งโพธิพฤกษ์. บทว่า ปมาภิสมฺพุทฺโธ ได้แก่

เป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งเป็นครั้งแรก อธิบายว่า ก่อนกว่าเขาทั้งหมดทีเดียว.

ด้วยลำดับคำเพียงเท่านี้ พระเถระผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก เมื่อเริ่ม

ตั้งคำเริ่มต้นแห่งอุทานเทศนา จึงเป็นอันประกาศ แสดงอ้างถึงกาล

ประเทศ และผู้แสดงถึงกาลและประเทศพร้อมคุณพิเศษ.

ในข้อนี้ มีผู้ทักท้วงว่า ก็เพราะเหตุไร เมื่อทำสังคายนาพระธรรม

วินัย จึงกล่าวถึงคำเริ่มต้น. ควรทำการรวบรวมเฉพาะพระดำรัสที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสแล้วมิใช่หรือ ? เฉลยว่า เพื่อให้พระธรรมเทศนาถึงพร้อม

ด้วยความดำรงมั่น ไม่ฟั่นเฟือน และเป็นที่ตั้งศรัทธา. จริงอยู่ เทศนาที่

ดำรงโดยสืบต่อกันมาด้วยกาล ประเทศ ผู้แสดง และวัตถุเป็นต้น ดำรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 44

อยู่ตลอดกาลไม่ฟั่นเฟือนและเป็นที่ตั้งศรัทธา ดุจการวินิจฉัยข้อบัญญัติที่

ผูกพันด้วยประเทศ กาล ผู้ทำเหตุ และนิมิต. ก็เพราะเหตุนั้นนั่นแล เมื่อ

พระมหากัสสปะทำการถามในประเทศเป็นต้น โดยอาทิว่า ท่านอานนท์

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุทานครั้งแรกไว้ที่ไหน ? ท่านพระอานนท์ผู้เป็น

ธรรมภัณฑาคาริก เมื่อจะทำการวิสัชนาปัญหาเหล่านั้น จึงกล่าวคำเริ่มต้น

แห่งอุทานโดยนัยมีอาทิว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้แล.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวถึงคำเริ่มต้นเป็นการประกาศสัตถุสมบัติ

ความพร้อมมูลแห่งพระศาสดา. ความสำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าย่อมมี เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตถาคต ไม่มีการรจนาไว้ก่อน การอนุมาน การ

เล่าเรียนนิกาย และการคาดคะเน. ด้วยว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่มีความ

ต้องการ ด้วยการรจนาไว้ก่อนเป็นต้น เพราะพระองค์มีประมาณเป็นเอก

ในไญยธรรม เหตุที่พระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระญาณอันไม่มีปัจจัยอะไร ๆ

ขัดขวางในที่ทุกสถาน. ความสำเร็จเป็นพระขีณาสพ ย่อมมีเพราะไม่มี

ความติดอยู่ ในอาจริยมุฏฐิ (ปิดบังอำพราง) ธรรมมัจฉริยะ (ตระหนี่-

ธรรม) คำสอน และสาวก. เพราะว่า ผู้สิ้นอาสวะโดยประการทั้งปวง

แม้ในที่ไหน ๆ ก็ไม่มีอาจริยมุฏฐิเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านผู้บริสุทธิ์ดี

จึงดำเนินการอนุเคราะห์เหล่าสัตว์. ดังนั้น ความสำเร็จเวสารัชชญาณ

๒ ข้อแรก ย่อมมีได้ด้วยความบริสุทธิ์และหมดจดดี อันส่องถึงความไม่มี

อวิชชาและตัณหา อันประทุษร้ายทิฏฐิสมบัติ และศีลสมบัติเป็นโทษใน

การแสดง และปรากฏชัดโดยญาณสัมปทากับปหานสัมปทา อนึ่ง ความ

สำเร็จเวสารัชชญาณ ๒ ข้อ หลังย่อมมี เพราะสำเร็จโดยความไม่มีความ

งมงายในอันตรายิกธรรมและนิยยานิกธรรมนั้นแล. ความประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 45

เวสารัชชญาณ ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และการบำเพ็ญประโยชน์ส่วน

พระองค์และประโยชน์ส่วนผู้อื่น เป็นอันประกาศแล้วด้วยคำเริ่มต้น

เพราะแสดงถึงพระธรรมเทศนา ด้วยปฏิภาณอันเกิดขึ้น ตามฐานะโดย

สมควรแก่อัธยาศัยของบริษัทผู้ประชุมกันในที่นั้นๆ. แต่ในที่นี้พึงประกอบ

ความว่า ด้วยการประกาศการเสวยวิมุตติสุข และมนสิการถึงปฏิจจสมุป-

บาท. เพราะฉะนั้น ท่านพระอานนท์จึงกล่าวว่า กล่าวคำเริ่มต้น เพื่อ

ประกาศสัตถุสมบัติ.

อนึ่ง กล่าวคำเริ่มต้น เพื่อประกาศศาสนสมบัติ. จริงอยู่ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้บำเพ็ญกิจทั้งปวง ซึ่งกำหนดด้วยพระปัญญาคุณและพระ-

กรุณาคุณ ไม่มีข้อปฏิบัติที่ไร้ประโยชน์ หรือ (มุ่ง) ประโยชน์ส่วน

พระองค์. เพราะฉะนั้น กายกรรม วจีกรรม และมโนกรรมแม้ทั้งสิ้น

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้บำเพ็ญประโยชน์ทั้งปวง อันเป็นไปเพื่อประ-

โยชน์แก่ผู้อื่นอย่างเดียว ที่ตรัสอยู่ตามที่เป็นไป ชื่อว่าศาสนา เพราะ

ตามสอนสัตว์ทั้งหลายตามสมควรด้วยประโยชน์ปัจจุบัน ประโยชน์ชาติ

หน้า และประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ใช่เป็นคำรจนาของกวี พระพุทธจริยานี้

นั้น ท่านประกาศไว้ตามสมควร ด้วยคำเริ่มต้นในที่นั้น ๆ พร้อมกับ

กาละ เทสะ ผู้แสดงและประเทศ. แต่ในที่นี้พึงประกอบว่า ด้วยการเสวย

วิมุตติสุขในการตรัสรู้ยิ่ง และด้วยมนสิการปฏิจจสมุปบาท. เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า กล่าวคำเริ่มต้นเพื่อประกาศศาสนสมบัติ. อีกอย่างหนึ่ง

การกล่าวคำเริ่มต้น เพื่อแสดงภาวะที่พระศาสนาเป็นประมาณ ด้วยการ

ประกาศภาวะที่ศาสดาเป็นประมาณ. และการแสดงภาวะที่พระศาสนาเป็น

ประมาณนั้น พึงทราบตามกระแสแห่งนัยที่กล่าวแล้วในหนหลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 46

จริงอยู่ ด้วยคำว่า ภควา นี้ เป็นอันประกาศความนี้โดยประการ

ทั้งปวง ด้วยการแสดงถึงการละมลทิน คือกิเลสทั้งปวง มีราคะ โทสะ

โมหะ เป็นต้น และการละโทษมีทุจริตเป็นต้น ด้วยการแสดงความที่

พระตถาคตเป็นผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ และด้วยการแสดงถึงการประกอบ

ด้วยคุณวิเศษ มีพระปัญญาคุณ และพระกรุณาคุณเป็นต้น อันไม่ทั่วไป

แก่ผู้อื่น เพราะฉะนั้น คำนี้จึงเป็นคำแสดงเพียงมุขแห่งการประกอบคำ

เริ่มต้นในข้อนี้.

ก็พึงทราบคำที่ท่านเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุต จนถึงคำว่า อิม อุทาน

อุทาเนสิ นี้เป็นคำเริ่มต้นของอุทานนี้. จริงอย่างนั้น คำนั้นเป็นคำที่

พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ในคราวสังคายนา เพื่อประกาศการปฏิบัติทาง

กายและทางใจของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น จำเดิมแต่ต้นตามที่พระองค์

ทรงปฏิบัติมาจนเปล่งพระอุทานนี้.

ถามว่า ก็คำว่า อิมสฺมึ สติ อิท โหติ เป็นต้น ควรเป็นคำของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น เพราะคนอื่นนอกจากพระศาสดาแล้ว ไม่

สามารถจะแสดงปฏิจจสมุปบาทได้มิใช่หรือ ? ตอบว่า ข้อนั้นจริง เหมือน

อย่างว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำปฏิจจสมุปบาทไว้ในพระทัย โดย

การพิจารณาสภาวธรรมที่ควงแห่งโพธิพฤกษ์ ฉันใด พระธรรมสังคา-

หกมหาเถระทั้งหลาย สังคายนาคำเริ่มต้นแห่งอุทานนี้ ที่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงแสดงไว้ในปฏิจจสมุปบาทและสีหนาทสูตร เป็นต้น เพื่อปลุก

เหล่าสัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งสัตว์ผู้ควรจะตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาทนั้น และ

ตรัสมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาทให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ด้วยสามารถแห่ง

การกระทำตามอาการแห่งพระดำรัสที่ทรงแสดงไว้ เพราะเหตุนั้น พึงตก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 47

ลงในข้อนี้ว่า คำตามที่กล่าวไว้เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์นั่นเอง แม้

ในสูตรอื่นจากนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.

ก็ในข้อนี้ พึงทราบสุตตนิกเขปบท (การตั้งพระสูตร) ๔ ประการ

คือ เกิดด้วยอัธยาศัยของตน ๑ เกิดด้วยอัธยาศัยของผู้อื่น ๑ เกิดด้วย

อำนาจคำถาม ๑ เกิดด้วยการเกิดเรื่องขึ้น ๑. เหมือนอย่างว่า พระสูตร

แม้ต่างโดยหลายร้อยหลายพันสูตร ก็ไม่ล่วงเลยภาวะ ๑๖ อย่าง โดยปัฏ-

ฐานนัย มีสังกิเลสภาคิยนัยเป็นต้น ฉันใด พระสูตรแม้ทั้งหมดนั้นก็

ฉันนั้น ไม่ล่วงเลยภาวะ ๔ ประการ โดยสุตตนิกเขปนัย มีอัตตัชฌาสยนัย

(อัธยาศัยของตน) เป็นต้นแล. ก็ในข้อนี้ การตั้งพระสูตรอันเกิดด้วย

อัธยาศัยของตน และเกิดด้วยการเกิดเรื่องขึ้น ย่อมมีประเภทของการ

เกี่ยวข้องกับที่เกิดด้วยอัธยาศัยของผู้อื่นและที่เกิดด้วยอำนาจคำถาม เพราะ

เกิดด้วยอนุสนธิแห่งอัธยาศัย และอนุสนธิแห่งคำถามก็จริง ถึงอย่างนั้น

การตั้งพระสูตรที่เกิดจากอัธยาศัยของตน และที่เกิดด้วยการเกิดเรื่องขึ้น

จึงไม่มีความเกี่ยวข้องกันและกัน เพราะฉะนั้น ปัฏฐานนัยจึงไม่มีส่วน

เหลือเลย. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า สุตตนิกเขป ๔ ด้วยอำนาจมูล-

นิกเขปแห่งนิกเขปที่เหลือซึ่งมีอยู่ เพราะหยั่งลงในภายในแห่งปัฏฐานนัย

นั้น.

ในข้อนั้น มีวจนัตถะดังต่อไปนี้ การตั้งลง ชื่อนิกเขป นิกเขปแห่ง

พระสูตร ชื่อว่าสุตตนิกเขป อธิบายว่า สุตตเทศนา อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

นิกเขป เพราะเขาตั้งไว้ นิกเขปคือสูตร ชื่อว่าสุตตนิกเขป. อัธยาศัยของตน

ชื่อว่าอัตตัชฌาสยะ สุตตนิกเขปนั้น ชื่อว่าอัตตัชฌาสยะ เพราะมีอัธยาศัย

แห่งตนเป็นเหตุ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอัตตัชฌาสยะ เพราะมีตนเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 48

อัธยาศัย. แม้ในอัธยาศัยของผู้อื่นก็นัยนี้เหมือนกัน. อำนาจแห่งคำถาม

ชื่อปุจฉาวสะ สุตตนิกเขปนั้น ชื่อว่าปุจฉาวสิกะ เพราะมีอำนาจแห่งคำ-

ถาม. การเกิดขึ้นแห่งเนื้อความอันเป็นเรื่องแห่งสุตตเทศนา ชื่อว่า

อัตถุปปัตติ สุตตนิเขปชื่อว่าอัตถุปปัตติกะ เพราะมีการเกิดเรื่องขึ้น.

อีกอย่างหนึ่ง อัตถุปปัตตินั้นแหละ ชื่ออัตถุปปัตติกะ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

นิกเขป เพราะเป็นเหตุตั้งพระสูตร คืออัธยาศัยของตนเป็นต้น . ส่วนใน

การกำหนดอรรถนี้ พึงทราบอรรถในข้อนี้อย่างนี้ว่า อัธยาศัยของตนชื่อว่า

อัตตัชฌาสยะ อัธยาศัยของผู้อื่น ชื่อว่าปรัชฌาสยะ. ชื่อว่าปุจฉา เพราะ

เขาถาม คือเรื่องที่จะต้องถาม. คำของผู้รับธรรมที่เป็นไปด้วยคำถาม ชื่อว่า

ปุจฉาวสะ ปุจฉาวสะนั่นแหละ ท่านกล่าวเป็นปุงลิงค์ว่า ปุจฉาวสิโก

โดยมุ่งถึงศัพท์ว่า นิกเขป. อนึ่ง อัตถุปปัตตินั่นแหละ ชื่อว่าอัตุถป-

ปัตติกะ.

ก็ในข้อนี้มีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะไม่มุ่งถึงเหตุมีความแก่กล้า

อินทรีย์เป็นต้น ของคนอื่นจึงควรมีภาวะแห่งสุตตนิกเขปแผนกหนึ่งของ

อัตตัชฌาสยะ เพราะประกาศเทศนา เพื่อตั้งแบบแผนแห่งธรรมตาม

อัธยาศัยของตนอย่างเดียวเท่านั้น ก็สุตตนิกเขปที่เกิดด้วยอัธยาศัยของคน

อื่น และที่เกิดด้วยคำถาม เป็นไปในการเกิดขึ้นแห่งอัธยาศัย และคำถาม

ของผู้อื่น อันเป็นเหตุให้ประกาศธรรมเทศนาอย่างไรจึงไม่ผิด ในการ

เกิดเรื่องขึ้น หรือว่าเมื่อสุตตนิกเขปที่เกิดด้วยอำนาจคำถาม และที่เกิด

ด้วยการเกิดเรื่องขึ้น เป็นไปโดยคล้อยตามอัธยาศัยของผู้อื่น อย่างไรจึง

ไม่ผิดในอัธยาศัยของผู้อื่น ? ข้อนั้นไม่จำต้องทักท้วง. ก็เพราะท่านถือ

เอาการเกิดขึ้นอันเป็นเหตุแสดงพระสูตร ซึ่งพ้นจากอภินิหาร และการ

สอบถามเป็นต้น และการวินิจฉัยเป็นต้นของคนอื่น โดยเป็นอัตถุปัตติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 49

เหตุเกิดเรื่องขึ้น จึงถือเอาสุตตนิกเขปที่เกิดด้วยอัธยาศัยของผู้อื่น และ

ที่เกิดด้วยอำนาจคำถามไว้ส่วนหนึ่งต่างหาก. จริงอย่างนั้น เหตุในการ

แสดงคุณและโทษ และการเกิดขึ้นแห่งอามิส แห่งพรหมชาลสูตร และ

ธรรมทายาทสูตร เป็นต้น ท่านเรียกว่า อัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องขึ้น.

เว้นคำถามของคนอื่นเสีย อรรถที่ท่านแสดงเฉพาะอัธยาศัยให้เป็นนิมิต

นี้ปรากฏว่า ปรัชฌาสยะ เกิดจากอัธยาศัยของผู้อื่น ที่ท่านแสดงด้วย

อำนาจคำถาม นี้ปรากฏว่า ปุจฉาวสิกะ เกิดด้วยอำนาจคำถามแล.

ในนิกเขป ๔ อย่างนั้น อุทานเหล่านี้ คือ โพธิสูตร ๓ สูตร มีสูตร

แรกเป็นต้น มุจจลินทสูตร อายุสังขาโรสัชชนสูตร ปัจจเวกขณสูตร

และปปัญจสัญญาสูตร จัดเป็นอัตตัชฌาสยนิกเขป. อุทานเหล่านี้คือ

หุหุงกสูตร พราหมณชาติกสูตร พาหิยสูคร จัดเป็นปุจฉาวสิกนิกเขป.

อุทานเหล่านี้ คือ ราชสูตร สักการสูตร อุจฉาทนสูตร ปิณฑปาติกสูตร

สิปปสูตร โคปาลกสูตร สุนทริกาสูตร มาตุสูตร สังฆเภทสูตร อุทปานสูตร

ตถาคตุปปาทสูตร โมเนยยสูตร ปาฏลิคามิยสูตร และทัพพสูตร ๒ สูตร

จัดเป็นอัตถุปปัตติกนิกเขป. อุทานเหล่านี้คือ ปาลิเลยยสูตร ปิยสูตร

นาคสมาลสูตร และวิสาขาสูตร เป็นทั้งอัตตัชฌาสยนิกเขป และปรัชฌา-

สยนิกเขป. สูตรที่เหลืออีก ๕๑ สูตร จัดเป็นปรัชฌาสยนิกเขป. พึงทราบ

ความแปลกกันแห่งนิกเขปของอุทานเหล่านั้น ด้วยอำนาจอัตตัชฌาสย-

นิกเขปเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ .

ก็ในที่นี้ อุทานเหล่าใดพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสต่อหน้าภิกษุทั้งหลาย

อุทานเหล่านั้นเป็นพระสูตรตามที่ตรัสไว้ ภิกษุเหล่านั้นท่องให้คล่องปาก

เพ่งได้ด้วยใจ ตรัสไว้แก่ท่านพระธรรมภัณฑาคาริก. ส่วนอุทานเหล่าใด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 50

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัสต่อหน้าภิกษุทั้งหลาย แม้อุทานเหล่านั้น

ภายหลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสแก่ท่านธรรมภัณฑาคาริกอีก. พึง

ทราบว่า อุทานเหล่านั้นแม้ทั้งหมดดังกล่าวมานี้ ท่านพระอานนท์ทรง

จำได้หมด และบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย ภายหลังต่อมา ได้ยกขึ้นสู่สังคายนา

ว่า อุทานนั่นเอง ในคราวทำมหาสังคายนาครั้งแรก.

ก็บทว่า เตน สมเยน ในบทมีอาทิว่า เตน โข ปน สมเยน เป็น

ตติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. บทว่า โข ปน เป็นนิบาต อธิบาย

ว่า ตสฺมึ สมเย ในสมัยนั้น. ก็ในสมัยไหน ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้

ครั้งแรก ประทับอยู่ที่ควงไม้โพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ณ ตำบล

อุรุเวลา ตลอดสมัยใด ในสมัยนั้น. บทว่า สตฺตาห แปลว่า ๗ วัน คือ

สัปดาห์หนึ่ง. บทว่า สตฺตาห นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งอัจจันต-

สังโยคะ แปลว่า ตลอด. เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำราญอยู่

ด้วยสุขอันเกิดผลสมาบัติส่วนเดียว โดยไม่ขาดสายตลอดสัปดาห์นั้น ฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวทุติยาวิภัตติด้วยอำนาจอัจจันตสังโยคะว่า สตฺตาห แปลว่า

ตลอดสัปดาห์. บทว่า เอกปลฺลงฺเกน ความว่า โดยนั่งขัดสมาธิท่าเดียว

เท่านั้น ไม่ได้เสด็จลุกขึ้นสักคราวเดียว ตั้งแต่เวลาที่ประทับนั่งบนวชิรา-

อาสน์อันเป็นอปราชิตบัลลังก์อันประเสริฐ ในเวลาพระอาทิตย์ยังไม่

อัสดงคต ในวันวิสาขปุณณมี เพ็ญเดือน ๖. บทว่า วิมุตฺติสุข ปฏิสเวที

ความว่า พระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข คือสุขเกิดแต่ผลสมาบัติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ วิมุตติ ๕ คือ ตทังควิมุตติ

วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ

บรรดาวิมุตติ ๕ เหล่านั้น ความหลุดพ้น โดยหลุดพ้นจากธรรมอันเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 51

ข้าศึกนั้น ๆ ด้วยองค์คุณนั้น ๆ มีการบริจาคไทยธรรมเป็นต้น และด้วย

องค์แห่งวิปัสสนา มีการกำหนดนามรูปเป็นต้น ตราบเท่าที่องค์นั้น ๆ ยัง

เป็น ไปโดยไม่มีการเสื่อม จัดเป็นปหานะ. การละ คือ การหลุดพ้นจาก

มัจฉริยะ และโลภะ เป็นต้น ด้วยทาน. จากปาณาติบาตเป็นต้นด้วยศีล,

จากสักกายทิฏฐิด้วยการกำหนดนามรูป. จากทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและมีเหตุ ไม่

เสมอกันด้วยการกำหนดปัจจัยและธรรมที่ไม่ใช่ปัจจัย จากความเป็นผู้

สงสัยด้วยการข้ามพ้นความสงสัย อันเป็นส่วนอื่นของนามรูปนั้นนั่นแหละ,

จากการยึดถือว่าเรา ว่าของเรา ด้วยการพิจารณาถึงรูปกลาปะ รูปเป็น

กลุ่มเป็นก้อน, จากความสำคัญในธรรมที่ไม่ใช่มรรคว่าเป็นมรรค ด้วย

การกำหนดว่ามรรคและมิใช่มรรค, จากอุจเฉททิฏฐิด้วยการเห็นความเกิด

แห่งรูปนาม, จากสัสสตทิฏฐิด้วยการเห็นความดับรูปนาม, จากความสำคัญ

ในสิ่งที่มีภัยว่าไม่เป็นภัย ด้วยการเห็นว่าเป็นภัย, จากความสำคัญว่า น่า

ยินดีด้วยการเห็นว่าเป็นโทษ, จากความสำคัญรูปว่า น่าเพลิดเพลินด้วย

การเห็นรูปว่าน่าเบื่อหน่าย. จากความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะหลุดพ้นด้วยมุญ-

จิตุกัมยตาญาณ ญาณคือความใคร่เพื่อจะหลุดพ้น, จากความไม่วางเฉย

ด้วยอุเบกขาญาณ, จากภาวะอันเป็นปฏิโลม (คือแย้ง) ในธรรมฐิติและ

พระนิพพานด้วยอนุโลมญาณ และพ้นจากภาวะมีสังขารเป็นนิมิตด้วยโคตร-

ภูญาณ นี้ชื่อว่า ตทังควิมุตติ.

อนึ่ง ความหลุดพ้นที่หมายรู้ด้วยการไม่เกิดขึ้นแห่งนิวรณ์ มีกาม-

ฉันทนิวรณ์เป็นต้น และปัจจนิกธรรม ธรรมที่เป็นข้าศึกมีวิตกเป็นต้น

ด้วยสมาธิอันต่างด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ตราบเท่าที่สมาธินั้น

ดำเนินไปโดยไม่เสื่อม นี้ชื่อว่า วิกขัมภนวิมุตติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 52

ความหลุดพ้นด้วยอำนาจสมุจเฉทปหาน โดยภาวะที่เกิดขึ้นไม่ได้

โดยสิ้นเชิงอีก แห่งการยึดถือด้วยกิเลสฝ่ายสมุทัยที่กล่าวไว้โดยนัย มีอาทิ

ว่า ทิฏฺฐิคตาน ปหาย เพราะละทิฏฐิ ตามสมควรในสันดานแห่งพระ-

อริยเจ้าผู้ดำรงอยู่ในมรรคนั้น ๆ เพราะท่านทำอริยมรรค ๔ ให้เกิด นี้ชื่อ

ว่า สมุจเฉทวิมุตติ.

ก็ภาวะที่กิเลสสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต นี้ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิ-

วิมุตติ. จิตที่หลุดพ้นจากสังขารทั้งปวง ชื่อว่าพระนิพพาน เพราะสลัด

สังขตธรรมทั้งปวง นี้ชื่อว่า นิสสรณวิมุตติ. แต่ในที่นี้ ท่านประสงค์เอา

การหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งผลจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งมีพระนิพ-

พานเป็นอารมณ์. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า สุขปฏิสเวที

ความว่า เป็นผู้ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข คือสุขเกิดแต่ผลสมาบัติ.

และบทว่า วิมุตตฺต ได้แก่ ภาวะที่จิตหลุดพ้นด้วยอำนาจสงบ ระงับ

อุปกิเลส. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบจิตนั่นแหละว่าหลุดพ้นแล้วอย่างนั้น. สุข

อันเกิดหรือสัมปยุตด้วยวิมุตตินั้น ชื่อว่า วิมุตติสุข. ก็ในที่นี้ แม้อุเบกขา

ก็พึงทราบว่าสุขเหมือนกัน เพราะพระบาลีว่า ยาย ภนฺเต อุเปกฺขา

สนเต สุเข วุตตา ภควตา ท่านผู้เจริญ อุเบกขานี้ใด พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ ในเมื่อสุขมี. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา

สัมโมหวิโนทนีว่า อุเปกฺขา ปน สนฺตตฺตา สุขมิจฺเจว ภาสิตา ก็อุเบกขา

ท่านกล่าวว่าสุขเหมือนกัน เพรามีความสงบ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงเข้าอรหัตสมาบัติอันประกอบด้วยณานที่ ๔ ไม่เข้าสมาบัติอื่น.

อีกอย่างหนึ่ง ความเข้าไปสงบสังขารทุกข์. ท่านเรียกว่าสุข เหมือนใน

ประโยค มีอาทิว่า เตส วูปสโม สุโข การเข้าไปสงบสังขารเป็นสุข

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 53

ฉันใด เฉพาะปฏิปัสสัทธิวิมุตติที่ได้ในผลอันเลิศ (อรหัตผล) เพราะ

เป็นความสงบกิเลสและทุกข์ทั้งสิ้น พึงทราบว่าสุขในที่นี้ ฉันนั้น.

วิมุตติสุข นี้นั้นมี ๒ อย่าง โดยการจำแนกความเป็นไปของผลจิต

คือ ในมรรควิถี ๑ ในกาลอื่น ๑. ผลจิต ๓ หรือ ๒ (ขณะ) ที่มีพระ-

นิพพานเป็นอารมณ์ อันเป็นผลของวิมุตติสุขนั้น ๆ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับ

อริยมรรคแต่ละมรรค เพราะโลกุตรกุศลมีวิบากในลำดับ . ในคราวที่

อนุโลมจิต ๒ ดวงเกิดในชวนวารที่อริยมรรคเกิดขึ้น จิตดวงที่ ๓ จัดเป็น

โคตรภูจิต ดวงที่ ๔ จัดเป็นมรรคจิต ต่อแต่นั้นไป เป็นผลจิต ๓ ดวง.

แต่ในคราวที่อนุโลมจิตเกิดขึ้น ๓ ดวง จิตดวงที่ ๔ เป็นโคตรภูจิต ดวง

ที่ ๕ เป็นมรรคจิต ต่อแต่นั้นไปเป็นผลจิต ๒ ดวง. จิตดวงที่ ๔ ที่ ๕

ย่อมเป็นไปด้วยอำนาจอัปปนา ด้วยประการฉะนี้ ต่อแต่นั้นเป็นไปไม่ได้

เพราะใกล้ต่อภวังคจิต. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า แม้จิตดวงที่ ๖ ก็

เป็นอัปปนา. คำนั้นท่านค้านไว้ในอรรถกถาแล้ว. พึงทราบผลจิตใน

มรรควิถีด้วยประการฉะนี้. แต่ผลจิตในกาลอื่น ย่อมเป็นไปด้วยผลสมาบัติ.

และที่เกิดขึ้นแก่ท่านผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ ท่านสงเคราะห์ด้วยผลสมาบัติ

นั้นเอง. ก็ผลสมาบัตินี้นั้นว่าโดยอรรถ เป็นวิบากแห่งโลกุตรกุศลจิต

อันมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ พึงทราบว่าเป็นอัปปนา.

ถามว่า ผลสมาบัตินั้น พวกไหนเข้าได้ พวกไหนเข้าไม่ได้ ? ตอบ

ว่า ปุถุชนทั้งหมดเข้าไม่ได้เพราะยังไม่ได้บรรลุ อนึ่ง พระอริยเจ้าชั้นต่ำ

ก็เหมือนกัน เข้าผลสมาบัติขั้นสูงไม่ได้ แม้พระอริยเจ้าชั้นสูงก็ไม่เข้าผล

สมาบัติชั้นต่ำเหมือนกัน เพราะท่านสงบระงับด้วยการเข้าถึงความเป็น

บุคคลอื่น. พระอริยเจ้านั้น ๆ ย่อมเข้าผลสมบัติของตน ๆ เท่านั้น. แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 54

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระโสดาบันบุคคลและพระสกทาคามีบุคคล

ย่อมไม่เข้าผลสมาบัติ พระอริยบุคคลชั้นสูง ๒ พวกเท่านั้น ย่อมเข้าได้

เพราะท่านกระทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ. ข้อนั้นไม่ใช่เหตุ เพราะแม้ปุถุชน

ก็เข้าโลกิยสมาธิที่ตนได้ อีกอย่างหนึ่ง จะป่วยกล่าวไปไยด้วยการคิดถึง

เหตุในข้อนี้. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า สังขารุเบกขาญาณ

๑๐ เหล่าไหน เกิดขึ้นด้วยวิปัสสนา โคตรภูธรรม ๑๐ เหล่าไหน เกิดขึ้น

ด้วยวิปัสสนา. ในการแก้ปัญหาดังกล่าวนี้ ท่านกล่าวถึงการเข้าผลสมาบัติ

ของพระอริยเจ้าเหล่านั้นว่า เพื่อประโยชน์แก่โสดาปัตติผลสมาบัติ เพื่อ

ประโยชน์แก่สกทาคามิผลสมาบัติ. เพราะฉะนั้น จึงตกลงกันในข้อนี้ว่า

พระอริยเจ้าแม้ทั้งปวง ย่อมเข้าผลสมาบัติตามที่เป็นของตน.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระอริยเจ้าเหล่านั้นจึงเข้าสมาบัติ ? ตอบ

ว่า เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน. เหมือนอย่างว่า พระราชาทั้งหลายเสวยสุข

ในราชสมบัติ เทวดาทั้งหลายเสวยทิพยสุข ฉันใด พระอริยเจ้าทั้งหลาย

ก็ฉันนั้น ย่อมกำหนดกาลว่า จักเสวยโลกุตรสุข จึงเข้าผลสมาบัติในขณะ

ที่ต้องการ.

ถามว่า ก็ผลสมาบัตินั้น เข้าอย่างไร หยุดอย่างไร ออกอย่างไร ?

ตอบว่า ก่อนอื่นการเข้าผลสมาบัตินั้นมี ๒ อย่าง คือ ไม่มนสิการอารมณ์

อื่นจากพระนิพพาน และมนสิการถึงพระนิพพาน เหมือนดังที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า

ท่านผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการเข้าเจโตวิมุตติสมา-

บัติอันไม่มีนิมิต มี ๒ อย่าง คือ การไม่มนสิการถึง

นิมิตทั้งปวง และการใส่ใจถึงธาตุที่หานิมิตไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 55

ก็ในที่นี้ มีลำดับการเข้าผลสมาบัติดังต่อไปนี้ พระอริยสาวกผู้ต้อง

การผลสมาบัติ ไปในที่ลับ หลีกเร้นอยู่ พึงพิจารณาสังขารด้วยอุท

อัพพยญาณเป็นต้น. เมื่อท่านมีวิปัสสนาญาณโดยลำดับ อันดำเนินไป

อย่างนี้ จิตย่อมเป็นอัปปนาในนิโรธด้วยอำนาจผลสมาบัติ ในลำดับ

โคตรภูญาณมีสังขารเป็นอารมณ์. ก็ผลจิตเท่านั้นเกิดมรรคจิตไม่เกิด

แม้แก่พระเสกขบุคคล เพราะท่านน้อมไปในผลสมาบัติ. ส่วนอาจารย์

เหล่าใดกล่าวว่า พระโสดาบันคิดว่า จักเข้าผลสมาบัติของตนแล้วเจริญ

วิปัสสนาเป็นพระสกทาคามี และพระสกทาคามี คิดว่าจักเข้าผลสมาบัติ

ของตน แล้วเจริญวิปัสสนา ไค้เป็นอนาคามี ดังนี้ อาจารย์เหล่านั้น

พึงถูกต่อว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น พระอนาคามีก็จักเป็นพระอรหันต์,

พระอรหันต์ก็จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า, พระปัจเจกพุทธเจ้าก็จักเป็น

พระสัมพุทธเจ้า ดังนี้ เพราะฉะนั้น วิปัสสนาจึงให้สำเร็จประโยชน์ตาม

ความยินดีในจิตสันดาน ตามอัธยาศัย ด้วยเหตุนั้น แม้สำหรับพระ-

เสกขบุคคลก็เกิดแต่ผลจิตเหมือนกัน มรรคจิตไม่เกิด. ถ้าท่านบรรลุมรรค-

จิตที่สัมปยุตด้วยปฐมฌานไซร้ แม้ผลจิตที่สัมปยุตด้วยปฐมฌานเท่านั้น

ก็เกิดแก่ท่าน ถ้าท่านบรรลุมรรคจิตที่สัมปยุตด้วยฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในบรรดาทุติยฌานเป็นต้นไซร้ ผลจิตที่สัมปยุตด้วยฌานอย่างใดอย่างหนึ่ง

ในบรรดาทุติยฌานเป็นต้น ก็ย่อมเกิด.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในที่นี้ โคตรภูญาณจึงไม่มีนิพพานเป็น

อารมณ์ เหมือนญาณที่เป็นปุเรจาริกของมรรคญาณ ? ตอบว่า เพราะผล-

ญาณไม่เป็นนิยยานิกธรรม. ความจริง ธรรมคืออริยมรรคเท่านั้นเป็น

นิยยานิกธรรม. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมเหล่าไหนเป็นนิยยา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 56

นิกธรรม ? อริยมรรค ๔ ที่เป็นอปริยาปันนะ เป็นนิยยานิกธรรม. เพราะ-

ฉะนั้น ญาณอันเป็นอนันตรปัจจัยแห่งสภาวธรรมที่เป็นนิยยานิกะโดยส่วน

เดียว ซึ่งดำเนินไปโดยสภาวะที่ออกจากทั้งสองฝ่าย พึงออกจากนิมิตได้เลย

เพราะฉะนั้น โคตรภูญาณนั้น มีพระนิพพานเป็นอารมณ์จึงจะถูก แต่ว่า

ญาณที่เป็นปุเรจาริกของผลญาณ ซึ่งมีสภาวะไม่ออกไปเพราะไม่เป็นนิยยา-

นิกธรรม เหตุที่ไม่ตัดขาดกิเลส ซึ่งกำลังเป็นไปโดยเป็นวิบากของอริยมรรค

นั้นเพราะได้เจริญอริยมรรคไว้ แม้บางคราวจะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์

ก็ไม่ถูกไม่ควร เพราะอนุโลมญาณในทั้ง ๒ ฝ่าย มีอาการไม่เสมอกัน.

จริงอยู่ อนุโลมญาณในอริยมรรควิถี อันถึงความบริบูรณ์อย่างอุกฤษฏ์

ด้วยโลกิยญาณ อันเป็นเครื่องทำลายกองโลภะเป็นต้น อันมากมายซึ่งไม่

เคยแทงตลอดได้อย่างดี เกิดขึ้นอนุโลมแก่มรรคญาณ ส่วนในผลสมาบัติ-

วิถีอนุโลมญาณนั้น ๆ ไม่มีความขวนขวายในอริยมรรควิถีนั้น เพราะตัด

กิเลสนั้น ๆ ได้เด็ดขาด เกิดเป็นเพียงบริกรรมแห่งความพรั่งพร้อมด้วย

สุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติของพระอริยเจ้าทั้งหลายอย่างเดียว เพราะฉะนั้น

อนุโลมญาณเหล่านั้น จึงไม่มีการออกจากปัจจัยไหน ๆ เพราะญาณในที่

สุดแห่งอนุโลมญาณเหล่านั้น อันมีสังขารเป็นนิมิต พึงมีพระนิพพานเป็น

อารมณ์จากการออกจากสมาบัติ. ก็เพราะทำคำอธิบายดังว่านี้ เมื่อพระ-

เสกขบุคคลพิจารณาสังขารทั้งหลายด้วยอุทยัพพยญาณเป็นต้น เพื่อจะใช้

ผลสมาบัติของตน ผลจิตเท่านั้นจึงเกิดขึ้นในลำดับวิปัสสนาญาณ มรรคไม่

เกิด. ฉะนั้น เนื้อความดังกล่าวมานี้แล จึงเป็นอันสมบูรณ์แล้ว. พึงทราบ

การเข้าผลสมาบัติดังกล่าวมาอย่างนี้ก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 57

ก็ผลสมาบัตินั้นมีการตั้งอยู่โดยอาการ ๓ อย่าง เพราะพระบาลีว่า

ผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการตั้งอยู่ของเจโตวิมุตติอันหานิมิตมิได้มี ๓ อย่างแล

คือ การไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑ การมนสิการถึงธาตุอันหานิมิต

มิได้ ๑ การปรุงแต่งในกาลก่อน ๑. ใน ๓ อย่างนั้น บทว่า ปุพฺเพ จ

อภิสงฺขาโร ได้แก่ การกำหนดเวลาในกาลก่อนเข้าสมาบัติ. ก็ผลสมาบัติ

นั้นไม่มีการออกตราบเท่าที่ยังไม่ถึงเวลานั้น เพราะท่านกำหนดไว้ว่าจัก

ออกในเวลาโน้น .

อนึ่ง ผลสมาบัตินั้นย่อมมีการออกโดยอาการ ๒ อย่าง เพราะพระ-

บาลีว่า ผู้มีอายุ ปัจจัยแห่งการออกของเจโตวิมุตติ อันหานิมิตมิได้มี ๒

อย่างแล คือ มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ๑ ไม่มนสิการถึงธาตุอันหานิมิตมิ

ได้ ๑. ใน ๒ อย่างนั้น บทว่า สพฺพนิมิตฺตาน ได้แก่ รูปนิมิต เวทนา-

นิมิต สัญญานิมิต สังขารนิมิต และวิญญาณนิมิต. พระโยคาวจรไม่

มนสิการรวมกันซึ่งนิมิตเหล่านั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านกล่าวไว้อย่างนั้น

ด้วยการรวมนิมิตทั้งปวง. เพราะฉะนั้น อารมณ์ของภวังคจิตอันใดมีอยู่

การออกจากผลสมาบัติย่อมมีโดยมนสิการถึงอารมณ์นั้น พึงทราบการออก

จากผลสมาบัตินั้นด้วยประการอย่างนี้ . ท่านกล่าวว่า วิมุตติสุข ปฏิสเวที

ดังนี้ หมายเอาการเข้า การตั้งอยู่ และการออกจากผลสมาบัติ ดังกล่าวมานี้

นั้น จัดเป็น อรหัตผลอันสงบระงับความกระวนกระวาย. มีอมตะเป็น

อารมณ์ เป็นสุขคายโลกามิส สงบ เป็นสามัญผลอันสูงสุด. เพราะ-

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า วิมุตฺติสุข ปฏิสเวที ได้แก่ ประทับนั่ง

เสวยวิมุตติสุข คือ ผลสมาบัติสุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 58

ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาตลงในอรรถแห่งอธิการ. ศัพท์ว่า โข เป็น

นิบาตลงในอรรถแห่งปทปูรณะทำบทให้เต็ม. ในศัพท์ว่า อถ โข นั้น

ด้วยศัพท์ว่า อถ ซึ่งมีอธิการเป็นอรรถนี้ ท่านแสดงถึงอธิการ (คือภารกิจ)

อย่างอื่นจากการเสวยวิมุตติสุข. ถามว่า ก็อธิการอื่นนั้น คืออะไร? ตอบว่า

คือ การมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาท. อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาต

ลงในอรรถนี้ว่า ปจฺฉา ภายหลัง. ด้วยเหตุนั้น ศัพท์ว่า อถ นั้น จึงส่อง

อรรถที่กำลังกล่าวอยู่ว่า โดยล่วงไป ๗ วันนั้น. บทว่า ตสฺส สตฺตาหสฺส

ได้แก่ นั่งขัดสมาธิ ๗ วัน. บทว่า อจฺจเยน แปลว่า ปราศจากไป.

บทว่า ตมฺหา สมาธิมฺหา ได้แก่ จากสมาธิอันสัมปยุตด้วยอรหัตผล แต่ใน

ที่นี้ อาจารย์บางพวกขยายสัปดาห์เหล่านั้นให้พิสดารออกไปว่า พึงแสดง

๗ สัปดาห์เรียงไปโดยลำดับ. ก็เราทั้งหลายจักพรรณนาสัปดาห์เหล่านั้น

ข้างหน้า โดยแนวทางของการแสดงอันไม่ผิดพลาด ในอุทานบาลีนี้ โดย

ขันธกปาฐะ.

บทว่า รตฺติยา เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถที่สัมพันธ์กับส่วนต่าง ๆ

(ของราตรี). บทว่า ปม เป็นทุติยาวิภัตติลงในอรรถว่าอัจจันตสังโยคะ

แปลว่าตลอด. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบด้วยมนสิการนั้น

แลตลอดปฐมยามแม้ทั้งสิ้นของราตรีนั้น .

บทว่า ปฏิจฺจสมุปปาท ได้แก่ ปัจจัยธรรม. จริงอยู่ ปัจจัยธรรมมี

อวิชชาเป็นต้น ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า ข้อนี้

จะพึงรู้ได้อย่างไร? ตอบว่า รู้ได้เพราะพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อานนท์ เพราะเหตุนั้นแล ธรรม

นั้นแลเป็นเหตุ เป็นนิทาน เป็นสมุทัย เป็นปัจจัยแห่งชราและมรณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 59

คือ ชาติ ฯลฯ นั้นเป็นปัจจัยแห่งสังขาร คือ อวิชชา รวมความว่า ปัจจัย

ธรรมมีอวิชชาเป็นต้น เป็นตัวเหตุเหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ปัจจัย

๑๒ คือ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒

ในข้อนั้น มีวจนัตถะดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท เพราะ

อาศัย คือ มุ่งหน้าต่อกันและกัน ไม่ปฏิเสธความพร้อมเพียงของเหตุ ให้

ปัจจัยที่เกื้อกูลกันเกิดขึ้น. อีกอย่างหนึ่ง การอาศัยปัจจัยอันควรเป็นปัจจัย

ซึ่งต้องอาศัยกันเป็นไปจึงเกิดสัมพันธ์กันโดยไม่เว้นปัจจัยนั้น ชื่อว่า ปฏิจจ-

สมุปบาท. ก็ในคำว่าปฏิจจสมุปบาทนี้ ได้แก่ เหตุที่ประกอบด้วยความ

สามารถในการให้เกิดผล อันจะรู้ได้ด้วยคำอันมีการเกิดขึ้นพร้อมเป็นเหตุ

ใกล้ ไม่พึงทราบเพียงแต่อาศัยกันเกิดขึ้น.

อีกอย่างหนึ่ง ปัจจัยชื่อว่า ปฏิจจะ เพราะเป็นที่ควรอาศัยเฉพาะ

ของบัณฑิต. ชื่อว่า สมุปบาท เพราะให้เกิดขึ้นโดยชอบ หรือด้วยตนเอง.

ปฏิจจะนั้นด้วยสมุปบาทนั้นด้วย ชื่อว่า ปฏิจจสมุปบาท พึงทราบความ

ในเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ด้วยประการดังกล่าวมานี้.

บทว่า อนุโลม ได้แก่ ปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้น ที่ท่านกล่าวไว้

โดยนัยมีอาทิว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิด

มีสังขาร. ท่านเรียกว่า อนุโลม เพราะกระทำกิจที่ตนควรกระทำ. อีกอย่าง

หนึ่ง ชื่อว่า อนุโลม เพราะท่านกล่าวตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด หรือเพราะ

อนุโลมตามความเป็นไป. ซึ่งอนุโลมนั้น. บทว่า สาธุก มนสากาสิ

ได้แก่ กระทำไว้ในใจโดยเคารพ. อธิบายว่า ปัจจัยธรรมใด ๆ เป็นปัจจัย

แก่ปัจจยุปปันนธรรมโด ๆ โดยความเป็นปัจจัยมีเหตุปัจจัยเป็นต้น โดย

ประการใด ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำธรรมทั้งหมดนั้นไว้ในพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 60

ทัยไม่ให้วิปริต ไม่ให้ลดลงโดยทรงพิจารณาหมดไม่ให้เหลือ. ก็เพื่อจะ

แสดงประการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาทเป็นอนุโลม

โดยสังเขปก่อน จึงกล่าวคำอาทิว่า อิติ อิมสฺมึ สติ อิท โหติ อิมสฺ-

สุปฺปาทา อิท อุปฺปชฺชติ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ เท่ากับ เอว อธิบายว่า โดยประ-

การนี้. บทว่า อิมสฺมึ สติ อิท โหติ ความว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็น-

ต้นนี้มี ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ ก็มี. บทว่า อิมสฺสุปฺปาทา อิท อุปฺปชฺชติ

ความว่า เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้เกิด ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ย่อมเกิด.

บทว่า อิมสฺมึ อสติ อิท น โหติ อิมสฺส นิโรธา อิท นิรุชฺฌติ

ความว่า เพราะตรัสความไม่มีสังขารเป็นต้น ในเมื่ออวิชชาเป็นต้น ไม่มี

ไว้ในสูตรที่ ๒ และตรัสความดับสังขารเป็นต้น ในเมื่ออวิชชาเป็นต้น

ดับไว้ในสูตรที่ ๓ ชื่อว่าเป็นอันทรงแสดงการกำหนดลักษณะแห่งปัจจัย

เบื้องต้นนี้. เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้มีอยู่ทีเดียวไม่ใช่ไม่มี. เพราะอวิชชา

เป็นต้นนี้เกิดอยู่ทีเดียว ไม่ใช่ไม่เกิด. เพราะดับนั่นแหละ ไม่ใช่ไม่ดับ

เพราะเหตุดังนี้นั้น พึงเห็นว่าลักษณะนั้นเป็นการกำหนดที่หยั่งลงในภาย

ใน ตรัสไว้ในที่นี้สำหรับปฏิจจสมุปบาท. อนึ่ง บทว่า นิโรโธ ได้แก่

ความไม่เกิดขึ้น คือความไม่เป็นไปต่อไป เพราะบรรลุความสำรอกปัจจัยมี

อวิชชาเป็นต้น. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้มีอาทิว่า อวิชฺชาย เตฺวว อเสส-

วิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ ก็เพราะดับโดยสำรอกไม่เหลือซึ่งอวิชชา

สังขารจึงดับ.

ด้วยคำว่า อิมสฺส นิโรธา อิท นิรุชฺฌติ นั้น ท่านแสดงความนี้

ไว้ว่า ความไม่ดับ ชื่อว่าความเกิด และความเกิดนั้น ในที่นี้ ท่านเรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 61

อตฺถิภาโว (ความมี) ดังนี้ก็มี. จริงอยู่ ลักษณะว่า อิมสฺมึ สติ อิท โหติ

นี้แหละ เมื่อว่าโดยปริยายอื่น บทแรกเป็นอันแปลกจากบทปลาย ที่กล่าว

ว่า อิมสฺส อุปฺปาทา อิท อุปฺปชฺชติ เพราะฉะนั้น ที่ท่านกล่าวว่า

อิมสฺมึ สติ หมายถึงภาวะที่ทรงอยู่เท่านั้นก็หามิได้. โดยที่แท้ย่อมให้

เข้าใจว่า ไม่ใช่ภาวะที่จะดับด้วยมรรค. ก็เพราะเหตุที่เมื่อกล่าวถึงนิเทศ

แห่งลักษณะที่ยกขึ้นแสดงเป็น ๒ อย่างคือ อิมสฺมึ อสฺติ อิท น โหติ,

(และ) อิมสฺส นิโรธา อิท นิรุชฺฌติ ดังนี้ จึงกล่าวเฉพาะความดับโดย

นัยมีอาทิว่า อวิชฺชาย เตฺวว อเสสวิราคนิโรธา สงฺขารนิโรโธ ฉะนั้น

จึงเป็นอันแสดงว่า แม้ความไม่มีก็คือความดับ ความมีอันผิดจากความไม่

มีก็คือความไม่ดับ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงแสดงความเกิดให้แปลกกับความมี

กล่าวคือความไม่ดับ. เพราะเหตุนั้น ในที่นี้ท่านจึงไม่ประสงค์เอาความว่า

เพียงแต่ความมี เป็นความเกิดขึ้น โดยที่แท้ ท่านทำให้แจ้งถึงอรรถนี้ว่า

ความมีคือความไม่ดับ. เมื่อเป็นเช่นนั้น การกล่าวถึงลักษณะทั้ง ๒ นั้น

พึงทราบว่ามีประโยชน์ เพราะเป็นลักษณะที่จะพึงให้แปลกด้วยความแปลก

แห่งกันและกัน.

ถามว่า ก็ชื่อว่า อนิโรธะ ที่เรียกว่า อัตถิภาวะ และว่า อุปปาทะ นี้

คืออะไร ? ตอบว่า คือ ภาวะที่ยังไม่ละ ๑ ภาวะที่ควรเพิ่มผลโดยไม่ละภาวะ

ที่ควรแก่ผลอันยังไม่เกิด ๑ ภาวะที่อกุศลธรรมที่จะพึงละนั้นอันอริยมรรค

ยังไม่ได้ถอนขึ้น ๑ ภาวะที่สังโยชน์ในกุศลธรรมและอัพยากตธรรมที่ไม่จำ

ต้องละ สำหรับผู้มีอาสวะยังไม่สิ้นไป ยังละไม่ได้ ๑. จริงอยู่ ความเป็น

ไปแห่งขันธ์พร้อมทั้งสิ้น ชื่อว่าปฏิจจสมุปบาท เพราะภาวะมีอนุสัยยัง

ถอนขึ้นไม่ได้. สมจริงดังที่ตรัสไว้มีอาทิว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 62

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้ของคนพาล ผู้ถูก

อวิชชาใดหุ้มห่อไว้ ผู้สัมปยุตด้วยตัณหาใดยังเป็น

ไปแล้ว อวิชชานั้น คนพาลยังละไม่ได้ และตัณหา

นั้นก็ยังไม่สิ้นไป. ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะคนพาลไม่ประพฤติพรหมจรรย์เพื่อ

สิ้นทุกข์โดยชอบ เพราะฉะนั้น คนพาลย่อมเข้าถึง

กาย (อีก) เพราะกายแตก คนพาลนั้นเมื่อเข้าถึงกาย

ย่อมไม่พ้นจาก ญาติ ชรา และมรณะ.

ก็เพราะอวิชชาของผู้สิ้นสังโยชน์แล้วไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะ

ตัณหาและอุปาทานไม่มี อุปาทานและภพจึงไม่มี เพราะเหตุนั้น วัฏฏะ

จักปรากฏความขาดสิ้น. ด้วยเหตุนั้นนั่นแลท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า

ดูก่อนผัคคุณะ ก็เพราะดับด้วยการสำรอก

ผัสสายตนะ ๖ ได้โดยไม่เหลือ ผัสสะจึงดับ เพราะ

ผัสสะดับ เวทนาจึงดับ.

จริงอยู่ ตั้งแต่บรรลุพระอรหัตมรรคจนถึงปรินิพพาน อายตนะ ๖

เป็นต้น จะไม่เป็นไปก็หามิได้. โดยที่แท้ ท่านกล่าวถึงนิโรธ เพราะภาระ

ที่ไม่มี ภาวะที่ควรกล่าวศัพท์นิโรธ ภาวะที่สิ้นสังโยชน์. อีกอย่างหนึ่ง

กรรมแม้ที่ทำไว้นาน จัดว่ามีอยู่ตามควรแก่ผล เพราะผลยังไม่เกิด และ

เพราะยังไม่ละอาหาร คือ ไม่ใช่ผลที่เกิดแล้ว ทั้งก็ไม่ใช่ละอาหารแล้วแล.

ภาวะที่ปัจจัยเป็นเหตุเกิดผลมีอวิชชาและสังขารเป็นต้น เป็นปัจจัยควรแก่

ผลโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล พึงทราบว่า อนิโรธ (ไม่ดับ.) ก็เพราะปัจจัย

ที่ให้เกิดผลอย่างนั้นยังไม่ดับ เว้นเหตุใดเสีย ผลไม่เกิด เหตุนั้น มีอดีตเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 63

เป็นต้น ที่ท่านกล่าวด้วยคำว่า อิมสฺมิ สติ นี้. ก็เพราะเหตุนั้นแหละ

การเกิดขึ้นแห่งปัจจัยไม่แตะต้องถึงการไม่ประพฤติของผู้ยังไม่อยู่จบพรหม-

จรรย์ ท่านกล่าวว่า อิมสฺส อุปฺปทา ด้วยการไม่กลับมา โดยไม่พาดพิง

ถึงประเภทของกาล. อีกอย่างหนึ่ง ในความพร้อมเพรียงของปัจจัยที่เหลือ

ภาวะที่ปัจจัยแม้จะไม่มีก็เหมือนมี จะกล่าวไปทำไมถึงปัจจัยที่มี ซึ่งเป็น

ปัจจัยมุ่งให้เกิดผลนั้นท่านเรียกว่า อิมสฺส อุปฺปาทา. จริงอย่างนั้น ผล

ย่อมเกิดแต่เหตุนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตทวัตถุ ได้แก่ เหตุที่เกิด

ขึ้นโดยภาวะที่ให้เกิดผล เป็นอันชื่อว่าอุบัติขึ้นแล้ว. เหตุแม้ไม่มีอยู่ ก็

ชื่อว่า ตทวัตถุ เพราะฉะนั้น ภาวะที่เป็นตทวัตถุ พึงทราบว่า

อุปปาทะ.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า สติ นี้ พระเถระเมื่อจะกล่าวถึง

ภาวะที่เป็นปัจจัยโดยเพียงภาวะที่มีอยู่ จึงแสดงความที่ปฏิจจสมุปบาทไม่

ต้องขวนขวาย. ด้วยบทว่า อุปฺปาทา นี้ พระเถระเมื่อจะแสดงความเกิด

ขึ้นเป็นธรรมดา และภาวะที่ไม่เป็นไปทุกกาลและภาวะที่มุ่งต่อการเกิดผล

จึงแสดงถึงภาวะที่ปฏิจจสมุปบาทเป็นอนิจจตา. ก็พระเถระแสดงถึงปฏิจจ-

สมุปบาทเป็นเหตุ เป็นสมุทัย เป็นชาติ และเป็นแดนเกิด ที่สำเร็จด้วย

สัตตมีวิภัตติและปัญจมีวิภัตติที่ใช้ในอรรถของเหตุด้วยคำว่า สติ น อสติ

อุปฺปาทา น นิโรธา ในเมื่อสิ่งนี้มี คือ ไม่มีก็หามิได้ เพราะสิ่งนี้เกิด

คือดับก็หามิได้. ท่านกำหนดภาวะแห่งผล ซึ่งมีโดยไม่เว้นจากเหตุ ใน

เพราะภาวะแห่งสัตตมีวิภัตติลงในอรรถแห่งเหตุ พึงทราบความเป็นไปใน

เหตุนั้น เหมือนคำว่าในเมื่อคนไม่มีทรัพย์ไม่ทำทรัพย์ให้เกิดขึ้น ความ

จนก็ยิ่งจนหนักเข้า และคำว่าในเมื่อข้าวกล้าสมบูรณ์ ก็เกิดอาหารดีขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 64

แม้ปัญจมีวิภัตติก็ลงในอรรถแห่งเหตุ ชื่อว่าเป็นไปได้ในแดนเกิดและใน

ความปกติของผล เหมือนคำว่าจากกลละเป็นอัมพุทะ จากอัมพุทะเกิดเป็น

เปสิ และคำว่า แม่น้ำคงคาเกิดจากเขาหิมวันต์ สระเกิดจากแม่น้ำสรภู. ก็

ในเพราะอวิชชาเป็นต้นมี ท่านจึงกำหนดภาวะแห่งผลมีสังขารเป็นต้น

เพราะภาวะที่ไม่เว้นจากอวิชชาเป็นต้นนั้น. และผลมีสังขารเป็นต้นเกิด

จากปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้น และอันปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นก่อขึ้น เพราะ-

ฉะนั้น ปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนั้น จึงเป็นแดนเกิดและเป็นปกติของผลมี

สังขารเป็นต้นนั้น เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดงอรรถนั้น ท่านจึงกระทำ

นิเทศสัตตมีวิภัตติและปัญจมีวิภัตติในอรรถแห่งเหตุว่า อิมสฺมึ สติ อิมสฺส

อุปฺปาทา ในเพราะสิ่งนี้มี เพราะสิ่งนี้เกิด.

ก็เพราะในข้อนี้ ปฏิจจสมุปบาทที่ยกขึ้นแสดงโดยสังเขปว่า อิมสฺมึ

สติ อิท โหติ อิมสฺสุปฺปาทา อิท อุปฺปชฺชติ มีนิเทศเป็นต้นว่า อวิชฺชา-

ปจฺจยา สงฺขารา ฉะนั้น ภาวะที่มีอยู่และการเกิดขึ้นตามที่กล่าวแล้วย่อม

ให้รู้ได้ว่า เป็นปัจจัยแห่งปัจจยุปปันนธรรมนั้น ๆ. จริงอยู่ ภาวะที่เป็น

ปัจจัยอย่างอื่นย่อมไม่มี เพราะละอัตถิภาวะและอุปปาทะกล่าวคือความไม่ดับ

ความไม่หวนกลับเป็นสภาพ หรือความตั้งอยู่ของสมุทัย (ความเกิด) ที่ท่าน

กล่าวไว้ด้วยคำ ซึ่งกำหนดแน่นอนอยู่ภายในว่า สติเอว นาสติ อุปฺปาทา

เอว น นิโรธา ดังนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าภาวะที่มีอยู่และอุปปาทะการ

เกิดขึ้นดังกล่าวแล้ว เป็นตัวปัจจัย. แม้ปัจจัย ๒๔ มีเหตุปัจจัยเป็นต้นที่

มาในปัฏฐานปกรณ์นั้น พึงทราบว่าปัจจัยพิเศษแห่งปัจจัยนั้นนั่นแล.

ดังนั้น เพื่อจะแสดงประการที่พระองค์ ทรงมนสิการถึงอนุโลม-

ปฏิจจสมุปบาทโดยพิสดาร จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยทิท อวิชฺชาปจฺจยา

สงฺขารา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 65

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทิท เป็นนิบาต บทว่า ยทิท นั้น

มีอรรถว่า โย อย. ในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อ

ไปนี้ ชื่อว่า อวิชชา เพราะประสบสิ่งที่ไม่ควรประสบมีกายทุจริต

เป็นต้น. ชื่อว่า อวิชชา เพราะไม่ประสบสิ่งที่ควรประสบมีกายสุจริต

เป็นต้น. ชื่อว่า อวิชชา เพราะกระทำสภาวะแห่งธรรมที่ไม่วิปริต ไม่ให้

รู้แจ้ง, ชื่อว่า อวิชชา เพราะยังสัตว์ให้แล่นไปในภพเป็นต้น ในสงสารอัน

เว้นจากที่สุด. ชื่อว่า อวิชชา เพราะแล่นไปในสิ่งที่ไม่มี ไม่แล่นไปในสิ่งที่

มี. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชา เพราะเป็นปฏิปักษ์ ต่อ วิชชา. อวิชชานั้น

พึงทราบว่ามี ๔ อย่าง โดยนัยมีอาทิว่า ทุกฺเข อาณ ความไม่รู้ทุกข์.

ชื่อว่า ปัจจัย เพราะอาศัยไป คือเกิดขึ้นและเป็นไปไม่ละเว้นผล. อีก

อย่างหนึ่ง ธรรมที่มีการสนับสนุนเป็นอรรถ ชื่อว่า ปัจจัย. อวิชชานั้นด้วย

เป็นปัจจัยด้วย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า มีอวิชชาเป็นปัจจัย. เพราะมี

อวิชชาเป็นปัจจัยนั้น. ชื่อว่า สังขาร เพราะปรุงแต่ง. ได้แก่กุศลเจตนา

และอกุศลเจตนาฝ่ายโลกิยะ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนานั้น พึงทราบว่ามี

๓ อย่าง คือ ปุญญาภิสังขาร ๑ อปุญญาภิสังขาร ๑ อาเนญชาภิสังขาร ๑.

ชื่อว่า วิญญาณ เพราะรู้แจ้ง. วิญญาณนั้นมี ๓๒ (หรืออเหตุกวิบาก ๑๕

มหาวิบากจิต ๘ มหัคคตวิบาก ๙) ด้วยอำนาจวิบากวิญญาณฝ่ายโลกิยะ.

ชื่อว่า นาม เพราะน้อมไป ได้แก่นามขันธ์ ๓ มีเวทนาเป็นต้น. ชื่อว่า

รูป เพราะอรรถว่าสลายไป ได้แก่ภูตรูป ๔ และอุปาทายรูป ๒๔ มี

จักขุปสาทรูปเป็นต้น. ชื่อว่า อายตนะ เพราะเป็นที่ต่อ และนำสัตว์ไป

สู่ส่งสารทุกข์. ชื่อว่า ผัสสะ เพราะถูกต้อง. ชื่อว่า เวทนา เพราะเสวย

(อารมณ์). แม้ทั้งสองนั้น ว่าโดยทวารมี ๖ ว่าโดยวิบากมี ๓๖. ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 66

ตัณหา เพราะสะดุ้ง. ตัณหานั้นโดยสังเขปมี ๓ มีกามตัณหาเป็นต้น และ

โดยพิสดารมี ๑๐๘ ชื่อว่า อุปาทาน เพราะถือมั่น อุปาทานนั้นมี ๔ อย่าง

มีกามุปาทานเป็นต้น. ชื่อว่า ภพ เพราะมีอยู่และจักมี. ภพนั้นมี ๒ อย่าง

โดยแยกเป็นกรรมภพ และอุปัตติภพ. ความเกิด ชื่อว่า ชาติ ความ

คร่ำคร่า ชื่อว่า ชรา. ชื่อว่า มรณะ เพราะเป็นเหตุตายแห่งสัตว์. ความ

เศร้าโศก ชื่อว่า โสกะ. ความรำพัน ชื่อว่า ปริเทวะ. ชื่อว่า ทุกข์ พราะ

ทนได้ยาก, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทุกข์ เพราะมี ๒ ขณะ คือ ทุกข์ใน

ขณะเกิดและทุกข์ในขณะตั้งอยู่. ภาวะแห่งความเสียใจ ชื่อว่า โทมนัส.

ความคับแค้นอันเหลือทน ชื่อว่า อุปายาส. บทว่า สมฺภวนฺติ แปลว่า

ย่อมบังเกิด. ความจริง ไม่ใช่ประกอบด้วยบทมีโสกะเป็นต้นอย่างเดียวเท่า

นั้น โดยที่แท้พึงประกอบบทว่า สมฺภวนฺติ กับทุก ๆ บท. ก็เมื่อเป็นเช่น

นี้ ย่อมเป็นอันแสดงการกำหนดปัจจัยธรรมและปัจจยุปปันนธรรม ด้วย

คำว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา สมฺภวนฺติ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

ในธรรมเหล่านั้น อวิชชา มีความไม่รู้เป็นลักษณะ มีความหลง

ลืมเป็นกิจ มีการปกปิดเป็นอาการปรากฏ มีอาสวะเป็นเหตุใกล้. สังขาร

มีความปรุงแต่งเป็นลักษณะ มีการประมวลมาเป็นกิจ มีการจัดแจงเป็น

อาการปรากฏ มีอวิชชาเป็นเหตุใกล้. วิญญาณ มีการรู้แจ้งเป็นลักษณะ มี

การเป็นหัวหน้าเป็นกิจ มีปฏิสนธิเป็นอาการปรากฏ มีสังขารเป็นเหตุใกล้

หรือมีวัตถุและอารมณ์เป็นเหตุใกล้. นาม มีการน้อมไปเป็นลักษณะ มีสัม-

ปโยคะเป็นกิจ มีไม่แยกจากกันเป็นอาการปรากฏ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้.

รูป มีการสลายไปเป็นลักษณะ มีการไม่รู้อารมณ์เป็นกิจ มีภาวะเป็น

สัมปโยคะเป็นอาการปรากฏ มีวิญญาณเป็นเหตุใกล้. สฬายตนะ มีการต่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 67

เป็นลักษณะ มีการเห็นเป็นต้นเป็นกิจ มีภาวะเป็นวัตถุและทวารเป็นอาการ

ปรากฏ มีนามรูปเป็นเหตุใกล้. ผัสสะ มีการถูกต้องเป็นลักษณะ มีการ

กระทบเป็นกิจ มีการประจวบเป็นอาการปรากฏ มีสฬายตนะเป็นเหตุใกล้.

เวทนา มีการเสวยเป็นลักษณะ มีการบริโภครสแห่งอารมณ์เป็นกิจ มีสุข

และทุกข์เป็นอาการปรากฏ มีผัสสะเป็นเหตุใกล้. ตัณหา มีความเป็นตัวเหตุ

เป็นลักษณะ มีความเพลิดเพลินเป็นกิจ มีความไม่อิ่มเป็นอาการปรากฏ มี

เวทนาเป็นเหตุใกล้. อุปาทาน มีการยึดมั่นเป็นลักษณะ มีการไม่ปล่อย

วางเป็นกิจ มีทิฏฐิคือความถือมั่นด้วยอำนาจตัณหาเป็นอาการปรากฏ มี

ตัณหาเป็นเหตุใกล้. ภพ มีกรรมและผลแห่งกรรมเป็นลักษณะ มีการเกิด

และการให้เกิดเป็นกิจ มีกุศล อกุศล และอัพยากฤตเป็นอาการปรากฏ มี

อุปาทานเป็นเหตุใกล้. ชาติ มีการเกิดก่อนในภพนั้น ๆ เป็นลักษณะ มี

การขยายออกไปเป็นกิจ มีการเกิดในภพนี้จากอดีตภพเป็นอาการปรากฏ มี

ความวิจิตรแห่งทุกข์เป็นเหตุใกล้. ชรา ความแก่หง่อมแห่งขันธ์เป็น

ลักษณะ มีการนำเข้าหาความตายเป็นกิจ มีการทำความเป็นหนุ่มสาวให้

พินาศเป็นอาการปรากฏ. มรณะ มีจุติเป็นลักษณะ มีการพลัดพรากเป็นกิจ

มีการอยู่ปราศจากคติเป็นอาการปรากฏ. โสกะ มีความหม่นไหม้ในภายใน

เป็นลักษณะ มีความตรมตรอมใจเป็นกิจ มีความเศร้าโศกถึงเป็นอาการ

ปรากฏ. ปริเทวะ มีความบ่นเพ้อเป็นลักษณะ. มีระบุถึงคุณและโทษเป็น

กิจ มีความสลดใจเป็นอาการปรากฏ. ทุกข์ มีการบีบคั้นกายเป็นลักษณะ

มีความทุรพลทางกายและรั้งเอาโทมนัสมาเป็นกิจ มีอาพาธทางกายเป็น

อาการปรากฏ. โทมนัส มีการบีบคั้นจิตเป็นลักษณะ มีความคับแค้นใจเป็น

กิจ มีพยาธิทางใจเป็นอาการปรากฏ. อุปายาส มีความตรมตรอมใจเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 68

ลักษณะ มีความทอดถอนถึงเป็นกิจ มีปราศจากความแช่มชื่นใจเป็นอาการ

ปรากฏ. ปัจจัยธรรมมีอวิชชาเป็นต้นเหล่านั้น พึงทราบแม้โดยลักษณะ

เป็นต้นด้วยประการอย่างนี้แล. ในที่นี้ มีความสังเขปเพียงเท่านี้ ส่วน

ความพิสดาร ผู้ปรารถนาวินิจฉัยที่สมบูรณ์ด้วยประการทั้งปวง พึงค้นดู

ในอรรถกถาวิภังค์ ชื่อสัมโมหวิโนทนี.

บทว่า เอว เป็นบทแสดงไขถึงนัยที่ได้แสดงมาแล้ว. ด้วยบทว่า

เอว นั้น ท่านแสดงว่าด้วยเหตุมีอวิชชาเป็นต้นนั้นแหละ มิใช่ด้วยเหตุ

มีการเนรมิตของท่านผู้เป็นใหญ่เป็นต้น. บทว่า เอตสฺส ได้แก่ ตามที่

กล่าวแล้ว. บทว่า เกวลสฺส ได้แก่ ไม่ปะปนหรือล้วน ๆ. บทว่า

ทุกฺขกฺขนฺธสฺส ได้แก่ประชุมทุกข์ ไม่ใช่ของสัตว์ทั้งไม่ใช่ของชีวะและ

ของสุขเป็นต้น . บทว่า สมุทโย โหติ ได้แก่ บังเกิด คือเกิดพร้อม.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า รู้แจ้งเนื้อความที่กล่าวไว้ว่า

กองทุกข์มีสังขารเป็นต้น ย่อมเกิดด้วยอวิชชาเป็นต้น โดยอาการทั้งปวง.

บทว่า ตาย เวลาย ได้แก่ ในเวลาที่รู้แจ้งอรรถนั้น. บทว่า อิม อุทาน

อุทาเนสิ ความว่า เปล่งอุทานนี้อันแสดงอานุภาพการรู้เหตุและธรรมอัน

เกิดจากเหตุในเมื่อรู้จักผลนั้น อันเป็นสมุฏฐานแห่งญาณอันสัมปยุตด้วย

โสมนัสมีอาทิว่า ยทา หเว ปาตุภวนฺติ อธิบายว่า เปล่งพระวาจาเป็นที่

พอพระทัย.

อุทานนั้นมีอธิบายดังนี้ บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใด. ศัพท์ว่า

หเว เป็นนิบาต ลงในอรรถนี้ว่า พยตฺต แจ่มแจ้ง. แต่อาจารย์บทพวก

กล่าวอธิบายว่า ศัพท์ว่า หเว แปลว่า ในการสงครามคือในการต่อยุทธ์.

ก็ท่านอาจารย์เหล่านั้นมีความมุ่งหมายว่า ในสมัยรบกับกิเลสมาร โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 69

พระบาลีว่า พวกเธอจงใช้อาวุธคือปัญญารบมาร. บทว่า ปาตุภวนฺติ

แปลว่า เกิดขึ้น. บทว่า ธมฺมา ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม อันให้สำเร็จ

การแทงตลอดปัจจยาการโดยอนุโลม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาตุภวนฺติ

ได้แก่ ประกาศ คือ แจ่มชัด ปรากฏโดยการตรัสรู้. บทว่า ธมฺมา ได้แก่

ธรรมคืออริยสัจ ๔. อาตาปะ เรียกว่าความเพียร เพราะอรรถว่า ทำกิเลส

ให้เร่าร้อน. บทว่า อาตาปิโน ได้แก่ มีความเพียรคือสัมมัปปธาน.

บทว่า ณายโต ได้แก่ เพ่งด้วยอารัมณูปนิชฌานและลักขณูปนิชฌาน.

บทว่า พฺราหฺมณสฺส ได้แก่ พระขีณาสพผู้ลอยบาป. บทว่า อถสฺส กงฺขา

วปยนฺติ สพฺพา ความว่า ครั้นพราหมณ์นั้นมีธรรมปรากฏอย่างนี้แล้ว

ความสงสัยในปัจจยาการที่ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสว่า โน กลฺโล ปญฺโห ปัญหาไม่สมควร เพื่อเฉลยคำถามว่า โก นุโข

ภนฺเต ผุสติ ใครหนอถูกต้อง พระเจ้าข้า โดยนัยมีอาทิว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า โน กลฺโล ปญฺโห เพื่อเฉลยคำถามว่า กตม นุโข

ภนฺเต ชรามรณ กสฺส จ ปนิท ชรามรณ ชราและมรณะเป็นไฉน พระ-

เจ้าข้า ก็แลชราและมรณะนี้เป็นของใคร และความสงสัย ๑๖ ข้อ ที่มา

โดยนัยมีอาทิว่า อโหสึ นุโข อห อตึตมทฺธาน ในอดีตกาล เราได้มีแล้ว

หรือหนอ เพราะยังไม่แทงตลอดปัจจยาการนั่นเอง ความสงสัยทั้งหมด

นั้น ย่อมหายไป ปราศไป ดับไป. เพราะเหตุไร ? เพราะรู้ทั่วถึงธรรม

พร้อมเหตุ อธิบายว่า เพราะรู้ชัด รู้ทั่วถึงแทงตลอด ธรรมคือกองทุกข์

ทั้งสิ้นมีสังขารเป็นต้นนี้ พร้อมเหตุ ด้วยเหตุมีอวิชชาเป็นต้น.

ก็เมื่อไร โพธิปักขิยธรรมหรือจตุสัจธรรม ปรากฏเกิดขึ้นหรือ

แจ่มแจ้งแก่พราหมณ์นั้น. ในวิปัสสนาญาณและมรรคญาณ. ใน ๒ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 70

นั้น พึงทราบวิปัสสนาญาณก่อน. ธรรมทั้งหลายมีสติเป็นต้นที่สัมปยุต

ด้วยวิปัสสนาญาณ และวิปัสสนาญาณ เมื่อละสุภสัญญาเป็นต้นด้วยอำนาจ

ตทังคปหานในอารมณ์ของตน จึงเกิดขึ้นเป็นส่วน ๆ โดยอนุปัสสนามี

กายานุปัสสนาเป็นต้น. แต่ในขณะมรรค ธรรมเหล่านั้น เมื่อหน่วงเอา

พระนิพพานละธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ด้วยสมุจเฉทปหาน เกิดขึ้นคราวเดียว

เท่านั้น สำเร็จการแทงตลอดไม่งมงายในอริยสัจทั้ง ๔. ในข้อนี้ พึง

ทราบว่า โพธิปักขิยธรรมปรากฏ ด้วยอรรถว่า เกิดขึ้น ด้วยประการฉะนี้

ก่อน. ก็พึงทราบว่า อริยสัธรรมฝ่ายโลกิยะปรากฏ ด้วยการทำวิปัสสนา

ให้เป็นอารมณ์ในขณะวิปัสสนา พึงทราบว่า อริยสัจธรรมฝ่ายโลกุตระ

ปรากฏ ด้วยภาวะที่นี้อมไปในโลกุตรธรรมนั้น พึงทราบว่า นิโรธสัจ

ปรากฏ ด้วยการตรัสรู้อารมณ์ในขณะมรรค และพึงทราบว่า ทั้งหมด

ปรากฏ ด้วยอรรถว่าแจ่มแจ้งปรากฏชัดโดยการตรัสรู้กิจ.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อธรรมทั้งหมดปรากฏแก่พระ-

ญาณของพระองค์โดยอาการทั้งปวง ทรงพิจารณาปัจจยาการนั้น เพราะ

ปัจจยาการเป็นสภาพละเอียดลึกซึ้งและเห็นได้แสนยาก เหตุทรงทำความ

มั่นใจวิปัสสนาโดยมุข คือปฏิจจสมุปบาท ทรงเกิดโสมนัสอย่างรุนแรง จึง

ทรงเปล่งทานในข้อนี้ อันแสดงถึงอานุภาพแห่งการตรัสรู้ปัจจยาการนั้น

ของพระองค์พร้อม โดยเป็นปัจจัยตัดปฏิปักขธรรมได้เด็ดขาดแล.

พระบาลีว่า อยมฺปิ อุทาโน วุตฺโต ภควตา อิติ เม สุต นี้ ปรากฏ

ในคัมภีร์เฉพาะบางแห่ง. บรรดาบทเหล่านั้น ปิ ศัพท์ ในบทว่า อยมฺปิ

เป็นสัมปิณฑนัตถะเหมือนในประโยคว่า อิทมฺปิ พุทฺเธ รตน ปณีต อยมฺปิ

ปาราชิโก โหติ แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีตในพระพุทธเจ้า ภิกษุแม้นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 71

เป็นปาราชิก. เพราะเหตุนั้น ปิศัพท์นั้น ย่อมประมวลคำก่อน ๆ มา.

วุตฺต ศัพท์ว่า วุฑฺโต นี้ ปรากฏในคำมีอาทิว่า เกโสหารณะ วปนะ

วาปสมีกรณะ ชีวิตวุตติ ปมุตตภาวะ ปาวจนภาเวนปวัตติตะ อัชเฌสนะ

และกถนะ. จริงอย่างนั้น วุตฺต ศัพท์นั้น มาในเกโสหารณะ (การปลงผม)

ในประโยคมีอาทิว่า กาปฏิกมาณพ เป็นคนหนุ่มโกนผม. มาใน วปนะ

(การหว่านพืช) ในประโยคมีอาทิว่า

คาโว ตสฺส ปชายนฺติ เขตฺเต วุตฺต วิรูหติ

วุตฺตาน ผลมสฺนาติ โย มิตฺตาน น ทุพฺภติ.

โคของคนผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมตกลูก พืชที่

หว่านไว้ในนาย่อมงอกงาม เขาย่อมบริโภคพืชผลที่

หว่านแล้ว.

มาในวาปสมีกรณะ (การทำพืชที่หว่านให้เสมอกัน) ด้วยใช้ไม้คราคเป็นต้น

ในประโยคมีอาทิว่า โน จ โข ปฏิวุตฺต พืชที่หว่านไม่เท่ากันแล. มาในชีวิต-

วุตติ (การเลี้ยงชีพ) ในประโยคมีอาทิว่า ปนฺนโลโม ปรทวุตฺโต มิคภูเตน

เจตสา วิหรติ ผู้ไม่ลำพองเลี้ยงชีพด้วยสิ่งของที่คนอื่นให้ มีใจเหมือน

เนื้ออยู่. มาในปมุตตภาวะ (ความหลุดจากขั้ว) ในประโยคมีอาทิว่า

ปณฺฑุปลาโส พนฺธนา ปวุตฺโต อภพฺโพ หริตตาย ใบไม้เหลืองหลุด

จากขั้วไม่พึงเป็นของเขียวสด. มาในปาวจนภาเวนปวัตติตะ (ความเป็น

ไปโดยบอกกล่าวกันมา) ในประโยคมีอาทิว่า คีต ปวุตฺต สมิหิต เพลง

ขับที่บอกกล่าวกันมา. มาในอัชเฌสนะ. (ความเชื้อเชิญ) ในประโยคมี

อาทิว่า วุตฺโต คุโณ วุตฺโต ปรายโน ความเชื้อเชิญเป็นคุณ ความเชื้อ

เชิญเป็นความเสื่อม. มาในกถนะ (การกล่าว) ในประโยคมีอาทิว่า ก็พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 72

ดำรัสนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรม-

ทายาทของเรา อย่าเป็นอามิสทายาท. แม้ในที่นี้ พึงเห็นว่า วุตฺต ศัพท์

ใช้ในการกล่าวเท่านั้น. อธิบายว่า ตรัสอุทานแม้นี้ ด้วยพระดำรัสนั้น.

ศัพท์ อิติ เท่ากับ เอว. ความของบททั้งสองว่า เม สุต ได้กล่าวไว้ใน

อรรถกถานิทานโดยอาการทั้งปวงนั่นแหละ. จริงอยู่ ในกาลก่อน ความ

ของทั้งสองบทว่า เอวมฺเม สุต ได้กล่าวไว้ด้วยอำนาจคำเริ่มต้น ในที่นี้

กล่าวอีกว่า อิติ เม สุต ด้วยอำนาจคำลงท้าย. ก็กล่าวซ้ำถึงอรรถที่กล่าว

แล้วนั่นแล ชื่อว่า นิคม คำลงท้ายแล. การยกเนื้อความแห่ง อิติ ศัพท์

เหมือนในคำว่า เอวมฺเม สุต นี้ เพราะ อิติ ศัพท์มีอรรถเสมอด้วย เอว

ศัพท์ และการประกอบความของ อิติ ศัพท์ ข้าพเจ้าประกาศไว้แล้วใน

อิติวุตตกวรรณนานั้นแล เพราะเหตุนั้น พึงทราบโดยนัยตามที่กล่าวแล้ว

ในอรรถกถานั้น ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาปฐมโพธิสูตร แห่งอุทานสังวรรณนา

อรรถกถาขุททกนิกาย ชื่อว่า ปรมัตถทีปนี

๒. ทุติยโพธิสูตร

ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาทเป็นปฏิโลม

[๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับอยู่ที่โคนไม้โพธิ

ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาค-

เจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียว ตลอด ๗ วัน พอล่วง

สัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้ว ทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 73

มนสิการปฏิจจสมุปบาทอันเป็นปฏิโลมด้วยดี ตลอดมัชฌิมยามแห่งราตรี

ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ คือ เพราะ

อวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ

นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ

ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ

เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับภพจึงดับ เพราะภพดับ

ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการ

อย่างนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า

ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลายมาปรากฏแก่พราหมณ์

ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น ความสงสัยทั้งปวงของ

พราหมณ์นั้น ย่อมสิ้นไปเพราะได้รู้แจ้งความสิ้นไป

แห่งปัจจัยทั้งหลาย.

จบทุติยโพธิสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยโพธิสูตร

ทุติยโพธิสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า ปฏิโลม ความว่า ปัจจยาการมีอวิชชาเป็นต้นที่กล่าวไว้โดย

นัยมีอาทิว่า เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ดังนี้ เมื่อดับด้วยการดับ

โดยไม่เกิดขึ้น ท่านเรียกว่า ปฏิโลม เพราะไม่ทำกิจที่ตนควรกระทำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 74

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปฏิโลม เพราะย้อนความเป็นไป ก็เพราะไม่ได้กล่าวถึง

ตั้งแต่ที่สุดหรือท่ามกลางจนถึงเบื้องต้น ในที่นี้ ความที่ปัจจยาการเป็น

ปฏิโลม โดยความอื่นจากนี้จึงไม่ถูก. อนึ่ง บทว่า ปฏิโลม เป็นการ

แสดงภาวนปุงสกลิงค์ เหมือนในประโยคว่า วิสม จนฺทิมสุริยา ปริวตฺตนฺติ

พระจันทร์และพระอาทิตย์เวียนไปไม่สม่ำเสมอ. บทว่า อิมสฺมึ อสติ อิท

น โหติ ความว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ไม่มี คือถูกมรรคละเสีย

แล้ว ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็ไม่มี คือเป็นไปไม่ได้. บทว่า อิมสฺส นิโรธา

อิท นิรุชฺเฌติ ความว่า เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ดับ คือ เพราะ

มรรคให้ถึงความเป็นธรรมชาติไม่เกิดขึ้นเป็นธรรม ผลมีสังขารเป็นต้นนี้

จึงดับ คือไม่เป็นไป. แม้ในข้อนี้พึงทราบว่า ท่านแสดงลักษณะที่กำหนด

ลงในภายในมีอาทิว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ไม่มี คือมีไม่ได้ เพราะ

ปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ ดับ คือไม่เกิด เหมือนอย่างที่ท่านแสดงลักษณะ

ที่กำหนดลงในภายในมีอาทิว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้มี คือไม่มีก็

หามิได้ เพราะปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้ ยังเกิดขึ้น คือยังไม่ดับ เช่นใน

คำนี้ว่า เมื่อปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้มี ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็มี เพราะ

ปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นนี้เกิด ผลมีสังขารเป็นต้นนี้ก็เกิด. ในที่นี้ คำที่เหลือ

ที่จะพึงกล่าว พึงทราบตามนัยที่กล่าวในอรรถกถาปฐมโพธิสูตร.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงประการที่พระองค์ทรงกระทำ

ปฏิจจสมุปบาทโดยปฏิโลมไว้ในพระทัยดังพรรณนามาฉะนี้โดยสังเขปแล้ว

บัดนี้ เพื่อจะแสดงโดยพิสดาร จึงตรัสคำมีอาทิว่า อวิชฺชานิโรธา

สงฺขารนิโรโธ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิชฺชานิโรธา ความว่า เพราะอวิชชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 75

ดับเด็ดขาดโดยอริยมรรค อธิบายว่า เพราะอวิชชาถูกอรหัตมรรคถอนขึ้น

ได้เด็ดขาด ด้วยการประหารอนุสัย. แม้ถ้าอวิชชาเมื่อถูกมรรคเบื้องต่ำละ

ได้ ย่อมละได้เฉพาะด้วยอำนาจถอนขึ้นได้โดยส่วนเดียว ก็จริง ถึงกระนั้น

ก็ละไม่ได้อย่างสิ้นเชิง. ก็อวิชชาที่นำสัตว์ไปสู่อบายถูกปฐมมรรคละได้

อนึ่ง อวิชชาอันเป็นปัจจัยให้เกิดในโลกนี้และในภูมิอันมิใช่ของพระอริยะ

ทั้งหมด อันมรรคที่ ๒ และมรรคที่ ๓ ย่อมละได้ตามลำดับ ไม่ใช่ละ

กิเลสนอกนี้ได้. จริงอยู่ อวิชชานั้น อรหัตมรรคเท่านั้นละได้เด็ดขาดแล.

บทว่า สงฺขารนิโรโธ ความว่า ย่อมดับโดยสังขารไม่เกิดขึ้น. เพื่อแสดง

ว่า ก็เพราะสังขารดับไปอย่างนี้วิญญาณจึงดับ และเพราะวิญญาณเป็นต้น

ดับ นามรูปเป็นต้นก็ดับเหมือนกัน ท่านจงกล่าวคำมีอาทิว่า เพราะ

สังขารดับ วิญญาณจึงดับ แล้วกล่าวว่า กองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมดับไป

ด้วยประการฉะนี้. ในคำเหล่านั้น คำที่ควรกล่าวมีนัยดังกล่าวแล้วใน

หนหลังนั่นแหละ.

อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ เพราะสังขาร

ดับ วิญญาณจึงดับ เพราะฉะนั้น จึงเป็นอันกล่าวกองทุกข์ทั้งมวลดับไป

โดยสิ้นเชิงแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ แม้ก็จริง ถึงกระนั้น เพื่อแสดงเนื้อ

ความนี้ในอนุโลมว่า ปัจจยุปปันนธรรมใด ๆ ยังไม่ดับไป คือยังเป็นไป

อยู่ เพราะปัจจัยธรรมใด ๆ มี ท่านจึงกล่าวว่า อวิชฺชาปจฺจยา สงฺขารา

ฯ เป ฯ สมุทโย โหติ ดังนี้ ฉันใด เพื่อแสดงว่า ปัจจยุปปันนธรรม

นั้น ๆ ย่อมดับ คือไม่เป็นไป เพราะปัจจัยธรรมนั้น ๆ ไม่มี โดยเป็น

ปฏิปักษ์ต่อปัจจยุปปันนธรรมนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ในที่นี้ว่า อวิชฺชานิโรธา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 76

สงฺขารนิโรโธ สงฺขารนิโรธา วิญฺญาณนิโรโธ วิญฺาณนิโรธา

นามรูปนิโรโธ ฯ เป ฯ ทุกฺขกฺขนฺธสฺส นิโรโธ โหติ ดังนี้ ฉันนั้น.

แต่ไม่ได้กล่าวเพื่อแสดงความดับกองทุกข์นับเนื่องในกาล ๓ เหมือนใน

อนุโลม. พึงทราบความแปลกกันแม้นี้ว่า จริงอยู่ เมื่อไม่มีอริยมรรค-

ภาวนา แห่งกองทุกข์ที่เป็นอนาคต ท่านประสงค์เอาความดับกองทุกข์ที่

ควรจะเกิดด้วยอริยมรรคภาวนา.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า รู้อรรถนี้ที่ท่านกล่าวว่า กอง

ทุกข์มีสังขารเป็นต้น ย่อมดับด้วยอำนาจอวิชชาดับเป็นต้น โดยอาการทั้ง-

ปวง. บทว่า อิม อุทาน อุทาเนสิ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดง

อานุภาพแห่งการหยั่งรู้การสิ้นปัจจัยมีอวิชชาเป็นต้นที่ประกาศไว้อย่างนี้ว่า

เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ ในเมื่อรู้แจ้งอรรถนั้น.

ในข้อนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ เพราะเหตุที่พระองค์ทรงรู้

รู้ทั่วถึง แทงตลอดความสิ้นไป กล่าวคือความดับไม่เกิดขึ้นแห่งปัจจัย-

ธรรมมีอวิชชาเป็นต้น ฉะนั้น โพธิปักขิยธรรมหรือจตุสัจธรรมมีประการ

ดังกล่าวแล้ว ปรากฏเกิดขึ้น หรือแจ่มชัดแก่พราหมณ์นั้นผู้มีเพียรเพ่งอยู่

โดยนัยดังกล่าวแล้ว ทีนั้น ความสงสัยมีประเภทดังกล่าวแล้วในกาลก่อน

พึงเกิดขึ้น เพราะไม่รู้แจ้งความดับปัจจัยโดยชอบ ทั้งหมดนั้น ย่อม

หายไป คือดับไปแล. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ

จบทุติยโพธิสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 77

๓. ตติยโพธิสูตร

ว่าด้วยปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลม

[๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับอยู่ที่โคนไม้

โพธิ์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด ๗ วัน ครั้ง

นั้นแล พอล่วงสัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้น

แล้ว ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลมด้วยดี ตลอด

ปัจฉิมยามแห่งราตรี ดังนี้ว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้

จึงเกิด เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะ

อวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมีวิญญาณ เพราะ

วิญญาณเป็นปัจจัยจึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัยจึงมีสฬายตนะ

เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัยจึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงมีเวทนา

เพราะเวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงมีอุปาทาน

เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงมีภพ เพราะภพเป็นปัจจัยจึงมีชาติ เพราะชาติ

เป็นปัจจัยจึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส

ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีได้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะ

อวิชชานั้นแลดับโดยสำรอกไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ

วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ สฬายตนะ

จึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ

เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ เพราะตัณหาดับ เวทนาจึงดับ

อุปาทานดับ ภพจึงดับ เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 78

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์

ทั้งสิ้นนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ในกาลใดแล ธรรมทั้งหลาย มาปรากฏแก่

พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ ในกาลนั้น พราหมณ์นั้น

ย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้ ดุจพระอาทิตย์

กำจัดมืดส่องแสงสว่างอยู่ในอากาศฉะนั้น.

จบตติยโพธิสูตรที่ ๓

อรรถกถาตติยโพธิสูตร

ตติยโพธิสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุโลมปฏิโลม ได้แก่ อนุโลมและปฏิโลม อธิบายว่า

ด้วยสามารถอนุโลมตามที่กล่าวแล้ว และด้วยสามารถปฏิโลม. มีคำถามว่า

ก็ท่านกล่าวความเป็นไปของมนสิการในปฏิจจสมุปบาท ไว้ในสูตรทั้งสอง

โดยอนุโลมและปฏิโลมแม้ในก่อนมิใช่หรือ เพราะเหตุไร ในที่นี้ท่านจึง

กล่าวความเป็นไปของมนสิการด้วยอำนาจสูตรนั้นอีก ? ตอบว่า เพราะ

ประกาศมนสิการไว้ในปฏิจจสมุปบาท ถึงวาระที่ ๓ ด้วยอำนาจสูตรทั้งสอง

นั้น. ถามว่า ก็ท่านประกาศมนสิการไว้โดยสูตรทั้งสองอย่างไร เพราะ

ใครๆ ไม่อาจประกาศมนสิการปฏิจจสมุปบาททั้งอนุโลมและปฏิโลม ไม่

ก่อนไม่หลัง ? ตอบว่า ข้อนั้นไม่พึงเห็นอย่างนั้นว่า ทรงมนสิการถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 79

อนุโลมและปฏิโลมทั้งสองนั้นรวมกัน โดยที่แท้ ทรงมนสิการเป็นวาระ.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลม

ก่อน แล้วทรงเปล่งอุทานครั้งแรกอันสมควรแก่มนสิการนั้น. แม้ครั้งที่

สอง ทรงมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาทนั้นโดยปฏิโลม แล้วทรงเปล่งอุทาน

อันสมควรแก่มนสิการนั้นเหมือนกัน ส่วนครั้งที่สาม ทรงมนสิการถึง

อนุโลมปฏิโลม ด้วยสามารถมนสิการเป็นอนุโลมโดยกาล เป็นปฏิโลมโดย

กาล. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า บทว่า อนุโลมปฏิโลม ได้แก่ อนุโลม

และปฏิโลม ด้วยอำนาจอนุโลมและปฏิโลมตามที่กล่าวแล้ว. ด้วยคำนี้

เป็นอันประกาศความที่มนสิการคล่องแคล่วมีกำลังและมีความชำนาญ. แต่

ในที่นี้ พึงทราบวิภาคแห่งอนุโลมและปฏิโลมเหล่านั้น ด้วยสามารถส่วน

เบื้องต้นที่เป็นไปอย่างนี้ว่า เรามนสิการถึงอนุโลม มนสิการถึงปฏิโลม

มนสิการถึงอนุโลมปฏิโลม.

บรรดาคาถาเหล่านั้น บทว่า อวิชฺชายเตฺวว ตัดเป็น อวิชฺชาย ตุ

เอว. บทว่า อเสสวิราคนิโรธา ได้แก่ เพราะดับโดยไม่เหลือด้วยมรรค

กล่าวคือ วิราคธรรม อธิบายว่า เป็นการละโดยไม่เกิดขึ้นด้วยอรหัต-

มรรคอย่างสิ้นเชิง. บทว่า สงฺขารนิโรโธ ได้แก่ ดับสังขารทั้งปวงโดย

ไม่เกิดขึ้นอย่างสิ้นเชิง. จริงอยู่ สังขารบางอย่างดับด้วยมรรค ๓ เบื้องต่ำ

บางอย่างไม่ดับ เพราะอวิชชาดับยังมีส่วนเหลือ. แต่สังขารบางเหล่าจะ

ไม่ดับไม่มี เพราะอรหัตมรรคดับอวิชชาไม่มีส่วนเหลือแล.

บทว่า เอตมตฺถ วิหิตฺวา ความว่า รู้แจ้งอรรถนี้โดยอาการทั้งปวง

ที่ท่านกล่าวไว้ด้วยอำนาจอวิชชาเป็นต้นว่า กองทุกข์มีสังขารเป็นต้นเกิด

เพราะอวิชชาเป็นต้นเกิด กองทุกข์มีสังขารเป็นต้นดับ เพราะอวิชชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 80

เป็นต้นดับ. บทว่า อิม อุทาน อุทาเนสิ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้

มีประการดังกล่าวแล้วอันแสดงอานุภาพอริยมรรคนั้น อันเป็นเหตุให้รู้แจ้ง

ถึงอรรถ กล่าวคือการเกิดและการดับกองทุกข์ ด้วยอำนาจกิจและการ

กระทำให้เป็นอารมณ์.

ในข้อนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลาย

ปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีเพียรเพ่งอยู่ เมื่อนั้นพราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารและ

เสนามารเสียได้ ด้วยโพธิปักขิยธรรมที่เกิดขึ้นเหล่านั้น หรือด้วยอริยมรรค

อันเป็นเหตุปรากฏแห่งจตุสัจธรรม. บทว่า วิธูปย ติฏฺติ มารเสน

ความว่า กำจัด ขจัด ทำลายมารและเสนามารมีประการดังกล่าวแล้วโดย

นัยมีอาทิว่า กามเหล่านั้นเป็นกองทัพที่หนึ่งตั้งอยู่. ถามว่า อย่างไร ? ตอบ

ว่า เหมือนพระอาทิตย์ ทำอากาศให้สว่างไสว อธิบายว่า พระอาทิตย์

โคจรขึ้นไป ทำอากาศให้สว่างไสวด้วยรัศมีตน แล้วกำจัดความมืดลอยอยู่

ฉันใด พราหมณ์ผู้ขีณาสพแม้นั้นก็ฉันนั้น แทงตลอดสัจจะด้วยธรรม

เหล่านั้น หรือด้วยมรรคนั้น ชื่อว่าย่อมกำจัดมารและเสนามารเสียได้.

ในยามทั้ง ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอุทานทั้ง ๓ เหล่านี้อันประ-

กาศอานุภาพแห่งการรู้ชัดปัจจยาการในยามที่ ๑ การบรรลุความสิ้นปัจจัย

ในยามที่ ๒ และการบรรลุอริยมรรคในยามที่ ๓ ด้วยประการฉะนี้. ใน

ราตรีไหน ? ในราตรีที่ ๗ แห่งการตรัสรู้อภิสัมโพธิญาณ. จริงอยู่ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงระลึกบุพเพนิวาสญาณ ในยามต้นแห่งราตรีวิสาข-

ปุณณมี ทรงชำระทิพยจักษุญาณในมัชฌิมยาม ทรงหยั่งพระญาณลงใน

ปฏิจจสมุปบาทในปัจฉิมยาม ทรงพิจารณาสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๓ โดย

นัยต่าง ๆ ทรงพระดำริว่า บัดนี้อรุณจักขึ้น ก็ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิ -

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 81

ญาณ. และในลำดับที่เกิดพระสัพพัญญุตญาณ อรุณก็ขึ้นแล. ลำดับนั้น

ทรงยับยังอยู่สัปดาห์หนึ่ง ณ ดวงโพธิพฤกษ์ โดยบัลลังก์นั้นเอง เมื่อถึง

ราตรีวันปาฏิบท (วัน ๑ ค่ำ) ทรงมนสิการถึงปฏิจจสมุปบาท โดยนัยที่

กล่าวแล้วในยามทั้ง ๓ แล้วทรงเปล่งอุทานนี้ตามลำดับ.

แต่เพราะมาในขันธกะทั้ง ๓ วาระว่า ทรงมนสิการถึงปฏิจจสมุป-

บาทเป็นอนุโลมปฏิโลม ท่านจึงกล่าวไว้ในอรรถกถาขันธกะว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงมนสิการอย่างนี้ในยามทั้ง ๓ แล้วทรงเปล่งอุทานเหล่านี้

อย่างนี้ คืออุทานที่ ๑ ด้วยอำนาจพิจารณาปัจจยาการ อุทานที่ ๒ ด้วย

อำนาจพิจารณาพระนิพพาน อุทานที่ ๓ ด้วยอำนาจพิจารณามรรค. แม้

คำนั้นก็ไม่ผิด.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณาธรรมในระหว่างภายใน

สัปดาห์ทั้ง ๖ ที่เหลือ เว้นสัปดาห์ที่ประทับ ณ รัตนฆรเจดีย์ โดยมากทรง

เสวยวิมุตติสุขอยู่. แต่ในสัปดาห์ที่ประทับ ณ รัตนฆรเจดีย์ ทรงประทับ

อยู่ด้วยการพิจารณาพระอภิธรรมเท่านั้นแล.

จบอรรถกถาตติยโพธิสูตรที่ ๓

๔. อชปาลนิโครธสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ทำให้เป็นพราหมณ์

[๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้อช-

ปาลนิโครธ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ที่ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 82

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด ๗ วัน

ครั้งนั้นแล พอล่วงสัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธิ

นั้น ครั้งนั้นแล พราหมณ์คนหนึ่งผู้มักตวาดผู้อื่นว่า หึ หึ เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้น

ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคล

ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะเหตุเพียงเท่าไรหนอแล และธรรมที่ทำบุคคลให้

เป็นพราหมณ์เป็นไฉน.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พราหมณ์ใดมีบาปธรรมอันลอยเสียแล้ว ไม่มัก

ตวาดผู้อื่นว่า หึ หึ ไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาด มีตนอัน

สำรวมแล้ว ถึงที่สุดแห่งเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว

ไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้นในโลกไหน ๆ พราหมณ์นั้นควร

กล่าววาทะว่าเป็นพราหมณ์โดยชอบธรรม.

จบอชปาลนิโครธสูตรที่ ๔*

อรรถกถาอชปาลนิโครธสูตร

อชปาลนิโครธสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อชปาลนิโคฺรเธ ความว่า ได้ยินว่า คนเลี้ยงแพะทั้งหลาย

ได้ไปนั่งที่ร่มเงาต้นนิโครธ (ต้นไทร) นั้น เพราะฉะนั้น ต้นนิโครธ

* พม่าเป็น หุหุยกสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 83

นั้น จึงชื่อว่าอชปาลนิโครธนั่นแล. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะ

เหตุที่พวกพราหมณ์เก่า ๆ ไม่สามารถจะท่องพระเวททั้งหลายในที่นั้น

ได้ จึงทำที่อยู่อาศัยอันประกอบด้วยล้อมรั้ว แล้วทั้งหมดพากันอยู่ ฉะนั้น

ต้นไม้นั้น จึงเกิดชื่อว่าอชปาลนิโครธ. ในข้อนั้น มีวจนัตถะดังต่อไปนี้

ชื่อว่า อชปา เพราะร่ายมนต์ไม่ได้ อธิบายว่า สาธยายมนต์ไม่ได้ ชื่อว่า

อชปาละ เพราะเป็นที่ถือ คือจับจองที่อาศัยของผู้ร่ายมนต์ไม่ได้. อาจารย์

อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะเหตุที่ต้นไม้นั้นปกปักรักษาพวกแพะที่เข้าไป

อยู่ภายในเวลาเที่ยงด้วยร่มเงาของตน ฉะนั้น ต้นไม้จึงเกิดชื่อว่าอชปาละ

รักษาแพะ. นั่นเป็นชื่อของต้นไม้นั้น แม้ทุกชื่อ. ที่ใกล้ต้นไม้นั้น. จริงอยู่

บทว่า อชปาลนิโคฺรเธ นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้.

บทว่า วิมุตฺติสุข ปฏิสเวที ความว่า เมื่อทรงพิจารณาธรรมแม้ที่

ต้นอชปาลนิโครธนั้น ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข. ต้นไม้นั้นมีอยู่ในด้าน

ปุรัตถิมทิศแต่โพธิพฤกษ์. ก็บทว่า สตฺตาห นี้ ไม่ใช่เป็นสัปดาหะติดต่อ

กับสัปดาหะที่ทรงนั่งขัดสมาธิ. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้ง

อยู่ ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์นั่นเอง ตลอด ๓ สัปดาหะ นอกจากสัปดาหะที่

ทรงนั่งขัดสมาธิ. ในข้อนั้นมีอนุบุพพิกถาดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ แล้ว

ประทับนั่งขัดสมาธิตลอดสัปดาห์หนึ่ง เทวดาบางพวกเกิดความสงสัยขึ้นว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่เสด็จออก ธรรมอันกระทำความเป็นพระพุทธเจ้า

แม้อย่างอื่นยังมีอยู่หรือหนอ. ครั้นในวันที่ ๘ พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก

จากสมาบัติ ทรงทราบความสงสัยของพวกเทวดา จึงเหาะขึ้นไปบนอากาศ

เพื่อกำจัดความสงสัยของเทวดาเหล่านั้น แล้วแสดงยมกปาฏิหาริย์ ประทับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 84

ยืนทางด้านทิศอุดร อันเฉียงไปทางทิศปราจีน (ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ)

เยื้องกับบัลลังก์ ทรงลืมพระเนตรแลดูบัลลังก์และโพธิพฤกษ์ อันเป็น

สถานที่บรรลุผลแห่งพระบารมีที่ทรงสะสมมาตลอด ๔ อสงไขย ยิ่งด้วย

แสนกัป ทรงยับยั้งอยู่สัปดาห์หนึ่ง สถานที่นั้น จึงเกิดชื่อว่า อนิมิสเจดีย์.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรมในที่รัตนจงกรมอันยาวทางด้าน

ปุรัตถิมทิศและปัจฉิมทิศ ระหว่างบัลลังก์กับที่ประทับยืน ทรงยับยั้งอยู่

สัปดาห์หนึ่ง. สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนจงกรมเจดีย์. ทางด้านปัจฉิม-

ทิศจากสถานที่นั้น เทวดาเนรมิตเรือนแก้ว ทรงประทับนั่งสมาธิใน

เรือนแก้วนั้น ทรงพิจารณาอภิธรรมปิฎกอันเป็นสมันตปัฏฐานอนันตนัย

โดยพิเศษ ทรงยับยั้งอยู่ ๑ สัปดาห์ สถานที่นั้น จึงชื่อว่า รัตนฆรเจดีย์.

ทรงยับยั้งอยู่ ๔ สัปดาห์ ณ ที่ใกล้โพธิพฤกษ์ ด้วยอาการอย่างนี้ ใน

สัปดาห์ที่ ๕ เสด็จจากโพธิพฤกษ์เข้าไปยังต้นอชปาลนิโครธ ทรงประทับ

นั่งสมาธิ ณ ควงต้นอชปาลนิโครธนั้น.

บทว่า ตมฺหา สมาธิมฺหา วุฏฺาสิ ความว่า ออกจากสมาธิ คือ

ผลสมาบัตินั้น ตามเวลาที่กำหนดไว้ ก็แล ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ออกจากสมาบัติแล้วประทับนั่ง ณ ที่นั้นอย่างนี้ พราหมณ์คนหนึ่งมาหา

พระองค์ทูลถามปัญหา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อถโข

อญฺตโร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺตโร ได้แก่ พราหมณ์คนหนึ่ง

ไม่มีชื่อเสียง ไม่ปรากฏนามและโคตร. บทว่า หุหุงฺกชาติโก ความว่า

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นเป็นทิฏฐมังคลิกะ มีมานะจัด เห็นสิ่งทุกอย่างมี

กำเนิดต่ำ จึงเกลียด เที่ยวทำเสียง หึ หึ ด้วยอำนาจมานะและความโกรธ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 85

เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียก (พราหมณ์นั้น) ว่า หุหุงกชาติกะ บาลีว่า

หุหุกฺกชาติโก ดังนี้ก็มี. บทว่า พฺราหฺมโณ ได้แก่ เป็นพราหมณ์โดย

กำเนิด.

บทว่า เยน ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ

ทิศใด. ก็คำว่า เยน นี้ เป็นตติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ. อีก

อย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทวดาและมนุษย์พึงเข้าไปเฝ้าโดยทิศ

ใด พราหมณ์ก็เข้าไปเฝ้าโดยทิศนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เยน เป็น

ตติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งเหตุ อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า อันเทวดา

และมนุษย์พึงเข้าไปเฝ้าเพราะเหตุใด พราหมณ์ก็เข้าไปเฝ้าเพราะเหตุนั้น.

ก็เพราะเหตุไร จึงต้องเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ? เพราะเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายผู้มีจิตกระสับกระส่าย เพราะถูกพยาธิคือกิเลสต่าง ๆ บีบคั้น

จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเหตุมีการฟังธรรมและถามปัญหา

เป็นต้น เพื่อเยียวยาพยาธิคือกิเลส เหมือนหมอผู้มีอานุภาพมาก อันมหาชน

ผู้มีกายกระสับกระส่าย เพราะถูกโรคและทุกข์มีประการต่าง ๆ เบียดเบียน

จึงเข้าไปหาเพื่อเยียวยาโรค ด้วยเหตุนั้น พราหมณ์แม้นี้ ประสงค์จะตัด

ความสงสัยของตนจึงเข้าไปเฝ้า.

บทว่า อุปสงฺกมิตฺวา เป็นบทแสดงการสิ้นสุดของการไปเฝ้า. อีก

อย่างหนึ่ง ความว่า เข้าไปยังสถานที่ที่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคเจ้า จากที่

ที่เขาเข้าไปเฝ้า. บทว่า สมฺโมทิ ได้แก่ เบิกบานอยู่เสมอ หรือโดยชอบ.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงบันเทิงอันพราหมณ์ให้เป็นไป ถึงพราหมณ์

เล่าก็เป็นผู้บันเทิง อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไป ด้วยการทำปฏิสันถาร

มีอาทิว่า ท่านผู้เจริญ ยังพอทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นได้หรือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 86

บทว่า สมฺโมทนีย ได้แก่ ควรแก่ความบันเทิง คือเหมาะแก่การ

ให้เกิดความบันเทิง. บทว่า กถ ได้แก่ การเจรจาปราศรัย. บทว่า

สาราณีย ได้แก่ ควรระลึก คืออันคนดีพึงให้เป็นไป หรือพึงคิดในเวลา

อื่น. บทว่า วีติสาเรตฺวา แปลว่า ให้สำเร็จ. บทว่า เอกมนฺต เป็นบท

แสดงภาวะนปุงสกลิงค์. อธิบายว่า ในที่แห่งหนึ่ง คือในส่วนหนึ่ง เว้น

โทษของการนั่ง ๖ อย่าง มีการนั่งตรงหน้าเกินไปเป็นต้น. บทว่า เอต-

ทโวจ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ คือคำที่จะพึงตรัสในบัดนี้

มีอาทิว่า กิตฺตาวตา นุ โข ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิตฺตาวตา แปลว่า โดยประมาณเท่าไร.

บทว่า นุ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า สงสัย. บทว่า โข เป็นนิบาต ใช้

ในอรรถว่า ทำบทให้เต็ม. บทว่า โภ เป็นอาลปนะ ร้องเรียกชาติของ

พราหมณ์. สมจริงดังคำที่กล่าวไว้ว่า พราหมณ์นั้นชื่อว่า โภวาที พราหมณ์

นั้นแลเป็นผู้ยังมีกิเลสเครื่องกังวล.

พราหมณ์ร้องเรียกพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยพระโคตรว่า โคตมะ.

ถามว่า ก็อย่างไร พราหมณ์นี้ มาถึงเดี๋ยวนี้จึงได้ทราบพระโคตรของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ? ตอบว่า พราหมณ์นี้ไม่ใช่มาถึงเดี๋ยวนี้, พระองค์เสด็จ

เที่ยวไปกับพระปัญจวัคคีย์ ผู้อุปัฏฐากในคราวบำเพ็ญเพียร ๖ พรรษาก็ดี

ภายหลังทรงละทิ้งวัตรนั้น เสด็จเที่ยวบิณฑบาตพระองค์เดียว ไม่มีเพื่อน

สอง ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคมก็ดี พราหมณ์นั้นเคยเห็นและเคยเจรจา.

เพราะเหตุนั้น พราหมณ์นั้นจึงหวนระลึกถึงพระโคตรของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า อันพระปัญจวัคคีย์รับนับถือในกาลก่อน จึงได้ร้องเรียก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 87

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระโคตรว่า โภ โคตม. อีกอย่างหนึ่ง จำเดิม

แต่เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ที่ฝั่งแม่น้ำอโนมา-

นที พระองค์เป็นผู้ปรากฏเหมือนพระจันทร์และพระอาทิตย์ รู้กันทั่วไป

ว่า พระสมณโคดม ไม่จำต้องค้นหาเหตุในการรู้พระโคตรของพระผู้มี-

พระภาคเจ้านั้น.

บทว่า พฺราหฺมณกรณา ความว่า ชื่อว่าพราหมณกรณา เพราะ

กระทำความเป็นพราหมณ์ อธิบายว่า กระทำภาวะว่าเป็นพราหมณ์. ก็ใน

คำนั้นด้วยคำว่า กิตฺตาวตา นี้ พราหมณ์ทูลถามถึงปริมาณแห่งธรรมอัน

เป็นเหตุให้เป็นพราหมณ์. ก็ด้วยคำว่า กตเม นี้ ทูลถามถึงความสรุป

ธรรมเหล่านั้น.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงรู้แจ้งความนี้อัน

เป็นจุดยอดแห่งปัญหาที่พราหมณ์นั้นทูลถาม จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลา

นั้น. แต่พระองค์มิได้ทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์นั้น. เพราะเหตุไร ?

เพราะพราหมณ์ยังไม่เป็นที่รองรับพระธรรมเทศนา. จริงอย่างนั้น

พราหมณ์นั้นได้ฟังคาถานี้แล้ว ก็หาได้ตรัสรู้สัจจะไม่. และการประกาศ

พุทธคุณแก่อุปกาชีวก เหมือนการประกาศแก่พราหมณ์นี้. จริงอยู่ พระ-

ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในส่วนเบื้องต้น ก่อนการประกาศพระ-

ธรรมจักร เฉพาะเป็นส่วนแห่งวาสนาแก่คนเหล่าอื่นผู้ได้สดับ เหมือนให้

สรณะแก่ตปุสสะและภัลลิกะ. (พาณิช ๒ พี่น้อง) ไม่ใช่เป็นส่วนแห่งพระ-

เสขะและมิใช่เป็นส่วนแห่งการตรัสรู้. ความจริง ข้อธรรมนั้นเป็นธรรมดา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โย พฺราหฺมโณ ความว่า บุคคลใด

ชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะลอยบาปธรรมได้ เป็นผู้ประกอบด้วยบาปธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 88

มีการตวาดว่า หึ หึ ดุจน้ำฝาดเป็นต้น. เพราะเป็นทิฏฐิมังคลิกะ ยัง

ปฏิญญาตนว่าเป็นพราหมณ์ โดยเพียงชาติอย่างเดียว ก็หาไม่ บุคคลนั้น

ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะลอยบาปธรรมได้ ชื่อว่าปราศจากกิเลสที่ขู่

ผู้อื่นว่า หึ หึ เพราะละกิเลสที่ขู่ผู้อื่นว่า หึ หึ ได้ ชื่อว่าไม่มีกิเลสดุจน้ำ

ฝาด เพราะไม่มีกิเลสดุจน้ำฝาด มีราคะเป็นต้น ชื่อว่ามีความเพียรเป็น

สภาวะ เพราะมีจิตประกอบด้วยภาวนานุโยค หรือชื่อว่าสำรวมตนแล้ว

เพราะมีจิตสำรวมแล้วด้วยศีลสังวร ชื่อว่าผู้ถึงที่สุดแห่งเวท เพราะถึงที่สุด

คือพระนิพพานซึ่งเป็นสุดสิ้นสังขาร หรือที่สุดแห่งเวท ด้วยเวททั้งหลาย

กล่าวคือมรรคญาณ ๔. ชื่อว่าอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว เพราะอยู่จบมรรค-

พรหมจรรย์. บุคคลผู้กล่าววาทะเป็นพราหมณ์โดยธรรม คือกล่าววาทะว่า

เป็นพราหมณ์โดยธรรม คือโดยชอบธรรมนั้น (เขา) ไม่มีกิเลสเครื่องฟู

ขึ้นเหล่านี้ ได้แก่กิเลสเครื่องฟูขึ้น คือราคะ โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ

ในที่ไหนๆ คือแม้ในอารมณ์เดียว ในโลกสันนิวาสทั้งสิ้น อธิบายว่า

ละได้โดยสิ้นเชิง.

จบอรรถกถาอชปาลนิโครธสูตรที่ ๔

๕. เถรสูตร

ว่าด้วยพระเถระผู้ใหญ่เข้าเฝ้า

[๔๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 89

สารีบุตร ท่านพระมหาโมคัลลานะ ท่านพระมหากัสสปะ ท่านพระ-

มหากัจจานะ ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระ-

มหาจุนทะ ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระเรวตะและท่านพระนันทะ เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระ-

เนตรเห็นท่านเหล่านั้นกำลังมาแต่ไกล ครั้นแล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นกำลังมา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พราหมณ์เหล่านั้นกำลังมา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่อย่างนี้แล้ว

ภิกษุผู้มีชาติเป็นพราหมณ์รูปหนึ่ง ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ บุคคลชื่อว่าเป็นพราหมณ์เพราะเหตุเพียงเท่าไรหนอแล

และธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นพราหมณ์เป็นไฉน.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ชนเหล่าใดลอยบาปทั้งหลายได้แล้ว มีสติอยู่ทุก

เมื่อ มีสังโยชน์สิ้นแล้ว ตรัสรู้แล้ว ชนเหล่านั้นแล

ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ในโลก.

จบเถรสูตรที่ ๕

อรรถกถาเถระสูตร

เถรสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สาวตฺถิย คือใกล้นครชื่ออย่างนี้. จริงอยู่ นครนั้นท่านเรียกว่า

สาวัตถี เพราะสร้างในที่อยู่อาศัยของฤาษีชื่อสวัตถะ เหมือนเมือง กากนฺทิ

เรียกว่า มากนฺที นักคิดอักษรรู้อย่างนี้เป็นอันดับแรก. ส่วนพระอรรถ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 90

กถาทั้งหลายกล่าวว่า ชื่อว่าสาวัตถี เพราะเป็นที่มีเครื่องอุปโภคและบริโภค

ทุกชนิดสำหรับมนุษย์ เมื่อถูกถามว่า ในที่นี้มีสิ่งอะไรในการประกอบ

เป็นพวก จึงเรียกว่าสาวัตถี ตอบว่าเพราะอาศัยคำว่า สพฺพมตฺถิ

สิ่งทั้งหมดมีอยู่ดังนี้.

เครื่องอุปกรณ์ทั้งหมดมีพร้อมมูล โดยประการ

ทั้งปวง ในเมืองสาวัตถี เพราะอาศัยความพร้อมมูล

ทั้งปวง จึงเรียกว่า สาวัตถี ดังนี้.

ใกล้เมืองสาวัตถีนั้น. ก็บทว่า สาวตฺถิย นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ใน

อรรถว่าใกล้.

บทว่า เชตวเน ความว่า ชื่อว่า เชต เพราะชนะข้าศึกของตน.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เชต เพราะประสูติในเมื่อพระราชาชนะเหล่าชนผู้เป็น

ข้าศึก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เชต เพราะตั้งชื่อท่านอย่างนั้น เพราะต้องการ

ให้เป็นมงคล. ชื่อว่า วนะ เพราะคบหา อธิบายว่า ทำความภักดีในตน

ให้เกิดแก่สัตว์ทั้งหลาย ด้วยคุณสมบัติของตน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วนะ

เพราะร้องขอ อธิบายว่า เหมือนร้องขอเหล่าสัตว์ว่า พวกท่านจงใช้สอย

เรา ด้วยการขานเสียงร้องของวิหคมีดุเหว่าเป็นต้น ด้วยความเมาในความ

เพลิดเพลินด้วยดอกไม้และของหอมนานาชนิด และด้วยมือคือใบอ่อนของ

กิ่งไม้ที่ถูกลมอ่อนพัดโชย. สวนของเจ้าเชต ชื่อว่าเชตวัน. จริงอยู่ สวน

นั้นพระราชกุมารพระนามว่าเชต ทรงปลูกสร้างให้เจริญและรักษาไว้ เจ้า

เชตนั่นแหละเป็นเจ้าของสวนนั้น เพราะฉะนั้น สวนนั้นจึงเรียกว่าเชตวัน.

ในสวนชื่อว่าเชตวันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 91

บทว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ความว่า มหาเศรษฐีนั้น นาม

ว่า สุทัตตะ โดยที่บิดามารดาตั้งชื่อให้ ก็ท่านเศรษฐีนั้นให้ก้อนข้าวแก่

คนอนาถาเป็นนิตยกาล เพราะมีความสำเร็จในสิ่งที่ประสงค์ทุกประการ

เพราะปราศจากมลทินคือความตระหนี่ และเพราะพรั่งพร้อมด้วยคุณ มี

กรุณาเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อนาถปิณฑิกะ ชื่อว่า อาราม

เพราะเป็นที่ยินดีของสัตว์ คือนักบวชโดยพิเศษ อธิบายว่า ผู้มาจากที่นั้นๆ

ย่อมยินดี เพลิดเพลินไม่เบื่อหน่ายอยู่ ด้วยความงามของดอกไม้และผลไม้

เป็นต้น และด้วยความสมบูรณ์แห่งองค์ของเสนาสนะ ๕ ประการ มีไม่

ไกลนัก ไม่ใกล้นักเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอาราม เพราะนำคน

แม้ไปในที่นั้น ๆ มายินดีเฉพาะในภายในตน ด้วยสมบัติมีประการดังกล่าว

แล้ว. จริงอยู่ อารามนั้นท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีใช้เงิน ๑๘ โกฏิซื้อจาก

พระหัตถ์ของราชกุมารพระนามว่าเชต โดยการเอาเงินโกฏิปูลาด ใช้เงิน

๑๘ โกฏิ สร้างเสนาสนะ ใช้เงิน ๑๘ โกฏิ ฉลองวิหารให้สำเร็จ แล้ว

มอบถวายสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข โดยบริจาคเงิน ๕๔ โกฏิ ด้วย

ประการอย่างนี้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อารามของท่านอนาถปิณฑิก-

คฤหบดี. ในอารามของท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดีนั้น.

ก็ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เชตวเน เป็นคำระบุถึงเจ้าของเดิม.

คำว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม เป็นคำระบุถึงเจ้าของคนหลัง. แม้คำ

ทั้งสองก็มีความมุ่งหมายให้ถือเป็นเยี่ยงอย่างต่อไป ของผู้ต้องการบุญ โดย

การแสดงการบริจาคเป็นพิเศษของท่านทั้งสอง. เมื่อว่าโดยการสร้างซุ้ม

ประตูและปราสาทที่พระเชตวันนั้น เจ้าเชตทรงบริจาคเงิน ๑๘ โกฏิ ซึ่ง

ได้จากการขายที่ และต้นไม้มีค่าหลายโกฏิ และท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 92

บริจาค ๕๔ โกฏิ. ดังนั้น พระอานนท์ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก เมื่อจะ

แสดงว่า ผู้ต้องการบุญย่อมทำบุญอย่างนี้ ด้วยการระบุถึงการบริจาคของ

ท่านทั้งสองนั้น จึงชักชวนผู้ต้องการบุญแม้เหล่าอื่น ด้วยการดำเนินตาม

เยี่ยงอย่างของท่านทั้งสองนั้นแล.

ในข้อนั้น พึงมีคำถามสอดเข้ามาว่า ก่อนอื่น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ในเมืองสาวัตถี ไม่ควรกล่าวว่า ในพระเชตวัน ถ้าประทับอยู่

ในพระเชตวัน ก็ไม่ควรกล่าวว่า ในเมืองสาวัตถี เพราะใคร ๆ ไม่สามารถ

จะอยู่ในที่ ๒ แห่ง เวลาเดียวกัน ? ตอบว่า ก็ข้อนั้นไม่ควรเห็นอย่างนั้น

เราได้กล่าวไว้แล้วมิใช่หรือว่า บทว่า สาวตฺถิย นี้ เป็นสัตตมีวิภัตติใช้ใน

อรรถว่าใกล้. เพราะฉะนั้น เมื่อพระองค์ประทับอยู่ในพระเชตวัน ใกล้เมือง

สาวัตถี ท่านจึงกล่าวว่า สาวตฺถิย วิหรติ เชตวเน ประทับอยู่ในพระ-

เชตวันใกล้กรุงสาวัตถี. จริงอยู่ คำว่า สาวัตถี มีอันแสดงโคจรคามของ

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นอรรถ. คำที่เหลือมีอันแสดงสถานที่อยู่อัน

เหมาะสมแก่บรรพชิตเป็นอรรถแล.

คำว่า อายสฺมา ในคำมีอาทิว่า อายสฺมา จ สาริปุตฺโต เป็นคำ

แสดงถึงความรัก. จ ศัพท์ เป็นสมุจจยัตถะ. ชื่อว่า สารีบุตร เพราะเป็น

บุตรของพราหมณี ชื่อรูปสารี. คำว่า มหาโมคฺคลฺลาโน เป็นคำแสดงถึง

การบูชา.ความจริง ชื่อมหาโมคคัลลานะ เพราะพระโมคคัลลานะเป็นผู้ใหญ่

โดยคุณวิเศษ. บทว่า เรวโต ได้แก่ ท่านพระขทิรเรวตะ ไม่ใช่พระ-

กังขาเรวตะ. จริงอยู่ วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่

เหมือนพระจันทร์ลอยเด่นท่ามกลางท้องฟ้า ประทับนั่งแสดงธรรมคือ

หมวดสัจจะ ๔ ท่ามกลางบริษัท ๔ เหมือนปราสาททองที่แวดวงด้วยม่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 93

แดงเหมือนภูเขาทองแวดล้อมด้วยชลธารน้ำเงิน เหมือนพระยาหงส์ธตรฐ

แวดล้อมด้วยหงส์เก้าหมื่น เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิแวดล้อมด้วยจตุรง-

คินีเสนาอันรุ่งโรจน์ด้วยรัตนะ ๗. สมัยนั้น พระอัครสาวกและพระ

มหาสาวกเหล่านี้ได้เข้าไปเฝ้าเพื่อถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า.

บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า ทรงแสดงพระสาวกเหล่านั้นผู้

กำลังมา ตรัสกะภิกษุผู้นั่งแวดล้อมพระองค์. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเห็นท่านเหล่านั้นผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีล สมาธิและปัญญาเป็นต้น ผู้

ประกอบด้วยความสงบอย่างยิ่ง ประกอบด้วยสมบัติคือมารยาทอย่างยิ่ง

กำลังเข้ามาเฝ้า ทรงมีพระทัยเลื่อมใส เพื่อจะระบุคุณวิเศษของพระสาวก

เหล่านั้น จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้น

กำลังมา ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์เหล่านั้นกำลังมา. คำนั้น พระองค์

ตรัสด้วยความเลื่อมใส จะตรัสว่าด้วยความสรรเสริญ ดังนี้ก็ถูก. บทว่า

เอว วุตเต ความว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พราหมณ์ หมายเอา

ท่านเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้. บทว่า อญฺตโร ได้แก่ ภิกษุรูปหนึ่ง

ผู้ไม่ปรากฏโดยชื่อและโคตร นั่งอยู่ในบริษัทนั้น. บทว่า พฺราหฺมณชาติโก

แปลว่า ผู้เกิดในตระกูลพราหมณ์. จริงอยู่ ภิกษุนั้นบวชจากตระกูล

พราหมณ์มหาศาลผู้มีโภคะมาก. ได้ยินว่า ภิกษุนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

ชาวโลกเหล่านี้กล่าวกันว่า บุคคลเป็นพราหมณ์โดยอุภโตสุชาติ และ

สำเร็จการศึกษามาจากลัทธิพราหมณ์ ไม่ใช่เป็นพราหมณ์โดยประการอื่น

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านเหล่านั้นว่าพราหมณ์ เอาเถอะ เราจะ

ทูลถามถึงลักษณะความเป็นพราหมณ์กะพระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอยู่ ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 94

คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถึงพระเถระเหล่านั้นว่าพราหมณ์

หมายเอาความนั้นแหละ จริงอยู่ รูปวิเคราะห์แห่งชาติพราหมณ์ว่า ชื่อว่า

พราหมณ์ เพราะสาธยายมนต์. ส่วนพระอริยะชื่อว่าพราหมณ์ เพราะเป็น

ผู้ลอยบาป. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า เรียกว่าพราหมณ์ เพราะเป็น

ผู้ลอยบาป เรียกว่าสมณะ เพราะเป็นผู้ประพฤติสงบ แต่ท่านจะกล่าวว่า

ลอยปาปธรรม.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ได้แก่ ทราบเนื้อความแห่งพราหมณ-

ศัพท์นี้ อันถึงความเป็นยอดโดยปรมัตถ์. บทว่า อิม อุทาน ความว่า

ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดงความเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาหิตฺวา ได้แก่ ทำไว้ภายนอก คือ

นำออกจากสันดานของตน อธิบายว่า ละด้วยสมุจเฉทปหาน. บทว่า

ปาปเก ธมฺเม แปลว่า ธรรมอันลามก. อธิบายว่า ว่าโดยทุจริต ได้แก่

ทุจริต ๓. ว่าโดยจิตตุปบาท ได้แก่อกุศลจิตตุปบาท ๑๒, ว่าโดยกรรมบถ

ได้แก่อกุศลกรรมบถ ๑๐. ว่าโดยประเภทแห่งประวัติ ได้แก่อกุศลธรรม

ทั้งหมดแยกเป็นหลายประเภท. บทว่า เย จรนฺติ สทา สตา ความว่า

ชนเหล่าใด มีสติ คือเป็นผู้มีสติ ด้วยธรรมเครื่องอยู่คือสติ ๖ ในอารมณ์

๖ มีรูปเป็นต้นตลอดกาลทั้งปวง เพราะเป็นผู้ถึงความไพบูลย์ด้วยสติ ย่อม

เที่ยวไปด้วยอิริยาบถทั้ง ๔. ก็ในที่นี้ แม้สัมปชัญญะพึงทราบว่า ท่านก็ถือ

เอาด้วยสติศัพท์นั่นแหละ. บทว่า ขีณสโยชนา ได้แก่ ชื่อว่าสิ้นสังโยชน์

ทั้งปวง เพราะตัดสังโยชน์ ๑๐ ได้เด็ดขาด ด้วยมรรคทั้ง ๔. บทว่า พุทฺธา

คือ ชื่อว่าพุทธะ เพราะตรัสรู้สัจจะ ๔. ก็แหละพุทธะเหล่านั้น มี ๓ ประเภท

คือ สาวกพุทธะ ปัจเจกพุทธะ และสัมมาสัมพุทธะ. ก็บรรดาพุทธะ ๓ นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 95

ในที่นี้ประสงค์เอาสาวกพุทธะ. บทว่า เต เว โลกสมึ พฺราหฺมณา ความว่า

พุทธะเหล่านั้นเกิดโดยอริยชาติในธรรมกล่าวคือพราหมณ์ เพราะอรรถว่า

เป็นผู้ประเสริฐ หรือเป็นบุตรคือโอรสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็น

พราหมณ์ เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ก็ชื่อว่าพราหมณ์ในสัตว์โลก

นี้. อธิบายว่า ไม่ใช่เป็นพราหมณ์โดยเหตุเพียงชาติและโคตร หรือไม่ใช่

เป็นพราหมณ์ด้วยเหตุเพียงทรงชฎาเป็นต้น . ในสูตรทั้งสองนี้ ธรรมอัน

ทำความเป็นพราหมณ์ พระองค์ตรัสให้ถึงพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้

แต่พึงทราบความต่างกันแห่งเทศนา โดยการตรัสต่าง ๆ กัน ด้วยเทศนา-

วิลาส เพราะเหล่าสัตว์มีอัธยาศัยต่างกัน.

จบอรรถกถาเถรสูตรที่ ๕

๖. มหากัสสปสูตร

ว่าด้วยพระมหากัสสปะไม่รับบิณฑบาตเทวดารับของคนขัดสน

[๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลัน-

ทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะอยู่

ที่ถ้ำปิปผลิคูหา อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก สมัยต่อมา ท่านพระ-

มหากัสสปะหายจากอาพาธนั้นแล้วได้คิดว่า ไฉนเราพึงเข้าไปสู่พระนคร-

ราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต ก็สมัยนั้น เทวดาประมาณ ๕๐๐ ถึงความขวนขวาย

เพื่อจะให้ท่านพระมหากัสสปะได้บิณฑบาต ท่านพระมหากัสสปะห้าม

เทวดาประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้นแล้ว เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือเอาบาตรและ

จีวรเข้าไปสู่พระนครราชคฤห์เพื่อบิณฑบาตตามทางที่อยู่แห่งมนุษย์ขัดสน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 96

ที่อยู่แห่งมนุษย์กำพร้า ที่อยู่แห่งช่างหูก พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอด-

พระเนตรเห็นท่านพระมหากัสสปะกำลังเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์

ตามทางที่อยู่แห่งมนุษย์ขัดสน ที่อยู่แห่งมนุษย์กำพร้า ที่อยู่แห่งช่างหูก.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

เรากล่าวบุคคลมิใช่ผู้เลี้ยงคนอื่น ผู้รู้ยิ่ง ผู้ฝึกตน

แล้ว ดำรงอยู่แล้วในสารธรรม ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว

ผู้มีโทษอันคายแล้วว่า เป็นพราหมณ์.

จบมหากัสสปสูตรที่ ๖

อรรถกถามหากัสสปสูตร

มหากัสสปสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ราชคเห ได้แก่ ใกล้นครอันมีชื่ออย่างนี้. จริงอยู่ นคร

นั้นเรียกว่าราชคฤห์ เพราะเจ้ามหามันธาตุ และพระเจ้ามหาโควินท์

เป็นต้นปกครอง บางอาจารย์พรรณนาในข้อนี้โดยประการอื่นมีอาทิว่า

ชื่อว่าราชคฤห์ เพราะเป็นเรือนของพระราชาผู้เป็นข้าศึก ที่ใครๆ ครอบงำ

ได้ยาก. ท่านอาจารย์เหล่านั้น จะมีประโยชน์อะไร. คำว่า ราชคฤห์นั้น

เป็นชื่อของนครนั้น. ก็นครราชคฤห์นี้นั้น เป็นเมืองอยู่ในสมัยพุทธกาล

และสมัยพระเจ้าจักรพรรดิ ในกาลอื่น เป็นเมืองร้าง พวกยักษ์ยึดครอง

กลายเป็นที่อยู่ของพวกยักษ์เหล่านั้น. คำว่า เวฬุวน ในคำว่า เวฬุวเน

กลนฺทกนิวาเป เป็นชื่อของวิหารนั้น. ได้ยินว่า พระเวฬุวัน นั้นล้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 97

ด้วยกำแพงสูง ๑๘ ศอก ประดับด้วยคันธกุฎีใหญ่สมควรเป็นที่ประทับอยู่

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และด้วยสิ่งอื่นมีปราสาท กุฎี ที่เร้น มณฑป ที่

จงกรม และซุ้มประตูเป็นต้น ภายนอกแวดล้อมด้วยไม้ไผ่ มีสีเขียว น่า

รื่นรมย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า เวฬุวัน. และเรียกว่ากลันทกนิวาปะ

เพราะเป็นที่ให้เหยื่อแก่พวกกระแต. ได้ยินว่า สมัยก่อน พระราชาองค์

หนึ่งเสด็จประพาสพระราชอุทยานนั้น ทรงเมาน้ำจัณฑ์. จึงบรรทมกลาง-

วัน ฝ่ายบริวารของพระราชานั้น คิดว่า พระราชาบรรทมหลับแล้ว ถูก

ประเล้าประโลมด้วยดอกไม้และผลไม้ จึงหลีกไปคนละทิศละทาง. ครั้ง

นั้น งูเห่าเลื้อยออกจากโพรงไม้ต้นหนึ่ง ด้วยกลิ่นเลื้อยมาตรงพระราชา.

รุกขเทวดาเห็นดังนั้นจึงคิดว่า เราจะช่วยชีวิตพระราชา จึงแปลงเพศเป็น

กระแต ไปร้องขึ้นที่ใกล้พระกรรณ. พระราชาทรงตื่นบรรทม งูเห่าก็

เลื้อยกลับไป. พระราชาทรงเห็นดังนั้นจึงทรงพระดำริว่า กระแตนี้ให้ชีวิต

เรา จึงทรงเริ่มตั้งเหยื่อแก่พวกกระแตในที่นั้น และทรงให้ป่าวประกาศ

ประทานอภัย เพราะฉะนั้น ตั้งแต่นั้นมา ที่นั้นจึงนับว่า กลันทกนิวาปะ

ก็คำว่า กลันทกะ เป็นชื่อของพวกกระแต. ในพระเวฬุวัน กลันทก-

นิวาปะ นั้น .

บทว่า มหากสฺสโป ความว่า ชื่อว่ามหากัสสปะ เพราะเป็นพระ-

กัสสปะผู้ใหญ่ เหตุประกอบด้วยคุณอันใหญ่มีศีลขันธ์เป็นต้น. อีกอย่าง

หนึ่ง พระมหาเถระองค์นี้เรียกว่า มหากัสสปะ เพราะเทียบกับพระกุมาร-

กัสสปเถระ. บทว่า ปิปฺผลิคุหาย ความว่า ได้ยินว่า ที่ใกล้ประตูถ้ำนั้น

ได้มีต้นดีปลีต้นหนึ่ง เพราะฉะนั้น ถ้ำนั้นจึงปรากฏว่า ปิปผลิคูหา. ที่ถ้ำ

ปิปผลิคูหานั้น. บทว่า อาพาธิโก ความว่า ชื่อว่าอาพาธิกะ เพราะมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 98

อาพาธ อธิบายว่า มีการป่วยไข้. บทว่า ทุกฺขิโต ความว่า ชื่อว่ามีทุกข์

เพราะเกิดทุกข์ที่อิงอาศัยกาย อธิบายว่า ประสบทุกข์. บทว่า พาฬฺห-

คิลาโน ได้แก่ ผู้มีความเป็นไข้หนัก. แต่พระมหากัสสปะมีสติสัมปชัญญะ

อดกลั้นความไข้นั้นได้. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเหตุนั้นของ

ท่าน จึงได้เสด็จไปในที่นั้น ตรัสโพชฌงคปริตร. ด้วยโพชฌงคปริตร

นั้นนั่นเอง พระเถระจึงหายขาดจากอาพาธนั้น. สมจริงดังที่ตรัสไว้ใน

โพชฌงคสังยุตว่า

ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสปะอาพาธ เป็นทุกข์ มี

ไข้หนัก อยู่ที่ถ้ำปิปผลิคูหา. ครั้นในเวลาเย็น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าเสด็จออกจากที่เร้น เสด็จเข้าไปหาพระมหากัสสปะถึงที่อยู่

ครั้นแล้วได้ประทับบนอาสนะที่ตบแต่งไว้ ครั้นประทับนั่งแล้ว

ฯลฯ ได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า กัสสปะ เธอพอทนได้หรือ พอ.

ยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ ทุกขเวทนาสร่างลงไม่กำเริบหรือ

ที่สุดของความสร่างทุกขเวทนาปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ.

พระมหากสัสปะทูลว่า ข้าพระองค์ทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็น

ไปไม่ได้ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์มีทุกขเวทนาอย่างแรงกล้า ยัง

กำเริบ ไม่สร่างลง พระเจ้าข้า ความสิ้นสุดแห่งความกำเริบยัง

ปรากฏ ความสร่างลงไม่ปรากฏ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่ากัสสปะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้ เรากล่าวชอบแล้ว อบรม

แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ

นิพพาน โพชฌงค์ ๗ อะไรบ้าง ? ดูก่อนกัสสปะ คือ สติสัม-

โพชฌงค์ อันเรากล่าวชอบแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 99

เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯลฯ ดูก่อน

กัสสปะ อุเบกขาสัมโพชฌงค์แล เรากล่าวชอบแล้ว อบรมแล้ว

ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ เพื่อ

นิพพาน. ดูก่อนกัสสปะ โพชฌงค์ ๗ เหล่านี้แล เรากล่าว

ชอบแล้ว อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง

เพื่อตรัสรู้ เพื่อนิพพาน, พระมหากัสสปะทูลว่า ข้าแต่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า โพชฌงค์ดีแท้ ข้าแต่พระสุคต โพชฌงค์ดีแท้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ไว้ ท่านพระมหากัสสปะดีใจ

เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า. และท่านพระมหา-

กัสสปะก็ได้หายจากอาพาธนั้นแล้ว และอาพาธนั้นก็เป็นอันชื่อว่า

พระมหากัสสปะละได้แล้วอย่างนั้น.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข อายสฺมา มหากสฺสโป

อปเรน สมเยน ตมฺหา อาพาธา วุฏฺาสิ ครั้นสมัยต่อมา ท่านพระ-

มหากัสสปะก็หายจากอาพาธนั้น.

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ท่านพระมหากัสสปะฉันบิณฑบาตที่

สัทธิวิหาริกนำเข้าไปถวายในวันเป็นไข้ในกาลก่อน ก็ได้อยู่ในวิหารนั้น

แหละ ครั้นท่านหายจากอาพาธนั้นแล้ว ได้มีความปริวิตกนี้ว่า ไฉนหนอ

เราพึงเที่ยวไปบิณฑบาตยังเมืองราชคฤห์. บทว่า ปญฺจมตฺตานิ เทวตา

สตานิ ได้แก่ นางอัปสรผู้มีเท้าดังสีเท้านกพิราบประมาณ ๕๐๐ ผู้บำเรอ-

ท้าวสักกเทวราช. บทว่า อุสฺสุกฺก อาปนฺนานิ โหนฺติ ความว่า นางอัปสร

เหล่านั้นคิดจะถวายบิณฑบาตแก่พระเถระ จึงตระเตรียมบิณฑบาต ๕๐๐

ที่ ใส่ภาชนะทองเอาไปยืนอยู่ระหว่างทาง พลางกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า ขอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 100

ท่านจงรับบิณฑบาตนี้ จงสงเคราะห์พวกดิฉัน ต่างก็ขวนขวายในการ

ถวายบิณฑบาต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อายสฺมโต มหากัสสปสฺส

ปิณฺฑปาตปฏิลาภาย เพื่อให้ท่านพระมหากัสสปะได้รับบิณฑบาต.

ได้ยินว่า ท้าวสักกเทวราชทราบความเป็นไปแห่งจิตของพระเถระ

จึงส่งนางอัปสรเหล่านั้นไปด้วยพระดำรัสว่า พวกเธอจงไปถวายบิณฑบาต

แก่พระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปเถระ กระทำให้เป็นที่พึ่งของตน. ความจริง

ท้าวสักกเทวราชนั้นได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า บรรดานางอัปสรทั้งหมดนี้

ที่ไปถึง บางคราว พระเถระพึงรับบิณฑบาตจากมือของนางอัปสรแม้สัก

คน ข้อนั้นจักเป็นประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่นางตลอดกาลนาน

พระเถระห้ามนางอัปสรผู้กำลังพูดว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงรับบิณฑบาต

ของดิฉัน ขอท่านจงรับบิณฑบาตของดิฉัน แล้วกล่าวว่า พวกเธอได้ทำ

บุญไว้แล้ว มีโภคะมาก จงหลีกไป เราจะสงเคราะห์แกคนเข็ญใจ แล้ว

จึงห้ามอีกครั้งกะนางอัปสรผู้พูดอยู่ว่า ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงอย่าทำพวก

ดิฉันให้พินาศเลย จงสงเคราะห์พวกดิฉันเถิด จึงคิดนิ้วมือกล่าวซ้ำกะ

พวกอัปสรผู้ไม่ปรารถนาจะหลีกไป ซึ่งยังอ้อนวอนอยู่ว่า พวกเธอไม่รู้

ประมาณตน จงหลีกไปเถิด. นางอัปสรเหล่านั้นได้ยินเสียงคิดนิ้วมือของ

พระเถระ เมื่อไม่อาจดำรงอยู่ได้ จึงหนีไปยังเทวโลกตามเดิม. เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปญฺจมตฺตานิ เทวตาสตานิ ปฏิกฺขิปิตฺวา ห้าม

เทวดาประมาณ ๕๐๐.

บทว่า ปุพฺพณฺหสมย ได้แก่ สมัยหนึ่ง คือเวลาหนึ่ง ตอนเช้า.

บทว่า นิวาเสตฺวา ความว่า นุ่งห่มอย่างมั่นคง โดยการเปลี่ยนเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 101

นุ่งห่มในพระวิหาร. บทว่า ปตฺตจีวรมาทาย ความว่า ห่มจีวรแล้ว

ถือบาตร. บทว่า ปิณฺฑาย ปาวิสิ ได้แก่ เข้าไปบิณฑบาต.

บทว่า ทลิทฺทวิสิขา ได้แก่ ถิ่นเป็นที่อยู่ของคนเข็ญใจ. บทว่า

กปณวิสิขา ได้แก่ ที่อยู่ของคนยากจน เพราะถึงความเสื่อมสิ้นโภคะ.

บทว่า เปสการวิสิขา ได้แก่ ที่อยู่ของช่างหูก.

บทว่า อทฺทสา โข ภควา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็น

อย่างไร ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรำพึงว่า กัสสปบุตรของเรา หายจาก

อาพาธแล้ว กำลังทำอะไรหนอ ทั้งที่ประทับนั่งในพระเวฬุวันนั่นแล

ได้ทรงเห็นด้วยทิพยจักษุ.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบเนื้อความที่ท่านพระ-

มหากัสสปะห้ามบิณฑบาตทิพย์ มีสูปะและพยัญชนะมากมาย ที่นางอัปสร

๕๐๐ นำเข้าไปถวาย แล้วกล่าวถึงข้อปฏิบัติในการสงเคราะห์คนกำพร้า.

บทว่า อิม อุทาน ได้แก่ ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดงอานุภาพแห่งความ

คงที่ของพระขีณาสพ โดยแสดงความเป็นผู้มักน้อยเป็นประธาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนญฺโปสึ ความว่า ชื่อว่าอัญฺญโปสี

เพื่อเลี้ยงคนอื่น ผู้ไม่เลี้ยงคนอื่น ชื่อว่าอนัญญโปสี อธิบายว่า ชื่อว่า

ไม่มีเพื่อนสอง คือเป็นผู้เดียว เพราะไม่มีคนอื่นที่ตนจะต้องเลี้ยง. ด้วย

คำนั้น ท่านแสดงถึงพระเถระเป็นผู้เลี้ยงง่าย. จริงอยู่ พระเถระเลี้ยง

เฉพาะตนด้วยจีวรเครื่องบริหารกาย และด้วยบิณฑบาตเครื่องบริหารท้อง

ชื่อว่าเป็นผู้มักน้อยอย่างยิ่งอยู่. ไม่เลี้ยงใคร ๆ อื่น ในบรรดาญาติมิตร

เป็นต้น เพราะเป็นผู้ไม่ติดในอารมณ์ไหน ๆ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อนัญญ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 102

โปสี เพราะไม่มีภาระที่ตนอันคนอื่นคนใดคนหนึ่งจะพึงเลี้ยง. ความจริง

ผู้ที่มีปัจจัย ๔ เนื่องในทายกผู้ให้ปัจจัยคนเดียวเท่านั้น ไม่ชื่อว่าอนัญญโปสี

เพราะมีความประพฤติเนื่องกับคน ๆ เดียว. ฝ่ายพระเถระอาศัยกำลังแข้ง

เที่ยวบิณฑบาต โดยนัยดังกล่าวในคาถามีอาทิว่า ยถาปิ ภมโร ปุปฺผ

เป็นผู้ใหม่ในตระกูลทั้งหลายเป็นนิตย์ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารที่

เจือปน. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชมเชยผู้นั้นด้วยปฏิปทา

อันเปรียบด้วยพระจันทร์. บทว่า อญฺาต แปลว่า มีชื่อเสียงปรากฏ

คือมีเกียรติยศแผ่ไปด้วยคุณตามความเป็นจริง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ามีชื่อ

เสียงปรากฏ เพราะเป็นผู้มักน้อย สันโดษด้วยภาวะที่ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่นนั้น

นั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อญฺาต ชื่อว่าอันคนอื่นไม่รู้จัก โดย

ให้ผู้อื่นรู้จักตน เหตุไม่ปรารถนาลาภสักการะ และชื่อเสียง เพราะละตัณหา

ได้แล้วโดยประการทั้งปวง. ความจริง คนที่ยังไม่ปราศจากตัณหา มีความ

ปรารถนาลามก ย่อมให้คนอื่นรู้จักตน โดยประสงค์ความยกย่องด้วยการ

หลอกลวง. บทว่า ทนฺต ความว่า ฝึกตนแล้ว เพราะอรรถว่า ฝึกตนอย่าง

สูงสุดในอินทรีย์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจฉฬังคุเบกขา อุเบกขามีองค์ ๖.

บทว่า สาเร ปติฏฺิต ได้แก่ ตั้งลงในวิมุตติสาระ หรือตั้งอยู่ในศีลสาระ

เป็นต้น มีศีลขันธ์อันเป็นของพระอเสขะเป็นต้น. บทว่า ขีณาสว วนฺต-

โทส ความว่า ชื่อว่าขีณาสวะ เพราะละอาสวะ ๔ มีกามาสวะเป็นต้น

ได้โดยสิ้นเชิง จากนั้นแล ชื่อว่าวันตโทสะ เพราะคายโทษ มีราคะเป็นต้น

ได้โดยประการทั้งปวง. บทว่า ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ ความว่า เรากล่าว

บุคคลนั้น คือบุคคลผู้เป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ ซึ่งมีคุณตามที่กล่าวแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 103

ว่าเป็นพราหมณ์. แม้ในที่นี้ พึงทราบความต่างกันแห่งเทศนา โดยนัย

ดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถามหากัสสปสูตรที่ ๖

๗. ปาวาสูตร

ว่าด้วยยักษ์หลอดพระพุทธเจ้า

[๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อชกลาปกเจดีย์ อันเป็น

ที่อยู่แห่งอชกลาปกยักษ์ ใกล้เมืองปาวา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่ง ณ ที่แจ้ง ในความมืดตื้อในราตรี และฝนก็กำลังโปรยละออง

อยู่ ครั้งนั้นแล อชกลาปกยักษ์ใคร่จะทำความกลัว ความหวาดเสียว ขน

ลุกชูชันให้เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้ทำเสียงอักกุลปักกุละว่า อักกุโล ปักกุโล ขึ้น ๓

ครั้ง ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกล่าวว่า ดูก่อนสมณะ นั่น

ปีศาจปรากฏแก่ท่าน.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ในกาลใด บุคคลเป็นผู้ถึงฝั่งในธรรมทั้งหลาย

ของตน เป็นพราหมณ์ ในกาลนั้น ย่อมไม่กลัว

ปีศาจและเสียงว่า ปักกุละ อย่างนี้.

จบปาวาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 104

อรรถกถาปาวาสูตร

ปาวาสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปาวาย ได้แก่ ใกล้เมืองของเจ้ามัลละ อันมีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า อชกลาปเก เจติเย ได้แก่ ในที่ที่พวกมนุษย์ยำเกรง อันได้นาม

ว่าอชกลาปกะ เพราะยักษ์ชื่อว่าอชกลาปกะยึดครอง. ได้ยินว่า ยักษ์นั้น

รับพลีกรรมด้วยโกฏฐาสแห่งแพะ โดยการมัดแพะให้เป็นกลุ่ม ๆ หาใช่

รับโดยประการอื่นไม่ เพราะฉะนั้น จึงปรากฏชื่อว่าอชกลาปกยักษ์.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ชื่อว่าอชกลาปกยักษ์ เพราะยังพวกคนให้

ร้องเหมือนแพะ ได้ยินว่า ในเวลาที่พวกคนน้อมนำพลีกรรมไปให้แก่

อชกลาปกยักษ์ ร้องเสียงเหมือนแพะแล้วนำพลีกรรมเข้าไป ยักษ์นั้นก็

ยินดี เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่าอชกลาปกยักษ์. ก็ยักษ์นั้นสมบูรณ์ด้วย

อานุภาพ กักขฬะ หยาบคาย และสิงอยู่ที่นั้น เพราะฉะนั้น พวกมนุษย์

จึงทำที่นั้นให้เป็นที่เคารพยำเกรง น้อมนำพลีกรรมเข้าไปตลอดกาล.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อชกลาปเก เจติเย. บทว่า อชกลาปกสฺส

ยกฺขสฺส ภวเน ได้แก่ อันเป็นวิมานของยักษ์นั้น

ได้ยินว่า ในคราวนั้น พระศาสดาประสงค์จะทรมานยักษ์นั้น ใน

เวลาเย็น พระองค์เดียวไม่มีเพื่อนสอง ทรงถือบาตรและจีวรแล้วเสด็จ

ไปยังประตูที่อยู่ของอชกลาปกยักษ์ จึงขอร้องนายประตูของยักษ์นั้น เพื่อ

เสด็จเข้าไปยังที่อยู่. นายประตูนั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อชกลาปก-

ยักษ์ผู้หยาบช้า ไม่ทำความเคารพว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์เพราะฉะนั้น

พระองค์เองจงทราบเอาเถิด แต่ข้าพระองค์ไม่บอกแก่ยักษ์นั้นไม่สมควร

แล้วจึงรีบไปยังที่อยู่ของอชกลาปกยักษ์ผู้ไปสมาคมยักษ์ในขณะนั้นนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 105

ศาสดาเสด็จเข้าไปภายในที่อยู่ แล้วประทับนั่งบนบัญญัตตาอาสน์ในมณฑป

อันเป็นที่นั่งของอชกลาปกยักษ์. พวกสนมของยักษ์เข้าไปเฝ้าพระศาสดา

ถวายบังคม แล้วได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาได้แสดงธรรมีกถา

อันควรแก่เวลาแก่สนมเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ประทับ

อยู่ที่อชกลาปกเจดีย์อันเป็นที่อยู่ของอชกลาปกยักษ์ ใกล้เมืองปาวา.

สมัยนั้น สาตาคิริและเหมวตายักษ์ ไปสมาคมยักษ์ทางเบื้องบนที่

อยู่ของอชกลาปกยักษ์ เมื่อตนยังไปไม่ถึง จึงรำพึงว่า จักมีเหตุอะไรหนอ

ได้เห็นพระศาสดาประทับนั่งในที่อยู่ของอชกลาปกยักษ์ จึงไปในที่นั้น

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูลอำลาว่า ข้าพระองค์จักไปยังสมาคม

ของยักษ์ พระเจ้าข้า กระทำประทักษิณแล้วไป เห็นอชกลาปกยักษ์ใน

ที่ประชุมยักษ์ จึงแสดงความยินดีว่า ท่านอชกลาปกะ ข้อที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้เป็นอัครบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ประทับนั่งในที่อยู่ของ

ท่าน จัดว่าเป็นลาภของท่าน ท่านจงเข้าไปเฝ้านั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า

และฟังธรรม. อชกลาปกยักษ์นั้น ได้ฟังถ้อยคำของสาตาคิริยักษ์และ

เหมวตายักษ์แล้วคิดว่า พวกเหล่านี้ได้บอกว่าพระสมณะโล้นนั่งในที่อยู่

ของเรา จึงถูกความโกรธครอบงำ คิดว่า วันนี้ เราจะทำสงครามกับสมณะ

นั้น เมื่อยักษ์เลิกประชุม จึงลุกขึ้นจากที่นั้น ยกเท้าขวาเหยียบยอดภูเขา

ประมาณ ๖๐ โยชน์ ยอดภูเขานั้นได้แยกออกเป็น ๒ ภาค. ก็คำที่ควรจะ

กล่าวในที่นั้น พึงทราบโดยนัยที่มาในอรรถกถาอาฬวกสูตรนั่นแล.

จริงอยู่ สมาคมของอชกลาปกยักษ์ เป็นเหมือนสมาคมของอาฬวก-

ยักษ์นั่นแหละ แต่เว้นการถามปัญหา การแก้ปัญหา และการเสด็จออกจาก

ที่อยู่และการเข้าไป ๓ ครั้ง. ก็พออชกลาปกยักษ์มาถึงเท่านั้นก็คิดว่า เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 106

จะไล่พระสมณะนั้นด้วยฝนเหล่านี้ จึงทำฝน ๘ ชนิด มีมณฑลลมเป็นต้น

ให้ตั้งขึ้น เมื่อไม่อาจทำแม้เพียงให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเคลื่อนไหวด้วยฝน

เหล่านั้นได้ จึงเนรมิตหมู่ภูตมีรูปน่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่ง ถือเครื่องประหาร

นานาชนิด เข้าไปหาพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับภูตเหล่านั้นเที่ยวไป

รอบ ๆ แม้กระทำอาการแปลก ๆ มีประการต่าง ๆ ตลอดคืนยังรุ่ง ก็ไม่

สามารถจะกระทำพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เคลื่อนจากที่ที่ประทับนั่ง แม้เพียง

ปลายเส้นผมสักเส้น ก็พลุ่งโพลงด้วยอำนาจความโกรธอย่างเดียวว่า สมณะ

นี้ไม่บอกกล่าวเราเลย เข้าไปนั่งยังที่อยู่ของเรา. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบจิตประวัติของยักษ์นั้น จึงทรงพระดำริว่า บุคคลต่อยตีที่จมูก

สุนัขดุ เมื่อเป็นอย่างนี้ สุนัขนั้นพึงเป็นสัตว์ดุเกินประมาณยิ่งขึ้น แม้ฉันใด

ยักษ์นี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเรานั่งในที่นี้ก็กริ้วโกรธ ไฉนหนอ เรา

พึงออกไปข้างนอกเสีย แล้วพระองค์เองก็เสด็จออกจากที่อยู่ ประทับนั่ง

ณ โอกาสกลางหาว ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็โดยสมัยนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ โอกาสกลางหาว ในควานมืดตื้อแห่ง

ราตรี ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตฺตนฺธการติมิสาย แปลว่า ในความ

มืดตื้อในราตรี อธิบายว่า ในความมืดมากเว้นการเกิดจักขุวิญญาณ. ได้

ยินว่า คราวนั้น ความมืดประกอบด้วยองค์ ๔ เกิดขึ้น. บทว่า เทโว ได้แก่

เมฆฝนยังหยาดน้ำเป็นเม็ด ๆ ให้ตกลง. ลำดับนั้น ยักษ์คิดว่า เราจะให้

สมณะนี้หวาดเสียวด้วยเสียงนี้ แล้วหนีไป จึงไปยังที่ใกล้พระผู้พระภาค-

เจ้า แล้วกระทำเสียงอันน่ากลัว โดยนัยมีอาทิว่า อักกุละ ๆ. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อถโข อชกลาปโก ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 107

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภย ได้แก่ความสะดุ้งแห่งจิต. บทว่า

ฉมฺภิตตฺต ได้แก่ ภาวะที่สรีระหวาดเสียว มีอาการขาแข็ง. บทว่า โลมหส

ได้แก่ ภาวะที่ขนชูชัน ด้วยบททั้ง ๓ ท่านแสดงเฉพาะเกิดความกลัว.

บทว่า อุปสงฺกมิ ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ยักษ์นี้มีความประสงค์อย่างนี้

เข้าไปหา ได้กระทำอาการแปลกที่ตนกระทำไว้ในกาลก่อนมิใช่หรือ ?

ตอบว่า ได้กระทำจริง แต่ยักษ์นั้นสำคัญว่า เราไม่อาจทำอะไร ๆ แก่

พระสมณะผู้ประทับอยู่ในภายในที่อยู่ ในที่ปลอดภัย ในพื้นที่อันมั่นคง

บัดนี้เราอาจให้สมณะผู้อยู่ภายนอกหวาดเสียวอย่างนี้แล้วหนีไป จึงเข้าไป

หาพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น. ความจริง ยักษ์นี้สำคัญที่อยู่ของตนว่ามั่นคง

และสำคัญว่า พระสมณะนี้ไม่กลัวเพราะอยู่ในที่อยู่ของตนนั้น.

บทว่า ติกฺขตฺตุ อกฺกุโล ปกฺกโลติ อกฺกุลปกฺกุลิก อกาสิ ความว่า

ยักษ์ได้ทำเสียงเห็นปานนี้ว่า อักกุโล ปักกุโล ๓ ครั้ง เพื่อประสงค์ให้

พระองค์หวาดเสียว. ความจริง นี้เป็นเสียงกระทำตาม. ด้วยว่าคราวนั้น

ยักษ์นั้น เป็นเหมือนผู้วิเศษยกเขาสิเนรุ และเหมือนพลิกแผ่นดินใหญ่

ทำเสียงกระหึ่ม เหมือนเสียงอสนีบาตตั้งร้อยฟาดลงมาด้วยอุตสาหะใหญ่

เหมือนเสียงกระหึ่มของช้างประจำทิศ ซึ่งรวมกันเป็นฝูงอยู่ในที่เดียวกัน

แล้วเปล่งออก เหมือนบันลือสีหนาทของไกรสรราสีห์ เหมือนเสียงหึง หึง

ของพวกยักษ์ เหมือนเสียงดังของภูตผี เหมือนเสียงปรบมือของพวกอสูร

เหมือนเสียงกึกก้องแห่งวชิระที่จอมเทวราชฟาดลงมา เหมือนเสียงกึกก้อง

ของกลุ่มพายุใหญ่อันตั้งอยู่ตลอดกัป ประหนึ่งจะกดขี่และครอบงำเสียง

อื่นๆ เพราะเป็นเสียงลึกล้ำ กว้างขวาง และทำความน่ากลัวให้แก่ตน

และเหมือนเสียงกึกก้องอันเป็นภัยเฉพาะหน้าอันใหญ่หลวง ดุจผ่าดวงหทัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 108

ของเหล่าปุถุชน. เพราะเสียงที่เปล่งออกด้วยคิดว่า เราจะให้พระสมณะนี้

หวาดเสียวด้วยเสียงนี้แล้วหนีไป ภูเขาก็แตกเป็นสะเก็ดหินร่วงลงมา ใบไม้

ผลไม้ และดอกไม้ในพุ่มเครือเถาทั้งหมดที่เกาะอยู่ตามต้นไม้เจ้าป่า ก็อับ

เฉาลง ขุนเขาหิมวันต์กว้าง ๓,๐๐๐ โยชน์ก็ไหว หวั่นไหว ลั่นเลื่อนไป

โดยมากแม้พวกเทวดาตั้งต้นแต่ภุมมเทวดา ได้มีความกลัว หวาดเสียว

และขนชูชันด้วยกันทั้งนั้น จะป่วยกล่าวไปไยถึงพวกมนุษย์และสัตว์อื่น ๆ

ที่ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า และมี ๔ เท้า ความหวาดเสียวมากได้เป็นเหมือน

คราวแผ่นดินใหญ่ทรุด ความไกลาหลมากมายได้เกิดขึ้น ณ พื้นชมพูทวีป

ทั้งสิ้น. ส่วนพระผู้พระภาคเจ้า มิได้ทรงสำคัญเสียงนั้นว่าเป็นอะไร ทรง

ประทับนั่งนิ่ง ทรงอธิษฐานว่า ด้วยเหตุนี้ อันตรายอย่าได้มีแก่ใคร ๆ

เลย.

ก็เพราะเหตุที่เสียงนั้น มาปรากฏทางโสตทวารของสัตว์ทั้งหลายโดย

อาการอย่างนี้ว่า อักกุละ พักกุละ ฉะนั้น ท่านอาจารย์จึงยกสู่สังคหะว่า

ยักษ์ได้เปล่งเสียงว่า อักกุละ พักกุละ โดยอธิบายว่า ชื่อว่า อักกุละ

พักกุละ เพราะกระทำตามเสียงนั้น และว่า การเปล่งเสียงว่า อักกุละ

พักกุละ มีอยู่ในการที่ยักษ์เปล่งเสียงอย่างกึกก้องนั้น. แต่อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า ยักษ์เปล่งเสียงตามภาษานี้ อักกุละ พักกุละ โดยชื่ออีกอย่างหนึ่ง

ของสองบทว่า อากุละ พยากุละ เหมือนคำว่า เอกะ เอกกะ. เพราะเหตุที่

อาอักษร ซึ่งเกิดคราวเดียวมีอาทิเป็นอรรถว่า อากุละ เพราะเกิดได้ด้วย

การเกิดครั้งแรกนั้นแหละ และทำ อา อักษรนั้นให้มีเสียงสั้นโดยลง ก

อาคมแล. แต่ที่เกิด ๒ วาระเป็น พักกุละ. ก็กุละศัพท์ในที่นี้เป็น

ปริยายของชาติ เหมือนในประโยคว่า โกลังโกละ เป็นต้น และการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 109

ประกอบศัพท์เป็นการเลียนความประสงค์ที่ท่านกล่าว เหตุนั้น บทที่ ๑

ท่านกล่าวถึงชลาพุชะกำเนิดมีสีหะและพยัคฆะ เป็นต้น. บทที่ ๒ กล่าวถึง

อัณฑชะกำเนิดมีงูและงูเห่า เป็นต้น . เพราะฉะนั้น อาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า

ยักษ์แสดงเนื้อความนี้ด้วยสองบทว่า อหนฺเต ชีวิตหารโก เรานำชีวิต

ของท่านไป เหมือนสีหะเป็นต้น และงูเป็นต้น . แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่ง

กล่าวบาลีว่า อักขุละ ภักขุละ แล้วกล่าวเนื้อความของสองบทนั้นว่า ที่

ชื่อว่า อักขุละ เพราะไป คือเป็นไปเพื่อทำลายให้สิ้นไป ให้พินาศไป

ที่ชื่อว่า ภักขุละ เพราะไปเพื่อจะกิน คือเคี้ยวกิน ก็อรรถนั้นคืออะไร ?

คือใคร ๆ มียักษ์ รากษส ปีศาจ สีหะ และพยัคฆะเป็นต้น ตนใดตน

หนึ่ง เป็นผู้นำความพินาศมาให้แก่พวกมนุษย์. แม้ในที่นี้ ก็พึงทราบ

อธิบายความโดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั้นแหละ.

บทว่า เอโส เต สมณ ปิสาโจ ความว่า ยักษ์เนรมิตรูปน่ากลัว

ใหญ่โต ยืนตรงพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวหมายถึงตนว่า สมณะ

ผู้เจริญ ปีศาจผู้มักกินเนื้อปรากฏแก่ท่านแล้ว.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า รู้ประการแปลกนี้ที่ยักษ์นั้น

ให้เป็นไปทางกายและวาจา และรู้ความที่ตนหมดอุปกิเลสในโลกธรรม

เป็นเหตุแห่งอาการที่ยักษ์นั้นข่มขู่ไม่ได้โดยอาการทั้งปวง. บทว่า ตาย

เวลาย ได้แก่ เวลาที่ทำอาการแปลกนั้น. บทว่า อิม อุทาน อุทาเนสิ

ความว่า ไม่คำนึงถึงอาการแปลกนั้น ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดงธรรมา-

นุภาพ มีการไม่คำนึงอาการแปลกนั้นเป็นเหตุ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา สเก สุธมฺเมสุ ได้แก่ ธรรมคือ

อุปาทานขันธ์ ๕ กล่าวคืออัตภาพของตนในกาลใด. บทว่า ปารคู ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 110

ว่า ผู้ถึงฝั่งด้วยความบริบูรณ์แห่งปริญญาภิสมัย, ต่อแต่นั้นนั่นแหล่ะ ผู้ถึง

ฝั่งด้วยความบริบูรณ์แห่งปหานาภิสมัย สัจฉิกิริยาภิสมัย และภาวนาภิสมัย

ในสมุทัยเป็นเหตุแห่งอุปาทานขันธ์เหล่านั้น ในนิโรธอันมีลักษณะไม่เป็น

ไปตามสมุทัยนั้น และในนิโรธคามินีปฏิปทา. บทว่า โหติ พฺราหฺมโณ

ความว่า ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปโดยประการทั้งปวง

ด้วยประการฉะนี้. ความจริง การตรัสรู้สัจจะ ๔ ย่อมมีแม้ด้วยการหยั่งรู้

อัตภาพของตนโดยประการทั้งปวง. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้มีอาทิว่า

เราบัญญัติโลกและความเกิดของโลก ในร่างกายนี้แหละมีประมาณวาหนึ่ง

พร้อมสัญญาและใจ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สเกสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ใน

ธรรมของตน ชื่อว่าธรรมของตน ได้แก่ธรรมมีศีลเป็นต้นของบุคคล

ผู้รักตน. จริงอยู่ โวทานธรรม มีศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติเป็นต้น

ชื่อว่าธรรมของคนคือของตน เพราะยังหิตสุขให้สมบูรณ์โดยส่วนเดียว

ไม่เป็นธรรมของคนอื่น เหมือนสังกิเลสธรรมอันนำความพินาศมาให้.

บทว่า ปารคู ได้แก่ ถึงฝั่งคือที่สุดความบริบูรณ์แห่งธรรมมีศีลเป็นต้นนั้น

ในธรรมเหล่านั้น อันดับแรก ชื่อว่าศีล มี ๒ อย่าง คือโลกิยศีล ๑

โลกุตรศีล ๑. ในศีลเหล่านั้น โลกิยศีล เป็นศีลเบื้องต้น. ศีลเบื้องต้นนั้น

ว่าโดยย่อมี ๔ อย่าง มีปาติโมกขสังวรศีลเป็นต้น แต่ว่าโดยพิสดารมีหลาย

ประเภท. โลกุตรศีล มี ๒ อย่าง คือมรรคศีล ๑ ผลศีล ๑ แต่ว่าโดย

อรรถ ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ. ก็สมาธิ

และปัญญา มี ๒ อย่าง คือ เป็นโลกิยะ ๑ เป็นโลกุตระ ๑ เหมือนศีล.

ใน ๒ อย่างนั้น โลกิยสมาธิ ได้แก่ สมาบัติ ๘ พร้อมด้วยอุปจาร โลกุตร-

สมาธิ ได้แก่ สมาธิที่นับเนื่องในมรรค. ฝ่ายปัญญาที่เป็นโลกิยะ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 111

สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญาที่ยังมีอาสวะ ส่วน

โลกุตรปัญญา ได้แก่ ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล. ชื่อว่า วิมุตติ

ได้แก่ ผลวิมุตติและนิพพาน เพราะฉะนั้น วิมุตตินั้น จึงเป็นโลกุตระอย่าง

เดียว. วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นโลกิยะอย่างเดียว วิมุตติญาณทัสสนะนั้น

มี ๑๙ อย่าง เพราะเป็นปัจจเวกขณญาณ. ชื่อว่าผู้ถึงฝั่งคือที่สุด เพราะ

ความบริบูรณ์แห่งธรรมมีศีลเป็นต้นเหล่านี้ ที่เกิดขึ้นโดยสิ้นเชิง เพราะ

บรรลุพระอรหัตในสันดานของตน ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น จึง

ชื่อว่า ถึงฝั่งในธรรมของตน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าถึงฝั่งในศีล เพราะ

บรรลุโสดาปัตติผล. จริงอยู่ พระโสดาบันนั้น ท่านเรียกว่า ทำให้บริบูรณ์

ในศีลทั้งหลาย. ก็ในที่นี้ แม้พระสกทาคามี ก็เป็นอันท่านถือเอาด้วย

โสดาบัน ศัพท์เหมือนกัน. ชื่อว่าผู้ถึงฝั่งในสมาธิ เพราะบรรลุอนาคา-

มิผล. จริงอยู่ พระอนาคามีนั้น ท่านเรียกว่า ผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ.

ชื่อว่าผู้ถึงฝั่งในธรรม ๓ นอกนี้ เพราะบรรลุพระอรหัตผล. จริงอยู่

พระอรหันต์ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงฝั่งในปัญญาวิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ

เพราะบรรลุเจโตวิมุตติ อันเป็นอกุปปธรรมอันเลิศ ด้วยความถึงความ

ไพบูลย์ด้วยปัญญา และเพราะถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ. ชื่อว่าเป็นผู้

ถึงฝั่งในธรรมของตนในกาลใด ตามที่กล่าวแล้ว เพราะสำเร็จกิจ ๑๖

อย่าง มีปริญญากิจเป็นต้น โดยมรรค ๔ ในอริยสัจ ๔ แม้โดยประการ

ทั้งปวงด้วยประการฉะนี้. บทว่า โหติ พฺราหฺมโณ ความว่า ในกาลนั้น

บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์โดยปรมัตถ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปธรรม

เสียได้. บทว่า อถ เอต ปิสาจญฺจ พกฺกุลญฺจาติ วตฺตติ ความว่า ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 112

อชกลาปกะ ครั้นภายหลังจากถึงฝั่งที่กล่าวแล้วนั้น บุคคลเป็นไปล่วง

คือก้าวล่วง ครอบงำ ไม่กลัวปีศาจที่มากินเนื้อที่ท่านแสดงแล้วนั่น และ

เสียงอักกุละ พักกุละ ที่ตั้งขึ้นให้เกิดความกลัว.

คาถาแม้นี้ ท่านกล่าวยกย่องเฉพาะพระอรหัต. ครั้งนั้น อชกลาปก-

ยักษ์ เห็นความคงที่นั้น เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงหวั่นไหว แม้

ด้วยความน่ากลัวอันมีภัยเกิดเฉพาะหน้าเห็นปานนั้น อันตนกระทำแล้ว

ก็มีจิตเลื่อมใสว่า พระสมณะนี้เป็นมนุษย์อัศจรรย์หนอ เมื่อจะประกาศ

ถึงศรัทธาอันเป็นของปุถุชนตั้งมั่นในตน จึงประกาศความเป็นอุบาสก

เฉพาะพระพักตร์พระศาสดาแล.

จบอรรถกถาปาวาสูตรที่ ๗

๘. สังคามชิสูตร

ว่าด้วยการไม่ยินดีต่อบุตรภรรยาเก่า

[๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระสังคามชิถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ภริยาเก่าของท่านพระสังคามชิได้ฟังข่าวว่า พระผู้เป็นเจ้าสังคามชิถึงพระ-

นครสาวัตถีแล้ว นางได้อุ้มทารกไปยังพระวิหารเชตวัน ก็สมัยนั้นแล

ท่านพระสังคามชินั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ภริยาเก่า

ของท่านพระสังคามชิ เข้าไปหาท่านพระสังคามชิถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 113

กล่าวกะท่านพระสังคามชิว่า ข้าแต่สมณะ ขอท่านจงเลี้ยงดูดิฉันผู้มีบุตร

น้อยเถิด เมื่อภริยาเก่ากล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสังคามชิก็นิ่งเสีย แม้

ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ ภริยาเก่าของท่านพระสังคามชิก็ได้กล่าวกะท่าน

พระสังคามชิว่า ข้าแต่สมณะ ขอท่านจงเลี้ยงดูดิฉันผู้มีบุตรน้อยเถิด ท่าน

พระสังคามชิก็ได้นิ่งเสีย ลำดับนั้นแล ภริยาเก่าของท่านพระสังคามชิอุ้ม

ทารกนั้นไปวางไว้ข้างหน้าท่านพระสังคามชิ กล่าวว่า ข้าแต่สมณะ นี้บุตร

ของท่าน ท่านจงเลี้ยงดูบุตรนั้นเถิด ดังนี้แล้วหลีกไป ลำดับนั้นแล ท่าน

พระสังคามชิไม่ได้แลดูทั้งไม่ได้พูดกะทารกนั้นเลย ลำดับนั้น ภริยาเก่า

ของท่านพระสังคามชิไปคอยดูอยู่ในที่ไม่ไกล ได้เห็นท่านพระสังคามชิ

ผู้ไม่แลดูทั้งไม่ได้พูดกะทารก ครั้นแล้วจึงได้คิดว่า สมณะนี้แลไม่มีความ

ต้องการแม้ด้วยบุตร นางกลับจากที่นั้นแล้วอุ้มทารกหลีกไป พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ทรงเห็นการกระทำอันแปลก แม้เห็นปานนี้แห่งภริยาเก่า

ของท่านพระสังคามชิ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

เรากล่าวพระสังคามชิ ผู้ไม่ยินดีภริยาเก่า ผู้มา

อยู่ ผู้ไม่เศร้าโศกถึงภริยาเก่า ผู้หลีกไปอยู่ ผู้พ้น

แล้วจากธรรมเป็นเครื่องข้อง ว่าเป็นพราหมณ์.

จบสังคามชิสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 114

อรรถกถาสังคามชิสูตร

สังคามชิสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สงฺคามชิ ได้แก่ มีชื่ออย่างนี้. จริงอยู่ ท่านผู้มีอายุนี้ เป็น

บุตรของเศรษฐีมีสมบัติมากท่านหนึ่งในเมืองสาวัตถี เวลาเจริญวัย มารดา

บิดาให้มีเหย้าเรือนโดยสมควร มอบทรัพย์สมบัติให้ ให้อยู่ครองเรือน.

วันหนึ่ง เขาเห็นอุบาสกชาวกรุงสาวัตถี กำลังถวายทาน สมาทานศีล

ตอนเช้า นุ่งห่มผ้าขาว ถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ตรงไปยังพระ-

เชตวันเพื่อฟังธรรมตอนเย็น จึงถามว่า ท่านทั้งหลายไปไหนกัน เมื่อเขา

ตอบว่า ไปสำนักพระศาสดาในพระเชตวันเพื่อฟังธรรม จึงกล่าวว่า ถ้า

เช่นนั้น แม้ฉันก็จะไป จึงได้ไปกับพวกเหล่านั้น. สมัยนั้นแล พระผู้-

มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่เขาบรรจงจัดไว้ ณ มณฑป

สำหรับฟังพระสัทธรรม แสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔ เหมือน

ไกรสรราชสีห์บันลือสีหนาทในถ้ำทอง. ครั้งนั้นแล อุบาสกเหล่านั้น

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายสังคามชิ

กุลบุตร นั่งฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัทนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนุปุพพิ-

กถาประกาศสัจจะ ๔ ในเวลาจบสัจจะ สัตว์หลายพันได้ตรัสรู้ธรรม.

ฝ่ายสังคามชิกุลบุตร ก็บรรลุโสดาปัตติผล เมื่อบริษัทออกไปแล้ว เข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วทูลขอบรรพชาว่า ข้าแต่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า โปรดให้ข้าพระองค์บรรพชาเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสถามว่า ก็มารดาบิดาอนุญาตให้เธอบรรพชาแล้วหรือ. เขากราบทูลว่า

ยังไม่ได้รับอนุญาต พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สังคามชิ

พระตถาคตเจ้าทั้งหลายไม่ยอมบวชบุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาต. เขากราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 115

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้น จักกระทำโดยที่มารดาบิดา

อนุญาตติให้ข้าพระองค์บวช ดังนี้ แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำ

ประทักษิณแล้วเข้าไปหามารดาบิดากล่าวว่า คุณแม่คุณพ่อ โปรดอนุญาต

ให้กระผมบวชเถิด. แต่นั้นพึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้วในรัฏฐปาลสูตร.

ลำดับนั้น เขาปฏิญญาว่า บวชแล้วจักแสดงตน ครั้นมารดาบิดาอนุญาต

แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอบรรพชา. และเขาก็ได้บรรพชา

อุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็แล ท่านอุปสมบทได้ไม่นาน

เพียรพยายามเพื่อมรรคสูง ๆ อยู่จำพรรษาในอรัญญวาสแห่งหนึ่ง ได้

อภิญญา ๖ ออกพรรษาแล้วไปยังกรุงสาวัตถีเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า และ

ปลดเปลื้องที่รับคำมารดาบิดาไว้. เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน

สมเยน อายสฺมา สงฺคามชิ สาวตถึ อนุปฺปตฺโต โหติ ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระสังคามชิถึงกรุงสาวัตถีแล้ว .

ก็ท่านสังคามชินั้น เที่ยวบิณฑบาตในธูรคาม กลับจากบิณฑบาต

ภายหลังภัต เข้าไปยังพระเชตวันเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ก็ได้ทำ

ปฏิสันถารแล้ว พยากรณ์อรหัตผล ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าอีก

แล้วประทักษิณ ออกไปนั่งพักผ่อนกลางวันที่โคนไม้แห่งหนึ่ง. ลำดับ

นั้น มารดาบิดาและญาติมิตรของท่านทราบว่า ท่านมา ร่าเริง ยินดีว่า

ข่าวว่า ท่านพระสังคามชิมาในที่นี้ จึงรีบด่วนไปยังวิหารค้นหาอยู่ เห็นท่าน

นั่งในที่นั้นเข้าไปหาทำปฏิสันถารแล้วอ้อนวอนว่า พระราชาอย่าได้ริบ

สมบัติของผู้ไม่มีบุตร ทายาทพึงได้รับ พอแล้วละด้วยการบรรพชา มาสึก

เถิดพ่อ. พระเถระฟังดังนั้นแล้ว คิดว่า คนเหล่านี้ไม่รู้ว่าเราไม่ต้องการด้วย

กามทั้งหลาย ปรารถนาจะให้ติดอยู่ในกามเท่านั้น เหมือนคนหาบคูถต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 116

การก้อนคูถฉะนั้น ใคร ๆ ไม่อาจจะให้คนเหล่านี้ เข้าใจธรรมกถาได้ จึง

นั่งทำเป็นเหมือนไม่ได้ยิน. คนเหล่านั้นอ้อนวอนโดยประการต่าง ๆ เห็น

ท่านไม่เชื่อคำของตน จึงเข้าไปเรือนสั่งภรรยาของท่านพร้อมด้วยบุตรและ

บริวาร พลางกล่าวว่า พวกเราถึงจะอ้อนวอนต่าง ๆ ก็เอาใจท่านไม่ได้

จึงพากันมา ไปเถิดแม่ จงอ้อนวอนภัสดาของเจ้าให้ยินยอมโดยเห็นแก่บุตร.

ได้ยินว่า เมื่อนางตั้งครรภ์ ท่านผู้นี้บวช. นางรับคำแล้วจึงได้พาเด็กพร้อม

ด้วยบริวารมากไปยังพระเชตวัน ที่ท่านหมายกล่าวคำมีอาทิว่า อสฺโสสิ

โข อายสฺมโต สงฺคามชิสฺส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุราณทุติยิกา ความว่า เมื่อก่อนคือใน

เวลาเป็นคฤหัสถ์ นางได้เป็นภรรยาเก่าโดยเป็นคู่บำเรอ. อธิบายว่า เป็น

ภรรยา. ด้วยคำว่า อยฺโย เมื่อจะพูดว่าพระลูกเจ้า แต่พูดโดยโวหารอัน

เหมาะแก่บรรพชิต. ศัพท์ว่า กิร เป็นนิบาต ใช้ในอนุสสวนัตถะ ได้ยินมา.

พึงทราบสัมพันธ์ว่า ได้ยินว่า เมื่อท่านมาถึง. บทว่า ขุทฺทปุตต ทิ สมณ

โปส ม ความว่า นางกล่าวว่า ท่านทิ้งฉันกำลังตั้งครรภ์ทีเดียวบวช

บัดนี้ ฉันนั้นมีลูกคนเล็กจะรุ่นหนุ่ม การที่ท่านทิ้งดิฉัน ผู้เป็นเช่นนั้นแล้ว

ทำสมณธรรมไม่สมควร เพราะฉะนั้น สมณะ ท่านจงเลี้ยงดิฉันผู้มีบุตร

เป็นเพื่อนสองด้วยอาหารและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น . ฝ่ายท่านพระสังคามชิ

สำรวมอินทรีย์ไม่มองดูทั้งไม่เจรจากับนาง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เอว วุตฺเต อายสฺมา สงฺคามชิ ตุณฺหี อโหสิ เมื่อนางกล่าวอย่างนั้น ท่าน

พระสังคามชิก็ได้นิ่งเสีย.

นางกล่าวเช่นนั้นถึง ๓ ครั้ง เห็นท่านนิ่งอย่างเดียวจึงสำคัญว่า ขึ้น

ชื่อว่าพวกผู้ชายไม่อาลัยในพวกภรรยา แต่ยังมีความอาลัยในบุตร ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 117

สิเนหาในบุตรตั้งจดเยื่อกระดูกของบิดา ฉะนั้น เธอยังอยู่ในอำนาจของ

ฉันแม้เพราะรักบุตร จึงวางบุตรบนตักของพระเถระแล้วหลีกไปส่วนข้าง

หนึ่งกล่าวว่า ท่านสมณะ นี้บุตรของท่าน ท่านจงเลี้ยงเขาเถิด แล้วไป

เสียหน่อยหนึ่ง. ได้ยินว่า นางไม่อาจยืนตรงหน้าท่านด้วยเดชสมณะ.

แม้เด็กพระเถระก็ไม่มองดูทั้งไม่พูดด้วย. ทีนั้น นางแม้เป็นสตรียืนอยู่ใน

ที่ไม่ไกล เหลียวหน้ามองดูรู้อาการพระเถระ ย้อนกลับมาอุ้มเด็กด้วยหวัง

ว่า สมณะนี้ไม่ต้องการบุตร แล้วก็หลีกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมี

อาทิว่า อถ โข อายสฺมโต สงฺคามชิสฺส ปุราณทุติยิกา ครั้งนั้นแล

ท่านพระสังคามชิมีภรรยาเก่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺเตนปิ ความว่า สมณะนี้ไม่ต้อง

การบุตรแม้ที่เกิดแต่อกตน อธิบายว่า จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้อื่นเล่า.

ชื่อว่า ทิพย์ ในบทว่า ทิพฺเพน นี้ เพราะเป็นเหมือนทิพย์.

จริงอยู่ เทวดาทั้งหลายมีจักขุประสาทเป็นทิพย์ อันเกิดแต่กรรมไม่เปื้อน

ด้วยน้ำดี เสมหะและเลือดเป็นต้น สามารถรับอารมณ์ได้แม้ในที่ไกล.

อภิญญาจักขุแม้นี้เกิดจากจตุตถฌานสมาธิ ก็เป็นเช่นนั้น เหตุนั้น จึงชื่อ

ว่าทิพย์ เพราะเป็นเหมือนของทิพย์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทิพย์ เพราะ

ได้ด้วยการอาศัยทิพวิหารธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทิพย์ เพราะมีความ

โชติช่วงมากหรือมีคติใหญ่ด้วยทิพย์นั้น. บทว่า วิสุทฺเธน ได้แก่ ชื่อว่า

บริสุทธิ์ด้วยดีเพราะปราศจากสังกิเลสมีนิวรณ์เป็นต้น. บทว่า อติกฺกนฺต-

มานุสเกน ได้แก่ ล่วงวิสัยของพวกมนุษย์. บทว่า อิม เอวรูป วิปฺปการ

ความว่า มีความแปลกนี้ คืออย่างนี้ ได้แก่กิริยาอันผิดรูปกล่าวคือวางบุตร

บนตักอันไม่สมควรในหมู่บรรพชิตตามที่กล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 118

บทว่า เอตมตฺถ ความว่า รู้อรรถนี้กล่าวคือความที่ท่านพระสังคามชิ

หมดความอาลัยในสัตว์ทุกจำพวกมีบุตรและภรรยาเป็นต้น โดยอาการทั้ง

ปวง. บทว่า อิม อุทาน อุทาเนสิ ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้ คือ

อันแสดงอานุภาพของท่านสังคามชินั้น เป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์ และ

อนิฏฐารมณ์เป็นต้น.

บทว่า อายนฺตึ อธิบายว่า ภรรยาเก่าผู้กำลังมา. บทว่า นาภินนฺทติ

ความว่า ไม่เพลิดเพลินไม่ยินดีว่านางจะมาดูเรา. บทว่า ปกฺกมนฺตึ

ความว่า ผู้เห็นแล้วไปด้วยคิดว่า ผู้นี้ไม่เยื่อใยเราไปเสีย. บทว่า น โสจติ

ได้แก่ ไม่ถึงความเดือดร้อนใจ.

แต่เพื่อแสดงเหตุที่พระเถระไม่ยินดีไม่เศร้าโศกอย่างนี้ จึงกล่าว

คำมีอาทิว่า สงฺคา สงฺคามชิ มุตฺต ผู้ชนะถึงความพ้นจากธรรมเป็น

เครื่องข้อง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺคา ความว่า ภิกษุผู้ชื่อสังคามชิ

ผู้พ้นจากธรรมเครื่องข้อง ๕ อย่างคือ เครื่องข้องคือราคะ โทสะ โมหะ

มานะ และทิฏฐิ ด้วยสมุจเฉทวิมุตติและปฏิปัสสัทธิวิมุตติ. บทว่า ตมห

พฺรูมิ พฺราหฺมณ ความว่า เรากล่าวผู้นั้น คือผู้ถึงความคงที่ ผู้สิ้นอาสวะ

ว่า เป็นพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปโดยประการทั้งปวงแล.

จบอรรถกถาสังคามชิสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 119

๙. ชฏิลสูตร

ว่าด้วยความสะอาดภายใน

[๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ คยาสีสะประเทศ

ใกล้บ้านคยา ก็สมัยนั้นแล ชฎิลมากด้วยกันผุดขึ้นบ้าง ตำลงบ้าง ผุดขึ้น

และตำลงบ้าง รดน้ำบ้าง บูชาไฟบ้าง ที่แม่น้ำคยา ในสมัยหิมะตก

ระหว่าง ๘ วัน ในราตรีมีความหนาวในเหมันตฤดู ด้วยคิดเห็นว่า ความ

หมดจดย่อมมีได้ด้วยการกระทำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตร

เห็นพวกชฎิลเหล่านั้น ผุดขึ้นบ้าง ตำลงบ้าง ผุดขึ้นและตำลงบ้าง รดน้ำ

บ้าง บูชาไฟบ้าง ที่ท่าแม่น้ำคยา ในสมัยหิมะตก ระหว่าง ๘ วัน ใน

ราตรีมีความหนาวในเหมันตฤดู ด้วยคิดเห็นว่า ความหมดจดย่อมมีได้

ด้วยการกระทำนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความสะอาดย่อมไม่มีเพราะน้ำ (แต่) ชนเป็นอัน

มากยังอาบอยู่ในน้ำนี้ สัจจะ และธรรมมีอยู่ในผู้

ใด ผู้นั้นเป็นผู้สะอาดและเป็นพราหมณ์.

จบชฏิลสูตรที่ ๙

อรรถกถาชฏิลสูตร

ชฏิลสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า คยา ในคำว่า คยาย นี้ เขาเรียกว่าบ้านบ้าง ท่าบ้าง. จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับอยู่ในที่ไม่ไกลคยาคาม เขาเรียกว่าประทับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 120

อยู่ใกล้บ้านคยา. เมื่อประทับอยู่ในที่ไม่ไกลท่าคยา เขาก็เรียกว่าประทับอยู่

ใกล้ท่าคยาเหมือนกัน. จริงอยู่ ในคำว่า คยาติตฺถ สระก็ดี แม่น้ำก็ดี

สายหนึ่งมีอยู่ในที่ไม่ไกลบ้าน ชื่อว่าคยา. ทั้งสองอย่างนั้น โลกิยมหาชน

เรียกกันว่า ท่าเป็นที่ลอยบาป. บทว่า คยาสีเส ความว่า ในที่นั้น มี

เขาลูกหนึ่งชื่อคยาสีสะมียอดคล้ายศีรษะช้าง เป็นที่มีศิลาคาดเหมือนกระ-

พองช้าง เป็นโอกาสพอภิกษุพันรูปอยู่ได้, พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ประทับ

อยู่ในที่นั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า คยาย วิหรติ คยาสีเส.

บทว่า ชฏิลา ได้แก่ พวกดาบส. จริงอยู่ คาบสเหล่านั้น เขา

เรียกว่า ชฎิล ในที่นี้ เพราะเป็นผู้ทรงชฎา. บทว่า อนฺตรฏเก

หิมปาตสมเย ความว่า ในเวลาหิมะตกมีปริมาณถึง ๘ วัน คือ ในที่สุด

ของเดือนมาฆะอันเป็นภายในเหมันตฤดู ๔ วัน ในวันต้นของเดือนผัค-

คณะ ๔ วัน. บทว่า คยาย อุมฺมุชฺชนฺติ ความว่า คนบางพวกดำลง

ทั้งตัวครั้งแรกในน้ำที่สมมุติกันว่าท่าน้ำนั้น จากนั้น ก็ผุดขึ้นว่ายลอยไป.

บทว่า นิมฺมุชฺชนติ ความว่า คำลงในน้ำเพียงศีรษะ. บทว่า อุมฺมุชฺช-

นิมฺมุชฺชนฺติ กโรนฺติ ความว่า กระทำการผุดขึ้นดำลงบ่อย ๆ. จริงอยู่

ในการกระทำนั้น คนบางพวกมีความเห็นอย่างนี้ว่า ด้วยการผุดขึ้นคราว

เดียวเท่านั้น เป็นอันบริสุทธิ์จากบาป คนเหล่านั้นจึงกระทำเฉพาะการผุด

ขึ้นเท่านั้นแล้วก็ไป แต่การผุดขึ้นไม่มีในระหว่างการดดำลง เพราะฉะนั้น

ชนเหล่านั้นจึงกระทำเพียงการดำลง โดยไม่เว้น ฝ่ายชนผู้มีความเห็นอย่าง

นี้ว่า ด้วยการดำลงคราวเดียวเท่านั้น จึงเป็นอันบริสุทธิ์จากบาป จึงดำ

ลงเฉพาะคราวเดียว กระทำเพียงการผุดขึ้น โดยไม่เว้น ตามนัยที่กล่าว

แล้วนั่นแลแล้วก็หลีกไป. ฝ่ายชนที่มีความเห็นอย่างนี้ว่า ด้วยการคำลงที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 121

ท่านั้นแล เป็นการบริสุทธิ์จากบาป จึงดำลงที่ท่านั้นกลั้นลมหายใจสิ้น

ชีวิตลงในที่นั้นนั่นเอง เหมือนจมเหวทราย. อีกพวกหนึ่ง มีความเห็น

อย่างนี้ว่า ในการกระทำการผุดขึ้นคำลงบ่อย ๆ แล้วจึงอาบ เป็นการ

บริสุทธิ์จากบาป ชนเหล่านั้นจึงทำการผุดขึ้นและดำลงตลอดเวลา. ท่าน

หมายเอาคนเหล่านั้นทั้งหมดจึงกล่าวว่า ผุดขึ้นบ้าง ดำลงบ้าง ทั้งผุด

ทั้งดำบ้าง. ก็ในข้อนี้ การผุดขึ้นต้องมีการดำลงก่อนก็จริง ถึงกระนั้น

ชนผู้กระทำเฉพาะการดำลง มีเล็กน้อย ชนผู้ทำการผุดขึ้น และการดำลง

ผุดขึ้นทั้งสอง มีมาก เพราะฉะนั้น เพื่อจะแสดงภาวะที่ชนเหล่านั้นเป็น

ฝ่ายข้างมาก จึงกล่าวการผุดขึ้นก่อน. อนึ่ง คำว่า ชฏิลา ก็เหมือนกัน

ท่านกล่าวไว้ ก็เพราะพวกชฎิลเป็นฝ่ายข้างมาก อนึ่ง พวกพราหมณ์

แม้ทั้งศีรษะโล้นและเกล้าผมเป็นแหยม ผู้ต้องการความบริสุทธิ์ด้วยน้ำ

ย่อมกระทำอย่างนั้นที่ท่าน้ำนั้น ในกาลนั้น.

บทว่า โอสิญฺจนฺติ ความว่า บางพวกเอามือวักน้ำในสระแล้วรด

ศีรษะและตัวของตน อีกพวกหนึ่งเอาหม้อตักน้ำ ยืนที่ริมฝั่งแล้วกระทำ

เหมือนอย่างนั้น. บทว่า อคฺคึ ชุหนฺติ ความว่า บางพวกจัดแจงเวที

ที่ริมแม่น้ำคยา แล้วน้อมนำเครื่องอุปกรณ์มีบูชาด้วยฟืนและหญ้าคาเป็นต้น

เข้าไปบูชาไฟ คือบำเรอไฟ. บทว่า อิมินา สุทฺธิ ความว่า บางพวก

เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ความบริสุทธิ์จากมลทินคือบาป ได้แก่การ

ลอยบาปหรือความบริสุทธิ์จากสงสาร ย่อมมีด้วยการดำลงเป็นต้นในแม่

น้ำคยา และด้วยการบำเรอไฟนี้. ก็ในที่นี้ การดำลงเป็นต้นพึงเห็นว่า

ท่านกล่าวไว้เพียงเป็นตัวอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 122

ก็บรรดาคนเหล่านั้น บางพวกอยู่ในน้ำ บางพวกทำอัญชลีน้ำ

บางพวกยืนในน้ำแล้วหันตามพระจันทร์พระอาทิตย์ บางพวกอ่านฉันท์มี

สาวิตติฉันท์เป็นต้นหลายพันครั้ง บางพวกก็ร่ายวิชาโดยนัยมีอาทิว่า อินฺท

อาคจฺฉ จงมาเถิดท่านอินท์ บางพวกกระทำมหกรรม. ก็เมื่อกระทำอย่าง

นี้ บางพวกลง บางพวกขึ้น บางพวกขึ้นมาแล้วก็ทำการชำระล้างให้

สะอาด บางพวกยืนอยู่ในน้ำ ถูกความหนาวบีบคั้น จึงแสดงกิริยามีประ-

การต่าง ๆ มีอาทิอย่างนี้ เช่นบรรเลงพิณที่ทำด้วยงาช้างเป็นต้น. อีกอย่าง

หนึ่ง เพราะเหตุที่พวกเหล่านั้น เมื่อกระทำกิริยาอันแปลกเห็นปานนี้ ก็

ทำเฉพาะการดำลงและผุดขึ้นเป็นเบื้องต้นในน้ำนั้นเท่านั้น ฉะนั้น ท่าน

กระทำเหตุทั้งหมดนั้น ให้อยู่ภายในการดำลงและผุดขึ้นเท่านั้น จึงกล่าว

คำมีอาทิว่า อุมมุชฺชนฺติปิ.

เมื่อเสียงอากุลพยากุละดังสนั่นอยู่ในที่นั้นอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับยืนบนยอดเขา ทรงสดับเสียงโกลาหลนั้นของตนเหล่านั้น จึงทรง

ตรวจดูว่า นี้ เหตุอะไรหนอ ได้ทรงเห็นกิริยาอันแปลกนั้น ท่านหมายเอา

ข้อนั้น จึงได้กล่าวดังนี้ว่า อทฺทสา โข ภควา ฯ เป ฯ อิมินา สุทฺธิ.

คำนั้นมีเนื้อความดังกล่าวแล้วนั้นแล.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงรู้แจ้งความนั้น คือการ

ที่คนเหล่านั้นยึดมั่นทางที่ไม่บริสุทธิ์มีการลงน้ำเป็นต้นว่า เป็นทางบริสุทธิ์

และการที่พระองค์หยั่งรู้ในทางที่บริสุทธิ์มีสัจจะเป็นต้นว่าไม่ผิดพลาด โดย

อาการทั้งปวง. บทว่า อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้ คือที่

แสดงความไม่เป็นทางบริสุทธิ์ด้วยความบริสุทธิ์เพราะน้ำ และแสดงถึง

ธรรมมีสัจจะเป็นต้นเป็นทางบริสุทธิ์ตามความเป็นจริง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 123

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทเกน ในคำว่า น อุทเกน สุจี โหติ

นี้ ได้แก่ ด้วยการผุดขึ้นจากน้ำเป็นต้น. ก็ในที่นี้ การผุดขึ้นจากน้ำ

ท่านกล่าวว่า อุทก น้ำ เพราะลบบทปลายเหมือนอุทาหรณ์ว่า รูปภโว รูป

รูปคือรูปภพ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อุทเกน ความว่า ความสะอาด

ด้วยน้ำอันเป็นตัวทำกิริยามีการผุดขึ้นเป็นต้น ไม่ชื่อว่าเป็นความบริสุทธิ์

ของสัตว์ คือไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สุจิ ความว่า ความบริสุทธิ์

ด้วยน้ำตามที่กล่าวแล้วนั้น ไม่เป็นสัตว์ ชื่อว่าผู้บริสุทธิ์จากมลทินคือบาป.

เพราะเหตุไร ? เพราะชนเป็นอันมากอาบน้ำนี้. เพราะถ้าชื่อว่าความ

บริสุทธิ์จากบาป จะพึงมีเพราะการลงน้ำเป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วไซร้

ชนเป็นอันมากก็จะพากันอาบน้ำนี้ คือคนผู้ทำกรรมชั่วมีมาตุฆาตเป็นต้น

และสัตว์อื่นมีโคกระบือเป็นต้น ชั้นที่สุดปลาและเต่าก็จะพากันอาบน้ำนี้

คนและสัตว์ทั้งหมดนั้น ก็จะพลอยบริสุทธิ์จากบาปไปด้วย แต่ข้อนั้นหา

เป็นอย่างนั้นไม่. เพระเหตุไร ? เพราะการอาบน้ำไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อเหตุ

แห่งบาป. ก็สิ่งใดทำสิ่งใดให้พินาศไปได้ สิ่งนั้นก็เป็นปฏิปักษ์ต่อสิ่งนั้น

เหมือนแสงสว่างเป็นปฏิปักษ์ต่อความมืด และวิชชาเป็นปฏิปักษ์ต่ออวิชชา

การอาบน้ำหาเป็นปฏิปักษ์ต่อบาปเช่นนั้นไม่. เพราะฉะนั้น จึงควรตกลง

ในข้อนี้ว่า ความสะอาดย่อมไม่มีเพราะน้ำ. ก็เพื่อจะแสดงธรรมอันเป็น

เหตุทำให้สะอาด จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยมฺหิ สจฺจญฺจ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยมฺหิ ได้แก่ ในบุคคลใด. บทว่า

สจฺจ ได้แก่ วจีสัจจะและวิรัติสัจจะ อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สจฺจ ได้แก่

ญาณสัจจะและปรมัตถสัจจะ. บทว่า ธมฺโม ได้แก่ ธรรมคืออริยมรรค

และธรรมคือผลจิต. ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมได้ในบุคคลใด. บทว่า โส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 124

สุจี โส จ พฺราหฺมโณ ความว่า บุคคลนั้น คือ พระอริยบุคคล โดย

พิเศษ ได้แก่พระขีณาสพ ชื่อว่าเป็นผู้สะอาด และชื่อว่าเป็นพราหมณ์

เพราะเป็นผู้หมดจดโดยสิ้นเชิง. ก็เพราะเหตุไร ในข้อนี้สัจจะท่านจึงแยก

ถือเอาจากธรรม ? เพราะสัจจะมีอุปการะมาก. จริงอย่างนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ทรงประกาศคุณของสัจจะไว้ในสุตตบทเป็นอันมาก โดยนัย

มีอาทิว่า คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย. สัจจะแลดีกว่ารสทั้งหลาย. บัณฑิต

ทั้งหลายกล่าวผู้ตั้งอยู่ในสัจจะอันเป็นอรรถและธรรมว่าเป็นสัตบุรุษ และ

ว่า สมณพราหมณ์ผู้ตั้งอยู่ในสัจจะ. ประกาศโทษของธรรมที่ตรงกันข้าม

กับสัจจะโดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ผู้มักพูดเท็จล่วงธรรมเอกเสีย และว่า ผู้พูด

คำอันไม่เป็นจริงย่อมเข้าถึงนรกแล.

จบอรรถกถาชฏิลสูตรที่ ๙

๑๐. พาหิยสูตร

ว่าด้วยการตรัสถึงที่สุดทุกข์

[๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล กุล-

บุตรชื่อพาหิยทารุจีริยะอาศัยอยู่ที่ท่าสุปปารกะ ใกล้ฝั่งสมุทร เป็นผู้อัน

มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ครั้งนั้นแล พาหิยทารุจีริยะหลีกเร้นอยู่ในที่

ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เราเป็นคนหนึ่งในจำนวนพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 125

อรหันต์หรือผู้ถึงอรหัตมรรคในโลก ลำดับนั้นแล เทวดาผู้เป็นสายโลหิต

ในกาลก่อนของพาหิยทารุจีริยะ เป็นผู้อนุเคราะห์ หวังประโยชน์ ได้

ทราบความปริวิตกแห่งใจของพาหิยทารุจีริยะด้วยใจ แล้วเข้าไปหาพาหิย-

ทารุจีริยะ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนพาหิยะ ท่านไม่เป็นพระอรหันต์

หรือไม่เป็นผู้ถึงอรหัตมรรคอย่างแน่นอน ท่านไม่มีปฏิปทาเครื่องให้เป็น

พระอรหันต์หรือเครื่องเป็นผู้ถึงอรหัตมรรค พาหิยทารุจีริยะถามว่า เมื่อ

เป็นอย่างนั้น บัดนี้ ใครเล่าเป็นพระอรหันต์ หรือเป็นผู้ถึงอรหัตมรรค

ในโลกกับเทวโลก เทวดาตอบว่า ดูก่อนพาหิยะ ในชนบททางเหนือ

มีพระนครชื่อว่าสาวัตถี บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ประทับอยู่ในพระนครนั้น ดูก่อนพาหิยะ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้นแลเป็นพระอรหันต์อย่างแน่นอน ทั้งทรงแสดงธรรม

เพื่อความเป็นพระอรหันต์ด้วย ลำดับนั้นแล พาหิยทารุจีริยะผู้อันเทวดา

นั้นให้สลดใจแล้ว หลีกไปจากท่าสุปปารกะในทันใดนั้นเอง ได้เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ-

บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี โดยการพักแรมสิ้นราตรีหนึ่งในที่

ทั้งปวง.

[๔๘] ก็สมัยนั้นแล ภิกษุมากด้วยกันจงกรมอยู่ในที่แจ้ง พาหิย-

ทารุจีริยะเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บัดนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า ประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอ ข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ดูก่อนพาหิยะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาต ลำดับนั้นแล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 126

พาหิยทารุจีริยะรีบด่วนออกจากพระวิหารเชตวัน เข้าไปยังพระนครสาวัตถี

ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า กำลังเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี

น่าเลื่อมใส ควรเลื่อมใส มีอินทรีย์สงบ มีพระทัยสงบ ถึงความฝึกและ

ความสงบอันสูงสุด มีตนอันฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์สำรวมแล้ว

ผู้ประเสริฐแล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า หมอบลงแทบพระบาท

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรม

แก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมที่จะพึงเป็นไปเพื่อประ-

โยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด.

[๔๙] เมื่อพาหิยทารุจีริยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เวลานี้ยังไม่สมควรก่อน เพราะเรายังเข้าไปสู่

ละแวกบ้านเพื่อบิณฑบาตอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตราย

แก่ชีวิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของ

ข้าพระองค์ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

โปรดทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรม

ที่จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์ตลอด

กาลนานเถิด.

แม้ครั่งที่ ๒ ...แม้ครั้งที่ ๓ พาหิยทารุจีริยะก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี ความเป็นไปแห่งอันตรายแก่ชีวิตของข้าพระองค์

ก็ดี รู้ได้ยากแล ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 127

แสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมเพื่อประ-

โยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาลนานเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่าน

พึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง

เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูก่อนพาหิยะ

ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจัก

เป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟัง เมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อ

รู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใด ท่านไม่มี

ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีใน

ระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

ลำดับนั้นแล จิตของพาหิยทารุจีริยกุลบุตรหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ

ทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่นในขณะนั้นเอง ด้วยพระธรรมเทศนาโดยย่อนี้ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนพาหิย-

ทารุจีริยกุลบุตรด้วยพระโอวาทโดยย่อนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.

[๕๐] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน

แม่โคลูกอ่อนขวิดพาหิยทารุจีริยะให้ล้มลงปลงเสียจากชีวิต ครั้นพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวบิณฑบาตนพระนครสาวัตถีเสด็จกลับจากบิณฑบาต

ในเวลาปัจฉาภัต เสด็จออกจากพระนครพร้อมกับภิกษุเป็นอันมาก ได้

ทอดพระเนตรเห็นพาหิยทารุจีริยะทำกาละแล้ว จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับสรีระของพาหิยทารุจีริยะ

ยกขึ้นสู่เตียงแล้ว จงนำไปเผาเสีย แล้วจงทำสถูปไว้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พาหิยทารุจีริยะประพฤติธรรมอันประเสริฐเสมอกับท่านทั้งหลาย ทำกาละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 128

แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ช่วยกันยกสรีระของ

พระพาหิยทารุจีริยะขึ้นสู่เตียง แล้วนำไปเผา และทำสถูปไว้ แล้วเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สรีระของพาทิย-

ทารุจีริยะ ข้าพระองค์ทั้งหลายเผาแล้ว และสถูปของพาหิยทารุจีริยะนั้น

ข้าพระองค์ทั้งหลายทำไว้แล้ว คติของพาหิยทารุจีริยะนั้นเป็นอย่างไร ภพ

เบื้องหน้าของเขาเป็นอย่างไร.

พระผู้มีพระภาณเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะ.

เป็นบัณฑิต ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม. ทั้งไม่ทำเราให้ลำบาก เพราะ

เหตุแห่งการแสดงธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยทารุจีริยะปรินิพพาน

แล้ว .

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ดิน น้ำ ไฟ และลม ย่อมไม่หยั่งลงในนิพพาน-

ธาตุใด ในนิพพานธาตุนั้น ดาวทั้งหลายย่อมไม่สว่าง

พระอาทิตย์ย่อมไม่ปรากฏ พระจันทร์ย่อมไม่สว่าง

ความมืดย่อมไม่มี ก็เมื่อใด พราหมณ์ชื่อว่าเป็นมุนี

เพราะรู้ (สัจจะ ๔) รู้แล้วด้วยตน เมื่อนั้น พราหมณ์

ย่อมหลุดพ้นจากรูปและอรูป จากสุขและทุกข์.

จบพาหิยสูตรที่ ๑๐

จบโพธิวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 129

อรรถกถาพาหิยสูตร

พาหิยสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พาหิโย เป็นชื่อของท่าน. บทว่า ทารุจีริโย ได้แก่ ผ้า

คากรองที่ทำด้วยไม้. บทว่า สุปฺปารเก ได้แก่ อยู่ที่ท่าชื่ออย่างนั้น. ก็

พาหิยะนี้คือใคร, และอย่างไรจึงเป็นผู้ทรงผ้าคากรองทำด้วยไม้, อย่างไร

จึงอยู่อาศัยที่ท่าสุปปารกะ ?

ในข้อนั้น มีอนุปุพพิกถาดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตะ

ในที่สุดแสนกัปแต่ภัทรกัปนี้ กุลบุตรคนหนึ่งกำลังฟังพระธรรมเทศนา

ของพระทศพลที่หังสวดีนคร เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้

ในตำแหน่งเอตทัคคะแห่งภิกษุผู้เป็นขิปปาภิญญา คิดว่า ไฉนหนอ ใน

อนาคต เราจักบวชในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเห็นปานนี้

แล้วพึงเป็นผู้อันพระศาสดาสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเช่นนี้ เหมือน

ภิกษุรูปนี้ ได้ปรารถนาตำแหน่งนั้น จึงบำเพ็ญบุญญาธิการอันสมควร

แก่ตำแหน่งนั้น บำเพ็ญบุญอยู่ตลอดชีวิต มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า

ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ บวชในพระศาสนาของพระกัสสปทศพล

มีศีลบริบูรณ์บำเพ็ญสมณธรรม ถึงความสิ้นชีวิตแล้วบังเกิดในเทวโลก.

ท่านอยู่ในเทวโลกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิใน

เรือนมีสกุลในพาหิยรัฐ ชนทั้งหลายจำเขาได้ว่า พาหิยะ เพราะเกิดใน

พาหิยรัฐ. เขาเจริญวัยแล้วอยู่ครองเรือน เอาเรือบรรทุกสินค้ามากมาย

แล่นไปยังสมุทรกลับไปกลับมา สำเร็จความประสงค์ ๗ ครั้งจึงกลับนคร

ของตน ครั้นครั้งที่ ๘ คิดจะไปสุวรรณภูมิ จึงขนสินค้าแล่นเรือไป. เรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 130

แล่นเข้ามหาสมุทรยังไม่ทันถึงถิ่นที่ปรารถนา ก็อับปางในท่ามกลางสมุทร.

มหาชนพากันเป็นภักษาของปลาและเต่า ส่วนท่านพาหิยะเกาะกระดาน

แผ่นหนึ่ง กำลังข้ามอยู่ถูกกำลังคลื่นซัดไปทีละน้อย ๆ ในวันที่ ๗ ก็ถึง

ฝั่งใกล้ท่าสุปปารกะ. ท่านนอนที่ฝั่งสมุทร โดยรูปกายเหมือนตอนเกิด

เพราะผ้าพลัดตกไปในสมุทร บรรเทาความกระวนกระวายได้แต่เพียง

ลมหายใจ ลุกขึ้นเข้าไประหว่างพุ่มไม้ด้วยความละอาย ไม่เห็นอะไร ๆ

อย่างอื่นที่จะเป็นเครื่องปิดความละอาย จึงหักก้านไม้รัก เอาเปลือกพัน

(กาย) ทำเป็นเครื่องนุ่งห่มปกปิดไว้. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เจาะ

แผ่นกระดานเอาเปลือกไม้ร้อยทำเป็นเครื่องนุ่งห่มปกปิดไว้. ท่านปรากฏ

ว่า ทารุจีริยะ. เพราะทรงผ้าคากรองทำด้วยไม้ และว่า พาหิยะ ตามชื่อ

เดิมแม้โดยประการทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.

ท่านถือกระเบื้องอันหนึ่ง เที่ยวขอก้อนข้าวที่ท่าสุปปารกะ โดย

ทำนองดังกล่าวแล้ว พวกมนุษย์เห็นเข้าจึงคิดว่า ถ้าชื่อว่าพระอรหันต์

ยังมีในโลกไซร้ ท่านพึงเป็นอย่างนี้ พระผู้เป็นเจ้าองค์นี้ จะถือเอาผ้า

ที่เขาให้ หรือไม่ถือเอาเพราะความมักน้อย ดังนี้ เมื่อจะทดลอง จึงน้อม

นำผ้าจากที่ต่าง ๆ เข้าไป. เขาคิดว่า ถ้าเราจักไม่มาโดยทำนองนี้ไซ้ร้

เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเหล่านี้พึงไม่เลื่อมใสเรา ไฉนหนอ เราพึงห้ามผ้า

เหล่านี้เสีย อยู่โดยทำนองนี้แหละ เมื่อเป็นเช่นนี้ ลาภสักการะก็จักเกิด

ขึ้นแก่เรา. เขาคิดอย่างนี้แล้ว จึงตั้งอยู่ในฐานะเป็นผู้หลอกลวงไม่รับผ้า.

พวกมนุษย์คิดว่า น่าอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้านี้มักน้อยแท้ จึงมีจิตเลื่อมใส

โดยประมาณยิ่ง กระทำสักการะและสัมมานะเป็นอันมาก. ฝ่ายท่านรับ-

ประทานอาหารแล้ว ได้ไปยังเทวสถานแห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล. มหาชนก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 131

ไปกับท่านเหมือนกัน ได้ซ่อมแซมเทวสถานนั้นให้. ท่านคิดว่า คนเหล่านี้

เลื่อมใสในฐานะเพียงที่เราทรงผ้าคากรอง จึงพากันทำสักการะและสัมมา-

นะอย่างนี้ เราควรจะมีความประพฤติอย่างสูงสำหรับคนเหล่านี้ จึงเป็น

ผู้มีบริขารเบาๆ เป็นผู้มักน้อยอยู่. ฝ่ายท่านเมื่อถูกคนเหล่านั้นยกย่องว่า

เป็นพระอรหันต์ ก็สำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์ อนึ่ง การทำสักการะ

และทำความเคารพ ก็เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น และท่านก็ได้มีปัจจัยมากมาย. เพราะ-

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า " ก็สมัยนั้นแล ท่านพาหิยะ ทารุจีริยะ

อาศัยอยู่ที่ท่าสุปปารกะใกล้ฝั่งสมุทร เป็นผู้อันมหาชนสักการะ

เคารพ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สกฺกโต ความว่า เป็นผู้อันมหาชน

สักการะโดยการบำรุงด้วยความเคารพ คือ เอื้อเฟื้อ. บทว่า ครุกโต

ความว่า ผู้อันมหาชนกระทำให้หนัก ด้วยการกระทำให้หนักดุจฉัตรหิน

โดยความประสงค์ว่า เป็นผู้ประกอบด้วยคุณวิเศษ. บทว่า มานิโต ความ

ว่า ผู้อันมหาชนนับถือด้วยการยกย่องด้วยน้ำใจ. บทว่า ปูชิโต ความว่า

ผู้อันมหาชนบูชาแล้วด้วยการบูชา ด้วยการสักการะ มีดอกไม้และของ

หอมเป็นต้น . บทว่า อปจิโต ได้แก่ ผู้อันมหาชนยำเกรงแล้วด้วยการ

ให้หนทาง และการนำอาสนะมาเป็นต้น ด้วยจิตเลื่อมใสอย่างยิ่ง. บทว่า

สาภี จีวร ฯ เป ฯ ปริกฺขาราน ความว่า เป็นผู้ได้ด้วยการได้ปัจจัย ๔ มี

จีวรเป็นต้น อันแสนจะประณีตที่มหาชนนำเข้าไปยิ่ง ๆ. อีกนัยหนึ่ง

บทว่า สกฺกโต ได้แก่ ได้รับสักการะ. บทว่า ครุกโต ได้แก่ ได้รับ

ความเคารพ. บทว่า มานิโต ได้แก่ อันมหาชนนับถือมาก และมีใจ

รักมาก. บทว่า ปูชิโต ได้แก่ อันมหาชนบูชาแล้วด้วยการบูชาอย่างยิ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 132

ด้วยปัจจัย ๔. บทว่า อปจิโต ได้แก่ ได้รับความอ่อนน้อมถ่อมตน.

จริงอยู่ ชนทั้งหลายย่อมสักการะด้วยปัจจัย ๔ ตกแต่งอย่างดี ทำให้แสนจะ

ประณีตมอบให้ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่า อันเขาสักการะ. คนทั้งหลายทำความ

เคารพให้ปรากฏแล้วมอบให้ในผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่า อันเขากระทำเคารพ,

ชนทั้งหลาย ย่อมมีใจ ประพฤติรักใคร่ และนับถือมากซึ่งผู้ใด ผู้นั้น

ชื่อว่า อันเขานับถือ, คนทั้งหลายทำสิ่งนั้นทั้งหมดด้วยการบูชาแก่ผู้ใด

ผู้นั้น ชื่อว่า อันเขาบูชา, ชนทั้งหลาย ย่อมกระทำการนบนอบอย่างยิ่ง

ด้วยการอภิวาท การต้อนรับและอัญชลีกรรมเป็นต้นแก่ผู้ใด ผู้นั้นชื่อว่า

อันเขายำเกรง. ก็คนเหล่านั้น ได้กระทำสิ่งนั้นทุกอย่างแก่พาหิยะ. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ท่านพาหิยทารุจีริยะ อันเขาสักการะ

แล้ว อาศัยอยู่ที่ท่าสุปปารกะ. ก็ในที่นี้ท่านพาหิยทารุจีริยะ แม้เมื่อไม่รับ

จีวร เขาก็กล่าวว่า เป็นผู้ได้แม้จีวรเหมือนกัน ด้วยการน้อมเข้าไปว่า

มาเถิดขอรับ จงรับผ้านี้.

บทว่า รโหคตฺสฺส ได้แก่ อยู่ในที่ลับ. บทว่า ปฏิสลฺลีนสฺส ได้

แก่ เป็นผู้อยู่โดดเดี่ยว. เมื่อถูกพวกมนุษย์เป็นอันมากกล่าวว่า ท่านเป็น

พระอรหันต์ ท่านก็เกิดความปริวิตกแห่งใจ คือเกิดความดำริผิดแห่งจิต

โดยอาการที่กล่าวอยู่ในบัดนี้. เกิดความปริวิตกอย่างไร ? เกิดความ

ปริวิตกขึ้นว่า คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง จะเป็นพระอรหันต์ หรือท่านผู้

บรรลุอรหัตมรรคในโลก เราเป็นคนหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ หรือ

ท่านผู้บรรลุอรหัตมรรคนั้น ความข้อนั้นมีอธิบายดังนี้ ชนเหล่าใด

ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะกำจัดข้าศึกคือกิเลสในสัตว์โลกนี้ และ

เพราะเป็นผู้ควรแก่บูชาและสักการะเป็นต้น หรือคนเหล่าใด ชื่อว่าบรรลุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 133

พระอรหัตมรรค เพราะฆ่าข้าศึกคือกิเลสเหล่านั้น บรรดาคนเหล่านั้น

เป็นคนหนึ่ง.

บทว่า โปราณสาโลหิตา ได้แก่ เทวดาผู้บำเพ็ญสมณธรรมร่วมกัน

เสมือนพวกพ้องร่วมสายโลหิตกันในภพก่อน. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

บทว่า ปุราณสาโลหิตา ได้แก่เทวดาองค์หนึ่งผู้เป็นมารดาร่วมสายโลหิต

ในกาลก่อน คือในภพอื่น. ในอรรถกถาท่านปฏิเสธคำนั้น ได้ถือเอาความ

หมายแรกเท่านั้น.

ได้ยินว่า เมื่อก่อน ศาสนาของพระกัสสปทศพลจะเสื่อม ภิกษุ ๗ รูป

เห็นประการอันแปลกของสหธรรมิกมีสามเณรเป็นต้น เกิดความสลดใจ

คิดว่าศาสนายังไม่อันตรธานตราบใด เราจะทำที่พึ่งของตนตราบนั้น จึง

เจดีย์ทองแล้วเข้าป่า เห็นภูเขาลูกหนึ่งจึงกล่าวว่า ผู้มีความอาลัยใน

ชีวิตจงกลับไป ผู้ไม่มีความอาลัยจงขึ้นภูเขาลูกนี้ แล้วพากันผูกบันไดขึ้น

ภูเขานั้นทั้งหมด แล้วผลักบันไดลง การทำสมณธรรม. บรรดาภิกษุ

เหล่านั้น พระสังฆเถระบรรลุพระอรหัตโดยล่วงไปราตรีเดียวเท่านั้น. ท่าน

นำบิณฑบาตมาจากอุตตรกุรุทวีปแล้วกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า ท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย โปรดฉันบิณฑบาตจากที่นี้เถิด. ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านผู้

เจริญ ท่านได้ทำอย่างนี้ด้วยอานุภาพของตน ถ้าแม้พวกกระผมจักยังคุณ

วิเศษให้เกิดขึ้นได้เช่นท่านไซร้ จักนำมาฉันเสียเองทีเดียว จึงไม่ปรารถนา

จะฉัน. ตั้งแต่วันที่สองไป พระเถระที่ ๒ ก็บรรลุอนาคามิผล. แม้ท่าน

ก็ถือบิณฑบาตเหมือนอย่างนั้นไปยังที่นั้น แล้วนิมนต์ภิกษุนอกนี้

(ฉัน). ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นก็ได้ปฏิเสธเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ. บรรดา

ภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตก็ปรินิพพานไป. พระอนาคามีก็ไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 134

บังเกิดในชั้นสุทธาวาส. ส่วนพระ ๕ รูปนอกนี้ แม้เพียรพยายามอยู่ก็ไม่

อาจทำคุณวิเศษให้เกิดขึ้นได้. ภิกษุเหล่านั้นเมื่อไม่สามารถ (จะทำอะไร

ได้) ก็ซูบผอมตายลงในที่นั้นเอง แล้วบังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไป

ในเทวโลกนั่นแหละสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้จุติจาก

เทวโลกบังเกิดในเรือนมีสกุลนั้นๆ. ก็บรรดาคนเหล่านั้น คนหนึ่งได้เป็น

พระราชาพระนามว่า ปุกกุสะ, คนหนึ่งเป็น กุมารกัสสปะ, คนหนึ่งเป็น

ทัพพมัลลบุตร, คนหนึ่งเป็น สภิยปริพาชก, คนหนึ่งเป็น พาหิยะ

ทารุจีริยะ. บรรดาคนเหล่านั้น พระอนาคามีผู้ที่บังเกิดในพรหมโลก

ซึ่งท่านหมายเอากล่าวคำนี้ไว้ว่า ปุราณสาโลหิตา เทวตา เทวดาผู้ร่วม

สาโลหิต ดังนี้. จริงอยู่ แม้เทวบุตรก็เรียกว่า เทวดา เพราะอธิบายว่า

เทวดาก็คือเทพ เหมือนเทพธิดา ดุจในประโยคมีอาทิว่า อถ โข อญฺ

ตรา เทวตา ครั้งนั้นแล เทวดาองค์หนึ่ง. แต่ในที่นี้ พรหม ท่านประสงค์

เอาว่า เทวดา.

ก็เมื่อพรหมนั้นตรวจดูพรหมสมบัติแล้วนึกถึงสถานที่ตนมา ใน

ลำดับที่เกิดในพรหมโลกนั้นทีเดียว การที่พวกชนทั้ง ๗ คนขึ้นภูเขากระทำ

สมณธรรมก็ดี ความที่ตนบรรลุอนาคามิผล แล้วบังเกิดในพรหมโลกก็ดี

ปรากฏแล้ว. พรหมนั้นรำพึงว่า ฝ่ายชนทั้ง ๕ บังเกิดที่ไหนหนอ รู้ว่า

ชนเหล่านั้นบังเกิดในเทวโลกชั้นกามาวจร ครั้นต่อมาตามเวลาอันสมควร

ได้ตรวจดูประวัติของชนเหล่านั้นว่า การทำอะไรกันหนอ. แต่ในเวลานี้

เมื่อรำพึงว่า พวกเหล่านั้นอยู่ที่ไหนหนอ จึงได้เห็นพาหิยะอาศัยท่า

สุปปารกะ นุ่งผ้าคากรองทำด้วยเปลือกไม้ เลี้ยงชีพด้วยการหลอกลวง

คิดว่า เมื่อก่อน ผู้นี้พร้อมกับเราผูกบันไดข้นภูเขากระทำสมณธรรม ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 135

อาลัยในชีวิต เพราะประพฤติกวดขันอย่างยิ่ง แม้พระอรหันต์จะนำ

บิณฑบาตมาให้ก็ไม่ฉัน บัดนี้ประสงค์แต่จะให้เขายกย่อง ไม่เป็นพระ-

อรหันต์เลย ก็ยังเที่ยวปฏิญาณตนว่าเป็นพระอรหันต์ มีความปรารถนา

ลาภ สักการะและชื่อเสียง ทั้งไม่รู้ว่าพระทศพลอุบัติขึ้นแล้ว เอาเถอะ

เราจักทำเขาให้สลดใจแล้วให้รู้ว่า พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว ทันใดนั้นเอง

จึงลงจากพรหมโลก ปรากฏตรงหน้าท่านทารุจีริยะ ที่ท่าสุปปารกะ ตอน

กลางคืน. ท่านพาหิยะเห็นแสงสว่างโชติช่วงในที่อยู่ของตน จึงคิดว่า

นี้เหตุอะไรหนอ แล้วได้ออกไปข้างนอกตรวจดูอยู่ เห็นมหาพรหมอยู่ใน

อากาศ จึงประคองอัญชลีถามว่า ท่านเป็นใคร่ ? ลำดับนั้น พราหมได้

กล่าวแก่ท่านว่า เราเป็นสหายเก่าของท่าน คราวนั้นเราบรรลุอนาคามิผล

บังเกิดในพรหมโลก แต่ท่านไม่สามารถจะทำคุณวิเศษอะไรให้บังเกิดได้

คราวนั้นท่านทำกาลกิริยาเยี่ยงปุถุชนท่องเที่ยวไป บัดนี้ ทรงเพศเยี่ยง

เดียรถีย์ ไม่เป็นพระอรหันต์เลย ยังเที่ยวถือลัทธินี้ว่า เราเป็นพระอรหันต์

(เรา) รู้ดังนี้จึงได้มา ดูก่อนพาหิยะ ท่านไม่ได้เป็นพระอรหันต์เลย จง

สละทิฏฐิอันลามกเช่นนั้นเสียเถิด ท่านอย่าได้เป็นไปเพื่อฉิบหาย เพื่อทุกข์

ตลอดกาลนานเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ความจริง

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ จงเข้าไปเฝ้าพระองค์เถิด.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ครั้งนั้นแล เทวดาผู้เป็นสาโลหิต

ของพาหิยะ ทารุจีริยะ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุกมฺปิกา ได้แก่ ผู้มีปกติอนุเคราะห์.

คือ ผู้ยิ่งด้วยกรุณา. บทว่า อตฺถกามา ได้แก่ ผู้ปรารถนาประโยชน์ คือ

ผู้ยิ่งด้วยเมตตา. ก็ในที่นี้ ด้วยบทแรก ท่านแสดงถึงความที่เทวดานั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 136

ประสงค์จะบำบัดทุกข์ของพาหิยะ, ด้วยบทหลัง แสดงถึงการนำประโยชน์

เกื้อกูลเข้าไป. บทว่า เจตสา ได้แก่ ด้วยจิตของตน. ก็ในที่นี้ พึงทราบ

ว่า ท่านถือเอาเจโตปริยญาณ โดยยกจิตขึ้นเป็นประธาน. บทว่า เจโต-

ปริวิตกฺก ได้แก่ ความเป็นไปแห่งจิตของท่าน. บทว่า อญฺาย แปลว่า

รู้แล้ว. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า บุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้เข้า

หรือคู้แขนที่เหยียดออก ชื่อแม้ฉันใด พรหมอันตรธานจากพรหมโลกเข้า

ไปปรากฏตรงหน้าพาหิยะ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า เอตทโวจ ความว่า

พรหมได้กล่าวคำนี้ คือคำที่จะกล่าวในบัดนี้ มีอาทิว่า พาหิยะ ท่าน

มิใช่พระอรหันต์แล ดังนี้ ก็ท่านพาหิยะผู้มิจฉาปริวิตกที่เป็นไป มีอาทิว่า

ผู้ใดผู้หนึ่งจะเป็นพระอรหันต์หรือ ดังนี้ เหมือนจับโจรพร้อมทั้งของ

กลาง. ด้วยบทว่า เนว โข ตฺว พาหิยะ อรหา นี้ พรหมปฏิเสธว่าท่าน

พาหิยะมิใช่พระอเสขะในกาลนั้น. ด้วยบทว่า นาปิ อรหตฺตมคฺค วา

สมาปนฺโน นี้ แสดงว่าท่านพาหิยะยังเป็นเสขบุคคล. แม้ด้วยบททั้งสอง

นั้น แสดงว่าท่านพาหิยะไม่ใช่พระอริยบุคคลเลย. ก็ด้วยคำว่า สาปิ เต

ปฏิปทา นตฺถิ ยาย พาหิย ตฺว อรหา วา อสฺสสิ อรหตฺตมคฺค วา

สมาปนฺโน นี้ พรหมปฏิเสธว่า ท่านพาหิยะเป็นเพียงกัลยาณปุถุชน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิปทา ได้แก่ วิสุทธิ ๖ (ข้างต้น) มีสีล-

วิสุทธิเป็นต้น. ที่ชื่อว่าปฏิปทา เพราะเป็นเครื่องดำเนินไปในอริยมรรค.

บทว่า อสฺสสิ แปลว่า พึงเป็น

ถามว่า ก็ความสำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์นี้ เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะ

อาศัยอะไร ? ตอบว่า อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ความสำคัญตนว่าเป็นพระ-

อรหันต์เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะท่านกำจัดกิเลสได้ด้วยตทังคปหาน เหตุได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 137

สร้างบุญญาธิการไว้ตลอดกาลนาน โดยความที่ท่านเป็นผู้มักน้อย สันโดษ

และเป็นผู้ขัดเกลา. แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ท่านพาหิยะได้ฌาน ๔

มีปฐมฌานเป็นต้น เพราะฉะนั้น ความสำคัญตนว่าเป็นพระอรหันต์ จึง

เกิดขึ้นแก่ท่าน เพราะกิเลสไม่ฟุ้งขึ้นด้วยวิกขัมภนปหาน. ทั้งสองอย่างนั้น

เป็นเพียงมติของเกจิอาจารย์เท่านั้น เพราะมาในอรรถกถาว่า ท่าน

ประสงค์แต่ความยกย่อง และว่า ท่านไม่ปรารถนาลาภสักการะและการสรร-

เสริญ. เพราะฉะนั้น พึงทราบความในข้อนี้ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ลำดับนั้น ท่านพาหิยะแลดูมหาพรหมผู้ยืนกล่าวอยู่ในอากาศ จึง

คิดว่า โอ ข้อที่เราเข้าใจว่าเป็นพระอรหันต์ เป็นกรรมหนักแท้ และ

พรหมนี้กล่าวว่า แม้ปฏิปทาเป็นเครื่องบรรลุพระอรหัตก็ไม่มีแก่ท่าน ใครๆ

ผู้เป็นพระอรหันต์ในโลก มีอยู่หรือหนอ. ลำดับนั้นจึงถามมหาพรหมนั้น

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ เก จรหิ เทวเต โลเก อรหนฺโต วา

อรหตฺตมคฺค วา สมาปนฺนา.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า อถ เป็นนิบาตใช้ในอรรถเริ่มคำถาม.

บทว่า เก จรหิ แก้เป็น เก เอตรหิ. บทว่า โลเก ได้แก่ ในโอกาส-

โลก. ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ ครั้งนั้น ในพื้นชมพูทวีปทั้งสิ้น

อันเป็นโลกเป็นที่รองรับ บัดนี้ พระอรหันต์หรือผู้บรรลุอรหัตมรรค

มีอยู่ที่ไหนอันเป็นที่ที่พวกเราเข้าไปหาท่านเหล่านั้น ตั้งอยู่ในโอวาทของ

ท่านแล้ว จักพ้นจากวัฏทุกข์.

บทว่า อุตฺตเรสุ ท่านกล่าวหมายเอาด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

จากท่าสุปปารกะ. บทว่า อรห ได้แก่ ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะ

เป็นผู้ไกล (จากกิเลส). จริงอยู่ พระอรหันต์นั้น ชื่อว่าเป็นผู้ไกล คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 138

ตั้งอยู่ในที่ไกลแสนไกลจากสรรพกิเลส. (และ) ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะ

กำจัดกิเลสพร้อมทั้งวาสนาด้วยมรรค หรือฆ่ากิเลสดุจข้าศึกเสียได้. จริงอยู่

ข้าศึกคือกิเลสทั้งหลาย อันพระผู้มีพระภาคเจ้าฆ่า คือถอนแล้วด้วย

อรหัตมรรคโดยสิ้นเชิง. อนึ่ง ชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ เพราะกำจัดกำคือ

กิเลสเสียได้. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงยืนหยัดอยู่บนปฐพีคือ

ศีล ด้วยพระยุคลบาทคือวิริยะ ทรงใช้พระหัตถ์คือศรัทธา จับขวานคือ

ญาณอันเป็นเหตุกระทำกรรมให้สิ้น แล้วทรงประหาร คือกำจัดกำทั้งหมด

แห่งสังสารจักรอันมีดุมสำเร็จด้วยอวิชชา ภพและตัณหา มีบุญญาภิสังขาร

เป็นต้นเป็นกำ มีชราและมรณะเป็นกง สอดใส่เพลาอันสำเร็จด้วยอาสวะ

สมุทัยประกอบเข้าในรถคือภพ ๓ เป็นไปตลอดกาลไม่มีเบื้องต้น. อีก

อย่างหนึ่ง ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะเป็นผู้ควร. ความจริง พระผู้มี

พระภาคเจ้าย่อมควรแก่ปัจจัยมีจีวรเป็นต้นอันยิ่ง และบูชาพิเศษ เพราะ

พระองค์เป็นพระทักขิไณยบุคคลอันเลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลก. อนึ่ง

ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะไม่มีความลับ (ในการทำบาป) จริงอยู่ พระ-

ตถาคตท่านเรียกว่าพระอรหันต์ เพราะไม่มีความลับในการทำบาป โดย

กิเลสลามกไม่มี เพราะพระองค์ถอนกิเลสมีราคะเป็นต้นได้โดยประการ

ทั้งปวง.

ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวงโดยชอบและด้วย

พระองค์เอง. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสรู้ยิ่ง ซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง

ซึ่งธรรมที่ควรกำหนดรู้ โดยเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ซึ่งธรรมที่

ควรละโดยเป็นธรรมที่ควรละ ซึ่งธรรมที่ควรทำให้แจ้ง โดยเป็นธรรมที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 139

ควรทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมที่ควรเจริญโดยเป็นธรรมที่ควรเจริญ. มีจริง

ดังที่ตรัสไว้ว่า

อภิญฺเยฺย อภิญฺาต ภาเวตพฺพญฺจ ภาวิต

ปหาตพฺพ ปหีนมฺเม ตสฺมา พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ.

ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เรารู้ยิ่งแล้ว ธรรมที่ควรเจริญ เรา

เจริญแล้ว ธรรมที่ควรละ เราละได้แล้ว เพราะฉะนั้น

แหละ พราหมณ์ เราจึงเป็นพระพุทธเจ้า.

อีกอย่างหนึ่ง พึงแนะนำอรรถนี้โดยธรรมหมวดสามและสองทั้งปวง

เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ธรรม ชื่อว่าเป็นกุศล เพราะไม่มีโทษมีสุขเป็น

ผล ธรรม ชื่อว่าเป็นอกุศล เพราะมีโทษ มีทุกข์เป็นผล. ในข้อนี้ มี

ความสังเขปดังนี้ว่า ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ยิ่งซึ่งธรรมทั้งปวง

โดยอาการทั้งปวง ด้วยสยัมภูญาณอันไม่วิปริตด้วยประการดังนี้ . ส่วน

ความพิสดาร พึงทราบโดยนัยที่มาในวิสุทธิมรรคนั้นแล.

บทว่า อรหตฺตตาย ได้แก่ เพื่อได้อรหัตผล. บทว่า ธมฺม เทเสติ

ความว่า ย่อมอ้าง คือแสดงธรรมคือปฏิปทามีศีลเป็นต้น อันควรแก่คุณ

พิเศษมีไพเราะในเบื้องต้นเป็นต้น หรือธรรมคือสมถะและวิปัสสนาอัน

เหมาะแก่อัธยาศัยของเวไนยสัตว์นั่นแล. บทว่า สเวชิโต ความว่า ให้ถึง

ความสลดใจว่า ผู้เจริญ น่าติเตียนจริง ความเป็นปุถุชน อันเป็นเหตุ

ให้เราผู้ไม่เป็นพระอรหันต์เลย สำคัญว่าเป็นพระอรหันต์ และไม่รู้พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติขึ้นในโลกทรงแสดงธรรมอยู่ ก็ความเป็นอยู่

รู้ได้ยาก ความตายก็รู้ได้ยาก. อธิบายว่า มีใจสลดด้วยอาการตามที่กล่าว

แล้ว ด้วยคำพูดของเทวดา. บทว่า ตาวเทว แปลว่า ในขณะนั้นนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 140

บทว่า สุปฺปารกา ปกฺกามิ ความว่า ผู้มีหทัยอันปีติมีพระพุทธเจ้าเป็น

อารมณ์ อันเกิดขึ้นเพราะได้ยินพระนามว่า พุทฺโธ และถูกความสังเวช

ตักเตือนอยู่ จึงได้จากท่าสุปปารกะหลีกไป มุ่งตรงกรุงสาวัตถี. บทว่า

สพฺพตฺถ เอกรตฺติปริวาเสน ความว่า ได้ไปโดยอยู่พักแรมราตรีเดียวใน

หนทางทั้งปวง. จริงอยู่ เมืองสาวัตถีจากท่าสุปปารกะ มีระยะทาง ๑๒๐

โยชน์ แต่ท่านพาหิยะนี้ ได้ไปยังกรุงสาวัตถีนั้นโดยพักแรมราตรีเดียว

ตลอดระยะทางเท่านี้. ท่านถึงกรุงสาวัตถีในวันที่ออกจากท่าสุปปารกะ

นั่นเอง. ถามว่า ก็อย่างไร ท่านพาหิยะนี้จึงได้ไปอย่างนั้น ? ตอบว่า

เพราะอานุภาพของเทวดา. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพราะพุทธานุภาพ

ก็มี. เป็นอันท่านแสดงอธิบายไว้ดังนี้ว่า ก็เพราะท่านกล่าวว่า โดยพัก

แรมราตรีเดียวในที่ทุกสถาน และเพราะหนทางมีระยะ. ๑๒.๐โยชน์ ใน

ระหว่างทาง ท่านไม่ให้อรุณที่ ๒ ตั้งขึ้นในที่ที่คนอยู่ตอนกลางคืนในคาม

นิคมและราชธานี จึงไปถึงกรุงสาวัตถีโดยพักแรมราตรีเดียวในที่ทุกแห่ง.

ข้อนี้ ไม่พึงเห็นอย่างนี้ว่า ท่านอยู่ในหนทางนั้นทั้งสิ้นเพียงราตรีเดียว

เพราะประสงค์เอาความนี้ว่า โดยพักแรมแห่งละราตรี ในหนทางทั้งหมด

มีระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ ในวันสุดท้ายเวลาเย็น จึงถึงกรุงสาวัตถี.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พาหิยะมาถึง ทรงพระดำริว่า

ชั้นแรก อินทรีย์ของท่านพาหิยะยังไม่แก่กล้า แต่ในระหว่างชั่วครู่หนึ่งจัก

ถึงความแก่กล้า ดังนี้แล้ว รอคอยให้ท่านมีอินทรีย์แก่กล้า จึงแวดล้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จทรงบาตรยังกรุงสาวัตถีในขณะนั้น. และท่าน

พาหิยะนั้นก็เข้าไปยังพระเชตวัน เห็นภิกษุเป็นอันมากฉันภัตตาหารเช้า

แล้ว จงกรมอยู่ในอัพโภกาสกลางแจ้ง เพื่อปลดเปลื้องความเกียจคร้านกาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 141

จึงถามว่า บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไหน. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบาตรยังกรุงสาวัตถี แล้วถามว่า ก็ท่านเล่ามาแต่

ไหน ? ท่านตอบว่า มาจากท่าสุปปารกะ. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ท่าน

มาไกล เชิญนั่งก่อน จงล้างเท้า ทาน้ำมัน แล้วพักสักหน่อยหนึ่งใน

เวลาพระองค์กลับมา ก็จักเห็นพระศาสดา. ท่านพาหิยะกล่าวว่า ท่าน

ขอรับ กระผมไม่รู้อันตรายแห่งชีวิตของตน โดยวันเล็กน้อย กระผม

ไม่ยืนไม่นั่งนานแม้ในที่ไหน ๆ มาสิ้นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ พอเฝ้า

พระศาสดาแล้วจึงจักพักผ่อน จึงรีบด่วนไปยังกรุงสาวัตถี เห็นพระผู้มี

พระภาคเจ้าผู้รุ่งโรจน์ด้วยพุทธสิริหาที่เปรียบปานมิได้. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากจงกรมอยู่ในโอกาสกลาง

แจ้ง. ลำดับนั้นแล ท่านพาหิยะ ทารุจีริยะได้เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น

ถึงที่อยู่ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กห เป็น กตฺถ แปลว่าที่ไหน. ศัพท์

ว่า นุ ใช้ในอรรถว่าสงสัย. ศัพท์ว่า โข ใช้ในอรรถว่าทำบทให้เต็ม.

อธิบายว่า ในประเทศไหนหนอแล. บทว่า ทสฺสนกามา แปลว่า

เป็นผู้ใคร่จะเห็น. ท่านแสดงไว้ว่า ก็เราปรารถนาจะเฝ้าและเข้าไปใกล้

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เหมือนคนบอดปรารถนาจักษุประสาท เหมือนคน

หนวกปรารถนาโสตประสาท เหมือนคนใบ้ปรารถนาการกล่าวให้รู้เรื่อง

เหมือนคนมีมือเท้าวิกลปรารถนามือเท้า เหมือนคนขัดสนปรารถนาทรัพย์

สมบัติ เหมือนคนเดินทางกันดารปรารถนาที่อันปลอดภัย เหมือนคนถูก

โรคครอบงำปรารถนาความไม่มีโรค เหมือนคนถูกเรืออับปางในมหา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 142

สมุทรปรารถนาแพใหญ่ ฉะนั้น. บทว่า ตรมานรูโป ได้แก่ เป็นผู้มี

อาการรีบด่วน หรือผู้มีการสงเคราะห์อันน่าสรรเสริญ.

บทว่า ปาสาทิก ความว่า นำมาซึ่งความเลื่อมใสรอบด้านแก่ชนผู้

ขวนขวายในการเห็นพระรูปกาย เพราะความสมบูรณ์ด้วยความงามแห่ง

สรีระของพระองค์ อันนำความเลื่อมใสมารอบด้าน อันประดับด้วยมหา-

ปุริสลักษณะ ๓๒ อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีด้านละวา และพระ-

เกตุมาลารัศมีที่เปล่งเหนือพระเศียร. บทว่า ปสาทนีย ความว่า เป็นที่ตั้ง

แห่งความเลื่อมใส เหมาะที่จะควรเลื่อมใส หรือควรแก่ความเลื่อมใสของ

คนผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ เพราะธรรมกายสมบัติอันประกอบด้วยจำนวน

พระคุณหาประมาณมิได้ มีทศพลญาณ ๑๐ เวสารัชชญาณ ๔ อสาธารณ-

ญาณ ๖ อาเวณิยพุทธธรรม ๑๘ เป็นต้น. บทว่า สนฺตินฺทฺริย ได้แก่

อินทรีย์ ๕ ที่สงบระงับ เพราะปราศจากความหวั่นไหวในอินทรีย์ห้า

มีจักขุนทรีย์เป็นต้น. บทว่า สนฺตมานส ได้แก่ มีใจสงบระงับ เพราะ

เข้าถึงภาวะที่มนินทรีย์ที่หกหมดพยศ. บทว่า อุตฺตมทมถสมถมนุปฺปตฺต

ความว่า ถึงโดยลำดับ คือบรรลุความฝึกฝนและสงบอันสูงสุด กล่าวคือ

ปัญญาวิมุตติและเจโตวิมุตติอันเป็นโลกุตระตั้งอยู่. บทว่า ทนฺต ความว่า

ชื่อว่าฝึกกาย เพราะมีกายสมาจารบริสุทธิ์ดี และเพราะไม่มีการเล่น โดย

ไม่มีการคะนองมือคะนองเท้าเป็นต้น. บทว่า คุตฺต ความว่า ชื่อว่า คุ้ม-

ครองวาจา เพราะมีวจีสมาจารบริสุทธิ์ดี และเพราะไม่มีการเล่น โดยไม่มี

วาจาไร้ประโยชน์เป็นต้น. บทว่า ยตินฺทฺริย ได้แก่ ชื่อว่า มีอินทรีย์สำรวม

แล้ว ด้วยการประกอบฤทธิ์อันเป็นของพระอริยะ เพราะมีมโนสมาจาร

บริสุทธิ์ด้วยดี และด้วยอำนาจมนินทรีย์ เพราะมีความวางเฉยในการไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 143

ขวนขวายและการไม่พิจารณา. บทว่า นาค ความว่า ชื่อว่า ผู้ประเสริฐ

เพราะเหตุเหล่านี้ คือ การไม่ลุอำนาจฉันทาคติเป็นต้น กิเลสมีราคะ

เป็นต้น ที่ละได้แล้วไม่กลับเกิดอีก คือไม่หวนกลับมา บาปแม้อะไรก็

ไม่ทำแม้โดยประการทั้งปวง และไม่ไปสู่ภพใหม่.

ก็ด้วยบทว่า ปาสาทิก นี้ ในอธิการนี้ ท่านแสดงถึงความสำคัญ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยรูปกาย. ด้วยบทว่า ปสาทนีย นี้ แสดงถึง

ความสำคัญของพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยธรรมกาย. ด้วยบทมีอาทิว่า สนฺตินฺ-

ทฺริย นี้ แสดงถึงความสำคัญพระคุณที่เหลือ. เพราะเหตุนั้น พึงทราบ

ว่า ท่านประกาศความสำคัญของพระผู้มีพระภาคเจ้าแก่เหล่าสัตว์โดยสิ้นเชิง

ในโลกสันนิวาสที่เชื่อถือประมาณ ๔ พวก.

ก็ท่านพาหิยะ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นอย่างนั้นกำลังเสด็จ

ไปในถนน ร่าเริงยินดีว่า นานจริงหนอ เราจึงได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

มีสรีระอันปีติ ๕ ประการถูกต้องตลอดเวลา ดวงตาก็นั่งเพราะปีติซาบซ่าน

น้อมสรีระลงตั้งแต่ที่ ๆ ได้เห็นแล้ว ก็หยั่งลงท่ามกลางรัศมีพระวรกายของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จมลงในพระรัศมีนั้น เข้าไปใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นวดฟั้นพระยุคลบาทของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จุมพิตอยู่ พลางกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์เถิด. เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า

ท่านหมอบลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า

แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ ขอพระสุคตโปรดแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 144

ธรรมอันเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แต่ข้าพระองค์สิ้นกาล

นานเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุคโต ความว่า ชื่อว่า สุคต เพราะ

เสด็จไปงาม คือเสด็จไปสู่ที่อันงาม เสด็จไปโดยชอบ มีพระวาจาชอบ.

จริงอยู่ การไปท่านเรียกว่า คต. ก็การไปนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้า

งามคือบริสุทธิ์ไม่มีโทษ. ถามว่า ก็การไปคืออะไร ? ตอบว่า คืออริย-

มรรค. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จไปสู่ทิศเกษมไม่ติดขัดด้วย

การไปนั้น. แม้คนอื่นพระองค์ก็ให้ดำเนินไปด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อ

ว่าสุคต เพราะเสด็จไปงาม. ก็พระองค์เสด็จไปสู่ที่อันดี คืออมตนิพพาน

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าสุคต เพราะเสด็จไปสู่ที่อันดี. พระองค์ ชื่อว่า

สุคต เพราะเสด็จไปชอบ เหตุไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่พระองค์ประหาร

ด้วยมรรคนั้น ๆ. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสว่า ชื่อว่า สุคต เพราะไม่

มาอีก ไม่กลับมา ไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่พระองค์ประหารได้ด้วยโสดา-

ปัตติมรรค. ชื่อว่า สุคต เพราะไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่พระองค์ประหาร

ได้ด้วยสกทาคามิมรรค ฯ ลฯ ด้วยอรหัตมรรค. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

สมฺมาคตตฺตา ความว่า เพราะเสด็จไป คือดำเนินไปด้วยดีด้วยสัมมา-

ปฏิบัติ แม้ในการกำหนดทั้ง ๓ อย่าง. จริงอยู่ ชื่อว่า สุคต เพราะ

เสด็จไปโดยชอบแม้ด้วยอาการอย่างนี้ว่า พระองค์ทรงบรรลุที่สุดญาตัตถ-

จริยา โลกัตถจริยา พุทธัตถจริยา ด้วยสัมมาปฏิบัติอันบริบูรณ์ด้วยพระ-

บารมี ๓๐ ถ้วน จำเดิมแต่บาทมูลพระพุทธเจ้าทีปังกร ตราบเท่าถึงมหา-

โพธิมณฑล ทรงพอกพูนเฉพาะหิตสุขแก่โลกทั้งปวง ต่อแต่นั้น จึงเสด็จ

ไป คือดำเนินไป ด้วยการเป็นใหญ่ในธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 145

อริสัจ ๔ ด้วยมัชฌิมาปฏิปทา กล่าวคือโพชฌงคภาวนาอันยอดเยี่ยม

ไม่ข้องแวะที่สุดเหล่านี้ คือ สัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ กามสุขัลลิกานุโยค

อัตตกิลมถานุโยค และด้วยสัมมาปฏิบัติอันไม่ใช่วิสัยในสัตว์ทั้งปวง. ก็

พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ตรัสโดยชอบ คือตรัสพระวาจาเฉพาะที่ควร ใน

ฐานะอันควร เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า สุคต. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสว่า

เราตถาคตเป็นกาลวาที พูดตามกาล ภูตวาที พูดตามที่เป็นจริง อัตถวาที

พูดตามอรรถ ธัมมวาที พูดตามธรรม วินัยวาที พูดตามวินัย พูดวาจา

ที่มีหลักฐาน มีที่อ้างมีที่สุดประกอบด้วยประโยชน์ตามกาลอันควร. ตรัส

ไว้อีกอย่างมีอาทิว่า วาจาใด ไม่เป็นจริงไม่แท้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

และวาจานั้นไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของชนเหล่าอื่น เราตถาคตไม่พูด

วาจานั้น. ชื่อว่า สุคต แม้เพราะตรัสชอบด้วยประการฉะนี้. บทว่า

ย มมสฺส ทีฆรตฺต หิตาย สุขาย ความว่า การแสดงอ้างถึงกรรมใด

พึงเป็นไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ฌานและวิโมกข์เป็นต้น และเพื่อสุข

ที่จะพึงบรรลุฌานและวิโมกข์เป็นต้นนั้น แก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนาน.

บทว่า อกาโล โข ตาว ความว่า ดูก่อนพาหิยะ ไม่ใช่กาลเพื่อ

แสดงธรรมแก่ท่านก่อน. อธิบายว่า ก็เพราะเหตุอะไร พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงไม่มีกาลในการปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์เล่า เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกาลวาที. ก็ในคำว่า กาโล นี้ ประสงค์เอากาล

ที่เหล่าเวไนยสัตว์มีอินทรีย์แก่กล้า. ด้วยว่าเพราะเหตุที่ในขณะนั้น รู้ได้

ยากว่า อินทรีย์ทั้งหลายของท่านพาหิยะแก่กล้าหรือไม่แก่กล้า ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสเทศนานั้น เมื่อทรงอ้างถึงเหตุแก่เขาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 146

พระองค์ประทับยืนอยู่ระหว่างถนน จึงตรัสว่า อนฺตฆร ปวิฏฺมฺหา

ดังนี้.

บทว่า ทุชฺชาน แปลว่า พึงรู้ได้ยาก. ด้วยบทว่า ชีวิตนฺตรายาน

ท่านพาหิยะประสงค์จะกล่าวว่า การเป็นไปหรือไม่เป็นไปแห่งธรรมอันทำ

อันตรายต่อชีวิต จึงกล่าวว่า ชีวิตนฺตรายาน ดังนี้ ด้วยอำนาจการหมุน

เวียน. จริงอย่างนั้น ชีวิตคือความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัยเป็นอันมาก

และอันตรายต่อชีวิตนั้นก็มีมาก. สมจริงดังที่ตรัสว่า

อชฺเชว กิจฺจมาตปฺป โก ชญฺา มรณ สุเว

น หิ โน สงฺครนฺเตน มหาเสเนน มจฺจุนา

พึงรีบทำความเพียรในวันนี้แหละ ใครเล่าจะรู้

ความตายในวันพรุ่ง เพราะว่าความผัดเพี้ยนด้วย

มฤตยูอันมีเสนาใหญ่ ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย.

ก็เพราะเหตุไร ท่านพาหิยะนี้จึงมุ่งแต่อันตรายชีวิตเท่านั้นเป็นอัน

ดับแรก. อาจารย์บางพวกแก้ว่า เพราะท่านรู้แต่อารมณ์ที่เป็นนิมิตหรือ

ฉลาดในสิ่งที่คนไม่เห็น. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เพราะท่านได้ยิน

อันตรายชีวิตในสำนักของเทวดา. ก็ท่านถูกอุปนิสัยสมบัติตักเตือนจึงกล่าว

อย่างนั้น เพราะเป็นผู้มีภพสุดท้าย. จริงอยู่ ท่านเหล่านั้นยังไม่บรรลุ

พระอรหัต จึงไม่สิ้นชีวิต. ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระ-

ประสงค์จะทรงแสดงธรรมแก่ท่านนั่นแหละ จึงห้ามไว้ถึง ๒ ครั้ง ได้ยิน

ว่าพระองค์มีพระดำริอย่างนี้ว่า ตั้งแต่เวลาที่พาหิยะนี้เห็นเรา สรีระทั้งสิ้น

อันปีติถูกต้องไม่ขาดระยะ กำลังปีติมีความรุนแรง แม้จักฟังธรรมแล้วก็ไม่

สามารถแทงตลอดได้จึงห้ามไว้ ตราบเท่าที่มัชฌัตตุเปกขาจะดำรงอยู่ก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 147

แม้ความกระวนกระวายในกายของท่านก็มีกำลัง เพราะท่านมาสู่หนทาง

สิ้นระยะทาง ๑๒๐ โยชน์ แม้ท่านระงับความกระวนกระวายอยู่ก่อน เพราะ

เหตุนั้น จึงทรงปฏิเสธถึง ๒ ครั้ง. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ทรงทำอย่างนั้น เพื่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟังธรรม.

แต่พระองค์ถูกขอร้องถึงครั้งที่ ๓ ทรงเห็นมัชฌัตตุเปกขาเป็นเครื่องระงับ

ความกระวนกระวาย และอันตรายชีวิตที่ปรากฏแก่ท่าน ทรงดำริว่า บัดนี้

เป็นกาลเพื่อแสดงธรรม จึงเริ่มแสดงธรรมโดยนัยมีอาทิว่า ตสฺมาติห เต

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะท่านเป็นผู้เกิด

ความขวนขวายอ้อนวอนเราอย่างยิ่ง หรือเพราะท่านกล่าวว่าอันตรายชีวิต

รู้ได้ยาก และอินทรีย์ของท่านแก่กล้าแล้ว. ศัพท์ว่า ติห เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า เต แปลว่า อันท่าน. ด้วยคำว่า เอว นี้ ตรัสถึงอาการที่จะกล่าว

ในบัดนี้. บทว่า สิกฺขิตพฺพ ความว่า พึงทำการศึกษาโดยสิกขาแม้ทั้ง ๓

มีอธิศีลสิกขาเป็นต้น.

แต่เมื่อพระองค์จะทรงแสดงอาการที่จะพึงศึกษา จึงตรัสคำมีอาทิว่า

ทิฏฺเ ทิฏฺมตฺต ภวิสฺสติ เมื่อเห็นก็เป็นเพียงแต่เห็น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺเ ทิฏฺมตฺต ได้แก่ สักว่าการ

เห็นรูปายตนะ ด้วยจักขุวิญญาณ. อธิบายว่า เธอพึงศึกษาว่า จักขุ-

วิญญาณเห็นซึ่งรูปในรูปเท่านั้น หาเห็นสภาพลักษณะมีอนิจจลักษณะ

เป็นต้นไม่ ฉันใด รูปที่เหลือจักเป็นเพียงอันเราเห็นด้วยวิญญาณที่เป็น

ไปทางจักขุทวารนั้นเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า การรู้แจ้งซึ่งรูป

ในรูปด้วยจักขุวิญญาณ ชื่อว่า เห็นรูปในรูปที่เห็น. บทว่า มตฺตา แปลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 148

ประมาณ. ประมาณแห่งรูปนี้ที่เห็นแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ทิฏฐ-

มัตตะ. อธิบายว่า จิตเป็นเพียงจักขุวิญญาณเป็นประมาณเท่านั้น. ท่าน

อธิบายไว้ว่า จักขุวิญญาณ ย่อมไม่กำหนัด ขัดเคือง หลงในรูปที่มาปรากฏ

ฉันใด เราจักตั้งชวนจิตไว้โดยประมาณแห่งจักขุวิญญาณอย่างนี้ว่า ชวน-

จิตของเราจักเป็นเพียงจักขุวิญญาณเท่านั้น เพราะเว้นจากราคะเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง รูปที่จักขุวิญญาณเห็น ชื่อว่า ทิฏฐะ. จิต ๓ ดวงคือสัมปฏิจ-

ฉนจิต สันติรณจิตและโวฏฐัพพนจิต ที่เกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ

ชื่อว่า ทิฏฐมัตตะ. พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า จิต ๓ ดวงนี้ ย่อม

ไม่กำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง ฉันใด เมื่อรูปม้าปรากฏ เราก็จักให้ชวน-

จิตเกิดขึ้นโดยประมาณสัมปฏิจฉนจิตเป็นต้นนั้นนั่นแหละ เราจะไม่ให้

ก้าวล่วงประมาณนั้นเกิดขึ้นด้วยความกำหนัดเป็นต้น ฉันนั้น. ในสุตะ

และมุตะก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็บทว่า มุต พึงทราบคันธายตนะ รสายตนะและ

โผฏฐัพพายตนะกับด้วยวิญญาณ ซึ่งมีคันธายตนะ รสายตนะ และโผฏฐัพ-

พายตนะนั้นเป็นอารมณ์. ก็ในคำว่า วิญฺาเต วิญฺาณมตฺต นี้ มีวินิจ-

ฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า วิญญาตะ ได้แก่ อารมณ์ที่มโนทวาราวัชชนจิต

แจ้งแล้ว. เมื่อรู้แจ้งอารมณ์นั้นก็เป็นอันชื่อว่า มโนทวาราวัชชนจิตรู้แจ้ง

แล้ว เหตุนั้น จึงชื่อว่า มีอาวัชชนจิตเป็นประมาณ. ในข้อนี้มีอธิบาย

ดังนี้ว่า อาวัชชนจิตย่อมไม่กำหนัด ขัดเคือง ลุ่มหลง ฉันใด เราจักพัก

จิตโดยประมาณแห่งอาวัชชนจิตเท่านั้น ไม่ยอมให้เกิดขึ้นด้วยความกำหนัด

เป็นต้น ฉันนั้น. บทว่า เอวญฺหิ เต พาหิย สิกฺขิตพฺพ ความว่า พาหิยะ

เธอพึงศึกษาโดยคล้อยตามสิกขาทั้ง ๓ ด้วยปฏิปทานี้อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 149

ดังนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงจำแนกอารมณ์อันแตกต่าง

โดยประเภทอารมณ์ ๖ พร้อมวิญญาณกาย ๖ อย่างย่อและตามความพอใจ

ของพาหิยะ ด้วยวิปัสสนา โดยโกุฏฐาสะทั้ง ๔ มีรูปอันตนเห็นแล้วเป็นต้น

แล้วจึงทรงแสดงญาตปริญญาและตีรณปริญญาในข้อนั้นแก่เธอ. อย่างไร ?

เพราะว่า ในข้อนี้รูปารมณ์เป็นอันชื่อว่า ทิฏฐะ เพราะอรรถว่าอันจักขุ-

วิญญาณพึงเห็น. ส่วนจักขุวิญญาณพร้อมวิญญาณที่เป็นไปทางจักขุทวาร

นั้น ชื่อว่า ทิฏฐะ เพราะอรรถว่าเห็น. แม้ทั้งสองอย่างนั้น เป็นเพียง

ธรรมที่เป็นไปตามปัจจัยเท่านั้น. ในข้อนี้ ใคร ๆ จะทำเองหรือให้ผู้อื่น

ทำก็หาได้ไม่. จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ ว่า จักขุวิญาณนั้นชื่อว่า

ไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะถูกความเกิดขึ้น

และดับไปบีบคั้น ชื่อว่า เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ

เหตุนั้น ในข้อนั้น จะจัดเป็นโอกาสของธรรมมีความกำหนัดเป็นต้นแห่ง

บัณฑิตได้ที่ไหน.

พึงทราบวินิจฉัยแม้ในสุตะเป็นต้น บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงปหาน-

ปริญญาพร้อมมูลเหตุเบื้องสูง แก่บัณฑิตผู้ตั้งอยู่ในญาตปริญญาและตีรณ-

ปริญญา จึงเริ่มคำมีอาทิว่า ยโต โข เต พาหิย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยโต ได้แก่ ในกาลใดหรือเพราะเหตุ

ใด. บทว่า เต ได้แก่ ตว แก่เธอ. บทว่า ตโต ได้แก่ ในกาลนั้นหรือ

เพราะเหตุนั้น. บทว่า เตน ความว่า ด้วยรูปอันเธอเห็นแล้วเป็นต้น

หรือด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น อันเนื่องกับรูปที่เธอเห็นแล้วเป็นต้น. ตรัส

คำนี้ไว้ว่า พาหิยะ ในกาลใด หรือเพราะเหตุใด เพียงรูปที่เธอเห็นแล้ว

เป็นต้น จักมีแก่เธอผู้ปฏิบัติตาม วิธีที่เรากล่าวแล้วในรูปที่เห็นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 150

เป็นต้น ด้วยการหยั่งรู้สภาพที่ไม่วิปริต ในกาลนั้นหรือเพราะเหตุนั้น

เธอจักไม่มีพร้อมด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น ที่เนื่องด้วยรูปที่เธอเห็นแล้ว

เป็นต้น เธอจักเป็นผู้ไม่กำหนัด ขัดเคือง หรือลุ่มหลง หรือจักไม่เป็น

ผู้เนื่องกับรูปที่เธอเห็นแล้วเป็นต้นนั้น เพราะละราคะเป็นต้นได้แล้ว.

บทว่า ตโต ตฺว พาหิย น ตตฺถ ความว่า ในกาลใดหรือเพราะเหตุใด

เธอจักเป็นผู้กำหนัดเพราะราคะนั้น ขัดเคืองเพราะโทสะ หรือลุ่มหลง

เพราะโมหะ ในกาลนั้นหรือเพราะเหตุนั้น เธอจักไม่มีในรูปที่เห็นแล้ว

เป็นต้นนั้น หรือเมื่อรูปนั้นที่เห็นแล้ว หรือเสียงและอารมณ์ที่ทราบแล้ว

เธอจักไม่เป็นผู้ข้องตั้งอยู่ด้วยตัณหามานะและทิฏฐิว่า นั่นของเรา เราเป็น

นั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. ด้วยคำเพียงเท่านี้ พระองค์ทรงให้ปหาน-

ปริญญาถึงที่สุดแล้วแสดงขีณาสวภูมิ. บทว่า ตโต ตฺว พาหิย เนวิธ น

หุร น อุภยมนฺตเรน ความว่า พาหิยะ ในกาลใด เธอจักไม่เป็นผู้เกี่ยว

เนื่องในรูปที่เห็นแล้วเป็นต้นนั้น ด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นนั้น ในกาลนั้น

เธอจักไม่มีในโลกนี้ ในโลกหน้าและในโลกทั้งสอง. บทว่า เอเสวนฺโต

ทุกฺขสฺส ความว่า จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายเพียงเท่านี้ ว่า ก็ที่สุด เขต

กำหนด และความหมุนเวียนแห่งกิเลส ทุกข์และวัฏทุกข์เท่านี้. ก็อาจารย์

เหล่าใดถือบทว่า อุภยมนฺตเรน แล้วจึงปรารถนาชื่อระหว่างภพ คำของ

อาจารย์เหล่านั้นผิด. จริงอยู่ ภาวะระหว่างภพท่านคัดค้านแล้วในพระ-

อภิธรรมทีเดียว. ก็คำว่า อนฺตเรน เป็นการแสดงวิกัปอื่น. เพราะเหตุนั้น

ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ก็วิกัปอื่น ไม่มีในโลกนี้โลกหน้าหรือทั้งสอง.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า อนฺตเรน เป็นการแสดงความไม่มีวิกัปอื่น. คำนั้น

อธิบายดังนี้ว่า ก็ที่ตั้งอื่นไม่มีโนโลกนี้โลกหน้า ถึงระหว่างภพก็ไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 151

อนึ่ง อาจารย์แม้เหล่าใด ถือเอาโดยไม่แยบคายซึ่งอรรถสุตตบทเหล่านี้ว่า

อันตราปรินิพพายี และว่าสัมภเวสี แล้วกล่าวว่า ภพอื่นยังมีอยู่เหมือนกัน

อาจารย์แม้เหล่านั้น เพราะถูกคัดค้านว่า อรรถสุตตบทต้นว่า ชื่อว่า

อันตราปรินิพพายี เพราะไม่ผ่านท่ามกลางอายุในภูมินั้นมีอวิหาพรหม

เป็นต้น แล้วปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพานสิ้นเชิง เพราะบรรลุอรหัต-

มรรคในระหว่าง หาได้มีในภพอื่นไม่ และถูกคัดค้านอรรถสุตตบทหลัง

ว่า สัตว์เหล่าใดจักไม่เป็นอย่างนั้น สัตว์เหล่านั้น จักเป็นผู้สิ้นอาสวะมี

ในภพก่อน อธิบายว่า ชื่อว่า สัมภเวสี เพราะแสวงหาภพใหม่ผิดตรงข้าม

กับอันตราปรินิพพายีบุคคลนั้น และชื่อว่า เสขปุถุชน เพราะยังละภวสัง-

โยชน์ไม่ได้ อนึ่ง บรรดากำเนิด ๔ อัณฑชสัตว์และชลาพุชสัตว์ ยังไม่ทำ

ลายกระเปาะไข่หรือกระเปาะหัวไส้อยู่ตราบใด ก็ชื่อว่า สัมภเวสีอยู่ตราบนั้น

สัตว์ที่ออกไปจากกระเปาะไข่และกระเปาะหัวไส้ ก็ชื่อว่า สัมภเวสีอยู่ตราบนั้น

และอุปปาติกสัตว์ ชื่อว่าสัมภเวสี ในขณะจิตดวงแรก ตั้งแต่ขณะจิตดวงที่ ๒

ไป ชื่อว่า ภูต อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายเกิดด้วยอิริยาบถใด ยังไม่ถึงอิริยาบถ

อื่นจากนั้นตราบใด ก็ยังชื่อว่า สัมภเวสี อยู่ตราบนั้น ต่อจากนั้น จัดเป็น

ภูต เพราะเหตุนั้น จึงถูกคัดค้านว่าไม่มีดังนี้. ก็เมื่อมีอรรถที่คล้อยตาม

บาลีตรง ๆ จะเป็นประโยชน์อะไรด้วยอรรถที่กำหนดด้วยภพอื่นซึ่งไม่

สามารถจะขยายได้แล. ก็อาจารย์เหล่าใดกล่าวข้อยุติว่า จะเห็นธรรมที่

เป็นไปด้วยความสืบต่อปรากฏในส่วนอื่นไม่ขาดสาย ข้อนั้นพึงปรากฏแม้

ในความสืบต่อแห่งอวิญญาณกทรัพย์มีข้าวเปลือกเป็นต้น ฉันใด แม้ใน

ความสืบต่อแห่งสวิญญาณกสังขาร ก็พึงปรากฏในส่วนอื่นโดยไม่ขาดสาย

ฉันนั้น อนึ่ง นัยนี้ย่อมเหมาะในเมื่อมีภพอื่น หาใช่โดยประการอื่นไม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 152

ก็เพราะเหตุนั้น ท่านผู้มีฤทธิ์บรรลุความเชี่ยวชาญทางใจ อธิษฐานกาย

คล้อยตามจิต พึงคัดค้านข้อยุติ โดยการจากพรหมโลกมายังโลกนี้ หรือ

จากโลกนี้ไปยังพรหมโลกขณะเดียวกัน ถ้าปรารถนาความเป็นไปของ

ธรรมในส่วนที่ไม่ขาดสายในที่ทุกสถานไซร้ แม้ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลาย

จะพึงมีอิทธิวิสัยเป็นอจินไตยไซร้ คำนั้นจะพึงเสมอกันแม้ในที่นี้ เพราะ

พระบาลีว่า กมฺมวิปาโก อจินฺเตยฺโย ผลกรรมเป็นอจินไตย เพราะเหตุ

นั้น คำนั้นเป็นเพียงมติของอาจารย์เหล่านั้นเท่านั้น. เพราะว่า สภาวธรรม

มีสภาพเป็นอจินไตย สภาวธรรมเหล่านั้นบางแห่งจึงปรากฏในส่วนที่ขาด

สายด้วยปัจจัย บางแห่งปรากฏในส่วนที่ไม่ขาดสาย. จริงอย่างนั้น สิ่งที่เกิด

ขึ้นเพราะปัจจัยมีรูปเปรียบและเสียงสะท้อนเป็นต้น ย่อมเกิดปรากฏในส่วน

หนึ่งมีส่วนแห่งกระจกและภูเขาเป็นต้น จากปัจจัยมีเสียงกึกก้องข้างหน้า

เป็นต้น. เพราะเหตุนั้น จึงไม่พึงน้อมสิ่งทั้งหมดในที่ทุกอย่างแล. ในข้อนี้

มีความสังเขปเท่านี้. ส่วนความพิสดารมีการวิจารณ์เรื่องของภพอื่นอันให้

สำเร็จอุทาหรณ์เป็นต้นของรูปเปรียบ พึงค้นดูในฎีกากถาวัตถุปกรณ์เถิด.

ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า บทว่า อิธ ท่านกล่าวหมายเอา กามภพ.

บทว่า หุร กล่าวหมายเอาอรูปภพ. บทว่า อุภยมนฺตเรน กล่าวหมาย

เอารูปภพ. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า บทว่า อิธ ได้แก่ อายตนะภายใน.

บทว่า หุร ได้แก่ อายตนะภายนอก. บทว่า อุภยมนฺตเรน ได้แก่

จิตและเจตสิก. อีกอย่างหนึ่ง อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า บทว่า อิธ

กล่าวว่า ปัจจยธรรม. บทว่า หุร กล่าวว่า ปัจจยุปปันธรรม ธรรมเกิด

แต่ปัจจัย . บทว่า อุภยมนฺตเรน กล่าวว่า บัญญัติธรรม. คำนั้นทั้งหมด

ไม่มีในอรรถกถา. ธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ พึงสงเคราะห์ด้วยอาการ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 153

โดยรูปที่จักขุวิญญาณเห็นแล้วเป็นต้น ด้วยคำมีอาทิว่า ทิฏฺเ ทิฏฺมตฺต

ภวิสฺสติ เมื่อจักขุวิญญาณเห็นรูป ก็เป็นเพียงแต่เห็น อย่างนี้ก่อน ใน

ธรรมเหล่านั้น ท่านแสดงถึงอสุภภาวนา ทุกขานุปัสสนา อนิจจานุปัสสนา

และอนัตตานุปัสสนา โดยมุขคือการเว้นจากการยึดถือว่างาม เป็นสุข เป็น

ของเที่ยง และเป็นตัวตนแล. เมื่อว่าโดยสังเขป ท่านกล่าววิปัสสนากับ

วิสุทธิเบื้องต่ำ. ด้วยคำว่า ตโต ตฺว พาหิย น เตน นี้ ตรัสถึงมรรค

เพราะประสงค์เอาการตัดกิเลสมีราคะเป็นต้นได้เด็ดขาด. ด้วยคำว่า ตโต

ตฺว พาหิย น ตตฺถ ตรัสถึงผลจิต. ด้วยคำว่า เนวิธา เป็นต้น พึง

เห็นว่า ตรัสถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

อถ โข พาหิย ฯ เป ฯ อาสเวหิ จิตฺต วิมุจฺจติ ดังนี้.

จิตของท่านพาหิยะหลุดพ้นจากอาสวะด้วยการแสดงบทย่อนี้. บทว่า

ตาวเทว ได้แก่ ในขณะนั้นนั่นเองไม่ใช่กาลอื่น. บทว่า อนุปาทาย

แปลว่า ไม่ยึดมั่น. บทว่า อาสเวหิ ความว่า จากกามราคะเป็นต้นที่มี

ชื่อว่า อาสวะ เพราะไหลไปคือเป็นไปจากภวัคคพรหมถึงโคตรภู และ

เป็นเหมือนเครื่องหมักดองมีสุราเป็นต้นโดยอรรถว่าหมักไว้นาน. บทว่า

วิมุจฺจติ ความว่า หลุดพ้นคือสลัดออก (กามราคะเป็นต้น ) ด้วยสมุจเฉท-

วิมุตติและปฏิปัสสัทธิวิมุตติ.

ก็ท่านพาหิยะนั้นพอฟังธรรมของพระศาสดาเท่านั้น ชำระศีลให้

หมดจด อาศัยสมาธิจิตตามที่ได้แล้วเริ่มวิปัสสนาเป็นขิปปาภิญญาบุคคล ให้

อาสวะทั้งปวงสิ้นไปบรรลุพระอรหัตพร้อมปฏิสัมภิทาขณะนั้นนั่นเอง. ท่าน

ตัดกิเลสดุจกระแสน้ำในสงสาร ทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ทรงร่างกายครั้งสุดท้าย

ถูกธรรมดาเป็นไปด้วยปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่างตักเตือน จึงทูลขอบวช

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 154

กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกตรัสถามว่า เธอมีบาตรและจีวรบริบูรณ์แล้ว

หรือ กราบทูลว่ายังไม่บริบูรณ์ พระเจ้าข้า ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะ

เธอว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงแสวงหาบาตรและจีวร ดังนี้แล้วเสด็จหลีกไป.

เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวว่า อถ โข ภควา ฯ เป ฯ ปกฺกามิ ดังนี้.

ได้ยินว่า ท่านพาหิยะนั้น เมื่อกระทำสมณธรรมสิ้น ๒๐,๐๐๐ ปี

ในพระศาสนาของพระกัสสปทศพลคิดว่า ธรรมดาว่า ภิกษุ เมื่อตนได้

ปัจจัยแล้วทำทานตามสมควรจึงฉันด้วยตนจึงควร ดังนี้แล้วไม่ได้ทำการ

สงเคราะห์ด้วยบาตรหรือจีวรแม้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง. เหตุนั้น ท่านจึงไม่มี

อุปนิสัยเอหิภิกขุอุปสัมปทา. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ได้ยินว่า ท่าน

เป็นโจรคราวว่างพระพุทธเจ้า ผูกมัดธนูตั้งตัวเป็นโจรในป่าเห็นพระ-

ปัจเจพุทธเจ้าองค์หนึ่ง เพราะความโลภในบาตรและจีวร จึงใช้ธนูยิงท่าน

แล้วถือเอาบาตรและจีวรไป ด้วยเหตุนั้น บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์

จักไม่เกิดแก่ท่าน พระศาสดาทรงทราบดังนั้นแล้ว จึงมิได้ทรงประทาน

บรรพชาด้วยเอหิภิกขุแล. แม้ท่านกำลังเที่ยวแสวงหาบาตรและจีวรอยู่

แม่โคตัวหนึ่งวิ่งมาโดยเร็วขวิดให้เธอถึงสิ้นชีวิต ซึ่งท่านหมายกล่าวว่า

อถ โข อจิรปกฺกนฺตสฺส ภควโต พาหิย ทารุจีริย คาวี ตรุณวจฺฉา

อธิปติตฺวา ชีวิตา โวโรเปสิ ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

หลีกไปไม่นาน แม่โคลูกอ่อนขวิดท่านพาหิยทารุจีริยะให้ล้มลงสิ้นชีวิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจิรปกฺกนฺตสฺส แปลว่า เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปไม่นาน. บทว่า คาวี ตรุณวจฺฉา ได้แก่ นาง-

ยักษิณีแปลงเป็นแม่โคลูกอ่อน. บทว่า อธิปติตฺวา ได้แก่ กดขี่คือย่ำยี.

บทว่า ชีวิตา โวโรเปสิ ความว่า แม่โคนั้น ให้เกิดจิตก่อเวรขึ้นด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 155

เหตุเพียงได้เห็น เพราะได้ความอาฆาตในอัตภาพก่อนจึงเอาเขาขวิดให้สิ้น

ชีวิต.

พระศาสดาทรงบาตรแล้วเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้วพร้อมภิกษุ

จำนวนมากเสด็จออกจากนคร ทอดพระเนตรเห็นท่านพาหิยะตกอยู่ที่กอง

หยากเยื่อ ทรงบัญชาภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอยืนอยู่ที่ประตู

เรือนหลังหนึ่งช่วยกันนำเตียงออกมา นำร่างนี้ออกไปจากนครทำฌาปนกิจ

ก่อสถูปไว้. ภิกษุทั้งหลายได้ทำอย่างนั้น. ก็แลครั้นทำแล้วไปยังวิหารเฝ้า

พระศาสดากราบทูลกิจที่ตนทำแล้ว จึงทูลถามถึงอภิสัมปรายภพของท่าน

พาหิยะ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบอกแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า

ท่านพาหิยะปรินิพพานแล้ว. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระองค์จงตรัสบอกว่า ท่านพาหิยทารุจีริยะบรรลุพระอรหัต

แล้วหรือ ท่านบรรลุพระอรหัตที่ไหน. และเมื่อตรัสว่า ในเวลาที่ฟัง-

ธรรมของเรา พวกภิกษุจึงทูลถามว่า ก็พระองค์แสดงธรรมแก่ท่านใน

เวลาไหน. พระศาสดาตรัสว่า เมื่อเรากำลังบิณฑบาตยืนอยู่ระหว่างถนน

วันนี้เอง. ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่พระองค์

ยืนตรัสในระหว่างถนนนั้นมีประมาณน้อย ท่านทำคุณวิเศษให้เกิดด้วย

เหตุเพียงเท่านั้นได้อย่างไร. พระศาสดาเมื่อทรงแสดงว่า ภิกษุทั้งหลาย

เธออย่าประมาณธรรมของเราว่ามีน้อยหรือมาก แม้คาถาตั้งหลายพันแต่

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ไม่ประเสริฐเลย ส่วนบทคาถาแม้บทเดียวซึ่ง

ประกอบด้วยประโยชน์ยังประเสริฐกว่า จึงตรัสคาถานี้ในธรรมบทว่า

สหสฺสมปิ เจ คาถา อนตฺถปทสญฺหิตา

เอก คาถาปท เสยฺโย ย สุตฺวา อุปสมฺมติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 156

ถ้าคาถาแม้ตั้งพัน แต่ประกอบด้วยบทอันไม่เป็น

ประโยชน์ บทคาถาบทเดียวซึ่งบุคคลฟังแล้วย่อม

สงบระงับได้ยังประเสริฐกว่า ดังนี้.

เมื่อทรงแสดงว่า เธอเป็นผู้ควรแก่การบูชาด้วยเหตุเพียงปรินิพพาน

อย่างเดียวก็หาไม่ โดยที่แท้เธอเป็นผู้สมควรแก่การบูชาแม้ด้วยภาวะอัน

เลิศกว่าภิกษุสาวกของเราผู้เป็นขิปปาภิญญา จึงทรงสถาปนาท่านไว้ใน

เอตทัคคะว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกผู้เป็นขิปปาภิญญา ท่าน

พาหิยทารุจีริยะเป็นเลิศ ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า อถ โข ภควา สาวตฺถิย

ปิณฺฑาย จริตฺว ฯ เป ฯ ปริพิพฺพุโต ภิกฺขเว พาหิโย ทารุจีรโย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺฉาภตฺต ได้แก่ หลังจากเสวยพระ-

กระยาหารเสร็จแล้ว. บทว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต ได้แก่ เสด็จกลับ-

จากทรงบิณฑบาต. แม้ทั้งสองบท ท่านก็อธิบายว่า เสวยพระกระยาหาร

เสร็จแล้ว. บทว่า นีหริตฺวา ความว่า ให้นำออกไปภายนอกพระนคร. บท

ว่า ฌาเปถ แปลว่า จงทำฌาปนกิจ. บทว่า ถูปญฺจสฺส กโรถ ความว่า

และจงนำสรีรธาตุของท่านพาหิยะมาก่อพระเจดีย์ไว้. ในข้อนั้น พระองค์

ตรัสเหตุไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพื่อนสพรหมจารีของพวกเธอ

ปรินิพพานแล้ว. ข้อนั้นมีอธิบายว่า ท่านพาหิยะนั้นได้ประพฤติธรรมคือ

ข้อปฏิบัติมีอธิศีลเป็นต้น ที่พวกเธอประพฤติแล้วและกำลังประพฤติอยู่ที่

ชื่อว่าพรหม เพราะอรรถว่าประเสริฐ ได้ประเสริฐเสมอกับพวกเธอ

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สพรหมจารี ได้ทำกาละแล้วตามปกติแห่งมรณกาล

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า พวกเธอจงเอาเตียงหามสรีระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 157

ของท่านไปทำฌาปนกิจ และก่อสถูปของท่านไว้. บทว่า ตสฺส กา คติ

ความว่า บรรดาคติทั้ง ๕ ท่านมีคติอุปบัติภพเป็นอย่างไร. อนึ่ง บทว่า

คติ แปลว่าบังเกิด อธิบายว่า คติของท่านตกลงอย่างไรว่าเป็นพระอริยะ

หรือปุถุชน. บทว่า อภิสมฺปราโย ได้แก่ ท่านละไปแล้วเกิดในภพหรือ

ดับในภพ. ว่าโดยอรรถ เป็นอันทรงประกาศว่าท่านปรินิพพานด้วยการ

ตรัสสั่งสร้างสถูปไว้ ก็จริง แต่ถึงกระนั้น เหล่าภิกษุผู้ไม่รู้ด้วยเหตุเพียง

เท่านั้นก็จะทูลถามว่า คติของท่านเป็นอย่างไร หรือผู้ประสงค์จะให้ทำให้

ปรากฏชัด จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนั้น.

บทว่า ปณฺฑิโต โดยความว่า ชื่อว่าบัณฑิต เพราะไป คือดำเนินไป

ได้แก่เป็นไปด้วยปัญญา ชื่อว่าปัณฑะ เพราะบรรลุด้วยปัญญาอันสัมปยุต

ด้วยอรหัตมรรค. บทว่า ปจฺจปาที แปลว่า ดำเนินไปแล้ว. บทว่า

ธมฺมสฺส ได้แก่ โลกุตรธรรม. บทว่า อนุธมฺม ได้แก่ ธรรมคือ

ปฏิปทามีสีลวิสุทธิเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ นิพพาน-

ธรรม. บทว่า อนุธมฺม ได้แก่ ธรรมคืออริยมรรคและอริยผล. บทว่า

น จ ม ธมฺมาธิกรณ ความว่า ก็เหตุแห่งการแสดงธรรม ไม่ทำเราให้

ลำบาก เพราะปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอน. จริงอยู่ ท่านฟังธรรมหรือเรียน

กรรมฐานในสำนักของพระศาสดา ไม่ปฏิบัติธรรมตามที่ทรงพร่ำสอน

ชื่อว่า ทำพระศาสดาให้ทรงลำบาก ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า

วิหึสสญฺี ปคุณ น ภาสึ

ธมฺม ปณีต มนุเชสุ พฺรหฺเม

เรามีความสำคัญในความลำบาก จึงไม่กล่าวธรรม

ให้คล่องแคล่ว ให้ประณีต ในหมู่ชน ในหมู่พรหม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 158

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า น จ ม ธมฺมาธิกรณ ความว่า จะเป็นเหตุ

แห่งธรรมนี้ก็หามิได้. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ชื่อว่า ไม่ทำเราให้ลำบาก

เพราะปฏิบัติศาสนธรรมของเรานี้ด้วยดี อันเป็นเหตุนำสรรพสัตว์ออกจาก

วัฏทุกข์. ก็ผู้ปฏิบัติชั่ว ทำลายศาสนธรรม ชื่อว่าให้การประหารสรีระ

คือธรรมของพระศาสดา. แต่ท่านพาหิยะนี้ทำสัมมาปฏิบัติให้ถึงที่สุดแล้ว

ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า

ปรินิพฺพุโต ภิกฺขเว พาหิโย ทารุจีริโย.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบว่าพระพาหิยเถระ

ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ และว่าคติของพระขีณาสพทั้ง-

หลายผู้ปรินิพพานแล้วเช่นนั้นอันคนจำนวนมากรู้ได้ยาก โดยอาการทั้ง-

ปวง. บทว่า อิม อุทาน ได้แก่ ทรงเปล่งอุทานอันแสดงอานุภาพแห่ง

ปรินิพพานอันไม่ประดิษฐานอยู่แล้วนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ ความว่า อาโปธาตุ ปฐวีธาตุ

เตโชธาตุ และวาโธธาตุไม่หยั่งลงคือไม่ประดิษฐานอยู่ในนิพพานธาตุใด.

เพราะเหตุไร ? เพราะพระนิพพานมีสภาวะเป็นอสังขตรรม. จริงอยู่ แม้สิ่ง

เล็กน้อยแห่งสังขตธรรมก็ไม่มีในพระนิพพานนั้น. บทว่า สุกฺกา ความว่า

ดาวพระเคราะห์และดาวนักษัตรอันได้ชื่อว่า สุกกะ เพราะมีรัศมีขาว ไม่

โชติช่วงคือไม่สว่างไสว. บทว่า อาทิจฺโจ นปฺปกาสติ ความว่า แม้

พระอาทิตย์อันสามารถแผ่แสงสว่างไปขณะเดียว ๓ ทวีป ก็ไม่แผดแสง

ด้วยอำนาจรัศมี. บทว่า น ตตฺถ จนฺทิมา ภาติ ความว่า แม้เมื่อ

พระอาทิตย์มีรัศมีแรงกล้า ฝ่ายพระจันทร์มีรัศมีเยือกเย็นน่าใคร่ ก็ไม่รุ่ง-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 159

โรจน์ เพราะกำจัดรัศมีอันสว่างของตน เหตุที่ไม่มีในพระนิพพานนั้น.

พระองค์ตรัสว่า ตโม ตตฺถ น วิชฺชติ ความมืดไม่มีในพระนิพพาน

นั้น ดังนี้ ทรงหมายเอาความสงสัยว่า ถ้าพระจันทร์และพระอาทิตย์ไม่มี

ในพระนิพพานนั้นไซร้ พระนิพพานนั้นก็จะพึงมืดมิดทีเดียว ดุจโลกันต-

นรก. จริงอยู่ เมื่อรูปมี ความมืดก็มี. บทว่า ยทา จ อตฺตนา เวทิ

มุนิ โมเนน พฺราหฺมโณ ความว่า พราหมณ์ผู้เป็นพระอริยสาวก ซึ่ง

ได้นามว่ามุนี เพราะประกอบด้วยมรรคญาณอันได้ชื่อว่าโมนะ เพราะรู้

สัจจะ ๔ และประกอบด้วยโมเนยยปฏิปทาทางกายเป็นต้น ละอาการมีการ

ฟังตาม ๆ กันมาเป็นต้นด้วยตนคือตนเอง ในขณะอรหัตมรรค ในกาลใด

คือในเวลาใดด้วยปฏิเวธญาณ กล่าวคือโมนะนั้นนั่นเองแหละรู้ คือรู้แจ้ง

พระนิพพานกระทำให้ประจักษ์แก่ตน. ปาฐะว่า อเวทิ ดังนี้ก็มี. อธิบาย

ว่าได้รู้ทั่วถึง. ศัพท์ว่า อถ ในคำว่า อถ รูปา อรูปา จ สุขทุกฺขา ปมุจฺจติ

แปลว่า ภายหลังแต่การตรัสรู้พระนิพพานนั้น. บทว่า รูปา ได้แก่ รูป-

ธรรม. ด้วยบทว่ารูปานั้น เป็นอันท่านถือเอาปัญจโวการภพและเอกโว-

การภพ. บทว่า อรูปา ได้แก่อรูปธรรม. ด้วยบทว่าอรูปานั้น เป็นอันท่าน

ถือเอาอรูปภพ เพราะไม่เจือปนกับรูปที่เรียกว่า จตุโวการภพก็มี. บทว่า

สุขทุกฺขา ความว่า จากวัฏฏะแม้ที่มีทั้งสุขทั้งทุกข์อันเกิดขึ้นในที่ทุกแห่ง.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า รูปา ได้แก่ เพราะปฏิสนธิในรูปโลก. บทว่า อรูปา

ได้แก่ เพราะปฏิสนธิในอรูปโลก. บทว่า สุขทุกฺขา ได้แก่เพราะปฏิสนธิ

ในกามาวจรภูมิ. จริงอยู่ กามภพมีทั้งสุขและทุกข์เจือปนกัน. พราหมณ์นั้น

ย่อมพ้นจากวัฏฏะแม้ทั้งสิ้นนั้นโดยสิ้นเชิงทีเดียว ด้วยประการฉะนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 160

แม้ด้วยคาถา ๒ คาถา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า พระ-

นิพพานเห็นปานนี้ เป็นคติแห่งพาหิยะผู้เป็นบุตรของเราแล.

จบอรรถกถาพาหิยสูตรที่ ๑๐

จบโพธิวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมโพธิสูตร ๒. ทุติยโพธิสูตร ๓. ตติยโพธิสูตร ๔. อชปาล-

นิโครธสูตร ๕. เถรสูตร ๖. มหากัสสปสูตร ๗. ปาวาสูตร ๘. สังคามชิ-

สูตร ๙. ชฏิลสูตร ๑๐. พาหิยสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 161

มุจจลินทวรรคที่ ๒

๑. มุจจลินทสูตร

ว่าด้วยความสุขที่ยอดเยี่ยมในโลก

[๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้

มุจลินท์ ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขด้วยบัลลังก์อันเดียวตลอด ๗ วัน สมัย

นั้น อกาลเมฆใหญ่เกิดขึ้นแล้ว ฝนตกพรำตลอด ๗ วัน มีลมหนาว

ประทุษร้าย ครั้งนั้นแล พญามุจลินทนาคราชออกจากที่อยู่ของตน มาวง

รอบพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยขนดหาง ๗ รอบ แผ่พังพานใหญ่

เบื้องบนพระเศียรด้วยตั้งใจว่า ความหมายอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ความร้อนอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า สัมผัสแห่งเหลือบ

ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานอย่าได้เบียดเบียนพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นพอล่วงสัปดาห์นั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้น

ครั้งนั้น พญามุจลินทนาคราชทราบว่า อากาศโปร่ง ปราศจากเมฆแล้วจึง

คลายขนดหางจากพระกายพระผู้มีพระภาคเจ้า นิรมิตเพศของตนยืนอยู่

เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ประนมอัญชลีนมัสการพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าอยู่.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 162

วิเวกเป็นสุขของผู้ยินดี มีธรรมอันสดับแล้ว

พิจารณาเห็นอยู่ ความไม่เบียดเบียน คือ ความ

สำรวมในสัตว์ทั้งหลาย เป็นสุขในโลก ความเป็นผู้

มีราคะไปปราศแล้ว คือ ความก้าวล่วงซึ่งกาม

ทั้งหลายเสียได้ เป็นสุขในโลก ความนำออกซึ่ง

อัสมิมานะเสียได้ นี้แลเป็นสุขอย่างยิ่ง.

จบมุจจลินทสูตรที่ ๑

มุจลินทวรรควรรณนาที่ ๒*

อรรถกถามุจลินทสูตร

มุจจลินทวรรค สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ต้นจิกท่านเรียกว่า มุจลินท์ ในคำว่า มุจลินฺทมูเล นี้ มุจลินท์

นั้น ท่านเรียกว่า นิจุละ ดังนี้ก็มี, ที่ใกล้ต้นมุจลินท์นั้น. แต่อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า บทว่า มุจโล เป็นชื่อของต้นไม้นั้น, แต่บทว่า มุจโล

นั้น ท่านกล่าวว่า มุจลินท์ เพราะเป็นไม้ใหญ่ที่สุดในป่า.

บทว่า มหาอกาลเมโฆ ได้แก่ มหาเมฆที่เกิดขึ้นในเมื่อยังไม่ถึง

ฤดูฝน. จริงอยู่ มหากาลเมฆนั้นเกิดขึ้นเต็มห้องจักรวาลทั้งสิ้น ในเดือน

สุดท้ายของคิมหันตฤดู. บทว่า สตฺตาหวทฺทลิกา ความว่า เมื่อมหาอกาล-

เมฆนั้นเกิดขึ้นแล้ว ได้มีฝนตกไม่ขาดตลอด ๗ วัน. บทว่า สีตวาตทุทฺทินี

ความว่า ก็ฝนตกพรำตลอด ๗ วันนั้น ได้ชื่อว่า ทุททินี เพราะเป็นวันที่

ลมหนาวเจือด้วยเมล็ดฝนพัดวนเวียนไปรอบ ๆ ประทุษร้ายแล้ว.

* พระสูตรเป็น มุจจลินทสูตร อรรถกถาเป็น มุจลินทสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 163

บทว่า มุจลินฺโท นาม นาคราชา ได้แก่ พระยานาคผู้มีอานุภาพ

มาก บังเกิดในนาคภพอยู่ภายใต้สระโบกขรณี ใกล้ต้นมุจลินท์นั้นแหละ.

บทว่า สกภวนา แปลว่า จากภพนาคของตน. บทว่า สตฺตกฺขตฺตุ โภเคหิ

ปริกฺขิปิตฺวา ความว่า เอาขนดแห่งร่างของตนล้อมพระกายพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ๗ รอบ. บทว่า อุปริมุทฺธนิ มหนฺต ผณ วิหจฺจ ความว่า แผ่

พังพานใหญ่ของตนเบื้องบนส่วนพระเศียรของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ปาฐะ

ว่า ผณ กริตฺวา ดังนี้ก็มี. อรรถก็อันนั้นแหละ.

ได้ยินว่า พระยานาคนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ก็พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โคนไม้ใกล้ภพของเรา และฝนพรำตลอด ๗ วันนี้

ยังเป็นไปอยู่ ควรจะได้ที่พักสำหรับพระองค์. พระยานาคนั้นเมื่อไม่

สามารถจะนิรมิตปราสาทอันแล้วด้วยรัตนะ ๗ ก็คิดว่า เมื่อเราทำอย่างนี้

จักชื่อว่าไม่ได้ยึดกายให้เป็นสาระ เราจักทำความขวนขวายทางกายแก่พระ

ทศพล จึงนิรมิตกายให้ใหญ่ ใช้ขนดล้อมพระศาสดา ๗ รอบแล้วแผ่

พังพานไว้ในเบื้องบน. ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาขันธกะว่า ภายในวงล้อม

มีขนาดเท่าห้องภัณฑาคารที่เก็บของในโลหปราสาท. แต่ในอรรถกถา

มัชฌิมนิกายท่านกล่าวไว้ว่า มีขนาดเท่าภายใต้โลหปราสาท. ได้ยินว่า

พระยานาคมีอัธยาศัยดังนี้ว่า พระศาสดาจักประทับอยู่ด้วยอิริยาบถที่ทรง

มุ่งมาดปรารถนา. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ตามเดิมนั่นแหละ

ยับยั้งอยู่สัปดาห์หนึ่ง. ก็ที่นั้นได้เป็นประหนึ่งกูฏาคาร มีหน้าต่างปิด

มิดชิดประตูมีลิ่มสลักสนิทดี. คำมีอาทิว่า มา ภควนฺต สีต เป็นคำ

แสดงเหตุที่พระยานาคนั้นทำอย่างนั้น. จริงอยู่ พระยานาคนั้นคิดว่า ขอ

ความหนาว ความร้อน สัมผัสแห่งเหลือบเป็นต้น อย่าเบียดเบียนพระผู้มี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 164

พระภาคเจ้าเลย จึงได้กระทำอย่างนั้นอยู่. ในการกระทำอันนั้น เฉพาะ

ความร้อนย่อมไม่มี เพราะฝนตกพรำตลอด ๗ วัน ก็จริง ถึงอย่างนั้น

ถ้าฝนขาดเม็ดเป็นระยะ ๆ ความร้อนก็จะพึงมี ความร้อนแม้นั้น ก็อย่า

ได้เบียดเบียนเลย เพราะฉะนั้น พระยานาคนั้นคิดอย่างนั้นก็ควรแล้ว.

แต่ในข้อนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ศัพท์ว่า อุณหะ ความร้อน

เป็นการระบุถึงเหตุในการเอาขนดล้อมให้ไพบูลย์กว้างขวาง. ก็เมื่อทำวง

ล้อมของขนดเล็ก ไออุ่นอันเกิดจากร่างของพระยานาคจะพึงเบียดเบียน

พระผู้มีพระภาคเจ้า แต่เพราะกระทำวงขนดกว้างขวาง ความร้อนเช่นนั้น

ก็เบียดเบียนไม่ได้ เพราะฉะนั้น พระยานาคจึงได้ทำเช่นนั้นอยู่.

บทว่า วิทฺธ แปลว่า ปลอดโปร่ง. อธิบายว่า ชื่อว่าอยู่ห่างไกล

เพราะปราศจากเมฆ. บทว่า วิคตพลาหก แปลว่า ปราศจากเมฆ. บทว่า

เทว ได้แก่ อากาศ. บทว่า วิทิตฺรา ได้แก่ รู้ว่า บัดนี้ อากาศปราศจาก

เมฆ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีอันตรายจากวิโรธิปัจจัย มีความหนาวเย็น

เป็นต้น. บทว่า วินิเวเตฺวา แปลว่า คลายขนดแล้ว. บทว่า สกวณฺณ

ได้แก่ รูปนาคของตน. บทว่า ปฏิสหริตฺวา ได้แก่ ให้หายไปแล้ว. บทว่า

มาณวกวณฺณ ได้แก่ รูปกุมารน้อย.

บทว่า เอตมตฺถ ความว่า รู้ความนี้โดยอาการทั้งปวงว่า ความสุข

เท่านั้น ย่อมมีในที่แห่งใดแห่งหนึ่งแก่ผู้เสวยสุขอันเกิดแต่วิเวก. บทว่า

อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดงถึงอานุภาพแห่งความสุข

อันเกิดแต่วิเวก. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุโข วิเวโก ได้แก่ อุปธิ-

วิเวก กล่าวคือพระนิพพานเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข. บทว่า ตุฏฺสฺส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 165

ได้แก่ ผู้ยินดีด้วยสันโดษในจตุมรรคญาณ. บทว่า สุตธมฺมสฺส ได้แก่

ผู้มีธรรมอันพระองค์ทรงประกาศแล้ว คือปรากฏแล้ว. บทว่า ปสฺสโต

ได้แก่ ผู้เห็นวิเวกนั้น หรือสิ่งที่ชื่อว่าจะพึงเห็นอย่างใดอย่างหนึ่งทั้งหมด

ด้วยญาณจักษุที่บรรลุด้วยกำลังแห่งวิริยะของตน. บทว่า อพฺยาปชฺฌ

ได้แก่ ภาวะอันไม่กำเริบ. ด้วยบทว่า อพฺยาปชฺฌ นั้น พระองค์ทรง

แสดงถึงส่วนเบื้องต้น มีเมตตาเป็นอารมณ์. บทว่า ปาณภูเตสุ สยโม

ความว่า และความสำรวมในสัตว์ทั้งหลาย คือความไม่เบียดเบียน เป็น

เหตุนำมาซึ่งความสุข. ด้วยบทว่า ปาณภูเตสุ สยโม นี้ พระองค์ทรง

แสดงถึงส่วนเบื้องต้น อันมีกรุณาเป็นอารมณ์. บทว่า สุขา วิราคตา

โลเก ความว่า แม้ความเป็นผู้ปราศจากราคะ เป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข

ในโลก. ถามว่า เช่นไร ? ตอบว่า เพราะผ่านพ้นกามทั้งหลายได้

อธิบายว่า แม้ความเป็นผู้ปราศจากราคะที่ท่านเรียกว่า การผ่านพ้นกาม

ทั้งหลาย เป็นเหตุนำมาซึ่งความสุข. ด้วยคำว่า กามาน สมติกฺกโม นี้

พระองค์ตรัสหมายอนาคามิมรรค. ก็ด้วยคำว่า อสฺมิมานสฺส วินโย นี้

พระองค์ตรัสหมายเอาพระอรหัต. จริงอยู่ พระอรหัตตรัสว่า อสฺมิมานสฺส

ปฏิปสฺสทฺธิวินโย การกำจัดอัสมิมานะด้วยปฏิปัสสัทธิ. ก็ชื่อว่าความสุข

อันยิ่งไปกว่านี้ ย่อมไม่มี. เพราะเหตุนั้น จึงตรัสว่า เอต เว ปรม สุข

บทนี้แล เป็นสุขอย่างยิ่ง. พระองค์ทรงยึดเอายอดแห่งเทศนาด้วยพระอรหัต

ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถามุจลินทสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 166

๒. ราชสูตร

ว่าด้วยพระราชาองค์ไหนมีสมบัติมากกว่ากัน

[๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล เมื่อภิกษุ

มากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันในศาลาเป็น

ที่บำรุง เกิดสนทนาขึ้นในระหว่างว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บรรดา

พระราชาสองพระองค์นี้ คือพระเจ้าแผ่นดินมคธจอมทัพพระนามว่าพิม-

พิสารก็ดี พระเจ้าปเสนทิโกศลก็ดี องค์ไหนหนอแลมีพระราชทรัพย์มาก

กว่ากัน มีโภคสมบัติมากกว่ากัน มีท้องพระคลังมากกว่ากัน มีแว่นแคว้น

มากกว่ากัน มีพาหนะมากกว่ากัน มีกำลังมากกว่ากัน หรือมีอานุภาพ

มากกว่ากัน การสนทนาในระหว่างของภิกษุเหล่านั้นค้างเพียงนี้ ครั้งนั้น

แล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่หลีกเร้น เสด็จเข้าไปยัง

ศาลาเป็นที่บำรุง ประทับนั่งบนอาสนะที่บุคคลปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัส

ถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุม

สนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ การสนทนาในระหว่างของเธอทั้งหลาย

ที่ยังค้างอยู่เป็นอย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายกลับจากบิณฑบาตภาย

หลังภัตแล้ว นั่งประชุมกันในศาลาเป็นที่บำรุง เกิดสนทนากันขึ้นใน

ระหว่างว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บรรดาพระราชาสองพระองค์นี้คือ

พระเจ้าแผ่นดินมคธจอมทัพพระนามว่าพิมพิสารก็ดี พระเจ้าปเสนทิโกศล

ก็ดี องค์ไหนหนอแลมีพระราชทรัพย์มากกว่ากัน มีโภคสมบัติมากกว่ากัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 167

มีท้องพระคลังมากกว่ากัน มีแว่นแคว้นมากกว่ากัน มีพาหนะมากกว่ากัน

มีกำลังมากกว่ากัน มีฤทธิ์มากกว่ากัน หรือมีอานุภาพมากกว่ากัน ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ การสนทนาในระหว่างของข้าพระองค์ทั้งหลายนี้แล ค้าง

อยู่เพียงนี้ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาถึง พระเจ้าข้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายพึงกล่าวถ้อยคำ

เห็นปานนี้นั้น ไม่สมควรแก่เธอทั้งหลายผู้เป็นกุลบุตร ออกบวชเป็น

บรรพชิตด้วยศรัทธาเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว

ควรทำเหตุสองประการ คือ ธรรมมีกถา หรือดุษณีภาพอันเป็นของ

พระอริยะ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

กามสุขในโลกและทิพยสุข ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖

[ที่จำแนกออก ๑๖ หน] แห่งสุขคือความสิ้นตัณหา.

จบราชสูตรที่ ๒

อรรถกถาราชสูตร

ราชสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺพหุลาน ความว่า โดยสำนวนพระวินัยภิกษุ ๓ รูป

เรียกว่า สัมพหุลา, เลยจากนั้น เรียกว่าสงฆ์. แต่โดยสำนวนพระสูตร

๓ คนก็คงเรียกว่า ๓ คนนั่นเอง ถัดจากนั้น เรียกว่า สัมพหุลา. เพราะ-

ฉะนั้น แม้ในที่นี้ ว่าโดยสำนวนพระสูตรพึงทราบว่า สัมพหุลา. บทว่า

อุปฏฺานสาลาย ได้แก่ ในมณฑปอันเป็นที่ประชุมฟังธรรม. จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 168

ธรรมสภานั้นท่านเรียกว่า อุปัฏฐานศาลา เพราะเป็นที่ที่พวกภิกษุกระทำ

อุปัฏฐากพระตถาคตผู้เสด็จมาแสดงธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ศาลาก็ดี มณฑป

ก็ดี ซึ่งเป็นที่ที่เหล่าภิกษุวินิจฉัยวินัยแสดงธรรม ประชุมธรรมสากัจฉา

และเป็นที่เข้าไปประชุมตามปกติโดยการประชุมกัน ท่านก็เรียกว่า อุปัฏ-

ฐานศาลา เหมือนกัน. จริงอยู่ แม้ในที่นั้น ก็เป็นอันพระองค์ทรงบัญญัติ

พระพุทธศาสนาเป็นนิตย์ทีเดียว. จริงอยู่ ข้อนี้เป็นจารีตของเหล่าภิกษุใน

สมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่. บทว่า สนฺนิสินฺนาน ได้แก่ นั่ง

ประชุมโดยการนั่ง. บทว่า สนฺนิปติตาน ได้แก่ผู้ประชุมกัน โดยมาจาก

ที่นั้นๆ แล้วประชุม. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ประชุมโดยมุ่งเอาพระพุทธศาสนา

เป็นหลัก แล้วนั่งประชุมกันโดยเคารพ เพื่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อ เหมือน

ประชุมอยู่เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา คือ เพราะมีอัธยาศัยเสมอกันจึง

ประชุมตามอัธยาศัยแห่งกันและกัน และด้วยการตกลงกันด้วยดีโดย

ชอบ. ด้วยบทว่า อย ท่านแสดงถึงคำที่กำลังกล่าวอยู่ในขณะนี้. บทว่า

อนฺตรากถา ได้แก่ ถ้อยคำอันหนึ่ง คืออย่างหนึ่งในระหว่างกิจ มีมนสิการ-

กรรมฐาน อุเทศ และการสอบถามเป็นต้น, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

อันตรากถา เพราะเป็นไปในระหว่างแห่งสุดโตวาทที่ได้ในเวลาเที่ยงวัน

และในระหว่างการฟังธรรมที่จะพึงได้ในเวลาเย็น, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

อันตรากถา เพราะเป็นคาถาอย่างหนึ่ง คืออันหนึ่ง ที่เป็นไปในระหว่าง

แห่งสมณสมาจารนั่นเอง. บทว่า อุทปาทิ แปลว่า เกิดขึ้นแล้ว.

บทว่า อิเมส ทฺวินฺน ราชูน เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถนิทธารณะ.

ในคำว่า มหทฺธนตโร วา เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า มีทรัพย์

มาก เพราะผู้นั้นมีทรัพย์มาก กล่าวคือสะสมรัตนะทั้ง ๗ ฝังไว้ในแผ่นดิน,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 169

ชื่อว่า ผู้มีทรัพย์มากกว่า เพราะบรรดาราชาทั้งสององค์ องค์นี้มีทรัพย์

อย่างดียิ่ง. วาศัพท์เป็นวิกัปปัตถะ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

ส่วนความแปลกกันมีดังนี้ ชื่อว่า ผู้มีโภคะมาก เพราะผู้นั้นมีโภคะมาก

คือมีเครื่องบริโภคมาก โดยมีทุนทรัพย์เครื่องใช้สอยเป็นนิจ ชื่อว่า มี

คลังมาก เพราะมีคลังมาก โดยมีรายได้เข้าทุกวัน. ส่วนอาจารย์อีกพวก

หนึ่งกล่าวว่า ทรัพย์อันเป็นวัตถุที่หวงแหนอันต่างโดยประเภทแห่งแก้วมณี

ทรัพย์อันเป็นสาระ ทรัพย์อันเกิดจากกระพี้ และทรัพย์อันเกิดจากพุ่มไม้

เป็นต้น อันนำรายได้เข้าทุกวัน ทรัพย์นั่นแหละ เขาเก็บไว้ในห้องอัน

เป็นสาระเป็นต้น ชื่อโกสะ. แก้วมณี ๒๔ อย่าง คือ วชิระ มหานีละ

อินทนิล มรกต ไพฑูรย์ ปทุมราค (ทับทิม) ปุสสราค (บุษราคัม)

กักเกตนะ ผุลากะ วิมละ โลหิตังกะ ผลึก ประพาฬ โชติรส โคมุตตกะ

โคเมทกะ โสคันธิกะ มุกดา สังข์ อัญชนมูละ ราชาวัฏฏะ อมตังสกะ

สัสสกะ และพราหมณี ชื่อว่า มณี. โลหะ ๗ ชนิด และกหาปณะ ชื่อว่า

ทรัพย์เป็นสาระ. วัตถุต่าง ๆ มีที่นอน เครื่องนุ่งห่ม และผ้าแดงเป็นต้น

ชื่อว่า เผคคุ. รุกขชาติต่าง ๆ มี ไม้จันทน์ กฤษณา หญ้าฝรั่น กลัมพัก

และการบูรเป็นต้น ชื่อว่า คุมพะ. ในบทเหล่านั้น ด้วยอาทิศัพท์อันเป็น

บทแรก ท่านสงเคราะห์วัตถุทั้งหมดอันเป็นเครื่องอุปโภค บริโภคของ

เหล่าสัตว์ ตั้งต้นแต่ชนิดธัญชาติ อันต่างด้วยบุพพัณชาติ มีข้าวสาลี

เป็นต้น และอปรัณชาติ มีถั่วเขียวและถั่วราชมาษเป็นต้น. ชื่อว่า

มหาวิชิตะ เพราะท่านมีแว่นแคว้นคือประเทศใหญ่. ชื่อว่า มหาวาหนะ

เพราะท่านมีพาหนะมาก มีช้างและม้าเป็นต้น. ชื่อว่า มหัพพละ เพราะ

ท่านมีกำลังกองทัพ และกำลังคือเรี่ยวแรงมาก. ชื่อว่า มหิทธิกะ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 170

ท่านมีฤทธิ์มากอันสำเร็จด้วยบุญกรรม กล่าวคือ ความสำเร็จตามที่

ประสงค์. ชื่อว่า มหานุภาวะ เพราะท่านมีอานุภาพมาก กล่าวคือเดช

หรือความอุตสาหะ มีมนต์ ความเป็นใหญ่ และความสามารถ. ก็บรรดา

บทเหล่านั้น ด้วยบทต้น เป็นอันพระราชาเหล่านั้นทรงประกาศอายสัมปทา

(ความสมบูรณ์ด้วยรายได้). ด้วยบทที่ ๒ ประกาศถึงความสมบูรณ์ด้วย

เครื่องอุปกรณ์อันวิจิตร. ด้วยบทที่ ๓ ประกาศถึงความสมบูรณ์ด้วยทรัพย์

สมบัติ, ด้วยบทที่ ๔ ประกาศถึงความสมบูรณ์ด้วยชนบท, ด้วยบทที่ ๕

ประกาศถึงความสมบูรณ์ด้วยยานพาหนะ, ด้วยบทที่ ๖ ประกาศถึงอัตต-

สมบัติกับบริวารสมบัติ, ด้วยบทที่ ๗ ประกาศถึงบุญสมบัติ, ด้วย

บทที่ ๘ ประกาศถึงความเป็นผู้มีอำนาจ. เพราะเหตุนั้น ปกติสัมปทา

ที่พระราชาพึงปรารถนาทั้ง ๗ อย่าง คือ สามิสมบัติ อำมาตยสมบัติ เสนา-

สมบัติ รัฐสมบัติ วิภวสมบัติ มิตรสมบัติ และทุคตสมบัติ ทั้งหมดนั้น

พึงทราบว่า ท่านแสดงไว้แล้วตามสมควร.

ชื่อว่า ราชา เพราะทำให้บริษัทยินดีด้วยสังคหวัตถุ ๔ มีทาน

เป็นต้น. ชื่อว่า มาคโธ เพราะท่านเป็นอิสระของชนชาวมคธ. ชื่อว่า

เสนิโย เพราะประกอบด้วยกองทัพใหญ่ หรือเพราะมีโคตรเนื่องมาจาก

แม่ทัพ. ทองคำท่านเรียกว่า พิมพิ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า พิมพิสาร

เพราะมีสีดังทองอันเป็นสาระ. ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระ-

ราชานั้นมีชื่ออย่างนั้นแหละ. ชื่อว่า ปเสนทิ เพราะชนะปัจจามิตร คือ

กองทัพอันเป็นปรปักษ์. ชื่อว่า โกสล เพราะเป็นอธิบดีแห่งโกศลรัฐ.

ศัพท์ จรหิ ในบทว่า อยญฺจรหิ นี้ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า วิปฺปกตา

แปลว่า ยังไม่สิ้นสุด, อธิบายว่า อันตรายกถานี้ของภิกษุเหล่านั้นยังไม่จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 171

บทว่า สายณฺหสมย คือสมัยหนึ่งในตอนเย็น. บทว่า ปฏิสลฺ-

ลานา วุฏฺิโต ความว่า ออกจากอารมณ์มีรูปเป็นต้นนั้นๆ จากการเก็บจิต

จากผลสมาบัติ กล่าวคือการหลีกเร้น ตามเวลาที่กำหนดไว้.

จริงอยู่ ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์

เสด็จเข้าไปยังกรุงสาวัตถี เสวยพระกระยาหารที่พวกภิกษุจัดบิณฑบาตที่

ตนได้มาด้วยดีถวาย เสด็จออกจากกรุงสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุทั้งหลายแล้ว

เสด็จเข้าพระวิหาร ประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ทรงประทานสุคโต-

วาทตามที่ยกขึ้นแสดงแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มายืนอยู่แล้ว เมื่อภิกษุเหล่านั้นไป

ยังที่พักกลางวันมีโคนไม้ในป่าเป็นต้น จึงเสด็จเข้าพระคันธกุฎียับยั้งอยู่

ตลอดวันด้วยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ แล้วเสด็จออกจากสมาบัติตามเวลาที่

กำหนดไว้ ทรงพระดำริว่า บริษัท ๔ รอคอยเรา เข้าไปนั่งเต็มวิหาร

ทั้งสิ้น บัดนี้ ถึงเวลาที่เราจะเข้าไปยังธรรมสภามณฑล เพื่อแสดงธรรม

ดังนี้ แล้วจึงเสด็จลุกจากอาสนะออกจากพระคันธกุฎีอันหอมตลบ ประ-

ดุจไกรสรราชสีห์ออกจากถ้ำทอง มีพระดำเนินเยื้องกรายสง่างามด้วยพระ-

วรกายอันไม่โยกโคลง เหมือนช้างตัวประเสริฐซึ่งซับมันเข้าสู่โขลง

ฉะนั้น ทรงกระทำวิหารทั้งสิ้นให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน ด้วยรูปกาย-

สมบัติอันรุ่งโรจน์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประดับด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐

ประกอบความงามอันแวดล้อมด้วยพระรัศมีด้านละวา ประดับด้วยเกตุมาลา

อันประภัสสร ฉายพระพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ คือ เขียว เหลือง

แดง ขาว หงสบาท และประภัสสร มีอานุภาพเป็นอจินไตย ประกอบ

ด้วยพุทธลีลาอันหาที่เปรียบมิได้ เสด็จเข้าไปยังอุฏฐานศาลา. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข ภควา ฯ เป ฯ เตนุปสงฺกมิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 172

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นเสด็จเข้าไปอย่างนี้แล้ว ทรงเห็นภิกษุเหล่า-

นั้นนั่งแสดงวัตรเงียบอยู่ ทรงพระดำริว่า เมื่อเราไม่กล่าว ภิกษุเหล่านี้ก็

จักไม่กล่าวแม้ (แต่ความคิด) ตลอดอายุกัป เพราะความเคารพในพระ

พุทธเจ้า เพื่อจะตั้งเรื่องขึ้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า กาย นุตฺถ ภิกฺขเว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาย นุตฺถ แก้เป็น กตมาย นุ ภวถ

พวกเธอสนทนากันเรื่องอะไรหนอ. บาลีว่า กาย โนตฺถ ดังนี้ก็มี เนื้อ

ความก็อันนั้นเหมือนกัน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กาย เนฺตฺถ ดังนี้ก็มี.

บาลีนั้นมีความว่า กตมาย นุ เอตฺถ ในข้อนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปวารณาด้วยปวารณาของพระสัพพัญญูอย่างนี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันในที่นี้ด้วยเรื่องอะไรหนอ และเรื่อง

ของพวกเธอเป็นไฉนยังไม่จบลง เพราะการมาของเราเป็นเหตุ พวกเธอ

พึงให้เรื่องนั่นจบลงเถิด.

บทว่า น เขฺวต ตัดเป็น น โข เอต อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะก็อย่างนี้

เหมือนกัน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า น โขต ดังนี้ก็มี, มีการแยกบทว่า

น โข เอต ดังนี้เหมือนกัน. บทว่า กุลปุตฺตาน ได้แก่ กุลบุตรผู้มี

มารยาทประจำชาติ. บทว่า สทฺธา ได้แก่ ด้วยศรัทธา คือด้วยเชื่อ

กรรมและผลแห่งกรรม และด้วยการเชื่อพระรัตนตรัย. บทว่า อคารสฺมา

แปลว่า จากเรือน อธิบายว่า จากความเป็นคฤหัสถ์. บทว่า อนคาริย

แปลว่า การบรรพชา. บทว่า ปพฺพชิตาน ได้แก่ ผู้เข้าถึง บทว่า ย

เป็นกิริยาปรามาส. ในข้อนั้น มีบทโยชนาดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงปฏิเสธข้อที่ไม่สมควรของบรรพชิตผู้ประชุมกันอย่างนี้ว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอไม่ใช่ถูกพระราชาบังคับ ไม่ใช่ถูกโจรบังคับ ไม่ใช่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 173

คดีเพราะเป็นหนี้ ไม่ใช่เพื่อเลี้ยงชีวิตจึงบวช โดยที่แท้ พวกเธอออกจาก

เรือนบวชในศาสนาของเราด้วยศรัทธา บัดนี้ พวกเธอกล่าวเดียรัจฉาน-

กถาอันเกี่ยวด้วยพระราชาเห็นปานนี้ ข้อที่กล่าวเรื่องเห็นปานนั้น ไม่

เหมาะไม่ควรแก่พวกเธอเลย บัดนี้ เมื่อจะทรงอนุญาตข้อปฏิบัติอันสมควร

แก่ภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย กิจ ๒ อย่างที่พวกเธอผู้

ประชุมกันพึงกระทำ คือ กล่าวธรรมีกถา หรือเป็นผู้นิ่งอย่างพระอริยะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว แปลว่า ของพวกเธอ. ก็บทว่า โว

นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งกัตตุ คือผู้ทำ มุ่งถึงบทว่า กรณีย เพราะ-

ฉะนั้น บทว่า โว จึงแปลว่า อันเธอทั้งหลาย. บทว่า ทฺวย กรณีย ได้แก่

พึงกระทำ ๒ อย่าง. บทว่า ธมฺมีกถา ได้แก่ ถ้อยคำที่ไม่ปราศจาก

ธรรม คือสัจจะ ๔ อธิบายว่า ธรรมเทศนาอันแสดงถึงการเป็นไป

(ทุกขสัจ ) และการไม่กลับ (นิโรธสัจ). ก็ธรรมกถา กล่าวคือกถาวัตถุ

๑๐ เป็นเอกเทศของธรรมเทศนานั้นเองแล. บทว่า อริโย ความว่า

ชื่อว่าอริยะ เพราะนำประโยชน์มาอย่างแท้จริง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอริยะ

เพราะเป็นผู้บริสุทธิ์ คือสูงสุด. บทว่า ตุณฺหิภาโว คือการไม่พูดอันเป็น

ตัวสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา. แต่อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ทุติยฌาน

เป็นความนิ่งอย่างประเสริฐ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อวจีสังขาร. อาจารย์อีก

พวกหนึ่งกล่าวว่า จตุตถฌานเป็นความนิ่งอย่างประเสริฐ. ก็ในที่นี้มี

อธิบายดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมีกาย

สงัดอยู่ในสุญญาคารเพื่อพอกพูนจิตวิเวก ถ้าจะประชุมกันบางครั้ง ครั้น

พวกเธอประชุมกันอย่างนี้ พึงให้ธรรมกถาที่เกี่ยวด้วยอนิจจลักษณะเป็น-

ต้น แห่งสภาวธรรมมีขันธ์เป็นต้นเป็นไปโดยเป็นอุปการะแก่กันและกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 174

ตามนัยที่กล่าวไว้ว่า ย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง หรือย่อมทำสิ่งที่ได้ฟัง

แล้วให้เข้าใจชัด หรือพึงอยู่ด้วยฌานสมาบัติ เพื่อจะไม่เบียดเบียนกัน

และกัน.

บรรดากรณียะทั้งสองนั้น ด้วยกรณียะแรก ทรงแสดงอุบายอัน

เป็นเหตุหยั่งลงในพระศาสนา สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้หยั่งลง ด้วยกรณียะหลัง

ทรงแสดงอุบายเป็นเครื่องสลัดออกจากสงสาร สำหรับผู้ที่หยั่งลงแล้ว.

หรือด้วยกรณียะแรก ทรงชักชวนในความเป็นผู้เชี่ยวชาญในอาคม (พระ-

สูตร) ด้วยกรณียะหลัง ทรงชักชวนในความเป็นผู้เชี่ยวชาญในอธิคม

(มรรคผลที่จะพึงบรรลุ). อีกอย่างหนึ่ง ด้วยกรณียะที่ ๑ ทรงแสดงถึง

เหตุที่สัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นครั้งที่หนึ่ง ด้วยกรณียะที่ ๒ ทรงแสดงถึงเหตุที่

สัมมาทิฏฐิเกิดขึ้นครั้งที่สอง สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๒ ประการ ปัจจัย ๒ ประการ

เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ คือ

การได้ยินได้ฟังจากผู้อื่น ๑ การกระทำไว้ในใจโดย

แยบคายเฉพาะตน ๑.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยกรณียะแรก ทรงประกาศมูลเหตุแห่งสัมมาทิฏฐิ

ฝ่ายโลกิยะ, ด้วยกรณียะหลัง ทรงแสดงถึงมูลเหตุแห่งสัมมาทิฏฐิฝ่าย

โลกุตระ พึงทราบอรรถโยชนา โดยนัยมีอาทิดังกล่าวมาฉะนี้.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ถึงความนี้ว่า สมบัติมีฌานเป็นต้น ยังสงบกว่าและประณีตกว่า สมบัติ

ที่น่าใคร่อันภิกษุเหล่านั้นระบุถึง. บทว่า อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่ง

อุทานอันแสดงอานุภาพของสุขอันเกิดแต่อริยวิหารนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 175

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า โลก ในบทว่า ยญฺจ กามสุข โลเก

นี้ มาในสังขาร มีอาทิว่า ขันธโลก อายตนโลก ธาตุโลก. มาในโอกาส

มีอาทิว่า พระจันทร์และพระอาทิตย์หมุนเวียนส่องทิศให้สว่างไสวอยู่

ตราบใด โอกาสโลก ๑,๐๐๐ ย่อมเป็นไปอยู่ตราบนั้น อำนาจของท่าน

ยังเป็นไปอยู่ในโอกาสโลกนี้. มาในสัตว์ทั้งหลาย มีอาทิว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นแล้วแล. แต่ในที่นี้

พึงทราบศัพท์ว่า โลก ในความหมายว่าสัตวโลก และโอกาสโลก.

เพราะฉะนั้น ในโลกนี้ภายใต้จำเดิมแต่อเวจีขึ้นไป เบื้องบน จำเดิมแต่

รูปพรหมโลกลงมา สุขชื่อว่าเกิดพร้อมด้วยกาม เพราะอาศัยวัตถุกาม

เกิดขึ้นด้วยกิเลสกาม. บทว่า ยญฺจิท ทิวิย สุข ความว่า สุขอันเป็นทิพย์

และสุขอันเกิดจากรูปสมาบัติของพรหมและของมนุษย์ อันได้ด้วยทิพย-

วิหารนี้ใด. บทว่า ตณฺหกฺขยสุขสฺส ความว่า สุขอันเกิดจากผลสมาบัติ

ที่เป็นไปเพราะกระทำพระนิพพานซึ่งตัณหามาถึงแล้วสิ้นไปให้เป็นอารมณ์

และเพราะสงบระงับตัณหาเสียได้ ชื่อว่าสุขอันเกิดจากความสิ้นตัณหา.

แห่งสุขอันเกิดจากความสิ้นตัณหานั้น. บทว่า เอเต เป็นบทแสดงไข

ลิงควิปลาส. อธิบายว่า เอตานิ สุขานิ สุขเหล่านี้. อาจารย์บางพวกยึด

สุขแม้ทั้งสองโดยเป็นสุขสามัญทั่วไป แล้วกล่าวว่า เอต. พึงมีปาฐะของ

เกจิอาจารย์เหล่านั้นว่า กล นาคฺฆนฺติ.

บทว่า โสฬสึ แปลว่า เป็นที่เต็มของ ๑๖ ส่วน. ก็ในข้อนี้ มี

ความสังเขปดังต่อไปนี้.

กามสุขที่เกิดในกามโลกทั้ง ๑๑ ประการ คือ สุขของมนุษย์ในมนุษย-

โลกทั้งหมดตั้งต้นแต่สุขของพระเจ้าจักรพรรดิ สุขอันนาคเป็นต้น พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 176

เสวยในโลกนาคและครุฑเป็นต้น และกามสุข ๖ อย่าง ในเทวโลกมีชั้น

จาตุมหาราชิกาเป็นต้น, และสุขอันเกิดแต่โลกิยฌานซึ่งได้นามว่า ทิวิย

(ในทิพย์) เพราะเกิดในเทพชั้นรูปาวจรและอรูปาวจร และในรูปฌานและ

อรูปฌานที่เป็นทิพยวิหาร แม้สุขทั้งสิ้นทั้งสองอย่างนั้นก็ยังไม่ถึงเสี้ยว

กล่าวคือส่วนหนึ่งที่ได้ในการคูณให้เป็น ๑๖ ส่วน (เอาเพียง) ส่วนเดียว

จาก ๑๖ ส่วนนั้น โดยแบ่งสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ กล่าวคือสุขอันเกิด

แต่ความสิ้นตัณหาให้เป็น ๑๖ ส่วน.

ก็การพรรณนาอรรถนี้ ท่านกล่าวไว้โดยความเสมอกันแห่งผล-

สมาบัติ เพราะธรรมเป็นที่สิ้นตัณหามาในพระบาลีโดยไม่แปลกกัน. โลกิย-

สุขไม่ถึงเสี้ยวแม้แห่งสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติที่หนึ่งเลย สมจริงดังคำที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า

โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นเอกราชในแผ่นดิน กว่า

การไปสวรรค์ หรือกว่าความเป็นใหญ่ในโลกทั้งมวล.

แม้ในโสดาปัตติสังยุตก็ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ

ทรงครองราชสมบัติเป็นอิสริยาธิปัตย์แห่งทวีปทั้ง ๔ เบื้องหน้าแต่สวรรคต

ย่อมเสด็จเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ถึงความเป็นสหายของเทพชั้นดาวดึงส์

พระองค์มีนางอัปสรแวดล้อม และเพียบพร้อม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕

อันเป็นทิพย์บำเรออยู่ในนันทนวันนั้น แต่พระองค์ไม่ประกอบด้วยธรรม ๔

แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น พระองค์ก็ไม่พ้นจากนรก จากกำเนิดสัตว์เดียรัจ-

ฉาน จากเปรตวิสัย จากอบาย ทุคติ วินิบาต, ภิกษุทั้งหลาย พระอริย-

สาวกยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยคำข้าว และทรงผ้าเปื้อน และเธอประกอบ

ด้วยธรรม ๔ ประการก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอก็พ้นจากนรก จากกำเนิด

สัตว์เดียรัจฉาน จากเปรตวิสัย จากอบาย ทุคติ วินิบาต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 177

ธรรม ๔ ประการอะไรบ้าง ? ภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า

ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นพระอรหันต์ ฯ ล ฯ แม้

เพราะเหตุนี้ พระองค์ทรงเป็นผู้ตื่นแล้ว เบิกบานแล้ว ทรงเป็นผู้จำแนก

ธรรม เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ฯลฯ

อันวิญญูชน พึงทราบเฉพาะตน. เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯ ลฯ เป็น

บุญเขตของโลก. เป็นผู้ประกอบด้วยอริยกันตศีลไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ

สมาธิ. พระอริยสาวกเป็นผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ เหล่านี้. ภิกษุทั้งหลาย

การได้ทวีปสี่ ๑ การได้ธรรมสี่ ๑ การได้ทวีป ๔ ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของ

การได้ธรรมสี่.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำแนกโลกิยสุขว่ายิ่ง ว่าเป็นไปกับด้วย

ความดียิ่ง ทรงจำแนกเฉพาะโลกุตรสุขว่ายอดเยี่ยม ว่าดียิ่ง ในที่ทุกสถาน

ด้วยประการฉะนั้นแล.

จบอรรถกถาราชสูตรที่ ๒

๓. ทัณฑสูตร

ว่าด้วยความสุขในโลกหน้า

[๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อา-

รามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล เด็ก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 178

มากด้วยกันเอาท่อนไม้ตีงูอยู่ในระหว่างพระนครสาวัตถีและพระวิหารเชต-

วัน ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสก ทรงถือ

บาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ได้ทอดพระเนตร

เห็นเด็กเหล่านั้นเอาท่อนไม้ตีงูอยู่ในระหว่างพระนครสาวัตถีและพระวิหาร

เชตวัน.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ผู้ใดแสวงหาความสุขเพื่อตน ย่อมเบียดเบียน

สัตว์ทั้งหลาย ผู้ใคร่ความสุขด้วยท่อนไม้ ผู้นั้นย่อม

ไม่ได้ความสุขในโลกหน้า ผู้ใดแสวงหาความสุข

เพื่อตน ย่อมไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายผู้ใคร่ความ

สุขด้วยท่อนไม้ ผู้นั้นย่อมได้ความสุขในโลกหน้า.

จบทัณฑสูตรที่ ๓

อรรถกถาทัณฑสูตร

ทัณฑสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า กุมารกา ได้แก่ เด็กทั้งหลาย. อันตราศัพท์ ในคำว่า

อนฺตรา จ สาวตฺถึ อนฺตรา จ เชตวน นี้ มาในเหตุ ในประโยคมีอาทิ

ว่า ใครจะรู้เหตุนั้น นอกจากตถาคต และว่า ชนทั้งหลาย ประชุม

ปรึกษาถึงเหตุอะไรกะเราและท่าน. มาในขณะ ในประโยคมีอาทิว่า

ท่านผู้เจริญ หญิงคนหนึ่งกำลังล้างภาชนะ ได้เห็นเราในขณะฟ้าแลบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 179

มาในจิต ในประโยคมีอาทิว่า ความโกรธเคืองไม่มีจากจิตของผู้ใด. มาใน

ท่ามกลาง ในประโยคมีอาทิว่า ถึงที่สุดในท่ามกลาง. มาในระหว่าง

ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย อีกอย่างหนึ่ง แม่น้ำตโปทานี้ ไหล

มาจากระหว่างมหานรกทั้งสอง. แม้ในที่นี้ ศัพท์ว่าอันตรานี้นั้น พึง

ทราบว่าใช้ในระหว่าง เพราะฉะนั้น พึงทราบอรรถในอันตราศัพท์นี้อย่าง

นี้ว่า ในระหว่างกรุงสาวัตถี กับพระเชตวัน. ก็เพราะประกอบด้วย

อันตราศัพท์ ในที่นี้จึงเป็นทุติยาวิภัตติว่า อนฺตรา จ สาวตฺถึ อนฺตรา จ

เชตวน ระหว่างกรุงสาวัตถี และระหว่างพระเชตวันวิหาร. ในที่เช่นนี้

นักคิดอักษรทั้งหลายประกอบอันตราศัพท์ ๆ เดียวเท่านั้นว่า อนฺตรา

คามญฺจ นทิญฺจ คจฺฉติ ไประหว่างบ้านกับระหว่างแม่น้ำ. อันตราศัพท์

เป็นอันต้องประกอบแม้กับบทที่สอง แต่ในที่นี้ท่านประกอบไว้แล้ว.

บทว่า อหึ ทณฺเฑน หนนฺติ ความว่า พวกเด็กติดตามงูเห่าซึ่งได้

รับความหิวกำลังเลื้อยออกจากโพรงไปหากิน ใช้ไม้ตี. ก็สมัยนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้ากำลังเสด็จบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี เห็นเด็กเหล่านั้นใน

ระหว่างทางเอาไม้ตีงู จึงตรัสถามว่า เด็ก ๆ ทั้งหลาย เพราะเหตุไร จึง

เอาไม้ตีงูนี้ และเมื่อเด็กกราบทูลว่า เพราะกลัวมันกัด พระเจ้าข้า จึงเกิด

ธรรมสังเวชขึ้นว่า พวกเด็กเหล่านี้คิดจะทำความสุขให้ตน จึงตีงูนี้ จัก

เสวยทุกข์ในที่ที่ตนเกิด โอฉลาดในการโกง เพราะความโง่ ก็เพราะ

เหตุนั้นนั่นแล จึงทรงเปล่งอุทานด้วยธรรมสังเวช. เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อถ โข ภควา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า อาจารย์

พวกหนึ่งพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า พระองค์ทรงทราบเนื้อความนี้ว่า พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 180

เด็กเหล่านี้ ทำความทุกข์ให้แก่ผู้อื่น เพื่อความสุขของตน ตนเองจักไม่

ได้รับความสุขในโลกหน้า. การที่ชนเหล่าอื่นผู้ปฏิบัติชั่วแสวงหาความสุข

ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ในอนาคต สำหรับผู้ปฏิบัติดี ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความสุขโดยส่วนเดียว เพราะฉะนั้น อาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า พระ-

ศาสดาทรงเปล่งอุทานแม้นี้ โดยทรงโสมนัสว่า ผู้ที่พ้นจากการเบียดเบียน

ผู้อื่น เป็นผู้มีส่วนแห่งความสุขโดยแท้จริงทีเดียว ชื่อว่าเป็นการสนอง

โอวาทของเรา. ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระองค์ทรงทราบการ

เบียดเบียนผู้อื่นที่พวกเด็กเหล่านั้นให้เป็นไปอย่างนี้ โดยมีโทษด้วยประ-

การทั้งปวง จึงทรงเปล่งอุทานนี้อันประกาศโทษ และอานิสงส์ตามลำดับ

ของการเบียดเบียนผู้อื่นและการอนุเคราะห์ผู้อื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขกามานิ ได้แก่ ผู้ติดอยู่ในความสุข

เพราะปรารถนาสุขเพื่อตนโดยส่วนเดียวเท่านั้น. บทว่า ภูตานิ แปลว่า

สัตว์ผู้มีปราณทั้งหลาย. บทว่า ทณฺเฑน ในคำว่า โย ทณฺเฑน วิหึสติ

นี้ เป็นเพียงเทศนา อธิบายว่า ด้วยท่อนไม้หรือด้วยเครื่องประหารต่าง ๆ

เช่น ก้อนดิน ศาสตราและการประหารด้วยมือเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ทณฺเฑน ได้แก่ด้วยการลงโทษ. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า บุคคลใด

เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงผู้ใคร่ความสุข ทำให้ลำบาก ให้ได้รับความทุกข์ด้วย

อาญาอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาอาญาเหล่านี้ คือ อาญาทางวาจาเช่นด่า

กระทบชาติเป็นต้น อาญาทางร่างกาย เช่นโบย ตี ตัด เป็นต้น ด้วยมือค้อน

และศาสตราเป็นต้น หรืออาญาทางทรัพย์เช่นปรับไหมร้อยหนึ่งพันหนึ่ง.

บทว่า อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุข ความว่า บุคคลนั้นเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 181

แสวงหา ค้นคว้า ปรารถนาสุขเพื่อตน ละโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่ได้รับความ

สุขทั้ง ๓ ประการ คือ มนุษยสุข ทิพยสุข นิพพานสุข ในโลกหน้า โดย

ที่แท้ ย่อมได้รับแต่ความทุกข์ด้วยอาญานั้น.

บทว่า เปจฺจ โส ลภเต สุข ความว่า บุคคลใด เพียบพร้อม

ด้วยขันติ เมตตา และความเอ็นดู คิดว่า เราปรารถนาสุข เกลียดทุกข์

ฉันใด แม้สัตว์ทั้งปวงก็ฉันนั้น จึงตั้งอยู่ในสัมปัตติวิรัติเป็นต้น ไม่เบียด

เป็น ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้ลำบาก ด้วยอาญาอย่างใดอย่างหนึ่งตามนัยที่

กล่าวแล้ว บุคคลนั้น เป็นมนุษย์ในปรโลก ย่อมได้รับสุขของมนุษย์

เป็นเทวดาย่อมได้รับทิพยสุข เมื่อผ่านสุขทั้งสองนั้นไป ย่อมได้รับความ

สุขในพระนิพพาน. ก็ในที่นี้ เพื่อจะแสดงว่า เพราะบุคคลเช่นนั้นได้

อบรมไว้อย่างแน่นอน ความสุขนั้นเป็นประหนึ่งเกิดขึ้นเฉพาะหน้า (เป็น

ปัจจุบัน) ท่านจึงกล่าวว่า ลภเต ดังนี้. แม้ในคาถาต้นก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาทัณฑสูตรที่ ๓

๔. สักการสูตร

ว่าด้วยการได้สัมผัสพระนิพพาน

[๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรง-

ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้ภิกษุสงฆ์ก็

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 182

เป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

เป็นผู้อันมหาชนไม่สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่ยำเกรง ไม่

ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ครั้งนั้นแล

พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก อดกลั้นสักการะของพระผู้มีพระภาคเจ้าและ

ของภิกษุสงฆ์ไม่ได้ เห็นภิกษุทั้งหลายในบ้านและในป่าแล้ว ย่อมด่า บริ-

ภาษ เกรี้ยวกราด เบียดเบียน ด้วยวาจาหยาบคาย ไม่ใช่ของสัตบุรุษ ครั้ง

นั้นแล ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันมหาชน

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้ภิกษุสงฆ์ก็เป็นผู้อันมหาชนสักการะ

เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลาน-

ปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก เป็นผู้อันมหาชน ไม่

สักการะ ไม่เคารพ ไม่นับถือ ไม่บูชา ไม่ยำเกรง ไม่ได้จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกอัญญ-

เดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอดกลั้นสักการะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและของ

ภิกษุสงฆ์ไม่ได้ เห็นภิกษุสงฆ์ในบ้านและในป่าแล้ว ย่อมด่า บริภาษ

เกรี้ยวกราด เบียดเบียน ด้วยวาจาหยาบคาย ไม่ใช่ของสัตบุรุษ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 183

ท่านทั้งหลาย ผู้อันสุขและทุกข์ถูกต้องแล้วใน

บ้าน ในป่า ไม่ตั้งสุขและทุกข์นั้นจากตน ไม่ตั้งสุข

และทุกข์นั้นจากผู้อื่น ผัสสะทั้งหลายย่อมถูกต้อง

เพราะอาศัยอุปธิ ผัสสะทั้งหลายพึงถูกต้องนิพพาน

อันไม่มีอุปธิเพราะเหตุไรเล่า.

จบสักการสูตรที่ ๔

อรรถกถาสักการสูตร

สักการสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เตน โข ปน สมเยน ภควา สกฺกโต โหติ ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์สักการะด้วยเครื่องสักการะ

เป็นต้นอันเจริญยิ่ง ๆ ขึ้น อันเป็นผลแห่งบุญสมภารและคุณวิเศษที่พระ-

องค์บำเพ็ญมา ๔ อสังไขยกำไรแสนกัป ประหนึ่งเกิดความอุตสาหะขึ้นว่า

เบื้องหน้าแต่นี้ เราไม่มีโอกาส. จริงอยู่ บารมีทั้งปวงเป็นเหมือนประมวล

กันว่าจักให้วิบากในอัตภาพเดียว จึงบันดาลห้วงน้ำใหญ่คือลาภสักการะ

ให้บังเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนเมฆใหญ่เป็นคู่ ๆ ตั้งขึ้นทุกทิศ

ทำให้เกิดห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น. แต่นั้น กษัตริย์และพราหมณ์เป็นต้นต่าง

ถือ ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้เป็นต้นมา

แสวงหาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้

เป็นเทพแห่งเทพ พระผู้องอาจในหมู่ชน พระผู้ประหนึ่งราชสีห์ในหมู่ชน

ประทับอยู่ที่ไหน จึงเอาเกวียนร้อยเล่มบรรทุกปัจจัยมา เมื่อยังไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 184

โอกาสจึงเอาทบเกวียนกับทูบเกวียนจดกันแม้ในที่ประมาณคาวุตหนึ่ง

โดยรอบพักอยู่และติดตามไป เหมือนอันธกพราหมณ์และวินทพราหมณ์

เป็นต้น. คำทั้งหมดนั้นพึงทราบโดยนัยที่มาในขันธกะและในสูตรนั้น ๆ

เกิดแก่ภิกษุสงฆ์เหมือนเกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล. สมจริงดังที่ตรัส

ไว้ว่า ดูก่อนจุนทะ บัดนี้สงฆ์หรือคณะมีประมาณเท่าใดเกิดในโลกแล้ว

ดูก่อนจุนทะ เราไม่มองเห็นสงฆ์หมู่อื่นเเม้หมู่เดียวผู้ถึงความเลิศด้วยลาภ

และยศอย่างนี้ เหมือนภิกษุสงฆ์นั้น จุนทะ ลาภสักการะนี้นั้นเกิดแก่

พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ หาประมาณมิได้เหมือนห้วงน้ำของแม่น้ำ

ใหญ่ ๒ สายรวมเป็นสายเดียวกัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สมัย

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าอันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสักการะแล้ว ฯลฯ

ทรงได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้ภิกษุ-

สงฆ์ก็เป็นผู้อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายสักการะแล้ว ฯลฯ ได้จีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร.

ฝ่ายเดียรถีย์ทั้งหลาย อันใคร ๆ ไม่สักการะไม่เคารพ เพราะเป็นผู้

ไม่ได้ทำบุญไว้ในปางก่อนและเป็นผู้ปฏิบัติผิด ว่าโดยพิเศษทางพุทธุป-

บาทกาล เป็นผู้มีความงามวิบัติ หมดรัศมีหมดเดชเสื่อมลาภสักการะเช่นนั้นของ

หิ่งห้อยในยามพระอาทิตย์ขึ้น. พวกเขาอดกลั้นลาภสักการะเช่นนั้นของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ไม่ได้ ถูกความริษยาครอบงำจึงริษยาว่า

เราจักด่ากระทบพวกเหล่านี้ด้วยผรุสวาจาอย่างนี้แล้วไล่ให้หนีไป ทำการ

ริษยาเป็นข้าศึก เที่ยวด่าบริภาษภิกษุทั้งหลายในที่นั้น ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ส่วนพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกใคร ฯ ไม่สักการะ ฯลฯ

ไม่ได้จีวรบิณฑบาตเสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ครั้นนั้นแล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 185

พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกไม่อดทนสักการะของพระผู้มีพระภาคเจ้า

และภิกษุสงฆ์ เห็นภิกษุทั้งหลายในบ้านหรือในป่า ใช้ผรุสวาจาอัน

มิใช่ของสัตบุรุษด่าบริภาษเกรี้ยวกราดเบียดเบียน ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสพฺภาหิ ความว่า ด้วยผรุสวาจาอัน

ไม่สมควรในสภา คือไม่ควรกล่าวในที่ชุมนุมสาธุชนในที่ประชุม อธิบาย

ว่า ด้วยวาจาชั่วหยาบ. บทว่า ผรุสาหิ ได้แก่ ด้วยวาจาหยาบ คือตัด

เสียซึ่งความรัก. บทว่า อกฺโกสนฺติ ได้แก่ ด่าด้วยอักโกสวัตถุมีชาติ

เป็นต้น. บทว่า ปริภาสนฺติ ได้แก่ คุกคามให้เกิดความกลัว ด้วยความ

ทะเลาะ. บทว่า โรเสนฺติ ความว่า ให้เกิดความเกรี้ยวกราดโดยตามกำจัด

เหมือนเกรี้ยวกราดแก่คนอื่น. บทว่า วิเหเสนฺติ ความว่า ย่อมเบียดเบียน

คือทำความไม่สบายใจโดยอาการต่าง ๆ. ถามว่า ก็อย่างไร พวกเหล่านี้

จึงพากันทำการด่าเป็นต้น ให้เกิดขึ้นพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ผู้

เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใสรอบด้าน. ตอบว่า พวกเหล่านั้น เป็นผู้มีจิต

ถูกกระทบกระทั่งเพราะตนเสื่อมลาภสักการะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าอุบัติ

ขึ้น จึงนัดแนะกะนางสุนทริกาปริพาชิกา ให้นางประกาศโทษของพระ-

ศาสดาและภิกษุทั้งหลายแล้วจึงทำการด่าเป็นต้น เหมือนคนขุดดินพลาด

ล้มไป และเหมือนคนทำตำหนิให้เกิดในแก้วไพฑูรย์ที่ไม่มีตำหนิ ฉะนั้น.

ก็เรื่องแห่งนางสุนทริกาปริพาชิกานี้นั้นจักมีแจ้งในบาลีในสุนทริกาสูตร

ข้างหน้านั่นแล. เพราะเหตุนั้น คำที่ควรกล่าวในที่นี้ ข้าพเจ้าจักพรรณนา

ในสุนทริกาสูตรนั้นนั่นแหละ. ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วกราบทูลเรื่องนั้น. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล

ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯ ลฯ เบียด-

เบียนอยู่. คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 186

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ถึงการปฏิบัติผิดนี้ของพวกเดียรถีย์ผู้ถูกความริษยาครอบงำ. บทว่า อิม

อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดงถึงความเป็นผู้คงที่ในประการ

อันผิดที่พวกเดียรถีย์เหล่านั้นกระทำ และในอุปการะที่ชนเหล่าอื่นผู้มีจิต

เลื่อมใสกระทำ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คาเม อรญฺเ สุขทุกฺขผฏฺโ ความ

ว่า ผู้ถูกสุขและทุกข์สัมผัสแล้ว คือเสวยสุขและทุกข์ในที่ใดที่หนึ่งไม่ว่าจะ

เป็นบ้านหรือป่า หรือพรั่งพร้อมด้วยเหตุแห่งสุขและทุกข์เหล่านั้น. บท

ว่า เนวตฺตโต โน ปรโต หเหถ ความว่า พวกท่านอย่าตั้งสุขและทุกข์

นั้นทั้งจากตนทั้งจากผู้อื่นเลยว่า เรา ได้รับสุข ได้รับทุกข์, สุขของเรา

ทุกข์ของเรา และว่าสุขทุกข์นี้คนอื่นให้เกิดแก่เรา. ถามว่า เพราะเหตุไร ?

ตอบว่า เพราะในขันธปัญจกนี้ ไม่มีสิ่งอะไร ๆ ที่ควรจะเห็นว่าเป็นเรา

ว่าเป็นของเรา ว่าเป็นคนอื่น หรือว่าเป็นของคนอื่น แต่เฉพาะสังขาร

อย่างเดียวเท่านั้นเกิดขึ้นตามปัจจัยแล้วแตกไปทุก ๆ ขณะ. ก็ในที่นี้ ศัพท์

ว่า สุขและทุกข์เป็นยอดเทศนา. พึงทราบอรรถแห่งโลกธรรมแม้ทั้งหมด.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประกาศสุญญตะอันมีเงื่อน ๔

คือ ข้อว่า นาห กฺวจนิ พระโยคาวจรนี้ไม่เห็นตัวตนมีอยู่ในที่ไหน ๆ ๑

ข้อว่า กสฺสจิ กิญฺจนตสฺมึ ไม่เห็นตัวตนของตนที่จะพึงนำเข้าไปใน

ความเป็นอะไร ๆ ของใคร ๆ ๑ ข้อว่า น จ มม กฺวจนิ ไม่เห็นตัวตน

ของตนในที่ไหน ๆ ๑ ข้อว่า กตฺถจิ กิญฺจนตตฺถิ ไม่เห็นตัวตนของผู้

อื่นที่มีอยู่ในที่ไหน ๆ ๑ บัดนี้ พระองค์ทรงแสดงเหตุแห่งความไม่ตั้งมั่น

จากตนและจากคนอื่นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 187

บทว่า ผุสนฺติ ผสฺสา อุปธึ ปฏิจฺจ ความว่า ขึ้นชื่อว่า ผัสสะ

อันเป็นเครื่องอำนวยสุขและอำนวยทุกข์นี้อาศัยอุปธิกล่าวคือขันธปัญจก

ย่อมถูกต้องอารมณ์ตามที่เป็นของตนในเมื่ออุปธินั้นมีอยู่ คือเป็นไปใน

อุปธินั้นเอง. จริงอยู่ อทุกขมสุขเวทนาสงเคราะห์เข้าในสุขเหมือนกัน

เพราะมีสภาวะสงบ. เพราะฉะนั้น ท่านจึงพรรณนาอรรถนี้ โดยผัสสะ ๒

อย่างนั้นเอง. ก็เพื่อแสดงประการที่ผัสสะเหล่านั้นไม่ถูกต้อง ท่านจึง

กล่าวว่า นิรูปธึ เกน ผุเสยฺยุ ผสฺสา ผัสสะพึงถูกต้องธรรมที่ไม่มีอุปธิ

เพราะเหตุไร. จริงอยู่ เมื่ออุปธิคือขันธ์ไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะ

เหตุไรเล่า ผัสสะเหล่านั้นจึงพึงถูกต้อง, เพราะว่าเหตุนั้นไม่มี. ก็ถ้าว่า

ท่านทั้งหลายไม่ปรารถนาสุขและทุกข์อันเกิดเพราะการด่าเป็นต้นไซร้ พวก

ท่านพึงกระทำความพากเพียรในความไม่มีอุปธิโดยประการทั้งปวงนั้น

แหละ. คาถาได้จบลงด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ตรัสวัฏฏะและวิวัฏฏะ

ด้วยอุทานนี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาสักการสูตรที่ ๔

๕. อุปาสกสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่มีเครื่องกังวลเป็นสุขในโลก

[๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล อุบาสก

ชาวบ้านอิจฉานังคละคนหนึ่ง เดินทางมาถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 188

กรณียกิจบางอย่าง ครั้งนั้นแล อุบาสกนั้นยังกรณียกิจนั้นให้สำเร็จใน

พระนครสาวัตถีแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะอุบาสกนั้น

ว่า ดูก่อนอุบาสก ท่านกระทำปริยายนี้เพื่อมา ณ ที่นี้โดยกาลนานแล

อุบาสกนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ประสงค์จะเฝ้า

เยี่ยมพระผู้มีพระภาคเจ้าแต่กาลนาน แต่ว่าข้าพระองค์ขวนขวาย ด้วยกิจที่

ต้องทำบางอย่าง จึงไม่สามารถจะเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้ใด ความสุขย่อม

มีแก่ผู้นั้นหนอ ผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว เป็นพหูสูต

ท่านจงดูบุคคล ผู้มีกิเลสเครื่องกังวลเดือดร้อนอยู่

ชนผู้ปฏิพัทธ์ในชนย่อมเดือดร้อน.

จบอุปาสกสูตรที่ ๕

อรรถกถาอุปาสกสูตร

อุปาสกสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :

บทว่า อิจฺฉานงฺคลโก ความว่า บ้านพราหมณ์ตำบลหนึ่งในแคว้น-

โกศลอันได้นามว่า อิจฉานังคละ, ชื่อว่าอิจฉานังคละ เพราะอยู่อาศัยใน

บ้านพราหมณ์นั้นหรือเพราะเกิดคือมีในบ้านพราหมณ์นั้น. บทว่า อุปาสโก

ความว่า ชื่อว่า อุบาสก เป็นผู้ประกาศภาวะที่ตนเป็นอุบาสกในสำนัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 189

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยไตรสรณคมน์ เป็นผู้ถือสิกขาบท ๕ เป็น

พุทธมามกะ ธัมมมามกะ สังฆมามกะ. บทว่า เกนจิเทว กรณีเยน

ความว่า ด้วยกรณียกิจอย่างใดอย่างหนึ่งมีการชำระให้หมดจดอย่างยิ่งเป็น

ต้นที่ผู้ทรงไว้จะพึงกระทำ. บทว่า ตีเรตฺวา แปลว่า ให้สำเร็จ. เล่ากัน

ว่ อุบาสกนี้ เคยเข้าเฝ้านั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าเนืองนิจ. เธอไม่ได้

เฝ้าพระศาสดา เพราะมีกรณียกิจมากถึง ๒-๓ วัน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า จิรสฺส โข ตฺว อุปาสก อิม ปริยายมกาสิ

ยทิท อิธาคมนาย อุบาสก เธอได้กระทำปริยายที่จะมาในที่นี้ ตลอด

กาลนานแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรสฺส แปลว่า โดยกาลนาน. บทว่า

ปริยาย แปลว่า คราวหนึ่ง. ศัพท์ ยทิท เป็นนิบาต. ความว่า โย

อย. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า เธอกระทำวาระที่กระทำในวันนี้นี้โดย

กาลนานคือทำให้เนิ่นช้าด้วยการมาในที่นี้คือในสำนักของเรานี้. บทว่า

จิรปฏิกาห แก้เป็น จิรปฏิโก อห. เชื่อมความว่าเรา ข้าพระองค์ประสงค์

จะเข้าเฝ้าเป็นเวลานานแล้ว. บทว่า เกหิจิ เกหิจิ แปลว่า กิจน้อยใหญ่.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า เกหิจิ ได้แก่ กิจอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในข้อนั้น

ทรงแสดงถึงความเอื้อเฟื้อ. จริงอยู่ เมื่อเธอเลื่อมใสยิ่งในพระศาสดา ไม่

ได้มีความเอื้อเฟื้อในเรื่องอื่นเหมือนในการเฝ้าและการฟังธรรมของพระ-

ศาสดา. บทว่า กิจฺจกรณีเยหิ ความว่า สิ่งต้องทำแน่แท้ในการเฝ้า

เป็นต้นนี้จัดเป็นกิจ นอกนี้จัดเป็นกรณียะ. อีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่ต้องทำ

ก่อนจัดเป็นกิจ ที่ต้องทำภายหลังจัดเป็นกรณียะ. อนึ่ง สิ่งเล็กน้อยจัดเป็น

กิจ สิ่งใหญ่จัดเป็นกรณียะ. บทว่า พฺยาวโฏ แปลว่า ขวนขวาย. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 190

เอราห ความว่า ข้าพระองค์ไม่สามารถจะเข้าเฝ้าด้วยอาการอย่างนี้ คือ

ด้วยประการนี้ อธิบายว่า ไม่สามารถจะเข้าเฝ้าโดยไม่เคารพเป็นต้น.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ถึงความนี้ว่า อันตรายแห่งกุศลย่อมมี เพราะความที่เหล่าสัตว์มีความ

ขวนขวายในหน้าที่ โดยมีความกังวลในกาลพระพุทธเจ้าอุบัติและในกาลได้

เป็นมนุษย์ที่หาได้ยาก หามีอันตรายแห่งกุศลต่อความไม่มีความกังวลไม่.

บทว่า อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดงถึงความนั้นนี้เอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุข วต ตสฺส โน โหติ กิญฺจิ ความว่า

ในวัตถุมีรูปเป็นต้น แม้วัตถุอะไร ๆ สักอย่างหนึ่ง ย่อมไม่มีคือไม่มีอยู่

ได้แก่ ไม่ปรากฏแก่บุคคลใด โดยภาวะที่กำหนดด้วยตัณหาว่า นี้ของเรา

บุคคลนั้นย่อมมีความสุขแท้ อธิบายว่า มีความสุขน่าอัศจรรย์ทีเดียว

ปาฐะว่า น โหสิ ดังนี้ก็มี. พึงทราบเนื้อความข้อนั้นโดยความเป็นอดีต-

กาล. แต่อาจารย์พวกหนึ่งพรรณนาเนื้อความแห่งบทว่า น โหติ กิญฺจิ

ไว้ดังนี้ว่า กิเลสเครื่องกังวลมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่มีแก่ผู้ใด. คำนั้นไม่ดี

เพราะมาในเทศนาโดยการกำหนดธรรม. ด้วยคำว่า ราคาทิกิญฺจน พึงเป็น

อันท่านกล่าวแต่คำที่เหมาะสมเท่านั้น ในเมื่อมีการรวบรวมแม้ธรรมควร

กำหนด. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า บุคคลใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวล คือ

เครื่องยึดหน่วงอะไร ๆ แม้เล็กน้อย เพราะไม่มีกิเลสเครื่องกังวล มีราคะ

เป็นต้นนั่นแหละ ข้อนั้นของบุคคลนั้นที่ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ชื่อว่า

เป็นความสุขแท้ คือเป็นความสุขน่าอัศจรรย์ เพราะเป็นปัจจัยแห่งความ

สุข. หากจะถามว่า กิเลสเครื่องกังวลไม่มีแก่ใคร ดังนี้ พระองค์จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 191

ตรัสว่า สงฺขาตธมฺมสฺส พหุสฺสุตสฺส ดังนี้. บุคคลใดมีธรรมที่ต้อง

บอกแล้ว คือมีกิจที่ต้องทำแล้ว เพราะสำเร็จกิจ ๑๖ อย่าง กล่าวคือ

มรรคทั้ง ๔ ชื่อว่า เป็นพหูสูต เพราะรู้พาหุสัจจะแจ้งชัดจากธรรม

นั้นนั่นเอง แห่งบุคคลนั้น.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ในความไม่มี

กิเลสเครื่องกังวลอะไร ๆ แล้วจึงแสดงโทษในความมีกิเลสเครื่องกังวล

อะไร ๆ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สกิญฺจน ปสฺส ดังนี้.

คำนั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ พระศาสดาทรงถึงธรรมสังเวชแล้ว

จึงตรัสกะจิตของพระองค์ว่า ท่านจงดูบุคคลผู้ชื่อว่ามีกิเลสเครื่องกังวล

เพราะมีกิเลสเครื่องกังวลมีราคะเป็นต้น และกิเลสเครื่องกังวลคืออามิส

เดือดร้อนอยู่ คือถึงความคับแค้นด้วยกิจน้อยกิจใหญ่เพราะเหตุแห่งการ

แสวงหา และอารักขากามที่ได้แล้วและยังไม่ได้ เพราะความเป็นผู้มีกิเลส

เครื่องกังวลนั่นเอง และด้วยอำนาจการยึดถือว่า เรา ว่า ของเราดังนี้.

บทว่า ชโน ชนสฺมึ ปฏิพทฺธรูโป ความว่า ตนเองเป็นชนอื่น เป็นผู้

มีสภาวะเนื่องกับชนอื่น ด้วยอำนาจตัณหาว่า เราเป็นของผู้นี้ ผู้นี้เป็น

ของเรา จึงเดือดร้อน คือถึงความคับแค้น. ปาฐะว่า ปฏิพทฺธจิตฺโต

ดังนี้ก็มี. ก็เนื้อความนี้พึงแสดงโดยสุตตบทมีอาทิว่า

ปุตฺตา มตฺถิ ธนมตฺถิ อิติ พาโล วิหญฺติ

อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ กุโต ปุตฺตา กุโต ธน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 192

คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า บุตรของเรามีอยู่

ทรัพย์ของเรามีอยู่ ตนแหละย่อมไม่มีแก่ตน บุตร

จักมีแต่ที่ไหน ทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน.

จบอรรถกถาอุปาสกสูตรที่ ๕

๖. คัพภินิสูตร

ว่าด้วยเรื่องทุกขเวทนาของหญิงมีครรภ์

[๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล นาง

มาณวิกาสาว ภรรยาของปริพาชกคนหนึ่ง มีครรภ์ใกล้เวลาตลอดแล้ว

ครั้งนั้นแล นางปริพาชิกนั้นได้กล่าวกะปริพาชกว่า ท่านพราหมณ์ ท่าน

จงไปนำน้ำมัน ซึ่งจักเป็นอุปการะสำหรับดิฉันผู้คลอดแล้วมาเถิด เมื่อนาง

ปริพาชิกากล่าวอย่างนี้แล้ว ปริพาชกนั้นได้กล่าวกะนางปริพาชิกาว่า ฉัน

จะนำน้ำมันมาให้นางผู้เจริญแต่ที่ไหนเล่า แม้ครั้งที่ ๒ ... แม้ครั้งที่ ๓ นาง

ปริพาชิกานั้นก็ได้กล่าวกะปริพาชกนั้นว่า ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปนำ

น้ำมันซึ่งจักเป็นอุปการะสำหรับดิฉันผู้ตลอดแล้วมาเถิด.

[ ๕๗ ] ก็สมัยนั้นแล ราชบุรุษได้ให้เนยใสบ้าง น้ำมันบ้างใน

พระคลังของพระเจ้าปเสนทิโกศล แก่สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง เพื่อดื่ม

พอความต้องการ ไม่ให้เพื่อนำไป ครั้งนั้นแล ปริพาชกนั้นดำริว่า ก็

ราชบุรุษให้เนยใสบ้าง น้ำมันบ้าง ในพระคลังของพระเจ้าปเสนทิโกศล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 193

แก่สมณะบ้าง พราหมณ์บ้าง เพื่อดื่มพอความต้องการ ไม่ให้เพื่อนำไป

ไฉนหนอ เราพึงไปยังพระคลังของพระเจ้าปเสนทิโกศล ดื่มน้ำมันพอ

ความต้องการแล้ว กลับมาเรือน สำรอกน้ำมันซึ่งจักเป็นอุปการะแก่นาง

ปริพาชิกาผู้ตลอดนี้เถิด ครั้งนั้นแล ปริพาชกนั้นไปยังพระคลังของ

พระเจ้าปเสนทิโกศล ดื่มน้ำมันพอความต้องการแล้ว กลับมาเรือนไม่

สามารถเพื่อจะไว้เบื้องต่ำ [ด้วยอำนาจการถ่ายท้อง] ปริพาชกนั้นอันทุกข์

เวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนถูกต้องแล้ว ย่อมหมุนมาและหมุนไปโดยรอบ

ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงผ้าอันตรวาสกทรงถือบาตร

และจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ได้ทอดพระเนตรเห็น

ปริพาชกนั้น ผู้อันทุกข์เวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนถูกต้องแล้ว หมุนมาหมุน

ไปอยู่โดยรอบ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ชนผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล มีความสุขหนอ ชน

ผู้ถึงเวท (คือ อริยมรรคญาณ) เท่านั้น ชื่อว่าผู้ไม่มี

กิเลสเครื่องกังวล ท่านจงดูชนผู้มีกิเลสเครื่องกังวล

เดือดร้อนอยู่ ชนเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในชนย่อมเดือด

ร้อน.

จบคัพภินีสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 194

อรรถกถาคัพภินีสูตร

คัพภินีสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อญฺตรสฺส ปริพฺพาชกสฺส ได้แก่ ของกุฎุมพีปริพาชก

ผู้หนึ่ง. บทว่า ทหรา แปลว่า เป็นสาว. บทว่า มาณวิกา เป็นโวหาร

เรียกธิดาของพราหมณ์. บทว่า ปชาปตี แปลว่า ภรรยา. บทว่า คพฺภินี

แปลว่า ผู้มีครรภ์. บทว่า อุปวิชญฺา เชื่อมความว่า เป็นผู้มีเวลาจะ

ตลอดปรากฏว่า วันนี้ พรุ่งนี้. ได้ยินว่า ปริพาชกนั้นเป็นชาติพราหมณ์

มีภรรยา ตั้งอยู่ที่อาศรม ชื่อวาทปัตถะ เพราะเหตุนั้น คนจึงเรียกเขาผู้มี

ภรรยา โดยโวหารว่า ปริพาชก. ส่วนภรรยาของเขาเรียกว่า พราหมณ์

เพราะมีชาติเป็นพราหมณ์. บทว่า เตล ได้แก่ น้ำมันงา. ก็ในข้อนี้ว่า

โดยวัตถุมีน้ำมันเป็นประธาน นางจึงสั่งว่า ท่านจงนำเอาสิ่งที่หญิงผู้จะ

คลอดต้องการเพื่อบำบัดทุกข์ในเวลาคลอดทั้งหมด มีเนยใสและเกลือ

เป็นต้นมา. บทว่า ย เม วิชาตาย ภวิสฺสติ ความว่า สิ่งใดมีน้ำมัน

เป็นต้น จักเป็นอุปการะแก่เราผู้มีครรภ์จะคลอดออกไป. ปาฐะว่า

ปริพฺพาชิกาย ดังนี้ก็มี. บทว่า กุโต แปลว่า จากที่ไหน. อธิบายว่า

เราพึงนำน้ำมันเป็นต้นมาจากที่ไหน ไม่ว่าจะเป็นตระกูลญาติตระกูลมิตร

ที่นั้นไม่มีแก่เรา. บทว่า เตล อาหรามิ ท่านกล่าวให้เป็นปัจจุบันกาล

เพราะใกล้กาลอันเป็นปัจจุบัน หมายความว่าจักนำน้ำมันมา. วา ศัพท์ใน

บทว่า สมณสฺส วา ก็ดี พฺราหฺมณสฺส วา ก็ดี สปฺปิสฺส วา ก็ดี เตลสฺส

วา ก็ดี เป็นสมุจจยัตถะ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า อคฺคิโต วา อุหกโต

วา มิถุเภทา วา. บทว่า สปฺปิสฺส วา เตลสฺส วา เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้

ในอรรถปฐมาวิภัตติ. อธิบายว่า เนยใสและน้ำมันอันเขาให้ดื่มเท่าที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 195

ต้องการ. ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า บทว่า สปฺปิสฺส วา เตลสฺส

วา เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถว่า ส่วนย่อยและสิ่งที่มีส่วนย่อย จริง

อย่างนั้น ส่วนย่อยของกลุ่มเนยใสและน้ำมัน ในที่นี้ท่านเรียกโดยศัพท์

เท่าที่ต้องการ. บทว่า โน นีหริตุ ความว่า เขาไม่ให้ใช้ภาชนะหรือมือ

นำออกไปข้างนอก. บทว่า อุจฺฉินฺทิตฺวา ได้แก่ สำรอกออก, เชื่อม

ความว่า ไฉนหนอ เราพึงสำรอกออก. ได้ยินว่า ปริพาชกนั้นได้มีความ

คิดอย่างนี้ว่า เราจะไปเรือนคลังของพระราชาดื่มน้ำมันแค่คอ แล้วมา

เรือนในทันทีสำรอกตามที่ดื่มลงไว้ในภาชนะหนึ่ง จักยกขึ้นเตาไฟต้ม สิ่ง

ที่เจือด้วยดีและเสมหะเป็นต้น ไฟจักไหม้ แต่เราจักเอาแต่น้ำมันไปใช้ใน

การงานของนางปริพาชิกานี้.

บทว่า อุทฺธ กาตุ ได้แก่ เพื่อนำขึ้นข้างบนโดยจะสำรอกออก.

บทว่า น ปน อโธ ความว่า แต่ไม่อาจเพื่อจะนำออกข้างล่างด้วยการถ่าย

ออก. จริงอยู่ ปริพาชกนั้นดื่มด้วยคิดว่า จักสำรอกสิ่งที่เราดื่มเข้าไป

มาก ๆออกจากปากเสียเอง เมื่อสิ่งที่ดื่มเข้าไปไม่ออกมา เพราะไม่เป็น

ประโยชน์แก่กระเพาะ ไม่รู้หรือไม่ได้สั่งที่ควรจะสำรอกและถ่ายออกได้

ได้รับทุกขเวทนาอย่างเดียว จึงหมุนไปหมุนมา. บทว่า ทุกฺขาหิ แปลว่า

มีทุกข์. บทว่า ติปฺปาหิ ได้แก่ มาก หรือแรงกล้า. บทว่า ขราหิ

ได้แก่ กล้าแข็ง. บทว่า กฏุกาหิ ได้แก่ ทารุณ เพราะเป็นของไม่น่า

ปรารถนาอย่างยิ่ง. บทว่า อาวฏฺฏติ ความว่า เมื่อไม่นอนอยู่ในที่เดียว

พาร่างของตนไปข้างโน้นข้างนี้ ชื่อว่าหมุนไป. บทว่า ปริวฏฺฏติ ความว่า

แม้นอนอยู่ในที่แห่งหนึ่ง เมื่อสลัดอวัยวะน้อยใหญ่ไปรอบ ๆ ชื่อว่าหมุน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 196

ไปรอบ. อีกอย่างหนึ่ง เมื่อหมุนไปตรงหน้า ชื่อว่าหมุนไป เมื่อหมุน

ไปรอบๆ ชื่อว่าหมุนไปรอบ.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ครั้นทรงทราบโดยประการ

ทั้งปวงถึงความนี้ว่า ความเกิดทุกข์อันนี้ เหตุเพราะบริโภคโดยไม่พิจารณา

ของคนผู้มีกิเลสเครื่องกังวล มีอยู่ แต่สำหรับคนไม่มีกิเลสเครื่องกังวล

ย่อมไม่มีทุกข์นี้โดยประการทั้งปวง ดังนี้ แล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ อัน

ประกาศความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขิโน วต ความว่า สัตบุรุษทั้งหลาย

มีความสุขหนอ. ถามว่า ก็สัตบุรุษเหล่านั้น คือพวกไหน ? ตอบว่า คือ

พวกที่ไม่มีกิเลสเครื่องกังวลที่ชื่อว่า อกิญจนะ เพราะไม่มีกิเลสเครื่อง

กังวลมีราคะเป็นต้น และกิเลสเครื่องกังวลในสิ่งที่หวงแหน พระองค์

จึงตรัสว่า เวทคุโน หิ ชนา อกิญฺจนา พวกชนผู้ถึงเวท ไม่มีกิเลส

เครื่องกังวล. บุคคลผู้ชื่อว่า เวทคู เพราะถึง คือบรรลุเวท กล่าวคือ

อริยมรรคญาณ หรือถึงคือบรรลุพระนิพพานด้วยเวทนั้น. อริยชนเหล่านั้น

คือบุคคลผู้สิ้นอาสวะ ชื่อว่าอกิญจนะ เพราะตัดกิเลสเครื่องกังวลมีราคะ

เป็นต้นได้เด็ดขาด ด้วยอรหัตมรรค. ก็เมื่อกิเลสเครื่องกังวลมีราคะเป็นต้น

ไม่มี กิเลสเครื่องกังวลในสิ่งที่หวงแหน จักมีแต่ที่ไหน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงสรรเสริญบุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ ด้วย

บุรพภาคแห่งคาถาอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงติเตียนอันธปุถุชน ด้วยอปรภาค

แห่งคาถา จึงตรัสคำมีอาทิว่า สกิญูจน ปสฺส คำนั้นมีอรรถดังกล่าวไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 197

แล้วในสูตรแรกนั่นแหละ ด้วยคาถาแม้นี้ พระองค์ตรัสทั้งวัฏฏะและวิวัฏฏะ

ดังพรรณนามาฉะนี้.

จบอรรถกถาคัพภินีสูตรที่ ๖

๗. เอกปุตตสูตร

ว่าด้วยการขุดอามิสแห่งมัจจุราช

[๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล บุตรคน

เดียวของอุบาสกคนหนึ่ง เป็นที่รัก เป็นที่พอใจ ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นแล

อุบาสกมากด้วยกันมีผ้าชุ่ม มีผมเปียก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับในเวลาเที่ยง ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสถามอุบาสกเหล่านั้นว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลายมีผ้าชุ่ม มีผมเปียก เข้ามาในที่นี้ ในเวลาเที่ยง เพราะเหตุไรหนอ

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว อุบาสกนั้นได้กราบทูลว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า บุตรคนเดียวของข้าพระองค์ ผู้เป็นที่รักเป็นที่พอใจ

ทำกาละแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงมีผ้าชุ่ม มีผมเปียก

เข้ามาในที่นี้ในเวลาเที่ยง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

หมู่เทวดาและหมู่มนุษย์เป็นจำนวนมาก ยินดี

แล้วด้วยความเพลิดเพลินชินในรูปอันเป็นที่รัก ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 198

ทุกข์ เสื่อมหมดแล้ว (จากสมบัติ ) ย่อมไปสู่อำนาจ

แห่งมัจจุราช พระอริยบุคคลเหล่าใดแล ไม่ประมาท

ทั้งกลางคืนและกลางวัน ย่อมละรูปอันเป็นที่รักเสีย

ได้ พระอริยบุคคลเหล่านั้นแล ย่อมขุดขึ้นได้ซึ่ง

อามิสแห่งมัจจุราช อันเป็นมูลแห่งวัฏทุกข์ที่ล่วงได้

โดยยาก.

จบเอกปุตตสูตรที่ ๗

อรรถกถาเอกปุตตสูตร

เอกปุตตสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอกปุตฺตโก แปลว่า บุตรคนหนึ่ง ก็บุตรนั้นชื่อว่า เอก-

ปุตตกะ เพราะอรรถว่าอันเขาอนุเคราะห์, ชื่อว่าปิยะ เพราะอรรถว่าอันเขา

รักใคร่. ชื่อว่ามนาปะ เพราะอรรถว่าเป็นที่เจริญใจ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า

ปิยะ เพราะอรรถว่าน่าชม เพราะสมบูรณ์ด้วยความงามแห่งร่างกาย, ชื่อว่า

มนาปะ เพราะเป็นผู้มีกัลยาณธรรม เพราะสมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระ.

ชื่อว่า กาละ เพราะทำสัตว์ให้สิ้นไป ได้แก่ มรณะ. ชื่อว่า กาลังกตะ

เพราะทำคือถึงกาละนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า กาลังกตะ เพราะกาละ

คือมัจจุทำแล้วคือพินาศไปแล้ว ได้แก่ถึงความไม่เห็น อธิบายว่า ตาย.

บทว่า สนฺพหุลา อุปาสภา ความว่า อุบาสกชาวเมืองสาวัตถีเป็น

อันมาก ไปตามหลังอุบาสกผู้ที่ลูกตายจนถึงป่าช้า พร้อมด้วยความโศก

ให้ทำฌาปนกิจศพแล้วก็กลับ ลงน้ำทั้งที่นุ่งห่มอยู่นั่นแหละ ดำหัว บีบผ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 199

ยังไม่ทันจะแห้งเลย นุ่งผืนหนึ่ง ทำเฉวียงบ่าผืนหนึ่ง ให้อุบาสกนั้นนำ

หน้า คิดจะฟังธรรมอันเป็นเหตุบรรเทาความโศกในสำนักพระศาสดา จึง

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อลฺลเกสา

มีผมชุ่มน้ำ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลฺลวตฺถา แปลว่า มีผ้าชุ่มด้วยน้ำ.

บทว่า ทิวา ทิวสฺส แปลว่า เป็นเวลากลางวัน อธิบายว่า เวลาเที่ยงวัน.

เพราะเหตุที่พระตถาคตทั้งหลาย ทรงทราบตรัสถามก็มี ทรงทราบไม่

ตรัสถามก็มี. ทรงรู้เวลา ตรัสถาม ทรงรู้เวลาไม่ตรัสถามก็มี. เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอยู่ทีเดียว เมื่อจะตรัสถามเพื่อตั้ง

เรื่องขึ้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า กึ นุ โข ตุมฺเห อุปาสกา ดูก่อนอุบาสก

ทั้งหลาย เพราะเหตุไรหนอ พวกท่าน ดังนี้.

พระดำรัสนั้นมีความหมายดังนี้ว่า ดูก่อนอุบาสกทั้งหลาย ในวัน

อื่น ๆ พวกเธอเมื่อมายังสำนักของเรา นุ่งผ้าแห้งและสะอาดมาในเวลาเย็น

แต่วันนี้ มีผ้าเปียก ผมเปียกมาในที่นี้เวลาเที่ยงตรง นั้นเป็นเหตุอะไร.

บทว่า เตน มย ความว่า เพราะเหตุนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายเป็นอย่างนั้น

เพราะถูกความโศกอย่างแรงครอบงำ เพราะความเดือดร้อนจิตอันเกิดจาก

การพลัดพรากจากบุตร จึงได้มาเฝ้าในที่นี้.

บทว่า เอตมตฺถ วิทฺตฺวา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ

โดยประการทั้งปวงถึงเรื่องนี้ว่า สภาวธรรมมีโศก ทุกข์ และโทมนัส

เป็นต้น มีวัตถุเป็นที่รักเป็นแดนเกิด เมื่อวัตถุอันเป็นที่รักไม่มี ความ

โศกเป็นต้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีโดยประการทั้งปวง จึงทรงเปล่งอุทานนี้

อันประกาศความนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 200

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิยรูปสาตคธิตาเส ความว่า ติด

คือมีจิตปฏิพัทธ์ในสภาวะอันเป็นที่รักมีรูปขันธ์เป็นต้น ด้วยความยินดีใน

สุขเวทนา. ก็บทว่า คธิตาเส หมายเอา คธิตา นั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง

ศัพท์ว่า เส เป็นเพียงนิบาต. จักขุประสาทเป็นต้น และปิยชนมีบุตร

และภรรยาเป็นต้น ชื่อว่า ปิยรูป. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า อะไร

เป็นปิยรูป สาตรูป ในโลก คือ จักขุเป็นปิยรูป สาตรูปในโลก ฯลฯ

ธรรมตัณหาเป็นปิยรูป สาตรูป ในโลก และว่า

นระใดติดข้องกามเป็นอันมาก คือ นา สวน เงิน

โค ม้า ทาสหญิงชาย ผู้หญิง และพวกพ้อง.

เพราะเหตุนั้น ผู้ติด สยบ อธิบายว่า ถูกต้องด้วยความยินดีใน

ปิยรูปเหล่านั้น. เพื่อจะเฉลยคำถามว่า ชนเหล่านั้น คือเหล่าไหน ผู้ติด

อยู่ในปิยรูปและสาตรูป จึงทรงแสดงชนเหล่านั้นว่า เทวกายา ปุถุมนุสฺ-

สา จ หมู่เทพและมนุษย์เป็นอันมาก, ได้แก่หมู่เทพเป็นอันมาก มีเทพ

ชั้นจาตุมหาราชิกาเป็นต้น และมนุษย์เป็นอันมากมีชาวชมพูทวีปเป็นต้น.

บทว่า อฆาวิโน ได้แก่ ผู้มีทุกข์ทางกายและทางใจ. บทว่า ปริชุนฺนา

ได้แก่ ผู้เสื่อมจากสมบัติมีความเป็นหนุ่มสาว และความไม่มีโรคเป็นต้น

เพราะความวิบัติแห่งชราและโรคเป็นต้น. พึงทราบความข้อนั้นตามที่ได้

ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. อีกอย่างหนึ่ง เทวดาทั้งหลายเพียบพร้อม

ด้วยสุขโดยส่วนเดียว ไม่มีทุกข์ ชรา และโรคก็จริง ถึงอย่างนั้น แม้เทวดา

เหล่านั้นท่านก็เรียกว่า ผู้มีทุกข์ และว่าผู้มีความเสื่อม เพราะมีการไม่

จากทุกข์นั้นเป็นสภาวะ. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความเกิดมีทุกข์เป็นต้น

แม้ของเทวดาเหล่านั้น ด้วยอำนาจการเกิดขึ้นแห่งบุรพนิมิต ปฏิจฉันนชรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 201

และโรคทางใจ. บทว่า มจฺจุราชสฺส วส คจฺฉนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้น

ไปสู่อำนาจ คือมือแห่งความตาย กล่าวคือมัจจุราช เพราะมีธาตุ ๓ เป็น

ใหญ่ เหตุจะเกิดในครรภ์บ่อย ๆ เพราะยังละตัณหา ซึ่งมีปิยวัตถุเป็น

อารมณ์ไม่ได้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงวัฏฏะด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล้ว

บัดนี้จึงแสดงวิวัฏฏะ (นิพพาน) โดยนัยมีอาทิว่า เย เว ทิวา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เว ทิวา จ รตฺโต จ อปฺปมตฺตา

ความว่า คนผู้ไม่ประมาทอย่างมั่นคง ย่อมบำเพ็ญอัปปมาทปฏิปทาทั้ง

กลางวันและกลางคืน โดยนัยดังกล่าวแล้วมีอาทิว่า ชำระจิตให้หมดจด

จากธรรมอันเป็นเครื่องกางกั้น โดยการจงกรม และการนั่งตลอดวัน.

บทว่า ชหนฺติ ปิยรูป ความว่า ให้ขวนขวายกรรมฐานภาวนาอันสัมป-

ยุตด้วยสัจจะ ๔ ละปิยรูป คือปิยวัตถุ มีจักขุประสาทเป็นต้น อันเกิด

จากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ด้วยการละฉันทราคะอันเนื่องกับปิยรูป

นั้น เพราะบรรลุพระอริยมรรค. บทว่า เต เว ขณนฺติ อฆมูล มจฺจุโน

อามิส ทุรติวตฺต ความว่า พระอริยบุคคลเหล่านั้นใช้จอบ คืออริยมรรค

ญาณขุดตัณหาพร้อมกับอวิชชา อันเป็นมูลรากแห่งทุกข์ คือวัฏทุกข์

ชื่อว่าเป็นอามิส เพราะมัจจุคือมรณะจับต้อง ชื่อว่าล่วงได้ยาก เพราะ

สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งนอกจากศาสนานี้ ไม่อาจกลับได้ คือ

ถอนรากขึ้นไม่ให้เหลือแม้แต่สิ่งเล็กน้อย ความนี้นั้น พึงให้พิสดารโดย

สุตตบทมีอาทิว่า

อปฺปมาโท อมต ปท ปมาโท มจฺจุโน ปท

อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 202

ความไม่ประมาทเป็นทางแห่งความไม่ตาย ความ

ประมาท เป็นทางแห่งความตาย คนผู้ไม่ประมาท

ชื่อว่าย่อมไม่ตาย คนประมาทเหมือนคนตายแล้วแล.

จบอรรถกถาเอกปุตตสูตรที่ ๗

๘. สุปปวาสาสูตร

ว่าด้วยทุกข์ของหญิงตั้งครรภ์นาน

[๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่ากุณฑิฐานวัน* ใกล้

พระนครกุณฑิยา ก็สมัยนั้นแล พระนางสุปปวาสาพระธิดาของพระเจ้า

โกลิยะทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีครรภ์หลงอยู่ถึง ๗ วัน พระนางสุปปวาสา

นั้น ผู้อันทุกขเวทนากล้าเผ็ดร้อนถูกต้องแล้วทรงอดกลั้นได้ด้วยการตรึก

๓ ข้อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นตรัสรู้ด้วยพระองค์โดยชอบหนอ

ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระองค์นั้น ปฏิบัติดีแล้วหนอ ปฏิบัติเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้

นิพพานซึ่งเป็นที่ไม่มีทุกข์เห็นปานนี้เป็นสุขดีหนอ.

[๖๐] ครั้งนั้นแล พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาเชิญพระสวามีมาว่า

เชิญมานี่เถิด พระลูกเจ้า ขอเชิญพระองค์เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นแล้ว ทรงถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า

ตามคำของหม่อมฉัน จงทูลถามถึงความเป็นผู้มีพระอาพาธน้อย พระโรค

* บางฉบับเป็น กุณฑธานวัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 203

เบาบาง กระปรี้กระเปร่า มีพระกำลัง ความอยู่สำราญว่า ข้าแต่พระองค์ผู้-

เจริญ นางสุปปวาสาโกลิยธิดาถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยเศียรเกล้า และทูลถามความเป็นผู้มีพระอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง

กระปรี้กระเปร่า มีพระกำลัง ความอยู่สำราญ อนึ่ง ขอพระองค์จงกราบ

ทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุปปวาสาโกลิยธิดาทรงครรภ์

๗ ปี มีครรภ์หลงอยู่ ๗ วัน นางสุปปวาสานั้นอันทุกขเวทนากล้าเผ็ดร้อน

ถูกต้องแล้ว ย่อมอดกลั้นได้ด้วยการตรึก ๓ ข้อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้นตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบหนอ ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อ

ละทุกข์เห็นปานนี้ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ปฏิบัติหนอ ปฏิบัติเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ นิพพานซึ่งเป็นที่ไม่มีทุกข์

เห็นปานนี้ เป็นสุขดีหนอ พระราชบุตรพระเจ้าโกลิยะนั้น ทรงรับคำ

ของพระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาแล้ว เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสา

โกลิยธิดา ถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และ

ตรัสถามถึงความเป็นผู้มีพระอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า

ทรงพระกำลัง ความอยู่สำราญ และรับสั่งอย่างนี้ว่า พระนางสุปปวาสา

โกลิยธิดาทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีครรภ์หลงอยู่ ๗ วัน พระนางสุปปวาสา

นั้นอันทุกขเวทนากล้าเผ็ดร้อนถูกต้องแล้ว ย่อมอดกลั้นได้ด้วยการตรึก

๓ ข้อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตรัสรู้ด้วยพระองค์เองโดยชอบ

หนอ ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อละทุกข์เห็นปานนี้ พระสงฆ์สาวกของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 204

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ปฏิบัติดีหนอ ปฏิบัติเพื่อละทุกข์เห็น

ปานนี้ นิพพานซึ่งเป็นที่ไม่มีทุกข์เห็นปานนี้ เป็นสุขดีหนอ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาจงเป็นผู้มี

สุข หาโรคมิได้ ตลอดบุตรหาโรคมิได้เถิด ก็แลพระนางสุปปวาสาโกลิย-

ธิดาทรงมีสุข หาโรคมิได้ ประสูติพระโอรสผู้หาโรคมิได้ พร้อมกับ

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระราชบุตรของพระเจ้าโกลิยะนั้นทูล

รับพระดำรัสแล้ว ทรงชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จ

ลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมกระทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับไปสู่นิเวศน์

ของตน ได้ทรงเห็นพระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาทรงมีสุขหาโรคมิได้

ประสูติพระโอรสผู้หาโรคมิได้ ครั้นแล้วได้ทรงดำริว่า น่าอัศจรรย์จริง

หนอ ไม่เคยมีมา พระตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก็แลพระนาง

สุปปวาสาโกลิยธิดานี้ทรงมีสุข หาโรคมิได้ คงจักประสูติพระโอรสผู้หา

โรคมิได้ พร้อมกับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เป็นผู้ปลื้มใจ

เบิกบาน มีปีติโสมนัส.

[๖๑] ครั้งนั้นแล พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาทูลเชิญพระสวามี

มาว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอเชิญพระองค์เสด็จมานี้เถิด เชิญพระองค์เสด็จ

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียร

เกล้าตามคำของหม่อมฉันว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุปปวาสาโกลิย-

ธิดา ถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง

ขอพระองค์จงทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางสุปปวาสาโกลิย-

ธิดาทรงครรภ์อยู่ ๗ ปี มีครรภ์หลงถึง ๗ วัน บัดนี้ พระนางมีสุข หา

โรคมิได้ ตลอดบุตรผู้หาโรคมิได้ นางนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 205

ประมุขด้วยภัตตาหารสิ้น ๗ วัน ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารของนางสุปปวาสาโกลิยธิดา ๗ วัน

เถิด. พระราชบุตรของพระเจ้าโกลิยะนั้นทรงรับคำพระนางสุปปวาสาโกลิย-

ธิดาแล้ว เสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้ว

ประทับ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาถวายบังคมพระบาท

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า อนึ่ง พระนางรับสั่งมาอย่างนี้ว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี

มีครรภ์หลงถึง ๗ วัน บัดนี้ พระนางทรงมีสุข หาโรคมิได้ ประสูติพระ-

โอรสผู้หาโรคมิได้ พระนางนิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

ด้วยภัตตาหารสิ้น ๗ วัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

กับภิกษุสงฆ์โปรดทรงรับภัตตาหารของนางสุปปวาสาโกลิยธิดาสิ้น ๗ วัน

เถิด.

[๖๒] ก็สมัยนั้นแล อุบาสกคนหนึ่งนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุขด้วยภัตเพื่อฉันในวันพรุ่ง ก็อุบาสกนั้นเป็นอุปัฏฐากของท่าน

พระมหาโมคคัลลานะ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่าน

พระมหาโมคคัลลานะว่า มานี่แน่ะโมคคัลลานะ ท่านจงเข้าไปหาอุบาสก

นั้น ครั้นแล้วจงกล่าวกะอุบาสกนั้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ พระนาง

สุปปวาสาโกลิยธิดาทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีครรภ์หลงถึง ๗ วัน บัดนี้

พระนางทรงมีสุข หาโรคมิได้ ประโยคสูติพระโอรส ผู้หาโรคมิได้ นิมนต์

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยภัตตาหารสิ้น ๗ วัน พระนาง

สุปปวาสาโกลิยธิดาจงทำภัตตาหารสิ้น ๗ วัน อุปัฏฐากของท่านนั้นจักทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 206

ภายหลัง ท่านพระมหาโมคคัลลานะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไป

หาอุบาสกนั้น ครั้นแล้วได้กล่าวกะอุบาสกนั้นว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดา ทรงครรภ์อยู่ถึง ๗ ปี มีครรภ์หลงถึง ๗ วัน

บัดนี้ พระนางทรงมีสุข หาโรคมิได้ ประสูติพระโอรสผู้หาโรคมิได้

นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยภัตตาหารสิ้น ๗ วัน พระ-

นางสุปปวาสาโกลิยธิดาจงทำภัตตาหารสิ้น ๗ วัน ท่านจักทำในภายหลัง

อุบาสกนั้นกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าว่าพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นเจ้า

เป็นผู้ประกันธรรม ๓ อย่าง คือ โภคสมบัติ ชีวิตและศรัทธา ของกระผม

ได้ไซร้ พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาจงทำภัตตาหารสิ้น ๗ วันเถิด กระผม

จักทำในภายหลัง.

โม. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ฉันจะเป็นผู้ประกันธรรม ๒ อย่าง คือ

โภคสมบัติ และชีวิตของท่าน ส่วนท่านเองเป็นผู้ประกันศรัทธา.

อุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าว่าพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นเจ้าเป็นผู้-

ประกันธรรม ๒ อย่าง คือ โภคสมบัติและชีวิตได้ไซร้ พระนางสุปปวาสา

โกลิยธิดาจงทำภัตตาหารสิ้น ๗ วันเถิด กระผมจักทำในภายหลัง.

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะยังอุบาสกนั้นให้ยินยอมแล้ว

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้อุบาสกนั้นยินยอมแล้ว พระนางสุปปวาสา-

โกลิยธิดาจงทรงทำภัตตาหารตลอด ๗ วัน อุบาสกนั้นจะทำในภายหลัง

พระเจ้าข้า.

ครั้งนั้นแล พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดา ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีตด้วยพระหัตถ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 207

ของพระนาง สิ้น ๗ วัน ให้ทารกนั้นถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าและ

ให้ไหว้ภิกษุสงฆ์แล้ว ลำดับนั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้ถามทารกนั้นว่า

พ่อหนู เธอสบายดีหรือ พอเป็นไปหรือ ทุกข์อะไร ๆ ไม่มีหรือ. ทารก

นั้นตอบว่า ข้าแต่พระสารีบุตรผู้เจริญ กระผมจักสบายแต่ไหนได้ พอ

เป็นไปแต่ไหน กระผมอยู่ในท้องเปื้อนด้วยโลหิตถึง ๗ ปี. ลำดับนั้นแล

พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดา ทรงมีพระทัยชื่นชมเบิกบานเกิดปีติโสมนัส

ว่า บุตรของเราได้สนทนากับพระธรรมเสนาบดี.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พระนางสุปปวาสา-

โกลิยธิดา ทรงมีพระทัยชื่นชมเบิกบานเกิดปีติโสมนัสแล้ว จึงตรัสถาม

พระนางสุปปวาสาโกลิยธิดาว่า ดูก่อนพระนาง พึงปรารถนาพระโอรส

เห็นปานนี้แม้อื่นหรือ พระนางสุปปวาสากราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้เจริญ หม่อมฉันพึงปรารถนาบุตรเห็นปานนี้แม้อื่นอีก ๗ คน

เจ้าค่ะ.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ทุกข์อันไม่น่ายินดี ย่อมครอบงำคนผู้ประมาท

โดยความเป็นของน่ายินดี ทุกข์อันไม่น่ารักย่อม

ครอบงำคนผู้ประมาท โดยความเป็นของน่ารัก ทุกข์

ย่อมครอบงำบุคคลผู้ประมาท โดยความเป็นสุข.

จบสุปปวาสาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 208

อรรถกถาสุปปวาสาสูตร

สุปปวาสาสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า กุณฺฑิยาย ได้แก่ ใกล้นครของพวกเจ้าโกลิยะ มีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า กุณฺฑธานวเน ได้แก่ ในป่าชื่อกุณฑธานะ ไม่ไกลนครนั้น.

เมื่อก่อน เล่ากันมาว่า ยักษ์ตนหนึ่งชื่อกุณฑะ อาศัยอยู่ที่ไพร-

สณฑ์แห่งนั้น และยักษ์นั้นชอบพลีกรรมอันเจือด้วยรำและข้าวตอก

เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายจึงน้อมนำพลีกรรมอย่างนั้นเข้าไปในที่นั้น แก่

ยักษ์นั้น ด้วยเหตุนั้น ไพรสณฑ์นั้น จึงปรากฏว่า กุณฑธานวัน.

ในที่นี้ไม่ไกลไพรสณฑ์นั้น ยังมีหญิงเจ้าบ้านคนหนึ่ง. แม้นางก็ถูกเรียก

ว่า กุณฑิยา เพราะนางอยู่อาศัยในที่ ๆ เป็นอาณาเขตของยักษ์นั้น และ

เพราะถูกยักษ์นั้นแหละปกครอง. ครั้นต่อมา พวกเจ้าโกลิยะได้สร้างนคร

ขึ้นในที่นั้น. แม้นครนั้น เขาก็เรียกว่า กุณฑิยา เหมือนกันตามชื่อเดิม.

ก็ในไพรสณฑ์นั้น พวกเจ้าโกลิยะได้สร้างวิหาร เพื่อเป็นที่ประทับและ

เป็นที่อยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. แม้ไพรสณฑ์นั้นก็ปรากฏ

ว่า กุณฑธานวันเหมือนกัน. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริก

ไปยังชนบท ถึงวิหารนั้นแล้วประทับอยู่ในที่นั้นเอง. เพราะเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า เอก สมย ภควา กุณฺฑิยาย วิหรติ กุณฺฑธานวเน* สมัยหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในกุณฑธานวัน ใกล้เมืองกุณฑิยา.

บทว่า สุปฺปวาสา เป็นชื่อของอุบาสิกานั้น. บทว่า โกลิยธีตา

แปลว่า เป็นราชบุตรีของเจ้าโกลิยะ.

ก็ราชบุตรีนั้น เป็นอัครอุปัฏฐายิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

* บาลีไทย กุณฺฑิฏฺานวเน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 209

สถาปนาไว้ในเอตทัคคะกว่าพระสาวิกาทั้งหลายผู้ถวายสิ่งของอันประณีต

เป็นพระอริยสาวิกาผู้โสดาบัน. สิ่งใดสิ่งหนึ่งแลไม่ว่าของเคี้ยวของบริโภค

หรือเภสัช อันสมควรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีสตรีอื่น ๆ ที่พึงจัดแจง

ไว้ในนั้น สิ่งทั้งหมดนั้นพระนางใช้ปัญญาของตนเท่านั้นจัดแจง แล้วจัก

น้อมเข้าไปถวายโดยเคารพ. และนางได้ถวายสังฆภัตและปาฏิปุคคลิกภัต

๘๐๐ ที่ทุก ๆ วัน. ผู้ใดผู้หนึ่งไม่ว่าจะเป็นภิกษุหรือภิกษุณี เข้าไปบิณฑ-

บาตยังตระกูลนั้นมิได้มีมือเปล่าไป. พระนางมีการบริจาคอย่างเด็ดขาด

มีมือสะอาด ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในทานและการจำแนก

ทาน ด้วยประการฉะนี้. สาวกโพธิสัตว์ผู้มีภพครั้งสุดท้ายได้ทำบุญญา-

ธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อน ได้ถือปฏิสนธิในท้องของนาง. ด้วย

บาปกรรมบางอย่างนั้นเอง เธอบริหารครรภ์นั้นอุ้มต้องถึง ๗ ปี และได้

เป็นผู้มีครรภ์หลงถึง ๗ วัน เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สตฺต วสฺสานิ

คพฺภ ธาเรติ สตฺตาห มุฬฺหคพฺภา ทรงครรภ์ถึง ๗ ปี ครรภ์หลงถึง

๗ วัน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สตฺต วสฺสานิ แปลว่า ถึง ๗ ปี. ก็

คำว่า สตฺต วสฺสานิ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติใช้ในอัจจันตสังโยคะ แปลว่า

ตลอด. บทว่า คพฺภ ธาเรติ แปลว่า อุ้มครรภ์ไป อธิบายว่า มีครรภ์.

บทว่า สตฺตาห มุฬฺหคพฺภา ได้แก่ มีครรภ์ปันป่วนถึง ๗ วัน. เพราะว่า

ครรภ์แก่เต็มที่ เวลาจะคลอดถูกลมกัมมัชวาตทำให้ปั่นป่วนพลิกกลับไปมา

เอาเท้าขึ้นข้างบนเอาศีรษะลงข้างล่างมุ่งตรงช่องคลอด. สัตว์นั้นออกไป

ข้างนอกไม่ติดขัดในที่ไหน ๆ ด้วยประการฉะนี้. แต่เมื่อวิบัติ ก็จะนอน

ขวางปิดช่องคลอดด้วยการพลิกกลับไปมาผิดปกติ หรือช่องคลอดปิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 210

เสียเองทีเดียว. สัตว์นั้น เพราะลมกัมมัชวาตในครรภ์นั้น ปั่นป่วน

พลิกกลับไปมา ท่านจึงเรียกว่า ครรภ์หลง แม้นางก็ได้เป็นอย่างนั้นถึง

๗ วัน. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สตฺตาห มุฬฺหคพฺภา ดังนี้. ก็

สัตว์ผู้เกิดในครรภ์นี้ ได้แก่ พระสีวลีเถระ. ถามว่า เพราะเหตุไร ท่าน

จึงเป็นทุกข์ด้วยการอยู่ในครรภ์ถึง ๗ ปี ถึงความเป็นผู้หลงครรภ์ถึง ๗ วัน

และแม้พระมารดาของท่านผู้เป็นถึงอริยสาวิกาโสดาบัน ก็ได้เสวยทุกข์

อย่างนั้นเหมือนกัน ? ข้าพเจ้าจะเฉลย

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้ากาสีครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระ-

เจ้าโกศลองค์หนึ่งทรงกรีธากองพลใหญ่มายึดกรุงพาราณสี ทรงปลง

พระชนม์พระราชานั้น ได้สถาปนาพระอัครมเหสีของพระราชานั้นให้เป็น

อัครมเหสีของพระองค์. ฝ่ายพระราชโอรสของพระเจ้าพาราณสี ในเวลา

ที่พระบิดาสิ้นพระชนม์ จึงหนีออกทางประตูระบายน้ำ รวบรวมญาติมิตร

และพวกพ้องของพระองค์ไว้เป็นอันเดียวกัน รวมกำลังโดยลำดับแล้วเสด็จ

มายังกรุงพาราณสีตั้งค่ายใหญ่ไว้ในที่ไม่ไกล ทรงส่งพระราชสาสน์ถึง

พระราชาองค์นั้นว่า จงประทานราชสมบัติหรือจะรบ. พระมารดาได้

สดับสาสน์ของพระราชกุมารแล้ว จึงส่งพระราชสาสน์ไปว่า ไม่มีการต่อ

ยุทธ์ ลูกจงตัดขาดการสัญจรทั่วทุกทิศล้อมกรุงพาราณสีไว้ แต่นั้นพวก

คนในกรุงพากันลำบากเพราะหมดเปลืองไม้นำและอาหาร จักจับพระราชา

มาแสดง เว้นการต่อยุทธ์เสียเลย. พระราชกุมารได้สดับสาสน์ของพระ-

มารดาแล้ว เมื่อจะรักษาประตูใหญ่ทั้ง ๔ ด้าน จึงล้อมกรุงไว้ ๗ ปี.

พวกคนในกรุงพากันออกทางประตูน้อย นำเอาไม้และน้ำเป็นต้นมาทำกิจ

ทุกอย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 211

ลำดับนั้น พระมารดาของพระราชกุมารทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว จึง

ส่งพระราชสาสน์ลับถึงพระโอรสว่า ลูกเราโง่เขลาไม่รู้อุบาย พวกเจ้าจง

ไปบอกแก่บุตรของเรานั้นว่า จงปิดประตูน้อยล้อมกรุงไว้. พระราชกุมาร

ทรงสดับพระราชสาสน์ของพระมารดา จึงได้ทรงกระทำอย่างนั้นถึง ๗ วัน

ชาวพระนครเมื่อออกไปข้างนอกไม่ได้ วันที่ ๗ จึงได้เอาพระเศียรของ

พระราชานั้นไปมอบแด่พระราชกุมาร พระราชกุมารได้เสด็จเข้ากรุงยึด

ราชสมบัติ. เพราะผลกรรมที่ล้อมพระนครไว้ถึง ๗ ปีในครั้งนั้น บัดนี้

พระองค์จึงอยู่ในโลหิตกุมภี กล่าวคือพระครรภ์ของมารดา ๗ วัน. แต่

เพราะล้อมกรุงไว้ถึง ๗ วันโดยเด็ดขาด จึงถึงความเป็นผู้หลงครรภ์ถึง

๗ วัน. ส่วนในอรรถกถาชาดกท่านกล่าวว่า เพราะผลกรรมที่ล้อมกรุง

ยึดไว้ถึง ๗ วัน พระองค์จึงอยู่ในโลหิตกุมภีถึง ๗ ปีแล้วถึงความเป็นผู้

หลงครรภ์ถึง ๗ วัน. ก็พระองค์เป็นผู้เลิศด้วยลาภเพราะอานุภาพที่ถวาย

มหาทานแล้วดังความปรารถนาที่บาทมูลของพระปทุมุตตรสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าว่า ขอเป็นผู้เลิศด้วยลาภ และที่ถวายน้ำอ้อยและนมส้มมีค่า ๑,๐๐๐

กหาปณะพร้อมชาวเมือง แล้วได้ตั้งความปรารถนาในกาลแห่งพระผู้มี-

พระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี. ฝ่ายพระนางสุปปวาสา อุ้มครรภ์อยู่ถึง

๗ ปี หลงครรภ์อยู่ถึง ๗ วัน เพราะที่ส่งสาสน์ไปว่า พ่อจงล้อมพระนคร

ยึดไว้. พระมารดาและบุตรเหล่านั้น ได้เสวยทุกข์เช่นนี้อันสมควรแก่

กรรมของตน ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ตีหิ วิตกฺเกหิ ความว่า ด้วยสัมมาวิตก ๓ อันเกี่ยวด้วยการ

ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย. บทว่า อธิวาเสติ ความว่า อดทนทุกข์ที่เกิด

ขึ้น เพราะเป็นผู้มีครรภ์หลง. ความจริง พระนางหวนระลึกถึงความที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 212

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง การปฏิบัติดีของ

พระอริยสงฆ์ และพระนิพพานเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกข์ จึงอดทนข่ม

ทุกข์ที่เกิดแก่ตนด้วยไม่ทำไว้ในใจนั้นเอง. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว

ว่า ตีหิ วิตกฺเกหิ อธิวาเสติ ดังนี้.

บทมีอาทิว่า สนฺพุทฺโธ วต เป็นบทแสดงอาการที่วิตกเหล่านั้น

เกิดขึ้น. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ชื่อว่า เป็นนาถะ

แห่งโลก เพราะเหตุมีความเป็นผู้มีภาคยธรรมเป็นต้น ชื่อว่าพุทธะ เพราะ

ตรัสรู้สรรพธรรมโดยชอบคือไม่วิปริต โดยพระองค์เอง คือด้วยพระองค์

เอง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตรัสธรรมเพื่อละวัฏทุกข์ทั้งสิ้นเห็นปานนี้ ที่

เราได้รับอยู่ในบัดนี้ และที่มีความเกิดอย่างนี้เป็นอย่างหนึ่ง และเพื่อดับไม่

เกิดขึ้นอย่างสิ้นเชิง ตรัสธรรมที่ไม่ผิดตรงกันข้าม ความจริง ความที่

พระศาสดาสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะทรงแสดงธรรมไม่ผิดแผก

พระองค์มีหมู่แห่งพระอริยบุคคล ๘ ได้ชื่อว่า สาวกสงฆ์ เพราะเกิดในที่

ใกล้แห่งการฟังธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระคุณตามที่กล่าวแล้ว

และเกิดร่วมด้วยความเป็นผู้มีศีลและทิฏฐิเสมอกัน ซึ่งเป็นอริยสงฆ์ผู้-

ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ดำเนินสู่ปฏิปทาเป็นเหตุไม่กลับ (นิพพาน) เพื่อละ

วัฏทุกข์เห็นปานนี้คือเช่นนี้ และเพื่อดับคือไม่เกิดแห่งวัฏทุกข์ ย่อม

ไม่ได้รับวัฏทุกข์เช่นนี้ ในพระนิพพานอันเป็นเครื่องสลัดสังขตธรรม

ทั้งปวง อันเป็นสุขหนอ สุขดีหนอ. ก็ในที่นี้ แม้ผู้กำลังปฏิบัติ ท่าน

ก็กล่าวว่า ปฏิบัติแล้วเหมือนกัน เพราะการปฏิบัติไม่กลับ (นิพพาน).

อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า ปฏิปันนะ พึงทราบว่า เป็นอรรถปัจจุบัน เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 213

ศัพท์ อุปปันนะ. ด้วยเหตุนั้นแหละ ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่า ผู้ปฏิบัติ

เพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ดังนี้.

บทว่า สามิก ได้แก่ พระราชโอรสของพระเจ้าโกลิยะผู้เป็นสวามี

ของพระองค์. บทว่า อามนฺเตสิ แปลว่า ได้ตรัสแล้ว. บทว่า มม

วจเนน ภควโต ปาเท สิรสา วนฺทาหิ ความว่า จงถวายบังคมด้วยเศียร-

เกล้าของเธอ ซึ่งพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันมีสิริดุจดอก

ปทุมแย้มที่ประดับด้วยจักรลักษณะ ตามคำของเรา อธิบายว่า จงกระทำ

อภิวาทด้วยเศียรเกล้า. บทว่า อาพาโธ ในคำมีอาทิว่า อปฺปาพาธ ท่าน

กล่าวถึงเวทนาที่ไม่ถูกส่วนกัน ซึ่งแม้เกิดขึ้นแล้วในส่วนหนึ่ง ก็ยึดเอา

สรีระทั้งสิ้นดุจยึดไว้ด้วยแผ่นเหล็ก. บทว่า อาตงฺโก ได้แก่ โรคที่ทำ

ชีวิตให้ฝืดเคือง. อีกอย่างหนึ่ง โรคที่พึงยังอัตภาพให้เป็นไปได้ ชื่อว่า

อาตังกะ. โรคนอกนี้ ชื่อว่าอาพาธ. อีกอย่างหนึ่ง โรคเล็กน้อย ชื่อว่า

อาตังกะ โรครุนแรง ข้อว่าอาพาธ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า โรค

ที่เกิดภายใน ชื่อว่าอาพาธ โรคที่เกิดภายนอก ชื่อว่าอาตังกะ. พระนาง

ตรัสว่า พระองค์จงทูลถามถึงความไม่มีโรคแม้ทั้งสองอย่างนั้น. ก็ขึ้นชื่อว่า

การเกิดขึ้นแห่งความป่วยไข้นั้นแหละ เป็นการหนัก กายไม่มีกำลัง. เพราะ-

เหตุนั้น พระนางจึงตรัสว่า พระองค์จงทูลถามถึงฐานะที่ร่างกายเบาและ

มีกำลัง กล่าวคือการเปลี่ยนแปลงเร็ว เพราะไม่มีความป่วยไข้. บทว่า

ผาสุวิหาร ความว่า พระนางตรัสว่า และจงทูลถามถึงการอยู่พระสำราญ

ในอิริยาบถทั้ง ๔ กล่าวคือ ยืน นั่ง เดิน นอน. ลำดับนั้น พระนางเมื่อ

จะแสดงอาการที่จะทูลถามพระองค์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า สุปฺปวาสา ภนฺเต

ดังนี้. ด้วยคำว่า เอวญฺจ เทหิ ท่านแสดงถึงอาการที่จะพึงทูลในบัดนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 214

บทว่า ปรม เป็นการรับคำตอบ. ด้วยบทว่า ปรม นั้น พระองค์

ทรงแสดงว่า ดีละเธอ ฉันจะปฏิบัติตามที่เธอกล่าว. บทว่า โกลิยปุตฺโต

ได้แก่ พระราชโอรสของเจ้าโกลิยะผู้สวามีของพระนางสุปปวาสา.

ด้วยบทว่า สุขินี โหตุ พระศาสดาผู้เป็นอัครทักขิไณยบุคคลในโลก

พร้อมเทวโลก ทรงรับคำการไหว้ของพระราชบุตรที่พระนางสุปปวาสา

ส่งมา ทีนั้น จึงทรงประกาศการนำความสุขเข้าไปให้ที่พระพุทธเจ้าเคยทรง

บำเพ็ญมาเป็นเหตุให้เกิดเมตตาวิหารธรรมของพระองค์ แก่พระนางสุปป-

วาสานั้นโดยสามัญทั่วไป เมื่อจะทรงแสดงการนำความสุขเข้าไปแก่พระ-

นางและพระราชโอรสอีก โดยการปฏิเสธการได้รับทุกข์ อันมีการวิบัติ-

ครรภ์เป็นมูลเหตุเป็นประธานจึงตรัสว่า สุขินี อโรคา อโรค ปุตฺต วิชายตุ

พระนางจงมีความสุขปราศจากโรค ประสูติพระโอรสหาโรคมิได้. บทว่า

สห วจนา ได้แก่พร้อมพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแหละ. ใน

เวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเช่นนั้นนั่นแหละ กรรมแม้นั้นก็ถึงความ

หมดไป. พระศาสดาทรงตรวจดูว่า กรรมนั้นหมดไปแล้วจึงได้ตรัสอย่าง

นั้น. ส่วนอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ถ้าพระศาสดาจักไม่ตรัส

อย่างนั้นไซร้ แม้ต่อแต่นั้น ความทุกข์นั้นจักติดตามพระนางไปตลอด

กาลนิดหน่อย แต่เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอเจ้าจงมี

ความสุขไม่มีโรค และประสูติโอรสผู้ไม่มีโรค ฉะนั้น พร้อมกับเวลาที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนั้นแล ครรภ์นั้นก็หายความปั่นป่วนประสูติโดย

ง่ายดายทีเดียว พระมารดาและพระโอรสทั้งสองนั้น ได้มีความสวัสดีด้วย

ประการฉะนี้ ความจริง พุทธานุภาพของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็น

อจินไตย. เปรียบเหมือนเมื่อนางปฏาจาราถึงความเป็นบ้าเพราะความโศก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 215

อันเกิดจากสัตว์และสังขารอัน เป็นที่รัก มีภาวรูปเหมือนตอนเกิดนั้น พลาง

เที่ยวพูดว่า

อุโภ ปุตฺตา กาลกตา ปนฺเถ มยฺห ปตี มโต

มาตา ปิตา จ ภาตา จ เอกจิตกสฺมิ ณายเร.

บุตรทั้งสองก็ตาย สามีของเราก็ตายในหนทาง

เปลี่ยว มารดาบิดาและพี่ชาย เขาเผาในเชิงตะกอน

เดียวกัน.

ในขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า น้องหญิง เธอจงกลับได้สติ

นั้นแล ความเป็นบ้าก็หายไป ฉันใด แม้นางสุปปิยาอุบาสิกาก็เหมือนกัน

เมื่อไม่อาจจะให้แผลใหญ่ที่ตนเองทำไว้ที่ขาของตนหายได้ จึงนอนบน

เตียงนอน เมื่อแผลหายเป็นปกติในขณะที่ตรัสว่า เธอจงมาไหว้เรา ตนเอง

ก็ไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า รวมความว่า เรื่องมีอาทิดังกล่าวนี้

พึงยกขึ้นกล่าวในที่นี้แล.

บทว่า เอว ภนฺเต ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คำนั้นเป็น

เหมือนพระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงหวังถึงความที่พระนาง

พร้อมทั้งพระโอรสไม่มีโรค จึงตรัสว่า จงเป็นผู้มีความสุขปราศจากโรค

ประสูติพระโอรสปราศจากโรคนั้นแล. อธิบายว่า ในกาลไหน ๆ พระ-

ดำรัสของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า หาได้เป็นไปอย่างอื่นไม่เลย. ส่วน

อาจารย์บางพวกกล่าว่า เอวมตฺถุ จงเป็นอย่างนั้น. อาจารย์อีกพวกหนึ่ง

นำเอาความของบทว่า โหตุ จงสำเร็จเถิด มาพรรณนา. บทว่า อภินนฺ-

ทิตฺวา ความว่า เพลิดเพลินตรงพระพักตร์ โดยได้รับปีติและโสมนัส ใน

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระสุรเสียง มีพระดำรัสอ่อนหวานดังเสียงนก

การเวกตรัสอยู่นั้น. บทว่า อนุโมทิตฺวา ความว่า แม้ภายหลังแต่นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 216

ก็ทำให้เกิดความชื่นชมยินดี คือเพลิดเพลินด้วยจิตแล้วอนุโมทนาด้วยวาจา

หรือเพลิดเพลินด้วยความสมบูรณ์แห่งพระดำรัส แล้วพลอยยินดีด้วยความ

สมบูรณ์แห่งประโยชน์. บทว่า สก ฆร ปจฺจายาสิ ได้แก่ เสด็จกลับ

พระตำหนักของพระองค์. ก็ท่านอาจารย์ผู้สวดว่า เยน สก ฆร เป็นอัน

กล่าวบทว่า เตน เพราะ ย ต ศัพท์เชื่อมกัน แม้ก็จริง ถึงกระนั้น พึง

ประกอบบาลีที่เหลือว่า ปฏิยายิตฺวา กลับ. บทว่า วิชาต ได้แก่ คลอด

อธิบายว่า ประสูติ. บทว่า อจฺฉริย ความว่า ชื่อว่า น่าอัศจรรย์ เพราะ

ไม่มีอยู่เป็นนิจ เหมือนคนตาบอดขึ้นภูเขา. นัยแห่งศัพท์เพียงเท่านี้. แต่

ในอรรถกถากล่าวไว้ว่า ชื่อว่า น่าอัศจรรย์ เพราะควรแก่การปรบมือ,

อธิบายว่า ควรแก่การดีดนิ้ว. ศัพท์ วต ใช้ในสัมภาวนะ, อธิบายว่า

น่าอัศจรรย์จริง. บทว่า โภ เป็นคำร้องเรียกธรรมดา. ชื่อว่า อัพภูตะ

เพราะไม่เคยมี.

บทว่า ตถาคตสฺส ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต

โดยเหตุ ๘ ประการ, คือ ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น, ชื่อว่า

ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น , ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะ

อันถ่องแท้, ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งธรรมอันถ่องแท้ตาม

เป็นจริง, ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นธรรมอันถ่องแท้ ชื่อว่า ตถาคต

เพราะมีพระดำรัสอันถ่องแท้, ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำอย่างนั้น,

ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าครอบงำ (สัตว์ทั้งปวง).

ถามว่า อย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะ

เสด็จมาอย่างนั้น ? ตอบว่า เหมือนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายในปาง

ก่อน ผู้ถึงความขวนขวาย เพราะเสด็จมาเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 217

ทั้งปวง. กล่าวอธิบายไว้อย่างไร ? กล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้

พระองค์นี้ เสด็จมาด้วยอภินิหาร ๘ ประการอันเป็นเครื่องเสด็จมาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ทรง

บำเพ็ญบารมี ๓๐ ถ้วน คือทรงบำเพ็ญทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมม-

บารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี

เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี รวมบารมีเหล่านั้น จัดเป็นบารมี ๑๐ อุป-

บารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ และทรงบำเพ็ญ

บุพประโยค บุพจริยะ การตรัสธรรมเทศนา และญาตัตถจริยาเป็นต้น

แล้วทรงถึงที่สุดแห่งพุทธจริยาเสด็จมาแล้ว โดยประการใด พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแม้พระองค์นี้ก็เสด็จมาแล้วโดยประการนั้น. อนึ่ง พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงบำเพ็ญพอกพูนสติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ ๘

เสด็จมาโดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้พระองค์นี้ก็เสด็จมา โดย

ประการนั้น ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปโดย

ประการนั้น เป็นอย่างไร ? ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น

ทรงอุบัติเดี๋ยวนั้น ประทับยืนด้วยพระยุคลบาททั้งสอง บ่ายพระพักตร์ไป

ทางด้านอุตรทิศ เสด็จดำเนินไปได้ ๗ ก้าว เมื่อเทวดากั้นเศวตฉัตร

ทรงชำเลืองดูได้ทั่วทุกทิศ ทรงเปล่งพระวาจาอย่างอาจหาญ และพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเหล่านั้น เมื่อประกาศถึงความที่พระองค์เป็นผู้เจริญที่สุดและ

ประเสริฐที่สุดในโลก จึงได้มีการเสด็จไปอย่างถ่องแท้ ไม่ผิด โดยเป็น

บุรพนิมิตแห่งการบรรลุคุณวิเศษเป็นอันมาก โดยประการใด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าแม้พระองค์นี้ ก็เสด็จไป โดยประการนั้น และการเสด็จไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 218

ของพระองค์นั้น เป็นการเสด็จไปอย่างถ่องแท้ไม่ผิด เพราะเป็นบุรพนิมิต

แห่งการบรรลุคุณวิเศษเหล่านั้นเหมือนกัน. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จ

ไปโดยประการนั้น ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทั้งหลายเหล่านั้น ทรงละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะแล้วเสด็จไป ละพยาบาท

ด้วยการไม่พยาบาท ละถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ละอุทธัจจกุกกุจจะ

ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนัดธรรมเสด็จไป ทำลาย

อวิชชาด้วยพระญาณ บรรเทาความไม่ยินดีด้วยความปราโมทย์ ละธรรม

อันเป็นปฏิปักษ์นั้น ๆ ด้วยสมาบัติ ๘ ด้วยมหาวิปัสสนา ๑๘ และด้วย

อริยมรรค ๔ เสด็จไป ฉันใด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ก็เสด็จไป ฉันนั้น.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปโดยประการนั้น แม้ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะถ่องแท้ เป็นอย่างไร ?

คือ ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงมีพระญาณคติเสด็จมาถึง คือบรรลุไม่ผิด

พลาด ซึ่งลักษณะอันถ่องแท้ไม่ผิดไม่กลายเป็นอย่างอื่น อันมีธรรมนั้น ๆ

เป็นสภาวะพร้อมด้วยกิจเป็นลักษณะอย่างนี้ คือปฐวีธาตุมีความแข่นแข็ง

เป็นลักษณะ อาโปธาตุมีความไหลไปเป็นลักษณะ เตโชธาตุมีความอบอุ่น

เป็นลักษณะ วาโยธาตุมีความพัดไหวเป็นลักษณะ อากาศธาตุ (ปริเฉท-

รูป) มีความจับต้องไม่ได้เป็นลักษณะ รูปมีความแปรผันเป็นลักษณะ

เวทนามีความรับรู้เป็นลักษณะ สัญญามีความจำได้เป็นลักษณะ สังขาร

มีความปรุงแต่งเป็นลักษณะ วิญญาณมีความรู้แจ้งเป็นลักษณะ รวมความ

ว่า ได้แก่ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ สัจจะ ๔

ปัจจยาการ ๑๒ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 219

พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ วิสุทธิ ๗ และอมตนิพพาน ๑.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะถ่องแท้ ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ชอบยิ่งซึ่งธรรมถ่องแท้ตามเป็นจริง

เป็นอย่างไร ? คือ ชื่อว่าธรรมถ่องแท้ ได้แก่ อริยสัจ ๔. สมดังที่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้เป็นของแท้

ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คำที่ว่า นี้ทุกข์ นั่นเป็นของแท้ ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น. ข้อความ

พิสดารแล้ว . ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ยิ่งซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านั้น เพราะ-

ฉะนั้นจึงชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ นั้นอย่างถ่องแท้. อีกอย่าง

หนึ่ง อรรถที่ชราและมรณะเกิดและเป็นไปเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็น

เป็นสภาวะถ่องแท้ ไม่ผิดไม่กลายเป็นอย่างอื่น ฯลฯ อรรถที่สังขารเกิด

และเป็นไปเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นสภาวะถ่องแท้ ไม่ผิด ไม่กลาย

เป็นอย่างอื่น อรรถที่อวิชชาเป็นปัจจัยแห่งสังขารก็เหมือนกัน ฯลฯ

อรรถที่ชาติเป็นปัจจัยแห่งชราและมรณะก็เหมือนกัน เป็นสภาวะถ่องแท้

ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ธรรมนั้นทั้งหมด.

แม้เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ

ตรัสรู้ยิ่งอริยสัจ ๔ อย่างถ่องแท้. จริงอยู่ คต ศัพท์ ในบทว่า ตถาคโต

นี้ มีอรรถว่าตรัสรู้ยิ่ง. ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมอย่างถ่องแท้

ตามเป็นจริง ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นถ่องแท้ เป็นอย่างไร ? คือ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้ทรงเห็นโดยประการทั้งปวง ซึ่งธรรมชาติที่ชื่อว่า

รูปารมณ์ อันมาปรากฏทางจักษุทวารของสัตว์หาประมาณมิได้ ในโลก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 220

ธาตุหาประมาณมิได้ ในโลกพร้อมเทวโลก ฯ ล ฯ ในหมู่สัตว์พร้อมเทวดา

และมนุษย์ ธรรมชาติที่ถ่องแท้เท่านั้นมี ที่ไม่ถ่องแท้ไม่มี อันพระองค์

ผู้ทรงรู้ทรงเห็นอย่างนี้ จำแนกโดยนามเป็นอันมาก ๑๓ วาระ ๕๒ นัย

โดยนัยมีอาทิว่า รูปที่ชื่อว่า รูปายตนะนั้นเป็นไฉน คือรูปที่เห็นได้ง่าย

กระทบได้ง่าย เขียว และเหลือง เพราะอาศัยมหาภูตรูป ๔ จึงเปล่งสี

โดยอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น หรือโดยบทที่ได้อยู่ในรูปที่ได้เห็น

เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ได้ทราบ และธรรมารมณ์ที่ได้รู้แจ้ง. ในสัททารมณ์

เป็นต้น ที่มาปรากฏทางโสตทวารเป็นต้นก็นัยนี้. สมจริงดังพระดำรัส ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรารู้อยู่รู้ยิ่งแล้ว

ซึ่งรูปที่ได้เห็นแล้ว เสียงที่ได้ฟังแล้ว อารมณ์ที่ได้ทราบแล้ว และ

ธรรมารมณ์ที่ได้รู้แจ้งแล้ว ที่เราบรรลุแล้ว แสวงหาแล้ว คิดค้นแล้ว

ด้วยใจของโลกพร้อมเทวโลก ฯ ล ฯ ของหมู่สัตว์พร้อมเทวดาและมนุษย์

รูปที่เห็นแล้วเป็นต้นนั้น ตถาคตรู้แจ้งแล้ว ปรากฏแล้วแก่ตถาคต.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นถ่องแท้ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ตถาคโต

พึงทราบว่าเป็นบทใช้ในอรรถว่า ทรงเห็นถ่องแท้.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีวาทะถ่องแท้ เป็นอย่างไร คือ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตรัสรู้ยิ่งซึ่งอนุตตสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และทรง

ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ระหว่างนี้มีเวลาประ-

มาณได้ ๔๕ พรรษา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสุตตะและเคยยะเป็นต้นใด

ทั้งหมดนั้น บริสุทธิ์บริบูรณ์ กำจัดความเมาเพราะราคะเป็นต้นได้ เป็น

อันเดียวกันถ่องแท้ไม่มีผิด. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า จุนทะ ก็

ตถาคต ตรัสรู้ยิ่งซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และปรินิพพาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 221

ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในราตรีใด ระหว่างนี้ ภาษิต กล่าว แสดง

ธรรมใด ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นอย่างนั้นเหมือนกัน หาได้เป็นอย่างอื่นไม่

เพราะฉะนั้น เขาจึงเฉลิมพระนามว่า ตถาคต. คต ศัพท์ ในบทว่า

ตถาคโต นี้ มีอรรถว่า คทะ แปลว่า ตรัส. ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีวาทะ

อันถ่องแท้ ด้วยประการฉะนี้. อีกอย่างหนึ่ง อาคทนะ คือ อาคทะ,

อธิบายว่า ตรัส. ในบทนี้ พึงทราบบทสำเร็จรูปอย่างนี้ว่า ชื่อว่า ตถาคต

เพราะแปลง ที่อักษรให้เป็น ต อักษร เพราะอรรถว่าพระองค์มีพระ-

ดำรัสอย่างถ่องแท้ คือไม่แปรผัน.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำอย่างนั้น เป็นอย่างไร ? คือความ

จริง พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าคล้อยตามพระวาจา แม้พระวาจา

ก็คล้อยตามกาย, เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงเป็นยถาวาที ตถาการี ตรัส

อย่างใดกระทำอย่างนั้น และเป็นยถาการี ตถาวาที ทรงกระทำอย่างใด

ตรัสอย่างนั้น, อธิบายว่า ทั้งพระวาจาทั้งพระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เป็นอย่างนั้น ย่อมมีด้วยประการใด พระองค์ทรงดำเนินไป คือเป็นไป

โดยประการนั้น. อนึ่ง พระกายเป็นไปอย่างไร แม้พระวาจาก็ตรัสไป

คือเป็นไปอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต. ด้วยเหตุ

นั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคต กล่าวอย่างใดกระทำอย่างนั้น

กระทำอย่างใดกล่าวอย่างนั้น รวมความว่า เป็นยถาวาที ตถาการี กล่าว

อย่างใดกระทำอย่างนั้น เป็นยถาการี ตถาวาที กระทำอย่างใดกล่าว

อย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. ชื่อว่า ตถาคต เพราะกระทำ

อย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 222

ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าครอบงำ เป็นอย่างไร ? คือ พระ-

องค์ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำภวัคคพรหมในเบื้องบน

จนถึงอเวจีมหานรกในเบื้องล่าง ทั้งเบื้องขวาง ก็ทรงครอบงำสรรพสัตว์

ในโลกธาตุหาประมาณมิได้ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง วิมุตติ

บ้าง วิมุตติญาณทัสสนะบ้าง พระองค์ชั่งไม่ได้หรือประมาณไม่ได้ โดย

ที่แท้พระองค์เป็นผู้อันใคร ๆ ชั่งไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ยอดเยี่ยมเป็น

เทพของเทพ เป็นท้าวสักกะยิ่งกว่าท้าวสักกะ เป็นพรหมยิ่งกว่าพรหม

เป็นผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ตถาคต เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ใคร ๆ ครอบงำไม่ได้ เห็นได้ถ่องแท้ แผ่อำนาจ

เป็นไป ในโลกพร้อมเทวโลก ฯ ล ฯ ในหมู่สัตว์พร้อมเทวดาและมนุษย์

เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. ในข้อนั้น มีบทสำเร็จรูปดังต่อไปนี้

พระดำรัสของพระองค์เหมือนยาวิเศษ ได้แก่เทศนาวิลาสและการสั่งสมบุญ

ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงทรงครอบงำคนที่เป็นปรัปปวาททั้งหมดและโลก

พร้อมเทวโลก เหมือนแพทย์ผู้มีอานุภาพมากใช้ยาทิพย์กำราบงูทั้งหลาย

ฉะนั้น ดังนั้น จึงเฉลิมพระนามว่า ตถาคต เพราะแปลง ท อักษรให้

เป็น ต อักษร โดยอรรถว่าพระองค์มีพระดำรัสถ่องแท้ไม่แปรผันตามที่

กล่าวมาแล้วเหตุครอบงำสรรพโลกเสียได้. ข้อว่า ตถาคต เพราะอรรถ

ว่าครอบงำสรรพสัตว์ ด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปโดยประการนั้น. ชื่อว่า

ตถาคต เพราะเสด็จไปโดยถ่องแท้. ในบทว่า ตถาคโต นั้น ชื่อว่า

ตถาคต เพราะเสด็จถึง คือบรรลุโลกทั้งสิ้นโดยถ่องแท้ด้วยตีรณปริญญา.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป คือก้าวล่วงโลกสมุทัย โดยถ่องแท้ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 223

ปหานปริญญา. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จถึง คือบรรลุโลกนิโรธโดย

ถ่องแท้ ด้วยสัจฉิกิริยา ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป คือปฏิบัติ

โลกนิโรธคามินีปฏิปทาโดยถ่องแท้. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกอันพระตถาคตตรัสรู้ยิ่งแล้ว

พระตถาคตทรงพรากจากโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกสมุทัยอันพระ-

ตถาคตตรัสรู้ยิ่งแล้ว โลกสมุทัยอันพระตถาคตละได้แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย โลกนิโรธอันพระตถาคตตรัสรู้ยิ่งแล้ว โลกนิโรธอันพระตถาคตทำ

ให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกนิโรธคามินีปฏิปทาอันพระตถาคต

ตรัสรู้ยิ่งแล้ว โลกนิโรธคามินีปฏิปทาอันพระตถาคตบำเพ็ญแล้ว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหมดนั้น อันพระตถาคตตรัสรู้ยิ่งแล้วในโลกพร้อม

เทวโลก ฯลฯ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ ประการ

แม้อื่นอีก คือ

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาโดยประการนั้น.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปโดยประการนั้น.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะมาถึงสัจจะอย่างนั้น.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีประการอย่างนั้น.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีความเป็นไปโดยประการอย่างนั้น.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสด้วยพระญาณอย่างนั้น.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะภาวะที่เสด็จไปอย่างนั้น.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาโดยประการนั้น เป็นอย่างไร ? คืบ

พระผู้มีพระภาคเจ้า คราวเป็นสุเมธดาบสบำเพ็ญอภินิหารอันประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 224

องค์ ๘ ประการ แทบบาทมูลของพระทศพลพระนามว่าทีปังกร ดังที่ท่าน

กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

มนุสฺสตฺต ลิงฺคสมฺปตฺติ เหตุ สตฺถารทสฺสน

ปพฺพชฺชา คุณสมฺปตฺติ อธิกาโร ฉนฺทตา

อฏฺธมฺมสโมธานา อภินีหาโร สมิชฺฌติ.

อภินิหารย่อมสำเร็จ เพราะการประชุมธรรม ๘

ประการ คือ ความเป็นมนุษย์ ๑ ความสมบูรณ์ด้วย

เพศ ๑ เหตุ ๑ การได้พบเห็นพระศาสดา ๑ การ

บรรพชา ๑ ความสมบูรณ์ด้วยคุณธรรม ๑ บุญญา-

ธิการ ๑ ความเป็นผู้มีฉันทะ ๑.

ทรงประกาศมหาปฏิญญาว่า เราข้ามโลกพร้อมเทวโลกได้แล้ว จัก

ยิ่งสัตว์ให้ข้าม เราหลุดพ้นแล้ว จักยังสัตว์ให้พ้น เราฝึกตนแล้ว จักฝึก

ผู้อื่น เราสงบแล้ว จักให้ผู้อื่นสงบ เราโล่งใจแล้ว จักยังผู้อื่นให้โล่งใจ

เราปรินิพพานแล้ว จักยังผู้อื่นให้ปรินิพพาน เราตรัสรู้แล้ว จักยังผู้อื่น

ให้ตรัสรู้. สมจริง ดังที่ตรัสไว้ว่า

เราเป็นชาติชายมีพลังข้ามพ้นแต่ผู้เดียว จะมี

ประโยชน์อะไร เราบรรลุสัพพัญญุตญาณ แล้วจะยัง

โลกนี้พร้อมเทวโลกให้ข้ามได้ด้วย ด้วยบุญญาธิการ

นี้ เราเป็นชาติชายมีพลัง บรรลุสัพพัญญุตญาณแล้ว

จะให้หมู่ชนเป็นอันมากข้ามได้ด้วย เราตัดกิเลสดุจ

กระแสในสงสาร ทำลายภพ ๓ ขึ้นสู่นาวาคือธรรม

จักยังโลกนี้พร้อมเทวโลกให้ข้ามได้ด้วย เราทำให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 225

แจ้งธรรมในที่นี้ ด้วยเพศที่ผู้อื่นไม่รู้จักจะเป็นประ-

โยชน์อะไร เราบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้วจักเป็น

พระพุทธเจ้าในโลกนี้พร้อมเทวโลก ดังนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นโลกนาถ เมื่อตรัสมหาปฏิญญานี้นั้น

อันเป็นเหตุแห่งการค้นคว้าการพิจารณาและการสมาทานหมวดธรรม กระ-

ทำความเป็นพุทธะแม้ทั้งสิ้นไม่ให้คลาดเคลื่อน เพราะเหตุที่ทรงบำเพ็ญ

พระบารมี ๓๐ ทัศ มีทานบารมีเป็นต้นได้อย่างสิ้นเชิง ติดต่อกันโดย

เคารพ ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ มีการบริจาคอวัยวะเป็นต้น พอกพูน

อธิษฐาน ๔ มีสัจจาธิษฐานเป็นต้น ทรงเพิ่มพูนบุญสมภารและญาณ-

สมภาร ทรงให้บุรพประโยค บุรพจริยะ ธรรมกถา และญาตัตถจริยา

เป็นต้นให้อุกฤษฏ์ ให้พุทธจริยาถึงเงื่อนสุดอย่างยิ่ง สิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วย

แสนมหากัป จึงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ฉะนั้น มหาปฏิญญา

นั้นของพระองค์นั้นแหละจึงเป็นของถ่องแท้ ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น

ความผิดพลาดของพระองค์ แม้เพียงปลายขนทรายหามีไม่. จริงอย่างนั้น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์เหล่านี้ คือ พระทีปังกรทศพล พระ-

โกณฑัญญะ พระมังคละ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้ากัสสปะ เสด็จอุบัติ

ขึ้นโดยลำดับ ทรงพยากรณ์ว่า จักเป็นพระพุทธเจ้า. พระองค์ได้รับ

พยากรณ์ ในสำนักของพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์ด้วยประการฉะนี้แล้ว

ทรงได้รับอานิสงส์ที่พระโพธิสัตว์ผู้ได้บำเพ็ญอภินิหารจะพึงได้รับนั่นแหละ

เสด็จมาแล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาคือบรรลุ

ความเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่งด้วยมหาปฏิญญาตามที่ตรัสไว้นั้น. ชื่อว่า ตถาคต

เพราะเสด็จมาโดยประการนั้น ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 226

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปโดยประการนั้น เป็นอย่างไร ? คือ

พระโลกนาถทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้ดำเนินไปลำบากเพราะทุกข์ใหญ่ ทรงมี

พระมนัสอันพระมหากรุณาใดให้อาจหาญขึ้นว่า หมู่สัตว์นั้นไม่มีใครอื่น

เป็นที่พึ่ง เราเท่านั้น พ้นจากสังสารทุกข์นี้แล้ว จักยังสรรพสัตว์ให้พ้น

ได้ด้วย จึงได้ทรงทำมหาอภินิหาร, ครั้นแล้วทรงถึงความอุตสาหะอัน

ให้สำเร็จประโยชน์แก่โลกทั้งสิ้น ตามที่ได้ทรงตั้งปณิธานไว้ ทรงไม่ห่วง

ใยพระกายและพระชนม์ชีพของพระองค์ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาที่ทำได้ยาก

อันทำความสะดุ้งจิตให้เกิดขึ้น ด้วยเหตุเพียงปรากฏทางโสตทวารของชน

เหล่าอื่น ทรงดำเนินโดยประการที่ข้อปฏิบัติเพื่อมหาโพธิญาณ อันไม่

เป็นหานภาคิยะ (ส่วนแห่งการละ) สังกิเลสภาคิยะ (ส่วนแห่งความเศร้า

หมอง) หรือฐิติภาคิยะ (ส่วนแห่งการตั้งมั่น) โดยที่แท้เป็นวิเสสภาคิยะอย่าง

ยอดเยี่ยมแท้จริง ทรงสำเร็จพระโพธิสมภารอย่างสิ้นเชิงโดยลำดับ จึง

ทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ เบื้องหน้าแต่นั้น ทรงมีพระมนัสอันพระมหา-

กรุณานั้นนั่นแหละกระตุ้นเตือน ทรงละความยินดีในความสงัดและความ

สุขอันเกิดแต่วิโมกข์อันสงบอย่างยิ่ง ไม่คำนึงถึงประการที่ไม่เหมาะสมที่

ชาวโลกอันมากด้วยพาลชนให้เกิดขึ้น ทรงสำเร็จพุทธกิจโดยสิ้นเชิงด้วย

การแนะนำชนที่ควรแนะนำในข้อนั้น อาการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าหยั่ง

พระมหากรุณาลงในหมู่สัตว์นั้น จักมีแจ้งข้างหน้า. พระโลกนาถผู้เป็น

พระพุทธเจ้า มีพระมหากรุณาในสัตว์ทั้งหลาย ฉันใด แม้ผู้เป็นพระ-

โพธิสัตว์ก็ฉันนั้น ทรงมีพระมหากรุณาในหมู่สัตว์ ในกาลบำเพ็ญมหา-

อภินีหารเป็นต้น เพราะเหตุนั้น พระมหากรุณาของพระองค์ จึงชื่อว่า

ถ่องแท้ ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะมีภาวะเสมอกัน ในที่ทุกแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 227

และในกาลทุกเมื่อ. เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรงพระนามว่า ตถาคต

เพราะเสด็จไปคือดำเนินไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกทั้งสิ้น ด้วย

พระมหากรุณาอันถ่องแท้ มีกิจหน้าที่เสมอกันในสรรพสัตว์ทั้งหลายแม้ใน

กาลทั้ง ๓. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปโดยประการนั้น ด้วยประการ

ฉะนี้.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาถึงสัจจะถ่องแท้เป็นอย่างไร ? คือ

ชื่อว่า ถ่องแท้ ได้แก่ อริยมรรคญาณ. จริงอยู่ อริยมรรคญาณเหล่านั้น

ชื่อว่า ถ่องแท้ ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะไม่กล่าวลักษณะแห่ง

สภาวธรรมพร้อมกิจให้คลาดเคลื่อนแห่งธรรมคืออริยสัจ ๔ อันเป็น

ปวัตติ นิวัตติและเหตุทั้ง ๒ นั้น เป็นเครื่องรวบรวมเญยยธรรมทั้งมวล

อย่างนี้ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

และเป็นวิภาคของอริยสัจทั้ง ๔ นั้นมีอาทิว่า ทุกข์มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถ

ว่าเป็นสังขตะ มีอรรถว่าทำให้เดือดร้อน มีอรรถว่าแปรปรวน สมุทัยสัจมี

อรรถว่าประมวลมา มีอรรถว่าเป็นเหตุ มีอรรถว่าประกอบสัตว์ในภพ มี

อรรถว่ากังวล นิโรธสัจมีอรรถว่าเป็นเหตุสลัดออก มีอรรถว่าสงัด มี

อรรถว่าอันปัจจัยอะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ มีอรรถว่าเป็นอมตะ มรรคสัจมี

อรรถว่านำสัตว์ออก (จากทุกข์) มีอรรถว่าเป็นเหตุ มีอรรถว่าเป็นทัศนะ

มีอรรถว่าเป็นอธิปไตย (เป็นใหญ่) เพื่อความเป็นไปแห่งอาการอันไม่ผิด

แปลกกล่าวคือตรัสรู้โดยไม่งมงายในธรรมนั้น อันได้ด้วยการตัดขาดธรรม

อันเป็นฝักฝ่ายแห่งสังกิเลส อันเป็นเหตุกางกั้นความหยั่งรู้สภาวะตามเป็น

จริง พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงมีผู้อื่นที่จะแนะนำ ทรงมาถึงคือบรรลุ

อริยสัจ ๔ เหล่านั้นด้วยพระองค์เองทีเดียว เพราะฉะนั้น พระองค์จึงทรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 228

พระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาถึงสัจจะอันถ่องแท้.

เหมือนอย่างว่า พึงทราบถึงภาวะที่ถ่องแท้ซึ่งพระญาณอันปัจจัย

อะไร ๆ ไม่กระทบในกาลทั้ง ๓ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เวสารัชชญาณ ๔

ญาณที่กำหนดคติ ๕ อสาธารณญาณ ๖ ญาณที่แจ่มแจ้งในโพชฌงค์ ๗

ญาณอันแจ่มแจ้งในมรรค ๘ ญาณในอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ และ

พลญาณ ๑๐ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า แจ่มแจ้งเหมือนมรรคญาณ ฉะนั้น

ในข้อนั้น มีความแจ่มแจ้งดังต่อไปนี้ จริงอยู่ พึงทราบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ไม่ว่าจะเป็นสภาวกิจเป็นต้น ความแปลกกันในการกำหนดเป็นต้น และ

นามโคตรที่เนื่องกับขันธ์เป็นต้น ในขันธ์อายตนะและธาตุ อันเป็นอดีต

ต่างโดยประเภทมีหีนธรรมเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายผู้หาประมาณมิได้

ในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้. ญาณเหล่านี้ คือพระญาณของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ที่ไม่มีปัจจัยอะไร ๆ กระทบกระทั่งเป็นไปโดยประจักษ์ ใน

ที่ทั้งปวงในความพิเศษแห่งวรรณะ สัณฐาน กลิ่น รส และผัสสะเป็นต้น

ของธรรมที่เกิดเพราะปัจจัยกับความพิเศษแห่งปัจจัยนั้น ๆ ในรูปธรรมที่

ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์แม้ที่ละเอียดยิ่ง ที่อยู่ภายนอกฝา และที่อยู่ในที่ไกล

เหมือนผลมะขามป้อมที่อยู่บนฝ่ามือฉะนั้น และพระญาณที่เป็นไปใน

อนาคตและปัจจุบัน ก็เหมือนกัน ชื่อว่าพระญาณที่ไม่มีปัจจัยอะไร ๆ

กระทบกระทั่ง ในกาลทั้ง ๓. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ญาณของ

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าในส่วนอดีตไม่มีปัจจัยอะไร ๆ กระทบกระทั่ง

ญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าในส่วนอนาคตไม่มีปัจจัยอะไร ๆ กระทบ

กระทั่ง ญาณของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าในส่วนปัจจุบันไม่มีปัจจัยอะไร ๆ

กระทบกระทั่ง. ก็อริยสัจ ๔ นี้นั้น ชื่อว่า ถ่องแท้ ไม่ผิด ไม่กลายเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 229

อย่างอื่น เพราะไม่ได้ตรัสลักษณะแห่งสภาวะพร้อมด้วยกิจแห่งธรรมในที่

นั้น ๆ ได้ให้คลาดเคลื่อน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงบรรลุสัจจะ ๔ เหล่า

นั้น ด้วยสยัมภูญาณ. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จถึงสัจจะ ๔ อย่างถ่อง

แท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ปฏิสัมภิทา ๔ คือ อัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติ-

ปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ในปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ญาณอันถึงความ

แตกฉานในอรรถ สามารถกระทำความแจ่มแจ้ง และการกำหนดพร้อม

ลักษณะแห่งประเภทของอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา, ญาณอันถึงความ

แตกฉานในธรรม สามารถทำความแจ่มแจ้งและการกำหนดพร้อมลักษณะ

แห่งประเภทของธรรม ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา, ญาณอันถึงความแตกฉาน

ในการแสดงภาษา สามารถทำความแจ่มแจ้งและการกำหนดพร้อมลักษณะ

แห่งประเภทของภาษา ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา, ญาณอันถึงความแตก

ฉานในปฏิภาณ สามารถทำความแจ่มแจ้งและการกำหนดพร้อมลักษณะ

แห่งประเภทของปฏิภาณ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. สมจริงดังพระดำรัส

ที่ตรัสไว้ว่า ญาณในอรรถ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา, ญาณในธรรม

ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา, ญาณในการแสดงภาษาของอรรถและธรรม

ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา ญาณในญาณทั้งหลาย ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ก็ในญาณ ๔ อย่างนั้น ว่าโดยสังเขป ผลอันเผล็ดมาจากเหตุ ชื่อว่า อัตถะ

เพราะอันบุคคลพึงดำเนินไปและพึงบรรลุตามกระแสแห่งเหตุ แต่เมื่อว่า

โดยประเภท ธรรม ๕ เหล่านี้ คือปัจจยุปปันนธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

นิพพาน อรรถแห่งภาษิต วิบาก และกิริยา ชื่อว่า อัตถะ, ญาณอันถึงความ

แตกฉานในอรรถนั้น ของผู้พิจารณาในอรรถนั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 230

เมื่อว่าโดยสังเขป ปัจจัยชื่อว่า ธรรม. จริงอยู่ ปัจจัยนั้น ท่านเรียกว่า

ธรรม เพราะจัดแจงคือให้อรรถนั้น ๆ เป็นไป และให้บรรลุ. แต่เมื่อว่า

โดยประเภท ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ คือ เหตุอันยังผลให้เกิดขึ้นอย่างใด

อย่างหนึ่ง อริยมรรค คำภาษิต กุศลกรรม และอกุศลกรรม ชื่อว่า ธรรม

ญาณอันถึงความแตกฉานในธรรมนั้น ของผู้พิจารณธรรมนั้น ชื่อว่า

ธัมมปฏิสัมภิทา. สมจริง ดังพระดำรัสที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ญาณในทุกข์

ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา, ญาณในทุกขสมุทัย ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา,

ญาณในทุกขนิโรธ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา, ญาณในทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทา ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา.

อีกอย่างหนึ่ง ญาณในเหตุ ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา, ญาณใน

ผลอันเผล็ดมาจากเหตุ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา, ธรรมเหล่าใด เกิดแล้ว

เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้ว

ญาณในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา, ธรรมเหล่านั้น เกิดแล้ว

เป็นแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว บังเกิดเฉพาะแล้ว ปรากฏแล้วจาก

ธรรมใด ญาณในธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา, ญาณในชราและ

มรณะ ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา, ญาณในเหตุเป็นแดนเกิดชราและมรณะ

ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา, ญาณในธรรมเป็นเครื่องดับชราและมรณะ ชื่อว่า

อัตถปฏิสัมภิทา, ญาณในปฏิปทาเป็นเหตุให้ถึงความดับชราและมรณะ

ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา, ญาณในชาติ ภพ อุปาทาน ตัณหา เวทนา

ผัสสะ สฬายตนะ นามรูป วิญญาณ สังขาร ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา, ญาณ

ในเหตุเป็นแดนเกิดสังขาร ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา, ญาณในธรรมเป็น

เครื่องดับสังขาร ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา, ญาณในปฏิปทาเป็นเหตุให้ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 231

ความดับสังขาร ชื่อว่า ธัมมปฏิสัมภิทา, พระองค์ตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ฯลฯ

เวทัลละ นี้ เรียกว่า ธัมมปฏิสัมภิทา เธอรู้อรรถแห่งคำอันเป็นภาษิตนั้น ๆ

นั่นแหละว่า นี้ เป็นอรรถแห่งคำอันเป็นภาษิตนี้ นี้เรียกว่า อัตถปฏิสัม-

ภิทา ธรรมที่เป็นกุศลเป็นไฉน สมัยใด กุศลจิตฝ่ายกามาวจรเกิดพร้อม

ด้วยโสมนัสประกอบด้วยปัญญา ปรารภรูปารมณ์ ฯลฯ หรือธรรมารมณ์

ก็หรืออารมณ์ใด ๆ เกิดขึ้น สมัยนั้น ผัสสะย่อมมี ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมมี

ฯลฯ ธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ญาณในธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า ธัมม-

ปฏิสัมภิทา ญาณในวิบากแห่งธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อัตถปฏิสัมภิทา.

ความพิสดารแล้ว. ก็สภาวนิรุตติ (ภาษาเดิม) คือ อัพยภิจารโวหาร (ถ้อย-

คำที่ไม่คลาดเคลื่อน) อภิลาปะ (การพูด) ในอรรถและธรรมนี้ ตามภาษา

เดิมของสภาพสัตว์อันเป็นมคธภาษา ในการพูดภาษาเดิมนั้น นี้ ชื่อว่า

สภาวนิรุตติ นี้ไม่ชื่อว่า สภาวนิรุตติ ญาณอันถึงความแตกฉานดังนี้ ชื่อว่า

นิรุตติปฏิสัมภิทา. ญาณอันถึงความแตกฉานในญาณนั้น ของภิกษุผู้

พิจารณากระทำญาณทั้งหมดนั้นที่เป็นไป โดยกิจแห่งอารมณ์อย่างพิสดาร

ในญาณเหล่านั้นตามที่กล่าวแล้วให้เป็นอารมณ์ ชื่อว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา.

ดังนั้น ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบรรลุด้วยพระ-

องค์เอง จึงชื่อว่า ถ่องแท้ ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะเป็นไป

โดยอาการไม่ผิดแผก โดยกล่าวไม่ให้คลาดเคลื่อนในอารมณ์ของตนนั้น ๆ

อันยิ่งด้วยอรรถและธรรม. พระองค์ ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ

มาถึงสัจจะถ่องแท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง ธรรมชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เญยยะ ทั้งหมดนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 232

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้แล้ว ทรงเห็นแล้ว ทรงบรรลุแล้ว ทรงตรัสรู้

เฉพาะแล้ว โดยอาการทั้งปวง. จริงอย่างนั้น ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง พระองค์

ตรัสรู้แล้วโดยเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ธรรมที่ควรกำหนดรู้ พระองค์ตรัสรู้

แล้ว โดยเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ ธรรมที่ควรละ พระองค์ตรัสรู้แล้ว

โดยเป็นธรรมที่ควรละ ธรรมที่ควรทำให้แจ้ง พระองค์ตรัสรู้แล้ว โดย

เป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ธรรมที่ควรเจริญ พระองค์ตรัสรู้แล้ว โดย

เป็นธรรมที่ควรเจริญ เพราะผู้ใดผู้หนึ่ง จะเป็นสมณะก็ตาม พราหมณ์

ก็ตาม เทวดาก็ตาม มารก็ตาม พรหมก็ตาม ไม่สามารถที่จะคัดค้าน

พระองค์ โดยชอบธรรมว่า พระองค์ยังมิได้ตรัสรู้ธรรมชื่อนี้. ธรรม

อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าปหาตัพพะควรละ ทั้งหมดนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงละได้แล้ว ที่ควงต้นโพธิ์นั้นเอง โดยเด็ดขาดไม่มีการเกิดขึ้น

เป็นธรรมดา กรณียกิจที่ยิ่งกว่าการละธรรมที่ควรละนั้นไม่มี. จริงอย่าง

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงละ ตัดขาด ถอน ได้เด็ดขาด ซึ่งกิเลส

๑,๐๐๐ มีประเภท คือ โลภะ โทสะ โมหะ วิปริตมนสิการ อหิริกะ

อโนตตัปปะ ถีนะ มิทธะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ

มายา สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ อกุศลมูล ๓

ทุจริต ๓ วิสมะ ๓ สัญญา ๓ มละ ๓ วิตก ๓ ปปัญจะ ๓ อเนสนา ๓

ตัณหา ๓ วิปริเยสะ ๔ อาสวะ ๔ คัณฐะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ อคติ ๔

ตัณหูปาทาน ๔ อภินันทนะ ๕ นิวรณ์ ๕ เจโตขีละ ๕ เจตโสวินิพันธะ ๕

วิวาทมูล ๖ อนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ๘ อาฆาตวัตถุ ๙ ตัณหามูลกะ ๙

อกุศกรรมบถ ๑๐ อเนสนา ๒๑ ทิฏฐิ ๖๒ และตัณหาวิปริต ๑๐๘ เป็นต้น

พร้อมทั้งวาสนา เพราะใครๆ ไม่ว่าจะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็ตาม ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 233

พรหมก็ตาม ไม่สามารถจะคัดค้านพระองค์ได้ด้วยความชอบธรรมว่า ขึ้น

ชื่อว่ากิเลสเหล่านี้พระองค์ยังไม่ได้ละ.

ก็ธรรมเหล่านี้ใด มีประเภท คือ กรรมวิบาก กิเลส อุปวาทะ

และอาณาวีติกกมะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เป็นธรรมให้ผลในลำดับ

อาจให้ผลตามลำดับโดยส่วนเดียว แก่ผู้ส้องเสพธรรมเหล่านั้นได้ทีเดียว

เพราะใคร ๆ จะเป็นสมณะก็ตาม ฯ ล ฯ พรหมก็ตาม ไม่สามารถจะคัด

ค้านพระองค์ได้โดยชอบธรรมว่า ไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพธรรม

เหล่านั้น.

ก็นิยยานิกธรรมอันยอดเยี่ยม มีอริยมรรคเป็นด้วยนำ มี ๓๗ ประเภท

๗ หมวด รวมศีลสมาธิปัญญาอันเป็นเหตุสลัดออกจากวัฏทุกข์ได้เด็ดขาด

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้แล้วนั้น ย่อมนำสัตว์ออกจากทุกข์โดย

แท้จริงทีเดียว ย่อมทำผู้ปฏิบัติให้พ้นจากวัฏทุกข์ได้โดยแท้จริง เพราะ

ใครๆ ไม่ว่าจะเป็นสมณะ ฯลฯ หรือพรหมก็ตาม ไม่สามารถจะคัดค้าน

พระองค์ได้โดยชอบธรรมว่า ธรรมที่พระองค์ทรงแสดงว่า เป็นธรรม

นำออกจากทุกข์ ไม่นำออกจากทุกข์ได้จริง. สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า

พระสัมมาสัมพุทธะ เมื่อปฏิญญาแก่เธอ ยังไม่ตรัสรู้ธรรมเหล่านี้. พึง

ทราบความพิสดาร. เวสารัชชญาณ ๔ เหล่านี้ดังว่ามานี้ ของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าเป็นไปโดยอาการไม่ผิดแผก ชื่อว่าถ่องแท้ไม่ผิด ไม่กลายเป็น

อย่างอื่น เพราะรู้ความพิเศษของญาณ ปหานะ และเทศนาของพระองค์

โดยภาวะที่ไม่ผิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะถึง

เวสารัชชญาณอย่างถ่องแท้ ด้วยประการฉะนี้.

คติ ๕ คือ นิรยคติ ติรัจฉานคติ เปตคติ มนุสสคติ และเทวคติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 234

ในคติ ๕ นั้น มหานรก ๘ มีสัญชีวนรกเป็นต้น อุสสทนรก ๑๖ มี

กุกกุลนรกเป็นต้น และโลกันตนรก รวมทั้งหมดนี้ชื่อว่า นรก เพราะ

อรรถว่าไม่มีความแช่มชื่น โดยภาวะที่เป็นทุกข์อย่างแท้จริง และชื่อว่า

คติ เพราะอันสัตว์พึงไปตามกถากรรม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า นิรยคติ.

แม้เถ้ารึงที่มืดมิดและเย็นที่สุด ก็รวมลงในนรกเหล่านั้นเหมือนกัน. หนอน

แมลง งู นก สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น ชื่อว่า ดิรัจฉาน เพราะไป

ตามขวาง คติ คือสัตว์เดียรัจฉานเหล่านั้น เพราะนั้น จึงชื่อว่า

ดิรัจฉานคติ. ชื่อว่า เปรตพวกปรทัตตุปชีวิเปรต และนิชฌามตัณหิกเปรต

เป็นต้น เพราะเป็นผู้มีความหิวและความกระหายครอบงำ ชื่อว่าไป คือ

ปราศจากความสุขอันดียิ่ง เพราะมากด้วยความทุกข์ เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่าเปรต, คติ คือเปรตเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เปตคติ.

แม้พวกอสูรมีกาลกัญชิกอสูรเป็นต้น ก็รวมลงในเปรตเหล่านั้นเหมือนกัน.

ชาวชมพูทวีปและชาวมหาทวีปทั้ง ๔ พร้อมกับชาวทวีปเล็ก ๆ ชื่อว่า

มนุษย์ เพราะเป็นผู้มีใจสูง, คติคือมนุษย์เหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึง

ชื่อว่า มนุสสคติ. หมู่เทพ ๒๖ ชั้นเหล่านี้ คือ นับตั้งแต่ชั้นจาตุมหารา-

ชิกะถึงเทพผู้เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ย่อมเล่น คือ สนุกสนาน

โชติช่วงด้วยอานุภาพฤทธิ์ของตน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เทพ, คติ

คือเทพเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เทวคติ.

ก็คติเหล่านั้น เพราะเหตุที่ความวิเศษแห่งอุปบัติภพอันเกิดแต่

กรรมเหล่านั้น ๆ ฉะนั้น เมื่อว่าโดยอรรถ ได้แก่วิบากขันธ์และกัมมัช-

รูป. ในคติเหล่านั้น พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมเป็นไปโดยฐานะ

โดยเหตุ ด้วยการกำหนดวิภาคเหตุและผลอันเกิดแต่เหตุตามฐานะของตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 235

ว่า ธรรมดาว่าคตินี้ ย่อมเกิดจากกรรมชื่อนี้, และหมู่สัตว์เหล่านี้ ย่อม

แตกต่างกันอย่างนี้เป็นแผนก ๆ เพราะแตกต่างกันโดยวิภาคอย่างนี้ ด้วย

ปัจจัยพิเศษแห่งกรรมนั้น ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำมี

อาทิว่า สารีบุตร คติเหล่านี้ มีอยู่ ๕ แล คติ ๕ เป็นไฉน ได้แก่นรก

กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เปรตวิสัย มนุษย์ และเทพ สารีบุตร เรารู้ชัด

นรก ทางอันเป็นเหตุนำไปสู่นรก และปฏิปทาอันเป็นเหตุนำไปสู่นรก และ

เรารู้ชัดโดยประการที่ผู้ดำเนินไปแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก. ก็พระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เหล่านี้นั้น ชื่อว่าถ่องแท้ ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะตรัสถึง

ความเป็นไปแห่งอาการอันไม่ผิดแผกในวิสัยนั้น ๆ ไม่ให้คลาดเคลื่อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมาถึงญาณเหล่านั้นอย่าง

ถ่องแท้ แม้ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง อินทริยปโรปริยัตตญาณ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็น

ไปโดยอาการ ๕๐ อันเป็นเหตุแจ่มแจ้งโดยพิเศษแห่งความที่สัตว์มีกิเลส

ดุจธุลีในดวงตาน้อย และความที่สัตว์มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก. สมจริง

ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า บุคคลผู้มีศรัทธาเป็นผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย,

บุคคลผู้ไม่มีศรัทธาเป็นผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก. พึงทราบความ

พิสดารต่อไป.

อาสยานุสยญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นไปโดยอาการแจ่ม-

แจ้งตามความเป็นจริง แห่งอาสยะคือความประสงค์เป็นต้นของเหล่าสัตว์

โดยนัยมีอาทิว่า บุคคลนี้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย. บุคคลนี้มีลัทธิเป็น

สัสสตทิฏฐิ บุคคลนี้มีลัทธิเป็นอุจเฉททิฏฐิ บุคคลนี้ตั้งอยู่ในอนุโลมขันติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 236

บุคคลนี้ตั้งอยู่ในยถาภูตญาณ บุคคลนี้มีอาสยะ คืออัธยาศัยในทางกาม

ไม่มีอัธยาศัยในเนกขัมมะเป็นต้น บุคคลนี้มีอัธยาศัยในเนกขัมมะ ไม่มี

อัธยาศัยในกามเป็นต้น และโดยนัยมีอาทิว่า กามราคะของบุคคลนี้มีกำลัง

รุนแรง แต่ไม่มีปฏิฆะ ปฏิฆะของบุคคลนี้มีกำลังรุนแรง แต่ไม่มีกามราคะ

เป็นต้น และโดยนัยมีอาทิว่า ปุญญาภิสังขารของบุคคลนี้ยิ่ง แต่ไม่มี

อปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร, อปุญญาภิสังขารของบุคคลนี้ยิ่ง

แต่ไม่มีปุญญาภิสังขาร ไม่มีอเนญชาภิสังขาร, อเนญชาภิสังขารของบุคคล

นี้ยิ่ง แต่ไม่มีปุญญาภิสังขาร ไม่มีอปุญญาภิสังขาร, กายสุจริต วจีสุจริต

และนโนสุจริตของบุคคลนี้ยิ่ง, บุคคลนี้มีอธิมุตติเลว บุคคลนี้มีอธิมุตติ

ประณีต, บุคคลนี้ประกอบด้วยกรรมาวรณ์ (ห้ามกรรม) บุคคลนี้ประกอบ

กิเลสาวรณ์ (ห้ามกิเลส) บุคคลนี้ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ (ห้ามวิบาก)

บุคคลนี้ไม่ประกอบด้วยกรรมาวรณ์ ไม่ประกอบด้วยกิเลสาวรณ์ ไม่

ประกอบด้วยวิปากาวรณ์ซึ่งพระองค์หมายเอา ตรัสไว้ว่า ตถาคตย่อมรู้

อาสยะ ย่อมรู้อนุสัย ย่อมรู้จริต ย่อมรู้อธิมุตติของสัตว์ทั้งหลาย และย่อมรู้

ภัพสัตว์ และอภัพสัตว์ในโลกนี้ ดังนี้เป็นต้น.

อนึ่ง ยมกปาฏิหาริยญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันเป็นเหตุ

นิรมิตฤทธิ์ที่ทำต่าง ๆ กัน ไม่ทั่วไปแก่บุคคลอื่นอันทำท่อไฟและสายน้ำ

ให้เป็นไป ทางพระกายเบื้องบนเบื้องล่างและเบื้องหน้าเบื้องหลัง ทาง

พระเนตรข้างขวาข้างซ้าย ช่องพระกรรณด้านขวาด้านซ้าย ช่องพระนาสิก

ด้านขวาด้านซ้าย จะงอยพระอังสะด้านขวาด้านซ้าย พระหัตถ์ข้างขวา

ข้างซ้าย พระปรัศว์เบื้องขวาเบื้องซ้าย และพระบาทเบื้องขวาเบื้องซ้าย

ทางพระองคุลีและระหว่างพระองคุลี และทางชุมพระโลมา ซึ่งพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 237

หมายตรัสไว้ว่า ในที่นี้ ตถาคตกระทำยมกปาฏิหาริย์ไม่ทั่วไปกับสาวก

ทั้งหลาย คือท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระกาย

เบื้องล่าง, ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระกาย

เบื้องบน ดังนี้เป็นต้น.

อนึ่ง พระมหากรุณาสมาบัติญาณ อันเป็นปัจจัยให้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแผ่พระมหากรุณาอันเป็นไปโดยนัยต่าง ๆ ด้วยความที่พระองค์ทรง

พระประสงค์จะนำหมู่สัตว์ผู้ถูกทุกขธรรมเป็นอเนกมีราคะเป็นต้น และมี

ชาติเป็นต้นรบกวน ให้ออกจากทุกขธรรมเหล่านั้น ดังที่ตรัสไว้ว่า พระ-

มหากรุณาสมาบัติญาณของตถาคตเป็นไฉน คือพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า

ทั้งหลายทรงเห็นด้วยอาการเป็นอันมาก จึงมีพระมหากรุณาแผ่ไปในหมู่สัตว์

พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายทรงเห็นอยู่ว่าโลกสันนิวาสถูกไฟเผาให้เร่าร้อน

จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเมื่อทรง

เห็นว่า โลกสันนิวาสยกพลแล้ว เคลื่อนพลแล้ว เดินผิดทางแล้ว

โลกถูกชรานำไปไม่ยั่งยืน โลกไม่มีที่ต้านทาน ไม่เป็นอิสระโดยเฉพาะ

โลกไม่เป็นของตน จำต้องละสิ่งทั้งปวงไป โลกพร่อง (อยู่เป็นนิจ) ไม่

รู้จักอิ่ม เป็นทาสแห่งตัณหา จึงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์. โลก-

สันนิวาสไม่มีที่ต้านทาน ไม่มีที่หลีกเร้น ไม่มีที่พึ่ง ไม่เป็นที่พึ่งของใคร

สัตวโลกฟุ้งซ่าน ไม่สงบ โลกสันนิวาสมีลูกศร ถูกลูกศรคือกิเลสเสียบ

แทงอยู่ มีความมืดคืออวิชาเป็นเครื่องกางกั้น ถูกขังไว้ในกรงคือกิเลส

โลกสันนิวาสตกอยู่ในอวิชชาเป็นดุจคนตาบอด ถูกกิเลสหุ้มห่อไว้ ยุ่งเหมือน

เส้นด้าย นุงนังดังหญ้าปล้องและหญ้ามุงกระต่าย หาล่วงพ้นอบาย ทุคติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 238

วินิบาต และสงสารไปได้ไม่ ถูกอวิชชาเป็นต้นรัดรึงไว้ เป็นผู้เกลือกกลั้ว

ด้วยกิเลส อันความยุ่งคือราคะ โทสะ และโมหะ ทำให้นุงแล้ว.

โลกสันนิวาสอันกองตัณหาสวมไว้ ถูกข่ายคือตัณหาครอบคลุมไว้

ลอยไปตามกระแสตัณหา ประกอบด้วยตัณหาสังโยชน์ ซ่านไปตามตัณหา-

อนุสัย เดือดร้อนด้วยความเดือดร้อนเพราะตัณหา เร่าร้อนด้วยความเร่า-

ร้อนคือทิฏฐิ ถูกโครงร่างคือทิฏฐิสวมไว้ ถูกข่ายคือทิฏฐิคลุมไว้ ลอยไป

ตามกระแสทิฏฐิ ประกอบด้วยทิฏฐิสังโยชน์ ซ่านไปตามทิฏฐานุสัย เดือด-

ร้อนด้วยความเดือดร้อนคือทิฏฐิ เร่าร้อนด้วยความเร่าร้อนคือทิฏฐิ.

โลกสันนิวาสถูกชาติติดตาม ถูกชรารัดรึง ถูกพยาธิครอบงำ ถูก

มรณะห้ำหั่น ตกอยู่ในกองทุกข์ ถูกตัณหาฉุดไป ห้อมล้อมด้วยกำแพง

คือชรา ถูกบ่วงของมัจจุราชคล้องไว้ ถูกเครื่องจองจำใหญ่มัดไว้ ถูก

เครื่องมัดคือราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ กิเลส และทุจริตผูกพันไว้

เดินไปในทางคับแคบมาก ถูกเครื่องพัวพันมากมายพัวพันไว้ ตกไปใน

เหวใหญ่ เดินไปตามทางกันดารมาก เดินไปในมหาสงสาร กลับตกลง

ในหลุมลึก กลิ้งเกลือกอยู่ในหลุมใหญ่.

โลกสันนิวาสถูกห้ำหั่น ลุกโชนด้วยไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ

ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส โลกสันนิวาส

ทุรนทุราย เดือดร้อน ไม่มีอะไรต้านทานเป็นนิตย์ ต้องรับอาชญา

กระทำตามอาชญา ถูกเครื่องผูกคือวัฏฏะผูกมัดไว้ ปรากฏที่ตะแลงแกง

โลกสันนิวาสไม่มีที่พึ่ง ควรได้รับกรุณาอย่างยิ่ง.

โลกสันนิวาสถูกทุกข์ครอบงำ ถูกเบียดเบียนอยู่ตลอดกาลนาน ติด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 239

ใจกระหายอยู่เป็นนิจ เป็นโลกมืดไม่มีจักษุ มีนัยน์ตาถูกทำลาย ไม่มีผู้นำ

แล่นไปผิดทาง เดินหลงทาง แล่นไปในห้วงนำใหญ่.

ถูกทิฏฐิ ๒ กลุ้มรุม ปฏิบัติผิดด้วยทุจริต ๓ ถูกโยคะ ๔ ประกอบ

ไว้ ถูกคันถะ ๔ ร้อยรัดไว้ ถูกอุปาทาน ๔ ยึดไว้ วุ่นวายไปตามคติ ๕

กำหนัดด้วยกามคุณ ๕ ถูกนิวรณ์ ๕ ครอบคลุมไว้ โต้เถียงกันด้วยวิวาท-

มูล ๖ กำหนัดด้วยหมู่ตัณหา ๖ กลุ้มรุม ซ่านไปตามอนุสัย ๗ ประกอบ

ด้วยสังโยชน์ ๗ ฟูขึ้นด้วยมานะ ๗ หมุนไปตามโลกธรรม ๘ ดิ่งลงด้วย

มิจฉัตตะ ๘ ประทุษร้ายกันด้วยบุรุษโทษ ๘ ถูกอาฆาตด้วยอาฆาตวัตถุ ๙

ฟูขึ้นเพราะมานะ ๙ กำหนัดด้วยธรรมอันมีตัณหาเป็นมูล ๙ เศร้าหมอง

ด้วยกิเลสวัตถุ ๑๐ ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถ ๑๐ ประกอบด้วย

สังโยชน์ ๑๐ ดิ่งลงด้วยมิจฉัตตะ ๑๐ ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐

ประกอบด้วยสักกายทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ มีธรรมเครื่องเนิ่นช้าด้วยธรรมเครื่อง

เนิ่นช้า คือตัณหา ๑๐๘ ถูกทิฏฐิ ๖๒ กลุ้มรุม เมื่อพระผู้มีพระภาคพุทธ-

เจ้าทรงพิจารณาเห็นดังว่ามานี้ จึงทรงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์.

จริงอยู่ เราเป็นผู้ข้ามแล้ว แต่สัตวโลกยังข้ามไม่ได้ เราหลุดพ้น

แล้ว สัตวโลกยังไม่หลุดพ้น เราฝึกตนแล้ว แต่สัตวโลกยังไม่ได้ฝึกตน

เราสงบแล้ว แต่สัตวโลกยังไม่สงบ เราโล่งใจแล้ว แต่สัตวโลกยังไม่

โล่งใจ เราปรินิพพานแล้ว แต่สัตวโลกยังไม่ปรินิพพาน เราสามารถ

ข้ามได้แล้ว ทั้งยังสัตวโลกให้ข้ามได้ด้วย เราหลุดพ้นแล้ว ทั้งสามารถ

ยังสัตวโลกให้หลุดพ้นได้ด้วย เราฝึกตนแล้วสามารถยังสัตวโลกให้ฝึกได้

ด้วย เราสงบแล้วทั้งสามารถยังสัตวโลกให้สงบได้ด้วย เราโล่งใจแล้ว

ทั้งสามารถยังสัตวโลกให้โล่งใจได้ด้วย เราปรินิพพานแล้ว ทั้งสามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 240

ยังสัตวโลกให้ปรินิพพานได้ด้วย พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงพิจารณา

เห็นดังว่ามานี้ จึงแผ่พระมหากรุณาไปในหมู่สัตว์. พระองค์ทรงกระทำ

การจำแนกโดยอาการ ๘๙ อย่าง ด้วยประการฉะนี้.

ก็พระญาณใดของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีประมาณเท่าใด ที่จะพึงรู้

ด้วยธรรมธาตุมีประมาณเท่าใด ไม่มุ่งถึงการอ้างผู้อื่น สามารถตรัสรู้ธรรม

ทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขตะและอสังขตะเป็นต้น โดยอาการทั้งปวง ไม่ทั่วไป

แก่ผู้อื่น อันเป็นไปเนื่องด้วยเหตุเพียงความหวัง ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ

เพราะหยั่งรู้สังขตธรรม อสังขตธรรม สมมติและสัจจะได้เด็ดขาด โดย

ประการทั้งปวง ท่านเรียกว่าอนาวรณญาณ เพราะถือเอาความเป็นไปอัน

ไม่ขัดข้องโดยไม่มีเครื่องกางกั้นในญาณนั้น. ก็พระญาณนั้นอย่างเดียว

เท่านั้น ท่านแสดงไว้ถึง ๒ อย่าง เพื่อแสดงภาวะที่ไม่ทั่วไปกับญาณอื่น

โดยความเป็นไปแห่งอารมณ์เป็นประธาน. เมื่อว่าโดยประการอื่น สัพพัญ-

ญุตญาณและอนาวรณญาณ จำต้องทั่วไป และมีธรรมทั้งหมดเป็นอารมณ์

และคำนั้นไม่ถูกด้วยยุตินี้ก็จริง ถึงกระนั้น ในที่นี้มีพระบาลีดังต่อไปนี้

ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้สังขตธรรมและอสังขตธรรมโดยสิ้นเชิง

ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะความขัดข้องไม่มีในญาณนั้น, ชื่อว่าสัพพัญ-

ญุตญาณ เพราะรู้ธรรมทั้งปวงที่เป็นอดีต ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะ

ความขัดข้องไม่มีในญาณนั้น, ชื่อว่าสัพพัญญุตญาณ เพราะรู้ธรรมทั้งหมด

ที่เป็นอนาคตและปัจจุบัน ชื่อว่าอนาวรณญาณ เพราะความขัดข้องไม่มี

ในญาณนั้น. พึงทราบความพิสดาร.

อสาธารณญาณ ๖ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหล่านี้ ชื่อว่าถ่องแท้

ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะไม่กล่าวอารมณ์ของตนให้คลาดเคลื่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 241

โดยเป็นไปตามอาการอันไม่ผิดแผก ด้วยประการฉะนี้ แม้เพราะเหตุนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมาถึงญาณอัน

ถ่องแท้.

อนึ่ง พระญาณอันประกาศสัมโพชฌงค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อัน

เป็นไปโดยอาการต่าง ๆ อย่างนี้ว่า เมื่อว่าโดยสรุปอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย

โพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น คือ สติสัมโพชฌงค์ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ วิริย-

สัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์

อุเบกขาสัมโพชฌงค์. เมื่อว่าโดยสามัญลักษณะอย่างนี้ว่า ธรรมสามัคคี

นี้ใดต่างโดยสติเป็นต้น อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออุปัทวะหลายประการ มีความ

หดหู่ ความฟุ้งซ่าน ความตั้งมั่น ความพยายาม กามสุขัลลิกานุโยค

อัตตกิลมถานุโยค และการยึดมั่นด้วยอุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ อันเกิด

ในขณะแห่งโลกุตรมรรค, พระอริยสาวกย่อมตื่น คือย่อมลุกขึ้นจาก

กิเลสนิทรา หรือรู้แจ้งสัจจะ ๘ หรือทำให้แจ้งเฉพาะพระนิพพาน ด้วย

ธรรมสามัคคีใด ธรรมสามัคคีนั้นท่านเรียกว่า โพธิ, ชื่อว่าโพชฌงค์

เพราะเป็นองค์แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้นั้น, อนึ่ง พระอริยสาวก

ท่านเรียกว่าโพธิ เพราะกระทำอรรถวิเคราะห์ว่า ตรัสรู้ด้วยธรรมสามัคคี

ดังที่กล่าวแล้ว, ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้

ธรรมสามัคคีนั้น, เมื่อว่าโดยลักษณะพิเศษอย่างนี้ว่า สติสัมโพชฌงค์มี

การปรากฏเป็นลักษณะ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีการสอดส่องเป็นลักษณะ,

วิริยสัมโพชฌงค์มีการประคองไว้เป็นลักษณะ ปีติสัมโพชฌงค์มีการแผ่

ซ่านไปเป็นลักษณะ, ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีความสงบเป็นลักษณะ, สมาธิ-

สัมโพชฌงค์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นลักษณะ, อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 242

พิจารณาเป็นลักษณะ, เมื่อว่าโดยการแสดงความเป็นไปในขณะเดียวกัน

โดยเป็นอุปการะแก่กันและกันแห่งสัมโพชฌงค์ ๗ โดยนัยมีอาทิว่า ใน

โพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์เป็นไฉน ภิกษุในเพราะธรรมวินัย

นี้เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติและปัญญา เครื่องรักษาคนเป็นอย่างยิ่ง

เป็นผู้ระลึกได้ ระลึกตามได้ถึงกรรมที่ทำไว้นาน และคำที่พูดไว้นานได้,

เมื่อว่าโดยการแสดงความเป็นไป โดยการจำแนกอารมณ์แห่งโพชฌงค์

เหล่านั้น โดยนัยมีอาทิว่า ในโพชฌงค์เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์เป็นไฉน

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อธรรมทั้งหลายมี อารมณ์ภายในก็มี เมื่อธรรมทั้งหลายมี

อารมณ์ภายนอกก็มี, เมื่อว่าโดยวิธีภาวนาโดยนัยมีอาทิว่า ในโพชฌงค์

เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์เป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เจริญสติสัมโพชฌงค์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน

การสละคืน, เมื่อว่าโดยวิภาคนัย ๙๖,๐๐๐ นัย โดยนัยมีอาทิว่า สัมโพชฌงค์

๗ เป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สมัยใด เจริญโลกุตรฌาน ฯลฯ

สมัยนั้น โพชฌงค์ ๗ ย่อมมี คือ สติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัม-

โพชฌงค์ ในโพชฌงค์ ๗ เหล่านั้น สติสัมโพชฌงค์เป็นไฉน สติ คือ

อนุสติ ชื่อว่าถ่องแท้ ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะไม่กล่าว

อรรถนั้น ๆ ให้คลาดเคลื่อน แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

พระนามว่า ตถาคต เพราะมาถึงญาณอันถ่องแท้.

อนึ่ง พระญาณอันทำอริยมรรคให้แจ่มแจ้งของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อันเป็นไปโดยอาการมากมายอย่างนี้ว่า เมื่อว่าโดยสรุปอย่างนี้ว่า ใน

อริยสัจ ๔ เหล่านั้น ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เป็นไฉน คืออริย-

มรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ, เมื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 243

โดยสามัญลักษณะอย่างนี้ว่า ชื่อว่า อริยะ เพราะไกลจากสรรพกิเลส

เพราะกระทำความเป็นพระอริยะ และเพราะให้ได้อริยผล, ชื่อว่ามีองค์ ๘

เพราะมี ๘ อย่าง และเพราะเป็นเหตุให้บรรลุพระนิพพานโดยส่วนเดียว,

ชื่อว่า มรรค เพราะฆ่ากิเลสถึงพระนิพพาน หรือผู้ต้องการพระนิพพาน

แสวงหา หรือตนเองแสวงหาพระนิพพาน, เมื่อว่าโดยลักษณะพิเศษ

อย่างนี้ว่า สัมมาทิฏฐิมีการเห็นชอบเป็นลักษณะ สัมมาสังกัปปะมีการยก

สัมปยุตธรรมขึ้นสู่อารมณ์โดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาวาจา มีการกำหนด

โดยชอบเป็นลักษณะ สัมมากัมมันตะ มีความอุตสาหะโดยชอบเป็นลักษณะ

สัมมาอาชีวะ มีความผ่องแผ้วเป็นลักษณะ สัมมาวายามะ มีการประคองไว้

โดยชอบเป็นลักษณะ สัมมาสติ มีความปรากฏโดยชอบเป็นลักษณะ สัมมา-

สมาธิ มีการไม่ฟุ้งซ่านโดยชอบเป็นลักษณะ, เมื่อว่าโดยการจำแนกกิจ

อย่างนี้ว่า สัมมาทิฏฐิละมิจฉาทิฏฐิกับกิเลสอย่างอื่นที่เป็นข้าศึกแก่ตน

กระทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ และเห็นสัมปยุตธรรมโดยไม่หลงลืม

เพราะกำจัดโมหะอันปกปิดพระนิพพานนั้น อนึ่ง แม้สัมมาสังกัปปะก็ละ

มิจฉาสังกัปปะเป็นต้น ทำพระนิพพานให้เป็นอารมณ์ และการทำการยก

สัมปยุตธรรมขึ้นสู่อารมณ์โดยชอบ การกำหนดการอุตสาหะ การผ่องแผ้ว

การประคอง การปรากฏ และการตั้งมั่นแห่งสหชาตธรรม, เมื่อว่าโดย

วิภาคความเป็นไปในส่วนเบื้องต้น และส่วนเบื้องปลายอย่างนี้ว่า สัมมา-

ทิฏฐิมีขณะต่าง ๆ กัน ในเบื้องต้น มีทุกข์เป็นต้น เป็นอารมณ์เป็นแผนก ๆ

ในขณะมรรค จิตมีขณะเดียว ทำพระนิพพานนั้นแหละให้เป็นอารมณ์ ว่า

โดยกิจได้ชื่อ ๔ อย่างมีอาทิว่า ญาณในทุกข์ แม้สัมมาสังกัปปะเป็นต้น

ก็มีขณะต่างกัน มีอารมณ์ต่างกันในเบื้องต้น ในขณะมรรค จิตมีขณะเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 244

มีอารมณ์เดียว, ในธรรมเหล่านั้น สัมมาสังกัปปะ ว่าโดยกิจได้ชื่อ ๓ อย่าง

มีอาทิว่า เนกขัมมสังกัปปะ, ธรรม ๓ อย่างมีสัมมาวาจาเป็นต้น ใน

เบื้องต้นเป็นวิรัติก็มี เป็นเจตนาก็มี เพราะมีวิภาคว่า มุสาวาทาเวรมณี

เป็นต้น ในขณะมรรคเป็นวิรัติอย่างเดียว สัมมาวายามะและสัมมาสติ

ว่าโดยกิจได้ชื่อ ๔ อย่าง คือ สัมมัปปธาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ ส่วนสัมมา-

สมาธิแม้ในขณะมรรคก็มีความต่างกัน ด้วยอำนาจฌานมีปฐมฌานเป็นต้น,

ว่าโดยวิธีภาวนาโดยนัยมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิอันอาศัยวิเวก, ว่าโดยจำแนกนัย ๘๔,๐๐๐ นัย โดย

นัยมีอาทิว่า ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน คือ ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้ สมัยใด เจริญโลกุตรฌาน ฯ ลฯ เจริญทุกขาปฏิปทา

ทันธาภิญญา สมัยนั้นมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ

สัมมาสมาธิ, ญาณแม้ทั้งหมดนั้น ชื่อว่าถ่องแท้ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น

เพราะไม่กล่าวอรรถให้คลาดเคลื่อน แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาถึงญาณอันถ่องแท้.

อนึ่ง ญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เป็นไปในอนุปุพพวิหารสมาบัติ

โดยอรรถว่าพึงเจริญ และโดยอรรถว่าพึงเข้าความลำดับเหล่านั้น คือ

ปฐมฌานสมาบัติ ๑ นิโรธสมาบัติ ๑ ด้วยอำนาจการให้สำเร็จและการ

พิจารณาเป็นต้น และด้วยการประกอบกันตามควร ชื่อว่าถ่องแท้ ไม่ผิด

ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะสำเร็จประโยชน์แต่ญาณนั้น. อนึ่ง ทศพล-

ญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านี้ คือ การรู้เหตุและมิใช่เหตุแห่งผล

นั้น ๆ อันไม่ผิดแผกดังนี้ว่า นี้เป็นฐานะของผลนี้ นี้ไม่ใช่ฐานะของผล

นี้ ๑ การรู้ลำดับวิบากตามเป็นจริงโดยสิ้นเชิง แห่งการยึดถือกรรมอัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 245

แตกต่างโดยชนิดเป็นกาล มีอดีตกาลเป็นต้นของเหล่าสัตว์นั้นๆ ๑ การรู้

ถึงกรรมและการจำแนกกรรมทั้งที่มีอาสวะ และไม่มีอาสวะตามความเป็น

จริงว่า นี้ปฏิปทาเครื่องนำสัตว์ไปสู่นรก ฯล ฯ นี้ปฏิปทาเครื่องนำสัตว์

ไปสู่พระนิพพาน ของสัตว์นั้นๆ ในขณะทำกรรมนั่นเอง ๑ ความรู้

ความต่างกันแห่งธาตุตามความเป็นจริง โดยนัยมีอาทิว่า เพราะธาตุชื่อนี้

หนาแน่น ความพิเศษนี้จึงเกิดขึ้นเมื่อเกี่ยวเนื่องกับธรรมนี้ของโลกนั้น

อันมีสภาวะแห่งขันธ์และอายตนะเป็นอเนก ทั้งที่เป็นอุปาทินนกะและ

อนุปาทินนกะเป็นต้น และมีสภาวะต่าง ๆ กัน ๑ การรู้ถึงอัธยาศัยและ

อธิมุตติอันเลวเป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายโดยสิ้นเชิง ๑ การรู้อินทรีย์มี

สัทธินทรีย์เป็นต้นว่า แก่กล้าหรืออ่อน ๑ การรู้ถึงความพิเศษของฌาน

และวิโมกข์เป็นต้น พร้อมกับสังกิเลสเป็นต้น ๑ การรู้ความสืบต่อแห่ง

ขันธ์ที่สัตว์เคยอยู่อาศัย ในกาลก่อนโดยสิ้นเชิง พร้อมด้วยความเกี่ยวเนื่อง

ด้วยขันธ์นั้น ในชาติอันหาประมาณมิได้ ๑ การรู้จุติและปฏิสนธิพร้อม

กับการจำแนกสัตว์ มีอย่างเลวเป็นต้น ๑ การรู้สัจจะ ๔ โดยนัยดังกล่าว

แล้วในหนหลัง โดยนัยมีอาทิว่า นี้ทุกข์ ๑ ชื่อว่าถ่องแท้ ไม่ผิด ไม่กลาย

เป็นอย่างอื่น เพราะเป็นไปตามความเป็นจริง โดยหยั่งรู้ถึงอารมณ์ตาม

ที่เป็นของตนโดยไม่ผิดพลาด และโดยยังประโยชน์ตามที่ประสงค์ให้

สำเร็จ. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ตถาคตย่อมรู้ฐานะที่ควร

โดยเป็นฐานะที่ควร และฐานะที่ไม่ควร โดยเป็นฐานะที่ไม่ควรในโลกนี้

ตามเป็นจริง. แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพระนามว่า

ตถาคต เพราะมาถึงพระญาณอันถ่องแท้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมาถึง คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 246

บรรลุญาณอันถ่องแท้ ด้วยอำนาจปัญญาพิเศษอันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น มี

ประเภทหาที่สุดมิได้และหาปริมาณมิได้มีญาณเป็นเครื่องทำความแจ่มแจ้ง

สติปัฏฐานและสัมมัปปธานตามที่กล่าวมาแล้ว เหมือนทรงบรรลุด้วย

อำนาจพระญาณเหล่านี้ แม้เพราะเหตุนี้ พระองค์จึงทรงพระนามว่า

ตถาคต เพราะมาถึงพระญาณอันถ่องแท้.

พระองค์ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปโดยถ่องแท้ เป็น

อย่างไร ? คือ การประสูติ การตรัสรู้ การบัญญัติพระธรรมวินัย และ

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุนั้นใดของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เป็นการถ่องแท้.

ท่านอธิบายไว้อย่างไร ? อธิบายไว้ว่า ความตรัสรู้ อันพระโลกนาถทรง

ปรารถนาเฉพาะแล้ว และให้เป็นไปแล้วเพื่อประโยชน์ใด ชื่อว่าถ่องแท้

ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะให้สำเร็จประโยชน์นั้นโดยส่วนเดียว

เพราะไม่กล่าวประโยชน์นั้นให้คลาดเคลื่อน เพราะเป็นไปเพื่อประโยชน์

อันไม่ผิดแผก. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ครั้งเป็นพระโพธิสัตว์

ทรงบำเพ็ญเหตุความเป็นพระพุทธเจ้าทั้งปวง มีประเภทดังกล่าวแล้ว

มีการบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศเป็นต้น ทรงดำรงอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรง

สดับพุทธโกลาหล อันเทวดาในหมื่นจักรวาลประชุมพร้อมกันเข้าไปเฝ้า

ทูลอาราธนาว่า

กาโลยนฺเต มหาวีร อุปฺปชฺช มาตุ กุจฺฉิย

สเทวก ตารยนฺโต พุชฺฌสฺสุ อมต ปท

ข้าแต่พระมหาวีระ นี้ เป็นกาล (สมควร) ขอ

โปรดอุบัติในพระครรภ์พระมารดา ยังโลกนี้พร้อม

เทวโลกให้ข้าม ตรัสรู้อมตบท ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 247

ทรงเกิดบุรพนิมิตขึ้น ตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการ ทรงพระ-

ดำริว่า บัดนี้ เราจักอุบัติในกำเนิดมนุษย์ตรัสรู้เฉพาะ ในวันอาสาฬห-

ปุณณมี ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมหามายาเทวี ในสักยราช-

ตระกูล อันเทวดาและมนุษย์บริหารด้วยการบริหารยิ่งใหญ่ตลอด ๑๐ เดือน

ในเวลาปัจจุสมัยวิสาขปุณณมี จึงประสูติ.

ก็ในขณะที่พระองค์ประสูติ ปรากฏบุรพนิมิต ๓๒ ประการ เหมือน

ในขณะทรงถือปฏิสนธิ. จริงอยู่ หมื่นโลกธาตุนี้ หวั่นไหว สะเทือน

เลื่อนลั่น รัศมีหาประมาณมิได้ แผ่ไปในหมื่นจักรวาล, คนบอดแต่

กำเนิด กลับได้จักษุ เหมือนคนปรารถนาจะชมพระโฉมของพระองค์,

คนหนวก ได้ยินเสียง, คนใบ้ ก็เจรจาได้, คนค่อมก็เดินตรงได้, คน

ง่อย ก็เดินไปได้, สัตว์ทั้งปวงที่ถูกจองจำ ก็พ้นจากเครื่องจองจำมีขื่อคา

เป็นต้น ไฟในนรกทั้งหมดก็ดับ, ความหิวกระหายในเปรตวิสัยก็สงบ,

พวกสัตว์เดรัจฉานก็ไม่มีภัย, โรคของสรรพสัตว์ก็สงบไป, สรรพสัตว์

พากันกล่าววาจาที่น่ารัก, ม้าร้องด้วยอาการไพเราะ, พวกช้างพากันกระ-

หึ่ม, ดนตรีทั้งปวง ก็เปล่งเสียงบันลือลั่นเฉพาะอย่าง ๆ, เครื่องอาภรณ์

ที่สวมใส่ในมือเป็นต้นของพวกมนุษย์ ไม่กระทบกระทั่งกันเลย ก็มีเสียง

ด้วยอาการไพเราะ, ทิศทั้งหมดแจ่มใส, ลมเย็นพัดอ่อน ๆ กระพือพัด

ให้ปวงสัตว์ได้รับความสุข, ฝนตกในเวลาไม่ใช่ฤดูกาล, น้ำพุ่งขึ้นจาก

แผ่นดินไหลไป, ฝูงปักษีงดการบินไปในอากาศ แม่น้ำ ก็หยุดไหล, น้ำ

ในมหาสมุทรได้มีรสอร่อย, เมื่อพระอาทิตย์ปราศจากความมัว ยังปรากฏ

อยู่นั่นแหละ ความโชติช่วงทั้งปวงในอากาศก็สว่างไสว, เทวดาทั้งปวง

ที่เหลือและสัตว์นรกทั้งปวงนอกนั้น เว้นเทพชั้นอรูปาวจร ได้ปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 248

รูปร่าง, ต้นไม้ ฝาเรือน บานประตู และเขาศิลาเป็นต้นเป็นอาทิ ไม่

มีการปิดกั้น. เหล่าสัตว์ไม่มีการจุติและอุปบัติ, กลิ่นทิพย์ฟุ้งขจร กลบ

กลิ่นที่ไม่น่าปรารถนาทั้งหมดเสียได้, ต้นไม้ที่ผลิดอกออกผลทั้งหมด ก็

ติดผลสะพรั่ง, มหาสมุทรได้มีพื้นดาดาษด้วยดอกปทุมเบญจวรรณ มี

ประโยชน์ในที่ทุกสถานทีเดียว, บุปผชาติทั้งหมด ทั้งที่เกิดบนบกและใน

น้ำเป็นต้นบานสะพรั่ง, บรรดาต้นไม้ทั้งหลายขันธปทุมก็บานสะพรั่งที่ต้น

สาขาปทุมก็บานสะพรั่งที่กิ่ง ลดาปทุมก็บานสะพรั่งที่เถา, แทรกพื้นหิน

บนพื้นแผ่นดิน แตกออกเบื้องบนเป็นชั้น ๆ ๗ ชั้น ชื่อว่า ทัณฑปทุม,

ในอากาศก็บังเกิดดอกปทุมห้อยย้อยลงมา, ฝนดอกไม้ตกโดยทั่วไป, ใน

อากาศมีดนตรีทิพย์บรรเลง, หมื่นโลกธาตุทั้งสิ้น มีระเบียบเป็นอันเดียว

มีวาลวีชนีพัดผัน ตลบด้วยกลิ่นดอกไม้และธูป ถึงความเลิศด้วยความงาม

อย่างยิ่งเหมือนกลุ่มมาลาที่เขาคลี่แวดวงไว้ เหมือนกองมาลาที่เขาห่อมัดไว้

และเหมือนอาสนะดอกไม้ที่เขาประดับตกแต่งไว้. ก็บุรพนิมิตเหล่านั้นได้

เป็นนิมิต ของผู้บรรลุธรรมพิเศษเป็นอเนกที่บรรลุธรรมชั้นสูง. การเกิด

เฉพาะนี้ ประดับด้วยความปรากฏอันน่าอัศจรรย์มากมายอย่างนี้แหละ

อันเป็นประโยชน์ที่พระองค์ทรงดำรงอยู่โดยเฉพาะ ได้ชื่อว่าถ่องแท้ ไม่

ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะสำเร็จอย่างแท้จริงแห่งอภิสัมโพธิญาณ

นั้น.

อนึ่ง สัตว์เหล่าใด เป็นพุทธเวไนย เป็นเผ่าพันธุ์แห่งสัตว์ผู้จะ

ตรัสรู้ ทั้งหมดนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแนะนำด้วยพระองค์เอง

อย่างสิ้นเชิง. ส่วนสัตว์เหล่าใด เป็นสาวกเวไนย และเป็นธรรมเวไนย

สัตว์แม้เหล่านั้น อันสาวกเป็นต้นแนะนำแล้ว ย่อมถึงและจักถึงซึ่งการนำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 249

ไปให้วิเศษได้. เพื่อประโยชน์ใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารถนา

เฉพาะอภิสัมโพธิญาณ เพราะให้ประโยชน์นั้นสำเร็จโดยแท้จริง พระ-

อภิสัมโพธิญาณจึงเป็นคุณถ่องแท้ ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอื่น.

อีกอย่างหนึ่ง สภาวะใด ๆ แห่งไญยธรรมใด ๆ อันสัตว์พึงตรัสรู้

สภาวะนั้น ๆ ชื่อว่า อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ยิ่งแล้ว โดยสิ้นเชิง

อย่างไม่ผิดแผก ด้วยญาณของพระองค์เนื่องด้วยเหตุเพียงทรงรำพึงถึง

เหมือนผลมะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ แม้เพราะเหตุนี้ อภิสัมโพธิญาณ

(ของพระองค์) จึงชื่อว่า ถ่องแท้ ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น. อนึ่ง

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูประการแห่งธรรมเหล่านั้นที่จะพึง

แสดงโดยประการนั้น ๆ และอัธยาศัย อนุสัย จริยา และอธิมุตติของสัตว์

นั้น ๆ โดยชอบทีเดียว ทั้งไม่ทรงละธรรมดา ไม่ล่วงเลยนัยแห่งบัญญัติ

และเหตุเพียงบัญญัติ กระทำธรรมดาให้แจ่มแจ้ง และทรงอนุศาสน์ตาม

ความผิด ตามอัธยาศัย และตามธรรม จึงทรงแนะนำเวไนยสัตว์ให้บรรลุ

อริยภูมิแล. แม้การทรงบัญญัติพระธรรมวินัยของพระองค์ ก็ชื่อว่า ถ่องแท้

ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะประโยชน์นั้นสำเร็จ และเป็น

ไปตามความเป็นจริง. อนึ่ง อมตมหานิพพานธาตุ อันพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ทรงบรรลุแล้วโดยลำดับ อันพ้นจากสภาวะแห่งรูปมีปฐวีธาตุเป็นต้น

และสภาวะแห่งอรูปมีผัสสะและเวทนาเป็นต้น ชื่อว่า ล่วงเสียซึ่งสภาวะแห่ง

โลก เพราะไม่มีภาวะคือความหลอกลวง ชื่อว่า ไม่มีปัจจัยอะไรๆ ทำให้

สว่าง เพราะปราศจากความมืด ชื่อว่า ปราศจากภาวะแห่งคติเป็นต้น

เพราะไม่มีโอภาสแสงสว่างนั่นเอง ไม่มีที่ตั้งอาศัย ไม่มีอารมณ์ ท่าน

เรียกว่า อนุปาทิเสส เพราะอุปาทิกล่าวคือขันธ์ แม้มาตรว่าเป็นส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 250

เหลือไม่มี ซึ่งพระองค์ทรงหมายตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะ

มีอยู่ ในที่ ๆ ไม่มี ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากา-

สานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญา-

นาสัญญายตนะ โลกนี้ก็ไม่มี โลกหน้าก็ไม่มี และพระจันทร์พระอาทิตย์

ทั้งสองก็ไม่มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวที่นั้นว่า เป็นอาคติ เป็น

คติ เป็นฐิติ เป็นจุติ เป็นอุปบัติ นั่นไม่เป็นที่ตั้งอาศัย เป็นไปไม่ได้

ไม่มีอารมณ์ นั่นเป็นที่สุดทุกข์ ดังนี้. อมตมหานิพพานธาตุนั้น ถึง

ความดับสูญแห่งอุปาทานขันธ์แม้ทั้งหมด เป็นสภาวะสงบสรรพสังขาร

เป็นสภาวะสละคืนอุปาทิกิเลสทั้งปวง เป็นที่สงบทุกข์ทั้งปวง เป็นที่ถอน

ความอาลัยทั้งปวง เป็นที่ขาดแห่งวัฏฏะทั้งปวง มีความสงบอย่างแท้จริง

เป็นลักษณะ เพราะฉะนั้น อมตมหานิพพานธาตุนั้น จึงชื่อว่า ถ่องแท้

ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะไม่กล่าวสภาวะตามความเป็นจริงให้

คลาดเคลื่อนในกาลไหน ๆ. พระองค์ ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป

เสด็จเข้าถึง บรรลุ ดำเนินไป เสด็จถึงอย่างถ่องแท้ ซึ่งอมตมหานิพพาน-

ธาตุนั้นมีอภิชาติเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปโดยถ่องแท้.

พระองค์ ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีความถ่องแท้เป็นอย่างไร ? คือ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ในปางก่อนมีประการเป็นอย่างใด พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแม้นี้ก็มีประการเป็นอย่างนั้น ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร ?

โดยสังเขปท่านกล่าวไว้ดังนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น มีประการ

อย่างไร คือมีประการด้วยมรรคศีล ผลศีล โลกิยโลกุตรศีลแม้ทั้งหมด

มรรคสมาธิ ผลสมาธิ และโลกิยโลกุตรสมาธิทั้งปวง ด้วยมรรคปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 251

ผลปัญญา โลกิยโลกุตรปัญญา แม้ทั้งปวง ด้วยสมาบัติวิหาร ๒,๔๐๐,๐๐๐

โกฏิ ที่ทรงใช้ประจำวัน ด้วยตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉท-

วิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ ดังนี้ แต่เมื่อว่าโดยพิสดาร

ด้วยคุณแห่งพระสัพพัญญูทั้งสิ้น อันมีอานุภาพเป็นอจินไตย ต่างโดย

คุณหาที่สุดมิได้ หาประมาณมิได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเราแม้นี้

ก็มีประการเป็นอย่างนั้น.

ความจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งปวง พึงมีความแตกต่างกัน

๕ ประการเหล่านี้ คือ ความแตกต่างแห่งอายุ ๑ ความแตกต่างประ-

มาณแห่งพระสรีระ ๑ ความแตกต่างแห่งตระกูล ๑ ความแตกต่าง

แห่งการบำเพ็ญทุกรกิริยา ๑ ความแตกต่างแห่งพระรัศมี ๑. แต่ใน

วิสุทธิมีศีลวิสุทธิเป็นต้น ในการปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา และในพระ-

คุณที่พระองค์ตรัสรู้ ไม่มีเหตุอะไรที่กระทำให้แตกต่างกันเลย. โดย

ที่แท้ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าเหล่านั้น ไม่พิเศษกว่ากันและกัน เหมือน

ทองคำที่หักตรงกลาง. เพราะเหตุนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าในปางก่อน

มีประการอย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้า (ของเรา) แม้พระองค์นี้ ก็มี

ประการเป็นอย่างนั้น เพราะเหตุอย่างนี้ พระองค์จึงทรงพระนามว่า

ตถาคต เพราะมีประการเป็นอย่างนั้น. ก็ในที่นี้ คต ศัพท์มีวิธศัพท์

เป็นอรรถ. จริงอย่างนั้น ชาวโลกกล่าว คต ศัพท์ ที่ประกอบด้วย

วิธ ศัพท์ มีประการเป็นอรรถ.

พระองค์ ชื่อว่า ตถาคต เพราะดำเนินไปโดยประการนั้น เป็น

อย่างไร ? คือ พระองค์ ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีความเป็นไป ทางพระ-

กาย พระวาจา และพระหฤทัย อันไป เป็นที่ไป เป็นการเสด็จไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 252

โดยประการตามที่พอพระทัย เพราะไม่มีความกระทบกระทั่งในอะไร ๆ

แห่งความเป็นไปทางพระกายเป็นต้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหตุพระ-

องค์ทรงประกอบด้วยอิทธานุภาพ อันไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น เหตุบรรลุพระ-

บารมีอย่างสูงสุด แห่งปฏิสัมภิทามีอรรถปฏิสัมภิทาเป็นต้น และเหตุที่

พระองค์ทรงได้รับอนาวรณญาณ. เพราะเหตุอย่างนี้ พระองค์จึงทรง

พระนามว่า ตถาคต เพราะทรงดำเนินเป็นไปโดยประการนั้น.

พระองค์ ชื่อว่า ตถาคต เพราะไม่ปราศจากพระญาณอันถ่องแท้

เป็นอย่างไร ? คือ พระองค์ ชื่อว่า อคต เพราะไม่มีการไป กล่าวคือ

ความเป็นไป อันเป็นข้าศึกต่อพระญาณในการสร้างสมโพธิสมภาร. ก็

ความที่พระองค์ไม่ปราศจากพระญาณนั้น ชื่อว่า ตถาคต เพราะไม่ปราศ-

จากพระญาณอันเป็นไปโดยนัย มีการพิจารณาโทษและอานิสงส์เป็นต้น

โดยไม่ผิดแผกในธรรมมีความตระหนี่และทานบารมีเป็นต้น. อนึ่ง พระ-

องค์ ชื่อว่า อคต เพราะไม่มีการดำเนินไป การไป ในคติทั้ง ๕

กล่าวคือความเป็นไปแห่งอภิสังขารคือกิเลส หรือกล่าวคือความเป็นไป

แห่งขันธ์นั่นเอง. ภาวะที่พระองค์ไม่ไปนี้นั้น โดยทรงบรรลุสอุปาทิเสส-

นิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน ด้วยอริยมรรคญาณอย่างถ่องแท้แล.

เพราะเหตุอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะ

ไม่ไปปราศจากพระญาณอันถ่องแท้.

พระองค์ ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีภาวะดำเนินไปโดยถ่องแท้เป็น

อย่างไร ? คือ บทว่า ตถาคตภาเวน ได้แก่ โดยสภาวะที่ทรงดำเนินไป

โดยถ่องแท้ อธิบายว่า ภาวะที่พระองค์ทรงดำเนินไปโดยถ่องแท้มีอยู่.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่เฉลิมพระนามว่า ตถาคต เพราะความที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 253

พระองค์ทรงดำเนินโดยถ่องแท้นั้น คืออะไร ? ตอบว่า คือพระสัทธรรม.

จริงอยู่ พระสัทธรรมอันดับแรก คืออริยมรรค อธิบายว่า พระองค์

ทรงดำเนินไป โดยประการที่ทรงถอนกิเลสอันเป็นปฏิปักษ์ได้โดยเด็ด

ขาด ด้วยพลังคือสมถะและวิปัสสนาอันเนื่องกันเป็นคู่ จึงทรงบรรลุด้วย

สมุจเฉทปหาน ได้แก่ ผลธรรม, ที่พระองค์ทรงไป คือดำเนินไป โดย

ประการที่พระองค์ทรงบรรลุด้วยปฏิปัสสัทธิปหาน ตามเหมาะสมแก่มรรค.

ส่วนนิพพานธรรม ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นเสด็จถึง คือกระทำให้แจ้ง โดย

ประการที่ทรงเสด็จถึง คือตรัสรู้ด้วยปัญญา สำเร็จด้วยการสงบทุกข์ใน

วัฏฏะทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต แม้ปริยัติธรรม ก็ชื่อว่า

ตถาคต เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย ทรงดำเนินไป คือ

ตรัส ได้แก่ประกาศ โดยประการที่พระปริยัติธรรมนั้น อันพระพุทธ-

เจ้าในปางก่อนทั้งหลาย ทรงประกาศให้สมควรแก่อัธยาศัยเป็นต้นของ

เวไนยสัตว์ โดยอุตตะและเคยยะเป็นต้น และโดยการประกาศความดำเนิน

ไปเป็นต้น. ชื่อว่า ตถาคต เพราะพระสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ดำเนินไป คือดำเนินตาม โดยประการที่พระปริยัติธรรมนั้น อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว. เพราะเหตุอย่างนี้ พระสัทธรรมแม้

ทั้งหมด จึงชื่อว่า ตถาคต อันดำเนินไปโดยถ่องแท้. เพราะเหตุนั้น

ท้าวสักกเทวราชจอมเทพ จึงตรัสว่า

ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพระธรรมอันพระสาวกเป็น

ต้น ดำเนินไปโดยถ่องแท้ อันเทวดาและมนุษย์บูชา

แล้ว ขอความสวัสดีจงมีเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 254

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะพระองค์ทรง

มีพระสัทธรรมนั้น. เหมือนอย่างว่า พระธรรม ฉันใด แม้พระอริยสงฆ์

ก็ฉันนั้น ชื่อว่า ตถาคต เพราะดำเนินไป โดยประการที่อันผู้ปฏิบัติเพื่อ

ประโยชน์ตนและเพื่อประโยชน์ผู้อื่น บำเพ็ญข้อปฏิบัติ คือสมถะและ

วิปัสสนาอันเป็นส่วนเบื้องต้น ให้บริสุทธิ์ด้วยดีเป็นเบื้องหน้า แล้วจึง

บรรลุด้วยมรรคนั้น ๆ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ และ

เพราะตรัสโดยประการที่ สัจจะและปฏิจจสมุปบาทเป็นต้นอันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท้าวสักกเทวราช จึงตรัสว่า

ข้าพเจ้า ขอนมัสการพระสงฆ์ผู้ดำเนินไปโดยถ่อง

แท้ อันเทวดาและมนุษย์บูชาแล้ว ขอความสวัสดี

จงมีเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะพระองค์เป็น

ผู้มีพระสงฆ์นั้นเป็นสาวก. เพราะเหตุอย่างนี้ พระองค์จึงทรงพระนามว่า

ตถาคต เพราะมีภาวะดำเนินไป โดยถ่องแท้นั้นเองแล.

บทว่า ตถาคต แม้นี้ เป็นเพียงมุขในการแสดงภาวะที่พระตถาคต

ทรงดำเนินไปโดยถ่องแท้นั้นเอง. ก็พระตถาคตเท่านั้นพึงพรรณนาความ

ที่พระตถาคตดำเนินไป โดยถ่องแท้. จริงอยู่ บทว่า ตถาคต นี้ มีอรรถ

มาก มีคติมาก มีอารมณ์มาก. พระธรรมกถึกนำพระพุทธวจนะ คือ

พระไตรปิฎกแห่งตถาคตบทนั้นมา เหมือนอัปปมาทบทโดยสมควร โดย

ภาวะมีประโยชน์ ใคร ๆ ไม่ควรกล่าวว่า พระธรรมกถึกแล่นไปโดย

ผิดท่าแล. ในข้อนั้นท่านกล่าวคำเป็นคาถาไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 255

พระมุนีทั้งหลายในปางก่อนผู้แสวงหาคุณอันยิ่ง

ใหญ่ มาถึงความเป็นพระสัพพัญญูในโลกนี้ โดย

ประการใด แม้พระศากยมุนี ก็เสด็จมา โดยประการ

นั้น เพราะเหตุนั้น พระศากยมุนีผู้มีจักษุ ชาวโลก

จึงเฉลิมพระนามว่า ตถาคต.

พระชินเจ้าทั้งหลาย ทรงละมลทินกิเลส มีกาม

เป็นต้นได้เด็ดขาด ด้วยสมาธิและปัญญา แล้วจึง

ดำเนินไป โดยประการใด พระศากยมุนีในปางก่อน

ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรือง เสด็จไป โดยประการนั้น

เพราะฉะนั้น ชาวโลกจึงเฉลิมพระนามว่า ตถาคต.

อนึ่ง พระชินเจ้าเสด็จถึงพร้อม ซึ่งลักษณะแห่ง

ธาตุและอายตนะเป็นต้นอันถ่องแท้ โดยจำแนก

สภาวะ สามัญญะ และวิภาคะ ด้วยพระสยัมภญาณ

เพราะฉะนั้น พระศากยะผู้ประเสริฐ ชาวโลกจึง

เฉลิมพระนามว่า ตถาคต.

สัจจะอันล่องแท้ และอิทัปปัจจยตาอันถ่องแท้ที่

คนอื่นแนะนำไม่ได้ อันพระตถาคตผู้มีสมันตจักษุ

ทรงประกาศแล้ว โดยนัยด้วยประการทั้งปวง เพราะ-

ฉะนั้น พระชินเจ้า ผู้เสด็จไปโดยถ่องแท้ ชาวโลก

จึงเฉลิมพระนามว่า ตถาคต.

การที่พระชินเจ้า ทรงเห็นโดยถ่องแท้ทีเดียว

ในโลกธาตุแม้มีประเภทมิใช่น้อยในอารมณ์มีรูปาย-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 256

ตนะเป็นต้นมีความต่างอันวิจิตร เพราะฉะนั้น พระ-

องค์ ผู้มีสมันตจักษุ ชาวโลกจึงเฉลิมพระนามว่า

ตถาคต.

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระองค์ ทรงแสดงธรรมอย่าง

ถ่องแท้ทีเดียว หรือทรงกระทำพระองค์ให้สมควรแก่

ธรรมนั้น ทรงครอบงำสัตวโลกด้วยพระคุณทั้งหลาย

แม้เพราะเหตุนั้น พระองค์ผู้เป็นผู้นำโลก ชาวโลก

จึงเฉลิมพระนามว่า ตถาคต.

อนึ่ง พระองค์ตรัสรู้ด้วยปริญญาอันล่องแท้โดย

ประการทั้งปวง ทรงข้ามแดนโลก ทรงถึงความดับ

ด้วยการกระทำโดยประจักษ์ และทรงถึงอริยมรรค

ฉะนั้น จึงทรงพระนามว่า ตถาคต.

อนึ่ง เพราะเหตุที่พระองค์ประกอบด้วยประโยชน์

แก่สัตวโลก ทรงปริญญาอย่างถ่องแท้โดยประการ

ทั้งปวง ทรงเป็นนาถะของโลก ด้วยพระกรุณาโดย

ประการทั้งปวง เสด็จไป แม้เพราะเหตุนั้น พระ-

ชินเจ้า ชาวโลกจึงเฉลิมพระนามว่า ตถาคต.

พระองค์ทรงอุบัติแต่อภิชาติอย่างถ่องแท้ เพราะ

ทรงหยั่งรู้อารมณ์ตามเป็นจริง ฉะนั้น ชาวโลกจึง

เฉลิมพระนามว่า ตถาคต. พระองค์ทรงพระนามว่า

ตถาคต เพราะทรงปรับปรุงประโยชน์นั้นให้สำเร็จ.

พระมเหสีเจ้าในปางก่อนเหล่านั้น มีประการเป็น

อย่างไร แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็มีประ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 257

การเป็นอย่างนั้น ตามพอพระทัย เพราะพระองค์

เป็นอัครบุคคล ชาวโลกเฉลิมพระนามว่า ตถาคต.

เพราะมีพระหฤทัยเป็นไปตามพระวาจาที่ทรงประกาศ.

ในชาติก่อน ๆ พระองค์ไม่ไปจากธรรมอันเป็น

ข้าศึกต่อโพธิสมภาร การไปสู่สงสารก็ไม่มีแก่พระ-

องค์ และสงสารนี้ไม่มีแก่พระตถาคตผู้เป็นนาถะ ผู้

ทรงเห็นที่สุดภพ เพราะฉะนั้น พระองค์ไม่ปราศจาก

ญาณอันถองแท้ ชาวโลกจึงเฉลิมพระนามว่า ตถาคต.

พระธรรมอันประเสริฐ อันพระมเหสีเจ้าตรัสโดย

ประการที่ละมลทินที่ควรละ เพราะฉะนั้น พระธรรม

นั้นจึงชื่อว่า ตถาคต. แม้พระอริยสงฆ์ของพระ-

ศาสดา ก็ชื่อว่า ตถาคต เพราะเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วย

พระธรรมอันประเสริฐนั้น.

บทว่า มหิทฺธิกตา ความว่า การประกอบด้วยมหิทธิฤทธิ์ กล่าวคือ

ความเป็นผู้สามารถยังความเป็นอย่างอื่นให้สำเร็จ ด้วยอานุภาพแห่งธรรม

เพราะมีความเชี่ยวชาญทางจิต และประกอบด้วยฤทธิ์ต่าง ๆ เป็นอย่างยิ่ง

ชื่อว่า มหิทฺธิกตา. ความประกอบด้วยเดชแห่งบุญที่รุ่งเรืองยิ่งนัก เป็น

เหตุให้สำเร็จประโยชน์ตามความปรารถนา อยู่ไกลแสนไกลจากข้าศึก

อันเกิดมาแต่กาลนาน ชื่อว่า มหานุภาวตา. ศัพท์ว่า ยตฺร เป็นนิบาต

ลงในอรรถปฐมาวิภัตติ อันยังความอัศจรรย์ ความสรรเสริญ ความแตกตื่น

และความร่าเริงให้สำเร็จ. บทว่า วิชายิสฺสติ เป็นคำบ่งอนาคตกาล

เพราะประกอบด้วยบทว่า ยตฺร นั้น. แต่ความหมาย ใช้ในอรรถอดีตกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 258

เท่านั้น. ก็ในข้อนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ชื่อว่า พระนางสุปป-

วาสานี้ จมอยู่ในกองทุกข์ประสบความลำบากเช่นนั้น พร้อมด้วยเวลาที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสนั่นเอง จึงมีความสุข ไม่มีโรค ประสูติพระโอรส

ปราศจากโรค. บทว่า อตฺตมโน แปลว่า มีจิตเป็นของตน. อธิบายว่า

มีจิตปราศจากกิเลส เพราะเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอยู่ จิตที่

ถูกกิเลสกลุ้มรุม ใคร ๆไม่อาจกล่าวว่า มีจิตเป็นของตน เพราะไม่เป็นไป

ในอำนาจแล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อตฺตมโน ได้แก่ มีใจอันปีติและ

โสมนัสจับแล้ว. บทว่า ปมุทิโต แปลว่า ประกอบด้วยความปราโมทย์.

บทว่า ปีติโสมนสฺสชาโต แปลว่า เกิดปีติและโสมนัสอย่างรุนแรง.

บทว่า อถ แปลว่า ภายหลัง คือล่วงไป ๒-๓ วันแต่นั้น. บทว่า สตฺต

ภตฺตานิ ได้แก่ ภัตที่พึงถวายใน ๗ วัน. บทว่า สฺวาตนาย ความว่า

เพื่อบุญอันจะมีในวันพรุ่งนี้ คือเพื่อบุญอันจักมีในวันพรุ่งนี้ ด้วยการ

ถวายทาน และด้วยการเข้าไปนั่งใกล้พระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.

บทว่า อถโข ภควา อายสฺมนฺต มหาโมคฺคลฺลาน อามนฺเตสิ ถามว่า

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียก. ตอบว่า เพื่อรักษาความ

เลื่อมใสของพระสวามีของพระนางสุปปวาสา. ก็พระนางสุปปวาสา เป็น

ผู้มีความเลื่อมใสไม่เอนเอียงแล. แต่การรักษาความเลื่อมใสของอุบาสก

เป็นหน้าที่ของพระมหาโมคคัลลานเถระ. เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า

เธอเป็นอุปัฏฐากของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุยฺเหโส ตัดเป็น ตุยฺห เอโส. ด้วย

บทว่า ติณฺณ ธมฺมาน ปาฏิโภโค ท่านแสดงว่า ถ้าท่านพระมหาโมค-

คัลลานะพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้รับประกัน คือ ถ้าว่าเป็นผู้รับรองเพื่อไม่ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 259

ธรรม ๓ ประการ มีโภคะเป็นต้นของเราเสื่อมคือพินาศ คือว่า ถ้า

พระผู้เป็นเจ้ารู้ว่า พ้น ๗ วันจากวันนี้ไป ข้าพเจ้าอาจให้ทานได้. ฝ่าย

พระเถระเห็นความไม่เป็นอันตรายแห่งโภคะ และชีวิตของอุบาสกในวัน

เหล่านั้นจึงกล่าวว่า อาวุโส เราเป็นผู้ประกันธรรมทั้ง ๒ คือโภคะและ

ชีวิตของท่าน. แต่ว่าศรัทธาเป็นคุณชาติเนื่องอยู่ในจิตของอุบาสกนั้น

เพราะเหตุนั้น พระเถระเมื่อจะทำให้เป็นภาระของอุบาสกเท่านั้น จึงกล่าว

ว่า ก็ท่านเท่านั้นเป็นผู้ประกันศรัทธา. อนึ่ง อุบาสกนั้นเป็นผู้เห็นสัจจะ

แล้ว ความที่ศรัทธาของอุบาสกนั้นจะแปรเป็นอย่างอื่นไปย่อมไม่มี เพราะ

เหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวอย่างนั้น. ก็เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เธอจงให้อุบาสกยินยอมว่า เธอจักทำภายหลัง.

ฝ่ายอุบาสกปรารถนาความเจริญ ด้วยความเคารพในพระศาสดาและพระ-

เถระ และด้วยบุญของพระนางสุปปวาสาผู้มีความสุข จึงยินยอมว่า พระ-

นางสุปปวาสา โกลิยธิดา จงทำตลอด ๗ วันเถิด ภายหลังเราจักทำ.

บทว่า ตญฺจ ทารก ความว่า จำเดิมแต่วันที่ประสูติแล้ว ล่วงไป

ถึงวันที่ ๑๑ จากนั้นจึงให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานฉัน ๗ วัน

แล้วจึงให้ทารกมีอายุ ๗ ขวบนั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า และ

นมัสการภิกษุสงฆ์ในวันที่ ๗. บทว่า สตฺต เม วสฺสามิ แปลว่า เรามี

อายุ ๗ ขวบ. ก็บทว่า วสฺสานิ นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้ในอรรถว่า

อัจจันตสังโยคะ (แปลว่าตลอด). ด้วยคำว่า โลหิตกุมฺภิย วุฏฺานิ ท่าน

กล่าวหมายเอาทุกข์ที่ตนอยู่ในครรภ์ของมารดา. บทว่า อญฺานิปิ เอว-

รูปานิ สตฺต ปุตฺตานิ ความว่า เมื่อควรจะกล่าวว่า อญฺเปิ เอวรูเป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 260

สตฺต ปุตฺเต ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาสว่า เอวรูปานิ. อธิบายว่า

ซึ่งบุตรผู้เกิดขึ้นได้รับทุกข์อย่างมหันต์ เพราะอยู่ในครรภ์ ๗ ปี และ

เพราะครรภ์หลงถึง ๗ วัน ด้วยประการฉะนี้. ด้วยคำนั้น ท่านแสดงว่า

มาตุคามทั้งหลายไม่อิ่มเพราะการอยากได้บุตร เพราะมาตุคามเป็นผู้อยาก

ได้บุตร.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบอรรถนี้ที่พระนาง

กล่าวด้วยความอยากได้บุตร เพราะรวมทุกข์อย่างมหันต์ที่เป็นไปโดยการ

ทรงครรภ์เป็นต้น ตลอด ๗ ปี ๗ วัน เข้าในบทเดียวกัน. ด้วยบทว่า

อิม อุทาน ความว่า พระองค์ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดงภาวะ คือลวง

บุคคลผู้ประมาทด้วยอาการที่น่าปรารถนาแล้ว จึงกระทำประโยชน์ในการ

ละความสิเนหาด้วยตัณหา เหมือนบุคคลผู้มัวเมาความสุขทางใจฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสาต ได้แก่ ไม่อร่อย ไม่ดี ไม่น่า

ปรารถนา. บทว่า สาตรูเปน แปลว่า มีสภาวะน่าปรารถนา. บทว่า

ปิยรูเปน แปลว่า มีภาวะน่ารักใคร่. บทว่า สุขสฺส รูเปน ได้แก่ มีสภาวะ

เป็นสุข. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เพราะเหตุที่สังขารอันเป็นไปใน

วัฏฏะทั้งสิ้น ไม่น่าชื่นใจ ไม่น่ารัก เป็นทุกข์แท้จริง ปรากฏเป็นเหมือน

น่าปรารถนา น่ารัก และเป็นสุข เพราะทำไว้ในใจโดยไม่แยบคาย เพราะ

ละวิปลาสไม่ได้ ย่อมล่วง ครอบงำ ท่วมทับบุคคลผู้ชื่อว่าประมาท เพราะ

ปราศจากสติ ฉะนั้น ทุกข์อันไม่น่าชื่นใจ ไม่น่าปรารถนาเห็นปานนั้น

ย่อมท่วมทับพระนางสุปปวาสา แม้นี้อีก ๗ ครั้ง ด้วยทุกข์อันมีส่วน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 261

เปรียบด้วยความสำราญเป็นต้น คือด้วยวัฏทุกข์อันเกิดแต่ความรักคือบุตร.

จบอรรถกถาสุปปวาสาสูตรที่ ๘

๙. วิสาขาสูตร

ว่าด้วยประโยชน์ทั้งหมดในอำนาจผู้อื่น

[๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้ว อย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพาราม ปราสาทของ

วิสาขามิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ประโยชน์บางอย่าง

ของนางวิสาขามิคารมารดา เนื่องในพระเจ้าปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสน-

ทิโกศลไม่ทรงยังประโยชน์นั้นให้สำเร็จตามความประสงค์ ครั้งนั้นเป็น

เวลาเที่ยง นางวิสาขามิคารมารดาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ถามนางวิสาขามิคารมารดาว่า ดูก่อนนางวิสาขา ท่านมาแต่ที่ไหนหนอใน

เวลาเที่ยง นางวิสาขามิคารมารดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

ประทานพระวโรกาส ประโยชน์บางอย่างของหม่อมฉัน เนื่องในพระเจ้า

ปเสนทิโกศล พระเจ้าปเสนทิโกศลไม่ทรงยังประโยชน์นั้นให้สำเร็จตาม

ความประสงค์.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 262

ประโยชน์ทั้งหมดอยู่ในอำนาจของผู้อื่น นำทุกข์

มาให้ ความเป็นใหญ่ทั้งหมดนำสุขมาให้ เมื่อมี

สาธารณประโยชน์ที่จะพึงให้สำเร็จ สัตว์ทั้งหลาย

ย่อมเดือดร้อน เพราะว่ากิเลสเครื่องประกอบสัตว์

ทั้งหลาย ก้าวล่วงได้โดยยาก.

จบวิสาขาสูตรที่ ๙

อรรถกถาวิสาขาสูตร

วิสาขาสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุพฺพาราเม ได้แก่ในอารามที่สร้างไว้ในที่ เหมือนอุตตม-

เทวีวิหารแห่งอนุราธบุรี ด้านทิศตะวันออกของกรุงสาวัตถี. บทว่า

มิคารมาตุ ปาสาเท แปลว่า ในปราสาทของมิคารมารดา. ในข้อนั้น

มีอนุบุพพิกถาดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล ในที่สุดแสนกัป อุบาสิกาคนหนึ่ง เห็นพระทศพล

พระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงสถาปนาอุบาสิกาคนหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

อัครอุปัฏฐายิกาของพระองค์ จึงทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายทาน

แก่ภิกษุแสนหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน กระทำความนอบน้อมต่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า ในอนาคตขอให้หม่อมฉัน

เป็นอัครอุปัฏฐายิกาของพระพุทธเจ้าเช่นพระองค์. เธอท่องเที่ยวไปใน

เทวดาและมนุษย์ถึงแสนกัป ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา จึง

ถือปฏิสนธิในครรภ์ของ สุมนเทวี ในคฤหาสน์ของธนัญชัยเศรษฐี ผู้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 263

บุตรของ เมณฑกเศรษฐี ในภัททิยนคร. ก็ในเวลาที่นางเกิด ชนทั้งหลาย

ได้ขนานนามของเธอว่า วิสาขา. ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ภัตทิยนคร เธอพร้อมด้วยทาริกา ๕๐๐ คน ไปต้อนรับพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ได้เป็นพระโสดาบัน เพราะการได้เฝ้าครั้งแรกนั่นเอง.

ครั้นภายหลัง เธอไปยังคฤหาสน์ของ ปุณณวัฒนกุมาร ผู้เป็นบุตร

ของมิคารเศรษฐี ในกรุงสาวัตถี มิคารเศรษฐีผู้เป็นพ่อผัวตั้งเธอไว้ใน

ฐานะเป็นมารดา โดยเป็นผู้มีอุปการะในคฤหาสน์นั้น. เพราะฉะนั้น เขา

จึงขนานนามว่า มิคารมารดา. เธอสละเครื่องประดับ ชื่อว่า มหาลดา

ของตนโดยใช้ทรัพย์ ๙ โกฏิสร้างปราสาทประดับไว้ ๑,๐๐๐ ห้อง คือพื้น

ชั้นบน ๕๐๐ ห้อง พื้นชั้นล่าง ๕๐๐ ห้อง ณ พื้นที่ประมาณ ๑ กรีส

เพื่อเป็นที่ประทับและเป็นที่อยู่ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ในปราสาทของมิคารมารดา.

บทว่า โกจิเทว อตฺโต แปลว่า ประโยชน์บางอย่าง. บทว่า รญฺเ

แปลว่า พระราชา. บทว่า ปฏิพทฺโธ แปลว่า เนื่องถึงกัน. พวกญาติของ

นางวิสาขาส่งสิ่งของเช่นนั้น อันวิจิตรด้วยแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น

จากตระกูลญาติไปเพื่อเป็นบรรณาการแก่นาง. สิ่งของนั้นพอถึงประตูเมือง

พวกเก็บส่วยจึงเก็บส่วย ณ ที่นั้น แต่ไม่เก็บให้พอควรแก่สิ่งของนั้น เก็บ

เอาเกินไป. นางวิสาขาได้ฟังดังนั้น ประสงค์จะทูลความนั้นแก่พระราชา

จึงได้ไปยังพระราชนิเวศน์พร้อมด้วยบริวารพอสมควร, ขณะนั้น พระ-

ราชาพร้อมด้วยพระนางมัลลิกาเทวี ได้เสด็จไปภายในพระตำหนัก, นาง

วิสาขาเมื่อไม่ได้โอกาส จึงคิดว่า เราจักได้ในบัดนี้ เราจักได้ในบัดนี้

เป็นผู้ขาดการบริโภคอาหารเพราะเลยเวลาบริโภค จึงหลีกไป. แม้นางจะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 264

ไปอย่างนี้ถึง ๒-๓ วันก็ไม่ได้โอกาสเลย. ดังนั้น พระราชาแม้เขาจะไม่

กราบทูลให้ทรงทราบ ก็เรียกว่า พระองค์ไม่ยังประโยชน์ให้สำเร็จตาม

ความประสงค์ เพราะไม่ได้โอกาสที่จะทำการวินิจฉัยความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาธิปฺปาย แปลว่า ตามควรแก่ความ

ประสงค์. บทว่า น ตีเรติ แปลว่า ยังไม่ตกลง. จริงอยู่ มหาอุบาสิกา

มีความประสงค์จะถวายส่วยอันเกี่ยวเนื่องกับพระราชาแก่พระราชาแล้วสละ

สิ่งของพวกนี้ ความประสงค์นั้น พระราชายังมิได้พิจารณา เพราะพระองค์

ยังมิได้เห็นเลย. ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าเสียสละ. บทว่า

ทิวา ทิวสฺส แปลว่า ในเวลากลางวัน อธิบายว่า ในเวลาเที่ยง. มหา-

อุบาสิกาเมื่อจะแสดงความนี้ว่า หม่อมฉันไปยังประตูพระราชนิเวศน์ ๒-๓

วัน ในเวลากลางวัน ด้วยกรณียกิจบางอย่าง เข้าไปหาโดยไร้ประโยชน์

ทีเดียว เพราะความนั้นยังไม่ตกลง แต่การเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

เท่านั้น มีประโยชน์เพราะเป็นเหตุให้ได้ทัสนานุตริยะเป็นต้น เพราะ

เหตุนั้น หม่อมฉันจึงมาในที่นี้ในเวลานี้ พระเจ้าข้า ดังนี้ จึงกราบทูล

คำมีอาทิว่า อิธ เม ภนฺเต.

บทว่า เอตมตฺถ ความว่า ทรงทราบเนื้อความนี้ กล่าวคือ การ

สำเร็จความประสงค์โดยเนื่องกับผู้อื่น. ด้วยบทว่า อิม อุทาน พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงโทษและอานิสงส์ในความเป็นไป

ที่อาศัยผู้อื่นกับไม่อาศัยผู้อื่น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพ ปรวส ทุกฺข ความว่า อรรถคือ

ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง อันเป็นไปในอำนาจของคนอื่น คือเนื่องกับ

คนอื่น จัดว่าเป็นทุกข์ คือนำทุกข์มาให้ เพราะไม่อาจให้สำเร็จตามความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 265

ปรารถนาของตน. บทว่า สพฺพ อิสฺสริย สุข ความว่า ความเป็นใหญ่

มี ๒ อย่าง คือเป็นโลกิยะ ๑ โลกุตระ ๑. ในสองอย่างนั้น ความเป็นใหญ่

ฝ่ายโลกิยะ มีความเป็นใหญ่แห่งพระราชาเป็นต้น และความเป็นใหญ่

แห่งจิต อันเกิดจากฌาน และอภิญญาฝ่ายโลกิยะ. ความเป็นใหญ่ฝ่าย

โลกุตระ ได้แก่ความเป็นใหญ่แห่งนิโรธ อันมีการบรรลุมรรคและผล

เป็นนิมิต. ในความเป็นใหญ่เหล่านั้น ความเป็นใหญ่ในมนุษย์อันมีความ

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิเป็นที่สุด ๑ ความเป็นใหญ่เป็นอธิบดีในหมู่เทพ

นั้น ๆ แห่งท้าวสักกะเป็นต้น ๑ ทั้งสองอย่างนั้น แม้ถ้าชื่อว่าเป็นสุข

เพราะมีสุขเป็นนิมิต โดยสำเร็จตามความปรารถนาด้วยอานุภาพแห่งกรรม

แต่ถึงกระนั้น จะชื่อว่าเป็นสุขอย่างแท้จริง โดยประการทั้งปวงก็หาไม่

เพราะเป็นทุกข์โดยมีความแปรปรวนไป. อนึ่ง ความเป็นใหญ่ทางจิตอัน

เกิดจากโลกิยฌานเป็นต้น ชื่อว่าไม่เป็นสุขอย่างแท้จริง เพราะมีความไม่

เที่ยงเป็นที่สุด. ส่วนความเป็นใหญ่แห่งนิโรธเท่านั้น ชื่อว่ามีความเป็นสุข

อย่างแท้จริง เพราะไม่หวั่นไหวด้วยโลกธรรม และเพราะไม่มีการหมุนกลับ

(นิโรธ) เป็นสภาวะ. ก็ในที่นี้ พระศาสดาทรงหมายเอาสุขทางใจที่ได้

โดยไม่เนื่องกับสิ่งอื่นในทุกสถานทีเดียว จึงตรัสว่า สพฺพ อิสฺสริย สุข

ความเป็นใหญ่ทั้งปวงนำมาซึ่งความสุข.

บทว่า สาธารเณ วิหญฺนฺติ นี้ เป็นบทไขความแห่งบทนี้ว่า

สพฺพ ปรวส ทุกฺข ประโยชน์ทั้งปวงที่อยู่ในอำนาจของผู้อื่นนำความทุกข์

มาให้. ก็ในข้อนี้มีอธิบายดังนี้ เมื่อประโยชน์ทั่วไปที่จะพึงให้สำเร็จมีอยู่

สัตว์เหล่านี้ชื่อว่าเดือดร้อน คือถึงความคับแค้น ลำบาก เพราะไม่สำเร็จ

ตามความประสงค์ เหตุประโยชน์นั้นเนื่องด้วยผู้อื่น. ถามว่า เพราะเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 266

ไร ? ตอบว่า เพราะกิเลสเครื่องประกอบล่วงได้โดยยาก. อธิบายว่า

เพราะเหตุที่กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และอวิชชาโยคะ อันบุคคล

ให้เกิดมีตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้ ชื่อว่าล่วงได้ยาก เพราะผู้ที่ไม่ได้สั่งสม

กุศลสมภารมาไม่สามารถจะละได้, ในโยคะเป็นต้นนั้น ทิฏฐิโยคะอัน

บุคคลพึงล่วงได้ด้วยปฐมมรรค (โสดาปัตติมรรค) กามโยคะอันบุคคลพึง

ล่วงได้ด้วยมรรคที่ ๓ (อนาคามิมรรค) โยคะนอกนี้อันบุคคลพึงล่วงได้

ด้วยมรรคอันเลิศ (อรหัตมรรค). ดังนั้น โยคะเหล่านี้จึงชื่อว่าล่วงได้ยาก

เพราะอริยมรรคทั้งหลายบรรลุได้ยาก เพราะฉะนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงชื่อว่า

เดือดร้อน เพราะเหตุที่ไม่ได้สิ่งที่ปรารถนา ด้วยอำนาจกามโยคะเป็นต้น

อธิบายว่า ก็เมื่อความเป็นใหญ่แห่งจิต และความเป็นใหญ่แห่งนิโรธมีอยู่

แม้ในกาลไร ๆ ความคับแค้นก็เกิดไม่ได้.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สพฺพ ปรวสฺส ความว่า ประโยชน์กล่าว

คือความเป็นไปของตนเนื่องด้วยผู้อื่นและผู้อื่นเนื่องกับคนทั้งหมดนั้น ชื่อ

ว่าเป็นเหตุนำทุกข์มาให้ เพราะมีความไม่เที่ยงเป็นสภาวะ. สมจริงดังคำ

ที่ท่านกล่าวไว้ว่า สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์. บทว่า สพฺพ อิสฺสริย

ความว่า พระนิพพานอันเป็นที่สลัดออกจากสังขตธรรมทั้งปวง อันได้

นามว่าอิสริยะ เพราะเป็นที่ตั้งแห่งความเป็นใหญ่ ทั้งหมดนั้นแยกเป็น

สอุปาทิเสสนิพพานเป็นต้น ชื่อว่า นำมาซึ่งความสุข. สมจริงดังที่ตรัส

ไว้ว่า นิพฺพาน ปรม สุข พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. บทว่า สาธารเณ

ความว่า เมื่อกำหนดทุกข์และสุขได้อย่างนี้ สัตว์เหล่านี้ย่อมเดือดร้อนจม

อยู่ในเหตุแห่งทุกข์อันทั่วไปแก่ทุกข์มากมาย. ถามว่า เพราะเหตุไร ? ตอบ

ว่า เพราะกิเลสเครื่องประกอบล่วงได้ยาก อธิบายว่า เพราะเหตุที่กาม-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 267

โยคะเป็นต้นเหล่านั้นเป็นเหตุให้จมลงในทุกข์ทั้งปวงเป็นอันล่วงได้ยาก

ฉะนั้น วิสาขา แม้เธอปรารถนาประโยชน์ที่เนื่องกับผู้อื่น เมื่อไม่ได้ ก็

เดือดร้อน.

จบอรรถกถาวิสาขาสูตรที่ ๙

๑๐. กาฬิโคธาภัททิยสูตร

ว่าด้วยอุทานว่าสุขหนอ ๆ

[๖๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน ก็สมัยนั้น

แล ท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีพระนามว่า กาฬิโคธา

อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี ได้เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า

สุขหนอ สุขหนอ ภิกษุเป็นอันมากได้ฟังท่านพระภัททิยะพระโอรสของ

พระราชเทวีกาฬิโคธา อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี เปล่ง-

อุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ครั้นแล้วภิกษุเหล่านั้นได้พากัน

ปริวิตกว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านพระภัททิยะพระโอรสของ

พระราชเทวีกาฬิโคธา ไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์โดยไม่ต้องสงสัย ท่าน

อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี คงหวนระลึกถึงความสุขใน

ราชสมบัติเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน จึงได้เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า

สุขหนอ สุขหนอ ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมากเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระภัททิยะ

พระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธา คงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 268

ไม่ต้องสงสัย ท่านอยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี คงหวน

ระลึกถึงความสุขในราชสมบัติเมื่อครั้งเป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน จึงได้เปล่ง

อุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ.

[๖๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งภิกษุรูปหนึ่งว่า ดูก่อน

ภิกษุ เธอจงไปเรียกภัททิยะภิกษุมาตามคำของเราว่า ภัททิยะผู้มีอายุ

พระศาสดาตรัสสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้า

ไปหาท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธา ครั้นแล้วได้

กล่าวกะท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธาว่า ดูก่อน

อาวุโสภัททิยะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระภัททิยะพระโอรสของ

พระราชเทวีกาฬิโคธา รับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสถานท่านพระภัททิยะพระโอรสของพระราชเทวีกาฬิโคธา

ว่า ดูก่อนภัททิยะ ได้ยินว่า ท่านอยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือน

ว่างก็ดี เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ สุขหนอ ดังนี้จริงหรือ ท่าน

พระภัททิยะทูลรับว่า จริงพระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภัททิยะ ท่านเห็นอำนาจประโยชน์อะไรเล่า อยู่ในป่า

ก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี จึงเปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า สุขหนอ

สุขหนอ.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์ในกาลก่อน

เสวยสุขในราชสมบัติอยู่ ได้มีการรักษาอันพวกราชบุรุษจัดแจงดีแล้ว ทั้ง

ภายในพระราชวัง ทั้งภายนอกพระราชวัง ทั้งภายในพระนคร ทั้งภาย

นอกพระนคร ทั้งภายในชนบท ทั้งภายนอกชนบท ข้าแต่พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 269

ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นแลเป็นผู้อันราชบุรุษรักษาแล้วคุ้มครองแล้วอย่างนี้

ยังเป็นผู้กลัว หวาดเสียว ระแวง สะดุ้งอยู่ แต่บัดนี้ ข้าพระองค์ผู้เดียว

อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี ไม่กลัว ไม่หวาดเสียว ไม่ระแวง

ไม่สะดุ้ง มีความขวนขวายน้อย มีขนตก เป็นไปอยู่ด้วยของที่ผู้อื่นให้ มี

ใจดุจเนื้ออยู่ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เห็นอำนาจประโยชน์นี้แล

อยู่ในป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี อยู่เรือนว่างก็ดี จึงได้เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า

สุขหนอ สุขหนอ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความกำเริบ (ความโกรธ) ย่อมไม่มีจากจุติของ

พระอริยบุคคลผู้ก้าวล่วงความเจริญและความเสื่อมมี

ประการอย่างนั้น เทวดาทั้งหลาย ย่อมไม่สามารถ

เพื่อจะเห็นพระอริยบุคคลนั้นผู้ปราศจากภัย มีความ

สุข ไม่มีความโศก.

จบกาฬิโคธาภัททิยสูตรที่ ๑๐

จบมุจจลินทวรรคที่ ๒

อรรถกถากาฬิโคธาภัททิยสูตร

กาฬิโคธาภัททิยสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุปิยาย ได้แก่ ใกล้พระนครอันมีชื่ออย่างนี้. บทว่า

อมฺพวเน ความว่า ในที่ไม่ไกลแต่นครนั้น เจ้ามัลละทั้งหลายได้มีสวน

มะม่วงแห่งหนึ่ง ในสวนมะม่วงนั้น เจ้ามัลละทั้งหลายได้สร้างวิหารถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 270

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า วิหารนั้นเขาเรียกกันว่าอัมพวัน. พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงกระทำอนุปิยนครให้เป็นโคจรคาม ประทับอยู่ในอัมพวันนั้น.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนุปิยาย วิหรติ อมฺพวเน. บทว่า ภทฺทิโย

เป็นชื่อของพระเถระนั้น. บทว่า กาฬิโคธาย ปุตฺโต ความว่า สักยราช-

เทวี สากิยานี พระนามว่า กาฬิโคธา เป็นพระอริยสาวิกา บรรลุอริยผล

แล้วเข้าใจศาสนาแจ่มแจ้งแล้ว, พระเถระนี้เป็นบุตรของพระนาม.

บรรพชาวิธีของพระเถระนั้นมาในขันธกะนั้นแล. พระเถระนั้น ครั้น

บรรพชาแล้วเริ่มตั้งวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้อภิญญา ๖ ท่านสมาทาน

ประพฤติธุดงค์แม้ทั้ง ๑๓. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาท่านไว้ใน

เอตทัคคะในทางผู้มีสกลสูงว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้สาวกของเราผู้

มีสกุลสูง บุตรของพระนางกาฬิโคธา ชื่อว่าภัททิยะ เป็นผู้หนึ่งที่อยู่ใน

จำนวนพระสาวก ๘๐ องค์.

ด้วยบทว่า สุญฺาคารคโต ท่านกล่าวว่า เว้นบ้านและอุปจาร

บ้าน นอกนั้นชื่อว่าป่า, เว้นป่าและโคนไม้เสีย ที่อยู่อาศัยอย่างอื่นมีซอก

ภูเขาเป็นต้นอันสมควรแก่บรรพชิต ท่านประสงค์เอาว่า สุญญาคารในที่นี้

เพราะไม่แออัดด้วยหมู่ชน. อีกอย่างหนึ่ง แม้เรือนหลังใดหลังหนึ่งที่สงัด

ก็พึงทราบว่าสุญญาคารเพราะไม่มีเสียงที่เป็นข้าศึกต่อฌาน. ผู้เข้าถึงสุญญา-

คารนั้น. บทว่า อภิกฺขณ แปลว่า มากหลาย. บทว่า อุทาน อุทาเนสิ

ความว่า เพราะท่านผู้มีอายุนั้นแม้เข้าพักผ่อนกลางวันก็ดี เข้าพักผ่อน

ตอนกลางคืนก็ดี โดยมาก ให้กาลผ่านไปด้วยสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติ และ

สุขอันเกิดแต่นิโรธ ฉะนั้น ท่านหมายเอาสุขนั้น จึงเกลียดสุขในราช-

สมบัติอันมีภัย มีความเร่าร้อน อันตนเคยเสวยในกาลก่อน จึงเปล่งถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 271

สุขอันเกิดพร้อมด้วยโสมนัส มีญาณเป็นสมุฏฐาน มิปีติเป็นสมุฏฐานว่า

สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ ดังนี้.

บทว่า สุตฺวาน เตส เอตทโหสิ ความว่า ภิกษุเป็นอันมากเหล่า

นั้น ครั้นได้ฟังอุทานของท่านผู้มีอายุเปล่งว่า สุขจริงหนอ สุขจริงหนอ

ก็ได้มีปริวิตกดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุนี้ เบื่อหน่ายประพฤติพรหมจรรย์ โดย

ไม่ต้องสงสัย จริงอยู่ ภิกษุเหล่านั้นเป็นปุถุชน เมื่อไม่รู้อุทานอันหมาย

ถึงสุขอันเกิดแต่วิเวกของท่านผู้มีอายุนั้น จึงได้ดูหมิ่นอย่างนั้น ด้วยเหตุ

นั้น ท่านจึงกล่าวคำว่า นิสฺสสย ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิสฺสสย คือ โดยไม่ต้องสนเท่ห์

อธิบายว่า โดยแท้จริง. อาจารย์บางพวกกล่าวบาลีเป็นต้นว่า ย โส

ปุพฺเพ อคาริยภูโต สมาโน (ท่านเป็นผู้ครองเรือนในกาลก่อน เสวย

สุข ใด) แล้วพรรณนาอรรถด้วยคำที่เหลือว่า อนุภวิ (เสวย) อาจารย์

อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ยส แต่บาลีเป็น ยส ปุพฺเพ อคาริยภูตสฺส.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ยส ตัดเป็น ย อสฺส, เพราะลบ อ อักษรและ

อักษร ด้วยอำนาจสนธิ เหมือนในประโยคมีอาทิว่า เอวส เต และ

ว่า ปุปฺผสา อุปฺปชฺชติ. พึงทราบความหมายของคำนั้นดังต่อไปนี้ ท่าน

พระภัททิยะนั้น ก่อนแต่บวช เป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนเสวยสุขในราช-

สมบัติใด. บทว่า โส ตมนุสฺสรมาโน ความว่า บัดนี้ ท่านหวนระลึก

ถึงสุขนั้น ด้วยความเบื่อหน่าย.

บทว่า เต ภิกฺขู ภควนฺต เอตทโวจุ ความว่า ภิกษุเป็นอันมาก

เหล่านั้นตั้งอยู่ในสภาพกล่าวอวด จึงได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาค-

เจ้า โดยประสงค์จะอนุเคราะห์ท่าน ไม่ใช่ประสงค์จะยกโทษ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 272

อญฺตร ได้แก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้ไม่ปรากฏนามและโคตร. บทว่า อามนฺเตสิ

ได้แก่ มีพระประสงค์จะให้ภิกษุเหล่านั้นเข้าใจ จึงมีพระบัญชา. บทว่า

เอว ได้แก่ ในการรับพระดำรัส . อธิบายว่า ดังข้าพระองค์ขอวโรกาส.

บทว่า เอว ได้แก่ ด้วยการปฏิญญาอีก. บทว่า อภิกฺขณ อโห สุข

อโห สุขนฺติ อิม อุทาน อุทาเนสิ ความว่า รับรู้อุทานของตนว่า

ข้อนั้น จงเป็นอย่างนั้น คือ จงเป็นโดยประการที่ภิกษุเหล่านั้นกล่าว.

บทว่า กึ ปน ตฺว ภทฺทิย ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสถาม พระองค์ไม่ทรงทราบจิตของท่านหรือ ? ตอบว่า ไม่ทรงทราบ

ก็หามิได้ ก็เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสถาม เพื่อให้กล่าวเรื่องนั้น

แล้วให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอม. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้มีอาทิว่า พระ-

ตถาคตทั้งหลายทั้งที่รู้ตรัสถามก็มี ทั้งที่รู้ไม่ตรัสถานก็มี. บทว่า อตฺถวส

แปลว่า เหตุ.

บทว่า อนฺเตปุเร ได้แก่ ในภายในพระราชตำหนักอันเป็นที่สัญจร

ของสาวชาววัง อันเป็นที่ทรงสนาน ทรงเสวย และเป็นที่บรรทมเป็นต้น

ของพระราชา. บทว่า รกฺขา สุสวิหิตา ได้แก่ การคุ้มครองอันพวก

ราชบุรุษกระทำการรักษาอย่างกวดขัน ได้จัดแจงไว้โดยรอบอย่างดี. บท

ว่า พหิปิ อนฺเตปุเร ได้แก่ ในราชตำหนักอันเป็นภายนอกจากภายใน

พระราชวัง มีหอคอยเป็นต้น . บทว่า เอว รกฺขิโต โคปิโต สนฺโต

ความว่า ข้าพระองค์นั้นเป็นผู้อันราชบุรุษหลายร้อยรักษา คุ้มครอง เพื่อ

ความปลอดภัย เพื่อความอยู่สำราญของข้าพระองค์เอง ด้วยการจัดแจง

การรักษาป้องกัน และคุ้มครองอย่างดีในที่มากมาย ทั้งภายในและภาย-

นอกพระตำหนักราชธานี ราชอาณาเขต ด้วยประการอย่างนี้. บทว่า

ภีโต เป็นต้น เป็นไวพจน์ของกันและกัน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภีโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 273

ได้แก่ อันราชศัตรูเกรงกลัว. บทว่า อุพฺพิคฺโค ได้แก่ เป็นผู้หวาด

หวั่นไหวด้วยความหวาดภัยอันเกิดจากการก่อความกำเริบตามปกติ แม้ใน

ราชสีมาอาณาจักร. บทว่า อุสฺสงฺกี ได้แก่ ระแวงอยู่เป็นเบื้องหน้า

ด้วยการไม่วางใจในที่ทุกแห่ง และด้วยความระแวงถึงกิจและกรณียะนั้น

เพราะคำพูดว่า ธรรมดาพระราชาไม่ควรไว้วางใจทุก ๆ เวลา. บทว่า

อุตฺราสี ได้แก่ สะดุ้งด้วยความสะดุ้งอันสามารถทำให้เกิดตัวสั่นอันเกิดขึ้น

ว่า ในกาลบางคราว ความพินาศพึงมีแก่เราผู้ไม่รู้ตัวเลย แม้เพราะคน

ใกล้ชิด. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อุตฺราโส ดังนี้ก็มี. บทว่า วิหาสึ

ได้แก่ เราเป็นอย่างนี้อยู่.

บทว่า เอตรหิ ได้แก่ บัดนี้ นับตั้งแต่เวลาที่บวชมา. บทว่า เอโก

ได้แก่ ไม่มีเพื่อน, ด้วยบทว่า เอโก นั้น ท่านแสดงถึงความเป็นผู้มี

ตนหลีกออกแล้ว . พึงทราบอรรถแห่งบทว่า อภีโต เป็นต้น โดยปริยาย

ตรงกันข้ามกับคำที่กล่าวแล้ว. ท่านแสดงถึงจิตวิเวกด้วยคำมีอาทิว่า

ความที่ท่านไม่มีความกลัวเป็นต้น เพราะไม่มีการกำหนดจับนิมิตมีภัยเป็น

ต้น และภัยคือกิเลสอันมีการกำหนดนั้นเป็นนิมิต. บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก

ได้แก่ปราศจากความขวนขวายในการคุ้มครองร่างกาย. บทว่า ปนฺนโลโม

ได้แก่ ไม่มีขนชูชัน เพราะไม่มีความหวาดเสียวอันทำให้เกิดขนชูชันเป็น

ต้น. ด้วยบททั้งสอง ท่านแสดงถึงการอยู่อย่างเสรี. บทว่า ปรทวุตฺโต

ความว่า เป็นไปอยู่ด้วยจีวรเป็นต้นที่คนอื่นให้, ด้วยบทนั้น ท่านแสดงถึง

การเว้นจากเหตุแห่งภัยโดยเด็ดขาด ด้วยมุขคือความไม่มีความติดขัดโดย

ประการทั้งปวง. บทว่า มิคภูเตน เจตสา ได้แก่ มีจิตเกิดเป็นเหมือน

มฤค เพราะอยู่อย่างโล่งใจ. จริงอยู่ มฤคอยู่ในป่าอันเป็นถิ่นที่ไม่มีมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 274

จะยืนนั่งนอนก็โล่งใจ และก้าวไปตามความปรารถนา เที่ยวไปโดยไม่ติด

ขัด ท่านแสดงว่า แม้เราก็อยู่อย่างนั้น. สมจริงดังที่พระปัจเจกพุทธเจ้า

ตรัสไว้ว่า

วิญญูชนมุ่งถึงความเสรีภาพ เป็นผู้เดียวเที่ยวไป

เหมือนนอแรด เปรียบเหมือนมฤคในป่าไม่ถูกมัดไว้

เที่ยวหากินไปตามความปรารถนา.

บทว่า อิม โข อห ภนฺเต อตฺถวส ความว่า ข้าแต่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระองค์เมื่อพิจารณาเห็นเหตุคือสุขอันเกิดแต่วิเวก

และสุขอันเกิดแต่ผลสมาบัติอันยอดเยี่ยมนี้เท่านั้น จึงเปล่งอุทานว่า สุขหนอ

สุขหนอ.

บทว่า เอตมตฺถ ความว่า ทรงทราบโดยทุกประการ ถึงความนี้

กล่าวคือสุขอันเกิดแต่วิเวกอันล่วงวิสัยปุถุชน ของพระภัททิยเถระ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสนฺตรโต น สนฺติ โกปา ความ

ว่า กิเลสมีราคะเป็นต้น ชื่อว่าทำจิตให้กำเริบ เพราะเป็นเหตุทำจิตให้

ฟุ้งขึ้นตามเวลา (และ) ความโกรธมีหลายประเภท ต่างโดยเหตุมีอาฆาต-

วัตถุเป็นต้น ย่อมไม่มีในภายใน คือในจิตของตน จากจิตของพระอริย-

บุคคลใดชื่อว่าย่อมไม่มี เพราะพระอริยบุคคลละได้ด้วยมรรค. จริงอยู่

อันตรศัพท์นี้ ปรากฏในเหตุ ในประโยคมีอาทิว่า ส่วนเราและท่านเป็น

เพราะอะไร. ปรากฏในท่ามกลาง ในประโยคมีอาทิว่า ในสมัยหิมะตกอัน

ตั้งอยู่ในท่ามกลาง. ปรากฏในระหว่าง ในประโยคมีอาทิว่า ระหว่างพระ-

วิหารเชตวันกับกรุงสาวัตถี. ปรากฏในจิต ในประโยคมีอาทิว่า ภัยเกิดจาก

จิตดังนี้ก็จริง, แม้ในที่นี้ พึงเห็นอันตรศัพท์ ใช้ในจิตเท่านั้น. ด้วยเหตุ

นั้น ท่านจึงกล่าวว่า อนฺตรโต อตฺตโน จิตฺเต จากจิต คือในจิตของตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 275

บทว่า อิติ ภวาภวตญฺจ วีติวตฺโต ความว่า เพราะเหตุที่สมบัติ

ชื่อว่า ภพ วิบัติชื่อว่า อภพ. อนึ่ง ความเจริญชื่อว่า ภพ ความเสื่อมชื่อ

ว่า อภพ. อนึ่ง ความเที่ยงชื่อว่า ภพ ความขาดสูญชื่อว่า อภพ. อนึ่ง

บุญชื่อว่า ภพ บาปชื่อว่า อภพ. อนึ่ง สุคติชื่อว่า ภพ ทุคติชื่อว่า อภพ.

อนึ่ง ภพเล็ก ชื่อว่า ภพ ภพใหญ่ ชื่อว่า อภพ. ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า

เป็นภวาภวะ ภพ อภพ มีประการเป็นอเนก คือ สมบัติ วิบัติ ความ

เจริญ ความเสื่อม ความเที่ยง ความขาดสูญ บุญ บาป สุคติ ทุคติ

และอุปบัติภพน้อยใหญ่. พระอริยบุคคลผ่านพ้น คือก้าวล่วงความโกรธ

นั้น และภพ อภพ ดังกล่าวมาในนัยนั้น ๆ ตามความเป็นจริง ด้วย

อริยมรรคทั้ง ๔. พึงเปลี่ยนวิภัตติไปตามอรรถ. บทว่า ต วิคตภย ความ

ว่า ซึ่งพระขีณาสพนั่น คือ เห็นปานนั้น ผู้ประกอบด้วยคุณดังกล่าวแล้ว

ชื่อว่า ผู้ปราศจากภัย เพราะปราศจากเหตุแห่งภัยโดยไม่มีความกำเริบ

แห่งจิต และโดยก้าวล่วงภวาภวะดังกล่าวแล้ว, ชื่อว่า มีความสุข ด้วย

สุขอันเกิดแต่วิเวก และสุขอันเกิดแต่มรรคจิตและผลจิต, ชื่อว่า ผู้ไม่มี

ความโศก เพราะปราศจากภัยนั่นเอง. บทว่า เทวานานุภวนฺติ ทสฺสนาย

ความว่า อุปบัติเทพแม้ทั้งหมด เว้นผู้บรรลุมรรค แม้พยายามอยู่ ก็ไม่ได้

ไม่อาจ ไม่สามารถ เพื่อจะเห็น คือ แลเห็น ด้วยการเห็นโดยการท่อง

เที่ยวไปแห่งจิต จะป่วยกล่าวไปไยถึงพวกมนุษย์เล่า ก็แม้พระเสขะทั้ง

หลาย ก็ไม่รู้ความเป็นไปแห่งจิตของพระอรหันต์ ได้เหมือนปุถุชนไม่รู้

ความเป็นไปแห่งจิตของพระเสขะแล.

จบอรรถกถากาฬิโคธาภัททิยสูตรที่ ๑๐

จบมุจลินทวรรควรรณนาที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 276

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มุจจลินทสูตร ๒. ราชสูตร ๓. ทัณฑสูตร ๔. สักการสูตร

๕. อุปาสกสูตร ๖. คัพภินีสูตร ๗. เอกปุตตสูตร ๘. สุปปวาสาสูตร

๙. วิสาขาสูตร ๑๐. กาฬิโคธาภัททิยสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 277

นันทวรรคที่ ๓

๑. กรรมสูตร

ว่าด้วยการละกรรมทั้งหมด

[๖๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุ

รูปหนึ่งนั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรงอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า อดกลั้น

ทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนซึ่งเกิดแต่ผลแห่งกรรมเก่า มีสติสัมปชัญญะ

ไม่พรั่นพรึงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นภิกษุนั้น นั่งคู้

บัลลังก์ตั้งกายตรงอยู่ในที่ไม่ไกล อดกลั้นทุกขเวทนาอันกล้าเผ็ดร้อนซึ่ง

เกิดแต่ผลแห่งกรรมเก่า มีสติสัมปชัญญะ ไม่พรั่นพรึงอยู่.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ภิกษุละกรรมทั้งหมดได้แล้ว กำจัดกรรมเป็นดัง

ธุลีที่ตนทำไว้แล้วในก่อน ไม่มีการยึดถือว่าของเรา

ดำรงมั่นคงที่ ประโยชน์ที่จะกล่าวกะชน (ว่าท่านจง

ทำยาเพื่อเรา) ย่อมไม่มี.

จบกรรมสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 278

นันทวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถากรรมสูตร

นันทวรรค กรรมสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อญฺตโร ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้ขีณาสพรูปหนึ่ง ซึ่งไม่

ปรากฏนามและโคตร.

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเป็นกุลบุตรชาวกรุงราชคฤห์ อันพระมหาโมค-

คัลลานะให้สังเวชแล้ว เห็นโทษในสงสาร จึงบรรพชาในสำนักพระ-

ศาสดา ชำระศีลให้หมดจด ยึดเอากรรมฐานอันสัมปยุตด้วยสัจจะ ๔

ไม่นานนัก ได้บำเพ็ญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต. ภายหลังท่านได้เกิด

อาพาธอย่างแรงกล้า. ท่านยับยั้งด้วยการพิจารณาอยู่ จริงอยู่ ธรรมดา

ว่าพระขีณาสพไม่มีทุกข์ทางใจ แต่ทุกข์ทางกายยังมีอยู่เหมือนกัน. วัน-

หนึ่ง เมื่อพระศาสดากำลังแสดงธรรม ท่านอดกลั้นทุกข์นั่งสมาธิอยู่ในที่ไม่

ไกล. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ภควโต อวิทูเร นิสินฺโน

โหติ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺก แปลว่า นั่งพับขาโดยรอบ.

บทว่า อาภุชิตฺวา แปลว่า พับ. บทว่า อุชุ กาย ปณิธาย ความว่า

ท่านตั้งกายเบื้องบนให้ตรง แล้วให้กระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อจดถึงกัน. ก็

เมื่อท่านนั่งอย่างนี้ หนัง เนื้อ และเอ็นจะไม่ตึง เพราะฉะนั้น ท่านจึง

ได้นั่งอย่างนั้น. บทว่า ปุราณกมฺมวิปากช แปลว่า เกิดโดยเป็นวิบากแห่ง

กรรมที่ทำไว้ก่อน. อีกอย่างหนึ่ง เกิดโดยความเป็นส่วนหนึ่งแห่งกรรม

นั้น ในเมื่อวิบากของกรรมเก่า ซึ่งมีอาการเป็นสุขและทุกข์ เกิดเป็น

วิปากวัฏ. ข้อนั้นคืออะไร ? คือทุกข์. ก็ด้วยคำว่า ปุราณกมฺมวิปากช นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 279

ท่านแสดงถึงอาพาธนั้นมีกรรมเป็นสมุฏฐาน จึงห้ามความที่กรรมเกิดจาก

ฤดูเปลี่ยนแปรเป็นต้นอันรู้สึกเจ็บปวด. บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์อัน

ปุถุชนไม่สามารถจะทานได้. บทว่า ติปฺป แปลว่า แรงกล้า หรือหนัก

เพราะครอบงำเป็นไป. บทว่า ขร แปลว่า กล้าแข็ง. บทว่า กฏุก

แปลว่า ไม่สำราญ. บทว่า อธิวาเสนฺโต แปลว่า ยับยั้ง คือ อดกลั้น

อดทน เป็นอย่างสูง. บทว่า สโต สมฺปชาโน ได้แก่ มีสติ มีสัมปชัญญะ

ด้วยอำนาจสติและสัมปชัญญะ อันเป็นตัวกำหนัดเวทนา. ท่านกล่าวคำ

อธิบายนี้ไว้ว่า ธรรมดาว่าเวทนานี้ ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอรรถว่ามีแล้ว

กลับไม่มี ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนะ เพราะอาศัยปัจจัยมีอารมณ์ที่ไม่น่า

ปรารถนาเป็นต้นเกิดขึ้น ชื่อว่า มีความสิ้น มีความเสื่อม มีคลายกำหนัด

มีดับเป็นธรรมดา เพราะมีการเกิดขึ้นแล้วแตกไปโดยส่วนเดียวเป็นสภาวะ

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สโต มีสติ เพราะเป็นผู้กระทำสติโดยกำหนด

เวทนาว่าเป็นอนิจจตาความไม่เที่ยง และชื่อว่าเป็นผู้มีสัมปชัญญะ เพราะ

แทงตลอดสภาวะที่ไม่แปรผัน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า เป็นผู้มีสติ เพราะมี

สติปรากฏด้วยดีในกาย เวทนา จิต และธรรม ในที่ทุกแห่ง โดยถึงความ

เป็นผู้ไพบูลย์ด้วยสติ ชื่อว่า เป็นผู้มีสัมปชัญญะ เพราะเป็นผู้กำหนด

สังขาร โดยถึงความเป็นผู้ไพบูลย์ด้วยปัญญา โดยประการนั้น. บทว่า

อวิหญฺมาโน ความว่า ไม่เดือดร้อนเหมือนอันธปุถุชน โดยนัยดังตรัส

ไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ อันทุกขธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

ถูกต้องแล้ว ย่อมเศร้าโศก ย่อมลำบาก ย่อมร่ำไร คร่ำครวญ ตีอก ถึง

ความงมงาย ดังนี้ ไม่ให้ทุกข์ทางใจเกิดขึ้น เพราะถอนขึ้นได้ด้วยมรรค

นั่นเอง นั่งอดกลั้นทุกข์ในร่างกายซึ่งเกิดแต่วิบากแห่งกรรมอย่างเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 280

เหมือนบุคคลนั่งเข้าสมาบัติ. บทว่า อทฺทส ความว่า ได้ทรงเห็นท่านผู้มี

อายุนั้นนั่งอยู่อย่างนั้น ด้วยอธิวาสนขันติ.

บทว่า เอตมตฺถ ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวงถึงอรรถ

นี้ กล่าวคือพระขีณาสพไม่ถูกโลกธรรมฉาบทา อันเป็นเหตุให้ถึงความ

ไม่ขวนขวาย เพื่อให้หมอเยียวยาโรคเช่นนั้น. ด้วยบทว่า อิม อุทาน

พระองค์ทรงเปล่งอุทานนี้ อันเป็นความแจ่มแจ้งแห่งสังขตธรรมอันถึง

ความไม่คับแค้นด้วยทุกขธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพกมฺมชหสฺส ได้แก่ ผู้ละกรรม

ทั้งหมดได้แล้ว. จริงอยู่ จำเดิมแต่เวลาที่อรหัตมรรคเกิดขึ้น กุศลกรรม

และอกุศลกรรมทั้งปวง ชื่อว่าเป็นอันพระอรหันต์ละได้แล้ว เพราะไม่

สามารถจะให้ปฏิสนธิได้, อันเป็นเหตุให้เรียกอริยมรรคญาณว่า กระทำ

ความสิ้นไปแห่งกรรม. บทว่า ภิกฺขุโน ได้แก่ ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะ

ทำลายกิเลส. บทว่า ธุนมานสฺส ปุเรกต รช ความว่า ทุกขฺเวทนียกรรม

อันได้นามว่า รช เพราะเจือด้วยกิเลสดุจธุลี มีราคะเป็นต้น ที่กระทำ

ไว้ในกาลก่อนแต่การบรรลุพระอรหัต, ผู้ขจัด คือ กำจัดทุกขเวทนียกรรม

นั้น ด้วยการเสวยวิบาก, แต่เบื้องหน้าแต่กาลบรรลุพระอรหัต ย่อมไม่

เกิดกิริยาที่มีโทษเลย และกิริยาที่ไม่มีโทษก็เป็นเพียงกิริยาเท่านั้น เพราะ

ไม่มีความสามารถที่จะให้ผลเหตุตัดมูลรากของภพได้เด็ดขาด เหมือน

ดอกไม้ไม่สามารถจะให้ผลเพราะถูกตัดราก ฉะนั้น.

บทว่า อมมสฺสา ความว่า ชื่อว่าไม่ยึดถือว่าของเรา คือ เว้นจาก

มมังการ เพราะไม่ยึดถือว่าของเราในอารมณ์ไหน ๆ มีรูปารมณ์เป็นต้น.

เพราะผู้ที่มีมมังการย่อมให้แพทย์เป็นต้นรักษาร่างกาย ด้วยความรักตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 281

ส่วนพระอรหันต์ไม่มีมมังการ เพราะฉะนั้น ท่านจึงวางเฉยได้แม้ในการ

ปรนนิบัติร่างกาย. บทว่า ิตสฺส ได้แก่ ผู้ข้ามโอฆะ แม้ทั้ง ๔ แล้วตั้ง

อยู่บนบก คือพระนิพพาน หรือตั้งอยู่โดยไม่มีการท่องเที่ยวไปด้วยอำนาจ

การถือปฏิสนธิ. จริงอยู่ พระเสขะและปุถุชน ชื่อว่าย่อมท่องเที่ยวไป

ด้วยอำนาจจุติและปฏิสนธิ เพราะท่านละกิเลสและอภิสังขาร ยังไม่ได้

อนึ่ง พระอรหันต์ท่านเรียก ิโต ผู้ตั้งอยู่ เพราะไม่มีจุติและปฏิสนธินั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ผู้ตั้งอยู่ในอริยธรรม ๑๐ ประการ กล่าวคือพระ-

ขีณาสพ. บทว่า ตาทิโน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยอริยฤทธิ์ ๕ ประการ

ที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เป็นผู้มีความสำคัญในสิ่งปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่

ปฏิกูลอยู่ และประกอบด้วยอุเบกขามีองค์ ๖ อันไม่หวั่นไหวด้วยโลก-

ธรรม ๘ ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะเป็นผู้คงที่ กล่าวคือความเป็นผู้เช่นเดียวกัน

ในอิฏฐารมณ์เป็นต้น. บทว่า อตฺโถ นตฺถิ ชน ลเปตเว ความว่า ไม่มี

ประโยชน์ที่จะกล่าวคือพูดกะชนว่า ท่านทั้งหลายจงปรุงเภสัชเป็นต้นแก่

เรา เพราะไม่มีความอาลัยในร่างกาย. จริงอยู่ อัธยาศัยของพระขีณาสพ

(มี) ว่า กายนี้จงแตกตกไปของทีเดียว เหมือนใบไม้เหลืองหล่นจากขั้ว

ฉะนั้น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เราไม่หวังความตาย ไม่หวังความเป็นอยู่ แต่

ยังหวังกาลเวลา เหมือนลูกจ้างหวังค่าจ้างฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระขีณาสพไม่มีความต้องการเพื่อจะแสดงนิมิต

อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วกล่าวกะชนว่า พระผู้เป็นเจ้าต้องการอะไร คือ เพื่อ

ให้ชนพูดโดยการเชื้อเชิญด้วยปัจจัยทั้งหลาย เพราะท่านถอนมิจฉาชีพเช่น

นั้นเสียได้ด้วยมรรคจิตนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 282

ดังนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงประกาศเหตุในการให้เยียวยาพระ-

เถระ สำหรับเหล่าชนผู้คิดว่า เพื่อประโยชน์อะไร พระเถระนี้จึงให้หมอ

เยียวยาโรคของตนแล้ว นั่งในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า

จบอรรถกถากรรมสูตรที่ ๑

๒. นันทสูตร

ว่าด้วยเรื่องบอกคืนสิกขาลาเพศ

[๖๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคเจ้า โอรสของพระมาตุจฉา ได้

บอกแก่ภิกษุเป็นอันมากอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไม่ยินดี

ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่สามารถจะทรงพรหมจรรย์อยู่ได้ ผมจะบอกคืน

สิกขาลาเพศ ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระนันทะพระภาดา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า โอรสของพระมาตุจฉา ได้บอกแก่ภิกษุเป็นอัน

มากอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์

ไม่สามารถจะทรงพรหมจรรย์ ผมจะบอกคืนสิกขาลาเพศ ลำดับนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งว่า มาเถิดภิกษุ เธอจงเรียก

นันทภิกษุมาตามคำของเราว่า ดูก่อนท่านนันทะ พระศาสดารับสั่งให้หา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 283

ท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเข้าไปหาท่านพระนันทะถึงที่

อยู่ ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระนันทะว่า ดูก่อนท่านนันทะ พระ-

ศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระนันทะรับคำภิกษุนั้นแล้วเข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระนันทะว่า ดูก่อนนันทะ ได้ยินว่า

เธอได้บอกแก่ภิกษุเป็นอันมากอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมไม่

ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ฯ ล ฯ ผมจักบอกคืนสิกขาลาเพศ ดังนี้จริงหรือ

ท่านพระนันทะกราบทูลว่า จริง พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนนันทะ ท่านไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ จักไม่สามารถ

ทรงพรหมจรรย์ไว้ได้ จักบอกคืนสิกขาลาเพศเพื่อเหตุไรเล่า.

น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ออกจากเรือน นาง-

สากิยานีชนบทกัลยาณีมีผมอันสางไว้กึ่งหนึ่งแลดูแล้ว ได้กล่าวกะข้า-

พระองค์ว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระลูกเจ้าพึงด่วนเสด็จกลับมา ข้า-

พระองค์ระลึกถึงคำของนางนั้น จึงไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ไม่

สามารถจะทรงพรหมจรรย์ไว้ได้ จักบอกคืนสิกขาลาเพศ.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจับท่านพระนันทะที่แขน แล้ว

ทรงหายจากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เหมือน

บุรุษมีกำลัง พึงเหยียดแขนที่คู้ หรือพึงคู้แขนที่เหยียดฉะนั้น.

[๖๘] ก็สมัยนั้นแล นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ มีเท้าดุจนกพิราบ

มาสู่ที่บำรุงของท้าวสักกะจอมเทพ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะ

ท่านพระนันทะว่า ดูก่อนนันทะ เธอเห็นนางอัปสร ๕๐๐ เหล่านี้ผู้มีเท้า

ดุจนกพิราบหรือไม่ ท่านพระนันทะทูลรับว่า เห็น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 284

พ. ดูก่อนนันทะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน นางสากิยานี

ผู้ชนบทกัลยาณี หรือนางอัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ซึ่งมีเท้าดุจนก-

พิราบ ไหนหนอมีรูปงามกว่า น่าดูกว่า หรือน่าเลื่อมใสกว่า.

น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางลิงตัวมีอวัยวะใหญ่น้อยถูกไฟไหม้

หูและจมูกขาด ฉันใด นางสากิยานีผู้ชนบทกัลยาณีก็ฉันนั้นแล เมื่อเทียบ

กับนางอัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้ ย่อมไม่เข้าถึงเพียงหนึ่งเสี้ยว ไม่

เข้าถึงเพียงส่วนหนึ่งของเสี้ยว ไม่เข้าถึงเพียงการเอาเข้าไปเปรียบว่าหญิง

นี้เป็นเช่นนั้น ที่แท้นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ เหล่านี้มีรูปงามกว่า น่าดู

กว่า และน่าเลื่อมใสกว่าพระเจ้าข้า.

พ. ยินดีเถิดนันทะ อภิรมย์เถิดนันทะ เราเป็นผู้รับรองเธอเพื่อ

ให้ได้นางอัปสรประมาณ ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ.

น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับรองข้า-

พระองค์เพื่อให้ได้นางอัปสรประมาร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบไซร้

ข้าพระองค์จักยินดีประพฤติพรหมจรรย์ พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจับท่านพระนันทะที่แขน

แล้วทรงหายจากเทวดาชั้นดาวดึงส์ ไปปรากฏที่พระวิหารเชตวัน เหมือน

บุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย

ได้สดับข่าวว่า ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคเจ้า โอรส

ของพระมาตุจฉา ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่งนางอัปสร ได้ยิน

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสรประมาณ

๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ.

[๖๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสหายของท่านพระนันทะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 285

ย่อมร้องเรียกท่านพระนันทะด้วยวาทะว่าเป็นลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าผู้อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไถ่มาว่า ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นลูกจ้าง

ได้ยินว่า ท่านพระนันทะเป็นผู้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไถ่มา ท่าน

ประพฤติพรหมจรรย์เพราะเหตุนางอัปสร ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเป็นผู้รับรองท่าน เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจนกพิราบ.

ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทะอึดอัดระอาเกลียดชังด้วยวาทะว่า เป็น

ลูกจ้าง และด้วยวาทะว่าเป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไถ่มาของพวก

ภิกษุผู้เป็นสหาย จึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร

มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ไม่นานนักก็กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อัน

ยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น

ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำสำเร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระนันทะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่ง ในจำนวน

พระอรหันต์ทั้งหลาย.

[๗๐] ครั้งนั้นแล เมื่อปฐมยามล่วงไปแล้ว เทวดาองค์หนึ่งมี

วรรณะงามยิ่งนัก ยังพระวิหารเชตวันทั้งสิ้นให้สว่างไสว เข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ท่านพระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคเจ้า โอรสของพระมาตุจฉา

ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แม้ญาณก็ได้เกิด

ขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระนันทะทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 286

วิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

ครั้นพอล่วงราตรีนั้นไป ท่านพระนันทะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรับรองข้าพระองค์ เพื่อให้ได้นางอัปสร ๕๐๐ ผู้มีเท้าดุจนก-

พิราบ ข้าพระองค์ขอปลดเปลื้องพระผู้มีพระภาคเจ้าจากการรับรองนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนนันทะ แม้เราก็กำหนดรู้ใจของเธอด้วย

ใจของเรา นันทะทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึง

อยู่ แม้เทวดาก็ได้บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่าน

พระนันทะพระภาดาของพระผู้มีพระภาคเจ้า โอรสของพระมาตุจฉา ทำให้

แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย

สิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ดูก่อนนันทะ เมื่อใด

แล จิตของเธอหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น

เราพ้นแล้วจากการรับรองนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ภิกษุใดข้ามเปือกตูมคือกามได้แล้ว ย่ำยีหนาม

คือกามได้แล้ว ภิกษุนั้นบรรลุถึงความสิ้นโมหะ ย่อม

ไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์.

จบนันทสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 287

อรรถกถานันทสูตร

นันทสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นนฺโท เป็นชื่อของพระเถระนั้น. จริงอยู่ พระเถระนั้น

ได้นามว่านันทะ เพราะมารดาบิดา บริวารชน และเครือญาติทั้งสิ้นเกิด

ความยินดี เพราะท่านประกอบด้วยลักษณะแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ. บทว่า

ภควโต ภาตา ความว่า ชื่อว่าเป็นพระภาดา เพราะเป็นโอรสร่วมบิดา

เดียวกันกับพระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอยู่ ไม่มีพระโอรสที่เกิดร่วมครรภ์กับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มาตุจฺฉาปุตฺโต อธิบาย

ว่าเป็นโอรสของพระน้านาง. ด้วยว่าท่านเป็นโอรสของพระน้านางนามว่า

มหาปชาบดีโคตมี. บทว่า อนภิรโต ตัดเป็น น อภิรโต แปลว่า ไม่ยินดี

ยิ่ง. บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่ การประพฤติดังพรหม คือ ประเสริฐ

สูงสุด มีที่นั่งอันเดียว ที่นอนอันเดียว เว้นเมถุนธรรม. บทว่า สนฺตาเนตุ

ได้แก่ เพื่อจะยังจิตดวงแรกจนถึงจิตดวงสุดท้ายให้ดำเนินไป คือให้เป็น

ไปโดยชอบ คือ บริบูรณ์ บริสุทธิ์. ก็ในข้อนี้ พึงทราบสังคหะ คือการ

สงเคราะห์มรรคพรหมจรรย์ ด้วยบทว่า พรหมจรรย์ บทที่ ๒. บทว่า

สิกฺข ปจฺจกฺขาย ความว่า ห้าม คือสละสิกขา ๓ ที่สมาทานพร้อมกับ

ความเป็นภิกษุภาวะในเวลาอุปสมบทซึ่งไม่ตั้งขึ้น โดยภาวะที่ควรจะบัง-

เกิด. บทว่า หีนาย แปลว่า เพื่อความเป็นคฤหัสถ์. บทว่า อาวตฺติสฺ-

สามิ ได้แก่ จักกลับไป. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงกราบทูลอย่าง

นั้น ? ในข้อนั้น มีอนุบุพพิกถาดังต่อไปนี้ :-

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวรแล้ว เสด็จไป

กรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ ณ พระเวพุวันวิหาร อันพระกาฬุทายิเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 288

ผู้ไปภายหลังเขาทั้งหมด ในบรรดาทูต ๑๐ คน ซึ่งมีบริวารคนละ ๑,๐๐๐

ที่พระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า พวกท่านจงนำบุตร

มาแสดงแก่เรา บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยบริวาร บรรลุพระอรหัตแล้ว

รู้กาลเสด็จไป (ของพระองค์) ได้พรรณนาหนทางแล้วทูลอาราธนา เพื่อ

เสด็จไปยังพระชาติภูมิ (พระองค์) แวดล้อมด้วยพระขีณาสพสองหมื่น

เสด็จถึงกรุงกบิลพัสดุ์ ทรงทำฝนโบกขรพรรษาในสมาคมพระญาติให้เป็น

อุบัติเหตุ แล้วทรงแสดงเวสสันดรชาดก ในวันรุ่งขึ้นได้เสด็จบิณฑบาต

ทรงให้พระบิดาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยพระคาถาว่า อุตฺติฏฺเ

นปฺปมชฺเชยฺย ไม่พึงประมาทในบิณฑะอันบุคคลพึงลุกขึ้นยืนรับ แล้ว

เสด็จไปยังพระราชนิเวศน์ ทรงให้พระนางมหาปชาบดี ดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผล ทรงให้พระราชาดำรงอยู่ในสกทาคามิผล ด้วยพระคาถาว่า

ธมฺมญฺจเร พึงประพฤติธรรมเป็นต้น.

ก็ในกาลเสร็จภัตกิจ ทรงอาศัยการพรรณนาพระคุณของราหุล

มารดา ตรัสจันทกินรีชาดกในวันที่ ๓ ครั้นเมื่อวันวิวาหมงคลซึ่งเป็นที่

เชิญเสด็จเข้าเรือน เพื่ออภิเษกของนันทกุมารเป็นไปอยู่ ก็เสด็จเข้าไป

บิณฑบาต ประทานบาตรในหัตถ์ของนันทกุมาร ตรัสมงคล (อวยพร)

เสด็จลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป หาได้ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมาร

ไม่. ฝ่ายนันทกุมาร ด้วยความเคารพในพระตถาคต จึงมิอาจทูล (เตือน)

ว่า ขอพระองค์รับบาตรไปเถิด พระเจ้าข้า. แต่คิดอย่างนี้ว่า พระศาสดา

คงจักทรงรับบาตรที่หัวบันได ในที่นั้นพระศาสดาก็ไม่ทรงรับ, ฝ่าย

นันทกุมารก็คิดว่า คงจะทรงรับที่ริมเชิงบันได. แม้ในที่นั้น พระศาสดา

ก็ไม่ทรงรับ. นันทกุมารคิดว่า จักทรงรับที่พระลานหลวง. แม้ในที่นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 289

พระศาสดาก็ไม่ทรงรับ. พระกุมารปรารถนาจะเสด็จกลับ (แต่) จำเสด็จ

ไปด้วยความไม่เต็มพระทัย, ด้วยความเคารพ จึงไม่อาจทูลว่า ขอพระองค์

ทรงรับบาตรเถิด ทรงเดินนึกไปว่า พระองค์จักทรงรับในที่นี้ พระองค์

จักทรงรับในที่นี้. ขณะนั้น หญิงพวกอื่น (เห็นอาการนั้นแล้ว) จึงบอก

แก่นางชนบทกัลยาณีว่า พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพานันทกุมาร

เสด็จไปแล้ว คงจักพรากนันทกุมารจากพระแม่เจ้า. นางชนบทกัลยาณีนั้น

มีหยาดน้ำตายังไหลอยู่ มีผมอันเกล้าได้กึ่งหนึ่ง รีบขึ้นสู่ปราสาท ยืนอยู่ที่

ทวารแห่งสีหบัญชรทูลว่า ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระองค์จงด่วนเสด็จกลับ.

คำของนางนั้น ประหนึ่งตกไปขวางตั้งอยู่ในหทัยของนันทกุมารนั้น. แม้

พระศาสดาก็ไม่ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมารนั้นเลย ทรงนำนันท-

กุมารนั้นไปสู่วิหารแล้วตรัสว่า นันทะ เธออยากบวชไหม ? นันทะนั้น

ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า จึงไม่ทูลว่าจักไม่บวช ทูลรับว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ จักบวชพระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย

ถ้ากระนั้น เธอทั้งหลายจงให้นันทะบวชเถิด, จึงเสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์

ในวันที่ ๓ ทรงให้นันทกุมารบวชแล้ว. ในวันที่ ๗ พระศาสดาให้พระ-

ราหุลกุมาร ซึ่งพระมารดาตกแต่งส่งไปด้วยดำรัสว่า ข้าแต่พระสมณะ

ท่านจงประทานทรัพย์มรดกแก่ข้าพระองค์เถิด ดังนี้แล้ว มายังอารามกับ

พระองค์ให้บรรพชาแล้ว วันรุ่งขึ้นจึงตรัสมหาธรรมปาลชาดก ให้พระ-

ราชาดำรงอยู่ในอนาคามิผล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้พระนางมหาปชาบดี ดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผล ทรงให้พระบิดาดำรงอยู่ในผล ๓ ทรงแวดล้อมไปด้วยหมู่ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 290

เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์อีก แต่นั้นได้รับปฏิญญาที่ท่านอนาถบิณฑิกะเชื้อ-

เชิญ เพื่อเสด็จมายังกรุงสาวัตถี เมื่อพระเชตวันมหาวิหารสำเร็จแล้ว ก็

เสด็จไปประทับอยู่ ณ ที่นั้น ด้วยประการฉะนี้. เมื่อพระศาสดาประทับอยู่

ในพระเชตวัน ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านนันทะ บวชโดยไม่พอพระทัย ไม่

เห็นโทษในกาม หวนระลึกถึงคำที่นางชนบทกัลยาณีกล่าว เกิดความ

เบื่อหน่าย บอกความไม่ยินดียิ่งแก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว. ด้วยเหตุนั้นท่านจึง

กล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา นนฺโท ฯ เป ฯ หีนายาวตฺติสฺ-

สามิ ดังนี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงให้ท่านนันทะ

บวชอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะพระศาสดาเป็นผู้ฉลาดในการฝึกเวไนยสัตว์

ด้วยประสงค์ว่า เราจักแสดงโทษก่อนทีเดียว จึงไม่ให้ท่านนันทะสงัดจาก

กามทั้งหลายได้ ก็แล ครั้นให้บวชแล้ว จึงให้สงัดจากกามนั้นโดยอุบาย

จึงยังคุณวิเศษเบื้องบนให้เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงให้ท่านนันทะนั้นบวช

ก่อน. บทว่า สากิยานี ได้แก่ ธิดาแห่งเจ้าศากยะ. บทว่า ชนปทกลฺยาณี

แปลว่า หญิงผู้มีความงามในชนบท ผู้เลอโฉมโดยรูป เว้นโทษในร่างกาย

๖ อย่าง ประกอบด้วยความงาม ๕ อย่าง. ก็เพราะเหตุที่เธอไม่สูงนัก

ไม่เตี้ยนัก ไม่ผอมนัก ไม่อ้วนนัก ไม่ดำนัก ไม่ขาวนัก ล่วงวรรณะ

ของมนุษย์ แต่ไม่ถึงวรรณะของเทพ ฉะนั้น จึงชื่อว่าเว้นโทษในร่างกาย

๖ ประกอบด้วยความงามเหล่านี้ คือ ผิวงาม เนื้องาม เล็บงาม (บาง

แห่งว่า ผมงาม) กระดูกงาม และวัยงาม. บรรดาความงามเหล่านั้น ผิว

ย่อมทำความสว่าง ในที่ประมาณ ๑๐- ๑๒ ศอก ด้วยแสงสว่างจากสรีระ

ของตน มีผิวเสมอด้วยดอกประยงค์หรือเสมอด้วยทองคำ นี้ชื่อว่า นาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 291

มีผิวงาม. ส่วนมือทั้งสอง เท้าทั้งสอง และริมฝีปากของนาง เป็นเช่น

กับแก้วประพาฬและผ้ากัมพลแดง ประหนึ่งฉาบทาด้วยน้ำครั้ง นี้ชื่อว่า

นางมีเนื้องาม. ส่วนเล็บทั้ง ๒๐ กาบเป็นเหมือนธารน้ำนม ในที่ที่พ้น

จากเนื้อ ประหนึ่งขจิตด้วยน้ำครั้งในที่ที่ไม่พ้นจากเนื้อ นี้ชื่อว่านางมี

เล็บงาม. ฟัน ๓๒ ซี่เรียบสนิท เป็นเสมือนแถวของแก้วประพาฬที่ขาว

บริสุทธิ์ ย่อมปรากฏเหมือนระเบียบแห่งเพชร นี้ชื่อว่านางมีกระดูกงาม.

นางแม้มีอายุ ๑๒๐ ปี เป็นเหมือนหญิงสาวอายุ ๑๖ ปี ไม่มีผมหงอกเลย

นี้ชื่อว่านางมีวัยงาม. และนางเป็นผู้มีความดีงามประกอบด้วยคุณสมบัติ

เห็นปานนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชนปทกลฺยาณี นางงามใน

ชนบท.

บทว่า ฆรา นิกฺขมนฺตสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถอนาทร

อธิบายว่า เมื่อออกจากเรือน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ฆรา นิกฺขมนฺติ

ดังนี้ก็มี. บทว่า อุปฑฺฒุลฺลิขิเตหิ เกเสหิ เป็นตติยาวิภัตติใช้ในลักษณะ

อิตถัมภูต อธิบายว่า นางเกล้าผมค้างอยู่. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

อฑฺฒุลฺลิขิเตหิ ดังนี้ก็มี. ก็คำว่า อุลฺลิขิต เป็นการทำผมให้ตั้งอยู่โดย

เป็นทรงพังพาน. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า อฑฺฒการวิธาน ดังนี้ก็มี.

บทว่า อปโลเกตฺวา ได้แก่ ชำเลืองดูด้วยนัยน์ตาอันส่องถึงความซ่านไป

แห่งรสเสน่หา เหมือนผูกพันไว้. บทว่า ม ภนฺเต ความว่า แม้เมื่อก่อน

นางก็ได้กล่าวซ้ำว่า ม เอตทโวจ เพราะนางมีจิตวุ่นวายด้วยความ

กระสัน. บทว่า ตุวฏ แปลว่า เร็ว. บทว่า ตมนุสฺสรมาโน ความว่า

ท่านนันทะหวนระลึกถึงคำของนางนั้น หรือคำที่ประกอบด้วยอาการของ

นางนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 292

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสดับคำของพระนันทะนั้นแล้ว ทรง

พระดำริจะระงับราคะของพระนันทะด้วยอุบาย เมื่อจะนำพระนันทะนั้นไป

ยังภพดาวดึงส์ด้วยกำลังฤทธิ์ จึงทรงแสดงนางลิงลุ่นตัวหนึ่ง ตัวมีหู จมูก

และหางขาด นั่งอยู่บนตอที่ถูกไฟไหม้ ในนาที่ถูกไฟไหม้แห่งหนึ่ง ใน

ระหว่างทาง ทรงนำไปสู่ภพดาวดึงส์. แต่ในพระบาลี พระศาสดาตรัส

เหมือนไปยังภพดาวดึงส์โดยครู่เดียวเท่านั้น ไม่ตรัสการไปอันนั้น ตรัส

หมายเอาภพดาวดึงส์. จริงอยู่ พระศาสดาเมื่อเสด็จไปนั่นแหละ ทรงแสดง

นางลิงลุ่นตัวนั้นแก่ท่านพระนันทะในระหว่างทาง. ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น

การแสดงการคู้ (แขน) เป็นต้น เป็นอย่างไร ? การแสดงอันนั้นควรถือ

เอาว่า เป็นการแสดงการอันตรธานไป. พระศาสดาทรงนำท่านพระนันทะ

ไปยังภพดาวดึงส์ ด้วยประการอย่างนั้น แล้วทรงแสดงนางอัปสร ๕๐๐

ผู้มีเท้าดังนกพิราบ ผู้มาบำรุงท้าวสักกเทวราช ยืนถวายบังคมพระองค์

อยู่ แล้วตรัสถามความแปลกกัน โดยเทียบรูปสมบัติของนางอัปสร ๕๐๐

เหล่านั้นกับนางชนบทกัลยาณี. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข

ภควา อายสฺมนต นนฺท พาหาย คเหตฺวา ฯปฯ กกุฏปาทานิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาหาย คเหตฺวา แปลว่า เหมือนจับแขน.

จริงอยู่ ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรุงแต่งอิทธาภิสังขาร

เช่นอย่างที่ท่านพระนันทะ เป็นเหมือนถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าจับแขนนำไป

ฉะนั้น. ก็ในการนั้น ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาให้ท่านพระ-

นันทะเห็นหรือเข้าไปยังเทวโลกชั้นดาวดึงส์ พระองค์ก็พึงทรงแสดง

เทวโลกนั้นแก่ท่านนันทะ ผู้นั่งอยู่อย่างนั้นแหละ เหมือนในเวลาแสดง

ฤทธิ์ในการเปิดโลก หรือพึงส่งท่านพระนันทะนั่นแหละไปในเทวโลก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 293

ด้วยฤทธิ์. ก็เพราะเหตุที่เพื่อจะถือเอาโดยง่าย ถึงภาวะแห่งอัตภาพของ

มนุษย์เป็นสิ่งที่เลว และน่าเกลียดกว่าอัตภาพอันเป็นทิพย์ พระองค์

ประสงค์จะทรงแสดงนางลิงลุ่นนั้น ในระหว่างทางแก่ท่านพระนันทะ

และมีพระประสงค์จะทรงแสดงให้ท่านนันทะยึดเอาสิริสมบัติ และภาว-

สมบัติในเทวโลก ฉะนั้น จึงทรงพาท่านนันทะไปในเทวโลกนั้น. แม้

ด้วยอาการอย่างนี้ ท่านนันทะก็จักมีความยินดียิ่ง เป็นพิเศษในการอยู่

ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อสมบัตินั้นแล.

บทว่า กกุฏปาทานิ ความว่า ชื่อว่ามีเท้าเหมือนเท้านกพิราบ

เพราะมีสีแดง. ได้ยินว่า นางอัปสรแม้ทั้งหมดนั้น ได้มีเท้าละเอียดอ่อน

เช่นนั้น เพราะได้ถวายน้ำมันสำหรับทาเท้า แก่สาวกของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ.

บทว่า ปสฺสสิ โน ตัดเป็น ปสฺสสิ นุ. บทว่า อภิรูปตรา แปลว่า

มีรูปวิเศษกว่า. บทว่า ทสฺสนียตรา ความว่า ชื่อว่าน่าชมกว่า เพราะ

อรรถว่ากระทำผู้แลดูอยู่แม้ตลอดวัน ก็ไม่อิ่ม. บทว่า ปาสาทิกตรา

ได้แก่ นำมาซึ่งความชื่นชมโดยทั่วไป เพราะมีอวัยวะทุกส่วนงาม.

ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงให้ท่านนันทะผู้มีจิตอันชุ่ม

ด้วยราคะ แลดูนางอัปสรเล่า ? เพื่อจะนำกิเลสของท่านนันทะออกโดย

สะดวกทีเดียว. พึงทราบว่า เหมือนอย่างว่า แพทย์ผู้ฉลาดเยียวยาบุคคลผู้

มีโทษหนาแน่น ชั้นแรกชำระโทษด้วยการดื่มน้ำมันเป็นต้น ภายหลังจึง

ให้นำออกด้วยการอาเจียนและการถ่าย ได้โดยง่ายดายฉันใด พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าผู้ฉลาดในการฝึกเวไนยสัตว์ก็ฉันนั้น ทรงแสดงนางเทพอัปสรกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 294

ท่านนันทะผู้มีราคะหนาให้หมดโทษ ทรงประสงค์จะนำท่านนันทะออกโดย

เด็ดขาดด้วยเภสัช คืออริยมรรค.

บทว่า ปลุฏฺมกฺกฏี ได้แก่ นางลิงตัวมีอวัยวะเหมือนถูกไฟไหม้.

บทว่า เอวเมวโข ความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางลิงลุ่นซึ่งมีหูและ

จมูกขาด ที่พระองค์ทรงแสดงแก่ข้าพระองค์นั้น เทียบกับนางชนบท-

กัลยาณีฉันใด นางชนบทกัลยาณีเทียบกับนางอัปสร ๕๐๐ เหล่านี้ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน. บทว่า ปญฺจนฺน อจฺฉราสตาน เป็นฉัฏฐีวิภัตติใช้ในอรรถ

ทุติยาวิภัตติ ความว่า ซึ่งนางอัปสร ๕๐๐. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปญฺจนฺน

อจฺฉราสตาน นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถที่เชื่อมกับอวัยวะ. ด้วยคำนั้น

มีอธิบายว่า เทียบรูปสมบัติของนางอัปสร ๕๐๐. ก็บทว่า อุปนิธาย

ได้แก่ ตั้งอยู่ในที่ใกล้กัน อธิบายว่า เทียบเคียงกัน. บทว่า สงฺขฺย ได้แก่

การนับหรือเสี้ยวว่า หญิง. บทว่า กลภาค แปลว่า ส่วนแห่งเสี้ยว. เมื่อ

แบ่งส่วนหนึ่งให้เป็น ๑๖ ส่วน แล้วถือเอาส่วนเดียวจาก ๑๖ ส่วนนั้น

แล้วนับโดย ๑๖ ส่วน, ใน ๑๖ ส่วนนั้น แต่ละส่วนท่านประสงค์เอาว่า

ส่วนแห่งเสี้ยว. ท่านกล่าวว่า ไม่เข้าถึงส่วนแห่งเสี้ยวแม้นั้น. บทว่า

อุปนิธึ ได้แก่ แม้วางไว้ในที่ใกล้กัน โดยถือเอาด้วยความเทียบเคียงว่า

หญิงนี้เหมือนกับหญิงนี้.

พรหมจรรย์ที่พระนันทะนี้ไม่ยินดีนั้น กล่าวไว้แล้วและปรากฏใน

กาลก่อน เพราะฉะนั้นเพื่อไม่พาดพิงข้อนั้น จึงให้ท่านเกิดความเอื้อเฟื้อ

ในความยินดียิ่งในพรหมจรรย์นั้น จึงตรัสย้ำว่า ยินดีเถิด นันทะ ยินดี

เถิด นันทะ ดังนี้. บทว่า อห เต ปาฏิโภโค ความว่า เพราะเหตุไร

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารถนาให้ท่านนันทะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 295

จึงได้ทรงรับรองประกันไม่ให้ท่านนันทะอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ? เพราะ

พระองค์ เพื่อจะทำอารมณ์ที่ท่านนันทะมีความกำหนัดติดแน่นอยู่ แล้วให้

ก้าวไปในอารมณ์ใหม่ จึงสามารถให้ละได้โดยง่าย เพราะเหตุนั้น จึงทรง

รับรองประกัน. ในอนุปุพพิกถา มีกถาปรารภสวรรค์ เป็นเครื่องชี้ถึง

อรรถนี้. บทว่า อสฺโสสุ ได้แก่ ภิกษุทั้งหลาย ได้ฟังมาอย่างไร ? ก็เพราะ

ในเวลานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อท่านนันทะแสดงวัตรแล้วไปยังที่พัก

กลางวันของตน ตรัสเรื่องนั้นแก่ภิกษุผู้มาอุปัฏฐาก มีพระประสงค์จะนำ

ความกำหนัดของท่านนันทะในอารมณ์ที่เคยชิน ด้วยอารมณ์ที่จรมา

(ใหม่) แล้วจึงนำออกไป กระทำอารมณ์แม้นั้น ให้เป็นเหตุในมรรค-

พรหมจรรย์ เหมือนบุรุษผู้ฉลาด เอาลิ่มอีกอันหนึ่งตอกลิ่มที่ยังไม่ออกให้

ออกไป แล้วเอามือเป็นต้นจับลิ่มนั้นโยกไปมาแล้วดึงออก จึงทรงพระ-

บัญชาว่า มาเถิดภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ จงเรียกภิกษุนันทะด้วยวาทะ

ลูกจ้างและด้วยวาทะว่า ถูกไถ่มา. ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลอย่างนั้น.

ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรับปรุงอิทธาภิ-

สังขารดังที่ภิกษุทั้งหลายรู้เนื้อความนั้น.

บทว่า ภตกวาเทน แปลว่า ด้วยวาทะว่าลูกจ้าง. ก็ผู้ใดทำการงาน

เพื่อค่าจ้าง ผู้นั้นเขาเรียกว่าลูกจ้าง. ท่านพระนันทะแม้นี้ ประพฤติ

พรหมจรรย์อันมีการอยู่ร่วมกับนางอัปสรเป็นเหตุ จึงเป็นเหมือนลูกจ้าง

เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า ภตกวาเทน ดังนี้. บทว่า อุปกฺกิตกวาเทน

ความว่า ผู้ใด ซื้ออะไรด้วยกหาปณะเป็นต้น ผู้นั้น เขาเรียกว่า ผู้ถูกไถ่

มา. แม้ท่านนันทะ ก็ซื้อพรหมจรรย์ของตนเพราะเหตุแห่งนางอัปสร

เพราะฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย จึงเรียกพระนันทะด้วยคำอย่างนี้ว่า ผู้ถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 296

ไถ่มา. อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระนันทะ ยังชีวิตกล่าวคือ การประพฤติพรหม-

จรรย์ให้เป็นไป ด้วยค่าจ้าง กล่าวคือ การอยู่ร่วมกับนางอัปสร ตาม

พระบัญชาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเหมือนพระองค์ทรงเลี้ยง ด้วยการ

ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยค่าจ้างนั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ผู้อันพระผู้-

มีพระภาคเจ้าทรงเลี้ยง. อนึ่ง ท่านกระทำการขาย กล่าวคือ การอยู่ร่วม

กับนางอัปสร ให้เป็นสิ่งอันตนพึงยึดเอา แล้วตั้งอยู่ในพระบัญชาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเป็นเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงไถ่มา ด้วยการ

ขายนั้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ไถ่มา.

บทว่า อฏฺฏิยมาโน ได้แก่ ถูกบีบคั้น คือให้ได้รับความลำบาก.

บทว่า หรายมาโน ได้แก่ ละอายอยู่. บทว่า ชิคุจฺฉมาโน ได้แก่

ติเตียนอยู่โดยเป็นของน่าเกลียด. บทว่า เอโก แปลว่า ไม่มีเพื่อน. บทว่า

วูปกฏฺโ ความว่า มีกายและจิตสงัดแล้วจากวัตถุกามและกิเลสกาม. บทว่า

อปฺปมตฺโต ได้แก่ ไม่ละสติในกัมมัฏฐาน. บทว่า อาตาปี ได้แก่ ชื่อว่า

ยังกิเลสให้เร่าร้อน เพราะให้เร่าร้อน ด้วยความเพียรทางกายและความ

เพียรทางจิต. ชื่อว่า อาตาปะ เพราะยังกิเลสให้ร้อนทั่ว ได้แก่ ความเพียร.

บทว่า ปหิตตฺโต แปลว่า มีกายส่งไปแล้ว คือมีอัตภาพสละแล้ว โดยไม่

อาลัยในกายและชีวิต หรือมีจิตส่งไปแล้วในพระนิพพาน. บทว่า

นจิรสฺเสว ได้แก่ ไม่นานนักจากการเริ่มกัมมัฏฐาน. บทว่า

ยสฺสตฺถาย ตัดเป็น ยสฺส อตฺถาย. บทว่า กุลปุตฺตา ได้แก่ กุลบุตร ๒

จำพวก คือกุลบุตรโดยกำเนิด ๑ กุลบุตรโดยมรรยาท ๑. แต่ท่านพระ-

นันทะนี้ เป็นบุตรมีสกุลทั้งสองฝ่าย. บทว่า สมฺมเทว ได้แก่ โดยเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 297

และโดยการณ์. บทว่า อคารสฺมา แปลว่า จากเรือน. บทว่า อนคาริย

แปลว่า การบรรพชา. จริงอยู่ กรรมมีกสิกรรมและวณิชยกรรมเป็นต้น

เป็นประโยชน์แก่เรือน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อคาริยะ. กรรมนั้นไม่มี

ในบรรพชานี้ เพราะฉะนั้น บรรพชา จึงเรียกว่า อนคาริยะ. บทว่า

ปพฺพชนฺติ แปลว่า เข้าถึง. บทว่า ตทนุตฺตร ตัดเป็น ต อนุตฺตร. บทว่า

พฺรหฺมจริยปริโยสาน ได้แก่ อรหัตผล อันเป็นที่สุดแห่งมรรคพรหม-

จรรย์. จริงอยู่ กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมบวชในพระศาสนานี้ เพื่อประโยชน์

แก่อรหัตผลนั้น. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม คือ ในอัตภาพนั้นเอง. บทว่า

สย อภิญฺา สจฺฉิกตฺวา ความว่า กระทำให้ประจักษ์ด้วยปัญญาตนเอง

ทีเดียว อธิบายว่า รู้โดยไม่มีผู้อื่นเป็นเหตุ. บทว่า อุปสมฺปชฺชิ วิหาสิ

ได้แก่ ถึงหรือสำเร็จอยู่. ท่านแสดงปัจจเวกขณภูมิ (ของท่านพระนันทะ)

ด้วยคำนี้ว่า ท่านพระนันทะเป็นอยู่อย่างนี้แหล่ะ จึงรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว

ฯ ล ฯ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขีณา ชาติ ได้แก่ ก่อนอื่นชาติที่เป็น

อดีตของท่านพระนันทะนั้น สิ้นไปก็หามิได้ เพราะสิ้นไปในอดีตแล้ว

ชาติที่เป็นอนาคตของท่าน สิ้นไปแล้วก็หามิได้ เพราะยังไม่มาทั้งใน

อดีตและปัจจุบัน ชาติที่เป็นปัจจุบันของท่าน สิ้นไปแล้วก็หามิได้ เพราะ

ยังมีอยู่. อนึ่ง ชาติใดอันต่างด้วยขันธ์ ๑ ขันธ์ ๔ และขันธ์ ๕ ในเอก-

โวการภพ จตุโวการภพและปัญจโวการภพ จะพึงเกิดขึ้น เพราะยังไม่

เจริญมรรค ชาตินั้น ชื่อว่า สิ้นไปแล้ว เพราะถึงความไม่เกิดขึ้นเป็น

ธรรมดา ที่ได้เจริญมรรคแล้ว. ท่านพระนันทะนั้น พิจารณาถึงกิเลสที่

ละแล้วด้วยมรรคภาวนา จึงรู้ยิ่งถึงชาตินั้น ด้วยการรู้ว่า กรรมแม้มีอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 298

ก็ไม่มีปฏิสนธิต่อไป เพราะไม่มีกิเลส. บทว่า วุสิต ความว่า อยู่แล้ว

คืออยู่จบแล้ว ได้แก่ กระทำแล้ว ประพฤติแล้ว อธิบายว่า สำเร็จแล้ว.

บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์. ก็พระเสขะ ๗ จำพวกรวม

กับกัลยาณปุถุชน ชื่อว่า กำลังอยู่พรหมจรรย์. พระขีณาสพ ชื่อว่า ผู้อยู่

จบพรหมจรรย์แล้ว. เพราะฉะนั้น ท่านพระนันทะนั้น เมื่อพิจารณาการ

อยู่พรหมจรรย์ของตน จึงรู้ชัดว่า พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว. บทว่า กต

กรณีย ความว่า ให้กิจ ๑๖ อย่างสำเร็จ โดยปริญญากิจ ปหานกิจ สัจฉิ-

กิริยากิจ และภาวนากิจ ในสัจจะ ๔ ด้วยมรรค ๔. จริงอยู่ กัลยาณ-

ปุถุชนเป็นต้น ชื่อว่า กำลังทำกิจนั้น. พระขีณาสพ ชื่อว่า ทำกรณียกิจ

เสร็จแล้ว. เพราะเหตุนั้น ท่านพระนันทะ เมื่อพิจารณากรณียกิจของตน

จึงรู้ชัดว่า กรณียกิจทำแล้ว. บทว่า นาปร อิตฺถตฺตาย ความว่า รู้ชัดว่า

บัดนี้ เราไม่มีเพื่อความเป็นอย่างนี้ต่อไป คือเพื่อกิจ ๑๖ อย่างนี้ หรือ

เพื่อเจริญเป็นที่สิ้นกิเลส. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า นาปร อิตฺถตฺตาย ความว่า

รู้ชัดว่า ขันธสันดานต่อไปจากความเป็นอย่างนี้ คือจากขันธสันดานที่เป็น

ปัจจุบันนี้ คือที่มีประการดังกล่าวนี้ ไม่มีแก่เรา แต่ขันธ์ ๕ เหล่านี้ เรา

กำหนดรู้แล้วดำรงอยู่ เหมือนต้นไม้ขาดรากแล้ว ขันธ์ ๕ เหล่านั้น จักดับ

คือถึงความไม่มีบัญญัติ เพราะดับจริมกจิต เหมือนไฟดับไม่มีเชื้อฉะนั้น.

บทว่า อญฺตโร ได้แก่ ท่านพระนันทะเป็นผู้หนึ่ง และได้เป็นพระมหา-

สาวกผู้หนึ่งในภายในอรหันตสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า อญฺตรา เทวตา ได้แก่ พรหมเทวดาองค์หนึ่งผู้บรรลุมรรค.

จริงอยู่ พรหมเทวดานั้น รู้ชัดถึงอารมณ์ของพระอเสขะ เพราะตนเอง

เป็นพระอเสขะ. ก็พระเสขะทั้งหลาย ย่อมรู้อารมณ์ของพระเสขะนั้น ๆ ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 299

ส่วนปุถุชนย่อมรู้เฉพาะอารมณ์ปุถุชนของตนเท่านั้น. บทว่า อภิกฺกนฺตาย

รตฺติยา ได้แก่ เมื่อราตรีผ่านไป, อธิบายว่า เมื่อมัชฌิมยามผ่านไป. บทว่า

อภิกฺกนฺตวณฺณา แปลว่า มีวรรณะสูงสุดยิ่ง. บทว่า เกวลกปฺป ได้แก่

โดยรอบไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า โอภาเสตฺวา ได้แก่ ทำพระเชตวันให้มี

แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน ด้วยรัศมีของตน เหมือนพระจันทร์และพระ-

อาทิตย์. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า พรหมเทวดานั้น ทราบว่า ท่าน

พระนันทะบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงเกิดปีติโสมนัสเข้าไปเฝ้า ด้วยหมายใจ

ว่า จักกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ในบทว่า อาสวาน ขยา นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ชื่อว่า อาสวะ

เพราะอรรถว่า ไหลไป อธิบายว่า เป็นไปทางจักษุทวารเป็นต้น. อีกอย่าง

หนึ่ง ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า ไหลไปจนถึงโคตรภู หรือจนถึง

ภวัคคพรหม, อธิบายว่า กระทำธรรมเหล่านี้และโอกาสนี้ให้อยู่ภายใน

ไหลไป. ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า เหมือนน้ำดองมีสุราเป็นต้น

เพราะหมักไว้นาน. พึงทราบความที่อาสวะเหล่านั้นหมักอยู่นาน ด้วย

พระดำรัสมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เงื่อนต้นของอวิชชาไม่ปรากฏ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อาสวะ เพราะอรรถว่า ถึง คือประสบสงสารทุกข์

อันยืดยาว. ก็ในข้อนี้ อรรถต้นย่อมควรในกิเลส อรรถหลัง ย่อมควร

ทั้งในกรรม. ก็ไม่ใช่แต่กรรมกิเลสอย่างเดียวเท่านั้น ที่ชื่อว่า อาสวะ โดย

ที่แท้ อุปัทวะมีประการต่าง ๆ ก็ชื่อว่า อาสวะ. จริงอย่างนั้น กิเลสอัน

เป็นวิวาทมูลมาโดยชื่อว่า อาสวะ ในพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อนจุนทะ เราหา

ได้แสดงธรรม เพื่อสังวรอาสวะอันเป็นไปในปัจจุบันอย่างเดียวก็หาไม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 300

กรรมที่เป็นไปในภูมิ ๓ และอกุศลธรรมทั้งหมดมา โดยชื่อว่า อาสวะ

ในคำเป็นคาถานี้ว่า

ความบังเกิดเป็นเทวดา หรือคนธรรพ์ ผู้เที่ยว

ไปในเวหา พึงมีแก่เราด้วยอาสวะใด เราพึงถึง

ความเป็นยักษ์ และเกิดเป็นมนุษย์ด้วยอาสวะใด

อาสวะเหล่านั้นของเราสิ้นไปแล้ว เรากำจัดเสียแล้ว

กระทำให้ปราศจากเครื่องผูกพัน.

ก็อุปัทวะมีประการต่าง ๆ มีการเบียดเบียนผู้อื่น ความเดือดร้อน

การฆ่า และการจองจำเป็นต้น และอันเป็นอบายทุกข์เหล่านั้น ชื่อว่า

อาสวะ เพราะบาลีว่า เพื่อปิดกั้นอาสวะอันเป็นปัจจุบัน เพื่อกำจัดอาสวะ

ที่เป็นไปในภพหน้า. มาในพระวินัย โดยส่วน ๒ คือ เพื่อปิดกั้นอาสวะ

อันเป็นปัจจุบัน เพื่อกำจัดอาสวะที่เป็นไปในภพหน้า. มาในสฬายตน-

สูตร โดยส่วน ๓ คือ อาวุโส อาสวะ ๓ เหล่านี้ คือ กามาสวะ ภวาสวะ

อวิชชาสวะ. และมาในสุตตันตะอื่นก็เหมือนกัน. ในอภิธรรม อาสวะ ๓

นั้นแหละ มาเป็น ๔ กับทิฏฐาสวะ. ในนิพเพธิกปริยายสูตร มาเป็น ๕

อย่าง โดยพระดำรัสมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเพื่อให้สัตว์ไป

สู่นรกมีอยู่. ในฉักกนิบาตมาเป็น ๖ อย่าง โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละด้วยสังวรธรรมมีอยู่. ในสัพพาสวปริยายสูตร

อาสวะเหล่านั้นนั่นแหละรวมกับทัสสนปหาตัพพธรรม มาเป็น ๗ อย่าง

แต่ในที่นี้ พึงทราบอาสวะ ๔ ตามนัยที่มาในอภิธรรม. ก็ในบทว่า ขยา นี้

ตรัสความแตกต่างอาสวะพร้อมด้วยกิจว่า อาสวักขยะในประโยคมีอาทิว่า

ความสิ้นไป ความแตกไป ความทำลายไปแห่งอาสวะใด. ตรัสความไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 301

เกิดขึ้นต่อไปแห่งอาสวะว่า อาสวักขยะ ในประโยคมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะแก่ผู้รู้อยู่เห็นอยู่. ตรัสมรรคจิตว่า

อาสวักขยะ ในประโยคมีอาทิว่า

ปฐมญาณ (อนัญญตัญญัสสามิตินทรีย์) ย่อม

เกิดขึ้น ในเพราะโสดาปัตติมรรค อันเป็นเครื่องทำ

กิเสสทั้งหลายให้สิ้นไป แก่พระเสขะผู้ยังต้องศึกษา

อยู่ ผู้ปฏิบัติตามทางอันตรง ปัญญาที่รู้ทั่วถึง (อัญ-

ญินทรีย์) ย่อมเกิดขึ้นในลำดับแต่ปฐมญาณนั้น.

ตรัสผลจิตว่า อาสวักขยะ ในประโยคมีอาทิว่า เป็นสมณะ เพราะ

ความสิ้นอาสวะ. ตรัสพระนิพพานว่า อาสวักขยะ ในประโยคมีอาทิว่า

อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่ผู้ตามเห็นโทษ

ผู้อื่น ผู้สำคัญในการเพ่งโทษเป็นนิจ บุคคลนั้นชื่อว่า

เป็นผู้ไกลจากธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ.

แต่ในที่นี้ ตรัสความสิ้นไปแห่งอาสวะโดยส่วนเดียว คือความไม่

เกิดขึ้นแห่งอาสวะหรือมรรคจิตว่า อาสวักขยะ.

บทว่า อนาสว ได้แก่ ผู้ละอาสวะโดยประการทั้งปวง ด้วยปฏิ-

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์. บทว่า เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ สมาธิอันสัมปยุตด้วย

อรหัตผล. บทว่า ปญฺาวิมุตฺตึ ได้แก่ ปัญญาอันสัมปยุตด้วยอรหัตผล.

คำทั้งสอง มีอรรถแสดงภาวะที่สมถะและวิปัสสนาเนื่องกันเป็นคู่ แม้ใน

ผลจิตเหมือนในมรรคจิต. บทว่า าณ ได้แก่ พระสัพพัญญุตญาณ.

ในลำดับคำของเทวดานั้นแหละ แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

คำนึงทรงพิจารณาว่า เป็นอย่างนั้นหรือหนอ ญาณก็เกิดขึ้นว่า นันทะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 302

ทำให้แจ้งพระอรหัตแล้ว. จริงอยู่ ท่านพระนันทะ ถูกภิกษุผู้สหายเย้ยหยัน

เช่นนั้น จึงเกิดความสังเวชขึ้นว่า ข้อที่เราบวชในพระธรรมวินัย ที่ตถาคต

ตรัสดีแล้วอย่างนี้ ได้กระทำพระศาสดาให้เป็นผู้รับประกัน เพื่อได้นาง

อัปสรนั้น จัดว่าเราทำกรรมหนักหนอ จึงเข้าไปตั้งหิริและโอตตัปปะ

เพียรพยายามบรรลุพระอรหัต แล้วคิดว่า ไฉนหนอ เราพึงให้พระผู้มี-

พระภาคเจ้าพ้นจากการรับรอง. ท่านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบ

ทูลความประสงค์ของตนแด่พระศาสดา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

อถ โข อายสฺมา นนฺโท ฯ ป ฯ เอตสฺมา ปฏิสฺสวา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิสฺสวา ความว่า จากการรับรอง

การประกัน คือจากปฏิญญาว่า เราเป็นผู้ประกันเพื่อให้ได้นางอัปสร.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสแก่ท่านว่า เพราะเหตุที่เรา

รู้ข้อนี้ว่า เธอยินดีพระอรหัตผล ทั้งเทวดาก็บอกแก่เรา ฉะนั้น เราจึง

ไม่ถูกท่านให้พ้นจากการรับรองในบัดนี้ เพราะท่านพ้นแล้วด้วยการบรรลุ

พระอรหัตนั้นเอง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยเทว โข เต

นนฺท ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเทว ตัดเป็น ยทา เอว. บทว่า เต

แก้เป็น ตว แปลว่า ของท่าน. บทว่า มุตฺโต แปลว่า พ้นแล้ว. ท่าน

กล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า ในกาลใดแล จิตของท่านพ้นจากอาสวะ ในกาล

นั้น คือในลำดับนั้นเอง เราพ้นจากการรับรองนั้น. ฝ่ายท่านพระนันทะ

ในเวลาเจริญวิปัสสนานั่นเอง เกิดความอุตสาหะขึ้นว่า เราจักข่มการไม่

สังวรอินทรีย์ ที่เราอาศัยถึงประการอันแปลกนี้เท่านั้นด้วยดี มีหิริและ

โอตตัปปะอย่างแก่กล้า และได้ถึงปฏิปทาอย่างอุกฤษฏ์ในอินทรีย์สังวร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 303

เพราะได้ทำบุญญาธิการไว้ในเรื่องนั้น. สมดังพระดำรัสที่ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ถ้าว่าท่านนันทะพึงตรวจดูทิศตะวันออกไซร้ ท่านประมวลจิต

ทั้งหมดมาดูทิศตะวันออก ด้วยคิดว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เราเหลียวดูทิศ

ตะวันออก อภิชฌา โทมนัส อกุศลธรรมที่ลามก ไม่พึงติดตาม ดังนั้น

ท่านจึงมีสัมปชัญญะในข้อนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่า ท่านนันทะพึง

ตรวจดูทิศตะวันตก ฯ ลฯ ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศเบื้องสูง ทิศเบื้องต่ำ

ทิศเฉียงไซร้ เธอประมวลจิตทั้งหมด เหลียวดูทิศเฉียงนั้น ด้วยคิดว่า

เมื่อเป็นเช่นนี้ เรา ฯ ลฯ มีสัมปชัญญะ. ด้วยเหตุนั้น พระศาสดาจึง

สถาปนาท่านพระนันทะนั้นไว้ในเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา

ภิกษุผู้สาวกของเราผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ท่านนันทะเป็นเลิศ.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ถึงความนั้น กล่าวคือการที่ท่านพระนันทะทำอาสวะทั้งปวงให้สิ้น แล้ว

ถึงความเป็นผู้คงที่ ในโลกธรรมมีสุขเป็นต้น. บทว่า อิม อุทาน ความว่า

ทรงเปล่งอุทานนี้ อันประกาศความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ติณฺโณ กามปลฺโก ความว่า

เปือกตมคือทิฏฐิทั้งหมด อันพระอริยบุคคลใดข้ามแล้ว ด้วยสะพานคือ

อริยมรรค หรือเปือกตมคือสงสารนั่นเอง อันพระอริยบุคคลใดข้ามแล้ว

ด้วยการถึงฝั่งคือพระนิพพาน. บทว่า มทฺทิโต กามกณฺฏโก ความว่า

กิเลสกามทั้งหมด คือว่าหนามคือกามทั้งหมดอันได้นามว่า กามกัณฏกะ

เพราะเสียดแทงเหล่าสัตว์ อันพระอริยบุคคลใดย่ำยีแล้ว คือหักเสียแล้ว

ทำลายแล้วอย่างสิ้นเชิง ด้วยท่อนไม้คืออรหัตมรรคญาณ. บทว่า โม-

หกฺขย อนุปฺปตฺโต ความว่า ก็ท่านพระนันทะผู้เป็นอย่างนี้ บรรลุความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 304

สิ้นโมหะ โดยธรรมสัมโมหะทั้งหมดอันมีทุกข์เป็นต้น เป็นอารมณ์ให้สิ้นไป

คือบรรลุพระอรหัตผลและพระนิพพาน. บทว่า สุขทุกฺเขสุ น เวธติ ส

ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุผู้ทำลายกิเลสนั้น ย่อมไม่หวั่น ไม่ไหวในสุขที่เกิด

ขึ้นเพราะประจวบกันอิฏฐารมณ์ และในทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะประจวบกับ

อนิฏฐารมณ์ คือไม่ถึงความเปลี่ยนแปลงแห่งจิตอันมีสุขทุกข์นั้นเป็นเหตุ.

ก็บทว่า สุขทุกฺเขสุ นี้ เป็นเพียงเทศนา. พึงทราบว่า ท่านพระนันทะ

ไม่หวั่นไหวในโลกธรรมแม้ทั้งหมด.

จบอรรถกถานันทสูตรที่ ๒

๓. ยโสชสูตร

ว่าด้วยเสียงอื้ออึง

[๗๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ภิกษุ

ประมาณ ๕๐๐ รูป มีพระยโสชะเป็นประมุข เดินทางมาถึงพระนคร

สาวัตถีโดยลำดับ เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุอาคันตุกะเหล่านั้น

ปราศรัยอยู่กับภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าถิ่น ปูลาดเสนาสนะ เก็บบาตรและ

จีวรกันอยู่ ได้ส่งเสียงอื้ออึง ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่าน

พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ใครนั่นมีเสียงอื้ออึงเหมือนชาวประมง

แย่งปลากัน ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ

ประมาณ ๕๐๐ รูป มีพระยโสชะเป็นประมุขเหล่านี้ เดินทางมาถึงพระนคร-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 305

สาวัตถีโดยลำดับ เพื่อจะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ภิกษุผู้อาคันตุกะเหล่านั้น

ปราศรัยอยู่กับภิกษุทั้งหลายผู้เป็นเจ้าถิ่น ปูลาดเสนาสนะ เก็บบาตรและ

จีวรกันอยู่ ส่งเสียงอื้ออึง พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงเรียกภิกษุเหล่านั้นมาตามคำ

ของเราว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย ท่านพระอานนท์ทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าว

กะภิกษุเหล่านั้นว่า พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำ

พระอานนท์แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม

แล้วได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุเหล่านั้น

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไรหนอ เธอทั้งหลายจึงส่งเสียงอื้ออึง

เหมือนชาวประมงแย่งปลากัน.

[๗๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระยโสชะ

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประมาณ

๕๐๐ รูปเหล่านี้ เดินทางมาถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ เพื่อจะเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุผู้อันตุกะเหล่านี้ปราศรัยกับภิกษุทั้งหลายผู้เป็น

เจ้าถิ่น ปูลาดเสนาสนะ เก็บบาตรและจีวรกันอยู่ส่งเสียงอื้ออึง พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไป เราประณามเธอทั้งหลาย

เธอทั้งหลายไม่ควรอยู่ในสำนักของเรา.

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้ว เก็บเสนาสนะ ถือบาตร

และจีวรหลีกจาริกไปทางวัชชีชนบท เที่ยวจาริกไปในวัชชีชนบทโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 306

ลำดับ ถึงแม่น้ำวัคคุมุทานที กระทำกุฎีมุงบังด้วยใบไม้ เข้าจำพรรษาอยู่

ใกล้ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานที.

[๗๓] ครั้งนั้นแล ท่านพระยโสชะเข้าจำพรรษาแล้ว เรียกภิกษุ

ทั้งหลายมาว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงใคร่

ประโยชน์ ทรงแสวงหาประโยชน์ ทรงอนุเคราะห์ ทรงอาศัยความ

อนุเคราะห์ ประณามเราทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงใคร่ประ-

โยชน์แก่เราทั้งหลายผู้อยู่ด้วยประการใด ขอเราทั้งหลายจงสำเร็จการอยู่

ด้วยประการนั้นเถิด ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระยโสชะแล้ว ครั้งนั้นแล

ภิกษุเหล่านั้นหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่

ทุก ๆ รูปได้ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓ ภายในพรรษานั้นเอง.

[๗๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในพระนคร

สาวัตถีตามพระอัธยาศัยแล้ว เสด็จจาริกไปทางพระนครเวสาลี เสด็จเที่ยว

จาริกไปโดยลำดับได้เสด็จถึงพระนครเวสาลี ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ใกล้พระนครเวสาลีนั้น ครั้งนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการกำหนดใจของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำ

วัคคุมุทานที ด้วยพระทัยของพระองค์แล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดู

ก่อนอานนท์ ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานที อยู่ในทิศใด ทิศนี้

เหมือนมีแสงสว่างแก่เรา เหมือนมีโอภาสแก่เรา เธอเป็นผู้ไม่รังเกียจที่จะ

ไปเพื่อความสนใจแห่งเรา เธอพึงส่งภิกษุผู้เป็นทูตไปในสำนักแห่งภิกษุ

ทั้งหลายผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานทีด้วยสั่งว่า พระศาสดารับสั่งหาท่าน

ทั้งหลาย พระศาสดาใคร่จะเห็นท่านทั้งหลาย ท่านพระอานนท์ทูลรับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 307

นั้นว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านจงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่แม่น้ำวัคคุมุทานที

ครั้นแล้ว จงกล่าวกะภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานทีอย่างนี้ว่า

พระศาสดารับสั่งหาท่านทั้งหลาย พระศาสดาทรงประสงค์จะเห็นท่านทั้ง-

หลาย ภิกษุนั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้วหายจากกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน

ไปปรากฏข้างหน้าภิกษุเหล่านั้นที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานที่เปรียบเหมือนบุรุษผู้

มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ลำดับนั้น ภิกษุนั้น

ได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทานทีว่า พระศาสดารับสั่งหา

ท่านทั้งหลาย พระศาสดาทรงประสงค์จะเห็นท่านทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

รับคำภิกษุนั้นแล้ว เก็บเสนาสนะ ถือบาตรและจีวรหายจากฝั่งแม่น้ำ

วัคคุมุทานที ไปปรากฏเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ที่กูฏาคาร-

ศาลาป่ามหาวัน เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่

เหยียด ฉะนั้น.

[๗๕] ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งอยู่ด้วยสมาธิ

อันไม่หวั่นไหว ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นมีความดำริว่า บัดนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าประทับอยู่ด้วยวิหารธรรมไหนหนอ ภิกษุเหล่านั้นมีความดำริอีกว่า

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ด้วยอาเนญชวิหารธรรม ภิกษุทั้งหมด

นั้นแล ก็อยู่ด้วยอาเนญชสมาธิ.

ครั้งนั้นแล เมื่อราตรีล่วงไป เมื่อปฐมยามผ่านไป ท่านพระอานนท์

ลุกจากอาสนะ กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทาง

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยามผ่านไปแล้ว ภิกษุอาคันตุกะ

ทั้งหลายนั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราศรัยกับภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 308

อาคันตุกะทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า.

เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ทรงนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว เมื่อมัชฌิมยามผ่านไปแล้ว

ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ กระทำผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่แล้ว ได้กราบทูลพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว มัชฌิมยามผ่าน

ไปแล้ว ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายนั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงปราศรัยกับภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า แม้ครั้งที่ ๒ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงนิ่งอยู่.

แม้ครั้งที่ ๓ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว อรุณขึ้น

แล้ว เมื่อราตรีรุ่งอรุณ ท่านพระอานนท์ลุกขึ้นจากอาสนะกระทำผ้า

อุตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามผ่านไปแล้ว อรุณขึ้นแล้ว เมื่อราตรีรุ่งอรุณ

ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายนั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปราศรัย

กับภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาบัตินั้น แล้วตรัส

กะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าว่าเธอพึงรู้ไซร้ ความรู้แม้มี

ประมาณเท่านี้ ก็ยังไม่ชัดแจ้งแก่เธอ ดูก่อนอานนท์ เราและภิกษุ ๕๐๐

เหล่านี้ทั้งหมด นั่งแล้วด้วยอาเนญชสมาธิ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 309

ภิกษุใดชนะหนาม คือกาม ชนะการด่า การฆ่า

และการจองจำได้แล้ว ภิกษุนั้นมั่นคงไม่หวั่นไหวดุจ

ภูเขา ภิกษุนั้นย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์.

จบยโสชสูตรที่ ๓

อรรถกถายโสชสูตร

ยโสชสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยโสโช ในคำว่า ยโสปฺปมุขานิ นี้ เป็นชื่อของพระ-

เถระนั้น. ภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้น ท่านกล่าวว่ามียโสชภิกษุเป็นหัวหน้า เพราะ

บวชทำท่านยโสชะให้เป็นหัวหน้า และเพราะเที่ยวไปด้วยกัน. ภิกษุ

เหล่านั้นมีการประกอบบุญกรรมไว้ในปางก่อน ดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ศาสนาของพระกัสสปทศพล มีภิกษุ

อยู่ป่ารูปหนึ่ง อยู่ในกุฏิมุงด้วยใบไม้ สร้างไว้ที่ศิลาดาดในป่า. ก็สมัย

นั้นโจร ๕๐๐ กระทำการปล้นชาวบ้านเป็นต้น เลี้ยงชีพแบบโจรกรรม

กระทำโจรกรรม ถูกพวกมนุษย์ในชนบทพากันติดตาม หนีเข้าป่าไป ไม่

เห็นอะไร ๆ ในที่นั้น ไม่ว่าจะเป็นรกชัฏหรือที่พึ่งอาศัย เห็นภิกษุนั้น

นั่งอยู่บนแผ่นหินในที่ไม่ไกล จึงไหว้แล้วบอกเรื่องนั้น อ้อนวอนว่า ขอ

ท่านจงเป็นที่พึ่งแก่พวกกระผมเถิดขอรับ. พระเถระกล่าวว่าที่พึ่งอื่นเช่น

กับศีลของพวกท่านไม่มี จงสมาทานศีล ๕ กันทั้งหมดเถิด. โจรเหล่านั้น

รับคำของท่านแล้ว สมาทานศีล. พระเถระกล่าวว่า ท่านตั้งอยู่ในศีล

แล้ว ท่านแม้ถึงชีวิตของตนจะพินาศไป ก็อย่าเกรี้ยวกราดด้วยการเบียด

เบียน ดังนี้แล้ว จึงบอกวิธีอุปมาด้วยเลื่อย. โจรเหล่านั้นรับว่า ดีละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 310

ลำดับนั้น ชาวชนบทเหล่านั้นไปยังที่นั้น ค้นดูข้างโน้นข้างนี้ พบพวก

โจรเหล่านั้น ก็ปลงชีวิตเสียทั้งหมด. โจรเหล่านั้น ไม่ได้ทำแม้มาตรว่า

ความแค้นเคืองใจในชนเหล่านั้น มิได้ขาดศีล ตายไปบังเกิดในเทวโลก

ชั้นกามาวจร. โจรเหล่านั้นผู้เป็นหัวหน้า ได้เป็นเทพบุตรหัวหน้า. ฝ่าย

โจรนอกนั้น ได้เป็นบริวารของเทพบุตรผู้หัวหน้านั้นเอง. เทวบุตรเหล่า

นั้น ท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ สิ้นพุทธันดรหนึ่งในเทวโลก ในกาลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าของเรา จุติจากเทวโลกแล้วเทพบุตรผู้เป็นหัวหน้า เกิดเป็น

บุตรชาวประมงผู้เป็นนายบ้าน ในตระกูล ๕๐๐ ในเกวัฏคาม ใกล้ประตู

กรุงสาวัตถี. เขาขนานนามท่านว่า ยโสชะ. ฝ่ายเทพบุตรนอกนั้น เกิด

เป็นบุตรชาวประมงนอกนั้น. ด้วยบุพเพสันนิวาส คนเหล่านั้นทั้งหมด

เป็นเพื่อนกันเล่นฝุ่นด้วยกัน เจริญวัยโดยลำดับ ยโสชะเป็นเลิศกว่าคน

เหล่านั้น. เขารวมกันทั้งหมด ถือแหเที่ยวจับปลาในแม่น้ำและในบึง

เป็นต้น. วันหนึ่ง เมื่อเขาทอดแหในแม่น้ำอจิรวดี ปลาสีทองติดแห.

ชาวประมงทั้งหมดเห็นดังนั้น พากันร่าเริงยินดีว่า ลูก ๆ ของพวกเรา

เมื่อจับปลา จับได้ปลาทอง. ทีนั้นสหายทั้ง ๕๐๐ คนเหล่านั้น ใส่ปลาลง

เรือ หามเรือไปแสดงแด่พระราชา. พระราชาทรงเห็นดังนั้นทรงพระ-

ดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงทราบเหตุที่ปลานี้เป็นทอง จึงให้จับ

ปลานั้นไปแสดงแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาตรัสว่า ผู้นี้ เมื่อ

ศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสื่อมไป บวชปฏิบัติผิด ทำศาสนาให้

เสื่อมเกิดในนรก ไหม้อยู่ในนรกนั้นสิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากอัตภาพ

นั้น เกิดเป็นปลาในแม่น้ำอจิรวดี ดังนี้ แล้วจึงทรงให้ปลานั้นนั่นแหละ

เล่าถึงความที่เขาและมารดาพี่หญิงเกิดในนรก และพระเถระผู้เป็นพี่ชาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 311

ของเขาปรินิพพานแล้ว จึงทรงแสดงกปิลสูตร เพราะเหตุเกิดเรื่องนี้ขึ้น

บุตรของชาวประมง ๕๐๐ เหล่านั้น สดับเทศนาของพระศาสดาแล้ว เกิด

ความสังเวชบรรพชาอุปสมบท ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า อยู่โดยความ

สงัด แล้วมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข

ปน ส เยน ยโสชปฺปมุขานิ ปญฺจมตฺตานิ ภิกฺขุสตานิ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตธ ตัดเป็น เต อิธ. บทว่า เนวา-

สิเกหิ ได้แก่ ผู้อยู่ประจำ. บทว่า ปฏิสมฺโมทมานา ความว่า เมื่อ

ภิกษุเจ้าถี่นทำการปราศรัย โดยการปฏิสันถารมีอาทิว่า ท่านสบายดี

หรือ เมื่อจะปราศรัยอีก จึงปราศรัยกับภิกษุเจ้าถิ่นเหล่านั้น โดยนัยมี

อาทิว่า สบายดีขอรับ. บทว่า เสนาสนานิ ปญฺาปยมานา ความว่า

และถามถึงเสนาสนะที่ถึงแก่อาจารย์ อุปัชฌาย์ และแก่ตน พร้อมด้วยภิกษุ

เจ้าถิ่นเหล่านั้น พากันจัดแจงเสนาสนะแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า นี้ สำหรับ

อาจารย์ของท่าน นี้ สำหรับอุปัชฌาย์ของท่าน นี้ สำหรับพวกท่านแล้ว

ตนเองไปในที่นั้นเปิดประตูและหน้าต่าง ขนเตียงตั่ง และเสื่อลำแพนเป็น

ต้นออกมาปรบ แล้วตบแต่งตามที่ตั้งอยู่เป็นต้นยังที่เดิม.

บทว่า ปตฺตจีวรานิ ปฏิสามยมานา ความว่า ให้เก็บสมณบริขาร

ด้วยพูดอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงเก็บบาตร จีวร ภาชนะ กระติกน้ำ

และไม้เท้าของผมนี้. บทว่า อุจฺจาสทฺทา มหาสทฺทา ความว่า ภิกษุ

ที่ชื่อว่า ผู้มีเสียงดัง เพราะอรรถว่ามีเสียงสูง เหตุแปลง อ อักษร ให้

เป็น อา อักษร. ภิกษุ ที่ชื่อว่า ผู้มีเสียงใหญ่ เพราะอรรถว่าแผ่ไปโดย

รอบ. บทว่า เกวฏฺฏา มญฺเ มจฺฉวิโลเป ได้แก่ ในการแย่งชิงปลา

เหมือนชาวประมง. ท่านแสดงว่า ภิกษุเหล่านั้น เป็นเหมือนชาวประมงผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 312

จับปลาได้นามว่า เกวัฎ เพราะวนเวียนอยู่ในน้ำ คือเป็นไปเพื่อจับปลา

ทอดแหลงในน้ำเพื่อจับปลา ได้มีเสียงอึกทึกครึกโครม โดยนัยมีอาทิว่า

เข้าหรือไม่เข้า จับได้หรือจับไม่ได้ และเหมือนชาวประมงเหล่านั้น เมื่อ

มหาชนพากันไปในที่ ๆ เขาวางกระเช้าปลาเป็นต้นไว้ แล้วแย่งกันพูด

เป็นต้นว่า พวกท่านให้ปลาตัวหนึ่งแก่เรา จงให้ปลาพวงหนึ่งแก่เรา ที่

ให้แก่คนโน้นตัวใหญ่ ที่ให้แก่เราตัวเล็ก ดังนี้ และชื่อว่า ผู้มีเสียงอึกทึก

ครึกโครม โดยการปฏิเสธเป็นต้นของชนเหล่านั้น.

บทว่า เตเต ตัดเป็น เต เอเต. บทว่า กินฺนุ แก้เป็น กิสฺส นุ

อธิบายว่า กิมตฺถ นุ แปลว่า เพื่อเหตุอะไรหนอ. บทว่า เตเม ตัดเป็น

เต อิเม. บทว่า ปณาเมมิ แปลว่า นำออก. บทว่า เต แก้เป็น เต

ตุมฺเห แปลว่า ท่านเหล่านั้น. บทว่า น โว มม สนฺติเก วตฺถพฺพ

ความว่า พวกท่านอย่าอยู่ในสำนักเรา. ทรงแสดงว่า เธอเหล่าใดมายังที่

ประทับของพระพุทธเจ้าผู้เช่นเรา กระทำเสียงดังอย่างนี้ อยู่ตามธรรมดา

ของตน จักกระทำให้สมควรอย่างไร คนเช่นพวกเธอไม่มีกิจที่จะอยู่ใน

สำนักของเรา ดังนี้.

ก็บรรดาภิกษุเหล่านั้นที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประณามอย่างนี้

แม้รูปเดียวก็ไม่ได้ให้คำตอบว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ทรง

ประณามข้าพระองค์ ด้วยเหตุเพียงเสียงดัง หรือไม่ได้ให้คำอะไร ๆ อื่น

ด้วยพุทธคารวะ ภิกษุทั้งหมด เมื่อรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงกราบทูลว่า เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า แล้วพากันออกไป ก็ท่านเหล่านั้น

ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราจักเฝ้าพระศาสดา จักฟังธรรม จักอยู่ใน

สำนักพระศาสดา เพราะฉะนั้น จึงพากันมา แต่พวกเรามายังสำนักพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 313

ศาสดาผู้เป็นครูเห็นปานนี้ กระทำเสียงดัง นี้เป็นโทษของพวกเราเท่านั้น

พวกเราถูกประณามเพราะโทษ เราไม่ได้อยู่ในสำนักพระศาสดา ไม่ได้

ชมพระโฉมมีวรรณะดังทองคำอันนำมาซึ่งความเลื่อมใสรอบด้าน ไม่ได้

ฟังธรรมที่ทรงแสดงด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ. ภิกษุเหล่านั้นเกิดความ

น้อยใจอย่างรุนแรง แล้วพากันหลีกไป.

บทว่า สสาเมตฺวา ได้แก่ เก็บงำไว้ด้วยดี. บทว่า วฺชชี ได้แก่

ชนบทอันมีชื่ออย่างนี้. แม้ชนบทหนึ่งอันเป็นที่ประทับของพระราชกุมาร

ชาวชนบทชื่อว่า วัชชี เขาจึงเรียกว่า วัชชี นั่นเอง โดยภาษาที่ดาษดื่น.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า วชฺชีสุ ดังนี้ แม่น้ำสายหนึ่งซึ่งสมมติกัน

ว่า เป็นบุญของชาวโลกมีชื่ออย่างนี้ว่า วัคคุมุทา. บาลีว่า วัคคมุทา

ดังนี้ก็มี. บทว่า อตฺถกาเมน ได้แก่ ปรารถนาแต่ประโยชน์เท่านั้น ไม่

มุ่งถึงการประกอบอะไร ๆ. บทว่า หิเตสินา ได้แก่ ปรารถนาประโยชน์

คือมีปกติแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลกล่าวคืออรรถ หรือที่เป็นเหตุของ

ประโยชน์นั้นว่า สาวกของเรา พึงหลุดพ้นจากวัฏทุกข์เพราะเหตุไร

เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงชื่อว่า ทรงอนุเคราะห์ เพราะอนุเคราะห์

ไปตามสำนักของเวไนยสัตว์แม้ในที่ไกล ไม่คำนึงถึงความลำบากทางพระ-

วรกายเลย เราถูกประณามเพราะอาศัยความอนุเคราะห์ ไม่ใช่ถูกประณาม

เพราะหวังความขวนขวายเป็นต้นของตน. เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาค-

พุทธเจ้า ผู้หนักในธรรม ผู้ทรงประณามแม้เหตุเพียงทำเสียงดัง จึงควร

บูชาด้วยสัมมาปฏิบัติเท่านั้น ฉะนั้น อาวุโส เอาเถิด เราสำเร็จการอยู่

อย่างนั้น คือเราจะบำเพ็ญอปัณณกปฏิปทา ด้วยการประกอบสติสัมปชัญญะ

ในที่ทุกสถาน ทำกัมมัฏฐานตามที่กำหนดไว้ให้ถึงที่สุด ชื่อว่า สำเร็จ คืออยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 314

ด้วยอิริยาบถวิหารทั้ง ๔. บทว่า ยถา โน วิหรต ความว่า เมื่อเราอยู่

โดยประการใด พระผู้มีพระภาคเจ้า พึงเป็นผู้มีพระทัยยินดี คืออันพวก

เราพึงให้โปรดปรานด้วยสัมมาปฏิบัติบูชา.

บทว่า เตเนวนฺตรวสฺเสน ได้แก่ ไม่เลยวันมหาปวารณาในภาย

ในพรรษานั้นนั่นแล. บทว่า ติสฺโส วิชฺชา สจฺฉากสุ ความว่า ภิกษุ

๕๐๐ ทั้งหมดนั้นนั่นแล ได้กระทำให้ประจักษ์แก่ตน ซึ่งวิชชา ๓ เหล่านี้

คือ บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๑ ทิพยจักขุญาณ ๑ อาสวักขยญาณ ๑ เพราะ

อรรถว่าแทงตลอดขันธ์ที่เคยอยู่ในกาลก่อน และขันธ์คือโมหะอันเป็นตัว

ปกปิด. ในที่นี้ พระองค์ทรงยกวิชชา ๓ ขึ้นแสดง โดยแสดงถึงการที่

ภิกษุเหล่านั้นบรรลุ เพื่อแสดงว่า บรรดาโลกิยอภิญญา อภิญญา ๒ นี้

เท่านั้น มีอุปการะมากแก่อาสวักขยญาณ ส่วนทิพยโสตญาณ เจโตปริยญาณ

และอิทธิวิธญาณหาเป็นเช่นนั้นไม่. จริงอย่างนั้น ในเวรัญชสูตร พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงการที่พระองค์ทรงบรรลุ แก่เวรัญชพราหมณ์

จึงทรงแสดงวิชชา ๓ เท่านั้น เพราะไม่มีทิพยโสตญาณเป็นต้น. เมื่อเป็น

อย่างนี้ พระองค์จึงไม่ทรงยกทิพยโสตญาณเป็นต้นแม้ที่มีอยู่ขึ้นแสดงแก่

ภิกษุแม้เหล่านั้น เพราะภิกษุเหล่านั้นมีอภิญญา ๖. เพราะกระทำอธิบาย

ดังว่ามานี้ พระองค์จึงตรัสถึงการใช้ฤทธิของภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุเหล่านั้น

หายไป ณ ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทามาปรากฏเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าในกูฏาคารศาลา.

บทว่า ยถาภิรนฺต ได้แก่ ตามพอพระทัย คือตามพระอัธยาศัย.

จริงอยู่ ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประทับอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ย่อม

ไม่มีความยินดี เพราะอาศัยความวิบัติแห่งร่มเงาและน้ำ หรือเสนาสนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 315

อันไม่เป็นที่สบาย หรือความที่พวกมนุษย์ไม่มีศรัทธาเป็นต้น แม้การ

ประทับอยู่นานด้วยทรงพระดำริว่า อยู่ผาสุกเพราะความสมบูรณ์ ก็ไม่มี

แก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ใด

มนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น ตั้งอยู่ในสรณะ สมาทานศีล บรรพชา หรือ

บรรลุโสดาปัตติมรรคเป็นต้น พระศาสดาจึงประทับอยู่ เพื่อให้มนุษย์

เหล่านั้นตั้งอยู่ในสมบัติเหล่านั้น เมื่อไม่มีสมบัติอันนั้น พระองค์ก็เสด็จ

หลีกไป. ก็ในกาลนั้น พระองค์ไม่มีพุทธกิจที่จะพึงกระทำในกรุงสาวัตถี.

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับ

อยู่ตามพอพระทัยในกรุงสาวัตถี เสด็จหลีกจาริกไปทางกรุงเวสาลี.

บทว่า จาริกญฺจรมาโน ได้แก่ เสด็จดำเนินไปทางไกล. ก็ชื่อว่า

การเสด็จจาริกของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ มี ๒ อย่าง คือ เสด็จจาริกไป

โดยรีบด่วน ๑ เสด็จจาริกไปโดยไม่รีบด่วน ๑. ใน ๒ อย่างนั้น การที่

พระองค์ทรงเห็นโพธเนยยบุคคลแม้ในที่ไกล ก็รีบเสด็จไปเพื่อให้บุคคล

นั้นตรัสรู้ ชื่อว่าเสด็จจาริกไปโดยรีบด่วน. การเสด็จไปโดยรีบด่วนนั้น

พึงเห็นในการต้อนรับพระมหากัสสปเป็นต้น. ส่วนการเสด็จจาริกไป

อนุเคราะห์สัตว์โลก ด้วยการเสด็จเที่ยวบิณฑบาตเป็นต้น โดยหนทางโยชน์

หนึ่งและกึ่งโยชน์ทุกวัน ตามลำดับคามนิคมและราชธานี นี้ชื่อว่าการเสด็จ

จาริกไปโดยไม่รีบด่วน. ก็การเสด็จจาริกโดยไม่รีบด่วนนี้แหละท่านประ-

สงค์เอาในที่นี้. บทว่า ตทวสริ แก้เป็น เตน อวสริ หรือ ต อวสริ

คือเสด็จไป อธิบายว่า เสด็จเข้าไปโดยประการนั้น. บทว่า ตตฺร ได้แก่

ใกล้กรุงเวสาลีนั้น. บทว่า สุท เป็นเพียงนิบาต. บทว่า เวสาลิย ได้แก่

นครของพวกเจ้าลิจฉวี ซึ่งได้นามว่าเวสาลีเพราะเป็นเมืองขยายให้กว้างขวาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 316

ถึง ๓ ครั้ง. บทว่า มหาวเน ความว่า ชื่อว่าป่ามหาวัน ได้แก่ป่าที่เกิด

เอง ไม่มีใครปลูกสร้าง เป็นป่าใหญ่มีเขตกำหนด. ก็ป่ามหาวันใกล้เคียง

เมืองกบิลพัสดุ์ เป็นป่าไม่มีเขตกำหนดเนื่องเป็นอันเดียวกับป่าหิมวันต์

ตั้งจดมหาสมุทร. ป่ามหาวันนี้ หาเป็นเช่นนั้นไม่. ชื่อว่าป่ามหาวัน

เพราะเป็นป่าใหญ่มีเขตกำหนด. บทว่า กูฏาคารสาลาย ความว่า ใน

อารามที่สร้างอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าในป่ามหาวันนั้น พระคันธกุฎีของ

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า สมบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง สร้างโดยมุงหลังคา

เป็นวงกลมมีทรวดทรงคล้ายหงส์ โดยมีกูฏาคารอยู่ภายใน ชื่อว่า กูฏาคาร-

ศาลา. ในกูฏาคารศาลานั้น. บทว่า วคฺคุมทาตีริยาน ได้แก่ ผู้อยู่ริมฝั่ง

แม่น้ำวัคคุมุทา. บทว่า เจตสา เจโต ปริจฺจ มนสิกริตฺวา ความว่า

ทรงมนสิการกำหนดจิตของภิกษุเหล่านั้น ด้วยพระทัยของพระองค์.

อธิบายว่า ทรงทราบคุณวิเศษที่ภิกษุเหล่านั้นบรรลุ ด้วยเจโตปริยญาณ

หรือสัพพัญญุตญาณ.

บทว่า อาโลกชาตา วิย แปลว่า เหมือนเกิดแสงสว่าง. นอกนั้น

เป็นไวพจน์ของบทว่า อาโลกชาตา นั้น เหมือนกัน. อธิบายว่า เหมือน

แสงสว่างพระจันทร์ ๑,๐๐๐ ดวง และพระอาทิตย์ ๑,๐๐๐ ดวง. ก็

เพราะเหตุที่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งมีพระยโสชะเป็นประมุขนั้น เป็นผู้สว่าง

ไสว เพราะกำจัดมืดคืออวิชชาโดยประการทั้งปวงอยู่. ฉะนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงทรงสรรเสริญภิกษุเหล่านั้น โดยการอ้างถึงการพรรณนาคุณ

ในที่ภิกษุเหล่านั้นสถิตอยู่ โดยนัยมีอาทิว่า อานนท์ ทิศนั้นเป็นเหมือน

แสงสว่างของเรา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ยสฺส ทิสาย วคฺคุมุทา-

ตีริยา ภิกฺขู วิหรนฺติ ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา อยู่ใน

ทิศใด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 317

บทว่า อปฺปฏิกูลา แปลว่า ไม่น่าเกลียด อธิบายว่า น่าชอบใจ

คือน่ารื่นรมย์ใจ. จริงอยู่ ถิ่นที่ท่านผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ผู้สมบูรณ์ด้วย

คุณมีศีลเป็นต้นอยู่นั้น มีอาการดังที่ลุ่มขลุขละไม่สม่ำเสมอก็จริง ถึงกระ-

นั้น สถานที่นั้น ก็เป็นที่ฟูใจ น่ารื่นรมย์ใจทีเดียว. สมจริงดังที่พระองค์

ตรัสไว้ว่า

พระอรหันต์ทั้งหลายอยู่ในที่ใด ไม่ว่าจะเป็นบ้าน

ก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มหรือที่ดอนก็ตาม ที่นั้นเป็นภูมิ

ที่น่ารื่นรมย์ใจ.

บทว่า ปหิเณยฺยาสิ แปลว่า พึงส่งไป. บทว่า สตฺถา อายสฺมนฺ-

ตาน ทสฺสนกาโม นี้ เป็นบทแสดงถึงอาการที่ส่งไปในสำนักของภิกษุ

เหล่านั้น ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นประโยชน์ที่พระองค์ทรง

ประณามภิกษุเหล่านั้นถึงที่สุด มีพระทัยยินดี จึงตรัสบอกความประสงค์

ที่จะเห็นภิกษุเหล่านั้นแก่พระเถระ. ได้ยินว่า พระองค์ได้มีพระดำริอย่าง

นี้ว่า เราประณามภิกษุเหล่านี้ เพราะกระทำเสียงดังลั่น เมื่อเป็นเช่นนั้น

ภิกษุเหล่านั้นก็ถูกท่านอานนท์โจทท้วง เหมือนม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกตี

ด้วยแส้ ได้รับความสลดใจแล้ว จึงเข้าไปยังป่าเพื่อให้เราโปรดปราน เพียร

พยายามอยู่ จักทำให้แจ้งพระอรหัตโดยพลันทีเดียว. บัดนี้พระองค์ทรง

เห็นภิกษุเหล่านั้นบรรลุพระอรหัต มีพระทัยยินดีด้วยการบรรลุพระอรหัต

นั้น มีพระประสงค์จะเห็นภิกษุเหล่านั้น จึงทรงบัญชาท่านพระอานนท์

ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริกอย่างนั้น. บทว่า โส ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุรูปหนึ่ง

ผู้ได้อภิญญา ๖ ถูกท่านพระอานนทเถระสั่งดังนั้น. บทว่า ปมุเข แปลว่า

ในที่พร้อมหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 318

บทว่า อาเนญฺชสมาธินา ได้แก่ ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยอรหัต-

ผลอันมีจตุตถฌานเป็นบาท. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า มีอรูปฌาน

เป็นบาท ดังนี้ก็มี. บาลีว่า อาเนญฺเชน สมาธินา ด้วยสมาธิอันไม่

หวั่นไหว ดังนี้ก็มี. ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทราบ

การมาของภิกษุเหล่านั้น ไม่ทรงกระทำปฏิสันถาร ทรงเข้าสมาบัติอย่าง

เดียว ? เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นรู้ว่าพระองค์เข้าสมาบัติจึงเข้าด้วย เพื่อแสดง

การอยู่ร่วมของภิกษุเหล่านั้นที่พระองค์ทรงประณามในกาลก่อนว่า เสมอ

กับพระองค์ในบัดนี้ เพื่อแสดงอานุภาพ และเพื่อแสดงการพยากรณ์

พระอรหัตผลโดยเว้นการเปล่งวาจา. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า เพื่อ

ทรงกระทำปฏิสันถารอันไม่ทั่วไปแก่คนอื่น โดยทำความสุขอันยอดเยี่ยม

ให้เกิดขึ้นแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ที่พระองค์ทรงประณามในกาลก่อน บัดนี้

มายังสำนักของพระองค์. ท่านแม้เหล่านั้นทราบพระอัธยาศัยของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงเข้าสมาบัตินั้นนั่นแหละ. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

กตเมน นุ โข ภควา วิหาเรน เอตรหิ วิหรติ บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงอยู่ด้วยธรรมเครื่องอยู่ อะไรหนอแล.

ก็ในที่นี้ รูปาวจรจตุตถฌาน ถึงความไม่หวั่นไหว เพราะประกอบ

ด้วยโวทานธรรม ๑๖ ประการ มีความไม่ฟุบลงเป็นต้น อันเป็นมูลเหตุ

แห่งฤทธิ์ เพราะธรรมอันเป็นข้าศึกมีโกสัชชะเป็นต้น อยู่ไกลแสนไกล

ท่านเรียกว่า อาเนญชะ เพราะอรรถว่าตนเองก็ไม่หวั่นไหว. สมจริงดัง

คำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

จิตที่ไม่ฟุบลง ชื่อว่าอาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหว

ในโกสัชชะ ๑ จิตที่ไม่ฟูขึ้น ชื่อว่าอาเนญชะ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 319

ไม่หวั่นไหวในอุทธัจจะ ๑ จิตไม่ยินดียิ่ง ชื่อว่า

อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวในราคะ ๑ จิตไม่ผลัก

ออกชื่อว่าอาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวในพยาบาท ๑

จิตที่ไม่เกี่ยวเกาะ ชื่อว่าอาเนญชะ เพราะไม่หวั่น-

ไหวในทิฏฐิ ๑ จิตที่ไม่ผูกพัน ชื่อว่าอาเนญชะ เพราะ

ไม่หวั่นไหวในฉันทราคะ ๑ จิตที่หลุดพ้น ชื่อว่า

อาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวในกามราคะ ๑ จิตที่

ไม่พัวพัน ชื่อว่าอาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวใน

กิเลส ๑ จิตที่ไม่มีเขตแดนเป็นต้น ชื่อว่าอาเนญชะ

เพราะไม่หวั่นไหวในเขตแดนคือกิเลส ๑ จิตที่มี

อารมณ์เป็นหนึ่ง ชื่อว่าอเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหว

ในกิเลสต่าง ๆ ๑ จิตที่ศรัทธากำกับแล้ว ชื่อว่าอา-

เนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวในอสัทธิยะ (ความไม่มี

ศรัทธา) ๑ จิตที่วริยะกำกับแล้ว ชื่อว่าอาเนญชะ

เพราะไม่หวั่นไหวในโกสัชชะ ๑ จิตที่สติกำกับแล้ว

ชื่อว่าอาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหวในปมาทะ ๑ จิตที่

สมาธิกำกับแล้ว ชื่ออาเนญชะ เพราะไม่หวั่นไหว

ในอุทธัจจะ ๑ จิตที่ปัญญากำกับแล้วชื่อว่าอาเนญชะ

เพราะไม่หวั่นไหวในอวิชชา ๑ จิตที่ถึงความสว่าง

แล้ว ชื่อว่าอาเนญสชะ เพราะไม่หวั่นไหวในความมืด

(คืออวิชชา) ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 320

อนึ่ง พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า การบัญญัติฌาน ๕

เหล่านี้ว่าเป็นอาเนญชะ คือรูปาวจรจตุตถฌานเท่านั้นที่เป็นไปด้วยอำนาจ

การเจริญการสำรอกรูป ๑ อรูปาวจรฌาน ๔ ที่เป็นไปโดยจำแนกตาม

อารมณ์. บรรดาฌานเหล่านั้น อรหัตผลสมาบัติทำฌานอย่างใดอย่าง

หนึ่งให้เป็นบาทแล้วจึงเข้า ชื่อว่าอาเนญชสมาธิ.

บทว่า อภิกฺกนฺตาย แปลว่า ล่วงไปแล้ว. บทว่า นิกฺขนฺเต แปลว่า

ผ่านไปแล้ว. อธิบายว่า ปราศไปแล้ว. บทว่า ตุณฺหี อโหสิ ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเป็นผู้นิ่งโดยดุษณีภาพอันประเสริฐ. บทว่า

อุทฺธเสฺต อรุเณ แปลว่า เมื่ออรุณขึ้นไป. ชื่อว่าอรุณ ได้แก่ แสงสว่าง

ที่ขึ้นก่อนพระอาทิตย์ขึ้นทีเดียว ในปุรัตถิมทิศ. บทว่า นนฺทิมุขิยา

ความว่า เมื่อราตรีเกิดแล้ว สว่างแล้ว เหมือนแสงอรุณที่เป็นประธาน

ในการทำเหล่าสัตว์ผู้อาศัยแสงดวงอาทิตย์ให้ร่าเริง เพราะอรุณแห่งราตรี

ขึ้นนั่นเอง.

บทว่า ตมฺหา สมาธิมฺหา วุฏฺหิตฺวา ความว่า ออกจากอาเนญช-

สมาธิ คือ จากผลสมาบัติ อันสัมปยุตด้วยอรหัตผลนั้น. ตามเวลาที่

กำหนด. บทว่า สเจ โข ตฺว อานนฺท ชาเนยฺยาสิ ความว่า ดูก่อน

อานนท์ ถ้าท่านพึงรู้อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุเหล่านั้น

ยับยั้งอยู่ด้วยสุขอันเกิดแต่สมาบัติชื่อนี้ ตลอดกาลเพียงเท่านี้ไซร้. ด้วย

บทว่า เอตฺตกมฺปิ เต นปฺปฏิภาเสยฺย พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรง

แสดงว่า ความแจ่มแจ้งปรากฏแก่เธอ ๓ ครั้ง โดยนัยมีอาทิว่า ราตรี

ผ่านไปแล้ว พระเจ้าข้า ดังนี้ ซึ่งหมายถึงการปราศรัยอันเป็นฝ่ายโลกีย์

แม้เพียงเท่านี้ก็ยังไม่ปรากฏแก่เธอ. ดูก่อนอานนท์ ก็เพราะเหตุที่เธอเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 321

เสขบุคคล ไม่รู้สมาบัติวิหารธรรมอันเป็นของพระอเสขะ ฉะนั้น เธอจึง

ถึงความขวนขวายที่จะให้เราทำการปราศรัยอันเป็นฝ่ายโลกีย์ แก่ภิกษุ

เหล่านี้. แต่เราพร้อมด้วยภิกษุเหล่านี้ยับยั้งอยู่ตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ด้วย

การปราศรัยอันเป็นโลกุตระนั่นแล จึงตรัสว่า อหญฺจ อานนฺท อิมานิ จ

ปญฺจ ภิกฺขุสตานิ สพฺเพว อาเนญฺชสมาธินา นิสินฺนมฺหา ดูก่อนอานนท์

เรากับภิกษุ ๕๐๐ รูป ทั้งหมดนี้ นั่งด้วยอาเนญชสมาธิ.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ถึงอรรถคือความที่ภิกษุเหล่านั้นมีความชำนาญ กล่าวคือความสามารถใน

การเข้าอาเนญชสมาบัติพร้อมกับพระองค์นี้. บทว่า อิม อุทาน ความว่า

ทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงสภาวะที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้สำเร็จในการละ

ราคะเป็นต้นได้เด็ดขาด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ชิโต กามกณฺฏโก ความว่า

กามคือกิเลส ชื่อว่าเป็นหนาม เพราะอรรถว่าทิ่มแทงธรรมอันเป็นปฏิปักษ์

ต่อกุศลธรรม อันเป็นเหตุให้พระอริยบุคคลชนะ คือละได้โดยเด็ดขาด

ด้วยคำนั้น พระองค์ทรงแสดงถึงภาวะที่พระอริยบุคคลนั้นไม่มีความยินดี.

บาลีว่า คามกณฺฏโก ดังนี้ก็มี. พระบาลีนั้นมีอธิบายดังนี้ หนามใน

บ้าน ได้แก่วัตถุกามทั้งสิ้นอันเป็นที่ตั้งแห่งหนาม อันพระอริยบุคคลใด

ชนะแล้ว เพราะฉะนั้น ความชนะของพระอริยบุคคลนั้น พึงทราบโดย

การละฉันทราคะอันเนื่องด้วยวัตถุกามนั้น ด้วยคำนั้น เป็นอันพระองค์

ตรัสถึงอนาคามิมรรคของภิกษุเหล่านั้น เชื่อมความว่า ก็ความด่าอัน

พระอริยบุคคลชนะแล้ว. แม้ในบทว่า วโธ จ พนฺธนญฺจ นี้ ก็นัยนี้

เหมือนกัน. ในการด่าเป็นต้นนั้น ทรงแสดงความไม่มีวจีทุจริต ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 322

การชนะการด่า, ทรงแสดงความไม่มีกายทุจริต ด้วยธรรมนอกนี้. ด้วย

คำนั้น เป็นอันพระองค์ตรัสมรรคที่ ๓ ด้วยการละพยาบาทอันมีการด่า

เป็นต้นนั้นเป็นนิมิตได้โดยเด็ดขาด. อีกอย่างหนึ่ง เป็นอันตรัสถึงมรรค

ที่ ๓ ด้วยการตรัสถึงชัยชนะการด่าเป็นต้น, การข่มการด่าเป็นต้นได้เด็ด

ขาด เป็นอันทรงประกาศในมรรคที่ ๓ นั้น. แม้ทั้ง ๒ บท ก็ทรงแสดง

ถึงความที่ภิกษุเหล่านั้นไม่มีความยินร้าย. บทว่า ปพฺพโต วิย โส ิโต

อเนโช ความว่า อันตราย คือกิเลสอันเป็นตัวหวั่นไหว ท่านเรียกว่า

เอชา, ชื่อว่าอเนชา เพราะไม่มีกิเลสที่เหลืออันเป็นเหตุให้หวั่นไหว ตั้ง

อยู่ คือเป็นเช่นกับภูเขาเป็นแท่งทึบ เพราะไม่หวั่นไหวด้วยกิเลสทั้งปวง

และด้วยสมคือการว่าร้ายของผู้อื่น เหตุไม่มีความหวั่นไหวนั่นเอง. บทว่า

สุจทุกฺเขสุ น เวธติ ส ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุนั้น คือผุ้ทำลายกิเลสแล้ว

ย่อมไม่หวั่นไหวอันมีสุขและทุกข์เป็นเหตุ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบ

ความโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวมถึงความเป็นผู้คงที่ ด้วยการบรรลุพระ-

อรหัตของภิกษุเหล่านั้น จึงทรงเปล่งอุทานอันมีบุคคลเอกเป็นที่ตั้งด้วย

ประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาโสชสูตรที่ ๓

๔. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยพระสารีบุตรดุจภูเขา

[๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 323

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล

ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เบื้องหน้า อยู่ใน

ที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระสารี-

บุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เบื้องหน้า อยู่ในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ภิกษุผู้ดุจภูเขา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความสิ้น

โมหะ เหมือนภูเขาหินไม่หวั่นไหว ตั้งอยู่ด้วยดีฉะนั้น.

จบสารีปุตตสูตรที่ ๔

อรรถกถาสารีปุตตสูตร

สารีปุตตสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปริมุข สตึ อุปฏฺเปตฺวา ความว่า ตั้งสติให้มุ่งตรงต่อ

อารมณ์ คือ ตั้งสติไว้ในที่ใกล้หน้า. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ในวิภังค์ว่า สตินี้เป็นอันปรากฏแล้ว ปรากฏด้วยดีแล้ว ที่ปลาย

นาสิก หรือที่มุขนิมิต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปริมุข สตึ อุปฏฺ-

เปตฺวา ตั้งสติไว้ตรงหน้า. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริ มีอรรถว่า กำหนด.

บทว่า มุข มีอรรถว่า นำออก. บทว่า สติ มีอรรถว่า ปรากฏ. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปริมุข สตึ. ก็ในที่นี้ พึงทราบอรรถโดยนัย

ดังกล่าวแล้วในปฏิสัมภิทา ด้วยประการฉะนี้. ในข้อนั้น มีความสังเขป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 324

ดังต่อไปนี้. ก็บทว่า นิยฺยาน ในบทว่า ปริคฺคหิตนิยฺยานสตึ กตฺวา นี้

พึงเห็นอารมณ์ที่สติหยั่งลง. ก็ในข้อนี้ ความต้นและความหลัง พึงเห็น

สติควบคุมอารมณ์ไว้ได้ทั้งหมด นอกนั้น พึงเห็นการประมวลส่วนเบื้อง

ต้นแห่งสมาบัติ. อีกอย่างหนึ่ง ฌาน ท่านเรียกว่าสติ โดยยกสติขึ้นเป็น

ประธาน เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุใด บริโภคกายคตาสติ. ถามว่า

ก็ฌานนั้นเป็นไฉน ? ตอบว่า ได้แก่ฌานอันสัมปยุตด้วยอรหัตผล ที่

กระทำรูปาวจรจตุตถฌานให้เป็นบาทแล้วจึงเข้า. ถามว่า ก็ฌานนั้นจะ

พึงรู้ได้อย่างไร ? ตอบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงประกาศความที่

พระเถระไม่หวั่นไหวพร้อมด้วยคุณวิเศษ เพราะประกอบด้วยอาเนญช-

สมาธิ และความที่พระเถระนั้นเป็นผู้อันอะไร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ โดย

เปรียบด้วยภูเขา จึงทรงเปล่งอุทานนี้ เพราะเหตุนั้น ย่อมรู้เนื้อความนี้ได้

ด้วยคาถานั่นแหละ. ก็นี้มิใช่พระเถระนั่งเพื่อแทงตลอดสัจจะ โดยที่แท้

นั่งเพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน. จริงอยู่ ในกาลก่อนนั้นแล เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ทีฆนขปริพาชก หลานของพระเถระ ที่ถ้ำ

สุกรขาตา พระมหาเถระนี้ถึงที่สุดกิจแห่งการแทงตลอดสัจจะแล.

บทว่า เอตมตฺถ ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ถึงอรรถนี้ กล่าวคือความที่พระเถระอันอะไร ๆ ให้หวั่นไหวไม่ได้ เพราะ

ประกอบด้วยอาเนญชสมาธิ และเพราะถึงความเป็นผู้คงที่ จึงทรงเปล่ง

อุทานนี้ ประกาศความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยถาปิ ปพฺพโต เสโล ความว่า เหมือน

ภูเขาศิลาเป็นแท่งทึบ ล้วนแล้วด้วยหิน ไม่ใช่ภูเขาดินร่วน หรือไม่ใช่

ภูเขาเจือดิน. บทว่า อจโล สุปฺปติฏฺิโต ความว่า มีรากตั้งอยู่ด้วยดี ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 325

หวั่น ไม่ไหว ด้วยลมตามปกติ. บทว่า เอว โมหกฺขยา ภิกฺขุ ปุพฺพโตว

น เวธติ ความว่า ภิกษุชื่อว่าละอกุศลทั้งปวงได้ เพราะละโมหะได้เด็ดขาด

และเพราะละอกุศลทั้งปวงมีโมหะเป็นมูล ย่อมไม่หวั่น คือไม่ไหวด้วยโลก-

ธรรม เหมือนภูเขานั้นไม่สะเทือนด้วยลมตามปกติ. อีกอย่างหนึ่ง เพราะ

เหตุที่พระนิพพานและพระอรหัตท่านเรียกว่า โมหักขยะ ฉะนั้น ภิกษุนั้น

จึงชื่อว่าตั้งอยู่ด้วยดีแล้วในอริยสัจ ๔ เพราะบรรลุพระนิพพานและพระ-

อรหัต เหตุสิ้นไปแห่งโมหะ แม้ในเวลาที่ไม่เข้าสมาบัติก็ไม่หวั่นไหวด้วย

อะไร ๆ เหมือนภูเขาดังกล่าวแล้ว. อธิบายว่า จะป่วยกล่าวไปไยในเวลา

เข้าสมาบัติเล่า.

จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๔

๕. โกลิตสูตร

ว่าด้วยกายคตาสติ

[๗๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล

ท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติอันตั้งไว้

แล้วในภายใน อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ทรงเห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติ

อันตั้งไว้ดีแล้วในภายใน อยู่ในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 326

ภิกษุเข้าไปตั้งกายคตาสติไว้แล้ว สำรวมแล้วใน

ผัสสายตนะ ๖ มีจิตตั้งมั่นแล้วเนือง ๆ พึงรู้นิพพาน

ของตน.

จบโกลิตสูตรที่ ๕

อรรถกถาโกลิตสูตร

โกลิตสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กายคตาย สติยา ความว่า มีสติอันไปในกาย คือมีกาย

เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจกายานุปัสสนา. บทว่า สติยา นี้ เป็นตติยาวิภัตติ

ใช้ในลักษณะอิตถัมภูต. ภายในตนชื่อว่าอัชฌัตตะ ในบทว่า อชฺฌตฺต นี้.

เพราะฉะนั้น จึงมีความว่า ในตน คือในสันดานของตน. อีกอย่างหนึ่ง

พึงทราบเนื้อความของบทว่า อชฺฌตฺต ว่า โคจรชฺฌตฺต เพราะท่านประ-

สงค์เอาประชุมส่วนทั้ง ๓๒ มีผมเป็นต้น อันเป็นตัวกรรมฐาน ว่ากาย

ในที่นี้. บทว่า สุปติฏฺิตาย ความว่า ปรากฏด้วยดีในกาย อันเป็น

ภายในตน หรืออันเป็นภายในอารมณ์. ถามว่า ก็สติที่ท่านกล่าวว่า

ปรากฏด้วยดีภายในตน คืออะไร ? ตอบว่า คือ สติอันปรากฏในกายด้วย

อำนาจอุปจาระและอุปปนาของพระโยคีผู้ยังปฏิกูลมนสิการให้เป็นไปใน

อาการ ๓๒ มีผมเป็นต้น อันเป็นภายในที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่ากาย

โดยนัยมีอาทิว่า ผม ขน มีอยู่ในกายนี้นั้น ท่านเรียกว่า กายคตาสติ. ก็

กายคตาสตินี้ฉันใด สติอันปรากฏในกายด้วยอำนาจอุปการะและอัปปนา

ตามควรของพระโยคีผู้ยังมนสิการให้เป็นไปด้วยอำนาจสติสัปชัญญะใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 327

อานาปานะ และอิริยาบถ ๔ และด้วยอำนาจอุทธุมาตกอสุภะ และวินีลก-

อสุภะเป็นต้น ก็เรียกว่ากายคตาสติฉันนั้น. ก็ในที่นี้ กายคตาสติภายใน

ตน กำหนดธาตุทั้ง ๔ มีปฐวีธาตุเป็นต้น ด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง

คือด้วยอาการหนึ่งในอาการ ๔ มีสสัมภารสังเขปเป็นต้น ปรากฏโดยการ

กำหนคอนิจจลักษณะเป็นต้นของธาตุเหล่านั้น เป็นสติอันสัมปยุตด้วย

วิปัสสนา ท่านประสงค์เอาว่า กายคตาสติ. ก็พระเถระเห็นแจ้งอย่างนั้น

จึงนั่งเข้าผลสมาบัติของตนเท่านั้น. แม้ในที่นี้ ความที่เนื้อความแห่งพระ-

คาถานี้จะรู้แจ้งได้อย่างนั้น พึงประกอบตามแนวแห่งนัยที่กล่าวไว้โดยนัย

ว่า น จาย นิสชฺชา ก็การนั่งนี้มิใช่. . . ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอตมตฺถ ความว่า ทรงทราบอรรถนี้ กล่าวคือการที่พระ-

เถระเจริญวิปัสสนาในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน โดยการกำหนดธาตุ ๔

เป็นประธานแล้วจึงเข้าผลสมาบัติ. บทว่า อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่ง

อุทานนี้ อันแสดงการบรรลุพระนิพพานด้วยสติปัฏฐานุภาวนา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สติ กายคตา อุปฏฺิตา ความว่า สติ

มีลักษณะดังกล่าวแล้วในกาลก่อน ชื่อว่าละธรรมอันเป็นปฏิปักษ์เสียได้

เพราะถึงภาวะที่ช่วยในการทำกิจของสมาธิ วิริยะ และปัญญาซึ่งมีศรัทธา

เป็นตัวนำให้สำเร็จตามหน้าที่ของตน แต่นั้นเป็นความสละสลวยอย่างแรง

ที่เดียว เข้าไปกำหนดสภาวะที่ไม่ผิดแผกด้วยอำนาจกายสังวร ตามที่กล่าว

แล้ว และด้วยอำนาจการรวมอรรถไว้เป็นอันเดียวกันตั้งอยู่. ด้วยคำนี้

ทรงแสดงถึงสติอันไป ๆ มา ๆ อยู่กับปัญญา ซึ่งกำหนดปัจจัยทั้งหลาย ด้วย

การกำหนดธาตุ ๔ กล่าวคือกาย และอุปาทารูปที่อาศัยธาตุ ๔ นั้น ต่อ

แต่นั้น จึงเป็นไปด้วยอำนาจกำหนดปัจจัยเหล่านั้น โดยเป็นอนิจจลักษณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 328

เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยยกสติขึ้นเป็นประธาน จึงทรงแสดง

เฉพาะการสืบๆ กันมา แห่งปัญญาอันนับเนื่องในปริญญา ๓ อันสัมป-

ยุตด้วยสตินั้น. บทว่า ฉสุ ผสฺสายตเนสุ สวุโต ความว่า พระโยคีผู้

ประกอบด้วยความเป็นผู้มีสติปรากฏในกายตามที่กล่าวแล้ว จึงปฏิเสธ

ความเป็นไปแห่งปัญญา เพราะเมื่อไปเจริญกายานุปัสสนาในทวารทั้ง ๖

มีจักขุทวารเป็นต้น อันเป็นเหตุแห่งผัสสะ อภิชฌาเป็นต้นที่ควรจะเกิด

ก็เกิดขึ้น เมื่อจะปิดกั้นอภิชฌาเป็นนั้น จึงตรัสเรียกว่า ผู้สำรวมใน

ทวาร ๖ มีจักขุทวารเป็นต้นนั้น. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึงญาณสังวร.

บทว่า สตต ภิกฺขุ สมาหิโต ความว่า ภิกษุนั้นมีสติปรากฏแล้ว

อย่างนั้นและสำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ไม่ปล่อยจิตไปในอารมณ์อันมาก

หลาย พิจารณาโดยอนิจจลักษณะเป็นต้น เจริญวิปัสสนา เมื่อญาณแก่กล้า

ดำเนินไปอยู่ ก็มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วยวิปัสสนา เป็นไปติดต่อ

ไม่ขาดระยะทีเดียว ตั้งแต่ลำดับอนุโลมญาณจนถึงเกิดโคตรภูญาณ. บทว่า

ชญฺา นิพฺพานมตฺตโน ความว่า พระนิพพานอันเป็นอสังขตธาตุนำมา

ซึ่งความสุขอย่างแท้จริง โดยเป็นอารมณ์อันดีเยี่ยมแก่มรรคญาณและผล-

ญาณ ซึ่งได้บัญญัติว่า อัตตา เพราะไม่เป็นอารมณ์ของปุถุชนอื่น แม้โดย

ที่สุดความฝัน แต่เพราะเป็นแผนกหนึ่งแห่งมรรคญาณและผลญาณนั้น ๆ

ของพระอริยเจ้าทั้งหลาย และเพราะเป็นเช่นกับอัตตา จึงเรียกว่า อตฺตโน

ของตน พึงรู้คือพึงทราบพระนิพพานนั้น อธิบายว่า พึงรู้แจ้ง คือ พึง

ทำให้แจ้งด้วยมรรคญาณและผลญาณทั้งหลาย. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึง

ความที่พระอริยเจ้าทั้งหลายมีจิตน้อมไปในพระนิพพาน. จริงอยู่ พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 329

อริยะเจ้าทั้งหลายย่อมอยู่ แม้ในเวลาที่อธิจิตเป็นไป ก็อยู่โดยภาวะที่น้อม

โน้มโอนไปในพระนิพพานโดยส่วนเดียวเท่านั้น. ก็ในที่นี้ สติเป็นไปใน

กายปรากฏแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นสำรวมแล้วในผัสสายตนะ ๖ ต่อแต่นั้น

ก็มีจิตตั้งมั่นเนือง ๆ พึงรู้พระนิพพานของตน ด้วยการกระทำให้ประจักษ์

แก่ตน พึงทราบการเชื่อมบทแห่งคาถาอย่างนี้ด้วยประการฉะนี้. พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเป็นธรรมราชา ทรงแสดงทางเป็นเครื่องนำออกของภิกษุรูป

หนึ่ง โดยมุข คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐานจนถึงพระอรหัตด้วยประการ

ฉะนี้. อีกนัยหนึ่ง ด้วยบทว่า สติ กายคตา อุปฏฺิตา นี้ ทรงแสดงถึง

กายานุปัสนาสติปัฏฐาน. บทว่า ฉสุ ผสฺสายตเนสุ สวุโต ความว่า

ชื่อว่า ผัสสายตนะ เพราะเป็นที่มาต่อ คือเป็นเหตุแห่งผัสสะ ในผัสสาย-

ตนะเหล่านั้น. ชื่อว่าสำรวมแล้ว เพราะตัณหาเป็นต้นไม่เป็นไปในเวทนา ๖

มีจักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น อันมีผัสสะเป็นเหตุ คือเกิดขึ้นเพราะผัสสะ

เป็นปัจจัย ด้วยคำนั้น ทรงแสดงถึงเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน. บทว่า

สตต ภิกฺขุ สมาหิโต ความว่า ภิกษุชื่อว่าตั้งมั่นติดต่อตลอดกาลเป็นนิตย์

ไม่มีระหว่างคั่น เพราะไม่มีความฟุ้งซ่าน ก็ภิกษุนี้ชื่อว่าเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน

เพราะถึงที่สุดด้วยสติปัฏฐานภาวนา โดยประการทั้งปวง. จริงอยู่ เมื่อเธอ

พิจารณากำหนดได้อย่างเด็ดขาดทีเดียว ในอุปาทานขันธ์ ๕ อันต่างโดย

ประเภทแห่งกาลมีอดีตกาลเป็นต้นแล. ด้วยคำนี้ ทรงแสดงถึงสติปัฏฐาน

ที่เหลือ. บทว่า ชญฺา นิพฺพานมตฺตโน ความว่า ภิกษุผู้ทำลายกิเลส ถึง

ที่สุดแห่งสติปัฏฐานภาวนาทั้ง ๔ ดำรงอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ตนเอง

นั่นแหละ พึงรู้กิเลสนิพพานของตนด้วยปัจจเวกขณญาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 330

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยบทว่า สติ กายคตา อุปฏฺิตา นี้ ทรงแสดงถึง

ความที่พระเถระเป็นผู้ถึงความไพบูลย์ด้วยสติ ด้วยการแสดงถึงการกำหนด

รู้ตามสภาวะแห่งกายของตนและของคนอื่น. ด้วยบทว่า ฉสุ ผสฺสายต-

เนสุ สวุโต นี้ ทรงแสดงถึงการที่พระเถระถึงความไพบูลย์ด้วยปัญญา

อันประกาศถึงสัมปชัญญะ ด้วยสามารถแห่งการอยู่ด้วยความสงบเป็นต้น

อันแสดงถึงความสำรวมอย่างแท้จริง ในทวาร ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น.

ด้วยบทว่า สตต ภิกฺขุ สมาหิโต นี้ ทรงแสดงอนุบุพพวิหารสมาบัติ ๙

โดยแสดงถึงความเป็นผู้มากด้วยสมาบัติ. ก็ภิกษุผู้เป็นอย่างนี้ พึงรู้

นิพพานของตน คือ พึงรู้ พึงคิดถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุของตน

อย่างเดียวเท่านั้น เพราะไม่มีกรณียกิจอันยิ่ง เพราะทำกิจเสร็จแล้ว

อธิบายว่า แม้กิจอื่นที่เธอจะพึงคิดก็ไม่มี.

จบอรรถกถาโกลิตสูตรที่ ๕

๖. ปิลินทวัจฉสูตร

ว่าด้วยวาทะว่าคนถ่อย

[๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-

ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระปิลินทวัจฉะ

ย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย ครั้งนั้นแล ภิกษุมากด้วย

กัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 331

พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระปิลินทวัจฉะย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะ

ว่าคนถ่อย ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งว่า

ดูก่อนภิกษุ เธอจงไปเรียกปิลินทวัจฉภิกษุมาตามคำของเราว่า ดูก่อน

อาวุโสวัจฉะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้วเข้าไปหาท่านพระปิลินทวัจฉะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่าน

ปิลินทวัจฉะว่า ดูก่อนอาวุโส พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระ-

ปิลินทวัจฉะรับคำภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถาม

ท่านพระปิลินทวัจฉะว่า ดูก่อนปิลินทวัจฉะ ได้ยินว่า เธอย่อมร้องเรียก

ภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อยจริงหรือ ท่านพระปิลินทวัจฉะทูลรับว่า

อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมนสิการถึงขันธ์อันมีในก่อน

ของท่านพระปิลินทวัจฉะ แล้วตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายอย่ายกโทษวัจฉภิกษุเลย วัจฉภิกษุย่อมไม่มุ่งโทษ เรียกภิกษุ

ทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อย วัจฉภิกษุเกิดในสกุลพราหมณ์ ๕๐๐ ชาติ

โดยไม่เจือปนเลย วาทะว่าคนถ่อยนั้นวัจฉภิกษุประพฤติมานาน เพราะ-

ฉะนั้น วัจฉภิกษุนี้จึงร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้ายวาทะว่าคนถ่อย.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

มายา มานะ ย่อมไม่เป็นไปในผู้ใด ผู้ใดมีความ

โลภสิ้นไปแล้ว ไม่มีความยึดถือว่าเป็นของเรา ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 332

ความหวัง ผู้ละความโกรธได้แล้ว มีจิตเย็นแล้ว

ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นสมณะ

ผู้นั้น ชื่อว่าเป็นภิกษุ.

จบปิลินทวัจฉสูตรที่ ๖

อรรถกถาปิลินทวัจฉสูตร

ปิลินทวัจฉสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

บทว่า ปิลินฺทวจฺโฉ ความว่า บทว่า ปิลินทะ เป็นชื่อของพระ-

เถระ ชนทั้งหลายจำพระเถระได้ โดยโคตรว่า วัจฉะ. บทว่า วสลวาเทน

สมุทาจรติ ความว่า พระเถระย่อมกล่าว ย่อมเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะ

ว่าคนถ่อย โดยนัยมีอาทิว่า มาเถอะ คนถ่อย หลีกไปเถอะ คนถ่อย.

บทว่า สมฺพหุลา ภิกฺขู แปลว่า ภิกษุเป็นอันมาก. ภิกษุเหล่านั้นเห็น

พระเถระร้องเรียกเช่นนั้น เมื่อไม่รู้ว่า พระเถระเป็นพระอรหันต์ กล่าว

อย่างนั้นเพราะยังละวาสนาไม่ได้ จึงคิดว่า พระเถระนี้เห็นจะเป็นผู้มุ่งร้าย

จึงร้องเรียกอย่างนี้ มีประสงค์จะพูดอวด จึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เพื่อจะให้ออกจากความเป็นผู้มุ่งร้ายนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านปิลินทวัจฉะ เรียกภิกษุทั้งหลายด้วย

วาทะว่าคนถ่อย.

ส่วนเกจิอาจารย์กล่าวว่า ภิกษุทั้งหลายจำพระเถระนี้ได้ว่า เป็น

พระอรหันต์ คิดว่า ก็พระเถระนี้เรียกภิกษุทั้งหลายอย่างนี้ ด้วยคำหยาบ

อุตริมนุสธรรมในพระเถระนี้ เห็นจะไม่มีจริงกระมัง ดังนี้ ไม่รู้การ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 333

เรียกอย่างนั้นของท่านด้วยอำนาจวาสนา และไม่เชื่อว่าท่านเป็นพระอริยะ

จึงสำคัญในการเพ่งโทษ ได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประสงค์จะทรงประกาศว่า พระเถระไม่มีความมุ่งร้าย

จึงรับสั่งให้ภิกษุรูปหนึ่งเรียกเธอมาแล้ว ตรัสแก่เธอต่อหน้าว่า ภิกษุนี้

เรียกอย่างนั้น ด้วยเหตุที่เคยชินมาในกาลก่อน หาได้ประสงค์ในการ

กล่าวคำหยาบไม่. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ได้ตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมา ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพนิวาส มนสิกริตฺวา ความว่า

พระศาสดาตรัสถามพระเถระว่า วัจฉะ ได้ยินว่า เธอเรียกภิกษุทั้งหลายด้วย

วาทะว่าคนถ่อย จริงหรือ เมื่อพระเถระกราบทูลว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า

เมื่อทรงรำพึงว่า วัจฉะนี้ ไม่สละวาทะว่าคนถ่อย เพราะวาสนาอันเศร้า-

หมอง แม้ในอัตภาพอันเป็นอดีต เธอก็ได้เกิดในชาติพราหมณ์ หรือหนอ

จึงทรงมนสิการถึงขันธสันดานที่เธอเคยอยู่ในอดีตชาติ อันเป็นที่อยู่แห่ง

ขันธ์ในปางก่อนของเธอ ด้วยบุพเพนิวาสญาณ และสัพพัญญุตญาณ คือ

กระทำไว้ในพระทัยของพระองค์ โดยกระทำให้ประจักษ์ เหมือนผล

มะขามป้อมที่วางไว้บนฝ่ามือ. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า ตรัส

เรียก เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นยินยอม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า มา

โข ตุมฺเห ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า มา เป็นนิบาตใช้ในอรรถปฏิเสธ.

มา ศัพท์นั้นเชื่อมกับบทท่า อุชฺฌายิตฺถ นี้. บทว่า มา อุชฺฌายิตฺถ

ความว่า พวกเธออย่าคิด คือมองดูไปทางต่ำ. ก็บทว่า วจฺฉสฺส ภิกฺขุโน

เป็นจตุตถีวิภัตติ เพราะการเพ่งโทษเป็นการริษยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 334

บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงเหตุในความที่เธอไม่ควรจะเพ่งโทษ จึง

ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะหาได้มุ่งร้ายเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะ

ว่าคนถ่อยไม่. พระดำรัสนั้นมีใจความดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะนี้

หามุ่งร้าย มีจิตคิดประทุษร้าย มีจิตถูกโทสะ พยาบาทประทุษร้าย เรียก

ภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่าคนถ่อยไม่ เธอถอนพยาบาทได้ด้วยมรรค

นั่นเอง. เมื่อจะทรงแสดงเหตุอันสำเร็จมาแต่ชาติก่อนแห่งการเรียกเช่นนั้น

ของเธอ แม้ในเมื่อเธอไม่มีความมุ่งร้ายด้วยประการอย่างนี้ จึงตรัสว่า

วจฺฉสฺส ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อพฺโพกิณฺณา ได้แก่ ไม่เจือปน คือ

ไม่มีลำดับขั้นโดยลำดับแห่งชาติ มีขัตติยชาติเป็นต้น. บทว่า ปญฺจ

สตานิ พฺราหฺมณกุเล ปจฺจาชาตานิ ความว่า วัจฉะได้เกิดเฉพาะใน

สกุลพราหมณ์ตามลำดับชาติทั้งหมด ถึง ๕๐๐ ชาติ. บทว่า โส ตสฺส

วสลวาโท ทีฆรตฺต สมุทาจิณฺโณ ความว่า วาทะคนถ่อยของวัจฉภิกษุ

นั้น ซึ่งเธอแม้เป็นพระขีณาสพก็ยังประพฤติอยู่ในบัดนี้ เป็นวาทะที่เธอ

สั่งสมประพฤติมาตลอดกาลนาน เพราะเธอเกิดเป็นชาติพราหมณ์เป็น

เวลาประมาณ ๕๐๐ ชาติ โดยกขึ้นเบื้องสูงนับแต่ชาตินี้ไป. จริงอยู่

พราหมณ์ทั้งหลายเป็นผู้กระด้างด้วยมานะที่สำเร็จมาแต่ชาติ จึงร้องเรียก

ผู้อื่นด้วยวาทะว่าคนถ่อย. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อชฺฌาจิณฺโณ ดังนี้

ก็มี. ความก็อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า เตน ความว่า ด้วยภาวะที่เธอ

เคยประพฤติมาเช่นนั้นตลอดกาลนาน. ด้วยคำนั้น ทรงแสดงว่า เป็นเหตุ

คือเป็นวาสนาของการร้องเรียกเช่นนั้นของเธอ. ก็ชื่อว่าวาสนานี้ คือ

อะไร ? อาจารย์บางพวกกล่าวว่า คืออธิมุตติ ปานประหนึ่งสักว่าความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 335

สามารถ อันกิเลสที่เธออบรมมาตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้ ติดอยู่ อันเป็น

เหตุแห่งความประพฤติ เหมือนความประพฤติของคนผู้ยังละกิเลสไม่ได้

ในสันดาน แม้ของท่านผู้เว้นจากกิเลสได้แล้ว. ก็ว่าด้วยการละกิเลส

เครื่องกางกั้นไญยธรรมด้วยความสมบูรณ์แห่งอภินิหาร เหตุแห่งความ

ประพฤตินี้นั้น ไม่มีในสันดานของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ละกิเลสได้แล้ว

แต่ยังมีในสันดานของพระสาวก และพระปัจเจกพุทธเจ้าที่ยังละกิเลส

อย่างนั้นไม่ได้ เพราะพระตถาคตเท่านั้นทรงเห็นอนาวรณญาณ.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบอรรถนี้ กล่าวคือ

ความไม่มีการมุ่งร้าย ในเมื่อท่านปิลินทวัจฉะ แม้จะเรียกผู้อื่นว่าคนถ่อย.

บทว่า อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันประกาศการบรรลุพระ-

อรหัตผลของเธอ.

บทว่า ยมฺหิ น วสติ น มาโน ความว่า มายามีลักษณะปกปิดโทษ

ที่มีอยู่ และมานะมีลักษณะพองขึ้นอันเป็นไปด้วยการยกย่อง โดยนัยมี

อาทิว่า เราเป็นผู้ประเสริฐ ดังนี้ ย่อมไม่อยู่ในพระอริยบุคคลใด คือ

ไม่เป็นไป ไม่เกิดขึ้น เพราะท่านถอนได้แล้วด้วยมรรคจิต. บทวา โย

วีตโลโภ อมโม นิราโส ความว่า ก็บุคคลใด ชื่อว่าปราศจากโลภะ

เพราะปราศจากโลภะ อันมีลักษณะยึดอารมณ์โดยประการทั้งปวง อัน

เป็นไปโดยปริยายแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ชื่อว่าไม่ยึดว่าเป็นของเรา คือ

ไม่หวงแหน เพราะไม่มีการยึดถือในอารมณ์ มีรูปเป็นต้น อย่างใด

อย่างหนึ่งว่าเป็นของเรานั่นแหละ ชื่อว่าหมดความหวัง เพราะไม่หวังภพ

เป็นต้น แม้ที่เป็นอนาคต. บทว่า ปนุณฺณโกโธ ความว่า ชื่อว่ากำจัด

ความโกรธได้แล้ว คือถอนอาฆาตได้แล้ว เพราะละความโกรธซึ่งมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 336

ลักษณะขุ่นเคือง โดยประการทั้งปวง ด้วยอนาคามิมรรค. บทว่า

อภินิพฺพุตตฺโต ความว่า บุคคลใดมีจิตเย็นสนิท คือเยือกเย็น ด้วยการ

ดับสนิทซึ่งกิเลสโดยประการทั้งปวง เพราะถอนมายา มานะ โลภะ และ

โกธะได้ และเพราะละธรรมอันเป็นฝ่ายสังกิเลสทั้งปวงได้เด็ดขาด โดย

ความที่สังกิเลสเหล่านั้นตั้งอยู่ในฐานเดียวกับมายาเป็นต้นนั้น. บทว่า

โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ ความว่า บุคคลนั้น คือผู้เห็นปาน

นั้น เป็นพระขีณาสพ ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปโดยประการ

ทั้งปวง, ผู้นั้นแหละชื่อว่าสมณะ เพราะเป็นผู้สงบบาป และเป็นผู้ประพฤติ

สม่ำเสมอ, และผู้นั้นแหละชื่อว่าภิกษุ เพราะเป็นผู้ทำลายกิเลสโดยประการ

ทั้งปวง. ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะผู้เป็นอย่างนั้นนั่นแหละพึงเป็นผู้มุ่งร้ายทำ

กายกรรมเป็นต้นไร ๆ ให้เป็นไปอย่างไร ก็เธอย่อมร้องเรียกด้วยวาทะว่า

คนถ่อย เพราะยังละวาสนาไม่ได้อย่างเดียวแล.

จบอรรถกถาปิลินทวัจฉสูตรที่ ๖

๗. มหากัสสปสูตร

ว่าด้วยท้ายสักกะปลอมตัวถวายบิณฑบาต

[๗๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-

ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสป

นั่งเข้าสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ โดยบัลลังก์เดียว ที่ถ้ำปิปผลิคูหา สิ้น ๗

วัน ครั้นพอล่วง ๗ วันนั้นไป ท่านพระมหากัสสปก็ออกจากสมาธินั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 337

เมื่อท่านพระมหากัสสปออกจากสมาธินั้น ได้มีความคิดว่า ถ้ากระไร เรา

พึงเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครราชคฤห์เถิด ก็สมัยนั้นแล เทวดาประมาณ

๕๐๐ ถึงความขวนขวาย เพื่อจะให้ท่านพระมหากัสสปได้บิณฑบาต ครั้ง

นั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระมหากัสสปห้ามเทวดาประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้น

แล้วนุ่งผ้าอันตรวาสก ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร-

ราชคฤห์.

[๘๐] ก็สมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพ ทรงประสงค์จะถวาย

บิณฑบาตแก่ท่านพระมหากัสสป จึงทรงนิรมิตเพศเป็นนายช่างหูกทอหูก

อยู่ นางอสุรกัญญาชื่อว่าสุชาดากรอด้ายหลอดอยู่ ครั้งนั้นแล ท่านพระ-

มหากัสสปเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ตามลำดับตรอก เข้าไป

ถึงนิเวศน์ของท้าวสักกะจอมเทพ ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงเห็นท่านพระ-

มหากัสสปมาแต่ไกล ครั้นแล้วเสด็จออกจากเรือนทรงต้อนรับ ทรงรับ

บาตรจากมือ เสด็จเข้าไปสู่เรือน ทรงคดข้าวออกจากหม้อใส่เต็มบาตร

แล้วทรงถวายแด่ท่านพระมหากัสสป บิณฑบาตนั้นมีสูปะและพยัญชนะ

เป็นอันมาก ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปคิดว่า สัตว์นี้เป็นใครหนอแล

มีอิทธานุภาพเห็นปานนี้ ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปมีความคิดว่า

ท้าวสักกะจอมเทพหรือหนอแล ท่านพระมหากัสสปทราบดังนี้แล้ว ได้

กล่าวกะท้าวสักกะจอมเทพว่า ดูก่อนท้าวโกสีย์ มหาบพิตรทำกรรมนี้แล้ว

แล มหาบพิตรอย่าได้ทำกรรมเห็นปานนี้แม้อีก ท้าวสักกะจอมเทพตรัสว่า

ข้าแต่ท่านพระมหากัสสปผู้เจริญ แม้ข้าพเจ้าก็ต้องการบุญ แม้ข้าพเจ้าก็พึง

ทำบุญ ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพทรงอภิวาทท่านพระมหากัสสป

ทรงทำประทักษิณแล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส เปล่งอุทาน ๓ ครั้งในอากาศว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 338

โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป

โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป

โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป.

[๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับอุทานของท้าวสักกะจอมเทพ

เสด็จเหาะขึ้นไปสู่เวหาสแล้ว ทรงเปล่งอุทานในอากาศ ๓ ครั้งว่า

โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป

โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป

โอ ทานเป็นทานอย่างยิ่ง เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสป.

ด้วยทิพยโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์ ลำดับนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ซึ่งภิกษุ

ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตนมิใช่เลี้ยง

คนอื่น ผู้คงที่ สงบแล้ว มีสติทุกเมื่อ.

จบมหากัสสปสูตรที่ ๗

อรรถกถามหากัสสปสูตร

มหากัสสปสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในคำว่า สตฺตาห เอกปลฺลงฺเกน นิสินฺโน อญฺตร สมาธึ สมา-

ปชฺชิตฺวา นี้ อันดับแรก เกจิอาจารย์กล่าวไว้ว่า สมาธิอันสัมปยุตด้วย

อรหัตผล ท่านประสงค์เอาว่า สมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสูตรนี้. ก็ท่าน

มหากัสสปนั้นเข้าสมาธินั้นมาก เพื่ออยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และสามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 339

ยับยั้งอยู่ถึง ๗ วัน ด้วยผลสมาบัติ. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสถาปนาท่านไว้ในฐานะอันเสมอกับพระองค์ ในอุตริมนุสธรรม

ต่างด้วยอนุบุพพวิหาร ๙ และอภิญญา ๖ เป็นต้น โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เราหวังอยู่ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจาก

อกุศลธรรมทั้งหลาย ฯลฯ อยู่เพียงใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้

กัสสปหวังอยู่ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย ฯลฯ อยู่เพียงใด ก็ในที่นี้

ไม่ควรกล่าวว่า ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น พระเถระพึงกระทำแม้ยมกปาฏิหาริย์

ได้ เพราะท่านประสงค์เอาฌานเป็นต้น ที่ทั่วไปแก่พระสาวกเท่านั้น.

ฝ่ายพระโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า บทว่า อญฺตร สมาธึ สมาปชฺ-

ชิตฺวา ได้แก่ เข้านิโรธสมาบัติ. ถามว่า อย่างไร นิโรธสมาบัติท่านจึง

กล่าวว่าสมาธิ ? ตอบว่า เพราะอรรถว่าตั้งมั่น. ก็อรรถว่าความตั้งมั่นนี้

คืออะไร ? คือ เพราะนิโรธสมาบัติเป็นคุณธรรม ไม่หวั่นไหวด้วยธรรม

อันเป็นข้าศึก เพราะความเป็นธรรมที่พึงตั้งมั่นไว้โดยชอบ คือพระ-

อรหันต์หรือพระอนาคามี ผู้ถึงความเชี่ยวชาญในฐานะที่กล่าวแล้ว ประ-

สงค์จะอยู่อย่างนั้น พึงตั้งมั่นความไม่เป็นไป (คือนิโรธสมาบัติ) โดยชอบ

ทีเดียว แห่งความสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก ตลอดเวลาตามที่ประสงค์

ด้วยการบรรลุด้วยพละ ๒ คือ สมถพละ วิปัสสนาพละ ด้วยญาณจริยา ๑๖

คือ ญาณ ๑๖ เหล่านี้ คือ อนิจจานุปัสสนา ทุกขานุปัสสนา อนัตตานุ-

ปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัค-

คานุปัสสนา วิวัฏฏานุปัสสนา มรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ด้วยสมาธิ-

จริยา ๙ คือ สมาธิ ๙ ได้แก่ สมาธิ ๘ มีปฐมฌานสมาธิ เป็นต้น และ

อุปจารสมาธิของสมาธิ ๘ นั้น ซึ่งรวมเข้าเป็นอันเดียว ด้วยการสงบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 340

ระงับสังขาร ๓ เหล่านี้ในธรรมนั้น ๆ คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิต-

สังขาร ความที่นิโรธสมาบัตินั้น พึงตั้งมั่นอย่างนั้น ชื่อว่าอรรถแห่ง

ความตั้งมั่นในที่นี้ ด้วยเหตุนั้น วิหารธรรมนี้ ท่านจึงกล่าวว่าสมาธิ

เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน. ด้วยเหตุนี้ แม้อรรถแห่งการเข้านิโรธสมาธินั้น

พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้ว. จริงอยู่ ในปฏิสัมภิทามรรค ท่านหมาย

เอานิโรธสมาบัตินี้ ถามว่า อย่างไร ชื่อว่าญาณในสัญญานิโรธสมาบัติ

เพราะประกอบด้วยพละ ๒ เพราะสงบระงับสังขาร ๓ เพราะญาณจริยา ๑๖

เพราะสมาธิจริยา ๙ เพราะความเป็นผู้เชี่ยวชาญ ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า

บทว่า ทฺวีหิ พเลหิ ได้แก่ พละ ๒ คือ สมถพละ วิปัสสนาพละ. พึง

ทราบความพิสดารต่อไป กถาว่าด้วยนิโรธสมาบัตินี้นั้น ท่านพรรณนา

ไว้แล้วในวิสุทธิมรรคแล. ก็เพราะเหตุไร พระเถระนี้ไม่เข้าผลสมาบัติ แต่

เข้านิโรธสมาบัติ ? เพราะจะอนุเคราะห์เหล่าสัตว์. จริงอยู่ พระมหาเถระ

นี้ ใช้สมาบัติได้แม้ทั้งหมด แต่โดยมากท่านเข้านิโรธสมาบัติ เพราะจะ

อนุเคราะห์สัตว์. เพราะเมื่อท่านเข้านิโรธสมาบัตินั้นแล้วออก สักการะ

แม้มีประมาณน้อยที่เขากระทำ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากเป็นพิเศษแล.

บทว่า วุฏฺาสิ ได้แก่ ออก โดยอรหัตผลจิตเกิดขึ้น. จริงอยู่ ผู้เข้านิโรธ-

สมาบัติ หากเป็นพระอรหันต์ ย่อมชื่อว่าออกโดยอรหัตผลเกิดขึ้น หาก

เป็นพระอนาคามี ย่อมชื่อว่าออกโดยอนาคามิผลเกิดขึ้น.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ก็สมัยนั้นแล ท้าวสักกะจอมเทพมีความ

ประสงค์จะถวายบิณฑบาตแก่ท่านพระมหากัสสป ดังนี้ต่อไป. อย่างไร

ท้าวสักกะจึงมีความประสงค์จะถวายแก่ท่าน ? เทวดาที่ท่านกล่าวว่ามี

ประมาณ ๕๐๐ นั้น เป็นปริจาริกาของท้าวสักกเทวราช นางมีเท้าดัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 341

เท้านกพิราบ เคยถูกท้าวสักกะส่งไปด้วยพระดำรัสว่า พระผู้เป็นเจ้ามหา-

กัสสปเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ พวกเธอจงไปถวายทานแด่พระ-

เถระ จึงเข้าไปหาแล้วยืนประสงค์จะถวายอาหารทิพย์ ถูกพระเถระห้าม

จึงกลับไปยังเทวโลกตามเดิม. บัดนี้ คิดถึงการห้ามครั้งก่อน จึงคิดว่า

พระเถระจะรับในกาลบางคราว มีความประสงค์จะถวายทานแก่พระเถระ

ผู้ออกจากสมาบัติ จึงไม่กราบทูลให้ท้าวสักกะทรงทราบ มากันเองน้อม

โภชนะอันเป็นทิพย์เข้าไปถวาย ถูกพระเถระห้ามไว้โดยนัยก่อนเหมือนกัน

จึงกลับไปเทวโลก ถูกท้าวสักกะถามว่า พวกเธอไปไหนมา จึงกราบทูล

ความนั้น เมื่อท้าวสักกะถามว่า พวกเธอถวายบิณฑบาตแก่พระเถระแล้ว

หรือ จึงทูลว่า ท่านไม่ปรารถนาจะรับ. ท้าวสักกะถามว่า ท่านพูดว่า

อย่างไร. จึงทูลว่า ข้าแต่เทวะ ท่านพูดว่า จะสงเคราะห์คนเข็ญใจ. ท้าว-

สักกะถามว่า พวกเธอไปโดยอาการอย่างไร. จึงทูลว่า ไปด้วยอาการ

นี้แหละ พระเจ้าข้า. ท้าวสักกะตรัสว่า ผู้เช่นพวกเธอ จักถวายบิณฑบาต

แด่พระเถระได้อย่างไร มีพระประสงค์จะถวายด้วยพระองค์เอง จึงแปลง

เป็นช่างหูกแก่ชรา ฟันหัก ผมหงอก หลังค่อม ทำแม้นางสุชาดาผู้เป็น

อสุรธิดา ให้เป็นหญิงแก่เช่นนั้นเหมือนกัน แล้วนิรมิตถนนแห่งคนช่าง-

หูกสายหนึ่ง กำลังกรอด้ายอยู่ นางสุชาดาทำ (ด้าย) ให้เต็มหลอด. เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน สกฺโก เทวานมินฺโท

ฯ เป ฯ ตสร ปูเรสิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตนฺต วินาติ ได้แก่ ท้าวสักกะแสร้ง

ทำเป็นเหมือนทอผ้าอยู่. บทว่า ตสร ปูเรติ ได้แก่ นางสุชาดาแสร้งทำ

เป็นเหมือนกรอด้ายอยู่. บทว่า เยน สกฺกสฺส เทวานมินฺทสฺส นิเวสน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 342

เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระเถระครองผ้าแล้วถือบาตรและจีวร เดินมุ่ง

หน้าไปยังพระนครด้วยหมายว่า จักสงเคราะห์คนเข็ญใจ ดำเนินไปตาม

ถนนช่างหูกที่ท้าวสักกะนิรมิตไว้นอกพระนคร ตรวจดูอยู่ได้เห็นศาลเก่า

พังพะเยิบพะยาบ และสามีภรรยาทั้งสองผู้มีรูปร่างดังกล่าวแล้ว กำลัง

ทอผ้าอยู่ในศาลานั้น ครั้นเห็นแล้วจึงคิดว่า สองผัวเมียนี้แม้ในเวลาแก่

ก็ยังทำการงานอยู่ ในเมืองนี้ เห็นจะไม่มีคนที่เข็ญใจกว่าของผัวเมียนี้

เราจักรับสิ่งที่สองผัวเมียนี้ให้ แม้มาตรว่าผักดอง สงเคราะห์สองผัวเมียนี้.

ท่านจึงเดินมุ่งหน้าไปยังเรือนของสองผัวเมียนั้น. ท้าวสักกะเห็นพระเถระ

กำลังเดินมา จึงตรัสกะนางสุชาดาว่า แน่ะเธอ พระคุณเจ้าของเรากำลัง

มาที่นี้ เจ้าจงนั่งนิ่งทำเป็นเหมือนไม่เห็นท่าน เราจะลวงชั่วขณะแล้วจึง

ถวายบิณฑบาต. พระเถระได้ไปยืนอยู่ที่ประตูเรือน. ฝ่ายสองผัวเมียนั้น

ทำเป็นไม่เห็น ทำแต่งานของคนอย่างเดียว รอเวลาหน่อยหนึ่ง. ลำดับนั้น

ท้าวสักกะตรัสว่า ดูเหมือนพระเถระรูปหนึ่งยืนอยู่ที่ประตูบ้าน เธอจง

ใคร่ครวญดูซิ. นางทูลว่า พระองค์โปรดไปใคร่ครวญดูเถอะนาย. ท้าว

สักกะออกจากเรือนไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เอามือทั้งสอง

ยันเข่าทอดถอนอยู่ ลุกขึ้นถามว่า พระผู้เป็นเจ้า เป็นพระเถระรูปไหนหนอ

จึงถอยไปหน่อยหนึ่งแล้วตรัสว่า นัยน์ตาของเรามืดมัว จึงป้องพระหัตถ์

ที่หน้าผากแล้วเงยขึ้นดู แล้วตรัสว่า โอ ตายจริง พระมหากัสสปเถระ

ผู้เป็นเจ้าของเรา มายังประตูกระท่อมของเรานานแล้ว ในเรือนมีอะไรบ้าง

หรือ. นางสุชาดาทำเป็นกุลีกุจอหน่อยหนึ่งแล้วให้คำตอบว่า มีจ๊ะนาย.

ท้าวสักกะตรัสว่า ท่านผู้เจริญ ท่านไม่คิดว่า เศร้าหมองหรือประณีต

โปรดสงเคราะห์โยมเถิด ดังนี้แล้วจึงรับบาตร. พระเถระเมื่อจะให้บาตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 343

คิดว่า เราควรสงเคราะห์คนเข็ญใจแก่ชราเหล่านี้แหละ. ท้าวสักกะนั้น

เข้าไปข้างในคดข้าวสุกในหม้อออกจากหม้อใส่เต็มบาตร แล้ววางไว้ในมือ

พระเถระ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ท้าวสักกะจอมเทพเจ้าได้เห็น

แล้วแล ฯ ล ฯ ได้ถวายแล้ว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฆฏิยา แปลว่า จากหม้อข้าว. บาลีว่า

ฆฏิโอทน ดังนี้ก็มี. อาจารย์บางพวกกล่าวอรรถของบาลีนั้นว่า ชื่อว่า

ข้าวสุกในหม้อ ได้แก่อาหารพิเศษบางอย่างของพวกเทพ. บทว่า อุทฺธ

ริตฺวา ได้แก่ ยกขึ้นจากภาชนะไหน ๆ. อาหารนั่นแหละมีสูปะมากมาย

ในเวลาใส่ลงในบาตรแล้ววางในมือพระเถระ ปรากฏเหมือนอาหารปอน ๆ

ที่สำเร็จแก่คนกำพร้า แต่อาหารนั้น เพียงวางไว้ในมือ ได้ตั้งอยู่โดยสภาวะ

เหมือนของทิพย์สำหรับตน. บทว่า อเนกสูโป ได้แก่ สูปะหลายอย่าง

โดยสูปะมีถั่วเขียวและถั่วราชมาสเป็นต้น และโดยชนิดของเคี้ยวมากมาย.

บทว่า อเนภพฺยชโน ได้แก่ แกงอ่อมต่างชนิด. บทว่า อเนกสูปพฺยญฺ-

ชโน* ความว่า มีสูปะและพยัญชนะรสเลิศต่าง ๆ อันประกาศถึงรสเดิม

มีน้ำหวานเป็นต้น และรสที่เจือกัน ด้วยสูปะและพยัญชนะมากมาย.

ได้ยินว่า บิณฑบาตนั้น ในเวลาวางไว้ในมือของพระเถระ ตลบ

ไปด้วยกลิ่นทิพย์ของตนทั่วกรุงราชคฤห์. ลำดับนั้น พระเถระคิดว่า บุรุษ

นี้มีศักดิ์น้อย แต่บิณฑบาตของเขาประณีตยิ่งนัก เสมือนโภชนะของท้าว-

สักกเทวราช นั่น ใครหนอ. ลำดับนั้น พระเถระทราบว่าท่านเป็นท้าว-

สักกะ จึงกล่าวว่า ดูก่อนท้าวโกสีย์ ข้อที่พระองค์แย่งสมบัติของคนเข็ญใจ

* ของฉัฏฐีสังคีติ เป็น อเนกรสพฺยญฺชโน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 344

จัดว่าทำกรรมหนักแล้ว วันนี้คนเข็ญใจบางคนถวายทานแก่อาตมาแล้ว

พึงได้ตำแหน่งเสนาบดีหรือตำแหน่งเศรษฐี. ท้าวสักกะกล่าวว่า ใครที่

เข็ญใจกว่าข้าพเจ้ามีอยู่หรือ พระคุณเจ้า. พระเถระกล่าวว่า พระองค์

เสวยสิริราชสมบัติในเทวโลก จะเป็นคนเข็ญใจได้อย่างไร. ท้าวสักกะ

กล่าวว่า ข้อนั้นชื่อว่าเป็นอย่างนั้นนะ พระคุณเจ้า ก็ข้าพเจ้าได้กระทำ

กรรมอันงามไว้เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น แต่เมื่อพุทธุปบาทกาล

เป็นไปอยู่ เทวบุตร ๓ องค์นี้ คือ จูฬรถเทวบุตร มหารถเทวบุตร

อเนกวัณณเทวบุตร กระทำบุญกรรมแล้วเกิดในที่ใกล้กับข้าพเจ้า มีเดช

มากกว่าข้าพเจ้า เมื่อเทวบุตรเหล่านั้นคิดจะเล่นงานนักขัตฤกษ์ จึงพานาง

บำเรอลงสู่ระหว่างถนน ข้าพเจ้าจึงหนีเข้าเรือน เพราะเดชจากสรีระของ

เทพบุตรเหล่านั้น กลบร่างของข้าพเจ้า เดชจากร่างของข้าพเจ้า หาได้

กลบร่างของเทพบุตรเหล่านั้นไม่ ใครจะเป็นผู้เข็ญใจกว่าข้าพเจ้าล่ะ พระ-

คุณเจ้า. พระเถระกล่าวว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่นี้ไป พระองค์

อย่าลวงอย่างนี้ แล้วถวายทานแก่อาตมา. ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อข้าพเจ้า

ลวงถวายทานแก่ท่าน ข้าพเจ้าจะมีกุศลหรือไม่มี พระเถระกล่าวว่า มี

อาวุโส. ท้าวสักกะตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ขึ้นชื่อว่าการทำกุศลเป็นหน้าที่

ของข้าพเจ้าน่ะ ขอรับ ดังนี้แล้ว จึงนมัสการพระเถระ พานางสุชาดาทำ

ประทักษิณพระเถระแล้วเหาะไป เปล่งอุทานขึ้น ๓ ครั้งว่า น่าอัศจรรย์

ทานที่เราตั้งไว้ดีแล้วในพระกัสสปเป็นทานอย่างยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า อถ โข อายสฺมโต มหกสฺสปสฺส เอตทโหสิ ดังนี้.

พระมหากัสสปเรียกท้าวสักกะจอมเทพโดยโคตรว่า โกสิยะ ใน

พระบาลีนั้น. บทว่า ปุญฺเน อตฺโถ แปลว่า ประกอบด้วยบุญ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 345

อตฺถิ เป็นบาลีที่เหลือ. บทว่า เวหาส อพฺภุคฺคนฺตฺวา ความว่า เหาะขึ้น

จากพื้นดิน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า อากาเส อนฺตลิกฺเข คือ

ในอากาศเป็นที่เห็นรูปในระหว่าง โดยปริยายศัพท์ก็คืออากาศ. อีกอย่าง

หนึ่ง ท่านกล่าวไว้โดยพิเศษว่า ในอากาศกล่าวคือที่เห็นรูปในระหว่าง

ไม่ใช่ในอากาศที่เพิกกสิณเป็นต้น. ศัพท์ว่า อโห ในบทว่า อโห ทาน

นี้ เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่าน่าอัศจรรย์.

จริงอยู่ ท้าวสักกะจอมเทพ เกิดพระหฤทัยน้ำอัศจรรย์ว่า เพราะเหตุ

ที่เรากระทำความยำเกรงด้วยมือของตนโดยเคารพ แด่พระผู้เป็นเจ้ามหา-

กัสสปเถระผู้ออกจากนิโรธสมาบัติ แล้วทำสัมมาทิฏฐิไม่ให้เปลี่ยนแปลง

ไม่ให้กระทบกระทั่งผู้อื่นโดยกาล จึงถวายทานด้วยโภชนะเป็นทิพย์เช่นนี้

ฉะนั้น เพราะเราเป็นผู้ประกอบด้วยสมบัติ ๓ ประการ คือ เขตสมบัติ

ไทยสมบัติ และจิตสมบัติ จึงบำเพ็ญทานอันสมบูรณ์ด้วยองค์ทั้งปวง

หนอ ในคราวนั้น เมื่อจะหลั่งออกซึ่งปีติและโสมนัสที่อยู่ภายในพระหฤทัย

ของพระองค์ จึงกล่าวว่า อโห ทาน ทานน่าอัศจรรย์ เมื่อทรงประกาศ

ว่า ทานนั้นเป็นทานสูงสุด และว่า เป็นเขต โดยนัยดังกล่าวแล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานว่า ปรมทาน กสฺสเป สุปติฏฺิต ดังนี้.

ก็เมื่อท้าวสักกะทรงเปล่งอุทานอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ประ-

ทับอยู่ที่พระวิหารนั่นเอง ทรงสดับเสียงด้วยทิพยโสต แล้วตรัสแก่ภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอเห็นไหม ท้าวสักกะจอมเทพทรง

เปล่งอุทานแล้วเหาะไป อันภิกษุเหล่านั้น ทูลถามว่า ก็ท้าวสักกะนั้น

ทรงกระทำอะไร พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ท้าวเธอลวงถวายทานแด่ท่าน

กัสสป บุตรของเรา เพราะเหตุนั้นแล ท้าวเธอพอพระทัยจึงทรงเปล่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 346

อุทาน. ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรง

สดับแล้วแลด้วยทิพยโสตธาตุ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิพฺพาย โสตธาตุยา ความว่า ชื่อว่า

ทิพย์ เพราะเหมือนกับของทิพย์. จริงอยู่ ทิพยปสาทโสตธาตุ อันเกิด

ด้วยสุจริตกรรมของพวกเทวดา ไม่พัวพันด้วยสิ่งไม่สะอาด มีดี เสมหะ

และเลือดเป็นต้น สามารถรับอารมณ์ แม้ในที่ไกลได้ เพราะปลอดจาก

อุปกิเลส. ก็แม้โสตธาตุสำเร็จด้วยญาณ อันเกิดจากกำลังความเพียรภาวนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้ เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เหตุนั้น ชื่อว่า ทิพย์

เพราะเป็นเช่นกับของทิพย์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทิพย์ เพราะได้ด้วย

อำนาจทิพยวิหารธรรม และแม้เพราะตนเองอาศัยทิพยวิหาร ชื่อว่า

โสตธาตุ เพราะอรรถว่าฟังและอรรถว่าทรงอยู่ตามสภาวะ. ชื่อว่า โสตธาตุ

เพราะเป็นเหมือนโสตุธาตุ โดยทำหน้าที่แม้ของโสตธาตุ. ด้วยโสตธาตุ

อันเป็นทิพย์นั้น. บทว่า วิสุทฺธาย ได้แก่ บริสุทธิ์ คือปลอดจากอุป-

กิเลส. บทว่า อติกฺกนฺตมานุสิกาย ความว่า ล่วงอุปจารมนุษย์ ก้าว

ล่วงมังสโสตธาตุของมนุษย์ด้วยการฟังเสียงตั้งอยู่.

บทว่า เอตมตฺถ วทิตฺวา ความว่า ทรงทราบความนี้ว่า เทพก็ดี

มนุษย์ก็ดี เกิดความเอื้อเฟื้อประพฤติรักใคร่อย่างยิ่ง ซึ่งบุรุษผู้ดีเยี่ยมดำรง

อยู่ในคุณวิเศษด้วยสัมมาปฏิบัติ แล้วจึงเปล่งอุทานนี้อันแสดงความนั้น.

ในอรรถนั้น ผู้ชื่อว่า ปิณฑปาติกะ เพราะสมาทานธุดงค์ กล่าว

คือองค์ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แล้วจึงบำเพ็ญธุดงค์นั้น. ถามว่า

พระคาถานี้ ตรัสกระทำท่านพระมหากัสสปให้เป็นเหตุ และพระเถระ

เป็นผู้เลิศกว่าธุตวาทภิกษุทั้งหมด เป็นผู้ทรงธุดงค์ ๑๓ มิใช่หรือ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 347

เหตุไร พระเถระ จึงถูกระบุธุดงค์ข้อเดียวเท่านั้น ? ตอบว่า นี้ เป็น

การแสดงในอัตถุปปัตติเหตุ. อีกอย่างหนึ่ง นี้เป็นเพียงเทศนา. ด้วยคำนี้

พึงทราบว่า ตรัสธุดงค์แม้ทั้งหมดแก่พระเถระนั้น โดยยกเทศนาขึ้นเป็น

ประธาน. อีกอย่างหนึ่ง เพื่อประกาศข้อปฏิบัติอันดีเยี่ยม ในพระเถระ

นั้น ไม่ทำปิณฑปาติกวัตรทั้งหมดให้ขาด เพราะท่านมักน้อยอย่างยิ่ง และ

อนุเคราะห์ต่อตระกูล จึงกล่าวว่า ปิณฺฑปาติกสฺส โดยนัยดังกล่าวแล้ว

ด้วยคาถามีอาทิว่า ยถาปิ ภมโร ปุปฺผ ดังนี้. ก็บทว่า ปิณฺฑปาติกสฺส

เป็นจตุตถีวิภัตติ โดยมุ่งถึงบทว่า ปิหยนฺติ. บทว่า ปิณฺฑปาติกสฺส นั้น

พึงเห็นว่า ใช้ในอรรถทุติยาวิภัตติ. บทว่า อตฺตภรสฺส ความว่า ผู้เลี้ยง

เฉพาะตนเท่านั้น ด้วยปัจจัย ๔ อันน้อย ไม่มีโทษ และหาได้ง่าย ซึ่ง

ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ปัจจัยเหล่านั้น น้อยด้วย หาได้ง่ายด้วย ไม่มีโทษ

ด้วย. บทว่า อนญฺโปสิโน ความว่า ชื่อว่า ไม่ใช่ผู้เลี้ยงผู้อื่น เพราะ

ไม่มีความขวนขวายที่จะเลี้ยงผู้อื่นมีศิษย์เป็นต้น ด้วยการสงเคราะห์ด้วย

อามิส. ด้วยทั้ง ๒ บท พระองค์ทรงแสดงความประพฤติเบาพร้อม ความ

เป็นผู้เลี้ยงง่าย และความเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งของท่านพระมหากัสสป

เพราะท่านเที่ยวไปด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่อง

บริหารท้อง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อตฺตภรสฺส ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้

เลี้ยงตน เพราะเลี้ยงตนผู้เดียวนี้เท่านั้น กล่าวคืออัตภาพ โดยต้องการจะ

พูดว่าเลี้ยงตนคำเดียว ไม่ใช่เลี้ยงคนอื่นจากงานนี้ไป. ต่อแต่นั้นแล ชื่อว่า

ไม่ใช่เลี้ยงผู้อื่น เพราะไม่มีคนอื่นที่ตนจะฟังเสียง. ซึ่งภิกษุนั้นผู้เลี้ยงตน

ผู้ไม่เลี้ยงคนอื่น. ด้วยทั้ง ๒ บท ทรงแสดงถึงความไม่ยึดถือต่อไป เพราะ

ท่านเป็นพระขีณาสพ. บทว่า เทวา ปิหยนฺติ ฯ เป ฯ สตีมโต ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 348

เทพมีท้าวสักกะเป็นต้น ย่อมกระหยิ่ม คือย่อมปรารถนา พระขีณาสพนั้น

ชื่อว่าผู้เข้าไปสงบ ด้วยปฏิปัสสัทธิ เพราะสงบความกระวนกระวาย และ

ความเร่าร้อนอันเกิดแต่กิเลสทั้งปวง โดยบรรลุอรหัตผล ชื่อว่าผู้มีสติ

เพราะเป็นผู้มีสติกระทำตลอดกาลเป็นนิจ ด้วยถึงความไพบูลย์ด้วยสติ

ต่อแต่นั้น ถึงลักษณะความเป็นผู้คงที่ในอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้น

คือยังความนับถืออย่างมากให้เกิด จึงเกิดความเอื้อเฟื้อในคุณวิเศษของท่าน

มีศีลเป็นต้น จะพูดถึงมนุษย์ทำไมเล่าแล.

จบอรรถกถามหากัสสปสูตรที่ ๗

๘. ปิณฑปาตสูตร

ว่าด้วยภิกษุสนทนาเรื่องบิณฑบาต

[๘๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล

ภิกษุมากด้วยกัน กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตนั่งประชุมกันในโรง

กลมใกล้ต้นกุ่ม สนทนากันถึงเรื่องเป็นไปในระหว่างนี้ว่า ดูก่อนท่าน

ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาตอยู่

ย่อมได้เห็นรูปอันเป็นที่พอใจด้วยจักษุ ย่อมได้ฟังเสียงอันเป็นที่พอใจด้วย

หู ย่อมได้ดมกลิ่นอันเป็นที่พอใจด้วยจมูก ย่อมได้ลิ้มรสอันเป็นที่พอใจ

ด้วยลิ้น ย่อมได้ถูกต้องโผฏฐัพพะอันเป็นที่พอใจด้วยกาย ตามกาลอัน

สมควร ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 349

เป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ย่อมเที่ยวไป

บิณฑบาต ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผิฉะนั้น เราทั้งหลายจงถือการ

เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรเถิด แม้เราทั้งหลายก็จักได้เห็นรูปอันเป็นที่พอใจ

ด้วยจักษุ ได้ฟังเสียงอันเป็นที่พอใจด้วยหู ได้ดมกลิ่นอันเป็นที่พอใจด้วย

จมูก ได้ลิ้มรสอันเป็นที่พอใจด้วยลิ้น ได้ถูกต้องโผฏฐัพพะอันเป็นที่

พอใจด้วยกาย ตามกาลอันสมควร แม้เราทั้งหลายก็จักเป็นผู้อันมหาชน

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง เที่ยวไปบิณฑบาต ภิกษุ

เหล่านั้นสนทนากถาค้างอยู่ในระหว่างเพียงนี้ ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นแล้วได้เสด็จเข้าไปถึงโรงกลมใกล้

ต้นกุ่มแล้วประทับนั่ง ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลาย

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วย

เรื่องอะไรหนอ และเธอทั้งหลายสนทนาเรื่องอะไรค้างไว้ในระหว่าง ภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลว่า ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลายกลับ

จากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต นั่งประชุมกันในโรงกลมใกล้ต้นกุ่มนี้

เกิดสนทนากันในระหว่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถือการ

เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เที่ยวไปบิณฑบาตอยู่ ย่อมได้เห็นรูปอันเป็นที่

พอใจด้วยจักษุ... แม้เราทั้งหลายก็จักเป็นอันมหาชนสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา ยำเกรง เที่ยวไปบิณฑบาต ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า-

พระองค์ทั้งหลายสนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างนี้แล ก็พอดีพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จมาถึง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ

ที่เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา พึงกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 350

เรื่องเห็นปานนี้นั้นไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้วพึงกระทำ

อาการ ๒ อย่าง คือ ธัมมีกถา หรือดุษณีภาพเป็นอริยะ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ถ้าว่าภิกษุไม่อาศัยเสียงสรรเสริญแล้วไซร้ เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อภิกษุผู้ถือการเที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตนมิใช่ผู้เลี้ยงคนอื่น ผู้คงที่.

จบปิณฑปาตสูตรที่ ๘

อรรถกถาปิณฑปาตสูตร

ปิณฑปาตสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปจฺฉาภตฺต ความว่า แม้เวลาภายในเที่ยงวันของภิกษุถือ

เอกาสนิกังคธุดงค์และขลุปัจฉาภัตตกังคธุดงค์ ผู้ฉันอาหารเช้าแล้ว ก็เป็น

ปัจฉาภัตเหมือนกัน. แต่ในที่นี้ ภายหลังแต่ฉันอาหารตามปกตินั่นแหละ

พึงทราบว่า เป็นปัจฉาภัต. บทว่า ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺตาน ความว่า

ผู้กลับจากบิณฑบาต คือแสวงหาบิณฑบาตแล้ว กลับจากบิณฑบาตนั้น

โดยทำภัตกิจให้สำเร็จ. บทว่า กเรริ ในบทว่า กเรริมณฺฑลมาเฬ เป็น

ชื่อของไม้กุ่ม. เล่ากันว่า ไม้กุ่มนั้น อยู่ภายในระหว่างมณฑปกับศาลา

พระคันธกุฎี ด้วยเหตุนั้น แม้พระคันธกุฎี ท่านเรียกว่า กเรริกุฏิกา.

มณฑปก็ดี ศาลาก็ดี ท่านเรียกว่า กเรริมัณฑลมาฬ โรงกลมใกล้ต้นไม้

กุ่ม. เพราะเหตุไร ในโรงกลมกล่าวคือศาลาที่นั่ง ซึ่งสร้างไว้ไม่ไกลต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 351

กุ่มนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวถึงหลังคาที่มุงด้วยหญ้าและใบไม้ฝนไม่รั่ว

รดว่า โรงกลม. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า มณฑปที่มุงด้วยเถาวัลย์มี

อติมุตตกเถาวัลย์เป็นต้น ชื่อว่า โรงกลม. บทว่า กาเลน กาล ได้แก่

ในระหว่างเวลาหนึ่ง ๆ อธิบายว่า ในสมัยนั้น ๆ. บทว่า มนาปิเก

แปลว่า น่าเจริญใจ อธิบายว่า ปิยรูปที่น่าปรารถนา. ก็ความเป็นอิฏ-

ฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ พึงถือเอาด้วยอำนาจบุคคล และด้วยอำนาจ

ทวาร. จริงอยู่ ความเป็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์นั้น เข้าใจกันว่า

เป็นสิ่งน่าปรารถนาของคนบางคน ไม่น่าปรารถนาของคนบางคน สมมติ

ว่าไม่น่าปรารถนาของคนบางคน ไม่น่าปรารถนาของคนบางคน. อนึ่ง น่า

ปรารถนาของทวารหนึ่ง ไม่น่าปรารถนาของทวารหนึ่ง. แต่ในที่นี้พึง

ทราบวินิจฉัยด้วยอำนาจวิบาก จริงอยู่ กุศลวิบาก น่าปรารถนาโดยส่วน

เดียว อกุศลวิบาก ไม่น่าปรารถนาเลยแล. บทว่า จกฺขุนา รูเป ปสฺสิตุ

ความว่า ภิกษุไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต เมื่อพวกอุบาสกนิมนต์ให้เข้าไป

ยังเรือน นำอาสนะและเพดานเป็นต้นเข้าไป เพื่อทำการบูชาสักการะ ได้

เห็นรูปที่น่ายินดี กล่าวคือ รูปที่รุ่งเรืองด้วยความงดงามต่าง ๆ และ

รูปที่มีวิญญาณครองอย่างอื่น ด้วยญาณอันไปทางจักษุทวาร. บทว่า

สทฺเท ความว่า ภิกษุเข้าไปสู่เรือนอิสรชน ได้ยินเสียงเพลงขับและ

ประโคม ที่เขาบรรเลงเพื่ออิสรชนเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า

คนฺเธ ความว่า เพื่อดมกลิ่นมีกลิ่นดอกไม้และกลิ่นธูปเป็นต้น ที่เขา

เหล่านั้นน้อมเข้านำเข้าไป โดยบูชาและสักการะก็เหมือนกัน. บทว่า รเส

ความว่า เพื่อลิ้มรสเลิศต่าง ๆ ในการบริโภคอาหารที่เขาเหล่านั้นถวาย.

บทว่า โผฏฺพฺเพ ความว่า เพื่อถูกต้องโผฏฐัพพารมณ์ เป็นสุขสัมผัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 352

ในกาลนั่งบนอาสนะที่ลาดไว้ค่ามาก. ก็แล ครั้นทรงระบุถึงการได้อิฏ-

ฐารมณ์ที่เป็นไปทางทวาร ๕ ดังกล่าวมาแล้วนี้ บัดนี้เพื่อแสดงการได้

อิฏฐารมณ์ที่เป็นไปทางมโนทวาร จึงตรัสคำมีอาทิว่า สกฺกโต ดังนี้.

คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแหละ.

ถามว่า ก็นัยนี้ สำหรับภิกษุผู้ไม่ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ย่อมไม่ได้

หรือ ? ตอบว่า ได้. จริงอยู่ ในเวลาที่ภิกษุแม้เหล่านั้น เข้าไปยังบ้าน

เพื่อนิมันตภัตและสลากภัตเป็นต้น อุบาสกทั้งหลาย ผู้มีสมบัติมาก ย่อม

กระทำสักการะและสัมมานะเช่นนั้นเหมือนกัน. แต่ข้อนั้น ไม่แน่นอนนัก.

ส่วนสำหรับภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร แน่นอนในกาลนั้น. ภิกษุ

เหล่านั้น เห็นเขากำลังทำการบูชาและสักการะในที่นั้น ดำรงอยู่ในทาง

ไม่เป็นที่สลัดออก (จากทุกข์) เพราะยังหนักในสักการะ จึงกล่าวอย่างนั้น

ด้วยอโยนิโสมนสิการ. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล จึงกล่าวคำมีอาทิว่า หนฺทาวุโส

มย ปิณฺฑปาติกา โหม อาวุโส ช่างเถิด พวกเราเป็นผู้ถือการเที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตร.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่าสละ.

บทว่า ลจฺฉาม แปลว่า จักได้. บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระองค์

ประทับนั่งในพระคันกุฎีมีกลิ่นหอมนั้นทรงสดับการเจรจาปราศรัยนั้นของ

ภิกษุเหล่านั้น จึงเสด็จเข้าไปยังโรงกลม ด้วยหมายพระทัยว่า ภิกษุ

เหล่านี้ บวชในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เช่นเรา แม้อยู่ในวิหาร

เดียวกันกับเรา ก็ยังใช้ถ้อยคำโดยอโยนิโสมนสิการอย่างนี้ ไม่ประพฤติ

ในการขัดเกลา เอาเถิด เราจักห้ามภิกษุเหล่านั้นจากเหตุนั้น แล้วประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 353

ไว้ในธรรมเป็นเครื่องอยู่ขัดเกลา. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลัง

นั่นแล.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบเนื้อความนี้ว่า แม้

เทพทั้งหลาย ย่อมกระหยิ่มต่อท่านผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร เพื่อกำจัดกิเลส

เพื่อทำตัณหาให้เหือดแห้ง ด้วยธรรมเป็นเครื่องขัดเกลาคือมักน้อยและ

สันโดษ เกิดความเอื้อเฟื้อในการปฏิบัติประพฤติรักใคร่ต่อท่าน ไม่ประ-

พฤติรักใคร่อย่างอื่นจากนี้ ดังนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงเนื้อ

ความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โน เจ สิโลกนิสฺสิโต ความว่า หาก

ไม่อยากได้อาศัยความสรรเสริญ กล่าว คือเสียงที่ชนเหล่าอื่นยกย่อง โดย

นัยมีอาทิว่า น่าอัศจรรย์ พระผู้เป็นเจ้า เป็นผู้มักน้อยสันโดษ มีความ

ประพฤติขัดเกลาอย่างยิ่ง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อเสียง ได้แก่ การโฆษณา

ชมเชยคุณเฉพาะหน้า สรรเสริญ ได้แก่ การชมเชยลับหลัง หรือความ

เป็นผู้มียศแผ่ไป. คำที่เหลือ มีนัยที่กล่าวไว้ในสูตรอันเป็นลำดับนั้นแล.

จบอรรถกถาปิณฑปาตสูตรที่ ๘

๙. สิปปสูตร

ว่าด้วยภิกษุสนทนากันเรื่องศิลป์

[๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 354

ภิกษุมากด้วยกันกลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัตแล้ว นั่งประชุมกันใน

โรงกลม ได้สนทนากันถึงเรื่องเป็นไปในระหว่างว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย ใครหนอแล ย่อมรู้ศิลปะ ใครศึกษาศิลปะอะไร ศิลปะอย่างไหน

เป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางพวกกล่าวอย่าง

นี้ว่า ศิลปะในการฝึกช้างเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้

ว่า ศิลปะในการฝึกม้าเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า

ศิลปะในการขับรถเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า

ศิลปะในการยิงธนูเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า

ศิลปะทางอาวุธเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะ

ทางนับนิ้วมือเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะ

ในการคำนวณเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะ

นับประมวลเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะใน

การขีดเขียนเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะใน

การแต่งกาพย์กลอนเป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า

ศิลปะในทางโลกายตศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย บางพวกกล่าว

อย่างนี้ว่าศิลปะในทางภูมิศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

สนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างเพียงนี้ ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเย็น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น ได้เสด็จเข้าไปถึงโรงกลม แล้วประทับนั่ง

ณ อาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-

หลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และ

เธอทั้งหลายสนทนาเรื่องอะไรค้างไว้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ขอประ-

ทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ทั้งหลาย กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 355

ภัต นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนากันในระหว่างว่า ดูก่อนท่าน

ผู้มีอายุทั้งหลาย ใครหนอแลย่อมรู้ศิลปะ. . .บางพวกกล่าวอย่างนี้ว่า ศิลปะ

ในทางภูมิศาสตร์เป็นยอดแห่งศิลปะทั้งหลาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้า-

พระองค์ทั้งหลายสนทนาเรื่องค้างไว้ในระหว่างนี้แล ก็พอดีพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จมาถึง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่

เธอทั้งหลายเป็นกุลบุตรออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา กล่าวกถาเห็น

ปานนี้นั้นไม่สมควรเลย เธอทั้งหลายประชุมกันแล้ว พึงกระทำอาการ

๒ อย่าง คือ ธัมมีกถา หรือดุษณีภาพอันเป็นอริยะ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ผู้ไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพ ผู้เบา ปรารถนาประ-

โยชน์ มีอินทรีย์สำรวมแล้ว พ้นวิเศษแล้วในธรรม

ทั้งปวง ไม่มีที่อยู่เที่ยวไป ไม่ยึดถือว่าของเรา ไม่

มีความหวัง ผู้นั้นกำจัดมารได้แล้ว เป็นผู้เที่ยวไปผู้-

เดียว ชื่อว่าเป็นภิกษุ.

จบสิปปสูตรที่ ๙

อรรถกถาสิปปสูตร

สิปปสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โก นุ โข อาวุโส สิปฺป ชานาติ ความว่า อาวุโส เมื่อ

พวกเราประชุมกันในที่นี้ ใครหนอจะรู้แจ้งอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 356

ชีวิตเป็นเหตุ อันได้นามว่า ศิลปะ เพราะอรรถว่าต้องศึกษา. บทว่า

โก กึ สิปฺป สิกฺขิ ความว่า ใครจะเข้าไปหาตระกูลอาจารย์ผู้ถ่ายทอดศิลปะ

ตลอดกาลนานแล้ว ศึกษาศิลปะอะไร ๆ บรรดาศิลปะฝึกช้างเป็นต้น โดย

ทางเล่าเรียน และโดยทางปฏิบัติ. บทว่า กตร สิปฺป สิปฺปาน อคฺค

ความว่า ศิลปะชนิดไหนเป็นยอด คือประเสริฐกว่าศิลปะทั้งปวง โดยไม่

ต่ำช้า มีผลมาก และสำเร็จได้ไม่ยาก อธิบายว่า บุคคลอาศัยศิลปะใด

แล้วสามารถเป็นอยู่ได้ง่าย. บทว่า ตตฺเถกจฺเจ ความว่า บรรดาภิกษุ

เหล่านั้น บางพวกที่ออกบวชจากตระกูลนายหัตถาจารย์นั้น. บทว่า เอว

มาหสุ ความว่า ท่านเหล่านั้นได้กล่าวอย่างนั้น. แม้ต่อแต่นี้ไป ในที่ ๆ

กล่าวไว้ว่า เอกจฺเจ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า หตฺถิสิปฺป ความว่า

ศิลปะแม้ทุกอย่างต่างโดยการจับช้าง การฝึก การขับขี่ การรักษาโรค

เป็นต้น ที่จำต้องกระทำ ท่านประสงค์เอาว่า ศิลปะในการฝึกช้าง ในที่นี้.

แม้ในคำว่า อสฺสสิปฺป นี้ ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วน ศิลปะการขับรถ พึง

ทราบโดยวิธีฝึกหัด และขับไปเป็นต้นของผู้ขับรถ และโดยการประกอบ

รถ. บทว่า ธนุสิปฺป ได้แก่ ศิลปะของนายขมังธนู ซึ่งเรียกว่า นักแม่น

ธนู. บทว่า ถรุสิปฺป ได้แก่ ศิลปะทางอาวุธที่เหลือ. บทว่า มุทฺธาสิปฺป

ได้แก่ ศิลปะในการนับหัวแม่มือ. บทว่า คณนาสิปฺป ได้แก่ ศิลปะในการ

นับไม่ขาดระยะ. บทว่า สงฺขานสิปฺป ได้แก่ ศิลปะในการนับเป็นก้อน

ด้วยการบวกและการลบเป็นต้น. ผู้ที่กล่าวคล่องแคล่วศิลปะนั้น พอเห็น

ต้นไม้ ก็นับได้ว่า ต้นไม้นี้มีใบเท่านี้. บทว่า เลขาสิปฺป ได้แก่ ศิลปะ

ในเพราะเขียนอักษรโดยอาการต่าง ๆ หรือความรู้ในการเขียน. บทว่า

กาเวยฺยสิปฺป ความว่า ศิลปะการแต่งกาพย์ของกวี ๔ จำพวก มีจินตกวี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 357

เป็นต้น ด้วยการคิดของตน ด้วยการฟังที่ได้จากคนอื่น ด้วยประโยชน์

อย่างนี้ว่า สิ่งนี้มีประโยชน์ เราจักประกอบสิ่งนี้อย่างนี้ หรือด้วยการ

เห็นกาพย์อะไร ๆ แล้วเกิดปฏิภาณขึ้นในฐานะว่า เราจักแต่กาพย์ให้

เหมือนกับกาพย์นั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย กวี ๔ จำพวกเหล่านี้ คือ จินตกวี สุตกวี อัตถกวี และปฏิภาณกวี.

บทว่า โลกายตสิปฺป ความว่า ศิลปะในวิตัณฑศาสตร์ ที่ปฏิเสธปรโลก

และนิพพานเป็นไป โดยนัยมีอาทิว่า กาขาว เพราะกระดูกขาว นกยาง

แดงเพราะเลือดแดง. บทว่า ขตฺตวิชฺชาสิปฺป ความว่า ศิลปะในนิติ-

ศาสตร์มีการอารักขากษัตริย์เป็นต้น. ได้ยินว่า ศิลปะทั้ง ๑๒ นี้ ชื่อว่า

มหาศิลปะ ด้วยเหตุนั้นจึงกล่าวไว้ในที่นั้น ๆ ว่า สิปฺปาน อคฺค ดังนี้.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยอาการทั้งปวง ซึ่ง

ความไม่สลัดออกจากวัฏทุกข์ เพื่อประโยชน์แก่การเป็นอยู่แห่งสิปปายตนะ

ทั้งปวงนี้ แต่ก็ทรงทราบความไม่สลัดออกแห่งความบริสุทธิ์มีศีลเป็นต้น

และความเป็นภิกษุแห่งผู้พรั่งพร้อมด้วยศีลเป็นต้นนั้น จึงทรงเปล่งอุทาน

นี้อันประกาศเนื้อความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสิปฺปชีวี ความว่า ชื่อว่า อสิปปชีวี

เพราะอรรถว่า ไม่ไปอาศัยศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่งเลี้ยงชีพ เพราะความ

หวังในปัจจัยเหือดแห้งไป โดยข่มตัณหุปปาทาน ๔ ให้อยู่ไกลแสนไกล.

ด้วยคำนี้ ทรงแสดงถึงอาชีวปริสุทธิศีล. บทว่า ลหุ ได้แก่ ชื่อว่า เบา

คือไม่มีสัมภาระมาก เพราะมีกิจน้อยและมีความประพฤติเบาพร้อม. ด้วย

คำนี้ ทรงแสดงถึงความเป็นผู้เลี้ยงง่าย อันสำเร็จด้วยความสันโดษใน

ปัจจัย ๔. บทว่า อตฺถกาโม ความว่า ชื่อว่า อัตถกามะ เพราะอรรถว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 358

ใคร่คือปรารถนาเฉพาะประโยชน์ของโลกพร้อมเทวโลกเท่านั้น. ด้วยคำนี้

ทรงแสดงถึงปาติโมกขสังวรศีล เพราะประกาศถึงความงดเว้นสิ่งไม่ใช่

ประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะแสดงถึงความงดเว้นความพินาศมีปาณา-

ติบาตเป็นต้น. บทว่า ยตินฺทฺริโย ความว่า ชื่อว่า มีอินทรีย์สำรวมแล้ว

เพราะสำรวมอินทรีย์ ๖ มีจักขุนทรีย์เป็นต้น โดยไม่ให้อกุศลธรรมมี

อวิชชาเป็นต้นเกิดขึ้น. ด้วยคำนี้ ตรัสถึงอินทรียสังวร. บทว่า สพฺพธิ

วิปฺปมุตฺโต ความว่า ผู้มีศีลบริสุทธิ์ดีอย่างนี้ ตั้งมั่นอยู่ในความสันโดษด้วย

ปัจจัย ๔ กำหนดนามรูปพร้อมปัจจัย พิจารณาสังขารด้วยลักษณะมีอนิจจ-

ลักษณะเป็นต้น บำเพ็ญวิปัสสนา ต่อจากนั้น ก็ชื่อว่า เป็นผู้หลุดพ้นใน

ธรรมทั้งปวงคือในภูมิทั้งปวงมีภพเป็นต้น เพราะละสังโยชน์ได้ด้วยอริย-

มรรค ๔ ที่เป็นไปตามลำดับ.

บทว่า อโนสารี อมโม นิราโส ความว่า ชื่อว่า อโนกสารี

เพราะไม่มีความซ่านไปแห่งตัณหาในอายตนะทั้ง ๖ กล่าวคือ โอกะ (น้ำ)

เหตุหลุดพ้นแล้วในธรรมทั้งปวงเช่นนั้นทีเดียว ชื่อว่า อมมะ เพราะไม่

มีมมังการในอารมณ์ไหน ๆ มีรูปารมณ์เป็นต้น ชื่อว่า นิราสะ เพราะไม่

มีความหวังโดยประการทั้งปวง. บทว่า หิตฺวา มาน เอกจโร ส ภิกฺขุ

ความว่า ก็ภิกษุนั้นผู้เป็นอย่างนั้น ละมานะได้ไม่เหลือ พร้อมกับเวลาที่

ได้บรรลุอรหัตมรรคทีเดียว จึงไม่คลุกคลีด้วยหมู่เหมือนภิกษุเหล่านี้ เป็น

ผู้เดียวเที่ยวไป ในอิริยาบถทั้งปวง เพราะประสงค์ความสงัดและเว้นจาก

เพื่อนคือตัณหา ผู้นั้น โดยทางปรมัตถ์ ชื่อว่า ภิกษุ เพราะทำลายกิเลส

โดยประการทั้งปวง. ก็ในที่นี้ตรัสถึงคุณฝ่ายโลกิยะ โดยนัยมีอาทิว่า

อสิปฺปชีวี ผู้ไม่อาศัยศิลปเลี้ยงชีพ. ด้วยคำมีอาทิว่า สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 359

ตรัสถึงคุณฝ่ายโลกุตระ. ในคำนั้น ทรงแสดงว่า ธรรมนี้ สำหรับผู้

ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่อาศัยศิลปะเลี้ยงชีพเป็นต้นเท่านั้น ไม่ใช่เป็นของผู้

อาศัยศิลปเลี้ยงชีพด้วยมิจฉาชีพ เพราะฉะนั้น พวกเธอจงเว้นการถือใน

ศิลปว่าเป็นสาระ แล้วศึกษาในอธิศีลเป็นต้นเท่านั้น.

จบอรรถกถาสิปปสูตรที่ ๙

๑๐. โลกสูตร

ว่าด้วยเรื่องทรงตรวจดูโลก

[๘๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ที่ควงไม้โพธิ์

ใกล้ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุขโดยบัลลังก์เดียวตลอด ๗ วัน ครั้งนั้นแลโดยล่วง

๗ วันนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากสมาธินั้นแล้วทรงตรวจดู

โลกด้วยพุทธจักษุ ได้ทรงเห็นหมู่สัตว์ผู้เดือดร้อนอยู่ด้วยความเดือดร้อน

เป็นอันมาก และผู้ถูกความเร่าร้อนเป็นอันมากซึ่งเกิดจากราคะบ้าง เกิด

จากโทสะบ้าง เกิดจากโมหะบ้าง แผดเผาอยู่

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

โลกนี้เกิดความเดือดร้อนแล้ว ถูกผัสสะครอบงำ

แล้ว ย่อมกล่าวถึงโรคโดยความเป็นตัวตน ก็โลก

ย่อมสำคัญโดยประการใด ขันธปัญจกอันวัตถุแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 360

ความสำคัญนั้น ย่อมเป็นอย่างอื่นจากประการที่ตน

สำคัญนั้น โลกข้องแล้วในภพมีความแปรปรวนเป็น

อื่น ถูกภพครอบงำแล้ว ย่อมเพลิดเพลินภพนั่นเอง

(สัตว์) โลกย่อมเพลิดเพลินสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นภัย

โลกกลัวสิ่งใด สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ก็บุคคลอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์นี้เพื่อจะละภพแล.

ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าว

ความหลุดพ้นจากภพด้วยภพ (สัสสตทิฏฐิ) เรากล่าวว่า

สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดไม่หลุดพ้นไปจากภพ

ก็หรือสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง กล่าว

ความสลัดออกจากภพด้วยความไม่มีภพ (อุจเฉททิฏฐิ)

เรากล่าวว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดไม่สลัด

ออกไปจากภพ ก็ทุกข์นี้ย่อมเกิดเพราะอาศัยอุปธิทั้ง

ปวงความเกิดแห่งทุกข์ย่อมไม่มี เพราะความสิ้น

อุปาทานทั้งปวง ท่านจงดูโลกนี้ สัตว์ทั้งหลายเป็น

จำนวนมาก ถูกอวิชชาครอบงำหรือยินดีแล้วขันธ-

ปัญจกที่เกิดแล้วไม่พ้นไปจากภพ ก็ภพเหล่าใดเหล่า

หนึ่งในส่วนทั้งปวง (ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง)

โดยส่วนทั้งปวง (สวรรค์ อบาย และมนุษย์เป็นต้น)

ภพทั้งหมดนั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวน

เป็นธรรมดา อันบุคคลผู้เห็นขันธปัญจกกล่าวคือ ภพ

ตามความจริงด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้อยู่ย่อมละภว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 361

ตัณหาได้ ทั้งไม่เพลิดเพลินวิภวตัณหา ความดับด้วย

อริยมรรคเป็นเครื่องสำรอกไม่มีส่วนเหลือ เพราะ

ความสิ้นไปแห่งตัณหาทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง

เป็นนิพพาน ภพไม่ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้ดับแล้ว

เพราะไม่ถือมั่น ภิกษุนั้นครอบงำมาร ชนะสงคราม

ล่วงภพได้ทั้งหมดเป็นผู้คงที่ฉะนี้แล.

จบโลกสูตรที่ ๑๐

จบนันทวรรคที่ ๓

อรรถกถาโลกสูตร

โลกสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

อาสยานุสยญาณ และอินทริยปโรปริยัตญาณ ชื่อว่า พุทธจักษุ

ในคำว่า พุทฺธจกฺขุนา นี้. สมดังที่ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า พระผู้มีพระภาค-

เจ้า เมื่อทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธจักษุได้ทรงเห็นแล้วแล ซึ่งเหล่า

สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย ผู้มีกิเลสดุจฉุลีในดวงตามาก ผู้มีอินทรีย์

แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน. บทว่า โลก ได้แก่ โลก ๓ คือ โอกาสโลก ๑

สังขารโลก ๑ สัตวโลก ๑. ในโลกทั้ง ๓ นั้น โอกาสโลก ตรัสไว้ใน

ประโยคมีอาทิว่า

พระจันทร์พระอาทิตย์ เวียนรอบส่องทิศให้

สว่างไสวมีประมาณเท่าใด โอกาสโลก มีประมาณ

พันหนึ่งเท่านั้น อำนาจของท่าน เป็นไปในโอกาส

โลกนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 362

สังขารโลก ตรัสไว้ในประโยคมีอาทิว่า โลก ๑ ได้แก่สัตว์ทั้งปวง

ดำรงอยู่ได้ด้วยอาหาร. โลก ๒ ได้แก่นามและรูป. โลก ๓ ได้แก่ เวทนา

๓. โลก ๔ ได้แก่ อาหาร ๔. โลก ๕ ได้แก่ อุปาทานขันธ์ ๕. โลก ๖

ได้แก่ อายตนะภายใน ๖. โลก ๗ ได้แก่ วิญญาณฐิติ ๗. โลก ๘ ได้แก่

โลกธรรม ๘. โลก ๙ ได้แก่ สัตตาวาส ๙. โลก ๑๐ ได้แก่ อายตนะ

๑๐. โลก ๑๒ ได้แก่ อายตนะ ๑๒. โลก ๑๘ ได้แก่ ธาตุ ๑๘. สัตว-

โลก ตรัสไว้ในประโยคมีอาทิว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง. แม้ในที่นี้ พึง

ทราบสัตวโลก. บรรดาโลกเหล่านั้น โลกกล่าวคือจักรวาล ชื่อว่า โอกาส-

โลก เพราะอรรถว่า เห็นคือปรากฏโดยอาการวิจิตร. สังขาร ชื่อว่า

โลก เพราะอรรถว่า ย่อยยับ คือผุพัง. ชื่อว่า สัตวโลก เพราะอรรถว่า

เป็นที่ดูบุญและบาปและผลแห่งบุญและบาป. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

อนุเคราะห์ ในสัตว์เหล่านั้นด้วยพระมหากรุณา มีพระประสงค์จะให้สัตว์

เหล่านั้นพ้นจากสังสารทุกข์ จึงตรวจดูสัตว์โลก. ก็พระองค์ทรงตรวจดู

สัปดาห์ไหน ? สัปดาห์ที่ ๑. จริงอยู่ ในที่สุดแห่งปัจฉิมยาม ในวันสุด

สัปดาห์ที่ทรงเข้าสมาธิ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งอุทานอันแสดง

อานุภาพแห่งอริยมรรคนี้ว่า เมื่อใดแล ธรรมทั้งหลายปรากฏ ฯลฯ

เหมือนพระอาทิตย์ส่องไสวในกลางหาว ดังนี้ จึงตรวจดูสัตวโลกว่า อันดับ

แรก เราใช้เรือคือธรรมนี้ข้ามห้วงน้ำใหญ่คือสงสาร ที่แสนจะข้ามได้โดย

ยากอย่างนี้ จึงยืนอยู่ที่ฝั่งคือพระนิพพาน เอาเถิด บัดนี้ ถึงสัตวโลกเราก็

จักให้ข้ามด้วย สัตวโลก เป็นอย่างไรหนอ ดังนี้. ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า

ครั้นล่วง ๗ วันนั้นไป พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากสมาธินั้น ทรง

ตรวจดูสัตวโลก ด้วยพุทธจักษุ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 363

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลโลเกสิ ความว่า ทรงเห็นโดยอาการ

ต่าง ๆ คือกระทำให้ประจักษ์ด้วยญาณของพระองค์ เหมือนผลมะขามป้อม

ที่วางไว้บนฝ่ามือ. บทมีอาทิว่า อเนเกหิ สนฺตาเปหิ เป็นบทแสดงอาการ

ดูแล. บทว่า อเนเกหิ สนฺตาเปหิ ได้แก่ ด้วยความทุกข์เป็นอเนก.

จริงอยู่ ทุกข์ท่านเรียกว่า สันตาปะ เพราะอรรถว่าทำให้เดือดร้อน.

เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า ทุกข์มีอรรถว่าบีบคั้น มีอรรถว่าปรุงแต่ง

มีอรรถว่าทำให้เดือดร้อน มีอรรถว่าแปรปรวน. ก็ทุกข์นั้น มีอรรถ

หลายประการ ด้วยอำนาจทุกขทุกข์เป็นต้น และด้วยอำนาจชาติเป็นต้น

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอนเกหิ สนฺตาเปหิ. ผู้เดือดร้อน คือถูก

ทุกข์เป็นอเนก บีบคั้น เบียดเบียน. บทว่า ปริฬาเหหิ แปลว่า ด้วย

ความเร่าร้อน. บทว่า ปริฑยฺหมาเน ได้แก่ ผู้ถูกไฟเผารอบด้านเหมือน

เชื้อไฟ. บทว่า ราคเชหิ แปลว่า เกิดแต่ราคะ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้.

จริงอยู่ กิเลสมีราคะเป็นต้นย่อมเกิดในสันดานใด ย่อมเบียดเบียนสันดาน

นั้น เหมือนเผาอยู่. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุ-

ทั้งหลาย ไฟ ๓ กองนี้ ราคัคคิ ไฟคือราคะ โทสัคคิ ไฟคือโทสะ โมหัคคิ

ไฟคือโมหะ. เพราะไฟเหล่านั้นทำจิตและกายให้เศร้าหมอง ฉะนั้น จึง

เรียกว่ากิเลส. ก็ในบทเหล่านี้ ด้วยบทว่า ปริฑยฺหมาเน นี้ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงถึงกิเลสมีราคะเป็นต้นปวัตติทุกข์ และความที่

สัตว์ถูกปวัตติทุกข์นั้นครองงำ. อนึ่ง ด้วยบทว่า สนฺตปฺปมาเน นี้ ทรง

แสดงถึงความที่สัตว์เหล่านั้น เป็นทุกข์ทุกระยะกาล และความเป็นผู้มี

อันตรายไม่ขาดระยะเพราะทุกข์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 364

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอปราชิตบังลังก์ ณ ควง-

โพธิพฤกษ์ ในปฐมยามทรงระลึกถึงบุพเพนิวาสญาณ ในมัชฌิมยามทรง

ชำระทิพยจักษุ ในปัจฉิมยามทรงหยั่งญาณลงในปฏิจจสมุปบาท ทรงรู้

ยิ่งวัฏทุกข์อันมีกิเลสเป็นมูล ทรงพิจารณากำหนดสังขาร เจริญวิปัสสนา

โดยลำดับ ทรงกำจัดกิเลสให้ปราศจากไป ตรัสรู้ยิ่งด้วยพระองค์เองด้วย

การบรรลุพระอริยมรรค เพราะทรงละกิเลสได้เด็ดขาดในลำดับปัจจเวก-

ขณญาณแล้วจึงทรงเปล่งอุทานว่า อเนกชาติสสาร ดังนี้เป็นต้น อัน

แสดงถึงความที่พระองค์สิ้นวัฏทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรง

ละ ประทับนั่งขัดสมาธิเสวยวิมุตติสุขตลอด ๗ วัน ในยาม ๓ แห่งราตรี

ที่ ๗ ทรงเปล่งอุทาน ๓ อย่าง โดยนัยดังกล่าวแล้ว ในลำดับแห่งอุทาน

ที่ ๓ ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ทรงเห็นว่า วัฏทุกข์ของสัตว์ทั้งสิ้น

นี้ มีกิเลสเป็นมูล ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้เป็นปวัตติทุกข์ (ทุกข์ในปัจจุบัน)

และเป็นเหตุแห่งทุกข์แม้ต่อไป เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้ จึงเดือดร้อน

หม่นไหม้ เพราะกิเลสเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อทฺทสา

โข ภควา ฯ เป ฯ โมหเชหิปิ ดังนี้.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ถึงความที่สัตวโลกถูกความเร่าร้อนหม่นไหม้ดังกล่าวแล้วครอบงำอยู่. บท

ว่า อุทาน อุทาเนสิ ความว่า ทรงเปล่งมหาอุทานนี้ อันประกาศถึงความ

ดับสนิท ความเร่าร้อนหม่นไหม้ทั้งปวง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อย โลโก สนฺตปชาโต ความว่า

สัตว์โลกนี้แม้ทั้งหมดเกิดความเดือดร้อน เพราะชรา โรค และมรณะ

เพราะความวอดวายต่าง ๆ และเพราะความกลุ้มรุมแห่งกิเลส อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 365

ถูกทุกข์ทางกายและใจที่เกิดขึ้นแล้วครอบงำ. บทว่า ผสฺสปเรโต ความ

ว่า ผู้ถูกทุกขสัมผัสเป็นอเนกนั่นแหละครองงำ คือเบียดเบียน. อีกอย่าง

หนึ่ง บทว่า ผสฺสปเรโต ความว่า ผู้ถูกผัสสะทั้ง ๖ อันเป็นปัจจัยแก่

ทุกขเวทนา ๓ กล่าวคือสุขเวทนาเป็นต้นครองงำ คือติดข้องอยู่ด้วยความ

เป็นไปในอารมณ์นั้น ๆ ทางทวารนั้น ๆ. บทว่า โรค วทติ อตฺตโต

ความว่า สัตวโลก เมื่อไม่รู้ตามความเป็นจริงถึงโรค ทุกข์ หรือเบญจขันธ์

กล่าวคือเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ย่อมกล่าวโดยเป็นอัตตาว่า

เราได้รับสุข รับทุกข์ ด้วยอำนาจการถือผิดด้วยสำคัญว่าเป็นเรา. อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า อตฺตโน ดังนี้ก็มี. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า สัตวโลกนี้

นั้นถูกทุกขธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งครอบงำ เมื่อไม่อาจอดกลั้นไว้ได้เพราะ

ไม่ได้เจริญอัตตา จึงบ่นเพ้อไปโดยนัยมีอาทิว่า โอ ทุกข์ ทุกข์เช่นนี้จง

อย่ามีแม้แก่ตนของเรา จึงกล่าวถึงโรคของตนอย่างเดียว แต่ไม่ปฏิบัติ

เพื่อละโรคนั้น. อีกอย่างกนึ่ง สัตวโลกเมื่อไม่รู้ตามเป็นจริงถึงทุกข์ตามที่

กล่าวแล้วนั้น จึงกล่าวว่า ของตน ด้วยความสำคัญว่า ของเรา คือเปล่ง

วาจาว่า นี้ของเรา ด้วยอำนาจตัณหาคาหะ (การยึดถือด้วยอำนาจตัณหา).

บทว่า เยน หิ มญฺติ ความว่า สัตวโลกเมื่อกล่าวเบญจขันธ์

อันเป็นตัวโรคนี้ โดยความเป็นตน หรือของตน ด้วยอาการอย่างนี้ จึง

สำคัญโดยทิฏฐิ มานะและตัณหา โดยประการอันเป็นเหตุมีรูปและเวทนา

เป็นต้นใด หรือโดยประการมีความเป็นของเที่ยงเป็นต้นใด. บทว่า ตโต

ต โหติ อญฺกา ความว่า เบญจขันธ์อันเป็นวัตถุแห่งความสำคัญนั้น

ว่าตนในสิ่งที่มิใช่ตน อธิบายว่า ไม่ทำความอหังการ มมังการให้สำเร็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 366

เพราะไม่อาจให้อยู่ในอำนาจได้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตโต ความว่า

เบญจขันธ์นั้นอันบุคคลสำคัญว่าเที่ยงเป็นต้น ย่อมเป็นโดยประการอื่น คือ

เป็นสภาวะไม่เที่ยงเป็นต้นทีเดียว เพราะภาวะเพียงสักว่าความสำคัญนั้น.

ก็ความสำคัญไม่สามารถทำภาวะหรือลักษณะให้เป็นอย่างอื่นได้.

บทว่า อญฺถาภาวี ภวสตฺโต ความว่า สัตวโลกผู้ติดข้องในความ

เจริญในหิตสุขที่ยังไม่เกิด แม้จะคิดตามความพอใจ ด้วยความสำคัญ

ก็มีความเป็นอย่างอื่นจากความสำคัญนั้นด้วยการปฏิบัติผิด มีแต่สิ่งที่ไร้

ประโยชน์และเป็นทุกข์ ประสบแต่ความคับแค้นถ่านเดียว. บทว่า

ภวเมวาภินนฺทติ ความว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ก็ยังเพลิดเพลินคือหวัง

ภพ คือความเจริญที่ไม่มีซึ่งตนกำหนดโดยความสำคัญผิดนั้นเท่านั้น. อีก

อย่างหนึ่ง บทว่า อญฺถาภาวี ความว่า มีความเป็นอย่างอื่นด้วยตัวเอง

จากอาการที่กำหนดด้วยความสำคัญโดยนัยมีอาทิว่า อัตตาของเราเที่ยง

แต่เป็นของไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน. บทว่า ภวสฺตโต ความว่า สัตวโลกติด

ข้องสยบอยู่ เพราะภวตัณหาในกามภพเป็นต้น. บทว่า ภวเมวาภินนฺทติ

ความว่า ยึดถือภพอันมีสภาวะไม่เที่ยงนั่นแล โดยเป็นของเที่ยง แล้ว

เพลิดเพลินความสำคัญอันน้อมไปในภพนั่นแหละ ด้วยความยินดีภพด้วย

อำนาจตัณหาและทิฏฐิ คือไม่เบื่อหน่ายในภพนั้น. บทว่า ยทภินนฺทติ ต

ภย ความว่า ภพคือความเจริญหรือภพมีกามเป็นต้น ที่สัตวโลกเพลิด-

เพลินนั้น ชื่อว่าเป็นภพ เพราะอรรถว่าน่ากลัวอย่างยิ่ง โดยเป็นเหตุเกิด

ภพ เพราะมีสภาวะแปรปรวนมีไม่เที่ยงเป็นต้น และเพราะถูกความพินาศ

หลายประการติดตาม. บทว่า ยสฺส ภายติ ความว่า ชราและมรณะ

เป็นต้นอันเป็นเหตุให้สัตวโลกกลัวนั้น จัดเป็นทุกข์เพราะเป็นที่ตั้งแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 367

ทุกข์ และเพราะเป็นตัวทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยสฺส ภายติ ความว่า

สัตวโลกย่อมกลัวต่อการเสพใด เพราะความเพลิดเพลินภพ การเสพกล่าว

คือความขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ) นั้น และความกลัวแต่การเสพนั้น จัดว่าเป็น

ทุกข์ คือมีสภาวะเป็นทุกข์ทีเดียว เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ และเพราะ

ทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้นไม่กลับกลาย (เป็นอย่างอื่น). อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ยสฺส ภายติ ต ทุกฺข ความว่า ความกลัวที่สัตวโลกผู้ไม่รู้การสลัดออก

ซึ่งอนิจจลักษณะเป็นต้นที่ตนกลัวนั้น เป็นทุกข์คือนำทุกข์มาให้เขา.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงวัฏฏะด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล้ว

บัดนี้ เพื่อจะแสดงวิวัฏฏะ (นิพพาน) จึงตรัสว่า ก็บุคคลอยู่ประพฤติ

พรหมจรรย์นี้เพื่อละขาดจากภพแล.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภววิปฺปหานาย ได้แก่ เพื่อละกามภพ

เป็นต้น. ศัพท์ว่า โข ใช้ในอรรถอวธารณะห้ามความอื่น. ศัพท์ว่า ปน

เป็นนิบาตใช้ในอรรถปทปูรณะ ทำให้เต็มบท. บทว่า อิท เป็นบทกล่าว

เฉพาะที่ใกล้. บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่ มรรคพรหมจรรย์. บทว่า วุสฺสติ

แปลว่า ย่อมบำเพ็ญ. ท่านอธิบาย คำนี้ไว้ว่า มรรคพรหมจรรย์อันประ-

กอบด้วยองค์ ๘ นี้ สงเคราะห์ด้วยขันธ์ ๓ มีศีลขันธ์เป็นต้น เราประพฤติ

สิ่งที่ทำได้ยากยิ่ง บำเพ็ญบารมีมาสิ้น ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป แล้วเหยียบ

ย่ำหัวมารทั้ง ๓ ที่ควงไม้โพธิ์ได้บรรลุแล้ว จึงประพฤติ บำเพ็ญ เพื่อ

ประโยชน์แก่การละอย่างเด็ดขาด ด้วยการละเหตุเกิดแห่งกามภพเป็นต้น

โดยส่วนเดียว.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงอริยมรรคอันเป็นเหตุนำสัตว์ออก

จากทุกข์โดยแท้จริงด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 368

ไม่มีมรรคอื่นจากอริยมรรคนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เย หิ เกจิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เป็นบทแสดงไขความไม่แน่นอน

คำว่า หิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า เกจิ ได้แก่ บางพวก. แม้ด้วยบททั้ง

สองท่านถือเอาคนผู้มีวาทะอย่างนั้นซึ่งมีทิฏฐิเป็นคติ โดยไม่กำหนดแน่

นอน. บทว่า สมณา ได้แก่ เป็นสมณะด้วยเพียงเข้าไปบวช ไม่ใช่ด้วย

การสงบบาป. บทว่า พฺรหฺมณา ได้แก่ เป็นพราหมณ์โดยเหตุเพียงกำเนิด

ไม่ใช่ผู้ลอยบาป. วา ศัพท์เป็นวิกัปปัตถะ. บทว่า ภเวน ภวสฺส วิปฺป-

โมคฺขมาหสุ ความว่า สมณพราหมณ์บางพวก กล่าวความหลุดพ้นจาก

ภพทั้งปวง คือความบริสุทธิ์จากสงสาร ด้วยกามภพหรือรูปภพ. ถามว่า

ก็สมณพราหมณ์พวกไรกล่าวอย่างนี้ ? ตอบว่า พวกที่กล่าวถึงนิพพาน

ในปัจจุบัน. ก็บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น บางพวกกล่าวว่าอัตตาที่

เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕ อย่างสูง ย่อมถึงความดับ (นิพพาน) อย่างยิ่ง

ในปัจจุบัน. บางพวกกล่าวว่า บรรดาฌานฝ่ายรูปาวจร อัตตาผู้พรั่งพร้อม

ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ บางพวกกล่าวว่า อัตตาผู้พรั่งพร้อมด้วยจตุตถฌาน

ย่อมถึงพระนิพพานอย่างยิ่งในปัจจุบัน. เหมือนดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บุคคลบางคนในพระศาสนานี้ จะเป็นสมณะหรือพราหมณ์ก็

ตามมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้แหละ

เพียบพร้อมด้วยกามคุณ ๕. พึงทราบความพิสดาร.

แต่เกจิอาจารย์เหล่านั้นกล่าวว่า เพราะเหตุที่การแสวงหากามเป็นต้น

เพื่อตน จักไม่มีแก่ผู้ที่เพียบพร้อมด้วยสุขเป็นต้น เหมือนปลิงที่อิ่มแล้ว

เพราะดื่มไว้เต็มที่ ไม่มีการกระหายเลือด ก็เมื่อไม่มีการแสวงหากาม ภพก็

ไม่มีเหมือนกัน ก็นัยนี้ควรได้แก่ผู้ตั้งอยู่ในภพใด ๆ ความหลุดพ้นจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 369

ภพทั้งปวงย่อมมีได้ด้วยภพนั้น ๆ ฉะนั้น จึงตรัสว่า สมณพราหมณ์ทั้งหลาย

กล่าวการหลุดพ้นจากภพด้วยภพ ดังนี้. ก็แม้ผู้มีลัทธิว่า คนพาลและ

บัณฑิต ท่องเที่ยวไปตลอดกาลเท่านี้ ตั้งอยู่ในภพสุดท้าย จะหลุดพ้น

จากสงสาร ชื่อว่า กล่าวการหลุดพ้นภพด้วยภพ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า

ทั้งคนพาลและบัณฑิตท่องเที่ยวไป ๘,๔๐๐,๐๐๐ มหากัป จักกระทำที่สุด

ทุกข์ได้ ดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ภเวน ได้แก่ภวทิฏฐิ. สัสสตทิฏฐิ

ท่านเรียกว่าภวทิฏฐิ เพราะเป็นไปโดยอรรถว่า เกิดมี คือตั้งอยู่ติดต่อกัน.

ในที่นี้ ภวทิฏฐินั่นแหละท่านเรียกว่าภพ เหมือนในประโยคว่า ภวตัณหา

โดยลบบทเบื้องปลาย. ก็เมื่อว่าด้วยอำนาจทิฏฐิ สมณพราหมณ์บางพวก

ย่อมสำคัญภพพิเศษเท่านั้นอันมีสภาวะเที่ยงเป็นต้นว่าเป็นการหลุดพ้นจาก

ภพ เพราะมีความเป็นไปสงบกิเลส และเพราะอายุเป็นอยู่ได้นาน เหมือน

พกาพรหมกล่าวไว้ว่า สิ่งนี้เที่ยง สิ่งนี้ยั่งยืน สิ่งนี้มีความเป็นไปติดต่อกัน

สิ่งนี้มีความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา. สมณพราหมณ์เหล่านั้นนั่นแลผู้

ถือผิดตรงกันข้ามมีความเห็นในสิ่งที่มิใช่เครื่องสลัดออกว่าเป็นเครื่องสลัด

ออก (จากทุกข์) ความหลุดพ้นจากภพจะมีแต่ไหน. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงตรัสว่า เรากล่าวว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดไม่

หลุดพ้นจากภพ.

บทว่า วิภเวน แปลว่า ด้วยการขาดสูญ (อุจเฉททิฏฐิ). บทว่า

ภวสฺส นิสฺสรณมหสุ ความว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นกล่าวการปราศจาก

ไป การออกไปจากภพทั้งปวงว่าสังสารสุทธิ (ความบริสุทธิ์จากสงสาร).

เพราะสมณพราหมณ์นั้นเมื่อไม่รู้วาทะของผู้ที่กล่าวว่า ความหลุดพ้นพิเศษ

จากภพด้วยภพ ย่อมปฏิญญาการสลัดออกจากทุกข์ด้วยการตัดขาดจากภพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 370

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิภเวน ได้แก่ อุจเฉททิฏฐิ. อุจเฉททิฏฐิท่านกล่าวว่า

วิภวะปราศจากภพ โดยนัยดังกล่าวแล้ว เพราะเป็นไปด้วยอรรถว่า อัตตา

และโลกไม่มี คือพินาศ ขาดสูญ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมน้อมไปด้วย

อุจเฉททิฏฐิ แล้วเกิดในภพนั้น ๆ ขาดสูญไป. อุจเฉททิฏฐินั้นนั่นแหละ

เป็นสังสารสุทธิ เพราะเหตุนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่าอุจเฉทวาทะ มีวาทะ

ว่าขาดสูญ. สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ท่านผู้เจริญ เพราะอัตตานี้แหละเป็น

สิ่งมีรูป อาศัยมหาภูตรูป ๔ ฯ ล ฯ เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่

ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อัตตานี้เป็นสิ่งที่ขาดสูญโดยชอบ. อนึ่ง ตรัส

ไว้ว่า ดูก่อนมหาบพิตร ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล การบูชาไม่มีผล

ยัญที่บูชาแล้วไม่มีผล ฯลฯ ทั้งคนพาลและบัณฑิตเบื้องหน้าแต่ตายเพราะ

กายแตก ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ ย่อมไม่มี. สมณพราหมณ์แม้เหล่านั้น

ผู้ยึดถือผิดตรงกันข้ามอย่างนี้ จักสลัดออกจากภพได้แต่ที่ไหน. ด้วยเหตุ

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เรากล่าวว่าสมณพราหมณ์ทั้งหมดนั้น

ไม่สลัดออกจากภพไปได้. เพราะสัตวโลกยังไม่ได้ถอนกิเลสที่เหลือให้

หมดด้วยอริยมรรคภาวนา แม้ในกาลไหน ๆ ก็ไม่ได้ความหลุดพ้นด้วยการ

สลัดออกจากภพ. จริงอย่างนั้น สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ตกไปใน

ส่วนสุดทั้งสองว่ามี (หรือ) ไม่มี เพราะไม่หยั่งรู้ตามความเป็นจริง จึง

กระสับกระส่ายและดิ้นรน เพราะอำนาจตัณหาและทิฏฐิ เพราะเขาเหล่านั้น

มีทิฏฐิเป็นคติ ลุ่มหลงอยู่แม้ในเหตุแห่งความเป็นไป (คือสมุทัย) ถูก

เครื่องผูก คือตัณหาล่ามไว้ที่เสาคือทัสสนะอันผิดตรงกันข้าม ซึ่งฝังไว้

แน่นที่แผ่นดินคือสักกายทิฏฐิ ย่อมไม่ละที่ที่ผูกไปได้ เหมือนสุนัขที่ล่ามไว้

ด้วยเครื่องล่าม สมณพราหมณ์เหล่านั้นจะมีความหลุดพ้นแต่ที่ไหน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 371

พระศาสดาเมื่อทรงแสดงว่า สมณพราหมณ์เหล่าใด ไม่ข้องแวะ

ส่วนสุด ๒ อย่างนั้น เพราะไม่งมงายในปวัตติเป็นต้น โดยแจ่มแจ้งใน

สัจจะทั้ง ๔ ย่อมขึ้นสู่มัชฌิมปฏิปทา สมณพราหมณ์เหล่านั้นนั่นแหละ

จะมีการหลุดพ้นและการสลัดออกไปจากภพได้ จึงตรัสว่า อุปธิ ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปธิ ได้แก่ อุปธิมีขันธ์เป็นต้น. ศัพท์

ว่า หิ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ปฏิจฺจ แปลว่า อาศัย คือทำให้เป็นที่

อาศัย. บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้น. ท่านกล่าวอธิบาย

ไว้อย่างไร ? ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า สัตว์เหล่านี้มีทิฏฐิเป็นคติ สำคัญว่า

หลุดพ้นในที่ใด พวกเขาก็ได้ประสบอุปธิ คือ ขันธ์ กิเลส และอภิสังขาร

ในที่นั้น สัตวโลกนั้นจะสลัดออกจากทุกข์ได้แต่ที่ไหน. ก็เพราะอภิสังขาร

เกิดมีในที่ที่กิเลสเกิดมี ความสืบเนื่องแห่งภพจึงไม่ขาดไปเลย เพราะ-

ฉะนั้น วัฏทุกข์ (ของสัตวโลก) จึงไม่ดับ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็ทุกข์นี้ย่อมเกิดมี เพราะอาศัยอุปธิ.

บัดนี้ เพื่อแสดงเหตุเครื่องสลัดทุกข์ จึงตรัสว่า เพราะอุปาทาน

ทั้งปวงสิ้นไป ทุกข์จึงไม่เกิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพุปาทานกฺขยา ความว่า เพราะ

ละได้เด็ดขาดซึ่งอุปาทานทั้งหมด ๔ อย่างนี้ คือ กามุปาทาน ทิฏฐิปาทาน

สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน ด้วยการบรรลุอริยมรรค. ในอุปาทาน

๔ เหล่านั้น อุปาทาน ๓ เหล่านี้ คือ ทิฏฐุปาทาน สีลัพพตุปาทาน และ

อัตตวาทุปาทาน อันโสดาปัตติมรรคให้สิ้นไป คือถึงความไม่เกิดขึ้นเป็น

ธรรมดา. พึงทราบว่า กามุปาทานอันยังสัตว์ให้ไปอบายมรรคที่ ๑ ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 372

สิ้นไป ที่เป็นกามราคะอย่างหยาบ มรรคที่ ๒ ให้สิ้นไป. กามราคะและ

พยาบาทอย่างละเอียด มรรคที่ ๓ ให้สิ้นไป. การละรูปราคะอรูปราคะ

มรรคที่ ๔ ให้สิ้นไป รวมความว่าอุปาทานอันมรรคทั้ง ๔ ให้สิ้นไป คือ

ถึงการไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา. บทว่า นตฺถิ หุกฺขสฺส สมฺภโว ความว่า

เพราะอุปาทานสิ้นไปโดยประการทั้งปวงอย่างนี้ คือ เพราะรกชัฏคือกิเลส

แม้ทั้งหมดโดยที่รวมอยู่ในฐานเดียวกันกับอุปาทานนั้นไม่เกิดขึ้น วัฏทุกข์

แม้มีประมาณน้อยก็ไม่เกิด คือไม่ปรากฏ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงปวัตติคือ (ทุกขสัจ และนิวัตติคือ

นิโรธสัจ) พร้อมด้วยเหตุดังพรรณนามาฉะนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงว่า

สัตวโลกนี้เมื่อไม่รู้นัยนี้ ก็เงยศีรษะขึ้นจากวัฏฏะไม่ได้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า

โลกมิม ปสฺส.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โลกมิม ปสฺส ความว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเมื่อจะทรงชักนำในการกระทำการพิจารณาดู จึงตรัสเรียกเฉพาะ

พระองค์ว่า จงดูโลกนี้ เพราะพระองค์เข้าถึงภาววิสัย (ของโลก) โดย

ประจักษ์ด้วยพุทธจักษุ. บทว่า ปุถุ แปลว่า มาก. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ปุถุ แปลว่า เป็นพวก ๆ. บทว่า อวิชฺชา ปเรตา ความว่า ถูกอวิชชา

อันเป็นตัวปกปิดสัจจะ ๔ ครอบงำ. ซึ่งตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ความไม่

รู้ในทุกข์. บทว่า ภูตา แปลว่า เกิดแล้ว คือบังเกิดแล้ว เพราะกรรมและ

กิเลส. บทว่า ภูตรตา ความว่า ยินดียิ่งด้วยตัณหาในสัตว์ทั้งหลาย คือใน

สัตว์อื่นด้วยความสำคัญว่า บิดา มารดา บุตรและภรรยาเป็นต้น หรือในภูต

คือเบญจขันธ์ด้วยกำหนดว่าเป็นสตรีบุรุษเป็นต้น ด้วยภาวะว่าเที่ยงเป็นต้น

และด้วยการถือว่าตนและมีในตน โดยไม่หยั่งรู้ภาวะแห่งเบญจขันธ์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 373

ไม่เที่ยง ไม่งาม เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา. บทว่า ภวาอปริมุตฺตา

ความว่า ไม่หลุดพ้นจากภพจากสงสาร ด้วยการยึดถือด้วยอำนาจตัณหา

และทิฏฐิดังที่กล่าวแล้ว.

ก็ในบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า โลกมิม นี้ อันดับแรกเมื่อจะทรงนำ

หมู่สัตว์แม้ทั้งสิ้นเข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน โดยภาวะเสมอกันก่อน จึงทรง

แสดงศัพท์โดยไม่เจาะจงด้วยเอกวจนะ แล้วทรงประกาศอานุภาพแห่ง

พุทธจักษุญาณของพระองค์ว่า สัตวโลกนี้นั้นมีความแตกต่างกันเป็นหลาย

ประเภทโดยภพ กำเนิด คติ ฐิติ และสัตตาวาสเป็นต้น และโดยหมู่สัตว์

นั้น ๆ เป็นต้นในภพเป็นต้นแม้นั้น เราตรวจดูแล้วแต่ละอย่าง ๆ จึงกระ-

ทำประเภทวจนะอีก แล้วทรงแสดงศัพท์โดยเจาะจงด้วยพหุวจนะ ด้วย

พระดำรัสมีอาทิว่า สัตว์เป็นอันมากถูกอวิชชาครอบงำ. ก็แลครั้นทำคำ

อธิบายดังว่ามานี้แล้วทำให้เป็นทุติยาวิภัตติว่า โลกมิม แม้นิเทศที่เป็น

ปฐมาวิภัตติพหุวจนะโดยพระบาลีว่า อวิชฺชาย ปเรตา เป็นต้น ก็เป็นอัน

ไม่ผิด เพราะมีพากย์ต่างกัน แต่เมื่อว่าโดยความประสงค์ให้เป็นพากย์อัน

เดียวกัน อาจารย์บางพวกจึงกล่าวว่าภูตอันอวิชชาครอบงำ ยินดีในภูต

ไม่พ้นไปจากภพได้. แต่บาลีเก่ากล่าวโดยความต่างแห่งวิภัตติเท่านั้น.

บัดนี้ เมื่อจะแสดงวิปัสสนาวิถีอันเป็นโคจรของพระพุทธเจ้าไม่เป็น

วิสัยแห่งเดียรถีย์ ซึ่งเป็นอุบายให้พ้นจากภพทั้งหมด จึงตรัสคำมีอาทิว่า

เย หิ เกจิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย หิ เกจิ ภวา ความว่า ก็ภพ

เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่มีอายุยืน หรือมีอายุชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งมีประเภทแตกต่าง

กันโดยจำแนกเป็นกามภพเป็นต้น สัญญาภพเป็นต้น และเอกโวการภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 374

เป็นต้น ที่สมมติกันว่ามีความสำราญ ที่ต่างกันโดยสาระ และเว้นจาก

ความสำราญ. บทว่า สพฺพธิ ได้แก่ ในที่ทั้งปวงโดยวิภาคมีอาทิว่า

เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง. บทว่า สพฺพตฺถตาย ได้แก่ โดย

ภาวะทั้งปวง มีสวรรค์ อบาย และมนุษย์เป็นต้น. พึงทราบวินิจฉัยในบท

มีอาทิว่า สพฺเพ เต ดังต่อไปนี้.

ภพทั้งหมดนั้นมีรูปและเวทนาเป็นต้นเป็นธรรม ชื่อว่า ไม่เที่ยง

เพราะอรรถว่ามีแล้วกลับไม่มี. ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะถูกความเกิดและ

ความดับบีบคั้น. ชื่อว่ามีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เพราะจะต้อง

แปรปรวนไปด้วยเหตุ ๒ ประการ คือ ชราและมรณะ. อิติ ศัพท์ มีอาทิ

เป็นอรรถหรือมีปการะเป็นอรรถ. คืออย่างไร ? คือ ด้วย อิติ ศัพท์นั้น

พระองค์ทรงสงเคราะห์แม้อนัตตลักษณะแล้วตรัสว่า ชื่อว่า อนัตตา เพราะ

ไม่เป็นไปในอำนาจ หรือชื่อว่า อนัตตา เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปใน

อำนาจ เหตุมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา. สัตวโลก พิจารณาเห็น

เบญจขันธ์นี้กล่าวคือภพ ตามความเป็นจริง คือ ไม่แปรผัน ด้วยปัญญา

อันชอบ คือ ด้วยญาณอันชอบ ได้แก่ด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรค

อันประกอบด้วยวิปัสสนา คือแทงตลอดด้วยปริญญาอภิสัมเป็นต้น จึง

ละตัณหา ในภพอันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ภพเที่ยง ด้วยประการฉะนี้

คือ ด้วยอาการแทงตลอดลักษณะ ๓ คือดับได้เด็ดขาดพร้อมกับการบรรลุ

อรหัตมรรคนั่นแล ย่อมไม่เพลิดเพลิน คือย่อมไม่ปรารถนา วิภพ คือ

ความตัดขาด เพราะละอุจเฉททิฏฐิได้ด้วยประการทั้งปวง. เพราะความ

สิ้นไป คือ เพราะละตัณหา ๑๐๘ ประเภทมีกามตัณหาเป็นต้น และมี

ประเภทหาที่สุดมิได้โดยวิภาคการกำหนดเป็นต้นของสัตวโลกผู้เป็นอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 375

อย่างนั้น โดยอาการทั้งปวง คือโดยประการทั้งปวง การดับโดย

ไม่เกิดขึ้นแห่งธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งสังกิเลสทั้งสิ้นโดยที่รวมอยู่ในฐาน

เดียวกับตัณหานั้น โดยไม่เหลือ คือโดยเด็ดขาด ด้วยธรรมเครื่องสำรอก

คือด้วยอริยมรรคนั้น คือ พระนิพพาน.

ครั้นทรงแสดงอุปาทิเสสนิพพาน โดยการละตัณหาเป็นประธาน

ดังพรรณนามาฉะนี้ บัดนี้ เมื่อจงทรงแสดงอนุปาทิเสสนิพพาน จึงตรัส

คาถาว่า ตสฺส นิพฺพุตสฺส ดังนี้เป็นต้น.

คำอันเป็นคาถานั้นมีอธิบายดังนี้ เพราะภิกษุผู้ขีณาสพผู้ทำลายกิเลส

โดยนัยดังกล่าวแล้ว ดับสนิทด้วยกิเลสปรินิพพานเพราะสิ้นตัณหาโดย

ประการทั้งปวง ไม่มีอุทาน คือ หมดอุปาทาน หรือเพราะไม่ยึดมั่น

กิเลสมารและอภิสังขารมาร ภพใหม่จึงไม่มี คือไม่มีอุปปัตติภพโดยการ

ปฏิสนธิต่อไป. และภิกษุผู้เป็นอย่างนั้น ครอบงำมารเสียได้ คือ ในขณะ

จริมกมรรค ครอบงำกิเลสมารอภิสังขารมาร และเทวบุตรมาร ในขณะ

จริมกจิต จิตดวงสุดท้าย (อรหัตมรรค) ครอบงำขันธมาร และมัจจุมาร

เสียได้ รวมความว่า ท่านครอบงำมารทั้ง ๕ เสียได้ คือให้พ่ายแพ้ ได้แก่

ทำให้หมดพยศด้วยการไม่ให้เงยศีรษะขึ้นได้อีก เพราะท่านชนะสงครามที่

พวกมารทำให้เกิดในที่นั้นๆ. ก็ด้วยประการอย่างนี้ ท่านชื่อว่าชนะสงคราม

ชื่อว่า ผู้คงที่ คือ เป็นพระอรหันต์ เพราะถึงลักษณะของความเป็นผู้คงที่

เพราะไม่มีวิการในอารมณ์ทั้งปวงมีอิฏฐารมณ์เป็นต้น ชื่อว่า ก้าวล่วง คือ

ก้าวล่วงด้วยดี ซึ่งภพทั้งปวง คือ ภพแม้ทั้งหมดมีประเภทตามกล่าวแล้ว

ไม่จัดเข้าในที่ใดที่หนึ่ง โดยที่แท้เป็นผู้หาบัญญัติมิได้เบื้องหน้าแต่

ปรินิพพานไปเหมือนไฟหมดเชื้อ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 376

ยอดแห่งอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ จึงให้มหาอุทานนี้จบลง ด้วยประการ

ฉะนี้.

จบอรรถกถาโลกสูตรที่ ๑๐

จบนันทวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. กรรมสูตร ๒. นันทสูตร ๓. ยโสชสูตร ๔. สารีปุตตสูตร

๕. โกลิตสูตร ๖. ปิลินทวัจฉสูตร ๗. มหากัสสปสูตร ๘. ปิณฑปาตสูตร

๙. สิปปสูตร ๑๐. โลกสูตร และอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 377

เมฆิยวรรคที่ ๔

๑. เมฆิยสูตร

ว่าด้วยตรัสธรรม ๕ แก่พระเมฆิยะ

[๘๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ จาลิกบรรพต ใกล้

เมืองจาลิกา ก็สมัยนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ปรารถนาจะเข้าไป

บิณฑบาตในชันตุคาม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมฆิยะ เธอจง

สำคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ท่านพระเมฆิยะนุ่ง

แล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปยังชันตุคามเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวไปใน

ชันตุคามเพื่อบิณฑบาตแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไป

ยังฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ครั้นแล้วเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็น

ป่ามะม่วงน่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์ ครั้นแล้วคิดว่า ป่ามะม่วงนี้น่าเลื่อมใส

น่ารื่นรมย์จริงหนอ ป่ามะม่วงนี้สมควรแก่ความเพียรของกุลบุตรผู้มีความ

ต้องการด้วยความเพียรจริงหนอ ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาต

เราไซร้ เราพึงมาสู่อัมพวันนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร ลำดับนั้นแล ท่านพระ-

เมฆิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว

ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังชันตุคาม ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 378

ชันตุคามแล้ว กลับจากบิณฑบาตในเวลาปัจฉาภัต เข้าไปยังฝั่งแม่น้ำ

กิมิกาฬา ครั้นแล้วเดินพักผ่อนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา ได้เห็นอัมพวัน

น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์ จึงได้คิดว่า อัมพวันนี้น่าเลื่อมใส น่ารื่นรมย์จริง

หนอ อัมพวันนี้ สมควรเพื่อความเพียรของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วย

ความเพียรจริงหนอ ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรงอนุญาตเราไซร้ เรา

พึงมาสู่อัมพวันนี้เพื่อบำเพ็ญเพียร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าว่าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจะทรงอนุญาตข้าพระองค์ไซร้ ข้าพระองค์พึงไปสู่อัมพวันเพื่อ

บำเพ็ญเพียร.

[๘๖] เมื่อท่านพระเมฆิยะกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสว่า ดูก่อนเมฆิยะ จงรอก่อน เราจะอยู่แต่ผู้เดียวจนกว่าภิกษุรูปอื่น

จะมา แม้ครั้งที่ ๒ ท่านพระเมฆิยะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มีกิจอะไร ๆ ที่พึงทำให้ยิ่ง หรือไม่

มีการสั่งสมอริยมรรคที่พระองค์กระทำแล้ว แต่ข้าพระองค์ยังมีกิจที่พึงทำ

ให้ยิ่ง ยังมีการสั่งสมอริยมรรคที่ทำแล้ว ถ้าว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรง

อนุญาตข้าพระองค์ไซร้ ข้าพระองค์พึงไปสู่อัมพวันนั้นเพื่อบำเพ็ญเพียร

แม้ครั้งที่ ๒. . . แม้ครั้งที่ ๓ . . . พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมฆิยะ

เราพึงกล่าวอะไรกะเธอผู้กล่าวอยู่ว่า บำเพ็ญเพียร ดูก่อนเมฆิยะ เธอจง

สำคัญเวลาอันสมควร ณ บัดนี้.

[๘๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะลุกจากอาสนะ ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้ว เข้าไปยังอัมพวันนั้น ครั้น-

แล้วได้เที่ยวไปทั่วอัมพวัน แล้วนั่งพักกลางวันอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง

ครั้งนั้น เมื่อท่านพระเมฆิยะพักอยู่ในอัมพวันนั้น อกุศลวิตกอันลามก ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 379

ประการคือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก

ครั้งนั้นแล ท่านพระเมฆิยะคิดว่า น่าอัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ

เราออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา แต่กลับถูกอกุศลวิตกอันลามก ๓

ประการนี้คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ครอบงำแล้ว ครั้งนั้น

เป็นเวลาเย็น ท่านพระเมฆิยะออกจากที่เร้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อข้าพระ-

องค์พักอยู่ในอัมพวันนั้น อกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการคือ กามวิตก

พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ย่อมฟุ้งซ่านโดยมาก ข้าพระองค์นั้นคิดว่า น่า

อัศจรรย์หนอ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ก็เราออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา

แต่กลับถูกอกุศลวิตกอันลามก ๓ ประการนี้คือ กามวิตก พยาบาทวิตก

วิหิงสาวิตก ครอบงำแล้ว.

[๘๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการ

ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ๕ ประการ

เป็นไฉน ดูก่อนเมฆิยะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี

มีเพื่อนดี นี้เป็นธรรมประการที่ ๑ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่ง

เจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีศีล สำรวมระวังในพระปาติโมกข์

ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณเล็กน้อย

สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ ย่อมเป็น

ไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 380

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ได้ตามความปรารถนา ได้โดยไม่ยาก

ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเครื่องขัดเกลากิเลส เป็นไปเพื่อเป็นที่สบายในการเปิด

จิตเพื่อเบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความ

เข้าไปสบง เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน คือ อัปปิจฉกถา

สันตุฏฐิกถา ปวิเวกกถา อสังสัคคกถา วิริยารัมภกถา ศีลกถา สมาธิ-

กถา ปัญญากถา วิมุตติกถา วิมุตติญาณทัสสนกถา นี้เป็นธรรมประการ

ที่ ๓ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม

เพื่อความเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่

ทอดธุระในกุศลธรรม นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ ย่อมเป็นไปเพื่อความ

แก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง

พิจารณาความเกิดและความดับ เป็นอริยะ ชำแรกกิเลสให้ถึงความสิ้นทุกข์

โดยชอบ นี้เป็นธรรมประการที่ ๕ ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่ง

เจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า ดูก่อนเมฆิยะ ธรรม ๕ ประการนี้ ย่อมเป็น

ไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติที่ยังไม่แก่กล้า

ดูก่อนเมฆิยะ ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้

ได้ คือ ตนจักเป็นผู้มีศีล. . . จักสมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุ

ผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักได้ตามความ

ปรารถนา ได้โดยไม่ยาก ไม่ลำบาก ซึ่งกถาเครื่องขัดเกลากิเลส. . . วิมุตติ-

ญาณทัสสนกถา ภิกษุผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 381

ตนจักเป็นผู้ปรารภความเพียร. . .ไม่ทอดธุระในกุศลธรรม ภิกษุผู้มีมิตรดี

มีสหายดี มีเพื่อนดี พึงหวังคุณข้อนี้ได้ คือ ตนจักเป็นผู้มีปัญญา . . .ให้

ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

[๘๙] ดูก่อนเมฆิยะ ก็แลภิกษุนั้นตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้แล้ว

พึงเจริญธรรม ๔ ประการให้ยิ่งขึ้นไป คือ พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ พึง

เจริญเมตตาเพื่อละพยาบาท พึงเจริญอานาปานสติเพื่อตัดวิตก พึงเจริญ

อนิจจสัญญาเพื่อเพิกถอนอัสมิมานะ ดูก่อนเมฆิยะ อนัตตสัญญาย่อมปรากฏ

แก่ภิกษุผู้ได้อนิจจสัญญา ผู้ที่ได้อนัตตสัญญาย่อมบรรลุนิพพานอันเป็นที่

เพิกถอนเสียได้ซึ่งอัสมิมานะในปัจจุบันเทียว.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

วิตกอันเลวทราม วิตกอันละเอียด เป็นไปแล้ว

ทำใจให้ฟุ้งซ่าน บุคคลผู้มีจิตหมุนไปแล้วไม่ทราบ

วิตกแห่งใจเหล่านี้ ย่อมแล่นไปสู่ภพน้อยและภพ

ใหญ่ ส่วนบุคคลผู้มีความเพียร มีสติ ทราบวิตกแห่ง

ใจเหล่านี้แล้ว ย่อมปิดกั้นเสีย พระอริยสาวกผู้ตรัสรู้

แล้ว ย่อมละได้เด็ดขาดไม่มีส่วนเหลือ ซึ่งวิตก

เหล่านี้ที่เป็นไปแล้ว ทำใจให้ฟุ้งซ่าน.

จบเมฆิยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 382

เมฆิยวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาเมฆิยสูตร

เมฆิยสูตรที่ ๑ แห่งเมฆิยวรรคมีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จาลิกาย ได้แก่ ใกล้เมืองชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า เลยสถานที่

ประตูนั้นไป มีเปือกตมไหวอยู่รอบ ๆ. เพราะตั้งชิดเปือกตมที่ไหว

นครนั้นจึงปรากฏแก่ผู้ที่แลดูเหมือนไหวอยู่ เพราะฉะนั้น เมืองนั้นเขาจึง

เรียกว่า จาลิกา. บทว่า จาลิเก ปพฺพเต ความว่า ในที่ไม่ไกลนครนั้น

มีภูเขาลูกหนึ่ง แม้ภูเขานั้นก็ปรากฏแก่ผู้แลดูเหมือนไหวอยู่ ในวัน

อุโบสถข้างแรม เพราะภูเขานั้นขาวปลอด เพราะฉะนั้น ภูเขานั้นจึงนับว่า

จาลิกบรรพต. ชนทั้งหลายได้พากันสร้างวิหารใหญ่ในที่นั้น ถวายแด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า. ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำนครนั้นให้เป็น

โคจรคาม ประทับอยู่ที่มหาวิหารใกล้จาลิกบรรพตนั้น ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ประทับอยู่ ณ จาลิกบรรพต ใกล้เมืองจาลิกา.

บทว่า เมฆิโย เป็นชื่อของพระเถระนั้น. บทว่า อุปฏฺาโก โหติ

ได้แก่ เป็นผู้บำเรอ. จริงอยู่ ในปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี

อุปัฏฐากประจำ บางคราวได้มีพระนาคสมาละ. บางคราวพระนาคิต.

บางคราวพระอุปวาณะ. บางคราวพระสุนักขัตตะ. บางคราวพระ-

จุนทสมณุทเทศ บางคราวพระสาคตะ. บางคราวพระเมฆิยะ. แม้ใน

คราวนั้น ท่านพระเมฆิยเถรนั่นแหละเป็นอุปัฏฐาก. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล ท่านพระเมฆิยะเป็นอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า ชนฺตุคาม ได้แก่ วิหารนั้นนั่นแหละ ได้มีโคจรคามอื่น

ซึ่งมีอย่างนั้น. บาลีว่า ชตฺตุคาม ดังนี้ก็มี. บทว่า กิมิกาฬาย ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 383

แห่งแม่น้ำอันได้ชื่อว่ากิมิกาฬา เพราะมีแมลงสีดำมาก. บทว่า ชงฺฆาวิหาร

ความว่า เที่ยวไปเพื่อบรรเทาความเมื่อยล้าอันเกิดที่ขา เพราะนั่งนาน.

บทว่า ปาสาทิก ความว่า ชื่อว่าน่าเลื่อมใส เพราะนำความเลื่อมใสมา

แก่ผู้เห็น เพราะมีต้นไม้ไม่ห่างและมีใบสนิท. ชื่อว่า น่าฟูใจ เพราะมี

ร่มเงาสนิท และเพราะมีภูมิภาคน่าฟูใจ. ชื่อว่า น่ารื่นรมย์ เพราะทำจิต

ให้รื่นรมย์ ด้วยอรรถว่าทำผู้เข้าไปภายในให้เกิดปีติโสมนัส. บทว่า อล

แปลว่า สามารถ. แปลว่า ควร ก็ได้. บทว่า ปธานตฺถิกสฺส ได้แก่

ผู้มีความต้องการอบรมความเพียร. บทว่า ปธานาย ได้แก่ ด้วยการ

กระทำสมณธรรม. บทว่า อาคจฺเฉยฺยาห ตัดเป็น อาคจฺเฉยฺย อห.

ได้ยินว่า เมื่อก่อนที่นั้นเป็นพระราชอุทยาน ที่พระเถระเคยเป็นพระราชา

ครอบครองมา ๕๐๐ ชาติ ตามลำดับ ด้วยเหตุนั้น จิตของพระเถระนั้น

จึงน้อมไปเพื่อจะอยู่ในที่นั้น ในขณะพอสักว่าได้เห็นเท่านั้น.

บทว่า อาคเมหิ ตาว ความว่า พระศาสดาครั้นทรงสดับคำของ

พระเถระแล้ว เมื่อทรงใคร่ครวญ จึงทรงทราบว่า ญาณของเธอยังไม่ถึง

ความแก่กล้าก่อน เมื่อจะตรัสห้าม จึงตรัสอย่างนั้น. ก็เพื่อจะให้เธอเกิด

จิตอ่อนโยนขึ้นว่า เมื่อเป็นเช่นนี้พระเถระนี้แม้ไปแล้ว เมื่อกรรมยังไม่

สำเร็จก็จะไม่ระแวง จักกลับมาด้วยอำนาจความรัก จึงตรัสคำนี้ว่า เรา

เป็นผู้เดียวอยู่ก่อน. บทว่า ยาว อญฺโปิ โกจิ ภิกฺขุ อาคจฺฉติ ความ

ว่า เธอจงรอจนกว่าภิกษุไร ๆ จะมายังสำนักเรา. บาลีว่า โกจิ ภิกฺขุ

ทิสฺสติ ภิกษุไร ๆ จะปรากฏดังนี้ก็มี. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า อาคจฺฉตุ.

บางพวกกล่าว ทิสฺสตุ เหมือนกัน. บทว่า นตฺถิ กิญฺจิ อุตฺตรึ กรณีย

ความว่า เพราะพระองค์ทำกิจ ๑๖ อย่างมีปริญญากิจเป็นต้น ในสัจจะ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 384

ด้วยมรรค ๔ หรือเพราะทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ ชื่อว่ากรณียกิจอื่นอัน

ยิ่งกว่านั้น ย่อมไม่มี. บทว่า นตฺถิ กตสฺส วา ปฏิจโย ความว่า หรือ

กิจที่ทรงกระทำเสร็จแล้วก็ไม่ต้องสั่งสมต่อไป. ถึงมรรคที่พระองค์ให้เกิด

ต่อไป หรือกิเลสที่พระองค์ละได้แล้ว ไม่มีกิจที่จะละอีก. บทว่า อตฺถิ

กตสฺส ปฏิจโย ความว่า เพราะข้าพระองค์ยังไม่บรรลุอริยมรรค ข้าพระ-

องค์จึงจำต้องสั่งสมกล่าวคือพอกพูนต่อไป เพื่อธรรมมีศีลเป็นต้น อัน

สำเร็จในสันดานของข้าพระองค์. บทว่า ปธานนฺติ โข เมฆิย วทมาน

กินฺติ วเทยฺยาม ความว่า เราจะกล่าวชื่ออะไรอื่นกะเธอผู้กล่าวอยู่ว่า จะ

ทำสมณธรรม.

บทว่า ทิวาวิหาร นิสีทิ ความว่า พระเถระนั่งพักผ่อนในกลางวัน.

ก็พระเถระนั่งก็นั่งบนแผ่นศิลามงคล ซึ่งเมื่อก่อนตนเคยเป็นพระราชา

๕๐๐ ชาติตามลำดับ ทรงกรีฑาในพระราชอุทยาน นั่งแวดล้อมด้วย

นักฟ้อนต่าง ๆ. ครั้นตั้งแต่เวลาที่ท่านนั่งแล้ว เป็นเหมือนภาวะแห่ง

สมณะหายไป เกิดเป็นเหมือนกลายเพศเป็นพระราชาห้อมล้อมด้วยบริวาร

นักฟ้อนนั่งบนบัลลังก์อันควรค่ามากภายใต้เศวตฉัตร. ครั้นเมื่อท่านยินดี

สมบัตินั้น กามวิตกก็เกิดขึ้น. ขณะนั้นเองท่านได้เห็น เหมือนเห็นโจร

๒ คนถูกจับพร้อมด้วยของกลาง เขานำมายืนอยู่ตรงหน้า. ในโจร ๒ คน

นั้น พยาบาทวิตกเกิดขึ้นด้วยอำนาจการสั่งให้ฆ่าโจรคนหนึ่ง วิหิงสาวิตก

เกิดขึ้นด้วยอำนาจการสั่งให้จองจำโจรคนหนึ่ง. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านได้

เป็นผู้แวดล้อมเกลื่อนกล่นด้วยอกุศลวิตก เหมือนต้นไม้ถูกล้อมด้วยเชิง

เถาวัลย์และเหมือนรวงผึ้งแวดล้อมด้วยตัวผึ้งฉะนั้น. ท่านหมายเอาอาการ

นั้น จึงกล่าวว่า อถ โข อายสฺมโต เมฆิยสฺส ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 385

ได้ยินว่า คำว่า อจฺฉริย วต โภ นี้ ชื่อว่าอัศจรรย์ในการติเตียน

เหมือนท่านพระอานนท์เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระร่างเปลี่ยนไปเพราะ

รอยย่น จึงได้ทูลว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า เรื่องไม่เคยมี พระเจ้าข้า.

แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า สมัยนั้น กามวิตกย่อมเกิดขึ้นแก่ท่าน

ด้วยอำนาจความโลภในเพราะดอกไม้ ผลไม้ และใบอ่อนเป็นต้น พยาบาท-

วิตกเกิดขึ้น เพราะได้ฟังเสียงนกเป็นต้นที่ร้องเสียงแข็ง วิหิงสาวิตกเกิดขึ้น

เพราะประสงค์ห้ามนกเหล่านั้นด้วยก้อนดินเป็นต้น กามวิตกเกิดขึ้น เพราะ

ความมุ่งหมายในที่นั้นว่า เราจะอยู่ที่นี้แหละ พยาบาทวิตกเกิดขึ้น เพราะ

ได้เห็นพรานไพรทั้งหลายในที่นั้น ๆ แล้วมีจิตมุ่งร้ายในพรานไพรเหล่านั้น

วิหิงสาวิตกย่อมเกิดขึ้น เพราะประสงค์จะเบียดเบียนพรานไพรเหล่านั้น

ดังนี้ก็มี. การที่มิจฉาวิตกเกิดขึ้นแก่ท่านอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นแหละเป็น

เหตุน่าอัศจรรย์. บทว่า อนฺวาสตฺตา แปลว่า ตามติดข้อง คือเกลื่อนกล่น.

การพูดมากแม้ในความเป็นผู้เดียวก็ปรากฏ ทั้งในตนและในครู. บาลีว่า

อนฺวาสตฺโต ดังนี้ก็มี.

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า พระเถระเกลื่อนกล่นไป

ด้วยมิจฉาวิตกอย่างนี้ เมื่อไม่อาจทำกรรมฐานให้เป็นสัปปายะ จึงกำหนด

ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงเห็นกาลไกล ได้เห็นเหตุอันน่าอัศจรรย์นี้

หนอ จึงทรงห้าม คิดว่า เราจักกราบทูลเหตุนี้แด่พระทศพล จึงลุกขึ้น

จากอาสนะที่นั่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้

กราบทูลเรื่องของตนโดยนัยมีอาทิว่า อิธ มยฺห ภนฺเต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยภุยฺเยน ได้แก่ มากครั้ง คือบ่อย ๆ.

บทว่า ปาปกา แปลว่า ลามก. บทว่า อกุสลา แปลว่า เกิดแต่อกุศล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 386

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าลามก เพราะอรรถว่า นำสัตว์ให้ถึงทุคติ ชื่อว่า

อกุศล เพราะเป็นข้าศึกต่อกุศล. ชื่อว่าวิตก เพราะตรึก คือคิด ได้แก่

ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์. วิตกที่เกิดพร้อมกับกาม ชื่อว่ากามวิตก อธิบายว่า

วิตกที่สัมปยุตด้วยกิเลสกาม มีวัตถุกามเป็นอารมณ์ วิตกที่เกิดพร้อมกับ

พยาบาท ชื่อว่าพยาบาทวิตก วิตกที่เกิดพร้อมด้วยวิหิงสา ชื่อว่าวิหิงสา-

วิตก. ในวิตกเหล่านั้น ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อเนกขัมมะอันเป็นไปด้วย

อำนาจการยินดีในกาม ชื่อว่ากามวิตก ธรรมที่เป็นข้าศึกต่อเมตตา อัน

เป็นไปด้วยอำนาจความประทุษร้ายสัตว์ทั้งหลาย ด้วยคิดว่า ขอให้สัตว์

เหล่านี้จงเดือดร้อน จงฉิบหาย หรืออย่าได้มี ชื่อว่าพยาบาทวิตก ธรรม

ที่เป็นข้าศึกต่อกรุณา อันเป็นไปด้วยอำนาจความเป็นผู้ประสงค์จะเบียด-

เบียนเหล่าสัตว์ ด้วยปหรณวัตถุมีฝ่ามือ ก้อนดิน และท่อนไม้เป็นต้น

ชื่อว่าวิหิงสาวิตก.

ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอนุญาตให้เธอไปในที่

นั้น เพราะพระองค์ทรงอนุญาตด้วยทรงพระดำริว่า เมฆิยะนี้แม้เราไม่

อนุญาต ก็ยังละเราไปเสียได้ ทั้งเธอก็จะมีความคิดเป็นอย่างอื่นไปว่า

ชะรอยพระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่อนุญาตให้เราไป เพราะประสงค์ให้เป็นผู้

ปรนนิบัติ ข้อนั้นพึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน

แก่เธอ.

เมื่อเธอนั่งกราบทูลเรื่องราวของตนอย่างนี้ ลำดับนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมอันเป็นสัปปายะแก่เธอ จึงตรัสคำมี

อาทิว่า ดูก่อนเมฆิยะ เจโตวิมุตติยังไม่แก่กล้า ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปริปฺกาย แปลว่า ยังไม่ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 387

แก่กล้า. บทว่า เจโตวิมุตฺติยา ได้แก่ ใจหลุดพ้นจากกิเลส. จริงอยู่

ในเบื้องต้น ใจย่อมหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยตทังควิมุตติ และวิกขัมภน-

วิมุตติ ภายหลังย่อมหลุดพ้นด้วยสมุจเฉทวิมุตติ และปฏิปัสสัทธิวิมุตติ.

ก็วิมุตตินี้นั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลังแล. เพราะฉะนั้น

บัณฑิตพึงทราบโดยนัยตามที่กล่าวแล้วในอธิการที่ว่าด้วยวิมุตตินั้น. ใน

ข้อนั้น เมื่อเธอบ่ม คือปลุกอัธยาศัยให้ตื่นด้วยธรรมอันเป็นเครื่องบ่ม

วิมุตติ เมื่อวิปัสสนาถือเอาห้องมรรคถึงความแก่กล้า เจโตวิมุตติ ชื่อว่า

เป็นอันแก่กล้า เมื่อวิปัสสนายังไม่ถือเอาห้องมรรค ชื่อว่ายังไม่แก่กล้า.

ก็ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติ เป็นไฉน ? คือพึงทราบธรรม ๑๕ อย่าง

โดยทำสัทธินทรีย์เป็นต้นให้หมดจด. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เมื่อเว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีศรัทธา

พิจารณาพระสูตรอันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส สัทธินทรีย์ย่อมหมดจด

ด้วยอาการ ๓ เหล่านี้.

เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้ริเริ่ม

ความเพียร พิจารณาสัมมัปปธาน วิริยินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓

เหล่านี้.

เมื่อเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีสติ

ตั้งมั่น พิจารณาสติปัฏฐาน สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้.

เมื่อเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่เป็นสมาธิ เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคล

ผู้มีจิตเป็นสมาธิ พิจารณาฌานและวิโมกข์ สมาธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วย

อาการ ๓ เหล่านี้.

เมื่อเว้นบุคคลผู้ทรามปัญญา เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มี

ปัญญา พิจารณาญาณจริยาลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 388

เหล่านี้ ดังนั้นเมื่อเป็นบุคคล ๕ จำพวกเหล่านี้ เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้

บุคคล ๕ จำพวก พิจารณาพระสูตร ๕ สูตร อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ย่อม

หมดจดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้. ธรรม ๑๕ ประการแม้อื่นอีก เป็นเครื่อง

บ่มวิมุตติ คือ อินทรีย์ ๕ มีศรัทธาเป็นต้น สัญญาอันเป็นส่วนแห่งการ

ตรัสรู้ ๕ เหล่านี้ คือ อนิจจสัญญา ทุกขสัญญา อนัตตสัญญา ปหาน-

สัญญา วิราคสัญญา ความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร ความสำรวมในศีล ความ

เป็นผู้ขัดเกลาอย่างยิ่ง ความปรารภความเพียร ปัญญาอันเป็นไปในส่วน

แห่งการตรัสรู้.

บรรดาธรรมเหล่านั้น พระศาสดาผู้ฉลาดในการฝึกเวไนยบุคคล

เมื่อจะทรงแสดงธรรมอันเป็นเครื่องบ่มวิมุตติมีกัลยาณมิตรเป็นต้น ในที่นี้

ตามอัธยาศัยของพระเมฆิยเถระ ผู้ควรแนะนำ จึงตรัสว่า ธรรมเหล่านี้

ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้า เมื่อจะให้ธรรมเหล่านั้นพิสดาร จึงตรัส

คำมีอาทิว่า เมฆิยะ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นกัลยาณมิตร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณมิตฺโต ความว่า ชื่อว่ากัลยาณ-

มิตร เพราะมีมิตรงาม คือ เจริญ ดี. บุคคลผู้มีมิตรสมบูรณ์ด้วยศีลคุณ

เป็นต้น มีอุปการะด้วยอาการทั้งปวงอย่างนี้ คือบำบัดทุกข์ สร้างสรรค์

หิตประโยชน์ ชื่อว่าเป็นกัลยาณมิตรแท้จริง. ชื่อว่ากัลยาณสหาย เพราะ

ไป คือดำเนินไปกับด้วยกัลยาณบุคคลตามที่กล่าวแล้วนั่นแหละ คือไม่

เป็นไปปราศจากกัลยาณมิตรบุคคลเหล่านั้น. ชื่อว่ามีพวกดี เพราะเป็นไป

โดยภาวะที่โน้มน้อมโอนไปทางใจและทางกายในกัลยาณบุคคลนั่นแล. ด้วย

๓ บท ย่อมยังความเอื้อเฟื้อให้เกิดขึ้นในการสังสรรค์กับกัลยาณมิตร.

ในข้อนั้น มีลักษณะกัลยาณมิตรดังต่อไปนี้ กัลยาณมิตรในพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 389

ศาสนานี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ วิริยะ สติ สมาธิ

และปัญญา. ในลักษณะกัลยาณมิตรนั้น บุคคลมีศรัทธาสมบัติ ย่อมเชื่อ

ปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต กรรม และผลแห่งกรรม ไม่ละทิ้งการแสวง

หาประโยชน์เกื้อกูลในเหล่าสัตว์ อันเป็นเหตุแห่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ

ด้วยการเชื่อนั้น มีศีลสมบัติ ย่อมเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ

สรรเสริญ เป็นผู้โจทก์ท้วง เป็นผู้ติเตียนบาป เป็นผู้ว่ากล่าวอดทนต่อ

ถ้อยคำของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย มีสุตสมบัติ ย่อมทำถ้อยคำอันลึก

ซึ้งเกี่ยวด้วยสัจจะ และปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น มีจาคสมบัติ ย่อมเป็นผู้

มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ มีวิริยสมบัติ ย่อมเป็น

ผู้ริเริ่มความเพียร เพื่อปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลาย มีสติสมบัติ

ย่อมมีสติตั้งมั่น มีสมาธิสมบัติ ย่อมเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตเป็น

สมาธิ มีปัญญาสมบัติ ย่อมรู้สภาวะที่ไม่ผิดแผก. บุคคลนั้นเป็นผู้ถึง

พร้อมด้วยคติธรรมอันเป็นกุศลด้วยสติ รู้สิ่งที่มีประโยชน์และไม่มีประ-

โยชน์แห่งสัตว์ทั้งหลายตามเป็นจริงด้วยปัญญา เป็นผู้มีจิตแน่วแน่ในกุศล-

ธรรมเหล่านั้นด้วยสมาธิ ย่อมเกียดกันสัตว์ทั้งหลายจากสิ่งที่ไม่เป็นประ-

โยชน์แล้วชักนำเข้าไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์ด้วยวิริยะ. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า

บุคคลเป็นที่รัก เคารพ ยกย่อง เป็นผู้ว่ากล่าว

ผู้อดทนถ้อยคำ ผู้กระทำถ้อยคำอันลึกซึ้ง และไม่

ชักนำในฐานะที่ไม่ควร.

บทว่า อย ปโม ธมฺโม ปริปากาย สวตฺตติ ความว่า ธรรมอัน

หาโทษมิได้นี้ กล่าวคือความเป็นผู้มีมิตรอันดีงาม ชื่อว่าเป็นที่ ๑ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 390

เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจริยาวาส และเพราะตรัสไว้เป็นข้อแรกในธรรม ๕

ประการนี้ โดยมีอุปการะมากแก่กุศลธรรมทั้งปวง และโดยความเป็น

ประธาน ย่อมเป็นไปเพื่อความแก่กล้าแห่งเจโตวิมุตติ โดยกระทำศรัทธา

เป็นต้น ที่ไม่บริสุทธิ์ให้บริสุทธิ์. ก็ในที่นี้ ความที่กัลยาณมิตรมีอุปการะ

มากและเป็นประธาน พึงทราบโดยสุตตบทมีอาทิว่า อานนท์ ความเป็น

ผู้มีมิตรดีงาม มีสหายดีงาม นี้เป็นพรหมจรรย์ทั้งสิ้น เพราะทรงปฏิเสธ

ท่านพระอานนท์ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริกผู้กล่าวอยู่ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ความเป็นผู้มีมิตรดีงามนี้ เป็นกึ่งหนึ่งของพรหมจรรย์ ถึง ๒ ครั้งว่า มา

เหว อานนฺท อย่ากล่าวอย่างนี้ อานนท์.

บทว่า ปุน จปร แปลว่า ก็ธรรมข้ออื่นยังมีอยู่อีก. ในบทว่า สีลวา

นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ที่ชื่อว่าศีล เพราะอรรถว่าอะไร ? ที่ชื่อว่าศีล

เพราะอรรถว่า ตั้งไว้มั่น. ที่ชื่อว่าตั้งไว้มั่น คืออะไร ? คือตั้งมั่นไว้ด้วย

ดี อธิบายว่า ความที่กายกรรมเป็นต้นเหมาะสม เพราะความเป็นผู้มีศีลดี.

อีกอย่างหนึ่ง เป็นที่รองรับไว้ อธิบายว่า ความเป็นที่รองรับไว้ โดย

ความเป็นที่ตั้งแห่งกุศลธรรมมีฌานเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าศีล

เพราะรองรับไว้ หรือทรงไว้. นี้เป็นอรรถแห่งศีลโดยนัยแห่งลักษณะ

ของศัพท์ เป็นอันดับแรก. แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่ง พรรณนาอรรถโดย

นิรุตตินัยว่า อรรถแห่งศีล มีอรรถว่าศีรษะ มีอรรถว่าเย็น มีอรรถว่า

ตั้งมั่น มีอรรถว่าสังวร. ศีลนี้นั้นมีอยู่กับบุคคลนั้นโดยครบถ้วน หรือ

โดยดีเยี่ยม เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สีลวา ผู้มีศีล. อธิบายว่า ผู้สมบูรณ์

ด้วยศีล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 391

อนึ่ง เพื่อจะแสดงประการที่บุคคลเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จึง

ตรัสคำมีอาทิว่า ปาติโมกฺขสวรสวุโต ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาติโมกฺข ได้แก่ ศีลในสิกขาบท.

จริงอยู่ ศีลในสิกขาบทนั้น ชื่อว่าปาติโมกข์ เพราะอรรถว่า ทำบุคคล

ผู้ปกปักรักษาสีลสิกขาบทนั้น ให้หลุดพ้นจากทุกข์มีทุกข์ในอบายเป็นต้น.

การปิดกั้น ชื่อว่าสังวร ได้แก่ การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา. สังวร

คือปาติโมกข์ ชื่อว่าปาติโมกขสังวร. ภิกษุผู้สำรวม คือมีกายและวาจา

ปิดด้วยปาติโมกขสังวรนั้น จึงชื่อว่าสำรวมด้วยปาติโมกขสังวร. นี้เป็น

การแสดงภาวะที่ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในศีลนั้น. บทว่า วิหรติ เป็นบทแสดง

ภาวะที่ภิกษุพรั่งพร้อมด้วยการอยู่อันสมควรด้วยปาติโมกขสังวรนั้น. บทว่า

อาจารโคจรสมฺปนฺโน เป็นบทแสดงถึงธรรมอันมีอุปการะแก่ปาติโมกข-

สังวรในเบื้องต่ำ และแก่ความพากเพียรเพื่อคุณวิเศษในเบื้องสูง. บทว่า

อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี เป็นบทแสดงภาวะที่ภิกษุไม่เคลื่อนจาก

ปาติโมกขศีลเป็นธรรมดา. บทว่า สมาทาย เป็นบทแสดงการยึดเอา

สิกขาบทโดยไม่มีส่วนเหลือ. บทว่า สิกฺขติ เป็นบทแสดงภาวะที่ภิกษุ

พรั่งพร้อมด้วยการศึกษา. บทว่า สิกฺขาปเทสุ เป็นบทแสดงธรรมที่ควร

ศึกษา.

อีกนัยหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะมีปกติตกไปในอบายมากครั้ง

เพราะกิเลสรุนแรง เพราะการทำความชั่วทำได้ง่าย และเพราะการทำบุญ

ทำได้ยาก ได้แก่ ปุถุชน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะถูกกำลัง

กรรมซัดไปในภพเป็นต้น โดยภาวะไม่เที่ยง และมีปกติไปโดยการหมุน

ไปโดยกำหนดไม่ได้ เหมือนโพงน้ำ เหมือนหม้อเครื่องยนต์. อีกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 392

หนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะมีปกติตกไปแห่งอัตภาพในสัตวนิกายนั้น ๆ ด้วย

อำนาจมรณะ หรือสันดานของสัตว์คือจิตนั่นเอง. ชื่อว่าปาฏิโมกข์ เพราะ

ยังผู้ตกไปนั้นให้พ้นจากสังสารทุกข์. ก็สัตว์ ที่เรียกว่า วิมุตตะ เพราะ

จิตหลุดพ้น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้มีจิตผ่องแผ้วย่อมบริสุทธิ์

และกล่าวไว้ว่า จิตหลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า ปาติ เพราะตกไป คือไป ได้แก่เป็นไปในสงสาร ด้วยเหตุมี

อวิชชาเป็นต้น. สมจริงดังกล่าวไว้ว่า สัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้นมี

ตัณหาเป็นเครื่องผูก แล่นไป ท่องเที่ยวไป. ธรรม ชื่อว่าปาฏิโมกขะ

เพราะเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ตกไปนั้นพ้นจากสังกิเลส ๓ มีตัณหาเป็นต้น. พึง

ทราบความสำเร็จสมาส เหมือนความสำเร็จคำมีอาทิว่า ตณฺหากาโล.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะทำสัตว์ให้ตกไป คือให้ตกไปไม่

เหลือจากทุกข์ ได้แก่ จิต. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สัตวโลกถูกจิต

นำไป คือเป็นไปตามจิต. ชื่อว่าปาฏิโมกข์ เพราะเป็นเครื่องทำสัตว์

ผู้ตกไปนั้นให้พ้นไป (จากทุกข์). อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะเป็น

เครื่องตกไปในอบายทุกข์และสังสารทุกข์ของสัตว์ ได้แก่สังกิเลสมีตัณหา

เป็นต้น. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ตัณหา ย่อมยังบุรุษให้เกิด และ

กล่าวไว้ว่า บุรุษมีตัณหาเป็นเพื่อนสอง. ชื่อว่าปาฏิโมกข์ เพราะพ้น

จากการตกไปจากตัณหาสังกิเลสนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ เพราะ

เป็นที่ตกไปของสัตว์ ได้แก่อายตนะภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖.

สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า สัตวโลก เกิดพร้อมในอายตนะภายใน ๖ และ

อายตนะภายนอก ๖ ย่อมทำการชมเชยในอายตนะภายใน ๖ และอายตนะ

ภายนอก ๖. ชื่อว่าปาฏิโมกข์ เพราะพ้นจากการตกไป กล่าวคืออายตนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 393

ภายใน ๖ และอายตนะภายนอก ๖ นั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปาติ

คือสงสาร เพราะมีการตกไป คือการทำให้ตกไป ชื่อว่าปาฏิโมกข์

เพราะหลุดพ้นจากสงสารนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมิศร ชาวโลกเฉลิมพระ-

นามว่า ปติ เพราะเป็นอธิบดีของสรรพโลก. ชื่อว่า โมกขะ เพราะเป็น

เครื่องพ้นของสัตว์. ชื่อว่า ปติโมกข์ เพราะเป็นเครื่องพ้นแห่งพระผู้มี-

พระภาคเจ้าผู้ได้นามว่า ปติ เหตุทรงบัญญัติไว้. ปติโมกข์นั่นแหละ เป็น

ปาฏิโมกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปติโมกข์ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ชื่อว่าเป็นใหญ่ โดยอรรถว่ามีคุณทั้งปวงสูงสุดอันมีคุณนั้นเป็นมูล และ

ชื่อว่าเป็นผู้พ้น โดยอรรถตามที่กล่าวแล้ว. ปติโมกข์นั้นแหละ เป็น

ปาฏิโมกข์. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า คำว่า ปาฏิโมกข์ นี้เป็นมุข

และเป็นประมุข. พึงทราบพิสดารดังต่อไปนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ศัพท์ว่า ป ใช้ในอรรถว่า ปการะ ศัพท์ว่า อติ

เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า อัจจันตะ. เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าปาฏิโมกข์

เพราะพ้นล่วงส่วน โดยทุกประการ. จริงอยู่ ศีลนี้ ชื่อว่าปาฏิโมกข์ เพราะ

ตัวศีลทำให้หลุดพ้นได้จริง ด้วยตทังควิมุตติ ที่ประกอบด้วยสมาธิและ

ปัญญาทำให้หลุดพ้นได้จริง ด้วยอำนาจวิกขัมภนวิมุตติ และสมุจเฉทวิมุตติ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อปฏิโมกข์ เพราะหลุดพ้นเฉพาะ อธิบายว่า หลุดพ้น

จากวีติกกมโทษนั้น ๆ เฉพาะอย่าง. ปฏิโมกข์นั้นแหละ เป็นปาฏิโมกข์.

หรือว่า นิพพาน ชื่อว่าโมกขะ. ชื่อว่าปฏิโมกข์ เพราะเปรียบกับ

โมกขะนั้น. จริงอยู่ ศีลสังวร เป็นเหตุทำพระนิพพานให้เกิดขึ้น เหมือน

พระอาทิตย์ทำอรุณให้เกิด และมีส่วนเปรียบด้วยพระนิพพานนั้น เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 394

ทำกิเลสให้ดับตามสมควร. ปฏิโมกข์นั้นแหละ เป็นปาฏิโมกข์. อีกอย่าง

หนึ่ง ชื่อว่า ปฏิโมกข์ เพราะแปรไป คือทำทุกข์ให้พ้นไป. ปฏิโมกข์

นั้นแหละ เป็นปาฏิโมกข์ ในข้อนี้ พึงทราบความศัพท์ว่า ปาฏิโมกข์

เท่านี้ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่า สังวร เพราะเป็นเครื่องปิดกั้น. สังวร คือปาฏิโมกข์ ชื่อว่า

ปาฏิโมกขสังวร. แต่เมื่อว่าโดยความหมาย ได้แก่งดเว้นจากโทษที่พึง

ก้าวล่วงนั้น ๆ และเจตนา. ภิกษุผู้เข้าถึง ประกอบด้วยปาฏิโมกขสังวรนั้น

ท่านเรียกว่า ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวร. สมจริงดังที่ตรัสไว้ในคัมภีร์

วิภังค์ว่า ภิกษุ เป็นผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อม มาถึง มาถึงพร้อม เข้าใกล้

เข้าใกล้พร้อม ประกอบด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ผู้สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวร. บทว่า วิหรติ ความว่า ย่อมอยู่ คือผลัด-

เปลี่ยน ได้แก่ผลัดเปลี่ยนไป ด้วยอิริยาบถวิหาร.

บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน ความว่า ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาจาระ

และโคจร เพราะเว้นอนาจารทั้งปวง เหตุไม่ทำมิจฉาชีพมีการให้ไม้ไผ่

เป็นต้น และการคะนองกายเป็นต้น แล้วประกอบด้วยอาจารสมบัติอัน

สมควรแก่ภิกษุ ที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า การไม่ล่วงละเมิดทางกาย ทางวาจา

และทั้งทางกายทั้งทางวาจา และเว้นอโคจร มีหญิงแพศยาเป็นต้น แล้ว

ประกอบด้วยโคจร กล่าวคือที่อันสมควรเข้าไปบิณฑบาตเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุใด มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา มีความ

เคารพยำเกรงในเพื่อนสพรหมจารี ถึงพร้อมด้วยหิริโอตตัปปะ นุ่งห่ม

เรียบร้อย มีการก้าวไป ก้าวกลับ แลดู เหลียวดู คู้เหยียด น่าเลื่อมใส

สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ คุ้มครองทวารในอินทรีย์ รู้จักประมาณในโภชนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 395

ถึงพร้อมด้วยความเพียร ประกอบด้วยสติและสัมปชัญญะ เป็นผู้มักน้อย

สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ กระทำความเคารพในอภิสมา-

จาริกวัตร มากด้วยความเคารพและยำเกรงอยู่ ภิกษุนี้ ท่านเรียกว่า

สมบูรณ์ด้วยอาจาระ.

ส่วน โคจรมี ๓ อย่าง คือ อุปนิสัยโคจร ๑ อารักขโคจร ๑ อุป-

นิพันธโคจร ๑ ใน ๓ อย่างนั้น ภิกษุใด ประกอบด้วยคุณ คือกถาวัตถุ

๑๐ มีมิตรดีงาม มีลักษณะดังกล่าวแล้ว ซึ่งอาศัยแล้ว ย่อมได้ฟังสิ่งที่

ยังไม่เคยฟัง ย่อมทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้ผ่องแผ้ว ตัดความสงสัยเสียได้

ทำความเห็นให้ตรง ทำจิตให้เลื่อมใส ซึ่งเมื่อศึกษาตาม ย่อมเจริญด้วย

ศรัทธา ด้วยศีล ด้วยสุตะ ด้วยจาคะ และด้วยปัญญา นี้ท่านเรียกว่า

อุปนิสัยโคจร. ภิกษุใด เข้าไปสู่ละแวกบ้าน เดินไปตามถนน มีตาทอดลง

แลดูชั่วแอก เดินสำรวมจักขุนทรีย์ไป ไม่เดินแลพลช้าง ไม่เดินแลพลม้า

ไม่เดินแลพลรถ ไม่เดนแลพลราบ ไม่เดินแลหญิง ไม่เดินแลชาย ไม่

แหงนดู ไม่ก้มดู ไม่เดินเหลียวแลดู ตามทิศน้อยใหญ่ นี้ ท่านเรียกว่า

อารักขโคจร. ส่วน อุปนิพันธโคจร ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔ อันเป็นที่ซึ่ง

ภิกษุเข้าไปผูกจิตของตนไว้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไร เป็นโคจร คือเป็นอารมณ์อันเป็นของบิดา

ของตนของภิกษุ คือสติปัฏฐาน ๔. ในโคจร ๓ อย่างนั้น เพราะอุปนิสัย-

โคจรท่านกล่าวไว้ก่อนแล้ว ในที่นี้พึงทราบโคจร ๒ อย่างนอกนั้น. ภิกษุ

นั้นชื่อว่าผู้สมบูรณ์ด้วยอาจาระและโคจร เพราะประกอบด้วยอาจารสมบัติ

ตามที่กล่าวแล้ว และโคจรสมบัตินี้ ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 396

บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี ความว่า ผู้มีปกติเห็นภัย

ในโทษ ต่างด้วยเสขิยสิกขาบทที่ภิกษุไม่แกล้งต้อง และอกุศลจิตตุปบาท

เป็นต้น ชื่อว่ามีประมาณน้อย เพราะมีประมาณเล็กน้อย. จริงอยู่ ภิกษุใด

เห็นโทษมีประมาณน้อย กระทำให้เป็นเหมือนขุนเขาสิเนรุสูง ๑๐๐,๐๖๘

โยชน์ ฝ่ายภิกษุใด เห็นอาบัติเพียงทุพภาษิตซึ่งเป็นอาบัติเบากว่าอาบัติ

ทั้งปวง กระทำให้เหมือนอาบัติปาราชิก ภิกษุแม้นี้ ชื่อว่ามีปกติเห็นภัย

ในโทษมีประมาณน้อย. บทว่า สมาทาย สิกฺขติ สิกฺขาปเทสุ ความว่า

ภิกษุยึดถือสิกขาบทที่ควรศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสิกขาบททั้งหลาย

ทั้งหมด โดยไม่มีส่วนเหลือ โดยประการทั้งปวง ศึกษาอยู่ อธิบายว่า

ย่อมประพฤติ คือทำให้บริบูรณ์โดยชอบ.

บทว่า อภิสลฺเลขิกา ได้แก่ ผู้มีปกติขัดเกลากิเลสอย่างเข้มงวด

คือเป็นผู้สมควรเพื่อละกิเลสเหล่านั้นโดยทำให้เบาบาง. บทว่า เจโตวิวรณ-

สปฺปยา ได้แก่ เป็นสัปปายะของสมถะและวิปัสสนา กล่าวคือเปิดจิต โดย

กระทำนิวรณ์อันเป็นตัวปกปิดจิตให้ห่างไกล. สมถะและวิปัสสนานั้นแหละ

เป็นสัปปายะ คือเป็นอุปการะแก่การเปิดจิต หรือการกระทำจิตนั้นแหละ

ให้ปรากฏ เหตุฉะนั้น จึงชื่อว่า เจโตวิวรณสัปปยา เป็นสัปปายะในการ

เปิดจิต.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงเหตุเครื่องนำมาซึ่งความเบื่อหน่ายเป็นต้น อัน

เป็นกถาขัดเกลากิเลสและเป็นสัปปายะในการเปิดจิต จึงตรัสคำมีอาทิว่า

เอกนฺตนิพฺพิทาย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกนฺตนิพฺพิทาย ได้แก่ เพื่อหน่าย

จากวัฏทุกข์โดยแท้จริงทีเดียว. บทว่า วิราคาย นิโรธาย ได้แก่ เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 397

คลายและเพื่อดับวักทุกข์นั้น ๆ แหละ. บทว่า อุปสมาย ได้แก่ เพื่อสงบ

สรรพกิเลส. บทว่า อภิญฺาย ได้แก่ เพื่อรู้ยิ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่งแม้

ทั้งหมด. บทว่า สมฺโพธาย ได้แก่ เพื่อตรัสรู้มรรคจิต ๔. บทว่า

นิพฺพานาย ได้แก่ เพื่ออนุปาทิเสสนิพพานธาตุ. ก็บรรดาบทเหล่านี้

ตรัสวิปัสสนาด้วยบท ๓ ข้างต้น. ตรัสมรรคด้วยบททั้ง ๒ ตรัสนิพพาน

ด้วยบททั้ง ๒. ท่านแสดงว่า อุตริมนุสธรรมทั้งหมดนี้ เริ่มต้นแต่สมถะ

และวิปัสสนาจนถึงนิพพานเป็นที่สุด ย่อมเกิดมีแก่ผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐.

บัดนี้ เมื่อจะทรงจำแนกแสดงกถานั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อปฺ-

ปิจฺฉกกถา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปิจฺโฉ แปลว่า ผู้ไม่ปรารถนา.

กถาแห่งอัปปิจฉะนั้น ชื่อว่า อัปปิจฉกถา หรือกถาที่เกี่ยวด้วยความเป็น

ผู้มักน้อย ชื่อว่า อัปปิจฉกถา. ก็ในที่นี้ ว่าด้วยอำนาจความปรารถนา

มีบุคคล ๔ จำพวก คือ อตฺริจฺโฉ ผู้ปรารถนายิ่ง ๆ ขึ้น ๑ ปาปิจฺโฉ ผู้

ปรารถนาลามก ๑ มหิจฺโฉ ผู้มักมาก ๑ อปฺปิจฺโฉ ผู้มักน้อย ๑. ใน

บุคคล ๔ จำพวกนั้น ผู้ไม่อิ่มลาภตามที่ตนได้มา ปรารถนาลาภยิ่ง ๆ ขึ้น

ชื่อว่า อัตริจฉะ ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า

ท่านได้เสวยนางเวมาณิกเปรต ๔ นาง ได้ประ-

สบ ๘ นาง ได้เสวยนางเวมาณิกเปรต ๘ นาง ได้

ประสบ ๑๖ นาง ได้เสวยนางเวมาณิกเปรต ๑๖ นาง

ได้ประสบ ๓๒ นาง เป็นผู้มักมากเกินไป จึงมายินดี

จักรกรด จักรกรดย่อมพัดผันบนกระหม่อนของท่าน

ซึ่งถูกความอยากนำมา ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 398

และที่ตรัสว่า บุคคลผู้อยากได้เกินส่วน ย่อมเสื่อมจากประโยชน์

เพราะโลภเกินไป และเพราะเมาในความโลภเกินไป. ผู้มีความประสงค์

ในการยกย่องคุณที่ไม่มีอยู่ ชื่อว่าผู้ปรารถนาลามก เพราะมีความต้องการ

ในลาภสักการะและเสียงเยินยอ ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า ในบาปธรรม

เหล่านั้น การหลอกลวงเป็นไฉน การดำรงอิริยาบถ กิริยาที่ดำรงอิริยาบถ

ความดำรงอิริยาบถไว้ด้วยดี ด้วยการเสพปัจจัยหรือด้วยการพูดเลียบเคียง

ของผู้ปรารถนาลามกถูกความอยากครอบงำ อาศัยในลาภสักการะและเสียง

เยินยอ ดังนี้เป็นต้น. ผู้มีความประสงค์ในการยกย่องคุณที่มีอยู่ และไม่

รู้ประมาณในการรับ ชื่อว่าผู้มักมาก ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า บุคคล

บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ปรารถนาว่า ขอคนจงรู้จักเราว่าเป็น

ผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีศีลย่อมปรารถนาว่า ขอคนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศีล

ดังนี้เป็นต้น. จริงอย่างนั้น แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้า ก็ไม่สามารถจะเอา

ใจเขาได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

บุคคลผู้ให้ปัจจัยเป็นอันมากเป็นเล่มเกวียน ก็ไม่

พึงยังแม้สภาวะ ๓ เหล่านี้ คือกองไฟ ๑ มหาสมุทร ๑

บุคคลผู้มักมาก ๑ ให้เต็มได้.

บุคคลเว้นโทษ มีความเป็นผู้ปรารถนาเกินไปเป็นต้นเหล่านี้ให้ห่าง

ไกล แล้วมีความประสงค์ซ่อนคุณที่มีอยู่ และรู้จักประมาณในการรับ

ชื่อว่าเป็นผู้มักน้อย. เพราะเขาปรารถนาจะปกปิดคุณแม้ที่มีอยู่ในตน

ถึงจะมีศรัทธา ก็ไม่ปรารถนาว่า ขอคนจงรู้จักเราว่ามีศรัทธา ถึงจะมีศีล

มีสุตะมาก ชอบสงัด ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีใจเป็นสมาธิ

มีปัญญา ก็ไม่ปรารถนาว่า ขอคนจงรู้จักเราว่ามีปัญญา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 399

บุคคลมักน้อยนี้นั้น มี ๔ จำพวก คือ ผู้มักน้อยในปัจจัย ๑ ผู้มัก

น้อยในธุดงค์ ๑ ผู้มักน้อยในปริยัติ ๑ ผู้มักน้อยในอธิคม ๑ ใน ๔ จำพวก

นั้น ผู้มักน้อยในปัจจัย ๔ ตรวจดูผู้ให้ปัจจัย ไทยธรรม และกำลังของ

ตน ก็แม้ถ้าไทยธรรมมีมาก ทายกประสงค์จะถวายน้อย ก็รับแต่น้อย

ด้วยอำนาจทายก. ถ้าไทยธรรมมีน้อย ทายกประสงค์จะถวายมาก ก็รับ

แต่น้อย ด้วยอำนาจไทยธรรม. ถ้าแม้ไทยธรรมมีมากทั้งทายกก็ประสงค์

จะถวายมาก ควรจะรู้กำลังของตน แล้วรับแต่พอประมาณเท่านั้น. ก็ภิกษุ

เห็นปานนี้ ย่อมทำลาภที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ย่อมทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้

มั่นคง ยังจิตทายกทั้งหลายให้ยินดี. ก็ผู้ไม่ประสงค์จะให้รู้ว่า การสมาทาน

ธุดงค์มีอยู่ในตน ชื่อว่าผู้มักน้อยในธุดงค์. ผู้ใด ไม่ปรารถนาเพื่อจะ

ให้ผู้อื่นรู้ว่าตนเป็นพหูสูต ผู้นี้ ชื่อว่าผู้มักน้อยในปริยัติ. ส่วนผู้ใด

เป็นพระอริยบุคคลชั้นโสดาบันเป็นต้นรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ปรารถนาจะให้

เพื่อนสพรหมจารีรู้ว่าตนเป็นพระโสดาบันเป็นต้น ผู้นี้ ชื่อว่าผู้มักน้อย

ในอธิคม. กถา อันเป็นไปด้วยสามารถประกาศโทษและอานิสงส์มีอาการ

เป็นอเนก และด้วยสามารถประกาศโทษของอิจฉาจาร อันมีความเป็น

ผู้ปรารถนาเกินเป็นต้น เป็นปฏิปักษ์ต่อความมักน้อยนั้น พร้อมกับวิธี

มีการชี้ถึงความยินดีความมักน้อย ของบุคคลผู้มักน้อยนี้ ชื่อว่ากถาว่า

ด้วยความมักน้อย ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า สนฺตุฏฺิ ในคำว่า สนฺตุฏฺิกถา นี้ ได้แก่ ความยินดีด้วย

ของ ๆ ตน คือด้วยของที่ตนได้มา ชื่อว่าสันตุฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง

การละความปรารถนาปัจจัยที่ไม่สม่ำเสมอ แล้วยินดีปัจจัยที่สม่ำเสมอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 400

ชื่อว่าสันตุฏฐิ. อีกอย่างหนึ่ง ความยินดีด้วยของที่มีอยู่ คือปรากฏอยู่

ชื่อว่าสันตุฏฐิ. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ผู้ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่เป็นอดีต ไม่บ่นถึงสิ่งที่เป็น

อนาคต ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยสิ่งเป็นปัจจุบัน ท่าน

เรียกว่า ผู้สันโดษ.

อีกอย่างหนึ่ง ความยินดีด้วยปัจจัยโดยวิธีที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

อนุญาตแล้ว ด้วยญายธรรมโดยชอบ ชื่อว่าสันตุฏฐิ โดยอรรถ ได้แก่

ความสันโดษในปัจจัยตามที่ตามได้. สันโดษนั้นมี ๑๒ อย่าง อะไรบ้าง

คือ ความสันโดษในจีวรมี ๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ ๑ ยถาพล-

สันโดษ ๑ ยถาสารุปปสันโดษ ๑. สันโดษในบิณฑบาตเป็นต้นก็เหมือน

กัน.

ในสันโดษเหล่านั้น มีสังวรรณนาโดยประเภทดังต่อไปนี้ ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้ ได้จีวรดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วย

จีวรนั้นนั่นแหละ ไม่ปรารถนาจีวรอื่น ถึงจะได้ก็ไม่รับ อาการของภิกษุ

นั้นนี้ ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในจีวร. แต่ครั้นเธอทุพพลภาพตามปกติ

หรือถูกความเจ็บและชราครอบงำ เธอห่มจีวรหนัก ย่อมลำบาก เธอ

เปลี่ยนจีวรหนักนั้นกับภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวร

เบา ก็ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษแท้ อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาลาภ-

สันโดษในจีวร. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้จีวรมีค่ามากผืนใดผืนหนึ่ง มีจีวร

ผ้าไหมเป็นต้น คิดว่า นี้ สมควรแก่พระเถระผู้บวชนาน นี้ สมควรแก่

พระเถระผู้เป็นพหูสูต นี้ สมควรแก่พระเถระผู้เป็นไข้ นี้ สมควรแก่

พระเถระผู้มีลาภน้อย จึงถวายแก่พระเถระเหล่านั้น แล้วแสวงผ้าที่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 401

ชายจากกองหยากเยื่อเป็นต้นด้วยตนเอง ทำสังฆาฏิ หรือรับจีวรเก่าของ

ท่านเหล่านั้นมาครอง ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษโดยแท้. อาการของภิกษุนั้น

นี้ ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในจีวร. อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

ได้บิณฑบาตที่ปอนๆ หรือประณีต เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยบิณฑ-

บาตนั้นนั่นแหละ ไม่ปรารถนาบิณฑบาตอื่น ถึงจะได้ก็ไม่รับ อาการ

ของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในบิณฑบาต. ก็ครั้นเธอเจ็บไข้

บริโภคบิณฑบาตที่ปอน ๆ อันเป็นของแสลงตามปกติหรือแสลงต่อความ

เจ็บไข้ ถึงความเป็นผู้มีโรคหนัก เธอถวายแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน บริโภค

โภชนะอันเป็นสัปปายะจากมือของภิกษุผู้ชอบพอกันนั้น กระทำสมณธรรม

ก็ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษแท้ อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ

ในบิณฑบาต. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้บิณฑบาตที่ประณีต เธอคิดว่า

บิณฑบาตนี้สมควรแก่พระเถระผู้บวชนานเป็นต้น ถวายแก่พระเถระ

เหล่านั้นเหมือนจีวร หรือถือเอาบาตรอันเป็นของ ๆ พระเถระเหล่านั้น

เที่ยวไปบิณฑบาตด้วยตนเอง แล้วฉันอาหารผสม จัดว่าเป็นผู้สันโดษแท้

อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่ายถาสารุปปสันโดษในบิณฑบาต. ก็เสนาสนะ

ที่ถึงแก่ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ จะเป็นที่พอใจหรือไม่พอใจก็ตาม โดยที่สุด

กระท่อมที่มุงด้วยหญ้าก็ดี ที่ลาดด้วยหญ้าก็ดี เธอย่อมยินดีด้วยเสนาสนะ

นั้นนั่นแหละ หรือเสนาสนะอื่นที่ดีกว่าซึ่งมาถึงเข้าอีก ก็ไม่รับ อาการ

ของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในเสนาสนะ. ก็เมื่อเธออาพาธ

มีร่างกายทุรพล ได้เสนาสนะที่แสลงตามปกติหรือแสลงแก่ความป่วยไข้

เมื่ออยู่ก็ไม่มีความผาสุก เธอถวายเสนาสนะนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกันเสีย

อยู่ในเสนาสนะอันเป็นสัปปายะเป็นของภิกษุผู้ชอบพอกันนั้น กระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 402

สมณธรรม ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษแท้ อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาพล-

สันโดษในเสนาสนะ. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ไม่รับเสนาสนะที่ดี แม้ที่ถึงเข้า

ด้วยคิดว่า เสนาสนะนี้เป็นของประณีต เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท หรือ

ได้เสนาสนะอันประณีตมีถ้ำ มณฑป และกูฏาคางเป็นต้น เพราะค่าที่เธอ

มีบุญมาก เธอถวายเสนาสนะเหล่านั้น แก่พระเถระผู้บวชนานเป็นต้น

เหมือนจีวรเป็นต้น ถึงจะอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษโดยแท้

อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในเสนาสนะ.

อนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ได้เภสัชปอน ๆ หรือประณีต

เธอยินดีด้วยเภสัชนั้นนั่นแหละ ไม่ปรารถนาเภสัชอื่น ถึงจะได้ก็ไม่รับ

อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในคิลานปัจจัย. ก็ครั้นเธอ

ต้องการน้ำมัน ได้น้ำอ้อย เธอถวายน้ำอ้อยนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน

ประกอบเภสัชด้วยน้ำมัน จากมือของภิกษุผู้ชอบพอกันนั้น กระทำ

สมณธรรม ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษแท้ อาการของภิกษุนั้นนี้ ชื่อว่ายถาพล-

สันโดษในคิลานปัจจัย. ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เภสัชที่ประณีตมี

น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้นเป็นอันมาก เธอถวายเภสัชนั้นแก่

พระเถระผู้บวชนานเป็นต้น เหมือนจีวรเป็นต้น ประกอบเภสัช ด้วยวัตถุ

อย่างใดอย่างหนึ่งที่ตนได้มาแก่พระเถระเหล่านั้น ก็จัดว่าเป็นผู้สันโดษแท้

ส่วนภิกษุใด วางสมอดองด้วยน้ำมูตรเน่าในภาชนะหนึ่ง วางจตุมธุรสไว้

ในภาชนะหนึ่ง เมื่อเขาพูดว่า สิ่งใดที่ท่านต้องการเอาไปเถิดครับ ถ้าโรค

ของเธอระงับไปด้วยเภสัชขนานใดขนานหนึ่งบรรดาเภสัชเหล่านั้น เธอ

อนุสรณ์ถึงพระดำรัสว่า ชื่อว่าสมอดองด้วยน้ำมูตรเน่านี้ บัณฑิตมีพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว บรรพชาอาศัยเภสัชที่ดองด้วยน้ำมูตรเน่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 403

เธอพึงกระทำความอุตสาหะในข้อนั้นตลอดชีวิตเถิด จึงห้ามจตุมธุรส

ประกอบเภสัช ด้วยสมอดองน้ำมูตรเน่า จัดว่าเป็นผู้สันโดษอย่างยิ่งทีเดียว

อาการของภิกษุนั้นนี้ชื่อว่า ยถาสารูปปสันโดษในคิลานปัจจัย. สันโดษ

ทั้งหมดซึ่งมีประเภทดังกล่าวแล้วนั้น ท่านเรียกว่า สันตุฏฐี. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า โดยอรรถก็คือ อิตริตรปัจจยสันโดษ สันโดษด้วยปัจจัย

ตามมีตามได้. กถาที่เป็นไปด้วยอำนาจประกาศอานิสงส์ของสันตุฏฐินั้น

พร้อมกับวิธีที่ชี้แนะเป็นต้น และด้วยอำนาจประกาศโทษของภิกษุผู้ตก

อยู่ในความอยากอันต่างด้วยความปรารถนาเกินไปเป็นต้น อันเป็นปฏิปักษ์

ต่อความสันโดษนั้น ชื่อว่า สันตุฏฐิกถา. แม้ในกถาอื่นจากนี้ ก็นัยนี้

เหมือนกัน. ข้าพเจ้า จักกล่าวแต่เพียงความแปลกกันเท่านั้น.

วิเวก ในบทว่า ปวิเวกกถา นี้ มี ๓ อย่าง คือ กายวิเวก ๑

จิตวิเวก ๑ อุปธิวิเวก ๑ ใน ๓ อย่างนั้น ความที่ภิกษุละความอยู่คลุก

คลีด้วยหมู่แล้วอยู่สงัดในกิจทั้งปวงในทุกอิริยาบถอย่างนี้ คือ รูปหนึ่งเดิน

รูปหนึ่งยืน รูปหนึ่งนั่ง รูปหนึ่งนอน รูปหนึ่งเข้าบ้านบิณฑบาต รูป

หนึ่งกลับ รูปหนึ่งก้าวไป รูปหนึ่งอธิษฐานจงกรม รูปหนึ่งเที่ยวไป

รูปหนึ่งอยู่ ชื่อว่ากายวิเวก. อนึ่ง สมาบัติ ๘ ชื่อว่า จิตวิเวก. พระ-

นิพพาน ชื่อว่าอุปธิวิเวก. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่าก็สำหรับผู้

ปลีกกายออกผู้ยินดีในเนกขัมมะ จัดเป็นกายวิเวก สำหรับผู้มีจิตบริสุทธิ์

ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง จัดเป็นจิตวิเวก สำหรับผู้หมดอุปธิกิเลสผู้ถึง

วิสังขาร จัดเป็นอุปธิวิเวก. วิเวกนั้นแหละ คือปวิเวก. กถาที่เกี่ยวด้วย

ความสงัด ชื่อว่าปวิเวกกถา.

สังสัคคา ในบทว่า อสสคฺคกถา นี้ มี ๕ อย่าง คือ สวนสังสัคคะ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 404

ทัสสนสังสัคคะ ๑ สมุลลปนสังสัคคะ ๑ สัมโภคสังสัคคะ ๑ กายสังสัค-

คะ ๑ ใน ๕ อย่างนั้น ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ได้ยินว่า หญิงในบ้าน

หรือนิคมโน้นมีรูปงาม น่าชม น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มีสีกาย

งามอย่างยิ่ง เธอได้ยินดังนั้นแล้ว (มีจิต) ซ่านไป แผ่ไป ไม่สามารถจะ

ดำรงพรหมจรรย์อยู่ได้ จึงลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ ความสนิทสนมด้วยกิเลส

เกิดขึ้น โดยได้ฟังวิสภาคารมณ์ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า สวนสังสัคคะ

ภิกษุหาได้ฟังเช่นนั้นไม่ เธอย่อมเห็นหญิงงามเอง น่าดู น่าเลื่อมใส ประ-

กอบด้วยสีกายงดงามอย่างยิ่ง เธอพอเห็นเท่านั้น (มีจิต) ซ่านไป แผ่ไป

ไม่สามารถจะดำรงพรหมจรรย์อยู่ได้ จึงลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ ความสนิท

สนมด้วยกิเลสที่เกิดขึ้น โดยได้เห็นวิสภาคารมณ์ด้วยอาการอย่างนี้ ชื่อว่า

ทัสสนสังสัคคะ ก็แลเพราะได้เห็น ความสนิทสนมด้วยกิเลสเกิดขึ้น

โดยการเจรจาปราศรัยกันและกัน ชื่อว่า สมุลลปนสังสัคคะ ด้วยการ

เจรจาปราศรัยนี้แหละ จึงรวมเข้ากับการกระซิกกระซี้เป็นต้นก็ได้. ก็

เพราะสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นของตนที่ให้ก็ตาม ไม่ให้ก็ตามแก่มาตุคาม ความ

สนิทสนมด้วยกิเลสเกิดขึ้น ด้วยการให้สิ่งที่มีค่าที่ตนให้เป็นต้น ชื่อว่า

สัมโภคสังสัคคะ ความสนิทสนมด้วยกิเลสเกิดขึ้น ด้วยการจับมือมาตุคาม

เป็นต้น ชื่อว่า กายสังสัคคะ ความที่ภิกษุละความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์

อันไม่เป็นไปตามอนุโลม และความคลุกคลีอันเป็นเหตุเกิดกิเลสกับเพื่อน

สพรหมจารีทั้งหลายที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์อยู่

มีความคลุกคลีอันไม่เป็นไปตามอนุโลม มีโศกด้วยกัน ยินดีด้วยกัน

เมื่อเขาสุขก็สุข เมื่อเขาทุกข์ก็ทุกข์ ถึงความขวนขวายในกรณียกิจที่เกิด

ขึ้นด้วยตนเอง ดังนี้ทั้งหมดเสียได้ เข้าไปตั้งเฉพาะซึ่งธรรมทั้งปวง คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 405

ความสังเวชในสงสารอันมั่นคงกว่า ความสำคัญในสิ่งที่มีสังขารว่าเป็นภัย

อย่างแรงกล้า ความสำคัญในร่างกายว่าเป็นสิ่งปฏิกูล มีหิริและโอตตัปปะ

อันมีการเกลียดอกุศลทั้งหมดเป็นตัวนำ ทั้งมีสติและสัมปชัญญะในการ

กระทำทุกอย่าง แล้วไม่มีความติดข้องในธรรมทั้งปวง เหมือนหยาดน้ำ

ไม่ติดบนใบบัวฉะนั้นนี้ ชื่อว่าอสังสัคคะ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อสังสัคคะ

ทั้งปวง กถาอันเกี่ยวด้วยอสังสัคคะ ชื่อว่า อสังสัคคกถา.

ในบทว่า วีริยารมฺภกถา นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. ภาวะแห่งบุคคล

ผู้แกล้วกล้า หรือกรรมแห่งบุคคลผู้แกล้วกล้า เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าวิริยะ

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิริยะ เพราะอันบุคคลพึงดำเนินไป คือ พึงให้เป็น

ไปตามวิธี ก็ความเพียรนั้น คือ การเริ่มเพื่อละอกุศลธรรม (และ)

ให้กุศลธรรมเกิดขึ้น ชื่อว่า วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร. วิริยา-

รัมภะนั้น มี ๒ อย่าง คือ เป็นไปทางกาย ๑ เป็นไปทางจิต ๑

มี ๓ อย่าง คือ อารัมภธาตุ ๑ นิกกมธาตุ ๑ ปรักกมธาตุ ๑ มี ๔

อย่างด้วยอำนาจสัมมัปปธาน ๔. วิริยารัมภะทั้งหมดนั้น พึงทราบด้วย

อำนาจการปรารภความเพียรอย่างนี้ ของภิกษุผู้ไม่ให้กิเลสที่เกิดขึ้นใน

ตอนเดินถึงในตอนยืน ที่เกิดในตอนยืนไม่ให้ถึงตอนนั่ง ที่เกิดขึ้นใน

ตอนนั่งไม่ให้ถึงตอนนอน ข่มไว้ด้วยพลังความเพียรไม่ให้เงยศีรษะขึ้นได้

ในอิริยาบถนั้น ๆ เหมือนคนเอาไม้มีลักษณะดังเท้าแพะกดงูเห่าไว้ และ

เหมือนเอาดาบที่คมกริบฟันคอศัตรูฉะนั้น. กถาอันเกี่ยวด้วยวิริยารัมภะ

นั้น ชื่อว่า วิริยารัมภกถา

ศีลในบทว่า ศีลกถาเป็นต้น มี ๒ อย่าง คือ โลกิยศีล ๑ โลกุตร-

ศีล ๑. ในศีล ๒ อย่างนั้น โลกิยศีล ได้แก่ปาริสุทธิศีล ๔ มีปาติ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 406

โมกขสังวรศีลเป็นต้น. โลกุตรศีล ได้แก่มรรคศีล และผลศีล. อนึ่ง

สมาบัติ ๘ พร้อมด้วยอุปจาระอันเป็นบาทแห่งวิปัสสนา ชื่อว่าโลกิยสมาธิ

ก็ในที่นี้ สมาธิที่สัมปยุตด้วยมรรค ชื่อว่า โลกุตรสมาธิ. ฝ่ายปัญญา

ก็เหมือนกัน ที่สำเร็จด้วยการฟัง สำเร็จด้วยการคิด ที่สัมปยุตด้วยฌาน

และวิปัสสนาญาณ จัดเป็นโลกิยปัญญา แต่ในที่นี้ เมื่อว่าโดยพิเศษ

พึงยึดเอาวิปัสสนาปัญญา. ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล จัดเป็น

โลกุตรปัญญา. แม้วิมุตติ ก็ได้แก่วิมุตติอันสัมปยุตด้วยอริยผล และ

นิพพาน. ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่ง พรรณนาความในข้อนี้ไว้ ด้วย

อำนาจแม้ตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ และสมุจเฉทวิมุตติ. แม้วิมุตติ-

ญาณทัสสนะ ก็ได้แก่ปัจจเวกขณญาณ ๑๙. กถาอันเป็นไปด้วยอำนาจ

การประกาศโทษและอานิสงส์ มีอาการเป็นอเนกแห่งคุณมีศีลเป็นต้น

เหล่านี้ พร้อมด้วยวิธีมีการชี้แจงเป็นต้น และด้วยอำนาจการประกาศโทษ

แห่งความเป็นผู้ทุศีลเป็นต้น อันเป็นข้าศึกต่อคุณมีศีลเป็นต้นนั้น หรือ

กถาอันเกี่ยวด้วยอานิสงส์และโทษของศีลนั้น ชื่อว่ากถาว่าด้วยศีลเป็นต้น.

ก็ในที่นี้ เพราะพระบาลีมีอาทิว่า ภิกษุเป็นผู้มักน้อยด้วยตนเอง

ทั้งกระทำกถาว่าด้วยความมักน้อยแก่ผู้อื่น และชื่อว่าเป็นผู้สันโดษด้วยจีวร

ตามมีตามได้ ทั้งประกาศแห่งความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ กถา

เห็นปานนั้น อันภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้มักน้อยเป็นต้น ด้วย

ตนเอง พึงให้โทษเป็นไปตามอัธยาศัยเกื้อกูลแม้แก่คนเหล่าอื่น เพื่อประ-

โยชน์แก่ความมักน้อยและสันโดษนั้น ซึ่งท่านกล่าวไว้โดยพิเศษด้วยความ

เป็นผู้ขัดเกลาอย่างยิ่งเป็นต้น ในที่นี้ พึงทราบว่า กถาว่าด้วยความมักน้อย

เป็นต้น. จริงอยู่ กถาของผู้กระทำนั่นแหละย่อมทำประโยชน์ตามที่ประ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 407

สงค์ให้สำเร็จโดยพิเศษ. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อน

เมฆิยะ นี้เป็นความหวังของภิกษุผู้กัลยาณมิตร ฯ ล ฯ เป็นการได้โดยไม่ยาก.

บทว่า เอวรูปาย ได้แก่ เช่นนี้ คือตามที่กล่าวแล้ว. บทว่า นิกามลาภี

ความว่า เป็นผู้ได้ตามปรารถนา คือได้ตามความชอบใจ ได้แก่ได้ตาม

สะดวกเพื่อจะฟังและวิจารณ์กถาเหล่านี้ทุกเวลา. บทว่า อกิจฺฉลาภี ได้แก่

เป็นผู้ได้โดยไม่ยาก. บทว่า อกสิรลาภี ได้แก่ เป็นผู้ได้โดยไพบูลย์.

บทว่า อารทฺธวีริโย ได้แก่ ประคองความเพียรไว้. บทว่า อกุสลาน

ธมฺมาน ปหานาย ได้แก่ เพื่อจะละบาปธรรม ที่ชื่อว่าอกุศล เพราะ

อรรถว่าเกิดจากความเป็นผู้ไม่ฉลาด. บทว่า กุสลาน ธมฺมาน ได้แก่

ธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคและผล พร้อมทั้งวิปัสสนา ที่ชื่อว่ากุศล เพราะ

อรรถว่าตัดบาปธรรมอันบัณฑิตเกลียดเป็นต้น และเพราะอรรถว่าไม่มี

โทษ. บทว่า อุปสมฺปทาย ได้แก่ ให้ถึงพร้อม คือให้เกิดขึ้นใน

สันดานตน. บทว่า ถามว่า ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยกำลังความเพียรกล่าว

คือความอุตสาหะ. บทว่า ทฬฺหปรกฺกโม ได้แก่ มีความบากบั่นมั่น คือ

มีความเพียรไม่ย่อหย่อน. บทว่า อนิกฺขิตฺตธุโร ได้แก่ ไม่ทอดทิ้งธุระ

คือมีความเพียรไม่ท้อถอย.

บทว่า ปญฺวา ได้แก่ ผู้มีปัญญาด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วย

วิปัสสนา. บทว่า อุทยตฺถคามินิยา ได้แก่ แทงตลอดถึงความเกิดขึ้น

และความดับไปแห่งเบญจขันธ์. บทว่า อริยาย ได้แก่ ห่างไกล คือ

ตั้งอยู่ในที่ไกลจากกิเลส ด้วยอำนาจวิกขัมภนวิมุตติ คือปราศจากโทษ.

บทว่า นิพฺเพธิกาย แปลว่า เป็นส่วนแห่งการตรัสรู้. บทว่า สมฺมา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 408

ทุกฺขกฺขยคามินิยา ได้แก่ บรรลุโดยชอบ คือโดยเหตุ โดยนัย ซึ่ง

อริยมรรคอันได้นามว่า ทุกขักขยะ เพราะทำวัฏทุกข์ให้สิ้นไป.

ก็แล ในธรรม ๕ ประการเหล่านี้ ศีล วิริยะ และปัญญา เป็นองค์

ภายใน ๒ องค์นอกนี้เป็นองค์ภายนอกสำหรับพระโยคี แม้ถึงอย่างนั้น

พระโยคีก็ยังปรารถนาธรรม ๘ ประการนอกนั้น โดยเป็นที่อาศัยของ

กัลยาณมิตรนั่นเอง. ในที่นี้ พระศาสดาเมื่อทรงแสดงว่า กัลยาณมิตร

นั่นแหละเป็นผู้มีอุปการะมาก จึงทรงเพิ่มพระธรรมเทศนาโดยนัยมีอาทิว่า

เมฆิยะ ข้อนี้ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตรพึงหวังได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาฏิกงฺข แปลว่า พึงหวังโดยส่วน

เดียว อธิบายว่า มีภาวะแน่แท้. บทว่า ย เป็นกิริยาปรามาส.

ท่านอธิบายคำนี้ว่า ในคำว่า สีลวา ภวิสฺสติ นี้มีอธิบายว่า ข้อที่ภิกษุ

ผู้มีมิตรดีงาม มีศีล คือ สมบูรณ์ด้วยศีลนั้น พึงหวังได้ เพราะภิกษุนั้น

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศีล คือเป็นผู้มีภาวะแน่นอน เพราะชักชวนเธอในข้อนั้น

โดยแท้จริงทีเดียว. แม้ในคำว่า ปาติโมกฺขสวรสวุโต วิหรติ ดังนี้เป็นต้น

ก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงศาสนสมบัติทั้งสิ้นโดยความเป็นผู้มี

กัลยาณมิตรเป็นต้น แต่ท่านเมฆิยะผู้ไม่เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระองค์ผู้

เป็นกัลยาณมิตรผู้สูงสุดในโลกพร้อมทั้งเทวโลก แล้วเข้าไปยังไพรสณฑ์

นั้น ถึงประการอันแปลกเช่นนั้น บัดนี้ จึงทรงประกาศภาวนานัยแก่เธอ

ผู้เกิดความเอื้อเฟื้อในไพรสณฑ์นั้น เพราะเธอถูกกามวิตกเป็นต้นประ-

ทุษร้ายในคราวก่อน และเพราะกามวิตกเป็นต้นเหล่านั้นเป็นข้าศึกโดย

ตรง กรรมฐานจึงไม่สำเร็จแก่เธอ ต่อแต่นั้น เมื่อจะตรัสบอก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 409

กรรมฐานแห่งพระอรหัต จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนเมฆิยะ ก็แลภิกษุ

นั้นพึงตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการนี้ แล้วพึงเจริญธรรม ๔ ประการนี้

ยิ่ง ๆ ขึ้นไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล

เป็นต้นตามที่กล่าวแล้ว โดยมีกัลยาณมิตรเป็นที่อาศัยอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น

นั่นแล จึงตรัสว่า ตั้งอยู่ในธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นต้น. บทว่า

อุตฺตรึ ความว่า หากอันตรายมีราคะเป็นต้น พึงเกิดขึ้นแก่ผู้ปรารภตรุณ-

วิปัสสนา เพื่อจะชำระอันตรายเหล่านั้นให้หมดจด เบื้องหน้าแต่นั้นพึง

เจริญ คือทำให้เกิด และพอกพูนธรรม ๔ ประการนั้น. บทว่า อสุภา

ได้แก่ เจริญอสุภกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งตามสมควรในบรรดาอสุภ-

กรรมฐาน ในเอกเทศหนึ่ง. บทว่า ราคสฺส ปหานาย ได้แก่ เพื่อละ

กามราคะ. บัณฑิตพึงประกาศเนื้อความนี้ด้วยอุปมาบุคคลผู้เกี่ยวข้าวสาลี.

จริงอยู่ ชายคนหนึ่งถือเคียวเกี่ยวข้าวสาลีในนาข้าวสาลี ตั้งแต่ที่สุดไป

ครั้นเหล่าโคแหกรั้วของเขาเข้าไป เขาก็วางเคียวถือไม้ไล่โคให้ออกไป

โดยทางนั้นนั่นแล แล้วทำรั้วให้เหมือนเดิมแล้วถือเคียวเกี่ยวข้าวสาลีอีก.

ในอุปมาข้อนั้น พระพุทธศาสนา พึงเห็นเหมือนนาข้าวสาลี พระโยคาวจร

เหมือนคนเกี่ยวข้าว มรรคปัญญาเหมือนเคียว เวลาทำกรรมในวิปัสสนา

เหมือนเวลาเกี่ยว อสุภกรรมฐานเหมือนไม้ สังวรเหมือนรั้ว การที่ราคะ

เกิดขึ้นเพราะอาศัยความประมาทโดยไม่พิจารณาทันทีทันใด เหมือนการ

ที่โคทั้งหลายพังรั้วไป เวลาที่ข่มราคะด้วยอสุภกรรมฐานแล้วเริ่มทำกรรม

ในวิปัสสนาอีก พึงเห็นเหมือนคนเกี่ยวข้าววางเคียวถือไม้ไล่โคให้ออกไป

โดยทางที่เข้ามานั่นแหละ ทำรั้วให้เหมือนเดิมแล้วเกี่ยวข้าวตั้งแต่ที่ที่ตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 410

ยืนอีก ในข้อนี้มีการเทียบเคียงอุปมาดังว่ามานี้. ทรงหมายเอาภาวนาวิธี

ซึ่งเป็นดังว่ามานี้ จึงตรัสว่า พึงเจริญอสุภะเพื่อละราคะ.

บทว่า เมตฺตา ได้แก่ กรรมฐานมีเมตตาเป็นอารมณ์. บทว่า

พฺยาปาทสฺส ปหานาย ได้แก่ เพื่อละความโกรธอันเกิดขึ้น โดยนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อานาปานสฺสติ ได้แก่ อานาปานสติอัน

มีวัตถุ ๑๖. บทว่า วิตกฺกุปจฺเฉทาย ได้แก่ เพื่อติดวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว

โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. บทว่า อสฺมิมานสมุคฺฆาตาย ได้แก่ เพื่อ

ถอนมานะ ๙ อย่างที่เกิดขึ้นว่าเรามี. บทว่า อนิจฺจสญฺิโน ได้แก่ ผู้มี

ความสำคัญว่าไม่เที่ยง ด้วยอนิจจานุปัสสนาที่เป็นไปว่า สังขารทั้งปวงชื่อว่า

ไม่เที่ยง เพราะมีแล้วกลับไม่มี เพราะมีความเกิดขึ้นและดับไปเป็นที่สุด

เพราะมีการแตกดับ เพราะเป็นไปชั่วขณะ เพราะปฏิเสธความเป็นของ

เที่ยง. บทว่า อนตฺตสญฺา สณฺาติ ได้แก่ อนัตตสัญญา กล่าวคือ

อนัตตานุปัสสนาที่เป็นไปอย่างนี้ว่า ธรรมทั้งปวงชื่อว่าเป็นอนัตตา เพราะ

ไม่มีแก่นสาร เพราะไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะเป็นอื่น เพราะว่าง

เพราะเปล่า และเพราะสูญ ย่อมไม่ดำรงอยู่ คือไม่ตั้งมั่นอยู่ในจิต.

จริงอยู่ เมื่อเห็นอนิจจลักษณะก็เป็นอันชื่อว่าเห็นอนัตตลักษณะเหมือนกัน.

ก็บรรดาลักษณะทั้ง ๓ เมื่อเห็นลักษณะหนึ่ง ก็เป็นอันชื่อว่าเห็นลักษณะ

๒ อย่างนอกนี้เหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า เมฆิยะ ก็อนัตตสัญญา

ย่อมดำรงอยู่แก่ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นของไม่เที่ยง. เมื่อเห็น

อนัตตลักษณะ มานะที่เกิดขึ้นว่าเรามี ก็ชื่อว่าละได้ด้วยนั่นเอง เพราะ-

เหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ผู้มีความสำคัญในสังขารว่าเป็นอนัตตา ย่อม

ถึงการถอนอัสมิมานะเสียได้. บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม นิพฺพาน ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 411

ย่อมบรรลุพระปรินิพพานอันหาปัจจัยมิได้ ในปัจจุบันนี้เอง คือในอัต-

ภาพนี้เอง. ในที่นี้มีความสังเขปเพียงเท่านี้ แต่เมื่อว่าโดยพิสดารนัยแห่ง

ภาวนาอันว่าด้วยอสุภกรรมฐานเป็นต้น ผู้ต้องการพึงตรวจดูโดยนัยที่กล่าว

ไว้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

บทว่า เอตมตฺถ วิหิตฺวา ความว่า ทรงทราบเนื้อความนี้ กล่าวคือ

การที่ท่านพระเมฆิยะถูกพวกโจรคือมิจฉาวิตกปล้นภัณฑะคือกุศล. บทว่า

อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดงโทษในการไม่บรรเทา

กามวิตกเป็นต้น และอานิสงส์ในการบรรเทากามวิตกเป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ขุทฺทา ได้แก่ เลว คือลามก. บทว่า

วิตกฺกา ได้แก่ บาปวิตก (อกุศลวิตก) ๓ มีกามวิตกเป็นต้น. ก็อกุศล-

วิตกเหล่านั้น ท่านเรียกขุททะในที่นี้ เพราะถูกวิตกทั้งปวงทำให้เลว

เหมือนในประโยคมีอาทิว่า ไม่พึงประพฤติเลว. บทว่า สุขุมา ท่าน

ประสงค์เอาความตรึกถึงญาติเป็นต้น. ก็วิตกเหล่านี้ คือความตรึกถึงญาติ

ตรึกถึงชนบท ตรึกถึงเทวดา ความตรึกที่เกี่ยวกับความเอ็นดูผู้อื่น ความ

ตรึกที่เกี่ยวด้วยลาภสักการะ และชื่อเสียง ความตรึกที่เกี่ยวกับความไม่

ดูหมิ่น ย่อมไม่ร้ายแรงเหมือนกามวิตกเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

สุขุมละเอียด เพราะมีสภาวะไม่หยาบ. บทว่า อนุคตา ได้เเก่ อนุวรรตน์

ไปตามจิต. จริงอยู่ เมื่อวิตกเกิดขึ้น จิตก็ไปตามวิตกนั้นแล เพราะยก

วิตกนั้นขึ้นสู่อารมณ์. บาลีว่า อนุคฺคตา ดังนี้ก็มี ความว่า อนุฏฺิตา

ไม่ตั้งมั่น. บทว่า มนโส อุพฺพิลาปา แปลว่า ทำจิตให้ฟุ้งซ่าน. บทว่า

เอเต อวิทฺวา มนโส วิตกฺเก ความว่า ไม่รู้ตามความเป็นจริงซึ่งมโนวิตก

มีกามวิตกเป็นต้นเหล่านั้น ด้วยญาตปริญญา ตีรณปริญญา และปหาน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 412

ปริญญา. โดยสลัดออกจากโทษคือความยินดี. บทว่า หุรา หุร ธาวติ

ภนฺติจิตฺโต ความว่า ชื่อว่ามีจิตไม่ตั้งมั่น เพราะยังละมิจฉาวิตกไม่ได้

จึงแล่นไป คือหมุนไป ๆ มา ๆ ด้วยอำนาจความยินดีเป็นต้นในอารมณ์

นั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า บางคราวในรูปารมณ์ บางคราวในสัททารมณ์

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า หุรา หุร ธาวติ ภนฺตจิตฺโต ความว่า มีจิตหมุน

ไปด้วยอำนาจอวิชชาและตัณหาอันมีวิตกนั้นเป็นเหตุ เพราะยังกำหนด

วิตกไม่ได้ จึงแล่นไป คือท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ โดยจุติและปฏิสนธิ จาก

โลกนี้สู่โลกหน้า. บทว่า เอเต จ วิทฺรา มนโส วิตกฺเก ความว่า แต่

รู้ตามความเป็นจริงโดยความยินดีเป็นต้น ซึ่งมโนวิตกมีกามวิตกเป็นต้นมี

ประเภทตามที่กล่าวแล้วนั้น. บทว่า อาตาปิโย แปลว่า มีความเพียร.

บทว่า สวรติ แปลว่า ย่อมปิด. บทว่า สติมา แปลว่า สมบูรณ์ด้วย

สติ. บทว่า อนุคฺคเต ได้แก่ ไม่เกิดขึ้นโดยอำนาจการได้ด้วยยาก. ท่าน

กล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า รู้มโนวิตกมีกามวิตกเป็นต้นมีประการดังกล่าวแล้ว

นั้น ว่าเป็นความฟุ้งซ่านแห่งใจ เพราะเป็นเหตุทำจิตให้ฟุ้งซ่าน คือ

รู้โดยชอบทีเดียวด้วยมรรคปัญญาอันประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ ชื่อว่าผู้มี

ความเพียร มีสติ เพราะมีสัมมาวายามะและสัมมาสติ ซึ่งมีมรรคปัญญานั้น

เป็นสหาย ปิดมโนวิตกเหล่านั้นที่ควรจะเกิดต่อไป ไม่ให้เกิดคือไม่ให้

ผุดขึ้นเลยในขณะมรรค ด้วยอริยมรรคภาวนา คือปิดกั้นด้วยญาณสังวร

ได้แก่ตัดความปรากฏ (ของวิตกเหล่านั้น) ก็พระอริยสาวกผู้เป็นอย่างนั้น

ชื่อว่าพุทธะ เพราะรู้สัจจะทั้ง ๔ ละขาด คือตัดขาดกามวิตกเป็นต้น

เหล่านั้นโดยไม่เหลือ คือไม่มีส่วนเหลือ เหตุบรรลุพระอรหัต. แม้ในบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 413

นี้ อาจารย์บางพวกล่าวว่า อนุคเต ดังนี้ก็มี. ความแห่งบท อนุคเต

นั้น ได้กล่าวไว้ในหนหลังแล้วแล.

จบอรรถกถาเมฆิยสูตรที่ ๑

๒. อุทธตสูตร

ว่าด้วยอำนาจแห่งมาร

[ ๙๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่สาลวัน อันเป็นที่เสด็จ

ประพาสของมัลลกษัตริย์ทั้งหลาย ใกล้กรุงกุสินารา ก็สมัยนั้นแล ภิกษุ

มากด้วยกันเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง กลับกลอก ปากกล้า วาจา

พล่อย มีสติหลงลืม ไม่สำนักตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่

สำรวมอินทรีย์ อยู่ในกุฎีที่เขาสร้างไว้ในป่า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาค-

เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นภิกษุเหล่านั้น ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน เย่อหยิ่ง

กลับกลอก ปากกล้า วาจาพล่อย มีสติหลงลืม ไม่สำนึกตัว มีจิตไม่

ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ อยู่ในกุฎีที่เขาสร้างไว้ในป่า

ในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ภิกษุมีกายไม่รักษาแล้ว เป็นมิจฉาทิฏฐิ และถูก

ถีนมิทธะครอบงำแล้ว ย่อมไปสู่อำนาจแห่งมาร

เพราะเหตุนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิต มีความดำริ

ชอบเป็นโคจร มุ่งสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า รู้ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 414

เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแล้วครอบงำถีนมิทธะ พึง

ละทุคติทั้งหมดได้.

จบอุทธตสูตรที่ ๒

อรรถกถาอุทธตสูตร

อุทธสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กุสินาราย ได้แก่ ใกล้นครของเจ้ามัลละ ชื่อว่ากุลินารา.

บทว่า อุปวตฺตเน มลฺลาน สาลวเน ความว่า อุทยานแห่งกุสินารานคร

มีอยู่ในทักษิณทิศและปัจฉิมทิศ เหมือนถูปารามแห่งอนุราธบุรี. ทางจาก

ถูปารามเข้าไปยังนคร โดยประตูด้านทักษิณทิศ ตรงไปด้านปาจีนทิศ

วกกลับทางด้านอุดรทิศ ฉันใด แนวไม้สาละจากอุทยานตรงไปด้าน

ปาจีนทิศวกกลับทางด้านอุตรทิศ ก็ฉันนั้น เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า

อุปวัตตนะ เป็นที่แวะเวียน ( ทางโค้ง). ในสาลวันของเจ้ามัลละอันเป็นที่

แวะเวียนนั้น. บทว่า อรญฺกุฏิกาย ได้แก่ กระท่อมที่สร้างไว้ในที่

อันดาดาษไปด้วยต้นไม้และกอไม้ ไม่ไกลจากแถวต้นสาละซึ่งท่านหมาย

กล่าวไว้ว่า อรญฺกุฏิกาย วิหรนฺติ. ก็ภิกษุเหล่านั้นเว้นการพิจารณา มี

ความเพียรย่อหย่อน อยู่ด้วยความประมาท. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

อุทฺธตา ดังนี้เป็นต้น.

ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ชื่อว่า อุทธตะ เพราะมีจิตไม่สงบ เหตุมาก

ไปด้วยอุทธัจจะ. มานะชื่อว่านฬะ เพราะเป็นเหมือนไม้อ้อ โดยเป็นของ

เปล่า. ภิกษุชื่อว่า อุนนฬะ เพราะมีนฬะ กล่าวคือมานะสูง อธิบายว่า

มีมานะสูงเปล่า. ชื่อว่า จปละ เพราะประกอบหรือมากไปด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 415

กวัดแกว่งมีประดับบาตรและจีวรเป็นต้น. ชื่อว่า มุขระ เพราะมีปากกล้า

เหตุมีวาจาหยาบ. ชื่อว่า วิกิณณวาจา เพราะมีวาจาพล่อย คือเหลวไหล

เหตุมากไปด้วยดิรัจฉานกถา. ชื่อว่า มุฏฐัสสติ เพราะมีสติหลงลืม.

อธิบายว่า เว้นจากสติ คืออยู่ด้วยความประมาท. ชื่อว่า อสัมปชานะ

เพราะไม่มีสัมปชัญญะโดยประการทั้งปวง. ชื่อว่า อสมาหิตะ เพราะมี

จิตไม่ตั้งมั่น โดยไม่มีความตั้งมั่นแห่งจิตตลอดเวลามีการพูดคุยเป็นประ-

มาณ. ชื่อว่า วิพภันตจิตตะ เพราะมีส่วนเปรียบด้วยมฤคตื่นตูม เหตุมี

ความโลเลเป็นสภาวะ. ชื่อว่า ปากตินทรีย์ เพราะเป็นผู้ไม่สำรวมอินทรีย์

โดยไม่สำรวมอินทรีย์มีมนินทรีย์เป็นที่ ๖.

บทว่า เอตมตฺถ วิหิตฺวา ความว่า ทรงทราบว่าภิกษุเหล่านั้นอยู่

ด้วยความประมาท ด้วยอำนาจอุทธัจจะเป็นต้นนี้. บทว่า อิม อุทาน

ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้อันประกาศโทษและอานิสงส์ตามลำดับ ใน

การอยู่ด้วยความประมาทและอยู่ด้วยความไม่ประมาท.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรกฺขิเตน ความว่า ชื่อว่าไม่คุ้มครอง

เพราะไม่มีสติเป็นอารักขา. บทว่า กาเยน ได้แก่ ด้วยกายวิญญาณ ๖.

ก็เพราะเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ แล้วไม่ใช้สติรักษาทวารแห่งวิญญาณ

โดยให้อภิชฌาเป็นต้นเกิดด้วยการถือนิมิตและอนุพยัญชนะในรูปนั้น. แม้

ในโสตวิญญาณก็นัยนี้เหมือนกัน. พระองค์ตรัสว่า อรกฺขิเตน กาเยน

หมายถึงความที่ภิกษุไม่รักษาวิญญาณกาย ๖ ด้วยอาการอย่างนี้. แต่

อาจารย์บางพวกกล่าวอรรถว่า กาเยน ดังนี้. พึงประกอบสติด้วยอรรถ-

โยชนาของอาจารย์บางพวกแม้เหล่านั้น โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า อรกฺขิเตน จิตฺเตน. อรรถของอาจารย์อีก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 416

พวกหนึ่งแม้นั้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิหเตน ได้แก่ ถูก

ความถือผิดว่าเที่ยงเป็นต้นประทุษร้ายแล้ว. บทว่า ถีนมิทฺธาภิภูเตน

ความว่า ถูกถีนะอันมีความที่จิตไม่ควรแก่การงานเป็นลักษณะ และถูก

มิทธะมีความที่กายไม่ควรแก่การงานเป็นลักษณะครอบงำแล้ว เชื่อมความ

ว่าด้วยกายนั้น หรือว่าด้วยจิตนั้น. บทว่า วส มารสฺส คจฺฉติ ความว่า

เข้าถึงอำนาจคือ ความที่ตนถูกมารทั้งหมดมีกิเลสมารเป็นต้นทำเอาตาม

ปรารถนา อธิบายว่า ไม่ล่วงเลยวิสัยของมารเหล่านั้นไปได้.

จริงอยู่ ด้วยพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงวัฏฏะโดยมุข

คือทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นผู้อยู่ด้วยความประมาทว่า ภิกษุเหล่าใดไม่

รักษาจิตโดยประการทั้งปวง เพราะไม่มีสติเป็นอารักขา ผู้ยึดถือการแสวง

หาผิดโดยนัยมีอาทิว่าเที่ยง โดยอโยนิโสผุดขึ้น เพราะไม่มีปัญญาอันเป็น

เหตุแห่งโยนิโสมนสิการ เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ภิกษุเหล่านั้นจึงชื่อว่า

ถูกโกสัชชะครอบงำ เพราะไม่มีวิริยารัมภะในการบำเพ็ญกุศล จักเงยศีรษะ

ขึ้นจากวัฏฏะไม่ได้ บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงวิวัฏฏะ (คือนิพพาน) จึงตรัส

พระคาถาที่ ๒ ว่า ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสฺส ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺมา รกฺขิตจิตฺตสสฺส ความว่า ก็

เพราะเหตุที่ภิกษุผู้ไม่รักษาจิต ถูกมารทำเอาตามประสงค์ จึงอยู่ในสงสาร

เท่านั้น ฉะนั้น ภิกษุพึงเป็นผู้รักษาจิตด้วยรักษาคือปิดกั้นอินทรีย์ทั้งหลาย

มีมนินทรีย์เป็นที่ ๖ ด้วยสติสังวร. เพราะเมื่อเธอรักษาจิตได้แล้ว เป็น

อันชื่อว่ารักษาอินทรีย์มีจักขุนทรีย์เป็นต้นได้ด้วยแล. บทว่า สมฺมาสงฺ-

กปฺปโคจโร ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุมีมิจฉาสังกัปปะเป็นอารมณ์ จึง

ตรึกโดยไม่แยบคาย ยึดถือมิจฉาทัสสนะต่าง ๆ มีจิตอันมิจฉาทิฏฐิขจัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 417

แล้ว เป็นผู้ถูกมารทำเอาตามปรารถนา ฉะนั้น เมื่อจะทำกรรมโดยโยนิโส-

มนสิการ พึงเป็นผู้มีความดำริชอบมีความดำริในการออกจากกามเป็นต้น

เป็นอารมณ์ พึงกระทำความดำริชอบอันสัมปยุตด้วยฌานเป็นต้นเท่านั้น

ให้เป็นฐานที่เป็นไปแห่งจิตของตน. บทว่า สมฺมาทิฏฺิปุเรกฺขาโร ความ

ว่า ภิกษุผู้กำจัดมิจฉาทัสสนะด้วยความเป็นผู้มีสัมมาสังกัปปะเป็นอารมณ์

พุ่งมุ่งกระทำสัมมาทิฏฐิ. อันมีความดี ที่สัตว์มีกรรมเป็นของตนเป็นเบื้อง

หน้าเป็นลักษณะ และต่อจากนั้นมียถาภูตญาณเป็นลักษณะ จึงขวนขวาย

ประกอบในศีลและสมาธิ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล เริ่มวิปัสสนา

พิจารณาสังขาร รู้ความเกิดและความดับแห่งสังขาร กำหนดการเกิดและ

การดับในอุปาทานขันธ์ ๕ ด้วยอาการ ๕๐ ถ้วนบรรลุอุทยัพพยญาณ ต่อ

จากนั้น จึงบำเพ็ญวิปัสสนาด้วยอำนาจภังคานุปัสสนาญาณเป็นต้น ยึด

เอาอริยมรรคได้โดยลำดับ ชื่อว่าเป็นภิกษุผู้ครอบงำถีนมิทธะ ละทุคติ

ทั้งปวงได้ด้วยอรหัตมรรคแล. ด้วยอาการอย่างนี้ เธอชื่อว่าเป็นภิกษุ

ผู้ขีณาสพทำลายกิเลสโดยประการทั้งปวง เพราะละกิเลสอันมรรคเบื้องต่ำ

พึงฆ่าได้ก่อน เพราะตัดขาดถีนมิทธะอันเกิดในจิตตุปบาทที่เกิดพร้อม

ด้วยโลภะที่เป็นทิฏฐิวิปยุต ด้วยอรหัตมรรคที่ตนบรรลุ จากนั้นจึงละ

กิเลสมีมานะเป็นต้น อันรวมอยู่ในฐานเดียวกันกับโลภะนั้น เพราะตัด

มูลแห่งภพได้เด็ดขาด จึงชื่อว่าละ คือละขาดคติทั้งปวง กล่าวคือทุคติ

เพราะประกอบด้วยความเป็นทุกข์ ๓ ประการ อธิบายว่า พึงตั้งอยู่ใน

ส่วนอื่นของคติเหล่านั้น คือในพระนิพพาน.

จบอรรถกถาอุทธตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 418

๓. โคปาลสูตร

ว่าด้วยตรัสให้เห็นแจ้งสมาทานอาจหาญร่าเริง

[๙๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทพร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแวะออกจาก

ทางแล้ว เสด็จเข้าไปยังโคนต้นไม้แห่งหนึ่ง แล้วประทับนั่งที่อาสนะอัน

บุคคลปูลาดไว้แล้ว ครั้งนั้นแล นายโคบาลคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นายโคบาลนั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้

อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้นแล นายโคบาลนั้น อันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงชี้แจ้งให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วย

ธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงรับภัตของข้าพระองค์เพื่อ

เสวยในวันพรุ่งนี้เถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดย

ดุษณีภาพ ลำดับนั้นแล นายโคบาลนั้นทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

รับแล้วลุกออกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ

ประทักษิณแล้วหลีกไป พอล่วงราตรีนั้นไป นายโคบาลสั่งให้ตกแต่งข้าว

ปายาส มีน้ำน้อย และสัปปิใหม่ อันเพียงพอ ในนิเวศน์ของตนแล้วให้

กราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงเวลา

แล้ว ภัตเสร็จแล้ว ครั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนายโคบาลพร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วประทับนั่งที่อาสนะที่เขาปูลาดถวาย ลำดับนั้นแล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 419

นายโคบาลอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยข้าวปายาสมีน้ำ

น้อยและสัปปิใหม่ให้อิ่มหนำสำราญด้วยมือของตน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสวยเสร็จชักพระหัตถ์จากบาตรแล้ว นายโคบาลถือเอาอาสนะต่ำแห่งหนึ่ง

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นายโคบาลนั้น

เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา แล้วเสด็จลุกจาก

อาสนะหลีกไป.

[๙๒] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จหลีกไปแล้วไม่นาน

บุรุษคนหนึ่งได้ปลงชีวิตนายโคบาลนั้นในระหว่างเขตบ้าน ลำดับนั้นแล

ภิกษุมากด้วยกันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว

นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ทราบว่า นายโคบาลอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุขให้อิ่มหนำสำราญด้วยข้าวปายาสมีน้ำน้อยและสัปปิใหม่

ด้วยมือของตนในวันนี้แล้ว ถูกบุรุษคนหนึ่งปลงชีวิตเสียแล้วในระหว่าง

เขตบ้าน.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจกแล้ว พึงทำความฉิบ-

หายหรือความทุกข์ให้ ก็หรือคนมีเวรเห็นคนมีเวร

แล้ว พึงทำความฉิบหายหรือความทุกข์ให้ จิตที่ตั้ง

ไว้ผิดพึงยังเขาให้เลวกว่านั้น.

จบโคปาลสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 420

อรรถกถาโคปาลสูตร

โคปาลสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โกสเลสุ ความว่า พระราชกุมารชาวชนบท ชื่อว่าโกศล.

ชนบทแห่งหนึ่ง อันเป็นที่อยู่ของพระราชกุมารเหล่านั้น ก็เรียกว่า โกศล

เหมือนกัน ในโกศลชนบทนั้น. บทว่า จาริก จรติ ได้แก่ เสด็จเที่ยว

จาริกไปในชนบท โดยเสด็จไปอย่างไม่รีบด่วน. บทว่า มหตา ความว่า

ชื่อว่าใหญ่ เพราะใหญ่โดยคุณบ้าง ชื่อว่าใหญ่ เพราะใหญ่โดยจำนวน

เพราะกำหนดนับไม่ได้บ้าง. บทว่า ภิกฺขุสงฺเฆน ได้แก่ ด้วยหมู่สมณะอัน

ทัดเทียมกันด้วยทิฏฐิและศีล. บทว่า สทฺธึ แปลว่า ด้วยกัน. บทว่า มคฺคา

โอกฺกมฺม แปลว่า แวะออกจากทาง. บทว่า อญฺตร รุกฺขมูล ได้แก่

มูล กล่าวคือที่ใกล้ต้นไม้ใหญ่ มีใบเขียวทึบ มีร่มเงาสนิท. บทว่า

อญฺตโร โคปาลโก ความว่า ผู้รักษาฝูงโคคนหนึ่งโดยชื่อ ชื่อว่า

นันทะ. ได้ยินว่า นายนันทะนั้นเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก

รักษาฝูงโคของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี หลีกเลี่ยงการกดขี่ของพระราชา

โดยทำเป็นคนเลี้ยงโค รักษาทรัพย์ของตน เหมือนเกณิยชฎิลหลีกเลี่ยง

การกดขี่ด้วยเพศบรรพชาฉะนั้น. เขาถือเอาปัญจโครสตามกาลเวลามายัง

สำนักของมหาเศรษฐีแล้วมอบให้ แล้วไปยังสำนักพระศาสดา พบพระ-

ศาสดา ฟังธรรม และอ้อนวอนพระศาสดาเพื่อเสด็จมายังที่อยู่ของคน.

พระศาสดาทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของเธอนั่นแหละ ภายหลังทรง

แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จจาริกไปในชนบท ทราบว่า บัดนี้

เธอมีญาณแก่กล้าแล้ว จึงเสด็จแวะลงจากทางไม่ไกลแต่ที่ทีเธออยู่ ประตู-

ทับนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง รอการมาของเธอ, ผ่ายนายนันทะทราบว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 421

ข่าวว่า พระศาสดาเสด็จจาริกชนบทไปจากนี้ จึงหรรษาร่าเริงรีบไปเฝ้า

พระศาสดา ถวายบังคม อันพระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถาร แล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่เธอ. เธอ

ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้วนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ถวายข้าวปายาส

๗ วัน. ในวันที่ ๗ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จ

หลีกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจง

นายโคบาลนั้น ผู้นั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล ด้วยธรรมีกถา ฯ ล ฯ

เสด็จลุกขึ้นจากอาสนะหลีกไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺทสฺเสสิ ความว่า พระองค์เมื่อทรง

แสดงธรรมมีกุศลเป็นต้น วิบากของกรรม โลกนี้โลกหน้า โดยประจักษ์

ในนัยมีอาทิว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ในเวลา

จบอนุบุพพิกถา จึงทรงชี้แจงอริยสัจ ๔. บทว่า สมาทเปสิ ความว่า

ให้เธอยึดเอาธรรมมีศีลเป็นต้นโดยชอบ คือให้เธอตั้งอยู่ในธรรมมีศีล

เป็นต้นนั้น โดยนัยมีอาทิว่า เพื่อบรรลุสัจจะ เธอให้ธรรมเหล่านี้เกิด

ขึ้นในตน. บทว่า สมุตฺเตเชสิ ความว่า ทรงให้ธรรมเหล่านั้นที่สมาทาน

แล้วอบรมโดยลำดับ อันเป็นส่วนแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ มีความเข้มแข็ง

และสละสลวย ให้อาจหาญโดยชอบ คือให้รุ่งเรืองโดยชอบทีเดียว โดย

ประการที่จะนำมาซึ่งอริยมรรคโดยพลัน. บทว่า สมฺปหเสสิ ความว่า

ทรงให้ร่าเริงด้วยดี โดยทำจิตให้ผ่องแผ้ว ด้วยการแสดงภาวะแห่งภาวนา

มีคุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย. อีกอย่างหนึ่ง ในข้อนี้ พึงทราบ

การชี้แจงด้วยบรรเทาสัมโมหะ ในธรรมที่มีโทษและหาโทษมิได้ และใน

สัจจะมีทุกขสัจเป็นต้น การให้สมาทานด้วยการบรรเทาความประมาทใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 422

สัมมาปฏิบัติ การให้อาจหาญด้วยการบรรเทาการถึงความคร้านแห่งจิต

และความร่าเริงด้วยการสำเร็จสัมมาปฏิบัติ. ด้วยอาการอย่างนี้ เธอจึง

ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยสามุกกังสิกธรรมเทศนาของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. บทว่า อธิวาเสสิ ความว่า พระองค์ผู้อันนายโคบาลนั้น ผู้มี

สัจจะอันเห็นแล้วทูลนิมนต์โดยนัยมีอาทิว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ

นิมนต์ของข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า ไม่ทรงทำองค์คือกายและวาจาให้

ไหว ทรงรับ คือยินดีด้วยพระทัยนั่นเอง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึง

กล่าวว่า ตุณฺหีภาเวน.

บทว่า อปฺโปทกปายาส แปลว่า ข้าวปายาสมีน้ำน้อย. บทว่า

ปฏิยาหาเปตฺวา แปลว่า จัดแจง คือตระเตรียม. บทว่า นวญฺจ สปฺปึ

ได้แก่ เอาเนยข้นมาปรุงให้เหลว และให้เป็นเนยใสในขณะนั้นนั่นเอง.

บทว่า สหตฺถา ความว่า เกิดความเอื้อเฟื้อ อังคาสด้วยมือของตนเอง.

บทว่า สนฺตปฺเปสิ ความว่า ให้เสวยโภชนะที่จัดแจงไว้. บทว่า สมฺป-

วาเรสิ ได้แก่ ทรงห้ามด้วยพระวาจาว่า พอละ พอละ. บทว่า ภุตฺตาวึ

ได้แก่ กิจคือการเสวยพระกระยาหาร. บทว่า โอนีตปตฺตปาณึ ได้แก่

ละพระหัตถ์จากบาตร. ปาฐะว่า โธตปตฺตปาณึ ดังนี้ก็มี. ความว่า ล้าง

พระหัตถ์ในบาตร. บทว่า นีจ แปลว่า ไม่สูง. การถือเอาอาสนะ (ที่ไม่

สูง) แล้วนั่งบนอาสนะนั้นแหละ เป็นจารีตของผู้อยู่ในอารยประเทศ

ก็เธอนั่งในที่ใกล้อาสนะอันทำด้วยแผ่นกระดาน ที่จัดไว้โดยเป็นอุปจาร

ในสำนักพระศาสดา. บทว่า ธมฺมิยา กถาย เป็นต้น ตรัสหมายเอา

อนุโมทนาที่ทรงกระทำในวันที่ ๗. ได้ยินว่า เธอนิมนต์พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า และภิกษุอยู่ในที่นั้นตลอด ๗ วัน แล้วบำเพ็ญมหาทาน. ก็ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 423

วันที่ ๗ ได้ถวายมธุปายาสมีน้ำน้อย. พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนา

แล้วเสด็จหลีกไปเลย เพราะเธอไม่มีญาณแก่กล้าเพื่อมรรคชั้นสูงใน

อัตภาพนั้น.

บทว่า สีมนฺตริกาย ได้แก่ ในระหว่างแดน คือในระหว่างบ้าน

นั้น. ได้ยินว่า พวกชาวบ้านอาศัยสระแห่งหนึ่ง ได้ทำการทะเลาะกับเธอ.

เธอข่มพวกชาวบ้านนั้นแล้วยึดเอาสระนั้น. เพราะเหตุนั้น ชายคนหนึ่ง

จึงผูกอาฆาต ใช้ลูกศรยิงฆ่าเธอ ผู้ถือบาตรของพระศาสดาตามส่งไปไกล

เมื่อพระองค์ตรัสว่า กลับเถอะ อุบาสก เธอจึงถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ากระทำประทักษิณ และกระทำอัญชลีภิกษุสงฆ์ แล้วประคองอัญ-

ชลีอันรุ่งโรจน์ด้วยทสนขสโมธาน จนกระทั่งลับสายตา แล้วกลับไปแต่

ผู้เดียวในอรัญประเทศในระหว่างบ้านทั้งสอง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

อจีรปกฺกนฺตสฺส ฯ เป ฯ โวโรเปสิ ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลายผู้ล่าช้าด้วยกรณียกิจบางอย่างไปทีหลัง เห็นนายโคบาล

ตายเช่นนั้น จึงกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งท่านหมาย

กล่าวไว้ว่า อถ โข สมฺพหุลา ภิกฺขู ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบเนื้อความนี้ว่า เพราะ

เหตุที่บุรุษผู้ฆ่านันทะ อริยสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ขวนขวายแต่อนันตริย-

กรรมซึ่งมิใช่บุญมากมาย ฉะนั้น จิตที่ตั้งไว้ผิดของสัตว์เหล่านี้ ย่อม

กระทำกรรมอันร้ายแรงกว่ากรรมที่โจรกับคนผู้มีเวรพึงทำแก่กัน ดังนี้

แล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้อันแสดงเนื้อความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิโส ทิส ความว่า โจรโจกเห็นโจร

โจก คือโจรเห็นโจร. บาลีที่เหลือว่า ทิสฺวา พึงนำมาเชื่อมเข้า. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 424

ยนฺต กยิรา ได้แก่ พึงกระทำความวอดวายให้แก่โจรหรือคนผู้มีเวรนั้น.

แม้ในบทที่ ๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน . ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า โจร

ผู้มักประทุษร้ายมิตรคนหนึ่ง ผิดในวิญญาณก็ทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์

มีบุตร ภรรยา นา สวน โค และกระบือเป็นต้นของโจรคนหนึ่ง ตนผิด

ต่อโจรใด เห็นโจรแม้นั้นผิดในคนเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ ก็หรือว่า

คนมีเวรเห็นคนมีเวรผู้ผูกเวรด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง พึงกระทำความ

วอดวายให้แก่ผู้มีเวรนั้น หรือพึงเบียดเบียนบุตรและภรรยา ก็หรือว่าพึง

ปลงเขาเสียจากชีวิต เพราะความที่ตนเป็นคนหยาบช้าทารุณ จิตที่ชื่อว่า

ตั้งไว้ผิด เพราะตั้งไว้ผิดในอกุศลกรรมบถ ๑๐ พึงทำเขาให้เลวกว่านั้น

คือพึงทำบุรุษนั้นให้เลวกว่านั้น. ความจริง โจรโจกหรือคนมีเวรมีประการ

ดังกล่าวแล้ว พึงทำทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่โจรโจกหรือคนมีเวร หรือทำโจร-

โจกหรือคนมีเวรให้สิ้นชีวิตในอัตภาพนี้เท่านั้น ส่วนจิตที่ตั้งไว้ผิดใน

อกุศลกรรมบถ ๑๐ นี้ ย่อมทำเขาให้ถึงความวอดวายในปัจจุบันนี้นั่นแหละ

ย่อมซัดไปในอบาย ๔ ไม่ให้เขาเงยศีรษะขึ้นได้ แม้ในแสนอัตภาพ.

จบอรรถกถาโคปาลสูตรที่ ๓

๔. ชุณหสูตร

ว่าด้วยยักษ์ประหารศีรษะพระสารีบุตร

[๙๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-

ทกนิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตรและ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ที่กโปตกันทราวิหาร ก็สมัยนั้น ท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 425

สารีบุตรมีผมอันปลงแล้วใหม่ ๆ นั่งเข้าสมาธิอย่างหนึ่งอยู่กลางแจ้งในคืน

เดือนหงาย.

[๙๔] ก็สมัยนั้น ยักษ์สองสหายออกจากทิศอุดรไปยังทิศทักษิณ

ด้วยกรณียกิจบางอย่าง ได้เห็นท่านพระสารีบุตรมีผมอันปลงแล้วใหม่ ๆ

นั่งอยู่กลางแจ้งในคืนเดือนหงาย ครั้นแล้วยักษ์ตนหนึ่งได้กล่าวกะยักษ์

ผู้เป็นสหายว่า ดูก่อนสหาย เราจะประหารที่ศีรษะแห่งสมณะนี้ เมื่อยักษ์

นั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ยักษ์ผู้เป็นสหายได้กล่าวกะยักษ์นั้นว่า ดูก่อนสหาย

อย่าเลย ท่านอย่าประหารสมณะเลย ดูก่อนสหาย สมณะนั้นมีคุณยิ่ง

มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก แม้ครั้งที่ ๒. . . แม้ครั้งที่ ๓ ยักษ์นั้นก็ได้

กล่าวกะยักษ์ผู้เป็นสหายว่า ดูก่อนสหาย เราจะประหารที่ศีรษะแห่งสมณะ

นี้ แม้ครั้งที่ ๓ ยักษ์ผู้เป็นสหายก็ได้กล่าวกะยักษ์นั้นว่า ดูก่อนสหาย อย่า

เลย ท่านอย่าประหารสมณะเลย ดูก่อนสหาย สมณะนั้นมีคุณยิ่ง มีฤทธิ์

มาก มีอานุภาพมาก ลำดับนั้นแล ยักษ์นั้นไม่เชื่อยักษ์ผู้เป็นสหาย ได้

ประหารศีรษะแห่งท่านพระสารีบุตรเถระ ยักษ์นั้นพึงยังพญาช้างสูงตั้ง ๗

ศอก หรือ ๘ ศอกให้จมลงไปก็ได้ หรือพึงทำลายยอดภูเขาใหญ่ก็ได้

ด้วยการประหารนั้น ก็แลยักษ์นั้นกล่าวว่า เราย่อมเร่าร้อน แล้วได้ตกลง

ไปสู่นรกใหญ่ในที่นั้นเอง.

[๙๕] ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้เห็นยักษ์นั้นประหารที่ศีรษะ

แห่งท่านพระสารีบุตร ด้วยจักษุเพียงดังทิพย์อันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ

มนุษย์ แล้วเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตร

ว่า ดูก่อนอาวุโส ท่านพึงอดทนได้หรือ พึงยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ

ทุกข์อะไร ๆ ไม่มีหรือ ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนอาวุโสโมคคัล-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 426

ลานะ ผมพึงอดทนได้ พึงยังอัตภาพให้เป็นไปได้ แต่บนศีรษะของผม

มีทุกข์หน่อยหนึ่ง.

ม. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ท่านพระสารีบุตร

มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ยักษ์ตนหนึ่งได้ประหารศีรษะของท่านในที่นี้

การประหารเป็นการประหารใหญ่เพียงนั้น ยักษ์นั้นพึงยังพญาช้างสูงตั้ง ๗

ศอก ๘ ศอกให้จมลงไปก็ได้ หรือพึงทำลายยอดภูเขาใหญ่ก็ได้ ด้วยการ

ประหารนั้น ก็แล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส

โมคคัลลานะ ผมพึงอดทนได้ พึงยังอัตภาพให้เป็นไปได้ แต่บนศีรษะ

ของผมมีทุกข์หน่อยหนึ่ง.

สา. ดูก่อนอาวุโสโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี ท่านมหา-

โมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ที่เห็นยักษ์ ส่วนผมไม่เห็นแม้

ซึ่งปิศาจผู้เล่นฝุ่นในบัดนี้.

[๙๖] พระ.ผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับการเจรจาปราศรัยเห็นปานนี้

แห่งท่านมหานาคทั้งสองนั้น ด้วยโสตธาตุอันเป็นทิพย์บริสุทธิ์ล่วงโสต-

ธาตุของมนุษย์ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว

จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

จิตของผู้ใดเปรียบด้วยภูเขาหิน ตั้งมั่น ไม่หวั่น-

ไหว ไม่กำหนัดในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด

ไม่โกรธเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการโกรธเคือง

จิตของผู้ใดอบรมแล้วอย่างนี้ ทุกข์จักถึงผู้นั้นแต่ที่

ไหน.

จบชุณหสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 427

อรรถกถาชุณหสูตร

ชุณหสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กโปตกนฺทราย ได้แก่ ในวิหารมีชื่ออย่างนั้น. ได้ยินว่า

เมื่อก่อนนกพิราบเป็นอันมากอยู่ในซอกเขานั้น. ด้วยเหตุนั้น ซอกเขานั้น

จึงเรียกกันว่า กโปตกันทรา. ภายหลังถึงเขาสร้างวิหารไว้ในที่นั้น ก็ยัง

ปรากฏว่า กโปตกันทรา อยู่นั่นเอง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า กโป-

ตกนฺทรายนฺติ เอวนามเก วิหาเร.

บทว่า ชุณฺหาย รตฺติยา ได้แก่ ในราตรีศุกลปักษ์. บทว่า นโว-

โรปิเตหิ เกเสหิ ได้แก่ มีผมที่ปลงไม่นาน ก็คำว่า เกเสหิ นี้ เป็น

ตติยาวิภัตติ ใช้ในลักษณะอิตถัมภูต. บทว่า อพฺโภกาเส ได้แก่ ที่เนิน

กลางแจ้งที่ไม่มีเครื่องมุงหรือเครื่องบัง. ในพระเถระเหล่านั้น ท่านพระ-

สารีบุตรมีวรรณดุจทองคำ ท่านมหาโมคคัลลานะมีวรรณดังดอกอุบลเขียว

ก็พระมหาเถระทั้งสององค์นั้นเป็นชาติพราหมณ์โดยเฉพาะ สมบูรณ์ด้วย

อภินิหาร สิ้นหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป บรรลุปฏิสัมภิทา ๖ เป็นพระ-

ขีณาสพผู้ใหญ่ ได้สมาบัติทุกอย่าง ถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ ๖๗ ประการ

ทำกโปตกันทราวิหารแห่งเดียวกันให้สว่างไสวไพโรจน์ เหมือนสีหะ ๒ ตัว

อยู่ถ้ำทองแห่งเดียวกัน เหมือนเสือโคร่ง ๒ ตัว หยั่งลงสู่พื้นที่เหยียดกาย

แห่งเดียวกัน เหมือนพญาช้างฉัททันต์ ๒ เชือก เข้าป่าสาลวันซึ่งมีดอก

บานสะพรั่งแห่งเดียวกัน เหมือนพญาครุฑ ๒ ตัวอยู่ป่าฉิมพลีแห่งเดียว

กัน เหมือนท้าวเวสวัณ ๒ องค์ ขึ้นยานสำหรับพาคนไปยานเดียวกัน

เหมือนท้าวสักกะ ๒ องค์ ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลิศิลาอาสน์เดียวกัน

เหมือนท้าวมหาพรหม ๒ องค์ อยู่ในวิมานเดียวกัน เหมือนดวงจันทร์ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 428

ดวง และพระอาทิตย์ ๒ ดวง อยู่ในท้องฟ้าเดียวกันฉะนั้น. ในท่าน

เหล่านั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้นั่งนิ่ง ฝ่ายท่านพระสารีบุตรเข้า

สมาบัติ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อญฺตร สมาธึ สมาปชฺชิตฺวา

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺตร สมาธึ ได้แก่ อุเบกขา

พรหมวิหารสมาบัติ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ-

ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า ผลสมาบัติอันมีอรูปฌานเป็นบาท. จริง

อยู่ สมาบัติทั้ง ๓ นี้แหละเป็นสมาบัติที่สามารถรักษากาย. ในสาบัติ

เหล่านั้น การเกิดโดยปริยายแห่งสมาธิของนิโรธสมาบัติ ได้กล่าวไว้ใน

หนหลังแล้วแล. แต่อาจารย์ทั้งหลายพรรณนาสมาบัติครั้งสุดท้ายเท่านั้น.

บทว่า อุตฺตราย ทิสาย ทกฺขิณพิส คจฺฉนฺติ ความว่า ไปสู่สมาคม

ยักษ์ในอุดรทิศ แล้วไปทักษิณทิศเพื่อไปยังภพของตน. บทว่า ปฏิภาติ

ม ได้แก่ จิตของเราปรากฏ. จริงอยู่ บทว่า ม เป็นทุติยาวิภัตติ ใช้

ในอรรถฉัฏฐีวิภัตติ เพราะประกอบด้วยปฏิศัพท์ ความว่า จิตของเรา

เกิดขึ้นเพื่อจะตีศีรษะพระเถระนี้. ได้ยินว่า ยักษ์นั้นผูกอาฆาตพระเถระ

มาแต่ชาติก่อน เพราะเหตุนั้น พอเห็นพระเถระเขาจึงมีจิตคิดประทุษร้าย

อย่างนั้น. ฝ่ายยักษ์ผู้สหายเป็นผู้มีปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อจะห้ามยักษ์

นั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อย่าเลย สหาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา อาสาเทสิ ได้แก่ อย่าพยายาม

อธิบายว่า จงอย่าประหาร. บทว่า อุฬาโร ความว่า ประกอบด้วยคุณมี

ศีลเป็นต้นอันยิ่ง คือสูงสุด. บทว่า อนาทิยิตฺวา ความว่า ไม่กระทำ

ความเอื้อเฟื้อ คือไม่เชื่อถือคำของยักษ์ผู้เป็นสหายนั้น. ก็เพราะเหตุที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 429

ยักษ์ไม่เชื่อคำของยักษ์ผู้สหายนั้น จึงชื่อว่าไม่เอื้อเฟื้อยักษ์นั้น ฉะนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ต ยกฺข อนาทิยิตฺวา. บทว่า สีเส ปหาร อทาสิ ความว่า

ทำความอุตสาหะให้เกิดด้วยเรี่ยวแรงทั้งหมด ยืนอยู่บนอากาศนั่นแหละ

โขกที่ศีรษะ อธิบายว่า เอากำปั้นตีศีรษะ. บทว่า ตาว มหา ความว่า

ได้ประหารอย่างหนักปานนั้นด้วยเรี่ยวแรงอย่างมากมาย. บทว่า เตน

ปหาเรน ได้แก่ ด้วยการประหารนั้นอันเป็นตัวเหตุ. บทว่า สตฺตรตน

ได้แก่ ๗ ศอกโดยศอกของบุรุษปานกลาง. บทว่า โส ได้แก่ ยักษ์.

บทว่า นาค ได้แก่ พญาช้าง. บทว่า โอสาเทยฺย ได้แก่ พึงให้

จมลง คือพึงให้ดิ่งลงในแผ่นดิน. ปาฐะว่า โอสาเรยฺย พึงให้ประชุม

ลง ดังนี้ก็มี อธิบายว่า พึงกระทำให้แหลกละเอียด. บทว่า อฑฺฒฏฺมรตน

ความว่า เป็นที่เต็มแห่งวัตถุ ๘ ด้วยทั้งกึ่ง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ที่ ๘

ทั้งกิ่ง, ศอกที่ ๘ ทั้งกึ่งเป็นขนาดของช้างนั้น เหตุนั้น ช้างนั้นมีขนาด

๗ ศอกกิ่ง ซึ่งช้างนั้นมีขนาด ๘ ศอกกึ่ง. บทว่า มหนฺต ปพฺพตกูฏ

ได้แก่ ยอดเขาอันกว้างขวางประมาณเท่ายอดเขาไกรลาศ. บทว่า ปทา-

เลยฺย ได้แก่ พึงทำลายโดยอาการให้เป็นสะเก็ด เชื่อมความว่า ให้จม

ลงไปบ้าง ให้ทลายไปบ้าง.

ก็ในขณะนั้นนั่นเอง ความเร่าร้อนใหญ่เกิดขึ้นในร่างของยักษ์นั้น.

ยักษ์นั้นอาดูรด้วยเวทนา เมื่อไม่อาจจะดำรงอยู่ในอากาศได้ จึงตกลงที่

พื้นดิน. ในขณะนั้นนั่นเองมหาปฐพีหนา ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ รองรับขุนเขา

สิเนรุซึ่งสูง ๑๖๘,๐๐๐ โยชน์ ประหนึ่งไม่อาจจะรองรับสัตว์ชั่วนั้นได้

จึงได้เปิดช่องให้. เปลวไฟพลุ่งขึ้นจากอเวจีมหานรก จักยักษ์นั้นซึ่ง

กำลังคร่ำครวญอยู่นั่นแล. ยักษ์นั้นกำลังคร่ำครวญบ่นเพ้อตกไป. ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 430

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ยักษ์นั้นจึงกล่าวว่า ร้อน ร้อน

แล้วได้จมลงในมหานรกนั้นนั่นเอง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวฏฺาสิ แปลว่า ได้ตกไปแล้ว. ถามว่า

ก็ยักษ์นั้นตกนรก ด้วยทั้งอัตภาพยักษ์นั่นแหละหรือ ? ตอบว่า ไม่ตก.

ก็ในที่นี้ เพราะพลังแห่งบาปกรรมซึ่งอำนวยผลในปัจจุบัน ยักษ์จึงเสวย

ทุกข์มหันต์ในอัตภาพเป็นยักษ์. อนึ่ง เพราะอุปปัชชเวทนียกรรมอันเป็น

อนันตริยกรรม ยักษ์จึงเกิดในนรกถัดจากจุติ แต่ร่างกายของพระเถระ

ที่ถูกพลังแห่งสมาบัติสนับสนุน จึงไม่มีวิการอะไรเลย. ความจริง ยักษ์

ประหารท่าน ในเวลาที่ท่านยังไม่ออกจากสมาบัติ. ท่านพระมหาโมคคัล-

ลานะเห็นยักษ์นั้น ประหารอยู่อย่างนั้น ด้วยทิพยจักษุ จึงเข้าไปหา

พระธรรมเสนาบดี. และพร้อมกับเวลาที่เข้าไปหานั่นแหละ พระธรรม-

เสนาบดีก็ออกจากสมาบัติ. ในลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานะ จึงถาม

ถึงความดูแคลนนั้นกะท่านพระธรรมเสนาบดี. ฝ่ายพระธรรมเสนาบดี

ก็ได้พยากรณ์แก่ท่าน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว่า ท่านพระมหา-

โมคคัลลานะได้เห็นแล้วแล ฯ ล ฯ ก็แต่ว่าศีรษะของผมมีทุกข์นิด

หน่อย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โถก ทุกฺข ความว่า ศีรษะของผม

เป็นทุกข์ คือได้รับความทุกข์นิดหน่อย คือมีประมาณน้อยนิดคล้าย

หยดเทียน จริงอยู่ ศีรษะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ท่านเรียกว่า มีทุกข์

บาลีว่า สีเส โถก ทุกฺข เป็นทุกข์นิดหน่อยที่ศีรษะ ดังนี้ก็มี. ถามว่า

ก็เมื่อสรีระถูกพลังแห่งสมาบัติสนับสนุน ศีรษะของพระเถระเป็นทุกข์

น้อยหนึ่งอย่างไร ? ตอบว่า เพราะท่านออกจากสมาบัติไม่นานเลย. จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 431

ทุกข์ไม่ปรากฏในภายในสมาบัติเหมือนยังเป็นต้น ปรากฏแก่ผู้หลับ ปรากฏ

หน่อยหนึ่งแก่ผู้ตื่นขึ้น เพราะเนื่องด้วยกาย. เมื่อท่านพระมหาโมค-

คัลลานะ. เกิดความคิดอัศรรย์ขึ้นว่า ขึ้นชื่อว่า ความวิการ ย่อมไม่มี

แม้ในร่างกายที่ถูกยักษ์มีกำลังมากประหารเอาด้วยเรี่ยวแรงทั้งหมดเช่นนั้น

ประกาศความที่ท่านพระธรรมเสนาบดี มีอานุภาพมาก โดยนัยมีอาทิว่า

น่าอัศจรรย์นะ สารีบุตร. ฝ่ายพระธรรมเสนาบดีก็แสดงความที่ตนละได้

เด็ดขาดซึ่งมลทินมีริษยาตระหนี่และอหังการเป็นต้น โดยการประกาศว่า

ตนมีอิทธานุภาพมาก แก่พระมหาโมคคัลลานะนั้น โดยนัยมีอาทิว่า

น่าอัศจรรย์นะ โมคคัลลานะ. บทว่า ปสุปิสาจกมฺปิ น ปสฺสาม ความว่า

พวกเรามองไม่เห็นแม้ซึ่งขุททกเปรตผู้เทียวไปตามสถานที่มีกองหยากเยื่อ

เป็นต้น. ดังนั้น พระมหาเถระ ผู้เป็นยอดแห่งผู้ปรารถนามรรคผล

จึงไฟกล่าวหมายถึงความไม่เห็นเปรตเหล่านั้น เพราะไม่ได้คำนึงถึงใน

กาลนั้น. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าว่า เอตรหิ ในบัดนี้. ก็

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน ได้สดับการเจรจาปราศรัย

นี้ ของพระอัครสาวกทั้งสอง ด้วยทิพยโสตญาณ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า อสฺโสสิ โข ภควา ดังนี้เป็นต้น. คำนั้น มีอรรถดังที่กล่าว

ไว้แล้วนั่นแล.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ได้แก่ ทรงทราบความที่ท่านพระ-

สารีบุตรผู้ประกอบด้วยกำลังแห่งสมาบัติ มีอิทธานุภาพมากนี้. บทว่า

อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้ แสดงถึงการที่พระสารีบุตรนั้น

นั่นแล ถึงความเป็นผู้คงที่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส เสลูปม จิตฺต ิต นานุป-

กมฺปติ ความว่า จิตของพระขีณาสพใด อุปมาด้วยภูเขาอันล้วนแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 432

ด้วยหินเป็นแท่งทึบ ตั้งอยู่โดยถึงความเป็นวสี เพราะไม่มีกิเลสเครื่องเอน

เอียงทั้งหมด ย่อมไม่หวั่น คือย่อมไม่ไหว ด้วยโลกธรรมแม้ทั้งปวง.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงอาการที่พระขีณาสพนั้น ไม่มีความหวั่น

ไหว พร้อมด้วยเหตุ จึงตรัสคำมีอาทิว่า วิรตฺต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิรตฺต รชนีเยสุ ความว่า ผู้ปราศจาก

ความยินดี ในธรรมที่เป็นไปในภูมิสามแม้ทั้งหมด อันเป็นเหตุเกิดราคะ

ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยินดี ด้วยอริยมรรค คือวิราคธรรม อธิบายว่า

ตัดราคะได้เด็ดขาดโดยประการทั้งปวง ในธรรมที่เป็นไปในภูมิสามนั้น.

บทว่า โกปเนยฺเย ความว่า ย่อมไม่โกรธ คือ ย่อมไม่ขัดเคือง ได้แก่

ไม่ถึงอาการอันผิดแผก ในอาฆาตวัตถุ แม้ทั้งหมดอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ขัดเคือง. บทว่า ยสฺเสว ภาวิต จิตฺต ความว่า จิตอันพระอริยบุคคล

ตามที่กล่าวแล้วใด อบรมแล้ว โดยภาวะอันนำมาซึ่งความเป็นผู้คงที่ด้วย

อาการอย่างนี้ คือ โดยนัยดังกล่าวแล้ว. บทว่า กุโต ต ทุกขฺเมสฺสติ

ความว่า ทุกข์จักเข้าถึงซึ่งบุคคลผู้สูงสุดนั้นแต่ที่ไหน คือ แต่สัตว์ หรือ

สังขาร อธิบายว่า บุคคลเช่นนั้น ย่อมไม่มีทุกข์.

จบอรรถกถาชุณหสูตรที่ ๔

๕. นาคสูตร

ว่าด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้าละจากหมู่อยู่ผู้เดียว

[๙๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง

โกสัมพี ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 433

เดียรถีย์ ประทับอยู่ลำบากไม่ผาสุก ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ดำริว่า บัดนี้เราแลเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกแห่งเดียรถีย์ อยู่

ลำบากไม่ผาสุก ถ้ากระไร เราพึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียวเถิด ครั้งนั้น

เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและ

จีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบายังเมืองโกสัมพี ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตใน

เมืองโกสัมพี เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว ทรงเก็บเสนาสนะ

ทรงถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง ไม่ทรงบอกลาอุปัฏฐาก ไม่ทรงบอก

เล่าภิกษุสงฆ์ พระองค์เดียวไม่มีเพื่อน เสด็จหลีกจาริกไปทางป่าปาลิไลยกะ

เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงป่าปาลิไลยกะแล้ว.

[ ๙๘ ] ได้ยินว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่วงไม้

ภัททสาละในราวไพรรักขิตวันในป่าปาลิไลยกะ แม้พญาช้างเชือกหนึ่ง

เกลื่อนกล่นอยู่ด้วยเหล่าช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น ลูกช้าง กินหญ้า

ที่ช้างทั้งหลายเล็มยอดเสียแล้ว และช้างทั้งหลายกินกิ่งไม้ที่พญาช้างนั้น

หักลง ๆ พญาช้างนั้นดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อพญาช้างนั้นลงและขึ้นจากน้ำ

เหล่าช้างพังเดินเสียดสีกายไป พญาช้างนั้นเกลื่อนกล่นอยู่ลำบากไม่ผาสุก

ลำดับนั้นแล พญาช้างนั้นดำริว่า บัดนี้ เราแลเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยเหล่าช้าง

พลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น ลูกช้าง เรากินหญ้าที่ช้างทั้งหลายเล็มยอด

เสียแล้ว และช้างทั้งหลายกินกิ่งไม้ที่เราหักลง ๆ เราดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อ

เราลงและขึ้นจากท่าน้ำ เหล่าช้างพังทั้งหลาย เดินเสียดสีกายไป เรา

เกลื่อนกล่นอยู่ลำบากไม่ผาสุก ถ้ากระไร เราพึงหลีกออกจากโขลงอยู่แต่

ผู้เดียว ลำดับนั้นแล พญาช้างนั้นหลีกออกจากโขลง แล้วเข้าไปเฝ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 434

พระผู้มีพระภาคเจ้าที่ควงไม้ภัททสาละ ในราวป่ารักขิตวัน ณ ป่าปาลิไลยกะ

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้ยินว่า พญาช้างนั้นกระทำประเทศที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในรักขิตวันนั้นให้ปราศจากของเขียว และ

เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้สำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยงวง.

[๙๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ

ทรงเกิดความปริวิตกแห่งพระทัยอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราแลเกลื่อนกล่นอยู่

ด้วยภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา มหาอำมาตย์ของพระราชา

เดียรถีย์ สาวกแห่งเดียรถีย์ เราเกลื่อนกล่นอยู่ลำบากไม่ผาสุก บัดนี้

เรานั้นไม่เกลื่อนกล่นอยู่ด้วย ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา พระราชา

มหาอำมาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกแห่งเดียรถีย์ เราไม่เกลื่อนกล่น

เป็นสุขสำราญ พญาช้างนั้นเกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เมื่อก่อน

เราแลเกลื่อนกล่นอยู่ด้วยเหล่าช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น ลูกช้าง เรา

กินหญ้าที่ช้างทั้งหลายเล็มยอดเสียแล้ว และช้างทั้งหลายกินกิ่งไม้ที่เราหัก

ลง ๆ เราดื่มน้ำที่ขุ่น และเมื่อเราลงและขึ้นจากน้ำ ช้างพังทั้งหลายเดิน

เสียดสีกายไป เราเกลื่อนกล่นอยู่ลำบากไม่ผาสุก บัดนี้ เราไม่เกลื่อนกล่น

อยู่ด้วยเหล่าช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น ลูกช้าง เราไม่กินหญ้าที่ช้าง

ทั้งหลายเล็มยอดแล้ว และช้างทั้งหลายไม่กินกิ่งไม้ที่เราหักลง ๆ เราดื่มน้ำ

ที่ไม่ขุ่น และเมื่อเราลงและขึ้นจากน้ำ ช้างพังทั้งหลายก็ไม่เดินเสียดสีกาย

ไป เราไม่เกลื่อนกล่นอยู่เป็นสุขสำราญ

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความสงัดกายของพระ-

องค์ และทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของพญาช้างนั้น ด้วยพระหฤทัย

แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 435

จิตของพญาช้างมีงาเช่นกับงอนรถ ย่อมสมกับจิต

ที่ประเสริฐของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ เพราะพระ-

พุทธเจ้าพระองค์เดียว ทรงยินดีอยู่ในป่า.

จบนาคสูตรที่ ๕

อรรถกถานาคสูตร

นาคสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โกสมฺพิย ความว่า ใกล้นครอันได้นามอย่างนี้ว่า โกสัมพี

เพราะสร้างไว้ในที่ที่กุสุมพฤาษีอยู่. บทว่า โฆสิตาราเม ได้แก่ ในอาราม

ที่โฆสิตเศรษฐีสร้างไว้. บทว่า ภควา อากิณฺโณ วิหรติ ได้แก่ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงรับความคับแคบ ประทับอยู่. ถามว่า ก็พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า มีความคับแคบหรือมีความคลุกคลี ? ตอบว่า ไม่มี

เพราะใคร ๆ ไม่สามารถจะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยไม่ปรารถนา.

จริงพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย เข้าเฝ้าได้โดยยากก็เพราะไม่ทรงติด

อยู่ในที่ทั้งปวง. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ในหมู่

สัตว์ ด้วยทรงแสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เพื่อจะรื้อถอนหมู่สัตว์ออกจาก

โอฆะ ๔ โดยสมควรแก่ปฏิญญาว่า เราหลุดพ้นแล้ว จักให้หมู่สัตว์หลุด

พ้นด้วย จึงทรงรับให้บริษัททั้ง ๘ เข้าเฝ้ายังสำนักของพระองค์ตลอด

เวลา. ก็พระองค์เอง อันพระมหากรุณากระตุ้นเตือน เป็นกาลัญญู

เสด็จเข้าไปในบริษัทนั้น. ข้อนี้ อันพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ เคยประ-

พฤติกันมา. นี้ท่านประสงค์ว่า การอยู่เกลื่อนกล่นในที่นี้.

แต่ในที่นี้ เมื่อภิกษุชาวเมืองโกสัมพีเกิดทะเลาะกัน พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 436

ทรงนำเรื่องของพระเจ้าโกศลทรงพระนามว่าทีฆีติ มาประทานพระโอวาท

โดยนัยมีอาทิว่า เวรในกาลไหน ๆ ในโลกนี้ ย่อมไม่สงบด้วยเวร. วันนั้น

เมื่อภิกษุเหล่านั้น กระทำการทะเลาะกันนั่นแล จนราตรีสว่าง. แม้ใน

วันที่สอง พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสเรื่องนั้นเหมือนกัน. แม้ในวันนั้น

ภิกษุเหล่านั้น ก็ทะเลาะกันนั่นเอง จนราตรีสว่าง. แม้ในวันที่สาม

พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงแสดงเรื่องนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น ภิกษุ

รูปหนึ่ง กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีความขวนขวายน้อย จงประกอบด้วยการ

อยู่เป็นสุขในปัจจุบันเถิด พวกข้าพระองค์จักปรากฏ ด้วยความบาดหมาง

ความทะเลาะ ความแก่งแย่ง และด้วยความวิวาทนี้. พระศาสดาทรง

พระดำริว่า โมฆบุรุษเหล่านี้ มีจิตถูกความบาดหมางเป็นต้นครอบงำแล้ว

บัดนี้ เราไม่อาจจะให้พวกเธอตกลงกันได้ และในที่นี้ ก็ไม่มีใครจะยอม

ใคร ถ้ากระไร เราก็จะพึงเที่ยวอยู่แต่ผู้เดียว เมื่อเป็นอย่างนี้ ภิกษุเหล่านี้

ก็จักงดการทะเลาะกัน. เพราะกระทำการอยู่ในวิหารแห่งเดียวกันกับภิกษุ

ผู้ก่อการทะเลาะกันเหล่านั้น และการที่พวกอุบาสกเป็นต้นเข้าไปเฝ้าโดย

ไม่มีผู้แนะนำให้เป็นอยู่เกลื่อนกล่น ด้วยประการฉะนี้ ท่านจึงกล่าวว่า

เตน โข ปน สมเยน ภควา อากิณฺโณ วิหรติ ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้-

มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่เกลื่อนกล่น ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺข ได้แก่ ไม่ใช่สุข อธิบายว่า

ไม่น่าปรารถนา เพราะมีจิตไม่น่ายินดี. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าว

ว่า น ผาสุ วิหรามิ เราอยู่ไม่ผาสุก. บทว่า วูปกฏฺโ แปลว่า หลีกออก

คืออยู่ในที่ไกล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 437

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงพระดำริอย่างนั้นแล้ว จึงทรงชำระ

พระวรกายแต่เช้าตรู่ เสด็จเที่ยวบิณฑบาต ในกรุงโกสัมพี ไม่ตรัสบอก

ใคร ๆ เสด็จไปแต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อน ประทับอยู่ที่ควงไม้ภัททสาละ

ณ ปาลิไลยกะไพรสณฑ์ในโกศลรัฐ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข

ภควา ปุพฺพณฺหสมย ฯ เป ฯ ภทฺทสาลมูเล ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาม แปลว่า ด้วยพระองค์เอง. บทว่า

สสาเมตฺวา แปลว่า เก็บนำ. พึงนำบทว่า สาม มาประกอบเข้า แม้ในบท

ว่า ปตฺตจีวรมาทาย นี้. บทว่า อุปฏฺาเก ได้แก่ ไม่ได้บอกลา

พวกอุปัฏฐาก มีโฆสิตเศรษฐีเป็นต้น ชาวกรุงโกสัมพี และท่านพระ-

อานนท์ ผู้เป็นอัครอุปัฏฐากในวิหาร.

เมื่อพระศาสดาเสด็จไปแล้วอย่างนี้ ภิกษุ ๕๐๐ รูป กล่าวกะท่าน

พระอานนท์ว่า อานนท์ผู้มีอายุ พระศาสดาเสด็จไปแต่พระองค์เดียว พวก

เราจักติดตาม. ท่านพระอานนท์ห้ามว่า อาวุโส ในคราวที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงเก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เองแล้วทรงถือบาตรและจีวร ไม่

ทรงบอกลาพวกอุปัฏฐากและไม่ทรงบอกเล่าภิกษุสงฆ์ เสด็จไปไม่มีเพื่อน

การเสด็จไปโดยพระองค์เดียว เป็นพระอัธยาศัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ธรรมดาว่า พระสาวกควรปฏิบัติให้เหมาะสมแก่พระอัธยาศัยของพระ-

ศาสดา เพราะฉะนั้น ไม่ควรตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปในวันเหล่านี้

ดังนี้แม้ตนเองก็ไม่ตามเสด็จ. บทว่า อนุปุพฺเพน แปลว่า โดยลำดับ.

พระศาสดาเสด็จจาริกไปตามลำดับคามและนิคม ทรงพระดำริ

ว่า เราจักเยี่ยมภิกษุผู้เที่ยวอยู่แต่ผู้เดียวก่อน ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปยัง

พาลกโลณการามแล้วทรงแสดงอานิสงส์ในการเที่ยวอยู่แต่ผู้เดียว แก่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 438

ภคุเถระในที่นั้น ตลอดปัจฉาภัตร และตลอดราตรี ๓ ยาม ในวันรุ่งขึ้น

มีท่านภคุเถระเป็นปัจฉาสมณะเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาต ให้ท่านภคุเถระ

กลับ ณ ที่ตรงนั้นนั่นแล แล้วทรงพระดำริว่า จักเยี่ยมกุลบุตรทั้ง ๓ คน

ผู้อยู่โดยความพร้อมเพรียงกัน จึงเสด็จไปยังปาจีนวังสมิคทายวันแล้วทรง

แสดงอานิสงส์ ในการที่กุลบุตรแม้เหล่านั้น ผู้อยู่โดยความพร้อมเพรียง

กัน ตลอดคืนยังรุ่ง ทรงให้กุลบุตรแม้เหล่านั้นกลับ ณ ที่ตรงนั้นนั่นแล

เสด็จถึงปาลิไลยคามแต่พระองค์เดียว. ชาวปาลิไลยคาม พากันต้อนรับ

ถวายทานแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วสร้างบรรณศาลาถวายแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ในรักขิตวันไพรสณฑ์ ซึ่งอยู่ไม่ไกลปาลิไลยคาม แล้วทูล

อาราธนาให้ประทับอยู่ด้วยคำว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงประทับอยู่ใน

ที่นี้เถิด. ก็ในรักขิตวันนั้น มีต้นสาละต้นหนึ่ง น่าพึงใจ อันได้นามว่า

ภัททสาละ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยบ้านนั้น ประทับอยู่ ณ โคนไม้

นั้นใกล้บรรณศาลา ในไพรสณฑ์. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ปาลิ-

เลยฺยเก วิหรติ รกฺขิตวนสณฺเฑ ภทฺทสาลมูเล ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า หตฺถินาโค ได้แก่ พญาช้าง คือจ่าโขลง. บทว่า หตฺถิ-

กุลเภหิ แปลว่า ลูกช้าง. บทว่า หตฺถิจฺฉาเปหิ ได้แก่ ลูกช้างรุ่น ซึ่ง

ยังดื่มกินน้ำนม. ที่เขาเรียกว่า ภิงฺกา ดังนี้ก็มี. บทว่า ฉินฺนคฺคานิ

ความว่า เคี้ยวกินหญ้าที่มีปลายขาด คือ คล้ายตอ ที่เหลือจากช้างเป็นต้น

เหล่านั้นล่วงหน้าไปกินเสียแล้ว. บทว่า โอภคฺโคภคฺค ได้แก่ รุกขาวัยวะ

คือกิ่งไม้ที่พญาช้างนั้นหักตกลงจากที่สูง. บทว่า อสฺส สาขาภงฺค

ความว่า ช้างเหล่านั้นเคี้ยวกินรุกขาวัยวะที่หักคือกิ่งไม้ อันเป็นของพญา

ช้างนั้น. บทว่า อาวิลานิ ความว่า ย่อมดื่มน้ำที่ขุ่น คือที่เจือด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 439

เปือกตม เพราะถูกช้างเหล่านั้นลงไปดื่มก่อนจึงทำให้ขุ่น. บทว่า โอคาหา

แปลว่า จากท่า. บาลีว่า โอคาห ดังนี้ก็มี. บทว่า อสฺส ประกอบกับ

หตฺถินาคสฺส. บทว่า อุปนิฆสนฺติโย แปลว่า เสียดสีอยู่. พญาช้าง

นั้น แม้จะถูกพวกช้างเสียดสี ก็ไม่โกรธ เพราะความที่คนมีใจกว้างขวาง

ด้วยเหตุนั้น นางช้างเหล่านั้น จึงพากันเสียดสีพญาช้างนั่นแหละ. บท

ว่า ยูถา แปลว่า จากโขลงช้าง.

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า พญาช้างนั้น

เบื่อหน่ายที่จะอยู่ในโขลง จึงเข้าไปยังไพรสณฑ์นั้น เห็นพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ในที่นั้น เป็นสัตว์มีใจเย็น เหมือนเอาน้ำพันหม้อมาดับความ

ร้อน มีจิตเลื่อมใส ได้อยู่ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ตั้งแต่นั้นมา

พญาช้างนั้น ก็ตั้งอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติ เอากิ่งไม้กวาดรอบ ๆ ต้น

ภัททสาละและบรรณศาลา ให้ปราศจากของเขียว ถวายน้ำบ้วนพระโอษฐ์

นำน้ำสำหรับสรงมาถวาย ถวายไม้สำหรับชำระพระทนต์ แต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า นำผลไม้มีรสอร่อยมาจากป่าแล้วน้อมถวายแด่พระศาสดา. พระ-

ศาสดาทรงเสวยผลไม้เหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ได้ยินว่า

ในรักขิตวันนั้น พญาช้างนั้น กระทำพื้นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

อยู่ให้ปราศจากของเขียว และจัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยงวง ดังนี้เป็นต้น.

พญาช้างนั้นเอางวงขนฟืนมา สีกันและกันเข้าให้เกิดเป็นไฟ ทำ

ให้ไม้ลุกโพลง ทำก้อนหินในที่นั้นให้ร้อน เอาไม้กลิ้งก้อนหินนั้นมา

โยนลงไปในแอ่งน้ำ รู้ว่าน้ำร้อนแล้ว จึงเข้าไปในสำนักของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า พญาช้างปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 440

จึงสมกับจิตที่ประเสริฐ คือสมกับจิตของพระพุทธเจ้านั้น เพราะคำอธิบาย

จะให้เราสรงน้ำ จึงเสด็จไปในที่นั้นแล้ว ทำการสรงน้ำ. แม้ในน้ำดื่ม

ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็เมื่อนำดื่มนั้นเกิดความเย็นขึ้นแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าที่ท่าน

หมายกล่าวไว้ว่า ก็พญาช้างจัดตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้ถวายแด่พระผู้มีพระภาค-

เจ้าด้วยงวง. บทมีอาทิว่า อถ โข ภควโต รโหคตสฺส เป็นบทแสดง

การที่มหานาคทั้ง ๒ พิจารณาถึงความสุขอันเกิดแต่วิเวก. คำนั้น มีอรรถ

ดังที่กล่าวไว้แล้วนั่นแล.

บทว่า อตฺตโน จ ปวิเวก วิหิตฺวา ความว่า ทรงทราบกายวิเวก

ที่ได้ด้วยความไม่เกลื่อนกล่น ด้วยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง. ฝ่ายจิตวิเวก และ

อุปธิวิเวกย่อมมีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าทุกกาลทีเดียว. บทว่า อิม อุทาน

ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงความที่พระองค์ และพญาช้าง

มีอัธยาศัยเสมอกัน ในความยินดียิ่งในความสงัด.

ในข้อนั้นมีความสังเขป ดังต่อไปนี้ จิตของพญาช้างผู้มีงางอน

นี้ คือมีงางอนเช่นกับงอนรถ สมกัน คือเทียบกันได้กับ จิตที่ประเสริฐ

ของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ. หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า สมกันได้อย่างไร ?

เฉลยว่า เพราะผู้เดียวยินดีอยู่ในป่า อธิบายว่า เพราะเหตุที่พระพุทธเจ้า

ผู้ประเสริฐทรงดำริว่า เมื่อก่อนเราแลอยู่เกลื่อนกล่น ดังนี้ จึงทรงรังเกียจ

การอยู่เกลื่อนกล่นในครั้งก่อน เมื่อจะทรงพอกพูนวิเวก บัดนี้จึงเป็นผู้

ผู้เดียว คือไม่มีเพื่อน ยินดี คือ อภิรมย์ ในป่า คือในราวป่า ฉันใด

แม้พญาช้างนี้ก็ฉันนั้น เมื่อก่อนรังเกียจการอยู่เกลื่อนกล่นกับพวกช้าง

เป็นต้นของมัน เมื่อจะพอกพูนวิเวก บัดนี้จึงเป็นช้างโดดเดี่ยว คือไม่มี

เพื่อนยินดี คือ เพลิดเพลินอยู่โดดเดี่ยวในป่า ฉะนั้น จิตของพญาช้างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 441

ดังว่ามานี้ จึงเป็นเช่นเดียวกันกับด้วยความยินดีในเอกีภาพ.

จบอรรถกถานาคสูตรที่ ๕

๖. ปิณโฑลภารทวาชสูตร

ว่าด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

[๑๐๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล

ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถือทรงผ้าบังสุกุลเป็น

วัตร ถือทรงไตรจีวรเป็นวัตร มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด

ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร ผู้มีวาทะกำจัด หมั่นประกอบใน

อธิจิต นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระปิณโฑลภารทวาชะผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

. . .อยู่ในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

การไม่ว่าร้ายกัน ๑ การไม่เบียดเบียนกัน ๑ การ

สำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

ในภัต ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ การประกอบความ

เพียรในอธิจิต ๑ นี้เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย.

จบปิณโฑลภารทวารสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 442

อรรถกถาปิณโฑลภารทวารสูตร

ปิณโฑลภารทวาชสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปิณฺโฑลภารทฺวาโช ความว่า ชื่อว่าปิณโฑละ เพราะบวช

เสาะแสวงหาก้อนข้าว.

ได้ยินว่า เขาเป็นพราหมณ์หมดสิ้นโภคะ เห็นลาภและสักการะเป็น

อันมากของภิกษุสงฆ์ จึงออกบวชเพื่อต้องการก้อนข้าว. เขาถือกระเบื้อง

แผ่นใหญ่ เข้าใจว่าเป็นบาตร เที่ยวดื่มข้าวยาคูเต็มกระเบื้อง บริโภคภัต

และกินขนมของเคี้ยว. ลำดับนั้น พวกภิกษุกราบทูลความที่ท่านกินจุ

แด่พระศาสดา. พระศาสดาจึงไม่ทรงอนุญาตให้เธอใช้ถลกบาตร. เธอจึง

คว่ำบาตรวางไว้โต้เตียง. เธอแม้เมื่อจะวางเสือกผลักวางไว้. แม้เมื่อจะถือ

เอาก็ลากคร่าถือเอามา. เมื่อกาลล่วงไป ล่วงไป กระเบื้องนั้นก็กร่อนไป

เพราะการเสียดสี จุเพียงข้าวสุกทะนานเดียวเท่านั้น. ลำดับนั้น พวกภิกษุ

จึงกราบทูลแด่พระศาสดา. ต่อมาพระศาสดาจึงทรงอนุญาตให้เธอมีถลก

บาตรได้. สมัยต่อมา พระเถระเจริญอินทรีย์ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล.

ดังนั้น เขาจึงเรียกท่านว่า ปิณโฑละ เพราะเมื่อก่อนท่านแสวงหาเศษ

อามิสเพื่อก้อนข้าว แต่โดยโคตรเรียกว่าภารทวาชะ เพราะรวมศัพท์ทั้ง ๒

ศัพท์เข้าด้วยกัน จึงเรียกว่า ปิณโฑลภารทวาชะ.

บทว่า อารญฺโก ความว่า ชื่อว่า อารัญญกะ เพราะท่านอยู่ใน

ป่าโดยห้ามเสนาสนะชายบ้านเสีย. บทว่า อารญฺโก นี้ เป็นชื่อของ

ภิกษุผู้ประพฤติสมาทานอรัญญิกธุดงค์. อนึ่ง การตกลงแห่งก้อนอามิส

คือภิกษาหาร ชื่อว่าบิณฑบาต. อธิบายว่า ก้อนข้าวที่คนอื่นให้ตกลงใน

บาตร. ภิกษุชื่อว่า ปิณฑปาติกะ เพราะแสวงหาบิณฑบาต คือเข้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 443

แสวงหายังตระกูลนั้น ๆ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปิณฺฑปาตี เพราะมีอัน

ตกไป คือเที่ยวไปเพื่อบิณฑะเป็นวัตร. ปิณฺฑปาตี นั่นแหละเป็น

ปิณฑปาติกะ. ผ้าชื่อว่า ปังสุกูละ เพราะเป็นดุจจะเกลือกกลัวด้วยฝุ่น

เพราะอรรถว่าฟุ้งขึ้น เหตุตั้งอยู่บนฝุ่น ในที่มีกองหยากเยื่อเป็นต้น.

อีกอย่างหนึ่ง ผ้าชื่อว่า ปังสุกุละ เพราะไป คือถึงความเป็นของน่าเกลียด

ดูจฝุ่น. การทรงผ้าบังสุกุล ชื่อว่า ปังสุกุละ. การทรงผ้าบังสุกุลนั้น

เป็นปกติของภิกษุนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ปังสุกูลิกะ. จีวร ๓ ผืน

คือ สังฆาฏิ อุตราสงค์และอันตรวาสก ชื่อว่า ไตรจีวร. การทรงผ้า

ไตรจีวร ชื่อว่า ติจีวระ. การทรงผ้าไตรจีวรนั้น เป็นปกติของภิกษุนั้น

เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า เตจีวริกะ. อรรถแห่งบทว่า อปฺปิจฺโฉ เป็นต้น

ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังแล.

บุคคลผู้กำจัดกิเลสท่านเรียกว่า ธุตะ ในบทว่า ธุตวาโท. อีกอย่าง

หนึ่ง ธรรมเครื่องกำจัดกิเลส ท่านก็เรียกว่า ธุตะ. ในสองอย่างนั้น

ภิกษุชื่อว่ามีธุตะ แต่ไม่มีธุตวาทก็มี ไม่มีธุตะ แต่มีธุตวาทก็มี ไม่มีทั้ง

ธุตะ ไม่มีทั้งธุตวาทก็มี มีทั้งธุตะ มีทั้งธุตวาทก็มี พึงทราบหมวด ๔

แห่งธุตะดังว่ามานี้. ใน ๔ อย่างนั้น ภิกษุใดสมาทานประพฤติธุตธรรม

ด้วยตนเอง ไม่ชักชวนผู้อื่น เพราะการประพฤติสมาทานธุตธรรมนั้น

นี้เป็นธุตะหมวดที่ ๑. ส่วนภิกษุใดไม่ประพฤติสมาทานธุตธรรมด้วยตน

เอง แต่ชักชวนผู้อื่น นี้ชื่อว่าเป็นธุตธรรมที่ ๒. ภิกษุใดเว้นทั้งสอง นี้

เป็นธุตะที่ ๓. ส่วนภิกษุใดสมบูรณ์ด้วยธุตะทั้ง ๒ นี้ชื่อว่าเป็นธุตะที่ ๔.

ก็ท่านปิณโฑลภารทวาชะก็เป็นผู้เช่นนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ธุตวาทะ. ก็นี้เป็นนิเทศว่าด้วยสมาสที่ท่านย่อศัพท์หนึ่งเหลือไว้ศัพท์หนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 444

เหมือนอย่างว่า นามญฺจ รูปญฺจ นามรูปญฺจ นามรูป แปลว่า นาม ๑

รูป ๑ นามรูป ๑ เป็นนามรูป.

ในบทว่า อธิจิตฺตมนุยุตฺโต นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ พึงทราบ

ความที่จิตเป็นอธิจิต เพราะประกอบด้วยสมาบัติ ๘ หรือประกอบด้วย

อรหัตผลสมาบัติ. แต่ในที่นี้ พึงทราบว่า อรหัตผลจิต. สมาธิใน

ในสมาบัตินั้น ๆ นั่นแล ชื่อว่าอธิจิต. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า อรหัตผล-

สมาธิ. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ดุก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่น

ประกอบอธิจิต พึงมนสิการถึงนิมิต ๓ อย่างตามกาลเวลา เพราะฉะนั้น

จิตที่ประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา ท่านประสงค์ในที่นี้ว่าอธิจิต เหมือน

ในอธิจิตตสูตรนี้. คำนั้นไม่ดี พึงถือเอาความในก่อนนั่นแล.

บทว่า เอตมตฺถ วิหิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ซึ่งอรรถนี้ กล่าวคือ การประกอบอธิจิต อันสมบูรณ์ด้วยการอธิษฐาน

บริขาร และการไม่บกพร่องของท่านปิณโฑลภารทวาชะ. เมื่อจะทรง

แสดงว่าการประกอบอธิจิต ก็คือการดำรงมั่นแห่งพระศาสนาของเรา จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุปวาโท ได้แก่ ไม่เข้าไปว่าร้ายต่อ

ใคร ๆ ด้วยวาจา. บทว่า อนุปฆาโต ได้แก่ ไม่กระทำการกระทบกระทั่ง

ต่อใคร ๆ. อรรถแห่งบทว่าปาฏิโมกข์ ในบทว่า ปาฏิโมกฺเข นี้ ท่าน

กล่าวโดยประการต่าง ๆ ในหนหลัง. ธรรมอันมีการไม่ล่วงละเมิดกอง

อาบัติ ๗ ในพระปาฏิโมกข์นั้นเป็นลักษณะ ชื่อว่า สังวร ความรู้จัก

ประมาณ ด้วยอำนาจการรับและการบริโภค ชื่อว่า มัตตัญญุตา. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 445

ปนฺตญฺจ สยานาสน ได้แก่ ที่นอนและที่นั่งอันสงัด คือเว้นการติดต่อกัน

บทว่า อธิจิตฺเต จ อาโยโค ได้แก่ การประกอบภาวนา เพื่อบรรลุ

สมาบัติ ๘. อีกนัยหนึ่ง. บทว่า อนุปวาโท ได้แก่ ไม่กล่าวคำว่าร้ายแม้

ต่อใคร ๆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์ศีล ที่เป็นไปทางวาจาแม้

ทั้งหมด. บทว่า อนุปฆาโต ได้แก่ ไม่กระทำการกระทบกระทั่งต่อใคร ๆ

คือการเบียดเบียนผู้อื่นด้วยกาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงสงเคราะห์ศีลอัน

เป็นไปทางกายทั้งหมด ก็เพื่อจะทรงแสดงศีลทั้ง ๒ ที่หยั่งลงในภายใน

ศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหมด จึงตรัสว่า ปาฏิโมกฺเข จ สวโร ดังนี้

จ ศัพท์ เป็นเพียงนิบาต. บทว่า ปาฏิโมกฺเข จ สวโร ความว่า การไม่

ไปว่าร้าย และการไม่เข้าไปทำร้าย อันเป็นเหตุสำรวมในพระปาฏิโมกข์.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาฏิโมกฺเข เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในอรรถอธิ-

กรณะ. สังวรเป็นที่อาศัยในปาฏิโมกข์. ถามว่า ก็สังวรนั้นคืออะไร ?

ตอบว่า คือ การไม่เข้าไปว่าร้าย การไม่ทำร้าย. จริงอยู่ ในเวลาอุป-

สมบท เมื่อว่าโดยไม่แปลกกัน ปาฏิโมกขศีล เป็นอันชื่อว่าอันภิกษุ

สมาทานแล้ว. เมื่อภิกษุตั้งอยู่ในปาฏิโมกข์นั้น ต่อจากนั้น สังวรย่อมมี

ด้วยอำนาจการไม่ว่าร้าย และการไม่กระทำร้าย สังวรนั้น ท่านเรียกว่า

การไม่ว่าร้ายและการไม่ทำร้าย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปาฏิโมกฺเข เป็น

สัตตวีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่าพึงให้สำเร็จ เหมือนคำว่าการไม่สงบแห่งใจ

มีอโยนิโสมนสิการเป็นเหตุใกล้. อธิบายว่า การไม่ว่าร้าย การไม่ทำร้าย

อันปาฏิโมกข์พึงให้สำเร็จ คือการว่าร้ายและการทำร้ายสงเคราะห์เข้าใน

ปาฏิโมกขสังวรเหมือนกัน. ก็ด้วยคำว่า สวโร จ นี้ ศัพท์แห่งสังวร ๔

เหล่านี้ คือ สติสังวร ๑ ญาณสังวร ๑ ขันติสังวร ๑ วิริยสังวร ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 446

สังวร ๔ หมวดนี้ มีการทำปาฏิโมกข์ให้สำเร็จ. บทว่า มตฺตญฺณุตา จ

ภตฺตสฺมึ ได้แก่ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ด้วยอำนาจการแสวงหา

การรับ การบริโภค และการสละ. บทว่า ปนฺตญฺจ สยนาสน ได้แก่

ที่นอนและที่นั่งอันสงัด มีราวป่าและโคนไม้เป็นต้น อันอนุกูลแก่ภาวนา.

บทว่า จิตฺเต จ อาโยโค ความว่า เมื่อทำอรหัตผลจิต กล่าวคือ ชื่อว่า

อธิจิต เพราะเป็นจิตยิ่ง คือเพราะสูงสุดกว่าจิตทั้งปวงให้สำเร็จ ความ

พากเพียรย่อมมีด้วยอำนาจสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา เพื่อทำอรหัต-

ผลจิตนั้นให้สำเร็จ. บทว่า เอต พุทฺธาน สาสน ความว่า การไม่ว่าร้าย

ผู้อื่น ๑ การไม่ทำร้ายผู้อื่น ๑ การสำรวมในพระปาฏิโมกข์ ๑ การรู้จัก

ประมาณในการแสวงหาและการรับเป็นต้น ๑ การอยู่ในที่อันสงัด ๑

การประกอบเนืองๆ ซึ่งอธิจิตตามที่กล่าวแล้ว ๑ นี้เป็นคำสอน คือเป็น

โอวาท อธิบายว่า เป็นคำพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิกขา ๓ พึง

ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยพระคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาปิณโฑลภารทวารสูตรที่ ๖

๗. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยความโศกไม่มีแก่มุนีผู้มีสติ

[๑๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระสารีบุตรผู้มีความปรารถนาน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 447

ปรารภความเพียร หมั่นประกอบในอธิจิต นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง อยู่

ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระ-

สารีบุตรผู้มีความปรารถนาน้อย. . . อยู่ในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความโศกทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ผู้ที่มีจิตยิ่ง ไม่

ประมาท เป็นมุนี ศึกษาอยู่ในคลองแห่งมุนี คงที่

สงบ มีสติทุกเมื่อ.

จบสารีปุตตสูตรที่ ๗

อรรถกถาสารีปุตตสูตร

คำที่ไม่ได้กล่าวในก่อน ไม่มีในสูตรที่ ๗. ในคาถาพึงทราบความ

ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อชิเจตโส แปลว่า ผู้มีอธิจิต. อธิบายว่า ผู้ประกอบด้วย

อรหัตผลจิต อันยิ่งกว่าจิตทั้งปวง. บทว่า อปฺปมชฺชโต แปลว่า ผู้ไม่

ประมาท ท่านอธิบายว่า ผู้ประกอบด้วยการกระทำเป็นไปติดต่อในธรรมอัน

หาโทษมิได้ ด้วยความไม่ประมาท. บทว่า มุนิโน ความว่า พระขีณาสพ

ชื่อว่ามุนี เพราะรู้โลกทั้งสองอย่างนี้ว่า เพราะผู้รู้โลกทั้งสอง ท่าน

เรียกว่า มุนี หรือเพราะประกอบด้วยญาณ กล่าวคือ ปัญญาอันสัมปยุต

ด้วยอรหัตผลนั้น ท่านเรียกว่า โมนะ. แก่พระมุนีนั้น. บทว่า มุนิ-

ปเถสุ สิกฺขโต ความว่า ผู้ศึกษาในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 448

ในสิกขา ๓ อันเป็นทางแห่งโมนะ กล่าวคืออรหัตมรรคญาณ. ก็คำนี้

ท่านหมายเอาปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น. จริงอยู่ ผู้สำเร็จการศึกษา

ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะฉะนั้น พึงเห็นเนื้อความในที่นี้ว่า แก่พระมุนีผู้

สำเร็จการศึกษาดังว่ามานี้ คือผู้ถึงความเป็นมุนี ด้วยการศึกษานี้. ก็เพราะ

ข้อนั้นนั่นแหละ ฉะนั้น อรรถแห่งบททั้ง ๓ นี้อย่างนี้ คือของท่านผู้มี

อธิจิต (จิตเป็นสมาธิขั้นฌาน) คือมรรคจิต ผลจิตเบื้องต่ำ ผู้ไม่ประมาท

ด้วยความไม่ประมาท ในการปฏิบัติอันเกี่ยวด้วยการตรัสรู้สัจจะ ๔ ชื่อว่า

ผู้เป็นมุนี เพราะประกอบด้วยมรรคญาณย่อมสมแท้. อีกอย่างหนึ่ง พึง

ทราบอรรถแห่งเหตุของบทว่า อปฺปมชฺชโต จ สิกฺขโต ว่า ชื่อว่ามีอธิจิต

เพราะเหตุแห่งความไม่ประมาท และเพราะเหตุแห่งการศึกษา. บทว่า

โสกา น ภวนฺติ ตาทิโน ความว่า ความเศร้าโศก คือความกรมเกรียมใจ

อันมีความพลัดพรากจากสิ่งที่น่าปรารถนาเป็นต้น เป็นที่ตั้ง ย่อมไม่มี

ในภายในของผู้คงที่ คือของมุนีผู้เป็นพระขีณาสพ. อีกอย่างหนึ่ง ใน

บทว่า ตาทิโน นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า ความเศร้าโศกย่อมไม่มีแก่มุนีเห็น

ปานนี้ ผู้ประกอบด้วยลักษณะแห่งความเป็นผู้คงที่. บทว่า อุปสนฺตสฺส

ได้แก่ผู้สงบระงับ เพราะสงบกิเลสมีราคะเป็นต้นได้เด็ดขาด. บทว่า

สทา สตีมโต ได้แก่ ผู้ไม่เว้นสติตลอดกาลเป็นนิจ. ก็ในที่นี้ ด้วยบทว่า

อธิเจตโน นี้ พึงทราบว่า ท่านประสงค์เอาอธิจิตสิกขา. ด้วยบทว่า

อปฺปมชฺชโต นี้ ท่านประสงค์เอาอธิสีลสิกขา. ด้วยบทว่า มุนิโน

โมนปเถสุ สิกฺขโต นี้ ท่านประสงค์เอาอธิปัญญาสิกขา. อีกอย่างหนึ่ง

ด้วยบทว่า มุนิโน นี้ ท่านประสงค์เอาอธิปัญญาสิกขา. ด้วยบทว่า

โมนปเถสุ สิกฺขโต นี้ ท่านประสงค์เอาปฏิปทา อันเป็นส่วนเบื้องต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 449

แห่งโลกุตรสิกขาเหล่านั้น. ด้วยบทว่า โสกา น ภวนฺติ เป็นต้น พึง

ทราบว่า ท่านประกาศอานิสงส์แห่งการบำเพ็ญสิกขา. คำที่เหลือมีนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๗

๘. สุนทรีสูตร

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าถูกข้อหาว่าฆ่านางสุนทรี

[๑๐๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ที่มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ทรง

ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้ภิกษุสงฆ์

ก็เป็นผู้ที่มหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ได้จีวร บิณฑบาต

เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ส่วนพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

เป็นพวกที่มหาชนไม่สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง ไม่ได้จีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร.

[๑๐๓] ครั้งนั้นแล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก อดกลั้นสักการะ

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า และสักการะของภิกษุสงฆ์ไม่ได้ เข้าไปหานาง

สุนทรีปริพาชิกาถึงที่อยู่ ครั้นแล้ ว ได้กล่าวกะนางสุนทรีปริพาชิกาว่า

ดูก่อนน้องหญิง เธอสามารถเพื่อจะทำประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายได้หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 450

นางสุนทรีปริพาชิกาว่า ดิฉันจะทำอะไรเล่า พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันสามารถ

เพื่อจะทำอะไร แม้ชีวิตดิฉันก็สละเพื่อประโยชน์แก่ญาติทั้งหลายได้.

อัญ. ดูก่อนน้องหญิง ถ้าเช่นนั้น เธอจงไปสู่พระวิหารเชตวัน

เนือง ๆ เถิด.

นางสุนทรีปริพาชิกา รับคำของพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น

แล้วได้ไปยังพระวิหารเชตวันเนือง ๆ เมื่อใด พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก

เหล่านั้นได้ทราบว่า นางสุนทรีปริพาชิกาคนเห็นกันมากว่า ไปยังพระ-

วิหารเชตวันเนือง ๆ เมื่อนั้น ได้จ้างพวกนักเลงให้ปลงชีวิตนางสุนทรี-

ปริพาชิกานั้นเสีย แล้วหมกไว้ในคูรอบพระวิหารเชตวันนั้นเอง แล้วพา

กันเข้าไปเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

ขอถวายพระพร นางสุนทรีปริพาชิกาอาตมภาพทั้งหลายมิได้เห็น พระเจ้า

ปเสนทิโกศลตรัสถามว่า พระคุณเจ้าทั้งหลายสงสัยในที่ไหนเล่า.

อัญ. ในพระวิหารเชตวัน ขอถวายพระพร.

ป. ถ้าอย่างนั้น พระคุณเจ้าทั้งหลายจงค้นพระวิหารเชตวัน.

ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น ค้นทั่วพระวิหาร

เชตวันแล้ว ขุดศพนางสุนทรีปริพาชิกาตามที่ตนสั่งให้หมกไว้ขึ้นจากคู

ยกขึ้นสู่เตียงแล้วให้นำไปสู่พระนครสาวัตถี เดินทางจากถนนนี้ไปถนน

โน้น จากตรอกนี้ไปตรอกโน้น แล้วให้พวกมนุษย์โพนทะนาว่า เชิญดู

กรรมของเหล่าสมณศากยบุตรเถิดนาย สมณศากยบุตรเหล่านี้ไม่มีความ

ละอาย ทุศีล มีธรรมเลวทราม พูดเท็จ ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ก็สมณ-

ศากยบุตรเหล่านี้ถึงจักปฏิญาณว่า เป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ

ประพฤติพรหมจรรย์ พูดจริง มีศีล มีธรรมอันงาม ความเป็นสมณะของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 451

สมณศากยบุตรเหล่านี้หามีไม่ ความเป็นพรหมของสมณศากยบุตรเหล่านี้

หามีไม่ ความเป็นสมณะของสมณศากยบุตรเหล่านี้ฉิบหายเสียแล้ว ความ

เป็นพรหมของสมณศากยบุตรเหล่านี้ฉิบหายเสียแล้ว ความเป็นสมณะของ

สมณศากยบุตรเหล่านี้จักมีแต่ไหน ความเป็นพรหมของสมณศากยบุตร

เหล่านี้จักมีแต่ไหน สมณศากยบุตรเหล่านี้ปราศจากความเป็นสมณะ สมณ-

ศากยบุตรเหล่านี้ปราศจากความเป็นพรหม ก็ไฉนเล่า บุรุษกระทำกิจของ

บุรุษแล้วจักปลงชีวิตหญิงเสีย.

[๑๐๔] ก็สมัยนั้นแล มนุษย์ทั้งหลายในพระนครสาวัตถี เห็นภิกษุ

ทั้งหลายแล้ว ย่อมด่า ย่อมบริภาษ ขึ้งเคียด เบียดเบียน ด้วยวาจาอันหยาบ

คาย มิใช่ของสัตบุรุษว่า สมณศากยบุตรเหล่านี้ไม่มีความละอาย . . . ก็

ไฉนเล่า บุรุษกระทำกิจของบุรุษแล้วจะปลงชีวิตหญิงเสีย.

[๑๐๕] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ภิกษุมากด้วยกันครองผ้าอันตรวาสก

ถือบาตรและจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นกลับจาก

บิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ มนุษย์ทั้งหลายใน

พระนครสาวัตถี เห็นภิกษุทั้งหลายแล้วย่อมด่า . . . ก็ไฉนเล่า บุรุษกระทำ

กิจของบุรุษแล้วจักปลงชีวิตหญิงเสีย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เสียงนั้นจักมีอยู่ไม่นาน จักมีอยู่ ๗ วันเท่านั้น ล่วง ๗ วัน

ไปแล้วก็จักหายไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจง

โต้ตอบมนุษย์ทั้งหลายผู้ที่เห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว ด่า บริภาษ ขึ้งเคียด

เบียดเบียน ด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ ด้วยคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 452

คนที่พูดไม่จริง หรือคนที่กระทำบาปกรรม แล้ว

พูดว่า มิได้ทำ ย่อมเข้าถึงนรก คนแม้ทั้งสองพวกนั้น

มีกรรมเลวทราม ละไปแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันใน

โลกหน้า.

[๑๐๖] ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นเรียนคาถานี้ในสำนักของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ย่อมโต้ตอบมนุษย์ผู้ที่เห็นภิกษุทั้งหลายแล้วด่า บริภาษ

ขึ้งเคียด เบียดเบียนด้วยวาจาอันหยาบคาย มิใช่ของสัตบุรุษ ด้วยคาถา

นี้ว่า

คนที่พูดไม่จริง หรือคนที่กระทำบาปกรรม แล้ว

พูดว่า มิได้ทำ ย่อมเข้าถึงนรก คนแม้ทั้งสองพวกนั้น

มีกรรมเลวทราม ละไปแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกันใน

โลกหน้า.

[๑๐๗] มนุษย์ทั้งหลายพากันดำริว่า สมณศากยบุตรเหล่านี้ไม่ได้

ทำความผิด สมณศากยบุตรเหล่านี้ไม่ได้ทำบาป เสียงนั้นมีอยู่ไม่นานนัก

ได้มีอยู่ ๗ วันเท่านั้น ล่วง ๗ วันแล้วก็หายไป ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอัน

มากพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสียงนั่นจักมีอยู่ไม่นาน

ล่วง ๗ วันแล้วก็จักหายไป เสียงนั้นหายไปแล้วเพียงนั้น พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 453

ชนทั้งหลายผู้ไม่สำรวมแล้ว ย่อมทิ่มแทงชน

เหล่าอื่นด้วยวาจา เหมือนเหล่าทหารที่เป็นข้าศึกทิ่ม-

แทงกุญชรตัวเข้าสงครามด้วยลูกศรฉะนั้น ภิกษุผู้มี

จิตไม่ประทุษร้าย ฟังคำอันหยาบคายที่ชนทั้งหลาย

เปล่งขึ้นแล้ว พึงอดกลั้น.

จบสุนทรีสูตรที่ ๘

อรรถกถาสุนทรีสูตร

สุนทรีสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

อรรถแห่งบทมีอาทิว่า สกฺกโต ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง

นั่นแล. บทว่า อสหมานา แปลว่า อดทนไม่ได้. อธิบายว่า ขึ้งเคียด

(ริษยา). เชื่อมความว่า ไม่อดทนสักการะของภิกษุสงฆ์. บทว่า สุนฺทรี

เป็นชื่อของนาง.

ได้ยินว่า ในเวลานั้น บรรดานางปริพาชิกาทั้งหมด นางเป็นผู้มี

รูปงาม น่าชม น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยสีกายงามอย่างยิ่ง เหตุนั้นนั่นแล

นางจึงปรากฏว่า สุนทรี. ก็นางยังไม่ผ่านวัยสาวไป ไม่สนใจในด้านความ

ประพฤติ. เพราะเหตุนั้น อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นจึงส่งเสริมนางไปในบาป-

กรรม. จริงอยู่ อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น เสื่อมลาภสักการะไปเอง จำเดิม

แต่เวลาที่พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้น เห็นลาภและสักการะมากหาประมาณมิได้

เป็นไปอยู่แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ โดยนัยที่มาแล้วในอรรถกถา

อักโกสสูตรในหนหลัง จึงพากันริษยา ร่วมปรึกษากันว่า จำเดิมแต่กาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 454

ที่พระสมณโคดมอุบัติแล้ว พวกเราพากันฉิบหาย เสื่อมลาภสักการะ

ใคร ๆไม่รู้ว่าพวกเรามีอยู่ เพราะอาศัยเหตุอะไรหนอ ชาวโลกจึงพากัน

เลื่อมใสยิ่งนักในพระสมณโคดม จึงน้อมนำสักการะเข้าไปถวายเป็น

อันมาก. ในบรรดาอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น คนหนึ่งเอ่ยขึ้นว่า พระสมณ-

โคดม ประสูติแต่ตระกูลสูง ทรงประสูติตามประเพณีของมหาสมมติราช

อันไม่เจือปน. อีกคนหนึ่งเอ่ยขึ้น ในกำเนิดแห่งตระกูลวงศ์ พระองค์

มีเหตุน่าอัศจรรย์ปรากฏมากมาย. คนหนึ่งเอ่ยขึ้นว่า เท้าทั้ง ๒ ของพระองค์

ผู้ที่น้อมนำเข้าไปไหว้กาฬเทวิลดาบส เปลี่ยนกลับไปตั้งที่ชฎาของเทวิล-

ดาบสนั้น. อีกคนหนึ่งเอ่ยขึ้นว่า ในมงคลกาลที่หว่านพืช เมื่อพระองค์

ทรงบรรทมที่เงาแห่งต้นหว้า แม้เมื่อเที่ยงวันล่วงไปแล้ว เงาแห่งต้นหว้า

คงตั้งอยู่ไม่เปลี่ยนไปตาม. คนหนึ่งเอ่ยขึ้นว่า พระองค์มีรูปงาม น่าชม

น่าเลื่อมใส เพราะสมบูรณ์ด้วยพระโฉม. อีกคนหนึ่งเอ่ยขึ้นว่า พระองค์

ทอดพระเนตรเห็นนิมิต คือคนแก่ คนเจ็บ คนตาย และบรรพชิต ทรง

เกิดความสังเวช ทรงละจักรพรรดิราช อันจะมาถึงแล้ว ทรงบรรพชา.

พวกอัญญเดียรถีย์ ไม่รู้บุญสมภาร ของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันไม่ทั่วไป

แก่ผู้อื่น ซึ่งพระองค์เคยสั่งสมมาตลอดกาลหาประมาณมิได้ สัลเลขปฏิ-

ปทา อันหาที่เปรียบมิได้ ถึงซึ่งความเป็นผู้มีพระบารมีอันสูงสุด และ

พุทธานุภาพมีญาณสัมปทา และปหานสัมปทา เป็นต้น อันยอดเยี่ยม จึง

ระบุถึงเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นที่นับถือมากนั้น ๆ ตามที่ตนได้เห็น

ได้ยินมา จึงแสวงหาเหตุที่พระองค์จะไม่เป็นที่นับถือ เมื่อไม่พบจึงคิดว่า

เพราะเหตุอะไรหนอ พวกเราจะพึงทำความเสื่อมยศให้เกิด และทำลาภ

สักการะของพระสมณโคดมให้เสื่อมเสีย. บรรดาอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 455

คนหนึ่งมีความคิดเฉียบแหลม เอ่ยขึ้นอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

ธรรมดาว่าสัตว์ทั้งหลาย ผู้จะไม่ข้องอยู่ในความสุขอันเกิดแต่มาตุคาม

ย่อมไม่มีในสัตวโลกนี้ ก็พระสมณโคดมนี้ มีรูปงาม เปรียบด้วยเทพ

ยังหนุ่มแน่น ควรจะได้มาตุคามที่มีรูปร่างเสมอตนมาแนบชิด ถ้าแม้น

ไม่พึงพิสมัย ฝ่ายประชาชนก็จะพึงระแวง เอาเถอะพวกเราจะส่งสุนทรี-

ปริพาชิกาไป โดยประการที่ความเสียชื่อเสียงของพระสมณโคดม จึงแผ่

กระจายไปในพื้นปฐพี.

ฝ่ายอัญญเดียรถีย์นอกนี้ ได้ฟังดังนั้นจึงคิดว่า เรื่องนี้ท่านคิดถูก

ต้องแล้ว ก็เมื่อเราทำอย่างนี้แล้ว พระสมณโคดมก็จะมีพระหทัยวุ่นวาย

ไปด้วยความเสียชื่อเสียง ไม่อาจจะเงยศีรษะขึ้นได้ ก็จักหนีไปโดยอาการ

อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้แล้วจึงมีอัธยาศัยเป็นอันเดียวกันทั้งหมด พากัน

ไปหานางสุนทรีเพื่อจะส่งเธอไป. นางเห็นอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น จึงกล่าว

ว่า ทำไมพวกท่านจึงพร้อมหน้าพร้อมตากันมา. พวกเดียรถีย์ทั้งหลาย

ทำที่ไม่พูดกัน นั่งในที่กำบังท้ายอาราม. นางก็ไปในที่นั้นพูดแล้วพูดเล่า

ก็ไม่ได้รับคำตอบ จึงถามว่า ดิฉันมีความผิดอะไรต่อท่าน ทำไมจึงไม่ให้

คำตอบแก่ฉัน ? พวกเดียรถีย์ย้อนถามว่า ก็เจ้าเพิกเฉยเราผู้ถูกเบียดเบียน

หรือเปล่า ? นางถามว่า ใครเบียดเบียนพวกท่าน. พวกเดียรถีย์ตอบว่า

พระสมณโคดมเบียดเบียนพวกเรา เที่ยวทำเราให้เสื่อมลาภสักการะ. เจ้า

ไม่เห็นหรือ เมื่อนางถามว่า ดิฉันจะทำอย่างไรในข้อนั้น จึงกล่าวว่า

ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงไปที่ใกล้พระเชตวันเนือง ๆ พึงพูดอย่างนี้และอย่างนี้

แก่มหาชน. ฝ่ายนางรับว่า ดีละ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อัญญ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 456

เดียรถีย์ปริพาชิกา อดกลั้นสักการะของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ได้ ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุสฺสหสิ แปลว่า ย่อมอาจ. บทว่า

อตฺถ ได้แก่ ประโยชน์เกื้อกูล หรือกิจ. บทว่า กฺยาห ตัดเป็น กึ อห

แปลว่า เราจะทำอย่างไร ?

เพราะเหตุที่เดียรถีย์เหล่านั้น แม้ไม่ใช่เป็นญาติของนาง แต่ก็เป็น

เหมือนญาติ เพื่อจะสงเคราะห์นาง ด้วยเหตุเพียงสัมพันธ์กันในทางบวช

จึงกล่าวว่า น้องหญิง เธออาจเพื่อจะทำประโยชน์แก่พวกญาติได้หรือ.

เพราะฉะนั้น แม้นางก็ยังเกี่ยวข้องอยู่ เหมือนเถาวัลย์พันที่เท้า จักกล่าวว่า

แม้ชีวิตของดิฉันก็สละได้เพื่อประโยชน์แก่พวกญาติ. บทว่า เตนหิ

ความว่า พวกเดียรถีย์กล่าวว่า เพราะเหตุที่เจ้ากล่าวว่า แม้ชีวิตของเรา

ก็สละได้เพื่อประโยชน์แก่พวกท่าน และเจ้าก็ตั้งอยู่ในปฐมวัย มีรูปงาม

เลอโฉม ฉะนั้น เจ้าพึงทำประการที่พระสมณโคดมจักเกิดความเสียชื่อเสียง

เพราะอาศัยเธอ ดังนี้แล้วจึงส่งไปด้วยคำว่า จงไปยังพระเชตวันเนือง ๆ.

ฝ่ายนางแลเป็นคนโง่ เป็นเหมือนประสงค์จะเล่นเชือกที่ร้อยดอกไม้ ที่

คลองแห่งฟันเลื่อย เหมือนจับงวงช้างดุตัวซับมัน และเหมือนยื่นหน้า

เข้าไปหาความตาย จึงรับคำของพวกเดียรถีย์ แล้วถือเอาดอกไม้ของหอม

เครื่องลูบไล้ หมากพลู และเครื่องอบหน้าเป็นต้น ในเวลาที่มหาชนฟัง

พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วเข้าไปสู่พระนคร นางบ่ายหน้าไปยัง

พระเชตวัน และถูกถามว่า เธอจะไปไหน ? จึงตอบว่า ไปสำนักพระ-

สมณโคดม เพราะดิฉันอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดมนั้น

ดังนี้แล้ว จึงอยู่ในอารามของเดียรถีย์แห่งหนึ่ง พอเช้าตรู่ก็แวะเข้าทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 457

พระเชตวัน มุ่งหน้ามาพระนคร และถูกถามว่า สุนทรีไปไหนมา จึงตอบ

ว่า ฉันอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดม ให้ท่านรื่นรมย์ยินดี

ด้วยกิเลสแล้วจึงมา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นางสุนทรีปริพาชิกา

รับคำของอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่า อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า

แล้วได้ไปยังเชตวันเนือง ๆ.

โดยล่วงไป ๒-๓ วัน พวกเดียรถีย์จึงให้ค่าจ้างแก่พวกนักเลงแล้ว

กล่าวว่า พวกท่านจงไปฆ่านางสุนทรี แล้วหมกไว้ในระหว่างกองหยากเยื่อ

ไม่ไกลพระคันธกุฎีของพระสมณโคดมแล้ว จงมา. พวกนักเลงก็ได้ทำ

อย่างนั้น. ลำดับนั้น พวกเดียรถีย์ทำความวุ่นวายว่า ไม่เห็นนางสุนทรี

จึงกราบทูลแก่พระราชา พระราชาตรัสถามว่า พวกท่านสงสัยในที่ไหน

เล่า จึงกราบทูลว่า หลายวันมานี้ นางยังอยู่ในพระเชตวัน พวกข้า-

พระองค์ไม่ทราบเรื่องของนางในที่นั้น พระราชาตรัสอนุญาตว่า ถ้าอย่าง

นั้น พวกท่านจงไปค้นหานางที่พระเชตวันนั้น จึงพาพวกอุปัฏฐากของ

ตนไปยังพระเชตวัน ทำทีเหมือนค้นหาคุ้ยกองหยากเยื่อแล้ว ยกร่างของ

นางขึ้นสู่เตียงให้เข้าไปยังพระนคร แล้วกราบทูลแด่พระราชาว่า พวก

สาวกของพระสมณโคดมคิดจักปกปิดกรรมชั่วที่ศาสดาตัวทำ จึงพากัน

ฆ่านางสุนทรี แล้วหมกไว้ระหว่างกองหยากเยื่อ. ฝ่ายพระราชาไม่ทันทรง

ใคร่ครวญจึงรับสั่งว่า ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงเที่ยวไปยังพระนคร. พวก

เดียรถีย์เหล่านั้น เที่ยวกล่าวในถนนทั่วพระนครมีอาทิว่า ท่านทั้งหลาย

จงดูความชั่วของพวกสมณศากยบุตรเถิด แล้วก็ได้ไปยังประตูพระราช-

นิเวศน์อีก. พระราชารับสั่งให้ยกร่างของนางสุนทรีขึ้นสู่แม่แคร่ แล้วให้

รักษาไว้ในสุสานผีดิบ. ชาวเมืองสาวัตถีโดยมาก เว้นพระอริยสาวกเสีย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 458

กล่าวคำมีอาทิว่า พวกท่านจงดูความชั่วของสมณศากยบุตรเถิด ดังนี้แล้ว

เที่ยวด่าพวกภิกษุทั้งในเมืองและนอกเมือง. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เมื่อใดพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นรู้ว่า นางสุนทรที่มหาชนเห็น

กันมาก เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺึสุ แปลว่า รู้แล้ว. บทว่า โว

ทิฏฺา แปลว่า เห็นโดยพิเศษ อธิบายว่า นางไป ๆ มา ๆ ยังพระ-

เชตวัน ที่เห็นกันโดยพิเศษ คือเห็นกันมาก. บทว่า ปริกฺขากูเป ได้-

แก่ คูยาว. บทว่า ยา สา มหาราช สุนฺทรี ความว่า มหาบพิตร นาง-

สุนทรีปริพาชิกาที่ปรากฏ คือปรากฏชัดว่าสุนทรี เพราะเธอมีรูปงามใน

เมืองนี้. บทว่า สา โน น ทิสฺสติ ความว่า นางเป็นที่รักเหมือนดวงตา

และชีวิตของข้าพระองค์ บัดนี้ไม่ปรากฏ. บทว่า ยถานิกฺขิตฺต ความว่า

ตามที่ตนสั่งบังคับพวกบุรุษให้เก็บไว้ในภายในกองหยากเยื่อ. บาลีว่า

ยถานิขาต ตามที่ฝั่งไว้ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า มีประการที่ฝังไว้ในดิน.

บทว่า รถิยาย รถิย แปลว่า จากถนนนี้ไปยังถนนโน้น. ก็ตรอก

ที่ทะลุตลอด เรียกว่า รถิย. ตรอกสามแยก ชื่อว่า สิงฺฆาฏก. บทว่า

อลชฺชิโน แปลว่า ผู้ไม่ละอาย อธิบายว่า เว้นจากการรังเกียจบาป.

บทว่า ทุสฺสีลา แปลว่า ผู้ไม่มีศีล. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ มีสภาวะ

ลามก คือมีความประพฤติเลว. บทว่า มุสาวาทิโน ได้แก่ เป็นผู้ทุศีล

ชื่อว่าเป็นผู้พูดมุสา เพราะมักพูดแต่คำเหลาะแหละว่า เราเป็นผู้มีศีล.

บทว่า อพฺรหฺมจารโน ได้แก่ ชื่อว่าผู้ประพฤติไม่ประเสริฐ เพราะมักส้อง

เสพเมถุน. พวกเดียรถีย์กล่าวดูหมิ่นว่า พวกนี้แหละ. บทว่า ธมฺมจาริโน

ได้แก่ ผู้ประพฤติกุศลธรรม. บทว่า สมจาริโน ได้แก่ ประพฤติสม่ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 459

เสมอในกายกรรมเป็นต้น. บทว่า กลฺยาณธมฺมา ได้แก่ ผู้มีสภาวะอัน

งดงาม. เชื่อมความว่า ชื่อว่าจักรู้เฉพาะ. ก็คำว่า ปฏิชานิสฺสนฺติ ใน

พระบาลีนี้เป็นคำบ่งถึงอนาคตกาล เพราะประกอบด้วยนามศัพท์. ความ

เป็นสมณะ ชื่อว่าสามัญญะ ได้แก่ความเป็นผู้สงบบาป. ความเป็นผู้มี

ธรรมอันประเสริฐ ชื่อว่าพรหมัญญะ ได้แก่ความเป็นผู้ลอยบาป. บทว่า

กุโต แปลว่า ด้วยเหตุอะไร. บทว่า อปคตา แปลว่า ไปปราศแล้ว คือ

พลัดตกแล้ว. ด้วยคำว่า ปุริสกิจฺจ ท่านอาจารย์กล่าวหมายถึงการเสพเมถุน.

ลำดับนั้น พวกภิกษุกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระ-

ศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น แม้พวกเธอก็จงโต้ตอบ

มนุษย์เหล่านั้นด้วยคาถานี้ จึงตรัสคาถาว่า อภูตวาที เป็นต้น ซึ่งท่าน

หมายกล่าวไว้ว่า ครั้งนั้นแล ภิกษุเป็นอันมาก ฯ ล ฯ มีกรรมอันเลว

เกิดเป็นมนุษย์ในภพหน้าเป็นต้น.

พระศาสดาทรงทราบความสำเร็จแห่งความเสื่อมยศนั้น ด้วยพระ-

สัพพัญญุตญาณ เมื่อจะทรงปลอบโยนภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสคำนี้ในพระ-

บาลีนั้นว่า ภิกษุทั้งหลาย เสียงนี้ จักมีไม่นาน.

ในคาถา มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- บทว่า อภูตวาที ได้แก่ ไม่เห็น

โทษของผู้อื่นเลย พูดมุสาวาท กล่าวต่อผู้อื่นด้วยคำอันไม่เป็นจริง คือ

ไม่แท้. บทว่า โย วาปิ กตฺวา ความว่า ก็หรือว่าผู้ใดทำกรรมชั่วแล้ว

พูดว่า เราไม่ได้ทำกรรมชั่วนี้. บทว่า เปจฺจ สมา ภวนฺติ ความว่า ชน

ทั้งสองพวกนั้น จากโลกนี้ไปสู่ปรโลก เป็นผู้มีคติเสมอกันด้วยการเข้าถึง

นรก. จริงอยู่ คติของชนเหล่านั้นแหละยังกำหนดไว้ แต่อายุกำหนดไม่

ได้. เพราะว่าบุคคลทำกรรมชั่วไว้มาก ไหม้ในนรกสิ้นกาลนาน ทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 460

กรรมชั่วไว้น้อย ก็ไหม้เพียงเวลาเล็กน้อยเท่านั้น. ก็เพราะชนทั้งสองมี

กรรมอันลามกนั้นแล ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ

เป็นต้น. ก็บทว่า ปรตฺถ นี้ เชื่อมกับบทว่า เปจฺจ ข้างหน้า อธิบายว่า

คนเป็นผู้มีกรรมอันลามกเหล่านั้น จะไปในโลกหน้า คือไปจากโลกนี้

เป็นผู้เสมอกันในโลกหน้า. บทว่า ปริยาปุณิตฺวา แปลว่า เรียนแล้ว.

บทว่า อการกา แปลว่า ผู้ไม่กระทำความผิด. บทว่า นยิเมหิ กต

ความว่า ได้ยินว่า พวกมนุษย์เหล่านั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า พระ-

สมณศากยบุตรเหล่านี้ ไม่ได้ทำกรรมชั่ว ตามที่พวกอัญญเดียรถีย์เที่ยว

โฆษณาไปทั่วพระนครแน่แท้ เพราะอัญญเดียรถีย์พวกนี้ แม้กล่าวตู่ด้วย

ผรุสวาจาอันมิใช่ของสัตบุรุษอย่างนี้ ก็ไม่แสดงอาการอันแปลกอะไร ๆ

ทั้งไม่ละขันติและโสรัจจะ เป็นแตกล่าวสาปตามธรรมอย่างเดียวเท่านั้นว่า

ผู้กล่าวคำไม่เป็นจริงย่อมตกนรก สมณศากยบุตรเหล่านี้ กล่าวสาปพวก

เราผู้ไม่ใคร่ครวญแล้ว กล่าวตู่ พูดเหมือนให้การสาปแช่ง. อีกอย่างหนึ่ง

พูดสาปว่า แม้หรือว่าผู้ใดทำ แต่กล่าวว่าไม่ทำ อธิบายว่า สมณะเหล่านี้

กระทำสบถแก่พวกเราเพื่อให้รู้ว่าตนไม่ได้ทำ. ก็ความยินดี หยั่งลงด้วย

พุทธานุภาพในลำดับพร้อมด้วยการฟัง พระคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแก่พวกมนุษย์เหล่านั้น. ความสังเวชเกิดขึ้นแล้วว่า เรื่องนี้พวกเรา

มิได้เห็นโดยประจักษ์ ธรรมดาเรื่องที่ได้ยินแล้ว ย่อมเป็นอย่างนั้นบ้าง

ย่อมเป็นอย่างอื่นบ้าง จริงอยู่ อัญญเดียรถีย์เหล่านั้น ปรารถนาสิ่งที่ไม่

เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระสมณเหล่านี้ เพราะ-

ฉะนั้น พวกเราไม่พึงพูดเรื่องนี้โดยเชื่อพวกเขา เพราะว่าพระสมณะทั้ง-

หลายรู้ได้ยาก. จำเดิมแต่นั้น พวกมนุษย์ก็งดเว้นจากการโพนทะนานั้นเสีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 461

ฝ่ายพระราชา จึงสั่งบังคับพวกราชบุรุษ เพื่อทราบถึงผู้ที่ฆ่านาง-

สุนทรี. ลำดับนั้นแล พวกนักเลงเหล่านั้น เอากหาปณะเหล่านั้นซื้อสุรา

ดื่ม ก่อการทะเลาะกันและกันขึ้น. ก็บรรดานักเลงเหล่านั้น คนหนึ่งพูด

กับคนหนึ่งว่า เองฆ่านางสุนทรีด้วยการตีทีเดียวตาย แล้วหมกไว้ระหว่าง

กองหยากเยื่อ เอากหาปณะที่ได้จากการรับจ้างนั้นซื้อสุราดื่ม เอาดื่มสิ

พวก. พวกราชบุรุษได้ยินดังนั้นแล้ว จึงจับพวกนักเลงเหล่านั้น มอบ

ถวายแด่พระราชา. พระราชาตรัสถามพวกนักเลงเหล่านั้นว่า พวกเจ้าฆ่า

นางสุนทรีหรือ. พวกนักเลงกราบทูลว่า พระเจ้าข้า พระอาญามิพ้นเกล้า

พวกข้าพระพุทธเจ้าฆ่าเอง. พระราชาตรัสถามว่า ใครจ้างให้พวกเองฆ่า

เขา. พวกนักเลงกราบทูลว่า พวกอัญญเดียรถีย์ พระเจ้าข้า. พระราชา

รับสั่งให้เรียกเดียรถีย์มาแล้ว จึงให้รับรู้เรื่องนั้นแล้วจึงทรงพระบัญชาว่า

พวกเจ้าจงเที่ยวพูดไปทั่วพระนครอย่างนี้ว่า พวกข้าพเจ้ามีความประสงค์

จะยกโทษพระสมณโคดม จึงได้ฆ่านางสุนทรีนี้ พระโคดมไม่มีโทษ

สาวกของพระโคดมก็ไม่มีโทษเลย พวกข้าพเจ้าเท่านั้นมีโทษ. อัญญ-

เดียรถีย์เหล่านั้น ได้ทำเหมือนอย่างนั้น. มหาชนเชื่อมั่นอย่างแน่นอน

แล้ว พากันติเตียนพวกเดียรถีย์. พวกเดียรถีย์ได้รับโทษทัณฑ์เพราะฆ่า

คน. จำเดิมแต่นั้นมา พระพุทธเจ้า และพระภิกษุสงฆ์ได้มีสักการะและ

สัมมานะมากมายเกินประมาณ. พวกภิกษุเกิดความอัศจรรย์จิต จึงเข้าไป

เฝ้าพระภาคเจ้าแล้วประกาศความปลื้มใจของคนให้ทรงทราบ. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข สมฺพหุลา ภิกฺขู ฯ เป ฯ อนฺตรหิโต

ภนฺเต โส สทฺโท ดังนี้เป็นต้น.

ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสบอกแก่พวกภิกษุว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 462

นี้เป็นการกระทำของพวกเดียรถีย์ ? เพราะการบอกแก่พระอริยสาวกเสีย

ก่อน ไม่มีประโยชน์เลย. แต่ในหมู่ปุถุชนไม่ตรัสบอกด้วยทรงพระดำริว่า

กรรมของพวกที่ไม่เชื่อนั้น พึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอด

กาลนาน. อีกอย่างหนึ่ง ข้อที่จะบอกเรื่องเช่นนี้ที่ยังไม่มาถึง อันพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายไม่เคยทรงประพฤติมาเลย. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประกาศฝักฝ่ายแห่งสังกิเลส เฉพาะที่ทรงแสดงมาโดยลำดับ. ก็ใครๆ

ไม่อาจจะให้โอกาสที่ตนทำกรรมแล้ว หวนกลับคืนมาได้ เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงประทับนั่งพิจารณาดูการกล่าวตู่ และเหตุแห่ง

กล่าวตู่นั้นเฉย ๆ. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

บุคคลจะอยู่ในอากาศ จะอยู่ในท่ามกลางมหา-

สมุทร จะเข้าไปสู่ซอกเขาก็ตามที ก็ไม่พึงพ้นจาก

กรรมชั่วไปได้ เพราะประเทศคือแผ่นดินที่เขาอยู่นั้น

บาปกรรมจะตามไม่ทัน ไม่มี.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ถึงเรื่องนี้ว่า แม้เมื่อว่าด้วยอำนาจการตัดเสียซึ่งความรัก คำพูดชั่วที่พาล-

ชนให้เป็นไปแล้ว ชื่อว่าเป็นการอดกลั้นได้ยากสำหรับธีรชนผู้ประกอบ

ด้วยพลังแห่งขันติย่อมไม่มี. บทว่า อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้

อันประกาศกำลังแห่งอธิวาสนขันติ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุทนฺติ วาจาย ชนา อสญฺตา สเรหิ

สงฺคามคตว กุญฺชร ความว่า พวกพาลชน ชื่อว่าผู้ไม่สำรวม คือผู้ที่

แนะนำไม่ได้ เพราะไม่มีสังวรบางอย่าง มีสังวรทางกายเป็นต้น ย่อม

แทง คือทิ่มแทงด้วยหอกคือวาจา เหมือนทหารที่เป็นข้าศึกทิ่มแทงช้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 463

กุญชร คือช้างเชือกประเสริฐ ตัวอยู่ในสงคราม คือในสนามรบด้วยลูก

ศร ที่ซึมซาบ (ด้วยยาพิษ). นี้เป็นสภาวะของพาลชนเหล่านั้น. บทว่า

สุตฺวาน วากฺย ผรุส อุทีริต อธิวาสเย ภิกฺขุ อทุฏฺจิตฺโต ความว่า ก็

ภิกษุสะสาง พากย์ คือคำหยาบนั้น ที่พาลชนเหล่านั้นเปล่ง คือกล่าว

ได้แก่ให้เป็นไปด้วยอำนาจกระทบกระทั่งความรัก อันไม่เป็นจริง โดย

ความเป็นจริง ระลึกถึงโอวาทที่เปรียบด้วยเลื่อยของเราตถาคต เป็นผู้มี

จิตไม่ประทุษร้ายแม้น้อยหนึ่ง เป็นผู้มีปกติเห็นภัยในสงสารว่า นี้มีสงสาร

เป็นสภาวะ พึงอดกลั้น คือพึงตั้งอยู่ในอธิวาสนขันติอดทน.

ในข้อนี้ มีผู้ท้วงว่า ข้อที่พระศาสดามีบุญสมภารอันไพบูลย์ที่

พระองค์สั่งสมมา โดยเคารพตลอดกาลหาประมาณมิได้ ทรงได้รับการ

กล่าวตู่ที่ไม่เป็นจริงที่ร้ายแรงถึงอย่างนี้ นั่นเป็นกรรมอะไร ? ข้าพเจ้าจะ

เฉลยดังต่อไปนี้ :-

พระผู้มีพระภาคเจ้านี้นั้น เคยเป็นพระโพธิสัตว์ ในอดีตชาติเป็น

นักเลง ชื่อว่า มุนาลิ เที่ยวคบแต่คนชั่ว มากไปด้วยอโยนิโสมนสิการ.

วันหนึ่ง เขาเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า สุรภี กำลังห่มจีวรเพื่อ

เข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร. ก็ในสมัยนั้น ผู้หญิงคนหนึ่งเดินไปไม่ไกล

พระปัจเจกพุทธเจ้านัก. นักเลงกล่าวตู่ว่า สมณะนี้ ไม่ใช่เป็นพรหมจารี.

ด้วยกรรมนั้นเขาจึงไหม้ในนรกหลายแสนปี เพราะเศษแห่งวิบากกรรมนั้น

นั่นแล แม้ได้เป็นพระพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ยังถูกกล่าวตู่ เพราะเหตุแห่ง

นางสุนทรี. ก็ข้อนี้ฉันใด ทุกข์มีการกล่าวตู่เป็นต้น ที่หญิงผู้กระทำอาการ

อันแปลกมีนางจิญจมาณวิกาเป็นต้น ให้เป็นไปแล้วแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทั้งหมดนั้น เป็นเศษวิบากแห่งกรรมที่พระองค์ทรงกระทำไว้ในปางก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 464

ซึ่งเรียกว่า กรรมปิโลติกะ. สมดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ในอปทานว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นนายกของโลก แวดล้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประทับนั่งอยู่ที่พื้นศิลา อันน่า

รื่นรมย์ รุ่งโรจน์ด้วยรัตนะต่าง ๆ ในละแวดป่า อัน

ตลบด้วยกลิ่นหอมนานาชนิด ใกล้สระอโนดาต ทรง

พยากรณ์บุรพกรรมของพระองค์ในที่นั้นว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงฟังกรรมที่เราทำแล้ว

เราเห็นภิกษุผู้มีปกติอยู่ป่ารูปหนึ่ง ได้ถวายผ้าเก่า เรา

ปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้า เป็นครั้งแรก เพื่อความ

เป็นพระพุทธเจ้าในครั้งนั้น ผลแห่งกรรมคือการ

ถวายผ้าเก่า อำนวยผลให้เป็นพระพุทธเจ้า ในกาล

ก่อนเราเป็นนายโคบาล ต้อนโคไปเลี้ยง เห็นแม่โค

กำลังดื่มน้ำขุ่น จึงห้ามมัน ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น

ในภพหลังสุดนี้ เรากระหายน้ำ ก็ไม่ได้ดื่มน้ำตาม

ความปรารถนา ในชาติหนึ่งในกาลก่อน เราเป็น

นักเลงชื่อมุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้า นาม

ว่า สุรภี ผู้ไม่ประทุษร้าย ด้วยวิบากกรรมนั้น เรา

จึงเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ได้เสวยทุกขเวทนา

หลายพันปี ด้วยเศษกรรมนั้นในภพหลังสุดนี้ เราจึง

ได้รับคำกล่าวตู่ เพราะนางสุนทรีเป็นเหตุ เพราะ

๑. ขุ. อป. ๓๒/๔๗๑ ๒. บาลี เป็น ปุนาลิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 465

การกล่าวตู่พระเถระนามว่า นันทะ สาวกของพระ-

พุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง เราจึงท่องเที่ยว

อยู่ในนรกเป็นเวลานาน เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกนาน

ถึงหมื่นปี ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว ได้รับการกล่าวตู่

มากมาย ด้วยเศษกรรมนั้น นางจิญจมาณวิกา มา

กับหมู่คนกล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง เมื่อก่อนเรา

เป็นพราหมณ์ชื่อว่า สุตวา มหาชนพากันสักการะ

บูชา สอนมนต์ให้กับมาณพ ๕๐๐ คน ในป่าใหญ่ ก็

เราได้เห็นฤาษีผู้น่ากลัว ได้อภิญญา ๕ มีฤทธิ์มาก

มาในสำนักของเรา เราจึงกล่าวตู่ฤาษีผู้ไม่ประทุษร้าย

โดยบอกกับพวกศิษย์ของเราว่า ฤาษีนี้ บริโภคกาม

ครั้นเราบอก พวกมาณพก็เห็นด้วย ลำดับนั้น มาณพ

ทั้งหมด เที่ยวภิกษาไปตามตระกูล พากันบอกแก่

มหาชนว่า ฤาษีนี้ บริโภคกาม ด้วยวิบากกรรมนั้น

ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ได้รับคำกล่าวตู่ทั้งหมด เพราะ

นางสุนทรีเป็นเหตุ ในกาลก่อน เราได้ฆ่าพี่-น้อง

ชายต่างมารดากัน เพราะเหตุแห่งทรัพย์ จับโยนลง

ในซอกเขาแล้วเอาหินทับถม ด้วยวิบากกรรมนั้น

พระเทวทัตจึงกลิ้งหิน สะเก็ดหินจึงกลิ้งมากระทบ

นิ้วหัวแม่เท้าเรา ในกาลก่อน เราเป็นเด็ก เล่นอยู่ที่

หนทางใหญ่เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วจุดไฟเผา

ดักไว้ทั่วหนทาง ด้วยวิบากกรรมนั้น ในภพหลังสุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 466

นี้ พระเทวทัต จึงชักชวนนายขมังธนูผู้ฆ่าคน เพื่อ

ให้ฆ่าเรา ในกาลก่อน เราเป็นนายควาญช้าง ได้ไส

ช้างให้จับพระปัจเจกมุนีผู้สูงสุด ทั้งที่กำลังเที่ยว

บิณฑบาตอยู่ ด้วยวิบากกรรมนั้น ช้างนาฬาคิรีเชือก

ซับมันดุร้าย วิ่งแล่นเข้าไปในซอกเขาเบื้องหน้าผู้

ประเสริฐ ในกาลก่อน เราเป็นพระราชาชาตินักรบ ฆ่า

บุรุษเป็นอันมากด้วยหอก เพราะวิบากกรรมนั้น เรา

ถูกไฟไหม้อย่างเหลือทนในนรก ด้วยเศษกรรมนั้น

บัดนี้ ไฟนั้นไหม้ผิวหนังที่เท้าของเราทั้งสิ้น เพราะว่า

กรรมยังไม่หมดไป ในกาลก่อน เราเป็นเด็กชาว

ประมงอยู่ในเกวัฏคาม เห็นคนฆ่าปลาแล้วเกิดความ

ดีใจ ด้วยวิบากกรรมนั้น เราจึงปวดศีรษะ เมื่อครั้งพวก

เจ้าศากยะลูกเบียดเบียนเพราะถูกเจ้าวิฑูฑภะฆ่า เรา

ได้บริภาษพระสาวกทั้งหลายในพระธรรมวินัย ของ

พระพุทธเจ้านามว่าปุสสะว่า ท่านจงเคี้ยว จงกินแต่

ข้าวแดง อย่ากินข้าวสาลีเลย ด้วยวิบากกรรมนั้น

เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว อยู่ในเมืองเวรัญชา ใน

คราวนั้นบริโภคข้าวแดง ตลอดสามเดือน เมื่อนัก

มวยกำลังชกกัน เราได้เบียดเบียนบุตรนักมวยปล้ำ

ด้วยวิบากกรรมนั้น เราจึงปวดหลัง เมื่อก่อนเราเป็น

หมอรักษาโรค ได้ให้เศรษฐีบุตรถ่ายยา ด้วยวิบาก

กรรมนั้น เราจึงเป็นโรคปักขันทิกาพาธ โรคลงแดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 467

เราชื่อว่าโชติปาละได้กล่าวกะพระสุคตเจ้า พระนาม

ว่ากัสสปะในคราวนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหน

โพธิญาณท่านได้ยากอย่างยิ่ง ด้วยวิบากกรรมนั้น เรา

ได้กระทำกรรมที่ทำได้ยากเป็นอันมาก ที่ตำบลอุรุ-

เวลาเสนานิคม ๖ พรรษา แต่นั้นจึงได้บรรลุพระ-

โพธิญาณ แต่เราก็มิได้บรรลุพระโพธิญาณด้วยทางนี้

เราอันบุรพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโดยทางผิด

บัดนี้ เราเป็นผู้สิ้นบุญสินบาปแล้ว เว้นจากความเร่า-

ร้อนทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มีความคับแค้น

ดับสนิทหาอาสวะมิได้ พระชินเจ้าทรงบรรลุพลัง

แห่งอภิญญาทั้งปวง ทรงพยากรณ์โดยหวังประโยชน์

แก่ภิกษุสงฆ์ ที่สระใหญ่ ชื่อ อโนดาต ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสุนทรีสูตรที่ ๘

๙. อุปเสนวังคันตปุตตสูตร

ว่าด้วยชีวิตไม่เดือดร้อน

[๑๐๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระ-

อุปเสนวังคันตบุตรหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 468

อย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ พระผู้มีพระภาค-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นศาสดาของเรา เราออกบวชเป็นบรรพชิตใน

ธรรมวินัยอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เพื่อนพรหมจรรย์ของเรามีศีล

มีธรรมอันงาม เราเป็นผู้กระทำบริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น

แน่วแน่เป็นอันดี เราเป็นพระอรหันตขีณาสพ และเราเป็นผู้มีฤทธิ์มาก

มีอานุภาพมาก ชีวิตของเราเจริญ ความตายของเราเจริญ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจของ

ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตรด้วยพระหฤทัยแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ใน

เวลานั้นว่า

ชีวิตย่อมไม่ทำให้ผู้ใดเดือดร้อน ผู้นั้นย่อมไม่

เศร้าโศกในที่สุดคือมรณะ ถ้าว่าผู้นั้นมีบทอันเห็น

แล้วไซร้ เป็นนักปราชญ์ ย่อมไม่เศร้าโศกในท่าม

กลางแห่งสัตว์มีความโศก ภิกษุผู้มีภวตัณหาอันตัด

ขาดแล้ว มีจิตสงบ มีชาติสงสารสิ้นแล้ว ย่อมไม่

มีภพใหม่.

จบอุปเสนวังคันตปุตตสูตรที่ ๙

อรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตสูตร

อุปเสนวังคันตปุตตสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปเสโน ในบทว่า อุปเสนสฺส นี้ เป็นชื่อของพระเถระ

นั้น. ก็เพราะท่านเป็นบุตรของท่านวังคันตพราหมณ์ เขาจึงเรียกว่า

วังคันตบุตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 469

ความพิสดารว่า พระเถระนี้ เป็นน้องชายของท่านพระสารีบุตร

บวชในพระศาสนา เมื่อยังไม่ทรงบัญญัติสิกขาบทอุปสมบทได้ ๒ พรรษา

เป็นพระอุปัชฌาย์ ให้อุปสมบทภิกษุรูปหนึ่งพร้อมกับภิกษุนั้นไปอุปัฏฐาก

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถามว่า ภิกษุนั้นเป็น

สัทธิวิหาริกของเธอแล้วทรงติเตียนโดยนัยอันมาในขันธกะว่า ดูก่อน

โมฆบุรุษ เธอเวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมากเร็วเกินไป คือการเนื่อง

ด้วยคณะ เป็นผู้มีใจสลดเหมือนม้าที่ถูกตีด้วยแส้ จึงเกิดอุตสาหะขึ้นว่า

แม้ถ้าบัดนี้เราอาศัยบริษัทถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงติเตียน และก็เพราะ

อาศัยบริษัทเหมือนกัน จึงได้รับการสรรเสริญดังนี้แล้ว จึงสมาทานธุต-

ธรรมทั้งหมดประพฤติเริ่มวิปัสสนา ไม่นานนักก็ได้อภิญญา ๖ บรรลุ

ปฏิสัมภิทา เป็นพระมหาขีณาสพให้นิสิตของตนทรงธุดงค์เหมือนกัน

พร้อมกับนิสิตเหล่านั้น จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้รับการ

สรรเสริญจากสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า เนื่องด้วยบริษัทโดยนัยที่มาแล้ว

ในสันถตสิกขาบทว่า อุปเสน บริษัทนี้ของเธอน่าเลื่อมใสแล จึงทรง

สถาปนาไว้ในเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเรา

ผู้มีความเลื่อมใสรอบด้าน คืออุปเสนวังคันตบุตรเป็นเอตทัคคะ ในบรรดา

พระมหาสาวก ๘๐ รูป ท่านก็จัดเข้าในภายในรูปหนึ่ง. วันหนึ่งท่านกลับ

จากบิณฑบาตภายหลังภัต เมื่อพวกอันเตวาสิกไปสู่ที่พักกลางวันของ

ตน ๆ จึงถือเอาน้ำจากหม้อน้ำล้างเท้าแล้ว ลูบตัวให้เย็นลาดท่อนหนัง

แล้วนั่งพักผ่อนกลางวัน นึกถึงคุณความดีของตน. พวกนิสิตของท่าน

หลายร้อยหลายพันรูปช่วยกันบำรุงท่านไม่ขาดสาย. ท่านส่งมนสิการมุ่ง

ตรงพระคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อันดับแรกคุณความดีของสาวกเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 470

ยังมีประมาณถึงเพียงนี้ พระคุณของพระศาสดาของเราจะเป็นเช่นไรหนอ.

พวกนิสิตเหล่านั้น หลายพันโกฏิ พากันบำรุงท่านตามสมควรแก่พลังญาณ.

ท่านระลึกถึงพระคุณของพระศาสดา อันเหมาะสมแก่ภาวะที่ปรากฏเเจ่ม-

แจ้ง โดยนัยมีอาทิว่า พระศาสดาของเราทรงมีศีลอย่างนี้ มีธรรมอย่างนี้

มีปัญญาอย่างนี้ มีวิมุตติอย่างนี้ และโดยนัยมีอาทิว่า แม้เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ แต่

นั้นจึงระลึกถึงคุณของพระธรรมโดยนัยมีอาทิว่า พระธรรมอันพระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว และคุณของพระอริยสงฆ์ โดยนัยมีอาทิว่า พระ-

สงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว เมื่อคุณของพระรัตนตรัย ปรากฏแจ่มแจ้ง ด้วย

อาการอย่างนี้ พระมหาเถระจึงมีใจชื่นชมเบิกบาน นั่งเสวยปีติและโสมนัส

อันโอฬาร มีโวการมีอาการเป็นอเนก. เพื่อจะแสดงถึงเนื้อความนั้น

ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ท่านพระอุปเสนวังคันตบุตร อยู่ในที่ลับ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รโหคตสฺส แปลว่า อยู่ในที่ลับ. บทว่า

ปฏิสลฺลีนสฺส ได้แก่ เป็นผู้โดดเดี่ยว. บทว่า เอว เจตโส ปริวิตกฺโก

อุทปาทิ ความว่า ความวิตกแห่งจิต ซึ่งมีอาการที่จะกล่าวในบัดนี้ เกิด

ขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า ลาภา วต เม ความว่า ความได้

อัตภาพเป็นมนุษย์ การอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า การมีศรัทธา และการ

บรรลุมรรคผลเป็นต้นเหล่านั้น จัดเป็นลาภของเราอันน่าอัศจรรย์จริง

หนอ. บทว่า สุลทฺธ วต เม ความว่า การบรรพชาอุปสมบทและการ

เข้าไปนั่งใกล้พระรัตนตรัยเป็นต้น เราได้แล้วในพระศาสนาของพระผู้มี-

พระภาคเจ้านี้นั้น เราได้ดีแล้วจริงเชียวหนอ. ท่านกล่าวเหตุในข้อนั้น

โดยนัยมีอาทิว่า สตฺถา จ เม ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 471

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า สตฺถา วต เม เป็นต้นนั้น ชื่อว่า สตฺ ถา

เพราะพร่ำสอนเหล่าสัตว์ตามสมควรด้วยประโยชน์ในภพนี้ ประโยชน์ใน

ภพหน้า และปรมัตถประโยชน์. ชื่อว่า ภควา เพราะเหตุมีความเป็นผู้

มีภาคยธรรมเป็นต้น. ชื่อว่า อรห (พระอรหันต์) เพราะเป็นผู้ไกลจาก

กิเลสทั้งหลาย ๑ เพราะกำจัดซี่กำแห่งสังสารจักร ๑ เพราะกำจัดข้าศึกคือ

กิเลส ๑ เพราะเป็นผู้สมควรแก่สักการะมีปัจจัยเป็นต้น ๑ เพราะไม่มีที่

ลับในการทำบาป ๑. ชื่อว่า สัมมาสัมพุทธ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง

โดยชอบ และด้วยพระองค์เอง ในข้อนี้มีความสังเขป เพียงเท่านี้.

ส่วนความพิสดารควรค้นดูในพุทธานุสตินิเทศ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคเถิด.

บทว่า สฺวากฺขาเต แปลว่า ตรัสดีแล้ว คือตรัสให้นำสัตว์ออกจากทุกข์

โดยส่วนเดียว. บทว่า ธมฺมวินเย ได้แก่ ปาพจน์. จริงอยู่ ปาพจน์นั้น

ท่านเรียกว่า ธรรมวินัย เพราะทรงไว้ซึ่งผู้ปฏิบัติตามที่พร่ำสอน จากการ

ตกไปในสังสารทุกข์ และเพราะกำจัดกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า สพฺรหฺม-

จาริโน ความว่า ชื่อว่า สพรหมจารี เพราะประพฤติ คือปฏิบัติสม่ำ-

เสมอ ซึ่งพระศาสนาคือพรหม เพราะอรรถว่าประเสริฐ ได้แก่

อริยมรรคสัจจะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า สีลวนฺโต ได้แก่ ผู้มี

ศีล คือศีลในมรรคและศีลในผล. บทว่า กลฺยาณธมฺมา ความว่า

ชื่อว่า ผู้มีกัลยาณธรรม เพราะมีธรรมอันงามคือดี เช่น สมาธิ ปัญญา

วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะเป็นต้น. ด้วยคำนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

แสดงข้อปฏิบัติอันดีแก่พระสงฆ์. ด้วยบทว่า สีเลสุ จมฺหิ ปริปูริการี นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า แม้เราบวชแล้ว ก็มิได้กล่าวติรัจฉานกถา

เป็นผู้มากไปด้วยความเพียรอันมั่นคงอยู่ โดยที่แท้ เราบำเพ็ญศีลทั้ง ๔ มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 472

ปาฏิโมกขสังวรศีลเป็นต้น ไม่ให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย

ให้เป็นไท ให้เป็นศีลอันวิญญูชนสรรเสริญ ให้เป็นศีลอันตัณหาและทิฏฐิ

แตะต้องไม่ได้ ให้บรรลุเฉพาะอริยมรรคเท่านั้น. ด้วยคำนี้ทรงแสดงถึง

ความเพียบพร้อมด้วยอริยผลทั้งสองเบื้องต่ำของพระองค์. จริง พระโสดา

บันและพระสกทาคามี เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย. บทว่า

สุสมาหิโต จมฺหิ เอกคฺคจิตฺโต ความว่า เราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยสมาธิ

ต่างโดยอุปจารและอัปปนา และเป็นผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่าน แม้โดยประการ

ทั้งปวง. ด้วยคำคือความเป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในสมาธินี้ ทรงแสดง

ถึงความเพียบพร้อมด้วยอริยผลที่ ๓ ของพระองค์. จริงอยู่ พระอนาคามี

เป็นผู้กระทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ. บทว่า อรหา จมฺหิ ขีณาสโว ความ

ว่า เราเป็นผู้ชื่อว่า ขีณาสพ เพราะอาสวะมีกามาสวะเป็นต้น สิ้นไปโดย

ประการทั้งปวง เพราะเหตุนั้นนั่นแล เราจึงเป็นผู้ชื่อว่า สิ้นกิเลสเครื่อง

พยุงสัตว์ไว้ในภพ และชื่อว่า เป็นพระอรหันต์เพราะเป็นทักขิไณยบุคคลผู้

เลิศในโลก พร้อมทั้งเทวโลก. ด้วยคำนี้ ทรงแสดงถึงความที่พระองค์

ทรงกระทำกรณียกิจเสร็จแล้ว. บทว่า มหิทฺธิโก จมฺหิ มหานุภาโว

ความว่า เราชื่อว่าเป็นผู้มีฤทธิ์มาก เพราะประกอบด้วยความเป็นผู้มีความ

ชำนาญมากในฤทธิ์มีการอธิฏฐานและมีการกระทำให้เป็นต่าง ๆ เป็นต้น

และชื่อว่า มีอานุภาพมาก เพราะเพียบพร้อมด้วยบุญญานุภาพ และ

คุณานุภาพอันโอฬาร. ด้วยคำนี้ พระองค์ทรงแสดงถึงการประกอบด้วย

โลกิยอภิญญา และอนุปุพพวิหารสมาบัติ ๙ ของพระองค์. จริงอยู่ พระ-

สาวกชื่อว่า เป็นอริยะ เพราะเป็นผู้ชำนาญในอภิญญาทั้งหลาย ชื่อว่า มี

ฤทธิ์มาก เพราะยังสิ่งตามที่ตนปรารถนาให้สำเร็จ และชื่อว่ามีอานุภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 473

มากเพราะชำระสันดานให้หมดจด ด้วยอุปนิสัยสมบัติในปางก่อน และ

ด้วยวิหารสมาบัติต่าง ๆ แล. บทว่า ภทฺทก เม ชีวิต ความว่า กายนี้

ของเราผู้ประกอบคุณมีศีลอย่างนี้เป็นต้น ยังทรงอยู่เพียงใด ประโยชน์

สุขนั่นแล ก็ยังเจริญอยู่แก่หมู่สัตว์เพียงนั้น ถึงชีวิตของเรา ก็ชื่อว่า เจริญ

คือ ดีงาม เพราะว่าเป็นบุญเขต. ด้วยบทว่า ภทฺทก มรณ นี้ พระองค์

ทรงแสดงถึงความเป็นผู้คงที่ ในอรรถทั้ง ๒ ว่า ก็ถ้าเบญจขันธ์นี้

จะดับไปในวันนี้ หรือในขณะนี้แหละ เหมือนไฟหมดเชื้อฉะนั้น แม้

มรณะ คือ ปรินิพพานอันหาปฏิสนธิมิได้ของเรานั้น ก็จัดเป็นความดี.

ดังนั้น พระมหาเถระ จึงตรึกถึงความที่ตนมีโสมนัสอย่างโอฬาร ด้วย

ความนับถือมากในธรรม และด้วยการเสวยปีติอันเกิดแต่ธรรม เพราะตน

ยังละความหนาไปด้วยความเย่อหยิ่งในโสมนัสไม่ได้.

พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั้นแล ทรงทราบเรื่องนั้น

ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันประกาศความเป็น

ผู้คงที่ของท่านทั้งในชีวิต และมรณะ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ

โข ภควา ฯ เป ฯ อุทาเนสิ ดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ย ชีวิต น ตปติ ความว่า ชีวิตย่อม

ทำบุคคลผู้เป็นพระขีณาสพ ไม่ให้เดือดร้อน คือไม่ให้ลำบากเพราะความ

เกิดขึ้นแห่งขันธ์ต่อไป ไม่มีโดยประการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง ชีวิตที่

เป็นปัจจุบันนั่นแล ย่อมไม่เบียดเบียน เพราะประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ

ในที่ทุกสถาน เหตุถึงความไพบูลย์ด้วยสติปัญญา เพราะชีวิตนั้นเป็นสัง-

ขตธรรมโดยประการทั้งปวง. จริงอยู่ อันธปุถุชนผู้คบหาคนชั่ว มากไป

ด้วยอโยนิโสมนสิการ ไม่บำเพ็ญกุศล ไม่บำเพ็ญบุญ ย่อมเดือดร้อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 474

ด้วยความเดือดร้อน มีอาทิว่า เราไม่ได้ทำกรรมดีไว้หนอ เพราะเหตุนั้น

ชีวิตของเขาจึงทำให้เขาเดือดร้อน. ฝ่ายบุคคลนอกนี้ ผู้ไม่ทำบาป ทำแต่

บุญ หรือพระเสขบุคคล ๗ จำพวก กับกัลยาณปุถุชน ย่อมไม่เดือดร้อน

ด้วยความเดือดร้อนในภายหลัง เพราะเว้นจากธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

เดือดร้อน และเพราะประกอบด้วยธรรมอันไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเดือด-

ร้อน เพราะเหตุนั้น ชีวิตของเขาเหล่านั้น จึงไม่เดือดร้อน. ส่วนใน

พระขีณาสพ ไม่จำต้องกล่าวถึงเลย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงแต่งอรรถ-

วรรณนา ด้วยอำนาจปวัตติทุกข์. บทว่า มรณนฺเต น โสจติ ความว่า

ในที่สุด คือในที่สุดรอบกล่าวคือมรณะ หรือในเวลาใกล้จะตาย เขาย่อม

ไม่เศร้าโศก เพราะถอนความโศกขึ้นได้ ด้วยอนาคามิมรรคนั้นเอง. บทว่า

สเว ทิฏฺปโท ธีโร โสกมชฺเฌ น โสจติ ความว่า เขาชื่อว่าเห็นบท

เพราะเห็นบทธรรม ๔ มี อนภิชฌาเป็นต้น หรือเห็นพระนิพพานนั่นเอง

ชื่อว่าเป็นนักปราชญ์ คือพระขีณาสพ เพราะเพียบพร้อมด้วยปัญญา

แม้ตั้งอยู่ในท่ามกลางแห่งสัตว์ ผู้ยังไม่ปราศจากราคะ อันได้นามว่าโสกะ

เพราะมีความโศกเป็นธรรม หรือในท่ามกลางแห่งโลกธรรมอันเป็นเหตุ

แห่งความโศก ย่อมไม่เศร้าโศก.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงความที่ภิกษุนั้น ไม่มีเหตุแห่งความโศกโดย

ประการทั้งปวง จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า อุจฺฉินฺนภวตณฺหสฺส ดังนี้.

ในคำว่า อุจฺฉินฺนภวตณฺหสฺส นั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- ภวตัณหา

อันผู้ใดตัดขาดแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยอรหัตมรรค ผู้นั้น ชื่อว่ามี

ภวตัณหาอันตัดขาดแล้ว. ภิกษุนั้น คือภิกษุผู้ขีณาสพ ชื่อว่าผู้มีจิตสงบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 475

เพราะสงบกิเลสที่เหลือได้เด็ดขาด. บทว่า วิกฺขีโณ ชาติสสาโร ความว่า

สงสารมีความเกิดเป็นต้น ซึ่งมีลักษณะดังกล่าวแล้วว่า

ลำดับแห่งขันธ์ธาตุและอายตนะ เป็นไปไม่ขาด

สาย ท่านเรียกว่า สงสาร ดังนี้

สิ้นแล้วโดยพิเศษ. เพราะเหตุไร ? เพราะภพใหม่ของภิกษุนั้นไม่มี

อธิบายว่า เพราะเหตุที่พระอริยบุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น ไม่เกิดอีก

ต่อไป ฉะนั้นสงสารคือความเกิดของท่านจึงสิ้นไป. ก็เพราะเหตุไร ท่าน

จึงไม่เกิดอีก ? ควรพูดอีกว่า เพราะท่านตัดภวตัณหาได้เด็ดขาด และเป็น

ผู้มีจิตสงบ. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบ ความว่า สงสารคือชาติสิ้นแล้ว

เพราะเหตุนั้นแล ท่านจึงไม่เกิดอีก.

จบอรรถกถาอุปเสนวังคันตปุตตสูตรที่ ๙

๑๐. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยผู้มีจิตสงบระงบ

[๑๐๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล

ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาความสงบระงับของ

ตนอยู่ ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็น

ท่านพระสารีบุตรนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาความสงบระงับของตน

เองในที่ไม่ไกล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 476

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ภิกษุผู้จิตสงบระงับ มีตัณหาอันจะนำไปในภพ

ตัดขาดแล้ว ชาติสงสารสิ้นแล้ว พ้นแล้วจากเครื่อง

ผูกแห่งมาร.

จบสารีปุตตสูตรที่ ๑๐

จบเมฆิยวรรคที่ ๔

อรรถกถาสารีปุตตสูตร

สารีปุตตสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺตโน อุปสม ความว่า ความสงบกิเลสของตนได้เด็ด-

ขาด ด้วยอรหัตมรรค อันเป็นเหตุแห่งการบรรลุที่สุดสาวกบารมีญาณ.

ก็ท่านพระสารีบุตร เห็นประจักษ์ความเดือดร้อน ความกระวน

กระวาย ความเร่าร้อน และความทุกข์ อันเกิดแต่กิเลสมีราคะเป็นต้น

และทุกข์มีชาติ ชรา พยาธิ มรณะ โสกะ และปริเทวะเป็นต้น มีอภิสังขาร

คือกิเลสเป็นเหตุ ของเหล่าสัตว์ผู้ยังไม่สงบกิเลสแล้ว พิจารณาทุกข์มีวัฏฏะ

เป็นมูลของสัตว์เหล่านั้น ทั้งในอดีตและอนาคต แผ่กรุณาหวนระลึกถึง

ทุกข์มีประมาณไม่น้อย แม้ที่ตนเคยเสวยในคราวเป็นปุถุชน หรือที่มี

กิเลสเป็นเหตุ จึงพิจารณาเนือง ๆ ถึงความสงบกิเลสของตนว่า กิเลสอัน

เป็นเหตุแห่งทุกข์มากมายชื่อเช่นนี้ บัดนี้ เราละได้เด็ดขาดแล้ว. อนึ่ง

เมื่อจะพิจารณา ย่อมพิจารณาถึงความสงบกิเลสโดยถ่องแท้ ด้วยมรรค-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 477

ญาณนั้น ๆ ว่า กิเลสมีประมาณเท่านี้ สงบแล้วด้วยโสดาปัตติมรรค

ประมาณเท่านี้ สงบแล้วด้วยสกทาคามิมรรค ประมาณเท่านี้ สงบแล้ว

ด้วยอนาคามิมรรค ประมาณเท่านี้ สงบแล้วด้วยอรหัตมรรค. ด้วยเหตุ

นั้น ท่านจึงกล่าวว่า อตฺตโน อุปสม ปจฺจเวกฺขมาโน ดังนี้เป็นต้น.

อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระเถระเข้าอรหัตผลสมาบัติ พิจารณา

สมาบัตินั้นแล้ว พิจารณาความสงบเนือง ๆ อย่างนี้ว่า ภาวะที่อุปสมะนี้

มีความสงบและประณีต เพราะเป็นอารมณ์แห่งอสังขตธาตุ อันมีความ

สงบโดยสิ้นเชิง และเพราะสงบกิเลสโดยชอบด้วยตนเอง. ส่วนอาจารย์

พวกอื่นกล่าวว่า ก็ในที่นี้ อรหัตผลอันเกิดในที่สุดแห่งความสงบกิเลสได้

เด็ดขาด ชื่อว่าอุปสมะ ท่านนั่งพิจารณาอุปสมะนั้นอยู่.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยอาการทั้งปวง

ถึงอรรถคือการพิจารณา การละกิเลสอันเป็นเหตุให้ท่านพระสารีบุตรมี

ปัญญามากเป็นต้น ไม่ทั่วไปแก่สาวกอื่น ในบรรดาสาวกทั้งหลาย หรือ

พระอรหัตผล ซึ่งกล่าวโดยปริยายแห่งอุปสมะ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อัน

แสดงอานุภาพของอุปสมะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปสนฺตสนฺตจิตฺตสฺส ความว่า ชื่อว่า

ผู้มีจิตสงบระงับ เพราะท่านเป็นผู้มีจิตสงบระงับนั่นเอง. จริงอยู่ จิต

ชื่อว่า เข้าไปสงบ เพราะกิเลสเข้าไปสงบ โดยข่มไว้ได้ด้วยสมาบัติ ท่าน

จึงไม่กล่าวว่า อุปสนฺตสนฺต ความสงบระงับ โดยประการทั้งปวง เพราะ

อุปสมะนั้นยังไม่สงบสิ้นเชิง เพราะไม่เหมือนสงบด้วยอรหัตมรรค. ส่วน

จิตของท่านผู้ชื่อว่าพระอรหันต์ เพราะท่านตัดกิเลสได้เด็ดขาดทีเดียว เป็น

กิเลสที่สงบด้วยมรรคเบื้องต่ำอันสัมปยุตด้วยสมถะและวิปัสสนา โดยเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 478

ภาวะไม่จำต้องสงบกิเลสอีก ท่านจึงเรียกว่าสงบระงับ เพราะสงบได้อย่าง

สิ้นเชิง.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ชื่อว่าผู้มีจิตสงบระงับ เพราะท่านมี

จิตสงบระงับนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง อุปสมะ ท่านเรียกว่า อุปสันตะ.

เพราะฉะนั้น บทว่า อุปสนฺตสนฺตจิตฺตสฺส จึงหมายความว่า ผู้มีจิตสงบ

โดยเข้าไปสงบอย่างสิ้นเชิง. อีกอย่างหนึ่ง พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดง

ว่า เมื่อพระขีณาสพทั้งหมด สงบกิเลสได้เด็ดขาด แต่ความสงบกิเลส

ของพระธรรมเสนาบดียังมีพิเศษ อันเป็นเหตุถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ

ไม่ทั่วไปแก่สาวกอื่น ในบรรดาสาวกทั้งหลาย จึงตรัสให้พิเศษด้วย อุป-

สนฺต ศัพท์ว่า อุปสนฺตสนฺตจิตฺตสฺส ผู้มีจิตสงบระงับ.

ในข้อนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- จิตสงบอย่างยิ่งคือมั่นคง ชื่อว่า

อุปสนฺต จิตที่สงบระงับ ด้วยอุปสันตจิตนั้นแหละ ชื่อว่าอุปสันตสันตจิต.

จิตของท่านเป็นเช่นนั้น คำทั้งหมด เหมือนกับคำที่มีในก่อนนั้นแล.

จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสสรรเสริญชมเชยท่านพระสารีบุตร

นั้น โดยอเนกปริยาย โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรมี

ปัญญามาก มีปัญญาแน่นหนา มีปัญญาร่าเริงใจ มีปัญญาเร็ว มีปัญญา

เฉียบแหลม มีปัญญาเป็นเหตุตรัสรู้. บทว่า เนตฺติจฺฉินฺนสฺส ความว่า

ภวตัณหา ท่านเรียกว่า เนตติ เพราะนำสังสารวัฏไป. ชื่อว่า ผู้มีเนตติจ-

ฉินนะ เพราะท่านตัดเนตติได้ขาดแล้ว. ของท่านผู้มีเนตติขาดแล้วนั้น

อธิบายว่า ผู้ละตัณหาได้แล้ว. บทว่า มุตฺโต โส มารพนฺธนา ความว่า

ผู้นั้น คือผู้เป็นอย่างนั้น ได้แก่ผู้มีกิเลสเครื่องพยุงสัตว์ไว้ในภพหมดสิ้น

แล้ว หลุดพ้นแล้ว จากเครื่องผูกแห่งมารทั้งปวง ท่านไม่มีกิจที่จะต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 479

ทำ เพราะท่านพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร เพราะฉะนั้น พระธรรมเสนา-

บดี จึงพิจารณาความสงบของตน. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๑๐

จบเมฆิยวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เมฆิยสูตร ๒. อุทธตสูตร ๓. โคปาลสูตร ๔. ชุณหสูตร

๕. นาคสูตร ๖. ปิณโฑลภารทวาชสูตร ๗. สารีปุตตสูตร ๘. สุนทรี-

สูตร ๙. อุปเสนวังคันตปุตตสูตร ๑๐. สารีปุตตสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 480

โสณเถรวรรคที่ ๕

๑. ราชสูตร

ว่าด้วยไม่มีผู้เป็นที่รักกว่าตน

[๑๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-

เจ้าปเสนทิโกศลประทับอยู่บนปราสาทอันประเสริฐชั้นบน พร้อมด้วย

พระนางมัลลิกาเทวี ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามพระนาง

มัลลิกาเทวีว่า ดูก่อนนางมัลลิกา มีใครอื่นบ้างไหมที่น้องรักยิ่งกว่าตน

พระนางมัลลิกากราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า หามีใครอื่นที่หม่อมฉันจะรัก

ยิ่งกว่าตนไม่ ก็ทูลกระหม่อมเล่ามีใครอื่นที่รักยิ่งกว่าพระองค์ เพค๊ะ.

ป. ดูก่อนน้องมัลลิกา แม้ฉันก็ไม่รักใครอื่นยิ่งกว่าตน.

ลำดับนั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จลงจากปราสาทแล้ว เสด็จ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมแล้วประทับนั่ง

อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันอยู่บนปราสาทกับพระนางมัลลิกาเทวี ได้

ถามพระนางมัลลิกาเทวีว่า มีใครอื่นที่น้องรักยิ่งกว่าตน เมื่อหม่อมฉัน

ถามอย่างนี้ พระนางมัลลิกาเทวีกล่าวว่า พระพุทธเจ้าข้า หามีใครอื่นที่

หม่อมฉันจะรักยิ่งกว่าตนไม่ ก็ทูลกระหม่อมเล่ามีใครอื่นที่รักยิ่งกว่าพระ-

องค์ หม่อมฉันเมื่อถูกถามเข้าอย่างนี้ จึงได้ตอบพระนางมัลลิกาว่า แม้

ฉันก็ไม่มีใครอื่นที่จะรักยิ่งกว่าตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 481

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ใคร ๆ ตรวจตราด้วยจิตทั่วทุกทิศแล้ว หาได้พบ

ผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าตนในที่ไหน ๆ ไม่เลย สัตว์เหล่าอื่น

ก็รักตนมากเหมือนกัน เพราะฉะนั้น ผู้รักตนจึงไม่

ควรเบียดเบียนผู้อื่น.

จบราชสูตรที่ ๑

มหาวรรควรรณนาที่ ๕*

อรรถกถาราชสูตร

ราชสูตรที่ ๑ แห่งมหาวรรค มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มลฺลิกาย เทวิยา สทฺธึ ความว่า กับพระมเหสีของพระองค์

ทรงพระนามว่า มัลลิกา. บทว่า อุปริปาสาทวรคโต ได้แก่ อยู่ชั้นบน

ปราสาทอันประเสริฐ. บทว่า โกจญฺโ อตฺตนา ปิยตโร ความว่า

ใคร ๆ อื่นที่เธอจะพึงรักยิ่งกว่าตนมีอยู่หรือ ?

เพราะเหตุไร พระราชาจึงตรัสถาม. เพราะพระนางมัลลิกานี้ เป็น

ธิดาของนายมาลาการผู้เข็ญใจในกรุงสาวัตถี วันหนึ่ง ซื้อขนมจากตลาด

ไปสวนดอกไม้ คิดว่าจักกิน จึงเดินไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์ กำลังเข้าไปภิกษาจารสวนทางมา มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายขนม

นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงแสดงอาการประทับนั่งในที่

*บาลีเป็นโสณเถรวรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 482

เห็นปานนั้น พระอานนทเถระได้ปูจีวรถวาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่งในที่นั้น ทรงเสวยขนมนั้นแล้วบ้วนพระโอษฐ์ ทรงทำการ

แย้มให้ปรากฏ. พระเถระทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วิบากแห่ง

ทานของหญิงนี้ จักเป็นเช่นไร. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า อานนท์

วันนี้นางได้ถวายโภชนะแก่ตถาคตเป็นครั้งแรก ในวันนี้แหละนางจักเป็น

อัครมเหสี เป็นที่รัก เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าโกศล. ก็ในวันนั้น

นั่นเอง พระราชารบกับหลานในกาสิคาม พ่ายแพ้หนีมาเข้าเมือง หวัง

จะรอให้หมู่พลมา จึงเสด็จเข้าไปยังสวนดอกไม้นั้น. นางมัลลิกานั้น เห็น

พระราชาเสด็จมา จึงปรนนิบัติท้าวเธอ. พระราชาทรงโปรดปรานในการ

ปรนนิบัติของนางแล้วรับสั่งให้เรียกบิดามา ทรงประทานอิสริยยศเป็นอัน

มาก แล้วให้นำนางเข้ามายังภายในพระราชวัง ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง

อัครมเหสี. ภายหลังวันหนึ่ง พระราชาทรงดำริว่า เราให้อิสริยยศเป็น

อันมากแก่นาง ถ้ากระไร เราพึงถามนางว่า ใครเป็นที่รักของเธอ นาง

ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เป็นที่รักของหม่อมฉัน แล้วจักย้อน

ถามเรา เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักตอบแก่นางว่า เธอเท่านั้นเป็นที่รักของเรา.

ดังนั้น พระราชาเมื่อจะทรงทำสัมโมทนียะเพื่อให้เกิดความสนิทสนมกัน

และกัน จึงตรัสถาม. ก็พระเทวี เป็นบัณฑิต เป็นอุปัฏฐายิกาของพระ-

พุทธเจ้า เป็นอุปัฏฐายิกาของสงฆ์ ทรงดำริว่า ปัญหานี้ไม่ควรเห็นแก่

หน้ากราบทูลพระราชา เมื่อจะทูลตามความเป็นจริงนั้นแหละ จึงทูลว่า

พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันไม่มีใครอื่นที่จะเป็นที่รักยิ่งไปกว่าตน. พระ-

เทวีแม้ตรัสแล้วประสงค์จะกระทำอรรถที่ตนยืนยันให้ประจักษ์แก่พระราชา

ด้วยอุบาย จึงทูลถามพระราชาเหมือนที่พระราชาตรัสถามเองว่า พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 483

พุทธเจ้าข้า ก็พระองค์มีใครอื่นเป็นที่รักยิ่งกว่าตน. ฝ่ายพระราชาไม่

อาจกลับ (ความ) ได้ เพราะพระเทวีตรัสโดยลักษณะพร้อมทั้งกิจ แม้

พระองค์เองก็ตรัสโดยลักษณะพร้อมทั้งกิจ จึงตรัสยืนยันเหมือนดังพระ-

เทวีตรัสยืนยัน.

ก็ครั้นตรัสยืนยันแล้ว เพราะความที่พระองค์มีปัญญาอ่อน จึงทรง

ดำริอย่างนี้ว่า เราเป็นพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน ครอบครองปก-

ครองปฐพีมณฑลใหญ่ การจะยืนยันว่า เราไม่เห็นคนอื่นซึ่งเป็นที่รักยิ่ง

กว่าตน ดังนี้ ไม่สมควรแก่เราเลย แต่นางนี้ เป็นหญิงถ่อย ชาติชั่ว

เราตั้งไว้ในตำแหน่งสูง ที่ยังไม่รักเราผู้เป็นสามีอย่างแท้จริง ยังกล่าวต่อ

หน้าเราว่า ตนเท่านั้นเป็นที่รักแก่ตน ดังนี้ แล้วจึงไม่พอพระทัยประท้วงว่า

เธอรักพระรัตนตรัยมากกว่าหรือ. พระเทวีกราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า

หม่อมฉันปรารถนาสุขในสวรรค์ และสุขในมรรคเพื่อตน แม้พระรัตนตรัย

หม่อมฉันก็รัก เพราะฉะนั้น ตนนั่นแล จึงเป็นที่รักยิ่งของหม่อมฉัน. ก็

สัตวโลกทั้งหมดนี้ รักคนอื่นก็เพื่อประโยชน์ตนเองเท่านั้น แม้เมื่อ

ปรารถนาบุตร ก็ปรารถนาว่า บุตรนี้จักเลี้ยงดูเราในยามแก่ เมื่อปรารถนา

ธิดา ก็ปรารถนาว่า ตระกูลของเราจักเจริญขึ้น เมื่อปรารถนาภริยา ก็

ปรารถนาว่า จักบำเรอเท้าเรา เมื่อปรารถนาแม้คนอื่นจะเป็นญาติมิตร

หรือพวกพ้อง ก็ปรารถนาเนื่องด้วยกิจนั้น ๆ ดังนั้น ชาวโลก เป็นผู้

เห็นแต่ประโยชน์ตนเท่านั้น จึงรักคนอื่น รวมความว่า พระเทวี มีความ

ประสงค์อย่างนี้แล.

ลำดับนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า นางมัลลิกานี้ เป็นผู้ฉลาด

เป็นบัณฑิต เฉียบแหลม กล่าวว่า ตนนั้นแล เป็นที่รักยิ่งแก่เรา แม้ตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 484

ของเรานั้นแหละ ก็ปรากฏว่าเป็นที่รัก เอาเถอะ เราจักกราบทูลเรื่องนี้

แด่พระศาสดา และเราจะจำเธอไว้ตามที่พระศาสดาทรงพยากรณ์แก่เรา

ไว้. ก็ครั้นทรงดำริอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลความ

นั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข ราชา ปเสนทิโกสโล ฯ เป ฯ

ปิยตโร ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระศาสดาทรงทราบโดย

ประการทั้งปวงซึ่งเนื้อความนี้ คือที่พระราชาตรัสว่า สรรพสัตว์ในโลก

ซึ่งมีตนเป็นที่รักยิ่งของตน จึงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงเนื้อความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพา ทิสา อนุปริคมฺม เจตสา

ความว่า ส่งจิตไปด้วยอำนาจการแสวงหาทั่วหมดทั้ง ๑๐ ทิศ. บทว่า

เนวชฺฌคา ปิยตรมตฺตนา กฺวจิ ความว่า คนบางคน มีความอุตสาหะ

อย่างแรง แสวงหาบุคคลอื่น ผู้เป็นที่รักยิ่งแก่ตน ไม่พึงพบ คือไม่พึง

ประสบในที่ใดที่หนึ่ง คือในทุกทิศ. บทว่า เอว ปิโย ปุถุ อตฺตา ปเรส

ความว่า สัตว์เหล่านั้น ๆ ก็มีตนเป็นที่รักมาก คือเป็นพวก ๆ เหมือน

อย่างนั้น คือจะหาใคร ๆ ผู้เป็นที่รักยิ่งกว่าตนไม่ได้. บทว่า ตสฺมา น

หึเส ปรมตฺตกาโม ความว่า เพราะเหตุที่สัตว์ทั้งหมดรักตัวเอง คือ

รักสุข เกลียดทุกข์อย่างนี้ ฉะนั้น ผู้รักตนเมื่อปรารถนาหิตสุขเพื่อตน

จึงไม่เบียดเบียน ไม่ฆ่าสัตว์อื่น โดยที่สุดมดดำมดแดง ทั้งไม่เบียดเบียน

ด้วยปหรณวัตถุ มีฝ่ามือ ก้อนดิน และท้อนไม้เป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อ

ตนทำทุกข์ให้แก่ผู้อื่น ทุกข์นั้นเป็นเหมือนก้าวออกมาจากกรรมที่ตนทำไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 485

แล้วนั้น จักปรากฏในตนเวลาใกล้ตาย. ก็ข้อนี้ เป็นธรรมดาของกรรม

นั่นแล.

จบอรรถกถาราชสูตรที่ ๑

๒. อัปปายุกาสูตร

ว่าด้วยอายุมารดาของพระโพธิสัตว์

[ ๑๑๑ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล เวลาเย็น

ท่านพระอานนท์ออกจากที่หลีกเร้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว พระมารดาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

มีพระชนมายุน้อยเหลือเกิน เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประสูติได้ ๗ วัน

พระมารดาของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จสวรรคต เข้าถึงเทพนิกายชั้น

ดุสิต พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น

ดูก่อนอานนท์ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนอานนท์ มารดาของพระโพธิสัตว์

ทั้งหลายมีอายุน้อยเหลือเกิน เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้ ๗ วัน มารดา

ของพระโพธิสัตว์ย่อมทำกาละ เข้าถึงเทพนิกายชั้นดุสิต.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 486

สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้เกิดแล้ว และแม้จักเกิด

สัตว์ทั้งหมดนั้นจักละร่างกายไป ท่านผู้ฉลาดทราบ

ความเสื่อมแห่งสัตว์ทั้งปวงนั้นแล้ว พึงเป็นผู้มีความ

เพียรประพฤติพรหมจรรย์.

จบอัปปายุกาสูตรที่ ๒

อรรถกถาอัปปายุกาสูตร

อัปปายุกาสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คำว่า อจฺฉริย ภนฺเต แม้นี้ พึงทราบโดยข้ออัศจรรย์ที่น่าติเตียน

เหมือนในเมฆิยสูตร. บทว่า ยาว อปฺปายุกา แปลว่า มีอายุน้อย

เพียงไร อธิบายว่า มีชีวิตชั่วเวลานิดหน่อย. บทว่า สตฺตาหชาเต

ความว่า ประสูติโดยสัปดาห์ ๑ ชื่อว่าสัตตาหชาตะ ในเมื่อพระองค์

ประสูติได้ ๗ วัน. อธิบายว่า ในวันที่ ๗ ที่พระองค์ประสูติ. บทว่า

ตุสิต กาย อุปปชฺชิ ความว่า เข้าถึงเทพนิกายชั้นดุสิต โดยการถือ

ปฏิสนธิ.

เล่ากันมาว่า วันหนึ่งภายหลังภัตร พระเถระนั่งพักผ่อนกลางวัน

ใส่ใจถึงพระรูปโฉมของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันประดับด้วยพระลักษณะ

และพระอนุพยัญชนะ มีพระรูปเลอโฉม เป็นทัสนานุตริยะ แล้วจึง

คิดว่า น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายเพียบพร้อมไปด้วยพระรูปกาย

น่าชม นำมาซึ่งความเลื่อมใสรอบด้าน น่ารื่นรมย์ใจ ดังนี้แล้ว จึงเสวย

ปีติและโสมนัสอย่างยิ่ง จึงคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดามารดาผู้บังเกิดเกล้า

ถึงจะมีบุตรรูปร่างไม่ดี ก็ยังมีความพอใจ คล้ายว่าบุตรรูปร่างดีฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 487

ก็ถ้าว่า พระนางมหามายาเทวีพระพุทธมารดา ยังทรงพระชนม์อยู่ไซร้

พระนางก็จะพึงเกิดปีติโสมนัส เพราะได้เห็นพระโฉมของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า เช่นไรหนอ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประสูติได้ ๗ วัน พระเทวี

มหามารดาของเราสวรรคตเป็นความเสื่อมอย่างใหญ่หลวงแล. ก็ครั้นคิด

อย่างนี้แล้ว จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลความปริวิตกของตน

เมื่อจะติเตียนการสวรรคตของพระนาง จึงกราบทูลคำมีอาทิว่า อจฺฉริย

ภนฺเต.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระนางมหาปชาบดี โคตมี ถึงจะ

วิงวอนขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความยากยิ่ง ก็ยังถูกห้าม

แต่เราทูลขอด้วยอุบายแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงอนุญาตการ

บรรพชา และอุปสมบท ด้วยการรับครุธรรม ๘ ประการ พระนาง

รับธรรมเหล่านั้นแล้ว ได้บรรพชาอุปสมบท แล้วจึงเกิดบริษัทที่ ๓ ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าขึ้น ได้เป็นปัจจัยแก่บริษัทที่ ๔ ก็ถ้าพระมหามายาเทวี

พระชนนีของพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังทรงพระชนม์อยู่ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้

พระนางกษัตริย์พี่น้องแม้ทั้งสองนี้รวมกัน ก็จะพึงทำพระศาสนานี้ให้

งดงาม ก็เพราะการนับถือในพระมารดามาก พระผู้มีพระภาคเจ้าพึงทรง

อนุญาตการบรรพชาและอุปสมบทในพระศาสนาแก่มาตุคามโดยง่ายทีเดียว

แต่เพราะพระนางมีพระชนมายุน้อย การนั้นจึงสำเร็จได้ยาก ด้วยอธิบาย

ดังว่ามานี้ พระเถระจึงกราบทูลคำมีอาทิว่า อจฺฉริย ภนฺเต ในสำนัก

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นไม่ใช่เหตุ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงอนุญาตการบรรพชาในศาสนาของพระองค์แก่พระมารดา หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 488

มาตุคามอื่น จึงทรงอนุญาตให้รัดกุมทีเดียว ไม่ใช่ทรงอนุญาตอย่าง

หละหลวม เพราะทรงมีพระประสงค์ให้พระศาสนาดำรงอยู่ได้นาน.

ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พระเถระมนสิการถึงพระพุทธคุณ

หาที่สุด หาประมาณมิได้ ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น มีทศพลญาณและจตุเวสา-

รัชญาณเป็นต้น จึงเกิดอัศจรรย์จิตขึ้นว่า พระพุทธมารดาบริหารพระ-

ศาสดาผู้เป็นอัครบุคคลในโลก ผู้มีอานุภาพมากถึงเพียงนี้ ในพระครรภ์

ถึง ๑๐ เดือน จักเป็นบริจาริกาของใคร ๆ เพราะฉะนั้น ข้อนี้จึงไม่

สมควร เพราะฉะนั้น ข้อที่เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประสูติได้ ๗ วัน

พระพุทธมารดาสวรรคต และครั้นสวรรคตแล้ว ทรงอุบัติในชั้นดุสิต นี้

เป็นการสมควรแก่พระคุณของพระศาสดาอย่างแท้จริง เมื่อจะกราบทูล

ความวิตกที่เกิดขึ้นแก่ตนนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงได้กล่าวคำ

มีอาทิว่า อจฺฉริย ภนฺเต ดังนี้.

ก็พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงข้อที่เมื่อพระโพธิสัตว์ประสูติได้

๗ วัน พระมารดาของพระโพธิสัตว์ก็สวรรคต จัดเป็นการสำเร็จโดย

ธรรมดา จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอวเมต อานนฺท. ก็ธรรมดานี้นั้น พึงทราบ

ด้วยสามารถที่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ เคยประพฤติเป็นอาจิณวัตรเสมอ

มา เพราะพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ ทรงบำเพ็ญพระบารมีแล้ว บังเกิด

ในชั้นดุสิต ทรงดำรงอยู่ในดุสิตนั้นตลอดอายุ เมื่อสิ้นอายุ อันเทวดาใน

หมื่นจักรวาลประชุมกันทูลอาราธนา เพื่อให้ทรงถือปฏิสนธิในมนุษยโลก

เพื่ออภิสัมโพธิญาณ จึงตรวจดูปริมาณอายุของพระพุทธมารดา เหมือน

ตรวจดูกาล ทวีป ประเทศและตระกูลแล้วจึงถือปฏิสนธิ ฉันใด พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแม้นี้ ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ ดำรงอยู่ในชั้นดุสิต ก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 489

เหมือนกัน ทรงตรวจดูมหาวิโลกนะ ๕ ประการ ทรงกำหนดปริมาณ

อายุของพระพุทธมารดา ๑๐ เดือนกับ ๗ วัน พอทรงทราบว่า นี้เป็น

เวลาที่เราจะถือปฏิสนธิ บัดนี้ เราควรอุบัติ ดังนี้แล้ว จึงทรงถือปฏิสนธิ.

ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อปฺปายุกา หิ อานนฺท

โพธิสตฺตมาตโร โหนฺติ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาล กโรนฺติ ความว่า กระทำกาละ

โดยสิ้นไปแห่งอายุตามที่กล่าวแล้วนั่นแล ไม่ใช่เพราะมีการประสูติเป็น

ปัจจัย. จริงอยู่ สถานที่ที่พระโพธิสัตว์อยู่ ในอัตภาพสุดท้ายเป็นเช่น

กับเรือนพระเจดีย์ ไม่ใช่เป็นสถานที่ที่คนเหล่าอื่นจะใช้สอย และใคร ๆ

ไม่อาจที่จะถอดพระมารดาของพระโพธิสัตว์ออกแล้ว ตั้งหญิงอื่นไว้ใน

ตำแหน่งอัครมเหสี. เพียงเท่านั้นแล จัดเป็นประมาณอายุ ของพระ-

โพธิสัตว์ เพราะฉะนั้น จึงได้ทำกาละเสียในเวลานั้น. ก็พระมหาโพธิสัตว์

ทั้งหลาย หมายถึงเนื้อความนี้นั่นแล จึงกระทำมหาวิโลกนะ ๕ ประการ.

ถามว่า ก็พระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทำกาละในวันไหน ? ตอบว่า ใน

มัชฌิมวัย. จริงอยู่ ในปฐมวัย สัตว์ทั้งหลายมีฉันทราคะกล้าในอัตภาพ

เพราะฉะนั้น หญิงทั้งหลายผู้ตั้งครรภ์ในคราวนั้น โดยมากไม่สามารถ

จะตามรักษาครรภ์ได้. หากพึงถือปฏิสนธิได้ไซร้ สัตว์ที่เกิดในครรภ์ก็จะ

ลำบากมาก. ก็ครั้นล่วง ๒ ส่วนของมัชฌิมวัยไปแล้ว ในส่วนที่ ๓ ครรภ์

ก็บริสุทธิ์ เด็กที่เกิดในครรภ์ที่บริสุทธิ์ ก็จะไม่มีโรค เพราะฉะนั้น มารคา

ของพระโพธิสัตว์ จึงได้รับความสมบูรณ์ในปฐมวัย ประสูติในส่วนที่ ๓

ของมัชฌิมวัย แล้วสวรรคตแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 490

บทว่า เอตมตฺถ วิหิตฺวา ความว่า ทรงทราบว่า อายุในอัตภาพ

ของมารดาพระโพธิสัตว์ และสรรพสัตว์เหล่าอื่น มีความตายเป็นที่สุด จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงความอุตสาหะ ในการปฏิบัติที่หาโทษมิได้

โดยมุขอันแสดงถึงเนื้อความนั้นอย่างแจ่มแจ้ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยเกจิ เป็นบทแสดงอรรถที่ไม่แน่นอน.

บทว่า ภูตา แปลว่า บังเกิดแล้ว. บทว่า ภวิสฺสนฺติ แปลว่า จักบังเกิด

ในอนาคต. วา ศัพท์ เป็นวิกัปปัตถะ. อปิ ศัพท์ เป็นสัมปิณฑนัตถะ.

ด้วย อปิ ศัพท์นั้น ท่านสงเคราะห์เอาสัตว์ผู้กำลังบังเกิด. ด้วยลำดับ

คำเพียงเท่านี้ ท่านกำหนดถือเอาเหล่าสัตว์ ผู้นับเนื่องในปฏิสนธิด้วย

อำนาจกาลมีอดีตกาลเป็นต้น โดยไม่มีส่วนเหลือ. อีกอย่างหนึ่ง คัพภ-

เสยยกสัตว์ สัตว์ผู้เกิดในครรภ์ ตั้งแต่เวลาออกจากครรภ์ ชื่อว่า ภูตา

( สัตว์ผู้เกิดแล้ว). ก่อนแต่เกิดนั้น ชื่อว่าจักเกิด. พวกสังเสทชสัตว์

และอุปปาติกสัตว์ หลังแต่ปฏิสนธิจิตไป ชื่อว่าเกิดแล้ว. ก่อนแต่นั้น

ชื่อว่าจักเกิด เนื่องด้วยภพที่จะพึงบังเกิด. หรือว่า สัตว์แม้ทั้งหมด

ชื่อว่าเกิดแล้ว เนื่องด้วยปัจจุบันภพ. ชื่อว่าจักเกิด เนื่องด้วยภพใหม่

ในอนาคต. ผู้สิ้นอาสวะ ชื่อว่าเกิดแล้ว. จริงอยู่ ท่านผู้สิ้นอาสวะ

เหล่านั้น เกิดแล้วเท่านั้น ก็จักไม่เกิดต่อไปอีกแล. สัตว์เหล่าอื่นจากผู้สิ้น

อาสวะเหล่านั้น ชื่อว่าจักบังเกิด. บทว่า สพฺเพ คมิสฺสนฺติ ปหาย

เทห ความว่า สัตว์ทั้งปวงต่างกันตามที่กล่าวแล้ว และต่างกันเป็นหลาย

ประเภทโดยภพ กำเนิด คติ วิญญาณฐิติ และสัตตาวาส เป็นต้นทั้งหมด

จักละ คือทอดทิ้งร่างกาย คือสรีระของตนไปสู่ปรโลก ส่วนพระอเสขบุคคล

จักไปพระนิพพาน. ในข้อนี้ ท่านแสดงไว้ว่า ใคร ๆ ชื่อว่าไม่มีการจุติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 491

เป็นธรรม หามีไม่. บทว่า ต สพฺพชานึ กุสโล วิทิตฺวา ความว่า

ท่านผู้ฉลาด คือบัณฑิต ทราบความเสื่อม คือความหายไป ได้แก่ความ

ตาย ของสรรพสัตว์นี้นั้น หรือว่า ทราบถึงความเสื่อม คือความพินาศ

ได้แก่ความผุพัง ของสรรพสัตว์ทั้งหมดนั้น ด้วยอำนาจมรณานุสติ

หรือด้วยอำนาจมนสิการถึงพระไตรลักษณะมี อนิจจตา เป็นต้น. บทว่า

อาตาปิโย พฺรหฺมจริย จเรยฺย ความว่า เมื่อบำเพ็ญวิปัสสนา ชื่อว่า

มีความเพียร เพราะประกอบด้วยความเพียร คือความเพียรเครื่องเผากิเลส

ชื่อว่าปรารภความเพียร ด้วยอำนาจสัมมัปปธาน ๔ พึงประพฤติ คือ

ปฏิบัติมรรคพรหมจรรย์ อันเป็นอุบายเครื่องก้าวล่วงมรณะโดยสิ้นเชิง.

จบอรรถกถาอัปปายุกาสูตรที่ ๒

๓. สุปปพุทธกุฏฐิสูตร

ว่าด้วยการตรัสอริยสัจแก่สุปปพุทธกุฏฐิ

[ ๑๑๒ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กลัน-

ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์

มีบุรุษเป็นโรคเรื้อนชื่อว่าสุปปพุทธะ เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้

ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมไปด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับ

นั่งแสดงธรรมอยู่ สุปปพุทธกุฏฐิได้เห็นหมู่มหาชนประชุมกันแต่ที่ไกล

เทียว ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า หมู่มหาชนจะแบ่งของควรเคี้ยว หรือของ

ควรบริโภคอะไร ๆ ให้ในที่นี้แน่แท้ ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปหาหมู่มหา-

ชน เราพึงได้ของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภค ในหมู่มหาชนนี้เป็นแน่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 492

ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิได้เข้าไปหาหมู่มหาชนนั้นแล้ว ได้เห็น

พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยบริษัทหมู่ใหญ่ ประทับนั่งแสดงธรรมอยู่

ครั้นแล้วได้มีความดำริว่า หมู่มหาชนคงไม่แบ่งของควรเคี้ยวหรือของควร

บริโภคอะไร ๆ ให้ในที่นี้ พระสมณโคดมนี้ทรงแสดงธรรมอยู่ในบริษัท

ถ้ากระไร แม้เราก็พึงได้ฟังธรรม เขานั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งในบริษัท

นั้นเอง ด้วยคิดว่า แม้เราจักฟังธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงกำหนดใจของบริษัททุกหมู่เหล่าด้วยพระทัยแล้ว ได้ทรงกระทำไว้

ในพระทัยว่า ในบริษัทนี้ ใครหนอแลควรจะรู้แจ้งธรรม พระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ทรงเห็นสุปปพุทธกุฏฐินั่งอยู่ในบริษัทนั้น ครั้นแล้วได้

ทรงพระดำริว่า ในบริษัทนี้ บุรุษนี้แลควรจะรู้แจ้งธรรม พระองค์

ทรงปรารภสุปปพุทธกุฏฐิตรัสอนุปุพพีกถา คือ ทานกถา ศีลกถา สัคคกถา

โทษแห่งกามอันต่ำทรามเศร้าหมอง และทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ

เมื่อใด พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทราบว่าสุปปพุทธกุฏฐิมีจิตควร อ่อน

ปราศจากนิวรณ์เฟื่องฟู ผ่องใส เมื่อนั้น พระองค์ทรงประกาศพระธรรม-

เทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง คือ ทุกข์

สมุทัย นิโรธ มรรค ธรรมจักษุปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิด

ขึ้นแก่สุปปพุทธกุฏฐิในที่นั่งนั้นแล้วว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็น

ธรรมดา เหมือนผ้าที่สะอาดปราศจากมลทิน ควรรับน้ำย่อมด้วยดีฉะนั้น.

[๑๑๓] ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิมีธรรมอันเห็นแล้ว มีธรรม

อันบรรลุแล้ว มีธรรมอันรู้แจ้งแล้ว มีธรรมอันหยั่งถึงแล้ว ข้ามความ

สงสัยได้แล้ว ปราศจากความเคลือบแคลง บรรลุถึงความเป็นผู้แกล้วกล้า

ไม่เชื่อต่อผู้อื่นในศาสนาของพระศาสดา ลุกจากอาสนะ เข้าไปเฝ้าพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 493

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือน

หงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีป

ไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์

ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึง

สรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

ลำดับนั้นแล สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็น

แจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ชื่นชมยินดีพระ-

ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้นแล แม่โคลูกอ่อนชนสุปปพุทธกุฏฐิ

ผู้หลีกไปไม่นานให้ล้มลง ปลงเสียจากชีวิต ลำดับนั้นแล ภิกษุมากด้วย

กันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ สุปปพุทธกุฏฐิอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้

สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว กระทำกาละ คติของ

เขาเป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาเป็นอย่างไร พระเจ้าข้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็นบัณฑิต

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่เบียดเบียนเราให้ลำบากเพราะธรรม

เป็นเหตุ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุปปพุทธกุฏฐิเป็นพระโสดาบัน เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 494

ความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งสาม มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง

ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๑๔] เมื่อพระมีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลเป็นเหตุ

เป็นปัจจัยเครื่องให้สุปปพุทธกุฏฐิมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ พระผู้-

มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีแล้ว สุปป-

พุทธกุฏฐิเป็นเศรษฐีบุตรอยู่ในกรุงราชคฤห์นี้แล เขาออกไปยังภูมิเป็นที่

เล่นในสวน ได้เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าตครสิขี กำลังเที่ยวบิณฑบาต

ไปในพระนคร ครั้นแล้วเขาดำริว่า ใครนี่เป็นโรคเรื้อนเที่ยวไปอยู่ เขา

ถ่มน้ำลายหลีกไปข้างเบื้องซ้าย เขาหมกไหม้อยู่ในนรกสิ้นปีเป็นอันมาก

สิ้นร้อยปี สิ้นพันปี สิ้นแสนปีเป็นอันมาก เพราะผลแห่งกรรมนั้นยัง

เหลืออยู่ เขาจึงได้เป็นมนุษย์ขัดสน กำพร้า ยากไร้ อยู่ในกรุงราชคฤห์

นี้แล เขาอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้ว สมาทานศรัทธา ศีล

สุตะ จาคะ ปัญญา ครั้นอาศัยธรรมวินัยที่พระตถาคตประกาศแล้วสมา-

ทาน ศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ เป็นผู้เข้าถึงความเป็นสหายของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์ เขา

ย่อมไพโรจน์ล่วงเทวดาเหล่าอื่นในชั้นดาวดึงส์นั้นด้วยวรรณะและด้วยยศ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

บุรุษผู้เป็นบัณฑิต พึงละเว้นบาปทั้งหลายในสัตว์

โลก เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ เมื่อทางอื่นที่จะก้าวไปมีอยู่

ย่อมหลีกที่อันไม่ราบเรียบเสียฉะนั้น.

จบสุปปพุทธกุฏฐิสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 495

อรรถกถาสุปปพุทธกุฏฐิสูตร

สุปปพุทธกุฏฐิสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ราชคเห สุปฺปพุทฺโธ นาม กุฏฺี อโหสิ ความว่า บุรุษคน-

หนึ่ง นามว่า สุปปพุทธะ ได้อยู่ในกรุงราชคฤห์. ก็เขามีตัวถูกโรคเรื้อน

รบกวนอย่างหนัก. บทว่า มนุสฺสทลิทฺโท ความว่า เป็นผู้เข็ญใจกว่าเขา

ทั้งหมดในบรรดามนุษย์ ในกรุงราชคฤห์. ก็เขาเย็บท่อนผ้าเก่า ที่พวก

มนุษย์ทิ้งไว้ ที่กองหยากเยื่อและที่รั้วเป็นต้น นุ่งห่ม. ถือกระเบื้องไปตาม

เรือน อาศัยข้าวตังและภัตที่เป็นเดนได้มาเลี้ยงชีพ. แม้ของนั้น เขาก็ไม่

ได้ตามความต้องการ เพราะกรรมที่ตนทำไว้ในปางก่อน. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า เป็นมนุษย์ขัดสน. บทว่า มนุสฺสกปโณ ได้แก่ ใน

บรรดามนุษย์ เขาถึงความกำพร้าอย่างยิ่ง. บทว่า มนุสฺสวราโก ได้แก่

ผู้ยากไร้ เพราะถูกพวกมนุษย์ติเตียนและดูหมิ่น. บทว่า มหติยา ปริสาย

ความว่า ด้วยภิกษุบริษัท และอุบาสกบริษัทหมู่ใหญ่.

ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์

หมู่ใหญ่ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ทรงเสวยบิณฑบาตที่พวก

ภิกษุได้มาด้วยดี เสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตร แวดล้อมด้วยภิกษุ

จำนวนเล็กน้อย เสด็จออกรอคอยการมาของอุบาสกผู้ถวายทาน และภิกษุ

ที่เหลือ ได้ประทับยืนในถิ่นที่รื่นรมย์แห่งหนึ่ง ภายในพระนครนั่นเอง.

ในทันใดนั่นเอง ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้น ๆ พากันแวดล้อมพระผู้มี-

พระภาคเจ้า. ฝ่ายอุบาสกทั้งหลาย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วย

หมายใจว่าจักฟังอนุโมทนา ถวายบังคมแล้วกลับมา. ได้มีการประชุม

ใหญ่ขึ้นแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอาการนั่ง. ในขณะนั้นนั่นเอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 496

ภิกษุทั้งหลายปูลาดอาสนะอันสมควรแด่พระพุทธเจ้า. ลำดับนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงทำประเทศนั้นทั้งสิ้น ให้สว่างไสว ด้วยพระรูปโฉมอันหา

อุปมามิได้ อันรุ่งโรจน์ด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ซึ่งประดับ

ด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ อันรุ่งเรืองแวดล้อมไปด้วยพระรัศมีข้าง

ละวา อันฉายพระพุทธรังสี มีพรรณะ ๖ ประการ คือ เขียว เหลือง แดง

ขาว หงสบาท และเลื่อมปภัสสร แวดล้อมไปด้วยหมู่ภิกษุ ดุจพระจันทร์

เพ็ญ แวดล้อมไปด้วยหมู่ดาว ประทับนั่งบนบวรพุทธาสน์ที่บรรจงจัดไว้

ทรงบันลือสีหนาท ดุจไกสรราชสีห์ ณ พื้นมโนศิลา ทรงแสดงธรรม

ด้วยพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม อันไพเราะดุจเสียงร้องของนกการเวก.

ฝ่ายภิกษุทั้งหลายแล เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลี

ปรารภความเพียร มีใจเป็นสมาธิ ชอบตักเตือนตน ติเตียนบาป ผู้กล่าว

สอน อดทนต่อถ้อยคำ สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติ-

ญาณทัสสนะ ห่มบังสุกุลจีวรสีเมฆ แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจช้าง

ตระกูลคันธะซึ่งสวมเกราะไว้ด้วยดี เงี่ยโสตลง สดับพระธรรมเทศนา.

ฝ่ายอุบาสกทั้งหลาย นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย มีอุตราสงค์สะอาด ในเวลาเช้า

ยังมหาทานให้เป็นไป บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยสักการะมีของหอมและ

ระเบียบดอกไม้เป็นต้น ถวายบังคมแล้ว แสดงอาการนอบน้อมแก่ภิกษุ-

สงฆ์ แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ สำรวมมือและเท้า เงี่ย

โสตลงสดับธรรมโดยเคารพ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็โดยสมัย

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า แวดล้อมไปด้วยบริษัทใหญ่ ประทับนั่ง

แสดงธรรมอยู่แล้ว ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 497

ก็สุปปพุทธะ ถูกความทุรพลคือความหิวครอบงำ จึงเที่ยวแสวงหา

อาหาร ผ่านระหว่างถนน เห็นมหาชนนั้นประชุมกัน แต่ที่ไกลลิบ เกิด

ความดีใจขึ้นว่า หมู่มหาชนนี้ ประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ชะรอยว่า

ในที่นั้น เขาคงจะแจกอาหารเป็นแน่แท้ ไฉนหนอ เราไปในที่นั้น

สามารถจะได้อะไร ๆ สักอย่าง ไม่ว่าจะเป็นของเคี้ยว หรือของกิน ดังนี้

แล้ว จึงไปในที่นั้นได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์น่าเลื่อมใส น่า

ชมเชย ถึงความสงบด้วยการฝึกตนอย่างสูง ทรงฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว

ประกอบด้วยอินทรีย์ที่สำรวมแล้ว แวดล้อมไปด้วยบริษัทนั้น แสดงธรรม

อยู่ ครั้นเห็นแล้ว อันอุปนิสัยสมบัติที่แก่กล้า ซึ่งประกอบไว้ในชาติ

ก่อน ตักเตือนอยู่ จึงคิดว่า ไฉนหนอ แม้เราก็ควรฟังธรรม ดังนี้แล้ว

จึงได้นั่ง ณ ท้ายบริษัท ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า สุปปพุทธกุฏฐิ ได้

เห็นแล้วแล ฯลฯ นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ในที่นั้นนั่นเอง ด้วยหวังใจ

ว่า แม้เราก็จักฟังธรรม ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า สพฺพาวนฺต แปลว่า มีบุคคลทุกหมู่เหล่า คือ มีบุคคลทุก

เหล่ามีคนเลว เป็นต้น. ในข้อนั้นมีอธิบายว่า ไม่เหลือแม้ใคร ๆ ไว้.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สพฺพวนฺต ดังนี้ก็มี. บทว่า เจตสา ความว่า

ด้วยพระหทัยอันประกอบด้วยพุทธจักษุ. จริงอยู่ ท่าแสดงพระญาณโดย

ยกจิตขึ้นเป็นประธาน เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ด้วยอาสยานุสยญาณ

และอินทริยปโรปริยัตญาณ. บทว่า เจโต ปริจฺจ มนสากาสิ ความว่า

ทรงกำหนดจิตของบริษัทนั้น เฉพาะคนแล้วทรงไว้ในพระหทัย คือ

ทรงตรวจดูชนเหล่านั้น. บทว่า ภพฺโพ ธมฺม วิญฺาตุ ความว่า เป็นผู้

สามารถ คือ เพียบพร้อมด้วยอุปนิสัย เพื่อบรรลุธรรมคือมรรคและผล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 498

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริดังนี้ว่า

สุปปพุทธะนี้ ผิดในพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า ตครสิขี จึงเป็นเช่นนี้

ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอก็ยังมีอุปนิสัยแห่งมรรคและผล โชติช่วงอยู่ใน

ภายในนั่นเอง ดุจแท่งทองถูกฝุ่นกลบไว้ เพราะฉะนั้น เขาจึงควรจะรู้

แจ้ง. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ในที่นี้ บุรุษนี้แล้ว ควรจะรู้แจ้งธรรม

ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อนุปุพฺพิกถ ได้แก่ กถาตามลำดับอย่างนี้ว่า ศีลในลำดับ

แห่งทาน สวรรค์ในลำดับแห่งศีล มรรคในลำดับแห่งสวรรค์. จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความยินดี พร้อมด้วยเหตุ ต่อแต่นั้น ทรง

ประกาศโทษโดยนัยต่าง ๆ เพื่อให้หมู่สัตว์สงัดแล้ว จึงแสดงวิวัฏฏะ โดย

การประกาศคุณแห่งเนกขัมมะเป็นประธาน ของเหล่าสัตว์ผู้มีหทัยสลด

เพราะการฟังโทษ.

บทว่า ทานกถ ได้แก่ กถาอันเกี่ยวเนื่องด้วยคุณของทานมีอาทิ

อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า ทานนี้ เป็นเหตุแห่งความสุข เป็นมูลแห่งสมบัติ

เป็นที่ตั้งแห่งโภคะ เป็นที่ต้านทาน เป็นที่เร้น เป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้อง

หน้า ของสัตว์ผู้ดำเนินไปตามทางที่ไม่สม่ำเสมอ ที่พึ่ง ที่พำนัก ที่ยึด-

หน่วง ที่ต้านทาน ที่เร้น ที่ไป ที่ไปในเบื้องหน้า เช่นกับทานนี้ ย่อม

ไม่มี ในโลกนี้และโลกหน้า จริงอยู่ ทานนี้ เป็นเช่นกับอาสนสีหะที่

สำเร็จด้วยแก้ว เพราะอรรถว่า เป็นที่พึ่ง เป็นเช่นกับมหาปฐพี เพราะ

อรรถว่า เป็นที่พำนัก เป็นเช่นกับเชือกสำหรับยึด เพราะอรรถว่า เป็น

เครื่องยึดหน่วง เป็นเช่นกับนาวา เพราะอรรถว่า เป็นที่ข้ามทุกข์ เป็น

ผู้กล้าหาญในสงคราม เพราะอรรถว่า เป็นที่โล่งใจ เป็นนครที่แวดล้อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 499

ด้วยคูรอบด้าน เพราะอรรถว่า เป็นที่ต้านทานภัยรอบด้าน เป็นดังปทุม

เพราะอรรถว่า ไม่ถูกมลทินคือความตระหนี่เป็นต้นฉาบทา เป็นดังไฟ

เพราะอรรถว่า เผามลทินคือความตระหนี่เป็นต้นเหล่านั้น เป็นดังอสรพิษ

เพราะอรรถว่า ยินดีได้ยาก เป็นดังราชสีห์ เพราะอรรถว่า ไม่สะดุ้งกลัว

เป็นดังช้าง เพราะอรรถว่า ทรงพลัง เป็นดังโคอุสภะขาว เพราะอรรถว่า

อันชาวโลกสมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง เป็นดังพญาม้าวลาหก เพราะ

อรรถว่า ส่งไปให้ถึงภูมิอันปลอดภัย จริงอยู่ ทานย่อมให้สิริราชสมบัติ

ในโลก ให้จักรพรรดิสมบัติ สักกสมบัติ มารสมบัติ พรหมสมบัติ สาวก-

บารมีญาณ ปัจเจกโพธิญาณ และให้สัมมาสัมโพธิญาณ. ก็เพราะเหตุที่

บุคคลผู้ให้ทาน สามารถเพื่อจะสมาทานศีล ฉะนั้น พระองค์จึงทรงแสดง

สีลกถาไว้ในลำดับแห่งทานกถา.

บทว่า สีลกถ ได้แก่ กถาที่เกี่ยวเนื่องด้วยคุณแห่งศีลมีอาทิอย่างนี้

ว่า ขึ้นชื่อว่า ศีลนี้ เป็นที่พึ่ง เป็นที่พำนัก เป็นที่ยึดหน่วง เป็นที่ต้านทาน

เป็นที่เร้น เป็นคติ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ของสัตว์ทั้งหลาย จริงอยู่ ที่พึ่ง

ที่พำนัก ที่ยึดหน่วง ที่ต้านทาน ที่เร้น ที่ไป ที่ไปในเบื้องหน้า ของ

สมบัติในโลกนี้และโลกหน้า เช่นกับศีล ย่อมไม่มี เครื่องประดับเช่นกับศีล

ดอกไม้ เช่นกับดอกไม้คือศีล กลิ่น เช่นกับกลิ่นของศีล ย่อมไม่มี จริงอยู่

ชาวโลกพร้อมทั้งเทวดาแลดูผู้ประดับด้วยเครื่องประดับคือศีล ผู้ทัดทรง

ดอกไม้คือศีล ลูบไล้ด้วยของหอมคือศีล ย่อมไม่ถึงความอิ่ม เพื่อจะทรง

แสดงว่า บุคคลได้สวรรค์นี้ ก็เพราะอาศัยศีลนี้ ดังนี้แล้ว จึงทรงแสดง

สัคคกถาไว้ในลำดับแห่งศีล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 500

บทว่า สคฺคกถ ได้แก่ กถาที่เกี่ยวเนื่องด้วยคุณแห่งสวรรค์ มีอาทิ

อย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า สวรรค์ เป็นสิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ย่อม

ได้ความรื่นเริงในสวรรค์นั้นเป็นนิตย์ คือ ย่อมได้สมบัติเป็นนิตย์ ได้แก่

เทพชั้นจาตุมมหาราช ย่อมได้ทิพยสุข ทิพยสมบัติ ถึง ๙ ล้านปี เทพชั้น

ดาวดึงส์ ย่อมได้ถึง ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าแสดง

สวรรค์สมบัติ พระโอษฐ์ไม่พอ (ที่จะตรัส). สมจริงดังพระดำรัสที่พระ-

องค์ตรัสไว้ มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราพึงแสดงสัคคกถา โดย

อเนกปริยายแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงประเล้าประโลม ด้วย

กถาแสดงความยินดีพร้อมด้วยเหตุดังพรรณนามาอย่างนี้ จึงแสดงว่า แม้

สวรรค์นี้ ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่ควรทำความยินดีด้วยอำนาจความพอใจ

ในสวรรค์นั้น เปรียบเหมือนบุคคลประดับช้างแล้ว ยังตัดงวงของช้างนั้น

อีก จึงทรงแสดงโทษ ความต่ำทราม ความเศร้าหมอง ของกามทั้งหลาย

โดยนัยมีอาทิว่า กามทั้งหลาย มีความอร่อยน้อย มีทุกข์มาก มีความคับ-

แค้นมาก ในสวรรค์นั้น มีโทษมากยิ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาทีนว แปลว่า โทษ. บทว่า โอการ

ได้แก่ มีความเลวทรามเป็นสภาวะ อธิบายว่า พวกคนไม่ประเสริฐ พึง

ส้องเสพ พวกคนประเสริฐ ไม่พึงส้องเสพ จึงชื่อว่า มีความเลวทราม

เป็นสภาวะ. บทว่า สงฺกิเลส ความว่า เพราะกามเหล่านั้น สัตว์ทั้งหลาย

จึงมีความเศร้าหมองในสงสาร. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า

ผู้เจริญ สัตว์ทั้งหลาย จักเศร้าหมองหนอ. ครั้นทรงให้กลัว ด้วยโทษ

แห่งกามอย่างนี้แล้ว จึงทรงประกาศอานิสงส์ในเนกขัมมะ คือ แสดง

พรรณนาคุณของบรรพชาและคุณในฌานเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 501

บทว่า กลฺยจิตฺต ในบทว่า กลฺยจิตฺต เป็นต้น ได้แก่ จิตที่ควร

แก่การงาน คือ จิตเป็นที่ตั้งแห่งการงาน อธิบายว่า เป็นจิตที่เหมาะแก่

การงาน โดยเข้าถึงภาวะเป็นที่รองรับเทศนาที่ทรงประกาศไว้ในเบื้องต่ำ

และเทศนาเบื้องสูง เพราะปราศจากโทษแห่งจิต มีความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา

เป็นต้น. เชื่อมความว่า ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่า

สุปปพุทธกุฏฐินั้น มีจิตอ่อน เพราะปราศจากกิเลสมีทิฏฐิและมานะเป็นต้น

มีจิตปราศจากนิวรณ์ เพราะปราศจากนิวรณ์ มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้น

มีจิตเบิกบาน เพราะประกอบด้วยปีติและปราโมทย์อย่างยิ่งในสัมมาปฏิบัติ

และมีจิตผ่องใส เพราะสมบูรณ์ด้วยศรัทธาในสัมมาปฏิบัตินั้น. อีกอย่าง

หนึ่ง. บทว่า กลฺยจิตฺต ได้แก่ จิตไม่มีโรค เพราะปราศจากกามฉันท-

นิวรณ์. บทว่า มุทุจิตฺต ได้แก่ จิตไม่แข็งกระด้าง ด้วยอำนาจเมตตา

เพราะปราศจากพยาบาท. บทว่า วินีวรณจิตฺต ได้แก่ จิตที่ไม่ถูกปิดกั้น

เพราะไม่ฟุ้งซ่าน โดยปราศจากอุทธัจจะและกุกกุจจนิวรณ์. บทว่า

อุทคฺคจิตฺต ได้แก่ จิตไม่หดหู่ ด้วยอำนาจประคองไว้ โดยปราศจาก

ถีนมิทธนิวรณ์. บทว่า ปสนฺนจิตฺต ได้แก่ จิตที่น้อมไปในสัมมาปฏิบัติ

โดยปราศจากวิจิกิจฉานิวรณ์.

ศัพท์ อถ แปลว่า ภายหลัง. บทว่า สามุกฺกสิกา ได้แก่ เทศนา

ที่พระองค์ทรงแสดงเอง คือ ทรงยกขึ้นแสดงด้วยพระองค์เอง ได้แก่

ทรงเห็นเองด้วยพระสยัมภูญาณ อธิบายว่า ไม่ทั่วไป แก่ชนเหล่าอื่น.

ถามว่า ก็เทศนานั้น ชื่ออะไร ? ตอบว่า ชื่อว่า อริยสัจเทศนา. ด้วย

เหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า ทุกขอริยสัจ สมุทัยอริยสัจ นิโรธ-

อริยสัจ มรรคอริยสัจ. ก็ข้อนี้ เป็นการแสดงสัจจะโดยสรุป. เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 502

ฉะนั้น ในที่นี้ จึงควรแสดงอริยสัจ. อริยสัจเหล่านั้น เมื่อว่าโดยอาการ

เหตุนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงการละกิเลส และการยังอริยมรรค

ให้เกิดขึ้น แก่สุปปพุทธะ ด้วยอำนาจอุปมา โดยคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ

ดังนี้. บทว่า อปคตกาฬก แปลว่า ปราศจากธรรมฝ่ายดำ. บทว่า

สมฺมเทว แปลว่า ด้วยดีนั่นแล. บทว่า รชน ได้แก่ น้ำย้อมมีสี เขียว

เหลือง แดง และหงสบาท เป็นต้น. บทว่า ปฏิคฺคณฺเหยฺย แปลว่า พึง

รับ คือ พึงเป็นผ้าที่ผ่องใส. บทว่า ตสฺมึเยว อาสเน ได้แก่ ในที่นั่ง

นั้นนั่นเอง. ด้วยคำนี้ เป็นอันทรงแสดงถึงความที่สุปปพุทธกุฏฐินั้น มี

ความเห็นแจ้งได้เร็ว มีปัญญาเฉียบแหลม และเป็นสุขาปฏิปทาขิปป-

ภิญญาบุคคล. บทว่า วิรช วีตมล ความว่า ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะ

ไม่มีธุลีคือราคะเป็นต้น อันเป็นเหตุนำสัตว์ไปสู่อบาย ชื่อว่า ปราศจาก

มลทิน เพราะปราศจากมลทิน คือทิฏฐิและวิจิกิจฉา ไม่มีส่วนเหลือ.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปราศจากธุลี เพราะไม่มีธุลีคือกิเลส อันโสดาปัตติ-

มรรคพึงฆ่า ชื่อว่า ปราศจากมลทิน เพราะปราศจากความเป็นผู้ทุศีล ๕

อย่าง. บทว่า ธมฺมจกฺขุ ท่านหมายถึงโสดาปัตติผล. เพื่อจะทรงแสดง

อาการเกิดขึ้นแห่งธรรมจักษุนั้น จึงตรัสว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีความเกิดขึ้น

เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา. ก็ธรรม

จักษุนั้น แม้ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์แล้ว ก็แทงทะลุปรุโปร่ง ซึ่งสังขต-

ธรรม ด้วยอำนาจกิจนั้นแล เกิดขึ้น. ในข้อนั้น มีการเทียบเคียงอุปมา

ดังต่อไปนี้ จิตพึงเห็นเหมือนผ้า. ภาวะที่จิตเศร้าหมองด้วยมลทินมีราคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 503

เป็นต้น พึงเห็นเหมือนภาวะที่ผ้าเปื้อนด้วยมลทินที่จรมาฉะนั้น. อนุ-

ปุพพิกถา พึงเห็นเหมือนแผ่นกระดานสำหรับซัก. ศรัทธา พึงเห็นเหมือน

น้ำ. การใช้น้ำคือศรัทธาชะโลมให้ชุ่ม แล้วใช้สติสมาธิและปัญญา ทำ

โทสะให้หย่อนลง แล้วปรารภความเพียร ชำระจิตให้สะอาด ด้วยวิธีมี

สุตะเป็นต้น พึงเห็นเหมือนการเอาน้ำแช่ผ้าให้เปียก แล้วใช้น้ำด่างโคมัย

ขยำที่จุดดำ เพราะการประกอบนั้น. อริยมรรคพึงเห็นเหมือนน้ำย้อม.

การชำระจิตที่ข่มกิเลสได้แล้วให้ผ่องแผ้วด้วยมรรค พึงเห็นเหมือนผ้าที่

สะอาดผ่องใส ด้วยการซักย้อมนั้นฉะนั้น.

ก็สุปปพุทธะ นั่งที่ท้ายบริษัท สดับพระธรรมเทศนา บรรลุโสดา-

ปัตติผลอย่างนี้แล้ว มีความประสงค์จะกราบทูลถึงคุณที่ตนได้รับแด่พระ-

ศาสดา เมื่อไม่อาจหยั่งลงสู่ท่ามกลางบริษัทได้ ในเวลาที่มหาชนถวาย

บังคมพระศาสดา แล้วตามส่งเสด็จแล้วกลับ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จไปยังพระวิหาร แม้ตนเองก็ได้ไปยังพระวิหารด้วย. ขณะนั้น ท้าว

สักกเทวราช ทรงทราบว่า สุปปพุทธกุฏฐินี้ มีความประสงค์จะประกาศ

คุณที่ตนได้รับพระศาสนา ของพระศาสดาให้ปรากฏ คิดจักทดลองเธอ

จึงเสด็จไป ประทับอยู่ในอากาศ ได้ตรัสคำนี้ว่า สุปปพุทธะ เธอเป็น

คนขัดสน เป็นคนกำพร้า เป็นคนยากไร้ เราจะให้ทรัพย์ อันหาประมาณ

มิได้ แก่เธอ แต่เธอจงพูดว่า พระพุทธ ไม่ใช่พระพุทธ พระธรรม

ไม่ใช่พระธรรม พระสงฆ์ ไม่ใช่พระสงฆ์ เราพอกันที ด้วยพระพุทธ

เราพอกันที ด้วยพระธรรม เราพอกันที ด้วยพระสงฆ์. ลำดับนั้น

สุปปพุทธะจึงกล่าวกะท้าวสักกนั้นว่า ท่านเป็นใคร ? ตอบว่า เราเป็น

ท้าวสักกเทวราช. สุปปพุทธกุฏฐิกล่าวว่า ดูก่อนอันธพาล ผู้ไม่มียางอาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 504

ท่านกล่าวคำที่ไม่ควรจะกล่าวอย่างนี้ ไม่สมควรพูดกับเราเลย อนึ่ง

เพราะเหตุไร ท่านจึงพูดกับเราว่า เป็นคนเข็ญใจ ขัดสน กำพร้า เราเป็น

โอรสบุตรของพระโลกนาถเจ้ามิใช่หรือ เราไม่ใช่คนเข็ญใจ ขัดสน

กำพร้า ที่จริงแล เราได้รับความสุขด้วยความสุขอย่างยิ่ง มีทรัพย์มาก

ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า

บุคคลใด ไม่เลือกว่าจะเป็นหญิงหรือชาย มี

ทรัพย์ ๗ อย่างคือ ทรัพย์คือศรัทธา ทรัพย์คือศีล

ทรัพย์คือหิริ ทรัพย์คือโอตตัปปะ ทรัพย์คือสุตะ

ทรัพย์คือจาคะ และทรัพย์คือปัญญา บัณฑิตเรียก

บุคคลนั้นว่าไม่เข็ญใจ และชีวิตของเขาไม่เปล่า.

ดังนั้น เรานั้น จึงชื่อว่าอริยทรัพย์ ๗ ประการนี้ เพราะบุคคล

ผู้มีอริยทรัพย์เหล่านี้ พระพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่ตรัสเรียก

ว่า เป็นคนเข็ญใจ. ท้าวสักกะทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว จึงละเขาไว้

ในระหว่างทางแล้ว เสด็จไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลคำและคำตอบทั้งหมด

นั้นแด่พระศาสดา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท้าวสักกะว่า

ดูก่อนสักกะ เทพเช่นท่าน แม้ตั้งร้อย ตั้งพัน ก็ไม่อาจจะให้สุปปพุทธ-

กุฏฐิ กล่าวว่า พระพุทธ ไม่ใช่พระพุทธ พระธรรม ไม่ใช่พระธรรม

พระสงฆ์ ไม่ใช่พระสงฆ์. แม้สุปปพุทธกุฏฐิแล ก็ไปเฝ้าพระศาสดา

พระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถารแล้ว จึงกราบทูลถึงคุณที่ตนได้รับ. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข สุปฺปพุทฺโธ กุฏฺี ทิฏฺธมฺโม ปตฺต-

ธมฺโม ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 505

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺธมฺโม ความว่า ชื่อว่า ผู้เห็น

ธรรม เพราะเห็นอริยสัจจธรรม. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

บรรดาบทเหล่านั้น ธรรมศัพท์ ในบทว่า ทิฏฺธมฺโม นี้ บ่งถึงคำสามัญ

ชื่อว่า ทัสสนะ แม้อื่นไปจากญาณทัสสนะก็ยังมี เพราะเหตุนั้น ทัสสนะ

นั้น ท่านเรียกว่า ปตฺตธมฺโม เพื่อแสดงนิวัตตนะ (นิโรธสัจ). ก็การ

บรรลุแม้อื่นจากญาณสมบัติ ก็ยังมี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า

วิทิตธมฺโม ผู้รู้แจ้งธรรม เพื่อให้แปลกไปจากญาณทัสสนะนั้น. ก็ความ

เป็นผู้รู้แจ้งธรรมนี้นั้น จัดเป็นส่วนหนึ่งในธรรมทั้งหลาย เพราะฉะนั้น

เพื่อจะแสดงความเป็นผู้รู้แจ้งธรรมนั้น โดยทุกส่วน ท่านจึงกล่าวว่า

ปริโยคาฬฺหธมฺโม ผู้หยั่งถึงธรรม. เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงทรงแสดง

เฉพาะการตรัสรู้สัจจะตามที่กล่าวแล้วแก่เขา. จริงอยู่ มรรคญาณให้สำเร็จ

ปริญญากิจเป็นต้น ด้วยอำนาจการตรัสรู้ครั้งเดียว ชื่อว่า หยั่งลงสู่ไญย-

ธรรมโดยทุกส่วน รอบด้าน ไม่ใช่ญาณอื่นนอกจากมรรคญาณนั้น. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ทิฏฺโ อริยสจฺจธมฺโม เอเตนาติ ทิฏฺธมฺโม

ดังนี้เป็นต้น. เพราะเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ติณฺณวิจิ-

กิจฺโฉ ผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว ดังนี้.

ในธรรมเหล่านั้น ผู้ชื่อว่า ข้ามความสงสัยได้แล้ว เพราะข้าม

ความสงสัยมีวัตถุ ๑๖ ประการ และมีวัตถุ ๘ ประการ ซึ่งเป็นเสมือน

หนทางกันดารที่มีภัย. ในบรรดาธรรมมีปวัตติ (ทุกขสัจ) เป็นต้น จาก

ธรรมนั้นนั่นแล ชื่อว่า ผู้ปราศจากความเคลือบแคลง เพราะปราศจาก

คือ ตัดขาดความเคลือบแคลงที่เป็นไปอย่างนี้ว่า เราได้เป็นอย่างนี้หรือ

ไม่หนอ. ชื่อว่า ถึงความแกล้วกล้า เพราะถึงความแกล้วกล้า คือภาวะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 506

แห่งผู้องอาจ ได้แก่ ความเป็นผู้เชี่ยวชาญ เพราะละบาปธรรมที่ทำความ

ไม่แกล้วกล้า และเพราะตั้งอยู่ด้วยดีในคุณมีศีลเป็นต้น อันเป็นข้าศึกต่อ

บาปธรรมนั้น. ชื่อว่า ไม่ต้องมีคนอื่นสนับสนุนในศาสนาของพระศาสดา

เพราะไม่มีคนอื่นสนับสนุน คือ ไม่ได้ประพฤติในศาสนานี้ โดยเชื่อต่อ

ผู้อื่น. ในคำว่า อภิกฺกนฺต ภนฺเต เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ อภิกฺกนฺเต

ศัพท์นี้ ปรากฏในอรรถหลายอย่าง มีอรรถว่า สิ้นไป ดี งาม และ

อนุโมทนายิ่ง เป็นต้น แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น ในที่นี้ พึงเห็น

อภิกฺกนฺตศัพท์ ใช้ในอรรถว่า อนุโมทนายิ่ง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล อภิกกันต

ศัพท์นั้น ท่านจึงกล่าวไว้ถึง ๒ ครั้ง คือ ด้วยความเลื่อมใส ๑ ด้วย

ความสรรเสริญ ๑ อธิบายว่า ดีละ ดีละ พระเจ้าข้า. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า อภิกฺกนฺต แปลว่า น่าใคร่ น่าปรารถนา น่าชอบใจยิ่ง อธิบายว่า

ดียิ่ง. ใน ๒ ศัพท์นั้น สุปปพุทธกุฏฐิ ชมเชยเทศนาของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ด้วย อภิกกันตศัพท์ ศัพท์หนึ่ง ชมเชยความเลื่อมในของตน ด้วย

อภิกกันตศัพท์ อีกศัพท์หนึ่ง. จริงอยู่ ในข้อนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้

พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า แจ่มแจ้งนัก พระเจ้าข้า ความ

เลื่อมใสของข้าพระองค์ เพราะอาศัยพระธรรมเทศนา ของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า แจ่มแจ้งนัก พระเจ้าข้า. อีกอย่างหนึ่ง สุปปพุทธกุฏฐิ กล่าว

๒. บทชมเชยพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้นว่า แจ่มแจ้งนัก

โดยให้โทสะพินาศไป แจ่มแจ้งนัก โดยบรรลุคุณ แจ่มแจ้งนัก โดยนำ

มาซึ่งศรัทธา โดยให้เกิดปัญญา โดยพร้อมด้วยอรรถ โดยพร้อมด้วย

พยัญชนะ โดยบทอันง่าย โดยอรรถอันลึกซึ้ง โดยสบายหู โดยจับใจ

โดยไม่ยกตน โดยไม่ข่มผู้อื่น โดยความเยือกเย็นเพราะพระกรุณา โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 507

ความผ่องแผ้วแห่งปัญญา โดยประสบอารมณ์ โดยทนต่อการย่ำยี โดย

เป็นความสุขแก่ผู้ฟัง โดยเป็นประโยชน์แก่ผู้ใคร่ครวญ. ต่อแต่นั้น จึง

ชมเชย เฉพาะเทศนาด้วยอุปมา ๔ ข้อ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิกฺกุชฺชิต ได้แก่ วางคว่ำไว้ หรือ

เอาปากไว้ล่าง. บทว่า อุกฺกุชฺเชยฺย ได้แก่ พึงหงายขึ้น. บทว่า ปฏิจฺฉนฺน

ได้แก่ ปิดไว้ด้วยหญ้าและใยไม้เป็นต้น. บทว่า วิวเรยฺย แปลว่า พึงเปิด.

บทว่า มุฬฺหสฺส ได้แก่ ผู้หลงทิศ. บทว่า มคฺค อาจิกฺเขยฺย ความว่า

พึงจักมือแล้ว ชี้ทางว่า นั่นทาง. บทว่า อนฺธกาเร ได้แก่ ในที่มืด

ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้เป็นอรรถเฉพาะบทก่อน. ส่วนการประกอบ

อธิบาย มีดังต่อไปนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อให้เราเบือนหน้าจาก

พระสัทธรรม ตกอยู่ในอสัทธรรมแล้วให้ออกจากอสัทธรรม เหมือน

ใคร ๆ พึงหงายภาชนะที่คว่ำไว้ฉะนั้น ทรงเปิดเผยพระศาสนา ที่รกชัฏ

คือมิจฉาทิฏฐิปิดบังไว้ ตั้งแต่พระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

พระนามว่า กัสสปะ อันตรธานไป เหมือนบุคคลเปิดภาชนะที่ปิดบังไว้

ฉะนั้น ทรงกระทำให้แจ้งซึ่งทางสวรรค์และนิพพาน แก่เราผู้ดำเนินไป

ในทางชั่วทางผิด เหมือนบุคคลบอกทางแก่คนหลงทางฉะนั้น เมื่อเรา

จมอยู่ในความมืด คือโมหะ ไม่เห็นรูปรัตนะมีพุทธรัตนะเป็นต้น จึง

ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เพราะประกาศโดยนัยต่าง ๆ โดยทรง

ไว้ซึ่งความโชติช่วง แห่งเทศนาอันกำจัดมืดคือโมหะ ซึ่งเป็นตัวปกปิด

ัรัตนะมีพุทธรัตนะเป็นต้นไว้ เหมือนบุคคลตามประทีปไว้ในที่มืดฉะนั้น.

ครั้นชมเชยเทศนาอย่างนี้แล้ว มีจิตเลื่อมใสในพระรัตนตรัยด้วยเทศนานั้น

เมื่อจะทำอาการเลื่อมใส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอสาห ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 508

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสาห ตัดเป็น เอโส อห. บทว่า

ภควนฺต สรณ คจฺฉามิ ความว่า ข้าพระองค์ ขอถึง ขอคบ ขอรู้ หรือ

ว่า ขอหยั่งรู้ พระผู้มีพระภาคเจ้า โดยความประสงค์นี้ว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเป็นสรณะ เป็นที่ยึดหน่วงในเบื้องหน้า เป็นที่กำจัดทุกข์ เป็นที่

ทรงไว้ซึ่งประโยชน์เกื้อกูล ของข้าพระองค์. จริงอยู่ คติ เป็นอรรถ

ของธาตุเหล่าใด ถึงพุทธิ ก็เป็นอรรถของธาตุเหล่านั้น. บทว่า ธมฺม

ความว่า ชื่อว่าธรรม เพราะทรงไว้ซึ่งผู้บรรลุมรรค ผู้กระทำให้แจ้งซึ่ง

นิโรธ ผู้ปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอน ไม่ให้ตกไปในอบาย ๔. พระธรรม

นั้น โดยอรรถก็คือ อริยมรรคและพระนิพพานนั่นเอง. สมจริงดังพระ-

ดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย

ที่เป็นสังขตะ มีประมาณเพียงใด อริยมรรคมีองค์ ๘ เราตถาคตกล่าวว่า

เลิศกว่าสังขตธรรมเหล่านั้น และว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลาย

ี่ที่เป็นสังขตะก็ดี อสังขตะก็ดี มีประมาณเพียงใด วิราคธรรม เรา

ตถาคตกล่าวว่า เลิศ กว่าสังขตธรรม หรือ อสังขตธรรมเหล่านั้น. ไม่ใช่

เพียงอริยมรรค และพระนิพพานอย่างเดียวเท่านั้น ที่ตถาคตกล่าวว่าเลิศ

ถึงแม้พระปริยัติธรรมพร้อมด้วยอริยผล เราตถาคตก็กล่าวว่าเลิศเหมือน

กัน. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

เธอจงเข้าถึงธรรมนี้ อันเป็นที่สำรอกราคะ ไม่

เอนเอียง ไม่เศร้าโศก ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ไม่น่า

รังเกียจ ไพเราะช่ำชอง ที่จำแนกไว้ดีแล้ว เพื่อเป็น

ที่พึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 509

จริงอยู่ ในพระคาถาว่า มรรคตรัสว่า เป็นธรรมเครื่องสำรอกราคะ.

บทว่า อเนชมโสก ได้แก่ อริยผล. บทว่า อสงฺขต ได้แก่ พระนิพพาน.

ด้วยคำว่า อปฺปฏิกูล มธุรมิม ปคุณ สุวิภตฺต นี้ ทรงประสงค์ถึง

พระปริยัติธรรม. บทว่า ภิกฺขุสงฺฆ ได้แก่ หมู่พระอริยบุคคล ๘ ผู้

ทัดเทียมกัน โดยความเสมอกัน ด้วยทิฏฐิและศีล. ด้วยลำดับคำเพียง

เท่านี้ สุปปพุทธะ ได้ประกาศถึงไตรสรณคมน์.

บทว่า อชฺชตคฺเค ในคำว่า อุปาสก ม ภาวา ธาเรตุ อชฺชตคฺเค

ปาณุเปต สรณ คต นี้ แปลว่า ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป. บาลีว่า อชฺชทคฺเค

ดังนี้ก็มี. ท อักษรในบทว่า อชฺชทคฺเค นี้ ทำการเชื่อมบท ความว่า

อชฺช อคฺเค อชฺเช อาทึ กตฺวา แปลว่า ในที่สุดวันนี้ คือ ตั้งแต่วันนี้เป็น

ต้นไป. บทว่า ปาณุเปต ได้แก่ ประกอบด้วยลมปราณ อธิบายว่า ชีวิต

ของข้าพระองค์ยังเป็นไปอยู่ตราบใด ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงทำ

คือ จงทรงทราบข้าพระองค์ว่า ผู้เข้าถึง คือผู้ถึงสรณะ ด้วยไตรสรณคมน์

อันไม่ทั่วไปแก่ศาสดาอื่น ผู้ชื่อว่าเป็นอุบาสก คือ เป็นกัปปิยการก เพราะ

เข้าถึงพระรัตนตรัยตราบนั้น. ก็การถึงสรณคมน์ของสุปปพุทธะนี้เป็นสำเร็จ

แล้ว ด้วยการบรรลุอริยมรรคนี้แล้ว แต่เมื่อจะทำอัธยาศัย (ของตน)

แจ่มแจ้ง จึงได้กราบทูลอย่างนั้น

บทว่า ภควโต ภาสิต อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา ความว่า ครั้นมี

ในบันเทิงพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะประกาศว่าตนบัน-

เทิงพระดำรัสนั้นนั่นแล จึงอนุโมทนา ด้วยวาจา โดยนัยดังกล่าวไว้แล้ว

บทว่า อภิวาเหตฺวา ปทกฺขิณ กตฺวา ปกฺกามิ ความว่า ครั้งถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ความว่า ครั้นถวายบังคม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 510

มีจิตน้อมไปในคุณของพระศาสดา พลางเพ่งดูประคองอัญชลี น้อมนมัส-

การพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นแล จนลับสายตาจึงหลีกไป. ก็สุปปพุทธะ

ผู้หลีกไป ซึ่งมีมือเท้าและนิ้วด้วน เพราะถูกโรคเรื้อนครอบงำ มีตัว

เปื้อนคูถ มีของไม่สะอาดไหลออกรอบตัว ถูกฝีบีบคั้นไม่สะอาด มีกลิ่น

เหม็น น่าเกลียดยิ่งนัก ถึงความเป็นผู้น่าสงสารอย่างยิ่ง ถูกแม่โคลูกอ่อน

ซึ่งถูกบาปกรรมอันเข้าไปตัดรอนให้เป็นไปพร้อมเพื่ออายุน้อย ที่ตนสั่ง

สมกระทำไว้ตักเตือนอยู่ พอเมื่อบุญกรรมอันให้เป็นไปพร้อมเพื่อสวรรค์

ได้โอกาส เหมือนความมุ่งหมายที่เกิดขึ้นว่า กายนี้ไม่สมควร เพื่อเป็นที่

รองรับอริยธรรม อันประณีตยิ่งนัก ซึ่งสงบอย่างแท้จริงนี้ ดังนี้ จึง

ขวิดให้ล้มลงตายไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล แม่โค

ลูกอ่อนชนสุปปพุทธกุฏฐิ ผู้หลีกไปไม่นานให้ล้มลง ปลงเสียจากชีวิต

ดังนี้เป็นต้น.

เล่ากันมาว่า ในอดีตกาล สุปปพุทธกุฏฐินั้นเป็นบุตรเศรษฐีคนหนึ่ง

กำลังกับบุตรเศรษฐี ๓ คน ผู้เป็นสหายของตน นำหญิงแพศยางาม

เมืองคนหนึ่ง ไปสู่อุทยาน เสวยสมบัติตลอดวัน เมื่อพระอาทิพย์ลับไป

ได้กล่าวคำนี้กะสหายทั้งหลายว่า ทองคำเป็นจำนวนมากมีถึงพันมหาปณะ

และเครื่องประดับมีค่ามาก มีอยู่ในมือของหญิงคนนี้ ในที่นี้ไม่มีใครอื่น

และก็ค่ำแล้ว เอาเถอะ พวกเราจะช่วยกันฆ่าหญิงนี้เสียให้ตายแล้ว ถือเอา

ทรัพย์ทั้งหมดไป. คนทั้ง ๔ นั้น มีอัธยาศัยเป็นอันเดียวกัน จึงเข้าไป

เพื่อจะฆ่าหญิงนั้น. หญิงคนนั้นเมื่อถูกพวกเขาจะฆ่า จึงตั้งความปรารถนา

ว่า คนพวกนี้ไม่มียางอาย ไร้ความกรุณา ความสันถวะด้วยอำนาจกิเลสกับ

เราแล้ว ยังจะฆ่าเราผู้ไม่มีความผิด เพราะความโลภในทรัพย์อย่างเดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 511

คนพวกนี้ ฆ่าเราครั้งเดียวก่อน ส่วนเราขอให้ได้เกิดเป็นยักษิณี ก็สามารถ

เพื่อจะฆ่าคนพวกนี้ได้หลายครั้ง ดังนี้แล้วจึงตายไป. ได้ยินว่า ในคน

เหล่านั้น คนหนึ่งได้เป็นกุลบุตร ชื่อว่า ปุกกุสะ คนหนึ่งเป็นพาหิย-

ทารุจีริยะ คนหนึ่งเป็นเพชฌฆาตเคราแดง และคนเหนึ่งเป็นสุปปพุทธกุฏฐิ

ในหลายร้อยอัตภาพ ของคนทั้ง ๔ ดังว่ามานี้ นางเกิดเป็นแม่โคใน

กำเนิดยักษ์ ปลงชีวิต (ของคนเหล่านั้น). ก็ด้วยวิบากของกรรมนั้น คน

เหล่านั้น จึงถึงความตายในระหว่างอัตภาพนั้น ๆ. สุปปพุทธกุฏฐิ ตาย

โดยฉับพลัน ด้วยอาการอย่างนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข

อจิรปกฺกนฺต ฯ เป ฯ โวโรเปสิ ดังนี้เป็นต้น.

ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูป กราบทูลการทำกาละของสุปปพุทธกุฏฐิ

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงทูลถามถึงเบื้องหน้า (ของเขา). พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสพยากรณ์แล้ว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

อถ โข สมฺพหุลา ภิกฺขู เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณฺณ สโยชนาน ปริกฺขยา ความว่า

เพราะการละโดยสมุจเฉทเด็ดขาดซึ่งเครื่องผูกในภพสามนี้ คือ สักกาย-

ทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส. บทว่า โสตาปนฺโน ได้แก่ผู้บรรลุ

อริยมรรค กล่าวคือ กระแสครั้งแรก. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

อาวุโส สารีบุตร ท่านกล่าวว่า โสโต โสโต นี้ อาวุโส โสตะ เป็นไฉน

หนอแล คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ ชื่อว่า โสตะ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า อวินิปาตธมฺโม แปลว่า ไม่มีการตกต่ำเป็นธรรมดา. ชื่อว่าผู้มี

ความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เพราะท่านไม่มีความตกต่ำไปเป็นธรรมดา

อธิบายว่า ไม่มีการตกไปด้วยอำนาจการเกิดในอบาย ๔ มีสภาวะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 512

บทว่า นิยโต ได้แก่ แน่นอนโดยธรรมนิยาม คือ โดยการกำหนดแน่นอน.

บทว่า สมฺโพธิปรายโน ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า

เพราะการตรัสรู้ กล่าวคือมรรคสามเบื้องสูง พึงเป็นที่ไป เป็นคติ เป็น

ที่พึ่งอาศัยในเบื้องหน้า คือ อันตนจะพึงบรรลุแน่แท้. ด้วยเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงแสดงเนื้อความนี้ไว้ว่า เมื่อมีคำถามว่า คติของเขา

เป็นอย่างไร ภพหน้าของเขาเป็นอย่างไร ก็ตรัสว่า คติของสุปปพุทธะ

เจริญแล ไม่เสื่อม. แต่คติไม่สมบูรณ์ เพราะกรรมนั้น. ก็พระองค์ผู้เป็น

พระธรรมราชา ทรงมีพระประสงค์จะประกาศความนั้น อันเนื่องด้วย

ความสืบต่อแห่งคำถาม จึงได้ภาษิตความไว้เพียงเท่านี้แล. จริงอยู่ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นว่า เมื่อเรากล่าวคำเพียงเท่านี้ บรรดาผู้มีสติ

รอบคอบเหล่านี้เท่านั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้ฉลาดในอนุสนธิ จักถามถึงเหตุ

ว่า สุปปพุทธะ เป็นโรคเรื้อน เป็นคนเข็ญใจ และเป็นคนกำพร้า เมื่อ

เป็นเช่นนั้น เราจักประกาศ เหตุข้อนั้นของสุปปพุทธะ ด้วยความสืบต่อ

แห่งคำถามนั้นแล้วจบเทศนาลง. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า

เอว วุตฺเต อญฺตโร ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เหตุ ได้แก่ เหตุที่ไม่ทั่วไป. ส่วนเหตุ

ที่ทั่วไป ได้แก่ ปัจจัยแล. เหตุทั้งสองอย่างนั้น มีความแปลกกัน ดังนี้.

บทว่า เยน ได้แก่ ด้วยเหตุและด้วยปัจจัยใด. บทว่า ภูตปุพฺพ ได้แก่

เหตุที่เคยเกิดแล้ว. เพื่อจะแสดงความที่เหตุเกิดในอดีตกาล ท่านจึงกล่าว

คำว่า สุปฺปพุทฺโธ ดังนี้เป็นต้น.

ถามว่า ก็เหตุเกิดขึ้นในกาลไหน ? ข้าพเจ้าจะเฉลย. เล่ากันมาว่า

ในอดีตกาล เมื่อพระตถาคตยังไม่เสด็จอุบัติ กุลธิดาคนหนึ่ง ในบ้านแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 513

หนึ่ง รักษานารอบกรุงพาราณสี. นางเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่ง

มีจิตเลื่อมใส จึงถวายดอกปทุมดอกหนึ่ง พร้อมด้วยข้าวตอก ๕๐๐ แด่

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นแล้ว ตั้งปรารถนาได้บุตร ๕๐๐ คน. ก็ในขณะ

นั้นนั่นเอง พรานเนื้อ ๕๐๐ คน ก็ถวายเนื้อมีรสอร่อย แด่พระปัจเจก-

พุทธเจ้าแล้ว ตั้งความปรารถนาว่า ขอพวกเราพึงเป็นลูกของนาง และ

ว่าขอพวกเราพึงได้คุณวิเศษที่ท่านได้รับแล้ว. นางดำรงอยู่จนชั่วอายุแล้ว

บังเกิดในเทวโลก จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บังเกิดในกลีบปทุม ในสระ

ที่เกิดขึ้นเองแห่งหนึ่ง. ดาบสตนหนึ่งพบนางเข้าจึงเลี้ยงดู. เมื่อนางเที่ยว

ไป ดอกปทุมทั้งหลาย ก็ผุดขึ้นจากพื้นดินทุก ๆ ย่างเท้า. พรานไพรคน

หนึ่งเห็นเข้าจึงกราบทูลแด่พระเจ้าพาราณสี. พระราชาทรงรับสั่งให้นำ

นางมาแล้ว ตั้งให้เป็นอัครมเหสี. นางตั้งครรภ์แล้ว. มหาปทุมกุมาร

อยู่ในท้องของนาง. ส่วนพระกุมารที่เหลือ อาศัยมลทินครรภ์บังเกิด.

พระกุมารเหล่านั้น เจริญวัยแล้ว พากันเล่นในสระปทุมในพระราชอุทยาน

นั่งในดอกปทุมคนละดอก มีญาณแก่กล้าเริ่มตั้งความสิ้นไปและเสื่อมไป

ในสังขารทั้งหลาย แล้วบรรลุปัจเจกโพธิญาณ. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่า

นั้นได้มีคาถาพยากรณ์ว่า

ท่านจงดูใบและกลีบ ของดอกปทุมที่เกิดขึ้นใน

สระ บานเต็มที่แล้ว ก็เกลื่อนกล่นไปด้วยหมู่ภมร

โดยเป็นของไม่เที่ยง พอเห็นความไม่เที่ยงนั้นแล้ว

พึงเป็นผู้เดียวเที่ยวไปดังนอแรดเถิด.

พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า นามว่า ตครสิขี ผู้อยู่ในภายในพระปัจเจก-

พุทธเจ้า ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ผู้บรรลุปัจเจกโพธิญาณอย่างนั้น เข้านิโรธ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 514

สมาบัติตลอด ๗ วัน ที่เงื้อมนันทมูลกะ ณ คันธมาทนบรรพต ล่วงไป

๗ วัน จึงออกจากนิโรธ เหาะมาลงที่อิสิคิลิบรรพต ในเวลาเช้า ครองผ้า

แล้วถือบาตรและจีวรแล้ว เข้าไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์. ก็ในสมัยนั้น

ในกรุงราชคฤห์ มีบุตรเศรษฐี คนหนึ่ง พร้อมด้วยบริวารหมู่ใหญ่ ออก

จากพระนคร เพื่อกรีฑาในอุทยาน พบพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า

ตครสิขี คิดว่า ใครนี่ หัวโล้น ครองผ้ากาสาวะ จักเป็นคนโรคเรื้อน

เอาผ้าของคนโรคเรื้อน คลุมร่างกายไปอย่างนั้นแล ดังนี้แล้วจึงถ่มน้ำลาย

หลีกไปทางเบื้องซ้าย ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า สุปฺปพุทฺโธ กุฏฺี

อิมสฺมึเยว ราชคเห ฯ เป ฯ ปกฺกามิ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กฺวาย ตัดเป็น โก อย (คือ) เรา

กล่าวโดยการขู่. บาลีว่า โกวาย ดังนี้ก็มี. ด้วยบทว่า กุฏฺิ เขากล่าว

ถึงท่านผู้ไม่เป็นโรคเรื้อน ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่นั้นแล ว่าเป็นโรค

เรื้อน ให้ถึงอักโกสวัตถุ. บทว่า กุฏฺิจีวเรน แปลว่า ด้วยจีวรของคน

โรคเรื้อน. ท่านแสดงว่า ก็แม้พระปัจเจกพุทธเจ้านี้ก็เหมือนคนโรคเรื้อน

โดยมากที่ถือเอาผ้าอย่างใดอย่างหนึ่งมานุ่งห่ม เพื่อป้องกันเหลือบยุง

เป็นต้น และเพื่อป้องกันโรค. อีกอย่างหนึ่ง เพราะเหตุที่ท่านทรงผ้า

บังสุกุลจีวร เจาจึงดูหมิ่นว่า เป็นเหมือนร่างของคนขี้เรื้อน เพราะผ้าปะ

มีสีหลายอย่าง จึงกล่าวว่า กุฏฺิจีวเรน ดังนี้. บทว่า นิฏฺฐุหิตฺวา ได้แก่

ถ่มน้ำลาย. บทว่า อปพฺยามโต กริตฺวา ความว่า บัณฑิตทั้งหลาย เห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เช่นนั้น ไหว้แล้วกระทำประทักษิณ แต่บุรุษโรคเรื้อน

นี้เดินไปทางซ้ายพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น คือให้ทานอยู่ด้านซ้ายมือตนเดิน

ไปด้วยความดูหมิ่น เพราะความที่ตนไม่เป็นวิญญูชน. ปาฐะว่า อปวามโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 515

ดังนี้ก็มี. บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ได้แก่ กรรมชั่วที่เป็นไป ด้วยการ

ดูหมิ่นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าตครสิขีว่า ใครนี้เป็นโรคเรื้อน แล้วจึง

ถ่มน้ำลายหลีกไปทางซ้าย. บทว่า นิรเย ปจิตฺถ ได้แก่ เขาถูกไฟนรก

ไหม้. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปจิตฺวา นิรยคฺคินา ดังนี้ก็มี. บทว่า

ตสฺเสว กมฺมสฺส วิปากวเสเสน ได้แก่ เขาถือปฏิสนธิในนรกด้วย

กรรมใด กรรมนั้น ย่อมไม่ให้ผลในมนุษยโลก อนึ่ง เวทนาของเขาอัน

เป็นไปในขณะต่างกัน เป็นไปด้วยอำนาจการปฏิบัติผิดในพระปัจเจก-

พุทธเจ้า ในเวลานั้น เป็นกรรมอำนวยผลในภพต่อ ๆ ไป เมื่อวิบากกรรม

ให้ปฏิสนธิเป็นไตรเหตุ ในพวกมนุษย์เพราะบุญกรรมอันเป็นตัวอำนวย

ผลในภพอื่น ๆ นั้นแล แต่ให้ถึงความเป็นโรคเรื้อน เป็นคนเข็ญใจ

และเป็นคนน่าสงสารนั้นนั่นเอง ด้วยอำนาจความเป็นกรรมมีส่วนเสมอกัน.

จริงอยู่ การบัญญัติกรรมนั้น ปรากฏแล้วในโลกแม้เช่นนี้ เหมือนการ

บัญญัตินั่นแลว่า สิ่งที่มีรสขมเท่านั้นเป็นโอสถ. ครั้นทรงแก้ปัญหาที่ภิกษุ

นั้นทูลถามว่า เหตุอะไรหนอ พระเจ้าข้า ดังนี้ ด้วยลำดับคำเพียงเท่านี้ บัดนี้

เพื่อจะแก้ปัญหาที่ภิกษุทั้งหลายถามในกาลก่อนว่า ท่านมีคติเป็นอย่างไร

ภพเบื้องหน้าของท่านเป็นอย่างไร จึงตรัสคำมีอาทิว่า โส ตถาคตปฺปเวทิต

ธมฺมวินย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาคตปฺปเวทิต ความว่า ชื่อว่า

ตถาคตปฺปเวทิต เพราะพระตถาคตคือพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงแล้ว

ตรัสแล้ว ทรงประกาศแล้ว. บทว่า อาคมฺม ได้แก่ บรรลุ อีกอย่างหนึ่ง บท

ว่า อาคมฺม เพราะอาศัยแล้วจึงรู้. ปาฐะว่า ตถาคตปฺปเวทิเต ธมฺมวินเย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 516

ดังนี้ก็มี. บทว่า สทฺธ สมาทิยิ ความว่า เขาถือเอาโดยชอบซึ่งศรัทธา

ทั้ง ๒ อย่าง คือ ศรัทธาที่เป็นส่วนบุรพภาพ อันเป็นที่อาศัยแห่งพระ-

รัตนตรัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ตรัสรู้โดยชอบและด้วยพระองค์เอง ๑

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว ๑ พระสงฆ์สาวกของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปฏิบัติดีแล้ว ๑ และศรัทธาที่เป็นโลกุตระ อธิบายว่า

ถือเอาจนสิ้นภพโดยที่ไม่ต้องถือเอาอีก คือทำให้เกิดขึ้นในจิตสันดาน

ของตน แม้ในบทมีอาทิว่า สีล สมาทิยิ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า

สีล ได้แก่ ศีลที่สัมปยุตด้วยมรรคจิตและที่สัมปยุตด้วยผลจิต พร้อมด้วย

ีศีลอันเป็นส่วนเบื้องต้น. บทว่า สุต ได้แก่ สุตะทั้ง ๒ อย่าง คือ ความ

เป็นผู้มีปริยัติธรรมอันสดับแล้วมาก ๑ ความเป็นผู้มีปฏิเวธอันสดับแล้ว

มาก ๑ จริงอยู่ แม้ปริยัติธรรมมีประการตามที่สาวกทั้งหลายได้แล้ว ด้วย

การแทงตลอดสัจจะในเวลาสดับธรรม เธอก็ได้สดับแล้ว ทรงจำแล้ว

ได้สั่งสมแล้ว ได้เพ่งด้วยใจแล้ว และได้แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ. บทว่า

จาค ได้แก่ จาคะ กล่าวคือการปล่อยวางอภิสังขารคือกิเลส อันปฐมมรรค

(โสดาปัตติมรรค) พึงฆ่า อันเป็นเหตุให้พระอริยสาวกทั้งหลาย เป็นผู้

สละเด็ดขาดในไทยธรรม มีมือสะอาด ยินดีในการเสียสละ. บทว่า ปญฺ

ได้แก่ ปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรคจิต และปัญญาอันสัมปยุตด้วยผลจิต

พร้อมด้วยวิปัสสนาปัญญา.

บทว่า กายสฺสส เภทา ได้แก่ เพราะละขันธ์ที่มีใจครอง. บทว่า

อรมฺมรณา ได้แก่ แต่การถือเอาขันธ์อันบังเกิดเฉพาะในขณะนั้น. อีก

อย่างหนึ่ง บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่ เพราะชีวิตินทรีย์ขาดไป.

บทว่า ปรมฺมรณา ได้แก่ เบื้องหน้าแต่จุติจิต. แม้จิตบททั้ง ๓ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 517

สุคตึ สคฺค โลก ท่านกล่าวถึงเทวโลกเท่านั้น. จริงอยู่ เทวโลกนั้น ชื่อว่า

สุคติ เพราะเป็นคติดี เหตุงดงามด้วยสมบัติทั้งหลาย. ชื่อว่า สัคคะ

เพราะ เลิศด้วยดีด้วยอารมณ์ทั้งหลายมีรูปารมณ์เป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง

เรียกว่า โลก เพราะเห็นแต่ความสุขตลอดทุกกาล หรือเรียกว่า โลก

เพราะผุพัง. บทว่า อุปปนฺโน ได้แก่ เข้าถึงโดยถือปฏิสนธิ. บทว่า

สหพฺยต ได้แก่ ความเป็นสหาย. แต่อรรถแห่งคำมีดังนี้ว่า ชื่อว่า

สหัพยะ เพราะอรรถว่าไปคือเป็นไป ได้แก่อยู่ร่วมกัน คือ สหัฏฐายี

ยืนร่วมกันหรือ สหวาสี อยู่ร่วมกัน. ภาวะแห่งสหัพยะ ชื่อว่า สหัพยตา.

บทว่า อติโรจติ ได้แก่ ชื่อว่า รุ่งโรจน์ เพราะล่วง หรือว่า ไพโรจน์

เพราะครอบงำ. บทว่า วณฺเณน ได้แก่ สมบูรณ์ด้วยรูป. บทว่า ยสสา

แปลว่า ด้วยบริวาร. จริงอยู่ เขาทอดทิ้งร่างกายมีประการดังกล่าวไว้ใน

โลกนี้ แล้วได้อัตภาพทิพย์ตามที่กล่าวแล้ว พร้อมด้วยบริวารเป็นอัน

มาก โดยชั่วขณะจิตเดียวเหมือนบุคคลทิ้งภาชนะดินที่เปื้อนของไม่สะอาด

ทั้งชำรุด แล้วถือเอาภาชนะทองชมพูนุทอันบริสุทธิ์วิจิตรด้วยรัตนะหลาก

หลายหุ้มด้วยข่ายรัศมีอันประภัสสร.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ซึ่งโทษในการไม่งดเว้นบาปและอานิสงส์ในการงดเว้นบาปนี้ จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ อันประกาศซึ่งความนั้น.

อุทานนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้ บุรุษผู้มีจักษุ เมื่อความ

พยายามคือความเพียรทางกายมีอยู่ คือเป็นไปอยู่ในร่างกาย ย่อมเว้นที่

ไม่สม่ำเสมอมีเหวเป็นต้น หรือรูปที่ไม่สม่ำเสมอมีรูปช้าง รูปม้า รูปงู

รูปไก่ และรูปโคเป็นต้น เพราะมีความดุร้ายเป็นสภาวะ ฉันใด บัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 518

คือบุรุษผู้มีปัญญาในชีวโลกคือในสัตวโลกนี้ ก็ฉันนั้น เมื่อรู้ประโยชน์

เกื้อกูลแก่ตน เพราะความเป็นผู้มีปัญญานั้น พึงเว้นบาปทั้งหลายคือ

ทุจริตลามก อธิบายว่า ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ไม่พึงถึง โดยประการที่สุปป-

พุทธะนี้ ไม่เว้นบาปในพระปัจเจกพุทธเจ้านาม ตครสิขี แล้วถึงความ

วอดวายอย่าใหญ่หลวง อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า สุปปพุทธกุฏฐิ อาศัย

ธรรมเทศนาของเรา บัดนี้ ถึงความสังเวชเว้นบาปทั้งหลาย บรรลุคุณ

วิเศษอย่างยิ่งฉันใด แม้คนอื่นก็ฉันนั้น เมื่อต้องการบรรลุคุณวิเศษ

อย่างยิ่ง ก็พึงเว้นบาปเสีย.

จบอรรถกถาสุปปพุทธกุฏฐิสูตรที่ ๓

๔. กุมารกสูตร

ว่าด้วยตรัสความทุกข์แก่เด็กหนุ่ม

[๑๑๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล เด็กรุ่น

หนุ่มมากด้วยกัน จับปลาอยู่ในระหว่างพระนครสาวัตถีกับพระวิหาร-

เชตวัน ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ได้ทอด-

พระเนตรเห็นเด็กรุ่นหนุ่มมากด้วยกัน จักปลาอยู่ในหว่างพระนครสาวัตถี

กับพระวิหารเชตวัน ครั้นแล้วเสด็จเข้าไปหาเด็กรุ่นหนุ่มเหล่านั้น แล้ว

ได้ตรัสถามว่า พ่อหนูทั้งหลาย เธอทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ ความทุกข์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 519

ไม่เป็นที่รักของเธอทั้งหลายมิใช่หรือ เด็กเหล่านั้นกราบทูลว่า อย่างนั้น

พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ทั้งหลายกลัวต่อความทุกข์ ความทุกข์ไม่เป็นที่รัก

ของข้าพระองค์ทั้งหลาย.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ถ้าท่านทั้งหลายกลัวความทุกข์ ถ้าความทุกข์

ไม่เป็นที่รักของท่านทั้งหลายไซร้ ท่านทั้งหลายอย่า

ได้ทำบาปกรรมทั้งในที่แจ้งหรือในที่ลับเลย ถ้าท่าน

ทั้งหลายจักทำหรือทำอยู่ซึ่งบาปกรรมไซร้ ท่านทั้ง-

หลายแม้จะเหาะหนีไป ก็ย่อมไม่พ้นไปจากความ

ทุกข์เลย.

จบกุมารกสูตรที่ ๔

อรรถกถากุมารกสูตร

กุมารกสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กุมารกา แปลว่า คนหนุ่ม. แต่ในที่นี้คนหนุ่ม ซึ่งรู้

อรรถของสุภาษิตและทุพภาษิต ท่านประสงค์ว่า กุมารกะ. จริงอยู่ สัตว์

เหล่านี้ จำเดิมแต่วันที่เกิดมา จนถึงอายุ ๑๕ ปี ท่านเรียกว่า กุมารกะ

และว่า พาละ ต่อจากนั้น มีอายุ ๒๐ ปี ท่านเรียกว่า คนหนุ่มสาว.

บทว่า มจฺฉเก พาเธนฺติ ความว่า เด็กหนุ่มเหล่านั้น ในฤดูแล้ง เมื่อ

น้ำในสระแห่งหนึ่งใกล้หนทางแห้งแล้ว จึงพากันวิดน้ำที่ขังอยู่ในที่ลุ่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 520

จับและฆ่าปลาตัวเล็ก ๆ ด้วยหมายใจว่า เราจักปิ้งกิน. บทว่า เตนุป-

สงฺกมิ ความว่า พระองค์เสด็จแวะจากทางเข้าไปยังสระน้ำหน่อยหนึ่ง

แล้วประทับยืนอยู่ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุปสงฺกมิ. ก็เพราะ

เหตุไร จึงเสด็จเข้าไปหา. เพราะเพื่อจะให้เด็นเหล่านั้นเกิดควาคุ้นเคย

กับพระองค์ จึงเสด็จเข้าไปหา. ศัพท์ว่า โว ในคำนี้ว่า ภายถ โว เป็น

เพียงนิบาต. บทว่า ทุกฺขสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถปัญจมีภัตติ

อธิบายว่า ทุกฺขสฺมา จากทุกข์. ด้วยบทว่า อปฺปิย โว ทุกฺข พระองค์

ตรัสถามว่า ทุกข์ที่เกิดในร่างกายของพวกเธอ ไม่น่ารักไม่น่าปรารถนา

มิใช่หรือ ?

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวงซึ่งอรรถนี้ว่า สัตว์เหล่านี้ ไม่ปรารถนาทุกข์เพื่อตนเลย แต่ปฏิบัติ

เหตุแห่งทุกข์อยู่ โดยใจความ เป็นอันชื่อว่า ปรารถนาทุกข์อยู่นั่นเอง.

บทว่า อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้ อันเกียดกั้นการกระทำ

ชั่วและประกาศโทษของการทำชั่ว.

อุทานนั้นมีความหมายดังต่อไปนี้ ถ้าว่า ทุกข์อันจะให้เป็นไปใน

อบายทั้งสิ้น และอันต่างด้วยความเป็นผู้มีอายุน้อยและความเป็นผู้มีส่วน

ชั่วแห่งมนุษย์เป็นต้นในสุคติ เป็นธรรมชาติ ไม่น่ารัก ไม่น่าปรารถนา

สำหรับพวกท่าน ถ้าพวกท่านกลัวทุกข์นั้นไซร้ พวกท่านอย่าได้กระทำ

คืออย่าได้ก่อกรรมชั่ว คือกรรมลามกแม้มีประมาณน้อย ชนิดปาณาติบาต

เป็นต้นทางกายหรือทางวาจาทั้งในที่แจ้ง คือไม่ปิดบัง เพราะปรากฏแก่

คนอื่น (และ) ชนิดอภิชฌาเป็นต้น เพราะในมโนทวาร ทั้งในที่ลับคือ

ปกปิดโดยความไม่ปรากฏแก่คนอื่น ถ้าว่า ท่านทำกรรมชั่วนั้นบัดนี้ หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 521

จักทำในอนาคตไซร้ ทุกข์ อันเป็นผลของกรรมนั้น ในอบาย ๔ มีนรก

เป็นต้น และในมนุษย์ทั้งหลาย จักไม่ติดตามพวกเราผู้หนีไปข้างโน้น

ข้างนี้ ด้วยความประสงค์ดังว่ามานี้ แม้พวกท่านจะเหาะหนี คือจงใจ

หลีกหนีไป ก็ไม่หลุด คือไม่พ้นจากทุกข์นั้นไปได้ ท่านแสดงไว้ว่าจะให้

ผล ในเมื่อความพรั่งพร้อมแห่งปัจจัยอื่นมีคติและกาลเป็นต้นนั่นแล.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปลายเน ดังนี้ก็มี ความว่า เมื่อการไป คือ

การหลีกไปในที่ใดที่หนึ่ง มีอยู่ โดยนัยดังกล่าวแล้ว. มีความนี้ พึงแสดง

ด้วยคาถานี้ว่า ผู้ทำกรรมชั่ว จะหนีไปในอากาศ หรือท่ามกลางสมุทร

ฯลฯ ย่อมไม่พ้นจากกรรมชั่วนั้นไปได้.

จบอรรถกถากุมารกสูตรที่ ๔

๕. อุโปสถสูตร

ว่าด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์ ๘

[๑๑๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปุพพาราม ปราสาทของ

นางวิสาขามิคารมารดา ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์ ประทันนั่งอยู่ในวันอุโบสถ ลำดับนั้นแล เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว

ปฐมยามสิ้นไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกขากอาสนะกระทำจีวรเฉวียงบ่า

ข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว ปฐมยาม

สิ้นไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 522

ปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนี้แล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๒ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว

มัชฌิมยามสิ้นไปแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะ กระทำจีวรเฉวียง

บ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว

มัชฌิมยามสิ้นไปแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด แม้ครั้งที่ ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ทรงนิ่งอยู่ แม้ครั้งที่ ๓ เมื่อราตรีล่วงไปแล้ว ปัจฉิมยามสิ้นไปแล้ว

อรุณขึ้นไปแล้ว จวนสว่างแล้ว ท่านพระอานนท์ลุกจากอาสนะกระทำ

จีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลีไปทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ราตรีล่วงไปแล้ว

ปัจฉิมยามสิ้นไปแล้ว อรุณขึ้นไปแล้ว จวนสว่างแล้ว ภิกษุสงฆ์นั่งอยู่

นานแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ บริษัทยังไม่บริสุทธิ์ ลำดับนั้น

ท่านพระมหาโมคคัลลานะดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อน

อานนท์ บริษัทยังไม่บริสุทธิ์ ดังนี้ ทรงหมายถึงใครหนอแล ลำดับนั้น

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกำหนดใจของภิกษุสงฆ์ ทุกหมู่เหล่าด้วยใจของ

ตนแล้วได้พิจารณาเห็นบุคคลนั้นผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก มีความประพฤติ

ไม่สะอาด น่ารังเกียจ มีการงานปกปิด ไม่เป็นสมณะ ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ

ไม่เป็นพรหมจารี ปฏิญาณว่าเป็นพรหมจารี ผู้เน่าใน ผู้อันราคะรั่วรด

แล้ว ผู้เป็นดุจหยากเยื่อ นั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้ว ท่านพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 523

มหาโมคคัลลานะลุกจากอาสนะเข้าไปหาบุคคลนั้น แล้วได้กล่าวกะบุคคล

นั้นว่า จงลุกขึ้นเถิดผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นท่านแล้ว ท่าน

ไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล บุคคลนั้นได้

นิ่งเสีย แม้ครั้งที่ ๒... แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็ได้แล้ว

ท่านไม่มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ร่วมกับภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งที่ ๓ บุคคลนั้น

ก็ได้นิ่งเสีย ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะจับบุคคลนั้นที่แขน

ฉุดให้ออกให้จากภายนอกซุ้มประตู ใส่กลอนแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ให้บุคคลนั้นออกไปแล้ว บริษัทบริสุทธิ์แล้ว

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ดูก่อนโมคคัลลนะ

ไม่เคยมีมาแล้ว โมฆบุรุษนี้อยู่จนกระทั่งต้องจับแขนฉุดออกไป ลำดับ

นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้ ตั้งแต่นี้ไป เราจักไม่กระทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ ตั้งแต่นี้ไป

เธอทั้งหลายนั่นแลพึงกระทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การที่ตถาคตจะพึงกระทำอุโบสถ แสดงปาติโมกข์ ในเมื่อบริษัทไม่บริสุทธิ์

นั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส.

[๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทร มีธรรมอันน่าอัศจรรย์

ไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้ ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ พากันยินดีอยู่ในมหา-

สมุทร ๘ ประการเป็นไฉน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 524

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปตามลำดับ ไม่โกรธ

ชันเหมือนเหว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่มหาสมุทรลาดลุ่มลึกลงไปตาม

ลำดับ ไม่โกรธชันเหมือนเหว นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา

ประการที่ ๑ มีอยู่ในมหาสมุทร ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ พากันยินดีอยู่ใน

มหาสมุทร.

อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่เสมอ ไม่ล้นฝั่ง นี้ก็เป็น

ธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๒...

อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรย่อมไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพ เพราะ

คลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหาฝั่งให้ขึ้นบก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่

มหาสมุทรไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพ เพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพเข้าหา

ฝั่งให้ขึ้นบก นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๓...

อีกประการหนึ่ง แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี

สรภู มหี แม่น้ำเหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตร

เดิมหมด ถึงการนับว่ามหาสมุทรนั่นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่

แม่น้ำสายใหญ่ ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำเหล่า

นั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมหมด ถึงการนับว่า

มหาสมุทรนั่นเอง นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการ

ที่ ๔. . .

อีกประการหนึ่ง แม่น้ำทุกสายในโลกย่อมไหลไปรวมลงในมหา-

สมุทร และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่อง

หรือเต็มเพราะน้ำนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่แม่น้ำทุกสายในโลก

ไหลไปรวมลงในมหาสมุทร และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร แต่มหาสมุทร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 525

ก็มิได้ปรากฏว่าจะพร่องหรือเต็มเพราะน้ำนั้น ๆ นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศ-

จรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๕. . .

อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็ม ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย แม้ข้อที่มหาสมุทรทั้งหลายมีรสเดียว คือ รสเค็ม นี้ก็เป็นธรรม

อันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๖. . .

อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหา-

สมุทรนั้นมีรัตนะเหล่านั้น คือ แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์

ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง ทับทิม แก้วมรกต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

แม้ข้อที่มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด. . . นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศ-

จรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๗. . .

อีกประการหนึ่ง มหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ

สิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ ในมหาสมุทรนั้น คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิง-

คละ พวกอสูร นาค คนธรรพ์ แม้ที่ร่างกายใหญ่ประมาณร้อยโยชน์

สองร้อยโยชน์ สามร้อยโยชน์ สี่ร้อยโยชน์ ห้าร้อยโยชน์ ก็มีอยู่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่มหาสมุทรเป็นที่พำนักของสิ่งที่มีชีวิตใหญ่. . . นี้ก็

เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๘ ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ

พากันยินดีอยู่ในมหาสมุทร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในมหาสมุทรมีธรรม

อันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ๘ ประการนี้แล ที่พวกอสูรเห็นแล้ว ๆ พา

กันยินดีในมหาสมุทร.

[๑๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ ก็มีธรรมอันน่า

อัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ๘ ประการ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ พากันยินดี

อยู่ในธรรมวินัย ฉันนั้นเหมือนกัน ๘ ประการเป็นไฉน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 526

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีการศึกษาไปตามลำดับ

มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตามลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุ

อรหัตผลโดยตรง เปรียบเหมือนมหาสมุทรลาดลุ่มลึกไปตามลำดับ ไม่

โกรธชันเหมือนเหวฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ในธรรมวินัยนี้

มีการศึกษาไปตามลำดับ มีการกระทำไปตามลำดับ มีการปฏิบัติไปตาม

ลำดับ มิใช่ว่าจะมีการบรรลุอรหัตผลโดยตรง นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์

ไม่เคยมีมา ประการที่ ๑ ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ พา

กันยินดีอยู่ในธรรมวินัยนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา ไม่ล่วงสิกขาบทที่เรา

บัญญัติแล้วแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต เปรียบเหมือนมหาสมุทรเต็มเปี่ยมอยู่

เสมอ ไม่ล้นฝั่ง ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่สาวกทั้งหลายของเรา

ไม่ล่วงสิกขาบทที่เราบัญญัติแล้ว นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา

ประการที่ ๒. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติ

ไม่สะอาด น่ารังเกียจ ปกปิดกรรมชั่ว ไม่ใช่สมณะ ปฏิญาณว่าเป็นสมณะ

ไม่ใช่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เสียใน ชุ่ม

ด้วยราคะ เป็นดุจหยากเยื่อ สงฆ์ไม่ยอมอยู่ร่วมกับบุคคลนั้น ประชุมกัน

ยกวัตรเธอเสียทันที แม้เขาจะนั่งอยู่ในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ แต่เขาก็ชื่อว่า

ห่างไกลจากสงฆ์ และสงฆ์ก็ห่างไกลจากเขา เปรียบเหมือนมหาสมุทร

ไม่เกลื่อนกล่นด้วยซากศพ เพราะคลื่นย่อมซัดเอาซากศพในมหาสมุทร

เข้าฝั่งให้ขึ้นบกฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่บุคคลผู้ทุศีล มีบาป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 527

ธรรม. . .และสงฆ์ที่ห่างไกลจากเขา นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคย

มีมา ประการที่ ๓. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วรรณะ ๔ จำพวก คือ กษัตริย์ พราหมณ์

แพศย์ ศูทร ออกบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว

ย่อมละชื่อและโคตรเดิม ถึงการนับว่าพระสมณศากยบุตรทั้งนั้น เปรียบ

เหมือนแม่น้ำใหญ่ ๆ คือ แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี แม่น้ำ

เหล่านั้นไหลไปถึงมหาสมุทรแล้ว ย่อมละชื่อและโคตรเดิมหมด ถึงการ

นับว่ามหาสมุทรนั่นเองฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่วรรณะ ๔

จำพวก คือ กษัตริย์ พราหมณ์. . . ถึงการนับว่าพระสมณศากยบุตรทั้งนั้น

นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๔. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ภิกษุเป็นอันมากจะปรินิพพาน ด้วยอนุ-

ปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วยภิกษุ

นั้น เปรียบเหมือนแม่น้ำทุกสายในโลก ย่อมไหลไปรวมลงในมหาสมุทร

และสายฝนก็ตกลงสู่มหาสมุทร มหาสมุทรก็ไม่ปรากฏว่าพร่องหรือเต็ม

ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ภิกษุทั้งหลายจะปรินิพพานด้วย

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุก็มิได้ปรากฏว่าพร่องหรือเต็มด้วย

ภิกษุนั้น นี้เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๕. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือวิมุตติรส เปรียบ

เหมือนมหาสมุทรมีรสเดียว คือ รสเค็มฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้

ข้อที่ธรรมวินัยนี้มีรสเดียว คือ วิมุตติรส นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์

ไม่เคยมีมา ประการที่ ๖. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้มีรัตนะมากมายหลายชนิด ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 528

ธรรมวินัยนั้นรัตนะเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔

อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เปรียบเหมือน

มหาสมุทรมีรัตนะมากมายหลายชนิด ในมหาสมุทรนั้นมีรัตนะเหล่านี้ คือ

แก้วมุกดา แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ สังข์ ศิลา แก้วประพาฬ เงิน ทอง

ทับทิม แก้วมรกต ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่ธรรมวินัยนี้

มีรัตนะมากมายหลายชนิด. . . อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ก็เป็นธรรมอันน่า

อัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๗. . .

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยสิ่งมีชีวิตใหญ่-

ในธรรมวินัยนั้น มีสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ เหล่านี้ คือ พระโสดาบัน ท่านผู้

ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล พระสกทาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อ

ทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล พระอนาคามี ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง

อนาคามิผล พระอรหันต์ ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความเป็นพระอรหันต์ เปรียบ

เหมือนมหาสมุทรเป็นที่พำนักอาศัยของสิ่งมีชีวิตใหญ่ ๆ ในมหาสมุทรนั้น

มีสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ เหล่านี้ คือ ปลาติมิ ปลาติมิงคละ ปลาติมิติมิงคละ

อสูร นาค คนธรรพ์ แม้มีร่างกายใหญ่ประมาณร้อยโยชน์ สองร้อยโยชน์

สามร้อยโยชน์ สี่ร้อยโยชน์ ห้าร้อยโยชน์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ข้อที่

ธรรมวินัยนี้เป็นที่พำนักอาศัยสิ่งที่มีชีวิตใหญ่ ๆ . . .ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อความ

เป็นพระอรหันต์ นี้ก็เป็นธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา ประการที่ ๘

ในธรรมวินัยนี้ ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ พากันยินดีอยู่ในธรรมวินัย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ มีธรรมอันน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมา

๘. ประการนี้แล ที่ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ๆ พากันยินดีอยู่ในธรรม

วินัยนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 529

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง ทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ฝน คือ กิเลสย่อมรั่วรดสิ่งที่ปกปิด ย่อมไม่รั่วรด

สิ่งที่เปิด เพราะฉะนั้น พึงเปิดสิ่งที่ปกปิดไว้เสีย

ฝนคือกิเลส ย่อมไม่รั่วรดสิ่งที่เปิดนั้นอย่างนี้.

จบอุโปสถสูตรที่ ๕

อรรถกถาอุโปสถสูตร

อุโปสถสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตทหุ ได้แก่ ในวันนั้น คือในกลางวันนั้น. ในคำว่า

อุโปสเถ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. วัน ชื่อว่าอุโบสถ เพราะเป็นที่เข้าจำของ

คนทั้งหลาย. บทว่า อุปวสนฺติ ความว่า เป็นผู้เข้าจำอยู่ด้วยศีล หรือ

ด้วยการอดอาหาร. จริงอยู่ ศัพท์ว่า อุโบสถ นี้ มาในศีล ในประโยค

มีอาทิว่า เราเข้าจำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ ๘. มาในวินัยกรรม

มีปาติโมกข์อุเทศเป็นต้น ในประโยคมีอาทิว่า อุโบสถหรือปวารณา.

มาในอุปวาส ในประโยคมีอาทิว่า อุโบสถของนายโคปาล อุโบสถของ

นิครนถ์. มาในบัญญัติ ในประโยคมีอาทิว่า พญานาค ชื่อว่าอุโบสถ.

มาในวัน ในประโยคมีอาทิว่า วันนี้ เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ. แม้ใน

ที่นี้ พึงเห็นว่ามาในวันนั้นเอง. เพราะฉะนั้น บทว่า ตทหุโปสเถ

ความว่า ในวันอันเป็นวันอุโบสถนั้น. บทว่า นิสินฺโน โหติ ความว่า

พระองค์แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ประทับนั่งเพื่อทรงแสดงโอวาท-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 530

ปาติโมกข์. ก็แล ครั้นประทับนั่งแล้ว ทรงตรวจดูจิตของภิกษุเหล่านั้น

ทรงเห็นคนทุศีลผู้หนึ่ง ทรงพระดำริว่า ถ้าเรา จักแสดงปาติโมกข์ ใน

เมื่อบุคคลนี้นั่งอยู่ในที่นี้นั่นแหละ ศีรษะของผู้นั้นจักแตก ๗ เสี่ยง ดังนี้

แล้ว จึงทรงดุษณีภาพเพื่ออนุเคราะห์ผู้นั้นนั่นแล. ก็ในที่นี้ บทว่า

อุทฺธสฺต อรุณ ความว่า ครั้นถึงอรุณขึ้น พระเถรวิงวอนพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงพระปาติโมกข์ด้วยคำว่า ของพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรง

แสดงปาติโมกข์แก่ภิกษุทั้งหลายเถิด พระเจ้าข้า. เพราะในเวลานั้น

ยังไม่ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรทำ

อุโบสถในวันมิใช่อุโบสถ. บทว่า อปริสุทฺธา อานนฺท ปริสา ความว่า

เพราะพระองค์ถูกพระเถระวิงวอน ให้ทรงแสดงพระปาติโมกข์ถึง ๓ ครั้ง

เมื่อจะตรัสบอกเหตุการณ์ที่ไม่ทรงแสดง ไม่ตรัสว่า บุคคลโน้นไม่บริสุทธิ์

แต่ตรัสว่า อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์. ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงให้ ๓ ยามแห่งราตรีล่วงไปอย่างนั้น ? เพราะจำเดิมแต่นั้น พระองค์

มีพระประสงค์จะไม่แสดงโอวาทปาติโมกข์ เพื่อกระทำวัตถุแห่งการไม่

ทรงแสดงนั้นให้ปรากฏ.

บทว่า อทฺทส ได้แก่ ได้เห็นอย่างไร. พระเถระกำหนดรู้จิตของ

ภิกษุทั้งหลายในบริษัทนั้น ด้วยเจโตปริยญาณของตน จึงเห็นจิตคือความ

เป็นผู้ทุศีลของโมฆบุรุษนั้น. ก็เพราะเหตุที่เมื่อเห็นจิตแล้ว ก็เป็นอันชื่อว่า

เห็นบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยจิตนั้น ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ท่าน

มหาโมคคัลลานะได้เห็นแล้วแล ซึ่งบุคคลผู้ทุศีลนั้น. เหมือนอย่างท่าน

ผู้ได้เจโตปริยญาณ ย่อมรู้จิตของบุคคลเหล่าอื่นที่เป็นไปใน ๗ วัน ใน

อนาคตฉันใด แม้ในอดีตก็ฉันนั้นเหมือนกัน. บทว่า ทุสฺสีล แปลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 531

ผู้ไม่มีศีล อธิบายว่า ผู้เว้นจากศีล. บทว่า ปาปธมฺม ได้แก่ ผู้มีธรรม

อันลามกเป็นสภาวะ เพราะเป็นผู้มีอัธยาศัยเลว เหตุเป็นผู้ทุศีลนั่นเอง.

บทว่า อสุจึ ได้แก่ ชื่อว่า ผู้ไม่สะอาด เพราะประกอบด้วยกายกรรม

เป็นต้นอันไม่บริสุทธิ์. บทว่า สงฺกสฺสรสมาจาร ความว่า ชื่อว่า ผู้มี

สมาจารอันพึงระลึกโดยความรังเกียจ เพราะคนอื่นเห็นกรรมอันไม่สมควร

บางอย่างแล้วรังเกียจอย่างนี้ว่า นี้ชะรอยว่าจักเป็นกรรมอันผู้นี้กระทำ

แล้ว. อีกอย่างหนึ่ง เพราะได้เห็นภิกษุทั้งหลายปรึกษากันด้วยกรณียกิจ

บางอย่าง ผู้มีสมาจารอันพึงระลึกด้วยความรังเกียจของตนเองว่า ภิกษุ

เหล่านี้ รู้กรรมที่เราทำ จึงปรึกษากันกระมังหนอ.

ชื่อว่า ผู้มีการงานซ่อนเร้น เพราะเธอมีการงานปิดบังไว้ โดย

กระทำกรรมที่พึงปกปิด เหตุเป็นกรรมที่พึงละอาย. ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่เป็น

สมณะ เพราะไม่ใช่สมณะ เหตุทรงไว้ซึ่งเพศแห่งสมณะอันน่าเกลียด.

ชื่อว่า ผู้ปฏิญญาว่าเป็นสมณะ ในการนับว่า สมณะมีจำนวนเท่าไร ใน

การจับฉลากเป็นต้น และในการปฏิญญาผิด ๆ ว่า แม้เราก็เป็นสมณะ.

ชื่อว่า ผู้ไม่ใช่พรหมจารี เพราะเป็นผู้มีความประพฤติไม่ประเสริฐ. ชื่อว่า

ผู้ปฏิญญาว่าเป็นพรหมจารี เพราะผู้ไม่เป็นพรหมจารี เห็นเพื่อน

พรหมจารีเหล่าอื่นผู้นุ่งห่มเรียบร้อย อุ้มบาตรเรียบร้อย กำลังเที่ยว

บิณฑบาตในคามและนิคมเป็นต้นเลี้ยงชีพ แม้ตนเองก็ปฏิบัติโดยอาการ

เช่นนั้น และปรากฏในวันอุโบสถเป็นต้น เป็นเหมือนให้ปฏิญญาว่า

แม้เราก็เป็นพรหมจารี. ชื่อว่า ผู้เน่าใน เพราะกรรมเสียคือศีลวิบัติเข้า

อยู่ในภายใน. ชื่อว่า ผู้อันราคะรั่วรด เพราะชุ่มด้วยกิเลสเป็นเครื่องไหล

ออกมามีราคะเป็นต้นทางทวาร ๖. ชื่อว่า ผู้เป็นดุจหยากเยื่อ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 532

เกิดมีหยากเยื่อคือราคะเป็นต้น และเพราะถูกผู้มีศีลทั้งหลายทอดทิ้ง. บทว่า

มชฺฌิเม ภิกฺขุสงฺฆสฺส นิสินฺน ความว่า ผู้นั่งในภายในภิกษุสงฆ์ เหมือน

นับเนื่องในสงฆ์ บทว่า ทิฏฺโสิ ความว่า เป็นผู้อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเห็นแล้วว่า ผู้นี้ ไม่ใช่เป็นภิกษุตามปกติ. ก็ในข้อนี้ พึงเห็นการ

ประกอบบทอย่างนี้ว่า เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นเธอ ฉะนั้น

เธอ คือท่านไม่มีธรรมเครื่องอยู่ร่วมด้วยกรรมอันเดียวกันกับภิกษุทั้งหลาย

ก็เพราะเหตุที่เธอไม่มีธรรมเครื่องอยู่ร่วมนั้น ฉะนั้น เธอจงลุกขึ้นเถิด

อาวุโส. บทว่า ตติยมฺปิ โส ปุคฺคโล ตุณฺหี อโหสิ ความว่า บุคคลนั้น

เป็นผู้นิ่งเสียด้วยความประสงค์ว่า พระเถระแม้พูดบ่อย ๆ ก็จะเบื่อหน่าย

งดเว้นไปเอง หรือว่า บัดนี้ เราจักรู้การปฏิบัติของภิกษุเหล่านี้. บทว่า

พาหาย คเหตฺวา ความว่า บุคคลผู้ทุศีลนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าและ

เราเห็นตามความเป็นจริงแล้ว และเราก็กล่าวว่า ท่านจงลุกขึ้นถึงครั้งที่ ๓

ก็ไม่ลุกขึ้น จึงจับแขนบุคคลผู้ทุศีลนั้น ด้วยคิดว่า บัดนี้ เป็นเวลาที่ฉุด

เธอออกไป อันตรายอุโบสถอย่าได้มีแก่สงฆ์เลย. ครั้นจับอย่างนั้นแล้ว.

บทว่า พหิ ทฺวารโกฏฺกา นิกฺขาเมตฺวา ความว่า จึงให้ออกไปภายนอก

ซุ้มประตู คือจากประตูศาลา. ก็บทว่า พหิ เป็นบทแสดงที่ที่ฉุดให้

ออกไป. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พหิ ทฺวารโกฏฺกา ความว่า ให้ออกไป

จากภายนอกซุ้มประตู ไม่ใช่ให้ออกไปจากภายในซุ้มประตู อธิบายว่า

กระทำให้อยู่ภายนอกวิหาร แม้โดยประการทั้งสอง ด้วยประการฉะนี้

บทว่า สุจิฆฏิก ทตฺวา ความว่า ใส่กลอนและลิ่มสลักไว้ข้างบน อธิบาย

ว่า กั้นไว้ด้วยดี. ด้วยบทว่า ยาว พาหาคหณาปิ นาม นี้ ท่านแสดงว่า

ก็เพราะได้ฟังพระดำรัสว่า อานนท์ บริษัทไม่บริสุทธิ์ ดังนี้ ก็เมื่อเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 533

อย่างนั้น เธอพึงหลีกไปเสีย ครั้นไม่หลีกไปอย่างนั้น โมฆบุรุษนั้น จัก

คอยอยู่จนถูกจับแขนฉุดออกไปดังนั้น ข้อนี้จึงน่าอัศจรรย์. พึงทราบว่า

แม้ข้อนี้ ก็เป็นอัศจรรย์ที่น่าติเตียนทีเดียว.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า บัดนี้ เสนียดเกิด

ขึ้นในภิกษุสงฆ์แล้ว พวกบุคคลไม่บริสุทธิ์ มายังอุโบสถ และพระตถาคต

ทั้งหลายย่อมไม่แสดงอุโบสถแก่บริษัทผู้ไม่บริสุทธิ์ และเมื่อไม่แสดง

อุโบสถ อุโบสถของภิกษุสงฆ์ก็ขาด ถ้ากระไร ตั้งแต่นี้ไป เราพึงอนุญาต

ปาติโมกขุทเทศ (สวดปาติโมกข์) เฉพาะแก่ภิกษุทั้งหลาย ก็แล ครั้น

ทรงพระดำริอย่างนี้แล้ว จึงทรงอนุญาตปาติโมกขุทเทศ เฉพาะแก่ภิกษุ

ทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข ภควา ฯ เป ฯ ปาฏิโมกฺข

อุทฺทิเสยฺยาถ ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า นทานาห นี้ เชื่อมด้วย น อักษร

เฉพาะบทว่า บัดนี้ เราจักไม่ทำอุโบสถ จักไม่สวดพระปาติโมกข์.

ก็พระปาติโมกข์มี ๒ อย่าง คือ อาณาปาติโมกข์ ๑ โอวาทปาติ-

โมกข์ ๑. ใน ๒ อย่างนี้ คำมีอาทิว่า สุณาตุ เม ภนฺเต ชื่อว่า อาณาปาติ-

โมกข์. อาณาปาติโมกข์เท่านั้น พระสาวกทั้งหลายเท่านั้น ย่อมสวด

ซึ่งสวดกันทุกกึ่งเดือน พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาสวดไม่. ก็สามคาถา

เหล่านี้ คือ ขนฺติ ปรม ฯ เป ฯ สพฺพปาปสฺส อกรณ ฯ เป ฯ อนูปวาโท

อนูปฆาโต ฯ เป ฯ เอต พุทฺธาน สาสน ดังนี้ ชื่อว่า โอวาทปาติโมกข์.

โอวาทปาติโมกข์นั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น ย่อมแสดง สาวกหา

แสดงไม่. โดยล่วงไป ๖ พรรษาจึงทรงแสดง. จริงอยู่ ในเวลาที่พระ-

พุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืนนาน ยังทรงอยู่ ก็ปาติโมกขุทเทศนี้แหละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 534

สำหรับพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุน้อย ในปฐมโพธิกาลเท่านั้น ก็ปาติ-

โมกขุทเทศนี้ ต่อแต่นั้นก็เป็นอย่างอื่น. ก็ปาติโมกข์นั่นแล เฉพาะ

ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น ย่อมสวด พระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาสวดไม่ เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ของเราทั้งหลาย จึงทรงแสดงโอวาทปาติ-

โมกข์ เพียง ๒๐ ปี พอเห็นอันตรายนี้แล้ว หลังจากนั้น ก็ไม่ทรงแสดง.

บทว่า อฏฺาน แปลว่า เหตุอันไม่สมควร. บทว่า อนวกาโส

เป็นไวพจน์ของเหตุอันไม่สมควรนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ เหตุท่านเรียกว่า

ฐานะ เพราะเป็นที่ตั้งอยู่แห่งผล เหตุมีความเป็นไปเนื่องกับผลนั้น ฉันใด

เหตุอันไม่สมควรนั้น ท่านจึงเรียกว่า อนวกาโส ดังนี้ก็มี ฉันนั้นแล.

บทว่า ย เป็นกิริยาปรามาส. บทว่า ย นั้น พึงประกอบโดยนัยที่กล่าว

แล้ว ในหนหลัง.

ถามว่า ในบทว่า อฏฺิเม ภิกฺขเว มหาสมุทิเท นี้ มีอนุสนธิ

อย่างไร ? ตอบว่า การไม่แสดงพระปาติโมกข์แก่บริษัทผู้ไม่บริสุทธิ์ ซึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วนั้นจัดเป็นอัจฉริยอัพภูตธรรม ในพระ-

ธรรมวินัยนี้ เพราะฉะนั้น พระศาสดา มีพระประสงค์จะจำแนกแสดง

การไม่สวดพระปาติโมกข์นั้น พร้อมกับอัจฉริยอัพภูตธรรม ๗ ประการ

นอกนี้ อันดับแรก เมื่อจะทรงแสดงอัจฉริยอัพภูตธรรม ๘ ประการ ใน

มหาสมุทร โดยความเป็นอุปมาแก่ภิกษุเหล่านั้นก่อน จึงตรัสพระดำรัส

มีอาทิว่า อฏฺิเม ภิกฺขเว มหาสมุทฺเท ดังนี้.

บทว่า อสุรา ความว่า ชื่อว่า อสุระ เพราะไม่เล่น คือ ไม่รื่นเริง

ได้แก่ ไม่ไพโรจน์ เหมือนเทพ (ปกติ) อีกอย่างหนึ่ง เทพ ชื่อว่า อสูร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 535

เพราะเป็นข้าศึกต่อเทพผู้ชื่อว่าสุระเหล่านั้น ได้แก่ เทพผู้ให้การประหาร

ต่อเทพเวปจิตติอสูรเป็นต้น. ภพของอสูรเหล่านั้น มีในส่วนภายใต้

ภูเขาสิเนรุ. เทพเหล่านั้น กำลังเข้าออกในภพแห่งอสูรเหล่านั้น ๆ

เนรมิตมณฑปเป็นต้น ณ เชิงเขาสิเนรุ เล่นอภิรมย์อยู่. เพราะเห็นคุณ

เหล่านี้ ด้วยความยินดียิ่ง ของเทพเหล่านั้น ในภพนั้น เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า เทพอสูรเหล่าใด พอได้เห็น ได้เห็นเข้า จึงอภิรมย์

ในมหาสมุทร ดังนี้ เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิรมนฺติ แปลว่า ย่อมประสบความ

ยินดี อธิบายว่า ไม่เบื่อหน่ายอยู่. บททั้งหมดมีอาทิว่า อนุปุพฺพนินฺโน

เป็นไวพจน์แห่งความเป็นสถานที่ลาดลุ่ม ตามลำดับนั้นแล.

บทว่า นายตเกเนว ปปาโต ความว่า ไม่ใช่เหวแต่ก่อนมาทีเดียว

เหมือนบึงใหญ่ที่โกรกชัน. จริงอยู่ เหวนั้น จำเดิมแต่ส่วนแห่งฝั่งไป

เป็นส่วนที่ลุ่มลึก โดยองคุลีหนึ่ง สององคุลี คืบหนึ่ง ศอกหนึ่ง ไม้เส้า

หนึ่ง ชั่วโคอุสภหนึ่ง กึ่งคาวุต คาวุตหนึ่ง และโยชน์หนึ่งเป็นต้น ลึกไป

ลึกไป จนถึงขนาดลึก ๘,๔๐๐ โยชน์ ณ เชิงสิเนรุบรรพต ท่านแสดงไว้

ดังนี้. บทว่า ิตธมฺโม ได้แก่ มีความตั้งอยู่เป็นสภาวะ คือ มีความตั้ง

ลงเป็นสภาวะ. บทว่า มเตน กุณเปน ได้แก่ ด้วยซากช้างและม้า

เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า วาเหติ แปลว่า ลอยไป. บทว่า

ถล อุสฺสาเทติ ความว่า ซัดขึ้นบนบก ด้วยคลื่นกระทบคราวเดียวเท่านั้น

เหมือนเอามือจับโยนไปฉะนั้น. บทว่า คงฺคา ยมุนา ความว่า แม่น้ำ

ที่ไหลออกจากทางด้านทิศใต้แห่งสระอโนดาต จัดเป็นแม่น้ำ ๕ สาย ถึง

การนับโดย ๕ สาย มีแม่น้ำคงคาเป็นต้น ในที่ที่ไหลไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 536

ในข้อนั้น มีกถาแสดงการเกิดขึ้นตั้งแต่ต้นแห่งแม่น้ำ ๕ สาย เหล่า

นี้ ดังต่อไปนี้ จริงอยู่ ชมพูทวีปนี้ มีปริมาณหมื่นโยชน์. ในชมพูทวีปนั้น

ประเทศมีประมาณ ๔,๐๐๐ โยชน์ ถูกน้ำเซาะ ถึงการนับว่า สมุทร.

พวกคนอาศัยอยู่ในที่ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์. ภูเขาหิมพานต์ตั้งจรดในที่

ประมาณ ๓,๐๐๐ โยชน์ สูง ๕๐๐ โยชน์ ประดับไปด้วยยอด ๘๔,๐๐๐

ยอด วิจิตรไปด้วยแม่น้ำใหญ่ ๕ สาย อันไหลมาโดยรอบ อันเป็นที่ที่ว่า

โดยส่วนยาวกว้างและลึก มีประมาณ ๕๐ โยชน์ วัดโดยกลมประมาณ

๑๕๐ โยชน์ อันเป็นที่ตั้งอยู่แห่งสระใหญ่ ๗ สระ คือ สระอโนดาต สระ

กัณณมุณฑะ สระรถการะ สระฉัททันตะ สระกุณาละ สระมันทากินิ

และสระสีหัปปปาตะ. ในสระใหญ่ ๗ สระนั้น สระอโนดาต ล้อมรอบ

ไปด้วย ยอดบรรพต ๕ ยอดเหล่านี้ คือยอดเขาสุทัสสนะ ยอดเขาจิตตะ

ยอดเขากาฬะ ยอดคันธมาทน์และยอดเขาไกลาส. ในยอดเขา ๕ ยอด

เหล่านั้น ยอดเขาสุทัสสนะ ล้วนแล้วด้วยทองคำ สูง ๓๐๐ โยชน์

ภายในคด มีทรวดทรงคล้ายปากกา ตั้งปิดบังสระนั้นนั่นแหละไว้. ยอด-

เขาจิตตะ ล้วนแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ. ยอดเขากาฬะ ล้วนแล้วด้วย

ดอกอัญชัน. ยอดเขาคันธมาทน์ ล้วนแล้วด้วยเพชรตาแมว ภายในมี

สีเหมือนถั่วเขียว ตั้งโชติช่วง เหมือนถ่านเพลิงที่ลุกโพลง ในวันอุโบสถ

ข้างแรม อันดาดาษไปด้วยโอสถนานัปการ มากไปด้วยกลิ่น ๑๐ กลิ่น

เหล่านี้ คือ กลิ่นที่ราก กลิ่นที่แก่น กลิ่นที่กระพี้ กลิ่นที่เปลือก กลิ่น

ที่สะเก็ด กลิ่นที่ลำต้น กลิ่นที่รส กลิ่นที่ดอก กลิ่นที่ผล และกลิ่นที่ใบ.

ยอดเขาไกลาศ ล้วนแล้วไปด้วยเงิน. ยอดเขาทั้งหมดนั้น มีทรวดทรง

สงเสมอกัน กับเขาสุทัสสนะ ตั้งปิดบังสระนั้นนั่นแลไว้. ในยอดเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 537

เหล่านั้น ฝนตกด้วยเทวานุภาพ และน้ำไหลด้วยนาคานุภาพ. น้ำทั้งหมด

นั้นไหลเข้าไปยังสระอโนดาตเท่านั้น. พระจันทร์และพระอาทิตย์ โคจรทาง

ด้านทิศใต้หรือทางด้านทิศเหนือ ทำแสงสว่างในที่นั้น โดยระหว่างแห่ง

ภูเขา. แต่เมื่อโคจรไปโดยตรง ๆ หาทำไม่. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ สระนั้น

จึงเกิดการนับว่า อโนดาต. ในสระอโนดาตนั้นพื้นแห่งมโนศิลา ไม่มี

ปลาและเต่า เสมือนแก้วผลึกที่ปราศจากมลทิน น้ำไม่ขุ่นมัว บังเกิดแต่

กรรมทีเดียว เป็นท่าสำหรับอาบ ของเหล่าสัตว์ผู้ใช้น้ำนั้น เป็นที่ที่พระ-

พุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระสาวก ทั้งฤาษี ผู้มีฤทธิ์ ทำการอาบ

เป็นต้น ฝ่ายเทพและยักษ์เป็นต้น ก็พากันเล่นน้ำ. ในข้างทั้ง ๔ ของ

สระอโนดาตนั้น มีทางน้ำไหลอยู่ ๔ ทาง คือ ทางราชสีห์ ทางช้าง ทาง

ม้า และทางโคอุสภะ อันเป็นเหตุให้แม่น้ำทั้ง ๔ ไหลไป. ในฝั่งแม่น้ำ

ที่ไหลออกจากทางราชสีห์ มีสีหไกรสรอยู่เป็นอันมาก. โดยทางช้างเป็น

ต้นก็เหมือนกัน มีช้าง ม้า และโคอุสภะเป็นจำนวนมาก. แม่น้ำที่ไหล

ออกจากทิศตะวันออกไหลวนขวา ๓ รอบสระอโนดาต ไม่ไหลไปยังแม่-

น้ำ ๓ สาย นอกนี้ ไหลไปทางที่ไม่มีคน ด้านภูเขาหิมพานต์ทิศตะวันออก

นั้นเอง แล้วไหลเข้ามหาสมุทร. ฝ่ายแม่น้ำที่ไหลออกจากทิศตะวันตก

และทิศเหนือ ไหลวนขวาอย่างนั้นเหมือนกัน ไหลไปทางที่ไม่มีคน

ด้านภูเขาหิมพานต์ทิศตะวันตก และทิศเหนือเหมือนกัน แล้วไหลเข้า

มหาสมุทร. ส่วนแม่น้ำที่ไหลจากทางทิศใต้ แล้วไหลวนขวา ๓ รอบ

สระอโนดาตนั้น ไหลตรงไปทางทิศใต้หลังศิลาดาดนั้นเองได้ ๖๐ โยชน์

แล้วกระทบภูเขาพุ่งขึ้น เป็นสายน้ำประมาณ ๓ คาวุตโดยรอบ ไหลไป

ทางอากาศ ๖๐ โยชน์แล้ว ก็ตกลงที่ศิลาดาด ชื่อ ติยังคละ. ศิลาดาด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 538

แตกออก เพราะกำลังสายน้ำ. ในที่นั้น เกิดเป็นสระโปกขรณีใหญ่ชื่อ

ติยังคละมีประมาณได้ ๕๐ โยชน์. พังฝั่งสระโปกขรณี ไหลเข้าศิลาดาด

ไหลไปได้ ๖๐ โยชน์ แต่นั้นก็พังแผ่นดินทึบเจาะเป็นอุโมงค์ได้ ๖๐ โยชน์

กระทบภูเขาที่ตั้งขวาง ชื่อว่า วิชฌะ เกิดเป็นแม่น้ำ ๕ สาย เช่นกับนิ้ว

๕ นิ้ว ที่ฝ่ามือ. ในที่ที่ไหลไปไหลไป วนเวียนขวาสระอโนดาต แม่น้ำ

นั้น เรียกว่า อาวัตตคงคา. ในที่ที่ไหลไปตรงทางหลังศิลาดาด ประมาณ

๖๐ โยชน์ เรียกว่า กัณณคงคา. ในที่ที่ไหลไปทางอากาศ ประมาณ ๖๐

โยชน์ เรียกว่า อากาศคงคา. ที่ขังอยู่บนศิลาดาด ชื่อติยังคละ มีโอกาส

ประมาณได้ ๕๐ โยชน์ เรียกว่า ติยังคลโปกขรณี. ในที่ที่พังฝั่งไหล

ไปยังศิลาดาด ได้ประมาณ ๖๐ โยชน์ เรียกว่า พหลคงคา. ในที่ที่ไหล

ไปทางอุโมงค์ ประมาณได้ ๖๐ โยชน์ เรียกว่า อุมมังคคงคา. ในที่ที่

กระทบภูเขาที่ตั้งขวางชื่อว่า วิชฌะ เกิดเป็น ๕ สาย นับเป็น ๕ สาย คือ

แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู และมหี. แม่น้ำ ๕ สาย เหล่านี้ ดังว่า

มานี้ พึงทราบว่า ไหลออกจากภูเขาหิมพานต์. บรรดาบทเหล่านั้น

คำว่า นที นินฺนคา ดังนี้เป็นต้น จัดเป็นโคตร. คำว่า คงฺคา ยมุนา

ดังนี้เป็นต้น จัดเป็นชื่อ.

บทว่า สวนฺติโย ได้แก่ แม่น้ำใหญ่ หรือแม่น้ำน้อยชนิดใดชนิด

หนึ่ง ที่ไหลไปไหลไป. บทว่า อปฺเปนฺติ แปลว่า ย่อมไหลไป คือ ย่อม

ไหลรวมกันไป. บทว่า ธารา ได้แก่ สายฝน. บทว่า ปูรตฺต แปลว่า

ความที่สายฝนขังเต็ม. จริงอยู่ มหาสมุทรเป็นธรรมดาดังต่อไปนี้ ใคร ๆ

ไม่อาจจะกล่าวมหาสมุทรนั้นว่า ในเวลานี้ฝนตกน้อย พวกเราถือเอา

เครื่องดักสัตว์ มีข่ายและไซเป็นต้น จับเอาปลาและเต่า หรือว่าในเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 539

นี้ ฝนมีมากเกินไป พวกเราไม่ได้สถานที่เป็นที่เหยียดหลัง. จริงอยู่ ตั้ง

แต่เวลาปฐมกัปมา ฝนตกน้ำขังจรดแดนเขาสิเนรุ แต่นั้นน้ำแม้ประมาณ

องคุลีหนึ่ง ก็ไหลลงภายใต้เลย ไม่ไหลขึ้นข้างบน.

บทว่า เอกรโส ได้แก่ มีรสไม่เจือปน. บทว่า มุตฺตา ได้แก่

แก้วมุกดาหลายชนิด มีชนิดเล็กใหญ่กลมและยาวเป็นต้น. บทว่า มณิ

ได้แก่ แก้วมณีหลายชนิด มีชนิดแดงและเขียวเป็นต้น. บทว่า เวฬุริโย

ได้แก่ แก้วไพฑูรย์หลายชนิด โดยสัณฐานมีสีไม้ไผ่ และสีดอกซึกเป็นต้น.

บทว่า สงฺโข ได้แก่ สังข์หลายชนิด มีชนิดสังข์ทักษิณาวัฏ สังข์ท้อง

แดง และสังข์สำหรับเป่าเป็นต้น. บทว่า สิลา ได้แก่ ศิลาหลายชนิด

มีชนิดสีขาว ดำ และสีถั่วเขียวเป็นต้น. บทว่า ปวาฬ ได้แก่ แก้ว

ประพาฬหลายชนิด มีชนิดเล็กใหญ่ แดงอ่อน และแดงแก่เป็นต้น.

บทว่า โลหิตงฺก ได้แก่ ทับทิมหลายชนิด มีชนิดปทุมราคเป็นต้น.

บทว่า มสารคลฺล ได้แก่ แก้วลาย (เพชรตาแมว). อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า จิตฺตผลิก แก้วผลึกอันไพจิตร ดังนี้ก็มี.

บทว่า มหต ภูตาน ได้แก่สัตว์ใหญ่. ปลา ๓ ชนิดคือ ปลาติมิ ๑

ปลาติมิงคิละ ๑ ปลาติมิติมิงคิละ ๑. ปลาที่สามารถจะกลืนกินปลาติมิ ชื่อ

ว่า ปลาติมิงคิละ. ปลาที่สามารถจะกลืนกินปลาติมิ และปลาติมิงคิละ

เขาเรียกว่า ปลาติมิติมิงคิละ. บทว่า นาคา ได้แก่ นาคที่อยู่บนหลัง

คลื่นบ้าง นาคที่อยู่ในวิมานบ้าง.

ด้วยบทว่า เอวเมว โข พระศาสดา ทรงสามารถ เพื่อจะแสดง

จำแนก อัจฉริยอัพภูตธรรม ๑๖ บ้าง ๓๒ บ้าง ยิ่งกว่านั้นบ้าง ในพระ-

ธรรมวินัยนี้ ก็จริง ถึงกระนั้น เมื่อทรงแสดงจำแนกธรรมที่ควรจะพึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 540

อุปมาเหล่านั้น เพียง ๘ อย่าง โดยสมควรแก่อรรถ ที่ถือเอาโดยความ

เป็นอุปมาในขณะนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย

อัจฉริยอัพภูตธรรม ๘ อย่าง ย่อมมีในธรรมวินัยนี้ ดังนี้.

ในธรรมเหล่านั้น ท่านถือเอาสิกขา ๓ ด้วย อนุปุพพสิกขา การ

ศึกษาไปตามลำดับ. ธุดงค์ธรรม ๑๓ ถือเอาด้วย อนุปุพพกิริยา การทำ

ไปตามลำดับ. อนุปัสสนา ๗ มหาวิปัสสนา ๑๘ การจำแนกอารมณ์ ๓๘

และโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ท่านถือเอาด้วย อนุปุพพปฏิปทา การปฏิบัติ

ไปตามลำดับ. บทว่า นายตเกเนว อญฺาปฏิเวโธ ความว่า ธรรมดา

การไม่ทำศีลเป็นต้นให้บริบูรณ์ ตั้งแต่ต้นมาแล้วแทงตลอดพระอรหัต

ย่อมไม่มี เหมือนการไปเกิดขึ้นแห่งมัณฑุกเทพบุตร ฉะนั้น ส่วนการทำ

ศีลสมาธิและปัญญาให้บริบูรณ์ไปตามลำดับก่อนแล้ว จึงบรรลุพระอรหัต

ได้ ย่อมมี.

ด้วยบทว่า มม สาวกา พระองค์ตรัสหมายถึงพระอริยบุคคล มี

พระโสดาบัน เป็นต้น. บทว่า น สวสติ ได้แก่ ย่อมไม่ทำสังวาส

ด้วยอำนาจอุโบสถกรรมเป็นต้น. บทว่า อุกฺขิปติ แปลว่า ย่อมผลักออก

ไป. บทว่า อารกา ว ได้เเก่ ในที่ไกลนั่นแล. บทว่า น เตน

นิพฺพานธาตุยา อูนตฺต อูนตฺต วา ปูรตฺต วา ความว่า ใคร ๆ ไม่อาจจะกล่าว

ว่า แม้เมื่อกัป ยังไม่สิ้นไป พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ยังไม่เสด็จอุบัติ แม้

สัตว์ตนหนึ่ง ก็ไม่สามารถจะปรินิพพานได้ แม้ในกาลนั้น ก็ไม่อาจจะ

พูดว่า นิพพานธาตุว่าง แต่ในครั้งพุทธกาล สัตว์ทั้งหลาย แม้นับไม่ถ้วน

ในสมาคมหนึ่ง ๆ ก็พากันยินดีอมตธรรม แม้ในกาลนั้น ใคร ๆ ก็ไม่

อาจจะพูดได้ว่า นิพพานธาตุเต็ม. บทว่า วิมุตฺติรโส แปลว่า มีการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 541

หลุดพ้นจากกิเลสเป็นรส. จริงอยู่ ศาสนสมบัติทั้งสิ้น ย่อมดำรงอยู่เพียง

เพื่อจิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น.

บทว่า รตนานิ ความว่า ชื่อว่ารัตนะ เพราะอรรถว่าให้เกิดความ

ยินดี. จริงอยู่ เมื่อเจริญสติปัฏฐานเป็นต้น ปีติและปราโมทย์มีประมาณ

ไม่น้อยย่อมบังเกิดขึ้นส่วนเบื้องต้น. ในส่วนเบื้องปลายไม่จำต้องทั้งกล่าวถึง

สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

พระโยคีย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ

แห่งขันธ์ทั้งหลายในกาลใด ๆ ในกาลนั้น ๆ ท่าน

ย่อมได้ปีติและปราโมทย์ นั้นเป็นอมตะของผู้รู้แจ้ง.

ก็ปีติและปราโมทย์อันมีโลกิยรัตนะเป็นเหตุ ย่อมไม่ถึงส่วนแห่ง

เสี้ยวของอมตธรรมนั้น อรรถดังว่ามานี้ ท่านแสดงไว้ในหนหลังแล้วแล

อีกอย่างหนึ่ง

สิ่งที่ธรรมดาทำให้วิจิตร มีค่ามากหาที่เปรียบ-

ปานมิได้ เห็นได้ยากเป็นเครื่องใช้สอยของสัตว์ผู้ไม่

ต่ำทราม ท่านเรียกว่า รัตนะแล.

ก็ถ้าชื่อว่ารัตนะ ย่อมมีได้โดยภาวะที่ธรรมดาทำให้วิจิตรเป็นต้น

ไซร้ ถึงอย่างนั้น สติปัฏฐานเป็นต้นนั่นแล ก็เป็นรัตนะได้เพราะเป็นของ

มีอยู่จริง จริงอยู่ ภาวะแห่งสติปัฏฐานเป็นต้นนั้น เป็นอานุภาพของ

โพธิปักขิยธรรม เพราะเป็นเหตุใกล้ซึ่งทำให้พระสาวกบรรลุสาวกบารมี-

ญาณ พระปัจเจกพุทธเจ้าบรรลุปัจเจกโพธิญาณ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ. จริงอยู่ เหตุที่สืบ ๆ กันมาเป็นอุปนิสัยแห่ง

ทานเป็นต้น รวมความว่า สติปัฏฐานเป็นต้นเป็นรัตนะเป็นความดียิ่งแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 542

โพธิปักขิยธรรม เพราะอรรถว่าทำให้เกิดความยินดี และเพราะอรรถว่า

เป็นของอันธรรมดาทำให้วิจิตร. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า ใน

ธรรมเหล่านั้นรัตนะเหล่านี้ คือ สติปัฏฐาน ๔.

บรรดาธรรมเหล่านั้น ชื่อว่าปัฏฐาน เพราะอรรถว่าหยั่งลงปรากฏ

ในอารมณ์ กรรมเริ่มแรกคือสติ ชื่อว่าสติปัฏฐาน. ก็เพราะอารมณ์มี ๔

อย่างด้วยอำนาจกายเป็นต้น ท่านจึงกล่าวว่าสติปัฏฐาน ๔. จริงอย่างนั้น

สติปัฏฐาน ๔ เหล่านั้น ท่านแยกออกเป็นกายานุปัสสนาเป็นต้น เพราะ

ละความสำคัญในกายว่างาม เวทนาว่าเป็นสุข จิตว่าเป็นของเที่ยง และใน

ธรรมว่าเป็นอัตตา และเพราะยึดถือในกายว่าเป็นของไม่งาม ในเวทนา

ว่าเป็นทุกข์ ในจิตว่าเป็นของไม่เที่ยงและในธรรมว่าเป็นอนัตตา.

ชื่อว่า สัมมัปปธาน เพราะเป็นเหตุให้พระโยคีเริ่มตั้งโดยชอบ หรือ

ว่าตนเองเริ่มตั้งโดยชอบ หรือการเริ่มตั้งที่บัณฑิตสรรเสริญหรือเป็นความ

ดี. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สัมมัปปธาน เพราะเป็นเหตุให้บุคคลทำความ

เพียรโดยชอบนั่นเอง คำว่าสัมมัปปธานนี้เป็นชื่อของวิริยะความเพียร. ก็

สัมมัปปธานความเพียรนั้น ก็เรียกว่าสัมมัปปธาน ๔ เพราะทำกิจ ๔

อย่าง คือ ไม่ให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น ๑ ละอกุศลธรรมที่เกิด

ขึ้น ๑ ทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๑ ทำกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

ให้เจริญ ๑.

ชื่อว่า ฤทธิ์ เพราะอรรถว่าสำเร็จ อธิบายว่า สัมฤทธิ์ คือเผล็ดผล.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ฤทธิ์ เพราะเป็นเหตุสำเร็จ คือ สัมฤทธิ์ เจริญถึง

ความสูงสุดแห่งสัตว์ทั้งหลาย. ด้วยอรรถแรก บาทคือความสำเร็จ ชื่อว่า

อิทธิบาท อธิบายว่า ส่วนแห่งความสำเร็จ. ด้วยอรรถที่ ๒ บาทคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 543

ที่ตั้ง ได้แก่ อุบายเครื่องบรรลุถึงความสำเร็จ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

อิทธิบาท. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายย่อมถึง คือบรรลุความสำเร็จ กล่าวคือ

คุณวิเศษสูง ๆ ขึ้นไปด้วยอิทธิบาทนั้น. อิทธิบาทนี้นั้น ท่านเรียกว่า

อิทธิบาท ๔ เพราะทำอธิบดีธรรม ๔ มีฉันทาธิบดีเป็นต้น ให้เป็นธุระ

คือให้เป็นใหญ่บังเกิดขึ้น.

บทว่า ปญฺจินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์ ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้น.

ในอินทรีย์ ๕ นั้น ศรัทธา ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะครอบงำความเป็นผู้ไม่

มีศรัทธา แล้วทำให้เป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการน้อมใจเชื่อ. ปัญญา

ชื่อว่าอินทรีย์ เพราะครอบงำโกสัชชะแล้วทำให้เป็นใหญ่ในลักษณะแห่ง

การประคองไว้ ครอบงำปมาทะแล้วทำให้เป็นใหญ่ในลักษณะปรากฏ

ครอบงำความฟุ้งซ่านแล้วทำให้เป็นใหญ่ในลักษณะแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน

ครอบงำความไม่รู้แล้วทำให้เป็นใหญ่ในลักษณะแห่งทัสสนะ อินทรีย์ ๕

เหล่านั้นแหละพึงทราบว่าพละ เพราะความเป็นธรรมชาติมั่นคงในสัมป-

ยุตธรรมทั้งหลาย ด้วยอรรถว่าไม่หวั่นไหว โดยที่ความไม่มีศรัทธาเป็นต้น

ครอบงำไม่ได้.

บทว่า สตฺต โพชฺฌงฺคา ความว่า โพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็น

องค์แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้ หรือของบุคคลผู้ตรัสรู้. พระอริยสาวก

ย่อมตรัสรู้ คือออกจากกิเลสนิทรา คือแทงตลอดอริยสัจ ๔ หรือทำให้

แจ้งเฉพาะพระนิพพาน ด้วยธรรมสามัคคีใด กล่าวคือ สติ ธัมมวิจยะ

วีริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา อันเป็นปฏิปักษ์ต่ออันตราย

เป็นอเนก เช่นการตั้งอยู่และการประมวลมาซึ่งความหดหู่และความฟุ้ง-

ซ่าน การประกอบในกามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค และการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 544

ยึดมั่นอุจเฉททิฏฐิและสัสสตทิฏฐิเป็นต้น อันเกิดขึ้นในขณะโลกุตรมรรค

เพราะเหตุนั้น ธรรมสามัคคีนั้น ท่านเรียกว่า โพธิ ชื่อว่าโพชฌงค์

เพราะเป็นองค์แห่งโพธิ กล่าวคือธรรมสามัคคีนั้นบ้าง เหมือนองค์ของ

ฌาน และองค์ของมรรคเป็นต้น. ชื่อว่า โพชฌงค์ แม้เพราะเป็นองค์

แห่งพระอริยสาวกผู้ตรัสรู้ซึ่งเรียกว่า โพธิ เพราะวิเคราะห์ว่าตรัสรู้ด้วย

ธรรมสามัคคี มีประการดังกล่าวแล้ว เหมือนองค์ของเสนา และองค์

ของรถเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์แห่งบุคคลผู้ตรัสรู้ พึงทราบอรรถแห่ง

โพชฌงค์ แม้โดยนัยมีอาทิว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นไปเพื่อธรรม-

สามัคคีเครื่องตรัสรู้ ดังนี้.

บทว่า อริโย อฏฺงฺคิโก มคฺโค ความว่า ชื่อว่า อริยะ เพราะ

ไกลจากกิเลสอันมรรคนั้น ๆ พึงฆ่า เพราะกระทำความเป็นพระอริยะ

และเพราะให้ได้อริยผล. ชื่อว่าอัฏฐังคิกะ เพราะมรรคนั้นมีองค์ ๘ มี

สัมมาทิฏฐิเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง องค์ ๘ นั่นแหละ ชื่อว่าอัฏฐังคิกะ.

ชื่อว่ามรรค เพราะฆ่ากิเลสทั้งหลายให้ตายไป หรือเพราะผู้ต้องการพระ-

นิพพานแสวงหา หรือตนเองแสวงหาพระนิพพาน. พึงทราบการจำแนก

อรรถแห่งสติปัฏฐานเป็นต้นเหล่านั้นอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า โสตาปนฺโน ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้ถึง คือบรรลุกระแส

กล่าวคือมรรคดำรงอยู่ อธิบายว่า ผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. บทว่า

โสดาปตฺติผลสจฺฉิกิริยาย ปฏิปนฺโน ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้ดำรงอยู่

ในปฐมมรรคผู้กำลังปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้ประจักษ์แก่ตน ซึ่งเรียก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 545

พระอริยบุคคลที่ ๘ ดังนี้ก็มี. บทว่า สกทาคามี ได้แก่ พระอริยบุคคล

ผู้ดำรงอยู่ในผลที่ ๒ ผู้จะมาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น โดยการถือปฏิสนธิ.

บทว่า อนาคามี ได้แก่ พระอริยบุคคล. ผู้ดำรงอยู่ในผลที่ ๓. ผู้มีปกติไม่

มาสู่กามโลก โดยการถือปฏิสนธิ. ก็การจำแนกพระอริยบุคคลมีอาทิ

อย่างนี้ว่า สัทธานุสารี ๑ ธัมมานุสารี ๑ เอกพีชี ๑ เป็นประเภทของ

พระอริยบุคคลเหล่านั้นนั่นแหล. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบความกล่าวคือความ

ไม่มีธรรมเครื่องอยู่ร่วมกันกับบุคคลทุศีลผู้ประดุจซากสัตว์ตายในพระ-

ธรรมวินัยของพระองค์นี้. บทว่า อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้

อันแสดงเหตุแห่งการจำแนกบุคคลผู้ไม่ควรอยู่ร่วมและผู้ควรอยู่ร่วม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺนมติวสฺสติ ความว่า ภิกษุต้อง

อาบัติแล้วปกปิดไว้ ย่อมต้องอาบัติตัวอื่นใหม่อีก ย่อมต้องอาบัติมาก

ขึ้น ๆ ฝนคืออาบัติ ได้แก่ ฝนคือกิเลส ย่อมรั่วรดมากขึ้นอย่างนี้ ด้วย

ประการฉะนี้. บทว่า วิวฏ นาติวสฺสติ ความว่า ภิกษุผู้ต้องอาบัติแล้ว

ไม่ปกปิดอาบัตินั้นไว้เปิดเผย ประกาศแก่เพื่อนสพรหมจารี กระทำคืน

แสดงออก (จากอาบัติ) ตามธรรม ตามวินัยไม่ต้องอาบัติตัวอื่นใหม่

เพราะเหตุนั้น ฝนคืออาบัติ ฝนคือกิเลส ที่ภิกษุนั้นเปิดเผยแล้วย่อมไม่

รั่วรดอีก ก็เพราะเหตุที่ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น ฉะนั้น ท่านทั้งหลายพึงเปิด

คือประกาศอาบัติที่ปิด คือที่ปกปิดไว้. บทว่า เอวนฺต นาติวสฺสติ

ความว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ฝนคือกิเลสย่อมไม่ทำลายอัตภาพแล้วรั่วรด

คือไม่เปียกบุคคลผู้ต้องอาบัตินั้น. อธิบายว่า บุคคลนั้น ไม่ถูกกิเลสรั่วรด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 546

อย่างนั้น เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีใจมั่น เริ่มตั้งวิปัสสนาพิจารณาอยู่ ย่อม

บรรลุถึงพระนิพพานโดยลำดับ.

จบอรรถกถาอุโปสถสูตรที่ ๕

๖. โสณสูตร

ว่าด้วยคนสะอาดไม่ยินดีในบาป

[๑๑๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อา-

ฐานของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระมหากัจจานะอยู่ ณ ปวัฏฏบรรพต แคว้นกุรุรฆระ ในอวันตีชนบท

ก็สมัยนั้นแล อุบาสกชื่อโสณโกฏิกัณณะ เป็นอุปัฏฐากของท่านพระมหา-

กัจจานะ ครั้งนั้นแล อุบาสกชื่อโสณโกฏิกัณณะ หลีกเร้นอยู่ในที่ลับ

ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้ามหากัจจานะย่อมแสดง

ธรรมด้วยอาการใด ๆ ธรรมนั้นย่อมปรากฏแก่เราผู้พิจารณาอยู่ด้วยอาการ

นั้น ๆ อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์

บริบูรณ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ผิฉะนั้น เราพึงปลงผม

และหนวดนุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด ลำดับนั้นแล อุบา-

สกโสณโกฏิกัณณะเข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส กระผมหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดปริวิตกแห่ง

ใจอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้ามหากัจจานะย่อมแสดงธรรมด้วยอาการใด ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 547

ธรรมนั้นย่อมปรากฏแก่เราผู้พิจารณาอยู่ด้วยอาการนั้น ๆ อย่างนี้ว่า บุคคล

ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวดุจ

สังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ผิฉะนั้น เราพึงปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้า

กาสายะออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้ามหา-

กัจจานะโปรดให้กระผมบวชเถิด.

[๑๒๐] เมื่ออุบาสกโสณโกฏิกัณณะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระ-

มหากัจจานะได้กล่าวกะอุบาสกโสณโกฏิกัณณะว่า ดูก่อนโสณะ พรหม-

จรรย์มีภัตหนเดียว มีการนอนผู้เดียวตลอดชีวิต ทำได้ยากนัก ดูก่อน

โสณะ เชิญท่านเป็นคฤหัสถ์อยู่ในเรือนนั้นแล จงหมั่นประกอบพรหม-

จรรย์อันมีภัตหนเดียว นอนผู้เดียว เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้ง-

หลายเถิด ครั้งนั้นแล การปรารภเพื่อจะบวชของอุบาสกโสณโกฏิกัณณะ

ได้ระงับไป แม้ครั้งที่ ๒. . . การปรารภเพื่อจะบวชของอุบาสกโสณโกฏิ-

กัณณะก็ได้ระงับไป แม้ครั้งที่ ๓ อุบาสกโสณโกฏิกัณณะหลีกเร้นอยู่ใน

ที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้ามหากัจจานะย่อม

แสดงธรรมด้วยอาการใด ๆ ธรรมนั้นย่อมปรากฏแก่เราผู้พิจารณาอยู่ด้วย

อาการนั้น ๆ อย่างนี้ว่า บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้

บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ผิฉะนั้น เราพึง

ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด แม้ครั้งที่ ๓

อุบาสกโสณโกฏิกัณณะก็ได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาท

แลนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจานะ

ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตก

แห่งใจอย่างนี้ว่า พระคุณเจ้ามหากัจจานะย่อมแสดงธรรมด้วยอาการใด ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 548

ธรรมนั้นย่อมปรากฏแก่กระผมผู้พิจารณาอยู่ด้วยอาการนั้น ๆ อย่างนี้ว่า

บุคคลผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วน

เดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ผิฉะนั้น เราพึงปลงผมและหนวดนุ่งห่ม

ผ้ากาสายะออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระคุณเจ้า

มหากัจจานะโปรดให้กระผมบวชเถิด. ลำดับนั้นแล ท่านพระมหากัจจานะ

ให้อุบาสกโสณโกฏิกัณณะบวชแล้ว.

[๑๒๑] ก็โดยสมัยนั้น อวันตีทักขิณาบถมีภิกษุน้อย ครั้งนั้นแล

ท่านพระมหากัจจานะให้ประชุมพระภิกษุสงฆ์สวรรค์แต่บ้าน และนิคม

เป็นต้นนั้น โดยยากลำบาก โดยล่วงไปสามปี จึงให้ท่านพระโสณะอุป-

สมบทได้ ครั้งนั้นแล ท่านพระโสณะอยู่จำพรรษาแล้ว หลีกออกเร้นอยู่

ในที่ลับ เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า เราไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าพระองค์นั้นเฉพาะพระพักตร์ แต่เราได้ฟังเท่านั้นว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้น พระองค์เป็นเช่นนี้ ๆ ถ้าว่าพระอุปัชฌายะ พึง

อนุญาตเราไซร้ เราพึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์นั้น ลำดับนั้นแล เป็นเวลาเย็น ท่านพระโสณะออกจากที่เร้น

เข้าไปหาพระมหากัจจานะถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอโอกาส

เมื่อกระผมหลีกออกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกแห่งใจอย่างนี้ว่า

เราไม่ได้เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั่นเฉพาะพระพักตร์ แต่เราได้

ฟังเท่านั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พระองค์เป็นเช่นนี้ ๆ ถ้า

ว่าพระอุปัชฌายะพึงอนุญาตเราไซร้ เราพึงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 549

ท่านพระมหากัจจานะกล่าวว่า ดีละ ๆ โสณะ ท่านจงไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด ท่านจักได้เฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้น่าเลื่อมใส ควรเลื่อมใส มีอินทรีย์

สงบ มีพระทัยสงบ ผู้ถึงความสงบและความฝึกอันสูงสุด ผู้ฝึกแล้ว ผู้

คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์สำรวมแล้ว ผู้ประเสริฐ ครั้นแล้ว ท่านจงถวาย

บังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้าตามคำของเรา จงทูล

ถามถึงความเป็นผู้มีอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า ทรง

มีกำลัง ทรงอยู่สำราญเถิด.

ท่านพระโสณะชื่นชมยินดีภาษิตของท่านพระมหากัจจานะแล้ว ลุก

จากอาสนะ อภิวาทท่านพระมหากัจจานะ กระทำประทักษิณ เก็บเสนา-

สนะแล้ว ถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางพระนครสาวัตถี เมื่อเที่ยว

จาริกไปโดยลำดับ ได้ถึงพระนครสาวัตถีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ถวายบังคม

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะอุปัชฌายะของข้าพระองค์ ถวายบังคมพระ-

บาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และทูลถามถึงความเป็นผู้มี

พระอาพาธน้อย พระโรคเบาบาง กระปรี้กระเปร่า ทรงมีกำลัง ทรง

อยู่สำราญ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ เธอ

พึงอดทนได้หรือ พึงให้เป็นไปได้หรือ เธอมาสิ้นหนทางไกลด้วยความ

ไม่ลำบากหรือ และเธอไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตหรือ ท่านพระโสณะ

กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์พึงอดทนได้ พึงให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 550

เป็นไปได้ ข้าพระองค์มาสิ้นหนทางไกลด้วยความไม่ลำบาก และข้าพระ-

องค์ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตพระเจ้าข้า.

[๑๒๒] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งท่านพระอานนท์

ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงปูลาดเสนาสนะสำหรับภิกษุผู้อาคันตุกะนี้เถิด

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสั่งใช้เรา

ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงปูลาดเสนาสนะสำหรับภิกษุอาคันตุกะนี้เถิด

ดังนี้ เพื่อภิกษุใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาจะประทับอยู่ในวิหาร

เดียวกันกับภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารถนาจะประทับอยู่ใน

วิหารเดียวกับท่านพระโสณะ ท่านพระอานนท์ได้ปูลาดเสนาสนะสำหรับ

ท่านพระโสณะในวิหารที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ครั้งนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งด้วยการประทับนั่งในอัพโภกาสสิ้นราตรีเป็นอัน

มาก ทรงล้างพระบาทแล้ว เสด็จเข้าไปสู่พระวิหาร แม้ท่านพระโสณะก็

ยับยั้งด้วยการนั่งในอัพโภกาสสิ้นราตรีเป็นอันมาก ล้างเท้าแล้วเข้าไปสู่

พระวิหาร ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่ง

ราตรี รับสั่งกะท่านพระโสณะว่า ดูก่อนภิกษุ การกล่าวธรรมจงแจ่มแจ้ง

กะเธอเถิด ท่านพระโสณะทูลรับ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วได้กล่าวพระสูตร

ทั้งหมด ๑๖ สูตร จัดเป็นวรรค ๘ วรรค ด้วยสรภัญญะ ลำดับนั้น ใน

เวลาจบสรภัญญะของท่านพระโสณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนา

ว่า ดีละ ๆ ภิกษุ พระสูตร ๑๖ สูตร จัดเป็นวรรค ๘ วรรค เธอเรียน

ดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว จำทรงไว้ดีแล้ว เธอเป็นผู้ประกอบด้วย

วาจาไพเราะ ไม่มีโทษ สามารถเพื่อจะยังเนื้อความให้แจ่มแจ้ง ดูก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 551

ภิกษุ เธอมีพรรษาเท่าไร ท่านพระโสณะกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ข้าพระองค์มีพรรษาหนึ่ง.

พ. เธอได้ทำช้าอยู่อย่างนี้ เพื่ออะไร.

โส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็นโทษในกามทั้งหลาย

โดยกาลนาน ทั้งฆราวาสคับแคบ มีกิจมาก มีกรณียะมาก พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระอริยเจ้าย่อมไม่ยินดีในบาป ท่านผู้สะอาด

ย่อมไม่ยินดีในบาป เพราะได้เห็นโทษในโลก เพราะ

ได้รู้ธรรมอันไม่มีอุปธิ.

จบโสณสูตรที่ ๖

อรรถกถาโสณสูตร

โสณสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อวนฺตีสุ ได้แก่ ในอวันตีรัฐ. บทว่า กุรุรฆเร ได้แก่

นครอันมีชื่ออย่างนั้น. บทว่า ปวตฺเต ปพฺพเต ได้แก่ ภูเขาอันชื่อว่า

ปวัตตะ บางอาจารย์กล่าวว่า ปปาเต ดังนี้บ้าง. บทว่า โสโณ อุปาสโก

กุฏิกณฺโณ ความว่า โดยนาม ชื่อว่าโสณะ ชื่อว่าอุบาสก เพราะประ-

กาศความเป็นอุบาสกโดยถึงสรณะ ๓ เพราะทรงเครื่องประดับหูมีราคา

หนึ่งโกฏิ ควรจะเรียกว่า โกฏิกัณณะ แต่เขารู้จักกันมากว่า กุฏิกัณณะ

อธิบายว่า โสณะผู้เป็นเด็กดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 552

ก็โสณะอุบาสกนั้นฟังธรรมในสำนักของท่านพระมหากัจจายนะ

เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา ตั้งอยู่ในสรณะและศีลจึงให้สร้างวิหารในที่อัน

สมบูรณ์ด้วยร่มเงาและน้ำ ใกล้ปวัตตบรรพต แล้วนิมนต์พระเถระให้อยู่

ในวิหารนั้นบำรุงด้วยปัจจัยทั้ง ๔. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เป็น

อุปัฏฐากของท่านพระมหากัจจานะ.

เขาไปยังที่บำรุงของพระเถระตามเวลาอันสมควร และพระเถระก็

ได้แสดงธรรมแก่เขา. ด้วยเหตุนั้น เขาจึงมีความสลดใจมาก เกิดความ

อุตสาหะในการประพฤธรรมอยู่. คราวหนึ่ง เขาไปเมืองอุชเชนีกับหมู่

เกวียน เพื่อต้องการค้าขาย เมื่อพักหมู่เกวียนไว้ในดงระหว่างทาง เพราะ

กลัวคนจะแออัดกันจึงหลีกไปนอนหลับเสีย ณ ส่วนสุดด้านหนึ่ง. ในเวลา

ใกล้รุ่ง หมู่เกวียนก็ลุกไปเสีย แม้คนเดียวก็ไม่ปลุกให้โสณะอุบาสกตื่น

คนแม้ทั้งหมดไม่ได้นึกถึง ได้พากันไปเสีย. เมื่อราตรีสว่างแล้ว เขาตื่น

นอนแล้วลุกขึ้นไม่เห็นใครเลย จึงถือเอาทางที่หมู่เกวียนนั่นแหละไป เมื่อ

เดินไปนาน ๆ ก็แวะเข้าไปพักยังต้นไทรต้นหนึ่ง. ณ ต้นไทรนั้น เขาได้

เห็นบุรุษคนหนึ่งมีร่างกายใหญ่โตดูผิดรูปร่าง ทั้งน่าเกลียด ตนเองแหละ

เคี้ยวกินเนื้อของตนที่หล่นจากกระดูก ครั้นเห็นแล้วจึงถามว่า ท่านเป็น

ป. ฉันเป็นเปรต ท่านผู้เจริญ.

โส. เพราะเหตุไร ท่านจึงทำอย่างนี้ ?

ป. เพราะกรรมของตนเอง.

โส. ก็กรรมนั้นเป็นอย่างไร ? เปรตเล่าว่า เมื่อชาติก่อน ฉันเป็น

พ่อค้าโกงอยู่ในเมืองภารุกัจฉนคร หลอกลวงเอาของคนอื่นมาเคี้ยวกิน

และเมื่อพระสมณะเข้าไปบิณฑบาต ก็ด่าว่า จงเคี้ยวกินเนื้อของพวกมึงซิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 553

เพราะกรรมนั้น ฉันจึงได้เสวยทุกข์นี้ในบัดนี้. โสณะอุบาสกได้ฟังดังนั้น

กลับได้ความสลดใจอย่างเหลือล้น. ต่อจากนั้น เมื่อเดินไป พบพวกเปรต

เล็ก ๒ ตน มีโลหิตดำไหลออกจากปาก จึงถามเหมือนอย่างนั้นนั่นแล.

ฝ่ายเปรตเหล่านั้น ก็ได้แจ้งกรรมของตน แก่โสณะนั้น.

ได้ยินว่า ในเวลาที่ยังเป็นเด็ก เปรตเหล่านั้นเลี้ยงชีพด้วยการค้า

ขายสิ่งของ ในภารุกัจฉนคร เมื่อมารดาของตน นิมนต์พระขีณาสพ

ทั้งหลายให้มาฉัน จึงไปยังเรือนแล้ว ด่าว่า ทำไม แม่จึงให้สิ่งของของ

พวกเรา แก่พวกสมณะ ขอให้โลหิตดำจงไหลออกจากปากของพวกสมณะ

ผู้บริโภคโภชนะ ที่แม่ให้แล้วเถิด. เพราะกรรมนั้น เด็กเหล่านั้น จึง

ไหม้ในนรกแล้ว ก็บังเกิดในกำเนิดเปรต ด้วยเศษแห่งวิบากของกรรม

นั้น จึงเสวยทุกข์นี้ในกาลนั้น.

โสณะอุบาสก ฟังคำแม้นั้น ได้เกิดความสลดใจอย่างเหลือล้น.

เขาไปยังกรุงอุชเชนี ตรวจตราถึงงานที่ตนจะพึงทำนั้นแล้ว จึงกลับมายัง

เรือนประจำตระกูล เข้าไปหาพระเถระ ได้รับการปฏิสันถารแล้ว จึงแจ้ง

ข้อความนั้นแก่พระเถระ. ฝ่ายพระเถระเมื่อจะประกาศโทษในการเกิดทุกข์

และอานิสงส์ในการดับทุกข์ แก่โสณะอุบาสกนั้น จึงแสดงธรรม. เขาไหว้

พระเถระแล้ว ไปเรือนแล้วบริโภคอาหารมื้อเย็นแล้ว จึงเข้านอน พอหลับ

ไปหน่อยหนึ่งเท่านั้น ก็ตื่นขึ้นนั่งบนที่นอนแล้ว เริ่มพิจารณาธรรมตาม

ทั้งตนได้สดับมา. เมื่อเธอพิจารณาธรรมนั้น และหวนระลึกถึงอัตภาพของ

เปรตเหล่านั้น สังขารทุกข์ ปรากฏเป็นของน่ากลัวเสียยิ่งนัก. จิตก็น้อม

ไปในบรรพชา. ครั้นราตรีสว่าง เธอชำระร่างกายเสร็จแล้ว เข้าไปหา

พระเถระ แจ้งอัธยาศัยของตนให้ทราบแล้ว ขอบรรพชา. ด้วยเหตุนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 554

ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล โสณกุฏิกัณณะอุบาสก อยู่ในที่ลับ ฯ ล ฯ

ขอพระผู้เป็นเจ้ามหากัจจานะ จงให้กระผมบวชเถอะขอรับ ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทมีอาทิว่า ยถา ยถา มีความสังเขปดังต่อ

ไปนี้. พระผู้เป็นเจ้ามหากัจจานะ แสดง บอก บัญญัติ เริ่มตั้ง เปิดเผย

จำแนก ทำให้ตื้น ประกาศธรรม โดยอาการใด ๆ เมื่อเรา (โสณะ) ใคร่-

ครวญด้วยอาการนั้น ๆ ย่อมปรากฏอย่างนี้ว่า พรหมจรรย์คือสิกขา ๓ นี้ที่

จะพึงประพฤติให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว โดยรักษาไว้ไม่ให้ขาดจนวันเดียว

จนถึงจิตดวงสุดท้าย (ตาย) ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว โดยทำไม่ให้มีมลทิน

ด้วยมลทิน คือกิเลสแม้จนวันเดียวจนถึงจิตดวงสุดท้าย ให้เป็นเช่นกับ

สังข์ที่ขัดดีแล้ว คือเปรียบด้วยสังข์ที่ชำระจนสะอาดดี พรหมจรรย์นี้อัน

บุคคลผู้อยู่ครองเรือน คือผู้อยู่ในท่ามกลางเรือน จะประพฤติให้บริบูรณ์

โดยส่วนเดียว ฯ ล ฯ มิใช่ทำได้ง่าย ไฉนหนอ เราพึงปลง คือพึงโกน

ผมและหนวดแล้ว ปกปิด คือ นุ่งและห่มผ้าที่ชื่อว่ากาสายะ เพราะย้อม

ด้วยน้ำฝาด คือ ผ้าที่สมควรแก่ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ออกจากเรือนแล้ว

บวชไม่มีเรือน. เพราะเหตุที่กรรมมีกสิกรรม และพาณิชยกรรมเป็นต้น

อันเป็นประโยชน์แก่เรือน ท่านเรียกว่า อคาริย และอคาริยะนั้น ไม่มี

ในบรรพชา ฉะนั้น บรรพชาจึงชื่อว่า อนคาริยะ (กรรมไม่เป็นประโยชน์

แก่เรือน) อธิบายว่า เราพึงออก คือ พึงเข้าถึง ได้แก่พึงปฏิบัติกรรม

อันไม่เป็นประโยชน์แก่เรือน คือบรรพชานั้น. โสณะอุบาสกแจ้งถึงเหตุ

ที่ตนตรึกในที่ลับ ด้วยอาการอย่างนี้แก่พระเถระแล้ว มีความประสงค์จะ

ปฏิบัติตามนั้น จึงเรียนว่า ขอพระผู้เป็นเจ้า มหากัจจานะ จงให้กระผม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 555

บวชเถอะขอรับ. ฝ่ายพระเถระใคร่ครวญว่า ญาณของเธอยังไม่แก่กล้า

ก่อน จึงรอคอยความแก่กล้าของญาณ ห้ามความพอใจในบรรพชา

โดยนัยมีอาทิว่า ทำได้ยากแล ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า เอกภตฺต นี้ ท่านกล่าวหมายถึง

การงดเว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล ซึ่งกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุเป็น

ผู้มีภัตหนเดียว เว้นจากความกำหนัด เว้นจากการบริโภคในเวลาวิกาล.

บทว่า เอกเสยฺย ได้แก่ นอนไม่มีเพื่อน. ก็ในคำว่า เอกเสยฺย นี้ เมื่อ

มุ่งถึงการนอนเป็นประธาน ท่านจึงแสดงกายวิเวกในอิริยาบถทั้ง ๔ ที่กล่าว

แล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ยืนคนเดียว เดินคนเดียว นั่งคนเดียว ดังนี้ ไม่

ใช่แสดงเพียงเป็นผู้ผู้เดียวนอน. บทว่า พฺรหฺมอริย ได้แก่ พรหมจรรย์

คือการเว้นจากเมถุน หรือศาสนพรหมจรรย์ คือการประกอบเนือง ๆ

ซึ่งไตรสิกขา. บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาต ในโจทนัตถะ. บทว่า ตตฺเถว

ได้แก่ ในเรือนนั่นเอง. บทว่า พุทฺธสาสน อนุยุญฺช ความว่า จงประ-

กอบเนือง ๆ ซึ่งศีลมีองค์ ๕ มีองค์ ๘ และมีองค์ ๑๐ ต่างโดยการกำหนด

เป็นนิจศีล และอุโบสถศีลเป็นต้น และสมาธิภาวนา และปัญญาภาวนา

อันสมควรแก่ศีลนั้น. จริงอยู่ พรหมจรรย์นี้ อันอุบาสกพึงประพฤติ

เนือง ๆ ในส่วนเบื้องต้น ชื่อว่าพระพุทธศาสนา. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า พรหมจรรย์ประกอบด้วยกาล มีภัตหนเดียว นอนคนเดียว

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาลยุตฺต ความว่า ประกอบด้วยกาล

กล่าวคือ วัน ๑๔, ๑๕, ๘, ค่ำ และวันปาฏิหาริยปักข์. อีกอย่างหนึ่ง

เราพึงสามารถตลอดกาลอันควร คืออันเหมาะสมแก่ท่านผู้ประกอบเนือง ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 556

ในกาลตามที่กล่าวแล้ว อธิบายว่า ไม่ใช่บวชตลอดกาล. คำนั้นทั้งหมด

ท่านกล่าวไว้ เพื่อทำให้เหมาะสมในสัมมาปฏิบัติ เพราะกามทั้งหลาย

ละได้ยาก เหตุญาณของท่านยังไม่แก่กล้า ไม่ใช่กล่าวเพื่อห้ามความพอใจ

ในการบรรพชา.

บทว่า ปพฺพชฺชาภิสงฺขาโร ได้แก่ เริ่มคืออุตสาหะ เพื่อบรรพชา.

บทว่า ปฏิปสฺสมฺภิ ความว่า ระงับไป เพราะอินทรีย์ยังไม่แก่กล้า และ

เพราะความสังเวชยังไม่แก่กล้า. การบรรพชาของเธอระงับไปก็จริง ถึง

อย่างนั้น เธอก็ยังดำรงตามวิถีที่พระเถระบอกให้แล้ว เข้าไปหาพระเถระ

ตามกาลอันสมควรแล้ว นั่งใกล้ฟังธรรม. จิตของเธอเกิดขึ้นในการ

บรรพชาเป็นครั้งที่สอง โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. เธอแจ้งแก่พระเถระ

ให้ทราบ. แม้ครั้งที่สอง พระเถระที่ยังห้าม. แต่ในวาระที่สาม พระเถระ

รู้ว่าเธอมีญาณแก่กล้าแล้ว จึงให้เธอบรรพชาด้วยคิดว่า บัดนี้ เป็นเวลา

ที่จะให้เธอได้บรรพชา. ก็พระเถระให้เธอผู้บรรพชาแล้วนั้น แสวงหา

คณะ ล่วงไปได้สามปี จึงให้อุปสมบท ซึ่งท่านหมายถึงกล่าวไว้ว่า ทุติยมฺปิ

โข โสโณ ฯ เป ฯ อุปสมฺปาเทสิ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปภิกฺขุโก แปลว่า มีภิกษุสองสาม

รูป. ได้ยินว่า ในคราวนั้น ภิกษุทั้งหลายโดยมาก อยู่ในมัชฌิมประเทศ

เท่านั้น. เพราะฉะนั้น ในที่นั้นจึงมีภิกษุ ๒-๓ รูปเท่านั้น. ก็ภิกษุเหล่านั้น

แยกกันอยู่อย่างนี้ คือในนิคมหนึ่งมีรูปเดียว ในนิคมหนึ่งมีสองรูป บทว่า

กิจฺเฉน แปลว่า โดยลำบาก. บทว่า กสิเรน แปลว่า โดยยาก. บทว่า

ตโต ตโต ได้แก่ จากคามและนิคมเป็นต้นนั้น ๆ. จริงอยู่ เมื่อพระเถระ

นำภิกษุ ๒-๓ รูปมา บรรดาภิกษุเหล่าอื่นที่นำมาก่อน ก็พากันหลีกไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 557

ด้วยกรณียกิจบางอย่างแล. เมื่อรอคอยกาลเล็กน้อย แล้วนำภิกษุเหล่านั้น

กลับมาอีก ฝ่ายภิกษุนอกนี้ก็หลีกไป. การประชุมโดยการนำมาบ่อย ๆ

อย่างนี้ ได้มีโดยกาลนานทีเดียว. ก็ในกาลนั้น พระเถระได้อยู่แต่รูปเดียว.

บทว่า ทสวคฺค ภิกฺขุสงฺฆ สนฺนิปาเตตฺวา ความว่า ในกาลนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงอนุญาตการอุปสมบทด้วยสงฆ์ทสวรรคเท่านั้น แม้ใน

ปัจจันตประเทศ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าถูกพระเถระทูลวิงวอนถึง

เหตุอุปสมบทนี้ จึงทรงอนุญาตการอุปสมบท ในปัจจันตประเทศด้วยสงฆ์

ปัญจวรรค. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ติณฺณ วสฺสาน ฯ เป ฯ

สนินิปาเตตฺวา ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า วสฺส วุฏฺสฺส ได้แก่ ผู้อุปสมบทแล้วเข้าพรรษาต้นแล้ว

ออก. บทว่า เอทิโส จ เอทิโส จ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเราได้

ฟังมาว่า เห็นปานนี้ ๆ คือ ทรงประกอบด้วยนามกายสมบัติ และรูปกาย-

สมบัติเห็นปานนี้ และประกอบด้วยธรรมกายสมบัติเห็นปานนี้ ด้วยคำว่า

น โข เม โส ภควา สมฺมุขา ทิฏฺโ นี้ อาจารย์ทั้งหลายหมายเอาความ

เป็นปุถุชนเท่านั้น กล่าวว่าท่านโสณะได้มีความประสงค์จะเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้า แต่ภายหลังเธออยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดา

ในเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงเชื้อเชิญ จึงทำไว้ในใจให้มีประโยชน์ถึง

พระสูตร ๑๖ เป็นวรรค ๘ วรรค เฉพาะพระพักตร์พระศาสดา แล้ว

ประมวลมาไว้ในใจทั้งหมด เป็นผู้รู้แจ้งอรรถและธรรม เมื่อจะกล่าวเป็น

ผู้มีจิตเป็นสมาธิ โดยมุขคือความปราโมทย์อันเกิดแต่ธรรม ในเวลาจบ

สรภัญญะ เริ่มตั้งวิปัสสนาพิจารณาสังขาร บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ

ก็เพื่อประโยชน์นี้เท่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสั่งให้เธออยู่ในพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 558

คันธกุฎีเดียวกันกับพระองค์. ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า คำว่าเรายัง

ไม่ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะพระพักตร์แล ดังนี้ ท่านกล่าวหมาย

เอาเฉพาะการเห็นรูปกายเท่านั้น. จริงอยู่ ท่านพระโสณะพอบวชแล้วก็

เรียนกรรมฐานในสำนักของพระเถระ เพียรพยายามอยู่ ยังไม่ได้อุปสมบท

เลย ได้เป็นพระโสดาบัน ครั้นอุปสมบทแล้วคิดว่า แม้อุบาสกทั้งหลาย

ก็เป็นพระโสดาบัน ทั้งเราก็เป็นพระโสดาบัน ในข้อนี้จะคิดไปทำไมเล่า

จึงเจริญวิปัสสนาเพื่อมรรคชั้นสูงได้อภิญญา ๖ ภายในพรรษานั้นเอง แล้ว

ปวารณาด้วยวิสุทธิปวารณา ก็เพราะเห็นอริยสัจ จึงเป็นอันชื่อว่าเธอได้

เห็นธรรมกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า สมจริงดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้น

ชื่อว่าเห็นธรรม. เพราะฉะนั้น การเห็นธรรมกาย จึงสำเร็จแก่เธอก่อน

ทีเดียว ก็แล ครั้นปวารณาแล้ว เธอได้มีความประสงค์จะเห็นรูปกาย.

บาลีว่า ถ้าพระอุปัชฌาย์อนุญาตเราไซร้ ดังนี้ก็มี. แต่นักจาร จารว่า

ภนฺเต. อนึ่ง บาลีว่า ดีละ ดีละ คุณโสณะ เธอจงไปเถอะคุณโสณะ ดังนี้

ก็มี. แต่คำว่า มา อาวุโส ไม่มีในคัมภีร์บางฉบับ. อนึ่ง บทว่า เอวมาวุโส

บาลีว่า โข อายสฺมา โสโณ ดังนี้ก็มี. จริงอยู่ วาทะว่าอาวุโสนั่นแหละ

พวกภิกษุเคยประพฤติเรียกกันและกันมา ในคราวที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ยังทรงพระชนม์อยู่. อรรถแห่งบทมีอาทิว่า ภควนฺต ปาสาทิก ข้าพเจ้า

ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.

บทว่า กจฺจิ ภิกฺขุ ขมนีย ความว่า ดูก่อนภิกษุ ยนต์คือสรีระของ

ท่านนี้ มีจักร ๔ มีทวาร ๙ เธอพึงอดทนได้แลหรือ คือเธอสามารถ

เพื่อจะอดทน คืออดกลั้น บริหารได้หรือ ได้แก่ ภาระคือทุกข์ ไม่ครอบ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 559

งำเธอหรือ. บทว่า กจฺจิ ยาปนีย ความว่า เธออาจยังอัตภาพให้เป็นไป

คือให้ดำเนินไปในกิจนั้น ๆ ได้หรือ เธอไม่แสดงอันตรายอะไรหรือ.

บทว่า กจฺจิสิ อปฺปกิลมเถน ความว่า เธอมาสิ้นทางไกลเท่านี้ ด้วย

ความไม่ลำบากบ้างหรือ.

บทว่า เอตทโหสิ ความว่า ท่านพระอานนท์ เมื่ออนุสรณ์ถึง

พระพุทธจริยาคุณ จึงได้กล่าวคำนี้ในบัดนี้ โดยนัยมีอาทิว่า ยสฺส โข ม

ภควา นี้ได้เป็นคำที่เธอเคยคิดมาเป็นอาจิณวัตร. บทว่า เอกวิหาเร

ได้เเก่ ในพระคันธกุฎีเดียวกัน. จริงอยู่ พระคันธกุฎีในที่นี้ ท่านประสงค์

ถึงวิหาร. บทว่า วตฺถุ แปลว่า เพื่อจะอยู่.

ในบทว่า นิสชฺชาย วีตินาเมตฺวา นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ อาจารย์

บางพวกกล่าวว่า เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงกระทำปฏิสัน-

ถาร ในการเข้าสมาบัติ แก่ท่านพระโสณะ ทรงเข้าสมาบัติทั้งหมดที่ทั่วไป

แก่พระสาวก โดยอนุโลมและปฏิโลม สิ้นราตรีเป็นอันมาก ฯลฯ แล้ว

จึงเสด็จเข้าสู่วิหาร ฉะนั้น ฝ่ายท่านพระโสณะ ทราบความประสงค์ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเข้าสมาบัตินั้นทั้งหมด อันสมควรแก่พระประสงค์

นั้น สิ้นราตรีเป็นอันมาก ฯ ล ฯ แล้วเข้าสู่วิหาร. ก็แล ครั้นเข้าไปแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต แม้เธอก็ทำจีวรให้เป็นกรณียกิจภายนอก

(เปลื้องจีวร) แล้วยับยั้งด้วยการนั่ง ข้างพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า อชฺเฌสิ ได้แก่ ทรงสั่ง. บทว่า ปฏิภาตุ ต ภิกฺขุ ธมฺโม ภาสิตุ

ได้แก่ ดูก่อนภิกษุ การกล่าวธรรม จงปรากฏแก่เธอ คือจงมาในมุข

คือญาณของเธอ อธิบายว่า จงกล่าวธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้

เล่าเรียนมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 560

บทว่า โสฬส อฏฺกวคฺคิกานิ ได้แก่ สูตร ๑๖ สูตร มีกามสูตร

เป็นต้น อันเป็นวรรค ๘ วรรค. บทว่า สเรน อภณิ ได้แก่ ได้กล่าว

ด้วยเสียงอันขับไปตามสูตร อธิบายว่า กล่าวโดยสรภัญญะ. บทว่า สร-

ภญฺปริโยสาเน ได้แก่ ในการกล่าวเสียงสูงจบลง. บทว่า สุคฺคหิตานิ

ได้แก่ เล่าเรียนโดยชอบ. บทว่า สุมนสิกตานิ ได้แก่ ใส่ใจด้วยดี.

บุคคลบางคนในเวลาเล่าเรียน แม้เรียนโดยชอบ ภายหลังในเวลาทำไว้

ในใจ โดยการสาธยายเป็นต้น ก็กล่าวพยัญชนะให้ผิดไป หรือทำบทหน้า

บทหลังให้ผิดพลาดไป พระโสณะนี้ หาเป็นเช่นนั้นไม่. แต่พระโสณะนี้

ใส่ใจตามที่เล่าเรียนมาโดยชอบทีเดียว. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า

ิสุมนสิกตานิ ได้แก่ ใส่ใจด้วยดี. บทว่า สุปธาริตานิ ได้แก่ แม้โดย

อรรถเธอก็ทรงจำไว้ดีแล้ว. ก็เมื่อเธอทรงจำอรรถไว้ดีแล้ว ก็สามารถ

สวดบาลีได้อย่างถูกต้อง. บทว่า กลฺยาณิยาสิ วาจาย สมนฺนาคโต

ความว่า เธอเป็นผู้ประกอบด้วยวาจาของชาวเมือง บริบูรณ์ด้วยบทและ

พยัญชนะอันกลมกล่อม ด้วยการกล่าวตามวิธี แห่งสิถิลและธนิตเป็นต้น.

บทว่า วิสฏฺาย แปลว่า หลุดพ้น. ด้วยคำนั้นท่านแสดงถึงความที่ท่าน

เป็นผู้มีวาทะว่าหลุดพ้น. บทว่า อเนลคลาย ความว่า โทษท่านเรียกว่า

เอละ โทษของวาจานั้นไม่ไหลออกไป เหตุนั้น วาจานั้นชื่อว่า อเนลคลา

อธิบายว่า วาจานั้น หาโทษมิได้. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อเนลคลาย

ความว่า ด้วยวาจาอันหาโทษมิได้ และไม่คลาดเคลื่อนไป ชื่อว่าวาจาหา

โทษมิได้ อธิบายว่า มีบทและพยัญชนะไม่คลาดเคลื่อน คือมีบทและ

พยัญชนะไม่ขาดหาย. จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงสถาปนา

เธอไว้ในเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้สาวกของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 561

ผู้กล่าววาจาไพเราะ โสณกุฏิกัณณะเป็นเลิศ. บทว่า อตฺถสฺส วิญฺาปนิยา

ความว่า ด้วยวาจาอันสามารถ เพื่อให้รู้แจ้งอรรถตามที่ประสงค์.

บทว่า กติวสฺโส ความว่า ได้ยินว่า เธอดำรงอยู่ ในส่วนที่ ๓ แห่ง

มัชฌิมวัย สมบูรณ์ด้วยอากัปปกิริยาแท้ ย่อมปรากฏแก่ชนเหล่าอื่น เหมือน

บรรพชิตผู้บวชนาน ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม หมายถึงท่าน.

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ข้อนั้นไม่ใช่เหตุ เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านสมควร

เพื่อจะเสวยสุขอันเกิดแต่สมาธิ แต่เพราะเหตุไร เธอจึงถึงความประมาท

ตลอดกาลเพียงเท่านี้ เพราะเหตุนั้น เพื่อจะประกอบความนี้อีก พระศาสดา

จึงตรัสถามท่านว่า เธอมีพรรษาเท่าไร ? ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ภิกษุ เธอกระทำชักช้าอยู่อย่างนี้ เพราะเหตุไร.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิสฺส แปลว่า เพราะเหตุไร. บทว่า

เอว จิร อกาสิ แปลว่า ประพฤติช้าอยู่อย่างนี้ อธิบายว่า เพราะเหตุไร

เธอจึงไม่เข้าถึงบรรพชา อยู่ในท่ามกลางเรือนเสียนานถึงอย่างนี้. บทว่า

จิร ทิฏฺโ เม ได้แก่ ข้าพระองค์ได้เห็นโทษในกามทั้งหลายมานาน คือ

โดยกาลนาน. บทว่า กาเมสุ ได้แก่ ในกิเลสกาม และวัตถุกาม. บทว่า

อาทีนโว แปลว่า โทษ บทว่า อปิจ ความว่า แม้เมื่อข้าพระองค์เห็น

โทษในกามทั้งหลาย โดยประการบางอย่าง ข้าพระองค์ก็ไม่สามารถเพื่อ

จะออกจากการครองเรือนก่อน. เพราะเหตุไร ? เพราะการครองเรือน

คับแคบ คือภาวะแห่งการครองเรือนมีกิจใหญ่กิจน้อย สูง ๆ ต่ำ ๆ เข้ามา

พัวพัน. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า พหุกิจฺโจ พหุกรณีโย มีกิจ

มาก มีกรณียะมาก ดังนี้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 562

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยอาการทั้งปวง

ซึ่งอรรถนี้ว่า จิตของเธอผู้เห็นโทษในกามทั้งหลาย ตามความเป็นจริง

แม้ชักช้าอยู่ไม่แล่นไป คือไม่กลิ้งตกไปโดยแท้ทีเดียว เหมือนหยาดน้ำ

บนใบบัวฉะนั้น. บทว่า อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้ อัน

แสดงถึงอรรถนี้ว่า เธอเมื่อทราบปวัตติและนิวัตติ โดยชอบทีเดียว ย่อม

ไม่ยินดีในปวัตติกาล และแม้ในกาลบางคราว ซึ่งมีปวัตติกาลและนิวัตติ

นั้นเป็นนิมิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิสฺวา อาทีนว โลเก ความว่า เห็น

อาทีนพ คือโทษด้วยจักษุคือปัญญา ในสังขารโลกแม้ทั้งสิ้น โดยนัยมี

อาทิว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนี้. ด้วย

คำนี้ พระองค์ทรงแสดงถึงวิปัสสนาวาระ. บทว่า ตฺวา ธมฺม นิรูปธึ

ความว่า รู้ความไม่มีอุปธิ คือนิพพานธรรม เพราะสละอุปธิทั้งปวง

ได้ขาด คือ กระทำอมตธรรม กล่าวคือวิเวกอันเป็นเครื่องสลัดทุกข์ให้

แจ่มแจ้ง แทงตลอดด้วยมรรคญาณ ตามความเป็นจริง. พึงเห็นเหตุ

และอรรถของบทเหล่านี้ว่า ทิสฺวา ตฺวา เหมือนในประโยคมีอาทิว่า

เพราะดื่มเปรียงจึงมีกำลัง เพราะเห็นราชสีห์ ความกลัวจึงมี เพราะเห็น

ด้วยปัญญา อาสวะจึงหมดไป. บทว่า อริโย น รมติ ปาเป ความว่า

สัปบุรุษ ชื่อว่าอริยะ เพราะไกลจากกิเลส ย่อมไม่ยินดีในบาป แม้

ประมาณน้อย. เพราะเหตุไร ? เพราะคนสะอาด ย่อมไม่ยินดีในบาป

อธิบายว่า บุคคลบริสุทธิ์ เพราะมีกายสมาจารหมดจดด้วยดี ย่อมไม่ยินดี

คือย่อมไม่เพลิดเพลินในบาป คือในสังกิเลสธรรม ดุจพระยาหงส์ ไม่

ยินดีในที่สกปรกฉะนั้น. บาลีว่า ปาโป น รมตี สุจึ คนชั่วย่อมไม่ยินดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 563

ของสะอาด ดังนี้ก็มี. คำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ คนมีบาป คือคนชั่ว

ย่อมไม่ยินดี ของที่สะอาด คือของที่ไม่มีโทษ มีความผ่องแผ้วเป็นธรรม

โดยที่แท้ ยินดีแต่ของไม่สะอาด คือสังกิเลสธรรมเท่านั้น เหมือน

สุกรบ้านเป็นต้น ยินดีแต่สถานที่สกปรกฉะนั้น เพราะฉะนั้น พระองค์จึง

ทรงเปลี่ยนเทศนา โดยธรรมอันเป็นปฏิปักษ์กัน.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งอุทานอย่างนี้แล้ว ท่านโสณะลุก

จากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ มีอุป-

สมบทเป็นต้น พร้อมด้วยสงฆ์ปัญจวรรค ในปัจจันตประเทศ ตามคำ

อุปัชฌาย์ของตน. คำว่า ภควาปิ ตานิ อนุชานิ ทั้งหมด พึงทราบโดย

นัยที่มาแล้วในขันธกะเถิด.

จบอรรถกถาโสณสูตรที่ ๖

๗. กังขาเรวตสูตร

ว่าด้วยผู้มากด้วยความสงสัย

[๑๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล

ท่านพระกังขาเรวตะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิ

ของตนอยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็น

ท่านพระกังขาเรวตะผู้นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณากังขาวิตรณวิสุทธิ

ของตนอยู่ในที่ไม่ไกล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 564

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานในเวลานั้นว่า

ความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใดในอัตภาพนี้ หรือ

ในอัตภาพอื่น ในความรู้ของตน หรือในความรู้ของ

ผู้อื่น บุคคลผู้เพ่งพินิจ มีความเพียร ประพฤติ

พรหมจรรย์อยู่ ย่อมละความสงสัยเหล่านั้นได้ทั้งหมด.

จบกังขาเรวตสูตรที่ ๗

อรรถกถากังขาเรวตสูตร

กังขาเรวตสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เรวโต เป็นชื่อของพระเถระนั้น. จริงอยู่ พระเถระนั้น

ได้บรรพชาอุปสมบทในพระศาสนาแล้ว เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมอยู่.

แต่เธอเป็นผู้มากไปด้วยความสงสัย กล่าวคือความรังเกียจในพระวินัย โดย

มีอาทิว่า ถั่วเขียวที่เป็นอกัปปิยะ ย่อมไม่ควรเพื่อจะบริโภค และว่าน้ำอ้อย

งบที่เป็นอกัปปิยะ ย่อมไม่ควรเพื่อจะบริโภค. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

ปรากฏชื่อว่ากังขาเรวตะ ครั้นภายหลัง ท่านเรียนพระกัมมัฏฐานใน

สำนักพระศาสดา เพียรพยายามอยู่ ทำให้แจ้งอภิญญา ๖ ยับยั้งอยู่ด้วยสุข

อันเกิดแต่ฌาน และสุขอันเกิดแต่ผลจิต. แต่โดยมาก ท่านพิจารณา

อริยมรรคที่ตนบรรลุแล้ว ทำได้หนักแน่น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พิจารณาอยู่ ซึ่งกังขาวิตรณวิสุทธิของตน ดงนี้เป็นต้น.

จริงอยู่ ปัญญาที่สัมปยุตด้วยมรรค ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาว่า

กังขาวิตรณวิสุทธิ เพราะข้าม คือก้าวล่วงความสงสัยทั้งปวง โดยไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 565

ส่วนเหลือ คือความสงสัยมีวัตถุ ๑๖ อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า ตลอด

อดีตกาลยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ ความสงสัยมีวัตถุ ๘ ที่ท่าน

กล่าวไว้อย่างนี้ว่า ย่อมสงสัยในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ฯลฯ ย่อม

สงสัยในปฏิจจสมุปปันนธรรม จะป่วยกล่าวไปไยถึงความสงสัยนอกนี้เล่า

และเพราะความบริสุทธิ์โดยส่วนเดียว จากกิเลสเหล่าอื่นที่ตนพึงละ. ก็

ท่านผู้มีอายุนี้ เพราะเหตุที่ท่านมีความสงสัยเป็นปกติมานาน ท่านจึงนั่ง

พิจารณาอริยมรรคที่ตนบรรลุแล้วนั้น ให้หนักแน่นว่า เราละความสงสัย

เหล่านี้ได้เด็ดขาด เพราะอาศัยมรรคธรรมนี้ ไม่ใช่นั่งพิจารณาเห็นนาม

รูปพร้อมด้วยปัจจัย เพราะการข้ามความสงสัยเสียได้นั้น มีความไม่เที่ยง

เป็นที่สุด.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบอรรถนี้ คือ การข้าม

ความสงสัยแห่งอริยมรรคได้เด็ดขาด แล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดง

ถึงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยากาจิ กงฺขา อิธ วา หุร วา ความว่า

ความสงสัยในอัตภาพนี้ คืออัตภาพที่เป็นปัจจุบันนี้ที่เกิดขึ้น โดยนัยมีอาทิ

ว่า เราย่อมเป็นหรือหนอ หรือว่าเราไม่เป็นหนอ หรือในอัตภาพอื่น คือ

ในอัตภาพที่เป็นอดีตและอนาคตที่เกิดขึ้น โดยนัยมีอาทิว่า ตลอดอดีต-

กาลยาวนาน เราได้มีแล้วหรือหนอ. บทว่า สกเวทิยา วา ปรเวทิยา วา

ความว่า ความสงสัยนั้น คือความเคลือบแคลงอย่างใดอย่างหนึ่ง ใน

ความรู้ของตนที่จะพึงได้ คือที่เป็นไปโดยเป็นอารมณ์ในอัตภาพของตน

อย่างนี้ คือโดยนัยดังกล่าวแล้ว หรือในความรู้ของผู้อื่น ที่จะพึงได้ใน

อัตภาพของผู้อื่น คือที่จะพึงได้ ได้แก่ที่เป็นไปในอัตภาพอันสูงสุด โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 566

นัยมีอาทิว่า เป็นพระพุทธเจ้าหรือหนอ หรือว่าไม่เป็นหนอ. บทว่า

ฌายิโน ตา ปชหนฺติ สพฺพา อาตาปิโน พฺรหฺมจริย จรนฺตา ความว่า

คนเหล่าใด ชื่อว่าผู้เพ่งฌาน ด้วยอารัมมณุปนิชฌาน และลักษณุปนิช-

ฌาน เจริญวิปัสสนา ชื่อว่ามีความเพียร เพราะบริบูรณ์ด้วยสัมมัปปธาน ๔

ประพฤติอยู่ คือได้รับมรรคพรหมจรรย์ ผู้ตั้งอยู่ในปฐมมรรค ต่างโดย

ประเภทแห่งสัทธานุสารีบุคคลเป็นต้น ย่อมละ คือย่อมตัดขาด ซึ่งความ

สงสัยทั้งปวงนั้น ในขณะแห่งมรรค. ก็ต่อแต่นั้น เป็นอันชื่อว่าคนเหล่า-

นั้นละความสงสัยเหล่านั้นเสียได้. เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า การละ

ความสงสัยเหล่านั้นอื่นจากนี้ได้เด็ดขาด ย่อมไม่มี.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชมเชยการบรรลุอริยมรรค

ของท่านพระกังขาเรวตะ โดยฌานมุข คือโดยยกฌานขึ้นเป็นประธาน จึง

ทรงเปล่งอุทานด้วยอำนาจความชมเชย. ก็ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้า จึงทรงสถาปนาท่านไว้ในเอตทัคคะโดยความเป็นผู้มีฌานว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้สาวกของเราผู้มีฌาน กังขาเรวตะเป็น

เลิศแล.

จบอรรถกถากังขาเรวตสูตรที่ ๗

๘. อานันทสูตร

ว่าด้วยคนดีทำชั่วได้ยาก

[๑๒๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในวันอุโบสถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 567

เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระ-

นครราชคฤห์ พระเทวทัตได้เห็นท่านพระอานนท์กำลังเที่ยวบิณฑบาต

อยู่ในพระนครราชคฤห์ จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์ แล้วได้กล่าวกะท่าน

พระอานนท์ว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ บัดนี้ ผมจักกระทำอุโบสถและสังฆ-

กรรมแยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า แยกจากภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น

ไป ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์

กลับจากบิณฑบาตในภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส

เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระ-

นครราชคฤห์ พระเทวทัตได้เห็นข้าพระองค์กำลังเที่ยวบิณฑบาตอยู่ใน

พระนครราชคฤห์ จึงเข้าไปหาข้าพระองค์ ครั้นแล้วได้กล่าวกะข้าพระ-

องค์ว่า ดูก่อนอาวุโสอานนท์ บัดนี้ ผมจักกระทำอุโบสถและสังฆกรรม

แยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า แยกจากภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์ จักกระทำ

อุโบสถและสังฆกรรม.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความดีคนดีทำได้ง่าย ความดีคนชั่วทำได้ยาก

ความชั่วคนชั่วทำได้ง่าย ความชั่วพระอริยะทั้งหลาย

ทำได้ยาก.

จบอานันทสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 568

อรรถกถาอานันทสูตร

อานันทสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อายสฺมนฺต อานนฺท เอตทโวจ ความว่า พระเทวทัต

ชักชวนในการฆ่า ให้ปล่อยช้างนาฬาคิรี กลิ้งศิลา เมื่อไม่อาจทำความ

พินาศแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า อชฺชตคฺเค ตั้งแต่

วันนี้เป็นต้นไปนี้ ด้วยประสงค์จะทำลายสงฆ์ กระทำความแยกจักร.

บทว่า อญฺตฺเรว ภควตา แปลว่า แยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า. อธิบาย

ว่า ไม่กระทำให้เป็นพระศาสดา . บทว่า อญฺตฺเรว ภิกฺขุสงฺเฆน แปลว่า

แยกจากภิกษุสงฆ์เท่านั้น. บทว่า อุโปสถ กริสฺสามิ สงฺฆกมฺมานิ จ

ความว่า จักแยกภิกษุสงฆ์ผู้กระทำตามโอวาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า กระ-

ทำอุโบสถ และสังฆกรรมแผนกหนึ่งกับเหล่าภิกษุผู้คล้อยตามเรา. บทว่า

เทวทตฺโต สงฺฆ ภินฺทิสฺสติ ความว่า วันนี้ พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์

แยกเป็น ๒ ส่วน โดยแน่นอน เพราะพระเทวทัตตระเตรียมพรรคพวก

ผู้กระทำการแตกแยกทั้งหมดไว้แล้ว. จริงอยู่ เมื่อพระเทวทัตแสดงวัตถุ

แม้อย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาวัตถุเครื่องกระทำความแตกแยก มีอาทิว่า

แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม แล้วให้ยินยอมว่า พวกเธอจงถือเอาสิ่งนี้ จง

ชอบใจสิ่งนี้ ด้วยเหตุนั้น ๆ แล้วให้จับสลาก แยกกระทำสังฆกรรม

สงฆ์เป็นอันถูกทำลายแล้ว.

สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า สงฆ์แตกกันด้วยอาการ ๕ อย่าง

คือด้วยกรรม ๑ ด้วยอุทเทส ๑ ด้วยการชักชวน ๑ ด้วยการสวดประกาศ ๑

ด้วยการจับสลาก ๑. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กมฺเมน ได้แก่ ด้วยกรรม

อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากรรม ๔ อย่าง มีอปโลกนกรรมเป็นต้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 569

อุทฺเทเสน ได้แก่ ด้วยอุทเทสอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาปาติโมกขุท-

เทศ ๕ อย่าง. บทว่า โวหรนฺโต ได้แก่ แสดงถึงวัตถุเครื่องทำความ

แตกร้าว ๑๘ อย่าง มีการแสดงสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ว่าเป็นธรรมเป็นต้น

ด้วยอุบัติเหล่านั้น ๆ. บทว่า อนุสฺสาวเนน ความว่า ด้วยการเปล่งวาจา

ประกาศที่ใกล้หู โดยนัยมีอาทิว่า พวกเธอย่อมรู้มิใช่หรือว่า เราบวชมา

จากตระกูลสูง และว่าเป็นพหูสูต ควรหรือพวกท่านจะให้เกิดความคิด

ขึ้นว่า ชื่อว่าคนเช่นเราจะพึงให้ถือนอกธรรม นอกวินัย เราไม่กลัวอบาย

หรือ. บทว่า สลากคฺคาเหน ความว่า ด้วยการสวดประกาศอย่างนี้แล้ว

จึงสนับสนุนความคิดของภิกษุเหล่านั้น กระทำให้มีการไม่หวนกลับเป็น

ธรรม แล้วให้จับสลากด้วยคำว่า พวกท่านจงจับสลากนี้. ก็ในอาการ

เหล่านี้ กรรมหรืออุทเทสเท่านั้น ย่อมเป็นสำคัญ ส่วนการชักชวน การ

สวดประกาศ และการให้จับสลาก เป็นส่วนเบื้องต้น. จริงอยู่ เมื่อเธอ

ชักชวนด้วยการแสดงวัตถุ ๑๘ ประการ แล้วสวดประกาศเพื่อให้เกิดความ

ยินดีในการชักชวนนั้น แล้วจึงให้จับสลาก สงฆ์ก็เป็นอันชื่อว่ายังไม่แตก

กันก่อน. แต่เมื่อภิกษุ ๔ รูป หรือเกินกว่านั้น พากันจับสลากแล้ว พา

กันทำอุทเทส หรือกรรมแยกกัน ด้วยอาการอย่างนี้ สงฆ์ชื่อว่าเป็นอัน

ถูกทำลายแล้ว.

ส่วนพระเทวทัต พอให้ส่วนเบื้องต้นแห่งสังฆเภททั้งหมดสำเร็จ

แล้ว ก็คิดว่า วันนี้เราจักแยกทำอุโบสถ และสังฆกรรม เป็นเฉพาะ

ส่วนหนึ่ง จึงได้กล่าวคำมีอาทิว่า อชฺชตคฺเค ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระ-

อานนทเถระจึงกราบทูลว่า วันนี้ พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์ พระ-

เจ้าข้า ดังนี้เป็นต้น. เพราะเราทั้งหลายได้กล่าวไว้แล้วว่า เพราะพระ-

เทวทัต ตระเตรียมพรรคพวกผู้ทำความแตกร้าวทั้งหมดไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 570

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ซึ่งสังฆเภทกรรม อันเป็นทางให้เกิดในอเวจีมหานรก ตั้งอยู่ตลอดกัป

แก้ไขไม่ได้ ที่พระเทวทัตให้บังเกิดขึ้นนี้. บทว่า อิม อุทาน ความว่า

ทรงเปล่งอุทานนี้ อันประกาศอรรถนี้ว่า ก็บุคคลผู้ฉลาดหลักแหลมดี

เนื่องด้วยเป็นสัปบุรุษปฏิบัติถูกส่วนกันในฝ่ายกุศล และเป็นอสัปบุรุษ

ปฏิบัติไม่ถูกส่วนกันในฝ่ายกุศล ตามลำดับ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุกร สาธุนา สาธุ ความว่า ชื่อว่า

คนดีเพราะยังประโยชน์ตนและประโยชน์ของสังคมให้สำเร็จ ได้แก่ผู้

ปฏิบัติชอบ กรรมดี คือกรรมงาม เจริญ อันนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่

ตน และสังคม อันคนดีนั้นคือพระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้น พระ-

ปัจเจกสัมพุทธเจ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือโลกิยสาธุชนอื่น ทำได้

โดยง่าย คือสามารถเพื่อจะทำได้โดยง่าย. บทว่า สาธุ ปาเปน ทุกฺกร

ความว่า ก็กรรมดี มีลักษณะดังกล่าวแล้วนั้นนั่นแล อันคนชั่ว คือ

ปาปบุคคล มีพระเทวทัตเป็นต้น ทำได้ยาก คือไม่สามารถจะทำได้

อธิบายว่า เขาไม่อาจจะทำกรรมดีนั้นได้. บทว่า ปาป ปาเปน สุกร

ความว่า กรรมชั่ว คือกรรมไม่ดี ได้แก่กรรมที่นำความพินาศมาให้ทั้งแก่

ตน และสังคม อันคนชั่ว คือปาปบุคคลตามที่กล่าวแล้ว ทำได้ง่าย คือ

สามารถจะทำได้โดยง่าย. บทว่า ปาปมริเยหิ ทุกฺกร ความว่า ส่วนกรรม

ชั่วนั้น ๆ อันพระอริยเจ้าทั้งหลาย คืออันบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ทำได้ยาก คือไม่มีความยินดียิ่งเป็นแดนเกิด. ก็พระศาสดาทรงแสดงว่า

พระอริยบุคคลเหล่านั้น เป็นผู้ฆ่ากิเลส เพียงดังสะพานได้แล้ว.

จบอรรถกถาอานันทสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 571

๙. สัททายมานสูตร

ว่าด้วยมาณพกล่าวเสียงอื้ออึง

[๑๒๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบทกับภิกษุ

สงฆ์หมู่ใหญ่ ก็สมัยนั้นแล มาณพมากด้วยกันเปล่งเสียงอื้ออึงผ่านไปใน

ที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นมาณพมาก

ด้วยกันเปล่งเสียงอื้ออึงผ่านไปในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ชนทั้งหลายผู้มีสติหลงลืม อวดอ้างว่าเป็นบัณฑิต

พูดตามอารมณ์ พูดยืดยาวตามปรารถนา ย่อมไม่

รู้สึกถึงเหตุที่ตนพูดชักนำผู้อื่นนั้น.

จบสัททายมานสูตรที่ ๙

อรรถกถาสัททายมานสูตร

สัททายมานสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มาณวกา ได้แก่ คนหนุ่ม คือผู้ตั้งอยู่ในปฐมวัย คือใน

วัยหนุ่มสาว. เด็กพราหมณ์ ท่านประสงค์เอาในที่นี้. บทว่า สธายมาน-

รูปา นี้ ท่านกล่าวหมายเอาคำที่เกิดจากการเย้ยหยัน. อธิบายว่า กล่าว

เย้ยหยันต่อบุคคลเหล่าอื่น และเป็นผู้มีปกติกล่าวคำนั้น. ในข้อนั้นมีอรรถ

แห่งคำดังต่อไปนี้. เมื่อควรจะกล่าวว่า สธยมานา เพราะวิเคราะห์ว่า

การกล่าวคำน่าเกลียด ชื่อว่า สธะ บอกกล่าวคำน่าเกลียดนั้น จึงกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 572

สธายมานา เพราะทำให้เป็นทีฆะ. อีกอย่างหนึ่ง ต่อแต่นั้น จึงกล่าวว่า

สธายมานรูปา เพราะมีสภาวะเป็นอย่างนั้น. บาลีว่า สทฺทายมานรูปา

ดังนี้ก็มี อธิบายว่า ทำเสียงอื้ออึง คือทำเสียงดัง. บทว่า ภควโต อวิทูเร

อติกฺกมนฺติ ความว่า กล่าวคำที่ชินปากนั้น ๆ ผ่านไปในวิสัยแห่งการ

สดับของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบอรรถนี้ คือทราบว่า

คนเหล่านั้นไม่สำรวมวาจา จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงอรรถนั้นโดย

ธรรมสังเวช.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริมุฏฺา แปลว่า ผู้เขลา คือ มีสติ

หลงลืม. บทว่า ปณฺฑิตาภาสา ความว่า ชื่อว่าบัณฑิตเทียม เพราะ

เปล่งวาจาว่า ตนนั่นแหละรู้ในอรรถนั้น ๆ ด้วยเข้าใจว่า คนอื่นใครเล่า

จะรู้ พวกเราเท่านั้น รู้ในอรรถนี้. บทว่า วาจาโคจรภาณิโน ความว่า

วาจาเท่านั้นเป็นโคจร คือเป็นอารมณ์ของชนเหล่าใด ชนเหล่านั้น ชื่อว่า

มีการกล่าววาจาเป็นอารมณ์ ชื่อว่าผู้มีปกติกล่าวเพียงวาจาเป็นที่ตั้งเท่านั้น

เพราะไม่กำหนดรู้ถึงอรรถ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้มีปกติกล่าววาจาเป็น

อารมณ์ เพราะพูดมุสาวาท อันไม่เป็นอารมณ์ของวาจา คือมิใช่เป็น

อารมณ์แห่งถ้อยคำของพระอริยะ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านทำการรัสสะ อา

อักษรให้เป็น อ อักษร ในบทว่า โคจรภาณิโน นี้. ผู้มักพูดมีวาจา

เป็นอารมณ์ ไม่ใช่พูดมีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์. พูดอย่างไร ? คือ พูด

ยืดยาวตามปรารถนา ได้แก่ พูดไปตามปากที่อยากจะพูด อธิบายว่า

ทำหน้าสยิ้ว เพราะไม่เคารพในผู้อื่น และเพราะไม่สบอารมณ์ตน. อีก

อย่างหนึ่ง อธิบายว่า พูดแต่วาจาเป็นอารมณ์เท่านั้น คือตนเองก็ไม่รู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 573

ถึงบทพูดก็พูดไป. อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นนั่นแล จึงพูดยืดยาวตาม

ปรารถนา คือไม่คิดถึงคำที่เป็นเหตุให้สำเร็จ ปรารถนาเพียงพูดไปตาม

ปากของตน. บทว่า เยน นีตา น ต วิทู ความว่า บุคคลผู้ไม่รู้ คือคน

โง่ ถูกบุคคลผู้มีสติหลงลืมเป็นต้น แนะนำแต่ภาวะที่ไม่มียางอาย และ

ภาวะที่สำคัญว่า ตนเป็นบัณฑิต เราเท่านั้นพูดได้ ดังนี้ ด้วยเหตุใด

ย่อมไม่รู้ ซึ่งเหตุนั้นของคนผู้พูดอย่างนั้น.

จบอรรถกถาสัททายมานสูตรที่ ๙

๑๐. จูฬปันถกสูตร

ว่าด้วยการควบคุมสติ

[๑๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี สมัยนั้นแล ท่าน

พระจูฬปันถกนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า ในที่

ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระจูฬปัน-

ถกนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้จำเพาะหน้า ในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ภิกษุมีกายตั้งมั่นแล้ว มีใจตั้งมั่นแล้ว ยืนอยู่ก็ดี

นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ควบคุมสตินี้ไว้อยู่ เธอพึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 574

ได้คุณวิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลาย ครั้นได้คุณ

วิเศษทั้งเบื้องต้นและเบื้องปลายแล้ว พึงถึงสถานที่

เป็นที่ไม่เห็นแห่งมัจจุราช.

จบจูฬปันถกสูตรที่ ๑๐

จบโสณเถรวรรคที่ ๕

อรรถกถาจูฬปันถกสูตร

จูฬปันถกสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จูฬปนฺถโก ความว่า แม้ในกาลภายหลัง ท่านผู้มีอายุนี้

ปรากฏชื่อว่า จูฬปันถก นั่นเอง โดยได้โวหารในเวลาที่ตนยังเป็นหนุ่ม

เพราะเป็นน้องชายของพระมหาปันถกเถระ และเกิดในหนทางเปลี่ยว.

แต่ว่าโดยคุณพิเศษ ท่านสำเร็จอภิญญา ๖ แตกฉานปฏิสัมภิทา จัดเข้าใน

ภายในพระมหาสาวก ๘๐ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ ๒ ตำแหน่ง ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดา

ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เนรมิตกายสำเร็จด้วยใจ ๑ ผู้ฉลาดในการ

เปลี่ยนแปลงทางใจ ๑ จูฬปันถกเป็นเอตทัคคะแล.

วันหนึ่งภายหลังภัต ท่านกลับจากบิณฑบาตนั่งพักผ่อนในที่พัก

กลางวันของตน ยับยั้งอยู่ด้วยสมาบัติต่าง ๆ ตลอดวัน พอในเวลาเย็น

เมื่อพวกอุบาสก ยังไม่มาฟังธรรมเลย เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า

ไปยังท่ามกลางวิหาร ประทับนั่งในพระคันธกุฎี ท่านคิดว่า ไม่ใช่กาลที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 575

จะเข้าไปอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน จึงนั่งขัดสมาธิ ณ ส่วนสุดข้าง

หนึ่ง หน้ามุขพระคันธกุฎี. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็ สมัยนั้นแล

ท่านพระจูฬปันถก นั่งขัดสมาธิ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้ตรงหน้า

ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอยู่ ในเวลานั้น ท่านกำหนดเวลา

แล้ว นั่งเข้าสมาบัติ.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบอรรถนี้ คือ ความ

ที่ท่านจุฬปันถก ตั้งกายและจิตไว้โดยชอบ. บทว่า อิม อุทาน ความว่า

ทรงเปล่งอุทานนี้ อันประกาศความปรากฏ ในการบรรลุคุณวิเศษ อันมี

อนุปาทาปรินิพพานเป็นที่สุด ของภิกษุแม้อื่น ผู้มีกายสงบ ผู้มีสติปรากฏ

ในอิริยาบถทั้งปวง ผู้มีจิตเป็นสมาธิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ิเตน กาเยน ความว่า ผู้มีกายทุกส่วน

ตั้งอยู่โดยความไม่หวั่นไหว กล่าวคือ ความเป็นผู้ไม่มีวิการ โดยสังเขปว่า

มี โจปนกาย ที่ชื่อว่า ตั้งไว้ชอบ เพราะละ คือ ไม่กระทำอสังวรทางกาย-

ทวาร อนึ่ง มีกายอันเป็นไปในทวารทั้ง ๕ ที่ชื่อว่า ตั้งไว้ด้วยดี เพราะ

กระทำอินทรีย์มีจักขุนทรีย์เป็นต้น ให้หมดพยศ หรือมีกรัชกาย ที่ชื่อว่า

ตั้งอยู่โดยความไม่แปรผัน เพราะไม่มีการคะนองมือเป็นต้น เหตุสำรวม

มือและเท้าได้แล้ว. ด้วยคำนั้น พระองค์ทรงแสดงถึงความบริสุทธิ์แห่ง

ศีลของเธอ. ก็บทว่า กาเยน นี้ เป็นตติยาวิภัตติใช้ในลักษณะอิตถัมภูต.

ด้วยคำว่า ิเต เจตสา นี้ ทรงแสดงความถึงพร้อมแห่งสมาธิ โดย

แสดงถึงความตั้งมั่นแห่งจิต. จริงอยู่ สมาธิ ท่านเรียกว่า ความตั้งมั่น

แห่งจิต. เพราะฉะนั้น เมื่อความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยอำนาจสมถะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 576

หรือด้วยอำนาจวิปัสสนา จิตเป็นอันชื่อว่าตั้งอยู่ โดยเข้าถึงภาวะที่จิตเป็น

เอกผุดขึ้นในอารมณ์ ไม่ใช่ตั้งอยู่โดยประการอื่น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงแสดงว่า การตั้งอยู่ คือการตั้งมั่น ซึ่ง

กายและจิตตามที่กล่าวแล้วนี้ จำปรารถนาทุก ๆ กาลและทุก ๆ อิริยาบถ

จึงตรัสว่า ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี ดังนี้เป็นต้น.

วา ศัพท์ในบาทพระคาถานั้น มีอรรถไม่แน่นอน. ด้วยวาศัพท์

นั้น เป็นอันแสดงถึงอรรถนี้ว่า ยืนอยู่หรือ หรือว่านั่งอยู่ นอนอยู่หรือ

หรือว่าเป็นอิริยาบถอื่นจากนั้น เพราะฉะนั้น แม้การจงกรมก็พึงทราบว่า

ท่านสงเคราะห์เอาในที่นี้. บทว่า เอต สตึ ภิกฺขุ อธิฏฺหาโน ความว่า

ภิกษุตั้งไว้ คือดำรงไว้ ซึ่งจิตให้คล่องแคล่ว ให้นุ่มนวล ควรแก่การงาน

โดยชอบ ด้วยอำนาจการสงบกายและจิตด้วยการอธิษฐาน ถึงความสุขอัน

หาโทษมิได้ที่ได้มา เพราะกระทำกายและจิตไม่ให้กระสับกระส่าย โดย

การสงบกายและจิตอย่างหยาบ ไม่ต้องกล่าวถึง ผู้มีสมาจารอันบริสุทธิ์

จึงเพิ่มพูนกัมมัฏฐานและให้กัมมัฏฐานถึงที่สุดด้วยสติใด ภิกษุควบคุมสติ

นั้นนั่นแล ที่มีอุปการะมาก ในเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด แห่งการ

ประกอบกัมมัฏฐาน ควบคุมไว้ในกิจนั้น ๆ ตั้งต้นแต่ชำระศีลให้หมดจด

จนถึงบรรลุคุณวิเศษ. บทว่า ลเภถ ปุพฺพาปริย วิเสส ความว่า ท่าน

มีใจอันสติควบคุมแล้วอย่างนี้ เจริญ พอกพูน ทำให้เพิ่มขึ้น ซึ่ง

กัมมัฏฐานให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป พึงได้คุณวิเศษต่างด้วยคุณวิเศษที่ยิ่งและยิ่งกว่า

ทั้งที่มีเบื้องต้นและเบื้องปลาย คือ อันเป็นไปโดยส่วยเบื้องต้นและเบื้อง

ปลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 577

ในคำนั้น คุณวิเศษอันเป็นส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลายมี ๒ อย่าง

คือ สมถะอย่าง ๑ วิปัสสนาอย่าง ๑. ใน ๒ อย่างนั้น คุณวิเศษที่เป็นไป

ด้วยอำนาจสมถะได้แก่ความเป็นผู้ชำนาญ ตั้งแต่เกิดนิมิตขึ้น จนถึง

เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน คุณวิเศษส่วนภาวนาที่เป็นไปอย่างนั้น ได้

แก่ คุณวิเศษอันเป็นส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย. แต่เมื่อว่าด้วยคุณวิเศษ

ที่เป็นไปด้วยอำนาจวิปัสสนา ได้แก่ คุณวิเศษส่วนภาวนา ที่เป็นไปโดย

กำหนดรูปธรรมของผู้ยึดมั่น โดยยกรูปขึ้นเป็นประธาน ฝ่ายของผู้ยึดมั่น

นอกนี้เป็นไปตั้งแต่กำหนดธรรมนอกนี้ จนถึงบรรลุพระอรหัต ชื่อว่า

คุณวิเศษอันเป็นไปในส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย. ก็คุณวิเศษนี้แหละ

ท่านประสงค์เอาในที่นี้.

บทว่า ลทฺธาน ปุพฺพาปริย วเสส ความว่า ได้บรรลุบารมีอย่าง

สูงสุด คือ พระอรหัต ในคุณวิเศษอันเป็นส่วนเบื้องต้นและเบื้องปลาย.

บทว่า อทสฺสน มจฺจุราชสฺส คจฺเฉ ความว่า พึงถึงสถานที่อันมัจจุไม่

เห็น คือสถานที่อันไม่เป็นอารมณ์ เพราะก้าวล่วงภพ ๓ อันเป็นอารมณ์

ของมรณะ กล่าวคือมัจจุราช เพราะครอบงำสรรพสัตว์ ด้วยอำนาจการ

เข้าไปตัดเสียซึ่งชีวิต.

คำที่ข้าพเจ้า ไม่ได้กล่าวไว้ในวรรคนี้ มีนัยดังกล่าวแล้วในหน

หลังนั่นแล.

จบอรรถกถาจูฬปันถกสูตรที่ ๑๐

จบมหาวรรควรรณนาที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 578

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ราชสูตร ๒. อัปปายุกาสูตร ๓. สุปปพุทธกุฏฐิสูตร

๔. กุมารกสูตร ๕. อุโปสถสูตร ๖. โสณสูตร ๗. กังขาเรวตสูตร

๘. อานันทสูตร ๙. สัททายมานสูตร ๑๐. จูฬปันถกสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 579

ชัจจันธวรรคที่ ๖

๑. อายุสมโอสัชชนสูตร

ว่าด้วยตรัสถึงอิทธิบาท ๔ ประการ

[๑๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน

ใกล้พระนครเวสาลี ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว

ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครเวสาลี ครั้นเสด็จ

เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครเวสาลี กลับจากบิณฑบาตในภายหลังภัตแล้ว

ตรัสเรียกท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงถือผ้านิสีทนะ เรา

จักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ เพื่อพักกลางวัน ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้ว ถือผ้านิสีทนะติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างหลัง ๆ

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ ประทับนั่ง

บนอาสนะที่ท่านพระอานนท์จัดถวาย ครั้นแล้ว ได้ตรัสกะท่านพระอานนท์

ว่า ดูก่อนอานนท์ พระนครเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์

โคตมกเจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์น่ารื่นรมย์

สารันทเจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์ ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาท

๔ ประการ ท่านผู้ใดผู้หนึ่งได้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว กระทำให้เป็น

ดุจยาน ให้เป็นที่ตั้ง มั่นคงแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ท่านผู้นั้น

หวังอยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปหนึ่งหรือเกินกว่ากัป. ดูก่อนอานนท์

อิทธิบาท ๔ ประการ ตถาคตได้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็น

ดุจยาน ให้เป็นที่ตั้ง มั่นคงแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตหวัง

อยู่ พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 580

[๑๒๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำนิมิตอันแจ้งชัด กระ-

ทำโอภาสอันแจ้งชัดถึงอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ก็ไม่สามารถจะรู้ ไม่ทูล

วิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด ขอพระสุคตทรงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด เพื่อ

เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์

สัตวโลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เพราะถูกมารเข้าดลจิต.

แม้ครั้งที่ ๒ . . .

แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดู

ก่อนอานนท์ พระนครเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ โคตมก-

เจดีย์น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์น่ารื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์น่ารื่นรมย์ สารันท-

เจดีย์น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์น่ารื่นรมย์ ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาท ๔

ประการ ท่านผู้ใดผู้หนึ่งได้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน

ให้เป็นที่ตั้ง มั่นคงแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ท่านผู้นั้นหวังอยู่

พึงดำรงอยู่ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาท ๔

ประการ ตถาคตได้เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดุจยาน ให้เป็นที่

ตั้ง มั่นคงแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตหวังอยู่ พึงดำรงอยู่

ได้ตลอดกัปหรือเกินกว่ากัป เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำนิมิตอัน

แจ้งชัด กระทำโอภาสอันแจ้งชัดถึงอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ก็ไม่สามารถ

จะรู้ ไม่ทูลวิงวอนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรงอยู่ตลอดกัปเถิด ขอพระสุคตทรงดำรงอยู่ตลอด

กัปเถิด เพื่อเกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่สัตวโลก เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 581

ประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะ

ถูกมารเข้าดลจิต.

[๑๒๙] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์

ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงไปเถิด เธอสำคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด ท่าน

พระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้ว นั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง

ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๑๓๐] ลำดับนั้นแล เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปแล้วไม่นาน มาร

ผู้มีบาปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตเจ้าเสด็จ

ปรินิพพานเถิด บัดนี้ เป็นกาลควรปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ดูก่อน

มารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา จักยังเป็นผู้ไม่ฉลาด ไม่ได้รับแนะนำ

ไม่ถึงความแกล้วกล้า ยังไม่ถึงความเกษมจากโยคะ ยังไม่เป็นพหูสูต

ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม ไม่เรียนอาจริยวาท

ของตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่าย

แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ย่ำยีด้วยดีซึ่งปรัปปวาทที่เกิดขึ้นแล้วโดยชอบธรรม

ไม่ได้เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ก็บัดนี้ ภิกษุสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ฉลาดได้รับแนะนำแล้ว

ถึงความเป็นผู้แกล้วกล้าแล้ว ถึงความเกษมจากโยคะ เป็นพหูสูต ทรง

ธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม

เรียนอาจริยวาทของตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 582

กระทำให้ง่าย ย่อมแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ย่ำยีด้วยดีซึ่งปรัปปวาทที่เกิดขึ้น

แล้วโดยชอบธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตเจ้าเสด็จปรินิพพานเถิด บัดนี้เป็นกาล

ควรปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุณีสาวิกาของ

เรา . . .อุบาสกสาวกของเรา . . . อุบาสิกาสาวิกาของเราจักยังเป็นผู้ไม่ฉลาด

ไม่ได้รับแนะนำดีแล้ว ยังไม่ถึงความแกล้วกล้า ยังไม่ถึงความเกษมจาก

โยคะ ไม่ทรงธรรม ไม่เป็นพหูสูต ยังไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ไม่ปฏิบัติชอบ ยังไม่ประพฤติตามธรรม ไม่เรียนอาจริยวาทของตนแล้ว

บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก จักกระทำให้ง่าย แสดง

ธรรมมีปาฏิหาริย์ย่ำยีด้วยดีซึ่งปรัปปวาทที่บังเกิดขึ้นแล้วโดยชอบธรรม ไม่

ได้เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้

อุบาสิกาสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ฉลาด ได้รับแนะนำดีแล้ว

ถึงความแกล้วกล้า ถึงความเกษมจากโยคะ ทรงธรรม เป็นพหูสูต

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียน

อาจริยวาทของตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

ย่อมกระทำให้ง่าย แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ย่ำยีด้วยดีซึ่งปรัปปวาทที่เกิดขึ้น

แล้วโดยชอบธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตเจ้าเสด็จปรินิพพานเถิด บัดนี้เป็นกาล

ควรปรินิพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสพระดำรัสนี้ไว้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป พรหมจรรย์ของเรา

นี้จักยังไม่เจริญ แพร่หลาย กว้างขวาง คนส่วนมากยังไม่รู้ทั่วถึง ยังไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 583

แน่นหนา เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายยังไม่ประกาศดีแล้วเพียงใด เราจัก

ไม่ปรินิพพานเพียงนั้น บัดนี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเจริญ

แพร่หลาย กว้างขวาง คนส่วนมากรู้ทั่วถึง แน่นหนา เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายประกาศดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาค-

เจ้าเสด็จปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตเจ้าเสด็จปรินิพพานเถิด บัดนี้เป็น

กาลควรปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๑๒๑] เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

กะมารผู้มีบาปนั้นว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด

ไม่นานนักตถาคตจักปรินิพพาน แต่นี้ล่วงไป ๓ เดือน ตถาคตจัก

ปรินิพพาน ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระสติสัมปชัญญะทรงปลง

อายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงอายุสังขารแล้ว

แผ่นดินใหญ่หวั่นไหว น่าพึงกลัว โลมชาติชูชัน และกลองทิพย์ก็

บันลือลั่น.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

มุนีได้ปลงเครื่องปรุงแต่งภพอันเป็นเหตุสมภพ

ทั้งที่ชั่งได้และชั่งไม่ได้ ยินดีแล้วในภายใน มีจิต

ตั้งมั่น ไม่ทำลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือนทหาร

ทำลายเกราะฉะนั้น.

จบอายุสมโอสัชชนสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 584

ชัจจันธวรรควรรณนาที่ ๖

อรรถกถาอายุสมโอสัชชนสูตร

ชัจจันธวรรค อายุสมโอสัชชนสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทมีอาทิว่า เวสาลิย มีอรรถดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล. บทว่า

เวสาสึ ปิณฺฑาย ปาวิสิ ความว่า พระองค์เสด็จเข้าไปในกาลไร ? ใน

กาลที่เสด็จออกจากอุกกาเจลวิหาร แล้วเสด็จไปยังกรุงเวสาลี.

ความพิสดารว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจำพรรษา ณ เวลุวคามแล้ว

เสด็จออกจากเวลุวคามนั้น ถึงกรุงสาวัตถี โดยลำดับแล้ว ประทับอยู่ใน

พระเชตวัน. ในกาลนั้น พระธรรมเสนาบดี ตรวจดูอายุสังขารของตน

รู้ว่า จักเป็นไปได้เพียง ๗ วันเท่านั้น จึงขออนุญาตพระผู้มีพระภาคเจ้า

ไปยังนาลกคาม ให้มารดาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้วปรินิพพานในที่

นั้น. พระศาสดาทรงถือเอาพระธาตุของพระธรรมเสนาบดี ที่พระจุนทะ

นำมาแล้วให้สร้างเจดีย์เป็นที่บรรจุพระธาตุ แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์หมู่

ใหญ่ ได้เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์. ในกาลเสด็จไปยังกรุงราชคฤห์นั้น ท่าน

พระมหาโมคคัลลานะปรินิพพานแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอา

พระธาตุของท่านพระมหาโมคคัลลานะแม้นั้นแล้ว ให้สร้างเป็นเจดีย์แล้ว

เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เสด็จไปยังอุกกาเจลวิหาร ตามลำดับ. ในที่

นั้น แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่ง ณ ฝั่งแม่น้ำคงคา แสดงธรรม

อันเกี่ยวเนื่องด้วยปรินิพพานของพระอัครสาวกทั้ง ๒ ออกจากอุกกาเจล-

วิหารแล้ว เสด็จไปยังกรุงเวสาลี. พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปอย่างนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า ในเวลาเช้า พระองค์ทรงนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร

เสด็จไปบิณฑบาตยังกรุงเวลาลี. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุกฺกาเจลโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 585

นิกฺขมิตฺวา เวสาลิคตกาเล ดังนี้เป็นต้น.

ในบทว่า นิสีทน นี้ ท่านประสงค์เอาท่อนหนัง. บทว่า ปาวาล-

เจติย ความว่า สถานที่ที่ยักษ์ชื่อว่าปาวาละอาศัยอยู่ในครั้งก่อน ปรากฏ

ว่า ปาวาลเจดีย์. แม้วิหารที่เขาสร้างถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ในที่นั้น

เขาก็เรียกว่าปาวาลเจดีย์ โดยคำอันดาษดื่น. แม้ในบทมีอาทิอย่างนี้ว่า

อุเทนเจติย ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สตฺตมฺพ ความว่า ได้ยินว่า พระ-

ราชกุมารี ๗ พระองค์พระธิดาของพระเจ้ากาสี ทรงพระนามว่า กิกิ เกิด

ความสังเวชเสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ เริ่มตั้งความเพียรในที่ใด ที่นั้น

ชนทั้งหลายพากันเรียกว่า สัตตัมพเจดีย์. บทว่า พหุปุตฺต ความว่า พวก

มนุษย์เป็นอันมาก ปรารถนาบุตรกะเทวดาผู้สิ่งอยู่ที่ต้นไทรต้นหนึ่ง ซึ่ง

มีย่านไทรมากเพราะอาศัยเหตุนั้น สถานที่นั้น จึงปรากฏว่า พหุปุตต-

เจดีย์. บทว่า สารนฺท ได้แก่ สถานที่ที่ยักษ์ชื่อว่า สารันทะอาศัยอยู่.

ดังนั้น สถานที่ทั้งหมดนั้นนั่นแล เขาเรียกโดยโวหารว่า เจดีย์ เพราะ

เทวดาครอบครองอยู่ก่อนพุทธกาล. แม้เมื่อสร้างวิหารถวายพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ชนทั้งหลายก็ยังจำได้อย่างนั้นเหมือนกัน. ในบทว่า รมณียา นี้

พึงทราบว่า กรุงเวสาลี เป็นที่น่ารื่นรมย์ เพราะสมบูรณ์ด้วยภูมิภาคพรั่ง-

พร้อมด้วยบุคคล มีปัจจัยหาได้ง่ายเป็นอันดับแรก. ส่วนวิหารทั้งหลายพึง

ทราบว่า เป็นที่น่ารื่นรมย์ เพราะไม่ไกลไม่ใกล้นักจากพระนคร สมบูรณ์

ด้วยคมนาคม เพราะเป็นสถานที่อยู่ไม่เกลื่อนกล่น สมบูรณ์ด้วยร่มเงา

และน้ำ และเป็นสถานที่สมควรแก่ความสงัด. อรรถแห่งบทว่าอิทธิบาท

ในบทว่า จตฺตาโร อิทฺธิปาทา นี้ ท่านกล่าวไว้แล้วในหนหลังแล. บทว่า

ภาวิตา แปลว่า ได้เจริญแล้ว. บทว่า พหุลีกตา ได้แก่ ทำบ่อย ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 586

บทว่า ยานีกตา ได้แก่ กระทำให้เป็นดุจยานที่เทียมแล้ว. บทว่า วตฺถุกตา

ได้แก่ กระทำให้เป็นดุจวัตถุ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งอาศัย. บทว่า

อนุฏฺิตา แปลว่า ตั้งมั่นไว้แล้ว. บทว่า ปริจิตา ได้แก่ สั่งสมโดยรอบ

คือ เจริญด้วยดี. บทว่า สฺสมารทฺธา ได้แก่ ปรารภด้วยดี คือให้สำเร็จ

โดยชอบอย่างยิ่ง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงโดยไม่กำหนดด้วยประการดังนี้

แล้ว เมื่อจะกำหนดแสดงอีก จึงตรัสคำมีอาทิว่า ตถาคตสฺส โข ดังนี้.

ก็ในบทเหล่านี้ บทว่า กปฺป ได้แก่ อายุกัป. บทว่า ติฏฺเยฺย

ได้แก่ พึงดำรงอยู่ คือ พึงทรงไว้ซึ่งประมาณแห่งอายุของมนุษย์ในกาลนั้น

ให้บริบูรณ์. บทว่า กปฺปาวเสส วา ความว่า ยิ่งกว่าร้อยปี ที่กล่าวว่า

อปฺป วา ภิยฺโย ดังนี้เป็นต้น.

ฝ่ายพระมหาสิวเถระกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าเสียงอันกระหึ่ม ในที่อันไม่

ควร ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า ทรงข่มเวทนา

ปางตาย ที่เกิดขึ้นในเวลุวคาม ตลอด ๑๐ เดือน ฉันใด ก็ทรงเข้า

สมาบัตินั้นบ่อย ๆ แล้ว ข่มไว้ได้ (ถึง ๑๐ เดือน) พึงดำรงอยู่ตลอด

ภัททกัปนี้ ฉันนั้น. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร จึงไม่ดำรงอยู่ ? ตอบว่า

เพราะขึ้นชื่อว่า ร่างกายอันมีใจครอง ถูกทุกขเวทนามีฟันหักเป็นต้นเข้า

ครอบงำ ส่วนพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ถึงภาวะแห่งทุกขเวทนามีฟันหัก

เป็นต้น ย่อมปรินิพพานเฉพาะในเวลาที่ชนเป็นอันมาก พากันรักใคร่

ชอบใจ ในสวนแห่งพระชนมายุส่วนที่ ๕ ก็เมื่อพระอัครสาวก และ

พระมหาสาวกผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า ปรินิพพานแล้ว จะพึงดำรงอยู่

พระองค์เดียวไม่มีบริวารหรือมีภิกษุหนุ่มและสามเณรเป็นบริวารก็ตาม ต่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 587

แต่นั้น พึงถึงความเป็นผู้ถูกดูหมิ่นว่า น่าสลดใจ บริษัทของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้น จึงไม่ดำรงอยู่. แม้เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้น แต่

พระองค์ก็ถูกเรียกว่า ไม่ดำรงอยู่. คำว่า อายุกปฺโป นี้แหละ ท่านกำหนด

ไว้ในอรรถกถา.

บทว่า โอฬาริเก นิมิตฺเต ได้แก่ ให้สัญญาหยาบเกิดขึ้น. จริงอยู่

การให้สัญญาหยาบเกิดขึ้นนี้ คือการอ้อนวอนการดำรงอยู่ตลอดกัปทั้งสิ้น

ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงดำรงอยู่ตลอดกัป คือเป็นการประกาศ

ความเป็นผู้สามารถตั้งอยู่ตลอดกัป ด้วยอานุภาพแห่งการเจริญอิทธิบาท ๔

ของตน โดยการอ้างข้ออื่น โดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ อิทธิบาท ๔

อันผู้ใดผู้หนึ่งอบรมแล้ว ดังนี้. บทว่า โอภาเส คือ ในพระดำรัส

ที่ปรากฏ. จริงอยู่ พระดำรัสที่ปรากฏนี้ คือ การละคำปริยายโดยอ้อมแล้ว

จึงทรงประกาศความประสงค์ของพระองค์ โดยทรงทีเดียว.

บทว่า พหุชนหิตาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่มหาชน. บทว่า

พหุชนสุขาย ได้แก่ เพื่อความสุขแก่มหาชน. บทว่า โลกนุกมฺปาย

ได้แก่ เพราะอาศัยความอนุเคราะห์แก่สัตวโลก. แก่สัตวโลกไหนบ้าง ?

คือ แก่ผู้ที่สดับพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแทงตลอด คือ

ดื่มน้ำอมฤต. จริงอยู่ พรหม ๑๘ โกฏิ มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นหัว

หน้า แทงตลอดธรรมด้วยเทศนาธัมมจักกัปปวัตตนสูตรของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า. สัตว์ผู้แทงตลอดธรรมจนกระทั่งแนะนำสุภัททปริพาชก

ด้วยประการอย่างนี้ นับไม่ได้. เหล่าสัตว์ผู้ได้ตรัสรู้ในเวลาที่ทรงแสดง

พระสูตรทั้ง ๔ เหล่านี้ คือมหาสมยสูตร มงคลสูตร จูฬราหุโลวาทสูตร

และสมจิตตสูตร ไม่มีเขตกำหนด. สถานที่เกิดมีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 588

เพื่อทรงอนุเคราะห์สัตวโลกหาปริมาณมิได้. นี้ท่านกล่าวโดยประสงค์ว่า

แม้ในอนาคตก็จักมีอย่างนี้. บทว่า เทวมนุสฺสาน ความว่า สถานที่ย่อม

มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เฉพาะแก่เทวดาและ

มนุษย์อย่างเดียวเท่านั้นก็หาไม่ แม้แก่สัตว์ที่เหลือมีนาคและครุฑเป็นต้นก็

มี. ก็เพื่อจะแสดงภพบุคคลผู้ถือปฏิสนธิที่มีเหตุ โดยทำให้แจ้งมรรค

และผลจึงตรัสไว้แล้วอย่างนั้น อธิบายว่า เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้า จึงทรงพระชนม์อยู่ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข

แม้แก่สัตว์เหล่าอื่น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถาย ได้แก่ เพื่อ

ประโยชน์แก่สมบัติ ในโลกนี้. บทว่า หิตาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์

เกื้อกูลอันเป็นเหตุแห่งสมบัติในโลกหน้า. บทว่า สุขาย ได้แก่ เพื่อ

ประโยชน์แก่ความสุขในพระนิพพาน. ก็ศัพท์ว่า หิต และ สุข สำนวน

แรก พึงทราบโดยทั่วไปแก่หิตสุขทั้งปวง.

บทว่า ต ในบทว่า ยถาต มาเรน ปริยฏฺิตฺโต นี้ เป็นเพียง

นิบาต อธิบายว่า ปุถุชนบางคนแม้อื่น ผู้ถูกมารเข้าดลจิต คือ ถูกมาร

ครอบงำจิต ไม่อาจจะรู้แจ้งได้ ฉันใด พระอานนท์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ไม่อาจจะรู้แจ้งได้. จริงอยู่ มารย่อมครอบงำจิต ของผู้ที่ยังละวิปลาสบาง

อย่างยังไม่ได้. ส่วนในบุคคลผู้ยังละวิปลาส ๑๒ อย่างโดยประการทั้งปวง

ยังไม่ได้ ไม่จำต้องกล่าวถึงเลย. เพราะพระเถระละวิปลาส ๔ ยังไม่ได้

ฉะนั้น จิตของท่านจึงถูกมารครอบงำ. ถามว่า กุมารเมื่อจะครอบงำจิต

ทำอย่างไร ? ตอบว่า แสดงรูปารมณ์ที่น่ากลัว หรือให้ได้ยินสัททารมณ์

ที่น่ากลัว. ต่อแต่นั้น สัตว์ทั้งหลาย ได้เห็นหรือว่าได้ยินอารมณ์ที่น่ากลัว

นั้นแล้ว ปล่อยสติ ( ตกตะลึง) อ้าปาก. มารสอดมือเข้าไปทางปากของสัตว์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 589

เหล่านั้น แล้วบีบหัวใจ. แต่นั้น สัตว์ก็ถึงวิสัญญีสลบลง. ส่วนมารจัก

สามารถสอดมือเข้าไปทางปากของพระเถระได้อย่างไร แต่แสดงอารมณ์ที่

น่ากลัวได้. พระเถระครั้นได้เห็นดังนั้นแล้ว จึงไม่รู้แจ้งนิมิตโอภาส.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงทราบอยู่แล เพื่อประโยชน์อะไร จึงตรัสเรียก

ถึง ๓ ครั้ง ? คือต่อไปข้างหน้า เพื่อกระทำความเศร้าโศกให้เบาบาง โดย

ยกโทษขึ้นว่า ข้อนั้นเป็นการทำไม่ดีของท่าน ข้อนั้นเป็นความผิดของ

ท่าน ในเมื่อท่านอ้อนวอนว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงพระชนม์

อยู่เถิดพระเจ้าข้า จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นว่า อานนท์นี้

มีใจสนิทในเราอย่างเหลือเกิน ต่อไปข้างหน้า เธอได้ฟังเหตุแผ่นดินไหว

และการปลงอายุสังขาร จักอาราธนาให้เราดำรงอยู่ตลอดกาลนาน เมื่อเป็น

เช่นนั้น เราจักให้โทษตกลงบนศีรษะของเธอเท่านั้นว่า เพราะอะไร เธอ

จึงไม่ขอเสียก่อนเล่า. ก็เพราะโทษของตน สัตว์ทั้งหลายก็จะไม่เดือดร้อน

เช่นนั้น เพราะเหตุนั้น ความเศร้าโศกของเธอก็จักเบาบาง.

บทว่า คจฺฉ ตฺว อานนฺท ความว่า เพราะเหตุที่ท่านมาในที่นี้

เพื่อพักผ่อนตอนกลางวัน ฉะนั้น ไปเถอะอานนท์ ไปยังสถานที่ตามที่

ชอบใจ เพื่อพักผ่อนกลางวัน. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า

เธอจงสำคัญกาลอันสมควรแก่กรณียกิจบัดนี้เถิด ดังนี้เป็นต้น.

ในบทว่า มาโร ปาปิมา นี้ มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า มาร

เพราะประกอบเหล่าสัตว์ไว้ในความฉิบหาย ทำให้ตาย. บทว่า ปาปิมา

นี้เป็นไวพจน์ของบทว่า มาร นั้นนั่นแล. จริงอยู่ มารนั้น ท่านเรียกว่า

ปาปิมา เพราะประกอบด้วยธรรมฝ่ายชั่ว. บทว่า ภาสิตา โข ปเนสา

ความว่า จริงอยู่ มารนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ต้นอชปาล-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 590

นิโครธผ่านไป ๗ วัน ณ โพธิมณฑล ธิดาทั้งหลายของตน พากันมาถูก

กำจัดความปรารถนาเสียแล้วก็พากันไป มารนี้คิดว่า อุบายนี้ใช้ได้จึงมา

กล่าวว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์บำเพ็ญบารมีมาเพื่อประโยชน์

ใด ประโยชน์นั้นพระองค์บรรลุแล้วโดยลำดับ สัพพัญญุตญาณ พระ-

องค์ก็ตรัสรู้แล้ว พระองค์จะมีประโยชน์อะไร ด้วยการอยู่ในโลก ดังนี้

แล้วจึงทูลอาราธนาว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงปรินิพพาน ณ บัดนี้

เถิด พระเจ้าข้า เหมือนกับในวันนี้เหมือนกัน. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสห้ามมารนั้นมีอาทิว่า เรายังไม่นิพพานก่อน ดังนี้ ซึ่งท่านหมายกล่าว

ไว้ในบัดนี้ว่า ภาสิตา โข ปน ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิยตฺตา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ โดยการ

บรรลุอริยมรรค. บทว่า วินีตา ได้แก่ ผู้ได้รับการแนะนำ โดยการ

กำจัดกิเลสอย่างนั้นนั่นแล. บทว่า วิสารทา ได้แก่ ผู้ถึงความแกล้วกล้า

เพราะการละทิฏฐิและวิจิกิจฉาเป็นต้น อันกระทำความกำหนัด. บทว่า

พหุสฺสุตา ความว่า ชื่อว่า เป็นพหูสูต เพราะมีพระพุทธพจน์ อัน

สดับแล้วมาก ด้วยอำนาจปิฎก ๓. ชื่อว่า ธรรมธรา เพราะทรงไว้ซึ่ง

ธรรมนั้นนั่นแล. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า พหุสฺสุตา ได้แก่ เพราะมี

พระปริยัติอันสดับแล้วมาก และเพราะมีปฏิเวธอันสดับแล้วมาก. พึงทราบ

อรรถในบทว่า ธมฺมธรา นี้ แม้ด้วยอาการอย่างนี้ว่า ชื่อว่าธรรมธรา

เพราะทรงไว้ซึ่งพระปริยัติธรรม และปฏิเวธธรรม. บทว่า ธมฺมานุ-

ธมฺมปฏิปนฺนา ได้แก่ ผู้ปฏิบัติวิปัสสนาธรรม อันเป็นธรรมสมควรแก่

อริยธรรม. บทว่า สามีจิปฏิปนฺนา ได้แก่ ผู้ปฏิบัติปฏิปทาอันสืบ ๆ กันมา

โดยวิสุทธิ อันสมควรแก่ญาณทัสสนวิสุทธิ. บทว่า อนุธมฺมจาริโน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 591

ได้แก่ ผู้มีปกติประพฤติธรรม มีความมักน้อยเป็นต้น อันขัดเกลาอย่างยิ่ง

คืออันสมควรแก่ปฏิปทานั้น . บทว่า สก อาจริยก ได้แก่ ซึ่งอาจริยวาท

ของตน. บทว่า อาจิตกฺขิสฺสนฺติ ได้แก่ จักแสดงแต่เบื้องต้น อธิบายว่า

จักให้ผู้อื่นเล่าเรียน โดยทำนองที่ตนเรียนมา. บทว่า เทเสสฺสนฺติ ได้แก่

จักบอก อธิบายว่า จักบอกบาลี โดยชอบ. บทว่า ปฺเปสฺสนฺติ

แปลว่า จักให้รู้ชัด อธิบายว่า จักประกาศ. บทว่า ปฏฺเปสฺสนฺติ แปลว่า

จักตั้งไว้ โดยประการทั้งหลาย. บทว่า วิวริสฺสนฺติ แปลว่า จักกระทำ

ความเปิดเผย. บทว่า วิภชิสฺสนฺติ แปลว่า จักทำการจำแนก. บทว่า

อุตฺตานีกริสฺสนฺติ ได้แก่ จักกระทำอรรถที่ไม่ตื้น คือที่ลึกซึ้งให้ตื้น คือ

ให้ปรากฏ. บทว่า สหธมฺเมน ได้แก่ ด้วยคำอันเป็นไปกับด้วยเหตุ

คืออันเป็นไปด้วยการณ์. บทว่า สปฺปาฏิหาริย ได้แก่ ทำจนให้ออก

จากทุกข์. บทว่า ธมฺม เทเสสฺสนฺติ ความว่า จักยังหมู่สัตว์ให้ตรัสรู้ คือ

จักประกาศโลกุตรธรรม ๙. ก็ในบทเหล่านั้น ด้วยบท ๖ บท มีอาทิว่า

ปญฺเปสฺสนฺติ ท่านแสดงถึงบทที่เป็นอรรถ ๖ บท. ก็ด้วย ๒ บทข้าง

ต้น ท่านแสดงถึงบทที่เป็นพยัญชนะ ๖ บทแล. ด้วยลำดับคำเพียงเท่านี้

พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก เป็นอันท่านสงเคราะห์แสดง โดยนัย

แห่งสังวรรณนา. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในเนตติปกรณ์ว่า บท ๑๒ บท

จัดเป็นสูตร สูตรทั้งหมดนั้น เป็นพยัญชนะ ๑ เป็นอัตถะ ๑.

บทว่า พฺรหฺมจริย ได้แก่ ศาสนพรหมจรรย์ทั้งสิ้นที่สงเคราะห์ด้วย

ไตรสิกขา. บทว่า อิทฺธ ได้แก่ สำเร็จโดยยังฌานให้เกิดขึ้น. บทว่า

ผีต ได้แก่ ถึงความเจริญ คือ เผล็ดผลแพร่หลาย โดยเพียบพร้อมด้วย

อภิญญา. บทว่า วิตฺถาริก ได้แก่ กว้างขวาง โดยการประดิษฐานอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 592

ทิศาภาคนั้น ๆ. บทว่า พหุชญฺ ได้แก่ ชนเป็นอันมากรู้กัน คือรู้กัน

ตลอด โดยอำนาจการตรัสรู้ของชนเป็นอันมาก. บทว่า ปุถุภูต ได้แก่

ถึงความแน่นหนาโดยอาการทั้งปวง. อย่างไร ? คือ ตราบเท่าที่เทวดา

และมนุษย์ประกาศดีแล้ว อธิบายว่า เทวดาและมนุษย์ผู้มีชาติแห่งวิญญู-

ชนนีประมาณเท่าใด เทวดาและมนุษย์เหล่านั้นทั้งหมดประกาศดีแล้ว.

บทว่า อปฺโปสฺสุกฺโก ได้แก่ หมดความอุตสาหะ คือปราศจาก

ความห่วงใย. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ก็ตั้งแต่ ๗

สัปดาห์ล่วงไป เธอเที่ยวร้องอยู่ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ณ บัดนี้เถิด ขอพระสุคตเจ้าจงปรินิพพาน

ณ บัดนี้เถิด บัดนี้ ตั้งแต่วันนี้ไป เธอจงปราศจากความพยายามเถิด

จงอย่าทำความพยายามเพื่อให้เราปรินิพพานเลย.

บทว่า สโต สมฺปชาโน อายุสงฺขาร โอสฺสชฺชิ ความว่า พระองค์

ทรงดำริสติมั่นแล้วกำหนดด้วยญาณปลง คือละอายุสังขาร. ในการปลง

อายุสังขารนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงปลงอายุสังขารเหมือนเอา

มือวางก้อนดิน แต่พระองค์เกิดพระดำริขึ้นว่า ตลอดเวลาเพียง ๓ เดือน

เท่านั้น เราจักเข้าสมาบัติ หลังจากนั้นจักไม่เข้า ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า

พระองค์ทรงปลงแล้ว. บาลีว่า โวสฺสชฺชิ ดังนี้ก็มี.

ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีภาคเจ้าสามารถดำรงอยู่ตลอดกัปหรือเกินกัป

จึงไม่ดำรงอยู่ตลอดกาลเพียงเท่านั้น ทรงปลงอายุสังขารตามที่มารขอร้อง

เพื่อให้ปรินิพพาน ? เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงปลงอายุสังขาร

ตามมารขอร้อง จักไม่ปลงอายุสังขารตามที่พระเถระขอร้องก็หามิได้ แต่

ว่าหลังจาก ๓ เดือนไป พระองค์ทรงปลงอายุสังขาร เพราะพุทธเวไนย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 593

ไม่มี ธรรมดาว่า การดำรงอยู่แห่งพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็

เพียงเพื่อจะแนะนำเวไนยสัตว์ เมื่อเวไนยชนไม่มี พระผู้มีพระภาคพุทธ-

เจ้าทั้งหลาย จักดำรงอยู่ด้วยเหตุอะไร ก็ถ้าว่าพระองค์จะพึงปรินิพพาน

ตามที่มารขอร้อง ก็จะพึงปรินิพพานก่อนหน้านั้นทีเดียว. อนึ่ง ท่านกล่าว

ความนี้ไว้ว่า จริงอยู่ แม้ที่โพธิมณฑล มารก็ขอร้องไว้แล้ว ถึงการทำ

นิมิตโอภาสก็เพื่อทำความโศกของพระเถระให้เบาบาง. อีกอย่างหนึ่ง การ

ทำนิมิตโอภาสก็เพื่อแสดงพลังของพระพุทธเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทั้งหลาย ผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้ แม้ดำรงอยู่ ก็ดำรงอยู่ตามความพอ

พระทัยของพระองค์เท่านั้น. แม้เมื่อจะปรินิพพาน ก็ย่อมปรินิพพานตาม

ความพอพระทัยของพระองค์เหมือนกันแล.

บทว่า มหาภูมิจาโล ได้แก่ แผ่นดินไหวอย่างใหญ่หลวง. ได้ยินว่า

ในกาลนั้น หมื่นโลกธาตุหวั่นไหวแล้ว. บทว่า ภึลนโก แปลว่า ให้เกิด

ความกลัว. บทว่า เทวทุนฺทุภิโย จ ผลึสุ ความว่า กลองทิพย์ก็

บันลือลั่น. ฟ้าก็คะนอง สายฟ้าอันเกิดในเวลามิใช่ฤดูกาลก็แลบแปลบ-

ปลาบ อธิบายว่า ฝนตกชั่วขณะ.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงรู้อาการทั้งปวงถึงอรรถนี้

กล่าวคือความพิเศษแห่งสังขารและวิสังขาร. บทว่า อิม อุทาน ความว่า

ทรงเปล่งอุทาน อันแสดงถึงการที่พระองค์ทรงสละสังขารไม่มีเหลือแล้ว

ถึงวิสังขาร.

เพราะเหตุไรพระองค์จึงทรงเปล่งอุทาน ? เพราะชื่อว่าใคร ๆ จะพึง

กล่าวว่า พระองค์ถูกมารติดตามไปข้างหลัง ๆ แล้วรบกวนว่า จงปรินิพ-

พานเถิด จงปรินิพพานเถิด พระเจ้าข้า จึงทรงสละอายุสังขารเพราะกลัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 594

มาร. เพื่อจะแสดงความนี้ว่า มารนั้นจงอย่ามีโอกาส เพราะธรรมดาว่าผู้

กล่าวย่อมไม่มีการเปล่งอุทาน พระอรรถกถาจารย์จึงกล่าวไว้ในอรรถกถา

ว่าทรงเปล่งอุทานอันเกิดจากปีติ. ก็โดยที่พุทธกิจจะเสร็จโดยเวลาเพียง

๓ เดือนเท่านั้น เมื่อพระองค์ทรงเห็นว่า เราบริหารภาระคือทุกข์นี้มานาน

อย่างนี้ ไม่นานนักก็จักปล่อยวาง ดังนี้ ปีติและปราโมทย์อันยิ่งจึงเกิดขึ้น

โดยการพิจารณาคุณแห่งพระนิพพาน ดูเหมือนควรจะกล่าวว่า ทรงเปล่ง

ด้วยกำลังปีติ. จริงอยู่ พระศาสดาทรงน้อมไปในวิสังขาร คือมีพระนิพพาน

เป็นอัธยาศัย โดยส่วนเดียว จึงทรงดำรงอยู่ในโลกตลอดกาลนาน เพื่อ

ประโยชน์แก่สัตว์ด้วยพระมหากรุณา เหมือนดำรงอยู่โดยพลการ. จริง

อย่างนั้น พระองค์ทรงใช้สมาบัตินับได้สองล้านสี่แสนโกฏิทุกวัน บัดนี้

พระองค์บ่ายพระพักตร์ต่อพระนิพพาน เพราะอธิการอันกอปรด้วยพระ-

มหากรุณาสำเร็จแล้ว จึงเสวยปีติและโสมนัสมิใช่น้อย. ก็เพราะเหตุนั้น

นั่นแล รัศมีแห่งพระรูปโฉมของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงผ่องใส บริสุทธิ์

ผุดผ่องเป็นพิเศษ แม้ในวันดับขันธปรินิพพาน เหมือนในวันดับกิเลส.

พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาดังต่อไปนี้. กามาวจรกรรม ชื่อว่า

ตุละ เพราะชั่งได้ คือกำหนดได้ โดยภาวะประจักษ์แม้แก่สุนัขบ้านและ

สุนัขจิ้งจอกเป็นต้น. มหัคคตกรรม ชื่อว่า อตุละ เพราะชั่งไม่ได้ หรือ

เพราะไม่มีโลกิยกรรมอื่นที่ชั่งได้ คือเสมอเหมือน. กามาวจรกรรม หรือ

รูปาวจรกรรม ชื่อ ตุละ อรูปาวจรกรรม ชื่อ อตุละ อนึ่ง กรรมที่

มีวิบากน้อย ชื่อ ตุละ ที่มีวิบากมาก ชื่อ อตุละ. บทว่า สมฺภว ความว่า

เป็นเหตุแห่งการเกิด คือทำอุบัติให้เกิด. บทว่า ภวสงฺขาร ได้แก่ ทำสังขาร

ในภพใหม่ให้เกิด. บทว่า อวสฺสชฺชิ ได้แก่ ปล่อยวาง. บทว่า มุนิ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 595

พุทธมุนี. บทว่า อชฺฌตฺตรโต แปลว่า ยินดีภายในตน. บทว่า สมาหิโต

ได้แก่ มีจิตเป็นสมาธิโดยอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ. บทว่า อภินฺทิ

กวจมิว ความว่า ทำลายไป เหมือนทหารทำลายเกราะฉะนั้น. บทว่า

อตฺตสมฺภว ได้แก่ กิเลสที่เกิดในตน ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า มุนีปล่อย

วางโลกิยกรรม กล่าวคือกรรมที่ชั่งได้และชั่งไม่ได้ อันได้นามว่า สัมภวะ

เพราะอรรถว่ามีวิบาก และได้นามว่า ภวสังขาร เพราะอรรถว่าปรุงแต่ง

ภพ และเป็นผู้ยินดีในภายใน มีจิตเป็นสมาธิ ได้ทำลายกิเลสอันมีตนเป็น

แดนเกิด เหมือนทหารผู้ใหญ่ทำลายเกราะในสนามรบ ฉะนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ตุล ได้แก่ ชั่งอยู่ คือพิจารณาอยู่. บทว่า

อตุญฺจ สมฺภว ได้แก่ พระนิพพานและภพ. บทว่า ภวสงฺขาร ได้แก่

กรรมอันนำสัตว์ไปสู่ภพ. บทว่า อวสฺสชฺชิ มุนิ ความว่า พระพุทธ-

มุนี ทรงพิจารณาโดยนัยมีอาทิว่า เบญจขันธ์ไม่เที่ยง การดับเบญจขันธ์

คือพระนิพพานเที่ยง ทรงเห็นโทษในภพและอานิสงส์ในพระนิพพาน

ทรงปล่อยวางสังขารกรรมอันเป็นมูลแห่งขันธ์ทั้งหลายนั้น ด้วยอริยมรรค

อันกระทำความสิ้นไปแห่งกรรม ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า ย่อมเป็นไป

เพื่อความสิ้นกรรม. อย่างไร ? คือท่านยินดีในภายใน มีจิตเป็นสมาธิ

ได้ทำลายกิเลสที่เกิดในตน เหมือนทหารทำลายเกราะ. ก็ท่านยินดีในภาย

ในโดยวิปัสสนา มีจิตเป็นสมาธิโดยสมถะ รวมความว่า ท่านทำลายกิเลส

ทั้งหมดที่รึงรัดอัตภาพอยู่ อันได้นามว่า อัตตสัมภวะ เพราะเกิดในตน

ด้วยพลังแห่งสมถะและวิปัสสนา ตั้งแต่ส่วนเบื้องต้น เหมือนทหารทำลาย

เกราะฉะนั้น และเมื่อไม่กิเลส เป็นอันชื่อว่าสละกรรมได้เด็ดขาด เพราะ

ไม่มีปฏิสนธิ. ท่านสละกรรมเพราะสละกิเลส ด้วยประการฉะนี้. ดังนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 596

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปล่อยวางสังขารในภพ ณ ควงแห่งโพธิพฤกษ์นั่นเอง

แม้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเครื่องซ่อมแซม คือสมาบัติ เหมือนทำ

เกวียนเก่าให้ไปได้ด้วยเครื่องซ่อมแซม จึงทรงปล่อยวางอายุสังขารด้วย

ทำพระหฤทัยให้เกิดขึ้นว่า ถัดจาก ๓ เดือนนี้ไป เราจักไม่ให้เครื่อง

ซ่อมแซม คือสมาบัติแก่สังขารนี้ ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอายุสมโอสัชชนสูตรที่ ๑

๒. ปฏิสัลลานสูตร

ว่าด้วยพวก ๗ คน

[ ๑๓๒ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปุพพาราม ปราสาทของ

นางวิสาขามิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ในเวลาเย็นพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้น ประทับนั่งอยู่ภายนอกซุ้มประตู ลำดับ

นั้นแล พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประ-

ทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง

หนึ่ง ก็สมัยนั้น ชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน

และปริพาชก ๗ คน มีขนรักแร้และเล็บงอกยาว หาบบริขารหลายอย่าง

เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ทอด

พระเนตรเห็นชฎิล ๗ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน

และปริพาชก ๗ คนเหล่านั้น ผู้มีขนรักแร้และเล็บงอกยาว หาบบริขาร

หลายอย่าง เดินผ่านไปในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วทรงลุก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 597

จากอาสนะ. ทรงกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่งแล้วทรงคุกพระชานุ-

มณฑลเบื้องขวาลงที่แผ่นดินทรงประนมอัญชลีไปทางที่ชฎิล ๗ คน นิครนถ์

๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก ๗ คน และปริพาชก ๗ คนแล้วทรง

ประกาศพระนาม ๓ ครั้งว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าคือ

พระเจ้าปเสนทิโกศล ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าคือพระเจ้าปเสน-

ทิโกศล ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าคือพระเจ้าปเสนทิโกศล

ลำดับนั้นแล เมื่อชฎิล ๓ คน นิครนถ์ ๗ คน อเจลก ๗ คน เอกสาฎก

๗ คน และปริพาชก ๗ คนเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน พระเจ้าปเสน-

ทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท่านเหล่านั้น

เป็นคนหนึ่งในจำนวนพระอรหันต์หรือในจำนวนท่านผู้บรรลุอรหัตมรรค

ในโลก.

[๑๓๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร มหาบพิตร

เป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม ทรงครองฆราวาสคับคั่งด้วยพระโอรสและพระ-

มเหสี ทรงใช้สอยผ้าแคว้นกาสีและจันทน์ ทรงทัดทรงดอกไม้ ของหอม

และเครื่องประเทืองผิว ทรงยินดีเงินและทอง ยากที่จะทรงทราบได้ว่า

ท่านเหล่านี้เป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านเหล่านี้บรรลุอรหัตมรรค.

๑. ดูก่อนมหาบพิตร ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน และ

ศีลนั้นแล พึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย เมื่อมนสิการ

พึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญา

ทราบไม่พึงทราบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 598

๒. ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัย และความ

เป็นผู้สะอาดนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิ-

การพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญา

ทรามไม่พึงทราบ.

๓. กำลังใจ พึงทราบได้ในเพราะอันตราย และกำลังใจนั้นแล

พึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้

ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึง

ทราบ.

๔. ปัญญา พึงทราบได้ด้วยการสนทนา ก็ปัญญานั้นแลพึงทราบ

ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการ

ไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ.

[๑๓๔] ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ไม่เคยมีมา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ว่า ดูก่อน

มหาบพิตร มหาบพิตรเป็นคฤหัสถ์บริโภคกาม ทรงครองฆราวาสคับคั่ง

ด้วยพระโอรสและมเหสี ทรงใช้สอยผ้าแคว้นกาสีและจันทน์ ทรงทัด

ทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องประเทืองผิว ทรงยินดีเงินและทอง

ยากที่จะรู้ได้ว่า ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ หรือว่าท่านเหล่านี้บรรลุ

อรหัตมรรค ดูก่อนมหาบพิตร ศีล พึงทราบได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน

และศีลนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการ

พึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญา

ทรามไม่พึงทราบ ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยการปราศรัยและ

ความเป็นผู้สะอาดนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 599

มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มี

ปัญญาทรามไม่พึงทราบ กำลังใจ พึงทราบได้ในเพราะอันตราย และกำลัง

ใจนั้นแลพึงทราบได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการ

พึงทราบได้ ไม่มนสิการไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทราม

ไม่พึงทราบ ปัญญาพึงทราบได้ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแลพึงทราบ

ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่โดยกาลนิดหน่อย มนสิการพึงทราบได้ ไม่มนสิการ

ไม่พึงทราบ ผู้มีปัญญาพึงทราบได้ ผู้มีปัญญาทรามไม่พึงทราบ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พวกราชบุรุษของหม่อมฉันเหล่านี้ปลอมตัวเป็นนักบวช

เที่ยวสอดแนม ตรวจตราชนบทแล้วกลับมา พวกเขาตรวจตราก่อน

หม่อมฉันจักตรวจตราภายหลัง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังนี้ พวกเขาลอย

ธุลีและมลทินแล้ว อาบดีแล้ว ไล้ทาดีแล้ว ตัดผมโกนหนวดแล้ว นุ่งผ้าขาว

อิ่มเอิบพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

บรรพชิตไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป ไม่

ควรเป็นคนใช้ของผู้อื่น ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่ ไม่

ควรแสดงธรรม เพื่อประโยชน์แต่ทรัพย์.

จบปฏิสัลลานสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 600

อรรถกถาปฏิสัลลานสูตร

ปฏิสัลลานสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พหิทฺวารโกฏฺเก ได้แก่ ภายนอกซุ้มประตูปราสาท ไม่ใช่

ภายนอกซุ้มประตูวิหาร. ได้ยินว่า ปราสาทนั้นเป็นเหมือนโลหปราสาท

โดยรอบ แวดล้อมด้วยกำแพงอันเหมาะแก่ซุ้มประตูทั้ง ๔ ด้าน ในร่ม

เงาปราสาทภายนอกซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก ในบรรดาซุ้มประตูเหล่า-

นั้น พระองค์ประทับนั่งเหนือบวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ทรงตรวจดู

โลกธาตุด้านทิศตะวันออก.

บทว่า ชฏิลา ได้แก่ ผู้ทรงเพศดาบสผู้มีชฎา. บทว่า นิคฺคณฺา

ได้แก่ ผู้ทรงรูปนิครนถ์ผู้นุ่งผ้าขาว. บทว่า เอกสาฏกา ได้แก่ ผู้เอาท่อน

ผ้าเก่าท่อนหนึ่งผูกมือ ปกปิดด้านหน้าของร่างกายด้วยชายผ้าเก่าแม้อื่นนั้น

เที่ยวไป เหมือนพวกนิครนถ์ผู้มีผ้าผืนเดียว. บทว่า ปรูฬฺหกจฺฉนขโลมา

ได้แก่ ผู้มีขนรักแร้งอกแล้ว เล็บงอกแล้ว และขนนอกนั้นก็งอกแล้ว

อธิบายว่า ขนที่รักแร้เป็นต้นยาว และเล็บยาว. บทว่า ขารึ วิวิธมาทาย

ความว่า ใช้สาแหรกต่างๆ หาบเครื่องบริขารของบรรพชิตมีประการต่างๆ.

บทว่า อวิทูเร อติกฺกมนฺติ ความว่า เข้าไปยังพระนครโดยทางไม่ไกลพระ-

วิหาร. บทว่า ราชาห ภนฺเต ปเสนทิโกสโล ความว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล

ทรงประกาศว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นพระราชานามว่า ปเสนทิโกศล

ท่านทั้งหลายจงทราบนามของข้าพเจ้า. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระราชา

ผู้ประทับอยู่ในสำนักของอัครบุคคลผู้เลิศในโลก จึงประคองอัญชลีแก่นัก

เปลือยผู้ไม่มีสิริเห็นปานนี้เล่า. ตอบว่า เพื่อต้องการจะทรงสงเคราะห์.

จริงอยู่ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้มีพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเราจะไม่ทำเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 601

แม้เพียงเท่านี้ แก่พวกเหล่านี้ พวกเหล่านี้ก็จะคิดว่า พวกเราละบุตรและ

ภรรยา ได้รับการกินและการนอนลำบากเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่พระ-

ราชานี้ พระราชานี้ไม่ทรงกระทำแม้เพียงความยำเกรงพวกเรา เพราะ

เมื่อทรงทำความยำเกรงเป็นต้นนั้น ผู้คนจะไม่เชื่อพวกเราว่าเป็นพวกสอด-

แนม จักเข้าใจเราว่าเป็นบรรพชิตจริง จะประโยชน์อะไรด้วยการบอก

ความจริงแก่พระราชานี้ จึงปกปิดสิ่งที่ตนเห็นและได้ยินมาไม่บอก แต่

เมื่อทรงทำอย่างนั้น ชนเหล่านั้นจักนอกโดยไม่ปกปิด. อีกอย่างหนึ่ง แม้

เพื่อจะทรงทราบอัธยาศัยของพระศาสดา พระราชาจึงทรงกระทำอย่างนั้น

และ ได้ยินว่า พระราชาแม้เมื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ไม่ทรง

เชื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ สิ้นกาลเล็กน้อย. ด้วยเหตุนั้น พระราชาจึง

มีพระดำริอย่างนี้ว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเหตุทั้งปวงไซร้ เมื่อ

เรากระทำความยำเกรงต่อพวกเหล่านี้แล้วพูดว่า ชนพวกนี้เป็นพระอรหันต์

ก็จะไม่พึงยินยอม ถ้าว่าพระองค์ทรงยินยอมคล้อยตามเรา พระองค์จะ

เป็นพระสัพพัญญูได้ที่ไหน. ท้าวเธอได้ทรงกระทำอย่างนั้น เพื่อจะทรง

ทราบอัธยาศัยของพระศาสดา ด้วยประการฉะนี้. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบว่า เมื่อเราตถาคตกล่าวไปตรง ๆ ว่า พวกนี้ไม่ใช่สมณะ เป็น

คนสอดแนม แม้ถ้าพระราชาพึงเชื่อไซร้ ฝ่ายมหาชนเมื่อไม่ทราบความ

นั้นก็จะไม่พึงเชื่อ พึงกล่าวว่า พระสมณโคดมตรัสคำอะไร ๆ จนคล่อง

พระโอฐว่า พระราชาฟังคำของพระองค์ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่

ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนานแก่มหาชนนั้น ทั้งงานลับของพระราชา

จะพึงเปิดเผยขึ้น พระราชาจักตรัสว่า พวกเหล่านั้นเป็นคนสอดแนมด้วย

พระองค์เอง จึงตรัสคำมีอาทิว่า ข้อนั้นรู้ได้ยากแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 602

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุตฺตสมฺพาธสยน ได้แก่ ทรงนอน

เบียดเสียดกับพระโอรสและพระมเหสี. ก็ในการนี้ ท่านแสดงถึงการ

กำหนดเอาพระมเหสี โดยยกพระโอรสขึ้นเป็นประธาน. ท่านแสดงถึง

ความที่จิตของชนเหล่านั้นเศร้าหมอง โดยถูกความโศกมีราคะเป็นต้น

ครอบงำ โดยความที่พระราชามีจิตติดข้องอยู่ในบุตรและภรรยา. ก็ด้วย

บทว่า กามโภคินา นี้ ท่านแสดงถึงถูกราคะครอบงำ. แม้ด้วยบททั้ง ๒

แสดงถึงความที่ชนเหล่านั้นมีจิตฟุ้งซ่าน. บทว่า กาสิกจนฺทน ได้แก่

จันทน์ละเอียด. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ ผ้าที่ทำในแคว้นกาสีและไม้จันทน์.

บทว่า นาลาคนฺธวิเลปน ได้แก่ ทรงไว้ซึ่งระเบียบดอกไม้ เพื่อต้องการ

สีและกลิ่น ซึ่งของหอม เพื่อต้องการความหอม ซึ่งการลูบไล้ เพื่อต้องการ

ย้อมผิว. บทว่า ชาตรูปรชต ได้แก่ ทอง และทรัพย์ที่เหลือ. บทว่า

สาทิยนฺเตน ได้แก่ รับไว้. แม้ด้วยทุกบทก็ประกาศถึงความที่ชนเหล่า-

นั้นติดอยู่ในกามทั้งนั้น.

บทว่า สวาเสน แปลว่า ด้วยการอยู่ร่วม. บทว่า สีล เวทิตพฺพ

ความว่า อันผู้อยู่ร่วม คืออยู่ร่วมในที่เดียวกัน ก็พึงทราบว่า ผู้นี้เป็น

ผู้มีศีล หรือเป็นผู้ทุศีล. บทว่า ตญฺจ โข ทีเฆน อทฺธุนา น อิตฺตเรน

ความว่า ก็ศีลนั่นพึงทราบโดยกาลนาน ไม่พึงทราบโดยกาลที่จะพึงมีพึง

เกิด. จริงอยู่ ในวันเล็กน้อย ใคร ๆ อาจแสดงเป็นผู้มีอาการสำรวม

และอาการสำรวมอินทรีย์. บทว่า มนสิกโรตา โน อมนสิกโรตา ความว่า

ศีลแม้นั้นบุคคลผู้ใส่ใจ คือพิจารณาว่า เราจักกำหนดศีลของเขา อาจรู้

ได้ บุคคลนอกนี้หารู้ได้ไม่. บทว่า ปญฺวตา ความว่า ศีลแม้นั้น

เฉพาะผู้มีปัญญา คือบัณฑิตอาจรู้ได้. เพราะคนเขลาใส่ใจอยู่ก็ไม่อาจรู้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 603

บทว่า สโวหาเรน แปลว่าด้วยการกล่าว. จริงอยู่ วาณิชกรรม ชื่อว่า

โวหาร ในประโยคนี้ว่า

ก็บรรดามนุษย์ ผู้ใดผู้หนึ่งค้าขายเลี้ยงชีพ ดูก่อน

วาเสฏฐะ ท่านจงรู้เถอะว่า ผู้นั้นเป็นพ่อค้า ไม่ใช่

พราหมณ์.

เจตนา ชื่อว่าโวหาร ในประโยคนี้ว่า อริยโวหาร ๔ อนริยโวหาร ๔.

บัญญัติชื่อว่าโวหาร ในประโยคนี้ว่า การนับ สมัญญา บัญญัติ ชื่อว่า

โวหาร. ถ้อยคำ ชื่อว่าโวหาร ในประโยคนี้ว่า เขาพึงกล่าวด้วยเหตุสักว่า

กล่าว. แม้ในที่นี้ ท่านประสงค์โวหาร คือถ้อยคำนั้นนั่นเอง. จริงอยู่ การ

กล่าวต่อหน้าของคนบางคน ย่อมไม่สมกับถ้อยคำที่กล่าวลับหลัง และถ้อยคำ

ที่กล่าวลับหลัง ไม่สมกับคำที่กล่าวต่อหน้า ถ้อยคำที่กล่าวก่อนก็เหมือนกัน

ไม่สมกับคำที่กล่าวทีหลัง และถ้อยคำที่กล่าวทีหลังก็ไม่สมกับคำที่กล่าวก่อน

ผู้นั้นเมื่อกล่าวอยู่นั่นแล ใครๆ อาจรู้ได้ว่า บุคคลนั้นไม่สะอาดแล. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประกาศว่า สำหรับผู้ที่มีความสะอาดเป็นปกติ

บทที่กล่าวไว้ก่อน ย่อมสมกับบทที่กล่าวไว้หลัง และบทที่กล่าวไว้หลัง

ย่อมสมกับบทที่กล่าวไว้ก่อน บทที่กล่าวไว้ต่อหน้า ย่อมสมกับบทที่กล่าว

ไว้ลับหลัง และบทที่กล่าวไว้ลับหลัง ย่อมสมกับบทที่กล่าวไว้ต่อหน้า

เพราะฉะนั้น ผู้ที่กล่าวจึงสามารถรู้ได้ว่า ผู้นี้เป็นคนสะอาด จึงตรัสคำมี

อาทิว่า บัณฑิตพึงทราบความสะอาดด้วยการกล่าวดังนี้.

บทว่า ถาโม ได้แก่ กำลังแห่งญาณ. ก็ผู้ที่ไม่มีกำลังแห่งญาณ ย่อม

ไม่มองเห็น สิ่งที่ควรถือเอา คือกิจที่ควรทำ ในเมื่ออันตรายเกิดขึ้น จึง

เที่ยวไปเหมือนเข้าเรือนที่ไม่มีประตู. ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 604

ดูก่อนมหาบพิตร พึงทราบกำลัง ในเมื่ออันตรายเกิดขึ้นแล ดังนี้

เป็นต้น.

บทว่า สากจฺฉาย แปลว่า ด้วยการสนทนากัน. จริงอยู่ ถ้อยคำ

ของผู้มีปัญญาทราม ย่อมเลือนลอยไปเหมือนลูกข่างในน้ำ. สำหรับผู้มี

ปัญญาเมื่อพูด ย่อมมีไหวพริบ ไม่มีที่สุด. จริงอยู่ ปลาเขารู้ได้ว่า ตัว

ใหญ่ หรือตัวเล็ก ก็ด้วยน้ำที่กระเพื่อมนั่นเอง.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มิได้ตรัสถึงคนเหล่านั้นแก่พระราชา

โดยตรงทีเดียวว่า พวกเหล่านี้แล้ว จึงประกาศอุบายเป็นเหตุรู้ถึงพระอร-

หันต์ หรือผู้มิใช่พระอรหันต์. พระราชา ทรงทราบดังนั้นแล้ว มีความ

เลื่อมใสยิ่ง ในพระสัพพัญญุตญาณ และเทศนาวิลาส ของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงทรงประกาศความเลื่อมใสของพระองค์ โดยนัยมีอาทิว่า น่า

อัศจรรย์ พระเจ้าข้า บัดนี้ เมื่อจะตรัสบอกคนเหล่านั้น แด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตามความเป็นจริง จึงตรัสคำมีอาทิว่า บุรุษของข้าพระองค์

เหล่านี้เป็นโจร พระเจ้าข้า ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โจรา ความว่า บุคคลผู้ไม่ได้เป็น

บรรพชิตเลย บริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น โดยรูปของบรรพชิต

เพราะเป็นผู้ปกปิดกรรมชั่วไว้. บทว่า โอจรกา แปลว่า เป็นคนสอดแนม.

จริงอยู่ พวกโจร เมื่อเที่ยวไปตามยอดภูเขา ก็ชื่อว่าเป็นคนสอดแนม

เหมือนกัน เพราะมีกรรมอันเลวทราม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า โอจรกา

ได้แก่ จารบุรุษ. บทว่า โอจริตฺวา ได้แก่ ผู้เที่ยวพิจารณาสอดส่อง

อธิบายว่า รู้เรื่องนั้น ๆ ในที่นั้น ๆ. บทว่า โอยายิสฺสามิ แปลว่า จัก

ดำเนินไป อธิบายว่า จักกระทำ. บทว่า รโชชลฺล ได้แก่ ธุลี และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 605

มลทิน. บทว่า ปวาเหตฺวา ได้แก่ กำจัด คือชำระให้สะอาด. บทว่า

กปฺปิตเกสมสฺสุ ได้แก่ ใช้ช่างกัลบกตัดผมโกนหนวดตามวิธีที่กล่าวแล้ว

ในอลังการศาสตร์. บทว่า กามคุเณหิ ได้แก่ ส่วนแห่งกาม หรือเครื่อง

ผูกคือกาม. บทว่า สมปฺปิตา ได้แก่ ติดข้องด้วยดี. บทว่า สมงฺคิภูตา

แปลว่า พรั่งพร้อม. บทว่า ปริจริสฺสนฺติ ได้แก่ ให้อินทรีย์เที่ยวไป

โดยรอบ หรือจักเล่น.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบความนี้ กล่าวคือ

การที่ราชบุรุษเหล่านั้น เป็นผู้ลวงโลกโดยเพศบรรพชิต เพราะเหตุแห่ง

ท้องของตน. บทว่า อิม อุทาน ได้แก่ ทรงเปล่งอุทานนี้ อันประกาศ

ถึงข้อห้ามความผิดและความเป็นผู้ลวงโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วายเมยฺย สพฺพตฺถ ความว่า

บรรพชิต ไม่พึงพยายาม คือไม่พึงทำความพยายามขวนขวาย ในการทำ

ความชั่วทั้งหมด มีความเป็นทูต และกระทำการสอดแนมเป็นต้น เหมือน

ราชบุรุษเหล่านี้ อธิบายว่า ไม่พึงทำความพยายามในกรรมอย่างใดอย่าง

หนึ่งทั้งหมด พึงพยายามเฉพาะในบุญ แม้มีประมาณน้อยเท่านั้น. บทว่า

นาญฺสฺส ปุริโส สิยา ได้แก่ ไม่พึงเป็นคนรับใช้คนอื่น โดยรูปบรรพ-

ชิต. เพราะเหตุไร ? เพราะจะต้องทำกรรมชั่วมีสอดแนมเป็นต้น แม้เห็น

ปานนี้. บทว่า นาญฺ นิสฺสาย ชีเวยฺย ได้แก่ เป็นผู้ไม่อาศัยบุคคลอื่น

มีอิสรชนเป็นต้น มีความคิดอย่างนี้ว่า สุขทุกข์ของเรา เนื่องด้วยผู้นั้น

ดังนี้แล้วเลี้ยงชีพ คือเป็นผู้มีตนเป็นที่พึ่ง เป็นที่อาศัย อย่ามีคนอื่นเป็นที่พึ่ง

ที่อาศัยเลย. อีกอย่างหนึ่ง ไม่พึงอาศัยอกุศลกรรมอื่นเลี้ยงชีพ เพราะ

ได้นามว่า ผู้อื่น เหตุนำมาซึ่งความพินาศ. บทว่า ธมฺเมน น วณีจเร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 606

ความว่า ไม่พึงกล่าวธรรมเพื่อต้องการทรัพย์. เพราะผู้แสดงแก่ชนเหล่า-

อื่น ด้วยเหตุแห่งทรัพย์เป็นต้น ย่อมชื่อว่านำธรรมไปทำการค้า. อย่า

เที่ยวเอาธรรมไปทำการค้าอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้ทำกรรมมี

การสอดแนมเป็นต้น เหมือนคนของพระเจ้าโกศล ทำการสอดแนมเพื่อ

ประโยชน์แก่ทรัพย์เป็นต้น ดำรงตามกิจมีการสมาทานเพศบรรพชาเป็นต้น

โดยไม่ให้คนอื่นสงสัย ชื่อว่านำธรรมมาทำการค้า. ฝ่ายบุคคลใด แม้

ประพฤติพรหมจรรย์บริสุทธิ์ในศาสนานี้ ก็ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อ

ปรารถนาเทพนิกายเหล่าใดเหล่าหนึ่ง แม้บุคคลนั้นก็ชื่อว่า นำธรรมมาทำ

การค้า อธิบายว่า ไม่พึงประพฤติ คือไม่พึงกระทำการค้าด้วยธรรม

อย่างนี้.

จบอรรถกถาปฏิสัลลานสูตรที่ ๒

๓. อาหุสูตร

ว่าด้วยการพิจารณาอกุศลและกุศลธรรม

[๑๓๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ทรงพิจารณาอกุศลบาปธรรมเป็นอันมากที่พระ-

องค์ทรงละได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญบริบูรณ์.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอกุศลบาปธรรมเป็น

อันมากที่พระองค์ทรงละได้แล้ว และกุศลธรรมเป็นอันมากที่ถึงความเจริญ

บริบูรณ์ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 607

สิ่งทั้งปวงได้มีแล้วในกาลก่อน ไม่มีแล้วในกาล

นั้น สิ่งทั้งปวงไม่มีแล้วในกาลก่อน ได้มีแล้วในกาล

นั้น ไม่มีแล้วจักไม่มี และย่อมไม่มีในบัดนี้.

จบอาหุสูตรที่ ๓

อรรถกถาอาหุสูตร

อาหุสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺตโน อเนเก ปาปเก อกุสเล ธมฺเม ปหีเน ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพิจารณากิเลส ๑๐๐๕ อันเป็นไปตลอดกาลหา

เบื้องต้นมิได้ ในสันดานของพระองค์ มีโลภะ โทสะ โมหะ วิปริตมนสิการ

อหิริกะ อโนตตัปปะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปลาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา

สาไถย ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ตัณหา อวิชชา

อกุศลมูล ๓ ทุจริต ๓ สังกิเลส ๓ มลทิน ๓ วิสมสัญญา ๓ วิตก ๓ ปปัญจะ ๓

วิปัลลาส ๔ อาสวะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ คัณฐะ ๔ ถึงอคติ ๔

ตัณหุปาทาน ๔ เจโตขีละ ๕ เจโตวินิพพันธะ ๕ นีวรณ์ ๕ อภินันทนะ ๕

วิวาทมูล ๖ ตัณหากาย ๖ อนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ๘ ตัณหามูลกะ ๙

อกุศลกรรมบถ ๑๐ ทิฏฐิ ๖๒ และตัณหาวิปริต ๑๐๘ เป็นต้นเป็น

ประเภทก็ดี ธรรมอันชั่วช้าลามกเป็นอเนก ที่ชื่อว่าเป็นอกุศล เพราะ

อรรถว่าเกิดแต่ความเป็นผู้ไม่ฉลาด แม้ที่เกิดร่วมกับกิเลส ๑๐๐๕ นั้นก็ดี

ที่พระองค์ทรงละแล้ว คือตัดขาดแล้วด้วยอริยมรรค ณ ควงแห่งโพธิ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 608

พฤกษ์นั่นเอง พร้อมด้วยวาสนา คือพระองค์นั่งพิจารณาตามลำดับบทว่า

กิเลสแม้นี้ เราละได้แล้ว กิเลสแม้นี้ เราละได้แล้ว ดังนี้.

บทว่า อเนเก จ กุสเล ธมฺเม ได้แก่ พระองค์ทรงนั่งพิจารณา

กุศล คือธรรมที่หาโทษมิได้ของพระองค์เป็นอเนก มีอาทิอย่างนี้คือ ศีล

สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔

อิทธิบาท ๔ มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณเครื่องกำหนด

กำเนิด ๔ อริยวงศ์ ๔ เวสารัชญาณ ๔ องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร ๕

สัมมาสมาธิมีองค์ ๕ สัมมาสมาธิที่ประกอบด้วยญาณ ๕ อินทรีย์ ๕ พละ ๕

นิสสารณียธาตุ ๕ วิมุตตายตนญาณ ๕ วิมุตติปริปาจนียสัญญา ๕

อนุสติฏฐาน ๖ คารวะ ๖ นิสสารณียธาตุ ๖ สตตวิหารธรรม ๖

อนุตริยะ ๖ นิพเพธภาคิยสัญญา ๖ อภิญญา ๖ อสาธารณญาณ ๖

อปริหานิยธรรม ๗ อริยทรัพย์ ๗ โพชฌงค์ ๗ สัปปุริสธรรม ๗

นิชชรวัตถุ ๗ สัญญา ๗ ทักขิเณยยปุคคลเทศนา ๗ ขีณาสวพลเทศนา๗

ปัญญาปฏิลาภเหตุเทศนา ๘ สัมมัตตะ ๘ โลกธรรมาติกกมะ ๘ อารัมภ-

วัตถุ ๘ อักขณเทศนา ๘ มหาปุริสวิตก ๘ อภิภายตนเทศนา ๘ วิโมกข์ ๘

ธรรมที่มีโยนิโสมนสิการเป็นมูล ๙ องค์แห่งธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเพียร

อันบริสุทธิ์ ๙ สัตตาวาสเทศนา ๙ อาฆาตปฏิวินยเทศนา ๙ สัญญา ๙

นานัตถะ ๙ อนุปุพพวิหาร ๙ นาถกรณธรรม ๑๐ กสิณายตนะ ๑๐

กุศลกรรมบถ ๑๐ สัมมัตตะ ๑๐ อริยวาส ๑๐ อเสกขธรรม ๑๐ ตถาคต-

พละ ๑๐ อานิสงส์แห่งเมตตา ๑๑ อาการแห่งจักร ๑๒ ธุดงค์คุณ ๑๓

พุทธญาณ ๑๔ วิมุตติปริปาจนียธรรม ๑๕ อานาปานสติ ๑๖ อปรันตป-

นียธรรม ๑๖ มหาวิปัสสนา ๑๘ พุทธธรรม ๑๘ ปัจจเวกขณญาณ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 609

ญาณวัตถุ ๔๔ อุทยัพพยญาณ ๕๐ กุศลธรรมเกิน ๕๐ ญาณวัตถุ ๗๗

สมาบัติมหาวชิรญาณ ๒,๔๐๐,๐๐๐. โกฏิ ปัจจเวกขณเทศนาญาณอันเป็น

วิสัยแห่งสมันตปัฏฐานซึ่งมีนัยหาที่สุดมิได้ ญาณที่ประกาศอัธยาศัยเป็นต้น

ของสัตว์ทั้งหลาย ผู้หาที่สุดมิได้ในโลกธาตุ อันหาที่สุดมิได้ เหมือนกัน

อันถึงแล้วซึ่งความเจริญเต็มที่ แห่งการบำเพ็ญพระบารมี และการเจริญ

มรรค ตลอดกาลหาที่สุดมิได้ กระทำพุทธคุณอันบ่ายหน้าต่อมนสิการให้

เป็นวรรค ๆ คือให้เป็นกอง ๆ ด้วยอำนาจพระหฤทัยว่า ธรรมอันหาโทษ

มิได้ แม้เหล่านี้มีอยู่ในเรา ธรรมอันหาโทษมิได้ แม้เหล่านี้มีอยู่ในเรา.

ก็ธรรมเหล่านั้นอาจมนสิการได้ โดยมีการแสดงยังเหลืออยู่ทีเดียว ไม่อาจ

มนสิการได้โดยหมดสิ้น. พุทธคุณทั้งหมด แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่อาจ

มนสิการตามลำดับบทได้หมดสิ้น. เพราะเป็นธรรมหาที่สุดมิได้ หาปริมาณ

มิได้. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า

แม้พระพุทธเจ้าจะพึงพรรณนาคุณของพระพุทธ-

เจ้า หากไม่ตรัสอย่างอื่นแม้ตลอดกัป กัปก็จะพึง

หมดสิ้นไปในระหว่างกาลนาน คุณของพระตถาคต

ทั้งหลายก็ไม่หมดสิ้น.

ตรัสไว้อีกว่า

ใคร ๆ ไม่พึงนับนามของพระมเหสีเจ้า โดย

พระคุณที่มีอยู่ พึงยกพระนามขึ้นโดยพระคุณ แม้

ตั้งพันนาม.

ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จกลับจากบิณฑบาตภายหลัง

ภัต เสด็จเข้าพระวิหารประทับยืนที่หน้ามุขพระคันธกุฎี เมื่อภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 610

แสดงวัตรแล้วหลีกไป จึงเสด็จเข้ามหาคันธกุฎี ประทับนั่งเหนือบวร

พุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ทรงส่งพระญาณอันมีอดีตชาติของพระองค์

เป็นอารมณ์ไป. ลำดับนั้น อดีตชาติของพระองค์มีประเภทหาที่สุดหา

ประมาณมิได้ ปรากฏชัดแจ้งตลอดกาลหาระหว่างมิได้. พระองค์ทรงส่ง

ญาณจารซึ่งมีกิเลสเป็นอารมณ์ว่า กิเลสเหล่านี้ เป็นมูลแห่งทุกขันธ์

อันใหญ่หลวงอย่างนี้ ทรงพิจารณากิเลสเหล่านั้นตามลำดับ โดยมุขคือ

ปหานะ เมื่อจะพิจารณาอริยมรรค พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งปริวาส

พร้อมทั้งอุทเทส อันกระทำการละกิเลสเหล่านั้นอีกว่า กิเลสเหล่านี้หนอ

เราละได้เด็ดขาดแล้วด้วยดี จึงทรงกระทำไว้ในพระทัย ซึ่งธรรมอันหา

โทษมิได้มีศีลเป็นต้นของพระองค์ อันมีประเภทหาที่สุดหาประมาณมิได้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ

นั่งพิจารณาอกุศลธรรม อันลามกเป็นอเนกที่พระองค์ละได้แล้ว และ

กุศลธรรมเป็นอเนก ที่ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา. ครั้นทรงพิจารณา

อย่างนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงปีติและปราโมทย์อันเกิด

ขึ้นแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ ปุพฺเพ ความว่า ก็ก่อนแต่เกิด

อรหัตมรรคญาณ หมู่กิเลสมีราคะเป็นต้นทั้งหมดนี้ ได้มีในสันดาน

ของเราแล้ว ในหมู่กิเลสนี้ แม้กิเลสไร ๆ จะไม่มีก็หามิได้. บทว่า ตทา

นาหุ ความว่า ในกาลนั้น คือเวลานั้น ได้แก่ในขณะอริยมรรค หมู่

กิเลสไม่ได้มี คือไม่ได้มีเลย. ในหมู่กิเลสนั้น กิเลสแม้มีประมาณน้อย

ชื่อว่าเรายังไม่ได้ละในขณะอริยมรรค ย่อมไม่มี. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 611

ตโต นาหุ ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ต่อจากขณะแห่งอริยมรรคนั้น กิเลส

ไม่มีแล้ว. บทว่า นาหุ ปุพฺเพ ความว่า ก็ธรรมอันหาโทษมิได้ หาประ-

มาณมิได้ ของเรานี้ใด บัดนี้ เราได้ประสบบริบูรณ์แล้วด้วยภาวนา ธรรม

อันหาโทษมิได้แม้นั้น ในกาลก่อนแต่ขณะอริยมรรคไม่ได้มีแล้ว คือไม่มี

เลย. บทว่า ตทา อหุ ความว่า ก็อรหัตมรรคญาณเกิดขึ้นแก่เราในกาล

ใด ในกาลนั้น ธรรมอันหาโทษมิได้ทั้งหมด ได้มีแล้วแก่เรา. จริงอยู่

คุณแห่งพระสัพพัญญูทั้งหมด พร้อมด้วยการบรรลุอรหัตมรรค ย่อมอยู่

ในเงื้อมพระหัตถ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายทีเดียว. บทว่า น จาหุ น จ

ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ ความว่า ก็ธรรมอันหาโทษมิได้ คืออริยมรรค

นั้นใด เกิดขึ้นแล้ว ณ ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งโพธิญาณของเรา อัน

เป็นเหตุให้เราละหมู่กิเลสทั้งหมดได้เด็ดขาด. อริยมรรคนั้น ก่อนแต่ขณะ

มรรค ไม่มีและไม่ได้มีแก่เราเลย ฉันใด แม้อริยมรรคนี้ก็ฉันนั้น จักไม่มี

คือจักไม่เกิดขึ้นอนาคต เหมือนกิเลสเหล่านั้น เพราะไม่มีกิเลสที่ตนจะ

ต้องละ ถึงในบัดนี้ คือในปัจจุบัน ก็ไม่มี คือไม่เกิด เพราะไม่มีกิจที่ตน

จะต้องทำ. เพราะพระอริยมรรคไม่เป็นไปมากครั้ง ด้วยเหตุนั้นนั่นแล

พระองค์จึงตรัสว่า ย่อมไม่ถึงฝั่ง ๒ ครั้ง.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงพิจารณาถึงอกุศลธรรมที่

พระองค์ละได้เด็ดขาดในสันดานของพระองค์ ด้วยอริยมรรค และธรรม

อันหาโทษมิได้ หาประมาณมิได้ อันถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา จึง

ทรงเปล่งอุทานอันเกิดด้วยกำลังปีติที่น้อมเข้ามาในตน. ด้วยคาถาต้น

ตรัสถึงเวสารัชญาณเบื้องต้นทั้งสองเท่านั้น เวสารัชญาณ ๒ ข้อหลัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 612

เป็นอันทรงประกาศแล้วทีเดียว เพราะประกาศถึงพระสัมมาสัมโพธิญาณ

ดังนี้แล.

จบอรรถกถาอาหุสูตรที่ ๓

๔. ปฐมกิรสูตร

ว่าด้วยความเห็นต่างกัน

[๑๓๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล สมณะ

พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่าง ๆ กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความ

พอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน อาศัยอยู่ใน

พระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ

อย่างนี้ว่า

๑. โลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า.

ส่วนสมณพราหมณ์อีกพวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

๒. โลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า.

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

๓. โลกมีที่สุด. . .

๔. โลกไม่มีที่สุด. . .

๕. ชีพอันนั้น สรีระก็อันนั้น. . .

๖. ชีพเป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น. . .

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 613

๗. สัตว์เบื้องหน้าแต่แล้ว ย่อมเป็นอีก . . .

๘. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมไม่เป็นอีก . . .

๙. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี

นี้แหละจริง อื่นเปล่า.

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

๑๐. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็น

อีกก็หามิได้ นี้แหละจริง อื่นเปล่า.

สมณพราหมณ์เหล่านั้นเกิดบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน

ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้

ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.

[๑๓๗] ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า ภิกษุมากด้วยกัน นุ่งแล้วถือบาตร

และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตภายหลัง

ภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส สมณะ พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน

ผู้มีลัทธิต่างๆ กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน มีความชอบใจ

ต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์

พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง นี้แหละจริง. . .

ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์เป็นคนตา

บอด ไม่มีจักษุ ไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่

รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 614

ฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม ก็บาดหมาง

กัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปากว่า ธรรม

เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.

[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ในพระนครสาวัตถี

นี้แล มีพระราชาพระองค์หนึ่ง ครั้งนั้นแล พระราชาพระองค์นั้นตรัส

เรียกบุรุษคนหนึ่งมาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ นี่แน่ะเธอ คนตาบอดใน

พระนครสาวัตถีมีประมาณเท่าใด ท่านจงบอกให้คนตาบอดเหล่านั้น

ทั้งหมดมาประชุมร่วมกัน บุรุษนั้นทูลรับพระราชดำรัสแล้ว พาคนตาบอด

ในพระนครสาวัตถีทั้งหมดเข้าไปเฝ้าพระราชาถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้

กราบบังคมทูลพระราชาพระองค์นั้นว่า ขอเดชะ พวกคนตาบอดใน

พระนครสาวัตถีมาประชุมกันแล้ว พระพุทธเจ้าข้า พระราชาองค์นั้น

ตรัสว่า แน่ะพนาย ถ้าอย่างนั้น ท่านจงแสดงช้างแก่พวกคนตาบอดเถิด

บุรุษนั้นทูลรับพระราชดำรัสแล้วแสดงช้างแก่พวกคนตาบอด คือ แสดง

ศีรษะช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงหูช้างแก่คนตา

บอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงงาช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า

ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงงวงช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้

แสดงตัวช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงเท้าช้างแก่

คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงหลังช้างแก่คนตาบอดพวก

หนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้ แสดงโคนหางช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้าง

เป็นเช่นนี้ แสดงปลายหางช้างแก่คนตาบอดพวกหนึ่งว่า ช้างเป็นเช่นนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลำดับนั้นแล บุรุษนั้น ครั้นแสดงช้างแก่พวกคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 615

ตาบอดแล้ว เช้าไปเฝ้าพระราชาพระองค์นั้น ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้

กราบทูลว่า ขอเดชะ คนตาบอดเหล่านั้นเห็นช้างแล้วแล บัดนี้ ขอให้ฝ่า

ละอองธุลีพระบาท จงทรงสำคัญเวลาอันควรเถิด พระเจ้าข้า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ลำดับนั้นแล พระราชาพระองค์นั้นเสด็จเข้าไปถึงที่คนตาบอด

เหล่านั้น ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า ดูก่อนคนตาบอดทั้งหลาย พวกท่าน

ได้เห็นช้างแล้วหรือ คนตาบอดเหล่านั้น กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายได้เห็นแล้ว พระเจ้าข้า.

รา. ดูก่อนคนตาบอดทั้งหลาย ท่านทั้งหลายกล่าวว่า ข้าพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายได้เห็นช้างแล้ว ดังนี้ ช้างเป็นเช่นไป.

คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำศีรษะช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอ

เดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนหม้อ พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้

ลูบคลำหูช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือน

กระดัง พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำงาช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้

ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนผาล พระเจ้าข้า คนตาบอด

พวกที่ได้ลูบคลำงวงช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้

คือ เหมือนงอนไถ พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำตัวช้าง ได้

กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนฉางข้าว พระ-

เจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำเท้าช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ

ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนเสา พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำ

หลับช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนครก

ตำข้าว พระเจ้าข้า คนตาบอดพวกที่ได้ลูบคลำโคนหางช้าง ได้กราบทูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 616

อย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็นเช่นนี้ คือ เหมือนสาก พระเจ้าข้า คนตา

บอดพวกที่ได้ลูบคลำปลายหางช้าง ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเดชะ ช้างเป็น

เช่นนี้ คือ เหมือนไม้กวาด พระเจ้าข้า คนตาบอดเหล่านั้นได้ทุ่มเถียง

กันและกันว่า ช้างเป็นเช่นนี้ ช้างไม่ใช่เป็นเช่นนี้ ช้างไม่ใช่เป็นเช่นนี้

ช้างเป็นเช่นนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พระราชาพระองค์นั้นได้ทรงมี

พระทัยชื่นชมเพราะเหตุนั้นแล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล พวกอัญญเดียรถีย์ปริพา-

ชกเป็นคนตาบอด ไม่มีจักษุ ย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหาย

ใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้จักประโยชน์

ไม่รู้จักความฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม

มีบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่มแทงกันและกันด้วยหอกคือปาก

ว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็น

เช่นนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ได้ยินว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมข้องอยู่

เพราะทิฏฐิทั้งหลายอันหาสาระมิได้เหล่านี้ ชนทั้ง-

หลายผู้เห็นโดยส่วนเดียว ถือผิดซึ่งทิฏฐินิสัยนั้น ย่อม

วิวาทกัน.

จบปฐมกิรสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 617

อรรถกถาปฐมกิรสูตร

ปฐมกิรสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า นานาติตฺถิยา สมณพฺราหฺมณปริพฺพาชกา นี้ มีวิเคราะห์

ดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ท่า เพราะเป็นเหตุข้ามโอฆสงสาร ได้แก่ ทางเป็นที่

ไปสู่พระนิพพาน. แต่ในที่นี้ ทิฏฐิทัสสนะ ความเห็นคือทิฏฐิ ที่พวก

ผู้มีทิฏฐิยึดถือเป็นคติเช่นนั้น โดยวิปลาสอันผิดแผก ท่านประสงค์เอา

ว่า ท่า. ผู้ประกอบใน ท่า มีอาการต่าง ๆ มีว่าเที่ยงเป็นต้นนั้น ชื่อว่า

นานาทิฏฐิ. สมณะเปลือยและนิครนถ์เป็นต้น กฐกลาปพราหมณ์เป็นต้น

และปริพาชกชื่อโปกขรสาติเป็นต้น ชื่อว่าสมณะ พราหมณ์ และปริพา-

ชก. สมณะ พราหมณ์ และปริพาชกเหล่านั้น ผู้ประกอบในท่าต่างๆ

เหมือนกัน. ชื่อว่า ทิฏฐิ เพราะเป็นเครื่องเห็น โดยนัยมีอาทิว่า อัตตา

และโลกเที่ยง หรือทิฏฐินั้นย่อมเห็นเอง หรือทิฏฐินั้นเป็นเพียงความเห็น

เช่นนั้นเท่านั้น คำว่า ทิฏฐินี้ เป็นชื่อของการยึดถือผิด. ทิฏฐิต่าง ๆคือ

มีอย่างเป็นอเนก โดยเห็นว่าเที่ยงเป็นต้น ของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น

ชนเหล่านั้นชื่อว่ามีทิฏฐิต่าง ๆ. ความพอใจโดยเห็นว่าเที่ยงเป็นต้น ชื่อว่า

ขันติ, ความชอบใจ ชื่อว่า รุจิ โดยอรรถ จิตวิปลาสและสัญญาวิปลาส

อันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า อัตตาและโลกเที่ยง ความพอใจต่าง ๆ เช่นนั้น

ของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่า มีความพอใจต่าง ๆ กัน.

ความชอบใจของชนเหล่านั้นมีอยู่ เหตุนั้น ชนเหล่านั้นมีชื่อว่า มีความ

ชอบใจต่าง ๆ กัน. จริงอยู่ ในส่วนเบื้องต้น บุคคลผู้มีทิฏฐิเป็นคติ ย่อม

ทำจิตให้ชอบใจ และให้พอใจโดยประการนั้น ภายหลังยึดถือว่า สิ่งนี้

เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า. อีกอย่างหนึ่ง ทิฏฐิว่าด้วยความเห็น ชื่อว่าขันติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 618

ด้วยความพอใจ ชื่อว่ารุจิด้วยความชอบใจ โดยประการนั้น ๆ โดยนัยมี

อาทิว่า โลกไม่เที่ยง โลกเที่ยง. ด้วยบททั้ง ๓ ดังกล่าวมานี้ ทิฏฐิเท่านั้น

พึงทราบเนื้อความว่าท่านกล่าวไว้แล้ว. บทว่า นานาทิฏฺินิสฺสยนิสฺสิตา

ความว่า อาศัย คือ แอบแนบ เข้าถึงที่อาศัย คือที่ตั้ง ได้แก่เหตุแห่ง

ทิฏฐิมีอย่างต่าง ๆ โดยกำหนดว่าเที่ยง เป็นต้น หรือที่อาศัยกล่าวคือ

ทิฏฐินั่นแหละ อธิบายว่า ไม่สละทิฏฐินั้นตั้งอยู่. ด้วยว่าแม้ทิฏฐิทั้งหลาย

ก็เป็นที่อาศัยของอาการยึดถือของชนพวกที่มีทิฏฐิเป็นคติ.

บทว่า สนฺติ แปลว่า มีอยู่ คือมีอยู่พร้อม ได้แก่ เกิดอยู่. บทว่า

เอเก ได้แก่ บางพวก. บทว่า สมณพฺราหฺมณา ความว่า ท่านถือเอา

อย่างนี้ว่า ชื่อว่าสมณะ. เพราะเข้าถึงการบรรพชา ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะ

ชาติกำเนิด. อีกอย่างหนึ่ง ผู้ที่ชาวโลกถือเอาอย่างนี้ว่าสมณะ และว่า

พราหมณ์. บทว่า เอววาทิโน ได้แก่ ผู้มีวาทะอย่างนี้ว่า ผู้กล่าวอย่างนี้

คือ โดยอาการที่จะพึงกล่าวในบัดนี้. ชื่อว่า ผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ เพราะคน

เหล่านั้นมีทิฏฐิอันเป็นไปอย่างนี้ คือโดยอาการที่จะพึงกล่าวในบัดนี้. ใน

บทเหล่านั้น ด้วยบทที่ ๒ ท่านแสดงถึงการยึดถือผิดของคนผู้ทิฏฐิเป็น

คติ. ด้วยบทที่ ๑ ท่านแสดงถึงการกล่าว โดยให้คนเหล่าอื่นตั้งอยู่ใน

ทิฏฐินั้น ตามความยึดถือของพวกเขา. บทว่า โลโก ในบทว่า สสฺสโต

โลโก อิธเมว สจฺจ โมฆมญฺ นี้ เป็นอัตตา. จริงอยู่ อัตตานั้นท่าน

ประสงค์เอาว่า โลก เพราะเป็นที่ที่คนผู้มีทิฏฐิเป็นคติเห็นบุญบาป และ

วิบากของบุญและบาปนั้น หรือว่าผู้ประกอบโดยความเป็นผู้กระทำย่อม

เห็นเอง. อธิบายว่า ความเห็นของพวกเราที่ว่า โลกนี้นั้นเที่ยง ไม่ตาย

มั่นคง ยั่งยืน นี้แหละเป็นของจริง คือไม่แปรผัน ส่วนความเห็นอย่างอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 619

ของคนอื่นว่า โลกไม่เที่ยงเป็นต้น เปล่า คือผิด. ด้วยคำนี้ เป็นอันท่าน

แสดง สัสสตวาทะทั้ง ๔. บทว่า อสสฺสโต แปลว่า ไม่เที่ยง อธิบายว่า

ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีจุติเป็นธรรม. ด้วยบทว่า อสสฺสโต นี้. ท่านแสดง

อุจเฉททิฏฐิ. ความเห็นว่าขาดสูญ โดยปฏิเสธภาวะที่โลกเที่ยงนั่นแหละ

เพราะเหตุนั้น ย่อมเป็นอันแสดงอุจเฉทวาทะแม้ทั้ง ๗. บทว่า อนฺตวา

ได้แก่ มีที่สุด หมุนไปรอบ (กลม) มีประมาณกำหนดได้ อธิบายว่า

ไม่ไปตลอด. ด้วยคำนี้ เป็นอันท่านแสดงวาทะ มีอาทิอย่างนี้ว่า อัตตา

มีสรีระเป็นประมาณ มีนิ้วแม่มือเป็นประมาณ มีอวัยวะเป็นประมาณ

(และ) มีปรมาณูเป็นประมาณ. บทว่า อนนฺตวา แปลว่า ไม่มีที่สุด

อธิบายว่า ไปได้ตลอด. ด้วยคำว่า อนนฺตวา นี้ ย่อมเป็นอันแสดงวาทะ

ของกปิลกาณพราหมณ์เป็นต้น.

ด้วยบทว่า ต ชีว ต สรีร นี้ สมณะหรือพราหมณ์ย่อมพิจารณา

เห็นชีวะ และสรีระ ไม่เป็นคู่กันว่า สรีระนั่นแหละ เป็นวัตถุ กล่าวคือ

ชีวะ วัตถุกล่าวคือชีวะนั่นแหละเป็นสรีระ. ด้วยบทนี้ เป็นอันท่านแสดง

วาทะนี้ว่า อัตตาที่มีรูป เหมือนวาทะของอาชีวก ก็ด้วยบทว่า อญฺ

ชีว อญฺ สรีร นี้ เป็นอันท่านแสดงวาทะว่าอัตตาไม่มีรูป. บทว่า ตถาคโต

ในบทว่า โหติ ตถาคโต ปรมฺมรณา นี้ ได้แก่ อัตตา. จริงอยู่

อัตตานั้น ทิฏฐิคติกบุคคลกล่าวว่า ตถาคต เพราะถึงภาวะที่เป็นไปอย่าง

นั้น กล่าวคือผู้ทำและผู้เสวยเป็นต้น หรือกล่าวคือเที่ยงและยั่งยืนเป็นต้น

อธิบายว่า ในที่นี้ อัตตานั้น เบื้องหน้าคือหลังแต่ตายเพราะกายแตก

ย่อมมี คือมีปรากฏอยู่. ด้วยคำนี้อันมีสัสสตวาทะเป็นประธาน เป็นอันท่าน

แสดงสัญญีวาทะ ๑๖ อสัญญีวาทะ ๘ และเนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 620

น โหติ ได้แก่ ไม่มี คือ ไม่เกิด. ด้วยคำนี้ ท่านแสดงอุจเฉทวาทะ.

บทว่า โหติ จ น โหติ จ แปลว่า มีและไม่มี. ด้วยคำนี้ เป็นอันท่าน

แสดงสัสสตวาทะบางอย่าง และสัญญีวาทะ ๗. ก็ด้วยบทว่า เนว โหติ

น น โหติ นี้ พึงทราบว่า ท่านแสดงวาทะดิ้นได้ไม่ตายตัว. ได้ยินว่า

ทิฏฐิคติกบุคคลเหล่านี้ มาจากถิ่นต่าง ๆ อาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี คราว

หนึ่งประชุมกัน ณ ที่ประชุมแสดงลัทธิ ยกย่องวาทะของตน ๆ ข่ม

วาทะของคนอื่น ได้ก่อวิวาทกันและกัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เต ภณฺฑนชาตา ดังนี้ เป็นต้น.

ในวาทะเหล่านั้น ส่วนเบื้องต้นของการทะเลาะ. ชื่อว่า ความ

บาดหมาง. บทว่า ภณฺฑนชาตา แปลว่า เกิดความบาดหมาง. การ

ทะเลาะนั่นแหละ ชื่อว่า กลหะ. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นการทะเลาะ

เพราะกำจัดเสียงแผ่วเผา. ชื่อว่า วิวาทาปนฺนา เพราะถึงวาทะที่ผิดกัน

และกัน. หอกคือปาก เพราะกระทบกระทั่งความรัก เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

มุขสัตติ ได้แก่ ผรุสวาจา. จริงอยู่ เหตุ ท่านกล่าวว่า ผลก็มี เพราะ

ใกล้เคียงกับเหตุ เหมือนใกล้เคียงกับผล อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า การอุบัติขึ้น

แห่งพระพุทธเจ้า นำมาซึ่งความสุข และว่า กรรมชั่วปรากฏชัด. ทิ่ม แทง

อยู่ด้วยหอกคือปากเหล่านั้น. บทว่า เอทิโส ธมฺโม ได้แก่ ธรรม คือ

สภาวะอันไม่ผิดแผก เช่นนี้ คือ เห็นปานนี้ เหมือนอย่างที่เรากล่าวไว้ว่า

โลกเที่ยง. บทว่า เนทิโส ธมฺโม ได้แก่ ธรรมเช่นนี้หามิได้ เหมือน

อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า โลกไม่เที่ยง. แม้ด้วยบทที่เหลือก็พึงประกอบ

อย่างนี้. ก็วาทะของพวกเดียรถีย์นั้น เกิดปรากฏไปทั่วนคร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 621

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ได้ฟังดังนั้น

จึงคิดว่า เค้ามูลแห่งถ้อยคำนี้มีอยู่แล ถ้ากระไร เราพึงกราบทูลเรื่องนี้

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผิไฉนหนอ เราพึงได้พระธรรมเทศนาอันสุขุม

ละเอียด เพราะอาศัยเรื่องนี้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้ -

มีพระภาคเจ้า ในเวลาแสดงธรรมภายหลังภัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าว

ว่า อถ โข สมฺพหุลา ภิกฺขู ดังนี้เป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงสดับดังนั้นแล้ว เมื่อจะทรงประกาศการที่พวกอัญญเดียรถีย์ไม่รู้

ธรรมตามความเป็นจริง จึงตรัสคำว่า อญฺติตฺถิยา ภิกฺขเว ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนฺธา ความว่า ชื่อว่า ผู้บอด เพราะ

เว้นปัญญาจักษุ. เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า อจกฺขุกา จริงอยู่

ปัญญาท่านประสงค์ว่าจักขุ ในที่นี้. จริงอย่างนั้น พระองค์จึงตรัสว่า

อตฺถ น ชานนฺติ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถ น

ชานนฺติ ความว่า ไม่รู้ประโยชน์โลกนี้และประโยชน์โลกหน้า คือไม่

หยั่งรู้ความเจริญงอกงามในโลกนี้และโลกหน้า ก็จะกล่าวไปไยถึงประโยชน์

อย่างยิ่ง คือพระนิพพานเล่า. จริงอยู่ ธรรมดาว่าผู้งมงายในเหตุสักว่า

ปวัตติ (คือทุกข์) จักรู้นิวัตติ (คือนิโรธ) ได้อย่างไร. บทว่า อนตฺถ

น ชานนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้นย่อมไม่รู้ประโยชน์โดยส่วนใด ย่อม

ไม่รู้แม้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ส่วนนั้น. เพราะเหตุที่ไม่รู้ ธรรม ฉะนั้น

แม้อธรรมก็ไม่รู้. จริงอยู่ เพราะการถือเอาการแสวงหาผิด ชนเหล่านั้น

ย่อมทำกุศลธรรมให้เป็นอกุศลธรรมบ้าง ทำอกุศลธรรมให้เป็นกุศลธรรม

บ้าง. ไม่ใช่หลงงมงายแต่ในธรรมและอธรรมอย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 622

แม้ในวิบากของธรรมและอธรรมก็หลงงมงาย. จริงอย่างนั้น เขาเหล่านั้น

แม้กรรมก็ยังกล่าวให้เป็นวิบาก แม้วิบากก็กล่าวให้เป็นกรรม อนึ่ง ย่อม

ไม่รู้ ธรรม คือสภาวธรรมบ้าง ย่อมไม่รู้ อธรรม คือมิใช่สภาวธรรม

บ้าง. ก็ผู้เป็นอย่างนั้น ย่อมประกาศสภาวธรรมให้เป็นอสภาวธรรม และ

ประกาศอสภาวธรรมให้เป็นสภาวธรรม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงประกาศว่า เดียรถีย์เหล่านั้นเป็นดัง

คนบอด เพราะบกพร่องทางปัญญาจักษุ โดยได้เฉพาะโมหะและทิฏฐิ

ด้วยประการดังนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะประกาศความนั้นโดยอุปมาด้วยคน

บอดแต่กำเนิด จึงตรัสคำว่า ภูตปุพฺพ ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น. บรรดา

บทเหล่านั้น บทว่า ภูตปุพฺพ ได้แก่มีแล้วในกาลก่อน คือบังเกิดแล้ว

ในอดีตกาล. บทว่า อญฺตโร ราชา อโหสิ ความว่าครั้งก่อนได้มี พระ-

ราชาองค์หนึ่งไม่ปรากฏนามและโคตรในโลก. บทว่า โส ราชา อญฺตร

ปุริส อามนฺเตสิ ความว่า เล่ากันมาว่า พระราชาพระองค์นั้น ครั้น

ทอดพระเนตรเห็นช้างทรงของพระองค์เลิศด้วยความงาม มีสรรพางค์กาย

สมบูรณ์มายังที่บำรุง จึงได้มีพระดำริว่า ผู้เจริญ ยานคือช้างตัวเจริญ

น่าชมหนอ. ก็สมัยนั้น คนบอดแต่กำเนิดคนหนึ่งเดินมาตามพระลาน-

หลวง. พระราชาทรงเห็นดังนั้น จึงทรงพระดำริว่า คนบอดเหล่านี้มี

ความเสื่อมอย่างใหญ่หลวง ที่ไม่ได้เห็นช้างที่น่าชมเห็นปานนี้ ถ้ากระไร

เราจะให้คนบอดแต่กำเนิดเท่าที่มีอยู่ทั้งหมด ให้ประชุมกันในกรุงสาวัตถีนี้

ให้เอามือจับต้องคนละส่วน ๆ แล้วจะพึงฟังถ้อยคำของคนบอดเหล่านั้น.

พระราชาผู้มีพระทัยในทางล้อเลียน จึงรับสั่งให้ราชบุรุษผู้หนึ่งให้เรียก

ประชุมคนบอดทั้งหมดในกรุงสาวัตถี แล้วได้ให้สัญญาแก่ราชบุรุษนั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 623

เจ้าจงทำโดยประการที่คนบอดแต่ละคนถูกต้องอวัยวะของช้างแต่ละส่วน ๆ

มีศีรษะเป็นต้นเท่านั้น แล้วให้เกิดสัญญาขึ้นว่าเราเห็นช้างแล้ว. ราชบุรุษ

ได้กระทำเหมือนอย่างนั้น. ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามคนบอดเหล่านั้น

แต่ละคน ๆ ว่า พนาย ช้างเป็นอย่างไร ? คนบอดเหล่านั้นต่างทูลบอก

เฉพาะอวัยวะที่ตนเห็นแล้ว ๆ ว่าเป็นช้าง จึงก่อการทะเลาะกันว่า ช้าง

เป็นเช่นนี้ ช้างไม่เป็นเช่นนี้ ใช้มือเป็นต้น คว้ากันกระทำโกลาหลอย่าง

ใหญ่หลวง ณ พระลานหลวง. ฝ่ายพระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริพาร ได้

ทอดพระเนตรเห็นประการอันแปลกนั้นของคนบอดเหล่านั้น มีพระผา-

สุกาขยาย มีพระหทัยเบิกบาน ทรงพระสรวลลั่น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า อถ โข ภิกฺขเว โส ราชา ฯ เป ฯ อตฺตมโน อโหสิ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺโภ เป็นอาลปนะ. บทว่า ยาวติกา

แปลว่า มีประมาณเท่าใด. บทว่า ชฺจจนฺธา แปลว่า คนบอดแต่กำเนิด

คือไม่มีจักขุปสาทตั้งแต่เกิด. บทว่า เอกชฺฌ แปลว่า โดยเป็นอันเดียว

กัน. บทว่า ภเณ เป็นการกล่าวอย่างไม่นับถือมาก. บทว่า หตฺถึ ทสฺเสหิ

ความว่า จงแสดงโดยให้ช้างตัวที่กล่าวแล้วนอน. ก็ช้างนั้นนอนโดยไม่ดิ้น

เพราะศึกษามาดีแล้ว.

ด้วยบทว่า ทิฏฺโ โน หตฺถี คนบอดกล่าวโดยเอามือจับต้อง

เหมือนเห็นด้วยตา. บุรุษนั้นให้คนบอดจับศีรษะ เพราะจะให้รู้ว่า ช้างเป็น

เช่นนี้ คนบอดแต่กำเนิดเมื่อรู้ว่าช้างเป็นเช่นนั้นนั่นแหละ จึงกราบทูลว่า

ช้างเป็นเช่นนี้ คือเหมือนหม้อ พระเจ้าข้า. ก็ความของ บทว่า กุมฺโภ แปล

ว่าหม้อ. บทว่า ขีโล ได้แก่ ขอแขวนซึ่งทำด้วยงาช้าง บทว่า โสณฺโฑ ได้แก่

งวง. บทว่า นงฺคลีสา ได้แก่ งอนของหัวไถ. บทว่า กาโย ได้แก่ สีข้าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 624

บทว่า โกฏฺโ แปลว่า ฉางข้าว. บทว่า ปาโทแปลว่า แข้ง. บทว่า ถู โน

แปลว่าเสา. บทว่า นงฺคุฏฺ ได้แก่ ส่วนบนของหาง. บทว่า วาลธี

ได้แก่ ส่วนปลายของหาง. บทว่า มุฏฺีหิ สงฺขุภึสุ ได้แก่ กำหมัดชก

ได้แก่ ต่อยกัน. บทว่า อตฺตมโน อโหสิ ความว่า เพราะพระองค์

มีปกติล้อเลียน พระราชานั้น จึงทรงพอพระทัย คือมีความร่าเริงจับ

พระทัย เพราะการทะเลาะของพวกคนตาบอดแต่กำเนิดนั้น.

บทว่า เอวเมว โข เป็นการเทียบเคียงโดยอุปมา. การเทียบเคียงโดย

อุปมานั้นมีใจความดังต่อไปนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนบอดแต่กำเนิด

เหล่านั้นไม่มีจักษุประสาทมักเห็นไปโดยส่วนเดียว ไม่เห็นช้างส่วนที่เหลือ

เมื่อไม่รู้สิ่งที่คนอื่นเห็นโดยสำคัญว่า เป็นช้างเพียงมาตรว่าอวัยวะที่ตนเห็น

ก็ถึงความทะเลาะวิวาทกันและกัน ฉันใด อัญญเดียรถีย์เหล่านี้ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน สำคัญรูปเวทนาเป็นต้นอันเป็นส่วนหนึ่งแห่งกายของตน ตาม

ที่เห็นโดยทิฏฐิทัสสนะของตนว่า เป็นอัตตา ยกขึ้นสู่ภาวะว่าตนนั้นเที่ยง

เป็นต้น จึงวิวาทกันและกันโดยยึดถือว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า.

แต่ไม่รู้ถึงสิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็นธรรม

และมิใช่ธรรมตามความเป็นจริง เพราะฉะนั้น จึงเป็นคนบอดไม่มีจักษุ-

ประสาท มีส่วนเปรียบด้วยคนบอดแต่กำเนิด.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยประการทั้งปวง

ถึงการที่พวกเดียรถีย์ไม่รู้ไม่เห็นสภาวธรรมตามความเป็นจริง ยึดถือผิด

ตามที่เห็นเหมือนคนบอดแต่กำเนิดคลำช้างฉะนั้น และถึงการวิวาทกันใน

ข้อที่ยึดถือผิดนั้นนี้ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 625

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อิเมสุ กิร สชฺชนฺติ เอเก

สมณพฺราหฺมณา ท่านแสดงว่า ได้ยินว่า บุคคลบางพวกในโลกนี้ ชื่อว่า

สมณะ เพราะเข้าถึงการบรรพชา ชื่อว่า พราหมณ์ เพราะเหตุเพียงชาติย่อม

ข้องโดยนัยมีอาทิว่า นี้เป็นของเรา โดยความบันเทิงในทิฏฐิ ในทิฏฐิอันไม่

เป็นสาระเหล่านี้เท่านั้น อันเป็นไปโดยนัยมีว่า โลกเที่ยง เป็นต้น หรือโดย

ความบันเทิงในตัณหา และความบันเทิงในทิฏฐิ ในอุปาทานขันธ์มีรูป

เป็นต้นเหล่านี้ อันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา

อย่างนี้น่าสลดใจ พวกเหล่านี้มีความงมงาย. กิร ศัพท์ ในคำว่า อิเมสุ

กิร ฯ เป ฯ สชฺชนฺติ นี้ เป็นอรุจิสูจนัตถะ ส่องความไม่ชอบใจ. ด้วย

คำนั้น ทรงแสดงถึงความไม่มีเหตุเกี่ยวข้องในข้อนั้นนั่นแหละ. ไม่ใช่จะ

ข้องอยู่อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่แท้ ถือผิดซึ่งทิฏฐินิสัยนั้น คือแก่งแย่ง

วิวาทกัน ได้แก่ถึงการวิวาทกัน ด้วยการประกอบตามถ้อยคำที่ถือผิด ๆ

โดยนัยมีอาทิว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้.

บทว่า น ในที่นี้ เป็นเพียงนิบาต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า วิคฺคยฺห

น ความว่า ถือทิฏฐินิสัยหรือสักกายทิฏฐินั้นนั่นแหละ ให้ผิดกันและกัน

แล้ววิวาทกัน คือกล่าวให้แปลกออกไป โดยเห็นว่าเที่ยงเป็นต้น เพราะ

มีความเห็นผิดแผกกัน คือกล่าวยึดถือแต่วาทะของตนเท่านั้นให้วิเศษ คือ

ไม่ให้ผิดแผก. เหมือนอะไร ? เหมือนชนทั้งหลายที่เห็นโดยส่วนเดียว.

อธิบายว่า คนบอดแต่กำเนิดเหล่านั้น เห็นแต่ส่วนหนึ่ง ๆ ของช้าง ยึด

ถือเอาว่าสิ่งที่ตนถูกต้องรู้นั้นแหละ คือ ช้าง จึงแก่งแย่งวิวาทกันและกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 626

ฉันใด คำอุปไมยอันยังอุปมาให้ถึงพร้อมนี้ก็ฉันนั้น. ก็ อิธศัพท์ ใน

คาถานั้นพึงทราบว่า ท่านแสดงว่าลบไปแล้ว.

จบอรรถกถาปฐมกิรสูตรที่ ๔

๕. ทุติยกิรสูตร

ว่าด้วยความเห็นแย้งกัน

[๑๓๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล สมณะ

พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่าง ๆ กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความ

พอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน อาศัยอยู่ใน

พระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

๑. ตนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า.

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะต่างอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

๒. ตนและโลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า.

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

๓. ตนและโลกเที่ยงก็มี ไม่เที่ยงก็มี...

๔. ตนและโลกเที่ยงก็มิใช่ ไม่เที่ยงก็มิใช่...

๕. ตนและโลกอันตนเองสร้างสรรค์...

๖. ตนและโลกอันผู้อื่นสร้างสรรค์...

๗. ตนและโลกอันตนเองสร้างสรรค์ก็มี อันผู้อื่นสร้างสรรค์ก็มี...

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 627

๘. ตนและโลกเกิดขึ้นลอย ๆ ตนเองสร้างสรรค์ก็หามิได้ ผู้อื่น

สร้างสรรค์ก็หามิได้...

๙. ตนและโลกยั่งยืน มีทั้งสุขและทุกข์...

๑๐. ตนและโลกไม่ยั่งยืน มีทั้งสุขและทุกข์...

๑๑. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็มี ไม่ยั่งยืนก็มี...

๑๒. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ยั่งยืนก็หามิได้ ไม่ยั่งยืนก็หามิได้.

๑๓. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองสร้างสรรค์.

๑๔. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ผู้อื่นสร้างสรรค์ นี้แหละจริง อื่น

เปล่า.

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

๑๕. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ ตนเองสร้างสรรค์ก็มี ผู้อื่นสร้าง

สรรค์ก็มี นี้แหละจริง อื่นเปล่า.

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

๑๖. ตนและโลกมีทั้งสุขและทุกข์ เกิดขึ้นลอย ๆ ตนเองสร้างสรรค์

ก็หามิได้ ผู้อื่นสร้างสรรค์ก็หามิได้ นี้แหละจริง อื่นเปล่า.

สมณพราหมณ์เหล่านั้นบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่มแทง

กันและกันด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรม

ไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.

[๑๔๐] ครั้งนั้นแล เวลาเช้า ภิกษุมากด้วยกัน นุ่งแล้วถือบาตร

และจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระ-

นครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค-

เจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 628

พระวโรกาส สมณะ พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่าง ๆ

กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความพอใจต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน อาศัย

อยู่ในพระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ

อย่างนี้ว่า คนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า ฯ ล ฯ ธรรมเป็น

เช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้ พระ-

เจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์

ปริพาชกเป็นคนบอด ไม่มีจักษุ ย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความ

ฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม ไม่รู้จัก

ประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหาย ใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จัก

สภาพมิใช่ธรรม ก็บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ทิ่มแทงกัน

และกันอยู่ด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรม

ไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ได้ยินว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งข้องอยู่ในทิฏฐิ-

นิสัยเหล่านี้ ยังไม่ถึงนิพพานเป็นที่หยั่งลง ย่อมจมอยู่

ในระหว่างแล.

จบทุติยกิรสูตรที่ ๕

อรรถกถาทุติยกิรสูตร

ทุติยกิรสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สสฺสโต อตฺตา จ โลโก จ ความว่า ชนแม้เหล่าอื่นยึดถือ

รูปารมณ์เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ว่าเป็นอัตตา และว่าเป็นโลกแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 629

ยึดถือรูปารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งว่าเที่ยง ยั่งยืน กล่าวเหมือนอย่างนั้น.

เหมือนอย่างที่กล่าวไว้ว่า ชนทั้งหลายย่อมบัญญัติรูปให้เป็นอัตตาและโลกว่า

เป็นอัตตา เป็นโลก และเที่ยง บัญญัติเวทนา... สัญญา...สังขาร...วิญญาณ

ให้เป็นอัตตา และโลกว่าเป็นอัตตา เป็นโลก และเที่ยง. อีกอย่างหนึ่ง

บทว่า อตฺตา ได้แก่ วัตถุที่ถือว่าเป็นเรา. บทว่า โลโก ได้แก่ วัตถุ

ที่ถือว่าเป็นของเรา ท่านกล่าวว่า มีในตน. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อตฺตา

ได้แก่ ตนเอง. บทว่า โลโก ได้แก่ ผู้อื่น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

อตฺตา ได้แก่ ขันธ์ ๑ ในบรรดาอุปาทานขันธ์ ๕ ขันธ์นอกนั้น ได้แก่

โลก. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า อตฺตา ได้แก่ ขันธสันดานที่มีวิญญาณครอง

ที่ไม่มีวิญญาณครอง ได้แก่ โลก. ชนทั้งหลายถือรูปเป็นต้นนั้น ๆ เป็น ๒

ประการตามทัสสนะว่าเป็น อัตตา และว่าเป็นโลก อย่างนี้แล้วยึดถือเอาทั้ง

อัตตาและโลกนั้นกล่าวว่าเที่ยง ยั่งยืน แน่นอน. ด้วยคำนี้ ท่านแสดง

สัสสตวาทะ ๔. ด้วยคำว่า อสสฺสโต นี้ แสดงอุจเฉทวาทะแม้ทั้ง ๗.

บทว่า สสฺสโต จ อสสฺสโต จ อธิบายว่า ที่ชื่อว่าเที่ยง เพราะอัตตาและ

โลกบางอย่างเที่ยง ที่ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะอัตตาและโลกบางอย่างไม่เที่ยง.

อีกอย่างหนึ่ง อัตตาและโลกนั้นแหละ. บางคราวเที่ยง บางคราวไม่เที่ยง

เหมือนของคนผู้เห็นตนเป็นคติ พึงทราบความในข้อนี้อย่างนี้ว่า สสฺสโต

เที่ยง. ด้วยบทว่า สสฺสโต นี้ ท่านแสดงถึงวาทะว่าเที่ยงเป็นบางอย่าง

แม้โดยประการทั้งปวง. ด้วยบทว่า เนว สสฺสโต นาสสฺสโต นี้ ท่าน

แสดงถึงวาทะที่ดิ้นได้ไม่ตายตัว. ก็ชนเหล่านั้นเห็นโทษในสัสสตวาทะ และ

อสัสสตวาทะ กล่าวซัดซ่ายไปว่า อัตตาและโลกเที่ยงก็หามิได้ ไม่เที่ยง

ก็หามิได้. บทว่า สยกโต แปลว่า ตนเองสร้างขึ้น. เหมือนอย่างว่าอัตตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 630

ของเหล่าสัตว์นั้น ๆ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมของตน แล้วเสวยสุขทุกข์

ฉันใด อัตตาแลก็ฉันนั้น ย่อมกระทำอัตตาและโลกกล่าวคือความกังวล

และความพัวพัน ให้เป็นเครื่องอุปโภคของอัตตานั้น ชนเหล่านั้นมีลัทธิ

แม้อันนี้ เหมือนลัทธิอัตตาว่า เนรมิตขึ้น. บทว่า ปรกโต แปลว่า คน

อื่นสร้างขึ้น อธิบายว่า คนอื่นนอกจากตน จะเป็นอิสรชน บุรุษหรือ

สตรีก็ตาม สร้าง คือเนรมิตอัตตาและโลกตามกาลหรือตามปกติ. บทว่า

สยกโต จ ปรกโต จ ความว่า เพราะเหตุที่อิสรชนเป็นต้น เมื่อเนรมิต

อัตตาและโลก จะเนรมิตด้วยตนเองอย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ โดยที่แท้

ต้องได้เหตุผู้ทำร่วมกันของธรรมและอธรรม แห่งเหล่าสัตว์นั้น ๆ ฉะนั้น

สัตว์บางพวกจึงมีลัทธิดังนี้ว่า อัตตาและโลก ตนเองสร้างขึ้นและคนอื่น

สร้างขึ้น. บทว่า อสยกาโร อปรกาโร ความว่า ชื่อว่า อสยังการ เพราะ

ตนเองไม่ได้สร้าง ชื่อว่า อปรังการ เพราะคนอื่นไม่ได้สร้าง. เพราะ

ลงนิคหิตอาคม จึงกล่าวว่า อปรกาโร. ผู้นี้เห็นโทษในข้อที่ตนและคน

อื่นสร้าง จึงปฏิเสธทั้งสองอย่าง. เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามที่ว่า เมื่อเป็น

เช่นนั้น อัตตาและโลกเกิดขึ้นได้อย่างไร จึงกล่าวเฉลยว่า อธิจฺจสมุปฺปนฺ-

โน เกิดขึ้นลอย ๆ. ท่านแสดงอธิจจสมุปปันนวาทะว่า เกิดขึ้นตามความ

ปรารถนา คือเกิดขึ้นโดยเว้นเหตุบางอย่าง. ก็ด้วยคำนั้น เป็นอันสงเคราะห์

เหตุกวาทะเข้าด้วย.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงวาทะนั้นของคนผู้มีทิฏฐิเป็นคติ กล่าวยึด

ถือสุขและทุกข์อันเป็นคุณ หรือเป็นเครื่องกังวลของอัตตานั้น โดยเป็น

ของเที่ยงเป็นต้น เหมือนกล่าวยึดถืออัตตา จึงตรัสคำมีอาทิว่า สนฺเตเก

สมณพฺรหฺมณา. คำนั้นมีนัยดังกล่าวแล้วแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 631

ก็ในบทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา นี้ เพราะการเปรียบด้วยคนตาบอด

แต่กำเนิด ไม่มาในพระสูตรนี้ จึงละความนั้นแล้วประกอบความโดยนัย

ที่กล่าวในหนหลังแล. ในคาถาก็เหมือนกัน. ในพระคาถานั้นมีความ

แปลกกันเพียงเท่านี้ว่า ยังไม่ถึงพระนิพพานอันเป็นที่หยั่งลง ย่อมจม

ลงในระหว่างเทียว.

คำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ ทิฏฐิคติกบุคคลทั้งหลายข้องอยู่ในทิฏฐิ

คือทิฏฐินิสัย ยังไม่ถึง คือยังไม่บรรลุพระนิพพาน กล่าวคือเป็นที่หยั่งลง

หรืออริยมรรคอันเป็นอุบายเครื่องบรรลุพระนิพพานนั้น เพราะเป็นฝั่ง

หรือเป็นที่พึ่งของทิฏฐิคติกบุคคลเหล่านั้น จึงจมคือหมกอยู่ในระหว่าง

คือในท่ามกลางโอฆะ ๔ มีกาโมฆะเป็นต้น หรือห้วงน้ำใหญ่ คือสงสาร

นั่นแหละ. อริยมรรคและพระนิพพาน ชื่อว่าธรรมเป็นเครื่องหยั่งลง

เพราะเป็นเครื่องหยั่งลงหรือเป็นที่ตั้งอาศัย. ในที่นี้ เพราะรัสสะ โอคาธ

นั่นแล จึงกล่าวว่า โอคธ. มีการแยกบทว่า ต โอคธ เป็น ตโมคธ.

จบอรรถกถาทุติยกิรสูตรที่ ๕

๖. ติตถสูตร

ว่าด้วยลัทธิและทิฏฐิต่างกัน

[๑๔๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล สมณะ

พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน ผู้มีลัทธิต่าง ๆ กัน มีทิฏฐิต่างกัน มีความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 632

พอใจต่างกัน มีความชอบใจต่างกัน อาศัยทิฏฐินิสัยต่างกัน อาศัยอยู่ใน

พระนครสาวัตถี สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า

คนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ

อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คนและโลกไม่เที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า . . .

ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็น

เช่นนี้.

[๑๔๒] ลำดับนั้น เป็นเวลาเช้า ภิกษุหลายรูปนุ่งแล้วถือบาตร

และจีวร เข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี เที่ยวบิณฑบาตไปในพระ-

นครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

สมณะ พราหมณ์ ปริพาชกมากด้วยกัน มีลัทธิต่าง ๆ กัน มีทิฏฐิต่าง ๆ

กัน มีความพอใจต่าง ๆ กัน มีความชอบใจต่าง ๆ กัน อาศัยทิฏฐินิสัย

ต่าง ๆ กัน อาศัยอยู่ในพระนครสาวัตถีนี้ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะ

อย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า คนและโลกเที่ยง นี้แหละจริง อื่นเปล่า สมณ-

พราหมณ์พวกหนึ่งมีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ตนและโลกไม่เที่ยง

นี้แหละจริง อื่นเปล่า . . .ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่

เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัญญเดียรถีย์ปริ-

พาชกเป็นคนตาบอด ไม่มีจักษุ ย่อมไม่รู้จักประโยชน์ ไม่รู้จักความ

ฉิบหายใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพมิใช่ธรรม เมื่อไม่รู้จัก

ประโยชน์ ไม่รู้จักความฉิบหายมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักธรรม ไม่รู้จักสภาพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 633

มิใช่ธรรม ก็บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน พูดจาทิ่มแทงกันและ

กันด้วยหอกคือปากว่า ธรรมเป็นเช่นนี้ ธรรมไม่เป็นเช่นนี้ ธรรมไม่

เป็นเช่นนี้ ธรรมเป็นเช่นนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

หมู่สัตว์นี้ขวนขวายแล้วในทิฏฐิว่า ตนและโลก

เราสร้างสรรค์ ประกอบด้วยทิฏฐิว่าตนและโลกผู้อื่น

สร้างสรรค์ สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ไม่รู้จริงซึ่ง

ทิฏฐินั้นไม่ได้เห็นทิฏฐินั้นว่าเป็นลูกศร ก็เมื่อผู้พิจาร-

ณาเห็นอยู่ซึ่งความเห็นอันวิปริตนั้น ว่าเป็นดุจลูกศร

ความเห็นว่า เราสร้างสรรค์ย่อมไม่ปรากฏแก่ผู้นั้น

ความเห็นว่า ผู้อื่นสร้างสรรค์ ย่อมไม่ปรากฏแก่ผู้นั้น

หมู่สัตว์นี้ประกอบแล้วด้วยมานะ มีมานะเป็นเครื่อง

ร้อยรัดถูกมานะผูกพันไว้ กระทำความแข่งดีกันใน

ทิฏฐิทั้งหลาย ย่อมไม่ล่วงพ้นสงสารไปได้.

จบติตถสูตรที่ ๖

อรรถกถาติตถสูตร

ติตถสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คำทั้งหมดมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล. ก็ในคำว่า อิม อุทาน นี้

พึงประกอบความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 634

ความเป็นไปล่วง และความไม่เป็นไปล่วง จากสงสารตามลำดับของผู้ที่

เห็นโทษในทิฏฐิ ตัณหา และมานะ แล้วเว้นทิฏฐิเป็นต้นเหล่านั้นให้

ห่างไกล แล้วพิจารณาสังขารตามความเป็นจริง และของผู้ยึดถือผิด

เพราะไม่เห็นโทษในสังขารเหล่านั้น ไม่เห็นตามความเป็นจริง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหงฺการปสุตาย ปชา ความว่า หมู่

สัตว์นี้ผู้ขวนขวาย คือประกอบคามอหังการ กล่าวคือ เราสร้างเองดังกล่าว

แล้วอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเราสร้างเอง ได้แก่ทิฏฐิที่เป็นไปอย่างนั้น

คือหมู่สัตว์ที่ยึดถือผิด. บทว่า ปรงฺการูปสหิตา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วย

ปรังการ เพราะอาศัยทิฏฐิว่าผู้อื่นสร้าง อันเป็นไปอย่างนี้ว่า คนอื่น ๆ

มีอิสรชนเป็นต้นสร้างทั้งหมด ได้แก่ผู้ประกอบด้วยปรังการทิฏฐินั้น.

บทว่า เอตเทเก นาพฺภญฺสุ ความว่า สมณะและพราหมณ์พวกหนึ่งเป็น

ผู้มีปกติเห็นโทษในทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น ไม่ตามรู้ทิฏฐิ ๒ อย่างนั้น. คือ

อะไร ? คือ ก็เมื่อมีการสร้างเองได้ สัตว์ทั้งหลายก็จะพึงปรารถนาสร้าง

กามเท่านั้น ผู้ที่ไม่ปรารถนาไม่มี. ใครๆ จะปรารถนาทุกข์เพื่อตน และ

มีสิ่งที่ไม่ต้องการก็หาไม่ เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นผู้สร้างเอง. แม้คนอื่น

สร้าง ถ้ามีอิสรชนเป็นเหตุ อิสรชนนี้นั้นก็จะสร้างเพื่อตนหรือเพื่อผู้อื่น.

ใน ๒ อย่างนั้น ถ้าสร้างเพื่อตน ก็จะพึงไม่มีกิจที่ตนจะทำ เพราะจะให้

กิจที่ยังไม่สำเร็จให้สำเร็จลง ถ้าสร้างเพื่อผู้อื่น ก็จะพึงให้สำเร็จเฉพาะ

หิตสุขแก่ชนทั้งหมดเท่านั้น สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และเป็นทุกข์ก็จะไม่

สำเร็จ เพราะฉะนั้น คนอื่นสร้างจึงไม่สำเร็จ โดยอิสรชน. ก็ถ้าเหตุโดย

ไม่มุ่งผู้อื่น กล่าวคือ อิสรชนจะพึงมีเพื่อความเป็นไปเป็นนิตย์ทีเดียว. ไม่พึง

เกิดขึ้นเพราะการกระทำ คนทั้งหมดนั่นแล จะพึงเกิดขึ้นรวมกัน เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 635

เหตุที่ตั้งไว้รวมกัน. ถ้าผู้นั้นปรารถนา เหตุมีการกระทำรวมกันแม้อย่าง

อื่น ข้อนั้นนั่นแหละเป็นเหตุ. จะประโยชน์อะไรด้วยอิสรชนผู้กำหนด

โดยความสามารถในกิจที่ยังไม่สำเร็จ. เหมือนอย่างว่า คนอื่นสร้างมีอิสร-

ชนเป็นเหตุ ย่อมไม่สำเร็จฉันใด แม้ตนสร้างมีสัตว์ บุรุษ ปกติพรหม

และกาลเป็นต้นเป็นเหตุ ก็ไม่สำเร็จฉันนั้นเหมือนกัน เพราะชนแม้

เหล่านั้น ก็ไม่ให้สำเร็จ และเพราะจะไม่พ้นโทษตามที่กล่าวแล้ว ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เอตเทเก นาพฺภญฺสุ. ก็ชนเหล่าใดไม่รู้ตน

เองสร้าง และผู้อื่นสร้างตามที่กล่าวแล้ว ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกที่เกิด

ขึ้นลอย ๆ ชนแม้เหล่านั้นไม่เห็นทิฏฐินั้นว่าเป็นลูกศร คือแม้บุคคลผู้มี

วาทะว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอย ๆไม่รู้ตามความเป็นจริง เพราะยังไม่

ล่วงพ้นการยึดถือผิด จึงไม่เห็นทิฏฐินั้นว่าเป็นลูกศร เพราะอรรถว่าเสียด

แทง โดยทำทุกข์ให้เกิดขึ้นในอัตตาและโลกนั้น ๆ. บทว่า เอตญฺจ สลฺล

ปฏิคจฺจ ปสฺสโต ความว่า ก็ผู้ใดเริ่มบำเพ็ญวิปัสสนา พิจารณาเห็นอุปา-

ทานขันธ์ทั้ง ๕ โดยไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ผู้นั้นย่อมพิจารณา

เห็นวิปริตทัสสนะ ๓ อย่างนี้ และมิจฉาภินิเวสะอื่นทั้งสิ้น และอุปาทาน-

ขันธ์ทั้ง ๕ อันเป็นที่อาศัยของธรรมเหล่านั้น ด้วยวิปัสสนาในเบื้องต้น

นั้นแหละว่าเป็นลูกศร เพราะทิ่มแทง และเพราะถอนได้ยาก. เมื่อพระ-

โยคีนั้นเห็นอยู่อย่างนี้ มิได้มีความคิดว่า เราสร้างโดยส่วนเท่านั้น ใน

ขณะอริยมรรค. ก็พระโยนั้นมิได้มีความคิดว่า ผู้อื่นสร้างโดยประการ

ที่ไม่ปรากฏแก่ท่านว่า ตนสร้าง. แต่จะมีเพียงปฏิจจสมุปปันนธรรม กล่าว

คือความไม่เที่ยงอย่างเดียวเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 636

ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ เป็นอันแสดงถึงความที่ผู้ปฏิบัติชอบไม่มี

ทิฏฐิและมานะ แม้โดยประการทั้งปวง ก็ด้วยคำนั้น เป็นอันประกาศถึง

การล่วงพ้นสงสาร ด้วยการบรรลุพระอรหัต. บัดนี้ เพื่อจะแสดงว่า ผู้ที่

ติดอยู่ในทิฏฐิย่อมไม่อาจเงยศีรษะขึ้นจากสงสารได้ จึงตรัสคาถาว่า มานุ-

เปตา ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มานุเปตา อย ปชา ความว่า ประชา

คือหมู่สัตว์ กล่าวคือทิฏฐิคติกบุคคลนี้ทั้งหมด เข้าถึงคือประกอบด้วยมานะ

อันมีลักษณะประคองการยึดถือของตนว่า ทิฏฐิของเรางาม การยึดถือ

ของเรางาม. บทว่า มานคณฺา มานวินิพฺพนฺธา ความว่า ต่อแต่นั้นแล

หมู่สัตว์เหล่านั้น ชื่อว่าผู้มีเครื่องร้อยรัดคือมานะ มีเครื่องผูกพันคือมานะ

เพราะมานะที่เกิดขึ้นสืบ ๆ กันมานั้น ร้อยรัดและผูกพันสันดานตนไว้ โดย

ที่ตนยังไม่สละคืนทิฏฐินั้น. บทว่า ทิฏฺีสุ สารมฺภกถา สสาร นาติ-

วตฺตติ ความว่า มีสารัมภกถาว่าด้วยการแข่งดี คือมีวิโรธกถาว่าด้วยความ

ขัดแย้งในทิฏฐิของชนเหล่าอื่น โดยการยึดถือทิฏฐิของตน ด้วยการยกตน

ข่มท่านว่า สิ่งนี้เท่านั้นจริง สิ่งอื่นเปล่า ย่อมไม่ล่วงเลย คือย่อมไม่พ้นจาก

สงสาร เพรายังประหาณอวิชชาและตัณหา อันนำสัตว์ไปสู่สงสารไม่ได้.

จบอรรถกถาติตถสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 637

๗. สุภูติสูตร

ว่าด้วยผู้กำจัดวิตกทั้งหลายไม่กลับมาสู่ชาติ

[๑๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล

ท่านพระสุภูตินั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง เข้าสมาธิอันไม่วิตกอยู่ในที่ไม่ไกล

พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระสุภูติ นั่งคู้

บัลลังก์ ตั้งกายตรง เข้าสมาธิอันไม่มีวิตกอยู่ในที่ไม่ไกล.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ผู้ใดกำจัดวิตกทั้งหลายได้แล้ว กำหนดดีแล้ว

ไม่มีส่วนเหลือในภายใน ผู้นั้นล่วงกิเลสเครื่องข้อง

ได้แล้ว มีความสำคัญนิพพานอันเป็นอรูป ล่วงโยคะ

๔ ได้แล้ว ย่อมไม่กลับมาสู่ชาติ.

จบสุภูมิสูตรที่ ๗

อรรถกถาสุภูติสูตร

สุภูติสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุภูติ เป็นชื่อของพระเถระนั้น. จริงอยู่ ท่านผู้มีอายุนั้น

ได้สร้างอภินิหารไว้ที่บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าปทุมุต-

ตระ ก่อสร้างบุญสมภารไว้ตลอดแสนกัป ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 638

ในตระกูลใหญ่มีสมบัติมาก ฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วเกิดธรรมสังเวช ออกจากเรือนบวช เพราะได้สร้างบุญญาธิการไว้

เพียรพยายามอยู่ ไม่นานนักก็ได้อภิญญา ๖ แต่เพราะถึงบารมีสูงสุดแห่ง

พรหมวิหารภาวนา พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงสถาปนาไว้ในเอตทัคคะใน

ทางอยู่อย่างไม่มีกิเลสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้สาวกของเรา

ผู้อยู่ในทางหากิเลสมิได้ สุภูติเป็นเอตทัคคะ. วันหนึ่ง เวลาเย็น ท่านจาก

ที่พักกลางวันหยั่งลงสู่ลานวิหาร เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้ากำลังทรงแสดง

ธรรมในท่ามกลางบริษัท ๔ กำหนดเวลาว่า เวลาจบเทศนา เราจะลุกไป

ถวายบังคม จึงนั่งเข้าผลสมาบัติ ณ โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง ไม่ไกลพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล ท่านสุภูติ ฯ ล ฯ เข้า

ผลสมาบัติ.

ในการเข้าสมาบัตินั้น เริ่มตั้งแต่ทุติยฌานไป รูปาวจรสมาธิก็ดี

อรูปาวจรสมาธิทั้งหมดก็ดี ก็คืออวิตักกสมาธินั่นเอง. แต่ในที่นี้ อรหัต-

ผลสมาธิที่มีจตุตถฌานเป็นบาท ท่านประสงค์เอาว่า อวิตักกสมาธิ. มิจฉา-

วิตกที่ทุติยฌานเป็นต้นละแล้ว จัดว่ายังละไม่ดีก่อน เพราะไม่มีการละ

อย่างเด็ดขาด ส่วนที่พระอริยมรรคละนั่นแหละ จัดว่าละด้วยดี เพราะ

ไม่มีกิจที่จะละต่อไป. เพราะฉะนั้น อรหัตผลสมาธิอันเป็นที่สุดแห่งอรหัต-

มรรค เพราะเกิดขึ้นในที่สุดแห่งการละมิจฉาวิตกทั้งสิ้น เมื่อว่าโดยพิเศษ

จึงควรกล่าวไว้ว่า อวิตักกสมาธิ จะป่วยกล่าวไปไยถึงการมีจตุตถฌาน

เป็นบาทเล่า เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็ในที่นี้ อรหัตผลสมาธิที่มี

จตุตถฌานเป็นบาท ท่านประสงค์เอาว่าอวิตักกสมาธิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 639

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงรู้โดยอาการทั้งปวงถึงอรรถ

นี้ กล่าวคือการที่ท่านสุภูติละกิเลส คือมิจฉาวิตกทั้งหมดได้ จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส วิตกฺกา วิธูปิตา ความว่า พระ-

อริยบุคคลใดกำจัดมิจฉาวิตกแม้ทั้งหมด มีกามวิตกเป็นต้น คือทำให้สงบ

ได้แก่ตัดขาดด้วยอริยมรรคญาณ. บทว่า อชฺฌตฺต สุวิกฺปฺปิตา อเสสา

ความว่า กำหนดไว้ดี คือกำหนดด้วยดีโดยไม่เหลือ อันควรเกิดขึ้นใน

สันดานตน กล่าวคือภายในตน อธิบายว่า ตัดขาดด้วยดี โดยไม่เหลือ

แม้อะไร ๆ ไว้. บทว่า ต ในบทว่า ต สงฺคมติจฺจ อรูปสญฺี นี้ เป็น

เพียงนิบาต. อีกอย่างหนึ่ง ต ศัพท์ มีเหตุเป็นอรรถ. ก็เพราะเหตุที่

พระอริยบุคคลตัดมิจฉาวิตกได้เด็ดขาด ฉะนั้น พระอริยบุคคลนั้นจึงชื่อว่า

มีความสำคัญในอรูป ด้วยมรรคสัญญาและผลสัญญาอันเป็นไปโดยกระทำ

พระนิพพานอันได้นามว่า อรูป ให้เป็นอารมณ์ เพราะไม่มีสภาวะแห่งรูป

และไม่มีวิการคือความแปรผันในพระนิพพานนั้น หรือเพราะไม่มีเหตุ

แห่งความพิการ เหตุที่ล่วงเลยพ้นเครื่องข้อง ๕ อย่าง มีเครื่องข้องคือ

ราคะเป็นต้น หรือเครื่องข้องคือกิเลสแม้ทั้งหมด. บทว่า จตุโยคาติคโต

ได้เเก่ก้าวล่วงซึ่งโยคะ ๔ คือ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ และ

อวิชชาโยคะ ด้วยมรรคทั้ง ๔ ตามสมควร. อักษรในบทว่า น ชาตุ เมติ

นี้ กระทำการเชื่อมบท. ความว่า ย่อมไม่กลับมาเพื่อเกิดในภพใหม่โดย

ส่วนเดียวแท้ คือท่านไม่มีการเกิดในภพใหม่ต่อไป. บางอาจารย์กล่าวว่า

น ชาติ เมติ ดังนี้ก็มี ความก็อันนั้นแหละ. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 640

ทรงปรารภธรรมเครื่องอยู่ คืออรหัตผลสมาบัติ และอนุปาทิเสสนิพพาน

ของท่านสุภูติ จึงทรงเปล่งอุทานอันเกิดจากกำลังปีติ.

จบอรรถกถาสุภูติสูตรที่ ๗

๘. คณิกาสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๒ พวก ส่วนสุด ๒ อย่าง

[๑๔๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-

ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล ในพระนครราชคฤห์

มีนักเลง ๒ พวก เป็นผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงแพศยาคนหนึ่ง เกิด

ความบาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน ประหยัดประหารกันและกัน ด้วย

ฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศาสตราบ้าง นักเลง

เหล่านั้นถึงความตายในที่นั้นบ้าง ถึงความทุกข์ปางตายบ้าง ครั้งนั้นแล

เป็นเวลาเช้า ภิกษุมากด้วยกัน นุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยัง

พระนครราชคฤห์ ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครราชคฤห์ กลับจาก

บิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ในพระนคร

ราชคฤห์ มีนักเลง ๒ พวก เป็นผู้กำหนัด มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิงแพศยา

คนหนึ่ง . . . ถึงความตายในที่นั้นบ้าง ถึงความทุกข์ปางตายบ้าง พระ-

เจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 641

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

เบญจกามคุณ ที่บุคคลถึงแล้วและที่บุคคลจะพึง

ถึง ทั้งสองนี้เกลื่อนกล่นแล้วด้วยธุลีคือราคะ แก่

บุคคลผู้เร่าร้อน ผู้สำเหนียกตามอยู่ อนึ่ง การศึกษา

อันเป็นสาระ ศีล พรต ชีวิต พรหมจรรย์ การอุปัฏ-

ฐากอันเป็นสาระ นี้เป็นส่วนสุคต อนึ่ง การประ-

กอบตนพัวพันด้วยความสุขในกาม ของบุคคลผู้ที่

กล่าวอย่างนี้ว่า โทษในกามไม่มี นี้เป็นส่วนสุดที่ ๒

ดังนั้น ส่วนสุดทั้งสองนี้ จึงเป็นที่เจริญแห่งตัณหา

และอวิชชา ตัณหาและอวิชชาย่อมทำทิฏฐิให้เจริญ

สมณพราหมณ์บางพวกไม่รู้ส่วนสุดทั้งสองนั้น ย่อม

จมอยู่ (ในสงสารด้วยอำนาจการถือมั่นสัสสตทิฏฐิ )

สมณพราหมณ์บางพวกย่อมแล่นไป (ด้วยอำนาจ

การถือมั่นอุจเฉททิฏฐิ) ส่วนท่านผู้ที่ส่วนสุดทั้งสอง

นั้นแล้ว เป็นผู้ไม่ตกไปในส่วนสุดทั้งสองนั้น และ

ได้สำคัญด้วยการละส่วนสุดทั้งสองนั้น วัฏฏะของ

ท่านผู้ที่ดับไม่มีเชื้อเหล่านั้น ย่อมไม่มีเพื่อจะบัญญัติ.

จบคณิกาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 642

อรรถกถาคณิกาสูตร

คณิกาสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เทฺว ปูคา ได้แก่ ๒ คณะ. บทว่า อญฺตริสฺสา คณิกาย

ได้แก่ หญิงงามเมืองคนหนึ่ง. บทว่า สารตฺตา แปลว่า กำหนัดด้วยดี.

บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺตา แปลว่า มีจิตผูกพันด้วยกิเลส.

ได้ยินว่า ในกรุงราชคฤห์ ในวันมหรสพวันหนึ่ง พวกนักเลงเป็น

อันมาก เที่ยวกันเป็นพวก ๆ แต่ละคนก็นำหญิงแพศยามาคนหนึ่ง ๆ เข้า

สวนเล่นมหรสพ. หลังจากนั้น ในวันมหรสพ นักเลง ๒-๓ คน พาหญิง

แพศยาคนนั้นแหละมาเล่นมหรสพ ครั้นวันมหรสพวันหนึ่ง พวกนักเลง

แม้เหล่าอื่น ก็ประสงค์จะเล่นมหรสพเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อจะนำหญิง

แพศยามา จึงนำหญิงแพศยาคนหนึ่งที่พวกนักเลงพวกก่อนเคยนำมา ฝ่าย

นักเลงพวกก่อนเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า หญิงนี้อยู่ในปกครองของพวกเรา.

ฝ่ายนักเลงพวกหลังก็ได้กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน. นักเลงทั้ง ๒ พวกนั้น

ก่อการทะเลาะกันว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกเราก็ปกครองได้ พวกเรา

ก็ปกครองได้ จึงได้ประหัตประหารกันด้วยฝ่ามือเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน ราชคเห เทฺว ปูคา ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปกฺกมนฺติ แปลว่า ประหารกัน .

บทว่า มรณมฺปิ นิคจฺฉนฺติ ความว่า เข้าถึงความตายด้วยการประหารกัน

อย่างรุนแรง. ฝ่ายอีกพวกหนึ่งได้รับทุกข์ปางตาย คือมีความตายเป็น

ประมาณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 643

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยอาการทั้งปวง ซึ่ง

ความกำหนัดในกามทั้งหลายนั้นว่า เป็นมูลแห่งความวิวาท และว่าเป็นมูล

แห่งความฉิบหายทั้งปวง. บทว่า อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทานนี้

อันประกาศโทษในส่วนสุด ๒ อย่าง และอานิสงส์ในมัชฌิมาปฏิปทา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยญฺจ ปตฺต ความว่า เบญจกามคุณมี

รูปเป็นต้นที่บุคคลได้รับ คือที่บุคคลทำทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า หรือไม่ทำไว้

ในเบื้องหน้าว่า โทษในกามไม่มี ได้แล้วคือเสวยอยู่ในบัดนี้. บทว่า ยญฺจ

ปตฺตพฺพ ความว่า กามคุณใด อันทิฏฐิคติกบุคคลอาศัยทิฏฐิว่า กามเราพึง

บริโภค กามเราพึงใช้สอย กามเราพึงเสพ กามเราพึงเสพเฉพาะ บุคคลใด

บริโภคกาม บุคคลนั้นชื่อว่าทำโลกให้เจริญ บุคคลใดทำโลกให้เจริญ

บุคคลนั้นชื่อว่าประสบบุญเป็นอันมาก ดังนี้แล้ว พึงถึง คือพึงเสวยใน

อนาคต ด้วยกรรมที่ตนไม่สละทิฏฐินั้นกระทำ. บทว่า อุภยเมต รชานุ-

กิณฺณ ความว่า กามคุณทั้งสองนั้นอันบุคคลถึงแล้วและจะพึงถึง เกลื่อน

กล่นด้วยธุลีคือราคะเป็นต้น. จริงอยู่ บุคคลเมื่อเสวยวัตถุกามที่ประจวบ

เข้า ย่อมเป็นอันชื่อว่าเกลื่อนกล่นด้วยธุลีคือราคะ ก็ใน ๒ อย่างนั้น เมื่อ

ผลแห่งจิตที่เศร้าหมองมาถึงในอนาคต จึงเป็นอันชื่อว่าเกลื่อนกล่นด้วยธุลี

คือโทสะ ในเมื่อโทมนัสเกิดขึ้น แม้โดยประการทั้งสอง เป็นอันชื่อว่า

เกลื่อนกล่นด้วยธุลีคือโมหะ. เพื่อจะเฉลยคำถามว่า ก็กามทั้งสองนั้น

เกลื่อนกล่นด้วยธุลีแก่ใคร ? จึงตรัสว่า แก่บุคคลกระสับกระส่าย ผู้

สำเหนียกตามอยู่ อธิบายว่า แก่บุคคลผู้เร่าร้อนเพราะกิเลส ด้วยอำนาจ

ปรารถนากาม และผู้เร่าร้อนเพราะทุกข์ ด้วยผลของกิเลสนั้น ผู้สำเหนียก

กามกิเลสและผลของกิเลส ด้วยมุ่งหวังการตอบแทน แม้ในทั้ง ๒ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 644

อนึ่ง บทว่า ยญฺจ ปตฺตพฺพ ความว่า กามคุณใด อันบุคคลถึงแล้ว ด้วย

อำนาจอเจลกวัตรเป็นต้น ชื่อว่ายังตนให้เดือดร้อน. บทว่า ยญฺจ ปตฺตพฺพ

ความว่า กามคุณใด เป็นผลที่จะพึงถึงในอบาย เพราะเหตุแห่งการสมาทาน

มิจฉาทิฏฐิกรรม. บทว่า อุภยเมต รชานุกิณฺณ ได้แก่ กามคุณทั้งสอง

นั้น เกลื่อนกล่นด้วยธุลีคือทุกข์. บทว่า อาตุรสฺส ได้แก่ ผู้เดือดร้อน

เพราะทุกข์ ด้วยความลำบากทางกาย. บทว่า อนุสิกฺขโต ได้แก่ ผู้สำเหนียก

ตามมิจฉาทิฏฐิ และบุคคลผู้ยึดมั่นมิจฉาทิฏฐินั้น.

บทว่า เย จ สิกิขาสารา ความว่า ก็เหล่าชนที่เขาเรียกว่า บริสุทธิ์

ในสงสารด้วยศีลพรตนี้ เพราะถือเอาสิกขาคือศีลพรตเป็นต้น ที่ตนยึดถือ

โดยเป็นสาระ. ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า ศีล พรต ชีวิต พรหมจรรย์ การ

อุปัฏฐากอันเป็นสาระ ดังนี้เป็นต้น. ในข้อนั้น ข้อที่บุคคลงดเว้น ย่อมไม่

ทำ จัดเป็นศีล การประพฤติลำบากเพราะจะต้องบริโภคตามเวลาเป็นต้น

จัดเป็นวัตร การเป็นอยู่ด้วยความเป็นผู้มีผักเป็นภักษาเป็นต้น จัดเป็นชีวิต

เมถุนวิรัติ จัดเป็นพรหมจรรย์ การที่ศีลพรตเหล่านั้นดำรงอยู่เนืองๆ จัด

เป็นการอุปัฏฐาก อีกอย่างหนึ่ง การปรนนิบัติ พระขันธกุมาร และพระ-

อิศวร เป็นต้น ด้วยการประพรมตั่งของภูตเป็นต้น จัดเป็นการอุปัฏฐาก

ความบริสุทธิ์ในสงสาร ย่อมมีด้วยศีลเป็นต้น ตามที่กล่าวแล้วเหล่านี้ ด้วย

การอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้ยึดถือศีลเป็นต้น

เหล่านั้น โดยเป็นสาระดำรงอยู่ พึงทราบว่า ผู้มีการศึกษาเป็นสาระ มีศีล

พรต ชีวิต พรหมจรรย์ และการอุปัฏฐากเป็นสาระ. บทว่า อยเมโก

อนฺโต ความว่า ส่วนสุดนี้ คือการประกอบตนให้ลำบาก โดยการยึดถือ

ศีลพรต เป็นการปฏิบัตินอกทางมัชฌิมาปฏิปทา และชื่อว่าเป็นส่วนสุด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 645

อันหนึ่ง เพราะอรรถว่า ต่ำทราม. บทว่า อย ทุติโย อนฺโต ความว่า

การประกอบตนให้พัวพันอยู่ในกามสุขนี้ จัดเป็นการดื่มด่ำในกามทั้งหลาย

จัดเป็นส่วนสุดที่สอง โดยนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า อิจฺเจเต อุโภ อนฺตา ได้แก่ ที่สุดโต่ง ๒ อย่างเหล่านี้คือ

กามสุขัลลิกานุโยค ๑ อัตตกิลมถานุโยค ๑. ก็ที่สุดทั้งสองนั้นแล ชื่อว่า

ที่สุดโต่ง เพราะเป็นสิ่งต่ำทราม และนอกทาง เหตุผู้ติดอยู่ในกามคุณที่

เกลื่อนกล่นด้วยธุลี คือกิเลสและทุกข์ ที่ตนได้รับในปัจจุบัน และที่จะพึง

ได้รับในอนาคต และติดอยู่ในการทำตนให้เดือดร้อน ชื่อว่าผู้สำเหนียก

ตามความเร่าร้อนเพราะกิเลสและทุกข์ และเพราะผู้เร่าร้อนเพราะกิเลส

และทุกข์ จะพึงดำเนินด้วยตนเอง. บทว่า กฏสิวฑฺฒนา ได้แก่ ความ

ขยายตัวของตัณหาและอวิชชา คือ กฏสิ เพราะอรรถว่า อันธปุถุชนพึง

หวังเฉพาะ. บทว่า กฏสิโย ทิฏฺึ วฑฺเฒนฺติ ความว่า ก็ตัณหาและอวิชชา

ที่ชื่อว่ากฏสิเหล่านั้น ย่อมขยายทิฏฐิ มีประการต่าง ๆ. จริงอยู่ บุคคลผู้

ตามเห็นความยินดีในวัตถุกาม ได้ตัณหาและอวิชชาอันเป็นเหตุทำร่วมกัน

ของบุคคลผู้ไม่อาจจะละวัตถุกามนั้นได้ จึงให้ยึดถือซึ่งนัตถิกทิฏฐิ อกิริย-

ทิฏฐิ และอเหตุกทิฏฐิ โดยนัยมีอาทิว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล. ก็แล

ครั้นได้ตัณหา และอวิชชาเป็นเหตุกระทำร่วมกัน ของบุคคลผู้ประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งการทำตนให้เดือดร้อน ย่อมให้ถือศีลพรตและการถือผิด โดย

มุ่งหวังความบริสุทธิ์เฉพาะตน โดยนัยมีอาทิว่า ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้

ด้วยศีล ความบริสุทธิ์ย่อมมีได้ด้วยพรต ดังนี้. ก็ภาวะแห่งสักกายทิฏฐิ เป็น

ปัจจัยแก่อันธปุถุชนเหล่านั้น ย่อมปรากฏชัดทีเดียว. พึงทราบความที่ตัณหา

และอวิชชาเป็นตัวขยายทิฏฐิ เพราะเข้าไปอาศัยที่สุดโต่ง ๒ อย่าง ดังว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 646

มานี้. ก็อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า กฏสิ นี้ เป็นชื่อของขันธ์ ๕.

อาจารย์บางพวกเหล่านั้นมีความประสงค์ว่า ความบริสุทธิ์ในสงสาร ย่อม

ไม่มีโดยส่วนที่สุดโต่งทั้ง ๒ นั้น ก็ที่สุดโต่งทั้ง ๒ นั้น ย่อมขยายอุปาทาน-

ขันธ์ โดยส่วนนั้น. แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่ง กล่าวอรรถของบทว่า กฏสิ

วฑฺฒนา ว่า ขยายป่าช้า โดยชราและมรณะสืบ ๆ กันมา. อาจารย์เหล่านั้น

กล่าวเฉพาะความมีและความไม่มีแห่งส่วนสุดโต่งทั้ง ๒ ว่า เป็นเหตุแห่ง

ความบริสุทธิ์ในสงสารเท่านั้น. แต่พึงกล่าว ตัณหาและอวิชชาที่ชื่อว่า

กฏสิ เป็นตัวขยายทิฏฐิ.

บทว่า เอเต เต อุโภ อนฺเต อนภิญฺาย ความว่า อันธปุถุชน

เหล่านั้น เพราะไม่รู้ส่วนสุดโต่งทั้ง ๒ ตามที่กล่าวแล้วนี้ เพราะเหตุไม่รู้คือ

เพราะการณ์ไม่รู้อย่างนี้ว่า ส่วนสุดโต่งเหล่านี้และเหล่านั้น อันอันธปุถุชน

ยึดถือแล้วอย่างนี้ ตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ มีคติอย่างนี้ มีภพเป็นที่ไปในเบื้อง-

หน้าอย่างนี้. พึงทราบอรรถแห่งบทนั้นว่า ใช้ในอรรถแห่งเหตุ เหมือน

ในประโยคมีอาทิว่า ก็เพราะเห็นด้วยปัญญา อาสวะของเขาจึงสิ้นไป ดังนี้.

บทว่า โอลียนฺติ เอเก ความว่า คนพวกหนึ่ง ถึงความหดเข้า ด้วยอำนาจ

การประกอบตนในความสุขในกาม. บทว่า อติธาวนฺติ เอเก ความว่า

คนบางพวกก้าวล่วงด้วยอำนาจการประกอบตนให้ลำบาก. จริงอยู่ บุคคล

ผู้ประกอบกามสุข ชื่อว่าย่อมจมลง เพราะถึงความหดเข้าจากสัมมาปฏิบัติ

ด้วยอำนาจความเกียจคร้าน โดยไม่ได้ทำความเพียร. ส่วนผู้ประกอบใน

กระทำตนให้เดือดร้อน เมื่อละความเกียจคร้าน กระทำการปรารภความ

เพียร โดยมิใช่อุบาย ชื่อว่าย่อมแล่นไป เพราะล่วงเลยสัมมาปฏิบัติ. ก็บท

ทั้งสองนั้น ชื่อว่าย่อมแล่นไป เพราะไม่เห็นโทษ ในส่วนสุด ๒ อย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 647

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เพราะไม่รู้ส่วนสุดทั้งสองอย่าง บางพวกจึง

จมลง บางพวกจึงแล่นไป ดังนี้. ในคำนั้นพึงทราบว่า จมลงด้วยความ

เพลิดเพลินในตัณหา แล่นไปด้วยความเพลิดเพลินในทิฏฐิ.

อีกอย่างหนึ่ง บางพวกย่อมจมลงด้วยอำนาจยึดถือสัสสตทิฏฐิ บาง

พวกย่อมแล่นไปด้วยอำนาจยึดถืออุจเฉททิฏฐิ. จริงอยู่ คนบางพวกผู้

ประกอบด้วยการทำตนให้เดือดร้อน ด้วยอำนาจโคศีลเป็นต้น เมื่อยึดถือ

สัสสตทิฏฐิว่า เราจักเป็นเทพ หรือเป็นเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลนี้ ด้วย

วัตรนี้ ด้วยตบะนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์นี้ เราจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน แน่นอน

มีความไม่แปรผันเป็นธรรมดา ดำรงอยู่ติดต่อสม่ำเสมอเหมือนอย่างนั้น ใน

เทวโลกนั้น ชื่อว่าจมลงในสงสาร. ส่วนบางพวกประกอบในกามสุข

ยึดถืออุจเฉททิฏฐิ อันคล้อยตามสัสสตทิฏฐินั้น เหมือนนักพรตในโลก

ประสงค์จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วทำอินทรีย์ให้เร่าร้อน ชื่อว่าแล่นไป เพราะ

แสวงหาการขาดสูญแห่งวัฏฏะ โดยหาอุบายมิได้. พึงทราบความจมลง

และความแล่นไป แม้ด้วยอำนาจสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ ด้วยอาการ

อย่างนี้.

บทว่า เย จ โข เต อภิญฺาย ความว่า ก็พระอริยบุคคลเหล่าใด

แล รู้ที่ส่วนสุดโต่ง ๒ อย่างตามที่กล่าวแล้วนั้น ด้วยญาณอันพิเศษ คือ

ด้วยมรรคปัญญา อันประกอบด้วยวิปัสสนาว่า ที่สุดโต่งเหล่านี้ อันอันธ-

ปุถุชนยึดถือแล้วอย่างนี้ ตั้งมั่นแล้วอย่างนี้ มีคติอย่างนี้ มีอภิสัมปรายภพ

อย่างนี้ ปฏิบัติโดยชอบ ซึ่งมัชฌิมาปฏิปทา ด้วยสัมมาปฏิบัตินั้น. บทว่า

ตตฺร จ นาเหสุ ได้แก่ ไม่ได้ตกไปในส่วนสุดทั้ง ๒ นั้น. อธิบายว่า

ละส่วนสุดทั้งสองนั้น. บทว่า เตน จ นามญฺึสุ ความว่า ก็เพราะละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 648

ส่วนสุดสองอย่างนั้น พระอริยบุคคลไม่ได้สำคัญโดยสำคัญตัณหาทิฏฐิและ

มานะด้วยนัยมีอาทิว่า นี้เป็นการละส่วนสุดโต่งของเรา เราได้ละที่สุดโต่ง

สองอย่างแล้ว เพราะการละส่วนสุดโต่งนี้จึงจัดว่าประเสริฐ เพราะละความ

สำคัญทั้งปวงได้โดยชอบทีเดียว. ก็ในที่นี้ เพราะหมายถึงพระอริยบุคคล

ผู้ดำรงอยู่ในอรหัตผล จึงประกาศเทศนานี้ด้วยอำนาจอดีตกาลว่า ไม่ได้

ตกไปในส่วนสุดสองอย่างนั้น และไม่ได้สำคัญด้วยการละส่วนสุดสองอย่าง

นั้น. ก็เมื่อท่านประสงค์เอาขณะแห่งมรรค ก็จำต้องกล่าวถึง ด้วยอำนาจ

ปัจจุบันกาลเหมือนกัน.

บทว่า วฏฺฏ เตส นตฺถิ ปญฺาปนาย ความว่า ชนเหล่าใด เป็น

บุรุษอันสูงสุด ละความสำคัญทั้งหมดเสียได้ด้วยอาการอย่างนี้ เมื่อท่าน

เหล่านั้นปรินิพพานโดยหาเชื้อมิได้ วัฏฏะแม้ทั้งสามคือกัมมวัฏ วิปากวัฏ

และกิเลสวัฏ ย่อมไม่มีโดยบัญญัติ. อธิบายว่า หลังจากขันธ์ที่เป็นปัจจุบัน

ดับไป พระอริยบุคคลเหล่านั้น ก็ถึงภาวะหาบัญญัติมิได้ทีเดียว เหมือน

ไฟหมดเชื้อดับไปฉะนั้น.

จบอรรถกถาคณิกาสูตรที่ ๘

๙. อุปาติสูตร

ว่าด้วยแมลงบินเข้าไป

[๑๔๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 649

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งในที่แจ้งในความมืดตื้อในราตรี เมื่อประทีป

น้ำมันลุกโพลงอยู่ ก็สมัยนั้นแล ตัวแมลงเป็นอันมากตกลงรอบๆ ที่ประทีป

นำมันเหล่านั้น ย่อมถึงความทุกข์ ความพินาศ ความย่อยยับ ลำดับนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าไค้ทรงเห็นตัวแมลงเป็นอันมากเหล่านั้น ตกลงรอบ ๆ

ที่ประทีปน้ำมันเหล่านั้น ถึงความทุกข์ ความพินาศ ความย่อยยับ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมแล่นเลยไป ไม่ถึง

ธรรมอันเป็นสาระ ย่อมพอกพูนเครื่องผูกใหม่ ๆ ตั้ง

มั่นอยู่ในสิ่งที่ตนเห็นแล้ว ฟังแล้วอย่างนี้ เหมือนฝูง

แมลงตกลงสู่ประทีปน้ำมันฉะนั้น.

จบอุปาติสูตรที่ ๙

อรรถกถาอุปาติสูตร

อุปาติสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า รตฺตนฺธการติมิสาย ได้แก่ ความมืดมิดโดยการมืดสนิทใน

ราตรี. จริงอยู่ แม้ราตรีในคืนวันเพ็ญสว่างไสวด้วยแสงจันทร์ข้างขึ้น

เป็นอันชื่อว่าเว้นจากความมืดมิด. แม้ความมืด ก็ไม่ควรจะกล่าวว่ามืดมิด

ในเมื่อกลางวันปราศจากความหมองด้วยหมอกเป็นต้น. จริงอยู่ ความ

มืดมิด ท่านเรียกว่า ติมิสา. ก็ความมืดนี้คือ วันดับ กลางคืน ฝนตก และ

ปกคลุมด้วยกลีบเมฆ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า บทว่า รตฺตนฺธการ-

ติมิสาย ได้แก่ ความมืดมิด ด้วยความมืดสนิท ในราตรี ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 650

บทว่า อพฺโภกาเส ได้แก่ ในโอกาสที่ไม่ปกปิด ได้แก่ลานวิหาร.

บทว่า เตลปฺปทีเปสุ ฌายมาเนสุได้แก่ เมื่อประทีปโชติช่วงด้วยน้ำมัน.

ถามว่า ก็รัศมีด้านละวาของพระผู้มีพระภาคเจ้าตามปกติ แผ่ซ่าน

ไปตลอดที่ประมาณวาหนึ่งข่มแสงจันทร์และแสงอาทิตย์ ฉายแสงสว่างของ

พระพุทธเจ้าที่หนาทึบตั้งกำจัดความมืดมิด แม้รัศมีแห่งพระวรกายก็ฉาย

พุทธรังสีที่หนาทึบ มีพรรณ ๖ ประการ มีสีเขียวและเหลืองเป็นต้น ตาม

ปกติทีเดียว ทั้งทำที่มีประมาณ ๘๐ ศอก โดยรอบให้สว่างไสว เมื่อเป็น

เช่นนั้น ในโอกาสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง อันมีแสงสว่างเป็น

อันเดียวกัน กับแสงสว่างของพระพุทธเจ้านั่นแล ไม่จำต้องมีกิจคือการ

ตามประทีปมิใช่หรือ ? ตอบว่า ไม่มีก็จริง แม้ถึงอย่างนั้น อุบาสกผู้ต้องการ

บุญ ก็ต้องการตามประทีปน้ำมันทุกวัน ๆ เพื่อทำการบูชาพระผู้มีพระภาค-

เจ้า และภิกษุสงฆ์. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในสามัญญผลสูตรว่า ประทีป

เหล่านั้นย่อมโพลงอยู่ในโรงกลม ดังนี้. แม้คำว่า รตฺตนฺธการติมิสาย นี้

ท่านกล่าวไว้ เพื่อระบุถึงความเป็นจริงของราตรีนั้น แต่หาได้กล่าวโดย

โอกาสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเป็นภาวะที่มืดมิดไม่. จริงอยู่ เพื่อ

จะทำการบูชาเท่านั้น แม้กาลนั้น พวกอุบาสกก็ตามประทีปไว้.

ก็ในวันนั้น อุบาสกชาวเมืองสาวัตถีจำนวนมากชำระร่างกายแต่เช้า

ตรู่ ไปยังวิหารสมาทานองค์อุโบสถ นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข เข้าไปสู่พระนครให้มหาทานเป็นไปแล้ว ส่งเสด็จพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า และส่งภิกษุสงฆ์กลับแล้ว ไปยังเรือนของตน ๆ บริโภคด้วยตน

เอง นุ่งห่มผ้าเรียบร้อย มีอุตราสงค์เฉวียงบ่า ต่างถือของหอมและ

ดอกไม้เป็นต้น พากันไปยังวิหารบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า บางพวกเข้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 651

หาภิกษุผู้ที่ตนชอบใจและนับถือ บางพวกใส่ใจโดยแยบคายยับยั้งอยู่ตลอด

วัน. ครั้นเวลาเย็น อุบาสกเหล่านั้นก็ฟังธรรมในสำนักของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า เมื่อพระศาสดา ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ใน

กลางแจ้งใกล้พระคันกุฎี ตั้งแต่มณฑปแห่งธรรมสภา และเมื่อภิกษุสงฆ์

เข้าไปเฝ้านั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เพื่อจะชำระอุโบสถให้สะอาด

และเพื่อจะพอกพูนโยนิโสมนสิการ จึงไม่กลับไปยังพระนคร ประสงค์

จะอยู่ในพระวิหารเท่านั้น จึงเหลืออยู่. ครั้งนั้น อุบาสกเหล่านั้น ตาม

ประทีปน้ำมันเป็นอันมาก เพื่อบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ แล้ว

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วประคองอัญชลีแต่ภิกษุสงฆ์ นั่ง ณ

ส่วนสุดภิกษุสงฆ์ สังสนทนากันว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกเดียรถีย์

เหล่านี้กล่าวยึดถือทิฏฐิต่าง ๆ และเมื่อกล่าวอย่างนั้น บางคราวกล่าวว่า

เที่ยง บางคราวกล่าวว่าไม่เที่ยง ไม่ตั้งอยู่ในทิฏฐิอย่างใดอย่างหนึ่ง มีอุจ-

เฉททิฏฐิเป็นต้น เป็นเสมือนคนบ้า ยกย่องทิฏฐิใหม่ ๆ ว่า สิ่งนี้เท่านั้น

จริง สิ่งอื่นเปล่า เดียรถีย์เหล่านั้น ผู้ยึดถืออย่างนั้น มีคติเป็นอย่างไร

อภิสัมปรายภพของพวกเขาเป็นอย่างไร. ก็สมัยนั้น แมลงเม่าเป็นอันมาก

เมื่อตกลง ก็ตกลงที่ประทีปน้ำมันเหล่านั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ก็สมัยนั้นแล แมลงเม่าเป็นอันมากตกลง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิปาตกา แปลว่า แมลงเม่าซึ่งท่าน

กล่าวว่า สลภา ดังนี้ก็มี. จริงอยู่ แมลงเม่าเหล่านั้น ท่านประสงค์เอาว่า

อธิปาตกา เพราะตกลงสู่เปลวประทีป. บทว่า อาปาตปริปาต แยกเป็น

อาปาต ปริปาต อธิบายว่า ตกลงทั่ว ๆ ตกลงรอบ ๆ คือหมุนตกลง

ตรงหน้าแล แล้วตกลง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ตกลงรอบ ๆ ในทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 652

ไปมา. อธิบายว่า ในทางที่มา เมื่อมีประทีปอยู่ในทางมาของตน ก็

ตกลง ๆ. บทว่า อนย แปลว่า ความไม่เจริญ คือความทุกข์. บทว่า

พฺยสน แปลว่า ความพินาศ. จริงอยู่ ด้วยบทต้น ท่านแสดงถึงทุกข์

ปางตาย ด้วยบทหลัง ท่านแสดงถึงความตายของแมลงเม่าเหล่านั้น. ใน

แมลงเม่าเหล่านั้น สัตว์บางพวกตายพร้อมกับการตกลง บางพวกก็ถึง

ทุกข์ปางตาย.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบถึงการที่แมลงเม่าทั้ง-

หลาย ไม่รู้ประโยชน์คนถึงความวอดวายไร้ประโยชน์ ด้วยความพยายาม

ของตนนี้ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงความวอดวายของทิฏฐิคติก-

บุคคล โดยการถือผิดเหมือนแมลงเม่าเหล่านั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปาติธาวนฺติ น สารเมนฺติ ความว่า

ไม่ถึงธรรมอันเป็นสาระ ต่างโดย ศีล สมาธิ ปัญญา และวิมุตติ เป็นต้น

คือไม่ถึงโดยการตรัสรู้สัจจะ ๔. แต่เมื่อธรรมอันเป็นสาระพร้อมทั้งอุบาย

นั้น ยังดำรงอยู่นั่นแหละ. พวกเขาเป็นเสมือนเข้าถึงธรรมอันเป็นสาระนั้น

เพราะหวังธรรมเป็นเครื่องหลุดพ้น ย่อมแล่นไป คือเลยไป ด้วยทิฏฐิ-

วิปัลลาส อธิบายว่า ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า เที่ยง งาม สุข

มีตัวตน. บทว่า นว นว พนฺธน พฺรูหยนฺติ ความว่า ก็เมื่อยึดถืออย่างนั้น

ชื่อว่าย่อมพอกพูน คือขยายธรรมเป็นเครื่องผูกใหม่ ๆ กล่าวคือตัณหา

และทิฏฐิ. บทว่า ปตนฺติ ปชฺโชตมิวาธิปาตา ทิฏฺเ สุเต อิติเหเก

นิวิฏฺา ความว่า สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง เพราะถูกเครื่องผูกคือตัณหา

และทิฏฐิผูกพันไว้อย่างนี้ จึงยึดถือในรูปารมณ์ที่ตนเห็น คือในรูปารมณ์

ที่ตนเห็นด้วยจักขุวิญญาณของตน หรือด้วยทิฏฐิทัสสนะของตนนั่นแล และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 653

ในสัททารมณ์ที่ตนได้ยินมา ด้วยเหตุเพียงได้ยินได้ฟังมาเท่านั้นว่า เพราะ

เหตุนั้นแล สิ่งนี้ย่อมเป็นอย่างนี้โดยแน่นอน ยึดถือโดยนัยมีอาทิว่า สิ่ง

ทั้งปวงเที่ยงด้วยการยึดถือผิด ๆ หรือเมื่อไม่รู้ธรรมเป็นเหตุสลัดออกที่เป็น

ประโยชน์โดยส่วนเดียว ย่อมตกไปในหลุมถ่านเพลิงถ่ายเดียว กล่าวคือ

ภพ ๓ ที่ไฟ ๑๑ กองมีราคะเป็นต้นลุกโชนแล้ว เหมือนแมลงเม่าเหล่านี้

ตกไปสู่เปลวเพลิงนี้ฉะนั้น อธิบายว่า เขาไม่อาจจะเงยศีรษะขึ้นได้ จาก

หลุมถ่านเพลิงนั้น.

จบอรรถกถาอุปาติสูตรที่ ๙

๑๐. อุปปัชชันติสูตร

ว่าด้วยแสงหิ่งห้อยกับแสงอาทิตย์

[๑๔๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่าน

พระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น

ในโลก เพียงใด พวกอัญญเดียรถีย์ย่อมเป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ

นับถือ บูชา ยำเกรง และได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัย

เภสัชบริขาร เพียงนั้น แต่เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

เสด็จอุบัติขึ้นในโลก พวกอัญเดียรถีย์ปริพาชก ย่อมเป็นผู้อันมหาชนไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 654

สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ยำเกรง และไม่ได้จีวรบิณฑบาต เสนาสนะ

และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ย่อมเป็นผู้อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา

ยำเกรง และได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ จริงอย่างนั้น ดูก่อนอานนท์

จริงอย่างนั้น ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่

เสด็จอุบัติขึ้นโลกเพียงใด...แต่เมื่อใดพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก...

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

หิ่งห้อยนั้น ส่งแสงสว่างอยู่ชั่วเวลาพระอาทิตย์

ยังไม่ขึ้น เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปแล้ว หิงห้อยนั้นก็อับ

แสง และไม่สว่างได้เลย พวกเดียรถีย์สว่างเหมือน

หิ่งห้อยนั้น ตราบเท่าที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่

เสด็จอุบัติขึ้นในโลก แต่เมื่อใดพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เสด็จอุบัติขึ้นในโลก เมื่อนั้น พวกเดียรถีย์และแม้

สาวกของพวกเดียรถีย์เหล่านั้นย่อมไม่หมดจด พวก

เดียรถีย์มีทิฏฐิชั่วย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์.

จบอุปปัชชันติสูตรที่ ๑๐

จบชัจจันธวรรคที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 655

อรรถกถาอุปปัชชันติสูตร

อุปปัชชันติสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยาวกีว แปลว่า ตลอดกาลเพียงใด. บทว่า ยโต ความว่า

ในกาลใด คือตั้งแต่เวลาใด หรือว่าในกาลใด. ด้วยบทว่า เอวเมต

อานฺนท พระองค์ทรงแสดงว่า อานนท์ ข้อที่เธอกล่าวว่า เมื่อตถาคต

อุบัติขึ้น ลาภและสักการะย่อมเจริญยิ่งแก่ตถาคตและแก่สาวกของตถาคต

เท่านั้น ส่วนพวกเดียรถีย์ เป็นผู้ไร้เดช หมดรัศมี เสื่อมลาภและสักการะ

นั่นย่อมเป็นอย่างนั้น ข้อนั้นหากลายเป็นอย่างอื่นไม่ จริงอยู่ เมื่อจักร

รัตนะของพระเจ้าจักพรรดิปรากฏ สัตวโลกละจักรรัตนะ ไม่ทำการบูชา

สักการะและสัมมานะ ให้เป็นไปในที่อื่น แต่สัตวโลกทั้งมวลล้วนสักการะ

เคารพ นับถือ บูชา จักรรัตนะเท่านั้น โดยภาวะทั้งปวง ดังนั้น แม้

วิบากเป็นเครื่องไหลออกเพียงเป็นบุญที่ซ่านไปตามวัฏฏะ ก็ยังมีอานุภาพ

มากถึงเพียงนั้น จะต้องกล่าวไปไยเล่า ถึงพุทธรัตนะ ธัมมรัตนะ สังฆ-

รัตนะ อันทรงไว้ซึ่งจำนวนคุณหาที่สุดหาประมาณมิได้ ซึ่งเป็นเครื่อง

สนับสนุนพลังแห่งบุญอันส่งผลให้ไปถึงพระนิพพาน.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ

แล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ เมื่อพระอรหันต์ ๖๑ องค์

บังเกิดขึ้นในโลกตามลำดับ จึงทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐ องค์ เพื่อจาริก

ไปตามชนบท พระองค์เสด็จไปยังอุรุเวลาประเทศ ให้ชฎิล ๑,๐๐๐ คน

มีอุรุเวลกัสสปะเป็นหัวหน้า ดำรงอยู่ในพระอรหัต แวดล้อมไปด้วยพระ-

อรหันต์เหล่านั้น ประทับนั่งที่สวนตาลหนุ่ม ทำชนชาวอังคะและมคธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 656

ซึ่งมีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ประมาณได้ ๑๒๐,๐๐๐ คน ให้หยั่ง

ลงในพระศาสนาในคราวที่พระองค์ประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์. จำเดิมแต่

นั้น ลาภและสักการะของเดียรถีย์ทุกจำพวก ย่อมกลับเสื่อมลงทีเดียว

โดยประการที่ลาภและสักการะเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

และภิกษุสงฆ์. ภายหลังวันหนึ่ง ท่านพระอานนท์นั่งพักในที่พักกลางวัน

พิจารณาถึงสัมมาปฏิบัติ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระอริยสงฆ์ เกิดปีติ

และโสมนัส จึงรำพึงถึงข้อปฏิบัติของเดียรถีย์เหล่านั้นว่า การปฏิบัติของ

พวกเดียรถีย์เป็นอย่างไรหนอ. ลำดับนั้น การปฏิบัติชั่วแม้โดยประการ

ทั้งปวง ของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ปรากฏแล้วแก่ท่านพระอานนท์. ท่าน

พระอานนท์คิดว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่ามีอานุภาพมากถึงอย่างนี้

ผู้บรรลุพระบารมีอย่างสูงสุด แห่งอุปนิสัยของบุญ และสัมมาปฏิบัติ และ

เมื่อพระอริยสงฆ์ยังทรงอยู่ พวกอัญเดียรถีย์เหล่านี้ จึงปฏิบัติชั่วถึง

อย่างนี้ ไม่เคยทำบุญ เป็นดังคนกำพร้า จึงจักมีลาภ เป็นผู้อันเขา

สักการะอย่างไร จึงเกิดความกรุณาในการเสื่อมลาภและสักการะของพวก

เดียรถีย์ขึ้น ต่อนั้น จึงได้กราบทูลความปริวิตกของตน แด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระตถาคตอรหันต-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลกเพียงใด. ก็พระผู้มีพระภาค-

เจ้าไม่ได้ตรัสกะเธอว่า อานนท์ เธอมีความปริวิตกผิดไปแล้ว ดังนี้แล้ว

จึงตั้งพระศอขึ้นตรง เช่นกับกลองทอง ทรงกระทำพระพักตร์ให้อิ่มเอิบ

อันงดงามปานดอกบัวที่บานสะพรั่ง ให้น่าเลื่อมใสยิ่งนัก ทรงร่าเริงว่า

ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น อานนท์ แล้วทรงอำนวยตามคำของพระอานนท์ โดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 657

นัยมีอาทิว่า ยาวกีวญฺจ ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล

ท่านพระอานนท์ ฯ ล ฯ และพระภิกษุสงฆ์ ดังนี้เป็นต้น.

ครั้นเมื่อเกิดเหตุแห่งเรื่องนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสปาเวรุ-

ชาดกว่า แม้ในอดีตกาล เรายังไม่อุบัติขึ้น ชนชั้นต่ำบางพวกได้ความ

นับถือเป็นอันมาก ตั้งแต่เราอุบัติแล้ว อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นก็ได้เป็นผู้

เสื่อมลาภและสักการะ.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง ซึ่งอรรถนี้ว่า ทิฏฐิคติกบุคคลมีสักการะและสัมมานะ ตลอดเวลา

ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก นับตั้งแต่เวลาที่พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้นอุบัติแล้ว พวกเขาเหล่านั้นก็เสื่อมลาภสักการะ

หมดรัศมี ไร้เดช และพวกเขาไม่พ้นจากทุกข์ไปได้ เพราะการปฏิบัติชั่ว

จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอภาสติ ตาว โส กิมิ ความว่า หิงห้อย

นั้นยังสว่างรุ่งโรจน์แผดแสงอยู่เพียงนั้นนั่นแล. บทว่า ยาว น อุณฺณมติ

ปภงฺกโร ความว่า พระอาทิตย์อันได้นามว่า ปภังกร เพราะกระทำให้

มีแสงสว่างในขณะเดียวกัน ในมหาทวีปทั้ง ๔ ยังไม่ทอแสง คือยังไม่ขึ้น

ไปตราบใด. จริงอยู่ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ขึ้น พวกหิ่งห้อยก็ได้โอกาส

เปลี่ยนแสง เช่นกับผลไม้มีหนาม ย่อมส่งแสงในที่มืด. บทว่า เวโรจนมฺหิ

อุคฺคเต หตปฺปโภ โหติ น จาปิ ภาสติ ความว่า เมื่อพระอาทิตย์ อันได้

นามว่า วิโรจนะ เพราะมีสภาวะส่องแสง โดยรัศมีแผ่ออกพันดวงกำจัด

ความมืดโดยรอบขึ้นไปแล้ว หิงห้อยหมดรัศมี ไร้เดช เป็นสีดำ ไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 658

แสงสว่าง ไม่แผดแสง เหมือนความมืดในราตรี. บทว่า เอว โอภาสิตเมว

ติตฺถิยาน ความว่า หญิงห้อยนั้น ก่อนแต่พระอาทิตย์ขึ้น ย่อมส่องแสงฉันใด

พวกเดียรถีย์อันได้นามว่า ตักกิกา เพราะยึดถือทิฏฐิ ด้วยเหตุเพียงตริตรึก

กำหนด สว่างคือตั้งส่องแสงด้วยเดชแห่งลัทธิของตน ตราบเท่าที่พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่เสด็จอุบัติขึ้นในโลก. บทว่า น ตกฺกิกา สุชฺฌนฺติ

น จาปิ สาวกา ความว่า ก็ในคราวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จอุบัติขึ้น

ในโลก ทิฏฐิคติกบุคคล ย่อมไม่บริสุทธิ์ ย่อมไม่งาม ทั้งสาวกของทิฏฐิ-

คติกบุคคลเหล่านั้น ก็ไม่งาม ถึงกระนั้นก็ถูกกำจัดรัศมี ไม่ปรากฏเหมือน

ลูกศรที่ยิงไปในราตรี. อีกอย่างหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่เสด็จ

อุบัติขึ้นในโลกเพียงใด พวกเดียรถีย์ก็ยังแผดแสงโชติช่วง ตามลัทธิของ

ตน หลังจากนั้นก็ไม่มีแสง. เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่พวกเดียรถีย์ไม่

บริสุทธิ์ ทั้งสาวกของเขาก็ไม่บริสุทธิ์. เพราะพวกเดียรถีย์เหล่านั้น กล่าว

ธรรมวินัยไว้ไม่ดี ไร้การปฏิบัติชอบ ย่อมไม่บริสุทธิ์จากสงสารไปได้

เพราะคำสอนไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ผู้มี

ทิฏฐิชั่ว ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์ ดังนี้เป็นต้น. จริงอยู่ พวกเดียรถีย์

ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้มีทิฏฐิชั่ว คือมีทิฏฐิอันยึดถือไว้ผิด ได้แก่มีความเห็น

ผิด เพราะไม่มีลัทธิตามความเป็นจริง ไม่สละทิฏฐินั้นแล้ว แม้ในกาล

ไหน ๆ ก็ไม่พ้นไปจากทุกข์ในสงสารได้เลย.

จบอรรถกถาอุปปัชชันติสูตรที่ ๒

จบชัจจันธวรรควรรณนาที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 659

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อายุสมโอสัชชนสูตร ๒. ปฏิสัลลานสูตร ๓. อาหุสูตร ๔. ปฐม-

กิรสูตร ๕. ทุติยกิรสูตร ๖. ติตถสูตร ๗. สุภูติสูตร ๘. คณิกาสูตร-

๙. อุปาติสูตร ๑๐. อุปปัชชันติสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 660

จูฬวรรคที่ ๗

๑. ปฐมภัททิยสูตร

ว่าด้วยผู้ข้ามโอฆะได้แล้ว

[ ๑๘๗ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระสารีบุตร ชี้แจงให้ท่านพระลกุณฐกภัททิยะเห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถาโดยอเนกปริยาย ครั้งนั้นแล เมื่อ

ท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้ท่านพระลกุณรกภัททิยะให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน

ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาโดยอเนกปริยาย จิตของท่านพระลกุณ-

ฐกภัททิยะหลุดพ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ทรงเห็นท่านพระลกุณฐกภัตทิยะผู้อันท่านพระสารีบุตรชี้แจงให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาโดยอเนกปริยาย จิตของ

ท่านพระลกุณฐกภัททิยะหลุดพ้นแล้วจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วในสิ่งทั้งปวงในเบื้องบนใน

เบื้องต่ำ ไม่ตามเห็นว่า เราเป็นนี้ บุคคลพ้นวิเศษ

แล้วอย่างนี้ ข้ามได้แล้วซึ่งโอฆะที่ตนยังไม่เคยข้าม

เพื่อความไม่เกิดอีก.

จบปฐมภัททิยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 661

จูฬวรรควรรณนาที่ ๗

อรรถกถาปฐมภัททิยสูตร

จูฬวรรค ปฐมภัททิยสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภทฺทิโย ในคำว่า ลกุณฺฏกภทฺทิย นี้ เป็นชื่อของท่านผู้มี

อายุนั้น. ก็เพราะท่านมีรูปร่างเตี้ย เขาจึงจำท่านได้ว่า ลกุณฏกภัททิยะ.*

เล่ากันมาว่า ท่านเป็นกุลบุตรชาวกรุงสาวัตถี มีทรัพย์มาก มีโภคะ

มาก แต่มีรูปร่างไม่น่าเลื่อมใส มีวรรณะไม่งาม ไม่น่าดุ ค่อม. วันหนึ่ง

เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวัน ท่านพร้อมด้วยอุบาสก ไปยัง

วิหาร ฟังธรรมเทศนา กลับได้ศรัทธา ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว เรียน

กัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา บำเพ็ญวิปัสสนา บรรลุโสดาปัตติผล

แล้ว. ในกาลนั้น เหล่าภิกษุผู้เสกขบุคคล โดยมากเข้าไปหาท่านพระ-

สารีบุตร ขอกัมมัฏฐาน ขอฟังธรรมเทศนา ถามปัญหาเพื่อมรรคเบื้องสูง.

ท่านพระสารีบุตร เมื่อจะทำความประสงค์ ของท่านเหล่านั้นให้บริบูรณ์

จึงบอกกัมมัฏฐานแสดงธรรม แก้ปัญหา. ภิกษุเหล่านั้น พากเพียรพยายาม

อยู่ บางพวกบรรลุสกทาคามิผล บางพวกบรรลุอนาคามิผล บางพวก

บรรลุอรหัตผล บางพวกได้วิชา ๓ บางพวกได้อภิญญา ๖ บางพวก

ได้ปฏิสัมภิทา ๔. ฝ่ายท่านลกุณฏกภัททิยะเห็นเหตุนั้นแล้ว ถึงเป็นพระ-

เสขบุคคล ก็รู้จักกาล และกำหนดความที่ตนบกพร่องในทางจิต เข้าไปหา

พระธรรมเสนาบดี ได้รับการปฏิสันถารแล้ว ขอให้แสดงธรรมเทศนา.

ฝ่ายพระธรรมเสนาบดี ก็ได้แสดงธรรมอันเหมาะสมแก่อัธยาศัยของท่าน.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร แสดงกะ

ท่านลกุณฏกภัททิยะ ด้วยธรรมีกถา โดยอเนกปริยายเป็นต้น.

*บาลีเป็น ลกุณฐกภัททิยะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 662

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเนกปริยาเยน ความว่า ด้วยเหตุมาก

มายอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ เบญจขันธ์ จึงเป็นของไม่เที่ยง แม้เพราะ

เหตุนี้ เบญจขันธ์ จึงเป็นทุกข์ แม้เพราะเหตุนี้ เบญจขันธ์ จึงเป็นอนัตตา.

บทว่า ธมฺมิยา กถาย ได้แก่ ด้วยธรรมีกถาอันประกาศความเกิดและดับ

ไปเป็นต้น แห่งอุปาทานขันธ์ ๕. บทว่า สนฺทสฺเสติ ได้แก่ แสดงโดยชอบ

ซึ่งลักษณะมี อนิจลักษณะเป็นต้น เหล่านั้นนั่นแล และญาณมีอุทยัพ-

พยญาณเป็นต้น คือแสดงโดยประจักษ์ ดุจเอามือจับ. บทว่า สมาท-

เปติ ความว่า ให้ถือเอาโดยชอบ ซึ่งวิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์

ในลักษณะเหล่านั้น คือ ให้ถือเอา โดยประการที่จิตดำเนินไปตามวิถี.

บทว่า สมุตฺเตเชติ ความว่า เมื่อเริ่มวิปัสสนา เมื่ออุทยัพพยญาณเป็นต้น

แห่งสังขารปรากฏ ท่านย่อมยังวิปัสสนาให้หยั่งลงสู่วิถีอันเป็นสายกลาง

โดยอนุวัตตามโพชฌงค์ ด้วยการประคอง การข่ม และการพิจารณา

ตามเวลาแล้วยังวิปัสสนาจิตให้เกิดความอาจหาญโดยชอบ คือให้ผ่องแผ้ว

ด้วยการทำวิปัสสนาจิตให้หมดจด เพราะกระทำอินทรีย์ให้หมดจด เหมือน

วิปัสสนาญาณนำมาซึ่งความเป็นธรรมชาติกล้า ผ่องใส ฉะนั้น. บทว่า

สมฺปหเสติ ความว่า ย่อมยังจิตให้ร่าเริงโดยชอบ หรือให้ยินดีด้วยดี โดย

ความยินดีที่ได้มา โดยการเจริญวิปัสสนา อันให้เป็นไปอยู่อย่างนั้น ให้

เป็นไปโดยสม่ำเสมอ และโดยพลังแห่งภาวนาที่จะพึงได้สูง ๆ ขึ้นไป.

บทว่า อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺต วิมุจฺจิ ความว่า เมื่อเธอพิจารณา

ลักษณะที่ถ่องแท้ ยังญาณให้เป็นไปตามกระแสเทศนา เพราะเธอถึง

ความแก่กล้าแห่งญาณตามอานุภาพเทศนาของพระเถระ และเพราะตน

สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย โดยประการที่พระธรรมเสนาบดีแสดงธรรม จิตของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 663

ท่านไม่ยึดอาสวะอะไร ๆ มีกามาสวะเป็นต้น หลุดพ้นโดยเด็ดขาด ตาม

ลำดับแห่งมรรค อธิบายว่า กระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง ซึ่งอรรถนี้ กล่าวคือท่านพระลกุณฏกภัททิยะ ยินดีในพระ-

อรหัตผลแล้ว จึงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺธ ได้แก่ ในรูปธาตุ และอรูปธาตุ.

บทว่า อโธ แปลว่า ในกามธาตุ. บทว่า สพฺพธิ แปลว่า ในสังขารแม้

ทั้งหมด. บทว่า วิปฺปมุตฺโต ได้แก่ หลุดพ้นแล้ว โดยประการทั้งปวง ด้วย

วิกขัมภนวิมุตติในส่วนเบื้องต้น และด้วยสมุจเฉทวิมุตติ และปฏิปัสสัทธิ-

วิมุตติ ในส่วนเบื้องปลาย. ก็ในบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อุทฺธ วิปฺปมุตฺโต

นี้ ทรงแสดงถึงการละสังโยชน์ อันเป็นส่วนเบื้องสูง ๕. ด้วยบทว่า อโธ

วิปฺปมุตฺโต นี้ ทรงแสดงถึงการละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕. ด้วย

คำว่า สพฺพธิ วิปฺปมุตฺโต นี้ ทรงแสดงถึงการละอกุศลทั้งปวงที่เหลือ.

อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า อุทฺธ เป็นศัพท์แสดงอนาคตกาล. บทว่า อโธ

เป็นศัพท์แสดงอดีตกาล. ด้วยศัพท์ทั้งสองนั้นแหละ เป็นอันถือเอา

ปัจจุบันนัทธา เพราะเกี่ยวกับระหว่างอดีตกาลกับอนาคตกาล. ในสอง

ศัพท์นั้น ด้วยอนาคตกาลศัพท์ เป็นอันถือเอา ขันธ์ อายตนะ ธาตุ

อันเป็นอนาคต. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สพฺพธิ ได้แก่

ในภพทั้งปวงมีกามภพเป็นต้น. มีคำอธิบายดังต่อไปนี้ว่า หลุดพ้นแล้ว

ในภพทั้งปวง ที่สงเคราะห์ด้วย ๓ กาล อย่างนี้ คืออนาคตกาล อดีตกาล

และปัจจุบันนกาล. บทว่า อยมหมสฺมีติ อนานุปสฺสิ ความว่า ผู้ใด

หลุดพ้นอย่างนี้ ผู้นั้น ย่อมไม่ตามเห็น ในรูปเวทนาเป็นต้น อย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 664

โดยสำคัญด้วยอำนาจทิฏฐิและมานะว่า เราเป็นธรรมชื่อนี้ อธิบายว่า ผู้นั้น

ไม่มีเหตุในทัสนะเช่นนั้น. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า อยมหมสฺมีติ อนานุ-

ปสฺสิ นี้ เป็นบทแสดงอุบายเครื่องบรรลุวิมุตติตามที่กล่าวแล้ว. วิปัสสนาอัน

เป็นวุฏฐานคามิมีอันเป็นส่วนเบื้องต้น อันกระทำความไม่ตั้งมั่น ด้วยความ

สำคัญ อันมีสภาวะที่เป็นไปในสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๓ ซึ่งสงเคราะห์

ด้วยกาล ๓ ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวของเราแล้ว เกิดขึ้น

อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวของเรา ดังนี้

วิปัสสนานั้น เป็นปทัฏฐานของวิมุตติ. บทว่า เอววิมุตฺโต อุทตาริ โอฆ

อติณฺณปุพฺพ อปุนพฺภวาย ความว่า พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นแล้ว โดย

ประการทั้งปวง จากสังโยชน์ ๑๐ และจากอกุศลทั้งปวงด้วยประการฉะนี้

ชื่อว่า เป็นผู้ข้ามโอฆะ ๔ อย่างนี้ คือ โอฆะคือกาม ๑ โอฆะคือภพ ๑

โอฆะคือทิฏฐิ ๑ โอฆะคืออวิชชา ๑ ที่ตนยังไม่เคยข้าม แม้ในที่สุด

แห่งความฝัน ในกาลก่อนแต่การบรรลุอริยมรรค หรือข้ามขึ้น คือข้ามพ้น

โอฆะใหญ่ คือสงสารนั่นเอง โดยไม่มีภพใหม่ คือโดยอนุปาทิเสสนิพพาน-

ธาตุ อธิบายว่า ข้ามพ้น ดำรงอยู่ในฝั่ง.

จบอรรถกถาปฐมภัททิยสูตรที่ ๑

๒. ทุติยภัททิยสูตร

ว่าด้วยบุคคลตัดวัฏฏะได้แล้วย่อมสิ้นทุกข์

[๑๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 665

พระสารีบุตร สำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ จึง

ชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา

โดยอเนกปริยายยิ่งกว่าประมาณ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระ-

สารีบุตรสำคัญท่านพระลกุณฐกภัททิยะว่า เป็นพระเสขะ ชี้แจงให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา โดยอเนกปริยายยิ่ง

กว่าประมาณ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

บุคคลตัดวัฏฏะได้แล้ว บรรลุถึงนิพพานอันเป็น

สถานที่ไม่มีตัณหา ตัณหาที่บุคคลให้เหือดแห้งแล้ว

ย่อมไม่ไหลไป. วัฏฏะที่บุคคลตัดได้แล้ว ย่อมไม่เป็น

ไป นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบทุติยภัททิยสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยภัททิยสูตร

ทุติยภัททิยสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เสโขติ มญฺมาโน ได้แก่ สำคัญว่า ท่านพระภัททิยะนี้เป็น

พระเสขะ. ในคำนั้น มีวจนัตถะดังต่อไปนี้ ชื่อว่าเสขะ เพราะยังต้องศึกษา.

ศึกษาอะไร ? ศึกษาอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง การ

ศึกษา ชื่อว่าสิกขา การศึกษานั้นเป็นปกติของผู้นั้น เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า

ผู้มีการศึกษา. จริงอยู่ ผู้นั้น ชื่อว่า มีการศึกษาเป็นปกติโดยส่วนเดียว

เพราะมีการศึกษายังไม่จบ และเพราะน้อมใจไปในการศึกษานั้น แต่มิใช่

ผู้จบการศึกษาเหมือนอย่างพระอเสขะ ผู้ระงับการขวนขวายในการศึกษา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 666

นั้น ทั้งมิใช่ผู้ละทิ้งการศึกษา เหมือนชนมากมาย ผู้ไม่น้อมใจไปในการ

ศึกษานั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าเสขะ เพราะเกิดสิกขา ๓ หรือมีใน

สิกขา ๓ นั้น โดยอริยชาติ.

บทว่า ภิยฺโยโส มตฺตาย แปลว่า ยิ่งโดยประมาณ อธิบายว่า ยิ่ง

เกินประมาณ.

จริงอยู่ ท่านลกุณฏกภัททิยะ นั่งอยู่ตามเดิมนั่นแหละบรรลุธรรม

เครื่องสิ้นไปแห่งอาสวะ ด้วยโอวาทแรกตามวิธีดังกล่าวในสูตรแรก. ฝ่าย

พระธรรมเสนาบดีไม่ทราบการบรรลุพระอรหัตนั้นของท่าน โดยมิได้

คำนึงถึง สำคัญว่ายังเป็นพระเสขะอยู่ตามเดิม เหมือนบุรุษผู้มีใจกว้าง

ขวาง เขาขอน้อยก็ให้มากฉะนั้น ย่อมแสดงธรรมเพื่อสิ้นอาสวะ โดย

อเนกปริยายยิ่ง ๆ ขึ้นไปทีเดียว. ฝ่ายท่านลกุณฏกภัททิยะมิได้คิดว่า บัดนี้

เราทำกิจเสร็จแล้ว จะมีประโยชน์อะไรด้วยโอวาทนี้ จึงพึงโดยเคารพ

เหมือนในกาลก่อนทีเดียว เพราะความเคารพในพระสัทธรรม. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงเห็นดังนั้น ประทับนั่งอยู่ในพระคันธกุฎีนั่นแหละ ทรง-

กระทำโดยที่พระธรรมเสนาบดี รู้ธรรมเป็นที่สิ้นกิเลสของท่าน ด้วย

พุทธานุภาพ จึงทรงเปล่งอุทานนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน

โข ปน สมเยน เป็นต้น.

คำที่จะพึงกล่าวในข้อนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วในอนันตรสูตร

นั้นแล.

ก็ในคาถามีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า อจฺเฉจฺฉิ วฏฺฏ ความว่า

ตัดกิเลสวัฏได้เด็ดขาด ก็เมื่อตัดกิเลสวัฏได้แล้ว ก็เป็นอันชื่อว่าตัด

กัมมวัฏได้ด้วย. ตัณหาท่านเรียกว่า อาสา ความหวัง ในคำว่า พฺยาคา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 667

นิราส นี้ พระนิพพาน ชื่อว่า นิราสะ เพราะไม่มีความหวัง ชื่อว่า

พฺยาคา เพราะถึง คือบรรลุพระนิพพาน อันปราศจากความหวังนั้น

โดยพิเศษ. อธิบายว่า เพราะบรรลุอรหัตมรรคแล้ว จึงชื่อว่า บรรลุ

โดยเว้นจากเหตุแห่งความบรรลุอีก.

เพราะเหตุที่ตัณหาเป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ กิเลสชื่อว่า อันท่านยังละ

ไม่ได้ด้วยการละนั้น ย่อมไม่มี ฉะนั้นเมื่อจะแสดงการละตัณหาให้พิเศษ

แก่ท่าน จึงตรัสคำว่า ตัณหาที่บุคคลให้เหือดแห้งแล้ว ย่อมไม่ไหลไป

ดังนี้เป็นต้น.

คำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ แม่น้ำคือตัณหา อันบุคคลให้เหือดแห้ง

โดยไม่มีส่วนเหลือ ด้วยทำมรรคญาณที่ ๔ ให้เกิดขึ้น เหมือนแม่น้ำใหญ่

เหือดแห้งไป เพราะปรากฏพระอาทิตย์ดวงที่ ๔ ในบัดนี้ ย่อมไม่ไหลไป

คือ ตั้งแต่นี้ไป ย่อมไม่เป็นไป. ก็ตัณหาท่านเรียกว่า สริตา. อย่างที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า

โสมนัสทั้งหลาย อันซ่านไป และมีใยยางย่อม

มีแก่สัตว์.

และว่า ตัณหา อันชื่อว่าสริตาซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ดุจเครือเถา. บทว่า

ฉินฺน วฏฺฏ น วตฺตติ ความว่า วัฏฏะอันขาดแล้ว ด้วยการตัดขาด

กิเลสวัฏอย่างนี้ กัมมวัฏที่ตัดขาด ด้วยการให้ถึงความไม่เกิดขึ้นเป็น

ธรรม และความไม่มีวิบากเป็นธรรม ย่อมไม่เป็นไป คือย่อมไม่เกิด.

บทว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า ความไม่เป็นไป แห่งกัมมวัฏ

เพราะกิเลสวัฏไม่มีโดยประการทั้งปวงนั้น คือความไม่เกิดขึ้นแห่งวิปาก-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 668

วัฏต่อไป โดยส่วนเดียวแท้ ๆ เป็นที่สุด เป็นเขตกำหนด เป็นภาวะ

ที่หมุนเวียน ของสังสารทุกข์ แม้ทั้งสิ้น.

จบอรรถกถาทุติยภัททิยสูตรที่ ๒

๓. ปฐมกามสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้ต้องข้องอยู่ในกาม

[ ๑๔๙ ] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล มนุษย์

ทั้งหลายในพระนครสาวัตถี โดยมากเป็นผู้ข้องแล้วในกามเกินเวลา เป็น

ผู้กำหนัดแล้ว ยินดีแล้ว รักใคร่แล้ว หมกมุ่นแล้ว พัวพันแล้ว มืดมน

มัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ภิกษุเป็นอันมาก

นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนครสาวัตถี ครั้นเที่ยว

บิณฑบาตไปในพระนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตในภายหลังภัตแล้ว

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส มนุษย์ทั้งหลายในพระนครสาวัตถี

โดยมากเป็นผู้ข้องแล้วในกามเกินเวลา เป็นผู้กำหนัดแล้ว ยินดีแล้ว

หมกมุ่นแล้ว พัวพันแล้ว มืดมนมัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 669

สัตว์ทั้งหลายข้องแล้วในกาม ของแล้วในกาม

ด้วยธรรมเป็นเครื่องข้อง ไม่เห็นโทษในสังโยชน์

ข้องแล้วในธรรม เป็นเครื่องข้องคือสังโยชน์ พึง

ข้ามโอฆะอันกว้างใหญ่ไม่ได้เลย.

จบปฐมกามสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมกามสูตร

ปฐมกามสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาเมสุ ได้แก่ ในวัตถุกาม. บทว่า อติเวล ได้แก่ เกินเวลา.

บทว่า สตฺตา ได้แก่ สัตว์ อธิบายว่าผู้ติด คือ ข้อง โดยไม่เห็นโทษแม้ที่

มีอยู่ ระลึกถึงแต่ความยินดี ติดข้อง เพราะมากไปด้วยอโยนิโสมนสิการ.

บทว่า รตฺตา ชื่อว่า กำหนัดแล้ว กำหนัดนักแล้วด้วยฉันทราคะ อัน

เป็นเครื่องทำจิตให้เปลี่ยนแปลง เหมือนผ้าเปลี่ยนไปด้วยการย้อมสีฉะนั้น.

บทว่า คิทฺธา ความว่า ติด คือ ถึงความกำหนัด โดยการเพ่ง ซึ่งมีความ

หวังเป็นสภาวะ. บทว่า คธิตา ความว่า เกี่ยวเนื่องในกามนั้น เพราะเป็น

ภาวะที่เปลื้องได้ยาก ดุจร้อยรัดไว้. บทว่า มุจฺฉิตา ความว่า ไม่มีกิจ

อย่างอื่น คือ ถึงความหมกมุ่นงมงาย ด้วยอำนาจกิเลส ดุจคนสลบฉะนั้น.

บทว่า อชฺโฌปนฺนา ความว่า กลืนให้สำเร็จตั้งอยู่ ทำให้เหมือนสิ่งที่

ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น. บทว่า สมฺมตฺตกชาตา ความว่า ถึงความเป็นผู้ดื่มด่ำ

ในกามทั้งหลาย คือเป็นผู้มัวเมา เมามาย ในสุขเวทนามีประมาณน้อย.

บาลีว่า สมฺโมทกชาตา ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เกิดความบันเทิงใจ คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 670

เกิดความร่าเริงใจ ด้วยบทแม้ทั้งหมด ท่านกล่าวถึงความที่ชนเหล่านั้น

หมกมุ่นด้วยตัณหานั่นเอง ก็ในสูตรนี้ คำต้นท่านกล่าวว่า กาเมสุ แล้ว

กล่าวซ้ำว่า กาเมสุ อีก ก็เพื่อแสดงว่าสัตว์เหล่านั้นมีจิตน้อมไปในกาม

นั้น. ด้วยคำนั้น ท่านแสดงว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยกาม-

คุณ ในทุกอิริยาบถอยู่ในเวลานั้น.

เล่ากันมาว่า สมัยนั้น เว้นพระอริยสาวกเสีย ชาวกรุงสาวัตถี

ทั้งหมด ต่างโฆษณาถึงการเล่นมหรสพ ตระเตรียมพื้นที่การเล่นไปตาม

กำลังสมบัติที่มี กินดื่มบริโภคกามทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ บำเรออินทรีย์

ถึงความดื่มดำในกามทั้งหลาย. พวกภิกษุทั้งหลาย พากันเที่ยวบิณฑบาต

ในกรุงสาวัตถี เห็นมนุษย์ในเรือนนั้น ๆ และในสวนเป็นที่รื่นรมย์เป็นต้น

พากันโฆษณาการเล่นมหรสพ มีจิตน้อมไปในกาม ปฏิบัติอย่างนั้นอยู่

พากันคิดว่า เราจักไปวิหาร ได้ฟังธรรมเทศนาอันละเอียดสุขุม ดังนี้

แล้ว จึงกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า อถ โข สมฺพหุลา ภิกขู ฯ เป ฯ กาเมสุ วิหรนฺติ ดังนี้.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง ถึงความที่มนุษย์เหล่านั้น ไม่เห็นโทษในกามทั้งหลาย ที่น่ากลัว

อดกลั้นไม่ได้และมีผลเผ็ดร้อน มีที่เล่นอันน่ารื่นรมย์ มีความเร่าร้อนมาก

อันความพินาศเป็นอเนกติดตามผูกพันนี้ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันประ-

กาศโทษแห่งกามและกิเลส.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเมสุ สตฺตา ความว่า ผู้กำหนัด

มัวเมา ข้อง ซ่านไป ติด พัวพัน ประกอบ ในวัตถุกาม ด้วยกิเลสกาม

บทว่า กามสงฺคสตฺตา ความว่า ชื่อว่าผู้ข้อง คือมาข้องด้วยเครื่องข้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 671

คือราคะ และด้วยเครื่องข้องคือ ทิฏฐิ มานะ โทสะ และอวิชชา ในวัตถุ-

กาม ด้วยความติดในกามนั้นนั่นแล. บทว่า สโยชเน วชฺชมปสฺสมานา

ความว่า ไม่เห็นโทษ คือโทสะ ได้แก่ อาทีนพ อันชื่อว่ามีวัฏทุกข์เป็นมูล

เป็นต้น เพราะมีปกติเห็นตามความยินดี ในธรรมอันเป็นเครื่องประกอบ

สัตว์ไว้ในกิเลส มีกามราคะเป็นต้น อันได้นามว่า สังโยชน์ เพราะประกอบ

คือล่ามกัมมวัฏ ด้วยวิปากวัฏ หรือภพเป็นต้น ด้วยภพอื่นเป็นต้น หรือ

สัตว์ทั้งหลายด้วยทุกข์. บทว่า น หิ ชาตุ สโยชนสงฺคสตฺตา โอฆ

ตเรยฺยุ วิปุล มหนฺต ความว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ข้องอยู่ในธรรมเป็นเครื่อง

ข้อง อันมีสังโยชน์เป็นสภาวะ เพราะไม่มีการเห็นโทษอย่างนี้ หรือข้อง

อยู่ในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ อันเป็นอารมณ์แห่งธรรมเป็นเครื่องข้อง

เหล่านั้น ด้วยธรรมเป็นเครื่องข้องกล่าวคือสังโยชน์ ในกาลไหน ๆ ก็ข้าม

ไม่ได้ ซึ่งโอฆะมีกามเป็นต้น อันชื่อว่า กว้างขวาง แน่นหนา และใหญ่

หรือโอฆะคือสงสารนั่นเอง เพราะมีอารมณ์กว้างขวาง และหากาลเบื้องต้น

มิได้ อธิบายว่า ไม่พึงถึงฝั่งแห่งโอฆะนั้น โดยส่วนเดียวนั่นเอง.

จบอรรถกถาปฐมกามสูตรที่ ๓

๔. ทุติยกามสูตร

ว่าด้วยผู้มืดมนเพราะกาม

[๑๕๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล มนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 672

ทั้งหลายในพระนครสาวัตถีโดยมากเป็นผู้ข้องแล้วในกามเกินเวลา เป็นผู้

กำหนัดแล้ว ยินดีแล้ว รักใคร่แล้ว หมกมุ่นแล้ว พัวพันแล้ว มืดมน

มัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

นุ่งแล้วทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี ได้

ทรงเห็นพวกมนุษย์ในพระนครสาวัตถีโดยมาก เป็นผู้ข้องแล้วในกามทั้ง-

หลาย กำหนัดแล้ว ยินดีแล้ว รักใคร่แล้ว หมกมุ่นแล้ว พัวพันแล้ว

มืดมน มัวเมาอยู่ในกามทั้งหลาย.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

สัตว์ทั้งหลายผู้มืดมนเพราะกาม ถูกตัณหาซึ่ง

เป็นดุจข่ายปกคลุมไว้แล้ว ถูกเครื่องมุงคือตัณหา

ปกปิดไว้แล้ว ถูกกิเลสและเทวบุตรมารผูกพันไว้แล้ว

ย่อมไปสู่ชราและมรณะ เหมือนปลาในปากไซ

เหมือนลูกโคที่ยังดื่มนม ไปตามแม่โค ฉะนั้น.

จบทุติยกามสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยกามสูตร

ทุติยกามสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนฺธีกตา ความว่า ขึ้นชื่อว่ากาม ย่อมทำผู้ไม่มืดมนให้

มืดมน. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

คนโลภย่อมไม่รู้อรรถ คนโลภย่อมไม่เห็นธรรม

ความโลภย่อมครอบงำนรชน ในคราวที่เขามีความมืด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 673

เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อันธีกตา เพราะถูกกามกระทำ ผู้ไม่มืด

ให้เป็นคนมืด. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วในสูตรติดต่อกันนั่นเอง. ก็ใน

สูตรนั้น พวกภิกษุเห็นความเป็นไปของมนุษย์ จึงกราบทูลแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า. ในสูตรมีความแปลกกันเท่านี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เห็นด้วยพระองค์เองทีเดียว.

พระศาสดาเสด็จออกจากกรุงสาวัตถี เสด็จไปยังพระเชตวัน ใน

ระหว่างทาง ทรงทอดพระเนตรเห็นปลาเป็นจำนวนมาก ไม่สามารถจะ

เข้าไปสู่ไซ ที่พวกชาวประมงดักไว้ ในแม่น้ำอจิรวดี ครั้นต่อมาได้ทรง

เห็นลูกโคที่ยังไม่ทิ้งนมตัวหนึ่ง ร้องว่าโค ติดตามแม่โคไป ยื่นคอเข้าไป

เพื่อดื่มน้ำนม น้อมปากเข้าไปในระหว่างขาแม่โค. ลำดับนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังวิหาร ล้างพระบาททั้งสองแล้ว ประทับนั่งบน

บวรพุทธอาสน์ที่บรรจงจัดไว้ ทรงถือเอาเรื่อง ๒ เรื่องข้างหลัง โดยเป็น

อุปมาของเรื่องก่อน จึงทรงเปล่งอุทานนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามนฺธา ได้แก่ กระทำความมืดมน

ในวัตถุกาม ด้วยกิเลสกาม ไม่ให้มองเห็น. บทว่า ชาลสญฺฉนฺนา

ความว่า ดาดาษ พัวพัน ได้แก่ ถูกตัณหา อันเป็นดังข่ายครอบงำ

เพราะเกิดขึ้นสืบ ๆ ไปโดยภพ อารมณ์เบื้องต่ำและเบื้องสูง ในอัตภาพของ

ตนและของผู้อื่น ในอายตนะภายในและภายนอก และในธรรมอันอาศัย

อายตนะภายในภายนอกนั้น อันต่างด้วยธรรมหลายประเภท โดยกาลมี

อดีตกาลเป็นต้น และนำมาซึ่งอนัตถะแก่บุคคลผู้หมกอยู่ภายใน เหมือน

ห้วงน้ำใหญ่ ที่แวดล้อมไปด้วยตาข่าย ที่มีช่องอันละเอียด. บทว่า ตณฺหา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 674

ฉทนฉาทิตา ได้แก่ อันเขาปกปิด คือบังไว้ด้วยเครื่องมุงบังคือตัณหา

เหมือนน้ำที่สาหร่ายปกปิดไว้ ฉะนั้น. แม้ด้วย ๒ บทนี้ ท่านก็แสดงถึง

การนำกุศลจิต ที่กามฉันทนิวรณ์กั้นไว้. บทว่า ปมตฺตพนฺธุนา พนฺธา

ได้แก่ ผู้อันกิเลสมาร และเทวบุตรมาร ผูกพันไว้. จริงอยู่ บุคคลที่ถูก

กิเลสมารผูกพันไว้ ด้วยอารมณ์ใด ก็เป็นอันชื่อว่า ถูกเทวบุตรมรผูกพัน

ไว้ด้วยอารมณ์นั้น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ดูก่อนสมณะ เราจักผูกท่านไว้ ด้วยบ่วงคือใจ

อันเป็นที่ท่องเที่ยวไปในกลางหาว ท่านยังไม่พ้นจาก

บ่วงของเรา.

บททั้งสามคือ นมุจิ กณฺโห ปมตฺตพนฺธุ เป็นชื่อของมาร. เพราะ

แม้เทวบุตรมาร ก็ชื่อว่า ปมตฺตพนฺธุ เพราะผูกสัตว์ผู้ประมาทไว้ ด้วย

ความพินาศ เหมือนกิเลสมาร ฉะนั้น. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปมตฺตา

พนฺธเน พทฺธา ดังนี้ก็มี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พนฺธเน ความว่า ในเครื่องผูกคือกาม-

คุณ. บทว่า พทฺธา ได้แก่ ที่ถูกกำหนดไว้. เปรียบเหมือนละไร ? เปรียบ

เหมือนปลาในปากไซ อธิบายว่า ปลาทั้งหลาย เข้าไปยังปากไซที่ชาว

ประมงดักไว้ เป็นปลาที่ติดไซ ย่อมไปคือถึงความตายฉันใด สัตว์เหล่านี้

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกผูกพันไว้ด้วยเครื่องผูกคือกามคุณ ที่มารดักไว้

ย่อมเข้าถึงชราและมรณะทีเดียว เหมือนลูกโคที่ยังไม่ทิ้งนม ติดตาม

แม่โคไปฉะนั้น อธิบายว่า เหมือนโครุ่นตัวยังไม่ทิ้งนม ย่อมติดตาม

คือไปตามแม่ของตัว ไม่ติดตามโคตัวอื่น ฉันใด สัตว์ที่ผูกพันไว้ด้วยเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 675

ผูกคือมาร ก็ฉันนั้น เมื่อหมุนเวียนไปในสงสาร ย่อมติดตามคือไปตาม

มรณะถ่ายเดียว ไม่ไปตามอมตนิพพาน อันได้แก่ ไม่ตาย.

จบอรรถกถาทุติยกามสูตรที่ ๔

๕. ลกุณฐกภัททิยสูตร

ว่าด้วยรถคืออัตภาพ

[๑๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระลกุณฐกภัททิยะกำลังเดินมาข้างหลังของภิกษุเป็นอันมาก เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระ-

ลกุณฐกภัททิยะเป็นคนค่อม มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู พวกภิกษุดูหมิ่น

โดยมาก เดินมาข้างหลังของภิกษุเป็นอันมากแต่ไกล ครั้นแล้วตรัสถาม

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นภิกษุนั่น เป็นคน

ค่อม มีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู พวกภิกษุดูหมิ่นโดยมาก กำลังเดินมา

ข้างหลังๆ ของภิกษุเป็นอันมากแต่ไกลหรือไม่ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

เห็นแล้ว พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก็

สมาบัติที่ภิกษุนั้นไม่เคยเข้าแล้ว ไม่ใช่หาได้ง่าย ภิกษุนั้นทำให้แจ้งซึ่งที่

สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต

โดยชอบต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 676

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

รถคืออัตภาพ มีศีลอันหาโทษมิได้เป็นองค์ประ-

ธาน มีหลังคาคือบริขารขาว มีกำคือสติอันเดียว

แล่นไปอยู่ เช้าดูรถคืออัตภาพนั้นอันหาทุกข์มิได้

มีกระแสตัณหาอันตัดขาดแล้ว หาเครื่องผูกมิได้

แล่นไปอยู่.

จบลกุณฐกภัททิยสูตรที่ ๕

อรรถกถาลกุณฐกภัททิยสูตร

ลกุณฐกภัททิยสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺพหุลาน ภิกฺขูน ปิฏฺิโต ปิฏฺิโต ความว่า วันหนึ่ง

ท่านพระลกุณฐกภัททิยะ พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมากเที่ยวบิณฑบาตใน

ละแวกบ้าน ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ล้างบาตรใส่ถลก คล้องไว้ที่บ่า จีบ

จีวร พาดจีวรแม้นั้นไว้บ่าซ้าย มีการก้าวไป ถอยกลับ แลดู เหลียวดู

คู้ เหยียด น่าเลื่อมใส มีนัยน์ตาทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ เป็นเหมือน

ประกาศความไพบูลย์ด้วยสติและปัญญาของตน ตั้งสติสัมปชัญญะไว้มั่น

มีจิตเป็นสมาธิ ทอดเท้าก้าวย่างไป และเมื่อจะไปก็ตามหลังภิกษุทั้งหลาย

ไป ไม่ปะปนด้วยภิกษุเหล่านั้น. เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นผู้อยู่ด้วยการ

ไม่คลุกคลี. อนึ่ง ปุถุชนทั้งหลาย ย่อมดูหมิ่นรูปของท่านว่า น่าดูหมิ่น

เป็นที่ตั้งแห่งความดูหมิ่น. พระเถระทราบดังนั้น จึงเดินไปข้างหลัง ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 677

คิดว่า ภิกษุเหล่านี้อย่าได้ประสบบาป เพราะอาศัยเราแล. ภิกษุเหล่านั้น

และพระเถระ ถึงกรุงสาวัตถี เข้าไปยังวิหาร เข้าเฝ้าพระศาสดาถึงที่

ประทับด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน

สมเยน อายสฺมา ลกุณฺฏกภทฺทิโย ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺณ ได้แก่ รูปน่าเกลียด. ด้วย

คำนั้น ทรงแสดงถึงท่าน ไม่มีการถึงพร้อมด้วยวรรณะ (รูป) และถึง

พร้อมด้วยทรวดทรง. บทว่า ทุทฺทสิก แปลว่า เห็นเข้าไม่น่าเลื่อมใส.

ด้วยบทนั้น แสดงถึงท่านไม่มีความสมบูรณ์ด้วยอนุพยัญชนะ และความ

สมบูรณ์ด้วยอาการ. บทว่า โอโกฏิมก แปลว่า เตี้ย. ด้วยคำนี้ ทรง

แสดงถึงท่านไม่มีความสมบูรณ์ด้วยส่วนสูง. บทว่า เยภุยฺเยน ภิกฺขูน

ปริภูตรูป ได้แก่ ผู้มีรูปร่างอันภิกษุปุถุชนทั้งหลาย ดูหมิ่น. ภิกษุปุถุชน

บางพวก เช่นพระฉัพพัคคีย์เป็นต้น เมื่อไม่รู้คุณของท่าน จับ ลูบคลำ

เล่น ที่มือและใบหูเป็นต้น ดูหมิ่น พระอริยเจ้า หรือกัลยาณปุถุชนหา

ดูหมิ่นไม่.

บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า ตรัสเรียกภิกษุมาทำไม ? เพื่อ

ประกาศคุณของพระเถระ. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดำริ

อย่างนี้ว่า ภิกษุเหล่านี้ไม่รู้ว่าบุตรเรามีอานุภาพมาก เพราะเหตุนั้น จึงพา

กันดูหมิ่นเธอ ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ตลอดกาล

นานแก่ภิกษุเหล่านั้น เอาเถอะ เราจักประกาศคุณของภิกษุนี้ แก่ภิกษุ

ทั้งหลาย แล้วจักปลดเปลื้องเธอให้พ้นจากความดูหมิ่น.

บทว่า ปสฺสถ โน แปลว่า พวกเธอจงดูนะ. บทว่า น จ สา

สมาปตฺติ สุลภรูปา ยา เตน ภิกฺขุนา อสมาปนฺนปุพฺพา ความว่า ชื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 678

สมาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง อันทั่วไปแก่พระสาวก มีประเภทอย่างนี้คือ

รูปสมาบัติ อรูปสมาบัติ พรหมวิหารสมาบัติ นิโรธสมาบัติ และผลสมาบัติ

ในสมาบัติเหล่านั้น สมาบัติแม้อย่างหนึ่ง ไม่ใช่ได้โดยง่าย คือได้โดยยาก.

ภิกษุลกุณฐกภัททิยะนั้น ไม่เคยเข้าสมาบัตินั้น ไม่มีเลย. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศความที่พระเถระนั้นมีฤทธิ์มาก ใน

คำที่ตรัสไว้ว่า มหิทฺธิโก มหานุภาโว บัดนี้ เพื่อจะประกาศความที่ท่าน

มีอานุภาพมาก จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยสฺส จตฺถาย ดังนี้. คำนั้นมีนัยดัง

กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

ก็ในคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า เอโส ภิกฺขเว ภิกฺเข เป็นต้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ไม่ใช่เป็นภิกษุพอดี

พอร้าย ใคร ๆไม่ควรดูหมิ่นด้วยเหตุเพียงเท่านี้ว่า เป็นผู้มีรูปน่าเกลียด

ไม่น่าดู เตี้ย และว่าเดินตามหลังภิกษุทั้งหลาย โดยที่แท้เป็นภิกษุมีฤทธิ์

มาก มีอานุภาพมาก ความจริงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่พระสาวกพึงถึง สิ่งนั้น

ทั้งหมดภิกษุนั้นถึงแล้วโดยลำดับ เพราะฉะนั้น พึงทำภิกษุนั้นให้เป็นที่

หนักแน่นดุจฉัตรหิน แล้วจึงแลดู ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขตลอด

กาลนานแก่เธอทั้งหลาย.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง ซึ่งกองแห่งคุณ ของท่านลกุณฐกภัททิยะต่างโดยคุณมีความเป็น

ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากเป็นต้นนี้ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดง

ความนั้น.

โทษท่านเรียกว่า เอละ ในบทว่า เนลงฺโค นี้ ในพระคาถานั้น.

โทษของคำนั้นไม่มี เหตุนั้น คำนั้นจึงชื่อว่าเนล. ก็ เนละ นั้นคืออะไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 679

คือศีลที่บริสุทธิ์ด้วยดี. จริงอยู่ ศีลที่บริสุทธิ์ด้วยดีนั้น ท่านประสงค์ว่าเนละ

ในพระคาถานี้ เพราะอรรถว่าไม่มีโทษ. ภิกษุชื่อว่า เนลังคะ เพราะมี

องค์อันเป็นประธานอันหาโทษมิได้. เชื่อมความด้วยคำที่ท่านกล่าวไว้

ด้วยรถ. เพราะฉะนั้น อธิบายว่า ผู้มีองค์คือศีลอันบริสุทธิ์ด้วยดี. จริงอยู่

ศีลที่สัมปยุตด้วยอรหัตผล ท่านประสงค์เอาในที่นี้. อัตภาพดุจรถ ชื่อว่า

เสตปจฺฉาโท เพราะมีหลังคาสีขาว. บทว่า ปจฺฉาโท ได้แก่ ผ้ากัมพล

เป็นต้น ที่ลาดไว้บนหลังรถ. ก็รถคืออัตภาพนั้น มีสีขาวก็ดี มีสีแดง

และสีเขียวเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี เพราะมีภาวะขาวหมดจดด้วยดี

แต่ในที่นี้ท่านกล่าวว่า เสตปจฺฉาโท มีหลังคาขาว เพราะอาศัยภาวะที่

บริสุทธิ์ด้วยดี เหตุประสงค์เอาความหลุดพ้นด้วยอรหัตผล เหมือนอุปมา

อย่างใดอย่างหนึ่งว่า รถมีเครื่องบริขารขาว. กำอันหนึ่ง คือสติ ของรถ

นั้นมีอยู่ เหตุนั้น รถนั้นชื่อว่ามีกำอันเดียว. บทว่า วตฺตติ แปลว่า ย่อม

เป็นไป. ด้วยบทว่า รโถ นี้ พระองค์ตรัสหมายถึงอัตภาพของพระเถระ.

บทว่า อนีฆ แปลว่า ไม่มีทุกข์ อธิบายว่า เว้นจากความกำเริบแห่งกิเลส

ดุจยานที่เว้นจากความสั่นฉะนั้น. บทว่า อายนฺต ได้แก่ มาข้างหลัง ข้าง

หลังของภิกษุเป็นอันมาก. บทว่า ฉินฺนโสต ได้แก่ ตัดกระแสแล้ว. จริง

อยู่ กระแสแห่งเนยใส และน้ำมันเป็นต้น ที่ฉาบทาที่หัวเพลาและดุม

ไหลไปคือบ่าไป เพื่อให้รถตามปกติแล่นไปสะดวก เพราะฉะนั้น

รถนั้นจึงชื่อว่ามีกระแสยังไม่ขาด. แต่รถนี้ เป็นอันชื่อว่าขาดกระแสแล้ว

เพราะละกระแสกิเลส ๓๖ ได้เด็ดขาด. ซึ่งรถที่ขาดกระแสแล้วนั้น.

ชื่อว่า อพนฺธโน เพราะรถนั้นไม่มีเครื่องผูก. จริงอยู่ เครื่องผูกทั้งหลาย

ของรถที่มีเครื่องปรุงพร้อมกับเพลา ย่อมมีมากเพื่อทำไม่ให้รถนั้นคลอน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 680

แคลน ด้วยเหตุนั้น รถนั้นจึงชื่อว่ามีเครื่องผูก. แต่รถนี้ชื่อว่าไม่มีเครื่อง

ผูก เพราะเครื่องผูกคือสังโยชน์ทั้งปวง หมดสิ้นไปโดยไม่เหลือ. ซึ่งรถ

อันไม่มีเครื่องผูกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงได้รับโสมนัส ด้วยคุณของ

พระเถระ จึงตรัสเรียกพระองค์ด้วยพระดำรัสว่า เชิญดู.

ดังนั้น พระศาสดาทรงแสดงท่านลกุณฐกภัททิยะ ให้เป็นผู้มีจักร

ด้วยดี โดยกอรหัตผลขึ้นเป็นประธาน ให้เป็นผู้มีสิ่งกำบังอันข้ามพ้นด้วยดี

ด้วยวิมุตติอันสัมปยุตด้วยอรหัตผล ให้เป็นผู้มีกำบังด้วยดี ด้วยสติอันตั้งมั่น

ด้วยดี ให้เป็นผู้ไม่กำเริบ เพราะกิเลสเครื่องกำเริบไม่มี ให้เป็นผู้ไม่มี

กิเลสเครื่องไล้ทา เพราะเครื่องไล้ทาคือตัณหาไม่มี ให้เป็นผู้ไม่มีกิเลส

เครื่องผูกพัน เพราะไม่มีสังโยชน์เป็นต้น ให้เป็นดุจรถเทียมด้วยม้าอาชา-

ไนย อันประกอบด้วยดีแล้ว อันมีเครื่องปรุงดีแล้ว.

จบอรรถกถาลกุณฐกภัททิยสูตรที่ ๕

๖. ตัณหักขยสูตร

ว่าด้วยท่านที่สิ้นแล้วจากเครื่องผูก

[๑๕๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระอัญญาโกณฑัญญะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาซึ่งความสิ้นตัณหา

อยู่ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นท่านพระ-

อัญญาโกณฑัญญะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง พิจารณาเห็นซึ่งความหลุดพ้น

เพราะความสิ้นตัณหาอยู่ในที่ไม่ไกล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 681

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงได้

ทรงอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

พระอริยบุคคลใดไม่มีอวิชชาอันเป็นมูลราก ไม่มี

แผ่นดิน คืออาสวะ นิวรณ์ และอโยนิโสมนสิการ

ไม่มีเถาวัลย์ คือมานะและอติมานะเป็นต้น ใบ คือ

ความมัวเมา ประมาท มายา และสาเถยยะเป็นต้น

จะมีแต่ที่ไหน ใครเล่าจะควรนินทาพระอริยบุคคลนั้น

ผู้เป็นนักปราชญ์ ผู้พ้นแล้วจากเครื่องผูก แม้เทวดา

ก็ชม ถึงพรหมก็ย่อมสรรเสริญพระอริยบุคคลนั้น.

จบตัณหักขยสูตรที่ ๖

อรรถกถาตัณหักขยสูตร

ตัณหักขยสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โกณฺฑญฺโ ในบทว่า อญฺาโกณฺฑญฺโ นี้ เป็นชื่อของ

ท่านที่มาโดยโคตร. ก็ในบรรดาสาวกทั้งหลาย พระเถระปรากฏในพระ-

ศาสนาว่า อัญญาโกณฑัญญะนั่นแล โดยคำอุทานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ไว้ว่า อญฺาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔ ก่อนพระ-

สาวกทั้งหมด.

บทว่า ตณฺหาสงฺขยวิมุตฺตึ ชื่อว่า ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา

เพราะเป็นที่สิ้นตัณหา คือเป็นที่ละตัณหา ได้แก่ พระนิพพาน ความ

หลุดพ้นในเพราะความสิ้นไปแห่งตัณหานั้น. อีกอย่างหนึ่ง อริยมรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 682

ชื่อว่าธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เพราะเป็นเหตุสิ้นคือเป็นเหตุละตัณหา.

ชื่อว่าตัณหาสังขยวิมุตติ เพราะวิมุตติเป็นผลหรือเป็นที่สุด แห่งอริยมรรค

โดยนิปปริยาย ได้แก่สมาบัติอันสัมปยุตด้วยอรหัตผล. เป็นผู้นั่งพิจารณา

สมาบัติอันสัมปยุตด้วยอรหัตนั้น. จริงอยู่ ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะนี้

เข้าผลสมาบัติมาก. เพราะฉะนั้น แม้ในที่นี้ท่านก็ได้ทำอย่างนี้.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ครั้นทรงทราบ การ

พิจารณาอรหัตผล ของพระอัญญาโกณฑัญญะนี้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้

อันแสดงถึงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส มูล ฉมา นตฺถิ ความว่า พระ-

อริยบุคคลใด ไม่มีอวิชชาอันเป็นดุจรากของต้นไม้คืออัตภาพ และไม่มี

แผ่นดิน กล่าวคือ อาสวะ นีวรณ์ และอโยนิโสมนสิการ อันเป็นที่ตั้ง

อาศัยของอวิชชานั่นเอง เพราะถอนขึ้นได้ด้วยอรหัตมรรค. พึงทราบ

สัมพันธ์บท ในบทว่า ปณฺณา นตฺถิ กุโต ลตา นี้ว่า เครือเถาไม่มี ใบ-

ไม้จะมีแต่ที่ไหน. อธิบายว่า แม้เครือเถา กล่าวคือกิ่งใหญ่กิ่งน้อยเป็นต้น

อันต่างด้วยมานะและอติมานะเป็นต้น ย่อมไม่มี ใบไม้คือ มทะ ปมาทะ

มายา และสาไถยเป็นต้น จักมีแต่ที่ไหนเล่า. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า

ปณฺณา นตฺถิ กุโต ลตา ความว่า เมื่อหน่อไม้งอกงามขึ้น ใบไม้ก็

บังเกิดขึ้นก่อน ภายหลัง ท่านกล่าวตั้งชื่อว่า ลตา คือ กิ่งใหญ่ กิ่งน้อย.

ในคำนั้น มูลคืออวิชชา และกิเลสมีอาสวะเป็นต้น อันเป็นที่ตั้งอาศัยของ

มูลคืออวิชชานั้น ย่อมไม่มีแก่ต้นไม้ คืออัตภาพใด อันควรแก่การเกิด

ขึ้น ในเมื่อไม่มีการเจริญอริยมรรค เพราะเจริญอริยมรรคแล้ว. ก็ในที่นี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 683

ด้วยมูลศัพท์นั่นเอง พึงทราบว่าท่านถือเอา แม้ภาวะที่กรรมอันเป็นที่ตั้ง

แห่งพืช เพราะเป็นเหตุแห่งมูลนั่นเอง. ก็เมื่อพืชคือกรรมไม่มี หน่อคือ

วิญญาณ ซึ่งมีพืช คือกรรมเป็นเครื่องหมาย และ ใบ กิ่ง มี นามรูป

สฬายตนะเป็นต้น เป็นอาทิ อันมีหน่อคือวิญญาณเป็นเครื่องหมาย จักไม่

บังเกิดขึ้นเลย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า พระอริยบุคคลใดไม่มี

อวิชชาเป็นมูลราก ไม่มีเครือเถาคือมานะเป็นต้น ใบคือความมัวเมาเป็นต้น

จักมีแต่ที่ไหน. บทว่า ต ธีร พนฺธนา มุตฺต ความว่า ซึ่งพระอริยบุคคล

นั้น ผู้ชื่อว่า ธีระ เพราะชำนะมาร ด้วยการประกอบความเพียรคือสัม-

มัปปธาน ๔ ผู้พ้นจากเครื่องผูก คืออภิสังขารอันเป็นตัวกิเลสทั้งหมดนั้น

นั่นแล. บทว่า ต ในบทว่า โก ต นินฺทิตุมรหติ นี้ เป็นนิบาต. ใคร

เล่า ผู้มีชาติแห่งวิญญูชน ควรเพื่อจะนินทา ครหา ผู้พ้นจากสัพพกิเลส

ผู้ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยมมีศีลคุณเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ เพราะ

ไม่มีการนินทาเป็นเครื่องหมายนั่นเอง. บทว่า เทวาปิ น ปสสนฺติ ความว่า

โดยที่แท้ ทวยเทพผู้รู้คุณวิเศษ มีท้าวสักกะเป็นต้น ก็ย่อมสรรเสริญด้วย

อปิศัพท์ แม้มนุษย์มีกษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตเป็นต้น ก็ย่อมทรงสรรเสริญ.

ยิ่งขึ้นไปอีกเล็กน้อย แม้พรหมก็สรรเสริญ คือมหาพรหมก็ดี พรหม

นาค ยักษ์ และคนธรรพ์เป็นต้น แม้เหล่าอื่นก็ดี ก็ย่อมสรรเสริญ คือ

ย่อมชมเชยเหมือนกันแล.

จบอรรถกถาตัณหักขยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 684

๗. ปปัญจชยสูตร

ว่าด้วยผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเนิ่นช้า

[๑๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งพิจารณาการละส่วนสัญญา อันสหรคตด้วยธรรม

เครื่องเนิ่นช้าของพระองค์อยู่.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบการละส่วนสัญญาอัน

สหรคตด้วยธรรมเครื่องเนิ่นช้าชองพระองค์แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ใน

เวลานั้นว่า

ผู้ใดมีกิเลสเครื่องให้เนิ่นช้าและความตั้งอยู่ (ใน

สงสาร) ก้าวล่วงซึ่งที่ต่อคือตัณหาทิฏฐิ และลิ่มคือ

อวิชชาได้ แม้โลกคือหมู่สัตว์พร้อมทั้งเทวโลก ย่อม

ไม่ดีหมิ่นผู้นั้น ผู้ไม่มีตัณหา เป็นมุนี เที่ยวไปอยู่.

จบปปัญจขยสูตรที่ ๗

อรรถกถาปปัญจขยสูตร

ปปัญจขยสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปปญฺจสญฺาสงฺขาปหาน ความว่า กิเลสชื่อว่าธรรมเป็น

เครื่องเนิ่นช้า เพราะเป็นที่เกิดขึ้นเอง ทำให้เนิ่นช้า คือขยายความสืบต่อ

นั้นให้กว้างขวาง ได้แก่ ให้ตั้งอยู่นาน โดยพิเศษ ได้แก่ ราคะ โทสะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 685

โมหะ ทิฏฐิ และมานะ. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ธรรมเป็นเครื่อง

เนิ่นช้า คือ ราคะ โทสะ โมหะ ตัณหา ทิฏฐิ และมานะ. อีกอย่างหนึ่ง

ธรรมมีอรรถว่าเศร้าหมอง ชื่อว่าอรรถแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า ธรรมมี

อรรถดุจหยากเหยื่อ ชื่อว่าอรรถแห่งธรรมเครื่องเนิ่นช้า. ในธรรมเครื่อง

เนิ่นช้าเหล่านั้น สุภสัญญาเป็นเครื่องหมายของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือราคะ

อาฆาตวัตถุเป็นเครื่องหมาย ของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือโทสะ อาสวะเป็น

เครื่องหมายของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือโมหะ เวทนาเป็นเครื่องหมาย

ของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือตัณหา สัญญาเป็นเครื่องหมายของธรรมเครื่อง

เนิ่นช้าคือทิฏฐิ และวิตกเป็นเครื่องหมายของธรรมเครื่องเนิ่นช้าคือมานะ.

สัญญา ที่เกิดพร้อมกับธรรมเครื่องเนิ่นช้าเหล่านั้น ชื่อว่า ปปัญจสัญญา.

ส่วน ภาคะ โกฏฐาสะ แห่งสัญญาเป็นเครื่องเนิ่นช้า ชื่อว่าส่วนแห่ง

สัญญาเป็นเครื่องเนิ่นช้า ว่าโดยอรรถ ได้แก่ กองกิเลส อันเป็นฝ่ายแห่ง

ธรรมเครื่องเนิ่นช้านั้น ๆ พร้อมทั้งนิมิต. ก็ในที่นี้ศัพท์ว่า สัญญา ย่อม

มีโดยปปัญจธรรมนั้น เป็นเหตุที่ทั่วไปแก่ส่วนนั้น ๆ. สมจริงดังคำที่

ท่านกล่าวไว้ว่า ความจริง ส่วนแห่งปปัญจธรรม มีสัญญาเป็นเหตุ. การละ

ซึ่งส่วนแห่งปปัญจธรรมเหล่านั้น. อธิบายว่า ตัดกิเลสมีราคะเป็นต้น

ด้วยมรรคนั้น ๆ ได้เด็ดขาด.

ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพิจารณากิเลส อัน

เป็นเหตุแห่งความพินาศในอดีตชาติของพระองค์ อันนับได้หลายแสนโกฏิ

ที่ทรงละได้พร้อมทั้งวาสนา ณ ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งโพธิญาณ ด้วย

อริยมรรคในภพสุดท้ายนี้ และทรงเห็นสันดานของสัตว์ที่เพียบไปด้วยกิเลส

เศร้าหมองไปด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น ที่เปลื้องได้แสนยาก เหมือนกะ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 686

โหลกน้ำเต้าที่เต็มไปด้วยน้ำข้าว เหมือนภาชนะที่เต็มไปด้วยเปรียง และ

เหมือนท่อนผ้าเก่าที่ชุ่มด้วยน้ำมันเหลว จึงทรงเกิดปีติปราโมทย์ขึ้นว่า

กิเลสวัฏนี้ ชื่อว่าเป็นรกชัฏอย่างนี้ ที่เกิดขึ้นตลอดกาลหาเบื้องต้นมิได้

เราละได้แล้วโดยเด็ดขาด เราละแล้วด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์ จึงทรงเปล่ง

อุทาน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบการละส่วนแห่งสัญญาอันเป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า แล้วจึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส ปปญฺจา ธิติ จ นตฺถิ ความว่า

เพราะเหตุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงออกเฉพาะพระองค์ ให้เหมือน

ผู้อื่น ฉะนั้น อัครบุคคลใด ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า ซึ่งมีลักษณะดัง

กล่าวแล้ว และไม่มีความตั้งใจอยู่ในสงสารที่ปปัญจธรรมเหล่านั้นสร้างขึ้น.

แต่ในเนตติท่านกล่าวไว้ว่า อนุสัย ชื่อว่าธิติ. จริงอยู่ อนุสัย ก็เป็นมูล

รากของการเกิดในภพ. บาลีว่า สตฺเต สสาเร เปติ และว่า ปปญฺจฏฺิติ

ดังนี้ก็มี. บาลีนั้น มีอธิบายดังนี้ ความตั้งอยู่ คือความที่ปปัญจธรรมยัง

ปรากฏอยู่ ได้แก่ ยังตัดไม่ขาดด้วยมรรค ชื่อว่าปปัญจัฏฐิติ. อีกอย่างหนึ่ง

ความตั้งอยู่แห่งวัฏฏะ โดยเป็นเหตุแห่งความเกิดขึ้นแห่งกุศล อกุศล และ

วิบากที่ยังเหลือ คือปปัญจธรรม ชื่อว่าปปัญจัฏฐิติ. ปปัญจัฏฐิตินั้นไม่มี

แก่อัครบุคคลใด. บทว่า สนฺธาน ปลิฆญฺจ วีติวตฺโต ความว่า บุคคลใด

ก้าวล่วงตัณหาและทิฏฐิ อันได้นามว่า สันธานะ เพราะเป็นเสมือนที่ต่อ

เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องผูกพัน และก้าวล่วงอวิชชา กล่าวคือลิ้ม เพราะ

เป็นเหมือนลิ่ม เพราะกีดกันการเข้าไปสู่นครคือพระนิพพาน คือก้าวล่วง

โดยพิเศษ ด้วยการละกิเลส พร้อมทั้งวาสนา. แต่อาจารย์อีกพวกหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 687

กล่าวความโกรธว่า สันธานะ. คำนั้นไม่ควรถือเอา. ก็ ธิติ นั้น ท่าน

เรียกว่า ทำเหตุให้บุคคลอื่นข้องอยู่แล. บทว่า ต นิตฺตณฺห มุนึ จรนฺต

ความว่า ซึ่งพระอริยบุคคลนั้น ชื่อว่าผู้ปราศจากตัณหา เพราะไม่มีตัณหา

แม้โดยประการทั้งปวง ชื่อว่ามุนี เพราะรู้โลกทั้งสอง และรู้ประโยชน์ตน

และประโยชน์ผู้อื่น ชื่อว่าผู้เที่ยวไปด้วยอิริยาบถ ด้วยการยังสมาบัติ

ต่าง ๆ ให้เที่ยวไป และด้วยการยังญาณอันไม่ทั่วไปแก่ญาณอื่นให้เที่ยว

ไป เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งปวง โดยส่วนเดียวนั่นเอง. บทว่า

นาวชานาติ สเทวโกปิ โลโก ความว่า สัตวโลก ที่เกิดมาด้วยปัญญาของ

ตน พร้อมทั้งเทวโลก พร้อมทั้งพรหม แม้ในกาลไหน ๆ ก็ไม่รู้ ไม่ได้

เสวย โดยที่แท้กระทำให้หนักแน่น ยินดีในการบูชาสักการะโดยเคารพว่า

ผู้นี้เท่านั้น เป็นผู้เลิศ ประเสริฐสูงสุด ประเสริฐยังในโลก ดังนี้แล.

จบอรรถกถาปปัญจขยสูตรที่ ๗

๘. มหากัจจานสูตร

ว่าด้วยพระมหาหัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง

[๑๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่าน

พระมหากัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติตั้งมั่นดีแล้วเฉพาะ

หน้าในภายใน ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ทรงเห็นท่านพระมหากัจจานะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง มีกายคตาสติตั้งมั่น

ดีแล้วเฉพาะหน้าในภายใน ในที่ไม่ไกล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 688

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ผู้ใดพึงตั้งกายคตาคติไว้มั่นแล้วเนือง ๆ ในกาลทุก

เมื่อว่า อะไรๆ อันพ้นจากขันธปัญจกไม่พึงมี อะไร ๆ

ที่ชื่อว่าเป็นของเราก็ไม่พึงมี อะไร ๆ ที่ชื่อว่าตนอัน

พ้นจากขันธ์จักไม่มี และอะไร ๆ ที่เนื่องในตนจักไม่

มีแก่เรา ผู้นั้นมีปกติอยู่ด้วยอนุปุพพวิหาร ตามเห็น

อยู่ในสังขารนั้น พึงข้ามตัณหาได้โดยกาลเกิดขึ้น

แห่งอริยมรรคแล.

จบมหากัจจนสูตรที่ ๘

อรรถกถามหากัจจานสูตร

มหากัจจานสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

อชฺฌตฺต ศัพท์นี้ ในบทว่า อชฺฌตฺต นี้ มาในอรรถว่า เกิดภายใน

ในประโยคมีอาทิว่า อายตนะภายใน ๖ ดังนี้. มาในอรรถว่า เกิดในตน

ในประโยคมีอาทิว่า ธรรมทั้งหลาย เกิดในตน หรือตามเห็นกายในกาย

ภายในตน. มาในอรรถว่า เป็นภายในแห่งอารมณ์ ในประโยคมีอาทิว่า

เพราะไม่มนสิการถึงนิมิตทั้งปวง ภิกษุเข้าถึงสุญญตะอันเป็นภายในอยู่

อธิบายว่า ในตำแหน่งที่เป็นใหญ่. จริงอยู่ ผลสมาบัติ ชื่อว่าเป็นฐาน

อันใหญ่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. มาในอรรถว่า เป็นภายในแห่งโคจร

ในประโยคมีอาทิว่า อานนท์ ภิกษุนั้น พึงตั้งจิตไว้ด้วยดี เฉพาะภายใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 689

ในสมาธินิมิต อันเป็นเบื้องต้นนั้นเท่านั้น. แม้ในที่นี้ ท่านพึงเห็นว่ามา

ในอรรถว่ามีโคจรเป็นภายในนั่นเอง. เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า บทว่า

อชฺฌตฺต ได้แก่ ในอารมณ์กัมมัฏฐาน อันเป็นอารมณ์ภายใน. บทว่า

ปริมุข แปลว่า ตรงหน้า. บทว่า สุปฏฺิตาย ได้แก่ มีสติไปในกายอัน

ตั้งมั่นด้วยดี. ก็ในที่นี้ ท่านกล่าวถึงฌาน โดยยกสติขึ้นเป็นประธาน.

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุเข้าฌานอันเป็นภายใน คืออันยิ่งที่ตน

ได้ โดยกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน.

ก็พระเถระนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี

วันหนึ่ง เที่ยวบิณฑบาต ณ กรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตภายหลังฉัน

อาหารเสร็จแล้วเข้าไปสู่วิหาร แสดงวัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งพัก

ผ่อนในที่พักกลางวัน ยับยั้งอยู่ด้วยสมาบัติต่าง ๆ ตลอดวัน ในเวลาเย็น

หยั่งลงสู่ท่ามกลางวิหาร เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งที่พระคันธกุฏี

จึงคิดว่า นี้ไม่ใช่เวลาที่จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน กำหนดเวลาแล้ว

นั่งเข้าสมาบัติดังกล่าวแล้ว ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่งไม่ไกลแต่พระคันธกุฎี.

พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทอดพระเนตรเห็นเธอนั่ง

อยู่อย่างนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เตน โข ปน สมเยน อายสฺมา

มหากจฺจายโน ฯ เป ฯ สุปฏฺิตาย ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการทั้ง

ปวง ถึงการที่ท่านพระมหากัจจานเถระ เข้าฌานที่ตนบรรลุด้วยสติปัฏ-

ฐานภาวนา ให้เป็นบาท แล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส สิยา สพฺพทา สติ สตต กายคตา

อุปฏฺิตา ความว่า สติอันไปแล้วในกายทั้งสองอย่าง โดยความต่างแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 690

นามและรูป คือมีกายเป็นอารมณ์ พึงเป็นคุณชาต อันภิกษุใด ผู้เริ่ม

บำเพ็ญวิปัสสนา ดำรงไว้ด้วยอำนาจความพยายามอันเป็นไปติดต่อเนือง ๆ

ไม่ขาดสาย โดยพิจารณาลักษณะ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น แห่งอุปาทาน

ขันธ์ ๕ ในกาลทั้งหมด โดยแบ่งวันหนึ่งออกเป็น ๖ ส่วน.

เล่ากันมาว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้ ยังฌานให้บังเกิด โดย

กายคตาสติกัมมัฏฐานก่อน แล้วกระทำฌานนั้นให้เป็นบาท เริ่มตั้ง

วิปัสสนา โดยมุข คือกายานุปัสสนาสติปัฏฐานแล้ว บรรลุพระอรหัต.

ถึงในกาลต่อมา โดยมาก ท่านเข้าฌานนั้นนั่นแหละออกแล้ว พิจารณาเห็น

โดยประการนั้นนั่นแล แล้วเข้าผลสมาบัติ. พระศาสดา เมื่อทรงแสดง

วิธีที่เป็นเหตุให้ท่านบรรลุพระอรหัต จึงตรัสว่า ผู้ที่มีสติในกาลทุกเมื่อ

พึงตั้งกายคตาสติไว้ติดต่อกัน เพื่อจะให้อาการที่กายคตาสตินั้นปรากฏแจ่ม

ชัด จึงตรัสว่า กิเลสกรรมอันพ้นจากขันธปัญจก ไม่พึงมี กิเลสธรรม

ที่ชื่อว่าเป็นของเรา ไม่พึงมี กิเลสกรรม ที่ชื่อว่าตนอันพ้นจากขันธ์

จักไม่มี และกิเลสกรรมที่เนื่องในตน จักไม่มีแก่เรา ดังนี้.

ความข้อนั้น เมื่อว่าโดยพิจารณา พึงทราบโดยเป็น ๒ ส่วน คือ

ด้วยส่วนเบื้องต้น ๑ ด้วยขณะพิจารณา ๑.

ใน ๒ อย่างนั้น พึงทราบโดยส่วนเบื้องต้นก่อน. บทว่า โน จสฺส

โน จ เม สิยา ความว่า หากว่า ในอดีตกาล กิเลสกรรมของเราไม่พึง

มีไซร้ ในกาลอันเป็นปัจจุบันนี้ อัตภาพนี้ จะไม่พึงมีแก่เรา คือไม่พึง

เกิดแก่เรา. ก็เพราะเหตุที่กรรมและกิเลสได้มีแก่เราในอดีตกาล ฉะนั้น

อัตภาพของเราในบัดนี้ ซึ่งมีกรรมกิเลสนั้นเป็นเครื่องหมาย ย่อมเป็นไป.

บทว่า น ภวิสฺสติ น จ เม ภวิสฺสติ ความว่า ในอัตภาพนี้ เพราะปราศ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 691

จากธรรมอันเป็นปฏิปักษ์นั่น และกิเลสกรรม จักไม่มี คือจักไม่เกิดแก่เรา

และวิปากวัฏในอนาคต จักไม่มี คือจักไม่เกิดแก่เรา. ในกาลทั้ง ๓ ดัง

กล่าวมาแล้วนี้ ขันธปัญจกคืออัตภาพของเรานี้ อันมีกรรมกิเลสเป็นเหตุ

ไม่ใช่มีผู้ยิ่งใหญ่เป็นต้นเป็นเหตุ เป็นอันท่านประกาศ ถึงการเห็นนาม

แลรูปพร้อมทั้งปัจจัยว่า ของเรา ฉันใด ของสัตว์ทั้งปวง ก็ฉันนั้น.

แต่เมื่อว่าโดยเวลาพิจารณา พึงทราบความดังต่อไปนี้. บทว่า โน

จสฺส โน จ เม สิยา ความว่า เพราะเหตุที่เบญจขันธ์นี้ ชื่อว่าไม่เที่ยง

เพราะมีแล้วกลับไม่มี ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะอรรถว่าถูกความเกิดและ

ความดับบีบคั้นเนืองๆ ชื่อว่าอนัตตา เพราะอรรถว่า ไม่เป็นไปในอำนาจ

ถ้าเมื่อเป็นอย่างนั้น สภาวะบางอย่างที่ชื่อว่าอัตตานี้ ที่พ้นไปจากเบญจขันธ์

ก็ไม่มี คือไม่พึงมี ไม่พึงเกิด เมื่อเป็นเช่นนั้น เบญจขันธ์บางอย่าง ที่

ชื่อว่าเป็นของเราไม่พึงมีแก่เรา ไม่พึงเกิดแก่เรา. จริงอยู่ เมื่ออัตตามี

สิ่งที่เกิดในตน ก็พึงมี เหมือนอย่างว่า นามรูปนี้ ที่เกิดในตน จักสูญ

ไปในปัจจุบัน และในอดีต ฉันใด สภาวะอะไร ๆ ที่ชื่อว่าเป็นอัตตาที่พ้น

ไปจากขันธ์ ก็ฉันนั้น จักไม่มี จักไม่เกิดแก่เรา คือจักไม่มี จักไม่เกิด

แก่เราในอนาคต ต่อจากนั้นแล เบญจขันธ์นี้อะไร ๆ อันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความกังวล จักไม่มีแก่เรา คือธรรมชาติอะไร ๆ ที่เกิดในตน จักไม่มี

แก่เราแม้ในอนาคต. ด้วยคำนี้ พระองค์แสดงถึงความไม่มีสิ่งที่จะพึง

ถือว่า เรา และจะพึงถือว่า ของเรา เพราะไม่มีใน ๓ กาล. ด้วยคำนั้น

เป็นอันทรงประกาศสุญญตามี ๔ เงื่อน.

บทว่า อนุปพฺพวิหารี ตตฺถ โส ความว่า เมื่อพระโยคาวจรตาม

เห็น ความเป็นของว่าง อันมีในตน ในสังขารนั้น ในกาลทั้ง ๓ ดัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 692

พรรณนามาฉะนี้ เมื่อวิปัสสนาญาณ มีอุทยัพพยญาณเป็นต้น เกิดขึ้นโดย

ลำดับ ชื่อว่าผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่โดยลำดับ โดยอนุปุพพวิปัสสนา-

วิหารธรรม. บทว่า กาเลเนว ตเร วิสตฺติก ความว่า พระโยคาวจรนั้น

คือผู้ยังวิปัสสนาให้ถึงที่สุด ดำรงอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าพึงข้ามตัณหา กล่าวคือ

ตัณหาที่ซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ เพราะสืบต่อวัฏฏะ ๓ ทั้งสิ้น โดยเวลาที่

ถึงความแก่กล้า โดยเวลาที่วุฏฐานคามินีวิปัสสนาสืบต่อด้วยมรรค และ

โดยเวลาที่อริยมรรคเกิดขึ้น อธิบายว่า พึงข้ามไปตั้งอยู่ ณ ฝั่งโน้นแห่ง

ตัณหานั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งอุทานอันแสดงถึงการที่ท่านพระ-

มหากัจจานะบรรลุพระอรหัต โดยอ้างถึงพระอรหัตผล ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถามหากัจจานสูตรที่ ๘

๙. อุทปานสูตร

ว่าด้วยพระพุทธเจ้าใช้พระอานนท์ไปตักน้ำ

[๑๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในมัลลชนบท พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงพราหมณคามชื่อถูนะของมัลลกษัตริย์

ทั้งหลาย พราหมณ์และคฤหบดีชาวถูนคามได้สดับข่าวว่า แนะท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย พระสมณโคดมศากยบุตรเสด็จออกบวชจากศากยตระกูล เสด็จ

จาริกไปมัลลชนบทพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงถูนพราหมณคาม

โดยลำดับ พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเอาหญ้าและแกลบถมบ่อน้ำจน

เต็มถึงปากบ่อ ด้วยตั้งใจว่า สมณะโล้นทั้งหลายอย่าได้ดื่มน้ำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 693

[๑๕๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแวะออกจากทางแล้ว

เสด็จเข้าไปยังโคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ประทับนั่งบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์

จัดถวาย ครั้นแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เร็วเถิด

เธอจงไปนำน้ำมาจากบ่อนั่นเพื่อเรา เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้

แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ บัดนี้ บ่อน้ำนั้นพวกพราหมณ์และคฤหบดีชาวถูนคามเอาหญ้า

และแกลบถมจนเต็มถึงปากบ่อ ด้วยตั้งใจว่าสมณะโล้นทั้งหลายอย่าได้ดื่ม

น้ำ พระเจ้าข้า.

แม้ครั้งที่ ๒...

แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน

อานนท์ เร็วเถิด เธอจงไปนำน้ำมาจากบ่อนั้นเพื่อเรา ท่านพระอานนท์

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ถือบาตรเดินเข้าไปยังบ่อน้ำนั้น ลำดับนั้น

แล เมื่อท่านพระอานนท์เดินเข้าไป บ่อน้ำล้นขึ้นพาเอาหญ้าและแกลบ

ทั้งหมดนั้นออกไปจากปากบ่อ เต็มไปด้วยน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว จนถึง

ปากบ่อ ดุจไหลไปขังอยู่ ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ดำริว่า ท่าน

ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาหนอ ความที่พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก

เมื่อเราเดินเข้าไป บ่อน้ำนั้นแลล้นขึ้นพาเอาหญ้าและแกลบทั้งหมดนั้น

ออกไปจากบ่อ เต็มไปด้วยน้ำใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว จนถึงปากบ่อ ดุจไหล

ไปขังอยู่ ท่านพระอานนท์เอาบาตรตักน้ำแล้วเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาค-

เจ้า ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่เคยมีมา ความที่พระตถาคตทรงมี

ฤทธิ์ มีอานุภาพมาก เมื่อข้าพระองค์เดินเข้าไป บ่อน้ำนั้นแลล้นขึ้นพา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 694

เอาหญ้าและแกลบทั้งหมดนั้นออกไปจากบ่อ เต็มไปด้วยน้ำใสแจ๋ว ไม่

ขุ่นมัว จนถึงปากบ่อ ดุจไหลไปขังอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดื่มน้ำ

เถิด ขอพระสุคตเจ้าจงทรงดื่มน้ำเถิด.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ถ้าว่าน้ำพึงมีในกาลทุกเมื่อไซร้ บุคคลจะพึงกระ-

ทำประโยชน์อะไรด้วยบ่อน้ำ พระพุทธเจ้าตัดรากแห่ง

ตัณหาได้แล้ว จะพึงเที่ยวแสวงหาน้ำ เพราะเหตุ

อะไร.

จบอุทปานสูตรที่ ๙

อรรถกถาอุทปานสูตร

อุทปานสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มลฺเลสุ ความว่า ชนบทแม้ชนบทหนึ่ง อันเป็นที่อยู่ของ

พระราชกุมารชาวชนบทนามว่า มัลละ เขาเรียกว่า มัลละ โดยดาษดื่น

ในมัลลชนบทซึ่งในทางโลกเขาเรียกกันว่า มัลละ นั้น. แต่อาจารย์บาง

พวกกล่าวว่า มาเลสุ. บทว่า จาริกญฺจรมาโน ได้แก่ เสด็จจาริกไปใน

ชนบทมณฑลใหญ่ โดยเสด็จจาริกไปไม่รีบด่วน. บทว่า มหตา ภิกฺขุ-

สงฺเฆน ได้แก่ หมู่สมณะหมู่ใหญ่ซึ่งกำหนดจำนวนไม่ได้. จริงอยู่ ในกาล

นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าแวดล้อมไปด้วยภิกษุหมู่ใหญ่. บทว่า ถูณ นาม

มลฺลาน พฺราหฺมณคาโม ได้เเก่ บ้านพราหมณ์ เพราะมีพราหมณ์มาก อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 695

มีชื่อว่า ถูณะ* ในมัลลประเทศ อันเป็นที่ตั้งแห่งมัชฌิมประเทศ ในทิศ

อาคเนย์. บทว่า ตทวสริ ตัดเป็น ต อวสริ เสด็จไปยังบ้านพราหมณ์นั้น.

อธิบายว่า เสด็จไปทางถูณคาม.

บทว่า อสฺโสสุ แปลว่า ได้นั่งแล้ว อธิบายว่า รู้โดยกระแสเสียง

โฆษณาที่มากระทบโสตทวาร. บทว่า โข เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่าทำบท

ให้เต็ม หรือใช้ในอรรถอวธารณะห้ามความอื่น. ใน ๒ อย่างนั้น ด้วยโข

ศัพท์อันมีอวธารณะเป็นอรรถ (แปลว่า) ได้ฟังแล้วแล อธิบายว่า พราหมณ์

และคหบดีชาวถูณคามไม่มีอันตรายต่อการไป. ด้วย โข ศัพท์อันมีปทปูรณะ

เป็นอรรถ เป็นแต่เพียงบทและพยัญชนะสละสลวยเท่านั้น. บทว่า ถูเณยฺ-

ยกา แปลว่า ชนชาวถูณคาม ในบทว่า พฺราหฺมณคหปติกา นี้ มีวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้ ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะกล่าวคำอันประเสริฐ อธิบายว่าสาธยาย

มนต์. จริงอยู่ บทว่า พฺราหฺมณา นี้ เป็นไวพจน์ของพราหมณ์โดยกำเนิด

ส่วนพระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านก็เรียกว่าพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาป.

ชนผู้ครองเรือนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เว้นกษัตริย์และพราหมณ์ท่านเรียกว่า

คหบดี. แต่เมื่อว่าโดยพิเศษเขาเรียกว่า แพศย์. พราหมณ์และคหบดี

เรียกว่า พราหมณคหบดี.

บัดนี้ เพื่อจะประกาศความที่พราหมณ์และคหบดีเหล่านั้นได้ฟัง

(ข่าว) ท่านจึงกล่าวว่า สมโณ ขลุ โภ โคตโม ดังนี้เป็นต้น. ในคำว่า

สมโณ ขลุ โภ โคตโม นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า บัณฑิตพึงทราบว่า

สมณะ เพราะสงบบาป. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า อกุศลธรรมอันลามก

เป็นอันพระองค์สงบแล้ว ดังนี้เป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้สงบ

* บาลีเป็น ถูนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 696

บาปแล้วโดยประการทั้งปวง ด้วยพระอริยมรรคอันยอดเยี่ยม เพราะ

พระองค์ทรงบรรลุคุณตามเป็นจริง จึงได้พระนามว่า สมณะ. บทว่า ขลุ

เป็นนิบาตใช้ในอนุสสนัตถะ. บทว่า โภ เป็นเพียงคำเรียกอันเกิดมาแต่

กำเนิดแห่งชนชาติพราหมณ์. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ถ้าเขายังมี

กิเลส เขาก็ชื่อว่าเป็นโภวาที. บทว่า โคตโม เป็นบทระบุถึงพระผู้มี-

พระภาคเจ้าโดยพระโคตร เพราะฉะนั้น ในคำว่า สมโณ ขลุ โภ

โคตโม นี้ มีอรรถดังนี้ว่า ได้ยินว่า พระสมณโคดมผู้เจริญ. ก็บทว่า

สกฺยปุตฺโต นี้ เป็นบทแสดงถึงภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีตระกูลสูง.

บทว่า สกฺยกุลา ปพฺพชิโต เป็นบทแสดงถึงภาวะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ผนวชด้วยศรัทธา. ท่านอธิบายไว้ว่า พระองค์ไม่มีความเสื่อมอะไร ๆ มา

ครอบงำ ทรงละตระกูลที่ไม่มีความเสื่อมสิ้นนั้นนั่นแหละ ทรงผนวชด้วย

การเชื่อในการบรรลุโดยการออกมหาภิเนษกรมณ์. บทว่า อุทปาน ติณสฺส

จ ภูสสฺส จ ยาว มุขโต ปูเรสุ ความว่า เอาหญ้าและแกลบถมบ่อน้ำดื่ม

ให้เต็มแค่ปาก (บ่อ) อธิบายว่า ใส่หญ้าเป็นต้นเข้าไปแล้วปิดบ่อ.

ได้ยินว่า บ้านนั้นได้มีบ่อน้ำแห่งหนึ่ง เป็นที่ใช้สอยของพวก

พราหมณ์ ใกล้ทางที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา ณ ภายนอก. สถานที่มีบ่อ

น้ำและบึงเป็นต้นทุกแห่งในที่นั้น เว้นบ่อน้ำนั้น ในคราวนั้น ได้เเห้งขาด

ไม่มีน้ำเลย. ครั้งนั้น ชาวถูณคามยังไม่เลื่อมใสพระรัตนตรัย ถูกความ

ตระหนี่ครอบงำ ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมา พากันคิดว่า ถ้า

พระสมณโคดมพึงเข้าไปยังบ้านนี้ อยู่ ๒-๓ วัน จะทำให้ชนทั้งหมดนี้ตั้ง

อยู่ในถ้อยคำของตน แต่นั้นธรรมของพราหมณ์ก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ ก็กร-

เสือกกระสนเพื่อจะไม่ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่นั้น จึงปรึกษา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 697

พร้อมกันว่า ในบ้านนี้ไม่มีน้ำในที่อื่น พวกเราจะกระทำบ่อน้ำโน้นไม่ให้

เป็นที่สำหรับใช้สอย เมื่อเป็นเช่นนี้ พระสมณโคดมพร้อมด้วยสาวกสงฆ์

จักไม่เข้าบ้านนี้ ดังนี้แล้ว จึงให้พวกชาวบ้านทั้งหมดตักน้ำตลอด ๗ วัน

ให้เต็มตุ่มเป็นต้น แล้วเอาหญ้าและแกลบถมบ่อน้ำนั้น. ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า เอาหญ้าและแกลบถมบ่อน้ำเต็มจนถึงปากบ่อ ด้วยหวัง

ใจว่า สมณะหัวโล้นเหล่านั้นอย่าได้ดื่มน้ำ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุณฺฑกา สมณา ความว่า ควรจะกล่าว

คนโล้นว่า คนโล้น และกล่าวสมถะว่า สมณะ แต่ชนเหล่านั้นพากันดูหมิ่น

โดยความประสงค์ข่มขู่ จึงได้กล่าวอย่างนั้น. บทว่า มา ใช้ในอรรถ

ปฏิเสธ. อธิบายว่า อย่าอาบ อย่าดื่ม. บทว่า มคฺคา โอกฺกมฺม แปลว่า

หลีกออกจากหนทาง. บทว่า เอตมฺห ได้แก่ กล่าวแสดงออก เฉพาะบ่อน้ำ

ที่ชนพวกนั้นกระทำอย่างนั้นเท่านั้น.

ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงคำนึงถึงประการอันแปลกของ

พวกพราหมณ์เหล่านั้นจึงตรัสอย่างนี้ว่า เธอจงนำน้ำดื่มจากบ่อน้ำนี้มา

หรือว่าทรงคำนึงถึงแล้วจึงรู้ ? ตอบว่า ทั้งๆ ที่ทรงทราบนั่นแหละ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงประกาศพุทธานุภาพของพระองค์ ทรมานพราหมณ์

เหล่านั้น เพื่อจะทำพวกเขาให้หมดพยศ จึงตรัสอย่างนั้น ไม่มีพระประสงค์

จะดื่มน้ำ ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ในที่นี้พระองค์ไม่ตรัสว่า เราหิวระหาย

เหมือนในมหาปรินิพพานสูตร. ก็พระธรรมภัณฑาคาริก เมื่อไม่รู้พระ-

อัธยาศัยของพระศาสดา เมื่อจะกราบทูลประการอันแปลกที่ชาวถูณคาม

กระทำ จึงกราบทูลว่า อิทานิ โส ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิทานิ แปลว่า ในบัดนี้ อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 698

ในเวลาที่พวกข้าพระองค์มาถึงนั่นเอง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เอโส

ภนฺเต อุทปาโน บ่อน้ำนั้นพระเจ้าข้า.

พระเถระทูลห้ามถึง ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ จึงคิดว่า พระตถาคตทั้ง-

หลายหาได้ทรงกระทำการโต้ตอบถึง ๓ ครั้งไม่ พระองค์ผู้ทรงเห็นกาลยาว

จักเป็นอันทรงเห็นเหตุ ดังนี้แล้ว จึงถือบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่ท้าว

มหาราชถวายแล้วได้ไปยังบ่อน้ำ. เมื่อพระเถระกำลังเดินไป น้ำในบ่อก็

บริบูรณ์ ล้นขึ้น ไหลไปรอบๆ. หญ้าและแกลบหมดลอยไปเองทีเดียว.

ก็เมื่อน้ำที่ไหลไปนั้นล้นขึ้นข้างบน ชลาลัยมีสระโบกขรณีเป็นต้นทั้งหมด

ในบ้านนั้น ที่แห้งขาดกลับบริบูรณ์ คู บึง และที่ลุ่มเป็นต้นเหมือนกัน.

ท้องถิ่นของบ้านนั้นทั้งหมด ถูกห้วงน้ำใหญ่ท่วมทับ ได้มีเสมือนในเวลา

ฝนตกหนัก. ดอกไม้ที่เกิดในน้ำ มีดอกโกมุท อุบล ปทุม และดอก

ปุณฑริก เป็นต้น ผุดขึ้นในชลาลัยนั้นๆ แย้มบานบังน้ำ. นกที่อาศัยน่าอยู่

มีหงส์ นกกะเรียน นกจักพราก นกกะลิง และนกยางเป็นต้น เมื่อฝนตก

ก็พากันร้องเสียงขรมในที่นั้น ๆ. ชาวถูณคามเห็นห้วงน้ำใหญ่นั้น ล้นขึ้น

อย่างนั้น สับสนไปด้วยคลื่นและระลอกโดยรอบ ผุดขึ้นเป็นฟองงดงาม

ตั้งอยู่โดยรอบ ต่างพากันเกิดอัศจรรย์จิตไม่เคยมี จึงปรึกษาพร้อมกัน

อย่างนี้ว่า พวกเราพยายามเพื่อจะให้พระสมณโคดมขาดน้ำ ก็ตั้งแต่เวลา

ที่พระสมณโคดมนั้นเสด็จมา ห้วงน้ำใหญ่นี้ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นถึงอย่างนี้

พระสมณโคดมมีอิทธานุภาพถึงอย่างนี้ โดยไม่ต้องสงสัยเลย เพราะพระ-

สมณโคดมนั้นมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก. ก็ข้อที่ห้วงน้ำใหญ่ล้นขึ้นท่วม

บ้านของเรา เป็นฐานะที่มีได้แล เอาเถอะ พวกเราจะเข้าไปหา เข้าไป

นั่งใกล้พระสมณโคดม แสดงโทษที่ล่วงเกินแล้วขอขมาพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 699

ชาวถูณคามทั้งหมดต่างมีอัธยาศัยเป็นอันเดียวกัน เป็นหมู่คณะเดียว

กัน ออกจากบ้านเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว บาง

พวกถวายบังคมพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า บาง

พวกประคองอัญชลี บางพวกกล่าวคำปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า บาง

พวกประกาศชื่อและโคตร บางพวกก็นั่งนิ่ง ก็แล ครั้นกระทำอย่างนี้แล้ว

จึงนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทั้งหมดพากันแสดงโทษว่า ข้าแต่พระโคดม

ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอประทานวโรกาส พวกข้าพระองค์ก่อความเกียด

กันน้ำแก่พระสมณโคดมผู้เจริญและสาวก ได้เอาหญ้าและแกลบทิ้งลงใน

บ่อน้ำโน้น ก็บ่อน้ำนั้นถึงจะไม่มีเจตนาก็เป็นเหมือนมีเจตนา เป็นเหมือน

รู้คุณของพระโคดมผู้เจริญ ทำหญ้าและแกลบทั้งหมดให้ออกไปเสียเอง

เกิดเป็นบ่อน้ำบริสุทธิ์ด้วยดี ก็ในที่นี้สถานที่ลุ่มทั้งหมดเต็มไปด้วยน้ำเป็น

อันมาก น่ารื่นรมย์ใจ สัตว์ทั้งหลายพากันอาศัยน้ำนั้นเลี้ยงชีพ พากันยินดี

แต่พวกข้าพระองค์ แม้จะเป็นมนุษย์ก็ยังไม่รู้คุณของพระสมณโคดม จึงได้

ก่อกรรมทำเข็ญถึงอย่างนี้ ดังข้าพระองค์ขอวโรกาส ขอพระสมณโคดมผู้-

เจริญ จงกระทำโดยที่ห้วงน้ำใหญ่นี้จะไม่ท่วมบ้านนี้ แก่พวกข้าพระองค์เถิด

ขอพระโคดมผู้เจริญจงรับโทษที่ล่วงเกิน ตามที่พวกข้าพระองค์ล่วงเกิน

ตามความโง่เขลา ด้วยทรงอาศัยความอนุเคราะห์. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า เอาเถิด เราจะรับโทษที่ล่วงเกินที่พวกเธอล่วงเกินตามความโง่เขลา

เพื่อสังวรต่อไป ดังนี้แล้ว จึงทรงรับโทษที่ล่วงเกินของชนเหล่านั้น ทรง

ทราบว่า พวกเหล่านั้นมีจิตเลื่อมใส จึงทรงแสดงธรรมตามความเหมาะสม

แก่อัธยาศัยให้ยิ่งขึ้น. พวกเหล่านั้นฟังพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใสตั้งอยู่ในคุณธรรม มีสรณะเป็นต้น ถวายบังคม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 700

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วทำประทักษิณ พากันหลีกไป. ก็ก่อนแต่ที่พวก

เหล่านั้นจะมา ท่านพระอานนท์เห็นปาฏิหาริย์นั้น ซึ่งเกิดอัศจรรย์จิตไม่

เคยมี เอาบาตรตักน้ำดื่มน้อมเข้าไปถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูล

เรื่องนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า เอว ภนฺเตติ โข

อายสฺมา อานนฺโท ท่านพระอานนท์ทูลรับว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุขโต โอวมิตฺวา ความว่า พาเอาหญ้า

เป็นต้นทั้งหมดนั้นออกไปทางปากบ่อ. บทว่า วิสฺสนฺทนฺโต มญฺเ

ความว่า เมื่อก่อนคนต้องใช้เชือกยาวตักน้ำเอาจากบ่อน้ำ ในเวลาที่พระ-

เถระรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วเดินไป เป็นเหมือนไหลออกจาก

ปากบ่อตั้งอยู่เสมอขอบบ่อ พอกาดื่มได้. ก็คำนี้ ท่านกล่าวหมายเอาการ

เกิดขึ้นแห่งน้ำ ในเวลาที่พระเถระเดินไป. ก็หลังจากนั้น ที่ลุ่มทั้งสิ้นใน

บ้านนั้น ได้เต็มเปี่ยมไปด้วยน้ำ โดยนัยดังกล่าวแล้วในกาลก่อน. ก็นี้

เป็นความสำเร็จไม่ใช่เพราะการอธิษฐานของพระพุทธเจ้า ทั้งไม่ใช่เพราะ

อานุภาพของเทวดาทั้งหลาย โดยที่แท้ เป็นเพราะบุญญานุภาพของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เหมือนในคราวเสด็จจากกรุงราชคฤห์ไปยังกรุงไพสาลี เพื่อ

ทรงแสดงพระปริต. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพื่อให้ชาวถูณคามเกิด

ความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า เทวดาทั้งหลายผู้ใคร่ประโยชน์แก่คน

เหล่านั้นกระทำ. อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า พญานาคผู้อยู่ภายใต้บ่อน้ำ

ได้กระทำอย่างนั้น. ทั้งหมดนั้น ไม่ใช่เหตุอันสมควร เพราะท่านแสดง

การเกิดขึ้นแห่งน้ำ โดยบุญญานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเท่านั้น.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ทรงทราบโดยอาการทั้งปวงซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 701

อรรถนี้ กล่าวคือความสำเร็จที่ตนประสงค์โดยเว้นจากการอธิษฐานนั้น

จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงเนื้อความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ กยิรา อุทปาเนน อาปา เจ ยทิ

สพฺพทา สิยุ ความว่า ก็หากว่าน้ำในที่ทุกแห่งพึงมี คือพึงเกิดแก่บ่อน้ำ

ใด ตลอดกาลทั้งปวง คือถ้าบ่อน้ำพึงเนื่องด้วยเหตุเพียงความหวัง คือบ่อ

น้ำนั้นก็จะได้น้ำเหล่านั้น บุคคลพึงทำอะไร คือควรทำอะไรด้วยบ่อน้ำนั้น

อธิบายว่า บ่อน้ำจะมีประโยชน์อะไร. บทว่า ตณฺหาย มูลโต เฉตฺวา

กิสฺส ปริเยสนญฺจเร ความว่า สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่ได้ทำบุญไว้ ถูกตัณหา

ใดรัดรึง ย่อมเดือดร้อน เพราะทุกข์ในการไม่ได้สิ่งที่ตนปรารถนา พระ-

สัพพัญญูพุทธเจ้าผู้เช่นเรา ตัดรากหรือที่โคนของตัณหานั้นดำรงอยู่ พึง

เที่ยวแสวงหาน้ำ หรือแสวงหาปัจจัยอื่น เพื่อเหตุอะไร คือเพราะเหตุ

อะไร. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มูลโต เฉตฺตา ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า

ตัดรากหรือที่โคนของตัณหานั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า มูลโต เฉตฺตา

ความว่า ตัดตัณหาตั้งแต่ราก. ท่านอธิบายไว้ว่า พระองค์มิได้ทรงพระ-

ดำริถึงบุญสมภารทั้งสิ้นอันหาประมาณมิได้เพื่อพระองค์ จำเดิมแต่ตั้งความ

ปรารถนาใหญ่อันเป็นมูลเหตุแห่งพระโพธิญาณ ทรงบำเพ็ญโดยน้อมไป

เพื่อประโยชน์แก่สัตวโลกอย่างแท้จริง จึงทรงตัดตัณหาตั้งแต่ราก จะทรง

เที่ยวแสวงหาน้ำเพื่ออะไร คือเพราะเหตุไร เพราะผู้มีตัณหาเป็นตัวเหตุ

ไม่มีการได้สิ่งที่ตนปรารถนา แต่ชาวถูณคามเหล่านี้เป็นผู้บอดเขลาไม่รู้

เหตุนี้ จึงได้ทำอย่างนี้แล.

จบอรรถกถาอุทปานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 702

๑๐. อุเทนสูตร

ว่าด้วยหญิง ๕๐๐ ถูกเผา

[๑๕๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้พระนคร

โกสัมพี ก็สมัยนั้นแล เมื่อพระเจ้าอุเทนเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ภาย

ในพระราชวังถูกไฟไหม้ หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุขทำกาละ

ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า ภิกษุมากด้วยกันนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้า

ไปบิณฑบาตยังพระนครโกสัมพี ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครโกสัมพี

กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อพระเจ้า

อุเทนเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ภายในพระราชวังถูกไฟไหม้ หญิง

๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุขทำกาละ คติแห่งอุบาสิกาเหล่านั้นเป็น

อย่างไร ภพหน้าเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย บรรดาอุบาสิกาเหล่านั้น อุบาสิกาที่เป็นพระโสดาบันมีอยู่ เป็น

พระสกทาคามินีมีอยู่ เป็นพระอนาคามินีมีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกา

ทั้งหมดนั้นเป็นผู้ไม่ไร้ผลทำกาละ.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

สัตวโลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ย่อมปรากฏ

เหมือนสมบูรณ์ด้วยเหตุ คนพาลมีอุปธิเป็นเครื่อง

ผูกพัน ถูกความมืดหุ้มห่อไว้ ย่อมปรากฏเหมือนว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 703

เที่ยงยั่งยืน กิเลสเครื่องกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณา

เห็นอยู่.

จบอุเทนสูตรที่ ๑๐

จบจูฬวรรคที่ ๗

อรรถกถาอุเทนสูตร

อุเทนสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า รญฺโ อุเทนสฺส ได้แก่ พระราชาพระนามว่า อุเทน ซึ่งเขา

เรียกกันว่าเจ้าวัชชีก็มี. บทว่า อุยฺยานคตสฺส ได้แก่ เสด็จไปอุทยาน เพื่อ

สำราญในพระอุทยาน. จริงอยู่ บทว่า อุเทนสฺส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้

ในอรรถอนาทร. ก็บทว่า อุเทนสฺสน เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในสามีสัมพันธะ

ไม่มุ่งถึงบทว่า อนฺเตปุร. บทว่า กาลกตานิ ได้เเก่ ถูกไฟไหม้ตายแล้ว.

ในบทว่า สามาวตีปมุขานิ นี้ มีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็พระนางสามาวดีนี้

คือใครและทำไมจึงถูกไฟไหม้ ? ข้าพเจ้าจะเฉลย ธิดาของเศรษฐีในเมือง

ภัททวดี อันโฆสกเศรษฐีตั้งไว้ในตำแหน่งธิดา มีหญิง ๕๐๐ เป็นบริวาร

เป็นอัครมเหสีของพระเจ้าอุเทน เป็นพระอริยสาวิกามากไปด้วยเมตตา-

วิหารธรรม ทรงพระนามว่าสามาวดี. ในที่นี้ มีความสังเขปเพียงเท่านี้

เมื่อว่าโดยพิสดาร พึงทราบอุปปัตติกถาของพระนางสามาวดีตั้งแต่ต้น

แต่โดยนัยดังกล่าวในเรื่องพระธรรมบท. นางมาตัณฑิยาธิดาของมาคัณฑิย-

พราหมณ์สดับคาถานี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสคงแก่บิดามารดาของ

ตนว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 704

เพราะได้เห็นนางตัณหา นางอรดี และนางราคา

เรามิได้มีความพอใจแม้ในเมถุนเลย เพราะได้เห็น

สรีระแห่งธิดาของท่านนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตและกรีส

(เราจักมีความพอใจในเมถุน) อย่างไรได้ เราไม่

ปรารถนาจะแตะต้องสรีระแห่งธิดาของท่านนั้น แม้

ด้วยเท้า ดังนี้

จึงผูกอาฆาตในพระศาสดา อยู่มาภายหลัง พระเจ้าอุเทนทรงสถาปนา

ไว้ในตำแหน่งมเหสี ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงกรุงโกสัมพี และ

ว่าหญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประธาน เป็นอุบาสิกา จึงคิดว่าอัน

พระสมณโคดมผู้มายังพระนครนี้ บัดนี้ เราจะรู้กิจที่ควรทำแก่สมณโคดม

นั้น ทั้งหญิงเหล่านี้ก็เป็นอุปัฏฐายิกาของเขา เราจักรู้กิจที่ควรทำแก่หญิง

แม้เหล่านี้ ซึ่งมีนางสามาวดีเป็นหัวหน้า ดังนี้ แม้จะพยายามเพื่อทำความ

พินาศแก่พระตถาคต และแก่หญิงเหล่านั้น โดยอเนกปริยาย เมื่อไม่อาจ

ทำ วันหนึ่ง พร้อมกับพระราชาเสด็จไปเล่นกรีฑาในอุทยาน จึงส่งสาส์น

ถึงอาว์ว่า ขออาว์จงขึ้นสู่ปราสาทของนางสามาวดี แล้วให้เปิดคลังผ้าและ

คลังน้ำมัน เอาผ้าจุ่มลงในตุ่มน้ำมันพันเสา แล้วให้หญิงทิ้งหมดเหล่านั้น

รวมกัน ปิดประตู ใส่ประแจด้านนอก เอาไฟชนวนจุดพระตำหนัก

แล้วจงลงไปเสียเถิด.

อาว์ได้ฟังดังนั้น จึงขึ้นสู่ปราสาทเปิดคลัง เอาผ้าให้ชุ่มที่ตุ่มน้ำมัน

เริ่มพันเสา. ลำดับนั้นแล หญิงมีนางสามาวดีเป็นประมุข จึงเข้าไปหานาย

มาคัณฑิยะพลางกล่าวว่า นี่อะไรกัน อาว์. นายมาคัณฑิยะกล่าวว่า แม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 705

ทั้งหลาย พระราชารับสั่งให้เอาผ้าชุ่มน้ำมันพันเสาเหล่านี้ เพื่อทำให้มั่นคง

ชื่อว่าในพระราชตำหนัก กรรมที่ประกอบดีประกอบชั่วรู้ได้ยาก พวกเธอ

อย่าอยู่ในสำนักของเราเลย ดังนี้แล้วจึงให้หญิงที่มาเหล่านั้นเข้าไปในห้อง

ลั่นกุญแจข้างนอก จุดไฟตั้งแต่ต้นจึงลงมา. พระนางสามาวดีได้ให้โอวาท

แก่หญิงเหล่านั้นว่า แม่ทั้งหลาย เมื่อเราเที่ยวอยู่ในสงสารซึ่งไปตามรู้เบื้อง

ต้นและที่สุดไม่ได้ อัตภาพถูกไฟไหม้ถึงอย่างนี้ แม้กำหนดด้วยพุทธญาณก็

กระทำไม่ได้ง่าย พวกเธออย่าประมาทเลย. หญิงเหล่านั้นบรรลุโสดาปัตติ-

ผลในสำนักของนางขุชชุตตรา อริยสาวิกาผู้รู้แจ้งคำสอนของพระศาสดา

ผู้ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้วบรรลุผล ผู้บรรลุเสกขปฏิสัมภิทา

แสดงธรรมตามทำนองที่พระศาสดาทรงแสดงนั่นแหละ และประกอบขวน-

ขวายมนสิการกรรมฐานในลำดับๆ เมื่อไฟกำลังไหม้พระตำหนัก มนสิการ

ถึงเวทนาปริคหกรรมฐาน บางพวกบรรลุผลที่ ๒ บางพวกบรรลุผลที่ ๓

แล้วถึงแก่กรรม.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกำลังเที่ยวบิณฑบาตในกรุงโกสัมพี ภาย

หลังจากฉันภัตตาหารแล้ว จึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ถามถึง

อภิสัมปรายภพของหญิงเหล่านั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสบอกการที่

หญิงเหล่านั้นบรรลุอริยผลแก่ภิกษุทั้งหลาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

เตน โข ปน สมเยน รญฺโ อุเทนสฺส ฯ เป ฯ อนิปฺผลา กาลกตา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิปฺผลา ความว่า หญิงที่ถึงแก่กรรม

ไม่ไร้ผล คือบรรลุสามัญผลนั่นแล. ฝ่ายหญิงเหล่านั้นได้รับผล อัน

พระนางสามาวดีโอวาทด้วยคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 706

จงเริ่มพยายามขวนขวายในพระพุทธศาสนา จง

กำจัดเสนาของมัจจุมาร เหมือนกุญชรช้างประเสริฐ

ย่ำยีเรือนไม้อ้อฉะนั้น ผู้ใดไม่ประมาทเห็นแจ้ง

ในพระธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสาร จักทำที่สุด

ทุกข์ได้ ดังนี้

จึงมนสิการเวทนาปริคหกรรมฐาน ได้เห็นแจ้งแล้วบรรลุผลที่ ๒ และ

ที่ ๓. ฝ่ายนางขุชชุตตรา เพราะมีอายุเหลืออยู่ และเพราะไม่ได้ทำ

กรรมเช่นนั้นไว้ในปางก่อน จึงได้อยู่ภายนอกปราสาทนั้น. ก็อาจารย์บาง

พวกกล่าวว่า นางหลีกไปในระยะ ๑ โยชน์. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย

นั่งสนทนากันในโรงธรรมสภาว่า อาวุโส พระอริยสาวิกา ถึงแก่กรรม

เช่นนั้น ไม่สมควรเลยหนอ. พระศาสดา เสด็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบ-

ทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าความตายของหญิง

เหล่านั้นไม่สมควรในอัตภาพนี้ไซร้ แต่กรรมที่เธอเคยทำไว้ก่อนนั่นแหละ

เป็นกรรมที่สมควรแท้ ที่พวกเธอจะได้รับ ดังนี้แล้ว อันภิกษุเหล่านั้น

ทูลอาราธนา จึงน่าอดีตนิทานมาว่า

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ รูป ฉันภัตตาหารเนืองนิตย์ ในพระราชนิเวศน์.

หญิง ๕๐๐ คนพากันบำรุง พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น. ในพระปัจเจก-

พุทธเจ้าทั้ง ๘ รูปนั้น ๗ รูปไปยังป่าหิมพานต์. รูปหนึ่งนั่งเข้าสมาบัติที่

พงหญ้าแห่งหนึ่ง ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำ. ภายหลังวันหนึ่งเมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า

ไปแล้ว พระราชาทรงประสงค์จะเล่นน้ำกับพวกหญิงนั้น จึงเสด็จไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 707

หญิงเหล่านั้นเล่นน้ำในที่นั้น ตลอดทั้งวัน ถูกความหนาวบีบคั้น ประสงค์

จะพิงไฟ ยืนล้อมพงหญ้านั้น ข้างบนอันดารดาษไปด้วยหญ้าแห้ง ด้วย

สำคัญว่ากองหญ้า จึงจุดไฟ เมื่อหญ้าถูกไฟไหม้แล้วยุบลง เห็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้า คิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าของพระราชา ถูกไฟไหม้ พระราชา-

ทรงทราบเรื่องนั้น จักทำเราให้พินาศ เราจักเผาท่านให้เรียบร้อยเสียเลย

ดังนี้แล้ว ทุกคนพากันขนฟืนมาจากที่โน้นที่นี้ ทำให้เป็นกองสุมไว้ข้างบน

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น พากันหลีกไปด้วยเข้าใจว่า บัดนี้ พระปัจเจก-

พุทธเจ้า จักมอดไหม้ไปแล้ว. หญิงเหล่านั้น เมื่อก่อนไม่ได้มีเจตนา

แต่บัดนี้ พากันผูกพันด้วยกรรม. ก็ภายในสมาบัติ ถ้าหญิงเหล่านั้นพากัน

ขนฟืนมาตั้งพันเล่มเกวียน แล้วสุมพระปัจเจกพุทธเจ้า ก็ไม่สามารถจะให้

ถือเอาแม้เพียงอาการไออุ่นได้. เพราะฉะนั้น ในวันที่ ๗ พระปัจเจกพุทธ-

เจ้านั้น ได้ลุกไปตามความสบาย. หญิงเหล่านั้น เพราะกรรมที่เขาทำไว้

จึงหมกไหม้ในนรกหลายพันปี หลายแสนปี เพราะเศษแห่งวิบากของกรรม

นั้นนั่นแหละ. เมื่อตำหนักถูกไฟไหม้ โดยทำนองนี้ เธอก็ถูกไฟไหม้ถึง

ร้อยอัตภาพ. นี้เป็นบุพกรรมของหญิงเหล่านั้น. ก็เพราะเหตุที่หญิง

เหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งอริยผลในอัตภาพนี้ จึงเข้าไปนั่งใกล้พระรัตน-

ตรัย ฉะนั้น ในหญิงเหล่านั้น หญิงผู้เป็นพระอนาคามินี เกิดในชั้น

สุทธาวาส นอกนั้นบางพวก เกิดในภพดาวดึงส์ บางพวกเกิดในชั้นยามะ

บางพวกเกิดในชั้นดุสิต บางพวกเกิดในชั้นนิมมานรดี บางพวกเกิดใน

ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี.

ฝ่ายพระเจ้าอุเทนแล ทรงสดับว่า ข่าวว่า พระตำหนักของพระนาง

สามาวดี ถูกไฟไหม้ จึงรีบเสด็จมาถึงที่นั้น ในเมื่อหญิงเหล่านั้นถูกไฟไหม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 708

แล้วนั้นแล. ก็แล ครั้นเสด็จมา รับสั่งให้คนช่วยดับไฟไหม้ที่ตำหนัก

ทรงเกิดโทมนัสอย่างรุนแรง ทรงทราบว่า พระนางมาคัณฑิยา ก่อเหตุ

เช่นนั้นโดยอุบาย อันกรรมที่พระนางมาคัณฑิยากระทำความผิดในพระ-

อริยสาวิกาตักเตือนอยู่ จึงให้ลงราชอาชญาแก่นางพร้อมด้วยพวกญาติ.

พระนางมาคัณฑิยา พร้อมด้วยข้าราชบริพาร พร้อมทั้งมิตรและพวกพ้อง

ได้ถึงความวอดวาย ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง ถึงเหตุที่หญิงเหล่านั้น อันมีพระนางสามาวดีเป็นประธาน ถึง

ความวอดวายในกองเพลิง และนิมิตที่พระนางมาคัณฑิยา พร้อมด้วย

มิตรและพวกพ้อง ถึงความวอดวายด้วยพระราชอาชญานี้ จึงทรงเปล่ง

อุทานนี้ อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โมหสมฺพนฺธโน โลโก ภพฺพรูโปว

ทิสฺสติ ความว่า สัตวโลกใดในโลกนี้ ปรากฏเป็นเหมือนผู้สมควรแท้

คือเป็นเหมือนสมบูรณ์ด้วยเหตุ สัตวโลกแม้นั้น มีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน

คือ เกลือกกลั้วไปด้วยโมหะ เมื่อไม่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็น

ประโยชน์แก่ตน จึงไม่ดำเนินไปในสิ่งที่เป็นประโยชน์ สิ่งสมแต่สิ่งที่มิใช่

ประโยชน์ อันนำความทุกข์มาให้ และพอกพูนอกุศลเป็นอันมาก. บาลีว่า

ภวรูโปว ทิสฺสติ ดังนี้ก็มี. บาลีนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ โลกนี้มีโมหะ

เป็นเครื่องผูกพัน คือเกลือกกลั้วด้วยโมหะ เพราะเหตุนั้นแล ตนของ

สัตวโลกนั้นจึงปรากฏเหมือนมีรูป คือเหมือนมีสภาวะเที่ยง คือปรากฏ

เหมือนไม่แก่ไม่ตาย อันเป็นเหตุให้ทำสิ่งที่ไม่ควรทำ มีปาณาติบาตเป็นต้น.

บทว่า อุปธิพนฺธโน พาโล ตมสา ปริวาริโต สสฺสติ วิย ขายติ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 709

ก็ไม่ใช่แต่สัตวโลกจะมีโมหะเป็นเครื่องผูกพันแต่อย่างเดียวเท่านั้น โดยที่

แท้ สัตวโลกผู้บอดเขลานี้ ยังมีอุปธิเป็นเครื่องผูกพัน อันความมืดคือ

อวิชชาหุ้มห่อแล้ว. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เพราะญาณอันเป็นเหตุให้

บุคคลพิจารณาเห็นกาม และขันธ์อันไม่ผิดแผกว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์

มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ดังนี้ไม่มี เพราะเหตุที่ปุถุชนคนบอด

เขลา ถูกความมืดคืออวิชชา แวดล้อม ห่อหุ้ม โดยรอบ ฉะนั้น ปุถุชน

คนบอดเขลานั้น มีอุปธิเป็นเครื่องผูกพัน โดยอุปธิเหล่านี้คือ อุปธิคือกาม

อุปธิคือกิเลส อุปธิคือขันธ์ ก็เพราะเหตุนั้นแล เมื่อเขาผู้มีอุปธิเห็นอยู่

ย่อมปรากฏดุจเที่ยง คือย่อมปรากฏว่า มีสภาวะเที่ยง ได้แก่มีอยู่ทุกกาล.

บาลีว่า อสสฺสติริว ขายติ ดังนี้ก็มี. บาลีนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า อุปธิ

นั้นย่อมปรากฏ อธิบายว่า เข้าไปตั้งอยู่ เหมือนส่วนหนึ่งของโลก ด้วย

อำนาจการยึดถือผิดว่า อัตตาย่อมมี คือย่อมเกิด ทุกกาล และว่าอัตตา

อื่นไม่เที่ยง คือมีสภาวะไม่แน่นอน. จริงอยู่ อักษร ทำการต่อบท.

บทว่า ปสฺสโต นตฺถิ กิญฺจน ความว่า ก็ผู้ใด กำหนดสังขารทั้งหลาย

พิจารณาเห็นด้วย ลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น เมื่อบุคคลนั้นนั่นแล

เห็นอยู่ รู้อยู่ แทงตลอดอยู่ ตามความเป็นจริง ด้วยมรรคปัญญา อัน

ประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา กิเลสเครื่องยียวนมีราคะเป็นต้น อันเป็นเหตุ

ผูกพันสัตว์ไว้ในสงสาร ย่อมไม่มี อธิบายว่า ความจริง เมื่อบุคคล ไม่

เห็นอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ พึงเป็นผู้ถูกเครื่องผูกพัน มีอวิชชาตัณหา

และทิฏฐิเป็นต้น ผูกไว้ในสงสาร.

จบอรรถกถาอุเทนสูตรที่ ๑๐

จบจูฬวรรควรรณนาที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 710

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมภัททิยสูตร ๒. ทุติยภัททิยสูตร ๓. ปฐมกามสูตร

๔. ทุติยกามสูตร ๕. ลกุณฐกภัททิยสูตร ๖. ตัณหักขยสูตร ๗. ปปัญจ-

ขยสูตร ๘. มหากัจจานสูตร ๙. อุทปานสูตร ๑๐. อุเทนสูตร

และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 711

ปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘

๑. ปฐมนิพพานสูตร

ว่าด้วยอายตนะ คือ นิพพาน

[๑๕๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำ

ให้มั่น มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟัง

ธรรม ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ดิน

น้ำ ไฟ ลม อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจาย-

ตนะ อากิญจัญญายตนะ โลกนี้ โลกหน้า พระจันทร์

และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในอายตนะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่กล่าวซึ่งอายตนะนั้น

ว่า เป็นการมา เป็นการไป เป็นการตั้งอยู่ เป็นการ

จุติ เป็นการอุปบัติ อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้

มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้ นี้แลเป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบปฐมนิพพานสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 712

ปาฏลิคามิยวรรควรรณนาที่ ๘

อรรถกถาปฐมนิพพานสูตร

ปาฏลิคามิยวรรค ปฐมนิพพานสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นิพฺพานปฏิสยุตฺตาย ความว่า อสังขตธาตุที่อาศัยอมตธาตุ

เป็นไปด้วยอำนาจการประกาศให้รู้. บทว่า ธมฺมิยา กถาย แปลว่า ด้วย

ธรรมเทศนา. บทว่า สนฺทสฺเสติ ได้แก่ แสดงถึงพระนิพพาน โดย

ลักษณะแห่งสภาวะพร้อมด้วยกิจ. บทว่า สมาทเปติ ได้แก่ ให้ภิกษุ

เหล่านั้น ยึดถือเอาอรรถนั้นนั่นแล. บทว่า สมุตฺเตเชติ ได้แก่ เมื่อให้

อุตสาหะเกิดในกาลยึดถือประโยชน์นั้น ชื่อว่าย่อมให้อบอุ่น คือให้โชติช่วง.

บทว่า สมฺปหเสติ ได้แก่ ย่อมให้ยินดี ด้วยคุณคือพระนิพพาน โดยชอบ

ทีเดียว คือโดยประการทั้งปวง. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า สนฺทสฺเสติ

ความว่า ทรงแสดงโดยชอบ อันเหมาะสมแก่อัธยาศัยของภิกษุเหล่านั้น ๆ

โดยประการทั้งปวง คือโดยปริยายนั้น ๆ โดยนัยมีอาทิว่า ธรรมเป็นที่

สิ้นตัณหา เป็นที่คลายราคะ เป็นที่ดับ อันเป็นเครื่องสงบสังขารทั้งปวง

อันเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวงนั้น. บทว่า สมาทเปติ ความว่า ทรงกระทำ

ให้ภิกษุทั้งหลาย น้อมไป โอนไป เงื้อมไปในธรรมนั้น พร้อมด้วยปฏิปทา

เครื่องบรรลุ ชื่อว่าทรงชักชวน คือให้ภิกษุถือเอาโดยชอบว่า เธอพึง

บรรลุพระนิพพานนั้น ด้วยอริยมรรคนี้. บทว่า สมุตฺเตเชติ ความว่า

ทรงทำภิกษุเหล่านั้นให้อาจหาญ ในการบรรลุพระนิพพาน หรือให้ทำจิต

ให้ผ่องแผ้วในพระนิพพานนั้น ด้วยพระดำรัสว่า พวกเธออย่าถึงความ

ประมาท คือถึงความหยุดเสียในระหว่าง ในสัมมาปฏิบัติว่า พระนิพพาน

นี้ทำได้ยาก มีความยินดีได้ยาก เพราะพระนิพพานนี้ อันผู้สมบูรณ์ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 713

อุปนิสัย มีความเพียร มิใช่ทำได้ยาก เพราะฉะนั้น พวกเธอพึงลุกขึ้น

พยายามเพื่อปฏิปทาอันหมดจดมีสีลวิสุทธิเป็นต้น. บทว่า สมฺปหเสติ

ความว่า เมื่อทรงทำจิตของภิกษุเหล่านั้น ให้ยินดี ให้ร่าเริง ด้วยการ

ประกาศอานิสงส์แห่งพระนิพพาน โดยนัยมีอาทิว่า นี้ธรรมเป็นที่สร้างเมา

เป็นที่กำจัดความกระหาย เป็นที่ถอนความอาลัย และโดยนัยมีอาทิว่า

ธรรมนี้เป็นที่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ และว่า นี้เป็นอสังขตธรรม และว่า

อมตธรรม สันติธรรม ดังนี้ ชื่อว่ายังภิกษุ ให้ร่าเริง ให้เบาใจ. บทว่า

เต จ ภิกฺขู อฏฺิกตฺวา ความว่า ภิกษุทั้งหลาย กำหนดอย่างนี้ว่า สิ่ง

อะไร ๆ มีอยู่ ประโยชน์นี้พวกเราควรบรรลุแล้ว เป็นผู้มีความต้องการ

ด้วยเทศนานั้น. บทว่า มนสิกตฺวา ความว่า วางไว้ในจิต ไม่ส่งจิตไป

ในที่อื่น คือกระทำเทศนานั้น ให้อยู่ในจิตของตนเท่านั้น. บทว่า สพฺพ

เจตโส สมนฺนาหริตฺวา ความว่า นึกถึงเทศนาด้วยใจ อันเป็นตัวนำ

ทั้งปวง ตั้งแต่ต้นจนถึงที่สุด คือทำความคำนึงให้อยู่ในเทศนานั้นนั่นเอง.

อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า สพฺพ เจตโส สมนฺนาหริตฺวา ความว่า นำมา

เนือง ๆ โดยชอบซึ่งเทศนา จากจิตทั้งหมด. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้

ว่า เมื่อผู้แสดงทำเทศนาด้วยจิตใด ไม่ให้เทศนาที่เป็นไปจากจิตทั้งปวง

ออกไปภายนอกแล้วนำมาโดยเนือง ๆ โดยชอบ คือไม่ผิดแผก แล้วนำ

จิตสันดานของตนมาทรงไว้ด้วยดี ซึ่งเทศนาตามที่แสดงแล้ว ๆ. บทว่า

โอหิตโสตา ได้แก่ เงี่ยโสตลงสดับ คือตั้งโสตไว้ด้วยดี. อีกอย่างหนึ่ง.

บทว่า โอหิตโสตา ได้แก่ มีโสตประสาทอันอะไร ๆ ไม่รบกวน. จริงอยู่

บุคคลแม้เมื่อได้โสตประสาทที่ไม่มีอะไรรบกวนนั้นนั่นแล จึงไม่ฟุ้งซ่านไป

ในการฟังเหมือนสติสังวร ควรจะกล่าวได้ว่า ในจักขุนทรีย์เป็นต้นบ้าง ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 714

โสตินทรีย์บ้าง. ก็ในที่นี้ ด้วยบททั้ง ๔ มีบทว่า อฏฺิกตฺวา เป็นต้น

ทรงแสดงถึงการที่ภิกษุเหล่านั้น ฟังโดยเคารพ โดยแสดงการเอื้อเฟื้อใน

การฟัง โดยไม่เป็นอื่นไปจากนั้น.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง ซึ่งภาวะที่ภิกษุเหล่านั้น มีการกระทำเอื้อเฟื้อในการฟังธรรมกถา

อันเกี่ยวด้วยพระนิพพานนั้น. บทว่า อิม อุทาน ความว่า ทรงเปล่งอุทาน

นี้ อันประกาศภาวะที่พระนิพพานมีอยู่โดยปรมัตถ์ โดยมุขคือพระธรรม

เทศนาที่ผิดตรงกันข้ามจากธรรมนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถิ แปลว่า มีอยู่ อธิบายว่า เกิด

โดยปรมัตถ์. บทว่า ภิกฺขเว เป็นคำเรียกภิกษุเหล่านั้น. ถามว่า ก็การ

เปล่งอันยังปีติและโสมนัสให้ตั้งขึ้นก็ดี อันยังธรรมสังเวชให้ตั้งขึ้นก็ดี ไม่

มุ่งถึงคนรับธรรม ชื่อว่าอุทาน และอุทานนั้นมาในสูตร มีประมาณ

เท่านี้ เช่นนั้นเหมือนกันมิใช่หรือ แต่เพราะเหตุไร ในที่นี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเมื่อทรงเปล่งอุทาน จึงตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้น ? ตอบว่า เพราะ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น อันเกี่ยวด้วยพระ-

นิพพาน เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นเข้าใจ ก็ทรงเกิดปีติโสมนัสขึ้น ด้วยหวน

ระลึกถึงคุณของพระนิพพาน จึงทรงเปล่งอุทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบความปริวิตกแห่งจิตของภิกษุเหล่านั้นว่า สภาวธรรมทั้งหมด

ในพระศาสนานี้ เว้นพระนิพพาน ที่เป็นไปเนื่องกับปัจจัยเท่านั้นเกิดขึ้น

ได้ ที่ปราศจากปัจจัย หาเกิดขึ้นไม่ แต่นิพพานธรรมนี้เกิดในปัจจัยไหน

และมีพระประสงค์จะให้พระภิกษุเหล่านั้นเข้าใจ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ภิกฺขเว

ตทายตน ดังนี้. พึงทราบว่า ไม่ใช่กระทำให้ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้รับโดย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 715

ส่วนเดียวเท่านั้น. บทว่า ตทายตน ได้แก่ เหตุนั้น. อักษร ทำการ

เชื่อมบท. จริงอยู่ พระนิพพานท่านเรียกว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า

เป็นเหตุ โดยเป็นอารัมมณปัจจัยแก่มรรคญาณและผลญาณเป็นต้น เหมือน

รูปารมณ์เป็นต้น เป็นอารัมมณปัจจัยแก่จักขุวิญญาณเป็นต้น. ก็ด้วยอันดับ

คำเพียงเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศถึงสังขตธาตุว่า มีอยู่โดย

ปรมัตถ์แก่ภิกษุเหล่านั้น.

ในข้อนั้น มีนัยแห่งธรรมดังต่อไปนี้ เพราะสังขตธรรมมีอยู่ แม้

อสังขตธาตุก็มี เพราะมีความเป็นคู่ปรับต่อสภาวธรรม เหมือนอย่างว่า

เมื่อทุกข์มีอยู่ แม้สุขที่เป็นคู่ปรับกับทุกข์นั้น ก็มีอยู่เหมือนกัน ฉันใด

เมื่อความร้อนมีอยู่ แม้ความหนาวก็มีอยู่ เมื่อบาปธรรมมีอยู่ แม้กัลยาณ-

ธรรม ก็มีอยู่เหมือนกัน. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เมื่อทุกข์มี ชื่อว่าสุขก็มีฉันใด เมื่อภพมี มีภพ

สภาวะที่ปราศจากภพก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น เมื่อ

ความร้อนมี ความเย็นก็มีแม้ฉันใด เมื่อไฟ ๓ กองมี

พระนิพพานก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น เมื่อบาปธรรม

มี กัลยาณธรรมก็มีฉันใด เมื่อความเกิดมี ความ

ไม่เกิด ก็จำต้องปรารถนาฉันนั้น.

อีกอย่างหนึ่ง การไขความถึงพระนิพพานว่ามีอยู่โดยปรมัตถ์ จักมี

แจ้งข้างหน้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงอสังขตธาตุ ว่ามีอยู่โดย

ปรมัตถ์ โดยพร้อมมูลด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดง

สภาวะที่พระนิพพานนั้น มีอยู่โดยมุขคือความผ่องแผ้วแห่งธรรมที่ผิดตรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 716

กันข้ามจากอสังขตธาตุนั้น จึงตรัสคำว่า ยตฺถ เนว ปวี น อาโป ดังนี้

เป็นต้น.

ในข้อนั้น เพราะเหตุที่พระนิพพาน มีสภาวะผิดตรงกันข้ามจาก

สังขารทั้งปวง ไม่มีในบรรดาสังขตธรรมไหน ๆ ฉันใด แม้ในพระ-

นิพพานนั้น ก็ไม่มีสังขตธรรมทั้งหมด ฉันนั้น เพราะสังขตธรรมและ

อสังขตธรรม รวมกันไม่ได้. ในข้อนั้น มีการทำอธิบายอรรถดังต่อไปนี้

ปฐวีธาตุมีความแข้นแข็งเป็นลักษณะ อาโปธาตุมีการไหลไปเป็นลักษณะ

เตโชธาตุมีความอบอุ่นเป็นลักษณะ วาโยธาตุมีการเคลื่อนไหวเป็นลักษณะ

ไม่มีในพระนิพพานใด คืออสังขตธาตุใด ดังนั้น ในธาตุเหล่านั้น เมื่อ

ว่าโดยความไม่มีแห่งมหาภูตรูป ๘ ก็เป็นอันกล่าวถึงความไม่มีแห่งอุปาทาย

รูปแม้ทั้งหมด เพราะอาศัยมหาภูตรูปนั้นฉันใด กามภพและรูปภพก็ฉัน

นั้น เป็นอันกล่าวว่าไม่มีในพระนิพพานนั้นโดยสิ้นเชิง เพราะมีความเป็น

ไปไม่เนื่องกับพระนิพพานนั้น เพราะปัญจโวการภพ หรือเอกโวการภพ

เว้นจากการอาศัยมหาภูตรูปแล้วก็มีไม่ได้แล.

บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงธรรมที่นับเนื่องในอรูปภพ ไม่มีในพระ-

นิพพานนั้น แม้ในเมื่อพระนิพพานมีสภาวะเป็นอรูป (เป็นนาม) จึงตรัส

คำมีอาทิว่า น อากาสานญฺจายตน ฯ เป ฯ น แนวสญฺานาสญฺายตน

ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อากาสานญฺจายตน ความว่า จิต-

ตุปบาท กล่าวคือ อากาสานัญจายตนะ ทั้ง ๓ อย่าง ต่างโดยกุศลจิต

วิปากจิต และกิริยาจิต พร้อมทั้งอารมณ์ย่อมไม่มี. แม้ในบทที่เหลือ ก็

นัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 717

ก็กามโลกไม่มีในพระนิพพานด้วยอารมณ์ใด แม้อิธโลก และปรโลก

ก็ไม่มีในพระนิพพานนั้น ด้วยอารมณ์นั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

โลกนี้ไม่มี โลกหน้าไม่มี ดังนี้เป็นต้น.

คำนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ขันธโลกนี้ใด อันได้โวหารว่า ความ

เป็นอย่างนี้ ปัจจุบันธรรม และว่าโลกนี้ และขันธโลกอันได้โวหาร

ว่า โลกอื่นจากโลกนั้น ปรโลก และอภิสัมปรายภพใด ทั้งสองนั้น ไม่มี

ในที่ใด. บทว่า น อุโภ จนฺทิมสุริยา ความว่า เพราะเหตุที่เมื่อรูปมี

ชื่อว่าความมืดก็พึงมี และเพื่อกำจัดความมืด พระจันทร์และพระอาทิตย์

ก็หมุนเวียนไป แต่รูปโดยประการทั้งปวง ไม่มีในที่ใด ความมืดในที่นั้น

จักมีในที่ไหน. อีกอย่างหนึ่ง การกำจัดความมืดก็คือพระจันทร์และพระ-

อาทิตย์ ฉะนั้น พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสอง ย่อมไม่มีในพระ-

นิพพานใด. ด้วยคำนี้ ทรงแสดงถึงพระนิพพานมีความสว่างไสว เป็น

สภาวะนั่นแล.

ก็ด้วยอันดับคำเพียงเท่านี้ พระธรรมราชาเมื่อจะทรงประกาศอมต-

นิพพาน อันไม่เคยมีไนสงสารซึ่งหาเบื้องต้นรู้ไม่ได้ แม้ที่สุดด้วยความฝัน

อันลึกโดยปรมัตถ์ เห็นได้ยากอย่างยิ่ง ละเอียดสุขุม นึกเอาเองไม่ได้ สงบ

ที่สุด เป็นที่อำนวยผลเฉพาะตน ประณีตยิ่งนัก แก่ภิกษุทั้งหลายผู้ยังไม่

ได้บรรลุ จึงให้ภิกษุเหล่านั้น ขจัดความโง่เป็นต้นออกเสีย เพราะพระ-

นิพพานนั้นมีอยู่ก่อนทีเดียว ดังบาลีว่า อตฺถิ ภิกฺขเว ตทายตน ดังนี้เป็นต้น

จึงทรงประกาศพระนิพพานนั้น โดยมุขคือความไม่งมงายในธรรมอื่น

จากพระนิพพานนั้นว่า ยตฺถ เนว ปวี ฯ เป ฯ น อุโภ จนฺทิมสุริยา ดังนี้

เป็นต้น. ด้วยคำนั้น เป็นอันแสดงว่า อสังขตธาตุ อันมีสภาวะผิดตรง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 718

กันข้ามจากสังขตธรรมทั้งปวงมีปฐวีเป็นต้นว่า พระนิพพาน. ด้วยเหตุนั้น

นั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า ตตฺรปาห ภิกฺขเว เนว อาคตึ วทามิ ดังนี้

เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร แปลว่า ในนิพพานนั้น. อปิ ศัพท์

ใช้ในอรรถสมุจจัย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวการมาของอะไร ๆ

จากที่ไหนๆ ที่เป็นไปตามสังขาร เพราะเหตุสักว่าธรรมเกิดในพระนิพพาน

นั้นตามปัจจัย อนึ่ง เราไม่กล่าวอาคติ คือการมาแต่ที่ไหนๆ ในอายตนะ

คือพระนิพพานนั้นอย่างนี้ เพราะพระนิพพานไม่มีฐานะที่จะพึงมา. บทว่า

น คตึ ความว่า เราไม่กล่าวการไปในที่ไหนๆ เพราะฐานะที่พระนิพพาน

จะพึงถึงไม่มี. เพราะการมาและการไปของสัตว์ทั้งหลาย เว้นการกระทำ

ให้เป็นอารมณ์ด้วยญาณ ไม่มีในพระนิพพานนั้น. อนึ่ง เราไม่กล่าวถึง

ฐิติ จุติ และอุปบัติ. บาลีว่า ตทปห ดังนี้ก็มี. ความของพระบาลีนั้น

มีดังนี้ อายตนะแม้นั้น ชื่อว่าไม่มีการมา เพราะเป็นฐานะที่ไม่ควรมา

เหมือนจากละแวกบ้านมาสู่ละแวกบ้าน. ชื่อว่าไม่มีการไป เพราะไม่เป็น

ฐานะที่จะควรไป ชื่อว่าไม่มีฐิติ เพราะไม่มีฐานะที่จะตั้งอยู่ เหมือน

แผ่นดินและภูเขาเป็นต้น. อนึ่ง ชื่อว่าไม่มีการเกิด เพราะไม่มีปัจจัย

ชื่อว่าไม่มีจุติ เพราะไม่มีการตายเป็นสภาวะนั้น. เราไม่กล่าวฐิติ จุติ

และอุปบัติ เพราะไม่มีการเกิดและการดับ และเพราะไม่มีการตั้งอยู่ที่

กำหนดด้วยการเกิดและการดับทั้ง ๒ นั้น. อนึ่ง พระนิพพานนั้นล้วน

ชื่อว่าไม่ตั้งอยู่ในที่ไหน ๆ เพราะมีสภาวะเป็นอรูป และเพราะไม่มีปัจจัย

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีที่ตั้ง ชื่อว่า ไม่เป็นไป เพราะไม่มีความ

เป็นไปพร้อม และเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความเป็นไปในพระนิพพานนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 719

ชื่อว่า ไม่มีอารมณ์ เพราะไม่มีอารมณ์อะไร ๆ เป็นที่ยึดเหนี่ยว และ

เพราะไม่มุ่งถึงอารมณ์ที่อุปถัมภ์ เหมือนสัมปยุตธรรมมีเวทนาเป็นต้น

แม้ที่มีสภาวะเป็นอรูป (เป็นนาม) ฉะนั้น พระนิพพานนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

อายตนะ. ก็ เอว ศัพท์นี้ พึงประกอบด้วยบททั้งสองคือ อปฺปติฏฺเมว

อปฺปวตฺตเมว. บทว่า เอเสวนฺโต ทุกฺขสฺส ความว่า พระนิพพานซึ่งมี

ลักษณะตามที่กล่าวแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญชมเชย ด้วย

คำมีอาทิว่า อปฺปติฏฺ ดังนี้นั่นแหละ ชื่อว่าเป็นที่สุด คือเป็นที่สิ้นสุดแห่ง

วัฏทุกข์ทั้งสิ้น เพราะเมื่อมีการบรรลุพระนิพพาน ทุกข์ทั้งหมดก็ไม่มี

เพราะเหตุฉะนั้น จึงทรงแสดงว่า พระนิพพานนั้น มีสภาวะเป็นดังนี้ว่า

เป็นที่สุดแห่งทุกข์นั่นแล.

จบอรรถกถาปฐมนิพพานสูตรที่ ๑

๒. ทุติยนิพพานสูตร

ว่าด้วยฐานะที่เห็นได้ยากคือนิพพาน

[๑๕๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาอันปฏิสังยุตด้วยนิพพาน ก็ภิกษุเหล่านั้นกระทำ

ให้มั่น มนสิการแล้วน้อมนึกธรรมีกถาด้วยจิตทั้งปวงแล้ว เงี่ยโสตลงฟัง

ธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 720

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความแล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ฐานะที่บุคคลเห็นได้ยาก ชื่อว่านิพพาน ไม่มี

ตัณหา นิพพานนั้นเป็นธรรมจริงแท้ ไม่เห็นได้โดย

ง่ายเลย ตัณหาอันบุคคลแทงตลอดแล้ว กิเลสเครื่อง

กังวลย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้รู้ ผู้เห็นอยู่.

จบทุติยนิพพานสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยนิพพานสูตร

ทุติยนิพพานสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อิม อุทาน ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเปล่งอุทานนี้

อันแสดงถึงภาวะที่พระนิพพานเห็นได้ยาก เพราะตามปกติเป็นคุณชาต

ลึกซึ้ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุทฺทส ความว่า พระนิพพาน ชื่อว่า

เห็นได้ยาก เพราะใคร ๆ ไม่สามารถจะเห็นได้ ด้วยเครื่องปรุงคือญาณที่

ไม่เคยได้สั่งสมอบรมมาเพราะมีสภาวะลึกซึ้ง และเพราะมีสภาวะสุขุม

ละเอียดอย่างยิ่ง. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมาคัณฑิยะ ก็ท่าน

ไม่มีปัญญาจักษุอันเป็นอริยะ ที่เป็นเหตุให้ท่านรู้ความไม่มีโรค ทั้งเป็น

เครื่องเห็นพระนิพพาน. พระองค์ตรัสไว้อีกว่า ฐานะแม้เช่นนี้ คือความ

สงบแห่งสรรพสังขารนี้เห็นได้ยาก ดังนี้เป็นต้น. บทว่า อนฺต ความว่า

ตัณหา ชื่อว่า นตะ เพราะน้อมไปในอารมณ์มีรูปเป็นต้น และในภพมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 721

กามภพเป็นต้น เพราะเป็นไปโดยภาวะที่น้อมไปในอารมณ์และกามนั้น

และเพราะสัตว์ทั้งหลายน้อมไปในอารมณ์และกามภพเป็นต้นนั้น. พระนิพ-

พานจึงชื่อว่า อนตะ เพราะไม่เป็นที่ที่สัตว์น้อมไป. อาจารย์บางพวกกล่าว

ว่า อนนฺต ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า พระนิพพาน ชื่อว่าเว้นจากที่สุด คือไม่มี

จุติเป็นธรรม เป็นความดับสนิท ได้แก่ เป็นอมตะ เพราะมีสภาวะแท้.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวความแห่งบทว่า อนนฺต ว่าเป็น อปฺปมาณ.

ก็ในคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า ทุทฺทส นี้ พระองค์ทรงแสดงถึงความที่พระ-

นิพพาน อันสัตว์พึงถึงได้โดยยากว่า การที่สัตว์ทั้งหลายทำพระนิพพาน

อันหาปัจจัยมิได้ ให้เกิด มิใช่ทำได้ง่าย เพราะสัตว์เหล่านั้นถูกกิเลสมี

ราคะเป็นต้น ซึ่งกระทำปัญญาให้ทุรพล ให้มีมาเป็นเวลานาน. ด้วยบทว่า

น หิ สจฺจ สุทสฺสน แม้นี้ พระองค์ทรงกระทำความนั้นนั่นแหละให้

ปรากฏ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจ ได้แก่ พระนิพพาน. จริงอยู่

พระนิพพานนั้น ชื่อว่าสัจจะ เพราะอรรถว่าไม่ผิดแผก เหตุเป็นคุณชาต

สงบโดยแท้จริงทีเดียว เพราะไม่มีสภาวะอันไม่สงบ โดยปริยายไหน ๆ.

อนึ่ง พระนิพพานนั้น ชื่อว่าไม่ใช่เห็นได้ง่าย คืออันใคร ๆ ไม่พึงเห็น

ได้โดยง่าย เพราะถึงจะรวบรวมบุญสมภาร และญาณสมภาร มาตลอด

กาลนาน ก็ยังบรรลุได้โดยยากทีเดียว. สมจริงดังพระดำรัสที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสไว้ว่า พระนิพพานเราบรรลุได้ยาก. บทว่า ปฏิวิทฺธา ตณฺหา

ชานโต ปสฺสโต นตฺถิ กิญฺจน ความว่า หากนิโรธสัจนั้นอันผู้จะตรัสรู้

โดยสัจฉิกิริยาภิสมัย เมื่อว่าโดยวิสัย โดยกิจ และโดยอารมณ์ ก็ตรัสรู้ได้

โดยการรู้ตลอดอารมณ์ และการรู้ตลอดโดยไม่งมงาย เหมือนทุกขสัจที่

ตรัสรู้ได้โดยปริญญาภิสมัย และมรรคสัจ ที่ตรัสรู้ได้โดยภาวนาภิสมัย คือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 722

การรู้ตลอดโดยไม่งมงาย ด้วยอาการอย่างนี้ เป็นอันรู้แจ้งตลอดตัณหา

ด้วยปหานาภิสมัย และด้วยความไม่งมงาย. ก็เมื่อบุคคลรู้เห็นสัจจะ ๔

ด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยอริยมรรคตามที่เป็นจริงอย่างนี้ ชื่อว่าย่อมไม่มี

ตัณหา อันเป็นเหตุนำสัตว์ไปในภพเป็นต้น เมื่อตัณหานั้นไม่มี กิเลสวัฏ

แม้ทั้งหมดก็ไม่มี ต่อแต่นั้นกัมมวัฏและวิปากวัฏ ก็ไม่มีเหมือนกันแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศอานุภาพแห่งอมตมหานิพพาน

อันเป็นเหตุสงบระงับวัฏทุกข์ได้เด็ดขาด แก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบอรรถกถาทุติยนิพพานสูตรที่ ๒

๓. ตติยนิพพานสูตร

ว่าด้วยพระนิพพานธรรมชาติปรุงแต่งไม่ได้

[๑๖๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง. . .เงี่ยโสตลงสดับธรรม

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง

อุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติไม่เกิดแล้ว ไม่

เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว ปรุงแต่งไม่ได้

แล้ว มีอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว

เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว

ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว จักไม่ได้มีแล้วไซร้ การสลัด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 723

ออกซึ่งธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัย

กระทำแล้ว ปรุงแต่งแล้ว จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้

เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะธรรมชาติอันไม่

เกิดแล้ว ไม่เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำไม่ได้แล้ว

ปรุงแต่งไม่ได้แล้ว มีอยู่ ฉะนั้น การสลัดออกซึ่ง

ธรรมชาติที่เกิดแล้ว เป็นแล้ว อันปัจจัยกระทำแล้ว

ปรุงแต่แล้วจึงปรากฏ.

จบตติยนิพพานสูตรที่ ๓

อรรถกถาตติยนิพพานสูตร

ตติยนิพพานสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อถ โข ภควา เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ได้ยินว่า ในกาล

นั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศโทษในสงสารโดยเอนกปริยาย

แล้ว ทรงแสดงพระธรรมเทศนา อันเกี่ยวด้วยพระนิพพาน โดยการ

แสดงเทียบเคียงเป็นต้นแล้ว ภิกษุเหล่านั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงประกาศสงสารนี้ พร้อมด้วยเหตุ มีอวิชชาเป็นต้น

อันชื่อว่า สเหตุกะ แต่ไม่ตรัสถึงเหตุอะไร ๆ แห่งพระนิพพานซึ่งเป็น

เหตุสงบสงสารนั้น พระนิพพานนี้นั้นจัดเป็นอเหตุกะ อเหตุกะนั้นจะ

เกิดได้ เพราะอรรถว่า มีการกระทำให้แจ้ง และมีอรรถเป็นอย่างไร.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอรรถนี้ ตามที่กล่าวแล้ว ของภิกษุ

เหล่านั้น. บทว่า อิม อุทาน ความว่า พระองค์ทรงเปล่งอุทานนี้ อัน

เป็นเหตุ ประกาศอมตมหานิพพาน อันมีอยู่โดยปรมัตถ์ เพื่อกำจัดความ

สงสัยของภิกษุเหล่านั้น และเพื่อหักรานมิจฉาวาทะ ของสมณพราหมณ์

ในโลกนี้ ผู้ปฏิบัติผิด ผู้มีทิฏฐิคติหนาแน่น ในภายนอกทีเดียว เหมือน

บุคคลผู้ยึดโลกเป็นใหญ่ว่า คำว่า นิพพาน นิพพาน เป็นเพียงแต่เรื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 724

พูดกันเท่านั้น แต่ความจริง เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ ชื่อว่า พระนิพพาน ย่อม

ไม่มี เพราะมีการไม่เกิดเป็นสภาวะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อชาต อภูต อกต อสงฺขต ทั้งหมด

เป็นไวพจน์ของกันและกัน. อีกอย่างหนึ่ง. พระนิพพานชื่อว่า อชาตะ

เพราะไม่เกิด คือ ไม่บังเกิด เพราะความพรั่งพร้อมแห่งเหตุ คือการ

ประชุมแห่งเหตุและปัจจัย เหมือนเวทนาเป็นเป็นต้น ชื่อว่า อภูตะ เพราะ

เว้นจากเหตุ และตนเองเสีย ย่อมไม่มี คือไม่ปรากฏ ได้แก่ ไม่เกิด

ชื่อว่า อกตะ เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สร้างขึ้นเพราะไม่เกิด และ

เพราะไม่มีอย่างนี้. อนึ่ง เพื่อจะแสดงว่าสังขตธรรมมีนามรูปเป็นต้น มี

การเกิด การมี การสร้างขึ้นเป็นสภาวะ พระนิพพานซึ่งมีอสังขตธรรม

เป็นสภาวะ หาเป็นเช่นนั้นไม่ จึงตรัสว่า อสงฺขต ดังนี้. อนึ่ง เมื่อว่าโดย

ปฏิโลมตรัสว่า สังขตธรรม เพราะถูกปัจจัยอาศัยกันและกันสร้างให้มีขึ้น.

อนึ่ง ท่านกล่าวว่า เป็นอสังขตะ เพราะไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง คือเว้นจาก

ลักษณะที่ถูกปัจจัยปรุงแต่ง. เมื่อภาวะที่พระนิพพานบังเกิดด้วยเหตุมาก

มายอย่างนี้ สำเร็จแล้ว เพื่อจะแสดงว่า พระนิพพานไม่มีปัจจัยอะไร ๆ

แต่งขึ้น ด้วยความรังเกียจว่า พระนิพพานจะพึงมีเหตุอย่างหนึ่ง ตบแต่ง

หรือหนอ จึงตรัสว่า อกต ไม่ถูกเหตุอะไร ๆ ตบแต่ง. แม้เมื่อพระ-

นิพพานไม่มีปัจจัยอย่างนี้ เพื่อจะให้ความรังเกียจว่า พระนิพพานนี้เป็น

ขึ้น ปรากฏขึ้นเองหรือหนอ เป็นไปไม่ได้ จึงตรัสว่า อภูต. เพื่อจะ

แสดงว่า พระนิพพานนี้นั้น ไม่มีปัจจัยปรุง ไม่ได้แต่ง ไม่มีนี้ จะมีได้

เพราะพระนิพพานมีการไม่เกิดเป็นธรรมดา โดยประการทั้งปวง จึงตรัสว่า

อชาต. บัณฑิตพึงทราบความที่บททั้ง ๔ นี้ มีประโยชน์อย่างนี้แล้ว พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 725

ทราบว่า พระองค์ทรงประกาศว่า พระนิพพานมีอยู่ โดยปรมัตถ์ โดย

พระบาลีว่า ภิกษุทั้งหลาย พระนิพพานนี้นั้นมีอยู่. ก็ในพระสูตรนี้ พึง

ทราบเหตุในบท อาลปนะว่า ภิกฺขเว โดยนัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรง

เปล่งจึงตรัสไว้แล้วในหนหลังแล.

ดังนั้น พระศาสดา ครั้นตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พระนิพพานไม่

เกิด ไม่มี อันปัจจัยอะไร ๆ ไม่แต่ง ไม่ปรุง มีอยู่ เมื่อจะทรงเสดงเหตุใน

ข้อนั้น จึงตรัสคำว่า โน เจ ต ภิกฺขเว ดังนี้เป็นต้น.

พระบาลีนั้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้. ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอสังขต-

ธาตุ ซึ่งมีสภาวะไม่เกิดเป็นต้น จักไม่ได้มี หรือจักไม่พึงมีไซร้ ความ

สลัดออก คือความสงบโดยสิ้นเชิง ซึ่งสังขตะ กล่าวคือขันธ์ ๕ มีรูปเป็น

ต้น ซึ่งมีสภาวะเกิดขึ้นเป็นต้น ไม่พึงปรากฏ คือไม่พึงเกิด ไม่พึงมีใน

โลกนี้. จริงอยู่ ธรรมคืออริยมรรคมีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น อันกระทำพระ-

นิพพานให้เป็นอารมณ์เกิดขึ้น ย่อมตัดกิเลสได้เด็ดขาด. ด้วยเหตุนั้น ใน

ที่นี้ ความไม่เป็นไป ความปราศจากไป ความสลัดออกแห่งวัฏทุกข์

ทั้งสิ้น ย่อมปรากฏ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงถึงพระนิพพานว่า มีอยู่ โดยที่

ภาวะตรงกันข้าม บัดนี้ เพื่อจะแสดงพระนิพพานนั้น โดยนัยที่คล้อยตาม

จึงตรัสคำมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข ดังนี้. คำนั้น มีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล.

ก็ในที่นี้ เพราะเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะทรงอนุเคราะห์แก่

สัตวโลกทั้งมวล จึงทรงแสดงความเกิดมีแห่งนิพพานธาตุ โดยปรมัตถ์

โดยสุตตบทเป็นอเนก มีอาทิว่า ธรรมที่ไม่มีปัจจัย ธรรมที่เป็นอสังขตะ

ภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ในที่ที่ปฐวีธาตุ ไม่มีเลย ฐานะแม้นี้แล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 726

เห็นได้แสนยาก คือ ความสงบสังขารทั้งปวง การสละคืนอุปธิกิเลสทั้ง-

ปวง ภิกษุทั้งหลาย ก็เราจักแสดงอสังขตธรรม และปฏิปทาเครื่องให้

สัตว์ถึงอสังขตธรรมแก่เธอทั้งหลาย และด้วยสูตรแม้นี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย

พระนิพพาน ไม่เกิด มีอยู่ ฉะนั้น แม้ถ้าวิญญูชน ผู้กระทำไม่ให้ประจักษ์

ในพระนิพพานนั้นไซร้ ก็ย่อมไม่มีความสงสัย หรือความเคลือบแคลงเลย.

เพื่อจะบรรเทาความเคลือบแคลงของเหล่าบุคคล ผู้มีความรู้ในการแนะนำ

ผู้อื่น ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้. การสลัดออกเป็นปฏิปักษ์ต่อกาม

และอารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่เวียนซ้าย คือที่มีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากนั้น

ย่อมปรากฏโดยมุข คือการถอนออกจากทุกข์ หรือเพราะกำหนดรู้ อันมี

การพิจารณาที่เหมาะสม พระนิพพาน อันเป็นปฏิปักษ์ต่อสังขตธรรมทั้ง-

หมด ซึ่งมีสภาวะเป็นเช่นนั้น คือมีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากนั้น พึง

เป็นเครื่องสลัดออก. ก็พระนิพพาน อันเป็นเครื่องสลัดออกจากทุกข์นั้น

ก็คืออสังขตธาตุ. พึงทราบให้ยิ่งขึ้นไปอีกเล็กน้อย. วิปัสสนาญาณก็ดี

อนุโลมญาณก็ดี ซึ่งมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ ย่อมไม่อาจจะละกิเลสได้

โดยเด็ดขาด. อนึ่ง ญาณในปฐมฌานเป็นต้น ซึ่งมีสมมติสัจจะเป็นอารมณ์

ย่อมละกิเลสได้ ด้วยวิกขัมภนปหานเท่านั้น หาละได้ด้วยสมุจจเฉทปหานไม่.

ดังนั้น อริยมรรคญาณ อันกระทำการละกิเลสเหล่านั้น ได้เด็ดขาด ก็

พึงเป็นอารมณ์ ซึ่งมีสภาวะผิดตรงกันข้ามจากญาณทั้งสองนั้น เพราะ

ญาณซึ่งมีสังขตธรรมเป็นอารมณ์ และมีสมมติสัจจะเป็นอารมณ์ ไม่

สามารถในการตัดกิเลสได้เด็ดขาดนั้น ชื่อว่า อสังขตธาตุ. อนึ่ง พระ-

ดำรัสที่ส่องถึงบทแห่งพระนิพพาน ซึ่งมีอยู่โดยปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสว่า เป็นอรรถที่ไม่ผิดแผก ดังบาลีนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 727

นิพพาน ไม่เกิด ไม่มี อันปัจจัยอะไร ๆ ไม่แต่ง ไม่ปรุง มีอยู่. จริงอยู่

คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ซึ่งมีอรรถไม่ผิดแผก ดังที่ตรัสไว้ว่า

สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา

ดังนี้. อนึ่ง นิพพานศัพท์ มีปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ตามเป็นจริง แม้ใน

อารมณ์บางอย่าง เพราะเกิดมีความเป็นไปเพียงอุปจาร เหมือนศัพท์ว่า

สีหะ. อีกอย่างหนึ่ง. พึงทราบอสังขตธาตุว่ามีอยู่โดยปรมัตถ์ แม้โดย

ยุติ โดยนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะพระนิพพาน มีสภาวะพ้นจากสิ่งที่มี

ภาวะตรงกันข้ามนั้น นอกนี้ เหมือนปฐวีธาตุ หรือเวทนา.

จบอรรถกถาตติยนิพพานสูตรที่ ๓

๔. จตุตถนิพพานสูตร

ว่าด้วยการตรัสถึงพระนิพพานไม่มีการมาการไป

[๑๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้ภิกษุทั้งหลายเห็นแจ้ง . . . เงี่ยโสตลงฟังธรรม

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรงเปล่ง

อุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความหวั่นไหวย่อมมีแก่บุคคลผู้อันตัณหาและ

ทิฏฐิอาศัย ย่อมไม่มีแก่ผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัย

เมื่อความหวั่นไหวไม่มี ก็ย่อมมีปัสสัทธิ เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 728

มีปัสสัทธิ ก็ย่อมไม่มีความยินดี เมื่อไม่มีความยินดี

ก็ย่อมไม่มีการมาการไป เมื่อไม่มีการมาการไป ก็

ไม่มีการจุติและอุปบัติ เมื่อไม่มีการจุติและอุปบัติ

โลกนี้โลกหน้าก็ไม่มี ระหว่างโลกทั้งสองก็ไม่มี นี้แล

เป็นที่สุดแห่งทุกข์.

จบจตุตถนิพพานสูตรที่ ๔

อรรถกถาจตุตถนิพพานสูตร

จตุตถนิพพานสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อถ โข ภควา เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า ได้ยินว่า ใน

กาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงพระธรรมเทศนา อันเกี่ยว

ด้วยพระนิพพาน โดยแสดงการเทียบเคียงเป็นต้น โดยอเนกปริยายแล้ว

ภิกษุเหล่านั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อันดับแรก พระผู้มีพระภาคเจ้า

เมื่อจะทรงแสดงอานิสงส์ ซึ่งมีขันธ์มีอาการเป็นอเนกแห่งอมตมหา-

นิพพานธาตุ จึงทรงประกาศอานุภาพนี้ อันไม่ทั่วไป แก่ผู้อื่น. แต่ไม่

ตรัสอุบายเครื่องบรรลุอมตมหานิพพานธาตุนั้น พวกเรา เมื่อปฏิบัติอยู่

จะพึงบรรลุอมตมหานิพพานนี้อย่างไรหนอ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาค-

เจ้าทรงทราบโดยอาการทั้งปวง ซึ่งอรรถกล่าวคือภาวะที่ภิกษุเหล่านั้นมี

ความปริวิตก ตามที่กล่าวแล้วนี้. บทว่า อิม อุทาน ความว่า พระองค์

ทรงเปล่งอุทานนี้ อันประกาศถึงการบรรลุพระนิพพาน ด้วยการละตัณหา

ได้เด็ดขาดด้วยอริยมรรค ของบุคคลผู้เจริญวิปัสสนาอันดำเนินไปตาม

วิถีจิต ผู้มีกายและจิตสงบระงับ ผู้ไม่อิงอาศัยในอารมณ์ไหน ๆ ด้วย

อำนาจตัณหา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 729

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิสฺสิตสฺส จลิต ความว่า บุคคลผู้

ถูกตัณหา และทิฏฐิเข้าอาศัยในสังขารมีรูปเป็นต้น ย่อมหวั่นไหว คือ

ย่อมดิ้นรนเพราะตัณหาและทิฏฐิว่า นั่นเป็นของเรา นั่นเป็นอัตตาของ

เรา. จริงอยู่ เมื่อบุคคลผู้ยังละตัณหาและทิฏฐิไม่ได้ เมื่อสุขเวทนาเป็นต้น

เกิดขึ้น ไม่อาจจะครอบงำเวทนามีสุขเวทนาเป็นต้นเหล่านั้นอยู่ มีจิต

สันดานดิ้นรนกวัดแกว่ง ดิ้นรนหวั่นไหว อันนำออกแล้ว เพราะให้กุศล

เกิดขึ้นด้วยอำนาจการยึดถือตัณหาและทิฏฐิ โดยนัยมีอาทิว่า เวทนาของ

เรา เราเสวย. บทว่า อนิสฺสิตสฺส จลิต นตฺถิ ความว่า ก็บุคคลใด

ดำเนินไปตามวิสุทธิปฏิปทา ย่อมข่มตัณหา และทิฏฐิได้ด้วยสมถะและ

วิปัสสนา ย่อมพิจารณาเห็นสังขาร ด้วยลักษณะมีอนิจจลักษณะเป็นต้น

อยู่ บุคคลนั้น คือ ผู้ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย ย่อมไม่มีจิตหวั่นไหว

ฟุ้งซ่าน ดิ้นรน ตามที่กล่าวแล้วนั้น เพราะข่มเหตุไว้ได้ด้วยดีแล้ว. บทว่า

จลิเต อสติ ความว่า เมื่อจิตไม่มีความหวั่นไหว ตามที่กล่าวแล้วเขาก็

ทำจิตนั้น ให้เกิดความขวนขวายในวิปัสสนา อันดำเนินไปตามวิถีจิต

โดยที่การยึดถือตัณหาและทิฏฐิเกิดขึ้นไม่ได้. บทว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า

ปัสสัทธิทั้ง ๒ อย่าง อันเข้าไปสงบกิเลส ซึ่งกระทำความกระวนกระวาย

กายและจิต ที่เกิดร่วมกับวิปัสสนาจิต. บทว่า ปสฺสทฺธิยา สติ นติ น

โหติ ความว่า เมื่อปัสสัทธิ อันควรแก่คุณวิเศษ ก่อนและหลัง มีอยู่

เธอเจริญสมาธิ อันมีความสุขหามิได้ เป็นที่ตั้งแล้วจึงประกอบสมถะ

และวิปัสสนาให้เนื่องกันเป็นคู้ โดยทำสมาธินั้น ให้รวมกับวิปัสสนาแล้ว

ทำกิเลสให้สิ้นไปโดยสืบ ๆ แห่งมรรค ตัณหาอันได้นามว่า นติ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 730

น้อมไปในกามภพเป็นต้น ไม่มีในขณะแห่งอริยมรรค โดยเด็ดขาด

อธิบายว่า ไม่เกิดขึ้น เพราะให้ถึงความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมดา

บทว่า นติยา อสติ ความว่า เมื่อไม่มีปริยุฏฐานกิเลส คือ ความ

อาลัยและความติด เพื่อต้องการภพเป็นต้น เพราะละตัณหาได้เด็ดขาด

ด้วยอริยมรรค. บทว่า อาคติคติ น โหติ ความว่า การมา คือ ความมา

ในโลกนี้ด้วยอำนาจปฏิสนธิ การไป คือ การไปจากโลกนี้ สู่ปรโลก ได้

แก่ความละไปด้วยอำนาจจุติ ย่อมไม่มี ได้แก่ ย่อมไม่เกิด. บทว่า อาคติ-

คติยา อสติ ความว่า เมื่อไม่มีการมาและการไป โดยนัยดังกล่าวแล้ว.

บทว่า จุตูปปาโต น โหติ ความว่า การจุติและอุปบัติไป ๆ มา ๆ ย่อม

ไม่มี คือ ย่อมไม่เกิด. จริงอยู่ เมื่อไม่มีกิเลสวัฏ กัมมวัฏก็เป็นอันขาดไป

ทีเดียว และเมื่อกัมมวัฏนั้นขาดไป วิปากวัฏจักมีแต่ที่ไหน ด้วยเหตุนั้น

นั่นแล ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อไม่มีจุติและอุปบัติ โลกนี้และโลกหน้า

ก็ไม่มี ดังนี้เป็นต้น. คำที่ควรกล่าวในข้อนั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว

โดยพิสดารในพาหิยสูตร ในหนหลังนั่นแล. เพราะฉะนั้น พึงทราบ

ความ โดยนัยดังกล่าวแล้วในพาหิยสูตรนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศอานุภาพแห่งอมตมหานิพพาน

อันเป็นเหตุสงบทุกข์ในวัฏฏะได้โดยเด็ดขาด ด้วยสัมมาปฏิบัติ แก่ภิกษุ

เหล่านั้น ในพระศาสนาแม้นี้ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจตุตถนิพพานสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 731

๕. จุนทสูตร

ว่าด้วยเสวยพระกระยาหารมื้อสุดท้าย

[ ๑๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในมัลลชนบท พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงเมืองปาวา ได้ยินว่า ในที่นั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวันของนายจุนทกัมมารบุตรใกล้เมืองปาวา

นายจุนทกัมมารบุตรได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปใน

มัลลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จมาถึงเมืองปาวาแล้วประทับ

อยู่ ณ อัมพวันของเราใกล้เมืองปาวา ลำดับนั้นแล นายจุนทกัมมารบุตร

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมารบุตร

เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา ลำดับ

นั้นแล นายจุนทกัมมารบุตร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง

ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้-

มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์จงทรงรับภัตของข้าพระองค์เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ลำดับนั้นแล นายจุนทกัมมารบุตร

ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว ลุกจากอาสนะถวาย

บังคม กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป ครั้งนั้น เมื่อล่วงราตรีนั้นไป

นายจุนทกัมมารบุตรสั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีต และเนื้อ

สุกรอ่อนเป็นอันมากในนิเวศน์ของตน แล้วให้กราบทูลภัตกาลแด่พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว ภัตสำเร็จแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 732

ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร

เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ แล้ว

ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูลาดถวาย ครั้นแล้วตรัสกะนายจุนทกัมมาร-

บุตรว่า ดูก่อนจุนทะ เนื้อสุกรอ่อนอันใดท่านได้ตกแต่งไว้ ท่านจง

อังคาสเราด้วยเนื้อสุกรอ่อนนั้น ส่วนขาทนียโภชนียาหารอื่นใดท่านได้

ตกแต่งไว้ ท่านจงอังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขาทนียโภชนียาหารนั้นเถิด นาย-

จุนทกัมมารบุตรทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า

ด้วยเนื้อสุกรอ่อนที่ได้ตกแต่งไว้ และอังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยขาทนียโภชนี-

ยาหารอย่างอื่นที่ได้ตกแต่งไว้ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะ

นายจุนทกัมมารบุตรว่า ดูก่อนจุนทะ ท่านจงฝังเนื้อสุกรอ่อนที่เหลืออยู่นั้น

เสียในบ่อ เราไม่เห็นบุคคลผู้บริโภคเนื้อสุกรอ่อนนั้นแล้ว พึงให้ย่อยไป

โดยชอบ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ นอกจากตถาคต นายจุนท-

กัมมารบุตรตรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ฝั่งเนื้อสุกรอ่อนที่ยังเหลือเสีย

ในบ่อ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้นายจุนทกัมมาร-

บุตรเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา เสด็จ

ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.

[๑๖๓] ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเสวยภัตของนาย-

จุนทกัมมารบุตรแล้ว เกิดอาพาธกล้า เวทนากล้า มีการลงพระโลหิตใกล้

ต่อนิพพาน ได้ยินว่าในสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสติสัมป-

ชัญญะ ทรงอดกลั้นไม่ทุรนทุราย ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 733

กะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิดอานนท์ เราจักไปเมืองกุสินารา ท่านพระ-

อานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น

นักปราชญ์ เสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมารบุตร

แล้ว อาพาธกล้า ใกล้ต่อนิพพาน เกิดพยาธิกล้าขึ้น

แก่พระศาสดาผู้เสวยเนื้อสุกรอ่อน พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงพระบังคนหนักเป็นพระโลหิตอยู่ ได้ตรัส

ว่า เราจะไปนครกุสินารา.

[๑๖๔] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแวะออกจากทางแล้ว

เสด็จเข้าไปยังโคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ครั้นแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดู

ก่อนอานนท์ เร็วเถิด เธอจงปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นแก่เรา เราเหน็ดเหนื่อย

นัก จักนั่ง ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ปูลาดผ้า

สังฆาฏิ ๔ ชั้นถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนืออาสนะที่ท่าน

พระอานนท์ปูถวาย ครั้นแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์

เร็วเถิด เธอจงไปนำน้ำดื่มมาให้เรา เรากระทำ จักดื่มน้ำ เมื่อพระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ เกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มผ่านไป

แล้ว น้ำนั้นถูกล้อเกวียนบดแล้ว ขุ่นมัวหน่อยหนึ่ง ไหลไปอยู่ แม่น้ำ

กุกุฏานที่นี้มีน้ำใสจืดเย็นสนิท มีท่าราบเรียบ ควรรื่นรมย์ อยู่ไม่ไกลนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้า จักเสวยน้ำและจักสรงชำระพระกายให้เย็นในแม่น้ำ

กุกุฏานที่นี้ แม้ครั้งที่ ๒... แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสกะท่าน

พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เร็วเถิด เธอจงไปนำน้ำดื่มมาให้เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 734

เรากระหาย จักดื่มน้ำ ท่านพระอานนท์ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ถือบาตรเข้าไปยังแม่น้ำนั้น.

[๑๖๕] ครั้งนั้นแล แม่น้ำนั้นถูกล้อเกวียนบดแล้ว ขุ่นมัวหน่อย

หนึ่งไหลไปอยู่ เมื่อท่านพระอานนท์เดินเข้าไปใกล้ ใสแจ๋วไม่ขุ่นมัวไหล

ไปอยู่ ลำดับนั้น พระอานนท์ดำริว่า ท่านผู้เจริญ น่าอัศจรรย์หนอ

ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ความที่พระตถาคตทรงมีฤทธิ์มีอานุภาพ

มาก แม่น้ำนี้แล ถูกล้อเกวียนบดแล้ว ขุ่มมัวหน่อยหนึ่งไหลไปอยู่ เมื่อ

เราเดินเข้าไปใกล้ ใสแจ๋วไม่ขุ่นมัวไหลไปอยู่ ท่านพระอานนท์เอาบาตร

ตักน้ำแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้ว ความที่พระตถาคตทรงมีฤทธิ์ มีอานุภาพมาก

แม่น้ำนี้แล ถูกล้อเกวียนบดแล้ว ขุ่นมัวหน่อยหนึ่งไหลไปอยู่ เมื่อ

ข้าพระองค์เดินเข้าไปใกล้ ใสแจ๋วไม่ขุ่มมัวไหลไปอยู่ ขอพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสวยน้ำเถิด ขอพระสุคตเจ้าเสวยน้ำเถิด ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้เสวยน้ำ.

[๑๖๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เสด็จ

เข้าไปยังแม่น้ำกุกุฏานที ครั้นแล้วเสด็จลงแม่น้ำกุกฏานที ทรงสรงและ

เสวยเสร็จแล้วเสด็จขึ้นแล้วเสด็จเข้าไปยังอัมพวัน ครั้นแล้วตรัสเรียกท่าน

พระจุนทกะว่า ดูก่อนจุนทกะ เธอจงปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นแก่เราเถิด

เราเหน็ดเหนื่อยจักนอน ท่านพระจุนทกะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ปูลาดผ้าสังฆาฏิ ๔ ชั้นถวาย ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จ

สีหไสยาโดยพระปรัศว์เบื้องขวา ซ้อนพระบาทเหลื่อมพระบาท ทรงมี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 735

พระสติสัมปชัญญะ มนสิการอุฏฐานสัญญา ส่วนท่านพระจุนทกะนั่งอยู่

เบื้องหน้าพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ณ ที่สำเร็จสีหไสยานั้นเอง.

ครั้นกาลต่อมา พระธรรมสังคาหกาจารย์ได้รจนาคาถาเหล่านี้ไว้ว่า

[๑๖๗] พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังแม่น้ำกุกุฏานที มีน้ำ

ใสแจ๋วจืดสนิท เสด็จลงไปแล้ว พระตถาคตผู้

ศาสดาผู้ไม่มีบุคคลเปรียบในโลกนี้ มีพระกายเหน็ด

เหนื่อยนักแล้ว ทรงสรงและเสวยแล้วเสด็จขึ้น พระ-

ศาสดาผู้อันโลกพร้อมทั้งเทวโลกห้อมล้อมแล้วในท่าม

กลางแห่งหมู่ภิกษุ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดาผู้-

แสวงหาคุณอันใหญ่ทรงประกาศในพระธรรมนี้ เสด็จ

ถึงอัมพวันแล้ว ตรัสเรียกภิกษุชื่อจุนทกะว่า เธอจงปู

ลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้นแก่เราเถิด เราจักนอน ท่านพระ-

จุนทกะนั้น อันพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระองค์ทรง

อบรมแล้ว ทรงตักเตือนจึงรีบปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น

ทีเดียว พระศาสดามีพระกายเหน็ดเหนื่อยนัก ทรง

บรรทมแล้ว. ฝ่ายพระจุนทกะก็ได้นั่งอยู่เบื้องพระ-

พักตร์ ณ ที่นั้น.

[๑๖๘] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์

ว่า ดูก่อนอานนท์ ข้อนี้จะพึงมีบ้าง ใคร ๆ จะพึงทำความเดือดร้อนให้

เกิดแก่นายจุนทกัมมารบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสจุนทะ ไม่เป็นลาภของท่าน

ท่านได้ไม่ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 736

แล้วปรินิพพาน ดังนี้ ดูก่อนอานนท์ เธอพึงระงับความเดือดร้อนของ

นายจุนทกัมมารบุตรว่า ดูก่อนอาวุโสจุนทะ เป็นลาภของท่าน ท่านได้

ดีแล้ว ที่พระตถาคตเสวยบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้ายแล้วปรินิพ-

พาน ดูก่อนอาวุโสจุนทะ ข้อนี้เราได้ฟังมา ได้รับมาแล้วเฉพาะพระพักตร์

พระผู้มีพระภาคเจ้า บิณฑบาตทั้ง ๒ นี้มีผลเสมอ ๆ กัน มีวิบากเท่า ๆ กัน

มีผลมากและอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตเหล่าอื่นมากนัก บิณฑบาต ๒ เป็น

ไฉน คือ บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัม-

โพธิญาณ ๑ บิณฑบาตที่พระตถาคตเสวยแล้วเสด็จปรินิพพานด้วยอนุ-

ปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ บิณฑบาตทั้ง ๒ นี้มีผลเสมอ ๆ กัน มีวิบากเท่า ๆ

กัน มีผลมากและมีอานิสงส์มากกว่าบิณฑบาตเหล่าอื่นมากนัก นายจุนท-

กัมมารบุตรก่อสร้างกรรมที่เป็นไป เพื่ออายุ เพื่อวรรณะ เพื่อสวรรค์ เพื่อ

ยศ เพื่อความเป็นอธิบดี ดูก่อนอานนท์ เธอพึงระงับความเดือดร้อนของ

นายจุนทกัมมารบุตร ด้วยประการอย่างนี้.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

บุญย่อมเจริญแก่บุคคลผู้ให้ทาน บุคคลผู้สำรวม

ย่อมไม่ก่อเวร ส่วนท่านผู้ฉลาดย่อมละบาป ครั้นละ

บาปแล้วย่อมปรินิพพาน เพราะความสิ้นไปแห่งราคะ

โทสะ และโมหะ.

จบจุนทสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 737

อรรถกถาจุนทสูตร

จุนทสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มลฺเลสุ ได้แก่ ในชนบท มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า มหตา

ภิกฺขุสงฺเฆน ได้แก่ ชื่อว่า ใหญ่ เพราะใหญ่โดยคุณและใหญ่โดยจำนวน.

จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่าใหญ่ แม้โดยประกอบด้วยคุณพิเศษมีศีลเป็น

ต้น เพราะในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ล้าหลังเขาทั้งหมดก็เป็นพระ-

โสดาบัน ชื่อว่าใหญ่ ด้วยการใหญ่ โดยจำนวน เพราะกำหนดจำนวน

ไม่ได้. จริงอยู่ จำเดิมตั้งแต่เวลาปลงอายุสังขาร ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้ว

มาแล้ว ไม่ได้หลีกไปเลย.

บทว่า จุนฺทสฺส ได้แก่ ผู้มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า กมฺมารปุตฺตสฺส

ได้แก่ บุตรของนายช่างทอง.

เล่ากันมาว่า บุตรของนายช่างทองนั้น เป็นคนมั่งคั่ง เป็นกุฏุมพี

ใหญ่ เป็นพระโสดาบัน โดยการเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นครั้งแรก

นั่นเอง จัดแจงพระคันธกุฎี อันควรแก่ก็ประทับอยู่ของพระศาสดา

และที่พักกลางคืน และที่พักกลางวันแก่ภิกษุสงฆ์ และจัดโรงฉัน กุฏิ

มณฑปและที่จงกรม แก่ภิกษุสงฆ์ ในสวนอัมพวันของตน แล้วสร้าง

วิหาร อันประกอบด้วยซุ้มประตู ล้อมด้วยกำแพง มอบถวายแก่

ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า ได้ยินว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอัมพวันของนายจุนทะบุตรของช่างทอง

ใกล้เมืองปาวานั้น ดังนี้.

บทว่า ปฏิยาทาเปตฺวา ความว่า ให้จัดแจง คือ ให้หุงต้ม.

บทว่า สูกรมทฺทว นี้ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาว่า เนื้อสุกรทั่ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 738

ไป ที่อ่อนนุ่มสนิท. แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า สูกรมทฺทว

ความว่า ไม่ใช่เนื้อสุกร แต่เป็นหน่อไม้ไผ่ ที่พวกสุกรแทะดุน. อาจารย์

พวกอื่นกล่าวว่า เห็ด ที่เกิดในถิ่นที่พวกสุกรแทะดุน. ส่วนอาจารย์อีก

พวกหนึ่งกล่าวว่า บ่อเกิดแห่งรสชนิดหนึ่ง อันได้นามว่า สุกรอ่อน.

อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ก็นายจุนทะบุตรของนายช่างทอง สดับ

คำนั้นว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จปรินิพพานแล้ว คิดว่า

ไฉนหนอ พระผู้มีพระภาคเจ้า จะพึงเสวยเนื้อสุกรอ่อนนี้แล้ว พึงดำรง

อยู่ตลอดกาลนาน ดังนี้แล้ว จึงได้ถวายเพื่อประสงค์จะให้พระศาสดา

ดำรงพระชนมายุได้ตลอดกาลนาน. บทว่า เตน ม ปริวิส ได้แก่ จง

ให้เราบริโภคด้วยเนื้อสุกรอ่อนนั้น.

ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนั้น ? เพราะ

ทรงมีความเอ็นดูแก่สัตว์อื่น. ก็เหตุนั้นพระองค์ได้ตรัสไว้แล้ว ในพระ-

บาลีนั่นแล. ด้วยเหตุนั้น เป็นอันพระองค์ทรงแสดงว่า ควรจะกล่าว

อย่างนั้น เพราะภิกษาเขานำมาเฉพาะ และคนอื่นไม่ควรจะบริโภค.

ได้ยินว่า เทวดาในมหาทวีปทั้ง ๔ ซึ่งมีทวีปละ ๒,๐๐๐ เป็นบริวาร

ใส่โอชารสลงในสุกรอ่อนนั้น. เพราะฉะนั้น ใคร ๆ อื่นไม่อาจจะให้

เนื้อสุกรอ่อนนั้น ย่อยได้โดยง่าย. พระศาสดาเมื่อทรงประกาศความนั้น

เพื่อจะปลดเปลื้องความว่าร้ายของคนอื่น จึงทรงบันลือสีหนาท โดยนัย

มีอาทิว่า จุนทะ เราไม่เห็นเนื้อสุกรอ่อนนั้น. จริงอยู่ เพื่อจะปลดเปลื้อง

การว่าร้ายของชนอื่นผู้ว่าร้ายว่า ไม่ให้ของที่เหลือจากที่ตนบริโภคแก่ภิกษุ

ไม่ให้แก่คนเหล่าอื่น ให้ฝั่งไว้ในบ่อ ทำให้พินาศ ด้วยคำว่า โอกาส

แห่งคำนั้น จงอย่ามี ดังนี้ พระองค์จึงทรงบันลือสีหนาท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 739

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า สเทวเก เป็นต้น มีวินิจฉัยดังต่อ

ไปนี้ ชื่อว่า สเทวกะ เพราะเป็นไปกับด้วยเทวดาทั้งหลาย. ชื่อว่า

สมารกะ. เพราะเป็นไปกับด้วยมาร. ชื่อว่า สพรหมกะ เพราะเป็นไป

กับด้วยพรหม. ชื่อว่า สัสสมณพราหมณี เพราะเป็นไปกับด้วยสมณ-

พราหมณ์. ชื่อว่า ปชา เพราะเป็นสัตว์เกิด. ชื่อว่า สเทวมนุสสา

เพราะเป็นไปกับด้วยเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ในโลกนั้น พร้อมด้วย

เทวโลก ฯ ล ฯ พร้อมด้วยเทวดาและมนุษย์. ในคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า

สเทวกะ หมายเอาเทวดาชั้นปัญจกามาวจร. ด้วยคำว่า สมารกะ หมายเอา

เทวดาชั้นกามาวจรที่ ๖. ด้วยคำว่า สพรหมกะ หมายเอาพรหมชั้น

พรหมกายิกาเป็นต้น. ด้วยคำว่า สัสสมณพราหมณี หมายเอาสมณะ

ผู้เป็นข้าศึก และพราหมณ์ ผู้เป็นศัตรูต่อพระศาสนา และหมายเอาสมณะ

ผู้สงบบาป และพราหมณ์ผู้ลอยบาป. ด้วยคำว่า ปชา หมายเอาสัตวโลก.

ด้วยคำว่า สเทวมนุสสะ หมายเอาเทวดาโดยสมมติ และมนุษย์ที่เหลือ

ในบทเหล่านั้น ด้วย ๓ บท พึงทราบว่า ท่านถือเอาสัตวโลก โดยโอกาส-

โลก ด้วย ๒ บท พึงทราบว่า ท่านถือเอาสัตวโลก โดยหมู่สัตว์.

พึงทราบอีกนัยหนึ่งดังต่อไปนี้ ด้วยคำว่า สเทวกะ. ท่านหมายเอา

เทวโลกชั้นอรูปาวจร. ด้วยคำว่า สมารกะ ท่านหมายเอาเทวโลกชั้น

ฉกามาวจร. ด้วยคำว่า สพรหมกะ. ท่านหมายเอาพรหมโลกชั้นรูปาวจร

ด้วยคำว่า สัสสมณพราหมณ์เป็นต้น พึงทราบว่า ท่านหมายเอา

มนุษยโลกพร้อมด้วยเทพโดยสมมติด้วยอำนาจบริษัท หรือพึงทราบว่า

ท่านหมายเอาสัตวโลกที่เหลือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 740

บทว่า ภุตฺตาวิสฺส ได้แก่ ผู้บริโภคอยู่. บทว่า ขโร แปลว่า หยาบ.

บทว่า อาพาโธ ได้แก่ โรคอันไม่ถูกส่วนกัน. บทว่า พาฬฺหา ได้แก่

มีกำลัง. บทว่า มรณนฺติกา ได้แก่ กำลังจะตาย คือสามารถจะให้ผู้ป่วย

ถึงเวลาใกล้ตาย. บทว่า สโต สมฺปชาโน อธิวาเสติ ความว่า ตั้งสติ

ไว้ด้วยดี กำหนดด้วยญาณยับยั้งอยู่. บทว่า อวิหญฺมาโน ความว่าไม่

กระทำให้เปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมา เหมือนธรรมที่ไม่ได้กำหนด โดย

อนุวัตตามเวทนา ยับยั้งอยู่ เหมือนไม่ถูกรบกวน ไม่ได้รับความลำบาก.

จริงอยู่ เวทนาเหล่านั้น เกิดขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ในหมู่บ้าน

เวฬุวคามนั่นเอง แต่ถูกพลังแห่งสมาบัติข่มไว้ จึงไม่เกิดขึ้น จนกระทั่ง

วันปรินิพพาน เพราะให้สมาบัติน้อมไปเฉพาะทุก ๆ วัน. แต่พระองค์

ประสงค์จะปรินิพพานในวันนั้น จึงไม่เข้าสมาบัติ เพื่อให้สัตว์เกิดความ

สังเวชว่า แม้ทรงพลังช้าง ๑,๐๐๐ โกฏิเชือกมีกายเสมอกับด้วยเรือนเพชร

มีบุญสมภารที่สั่งสมตลอดกาลประมาณมิได้ เมื่อภพยังมีอยู่ เวทนาเห็น

ปานนี้ ก็ย่อมเป็นไป จะป่วยกล่าวไปไยถึงสัตว์เหล่าอื่นเล่า เพราะเหตุ

นั้น เวทนาจึงเป็นไปอย่างแรงกล้า.

บทว่า อายาม แปลว่า มาไปกันเถอะ.

ภายหลัง พระธรรมสังคาหกาจารย์ ได้ตั้งคาถา ซึ่งมีอาทิว่า จุนฺทสฺส

ภตฺต ภุญฺชิตฺวา ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุตฺตสฺส จ สูกร-

มทฺทเวน ความว่า เกิดพยาธิอย่างแรงกล้า แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เสวย

เพราะไม่ใช่ทรงเสวยพระกระยาหารเป็นปัจจัย. เพราะถ้าโรคอย่างแรงกล้า

จักเกิด คือ จักได้มีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มิได้เสวยพระกระยาหารแล้วไซร้

แต่เพราะพระองค์เสวยพระกระยาหารอันสนิท เวทนาจึงได้เบาบางลง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 741

ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงไม่สามารถจะเสด็จไปได้ด้วยพระบาท.

พระองค์จึงทรงแสดงสีหนาท ที่พระองค์ทรงบันลือว่า กระยาหารที่ผู้ใด

บริโภคแล้วพึงถึงความย่อยไปโดยชอบ ฯลฯ เว้นพระตถาคต ดังนี้ ให้เป็น

ประโยชน์. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า เสียงที่กระหึ่มในฐานะที่ไม่สมควร ย่อม

ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะเหตุที่พระกระยาหารที่พระองค์ทรง

เสวยแล้ว ไม่ทำวิการอะไร ๆ ให้เกิดแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระกระ-

ยาหารซึ่งเป็นสิ่งแสลง ที่กรรมอันได้ช่องแล้วเข้าไปยึดถือ สงบไปโดย

ประมาณน้อย จึงทำพลังให้เกิดขึ้นในร่างกาย ซึ่งเป็นเหตุให้ประโยชน์

๓ อย่างตามที่จะกล่าวให้สำเร็จ ฉะนั้น พระกระยาหารนั้นจึงถึงความ

ย่อยไปโดยชอบทีเดียว แต่เพราะเวทนาถึงปางตาย ที่ใครๆ ไม่รู้แล้วไม่

ปรากฏแล้ว จึงได้มี ฉะนี้แล.

บทว่า วิริจฺจมาโน ได้แก่ เป็นผู้ทรงพระบังคนหนักเป็นพระโลหิต

เป็นไปเนือง ๆ. บทว่า อโวจ ความว่า พระองค์ได้ตรัสอย่างนั้น เพื่อ

ประโยชน์แก่ปรินิพพานในที่ที่พระองค์ทรงปรารถนา.

ถามว่า ก็เพราะเหตุที่เมื่อโรคเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงเสด็จไปยังกรุงกุสินารา เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่สามารถปรินิพพาน

ในที่อื่น ? ตอบว่า เพราะพระองค์ไม่สามารถจะปรินิพพานในที่ไหน ๆ

หามิได้ แต่พระองค์ทรงดำริอย่างนี้ว่า เมื่อเราไปยังกรุงกุสินารา อัตถุ-

ปัตติเหตุในการแสดงมหาสุทัสสนสูตร ก็จักมี สมบัติอันใด อันเช่นกับ

สมบัติที่เราพึงเสวยในเทวโลก ด้วยอัตถุปปัตติ เหตุนั้น เราก็ได้เสวยแล้ว

ในมนุษยโลก เราจักประดับสมบัตินั้นด้วยภาณวารทั้ง ๒ แล้ว จักแสดง

ธรรม ชนเป็นอันมากได้ฟังดังนั้นแล้ว ก็จักสำคัญถึงกุศล ที่ตนควร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 742

กระทำ ในที่นั้น แม้สุภัททะก็จักมาเฝ้าเรา ถามปัญหา ในที่สุด การแก้

ปัญหาจึงตั้งอยู่ในสรณะ. ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว เจริญกัมมัฏฐาน

บรรลุพระอรหัต ในเมื่อเรายังทรงชีพอยู่นั่นแล จักเป็นผู้ชื่อว่าปัจฉิม-

สาวก เมื่อเราปรินิพพานในที่อื่นเสีย ความทะเลาะก็จักมี เพราะธาตุ

เป็นเหตุ โลหิตจักไหลไปเหมือนแม่น้ำ แต่เมื่อเราปรินิพพานในกรุง

กุสินารา โทณพราหมณ์ ก็จักสงบวิวาทนั้น แบ่งธาตุทั้งหลายให้ไป

ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงเห็นเหตุ ๓ ประการดังว่ามานี้ จึงได้

เสด็จไปยังกรุงกุสินารา ด้วยความอุตสาหะใหญ่.

ศัพท์ว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตใช้ในโจทนัตถะ. บทว่า กิลนฺโตสฺมิ

ความว่า เราเป็นผู้ซูบซีด. ด้วยบทนั้น ทรงแสดงเฉพาะเวทนาตามที่

กล่าวแล้วว่ามีกำลังรุนแรงทีเดียว. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จ

ดำเนินไปในกาลนั้น ด้วยอานุภาพของพระองค์ ก็เวทนาอันแรงกล้า

เผ็ดร้อน เป็นไปโดยประการที่คนเหล่าอื่น ไม่สามารถทำการยกเท้าขึ้นได้

เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงตรัสว่า เราจักนั่ง ดังนี้.

บทว่า อิทานิ แปลว่า ในกาลนี้. บทว่า ลุลิต ได้แก่ อากูล

เหมือนถูกย่ำยี. บทว่า อาวิล แปลว่า ขุ่นมัว. บทว่า อจฺโฉทกา ได้แก่

น้ำที่ใสน้อย. บทว่า สาโตทกา ได้แก่ น้ำที่มีรสอร่อย. บทว่า สีโตทกา

ได้แก่ น้ำเย็น. บทว่า เสโตทกา ได้แก่ น้ำปราศจากเปือกตม. จริงอยู่

น้ำ โดยสภาวะ มีสีขาว แต่กลายเป็นอย่างอื่น ด้วยอำนาจพื้นที่ และ

ขุ่นมัวไปด้วยเปือกตม. แม่น้ำ แม้ขาว มีทรายหยาบสะอาด เกลื่อนกล่น

มีสีขาวไหลไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เสโตทกา น้ำขาว. บทว่า

สุปติฏฺา แปลว่า ท่าดี. บทว่า รมณียา ความว่า อันบุคคลพึงยินดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 743

โดยเป็นส่วนภูมิภาคอันเป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ และชื่อว่าเป็นที่รื่นรมย์แห่ง

ใจ เพราะสมบูรณ์ด้วยน้ำตามที่กล่าวแล้ว.

บทว่า กิลนฺโตสฺมิ จุนฺท นิปชฺชิสฺสามิ ความว่า ในบรรดาตระกูล

ช้าง ๑๐ ตระกูลที่พระตถาคตตรัสไว้อย่างนี้ว่า

ช้าง ๑๐ เชือกเหล่านี้ คือช้างตระกูลกาฬาวกะ ๑

ช้างตระกูลคังเคยยะ ๑ ช้างตระกูลปัณฑระ ๑ ช้าง

ตระกูลตัมพะ ๑ ช้างตระกูลปิงคละ ๑ ช้างตระกูล

คันธะ ๑ ช้างตระกูลมังคละ ๑ ช้างตระกูลเหมาะ ๑

ช้างตระกูลอุโบสถ ๑ ช้างตระกูลฉันทันต์ ๑.

กำลังแห่งช้างตามปกติ ๑๐ เชือก กล่าวคือช้างตระกูลกาฬาวกะ ตามที่

กล่าวแล้วอย่างนี้ เป็นกำลังของช้างตระกูลคังเคยยะ ๑ เชือก รวมความว่า

โดยการคำนวณที่คูณด้วย ๑๐ แห่งช้างตามปกติ กำลังกายพระตถาคตซึ่งมี

ประมาณกำลัง ๑,๐๐๐ โกฏิเชือกทั้งหมดนั้นถึงซึ่งความสิ้นไป เหมือนน้ำที่

เขาใส่ไว้ในกระบอกกรองน้ำ ตั้งแต่ภายหลังภัตรในวันนั้น. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเสด็จจากเมืองปาวา ๓ คาวุต จากกุสินารา ประทับนั่งในระหว่าง

นี้ ในที่ ๒๕ (คาวุต) กระทำความอุตสาหะใหญ่ เสด็จมาถึงกรุงกุสินารา

ในเวลาพระอาทิตย์อัสดงคต. พระองค์ทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า

โรคย่อมมาย่ำยีบุคคลผู้ไม่มีโรคทั้งหมดได้ ด้วยประการฉะนี้ เมื่อจะตรัส

พระวาจา อันกระทำความสังเวชแก่สัตวโลก พร้อมทั้งเทวโลก จึงตรัสว่า

จุนทะ เราเห็นผู้เหน็ดเหนื่อย จักนอนละ ดังนี้.

การนอนในคำว่า สีหเสยฺย นี้ มี ๔ อย่าง คือ การนอนของบุคคล

ผู้บริโภคกาม ๑ การนอนของพวกเปรต ๑ การนอนของพระตถาคต ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 744

การนอนของพวกสีหะ ๑. ในบรรดาการนอน ๔ อย่างนั้น การนอนที่

ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้บริโภคกาม โดยมากย่อมนอน

ตะแคงซ้าย นี้ชื่อว่า การนอนของผู้บริโภคกาม. การนอนที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเปรตโดยมากย่อมนอนหงาย นี้ชื่อว่า การนอน

ของพวกเปรต. ฌานที่ ๔ ชื่อว่าการนอนของพระตถาคต. การนอนที่

ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย พระยาราชสีห์ ย่อมนอนตะแคงขวา นี้ชื่อว่า

การนอนของสีหะ. จริงอยู่ การนอนของสีหะนี้ ชื่อว่าเป็นการนอนอย่าง

สูงสุด เพราะมีอิริยาบถอันสูงขึ้นเพราะเดช. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ย่อมสำเร็จการนอนอย่างสีหะ โดยตะแคงขวา ดังนี้.

บทว่า ปาเท ปาท ได้แก่ ซ้อนพระบาทซ้ายเหลื่อมพระบาทขวา.

บทว่า อจฺจาธาย แปลว่า ซ้อน คือวางข้อเท้าให้เหลื่อม. จริงอยู่ เมื่อ

ข้อเท้าต่อข้อเท้า เมื่อเข่าต่อเข่า เบียดเบียดเสียดกัน เวทนาย่อมเกิดขึ้นเนื่อง ๆ

การนอนย่อมไม่ผาสุก. แต่เมื่อวางข้อเท้า ให้เหลื่อมกัน โดยที่ไม่เบียด

เสียดกัน เวทนาย่อมไม่เกิด การนอนก็ผาสุก. เพราะฉะนั้น พระองค์

จึงบรรทมอย่างนี้.

คาถาเหล่านี้ว่า คนฺตฺวาน พุทฺโธ พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย

รจนาข้นภายหลัง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นทิก ได้แก่ ซึ่งแม่น้ำ.

บทว่า อปฺปฏิโมธ โลเก ได้แก่ ไม่มีผู้เปรียบปานในโลกนี้ คือในโลก

พร้อมด้วยเทวโลกนี้. บทว่า นหาตฺวา ปิวิตฺวา อุทตาริ ได้แก่ ทรงสรง

สนาน โดยกระทำให้พระวรกายเย็น และทรงดื่มน้ำแล้วเสด็จขึ้นจากน้ำ.

ได้ยินว่า ในกาลนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสรงสนาน สิ่งทั้งหมด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 745

คือ ปลาและเต่า ภายในแม่น้ำ น้ำ ไพรสณฑ์ที่ฝั่งทั้งสอง และภูมิภาค

ทั้งหมดนั้น ได้กลายเป็นดังสีทองไปทั้งนั้น.

บทว่า ปุรกฺขโต ความว่า อันโลกพร้อมทั้งเทวโลก ชื่อว่า กระ-

ทำไว้ในเบื้องหน้า โดยการบูชาและการนับถือ เพราะพระองค์เป็นครูผู้

สูงสุดแก่สัตว์ โดยพิเศษด้วยคุณ. บทว่า ภิกฺขุคณสฺส มชฺเฌ แปลว่า

ในท่ามกลางของภิกษุสงฆ์. ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทรงได้รับเวทนาเกินประมาณ จึงไปแวดล้อมอยู่โดยรอบ

อย่างใกล้ชิด.

บทว่า สตฺถา ความว่า ชื่อว่าศาสดา เพราะทรงโปรยปรายอนุศาสนี

แก่เหล่าสัตว์ ด้วยประโยชน์ในปัจจุบัน ประโยชน์ในสัมปรายภพ และ

ปรมัตถประโยชน์. บทว่า ปวตฺตา ภควาธ ธมฺเม ความว่า พระศาสดา

ชื่อว่า ภควา เพราะเป็นผู้มีภาคยธรรมเป็นต้น ทรงประกาศศาสนธรรม

มีศีลเป็นต้น ในพระศาสนานี้ คือทรงขยายพระธรรมหรือพระธรรมขันธ์

๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ให้แพร่หลาย. บทว่า อมฺพวน ได้แก่ สวน

อัมพวัน ใกล้ฝั่งแม่น้ำนั่นเอง. บทว่า อามนฺตยิ จุนฺทก ความว่า ได้ยิน

ว่าในขณะนั้น ท่านพระอานนท์ มัวบิดผ้าอาบน้ำอยู่จึงล่าช้า พระจุนทก-

เถระ ได้อยู่ใกล้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกท่านมา.

บทว่า ปมุเข นิสีทิ ได้แก่ นั่งอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระศาสดา โดยยก

วัตรขึ้นเป็นประธาน. ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า เพราะเหตุไรหนอ พระศาสดา

จึงตรัสเรียก ดังนี้ พระอานนท์ผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก ก็มาถึงตามลำดับ.

ครั้นท่านพระอานนท์มาถึงตามลำดับอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัส

เรียกมา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 746

บทว่า อุปฺปาทเหยฺย แปลว่า พึงให้เกิดขึ้น. อธิบายว่า ใครๆ

ผู้ทำความเดือดร้อนให้เกิดขึ้น จะพึงมีบ้าง. บทว่า อลาภา ความว่า

ข้อที่บุคคลเหล่าอื่นให้ทาน จะจัดว่าเป็นลาภ กล่าวคือ อานิสงส์แห่งทาน

หาได้ไม่. บทว่า ทุลฺลทฺธ ความว่า ความได้เป็นอัตภาพ เป็นมนุษย์

แม้ที่ได้ด้วยบุญพิเศษ จัดว่าเป็นการได้โดยยาก. บทว่า ยสฺส เต แก้เป็น

ยสฺส ตว แปลว่า ของท่านใด. ใครจะรู้ บิณฑบาตนั้นว่า หุงไว้ไม่สุก

หรือเปียกเกินไป. พระตถาคตทรงเสวยบิณฑบาตครั้งสุดท้ายแม้เช่นไร

จึงเสด็จปรินิพพาน จักเป็นอันท่านถวายไม่ดีแน่แท้. บทว่า ลาภา ได้แก่

ลาภกล่าวคืออานิสงส์แห่งทานที่มีในปัจจุบัน และสัมปรายภพ. บทว่า

สุลทฺธ ความว่า ความเป็นมนุษย์ ท่านได้ดีแล้ว. บทว่า สมฺมุขา แปลว่า

โดยพร้อมหน้า ไม่ใช่โดยได้ยินมา อธิบายว่า ไม่ใช่โดยเล่าสืบ ๆ กันมา.

บทว่า เมต ตัดเป็น เม เอต หรือ มยา เอต แปลว่า ข้อนั้นเราได้รับ

ทราบแล้ว. บทว่า เทวฺเม ตัดเป็น เทฺว อิเม แปลว่า บิณฑบาต สอง

อย่างนี้. บทว่า สมปฺผลา ได้แก่ มีผลเสมอกันด้วยอาการทั้งปวง.

พระตถาคต ทรงเสวยบิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายแล้ว จึงตรัสรู้

ทานนั้น จัดเป็นทานในกาลที่พระองค์ยังละกิเลสไม่ได้ แต่ทานของนาย

จุนทะนี้ เป็นทานในกาลที่พระองค์หมดอาสวะแล้ว มิใช่หรือ แต่เพราะ

เหตุไร ทานเหล่านี้จึงมีผลเสมอกัน. เพราะมีการปรินิพพานเสมอกัน

เพราะมีสมาบัติเสมอกัน และเพราะมีการระลึกเสมอกัน. จริงอยู่ พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเสวยบิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายแล้ว ปรินิพพาน-

ด้วยสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ทรงเสวยบิณฑบาตที่นายจุนทะถวาย แล้ว

ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ รวมความว่า ทานเหล่านั้น มีผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 747

เสมอกัน เพราะมีการปรินิพพานเสมอกัน. ในวันตรัสรู้ พระองค์ทรงเข้า

สมาบัติ นับได้ ๒,๔๐๐,๐๐๐ โกฏิ แม้ในวันปรินิพพาน พระองค์ก็ทรง

เข้าสมาบัติเหล่านั้นทั้งหมด ทานเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีผลเสมอกัน เพราะ

มีการเสมอกันด้วยการเข้าสมาบัติ ด้วยประการฉะนี้. สมจริงดังพระดำรัส

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ผู้ที่บริโภคบิณฑบาตของผู้ใด แล้วเข้า

เจโตสมาธิหาประมาณมิได้อยู่ ความหลั่งไหลแห่งบุญ ความหลั่งไหล

แห่งกุศล ของผู้นั้นหาประมาณมิได้ ดังนี้เป็นต้น. ครั้นต่อมา นางสุชาดา

ได้สดับว่า ข่าวว่าเทวดานั้น ไม่ใช่รุกขเทวดา ข่าวว่า ผู้นั้นเป็นพระโพธิ-

สัตว์ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์บริโภคบิณฑบาทนั้นแล้ว ตรัสรู้อนุตร-

สัมมาสัมโพธิญาณ ได้ยินว่า พระโพธิสัตว์นั้น ได้ยังอัตภาพให้เป็นไป

ด้วยบิณฑบาตนั้น สิ้น ๗ สัปดาห์. เมื่อนางสุชาดาได้ฟังคำนี้แล้ว หวน

ระลึกว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดปีติโสมนัสอย่างรุนแรง. ครั้นต่อมา

เมื่อนายจุนทะสดับว่า ข่าวว่า เราได้ถวายบิณฑบาตครั้งสุดท้าย ข่าวว่า

เราได้รับยอดธรรม ข่าวว่า พระศาสดาทรงเสวยบิณฑบาตของเรา แล้ว

ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ที่พระองค์ทรงปรารถนาอย่างยิ่ง

ตลอดกาลนาน จึงหวนระลึกว่า เป็นลาภของเราหนอ จึงเกิดปีติโสมนัส

อย่างรุนแรงแล. พึงทราบว่า บิณฑบาตทาน ๒ อย่างชื่อว่า มีผลเสมอ

กัน แม้เพราะมีการระลึกถึงเสมอกัน อย่างนี้.

บทว่า อายุสวตฺตนิก แปลว่า เป็นทางให้อายุยืนนาน. บทว่า

อุปจิต แปลว่า สั่งสมแล้ว คือให้เกิดแล้ว. บทว่า ยสสวตฺตนิก แปลว่า

เป็นทางให้มีบริวาร. บทว่า อาธิปเตยฺยสวตฺตนิก แปลว่า เป็นทางแห่ง

ความเป็นผู้ประเสริฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 748

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง ถึงอรรถทั้ง ๓ อย่างนี้คือ ความที่ทานมีผลมาก. ความที่พระองค์

ทรงเป็นทักขิไณยบุคคลอย่างยอดเยี่ยม โดยพระคุณมีศีลเป็นต้น ๑ อนุ-

ปาทาปรินิพพาน ๑ แล้วจึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ททโต ปุญฺ ปวฑฺฒติ ความว่า บุคคล

ผู้ให้ทาน ชื่อว่า ย่อมก่อบุญอันสำเร็จด้วยทาน เพราะเพรียบพร้อมด้วย

จิต และเพรียบพร้อมด้วยทักขิไณยบุคคล ย่อมมีผลมากกว่า มีอานิสงส์

มากกว่า. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอรรถในบทว่า ททโต ปุญฺ ปวฑฺฒติ

นี้ อย่างนี้ว่า ภิกษุผู้ไม่มากไปด้วยอาบัติ ในที่ทุกสถานย่อมสามารถเพื่อ

จะรักษาศีลให้หมดจดด้วยดี แล้วบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาโดยลำดับ

เพราะผู้บริจาคไทยธรรม ย่อมกระทำให้มาก ด้วยเจตนาเป็นเครื่องบริจาค

เพราะเหตุนั้น บุญทั้ง ๓ อย่างนี้ มีทานเป็นต้น ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น.

บทว่า สญฺมโต ได้แก่ ผู้สำรวมด้วยการสำรวมในศีล อธิบายว่า ผู้ตั้ง

อยู่ในสังวร. บทว่า เวร น จียติ ความว่า เวร ๕ อย่างย่อมไม่เกิด.

อีกอย่างหนึ่ง บุคคลผู้มีศีลหมดจดด้วยศีล ผู้สำรวมด้วยกาย วาจา และ

จิต เพราะอธิศีล มีอโทสะเป็นประธาน ย่อมไม่ก่อเวรด้วยใคร ๆ เพราะ

เป็นผู้มากด้วยขันติ ผู้นั้นจักเป็นผู้ชื่อว่า ก่อเวรแต่ที่ไหน เพราะฉะนั้น

ผู้สำรวมคือผู้ระวังนั้น ย่อมไม่ก่อเวร เพราะเหตุมีความสำรวม. บทว่า

กุสโล จ ชหาติ ปาปก ความว่า ก็บุคคลผู้ฉลาด คือผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา

ตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์ด้วยดี กำหนดกัมมัฏฐาน อันเหมาะแก่ตน

ในอารมณ์ ๓๘ ประการ ย่อมยังฌานต่างด้วยอุปจาระและอัปปนา ให้สำเร็จ

ชื่อว่า ละ คือสละอกุศล มีกามฉันทะเป็นต้น อันชั่วช้าลามก ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 749

วิกขัมภนปหาน. ผู้นั้นทำฌานนั้นนั่นแหละให้เป็นบาท เริ่มตั้งความสิ้น

ไปและเสื่อมไปในสังขารทั้งหลาย บำเพ็ญวิปัสสนา ทำวิปัสสนาให้เกิด

ย่อมละอกุศลอันชั่วช้าลามกได้อย่างเด็ดขาด ด้วยอริยมรรค.

บทว่า ราคโทสโมหกฺขยา ปรินิพฺพุโต ความว่า ผู้นั้นละอกุศล

อันลามกอย่างนี้แล้ว ปรินิพพานด้วยการดับกิเลสไม่มีส่วนเหลือ เพราะ

สิ้นราคะเป็นต้น ต่อแต่นั้น ย่อมปรินิพพานด้วยการดับขันธ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยทักขิณาสมบัติของนายจุนทะ และ

ทรงอาศัยทักขิไณยสมบัติของพระองค์ จึงทรงเปล่งอุทานอันซ่านออกด้วย

กำลังแห่งปีติ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาจุนทสูตรที่ ๕

๖. ปาฏลิคามิยสูตร

ว่าด้วยโทษของศีลวิบัติและอานิสงส์ของศีลสมบัติ

[๑๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ พร้อม

ด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ได้เสด็จถึงปาฏลิคาม อุบาสก (และอุบาสิกา) ชาว

ปาฏลิคามได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในแคว้นมคธ

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปถึงปาฏลิคามแล้ว ลำดับนั้นแล

อุบาสกชาวปาฏลิคามพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับเรือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 750

สำหรับพักของข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดย

ดุษณีภาพ ลำดับนั้นแล อุบาสกชาวปาฏลิคามทราบว่า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงรับแล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ

ประทักษิณแล้วเข้าไปยังเรือนสำหรับพัก ครั้นแล้วลาดเครื่องลาดทั้งปวง

ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมันแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรือนสำหรับพัก

ข้าพระองค์ทั้งหลายปูลาดแล้ว ปูลาดอาสนะ ตั้งหม้อน้ำ ตามประทีปน้ำมัน

แล้ว บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำคัญกาลอันควรเถิด ครั้งนั้นแล

เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้วถือบาตรและจีวร เสด็จถึง

เรือนสำหรับพัก พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วทรงล้างพระบาท เสด็จ

เข้าไปยังเรือนสำหรับพัก ประทับนั่งพิงเสากลางผินพระพักตร์ไปทาง

ทิศบูรพา แม้ภิกษุสงฆ์ล้างเท้าแล้ว เข้าไปยังเรือนสำหรับพัก นั่งพิง

ฝาด้านหลังผินหน้าไปทางทิศบูรพา แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ แม้

อุบาสกชาวปาฏลิคามก็ล้างเท้าแล้วเข้าไปยังเรือนสำหรับพัก นั่งพิงฝาด้าน

หน้าผินหน้าไปทางทิศประจิม แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่.

[๑๗๐] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะอุบาสกชาวปาฏ-

ลิคามว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕

ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติในโลกนี้ ย่อม

เข้าถึงความเสื่อมแห่งโภคะใหญ่ เพราะความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษ

แห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 751

อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันลามกของบุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ขจร

ไปแล้ว นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติเข้าไปหาบริษัทใด คือขัตติย-

บริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี ย่อมไม่

แกล้วกล้า เก้อเขินเข้าไปหา นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล

ประการที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ ย่อมเป็นผู้หลงใหลกระทำ

กาละ นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ทุศีลมีศีลวิบัติ เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีลประการ

ที่ ๕.

ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย โทษแห่งศีลวิบัติของบุคคลผู้ทุศีล ๕ ประ-

การนี้แล.

ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕

ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือบุคคลผู้มีศีลผู้ถึงพร้อมด้วยศีลในโลก

นี้ ย่อมได้กองแห่งโภคะใหญ่เพราะความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็น

อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๑.

อีกประการหนึ่ง กิตติศัพท์อันงามของบุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อม

ด้วยศีล ย่อมขจรไป นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการ

ที่ ๒.

อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เข้าไปหาบริษัทใด คือ

ขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 752

ย่อมเป็นผู้แกล้วกล้า ไม่เก้อเขินเข้าไปหาบริษัทนั้น นี้เป็นอานิสงส์แห่ง

ศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๓.

อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเป็นผู้ไม่

หลงใหลกระทำกาละ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการ

ที่ ๔.

อีกประการหนึ่ง บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเข้าถึงสุคติ

โลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีลประการที่ ๕.

ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย อานิสงส์แห่งศีลสมบัติของบุคคลผู้มีศีล ๕

ประการนี้แล.

[๑๗๑] ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงชี้แจงให้อุบาสกชาว

ปาฏลิคาม ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา

สิ้นราตรีเป็นอันมาก แล้วทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี

ทั้งหลาย ราตรีล่วงไปแล้ว ท่านทั้งหลาย จงสำคัญเวลาอันสมควร ณ

บัดนี้เถิด ลำดับนั้น อุบาสกชาวปาฏลิคามทั้งหลายชื่นชมยินดีภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ

ประทักษิณแล้วหลีกไป ลำดับนั้น เมื่ออุบาสกชาวปาฏลิคามหลีกไปแล้ว

ไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จเข้าไปยังสุญญาคาร.

[๑๗๒] ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะใน

แคว้นมคธ จะสร้างเมืองในปาฏลิคามเพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย ก็สมัย

นั้นแล เทวดาเป็นอันมากแบ่งพวกละพัน ย่อมรักษาพื้นที่ในปาฏลิคาม

เทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่รักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์

ของพระราชาผู้มีศักดิ์ใหญ่ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 753

เทวดาผู้มีศักดิ์ปานกลางรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของราชมหา-

อำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ปานกลาง ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์

ในประเทศนั้น เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของ

ราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์

ในประเทศนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นเทวดาเหล่านั้นเป็นจำนวน

พันๆ รักษาพื้นที่อยู่ในปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของ

มนุษย์ คือเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่. . . เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ใน

ประเทศใด จิตของราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ ย่อมน้อมไป

เพื่อจะสร้างนิเวศน์ในประเทศนั้น ครั้งนั้น เมื่อปัจจุสสมัยแห่งราตรีนั้น

ตั้งขึ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์

ใครหนอจะสร้างเมืองในปาฏลิคาม ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ

จะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้น

มคธ จะสร้างเมืองในปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย ประหนึ่ง

ว่าปรึกษากับเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้วสร้างเมืองฉะนั้น ดูก่อนอานนท์ เรา

ได้เห็นเทวดาเป็นจำนวนมากแบ่งเป็นพวกละพัน รักษาพื้นที่อยู่ในปาฏลิ-

คาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ณ ตำบลนี้ คือเทวดา

ผู้มีศักดิ์ใหญ่. . . เทวดาผู้มีศักดิ์ต่ำรักษาพื้นที่อยู่ในประเทศใด จิตของ

ราชมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้มีศักดิ์ต่ำ ย่อมน้อมไปเพื่อจะสร้างนิเวศน์

ในประเทศนั้น ดูก่อนอานนท์ เมืองนี้จักเป็นเมืองเลิศแห่งประชุมของ

เหล่ามนุษย์เป็นอริยะ และเป็นทางค้าขาย เป็นที่แก้ห่อสินค้า อันตราย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 754

๓ อย่างจักมีแก่เมืองปาฏลิคาม คือจากไฟ ๑ จากน้ำ ๑ จากความแตก

แห่งกันและกัน ๑.

[๑๗๓] ครั้งนั้นแล มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่น-

แคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้

ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ขอพระโคดมผู้เจริญพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดทรงรับภัตของข้าพระองค์

ทั้งหลาย เพื่อเสวยในวันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ

ลำดับนั้น มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ ทราบว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว เข้าไปยังที่พักของตน ครั้นแล้วสั่ง

ให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีตในที่พักของตน แล้วกราบทูล

ภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ถึงเวลาแล้ว

ภัตเสร็จแล้ว ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรง

ถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังที่พัก ของมหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสส-

การะ ในแว่นแคว้นมคธ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือ

อาสนะที่เขาปูลาดถวาย ลำดับนั้น มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะใน

แว่นแคว้นมคธ อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนีย-

โภชนียาหารอันประณีต ให้อิ่มหนำสำราญด้วยมือของตน ครั้งนั้นแล

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้ว ชักพระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว

มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ ถือเอาอาสนะต่ำ

แห่งหนึ่งนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 755

กะมหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธ ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ด้วยพระคาถาเหล่านี้ว่า

บุรุษชาติบัณฑิต ย่อมสำเร็จการอยู่ในประเทศ

ใด พึงเชิญท่านผู้มีศีล สำรวมแล้ว ประพฤติ

พรหมจรรย์ ให้บริโภคในประเทศ นั้น ควรอุทิศ

ทักษิณาทานเพื่อเทวดาผู้สถิตอยู่ในที่นั้น ๆ เทวดา

เหล่านั้นอันบุรุษชาติบัณฑิตนับถือบูชาแล้ว ย่อม

นับถือบูชาบุรุษชาติบัณฑิตนั้น แต่นั้นย่อมอนุเคราะห์

บุรุษชาติบัณฑิตนั้น ประหนึ่งมารดาอนุเคราะห์บุตร

บุคคลผู้อันเทวดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมเห็นความเจริญ

ทุกเมื่อ.

[๑๗๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงอนุโมทนาแก่มหา-

อำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสการะในแว่นแคว้นมคธด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว

เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป ก็สมัยนั้นแล มหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสส-

การะในแว่นแคว้นมคธ ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างหลัง ๆ ด้วยตั้ง

ใจว่า วันนี้ พระสมณโคดมจักเสด็จออกโดยประตูใด ประตูนั้นจักชื่อว่า

โคดมประตู จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคาโดยเท่าใด ท่านั้นจักชื่อว่าโคตมติฏฐะ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกประตูใด ประตูนั้นชื่อว่าโคดม-

ประตู พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปยังแม่น้ำคงคา ก็สมัยนั้นแล แม่น้ำคงคา

เป็นแม่น้ำเต็มเปี่ยมพอกาดื่มกินได้ มนุษย์บางจำพวกแสวงหาเรือ บาง

พวกแสวงหาพ่วง บางพวกผูกแพ ต้องการจะข้ามไปฝั่งโน้น ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจากฝั่งนี้แห่งแม่น้ำคงคา ไปปรากฏอยู่ที่ฝั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 756

โน้น พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้หรือพึง

คู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็นมนุษย์เหล่านั้น

บางพวกแสวงหาเรือ บางพวกแสวงหาพ่วง บางพวกผูกแพ ต้องการจะ

ข้ามไปฝั่งโน้น.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ชนเหล่าใดจะข้ามห้วงน้ำคือสงสาร และสระคือ

ตัณหา ชนเหล่านั้นกระทำสะพานคืออริยมรรค ไม่

แตะต้องเปือกตมคือกามทั้งหลาย จึงข้ามสถานที่ลุ่ม

อันเต็มด้วยน้ำได้ ก็ชนแม้ต้องการจะข้ามน้ำมีประ-

มาณน้อย ก็ต้องผูกแพ ส่วนพระพุทธเจ้า และ

พุทธสาวกทั้งหลายเป็นผู้มีปัญญา เว้นจากแพก็ข้าม

ได้.

จบปาฏลิคามิยสูตรที่ ๖

อรรถกถาปาฏลิคามิยสูตร

ปาฏลิคามิยสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มคเธสุ แปลว่า ในแคว้นมคธ. บทว่า มหตา ความว่า แม้

ในที่นี้ ได้แก่ ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เพราะใหญ่โดยคุณบ้าง ใหญ่โดยจำนวน

โดยการกำหนดนับไม่ได้บ้าง. บทว่า ปาฏลิคาโม ได้แก่ บ้านตำบลหนึ่ง

ในแคว้นมคธ อันมีชื่ออย่างนี้. ข่าวว่า ในวันสร้างบ้านนั้น หน่อแคฝอย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 757

๒- หน่อ ในที่จับจองสร้างบ้าน ได้แทรกออกมาจากแผ่นดิน. ด้วยเหตุ

นั้น บ้านนั้นชนทั้งหลายจึงพากันกล่าวว่า ปาฏลิคาม. บทว่า ตทวสริ

ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไป คือได้เสด็จไปถึงปาฏลิคามนั้น.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จไปถึงปาฏลิคามในกาลไร. พระองค์

ทรงให้สร้างเจดีย์เพื่อพระธรรมเสนาบดี ในกรุงสาวัตถี โดยนัยที่กล่าว

ไว้แล้วในหนหลัง เสด็จออกจากกรุงสาวัตถีนั้นประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์

จึงให้สร้างเจดีย์เพื่อพระมหาโมคคัลลานะ ในกรุงราชคฤห์นั้น เสด็จออก

จากกรุงราชคฤห์นั้นแล้ว ประทับอยู่ที่อัมพลัฏฐิวัน แล้วเสด็จจาริกไปใน

ชนบท โดยการจาริกไม่รีบด่วน จึงประทับแรมราตรีหนึ่งในที่นั้น ๆ

เพื่อทรงอนุเคราะห์สัตวโลก จึงได้เสด็จถึงปาฏลิคามโดยลำดับ.

บทว่า ปาฏลิคามิยา ไค้แก่ อุบาสกชาวปาฏลิคาม. ได้ยินว่า

อุบาสกเหล่านั้นบางพวกตั้งอยู่ในสรณะ บางพวกตั้งอยู่ในศีล บางพวก

ตั้งอยู่ทั้งในสรณะ ตั้งอยู่ทั้งในศีล ด้วยการเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น

ครั้งแรก. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อุบาสกทั้งหลาย เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ถึงที่ประทับ ดังนี้.

ได้ยินว่า ในปาฏลิคาม พวกคนของพระเจ้าอชาตศัตรู และของ

พระเจ้าลิจฉวีทั้งหลายพากันไปตามกาลอันสมควร ไล่เจ้าของบ้านให้ออก

จากบ้าน แล้วอยู่เดือนหนึ่งบ้าง กึ่งเดือนบ้าง. ด้วยเหตุนั้น พวกคน

ชาวปาฏลิคามถูกรุกรานเป็นประจำ จึงคิดว่า ก็ในเวลาที่พวกคนเหล่านี้มา

จักได้มีที่อยู่ ดังนี้แล้ว จึงได้พากันสร้างศาลาหลังใหญ่กลางเมือง อัน

เพียงพอแก่การอยู่ของคนทั้งหมด โดยไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน คือให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 758

มีที่เก็บของของอิสรชนในส่วนหนึ่ง ให้เป็นที่อยู่ส่วนหนึ่ง ให้เป็นที่อยู่

ของคนเดินทางผู้เป็นอาคันตุกะไว้ส่วนหนึ่ง ให้เป็นที่อยู่ของคนกำพร้า

เข็ญใจไว้ส่วนหนึ่ง เป็นที่อยู่ของคนไข้ไว้ส่วนหนึ่ง ดังนี้. ศาลาหลังนั้น

ได้มีชื่อว่า อาวสถาคาร (ที่พักแรม) แล. ก็ในวันนั้น การสร้างศาลา

หลังนั้น ก็ได้สำเร็จลง. ก็ชาวปาฏลิคามเหล่านั้น พากันไปในที่นั้น

ตรวจดูศาลานั้นตั้งแต่ซุ้มประตู ซึ่งสำเร็จเรียบร้อย จัดแจงไว้ด้วยดี ด้วย

งานไม้ งานปูน และงานจิตรกรรม เป็นต้น เหมือนเทพวิมาน แล้วพา

กันคิดว่า อาวสถาคารนี้ เป็นที่น่ารื่นรมย์ เป็นมิ่งขวัญยิ่งนัก ใครหนอ

จักได้ใช้สอยก่อน จักพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเราตลอดกาล

นาน. ก็ในขณะนั้นนั่นเอง พวกเขาได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ถึงบ้านนั้น. ด้วยเหตุนั้น พวกเขาจึงเกิดปีติโสมนัส ทำการตกลงกันว่า

พวกเราควรจะนำพระผู้มีพระภาคเจ้ามาบ้าง ด้วยว่าพระองค์เสด็จถึงที่อยู่

ของพวกเราด้วยพระองค์เองแล้ว วันนี้พวกเรา จักให้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่ในที่นี้ แล้วจักให้พระศาสดาทรงเสวยก่อน ภิกษุสงฆ์ก็เหมือน

กัน เมื่อภิกษุสงฆ์มาถึง พระพุทธพจน์คือพระไตรปิฎก ก็จักมาถึงเหมือน

กัน เราจักให้พระศาสดาตรัสมงคล แสดงธรรม ดังนั้น เมื่อรัตนะ ๓

ใช้สอยแล้ว ภายหลังพวกเรา และคนเหล่าอื่นก็จักใช้สอย เมื่อเป็นเช่นนี้

ก็จักเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่พวกเรา ตลอดกาลนาน ดังนี้แล้ว จึงเข้า

ไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อประโยชน์นั้นนั่นแล. เพราะฉะนั้น พวกเขา

จึงกราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จง

ทรงรับอาวสถาคาร ของข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 759

บทว่า เยน อาวสถาคาร เตนุปสงฺกมึสุ ความว่า อาวสถาคารนั้น

เขาจัดแจงปฏิบัติด้วยดี เหมือนเทพวิมาน เพราะสำเร็จเรียบร้อยด้วยดี

ในวันนั้นนั่นเองก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังไม่ได้ตบแต่ง ให้ควรแก่

พระพุทธเจ้า พวกชาวปาฏลิคามเหล่านั้น พากันคิดว่า ธรรมดาพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย มีอัธยาศัยอยู่ป่า มีป่าเป็นที่มายินดี พึงอยู่ภายในบ้าน

ก็ตาม ไม่อยู่ก็ตาม ฉะนั้น พวกเราพอรู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

พอพระหฤทัย จึงจักตบแต่ง ดังนี้แล้ว จึงพากันไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

บัดนี้ ทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพอพระหฤทัย จึงมีความประสงค์

จะตบแต่งเช่นนั้น จึงเข้าไปถึงอาวสถาคาร.

บทว่า สพฺพสนฺถรึ อาวสถาคาร สนฺถริตฺวา ความว่า ชาวปาฏ-

ลิคามเหล่านั้นลาดอาวสถาคารนั้น อย่างที่ลาดแล้วทั้งหมดนั่นแล ก่อนอื่น

ทั้งหมด จึงเอาโคมัยสดฉาบทาพื้น แม้ที่ฉาบไว้ด้วยปูนขาว ด้วยคิดว่า

ธรรมดาว่าโคมัย ย่อมใช้ได้ในงานมงคลทั้งหมด รู้ว่าแห้งแล้ว จึงไล้ทา

ด้วยของหอมมีชาติ ๔ โดยไม่ปรากฏรอยเท้าในที่ที่เหยียบ ลาดเสื่อลำแพน

ที่มีสีต่างๆ ไว้ข้างบน แล้วลาดผ้าขนสัตว์ผืนใหญ่เป็นต้น ไว้ข้างบนเสื่อ

ลำแพนเหล่านั้นแล้ว ลาดที่ว่างทั้งหมด อันควรจะพึงลาด ด้วยเครื่องลาด

มีสีต่างๆ มีหัตถัตถรณะเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ลาด

อาวสถาคาร ลาดทั้งหมดเป็นต้น.

จริงอยู่ ในท่ามกลางอาสนะทั้งหลาย พวกเขาตบแต่งพุทธอาสน์

มีค่ามาก พิงเสามงคลเป็นอันดับแรก แล้วลาดเครื่องลาดที่อ่อนนุ่ม น่า

รื่นรมย์ใจ ไว้บนพุทธอาสน์นั้นแล้ว จัดแจงเขนยที่มีสีแดงทั้งสองข้าง

เห็นเข้าน่าฟูใจแล้ว ผูกเพดานอันวิจิตรด้วยดาวทองดาวเงินไว้ข้างบน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 760

ประดับด้วยพวงของหอม พวงดอกไม้เเละพวงใบไม้เป็นต้น ให้กั้นข่าย

ดอกไม้ ในที่ ๑๒ ศอก โดยรอบแล้ว ให้เอาม่านผ้าล้อมที่ประมาณ ๓๐

ศอก ให้ลาดแคร่ พนักอิงเตียงและตั่งเป็นต้น เพื่อภิกษุสงฆ์อิงฝาด้าน

หลัง ให้ลาดเครื่องลาดขาวไว้ข้างบน ให้สร้างข้างศาลาด้านทิศตะวันออก

อันเหมาะกับที่นั่งของตน. อย่างที่ท่านหมายกล่าวไว้ว่า ให้ปูอาสนะ

เป็นต้น.

บทว่า อุทกมณิก ได้แก่ หม้อน้ำ อันแล้วด้วยทอง และมณีมีค่ามาก

คือ ตุ่มน้ำ. พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ จักล้างมือและเท้า บ้วนปาก

ตามความชอบใจ ด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พวกเขาจึงบรรจุน้ำ

ที่มีสีดังแก้วมณี ให้เต็มในที่นั้น ๆ แล้ว ใส่ดอกไม้นานาชนิด และจุณ

สำหรับอบน้ำ เพื่อประโยชน์แก่การอบแล้ว ก็ให้เอาใบกล้วยวางปิดไว้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ให้ตั้งหม้อน้ำไว้.

บทว่า เตลปฺปทีป อาโรเปตฺวา ความว่า ให้ตามประทีปน้ำมัน

ที่ตะคันอันสำเร็จด้วยทองและเงินเป็นต้น วางไว้ในมือของรูปทหาร และ

รูปที่สลักอันงดงามเป็นต้น ที่ไฟชนวนอันมีด้ามสำเร็จด้วยทองและเงิน

เป็นต้น. ก็ในคำว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมึสุ นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

อุบาสกชาวปาฏลิคามเหล่านั้น มิใช่จัดแจงแต่อาวสถาคารอย่างเดียวเท่านั้น

ก็หามิได้ โดยที่แท้ ยังให้จัดแจงถนนในบ้านแม้ทั้งสิ้นแล้ว ให้ยกธงชัย

ขึ้น วางหม้อน้ำอันเต็มและต้นกล้วยไว้ที่ประตูบ้าน ให้บ้านทั้งหมด

เหมือนดารดาษไปด้วยหมู่ดาว ด้วยระเบียบประทีป ให้ตีกลองร้องประ-

กาศว่า ให้เด็กที่ยังไม่ทิ้งนมให้ดื่มน้ำนม ให้เด็กรุ่น ๆ รีบกินเสียแล้วไป

นอน อย่าส่งเสียงเอ็ดอึง วันนี้ พระศาสดาจักประทับอยู่ภายในบ้านราตรี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 761

หนึ่ง ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงมีพระประสงค์เสียงที่เบา

ดังนี้แล้ว ถือไฟชนวนเอง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ.

บทว่า อถโข ภควา (ปุพฺพณฺหสมย) นิวาเสตฺวา ปตฺตจีวรมาทาย

สทฺธึ ภิกฺขุสงฺเฆน เยน อาวสถาคาร เตนุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า

เมื่อพวกชาวปาฏลิคามเหล่านั้น กราบทูลกาลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์

เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า สำคัญเวลาอันสมควร ณ บัดนี้เถิด พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงจัดแจงผ้าที่ย้อมแล้ว ๒ ชั้น มีสีดังดอกทองหลางแดงอัน

ชุ่มด้วยน้ำครั่ง นุ่งปกปิดมณฑล ๓ เหมือนเอากรรไกรตัดดอกปทุม ทรง

คาดประคดเอว อันงดงามดุจสายฟ้า เหมือนเอาสังวาลทองคำล้อมกำ

ดอกปทุม ทรงห่มผ้าบังสุกุลจีวรอันบวรที่ย้อมดีแล้ว มีสีเสมอด้วยต้นไทร

พระองค์ทรงถือเอา ทำภูเขาจักรวาล สิเนรุ ยุคันธร และมหาปฐพีทั้งสิ้น

ให้หวั่นไหว เหมือนเอาผ้ากัมพลแดงห่อหุ้มตะพองช้าง เหมือนซัดตาข่าย

แก้วประพาฬที่ลิ่มทองคำ สูงประมาณ ๑๐๐ ศอก เหมือนสวมเสื้อกัมพล

แดงที่สุวรรณเจดีย์ใหญ่ เหมือนเมฆแดงปกปิดพระจันทร์ในวันเพ็ญ ซึ่ง

กำลังโคจร เหมือนลาดน้ำครั่งที่สุกดี บนยอดภูเขาทอง และเหมือนเอา

ตาข่าย สายฟ้า แวดวง ยอดเขาจิตกูฏ เสด็จออกจากมณฑปทองคำที่

พระองค์ประทับนั่ง เหมือนพระจันทร์เพ็ญ และเหมือนพระสุริโยทัย

ทอแสงอ่อน ๆ จากยอดเขา โดยรอบ เหมือนไกรสรราชสีห์ออกจากพงป่า.

ลำดับนั้นแล รัศมีซ่านออกจากพระวรกายของพระองค์ เหมือน

กลุ่มสายฟ้า แลบออกจากหน้าเมฆ แล้วจับรอบต้นไม้ เหมือนสายน้ำ

ทองคำจับที่ใบ ดอก ผล กิ่ง และค่าคบ ซึ่งเหลืองไปด้วยการราดรด.

ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ถือบาตรและจีวรของตนๆ พากัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 762

แวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้า. ก็ภิกษุเหล่านั้น ผู้ยืนแวดล้อมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าอยู่ ได้เป็นผู้เช่นนั้นคือ เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่คลุกคลี

ด้วยหมู่ ผู้ปรารภความเพียร ผู้กล่าวสอน ผู้อดทนต่อถ้อยคำ ผู้กล่าว

ตักเตือน ผู้มักตำหนิความชั่ว สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ

และสมบูรณ์ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ. พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุเหล่านั้น

แวดล้อมแล้วไพโรจน์ เหมือนแท่งทองคำ ที่แวดวงด้วยผ้ากัมพลแดง

เหมือนพระจันทร์เพ็ญ แวดล้อมไปด้วยหมู่ดาว เหมือนนาวาทองคำ อยู่

ในป่าดอกปทุมแดง และเหมือนปราสาททองคำ ที่แวดล้อมไปด้วยไพที

แก้วประพาฬ.

ฝ่ายพระมหาเถระ มีพระมหากัสสปะเป็นประธาน ผู้มีราคะอันคาย

แล้ว ผู้ทำลายกิเลสแล้ว สางกิเลสดุจรกชัฏ ตัดกิเลสเครื่องผูกได้แล้ว

ไม่ข้องอยู่ในตระกูลหรือคณะ ห่มบังสุกุลจีวรมีสีดังสีเมฆ พากันแวดล้อม

เหมือนพญาช้างหุ้มเกราะแก้วมณีฉะนั้น. ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์เองเป็นผู้ปราศจากราคะ อันผู้ปราศจากราคะแวดล้อม เป็นผู้

ปราศจากโทสะ อันผู้ปราศจากโทสะแวดล้อม เป็นผู้ปราศจากโมหะ อัน

ผู้ปราศจากโมหะแวดล้อม เป็นผู้ปราศจากตัณหา อันผู้ปราศจากตัณหา

แวดล้อม เป็นผู้ปราศจากกิเลส อันผู้ปราศจากกิเลสแวดล้อม พระองค์

เองเป็นผู้ตรัสรู้แล้ว อันผู้ตรัสรู้ตามแวดล้อม เหมือนเกสรแวดล้อมด้วย

กลับ เหมือนช่อดอกไม้แวดล้อมด้วยเกสร เหมือนพญาช้างฉัททันต์ แวด

ล้อมด้วยช้าง ๘,๐๐๐ ตัว เชือก เหมือนพญาหงส์ธตรฐ แวดล้อมด้วยหงส์

๙๐,๐๐๐ ตัว เหมือนพระเจ้าจักรพรรดิ แวดล้อมด้วยองค์แห่งเสนา เหมือน

ท้าวสักกเทวราช แวดล้อมด้วยเทวดา เหมือนหาริตมหาพรหม แวด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 763

ล้อมด้วยหมู่พรหม เหมือนพระจันทร์เพ็ญ แวดล้อมด้วยหมู่ดาว ทรง

ดำเนินไปตามทาง อันเป็นที่ไปยังปาฏลิคาม ด้วยเพศแห่งพระพุทธเจ้า

อันหาผู้เปรียบมิได้ ด้วยพุทธวิลาส อันหาประมาณมิได้.

ลำดับนั้น พระพุทธรัศมีทึบ มีวรรณะเพียงดังทองคำ พุ่งออก

จากพระวรกายเบื้องหน้าของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ได้จรดที่ประมาณ

๘๐ ศอก อนึ่ง พระพุทธมีรัศมีทึบ มีวรรณะเพียงดังทองคำ พุ่งออก

จากพระวรกายเบื้องหลัง จากพระปรัศว์เบื้องขวา จากพระปรัศว์เบื้อง

ซ้าย จรดที่ประมาณ ๘๐ ศอก. พระพุทธรัศมีทึบสีคราม เหมือนสีที่

ส่องออกจากคอนกยูง พุ่งออกจากมวยผมทั้งหมด ตั้งแต่ที่สุดปลายผม

ข้างบน จรดที่ประมาณ ๘๐ ศอก บนท้องฟ้า. รัศมีมีวรรณะดังแก้ว

ประพาฬ พุ่งออกจากพระยุคลบาทเบื้องต่ำ จรดที่ประมาณ ๘๐ ศอก

ในแผ่นดินทึบ. พระพุทธรัศมีทึบสีขาว พุ่งออกจากพระทนต์ จากที่

ดวงตาขาว จากที่เล็บที่พ้นจากหนังและเนื้อ จรดที่ประมาณ ๘๐ ศอก.

พระรัศมี มีสีหงสบาท พุ่งออกจากที่สีแดงและสีเหลืองคละกัน จรดที่

ประมาณ ๘๐ ศอก. พระรัศมีเลื่อมปภัสสร พุ่งขึ้นมีประโยชน์ดีกว่าเขา

หมดแล. พระพุทธรัศมีมีวรรณะ ๖ ประการ ทำสถานที่ประมาณ ๘๐

ศอก โดนรอบอย่างนี้ ให้โชติช่วง แผ่ฉวัดเฉวียงไป แล่นไปสู่ทิศน้อย

ใหญ่ เหมือนเปลวประทีปดวงใหญ่ แลบออกจากไฟชนวนทองค่ำ แล่น

ขึ้นสู่กลางหาว และเหมือนสายฟ้าที่แลบออกจากมหาเมฆในทวีปทั้ง ๔.

อันเป็นเหตุให้ส่วนทิศทั้งหมดรุ่งโรจน์โชติช่วง เหมือนโปรยปรายด้วย

ดอกจำปาทองคำ เหมือนเอาสายน้ำทองคำ เทออกจากหม้อทองคำ

เหมือนแวดวงด้วยแผ่นทองคำที่แผ่ออกไป เหมือนเกลื่อนกล่นฟุ้งด้วยจุณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 764

แห่งดอกทองกวาว ดอกกรรณิกา และดอกทองหลาง ที่ฟุ้งขึ้นด้วยลม

หัวด้วน และเหมือนย้อมด้วยผงชาด. จริงอยู่ พระโฉมของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า อันรุ่งเรืองแวดล้อมด้วยอนุพยัญชนะ ๘๐ และพระรัศมีด้านละ

วา ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ อันปราศจากเครื่อง

หม่นหมอง มีไฝฝ้า และขี้แมลงวัน เป็นต้น รุ่งโรจน์โชติช่วง เหมือน

ท้องฟ้าสว่างด้วยหมู่ดาวที่สุกปลั่ง เหมือนป่าปทุมที่แย้มบานเต็มที่

เหมือนต้นปาริฉัตตกะ (ต้นแคฝอย) สูง ๑๐๐ โยชน์ ผลิบานเต็มที่ เหมือน

ครอบงำสิริกับสิริของพระจันทร์ ๓๒ ดวง ของพระอาทิตย์ ๓๒ ดวง

ของพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๒ ของพระเทวราช ๓๒ ของมหาพรหม ๓๒

ตั้งเรียงกันตามลำดับ ที่ประดับด้วยความเป็นผู้มีพระบารมี ๓๐ ถ้วน ที่

ทรงบำเพ็ญมาโดยชอบ คือ พระบารมี ๑๐ พระอุปบารมี ๑๐ และพระ-

ปรมัตถบารมี ๑๐ เกิดขึ้นด้วยการบำเพ็ญทาน ด้วยการรักษาศีล ด้วย

การบำเพ็ญกัลยาณธรรมสิ้น ๔ อสงไขย กำไรแสนกัลป์ รวมลงใน

อัตภาพหนึ่ง เมื่อไม่ได้โอกาสที่จะให้ผล เป็นเหมือนถึงความคับแคบ

เป็นเหมือนเวลายกสิ่งของในเรือ ๑,๐๐๐ ลำ บรรทุกลงเรือลำเดียว เหมือน

เวลายกสิ่งของในเกวียน ๑,๐๐๐ เล่ม บรรทุกลงเกวียนเล่มเดียว และเป็น

เหมือนเวลาที่แม่น้ำคงคา ๒๕ สาย แยกออกจากกันแล้วรวมเป็นสายเดียว

กันที่ปากน้ำ.

ไฟชนวนหลายพันดวงโผล่ขึ้นเบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาค-

เจ้านี้ ผู้สว่างไสวอยู่ด้วยพุทธรังสีนี้ ทั้งเบื้องพระปฤษฎางค์ พระปรัศว์

ซ้าย พระปรัศว์เบื้องขวาก็เหมือนกัน. ดอกมะลิ ดอกจำปา ดอกมะลิ-

ซ้อน อุบลแดง อุบลเขียว ดอกพิกุล และดอกไม้ย่างทราย เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 765

และจุรณะเครื่องหอมมีสีเขียวและสีเหลืองเป็นต้นเรียงราย ดุจเมล็ดฝนที่

ปราศจากมหาเมฆทั้ง ๔ ทิศ. เสียงกึกก้องแห่งดนตรีมีองค์ ๕ และเสียง

กึกก้องสดุดีที่เกี่ยวด้วยพุทธคุณ ธรรมคุณ และสังฆคุณ ได้เป็นเสมือน

มีปากพูดเต็มไปทั่วทุกทิศ. ดวงตาของเทพ สุบรรณ นาค ยักษ์ คนธรรพ์

และมนุษย์ ได้เป็นเสมือนได้ดื่มน้ำอมฤต. ก็ในที่นี้ ควรจะกล่าวสรรเสริญ

การเสด็จไป โดยเป็นพัน ๆ บท. แต่ในที่นี้ มีเพียงมุขปาฐะดังต่อไปนี้

พระผู้นำโลกไปให้วิเศษ ผู้สมบูรณ์ด้วยสรรพางค์

กายอย่างนี้ ผู้ทำแผ่นดินให้หวั่นไหว ผู้ไม่เบียดเบียน

เหล่าสัตว์ เสด็จดำเนินไปอยู่. พระผู้องอาจใน

หมู่ชน ทรงยกพระบาทขวาขึ้นก่อน ผู้เพียบพร้อม

พื้นพระบาทเบื้องล่างของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้

พื้นพระบาทเบื้องล่างของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้

เสด็จดำเนินไป อ่อนนุ่มลูกพื้นดินอันสม่ำเสมอ นี้

แปดเปื้อนด้วยธุลี. เมื่อพระโลกนายเสด็จดำเนินไป

สถานที่ลุ่ม ย่อมนูนขึ้น สถานที่นูนขึ้นก็สม่ำเสมอ

ทั้งที่แผ่นดินไม่มีจิตใจ. เมื่อพระผู้นำโลกเสด็จ

ดำเนินไป มรรคาทั้งหมดปราศจากหิน ก้อนกรวด

กระเบื้องถ้วย หลักตอและหนาม. ไม่ยกพระบาท

ในที่ไกลเกินไป ไม่ซอยพระบาทในที่ใกล้เกินไป ไม่

หนีบพระชาณุและข้อพระบาททั้ง ๒ เบียดเสียดกัน

เสด็จดำเนินไป. พระมุนีผู้มีการดำเนินเพียบพร้อม

มีพระทัยตั้งมั่น เมื่อเสด็จไปก็ไม่เสด็จเร็วเกินไป ทั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 766

ไม่เสด็จช้าเกินไป. พระองค์เสด็จไปไม่ได้ทอด

พระเนตรดูเบื้องบนเบื้องล่าง เบื้องขวาง ทศน้อย

ทิศใหญ่ก็เหมือนกัน ทรงทอดพระเนตรเพียงชั่วแอก.

พระชินเจ้าพระองค์นั้น เสด็จเยื้องกรายดุจพญาช้าง

ย่อมงดงามในการเสด็จดำเนินไป พระองค์เป็นผู้เลิศ

ของโลก เสด็จดำเนินไปงดงาม ทำโลกพร้อมทั้ง

เทวโลกให้ร่าเริง. พระองค์งดงามดุจพญาอุสภะ

ดุจไกรสรราชสีห์ มีการเดินอย่างงดงาม ทรงยัง

เหล่าสัตว์เป็นอันมากให้ยินดี เสด็จเข้าถึงบ้านอัน

ประเสริฐ.

นี้ชื่อว่าเป็นเวลาสรรเสริญ กำลังของพระธรรมกถึกเท่านั้น เป็น

ประมาณในการสรรเสริญพระโฉม และสรรเสริญพระคุณของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ในกาลทั้งหลายเช่นอย่างนี้. ด้วยจุรณียบทที่ผูกเป็นคาถา

ควรจะกล่าวเท่าที่สามารถ ไม่ควรจะกล่าวว่า กล่าวได้ยาก หรือว่าแล่น

ไปผิดท่า. จริงอยู่ ถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ย่อมไม่สามารถกล่าวคุณ

ของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้ามีพระคุณหาปริมาณมิได้โดยสิ้นเชิง เพราะ

เมื่อสรรเสริญพระคุณอยู่ตลอดกัป ก็ไม่สามารถจะให้พระคุณสิ้นสุดลงได้

จะป่วยกล่าวไปไยถึงหมู่สัตว์นอกนี้เล่า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตบแต่งประดับด้วยพระสิริวิลาสนี้ เสด็จ

เข้าไปยังปาฏลิคาม อันชนผู้มีจิตเลื่อมใสบูชาด้วยสักการะ มีดอกไม้ ของ

หอม ธูป และจุณสำหรับอบเป็นต้น เสด็จเข้าไปยังอาวสถาคาร. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองผ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 767

ถือบาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปยังอาวสถาคารดังนี้.

บทว่า ปาเท ปกฺขาเลตฺวา ความว่า แม้ถ้าเปือกตมคือธุลี ไม่

เปื้อนพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็จริง ถึงกระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงหวังความเจริญยิ่งแห่งกุศล ของอุบาสกและอุบาสิกาเหล่านั้น จึงทรง

ให้ล้างพระบาท เพื่อให้ชนเหล่าอื่นถือเอาเป็นตัวอย่าง. อีกอย่างหนึ่ง

ขึ้นชื่อว่า พระสรีระอันมีใจครอง ก็ต้องทำให้เย็น เพราะฉะนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงกระทำการสรงสนาน และทรงล้างพระบาทเป็นต้น

แม้เพื่อประโยชน์นี้ทีเดียว.

บทว่า ภควนฺตญฺเว ปุรกฺขตฺวา ได้แก่ กระทำพระผู้มีพระภาค-

เจ้าไว้เบื้องหน้า. ในข้อนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทับนั่งในท่าม-

กลางของภิกษุทั้งหลาย และของอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย ทรงให้สรง

สนานด้วยน้ำหอมแล้ว ทำให้น้ำแห้งไปด้วยเสวียนผ้าแล้ว ทำให้แห้งด้วย

ชาดหิงดุ ย่อมไพโรจน์ยิ่งนัก เหมือนรูปเปรียบที่ทำด้วยแท่งทองสีแดง

ซึ่งประดิษฐานไว้บนตั่ง อันแวดวงด้วยผ้ากัมพลแดง.

ก็ในข้อนี้ เป็นบทประพันธ์ที่ท่านโบราณบัณฑิตประพันธ์ไว้ดัง

ต่อไปนี้

พระโลกนาถเจ้า ผู้เป็นเลิศของชาวโลก ผู้เสด็จ

ไปดุจพญาช้างเยื้องกราย เสด็จไปยังโรงกลมให้

สว่างไสว ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์.

พระองค์เป็นดุจนายสารถี ผู้ฝึกนรชน เป็นเทพ

ยิ่งกว่าเทพ ผู้มีบุญลักษณะกำหนดด้วยร้อย ประทับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 768

นั่งบนบวรพุทธอาสน์นั้น ไพโรจน์อยู่ในท่ามกลาง

พุทธอาสน์ เหมือนแท่งทองคำงดงามอยู่ในผ้ากัมพล

สีเหลืองฉะนั้น. พระองค์ผู้ปราศจากมลทินย่อมไพ-

โรจน์ เหมือนแท่งทองชมพูนุท ที่เขาวางไว้บนผ้า

กัมพลเหลือง เหมือนแก้วมณีงดงามฉะนั้น ทรง

ไพโรจน์งามสะพรั่งกว่าสิ่งทั้งปวง เหมือนต้นสาละ

ใหญ่ มีดอกบานสะพรั่ง อันประดับด้วยพระยาไม้

คล้ายปราสาททองคำเหมือนดอกปทุมโกกนุท เหมือน

ต้นไม้ที่ประดับด้วยประทีปโพลงอยู่ เหมือนไฟบน

ยอดเขา เหมือนต้นปาริฉัตรของเทวดาฉะนั้น.

บทว่า ปาฏลิคามิเก อุปาสเก อามนฺเตสิ ความว่า เพราะเหตุที่ใน

อุบาสกอุบาสิกาเหล่านั้น คนเป็นอันมากตั้งอยู่ในศีล ฉะนั้นเพื่อจะประกาศ

โทษแห่งศีลวิบัติ เป็นอันดับแรกก่อนแล้ว ภายหลังจึงแสดงอานิสงส์แห่ง

ศีลสมบัติ จึงตรัสเรียกมาเพื่อแสดงธรรม โดยนัยมีอาทิว่า ปญฺจิเม

คหปตโย ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไร้ศีล. บทว่า

สีลวิปนฺโน ได้แก่ ผู้มีศีลวิบัติ คือผู้ทำลายสังวร. ก็ในบทเหล่านี้

ด้วยบทว่า ทุสฺสีโล ตรัสถึงบุคคลผู้ไม่มีศีล. ก็บุคคลผู้ไม่มีศีลนั้น

มี ๒ อย่าง คือ เพราะไม่สมาทาน หรือทำลายศีลที่สมาทานแล้ว. ใน

๒ อย่างนั้น ข้อต้นไม่มีโทษ เหมือนอย่างข้อที่ ๒ ที่มีโทษแรงกว่า.

เพื่อจะแสดงความไม่มีศีล ซึ่งมีโทษตามที่ประสงค์เป็นเหตุ ด้วยเทศนา

เป็นบุคลาธิษฐาน จึงตรัสคำว่า สีลวิปนฺโน ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น พระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 769

จึงทรงแสดงอรรถแห่งบทว่า ทุสฺสีโล ดังนี้. บทว่า ปมาทาธิกรณ

แปลว่า มีความประมาทเป็นเหตุ.

ก็สูตรนี้มาแล้ว ด้วยอำนาจคฤหัสถ์ทั้งหลาย แต่ถึงบรรพชิตก็ใช้ได้

เหมือนกัน. จริงอยู่ คฤหัสถ์เลี้ยงชีพด้วยความหมั่นต่อการศึกษาได้

จะเป็นกสิกรรมก็ดี พาณิชยกรรมก็ดี โครักขกรรมก็ดี เป็นผู้ประมาท

ด้วยปาณาติปาตเป็นต้น ไม่สามารถจะยังความหมั่นในศิลปะนั้น ให้สำเร็จ

ได้ตามกาลอันสมควร เมื่อเป็นเช่นนี้การงานของเขาก็จักพินาศไป แต่

เมื่อเขาทำปาณาติปาตเป็นต้น ในเวลาที่เขาอาฆาต ย่อมถึงความเสื่อม

จากโภคะใหญ่ ด้วยอำนาจอาชญา. บรรพชิตผู้ทุศีล ย่อมถึงความเสื่อม

จากศีล จากพระพุทธพจน์ จากฌาน และจากอริยธรรม ๗ ประการ

เพราะความประมาทเป็นเหตุ. บทว่า ปาปโก กิตฺติสทฺโท ความว่า กิตติ-

ศัพท์อันลามกของคฤหัสถ์ ย่อมฟุ้งขจรไปในท่ามกลางบริษัท ๔ ว่า

คฤหัสถ์ชื่อโน้น เกิดในสกุลชื่อโน้น เป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีธรรมอันลามก

เป็นผู้สละเสียทั้งโลกนี้และโลกหน้า ย่อมไม่ให้ทาน แม้วัตถุเพียงสลาก-

ภัต. กิตติศัพท์อันลามกของบรรพชิต ย่อมฟุ้งขจรไปอย่างนี้ว่า บรรพ-

ชิตชื่อโน้น บวชในพระศาสนาของพระศาสดา ไม่อาจเพื่อจะรักษาศีล

ไม่อาจเพื่อจะเรียนพระพุทธพจน์ เป็นผู้ประกอบด้วยอคารวะ ๖ ประการ

เลี้ยงชีพด้วยอเนสนากรรม มีเวชกรรมเป็นต้น. บทว่า อวิสารโท ความว่า

อันดับแรก คฤหัสถ์ผู้มีภัตหลีกเลี่ยงไม่ได้ เข้าไปในที่ชุมนุมชนเป็นอันมาก

ด้วยคิดว่า ใคร ๆ จักรู้ความชั่วของเรา จักนินทา จักข่มเรา หรือจัก

ชี้แจงแก่ราชสกุล เป็นผู้เก้อเขิน คอตก นั่งก้มหน้า เป็นผู้ไม่กล้า

พูด. ฝ่ายบรรพชิต ผู้มีภัย หลีกเลี่ยงไม่ได้ เข้าไปในเมื่อภิกษุเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 770

อันมากประชุมกัน ด้วยคิดว่าบรรพชิตรูปหนึ่ง จักรู้ความชั่วของเราเป็น

แน่ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุทั้งหลาย จักเว้นอุโบสถกรรมก็ดี ปวารณา

กรรมก็ดีของเรา จักฉุดคร่าเราให้ออกจากความเป็นสมณะเสีย ย่อมเป็น

ผู้ไม่แกล้วกล้าสามารถจะกล่าวได้. แต่บางคนถึงเป็นคนทุศีล ก็ย่อม

ประพฤติเหมือนผู้มีศีล. แม้คนทุศีลนั้น ก็ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน ด้วยอัธยาศัย

เหมือนกัน.

บทว่า สมฺมุฬฺโห กาล กโรติ ความว่า จริงอยู่ เมื่อบุคคลผู้ทุศีล

นอนอยู่บนเตียงเป็นที่ตาย ฐานะที่ตนสมาทานกรรม คือความเป็นผู้ทุศีล

ย่อมมาปรากฏ เขาลืมตาเห็นโลกนี้ หลับตาเห็นโลกหน้า อบาย ๔ ย่อม

ปรากฏแก่เขาตามสมควรแก่กรรม ย่อมเป็นเหมือนถูกทิ่มแทงด้วยหอก

๑๐๐ เล่ม และเหมือนถูกลวกด้วยเปลวไฟ เขาพลางร้องครวญครางว่า ขอ

เถอะ ขอทีเถอะ ดังนี้ จนตาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า หลงทำกาละ

ดังนี้เป็นต้น. บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่ เพราะสละอุปาทินนกขันธ์.

บทว่า ปรมฺมรณา ได้แก่ หมายเอาขันธ์ที่จะพึงเกิดในภพอันเป็นลำดับ

แห่งอุปาทินนกขันธ์นั้น. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่

เพราะชีวิตินทรีย์ขาดไป. บทว่า ปรมฺมรณา ได้เเก่ เบื้องหน้าแต่จุติ.

บทว่า อปาย เป็นต้น เป็นไวพจน์ของนรกทั้งหมด. จริงอยู่ นรกชื่อว่า

อบาย เพราะปราศจากความเจริญ กล่าวคือบุญ อันเป็นเหตุแห่งสวรรค์

และพระนิพพาน และเพราะไม่มีความเจริญ หรือการมาของความสุข.

ชื้อว่า ทุคติ เพราะเป็นภูมิเป็นที่ไป คือ เป็นที่พำนักอาศัยแห่งทุกข์.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นภูมิเป็นที่ไป อันเกิดด้วยกรรมชั่ว

เหตุมากไปด้วยโทสะ ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ปราศจากอำนาจตกไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 771

ของบุคคลผู้กระทำกรรมชั่ว. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่

พินาศตกไปของบุคคลผู้มีอวัยวะน้อยใหญ่แตกไปอยู่ ชื่อว่า นิรยะ เพราะ

เป็นที่ไม่มีความเจริญ อันเข้าใจกันว่าความยินดี.

อีกอย่างหนึ่ง ด้วยศัพท์ว่า อบาย ทรงแสดงถึงกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน.

จริงอยู่ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากภูมิเป็นที่ไปดี

ไม่จัดเป็นทุคติ เพราะเป็นที่เกิดของพญานาคเป็นต้น ผู้มีศักดาใหญ่.

ด้วยศัพท์ว่า ทุคติ ท่านแสดงถึงวิสัยแห่งเปรต. จริงอยู่ ปิตติวิสัยนั้น

ชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากสุคติ และชื่อว่า ทุคติ เพราะเป็นภูมิเป็น

ที่ไปแห่งทุกข์ แต่ไม่ใช่จัดเป็นวินิบาต เพราะไม่ได้ตกไปโดยไร้อำนาจ

เช่นพวกอสูร. จริงอยู่ แม้วิมานก็ย่อมบังเกิดแก่พวกเปรตผู้มีฤทธิ์มาก.

ด้วยศัพท์ว่า วินิปาตะ ทรงแสดงถึงอสุรกาย. ก็อสุรกายนั้น ว่าโดยอรรถ

ตามที่กล่าวแล้ว ท่านเรียกว่า อบาย และทุคติ เรียกว่า วินิบาต

เพราะตกไปโดยไร้อำนาจจากกองสมบัติทั้งหมด. ด้วยศัพท์ว่า นิรยะ ทรง

แสดงเฉพาะนรก ซึ่งมีประการมากมาย มีอเวจีเป็นต้น. บทว่า อุปปชฺชติ

แปลว่า ย่อมบังเกิด.

พึงทราบอานิสงสกถา โดยปริยายตรงกันข้ามดังกล่าวแล้ว. ส่วน

ความแปลกกันมีดังต่อไปนี้. บทว่า สีลวา ได้แก่ ผู้มีศีลโดยการสมาทาน.

บทว่า สีลสมฺปนฺโน ได้เเก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยศีล เพราะยังศีลให้สำเร็จ โดย

ทำให้บริสุทธิ์บริบูรณ์. บทว่า โภคกฺขนฺธ ได้แก่ กองแห่งโภคะ ด้วย

สุคติศัพท์ ในบทว่า สุคติ สคฺค โลก นี้ ท่านรวมเอาคติของมนุษย์เข้า

ด้วย. ด้วยศัพท์ว่า สัคคะ ท่านหมายเอาคติของเทวดาเข้าด้วย. ในคติ

เหล่านั้น ชื่อ สุคติ เพราะมีคติดี. ชื่อว่า สัคคะ เพราะมีอารมณ์ด้วยดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 772

ด้วยอารมณ์มีรูปเป็นต้น. ก็สัคคะทั้งหมดนั้น ชื่อว่า โลก เพราะอรรถ

ว่าแตกสลาย.

บทว่า ปาฏลิคามิเย อุปาสเก พหุเทว รตฺตึ ธมฺมิยา กถาย ความ

ว่า ด้วยธรรมกถา และด้วยกถาเป็นเครื่องอนุโมทนาสำหรับที่พักอาศัย

อันพ้นจากบาลีแม้อื่น.

ก็ในคราวนั้น เพราะเหตุที่พระเจ้าอชาตศัตรู เมื่อจะทรงสร้างนคร

ปาฏลีบุตรในที่นั้น จึงทรงนำเอากุฎุมพีที่สมบูรณ์ด้วยศีลและอาจาระใน

คามนิคมชนบทและราชธานีอื่น ๆ แล้วประทานทรัพย์ธัญญาหารที่บ้านที่

นาเป็นต้น และการปกครองแล้วให้อยู่อาศัย ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ครั้นทรงแสดงอานิสงส์แห่งศีลก่อน แก่อุบาสกอุบาสิกา ชาวปาฏลิคาม

ผู้หนักในศีลโดยพิเศษ เพราะเป็นผู้เห็นอานิสงส์ และเพราะศีลเป็นที่ตั้ง

แห่งคุณทั้งปวง ต่อแต่นั้น เมื่อจะแสดงปกิณณกกถา อันนำมาซึ่งประโยชน์

สุข แก่อุบาสกและอุบาสิกาชาวปาฏลิคาม เหมือนยังอากาศคงคาให้

หยั่งลง เหมือนฉุดมาซึ่งง้วนดิน เหมือนจับยอดหว้าใหญ่ให้ไหวอยู่ และ

เหมือนเอาเครื่องยนต์ บีบคั้นรวงผึ้งประมาณโยชน์หนึ่ง ให้สำเร็จเป็นน้ำ

หวานที่ดี จึงทรงแสดงธรรมกถาเป็นอันมากที่วิจิตรด้วยนัยต่าง ๆ อย่างนี้

ว่า ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ธรรมดาว่า อาวาสทานนี้ เป็นบุญมาก เรา

และภิกษุสงฆ์ได้ใช้อาวาสของพวกท่าน ก็แล เมื่อเราและภิกษุสงฆ์ใช้แล้ว

ก็เป็นอันชื่อว่า ธรรมรัตนะก็ได้ใช้เหมือนกัน เมื่อรัตนะ ๓ ได้ใช้แล้ว

อย่างนี้ ย่อมมีวิบากหาประมาณมิได้ทีเดียว อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถวาย

อาวาสทาน ก็เป็นอันชื่อว่าถวายทานทั้งปวงทีเดียว ใคร ๆ ไม่อาจจะ

กำหนดอานิสงส์ของบรรณศาลาที่สร้างไว้บนแผ่นดิน หรือของศาลาราย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 773

ที่สร้างอุทิศสงฆ์ ก็ด้วยอานุภาพแห่งอาวาสทาน แม้สัตว์ผู้จะเกิดในภพ

จะชื่อว่าอยู่ในครรภ์ที่ถูกบีบคั้น หามีไม่ ท้องของมารดาของสัตว์ผู้เกิด

ในครรภ์นั้น จะไม่คับแคบเลย เหมือนห้องประมาณ ๑๒ ศอก ดังนี้แล้ว

จึงตรัสกถาว่าด้วยอานิสงส์แห่งอาวาสทาน เกินยามครึ่งในราตรีเป็นอัน

มาก ว่า

เสนาสนะ ย่อมป้องกันเย็นและร้อน และสัตว์

ร้าย งู ยุง ฝน ที่ตั้งขึ้นในฤดูหนาว ลมและแดด

อันกล้าเกิดขึ้นแล้ว ย่อมบรรเทาได้ การถวายวิหาร

แก่สงฆ์ เพื่อเร้นอยู่ เพื่อความสุข เพื่อเพ่งพิจารณา

และเพื่อเห็นแจ้ง พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า เป็น

ทานอันเลิศ เพราะเหตุนั้นแล บุรุษบัณฑิตเมื่อเล็ง

เห็นประโยชน์ตน พึงสร้างวิหารอันน่ารื่นรมย์ ให้

ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพหูสูตอยู่เถิด อนึ่ง พึงถวาย ข้าว

น้ำ ผ้า และเสนาสนะ แก่ท่านเหล่านั้น ด้วยน้ำใจ

อันเลื่อมใสในท่านผู้ซื่อตรง เขารู้ธรรมอันใดในโลก

นี้แล้ว จะเป็นผู้ไม่มีอาสวะ ปรินิพพาน ท่านย่อม

แสดงธรรมนั้น อันเป็นเครื่องบรรเทาทุกข์ทั้งปวงแก่

เขา ดังนี้.

รวมความว่า ทั้งนี้ เป็นอานิสงส์ของอาวาสทาน ด้วยประการฉะนี้.

แต่ในอานิสงส์อาวาสทานนี้ ท่านยกคาถานี้แหละขึ้นสู่สังคายนา ส่วน

ปกิณณธรรมเทศนา หาได้ยกขึ้นสู่สังคายนาไม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 774

บทว่า สนฺทสฺเสตฺวา ดังนี้เป็นต้น มีอรรถดังกล่าวแล้วนั่นแล.

บทว่า อภิกฺกนฺตา ได้แก่ ผ่านไป ๒ ยาม. บทว่า ยสฺสทานิ กาล มฺถ

ได้แก่ ท่านจงสำคัญกาลที่ท่านจะไปเถิด อธิบายว่า นี้เป็นเวลาไปของท่าน

ท่านจงไปเถิด.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงส่งภิกษุเหล่านั้น

ไป ? ตอบว่า เพื่ออนุเคราะห์. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงส่ง

ไปด้วยความอนุเคราะห์ ๒ อย่างคือ ก็เมื่อภิกษุเหล่านั้น นั่งในที่นั้น ให้

๓ ยาม แห่งราตรีผ่านไป อาพาธพึงเกิดขึ้นในร่างกายของพวกเธอ และ

แม้ภิกษุสงฆ์ควรจะได้โอกาสในการนอนและการนั่ง อันปราศจากกลาง

แจ้ง.

บทว่า สุญฺาคาร ได้แก่ ชื่อว่าสุญญาคาร โดยเฉพาะ ย่อมไม่มี

ในที่นั้น. ได้ยินว่า คฤหบดีเหล่านั้น ได้ให้เอาผ้าม่านแวดวง ณ ข้างหนึ่ง

ของอาวสถาคารนั้นนั่นแลแล้ว ให้จัดแจงเตียงที่สมควร ลาดเครื่องลาด

ที่สมควรในที่นั้น ผูกเพดานอันประดับด้วยดาวทองคำ เงิน ของหอม

และมาลาเป็นต้นแล้ว ยกประทีปน้ำมันหอมไว้เบื้องบน ด้วยคิดว่า ไฉน

หนอ พระศาสดาจักพึงเสด็จลุกจากธรรมาสน์ ประสงค์จะพักผ่อน

หน่อยหนึ่ง พึงบรรทมในที่นี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงใช้

อาวสถาคารนี้ของพวกเรา ด้วยอิริยาบถ ๔ จักพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์

สุขตลอดกาลนาน. แม้พระศาสดา ทรงหมายถึงข้อนั้นนั่นแล จึงทรงให้

จัดแจงลาดผ้าสังฆาฏิในที่นั้นแล้ว จึงสำเร็จสีหไสยาสน์ ซึ่งท่านหมาย

กล่าวไว้ว่า พระองค์เสด็จเข้าไปสู่สุญญาคาร. ในสุญญาคารนั้น พระองค์

ได้เสด็จไปจำเดิมตั้งแต่ที่เป็นที่ล้างพระบาท จนถึงธรรมาสน์ การเสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 775

ไปในที่ประมาณเท่านี้ สำเร็จแล้ว เสด็จถึงธรรมาสน์แล้ว ประทับยืน

หน่อยหนึ่ง นี้เป็นอิริยาบถยืนในที่นั้น พระองค์ประทับนั่งบนธรรมาสน์

ตลอดสองยาม อิริยาบถนั่งในที่มีประมาณเท่านี้ สำเร็จแล้ว พระองค์

ทรงส่งอุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายไปแล้ว เสด็จลงจากธรรมาสน์ ทรงสำเร็จ

สีหไสยาสน์ในที่ดังกล่าวแล้ว. ที่นั้นได้เป็นสถานที่ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงใช้สอยแล้วด้วยอิริยาบถ ๔ ด้วยประการฉะนี้แล.

บทว่า สุนีธวสฺสการา ได้แก่ พราหมณ์ ๒ คนคือ สุนีธพราหมณ์

และวัสสการพราหมณ์. บทว่า มคธมหามตฺตา ได้แก่ มหาอำมาตย์ของ

พระเจ้ามคธ หรือมหาอำมาตย์ในแคว้นมคธ. ชื่อว่า มหาอำมาตย์ เพราะ

ประกอบด้วยเหตุอันสักว่าความเป็นอิสระอย่างใหญ่. บทว่า ปาฏิลิคาเม

นคร มาเปนฺติ ได้แก่ ให้สร้างพระนคร ณ ภูมิประเทศ คือปาฏลิคาม.

บทว่า วชฺชีน ปฏิพาหาย ได้แก่ เพื่อป้องกันทางเจริญของพวกเจ้าลิจฉวี.

บทว่า สหสฺเสว ได้แก่ แบ่งออกเป็นพวกละพัน ๆ. บทว่า วตฺถูนิ

ได้แก่ ที่สร้างเรือน. บทว่า จิตฺตานิ มนนฺติ นิเวสนานิ มาเปตุ ความว่า

จิตของบุคคลผู้รู้พื้นที่ ย่อมน้อมไป เพื่อจะสร้างพระราชนิเวศน์ และ

ที่อยู่อาศัยของราชอำมาตย์.

เล่ากันมาว่า พวกเหล่านั้นรู้พื้นที่ประมาณ ๓๐ ศอก ในภายใต้

แผ่นดินด้วยอานุภาพแห่งศิลปะของตนว่า ในที่นี้นาคยึดครอง ในที่นี้

ยักษ์ยึดครอง ในที่นี้ภูตยึดครอง ในที่นี้มีแผ่นหินหรือตอไม้. ใน

กาลนั้น พวกเขากล่าวถึงศิลปะแล้ว เป็นเหมือนปรึกษากับพวกเทวดา

จึงสร้างขึ้น. อีกอย่างหนึ่ง พวกเทวดา สิงในร่างกายของพวกเขาแล้ว

น้อมจิตไปเพื่อสร้างนิเวศน์ในที่นั้น ๆ. เทวดาเหล่านั้นกลับหายไป ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 776

ขณะที่พวกเขาตอกหลักที่มุมทั้ง ๔ แล้วจับจองพื้นที่. พวกเทวดาผู้มี

ศรัทธาของตระกูลที่มีศรัทธา ก็ย่อมกระทำอย่างนั้น. เทวดาผู้ไม่มี

ศรัทธาของตระกูลที่ไม่มีศรัทธา ก็ย่อมกระทำอย่างนั้น. เพราะเหตุไร ?

เพราะเทวดาผู้มีศรัทธาย่อมคิดอย่างนี้ว่า พวกมนุษย์ย่อมสร้างนิเวศน์

ในที่นี้ จักนิมนต์ให้ภิกษุสงฆ์นั่งก่อนแล้ว จึงให้กล่าวมงคล เมื่อเป็น

เช่นนี้ พวกเราก็จักได้เห็นท่านผู้มีศีล ฟังธรรมกถา ฟังการแก้ปัญหา

และจักได้ฟังอนุโมทนา อนึ่ง พวกมนุษย์ถวายทานแล้ว จักให้ส่วนบุญ

แก่พวกเรา. ฝ่ายเทวดาผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจัก

ได้เห็นการปฏิบัติของภิกษุเหล่านั้น และได้ฟังกถาตามเหมาะแก่ความต้อง

การของ่ตน พวกมนุษย์ก็กระทำอย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า ตาวตึเสหิ ความว่า เหมือนอย่างว่า เพราะอาศัยมนุษย์ผู้

เป็นบัณฑิตคนหนึ่ง ในตระกูลหนึ่ง และภิกษุผู้เป็นพหูสูตรูปหนึ่ง ใน

วิหารหนึ่ง เสียงย่อมขจรไปว่า พวกมนุษย์ในตระกูลโน้นเป็นบัณฑิต

พวกภิกษุในวิหารโน้นเป็นพหูสูต ฉันใด เพราะอาศัยท้าวสักกเทวราช

และวิสสุกรรมเทวบุตร เสียงจึงขจรไปว่า พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์เป็น

บัณฑิต ฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ดาวตึเสหิ ดังนี้

เป็นต้น. ด้วยคำว่า เสยฺยถาปิ เป็นต้น พระองค์ทรงแสดงว่า สุนีธ-

พราหมณ์ และวัสสการพราหมณ์ พากันสร้างพระนคร เหมือนปรึกษากับ

พวกเทวดาชั้นดาวดึงส์.

บทว่า ยาวตา อริย อายตน ความว่า ชื่อว่า สถานที่เป็นที่ประชุม

แห่งพวกมนุษย์ผู้เป็นอริยะ มีประมาณเท่าใด มีอยู่. บทว่า ยาวตา

วณิปฺปโถ ได้แก่ ชื่อว่า สถานที่ซื้อและขาย โดยกองสิ่งของที่พวกพ่อค้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 777

นำมา มีประมาณเท่าใด มีอยู่ หรือสถานที่ที่อยู่ของพวกพ่อค้า มี

ประมาณเท่าใด มีอยู่. บทว่า อิท อคฺคนคร ได้แก่ นครนี้จักเป็นนคร

อันเลิศ ประเสริฐ เป็นประธานแห่งพวกมนุษย์ผู้เป็นอริยะ และพวก

พ่อค้าเหล่านั้น. บทว่า ปูฏเภทน ได้แก่ เป็นที่แก้ห่อสิ่งของ อธิบายว่า

เป็นที่เปลื้องห่อสิ่งของทั้งหลาย. อธิบายว่า ก็ในที่นี้เอง พวกเขา

จักได้ แม้สิ่งของที่ยังไม่ได้ในชมพูทวีปทั้งสิ้น แม้จะไม่ไปขายในที่อื่น

ก็จักไปขายในที่นี้นั่นแหละ เพราะฉะนั้น พวกเขาจักแบ่งห่อสิ่งของใน

ที่นี้แล. ก็สถานที่ ๕๐๐,๐๐๐ ที่ ได้ปรากฏขึ้นเพื่อความเห็นเจริญในที่นั้น

ทุก ๆ วัน อย่างนี้คือ ที่ประตูทั้ง ๔ ด้าน มี ๔๐๐,๐๐๐ ที่ สภา ๑๐๐,๐๐๐ ที่

สภาวะเหล่านั้น ท่านแสดงว่า เป็นความเจริญ.

วา ศัพท์ ในบทว่า อคฺคิโต วา เป็นต้น เป็นสมุจจยัตถะ. อธิบาย

ว่า จักพินาศไปด้วยไฟ ด้วยน้ำ และด้วยการแตกมิตรสัมพันธ์. ก็เมือง

ปาฏลิคามนั้น ส่วนหนึ่ง จักพินาศไปด้วยไฟ แม้พวกคนก็ไม่สามารถ

จะดับไฟได้. ส่วนหนึ่ง แม่น้ำคงคาพัดพาไป. ส่วนหนึ่ง จักพินาศไป

โดยการแตกแยกแห่งกันและกันของพวกมนุษย์ ผู้พูดถึงเรื่องที่คนนี้ไม่ได้

กล่าวแก่คนโน้น (และ) พูดถึงเรื่องที่คนโน้นไม่ได้กล่าวแก่คนนี้ แตก

แยกกันไป ด้วยปิสุณวาจา วาจาส่อเสียด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว จึงเสด็จไปยังฝั่งแม่น้ำ

คงคา ชำระพระพักตร์เสร็จแล้ว ประทับนั่งรอเวลาภิกขาจาร. ฝ่าย

สุนีธพราหมณ์ และวัสสการพราหมณ์ พากันคิดว่า พระราชาของพวก

เรา เป็นอุปัฏฐากของพระสมณโคดม พระองค์ตรัสถามพวกเราผู้เข้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 778

เฝ้าว่า ได้ยินว่า พระศาสดา ได้เสด็จไปยังปาฏลิคาม พวกท่าน เข้าไป

เฝ้าพระองค์หรือยัง หรือว่ายังไม่เข้าไปเฝ้า เมื่อพวกเราตอบว่า ได้เข้า

ไปเฝ้าแล้ว ก็จักตรัสถามว่า พวกท่านนิมนต์หรือไม่ได้นิมนต์ และเมื่อ

พวกเราตอบว่า ไม่ได้นิมนต์ ดังนี้ ก็จักยกโทษข่มพวกเรา ถึงแม้พวก

เราจะสร้างพระนครนี้ ในสถานที่ที่ไม่เคยสร้างก็จริง ถึงกระนั้นพวกสัตว์

กาลกรณี ก็จะอพยพไปในที่ที่พระสมณโคดมเสด็จไปถึงแล้ว ๆ พวก

เราจักให้พระสมณโคดมนั้น ตรัสความเป็นมงคลแก่พระนคร ดังนี้ จึง

พากันเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว ทูลนิมนต์. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

อถ โข สุนีธวสฺสการา ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ปุพฺพณฺหสมย แปลว่า ในเวลาเช้า. บทว่า นิวาเสตฺวา

ได้แก่ ทรงครองผ้าโดยทำนองเสด็จเข้าบ้าน แล้วคาดประคดเอว. บทว่า

ปตฺตจีวรมาทาย ได้แก่ ทรงห่มจีวรพระหัตถ์ถือบาตร.

บทว่า สีลวนฺเตตฺถ ได้แก่ เชิญผู้มีศีลให้บริโภคในประเทศนั้น

คือในที่อยู่ของตน. บทว่า สญฺเต ได้แก่ สำรวมด้วยกาย วาจา และ

จิต. บทว่า ตาส ทกฺขิณมาทิเส ความว่า พึงอุทิศปัจจัย ๔ ที่ถวายแก่

สงฆ์ คือ พึงให้ส่วนบุญแก่เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือนเหล่านั้น. บทว่า ปูชิตา

ปูชยนฺติ ความว่า กระทำอารักขาให้เป็นอันจัดแจงด้วยดี คือ กระทำการ

รักษาด้วยดี ด้วยคิดว่ามนุษย์เหล่านี้ไม่ได้เป็นญาติของพวกเรา แม้อย่าง

นั้น ก็ยังให้ส่วนบุญแก่พวกเรา. บทว่า มานิตา มานยนฺติ ความว่า

เทวดาผู้อันเขานับถือด้วยการทำพลีกรรมตามกาลอันควร ย่อมนับถือ คือ

ย่อมขจัดอันตรายที่เกิดขึ้น ด้วยคิดว่ามนุษย์เหล่านี้ แม้ไม่เป็นญาติของ

พวกเรา ถึงอย่างนั้น ก็ยังทำพลีกรรมแก่พวกเรา เป็นระยะเวลาถึง ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 779

เดือน ๕ เดือน และ ๖ เดือน. บทว่า ตโต น ความว่า แต่นั้น ย่อม

อนุเคราะห์บุรุษผู้มีชาติเป็นบัณฑิตนั้น. บทว่า โอรส ได้แก่ ให้เติบโต

ไว้ที่อก เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เถิดแต่อก. อธิบายว่า ย่อม

อนุเคราะห์ โดยพยายามเพื่อกำจัดอันตรายที่เกิดขึ้นนั่นแหละ. บทว่า

ภทฺรานิ ปสฺสติ ได้แก่ ย่อมเห็นว่าเป็นดี.

บทว่า อนุโมทิตฺวา ความว่า ทรงแสดงธรรมกถาแก่มหาอำมาตย์

ชื่อสุนีธะและวัสสการะ โดยอนุโมทนาส่วนบุญที่พวกเขาพากันขวนขวาย

ในกาลนั้น. ฝ่ายมหาอำมาตย์ชื่อสุนีธะและวัสสะการะได้ฟังพระดำรัสของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ควรอุทิศทักษิณาแก่เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในที่นั้น ๆ

จึงได้ให้ส่วนบุญแก่เทวดาเหล่านั้น.

บทว่า ต โคตมทฺวาร นาม อโหสิ ความว่า ประตุของพระนคร

นั้น อันได้นามว่า โคตมทวาร เพราะเป็นเหตุเสด็จออกของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า อนึ่ง ไม่ได้ชื่อว่าโคตมติฏฐะ เพราะไม่ได้หยั่งลงสู่ท่า เพื่อ

ข้ามแม่น้ำคงคา.

บทว่า ปูรา แปลว่า เต็ม. บทว่า สมติตฺติกา ได้แก่ เต็ม คือ

เปี่ยมด้วยน้ำ เสมอตลิ่ง. บทว่า กากเปยฺยา ได้แก่ มีน้ำที่กาซึ่งจับอยู่

ที่ฝั่ง สามารถจะดื่มได้. ด้วยบททั้งสอง ท่านแสดงเฉพาะที่เต็มเปี่ยม

ทั้งสองฝั่ง. บทว่า อุฬุมฺป ได้แก่ พ่วงที่เขาเอาไม้ขนานแล้วตอกลิ่ม

ทำไว้ เพื่อข้ามฝั่ง. บทว่า กุลฺล ได้แก่ แพที่เขาเอาเถาวัลย์ผูกไม้ไผ่

และไม้อ้อทำไว้.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง ถึงความที่มหาชน ไม่สามารถจะข้าม แม้แต่น้ำในแม่น้ำคงคา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 780

เท่านั้น แต่พระองค์และภิกษุสงฆ์ ข้ามห้วงน้ำคือสงสาร ทั้งลึกทั้งกว้าง

ยิ่งนักได้แล้ว จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงถึงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อณฺณว นี้ เป็นชื่อของน้ำ ที่ลึกและ

กว้างประมาณ ๑ โยชน์ โดยกำหนดอย่างต่ำ. บทว่า สร ท่านประสงค์

ถึงน้ำในที่นี้ เพราะไหลไป. ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ว่า เหล่าชนผู้ข้าม

ห้วงน้ำคือสงสาร และแม่น้ำคือตัณหาทั้งลึกทั้งกว้าง สร้างสะพานคือ

อริยมรรค ไม่แตะต้อง คือไม่จับต้อง เปือกตม คือที่ลุ่มอันเต็มเปี่ยม

ด้วยน้ำ ฝ่ายชนนี้ประสงค์จะข้ามน้ำ มีประมาณน้อยนี้ จึงผูกแพ คือถึง

ความยากยิ่งเพื่อจะผูกแพ. บทว่า ติณฺณา เมธาวิโน ชนา ความว่า

พระพุทธเจ้า และพุทธสาวก ชื่อว่าผู้มีเมธา เพราะประกอบด้วยเมธา

กล่าวคืออริยมรรคญาณ ถึงจะเว้นแพเสีย ก็ข้ามได้คือดำรงอยู่ที่ฝั่งโน้นแล.

จบอรรถกถาปาฏลิคามิยสูตรที่ ๖

๗. ทวิธาปถสูตร

ว่าด้วยการชี้ไปคนละทาง

[๑๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินทางไกลไปในโกศลชนบท

มีท่านพระนาคสมาละเป็นปัจฉาสมณะ ท่านพระนาคสมาละได้เห็นทาง ๒

แพร่งในระหว่างทาง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิดพระเจ้าข้า เมื่อท่าน

พระนาคสมาละกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่าน

พระนาคสมาละว่า ดูก่อนนาคสมาละ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิด แม้ครั้งที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 781

๒. . . แม้ครั้งที่ ๓ ท่านพระนาคสมาละก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิดพระเจ้าข้า แม้

ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสกะท่านพระนาคสมาละว่า ดูก่อน

นาคสมาละ นี้ทาง ไปตามทางนี้เถิด ลำดับนั้น ท่านพระนาคสมาละ

วางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าไว้ที่แผ่นดิน ณ หนทางนั้นเอง

กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ นี้บาตรและจีวร ดังนี้ แล้ว

หลีกไป ครั้นเมื่อท่านพระนาคสมาละเดินไปโดยทางนั้น พวกโจรใน

ระหว่างทางออกมาแล้ว ทุบด้วยมือบ้าง เตะด้วยเท้าบ้าง ได้ทุกบาตร

และฉีกผ้าสังฆาฏิเสีย ครั้งนั้น ท่านพระนาคสมาละมีบาตรแตก มีผ้าสังฆาฏิ

ขาด เข้าไปฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

พระวโรกาส เมื่อข้าพระองค์เดินไปโดยทางนั้น พวกโจรในระหว่างทาง

ออกมาแล้ว ทุบด้วยมือและเตะด้วยเท้า ได้ทุบบาตรและฉีกผ้าสังฆาฏิเสีย

แล้ว พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

บุคคลผู้ถึงเวท ผู้รู้ เที่ยวไปด้วยกัน อยู่ด้วยกัน

ปะปนกันชนผู้ไม่รู้ ย่อมละเว้นบุคคลผู้ลามกเสียได้

เหมือนนกกระเรียน เมื่อบุคคลเอาน้ำนมปนน้ำเข้าไป

ให้ ดื่มแต่น้ำนมเท่านั้น ละเว้นน้ำ ฉะนั้น.

จบทวิธาปถสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 782

อรรถกถาทวิธาปถสูตร

ทวิธาปถสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน ได้แก่ เป็นผู้เดินทางระยะยาว คือ

ทางไกล. บทว่า นาคสมาเลน ได้แก่ พระเถระผู้มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า

ปจฺฉาสมเณน ได้แก่ ในกาลนั้น พระเถระนี้ได้เป็นอุปัฏฐากพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงเสด็จดำเนินทาง โดย

มีพระนาคสมาละเป็นปัจฉาสมณะ. จริงอยู่ ในประถมโพธิกาล พระผู้มี-

พระภาคเจ้า มิได้มีอุปัฏฐากประจำนานถึง ๒๐ ปี. หลังจากนั้น จนถึง

ปรินิพพาน ท่านพระอานนท์ได้อุปัฏฐาก ดุจเงาถึง ๒๕ ปี. แต่กาลนี้

ไม่ใช่มีอุปัฏฐากเป็นประจำ. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อายสฺมตา

นาคสมาเลน ปจฺฉาสนเณน ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เทฺวธาปถ ได้แก่ หนทาง ๒ แพร่ง. อาจารย์บางพวก

กล่าวว่า ทฺวิธาปถ ดังนี้ก็มี.

ท่านนาคสมาละ เพราะเหตุที่ตนคุ้นกับทางนั้นมาก่อน และเพราะ

หมายถึงทางนั้นเป็นทางตรง จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ผู้เจริญ นี้ทาง. ก็ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ทางนั้นมี

อันตราย จึงมีพระประสงค์จะเสด็จไปทางอื่นจากทางนั้น จึงตรัสว่า

นาคสมาละ นี้ทาง. และเมื่อพระองค์ตรัสว่า ทางนี้มีอันตราย จึงไม่เชื่อ

แล้วพึงทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทางนั้นไม่มีอันตราย การที่ท่าน

พระนาคสมาละไม่เชื่อแล้วทูลอย่างนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์

เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงไม่ตรัสว่า มีอันตราย.

ท่านนาคสมาละกราบทูลถึง ๓ ครั้งว่า นี้ทาง เสด็จไปทางนี้เถิด ในครั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 783

ที่ ๔ จึงคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ปรารถนาจะเสด็จไปทางนี้ และ

ทางนี้แหละเป็นทางตรง เอาเถอะเราจักถวายคืนบาตรและจีวรแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าแล้ว เดินไปทางนี้ เมื่อไม่อาจจะมอบบาตรและจีวร ในพระ-

หัตถ์ของพระศาสดาจึงวางไว้ที่พื้น อันกรรมของตนซึ่งเป็นทางแห่งทุกข์

ปรากฏขึ้น ตักเตือนอยู่ มิได้เอื้อเฟื้อพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย

จึงหลีกไป. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านพระนาคสมาละ

วางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่พื้นดิน ในทางนั้นนั่นเอง

แล้วหลีกไป.

บรรดาเหล่านั้น บทว่า ภควโต ปตฺตจีวร ได้แก่ ซึ่งบาตรและ

จีวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ซึ่งอยู่ในมือของตน. บทว่า ตตฺเถว ความว่า

วางไว้ที่พื้นดิน คือ บนแผ่นดินในทางนั้นนั่นเองแล้วหลีกไป. อธิบายว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้ บาตรและจีวรของพระองค์ ถ้าพระองค์

ปรารถนา ก็จงรับไปเถอะ ถ้าพระองค์ประสงค์จะไปเฉพาะทางที่พระองค์

ปรารถนา. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาบาตรและจีวรของพระองค์

ด้วยพระองค์เองเสด็จดำเนินไปสู่ทาง ตามที่ทรงพระประสงค์.

บทว่า อนฺตรามคฺเค โจรา นิกฺขมิตฺวา ความว่า ได้ยินว่า ใน

กาลนั้น บุรุษ ๕๐๐ คน เป็นนักเลงมีฝ่ามือเปื้อนเลือด ผิดต่อพระราชา

เข้าไปสู่ป่า เลี้ยงชีพด้วยโจรกรรม คิดว่า พวกเราจักตัดทางเจริญ ของ

พระราชาโดยความเป็นข้าศึกต่อกัน ดังนี้แล้ว จึงซุ่มอยู่ในป่าใกล้หนทาง.

บุรุษเหล่านั้น เห็นพระเถระกำลังเดินทางไป จึงคิดว่า สมณะนี้มาทางนี้

ใช้หนทางที่ไม่สมควรจะใช้ ไม่รู้ว่าเป็นของเรา เอาเถอะเราจักให้ท่านรู้

ดังนี้แล้วโกรธ รีบออกจากพงป่าตบเตะพระเถระให้ล้มลงที่พื้นดินโดยเร็ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 784

แล้วทุบบาตรดินของท่าน ฉีกจีวรให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ เพราะเห็น

ว่าเป็นบรรพชิต จึงปล่อยไปด้วยสั่งว่า พวกเราจะยังไม่ฆ่าท่าน ตั้งแต่นี้

ต่อไป ท่านจงรู้ว่า หนทางนี้มีอันตราย. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

อถ โข อายสฺมโต ฯ เป ฯ วิปฺผาเลสุ ดังนี้เป็นต้น

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบว่า พระนาคสมาละนี้ไปทางนั้น

ถูกโจรเบียดเบียนแสวงหาเรา จักมาในบัดเดี๋ยวนี้แล ดังนี้แล้ว เสด็จไป

หน่อยหนึ่ง แวะลงจากทางประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง. ฝ่ายท่านนาค-

สมาละแล ย้อนกลับมา ยึดเอาหนทางที่พระศาสดาเสด็จไปนั่นแล กำลัง

เดินไปพบพระผู้มีพระภาคเจ้าที่โคนไม้นั้น จึงเข้าไปเฝ้าแล้วถวายบังคม

กราบทูลเรื่องนั้นแต่พระศาสดา. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถ โข

อายสฺมา นาคสมาโล ฯ เป ฯ สงฺฆฏิญฺจ วิปฺผาเลสุ ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบว่าท่าน

พระนาคสมาละไม่เอื้อเฟื้อต่อคำของพระองค์แล้ว เดินไปยังทางที่ไม่

ปลอดภัย และทรงทราบว่า พระองค์ดำเนินไปยังทางที่ปลอดภัยนี้แล้ว

จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺธึ จร แปลว่า เที่ยวไปร่วมกัน.

บทว่า เอกโต วส นี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า สทฺธึ จร นั้นนั่นแล.

อธิบายว่า อยู่ร่วมกัน. บทว่า มิสฺโส อญฺชเนน เวทคู ความว่า ชื่อว่า

ถึงเวท เพราะถึงคือบรรลุ ด้วยอริยมรรคญาณคือสัจจะ ๔ กล่าวคือ เวท

เพราะอรรถว่า อันบุคคลพึงรู้ หรือเพราะถึงฝั่งแห่งเวท คือ ไญยธรรม

ทั้งสิ้น. ชื่อว่าผู้ไม่รู้ เพราะไม่รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์

ของตน. อธิบายว่า ผู้ไม่รู้ คือ คนเขลา. เป็นผู้ปะปนด้วยคนไม่รู้นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 785

คือ ปะปนโดยเหตุเพียงเที่ยวไปร่วมกัน. บทว่า วิทิตฺวา ปชหาติ ปาปก

ความว่า ผู้รู้คือทราบโดยภาวะที่ถึงเวทนั้น ย่อมละสิ่งชั่ว คือ สิ่งไม่เจริญ

ได้แก่สิ่งที่นำทุกข์มาให้ตน หรือละคนชั่ว คือคนไม่ดีงาม. เปรียบเหมือน

อะไร ? เปรียบเหมือนนกกระเรียน ดื่มแต่น้ำนมเว้นน้ำ อธิบายว่า นก

กระเรียน เมื่อเขานำน้ำนมที่เจือด้วยน้ำเข้าไป ชื่อว่า ดื่มแต่น้ำนม เพราะ

เว้นน้ำ ดื่มแต่น้ำนมเท่านั้น ย่อมละคือเว้นน้ำ กล่าวคือแม่น้ำอันไหล

ไปสู่ที่ลุ่มฉันใด ได้ยินว่า บัณฑิตก็ฉันนั้น แม้อยู่ร่วมกับคนทรามปัญญา

ในอิริยาบถมีการยืนและการนั่งเป็นต้น ก็ละบุคคลผู้ทรามปัญญานั้น โดย

เอื้อเฟื้อ คือแม้ในกาลบางคราวก็ไม่ยอมปะปนกับพวกเขา.

จบอรรถกถาทวิธาปถสูตรที่ ๗

๘. วิสาขาสูตร

ว่าด้วยรักมีเท่าไรทุกข์ก็มีเท่านั้น

[๑๗๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพารามปราสาทของ

นางวิสาขามิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล หลานของนาง

วิสาขามิคารมารดาเป็นที่รักที่พอใจ ทำกาละลง ครั้งนั้น นางวิสาขา

มารดามีผ้าเปียก ผมเปียก เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับในเวลา

เที่ยง ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสกะนางวิสาขามิคารมารดาว่า เชิญเถิดนางวิสาขา ท่านมาแต่ไหนหนอ

มีผ้าเปียก มีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ในเวลาเที่ยง หางวิสาขากราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หลานของหม่อมฉัน เป็นที่รักที่พอใจ ทำกาละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 786

เสียแล้ว เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงมีผ้าเปียก มีผมเปียก เข้ามา ณ ที่นี้ใน

เวลาเที่ยง เจ้าค่ะ.

พ. ดูก่อนนางวิสาขา ท่านพึงปรารถนาบุตรและหลานเท่ามนุษย์

ในพระนครสาวัตถีหรือ.

วิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ หม่อมฉันพึงปรารถนาบุตร

และหลานเท่ามนุษย์ในพระนครสาวัตถี เจ้าค่ะ.

พ. ดูก่อนนางวิสาขา มนุษย์ในพระนครสาวัตถีมากเพียงไร ทำ

กาละอยู่ทุกวัน ๆ.

วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มนุษย์ในพระนครสาวัสถี ๑๐ คนบ้าง

๙ คนบ้าง ๘ คนบ้าง ๗ คนบ้าง ๖ คนบ้าง ๕ คนบ้าง ๔ คนบ้าง ๓ คน

บ้าง ๒ คนบ้าง ๑ คนบ้าง ทำกาละอยู่ทุกวัน ๆ พระนครสาวัตถีไม่ว่าง

เว้นคนทำกาละ เจ้าค่ะ.

พ. ดูก่อนนางวิสาขา ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านพึง

เป็นผู้มีผ้าเปียกหรือมีผมเปียกเป็นบางครั้งบ้างคราวหรือหนอ.

วิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ไม่ใช่อย่างนั้น เจ้าค่ะ พอเพียงแล้วด้วย

บุตรและหลานมากเพียงนั้นแก่หม่อมฉัน.

พ. ดูก่อนนางวิสาขา ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑๐๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก ๙๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๘๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก ๗๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก ๕๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๔๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก ๓๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๒๐ ผู้ใด

มีสิ่งที่รัก ๑๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑๐ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๙ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๙ ผู้ใดมีสิ่งที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 787

รัก ๘ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๘ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๗ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๗ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๖

ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๖ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๕ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๕ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๔ ผู้นั้นก็

มีทุกข์ ๔ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๓ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๓ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๒ ผู้นั้นก็มี

ทุกข์ ๒ ผู้ใดมีสิ่งที่รัก ๑ ผู้นั้นก็มีทุกข์ ๑ ผู้ใดไม่มีสิ่งที่รัก ผู้นั้นก็ไม่มีทุกข์

เรากล่าวว่า ผู้นั้นไม่มีความโศก ปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่มีอุปายาส.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

ความโศกก็ดี ความร่ำไรก็ดี ความทุกข์ก็ดี

มากมายหลายอย่างนี้มีอยู่ในโลก เพราะอาศัยสัตว์

หรือสังขารอันเป็นที่รัก เมื่อไม่มีสัตว์หรือสังขารอัน

เป็นที่รัก ความโศก ความร่ำไร และความทุกข์

เหล่านี้ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้นแล ผู้ใดไม่มีสัตว์

หรือสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหน ๆ ผู้นั้นเป็นผู้มี

ความสุข ปราศจากความโศก เพราะเหตุนั้น ผู้

ปรารถนาความไม่โศก อันปราศจากกิเลสดุจธุลี ไม่

พึงทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก ในโลกไหน ๆ.

จบวิสาขาสูตรที่ ๘

อรรถกถาวิสาขาสูตร

วิสาขาสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิสาขาย มิคารมาตุยา นตฺตา กาลกตา โหติ ได้แก่

เด็กหญิงผู้เป็นธิดาของบุตรแห่งมหาอุบาสิกา ชื่อว่า วิสาขา ถึงแก่กรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 788

ได้ยินว่า เด็กหญิงนั้นสมบูรณ์ด้วยวัตร เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา

เป็นผู้ไม่ประมาท ได้กระทำการขวนขวายที่ตนจะพึงทำ แก่ภิกษุและ

ภิกษุณีทั้งหลาย ผู้เข้าไปยังบ้านของมหาอุบาสิกา ทั้งเวลาก่อนอาหารและ

หลังอาหาร. ปฏิบัติคล้อยตามใจของยายตน. ด้วยเหตุนั้น มหาอุบาสิกา

ชื่อว่าวิสาขา เมื่อออกจากเรือนไปข้างนอก ได้มอบหน้าที่ทั้งหมดแก่เด็ก

หญิงนั้นนั่นแล แล้วจึงไป และเธอก็มีรูปร่างน่าชมน่าเลื่อมใส ดังนั้น

เธอจึงเป็นที่รักที่ชอบใจโดยพิเศษ ของวิสาขามหาอุบาสิกา. เธอถูกโรค

ครอบงำจึงถึงแก่กรรม. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ก็สมัยนั้นแล หลาน

ของนางวิสาขามิคารมารดาผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ ได้ถึงแก่กรรม.

ลำดับนั้น มหาอุบาสิกาเมื่อไม่อาจจะอดกลั้นความโศก เพราะการ

ตายของหลานได้ จึงเป็นทุกข์เสียใจ ให้คนเอาศพไปเก็บไว้ แล้วเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคิดว่า ไฉนหนอในเวลาเราไปเฝ้าพระศาสดา

จะพึงได้ความยินดีแห่งจิต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อถโข วิสาขา

มิคารมาตา ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิวาทิวสฺส แปลว่า ในกลางวัน

อธิบายว่า ในเวลาเที่ยง.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงทราบว่า นางวิสาขายินดียิ่งในวัฏฏะ

เพื่อจะทรงทำความเศร้าโศกของเธอให้เบาบางลงด้วยอุบาย จึงตรัสคำมี

อาทิว่า ดูก่อนวิสาขา เธอปรารถนาหรือ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวติกา แปลว่า มีประมาณเท่าใด.

ได้ยินว่า ในกาลนั้น คน ๗ โกฏิอาศัยอยู่ในกรุงสาวัตถี ซึ่งพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงหมายตรัสถามว่า ดูก่อนวิสาขา คนในกรุงสาวัตถีที่ตายไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 789

ทุกวัน ๆ วันละเท่าไร. นางวิสาขาจึงทูลตอบว่า วันละ ๑๐ คนบ้าง

พระเจ้าข้า ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตีณิ แก้เป็น ตโย แปลว่า ๓ คน.

อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้แหละ. บทว่า อวิวิตฺตา แปลว่า ไม่ว่าง.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะประกาศความประสงค์ของ

พระองค์ จึงตรัสว่า เธอเป็นผู้ไม่มีผ้าเปียก ไม่มีผมเปียก เป็นบางครั้ง

บางคราวบ้างหรือ. พระองค์ทรงแสดงว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เมื่อนางวิสขา

ถูกความเศร้าโศกครอบงำตลอดกาล เธอพึงมีผ้าเปียก มีผมเปียก โดยการ

ลงน้ำ โดยเฉียดกับสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ของบุตรเป็นต้นที่ตายไปมิใช่หรือ ?

อุบาสิกาได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงเกิดความสังเวช ปฏิเสธว่าไม่เป็น

อย่างนั้นพระเจ้าข้า ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า จิตของตนกลับจากความ

เดือดร้อนถึงสิ่งที่เป็นที่รักแด่พระศาสดา จึงกราบทูลว่า พอละพระเจ้าข้า

ด้วยพวกบุตรและหลานซึ่งมีมากถึงเพียงนั้น สำหรับหม่อมฉัน. ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่นางว่า ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้ มี

สิ่งที่น่ารักเป็นเหตุ สิ่งที่น่ารักมีประมาณเพียงใด ทุกข์ก็มีประมาณเพียงนั้น

เพราะฉะนั้น เธอผู้รักสุขเกลียดทุกข์ พึงให้จิตเกิดความสลดจากวัตถุที่

เป็นที่รัก โดยประการทั้งปวง จึงตรัสคำมีอาทิว่า ดูก่อนวิสาขา คน

เหล่าใดมีสิ่งอันเป็นที่รัก ๑๐๐ คนเหล่านั้นก็มีทุกข์นับได้ ๑๐๐ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สต ปิยานิ ได้แก่ สิ่งอันเป็นที่รัก

๑๐๐. อาจารย์บางพวกกล่าว สต ปิย ดังนี้ก็มี. ก็ในคำนี้ นับตั้งแต่

๑ จนถึง ๑๐ ชื่อว่ามีการนับเป็นประธาน ฉะนั้น บาลีจึงมาโดยนัยมี

๑. ปาลิย อลฺลวตฺถา อลฺลเกสาติ ทิสฺสติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 790

อาทิว่า ผู้ใดมีสิ่งที่เป็นที่รักนับ ๑๐ ผู้นั้นก็มีทุกข์นับ ๑๐. แต่อาจารย์

บางพวกกล่าวโดยนัยมีอาทิว่า ผู้ใดมีสิ่งอันเป็นที่รักนับ ๑๐ ผู้นั้นก็เป็น

ทุกข์นับ ๑๐. คำนั้นไม่ดี. เพราะเหตุที่การนับตั้งแต่ ๒๐ จนถึง ๑๐๐

ชื่อว่ามีการนับเป็นประธานเหมือนกัน ฉะนั้น เพราะถือเอาเฉพาะสิ่งอัน

เป็นที่รักซึ่งมีการนับเป็นประธานแม้ในข้อนั้น บาลีจึงมาโดยนัยมีอาทิว่า

เยส โข วิสาเข สต ปิยานิ สต เตส ทุกฺขานิ ดังนี้. บาลีของ

อาจารย์ทั้งปวงว่า ชนเหล่าใดมีสิ่งอันเป็นที่รักอันหนึ่ง ชนเหล่านั้นก็มี

ทุกข์อันหนึ่ง ดังนี้ แต่บาลีว่า ทุกฺขสฺส ดังนี้ ไม่มี. ก็ในฝ่ายนี้ เทศนา

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีรสเป็นอันเดียวกันเทียว เพราะฉะนั้น พึงทราบ

บาลีซึ่งมีนัยตามที่กล่าวแล้วนั้นแล.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง ซึ่งอรรถนี้ว่า ทุกข์ทางใจและทุกข์ทางกาย มีโสกะและปริเทวะ

เป็นต้น มีสิ่งที่น่ารักเป็นเหตุ ย่อมปรากฏในเมื่อมีสิ่งที่น่ารัก ย่อมไม่

ปรากฏในเมื่อสิ่งที่น่ารักไม่มี จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.

คำแห่งอุทานนั้น มีอธิบายดังต่อไปนี้ ธรรมเหล่าใดคนหนึ่ง มี

ลักษณะทำจิตของคนพาล ผู้ถูกความวอดวายแห่งญาติ โภคะ โรค ศีล

และทิฏฐิถูกต้องแล้ว หม่นไหม้อยู่ในภายใน ให้เดือดร้อนก็ดี ความ

เศร้าโศกชนิดใดชนิดหนึ่ง ต่างโดยอย่างอ่อนและปานกลางเป็นต้นก็ดี

ความรำพันมีลักษณะบ่นเพ้อด้วยวาจา อันแสดงถึงความเศร้าโศกที่ให้ตั้ง

ขึ้น ของชนผู้ถูกความเศร้าโศกเหล่านั้นนั่นแล ถูกต้องแล้ว ให้ตั้งขึ้นก็ดี

ทุกข์มีการบีบคั้นกาย ของบุคคลผู้มีกายอันโผฏฐัพพารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา

กระทบแล้วก็ดี โทมนัสและอุปายาสเป็นต้น ที่ถือเอาด้วย วา ศัพท์ ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 791

เป็นวิกัปปัตถะ อันมิได้อธิบายไว้เช่นนั้น ซึ่งมีรูปเป็นอเนก คือมีอย่าง

ต่าง ๆ กัน โดยความต่างแห่งนิสัยก็ดี ย่อมปรากฏ คือย่อมเกิดขึ้นใน

สัตวโลกนี้. สัตว์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด ย่อมอาศัยคืออิงพึ่งพิงสัตว์และสังขาร

อันเป็นที่รัก คือมีชาติเป็นที่รัก ได้แก่ทำให้เป็นปัจจัยเกิดขึ้น คือบังเกิด

ขึ้น เมื่อวัตถุอันเป็นที่รักตามที่กล่าวแล้วนั้น คือเมื่อสัตว์และสังขารอัน

เป็นที่รักไม่มี ได้แก่ละฉันทราคะ อันกระทำความเป็นที่รัก ความเศร้า-

โศกเป็นต้นเหล่านั้น ก็ย่อมไม่เกิดในกาลบางคราว. สมจริงดังคำที่ท่าน

กล่าวไว้ว่า ความเศร้าโศกย่อมเกิดแต่สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ฯ ล ฯ

ความเศร้าโศกย่อมเกิดแต่อารมณ์อันเป็นที่อันเป็นที่รักเป็นต้น และว่า

การทะเลาะ การวิวาท ความร่ำไร และความ

เศร้าโศก อันเกิดแต่สัตว์ และสังขารอันเป็นที่รัก

ย่อมมาด้วยความตระหนี่ ดังนี้เป็นต้น.

ก็ในที่นี้ ท่านกล่าวด้วยลิงควิปลาสว่า ปริเทวิตา วา ทุกฺขา วา.

อนึ่ง เมื่อควรจะกล่าวว่า ปริเทวิตานิ วา ทุกฺขานิ วา ดังนี้ พึงทราบ

ว่า ท่านทำการลบวิภัตติเสีย. บทว่า ตสฺมา หิ เต สุขิโน วีตโสกา

ความว่า เพราะเหตุที่ความเศร้าโศกเป็นต้น อันเกิดแต่สัตว์และสังขาร

อันเป็นที่รัก ย่อมไม่มีแก่ชนเหล่าใด ฉะนั้น ชนเล่านั้นนั่นแล ชื่อว่า

มีความสุข และปราศจากความเศร้าโศก. ก็คนเหล่านั้นคือใคร ? คือ

ชนผู้ไม่มีสัตว์และสังขารอันเป็นที่รักในโลกไหน ๆ อธิบายว่า ก็ชน

เหล่าใด คือพระอริยะย่อมไม่มีสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก คือภาวะเป็น

ที่รัก ว่าบุตรก็ดี ว่าพี่น้องชายก็ดี ว่าพี่น้องหญิงก็ดี ว่าภริยาก็ดี ไม่มี

ในโลกไหน ๆ คือในสัตวโลก และในสังขารโลก เพราะปราศจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 792

ราคะโดยประการทั้งปวง คือสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก ได้แก่ความรัก

ไม่มีในสังขารโลกว่า นี้เป็นของเรา เราได้อยู่ เราก็ได้ซึ่งความสุขชื่อนี้

ด้วยสิ่งนี้. บทว่า ตสฺมา อโสก วิรช ปฏฺยาโน ปิย น กยิราถ

กุหิญฺจิ โลเก ความว่า ก็เพราะเหตุที่สัตว์ผู้ปราศจากความเศร้าโศก

ชื่อว่ามีความสุข เพราะปราศจากความเศร้าโศกนั่นแล จึงชื่อว่า ไม่มี

ความรักในอารมณ์ไหนๆ เพราะฉะนั้น บุคคลเมื่อปรารถนาความไม่เศร้า

โศก คือภาวะไม่มีความเศร้าโศก เพราะไม่มีความเศร้าโศกดังกล่าวแล้ว

แก่ตน ชื่อว่าผู้ปราศจากธุลี คือภาวะที่ไม่มีธุลี เพราะปราศจากธุลีคือ

ราคะ ได้แก่ความเป็นพระอรหัต คือพระนิพพาน อันได้นามว่าอโสกะ

และว่าวิรชะ เพราะไม่มีความเศร้าโศก และเพราะเหตุแห่งความไม่มีธุลี

คือราคะเป็นต้น จึงเกิดฉันทะด้วยอำนาจความพอใจในกุศลคือความ

ปรารถนาเพื่อจะทำ ไม่พึงทำ คือไม่พึงให้สัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก

คือความรัก ให้เกิดในธรรมมีรูปเป็นต้น โดยที่สุดแม้ในธรรมคือสมถะ

และวิปัสสนาในโลกไหน ๆ. สมจริงดังพระดำรัสที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย

แม้ธรรม พวกเธอก็ควรละเสีย จะป่วยกล่าวไปถึงอธรรมเล่า.

จบอรรถกถาวิสาขาสูตรที่ ๘

๙. ปฐมทัพพสูตร

ว่าด้วยพระทัพพมัลลบุตรทูลลาปรินิพพาน

[๑๗๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวันกลัน-

ทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ท่านพระทัพพมัลล-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 793

บุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระ-

สุคต บัดนี้เป็นกาลปรินิพพานแห่งข้าพระองค์ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนทัพพะ เธอจงสำคัญเวลาอันควร ณ บัดนี้เถิด ลำดับ

นั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

กระทำประทักษิณแล้ว เหาะขึ้นไปสู่เวหาส นั่งขัดสมาธิเข้าสมาบัติมีเตโช-

ธาตุเป็นอารมณ์อยู่ในอากาศกลางหาว ออกจากสมาบัติแล้วปรินิพพาน

เมื่อท่านพระทัพพมัลลบุตรเหาะขึ้นสู่เวหาส นั่งขัดสมาธิเข้าสมาบัติมีเตโช-

ธาตุเป็นอารมณ์อยู่ในอากาศกลางหาว ออกจากสมาบัติแล้วปรินิพพาน

สรีระถูกไฟเผาไหม้อยู่ เถ้าไม่ปรากฏเลย เขม่าก็ไม่ปรากฏ เหมือนเนยใส

หรือน้ำมันที่ถูกไฟเผาไหม้อยู่ เถ้าไม่ปรากฏเลย เขม่าก็ไม่ปรากฏฉะนั้น.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง

เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

รูปกายได้สลายแล้ว สัญญาดับแล้ว เวทนา

ทั้งปวงเป็นธรรมชาติเย็นแล้ว สังขารทั้งหลายสงบ

แล้ว วิญญาณถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.

จบปฐมทัพพสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมทัพพสูตร

ปฐมทัพพสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อายสฺมา ได้แก่ คำอันเป็นที่รัก. บทว่า ทพฺโพ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 794

เป็นชื่อของพระเถระนั้น. บทว่า มลฺลปุตฺโต ได้แก่ โอรสของพระเจ้า

มัลละ.

จริงอยู่ ท่านผู้มีอายุนั้น ได้บำเพ็ญอภินิหารไว้แทบบาทมูลของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ได้ก่อสร้างบุญไว้ตลอด

แสนกัป. แล้วบังเกิดในพระครรภ์ของพระราชเทวีแห่งเจ้ามัลละ ในกาล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา ในเวลาตนมีอายุได้ ๗ ขวบโดย

กำเนิด จึงเข้าไปหาบิดามารดาขออนุญาตบรรพชา เพราะค่าที่ตนได้สร้าง

บุญญาธิการไว้. ฝ่ายบิดามารดาทั้งสองนั้นก็ได้อนุญาตว่า ลูกเอ๋ย ! เจ้า

บวชแล้ว จงศึกษาในอาจาระ ถ้าลูกไม่ยินดีการศึกษาอาจาระนั้น ลูกก็จง

กลับมาในที่นี้อีก. เธอจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลขอบรรพชา. ฝ่ายพระ-

ศาสดาทรงตรวจดูความสมบูรณ์แห่งอุปนิสัยของเธอแล้ว จึงทรงอนุญาต

การบรรพชา. ในเวลาเธอบรรพชา ภพสามปรากฏแก่เธอเหมือนไฟ

ติดทั่วลุกโพลงตามโอวาทที่พระศาสดาทรงประทานแล้ว. เธอจึงเริ่มตั้ง

วิปัสสนาแล้ว บรรลุพระอรหัตในขณะจรดปลายมีดโกนทีเดียว. เธอ

บรรลุธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระสาวกพึงบรรลุทั้งหมด มีอาทิอย่างนี้ว่า

วิชชา ๓ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ และโลกุตรธรรม ๙ เธอจึงได้ถูก

จัดเข้าในภายในบรรดาพระมหาสาวก ๘๐. สมจริงดังคำที่ท่านผู้มีอายุนั้น

กล่าวไว้ว่า เราได้ทำให้แจ้งแล้วซึ่งพระอรหัตโดยอายุ ๗ ขวบแต่กำเนิด

เราได้บรรลุธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่พระสาวกพึงบรรลุได้ทั้งหมด ดังนี้

เป็นต้น.

บทว่า เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า วันหนึ่ง

ท่านผู้มีอายุนั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ กลับจากบิณฑบาต

ภายหลังภัต แสดงวัตรแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงไปสู่ที่พักกลางวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 795

ถือเอาน้ำจากหม้อน้ำล้างเท้าทั้งสองข้าง ทำตัวให้เย็น ปูลาดท่อนหนังแล้ว

นั่ง กำหนดเวลาแล้วเข้าสมาบัติ. ลำดับนั้น ท่านผู้มีอายุออกจากสมาบัติ

ตามเวลาที่กำหนดไว้แล้ว ตรวจดูอายุสังขารของตน. อายุสังขารเหล่านั้น

ของเธอสิ้นไปแล้ว ปรากฏเพียงชั่วครู่เล็กน้อย. เธอคิดว่า ข้อที่เราไม่

กราบทูลพระศาสดา เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายก็จะไม่ทราบ จักนั่งปริ-

นิพพานในที่นี้แหละ ไม่สมควรแก่เราเลย ไฉนหนอ เราพึงเข้าไปเฝ้า

พระศาสดา ให้พระองค์อนุญาตการปรินิพพานเสียก่อน แล้วแสดงวัตร

แก่พระศาสดา เมื่อจะประกาศอิทธานุภาพของเรา เพื่อจะแสดงว่า พระ-

ศาสนาเป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ จึงนั่งในอากาศเข้าเตโชธาตุแล้ว พึง

ปรินิพพาน เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้เหล่าชนผู้ไม่มีศรัทธาไม่เลื่อมใสในเรา

ก็จักเกิดความเลื่อมใส ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข

แก่เขาเหล่านั้นตลอดกาลนาน. ก็แลท่านผู้มีอายุนั้น ครั้นคิดอย่างนี้แล้ว

จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทำข้อนั้นทั้งหมดโดยประการนั้นนั่น

แล. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้นนั้นแล ท่านทัพพมัลลบุตรเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ปรินิพฺพานกาโล เม ความว่า

พระทัพพมัลลบุตรแสดงว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า กาลเป็นที่ปริ-

นิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้ปรากฏแก่ข้าพระองค์แล้ว ข้า-

พระองค์ประสงค์จะกราบทูลการปรินิพพานนั้น แล้วจะปรินิพพาน แต่

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า พระเถระยังไม่แก่และยังไม่ป่วยไข้ก่อน ท่าน

ทูลลาพระศาสดาเพื่อปรินิพพาน ในข้อนั้นมีเหตุดังนี้ คือภิกษุพวกเมตติยะ

และภุมมชกะ เมื่อก่อนได้พากันโจทเราด้วยอาบัติปาราชิกไม่มีมูล แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 796

เมื่ออธิกรณ์นั้น สงบไป ก็ยังด่าอยู่นั่นแหละ ฝ่ายปุถุชนพวกอื่นเชื่อภิกษุ

เหล่านั้น จึงกระทำความไม่เคารพและความดูหมิ่นในเรา และเพราะนำ

ภาระคือทุกข์นี้อันไร้ประโยชน์ไป จะมีประโยชน์อะไร เพราะฉะนั้น เรา

จักปรินิพพาน ณ บัดนี้แล พระเถระกระทำการตกลงดังว่ามานี้ จึงทูลลา

พระศาสดา. ข้อนั้นไม่ใช่เหตุ. จริงอยู่ พระขีณาสพทั้งหลาย เมื่ออายุ

สังขารยังไม่สิ้นไป ย่อมไม่จงใจพยายามเพื่อปรินิพพาน เพราะกลัวคนอื่น

จะว่าร้ายเป็นต้น. และไม่ดำรงอยู่ได้นาน เพราะเหตุคนเหล่าอื่นสรรเสริญ

เป็นต้น. โดยที่แท้ พระขีณาสพเหล่านั้น รอการสิ้นอายุสังขารของตน

พร้อมด้วยกิจของตนนั่นแล. อย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า

เราไม่หวังความตาย ไม่หวังความเป็นอยู่ แต่

หวังเวลา เหมือนคนรับจ้าง หวังค่าจ้างฉะนั้น ดังนี้.

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรวจดูอายุสังขารของเธอ รู้ว่าสิ้นไป

แล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนทัพพะ เธอจงสำคัญกาลอันสมควร ณ บัดนี้เถิด.

บทว่า เวหาส อพฺภุคฺคนฺตวา ได้แก่ เหาะขึ้นเวหาส. อธิบายว่า ไปใน

เวหาส. จริงอยู่ บทว่า เวหาส อพฺภุคฺคนฺตวา นี้ เป็นทุติยาวิภัตติ

เพราะประกอบด้วยอภิศัพท์. แต่พึงทราบอรรถด้วยอำนาจสัตตมีวิภัตติ.

เพื่อจะหลีกเลี่ยงคำถามว่า เหาะไปในอากาศทำไม. จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

นั่งขัดสมาธิในอากาศ คือ ในกลางหาวดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า เตโชธาตุ สมาปชฺชิตฺวา ความว่า เข้าจตุตถฌานสมาบัติอันมี

เตโชกสิณเป็นอารมณ์.

จริงอยู่ ในกาลนั้น พระเถระถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

กระทำประทักษิณ ๓ รอบแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สุดข้างหนึ่ง กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 797

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์อยู่ในที่นั้น ๆ กับพระองค์ บำเพ็ญมา

ตลอดแสนกัป หมายเอาพระโยชน์นี้เท่านั้น จึงได้บำเพ็ญประโยชน์นี้นั้น

ถึงที่สุดแล้วในวันนี้ นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้าย. ในบรรดาภิกษุปุถุชน

ผู้เป็นพระโสดาบันและพระสกทาคามีในที่นั้น บางพวกได้มีความกรุณา

อย่างใหญ่. บางพวกถึงความร้องไห้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบวารจิตของเธอแล้วตรัสว่า ดูก่อนทัพพะ ถ้าเช่นนั้น เธอจง

แสดงอิทธิปาฏิหาริย์แก่เรา และแก่ภิกษุสงฆ์. ในขณะนั้นนั่นเอง ภิกษุ

สงฆ์ทั้งหมดประชุมกัน. ลำดับนั้น ท่านทัพพะแสดงปาฏิหาริย์ทั้งหมด

อันทั่วไปแก่พระสาวก อันมาโดยนัยมีอาทิว่า แม้คนคนเดียวก็กลายเป็น

หลายคนได้ ดังนี้ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า เหาะไปในอากาศอีก

นิรมิตแผ่นดินขึ้นในอากาศ นั่งขัดสมาธิในอากาศนั้น ทำบริกรรมด้วย

เตโชกสิณสมาบัติ เข้าสมาบัติ ออกแล้วรำพึงถึงร่างกาย เข้าสมาบัติอีก

อธิษฐานเตโชธาตุในอันยังร่างกายให้ไหม้แล้วปรินิพพาน. พร้อมด้วย

การอธิษฐาน ร่างกายทั้งหมดจึงได้ถูกเพลิงติดทั่ว. ก็ในขณะนั้นนั่นเอง

เพลิงนั้นได้เป็นเหมือนเพลิงประจำกัป ไหม้สังขารเพียงอณูหนึ่งก็ดี เพียง

เป็นเขม่าก็ดี ไม่เหลืออะไร ๆ ในสังขารนั้นไว้เลย ด้วยพลังแห่งอธิษฐาน

แล้วปรินิพพาน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ครั้งนั้นแล ท่านทัพพ-

มัลลบุตร ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วุฏฺหิตฺวา ปรินิพฺพายิ ความว่า

ออกจากจิตที่สำเร็จด้วยฤทธิ์แล้ว ปรินิพพานด้วยภวังคจิต. บทว่า

ฌายมานสฺส ได้แก่ อันไฟโพลงอยู่. บทว่า ฑยฺหมานสฺส นี้ เป็น

ไวพจน์แห่งบทว่า. ฌายมานสฺส นั้นนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า

ฌายมานสฺส ท่านกล่าวหมายเอาขณะที่ไฟโพลงขึ้น. บทว่า ฑยฺห-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 798

มานสฺส ท่านกล่าวหมายเอาขณะที่ปราศจากถ่านเพลิง. บทว่า ฉาริกา

ได้แก่ ขี้เถ้า. บทว่า มสิ ได้แก่ เขม่า. บทว่า น ปญฺายิตฺถ

ได้แก่ ไม่เห็น. อธิบายว่า สิ่งทั้งหมดอันตรธานไป โดยขณะนั้นนั่นแล

ด้วยแห่งการอธิษฐาน.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระเถระจึงแสดงปาฏิหาริย์ อันเป็นอุตริ-

มนุสธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรัสห้ามการทำอิทธิปาฏิหาริย์ไว้ มิใช่

หรือ ?

ตอบว่า ข้อนี้ไม่พึงทักท้วง เพราะพระองค์ตรัสห้ามการทำปาฏิ-

หาริย์ต่อหน้าพวกคฤหัสถ์ทั้งหลาย และข้อนั้นตรัสห้าม โดยอำนาจการ

แสดงฤทธิ์ต่าง ๆ ไม่ตรัสห้ามด้วยอำนาจการอธิษฐาน ก็ท่านผู้มีอายุนี้

อันพระธรรมสวามีตรัสสั่งแล้ว จึงแสดงปาฏิหาริย์.

บทว่า เอตมตฺถ วิทิตฺวา ความว่า พระองค์ทรงทราบโดยอาการ

ทั้งปวง ถึงการที่ท่านพระทัพพมัลลบุตรปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-

นิพพานนี้ จึงทรงเปล่งอุทานนี้ อันแสดงความนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อเภทิ กาโย ความว่า รูปกายอันมี

สันตติ ๔ โดยความต่างแห่งภูตรูป และอุปาทายรูปทั้งหมดแตกไป

พินาศ อันตรธานไป โดยไม่มีส่วนเหลือ คือถึงความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรม.

บทว่า นิโรธิ สญฺา ได้แก่ สัญญาทั้งหมด ต่างด้วยรูปสัญญาเป็นต้น.

เพราะมีรูปายตนะเป็นต้นเป็นอารมณ์ ดับไปแล้วโดยการดับสนิท หา

ปฏิสนธิมิได้. บทว่า เวทนา สีติภวึสุ สพฺพา ได้แก่ เวทนา แม้

ทั้งหมด คือ วิปากเวทนาและกิริยาเวทนา ได้เป็นธรรมชาติเย็น เพราะ

ไม่มีความกระวนกระวายแห่งเวทนา แม้มีประมาณเท่าอณูหนึ่ง เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 799

ดับสนิทด้วยการดับหาปฏิสนธิมิได้. แต่กุศลเวทนาและอกุศลเวทนา ถึง

ความดับสนิทในขณะแห่งอรหัตผลทีเดียว. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

สีติรหึสุ เว้นจากความเย็น ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า ได้เป็นธรรมชาติสงบ

ดับไป. บทว่า วูปสมึสุ สงฺขารา ความว่า ธรรมคือสังขารขันธ์ มี

ผัสสะเป็นต้นแม้ทั้งหมด ต่างโดยวิบากและกิริยา สงบแล้วโดยพิเศษ

ทีเดียว เพราะดับสนิทด้วยการดับสนิทโดยหาปฏิสนธิมิได้นั่นเอง. บทว่า

วิญฺาณ อตฺถมาคมา ความว่า แม้วิญญาณทั้งหมดต่างโดยวิบากและ

กิริยา ได้ถึงการตั้งอยู่ไม่ได้ คือ ความพินาศ ได้แก่ ความขาดสูญ

เพราะดับสนิทโดยหาปฏิสนธิมิได้นั่นแล.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทาน อันเปล่งออกด้วย

กำลังแห่งปีติ เพราะอาศัยความที่ขันธ์ทั้ง ๕ ของท่านพระทัพพมัลลบุตร

ดับสนิท ด้วยการดับหาปฏิสนธิมิได้ เหมือนไฟที่หมดเชื้อฉะนั้น เพราะ

ดับอุปาทานคือกิเลสและอภิสังขารในกาลก่อน ได้โดยสิ้นเชิงแล.

จบอรรถกถาปฐมทัพพสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยทัพพสูตร

ว่าด้วยปรินิพพานบนอากาศเถ้าถ่านไม่ปรากฏ

[๑๗๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม

ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 800

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อพระทัพพมัลลบุตรเหาะขึ้นไปสู่เวหาส นั่งขัดสมาธิเข้า

สมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์อยู่ในอากาศกลางหาว ออกจากสมาบัติแล้ว

ปรินิพพาน เมื่อสรีระถูกไฟเผาไหม้อยู่ เถ้าไม่ปรากฏ เขม่าก็ไม่ปรากฏ

เหมือนเนยใสหรือน้ำมันถูกไฟเผาไหม้อยู่ เถ้าไม่ปรากฏเลย เขม่าก็ไม่มี

ปรากฏฉะนั้น.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึง

ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

คติของพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้หลุดพ้นแล้ว

โดยชอบ ข้ามเครื่องผูกคือกามโอฆะได้แล้ว ถึงแล้ว

ซึ่งความสุขอันหาความหวั่นไหวมิได้ ไม่มีเพื่อจะ

บัญญัติ เหมือนคติแห่งไฟลุกโพลงอยู่ที่ภาชนะ

สำริดเป็นต้น อันนายช่างเหล็กตีด้วยค้อนเหล็ก ดับ

สนิท ย่อมรู้ไม่ได้ฉะนั้น.

จบทุติยทัพพสูตรที่ ๑๐

จบปาฏลิคามิยวรรคที่ ๘

อรรถกถาทุติยทัพพสูตร

ทุติยทัพพสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตตฺร โข ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ครั้นประทับอยู่ตามพอพระทัยในกรุงราชคฤห์ เมื่อจะเสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 801

ไปในชนบท เสด็จถึงกรุงสาวัตถี โดยลำดับนั้นแล ประทับอยู่ในพระ-

เชตวัน เพื่อจะแสดงการที่พระทัพพมัลลบุตรปรินิพพาน อันยังไม่ประจักษ์

ให้ประจักษ์แก่พวกภิกษุ. และเพื่อให้ปุถุชนผู้เหินห่างจากความเคารพใน

พระเถระ โดยการกล่าวตู่เรื่องไม่เป็นจริง ที่พวกภิกษุเมตติยะและภุมม-

ชกะกระทำไว้ ให้เกิดเป็นความนับถือมากในพระเถระ จึงได้ตรัสเรียก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตตฺร นี้ เป็นเพียงนิบาต ใช้ในอรรถ

ว่า ให้ยินยอมตามถ้อยคำ. ศัพท์ว่า โข ใช้ในอรรถว่า อวธารณะ

แปลว่าห้ามข้อความอื่น. บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า ตตฺร นี้ ส่อง

อรรถที่กล่าวถึงเหล่านี้ว่า ภควา ภิกฺขู อามนฺเตสิ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ตรัสเรียกเฉพาะพระภิกษุ. พระองค์ทรงแสดงความนี้ว่า ก็ด้วย

บทว่า โข นี้ ทรงตรัสเรียกเหมือนกัน ในการตรัสเรียก ภิกษุไม่มี

อันตรายอะไร ๆ เลย. อีกอย่างหนึ่ง. บทว่า ตตฺร ได้แก่ ในอาราม

นั้น. ศัพท์ว่า โข เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า วจนาลังการ ประดับถ้อย

คำให้ไพเราะ. บทว่า อามนฺเตสิ แปลว่า ได้ตรัสเรียกแล้ว.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกเฉพาะ

ภิกษุทั้งหลาย ? ตอบว่า เพราะเป็นผู้เจริญ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นผู้ใกล้

ชิด เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีตลอดกาล และเพราะเป็นผู้รองรับพระธรรม-

เทศนา โดยพิเศษ.

บทว่า ภิกฺขโว เป็นแสดงอาการ คือการเรียกภิกษุเหล่านั้น.

บทว่า ภทนฺเต เป็นบทที่พวกภิกษุผู้ถูกตรัสเรียก ถวายคำตอบแด่พระ

ศาสดาโดยเคารพ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสเรียก จึงตรัสเรียกภิกษุ

เหล่านั้น ในบรรดาคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า ภิกฺขโว. ภิกษุเหล่านั้นเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 802

จะทูลก็ทูลตอบว่า ภทนฺเต. อีกอย่างหนึ่ง ด้วยคำว่า ภิกฺขโว นี้ ซึ่ง

เป็นพระดำรัสอันอิงอาศัยพระหทัยอันเยือกเย็น บันดาลให้เกิดพระกรุณา

เป็นประธาน พระองค์ทรงให้ภิกษุเหล่านั้นกลับจากการมนสิการกรรมฐาน

และพิจารณาธรรมเป็นต้นแล้ว ให้ผินหน้ามาหาพระองค์. ด้วยคำว่า

ภทนฺเต นี้ ซึ่งเป็นคำแสดงถึงความเอื้อเฟื้อ ความนับถือมาก และความ

เคารพในพระศาสดา ภิกษุเหล่านั้นจึงประกาศถึงความที่ตนเป็นผู้ฟังด้วย

ดี และความที่ตนมีความเคารพในการรับพระโอวาท. บทว่า ภควโต

ปจฺจสฺโสสุ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นฟังตอบ คือให้เกิดความต้องการ

เพื่อจะฟังพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า เอตทโวจ ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรทั้งสิ้นนี้ คือที่กำลังกล่าวอยู่ในบัดนี้.

คำมีอาทิว่า ทพฺพสฺส ภิกฺขเว มลฺลปุตฺตสฺส ดังนี้ มีเนื้อความดังกล่าว

ในสูตรติดกันนั่นแล. แม้ในบทว่า เอตมตฺถ เป็นต้น ไม่มีคำที่ไม่เคย

กล่าว พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในสูตรติดกันเหมือนกัน.

ในคาถาทั้งหลาย มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้ บทว่า อโยฆนหตสฺส

ความว่า วัตถุชื่อว่า อโยฆนะ เพราะเป็นเครื่องตีเหล็ก ได้แก่ ค้อน

เหล็กและทั่งเหล็กของพวกช่าง. แห่งไฟที่ถูกค้อนเหล็กนั้นตี คือทุบ.

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวอธิบายว่า บทว่า อโยฆนหตสฺส ได้แก่ ตีก้อน

แท่งเหล็ก. ก็ เอว ศัพท์ในคำว่า อโยฆนหตสฺส นั้น ได้แก่ ไฟที่ไหม้

อยู่. บทว่า ชลโต ชาตเวทโส นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถว่า

อนาทร. บทว่า อนุปุพฺพูปสนฺตสฺส ความว่า เมื่อไฟสบคือมอดลง

ได้แก่ ดับสนิทโดยลำดับ. บทว่า ยถา น ายเต คติ ความว่า

เหมือนคติของไฟนั้น รู้ไม่ได้. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เมื่อไฟถูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 803

ค้อนเหล็กใหญ่ มีทั่งเหล็กและค้อนเหล็กเป็นต้นกระทบอยู่ คือขจัดอยู่

หรือลุกโพลงติดภาชนะสำริดเป็นต้น อีกอย่างหนึ่ง เมื่อเสียงที่เกิดขึ้นก็

อย่างนั้น สงบ คือเข้าไปสงบด้วยดีโดยลำดับ คติของไฟหรือเสียง ย่อม

ไม่ปรากฏในที่ไหน ๆ ในทิศทั้ง ๑๐ เพราะดับสนิทโดยหาปฏิสนธิมิได้

โดยการดับปัจจัย. บทว่า เอว สมฺมา วิมุตฺตาน ความว่า คติของพระ-

ขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่าผู้หลุดพ้นโดยชอบ เพราะหลุดพ้นจากอุปาทาน ๔

และอาสวะ ๔ โดยชอบ คือโดยเหตุ โดยญายธรรม ได้แก่ ด้วยอริย-

มรรค อันมีตทังควิมุตติและวิกขัมภนวิมุตติเป็นประธาน ลำดับนั้นนั่นแล

ชื่อว่า ผู้ข้ามโอฆะอันเป็นเครื่องผูกคือกาม เพราะข้ามกาโมฆะ กล่าว

คือ เครื่องผูกคือกาม และโอฆะที่เหลือ ต่างด้วยภโวฆะเป็นต้น ชื่อว่า

ผู้ถึง คือบรรลุ ความสุข อันเข้าไปสงบสังขารทั้งปวง กล่าวคืออนุปา-

ทิเสสนิพพาน อันชื่อว่า ไม่หวั่นไหว เพราะสงบระงับกิเลส อันเป็น

เหตุดิ้นรนด้วยดีเสียได้ และเพราะไม่สะเทือนด้วยลมคืออภิสังขาร ได้แก่

กิเลส ย่อมไม่มี คือย่อมไม่ได้เพื่อจะบัญญัติโดยไม่มีข้อที่จะพึงบัญญัติ

ว่า นี้ชื่อว่า คติ ในบรรดาคติต่างโดยเทวดาและมนุษย์เป็นต้น อธิบาย

ว่า ก็ท่านพระทัพพมัลลบุตรนั้น ไปสู่ภาวะที่หาบัญญัติมิได้นั่นเทียว

เหมือนไฟตามที่กล่าวแล้วฉะนั้น.

จบอรรถกถาทุติยทัพพสูตรที่ ๑๐

จบปาฏลิคามิยวรรควรรณนาที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 804

ก็ด้วยถ้อยคำเพียงเท่านี้

พระองค์ผู้หลุดพ้นด้วยดี จากความยึดมั่นในภพ

ผู้อันเทพและทานพนับถือแล้ว ผู้ตัดความสืบต่อแห่ง

ตัณหาได้ขาดแล้ว ผู้แสดงปีติและสังเวช ผู้ยินดีใน

การประทานพระสัทธรรม ผู้เป็นผู้นำของชาวโลก

โดยพิเศษ ทรงเปล่งอุทานใดในที่นั้น ๆ เพราะเป็น

เหตุสิ้นอุปาทาน ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์รวบรวม

ทั้งหมดเข้าด้วยกันแล้ว ยกขึ้นสู่สังคายนา ร้อยกรอง

โดยชื่อว่าอุทานใด เพื่อประกาศอรรถของอุทานนั้น

ซึ่งอาศัยอรรถเก่า ๆ ที่ข้าพเจ้าเริ่มพรรณนาอรรถ

ไว้ด้วยดี อรรถวรรณนานั้น ว่าโดยชื่อ ชื่อว่าปรมัตถ-

ทีปนี อันเป็นเครื่องประกาศอรรถอันยิ่งในพระสูตร

นั้นตามสมควร มีวินิจฉัยไม่ฝั่นเฝือ จบบริบูรณ์โดย

บาลีภาณวาร ประมาณ ๓๔ ภาณวาร ดังนั้น ด้วย

อานุภาพแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้รจนาปรมัตถทีปนีนั้น

ได้รับแล้ว ขอพระศาสนาของพระโลกนาถเจ้า จง

สว่างไสวด้วยข้อปฏิบัติมีศีลเป็นต้น อันบริสุทธิ์ ขอ

ปวงสัตว์จงเป็นผู้มีส่วนแห่งวิมุตติรส ขอพระศาสนา

ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงสถิตอยู่ในโลกตลอด

กาลนาน ขอปวงสัตว์จงมีความเคารพในพระพุทธ-

ศาสนาเป็นนิตย์ ขอฝนจงตกในพื้นปฐพี โดยชอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อุทาน เล่ม ๑ ภาค ๓ - หน้าที่ 805

ตามฤดูกาล ขอผู้ยินดีในพระสัทธรรม จงปกครอง

ชาวโลกโดยธรรม เทอญ.

อรรถกถาอุทาน

ที่ท่านพระธรรมปาลาจารย์ ผู้อยู่ในพทรติฏฐวิหาร รจนาไว้

จบบริบูรณ์.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมนิพพานสูตร ๒. ทุติยนิพพานสูจร ๓. ตติยนิพพานสูตร

๔. จตุตถนิพพานสูตร ๕. จุนทสูตร ๖. ปาฏลิคามิยสูตร ๗. ทวิธา-

ปถสูตร ๘. วิสาขาสูตร ๙. ปฐมทัพพสูตร ๑๐. ทุติยทัพพสูตรและ

อรรถกถา.

รวมวรรคที่มีในอุทานนี้ คือ

โพธิวรรคที่ ๑ มุจลินทวรรคที่ ๒ นันทวรรคที่ ๓ เมฆิยวรรค

ที่ ๔ โสณวรรคที่ ๕ ชัจจันธวรรคที่ ๖ จูฬวรรคที่ ๗ ปาฏลิคามิย-

วรรคที่ ๘ มีสูตร ๘๐ สูตร วรรคทั้ง ๘ นี้ พระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ

ปราศจากมลทิน ทรงจำแนกไว้ดีแล้ว บัณฑิตทั้งหลายผู้มีศรัทธาแล ได้

กล่าววรรคนั้นว่า อุทาน ฉะนั้นแล.

จบอุทาน.