ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

ตอนที่ ๔

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คาถาธรรมบท

มลวรรคที่ ๑๘

ว่าด้วยมลทิน

[๒๘] ๑. บัดนี้ ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง อนึ่ง บุรุษแห่ง

พระยายม (คือความตาย) ปรากฏแก่ท่านแล้ว ท่าน

ตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม อนึ่ง แม้เสบียงทาง

ของท่านก็ยังไม่มี ท่านนั้นจงทำที่พึ่งแก่ตน จงรีบ

พยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านกำจัดมลทินได้แล้ว

ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน จักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์.

บัดนี้ ท่านเป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว เป็นผู้

เตรียมพร้อม (เพื่อจะไป) สำนักของพระยายม อนึ่ง

แม้ที่พักในระหว่าง (ทาง) ของท่านก็ยังไม่มี อนึ่ง

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๒ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 2

ถึงเสบียงทางของท่านก็หามีไม่ ท่านนั้นจงทำที่พึ่ง

แก่ตน จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านเป็นผู้มี

มลทินอันกำจัดได้แล้ว ไม่มีกิเลสเพียงดำเนิน จักไม่

เข้าถึงชาติชราอีก.

๒. ผู้มีปัญญาทำกุศลอยู่คราวละน้อย ๆ ทุก ๆ

ขณะโดยลำดับ พึงกำจัดมลทินของตนได้ เหมือน

ช่างทองปัดเป่าสนิมของฉะนั้น.

๓. สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กแล้ว

ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด กรรมทั้งหลายของตน

ย่อมนำบุคคลผู้มักประพฤติล่วงปัญญาชื่อว่า โธนา ไป

สู่ทุคติ ฉันนั้น.

๔. มนต์ทั้งหลาย มีอันไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน

เรือนมีความในหมั่นเป็นมลทิน ความเกียจคร้านเป็น

มลทินของผิวพรรณ ความประมาทเป็นมลทินของ

ผู้รักษา.

๕. ความประพฤติชั่วเป็นมลทินของสตรี ความ

ตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้ ธรรมอันลามกทั้งหลาย

เป็นมลทินแล ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า เราจะบอก

มลทินอันยิ่งกว่ามลทินนั้น อวิชชาเป็นมลทินอย่างยิ่ง

ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละมลทินนั่นได้แล้ว ย่อม

เป็นผู้หมดมลทิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 3

๖. อันบุคคลผู้ไม่มีความละอาย กล้าเพียงดังกา

มีปกติกำจัด (คุณผู้อื่น) มักแล่นไป (เอาหน้า) ผู้

คะนอง ผู้เศร้าหมอง เป็นอยู่ง่าย ส่วนบุคคลผู้มี

ความละอาย ผู้แสวงหากรรมอันสะอาดเป็นนิตย์ ไม่

หดหู่ ไม่คะนอง มีอาชีวะหมดจด เห็นอยู่ เป็นอยู่ยาก.

๗. นระใด ย่อมยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ๑

กล่าวมุสาวาท ๑ ถือเอาทรัพย์ที่บุคคลอื่นไม่ให้ใน

โลก ๑ ถึงภริยาของผู้อื่น ๆ อนึ่ง นระใดย่อมประกอบ

เนือง ฯ ซึ่งการดื่มสุราและเมรัย นระนี้ (ชื่อว่า) ย่อม

ขุดซึ่งรากเหง้าของตนในโลกนี้ทีเดียว. บุรุษผู้เจริญ

ท่านจงทราบอย่างนี้ว่า บุคคลผู้มีบาปธรรมทั้งหลาย

ย่อมเป็นผู้ไม่สำรวมแล้ว ความโลภและสภาพมิใช่

ธรรม จงอย่ารบกวนท่าน เพื่อความทุกข์ ตลอดกาล

นานเลย.

๘. ชนย่อมให้ (ทาน) ตามศรัทธา ตามความ

เลื่อมใส แลชนใดย่อมเป็นผู้เก้อเขินในเพราะน้ำและ

ข้าวของชนเหล่าอื่นนั้น ชนนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิใน

กลางวันหรือในกลางคืน ก็อกุศลกรรมอันบุคคลใดตัด

ขาดแล้ว ถอนขึ้นทำให้มีรากขาดแล้ว บุคคลนั้นแล

ย่อมบรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือในกลางคืน.

๙. ไฟเสมอด้วยราคะไม่มี ผู้จักเสมอด้วยโทสะ

ไม่มี ข่ายเสมอด้วยโมหะไม่มี แม่น้ำเสมอด้วย

ตัณหาไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 4

๑๐. โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย ฝ่าย

โทษของตนเห็นได้ยาก เพราะว่าบุคคลนั้น ย่อมโปรย

โทษของบุคคลอันเหมือนบุคคลโปรยแกลบ แต่ว่า

ย่อมปกปิดโทษของตน เหมือนพรานนกปกปิดอัตภาพ

ด้วยเครื่องปกปิดฉะนั้น.

๑๑. อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้

คอยดูโทษของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันยก

โทษเป็นนิตย์ บุคคลนั้นเป็นผู้ไกลจากความสิ้นไป

แห่งอาสวะ.

๑๒. รอยเท้าในอากาศนั่นเทียวไม่มี สมณะ

ภายนอกไม่มี หมู่สัตว์เป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในธรรม

เครื่องเนิ่นช้า พระตถาคตทั้งหลายไม่มีธรรมเครื่อง

เนิ่นช้า รอยเท้าในอากาศนั่นเทียวไม่มี สมณะ

ภายนอกไม่มี สังขารทั้งหลายชื่อว่าเที่ยงไม่มี กิเลส-

ชาตเครื่องหวั่นไหว ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

จบมลวรรคที่ ๑๘

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 5

๑๘. มลวรรควรรณนา

๑. เรื่องบุตรของนายโคฆาตก์ [๑๘๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบุตรของ

นายโคฆาตก์คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ปณฺฑุปลาโสว ทานิส

เป็นต้น.

นายโคฆาตก์สั่งให้ภรรยาปิ้งเนื้อ

ดังได้สดับมา นายโคฆาตก์คนหนึ่งในพระนครสาวัตถี ฆ่าโคแล้ว

ถือเอาเนื้อล่ำให้ปิ้งแล้ว นั่งพร้อมด้วยบุตรและภริยาเคี้ยวกินเนื้อ และ

ขายด้วยราคา. เขาทำการงานของคนฆ่าโคอยู่อย่างนั้นตลอด ๕๕ ปี มิได้

ถวายยาคูหรือภัต แม้มาตรว่าทัพพีหนึ่งในวันหนึ่งแด่พระศาสดา ซึ่ง

ประทับอยู่ในวิหารใกล้. เขาเว้นจากเนื้อเสีย ย่อมไม่บริโภคภัต. วันหนึ่ง

เขาขายเนื้อในตอนกลางวันแล้ว ให้ก้อนเนื้อก้อนหนึ่งแก่ภริยา เพื่อปิ้ง

เพื่อประโยชน์แก่ตน แล้วได้ไปอาบน้ำ.

ลำดับนั้น สหายของเขามาสู่เรือนแล้ว พูดกะภริยาว่า " หล่อน

จงให้เนื้อที่จะพึงขายแก่ฉันหน่อยหนึ่ง, (เพราะ) แขกมาที่เรือนฉัน."

ภริยานายโคฆาตก์. เนื้อที่จะพึงขายไม่มี, สหายของท่านขายเนื้อแล้ว

บัดนี้ไปอาบน้ำ.

สหาย. อย่าทำอย่างนี้เลย, ถ้าก้อนเนื้อมี; ขอจงให้เถิด.

ภริยานายโคฆาตก์. เว้นก้อนเนื้อที่ฉันเก็บไว้เพื่อสหายของท่านแล้ว

เนื้ออื่นไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 6

เขาคิดว่า " เนื้ออื่นจากเนื้อที่หญิงนี้เก็บไว้เพื่อประโยชน์แก่สหาย

ของเราไม่มี, อนึ่ง สหายของเรานั้น เว้นจากเนื้อย่อมไม่บริโภค, หญิงนี้

จักไม่ให้ " จึงถือเอาเนื้อนั้นเองหลีกไป.

ฝ่ายนายโคฆาตก์อาบน้ำแล้วกลับมา, เมื่อภริยานั้นคดภัตนำเข้าไป

พร้อมกับผักต้มเพื่อตน, จึงพูดว่า " เนื้ออยู่ที่ไหน ?"

ภริยา. นาย เนื้อไม่มี.

นายโคฆาตก์. เราให้เนื้อไว้เพื่อต้องการปิ้งแล้วจึงไป มิใช่หรือ ?

ภริยา. สหายของท่านมาบอกว่า " แขกของฉันมา, หล่อนจงให้

เนื้อที่จะพึงขายแก่ฉัน," เมื่อฉันแม้ตอบว่า " เนื้ออื่นจากเนื้อที่ฉันเก็บไว้

เพื่อสหายของท่านไม่มี, อนึ่ง สหายของท่านนั้น เว้นจากเนื้อย่อมไม่

บริโภค," ก็ถือเอาเนื้อนั้นโดยพลการเองทีเดียวไปแล้ว.

นายโคฆาตก์. เราเว้นจากเนื้อ ไม่บริโภคภัต, หล่อนจงนำภัต

นั้นไป.

ภริยา. ฉันอาจทำอย่างไรได้, ขอจงบริโภคเถิด นาย.

นายโคฆาตก์ตัดลิ้นโคมาปิ้งบริโภค

นายโคฆาตก์นั้นตอบว่า " เราไม่บริโภคภัต" ให้ภริยานำภัตนั้น

ไปแล้ว, ถือมีดไปสู่สำนักโคตัวยืนอยู่ที่หลังเรือน แล้วสอดมือเข้าไป

ในปากดึงลิ้นออกมาเอามีดตัดที่โคน (ลิ้น) แล้วถือไปให้ปิ้งบนถ่านเพลิง

แล้ว วางไว้บนภัต นั่งบริโภคก้อนภัตก้อนหนึ่ง วางก้อนเนื้อก้อนหนึ่ง

ไว้ในปาก. ในขณะนั้นเอง ลิ้นของเขาขาดตกลงในถาดสำหรับใส่ภัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 7

ในขณะนั้นแล เขาได้วิบากที่เห็นสมด้วยกรรม. แม้เขาแลเป็นเหมือนโค

มีสายเลือดไหลออกจากปากเข้าไปในเรือน เที่ยวคลานร้องไป.

บุตรนายโคฆาตก์หนี

สมัยนั้น บุตรของนายโคฆาตก์ยืนแลดูบิดาอยู่ในที่ใกล้. ลำดับนั้น

มารดาพูดกะเขาว่า " ลูก เจ้าจงดูบิดานี้เที่ยวคลานร้องไปในท่ามกลาง

เรือนเหมือนโค ความทุกข์นี้จักตกบนกระหม่อมของเจ้า, เจ้าไม่ต้องห่วง

แม้ซึ่งแม่ จงทำความสวัสดีแก่ตนหนีไปเถิด." บุตรนายโคฆาตก์นั้น

ถูกมรณภัยคุกคาม ไหว้มารดาแล้วหนีไป, ก็แลครั้นหนีไปแล้ว ได้ไป

ยังนครตักกสิลา. แม้นายโคฆาตก์เป็นเหมือนโค เที่ยวร้องไปในท่ามกลาง

เรือน ทำกาละแล้วเกิดในอเวจี. แม้โคก็ได้ทำกาละแล้ว. ฝ่ายบุตรของ

นายโคฆาตก์ไปนครตักกสิลา เรียนการงานของนายช่างทอง. ลำดับนั้น

อาจารย์ของเขา เมื่อจะไปบ้านสั่งไว้ว่า " เธอพึงทำเครื่องประดับชื่อเห็น

ปานนี้" แล้วหลีกไป. แม้เขาก็ได้ทำเครื่องประดับเห็นปานนั้นแล้ว.

ลำดับนั้น อาจารย์ของเขามาเห็นเครื่องประดับแล้ว ดำริว่า "ชายผู้นี้

ไปในที่ใดที่หนึ่ง เป็นผู้สามารถจะเลี้ยงชีพได้" จึงได้ให้ธิดาผู้เจริญวัย

ของตน (แก่เขา). เขาเจริญด้วยบุตรธิดาแล้ว.

ลูกทำบุญให้พ่อ

ลำดับนั้น บุตรทั้งหลายของเขาเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะ, ในกาล

ต่อมาไปพระนครสาวัตถี ดำรงฆราวาสอยู่ในพระนครนั้น ได้เป็นผู้มี

ศรัทธาเลื่อมใส. ฝ่ายบิดาของพวกเขาไม่ทำกุศลอะไร ๆ เลย ถึงความชรา

๑. ชนฺนุเกหิ วิจรนฺโต เที่ยวไปอยู่ด้วยเข่า. ๒. อโนโลเกตฺวา ไม่แลดูแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 8

ในนครตักกสิลาแล้ว. ลำดับนั้น พวกบุตรของเขาปรึกษากันว่า " บิดา

ของพวกเราแก่" แล้วให้เรียกมายังสำนักของตน พูดว่า " พวกฉันจะ

ถวายทานเพื่อประโยชน์แก่บิดา " แล้วนิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า

เป็นประธาน. วันรุ่งขึ้น พวกเขานิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประธานให้นั่งภายในเรือนแล้ว อังคาสโดยเคารพ, ในเวลาเสร็จภัตกิจ

กราบทูลพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ถวายภัตนี้ให้เป็น

ชีวภัต (ภัตเพื่อบุคคลผู้เป็นอยู่) เพื่อบิดา. ขอพระองค์จงทรงทำ

อนุโมทนา แก่บิดาของพวกข้าพระองค์เถิด."

พระศาสดาทรงแสดงธรรม

พระศาสดา ตรัสเรียกบิดาของพวกเขามาแล้ว ตรัสว่า " อุบาสก

ท่านเป็นคนแก่ มีสรีระแก่หง่อมเช่นกับใบไม้เหลือง, เสบียงทางคือกุศล

เพื่อจะไปยังปรโลกของท่านยังไม่มี, ท่านจงทำที่พึ่งแก่ตน, จงเป็นบัณฑิต

อย่าเป็นพาล" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา จึงได้ตรัสพระคาถา

เหล่านี้ว่า:-

๑. ปณฺฑุปลาโสว ทานิสิ

ยมปุริสาปิ จ ต อุปฏฺิตา

อุยฺโยคมุเข จ ติฏฺสิ

ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติ.

โส กโรหิ ทีปมตฺตโน

ขิปฺป วายม ปณฺฑิโต ภว

นิทฺธนฺตมโล อนฺคโณ

ทิพฺพ อริยภูมิเมหิสิ.

๑. อรรถกถา เป็น เต. ๒. ปติฏฺสิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 9

"บัดนี้ ท่านเป็นดุจใบไม้เหลือง, อนึ่ง บุรุษแห่ง

พระยายม (คือความตาย) ปรากฏแก่ท่านแล้ว. ท่าน

ตั้งอยู่ใกล้ปากแห่งความเสื่อม, อนึ่ง แม้เสบียงทาง

ของท่าน ก็ยังไม่มี. ท่านนั้น จงทำที่พึ่งแก่ตน, จงรีบ

พยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านกำจัดมลทินได้แล้ว

ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน จักถึงอริยภูมิอันเป็นทิพย์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปณฺฑุปลาโสว ทานิสิ

ความว่า อุบาสก บัดนี้ท่านได้เป็นเหมือนใบไม้ที่เหลืองอันขาดตกลง

บนแผ่นดิน.

ทูตของพระยายม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ยมิปุริสา. แต่

คำนี้ พระองค์ตรัสหมายถึงความตายนั่นเอง. อธิบายว่า ความตายปรากฏ

แก่ท่านแล้ว.

บทว่า อุยฺโยคมุเข ความว่า ก็ท่านเป็นผู้ตั้งอยู่แล้วใกล้ปากแห่ง

ความเสื่อม คือใกล้ปากแห่งความไม่เจริญ.

บทว่า ปาเถยฺย ความว่า แม้เสบียงทางคือกุศลของท่านผู้จะไปสู่

ปรโลก ก็ยังไม่มี เหมือนเสบียงทางมีข้าวสารเป็นต้น ของบุคคลผู้เตรียม

จะไป ยังไม่มีฉะนั้น.

สองบทว่า โส กโรหิ ความว่า ท่านนั้นจงทำที่พึ่งคือกุศลแก่ตน

เหมือนบุคคลเมื่อเรืออับปางในสมุทร ทำที่พึ่งกล่าวคือเกาะ (แก่ตน)

ฉะนั้น, และท่านเมื่อทำ จึงรีบพยายาม คือจงปรารภความเพียรเร็ว ๆ

จงเป็นบัณฑิต ด้วยกายทำที่พึ่งกล่าวคือกุศลกรรมแก่ตน. ด้วยว่า ผู้ใด

ทำกุศลในเวลาที่ตนยังไม่ถึงปากแห่งความตาย สามารถจะทำได้นั่นแล,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 10

ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต. อธิบายว่า ท่านจงเป็นผู้เช่นนั้น อย่าเป็นอันธพาล.

สองบทว่า ทิพฺพ อริยภูมึ ความว่า ท่านทำความเพียรอยู่อย่างนี้

ชื่อว่าผู้กำจัดมลทินได้แล้ว เพราะความเป็นผู้นำมลทินมีราคะเป็นต้นออก

เสียได้, ชื่อว่าไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน คือหมดกิเลส เพราะไม่มีกิเลสเพียง

ดังเนิน จักถึงชั้นสุทธาวาสภูมิเป็นที่อยู่แห่งพระอริยบุคคลผู้หมดจดแล้ว

๕ ภูมิ.

ในกาลจบเทศนา อุบาสกตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนาได้มี

ประโยชน์ แม้แก่หมู่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

พวกบุตรถวายทานอีก

บุตรเหล่านั้น ทูลนิมนต์พระศาสดา แม้เพื่อประโยชน์ในวันรุ่งขึ้น

ถวายทานแล้ว ได้กราบทูลพระศาสดาผู้ทรงทำภัตกิจแล้ว ในเวลาทรง

อนุโมทนาว่า พระเจ้าข้า แม้ภัตนี้พวกข้าพระองค์ถวายให้เป็นชีวภัตเพื่อ

บิดาของปวงข้าพระองค์เหมือนกัน, ขอพระองค์จงทรงทำอนุโมทนาแก่

บิดานี้นี่แล."

พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนาแก่เขา ได้ตรัส ๒ พระคาถา

นี้ว่า:-

อุปนีตวโยว ทานิสิ

สมฺปยาโตสิ ยมสฺส สนฺติก

วาโสปิ จ เต นตฺถิ อนฺตรา

ปาเถยฺยมฺปิ จ เต น วิชฺชติ.

๑. ๕ ภูมิคือ อวิหา ๑ อตัปปา ๑ สุทัสสา ๑ สุทัสสี ๑ อกนิฏฐา ๑ ภูมิทั้ง ๕ นี้อยู่ในพรหมโลก

ชั้นสุทธาวาส เป็นที่เกิดแห่งพระอนาคามี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 11

โส กโรหิ ทีปมตฺตโน

ขิปฺป วายม ปณฺฑิโต ภว

นิทฺธนฺตมโล อนงฺคโณ

น ปุน ชาติชร อุเปหิสิ.

"บัดนี้ ท่านเป็นผู้มีวัยอันชรานำเข้าไปแล้ว,

เป็นผู้เตรียมพร้อม เพื่อจะไป สำนักของพระยายม,

อนึ่ง แม้ที่พัก ในระหว่างหาง ของท่าน ก็ยังไม่มี,

อนึ่ง ถึงเสบียงทางของท่าน ก็หามีไม่, ท่านนั้นจงทำ

ที่พึ่งแก่ตน, จงรีบพยายาม จงเป็นบัณฑิต ท่านเป็น

ผู้มีมลทินอันกำจัดได้แล้ว ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน

จักไม่เข้าถึงชาติชราอีก."

แก้อรรถ

ศัพท์ว่า อุป ในบทว่า อุปนีตวโย ในพระคาถานั้น เป็นเพียง

นิบาต. ท่านมีวัยอันชรานำไปแล้ว คือมีวัยผ่านไปแล้ว ได้แก่มีวัยล่วง

ไปแล้ว. อธิบายว่า บัดนี้ ท่านล่วงวัยทั้งสามแล้ว ดังอยู่ใกล้ปากของ

ความตาย.

บาทพระคาถาว่า สนฺปยาโตสิ ยมสฺส สนฺติก ความว่า ท่าน

ตระเตรียมจะไปสู่ปากของความตายตั้งอยู่แล้ว.

บาทพระคาถาว่า วาโสปิ จ เต นตฺถิ อนฺตรา ความว่า พวกคน

เดินทาง ย่อมพักทำกิจนั้น ๆ ในระหว่างทางได้ฉันใด; คนไปสู่ปรโลก

ย่อมพักอยู่ฉันนั้นไม่ได้. เพราะคนไปสู่ปรโลกไม่อาจเพื่อจะกล่าวคำเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 12

ว่า " ท่านจงรอสัก ๒-๓ วัน, ข้าพเจ้าจะให้ทานก่อน จะฟังธรรมก่อน."

ก็บุคคลเคลื่อนจากโลกนี้แล้ว ย่อมเกิดในปรโลกทีเดียว, คำนั่นพระศาสดา

ตรัสหมายเอาเนื้อความนี้.

บทว่า ปเถยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในหนหลังแล้วก็จริง

แล ถึงอย่างนั้น พระศาสดาทรงถือเอาในพระคาถาแม้นี้ ก็เพื่อทรงทำ

ให้มั่นบ่อย ๆ แก่อุบาสก. แม้พยาธิและมรณะ ก็เป็นอันทรงถือเอาใน

บทว่า ชาติชร นี้เหมือนกัน.

ก็ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอนาคามิมรรค ด้วยพระคาถาในหนหลัง,

ตรัสอรหัตมรรคในพระคาถานี้. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้นอุบาสก เมื่อพระศาสดา

แม้ทรงแสดงธรรมด้วยสามารถแห่งมรรคเบื้องบน ก็บรรลุโสดาปัตติผล

เบื้องต่ำ แล้วจึงบรรลุอนาคามิผลในเวลาจบอนุโมทนานี้ ตามกำลังอุปนิสัย

ของตน เหมือนเมื่อพระราชาทรงปั้นพระกระยาหารขนาดเท่าพระโอษฐ์

ของพระองค์ แล้วทรงนำเข้าไปแก่พระโอรส, พระกุมารทรงรับโดยประ-

มาณพระโอษฐ์ของพระกุมารเท่านั้นฉะนั้น.

พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทที่เหลือ ดังนี้แล.

เรื่องบุตรของนายโคฆาตก์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 13

๒. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง [๑๘๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์

คนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนุปุพฺเพน เมธาวี"

เป็นต้น.

พราหมณ์ทำความเกื้อกูลแก่ภิกษุ

ดังได้สดับมา วันหนึ่ง พราหมณ์นั้นออกไปแต่เช้าตรู่, ได้ยืนแลดู

พวกภิกษุห่มจีวร ในที่เป็นที่ห่มจีวรของพวกภิกษุ. ก็ที่นั้นมีหญ้างอกขึ้น

แล้ว. ต่อมาภิกษุรูปหนึ่งห่มจีวรอยู่, ชายจีวรเกลือกกลั้วที่หญ้า เปียกด้วย

หยาดน้ำค้างแล้ว. พราหมณ์เห็นเหตุนนั้นแล้วคิดว่า " เราควรทำที่นี้ให้

ปราศจากหญ้า" ในวันรุ่งขึ้น ถือจอบไปถากที่นั้น ได้ทำให้เป็นที่เช่น

มณฑลลาน.

แม้ในวันรุ่งขึ้น เมื่อภิกษุมายังที่นั้น ห่มจีวรอยู่, พราหมณ์เห็น

ชายจีวรของภิกษุรูปหนึ่ง ตกไปบนพื้นดินเกลือกกลั้วอยู่ที่ฝุ่น จึงคิดว่า

" เราเกลี่ยทรายลงในที่นี้ควร" แล้วขนทรายมาเกลี่ยลง.

พราหมณ์สร้างมณฑปและศาลา

ภายหลังวันหนึ่ง ในเวลาก่อนภัตได้มีแดดกล้า. แม้ในกาลนั้น

พราหมณ์เห็นเหงื่อไหลออกจากกายของพวกภิกษุผู้กำลังห่มจีวรอยู่ จึงคิด

ว่า "เราให้สร้างมณฑปในที่นี้ควร" จึงให้สร้างมณฑปแล้ว.

รุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง ได้มีฝนพรำแต่เช้าตรู่. แม้ในกาลนั้น พราหมณ์

แลดูพวกภิกษุอยู่, เห็นพวกภิกษุมีจีวรเปียก จึงคิดว่า " เราให้สร้างศาลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 14

ในที่นี้ควร" จึงให้สร้างศาลาแล้วคิดว่า "บัดนี้ เราจักทำการฉลองศาลา,"

จึงนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้ภิกษุทั้งหลายนั่งทั้งภายใน

ทั้งภายนอก ถวายทาน, ในเวลาเสร็จภัตกิจ รับบาตรพระศาสดา เพื่อ

ประโยชน์แก่การทรงอนุโมทนา แล้วกราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมด จำเดิม

ตั้งแต่ต้นว่า " พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ยืนแลดูอยู่ในที่นี้ ในเวลาที่พวก

ภิกษุห่มจีวร, เห็นเหตุการณ์อย่างนี้ ๆ จึงให้สร้างสิ่งนี้ ๆ ขึ้น."

พระศาสดาทรงแสดงธรรม

พระศาสดาทรงสดับคำของเขาแล้ว ตรัสว่า " พราหมณ์ ธรรมดา

บัณฑิตทั้งหลายทำกุศลอยู่คราวละน้อย ๆ ทุก ๆ ขณะ, ย่อมนำมลทิน

คืออกุศลของตน ออกโดยลำดับทีเดียว" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถา

นี้ว่า :-

๒. อนุปุพฺเพน เมธาวี โถก โถก ขเณ ขเณ

กมฺมาโร รชตสฺเสว นิทฺธเม มลมตฺตโน.

"ผู้มีปัญญา (ทำกุศลอยู่) คราวละน้อย ๆ ทุก ๆ

ขณะ โดยลำดับ พึงกำจัดมลทินของตนได้ เหมือน

ช่างทอดปัดเป่าสนิมทองฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุปุพฺเพน คือ โดยลำดับ, ผู้ประกอบ

ด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ชื่อว่า เมธาวี.

สองบทว่า ขเณ ขเณ ความว่า ทำกุศลอยู่ทุก ๆ โอกาส.

บาทพระคาถาว่า กมฺมาโร รชตสฺเสว ความว่า บัณฑิตทำกุศล

อยู่บ่อย ๆ ชื่อว่าพึงกำจัดมลทิน คือกิเลสมีราคะเป็นต้นของตน, ด้วยว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 15

เมื่อเป็นอย่างนั้น บัณฑิตย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีมลทินอันขจัดแล้ว คือไม่มีกิเลส

เหมือนช่างทองหลอมแล้วทุบทองครั้งเดียวเท่านั้น ย่อมไม่อาจไล่สนิมออก

แล้วทำเครื่องประดับต่าง ๆ ได้. แต่เมื่อหลอมทุบบ่อย ๆ ย่อมไล่สนิม

ออกได้, ภายหลัง ย่อมทำให้เป็นเครื่องประดับต่าง ๆ หลายอย่างได้

ฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา พราหมณ์ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 16

๓. เรื่องพระติสสเถระ [๑๘๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ชื่อติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อยสาว มล สมุฏฺิต"

เป็นต้น.

พระติสสะมอบผ้าสาฎกเนื้อหยาบให้พี่สาว

ดังได้สดับมา กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง ได้บรรพชาอุปสมบท

แล้ว ปรากฏชื่อว่า " พระติสสเถระ."

ในกาลต่อมา พระติสสเถระนั้นเข้าจำพรรษา ณ วิหารในชนบท,

ได้ผ้าสาฎกเนื้อหยาบประมาณ ๘ ศอก จำพรรษา ปวารณาแล้ว, ถือผ้า

นั้นไปวางไว้ใกล้มือพี่สาว. พี่สาวนั้นดำริว่า " ผ้าสาฎกผืนนี้ไม่สมควร

แก่น้องชายเรา" แล้วตัดผ้านั้นด้วยมีดอันคม ทำให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่,

โขลกในครก แล้วสาง ดีด กรอ ปั่น ให้เป็นด้ายละเอียด ให้ทอเป็น

ผ้าสาฎกแล้ว.

พระเถระเตรียมจะตัดจีวร

ฝ่ายพระเถระ ก็จัดแจงด้ายและเข็ม, นิมนต์ภิกษุหนุ่มและสามเณร

ผู้ทำจีวรให้ประชุมกันแล้ว ไปยังสำนักพี่สาว พูดว่า " พี่จงให้ผ้าสาฎก

ผืนนั้นแก่ฉัน, ฉันจักให้ทำจีวร."

พี่สาวนั้น นำผ้าสาฎกประมาณ ๙ ศอกออกมาวางไว้ใกล้มือของ

พระผู้น้องชาย. ท่านรับผ้าสาฎกนั้นมาพิจารณาแล้ว พูดว่า " ผ้าสาฎก

ของฉันเนื้อหยาบ ประมาณ ๘ ศอก, ผืนนี้เนื้อละเอียด ประมาณ ๙ ศอก,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 17

ผ้ามิใช่ผ้าสาฎกของฉัน, นี่เป็นผ้าสาฎกของพี่, ฉันไม่ต้องการผ้าผืนนี้

พี่จงให้ผ้าสาฎกผืนนั้นแหละแก่ฉัน." พี่สาวตอบว่า " ท่านผู้เจริญ นี่เป็น

ผ้าของท่านทีเดียว, ขอท่านจงรับผ้านั้นเถิด." ท่านไม่ปรารถนาเลย.

ลำดับนั้น พี่สาวจึงบอกกิจที่ตนทำทุกอย่างแก่พระเถระนั้นแล้ว

ได้ถวายว่า " ท่านผู้เจริญ นั่นเป็นผ้าของท่านทีเดียว, ขอท่านจงรับผ้า

นั้นเถิด." ท่านถือผ้านั้นไปวิหาร เริ่มจีวรกรรม.

พระเถระห่วงใยในจีวร ตายแล้วเกิดเป็นเล็น

ลำดับนั้น พี่สาวของท่านจัดแจงวัตถุมียาคูและภัตเป็นต้น เพื่อ

ประโยชน์แก่ภิกษุสามเณรผู้ทำจีวรของพระติสสะนั้น. ก็ในวันที่จีวรเสร็จ

พี่สาวให้ทำสักการะมากมาย. ท่านแลดูจีวรแล้ว เกิดความเยื่อใยในจีวรนั้น

คิดว่า "ในวันพรุ่งนี้ เราจักห่มจีวรนั้น" แล้วพับพาดไว้ที่สายระเดียง,

ในราตรีนั้น ไม่สามารถให้อาหารที่ฉันแล้วย่อยไปได้ มรณภาพแล้ว เกิด

เป็นเล็นที่จีวรนั้นนั่นเอง.

พระศาสดารับสั่งไม่ให้แจกจีวร

ฝ่ายพี่สาว สดับการมรณภาพของท่านแล้ว ร้องไห้กลิ้งเกลือกใกล้

เท้าของพวกภิกษุ. พวกภิกษุทำสรีรกิจ (เผาศพ) ของท่านแล้วพูดกันว่า

" จีวรนั้นถึงแก่สงฆ์ทีเดียว เพราะไม่มีคิลานุปัฏฐาก, พวกเราจักแบ่งจีวร

นั้น" แล้วให้นำจีวรนั้นออกมา. เล่นวิ่งร้องไปข้างโน้นและข้างนี้ว่า

" ภิกษุพวกนี้แย่งจีวรอันเป็นของเรา."

พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีเทียว ทรงสดับเสียงนั้นด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 18

โสตธาตุเพียงดังทิพย์ ตรัสว่า " อานนท์ เธอจงบอก อย่าให้พวกภิกษุ

แบ่งจีวรของติสสะ แล้วเก็บไว้ ๗ วัน." พระเถระให้ทำอย่างนั้นแล้ว.

พระศาสดารับสั่งให้แจกจีวรของพระติสสเถระ

แม้เล็นนั้น ทำกาละในวันที่ ๗ เกิดในวิมานชั้นดุสิตแล้ว, ใน

วันที่ ๘ พระศาสดารับสั่งว่า " ภิกษุทั้งหลาย จงแบ่งจีวรของติสสะแล้ว

ถือเอา." พวกภิกษุทำอย่างนั้นแล้ว.

พวกภิกษุสนทนากันในธรรมสภาว่า " เหตุไรหนอแล พระศาสดา

จึงให้เก็บจีวรของพระติสสะไว้สิ้น ๗ วัน แล้วทรงอนุญาตเพื่อถือเอาใน

วันที่ ๘."

ตัณหาทำให้สัตว์ถึงความพินาศ

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวก

เธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูล

ว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้," ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ติสสะเกิดเป็นเล็นที่จีวร

ของตน, เมื่อพวกเธอจะแบ่งจีวรนั้น วิ่งร้องไปข้างโน้นและข้างนี้ว่า

' ภิกษุพวกนี้แย่งจีวรอันเป็นของเรา,' เมื่อพวกเธอถือเอาจีวรอยู่. เขา

ขัดใจในพวกเธอแล้วพึงเกิดในนรก, เพราะเหตุนั้น เราจึงให้เก็บจีวรไว้;

ก็บัดนี้เขาเกิดในวิมานชั้นดุสิตแล้ว. เพราะเหตุนั้น เราจึงอนุญาตการถือ

เอาจีวรแก่พวกเธอ," เมื่อภิกษุพวกนั้นกราบทูลอีกว่า "พระเจ้าข้า ขึ้น

ชื่อว่าตัณหานี้หยาบหนอ" จึงตรัสว่า " อย่างนั้นภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า

ตัณหาของสัตว์เหล่านี้หยาบ; สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง

ย่อมให้เหล็กพินาศไป ทำให้เป็นของใช้สอยไม่ได้ ฉันใด; ตัณหานี้ (ก็)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 19

ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดขึ้นภายในของสัตว์เหล่านี้แล้ว ย่อมให้สัตว์เหล่านั้น

เกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ให้ถึงความพินาศ ' ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระ-

คาถานี้ว่า :-

๓. อยสา ว มล สมุฏฺิต

ตหุฏฺาย ตเมว ขาทติ

เอว อติโธนจาริน

สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคตึ.

"สนิมตั้งขึ้นแต่เหล็ก ครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กแล้ว

ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด; กรรมทั้งหลายของตน

ย่อมนำบุคคลผู้มักประพฤติล่วงปัญญาชื่อว่าโธนา ไป

สู่ทุคติ ฉันนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยสา คือแต่เหล็ก. บทว่า สมุฏฺิต

คือตั้งขึ้นแล้ว. บทว่า ตทุฏฺาย คือครั้นตั้งขึ้นแต่เหล็กนั้น.

ในบทว่า อติโธนจาริน บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยดังนี้.

ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณาปัจจัย ๔ ว่า " การบริโภคนี้ เป็นประ-

โยชน์ด้วยปัจจัยเหล่านี้" แล้วบริโภค พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าโธนา,

บุคคลประพฤติก้าวล่วงปัญญาชื่อว่าโธนานั่น ชื่อว่า อติโธนจารี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า " สนิมเกิดขึ้นแต่

เหล็ก ตั้งขึ้นแต่เหล็ก ย่อมกัดเหล็กนั่นเอง ฉันใด; กรรมทั้งหลายของ

ตน คือกรรมเหล่านั้นชื่อว่าเป็นของตนนั่นแหละ เพราะตั้งขึ้นในตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 20

ย่อมนำบุคคลผู้ไม่พิจารณาปัจจัย ๔ แล้วบริโภค ชื่อว่าผู้ประพฤติก้าวล่วง

ปัญญาชื่อว่าโธนา ไปสู่ทุคติ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระติสสเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 21

๔. เรื่องพระโลฬุทายีเถระ [๑๘๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระโลฬุทายี-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อสชฺฌายมลา มนฺตา" เป็นต้น.

พระโลฬุทายีอวดดีอยากแสดงธรรม

ดังได้สดับมา พวกอริยสาวกประมาณ ๕ โกฏิในพระนครสาวัตถี

ถวายทานในเวลาก่อนภัตแล้ว ในเวลาหลังภัตจึงถือวัตถุทั้งหลายมีเนยใส

น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และผ้าเป็นต้น ไปวิหารแล้วฟังธรรมกถาอยู่,

ก็ในเวลาฟังธรรมแล้วเดินไป ย่อมกล่าวคุณของพระสารีบุตรและพระ-

โมคคัลลานะ.

พระอุทายีเถระ สดับถ้อยคำของอริยสาวกเหล่านั้นแล้ว จึงพูดว่า

" พวกท่านฟังธรรมกถาของพระเถระทั้งสองนั้น ยังกล่าวถึงอย่างนั้นก่อน,

ฟังธรรมกถาของฉันแล้ว จักกล่าวอย่างไรหนอแล ?"

พวกมนุษย์ ฟังถ้อยคำของท่านแล้วคิดว่า " พระเถระแม้นี้ จัก

เป็นพระธรรมกถึกองค์หนึ่ง, พวกเราฟังธรรมกถาของพระเถระแม้นี้

ควร." วันหนึ่ง พวกเขาอาราธนาพระเถระว่า " ท่านขอรับ วันนี้เป็น

วันฟังธรรมของพวกกระผม," ถวายทานแก่พระสงฆ์แล้วพูดว่า " ท่าน

ขอรับ ขอท่านพึงกล่าวธรรมกถาในกลางวันเถิด." ฝ่ายพระเถระนั้น

รับนิมนต์ของพวกมนุษย์นั้นแล้ว.

พระเถระไม่สามารถแสดงธรรมได้

เมื่อพวกมนุษย์นั้นมาในเวลาฟังธรรมแล้ว พูดว่า "ท่านขอรับ

๑. ยาจิตฺวา=ขอหรือวิงวอน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 22

ขอท่านจงกล่าวธรรมแก่พวกกระผมเถิด," พระโลฬุทายีเถระนั่งบนอาสนะ

แล้ว จับพัดอันวิจิตรสั่นอยู่, ไม่เห็นบทธรรม แม้บทหนึ่งพูดว่า " ฉัน

จักสวดสรภัญญะ, ขอภิกษุรูปอื่นจงกล่าวธรรมกถา" ดังนี้แล้ว ก็ลง (จาก

อาสนะ). มนุษย์พวกนั้น นิมนต์ภิกษุรูปอื่นให้กล่าวธรรมกถาแล้ว นิมนต์

พระโลฬุทายีขึ้นอาสนะอีก เพื่อต้องการสวดสรภัญญะ. พระโลฬุทายีนั้น

ไม่เห็นบทธรรมอะไร ๆ แม้อีก จึงพูดว่า " ฉันจักกล่าวในกลางคืน, ขอ

ภิกษุรูปอื่นจงสวดสรภัญญะ" แล้วก็ลง มนุษย์พวกนั้น นิมนต์ภิกษุรูป

อื่นให้สวดสรภัญญะแล้ว นำพระเถระมาในกลางคืนอีก. พระเถระนั้น ก็ยัง

ไม่เห็นบทธรรมอะไร ๆ แม้ในกลางคืน พูดว่า " ฉักจักกล่าวในเวลา

ใกล้รุ่งเทียว, ขอภิกษุรูปอื่นจงกล่าวในเวลากลางคืน" แล้วก็ลง. มนุษย์

พวกนั้น นิมนต์ภิกษุรูปอื่นให้กล่าวแล้วในเวลาใกล้รุ่ง ก็นำพระเถระนั้น

มาอีก. พระเถระนั้น แม้ในเวลาใกล้รุ่ง ก็มิได้เห็นบทธรรมอะไร ๆ.

พระเถระถูกมหาชนไล่ไปตกหลุมคูถ

มหาชน ถือวัตถุทั้งหลายมีก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น คุกคามว่า

"พระอันธพาล เมื่อพวกข้าพเจ้ากล่าวสรรเสริญพระสารีบุตรและพระโมค-

คัลลานะ ท่านพูดอย่างนั้นและอย่างนั้น, บัดนี้ เหตุไรจึงไม่พูด ?" ดังนี้แล้ว

ก็ติดตามพระเถระผู้หนีไป. พระเถระนั้นหนีไปตกลงในเวจกุฎีแห่งหนึ่ง.

มหาชนสนทนากันว่า "พระโลฬุทายี เมื่อถ้อยคำสรรเสริญคุณ

พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นไปอยู่ อวดอ้างประกาศความที่ตน

เป็นธรรมกถึก, เมื่อพวกมนุษย์ทำสักการะแล้ว พูดว่า ' พวกกระผมจะ

ฟังธรรม,' นั่งบนอาสนะถึง ๔ ครั้ง ไม่เห็นบทธรรมอะไร ๆ ที่สมควร

จะพึงกล่าว ถูกพวกมนุษย์ถือวัตถุทั้งหลายมีก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 23

คุกคามว่า ' ท่านถือตัวเท่าเทียมกับพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานเถระ

ผู้เป็นเจ้าของพวกเรา' ไล่ให้หนีไปตกลงในเวจกุฎีแล้ว.

บุรพกรรมของพระโลฬุทายี

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก

เธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร ?" เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยเรื่อง

ชื่อนี้," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาล

ก่อน โลฬุทายีนี้ ก็จมลงในหลุมคูถเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีต

นิทานมา ตรัสชาดกนี้ให้พิสดารว่า :-

"สหาย เรามี ๔ เท้า, สหาย แม้ท่านก็มี ๔ เท้า.

มาเถิด สีหะ ท่านจงกลับ, เพราะเหตุไรหนอ ท่าน

จึงกลัวแล้วหนีไป ? สุกร ท่านเป็นผู้ไม่สะอาด มีขน

เปื้อนด้วยของเน่า มีกลิ่นเหม็นฟุ้งไป; ถ้าท่านประสงค์

ต่อสู้, เราจะให้ความชนะแก่ท่าน นะสหาย"

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ราชสีห์ในกาลนั้นได้เป็นสารีบุตร, สุกรได้เป็น

โลฬุทายี."

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย โสฬุทายีเรียนธรรมมีประมาณน้อยแท้, อนึ่ง มิได้ทำการท่อง

เลย; การเรียนปริยัติอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ไม่ทำการท่องปริยัตินั้น เป็น

มลทินแท้" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑. ยคคฺคาห คณฺหสิ=ถือความเป็นคู่. ๒. ขุ. ชา. ทุก. ๒๗/๕๑. อรรถกถา. ๓/๑๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 24

๔. อสชฺฌายมลา มนฺตา อนุฏฺานมลา ฆรา

มล วณฺณสฺส โกสชฺช ปมาโท รกฺขโต มล.

"มนต์ทั้งหลาย มีอันไม่ท่องบ่นเป็นมลทิน, เรือน

มีความไม่หมั่นเป็นมลทิน, ความเกียจคร้าน เป็น

มลทินของผิวพรรณ, ความประมาท เป็นมลทินของ

ผู้รักษา."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสชฺฌายมลา เป็นต้น ความว่า

เพราะปริยัติหรือศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อบุคคลไม่ท่อง ไม่ประกอบ

เนือง ๆ ย่อมเสื่อมสูญ หรือไม่ปรากฏติดต่อกัน; ฉะนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อสชฺฌายมลา มนฺตา."

อนึ่ง เพราะชื่อว่าเรือนของบุคคลผู้อยู่ครองเรือน ลุกขึ้นเสร็จสรรพ

แล้วไม่ทำกิจ มีการซ่อมแซมเรือนที่ชำรุดเป็นต้น ย่อมพินาศ ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "อนุฏฺานมลา ฆรา."

เพราะกายของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต ผู้ไม่ทำการชำระสรีระ หรือ

การชำระบริขาร ด้วยอำนาจความเกียจคร้าน ย่อมมีผิวพรรณมัวหมอง;

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "มล วณฺณสฺส โกสชฺช."

อนึ่ง เพราะเมื่อบุคคลรักษาโคอยู่ หลับหรือเล่นเพลินด้วยอำนาจ

ความประมาท, โคเหล่านั้นย่อมถึงความพินาศ ด้วยเหตุมีวิ่งไปสู่ที่มิใช่ท่า

เป็นต้นบ้าง ด้วยอันตรายมีพาลมฤค และโจรเป็นต้นบ้าง ด้วยอำนาจการ

๑. พาลมิค-เนื้อร้าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 25

ก้าวลงสู่ที่ทั้งหลาย มีนาข้าวสาลีเป็นต้นของชนพวกอื่นแล้วเคี้ยวกินบ้าง,

แม้ตนเอง ย่อมถึงอาชญาบ้าง การบริภาษบ้าง.

ก็อีกอย่างหนึ่ง กิเลสทั้งหลายล่วงล้ำเข้าไปด้วยอำนาจความประมาท

ย่อมยังบรรพชิตผู้ไม่รักษาทวาร ๖ ให้เคลื่อนจากศาสนา; ฉะนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ปมาโท รกฺขโต มล." อธิบายว่า ก็ความ

ประมาทนั้น ชื่อว่าเป็นมลทิน เพราะความประมาทเป็นที่ตั้งของมลทิน

ด้วยการนำความพินาศมา.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระโลฬุทายีเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 26

๕. เรื่องกุลบุตรคนใดคนหนึ่ง [๑๘๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภกุลบุตรคน

ใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มลิตฺถิยา ทุจฺจริต" เป็นต้น.

สามีละอายเพราะภริยาประพฤตินอกใจ

ดังได้สดับมา มารดาและบิดานำกุลสตรีผู้มีชาติเสมอกันมาเพื่อ

กุลบุตรนั้น. นางได้เป็นหญิงมักประพฤตินอกใจ ( สามี) จำเดิมแต่วันที่นำ

มาแล้ว. กุลบุตรนั้นละอาย เพราะการประพฤตินอกใจของนาง ไม่อาจ

เข้าถึงความเป็นผู้เผชิญหน้าของใครได้ เลิกกุศลกรรมทั้งหลาย มีการ

บำรุงพระพุทธเจ้าเป็นต้น โดยกาลล่วงไป ๒-๓วัน เข้าไปเฝ้าพระศาสดา

ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " อุบาสก

เพราะเหตุไร เราจึงไม่ (ใคร่) เห็นท่าน ?" จึงกราบทูลความนั้นแล้ว.

สตรีเปรียบเหมือนของ ๕ อย่าง

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะกุลบุตรนั้นว่า " อุบาสก แม้ในกาล

ก่อน เราก็ได้กล่าวแล้วว่า ' ขึ้นชื่อว่าสตรีทั้งหลาย เป็นเช่นกับแม่น้ำ

เป็นต้น. บัณฑิตไม่ควรทำความโกรธในสตรีเหล่านั้น,' แต่ท่านจำไม่

ได้ เพราะความเป็นผู้อันภพปกปิดไว้" อันกุลบุตรนั้นทูลอาราธนาแล้ว

ตรัสชาดก ให้พิสดารว่า:-

๑. อติจารินี ผู้มักประพฤติล่วง. ๒. ขุ. ชุ. ๒๗/๒๑ อรรถกถา. ๓/๙๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 27

"ธรรมดาสตรีในโลก เป็นเหมือนแม่น้ำ หนทาง

โรงดื่ม (สุรา) ที่พักและบ่อน้ำ, เวลาย่อมไม่มีแก่สตรี

เหล่านั้น."

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ก็อุบาสก ความเป็นผู้มักประพฤตินอกใจ เป็น

มลทินของสตรี, ความตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้ทาน, อกุศลกรรม

เป็นมลทินของสัตว์ทั้งหลายในโลกนี้และโลกหน้า เพราะอรรถว่า เป็น

เครื่องยังสัตว์ให้ฉิบหาย, แต่อวิชชา เป็นมลทินอย่างยอดยิ่ง กว่ามลทิน

ทั้งปวง" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๕. มลิตฺถิยา ทุจฺจริต มจฺเฉร ททโต มล

มลา เว ปาปกา ธมฺมา อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ

ตโต มลา มลตร อวิชฺชา ปรม มล

เอต มล ปหนฺตฺวาน นิมฺมลา โหถ ภิกฺขโว.

" ความประพฤติชั่ว เป็นมลทินของสตรี, ความ

ตระหนี่ เป็นมลทินของผู้ให้, ธรรมอันลามกทั้งหลาย

เป็นมลทินแล ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า, เราจะ

บอกมลทินอันยิ่งกว่ามลทินนั้น, อวิชชาเป็นมลทิน

อย่างยิ่ง ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ละมลทินนั่น

ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้หมดมลทิน."

แก้อรรถ

ความประพฤตินอกใจ ชื่อว่า ความประพฤติชั่วในพระคาถานั้น.

๑. ได้แก่ กำหนด, เขตแดน, ความจำกัด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 28

ก็แม้สามี ย่อมขับไล่สตรีผู้มักประพฤตินอกใจออกไปเสียจากเรือน, สตรี

นั้นไปสู่สำนักของมารดาบิดา (ก็ถูก) มารดาบิดาขับไล่ด้วยคำว่า "เอ็ง

ไม่มีความเคารพตระกูล เราไม่อยากเห็นแม้ด้วยนัยน์ตาทั้งสอง" สตรี

นั้นหมดที่พึ่ง เทียวไปย่อมถึงความลำบากมาก; เพราะเหตุนั้น พระศาสดา

จึงตรัสความประพฤติชั่วของสตรีนั้นว่า " เป็นมลทิน."

บทว่า ททโต แปลว่า ของผู้ให้. ก็เมื่อบุคคลใดในเวลาไถนา คิด

อยู่ว่า " เมื่อนานี้สมบูรณ์แล้ว , เราจักถวายภัตทั้งหลาย มีสลากภัต

เป็นต้น," เมื่อข้าวกล้าเผล็ดผลแล้ว, ความตระหนี่เกิดขึ้น ห้ามจิตอัน

สัมปยุตด้วยจาคะ, บุคคลนั้น เมื่อจิตสัมปยุตด้วยจาคะ ไม่งอกงามขึ้นได้

ด้วยอำนาจความตระหนี่ ย่อมไม่ได้สมบัติสามอย่าง คือ มนุษย์สมบัติ

ทิพยสมบัติ (และ) นิพพานสมบัติ; เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า

" ความตระหนี่เป็นมลทินของผู้ให้." แม้ในบทอื่น ๆ ซึ่งมีรูปอย่างนี้ ก็

มีนัยเช่นนี้เหมือนกัน.

สองบทว่า ปาปกา ธมฺมา ความว่า ก็อกุศลธรรมทั้งหลายเป็น

มลทินทั้งนั้น ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า. บทว่า ตโต ความว่า กว่า

มลทินที่ตรัสแล้ว ในหนหลัง. บทว่า มลตร ความว่า เราจะบอกมลทิน

อันยิ่งแก่ท่านทั้งหลาย.

บทว่า อวิชฺชา ความว่า ความไม่รู้ อันมีวัตถุ ๘ นั่นแล เป็น

มลทินอย่างยิ่ง.

๑. พึงดู อวิชชา ๘ ในธรรมวิภาคปริเฉทที่ ๒ หมวด ๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 29

บทว่า ปหนฺตฺวาน ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายละมลทิน

นั่นได้แล้ว ย่อมเป็นผู้หามลทินมิได้.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องกุลบุตรคนใดคนหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 30

๖. เรื่องภิกษุชื่อจูฬสารี [๑๘๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริก

ของพระสารีบุตรเถระ ชื่อจูฬสารี จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สีชีว

อหิริเกน" เป็นต้น.

พระจูฬสารีได้โภชนะเพระทำเวชกรรม

ดังได้สดับมา วันหนึ่ง พระจูฬสารีนั้นทำเวชกรรมแล้วได้โภชนะ

อันประณีตแล้ว ถือออกไปอยู่ พบพระเถระในระหว่างทาง จึงเรียนว่า

" ท่านขอรับ โภชนะนี้ กระผมทำเวชกรรมได้แล้ว, ใต้เท้าจักไม่ได้

โภชนะเห็นปานนี้ในที่อื่น, ขอใต้เท้าจงฉันโภชนะนี้, กระผมจักทำ

เวชกรรม นำอาหารเห็นปานนี้มาเพื่อใต้เท้าตลอดกาลเป็นนิตย์." พระเถระ

ฟังคำของพระจูฬสารีนั้นแล้ว ก็นิ่งเฉย หลีกไปแล้ว. ภิกษุทั้งหลายมาสู่

วิหารแล้ว กราบทูลความนั้นแด่พระศาสดา.

ผู้ตั้งอยู่ในอเนสนกรรมเป็นอยู่ง่าย

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาบุคคลผู้ไม่มีความ

ละอาย ผู้คะนอง เป็นผู้เช่นกับกา ตั้งอยู่ในอเนสนา ๒๑ อย่าง ย่อม

เป็นอยู่ง่าย, ส่วนบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ ย่อมเป็นอยู่ยาก"

ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

๖. สุชีว อหิริเกน กากสูเรน ธสินา

ปกฺขนฺทินา ปคพฺเภน สงฺกิลิฏฺเน ชีวิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 31

หิรีมตา จ ทุชฺชีว นิจฺจ สุจิคเวสินา

อลีเนนาปคพฺเภน สุทฺธาชีเวน ปสฺสตา.

"อันบุคคลผู้ไม่มีความละอาย กล้าเพียงดังกา

มีปกติกำจัด (คุณผู้อื่น) มักแล่นไป (เอาหน้า) ผู้

คะนอง ผู้เศร้าหมอง เป็นอยู่ง่าย. ส่วนบุคคลผู้มี

ความละอาย ผู้แสวงหากรรมอันสะอาดเป็นนิตย์ ไม่

หดหู่ ไม่คะนอง มีอาชีวะหมดจดเห็นอยู่ เป็นอยู่

ยาก."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหิริเกน คือผู้ขาดหิริและโอตตัปปะ.

อธิบายว่า อันบุคคลผู้เห็นปานนั้น อาจเรียกหญิงผู้มิใช่มารดานั่นแลว่า

" มารดาของเรา" เรียกชายทั้งหลายผู้มิใช่บิดาเป็นต้นนั่นแล โดยนัย

เป็นต้นว่า "บิดาของเรา" ตั้งอยู่ในอเนสนา ๒๑ อย่าง เป็นอยู่โดยง่าย.

บทว่า กากสูเรน ได้แก่ เช่นกาตัวกล้า. อธิบายว่า เหมือนอย่าง

ว่า กาตัวกล้า ใคร่จะคาบวัตถุทั้งหลายมียาคูเป็นต้น ในเรือนแห่ง

ตระกูลทั้งหลาย จับ ณ ที่ทั้งหลายมีฝาเรือนเป็นต้นแล้ว รู้ว่าเขาแลดูตน

จึงทำเป็นเหมือนไม่แลดู เหมือนส่งใจไปในที่อื่น และทำเป็นเหมือนหลับ

อยู่ กำหนดความเผอเรอของพวกมนุษย์ได้แล้วก็โผลง, เมื่อพวกมนุษย์

ไล่ว่า " สุ สุ " อยู่นั่นแล ก็คาบเอาอาหารเต็มปากแต่ภาชนะแล้วบินหนี

ไปฉันใด; แม้บุคคลผู้ไม่มีความละอายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เข้าไปบ้าน

กับภิกษุทั้งหลายแล้ว ย่อมกำหนดที่ทั้งหลาย มีที่ตั้งแห่งยาคูแลภัต

เป็นต้น, ภิกษุทั้งหลายเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนั้น รับเอาอาหารสักว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 32

ยังอัตภาพให้เป็นไป ไปสู่โรงฉันพิจารณาอยู่ ดื่มยาคูแล้ว ทำกัมมัฏฐาน

ไว้ในใจ สาธยายอยู่ ปัดกวาดโรงฉันอยู่; ส่วนบุคคลนี้ไม่ทำอะไร ๆ

เป็นผู้บ่ายหน้าตรงไปยังบ้าน, เขาแม้ถูกภิกษุทั้งหลายบอกว่า " จงดูบุคคล

นี้ " แล้วจ้องดูอยู่ ทำเป็นเหมือนไม่แลดู เหมือนส่งใจไปในที่อื่น เหมือน

หลับอยู่ ดุจกลัดลูกดุม ทำที่เป็นดุจจัดจีวร พูดว่า " การงานของเรา

ชื่อโน้นมีอยู่ " ลุกจากอาสะเข้าไปบ้าน เข้าไปสู่เรือนหลังโคหลังหนึ่ง

บรรดาเรือนที่กำหนดไว้แล้วแต่เช้า, เมื่อหมู่มนุษย์ในเรือน แม้แง้ม

ประตูแล้วนั่งกรอด้ายอยู่ริมประตู, เอามือข้างหนึ่งผลักประตูแล้วเข้าไป

ภายใน. ลำดับนั้น มนุษย์เหล่านั้นเห็นบุคคลนั้นแล้ว แม้ไม่ปรารถนา

ก็นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะ แล้วถวายของมียาคูเป็นต้นที่มีอยู่, เขาบริโภค

ตามต้องการแล้ว ถือเอาของส่วนที่เหลือด้วยบาตรหลีกไป, บุคคลนี้ชื่อว่า

ผู้กล้าเพียงดังกา, อันบุคคลผู้หาหิริมิได้เห็นปานนี้ เป็นอยู่ง่าย.

บทว่า ธสินา ความว่า ชื่อว่าผู้มีปกติกำจัด เพราะเมื่อคนทั้งหลาย

กล่าวคำเป็นต้นว่า " พระเถระชื่อโน้น เป็นผู้มีความปรารถนาน้อย,"

กำจัดคุณของคนเหล่าอื่นเสีย ด้วยคำเป็นต้นว่า " ก็แม้พวกเราไม่เป็นผู้มี

ความปรารถนาน้อยดอกหรือ ?" ก็มนุษย์ทั้งหลายฟังคำของคนเห็นปาน

นั้นแล้ว เมื่อสำคัญว่า " แม้ผู้นี้ก็เป็นผู้ประกอบด้วยคุณ มีความเป็นผู้

ปรารถนาน้อยเป็นต้น" ย่อมสำคัญของที่ตนควรให้. แต่ว่าจำเดิมแต่นั้น

ไป เขาเมื่อไม่อาจเพื่อยังจิตของบุรุษผู้รู้ทั้งหลายให้ยินดี ย่อมเสื่อมจาก

ลาภแม้นั้น. บุคคลผู้มีปกติกำจัดอย่างนี้ ย่อมยังลาภทั้งของตนทั้งช่องผู้อื่น

ให้ฉิบหายแท้.

๑. โถก กวาฏ ปิธาย ปิดบานประตูหน่อยหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 33

บทว่า ปกฺขนฺทินา ความว่า ผู้มักประพฤติแล่นไป คือผู้แสดงกิจ

ของคนเหล่าอื่นให้เป็นดุจกิจของตน. เมื่อภิกษุทั้งหลายทำวัตรที่ลานพระ-

เจดีย์เป็นต้นแต่เช้าตรู่ นั่งด้วยกระทำไว้ในใจซึ่งกัมมัฏฐานหน่อยหนึ่ง

แล้วลุกขึ้น เข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต, บุคคลนั้นล้างหน้า แล้วตกแต่ง

อัตภาพ ด้วยอันห่มผ้ากาสาวะมีสีเหลือง หยอดนัยน์ตาและทาศีรษะ

เป็นต้น ให้ประหารด้วยไม้กวาด ๒-๓ ทีเป็นดุจว่ากวาดอยู่ เป็นผู้บ่าย

หน้าไปสู่ซุ้มประตู, พวกมนุษย์มาแต่เช้าตรู่ ด้วยคิดว่า "จักไหว้พระเจดีย์

จักกระทำบูชาด้วยระเบียบดอกไม้" เห็นเขาแล้ว พูดกันว่า "วิหารนี้"

อาศัยภิกษุหนุ่มนี้ จึงได้การปฏิบัติบำรุง, ท่านทั้งหลายอย่าละเลยภิกษุ

นี้" ดังนี้แล้ว ย่อมสำคัญของที่ตนพึงให้แก่เขา. อันบุคคลผู้มักแล่นไป

เช่นนี้ เป็นอยู่ง่าย.

บทว่า ปคพฺเภน ความว่า ผู้ประกอบด้วยความคะนองกายเป็นต้น.

สองบทว่า สงฺกิลิฏฺเน ชีวิต ความว่า ก็อันบุคคลผู้เลี้ยงชีวิตเป็นอยู่

อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้เศร้าหมองแล้ว เป็นอยู่. การเป็นอยู่นั้น ชื่อว่าเป็น

อยู่ชั่ว คือเป็นอยู่ลามกแท้.

บทว่า หิริมตา จ ความว่า อันบุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอต-

ตัปปะ เป็นอยู่ยาก. เพราะเขาไม่กล่าวคำว่า "มารดาของเรา" เป็นต้น

กะหญิงผู้มิใช่มารดาเป็นต้น เกลียดปัจจัยที่เกิดขึ้นโดยไม่ชอบธรรมดุจคูถ

แสวงหา (ปัจจัย) โดยธรรมโดยเสมอ เที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก

สำเร็จชีวิตเป็นอยู่เศร้าหมอง.

บทว่า สุจิคเวสินา ความว่า แสวงหากรรมทั้งหลาย มีกายกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 34

เป็นต้นอันสะอาด. บทว่า อลีเนน ความว่า ไม่หดหู่ด้วยความเป็นไป

แห่งชีวิต.

สองบทว่า สุทฺธาชีเวน ปสฺสตา ความว่า ก็บุคคลเห็นปานนี้ย่อม

เป็นผู้ชื่อว่า มีอาชีวะหมดจด, อันบุคคลผู้มีอาชีวะหมดจดแล้วอย่างนี้นั้น

เห็นอาชีวะหมดจดนั้นแลโดยความเป็นสาระ ย่อมเป็นอยู่ได้ยาก ด้วย

อำนาจแห่งความเป็นอยู่เศร้าหมอง.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุชื่อจูฬสารี จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 35

๗. เรื่องอุบาสก ๕ คน [๑๘๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก ๕ คน

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย ปาณมติมาเปติ" เป็นต้น.

อุบาสกเถียงกันในเรื่องศีล

ความพิสดารว่า บรรดาอุบาสกเหล่านั้น อุบาสกคนหนึ่งย่อมรักษา

สิกขาบท คือเจตนาเครื่องงดเว้นจากการยังชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไปอย่าง

เดียว. (ส่วน) อุบาสกทั้งหลายนอกนี้ ย่อมรักษาสิกขาบททั้งหลายนอกนี้.

วันหนึ่ง อุบาสกเหล่านั้นเกิดทุ่มเถียงกันว่า " เราย่อมทำกรรมที่ทำได้โดย

ยาก. เราย่อมรักษาสิ่งที่รักษาได้โดยยาก" ไปสู่สำนักของพระศาสดา

ถวายบังคมแล้วกราบทูลความนั้น.

พระศาสดาทรงตัดสิน

พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของอุบาสกเหล่านั้นแล้ว มิได้ทรง

กระทำศีลแม้ข้อหนึ่งให้ต่ำต้อย ตรัสว่า "มีศีลทั้งหมดเป็นของรักษาไว้

โดยยากทั้งนั้น" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๗. โย ปาณมติมาเปติ มุสาวาทญฺจ ภาสติ

โลเก อทินฺน อาทิยติ ปรทารญฺจ คจฺฉติ

สุราเมรยปานญฺจ โย นโร อนุยุญฺชติ

อิเธวเมโส โลกสฺมึ มูล ขนติ อตฺตโน.

เอว โภ ปุริส ชานาหิ ปาปธมฺมา อสญฺตา

มา ต โลโภ อธมฺโม จ จิร ทุกฺขาย รนฺธยุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 36

" นระใด ย่อมยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป ๑,

กล่าวมุสาวาท ๑, ถือเอาทรัพย์ที่บุคคลอื่นไม่ให้ใน

โลก ๑, ถึงภริยาของผู้อื่น ๑, อนึ่ง นระใดย่อม

ประกอบเนื่อง ๆ ซึ่งการดื่มสุราและเมรัย นระนี้

(ชื่อว่า) ย่อมขุดซึ่งรากเหง้าของตนในโลกนี้ทีเดียว.

บุรุษผู้เจริญ ท่านจงทราบอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้มีบาป-

ธรรมทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้ไม่สำรวมแล้ว' ความโลภ

และสภาพมิใช่ธรรม จงอย่ารบกวนท่าน เพื่อความ

ทุกข์ ตลอดกาลนานเลย."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า โย ปาณมติมาเปติ ความว่า

บรรดาประโยคทั้งหก มีสาหัตถิกประโยคเป็นต้น นระใดย่อมเข้าไปตัด

อินทรีย์คือชีวิตของผู้อื่น แม้ด้วยประโยคอันหนึ่ง.

บทว่า มุสาวาท ความว่า และย่อมกล่าวมุสาวาท อันหักเสียซึ่ง

ประโยชน์ของชนเหล่าอื่น.

บาทพระคาถาว่า โลเก อทินฺน อาทิยติ ความว่า ย่อมถือเอาทรัพย์

อันบุคคลอื่นหวงแหนแล้ว ด้วยบรรดาอวหาร (การนำเอาไป) ทั้งหลาย

มีไถยาวหาร (การนำเอาไปโดยขโมย) เป็นต้น อวหารแม้อันหนึ่งใน

สัตวโลกนี้.

บาทพระคาถาว่า ปรทารญฺจ คจฺฉติ ความว่า นระเมื่อผิดใน

๑. ประโยคแห่งการฆ่ามี ๖ คือ สาหัตถิกประโยค ๑ นิคสัคคิยประโจค ๑ อาณัตติประโยค ๑

ถาวรประโยค ๑ วิชชามยประโยค ๑ อิทธิมยประโยค ๑ สาหัตถิกประโยคนั้น ได้แก่การทำ

ด้วยมือตนเอง. สมันตปาสาทิกา ๑/๕๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 37

ภัณฑะทั้งหลาย ที่บุคคลอื่นรักษาและคุ้มครองแล้ว ชื่อว่าย่อมประพฤติ

นอกทาง.

บทว่า สุราเมรยปาน ได้แก่ การดื่มซึ่งสุราและเมรัยอย่างใดอย่าง

หนึ่งนั่นเทียว. บทว่า อนุยุญฺชติ คือ ย่อมเสพ ได้แก่ ย่อมกระทำ

ให้มาก.

สองบทว่า มูล ขนติ ความว่า ปรโลกจงยกไว้. ก็ในโลกนี้นั่นแล

นระนี้จำนองหรือขายขาด แม้ซึ่งทรัพย์อันเป็นต้นทุนมีนาและสวนเป็นต้น

อันเป็นเครื่องที่จะพึงดำรง (ตน) อยู่ได้ ดื่มสุราอยู่ ชื่อว่าย่อมขุดซึ่ง

รากเหง้าของตน คือเป็นคนหาที่พึ่งมิได้. เป็นคนกำพร้าเที่ยวไป.

พระศาสดา ย่อมตรัสเรียกบุคคลผู้ทำกรรมคือทุศีล ๕ ด้วยคำว่า

เอว โภ. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ ผู้มีธรรมลามก. บทว่า อสญฺตา

ได้แก่ ผู้เว้นแล้วจากการสำรวม มีการสำรวมทางกายเป็นต้น. พระบาลีว่า

อเจตสา ดังนี้บ้าง. ความว่า ผู้ไม่มีจิต.

สองบทว่า โลโภ อธมฺโม จ ได้แก่ โลภะและโทสะ. แท้จริง

กิเลสชาตแม้ทั้งสองนี้ เป็นอกุศลโดยแท้.

บาทพระคาถาว่า จิร ทุกฺขาย รนฺธยุ ความว่า ธรรมเหล่านี้

จงอย่าฆ่า อยู่ย่ำยี (ซึ่งท่าน) เพื่อประโยชน์แก่ทุกข์ทั้งหลายมีทุกข์ใน

นรกเป็นต้น ตลอดกาลนาน.

ในกาลจบเทศนา อุบาสก ๕ คนนั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.

พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์ แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องอุบาสก ๕ คน จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 38

๘. เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ [๑๘๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่ม

ชื่อติสสะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ททาติ เว ยถาสทฺธ" เป็นต้น.

พระติสสะนินทาชนอื่นแต่ชมเชยญาติของตน

ได้ยินว่า พระติสสะนั้นเที่ยวติเตียนทานของพระอริยสาวก แม้ ๕

โกฏิ คือ อนาถบิณฑิกคฤหบดี นางวิสาขาอุบาสิกา (เป็นต้น ). แม้ถึง

อสทิสทานก็ติเตียนเหมือนกัน, ได้ของเย็นในโรงทานของอริยสาวก

เหล่านั้น ย่อมติเตียนว่า " เย็น " ได้ของร้อน ย่อมติเตียนว่า " ร้อน "

แม้เขาให้น้อย ย่อมติเตียนว่า " เพราะเหตุไร ชนเหล่านี้จึงให้ของเพียง

เล็กน้อย ?" แม้เขาให้มาก ย่อมติเตียนว่า " ในเรือนของชนเหล่านี้ เห็น

จะไม่มีที่เก็บ, ธรรมดาบุคคลควรให้วัตถุพอยังอัตภาพให้เป็นไปแก่ภิกษุ

ทั้งหลายมิใช่หรือ ? ยาคูและภัตเท่านี้ย่อมวิบัติไปไม่มีประโยชน์เลย,"

แต่กล่าวปรารภพวกญาติของตนเป็นต้นว่า " น่าชมเชยเรือนของพวกญาติ

ของเรา เป็นโรงเลี้ยงของภิกษุทั้งหลาย ผู้มาแล้วจากทิศทั้งสี่" ดังนี้

แล้ว ย่อมยังคำสรรเสริญให้เป็นไป.

พวกภิกษุสอบสวนฐานะของพระติสสะ

ก็พระติสสะนั้น เป็นบุตรของผู้รักษาประตูคนหนึ่ง เที่ยวไปกับ

พวกช่างไม้ผู้เที่ยวไปยังชนบท ถึงพระนครสาวัตถี บวชแล้ว.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายเห็นเธอผู้ (เที่ยว) ติเตียนทานของมนุษย์

๑. หาทานเสมอเหมือนมิได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 39

ทั้งหลายอยู่อย่างนั้น คิดกันว่า " พวกเราจักสอบสวนภิกษุนั้น " จึงถาม

ว่า " ผู้มีอายุ พวกญาติของท่านอยู่ที่ไหน ?" ได้ฟังว่า " อยู่ในบ้านชื่อ

โน้น " จึงส่งภิกษุหนุ่มไป ๒-๓ รูป.

ภิกษุหนุ่มเหล่านั้นไปในบ้านนั้นแล้ว อันชนชาวบ้านนิมนต์ให้นั่ง

ที่โรงฉันแล้วกระทำสักการะ จึงถามว่า เด็กหนุ่มชื่อติสสะออกจากบ้าน

นี้ไปบวชแล้ว มีอยู่หรือ ? ชนเหล่าไหนเป็นญาติของติสสะนั้น." มนุษย์

ทั้งหลาย (ต่าง) คิดว่า " ในบ้านนี้ เด็กผู้ออกจากเรือนแห่งตระกูลไป

บวชแล้ว ไม่มี; ภิกษุเหล่านั้น พูดถึงใครหนอ ?" แล้วเรียนว่า " ท่านขอรับ

กระผมทั้งหลายได้ยินว่า ' บุตรของผู้รักษาประตูคนหนึ่ง เที่ยวไปกับพวก

ช่างไม้ บวชแล้ว;' ท่านทั้งหลายเห็นจะกล่าวหมายเอาผู้นั้นกระมัง ?"

จับโกหกได้

ภิกษุหนุ่มทั้งหลายทราบว่า พวกญาติผู้ใหญ่ของติสสภิกษุหนุ่มนั้น

ไม่มีในบ้านนั้นแล้ว (จึงพากัน) กลับไปสู่พระนครสาวัตถี แจ้งเรื่องนั้น

แก่ภิกษุทั้งหลายว่า " ท่านผู้เจริญ พระติสสะย่อมเที่ยวพูดเพ้อถึงสิ่งอัน

หาเหตุมิได้เลย." แม้ภิกษุทั้งหลายก็กราบทูล (เรื่องนั้น) แด่พระ-

ตถาคต.

บุรพกรรมของพระติสสะ

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าติสสะนั้นย่อมเที่ยว

โอ้อวด ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้; แม้ในกาลก่อน เธอก็ได้เป็นผู้โอ้อวด

แล้ว," อันภิกษุทั้งหลายทูลวิงวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาแล้ว ทรง

ยังกฏาหกชาดกนี้ให้พิสดารว่า :-

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๔๐. อรรถกถา. ๒/๓๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 40

"นายกฏาหกนั้น ไปสู่ชนบทอื่น จึงพูดอวดซึ่ง

ทรัพย์แม้มาก, นายมาตามแล้ว พึงประทุษร้าย,

กฏาหก ท่านจงบริโภคโภคะทั้งหลายเถิด."

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลใดเมื่อชนเหล่าอื่นให้ซึ่งวัตถุ

น้อยก็ตาม มากก็ตาม เศร้าหมองก็ตาม ประณีตก็ตาม หรือให้วัตถุแก่

ชนเหล่าอื่น (แต่) ไม่ให้แก่ตน ย่อมเป็นผู้เก้อเขิน; ฌานก็ดี วิปัสสนา

ก็ดี มรรคและผลก็ดี ย่อมไม่เกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะ

ทรงแสดงธรรมได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๘. ททาติ เว ยถาสทฺธ ยถาปสาทน ชโน

ตตฺถ โย มงฺกุโต โหติ ปเรส ปานโภชเน

น โส ทิวา วา รตฺตึ วา สมาธึ อธิคจฺฉติ.

ยสฺสเจต สมุจฺฉินฺน มูลฆจฺจ สมูหต

ส เว ทิวา วา รตฺตึ วา สมาธึ อธิคจฺฉติ.

"ชนย่อมให้ (ทาน) ตามศรัทธา ตามความ

เลื่อมใสแล, ชนใด ย่อมเป็นผู้เก้อเขินในเพราะน้ำ

และข้าวของชนเหล่าอื่นนั้น, ชนนั้นย่อมไม่บรรลุ

สมาธิในกลางวันหรือในกลางคืน. ก็อกุศลธรรมอัน

บุคคลใดตัดขาดแล้ว ถอนขึ้นทำให้มีรากขาดแล้ว,

บุคคลนั้นแล ย่อมบรรลุสมาธิ ในกลางวันหรือใน

กลางคืน."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 41

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ททาติ เว ยถาสทฺธ ความ

ว่า ชนเมื่อให้บรรดาวัตถุมีของเศร้าหมองและประณีตเป็นต้น อย่างใด

อย่างหนึ่ง ชื่อว่าย่อมให้ตามศรัทธา คือ ตามสมควรแก่ศรัทธาของตน

นั่นแล.

บทว่า ยถาปสาทน ความว่า ก็บรรดาภิกษุผู้เป็นเถระและภิกษุ

ใหม่เป็นต้น ความเลื่อมใสในภิกษุใด ๆ ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น, เมื่อ

ถวาย (ทาน) แก่ภิกษุนั้น ชื่อว่าย่อมถวายตามความเลื่อมใส คือตาม

สมควรแก่ความเลื่อมใสของตนนั่นแล.

บทว่า ตตฺถ เป็นต้น ความว่า ย่อมถึงความเป็นผู้เก้อเขินในเพราะ

ทานของชนอื่นนั้นว่า " เราได้วัตถุเล็กน้อย, เราได้ของเศร้าหมอง."

บทว่า สมาธึ เป็นต้น ความว่า บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุสมาธิด้วย

สามารถแห่งอุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ หรือด้วยสามารถแห่งมรรค

และผล ในกลางวันหรือในกลางคืน.

สองบทว่า ยสฺส เจต ความว่า อกุศลกรรมนั่น กล่าวคือความ

เป็นผู้เก้อเขินในฐานะเหล่านั้น อันบุคคลใดตัดขาดแล้ว ถอนขึ้น ทำให้มี

รากขาดแล้ว ด้วยอรหัตมรรคญาณ. บุคคลนั้นย่อมบรรลุสมาธิ มีประการ

ดังกล่าวแล้ว.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุหนุ่มชื่อติสสะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 42

๙. เรื่องอุบาสก ๕ คน [๑๙๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก ๕

คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ" เป็นต้น.

ได้ยินว่า อุบาสกเหล่านั้นใคร่จะฟังธรรม ไปสู่วิหาร ถวายบังคม

พระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง. ก็ความดำริว่า " ผู้นี้เป็นกษัตริย์

ผู้นี้เป็นพราหมณ์, ผู้นี้เป็นคนมั่งมี, ผู้นี้เป็นคนยากจน, เราจักแสดงธรรม

ให้ยวดยิ่งแก่ผู้นี้, จักไม่แสดง (ธรรมให้ยวดยิ่ง) แก่ผู้นี้" ย่อมไม่เกิด

ขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมปรารภบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ย่อม

ทรงทำความเคารพธรรมไว้เป็นเบื้องหน้า แล้วจึงแสดง ประหนึ่ง

เทพเจ้าผู้มีฤทธิ์บันดาลให้น้ำในอากาศหลั่งไหลลงอยู่ฉะนั้น. ก็บรรดา

อุบาสกเหล่านั้น ผู้นั่งแล้วในสำนักของพระตถาคตผู้ทรงแสดง (ธรรม)

อยู่อย่างนั้น อุบาสกคนหนึ่งนั่งหลับแล้วเทียว, คนหนึ่งนั่งเขียนแผ่นดิน

ด้วยนิ้วมือ, คนหนึ่งนั่งเขย่าต้นไม้, คนหนึ่งนั่งแหงน (หน้า) มองดู

อากาศ, แต่คนหนึ่งได้ฟังธรรมโดยเคารพ.

พระอานนทเถระ ถวายงานพัดพระศาสดาอยู่ แลดูอาการของ

อุบาสกเหล่านั้น กราบทูลพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์

ทรงบันลือลั่นดุจมหาเมฆคำรน ทรงแสดงธรรมแก่อุบาสกเหล่านี้, แต่

อุบาสกเหล่านั้น เมื่อพระองค์ตรัสธรรมอยู่, นั่งทำกรรมนี้และนี้."

พระศาสดา. อานนท์ เธอไม่รู้จักอุบาสกเหล่านั้นหรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 43

อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้จัก พระเจ้าข้า.

ประวัติเดิมของอุบาสก ๕ คน

พระศาสดา. ก็บรรดาอุบาสกเหล่านั้น อุบาสกผู้นั่งหลับแล้วนั่น

เกิดในกำเนิดแห่งงูสิ้น ๕๐๐๐ ชาติ พาดศีรษะไว้บนขนดทั้งหลายหลับแล้ว.

แม้ในบัดนี้ ความอิ่มในการหลับของเขาย่อมไม่มี, เสียงของเราย่อมไม่

เข้าไปสู่หูของเขา.

อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสโดยลำดับหรือตรัส

เป็นตอน ๆ ?

พระศาสดา. อานนท์ แท้จริง แม้พระสัพพัญญุตญาณ ก็ไม่อาจทรง

กำหนด ซึ่งความอุบัติของอุบาสกนั่น ผู้อุบัติอยู่ในระหว่าง ๆ อย่างนี้คือ

' ความเป็นมนุษย์ตามกาล, ความเป็นเทพตามกาล, ความเป็นนาคตาม

กาล,' แต่อุบาสกนั่นเกิดแล้วในกำเนิดแห่งนาคสิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ

แม้หลับอยู่ (ก็) ไม่อิ่มในการหลับเสียเลย.

ฝ่ายบุรุษผู้นั่งเขียนแผ่นดินด้วยนิ้วมือ เกิดในกำเนิดไส้เดือนสิ้น

๕๐๐ ชาติโดยลำดับ ขุดแผ่นดินแล้ว, ถึงบัดนี้ก็เขียนแผ่นดินอยู่ ด้วย

อำนาจความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติแล้ว ในกาลก่อนย่อมไม่ฟัง

เสียงของเรา.

ฝ่ายบุรุษผู้นั่งเขย่าต้นไม้อยู่นั่น เกิดแล้วในกำเนิดลิงสิ้น ๕๐๐ ชาติ

โดยลำดับ, ถึงบัดนี้ก็เขย่าต้นไม้อยู่ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติที่ตน

ได้เคยประพฤติมาแล้วในกาลก่อนนั่นเทียว. เสียงของเราย่อมไม่เข้าหูของ

เขา. แม้พราหมณ์ผู้นั่งแหงน (หน้า) มองอากาศอยู่นั่น ก็เกิดเป็น (หมอ)

๑. อนฺตรนฺตรา=ในระหว่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 44

ผู้บอกฤกษ์สิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ, ถึงบัดนี้ แม้ในวันนี้ก็ยังแหงน

(หน้า) ดูอากาศอยู่ ด้วยสามารถแห่งความประพฤติที่ตนได้เคยประพฤติ

มาแล้ว ในกาลก่อนนั่นเทียว. เสียงของเราย่อมไม่เข้าหูของเขา.

ส่วนพราหมณ์ผู้ฟังธรรมโดยความเคารพนั่น เกิดเป็นพราหมณ์ผู้

ท่องมนต์ ถึงฝั่งแห่งเวท ๓ สิ้น ๕๐๐ ชาติโดยลำดับ, ถึงบัดนี้ ก็ย่อมฟัง

ธรรมโดยเคารพ เป็นดังเทียบเคียงมนต์อยู่.

อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาของพระองค์

ย่อมแทรกอวัยวะทั้งหลาย มีผิวเป็นต้น (เข้า) ไปจดเยื่อกระดูกตั้งอยู่;

เพราะเหตุไร อุบาสกเหล่านี้แม้เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ จึงไม่ฟัง

โดยเคารพ ?

พระศาสดา. อานนท์ เธอเห็นจะทำความสำคัญว่า ' ธรรมของเรา

อันบุคคลพึงฟังได้โดยง่ายกระมัง ? '

อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรม (ของพระองค์) อัน

บุคคลพึงฟังได้โดยยากหรือ ?

พระศาสดา. ถูกแล้ว อานนท์.

อานนท์. เพราะเหตุไร ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อานนท์ บทว่า ' พุทฺโธ ' ก็ดี ' ธมฺโม ' ก็ดี ' สงฺโฆ '

ก็ดี อันสัตว์เหล่านั้นไม่เคยสดับแล้ว ในแสนกัลป์ แม้เป็นอเนก: เพราะ-

ฉะนั้น สัตว์เหล่านั้นจึงไม่สามารถฟังธรรมนี้ได้: แต่ในสงสารมีที่สุดอัน

ใคร ๆ ตามรู้ไม่ได้ สัตว์เหล่านั้นฟังดิรัจฉานกถามีอย่างต่าง ๆ นั่นแล มา

๑. มนฺตชฺฌายกพฺราหฺณโณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 45

แล้ว: เพราะฉะนั้น สัตว์เหล่านี้จึงเที่ยวขับร้องฟ้อนรำอยู่ในที่ทั้งหลาย

มีโรงดื่มสุราและสนามเป็นที่เล่นเป็นต้น . จึงไม่สามารถจะฟังธรรมได้.

อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกทั้งหลายนั่น อาศัยอะไร

จึงไม่สามารถ ?

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พระอานนท์ว่า " อานนท์ อุบาสก

เหล่านั้น อาศัยราคะ อาศัยโทสะ อาศัยโมหะ อาศัยตัณหา จึงไม่สามารถ:

ชื่อว่าไฟ เช่นกับด้วยไฟคือราคะไม่มี, ไฟใดไม่แสดงแม้ซึ่งเถ้า ย่อมไหม้

สัตว์ทั้งหลาย; แท้จริง แม้ไฟซึ่งยังกัลป์ให้พินาศ ที่อาศัยความปรากฏ

แห่งอาทิตย์ ๗ ดวงบังเกิดขึ้น ย่อมไหม้โลก ไม่ให้วัตถุไร ๆ เหลืออยู่เลย

ก็จริง, ถึงกระนั้น ไฟนั้นย่อมไหม้ในบางคราวเท่านั้น; ชื่อว่ากาลที่ไฟคือ

ราคะจะไม่ไหม้ ย่อมไม่มี: เพราะฉะนั้น ชื่อว่าไฟเสมอด้วยราคะก็ดี ชื่อว่า

ผู้จับเสมอด้วยโทสะก็ดี ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะก็ดี ชื่อว่าแม่น้ำเสมอ

ด้วยตัณหาก็ดี ไม่มี" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๙. นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม คโห

นตฺถิ โมหสม ชาล นตฺถิ ตณฺหาสมา นที.

"ไฟเสมอด้วยราคะ ไม่มี, ผู้จับเสมอด้วยโมหะ

ไม่มี, ข่ายเสมอด้วยโมหะ ไม่มี. แม่น้ำเสมอด้วย

ตัณหา ไม่มี."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ราคสโม ความว่า ชื่อว่าไฟเสมอด้วย

ราคะ ย่อมไม่มี ด้วยสามารถแห่งอันไม่แสดงอะไร ๆ เช่นควันเป็นต้น

ตั้งขึ้นเผาภายในนั่นเอง. บทว่า โทสสโม ความว่า ผู้จับทั้งหลาย มีผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 46

จับคือยักษ์ ผู้จับคืองูเหลือม และผู้จับคือจระเข้เป็นต้น ย่อมสามารถจับ

ได้ในอัตภาพเดียวเท่านั้น, แต่ผู้จับคือโทสะ ย่อมจับโดยส่วนเดียวทีเดียว

เพราะฉะนั้น ชื่อว่าผู้จับเสมอด้วยโทสะย่อมไม่มี.

สองบทว่า โมหสม ชาล ความว่า ก็ชื่อว่าข่ายเสมอด้วยโมหะ ย่อม

ไม่มี เพราะอรรถว่ารึงรัดและรวบรัดไว้.

บทว่า ตณฺหาสมา ความว่า เวลาเต็มก็ดี เวลาพร่องก็ดี เวลาแห้ง

ก็ดี ของแม่น้ำทั้งหลาย มีแม่น้ำคงคาเป็นต้น ย่อมปรากฏ, แต่เวลาเต็ม

หรือเวลาแห้งแห่งตัณหา ย่อมไม่มี, ความพร่องอย่างเดียวย่อมปรากฏ

เป็นนิตย์ เพราะฉะนั้น ชื่อว่าแม่น้ำเสมอด้วยตัณหา ย่อมไม่มี เพราะ

อรรถว่าให้เต็มได้โดยยาก.

ในกาลจบเทศนา อุบาสกผู้ฟังธรรมอยู่โดยเคารพนั้น ตั้งอยู่ใน

โสดาปัตติผลแล้ว. พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกัน

แล้ว ดังนี้แล.

เรื่องอุบาสก ๕ คน จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 47

๑๐. เรื่องเมณฑกเศรษฐี [๑๙๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยภัททิยนครประทับอยู่ในชาติยาวัน ทรง

ปรารภเมณฑกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สุทสฺส วชฺชมญฺเส"

เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จไปภัททิยนคร

ได้ยินว่า พระศาสดาเมื่อเสด็จเที่ยวจาริกไปในอังคุตตราปถชนบท

ทั้งหลาย ทรงเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติผลของคนเหล่านี้ คือเมณฑกเศรษฐี ๑,

ภรรยาของเศรษฐีนั้น ชื่อว่านางจันทปทุมา ๑, บุตรชื่อธนัญชัยเศรษฐี ๑,

หญิงสะใภ้ชื่อนางสุมนเทวี ๑, หลานสาวชื่อวิสาขา ๑, ทาสชื่อปุณณะ ๑,

จึงเสด็จไปสู่ภัททิยนคร ประทับอยู่ในชาติยาวัน . เมณฑกเศรษฐีได้สดับ

การเสด็จมาของพระศาสดาแล้ว.

เหตุที่ได้นามว่าเมณฑกเศรษฐี

ถามว่า " ก็เพราะเหตุไร เศรษฐีนั่นจึงชื่อว่า เมณฑกเศรษฐี ?"

แก้ว่า ได้ยินว่า แพะทองคำทั้งหลายประมาณเท่าช้าง ม้าและโคอุสภะ

ชำแรกแผ่นดินเอาหลังดุนหลังกันผุดขึ้นในที่ประมาณ ๘ กรีส ที่ข้างหลัง

เรือนของเศรษฐีนั้น. บุญกรรมใส่กลุ่มด้าย ๕ สีไว้ในปากของแพะเหล่านั้น.

เมื่อมีความต้องการด้วยเภสัชมีเนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น

หรือด้วยวัตถุมีผ้าเครื่องปกปิด เงินและทองเป็นต้น ชนทั้งหลานย่อมนำ

กลุ่มด้ายออกจากปากของแพะเหล่านั้น. เนยใส น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

๑. ป่าไม้มะลิ ๒. ที่อื่น ๆ ว่า สุมนาเทวี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 48

ผ้าเครื่องปกปิด เงินและทอง ย่อมไหลออกจากปากแพะแม้ตัวหนึ่ง ก็เป็น

ของเพียงพอแก่ชาวชมพูทวีป. จำเดิมแต่นั้นมา เศรษฐีนั้นจึงปรากฏว่า

เมณฑกเศรษฐี.

บุรพกรรมของท่านเศรษฐี

ถามว่า ก็บุรพกรรมของเศรษฐีนั้นเป็นอย่างไร ? แก้ว่า ได้ยินว่า

ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี เศรษฐีนั้นเป็นหลานของ

กุฎุมพีชื่ออวโรชะ ได้มีชื่อว่า อวโรชะ ซึ่งมีชื่อพ้องกับลุง. ครั้งนั้น

ลุงของเขาปรารภเพื่อจะสร้างพระคันธกุฎีเพื่อพระศาสดา. เขาไปสู่สำนัก

ของลุงแล้ว กล่าวว่า " ลุง แม้เราทั้งสองจงสร้างรวมกันทีเดียว" ใน

เวลาที่ถูกลุงนั้นห้ามว่า " เราคนเดียวเท่านั้นจักสร้างไม่ให้สาธารณะกับด้วย

ชนเหล่าอื่น" จึงคิดว่า "เมื่อลุงสร้างคันธกุฎีในที่นี้แล้ว, เราควรได้ศาลา

รายในที่นี้" จึงให้คนนำเครื่องไม้มาจากป่า ให้ทำเสาอย่างนั้น คือ "เสา

ต้นหนึ่งบุด้วยทองคำ, ต้นหนึ่งบุด้วยเงิน, ต้นหนึ่งบุด้วยแก้วมณี" ให้

ทำขื่อ พรึง บานประตู บานหน้าต่าง กลอน เครื่องมุงแลอิฐแม้ทั้งหมด

บุด้วยวัตถุมีทองคำเป็นต้นเทียว ให้ทำศาลารายสำเร็จด้วยรัตนะ ๗ประการ

แด่พระตถาคตในที่ตรงหน้าพระคันธกุฎี ในเบื้องบนแห่งศาลารายนั้น

ได้มีจอมยอด ๓ ยอด อันสำเร็จแล้วด้วยทองคำอันสุกเป็นแท่งแก้วผลึก

และแก้วประพาฬ. ให้สร้างมณฑปประดับด้วยแก้ว ในที่ท่ามกลางแห่ง

ศาลาราย. ให้ตั้งธรรมาสน์ไว้. เท้าธรรมาสน์นั้นได้สำเร็จด้วยทองคำสีสุก

เป็นแท่ง แม่แคร่ ๔ อันก็เหมือนกัน. แต่ให้กระทำแพะทองคำ ๔ ตัว

ตั้งไว้ในภายใต้แห่งเท้าทั้ง ๔ แห่งอาสนะ. ให้กระทำแพะทองคำ ๒ ตัว

ตั้งไว้ภายใต้ตั่งสำหรับรองเท้า. ให้กระทำแพะทองคำ ๖ ตัว ตั้งแวดล้อม

มณฑป: ให้ถักธรรมาสน์ด้วยเชือกเส้นเล็กสำเร็จด้วยด้ายก่อนแล้ว จึงให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 49

ถักด้วยเชือกอันสำเร็จด้วยทองคำในท่ามกลาง แล้วให้ถักด้วยเชือกสำเร็จ

ด้วยแก้วมุกดาในเบื้องบน; พนักแห่งธรรมาสน์นั้น ได้สำเร็จด้วยไม้

จันทน์. ครั้นให้ศาลารายสำเร็จอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะกระทำการฉลองศาลา

จึงนิมนต์พระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุ ๖ ล้าน ๘ แสน ได้ถวายทานตลอด

๔ เดือน. ในวันสุดท้ายได้ถวายไตรจีวร. บรรดาภิกษุเหล่านั้น จีวรมี

ค่าพันหนึ่ง ถึงแก่ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์แล้ว.

เขาทำบุญกรรม ในกาลแห่งพระวิปัสสีพุทธเจ้าอย่างนั้นแล้ว เคลื่อน

จากอัตภาพนั้น ท่องเที่ยวไปในเทวดาและในมนุษย์ทั้งหลาย ในภัทร-

กัปนี้ เกิดในสกุลเศรษฐีมีโภคะมากในกรุงพาราณสี ได้มีนามว่า พาราณสี-

เศรษฐี.

เศรษฐีประสบฉาตกภัย

วันหนึ่ง เศรษฐีไปสู่ที่บำรุงพระราชา พบปุโรหิต จึงกล่าวว่า

" ท่านอาจารย์ ท่านตรวจดูฤกษ์ยามหรือ ?"

ปุโรหิต. ขอรับ ผมตรวจดู , เราทั้งหลายจะมีการงานอะไรอื่น ?

เศรษฐี. ถ้าอย่างนั้น ความเป็นไปในชนบทจักเป็นเช่นไร ?

ปุโรหิต. ภัยอย่างหนึ่ง จักมี.

เศรษฐี. ชื่อว่าภัยอะไร ?

ปุโรหิต. ฉาตกภัย ท่านเศรษฐี.

เศรษฐี. จักมี เมื่อไร ?

ปุโรหิต. จักมี โดยล่วงไป ๓ ปี แต่ปีนี้.

เศรษฐี ฟังคำนั้นแล้วให้บุคคลทำกสิกรรมเป็นอันมาก รับ (ซื้อ)

๑. ภัยคือความอดอยากหรือความหิว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 50

จำเพาะข้าวเปลือกแม้ด้วยทรัพย์ที่มีอยู่ในเรือน ให้กระทำฉาง ๑,๒๕๐ ฉาง

บรรจุฉางทั้งหมดให้เต็มด้วยข้าวเปลือก. เมื่อฉางไม่พอ ก็บรรจุภาชนะมี

ตุ่มเป็นต้นให้เต็มแล้ว ขุดหลุมฝังข้าวเปลือกที่เหลือในแผ่นดิน. ให้ขยำ

ข้าวเปลือกที่เหลือจากที่ฝั่งไว้กับด้วยดิน ฉาบทาฝาทั้งหลาย.

โดยสมัยอื่นอีก เศรษฐีนั้น เมื่อภัยคือความอดอยากถึงเข้าแล้วก็

บริโภคข้าวเปลือกตามที่เก็บไว้, เมื่อข้าวเปลือกที่เก็บไว้ในฉางและใน

ภาชนะมีตุ่มเป็นต้นหมดแล้ว, จึงให้เรียกชนผู้เป็นบริวารมาแล้ว กล่าวว่า

" พ่อทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงไป จงเข้าไปสู่ภูเขาแล้วเป็นอยู่ ประสงค์จะ

มาสู่สำนักของเรา ก็จงมาในเวลาที่มีภิกษาอันหาได้ง่าย, ถ้าไม่อยากจะมา,

ก็จงเป็นอยู่ในที่นั้นเถิด." ชนเหล่านั้นได้กระทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว.

ส่วนทาสผู้ทำการรับใช้ คนหนึ่ง ชื่อว่าปุณณะ เหลืออยู่ในสำนักของ

เศรษฐีนั้น. รวมเป็นคน ๕ คนเท่านั้นคือ เศรษฐี ภรรยาของเศรษฐี

บุตรของเศรษฐี บุตรสะใภ้ของเศรษฐีกับนายปุณณะนั้น (ที่ยังคงเหลืออยู่).

ชนเหล่านั้น แม้เมื่อข้าวเปลือกที่ฝังไว้ในหลุมในแผ่นดินหมดสิ้น

แล้ว. พังดินที่ฉาบไว้ที่ฝาแล้ว แช่น้ำ ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยข้าวเปลือก

ที่ได้แล้วจากฝานั้น.

ครั้งนั้น ภรรยาของเศรษฐีนั้น เมื่อความหิวครอบงำอยู่ เมื่อดิน

สิ้นไปอยู่ พังดินที่เหลืออยู่ในส่วนแห่งฝาทั้งหลายลงแล้ว แช่น้ำ ได้ข้าว-

เปลือกประมาณกึ่งอาฬหกะ ตำแล้ว ถือเอาข้าวสารประมาณทะนานหนึ่ง-

ใส่ไว้ในหม้อใบหนึ่ง เพราะความกลัวแต่โจรว่า " ในเวลาเกิดฉาตกภัย

๑. เวยฺยาวจฺจกโร โดยพยัญชนะแปลว่า ผู้กระทำซึ่งกรรมแห่งบุคคลผู้ขวนขวาย. ๒. อาฬหกะ

หนึ่งคือ ๔ ทะนาน กึ่งอาฬหกะ= ๒ ทะนาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 51

พวกโจรมีมาก" ปิดแล้วฝังตั้งไว้ในแผ่นดิน. ลำดับนั้น เศรษฐีมาจากที่

บำรุงแห่งพระราชาแล้ว กล่าวกะนางว่า " นางผู้เจริญ ฉันหิว, อะไร ๆ

มีไหม ?" นางนั้น ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งที่มีอยู่ว่า " ไม่มี " กล่าวว่า " นาย

ข้าวสารมีอยู่ทะนานหนึ่ง."

เศรษฐี. ข้าวสารทะนานหนึ่งนั้น อยู่ที่ไหน ?

ภรรยา. ฉันฝั่งตั้งไว้ เพราะกลัวแต่โจร.

เศรษฐี. ถ้ากระนั้น หล่อนจงขุดมันขึ้นมาแล้ว หุงต้มอะไร ๆ เถิด.

ภรรยา. ถ้าเราจักต้มข้าวต้ม, ก็จักเพียงพอกัน ๒ มื้อ; ถ้าเราจัก

หุงข้าวสวย, ก็จักเพียงพอเพียงมื้อเดียวเท่านั้น; ฉันจักหุงต้มอะไรล่ะ ? นาย.

เศรษฐี. ปัจจัยอย่างอื่นของพวกเราไม่มี, พวกเราต่อบริโภคข้าว

สวยแล้วก็จักตาย; หล่อนจงหุงข้าวสวยนั่นแหละ.

ภรรยาแห่งเศรษฐีนั้น หุงข้าวสวยแล้ว แบ่งให้เป็น ๕ ส่วน

คดข้าวสวยส่วนหนึ่งวางไว้ข้างหน้าของเศรษฐี.

เศรษฐีถวายภัตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

ในขณะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งที่ภูเขาคันธมาทน์ ออก

จากสมาบัติ. ทราบว่า ในภายในสมาบัติ ความหิวย่อมไม่เบียดเบียน

เพราะผลแห่งสมาบัติ, แต่ว่า เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายออกจาก

สมาบัติแล้ว ความหิวมีกำลังย่อมเกิดขึ้น เป็นราวกะว่าเผาพื้นท้องอยู่;

เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ตรวจดูฐานะที่จะได้ (อาหาร)

แล้ว จึงไป.

ก็ในวันนั้น ชนทั้งหลาย ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น

แล้ว ย่อมได้สมบัติ บรรดาสมบัติมีตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้นอย่างใดอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 52

หนึ่ง; เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าแม้นั้น ตรวจดูอยู่ด้วยทิพยจักษุ

ดำริว่า ฉาตกภัย เกิดขึ้นแล้วในชมพูทวีปทั้งสิ้น, และในเรือนเศรษฐี

เขาหุงข้าวสุกอันสำเร็จด้วยข้าวสารทะนานหนึ่งเท่านั้นเพื่อคน ๕ คน; ชน

เหล่านั้นจักมีศรัทธา หรืออาจเพื่อจะทำการสงเคราะห์แก่เราหรือหนอ

แล ? " เห็นความที่ชนเหล่านั้นเป็นผู้มีศรัทธา ทั้งสามารถเพื่อจะทำการ

สงเคราะห์ จึงถือเอาบาตรจีวรไปแสดงตนยืนอยู่ที่ประตู (เรือน) ข้างหน้า

ของเศรษฐี. เศรษฐีนั้น พอเห็นท่านเข้าก็มีจิตเลื่อมใส คิดว่า " เรา

ประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้ เพราะความที่เราไม่ให้ทานแม้ในกาลก่อน.

ก็แลภัตนี้พึงรักษาเราไว้สิ้นวันเดียวเท่านั้น, ส่วนภัตที่เราถวายแล้วแก่

พระผู้เป็นเจ้า จักนำประโยชน์เกื้อกูลมาแก่เราหลายโกฏิกัป " แล้วนำ

ถาดแห่งภัตนั้นออกมา เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้า ไหว้ด้วยเบญจางค-

ประดิษฐ์ นิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือน เมื่อท่านนั่งบนอาสนะแล้วจึงล้างเท้า

(ของท่าน) วาง (ถาดภัต) ไว้บนตั่งทอง แล้วถือเอาถาดภัตนั้น มา

ตักลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า. เมื่อภัตเหลือกึ่งหนึ่ง, พระปัจเจก-

พุทธเจ้า เอามือปิดบาตรเสีย.

ทีนั้น เศรษฐีจึงกล่าวกะพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นว่า " ข้าแต่ท่าน

ผู้เจริญ นี้เป็นส่วนหนึ่งแห่งข้าวสุกที่เขาหุงไว้เพื่อคน ๕ คน ด้วยข้าวสาร

ทะนานหนึ่ง, กระผมไม่อาจเพื่อจะแบ่งภัตนี้ให้เป็น ๒ ส่วน, ขอท่าน

จงอย่ากระทำการสงเคราะห์แก่กระผมในโลกนี้เลย, กระผมใคร่เพื่อจะ

ถวายไม่ให้มีส่วนเหลือ" แล้วได้ถวายภัตทั้งหมด. ก็แลครั้นถวายแล้ว

ได้ตั้งความปรารถนาว่า " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าอย่าได้ประสบ

๑. แปลหักประโยคกรรมเป็นประโยคกัตตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 53

ฉาตกภัยเห็นปานนี้ ในที่ข้าพเจ้าเกิดอีกเลย, ตั้งแต่บัดนี้ไป ข้าพเจ้าพึง

สามารถเพื่อจะให้ภัตอันเป็นพืชแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น, ไม่พึงทำการงาน

เลี้ยงชีพด้วยมือของตนเอง, ในขณะที่ข้าพเจ้าใช้ให้คนชำระฉาง ๑,๒๕๐

ฉางแล้ว สนานศีรษะนั่งอยู่ที่ประตูแห่งฉางเหล่านั้นแล้ว แลดูในเบื้องบน

เท่านั้น ธารแห่งข้าวสาลีแดง พึงตกลงมายังฉางทั้งหมดให้เต็มเพื่อ

ข้าพเจ้า, และผู้นี้นั่นแหละจงเป็นภรรยา, ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นบุตร, ผู้นี้

นั่นแหละจงเป็นหญิงสะใภ้, ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นทาสของข้าพเจ้า ใน

สถานที่ข้าพเจ้าเกิดแล้ว ๆ."

ทั้ง ๕ คนปรารถนาให้ได้อยู่ร่วมกัน

ฝ่ายภรรยาของเศรษฐีนั้น ก็คิดว่า " เมื่อสามีของเราถูกความหิว

เบียดเบียนอยู่ เราก็ไม่อาจเพื่อจะบริโภคได้" จึงถวายส่วนของตนแก่

พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วตั้งความปรารถนาว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ จำเดิม

แต่นี้ ดิฉันไม่พึงประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้ ในสถานที่ดิฉันเกิดแล้ว, อนึ่ง

แม้เมื่อดิฉันวางถาดภัตไว้ข้างหน้า ให้อยู่ซึ่งภัตแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น,

ดิฉันยังไม่ลุกขึ้นเพียงใด, ที่แห่งภัตที่ดิฉันตักแล้ว ๆ จงเป็นของบริบูรณ์

อยู่อย่างเดิมเพียงนั้น, ท่านผู้นี้แหละจงเป็นสามี, ผู้นี้แหละจงเป็นบุตร,

ผู้นี้แหละจงเป็นหญิงสะใภ้, ผู้นี้แหละจงเป็นทาส (ของดิฉัน)," แม้บุตร

ของเศรษฐีนั้น ก็ถวายส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ตั้งความ

ปรารถนาว่า " จำเดิมแต่นี้ไป ข้าพเจ้าไม่พึงประสบฉาตกภัยเห็นปานนี้,

อนึ่ง เมื่อข้าพเจ้าถือเอาถุงกหาปณะหนึ่งพัน แม้ให้กหาปณะ แก่ชาว

ชมพูทวีปทั้งสิ้นอยู่ ถุงนี้จงเต็มอยู่อย่างเดิม, ท่านทั้งสองนี้นั่นแหละจง

เป็นมารดาบิดา, หญิงคนนี้จงเป็นภรรยา, ผู้นี้จงเป็นทาส ของข้าพเจ้า."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 54

แม้ลูกสะใภ้ของเศรษฐีนั้น ถวายส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว

ก็ตั้งความปรารถนาว่า "จำเดิมแต่นี้ไป ดิฉันไม่พึงพบเห็นฉาตกภัยเห็น

ปานนี้, อนึ่ง เมื่อดิฉันตั้งกระบุงข้าวเปลือกกระบุงหนึ่งไว้ข้างหน้า แม้ให้

อยู่ซึ่งภัตอันเป็นพืชแก่ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น ความหมดสิ้นไปอย่าปรากฏ.

ท่านทั้งสองนี้นั่นแหละจงเป็นแม่ผัวและพ่อผัว, ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นสามี.

ผู้นี้นั่นแหละจงเป็นทาส (ของดิฉัน)." แม้ทาสของเศรษฐีนั้น ก็ถวาย

ส่วนของตนแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว ก็ตั้งความปรารถนาว่า "จำเดิม

แต่นี้ไป ข้าพเจ้าไม่พึงพบเห็นฉาตกภัยเห็นปานนี้, คนเหล่านี้ทั้งหมดจง

เป็นนาย, และเมื่อข้าพเจ้าไถนาอยู่, รอย ๗ รอยประมาณเท่าเรือโกลน

คือ 'ข้างนี้ ๓ รอย ข้างโน้น ๓ รอย ในท่ามกลาง ๑ รอย, จงเป็นไป."

นายปุณณะนั้น ปรารถนาตำแหน่งเสนาบดีก็สามารถจะได้ในวันนั้นเทียว.

แต่ว่า ด้วยความรักในนายทั้งหลาย เขาจึงตั้งความปรารถนาว่า "คน

เหล่านี้นั่นแหละจงเป็นนายของข้าพเจ้า." ในที่สุดแห่งถ้อยคำของชน

ทั้งหมด พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า "จงเป็นอย่างนั้นเถิด" แล้วกระทำ

อนุโมทนาด้วยคาถาของพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วคิดว่า "เรายังจิตของชน

ทั้งหลายเหล่านี้ให้เลื่อมใส ย่อมควร" จึงอธิษฐานว่า "ชนเหล่านี้ จง

เห็นเราจนถึงภูเขาคันธมาทน์" ดังนี้แล้วก็หลีกไป. แม้ชนเหล่านั้น ได้

ยืนแลดูอยู่เทียว. พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นไปแล้ว แบ่งภัตนั้นกับด้วย

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์. ด้วยอานุภาพแห่งพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น

ภัตนั้นเพียงพอแล้วแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหมด. ชนแม้เหล่านั้นได้ยืน

แลดูอยู่ทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 55

อานิสงส์ของการถวายทาน

ก็เมื่อเวลาเที่ยงล่วงไปแล้ว ภรรยาเศรษฐีล้างหม้อข้าวแล้วปิดตั้งไว้,

ฝ่ายเศรษฐีถูกความหิวบีบคั้น นอนแล้วหลับไป. เศรษฐีนั้นตื่นขึ้นใน

เวลาเย็น กล่าวกะภรรยาว่า " นางผู้เจริญ ฉันหิวเหลือเกิน, ข้าวตัง

ก้นหม้อมีอยู่บ้างไหมหนอ ?" ภรรยานั้น แม้ทราบความที่ตนล้างหม้อตั้ง

ไว้แล้ว ก็ไม่กล่าวว่า " ไม่มี " " คิดว่าเราเปิดหม้อข้าวแล้วจึงจะบอก"

ดังนี้แล้ว จึงลุกขึ้นไปสู่ที่ใกล้หม้อข้าวแล้วเปิดหม้อข้าว.

ในขณะนั้นเอง หม้อข้าวเต็มด้วยภัต มีสีเช่นกับดอกมะลิตูม ได้

ดุนฝาละมีตั้งอยู่แล้ว. ภรรยานั้นเห็นภัตนั้นแล้ว เป็นผู้มีสรีระอันปิติถูก

ต้องแล้ว กล่าวกะเศรษฐีว่า " จงลุกขึ้นเถิดนาย, ดิฉันล้างหม้อข้าวปิด

ไว้, แต่หม้อข้าวนั้นนั่นเต็มด้วยภัต มีสีเช่นกับด้วยดอกมะลิตูม, ชื่อว่า

บุญทั้งหลายควรที่จะกระทำ, ชื่อว่าทานควรจะให้; ขอท่านจงลุกขึ้นเถิด

นาย, บริโภคเสียเถิด." ภรรยานั้นได้ให้ภัตแก่บิดาและบุตรทั้งสองแล้ว.

เมื่อบิดาและบุตรนั้นบริโภคเสร็จแล้ว นางนั่งบริโภคกับด้วยลูกสะใภ้แล้ว

ได้ให้ภัตแก่นายปุณณะ. ที่แห่งภัตอันชนเหล่านั้นตักแล้ว ๆ ย่อมไม่สิ้น

ไป. ปรากฏเฉพาะตรงที่ตักด้วยทัพพีคราวเดียวเท่านั้น.

ในวันนั้นนั่นแล ฉางเป็นต้น ก็กลับเต็มแล้วโดยทำนองที่เต็มใน

ก่อนนั่นแล. นางให้กระทำการโฆษณาในเมืองว่า " ภัตเกิดขึ้นแล้วใน

เรือนของเศรษฐี, ผู้มีความต้องการด้วยภัตอันเป็นพืชจงมารับเอา."

มนุษย์ทั้งหลาย ถือเอาภัตอันเป็นพืชจากเรือนของเศรษฐีนั้นแล้ว. แม้

ชาวชมพูวีปทั้งสิ้น ก็อาศัยเศรษฐีนั้น ได้ชีวิตแล้วนั่นแล.

๑. เมล็ดข้าวอันไฟไหม้ทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 56

เศรษฐีและคณะไปเกิดที่ภัททิยนคร

เศรษฐีนั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยว

อยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสกุลเศรษฐี

ในภัททิยนคร. แม้ภรรยาของเขาบังเกิดในสกุลมีโภคะมาก เจริญวัยแล้ว

ก็ได้ไปสู่เรือนของท่านเศรษฐีนั้นนั่นเอง. แพะทั้งหลายมีประการดังกล่าว

แล้ว อาศัยกรรมในกาลก่อนของเศรษฐีนั้นผุดขึ้นแล้วที่ภายหลังเรือน,

แม้บุตรก็ได้เป็นบุตรของท่านเหล่านั้นแหละ, หญิงสะใภ้ก็ได้เป็นหญิง

สะใภ้เหมือนกัน, ทาสก็ได้เป็นทาสเทียว. ต่อมาวันหนึ่ง ท่านเศรษฐีใคร่

จะทดลองบุญของตน จึงให้คนชำระฉาง ๑,๒๕๐ ฉาง สนานศีรษะแล้ว

นั่งที่ประตู แหงนดูเบื้องบน. ฉางแม้ทั้งหมดเต็มแล้วด้วยข้าวสาลีแดง

มีประการดังกล่าวแล้ว. เศรษฐีนั้นใคร่จะทดลองบุญแม้ของชนที่เหลือ

จึงกล่าวกะภรรยาและบุตรเป็นต้นว่า "เธอทั้งหลาย จงทดลองบุญแม้ของ

พวกเธอเถิด." ลำดับนั้น ภรรยาของเศรษฐีนั้น ประดับแล้วด้วยเครื่อง

อลังการทั้งปวง, เมื่อมหาชนกำลังแลดูอยู่นั้นแล, ใช้ให้คนตวงข้าวสาร

ทั้งหลาย ให้หุงข้าวสวยด้วยข้าวสารเหล่านั้น นั่งบนอาสนะอันเขาปูลาด

แล้วที่ซุ้มประตู ถือทัพพีทองคำแล้วให้ป่าวร้องว่า "ผู้มีความต้องการด้วย

ภัตจงมา แล้วได้ให้จนเดิมภาชนะที่ชนผู้มาแล้ว ๆ รับเอา. เมื่อนาง

นั้นให้อยู่แม้จนหมดวัน ก็ปรากฏเฉพาะตรงที่ ตักด้วยทัพพีเท่านั้น. ก็

ปทุมลักษณะเกิดเต็มฝ่ามือข้างซ้าย, จันทรลักษณะเกิดเต็มฝ่ามือข้างขวา,

เพราะนางจับหม้อข้าวด้วยมือซ้าย จับทัพพีด้วยมือขวา แล้วถวายภัตจน

เต็มบาตรของภิกษุสงฆ์ แม้ของพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลาย ด้วย

ประการดังนี้แล. ก็เพราะเหตุที่นางถืออาธมกรกกรองน้ำถวายแก่ภิกษุสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 57

เที่ยวไป ๆ มา ๆ; ฉะนั้นจันทรลักษณะจึงเกิดเต็มฝ่าเท้าเบื้องขวาของนาง,

ปทุมลักษณะจึงเกิดจนเต็มฝ่าเท้าเบื้องซ้ายของนางนั้น. เพราะเหตุนี้

ญาติทั้งหลายจึงขนานนามของนางว่า " จันทปทุมา."

แม้บุตรของเศรษฐีนั้น สนานศีรษะแล้ว ถือเอาถุงกหาปณะพันหนึ่ง

กล่าวว่า " ผู้มีความต้องการด้วยกหาปณะทั้งหลายจงมา" แล้วได้ให้จน

เต็มภาชนะที่ชนผู้มาแล้ว ๆ รับเอา. กหาปณะพันหนึ่งก็คงมีอยู่ในถุงนั่น

เอง. แม้ลูกสะใภ้ของเศรษฐีนั้น ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ถือ

เอากระบุงข้าวเปลือกแล้ว นั่งที่กลางแจ้ง กล่าวว่า " ผู้มีความต้องการ

ด้วยภัตอันเป็นพืช จงมา" แล้วได้ให้จนเต็มภาชนะที่ชนผู้มาแล้ว ๆ

รับเอา. กระบุง (ข้าวเปลือก) ก็คงเต็มอยู่ตามเดิมนั่นเอง. แม้ทาสของ

เศรษฐีนั้น ประดับแล้วด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง เทียมโคทั้งหลายที่

แอกทองคำด้วยเชือกทองคำถือเอาด้ามปฏักทองคำ ให้ของหอมอันบุคคล

พึงเจิมด้วยนิ้วทั้ง ๕ แก่โดยทั้งหลาย สวมปลอกทองคำที่เขาทั้งหลาย ไปสู่

นาแล้วขับไป. รอย ๗ รอยคือ " ข้างนี้ ๓ รอย ข้างโน้น ๓ รอย ใน

ท่ามกลาง ๑ รอย " ได้แตกแยกกันไปแล้ว. ชาวชมพูทวีปถือเอาสิ่งของ

บรรดาภัต พืช เงินทองเป็นต้น ตามที่ตนชอบใจจากเรือนของเศรษฐี

เท่านั้น.

เศรษฐีผู้มีอานุภาพมากอย่างนั้น สดับว่า " ได้ยินว่า พระศาสดา

เสด็จมาแล้ว" จึงคิดว่า " เราจักกระทำการรับเสด็จพระศาสดา" ออก

ไปอยู่ พบพวกเดียรถีย์ในระหว่างทาง, แม้ถูกพวกเดียรถีย์เหล่านั้นห้าม

๑. หมายความว่า มีลักษณะเหมือนพระจันทร์และดอกปทุม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 58

อยู่ว่า " คฤหบดี ท่านเป็นผู้กิริยวาทะ จะไปสู่สำนักของพระสมณโคดม

ผู้เป็นอกิริยวาทะ เพราะเหตุไร ? ก็มิได้เชื่อถ้อยคำของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น

เทียว ไปแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่ง.

โทษของคนอื่นเห็นได้ง่าย

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสอนุบุพพีกถาแก่เศรษฐีนั้น. ในเวลาจบ

เทศนา เศรษฐีนั้นบรรลุโสดาปัตติผล แล้วกราบทูลความที่ตนถูกพวก

เดียรถีย์กล่าวโทษแล้วห้ามไว้แด่พระศาสดา. ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะ

ท่านเศรษฐีนั้นว่า " คฤหบดี ขึ้นชื่อว่าสัตว์เหล่านั้นย่อมไม่เห็นโทษของตน

แม้มาก, ย่อมโปรยโทษของชนเหล่าอื่นแม้ไม่มีอยู่กระทำให้มี ราวกะบุคคล

โปรยแกลบขึ้นในที่นั้น ๆ ฉะนั้น " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑๐. สุทสฺส วชฺชมญฺเส อตฺตโน ปน ทุทฺทส

ปเรส หิ โส วชฺชานิ โอปุนาติ ยถาภุส

อตฺตโน ปน ฉาเหติ กลึว กิตวา สโ.

"โทษของบุคคลเหล่าอื่นเห็นได้ง่าย, ฝ่ายโทษ

ของตนเห็นได้ยาก; เพราะว่า บุคคลนั้น ย่อมโปรย

โทษของบุคคลเหล่าอื่น เหมือนบุคคลโปรยแกลบ,

แต่ว่าย่อมปกปิด (โทษ) ของตน เหมือนพรานนก

ปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิดฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทสฺส ความว่า โทษคือความพลั้ง-

๑. ผู้กล่าวว่า กรรมอันบุคคลทำแล้ว ชื่อว่าเป็นอันทำ. ๒. ผู้กล่าวว่า กรรมอันบุคคลทำแล้ว

ว่า ไม่เป็นอันทำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 59

พลาดของบุคคลอื่น แม้มีประมาณน้อย อันบุคคลเห็นได้ง่าย คืออาจเพื่อ

จะเห็นได้โดยง่ายทีเดียว, ส่วนโทษของตน แม้ใหญ่ยิ่งอันบุคคลเห็นได้ยาก.

บทว่า ปเรส หิ ความว่า เพราะเหตุนั้นนั่นแล บุคคลนั้นย่อม

โปรยโทษทั้งหลายของชนเหล่าอื่นในท่ามกลางสงฆ์เป็นต้น เหมือนบุคคล

ยืนบนที่สูงแล้วโปรยแกลบลงอยู่ฉะนั้น.

อัตภาพชื่อว่า กลิ ด้วยสามารถที่ประพฤติผิดในนกทั้งหลาย ในคำ

ว่า กลึว กิตวา สโ นี้.

เครื่องปกปิด มีกิ่งไม้ที่พอหักได้เป็นต้น ชื่อว่า กิตวา (ในคำว่า

" กิตวา" นี้ ).

นายพราน ชื่อว่า สโ (ในคำว่า "สโ" นี้.) อธิบายว่า

นายพรานนกประสงค์จะจับนกฆ่า ย่อมปกปิดอัตภาพด้วยเครื่องปกปิด

ฉันใด, บุคคลย่อมปกปิดโทษของตนฉันนั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องเมณฑกเศรษฐี จบ.

๑. แก้อรรถตอนนี้ บางอาจารย์เห็นว่าใช้วินิจฉัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 60

๑๑. เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ [๑๙๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ

รูปหนึ่งชื่อ อุชฌานสัญญี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปรวชฺชานุ-

ปสฺสิสฺส" เป็นต้น.

คุณวิเศษให้เกิดแก่ผู้เพ่งโทษผู้อื่น

ได้ยินว่า พระเถระนั้นเที่ยวแส่หาแต่โทษของภิกษุทั้งหลายเท่านั้น

ว่า " ภิกษุนี้ ย่อมนุ่งอย่างนี้, ภิกษุนี้ ย่อมห่มอย่างนี้." พวกภิกษุ

กราบทูลแด่พระศาสดาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระชื่อโน้น ย่อม

กระทำอย่างนี้."

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในข้อวัตรกล่าว

สอนอยู่อย่างนี้ ใคร ๆ ไม่ควรติเตียน, ส่วนภิกษุใด แสวงหาโทษของ

ชนเหล่าอื่น เพราะความมุ่งหมายในอันยกโทษ กล่าวอย่างนี้แล้วเที่ยวไป

อยู่, บรรดาคุณวิเศษมีฌานเป็นต้น คุณวิเศษแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่เกิด

ขึ้นแก่ภิกษุนั้น. อาสวะทั้งหลายเท่านั้น ย่อมเจริญอย่างเดียว" ดังนี้แล้ว

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑๑. ปรวชฺชานุปสฺสิสฺส นิจฺจ อุชฺฌานสญฺิโน

อาสวา ตสฺส วฑฺฒนฺติ อารา โส อาสวกฺขยา.

"อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ผู้คอย

ดูโทษของบุคคลอื่น ผู้มีความมุ่งหมายในอันยกโทษ

เป็นนิตย์, บุคคลนั้น เป็นผู้ไกลจากความสิ้นไปแห่ง

อาสวะ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 61

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุชฺฌานสญฺิโน ความว่า บรรดา

ธรรมทั้งหลายมีฌานเป็นต้น ธรรมแม้อย่างหนึ่ง ย่อมไม่เจริญแก่บุคคลผู้

ชื่อว่ามากไปด้วยการยกโทษ เพราะความเป็นผู้แส่หาโทษของชนเหล่าอื่น

ว่า "ควรนุ่งอย่างนั้น, ควรห่มอย่างนี้" เป็นต้น โดยที่แท้อาสวะทั้งหลาย

ย่อมเจริญ; เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้อยู่ไกล คือแสนไกล

จากความสิ้นไปแห่งอาสวะ กล่าวคือพระอรหัต.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระอุชฌานสัญญีเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 62

๑๒. เรื่องสุภัททปริพาชก [๑๙๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา ผทมแล้วบนพระแท่นเป็นที่ปรินิพพาน ในสาลวัน

ของเจ้ามัลละทั้งหลาย อันเป็นที่แวะพัก ใกล้พระนครกุสินารา ทรง

ปรารภปริพาชกชื่อว่าสุภัททะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อากาเสว ปท

นตฺถิ" เป็นต้น.

บุรพกรรมของสุภัททะ

ได้ยินว่า ในอดีตกาล สุภัททปริพชกนั้น เมื่อน้องชายให้ทานอัน

เลิศถึง ๙ ครั้ง ในเพราะข้าวกล้าครั้งหนึ่ง, ไม่ปรารถนาเพื่อจะให้ ท้อถอย

แล้ว ได้ให้ในกาลเป็นที่สุด.

เพราะฉะนั้น จึงไม่ได้เพื่อจะเฝ้าพระศาสดา ทั้งในปฐมโพธิกาล

ทั้งในมัชฌิมโพธิกาล, แต่ว่าในปัจฉิมโพธิกาล ในเวลาเป็นที่ปรินิพพาน

แห่งพระศาสดา คิดว่า "เราถามความสงสัยของตน ในปัญหา ๓ ข้อ

กะปริพาชกทั้งหลายซึ่งเป็นคนแก่ ไม่ถามกะพระสมณโคดม ด้วยความ

สำคัญว่า ' เป็นเด็ก,' ก็บัดนี้ เป็นกาลปรินิพพานของพระสมณโคดมนั้น,

วิปฏิสารพึงบังเกิดแก่เราในภายหลัง เพราะเหตุไม่ถามพระสมณโคดม"

แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา แม้ถูกพระอานนทเถระห้ามอยู่ เข้าไปแล้วสู่

ภายในม่าน เพราะความที่พระศาสดาทรงกระทำโอกาสแล้ว ตรัสว่า

"อานนท์ เธออย่าห้ามสุภัททะเลย, สุภัททะจงถามปัญหากะเรา" จึงนั่ง

ใกล้ข่างล่างเตียงทูลถามปัญหาเหล่านี้ว่า " ข้าแต่พระสมณะผู้เจริญ ชื่อว่า

รอยเท้าในอากาศ มีอยู่หรือหนอแล ? ชื่อว่าสมณะภายนอกแต่ศาสนานี้

มีอยู่หรือ ? สังขารทั้งหลายชื่อว่าเที่ยง มีอยู่หรือ ? "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 63

พระศาสดาทรงแก้ปัญหาของสุภัททะ

ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะตรัสบอกความไม่มีแห่งรอยเท้า

ในอากาศเป็นต้นเหล่านั้นแก่เขา จึงทรงแสดงธรรมด้วยพระคาถาเหล่านั้น

ว่า:-

๑๒. อากาเสว ปท นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร

ปปญฺจาภิรตา ปชา นิปฺปปญฺจา ตถาคตา.

อากาเสว ปท นตฺถิ สมโณ นตฺถิ พาหิโร

สงฺขารา สสฺสตา นตฺถิ นตฺถิ พุทฺธานมิญฺชิต.

"รอยเท้าในอากาศนั่นเทียว ไม่มี; สมณะภาย

นอก ไม่มี; หมู่สัตว์เป็นผู้ยินดียิ่งแล้วในธรรมเครื่อง

เนิ่นช้า, พระตถาคตทั้งหลาย ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า

รอยเท้าในอากาศนั่นเทียวไม่มี, สมณะภายนอก

ไม่มี, สังขารทั้งหลาย (ชื่อว่า) เที่ยง ไม่มี, กิเลสชาต

เครื่องหวั่นไหว ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปท ความว่า ชื่อว่ารอยเท้าแห่งสัตว์ไร ๆ

อันบุคคลพึงบัญญัติว่า " มีรูปอย่างนี้" ด้วยสามารถแห่งสีและสัณฐาน

ในอากาศนี้ ไม่มี.

บทว่า พาหิโร ความว่า ชื่อว่าสมณะผู้ดำรงอยู่ในมรรคและผล

ภายนอกแต่ศาสนาของเรา ไม่มี.

บทว่า ปชา ความว่า หมู่สัตว์ กล่าวคือสัตวโลกนี้ ยินดียิ่งแล้ว

ในธรรมเครื่องเนิ่นช้ามีตัณหาเป็นต้นเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 64

บทว่า นิปฺปปญฺจา ความว่า ส่วนพระตถาคตทั้งหลาย เป็นผู้ชื่อว่า

ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า เพราะความที่พระองค์ตัดธรรมเครื่องเนิ่นช้า

ทั้งปวงได้ขาดแล้ว ที่ควงแห่งไม้โพธิ์นั่นแล.

ขันธ์ ๕ ชื่อว่าสังขาร, ในขันธ์ ๕ เหล่านั้น ขันธ์อย่างหนึ่งชื่อว่า

เที่ยง ไม่มี.

บทว่า อิญฺชิต ความว่า ก็ชนทั้งหลายพึงถือเอาว่า " สังขารทั้งหลาย

เป็นสภาพเที่ยง" ด้วยบรรดากิเลสชาตเครื่องหวั่นไหว คือตัณหามานะ

และทิฏฐิอันใด, แม้กิเลสชาตเครื่องหวั่นไหว้นั้นอย่างหนึ่งมิได้มีแก่พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย.

ในเวลาจบเทศนา สุภัททปริพาชกตั้งอยู่แล้วในอนาคามิผล. พระ-

ธรรมเทศนา ได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องสุภัททปริพาชก จบ.

มลวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๘ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 65

คาถาธรรมบท

ธัมมัฏฐวรรคที่ ๑๙

ว่าด้วยอรรถกถาคดีที่ชอบธรรมของนักปราชญ์

[๒๙] ๑. บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม เพราะเหตุที่

นำคดีไปโดยความผลุนผลัน ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต

วินิจฉัยคดีและไม่ใช่คดีทั้งสอง ย่อมนำบุคคลเหล่า

อื่นรูปโดยความละเอียดลออ โดยธรรมสม่ำเสมอ

ผู้นั้นอันธรรมคุ้มครองแล้ว เป็นผู้มีปัญญา เรากล่าว

ว่าตั้งอยู่ในธรรม.

๒. บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุเพียง

พูดมาก (ส่วน) ผู้มีความเกษม ไม่มีเวร ไม่มีภัย

เรากล่าวว่า เป็นบัณฑิต.

๓. บุคคลไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูด

มาก ส่วนบุคคลใด ฟังแม้นิดหน่อย ย่อมเห็นธรรม

ด้วยนามกาย บุคคลใดไม่ประมาทธรรม บุคคลนั้น

แลเป็นผู้ทรงธรรม.

๔. บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพราะมีผมหงอก

บนศีรษะ ผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้น เราเรียกว่า แก่เปล่า

(ส่วน) ผู้ใดมีสัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ และ

ทมะ ผู้นั้นแล ผู้มีมลทินอันคายแล้ว ผู้มีปัญญา

เรากล่าวว่า เป็นเถระ.

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๐ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 66

๕. นระผู้มีความริษยา มีความตระหนี่ โอ้อวด

จะชื่อว่าคนดี เพราะเหตุสักว่าทำการพูดจัดจ้าน หรือ

เพราะมีผิวกายงามก็หาไม่ ส่วนผู้ใดตัดโทสชาต มี

ความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด ถอนขนให้รากขาด ผู้นั้น

มีโทสะอันคายแล้ว มีปัญญา เราเรียกว่า คนดี.

๖. ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ ไม่ชื่อว่าสมณะ

เพราะศีรษะโล้น ผู้ประกอบด้วยความอยากและความ

โลภจะเป็นสมณะอย่างไรได้ ส่วนผู้ใดยังบาปน้อย

หรือใหญ่ ให้สงบโดยประการทั้งปวง ผู้นั้นเรากล่าวว่า

เป็นสมณะ เพราะยังบาปให้สงบแล้ว.

๗. บุคคลชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเหตุที่ขอกะคน

พวกอื่นหามิได้ บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ ไม่

ชื่อว่าเป็นภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น ผู้ใดในศาสนานี้

ลอยบุญและบาปแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ ในโลก

ด้วยการพิจารณาเที่ยวไป ผู้นั้นแล เราเรียกว่า ภิกษุ.

๘. บุคคลเขลา ไม่รู้โดยปกติ ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี

เพราะความเป็นผู้นิ่ง ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตถือธรรม

อันประเสริฐ ดุจบุคคลประคองตาชั่ง เว้นบาปทั้ง-

หลาย ผู้นั้นเป็นมุนี เพราะเหตุนั้น ผู้ใดรู้อรรถทั้งสอง

ในโลก ผู้นั้นเรากล่าวว่า เป็นมุนี เพราะเหตุนั้น.

๙. บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นอริยะ เพราะเหตุที่เบียด-

เบียนสัตว์ บุคคลที่กล่าวว่า เป็นอริยะ เพราะไม่

เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 67

๑๐. ภิกษุ ภิกษุยังไม่ถึงอาสวักขัย อย่าเพิ่งถึง

ความวางใจ ด้วยเหตุสักว่าศีลและวัตร ด้วยความ

เป็นพหูสูต ด้วยอันได้สมาธิ ด้วยอันนอนในที่สงัด

หรือ (ด้วยเหตุเพียงรู้ว่า) เราถูกต้องสุขในเนกขัมมะ

ซึ่งปุถุชนเสพไม่ได้แล้ว.

จบธัมมัฏฐวรรคที่ ๑๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 68

๑๙. ธัมมัฏฐวรรควรรณนา

๑. เรื่องมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย [๑๙๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภมหาอำมาตย์

ผู้วินิจฉัย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน โหติ ธมฺมฏฺโ"

เป็นต้น.

พวกภิกษุเห็นมหาอำมาตย์รับสินบน

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกภิกษุเที่ยวบิณฑบาตในบ้านใกล้

ประตูด้านทิศอุดร แห่งนครสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตแล้วมาสู่วิหารโดย

ท่ามกลางพระนคร. ขณะนั้น เมฆใหญ่ตั้งขึ้นยังฝนให้ตกแล้ว. ภิกษุ

เหล่านั้น เข้าไปสู่ศาลาที่ทำการวินิจฉัยอันตั้งอยู่ตรงหน้า เห็นพวก

มหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัยรับสินบนแล้ว ทำเจ้าของไม่ให้เป็นเจ้าของ จึงคิด

ว่า " โอ ! มหาอำมาตย์เหล่านี้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม, แต่พวกเราได้มีความ

สำคัญว่า ' มหาอำมาตย์เหล่านี้ทำการวินิจฉัยโดยธรรม," เมื่อฝนหาย

ขาดแล้ว, มาถึงวิหาร ถวายบังคมพระศาสดานั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่งแล้ว

กราบทูลความนั้น.

ลักษณะบุคคลผู้ตั้งอยู่และไม่ตั้งอยู่ในธรรม

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกอำมาตย์ผู้วินิจฉัย เป็นผู้

ตกอยู่ในอำนาจอคติมีฉันทาคติเป็นต้น ตัดสินความโดยผลุนผลัน ไม่ชื่อว่า

เป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม, ส่วนพวกที่ไต่สวนความผิดแล้ว ตัดสินความโดย

ละเอียดลออ ตามสมควรแก่ความผิดนั่นแหละ เป็นผู้ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม"

ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 69

๑. น เตน โหติ ธมฺมฏฺโ เยนตฺถ สหสา นเย

โย จ อตฺถ อนตฺถญฺจ อุโภ นิจฺเฉยฺย ปณฺทิโต

อสาหเสน ธมฺเมน สเมน นยตี ปเร

ธมฺมสฺส คุตฺโต เมธาวี ธมฺมฏฺโติ ปวุจฺจติ.

" บุคคลไม่ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม เพราะเหตุที่นำ

คดีไปโดยความผลุนผลัน; ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต วินิจ-

ฉัยคดีและไม่ใช่คดีทั้งสอง ย่อมนำบุคคลเหล่าอื่นไป

โดยความละเอียดลออ โดยธรรมสม่ำเสมอ, ผู้นั้น

อันธรรมคุ้นครองแล เป็นผู้ปัญญา เรากล่าวว่า

"ตั้งอยู่ในธรรม."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตน แปลว่า เพราะเหตุเพียงเท่านั้นเอง.

บทว่า ธมฺมฏฺโ ความว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในธรรมเครื่องวินิจฉัย ที่

พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายจะพึงทรงกระทำด้วยพระองค์ ไม่เป็นผู้ชื่อว่าตั้งอยู่

ในธรรม. บทว่า เยน แปลว่า เพราะเหตุใด.

บทว่า อตฺถ ความว่า ซึ่งคดีที่หยั่งลงแล้วอันควรตัดสิน.

สองบทว่า สหสา นเย ความว่า บุคคลผู้ตั้งอยู่ในอคติมีฉันทาคติ

เป็นต้น ตัดสินโดยผลุนผลัน คือโดยกล่าวเท็จ. อธิบายว่า จริงอยู่ ผู้ใด

ตั้งอยู่ในความพอใจ กล่าวมุสาวาท ย่อมทำญาติหรือมิตรของตนซึ่งมิใช่

เจ้าของนั่นแลให้เป็นเจ้าของ, ตั้งอยู่ในความชัง กล่าวเท็จ ย่อมทำคน

ที่เป็นศัตรูของตนซึ่งเป็นเจ้าของแท้จริงไม่ให้เป็นเจ้าของ, ตั้งอยู่ในความ

๑. อคติ ๔ คือ ๑. ฉันทาคติ ๒. โทสาคติ ๓. โมหาคติ ๔. ภยาคติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 70

หลง รับสินบนแล้วในเวลาตัดสิน ทำเป็นเหมือนส่งจิตไปในที่อื่น แลดู

ข้างโน้นและข้างนี้ กล่าวเท็จ ย่อมนำบุคคลอื่นออกด้วยคำว่า " ผู้นี้ชำนะ,

ผู้นี้แพ้," ตั้งอยู่ในความกลัว ย่อมยกความชำนะให้ผู้เป็นใหญ่บางคนนั่นแล

แม้ที่ถึงความแพ้; ผู้นี้ ชื่อว่าย่อมนำคดีไปโดยความผลุนผลัน. ผู้นั้นไม่เป็น

ผู้ชื่อว่าตั้งอยู่ในธรรม.

บาทพระคาถาว่า โย จ อตฺถ อนตฺถญฺจ ความว่า ซึ่งเหตุที่จริง

และไม่จริง. สองบทว่า อุโภ นิจฺเฉยฺย ความว่า ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิต

วินิจฉัยเหตุที่เป็นคดีและไม่เป็นคดีทั้งสองแล้วย่อมกล่าว.

บทว่า อสาหเสน คือ โดยไม่กล่าวเท็จ. ว่า ธมฺเมน แปลว่า

โดยธรรมเครื่องวินิจฉัย คือหาใช่โดยอำนาจอคติ มีฉันทาคติเป็นต้นไม่

บทว่า สเมน คือ ย่อมนำบุคคลเหล่าอื่นไป คือให้ถึงความชำนะหรือ

ความแพ้โดยสมควรแก่ความผิดนั่นเอง.

สองบทว่า ธมฺมสฺส คุตฺโต ความว่า ผู้นั้นอันธรรมคุ้มครองแล้ว

คืออันธรรมรักษาแล้ว ประกอบแล้วด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ชื่อว่า

มีปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ผู้ตั้งอยู่ในธรรม" เพราะเป็นผู้ตั้งอยู่

ในธรรมเครื่องวินิจฉัย.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องมหาอำมาตย์ผู้วินิจฉัย จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 71

๒. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๙๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน ปณฺฑิโต โหติ " เป็นต้น.

ภิกษุฉัพพัคคีย์ทำโรงภัตให้อากูล

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นเที่ยวทำโรงภัตให้อากูลในวัดบ้าง ในบ้านบ้าง.

ครั้นวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายถามภิกษุหนุ่มและสามเณรผู้ทำภัตกิจในบ้าน

แล้วมา ว่า " ท่านผู้มีอายุ โรงภัตเป็นเช่นไร ?" ภิกษุหนุ่มและสามเณร

ตอบว่า " อย่าถามเลย ขอรับ," พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ กล่าวว่า ' พวกเรา

แหละเป็นผู้ฉลาด, พวกเราเป็นบัณฑิต จักประหารภิกษุเหล่านี้ โปรย

หยากเยื่อที่ศีรษะแล้วนำออกไป ' แล้วจับหลังพวกกระผมโปรยหยากเยื่อ

อยู่ ทำโรงภัตให้อากูล." ภิกษุทั้งหลาย ไปสู่สำนักพระศาสดาแล้ว กราบ

ทูลความนั้น.

ลักษณะบัณฑิตและไม่ใช่บัณฑิต

พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกคนพูดมาก

เบียดเบียนผู้อื่นว่า ' เป็นบัณฑิต,' แต่เราเรียกคนที่มีความเกษม ไม่มีเวร

ไม่มีภัยเลยว่า " เป็นบัณฑิต " ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒. น เตน ปณฺฑิโต โหติ ยาวตา พหุ ภาสติ

เขมี อเวรี อภโย ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ.

"บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุเพียงพูด

มาก; (ส่วน) ผู้มีความเกษม ไม่มีเวร ไม่มีภัย เรา

กล่าวว่า เป็นบัณฑิต."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 72

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่

ชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะเหตุที่พูดมากในท่ามกลางสงฆ์เป็นต้น, ส่วน

บุคคลใด ตนเองเป็นคนมีความเกษม ชื่อว่าไม่มีเวร เพราะเวร ๕ ไม่มี

ผู้ไม่มีภัย คือภัยย่อมไม่มีแก่มหาชน เพราะอาศัยบุคคลนั้น, ผู้นั้นชื่อว่า

" เป็นบัณฑิต" ดังนี้แล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 73

๓. เรื่องพระเอกุทานเถระ [๑๙๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระขีณาสพ

ชื่อว่าเอกุทานเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ตาวตา ธมฺมธโร"

เป็นต้น

พวกเทวดาให้สาธุแก่เทศนาของพระเถระ

ได้ยินว่า พระเถระนั้น อยู่ในราวไพรแห่งหนึ่งแต่องค์เดียว. อุทาน

ที่ท่านช่ำชองมีอุทานเดียวเท่านั้นว่า:-

"ความโศกทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิต

มั่นคง ไม่ประมาท เป็นมุนี ศึกษาในทางแห่งโมน-

ปฏิบัติ ผู้คงที่ ระงับแล้ว มีสติทุกเมื่อ."

ได้ยินว่า ในวันอุโบสถ ท่านป่าวร้องการฟังธรรมเอง ย่อมกล่าว

คาถานี้. เสียงเทวดาสาธุการดุจว่าเสียงแผ่นดินทรุด. ครั้นวันอุโบสถวันหนึ่ง

ภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก ๒ รูป มีบริวารรูปละ ๕๐๐ ได้ไปสู่ที่อยู่ของท่าน.

ท่านพอเห็นภิกษุเหล่านั้น ก็ชื่นใจ กล่าวว่า " ท่านทั้งหลายมาในที่นี้

เป็นอันทำความดีแล้ว, วันนี้ พวกกระผมจักฟังธรรมในสำนักของท่าน

ทั้งหลาย."

พวกภิกษุ. ท่านผู้มีอายุ ก็คนฟังธรรมในที่นี้ มีอยู่หรือ ?

พระเอกุทาน. มี ขอรับ, ราวไพรนี้ มีความบันลือลั่นเป็น

อันเดียวกัน เพราะเสียงเทวดาสาธุการในวันฟังธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 74

พวกเทวดาไม่ให้สาธุการแก่เทศนาของภิกษุ ๒ รูป

บรรดาภิกษุ ๒ องค์นั้น พระเถระผู้ทรงพระไตรปิฎกองค์หนึ่ง

สวดธรรม, องค์หนึ่งกล่าวธรรม. เทวดาแม้องค์หนึ่งก็มิได้ให้สาธุการ.

ภิกษุเหล่านั้น จึงพูดกันว่า " ท่านผู้มีอายุ ท่านกล่าวว่า ' ในวันฟังธรรม

พวกเทวดาในราวไพรนี้ ย่อมให้สาธุการด้วยเสียงดัง,' นี่ชื่ออะไรกัน ?"

พระเอกุทาน. ในวันอื่น ๆ เป็นอย่างนั้น ขอรับ, แต่วันนี้กระผม

ไม่ทราบว่า ' นี่เป็นเรื่องอะไร.'

พวกภิกษุ. ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกล่าวธรรมดูก่อน.

ท่านจับพัดวีชนีนั่งบนอาสนะแล้ว กล่าวคาถานั้นนั่นแล. เทวดา

ทั้งหลายได้ให้สาธุการด้วยเสียงอันดัง.

พวกภิกษุติเตียนเทวดา

ครั้งนั้น ภิกษุที่เป็นบริวารของพระเถระทั้งสองงยกโทษว่า " เทวดา

ในราวไพรนี้ ให้สาธุการด้วยเห็นแก่หน้ากัน, เมื่อภิกษุผู้ทรงพระไตรปิฎก

แม้กล่าวอยู่ประมาณเท่านี้, ก็ไม่กล่าวแม้สักว่าความสรรเสริญอะไร ๆ.

เมื่อพระเถระแก่องค์เดียวกล่าวคาถาหนึ่งแล้ว, พากันให้สาธุการด้วยเสียง

อันดัง." ภิกษุเหล่านั้นแม้ไปถึงวิหารแล้ว กราบทูลความนั้นแด่พระ-

ศาสดา.

ลักษณะผู้ทรงธรรมและไม่ทรงธรรม

พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกผู้เรียนมากหรือ

พูดมากว่า ' เป็นผู้ทรงธรรม ' ส่วนผู้ใดเรียนคาถาแม้คาถาเดียวแล้วแทง

ตลอดสัจจะทั้งหลาย, ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม" ดังนี้แล้ว ตรัส

พระคาถานี้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 75

๓. น ตาวตา ธมฺมขโร ยาวตา พหุ ภาสติ

โย จ อปฺปมฺปิ สุตฺวาน ธมฺม กาเยน ปสฺสติ

ส เว ธมฺมธโร โหติ โย ธมฺม นปฺปมชฺชติ.

บุคคล ไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก;

ส่วนบุคคลใด ฟังแม้นิดหน่อย ย่อมเห็นธรรมด้วย

นามกาย, บุคคลใด ไม่ประมาทธรรม, บุคคลนั้นแล

เป็นผู้ทรงธรรม."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่

ชื่อว่าผู้ทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก ด้วยเหตุมีการเรียน และการ

ทรงจำและบอกเป็นต้น. แต่ชื่อว่าตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี.

บทว่า อปฺปมฺปิ เป็นต้น ความว่า ส่วนผู้ใดฟังธรรมแม้มีประมาณ

น้อย อาศัยธรรมะ อาศัยอรรถะ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

กำหนดรู้สัจจะมีทุกข์เป็นต้น ชื่อว่าย่อมเห็นสัจธรรม ๔ ด้วยนามกาย.

ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม.

บาทพระคาถาว่า โย ธมฺม นปฺปมชฺชติ ความว่า แม้ผู้ใดเป็นผู้มี

ความเพียรปรารภแล้ว หวังการแทงตลอดอยู่ว่า " (เราจักแทงตลอด)

ในวันนี้ ๆ แล" ชื่อว่าย่อมไม่ประมาทธรรม, แม้ผู้นี้ก็ชื่อว่าผู้ทรงธรรม

เหมือนกัน.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระเอกุทานเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 76

๔. เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ [๑๙๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระลกุณ-

ฏกภัททิยเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น เตน เถโร โหติ"

เป็นต้น.

พวกภิกษุเห็นพระเถระเข้าใจว่าเป็นสามเณร

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง เมื่อพระเถระนั้นไปสู่ที่บำรุงพระศาสดา

พอหลีกไปแล้ว, ภิกษุผู้อยู่ป่าประมาณ ๓๐ รูป พอเห็นท่านก็มาถวาย

บังคมพระศาสดาแล้วนั่ง พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยแห่งพระ-

อรหัตของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามปัญหานี้ว่า " พระเถระองค์หนึ่ง

ไปจากนี้ พวกเธอเห็นไหม ?"

พวกภิกษุ. ไม่เห็น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. พวกเธอเห็นพระเถระนั้นมิใช่หรือ ?

พวกภิกษุ. เห็นสามเณรรูปหนึ่ง พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย นั้นไม่ใช่สามเณร, นั่นเป็นพระเถระ.

พวกภิกษุ. เล็กนัก พระเจ้าข้า.

ลักษณะเถระและมิใช่เถระ

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกว่า ' เถระ ' เพราะ

ความเป็นคนแก่ เพราะเหตุสักว่านั่งบนอาสนะพระเถระ, ส่วนผู้ใด แทง

ตลอดสัจจะทั้งหลายแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นผู้ไม่เบียดเบียนมหาชน, ผู้นี้

ชื่อว่าเป็นเถระ" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 77

๔. น เตน เถโร โหติ เยนสฺส ปลิตสิโร

ปริปกฺโก วโย ตสฺส โมฆชิณฺโณติ วุจฺจติ.

ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ อหึสา สญฺโม ทโม

ส เว วนฺตมโล ธีโร โส เถโรติ ปวุจฺจติ.

" บุคคล ไม่ชื่อว่าเป็นเถระ เพราะมีผมหงอกบน

ศีรษะ ผู้มีวัยแก่รอบแล้วนั้น เราเรียกว่า 'แก่เปล่า,'

(ส่วน) ผู้ใด มีสัจจะ ธรรมะ อหิงสา สัญญมะ

และทมะ, ผู้นั้นมีมลทินอันตายแล้ว ผู้มีปัญญา,

เรากล่าวว่า "เป็นเถระ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปริปกฺโก ความว่า อันชราน้อมไป

รอบแล้ว คือถึงความเป็นคนแก่แล้ว . บทว่า โมฆชิณฺโณ ความว่า ชื่อว่า

แก่เปล่า เพราะภายในไม่มีธรรม เครื่องทำให้เป็นเถระ.

บทว่า สจฺจญฺจ ความว่า ก็บุคคลใดมีสัจจะทั้ง ๔ เพราะความ

เป็นผู้แทงตลอดด้วยอาการ ๑๖ และมีโลกุตรธรรม ๙ อย่าง เพราะความ

เป็นผู้ทำให้แจ้งด้วยญาณ.

คำว่า อหึสา นั่น สักว่าเป็นหัวข้อเทศนา. อธิบายว่า อัปปมัญญา-

ภาวนาแม้ ๔ อย่าง มีอยู่ในผู้ใด. สองบทว่า สญฺโม ทโม ได้แก่ ศีล

และอินทรียสังวร. บทว่า วนฺตมโล คือ มีมลทินอันนำออกแล้วด้วย

มรรคญาณ. บทว่า ธีโร คือ สมบูรณ์ด้วยปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 78

เถโร ความว่า ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " เถระ" เพราะความเป็น

ผู้ประกอบด้วยธรรมเครื่องทำความเป็นผู้มั่นคงเหล่านั้น.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 79

๕. เรื่องภิกษุมากรูป [๑๙๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น วากฺกรณมตฺเต " เป็นต้น.

พระเถระบางพวกอยากได้ลาภสักการะ

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระเถระบางพวกเห็นภิกษุหนุ่มและ

สามเณรทำการรับใช้ทั้งหลายมีอันย้อมจีวรเป็นต้น แก่อาจารย์ผู้บอก

ธรรมของตนนั่นแล คิดว่า " แม้เราก็ฉลาดในลัทธิพยัญชนะ, ผลอะไร ๆ

ไม่มีแก่เราเลย; ผิฉะนั้น เราพึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลอย่างนี้ว่า

' ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เป็นผู้ฉลาดในลัทธิพยัญชนะ, ขอ

พระองค์จงบังคับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายว่า ' พวกเธอแม้เรียน

ธรรมในสำนักของอาจารย์อื่นแล้ว ยังไม่สอบทานในสำนักของภิกษุเหล่านี้

แล้ว อย่าสาธยาย,' ลาภสักการะจักเจริญแก่เราทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้

แล." พระเถระเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กราบทูลอย่างนั้น.

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงทราบว่า " ใคร ๆ

ก็พูดเช่นนั้นได้ ด้วยสามารถประเพณีในพระศาสนานี้เท่านั้น, แต่ภิกษุ

เหล่านี้เป็นผู้อาศัยลาภสักการะ" จึงตรัสว่า " เราไม่เรียกพวกเธอว่า 'คนดี'

เพราะเหตุสักว่าพูดจัดจ้าน, ส่วนผู้ใดตัดธรรมมีความริษยาเป็นต้นเหล่านี้

ได้แล้ว ด้วยอรหัตมรรค ผู้นี้แหละชื่อว่าคนดี" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระ-

คาถาเหล่านี้ว่า:-

๑. เพราะเหตุสักว่าการกระทำซึ่งคำพูด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 80

๕. น วากฺกรณมตฺเตน วณฺณโปกฺขรตาย วา

สาธุรูโป นโร โหติ อิสฺสุกี มจฺฉรี สโ.

ยสฺส เจต สมุจฺฉินฺน มูลฆจฺจ สมูหต

ส วนฺตโทโส เมธาวี สาธุรูโปติ วุจฺจติ.

"นระผู้มีความริษยา มีความตระหนี่ โอ้อวด

จะชื่อว่าเป็นคนดี เพราะเหตุสักว่าทำการพูดจัดจ้าน

หรือเพราะมีผิวกายงามก็หาไม่, ส่วนผู้ใดตัดโทส-

ชาติ มีความริษยาเป็นต้นนี้ได้ขาด ถอนขึ้นให้ราก

ขาด, ผู้นั้นมีโทสะอันคายแล้ว มีปัญญา เราเรียกว่า

'คนดี."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น วากฺกรณมตฺเตน ความว่า เพราะ

เหตุสักว่าทำการพูด คือสักว่าถ้อยคำอันถึงพร้อมด้วยลักษณะ. บทว่า

วณฺณโปกฺขรตาย วา คือ เพราะความเป็นผู้ยังใจให้เอิบอาบโดยมีสรีระ

สมบูรณ์ด้วยวรรณะ. บทว่า นโร เป็นต้น ความว่า นระผู้มีใจริษยาใน

เพราะลาภของคนอื่นเป็นต้น ประกอบด้วยความตระหนี่ ๕ อย่าง ชื่อว่า

ผู้โอ้อวด เพราะคบธรรมฝ่ายข้าศึก จะชื่อว่าคนดี เพราะเหตุเพียงเท่านี้

หามิได้.

สองบทว่า ยสฺส เจต เป็นต้น ความว่า ส่วนบุคคลใดตัดโทสชาต

๑. ตระหนี่ ๕ อย่าง คือ อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล. ลาภมัจฉริยะ

ตระหนี่ลาภ. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ ตระหนี่ธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 81

มีความริษยาเป็นต้นนี่ได้ขาดแล้ว ด้วยอรหัตมรรคญาณ ถอนขึ้น ทำให้

รากขาดแล้ว, บุคคลนั้นมีโทสะอันคายแล้ว ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรือง

ในธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " คนดี."

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล

เรื่องภิกษุมากรูป จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 82

๖. เรื่องภิกษุชื่อหัตถกะ [๑๙๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุชื่อ

หัตถกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น มุณฺฑเกน สมโณ " เป็นต้น.

พระหัตถกะพูดอวดดี

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นพูดฟุ้งไป กล่าวว่า " ท่านทั้งหลายพึงไปสู่ที่

ชื่อโน้น ในกาลโน้น, เราจักทำวาทะ" แล้วไปในที่นั้นก่อน กล่าวคำ

ทั้งหลายเป็นต้นว่า " ดูเถิดท่านทั้งหลาย, พวกเดียรถีย์ไม่มาเพราะกลัวผม,

นี่แหละเป็นความแพ้ของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น" เที่ยวพูดฟุ้งไป กลบ-

เกลื่อนคำอื่นด้วยคำอื่น.

ลักษณะสมณะและผู้มิใช่สมณะ

พระศาสดาทรงสดับว่า "ได้ยินว่า ภิกษุชื่อหัตถกะทำอย่างนั้น"

แล้วรับสั่งให้เรียกเธอมา ตรัสถามว่า " หัตถกะ ได้ยินว่าเธอทำอย่างนั้น

จริงหรือ ?" เมื่อเธอกราบทูลว่า " จริง," จึงตรัสว่า "เหตุไฉน เธอจึง

ทำอย่างนั้น ? ด้วยว่าผู้ทำมุสาวาทเห็นปานนั้น จะชื่อว่าเป็นสมณะ เพราะ

เหตุสักว่ามีศีรษะโล้นเป็นต้นเท่านั้นหามิได้; ส่วนผู้ใด ยังบาปน้อยหรือ

ใหญ่ให้สงบแล้วตั้งอยู่ ผู้นี้แหละชื่อว่าสมณะ" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระ-

คาถาเหล่านี้ว่า:-

๖. น มุณฺฑเกน สมโณ อพฺพโต อลิก ภณ

อิจฺฉาโลภสมาปนฺโน สมโณ กึ ภวิสฺสติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 83

โย จ สเมติ ปาปานิ อณุถูลานิ สพฺพโส

สมิตตฺตา หิ ปาปาน สมโณติ ปวุจฺจติ.

"ผู้ไม่มีวัตร พูดเหลาะแหละ ไม่ชื่อว่าสมณะ

เพราะศีรษะโล้น, ผู้ประกอบด้วยความอยากและ

ความโลภ จะเป็นสมณะอย่างไรได้; ส่วนผู้ใด ยัง

บาปน้อยหรือใหญ่ให้สงบโดยประการทั้งปวง, ผู้นั้น

เรากล่าวว่า 'เป็นสมณะ' เพราะยังบาปให้สงบ

แล้ว."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุณฺฑเกน ความว่า เพราะเหตุสักว่า

ศีรษะโล้น. บทว่า อพฺพโต คือเว้นจากศีลวัตรและธุดงควัตร. สองบทว่า

อลิก ภณ ความว่า ผู้กล่าวมุสาวาท ประกอบด้วยความอยากในอารมณ์

อัน ยังไม่ถึง และด้วยความโลภในอารมณ์อัน ถึงแล้ว จักชื่อว่าเป็นสมณะ

อย่างไรได้. บทว่า สเมติ ความว่า ส่วนผู้ใดยังบาปน้อยหรือใหญ่ให้

สงบ, ผู้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ' เป็นสมณะ' เพราะยังบาป

เหล่านั้นให้สงบแล้ว.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุชื่อหัตถกะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 84

๗. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง [๒๐๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์

คนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน ภิกฺขุ โส โหติ"

เป็นต้น.

พราหมณ์อยากให้พระศาสดาเรียกตนว่าภิกษุ

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นบวชในลัทธิภายนอกเที่ยวภิกษาอยู่ คิดว่า

"พระสมณโคดมเรียกสาวกของตนผู้เที่ยวภิกษาว่า ภิกษุ,' การที่พระ-

สมณโคดมเรียกแม้เราว่า ' ภิกษุ ' ก็ควร." เขาเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลว่า

" ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ แม้ข้าพเจ้าก็เที่ยวภิกษาเลี้ยงชีพอยู่, พระองค์

จงเรียกแม้ข้าพเจ้าว่า 'ภิกษุ."

ลักษณะภิกษุและผู้มิใช่ภิกษุ

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพราหมณ์นั้นว่า "พราหมณ์ เราหา

เรียกว่า ' ภิกษุ ' เพราะอาการเพียงขอ (เขาไม่), เพราะผู้สมาทานธรรม

อันเป็นพิษแล้วประพฤติอยู่ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าภิกษุหามิได้, ส่วนผู้ใดเที่ยว

ไปด้วยพิจารณาสังขารทั้งปวง, ผู้นั้นชื่อว่าเป็นภิกษุ" ดังนี้แล้ว ได้ตรัส

พระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๗. น เตน ภิกฺขุ โส โหติ ยาวตา ภิกฺขเต ปเร

วิสฺส ธมฺม สมาทาย ภิกฺขุ โหติ น ตาวตา.

โยธ ปุญฺญฺจ ปาปญฺจ พาเหตฺวา พฺรหฺมจริยวา

สงฺขาย โลเก จรติ ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 85

"บุคคลชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะเหตุที่ขอกะคนพวก

อื่นหามิได้, บุคคลสมาทานธรรมอันเป็นพิษ ไม่ชื่อว่า

เป็นภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น; ผู้ใดในศาสนานี้

ลอยบุญและบาปแล้ว ประพฤติพรหมจรรย์ (รู้ธรรม)

ในโลก ด้วยการพิจารณาเที่ยวไป ผู้นั้นแลเราเรียก

ว่า 'ภิกษุ.'

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา ความว่า ชื่อว่าเป็นภิกษุ เพราะ

เหตุสักว่าขอกะชนพวกอื่นหามิได้. บทว่า วิส เป็นต้น ความว่า ผู้ที่

สมาทานธรรมไม่เสมอ หรือธรรมมีกายกรรมเป็นต้น อันมีกลิ่นเป็นพิษ

ประพฤติอยู่ หาชื่อว่าเป็นภิกษุไม่. บทว่า โยธ เป็นต้น ความว่า ผู้ใด

ในศาสนานี้ ลอยคือบรรเทาบุญและบาปแม้ทั้งสองนี้ด้วยมรรคพรหมจรรย์

ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์. บทว่า สงฺขาย คือ ด้วยญาณ. บทว่า

โลเก เป็นต้น ความว่า บุคคลรู้ธรรมแม้ทั้งหมดในโลก มีขันธโลก

เป็นต้น อย่างนี้ว่า "ขันธ์เหล่านี้เป็นภายใน, ขันธ์เหล่านี้เป็นภายนอก"

เที่ยวไป, ผู้นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ' ภิกษุ ' เพราะเป็นผู้ทำลาย

กิเลสทั้งหลายด้วยญาณนั้นแล้ว.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.

๑. บาลีเป็น วิสฺส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 86

๘. เรื่องเดียรถีย์ [๒๐๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกเดียรถีย์

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น โมเนน" เป็นต้น.

เหตุที่ทรงอนุญาตอนุโมทนากถา

ได้ยินว่า พวกเดียรถีย์เหล่านั้นทำอนุโมทนาแก่พวกมนุษย์ ใน

สถานที่ตนบริโภคแล้ว, กล่าวมงคลโดยนัยเป็นต้นว่า " ความเกษมจงมี,

ความสุขจงมี, อายุจงเจริญ; ในที่ชื่อโน้นมีเปือกตม, ในที่ชื่อโน้นมีหนาม,

การไปสู่ที่เห็นปานนั้นไม่ควร" แล้วจึงหลีกไป. ก็ในปฐมโพธิกาล ใน

เวลาที่ยังไม่ทรงอนุญาตวิธีอนุโมทนาเป็นต้น ภิกษุทั้งหลายไม่ทำอนุ-

โมทนาแก่พวกมนุษย์ในโรงภัตเลย ย่อมหลีกไป. พวกมนุษย์ยกโทษว่า

"พวกเราได้ฟังมงคลแต่สำนักของเดียรถีย์ทั้งหลาย, แต่พระผู้เป็นเจ้า

ทั้งหลายนิ่งเฉย หลีกไปเสีย." ภิกษุทั้งหลายยกราบทูลความนั้นแด่พระ-

ศาสดา.

พระศาสดาทรงอนุญาตว่า " ภิกษุทั้งหลาย ตั้งแต่บัดนี้ไป ท่านทั้ง-

หลายจงทำอนุโมทนาในที่ทั้งหลายมีโรงภัตเป็นต้น ตามสบายเถิด, จงกล่าว

อุปนิสินนกถาเถิด" ภิกษุเหล่านั้นทำอย่างนั้นแล้ว.

พวกเดียรถีย์ติเตียนพุทธสาวก

พวกมนุษย์ฟังวิธีอนุโมทนาเป็นต้น ถึงความอุตสาหะแล้ว นิมนต์

ภิกษุทั้งหลาย เที่ยวทำสักการะ. พวกเดียรถีย์ยกโทษว่า " พวกเราเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 87

มุนีทำความเป็นผู้นิ่ง, พวกสาวกของพระสมณโคดมเที่ยวกล่าวกถามาก

มาย ในที่ทั้งหลายมีโรงภัตเป็นต้น.

ลักษณะมุนีและผู้ไม่ใช่มุนี

พระศาสดาทรงสดับความนั้น ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว

ว่า ' มุนี ' เพราะเหตุสักว่าเป็นผู้นิ่ง; เพราะคนบางพวกไม่รู้ ย่อมไม่พูด,

บางพวกไม่พูด เพราะความเป็นผู้ไม่แกล้วกล้า, บางพวกไม่พูด เพราะ

ตระหนี่ว่า ' คนเหล่าอื่นอย่ารู้เนื้อความอันดียิ่งนี้ของเรา; เพราะฉะนั้น

คนไม่ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะเหตุสักว่าเป็นคนนิ่ง, แต่ชื่อว่าเป็นมุนี เพราะ

ยังบาปให้สงบ." ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๘. น โมเนน มุนิ โหติ มูฬฺหรูโป อวิทฺทสุ

โย จ ตุลว ปคฺคยฺห วรมาทาย ปณฺฑิโต

ปาปานิ ปริวชฺเชติ ส มุนิ เตน โส มุนิ

โย มุนาติ อุโภ โลเก มุนิ เตน ปวุจฺจติ.

" บุคคลเขลา ไม่รู้โดยปกติ ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี

เพราะความเป็นผู้นิ่ง, ส่วนผู้ใดเป็นบัณฑิตถือธรรม

อันประเสริฐ ดุจบุคคลประคองตาชั่ง เว้นบาป

ทั้งหลาย, ผู้นั้นเป็นมุนี, ผู้นั้นเป็นมุนี เพราะเหตุ

นั้น; ผู้ใดรู้อรรถทั้งสองในโลก, ผู้นั้นเรากล่าวว่า

' เป็นมุนี ' เพราะเหตุนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น โมเนน ความว่า ก็บุคคลชื่อว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 88

มุนี เพราะโมนะคือมรรคญาณ กล่าวคือข้อปฏิบัติเครื่องเป็นมุนี ก็จริงแล,

ถึงอย่างนั้น ในพระคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า โมเนน หมายเอา

ความเป็นผู้นิ่ง. บทว่า มุฬฺหรูโป คือ เป็นผู้เปล่า.

บทว่า อวิทฺทสุ คือ ไม่รู้โดยปกติ. อธิบายว่า " ก็บุคคลเห็นปาน

นั้น แม้เป็นผู้นิ่ง ก็ไม่ชื่อว่าเป็นมุนี; อีกอย่างหนึ่ง ไม่ชื่อว่าโมไนยมุนี,

แต่เป็นผู้เปล่าเป็นสภาพ และไม่รู้โดยปกติ.

บาทพระคาถาว่า โย จ ตุล ว ปคฺคยฺห ความว่า เหมือนอย่าง

คนยืนถือตาชั่งอยู่, ถ้าของมากเกินไป, ก็นำออกเสีย, ถ้าของน้อย, ก็

เพิ่มเข้า ฉันใด; ผู้ใดนำออก ชื่อว่าเว้นบาป ดุจคนเอาของที่มากเกินไป

ออก. บำเพ็ญกุศลอยู่ดุจคนเพิ่มของอันน้อยเข้า ฉันนั้นเหมือนกัน; ก็แล

เมื่อทำอย่างนั้น ชื่อว่าถือธรรมอันประเสริฐ คือสูงสุดทีเดียว กล่าวคือศีล

สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ เว้นบาป คือกรรมที่เป็นอกุศล

ทั้งหลาย. สองบทว่า ส มุนิ ความว่า ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมุนี. หลายบทว่า

เตน โส มุนิ ความว่า หากมีคำถามสอดเข้ามาว่า " ก็เพราะเหตุไร ผู้

นั้นจึงชื่อว่าเป็นมุนี ?" ต้องแก้ว่า " ผู้นั้นเป็นมุนี เพราะเหตุที่กล่าว

แล้วในหนหลัง."

บาทพระคาถาว่า โย มุนาติ อุโภ โลเก ความว่า บุคคลผู้ใดรู้

อรรถทั้งสองนี้ ในโลกมีขันธ์เป็นต้นนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า "ขันธ์เหล่านี้

เป็นภายใน, ขันธ์เหล่านี้เป็นภายนอก" ดุจบุคคลยกตาชั่งขึ้นชั่งอยู่

ฉะนั้น. หลายบทว่า มุนิ เตน ปวุจฺจติ ความว่า ผู้นั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ' เป็นมุนี ' เพราะเหตุนั้น.

๑. ญาณอันสัมปยุตด้วยมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 89

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องเดียรถีย์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 90

๙. เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ [๒๐๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพรานเบ็ด

ชื่ออริยะคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น เตน อริโย โหติ"

เป็นต้น.

พรานเบ็ดต้องการให้พระศาสดาตรัสเรียกตนว่าอริยะ

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดา-

ปัตติมรรคของนายอริยะนั้น เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในบ้านใกล้ประตูด้านทิศ

อุดร แห่งกรุงสาวัตถี อันภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จมาแต่บ้านนั้น. ขณะนั้น

พรานเบ็ดนั้นตกปลาอยู่ด้วยเบ็ด เห็นภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

ได้ทั้งคันเบ็ดยืนอยู่แล้ว.

พระศาสดาเสด็จกลับ ประทับยืนอยู่ ณ ที่ไม่ไกลพรานเบ็ดนั้น ตรัส

ถามชื่อของพระสาวกทั้งหลาย มีพระสารีบุตรเถระเป็นต้นว่า " เธอชื่อไร ?

เธอชื่อไร ?" แม้พระสาวกเหล่านั้น ก็กราบทูลชื่อของตน ๆว่า " ข้า-

พระองค์ชื่อสารีบุตร, ข้าพระองค์ชื่อโมคคัลลานะ" เป็นต้น. พรานเบ็ด

คิดว่า " พระศาสดาย่อมตรัสถามชื่อสาวกทุกองค์, เห็นจักตรัสถามชื่อของ

เราบ้าง."

ลักษณะผู้เป็นอริยะและไม่ใช่อริยะ

พระศาสดาทรงทราบความปรารถนาของพรานเบ็ดนั้น จึงตรัสถาม

ว่า " อุบาสก เธอชื่อไร ?" เมื่อเขากราบทูลว่า " ข้าพระองค์ชื่ออริยะ

พระเจ้าข้า " ตรัสว่า " อุบาสก ผู้ที่ฆ่าสัตว์เช่นท่านจะชื่อว่าอริยะไม่ได้,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 91

ส่วนผู้ที่ตั้งอยู่ในความไม่เบียดเบียนมหาชนจึงจะชื่อว่าอริยะ" ดังนี้ แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๙. น เตน อริโย โหติ เยน ปาณาติ หึสติ

อหึสา สพฺพปาณาน อริโยติ ปวุจฺจติ.

"บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นอริยะ เพราะเหตุที่เบียด-

เบียนสัตว์; บุคคลที่เรากล่าวว่า ' เป็นอริยะ' เพราะ

ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหึสา ความว่า เพราะไม่เบียดเบียน.

มีคำอธิบายไว้เช่นนี้ว่า: " บุคคลไม่เป็นผู้ชื่อว่าอริยะ เพราะเหตุที่

เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย; ส่วนผู้ใดตั้งอยู่ไกลจากความเบียดเบียน เพราะ

ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวงด้วยฝ่ามือเป็นต้น คือเพราะความที่ตนตั้งอยู่แล้ว

ในภาวนาเมตตาเป็นต้น, ผู้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า ' อริยะ."

ในกาลจบเทศนา พรานเบ็ดตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนาได้

มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพรานเบ็ดชื่ออริยะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 92

๑๐. เรื่องภิกษุมากรูป [๒๐๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป

ผู้ถึงพร้อมด้วยคุณมีศีลเป็นต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น สีลพฺ-

พตมตฺเตน" เป็นต้น.

ได้ยินว่า บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

" พวกเรามีศีลสมบูรณ์แล้ว, พวกเราทรงซึ่งธุดงค์, พวกเราเป็นพหูสูต,

พวกเราอยู่ในเสนาสนะอันสงัด, พวกเราได้ฌาน, พระอรหัตพวกเราได้

ไม่ยาก, พวกเราจักบรรลุพระอรหัต ในวันที่พวกเราปรารถนานั่นเอง."

บรรดาภิกษุเหล่านั้น แม้ภิกษุผู้เป็นอนาคามีได้มีความคิดเช่นนี้ว่า " บัดนี้

พระอรหัตพวกเราได้ไม่ยาก. วันหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเข้าไปเฝ้า

พระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่งอยู่ อันพระศาสดาตรัสถามว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย กิจแห่งบรรพชิตของพวกเธอถึงที่สุดแล้วหรือหนอ ?" ต่างก็

กราบทูลอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เห็นปานนี้นี้;

เพราะฉะนั้น พวกข้าพระองค์จึงคิดว่า ' พวกเราสามารถเพื่อบรรลุพระ-

อรหัตในขณะที่ปรารถนาแล้ว ๆ นั่นเอง' ดังนี้แล้วอยู่."

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย ชื่อว่าภิกษุจะเห็นว่า ' ทุกข์ในภพของพวกเราน้อย, ด้วยคุณ

สักว่าความเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์เป็นต้น หรือด้วยคุณสักว่าความสุขของพระ-

อนาคามีไม่ควร, และยังไม่ถึงความสิ้นอาสวะ ไม่พึงให้ความคิดเกิดขึ้นว่า

' เราถึงสุขแล้ว " ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 93

๑๐. น สีลพฺพตมตฺเตน พาหุสจฺเจน วา ปน

อถวา สมาธิลาเภน วิวิตฺตสยเนน วา

ผุสามิ เนกฺขมฺมสุข อปุถุชฺชนเสวิต

ภิกฺขุ วิสฺสาสมาปาทิ อปฺปตฺต อาสวกฺขย.

"ภิกษุ ภิกษุยังไม่ถึงอาสวักขัย อย่าเพิ่งถึงความ

วางใจ ด้วยเหตุสักว่าศีลและวัตร ด้วย ความเป็น

พหูสูต ด้วยอันได้สมาธิ ด้วยอันนอนในที่สงัด หรือ

(ด้วยเหตุเพียงรู้ว่า) ' เราถูกต้องสุขในเนกขัมมะ ซึ่ง

ปุถุชนเสพไม่ได้แล้ว."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลพฺพตมตฺเตน คือ ด้วยเหตุสักว่า

ปาริสุทธิศีล ๔ หรือสักว่าธุดงคคุณ ๑๓.

บทว่า พาหุสจฺเจน วา ความว่า หรือด้วยเหตุสักว่าความเป็นผู้

เรียนปิฎก ๓.

บทว่า สมาธิลาเภน ความว่า หรือด้วยอันได้สมาบัติ ๘.

บทว่า เนกฺขมฺมสุข คือ สุขของพระอนาคามี. เพราะฉะนั้น ภิกษุ

อย่าเพิ่งถึงความวางใจ ด้วยเหตุมีประมาณเพียงรู้เท่านี้ว่า ' เราถูกต้องสุข

ของพระอนาคามี.'

บทว่า อปุถุชฺชนเสวิต ความว่า อันปุถุชนทั้งหลายเสพไม่ได้ คือ

อันพระอริยะเสพแล้วอย่างเดียว. ภิกษุเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อ

ทรงทักภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ก็ตรัสว่า " ภิกษุ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 94

บทว่า วิสฺสาสมาปาทิ ความว่า อย่าเพิ่งถึงความวางใจ. มีคำ

อธิบายไว้ฉะนี้ว่า " ภิกษุ ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้ยังไม่บรรลุพระอรหัต กล่าว

คือความสิ้นไปแห่งอาสวะ ไม่พึงถึงความวางใจว่า ' ภพของเราน้อย นิด

หน่อย ' ด้วยเหตุสักว่า ความเป็นผู้มีคุณมีศีลสมบูรณ์เป็นต้นนี้เท่านั้น;

เหมือนคูถแม้มีประมาณน้อยก็ยังมีกลิ่นเหม็นฉันใด, ภพแม้มีประมาณน้อย

ก็เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ฉันนั้น."

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว, เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุมากรูป จบ.

ธัมมัฏฐวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๙ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 95

คาถาธรรมบท

มรรควรรคที่ ๒๐

ว่าด้วยมรรคมีองค์ ๘ ประเสริฐ

[๓๐] ๑. บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐ

บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐ บรรดาธรรม

ทั้งหลาย วิราคะประเสริฐ บรรดาสัตว์ ๒ เท้า และ

อรูปธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐ

ทางนี้เท่านั้นเพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ ทางอื่น

ไม่มี เพราะฉะนั้นท่านทั้งหลายจงดำเนินตามทางนี้

เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้หลง ด้วยว่า

ท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว จักทำที่สุดแห่ง

ทุกข์ได้ เราทราบทางเป็นที่สลัดลูกศรแล้ว จึงบอก

แก่ท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงทำความเพียร

เครื่องเผากิเลส พระตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอก

ชนทั้งหลายผู้ดำเนินไปแล้ว มีปกติเพ่งพินิจ ย่อม

หลุดพ้นจากเครื่องผูกของมาร.

๒. เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร

ทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความ

หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.

เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขาร

ทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความ

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๐ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 96

หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.

เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ธรรม

ทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์ ความ

หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด.

๓. ก็บุคคลยังหนุ่มแน่นมีกำลัง (แต่) ไม่ขยัน

ในกาลที่ควรขยัน เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน มีใจ

ประกอบด้วยความดำริอันจมแล้ว ขี้เกียจ เกียจคร้าน

ย่อมไม่พบทางด้วยปัญญา.

๔. บุคคลผู้มีปกติรักษาวาจา สำรวมดีแล้วด้วย

ใจ และไม่ควรทำอกุศลด้วยกาย พึงยังกรรมบถ

ทั้งสามเหล่านี้ให้หมดจด ทั้งยินดีทางที่ท่านผู้แสวง

หาคุณประกาศแล้ว.

๕. ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล ความ

สิ้นไปแห่งปัญญา เพราะการไม่ประกอบ บัณฑิต

รู้ทาง ๒ แพร่งแห่งความเจริญ และความเสื่อมนั่น

แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้นได้.

๖. ท่านทั้งหลายจงตัดกิเลสดุจป่า อย่าตัด

ต้นไม้ ภัยย่อมเกิดแต่กิเลสดุจป่า ภิกษุทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายจงตัดกิเลสดุจป่า และดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่

ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสดุจป่าเถิด เพราะกิเลสดุจ

หมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า ถึงมีประมาณนิดหน่อยของนรชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 97

ยังไม่ขาด ในนารีทั้งหลายเพียงใด เขาเป็นเหมือน

ลูกโคที่ยังดื่มน้ำนม มีใจปฏิพัทธ์ในมารดาเพียงนั้น.

๗. เธอจงตัดความเยื่อใยของตนเสีย เหมือน

บุคคลถอนดอกโกมุท ที่เกิดในสรทกาลด้วยมือ จง

เจริญทางแห่งสันติทีเดียว (เพราะ) พระนิพพานอัน

พระสุคตแสดงแล้ว.

๘. คนพาลย่อมคิดว่า เราจักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดู

ฝน จักอยู่ในที่นี้ในฤดูหนาวและฤดูร้อน หารู้อันตราย

ไม่.

๙. มัจจุพานระนั้น ผู้มัวเมาในบุตรและปศุสัตว์

ผู้มีใจข้องรนอารมณ์ต่าง ๆ ไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่

พัดพาเอาชาวบ้านผู้หลับไปฉะนั้น.

๑๐. บัณฑิตทราบอำนาจเนื้อความว่า บุตรทั้ง-

หลาย ย่อมไม่มีเพื่อต้านทาน บิดาและพวกพ้องทั้ง-

หลายก็ไม่มีเพื่อต้านทาน เมื่อบุคคลถูกความตาย

ครอบงำแล้ว ความต้านทานในญาติทั้งหลายย่อมไม่มี

ดังนี้แล้ว เป็นผู้สำรวมในศีล พึงชำระทางเป็นที่ไป

พระนิพพานให้หมดจดพลันทีเดียว.

จบมรรควรรคที่ ๒๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 98

๒๐. มรรควรรควรรณนา

๑. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป [๒๐๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๕๐๐ รูป

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มคฺคานฏฺงฺคิโก" เป็นต้น.

พวกภิกษุพูดถึงทางที่ตนเที่ยวไป

ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาเสด็จเที่ยวจาริกไปใน

ชนบทแล้วเสด็จมาสู่กรุงสาวัตถีอีก, นั่งในโรงเป็นที่บำรุง พูดมรรคกถา

ปรารภทางที่ตนเที่ยวไปแล้ว โดยนัยเป็นต้นว่า " ทางแห่งบ้านโน้นจาก

บ้านโน้นสม่ำเสมอ, ทางแห่งบ้านโน้น (จากบ้านโน้น ) ไม่สม่ำเสมอ, มี

กรวด, ไม่มีกรวด."

อริยมรรคเป็นทางให้พ้นทุกข์

พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของภิกษุเหล่านั้น เสด็จ

มายังที่นั้นแล้ว ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาปูไว้ ตรัสถามว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยกถาอะไรเล่า ?" เมื่อภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วยกถาชื่อนี้," ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ทางที่

พวกเธอพูดถึงนี้ เป็นทางภายนอก ธรรมดาภิกษุทำกรรมในอริยมรรค

จึงควร, (ด้วยว่า) ภิกษุเมื่อทำอย่างนั้น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้" ดังนี้

แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 99

๑. มคฺคานฏฺงฺคิโก เสฏฺโ สจฺจาน จตุโร ปทา

วิราโค เสฏฺโ ธมฺมาน ทิปทานญฺจ จกฺขุมา

เอเสว มคฺโค นตฺถญฺโ ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา.

เอตญฺหิ ตุเมฺห ปฏิปชฺชถ มารสฺเสต ปโมหน

เอตญฺหิ ตุเมฺห ปฏิปนฺนา ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสถ.

อกฺขาโต โว มยา มคฺโค อญฺาย สลฺลสตฺถน

ตุเมฺหหิ กิจฺจ อาตปฺป อกฺขาตาโร ตถาคตา

ปฏิปนฺนา ปโมกฺขนฺติ ฌายิโน มารพนฺธนา.

"บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์ ๘ ประเสริฐ,

บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐ, บรรดาธรรม

ทั้งหลาย วิราคะประเสริฐ, บรรดาสัตว์ ๒ เท้า และ

อรูปธรรมทั้งหลาย พระตถาคตผู้มีจักษุประเสริฐ;

ทางนี้เท่านั้น เพื่อความหมดจดแห่งทัสสนะ ทาง

อื่นไม่มี, เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงดำเนินตาม

ทางนี้ เพราะทางนี้เป็นที่ยังมารและเสนามารให้

หลง, ด้วยว่า ท่านทั้งหลายดำเนินไปตามทางนี้แล้ว

จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้; เราทราบทางเป็นที่สลัดลูกศร

แล้ว จึงบอกแก่ท่านทั้งหลาย, ท่านทั้งหลาย

พึงทำความเพียรเครื่องเผากิเลส, พระตถาคตทั้งหลาย

เป็นแต่ผู้บอก, ชนทั้งหลายผู้ดำเนินไปแล้ว มีปกติ

เพ่งพินิจ ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องผูกของมาร."

๑. อรรถกถา มารเสนปฺปโมหน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 100

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มคฺคานฏฺงฺคิโก ความว่า ทางทั้งหลาย

จงเป็นทางไปด้วยแข้งเป็นต้นก็ตาม เป็นทางทิฏฐิ ๖๒ ก็ตาม บรรดา

ทางแม้ทั้งหมด ทางมีองค์ ๘ อันทำการละทาง ๘ มีมิจฉาทิฏฐิเป็นต้น

ด้วยองค์ ๘ มีสัมมาทิฏฐิเป็นต้น ทำนิโรธให้เป็นอารมณ์ ยังกิจมีอันกำหนด

รู้ทุกข์เป็นต้น ในสัจจะแม้ทั้งสี่ให้สำเร็จ ประเสริฐคือยอดเยี่ยม.

บาทพระคาถาว่า สจฺจาน จตุโร ปทา ความว่า บรรดาสัจจะ

เหล่านี้ แม้ทั้งหมด จงเป็นวจีสัจจะอันมาแล้ว (ในพระบาลี) ว่า " บุคคล

พึงกล่าวคำสัตย์, ไม่พึงโกรธ," เป็นต้นก็ตาม, เป็นสมมติสัจจะอันต่าง

โดยสัจจะเป็นต้นว่า " เป็นพราหมณ์จริง, เป็นกษัตริย์จริง" ก็ตาม,

เป็นทิฏฐิสัจจะ (โดยนัย) ว่า " สิ่งนี้เท่านั้นจริง, สิ่งอื่นเปล่า," เป็นต้น

ก็ตาม, เป็นปรมัตถสัจจะ อันต่างโดยสัจจะเป็นต้นว่า " ทุกข์เป็นความจริง

อันประเสริฐ" ก็ตาม, บท ๔ มีบทว่า " ทุกข์ เป็นความจริงอันประเสริฐ "

เป็นต้น ชื่อว่าประเสริฐ เพราะอรรถว่าทุกข์อันโยคาวจรควรกำหนดรู้

เพราะอรรถว่าสมุทัยอันโยคาวจรควรละ เพราะอรรถว่านิโรธอันโยคาวจร

ควรทำให้แจ้ง, เพราะอรรถว่ามรรคมีองค์ ๘ อันโยคาวจรควรเจริญ

เพราะอรรถว่าแทงตลอดได้ด้วยญาณอันเดียว และเพราะอรรถว่าแทง

ตลอดได้โดยแน่นอน.

บาทพระคาถาว่า วิราโค เสฏฺโ ธมฺมาน ความว่า บรรดาธรรม

ทั้งปวง วิราคะ กล่าวคือพระนิพพาน ชื่อว่าประเสริฐ เพราะพระพุทธ-

พจน์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่ปัจจัยปรุงแต่งก็ดี ที่ปัจจัยไม่

๑. อัง. ทสก. ๒๔/๒๑๐. ๒.แปลว่า:- เพราะอรรถว่า แทงตลอดได้ในขณะเดียวกันก็มี.

๓. ขุ. อิติ. ๒๕/๒๙๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 101

ปรุงแต่งก็ดี มีประมาณเพียงไร, บรรดาธรรมเหล่านั้นวิราคะเรากล่าวว่า

เป็นยอด."

บาทพระคาถาว่า ทิปทานญฺจ จกฺขุมา ความว่า บรรดาสัตว์ ๒ เท้า

อันต่างโดยเทวดาและมนุษย์เป็นต้นแม้ทั้งหมด พระตถาคตผู้มีจักษุ

ประการเท่านั้น ประเสริฐ. ศัพท์ มีอันประมวลมาเป็นอรรถ ย่อม

ประมวลเอาอรูปธรรมทั้งหลายด้วย; เพราะฉะนั้น แม้บรรดาอรูปธรรม

ทั้งหลาย พระตถาคตก็เป็นผู้ประเสริฐ คือสูงสุด.

บาทพระคาถาว่า ทสฺสนสฺส วิสุทฺธิยา ความว่า ทางใดที่เรา

(ตถาคต) กล่าวว่า " ประเสริฐ" ทางนั่นเท่านั้น เพื่อความหมดจดแห่ง

ทัสสนะคือมรรคและผล; ทางอื่นย่อมไม่มี.

บทว่า เอต หิ ความว่า เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายจงดำเนิน

ทางนั้น นั่นแหละ.

ก็บทว่า มารเสนปฺปโมหน นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสว่า

" เป็นที่หลงแห่งมาร คือเป็นที่ลวงแห่งมาร."

บทว่า ทุกฺขสฺส ความว่า ท่านทั้งหลายจักทำที่สุด คือเขตแดน

แห่งความทุกข์ในวัฏฏะแม้ทั้งสิ้นได้.

บทว่า สลฺลสตฺถน เป็นต้น ความว่า เราเว้นจากกิจทั้งหลาย มี

การได้ฟัง (จากผู้อื่น) เป็นต้น ทราบทางนั่น อันเป็นที่สลัดออกคือย่ำยี

ได้แก่ถอนออกซึ่งลูกศรทั้งหลาย มีลูกศรคือราคะเป็นต้น โดยประจักษ์

แก่ตนแล้วทีเดียว จึงบอกทางนี้, บัดนี้ท่านทั้งหลายพึงทำ ได้แก่ควรทำ

ความเพียรคือสัมมัปปธาน อันถึงซึ่งการนับว่าอาตัปปะ เพราะเป็นเครื่อง

๑. มังสจักขุ จักษุคือดวงตา ๑ ทิพพจักขุ จักษุทิพย์ ๑ ปัญญาจักขุ จักษุคือปัญญา ๑

พุทธจักข จักษแห่งพระพุทธเจ้า ๑ สมันตจักขุ จักษุรอบคอบ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 102

เผากิเลสทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุทางนั้น. เพราะพระตถาคต

ทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกอย่างเดียว, เพราะฉะนั้น ชนทั้งหลายผู้ปฏิบัติแล้ว

ด้วยสามารถแห่งทางที่พระตถาคตเจ้าเหล่านั้นตรัสบอกแล้ว มีปกติเพ่ง

ด้วยฌานสองอย่าง ย่อมหลุดพ้นจากเครื่องผูกแห่งมารกล่าวคือวัฏฏะอัน

เป็นไปในภูมิสาม.

ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นดำรงอยู่แล้วในพระอรหัตผล.

พระธรรมเทศนาได้สำเร็จประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 103

๒. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูปอื่นอีก [๒๐๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๕๐๐ รูป

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺเพ สงฺขารา" เป็นต้น.

ภิกษุเรียนกัมมัฏฐาน

ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว

แม้พากเพียรพยายามอยู่ในป่า ก็ไม่บรรลุพระอรหัต จึงคิดว่า " เราจัก

เรียนกัมมัฏฐานให้วิเศษ" ดังนี้แล้วได้ไปสู่สำนักพระศาสดา.

ทางแห่งความหมดจด

พระศาสดาทรงพิจารณาว่า " กัมมัฏฐานอะไรหนอแล เป็นที่

สบายของภิกษุเหล่านี้ ?" จึงทรงดำริว่า " ภิกษุเหล่านี้ ในกาลแห่ง

พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ตามประกอบแล้วในอนิจจลักษณะสิ้น

สองหมื่นปี, เพราะฉะนั้น การแสดงคาถาด้วยอนิจจลักษณะนั้นแลแก่เธอ

ทั้งหลาย สัก ๑ คาถาย่อมควร ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สังขาร

แม้ทั้งปวงในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น เป็นสภาพไม่เที่ยงเลย เพราะ

อรรถว่ามีแล้วไม่มี " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

"เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ' สังขาร

ทั้งปวงไม่เที่ยง,' เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความ

หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 104

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า สพฺเพ สงฺขารา เป็นต้น ความ

ว่า เมื่อใดบัณฑิตย่อมเห็นด้วยวิปัสสนาปัญญาว่า " ขันธ์ทั้งหลายที่เกิด

ขึ้นแล้วในภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้น ชื่อว่าไม่เที่ยง เพราะต้องดับใน

ภพนั้น ๆ เอง," เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์อันเนื่องด้วยการบริหารขันธ์

นี้, เมื่อหน่ายย่อมแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่งกิจ มีการ

กำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น.

บาทพระคาถาว่า เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา ความว่า ความหน่ายใน

ทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด คือแห่งความผ่องแผ้ว.

ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตผลแล้ว. เทศนา

ได้สำเร็จประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูปอื่นอีก จบ.

แม้ในพระคาถาที่ ๒ เรื่องก็อย่างนั้นเหมือนกัน. ก็ในกาลนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบความที่ภิกษุเหล่านั้น ทำความเพียรในอัน

กำหนดสังขารโดยความเป็นทุกข์แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์แม้

ทั้งปวง เป็นทุกข์แท้ เพราะอรรถว่าถูกทุกข์บีบคั้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า:-

สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

" เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ' สังขาร

ทั้งปวงเป็นทุกข์,' เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์, ความ

หน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 105

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขา ความว่า ชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะ

อรรถว่าถูกทุกข์บีบคั้น. บทที่เหลือ ก็เช่นกับบทอันมีในก่อนนั้นแล.

แม้ในพระคาถาที่ ๓ ก็มีนัยเช่นนั้นเหมือนกัน. ก็ในพระคาถาที่ ๓

นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความที่ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ตามประกอบ

แล้ว ในอันกำหนดสังขารโดยความเป็นอนัตตา ในกาลก่อนอย่างสิ้นเชิง

แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ขันธ์แม้ทั้งปวงเป็นอนัตตาแท้ เพราะ

อรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺาย ปสฺสติ

อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

" เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า ' ธรรม

ทั้งปวงเป็นอนัตตา,' เมื่อนั้น ย่อมหน่ายในทุกข์,

ความหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความหมดจด."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สพฺเพ ธมฺมา พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประสงค์เอาขันธ์ ๕ นี้เอง.

บทว่า อนตฺตา ความว่า ชื่อว่า อนัตตา คือว่างเปล่า ไม่มีเจ้าของ

ได้แก่ไม่มีอิสระ เพราะอรรถว่าไม่เป็นไปในอำนาจ เพราะใคร ๆ ไม่

อาจให้เป็นไปในอำนาจว่า " ธรรมทั้งปวง จงอย่าแก่ จงอย่าตาย."

บทที่เหลือ ก็เช่นกับบทที่มีแล้วในก่อนนั่นเอง ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูปอื่นอีก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 106

๓. เรื่องพระปธานกัมมิกติสสเถระ [๒๐๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระปธาน-

กัมมิกติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุฏฺานกาลมฺหิ" เป็นต้น.

พวกภิกษุประสงค์จะกราบทูลคุณที่ตนได

ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีประมาณ ๕๐๐ คน บวชในสำนัก

พระศาสดา เรียนกัมมัฏฐานแล้วได้ไปสู่ป่า. บรรดาภิกษุเหล่านั้น รูปหนึ่ง

พักอยู่ในที่นั้นเอง. ที่เหลือทำสมณธรรมอยู่ในป่า บรรลุพระอรหัต คิด

ว่า " พวกเราจักกราบทูลคุณอันตนได้แล้วแด่พระศาสดา" ได้ (กลับ)

ไปยังกรุงสาวัตถีอีก. อุบาสกคนหนึ่ง เห็นภิกษุเหล่านั้นผู้เที่ยวบิณฑบาต

อยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งแต่กรุงสาวัตถี จึงต้อนรับ

ด้วยวัตถุทั้งหลายมียาคูและภัตเป็นต้น ฟังอนุโมทนาแล้ว จึงนิมนต์เพื่อ

ประโยชน์แก่การฉันในวันรุ่งขึ้น.

ภิกษุเหล่านั้น ไปถึงกรุงสาวัตถีในวันนั้นเอง เก็บบาตรและจีวร

ไว้แล้ว ในเวลาเย็นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมนั่งอยู่แล้ว. พระ-

ศาสดา ทรงแสดงความยินดีอย่างยิ่งกับด้วยภิกษุเหล่านั้น ได้ทรงทำการ

ต้อนรับแล้ว.

ความไม่รู้จักกาลให้เกิดความเดือดร้อน

ขณะนั้น ภิกษุสหายแห่งภิกษุเหล่านั้น ผู้ยังเหลืออยู่ในที่นั้น

คิดว่า " เมื่อพระศาสดาทรงทำการต้อนรับภิกษุเหล่านั้น พระโอษฐ์ย่อม

ไม่พอ (จะตรัส), แต่หาตรัสปราศรัยกับด้วยเราไม่ เพราะมรรคและผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 107

ของเราไม่มี, ในวันนี้แหละเราบรรลุพระอรหัตแล้ว จักให้พระศาสดา

ตรัสปราศรัยกับด้วยเรา." ภิกษุแม้เหล่านั้นทูลลาพระศาสดาว่า " พวก

ข้าพระองค์อันอุบาสกคนหนึ่ง ในหนทางเป็นที่มา นิมนต์เพื่อฉันเช้าใน

วันพรุ่งนี้ จักไปในที่นั้นแต่เช้าเทียว." ลำดับนั้น ภิกษุผู้สหายแห่งภิกษุ

เหล่านั้น เดินจงกรมตลอดคืนยังรุ่ง ล้มลงที่แผ่นหินแผ่นหนึ่งในที่สุด

จงกรม ด้วยอำนาจแห่งความหลับ. กระดูกขาแตกแล้ว. เธอร้องด้วย

เสียงดัง.

พวกภิกษุผู้เป็นสหายเหล่านั้นของเธอจำเสียงได้ ต่างวิ่งเข้าไปข้าง

โน้นและข้างนี้. เมื่อภิกษุเหล่านั้น ตามประทีปทำกิจที่ควรทำแก่ภิกษุนั้น

อยู่นั่นแล, อรุณขึ้นแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้โอกาสไปบ้านนั้น.

ทรงแสดงชาดกในเรื่องไม่รู้จักกาล

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอไม่ไปสู่บ้าน เป็นที่เที่ยวภิกษาหรือ ? ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับว่า " อย่าง

นั้น พระเจ้าข้า " แล้วกราบทูลเรื่องนั้น. พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุนั่นทำอันตรายลาภของพวกเธอในบัดนี้เท่านั้นหามิได้, แม้

ในกาลก่อน เธอก็ได้ทำแล้วเหมือนกัน" อันภิกษุเหล่านั้นทูลวิงวอน

แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา ตรัสชาดกให้พิสดารว่า:-

" บุคคลใด ย่อมปรารถนาจะทำกิจที่ควรทำก่อน

ไว้ (ทำ) ภายหลัง, บุคคลนั้น ย่อมเดือดร้อนภาย-

หลัง, เหมือนมาณพผู้หักกิ่งไม้กุ่มฉะนั้น."

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๒๓. อรรถกถา. ๒/๑๑๙. วรุณชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 108

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นได้เป็นมาณพ ๕๐๐ ในกาลนั้น, มาณพผู้

เกียจคร้านได้เป็นภิกษุนี้, ส่วนอาจารย์ได้เป็นพระตถาคตด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย ก็บุคคลใดไม่ทำความขยัน ในกาลที่ควรขยัน เป็นผู้มีความ

ดำริอันจมแล้ว เป็นผู้เกียจคร้าน, บุคคลนั้นย่อมไม่บรรลุคุณวิเศษอันต่าง

โดยคุณมีฌานเป็นต้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. อุฏฺานกาลมฺหิ อนุฏฺหาโน

ยุวา พลี อาลสิย อุเปโต

สสนฺนสงฺกปฺปมโน กุสีโต

ปญฺาย มคฺค อลโส น วินฺทติ.

" ก็บุคคลยังหนุ่มแน่นมีกำลัง (แต่) ไม่ขยันใน

กาลที่ควรขยัน เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน มีใจ

ประกอบด้วยความดำริอันจมแล้ว ขี้เกียจ เกียจคร้าน

ย่อมไม่ประสบทางด้วยปัญญา."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุฏฺหาโน ความว่า ไม่ขยันคือ

ไม่พยายาม. สองบทว่า ยุวา พลี ความว่า เป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็นคน

รุ่นหนุ่ม ทั้งถึงพร้อมด้วยกำลัง. สองบทว่า อาลสิย อุเปโต ความว่า

ย่อมเป็นผู้เข้าถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้เกียจคร้าน คือกินแล้ว ๆ ก็นอน.

บทว่า สสนฺนสงฺกปฺปมโน ความว่า ผู้มีจิตประกอบด้วยความดำริอันจม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 109

ดิ่งลงแล้ว เพราะมิจฉาวิตกสาม. บทว่า กุสีโต ได้แก่ผู้ไม่มีความเพียร.

บทว่า อลโส ความว่า บุคคลนั้น เกียจคร้านมาก เมื่อไม่เห็นอริยมรรค

อันพึงเห็นด้วยปัญญา จึงชื่อว่า ย่อมไม่ประสบ คือไม่ได้.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระปธานกัมมิกติสสเถระ จบ.

๑. มิจฉาวิตก ๓ คือ ๑. กามวิตก ตรึกในกาม ๒. พยาบาทวิตก ตรึกในการพยาบาท

๓. วิหิงสาวิตก ตรึกในการเบียดเบียนคนอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 110

๔. เรื่องสูกรเปรต [๒๐๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภสูกรเปรต

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "วาจานุรกฺขี" เป็นต้น.

พระมหาโมคคัลลานเถระเห็นเปรต

ความพิสดารว่า วันหนึ่งพระมหาโมคคัลลานเถระลงจากภูเขาคิชฌกูฏ

กับพระลักขณเถระ ได้ทำการยิ้มแย้มในประเทศแห่งหนึ่ง อันพระลักขณ-

เถระถามว่า " ท่านผู้มีอายุ อะไรหนอ เป็นเหตุแห่งการทำความยิ้มแย้ม

ให้ปรากฏ ?" กล่าวว่า " ท่านผู้มีอายุ กาลนี้มิใช่กาลแห่งปัญหานี้, ท่าน

ควรถามผมในสำนักของพระศาสดา " ดังนี้แล้ว เที่ยวบิณฑบาตในกรุง

ราชคฤห์กับพระลักขณเถระนั่นเอง กลับจากบิณฑบาตแล้วไปสู่พระเวฬุวัน

ถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง.

ลำดับนั้น พระลักขณเถระถามความนั้นกะท่าน. ท่านกล่าวว่า

" ผู้มีอายุ ผมได้เห็นเปรตตนหนึ่ง, สรีระของมันประมาณ ๓ คาวุต,

สรีระนั้นคล้ายสรีระของมนุษย์ ส่วนศีรษะของมันเหมือนศีรษะของสุกร,

หางของมันเกิดที่ปาก, หมู่หนอนไหลออกจากปากนั้น, ผมคิดว่า ' เรา

ไม่เคยเห็นสัตว์มีรูปอย่างนี้ ' ครั้นเห็นเปรตนั้นแล้ว จึงได้ทำการยิ้มแย้ม

ให้ปรากฏ."

พระศาสดาตรัสรับรอง

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกสาวกของเรามีจักษุอยู่

หนอ " แล้วตรัสว่า " แม้เราก็ได้เห็นสัตว์นั่นที่ควงแห่งต้นโพธิ์เหมือน

กัน. แต่ไม่พูด ด้วยอนุเคราะห์แก่ชนเหล่าอื่นว่า ' ก็ชนเหล่าใดไม่พึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 111

เชื่อต่อเรา, ความไม่เชื่อนั้น พึงมีกรรมมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเหล่า

นั้น, บัดนี้เราได้โมคคัลลานะเป็นพยาน จึงกล่าว, โมคคัลลานะพูดจริง

ภิกษุทั้งหลาย."

ภิกษุทั้งหลายฟังเรื่องนี้แล้ว ทูลถามพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ก็บุรพกรรมของเปรตนั้นเป็นอย่างไร ?" พระศาสดาตรัสว่า

" ถ้าอย่างนั้น พวกเธอจงฟังเถิด ภิกษุทั้งหลาย" แล้วทรงนำอดีตนิทาน

มา ตรัสบุรพกรรมของเปรตนั้น (ดังต่อไปนี้) :-

บุรพกรรมของสูกรเปรต

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป พระเถระ

๒ รูปพร้อมเพรียงกันในอาวาสใกล้หมู่บ้านตำบลหนึ่ง. ในพระ ๒ รูปนั้น

รูปหนึ่งมีพรรษา ๖๐, รูปหนึ่งมีพรรษา ๕๙, รูปที่มีพรรษา ๕๙ นั้น

ถือบาตรและจีวรของพระเถระนอกนี้เที่ยวไป, ได้ทำวัตรปฏิบัติทุกอย่าง

เหมือนสามเณร. เมื่อพระเถระทั้งสองนั้นอยู่พร้อมเพรียงกัน ดุจพี่น้อง

ที่อยู่ในท้องมารดาเดียวกัน, พระธรรมกถึกรูปหนึ่งมาสู่ที่อยู่ (ของพระ-

เถระทั้งสอง) แล้ว ก็กาลนั้น เป็นวันธัมมัสสวนะ. พระเถระทั้งสอง

สงเคราะห์พระธรรมกถึกแล้วพูดว่า " ท่านสัตบุรุษ ขอท่านจงกล่าว

ธรรมกถาแก่พวกผมเถิด. " พระธรรมกถึกนั้น ก็กล่าวธรรมกถาแล้ว.

พระเถระทั้งสองมีจิตยินดีว่า " พวกเราได้พระธรรมกถึกแล้ว " รุ่งขึ้น

พาท่านเข้าไปบิณฑบาตยังบ้านใกล้เคียง ทำภัตกิจเสร็จในบ้านนั้นแล้ว

กล่าวว่า " ท่านผู้มีอายุ ขอท่านจงกล่าวธรรมกถาหน่อยหนึ่งจากที่ที่ได้พัก

ไว้ในวันวาน" แล้วนิมนต์ให้ท่านกล่าวธรรมแก่พวกมนุษย์. พวกมนุษย์

ฟังธรรมกถาแล้ว นิมนต์แม้เพื่อต้องการ (ให้ฉัน) ในวันรุ่งขึ้น. พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 112

เถระทั้งสองพาพระธรรมกถึกนั้นเที่ยวบิณฑบาต ในบ้านเป็นที่เที่ยวภิกษา

บ้านละสองวันโดยรอบ อย่างนี้. พระธรรมกถึกคิดว่า "พระเถระสอง

รูปนี้ เป็นผู้อ่อนโยนยิ่งนัก, การที่เราให้พระแม้ทั้งสองรูปนี้หนีไปเสีย

แล้วอยู่ในวัดนี้ควร." ในตอนเย็นท่านไปสู่ที่บำรุงของพระเถระในเวลาที่

ภิกษุทั้งสองลุกไปแล้ว กลับเข้าไปหาพระมหาเถระแล้วพูดว่า "ท่าน

ผู้เจริญ เรื่องบางอย่างที่ผมควรพูดมีอยู่," เมื่อพระมหาเถระกล่าวว่า

"จงพูดเถิด ผู้มีอายุ." คิดหน่อยหนึ่งแล้วพูดว่า "ท่านผู้เจริญ ขึ้น

ชื่อว่าการพูดมีโทษมาก" ไม่พูดอะไร แล้วหลีกไป. พระธรรมกถึกนั้น

ไปสู่สำนักแม้ของพระอนุเถระก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน. ในวันที่ ๒ ท่าน

ก็ทำอย่างนั้นเหมือนกัน, ในวันที่ ๓ เมื่อความรวนเรอย่างยิ่งเกิดแก่พระ-

เถระทั้งสองนั้นแล้ว, เข้าไปหาพระมหาเถระแล้วพูดว่า "ท่านผู้เจริญ

คำบางอย่างที่ผมควรจะพูดมีอยู่, แต่ผมไม่อาจพูดในสำนักของท่านได้."

ถูกพระเถระรบเร้าว่า "ไม่เป็นไร คุณ, จงพูดเถิด" จึงกล่าวว่า "ท่าน

ผู้เจริญ ก็ทำไม พระอนุเถระจึงไม่ถูกกับท่าน ?"

พระมหาเถระ. ท่านสัตบุรุษ ท่านพูดอะไรนั่น; ผมทั้งสองเป็น

เหมือนบุตรผู้อยู่ในท้องมารดาเดียวกัน, ในผมทั้งสองรูป รูปหนึ่งได้สิ่งของ

แล้ว รูปแม้นอกนี้ก็เป็นอันได้เหมือนกัน, โทษของพระเถระนั่น อันผม

เคยเห็น ย่อมไม่มี ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้.

พระธรรมกถึก. อย่างนั้นหรือ ? ท่านผู้เจริญ.

พระมหาเถระ. อย่างนั้น คุณ.

พระธรรมกถึก. ท่านผู้เจริญ พระอนุเถระพูดกะผมอย่างนี้ว่า ' ท่าน

สัตบุรุษ ท่านเป็นกุลบุตร, ท่านทำการคบหากับพระมหาเถระนั่น ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 113

ทำในใจว่า ' พระมหาเถระนี้ มีความละอาย มีศีลเป็นที่รัก, ควรพิจารณา

แล้วจึงทำ, ตั้งแต่วันที่ผมมาถึง พระอนุเถระนั่นพูดกะผมอย่างนี้.

พระมหาเถระพอได้ฟังคำนั้น ก็มีใจโกรธแค้น แตกแล้ว ดุจ

ภาชนะที่เขาทำด้วยดิน อันบุคคลตีด้วยไม้ฉะนั้น. พระธรรมกถึกแม้นอกนี้

ลุกไปสำนักของพระอนุเถระ แล้วได้พูดเหมือนอย่างนั้น. แม้พระอนุเถระ

ก็ได้แตกอย่างนั้นเหมือนกัน. ในพระเถระสองรูปนั้น แม้รูปหนึ่ง ชื่อว่า

เคยแยกกันเข้าไปบิณฑบาต ย่อมไม่มี ตลอดกาลเท่านี้ แม้ก็จริง, ถึง

ดังนั้น ในวันรุ่งขึ้น พระเถระทั้งสองได้แยกกันเข้าไปบิณฑบาต, พระ-

อนุเถระมาถึงก่อนแล้ว ได้ยืนอยู่ที่ศาลาเป็นที่บำรุง, พระมหาเถระได้มา

ถึงในภายหลัง. พระอนุเถระเห็นท่านแล้ว จึงคิดว่า "เราควรรับบาตร

และจีวรของพระเถระนี้หรือไม่หนอ ?" ท่านแม้คิดว่า "บัดนี้เราจักไม่

รับ" ดังนี้แล้ว ก็ยังทำจิตให้อ่อนได้ ด้วยทำในใจว่า "ช่างเถิด กรรม

เห็นปานนี้ อันเราไม่เคยทำ, การที่เรายังวัตรของตนให้เสียไปไม่สมควร"

ดังนี้แล้ว เข้าไปหาพระเถระ กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ท่านจงให้บาตรและ

จีวร." พระมหาเถระนอกนี้ ชี้นิ้วตวาดว่า "จงไป คนหัวดื้อ, คุณ

ไม่ควรจะรับบาตรและจีวรของฉัน," เมื่อพระอนุเถระนั้นกล่าวว่า "จริง

ละขอรับ, ถึงผมก็คิดแล้วว่า ' จักไม่รับบาตรและจีวรของท่าน," กล่าว

ว่า "ท่านผู้มีอายุผู้ใหม่ ทำไมท่านจึงคิดว่า ' ความเกี่ยวข้องอะไร ๆ ใน

วิหารนี้ของเรามีอยู่ ?". แม้พระอนุเถระนอกนี้ก็กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ

ก็ทำไมท่านจึงสำคัญอย่างนี้ว่า ' ความเกี่ยวข้องอะไร ๆ ในวิหารนี้ของเรา

มีอยู่ ? ' นี้เป็นวิหารของท่าน," แล้วถือบาตรและจีวรออกไป. ถึงพระ-

มหาเถระนอกนี้ก็ได้ออกไป ( เหมือนกัน ).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 114

พระเถระทั้งสองนั้น ไม่ไปแม้โดยหนทางเดียวกัน, รูปหนึ่งถือเอา

หนทางโดยประตูด้านปัจฉิมทิศ, รูปหนึ่งถือเอาโดยประตูด้านปุรัตถิมทิศ.

พระธรรมกถึกกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ อย่าทำอย่างนี้, อย่าทำอย่างนี้"

เมื่อพระเถระกล่าวว่า "จงหยุดเถิด คุณ," แล้วกลับ. ในวันรุ่งขึ้นพระ-

ธรรมกถึกนั้น เข้าไปบ้านใกล้เคียง, เมื่อพวกมนุษย์กล่าวว่า "ท่านผู้

เจริญทั้งสองไปไหน ? ขอรับ," กล่าวตอบว่า "คุณ อย่าถามเลย,

พระผู้เป็นเจ้าผู้เข้าถึงสกุลของพวกท่าน วานนี้ทำการทะเลาะกันแล้วออก

ไป, ฉันแม้ขอร้องอยู่ก็ไม่สามารถจะให้กลับได้." ในคนเหล่านั้น คนที่

โง่เขลาได้นิ่งเสีย, ส่วนคนที่ฉลาดคิดว่า "ชื่อว่าความพลั้งพลาดอะไร ๆ

ของผู้เจริญทั้งสอง เราทั้งหลายไม่เคยเห็นสิ้นกาลประมาณเพียงนี้, ภัยเมื่อ

เกิดขึ้นแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งสองนั้น คงเกิดขึ้นเพราะอาศัยพระธรรมกถึก

รูปนี้" แล้วได้เป็นผู้ถึงความเสียใจ. พระมหาเถระแม้เหล่านั้น ไม่ได้

ความสบายจิตในที่ไปแล้ว. พระมหาเถระคิดว่า "โอ ! กรรมของภิกษุ

ใหม่หนัก, (เพราะ) เธอได้พูดกะภิกษุผู้จรมา ที่ตนเห็นแล้วครู่เดียวว่า

' ท่านอย่าได้ทำการคบหากับพระมหาเถระ." ถึงพระอนุเถระนอกนี้ก็ได้

คิดว่า "โอ ! กรรมของพระมหาเถระหนัก (เพราะ) ท่านได้พูดกะ

ผู้จรมา อันตนเห็นแล้วเพียงครู่เดียวว่า ' อย่าได้คบหากับพระอนุเถระนี้."

การสาธยายและการทำไว้ในใจมิได้มีแล้วแก่พระเถระทั้งสองนั้น. โดย

ล่วงไป ๑๐๐ ปี พระเถระทั้งสองนั้นได้ไปสู่วิหารแห่งเดียวกันในปัจฉิม-

ทิศ. เสนาสนะอันเดียวกันนั่นแล ได้ถึงแก่พระเถระทั้งสองนั้น. เมื่อ

พระมหาเถระเข้าไปนั่งบนเตียงแล้ว, แม้พระอนุเถระนอกนี้ก็ได้เข้าไป.

พระมหาเถระพอเห็นพระอนุเถระนั้นก็จำได้ ไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 115

ไว้ได้. ถึงพระอนุเถระนอกนี้ ก็จำพระมหาเถระได้ มีนัยน์ตาอันเต็มแล้ว

ด้วยน้ำตา คิดว่า "เราจะพูดหรือไม่พูดหนอแล ?" แล้วคิดว่า "ข้อ

นั้นไม่ควรเชื่อ" แล้วไหว้พระเถระ กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ผมถือบาตรและจีวรของท่านได้เที่ยวไปตลอดกาลประมาณเพียงนี้, เออก็

มรรยาทอันไม่สมควรอะไร ๆ ในทวารทั้ง ๖ มีกายทวารเป็นต้นของผม

อันท่านเคยเห็นแล้วหรือ ?

พระมหาเถระ. ไม่เคยเห็น ผู้มีอายุ.

พระอนุเถระ. เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไมท่านจึงได้พูดกะพระธรรม-

กถึกว่า ' อย่าได้ทำการคบหากับพระอนุเถระนั่น ? '

พระมหาเถระ. ผู้มีอายุ ผมหาพูดอย่างนั้นไม่ นัยว่า ท่านพูด

อย่างนี้ ในระหว่างของเรา.

พระอนุเถระ. ท่านผู้เจริญ แม้ผมก็มิได้พูด.

ในขณะนั้น พระเถระทั้งสองนั้นก็ทราบได้ว่า "พระธรรมกถึก

นั้น จักใคร่ทำลายเราทั้งสอง จึงพูดอย่างนั้น" แล้วยังกันและกันให้

แสดงโทษแล้ว. พระเถระทั้งสองนั้น ไม่ได้ความสบายใจตลอด ๑๐๐ ปี

เป็นผู้พร้อมเพรียงกันในวันนั้น ชวนกันว่า "มาเถิด, เราจักคร่าพระ-

ธรรมกถึกนั้นออกจากวิหารนั้น" แล้วหลีกไป ได้ถึงวิหารนั้นโดยลำดับ.

แม้พระธรรมกถึกก็เห็นพระเถระทั้งสองแล้ว เข้าไปใกล้ เพื่อรับบาตร

และจีวร. พระเถระทั้งสองชี้นิ้วพูดว่า "ท่านไม่ควรจะอยู่ในวิหารนี้

(ต่อไป)." พระธรรมกถึกนั้นไม่อาจดำรงอยู่ได้ ออกหนีไปในทันใด

นั้นเอง. ครั้งนั้น สมณธรรมที่เธอบำเพ็ญแล้วสิ้นสองหมื่นปี มิได้อาจ

เพื่อจะทรงเธอไว้ได้. เธอเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในอเวจี ไหม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 116

อยู่สิ้นพุทธันดรหนึ่ง มีอัตภาพมีประการดังกล่าวแล้ว เสวยทุกข์อยู่ที่

ภูเขาคิชฌกูฏในบัดนี้.

พระศาสดาตรัสพระธรรมเทศนา

พระศาสดา ครั้นทรงนำบุรพกรรมนี้ ของสูกรเปรตนั้นมาแล้ว

ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าภิกษุ พึงเป็นผู้เข้าไปสงบด้วยกาย

เป็นต้น" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. วาจานุรกฺขี มนสา สุสวุโต

กาเยน จ อกุสล น กยิรา

เอเต ตโย กมฺมปเถ วิโสธเย

อาราธเย มคฺค อิสิปฺปเวทิต.

"บุคคลผู้มีปกติรักษาวาจา สำรวมดีแล้วด้วยใจ

และไม่ควรทำอกุศลด้วยกาย พึงยังกรรมบกทั้งสาม

เหล่านี้ให้หมดจด พึงยินดีทางที่ท่านผู้แสวงหาคุณ

ปราศแล้ว."

แก้อรรถ

ความแห่งพระคาถานั้นว่า " บุคคล ชื่อว่าผู้มีปกติตามรักษาวาจา

เพราะเว้นทุจริต ๔, ชื่อว่าสำรวมใจแล้วด้วยดี เพราะไม่ยังมโนทุจริตมี

อภิชฌาเป็นต้นให้เกิดขึ้น. และเมื่อสู่กายทุจริต มีปาณาติบาตเป็นต้น

ชื่อว่าไม่ควรทำอกุศลด้วยกาย, พึงยังกรรมบถ ๓ เหล่านั้น ให้หมดจด

ด้วยอาการอย่างนี้; ก็เมื่อให้หมดจดได้อย่างนั้น ชื่อว่าพึงยินดีมรรคมี

๑. วจีทุจริต ๔ คือ ๑. พูดเท็จ ๒. พูดคำหยาบ ๓. พูดส่อเสียด ๔. พูดเพ้อเจ้อ คือตัดเสียงซึ่ง

ประโยชน์ตนและคนอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 117

องค์ ๘ อันท่านผู้แสวงหาคุณทั้งหลา มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้แสวง

หาคุณคือศีลเป็นต้น ประกาศแล้ว.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องสูกรเปรต จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 118

๕. เรื่องพระโปฐิลเถระ [๒๐๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ

นามว่าโปฐิละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยคา เว " เป็นต้น.

รู้มากแต่เอาตัวไม่รอด

ดังได้สดับมา พระโปฐิละนั้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎกในศาสนาของ

พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดา

ทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ ย่อมไม่มีแม้ความคิดว่า ' เราจักทำการสลัดออก

จากทุกข์แก่ตน; เราจักยังเธอให้สังเวช."

จำเดิมแต่นั้นมา พระองค์ย่อมตรัสกะพระเถระนั้น ในเวลาที่พระ-

เถระมาสู่ที่บำรุงของพระองค์ว่า " มาเถิด คุณใบลานเปล่า, นั่งเถิด คุณ

ใบลานเปล่า, ไปเถิด คุณใบลานเปล่า, แม้ในเวลาที่พระเถระลุกไป ก็

ตรัสว่า " คุณใบลานเปล่า ไปแล้ว." พระโปฐิละนั้นคิดว่า " เราย่อม

ทรงไว้ซึ่งพระไตรปิฎกพร้อมทั้งอรรถกถา, บอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป

ถึง ๑๘ คณะใหญ่, ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดายังตรัสเรียกเราเนือง ๆ

ว่า ' คุณใบลานเปล่า ' พระศาสดาตรัสเรียกเราอย่างนี้ เพราะความไม่มี

คุณวิเศษ มีฌานเป็นต้นแน่แท้." ท่านมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว จึงคิดว่า

" บัดนี้ เราจักเข้าไปสู่ป่าแล้วทำสมณธรรม" จัดแจงบาตรและจีวรเอง

ทีเดียว ได้ออกไปพร้อมด้วยภิกษุผู้เรียนธรรม แล้วออกไปภายหลังภิกษุ

ทั้งหมดในเวลาใกล้รุ่ง. พวกภิกษุนั่งสาธยายอยู่ในบริเวณ ไม่ได้กำหนด

ท่านว่า " อาจารย์." พระเถระไปสิ้นสองพันโยชน์แล้ว, เข้าไปหาภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 119

๓๐ รูป ผู้อยู่ในอาวาสราวป่าแห่งหนึ่ง ไหว้พระสังฆเถระแล้ว กล่าวว่า

" ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของกระผม."

พระสังฆเถระ. " ผู้มีอายุ ท่านเป็นพระธรรมกถึก, สิ่งอะไรชื่อว่า

อันพวกเราพึงทราบได้ ก็เพราะอาศัยท่าน, เหตุไฉนท่านจึงพูดอย่างนี้ ?

พระโปฐิละ. ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอย่าทำอย่างนี้, ขอท่านจง

เป็นที่พึ่งของกระผม.

วิธีขจัดมานะของพระโปฐิละ

ก็พระเถระเหล่านั้นทั้งหมด ล้วนเป็นพระขีณาสพทั้งนั้น. ลำดับนั้น

พระมหาเถระ ส่งพระโปฐิละนั้นไปสู่สำนักพระอนุเถระ ด้วยคิดว่า

" ภิกษุนี้มีมานะ เพราะอาศัยการเรียนแท้." แม้พระอนุเถระนั้นก็กล่าว

กะพระโปฐิละนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. ถึงพระเถระทั้งหมด เมื่อส่ง

ท่านไปโดยทำนองนี้ ก็ส่งไปสู่สำนักของสามเณรผู้มีอายุ ๗ ขวบ ผู้ใหม่

กว่าสามเณรทั้งหมด ซึ่งนั่งทำกรรมคือการเย็บผ้าอยู่ในที่พักกลางวัน.

พระเถระทั้งหลายนำมานะของท่านออกได้ ด้วยอุบายอย่างนี้.

พระโปฐิละหมดมานะ

พระโปฐิละนั้น มีมานะอันพระเถระทั้งหลายนำออกแล้ว จึง

ประคองอัญชลีในสำนักของสามเณรแล้วกล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ ขอท่าน

จงเป็นที่พึ่งของผม."

สามเณร. ตายจริง ท่านอาจารย์ ท่านพูดอะไรนั่น, ท่านเป็น

คนแก่ เป็นพหูสูต, เหตุอะไร ๆ พึงเป็นกิจอันผมควรรู้ในสำนักของท่าน

พระโปฐิละ. ท่านสัตบุรุษ ท่านอย่าทำอย่างนี้, ขอท่านจงเป็น

ที่พึ่งของผมให้ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 120

สามเณร. ท่านขอรับ หากท่านจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้ไซร้,

ผมจักเป็นที่พึ่งของท่าน.

พระโปฐิละ. ผมเป็นได้ ท่านสัตบุรุษ, เมื่อท่านกล่าวว่า ' จงเข้า

ไปสู่ไฟ,' ผมจักเข้าไปแม้สู่ไฟได้ทีเดียว.

พระโปฐิละปฏิบัติตามคำสั่งสอนของสามเณร

ลำดับนั้น สามเณรจึงแสดงสระ ๆ หนึ่งในที่ไม่ไกล แล้วกล่าวกะ

ท่านว่า " ท่านขอรับ ท่านนุ่งห่มตามเดิมนั่นแหละ จงลงไปสู่สระนี้."

จริงอยู่ สามเณรนั้น แม้รู้ความที่จีวรสองชั้นซึ่งมีราคามาก อันพระเถระ

นั้นนุ่งห่มแล้ว เมื่อจะทดลองว่า " พระเถระจักเป็นผู้อดทนต่อโอวาทได้

หรือไม่" จึงกล่าวอย่างนั้น. แม้พระเถระก็ลงไปด้วยคำ ๆ เดียวเท่านั้น.

ลำดับนั้น ในเวลาที่ชายจีวรเปียก สามเณรจึงกล่าวกะท่านว่า " มาเถิด

ท่านขอรับ" แล้วกล่าวกะท่านผู้มายืนอยู่ด้วยคำๆ เดียวเท่านั้นว่า " ท่าน

ผู้เจริญ ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง มีช่องอยู่ ๖ ช่อง, ในช่องเหล่านั้น เหี้ย

เข้าไปภายในโดยช่อง ๆ หนึ่ง บุคคลประสงค์จะจับมัน จึงอุดช่องทั้ง ๕

นอกนี้ ทำลายช่องที่ ๖ แล้ว จึงจับเอาโดยช่องที่มันเข้าไปนั่นเอง; บรรดา

ทวารทั้งหก แม้ท่านจงปิดทวารทั้ง ๕ อย่างนั้นแล้ว จงเริ่มตั้งกรรมนี้ไว้

ในมโนทวาร." ด้วยนัยมีประมาณเท่านี้ ความแจ่มแจ้งได้มีแก่ภิกษุผู้

เป็นพหูสูต ดุจการลุกโพลงขึ้นแห่งดวงประทีปฉะนั้น. พระโปฐิละนั้น

กล่าวว่า " ท่านสัตบุรุษ คำมีประมาณเท่านี้แหละพอละ" แล้วจึงหยั่งลง

ในกรชกาย ปรารภสมณะธรรม.

๑. คำว่า กรรม ในที่นี้ ได้แก่ บริกรรม หรือกัมมัฏฐาน. ๒. แปลว่า ในกายบังเกิดด้วยธุลี

มีในสรีระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 121

ทางเจริญและทางเสื่อมแห่งปัญญา

พระศาสดาประทับนั่งในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์เทียว ทอด

พระเนตรดูภิกษุนั้นแล้วดำริว่า " ภิกษุนั้นเป็นผู้มีปัญญา (กว้างขวาง)

ดุจแผ่นดิน ด้วยประการใดแล; การที่เธอตั้งตนไว้ด้วยประการนั้นนั่นแล

ย่อมสมควร." แล้วทรงเปล่งพระรัศมีไป ประหนึ่งตรัสอยู่กับภิกษุนั้น

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๕. โยคา เว ชายตี ภูริ อโยคา ภูริสงฺขโย

เอต เทฺวธา ปถ ญตฺวา ภวาย วิภวาย จ

ตถตฺตาน นิเวเสยฺย ยถา ภูริ ปวฑฺฒติ.

"ปัญญาย่อมเกิดเพราะการประกอบแล, ความ

สิ้นไปแห่งปัญญาเพราะการไม่ประกอบ, บัณฑิตรู้

ทาง ๒ แพร่ง แห่งความเจริญและความเสื่อมนั่น

แล้ว พึงตั้งตนไว้โดยประการที่ปัญญาจะเจริญขึ้น

ได้."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยคา ความว่า เพราะการกระทำไว้

ในใจโดยอุบายอันแยบคายในอารมณ์ ๓๘.

คำว่า ' ภูริ ' นั่น เป็นชื่อแห่งปัญญาอันกว้างขวาง เสมอด้วย

แผ่นดิน. ความพินาศ ชื่อว่า ความสิ้นไป.

สองบทว่า เอต เทวฺธา ปถ คือ ซึ่งการประกอบและการไม่

ประกอบนั่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 122

บาทพระคาถาว่า ภวาย วิภวาย จ คือ แห่งความเจริญและ

ความไม่เจริญ.

บทว่า ตถตฺตาน ความว่า บัณฑิตพึงตั้งตนไว้ โดยประการที่

ปัญญากล่าวคือภูรินี้จะเจริญขึ้นได้.

ในกาลจบพระคาถา พระโปฐิลเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้. .

เรื่องพระโปฐิลเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 123

๖. เรื่องพระเถระแก่ [๒๐๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุแก่

หลายรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " วน ฉินฺทถ " เป็นต้น.

พวกกุฏุมพีละฆราวาสออกบวช

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นในเวลาเป็นคฤหัสถ์เป็นกุฎุมพี เป็นผู้

มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก ในกรุงสาวัตถี เป็นสหายกันและกัน ทำบุญร่วมกัน

ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว คิดว่า " พวกเราเป็นคนแก่,

ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ครองเรือนของพวกเรา" ดังนี้แล้ว ทูลขอ

บรรพชากะพระศาสดา บวชแล้ว, แต่เพราะความเป็นคนแก่ ไม่สามารถ

เล่าเรียนธรรมได้ จึงให้คนสร้างบรรณศาลาไว้ในที่สุดวิหาร แล้วอยู่รวม

กัน, แม้เมื่อเที่ยวไปบิณฑบาต โดยมากก็ไปเรือนของบุตรและภรรยา

นั่นแหละแล้วฉัน.

พวกภิกษุแก่ร้องไห้รำพันถึงอุบาสิกา

ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งมีภรรยาเก่าชื่อว่านางมธุรปาณิกา.

นางได้มีอุปการะแก่ภิกษุเหล่านั้นแม้ทุกรูป; เพราะฉะนั้น ภิกษุแม้ทุกรูป

ถืออาหารที่ตนได้แล้ว ไปนั่งฉันที่เรือนของนางนั่นแหละ. ฝ่ายนางก็ถวาย

แกงและกับแก่ภิกษุเหล่านั้น ตามที่ตนจัดไว้.

นางอันอาพาธชนิดใดชนิดหนึ่งถูกต้องแล้ว ได้ทำกาละแล้ว. ลำดับ

นั้น พระเถระแก่เหล่านั้นประชุมกันในบรรณศาลาของพระเถระผู้สหาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 124

กอดคอกันและกันร้องไห้รำพันอยู่ว่า " อุบาสิกาผู้มีรสมืออันอร่อยทำกาละ

เสียแล้ว." และอันภิกษุทั้งหลายวิ่งเข้าไปโดยรอบ แล้วถามว่า " นี่เรื่อง

อะไรกัน ? ท่าน " จึงกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ภรรยาเก่าของสหายของ

พวกผมทำกาละเสียแล้ว, นางเป็นผู้มีอุปการะแก่พวกผมเหลือเกิน, บัดนี้

พวกผมจักได้ผู้เห็นปานนั้นแต่ไหน, พวกผมร้องไห้เพราะเหตุนี้."

พระศาสดาตรัสกากชาดกแก่ภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมแล้ว. พระศาสดาเสด็จมาแล้ว

ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?

ในบัดนี้ " เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยเรื่องชื่อนี้ " จึงตรัสว่า

" ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาลก่อน เมื่อนางมธุร-

ปาณิกานั้นเกิดในกำเนิดกา เที่ยวไปริมฝั่งสมุทร ถูกลูกคลื่นสมุทร (ซัด)

เข้าไปสู่สมุทรให้ตายแล้ว ภิกษุเหล่านั้น (เกิด) เป็นกา ร้องไห้ร่ำไรแล้ว,

คิดว่า ' พวกเราจักนำนางกานั้นไป,' จึงพากันวิดมหาสมุทรด้วยจะงอยปาก

ลำบากแล้ว." ทรงนำอดีตนิทานมาแล้ว ตรัสกาก๑ ชาดกให้พิสดารว่า :-

" เออก็ คางของพวกเราล้าแล้ว, และปากซีด,

พวกเราจงงดเสียเถิด พวกเรา (วิดต่อไปก็) ไม่

สำเร็จ, เพราะห้วงน้ำใหญ่ยังเต็มอยู่อย่างเดิม."

แล้วตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นมา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

อาศัยป่า คือราคะ โทสะ และโมหะ จึงถึงทุกข์นี้, การที่พวกเธอตัดป่า

นั้นเสีย ควร, พวกเธอจักเป็นผู้หมดทุกข์ได้ด้วยอาการอย่างนั้น" แล้ว

ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๒ อรรถกถา. ๒/๕๓๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 125

๖. วน ฉินฺทถ มา รุกข วนโต ชายตี ภย

เฉตฺวา วนญฺจ วนกญฺจ นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว.

ยาว หิ วนโถ น ฉิชฺชติ

อณุมตฺโตปิ นรสฺส นาริสุ

ปฏิพทฺธมโน ว ตาว โส

วจฺโฉ ขีรปโกว มาตริ.

" ท่านทั้งหลายจงตัดกิเลสดุจป่า อย่าตัดต้นไม้,

ภัยย่อมเกิดแต่กิเลสดุจป่า, ภิกษุทั้งหลาย ท่าน

ทั้งหลาย จงตัดกิเลสดุจป่า และดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ใน

ป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสดุจป่าเถิด; เพราะกิเลสดุจ

หมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า ถึงมีประมาณนิดหน่อยของนรชน

ยังไม่ขาดในนารีทั้งหลายเพียงใด, เขาเป็นเหมือน

ลูกโคที่ยังดื่มน้ำนม มีใจปฏิพัทธ์ในมารดาเพียง

นั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มา รุกฺข ความว่า ก็เมื่อพระศาสดา

ตรัสว่า " ท่านทั้งหลายจงตัดป่า,' ภิกษุเหล่านั้นผู้บวชยังไม่นาน ความ

คิดในความเป็นผู้ใคร่เพื่อตัดต้นไม้จะเกิดขึ้นว่า " พระศาสดาย่อมให้พวก

เราถือมีดเป็นต้นตัดป่า;" เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงห้าม

ภิกษุเหล่านั้นว่า " เราพูดคำนั่น หมายเอาป่าคือกิเลสมีราคะเป็นต้น

(ต่างหาก ) มิได้พูดหมายเอาต้นไม้" จึงตรัสว่า "อย่าตัดต้นไม้."

บทว่า วนโต ความว่า ภัยแต่สัตว์ร้ายมีสีหะเป็นต้น ย่อมเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 126

จากป่าตามปกติ ฉันใด; แม้ภัยมีชาติเป็นต้น ย่อมเกิดจากป่าคือกิเลส

ฉันนั้น.

ในสองบทว่า วน วนฏฺญฺจ นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ต้นไม้ใหญ่

ชื่อว่าป่า, ต้นไม้เล็กที่ตั้งอยู่ในป่านั้น ชื่อว่าหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า อีกอย่าง

หนึ่ง ต้นไม้ที่เกิดก่อนชื่อว่าป่า ที่เกิดต่อ ๆ กันมา ชื่อว่าหมู่ไม้ตั้งอยู่

ในป่า (ฉันใด); กิเลสใหญ่ ๆ อันคร่าสัตว์ไว้ในภพ ชื่อว่ากิเลสดุจป่า,

กิเลสที่ให้ผลในปัจจุบัน ชื่อว่ากิเลสดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า; อีกอย่างหนึ่ง

กิเลสที่เกิดก่อน ชื่อว่ากิเลสดุจป่า ที่เกิดต่อ ๆ มา ชื่อว่ากิเลสดุจหมู่ไม้

ตั้งอยู่ในป่าฉันนั้นเหมือนกัน . ก็กิเลสชาตแม้ทั้งสองอย่างนั้น อันพระโยคี

พึงตัดด้วยญาณที่สัมปยุตด้วยมรรคที่ ๔, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า " จงตัดกิเลสดุจป่า และดุจหมู่ไม้ตั้งอยู่ในป่า."

สองบทว่า นิพฺพนา โหถ แปลว่า ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่มี

กิเลสเถิด.

สองบทว่า ยาวญฺหิ วนฏฺโฑ ความว่า หมู่ไม้ที่ตั้งอยู่ในป่า คือ

กิเลสนั่น ถึงมีประมาณนิดหน่อยของนรชน ยังไม่ขาดในนารีทั้งหลาย

เพียงใด, เขาก็เป็นเหมือนลูกโคตัวยังดื่มน้ำนม มีใจปฏิพัทธ์ คือมีจิต

ข้องในมารดาเพียงนั้น.

ในเวลาจบทศนา พระเถระแก่เหล่านั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว,

เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระเถระแก่ จบ.

๑. บาลีเป็น วนถญฺจ. ๒. ยาว หิ วนโถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 127

๙. เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ [๒๑๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัทธิวิหาริก

ของพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อุจฺฉินฺท " เป็นต้น.

มาณพบวชแล้วได้กัมมัฏฐานไม่ถูกอัธยาศัย

ได้ยินว่า บุตรของนายช่างทองคนหนึ่งมีรูปสวย บวชในสำนักของ

พระเถระแล้ว. พระเถระดำริว่า " พวกคนหนุ่ม มีราคะหนา" แล้วได้

ให้อสุภกัมมัฏฐานแก่ท่าน เพื่อกำจัดราคะ. แต่กัมมัฏฐานนั้นไม่เป็นที่สบาย

สำหรับท่าน; เพราะเหตุนั้น ท่านเข้าไปสู่ป่าแล้ว พยายามอยู่สิ้น ๓ เดือน

ไม่ได้แม้ซึ่งคุณมาตรว่าความเป็นผู้มีจิตแน่แน่วแล้ว จึงมาสู่สำนักของ

พระเถระอีก, เมื่อพระเถระกล่าวว่า " ท่าน กัมมัฏฐานมาปรากฏแก่ท่าน

แล้วหรือ ?" จึงบอกความเป็นไปนั้น. ครั้งนั้น พระเถระกล่าว (กะท่าน)

ว่า "การถึงการปลงใจว่า ' กัมมัฏฐานไม่สำเร็จ,' ดังนี้ ย่อมไม่สมควร"

แล้วบอกกัมมัฏฐานนั้นแหละให้ดีขึ้นอีก แล้วได้ให้แก่ท่าน. แม้ในวาระ

ที่ ๒ ท่านก็ไม่อาจยังคุณวิเศษอะไร ๆ ให้เกิดขึ้นได้ จึง (กลับ) มาบอก

แก่พระเถระ. แม้พระเถระบอกกัมมัฏฐานนั้นเอง ทำให้มีเหตุมีอุปมา.

ท่านก็มาบอกความที่กัมมัฏฐานไม่สำเร็จแม้อีก. พระเถระคิดว่า " ภิกษุ

ผู้ทำ (ความเพียร) ย่อมทราบนิวรณธรรม มีความพอใจในกามเป็นต้น

ซึ่งมีอยู่ในตนว่า ' มีอยู่ ' และที่ไม่มีว่า ' ไม่มี; ' ก็ภิกษุแม้นี้ เป็นผู้ทำ

(ความเพียร) มิใช่เป็นผู้ไม่ทำ, เป็นผู้ปฏิบัติ มิใช่เป็นผู้ไม่ปฏิบัติ; แต่

เราไม่รู้อัธยาศัยของภิกษุนั่น, ภิกษุนั่นจักเป็นผู้อันพระพุทธเจ้าพึงแนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 128

นำ " จึงพาท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาเย็น แล้วกราบทูลความเป็น

ไปนั้นทั้งหมดว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนี้เป็นสัทธิวิหาริกของ

ข้าพระองค์, ข้าพระองค์ให้กัมมัฏฐานชื่อนี้แก่ภิกษุนี้ ด้วยเหตุนี้."

พระศาสดาประทานกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่ภิกษุนั้น

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า " ชื่อว่าอาสยานุสยญาณ

นั่น ย่อมมีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้บำเพ็ญบารมีแล้ว ยังหมื่นโลกธาตุ

ให้บันลือแล้ว ถึงความเป็นพระสัพพัญญูนั่นแล" แล้วทรงรำพึงอยู่ว่า

" ภิกษุนี้บวชจากสกุลไหนหนอแล ?" ทรงทราบว่า " จากสกุลช่างทอง,

ทรงพิจารณาอัตภาพที่ล่วงมาแล้ว ทรงเห็นอัตภาพ ๕๐๐ ของภิกษุนั้น

อันเกิดโดยลำดับเฉพาะในสกุลช่างทอง แล้วทรงดำริว่า " ภิกษุหนุ่มนี้

ทำหน้าที่ช่างทองอยู่ตลอดกาลนาน หลอมแต่ทองมีสีสุกอย่างเดียว ด้วย

คิดว่า ' เราจักทำให้เป็นดอกกรรณิการ์และดอกปทุมเป็นต้น. อสุภปฏิกูล

กัมมัฏฐานไม่เหมาะแก่ภิกษุหนุ่มนี้, กัมมัฏฐานที่พอใจเท่านั้น จึงจะเป็น

กัมมัฏฐานที่สบายแก่เธอ" จึงตรัสว่า " สารีบุตร เธอจักเห็นภิกษุที่เธอ

ให้กัมมัฏฐาน ลำบากแล้วตลอด ๔ เดือน บรรลุพระอรหัตในภายหลังภัต

ในวันนี้นั่นแหละ เธอไปเถิด" ดังนี้แล้ว ทรงส่งพระเถระไป ทรง

นิรมิตดอกปทุมทอง ประมาณเท่าจักรด้วยพระฤทธิ์ แล้วทรงทำให้

เป็นเหมือนหลั่งหยาดน้ำจากใบและก้าน แล้วได้ประทานให้ด้วยพระดำรัส

ว่า " เอาเถิด ภิกษุ เธอจงถือเอาดอกปทุมนี้ไปวางไว้ที่กองทรายที่ท้าย

วิหาร นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า แล้วทำบริกรรมว่า 'โลหิตก โลหิตก '

(สีแดง สีแดง). เมื่อภิกษุนั้นรับดอกปทุมจากพระหัตถ์ของพระศาสดาเท่า

นั้น, จิตก็เลื่อมใสแล้ว, ท่านไปยังท้ายวิหารพูนทรายขึ้นแล้ว เสียบก้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 129

ดอกปทุมที่กองทรายนั่นแล้ว นั่งขัดสมาธิในที่ตรงหน้า เริ่มบริกรรมว่า

" โลหิตก โลหิตก."

ภิกษุนั้นสำเร็จคุณวิเศษ

ครั้งนั้น นิวรณ์ทั้งหลายของท่านระงับแล้วในขณะนั้นนั่นเอง อุป-

จารฌานเกิดแล้ว. ท่านยังปฐมฌานให้เกิดขึ้น ในลำดับแห่งอุปจารฌาน

นั้น ให้ถึงความเป็นผู้ชำนาญโดยอาการ ๕ นั่งอยู่ตามเดิมเทียว บรรลุ

ฌานทั้งหลายมีทุติยฌานเป็นต้นแล้ว นั่งเล่นฌานในจตุตถฌานที่ชำนาญ

อยู่.

พระศาสดา ทรงทราบว่าฌานทั้งหลายเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้นแล้ว ทรง

พิจารณาดูว่า " ภิกษุนี่จักอาจเพื่อยังคุณวิเศษอันยิ่งให้เกิดขึ้นตามธรรมดา

ของตนหรือหนอ ?" ทรงทราบว่า ' จักไม่อาจ ' แล้วทรงอธิษฐานว่า

" ขอดอกปทุมนั้นจงเหี่ยวแห้งไป" ดอกปทุมนั้นได้เหี่ยวแห้งมีสีดำ เหมือน

ดอกปทุมที่ถูกขยี้ด้วยมือฉะนั้น. ภิกษุนั้นออกจากฌานแล้ว แลดูดอกปทุม

นั้น เห็นอนิจจลักษณะว่า " ทำไมหนอแล ดอกปทุมนี้ถูกชรากระทบ

แล้วจึงปรากฏได้, แม้เมื่ออนุปาทินนกสังขารอันชรายังครอบงำได้อย่างนี้,

ในอุปาทินนกสังขารก็ไม่จำต้องพูดถึง, อันชราคงจักครอบงำอุปาทินนก-

สังขารแม้นี้." ก็ครั้นอนิจจลักษณะนั้น อันท่านเห็นแล้ว, ทุกขลักษณะและ

อนัตตลักษณะก็ย่อมเป็นอันเห็นแล้วเหมือนกัน. ภพ ๓ ปรากฏแล้วแก่

ท่านดุจไฟติดทั่วแล้ว และดุจซากศพอันบุคคลผูกไว้ที่คอ.

ในขณะนั้น พวกเด็กลงสู่สระแห่งหนึ่ง ในที่ไม่ไกลภิกษุนั้น เด็ด

๑. อาการ ๕ คือ อาวัชชนะ การนึก, สมาปัชชนะ การเข้า, วุฏฐานะ การออก, อธิฏฐานะ

การตั้งใจปรารถนา, ปัจจเวกขณะ การพิจารณา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 130

ดอกโกมุททั้งหลายแล้ว ทำให้เป็นกองไว้บนบก. ภิกษุนั้นแลดูดอกโกมุท

ทั้งหลายบนบกและในน้ำ. ลำดับนั้น ดอกโกมุทในน้ำงดงาม ปรากฏ

แก่เธอประดุจหลั่งน้ำออกอยู่, ดอกโกมุทนอกนี้เหี่ยวแห้งแล้วที่ปลาย ๆ.

ภิกษุนั้นเห็นอนิจจลักษณะเป็นต้นดีขึ้นว่า " ชราย่อมกระทบอนุปาทินนก-

สังขารอย่างนี้, ทำไมจึงจักไม่กระทบอุปาทินนกสังขารเล่า ?"

จงตัดความเยื่อใย เจริญทางสงบ

พระศาสดาทรงทราบว่า " บัดนี้ กัมมัฏฐานปรากฏแก่ภิกษุนี้แล้ว,

ประทับนั่งในพระคันธกุฏิเทียว ทรงเปล่งพระรัศมีไป. พระรัศมีนั้น

กระทบหน้าภิกษุนั้น, ครั้นเมื่อท่านพิจารณาอยู่ว่า " นั่นอะไรหนอ ?"

พระศาสดาได้เป็นประหนึ่งว่าเสด็จมาประทับยืนอยู่ที่ตรงหน้า. ท่านลุกขึ้น

แล้วประคองอัญชลี. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงกำหนดธรรมเป็นที่สบาย

ของเธอแล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๗. อุจฺฉินฺท สิเนหมตฺตโน

กุมุท สารทิกว ปาณินา

สนฺติมคฺคเม พฺรูหย

นิพฺพาน สุคเตน เทสิต.

" เธอจงตัดความเยื่อใยของตนเสีย เหมือน

บุคคลถอนดอกโกมุท ทีเกิดในสรทกาลด้วยมือ, จง

เจริญทางแห่งสันติทีเดียว, (เพราะ) พระนิพพาน

อันพระสุคตแสดงแล้ว."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 131

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุจฺฉินฺท คือ จงตัดด้วยอรหัตมรรค.

บทว่า สารทิก ได้แก่ ที่เกิดแล้วในสรทกาล.

บทว่า สนฺติมคฺค คือ ซึ่งทางอันมีองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงพระ-

นิพพาน. บทว่า พฺรูหย คือ จงเจริญ. บทว่า นิพฺพาน ความว่า เพราะ

พระนิพพานอันพระสุคตทรงแสดงแล้ว; เพราะฉะนั้น ท่านจงเจริญทาง

แห่งพระนิพพานนั้น.

ในเวลาจบเทศนา ภิกษุนั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 132

๘. เรื่องพ่อค้ามีทรัพย์มาก [๒๑๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพ่อค้ามีทรัพย์

มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อิธ วสฺส " เป็นต้น.

พ่อค้าไม่ทราบความตายที่จะมาถึงตน

ดังได้สดับมา พ่อค้านั้นบรรทุกผ้าซึ่งย้อมด้วยดอกคำ จนเต็มเกวียน

๕๐๐ เล่ม จากกรุงพาราณสีแล้ว มาสู่กรุงสาวัตถีเพื่อค้าขาย. เขาถึงฝั่ง

แม่น้ำแล้ว คิดว่า " พรุ่งนี้เราจึงจักข้ามแม่น้ำ" ปลดเกวียนแล้วพักอยู่ที่

ฝั่งนั้นนั่นแล. ตอนกลางคืน มหาเมฆตั้งขึ้นแล้วยังฝนให้ตก. แม่น้ำเต็ม

ด้วยน้ำได้ทรงอยู่ตลอด ๗ วัน. ถึงในพระนคร พวกชนก็เล่นนักษัตรกัน

ตลอด ๗ วัน. กิจด้วยผ้าซึ่งย้อมด้วยดอกคำไม่มี. พ่อค้าจึงคิดว่า " เรา

มาสู่ที่ไกล, ถ้าเราจักไปอีก, ความเนิ่นช้าก็จักมี, เราจักอยู่ทำการงาน

ของเราในที่นี้แหละ ตลอดฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน แล้วขายผ้า

เหล่านี้."

พระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในพระนคร ทรงทราบจิต

(ความคิด) ของเขาแล้ว ทรงทำความยิ้มแย้มให้ปรากฏ, พระอานนทเถระ

ทูลถามเหตุแห่งการทรงยิ้มแย้ม จึงตรัสว่า " อานนท์ เธอเห็นพ่อค้ามีทรัพย์

มากหรือ ?"

อานนท์. เห็น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เขาไม่รู้อันตรายแห่งชีวิตของตน จึงได้ตั้งจิตเพื่ออยู่

ขายสิ่งของในที่นี้แหละตลอดปีนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 133

อานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อันตรายจักมีแก่เขาหรือ ?

พระศาสดาตรัสว่า " เออ อานนท์ เขาเป็นอยู่ได้ตลอด ๗ วัน

เท่านั้น ก็จักตั้งอยู่ในปากแห่งมัจจุ (ตาย) " ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิต

พระคาถาเหล่านี้ว่า :-

" ความเพียรเครื่องเผากิเลส ควรทำในวันนี้

ทีเดียว, ใครพึงรู้ได้ว่า ' ความตายจะมีในวันพรุ่งนี้,'

เพราะว่า ความผัดเพี้ยนด้วยความตาย ซึ่งมีเสนา

ใหญ่นั้น ไม่มีเลย.' มุนี้ผู้สงบ ย่อมเรียกบุคคลผู้มี

ปกติอยู่อย่างนั้น มีความเพียร ไม่เกียจคร้าน ตลอด

กลางวันและกลางคืน นั้นแลว่า ' ผู้มีราตรีเดียว

เจริญ."

อานนท์. ข้าพระองค์จักไปบอกแก่เขา พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อานนท์ เธอคุ้นเคยกัน ก็ไปเถิด.

พระเถระไปสู่ที่แห่งเกวียนแล้วเที่ยวไปเพื่อภิกษา. พ่อค้าต้อนรับ

พระเถระด้วยอาหาร. ลำดับนั้น พระเถระจึงกล่าวกะพ่อค้านั้นว่า " ท่าน

จักอยู่ในที่นี้ ตลอดกาลเท่าไร ? "

พ่อค้า. ท่านผู้เจริญ ผมมาแต่ที่ไกล, ถ้าจักไปอีก, ความเนิ่นช้า

จักมี; ผมจักอยู่ในที่นี้ตลอดปีนี้ ขายสิ่งของ (หมด) แล้วจักไป.

อานนท์. อุบาสก อันตรายแห่งชีวิตรู้ได้ยาก, การทำความไม่

ประมาท จึงจะควร.

๑. ม. อุปริ. ๑๔/๓๔๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 134

พ่อค้า. ท่านผู้เจริญ ก็อันตรายจักมีหรือ ?

อานนท์. เออ อุบาสก, ชีวิตของท่านจักเป็นไปได้ตลอด ๗ วัน

เท่านั้น.

เขาเป็นผู้มีใจสังเวชแล้ว นิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข ถวายมหาทานตลอด ๗ วัน แล้วรับมาตรเพื่อประโยชน์แก่การ

อนุโมทนา.

คนเขลาย่อมไม่รู้อันตรายแห่งชีวิต

ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนาแก่เขา ตรัสว่า

" อุบาสก ธรรมดาบัณฑิตคิดว่า ' เราจักอยู่ในที่นี้นี่แหละตลอดฤดูฝน

เป็นต้น, จักประกอบการงานชนิดนี้ ๆ' ย่อมไม่ควร, ควรคิดถึงอันตราย

แห่งชีวิตของตนเท่านั้น" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๘. อิธ วสฺส วสิสิสามิ อิธ เหมนฺตคิมฺหิสุ

อิติ พาโล วิจินฺเตติ อนฺตราย น พุชฺฌติ.

" คนพาลย่อมคิดว่า ' เราจักอยู่ในที่นี้ตลอดฤดู

ฝน, จักอยู่ในที่นี้ ในฤดูหนาวและฤดูร้อน ' หารู้

อันตรายไม่."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ วสฺส ความว่า เราจักอยู่ทำการ

งานชนิดนี้ ๆ ในที่นี้ ตลอดฤดูฝน ๔ เดือน.

บทว่า เหมนฺตคิมฺหิสุ ความว่า คนพาลผู้ไม่รู้ประโยชน์อันเป็นไป

ในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพ ย่อมคิดอย่างนี้ว่า " เราจักอยู่ทำการงาน

ชนิดนี้ ๆในที่นี้นี่แหละ ตลอด ๔ เดือน แม้ในฤดูหนาวและฤดูร้อน."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 135

บทว่า อนฺตราย ความว่า ย่อมไม่รู้จักอันตรายแห่งชีวิตของตนว่า

"เราจักตายในกาล ในประเทศ หรือในวัยชื่อโน้น."

ในกาลจบเทศนา พ่อค้านั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนา

ได้มีประโยชน์ แม้แก่บุคคลที่ประชุมกันแล้ว. ฝ่ายพ่อค้าตามส่งเสด็จ

พระศาสดาแล้ว กลับมานอนบนที่นอน ด้วยคิดว่า " ดูเหมือนโรคใน

ศีรษะจะเกิดขึ้นแก่เรา," นอนแล้วด้วยอาการนั้นแหละ. ทำกาละแล้ว

บังเกิดในดุสิตวิมาน ดังนี้แล.

เรื่องพ่อค้ามีทรัพย์มาก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 136

๙. เรื่องนางกิสาโคตมี [๒๑๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางกิสาโคตมี

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ต ปุตฺตปสุสมฺมตฺต " เป็นต้น.

ความตายเป็นของเที่ยง

เรื่องข้าพเจ้ากล่าวให้พิสดารไว้แล้ว ในการพรรณนาพระคาถาใน

สหัสสวรรค ว่า :-

"ก็ผู้ใดไม่เห็นบทอันไม่ตาย พึงเป็นอยู่สิ้น ๑๐๐

ปี, ความเป็นอยู่วันเดียว ของผู้เห็นอมตบท ยัง

ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น."

ก็ในคราวนั้น พระศาสดาตรัสว่า " กิสาโคตมี เมล็ดพันธุ์ผักกาด

ประมาณหยิบมือหนึ่ง ท่านได้แล้วหรือ ?"

กิสาโคตมี. ไม่ได้ พระเจ้าข้า. (เพราะ) ในบ้านทั้งสิ้น คนตาย

แหละมีมากกว่าคนเป็นอยู่.

มัจจุย่อมพานระไปเหมือนห้วงน้ำใหญ่

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า " ท่านเข้าใจว่า ' บุตรของเรา

เท่านั้น ตาแล้ว,' ความตายนั่น เป็นธรรมเที่ยงแท้ของสรรพสัตว์,

เพราะมัจจุราชคร่าสรรพสัตว์ผู้มีอัธยาศัยยังไม่เต็มเปี่ยมเท่านั้น ซัดลงไป

ในสมุทรคืออบาย ดุจห้วงน้ำใหญ่ ฉะนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง

ธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 137

๙. ต ปุตฺตปสุสมฺมตฺต พฺยาสตฺตมนส นร

สุตฺต คาม มโหโฆว มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ.

" มัจจุ พานระนั้น ผู้มัวเมาในบุตรและปศุสัตว์

ผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ ไป เหมือนห้างน้ำใหญ่

พัดเอาชาวบ้านผู้หลับไปฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ต ปุตฺตปสุสมฺมตฺต ความว่า ซึ่ง

นระนั้นผู้ได้บุตรและปศุสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งถึงพร้อมด้วยรูปและกำลังเป็นต้น

แล้ว มัวเมาคือประมาทแล้ว ด้วยบุตรและปศุสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ว่า " บุตร

ของเรามีรูปสวย มีกำลังสมบูรณ์ ฉลาด สามารถในกิจทุกอย่าง, โคของ

เรามีรูปงาม ปราศจากโรค สามารถนำของไปได้มาก, แม่โคของเรา

มีน้ำนมมาก."

บทว่า พฺยาสตฺตมนส ความว่า ชื่อว่าผู้มีใจข้องแล้ว (ในอารมณ์)

เพราะได้บรรดาเงินและทองเป็นต้น หรือสมณบริขารทั้งหลาย มีบาตร

และจีวรเป็นต้น บางอย่างเท่านั้นแล้ว ปรารถนาให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปกว่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้มีใจข้องอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ เพราะต้องอยู่ในบรรดา

อารมณ์ทั้งหลาย ที่จะพึงรู้ด้วยจักษุเป็นต้น หรือบรรดาสมณบริขาร

ทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้ว ในอารมณ์และบริขารอันตนได้แล้ว

นั้นแล.

สองบทว่า สุตฺต คาม ได้แก่ หมู่สัตว์ผู้เข้าถึงความหลับ.

บทว่า มโหโฆว เป็นต้น ความว่า ห้วงมหานทีใหญ่ ทั้งลึก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 138

ทั้งกว้าง พูดชาวบ้านเห็นปานนั้นไปหมด โดยที่สุดแม้สุนัขก็มิให้เหลือไว้

ฉันใด; มัจจุย่อมพานระมีประการดังกล่าวแล้วไปฉันนั้น.

ในกาลจบเทศนา นางกิสาโคตมีตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องนางกิสาโคตมี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 139

๑๐. เรื่องนางปฏาจารา [๒๑๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางปฏาจารา

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น สนฺติ ปุตฺตา " เป็นต้น.

ไม่มีใครต้านทานมัจจุได้

เรื่องข้าพเจ้ากล่าวพิสดารไว้แล้ว ในการพรรณนาพระคาถาใน

สหัสสวรรค ว่า:-

" ก็ผู้ใดไม่เห็นความเกิดและความเสื่อม พึงเป็น

อยู่สิ้น ๑๐๐ ปี, ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นความ

เกิดและความเสื่อม ยังประเสริฐกว่าความเป็นอยู่

ของผู้นั้น. "

ก็ในกาลนั้น พระศาสดาทรงทราบนางปฏาจาราว่า มีความโศก

เบาบางแล้ว จึงตรัสว่า " ปฏาจารา ชื่อว่าปิยชนทั้งหลายมีบุตรเป็นต้น

ย่อมไม่สามารถเป็นผู้ต้านทานหรือป้องกัน ของบุคคลผู้ไปสู่ปรโลกได้.

เพราะฉะนั้น ชนเหล่านั้นแม้มีอยู่ ก็ชื่อว่าไม่มีแท้: อันการที่บัณฑิตชำระศีล

ให้หมดจดแล้ว ชำระหนทางเป็นที่ไปพระนิพพานเพื่อตนนั่นแล ย่อม

ควร " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้

ว่า :-

๑๐. น สนฺติ ปุตฺตา ตาณาย น ปิตา นปิ พนฺธวา

อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส นตฺถิ ญาตีสุ ตาณตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 140

เอตมตฺถวส ตฺวา ปณฺฑิโต สีลสวุโต

นิพฺพานคมน มคฺค ขิปฺปเม วิโสธเย.

"บัณฑิตทราบอำนาจเนื้อความว่า ' บุตรทั้งหลาย

ย่อมไม่มีเพื่อต้านทาน, บิดาและพวกพ้องทั้งหลาย

ก็ไม่มีเพื่อต้านทาน, เมื่อบุคคลถูกความตายครอบงำ

แล้ว, ความต้านทานในญาติทั้งหลายย่อมไม่มี,'

ดังนี้แล้ว เป็นผู้สำรวมในศีล พึงชำระทางเป็นที่ไป

พระนิพพานให้หมดจดพลันทีเดียว."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาณาย ความว่า เพื่อความเป็นผู้ต้าน

ทาน คือเพื่อประโยชน์แก่ความเป็นที่พึ่ง.

ญาติและเพื่อนผู้ใจดีที่เหลือเว้นบุตรและมารดาบิดาเสีย ชื่อว่าพวก

พ้อง.

บทว่า อนฺตเกนาธิปนฺนสฺส คือ ผู้ถูกความตายครอบงำ. จริงอยู่

ในปัจจุบันกาล ปิยชนทั้งหลาย มีบุตรเป็นต้น แม้เป็นผู้ต้านทานได้ ด้วย

การให้ข้าวและน้ำเป็นต้น และด้วยการช่วยกิจที่เกิดขึ้นแล้ว (แต่) ใน

เวลาตาย ชื่อย่อมไม่มีประโยชน์แก่การต้านทาน คือเพื่อประโยชน์แก่

การป้องกัน เพราะความเป็นผู้ไม่สามารถเพื่อกางกั้นความตาย โดยอุบาย

อะไร ๆ ได้; เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "นตฺถิ

าตีสุ ตาณตา."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 141

บทว่า เอตมตฺถวส ความว่า บัณฑิตทราบเหตุนั้น กล่าวคือความ

ที่ชนเหล่านั้น เป็นผู้ไม่สามารถ เพื่อจะเป็นผู้ต้านทานแก่กันและกันแล้ว

เป็นผู้สำรวม คือรักษา ได้แก่คุ้มครองด้วยปาริสุทธิศีล ๔ พึงชำระทาง

มีองค์ ๘ เป็นที่ไปพระนิพพานให้หมดจดโดยรีบด่วน.

ในเวลาจบเทศนา นางปฏาจาราตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, ชน

แม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว

ดังนี้แล.

เรื่องนางปฏาจารา จบ.

มรรควรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๒๐ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 142

คาถาธรรมบท

ปกิณณกวรรคที่ ๒๑

ว่าด้วยหมวดเบ็ดเตล็ด

[๓๑] ๑.ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ พึงสละสุขพอ

ประมาณเสีย ผู้มีปัญญา เมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์ ก็

พึงสละสุขพอประมาณเสีย.

๒.ผู้ใดย่อมปรารถนาสุขเพื่อตน เพราะก่อ

ทุกข์ในผู้อื่น ผู้นั้นเป็นผู้ระคนด้วยเครื่องระคนคือเวร

ย่อมไม่พ้นจากเวรได้.

๓.ก็ภิกษุละทิ้งสิ่งที่ควรทำ แต่ทำสิ่งที่ไม่ควร

ทำ อาสวะทั้งหลายย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มี

มานะประดุจไม้อ้ออันยกขึ้นแล้ว ประมาทแล้ว ส่วน

สติอันเป็นไปในกาย อันภิกษุเหล่าใดปรารภด้วยดี

เป็นนิตย์ ภิกษุเหล่านั้นมีปกติทำเนือง ๆ ในกิจที่ควร

ทำ ย่อมไม่เสพสิ่งที่ไม่ควรทำ อาสวะทั้งหลายของ

ภิกษุเหล่านั้น ผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมถึงความ

ตั้งอยู่ไม่ได้.

๔.บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็น

กษัตริย์ทั้งสอง และฆ่าแว่นแคว้นพร้อมด้วยเจ้า-

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๙ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 143

พนักงานเก็บส่วยแล้ว เป็นพราหมณ์ไม่มีทุกข์ ไป

อยู่.

บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็นพราหมณ์

ทั้งสองได้แล้ว และฆ่าหมวด ๕ แห่งนิวรณ์มีวิจิ-

กิจฉานิวรณ์ เช่นกับหนทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปเป็น

ที่ ๕ แล้ว เป็นพราหมณ์ไม่มีทุกข์ ไปอยู่.

๕. สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระพุทธเจ้า

เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันกลางคืน (ชนเหล่านั้น) เป็น

สาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดี ในกาลทุกเมื่อ

สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระธรรมเป็นนิตย์

ทั้งกลางวันกลางคืน (ชนเหล่านั้น) เป็นสาวกของ

พระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ สติของชน

เหล่าใดไปแล้วในพระสงฆ์เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันและ

กลางคืน (ชนเหล่านั้น) เป็นสาวกของพระโคดม

ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ สติของชนเหล่าใดไป

แล้วในกายเป็นนิตย์ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน (ชน

เหล่านั้น) เป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีใน

กาลทุกเมื่อ ใจของชนเหล่าใดยินดีแล้วในอันไม่

เบียดเบียนทั้งกลางวันทั้งกลางคืน (ชนเหล่านั้น)

เป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุก

เมื่อ ใจของชนเหล่าใดยินดีแล้วในภาวนา ทั้งกลาง-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 144

วันและกลางคืน (ชนเหล่านั้น) เป็นสาวกของพระ-

โคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

๖. การบวชก็ยาก การยินดีก็ยาก เรือนที่

ปกครองไม่ดีให้เกิดทุกข์ การอยู่ร่วมกับผู้เสมอกัน

เป็นทุกข์ ผู้เดินทางไกลก็ถูกทุกข์ติดตาม เพราะ-

ฉะนั้น ไม่พึงเป็นผู้เดินทางไกล และไม่พึงเป็นผู้อัน

ทุกข์ติดตาม.

๗. ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อม

ด้วยยศและโภคะ จะไปประเทศใด ๆ ย่อมเป็นผู้อัน

เขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว.

๘. สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมปรากฏในที่ไกล

เหมือนภูเขาหิมพานต์ (ส่วน) อสัตบุรุษย่อมไม่

ปรากฏในที่นี้ เหมือนลูกศรอันเขาซัด (ยิง) ไปใน

ราตรีฉะนั้น.

๙. ภิกษุพึงเสพที่นั่งคนเดียว ที่นอนคนเดียว

พึงเป็นผู้เดียว ไม่เกียจคร้านเที่ยวไป เป็นผู้เดียว

ทรมานตน เป็นผู้ยินดียิ่งในราวป่า.

จบปกิณณกวรรคที่ ๒๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 145

๒๑. ปกิณณกวรรควรรณนา

๑. เรื่องบุรพกรรมของพระองค์ [๒๑๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรพกรรม

ของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มตฺตาสุขปริจฺจาคา" เป็นต้น.

เกิดภัย ๓ อย่างในเมืองไพศาลี

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เมืองไพศาลีได้เป็นเมืองมั่งคั่งกว้าง-

ขวาง มีชนมาก มีมนุษย์เกลื่อนกล่น. ก็ในเมืองไพศาลีนั้นได้มีกษัตริย์

ครอบครองราชสมบัติตามวาระกันถึงเจ็ดพันเจ็ดร้อยพระองค์. ปราสาท

เพื่อประโยชน์เป็นที่ประทับของกษัตริย์เหล่านั้น ก็มีประมาณเท่านั้น

เหมือนกัน, เรือนยอดก็มีประมาณเท่านั้นเหมือนกัน; สถานที่รื่นรมย์และ

สระโบกขรณี เพื่อประโยชน์เป็นที่ประทับอยู่ในพระราชอุทยาน ก็ได้มี

ประมาณเท่านั้นเหมือนกัน.

โดยสมัยอื่นอีก เมืองไพศาลีนั้นได้เป็นเมืองมีภิกษาหาได้ยาก ข้าว

กล้าเสียหาย. ทีแรกพวกมนุษย์ที่ขัดสนในเมืองไพศาลีนั้น ได้ตายแล้ว

(มากกว่ามาก) เพราะโทษคือความหิว. พวกอมนุษย์ก็เข้าไปสู่พระนคร

เพราะกลิ่นซากศพของมนุษย์เหล่านั้น อันเขาทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ, มนุษย์

ทั้งหลายได้ตายมากกว่ามาก เพราะอุปัทวะที่เกิดจากอมนุษย์. อหิวาตกโรค

เกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย เพราะความปฏิกูลด้วยกลิ่นศพแห่งมนุษย์เหล่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 146

ภัย ๓ อย่าง คือ "ภัยเกิดแต่ภิกษาหาได้ยาก ๑ ภัยเกิดแต่อมนุษย์ ๑

ภัยเกิดแต่โรค ๑" เกิดขึ้นแล้วด้วยประการฉะนี้.

ชาวนครประชุมกันแล้ว กราบทูลพระราชาว่า "มหาราช ภัย ๓

อย่างเกิดขึ้นแล้วในพระนครนี้, ในกาลก่อนแต่กาลนี้ จนถึงพระราชา

ชั้น ๗ ชื่อว่าภัยเห็นปานนี้ไม่เคยเกิดขึ้นแล้ว; เพราะว่าในรัชกาลของ

พระราชาผู้ทรงธรรมทั้งหลาย ภัยเห็นปานนี้ย่อมไม่เกิดขึ้น."

พระราชารับสั่งให้ทำการประชุมชนทั้งปวงในท้องพระโรงแล้ว

ตรัสว่า "ถ้าว่าความไม่ทรงธรรมของเรามีอยู่ไซร้, ท่านทั้งหลายจงตรวจ

ดูซึ่งเหตุนั้น." ชาวเมืองไพศาลีตรวจดูประเพณีทุกอย่าง ไม่เห็นโทษ

อะไร ๆ ของพระราชา จึงกราบทูลว่า "มหาราช โทษของพระองค์

ไม่มี" จึงปรึกษากันว่า "อย่างไรหนอแล ภัยของพวกเรานี้พึงถึงความ

สงบ ?" บรรดาชนเหล่านั้น เมื่อบางพวกกล่าวว่า "ภัยพึงถึงความสงบ

ด้วยการพลีกรรม ด้วยการบวงสรวง ด้วยการกระทำมงคล," ชนเหล่า

นั้นทำพิธีนั้นทั้งหมด ก็ไม่อาจป้องกันได้.

ชนพวกอื่นกล่าวกันอย่างนี้ว่า "ครูทั้ง ๖ มีอานุภาพมาก, พอเมื่อ

ครูทั้ง ๖ มาในที่นี้แล้ว, ภัยพึงสงบไป." อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า "พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก, อันพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้นมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ทรงแสดงธรรมเพื่อประโยชน์แก่สรรพ-

สัตว์; เมื่อพระองค์เสด็จมาในที่นี้แล้ว, ภัยเหล่านี้พึงถึงความสงบได้."

ชนแม้ทุกจำพวกชอบใจถ้อยคำของชนเหล่านั้นแล้ว กล่าวว่า "เดี๋ยวนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นประทับอยู่ ณ ที่ไหนหนอแล ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 147

ชาวเมืองไพศาลีให้ไปทูลเชิญพระศาสดา

ก็ในกาลนั้น เมื่อดิถีเป็นที่เข้าจำพรรษาใกล้เข้ามาแล้ว, พระศาสดา

ทรงประทานปฏิญญาแก่พระเจ้าพิมพิสาร แล้วเสด็จอยู่ในพระเวฬุวัน.

ก็โดยสมัยนั้น เจ้าลิจฉวีพระนามว่ามหาลี ทรงบรรลุโสดาปัตติผล

พร้อมด้วยพระเจ้าพิมพิสารในสมาคมแห่งพระเจ้าพิมพิสาร ประทับนั่งใน

ที่ใกล้แห่งบริษัทนั้น. ชาวเมืองไพศาลี ตระเตรียมบรรณาการใหญ่ ส่ง

เจ้ามหาลีลิจฉวีและบุตรของปุโรหิตไปด้วยสั่งว่า " ท่านทั้งหลาย จงยัง

พระเจ้าพิมพิสารให้ยินยอมแล้ว นำพระศาสดามาในพระนครนี้." เจ้า

มหาลีลิจฉวีและบุตรปุโรหิตเหล่านั้นไปแล้ว ถวายบรรณาการแด่พระราชา

กราบทูลความเป็นไปนั้นให้ทรงทราบแล้วอ้อนวอนว่า " มหาราช ขอ

พระองค์ทรงส่งพระศาสดาไปยังพระนครแห่งข้าพระองค์."

พระราชา ตรัสว่า " ท่านทั้งหลายจงรู้เอาเองเถิด" แล้วไม่ทรงรับ

(บรรณาการนั้น). ชนเหล่านั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคม

แล้ว ทูลอ้อนวอนว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเมืองไพศาลีเกิดภัย ๓

อย่าง, เมื่อพระองค์เสด็จไป, ภัยเหล่านั้นก็จักสงบ, เชิญเสด็จเถิด

พระเจ้าข้า. ข้าพระองค์ทั้งหลายจะไป." พระศาสดาทรงสดับคำของชน

เหล่านั้นแล้ว ทรงใคร่ครวญอยู่ ก็ทรงทราบว่า " ในเมืองไพศาลี เมื่อ

เราสวดรัตนสูตร, อาชญาจักแผ่ไปตลอดแสนโกฏิจักรวาล, ในกาลจบ

พระสูตร การบรรลุธรรมจักมีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พัน, ภัยเหล่านั้นก็จัก

สงบไป" แล้วทรงรับถ้อยคำของชนเหล่านั้น.

พระศาสดาเสด็จเมืองไพศาลี

พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับข่าวว่า " นัยว่า พระศาสดาทรงรับการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 148

เสด็จไปยังเนืองไพศาลี " แล้ว รับสั่งให้ทำการป่าวร้องในพระนครเข้าไป

เฝ้าพระศาสดา ทูลถามว่า " พระองค์ทรงรับการเสด็จไปเมืองไพศาลีหรือ

พระเจ้าข้า ?" เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " ขอถวายพระพร มหาบพิตร"

ทูลว่า " ถ้ากระนั้น ขอพระองค์ทรงรอก่อน พระเจ้าข้า, ข้าพระองค์

จัดแจงหนทางก่อน " แล้วรับสั่งให้ปราบพื้นที่ ๕ โยชน์ในระหว่างกรุง-

ราชคฤห์และแม่น้ำคงคา (ต่อกัน) ให้สม่ำเสมอ ให้จัดแจงวิหารไว้ในที่

โยชน์หนึ่ง ๆ จึงกราบทูลกาลเป็นที่เสด็จไปแด่พระศาสดา.

ครั้งนั้น พระศาสดาเสด็จเดินทางกับภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระราชา

รับสั่งให้โปรยดอกไม้ ๕ สี โดยส่วนสูงประมาณเพียงเข่า ในระหว่าง

โยชน์หนึ่ง ๆ แล้วให้ยกธงชัย ธงแผ่นผ้า และต้นกล้วยเป็นต้น ให้กั้น

เศวตฉัตร ๒ คันซ้อนกันแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กั้นเศวตฉัตรแก่ภิกษุ

รูปละคันๆ พร้อมทั้งบริวาร ทรงทำบูชาด้วยดอกไม้และของหอมเป็นต้น

ทรงอาราธนาพระศาสดาให้ประทับอยู่ในวิหารแห่งหนึ่ง ๆ ถวายมหาทาน

แล้ว ให้เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคาโดย ๕ วัน ทรงประดับเรือในที่นั้น พลาง

ทรงส่งข่าวไปแก่ชาวเมืองไพศาลีว่า " ชาวเมืองไพศาลีจงจัดแจงหนทาง

ทำการรับรองพระศาสดาเถิด."

ชาวเมืองไพศาลีจัดการต้อนรับพระศาสดา

ชาวเมืองไพศาลีเหล่านั้น คิดว่า " เราทั้งหลายจักทำการบูชาทวีคูณ

(๒ เท่า) แล้วปราบพื้นที่ประมาณ ๓ โยชน์ ในระหว่างเมืองไพศาลีและ

แม่น้ำคงคา (ต่อกัน) ให้สม่ำเสมอ แล้วตระเตรียมเศวตฉัตรซ้อน ๆ กัน

ด้วยเศวตฉัตร เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ๔ คัน เพื่อภิกษุรูปละ ๒ คัน

ทำการบูชาอยู่ ได้มายืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 149

พระเจ้าพิมพิสาร ทรงขนานเรือ ๒ ลำ ให้ทำพลับพลา ให้ประดับ

ด้วยพวงดอกไม้เป็นต้น ปูลาดพุทธอาสน์สำเร็จด้วยรัตนะทุกอย่างไว้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนพุทธอาสน์นั้น. แม้ภิกษุทั้งหลายก็ขึ้นสู่

เรือ นั่งแวดล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระราชาเมื่อตามส่งเสด็จลง

ไปสู่น้ำประมาณเพียงพระศอ กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเสด็จมาตราบใด, หม่อมฉันจักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคานี้นั่นแหละ

ตราบนั้น" ส่งเรือไปแล้วก็เสด็จกลับ. พระศาสดาเสด็จไปในแม่น้ำคงคา

สิ้นทางไกลประมาณโยชน์หนึ่ง จึงถึงแดนของชาวเมืองไพศาลี.

เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ทรงต้อนรับพระศาสดา ลุยน้ำประมาณเพียง

พระศอ นำเรือเข้ายังฝั่งแล้ว เชิญเสด็จพระศาสดาให้ลงจากเรือ. พอเมื่อ

พระศาสดาเสด็จขึ้นจากเรือเหยียบฝั่งแม่น้ำเท่านั้น, มหาเมฆตั้งขึ้นยังฝน

โบกขรพรรษให้ตกแล้ว. ในที่ทุก ๆ แห่ง น้ำประมาณเพียงเข่า เพียงขา

เพียงสะเอวเป็นต้น ไหลบ่าพัดพาเอาซากศพทั้งปวง ให้เข้าไปในแม่น้ำ

คงคาแล้ว. ภูมิภาคได้สะอาดแล้ว. เจ้าลิจฉวีทั้งหลายทูลให้พระศาสดา

ประทับอยู่ในที่โยชน์หนึ่ง ๆ ถวายมหาทานทำการบูชาให้เป็น ๒ เท่า

นำเสด็จไปสู่เมืองไพศาลี โดย ๓ วัน. ท้าวสักกเทวราชอันหมู่เทวดา

แวดล้อมได้เสด็จมาแล้ว. อมนุษย์ทั้งหลายหนีไปโดยมาก เพราะเทวดา

ทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกันแล้ว.

น้ำมนต์แห่งพระปริตรมีอำนาจมาก

พระศาสดา ประทับยืนที่ประตูพระนครในเวลาเย็น ตรัสเรียก

พระอานนทเถระมาแล้ว ตรัสว่า "อานนท์ เธอจงเรียนรัตนสูตรนี้แล้ว

เที่ยวไปกับเจ้าลิจฉวีกุมารทั้งหลาย ทำพระปริตรในระหว่างกำแพง ๓ ชั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 150

ในเมืองไพศาลี." พระเถระเรียนรัตนสูตรที่พระศาสดาประทานแล้ว เอา

บาตรสำเร็จด้วยศิลาของพระศาสดาตักน้ำ ยืนอยู่ประตูพระนครแล้ว.

ระลึกถึงพระพุทธคุณของพระตถาคตเหล่านั้นทั้งหมด จำเดิมแต่ตั้งความ

เพียรไว้ว่า " พระบารมี ๓๐ ถ้วน คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถ-

บารมี ๑๐ มหาบริจาค ๕ จริยา ๓ คือ โลกัตถจริยา ๑ ญาตัตถจริยา ๑

พุทธัตถจริยา ๑ การก้าวลงสู่พระครรภ์ในภพที่สุด การประสูติ การเสด็จ

ออกมหาภิเนษกรมณ์ การทรงประพฤติความเพียร การชำนะมาร การ

แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณเหนือบัลลังก์ไม้โพธิ์ การยังพระธรรมจักร

ให้เป็นไป และพระโลกุตรธรรม ๙ " แล้วเข้าไปยังพระนคร เที่ยวทำ

พระปริตรในระหว่างกำแพงทั้ง ๓ ตลอด ๓ ยามแห่งราตรี. เมื่อคำสักว่า

" ยงฺกิญฺจิ " เป็นต้น อันพระเถระนั้นกล่าวแล้วเท่านั้น, น้ำที่สาดขึ้นไป

เบื้องบนตกลงบนกระหม่อมของอมนุษย์ทั้งหลาย.

จำเดิมแต่การกล่าวคาถาว่า " ยานีธ ภูตานิ " เป็นต้น, หยาดน้ำ

เป็นราวกะว่าเทริดเงินพุ่งขึ้นในอากาศ แล้วตกลง ณ เบื้องบนแห่งมนุษย์

ทั้งหลายผู้ป่วย. มนุษย์ทั้งหลายหายโรคในทันใดนั่นเอง แล้วลุกขึ้นแวดล้อม

พระเถระ. ก็จำเดิมแต่บทว่า " ยงฺกิญฺจิ " เป็นต้น อันพระเถระกล่าว

แล้ว อมนุษย์ทั้งหลายถูกเมล็ดน้ำกระทบแล้ว ๆ ยังไม่หนีไปก่อน ที่อาศัย

กองหยากเยื่อและส่วนแห่งฝาเรือนเป็นต้น ก็หนีไปแล้วโดยประตูนั้น ๆ.

ประตูทั้งหลายไม่มีช่องว่างแล้ว. อมนุษย์เหล่านั้นเมื่อไม่ได้โอกาส ก็ทำลาย

กำแพงหนีไป. มหาชนประพรมท้องพระโรงในท่ามกลางพระนครด้วย

ของหอมทั้งปวง ผูกผ้าเพดานอันวิจิตรด้วยดาวทองเป็นต้นในเบื้องบน

ตกแต่งพุทธอาสน์ นำเสด็จพระศาสดามาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 151

พระศาสดา ประทับนั่งบนอาสนะอันตกแต่งแล้ว. ทั้งภิกษุสงฆ์ ทั้ง

หมู่เจ้าลิจฉวีนั่งแวดล้อมพระศาสดาแล้ว. แม้ท้าวสักกเทวราชอันหมู่เทวดา

แวดล้อมแล้ว ได้ประทับยืนในโอกาสสมควร. ฝ่ายพระเถระเที่ยวไปสู่พระ-

นครทั้งสิ้นโดยลำดับแล้ว มากับมหาชนผู้หายโรค ถวายบังคมพระศาสดา

นั่งแล้ว พระศาสดาทรงตรวจดูบริษัทแล้ว ได้ทรงภาษิตรัตนสูตรนั้น

นั่นเอง. ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พันแล้ว.

พระศาสดา ทรงแสดงรัตนสูตรนั้นเหมือนกันตลอด ๗ วัน คือแม้

ในวันรุ่งขึ้น ก็ทรงแสดงอย่างนั้น ทรงทราบความที่ภัยทั้งปวงสงบแล้ว

ตรัสเตือนหมู่เจ้าลิจฉวีแล้ว เสด็จออกจากเมืองไพศาลี. เจ้าลิจฉวี

ทั้งหลายทรงทำสักการะทวีคูณ นำเสด็จพระศาสดาไปสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา

โดย ๓ วันอีก.

พวกพระยานาคทำการบูชาพระศาสดา

พระยานาคทั้งหลายผู้เกิดในแม่น้ำคงคา คิดว่ามนุษย์ทั้งหลายย่อมทำ

สักการะแด่พระตถาคต, เราทั้งหลายจะทำอะไรหนอ ?" พระยานาคเหล่า-

นั้นนิรมิตเรือสำเร็จด้วยทองคำ เงิน และแก้วมณี จัดตั้งบัลลังก์สำเร็จด้วย

ทองคำ เงิน และแก้วมณี ทำน้ำให้ดาดาษด้วยดอกปทุม ๕ สี แล้วทูล

อ้อนวอนพระศาสดา เพื่อประโยชน์เสด็จขึ้นเรือของตน ๆ ว่า " ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงทำการอนุเคราะห์แม้แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

เถิด." มนุษย์และนาคทั้งหลายย่อมทำการบูชาพระตถาคต.

เทวดาทั้งปวง ตั้งต้นแต่เทวดาผู้สถิต ณ ภาคพื้น ตลอดถึงพรหม-

โลกชั้นอกนิฏฐ์คิดว่า " พวกเราจะทำอะไรหนอ ?" แล้วทำสักการะ.

บรรดามนุษย์และอมนุษย์เหล่านั้น นาคทั้งหลายยกฉัตรซ้อน ๆ กันขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 152

ประมาณโยชน์หนึ่ง. ฉัตรที่ซ้อน ๆ กัน อันมนุษย์และอมนุษย์ทั้งหลาย

คือนาคภายใต้ มนุษย์ที่พื้นดิน ภุมมัฏฐกเทวดาที่ต้นไม้ กอไม้ และภูเขา

เป็นต้น อากาสัฏฐกเทวดาในกลางหาว ต่างก็ยกขึ้นแล้ว ตั้งต้นแต่นาคภพ

ตลอดถึงพรหมโลก โดยรอบจักรวาล ด้วยประการฉะนี้. ในระหว่าง

ฉัตรมีธงชัย, ในระหว่างธงชัยมีธงแผ่นผ้า, ในระหว่าง ๆ แห่งธงเหล่านั้น

ได้มีเครื่องสักการะมีพวงดอกไม้ จุณเครื่องอบ และกระแจะเป็นต้น.

เทพบุตรทั้งหลายประดับประดาด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง ถือเพศแห่งคน

เล่นมหรสพ ป่าวร้องเที่ยวไปในอากาศ. ได้ยินว่า สมาคม ๓ แห่งเท่านั้น

คือ " สมาคมในเวลาแสดงยมกปาฏิหาริย์ ๑ สมาคมในเวลาเสด็จลงจาก

เทวโลก ๑ สมาคมในเวลาลงสู่คงคานี้ ๑ " ได้เป็นสมาคมใหญ่.

พระเจ้าพิมพิสารให้เตรียมรับเสด็จพระพุทธเจ้าอีก

ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสาร ทรงตระเตรียมสักการะทวีคูณ จากสักการะ

อันพวกเจ้าลิจฉวีทำ ได้ทรงยืนแลดูการเสด็จมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ ู

ที่ฝั่งโน้น. พระศาสดาทอดพระเนตรการบริจาคใหญ่ ของพระราชา

ทั้งหลายใน ๒ ฝั่งแห่งแม่น้ำคงคา และทรงทราบอัธยาศัยของสัตว์ทั้งหลาย

มีนาคเป็นต้น แล้วทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิตพระองค์หนึ่ง ๆ มีภิกษุ

องค์ละ ๕๐๐ เป็นบริวารไว้ที่เรือลำหนึ่ง ๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นอันหมู่

นาคแวดล้อมแล้ว ได้ประทับนั่ง ณ ภายใต้แห่งเศวตฉัตรคันหนึ่ง ๆ และ

ต้นกัลปพฤกษ์และพวงระเบียบดอกไม้. ทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิตพระองค์

หนึ่ง ๆ พร้อมทั้งบริวารในโอกาสแห่งหนึ่ง ๆ แม้ในเทวดาทั้งหลายมี

เทวดาชั้นภุมมัฏฐกะเป็นต้น. เมื่อห้องจักรวาลทั้งสิ้นเกิดเป็นประหนึ่งว่า

มีมหรสพอันเดียวและมีการเล่นอันเดียว ด้วยประการฉะนี้แล้ว, พระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 153

เมื่อจะทรงทำการอนุเคราะห์แก่นาคทั้งหลาย ได้เสด็จขึ้นสู่เรือแก้วลำหนึ่ง.

แม้บรรดาภิกษุทั้งหลายรูปหนึ่ง ๆ ก็ขึ้นสู่เรือลำหนึ่ง ๆ เหมือนกัน.

พระยานาคทั้งหลาย นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้

เข้าไปสู่นาคภพ ฟังธรรมกถาในสำนักของพระศาสดาตลอดคืนยังรุ่ง

ในวันที่ ๒ อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยของควรเคี้ยว

ด้วยของควรบริโภคอันเป็นทิพย์. พระศาสดาทรงทำอนุโมทนาแล้วออก

จากนาคภพ อันเทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นบูชาอยู่ ทรงข้ามแม่น้ำคงคา

ด้วยเรือ ๕๐๐ ลำแล้ว.

พระราชาทรงต้อนรับ อัญเชิญพระศาสดาให้เสด็จลงจากเรือ ทรงทำ

สักการะทวีคูณ จากสักการะอันเจ้าลิจฉวีทั้งหลายทำในเวลาเสด็จมา นำ

พระศาสดามาสู่กรุงราชคฤห์ โดย ๕ วัน โดยนัยก่อนนั่นแล.

พวกภิกษุชมพุทธานุภาพ

ในวันที่ ๒ พวกภิกษุกลับจากบิณฑบาตแล้ว ในเวลาเย็นนั่งประชุม

กันในโรงธรรม สนทนากันว่า " น่าชม ! อานุภาพของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย. น่าประหลาดใจ ! เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันเลื่อมใสใน

พระศาสดา; พระราชาทั้งหลายทรงทำพื้นที่ให้สม่ำเสมอในหนทาง ๘ โยชน์

ทั้งฝั่งนี้ฝั่งโน้นแห่งแม่น้ำคงคา เกลี่ยทรายลงลาดดอกไม้มีสีต่าง ๆ โดย

ส่วนสูงประมาณเพียงเข่า ด้วยความเลื่อมใสอันเป็นไปแล้วในพระพุทธเจ้า,

น้ำในแม่น้ำคงคาก็ดาดาษ ด้วยดอกปทุม ๕ สี ด้วยอานุภาพนาค, เทวดา

ทั้งหลายก็ยกฉัตรซ้อน ๆ กันขึ้นตลอดถึงอกนิฏฐภพ, ห้องจักรวาลทั้งสิ้น

เกิดเป็นเพียงดังว่ามีเครื่องประดับเป็นอันเดียว และมีมหรสพเป็นอันเดียว."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 154

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอ

ทั้งหลายนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า

" ด้วยกถาชื่อนี้," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เครื่องบูชาและลักการะนี้

มิได้บังเกิดขึ้นแก่เราด้วยพุทธานุภาพ, มิได้เกิดขึ้นด้วยอานุภาพนาคและ

เทวดาและพรหม, แต่ว่าเกิดด้วยอานุภาพแห่งการบริจาคมีประมาณน้อย

ในอดีต" อันภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอนแล้ว ใคร่จะประกาศเนื้อความนั้น

จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า :-

เรื่องสุสิมมาณพ

ในอดีตกาล ในเมืองตักกสิลา ได้มีพราหมณ์คนหนึ่งชื่อสังขะ.

เขามีบุตร (คนหนึ่ง) เป็นมาณพชื่อสุสิมะ มีอายุย่างเข้า ๑๖ ปี. ในวัน

หนึ่ง สุสิมมาณพนั้นเข้าไปหาบิดาแล้ว กล่าวว่า " พ่อ ผมปรารถนาจะ

เข้าไปสู่เมืองพาราณสีท่องมนต์." ลำดับนั้น บิดากล่าวกะเขาว่า " พ่อ ถ้า

กระนั้น พราหมณ์ชื่อโน้นเป็นสหายของพ่อ เจ้าจงไปสู่สำนักของสหาย

นั้น แล้วเรียนเถิด." เขารับคำว่า " ดีละ " แล้วถึงเมืองพาราณสีโดย

ลำดับ เข้าไปหาพราหมณ์นั้นแล้ว บอกความที่ตนอันบิดาส่งมาแล้ว.

ลำดับนั้น พราหมณ์นั้นรับเขาไว้ ด้วยคิดว่า " บุตรสหายของเรา "

แล้วเริ่มบอกมนต์กะเขา ผู้มีความกระวนกระวายอันระงับแล้วโดยวันเจริญ

สุสิมมาณพนั้น เรียนเร็วด้วย เรียนได้มากด้วย ทรงจำมนต์ที่เรียนแล้ว ๆ

ไม่ให้เสื่อมไป ราวกะว่าน้ำมันสีหะอันเขาเทไว้ในภาชนะทองคำ ต่อกาล

ไม่นานนัก ได้เรียนมนต์ทั้งหมดอันตนพึงเรียนจากปากของอาจารย์ ทำ

การสาธยายอยู่ ย่อมเห็นเบื้องต้นและท่ามกลางแห่งศิลปที่ตนเรียนแล้วเท่า

๑. คืนวันดี เป็นวันมงคล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 155

นั้น, (แต่) ไม่เห็นที่สุด. เขาเข้าไปหาอาจารย์แล้ว กล่าวว่า "ผมย่อม

เห็นเบื้องต้นและท่ามกลางแห่งศิลปนี้เท่านั้น, ย่อมไม่เห็นที่สุด," เมื่อ

อาจารย์กล่าวว่า "พ่อ แม้ฉันก็ไม่เห็น," จึงถามว่า "ข้าแต่อาจารย์ เมื่อ

เป็นเช่นนั้น ใครจะรู้ที่สุด." เมื่ออาจารย์กล่าวว่า "พ่อ ฤษีทั้งหลาย

เหล่านั้นย่อมอยู่ในป่าอิสิปตนะ, ฤษีเหล่านั้นพึงรู้, เจ้าเข้าไปสู่สำนักของ

ท่านแล้วจงถามเถิด," จึงเข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ถามว่า

"ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายย่อมรู้ที่สุดหรือ ?"

ปัจเจก. เออ เราทั้งหลายย่อมรู้

สุสิมะ. ถ้ากระนั้น ขอท่านทั้งหลาย จงบอกแก่ข้าพเจ้า.

ปัจเจก. เราทั้งหลายย่อมไม่บอกแก่คนไม่ใช่บรรพชิต, ถ้าท่านมี

ประสงค์ด้วยที่สุด, จงบวชเถิด.

สุสิมมาณพนั้นรับว่า "ดีละ" แล้วบวชในสำนักพระปัจเจกพุทธะ

เหล่านั้น. ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธะเหล่านั้นกล่าวแก่ท่านว่า "เธอจง

ศึกษาข้อนี้ก่อน" แล้วบอกอภิสมาจาริกวัตร โดยนัยเป็นต้นว่า "ท่าน

พึงนุ่งอย่างนี้, พึงห่มอย่างนี้." ท่านศึกษาอยู่ในอภิสมาจาริกวัตรนั้น

เพราะความที่ตนมีอุปนิสัยสมบูรณ์ ต่อกาลไม่นานนักก็ตรัสรู้ปัจเจกสัมโพธิ

ปรากฏในเมืองพาราณสีทั้งสิ้น เป็นราวกะว่าพระจันทร์เต็มดวงปรากฏอยู่

ในท้องฟ้า ได้เป็นผู้ถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภและเลิศด้วยยศ. ท่านได้

ปรินิพพานต่อกาลไม่นานเลย เพราะความที่แห่งกรรมซึ่งอำนวยผลให้เป็น

ผู้มีอายุน้อยอันตนทำแล้ว. ลำดับนั้น พระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย และ

มหาชน (ช่วยกัน) ทำสรีรกิจของท่านแล้ว ถือเอาธาตุประดิษฐานพระ-

สถูปไว้ใกล้ประตูพระนคร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 156

ฝ่ายสังขพราหมณ์ คิดว่า " บุตรของเราไปนานแล้ว, เราจักรู้ความ

เป็นไปของเขา" ปรารถนาจะเห็นบุตรนั้น จึงออกจากเมืองตักกสิลา ถึง

เมืองพาราณสีโดยลำดับ เห็นหมู่มหาชนประชุมกันแล้ว คิดว่า " ในชน

เหล่านี้ แม้คนหนึ่งจักรู้ความเป็นไปแห่งบุตรของเราเป็นแน่." จึงเข้าไป

หาแล้ว ถามว่า " มาณพชื่อสุสิมะมาในที่นี้, ท่านทั้งหลายทราบข่าวคราว

ของเขาบ้างหรือหนอ ?" มหาชนตอบว่า " เออ พราหมณ์ เรารู้,

สุสิมมาณพนั้นสาธยายไตรเพท ในสำนักของพราหมณ์ชื่อโน้น บวชแล้ว

ทำให้แจ้งซึ่งปัจเจกโพธิปัญญา ปรินิพพานแล้ว, นี้สถูปของท่านอันเรา

ทั้งหลายให้ตั้งเฉพาะแล้ว." สังขพราหมณ์นั้น ประหารพื้นดินด้วยมือ

ร้องให้คร่ำครวญแล้ว ไปยังลานพระเจดีย์ ถอนหญ้าขึ้นแล้ว เอาผ้าห่ม

นำทรายมา เกลี่ยลงที่ลานพระเจดีย์ ประพรมด้วยน้ำในลักจั่น ทำบูชา

ด้วยดอกไม้ป่า ยกธงแผ่นผ้าด้วยผ้าสาฎก ผูกฉัตรของตนในเบื้องบนแห่ง

พระสถูปแล้วก็หลีกไป.

อานิสงส์แห่งการบริจาคสุขพอประมาณ

พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย

ในกาลนั้นเราได้เป็นสังขพราหมณ์, เราได้ถอนหญ้าในลานพระเจดีย์ ของ

พระปัจเจกพุทธะชื่อสุสิมะ, ด้วยผลแห่งกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึง

ทำหนทาง ๘ โยชน์ให้ปราศจากตอและหนามทำให้สะอาด มีพื้นสม่ำเสมอ,

เราได้เกลี่ยทรายลงในลานพระเจดีย์นั้น, ด้วยผลแห่งกรรมของเรานั้น

ชนทั้งหลายจึงเกลี่ยทรายลงในหนทาง ๘ โยชน์แล้ว; เราทำการบูชาด้วย

ดอกไม้ป่าที่พระสถูปนั้น, ด้วยผลแห่งกรรมของเรานั้น ชนทั้งหลายจึง

โปรยดอกไม้สีต่าง ๆ ลงในหนทาง ๘ โยชน์, น้ำในคงคาในที่ประมาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 157

โยชน์หนึ่งจึงดาดาษไปด้วยดอกปทุม ๕ สี, เราได้ประพรมพื้นที่ในลาน

พระเจดีย์นั้น ด้วยน้ำในลักจั่น, ด้วยผลแห่งกรรมของเรานั้น ฝนโบก-

ขรพรรษจึงตกลงในเมืองไพศาลี, เราได้ยกธงแผ่นผ้าขึ้นและผูกฉัตรไว้

บนพระเจดีย์นั้น, ด้วยผลแห่งกรรมของเรานั้น ห้องจักรวาลทั้งสิ้น จึง

เป็นราวกะว่ามีมหรสพเป็นอันเดียวกัน ด้วยธงชัย ธงแผ่นผ้า และฉัตร

ซ้อน ๆ กันเป็นต้นตลอดถึงอกนิฏฐภพ, ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุดังนี้แล

บูชาสักการะนั่นเกิดในแก่เรา ด้วยพุทธานุภาพก็หาไม่, เกิดขึ้นด้วย

อานุภาพแห่งนาคเทวดาและพรหมก็หาไม่, แต่ว่า เกิดขึ้นด้วยอานุภาพ

แห่งการบริจาคมีประมาณน้อย ในอดีตกาล ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง

ธรรมจึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑. มตฺตาสุขปริจฺจาคา ปสฺเส เจ วิปุล สุข

จเช มตฺตาสุข ธีโร สมฺปสฺส วิปุล สุข.

" ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะสละสุข

พอประมาณเสีย, ผู้มีปัญญา เมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์

ก็พึงสละสุขพอประมาณเสีย [จึงจะได้พบสุขอัน

ไพบูลย์]."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มตฺตาสุขปริจฺจาคา ความว่า เพราะ

สละสุขเล็กน้อยพอประมาณ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "มตฺตาสุข."

สุขอันโอฬาร ได้แก่สุขคือพระนิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า สุขอัน

ไพบูลย์. ความว่า ถ้าบุคคลพึงเห็นสุขอันไพบูลย์นั้น.

ท่านกล่าวคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า " ก็ชื่อว่าสุขพอประมาณ ย่อมเกิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 158

ขึ้นแก่บุคคลผู้ให้จัดแจงถาดโภชนะถาดหนึ่ง แล้วบริโภคอยู่, ส่วนชื่อว่า

นิพพานสุข อันไพบูลย์ คืออันโอฬาร ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้สละสุขพอ

ประมาณนั้นเสียแล้ว ทำอุโบสถอยู่บ้าง; ให้ทานอยู่บ้าง; เพราะเหตุนั้น

ถ้าบุคคลเห็นสุขอันไพบูลย์ เพราะสละสุขพอประมาณนั้นเสีย อย่างนั้น,

เมื่อเช่นนั้นบัณฑิตเมื่อเห็นสุขอันไพบูลย์นั่นโดยชอบ ก็พึงสละสุขพอประ-

มาณนั้นเสีย.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องบุรพกรรมของพระองค์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 159

๒. เรื่องกุมาริกากินไข่ไก่ [๒๑๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภกุมาริกาผู้

กินไข่ไก่คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปรทุกฺขูปธาเนน "

เป็นต้น.

แม่ไก่ผูกอาฆาตในนางกุมาริกา

ได้ยินว่า บ้านหนึ่งชื่อปัณฑุระ อยู่ไม่ไกลเมืองสาวัตถี, ในบ้าน

นั้น มีชาวประมงอยู่คนหนึ่ง. เขาเมื่อไปยังเมืองสาวัตถี เห็นไข่เต่าริม-

ฝั่งแม่น้ำอจิรวดีแล้ว ถือเอาไข่เต่าเหล่านั้นไปสู่เมืองสาวัตถีให้ต้มในเรือน

หลังหนึ่งแล้วเคี้ยวกิน ได้ให้ไข่ฟองหนึ่งแก่กุมาริกาในเรือนนั้น. นาง

เคี้ยวกินไข่เต่านั้นแล้ว จำเดิมแต่นั้น ไม่ปรารถนาซึ่งของควรเคี้ยวอย่าง

อื่น. ครั้งนั้นมารดาของนาง ถือเอาไข่ฟองหนึ่งจากที่แม่ไก่ไข่แล้ว ได้

ให้ (แก่นาง). นางเคี้ยวกินไข่ฟองนั้นแล้ว อันความอยากในรสผูกแล้ว

จำเดิมแต่นั้น ก็ถือเอาไข่ไก่มาเคี้ยวกินเองทีเดียว. ในเวลาตกฟอง แม่ไก่

เห็นกุมาริกานั้นถือเอาไข่ของตนเคี้ยวกินอยู่ ถูกกุมาริกานั้นเบียดเบียนแล้ว

ผูกอาฆาต ตั้งความปรารถนาว่า " บัดนี้เราเคลื่อนจากอัตภาพนี้แล้ว พึง

เกิดเป็นยักษิณี เป็นผู้สามารถจะเคี้ยวกินทารกของเจ้า" ทำกาละแล้ว

บังเกิดเป็นนางแมวในเรือนนั้นนั่นเอง.

การจองเวรกันให้เกิดทุกข์

แม้นางกุมาริกานอกนี้ ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นแม่ไก่ในเรือนนั้น

เหมือนกัน. แม่ไก่ตกฟองทั้งหลายแล้ว. นางแมวมาเคี้ยวกินฟองไข่

เหล่านั้นแล้ว แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ ก็เคี้ยวกินแล้วเหมือนกัน. แม่ไก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 160

ทำความปรารถนาว่า " เจ้าเคี้ยวกินฟองไข่ทั้งหลายของเราตลอด ๓ คราว

บัดนี้ ยังปรารถนาจะเคี้ยวกินเรา, เราเคลื่อนจากอัตภาพนี้แล้ว พึงได้

เพื่อเคี้ยวกินเจ้าพร้อมทั้งลูก " เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดเป็น

นางเสือเหลือง.

ฝ่ายนางแมวนอกนี้ ทำกาละแล้วบังเกิดเป็นนางเนื้อ. ในเวลานาง

เนื้อนั้นคลอดแล้ว นางเสือเหลืองก็มาเคี้ยวกินนางเนื้อนั้นพร้อมด้วยลูก

ทั้งหลาย. สองสัตว์นั้นเคี้ยวกินอยู่อย่างนี้ ยังทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่กันและกัน

ใน ๕๐๐ อัตภาพ ในที่สุดนางหนึ่งเกิดเป็นยักษิณี, นางหนึ่งเกิดเป็น

กุลธิดาในเมืองสาวัตถี.

เบื้องหน้าแต่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวไว้แล้วในพระคาถาว่า

" น หิ เวเรน เวรานิ " เป็นอาทิ นั่นแล.

แต่ในเรื่องนี้ พระศาสดาตรัสว่า " ก็เวรย่อมระงับด้วยความไม่มี

เวร, ย่อมไม่ระงับด้วยเวร," ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ชน

แม้ทั้งสองงจึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒. ปรทุกขูปธาเนน โย อตฺตโน สุขมิจฺฉติ

เวรสสคฺคสสฏฺโ เวรา โส น ปริมุจฺจติ.

" ผู้ใด ย่อมปรารถนาสุขเพื่อตน เพราะก่อทุกข์

ในผู้อื่น, ผู้นั้น เป็นผู้ระคนด้วยเครื่องระคนคือเวร

ย่อมไม่พ้นจากเวรได้."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรทุกฺขุปธาเนน ความว่า เพราะก่อ

ทุกข์ในผู้อื่น, อธิบายว่า เพราะยังทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 161

บาทพระคาถาว่า เวรสสคฺคสสฏฺโ ความว่า บุคคลนั้นเป็นผู้

ระคนแล้วด้วยเครื่องระคนคือเวร อันตนทำให้แก่กันและกัน ด้วยสามารถ

แห่งการด่าและการด่าตอบ การประหารและการประหารตอบ เป็นต้น.

บาทพระคาถาว่า เวรา โส น ปริมุจฺจติ ความว่า ย่อมถึงทุกข์

อย่างเดียว ตลอดกาลเป็นนิตย์ ด้วยสามารถแห่งเวร.

ในกาลจบเทศนา นางยักษิณีตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย สมาทานศีล ๕

พ้นแล้วจากเวร, ฝ่ายกุลธิดานอกนี้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องกุมาริกากินไข่ไก่ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 162

๓. เรื่องภิกษุชาวนครภัททิยะ [๒๑๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อเสด็จอาศัยนครภัททิยะ ประทับอยู่ในชาติยาวัน

ทรงปรารภภิกษุชาวนครภัททิยะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ย หิ กิจฺจ "

เป็นต้น.

ภิกษุละเลยสมณกิจ

ดังได้สดับมา ภิกษุชาวนครภัททิยะเหล่านั้น ได้เป็นผู้ขวนขวาย

ในการประดับเขียงเท้า.

สมจริงตามที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ว่า " ก็โดยสมัยนั้นแล พวก

ภิกษุนครภัททิยะ ตามประกอบความเพียรในการประดับเขียงเท้าชนิด

ต่าง ๆ กันอยู่ : ทำเองบ้าง ให้คนอื่นทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าหญ้าธรรมดา

ทำเองบ้าง ให้คนอื่นทำบ้าง ซึ่งเขียงเท้าหญ้าปล้อง เขียงเท้าหญ้ามุงกระต่าย

เขียงเท้าต้นแป้ง เขียงเท้าผ้ากัมพล, ย่อมละทิ้งอุทเทส (ศึกษาเล่าเรียน

ธรรมวินัย) ปริปุจฉา (การไต่ถาม) อธิศีล (อินทรียสังวร) อธิจิต

(สมถภาวนา) อธิปัญญา (วิปัสสนาภาวนา). ภิกษุทั้งหลาย ตำหนิโทษ

ความที่ทำเช่นนั้นของภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลแด่พระศาสดา.

พระศาสดาทรงตำหนิโทษแล้วเทศนา

พระศาสดา ทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายมาด้วยกิจอย่างอื่นแล้ว ขวนขวายในกิจอย่างอื่นแล " ดังนี้แล้ว

เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๓. ยญฺหิ กิจฺจ ตทปวิทฺธ อกิจฺจ ปน กยิรติ

อุนฺนฬาน ปมตฺตาน เตส วฑฺฒนฺติ อาสวา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 163

เยสญฺจ สุสมารทฺธา นิจฺจ กายคตา สติ

อกิจฺจนฺเต น เสวนฺติ กิจฺเจ สาตจฺจการิโน

สตาน สมฺปชานาน อตฺถ คจฺฉนฺติ อาสวา.

" ก็ ภิกษุละทิ้งสิ่งที่ควรทำ, แต่ทำสิ่งที่ไม่ควร

ทำ; อาสวะทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้มี

มานะประดุจไม้อ้ออันยกขึ้นแล้ว ประมาทแล้ว; ส่วน

สติอันไปในกาย อันภิกษุเหล่าใด ปรารภด้วยดีเป็น

นิตย์, ภิกษุเหล่านั้นมีปกติทำเนือง ๆ ในกิจที่ควรทำ

ย่อมไม่เสพสิ่งที่ไม่ควรทำ; อาสวะทั้งหลายของภิกษุ

เหล่านั้น ผู้มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมถึงความตั้งอยู่

ไม่ได้."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ย หิ กิจฺจ ความว่า ก็กรรม

มีอาทิอย่างนี้คือ การคุ้มครองศีลขันธ์อันหาประมาณมิได้ การอยู่ป่าเป็น

วัตร การรักษาธุดงค์ ความเป็นผู้ยินดีในภาวนา ชื่อว่าเป็นกิจอันควรทำ

ของภิกษุ จำเดิมแต่กาลบวชแล้ว. แต่ภิกษุเหล่านี้ละเลย คือทอดทิ้งกิจ

ที่ควรทำของตนเสีย.

บทว่า อกิจฺจ เป็นต้น ความว่า ก็การประดับร่ม การประดับ

รองเท้า การประดับเขียงเท้า บาตร โอ ธมกรก ประคดเอว อังสะ ชื่อว่า

เป็นกิจไม่ควรทำของภิกษุ. อธิบายว่า ภิกษุเหล่าใดทำสิ่งนั้น, อาสวะ

๑. อาสวะมี ๔ คือ กามาสวะ อาสวะคือกาม ๑ ภวาสวะ อาสวะคือภพ ๑ ทิฏฐาสวะ อาสวะ

คือความเห็นผิด ๑ อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 164

ทั้ง ๔ ย่อมเจริญแก่ภิกษุเหล่านั้น ผู้ชื่อว่า มีมานะประดุจไม้อ้ออันยกขึ้น

แล้ว เพราะการยกมานะเพียงดังไม้อ้อเที่ยวไป ชื่อว่าประมาทแล้ว เพราะ

ปล่อยสติ.

บทว่า สุสมารทฺธา ได้แก่ ประคองไว้ดีแล้ว.

สองบทว่า กายคตา สติ ได้แก่ ภาวนาอันเป็นเครื่องตามเห็นกาย.

บทว่า อกิจฺ จ ความว่า ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่เสพ คือไม่ทำสิ่งที่

ไม่ควรทำนั่น มีการประดับร่มเป็นต้น.

บทว่า กิจฺเจ ความว่า ในสิ่งอันตนพึงทำ คือในกรณียะ มีการ

คุ้มครองศีลขันธ์อันหาประมาณมิได้เป็นต้น จำเดิมแต่กาลบวชแล้ว.

บทว่า สาตจฺจการิโน ได้แก่ มีปกติทำเนือง ๆ คือทำไม่หยุด,

อธิบายว่า อาสวะแม้ทั้ง ๔ ของภิกษุเหล่านั้น ผู้ชื่อว่ามีสติ เพราะไม่อยู่

ปราศจากสติ ผู้ชื่อว่ามีสัมปชัญญะ เพราะสัมปชัญญะ ๔ อย่าง คือ

' สาตถกสัมปชัญญะ สัปปายสัมปชัญญะ โคจรสัมปชัญญะ อสัมโมห-

สัมปชัญญะ ' ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ คือถึงความสิ้นไป ได้แก่ ไม่มี.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว. เทศนาได้มี

ประโยชน์แม้แก่บุคคลที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุชาวนครภัททิยะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 165

๔. เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ [๒๑๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระลกุณฏก-

ภัททิยเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มาตร ปิตร หนฺตฺวา "

เป็นต้น.

อาคันตุกภิกษุเข้าเฝ้าพระศาสดา

ความพิสดารว่า วันหนึ่งภิกษุอาคันตุกะหลายรูปด้วยกัน เข้าไป

เฝ้าพระศาสดา ผู้ประทับนั่ง ณ ที่ประทับกลางวัน ถวายบังคมแล้วนั่ง

ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. ขณะนั้นพระลกุณฏกภัททิยเถระเดินผ่านไปในที่ไม่ไกล

แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระศาสดา ทรงทราบวารจิต (คือความคิด) ของภิกษุเหล่านั้นแล้ว

ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นหรือ ? ภิกษุนี้ฆ่ามารดาบิดาแล้ว

เป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไปอยู่ " เมื่อภิกษุเหล่านั้นมองดูหน้ากันและกันแล้ว แล่น

ไปสู่ความสงสัยว่า " พระศาสดา ตรัสอะไรหนอแล ?" จึงกราบทูลว่า

" พระองค์ตรัสคำนั่นชื่ออะไร ?" เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๔. มาตร ปิตร หนฺตฺวา ราชาโน เทฺว จ ขตฺติเย

รฏฺ สานุจร หนฺตฺวา อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณ.

" บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์

ทั้งสอง และฆ่าแว่นแคว้นพร้อมด้วยเจ้าพนักงาน

เก็บส่วยแล้ว เป็นพราหมณ์ ไม่มีทุกข์ ไปอยู่."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 166

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สานุจร ได้แก่ ผู้เป็นไปกับด้วยผู้จัดการ

ส่วยให้สำเร็จ คือเจ้าพนักงานเก็บส่วย.

ก็ในพระคาถานี้ บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยว่า ตัณหา ชื่อว่ามารดา

เพราะให้สัตว์ทั้งหลายเกิดในภพ ๓ เพราะบาลีว่า " ตัณหายังบุรุษให้เกิด."

อัสมิมานะ ชื่อว่าบิดา เพราะอัสมิมานะอาศัยบิดาเกิดขึ้นว่า " เรา

เป็นราชโอรสของพระราชาชื่อโน้น หรือเป็นบุตรของมหาอำมาตย์ของ

พระราชาชื่อโน้น" เป็นต้น.

ทิฏฐิทุกชนิด ย่อมอิงสัสสตทิฏฐิ และอุจเฉททิฏฐิทั้งสอง เหมือน

ชาวโลกอาศัยพระราชาฉะนั้น, เพราะฉะนั้น สัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิ

จึงชื่อว่าพระราชาผู้กษัตริย์สองพระองค์.

อายตนะ ๑๒ ชื่อว่าแว่นแคว้น เพราะคล้ายคลึงกับแว่นแคว้น

โดยอรรถว่ากว้างขวาง. ความกำหนัดด้วยอำนาจความยินดี ซึ่งอาศัย

อายตนะนั้น ดุจบุรุษเก็บส่วย จัดการส่วยให้สำเร็จ ชื่อว่าเจ้าพนักงาน

เก็บส่วย.

บทว่า อนีโฆ ได้แก่ ไม่มีทุกข์. บทว่า พฺราหมฺโณ ได้แก่

ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว.

ในพระคาถานี้ มีอธิบายดังนี้ " ผู้ชื่อว่ามีอาสวะสิ้นแล้ว เพราะ

กิเลสเหล่านั้นมีตัณหาเป็นต้น อันตนกำจัดได้ ด้วยดาบคืออรหัตมรรค-

ญาณ จึงเป็นผู้ไม่มีทุกข์ ไปอยู่."

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว.

๑. การถือว่าเป็นเรา. ๒. อายตนะภายใน ๖ มีจักษุเป็นต้น. ภายนอก ๖ มีรูปเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 167

(พระคาถาที่ ๒)

แม้ในพระคาถาที่ ๒ เรื่องก็เหมือนกับเรื่องก่อนนั่นเอง.

แม้ในกาลนั้น พระศาสดาทรงปรารภพระลกุณฏกภัททิยเถระเหมือน

กัน เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

มาตร ปิตร หนฺตฺวา ราชาโน เทฺว จ โสตฺถิเย

เวยฺยคฺฆปญฺจม หนฺตฺวา อนีโฆ ยาติ พฺราหฺมโณ.

" บุคคลฆ่ามารดาบิดา ฆ่าพระราชาผู้เป็นพราหมณ์

ทั้งสองได้แล้ว และฆ่าหมวด ๕ แห่งนิวรณ์มีวิจิกิจฉา-

นิวรณ์ เช่นกับหนทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปเป็นที่ ๕

แล้ว เป็นพราหมณ์ ไม่มีทุกข์ ไปอยู่. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เทฺว จ โสตฺถิเย คือ ผู้เป็นพราหมณ์

ทั้งสองด้วย.

ก็ในพระคาถานี้ พระศาสดาตรัสสัสสตทิฏฐิและอุจเฉททิฏฐิให้เป็น

พระราชาผู้เป็นพราหมณ์ทั้งสอง เพราะพระองค์เป็นใหญ่ในพระธรรม

และเพราะพระองค์เป็นผู้ฉลาดในวิธีเทศนา.

บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ ในบท เวยฺยคฺฆปญฺจม นี้ ว่าหนทาง

ที่เสือโคร่งเที่ยวไป มีภัยรอบด้าน เดินไปลำบาก ชื่อว่าทางที่เสือโคร่ง

เที่ยวไปแล้ว. แม้วิจิกิจฉานิวรณ์ ชื่อว่าเป็นดุจทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปแล้ว

เพราะความที่วิจิกิจฉานิวรณ์นั้น คล้ายกับทนทางอันเสือโคร่งเที่ยวไป

แล้วนั้น, วิจิกิจฉานิวรณ์เช่นกับทนทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปแล้วนั้น เป็น

ที่ ๕ แห่งหมวด ๕ แห่งนิวรณ์นั้น เพราะฉะนั้น หมวด ๕ แห่งนิวรณ์

จึงชื่อว่ามีวิจิกิจฉานีวรณ์ เช่นกับทนทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปแล้วเป็นที่ ๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 168

ในพระคาถาที่ ๒ นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า " ก็บุคคลฆ่าหมวด ๕ แห่ง

นีวรณ์มีวิจิกิจฉานีวรณ์เช่นกับทนทางที่เสือโคร่งเที่ยวไปแล้วเป็นที่ ๕ นี้

ไม่ให้มีส่วนเหลือ ด้วยดาบคืออรหัตมรรคญาณ เป็นพราหมณ์ ไม่มีทุกข์

เที่ยวไปอยู่."

บทที่เหลือ เป็นเช่นกับบทที่มีในก่อนนั่นแล ดังนี้แล.

เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 169

๕. เรื่องนายทารุสากฏิกะ [๒๑๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุตรของ

นายทารุสากฏิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุปฺปพุทฺธ " เป็นต้น.

เด็กสองคนเล่นขลุบ

ความพิสดารว่า เด็กในพระนครราชคฤห์สองคน คือ " บุตรของ

บุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิคนหนึ่ง บุตรของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง"

เล่นขลุบอยู่ด้วยกันเนือง ๆ. ในเด็กสองคนนั้น บุตรของบุคคลผู้เป็น

สัมมาทิฏฐิ เมื่อจะทอดขลุบ. ระลึกถึงพุทธานุสสติแล้วกล่าวว่า " นโม

พุทฺธสฺส " แล้วจึงทอดขลุบ. เด็กนอกนี้ระลึกเฉพาะพระคุณทั้งหลาย

ของพวกเดียรถีย์แล้ว กล่าวว่า "นโม อรหนฺตานิ " แล้วจึงทอด.

ในเด็กสองคนนั้น บุตรของบุคคลผู้เป็นสัมมาทิฏฐิ ย่อมชนะ, เด็กคน

นอกนี้ ย่อมแพ้. บุตรของบุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐินั้น เห็นกิริยาของบุตร

ผู้เป็นสัมมาทิฏฐินั้นแล้ว คิดว่า " เพื่อนคนนี้ ระลึกแล้วอย่างนั้น กล่าว

แล้วอย่างนั้น ทอดขลุบไปจึงชนะเรา, แม้เราก็จักทำอย่างนั้น (บ้าง)"

ได้ทำการสั่งสมในพุทธานุสสติแล้ว.

เด็กผู้เป็นสัมมาทิฏฐิไปป่ากับบิดา

ภายหลังวันหนึ่ง บิดาของเด็กผู้เป็นสัมมาทิฏฐินั้น เทียมเกวียน

แล้วไปเพื่อต้องการไม้ ได้พาเด็กแม้นั้นไปแล้ว บรรทุกเกวียนให้เต็ม

แล้วด้วยไม้ในดง ขับมาอยู่ (ถึง) ภายนอกเมือง ปล่อยโคไปในที่อันมี

ความสำราญด้วยน้ำ ในที่ใกล้ป่าช้า แล้วได้กระทำการจัดแจงภัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 170

ลำดับนั้น โคของเขาเข้าไปสู่เมืองกับหมู่โคที่เข้าไปสู่เมืองในเวลา

เย็น. ฝ่ายนายสากฏิกะเที่ยวติดตามโคอยู่ เข้าไปสู่เมืองแล้วในเวลาเย็น

พบโคแล้วจูงออกไปอยู่ ไม่ทันถึงประตู ก็เมื่อเขายังไม่ทันถึงนั่นแหละ,

ประตูปิดเสียแล้ว. ขณะนั้น บุตรของเขาผู้เดียวเท่านั้น นอนแล้วใน

ภายใต้แห่งเกวียนในส่วนแห่งราตรีก้าวลงสู่ความหลับแล้ว.

เจริญพุทธานุสสติป้องกันอมนุษย์ได้

ก็กรุงราชคฤห์ แม้ตามปกติก็มากไปด้วยอมนุษย์. อนึ่ง เด็กนี้

ก็นอนแล้วในที่ใกล้แห่งป่าช้า. พวกอมนุษย์ในที่ใกล้แห่งป่าช้านั้นเห็น

เขาแล้ว. อมนุษย์คนหนึ่ง ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นเสี้ยนหนามต่อพระ-

ศาสนา, อมนุษย์ตนหนึ่ง เป็นสัมมาทิฏฐิ.

ในอมนุษย์ทั้งสองนั้น อมนุษย์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิกล่าวว่า " เด็กคนนี้

เป็นภักษาหารของพวกเรา, พวกเราจงเคี้ยวกินเด็กคนนี้." อมนุษย์ผู้เป็น

สัมมาทิฏฐินอกนี้ ห้ามอมนุษย์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐินั้น ด้วยคำว่า " อย่าเลย,

ท่านอย่าชอบใจเลย." อมนุษย์ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐินั้น แม้ถูกอมนุษย์ผู้เป็น

สัมมาทิฏฐินั้นห้ามอยู่ ก็ไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคำของเขา จับเท้าเด็กคร่ามาแล้ว.

ในขณะนั้น เด็กนั้นกล่าวว่า "นโม พุทฺธสฺส" เพราะความที่

ตนเป็นผู้สั่งสมในพุทธานุสสติ. อมนุษย์กลัวภัยใหญ่ จึงได้ถอยไปยืน

อยู่แล้ว.

อมนุษย์รักษาและบำรุงเด็กผู้นอนในป่าคนเดียว

ลำดับนั้น อมนุษย์ผู้เป็นสัมมาทิฏฐินอกนี้ กล่าวกะอมนุษย์ผู้เป็น

มิจฉาทิฏฐินั้นว่า. " พวกเราทำสิ่งอันไม่ควรทำเสียแล้ว, พวกเราจงทำ

ทัณฑกรรมเพื่อเด็กนั้นเสียเถิด" ดังนี้แล้ว ได้ยืนรักษาเด็กนั้น. อมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 171

ผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิเข้าไปสู่พระนคร ยังถาดโภชนะของพระราชาให้เต็มแล้ว

นำโภชนะมา.

ต่อมา อมนุษย์แม้ทั้งสองเป็นประดุจว่ามารดาและบิดาของเด็กนั้น

ปลุกเด็กนั้นให้ลุกขึ้นแล้ว ให้บริโภคโภชนะนั้น ประกาศความเป็นไป

นั้นแล้ว จารึกอักษรที่ถาดโภชนะ ด้วยอานุภาพของยักษ์ ด้วยอธิษฐานว่า

" พระราชาเท่านั้น จงเห็นอักษรเหล่านี้, คนอื่นจงอย่าเห็น" ดังนี้แล้ว

จึงไป.

ในวันรุ่งขึ้น พวกราชบุรุษทำความโกลาหลอยู่ว่า " พวกโจร

ลักเอาภัณฑะคือภาชนะไปจากราชตระกูลแล้ว" จึงปิดประตูทั้งหลายแล้ว

ค้นดู เมื่อไม่เห็นในพระนคร จึงออกจากพระนคร ตรวจดูข้างโน้นและ

ข้างนี้ จึงเห็นถาดอันเป็นวิการแห่งทองคำบนเกวียนที่บรรทุกฟืน จึงจับ

เด็กนั้น ด้วยความสำคัญว่า " เด็กนี้เป็นโจร" ดังนี้แล้ว แสดง

แด่พระราชา.

เด็กถูกไต่สวน

พระราชาทอดพระเนตรเห็นอักษรทั้งหลายแล้ว ตรัสถามว่า " นี่

อะไรกัน ? พ่อ." เด็กนั้นกราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

ข้าพระองค์ไม่ทราบ, มารดาบิดาของข้าพระองค์มาให้บริโภคในราตรี

แล้วได้ยืนรักษาอยู่. ข้าพระองค์คิดว่า ' มารดาบิดารักษาเราอยู่" จึงไม่มี

ความกลัวเลย เข้าถึงความหลับแล้ว, ข้าพระองค์ทราบเพียงเท่านี้."

ลำดับนั้น แม้มารดาและบิดาของเด็กนั้น ก็ได้ไปสู่ที่นั้นแล้ว.

พระราชาทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้ว ทรงพาชนทั้งสามนั้นไปสู่

สำนักพระศาสดา กราบทูลความเป็นไปทั้งปวงแล้ว ทูลถามว่า " ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 172

พระองค์ผู้เจริญ พุทธานุสสติเท่านั้น ย่อมเป็นคุณชาติเครื่องรักษาหรือ

หนอแล ? หรือว่าอนุสสติอื่น แม้มีธัมมานุสสติเป็นต้น ก็เป็นคุณชาติ

เครื่องรักษา."

พระศาสดาทรงแสดงฐานะ ๖

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พระราชานั้นว่า " มหาบพิตร พุทธา-

นุสสติอย่างเดียวเท่านั้น เป็นคุณชาติเครื่องรักษาก็หามิได้, ก็จิตอันชน

เหล่าใดอบรมดีแล้วโดยฐานะ ๖. กิจด้วยอันรักษาและป้องกันอย่างอื่น

หรือด้วยมนต์และโอสถ ย่อมไม่มีแก่ชนเหล่านั้น ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรง

แสดงฐานะ ๖ ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๕. สุปฺปพุทฺธ ปพุชฺฌนฺติ ทา โคตมสาวกา

เยส ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจ พุทฺธคตา สติ.

ปฺปพุทฺธ พุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา

ส ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจ ธมฺมคตา สติ.

ปฺปพุทฺธ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา

ส ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจ สงฺฆคตา สติ.

ปฺปพุทฺธ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา

ส ทิวา จ รตฺโต จ นิจฺจ กายคตา สติ.

ปฺปพุทฺธ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา

ส ทิวา จ รตฺโต จ อหึสาย รโต มโน.

ปฺปพุทฺธ ปพุชฺฌนฺติ สทา โคตมสาวกา

ส ทิวา จ รตฺโต จ ภาวนาย รโต นโน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 173

" สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระพุทธเจ้า

เป็นนิตย์ ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น

เป็นสาวกของพระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระธรรมเป็นนิตย์

ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของ

พระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในพระสงฆ์เป็นนิตย์

ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของ

พระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

สติของชนเหล่าใด ไปแล้วในกายเป็นนิตย์ ทั้ง

กลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระ-

โคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในอันไม่เบียดเบียน

ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้น เป็นสาวกของ

พระโคดม ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ.

ใจของชนเหล่าใด ยินดีแล้วในภาวนา ทั้งกลาง

วันทั้งกลางคืน, ชนเหล่านั้นเป็นสาวกของพระโคดม

ตื่นอยู่ด้วยดีในกาลทุกเมื่อ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า สุปฺปพุทฺธ ปพุชฺฌนฺติ

ความว่า ชนเหล่านั้นยึดสติอันไปแล้วในพระพุทธเจ้า หลับอยู่นั่นเทียว

เมื่อตื่น ชื่อว่าตื่นอยู่ด้วยดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 174

บาทพระคาถาว่า สทา โคตมสาวกา ความว่า ชื่อว่าเป็นสาวก

ของพระโคดม เพราะความที่ตนเป็นผู้เกิดแล้วในที่สุดแห่งการฟังแห่ง

พระพุทธเจ้าผู้โคตมโคตร (และ) เพราะความเป็นคืออันฟังอนุสาสนีของ

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นนั่นแล.

สองบทว่า พุทฺธคตา สติ ความว่า สติของชนเหล่าใดปรารภ

พระพุทธคุณทั้งหลายอันต่างด้วยคุณมีว่า " อิติปิ โส ภควา " เป็นต้น

เกิดขึ้นอยู่ มีอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าตื่นอยู่ด้วยดีแม้

ในกาลทุกเมื่อ. ก็ชนเหล่านั้น เมื่อไม่อาจ (เพื่อจะกระทำ) อย่างนั้นได้

ทำซึ่งพุทธานุสสติไว้ในใจ ในวันหนึ่ง ๓ เวลา ๒ เวลา (หรือ) แม้เวลา

เดียว ชื่อว่าตื่นอยู่ด้วยดีเหมือนกัน.

สองบทว่า ธมฺมคตา สต ความว่า สติที่ปรารภพระธรรมคุณ

ทั้งหลาย อันต่างด้วยคุณมีว่า " สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม" เป็นต้น

อันเกิดขึ้นอยู่.

สองบทว่า สงฺฆคตา สติ ความว่า สติที่ปรารภพระสังฆคุณทั้งหลาย

อันต่างด้วยคุณมีว่า " สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ" เป็นต้น

อันเกิดขึ้นอยู่.

สองบทว่า กายคตา สติความว่า สติอันเกิดขึ้นอยู่ ด้วยสามารถ

แห่งอาการ ๓๒ ด้วยสามารถแห่งการอยู่ในป่าช้า ๙ ด้วยสามารถแห่ง

รูปฌานมีนีลกสิณอันเป็นไปในภายในเป็นต้น.

สองบทว่า อหึสาย รโต ความว่า ยินดีแล้วในกรุณาภาวนา

(การเจริญกรุณา) อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ว่า " ภิกษุนั้นมี

ใจสหรคตด้วยกรุณา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 175

บทว่า ภาวนาย ได้แก่ เมตตาภาวนา, จริงอยู่ ภาวนาที่เหลือ

แม้ทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในบทว่า " ภาวนาย "

นี้ เพราะความที่กรุณาภาวนาพระองค์ตรัสไว้แล้วในหนหลังแม้โดยแท้,

ถึงดังนั้น เมตตาภาวนาเท่านั้น พระองค์ทรงประสงค์เอาในบทว่า

" ภาวนาย " นี้, คำที่เหลือ ผู้ศึกษาพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วใน

คาถาต้นนั้นเทียว.

ในกาลจบเทศนา ทารกนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อมด้วย

มารดาและบิดาแล้ว. ครั้นภายหลัง ชนแม้ทั้งหมดบวชแล้วบรรลุพระ-

อรหัต. เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องนายทารุสากฏิกะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 176

๖. เรื่องภิกษุวัชชีบุตร [๒๑๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยกรุงไพศาลี ประทับอยู่ในป่ามหาวัน ทรง

ปรารภภิกษุผู้เป็นโอรสของเจ้าวัชชีรูปใดรูปหนึ่ง ที่พระธรรมสังคาห-

กาจารย์ กล่าวหมายเอาว่า "ภิกษุผู้เป็นโอรสของเจ้าวัชชีรูปใดรูปหนึ่ง

อยู่ในราวป่าแห่งใดแห่งหนึ่ง ใกล้เมืองไพศาลี. ก็โดยสมัยนั้นแล ใน

กรุงไพศาลีมีการเล่นมหรสพตลอดคืนยังรุ่ง. ครั้งนั้นแล ภิกษุนั้นได้ยิน

เสียงกึกก้องแห่งดนตรีที่เขาดีแล้วและประโคมแล้ว คร่ำครวญอยู่ กล่าว

คาถานี้ในเวลานั้นว่า:-

"พวกเราผู้เดียว ย่อมอยู่ในป่า เหมือนไม้ที่เขา

ทิ้งไว้แล้วในป่า, ในราตรีเช่นนี้ บัดนี้ ใครเล่า ?

ที่เลวกว่าพวกเรา."

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ทุปฺปพฺพชฺช ทุรภิรม" เป็นต้น.

เสียงกึกก้องเป็นปรปักษ์ต่อสมณเพศ

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเป็นราชโอรสในแคว้นวัชชี สละราชสมบัติที่ถึง

แล้วตามวาระ บวชแล้ว ในกรุงไพศาลี, เมื่อทั่วทั้งพระนครอันเขาประดับ

แล้วด้วยเครื่องประดับทั้งหลาย มีธงชัยและธงแผ่นผ้าเป็นต้น กระทำให้

เนื่องเป็นอันเดียวกันกับชั้นจาตุมหาราช, เมื่อวาระเป็นที่เล่นมหรสพ

ตลอดคืนยังรุ่ง ในวันเพ็ญเป็นที่บานแห่งดอกโกมุทเป็นไปอยู่, ได้ยิน

เสียงกึกก้องแห่งดนตรี มีกลองเป็นต้นที่เขาตีแล้ว และเสียงดนตรีมีพิณ

เป็นต้น ที่เขาประโคมแล้ว, เมื่อพระราชาเจ็ดพันเจ็ดร้อยเจ็ดพระองค์,

๑. ส. ส. ๑๕/ ข้อ ๗๘๓ วัชชีปุตตสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 177

และข้าราชบริพารทั้งหลาย มีอุปราชและเสนาบดีเป็นต้นของพระราชา

เหล่านั้น ก็มีจำนวนเท่านั้นเหมือนกัน ซึ่งมีอยู่ในกรุงไพศาลี ประดับ

ประดาแล้ว ก้าวลงสู่ถนนเพื่อต้องการจะเล่นนักษัตร, จงกรม (เดินกลับ

ไปกลับมา) อยู่ที่จงกรมใหญ่ ประมาณ ๖๐ ศอก เห็นพระจันทร์เต็มดวง

เด่นอยู่ในกลางท้องฟ้า ยืนพิงแผ่นกระดาน ณ ที่สุดจงกรมแล้ว มองดู

อัตภาพประดุจไม้ที่เขาทิ้งไว้ในป่า เพราะความที่ตนเว้นแล้วจากผ้าสำหรับ

โพกและเครื่องอลังการ คิดอยู่ว่า "คนอื่นที่เลวกว่าเรา มีอยู่หรือหนอ ?"

แม้ประกอบด้วยคุณมีการอยู่ป่าเป็นวัตรเป็นต้นตามปกติ ในขณะนั้น ถูก

ความไม่ยินดียิ่งบีบคั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.

เทวดากล่าวคาถาให้เกิดความสังเวช

ท่านได้ยินคาถานี้ ซึ่งเทวดาผู้สิงอยู่ในไพรสณฑ์นั้น กล่าวแล้ว

ว่า*:-

"ท่านผู้เดียว อยู่ในป่า เหมือนไม้ที่เขาทิ้งไว้ใน

ป่า, ชนเป็นอันมาก ย่อมกระหยิ่งต่อท่านนั้น ราว

กะว่าพวกสัตว์นรก กระหยิ่มต่อชนทั้งหลาย ผู้ไปสู่

สวรรค์ฉะนั้น.

ด้วยความประสงค์ว่า "เราจักยังภิกษุนี้ให้สังเวช" ในวันรุ่งขึ้น

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง.

พระศาสดาทรงแสดงทุกข์ ๕ อย่าง

พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว ประสงค์จะประกาศความที่

ฆราวาสเป็นทุกข์ จึงทรงรวบรวมทุกข์ ๕ อย่างแล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑. ส. ส. ๑๕/ข้อ ๗๘๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 178

๖. ทุปฺปพฺพชฺช ทุรภิรม ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา

ทุกฺโข สมานสวาโส ทุกฺขานุปติตทฺธคู

ตสฺมา น จทฺธคู สิยา น จ ทุกฺขานุปติโต สิยา.

"การบวชก็ยาก การยินดีก็ยาก เรือนที่ปกครอง

ไม่ดี ให้เกิดทุกข์ การอยู่ร่วมกับผู้เสมอกัน เป็น

ทุกข์ ผู้เดินทางไกล ก็ถูกทุกข์ติดตาม, เพราะฉะนั้น

ไม่พึงเป็นผู้เดินทางไกล และไม่พึงเป็นผู้อันทุกข์

ติดตาม."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุปฺกพฺพชฺช ความว่า ชื่อว่า การละ

กองแห่งโภคะน้อยก็ตาม มากก็ตาม และเครือญาติ บวชมอบอุระ (ถวาย

ชีวิต) ในศาสนานี้ เป็นการยาก.

บทว่า ทุรภิรม ความว่า การที่กุลบุตรแม้บวชแล้วอย่างนั้น สืบ

ต่อความเป็นไปแห่งชีวิต ด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา ยินดียิ่ง ด้วยสามารถ

แห่งการคุ้มครองคุณคือศีลอันไม่มีประมาณ และบำเพ็ญข้อปฏิบัติธรรม

อันสมควรแก่ธรรมให้บริบูรณ์ เป็นการยาก.

บทว่า ทุราวาสา ความว่า ก็ราชกิจของพระราชา อิสรกิจของ

อิสรชนทั้งหลาย อันผู้ครองเรือนต้องนำไป, ชนข้างเคียงและสมณ-

พราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม อันผู้ครองเรือนต้องสงเคราะห์, แม้เมื่อเป็น

อย่างนี้ การครองเรือนก็เต็มได้ยาก เหมือนหม้อที่ทะลุและมหาสมุทร;

เพราะฉะนั้น ชื่อว่าเรือนเหล่านั่น ที่ปกครองไม่ดีจึงชื่อว่าให้เกิดทุกข์

๑. ตามนัยอรรถกถา ประสงค์จะให้หมายความว่า การอยู่ร่วมกับผู้ไม่เสมอกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 179

คือให้ลำบากเพื่อจะอยู่ครอบครอง เพราะเหตุนั้นนั่นแล.

บาทพระคาถาว่า ทุกฺโข สมานสวาโส ความว่า จริงอยู่ ชนเหล่า

ใดเป็นคฤหัสถ์ แม้เสมอกันโดยชาติ โคตร ตระกูล และโภคะก็ตาม เป็น

บรรพชิต เสมอกันโดยคุณทั้งหลาย มีศีล อาจาระและพาหุสัจจะเป็นต้น

ก็ตาม (แต่) กล่าวคำเป็นต้นว่า "ท่านเป็นใคร ? เราเป็นใคร ?" เป็น

ผู้ขวนขวายในอธิกรณ์อยู่, ชนเหล่านั้น ชื่อว่าผู้ไม่เสมอกัน, ชื่อว่าการ

อยู่ร่วมกับชนเหล่านั้นเป็นทุกข์.

บาทพระคาถาว่า ทุกฺขานุปติตทฺธคู ความว่า ชนเหล่าใดชื่อว่า

ผู้เดินทางไกล เพราะความเป็นผู้ดำเนินไปสู่ทางไกล กล่าวคือวัฏฏะ; ชน

เหล่านั้นถูกทุกข์ติดตามแท้.

สองบทว่า ตสฺมา น จทฺธคู ความว่า แม้ความเป็นผู้อันทุกข์ติด

ตาม ก็เป็นทุกข์ แม้ความเป็นผู้เดินทางไกล ก็เป็นทุกข์; เพราะฉะนั้น

บุคคลไม่พึงเป็นผู้ชื่อว่าเดินทางไกล เพราะการเดินทางไกลกล่าวคือวัฏฏะ

ด้วย ไม่พึงเป็นผู้อันทุกข์มีประการดังกล่าวแล้วติดตามด้วย.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นเบื่อหน่ายในทุกข์ที่พระองค์ตรัสใน

ฐานะ ๕ แล้ว ทำลายสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ อันเป็นส่วนเบื้อง

สูง ๕ ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุวัชชีบุตร จบ.

๑. สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ. ๒. รูปราคะ อรูปราคะ มานะ

อุทธัจจะ อวิชชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 180

๗. เรื่องจิตตคฤหบดี [๒๒๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภจิตตคฤหบดี

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน " เป็นต้น.

ลาภสักการะเกิดขึ้นแก่จิตตคฤหบดี

เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว ในวรรณนาแห่งพระคาถา ในพาล-

วรรคว่า " อสนฺต ภาวมิจฺเฉยฺย " เป็นต้น. แม้พระคาถา (นี้) ก็มา

แล้วในพาลวรรคนั้นเหมือนกัน. จริงอยู่ ในพาลวรรคนั้น ข้าพเจ้ากล่าว

ไว้ว่า

(พระอานนทเถระ ทูลถามพระศาสดาว่า) " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ก็สักการะนี้เกิดขึ้นแก่คฤหบดีนั่น แม้ผู้มาสู่สำนักของพระองค์เท่านั้น

หรือ ? หรือแม้ไปในที่อื่นก็เกิดขึ้นเหมือนกัน ? "

พระศาสดาตรัสว่า " อานนท์ เมื่อจิตตคฤหบดีนั้นมาสู่สำนักของเรา

ก็ดี ไปในที่อื่นก็ดี, สักการะย่อมเกิดขึ้นทั้งนั้น, เพราะอุบาสกนี้ เป็นผู้มี

ศรัทธาเลื่อมใส สมบูรณ์ด้วยศีล, อุบาสกผู้เห็นปานนี้ ย่อมไปประเทศ

ใดๆ; ลาภสักการะย่อมเกิดแก่เขาในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว " ดังนี้แล้ว จึง

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๗. สทฺโธ สีเลน สมฺปนฺโน ยโสโภคสมปฺปิโต

ย ย ปเทส ภชติ ตตฺถ ตตฺเถว ปูชิโต.

" ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อมด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 181

ยศและโภคะ จะไปประเทศใด ๆ, ย่อมเป็นผู้อัน

เขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สทฺโธ ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยศรัทธา

อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ.

บทว่า สีเลน ความว่า ศีลมี ๒ อย่าง คือ ศีลสำหรับผู้ครองเรือน ๑

ศีลสำหรับผู้ไม่ครองเรือน ๑, ใน ๒ อย่างนั้น ศีลสำหรับผู้ครองเรือน

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในบทนี้, ความว่า ผู้ประกอบด้วยศีล

สำหรับผู้ครองเรือนนั้น.

บาทพระคาถาว่า ยโสโภคสมปฺปิโต ความว่า ผู้ประกอบแล้วด้วย

ยศสำหรับผู้ครองเรือน กล่าวคือความมีอุบาสก ๕๐๐ เป็นบริวาร เช่น

ของชนทั้งหลาย มีอนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้น และด้วยโภคะ ๒ อย่าง

(คือ) โภคะมีทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นต้นอย่างหนึ่ง คืออริยทรัพย์ ๗

อย่างหนึ่ง.

สองบทว่า ย ย เป็นต้น ความว่า กุลบุตรผู้เห็นปานนี้ ไปสู่ประเทศ

ใด ๆ ในทิศทั้งหลายมีทิศตะวันออกเป็นต้น; ย่อมเป็นผู้อันเขาบูชาแล้วใน

ประเทศนั้นๆ ด้วยลาภและสักการะเห็นปานนั้นเทียว.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องจิตตคฤหบดี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 182

๘. เรื่องนางจูฬสุภัททา [๒๒๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภธิดาของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ชื่อจูฬสุภัททา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ทูเร

สนฺโต ปกาเสนฺติ " เป็นต้น.

สองเศรษฐีทำกติกาต่อกัน

ดังได้สดับมา เศรษฐีบุตรชื่ออุคคะ ชาวอุคคนครได้เป็นสหายของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐี ตั้งแต่เวลาที่ยังเป็นหนุ่ม. สหายทั้งสองนั้น เรียน

ศิลปะอยู่ในตระกูลอาจารย์เดียวกัน ทำกติกาต่อกันว่า " ในเวลาที่เรา

ทั้งสองเจริญวัย เมื่อบุตรและธิดาเกิดแล้ว, ผู้ใดขอธิดาเพื่อประโยชน์แก่

บุตร: ผู้นั้นต้องให้ธิดาแก่ผู้นั้น " เขาทั้งสองเจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ใน

ตำแหน่งเศรษฐีในนครของตน ๆ.

สมัยหนึ่ง อุคคเศรษฐีประกอบการค้าขาย ได้ไปยังกรุงสาวัตถีด้วย

เกวียน ๕๐๐ เล่ม. อนาถบิณฑิกเศรษฐี เรียกนางจูฬสุภัททาธิดาของตน

มาสั่งว่า " แม่ บิดาของเจ้าชื่ออุคคเศรษฐีมา, กิจที่ควรทำแก่เขา จงเป็น

ภาระของเจ้า. "

อุคคเศรษฐีขอนางจูฬสุภัททาเพื่อบุตร

นางรับว่า " ดีละ " จึงจัดโภชนะมีแกงและกับเป็นต้น ด้วยมือของ

ตนเอง จำเดิมแต่วันอุคคเศรษฐีนั้นมา, เตรียมวัตถุต่าง ๆ มีระเบียบ

ดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้เป็นต้นไว้, ในเวลาบริโภค ก็จัดน้ำ

สำหรับอาบไว้ (คอย) ท่านเศรษฐีนั้น ตั้งแต่เวลาอาบน้ำไป ย่อมทำกิจ

ทุกอย่างสำเร็จเรียบร้อย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 183

อุคคเศรษฐี เห็นอาจารสมบัติของนางสุภัททานั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส

ในวัน หนึ่ง นั่งอยู่กับอนาถบิณฑิกเศรษฐี ด้วยกถาอันปรารภความสุข

แล้ว นึกได้ว่า " ในเวลายังเป็นหนุ่ม เราทั้งสองทำกติกาชื่ออย่างนี้ไว้

แล้ว " จึงขอนางจูฬสุภัททา เพื่อประโยชน์แก่บุตรของตน. แต่อุคค-

เศรษฐีนั้นโดยปกติเป็นมิจฉาทิฏฐิ; เพราะฉะนั้น อนาถบิณฑิกเศรษฐี

จึงกราบทูลความนั้นแด่พระทศพล อันพระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของ

อุคคเศรษฐีแล้วทรงอนุญาต, จึงปรึกษากับภรรยา แล้วรับคำของอุคค-

เศรษฐีนั้น กำหนดวัน (แต่งงาน) แล้ว, ทำสักการะเป็นอันมาก เหมือน

อย่างธนญชัยเศรษฐีทำให้นางวิสาขาผู้เป็นธิดา แล้วส่งไปฉะนั้น, เรียกนาง

สุภัททามาแล้ว ให้โอวาท ๑๐ ข้อ เป็นต้นว่า " แม่ ธรรมดาสตรีผู้อยู่

ในตระกูลพ่อผัว ไม่ควรนำไฟภายในออกไปภายนอก " โดยนัยที่ธนญชัย-

เศรษฐีให้แก่นางวิสาขานั่นแล เมื่อจะส่งไป ยึดเอากุฎุมพี ๘ คนให้เป็นผู้

รับรองว่า " ถ้าโทษของธิดาข้าพเจ้าเกิดขึ้นในที่ไปแล้ว, พวกท่านต้อง

ชำระ, " ในวันเป็นที่ส่งธิดานั้นไป ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว, ส่งธิดาไปด้วยสักการะเป็นอันมาก ประหนึ่งจะ

แสดงความเจริญแห่งผลสุจริตทั้งหลาย อันธิดาทำไว้แล้วในภพก่อนให้

ปรากฏแก่ชาวโลก. ในเวลานางถึงอุคคนครโดยลำดับ มหาชนพร้อมกับ

ตระกูลพ่อผัว ได้ทำการต้อนรับ.

ฝ่ายนางจูฬสุภัททานั่น แสดงตนแก่ชาวนครทั้งสิ้น เหมือนนาง

วิสาขา เพื่อทำสิริสมบัติของตนให้ปรากฏ ยืนอยู่บนรถเข้าไปสู่นคร รับ

เครื่องบรรณาการที่ชาวนครส่งมาแล้ว ส่งไป [ตอบแทน] แก่ชนเหล่า

๑. นั่งสนทนากันตามสบายกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 184

นั้น ๆ ด้วยสามารถแห่งวัตถุตามสมควร ได้ทำชาวนครทั้งสิ้นให้เนื่อง

เป็นอันเดียวกับด้วยคุณของตน.

พ่อผัวให้นางจูฬสุภัททาไหว้ชีเปลือย

ก็ในวันมงคลเป็นต้น พ่อผัวของนาง เมื่อจะทำสักการะแก่พวก

ชีเปลือย ส่งไปด้วยคำว่า " นางจงมาไหว้พระสมณะทั้งหลายของพวกเรา. "

นางไม่อาจเพื่อจะดูชีเปลือยทั้งหลาย เพราะละอาย ไม่ปรารถนาจะไป. พ่อ

ผัวนั้น แม้ส่ง (ข่าว) ไปบ่อย ๆ ถูกนางห้ามแล้ว จึงโกรธพูดว่า " พวก

เธอจงขับไล่มันไปเสีย. " นางคิดว่า " พ่อผัวไม่อาจยกโทษแก่เรา เพราะ

เหตุไม่สมควรได้ " ให้คนเรียกกุฎุมพีมาแล้ว บอกความนั้น. กุฏุมพี

เหล่านั้น ทราบความที่นางไม่มีโทษ จึงให้เศรษฐียินยอมแล้ว. เขาบอก

แก่ภรรยาว่า " ลูกสะใภ้นี้ไม่ไหว้พระสมณะทั้งหลายของเรา ด้วยเข้าใจว่า

" เป็นผู้ไม่มีความละอาย."

ภรรยาเศรษฐีนั้น คิดว่า " พวกสมณะของลูกสะใภ้นี้ เป็นเช่นไร

หนอแล ? นางสรรเสริญพระสมณะเหล่านั้นเหลือเกิน " ให้คนเรียกนาง

มาแล้ว พูดว่า :-

" พวกพระสมณะของเจ้า เป็นเช่นไร ? เจ้าจึง

สรรเสริญพระสมณะเหล่านั้นนักหนา. พระสมณะ

เหล่านั้น มีปกติอย่างไร ? มีสมาจารอย่างไร ? เจ้า

อันเราถามแล้ว จงบอกเรื่องนั้นแก่เรา."

ลำดับนั้น นางสุภัททาประกาศคุณทั้งหลายของพระพุทธเจ้า และ

พระสาวกของพระพุทธเจ้า แก่แม่ผัวนั้นอยู่ ให้แม่ผัวยินดีแล้วด้วยคำ

ทั้งหลายมีเป็นต้นอย่างนี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 185

ลูกสะใภ้บอกสมณภาพแก่แม่ผัว

" ท่านผู้มีอินทรีย์สงบ มีใจสงบ ท่านเดิน

ยืนเรียบร้อย, มีจักษุทอดลง พูดพอประมาณ,

พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนั้น. กายกรรมของท่าน

สะอาด. วจีกรรมไม่มัวหมอง, มโนกรรมหมดจดดี.

พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนั้น. ท่านไม่มีมลทิน มี

รัศมีดุจสังข์และมุกดา บริสุทธิ์ทั้งภายใน ภายนอก

เต็มแล้วด้วยธรรมอันหมดจดทั้งหลาย. พวกสมณะ

ของฉันเป็นเช่นนั้น. โลกฟูขึ้นเพราะลาภ และฟุบลง

เพราะเสื่อมลาภ, ท่านผู้ตั้งอยู่อย่างเดียวเพราะลาภ

และเสื่อมลาภ. พวกสมณะของฉันเป็นเช่นนั้น. โลก

ฟูขึ้นเพราะยศ และฟุบลงเพราะเสื่อมยศ, ท่านผู้ตั้ง

อยู่อย่างเดียวเพราะยศและเสื่อมยศ, พวกสมณะ

ของฉันเป็นเช่นนั้น. โลกฟูขึ้นเพราะสรรเสริญ และ

ฟุบลงแม้เพราะนินทา, ท่านผู้สม่ำเสมอในเพราะ

นินทาและสรรเสริญ, พวกสมณะของฉันเป็นเช่น

นั้น. โลกฟูขึ้นเพราะสุข และฟุบลงแม้เพราะทุกข์,

ท่านไม่หวั่นไหวในเพราะสุขและทุกข์, พวกสมณะ

ของฉันเป็นเช่นนั้น. "

นางจูฬสุภัททานิมนต์ภิกษุสงฆ์ฉันอาหาร

ลำดับนั้น แม่ผัวกล่าวกะนางว่า " เจ้าอาจแสดงสมณะทั้งหลายของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 186

เจ้า แม้แก่พวกฉันได้หรือ " เมื่อนางตอบว่า " อาจ " จึงพูดว่า " ถ้า

กระนั้น เจ้าจงทำโดยประการที่พวกฉันจะเห็นสมณะเหล่านั้น." นางรับว่า

" ดีละ " ตระเตรียมมหาทานเพื่อภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว

ยืนอยู่บนพื้นปราสาทชั้นบน ผินหน้าไปเฉพาะพระเชตวัน ไหว้โดยเคารพ

ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ระลึกถึงพระพุทธคุณทั้งหลาย ทำการบูชาด้วย

ของหอม เครื่องอบ ดอกไม้และธูป กล่าว (อัญเชิญ) ว่า " ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้านิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อ

ฉันเช้าในวันรุ่งขึ้น, ด้วยสัญญาณของข้าพเจ้านี้ ขอพระศาสดาจงทราบว่า

เป็นผู้อันข้าพเจ้านิมนต์แล้ว " ดังนี้แล้ว จึงซัดดอกมะลิ ๘ กำไปใน

อากาศ.

ดอกไม้ทั้งหลาย ลอยไปเป็นเพดานอันสำเร็จด้วยระเบียบดอกไม้

ได้คงที่อยู่เบื้องบนพระศาสดา ผู้ทรงแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔.

สัตบุรุษย่อมปรากฏในที่ไกล

ในขณะนั้น แม้อนาถบิณฑิกเศรษฐีสดับธรรมกถาแล้ว นิมนต์พระ-

ศาสดา เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้. พระศาสดาตรัสว่า " คฤหบดี ตถาคต

รับภัตเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้แล้ว," เมื่ออนาถบิณฑิกเศรษฐีกราบทูลว่า

" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนอื่นมาก่อนกว่าข้าพระองค์ไม่มี, พระองค์ทรง

รับภัตของใครหนอแล ? " ตรัสว่า " คฤหบดี นางจูฬสุภัททานิมนต์ไว้

แล้ว." เมื่อท่านเศรษฐีกล่าวว่า " นางสุภัททาอยู่ในที่ไกลที่สุดประมาณ

๑๒๐ โยชน์แต่ที่นี้มิใช่หรือ ? พระเจ้าข้า " ตรัสว่า " จ้ะ คฤหบดี. ก็สัต-

บุรุษทั้งหลาย แม้อยู่ในที่ไกล ย่อมปรากฏเหมือนยืนอยู่เฉพาะหน้า "

ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 187

๘. ทูเร สนฺโต ปกาเสนฺติ หิมวนฺโตว ปพฺพโต

อสนฺเตตฺถ น ทิสฺสนฺติ รตฺติขิตฺตา ยถา สรา.

" สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมปรากฏในที่ไกล เหมือน

ภูเขาหิมพานต์, (ส่วน) อสัตบุรุษ ย่อมไม่ปรากฏ

ในที่นี้, เหมือนลูกศรอันเขาซัด (ยิง) ไปในราตรี

ฉะนั้น. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺโต เป็นต้น ความว่า ปราชญ์

ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่าสัตบุรุษ เพราะความที่กิเลสทั้งหลาย

มีราคะเป็นต้น สงบแล้ว, แต่ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์

สัตว์ผู้มีอธิการ (บุญ) อันทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าในปางก่อน มีกุศล-

มูลสั่งสมไว้แล้ว (และ) อบรมภาวนาแล้วว่า " สัตบุรุษ. "

บทว่า ปกาเสนฺติ ความว่า แม้ยืนอยู่ที่ไกล เมื่อมาสู่คลองพระญาณ

แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าย่อมปรากฏได้.

บทว่า หิมวนฺโตว ความว่า เหมือนอย่างว่า ภูเขาหิมพานต์กว้าง

๓,๐๐๐ โยชน์ สูง ๕๐๐ โยชน์ ประดับด้วยยอด ๘๔,๐๐๐ ย่อมปรากฏ

แม้แก่ชนทั้งหลายผู้ยืนอยู่ในที่ไกล เหมือนตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฉันใด; สัต-

บุรุษทั้งหลายย่อมปรากฏ ฉันนั้น.

บทว่า อสนฺเตตฺถ ความว่า บุคคลพาล หนักในทิฏฐธรรม มีปร-

โลกอันผ่านไปแล้ว เห็นแก่อามิส บวชเพื่อประโยชน์แก่ชีวิต ชื่อว่า

อสัตบุรุษ, อสัตบุรุษเหล่านั้น แม้นั่งในที่นี้ คือในที่ใกล้มณฑลแห่งพระ-

ชานุเบื้องขวาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏ คือย่อมไม่ทราบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 188

สองบทว่า รตฺตึ ขิตฺตา คือเหมือนลูกศรที่ยิงไปในราตรี คือในที่

มืด ประกอบด้วยองค์ ๔.

อธิบายว่า อสัตบุรุษเหล่านั้น ย่อมไม่ปรากฏเพราะความไม่มีแห่ง

บุรพเหตุ ซึ่งเป็นอุปนิสัยเห็นปานนั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น.

วิสสุกรรมนิรมิตเรือนยอด ๕๐๐ หลัง

แม้ท้าวสักกเทวราชแล ทรงทราบว่า " พระศาสดาทรงรับนิมนต์

ของนางจูฬสุภัททาแล้ว " ทรงบังคับวิสสุกรรมเทพบุตรว่า " ท่านจงนิรมิต

เรือนยอด ๕๐๐ หลัง แล้วนำภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ไปสู่

อุคคนครในวันพรุ่งนี้.

ในวันรุ่งขึ้น วิสสุกรรมเทพบุตรนั้น นิรมิตเรือนยอด ๕๐๐ หลัง

แล้ว ได้ยืนอยู่ที่ประตูแห่งพระเชตวัน. พระศาสดาทรงเลือกแล้ว พา

ภิกษุขีณาสพผู้บริสุทธิ์ทั้งนั้น ๕๐๐ รูป พร้อมด้วยบริวารประทับนั่งใน

เรือนยอดแล้ว ได้เสด็จไปยังอุคคนคร.

อุคคเศรษฐีกลับเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

แม้อุคคเศรษฐีพร้อมด้วยบริวาร แลดูทางเสด็จมาแห่งพระตถาคต

โดยนัยอันนางสุภัททาให้แล้ว เห็นพระศาสดาเสด็จมาด้วยสิริสมบัติใหญ่

เป็นผู้มีใจเลื่อมใสแล้ว ทำสักการะด้วยวัตถุทั้งหลาย มีระเบียบดอกไม้

เป็นต้น ต้อนรับแล้ว ถวายบังคม ถวายมหาทาน นิมนต์ซ้ำอีก ได้

ถวายมหาทานสิ้น ๗ วัน.

๑. วันแรม ๑๔-๑๕ ค่ำ ๑ เที่ยงคืน ๑ ดงทึบ ๑ ก้อนเมฆ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 189

แม้พระศาสดา ทรงกำหนดธรรมเป็นที่สบายของเศรษฐีนั้นแล้ว

ทรงแสดงธรรม. สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ทำเศรษฐีนั้นให้เป็นต้น ได้ตรัสรู้

ธรรมแล้ว.

พระศาสดา เพื่อทรงอนุเคราะห์นางสุภัททา จึงรับสั่งให้พระ-

อนุรุทธเถระกลับ ด้วยพระดำรัสว่า " เธอจงพักอยู่ในที่นี่แหละ " แล้วได้

เสด็จไปยังกรุงสาวัตถีทีเดียว. ตั้งแต่นั้นมา ชาวนครนั้นได้มีศรัทธาเลื่อมใส

ดังนี้แล.

เรื่องนางจูฬสุภัททา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 190

๙. เรื่องพระเถระชื่อเอกวิหารี [๒๒๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ

ชื่อเอกวิหารี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เอกาสน " เป็นต้น.

พวกภิกษุทูลเรื่องพระเถระแด่พระศาสดา

ได้ยินว่า พระเถระนั้นได้เป็นผู้ในปรากฏในระหว่างแห่งบริษัท ๔ ว่า

" นั่งอยู่แต่ผู้เดียว เดินแต่ผู้เดียว ยืนแต่ผู้เดียว." ต่อมาภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลพระเถระนั้นแด่พระตถาคตว่า " พระเถระนี้ ชื่อว่ามีรูปอย่างนี้

พระเจ้าข้า."

ภิกษุพึงเป็นผู้สงัด

พระศาสดาประทานสาธุการว่า " สาธุ สาธุ " ดังนี้แล้วทรงสั่งสอน

ว่า " ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้สงัด " แล้วตรัสอานิสงส์ในวิเวก แล้วจึง

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๙. เอกาสน เอกเสยฺย เอโก จรมตนฺทิโต

เอโก ทมยมตฺตาน วนนฺเต รมิโต สิยา.

" ภิกษุพึงเสพที่นั่งคนเดียว ที่นอนคนเดียว, พึง

เป็นผู้เดียว ไม่เกียจคร้านเที่ยวไปเป็นผู้เดียว ทรมาน

ตน เป็นผู้ยินดียิ่งไปราวป่า."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เอกาสน เอกเสยฺย ความว่า ที่

นั่งของภิกษุผู้ไม่ละมูลกัมมัฏฐาน นั่งแม้ในท่ามกลางแห่งภิกษุตั้งพัน ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 191

การทำไว้ในใจนั้นนั่นแล ชื่อว่า ที่นั่งคนเดียว. ก็ที่นอนของภิกษุผู้เข้าไป

ตั้งสติไว้แล้วนอนเหนือที่นอนอันเขาปูไว้ ในปราสาทเช่นกับโลหปราสาท

ก็ดี ในท่ามกลางภิกษุตั้งพันรูปก็ดี เป็นที่รองผ้าลาดอันวิจิตร อันควร

แก่ค่ามาก โดย (ตะแคง) ข้างขวา ด้วยมนสิการในมูลกัมมัฏฐาน ชื่อว่า

ที่นอนคนเดียว. ภิกษุพึงเสพที่นั่งคนเดียวและที่นอนคนเดียวเห็นปานนั้น.

บทว่า อตนฺทิโต ความว่า ภิกษุเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน ด้วยการอาศัย

กำลังแข้งเลี้ยงชีวิต เที่ยวไปแต่ผู้เดียวในทุก ๆ อิริยาบถ.

บาทพระคาถาว่า เอโก ทมยมตฺตาน ความว่า เป็นผู้ ๆ เดียวเท่านั้น

ทรมานตน ด้วยสามารถแห่งการตามประกอบกัมมัฏฐานในที่ทั้งหลายมี

ที่พักกลางคืนเป็นต้น แล้วบรรลุมรรคและผล.

บาทพระคาถาว่า วนนฺเต รมิโต สิยา ความว่า ภิกษุเมื่อทรมาน

ตนอย่างนั้น ชื่อว่า พึงเป็นผู้ยินดียิ่ง ในราวป่าอันสงัดจากเสียงทั้งหลาย

มีเสียงสตรีและบุรุษเป็นต้นทีเดียว. เพราะภิกษุผู้มีปกติอยู่พลุกพล่าน ไม่

อาจทรมานตนอย่างนั้นได้.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น. ตั้งแต่นั้นมา มหาชนย่อมปรารถนาการอยู่คนเดียวเท่านั้น

ดังนี้แล.

เรื่องพระเถระชื่อเอกวิหารี จบ.

ปกิณณกวรรควรรณนา จบ

วรรคที่ ๒๑ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 192

คาถาธรรมบท

นิรยวรรคที่ ๒๒

ว่าด้วยผู้มีธรรมเลวไปนรก

[๓๒] ๑. ผู้มักพูดคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก หรือแม้

ผู้ใดทำแล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้ามิได้ทำ ชนแม้ทั้งสอง

นั้น เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทราม ละไปในโลกอื่นแล้ว

ย่อมเป็นผู้เสมอกัน.

๒. ชนเป็นอันมาก มีคอพันด้วยผ้ากาสาวะ เป็น

ผู้มีธรรมลามก ไม่สำรวม ชนผู้ลามกเหล่านั้น ย่อม

เข้าถึงนรก เพราะกรรมลามกทั้งหลาย.

๓. ก้อนเหล็กอันร้อนประหนึ่งเปลวไฟ ภิกษุ

บริโภคยังดีกว่าภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวม บริโภคก้อน

ข้าวของชาวแว่นแคว้น จะประเสริฐอะไร.

๔. นระผู้ประมาทชอบเสพภรรยาของคนอื่น

ย่อมถึงฐานะ ๔ อย่าง คือ การได้สิ่งที่มิใช่บุญ เป็น

ที่ ๑ การนอนไม่ได้ตามความปรารถนา เป็นที่ ๒

การนินทา เป็นที่ ๓ นรก เป็นที่ ๔. การได้สิ่ง

มิใช่บุญอย่างหนึ่ง คติลามกอย่างหนึ่ง ความยินดี

ของบุรุษผู้กลัว กับด้วยหญิงผู้กลัว มีประมาณน้อย

อย่างหนึ่ง พระราชาย่อมลงอาญาอันหนักอย่างหนึ่ง

เพราะฉะนั้น นระไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น.

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๙ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 193

๕. หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมตามบาดมือ

นั่นเองฉันใด คุณเครื่องเป็นสมณะที่บุคคลลูบคลำ

ไม่ดี ย่อมคร่าเขาไปในนรกฉันนั้น. การงานอย่าง

ใดอย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน วัตรใดที่เศร้าหมอง พรหม-

จรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ กรรมทั้ง ๓ อย่างนั้น

ย่อมไม่มีผลมาก. หากว่าบุคคลพึงทำกรรมใด ควร

ทำกรรมนั้นให้จริง ควรบากบั่นทำกรรมนั้นให้มั่น

เพราะว่าสมณธรรมเครื่องละเว้นที่ย่อหย่อน ยิ่งเกลี่ย

ธุลีลง.

๖. กรรมชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า (เพราะ)

กรรมชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง ส่วนบุคคลทำ

กรรมใดแล้ว ไม่ตามเดือดร้อน กรรมนั้นเป็นกรรมดี

อันบุคคลทำแล้วดีกว่า.

๗. ท่านทั้งหลายควรรักษาตน เหมือนกับพวก

มนุษย์ป้องกันปัจจันตนคร ทั้งภายในและภายนอก

ฉะนั้น. ขณะอย่าได้ล่วงท่านทั้งหลายเสีย เพราะว่า

ชนทั้งหลายผู้ล่วงเสียงขณะ เป็นผู้เบียดเสียดกัน

ในนรก เศร้าโศกอยู่.

๘. สัตว์ทั้งหลาย ย่อมละอายเพราะสิ่งอันไม่

ควรละอาย ไม่ละอายเพราะสิ่งอันควรละอาย สมา-

ทานมิจฉาทิฏฐิ ย่อมถึงทุคติ. สัตว์ทั้งหลายย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 194

ละอายเพราะสิ่งอันควรละอาย สมาทานมิจฉาทิฏฐิ

ย่อมถึงทุคติ สัตว์ทั้งหลายมีปกติเห็นในสิ่งอันไม่ควร

กลัวว่าควรกลัว และมีปกติเห็นในสิ่งอันควรกลัวว่าไม่

ควรกลัว สมาทานมิจฉาทิฏฐิ ย่อมเข้าถึงทุคติ.

๙. สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษ ในธรรม

ที่หาโทษนี้ได้ มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ ในธรรมที่

มีโทษ เห็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ

สัตว์ทั้งหลายรู้ธรรมที่มีโทษโดยความเป็นธรรมมีโทษ

รู้ธรรมที่หาโทษมิได้โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้

เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ ย่อมไปสู่สุคติ.

จบนิรยวรรคที่ ๒๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 195

๒๒. นิรยวรรควรรณนา

๑. เรื่องนางปริยาชิกาชื่อสุนทรี [๒๒๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางปริพาชิกา

ชื่อสุนทรี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อภูตวาที " เป็นต้น.

พวกเดียรถีย์คิดตัดลาภสักการะพระศาสดา

เรื่องมาโดยพิสดารในอุทานนั่นแลว่า " ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าเป็นผู้อันมหาชนสักการะ ทำความเคารพ นับถือ บูชาแล้ว "

เป็นต้น. ส่วนเนื้อความย่อในเรื่องนี้ มีดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า เมื่อลาภสักการะเช่นกับห้วงน้ำใหญ่แห่งปัญจมหานที เกิด

ขึ้นแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์แล้ว, พวกอัญญเดียรถีย์ก็เสื่อมลาภ

สักการะ เป็นผู้อับแสง ประหนึ่งหิ่งห้อยในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ร่วม

ประชุมปรึกษากันว่า " ตั้งแต่กาลแห่งพระสมณโคดมอุบัติขึ้น พวกเรา

ก็เสื่อมลาภสักการะ, ใคร ๆ ย่อมไม่รู้แม้ความที่เราทั้งหลายมีอยู่, พวกเรา

จะพึงรวมกันกับใครหนอ ? ก่อโทษให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดม แล้วยัง

ลาภสักการะของเธอให้เสื่อมสูญ. "

พวกเดียรถีย์ให้นางสุนทรี ทำลายพระเกียรติพระศาสดา

ครั้งนั้น ความคิดได้เกิดขึ้นแก่อัญญเดียรถีย์เหล่านั้นว่า " พวกเรา

ร่วมกับนางสุนทรีจักสามารถ (ทำได้)." วันหนึ่ง พวกเขา (แกล้ง) ไม่

สนทนากะนางสุนทรี ผู้เข้าไปยังอารามเดียรถีย์ ไหว้แล้วยืนอยู่. นางแม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 196

ปราศรัยบ่อยๆ ก็ไม่ได้คำตอบ จึงถามว่า " พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ถูก

ใครๆ เบียดเบียนบ้างหรือ ?"

เดียรถีย์. น้องหญิง นางไม่เห็นพระสมณโคดมที่เที่ยวเบียดเบียน

พวกเรา ทำให้เสื่อมลาภสักการะหรือ ?

นางสุนทรี. ดิฉันควรจะทำอย่างไร ในเรื่องนี้ ?

เดียรถีย์. น้องหญิง นางแลมีรูปสวย ถึงความเป็นผู้งามเลิศ จง

ยกโทษขึ้นแก่พระสมณโคดม แล้วให้มหาชนเชื่อถ้อยคำ ทำให้เสื่อมลาภ

สักการะ.

นางสุนทรีนั้น รับรองว่า " ดีละ " แล้วหลีกไป ตั้งแต่นั้นมา นาง

ถือเอาสิ่งของมีระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ การบูรและของ

เผ็ดร้อนเป็นต้น เดินบ่ายหน้าตรงไปยังพระเชตวัน ในเวลาที่มหาชนฟัง

พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วกลับเข้าพระนครในเวลาเย็น, ถูก

มหาชนถามว่า " ไปไหน " ก็ตอบว่า " ไปสำนักพระสมณโคดม, ฉันอยู่

ในพระคันกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดมนั้น " แล้วอยู่ในอารามเดียรถีย์

แห่งใดแห่งหนึ่ง ย่างลงสู่ทาง (ที่ไปยัง) พระเชตวันแต่เช้าตรู่ เดินบ่ายหน้า

สู่พระนคร, นางถูกมหาชนถามว่า " ไปไหนสุนทรี ? " ตอบว่า " ฉันอยู่

ในพระคันกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดม ให้ท่านยินดีด้วยความยินดี

เพราะกิเลสแล้ว จึงกลับมา."

พวกภิกษุถูกพวกเดียรถีย์หาว่าฆ่านางสุนทรี

แต่นั้นมา โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน พวกเดียรถีย์ให้กหาปณะ

แก่พวกนักเลงแล้วกล่าวว่า " พวกท่านจงไปฆ่านางสุนทรี แล้วหมกไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 197

ที่ระหว่างกองหยากเยื่อแห่งระเบียบดอกไม้ ที่ใกล้พระคันธกุฎีของพระ-

สมณโคดมแล้วกลับมา. " พวกนักเลงก็ได้ทำอย่างนั้น.

ลำดับนั้น เดียรถีย์ทั้งหลายได้ทำความโกลาหลขึ้นว่า " พวกเรา

ไม่เห็นนางสุนทรี," แล้วทูลแด่พระราชา ถูกพระราชาตรัสถามว่า " พวก

ท่านมีความสงสัยที่ไหน ? " ทูลว่า " นางสุนทรีอยู่ในพระเชตวันสิ้นวัน

เท่านี้, พวกอาตมภาพไม่ทราบความเป็นไปของนางในพระเชตวันนั้น."

อันพระราชา ทรงอนุญาตว่า " ถ้ากระนั้น พวกท่านจงไป, ค้นพระ-

เชตวันนั้นดูเถิด," พาพวกอุปัฏฐากของตนไปยังพระเชตวัน ค้นอยู่ที่พบ

นางสุนทรีนั้น ในระหว่างกองหยากเยื่อแห่งระเบียบดอกไม้ จึงยกขึ้นเตียง

เข้าไปยังพระนคร ทูลแด่พระราชาว่า " พระสาวกของพระสมณโคดมฆ่า

นางสุนทรี แล้วหมกไว้ในระหว่างกองหยากเยื่อแห่งระเบียบดอกไม้ ด้วย

คิดว่า ' จักปกปิดกรรมลามกที่พระศาสดาทำ." พระราชา ตรัสว่า " ถ้า

อย่างนั้น พวกท่านจงไปเที่ยวประกาศให้ตลอดพระนครเถิด. " พวก

เดียรถีย์พากันกล่าวคำเป็นต้นว่า " ขอท่านทั้งหลาย จงดูกรรมของพวก

สมณสักยบุตรเถิด " ในถนนแห่งพระนครแล้ว ได้ไปยังพระทวารแห่ง

พระราชนิเวศน์อีก. พระราชา รับสั่งให้ยกสรีระของนางสุนทรีขึ้นใส่แคร่

ในป่าช้าผีดิบแล้วให้รักษาไว้. ชาวพระนครสาวัตถีเว้นพระอริยสาวก

ที่เหลือโดยมากพากันกล่าวคำเป็นต้นว่า " ขอท่านทั้งหลาย จงดูกรรมของ

พวกสมณสักยบุตรเถิด " แล้วเที่ยวด่าพวกภิกษุ ในภายในพระนครบ้าง

ภายนอกพระนครบ้าง ในป่าบ้าง. ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่

พระตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 198

พระศาสดาตรัสว่า " ถ้าอย่างนั้น แม้พวกเธอจงกลับโจทพวก

มนุษย์เหล่านั้นอย่างนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑. อภูตวาที นิรย อุเปติ

โย วาปิ กตฺวา น กโรมีติ จาห

อุโภปิ เต เปจฺจ สมา ภวนฺติ

นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ.

" ผู้มักพูดคำไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก, หรือแม้

ผู้ใดทำแล้ว กล่าวว่า 'ข้าพเจ้ามิได้ทำ,' ชนแม้ทั้ง

สองนั้น เป็นมนุษย์มีกรรมเลวทราม ละไปในโลก

อื่นแล้ว ย่อมเป็นผู้เสมอกัน. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภูตวาที ได้แก่ ผู้ไม่เห็นโทษของ

บุคคลอื่นเลย ทำการกล่าวเท็จ ตู่ผู้อื่นด้วยคำเปล่า.

บทว่า กตฺวา ความว่า หรือผู้ใดทำกรรมลามกแล้ว กล่าวว่า

" ข้าพเจ้ามิได้ทำกรรมนั่น. "

หลายบทว่า เปจฺจ สมา ภวนฺติ ความว่า ชนแม้ทั้งสองนั้นไปสู่

ปรโลก ย่อมเป็นผู้เสมอกันโดยคติ เพราะการเข้าถึงนรก, คติของชน

เหล่านั้นเท่านั้น ท่านผู้รู้กำหนดไว้แล้ว, แต่อายุของเขาท่านมิได้กำหนด

ไว้; เพราะว่าชนทั้งหลายทำบาปกรรมไว้มาก ย่อมไหม้ในนรกนาน ทำ

บาปกรรมไว้น้อย ย่อมไหม้สิ้นกาลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น; ก็เพราะกรรมที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 199

ลามกของชนแม้ทั้งสองนั้นนั่นเอง (เป็นเหตุ), เพราะฉะนั้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " นิหีนกมฺมา มนุชา ปรตฺถ. "

ก็บทว่า ปรตฺถ สัมพันธ์เข้ากับบทว่า ' เปจฺจ ' ข้างหน้า. อธิบาย

ว่า ชนผู้มีกรรมเลวทรามเหล่านั้น ละไปในโลกอื่น คือไปจากโลกนี้

ย่อมเป็นผู้เสมอกันในปรโลก.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

พวกฆ่านางสุนทรีถูกประหารชีวิต

พระราชา ทรงส่งราชบุรุษไปด้วยรับสั่งว่า " พวกเธอจงรู้ความที่

คนอื่นฆ่านางสุนทรี. " ครั้งนั้น นักเลงเหล่านั้นดื่มสุราอยู่ด้วยกหาปณะ

เหล่านั้น ทำการทะเลาะกันและกัน. คนหนึ่งกล่าวกะคนหนึ่งว่า " แก

ฆ่านางสุนทรีด้วยประหารเพียงทีเดียวแล้ว หมกไว้ในระหว่างกองหยาก-

เยื่อแห่งระเบียบดอกไม้ ดื่มสุราด้วยกหาปณะที่ได้มาจากการประหารนั้น,

เรื่องนั้นยกเลิกเสียเถิด." พวกราชบุรุษจึงจับนักเลงนั้นไปแสดงแด่พระ-

ราชา. ลำดับนั้น พระราชา ตรัสถามนักเลงเหล่านั้นว่า " พวกเธอฆ่า

นางสุนทรีหรือ ? "

พวกนักเลง. ข้าแต่สมมติเทพ พระเจ้าข้า.

พระราชา. ใครใช้พวกเธอให้ฆ่า ?

พวกนักเลง. พวกอัญญเดียรถีย์ พระเจ้าข้า.

พระราชา รับสั่งให้เรียกพวกเดียรถีย์มาแล้ว ทรงบังคับว่า " พวก

เธอจงไปเที่ยวกล่าวทั่วพระนครอย่างนี้ว่า ' นางสุนทรีนี้ ถูกพวกข้าพเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 200

ผู้ใคร่ยกโทษแก่พระสมณโคดมขึ้น ฆ่าแล้ว; โทษของพระสาวกของ

พระสมณโคดมไม่มี, เป็นโทษของข้าพเจ้าฝ่ายเดียว." พวกเดียรถีย์ได้ทำ

อย่างนั้น. มหาชนผู้เขลาเชื่อแล้วในคราวนั้น. พวกเดียรถีย์ก็ดี พวก

นักเลงก็ดี ถึงอาชญาเพราะการฆ่าคน. จำเดิมแต่นั้นมา สักการะได้มี

มากแก่พระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย (ตามเคย) ดังนี้แล.

เรื่องนางปริพาชิกาชื่อสุนทรี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 201

๒. เรื่องสัตว์ผู้ถูกทุกข์เบียดเบียน [๒๒๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสัตว์ทั้งหลาย

ผู้อันอานุภาพแห่งผลทุจริตเบียดเบียน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า

" กาสาวกณฺา " เป็นต้น.

พระมหาโมคคัลลานะเห็นเปรตมีแต่ร่างกระดูก

ความพิสดารว่า ท่านพระมหาโมคคัลลานะลงจากภูเขาคิชฌกูฏ

พร้อมกับพระลักขณเถระ เห็นอัตภาพของเหล่าเนรยิกสัตว์มีเปรตผู้มีแต่

ร่างกระดูกเป็นต้น จึงทำการยิ้มแย้ม ถูกพระลักขณเถระถามถึงเหตุที่ทำ

การยิ้มแย้ม ก็กล่าวว่า " ผู้มีอายุ (กาลนี้ ) มิใช่กาลแห่งปัญหานี้, ท่าน

พึงถามผมในสำนักพระตถาคต " อันพระเถระถามในสำนักพระตถาคต

แล้ว บอกความที่ตนเห็นเนรยิกสัตว์มีเปรตผู้มีแต่ร่างกระดูกเป็นต้นแล้ว

จึงบอกกะสหธรรมิก ๕ เหล่า ผู้เร่าร้อนอยู่กับด้วยสมณบริขารมีบาตรจีวร

และประคดเป็นต้น โดยนัยว่า " ผู้มีอายุ ผมลงจากภูเขาคิชฌกูฏ ได้

เห็นภิกษุในพุทธศาสนานี้ไปสู่อากาศ, แม้กายของภิกษุนั้นก็เร่าร้อน."

ผู้มีกรรมลามกย่อมเข้าถึงนรก

พระศาสดาตรัสบอกความที่สัตว์เหล่านั้นบวชในศาสนาพระกัสสป-

ทศพลแล้ว ไม่สามารถทำให้สมควรแก่บรรพชา เป็นผู้ลามก เมื่อจะทรง

แสดงผลแห่งทุจริตกรรมของภิกษุผู้ลามกทั้งหลาย ซึ่งนั่งอยู่แล้ว ณ ที่นั้น

ในขณะนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๒. ภาสาวกณฺา พหโว ปาปธมฺมา อสญฺตา

ปาปา ปาเปหิ กมฺเมหิ นิรยนฺเต อุปปชฺชเร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 202

" ชนเป็นอันมาก มีคอพันด้วยผ้ากาสาวะ เป็น

ผู้มีธรรมลามก ไม่สำรวม, ชนผู้ลามกเหล่านั้น ย่อม

เข้าถึงนรกเพราะกรรมลามกทั้งหลาย. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาสาวกณฺา ได้แก่ ผู้มีคอพันด้วย

ผ้ากาสาวะ.

บทว่า ปาปธมฺมา แปลว่า ผู้มีธรรมลามก.

บทว่า อสญฺตา ได้แก่ ผู้เว้นจากการสำรวมทางกายเป็นต้น.

อธิบายว่า บุคคลผู้ลามกเห็นปานนั้น ย่อมเข้าถึงนรก เพราะอกุศลกรรม

ทั้งหลายที่ตนทำไว้. ชนเหล่านั้น ไหม้ในนรกนั้นแล้ว จุติจากนรกนั้น

ย่อมไหม้แม้ในเปรตวิสัยทั้งหลายอย่างนั้น เพราะกรรมอันเผล็ดผลที่ยัง

เหลือ.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องสัตว์ผู้ถูกทุกข์เบียดเบียน จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 203

๓. เรื่องภิกษุผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำชื่อวัคคุมุทา [๒๒๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อเสด็จอาศัยเมืองไพศาลี ประทับอยู่ในป่ามหาวัน

ทรงปรารภเหล่าภิกษุอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำวัคคุมุทา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า

" เสยฺโย อโยคุโฬ " เป็นต้น.

พระศาสดาทรงติเตียนภิกษุเห็นแก่ท้อง

เรื่อง (มี) มาแล้วในอุตตริมนุสสธรรมปาราชิกสิกขาบทนั้นแล. ใน

กาลนั้นแล พระศาสดาตรัสกะพระภิกษุเหล่านั้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย ก็

พวกเธอพากันกล่าวคุณแห่งอุตตริมนุสสธรรมของกันและกัน แก่พวก

คฤหัสถ์เพื่อประโยชน์แก่ท้องหรือ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ขอรับ

พระเจ้าข้า " ดังนี้แล้ว, ทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยาย แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. เสยฺโย อโยคุโฬ ภุตฺโต ตตฺโต อคฺคิสิขูปโม

ยญฺเจ ภุญฺเชยฺย ทุสฺสีโล รฏฺปิณฺฑ อสญฺโต.

" ก้อนเหล็กอันร้อนประหนึ่งเปลวไฟ ภิกษุ

บริโภคยังดีกว่า, ภิกษุผู้ทุศีล ไม่สำรวม บริโภค

ก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น จะประเสริฐอะไร ? "

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ยญฺเจ ภุญฺเชยฺย ความว่า ภิกษุ

ผู้ทุศีล คือผู้ไม่มีศีล ไม่สำรวมทางกายเป็นต้น ปฏิญญาตนว่า " เราเป็น

สมณะ " รับก้อนข้าวที่ชาวแว่นแคว้นถวายด้วยศรัทธา อันชื่อว่ารัฏฐ-

ปิณฑะอันใด แล้วพึงฉัน, ก้อนเหล็กอันร้อนมีสีประหนึ่งไฟ อันภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 204

บริโภคแล้ว ยังประเสริฐกว่า คือดีกว่านั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร ?"

แก้ว่า เพราะอัตภาพอันเดียว พึงถูกไฟไหม้ เพราะการบริโภคก้อนเหล็ก

นั้นเป็นปัจจัย, แต่ผู้ทุศีลบริโภคก้อนข้าวที่เขาถวายด้วยศรัทธาพึงไหม้ใน

นรกตั้งหลายร้อยชาติ.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุผู้อยู่ที่ฝั่งแม่น้ำชื่อวัคคุมุทา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 205

๔. เรื่องบุตรเศรษฐีชื่อเขมกะ [๒๒๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบุตรเศรษฐี

ชื่อเขมกะ ซึ่งเป็นหลานของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนา

นี้ว่า " จตฺตาริ านานิ " เป็นต้น.

เขมกะเป็นนักเลงเจ้าชู้ ถูกจับถึง ๓ ครั้ง

ดังได้สดับมา นายเขมกะนั้นเป็นผู้มีรูปสวย. โดยมากหญิงทั้งหลาย

เห็นเขาแล้ว ถูกราคะครอบงำ ไม่สามารถจะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้.

แม้เขาก็ได้เป็นผู้ยินดียิ่งในปรทารกรรมเหมือนกัน.

ต่อมาในเวลากลางคืน พวกราชบุรุษจับเขานำไปแสดงแด่พระราชา.

พระราชามิได้ตรัสอะไรกะเขา ด้วยทรงดำริว่า " เราละอายต่อมหาเศรษฐี "

แล้วรับสั่งให้ปล่อยไป. ฝ่ายนายเขมกะนั้นก็มิได้งดเว้นเลย. ต่อมา (อีก)

พวกราชบุรุษก็จับเขาแล้วแสดงแต่พระราชาถึงครั้งที่ ๒ ที่ ๓. พระราชา

ก็รับสั่งให้ปล่อยเช่นเคย. มหาเศรษฐีทราบเรื่องนั้นแล้ว พาเขาไปสำนัก

พระศาสดา กราบทูลเรื่องนั้นแล้วทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระองค์โปรดแสดงธรรมแก่นายเขมกะนี้ "

พระศาสดาทรงแสดงโทษแห่งปรทารกรรม

พระศาสดาตรัสสังเวคกถาแก่เขาแล้ว เมื่อจะทรงแสดงโทษในการ

เสพภรรยาของคนอื่น ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๑. กรรมคือการคบหาซึ่งภรรยาของผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 206

๔. จตฺตาริ านานิ นโร ปมตฺโต

อาปชฺชตี ปรทารูปเสวี

อปุฺลาภ นนิกามเสยฺย

นินฺท ตติย นิรย จตุตฺถ.

อปุญฺลาโภ จ คติ จ ปาปิกา

ภีตสฺส ภีตาย รตี จ โถกิถา

ราชา จ ทณฺฑ ครุก ปเณติ

ตสฺมา นโร ปรทาร น เสว.

" นระผู้ประมาทชอบเสพภรรยาของคนอื่น ย่อม

ถึงฐานะ ๔ อย่างคือ: การได้สิ่งที่มิใช่บุญ เป็นที่ ๑

การนอนไม่ได้ตามความปรารถนา เป็นที่ ๒ การ

นินทา เป็นที่ ๓ นรก เป็นที่ ๔. การได้สิ่งมิใช่บุญ

อย่างหนึ่ง, คติลามกอย่างหนึ่ง, ความยินดีของบุรุษผู้

กลัวกับด้วยหญิงผู้กลัว มีประมาณน้อยอย่างหนึ่ง,

พระราชาย่อมลงอาชญาอันหนักอย่างหนึ่ง, เพราะ-

ฉะนั้น นระไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า านานิ ได้แก่ เหตุแห่งทุกข์ทั้งหลาย .

บทว่า ปมตฺโต ได้แก่ ประกอบด้วยการปล่อยสติ. บทว่า อาปชฺชติ คือ

ย่อมถึง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 207

บทว่า ปรทารูปเสวี ความว่า เข้าไปเสพภรรยาของคนอื่นอยู่ ชื่อ

ว่ามักประพฤตินอกทาง.

บทว่า อปุญฺลาภ ได้แก่ การได้อกุศล.

บทว่า น นิกามเสยฺย ความว่า บุคคลนั้นไม่ได้การนอนอย่างที่

ตนปรารถนา ย่อมได้การนอนตลอดกาลนิดหน่อยเท่านั้น ซึ่งตนไม่

ปรารถนา.

บทว่า อปุญฺลาโภ จ ความว่า การได้สิ่งอันไม่เป็นบุญนี้อย่างหนึ่ง

คติอันลามก กล่าวคือนรก เพราะสิ่งอันไม่เป็นบุญนั้น (เป็นเหตุ) อย่าง

หนึ่ง ย่อมมีแก่บุคคลนั้น อย่างนี้.

สองบทว่า รตี จ โถกิกา ความว่า แม้ความยินดีของบุรุษผู้กลัว

นั้น กับหญิงผู้กลัวมีประมาณน้อย คือมีนิดหน่อย.

บทว่า ครุก ความว่า อนึ่ง พระราชาย่อมลงอาชญาอย่างหนักด้วย

สามารถแห่งการตัดมือเป็นต้น.

บทว่า ตสฺมา เป็นต้น ความว่า บุคคลผู้เสพภรรยาของคนอื่น

ย่อมถึงฐานะทั้งหลายมีสิ่งมิใช่บุญเป็นต้นเหล่านั้น; เพราะฉะนั้น นระจึง

ไม่ควรเสพภรรยาของคนอื่น.

ในกาลจบเทศนา นายเขมกะดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. ตั้งแต่

นั้นมา มหาชนยังกาลให้ผ่านไปอย่างสบาย.

บุรพกรรมของนายเขมกะ

ถามว่า " ก็บุรพกรรมของนายเขมกะนั้น เป็นอย่างไร ? "

แก้ว่า " ดังได้สดับมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 208

เขาเป็นนักมวยที่เก่งที่สุด ยกธงทอง ๒ แผ่นขึ้นไว้ที่กาญจนสถูปของ

พระทศพลแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า " เว้นหญิงที่เป็นญาติสาโลหิต

เสีย หญิงที่เหลือเห็นเราแล้วจงกำหนัด." นี้เป็นบุรพกรรมของเขาด้วย

ประการฉะนี้. เพราะฉะนั้น หญิงของคนเหล่าอื่น เห็นเขาในที่เขาเกิดแล้ว

จึงไม่สามารถเพื่อจะดำรงอยู่ตามภาวะของตนได้ ดังนี้แล.

เรื่องบุตรของเศรษฐีชื่อเขมกะ จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 209

๕. เรื่องภิกษุว่ายาก [๒๒๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุว่ายาก

รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " กุโส ยถา " เป็นต้น.

ภิกษุเด็ดหญ้าแล้วสงสัย

ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปหนึ่ง ไม่แกล้ง เด็ดหญ้าต้นหนึ่ง เมื่อความ

รังเกียจเกิดขึ้น, จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง บอกความที่กรรมอันตนทำแล้ว

ถามว่า " ผู้มีอายุ ภิกษุใดเด็ดหญ้า, โทษอะไร ย่อมมีแก่ภิกษุนั้น ? "

ลำดับนั้น ภิกษุนอกนี้ กล่าวกะเธอว่า " ท่านทำความสำคัญว่า ' โทษ

อะไร ๆ มี' เพราะเหตุแห่งหญ้าที่ท่านเด็ดแล้ว, โทษอะไร ๆ ย่อมไม่มี

ในที่นี้, แต่ท่านแสดงแล้ว ย่อมพ้นได้ แม้ตนเลงก็ได้เอามือทั้งสอง

ถอนหญ้าแล้วถือไว้. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา.

กรรมที่บุคคลทำย่อหย่อนไม่มีผลมาก

พระศาสดาทรงติเตียนภิกษุนั้นโดยอเนกปริยาย เมื่อทรงแสดงธรรม

ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

๕. กุโส ยถา ทุคฺคหิโต หตฺถเมวานุกนฺตติ

สามญฺ ทุปฺปรามฏฺ นิรยายูปกฑฺฒติ.

ย กิญฺจิ สิถิล กมฺม สงฺกิลิฏฺญฺจ ย วต

สงฺกสฺสร พฺรหฺมจริย น ต โหติ มหปฺผล.

กยิรญฺเจ กยิรเถน ทฬฺหเมน ปรกฺกเม

สิถิโล หิ ปริพฺพาโช ภิยฺโย อากิรเต รช.

๑. อรรถกถา. กยิรา เจ กยิราเถน ตรงกับฉบับพม่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 210

" หญ้าคาที่บุคคลจับไม่ดี ย่อมตามบาดมือนั่นเอง

ฉันใด, คุณเครื่องเป็นสมณะ ที่บุคคลลูบคลำไม่ดี

ย่อมคร่าเขาไปในนรก ฉันนั้น. การงานอย่างใด

อย่างหนึ่งที่ย่อหย่อน, วัตรใดที่เศร้าหมอง, พรหม-

จรรย์ที่ระลึกด้วยความรังเกียจ, กรรมทั้งสามอย่าง

นั้น ย่อมไม่มีผลมาก. หากว่าบุคคลพึงทำกรรมใด

ควรทำกรรมนั้นให้จริง, ควรบากบั่นทำกรรมนั้นให้มั่น

เพราะว่าสมณธรรมเครื่องละเว้นที่ย่อหย่อน ยิ่งเกลี่ย

ธุลีลง."

แก้อรรถ

หญ้ามีคมชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยที่สุดแม้ใบตาล ชื่อว่า กุโส ใน

พระคาถานั้น. หญ้าคานั้น ผู้ใดจับไม่ดี ย่อมตามบาด คือย่อมแฉลบบาด

มือของผู้นั้น ฉันใด; แม้คุณเครื่องเป็นสมณะกล่าวคือสมณธรรม ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ชื่อว่าอันบุคคลลูบคลำไม่ดี เพราะความเป็นผู้มีศีลขาดเป็นต้น.

บาทพระคาถาว่า นิรยายูปกฑฺฒติ ความว่า ย่อมให้เกิดในนรก.

บทว่า สถิล ได้แก่ การงานไร ๆ ที่บุคคลทำ ทำให้เป็นการ

ยึดถือไว้ย่อหย่อน โดยทำหละหลวม.

บทว่า สงฺกิลิฏฺ ความว่า ชื่อว่า เศร้าหมองเพระการเที่ยวไปใน

อโคจร มีหญิงแพศยาเป็นต้น.

บทว่า สงฺกสฺสร ได้แก่ พึงระลึกด้วยความสงสัยทั้งหลาย คือเห็น

สงฆ์แม้ที่ประชุมกันด้วยกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดากิจ มีกิจด้วย

อุโบสถเป็นต้น แล้วระลึกด้วยความสงสัยของตน คือรังเกียจ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 211

ระแวงอย่างนี้ว่า " ภิกษุเหล่านี้ ทราบความประพฤติของเรา มีประสงค์

จะยกวัตรเรา จึงประชุมกันแน่แท้. "

สองบทว่า น ต โหติ ความว่า พรหมจรรย์ กล่าวคือสมณธรรม

นั้น คือเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีผลมากแก่บุคคลนั้น, เพราะไม่มีผลมาก

แก่เธอ ก็ย่อมไม่มีผลมากแม้แก่ทายกผู้ถวายภิกษาแก่เธอ (ด้วย).

บทว่า กยิรา เจ ความว่า เพราะเหตุนั้น บุคคลพึงทำการงานใด,

จงทำการงานนั้นจริง ๆ.

บาทพระคาถาว่า ทฬฺหเมน ปรกฺกเม ความว่า ควรทำการงาน

นั่นให้เป็นของอันตนทำมั่นคง คือเป็นผู้มีการสมาทานดำรงมั่นทำการงาน

นั่น.

บทว่า ปริพฺพาโช ได้แก่ สมณธรรมที่บุคคลทำด้วยการยึดถือ

ย่อหย่อน อันถึงภาวะมีความขาดเป็นต้น.

บทว่า ภิยฺโย ความว่า สมณธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่สามารถที่

จะนำออกซึ่งธุลี มีธุลีคือราคะเป็นต้น ที่มีอยู่ ณ ภายใน โดยที่แท้ ย่อม

เกลี่ยธุลี มีธุลีคือราคะเป็นต้น แม้อย่างอื่น ณ เบื้องบนของผู้นั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้นแล้ว. ภิกษุแม้นั้นดำรงอยู่ในความสังวรแล้ว ภายหลัง

เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุว่ายาก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 212

๖. เรื่องหญิงขี้หึง [๒๒๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภหญิงขี้หึง

คนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อกต " เป็นต้น.

หญิงขี้หึงทำกรรมชั่วแล้วคิดปกปิด

ได้ยินว่า สามีของหญิงนั้นได้ทำความเชยชิดกับหญิงรับใช้ในเรือน

คนหนึ่ง. หญิงขี้หึงนั้น มัดมือมัดเท้าหญิงรับใช้คนนั้นไว้แล้วตัดหูตัดจมูก

ของเขา ขังไว้ในห้องว่างห้องหนึ่ง ปิดประตูแล้ว เพื่อจะปกปิดความที่

กรรมนั้นอันตนทำแล้ว (ชวนสามี) ว่า " มาเถิดนาย, เราจักไปวัดฟัง

ธรรม " พาสามีไปวัดนั่งฟังธรรมอยู่. ขณะนั้นพวกญาติผู้เป็นแขกของ

นางมายังเรือน (ของนาง) แล้ว เปิดประตูเห็นประการอันแปลกนั้นแล้ว

แก้หญิงรับใช้ออก. หญิงรับใช้นั้นไปวัด กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระ-

ทศพล ในท่ามกลางบริษัท ๔.

กรรมชั่วย่อมเผาผลาญในภายหลัง

พระศาสดาทรงสดับคำของหญิงรับใช้นั้นแล้ว ตรัสว่า " ขึ้นชื่อว่า

ทุจริต แม้เพียงเล็กน้อยบุคคลไม่ควรทำ ด้วยความสำคัญว่า ' ชนพวก

อื่นย่อมไม่รู้กรรมนี้ของเรา ' (ส่วน) สุจริตนั่นแหละ เมื่อคนอื่นแม้ไม่รู้

ก็ควรทำ, เพราะว่าขึ้นชื่อว่าทุจริต แม้บุคคลปกปิดทำ ย่อมทำการเผา

ผลาญในภายหลัง, (ส่วน) สุจริตย่อมยังความปราโมทย์อย่างเดียวให้เกิดขึ้น

ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 213

๖. อกต ทุกฺกต เสยฺโย ปจฺฉา ตปฺปติ ทุกฺกต

กตญฺจ สุกต เสยฺโย ย กตฺวา นานุตปฺปติ.

" กรรมชั่ว ไม่ทำเสียเลยดีกว่า, (เพราะ) กรรม

ชั่ว ย่อมเผาผลาญในภายหลัง, ส่วนบุคคลทำกรรม

ใดแล้ว ไม่ตามเดือดร้อน, กรรมนั้น เป็นกรรมดี

อันบุคคลทำแล้วดีกว่า."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺกต ความว่า กรรมอันมีโทษยัง

สัตว์ให้เป็นไปในอบาย ไม่ทำเสียเลยดีกว่า คือประเสริฐ ได้แก่ยอดเยี่ยม.

สองบทว่า ปจฺฉา ตปฺปติ ความว่า เพราะกรรมนั้น ย่อมเผาผลาญ

ในกาลที่ตนตามระลึกถึงแล้ว ๆ ร่ำไป.

บทว่า สุกต ความว่า ส่วนกรรมอันไม่มีโทษ มีสุขเป็นกำไร

ยังสัตว์ให้เป็นไปในสุคติอย่างเดียว บุคคลทำแล้วดีกว่า.

สองบทว่า ย กตฺวา ความว่า บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่

เดือดร้อนในภายหลัง คือในกาลเป็นที่ระลึกถึง ชื่อว่า ย่อมไม่ตามเดือดร้อน

คือเป็นผู้มีโสมนัสอย่างเดียว, กรรมนั้นอันบุคคลทำแล้ว ประเสริฐ.

ในกาลจบเทศนา อุบาสกและหญิงนั้น ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว,

ก็แลชนทั้งหลายทำหญิงรับใช้นั้นให้เป็นไท ในที่นั้นนั่นแล แล้วทำให้

เป็นหญิงมีปกติประพฤติธรรม ดังนี้แล.

เรื่องหญิงขี้หึง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 214

๗. เรื่องอาคันตุกภิกษุ [๒๒๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้

อาคันตุกะหลายรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " นคร ยถา " เป็นต้น.

พวกภิกษุไปกรุงสาวัตถีเพื่อเฝ้าพระศาสดา

ได้ยินว่า พวกภิกษุเหล่านั้น เข้าจำพรรษาอยู่ในปัจจันตนครแห่ง

หนึ่ง ได้อยู่เป็นสุขในเดือนแรก. ในเดือนท่ามกลาง พวกโจรได้มาปล้น

บ้านอันที่โคจรของภิกษุเหล่านั้น จับชาวบ้านเป็นเชลยไป. จำเดิม

แต่กาลนั้น มนุษย์ทั้งหลายได้พากันมาปฏิสังขรณ์ปัจจันตนครนั้น เพื่อ

ประโยชน์จะป้องกันพวกโจร จึงไม่ได้โอกาสจะอุปัฏฐากภิกษุเหล่านั้น

อย่างแข็งแรง. พวกภิกษุเหล่านั้นจำพรรษาหาความสำราญมิได้ (ครั้น)

ออกพรรษาแล้ว ได้ไปสู่กรุงสาวัตถี เพื่อจะเฝ้าพระศาสดา ถวาย

บังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสถามสุขทุกข์กะภิกษุเหล่านั้น

พระศาสดาทรงทำการปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้น ตรัสถามว่า

" ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพากันอยู่สบายหรือ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูล

ว่า " พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์อยู่สบายแต่ในเดือนแรกเท่านั้น, ใน

เดือนท่ามกลาง พวกโจรได้ปล้นบ้าน, จำเดิมแต่กาลนั้นมนุษย์ทั้งหลาย

พากันปฏิสังขรณ์นคร ไม่ได้โอกาสจะบำรุงอย่างแข็งแรง; เพราะฉะนั้น

พวกข้าพระองค์ จึงจำพรรษาหาความสำราญมิได้ " จึงตรัสว่า " ช่างเถอะ

ภิกษุทั้งหลาย, พวกเธออย่าได้คิดเลย, ธรรมดาว่าความอยู่เป็นสุขสำราญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 215

ตลอดกาลเป็นนิตย์ อันบุคคลหาได้ยาก; ธรรมดาว่าภิกษุ รักษาอัตภาพ

นั่นแหละ เหมือนกับพวกมนุษย์เหล่านั้นคุ้มครองนครฉะนั้น ย่อมควร "

ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๗. นคร ยถา ปจฺจนต คุตฺต สนฺตรพาหิร

เอว โคเปถ อตฺตาน ขโณ โว มา อุปจฺจคา

ขณาตีตา หิ โสจนฺติ นิรยมฺหิ สมปฺปิตา.

" ท่านทั้งหลายควรรักษาตน เหมือนกับพวก

มนุษย์ป้องกัน ทั้งภายในและภายนอก

ฉะนั้น, ขณะอย่าเข้าไปล่วงท่านทั้งหลายเสีย; เพราะ

ว่าชนทั้งหลายผู้ล่วงเสียซึ่งขณะ เป็นผู้เบียดเสียด

กันในนรก เศร้าโศกอยู่. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตรพาหิร เป็นต้น ความว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย ปัจจันตนครนั้น อันมนุษย์เหล่านั้นช่วยกันทำที่มั่นทั้งหลายมี

ประตูและกำแพงเป็นต้น ชื่อว่าทำให้มั่นในภายใน เขาทำที่มั่นทั้งหลาย

มีป้อมและคูเป็นต้น ชื่อว่าทำให้มั่นในภายนอก เพราะเหตุนั้นปัจจันตนคร

นั้น จึงเป็นเมืองที่พวกมนุษย์ทำให้มั่นทั้งภายในทั้งภายนอกรักษาแล้ว

ฉันใด; ก็พวกท่านจงเข้าไปตั้งสติไว้ จงปิดทวารทั้ง ๖ อันเป็นภายใน ไม่

ปล่อยสติซึ่งรักษาทวาร ทำอายตนะภายใน ๖ เหล่านั้นให้มั่น ด้วยการไม่

ถือเอาโดยประการที่อายตนะภายนอก ๖ ซึ่งยึดถืออยู่ จะเป็นไปเพื่อขจัด

อายตนะภายในเสีย ไม่ละสติที่รักษาทวาร เพื่อไม่ให้อายตนะภายนอก

เหล่านั้นเข้าไปประพฤติอยู่ ชื่อว่ารักษาตนไว้ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 216

บาทพระคาถาว่า ขโณ โว มา อุปจฺจคา ความว่า ก็ผู้ใดไม่

ปกครองตนอย่างนั้น, ขณะนี้แม้ทั้งสิ้น คือ " ขณะเป็นที่บังเกิดขึ้นแห่ง

พระพุทธเจ้านี้ ขณะบังเกิดในมัชฌิมประเทศ ขณะอันได้สัมมาทิฏฐิ ขณะ

ไม่ขาดแคลนแห่งอายตนะทั้ง ๖ ประการ ย่อมก้าวล่วงเสียซึ่งบุคคลผู้นั้น;

ขณะนั้นจงอย่าก้าวล่วงท่านทั้งหลายไปเสีย.

บทว่า ขณาตีตา เป็นต้น ความว่า เพราะว่า บุคคลเหล่าใดล่วง

เสียซึ่งขณะนั้น, และขณะนั้นล่วงเสียซึ่งบุคคลเหล่านั้น; ชนเหล่านั้นเป็น

ผู้เบียดเสียดกันในนรก คือบังเกิดในนรกนั้นแล้ว เศร้าโศกอยู่.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นเกิดความสังเวช ตั้งอยู่ในพระ-

อรหัตผลแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องอาคันตุกภิกษุ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 217

๘. เรื่องนิครนถ์ [๒๓๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกนิครนถ์

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อลชฺชิตาเย " เป็นต้น.

พวกนิครนถ์โต้วาทะกับพวกภิกษุ

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่งภิกษุทั้งหลายเห็นพวกนิครนถ์แล้ว

สนทนากันว่า " ผู้มีอายุ พวกนิครนถ์เหล่านี้ประเสริฐกว่าพวกชีเปลือย

ซึ่งไม่ปกปิดโดยประการทั้งปวง, (เพราะว่า) พวกนิครนถ์ที่ปกปิดแม้ข้าง

หน้าข้างเดียวเท่านั้น ก็เห็นจะเป็นผู้มีความละอาย (อยู่บ้าง)." พวก

นิครนถ์ฟังคำนั้นแล้ว กล่าวว่า " พวกเรา ย่อมปกปิดเพราะเหตุนั้น หามิได้

พวกเราปกปิดเพราะเหตุนี้ คือก็ละอองต่าง ๆ มีฝุ่นและธุลีเป็นต้นนั่นเทียว

เป็นของเนื่องด้วยชีวิตินทรีย์, เมื่อเป็นอย่างนั้น ละอองต่าง ๆ มีฝุ่นและ

ธุลีเป็นต้นเหล่านั้น อย่าตกลงในภาชนะภิกษาทั้งหลายของพวกเรา " ดังนี้

แล้ว ทำการพูดกับภิกษุเหล่านั้นอย่างมากมาย ด้วยสามารถแห่งการโต้-

ตอบวาทะกัน. ภิกษุทั้งหลายเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลเรื่องนั้น ใน

กาลที่ตนนั่งแล้ว.

ผู้สมาทานผิดย่อมถึงทุคติ

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ละอาย

ในสิ่งอันไม่ควรละอาย ไม่ละอายในสิ่งอันควรละอาย ย่อมเป็นผู้มีทุคติ

เป็นที่ไปในเบื้องหน้าแน่แท้ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรง

ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 218

๘. อลชฺชิตาเย ลชฺชนฺติ ลชฺชิตาเย น ลชุชเร

มิจฺฉาทิฏฺิสมาทานา สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ.

อภเย ภยทสฺสิโน ภเย จ อภยทสฺสิโน

มิจฺฉาทิฏฺิสมาทานา สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ.

" สัตว์ทั้งหลาย ย่อมละอายเพราะสิ่งอันไม่ควร

ละอาย ไม่ละอายเพราะสิ่งอันควรละลาย สมาทาน

มิจฉาทิฏฐิ ย่อมถึงทุคติ. สัตว์ทั้งหลาย มีปกติเห็น

ในสิ่งอันไม่ควรกลัวว่าควรกลัว และมีปกติเห็นใน

สิ่งอันควรกลัวว่าไม่ควรกลัว สมาทานมิจฉาทิฏฐิย่อม

ถึงทุคติ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลชฺชิตาเย ได้แก่ เพราะภาชนะภิกษา

อันไม่ควรละอาย. จริงอยู่ ภาชนะภิกษา ชื่อว่าสิ่งอันไม่ควรละอาย. ก็

สัตว์เหล่านั้น เมื่อปกปิดภาชนะภิกษานั้นแล้วเที่ยวไป ชื่อว่าย่อมละอาย

เพราะภาชนะภิกษาอันไม่ควรละอายนั้น.

บทว่า ลชฺชิตาเย ความว่า เพราะองค์อันยังหิริให้กำเริบอันไม่

ปกปิดแล้ว. จริงอยู่ องค์อันยังหิริให้กำเริบ ชื่อว่าสิ่งอันควรละอาย ก็

สัตว์เหล่านั้น เมื่อไม่ปกปิดองค์อันยังหิริให้กำเริบนั้นเที่ยวไป ชื่อว่าย่อม

ไม่ละอายเพราะสิ่งอันควรละอาย. เพราะเหตุนั้น เมื่อสัตว์เหล่านั้นละอาย

เพราะสิ่งอันไม่ควรละอายอยู่ ไม่ละอายเพราะสิ่งอันควรละอายอยู่. ชื่อว่า

เป็นมิจฉาทิฏฐิ เพราะภาวะคือความยึดถือเปล่า และเพราะภาวะคือความ

ยึดถือโดยประการอื่น, สัตว์เหล่านั้นสมาทานมิจฉาทิฏฐินั้นแล้วเที่ยวไปอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 219

ชื่อว่าสมาทานมิจฉาทิฏฐิ ย่อมถึงทุคติอันต่างโดยอบายมีนรกเป็นต้น.

บทว่า อภเย เป็นต้น ความว่า ภาชนะภิกษา ชื่อว่าสิ่งอันไม่ควร

กลัว เพราะกิเลสคือ ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ และภัยคือทุจริตหา

เกิดขึ้นเพราะอาศัยภาชนะภิกษาไม่. ก็สัตว์ทั้งหลายปกปิดภาชนะนั้นเพราะ

ความกลัว ชื่อว่ามีปกติเห็นในสิ่งอันไม่ควรกลัวว่าควรกลัว. ก็องค์อันยัง

หิริให้กำเริบนั้น ชื่อว่าสิ่งอันควรกลัว เพราะกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น

เกิดขึ้นเพราะอาศัยอันยังหิริให้กำเริบ. และเพราะไม่ปกปิดองค์อันยัง

หิริให้กำเริบ จึงชื่อว่า ผู้มีปกติเห็นในสิ่งอันควรกลัวว่าไม่ควรกลัว.

สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าสมาทานมิจฉาทิฏฐิ เพราะค่าที่ตนสมาทานการยึดถือ

เปล่านั้น และการยึดถือโดยประการอื่น ย่อมถึงทุคติ.

ในกาลจบเทศนา พวกนิครนถ์เป็นอันมาก มีใจสังเวชแล้วบวช,

เทศนาสำเร็จประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องนิครนถ์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 220

๙. เรื่องสาวกเดียรถีย์ [๒๓๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกสาวก-

เดียรถีย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อวชฺเช " เป็นต้น.

บุตรพวกเดียรถีย์สอนบุตรไม่ให้ไหว้สมณะ

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่งพวกสาวกอัญญเดียรถีย์ เห็นพวกลูก ๆ

ของตนพร้อมทั้งบริวาร เล่นอยู่กับพวกลูกของพวกอุบาสกผู้เป็นสัมมา-

ทิฏฐิ ในเวลาลูกเหล่านั้นมาเรือนแล้ว จึงต่างให้กระทำปฏิญาณว่า " สมณะ

พวกศากยบุตร พวกเจ้าไม่พึงไหว้, แม้วิหารของสมณะเหล่านั้น พวก

เจ้าก็ไม่พึงเข้าไป." วันหนึ่ง ลูกของพวกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น กำลัง

เล่นอยู่ในที่ใกล้แห่งซุ้มประตูนอกพระเชตวันวิหาร มีความระหายน้ำขึ้น.

ทีนั้น พวกเขาจึงส่งเด็กของอุบาสกคนหนึ่งไปสู่พระวิหาร สั่งว่า " เจ้าไป

ดื่มน้ำในวิหารนั้นแล้ว จงนำมาเพื่อพวกเราบ้าง." เด็กนั้นก็เข้าไปยัง

พระวิหาร ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลความข้อนั้น.

บุตรพวกเดียรถีย์นับถือพระพุทธศาสนา

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะเด็กนั้นว่า " เจ้าเท่านั้น ดื่มน้ำแล้วไป

จงส่งแม้พวกเด็กนอกนี้มา เพื่อต้องการแก่การดื่มน้ำในที่นี้เทียว." เขา

ได้ทำอย่างนั่น. พวกเด็กเหล่านั้นมาดื่มน้ำแล้ว. พระศาสดารับสั่งให้หา

เด็กเหล่านั้นมาแล้ว ตรัสธรรมกถาที่สบายแก่เด็กเหล่านั้น ทรงทำเด็ก

เหล่านั้นให้มีศรัทธามั่นคงแล้ว ให้ตั้งอยู่ในสรณะและศีล. เด็กเหล่านั้น

ไปสู่เรือนของตน ๆ แล้ว แจ้งความนั้นแก่มารดาและบิดา. ครั้งนั้น

มารดาและบิดาของพวกเขา ถึงความโทมนัสปริเทวนาว่า " ลูกของพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 221

เรา เกิดเป็นคนมีทิฏฐิวิบัติเสียแล้ว." ครั้งนั้น คนที่สนิทสนมของพวกนั้น

เป็นคนฉลาด มากล่าวธรรมแก่คนเหล่านั้น เพื่อต้องการแก่อันยังความ

โทมนัสให้สงบ.

มารดาและบิดาของพวกเด็กเหล่านั้น ฟังถ้อยคำของคนเหล่านั้น

แล้วจึงกล่าวว่า " พวกเราจักมอบพวกเด็ก ๆ เหล่านี้แก่พระสมณโคดมเสีย

ทีเดียว" ดังนี้แล้ว นำไปสู่พระวิหารพร้อมด้วยหมู่ญาติเป็นอันมาก.

ความเห็นเป็นเหตุให้สัตว์ไปทุคติและสุคติ

พระศาสดาทรงตรวจดูอาสยะของคนเหล่านั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดง

ธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

๙. อวชฺเช วชฺชมติโน วชฺเช จ อวชฺชทสฺสิโน

มิจฺฉาทิฏฺิสมาทานา สตฺตา คจฺฉนฺติ ทุคฺคตึ.

วชฺชญฺจ วชฺชโต ญตฺวา อวชฺชญฺจ อวชฺชโต

สมฺมาทิฏิสมาทานา สตฺตา คจฺฉนฺติ สุคฺคตึ.

"สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ว่ามีโทษในธรรมที่หา

โทษมิได้ มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ในธรรมที่มีโทษ

เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ ย่อมไปสู่ทุคติ. สัตว์

ทั้งหลาย รู้ธรรมที่มีโทษ โดยความเป็นธรรมมีโทษ

รู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้

เป็นผู้ถือด้วยดีซึ่งสัมมาทิฏฐิ ย่อมไป สู่สุคติ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวชฺเช คือ ในสัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐

และในธรรมที่เป็นอุปนิสัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 222

บทว่า วชฺชมติโน คือมีมติเกิดขึ้นว่า " นี้มีโทษ." แต่สัตว์

เหล่านั้น มีปกติเห็นว่าหาโทษมิได้ ในธรรมที่มีโทษ คือมิจฉาทิฏฐิมี

วัตถุ ๑๐ และคือธรรมอันเป็นอุปนิสัยแห่งมิจฉาทิฏฐินั้น. อธิบายว่า สัตว์

ทั้งหลาย ชื่อว่าผู้ถือด้วยดีซึ่งมิจฉาทิฏฐิ เพราะความที่ตนถือด้วยดีแล้วซึ่ง

มิจฉาทิฏฐินั่น คือความรู้ธรรมที่หาโทษมิได้ โดยความเป็นธรรมมีโทษ

และรู้ธรรมที่มีโทษ โดยความเป็นธรรมหาโทษมิได้แล้วยึดถือมั่น ย่อม

ไปสู่ทุคติ.

ความแห่งพระคาถาที่ ๒ บัณฑิตพึงทราบโดยความตรงกันข้ามกับ

ที่กล่าวแล้ว.

ในกาลจบเทศนา คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ดำรงอยู่ในสรณะ ๓

แล้ว ฟังธรรมอื่น ๆ อีกอยู่ ก็ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนี้แล.

เรื่องสาวกเดียรถีย์ จบ.

นิรยวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๒๒ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 223

คาถาธรรมบท

นาควรรคที่ ๒๓

ว่าด้วยความอดกลั้นต่อคำลวงเกินเหมือนช้างทนลูกศร

[๓๓] ๑. เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อ

ลูกศรที่ตกจากแล่งในสงครามฉะนั้น เพราะชนเป็น

อันมากเป็นผู้ทุศีล. ชนทั้งหลายย่อมนำสัตว์พาหนะที่

ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม พระราชาย่อมทรงสัตว์พาหนะ

ที่ฝึกแล้ว บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้ฝึก (ตน) แล้ว

เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย ม้าอัสดร ๑

ม้าสินธพผู้อาชาไนย ๑ ช้างใหญ่ชนิดกุญชร ๑ ที่

ฝึกแล้วย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ แต่บุคคลที่มีคนฝึก

แล้วย่อมประเสริฐกว่า (สัตว์พิเศษนั้น).

๒. ก็บุคคลพึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปด้วยยาน

เหล่านี้ เหมือนคนผู้ฝึก (ตน) แล้ว ไปสู่ทิศที่ยังไม่

เคยไป ด้วยตนที่ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้วฉะนั้นหามิได้.

๓. กุญชร นามว่า ชนปาลกะ. ตถมันจัด ห้าม

ได้ยาก ถูกขังไว้ ไม่บริโภคฟ่อนหญ้า กุญชรระลึก

ถึง (แต่) นาควัน

๔. ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินมาก นักง่วง

และมักหลับกระสับกระส่าย ประหนึ่งสุกรใหญ่ที่ถูก

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๘ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 224

ปรนปรือด้วยอาหารฉะนั้น ในกาลนั้น เขาเป็นคน

มึนซึม ย่อมเข้าไปถึงห้องร่ำไป.

๕. เมื่อก่อน จิตนี้ได้เที่ยวจาริกไป ตามอาการ

ที่ปรารถนาตามอารมณ์ที่ใคร่ (และ) ตามความสบาย

วันนี้เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ ประหนึ่งนาย

ควาญช้าง ข่มช้างที่ซับมันฉะนั้น.

๖. ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท

จงตามรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม ประ-

หนึ่งช้างที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ฉะนั้น.

๗. ถ้าว่าบุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษา

ตัว มีธรรมเครื่องอยู่อันดี เป็นนักปราชญ์ ไว้เป็นผู้

เที่ยวไปด้วยกันไซร้ เขาพึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้น

เสียแล้ว พึงเป็นผู้มีใจยินดี มีสติ เที่ยวไปกับสหาย

นั้น หากว่าบุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษา

ตัว มีธรรมเครื่องอยู่อันดี เป็นนักปราชญ์ ไว้เป็นผู้

เที่ยวไปด้วยกันไซร้ เขาพึงเที่ยวไปคนเดียว เหมือน

พระราชาทรงละแว่นแคว้น ที่ทรงชนะเด็ดขาดแล้ว

(หรือ) เหมือนช้างชื่อว่ามาตังคะ ละโขลงแล้ว เที่ยว

ไปในป่าตัวเดียวฉะนั้น. ความเที่ยวไปแห่งบุคคลคน

เดียวประเสริฐกว่า เพราะคุณเครื่องเป็นสหายไม่

มีอยู่ในชนพาล บุคคลนั้นพึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป

เหมือนช้างชื่อมาตังคะ ตัวมีความขวนขวายน้อย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 225

เที่ยวไปอยู่ในป่าฉะนั้น และไม่พึงทำบาปทั้งหลาย.

๘. เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายทั้งหลายนำ

ความสุขมาให้ ความยินดีด้วยปัจจัยนอกน ๆ (ตาม

มีตามได้) นำความสุขมาให้ บุญนำความสุขมาให้

ในขณะสิ้นชีวิต การละทุกข์ทั้งปวงเสียได้นำความ

สุขมาให้ ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่มารดา นำความสุข

มาให้ในโลก อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่บิดา นำ

ความสุขมาให้ ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะ นำ

ความสุขมาให้ในโลก อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่

พราหมณ์นำความสุขมาให้ ศีลนำความสุขมาให้

ตราบเท่าเรา ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้ว นำความสุขมา

ให้ การได้เฉพาะซึ่งปัญญา นำความสุขมาให้ การ

ไม่ทำบาปทั้งหลาย นำความสุขมาให้.

จบนาควรรคที่ ๒๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 226

๒๓. นาควรรควรรณนา

๑. เรื่องของพระองค์ [๒๓๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี ทรงปรารภพระองค์

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อห นาโคว" เป็นต้น.

พระศาสดาถูกพวกมิจฉาทิฏฐิด่า

เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว ในวรรณนาแห่งพระคาถาแรกแห่ง

อัปปมาทวรรคนั่นแล. จริงอยู่ ในที่นั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ฉะนี้ว่า " พระนาง

มาคันทิยา ไม่อาจทำอะไร ๆ แก่หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุข

เหล่านั้นได้" จึงทรงดำริว่า " เราจักทำกิจที่ควรทำแก่พระสมณโคดมให้

ได้" ดังนี้แล้ว ให้สินจ้างแก่ชาวนครทั้งหลายแล้ว กล่าวว่า " ท่านทั้งหลาย

พร้อมกับพวกผู้ชายที่เป็นทาสและกรรมกร จงด่าจงบริภาษพระสมณโคดม

ผู้เสด็จเที่ยวเข้ามาภายในพระนคร ให้หนีไป."

พวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ได้ติดตามพระศาสดา

ผู้เสด็จเข้าไปภายในพระนคร ด่าอยู่ บริภาษอยู่ ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ ว่า

" เจ้าเป็นโจร เจ้าเป็นคนพาล เจ้าเป็นคนหลง เจ้าเป็นอูฐ เจ้าเป็นโค

เจ้าเป็นลา เจ้าเป็นสัตว์นรก เจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน, สุคติไม่มีสำหรับเจ้า

ทุคติเท่านั้นอันเจ้าพึงหวัง."

๑. นครหลวงแห่งแคว้นวังสะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 227

พระอานนท์ทูลให้เสด็จไปนครอื่นก็ไม่เสด็จไป

ท่านพระอานนท์สดับคำนั้นแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กะพระศาสดาว่า

' ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาวนครเหล่านี้ ย่อมด่า ย่อมบริภาษเราทั้งหลาย,

เราทั้งหลายไปในที่อื่นจากพระนครนี้เถิด.'

พระศาสดา. ไปไหน อานนท์ ?

พระอานนท์. สู่นครอื่น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เมื่อมนุษย์ทั้งหลายในที่นั้น ด่าอยู่ บริภาษอยู่, เราจัก

ไปในที่ไหนอีก อานนท์ ?

พระอานนท์. สู่นครอื่นแม้จากนครนั้น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เมื่อมนุษย์ในที่นั้น ด่าอยู่ บริภาษอยู่ เราทั้งหลาย

จักไปในที่ไหน (อีก) เล่า อานนท์ ?

พระอานนท์. สู่นครอื่นแม้จากนครนั้น (อีก) พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อานนท์ การทำอย่างนั้นไม่ควร, อธิกรณ์เกิดขึ้น

ในที่ใด, เมื่อมันสงบแล้วในนั้นนั่นแหละ, การไปสู่ที่อื่นจึงควร; อานนท์

ก็เขาพวกไหนเล่า ย่อมด่า ?

พระอานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนทั้งหมดจนกระทั่งทาสและ

กรรมกร ย่อมด่า.

พระศาสดาทรงอดกลั้นคำล่วงเกินได้

พระศาสดาตรัสว่า " อานนท์ เราเป็นเช่นกับช้างที่เข้าสู่สงคราม,

การอดทนต่อลูกศรที่แล่นมาจาก ๔ ทิศ เป็นภาระของช้างที่เข้าสู่สงคราม

ฉันใด, ชื่อว่าการอดทนถ้อยคำที่ชนทุศีลแม้มากกล่าวแล้ว เป็นภาระของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 228

เราฉันนั้นเหมือนกัน " เมื่อทรงปรารภพระองค์แสดงธรรม ได้ทรงภาษิต

พระคาถาเหล่านี้ ในนาควรรคว่า:-

๑. อห นาโคว สงฺคาเม จาปาโต ปติต สร

อติวยากฺยนฺติติกฺขิสฺส ทุสฺสีโล หิ พหุชฺชโน.

ทนฺต นยนฺติ สมิตึ ทนฺต ราชาภิรูหติ

ทนฺโต เสฏฺโ มนุสฺเสสุ โยติวากฺยนฺติติกฺขติ.

วรมสฺสตรา ทนฺตา โยติวากฺยนฺติติกฺข่ติ.

กุญฺชรา จ มหานาคา อตฺตทนฺโต ตโต วร.

" เราจักอดกลั้นคำล่วงเกิน เหมือนช้างอดทนต่อ

ลูกศรที่ตกจากแล่งในสงครามฉะนั้น, เพราะชนเป็น

อันมากเป็นผู้ทุศีล. ชนทั้งหลาย ย่อมนำสัตว์พาหนะ

ที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม, พระราชาย่อมทรงสัตว์

พาหนะที่ฝึกแล้ว, บุคคลผู้อดกลั้นคำล่วงเกินได้ ฝึก

(ตน) แล้ว เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย, ม้า

อัสดร ๑ ม้าสินธพผู้อาชาไนย ๑ ช้างใหญ่ชนิด

กุญชร ๑ ที่ฝึกแล้วย่อมเป็นสัตว์ประเสริฐ, แต่

บุคคลที่มีตนฝึกแล้ว ย่อมประเสริฐกว่า (สัตว์พิเศษ

นั้น)."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโคว คือ เหมือนช้าง.

สองบทว่า จาปาโต ปติต ความว่า หลุดออกไปจากธนู.

บทว่า อติวากฺย ความว่า ซึ่งคำล่วงเกิน ที่เป็นไปแล้วด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 229

สามารถแห่งอนริยโวหาร ๘.

บทว่า ติติกฺขิสฺส ความว่า ช้างใหญ่ที่เขาฝึกหัดดีแล้ว เข้าสู่สงคราม

เป็นสัตว์อดทน ไม่พรั่นพรึงซึ่งลูกศรที่หลุดจากแล่งตกลงที่ตน ชื่อว่า ย่อม

ทนทานต่อการประหารทั้งหลาย มีประหารด้วยหอกเป็นต้นได้ ฉันใด, เรา

ก็จักอดกลั้น คือจักทนทานคำล่วงเกิน มีรูปอย่างนั้น ฉันนั้นเหมือนกัน.

บทว่า ทุสฺสีโล หิ ความว่า เพราะโลกิยมหาชนนี้เป็นอันมาก

เป็นผู้ทุศีล เที่ยวเปล่งถ้อยคำเสียดสีด้วยอำนาจแห่งความชอบใจของตน,

การอดกลั้น คือการวางเฉย ในถ้อยคำนั้น เป็นภาระของเรา.

บทว่า สมิตึ ความว่า ก็ชนทั้งหลาย เมื่อจะไปสู่ท่ามกลางมหาชน

ในสมาคมสถาน มีอุทยานและสนามกรีฑาเป็นต้น เทียมโคหรือม้าที่ฝึก

แล้วเท่านั้นเข้าที่ยานแล้ว ย่อมนำไป.

บทว่า ราชา ความว่า แม้พระราชา เมื่อเสด็จไปสู่ที่เห็นปาน

นั้นนั่นแหละ ย่อมทรงสัตว์พาหนะเฉพาะที่ฝึกแล้ว.

บทว่า มนุสฺเสสุ ความว่า แม้ในมนุษย์ทั้งหลายผู้ฝึกแล้ว คือผู้

สิ้นพยศแล้วแล ด้วยอริยมรรค ๔ เป็นผู้ประเสริฐ.

๑. อนริยโวหาร ๘ คือ:-

๑. อทิฏฺเ ทิฏฺวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่เห็นว่าเห็น.

๒. อสฺสุเต สุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่ได้ยินว่าได้ยิน.

๓. อมุเต มุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่รู้ว่ารู้.

๔. อวิญฺาเต วิญฺาตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ไม่ทราบชัดว่าทราบชัด.

๕. ทิฏฺเ อทิฏฺวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่เห็นว่าไม่เห็น.

๖. สุเต อสฺสุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ได้ยินว่าไม่ได้ยิน.

๗. มุเต อมุตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่รู้ว่าไม่รู้.

๘. วิญฺาเต อวิญฺาตวาทิตา ความเป็นผู้มีปกติกล่าวสิ่งที่ทราบชัดว่าไม่ทราบชัด.

๒. นิพฺพิเสว= มีความเสพผิดออกแล้วเทียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 230

บทว่า โยติวากฺย ความว่า บุคคลใดย่อมอดกลั้น คือย่อมไม่

โต้ตอบ ไม่พรั่นพรึงถึงคำล่วงเกินมีรูปเช่นนั้น แม้อันเขากล่าวซ้ำซากอยู่.

บุคคลผู้ฝึกแล้วเห็นปานนั้น เป็นผู้ประเสริฐ.

ม้าที่เกิดจากแม่ม้าโดยพ่อลา ชื่อว่า ม้าอัสดร. บทว่า อาชานียา

ความว่า ม้าตัวสามารถเพื่อจะพลันรู้เหตุที่นายสารถีผู้ฝึกม้าให้กระทำ.

ม้าที่เกิดในแคว้นสินธพ ชื่อว่า ม้าสินธพ. ช้างใหญ่ที่เรียกว่ากุญชร

ชื่อว่า มหานาค.

บทว่า อตฺตทนฺโต เป็นต้น ความว่า ม้าอัสดรก็ดี ม้าสินธพก็ดี

ช้างกุญชรก็ดี เหล่านั้น ที่ฝึกแล้วเทียว เป็นสัตว์ประเสริฐ, ที่ยังไม่ได้ฝึก

หาประเสริฐไม่, แต่บุคคลใด ชื่อว่ามีตนฝึกแล้ว คือหมดพยศแล้ว

เพราะความที่ตนเป็นผู้ฝึกด้วยอริยมรรค ๔. บุคคลนี้ย่อมประเสริฐกว่า

สัตว์พาหนะ มีม้าอัสดรเป็นต้นแม้นั้น คือย่อมเป็นผู้ยิ่งกว่าสัตว์พาหนะ

มีม้าอัสดรเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทั้งสิ้น.

ในกาลจบเทศนา มหาชนแม้ทั้งหมดนั้น ผู้รับสินจ้างแล้วยืนด่า

อยู่ในที่ทั้งหลาย มีถนนและทางสามแยกเป็นต้น บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว

ดังนี้แล.

เรื่องของพระองค์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 231

๒. เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นควาญช้าง [๒๓๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ผู้เคยเป็นนายหัตถาจารย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น หิ เอเตหิ "

เป็นต้น.

ควาญช้างฝึกช้างให้ดีได้เพราะได้นัยจากภิกษุ

ได้ยินว่า วันหนึ่ง ภิกษุนั้นเห็นนายควาญช้าง* ผู้ตั้งใจว่า " เราจัก

ฝึกช้างสักตัวหนึ่ง" แล้วไม่อาจเพื่อจะให้ช้างสำเหนียกเหตุที่ตนปรารถนา

ได้ อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี จึงเรียกภิกษุทั้งหลายซึ่งยืนอยู่ที่ใกล้มาแล้ว

กล่าวว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่านายหัตถาจารย์นี้ พึงแทงช้างตัวนี้

ในที่ชื่อโน้นไซร้, เขาพึงให้มันสำเหนียกเหตุนี้ได้โดยเร็วทีเดียว." เขาสดับ

คำของภิกษุนั้นแล้ว จึงทำอย่างนั้น ก็ฝึกช้างตัวนั้นให้เรียบร้อยได้.

ภิกษุเหล่านั้น จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดา.

ฝึกตนดีแล้วย่อมไปสู่ที่ไม่เคยไปได้

พระศาสดารับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า " เขาว่าเธอ

พูดอย่างนั้นจริงหรือ ?" เมื่อภิกษุนั้นทูลรับว่า " จริง พระเจ้าข้า " ทรง

ติเตียนภิกษุนั้นแล้ว ตรัสว่า " บุรุษเปล่า เธอต้องการอะไร ด้วยยาน

คือช้าง หรือยานอย่างอื่น ที่ฝึกแล้ว ? เพราะชื่อว่าคนผู้สามารถเพื่อจะไป

สู่สถานที่ไม่เคยไปด้วยยานเหล่านี้ หามีไม่, แต่ผู้มีตนฝึกดีแล้วอาจไปสู่

สถานที่ไม่เคยไปได้; เพราะฉะนั้น เธอจงฝึกตนเท่านั้น, เธอจะต้องการ

อะไรด้วยการฝึกสัตว์พาหนะเหล่านั้น " แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑. หตฺถิทมก ซึ่งบุคคลผู้ฝึกซึ่งช้าง. ๒. สทนฺต ให้เป็นสัตว์ที่ฝึกดีแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 232

๒. น หิ เอเตหิ ยาเนหิ คจฺเฉยฺย อคต ทิส

ยถาตฺตนา สุทนฺเตน ทนฺโต ทนฺเตน คจฺฉติ.

" ก็บุคคลพึงไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไปด้วยยานเหล่า

นี้ เหมือนคนผู้ฝึก (ตน) แล้ว ไปสู่ทิศที่ยังไม่เคย

ไป ด้วยคนที่ฝึกแล้ว ฝึกดีแล้วฉะนั้นหามิได้."

แก้อรรถ

พระคาถานั้น มีความว่า ก็บุคคลไร ๆ พึงไปสู่ทิศ คือพระนิพพาน

ที่นับว่ายังไม่ได้ไป เพราะความเป็นทิศที่ตนยังไม่เคยไป แม้โดยที่สุด

ด้วยความฝัน ด้วยยานทั้งหลาย มียานคือช้างเป็นต้นเหล่านี้ได้, เหมือน

บุคคลผู้ฝึก (ตน) แล้ว คือผู้หมดพยศ มีปัญญา ไปสู่ทิศที่ยังไม่เคยไป

แล้วนั้น คือบรรลุถึงภูมิแห่งท่านที่ฝึก (ตน) แล้ว ด้วยตนที่ฝึกแล้ว

ด้วยการฝึกอินทรีย์ในส่วนเบื้องต้น ทรมานดีแล้ว ด้วยอริยมรรคภาวนา

ในส่วนเบื้องหลังฉะนั้นก็หามิได; เพราะฉะนั้น การฝึกตนเท่านั้น จึง

ประเสริฐสำหรับเธอ.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นควาญช้าง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 233

๓. เรื่องบุตรของพราหมณ์เฒ่า [๒๓๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพวกบุตรของ

พราหมณ์เฒ่าคนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ธนปาลโก "

เป็นต้น.

บุตรบำรุงบิดาเพราะอยากได้สมบัติ

ได้ยินว่า พราหมณ์คนหนึ่งในกรุงสาวัตถี มีสมบัติประมาณ ๘ แสน

ทำอาวาหมงคลแก่บุตร ๔ คน ผู้เจริญแล้ว ได้ให้ทรัพย์ ๔ แสน.

ต่อมา เมื่อพราหมณีของเขาทำกาละ (ตาย) ไปแล้ว พวกบุตรจึงปรึกษา

พร้อมกันว่า " หากพ่อของเรานี้จักนำพราหมณีคนอื่นมาไซร้, ด้วยอำนาจ

แห่งบุตรทั้งหลาย ที่เกิดในท้องของนาง ตระกูลก็จักทำลาย; เอาเถิด

พวกเรา (ช่วยกัน ) สงเคราะห์ท่าน." พวกเขาบำรุงพราหมณ์เฒ่านั้น

อยู่ด้วยปัจจัยมีอาหารเครื่องนุ่งห่มเป็นต้นอันประณีต ทำกิจมีการนวดฟั้น

มือและเท้าเป็นต้นอยู่ ครั้นบำรุงแล้ว วันหนึ่ง เมื่อพราหมณ์เฒ่านั้น

นอนหลับกลางวันแล้วลุกขึ้นแล้ว, จึงนวดฟั้นมือและเท้าพลางพูดถึงโทษ

ในฆราวาสต่าง ๆ กันแล้ว วิงวอนว่า พวกผมจักทะนุบำรุงคุณพ่อโดย

ทำนองนี้ตลอดชีพ, ขอคุณพ่อโปรดให้แม้ทรัพย์ที่ยังเหลือแก่พวกผมเถิด."

พราหมณ์ให้ทรัพย์แก่บุตรอีกคนละแสน แบ่งเครื่องอุปโภคทั้งหมดให้

เป็น ๔ ส่วน มอบให้ เหลือไว้เพียงผ้านุ่งห่มของตน. บุตรคนหัวปีทะนุ

บำรุงพราหมณ์นั้น ๒-๓ วัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 234

พราหมณ์เที่ยวขอทานเขากิน

ต่อมาวันหนึ่ง ลูกสะใภ้ยืนอยู่ที่ซุ้มประตู พูดกับพราหมณ์เฒ่านั้น

ผู้อาบน้ำแล้วเดินมาอยู่ อย่างนี้ว่า " ทรัพย์ ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ ที่คุณพ่อ

ให้แก่บุตรคนหัวปี ยิ่งกว่า (บุตรทั้งหลาย) มีอยู่หรือ, คุณพ่อให้ทรัพย์

แก่บุตรทุกคน คนละ ๒ แสนมิใช่หรือ ? ไฉนคุณพ่อจึงไม่รู้จักทางแห่ง

เรือนของบุตรที่เหลือเล่า ?"

แม้เขาคุกคามนางว่า " อีหญิงถ่อย มึงจงฉิบหาย," โกรธแล้ว

ได้ไปยังเรือนของบุตรคนอื่น, โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน เขาถูกลูกสะใภ้

อื่นให้เตลิดไปจากเรือนแม้นั้น ด้วยอุบายนี้เหมือนกันแล (ได้ไปยังเรือน

ของบุตรคนอื่น) เมื่อไม่ได้การเข้าไปแม้ในเรือนหลังหนึ่งอย่างนี้ด้วย

ประการฉะนี้ จึงบวชเป็นชีปะขาว เที่ยวภิกษาอยู่ โดยกาลล่วงไป

ทรุดโทรมลงเพราะชรา มีสรีระเศร้าหมองเพราะโภชนะไม่ดีนอนลำบาก

เที่ยวภิกษาอยู่ (กลับ) มา ทอดหลังลงนอน ก้าวลงสู่ความหลับแล้ว ลุกขึ้น

นั่งมองดูตน ซึ่งมีความกระวนกระวายระงับแล้ว ไม่เห็นที่พึ่งของตน

ในบุตรทั้งหลาย จึงคิดว่า " ได้ยินว่า พระสมณโคดมไม่สยิ้วพระพักตร์

มีพระพักตร์เบิกบาน ตรัสถ้อยคำไพเราะ ทรงฉลาดในการต้อนรับ, เรา

อาจเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้ว ได้รับการต้อนรับ." เขาจัดแจงผ้านุ่ง

ผ้าห่มเรียบร้อยแล้ว หยิบภาชนะภิกษา ถือไม้เท้า ได้ไปยังสำนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

สมจริง แม้พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ก็กล่าวคำนี้ไว้ว่า

" ครั้งนั้นแล พราหมณ์มหาศาลคนใดคนหนึ่ง ผู้เศร้าหมอง มีผ้าห่ม

๑. อุตฺตานมุโข มีพระพักตร์หงาย .

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 235

อันเศร้าหมอง เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยสถานที่พระองค์ประทับ

อยู่."

พระศาสดา ทรงทำปฏิสันถารกับเขาผู้นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้

ตรัสคำนี้ว่า " พราหมณ์ เพราะอะไรหนอแล ท่านจึงเป็นผู้เศร้าหมอง

มีผ้าห่มอันเศร้าหมอง ?"

พราหมณ์ทูลว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์มีบุตรอยู่

๔ คนในโลกนี้, บุตรเหล่านั้น ถูกภรรยายุยง จึงขับข้าพระองค์ออกเสีย

จากเรือน."

พระศาสดาให้พราหมณ์เรียนคาถา

พระศาสดาตรัสว่า " พราหมณ์ ถ้ากระนั้น ท่านจงเรียนคาถา

เหล่านี้ เมื่อหมู่มหาชนประชุมกันในสภา, เมื่อบุตรทั้งหลาย (ของท่าน)

นั่งแล้ว จงกล่าวว่า:-

" ข้าพเจ้าจักเพลิดเพลินด้วยบุตรที่เกิดแล้วเหล่า

ใด, และปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด, บุตร

เหล่านั้นถูกภรรยายุยง ย่อมรุกรานข้าพเจ้าเหมือน

สุนัขรุกรานสุกรฉะนั้น. ได้ยินว่า บุตรเหล่านั้นเป็น

อสัตบุรุษ เลวทราม เรียกข้าพเจ้าว่า ' พ่อ พ่อ '

พวกเขาคือรากษส (มาแล้ว) โดยรูปเพียงดังบุตร

ย่อมทอดทิ้งข้าพเจ้าผู้ถึงความเสื่อม (แก่) บิดาแม่

ของเหล่าพาลชน เป็นคนแก่ ต้องเที่ยวขอทานที่เรือน

ของชนเหล่าอื่น เหมือนม้าที่แก่ใช้การงานไม่ได้ ถูก

๑. บุตรเหล่านั้นคบคิดกับภรรยา ก็ว่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 236

เขาพรากไปจากอาหารฉะนั้น. นัยว่า ไม้เท้าของ

ข้าพเจ้าแลยังประเสริฐกว่า, บุตรทั้งหลายไม่เชื่อฟัง

จะประเสริฐอะไร. (เพราะ) ไม้เท้ากันโคดุก็ได้, อนึ่ง

กันสุนัขก็ได้, มีไว้ (ยัน) ข้างหน้าเวลามืดก็ได้, (ใช้)

หยั่งลงไปในที่ลึกก็ได้, เพราะอานุภาพแห่งไม้เท้า

คนแก่เช่นข้าพเจ้า พลาดแล้วก็กลับยืนขึ้น (อีกได้)."

พราหมณ์ได้อุบายดี

เขาเรียนคาถาเหล่านั้น ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เมื่อ

พวกบุตรประดับประดาด้วยสรรพาลังการแล้ว ย่างเข้าไปสู่สภานั้น นั่ง

เหนืออาสนะที่ควรแก่ค่ามาก ในท่ามกลางพวกพราหมณ์ ในวันประชุม

พราหมณ์เห็นปานนั้น, ตกลงใจว่า " กาลนี้เป็นกาลของเราแล้ว" เข้า

ไปสู่ท่ามกลางสภา ชูมือขึ้นแล้วกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าประสงค์

จะกล่าวคาถาแก่ท่านทั้งหลาย, ท่านทั้งหลายจักฟังไหม ?" เมื่อพราหมณ์

เหล่านั้นกล่าวว่า " กล่าวเถิด ๆ พราหมณ์ พวกเราจักฟัง," ได้ยืนกล่าว

เทียว.

ก็โดยสมัยนั้น มนุษย์ทั้งหลายมีวัตรอยู่อย่างนี้ว่า " บุตรใดใช้สอย

ทรัพย์ที่เป็นของมารดาบิดา (แต่) ไม่เลี้ยงมารดาบิดา. บุตรนั้นต้องถูกฆ่า."

เพราะฉะนั้น บุตรของพราหมณ์เหล่านั้น จึงฟุบลงแทบเท้าของบิดา

วิงวอนว่า " คุณพ่อขอรับ ขอคุณพ่อโปรดให้ชีวิตแก่พวกกระผมเถิด."

เพราะความที่หทัยของบิดาเป็นธรรมชาติอ่อนโยน เขาจึงกล่าวว่า " ท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 237

ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย อย่าให้บุตรน้อยทั้งหลายของข้าพเจ้าพินาศ

เสียเลย; พวกเขาจักเลี้ยงดูข้าพเจ้า."

ทันใดนั้น มนุษย์ทั้งหลาย จึงกล่าวกะพวกบุตรของเขาว่า " ท่าน

ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้ไป หากพวกท่านจักไม่ประคับประคองบิดาให้ดีไซร้,

พวกเราจักฆ่าพวกท่านเสีย." บุตรเหล่านั้นกลัวแล้ว เชิญบิดาให้นั่ง

บนตั่ง ยกขึ้นนำไปสู่เรือนด้วยตนเอง ทาสรีระด้วยน้ำมัน ขัดสี (ให้สะอาด)

ใช้วัตถุมีกลิ่นหอมเป็นต้นชโลมแล้ว ให้เรียกพราหมณีทั้งหลายมาแล้ว

สั่งว่า " ตั้งแต่วันนี้ไป เธอทั้งหลายจงประคับประคองบิดาของพวกฉัน

ให้ดี, ถ้าเธอทั้งหลายจักถึงความประมาทแล้วไซร้, พวกฉันจักติเตียน

เธอทั้งหลาย" แล้วให้บริโภคโภชนะอันประณีต.

พราหมณ์คิดถึงอุปการคุณของพระศาสดา

พราหมณ์อาศัยโภชนะดีและการนอนสบาย โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน

ก็เกิดมีกำลังมีอินทรีย์เปล่งปลั่ง มองดูอัตภาพแล้วดำริว่า " สมบัตินี้ เรา

ได้เพราะอาศัยพระสมณโคดม" ถือเอาผ้าคู่หนึ่งเพื่อประโยชน์แก่ความ

เป็นบรรณาการ ไปสู่สำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า มีปฏิสันถารอัน

พระองค์ทรงทำแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง วางผ้าคู่นั้นลงแทบบาทมูลของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์

ชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมแสวงหาทรัพย์เป็นส่วนแห่งอาจารย์ เพื่ออาจารย์,

ขอพระโคดมผู้เจริญ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของข้าพระองค์ โปรดรับทรัพย์

เป็นส่วนอาจารย์." พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับผ้าคู่นั้น เพื่ออนุเคราะห์

เขาแล้ว ทรงแสดงธรรม.

ในกาลจบเทศนา พราหมณ์ดำรงอยู่ในสรณะแล้ว จึงกราบทูล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 238

อย่างนี้ว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ถวายธุวภัต ๒ ที่จาก

ธุวภัต ๔ ที่ ซึ่งบุตรทั้งหลายให้แก่ข้าพระองค์นั้น แด่พระองค์."

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า " งามละ พราหมณ์, แต่เราจักไปสู่

สถานที่ชอบใจเท่านั้น " แล้วทรงส่งเขาไป.

พราหมณ์ไปถึงเรือนแล้ว บอกพวกบุตรว่า " พ่อทั้งหลาย พระ-

สมณโคดมเป็นสหายของพ่อ, พ่อถวายธุวภัต ๒ ที่แก่พระองค์, เจ้า

ทั้งหลายอย่าละเลยในเมื่อพระองค์เสด็จมาถึงนะ," บุตรทั้งหลายรับว่า

" ดีละ คุณพ่อ."

พระศาสดาโปรดบุตรพราหมณ์

วันรุ่งขึ้น พระศาสดาเสด็จไปบิณฑบาต ได้เสด็จไปถึงประตูเรือน

แห่งบุตรคนหัวปี (ของพราหมณ์), เขาเห็นพระศาสดาแล้ว รับบาตร เชิญ

เสด็จให้เข้าไปสู่เรือน เชิญให้ประทับนั่ง ณ บัลลังก์ซึ่งควรแก่ค่ามากแล้ว

ได้ถวายโภชนะอันประณีต. พระศาสดาได้เสด็จไปสู่เรือนของบุตรพราหมณ์

ทั้งสิ้นตามลำดับ คือ วันรุ่งขึ้น ของบุตรนอกนี้, . วันรุ่งขึ้น ของบุตรนอกนี้.

พวกเขาทุกคนได้ทำสักการะอย่างนั้นเหมือนกัน.

ต่อมาวันหนึ่ง บุตรคนหัวปี เมื่อการมงคลปรากฏเฉพาะแล้วจึงพูด

กะบิดาว่า " คุณพ่อขอรับ พวกกระผมจะให้มงคลแก่ใคร ? "

พราหมณ์, พ่อไม่รู้จักคนอื่น, พระสมณโคดมเป็นสหายซึ่งพ่อ

มิใช่หรือ ?

บุตรคนหัวปี. ถ้ากระนั้น คุณพ่อโปรดนิมนต์พระองค์พร้อมกับ

ภิกษุ ๕๐๐ รูป เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้.

พราหมณ์ได้ทำอย่างนั้น. วันรุ่งขึ้น พระศาสดาพร้อมด้วยบริวาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 239

ได้เสด็จไปยังบ้านของเขา. เขานิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

ให้นั่งในเรือนซึ่งฉาบทาด้วยโคมัยสด ประดับด้วยสรรพาลังการแล้ว

อังคาสด้วยมธุปายาสข้น และด้วยขาทนียะอันประณีต.

ก็ในระหว่างแห่งภัตนั่นแหละ บุตร ๔ คนของพราหมณ์นั่งใน

สำนักพระศาสดา กราบทูลว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย

ประคับประคองบิดาของพวกข้าพระองค์ ไม่ประมาท, โปรดทอดพระเนตร

อัตภาพของท่านเถิด."

บำรุงมารดาบิดาเป็นมงคล

พระศาสดาตรัสว่า " ท่านทั้งหลายทำกรรมงามแล้ว, ชื่อว่าการเลี้ยง

มารดาบิดา โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย (เคย) ประพฤติมาแล้วเหมือนกัน "

แล้วตรัสมาตุโปสกนาคชาดก๑ ในเอกาทสนิบาตนี้โดยพิสดารว่า " เพราะ

ช้างนั้นหลีกไปเสีย ต้นอ้อยช้างและไม้โมกมันจึงงอกขึ้นไสว" ดังนี้เป็นต้น

แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถานี้ว่า :-

๓. ธนปาลโก นาม กุญฺชโร

กฏุกปฺปเภทโน ทุนฺนิวารโย

พทฺโธ กพล น ภุญฺชติ

สุมรติ นาควนสฺส กุญฺชโร.

"กุญชร นามว่า ธนปาลกะ ตกมันจัด ห้ามได้

ยาก ถูกขังไว้ ไม่บริโภคฟ่อนหญ้า กุญชรระลึกถึง

(แต่) นาควัน."

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๓๐๓. อรรถกถา. ๖/๑. ๒. สุมรติ เป็นอีกรูปหนึ่ง ของสรติ. นาควนสฺส

แปลกันว่า ซึ่งป่าแห่งไม้กากะทิง เป็นฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ..

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 240

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนปาลโก นาม นั่นเป็นชื่อของช้าง

ที่พระเจ้ากาสิกราช ทรงส่งนายหัตถาจารย์ไปให้จับในนาควันอันรื่นรมย์

ในครั้งนั้น.

บทว่า กฏุกปฺปเภทโน ความว่า ตกมันจัด. อันที่จริง ในกาล

เป็นที่ตกมันของช้างทั้งหลาย หมวกหูทั้ง ๒ ย่อมแตกเยิ้ม, แม้ตามปกติ

ในกาลนั้น ช้างทั้งหลาย ย่อมไม่นำพาซึ่งขอ ปฏัก หรือโตมร ย่อมเป็น

สัตว์ดุร้าย, แต่ช้างธนปาลกะนั้น ดุร้ายนักทีเดียว; เพราะฉะนั้น พระ-

ศาสดาจึงตรัสว่า กฏุกปฺปเภทโน ทุนฺนิวารโย.

บาทพระคาถาว่า พทฺโธ กพล น ภุญฺชติ ความว่า ช้างธนปาลกะ

นั้น มิได้ถูกตกปลอกไว้, แต่ถูกเขานำไปสู่โรงช้าง ให้แวดวงด้วยม่าน

อันวิจิตรแล้ว พักไว้บนพื้นที่ซึ่งทำการประพรมด้วยของหอม มีเพดาน

วิจิตรดาดไว้ ณ เบื้องบน แม้อันพระราชาให้บำรุงด้วยโภชนะมีรสเลิศ

ต่าง ๆ ควรแก่พระราชา ก็มิไยดีจะบริโภคอะไร ๆ. อันคำว่า " พทฺโธ

กพล น ภุญฺชติ" ( นี้ ) พระศาสดาตรัสหมายถึงอาการเพียงช้างถูกส่ง

เข้าไปสู่โรงช้าง.

สองบทว่า สุมรติ นาควนสฺส ความว่า ช้างธนปาลกะนั้นระลึก

ถึงนาควัน ซึ่งเป็นที่อยู่อันน่ารื่นรมย์แท้หามิได้, ก็มารดาของช้างนั้น

ได้เป็นสัตว์ถึงทุกข์เพราะพรากจากบุตรในป่า, ช้างนั้นบำเพ็ญมาตาปิตุ-

อุปัฏฐานธรรมนั่นแล. ดำริว่า " ประโยชน์อะไรของเราด้วยโภชนะนี้"

ระลึกถึงมาตาปิตุอุปัฏฐานธรรม ซึ่งประกอบด้วยธรรมเท่านั้น; ก็ช้างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 241

อยู่ในนาควันนั้นนั่นแล อาจบำเพ็ญมาตาปิตุอุปัฏฐานธรรมนั้นได้, เพราะ-

ฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า " สุมรติ นาควนสฺส กุญฺชโร"

เมื่อพระศาสดา ครั้นทรงนำบุรพจริยาของพระองค์นี้มาตรัสอยู่นั่น

แล บุตรของพราหมณ์แม้ทั้งหมด ยังอัสสุธารให้ไหลแล้ว มีหทัยอ่อน

เงี่ยโสตลงสดับแล้ว. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบถึงธรรมเป็น

ที่สบายของพวกเขาแล้ว จึงทรงแสดงธรรมประกาศสัจจะทั้งหลาย.

ในกาลจบเทศนา พราหมณ์พร้อมกับบุตรและลูกสะใภ้ทั้งหลาย

ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องบุตรของพราหมณ์เฒ่า จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 242

๔. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล [๒๓๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเจ้าปเสน-

ทิโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มิทฺธี ยทา " เป็นต้น.

พระเจ้าปเสนทิโกศลง่วงเพราะเสวยจุเกินไป

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระราชาเสวยข้าวสุกแห่งข้าวสารทะนาน

หนึ่ง กับสูปพยัญชนะพอควรแก่ข้าวสุกนั้น. วันหนึ่ง ท้าวเธอเสวย

พระกระยาหารเช้าแล้ว ยังไม่ทรงบรรเทาความเมาในภัตได้เลย ได้เสด็จ

ไปสู่สำนักของพระศาสดา มีพระรูปอันลำบาก พลิกไปข้างนี้และข้างนี้

แม้ถูกความง่วงครอบงำ เมื่อไม่สามารถจะผทมตรง ๆ ได้ จึงประทับนั่ง

ณ ที่สุดข้างหนึ่ง.

พระศาสดาทรงติการบริโภคจุ

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร พระองค์ยัง

ไม่ทันได้ทรงพักผ่อนเลย เสด็จมากระมัง ?"

พระราชา. " ถูกละ พระเจ้าข้า, ตั้งแต่กาลที่บริโภคแล้ว หม่อมฉัน

มีทุกข์มาก."

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร คนบริโภค

มากเกินไป ย่อมมีทุกข์อย่างนี้" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. มิทฺธี ยทา โหติ มหคฺฆโส จ

นิทฺทายิตา สมฺปริวตฺตสายี

มหาวราโหว นิวาปปุฏฺโ

ปุนปฺปุน คพฺภมุเปติ มนฺโท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 243

" ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินมาก นักง่วง และมัก

นอนหลับกระสับกระส่าย ประหนึ่งสุกรใหญ่ ที่ถูก

ปรนปรือด้วยอาหารฉะนั้น ในกาลนั้น เขาเป็นคน

มันซึม ย่อมเข้าไปถึงห้องร่ำไป."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิทฺธี ความว่า ผู้อันความท้อแท้และ

ความง่วงเหงาครอบงำ.

บทว่า มหคฺฆโส ความว่า ผู้บริโภคมาก เหมือนอาหรหัตถก-

พราหมณ์ อลังสาฏกพราหมณ์ ตัตถวัฏฏกพราหมณ์ กากมาสกพราหมณ์

และภุตตวัมมิกพราหมณ์ คนใดคนหนึ่ง.

บทว่า นิวาปปุฏฺโ ความว่า ถูกปรนปรือแล้วด้วยข้าวหมูมีรำ

เป็นต้น. จริงอยู่ สุกรบ้านเขาเลี้ยงไว้ตั้งแต่เวลายังอ่อน ในเวลามีสรีระ

อ้วน ไม่ได้เพื่อจะออกจากเรือนไปข้างนอก ส่ายไปส่ายมาในที่ต่าง ๆ

มีใต้เตียงเป็นต้นแล้ว ย่อมนอนหายใจฟูดฟาดอยู่เท่านั้น. ท่านกล่าวคำ

อธิบายนี้ว่า " บุคคลผู้มีความง่วงงุน กินจุ และเมื่อไม่อาจยังอัตภาพให้

เป็นไปด้วยอิริยาบถอย่างอื่น มักนอนหลับพลิกกลับไปกลับมาตามปกติ

เหมือนสุกรใหญ่ที่ถูกปรนปรือด้วยเหยื่อฉะนั้น ในขณะใด; ในขณะนั้น

เขาย่อมไม่อาจเพื่อมนสิการไตรลักษณ์ คือ " อนิจฺจ ทุกฺข อนตฺตา" ได้,

เพราะไม่มนสิการไตรลักษณ์เหล่านั้น จึงชื่อว่ามีปัญญาทึบ ย่อมเข้าห้อง

คือไม่พ้น ไปจากการอยู่ในห้อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 244

พระศาสดาทรงบอกอุบายบรรเทากินจุ

ในกาลจบเทศนา พระศาสดาได้ตรัสพระคาถานี้ด้วยสามารถอุปการะ

แก่พระราชาว่า:-

" คนผู้มีสติทุกเมื่อ รู้จักประมาณในโภชนะที่ได้

แล้วนั้น ย่อมมีโรคภัยไข้เจ็บน้อย แก่ช้า อายุยืน."

ดังนี้แล้ว โปรดให้อุตตรมาณพเรียนไว้แล้ว ทรงแนะอุบายว่า " เธอ

พึงกล่าวคาถานี้เฉพาะในเวลาที่พระราชาเสวย, และพึงให้พระราชาทรง

ลดโภชนะลงด้วยอุบายนี้," เขาได้กระทำเช่นนี้.

สมัยต่อมา พระราชาทรงกระปรี้กระเปร่า มีพระสรีระเบา ทรงถึง

ความสำราญ เพราะความที่ทรงมีพระกระยาหารทะนานหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง

ทรงมีความคุ้นเคยบังเกิดขึ้นในพระศาสดาแล้ว ทรงให้อสทิสทานเป็นไป

๗ วัน. ในเพราะทรงอันโมทนาทาน มหาชนซึ่งมาประชุม (ณ ที่นั้น)

บรรลุคุณวิเศษใหญ่แล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 245

๕. เรื่องสานุสามเณร [๒๓๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสามเณร ชื่อ

สานุ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อิท ปุเร " เป็นต้น.

สานุสามเณรประกาศธรรม

ได้ยินว่า สามเณรนั้นได้เป็นบุตรน้อยคนเดียวของอุบาสิกาคนหนึ่ง.

ครั้งนั้น นางให้เธอบรรพชาในกาลที่เธอเป็นเด็กทีเดียว. ตั้งแต่กาลที่

บรรพชาแล้ว เธอได้เป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยวัตร. เธอได้กระทำวัตรแก่

อาจารย์ อุปัชฌายะ และพระอาคันตุกะทั้งหลายทีเดียว. ตลอด ๘ วัน

ของเดือน เธอลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เข้าไปตั้งน้ำในโรงน้ำ ปัดกวาดโรง

ธัมมัสสวนะ ตามประทีป ประกาศธัมมัสสวนะด้วยน้ำเสียงอันไพเราะ.

ภิกษุทั้งหลายทราบเรี่ยวแรงของเธอแล้ว ย่อมเชื้อเชิญว่า " จงกล่าวบท

ภาณะเถิด สามเณร." เธอไม่กระทำอิดเอื้อนไร ๆ ว่า " ลมเสียดแทง

หทัยของผม, หรือโรคไอเบียดเบียนผม" ขึ้นสู่ธรรมาสน์ กล่าวบทภาณะ

เหมือนจะให้น้ำในอากาศตกลง เมื่อจะลง ย่อมกล่าวว่า " ข้าพเจ้าให้ส่วน

บุญ ในเพราะการกล่าวนี้แก่มารดาและบิดาของข้าพเจ้า." มนุษย์ทั้งหลาย

หาทราบความที่เธอให้ส่วนบุญแก่มารดาและบิดาไม่.

ยักษิณีเคยเป็นมารดาของสานุสามเณร

ก็มารดาของเธอเกิดเป็นยักษิณีในอัตภาพเป็นลำดับ นางมากับ

เทวดาทั้งหลาย ฟังธรรมแล้ว (เมื่อจะอนุโมทนา) ส่วนบุญที่สามเณรให้

ย่อมกล่าวว่า " ฉันขออนุโมทนา พ่อ." ก็ธรรมดาภิกษุทั้งหลาย ผู้สมบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 246

ด้วยศีล ย่อมเป็นที่รักของโลกพร้อมทั้งเทวโลก; เพราะฉะนั้น พวกเทวดา

ที่มีความละอาย มีความเคารพในสามเณร ย่อมสำคัญเธอเหมือนมหา-

พรหม และกองเพลิง. และย่อมเห็นนางยักษิณีนั้นเป็นที่น่าเคารพ เพราะ

คารวะในสามเณร; ในสมัยทั้งหลาย มีสมัยฟังธรรมและสมัยที่ยักษ์ประชุม

กันเป็นต้น อมนุษย์ทั้งหลายย่อมให้อาสนะที่ดี น้ำที่ดี อาหารที่ดี แก่นาง

ยักษิณี ด้วยคิดว่า " นางยักษิณีตนนี้ เป็นมารดาของสานุสามเณร" ยักษ์

ทั้งหลายแม้ที่มีศักดิ์ใหญ่ เห็นนางยักษิณีแล้ว ย่อมหลีกทางให้, ย่อมลุก

ขึ้นจากอาสนะ.

ยักษิณีเข้าสิงกายสามเณร

ครั้นสามเณรนั้นถึงความเจริญ มีอินทรีย์แก่กล้า ถูกความไม่ยินดี

ยิ่งบีบคั้น ไม่สามารถจะบรรเทาความไม่ยินดียิ่งลงได้ ปล่อยผมและเล็บ

ไว้ยาว มีผ้านุ่งและผ้าห่มมอมแมม ไม่แจ้งแก่ใครๆ หยิบบาตรจีวรขึ้น

แล้ว ได้ไปเรือนของมารดาลำพังคนเดียว. อุบาสิกาเห็นบุตรแล้วไหว้

กล่าวว่า " พ่อ ครั้งก่อน พ่อมาในที่นี้พร้อมกับอาจารย์และอุปัชฌายะ

หรือพร้อมกับภิกษุหนุ่มและสามเณร, เพราะเหตุไร ในวันนี้พ่อจึงมาคน

เดียวเล่า ?" เธอแจ้งความที่ตนกระสัน (ให้มารดาทราบ) แล้ว. อุบาสิกา

มีศรัทธา แม้แสดงโทษในฆราวาสโดยประการต่าง ๆ ตักเตือนบุตรอยู่

ก็ไม่อาจให้เธอยินยอมได้ (แต่) ก็ไม่เสือกไสไปเสีย ด้วยคิดว่า " ถึง

อย่างไร เธอพึงกำหนดได้แม้ตามธรรมดาของตน" กล่าวว่า " พ่อ โปรด

รออยู่จนกว่าฉันจะจัดยาคูและภัตเพื่อพ่อเสร็จ, ฉันจักนำผ้าชอบใจมา

ถวายแก่พ่อ ผู้ดื่มยาคู กระทำภัตกิจแล้ว" แล้วได้ตกแต่งอาสนะถวาย.

สามเณรนั่งลงแล้ว. อุมาสิกาจัดแจงยาคูและของเคี้ยวเสร็จโดยครู่เดียว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 247

เท่านั้น ได้ถวายแล้ว. ลำดับนั้น อุบาสิกาคิดว่า " เราจักจัดแจงภัต"

นั่งลงในที่ไม่ไกล ซาวข้าวอยู่.

สมัยนั้น นางยักษิณีนั้นใคร่ครวญอยู่ว่า "สามเณรอยู่ที่ไหนหนอ

แล ? เธอได้ภิกษาหาร หรือยังไม่ได้ " ทราบความที่เธอนั่งอยู่แล้ว

ด้วยความเป็นผู้ใคร่จะสึก จึงคิดว่า " ก็เธออย่าพึงยังความละอายให้เกิด

ขึ้นแก่เราในระหว่างเทวดาทั้งหลายเลย, เราจะไป จักกระทำอันตรายใน

การสึกของเธอ " ดังนี้แล้ว จึงมาสิงในสรีระของสามเณรนั้น บิดคอให้

ล้มลงเหนือแผ่นดิน. เธอมีตาทั้งสองเหลือก มีน้ำลายไหล ดิ้นรนอยู่บน

แผ่นดิน. อุบาสิกาเห็นอาการแปลกนั้นของบุตร รีบมาช้อนบุตรแล้ว

ให้นอนบนตัก. ชาวบ้านทั้งสิ้นมากระทำการเช่นสรวงมีพลีกรรมเป็นต้น.

อุบาสิกาคร่ำครวญ

ส่วนอุบาสิกาคร่ำครวญ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

" ชนเหล่าใด ย่อมรักษาอุโบสถที่ประกอบด้วย

องค์ ๘ ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์

และตลอดปาริหาริยปักษ์ ประพฤติพรหมจรรย์อยู่,

ยักษ์ทั้งหลายย่อมไม่เล่นด้วยชนเหล่านั้น ข้าพเจ้า

ได้สดับคำของพระอรหันต์ทั้งหลายดังนี้:. ในวันนี้

บัดนี้เอง ข้าพเจ้านั้นเห็นอยู่ ยักษ์ทั้งหลาย เล่นกับ

สานุสามเณร."

นางยักษิณีฟังคำของอุบาสิกาแล้ว จึงกล่าวว่า :-

" ยักษิณีทั้งหลาย ย่อมไม่เล่นกับเหล่าชนผู้รักษา

อุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ตลอดดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 248

ที่ ๘ แห่งปักษ์ และตลอดปาริหาริยปักษ์ ผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์อยู่, ท่านได้สดับคำของพระอรหันต์ทั้ง-

หลายดังนี้ดีแล้ว."

ดังนี้แล้ว จึงกล่าว (ต่อไปอีก) ว่า :-

" ขอท่านจงบอกคำนี้ของยักษ์ทั้งหลาย กะสานุ-

สามเณร ผู้รู้สึกขึ้นแล้วว่า ' ท่านอย่าได้กระทำบาป

กรรมในที่แจ้งหรือในที่ลับ; หากว่าท่านจักกระทำบาป

กรรมก็ตาม กำลังกระทำอยู่ก็ตาม ท่านถึงจะเหาะ

หนีไป ก็หามีการหลุดพ้นจากทุกข์ไม่."

นางยักษิณีตนนั้นกล่าวว่า " ความพ้นย่อมไม่มีแก่ท่านผู้แม้กระทำ

บาปกรรมอย่างนี้แล้ว เหาะหนีไปอยู่เหมือนนก" ดังนี้แล้ว ก็ปล่อย

สามเณร.

สามเณรนั้น ลืมตาขึ้นแล้ว เห็นมารดากำลังสยายผมร้องไห้สะอึก

สะอื้นอยู่ และชาวบ้านทั้งสิ้นประชุมกันอยู่แล้ว ไม่ทราบความที่ตนถูก

ยักษ์สิง จึงนึกสงสัยขึ้นว่า " เมื่อก่อนเรานั่งบนตั่ง, มารดาของเรานั่ง

ซาวข้าว ณ ที่ไม่ไกล, แต่บัดนี้ เรา (กลับ) นอนเหนือแผ่นดิน; นี่อะไร

กันหนอ ?" นอนอยู่เทียว กล่าวกะมารดาว่า :-

" โยม ชนทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคนที่ตายไป

แล้ว หรือยังเป็นอยู่ (แต่) ไม่ปรากฏ: โยม โยม

เห็นฉันซึ่งเป็นอยู่ ไฉนจึงร้องให้ถึงฉันเล่า ? โยม."

ครั้งนั้น มารดาเมื่อจะแสดงโทษในการมาเพื่อจะสึกอีกของบุคคล

ผู้ละวัตถุกามและกิเลสกามบวชแล้วแก่เธอ จึงกล่าวว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 249

" ลูก (ถูกแล้ว) ชนทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงชนที่

ตายไปแล้ว หรือยังเป็นอยู่ (แต่) ไม่ปรากฏ; ก็ผู้ใด

ละกามทั้งหลายได้แล้ว ยังจะเวียนมาในกามนี้อีก,

ลูก ชนทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงผู้นั้นบ้าง, เพราะเขา

(ถึง) เป็นอยู่ต่อไป ก็เหมือนตายแล้ว."

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงโทษในการครอบครอง

เรือน ทำการครอบครองเรือนให้เป็นเช่นกับเถ้ารึงเทียว และให้เป็นเช่น

กับเหว จึงกล่าวอีกว่า :-

" พ่อ พ่อถูกยกขึ้นจากเถ้ารึงแล้ว ยังปรารถนา

จะตกลงสู่เถ้ารึง (อีก), พ่อ พ่อถูกยกขึ้นจากเหวแล้ว

ยังปรารถนาเพื่อจะตกลงไปสู่เหว (อีก)."

ต่อมา เพื่อจะแสดงว่า " ลูก ขอพ่อจงมีความเจริญเถิด, ก็ฉันจะ

ปรับทุกข์แก่ใคร จะให้ใครช่วยคิดเนื้อความนี้ว่า ' บุตรน้อยของเรานี้ อัน

เรานำออกให้บวชในพระพุทธศาสนา ประหนึ่งภัณฑะที่ถูกนำออกจาก

เรือนซึ่งกำลังถูกไฟไหม้แล้ว ยังปรารถนาเพื่อรุ่มร้อนในฆราวาสอีก, ขอ

ท่านทั้งหลายจงช่วยวิ่งเต้น จงช่วยต้านทาน แก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด" นาง

จึงกล่าวคาถานี้กะสานุสามเณรนั้นว่า :-

" ขอท่านทั้งหลาย จงช่วยวิ่งเต้น ความเจริญจง

มีแก่ท่าน, ข้าพเจ้าจะปรับทุกข์แก่ใครเล่า ท่านเป็น

ดุจภัณฑะ ซึ่งถูกนำออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้แล้ว

ยังปรารถนาเพื่อจะถูกไหม้อีก."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 250

สานุสามเณรนั้น กำหนดได้ในเมื่อมารดากล่าวอยู่ จึงกล่าวว่า " ฉัน

ไม่มีความต้องการด้วยความเป็นคฤหัสถ์." ครั้งนั้น มารดาของเธอกล่าวว่า

" สาธุ พ่อ" พอใจแล้ว ให้บริโภคโภชนะอันประณีต ถามว่า " พ่อ พ่อ

มีกาลฝนเท่าไร ?" ทราบความที่เธอมีกาลฝนครบแล้ว ก็จัดแจงไตรจีวร

ให้. เธอมีบาตรจีวรครบ ได้อุปสมบทแล้ว.

ต่อมา พระศาสดาเมื่อจะทรงยิ่งความอุตสาหะในการข่มจิตให้เกิดขึ้น

แก่เธอผู้อุปสมบทแล้วไม่นาน จึงตรัสว่า " ธรรมดาว่าจิตนี้เที่ยวจาริกไป

ในอารมณ์ต่าง ๆ ตลอดกาลนาน, ชื่อว่าความสวัสดี ย่อมไม่มีแก่บุคคล

ผู้ไม่ข่มจิตนั้นลงไปได้, เพราะฉะนั้น บุคคลจึงควรทำความเพียรในการ

ข่มจิต เหมือนนายหัตถาจารย์ทำความพยายามในการข่มช้างมันด้วยขอ

ฉะนั้น" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๕. อิท ปุเร จิตฺตมจาริ จาริก

เยนิจฺฉก ยตฺถกาม ยถาสุข

ตทชฺชห นิคฺคเหสฺสามิ โยนิโส

หตฺถิปฺปภินฺน วิย อกุสคฺคโห.

" เมื่อก่อน จิตนี้ได้เที่ยวจาริกไป ตามอาการที่

ปรารถนา ตามอารมณ์ที่ใคร่ (และ) ตามความ

สบาย, วันนี้ เราจักข่มมันด้วยโยนิโสมนสิการ

ประหนึ่งนายควาญช้าง ข่มช้างที่ซับมันฉะนั้น."

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า; ก่อนแต่นี้ ชื่อว่าจิตนี้เที่ยวจาริกไป

ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นตลอดกาลนาน, ชื่อว่าตามอาการที่ปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 251

ด้วยสามารถแห่งอาการแห่งกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น อันเป็นเหตุ

ปรารถนา, ชื่อว่า (เที่ยวไป) ตามอารมณ์เป็นที่ใคร่ ด้วยสามารถแห่ง

อารมณ์เป็นที่เกิดความใคร่แห่งจิตนั้นนั่นแหละ, ชื่อว่าตามความสบาย

เพราะเมื่อมันเที่ยวด้วยอาการใด ความสุขจึงมี ก็เที่ยวไปด้วยอาการนั้น

นั่นแหละ, วันนี้ เราจักข่มจิตด้วยโยนิโสมนสิการ คือจักไม่ยอมให้มัน

ก้าวล่วงได้ เหมือนบุรุษผู้กุมขอไว้ (ในมือ) ผู้ฉลาด คือนายหัตถาจารย์

ข่มช้างซับมัน คือตกมันไว้ด้วยขอฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาเป็นอันมาก ผู้เข้าไป

เพื่อสดับธรรมพร้อมกับพระสานุ. ก็ท่านผู้มีอายุนั้น เรียนพระพุทธรจนะ

คือพระไตรปิฎกแล้ว ได้เป็นพระธรรมกถึกที่เชี่ยวชาญ ดำรง (ชีพ) อยู่

ตลอด ๑๒๐ ปี ยังชมพูทวีปทั้งสิ้นให้กระฉ่อนแล้วปรินิพพาน ดังนี้แล.

เรื่องสานุสามเณร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 252

๖. เรื่องช้างชื่อปาเวรกะ [๒๓๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภช้างชื่อ

ปาเวรกะของพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อปฺปมาทรตา"

เป็นต้น.

ช้างของพระเจ้าโกศลติดหล่ม

ดังได้สดับมา ช้างนั้นในกาลเป็นหนุ่ม เป็นสัตว์มีกำลังมาก โดย

สมัยอื่นอีก ถูกกำลังแห่งลมซึ่งเกิดขึ้นเพราะชราตัดทอน ลงไปสู่สระใหญ่

สระหนึ่ง ติดอยู่ในหล่มแล้ว ไม่ได้อาจเพื่อจะขึ้นได้. มหาชนเห็นช้าง

นั้นแล้ว จึงสนทนากันขึ้นว่า " ช้างชื่อแม้เห็นปานนี้ ยังถึงทุพพลภาพนี้."

พระราชาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงบังคับนายหัตถาจารย์ว่า " เธอจงไป

จงยกช้างนั้นให้ขึ้นจากหล่ม." เขาไปแล้วแสดงการรบขึ้นที่นั่น ให้ตีกลอง

รบขึ้นแล้ว. ช้างซึ่งเป็นเชื้อชาติแห่งสัตว์มีมานะ ลุกขึ้นโดยเร็ว ดำรงอยู่

บนบกได้. ภิกษุทั้งหลายเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดา.

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวนั้นถอนตนขึ้นจากหล่มคือ

เปือกตมตามปกติก่อน, ส่วนเธอทั้งหลาย แล่นลงแล้วในหล่มกิเลส;

เพราะฉะนั้น แม้เธอทั้งหลายจงเริ่มตั้ง (ความเพียร) โดยแยบคายแล้ว

ถอนตนขึ้นจากหล่มคือกิเลสนั้นเถิด" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๖. อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุกฺขถ

ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตาน ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 253

" ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท, จง

ตามรักษาจิตของตน, จงถอนตนขึ้นจากหล่ม ประหนึ่ง

ช้างที่จมลงในเปือกตม ถอนตนขึ้นได้ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาทรตา ความว่า ท่านทั้งหลาย

จงยินดียิ่งในความไม่อยู่ปราศจากสติ.

บทว่า สจิตฺต ความว่า จงรักษาจิตของตนในอารมณ์ทั้งหลายมีรูป

เป็นต้น โดยอาการที่มันจะทำความก้าวล่วงไม่ได้.

บทว่า สนฺโน ความว่า ช้างที่จมลงไปแล้วในเปือกตมตัวนั้น ทำ

ความพยายามด้วยเท้าหน้าและเท้าหลัง ถอนตนขึ้นพ้นจากเปือกตม ดำรง

อยู่บนบกได้ ฉันใด, แม้ท่านทั้งหลายก็จงถอนตนขึ้นจากหล่มคือกิเลส

คือยังตนให้ดำรงอยู่บนบกคือพระนิพพาน ฉันนั้นเถิด.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นดำรงอยู่ในพระอรหัตผลแล้ว ดัง

นี้แล.

เรื่องช้างชื่อปาเวรกะ จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 254

๓. เรื่องสัมพหุลภิกษุ [๒๓๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยป่าชื่อปาลิไลยกะ ประทับอยู่ในไพรสณฑ์

ชื่อรักขิตะ ทรงปรารภภิกษุเป็นอันมาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สเจ

ลเภถ " เป็นต้น.

ภิกษุ ๕๐๐ รูปอยากเข้าเฝ้าพระศาสดา

เรื่องมาในอรรถกถาแห่งพระคาถาว่า "ปเร จ น วิชานนฺติ"

เป็นต้น ในยมกวรรคแล้วแล. อันที่จริง ข้าพเจ้ากล่าวเรื่องนี้แล้วว่า

" การประทับอยู่ของพระตถาคตเจ้า ผู้ซึ่งพระยาช้างในไพรสณฑ์ ชื่อรักขิตะ

นั้นบำรุงอยู่ ได้ปรากฏไปในสกลชมพูทวีปแล้ว. ตระกูลใหญ่มีอาทิอย่างนี้

คือ " ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขามหาอุบาสิกา" ส่งข่าวไปจาก

พระนครสาวัตถีแก่พระอานนทเถระว่า " ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดง

พระศาสดาแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด." ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป แม้ผู้มีปกติ

อยู่ในทิศ ออกพรรษาแล้ว เข้าไปหาพระอานนทเถระ วิงวอนว่า " อานนท์

ผู้มีอายุ เราทั้งหลายฟังธรรมกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อ

กาลนานแล้ว, ดีละ อานนท์ผู้มีอายุ เราทั้งหลายพึงได้เพื่อฟังธรรมกถา

ณ ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า."

ช้างปาลิไลยกะจับไม้จะตีพระอานนท์

พระเถระ พาภิกษุเหล่านั้นไป ณ ไพรสณฑ์ชื่อรักขิตะนั้นแล้ว ดำริ

ว่า " การเข้าไปสู่สำนักพระตถาคตเจ้า ผู้มีปกติประทับอยู่พระองค์เดียว

ตลอดไตรมาส พร้อมกับภิกษุมีประมาณเท่านี้ ไม่สมควร" ดังนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 255

องค์เดียวเท่านั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา. ช้างชื่อปาลิไลยกะเห็นท่านแล้ว

จับไม้แล่นแปร๋ไป. พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นแล้วตรัสว่า " เจ้าจง

หลีกไป ปาลิไลยกะ, อย่าห้าม, นั่นเป็นพุทธปัฏฐาก." มันทิ้งท่อนไม้

ลงในที่นั้นนั่นเอง ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงการรับบาตรและจีวร. พระเถระ

มิได้ให้. ช้างคิดว่า " ถ้าภิกษุนี้จักเป็นผู้มีวัตรอันเรียนแล้วไซร้, ท่านจัก

ไม่วางบริขารของตนลงบนแผ่นหินที่ประทับนั่งของพระศาสดา." พระ-

เถระวางบาตรและจีวรลงบนพื้น. แท้จริง ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยวัตรทั้งหลาย

ย่อมไม่วางบริขารของตนลงบนที่นั่งหรือที่นอนของครู. พระเถระถวาย

บังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสถามว่า " เธอ

มารูปเดียวเท่านั้นหรือ ?" ทรงสดับความที่พระเถระมากับภิกษุประมาณ

๕๐๐ รูป ตรัสว่า " ภิกษุพวกนั้นอยู่ที่ไหนเล่า ?" เมื่อพระเถระกราบทูล

ว่า "ข้าพระองค์ เมื่อไม่ทราบจิตของพระองค์ จึงพักไว้ข้างนอก (ก่อน)

แล้วมาเฝ้า," ตรัสว่า " จงเรียกภิกษุเหล่านั้นเข้ามาเถิด." พระเถระได้

กระทำอย่างนั้น.

เที่ยวไปคนเดียวดีกว่าไปกับเพื่อนชั่ว

พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุเหล่านั้นแล้ว, เมื่อภิกษุเหล่า-

นั้นกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระพุทธ-

เจ้าผู้สุขุมาล และเป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาล, พระองค์ผู้เดียวประทับยืนและ

ประทับนั่งอยู่ตลอดไตรมาส ทรงทำกรรมที่ทำได้โดยยากแล้ว, ผู้กระทำ

วัตรและปฏิวัตรก็ดี ผู้ถวายวัตถุมีน้ำบ้วนพระโอษฐ์เป็นต้นก็ดี ชะรอยจะ

มิได้มี," จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย กิจทุกอย่าง ช้างปาลิไลยกะทำแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 256

แก่เรา, อันที่จริง การที่บุคคลเมื่อได้สหายผู้มีรูปเช่นนี้ อยู่ร่วมกัน สมควร

แล้ว, เมื่อบุคคลไม่ได้ การเที่ยวไปคนเดียวเท่านั้นเป็นการประเสริฐ"

แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ไว้ในนาควรรคว่า :-

๗. สเจ ลเภถ นิปก สหาย

สทฺธึจร สาธุวิหาริธีร

อภิภุยฺย สพฺพานิ ปริสฺสยานิ

จเรยฺย เตนตฺตมโน สตีมา.

โน เจ ลเภถ นิปก สหาย

สทฺธึจร สาธุวิหาริธีร

ราชาว รฏฺ วิชิต ปหาย

เอโก จเร มาตงฺครญฺเว นาโค.

เอกสฺส จริต เสยฺโย นตฺถิ พาเล สหายตา

เอโก จเร น จ ปาปานิ กยิรา

อปฺโปสฺสุกฺโก มาตงฺครญฺเญว นาโค.

" ถ้าว่า บุคคลพึงได้สหายผู้มีปัญญาเครื่องรักษา

ตัว มีธรรมเครื่องอยู่อันดี เป็นนักปราชญ์ ไว้เป็น

ผู้เที่ยวไปด้วยกันไซร้, เขาพึงครอบงำอันตรายทั้งสิ้น

เสียแล้ว พึงเป็นผู้มีใจยินดี มีสติ เที่ยวไปกับ

สหายนั้น. หากว่า บุคคลไม่พึงได้สหายผู้มีปัญญา

เครื่องรักษาตัว มีธรรมเครื่องอยู่เป็นอันดี เป็นนัก

ปราชญ์ ไว้เป็นผู้เที่ยวไปด้วยกันไซร้, เขาพึงเที่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 257

ไปคนเดียว เหมือนพระราชาทรงละแว่นแคว้น ที่

ทรงชนะเด็ดขาดแล้ว (หรือ) เหมือนช้างชื่อว่า

มาตังคะ ละโขลงแล้ว เที่ยวไปในป่าตัวเดียวฉะนั้น.

ความเที่ยวไปแห่งบุคคลคนเดียวประเสริฐกว่า, เพราะ

คุณเครื่องเป็นสหาย ไม่มีอยู่ในชนพาล; บุคคลนั้น

พึงเป็นผู้ผู้เดียวเที่ยวไป เหมือนช้างชื่อมาตังคะ ตัว

มีความขวนขวายน้อยเที่ยวไปอยู่ในป่าฉะนั้น และ

ไม่พึงทำบาปทั้งหลาย."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิปก คือผู้ประกอบปัญญาเครื่องรักษา

ตน.

บทว่า สาธุวิหาริธีร คือผู้มีธรรมเครื่องอยู่อันเจริญ เป็นบัณฑิต.

บทว่า ปริสฺสยานิ เป็นต้น ความว่า เขาเมื่อได้สหายผู้มีเมตตาเป็น

วิหารธรรมเช่นนั้น พึงครอบงำอันตรายทั้งหลาย คือ " อันตรายที่ปรากฏ

มีสีหะและพยัคฆ์เป็นต้น และอันตรายที่ปกปิด มีราคะและโทสะเป็นต้น "

ทั้งหมดทีเดียวแล้ว พึงเป็นผู้มีใจยินดี มีสติมั่นคง เที่ยวไป คืออยู่กับ

สหายนั้น.

สองบทว่า ราชาว รฏฺ ความว่า เหมือนพระราชาผู้ฤาษี ทรงละ

แว่นแคว้นผนวชอยู่ฉะนั้น. ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า " พระราชาผู้มี

ภูมิประเทศอันพระองค์ทรงชนะเด็ดขาดแล้ว ทรงละแว่นแคว้นที่ทรงชนะ

เด็ดขาดแล้วเสีย ด้วยทรงดำริว่า ชื่อว่าความเป็นพระราชานี้ เป็นที่ตั้ง

แห่งความประมาทอันใหญ่, ประโยชน์อะไรของเราด้วยราชสมบัติที่เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 258

ครอบครองแล้ว ' ลำดับนั้นแหละเสด็จเข้าไปยังป่าใหญ่ ผนวชเป็นดาบส

แล้วเสด็จเที่ยวไปเฉพาะพระองค์เดียวในอิริยาบถทั้ง ๔ ฉันใด; บุคคล

พึงเที่ยวไปเฉพาะผู้เดียวฉันนั้น."

สองบทว่า มาตงฺครญฺเว นาโค ความว่า เหมือนอย่างว่า พระยา

ช้างตัวนี้ได้นามว่า " มาตังคะ " เพราะพิจารณาเห็นอย่างนี้ว่า " เราแล

ย่อมอยู่นัวเนียด้วยพวกช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้น และลูกช้างทั้งหลาย,

เราย่อมเคี้ยวกินหญ้าที่เขาเด็ดปลายแล้ว, และเขาย่อมเคี้ยวกินกิ่งไม้อันพอ

หักได้ที่เขาหักลงแล้วๆ. และเราย่อมดื่มน้ำที่ขุ่น, เมื่อเราหยั่งลง (สู่ท่า

น้ำ) และก้าวขึ้น (จากท่าน้ำ) เหล่าช้างพังย่อมเดินเสียดสีกายไป, ถ้า

อย่างไร เราตัวเดียวเท่านั้น พึงหลีกออกไปจากโขลงอยู่ " ดังนี้แล้ว

ดำเนินไปด้วยความรู้ ละโขลงแล้ว ย่อมเที่ยวไปในป่านี้ตามสบายตัวเดียว

เท่านั้น ในอิริยาบถทั้งปวง ฉันใด;. บุคคลพึงเที่ยวไปคนเดียวเท่านั้น

แม้ฉันนั้น.

บทว่า เอกสฺส ความว่า ความเที่ยวไปแห่งบรรพชิตผู้ยินดียิ่งแล้ว

ในเอกีภาพ ตั้งแต่กาลที่ตนบวช ชื่อว่า ผู้ผู้เดียวเท่านั้นประเสริฐ.

บาทพระคาถาว่า นตฺถิ พาเล สหายตา ความว่า เพราะคุณธรรม

นี้ คือ " จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล กถาวัตถุ ๑๐ ธุดงคคุณ ๑๓

วิปัสสนาญาณ มรรค ผล ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ อมตมหานิพพาน"

ชื่อว่าคุณเครื่องเป็นสหาย. บุคคลไม่อาจบรรลุคุณเครื่องเป็นสหายนั้น

เพราะอาศัยเหล่าพาลชน เพราะฉะนั้น คุณเครื่องเป็นสหาย จึงชื่อว่า

ไม่มีในพาลชน.

๑. สาขาภงฺค ซึ่งรุกขาวัยวะอันบุคคลพึงหักคือกิ่งไม้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 259

บทว่า เอโก เป็นต้น ความว่า เพราะเหตุนี้ บุคคลพึงเป็นผู้

ผู้เดียวเท่านั้นเที่ยวไปในอิริยาบถทั้งปวง, และไม่พึงทำบาปทั้งหลาย แม้มี

ประมาณน้อย. อธิบายว่า " บุคคลนั้น พึงเป็นผู้ผู้เดียวเท่านั้นเที่ยวไป

เหมือนช้างชื่อมาตังคะ ตัวมีความขวนขวายน้อย คือไม่มีอาลัย เที่ยวไป

ตามสบายในสถานที่ที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ ในป่านี้ฉะนั้น, และไม่พึงทำ

บาปทั้งหลายแม้มีประมาณน้อย.

เพราะฉะนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงเนื้อความนี้ว่า " แม้ท่าน

ทั้งหลาย เมื่อไม่ได้สหายมีรูปเช่นนี้ พึงเป็นผู้เที่ยวไปคนเดียวเท่านั้น"

จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนานี้แก่ภิกษุเหล่านั้น.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้ง ๕๐๐ รูป ดำรงอยู่ในพระ-

อรหัตแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องสัมพหุลภิกษุ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 260

๘.เรื่องมาร [๒๓๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ กุฎีซึ่งตั้งอยู่ในป่าที่ข้างป่าหิมพานต์

ทรงปรารภมาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺถมฺหิ " เป็นต้น.

มารทูลให้พระศาสดาทรงครองราชสมบัติ

ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระราชาทั้งหลายทรงครอบครองราชสมบัติ

เบียดเบียนเหล่ามนุษย์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็น

มนุษย์ทั้งหลายถูกเบียดเบียนด้วยการลงอาชญา ในรัชสมัยของพระราชา

ผู้มิได้ตั้งอยู่ในธรรม ทรงดำริด้วยสามารถแห่งความกรุณาอย่างนี้ว่า " เรา

อาจเพื่อจะครอบครองราชสมบัติโดยธรรม ไม่เบียดเบียนเอง ไม่ให้ผู้อื่น

เบียดเบียน ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ไม่เศร้าโศกเอง ไม่ให้ผู้อื่น

เศร้าโศก หรือหนอ ?"

มารผู้มีบาปทราบพระปริวิตกข้อนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึง

ดำริว่า " พระสมณโคดมทรงดำริว่า ' เราอาจเพื่อครอบครองราชสมบัติ

หรือหนอ ?' บัดนี้ พระสมณโคดมนั้น จักเป็นผู้ใคร่เพื่อครอบครอง

ราชสมบัติ, ก็ชื่อว่าราชสมบัตินี้ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท, เมื่อพระ-

สมณโคดมครอบครองราชสมบัตินั้นอยู่, เราอาจเพื่อได้โอกาส; เรา

จะไป, จักยังความอุตสาหะให้เกิดขึ้นแก่พระองค์." แล้วเข้าไปเฝ้าพระ-

ศาสดากราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรง

ครองราชสมบัติ, ขอพระสุคตเจ้าจงทรงครองราชสมบัติโดยธรรม ไม่

เบียดเบียนเอง ไม่ให้ผู้อื่นเบียดเบียน ไม่ชนะเอง ไม่ให้ผู้อื่นชนะ ไม่

เศร้าโศกเอง ไม่ให้ผู้อื่นเศร้าโศก."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 261

พระศาสดาตรัสถามเหตุที่มารทูล

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะมารนั้นว่า " มารผู้มีบาป ก็ท่านเห็น

อะไรของเรา ผู้ซึ่งท่านกล่าวอย่างนี้ ?" เมื่อมารกราบทูลว่า " ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล ทรงอบรมอิทธิบาททั้ง ๔ ดีแล้ว,

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงจำนงหวัง พึงทรงน้อมนึกถึงเขาหลวงหิมวันต์

ว่า " จงเป็นทอง" และเขาหลวงที่ทรงน้อมนึกถึงนั้น พึงเป็นทองทีเดียว,

แม้ข้าพระองค์จักทำกิจที่ควรทำด้วยทรัพย์ เพื่อพระองค์, เพราะเหตุนี้

พระองค์จักทรงครอบครองราชสมบัติโดยธรรม" ดังนี้แล้ว ทรงยังมาร

ให้สังเวชด้วยคาถาเหล่านี้ว่า:-

" บรรพต พึงเป็นของล้วนด้วยทองคำที่สุกปลั่ง,

แม้ความที่บรรพตนั้น (ทวีขึ้น) เป็น ๒ เท่า ก็ยัง

ไม่เพียงพอแก่บุคคลคนหนึ่ง บุคคลทราบดังนี้แล้ว

พึงประพฤติแต่พอสม. ผู้เกิดมาคนใด ได้เห็นทุกข์

ว่ามีกามใดเป็นแดนมอบให้ (เป็นเหตุ), ไฉนผู้ที่

เกิดมาคนนั้น จะพึงน้อมไปในกามนั้นได้เล่า ? ผู้ที่

เกิดมารู้จักอุปธิ (สภาพเข้าไปทรงไว้) ว่า ' เป็น

ธรรมเครื่องข้อง ' ในโลกแล้ว พึงศึกษาเพื่อนำอุปธิ

นั้นนั่นแล ออกเสีย."

แล้วตรัสว่า " มารผู้ลามก โอวาทของท่านเป็นอย่างอื่นทีเดียวแล, ของ

เราก็เป็นอย่างอื่น (คนละอย่างกัน ), ขึ้นชื่อว่าการปรึกษาธรรมกับท่าน

๑. ส. ส. ๑๕/๑๗๐. ๒. แม้ประชุมแห่งบรรพต ๒ ลกก็ว่า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 262

ย่อมไม่มี, เพราะเราย่อมสอนอย่างนี้" แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้

ว่า:-

๘. อตฺถมฺหิ ชาตมฺหิ สุขา สหายา

ตุฏฺี สุขา ยา อิตรีตเรน

ปุญฺ สุข ชีวิตสงฺขยมฺหิ

สพฺพสฺส ทุกฺขสฺส สุข ปหาน.

สุขา มตฺเตยฺยตา โลเก อโถ เปตฺเตยฺยตา สุขา

สุขา สามญฺตา โลเก อโถ พฺรหฺมญฺตา สุขา

สุข ยาว ชรา สีล สุขา สทฺธา ปติฏฺิตา

สุโข ปญฺาย ปฏิลาโภ ปานาน อกรณ สุข.

" เมื่อความต้องการเกิดขึ้น สหายทั้งหลายนำ

ความสุขมาให้, ความยินดีด้วยปัจจัยนอกนี้ ๆ (ตาม

มีตามได้ ) นำความสุขมาให้, บุญนำความสุขมาให้

ในขณะสิ้นชีวิต, การละทุกข์ทั้งปวงเสียได้ นำความ

สุขมาให้. ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่มารดา นำความสุข

มาให้ในโลก, อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่บิดา นำ

ความสุขมาให้. ความเป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะ นำ

ความสุขมาให้ ในโลก, อนึ่ง ความเป็นผู้เกื้อกูล

แก่พราหมณ์ นำความสุขมาให้. ศีลนำความสุขมาให้

ตราบเท่าชรา, ศรัทธาที่ตั้งมั่นแล้ว นำความสุขมา

ให้, การได้เฉพาะซึ่งปัญญา นำความสุขมาให้, การ

ไม่ทำบาปทั้งหลาย นำความสุขมาให้."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 263

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถมฺหิ ความว่า ก็เมื่อกิจ มีการ

ทำจีวรเป็นต้นก็ดี มีการระงับอธิกรณ์เป็นต้นก็ดี บังเกิดขึ้นแก่บรรพชิต

บ้าง. (หรือ ) เมื่อกิจ มีกสิกรรมเป็นต้นก็ดี มีการถูกเหล่าชนผู้อาศัย

ร่วมด้วยฝักฝ่ายที่มีกำลังย่ำยีก็ดี บังเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์บ้าง, สหายเหล่าใด

สามารถเพื่อยังกิจนั้นให้สำเร็จได้ หรือให้สงบได้, สหายผู้เห็นปานนั้น

นำความสุขมาให้.

สองบทว่า ตุฏฺี สุขา ความว่า ก็แม้คฤหัสถ์ทั้งหลาย ผู้ไม่

สันโดษแล้วด้วยของแห่งตน จึงปรารภทุจริตกรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้น,

แม้บรรพชิตทั้งหลายผู้ไม่สันโดษแล้วด้วยปัจจัยของตน จึงปรารภอเนสนา

มีประการต่าง ๆ, เพราะเหตุนี้ คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งสองนั้น จึงไม่

ประสพความสุขเลย; เพราะฉะนั้น ความสันโดษด้วยของมีอยู่แห่งตน

นอกนี้ ๆ คือเล็กน้อยหรือมากมายนี่เอง นำความสุขมาให้.

บทว่า ปุญฺญ ความว่า ก็บุญกรรมที่เริ่มทำไว้ตามอัธยาศัยอย่างไร

นั่นแล นำความสุขมาให้ในมรณกาล.

บทว่า สพฺพสฺส ความว่า อนึ่ง พระอรหัต กล่าวคือการละ

วัฏทุกข์ทั้งสิ้นได้นั่นแล ชื่อว่านำความสุขมาให้ในโลกนี้.

การปฏิบัติชอบในมารดา ชื่อว่า มตฺเตยฺยตา. การปฏิบัติชอบใน

บิดา ชื่อว่า เปตฺเตยฺยตา การทะนุบำรุงมารดาบิดานี่แล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสแล้วด้วยบทแม้ทั้งสอง. อันที่จริง มารดาและบิดาทราบว่า

บุตรทั้งหลายไม่บำรุงแล้ว ย่อมฝังทรัพย์อันเป็นของมีอยู่แห่งตนเสียใน

แผ่นดินบ้าง ย่อมสละให้แก่ชนเหล่าอื่นบ้าง, อนึ่ง การนินทาย่อมเป็นไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 264

แก่บุตรเหล่านั้นว่า " คนพวกนี้ไม่ทะนุบำรุงมารดาบิดา," บุตรเหล่านั้น

ย่อมบังเกิดแม้ในคูถนรก เพราะกายแตกทำลายไป; ส่วนบุตรเหล่าใด

ทะนุบำรุงมารดาบิดาโดยเคารพ, บุตรเหล่านั้นย่อมได้รับทรัพย์อันเป็น

ของมีอยู่ของมารดาบิดาเหล่านั้น ทั้งย่อมได้ซึ่งการสรรเสริญ, เพราะ

ร่างกายแตกทำลายไป ย่อมบังเกิดในสวรรค์; เพราะฉะนั้น แม้ทั้งสอง

ข้อนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " นำความสุขมาให้ " ดังนี้.

การปฏิบัติชอบในบรรพชิตทั้งหลาย ชื่อว่า สามญฺตา. การ

ปฏิบัติชอบในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกแห่งพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้มีบาปอันลอยเสียแล้วเท่านั้น ชื่อว่า พฺรหฺมญฺตา.

ความเป็นคือการบำรุงพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระพุทธสาวก

ทั้งหลายเหล่านั้นด้วยปัจจัย ๔ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วแม้ด้วยบท

ทั้งสอง. แม้ข้อนี้ พระองค์ก็ตรัสว่า ชื่อว่านำความสุขมาให้ในโลก (นี้).

บทว่า สีล เป็นต้น ความว่า แท้จริง เครื่องอลังการทั้งหลาย

มีแก้วมณี ตุ้มหู และผ้าแดงเป็นต้น ย่อมงดงามสำหรับชนผู้ตั้งอยู่แล้วใน

วัยนั้น ๆ เท่านั้น, เครื่องอลังการของคนหนุ่ม จะงดงามในกาลแก่ หรือ

เครื่องอลังการของคนแก่ จะงดงามในกาลหนุ่ม ก็หาไม่, อนึ่ง (เครื่อง

อลังการที่ตกแต่งไม่ถูกกาลนี้) ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายถ่ายเดียว เพราะ

ให้การครหาบังเกิดขึ้นว่า " คนนั้นชะรอยจะเป็นบ้า" ส่วนประเภทแห่ง

ศีลมีศีล ๕ และศีล ๑๐ เป็นต้น ย่อมงดงามในทุก ๆ วัย ทั้งแก่คนหนุ่ม

ทั้งแก่คนแก่ทีเดียว, ย่อมนำมาแต่ความโสมนัสถ่ายเดียว เพราะให้ความ

สรรเสริญบังเกิดขึ้นว่า "โอ ท่านผู้นี้มีศีลหนอ " เพราะฉะนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " สุข ยาว ชรา สีล."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 265

สองบทว่า สทฺธา ปติฏฺิตา ความว่า ศรัทธาที่เป็นโลกิยะและ

โลกุตระแม้ทั้งสองอย่าง เป็นคุณชาติไม่หวั่นไหว ตั้งมั่นแล้วเทียว นำ

ความสุขมาให้.

บาทพระคาถาว่า สุโข ปญฺาปฏิลาโภ ความว่า การได้เฉพาะ

ปัญญาแม้ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ นำความสุขมาให้.

สองบทว่า ปาปาน อกรณ ความว่า อนึ่ง การไม่กระทำบาป

ทั้งหลายด้วยอำนาจแห่งเสตุฆาตะ (คืออริยมรรค) นำความสุขมาให้ใน

โลกนี้.

ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาเป็นอันมาก ดังนี้แล.

เรื่องมาร จบ.

นาควรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๒๓ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 266

คาถาธรรมบท

ตัณหาวรรคที่ ๒๔

ว่าด้วยตัณหา

[๓๔] ๑. ตัณหาดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแต่คนผู้มี

ปกติประมาท เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่

ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น ตัณหา

นี้เป็นธรรมชาติลามก มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ

ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศกทั้งหลาย

ย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น ดุจหญ้าคมบางอันฝนตกรด

แล้วงอกงามอยู่ฉะนั้น แต่ผู้ใดย่ำยีตัณหานั่นซึ่งเป็น

ธรรมชาติลามก ยากที่ใครในโลกจะล่วงไปได้ ความ

โศกทั้งหลาย ย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำ

ตกไปจากใบบัวฉะนั้น เพราะฉะนั้น เราบอกกะท่าน

ทั้งหลายว่า ความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่

ประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้ ท่านทั้งหลายจงขุดรากตัณหา

เสียเถิด ประหนึ่งผู้ต้องการแฝก ขุดหญ้าคมบาง

เสียฉะนั้น มารอย่าระรานท่านทั้งหลายบ่อย ๆ ดุจ

กระแสน้ำระรานไม้อ้อฉะนั้น.

๒. ต้นไม้ เมื่อรากไม่มีอันตราย ยังมั่นคง ถึง

บุคคลตัดแล้ว ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว แม้ฉันใด

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๒ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 267

ทุกข์นี้ เมื่อตัณหานุสัยอันบุคคลยังขจัดไม่ได้แล้ว

ย่อมเกิดขึ้นร่ำไป แม้ฉันนั้น กระแส (แห่งตัณหา)

๓๖ อันไหลไปรนอารมณ์เป็นที่พอใจ เป็นธรรมชาติ

กล้า ย่อมมีแก่บุคคลใด ความดำริทั้งหลายอันใหญ่

อาศัยราคะย่อมนำบุคคลนั้นผู้มีทิฏฐิชั่วไป กระแส

(แห่งตัณหาทั้งหลาย) ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง

ตัณหาดุจเถาวัลย์แตกขึ้นแล้วย่อมตั้งอยู่ ก็ท่านทั้ง-

หลายเห็นตัณหานั้น เป็นดังเถาวัลย์เกิดแล้ว จงตัด

รากเสียด้วยปัญญา โสมนัสทั้งหลายที่ซ่านไป และ

เปื้อนตัณหาดุจยางเหนียวย่อมมีแก่สัตว์ สัตว์ทั้ง-

หลายนั้นอาศัยความสำราญ จึงเป็นผู้แสวงหาความ

สุข นระเหล่านั้นแล ย่อมเป็นผู้เข้าถึงซึ่งชาติชรา

หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว ย่อม

กระเสือกกระสน เหมือนกระต่ายอันนายพรานดักได้

แล้วฉะนั้น หมู่สัตว์ผู้ข้องอยู่ในสังโยชน์และกิเลส

เครื่องข้อง ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ อยู่ช้านาน หมู่สัตว์

อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว ย่อมกระเสือก

กระสนเหมือนกระต่ายที่นายพรานดักได้แล้วฉะนั้น

เพราะเหตุนั้น ภิกษุหวังธรรมเป็นที่สำรอกกิเลสแก่

ตน พึงบรรเทาตัณหาผู้ทำความดิ้นรนเสีย.

๓. บุคคลใด มีอาลัยดุจหมู่ไม้อันตั้งอยู่ในป่า

ออกแล้ว น้อมไปในป่า (คือตปธรรม) พ้นจากป่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 268

แล้ว ยังแล่นไปสู่ป่าตามเดิม ท่านทั้งหลายจงแลดู

บุคคลนั้นนั่นแล เขาพ้นแล้ว (จากเครื่องผูก) ยัง

แล่นไปสู่เครื่องผูกตามเดิม.

๔. เครื่องจองจำใด เกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้

และเกิดแต่หญ้าปล้อง ผู้มีปัญญาทั้งหลาย หากล่าว

เครื่องจองจำนั้นว่าเป็นของมั่นคงไม่ ความกำหนัดใด

ของชนทั้งหลายผู้กำหนัดยินดียิ่งนัก ในแก้วมณีและ

ตุ้มหูทั้งหลาย และความเยื่อใยในบุตรและในภรรยา

ทั้งหลายใด นักปราชญ์ทั้งหลายกล่าวความกำหนัด

และครามเยื่อใยนั้นว่ามั่นคง.

๕. สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่

กระแสตัณหา เหมือนแมลงมุมตกไปยังใยที่ตัวทำ

ไว้เองฉะนั้น ธีรชนทั้งหลายตัดกระแสตัณหาแม้นั้น

แล้ว เป็นผู้หมดห่วงใย ละเว้นทุกข์ทั้งปวง.

๖. ท่านจงเปลื้อง (อาลัย ) ในก่อนเสีย จง

เปลื้อง ( อาลัย) ข้างหลังเสีย จงเปลื้อง (อาลัย)

ในท่ามกลางเสีย จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจหลุดพ้น

ในธรรมทั้งปวง จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก.

๗. ตัณหาย่อมเจริญยิ่งแก่ชนผู้ถูกวิตกย่ำยี มี

ราคะจัด เห็นอารมณ์ว่างาม บุคคลนั่นแลย่อมทำ

เครื่องผูกให้มั่น ส่วนภิกษุใด ยินดีในธรรมเป็นที่เข้า

ไประงับวิตก เจริญอสุภฌานอยู่ มีสติทุกเมื่อ ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 269

นั่นแล จักทำตัณหาให้สูญสิ้นได้ ภิกษุนั่น จะตัด

เครื่องผูกแห่งมารได้.

๘. (ผู้ใด) ถึงความสำเร็จ มีปกติไม่สะดุ้ง มี

ตัณหาไปปราศแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวนใจ ได้

ตัดลูกศรอันให้ไปสู่ภพทั้งหลายเสียแล้ว กายนี้

(ของผู้นั้น) ชื่อว่าไม่มีที่สุด (ผู้ใด) มีตัณหาไป

ปราศแล้ว ไม่มีความถือมั่น ฉลาดในบทแห่งนิรุตติ

รู้ที่ประชุมแห่งอักษรทั้งหลาย และรู้เบื้องต้นและ

เบื้องปลายแห่งอักษรทั้งหลาย ผู้นั้นแล มีสรีระมีใน

ที่สุด เราย่อมเรียกว่า ผู้มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษ.

๙. เราเป็นผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด รู้ธรรม

ทุกอย่าง ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้แล้ว

ทุกอย่าง พ้นแล้วในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่ง

ตัณหา รู้เองแล้ว จะพึงอ้างใครเล่า ( ว่าเป็นอุปัชฌาย์

อาจารย์)

๑๐. ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง รสแห่ง

ธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรม ย่อม

ชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อม

ชนะทุกข์ทั้งปวง.

๑๑. โภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนทรามปัญญา แต่

ไม่ฆ่าคนผู้แสวงหาฝั่งโดยปกติ คนทรามปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 270

ย่อมฆ่าตนเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะความทะยานอยาก

ในโภคะ.

๑๒. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้ก็มี

ราคะเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศ-

จากราคะ จึงเป็นของมีผลมาก นาทั้งหลายมีหญ้า

เป็นโทษ หมู่สัตว์ก็มีโทสะเป็นโทษฉะนั้นแล ทาน

ที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมาก นาทั้ง-

หลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้ก็มีโมหะเป็นโทษ

ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะจึงมีผล

มาก นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ หมู่สัตว์นี้ก็มีความ

อยากเป็นโทษ ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจาก

ความอยาก จึงมีผลมาก.

จบตัณหาวรรคที่ ๒๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 271

๒๔. ตัณหาวรรควรรณนา

๑. เรื่องปลาชื่อกปิละ [๒๔๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปลาชื่อกปิละ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มนุชสฺส " เป็นต้น.

สองพี่น้องออกบวช

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม

ว่ากัสสป ปรินิพพานแล้ว กุลบุตรสองคนพี่น้องออกบวชในสำนักแห่ง

พระสาวกทั้งหลาย.

บรรดากุลบุตรสองคนนั้น คนพี่ได้ชื่อว่าโสธนะ, คนน้องชื่อกปิละ.

ส่วนมารดาของคนทั้งสองนั้น ชื่อว่าสาธนี, น้องสาวชื่อตาปนา. แม้

หญิงทั้งสองนั้น ก็บวชแล้วใน ( สำนัก ) ภิกษุณี. เมื่อคนเหล่านั้นบวช

แล้วอย่างนั้น พี่น้องทั้งสองทำวัตรและปฏิวัตรแก่พระอาจรรย์และพระ-

อุปัชฌายะอยู่ วันหนึ่ง ถามว่า " ท่านขอรับ ธุระในพระศาสนานี้มี

เท่าไร ?" ได้ยินว่า " ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ ๑ วิปัสสนา-

ธุระ ๑," ภิกษุผู้เป็นพี่คิดว่า " เราจักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ" อยู่ในสำนัก

แห่งพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ๕ พรรษาแล้ว เรียนกัมมัฏฐานจน

ถึงพระอรหัต เข้าไปสู่ป่าพยายามอยู่ ก็บรรลุพระอรหัตผล.

น้องชายเมาในคันถธุระ

ภิกษุน้องชายคิดว่า " เรายังหนุ่มก่อน, ในเวลาแก่จึงจักบำเพ็ญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 272

วิปัสสนาธุระ " จึงเริ่มตั้งคันถธุระ เรียนพระไตรปิฎก. บริวารเป็นอัน

มากได้เกิดขึ้น เพราะอาศัยปริยัติของเธอ, ลาภก็ได้เกิดขึ้น เพราะอาศัย

บริวาร. เธอเมาแล้วด้วยความเมาในความเป็นผู้สดับมาก อันความทะยาน

อยากในลาภครอบงำแล้ว เพราะเป็นผู้สำคัญตัวว่าฉลาดยิ่ง ย่อมกล่าวแม้

สิ่งที่เป็นกัปปิยะ อันคนเหล่าอื่นกล่าวแล้วว่า " เป็นอกัปปิยะ," กล่าว

แม้สิ่งที่เป็นอกัปปิยะว่า " เป็นกัปปิยะ," กล่าวแม้สิ่งที่มีโทษว่า " ไม่มี

โทษ," กล่าวแม้สิ่งไม่มีโทษว่า " มีโทษ." เธอแม้อันภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก

ทั้งหลายกล่าวว่า " คุณกปิละ คุณอย่าได้กล่าวอย่างนี้ " แล้ว แสดง

ธรรมและวินัยกล่าวสอนอยู่ ก็กล่าวว่า " พวกท่านจะรู้อะไร ? พวกท่าน

เช่นกับกำมือเปล่า" เป็นต้นแล้ว ก็เที่ยวขู่ตวาดภิกษุทั้งหลายอยู่.

น้องชายไม่เชื่อพี่

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายบอกเนื้อความนั้นแม้แก่พระโสธนเถระผู้เป็น

พี่ชายของเธอแล้ว. แม้พระโสธนะเถระเข้าไปหาเธอแล้ว ตักเตือนว่า

" คุณกปิละ ก็การปฏิบัติชอบของภิกษุทั้งหลายผู้เช่นเธอชื่อว่าเป็นอายุ

พระศาสนา; เพราะฉะนั้น เธออย่าได้ละการปฏิบัติชอบแล้ว กล่าว

คัดค้านสิ่งที่เป็นกัปปิยะเป็นต้นอย่างนั้นเลย." เธอมิได้เอื้อเฟื้อถ้อยคำแม้

ของท่าน. แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ พระเถระก็ตักเตือนเธอ ๒ - ๓ ครั้ง ทราบ

เธอผู้ไม่รับคำตักเตือนว่า " ภิกษุนี้ไม่ทำตามคำของเรา" จึงกล่าวว่า

" คุณ ถ้าดังนั้น เธอจักปรากฏด้วยกรรมของตน ดังนี้แล้ว หลีกไป.

น้องชายเสียคนเพราะถูกทอดทิ้ง

จำเดิมแต่นั้น ภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก แม้เหล่าอื่น ทอดทิ้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 273

เธอแล้ว. เธอเป็นผู้มีความประพฤติชั่ว อันพวกผู้มีความประพฤติชั่ว

แวดล้อมอยู่ วันหนึ่ง คิดว่า " เราจักสวดปาติโมกข์ " จึงถือพัดไปนั่ง

บนธรรมาสน์ในโรงอุโบสถแล้ว ถามว่า " ผู้มีอายุ ปาติโมกข์ย่อมเป็นไป

เพื่อภิกษุทั้งหลายผู้ประชุมกันแล้วในที่นี้หรือ ?" เห็นภิกษุทั้งหลายนิ่งเสีย

ด้วยคิดว่า " ประโยชน์อะไร ด้วยคำโต้ตอบที่เราให้แก่ภิกษุ ?" จึง

กล่าวว่า " ผู้มีอายุ ธรรมก็ดี วินัยก็ดี ไม่มี, ประโยชน์อะไรด้วย

ปาติโมกข์ ที่พวกท่านจะฟังหรือไม่ฟัง" ดังนี้แล้ว ก็ลุกไปจากอาสนะ.

เธอยังศาสนาคือปริยัติของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปให้

เสื่อมลงแล้วด้วยอาการอย่างนี้. แม้พระโสธนเถระก็ปรินิพพานในวันนั้น

เอง.

ในกาลสิ้นอายุ ภิกษุกปิละเกิดในอเวจีมหานรก. มารดาและน้อง-

สาวของเธอแม้นั้น ถึงทิฏฐานุคติของเธอนั่นแล ด่าบริภาษภิกษุทั้งหลาย

ผู้มีศีลเป็นที่รักแล้ว ก็บังเกิดในอเวจีมหานรกนั้นเหมือนกัน.

โจรเกิดในเทวโลกด้วยอำนาจของศีล

ก็ในกาลนั้น บุรุษ ๕๐๐ คนทำโจรกรรมมีการปล้นชาวบ้านเป็นต้น

เป็นอยู่ด้วยกิริยาของโจร ถูกพวกมนุษย์ในชนบทตามจับแล้ว หนีเข้าป่า

ไม่เห็นที่พึ่งอะไรในป่านั้น เห็นภิกษุผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรรูปใดรูปหนึ่ง

ไหว้แล้ว กล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของพวกข้าพเจ้า

เถิด."

พระเถระกล่าวว่า " ชื่อว่าที่พึ่งเช่นกับศีล ย่อมไม่มีแก่ท่านทั้งหลาย,

พวกท่านแม้ทั้งหมดจงสมาทานศีล ๕ เถิด."

โจรเหล่านั้นรับว่า " ดีละ" ดังนี้แล้ว สมาทานศีลทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 274

ลำดับนั้น พระเถระตักเตือนโจรเหล่านั้นว่า " บัดนี้ พวกท่าน

เป็นผู้มีศีล; พวกท่านไม่ควรล่วงศีลแม้เพราะเหตุแห่งชีวิตเลย; ความ

ประทุษร้ายทางใจ ก็ไม่ควรทำ." โจรเหล่านั้นรับว่า " ดีละ " แล้ว.

ครั้งนั้น ชาวชนบทเหล่านั้น (มา) ถึงที่นั้นแล้ว ค้นหาข้างโน้น

ข้างนี้ พบโจรเหล่านั้นแล้ว ก็ช่วยกันปลงชีวิตเสียทั้งหมด. พวกโจร

เหล่านั้นทำกาละแล้ว ก็บังเกิดในเทวโลก. หัวหน้าโจรได้เป็นหัวหน้า

เทพบุตร.

เทพบุตรถือปฏิสนธิในตระกูลชาวประมง

เทพบุตรเหล่านั้น ท่องเที่ยวไปในเทวโลกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง ด้วย

อำนาจอนุโลมและปฏิโลม ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดแล้วในบ้าน

ชาวประมง ๕๐๐ ตระกูล ใกล้ประตูพระนครสาวัตถี. หัวหน้าเทพบุตร

ถือปฏิสนธิในเรือนของหัวหน้าชาวประมง, พวกเทพบุตรนอกนี้ ถือ

ปฏิสนธิในเรือนชาวประมงนอกนี้. การถือปฏิสนธิและการออกจากท้อง

มารดาแห่งชนเหล่านั้น ได้มีแล้วในวันเดียวกันทั้งนั้น ด้วยประการฉะนี้.

หัวหน้าชาวประมงให้คนเที่ยวแสวงหาว่า " พวกทารกแม้เหล่าอื่น

ในบ้านนี้ เกิดแล้วในวันนี้มีอยู่บ้างไหม ?" ได้ยินความที่ทารกเหล่านั้น

เกิดแล้ว จึงสั่งให้ ๆ ทรัพย์ค่าเลี้ยงดูแก่ชาวประมงเหล่านั้น ด้วยตั้งใจว่า

" พวกทารกนั้น จักเป็นสหายของบุตรเรา." ทารกเหล่านั้นแม้ทุกคน

เป็นสหายเล่นฝุ่นร่วมกัน ได้เป็นผู้เจริญวัยโดยลำดับแล้ว บรรดาเด็ก

เหล่านั้น บุตรของหัวหน้าชาวประมงได้เป็นผู้เยี่ยมโดยยศและอำนาจ.

กปิละเกิดเป็นปลาใหญ่

แม้ภิกษุกปิละ ไหม้ในนรกสิ้นพุทธันดรหนึ่งแล้ว ในกาลนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 275

บังเกิดเป็นปลาใหญ่ในแม่น้ำอจิรวดี มีสีเหมือนทองคำ มีปากเหม็น ด้วย

เศษแห่งวิบาก.

ต่อมาวันหนึ่ง สหายเหล่านั้นปรึกษากันว่า " เราจักจับปลา " จึง

ถือเอาเครื่องจับสัตว์น้ำมีแหเป็นต้น ทอดไปในแม่น้ำ. ทีนั้นปลานั้นได้

เข้าไปสู่ภายในแหของคนเหล่านั้น. ชาวบ้านประมงทั้งหมด เห็นปลานั้น

แล้ว ได้ส่งเสียงเอ็ดอึงว่า " ลูกของพวกเราเมื่อจับปลาครั้งแรก จับได้

ปลาทองแล้ว, คราวนี้ พระราชาจักพระราชทานทรัพย์แก่เราเพียงพอ."

สหายแม้เหล่านั้นแล เอาปลาใส่เรือ ยกเรือขึ้นแล้วก็ไปสู่พระราชสำนัก.

แม้เมื่อพระราชาทอดพระเนตรเห็นปลานั้น ตรัสว่า " นั่นอะไร ? "

พวกเขาได้กราบทูลว่า " ปลา พระเจ้าข้า." พระราชาทอดพระเนตรเห็น

ปลามีสีเหมือนทองคำ ทรงดำริว่า " พระศาสดาจักทรงทราบเหตุที่ปลานั่น

เป็นทองคำ" ดังนี้แล้ว รับสั่งให้คนถือปลา ได้เสด็จไปสู่สำนักพระผู้มี-

พระภาคเจ้า. เมื่อปากอันปลาพออ้าเท่านั้น พระเชตวันทั้งสิ้น ได้มีกลิ่น

เหม็นเหลือเกิน.

พระราชาทูลถามพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า เพราะเหตุไร ปลา

จึงมีสีเหมือนทองคำ ? และเพราะเหตุไร กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจากปาก

ของมัน ? "

พระศาสดา. มหาบพิตร ปลานี้ได้เป็นภิกษุชื่อกปิละ เป็นพหูสูต

มีบริวารมาก ในธรรมวินัยของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป,

ถูกความทะยานอยากในลาภครอบงำแล้ว ด่าบริภาษพวกภิกษุผู้ไม่ถือคำ

ของตน ยังพระศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ให้

เสื่อมลงแล้ว . เขาบังเกิดในอเวจีด้วยกรรมนนั้นแล้ว บัดนี้เกิดเป็นปลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 276

ด้วยเศษแห่งวิบาก; ก็เพราะเธอบอกพระพุทธวจนะ กล่าวสรรเสริญคุณ

พระพุทธเจ้าสิ้นกาลนาน, จึงได้อัตภาพมีสีเหมือนทองคำนี้ ด้วยผลแห่ง

กรรมนั้น. เธอได้เป็นผู้บริภาษภิกษุทั้งหลาย กลิ่นเหม็นจึงฟุ้งออกจาก

ปากของเธอ ด้วยผลแห่งกรรมนั้น; มหาบพิตร อาตมภาพจะให้ปลานั้น

พูด.

พระราชา. ให้พูดเถิด พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามปลาว่า " เจ้าชื่อกปิละหรือ ? "

ปลา. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ชื่อกปิละ.

พระศาสดา. เจ้ามาจากที่ไหน ?

ปลา. มาจากอเวจีมหานรก พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. พระโสธนะพี่ชายใหญ่ของเจ้าไปไหน ?

ปลา. ปรินิพพานแล้ว พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ก็นางสาธนีมารดาของเจ้าเล่าไปไหน ?

ปลา. เกิดในนรก พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. นางตาปนาน้องสาวของเจ้าไปไหน ?

ปลา. เกิดในมหานรก พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. บัดนี้เจ้าจักไปที่ไหน ?

ปลาชื่อกปิละกราบทูลว่า " จักไปสู่อเวจีมหานรกดังเดิม พระเจ้าข้า "

ดังนี้แล้ว อันความเดือดร้อนครอบงำแล้ว เอาศีรษะฟาดเรือ ทำกาละ

ในทันทีนั่นเอง เกิดในนรกแล้ว. มหาชนได้สลดใจมีโลมชาติชูชันแล้ว.

พระศาสดาตรัสกปิลสูตร

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูวาระจิตของบริษัทผู้ประชุม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 277

กันในขณะนั้น เพื่อจะทรงแสดงธรรมให้สมควรแก่ขณะนั้น จึงตรัส

กปิลสูตรในสุตตนิบาตว่า " นักปราชญ์ทั้งหลาย ได้กล่าวการประพฤติ

ธรรม ๑ การประพฤติพรหมจรรย์ ๑ นั่น ว่าเป็นแก้วอันสูงสุด" ดังนี้

เป็นต้นแล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

๑. มนุชสฺส ปมตฺตจาริโน

ตณฺห วฑฺฒติ มาลุวา วิย

โส ปลวตี หุราหุร

ผลมิจฺฉว วนสฺมึ วานโร.

ย เอสา สหตี ชมฺมี ตณฺหา โลเก วิสตฺติกา

โสกา ตสฺส ปวฑฺฒนฺติ อภิวฑฺฒว พีรณ.

โย เจ ต สหตี ชมฺมึ ตณฺห โลเก ทุรจฺจย

โสกา ตมฺหา ปปตนฺติ อุทพินฺทุว โปกฺขรา.

ต โว วทามิ ภทฺท โว ยาวนฺเตตฺถ สมาคตา

ตณฺหาย มูล ขณถ อุสีรตฺโถว พีรณ.

มา โว นฬ ว โสโตว มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุน.

" ตัณหา ดุจเถาย่านทราย ย่อมเจริญแก่คนผู้มี

ปกติประพฤติประมาท. เขาย่อมเร่ร่อนไปสู่ภพน้อย

ใหญ่ ดังวานรปรารถนาผลไม้เร่ร่อนไปในป่าฉะนั้น.

ตัณหานี้เป็นธรรมชาติลามก มักแผ่ซ่านไปในอารมณ์

ต่าง ๆ ในโลก ย่อมครอบงำบุคคลใด ความโศก

ทั้งหลายย่อมเจริญแก่บุคคลนั้น, ดุจหญ้าคมบางอัน

๑. ขุ. สุ. ๒๕/ ข้อ ๓๒๑. ธรรมจริยสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 278

ฝนตกรดแล้วงอกงามอยู่ฉะนั้น, แต่ผู้ใด ย่อมย่ำยี

ตัณหานั่น ซึ่งเป็นธรรมชาติลามก ยากที่ใครในโลก

จะล่วงไปได้, ความโศกทั้งหลาย ย่อมตกไปจากผู้

นั้น เหมือนหยาดน้ำตกไปจากใบบัวฉะนั้น. เพราะ-

ฉะนั้น เราบอกกะท่านทั้งหลายว่า ความเจริญจงมี

แก่ท่านทั้งหลาย บรรดาที่ประชุมกันแล้ว ณ ที่นี้

ท่านทั้งหลายจงขุดรากตัณหาเสียเถิด, ประหนึ่งผู้

ต้องการแฝก ขุดหญ้าคมบางเสียฉะนั้น, มารอย่า

ระรานท่านทั้งหลายบ่อย ๆ ดุจกระแสน้ำระรานไม้

อ้อฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปมตฺตจาริโน ความว่า ฌานไม่เจริญ

เทียว วิปัสสนา มรรค และผล ก็ไม่เจริญ แก่บุคคลผู้มีปกติประพฤติ

ประมาท ด้วยความประมาท มีการปล่อยสติเป็นลักษณะ อธิบายว่า

เหมือนอย่างว่า เครือเถาย่านทรายร้อยรัด รึงรัดต้นไม้อยู่ ย่อมเจริญเพื่อ

ความพินาศแห่งต้นไม้นั้นฉันใด, ตัณหาก็ฉันนั้น ชื่อว่าเจริญแก่บุคคล

นั้น เพราะอาศัยทวารทั้ง ๖ เกิดขึ้นบ่อย ๆ.

บาทพระคาถาว่า โส ปริปฺลวติ หุราหุร ความว่า บุคคลนั้น คือ

ผู้เป็นไปในคติแห่งตัณหา ย่อมเร่ร่อนคือแล่นไปในภพน้อยใหญ่. ถามว่า

" เขาย่อมเร่ร่อนไปเหมือนอะไร ? " แก้ว่า " เหมือนวานรตัวปรารถนา

ผลไม้ โลดไปในป่าฉะนั้น." อธิบายว่า วานรเมื่อปรารถนาผลไม้ ย่อม

โลดไปในป่า. มันจับกิ่งไม้นั้น ๆ ปล่อยกิ่งนั้นแล้ว จับกิ่งอื่น. ปล่อย

๑. บาลีเป็น ปลวตี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 279

กิ่งแม้นั้นแล้ว จับกิ่งอื่น ย่อมไม่ถึงความเป็นสัตว์ที่บุคคลควรกล่าวได้ว่า

" มันไม่ได้กิ่งไม้จึงนั่งเจ่าแล้ว " ฉันใด; บุคคลผู้เป็นไปในคติแห่งตัณหา

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เร่ร่อนไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ ย่อมไม่ถึงความเป็นผู้ที่

ใคร ๆ ควรพูดได้ว่า " เขาไม่ได้อารมณ์แล้ว จึงถึงความไม่เป็นไปตาม

ความทะเยอทะยาน."

บทว่า ย เป็นต้น ความว่า ตัณหาอันเป็นไปในทวาร ๖ นี้ ชื่อ

ว่า ลามก เพราะความเป็นของชั่ว ถึงซึ่งอันนับว่า ' วิสตฺติกา ' เพราะ

ความที่ตัณหานั้น เป็นธรรมชาติซ่านไป คือว่าข้องอยู่ในอารมณ์มีรูป

เป็นต้น โดยความเป็นดุจอาหารเจือด้วยพิษ โดยความเป็นดุจดอกไม้เจือ

ด้วยพิษ โดยความเป็นคุณผลไม้เจือด้วยพิษ โดยความเป็นดุจเครื่องบริโภค

เจือด้วยพิษ ย่อมครอบงำบุคคลใด, ความโศกทั้งหลายมีวัฏฏะเป็นมูล

ย่อมเจริญยิ่งในภายในของบุคคลนั้น เหมือนหญ้าคมบางที่ฝนตกรดอยู่

บ่อย ๆ ย่อมงอกงามในป่าฉะนั้น.

บทว่า ทุรจฺจย เป็นต้น ความว่า ก็บุคคลใด ย่อมข่ม คือย่อม

ครอบงำตัณหานั่น คือมีประการที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ชื่อว่ายากที่ใครจะ

ล่วงได้ เพราะเป็นของยากจะก้าวล่วงคือละได้, ความโศกทั้งหลายมีวัฏฏะ

เป็นมูล ย่อมตกไปจากบุคคลนั้น; คือไม่ตั้งอยู่ได้เหมือนหยาดน้ำตกไป

บนใบบัว คือบนใบดอกปทุม ไม่ติดอยู่ได้ฉะนั้น.

หลายบทว่า ต โว วทามิ คือ เพราะเหตุนั้น เราขอกล่าวกะท่าน

ทั้งหลาย.

สองบทว่า ภทฺท โว ความว่า ความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลาย,

อธิบายว่า ท่านทั้งหลาย อย่าได้ถึงความพินาศ ดุจกปิลภิกษุรูปนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 280

บทว่า มูล เป็นต้น ความว่า ท่านทั้งหลายจงขุดรากแห่งตัณหา

อันเป็นไปในทวาร ๖ นี้ ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยพระอรหัตมรรค. ถาม

ว่า " ขุดรากแห่งตัณหานั้น เหมือนอะไร ? แก้ว่า " เหมือนผู้ต้องการแฝก

ขุดหญ้าคมบางฉะนั้น." อธิบายว่าบุรุษผู้ต้องการแฝก ย่อมขุดหญ้าคมบาง

ด้วยจอบใหญ่ฉันใด; ท่านทั้งหลาย จงขุดรากแห่งตัณหานั้นเสียฉันนั้น.

สองบาทคาถาว่า มา โว นฬ ว โสโตว มาโร ภญฺชิ ปุนปฺปุน

ความว่า กิเลสมาร มรณมาร และเทวบุตรมาร จงอย่าระรานท่านทั้ง-

หลายบ่อย ๆ เหมือนกระแสน้ำพัดมาโดยกำลังแรง ระรานไม้อ้อซึ่งเกิดอยู่

ริมกระแสน้ำฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา บุตรของชาวประมงทั้ง ๕๐๐ ถึงความสังเวช

ปรารถนาการทำที่สุดแห่งทุกข์ บวชในสำนักพระศาสดา ทำที่สุดแห่งทุกข์

ต่อกาลไม่นานเท่าไร ได้เป็นผู้มีการบริโภคเป็นอันเดียว โดยธรรมเป็น

เครื่องบริโภค คืออเนญชวิหารธรรมและสมาปัตติธรรม ร่วมกับพระ-

ศาสดา ดังนี้แล.

เรื่องปลาชื่อกปิละ จบ.

๑. กึ่งพระคาถาสุดท้าย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 281

๒. เรื่องนางลูกสุกร [๒๔๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนางลูกสุกร

กินคูถตัวหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยถาปิ มูเล " เป็นต้น.

พระศาสดาตรัสบุรพกรรมของนางลูกสุกร

ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อ

บิณฑบาต ทอดพระเนตรเห็นนางลูกสุกรตัวหนึ่ง จึงได้ทรงทำการแย้ม

(พระโอษฐ์) ให้ปรากฏ. เมื่อพระองค์ทรงทำการแย้ม (พระโอษฐ์) อยู่

พระอานนทเถระได้เห็นมณฑลแห่งทัสสโนภาส ซึ่งเปล่งออกจากช่อง

พระโอษฐ์ จึงทูลถามเหตุแห่งการแย้ม (พระโอษฐ์) ว่า " พระเจ้าข้า

อะไรหนอแลเป็นเหตุ ? อะไรเป็นปัจจัยแห่งการทำการแย้มให้ปรากฏ."

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระอานนท์นั้นว่า " อานนท์ เธอ

เห็นนางลูกสุกรนั่นไหม ? "

พระอานนท์. เห็น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. นางลูกสุกรนั้น ได้เกิดเป็นแม่ไก่ อยู่ในที่ใกล้โรงฉัน

แห่งหนึ่ง ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่ากกุสันธะ, นาง

ไก่นั้น ฟังเสียงประกาศธรรมของภิกษุผู้เป็นโยคาวจรรูปหนึ่ง สาธยาย

วิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้เกิดในราชตระกูล เป็น

ราชธิดาพระนามว่า อุพพรี, ในกาลต่อมา พระนางเสด็จเข้าไปยังสถาน

เป็นที่ถ่ายอุจจาระ ทอดพระเนตรเห็นหมู่หนอนแล้วยังปุฬวกสัญญาให้เกิด

ขึ้นในที่นั้น ได้ปฐมฌานแล้ว, พระนางดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นจนสิ้นอายุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 282

จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในพรหมโลก, ก็แลพระนางครั้นจุติจาก

อัตภาพนั้นแล้ว สับสนอยู่ด้วยอำนาจคติ จึงเกิดแล้วในกำเนิดสุกรใน

บัดนี้, เราเห็นเหตุนี้ จึงได้ทำการแย้มให้ปรากฏ.

ภิกษุทั้งหลายมีพระอานนทเถระเป็นประมุข สดับเรื่องนั้นแล้วได้

ความสังเวชเป็นอันมาก.

ราคตัณหาให้โทษมาก

พระศาสดา ทรงยังความสังเวชให้เกิดแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว เมื่อ

จะทรงประกาศโทษแห่งราคตัณหา ประทับยืนอยู่ระหว่างถนนนั่นเอง ได้

ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๒. ยถาปิ มูเล อนุปทฺทเว ทเฬฺห

ฉินฺโนปิ รุกฺโข ปุนเรว รูหติ

เอวมฺปิ ตณฺหานุสเย อนูหเต

นิพฺพตฺตติ ทุกฺขมิท ปุนปฺปุน.

ยสฺส ฉตฺตึสตีโสตา มนาปสฺสวนา ภุสา

มหา วหนฺติ ทุทฺทิฏฺึ สงฺกปฺปา ราคนิสฺสิตา.

สวนฺติ สพฺพธี โสตา ลตา อุพฺภิชฺช ติฏฺติ

ตญฺจ ทิสฺวา ลต ชาต มูล ปญฺญาย ฉินฺทถ.

สริตานิ สิเนหิตานิ จ

โสมนสฺสานิ ภวนฺติ ชนฺตุโน

เต สาตสิตา สุเขสิโน

เต เว ชาติชรูปคา นรา.

ตสิณาย ปุรกฺขตา ปชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 283

ปริสปฺปนฺติ สโสว พาธิโต

สโยชนสงฺคสตฺตา

ทุกฺขมุเปนฺติ ปุนปฺปุน จิราย.

ตสิณาย ปุรกฺขตา ปชา

ปริสปฺปนฺติ สโสว พาธิโต

ตสฺมา ตสิณ วิโนทเย

ภิกฺขุ อากงฺข วิราคมตฺตโน.

" ต้นไม้ เมื่อรากไม่มีอันตราย ยังมั่นคง ถึง

บุคคลตัดแล้ว ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว แม้ฉันใด,

ทุกข์นี้ เมื่อตัณหานุสัย อันบุคคลยังขจัดไม่ได้แล้ว

ย่อมเกิดขึ้นร่ำไป แม้ฉันนั้น. กระแส (แห่งตัณหา)

๓๖ อันไหลไปในอารมณ์เป็นที่พอใจ เป็นธรรมชาติ

กล้า ย่อมมีแก่บุคคลใด, ความดำริทั้งหลายอันใหญ่

อาศัยราคะย่อมนำฉุดบุคคลนั้น ผู้มีทิฏฐิชั่วไป. กระแส

(แห่งตัณหาทั้งหลาย) ย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง

ตัณหาดุจเถาวัลย์แตกขึ้นแล้วย่อมตั้งอยู่, ก็ท่านทั้ง-

หลายเห็นตัณหานั้น เป็นดังเถาวัลย์เกิดแล้ว จงตัด

รากเสียด้วยปัญญาเถิด. โสมนัสทั้งหลายที่ซ่านไป

และเปื้อนตัณหาดุจยางเหนียว ย่อมมีแก่สัตว์, สัตว์

ทั้งหลายนั้น อาศัยความสำราญ จึงเป็นผู้แสวงหา

ความสุข, นระเหล่านั้นแล ย่อมเป็นผู้เข้าถึงซึ่งชาติ

๑. โดยพยัญชนะแปลว่า เป็นไปแล้วกับด้วยตัณหาดุจยางเหนียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 284

ชรา. หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว

ย่อมกระเสือกกระสน เหมือนกระต่ายอันนายพราน

ดักได้แล้วฉะนั้น, หมู่สัตว์ผู้ข้องอยู่ในสังโยชน์และ

กิเลสเครื่องข้อง ย่อมเข้าถึงทุกข์บ่อย ๆ อยู่ช้านาน.

หมู่สัตว์อันตัณหาผู้ทำความดิ้นรนล้อมไว้แล้ว ย่อม

กระเสือกกระสนเหมือนกระต่ายที่นายพรานดักได้แล้ว

ฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น ภิกษุหวังธรรมเป็นที่สำรอก

กิเลสแก่ตน พึงบรรเทาตัณหาผู้ทำควานดิ้นรนเสีย."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มูเล เป็นต้น ความว่า เมื่อรากทั้ง ๕

(ของต้นไม้ใด) ซึ่งทอดตรงแน่วไปใน ๔ ทิศ และในภายใต้ ชื่อว่าไม่มี

อันตราย เพราะอันตรายชนิดใดชนิดหนึ่ง บรรดาอันตรายมีการตัด การ

ผ่า และการเจาะเป็นต้น ชื่อว่ามั่นคง เพราะถึงความเป็นของมั่นคง

ต้นไม้ (นั้น) แม้ถูกบุคคลรานแล้ว ณ เบื้องบน ย่อมงอกขึ้นได้อีกทีเดียว

ด้วยอำนาจกิ่งใหญ่น้อย ฉันใด,. ทุกข์นี้ ที่ต่างด้วยทุกข์มีชาติทุกข์เป็นต้น

เมื่ออนุสัยคือความนอนเนื่องแห่งตัณหาอันเป็นไปทางทวาร ๖ อันพระ-

อรหัตมรรคญาณยังไม่ขจัด คือยังตัดไม่ขาดแล้ว ย่อมเกิดร่ำไปในภพนั้นๆ

จนได้ ฉันนั้นนั่นแล.

บทว่า ยสฺส เป็นต้น ความว่า ตัณหาประกอบด้วยกระแส ๓๖

ด้วยสามารถแห่งตัณหาวิจริตเหล่านี้ คือตัณหาวิจริตอิงอายตนะภายใน ๑๘

ตัณหาวิจริตอิงอายตนะภายนอก ๑๘ ด้วยประการฉะนี้ ชื่อว่าไหลไปใน

๑. ๒. ดูความพิสดารใน อภิ. วิ. ๓๕/๕๓๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 285

อารมณ์เป็นที่ชอบใจ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ย่อมไหลไป คือเป็นไป

ในอารมณ์มีรูปเป็นต้น อันเป็นที่ชอบใจ เป็นธรรมชาติกล้า คือมีกำลัง

ย่อมมีแก่บุคคลใด, ความดำริทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นธรรมชาติใหญ่ เพราะ

ความเป็นของใหญ่ โดยอันเกิดขึ้นบ่อย ๆ ไม่อาศัยฌานหรือวิปัสสนา

อาศัยราคะ ย่อมนำบุคคลนั้นผู้ชื่อว่ามีทิฏฐิชั่ว เพราะความเป็นผู้มีญาณ

วิบัติไป.

บาทพระคาถาว่า สวนฺติ สพฺพธี โสตา ความว่า กระแสตัณหา

เหล่านี้ ชื่อว่าย่อมไหลไปในอารมณ์ทั้งปวง เพราะไหลไปในอารมณ์

ทั้งปวงมีรูปเป็นต้น ด้วยอำนาจแห่งทวารมีจักษุทวารเป็นต้น หรือเพราะ

ตัณหาทั้งหมด คือรูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏ-

ฐัพพตัณหา ธรรมตัณหา ไหลไปในภพทั้งปวง.

บทว่า ลตา ความว่า ตัณหาได้ซึ่งว่า ลตา เพราะอรรถวิเคราะห์

ว่า เป็นเหมือนเครือเถา โดยอรรถว่า เป็นเครื่องพัวพัน และโดยอรรถ

ว่า เป็นเครื่องรึงรัดไว้.

สองบทว่า อุพฺภิชฺช ติฏฺติ ความว่า ตัณหาดุจเถาวัลย์เกิดขึ้น

โดยทวาร ๖ แล้ว ย่อมตั้งอยู่ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น.

สองบทว่า ตญฺจ ทิสฺวา ความว่า ก็ท่านเห็นตัณหาดังเครือเถา

นั้น ด้วยอำนาจแห่งที่มันเกิดแล้วว่า " ตัณหานี้ เมื่อจะเกิดย่อมเกิดขึ้น

ในปิยรูปและสาตรูปนี้."

บทว่า ปญฺาย ความว่า ท่านทั้งหลายจงตัดที่ราก ด้วยมรรค

ปัญญา ดุจบุคคลตัดซึ่งเครือเถาที่เกิดในป่าด้วยมีดฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 286

บทว่า สริตานิ คือแผ่ซ่านไป ได้แก่ซึมซาบไป.

บทว่า สิเนหิตานิ จ ความว่า และเปื้อนตัณหาเพียงดังยางเหนียว

ด้วยอำนาจตัณหาเพียงดังยางเหนียว อันเป็นไปในบริขาร มีจีวรเป็นต้น,

อธิบายว่า อันยางเหนียวคือตัณหาฉาบทาแล้ว.

บทว่า โสมนสฺสานิ ความว่า โสมนัสทั้งหลายเห็นปานนั้น ย่อม

มีแก่สัตว์ผู้เป็นไปในอำนาจตัณหา.

สองบทว่า เต สาตสิตา ความว่า บุคคลเหล่านั้น คือผู้เป็นไป

ในอำนาจแห่งตัณหา เป็นผู้อาศัยความสำราญ คืออาศัยความสุขนั่นเอง

จึงเป็นผู้แสวงหาความสุข คือเป็นผู้เสาะหาความสุข.

บทว่า เต เว เป็นต้น ความว่า เหล่านระผู้เห็นปานนี้ย่อมเข้าถึง

ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ และความตายแท้ ฉะนั้นจึงเป็นผู้ชื่อว่า

เข้าถึงชาติและชรา.

บทว่า ปชา เป็นต้น ความว่า สัตว์เหล่านี้เป็นผู้อันตัณหาที่ถึง

ซึ่งอันนับว่า " ตสิณา " (ความดิ้นรน) เพราะทำซึ่งความสะดุ้งแวดล้อม

คือห้อมล้อมแล้ว.

บทว่า พาธิโต ความว่า (สัตว์เหล่านั้น) ย่อมกระเสือกกระสน

คือ หวาดกลัว ดุจกระตายตัวที่นายพรานดักได้ในป่าฉะนั้น.

บทว่า สโยชนสงฺคตฺตา ความว่า สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้อันสังโยชน์

๑๐ อย่าง และกิเลสเรื่องข้องคือราคะเป็นต้นผูกไว้แล้ว หรือเป็นผู้ติด

แล้วในสังโยชน์เป็นต้นนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 287

บทว่า จิราย ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมเข้าถึงทุกข์มีชาติเป็นต้น

ร่ำไปสิ้นกาลนาน คือตลอดระยะกาลยืดยาว.

บทว่า ตสฺมา เป็นต้น ความว่า เพราะสัตว์ทั้งหลายผู้อันตัณหา

ซึ่งทำความสะดุ้งล้อมไว้ คือรึงรัดไว้แล้ว, ฉะนั้น เมื่อภิกษุปรารถนา

หวังอยู่ซึ่งธรรมที่สิ้นกำหนัด คือพระนิพพาน อันเป็นที่ไปปราศกิเลสมี

ราคะเป็นต้นเพื่อตน พึงบรรเทา คือพึงขับไล่นำออกทิ้งเสียซึ่งตัณหาผู้

ทำความสะดุ้งนั้น ด้วยพระอรหัตมรรคนั่นเทียว.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น.

นางลูกสุกรแม้นั้นแล จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในราชตระกูล

ในสุวรรณภูมิ, จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในกรุงพาราณสีเหมือนอย่าง

นั้นแหละ, จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเรือนพ่อค้าม้าที่ท่าสุปปารกะ,

จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเรือนของนายเรือที่ท่าคาวิระ, จุติจาก

อัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเรือนของอิสรชน ในเมืองอนุราธบุรี, จุติจาก

อัตภาพนั้นแล้ว เกิดเป็นธิดาในเรือนของกุฏุมพีชื่อสุมนะ ในเภกกันตคาม

ในทิศทักษิณของเมืองนั้นแล้ว ชื่อสุมนา ตามชื่อ (ของกุฎุมพีนั้น). ต่อมา

บิดาของนาง เมื่อชนทั้งหลายทิ้งบ้านนั้นแล้ว ได้ไปสู่แคว้นทีฆวาปีอยู่ใน

บ้านชื่อมหามุนีคาม. อำมาตย์ของพระเจ้าทุฏฐคามณี นามว่าลกุณฏกอติม-

พระ ไปที่บ้านนั้นด้วยกรณียกิจบางอย่าง เห็นนางแล้ว ทำการมงคล

อย่างใหญ่ พานางไปสู่บ้านมหาปุณณคามแล้ว. ครั้งนั้น พระมหาอตุล-

เถระผู้อยู่ในมหาวิหารชื่อโกฏิบรรพต เที่ยวไปในบ้านนั้น เพื่อบิณฑบาต-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 288

ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของนาง เห็นนางแล้ว จึงกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า

" ผู้มีอายุทั้งหลาย ชื่อว่านางลูกสุกร ถึงความเป็นภรรยาของมหาอำมาตย์

ชื่อลกุณฏกอติมพระแล้ว, โอ ! น่าอัศจรรย์จริง." นางฟังคำนั้นแล้วเพิก

ภพในอดีตขึ้นได้ กลับได้ญาณอันเป็นเหตุระลึกชาติ. ในขณะนั้นนั่นเอง

นางมีความสังเวชเกิดขึ้นแล้ว อ้อนวอนสามีบวชในสำนักพระเถรีผู้ประ-

กอบด้วยพละ ๕ ด้วยอิสริยยศอย่างใหญ่ ได้ฟังกถาพรรณนามหาสติปัฏ-

ฐานสูตร ในติสสมหาวิหารแล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล, ภายหลัง เมื่อ

พระเจ้าทุฏฐคามณีทรงปราบทมิฬได้แล้ว พระสุมนาเถรีไปสู่บ้านเภก-

กันตคาม ซึ่งเป็นที่อยู่ของมารดาบิดานั่นเทียว อยู่ในบ้านนั้น ฟังอาสี-

วิสูปมสูตรในกัลลกมหาวิหาร บรรลุพระอรหัตแล้ว.

ในวันปรินิพพาน นางถูกพวกภิกษุณีซักถามแล้ว ได้เล่าประวัติ

ทั้งหมดนี้อย่างละเอียด แก่ภิกษุณีสงฆ์ แล้วสนทนากับพระมหาติสสเถระ

ผู้กล่าวบทแห่งธรรม ผู้มีปกติอยู่ในมณฑลาราม ณ ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ผู้

ประชุมกันแล้ว กล่าวว่า " ในกาลก่อน ข้าพเจ้าจุติจากกำเนิดมนุษย์แล้ว

เป็นแม่ไก่ ถึงการตัดศีรษะจากสำนักเหยี่ยวในอัตภาพนั้นแล้ว (ไป) เกิด

ในกรุงราชคฤห์ แล้วบวชในสำนักนางปริพาชิกาทั้งหลาย แล้วเกิดใน

ภูมิปฐมฌาน จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในตระกูลเศรษฐี ต่อกาลไม่

นานนัก จุติแล้วไปสู่กำเนิดสุกร จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่สุวรรณภูมิ

จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่เมืองพาราณสี จุติจากอัตภาพนั้นแล้วไปสู่

ท่าสุปปารกะ จุติจากอัตภาพนั้นแล้วไปสู่ท่าคาวิระ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว

ไปสู่เมืองอนุราธบุรี จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปสู่บ้านเภกกันตคาม, ข้าพเจ้า

๑. นิรนฺตร แปลว่า หาระหว่างมิได้ ถือความแปลตามนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 289

ได้ถึงอัตภาพ ๑๓ อันสูง ๆ ต่ำ ๆ อย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ บัดนี้ เกิด

ในอัตภาพอันอุกฤษฏ์แล้ว ขอให้ท่านทั้งหลายแม้ทั้งหมด จงยังธรรม

เป็นกุศลทั้งหลายให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด." ดังนี้แล้ว ยัง

บริษัท ๔ ให้สังเวชแล้วปรินิพพาน ดังนี้แล.

เรื่องนางลูกสุกร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 290

๓. เรื่องวิพภันตกภิกษุ [๒๔๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภวิพภันตก-

ภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย นิพฺพนฏฺโ " เป็นต้น.

เธอสึกออกไปทำโจรกรรมเลี้ยงชีพ

ได้ยินว่า ภิกษุรูปหนึ่งเป็นสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ แม้

ยังฌาน ๔ ให้เกิดขึ้นแล้ว เห็นรูปารมณ์อันเป็นวิสภาค (ข้าศึก) ในเรือน

ของนายช่างทองผู้เป็นลุงของตน มีจิตปฏิพัทธ์ในรูปารมณ์นั้น สึกแล้ว.

ต่อมา เพราะความเป็นผู้เกียจคร้าน พวกมนุษย์จึงไล่เขาผู้ไม่

ปรารถนาจะทำการงาน ออกเสียจากเรือน. เขาเที่ยวเลี้ยงชีพอยู่ด้วยโจร-

กรรม เพราะการคลุกคลีด้วยมิตรชั่ว.

ต่อมาในวันหนึ่ง พวกราชบุรุษจับเขาได้แล้ว มัดแขนไพล่หลัง

ผูกอย่างมั่นคง เฆี่ยนด้วยหวายทุก ๆ ทาง ๔ แพร่ง แล้วนำไปสู่ตะแลง-

แกง.

พระเถระ เข้าไปเพื่อเที่ยวบิณฑบาต เห็นเขาถูกพวกราชบุรุษนำ

ไปโดยประตูด้านทักษิณ จึงขอให้พวกราชบุรุษผ่อนเครื่องจองจำให้หย่อน

แล้ว พูดว่า " เธอจงระลึกถึงกัมมัฏฐานที่เธอเคยสั่งสมแล้วในก่อนอีก."

เขาได้ความเกิดขึ้นแห่งสติเพราะโอวาทนั้นแล้ว ได้ยังจตุตถฌานให้เกิด

ขึ้นอีก.

ลำดับนั้น พวกราชบุรุษนำเขาไปสู่ตะแลงแกง ให้เขานอนหงาย

บนหลาว ด้วยคิดว่า " พวกเราจักฆ่าเสีย." เขาไม่กลัว ไม่สะดุ้ง.

๑. ภิกษุผู้หมุนไปผิด (สึก).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 291

พวกมนุษย์ประหลาดใจเพราะเห็นเขาไม่กลัว

ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายผู้ยืนอยู่ในทิศาภาคนั้น ๆ แม้เงือดเงื้อ

เครื่องประหารทั้งหลายมีดาบ หอก และโตมรเป็นต้นแก่เขา เห็นเขา

มิได้สะดุ้งเลย ต่างพูดว่า " ผู้เจริญทั้งหลาย พวกท่านจงดูบุรุษคนนี้เถิด,

เขาไม่หวั่นไหว ไม่สะทกสะท้านในท่ามกลางแห่งบุรุษผู้มีอาวุธในมือ แม้

หลายร้อยคน, โอ ! น่าอัศจรรย์จริง" ดังนี้แล้วเกิดมีความอัศจรรย์และ

ประหลาดใจ บันลือลั่นสนั่น (ไป) กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระราชา.

พระราชาทรงสดับเหตุนั้นแล้ว ตรัสว่า " พวกท่านจงปล่อยเขา

เสียเถิด" ดังนี้แล้ว เสด็จไปแม้ยังสำนักพระศาสดา กราบทูลเนื้อความ

นั้นแล้ว.

พระศาสดา ทรงเปล่งพระโอภาสไปแล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม

แก่เข่า จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๓. โย นิพฺพนฏฺโ วนาธิมุตฺโต

วนมุตฺโต วนเมว ธาวติ

ต ปุคฺคลเมว ปสฺสถ

มุตฺโต พนฺธนเมว ธาวติ.

" บุคคลใด มีอาลัยดุจหมู่ไม้อันตั้งอยู่ในป่าออก

แล้ว น้อมไปในป่า (คือตปธรรม) พ้นจากป่าแล้ว

ยังแล่นไปสู่ป่าตามเดิม, ท่านทั้งหลายจงดูบุคคลนั้น

นั่นแล; เขาพ้นแล้ว (จากเครื่องผูก) ยังแล่นไปสู่

เครื่องผูกตามเดิม."

๑. โตมร หอกซัด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 292

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " บุคคลใด ชื่อว่ามีอาลัยดุจหมู่ไม้

อันตั้งอยู่ในป่าออกแล้ว เพราะความที่ตนละทิ้งหมู่ไม้อันตั้งอยู่ในป่า

กล่าวคืออาลัยในความเป็นคฤหัสถ์แล้วบวช น้อมไปในป่าคือตปะ กล่าว

คือวิหารธรรม เป็นผู้พ้นจากป่าคือตัณหา ซึ่งจัดเป็นเครื่องผูกคือการ

ครองเรือนแล้ว ยังแล่นไปหาป่าคือตัณหานั่นแหละ อันเป็นเครื่องผูกคือ

การครองเรือนนั้นอีก, ท่านทั้งหลายจงดูบุคคลนั้นอย่างนั้น; บุคคลนั่น

พ้นจากเครื่องผูกคือการครองเรือนแล้ว ยังแล่นไปสู่เครื่องผูกคือการ

ครองเรือนอีกทีเดียว.

เขานั่งฟังธรรมเทศนานี้ อยู่บนปลายหลาว ในระหว่างพวกราช-

บุรุษนั่นแล เริ่มตั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปแล้ว ยก (จิต) ขึ้นสู่

ไตรลักษณ์ พิจารณาอยู่ซึ่งสังขารทั้งหลายบรรลุโสดาปัตติผลแล้วเสวยสุข

เกิดแต่สมาบัติอยู่ เหาะขึ้นสู่เวหาสมาสู่สำนักพระศาสดาทางอากาศนั่นเอง

ถวายบังคมพระศาสดาแล้วบวช ได้บรรลุพระอรหัต ณ ท่ามกลางบริษัท

พร้อมด้วยพระราชานั่นเอง ดังนี้แล.

เรื่องวิพภันตกภิกษุ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 293

๔. เรื่องเรือนจำ [๒๔๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเรือนจำ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น ต ทฬฺห " เป็นต้น.

พวกภิกษุเห็นโจรถูกจองจำนึกแปลกใจ

ดังได้สดับมา ในกาลครั้งหนึ่ง พวกราชบุรุษนำพวกโจร ผู้ตัดช่อง

ผู้ปล้นในหนทางเปลี่ยว และผู้ฆ่ามนุษย์เป็นอันมาก ทูลเสนอแด่พระเจ้า

โกศลแล้ว . พระราชารับสั่งให้จองจำโจรเหล่านั้นไว้ ด้วยเครื่องจองจำ

คือขื่อ เครื่องจองจำคือเชือก และเครื่องจองจำคือตรวนทั้งหลาย. พวก

ภิกษุชาวชนบท แม้มีประมาณ ๓๐ รูปแล ใคร่จะเฝ้าพระศาสดา มา

เฝ้าถวายบังคมแล้ว ในวันรุ่งขึ้นเที่ยวไปในกรุงสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต

ไปถึงเรือนจำเห็นโจรเหล่านั้น กลับจากบิณฑบาตแล้ว เข้าไปเฝ้าพระ-

ตถาคตเจ้าในเวลาเย็น กราบทูลถามว่า " พระเจ้าข้า วันนี้ พวกข้า

พระองค์กำลังเที่ยวไปบิณฑบาต เห็นโจรเป็นอันมากในเรือนจำ ถูก

จองจำด้วยเครื่องจองจำคือขื่อเป็นต้น เสวยทุกข์มาก พวกเขาย่อมไม่

อาจเพื่อจะตัดเครื่องจองจำเหล่านั้นหนีไปได้; ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขึ้น

ชื่อว่าเครื่องจองจำชนิดอื่น ที่มั่นคงกว่าเครื่องจองจำเหล่านั้น มีอยู่หรือ

เครื่องจองจำคือกิเลสตัดได้ยากยิ่ง

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำเหล่านั้นจะชื่อว่า

เครื่องจองจำอะไร; ส่วนเครื่องจองจำคือกิเลส กล่าวคือตัณหา ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 294

สวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์ทั้งหลาย มีทรัพย์คือ ข้าวเปลือก

บุตรและภรรยาเป็นต้น เป็นเครื่องจองจำที่มั่นคงกว่าเครื่องจองจำคือขื่อ

เป็นต้นเหล่านั้น ด้วยอันคูณด้วยร้อย คูณด้วยพัน คูณด้วยแสน, แต่

โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ตัดเครื่องจองจำนั่นแม้ชนิดใหญ่ที่ตัดได้ยาก

ด้วยประการดังนี้แล้ว เข้าสู่ป่าหิมพานต์บวช." ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีต

นิทานมา (ตรัส) ว่า

" ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุง

พาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดแล้วในตระกูลคฤหบดีตกยากตระกูลหนึ่ง.

เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นเจริญวัย บิดาได้ทำกาละแล้ว. พระโพธิสัตว์นั้นทำ

การรับจ้างเลี้ยงมารดา. ต่อมา มารดากระทำนางกุลธิดาคนหนึ่งไว้ในเรือน

เพื่อพระโพธิสัตว์นั้น ผู้ไม่ปรารถนาเลย ในกาลต่อมาก็ได้กระทำกาละ

แล้ว. ฝ่ายภรรยาของพระโพธิสัตว์นั้นตั้งครรภ์แล้ว. พระโพธิสัตว์นั้น

ไม่ทราบว่าครรภ์ตั้งขึ้นเลย จึงกล่าวว่า " นางผู้เจริญ หล่อนจงทำการ

รับจ้างเลี้ยงชีพเถิด, ฉันจักบวช."

นางกล่าวว่า " นาย ครรภ์ตั้งขึ้นแล้วแก่ดิฉันมิใช่หรือ ? เมื่อดิฉัน

คลอดแล้ว ท่านจักเห็นทารกแล้ว จึงบวช." พระโพธิสัตว์นั้น รับว่า

" ดีละ " ในกาลแห่งนางคลอดแล้ว จึงอำลาว่า " นางผู้เจริญ หล่อนคลอด

โดยสวัสดีแล้ว, บัดนี้ ฉันจักบวชละ. " ทีนั้นนางกล่าวกะพระโพธิสัตว์

นั้นว่า " ท่านจงรอ เวลาที่ลูกน้อยของท่านหย่านมก่อน " แล้วก็ตั้งครรภ์

อีก.

พระโพธิสัตว์นั้นดำริว่า " เราไม่สามารถจะให้นางคนนี้ยินยอมแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 295

ไปได้. เราจักไม่บอกแก่นางละ จักหนีไปบวช." ท่านไม่บอกแก่นางเลย

ลุกขึ้นแล้วในส่วนราตรี หนีไปแล้ว.

ครั้งนั้น คนรักษาพระนครได้จับท่านไว้แล้ว. ท่านกล่าวว่า "นาย

ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นผู้เลี้ยงมารดา, ขอท่านทั้งหลายจงปล่อยข้าพเจ้าเสียเถิด"

ให้เขาปล่อยตนแล้ว พักอยู่ในที่แห่งหนึ่ง แล้วเข้าไปสู่ป่าหิมพานต์ บวช

เป็นฤาษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดแล้ว เล่นฌานอยู่. ท่านอยู่ในที่

นั้นนั่นเอง เปล่งอุทานขึ้นว่า " เครื่องผูกคือบุตรและภรรยา เครื่องผูก

คือกิเลส อันบุคคลตัดได้โดยยาก ชื่อแม้เห็นปานนั้น เราตัดได้แล้ว."

พระศาสดาทรงแสดงเครื่องจองจำ ๒ อย่าง

พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว เมื่อจะทรงประกาศ

อุทานที่พระโพธิสัตว์นั้นเปล่งแล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. น ต ทฬฺห พนฺธนมาหุ ธีรา

ยทายส ทารุช ปพฺพชญฺจ

สารตฺตรตฺตา มณิกุณฺฑเลสุ

ปุตฺเตสุ ทาเรสุ จ ยา อเปกฺขา.

เอต ทฬฺห พนฺธนมาหุ ธีรา

โอหาริน สิถิล ทุปฺปมุญฺจ

เอตปิ เฉตฺวาน ปริพฺพชนฺติ

อนเปกฺขิโน กามสุข ปหาย.

" เครื่องจองจำใด เกิดแต่เหล็ก เกิดแต่ไม้ และ

เกิดแต่หญ้าปล้อง ผู้มีปัญญาทั้งหลาย หากล่าวเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 296

จองจำนั้น ว่าเป็นของมั่นคงไม่. ความกำหนัดใด

ของชนทั้งหลายผู้กำหนัด ยินดียิ่งนัก ในแก้วมณี

และตุ้มหูทั้งหลาย และความเยื่อใยในบุตร แลใน

ภรรยาทั้งหลายใด, นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวความ

กำหนัดและความเยื่อใยนั่นว่า เป็นเครื่องจองจำอัน

มั่นคง มีปกติเหนี่ยวลง อันหย่อน (แต่) เปลื้องได้

โดยยาก. นักปราชญ์ทั้งหลาย ตัดเครื่องผูกแม้นั่น

แล้ว เป็นผู้ไม่มีไยดี ละกามสุขแล้วบวช."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธีรา เป็นต้น ความว่า บุรุษผู้เป็น

บัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น หากล่าวเครื่องจองจำที่เกิดแต่

เหล็ก กล่าวคือตรวน ชื่อว่า เกิดแต่เหล็ก ที่เกิดแต่ไม้ กล่าวคือ ชื่อ คา

และเครื่องจองจำคือเชือก ที่เขาเอาหญ้าปล้อง หรือวัตถุอย่างอื่น มีปอ

เป็นต้น ฟันทำเป็นเชือก ว่า " เป็นของมั่นคง" ไม่, เพราะความเป็น

เครื่องจองจำ ที่บุคคลสามารถตัดด้วยศัสตราทั้งหลาย มีดาบเป็นต้นได้.

บทว่า สารตฺตรตฺตา ได้แก่ เป็นผู้กำหนัดนักแล้ว, อธิบายว่า ผู้

กำหนัดด้วยราคะจัด.

บทว่า มณิกุณฺฑเลสุ คือในแก้วมณีและตุ้มหูทั้งหลาย, อีกอย่าง

หนึ่ง (คือ) ในตุ้มหูทั้งหลายอันวิจิตรด้วยแก้วมณี.

บทว่า ทฬฺห ความว่า ความกำหนัดใด ของชนทั้งหลาย ผู้กำหนัด

๑. แปลเติมอย่างอรรถกถา. ๒. ขุ. ธ. ๒๕/๖๐, ชา. ทุก. ๒๗/ข้อ ๒๕๑. อรรถกถา

๓/๑๘๕. พันธนาคารชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 297

ยินดียิ่งนัก ในแก้วมณีและตุ้มหูทั้งหลายนั่นแล และความเยื่อใย คือความ

ทะยานอยากได้ในบุตรและภรรยาใด, บุรุษผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลาย ย่อม

กล่าวความกำหนัดและความเยื่อใยนั่น อันเป็นเครื่องผูกซึ่งสำเร็จด้วยกิเลส

ว่า " มั่น. "

บทว่า โอหาริน ความว่า ชื่อว่า มีปกติเหนี่ยวลง เพราะย่อมฉุดลง

คือนำไปในเบื้องต่ำ เพราะคร่ามาแล้วให้ตกไปในอบาย ๔.

บทว่า สิถิล ความว่า ชื่อว่า หย่อน เพราะย่อมไม่บาดผิวหนัง

และเนื้อ คือย่อมไม่นำโลหิตออกในที่ที่ผูก ได้แก่ ไม่ให้รู้สึกแม้ความเป็น

เครื่องผูก ย่อมให้ทำการงานทั้งหลาย ในที่ทั้งหลายมีทางบกและทางน้ำ

เป็นต้นได้.

บทว่า ทุปฺปมุญฺจ ความว่า ชื่อว่า เปลื้องได้โดยยาก ก็เพราะ

เครื่องผูกคือกิเลส อันเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งความโลภแม้คราวเดียว

ย่อมเป็นกิเลสชาตอันบุคคลเปลื้องได้โดยยาก เหมือนเต่าเปลื้องจากที่เป็น

ที่ผูกได้ยากฉะนั้น.

สองบทว่า เอตปิ เฉตฺวาน ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลายตัดเครื่อง

ผูกคือกิเลสนั่น แม้อันมั่นอย่างนั้น ด้วยพระขรรค์คือญาณ เป็นผู้หมด

ความเยื่อใย ละกามสุขแล้ว เว้นรอบ คือหลีกออก, อธิบายว่า ย่อม

บวช.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องเรือนจำ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 298

๕. เรื่องพระนางเขมา [๒๔๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระอัครมเหสี

ของพระเจ้าพิมพิสาร พระนามว่าเขมา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เย

ราครตฺตา" เป็นต้น .

หนามบ่งหนาม

ได้สดับมา พระนางเขมานั้นตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของ

พระปทุมุตตรพุทธเจ้า ได้เป็นผู้มีพระรูปงดงามน่าเลื่อมใสอย่างเหลือเกิน.

ก็พระนางได้ทรงสดับว่า " ทราบว่า พระศาสดาตรัสติโทษของรูป" จึง

ไม่ปรารถนาจะเสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา. พระราชาทรงทราบความที่

พระอัครมเหสีนั้นมัวเมาอยู่ในรูป จึงตรัสให้พวกนักกวีแต่งเพลงขับเกี่ยว

ไปในทางพรรณนาพระเวฬุวัน แล้วก็รับสั่งให้พระราชทานแก่พวกนัก

ฟ้อนเป็นต้น. เมื่อนักฟ้อนเหล่านั้นขับเพลงเหล่านั้นอยู่ พระนางทรง

สดับแล้ว พระเวฬุวันได้เป็นประหนึ่งไม่เคยทอดพระเนตรและทรงสดับ

แล้ว. พระนางตรสถามว่า " พวกท่านขับหมายถึงอุทยานแห่งไหน ?"

เมื่อพวกนักขับทูลว่า " หมายอุทยานเวฬุวันของพระองค์ พระเทเทวี" ก็ได้

ทรงปรารถนาจะเสด็จไปพระอุทยาน. พระศาสดาทรงทราบการเสด็จมา

ของพระนาง เมื่อประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัทแล จึงทรง

นิรมิตหญิงรูปงาม ยืนถือพัดก้านตาลพัดอยู่ที่ข้างพระองค์

ฝ่ายพระนางเขมาเทวี เสด็จเข้าไปอยู่แล ทอดพระเนตรเห็นหญิง

นั้น จึงทรงดำริว่า " ชนทั้งหลาย ย่อมพูดกันว่า ' พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 299

ตรัสโทษของรูป,' ก็หญิงนี้ ยืนพัดอยู่ในสำนักของพระองค์, เราไม่เข้า

ถึงแม้ส่วนแห่งเสี้ยวของหญิงนี้, รูปหญิงเช่นนี้ เราไม่เคยเห็น, ชนทั้งหลาย

เห็นจะกล่าวตู่พระศาสดา ด้วยคำไม่จริง" ดังนี้แล้ว ก็มิใส่ใจถึงเสียงพระ-

ดำรัสของพระตถาคต ได้ประทับยืนทอดพระเนตรดูหญิงนั้นนั่นแล.

ในร่างกายนี้ไม่มีสาระ

พระศาสดาทรงทราบเนื้อความที่พระนางมีมานะจัดเกิดขึ้นในรูปนั้น

เมื่อจะทรงแสดงรูปนั้นด้วยอำนาจวัยมีปฐมวัยเป็นต้น จึงทรงแสดงทำให้

เหลือเพียงกระดูกในที่สุด โดยนัยที่ข้าพเจ้ากล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.

พระนางเขมาพอทอดพระเนตรเห็นรูปนั้น จึงทรงดำริว่า " รูปนั้น

แม้เห็นปานนี้ ก็ถึงความสิ้นความเสื่อมไปโดยครู่เดียวเท่านั้น, สาระใน

รูปนี้ ไม่มีหนอ ?"

พระศาสดาทรงตรวจดูวาระจิตของพระนางเขมานั้นแล้ว จึงตรัสว่า

" เขมา เธอคิดว่า ' สาระมีอยู่ในรูปนี้หรือ ?' เธอจงดูความที่รูปนั้นหา

สาระมิได้ ในบัดนี้" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" เขมา เธอจงดูร่างกายอันอาดูร ไม่สะอาดเน่า

เปื่อย ไหลออกทั้งข้างบน ไหลออกทั้งข้างล่าง อันคน

พาลทั้งหลาย ปรารถนายิ่งนัก."

ในกาลจบพระคาถา พระนางดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระนางว่า " เขมา สัตว์เหล่านี้ เยิ้ม

อยู่ด้วยราคะ ร้อนอยู่ด้วยโทสะ งงงวยอยู่ด้วยโมหะ จึงไม่อาจเพื่อก้าว

ล่วงกระแสตัณหาของตนไปได้ ต้องข้องอยู่ในกระแสตัณหานั้นนั่นเอง "

ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 300

๕. เย ราครตฺตานุปตนฺติ โสต

สย กต มกฺกฏโกว ชาล

เอตมฺปิ เฉตฺวาน วชนฺติ ธีรา

อนเปกฺขิโน สพฺพทุกฺข ปหาย.

" สัตว์ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ ย่อมตกไปสู่กระ-

แสตัณหา เหมือนแมลงมุม ตกไปยังใยที่ตัวทำไว้

เองฉะนั้น. ธีรชนทั้งหลาย ตัดกระแสตัณหาแม้นั้น

แล้ว เป็นผู้หมดห่วงใย ละเว้นทุกข์ทั้งปวงไป."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มกฺกฏโกว ชาล ความว่า เหมือน

อย่างว่า แมลงมุมทำข่ายคือใยแล้ว ก็นอนอยู่ในศูนย์ใยในที่ท่ามกลาง

แล้วก็รีบวิ่งไปฆ่าตั๊กแตนหรือตัวแมลง ที่ตกไปในริมสายใย สูบกินรส

ของมันแล้ว ก็กลับมานอนอยู่ในที่นั้นอย่างเดิมฉันใด; สัตว์ทั้งหลาย

เหล่าใด ผู้กำหนัดแล้วด้วยราคะ โกรธแล้วด้วยโทสะ หลงแล้วด้วยโมหะ,

สัตว์เหล่านั้นย่อมตกไปสู่กระแสตัณหาที่ตัวทำไว้เอง คือเขาไม่อาจเพื่อ

ก้าวล่วงกระแสตัณหานั้นไปได้ ฉันนั้นเหมือนกัน; กระแสตัณหา บุคคล

ล่วงได้ยากอย่างนี้.

บาทพระคาถาว่า เอตมฺปิ เฉตฺวาน วชนฺติ ธีรา ความว่า บัณฑิต

ทั้งหลาย ตัดเครื่องผูกนั่นแล้ว เป็นผู้หมดห่วงใย คือไม่มีอาลัย ละทุกข

ทั้งปวงด้วยอรหัตมรรคแล้ว ก็เว้น คือไป.

๑. ผู้อันราคะย้อมแล้ว. ๒. อันโทสะประทุษร้ายแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 301

ในกาลจบเทศนา พระนางเขมาทรงดำรงอยู่ในพระอรหัต. เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว. พระศาสดาตรัสกะพระราชาว่า " มหา-

บพิตร พระนางเขมาจะบวชหรือปรินิพพาน จึงควร ?"

พระราชา. โปรดให้พระนางบวชเถิด พระเจ้าข้า, อย่าเลยด้วยการ

ปรินิพพาน.

พระนางบรรพชาแล้ว ก็ได้เป็นสาวิกาผู้เลิศ ดังนี้แล.

เรื่องพระนางเขมา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 302

๖. เรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน [๒๔๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอุคคเสน

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มุญฺจ ปุเร " เป็นต้น.

อุคคเสนรักใคร่หญิงนักฟ้อน

ได้ยินว่า เมื่อครบปีหรือ ๖ เดือนแล้ว พวกนักฟ้อนประมาณ ๕๐๐

ไปยังกรุงราชคฤห์ ทำมหรสพ (ถวาย) แด่พระราชาตลอด ๗ วัน ได้

เงินและทองเป็นอันมาก, การตกรางวัลในระหว่าง ๆ ไม่มีสิ้นสุด. มหาชน

ต่างก็ยืนบนเตียงเป็นต้น ดูมหรสพ.

ลำดับนั้น ธิดานักหกคะเมนคนหนึ่ง ขึ้นไปสู่ไม้แป้น หกคะเมน

เบื้องบนของไม้เป็นนั้น เดินฟ้อนและขับร้องบนอากาศ ณ ที่สุดแห่ง

ไม้แป้นนั้น.

สมัยนั้น บุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน ยืนอยู่บนเตียงที่ (ตั้ง) ซ้อนๆ

กันกับด้วยสหาย แลดูหญิงนั้น มีความรักเกิดขึ้นในอาการทั้งหลาย มีการ

แกว่งมือและเท้าเป็นต้นของนาง ไปสู่เรือนแล้วคิดว่า " เราเมื่อได้นาง

จึงจักเป็นอยู่, เมื่อเราไม่ได้ก็จะตายเสียในที่นี้แหละ" ดังนี้แล้ว ก็ทำการ

ตัดอาหาร นอนอยู่บนเตียง; แม้ถูกมารดาบิดาถามว่า " พ่อ เจ้าเป็นโรค

อะไร ?" ก็บอกว่า " เมื่อฉันได้ลูกสาวของนักฟ้อนคนนั้น ก็จะมีชีวิตอยู่,

เมื่อฉันไม่ได้ ก็จะตายเสียในที่นี้นี่แหละ," แม้เมื่อมารดาปลอบว่า " พ่อ

เจ้าอย่าทำอย่างนี้เลย, พวกเราจักนำนางกุมาริกาคนอื่น ซึ่งสมควรแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 303

ตระกูลและโภคะของพวกเรา มาให้แก่เจ้า" ก็ยังนอนกล่าวอย่างนั้น

เหมือนกัน.

อุคคเสนได้นางนักฟ้อนสมประสงค์

ลำดับนั้นบิดาของเขา แม้อ้อนวอนเป็นอันมาก เมื่อไม่สามารถจะ

ให้เขายินยอมได้ จึงเรียกสหายของนักฟ้อนมา ให้ทรัพย์พันกหาปณะแล้ว

ส่งไปด้วยสั่งว่า " ท่านจงรับเอากหาปณะเหล่านี้แล้ว ให้ลูกสาวของท่าน

แก่บุตรชายของฉันเถิด."

นักฟ้อนนั้นกล่าวว่า " ข้าพเจ้ารับเอากหาปณะแล้วก็ให้ไม่ได้; ก็ถ้า

ว่าบุตรชาย (ของท่าน) นั้น ไม่ได้ลูกสาว (ของข้าพเจ้า) นี้แล ไม่อาจ

จะเป็นอยู่ไซร้, ถ้ากระนั้น บุตรของท่านจงเที่ยวไปกับด้วยพวกข้าพเจ้า

เถิด, ข้าพเจ้าจักให้ลูกสาวแก่เขา." มารดาบิดาบอกความนั้นแก่บุตรแล้ว.

เขาพูดว่า " ฉันจักเที่ยวไปกับพวกนักฟ้อนนั้น" ไม่เอื้อเฟื้อถ้อยคำของ

มารดาบิดาเหล่านั้น แม้ผู้อ้อนวอนอยู่ ได้ออกไปยังสำนักของนักฟ้อน

แล้ว.

นักฟ้อนนั้น ให้ลูกสาวแก่เขาแล้ว เที่ยวแสดงศิลปะในบ้านนิคม

และราชธานี กับด้วยเขานั่นแหละ.

ฝ่ายนางนั้น อาศัยการอยู่ร่วมกับบุตรเศรษฐีนั้น ต่อกาลไม่นาน

นักก็ได้บุตร เมื่อจะเย้าบุตรนั้น จึงพูดว่า " ลูกของคนเฝ้าเกวียน, ลูก

ของคนหาบของ, ลูกของคนไม่รู้อะไรๆ."

ฝ่ายบุตรเศรษฐีนั้น ขนหญ้ามาให้โคทั้งหลาย ในที่แห่งชนเหล่านั้น

ทำการกลับเกวียนพักอยู่แล้ว, (และ) ยกเอาสิ่งของที่ได้ในที่แสดงศิลปะ

แล้วนำไป, นัยว่า หญิงนั้นหมายเอาบุตรเศรษฐีนั้นนั่นเอง เมื่อจะเย้าบุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 304

จึงกล่าวอย่างนั้นนั่นแล. บุตรเศรษฐีนั้นทราบความที่นางขับร้องปรารภ

ตน จึงถามว่า " หล่อนพูดหมายถึงฉันหรือ ?"

ภรรยา. จ้ะ ฉันพูดหมายถึงท่าน.

บุตรเศรษฐี. เมื่อเช่นนั้นฉันจักหนีละ.

นางกล่าวว่า " ก็จะประโยชน์อะไรของฉัน ด้วยท่านผู้หนีไปหรือ

มาแล้ว " ดังนี้แล้ว ก็ขับเพลงบทนั้นนั่นแลเรื่อยไป.

ได้ยินว่า นางอาศัยรูปสมบัติของตน และทรัพย์ซึ่งเป็นรายได้ จึง

มิได้เกรงใจบุตรเศรษฐีนั้น ในเรื่องอะไร ๆ.

บุตรเศรษฐีนั้น คิดอยู่ว่า "นางนี้ มีการถือตัวเช่นนี้ เพราะอาศัย

อะไรเล่าหนอ ?" ทราบว่า " เพราะอาศัยศิลปะ" จึงคิดว่า " ช่างเถิด,

เราก็จักเรียนศิลปะ " แล้วก็เข้าไปหาพ่อตา เรียนศิลปะอันเป็นความรู้ของ

พ่อตานั้น แสดงศิลปะ ในบ้านนิคมเป็นต้นอยู่ มาถึงกรุงราชคฤห์โดย

ลำดับ ให้ป่าวร้องว่า " ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ บุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน

จักแสดงศิลปะแก่ชาวพระนคร."

อุคคเสนแสดงศิลปะ

ชาวพระนคร ให้ผูกเตียงซ้อนๆ กันเป็นต้นแล้ว ประชุมกันใน

วันที่ ๗.

ฝ่ายอุคคเสนนั้น ได้ขึ้นไปสู่ไม้แป้น (สูง) ๖๐ ศอก ยืนอยู่บนปลาย

ไม้แป้นนั้น.

ในวันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทรง

เห็นอุคคเสนนั้น เข้าไปในข่ายคือพระญาณของพระองค์ จึงทรงใคร่-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 305

ครวญอยู่ว่า " เหตุอะไรหนอ ? จักมี " ได้ทราบว่า " พรุ่งนี้บุตรเศรษฐี

จักยืนบนปลายไม้เป็น ด้วยหวังว่า " จักแสดงศิลปะ ' มหาชนจักประชุม

กันเพื่อดูเขา, เราจักแสดงคาถาประกอบด้วยบท ๔ ในสมาคมนั้น; การ

บรรลุธรรมจักมีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐ เพราะฟังธรรมนั้น, แม้อุคคเสนก็จัก

ตั้งอยู่ในพระอรหัต."

ในวันรุ่งขึ้น พระองค์ทรงกำหนดเวลาแล้ว มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม

เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต. ฝ่ายอุคคเสน เมื่อพระศาสดา

ยังไม่ทันเสด็จเข้าไปภายในพระนครนั่นแล จึงให้สัญญาด้วยนิ้วมือแก่

มหาชน เพื่อต้องการให้เอิกเกริก ยืนบนปลาไม้แป้นหกคะเมนในอากาศ

นั่นเองสิ้น ๗ ครั้ง ลงมาแล้วได้ยืนบนปลายไม้เป็นอีก.

อุคคเสนแสดงศิลปะแก่พระมหาโมคคัลลานะ

ขณะนั้น พระศาสดากำลังเสด็จไปสู่พระนคร, ทรงกระทำโดย

อาการที่บริษัทไม่แลดูเขา, ให้ดูเฉพาะพระองค์เท่านั้น. อุคคเสนแลดู

บริษัทแล้ว ถึงความเสียใจว่า " บริษัทจะไม่แลดูเรา " จึงคิดว่า " ศิลปะ

นี้เราพึ่งแสดง (ประจำ) ปี, ก็เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปยังพระนคร

บริษัทไม่แลดูเรา แลดูแต่พระศาสดาเท่านั้น; การแสดงศิลปะของเรา

เปล่า (ประโยชน์) แล้วหนอ."

พระศาสดาทรงทราบความคิดของเขา จึงตรัสเรียกพระมหาโมค-

คัลลานะมาแล้ว ตรัสว่า "โมคคัลลานะ เธอจงไป, พูดกะบุตรเศรษฐีว่า

" นัยว่า ท่านจงแสดงศิลปะ" พระเถระไปยืนอยู่ ณ ภายใต้ไม้แป้นนั่นแล

เรียกบุตรเศรษฐีมาแล้ว กล่าวคาถานี้ว่า:-

๑. คำว่า ' ท่าน ' ในที่นี้ เป็นปฐมบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 306

" เชิญเถิด อุคคเสน บุตรคนฟ้อน ผู้มีกำลังมาก

เชิญท่านจงดู, เชิญท่านทำความยินดีแก่บริษัทเถิด,

เชิญท่านทำให้มหาชนร่าเริงเถิด."

เขาได้ยินถ้อยคำของพระเถระแล้ว เป็นผู้มีใจยินดี หวังว่า " พระ-

ศาสดามีพระประสงค์จะดูศิลปะของเรา " จึงยืนบนปลายไม้แป้นแล้วกล่าว

คาถานี้ว่า :-

" เชิญเถิด ท่านโมคคัลลานะ ผู้มีปัญญามาก มี

ฤทธิ์มาก เชิญท่านจงดู, กระผมจะทำความยินดีแก่

บริษัท, จะยังมหาชนให้ร่าเริง."

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ก็กระโดดจากปลายไม้แป้น ขึ้นสู่

อากาศ หกคะเมน ๑๔ ครั้งในอากาศแล้ว ลงมายืนอยู่บนปลายไม้แป้น

(ตามเดิม).

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า " อุคคเสน ธรรมดาบัณฑิต

ต้องละความอาลัยรักใคร่ในขันธ์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และ

ปัจจุบันเสียแล้ว พ้นจากทุกข์ทั้งหลายมีชาติเป็นต้นจึงควร ดังนี้แล้ว ตรัส

พระคาถานี้ว่า:-

๖. มุญฺจ ปุเร มุญฺจ ปจฺฉโต

มชฺเฌ มุญฺจ ภวสฺส ปารคู

สพฺพตฺถ วิมุตฺตมานโส

น ปุน ชาติชร อุเปหิสิ.

" ท่านจงเปลื้อง (อาลัย) ในก่อนเสีย จงเปลื้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 307

(อาลัย) ข้างหลังเสีย, จงเปลื้อง (อาลัย) ในท่าม-

กลางเสีย, จึงเป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ มีใจหลุดพ้นใน

ธรรมทั้งปวง จะไม่เข้าถึงชาติและชราอีก."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มุญฺจ ปุเร ความว่า จงเปลื้อง

อาลัย คือความยินดี หมกมุ่น ปรารถนา ขลุกขลุ่ย ความถือ ลูบคลำ

ความอยาก ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอดีตเสีย.

บทว่า ปจฺฉโต ความว่า จงเปลื้องอาลัยเป็นต้น ในขันธ์ทั้งหลาย

ที่เป็นอนาคตเสีย.

บทว่า มชฺเฌ ความว่า จงเปลื้องอาลัยเหล่านั้น ในขันธ์ทั้งหลาย

แม้ที่เป็นปัจจุบันเสีย.

สองบทว่า ภวสฺส ปารคู ความว่า เมื่อปฏิบัติได้อย่างนั้น จักเป็น

ผู้ถึงฝั่ง คือไปแล้วสู่ฝั่งแห่งภพแม้ทั้ง ๓ อย่างได้ ด้วยอำนาจแห่งอัน

กำหนดรู้ ละ เจริญ และทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่ง มีใจพ้นแล้วใน

สังขตธรรมทั้งปวง ต่างด้วยขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้นอยู่ ต่อไปไม่

ต้องเข้าถึงชาติ ชรา และมรณะ.

ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์ทั้ง ๘๔,๐๐๐ แล้ว.

อุคคเสนทูลขอบรรพชาอุปสมบท

ฝ่ายบุตรเศรษฐี กำลังยืนอยู่บนปลายไม้แป้น บรรลุพระอรหัต

พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว ลงจากไม้แป้นมาสู่ที่ใกล้พระศาสดา ถวาย

บังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา. ลำดับนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 308

พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาตรัสกะนายอุคคเสนนั้นว่า " ท่าน

จงเป็นภิกษุมาเถิด." อุคคเสนนั้นได้เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘ ประหนึ่ง

พระเถระมีพรรษาตั้ง ๖๐ ในขณะนั้นนั่นเอง.

ต่อมา พวกภิกษุถามท่านว่า " คุณอุคคเสน เมื่อคุณลงจากปลาย

ไม้แป้น (สูง) ตั้ง ๖๐ ศอก ขึ้นชื่อว่าความกลัว ไม่ได้มีหรือ ? " เมื่อ

ท่านตอบว่า " คุณ ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผมเลน," จึงกราบทูลแด่พระ-

ศาสดาว่า " พระเจ้าข้า พระอุคคเสนพูดอยู่ว่า ' ผมไม่กลัว ' เธอพูดไม่

จริง ย่อมอวดคุณวิเศษ" พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุ

ผู้มีสังโยชน์อันตัดได้แล้ว เช่นกับอุคคเสนผู้บุตรของเรา หากลัว หา

พรั่นพรึงไม่" ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้ในพราหมณวรรคว่า :-

" เรา กล่าวผู้ที่ตัดสังโยชน์ทั้งหมดได้ ไม่สะดุ้ง

ผู้ล่วงกิเลสเป็นเครื่องข้อง ไม่ประกอบด้วยโยคะ

กิเลสแล้วว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา การบรรลุธรรมพิเศษ ได้มีแล้วแก่ชนเป็นอัน

มาก.

รุ่งขึ้นวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุ

ทั้งหลาย เหตุคือการอาศัยลูกสาวนักฟ้อน เที่ยวไปกับด้วยนักฟ้อนของ

ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตอย่างนี้ เป็นอย่างไรหนอแล ?

เหตุแห่งอุปนิสัยพระอรหัตเป็นอย่างไร ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 309

พระศาสดาตรัสบอกอุปนิสัยของพระอุคคเสน

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วยเรื่อง

ชื่อนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เหตุแม้ทั้งสองนั่น อัน

อุคคเสนนี้ผู้เดียวทำไว้แล้ว " เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น จึงทรง

ชักอดีตนิทานมา (ตรัส ) ว่า :-

" ดังได้สดับมา ในอดีตกาล เมื่อสุพรรณเจดีย์สำหรับพระกัสสป-

ทศพล อันเขากระทำอยู่ พวกกุลบุตรชาวพระนครพาราณสี บรรทุกของ

เคี้ยวของบริโภคเป็นอันมากในยานทั้งหลาย กำลังไปสู่เจดีย์สถาน ด้วย

ตั้งใจว่า " พวกเราจักทำหัตถกรรม" พวกพระเถระองค์หนึ่ง กำลังเข้าไป

เพื่อบิณฑบาตในระหว่างทางแล้ว . ลำดับนั้นนางกุลธิดาคนหนึ่ง แลเห็น

พระเถระแล้ว จึงกล่าวกะสามีว่า " นาย พระผู้เป็นเจ้าของเราเข้ามาอยู่

เพื่อบิณฑบาต, อนึ่ง ของเคี้ยวของบริโภคของเราในยาน มีเป็นอันมาก,

นายจงนำบาตรของท่านมา, เราทั้งสองจักถวายภิกษา." สามีน้ำบาตรมา

แล้ว. ภรรยายังบาตรนั้นให้เต็ม ด้วยของควรเคี้ยวของควรบริโภคแล้ว

ให้สามีวางลงในมือของพระเถระ แม้ทั้งสองคนทำความปรารถนาว่า "ท่าน

เจ้าข้า ดิฉันทั้งสองคนพึงมีส่วนแห่งธรรมอันท่านเห็นแล้วนั่นเทียว."

พระเถระแม้นั้น เป็นพระขีณาสพ, เพราะฉะนั้น เมื่อท่านเล็งดู ทราบ

ภาวะ คืออันจะสำเร็จความปรารถนาของเขาทั้งสองนั้นแล้ว ได้ทำการยิ้ม.

หญิงนั้นเห็นอาการนั้นเข้า จึงพูดกะสามีว่า " นาย พระคุณเจ้าของเรา

ย่อมทำอาการยิ้ม, ท่านจักเป็นเด็กนักฟ้อน." ผ่ายสามีของนางตอบว่า

" นางผู้เจริญ ก็จักเป็นอย่างนั้น" ดังนี้แล้ว หลีกไป. นี้เป็นบุรพกรรม

ของเขาทั้งสองนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 310

สามีภรรยานั้น ดำรงอยู่ในอัตภาพนั้นชั่วอายุแล้ว ก็เกิดในเทวโลก

เคลื่อนจากที่นั้นแล้ว, หญิงนั้นเกิดในเรือนของคนนักฟ้อน, ชายเกิดใน

เรือนของเศรษฐี. พระอุคคเสนนั้น เพราะความที่ให้คำตอบแก่ภรรยา

นั้นว่า " จักเป็นอย่างนั้น นางผู้เจริญ" จึงต้องเที่ยวไปกับพวกนักฟ้อน,

อาศัยบิณฑบาตที่ถวายแล้วแก่พระเถรผู้ขีณาสพ จึงบรรลุพระอรหัตแล้ว,

ฝ่ายธิดาของนักฟ้อนนั้น คิดว่า " อันใดเป็นคติของสามีของเรา,

อันนั้นเอง ก็เป็นคติแม้ของเรา" ดังนี้แล้ว บรรพชาในสำนักของภิกษุณี

ทั้งหลายแล้ว ดำรงอยู่ในพระอรหัต ดังนี้แล.

เรื่องบุตรเศรษฐีชื่ออุคคเสน จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 311

๗. เรื่องจุฬธนุคคหบัณฑิต [๒๔๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่ม

รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " วิตกกฺมถิตสฺส " เป็นต้น.

ภิกษุหนุ่มรักใคร่หญิงรุ่นสาว

ดังได้สดับมา ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจับสลากของตนในโรงสลาก ถือ

เอาข้าวต้มตามสลากไปสู่โรงฉัน ดื่มอยู่. ภิกษุนั้น ไม่ได้น้ำในโรงฉันนั้น

ได้ไปยืนยังเรือนหลังหนึ่ง เพื่อต้องการน้ำ, หญิงรุ่นสาวคนหนึ่งในเรือน

นั้น พอเห็นภิกษุนั้น ก็เกิดความสิเนหา กล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ เมื่อมี

ความต้องการด้วยน้ำดื่ม ท่านพึงมาในเรือนนี้แหละ แม้อีก."

ตั้งแต่นั้น ภิกษุนั้นไม่ได้น้ำดื่มในกาลใด, ก็ไปเรือนนั้นนั่นแล

ในกาลนั้น.

ฝ่ายหญิงนั้น รับบาตรของเธอแล้ว ถวายน้ำดื่ม. เมื่อกาลล่วงไป

ด้วยอาการอย่างนั้น รุ่งขึ้นวันหนึ่ง นางถวายแม้ข้าวต้มแล้วนิมนต์ให้นั่ง

ในเรือนนั้นแล ได้ถวายข้าวสวยแล้ว. นางนั่ง ณ ที่ใกล้ภิกษุนั้นแล้ว

เอ่ยถ้อยคำขึ้นว่า " ท่านผู้เจริญ ในเรือนนี้ อะไร ๆ ชื่อว่า ย่อมไม่มี

หามีไม่, ดิฉันยังไม่ได้แต่คนจัดการเท่านั้น."

ภิกษุนั้น สดับถ้อยคำของหญิงนั้นแล้ว โดย ๒-๓ วันเท่านั้น

ก็กระสันแล้ว.

ภิกษุหนุ่มถูกนำตัวไปเฝ้าพระศาสดา

ต่อมาวันหนึ่ง พวกภิกษุอาคันตุกะพบภิกษุนั้น จึงถามว่า " ผู้มีอายุ

เหตุไร ? ท่านจึงเป็นผู้ผอมเหลืองหนักขึ้น," เมื่อภิกษุนั้นตอบว่า " ผู้มีอายุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 312

ผมเป็นผู้กระสัน," จึงนำไปสู่สำนักพระอาจารย์และอุปัชฌายะ. อาจารย์

และอุปัชฌาย์แม้เหล่านั้น ก็นำภิกษุนั้นไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูล

ความนั้นแล้ว.

พระศาสดาทรงแสดงบุรพกรรมของภิกษุหนุ่มนั้น

พระศาสดาตรัสถามว่า " ภิกษุ นัยว่า เธอเป็นผู้กระสันจริงหรือ ?"

เมื่อภิกษุนั้นทูลว่า " จริง " จึงตรัสว่า " ภิกษุ เหตุไร ? เธอบวชใน

ศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้ปรารภความเพียรเช่นดังเรา จึงไม่ให้เขาเรียก

ตนว่า ' พระโสดาบัน ' หรือ ' พระสกทาคามี ' กลับให้เขาเรียกว่า

' เป็นผู้กระสัน ' ได้, เธอทำกรรมหนักเสียแล้ว" จึงทรงซักถามว่า

" เพราะเหตุไร ? เธอจึงเป็นผู้กระสัน " เมื่อภิกษุนั้นทูลว่า " ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ หญิงคนหนึ่ง พูดกะข้าพระองค์อย่างนี้," จึงตรัสว่า

" ภิกษุ กิริยาของนางนั่น ไม่น่าอัศจรรย์: เพราะในกาลก่อน นางละบัณฑิต

ผู้เลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้นแล้ว ยังความสิเนหาในบุรุษคนหนึ่ง ซึ่งตนเห็น

ครู่เดียวนั้นให้เกิดขึ้น ทำบัณฑิตผู้เลิศนั้นให้ถึงความสิ้นชีวิต" อันภิกษุ

ทั้งหลายทูลอาราธนาเพื่อให้ทรงประกาศเรื่องนั้น จึงทรงทำให้แจ้งซึ่ง

ความที่จูฬธนุคคหบัณฑิต เรียนศิลปะในสำนักของอาจารย์ทิศาปาโมกข์

ในกรุงตักกสิลา พาธิดาผู้อันอาจารย์นั้นยินดีให้แล้ว ไปสู่กรุงพาราณสี

เมื่อตนฆ่าโจรตาย ๔๙ คน ด้วยลูกศร ๔๙ ลูก ที่ปากดงแห่งหนึ่ง, เมื่อ

ลูกศรหมดแล้ว จึงจับโจรผู้หัวหน้าฟาดให้ล้มลงที่พื้นดิน. กล่าวว่า " นาง

ผู้เจริญ หล่อนจงนำดาบมา," นาง (กลับ) ทำความสิเนหาในโจรซึ่งตน

เห็นในขณะนั้นแล้ว วางด้ามดาบไว้ในมือโจร ให้โจรฆ่าแล้วในกาลเป็น

จูฬธนุคคหบัณฑิต ในอดีตกาล และภาวะคือโจรพาหญิงนั้นไป พลางคิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 313

ว่า " หญิงนี้เห็นชายอื่นแล้ว จักให้เขาฆ่าเราบ้างเช่นเดียวกับสามีของตน,

เราจักต้องการอะไรด้วยหญิงนี้" เห็นแม่น้ำสายหนึ่ง จึงพักนางไว้ที่ฝั่งนี้

ถือเอาห่อภัณฑะของนางไป สั่งว่า " หล่อนจงรออยู่ ณ ที่นี้แหละ จนกว่า

ฉันนำห่อภัณฑะข้ามไป " ละนางไว้ ณ พี่นั้นนั่นเอง (หนี) ไปเสีย แล้ว

ตรัสจูฬธนุคคหชาดกนี้ในปัญจกนิบาต ให้พิสดารว่า:-

" พราหมณ์ ท่านถือเอาภัณฑะทั้งหมด ข้ามฝั่ง

ได้แล้ว, จงรีบกลับมารับฉัน ให้ข้ามไปในบัดนี้โดยเร็ว

บ้างนะ ผู้เจริญ."

" แม่นางงาม ยอมแลกฉัน ผู้มิใช่ผัว ไม่ได้

เชยชิด ด้วยผัวผู้เชยชิดมานาน, แม่นางงาม พึง

แลกชายอื่นแม้ด้วยฉัน, ฉันจักไปจากที่นี้ให้ไกล

ที่สุดที่จะไกลได้."

" ใครนี้ ทำการหัวเราะอยู่ที่กอตะไคร้น้ำ, ในที่นี้

การฟ้อนก็ดี การขับก็ดี การประโคมก็ดี ที่บุคคลจัด

ตั้งขึ้น มิได้มี, แม่นางงาม ผู้มีตะโพกอันผึ่งฝาย

ทำไมเล่า ? แม่จึงซิกซี้ในกาลเป็นที่ร้องไห้."

" สุนัขจิ้งจอก ชาติชัมพุกะ ผู้โง่เขลา ทราม

ปัญญา เจ้ามีปัญญาน้อย, เจ้าเสื่อมจากปลาและชิ้น

(เนื้อ) แล้วก็ซบเซาอยู่ ดุจสัตว์กำพร้า."

๑. ขุ. ชา. ๒๗/ข้อ ๘๑๘. อรรถกถา. ๔/๑๕๐๖. ๒. โดยพยัญชนะ แปลว่า ในกาลใช่กาล

เป็นที่หัวเราะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 314

" โทษของคนเหล่าอื่น เห็นได้ง่าย, ส่วนโทษ

ของตน เห็นได้ยาก, หล่อนนั่นเอง เสื่อมทั้งผัวทั้งชู้

ซบเซาอยู่ แม้ (ยิ่ง) กว่าเรา."

" พระยาเนื้อ ชาติซัมพุกะ เรื่องนั้น เป็นเหมือน

เจ้ากล่าว. ฉันนั้น ไปจากที่นี้แล้ว จักเป็นผู้ไปตาม

อำนาจของภัสดาแน่แท้."

" ผู้ใดพึงนำภาชนะดินไปได้, แม้ภาชนะสำริด

ผู้นั้นก็พึงนำไปได้; หล่อนทำชั่วจนช่ำ, ก็จักทำชั่ว

อย่างนั้นแม้อีก."

แล้วตรัสว่า " ในกาลนั้น จูฬธนุคคหบัณฑิตได้เป็นเธอ, หญิงนั้นได้เป็น

หญิงรุ่นสาวนี้ในบัดนี้, ท้าวสักกเทวราช ผู้มาโดยรูปสุนัขจิ้งจอก ทำการ

ข่มขี่นางนั้น เป็นเรานี่แหละ" แล้วทรงโอวาทภิกษุนั้นว่า " หญิงนั้น

ปลงบัณฑิตผู้เลิศในชมพูทวีปทั้งสิ้น จากชีวิต เพราะความสิเนหาในชาย

คนหนึ่ง ซึ่งตนเห็นครู่เดียวนั้นอย่างนี้; ภิกษุเธอจงตัดตัณหาของเธอ อัน

ปรารภหญิงนั้นเกิดขึ้นเสีย" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิงขึ้นไป

จึงทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๗. วิตกฺกมถิตสฺส ชนฺตุโน

ติพฺพราคสฺส สุภานุปสฺสิโน

ภิยฺโย ตณฺหา ปวฑฺฒติ

เอส โข ทฬฺห กโรติ พนฺธน.

วิตกฺกูปสเม จ โย รโต

อสุภ ภาวยตี สทา สโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 315

เอส โข วฺยนฺติกาหติ

เอสจฺเฉจฺฉติ มารพนฺธน.

" ตัณหา ย่อมเจริญยิ่งแก่ชนผู้ถูกวิตกย่ำยี มี

ราคะจัด เห็นอารมณ์ว่างาม, บุคคลนั่นแลย่อมทำ

เครื่องผูกให้มั่น. ส่วนภิกษุใด ยินดีในธรรมเป็นที่เข้า

ไประงับวิตก เจริญอสุภฌานอยู่ มีสติทุกเมื่อ, ภิกษุ

นั่นแล จักทำตัณหาให้สูญสิ้นได้ ภิกษุนั่น จะตัด

เครื่องผูกแห่งมารได้."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิตกฺกมถิตสฺส ได้แก่ ผู้ถูกวิตก ๓

มีกามวิตกเป็นต้นย่ำยียิ่ง.

บทว่า ติพฺพราคสฺส คือ ผู้มีราคะหนาแน่น.

บทว่า สุภานุปสฺสิโน ความว่า ชื่อว่า ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่า " งาม "

เพราะความเป็นผู้มีใจอันตนปล่อยไป ในอารมณ์อันน่าปรารถนาทั้งหลาย

ด้วยสามารถแห่งการยึดถือโดยสุภนิมิตเป็นต้น.

บทว่า ตณฺหา เป็นต้น ความว่า บรรดาฌานเป็นต้น แม้ฌานหนึ่ง

ย่อมไม่เจริญแก่บุคคลผู้เห็นปานนั้น. โดยที่แท้ ตัณหาเกิดทางทวาร ๖

ย่อมเจริญยิ่ง.

บทว่า เอส โข ความว่า บุคคลนั่นแล ย่อมทำเครื่องผูกคือตัณหา

ชื่อว่า ให้มั่น.

บทว่า วิตกฺกูปสเม ความว่า บรรดาอสุภะ ๑๐ ในปฐมฌานกล่าว

คือธรรมเป็นที่ระงับมิจฉาวิตกทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 316

สองบทว่า สทา สโต ความว่า ภิกษุใด เป็นผู้ยินดียิ่งในปฐมฌานนี้

ชื่อว่า มีสติ เพราะความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นเป็นนิตย์เจริญอสุภฌานนั้นอยู่.

บทว่า พฺยนฺติกาหติ ความว่า ภิกษุนั่น จักทำตัณหาอันจะให้เกิด

ในภพ ๓ ให้ไปปราศได้.

บทว่า มารพนฺธฺน ความว่า ภิกษุนั่น จักตัดแม้เครื่องผูกแห่งมาร

กล่าวคือวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ เสียได้.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้แก่บุคคลผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องจูฬธนุคคหบัณฑิต จบ.

๑. บาลีเป็น วฺยนฺติกาหติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 317

๘. เรื่องมาร [๒๔๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภมาร ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ว่า "นิฏฺ คโต" เป็นต้น.

มารแปลงเป็นช้างรัดกระหม่อนพระราหุล

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่งเวลาวิกาล พระเถระเป็นอันมากเข้า

ไปสู่พระเชตวันมหาวิหาร ไปถึงที่เป็นที่อยู่ของพระราหุลเถระแล้วก็ไล่ท่าน

ให้ลุกขึ้น. ท่านเมื่อไม่เห็นที่เป็นที่อยู่ในที่อื่น จึงไปนอนที่หน้ามุขพระ-

คันธกุฎีของพระตถาคต. คราวนั้น ท่านผู้มีอายุนั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว

ได้เป็นผู้ยังไม่มีพรรษาเลย.

มารชื่อวสวัตดี ดำรงอยู่ในภพนั่นแหละ เห็นท่านผู้มีอายุนั้นนอน

ที่หน้ามุขพระคันธกุฎี จึงคิดว่า " พระหน่อน้อยผู้แทงใจของพระสมณ-

โคดมนอนข้างนอก, ส่วนพระองค์ผทมในภายในพระคันธกุฎี; เมื่อเรา

บีบคั้นพระหน่อน้อย พระองค์เองก็จัก (เป็นเหมือน) ถูกบีบคั้น (ด้วย)."

มารนั้น นิรมิตเพศเป็นพระยาช้างใหญ่มา เอางวงรัดกระหม่อมพระเถระ

แล้วร้องดุจนกกระเรียนด้วยเสียงดัง.

พระศาสดาทรงแสดงเหตุที่พระราหุลไม่กลัว

พระศาสดาผทมในพระคันธกุฎี ทรงทราบว่าช้างนั้นเป็นมาร จึง

ตรัสว่า " มาร คนเช่นท่านนั้นแม้ตั้งแสน ก็ไม่สามารถเพื่อจะให้ความ

กลัวเกิดแก่บุตรของเราได้, เพราะว่าบุตรของเรามีปกติไม่สะดุ้ง มีตัณหา

ไปปราศจากแล้ว มีความเพียรใหญ่ มีปัญญามาก" ดังนี้แล้ว ได้ทรง

ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 318

๘. นิฏ คโต อสนฺตาสี วีตตโณฺห อนงฺคโณ

อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ อนฺติโมย สมฺสฺสโย.

วีตตโณฺห อนาทาโน นิรุตฺติปทโกวิโท

อกฺขราน สนฺนิปาต ชญฺา ปุพฺพปรานิ จ

ส เว อนฺติมสารีโร มหาปญฺโ มหาปุริโสติ วุจฺจติ.

" (ผู้ใด) ถึงความสำเร็จ มีปกติไม่สะดุ้ง มีตัณหา

ไปปราศแล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องยั่วยวนใจ ได้ตัดลูกศร

อันให้ไปสู่ภพทั้งหลายเสียแล้ว, กายนี้ (ของผู้นั้น)

ชื่อว่ามีในที่สุด. (ผู้ใด) มีตัณหาไปปราศแล้ว ไม่มี

ความถือมั่น ฉลาดในบทแห่งนิรุตติ รู้ที่ประชุมแห่ง

อักษรทั้งหลาย. และรู้เบื้องต้นและเบื้องปลายแห่ง

อักษรทั้งหลาย. ผู้นั้นแล มีสรีระมีในที่สุด เราย่อม

เรียกว่าผู้มีปัญญามาก เป็นมหาบุรุษ.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า นิฏฺ คโต ความว่า พระอรหัต

ชื่อว่า ความสำเร็จของบรรพชิตทั้งหลาย ในพระศาสนานี้, ถึง คือบรรลุ

พระอรหัตนั้น.

บทว่า อสนฺตาสี คือ ผู้ชื่อว่าไม่สะดุ้ง เพราะไม่มีกิเลสเครื่องสะดุ้ง

คือราคะเป็นต้น ในภายใน.

บาทพระคาถาว่า อจฺฉินฺทิ ภวสลฺลานิ คือ ได้ตัดลูกศรอันมีปกติ

ให้ไปสู่ภพทั้งสิ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 319

บทว่า สมุสฺสโย คือ ร่างกายนี้ ของผู้นั้นมีในที่สุด.

บทว่า อนาทาโน คือ ผู้ไม่มีการยึดถือในขันธ์เป็นต้น.

บาทพระคาถาว่า นิรุตฺติปทโกวิโท ความว่า ผู้ฉลาดในปฏิสัมภิทา

แม้ทั้ง ๔ คือ ในนิรุตติ และบทที่เหลือ.

สองบาทพระคาถาว่า อกฺขราน สนฺนปาต ชญฺา ปุพฺพาปรานิ จ

ความว่า ย่อมรู้หมวดหมู่แห่งอักษร กล่าวคือที่ประชุมแห่งอักษรทั้งหลาย

และรู้อักษรเบื้องปลายด้วยอักษรเบื้องต้น และอักษรเบื้องต้นด้วยอักษร

เบื้องปลาย. ชื่อว่า รู้จักอักษรเบื้องปลายด้วยอักษรเบื้องต้น คือเมื่อเบื้องต้น

ปรากฏอยู่ ในท่ามกลางและที่สุด แม้ไม่ปรากฏ, ก็ย่อมรู้ได้ว่า " นี้เป็น

ท่ามกลางแห่งอักษรเหล่านี้, นี้เป็นที่สุด," ชื่อว่า ย่อมรู้จักอักษรเบื้องต้น

ด้วยอักษรเบื้องปลาย คือเมื่อที่สุดปรากฏอยู่ เมื่อเบื้องต้นและท่ามกลาง

แม้ไม่ปรากฏ, ก็ย่อมรู้ได้ว่า " นี้เป็นท่ามกลางแห่งอักษรเหล่านั้น, นี้เป็น

เบื้องต้น" เมื่อท่ามกลางปรากฏอยู่ เมื่อเบื้องต้นและที่สุดแม้ไม่ปรากฏ,

ย่อมทราบได้เหมือนกันว่า " นี้เป็นเบื้องต้นแห่งอักษรเหล่านั้น, นี้เป็น

ที่สุด."

บทว่า มหาปญฺโ ความว่า ท่านผู้มีสรีระตั้งอยู่ในที่สุดนั่นพระ-

ศาสดาตรัสเรียกว่า ผู้มีปัญญามาก เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา

อันกำหนดถือเอาซึ่งอรรถ ธรรม นิรุตติ และปฏิภาณ และศีลขันธ์เป็นต้น

อันใหญ่ และตรัสว่าเป็นมหาบุรุษ เพราะความเป็นผู้มีจิตพ้นแล้ว โดย

พระบาลีว่า " สารีบุตร เราเรียกผู้มีจิตพ้นแล้วแล ว่า " มหาบุรุษ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 320

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น.

ฝ่ายมารผู้มีบาปคิดว่า " พระสมณโคดม ย่อมทรงรู้จักเรา" แล้ว

อันตรธานไปในที่นั้นนั่นเอง ดังนี้แล.

เรื่องมาร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 321

๙. เรื่องอุปกาชีวก [๒๔๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาทรงปรารภอาชีวกชื่ออุปกะ ในระหว่างทาง ตรัสพระ-

ธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพาภิภู " เป็นต้น.

อุปกาชีวกทูลถามพระศาสดา

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระศาสดาทรงบรรลุพระสัพพัญ-

ญุตญาณแล้ว ทรงยังกาลให้ล่วงไปที่ควงไม้โพธิ์ ๗ สัปดาห์ ทรงถือบาตร

และจีวรของพระองค์ เสด็จดำเนินไปสิ้นทางประมาณ ๑๘ โยชน์มุ่งกรุง-

พาราณสี เพื่อทรงยังพระธรรมจักรให้เป็นไป ได้ทอดพระเนตรเห็น

อาชีวกชื่ออุปกะ ในระหว่างทาง.

ฝ่ายอุปกาชีวกนั้น เห็นพระศาสดาแล้ว ทูลถามว่า " ผู้มีอายุ อินทรีย์

ของท่านผ่องใสแล, ผิวพรรณก็บริสุทธิ์ผุดผ่อง; ผู้มีอายุ ท่านบวชเฉพาะ

ใคร ? ใครเป็นศาสดาของท่าน ? หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ?"

พระศาสดาตรัสตอบอุปกาชีวก

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า " เราไม่มีอุปัชฌาย์หรืออาจารย์" ดังนี้

แล้ว ตรัสพระคาถานี้แก่อุปกาชีวกนั้น ว่า :-

๙. สพฺพาภิภู สพฺพวิทูหมสฺมิ

สพฺเพสุ ธมฺเมสุ อนูปลิตฺโต

สพฺพญฺชโห ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต

สย อภิญฺาย กมุทฺทิเสยฺย ฯ

" เราเป็นผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด รู้ธรรมทุก

อย่าง ไม่ติดอยู่ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้ทุกอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 322

พ้นแล้ว ในเพราะธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา รู้เอง

แล้ว จะพึงอ้างใครเล่า ? (ว่าเป็นอุปัชฌาย์อาจารย์)."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพาภิภู คือ ครอบงำธรรมอันเป็น

ไปในภูมิ ๓ ได้ทั้งหมด.

บทว่า สพฺพวิทู คือ ผู้มีธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ ทั้งปวงอันรู้แล้ว.

สองบทว่า สพฺเพสุ ธมฺเมสุ ความว่า ผู้อันตัณหาและทิฏฐิ

ทั้งหลายฉาบทาไม่ได้ ในธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งสิ้น.

บทว่า สพฺพญฺชโห คือ ผู้ละธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด

ดำรงอยู่.

สองบทว่า ตณฺหกฺขเย วิมุตฺโต คือผู้พ้นแล้วในเพราะพระอรหัต

กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ที่ตนให้เกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดแห่ง

ความสิ้นไปแห่งตัณหา ด้วยวิมุตติอันเป็นของพระอเสขะ.

สองบทว่า สย อภิญฺาย คือรู้ธรรมต่างด้วยอภิญไญยธรรม

เป็นต้นได้เองทีเดียว.

บทว่า กมุทฺทิเสยฺย ความว่า เราจะพึงอ้างใครเล่าว่า " นี้เป็น

อุปัชฌาย์หรืออาจารย์ของเรา. "

ในกาลจบเทศนา อุปกาชีวก ไม่ยินดี ไม่คัดค้านพระดำรัสของ

พระตถาคตเลย, แต่เขาสั่นศีรษะ แลบลิ้น ยึดเอาทางที่เดินไปคนเดียว

ได้ไปยังที่เป็นที่อาศัยอยู่ของนายพรานแห่งใดแห่งหนึ่งแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องอุปกาชีวก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 323

๑๐. เรื่องท้าวสักกเทวราช [๒๔๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภท้าวสักก-

เทวราช ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพทาน " เป็นต้น.

ปัญหา ๔ ข้อของเทวดา

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เทพดาในดาวดึงสเทวโลกประชุม

กันแล้ว ตั้งปัญหาขึ้น ๔ ข้อว่า " บรรดาทานทั้งหลาย ทานชนิดไหน

หนอแล ? บัณฑิตกล่าวว่าเยี่ยม, บรรดารสทั้งหลาย รสชนิดไหน ?

บัณฑิตกล่าวว่ายอด, บรรดาความยินดีทั้งหลาย ความยินดีชนิดไหน ?

บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ, ความสิ้นไปแห่งตัณหาแล บัณฑิตกล่าวว่าประเสริฐ

ที่สุด เพราะเหตุไร ? แม้เทพดาองค์หนึ่ง ก็มิสามารถจะวินิจฉัยปัญหา

เหล่านั้นได้. ก็เทพดาองค์หนึ่ง ถามกะเทพดาองค์หนึ่ง, แม้เทพดาองค์นั้น

ก็ถามเทพดาองค์อื่นอีก, ก็เทพดาทั้งหลาย ถามกันและกันอย่างนั้น ด้วย

อาการอย่างนั้น ได้ท่องเที่ยวไปในหมื่นจักรวาลถึง ๑๒ ปี.

เทวดาพากันไปถามปัญหาท้าวมหาราชทั้ง ๔

เทวดาในหมื่นจักรวาล ไม่เห็นเนื้อความแห่งปัญญาโดยกาลแม้มี

ประมาณเท่านี้ ประชุมกันแล้ว ไปยังสำนักของท้าวมหาราชทั้ง ๔, เมื่อ

ท้าวมหาราชกล่าวว่า " พ่อทั้งหลาย ทำไมจึงมีเทพสันนิบาตกันใหญ่ ?"

จึงกล่าวว่า " พวกผมตั้งปัญหาขึ้น ๔ ข้อแล้ว เมื่อไม่สามารถจะวินิจฉัยได้

จึงมายังสำนักของท่าน," เมื่อท้าวมหาราชกล่าวว่า "ชื่อปัญหาอะไรกัน ?

พ่อ " (จึงบอกเนื้อความนั้น) ว่า " พวกผมไม่สามารถวินิจฉัยปัญหา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 324

เหล่านี้ได้ คือ ' บรรดาทาน รส และความยินดี ทาน รส และความยินดี

ชนิดไหนหนอแล ประเสริฐสุด ? ความสิ้นไปแห่งตัณหาเทียว ประเสริฐ

สุด เพราะเหตุไร ?" จึงมาหา.

ท้าวมหาราชทั้ง ๘ กล่าวว่า " พ่อทั้งหลาย แม้พวกเราก็หารู้เนื้อ

ความแห่งปัญหาเหล่านี้ไม่; แต่พระราชาของพวกเรา ทรงดำริอรรถที่ชน

ตั้งพันคิดแล้ว ย่อมทรงทราบโดยขณะเดียวเท่านั้น, พระองค์ประเสริฐ

วิเศษกว่าพวกเราทั้งหลาย ทั้งทางปัญญาและทางบุญ, พวกเราจงไปยัง

สำนักของพระองค์เถิด" แล้วพาหมู่เทพดานั้นนั่นแลไปยังสำนักของท้าว-

สักกเทวราช, ถึงเมื่อท้าวสักกเทวราชนั้นตรัสว่า " พ่อทั้งหลาย ทำไม

จึงมีเทพสันนิบาตกันใหญ่ ? " ก็กราบทูลเนื้อความนั้น.

ท้าวสักกะทรงพาพวกเทวดาไปเฝ้าพระศาสดา

ท้าวสักกะตรัสว่า " พ่อทั้งหลาย คนอื่นย่อมไม่สามารถรู้เนื้อความ

แห่งปัญหาเหล่านี้ได้, ปัญหาเหล่านั่น เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า, แล้ว

ตรัสถามว่า " ก็เดี๋ยวนี้ พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ไหน ?" ทรงสดับว่า

" ในพระเชตวันวิหาร" จึงตรัสว่า " พวกเธอมาเถิด, พวกเราจักไปยัง

สำนักของพระองค์" ทรงพร้อมด้วยหมู่เทพดา ให้พระเชตวันทั้งสิ้น

สว่างไสวในส่วนแห่งราตรี เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ประทับ

ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง, เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร ทำไม

พระองค์จึงเสด็จมาพร้อมกับหมู่เทพดามากมาย ?" จึงกราบทูลว่า "พระ-

เจ้าข้า หมู่เทพดาพากันตั้งปัญหาชื่อเหล่านี้, คนอื่นที่ชื่อว่าสามารถรู้เนื้อ

ความแห่งปัญหาเหล่านี้ได้ หามีไม่, ขอพระองค์ได้ทรงประกาศเนื้อความ

แห่งปัญหาเหล่านี้ แก่พวกข้าพระองค์เถิด."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 325

พระศาสดาทรงแก้ปัญหา

พระศาสดาตรัสว่า " ดีละ มหาบพิตร ตถาคตบำเพ็ญบารมี ๓๐

ทัศ บริจาคมหาบริจาค แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ก็เพื่อตัด

ความสงสัยของชนผู้เช่นพระองค์นี่แหละ, ขอพระองค์จงทรงสดับปัญหาที่

พระองค์ถามแล้วเถิด: บรรดาทานทุกชนิด ธรรมทานเป็นเยี่ยม, บรรดา

รสทุกชนิด รสแห่งพระธรรมเป็นยอด, บรรดาความยินดีทุกชนิด ความ

ยินดีในธรรมประเสริฐ, ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหาประเสริฐที่สุดแท้

เพราะความเป็นเหตุให้สัตว์บรรลุพระอรหัต" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา

นี้ว่า :-

๑๐. สพฺพทาน ธมฺมทาน ชินาติ

สพฺพ รส ธมฺมรโส ชินาติ

สพฺพ รตึ ธมฺมรตี ชินาติ

ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺข ชนาติ.

" ธรรมทาน ย่อมชนะทานทั้งปวง, รสแห่ง

ธรรม ย่อมชนะรสทั้งปวง, ความยินดีในธรรม

ย่อมชนะความยินดีทั้งปวง, ความสิ้นไปแห่งตัณหา

ย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพทาน เป็นต้น ความว่า ก็ถ้า

บุคคลถึงถวายไตรจีวรเช่นกับใบตองอ่อน แด่พระพุทธเจ้าพระปัจเจก-

พุทธเจ้าแล้วพระขีณาสพทั้งหลาย ผู้นั่งติด ๆ กัน ในห้องจักรวาลตลอด

๑. หมายถึงบริจาค ๕ คือ :- ๑. องฺคปริจฺจาค บริจาคอวัยวะ. ๒. ธนปริจาค บริจาค

ทรัพย์. ๓. ปุตฺตปริจฺจาค บริจาคบุตร. ๔. ทารปริจฺจาค บริจาคเมีย. ๕. ชีวิตปริจฺจาค

บริจาคชีวิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 326

ถึงพรหมโลก. การอนุโมทนาเทียว ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงทำด้วย

พระคาถา ๔ บาทในสมาคมนั้นประเสริฐ; ก็ทานนั้น หามีค่าถึงเสี้ยว

ที่ ๑๖ แห่งพระคาถานั้นไม่: การแสดงก็ดี การกล่าวสอนก็ดี การสดับ

ก็ดี ซึ่งธรรม เป็นของใหญ่ ด้วยประการฉะนี้. อนึ่ง บุคคลใดให้ทำ

การฟังธรรม, อานิสงส์เป็นอันมากก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้นแท้. ธรรมทาน

นั่นแหละ ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นให้เป็นไปแล้ว แม้ด้วยอำนาจอนุโมทนา

โดยที่สุดด้วยพระคาถา ๔ บาท ประเสริฐที่สุดกว่าทานที่ทายกบรรจุบาตร

ให้เต็มด้วยบิณฑบาตอันประณีตแล้วถวายแก่บริษัทเห็นปานนั้นนั่นแหละ

บ้าง กว่าเภสัชทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยเนยใสและน้ำมันเป็นต้น

แล้วถวายบ้าง กว่าเสนาสนทานที่ทายกให้สร้างวิหารเช่นกับมหาวิหาร

และปราสาทเช่นกับโลหปราสาทตั้งหลายแสนแล้วถวายบ้าง กว่าการบริจาค

ที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นปรารภวิหารทั้งหลายแล้วทำบ้าง. เพราะ

เหตุไร ? เพราะว่าชนทั้งหลาย เมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น ต่อฟังธรรม

แล้วเท่านั้นจึงทำได้. ไม่ได้ฟัง ก็หาทำได้; ก็ถ้าว่าสัตว์เหล่านี้ไม่พึง

ฟังธรรมไซร้, เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง ภัต

ประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง; เพราะเหตุนี้ ธรรมทานนั่นแหละ จึงประเสริฐ

ที่สุดกว่าทานทุกชนิด.

อีกอย่างหนึ่ง เว้นพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเสีย แม้

พระสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้น ผู้ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งสามารถ

นับหยาดน้ำได้ ในเมื่อฝนตกตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ก็ยังไม่สามารถจะบรรลุ

โสดาปัตติผลเป็นต้น โดยธรรมดาของตนได้; ต่อฟังธรรมที่พระอัสสชิ-

เถระเป็นต้นแสดงแล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล, และทำให้แจ้งซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 327

สาวกบารมีญาณ ด้วยพระธรรมเทศนาของพระศาสดา; เพราะเหตุแม้นี้

มหาบพิตร ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุด. เพราะเหตุนั้น พระ-

ศาสดาจึงตรัสว่า "สพฺพทาน ธมฺมทาน ชินาติ. "

อนึ่ง รสมีรสเกิดแต่ลำต้นเป็นต้นทุกชนิด โดยส่วนสูงแม้รสแห่ง

สุธาโภชน์ของเทพดาทั้งหลาย ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยิ่งสัตว์ให้ตกไปใน

สังสารวัฏ แล้วเสวยทุกข์โดยแท้. ส่วนพระธรรมรสกล่าวคือโพธิปักขิย-

ธรรม ๓๗ ประการ และกล่าวคือโลกุตรธรรม ๙ ประการนี้แหละ

ประเสริฐกว่ารสทั้งปวง. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า " สพฺพรส

ธมฺมรโส ชินาติ."

อนึ่ง แม้ความยินดีในบุตร ความยินดีในธิดา ความยินดีในทรัพย์

ความยินดีในสตรี และความยินดีมีประเภทมิใช่อย่างเดียวอันต่างด้วยความ

ยินดีในการฟ้อนการขับการประโคมเป็นต้น ย่อมเป็นปัจจัยแห่งการยัง

สัตว์ให้ตกไปในสังสารวัฏ แล้วเสวยทุกข์โดยแท้; ส่วนความอิ่มใจ ซึ่ง

เกิดขึ้น ณ ภายในของผู้แสดงก็ดี ผู้ฟังก็ดี ผู้กล่าวสอนก็ดี ซึ่งธรรม ย่อม

ให้เกิดความเบิกบานใจ ให้น้ำตาไหล ให้เกิดขึ้นชูชัน ความอิ่มใจนั้น

ย่อมทำที่สุดแห่งสังสารวัฏ มีพระอรหัตเป็นปริโยสาน; ความยินดีใน

ธรรม เห็นปานนี้แหละ ประเสริฐกว่าความยินดีทั้งปวง. เพราะเหตุนั้น

พระศาสดา จึงตรัสว่า "สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ."

ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหา คือพระอรหัตซึ่งเกิดขึ้นในที่สุดแห่ง

๑. น่าจะเป็นบทเกิน, เพราะใครไม่สามารถทำเนื้อความเช่นนี้ ให้พระดำรัสของพระศาสดาได้.

๒. Celestial food ambrosia อาหารทิพย์ (อาหารของเทพดาในเรื่องนิยาย

ถือกันว่าทำให้ผู้บริโภคไม่ตาย ให้ความงามและความหนุ่มสาวอยู่ชั่วนิรันดร) ของเกินเครื่องดื่ม

อันโอชารส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 328

ความสิ้นไปแห่งตัณหา, พระอรหัตนั้น ประเสริฐกว่าทุกอย่างแท้ เพราะ

ครอบงำวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น. เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า

" ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺข ชินาติ."

เมื่อพระศาสดา ตรัสเนื้อความแห่งพระคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้

อยู่นั่นแล ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔ พันแล้ว.

แม้ท้าวสักกะ ทรงสดับธรรมกถาของพระศาสดา ถวายบังคมพระ-

ศาสดาแล้ว ทูลว่า พระเจ้าข้า เพื่อประโยชน์อะไร พระองค์จึงไม่รับสั่งให้

ให้ส่วนบุญแก่พวกข้าพระองค์ ในธรรมทานอันชื่อว่าเยี่ยมอย่างนี้ ? จำเดิม

แต่นี้ไป ขอพระองค์ได้โปรดตรัสบอกแก่ภิกษุสงฆ์แล้วรับสั่งให้ ๆ ส่วน

บุญแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า." พระศาสดา ทรงสดับคำของ

ท้าวเธอแล้ว รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป พวกเธอทำการฟังธรรมใหญ่ก็ดี การฟังธรรมตาม

ปกติก็ดี กล่าวอุปนิสินนกถาก็ดี โดยที่สุดแม้การอนุโมทนา แล้วพึง

ให้ส่วนบุญแก่สัตว์ทั้งปวง."

เรื่องท้าวสักกเทวราช จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 329

๑๑. เรื่องเศรษฐีผู้ไม่บุตร [๒๕๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเศรษฐีผู้ชื่อว่า

อปุตตกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธ " เป็นต้น.

ประวัติครั้งยังมีชีวิตของอปุตตกเศรษฐี

ดังได้สดับมา พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงสดับการทำกาละของเศรษฐี

นั้นแล้ว จึงตรัสถามว่า " ทรัพย์สมบัติที่ไร้บุตร จะถึงแก่ใคร ?" ทรงสดับ

ว่า " ถึงแก่พระราชา " จึงให้นำทรัพย์จากเรือนของเศรษฐีนั้น มาสู่

ราชตระกูล (กินเวลาถึง) ๗ วัน แล้วจึงเสด็จเข้าไปสู่สำนักพระศาสดา

เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " ขอเชิญมหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหน

หนอ ? แต่ยังวัน " จึงกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า คฤหบดีผู้เป็นเศรษฐี

ในกรุงสาวัตถีนี้ ทำกาละเสียแล้ว. ข้าพระองค์นำทรัพย์สมบัติซึ่งไร้บุตร

นั้น ไปภายในราชสำนักแล้วจึงมา. "

เรื่องทั้งปวง พึงทราบตามนัยที่มาในพระสูตรนั่นแหละ.

เมื่อพระราชากราบทูลข้อความอย่างนี้ว่า "ได้ยินว่า เศรษฐีนั้น เมื่อ

เขานำโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ เข้าไปให้ด้วยถาดทอง ก็กล่าวว่า ' พวกมนุษย์

ย่อมกินโภชนะชื่อว่าเห็นปานนี้ (เทียวหรือ?), พวกเจ้าจะทำการเยาะเย้ย

กับเราในเรือนนี้หรือ ?" เมื่อเขาเข้าไปตั้งโภชนะไว้ให้ก็ประหาร (มนุษย์

เหล่านั้น ) ด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ให้หนีไปแล้ว บริโภคข้าว

ปลายเกวียน มีน้ำผักดองเป็นที่ ๒ ด้วยกล่าวว่า ' นี้จึงเป็นโภชนะของพวก

มนุษย์,' แม้เมื่อเขาเข้าไปตั้งผ้า ยาน และร่มที่น่าพอใจไว้ให้ ก็ประหาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 330

มนุษย์ (เหล่านั้น) ด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ให้หนีไปแล้ว ทรง

ผ้าป่าน, มีร่มใบไม้อันทรงไว้ (ถือไว้) อยู่ ย่อมไปด้วยรถเก่า ๆ "

พระศาสดาจึงตรัสเล่าบุรพกรรมของอปุตตกเศรษฐีนั้นว่า :-

บุรพกรรมของอปุตตกเศรษฐี

" มหาบพิตร เรื่องเคยมีมาแล้ว คฤหบดีผู้เศรษฐีนั้น ต้อนรับ

พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าตครสิขี ด้วยบิณฑบาต, กล่าวว่า ' ท่านทั้งหลาย

จงให้บิณฑะแก่สมณะ' ดังนี้แล้ว ก็ลุกจากอาสนะหลีกไป. ได้ยินว่า เมื่อ

เศรษฐีนั้น ผู้ไม่มีศรัทธา ผู้โง่เขลา กล่าวอย่างนั้นแล้วหลีกไป ภรรยา

ของเขาผู้มีศรัทธาเลื่อมใส คิดว่า ' นานเทียวหนอ เราจึงได้ยินคำว่า

' จงให้ ' จากปากของเศรษฐีนี้, มโนรถของเรา จะเต็มในวันนี้, เรา

จักถวายบิณฑบาต' แล้วรับบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้า ได้ให้เต็มด้วย

โภชนะอันประณีตแล้วถวาย. ฝ่ายเศรษฐีนั้นกลับมา เห็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้านั้น จึงถามว่า "สมณะท่านได้อะไร ๆ แล้วหรือ " แล้วจับบาตร

เห็นบิณฑบาตอันประณีต ก็มีความเดือดร้อน จึงคิดอย่างนี้ว่า " พวกทาส

หรือพวกกรรมกรพึงกินบิณฑบาตนี้ ยังดีกว่า, เพราะว่า พวกเขา ครั้น

กินบิณฑบาตนี้แล้ว จักทำการงานให้เรา; ส่วนสมณะนี้ ครั้นไปกินแล้ว

ก็จักนอนหลับ; บิณฑบาตของเราฉิบหายเสียแล้ว" อนึ่ง เศรษฐีนั้นปลง

แล้วซึ่งบุตรน้อยคนหนึ่งของพี่ชายจากชีวิต เพราะเหตุแห่งทรัพย์สมบัติ.

ได้ยินว่า เด็กนั้นจับนิ้วมือของเศรษฐีนั้น เที่ยวไปอยู่กล่าวว่า " ยานนี้

เป็นของบิดาฉัน, โคนี้ก็ขอท่าน." ลำดับนั้น เศรษฐีคิดว่า " ในบัดนี้

เด็กนี้ยังกล่าวอย่างนี้ก่อน, ก็ในกาลที่เด็กนี้ถึงความเจริญแล้ว ใครจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 331

รักษาโภคทรัพย์ทั้งหลายในเรือนนี้ได้" จึงนำเด็กนั้นไปสู่ป่า จับที่คอ

แล้วบีบคอเหมือนบีบหัวมัน ให้ตายแล้วที่โคนกอไม้แห่งหนึ่ง แล้วทิ้งเด็ก

นั้นไว้ในที่นั้นนั่นแหละ." นี้เป็นบุรพกรรมของเศรษฐีนั้น.

สรุปกรรมและผลแห่งกรรมของเศรษฐี

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า " มหาบพิตร ด้วย

ผลแห่งกรรมที่คฤหบดีผู้เศรษฐี ต้อนรับพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าตครสิขี

ด้วยบิณฑบาตนั้นแล เศรษฐีนั้นจึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ถึง ๗ ครั้ง; ด้วย

ผลที่เหลืออยู่แห่งกรรมนั้นนั่นแล เศรษฐีจึงครองความเป็นเศรษฐีอยู่ใน

กรุงสาวัตถีนี้แล ถึง ๗ ครั้ง. มหาบพิตร ด้วยผลแห่งกรรมที่คฤหบดีผู้

เศรษฐีนั้นให้ทานแล้ว มีความเดือดร้อนในภายหลังว่า ' พวกทาสหรือ

กรรมกร พึงบริโภคบิณฑบาตนี้ยังดีกว่า,' จิตของเศรษฐีนั้น จึงไม่น้อม

ไปเพื่อการบริโภคภัตอย่างฟุ่มเฟือย, ไม่น้อมไปเพื่อการใช้สอยผ้าอย่าง

ฟุ่มเฟือย, ไม่น้อมไปเพื่อการใช้สอยยานอย่างฟุ่มเฟือย ไม่น้อมไปเพื่อ

บริโภคกามคุณ ๕ อันดียิ่ง. มหาพิตร ด้วยผลแห่งกรรมที่คฤหบดีผู้เศรษฐี

นั้น ปลงแล้วซึ่งบุตรน้อยคนหนึ่งของพี่ชายจากชีวิต เพราะเหตุแห่ง

ทรัพย์สมบัติ; เศรษฐีนั้นจึงไหม้แล้วในนรกสิ้นปีเป็นอันมาก สิ้นร้อยปี

เป็นอันมาก สิ้นพันปีเป็นอันมาก สิ้นแสนปีเป็นอันมาก. ชนทั้งหลายยัง

ทรัพย์สมบัติที่ไร้บุตรครั้งที่ ๗ นี้ให้เข้าสู่พระคลังหลวง ด้วยผลอันเหลือ

อยู่แห่งกรรมนั้นแล. มหาบพิตร อนึ่งเล่า บุญเก่าของคฤหบดีผู้เศรษฐีนั้น

แล หมดสิ้นแล้ว และบุญใหม่อันคฤหบดีผู้เศรษฐีนั้นไม่สั่งสมแล้ว, มหา-

บพิตร ก็ในวันนี้ คฤหบดีผู้เศรษฐีไหม้อยู่ในมหาโรรุวนรก."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 332

โภคะย่อมฆ่าคนผู้ทรามปัญญา

พระราชาทรงสดับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว จึงกราบทูลว่า

" พระเจ้าข้า น่าอัศจรรย์ นี้เป็นกรรมอันหนัก, เศรษฐีนั้น เมื่อโภคะ

ชื่อว่ามีประมาณเท่านี้ มีอยู่ ไม่ใช้สอยด้วยตนเองเลย, เมื่อพระพุทธเจ้า

เช่นกับพระองค์ ประทับอยู่ในวิหารใกล้ๆ ก็มิได้ทำบุญกรรม."

พระศาสดาตรัสว่า " จริงเช่นนั้น มหาบพิตร ชื่อว่าบุคคลผู้มีปัญญา

ทราม ได้โภคะทั้งหลายแล้วย่อมไม่แสวงหานิพพาน, อนึ่ง ตัณหาซึ่งเกิด

ขึ้นเพราะอาศัยโภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนเหล่านั้นสิ้นกาลนาน" ดังนี้แล้ว

ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑๑. หนนฺติ โภคา ทุมฺเมธ โน จ ปารคเวสิโน

โภคตณฺหาย ทุมฺเมโธ หนฺติ อญฺเว อตฺตน.

ติสโทสานิ เขตฺตานิ ราคโทสะ อย ปชา

ตสฺมา หิ วีตราเคสุ ทินฺน โหติ มหปฺผล.

" โภคะทั้งหลาย ย่อมฆ่าคนทรามปัญญา, แต่

ไม่ฆ่าคนผู้แสวงหาฝั่งโดยปกติ; คนทรามปัญญา

ย่อมฆ่าตนเหมือนฆ่าผู้อื่น เพราะความทะยานอยาก

ในโภคะ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า โน จ ปารคเวสิโน ความว่า

แต่โภคะทั้งหลาย ย่อมไม่ฆ่าบุคคลผู้แสวงหาฝั่งคือพระนิพพานโดยปกติ.

บาทพระคาถาว่า หนฺติ อญฺเว อตฺตน ความว่า บุคคลผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 333

ทรามปัญญา ย่อมฆ่าตนเองดุจฆ่าผู้อื่น เพราะความทะยานอยาก ซึ่งเกิด

ขึ้นเพราะอาศัยโภคะทั้งหลาย.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล้ว

เรื่องเศรษฐีผู้ไม่มีบุตร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 334

๑๒. เรื่องอังกุรเทพบุตร [๒๕๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่บนแท่นบัณฑุกัมพลศิลา ทรงปรารภ

อังกุรเทพบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ติณโทสานิ เขตฺตานิ "

เป็นต้น.

ทานที่เลือกให้พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญ

ข้าพเจ้าทำเรื่องให้พิสดารแล้วแล ในพระคาถาว่า " เย ฌานปฺปสุตา

ธีรา" เป็นต้น. สมจริงดังคำที่ข้าพเจ้าปรารภอินทกเทพบุตรกล่าวไว้ใน

เรื่องนั้นดังนี้ว่า : " ได้ยินว่า อินทกเทพบุตรนั้นยังภิกษาทัพพีหนึ่ง ที่เขา

นำมาเพื่อตน ให้ถึงแล้วแก่พระอนุรุทธเถระผู้เข้าไปสู่ภายในหมู่บ้านเพื่อ

บิณฑบาต. บุญนั้นของอินทกเทพบุตรนั้น มีผลมากกว่าทานที่อังกุร-

เทพบุตร ทำระเบียบแห่งเตาประมาณ ๑๒ โยชน์ ถวายแล้วสิ้นหมื่นปี"

เพราะเหตุนั้น อินทกเทพบุตร จึงกล่าวอย่างนั้น. เมื่ออินทกเทพบุตร

กล่าวอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาจึงตรัสว่า " อังกุระ ชื่อว่าการเลือกให้ทาน

ย่อมควร, ทาน (ของอินทกะ) นั้น เป็นของมีผลมาก ดังพืชที่หว่านดีแล้ว

ในนาดี อย่างนั้น, แต่ท่านไม่ได้ทำอย่างนั้น, เพราะฉะนั้น ทานของท่าน

จึงไม่มีผลมาก " เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ จึงตรัสว่า :-

" บุคคลควรเลือกให้ทาน ในเขตที่ตนให้แล้ว

จะมีผลมาก. เพราะการเลือกให้ พระสุคตทรง

สรรเสริญแล้ว: ทานที่ให้ในท่านผู้เป็นทิกขิไณย-

บุคคลในชีวโลกนี้ เป็นของมีผลมากเหมือนพืชที่

หว่านในนาดีฉะนั้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 335

เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่า

นี้ว่า :-

๑๒. ติณโทสานิ เขตฺตานิ โทสโทสา อย ปชา

ตสฺมา หิ วีตโทเสสุ ทินฺน โหติ มหปฺผล.

ติณโทสานิ เขตฺตานิ โมหโทสา อย ปชา

ตสฺมา หิ วีตโมเหสุ ทินฺน โหติ มหปฺผล.

ติณโทสานิ เขตฺตานิ อิจฺฉาโทสา อย ปชา

ตสฺมา หิ วีคติจฺเฉสุ ทินฺน โหติ มหปฺผล.

" นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีราคะ

เป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจาก

ราคะ จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ,

หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ใน

ท่านผู้ปราศจากโทสะ จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมี

หญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีโมหะเป็นโทษ; ฉะนั้น

แล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจากโมหะ จึงมีผลมาก.

นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้ก็มีความอยาก

เป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่านผู้ปราศจาก

ความอยาก จึงมีผลมาก."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณโทสานิ ความว่า ความจริงหญ้า

ทั้งหลายมีข้าวฟ่างเป็นต้น เมื่องอกขึ้น ย่อมประทุษร้ายนาแห่งบุพพัณณ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 336

ชาติ และอปรัณณชาติ, เพราะเหตุนั้น นาเหล่านั้นจึงไม่งอกงามมาก

ได้; ราคะเมื่อเกิดขึ้นในภายในแม้แห่งสัตว์ทั้งหลาย ย่อมประทุษร้ายสัตว์

ทั้งหลาย, เพราะเหตุนั้น ทานที่ให้ในคนที่ถูกราคะประทุษร้ายเหล่านั้น

จึงเป็นของไม่มีผลมาก; ส่วนทานที่ให้ในพระขีณาสพทั้งหลาย เป็นของมี

ผลมาก; เพราะฉะนั้น สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " นาทั้งหลาย

มีหญ้าเป็นโทษ, หมู่สัตว์นี้มีราคะเป็นโทษ; ฉะนั้นแล ทานที่ให้ในท่าน

ผู้ปราศจากราคะ จึงเป็นของมีผลมาก."

แม้ในคาถาที่เหลือ ก็นัยนี้แหละ.

ในกาลจบเทศนา อังกุรเทพบุตร และอินทกเทพบุตร ก็ดำรงอยู่

ในโสดาปัตติผล, เทศนาได้เป็นประโยชน์แม้แก่เหล่าเทพบุตรผู้ประชุม

กันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องอังกุรเทพบุตร จบ.

ตัณหาวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๒๔ จบ.

๑. บุพพัณณชาติ=พืชที่จะพึงกินอ่อน ได้แก่ข้าวทุกชนิด. ๒. อปรัณณชาติ=พืชที่จะพึงกิน

ทีหลัง หรืออาหาร คือถั่วและผักอื่น ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 337

คาถาธรรมบท

ภิกขุวรรคที่ ๒๕

ว่าด้วยทางเดินของภิกษุ

[๓๕] ๑. ความสำรวมทางตา เป็นคุณยังประโยชน์ให้

สำเร็จ ความสำรวมทางหู เป็นคุณยังประโยชน์ให้

สำเร็จ ความสำรวมทางจมูก เป็นคุณยังประโยชน์

ให้สำเร็จ ความสำรวมทางลิ้น เป็นคุณยังประโยชน์

ให้สำเร็จ ความสำรวมทางกาย เป็นคุณยังประโยชน์

ให้สำเร็จ ความสำรวมทางใจ เป็นคุณยังประโยชน์

ให้สำเร็จ ภิกษุผู้สำรวมแล้วในทวารทั้งปวง ย่อม

พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

๒. บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวบุคคลผู้มีมือสำรวม

แล้ว มีเท้าสำรวมแล้ว มีวาจาสำรวมแล้ว มีตน

สำรวมแล้ว ยินดีในธรรมอันเป็นไปภายใน มีจิต

ตั้งมั่นแล้ว เป็นคนโดดเดี่ยว สันโดษว่า เป็นภิกษุ.

๓. ภิกษุใดสำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญา

ไม่ฟุ้งซ่านแสดงอรรถและธรรม ภาษิตของภิกษุนั้น

ย่อมไพเราะ.

๔. ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม

ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่ ย่อมไม่

เสื่อมจากพระสัทธรรม.

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๒ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 338

๕. ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน ไม่ควรเที่ยว

ปรารถนาลาภของผู้อื่น ภิกษุเมื่อปรารภนาลาภของผู้

อื่น ไม่ประสบสมาธิ ถ้าภิกษุแม้เป็นผู้มีลาภน้อย ก็

ไม่ดูหมิ่นลาภของตน เทพดาทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญ

ภิกษุนั้นแล (ว่า) ผู้มีอาชีพหมดจด ไม่เกียจคร้าน.

๖. ความยึดถือในนามรูปว่าเป็นของของเรา ไม่

มีแก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง อนึ่ง ผู้ใดไม่เศร้าโศก

เพราะนามรูปนั้นไม่มีอยู่ ผู้นั้นแล เราเรียกว่า ภิกษุ.

๗. ภิกษุใด มีปกติอยู่ด้วยเมตตา เสื่อมใสใน

พระพุทธศาสนา ภิกษุนั้นพึงบรรลุบทอันสงบ เป็นที่

เข้าไประงับสังขารอันเป็นสุข ภิกษุ เธอจงวิดเรือนี้

เรือที่เธอวิดแล้วจักถึงเร็ว เธอตัดราคะและโทสะได้

แล้ว แต่นี้จักถึงพระนิพพาน ภิกษุพึงตัดธรรม ๕ อย่าง

พึงละธรรม ๕ อย่าง และพึงยังคุณธรรม ๕ ให้เจริญ

ยิ่ง ๆ ขึ้น ภิกษุผู้ล่วงกิเลสเครื่องข้อง ๕ อย่าง ได้

แล้ว เราเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้ ภิกษุ เธอจงเพ่ง

และอย่าประมาท จิตของเธออย่าหมุนไปในกามคุณ

เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนกินก้อนแห่งโลหะ เธอ

อย่าเป็นผู้อันกรรมแผดเผาอยู่ คร่ำครวญว่า นี้ทุกข์

ฌานย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่มีปัญญา ปัญญาย่อมไม่

มีแก่ผู้ไม่มีฌาน ฌานและปัญญาย่อมมีในบุคคลใด

บุคคลนั้นแล ตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้พระนิพพาน ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 339

ยินดีมิใช่ของมีอยู่แห่งมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไป

แล้วสู่เรือนว่าง ผู้มีจิตสงบแล้ว ผู้เห็นแจ้งธรรมอยู่

โดยชอบ ภิกษุพิจารณาอยู่ ซึ่งความเกิดขึ้นและ

ความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย โดยอาการใด ๆ

เธอย่อมได้ปีติและปราโมทย์โดยอาการนั้น ๆ การ

ได้ปีติและปราโมทย์นั้น เป็นธรรมอันไม่ตายของผู้รู้

แจ้งทั้งหลาย ธรรมนี้คือ ความคุ้มครองอินทรีย์ ๑

ความสันโดษ ๑ ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑

เป็นเบื้องต้น ในธรรมอันไม่ตายนั้น มีอยู่แก่ภิกษุผู้มี

ปัญญาในพระศาสนานี้ เธอจงคบมิตรที่ดีงาม

อาชีวะอันหมดจด ไม่เกียจคร้าน ภิกษุพึงเป็นผู้

ประพฤติในปฏิสันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ

เพราะเหตุนั้น เธอจักเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ กระ-

ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

๘. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงปลดเปลื้องราคะ

และโทสะเสีย เหมือนมะลิเครือปล่อยดอกทั้งหลายที่

เหี่ยวเสียฉะนั้น.

๙. ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบ ผู้

ตั้งมั่นดีแล้ว มีอามิสในโลกอันคายเสียแล้ว เรา

เรียกว่า ผู้สงบระงับ.

๑๐. เธอจงตักเตือนตนด้วยตน จงพิจารณาดู

ตนนั้นด้วยตน ภิกษุ เธอนั้นมีสติ ปกครองตนได้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 340

จักอยู่สบาย ตนแหละเห็นนาถะของตน ตนแหละ

เป็นคติของตน เพราะฉะนั้น เธอจงสงวนตนให้

เหมือนอย่างพ่อค้าม้าสงวนม้าตัวเจริญฉะนั้น.

๑๑. ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์ เลื่อมใส

แล้วในพระพุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบท เป็นที่

เข้าไปสงบสังขาร เป็นสุข.

๑๒. ภิกษุใดแล ยังหนุ่มพากเพียรอยู่ในพระ-

พุทธศาสนา ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง ดุจ

พระจันทร์ที่พ้นแล้วจากหมอก (เมฆ) สว่างอยู่ฉะนั้น.

จบภิกขุวรรคที่ ๒๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 341

๒๕. ภิกขุวรรควรรณนา

๑. เรื่องภิกษุ ๕ รูป [๒๕๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๕ รูป

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " จกฺขุนา สวโร สาธุ" เป็นต้น.

ภิกษุ ๕ รูปรักษาทวารต่างกัน

ดังได้สดับมา บรรดาภิกษุ ๕ รูปนั้น รูปหนึ่ง ๆ ย่อมรักษาทวาร

ทั้ง ๕ มีจักษุทวารเป็นต้น รูปละทวารเท่านั้น.

ต่อมาวันหนึ่ง พวกเธอประชุมกันแล้ว เถียงกันว่า " ผมย่อม

รักษาทวารที่รักษาเขาได้ยาก, ผมย่อมรักษาทวารที่รักษาได้ยาก" แล้ว

กล่าวว่า " พวกเราทูลถามพระศาสดาแล้ว จักรู้เนื้อความนี้" จึงเข้าไป

เฝ้าพระศาสดา กราบทูลถามว่า " พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์รักษาทวาร

มีจักษุทวารเป็นต้นอยู่ ย่อมสำคัญว่า ' ทวารที่ตน ๆ รักษานั่นแล เป็น

สิ่งที่รักษาได้โดยยาก, บรรดาพวกข้าพระองค์ ใครหนอแล ? ย่อมรักษา

ทวารที่รักษาได้โดยยาก."

พระศาสดาทรงแก้ความเข้าใจผิดขอภิกษุ ๕ รูป

พระศาสดาไม่ทรงยังภิกษุแม้รูปหนึ่งให้น้อยใจแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุ

ทั้งหลาย ทวารเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นสิ่งที่รักษาได้โดยยากแท้; อีก

อย่างหนึ่งแล พวกเธอไม่สำรวมแล้วทวารทั้ง ๕ ในบัดนี้เท่านั้น หา

มิได้, แม้ในกาลก่อน พวกเธอก็ไม่สำรวมแล้ว; ก็พวกเธอไม่ประพฤติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 342

ในโอวาทของบัณฑิตทั้งหลาย ถึงความสิ้นไปแห่งชีวิต ก็เพราะความที่

ทวารเหล่านั้น อันตนไม่สำรวมแล้วนั่นแล" อันภิกษุเหล่านั้นทูลวิงวอน

ว่า " เมื่อไร ? พระเจ้าข้า" จึงทรงยังเรื่องตักกสิลชาดกให้พิสดาร๑ แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

" เราทั้งหลาย ไม่ได้ถึงอำนาจแห่งรากษสทั้ง-

หลายเลย เพราะความเป็นผู้ตั้งมั่น ด้วยความเพียร

อันมั่น ในอุบายเครื่องแนะนำของท่านผู้ฉลาด และ

เพราะความเป็นผู้ขลาดต่อภัย, ความสวัสดี จากภัย

ใหญ่นั้น ได้มีแล้วแก่เรา."

ซึ่งพระมหาสัตว์ผู้ได้รับอภิเษกแล้ว ในเมื่อราชตระกูลถึงความสิ้นไปแห่ง

ชีวิต เพราะอำนาจแห่งรากษสทั้งหลาย ประทับนั่งเหนือราชอาสน์ ณ

ภายใต้เศวตฉัตร ทอดพระเนตรดูสิริสมบัติของพระองค์แล้ว ตรัสว่า

" ชื่อว่าความเพียรนี่ สัตว์ทั้งหลายควรทำแท้ " แล้วทรงเปล่งด้วยอำนาจ

แห่งความเบิกบาน ทรงประชุมชาดกว่า " แม้กาลนั้น เธอทั้งหลายเป็น

ชน ๕ คน มีอาวุธในมือ แวดล้อมพระมหาสัตว์ซึ่งเสด็จออกไปเพื่อ

ประโยชน์จะยึดเอาราชสมบัติในเมืองตักกสิลา เดินทางไปไม่สำรวมแล้ว

ในอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ที่รากษสทั้งหลายนำเข้ามา ด้วยอำนาจแห่ง

ทวารมีจักษุทวารเป็นต้น ในระหว่างทาง ไม่ประพฤติในโอวาทของ

บัณฑิต แลดูอยู่ ถูกรากษสทั้งหลายเคี้ยวกิน ถึงความสิ้นไปแห่งชีวิต,

๑. ขุ. ชา. ๒๗/ข้อ ๔๓. ปัญจภีรุกชาดก. อรรถกถา. ๒/๓๕๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 343

ส่วนพระราชาผู้ทรงสำรวมในอารมณ์เหล่านั้น ไม่เอื้อเฟื้อถึงนางยักษิณี

ผู้มีเพศดุจเทพยดา แม้ติดตามไปอยู่ข้างหลัง ๆ เสด็จถึงเมืองตักกสิลาโดย

สวัสดิภาพ แล้วถึงความเป็นพระราชา คือเราแล" แล้วตรัสว่า " ธรรมดา

ภิกษุ ควรสำรวมทวารแม้ทั้งหมด, เพราะว่า ภิกษุสำรวมทวารเหล่านั้น

นั่นแล ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม

ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านั้นว่า :-

๑. จกฺขุนา สวโร สาธุ สาธุ โสเตน สวโร

ฆาเนน สวโร สาธุ สาธุ ชิวฺหาย สวโร

กาเยน สวโร สาธุ สาธุ วาจาย สวโร

มนสา สวโร สาธุ สาธุ สพฺพตฺถ สวโร

สพฺพตฺถ สวุโต ภิกฺขุ สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.

" ความสำรวมทางตา เป็นคุณยังประโยชน์ให้

สำเร็จ, ความสำรวมทางหู เป็นคุณยังประโยชน์ให้

สำเร็จ, ความสำรวมทางจมูก เป็นคุณยังประโยชน์

ให้สำเร็จ, ความสำรวมทางลิ้น เป็นคุณยังประโยชน์

ให้สำเร็จ, ความสำรวมทางกาย เป็นคุณยังประโยชน์

ให้สำเร็จ, ความสำรวมทางวาจา เป็นคุณยังประ-

โยชน์ให้สำเร็จ, ความสำรวมทางใจ เป็นคุณยัง

ประโยชน์ให้สำเร็จ, ความสำรวมในทวารทั้งปวง

เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ, ภิกษุผู้สำรวมแล้วใน

ทวารทั้งปวง ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 344

แก้อรรถ

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า จกฺขุนา เป็นต้น ในพระคาถานั้น ดัง-

ต่อไปนี้ :-

ก็ในกาลใด รูปารมณ์มาสู่คลองในจักษุทวารของภิกษุ, ในกาลนั้น

เมื่อภิกษุไม่ยินดีในอารมณ์ที่น่าปรารถนา ไม่ยินร้ายในอารมณ์ที่ไม่น่า

ปรารถนา ไม่ยังความหลงให้เกิดขึ้นในเพราะความเพ่งเล็งอันไม่สม่ำเสมอ,

ความสำรวม คือความกั้น ได้แก่ความปิด หมายถึงความคุ้มครอง ชื่อว่า

เป็นกิริยาอันภิกษุทำแล้วในทวารนั้น; ความสำรวมทางจักษุนั้นเห็นปาน

นั้น ของภิกษุนั้น เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ. นัยแม้ในทวารอื่นมี

โสตทวารเป็นต้น ก็เหมือนกับนัยนี้.

ก็ความสำรวมหรือความไม่สำรวม ย่อมไม่เกิดในทวารทั้งหลายมี

จักษุทวารเป็นต้นเลย, แต่ความสำรวมหรือความไม่สำรวมนี้ ย่อมได้ใน

วิถีแห่งชวนจิตข้างหน้า; จริงอยู่ ในคราวนั้น ความไม่สำรวมเมื่อเกิด

ขึ้นเป็นอกุศลธรรม ๕ อย่างนี้ คือ " ความไม่เชื่อ ความไม่อดทน ความ

เกียจคร้าน ความหลงลืมสติ ความไม่รู้ " ย่อมได้ในอกุศลวิถี. ความ

สำรวมเมื่อเกิดขึ้นเป็นกุศลธรรม ๕ อย่างนี้ คือ " ความเชื่อ ความอดทน

ความเพียร ความระลึกได้ ความรู้" ย่อมได้ในกุศลวิถี.

ก็ปสาทกายก็ดี โจปนกายก็ดี ย่อมได้ในสองบทนี้ว่า " กาเยน

สวโร " ก็คำว่าปสาทกายและโจปนกาย แม้ทั้งสองนั่น คือกายทวาร

นั่นเอง. ในกายทวารทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความสำรวมและ

ความไม่สำรวมไว้ในปสาททวารเทียว. ตรัสปาณาติบาต อทินนาทาน และ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 345

มิจฉาจารซึ่งมีปสาททวารนั้นเป็นที่ตั้งไว้แม้ในโจปนทวาร. ทวารนั้น ชื่อ

ว่าอันภิกษุไม่สำรวมแล้ว เพราะอกุศลธรรมเหล่านั้น ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ใน

อกุศลวิถี พร้อมด้วยปสาททวารและโจปนทวารเหล่านั้น, ทวารนั้น ชื่อ

ว่าเป็นอันภิกษุสำรวมแล้ว. เพราะวิรัติทั้งหลาย มีเจตราเป็นเครื่องเว้น

จากปาณาติบาตเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นอยู่ในกุศลวิถี.

โจปนวาจา ตรัสไว้แม้ในสองบทนี้ว่า " สาธุ วาจาย " ทวารนั้น

ชื่อว่าอันภิกษุไม่สำรวมแล้ว เพราะวจีทุจริตทั้งหลายมีมุสาวาทเป็นต้น ซึ่ง

เกิดขึ้นอยู่ พร้อมด้วยโจปนวาจานั้น, ชื่อว่า อันภิกษุสำรวมแล้ว เพราะ

วิรัติทั้งหลาย มีเจตนาเป็นเครื่องเว้นจากมุสาวาทเป็นต้น.

มโนทุจริตทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น กับด้วยใจอื่นจากใจที่แล่นไป

ย่อมไม่มีแม้ในสองบทนี้ว่า "มนสา สวโร." แต่ทวารนั้น ชื่อว่าอัน

ภิกษุไม่สำรวมแล้ว เพราะมโนทุจริตทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้นซึ่งเกิดขึ้น

อยู่ในขณะแห่งชวนจิตในมโนทวาร, ชื่อว่าอันภิกษุสำรวมแล้ว เพราะ

มโนสุจริตทั้งหลายมีอนภิชฌาเป็นต้น (ซึ่งเกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิตใน

มโนทวาร).

สองบทว่า สาธุ สพฺพตฺถ ความว่า ความสำรวมแม้ในทวาร

ทั้งปวงมีจักษุทวารเป็นต้นเหล่านั้น เป็นคุณยังประโยชน์ให้สำเร็จ. ก็

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงทวารที่ภิกษุสำรวม ๘ อย่าง และทวารที่ภิกษุ

ไม่สำรวม ๘ อย่าง ด้วยพระพุทธพจน์เพียงเท่านี้. ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในทวาร

ที่ไม่สำรวม ๘ อย่างนั้น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ซึ่งมีวัฏฏะเป็นมูลทั้งสิ้น, ส่วน

ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในทวารที่สำรวม ย่อมพ้นจากทุกข์ซึ่งมีวัฏฏะเป็นมูลแม้ทั้งสิ้น;

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 346

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " สพฺพตฺถ สวุโต ภิกฺขุ

สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ."

ในกาลจบเทศนา ภิกษุ ๕ รูปตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล, เทศนาได้มี

ประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุ ๕ รูป จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 347

๒. เรืองภิกษุฆ่าหงส์ [๒๕๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ฆ่าหงส์

รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หตฺถสญฺโต " เป็นต้น.

สองสหายออกบวช

ดังได้สดับมา สหายสองคนชาวกรุงสาวัตถี ได้บรรพชาอุปสมบท

ใน (สำนัก) ภิกษุทั้งหลายแล้ว โดยมากเที่ยวไปด้วยกัน.

ในวันหนึ่ง ภิกษุสองรูปนั้นไปสู่แม่น้ำอจิรวดี สรงน้ำแล้วผิงแดด

อยู่ ได้ยืนพูดกันถึงสาราณียกถา. ในขณะนั้น หงส์สองตัวบินมาโดย

อากาศ.

ภิกษุรูปหนึ่งดีดตาหงส์ด้วยก้อนกรวด

ขณะนั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งหยิบก้อนกรวดแล้วพูดว่า " ผมจักดีด

ตาของหงส์ตัวหนึ่ง," ภิกษุนอกนี้กล่าวว่า " ท่านจักไม่สามารถ."

ภิกษุรูปที่หนึ่ง. ตาข้างนี้จงยกไว้, ผมจักดีดตาข้างโน้น.

ภิกษุรูปที่สอง. แม้ตาข้างนี้ ท่านก็จักไม่สามารถ (ดีด) เหมือนกัน.

ภิกษุรูปที่หนึ่ง. พูดว่า " ถ้าอย่างนั้น ท่านจงคอยดู" แล้วหยิบ

กรวดก้อนที่สอง ดีดไปทางข้างหลังของหงส์. หงส์ได้ยินเสียงก้อนกรวด

จึงเหลียวดู. ขณะนั้น เธอหยิบก้อนกรวดกลมอีกก้อนหนึ่ง แล้วดีดหงส์

ตัวนั้นที่ตาข้างโน้น ให้ทะลุออกตาข้างนี้. หงส์ร้อง ม้วนตกลงแทบเท้า

ของภิกษุเหล่านั้นนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 348

ภิกษุทั้งหลายติเตียนแล้วทูลแด่พระศาสดา

ภิกษุทั้งหลาย ยืนอยู่ในที่นั้น ๆ เห็นแล้ว จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุ

เธอบวชในพระพุทธศาสนา ทำปาณาติบาต (นับว่า) ทำกรรมไม่สมควร"

แล้วพาภิกษุทั้งสองรูปนั้นไปเฝ้าพระตถาคต.

พระศาสดาประทานโอวาท

พระศาสดาตรัสถามว่า " ภิกษุ ได้ยินว่า เธอทำปาณาติบาตจริง

หรือ ?" เมื่อเธอกราบทูลว่า " จริง พระเจ้าข้า " จึงตรัสว่า " ภิกษุ เธอ

บวชในพระศาสนาที่เป็นเหตุนำสัตว์ออกจากทุกข์ เห็นปานนี้ ได้ทำแล้ว

อย่างนี้ เพราะเหตุอะไร ? บัณฑิตในปางก่อน เมื่อพระพุทธเจ้ายิ่งไม่

ทรงอุบัติ อยู่ในท่ามกลางเรือน ทำความรังเกียจในฐานะแม้มีประมาณ

น้อย, ส่วนเธอบวชในพระพุทธศาสนาเห็นปานนี้ หาได้ทำแม้มาตรว่า

ความรังเกียจไม่" อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทาน

มา (ตรัส) ว่า :-

ศีล ๕ ชื่อกุรุธรรม

" ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าธนญชัยเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนคร

ชื่ออินทปัตตะ ในแคว้นกุรุ, พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของ

พระอัครมเหสีของพระราชานั้น ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้วโดยลำดับ

ทรงเรียนศิลปะทั้งหลายในเมืองตักกสิลาแล้ว อันพระบิดาทรงให้ดำรงใน

ตำแหน่งอุปราช ในกาลต่อมา โดยกาลเป็นที่ล่วงไปแห่งพระบิดา ได้รับ

ราชสมบัติแล้ว ไม่ทรงละเมิดราชธรรมทั้ง ๑๐ ประการ ทรงประพฤติ

๑. ราชธรรม ๑๐ คือ:- ทาน การให้ ๑ สีล ศีล ๑ ปริจฺจาค การบริจาค ๑ อาชฺชว ความ

ซื่อตรง ๑ มทฺทว ความอ่อนโยน ๑ ตป ความเพียร ๑ อกฺโกธ ความไม่โกรธ ๑ อวิหึสา

ความไม่เบียดเบียน ๑ ขนฺติ ความอดทน ๑ อวิโรธน ความไม่พิโรธ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 349

อยู่ในกุรุธรรมแล้ว. ศีล ๕ ชื่อว่ากุรุธรรม. พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีล ๕

นั้น ทำให้บริสุทธิ์. พระชนนี พระอัครมเหสี พระอนุชา อุปราช

พราหมณ์ปุโรหิต อำมาตย์ผู้ถือเชือก นายสารถี เศรษฐี มหาอำมาตย์

ผู้เป็นขุนคลัง คนรักษาประตู นางวรรณทาสี ผู้เป็นหญิงงามเมือง

ของพระโพธิสัตว์นั้น ย่อมรักษาศีล ๕ เหมือนพระโพธิสัตว์ ด้วยประการ

ฉะนี้.

แคว้นกาลิงคะเกิดฝนแล้ง

เมื่อชนทั้ง ๑๑ คนนี้ รักษากุรุธรรมอยู่อย่างนั้น, เมื่อพระราชา

ทรงพระนามว่ากาลิงคะ เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครทันตบุรี ในแคว้น

กาลิงคะ ฝนมิได้ตกในแคว้นของพระองค์แล้ว . ก็ช้างมงคล ชื่อว่าอัญ-

ชนาสภะของพระมหาสัตว์ เป็นสัตว์มีบุญมาก. ชาวแคว้นพากันกราบทูล

ด้วยสำคัญว่า " เมื่อนำช้างนั้นมาแล้ว ฝนจักตก."

พระราชาทรงส่งพวกพราหมณ์ไป เพื่อต้องการนำช้างนั้นมา.

พราหมณ์เหล่านั้นไปแล้ว ทูลขอช้างกะพระมหาสัตว์แล้ว. เพื่อจะทรง

แสดงอาการขอนี้ของพราหมณ์เหล่านั้น พระศาสดาจึงตรัสชาดกในติก-

นิบาตนี้เป็นต้นว่า :-

" ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชน ข้าพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลาย ทราบศรัทธาและศีลของพระองค์แล้ว

ขอพระราชทานแลกทองด้วยช้าง ซึ่งมีสีดุจดอกอัญ-

ชัน ไปในแคว้นกาลิงคะ."

๑. พนักงานรางวัด. ๒. โทณมาปโก ผู้ตวงวัตถุด้วยทะนาน. โทณะหนึ่งเท่ากับ ๔ อาฬหก.

๓. หญิงคนใช้รูปงาม ๔. ขุ. ชา. ๒๗/ข้อ ๔๒๗. กุรุธรรมชาดก. อรรถกถา. ๔/ ๑๑๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 350

ก็เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายนำช้างมาแล้ว, เมื่อฝนไม่ตก, ด้วยทรง

สำคัญว่า "พระราชานั้นทรงรักษากุรุธรรม; เพราะฉะนั้น ฝนจึงตกใน

แคว้นของพระองค์" พระเจ้ากาลิงคะ จึงทรงส่งพวกพราหมณ์และอำมาตย์

ไปอีก ด้วยพระดำรัสว่า " พวกท่านจงจารึกกุรุธรรมที่พระราชานั้นรักษา

ลงในแผ่นทองคำแล้วนำมา." เมื่อพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นไปทูลขอ

อยู่, ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด นับแต่พระราชาเป็นต้น กระทำอาการสักว่า

ความรังเกียจบางอย่างในศีลทั้งหลายของตน ๆ แล้ว ห้ามว่า " ศีลของ

พวกเราไม่บริสุทธิ์ " ถูกพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นอ้อนวอนหนักเข้า

ว่า " ความทำลายแห่งศีล หาได้มีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่" จึงได้บอกศีล

ทั้งหลายของตน ๆ แล้ว.

พระเจ้ากาลิงคะทรงรักษากุรุธรรมฝนจึงตก

พระเจ้ากาลิงคะ ได้ทอดพระเนตรกุรุธรรมที่พวกพราหมณ์และ

อำมาตย์จารึกลงในแผ่นทองคำนำมา ทรงสมาทานบำเพ็ญให้บริบูรณ์ด้วย

ดี. ฝนจึงตกในแคว้นของพระองค์, แว่นแคว้นได้เกษม มีภิกษาหาได้

โดยง่ายแล้ว.

พระศาสดาครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า:-

" หญิงแพศยาในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณา,

คนรักษาประตู ได้เป็นภิกษุชื่อว่าปุณณะ, อำมาตย์ผู้

ถือเชือก ได้เป็นกัจจานภิกษุ, และอำมาตย์ผู้เป็น

ขุนคลัง ได้เป็นโกลิตะ, เศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็น

สารีบุตร, นายสารถี ได้เป็นอนุรุทธะ, พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 351

ได้เป็นกัสสปเถระ, อุปราช ได้เป็นนันทบัณฑิต,

พระมเหสี ได้เป็นมารดาของราหุล, พระชนนี ได้

เป็นพระนางมายาเทวี, พระเจ้ากุรุ ได้เป็นพระโพธิ-

สัตว์; พวกเธอจงจำชาดกไว้ด้วยอาการอย่างนี้"

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ บัณฑิตในครั้งก่อน เมื่อความรำคาญ

แม้มีประมาณน้อยเกิดขึ้นแล้ว, ทำศีลเภทของตนให้เป็นเครื่องรังเกียจแล้ว

อย่างนี้, ส่วนเธอ บวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เช่นกับด้วยเรา ยัง

ทำปาณาติบาตอยู่ (นับว่า) ได้ทำกรรมอันหนักยิ่งนัก; ธรรมดาภิกษุ ควร

เป็นผู้สำรวมด้วยมือ เท้า และวาจา" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒. หตฺถสญฺโต ปาทสญฺโต

วาจาย สญฺโต สญฺตตฺตโม

อชฺฌตฺตรโต สมาหิโต

เอโก สนฺตุสิโต ตมาหุ ภิกขุ.

" บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวบุคคลผู้มีมือสำรวม

แล้ว มีเท้าสำรวมแล้ว มีวาจาสำรวมแล้ว มีตน

สำรวมแล้ว ยินดีในธรรมอันเป็นไปภายใน มีจิต

ตั้งมั่นแล้ว เป็นคนโดดเดี่ยว สันโดษว่า " เป็น

ภิกษุ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หตฺถสญฺโต ความว่า ชื่อว่าผู้มีมือ

อันสำรวมแล้ว เพราะความไม่มีการคะนองมือเป็นต้น* หรือการประหาร

สัตว์เหล่าอื่นเป็นต้นด้วยมือ.

๑. การยังมือให้เล่นเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 352

นัยแม้ในบทที่สอง ก็เหมือนนัยนี้.

ก็ชื่อว่าผู้มีวาจาอันสำรวมแล้ว เพราะไม่ทำวจีทุจริต มีพูดเท็จทาง

วาจาเป็นต้น.

บทว่า สญฺตตฺตโม คือผู้มีอัตภาพอันสำรวมแล้ว, อธิบายว่า ผู้

ไม่ทำอาการแปลก มีโคลงกาย สั่นศีรษะ และยักคิ้ว เป็นต้น.

บทว่า อชฺฌตฺตรโต ความว่า ผู้ยินดีในการเจริญกัมมัฏฐาน

กล่าวคือโคจรธรรมอันเป็นไป ณ ภายใน.

บทว่า สมาหิโต คือ ผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีแล้ว.

สองบทว่า เอโก สนฺตุสิโต ความว่า เป็นผู้มีปกติอยู่ผู้เดียวยินดี

แล้วด้วยดี คือมีใจยินดีแล้วด้วยอธิคมแห่งตน จำเดิมแต่การประพฤติใน

วิปัสสนา. จริงอยู่ พระเสขบุคคลแม้ทุกจำพวก ตั้งต้นแต่กัลยาณปุถุชน

ย่อมยินดีด้วยอธิคมแห่งตน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้สันโดษ, ส่วนพระ-

อรหันต์ เป็นผู้ยินดีแล้วโดยส่วนเดียวแล; พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมาย

เอาพระอรหันต์นั้น จึงตรัสคำนั่นว่า " เอโก สนฺตุสิโต. "

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุฆ่าหงส์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 353

๓. เรื่องภิกษุชื่อโกกาลิกะ [๒๕๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุชื่อ

โกกาลิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย มุขสญฺโต " เป็นต้น.

พระโกกาลิกะเกิดในนรกเพราะด่าพระอัครสาวก

เรื่องมาแล้วในพระสูตรว่า๑ " ครั้งนั้นแล ภิกษุชื่อโกกาลิกะ ได้

เข้าไปเฝ้าโดยสถานที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ " เป็นต้น. แม้เนื้อ

ความแห่งเรื่องนั้น บัณฑิตพึงทราบโดยนัยที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้

แล้วในอรรถกถานั่นแล.ท

ก็เมื่อพระโกกาลิกะเกิดในปทุมนรก, ภิกษุทั้งหลายสนทนากันใน

โรงธรรมว่า " โอ ! ภิกษุชื่อโกกาลิกะ ถึงความพินาศแล้ว เพราะอาศัย

ปากของตน, ก็เมื่อเธอด่าพระอัครสาวกทั้งสองอยู่นั้นแล, แผ่นดินได้ให้

ช่องแล้ว."

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่ง

ประชุมกันด้วยกถาอะไร ในกาลบัดนี้ ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

" ด้วยกถาชื่อนี้," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อโกกาลิกะ ฉิบหาย

เพราะอาศัยปากของตนในบัดนี้เท่านั้น หามิได้, แม้ในกาลก่อน โกกาลิกะ

ก็ฉิบหายแล้วเพราะอาศัยปากของตนเหมือนกัน" อันภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่

จะสดับเนื้อความนั้นทูลอ้อนวอนแล้ว เพื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น

ได้ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า:-

๑. ส. ส. ๑๕/๒๑๙. ขุ. สุ. ๒๕/๔๕๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 354

หงส์สองตัวพาเต่าผู้สหายไปถ้ำของตน

ในอดีตกาล เต่าอาศัยอยู่ในสระแห่งหนึ่ง ในหิมวันตประเทศ.

ลูกหงส์สองตัวเที่ยวไปเพื่อหากินอยู่ ทำความคุ้นเคยกับเต่านั้น เป็นผู้

สนิทสนมอย่างแน่นแฟ้น ในวันหนึ่ง จึงถามเต่าว่า " เพื่อนเอ๋ย ที่อยู่

ของพวกเราในถ้ำทอง บนพื้นแห่งภูเขาชื่อจิตตกูฏ ในหิมวันตประเทศ

เป็นประเทศที่น่ารื่นรมย์, ท่านจักไปกับพวกเราไหม ?"

เต่า. ฉันจักไปได้อย่างไร ?

หงส์. พวกเราจักนำท่านไป, ถ้าว่าท่านสามารถเพื่อจะรักษาปาก

ไว้ได้.

เต่า. เพื่อนเอ๋ย ฉันจักอาจ, ขอท่านทั้งหลายจงพาฉัน ไปเถิด.

หงส์ทั้งสองพูดว่า " ดีละ" แล้วให้เต่าคาบท่อนไม้ท่อนหนึ่ง ส่วน

ตนคาบปลายทั้งสองแห่งท่อนไม้นั้น แล้วบินไปสู่อากาศ.

เต่าหลุดจากท่อนไม้ที่คาบตกลงตาย

พวกเด็กชาวบ้าน เห็นเต่าถูกหงส์นำไปอยู่อย่างนั้น จึงพูดกันว่า

" หงส์สองตัวนำเต่าไปอยู่ด้วยท่อนไม้." เต่าใคร่จะพูดว่า " ผิว่าสหาย

ทั้งสองนำเราไปอยู่, ประโยชน์อะไรของพวกเอง ในเพราะข้อนี้ อ้าย

พวกเด็กเปรตชั่วร้าย" จึงปล่อยท่อนไม้จากที่ตนคาบไว้ในเวลาถึงส่วน

เบื้องบนพระราชนิเวศน์ ในพระนครพาราณสี เพราะความที่หงส์ทั้งสอง

เป็นสัตว์มีกำลังเร็ว จึงตกลงไปในพระลานหลวงแตกเป็นสองภาค.

การพูดมากไม่ถูกเวลาให้โทษ

พระศาสดาครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ทรงยังพหุภาณิชาดก

ในทุกนิบาตนี้ให้พิสดารว่า :-

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๒๗๙. กัจฉปชาดก. อรรถกถา. ๓/๒๓๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 355

" เต่าเปล่งวาจา ได้ฆ่าตนแล้วหนอ, เมื่อท่อน

ไม้ที่ตนคาบไว้ดีแล้ว, ก็ฆ่า (ตน) ด้วยวาจาอันเป็น

ของ ๆ ตน. ข้าแต่พระองค์ผู้แกล้วกล้าประเสริฐใน

หมู่คน บุคคลเห็นเหตุแม้นั่นแล้ว ควรเปล่งวาจาที่ดี

ไม่ควรเปล่งวาจาที่ล่วงเลยเวลา. พระองค์ย่อม

ทอดพระเนตรเห็นเต่าตัวถึงความฉิบหายเพราะพูดมาก

(มิใช่หรือ)"

แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุพึงเป็นผู้สำรวมปากประพฤติ

สม่ำเสมอ ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓.โย มุขสญฺโต ภิกฺขุ มนฺตภาณี อนุทฺธโต

อตฺถ ธมฺมญฺจ ทีเปติ มธุร ตสฺส ภาสิต.

" ภิกษุใด สำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญา

ไม่ฟุ้งซ่าน แสดงอรรถและธรรม, ภาษิตของภิกษุ

นั้น ย่อมไพเราะ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุขสญฺโต ความว่า ชื่อว่าผู้สำรวม

แล้วด้วยปาก เพราะไม่พูดคำเป็นต้นว่า " เจ้าเป็นคนชาติชั่ว เจ้าเป็นคน

ทุศีล" แม้กะคนทั้งหลายมีทาสและคนจัณฑาลเป็นต้น.

บทว่า มนฺตภาณ ความว่า ปัญญา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ว่า มันตา, ผู้มีปกติพูดด้วยปัญญานั้น.

บทว่า อนุทฺธโต ได้แก่ ผู้มีจิตสงบแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 356

บาทพระคาถาว่า อตฺถ ธมฺมญฺจ ทีเปติ ความว่า ย่อมแสดง

อรรถแห่งภาษิตและธรรมคือเทศนา.

บทว่า มธุร ความว่า ภาษิตของภิกษุเห็นปานนั้น ชื่อว่าไพเราะ.

ส่วนภิกษุใด ให้อรรถอย่างเดียวถึงพร้อม, ไม่ให้พระบาลีถึงพร้อม;

ให้พระบาลีอย่างเดียวถึงพร้อม, ไม่ให้อรรถถึงพร้อม; ก็หรือไม่ให้ทั้ง

สองอย่างถึงพร้อม, ภาษิตของภิกษุนั้น หาชื่อว่าเป็นภาษิตที่ไพเราะไม่.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุชื่อโกกาลิกะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 357

๔. เรื่องพระธรรมารามเถระ [๒๕๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระธรรมา-

รามเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ธมฺมารโม ธมฺมรโต" เป็นต้น.

พระภิกษุปรึกษาเรื่องปรินพพานของพระศาสดา

ดังได้สดับมา เมื่อพระศาสดาตรัสบอกว่า " การปรินิพพานของ

เราจักมีโดยล่วงไป ๔ เดือน ตั้งแต่เดือนนี้ , " ภิกษุหลายพันรูปเที่ยวแวด

ล้อมพระศาสดาแล้ว.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชน ไม่อาจเพื่อจะอดกลั้น

น้ำตาไว้ได้. ธรรมสังเวชเกิดแก่ภิกษุผู้ขีณาสพแล้ว . ภิกษุทั้งปวงปรึกษา

กันว่า " เราจักทำอย่างไรหนอแล ?" ดังนี้แล้ว ก็เที่ยวไปโดยรวมกัน

เป็นพวกๆ.

พระธรรมารามะไม่เกี่ยวข้องด้วย

ส่วนภิกษุรูปหนึ่ง ชื่อว่าธรรมารามะ ไม่เข้าไปสู่สำนักของภิกษุ

ทั้งหลาย, อันภิกษุทั้งหลายพูดว่า "อย่างไร ? ผู้มีอายุ ก็ไม่ให้แม้คำตอบ

คิดว่า " ข่าวว่า พระศาสดาจักปรินิพพานโดยล่วงไป เตือน ๔ เดือน, ส่วนเรา

เป็นผู้มีราคะยังไม่ไปปราศแล้ว เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่นี้แหละ

จักพยายามบรรลุพระอรหัต" ดังนี้แล้ว ก็เป็นผู้ ๆ เดียวเท่านั้นอยู่ นึก

คิด ระลึก ถึงธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

(เรื่องนั้น) แต่พระตถาคตว่า "พระเจ้าข้า พระธรรมรามะมิได้มีแม้สักว่า

ความเยื่อใยในพระองค์ ไม่ทำแม้สักว่าการปรึกษากับพวกข้าพระองค์ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 358

" ข่าวว่า พระศาสดาจักปรินิพพาน, พวกเราจักทำ อย่างไรกันเล่า ?"

พระศาสนารับสั่งให้หาตัว

พระศาสดารับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ตรัสถามว่า " ข่าวว่า เธอทำ

อย่างนั้น จริงหรือ ?"

พระธรรมารามะ. จริง พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เพราะเหตุอะไร ?.

พระธรรมารามะ. ข่าวว่า พระองค์จักปรินิพพานโดยกาลล่วงไป

เดือน, ส่วนข้าพระองค์ เป็นผู้มีราคะไม่ไปปราศ, เมื่อพระองค์ยังทรง

พระชนม์อยู่นี้แหละ, ข้าพระองค์จักพยายามบรรลุพระอรหัต เพราะเหตุ

นั้น ข้าพระองค์จึงนึก คิด ระลึก ถึงธรรมที่พระองค์ทรงแสดงแล้วอยู่.

พระศาสดาทรงอนุโมทนาด้วย

พระศาสดาประทานสาธุการแก่เธอว่า " ดีละ ๆ" แล้วตรัสว่า

" ภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้มีความรักใคร่ในเราแม้รูปอื่น พึงเป็นเช่นภิกษุ

ธรรมารามะนี้แหละ, แท้จริง ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทำการบูชาด้วยระเบียบ

และของหอมเป็นต้น หาชื่อว่าทำการบูชาแก่เราไม่, ผู้ปฏิบัติธรรมสมควร

แก่ธรรมเท่านั้น จึงชื่อว่าบูชาเรา," ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. ธมฺมาราโม ธมฺมรใต ธมฺม อนุวิจินฺตย

ธมฺม อนุสฺสร ภิกฺขุ สทฺธมฺมา น ปริหายติ.

" ภิกษุมีธรรมเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในธรรม

ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม ระลึกถึงธรรมอยู่ ย่อมไม่เสื่อม

จากพระสัทธรรม."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 359

แก้อรรถ

พึงทราบวิเคราะห์ในบทเหล่านั้นว่า :- ธรรมคือสมถะและวิปัสสนา

เป็นที่มายินดีของภิกษุนั้น เพราะอรรถว่าเป็นที่อยู่ เพราะเหตุนั้น ชื่อว่า

ผู้มีธรรมเป็นที่มายินดี, ผู้ยินดีแล้วในธรรมนั้นนั่นแล เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่าผู้ยินดีแล้วในธรรม, ชื่อว่าผู้ใคร่ครวญอยู่ซึ่งธรรม เพราะนึกถึง

ธรรมนั้นนั่นแหละบ่อย ๆ, อธิบายว่า ผู้นึกถึงธรรมนั้นอยู่.

บทว่า อนุสฺสร ได้แก่ ระลึกถึงธรรมนั้นนั่นแหละอยู่.

บทว่า สทฺธมฺมา ความว่า ภิกษุเห็นปานนั้น ย่อมไม่เสื่อมจาก

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประเภท และจากโลกุตรธรรม ๙.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นตั้งอยู่แล้วในพระอรหัต, เทศนาได้มี

ประโยชน์แม้แก่ผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระธรรมารามเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 360

๕. เรื่องภิกษุคบภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง [๒๕๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุผู้คบ

ภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สลาภ

นาติมญฺเยฺย " เป็นต้น.

ภิกษุคบภิกษุพวกพระเทวทัตเพราะเห็นแก่ลาภ

ดังได้สดับมา ภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายพระเทวทัตรูปหนึ่ง ได้เป็นสหาย

ของภิกษุรูปนั้น. ภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายของพระเทวทัตนั้น เห็นเธอเที่ยวไป

เพื่อบิณฑบาตกับภิกษุทั้งหลาย ทำภัตกิจแล้ว (กลับ) มา จึงถามว่า " ท่าน

ไปไหน ?."

ภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายพระศาสดา. ผมไปสู่ที่ชื่อโน้นเพื่อเที่ยวบิณฑบาต.

ภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายพระเทวทัต. ท่านได้บิณฑบาตแล้วหรือ ?

ภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายพระศาสดา. เออ เราได้แล้ว.

ภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายพระเทวทัต. ในที่นี้แหละ พวกผมมีลาภและ

สักการะเป็นอันมาก, ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แหละสัก ๒-๓ วันเถิด.

เธออยู่ในที่นั้น ๒-๓ วันตามคำของภิกษุนั้นแล้ว ก็ได้ไปสู่ที่อยู่

ของตนตามเดิม.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระตถาคตว่า " พระ-

เจ้าข้า ภิกษุนี้บริโภคลาภและสักการะที่เกิดขึ้นแก่พระเทวทัต, เธอเป็น

ฝักฝ่ายของพระเทวทัต."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 361

พระศาสดารับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า " ได้ยินว่า

เธอได้ทำอย่างนั้น จริงหรือ ?."

ภิกษุ. จริง พระเจ้าข้า, ข้าพระองค์อาศัยภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งอยู่ใน

ที่นั้น ๒-๓ วัน; ก็แต่ว่า ข้าพระองค์มิได้ชอบใจลัทธิของพระเทวทัต.

ภิกษุควรยินดีในลาภของตนเท่านั้น

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะเธอว่า " เธอไม่ชอบใจลัทธิ

(ของพระเทวทัต ) ก็จริง, ถึงอย่างนั้น เธอเที่ยวไปประหนึ่งว่าชอบใจ

ลัทธิของชนผู้ที่เธอพบเห็นแล้วทีเดียว; เธอทำอย่างนั้นในบัดนี้เท่านั้นก็หา

มิได้, แม้ในกาลก่อน เธอก็เป็นผู้เห็นปานนั้นเหมือนกัน," อันภิกษุ

ทั้งหลายทูลวิงวอนว่า " พระเจ้าข้า ในบัดนี้ พวกข้าพระองค์เห็นภิกษุนี้

ด้วยตนเองก่อน, แต่ในกาลก่อน ภิกษุนี่พอใจลัทธิของใครเที่ยวไป ?

ขอพระองค์โปรดตรัสบอกแก่พวกข้าพระองค์เถิด," จึงทรงนำอดีตนิทาน

มา ทรงยังมหิลามุขชาดก นี้ให้พิสดารว่า :-

" ช้างชื่อมหิลามุข ฟังคำของพวกโจรก่อนแล้ว

เที่ยวฟาดบุคคลผู้ไปตามอยู่, แต่พอฟังคำของสมณะ

ผู้สำรวมดีแล้ว ก็เป็นช้างประเสริฐ ตั้งอยู่แล้วในคุณ

ทั้งปวง."

แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุเป็นผู้ยินดีด้วยลาภของตน

เท่านั้น, การปรารถนาลาภของผู้อื่น ไม่สมควร, เพราะบรรดาฌาน

วิปัสสนา มรรค และผลทั้งหลาย แม้ธรรมสักอย่างหนึ่งย่อมไม่เกิดขึ้น

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๙. อรรถกถา. ๑/ ๒๗๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 362

แก่ภิกษุผู้ปรารถนาลาภของผู้อื่น, แต่คุณชาติทั้งหลายมีฌานเป็นต้น ย่อม

เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ยินดีด้วยลาภของตนเท่านั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง

ธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๕. สลาภ นาติมญฺเยฺย นาญฺเส ปิหยญฺจเร

อญฺเส ปิหย ภิกฺขุ สมาธึ นาธิคจฺฉติ.

อปฺปลาโภปิ เจ ภิกฺขุ สลาภ นาติมญฺติ

ต เว เทวา ปสสนฺติ สุทฺธาชีวึ อตนฺทิต.

" ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน, ไม่ควรเที่ยว

ปรารถนาลาภของผู้อื่น, ภิกษุเมื่อปรารถนาลาภของ

ผู้อื่น ย่อมไม่ประสบสมาธิ; ถ้าภิกษุแม้เป็นผู้มีลาภ

น้อย ก็ไม่ดูหมิ่นลาภของตน, เทพยดาทั้งหลาย ย่อม

สรรเสริญภิกษุนั้นแล (ว่า) ผู้มีอาชีพหมดจด ไม่

เกียจคร้าน."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สลาภ ได้แก่ ลาภที่เกิดขึ้นแก่ตน.

จริงอยู่ ภิกษุผู้เว้นการเที่ยวไปตามตามลำดับตรอก เลี้ยงชีพอยู่ด้วยการ

แสวงหาอันไม่สมควร ชื่อว่าดูหมิ่น คือดูแคลน ได้แก่ รังเกียจลาภของ

ตน; เพราะเหตุนั้น ภิกษุไม่ควรดูหมิ่นลาภของตน ด้วยการไม่ทำอย่าง

นั้น.

สองบทว่า อญฺเส ปิหย ความว่า ไม่ควรเที่ยวปรารถนาลาภ

ของคนเหล่าอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 363

บาทพระคาถาว่า สมาธึ นาธิคจฺฉติ ความว่า ก็ภิกษุเมื่อปรารถนา

ลาภของชนเหล่าอื่นอยู่ ถึงความขวนขวายในการทำบริขารมีจีวรเป็นต้น

แก่ชนเหล่านั้น ย่อมไม่บรรลุอัปปนาสมาธิ หรืออุปจารสมาธิ.

บาทพระคาถาว่า สลาภ นาติมญฺติ ความว่า ภิกษุแม้เป็นผู้มี

ลาภน้อย เมื่อเที่ยวไปตามลำดับตรอกโดยลำดับแห่งตระกูลสูงและต่ำ

ชื่อว่า ไม่ดูแคลนลาภของตน.

บทว่า ต เว เป็นต้น ความว่า เทพดาทั้งหลายย่อมสรรเสริญ คือ

ชมเชย ภิกษุนั้น คือผู้เห็นปานนั้น ผู้ชื่อว่ามีอาชีวะหมดจด เพราะความ

เป็นผู้มีชีวิตเป็นสาระ ชื่อว่าผู้ไม่เกียจคร้าน เพราะความเป็นผู้ไม่ย่อท้อ

ด้วยอาศัยกำลังแข้งเลี้ยงชีพ.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุคบภิกษุผู้เป็นฝักฝ่ายผิดรูปใดรูปหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 364

๖. เรื่องปัญจัคคทายกพราหมณ์ [๒๕๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ชื่อ

ปัญจัคคทายก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพโส นามรูปสฺมึ"

เป็นต้น.

เหตุที่พราหมณ์ได้ชื่อว่าปัญจัคคทายก

ดังได้สดับมา พราหมณ์นั้นย่อมถวายทานชื่อเขตตัคคะ ในเวลา

แห่งนาข้าวกล้าอันตนเก็บเกี่ยวเสร็จแล้วนั่นแล, ในเวลาขนข้าวลาน ก็

ถวายชื่อขลัคคคะ, ในเวลานวด ก็ถวายทานชื่อขลภัณฑัคคะ, ในเวลาเอา

ข้าวสารลงในหม้อ ก็ถวายทานชื่ออุกขลิกัคคะ, ในเวลาที่ตนคดข้าวใส่

ภาชนะ ก็ถวายทานชื่อปาฏิคคะ, พราหมณ์ย่อมถวายทานอันเลิศทั้ง ๕

อย่างนี้.

พราหมณ์นั้น ชื่อว่า ยังไม่ให้แก่ปฏิคาหกผู้ที่มาถึงแล้ว ย่อมไม่

บริโภค. เพราะเหตุนั้น เขาจึงได้มีชื่อว่า "ปัญจัคคทายก" นั่นแล.

พระศาสดาเสด็จไปโปรดพราหมณ์และภรรยา

พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งผลทั้ง ๓ ของพราหมณ์นั้น และ

นางพราหมณีของเขา จึงได้เสด็จไปในเวลาบริโภคของพราหมณ์ แล้ว

ประทับยืนอยู่ที่ประตู. แม้พราหมณ์นั้นบ่ายหน้าไปภายในเรือน นั่ง

บริโภคอยู่ที่หน้าประตู, เขาไม่เห็นพระศาสดาผู้ประทับยืนอยู่ที่ประตู.

๑. ทานอันเลิศในนา ๒. ทานอันเลิศในลาน. ๓. ทานอันเลิศในคราวนวด. ๔. ทาน

อันเลิศในคราวเทข้าวสารลงหม้อข้าว. ๕. ทานอันเลิศในคราวคดข้าวสุกใส่ภาชนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 365

ส่วนนางพราหมณีของเขา กำลังเลี้ยงดูเขาอยู่ เห็นพระศาสดาจึง

คิดว่า " พราหมณ์นี้ ถวายทานอันเลิศในฐานะทั้ง ๕ ( ก่อน ) แล้วจึง

บริโภค, ก็บัดนี้ พระสมณโคดมเสด็จมาประทับยืนอยู่ที่ประตู; ถ้าว่า

พราหมณ์เห็นพระสมณโคคมนี่แล้ว จักนำภัตของตนไปถวาย, เราจัก

ไม่อาจเพื่อจะหุงต้มเพื่อเขาได้อีก." นางคิดว่า " พราหมณ์นี้จักไม่เห็น

พระสมณโคดมด้วยอาการอย่างนี้" จึงหันหลังให้เพระศาสดา ได้ยืนก้ม

ลงบังพระศาสดานั้นไว้ข้างหลังพราหมณ์นั้น ประดุจบังพระจันทร์เต็มดวง

ด้วยฝ่ามือฉะนั้น. นางพราหมณียืนอยู่อย่างนั้นนั่นแหละ แล้วก็ชำเลือง

ดูพระศาสดาด้วยหางตา ด้วยคิดว่า " พระศาสดาเสด็จไปแล้วหรือยัง."

พราหมณ์เห็นพระศาสดา

พระศาสดาได้ประทับยืนอยู่ในที่เดิมนั่นเอง. ส่วนนางมิได้พูดว่า

" นิมนต์พระองค์โปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด " ก็เพราะกลัวพราหมณ์จะได้ยิน,

แต่นางถอยไป แล้วพูดค่อย ๆ ว่า " นิมนต์โปรดสัตว์ข้างหน้าเถิด."

พระศาสดาทรงสั่นพระเศียรด้วยอาการอันทรงแสดงว่า " เราจักไม่

ไป " เมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นที่เคารพของชาวโลก ทรงสั่นพระเศียรด้วย

อาการอันแสดงว่า " เราจักไม่ไป," นางไม่อาจอดกลั้นไว้ได้ จึงหัวเราะ

ดังลั่นขึ้น.

ขณะนั้น พระศาสดาทรงเปล่งพระรัศมีไปตรงเรือน. แม้พราหมณ์

นั่งหันหลังให้แล้วนั่นแล ได้ยินเสียงหัวเราะของนางพราหมณี และมอง

เห็นแสงสว่างแห่งพระรัศมีอันมีวรรณะ ๖ ประการ จึงได้เห็นพระศาสดา.

๑. สตฺถุ ปิฏฺึ ทตฺวา ให้ซึ่งหลังแด่พระศาสดา. ๒. สตฺถาร อฑฺฒกฺขิเกน โอโบเกสิ มอง

ดูพระศาสดาด้วยตาครึ่งหนึ่ง. ๓. เพ่งเพื่อจะพูดอย่างเดียว หาใส่ใจถึงเสขิยวัตรไม่.

.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 366

พราหมณ์ถวายภัตแด่พระศาสดา

ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้ทรงแสดงพระองค์แก่ชน

ทั้งหลายผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยเหตุ ในบ้านหรือในป่าแล้ว ย่อมไม่เสด็จหลีก

ไป. แม้พราหมณ์เห็นพระศาสดาแล้ว จึงพูดว่า " นางผู้เจริญ หล่อน

ไม่บอกพระราชบุตรผู้เสด็จมาประทับยืนอยู่ที่ประตูแก่เรา ให้เราฉิบหาย

เสียแล้ว, หล่อนทำกรรมหนัก" ดังนี้แล้ว ก็ถือเอาภาชนะแห่งโภชนะที่

ตนบริโภคแล้วครั้งหนึ่ง ไปยังสำนักพระศาสดา แล้วกราบทูลว่า " ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ถวายทานอันเลิศในฐานะทั้ง ๔ แล้ว จึง

บริโภค; แต่ส่วนแห่งภัตส่วนหนึ่งเท่านั้น อันข้าพระองค์แบ่งครึ่งจาก

ส่วนนี้บริโภค, ส่วนแห่งภัตส่วนหนึ่งยังเหลืออยู่; ขอพระองค์ได้โปรด

รับภัตส่วนนี้ของข้าพระองค์เถิด."

พราหมณ์เลื่อมใสพระดำรัสของพระศาสดา

พระศาสดาไม่ตรัสว่า " เราไม่มีความต้องการด้วยภัตอันเป็นเดน

ของท่าน" ตรัสว่า " พราหมณ์ ส่วนอันเลิศก็ดี ภัตที่ท่านแบ่งครึ่งบริโภค

แล้วก็ดี เป็นของสมควรแก่เราทั้งนั้น, แม้ก้อนภัตที่เป็นเดน เป็นของ

สมควรแก่เราเหมือนกัน, พราหมณ์ เพราะพวกเราเป็นผู้อาศัยอาหารที่

ผู้อื่นให้เลี้ยงชีพ เป็นเช่นกับพวกเปรต" แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า:-

" ภิกษุผู้อาศัยอาหารที่บุคคลอื่นให้เลี้ยงชีพ ได้

ก้อนภัตอันใดจากส่วนที่เลิศก็ตาม จากส่วนปาน

กลางก็ตาม จากส่วนที่เหลือก็ตาม. ภิกษุนั้นเป็นผู้

ไม่ควรเพื่อชมก้อนภัตนั้น, และไม่เป็นผู้ติเตียน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 367

แล้ว ขบฉันก้อนภัตนั้น, ธีรชรทั้งหลายย่อมสรร-

เสริญแม้ซึ่งภิกษุนั้นว่า เป็นมุนี."

พราหมณ์พอได้ฟังพระคาถานั้น ก็เป็นผู้มีจิตเลื่อมใส แล้วคิดว่า

" โอ ! น่าอัศจรรย์จริง, พระราชบุตรผู้ชื่อว่าเจ้าแห่งดวงประทีป มิได้

ตรัสว่า ' เราไม่มีความต้องการด้วยภัตอันเป็นเดนของท่าน' ยังตรัสอย่าง

นั้น " แล้วยืนอยู่ที่ประตูนั่นเอง ทูลถามปัญหากะพระศาสดาว่า " ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ตรัสเรียกพวกสาวกของพระองค์ว่า ' ภิกษุ '

ด้วยเหตุเพียงเท่าไร ? บุคคลชื่อว่า เป็นภิกษุ."

คนผู้ไม่กำหนัดไม่ติดในนามรูปชื่อว่าภิกษุ

พระศาสดาทรงใคร่ครวญว่า " ธรรมเทศนาเช่นไรหนอ ? จึงจะ

เป็นเครื่องสบายแก่พราหมณ์นี้" ทรงดำริว่า " ชนทั้งสองนี้ ในกาล

ของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัลสป ได้ฟังคำของภิกษุทั้งหลายผู้กล่าว

อยู่ว่า ' นามรูป,' การที่เราไม่ละนามรูปแหละ แล้วแสดงธรรมแก่ชน

ทั้งสองนั้น ย่อมควร" แล้วจึงตรัสว่า " พราหมณ์ บุคคลผู้ไม่กำหนัด

ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ชื่อว่า เป็นภิกษุ " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๖. สพฺพโส นามรูปสฺมึ ยสฺส นตฺถิ มมายิต

อสตา จ น โสจติ ส เว ภิกฺขูติ วุจฺจติ.

" ความยึดถือในนามรูปว่าเป็นของ ๆ เรา ไม่มี

แก่ผู้ใดโดยประการทั้งปวง, อนึ่ง ผู้ใดไม่เศร้าโศก

เพราะนามรูปนั้นไม่มีอยู่, ผู้นั้นแล เราเรียกว่า

ภิกษุ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 368

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพโส คือ ในนามรูปทั้งปวงที่เป็น

ไปแล้วด้วยอำนาจขันธ์ ๕ คือนามขันธ์ ๔ มีเวทนาเป็นต้น และรูป

ขันธ์.

บทว่า มมายิต ความว่า ความยึดถือว่า ' เรา ' หรือว่า ' ของเรา

ไม่มีแก่ผู้ใด.

บาทพระคาถาว่า อสตา จ น โสจติ ความว่า เมื่อนามรูปนั้นถึง

ความสิ้นและความเสื่อม ผู้ใดย่อมไม่เศร้าโศก คือไม่เดือดร้อนว่า " รูป

ของเราสิ้นไปแล้ว ฯ ล ฯ วิญญาณของเราสิ้นไปแล้ว คือเห็น (ตามความ

เป็นจริง) ว่า " นามรูป ซึ่งมีความสิ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดานี่แล

สิ้นไปแล้ว."

บทว่า ส เว เป็นต้น ความว่า ผู้นั้น คือผู้เห็นปานนั้น ได้แก่

ผู้เว้นจากความยึดถือในนามรูปซึ่งมีอยู่ว่าเป็นของเราก็ดี ผู้ไม่เศร้าโศก

เพราะนามรูปนั้น ซึ่งไม่มีอยู่ก็ดี พระศาสดาตรัสเรียกว่า ' ภิกษุ '

ในกาลจบเทศนา เมียและผัวทั้งสองตั้งอยู่ในพระอนาคามิผลแล้ว,

เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องปัญจัคคทายกพราหมณ์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 369

๗. เรื่องสัมพหุลภิกษุ [๒๕๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เมตฺตาวิหารี " เป็นต้น.

ประวัติพระโสณกุฏิกัณณะ

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เมื่อท่านพระมหากัจจานะอาศัยกุรรฆร-

นคร ในอวันตีชนบท อยู่ที่ภูเขาชื่อปวัตตะ, อุบาสกชื่อโสณกุฏิกัณณะ

เลื่อมใสในธรรมกถาของพระเถระ ใคร่จะบวชในสำนักของพระเถระ แม้

ถูกพระเถระพูดห้ามถึง ๒ ครั้งว่า " โสณะ พรหมจรรย์มีภัตหนเดียว นอน

ผู้เดียว ตลอดชีพ เป็นสิ่งที่บุคคลทำได้ด้วยยากแล" ก็เป็นผู้เกิดอุตสาหะ

อย่างแรงกล้าในการบรรพชา ในวาระที่ ๓ วิงวอนพระเถระ บรรพชา

แล้ว โดยล่วงไป ๓ ปีจึงได้อุปสมบท เพราะทักษิณาปถชนบทมีภิกษุ

น้อย เป็นผู้ใคร่จะเฝ้าพระศาสดาเฉพาะพระพักตร์ จึงอำลาพระอุปัชฌายะ

ถือเอาข่าวที่พระอุปัชฌายะให้แล้วไปสู่พระเชตวันโดยลำดับ ถวายบังคม

พระศาสดา ได้รับการปฏิสันถารแล้ว ผู้อันพระศาสดาทรงอนุญาตเสนา-

สนะในพระคันธกุฎีเดียวกันทีเดียว ให้ราตรีส่วนมากล่วงไปอยู่ข้างนอก

แล้วเข้าไปสู่พระคันธกุฎีในเวลากลางคืน ให้ส่วนแห่งกลางคืนนั้นล่วงไป

แล้วที่เสนาสนะอันถึงแล้วแก่ตน ในเวลาใกล้รุ่งอันพระศาสดาทรงเชื้อเชิญ

แล้ว ได้สวดพระสูตรหมดด้วยกัน ๑๖ สูตร โดยทำนองสรภัญญะที่จัด

เป็นอัฏฐกวรรค.

๑. อชฺโฌกาเส ในที่กลางแจ้ง. ๒. อฏฺกวคฺคิกานีติ: อฏฺกวคฺคภูตานิ กามสุตฺตาทีนิ

โสฬสสุตฺตานิ พระสูตร ๑๖ สูตร มีกามสูตรเป็นต้น ที่จัดเป็นอัฏฐกวรรค พระสูตรเหล่านี้มีอยู่

ใน ขุ. สุ. ๒๕/๔๘๕-๕๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 370

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงอนุโมทนาเป็นพิเศษ จึงได้

ประทานสาธุการแก่ท่านในเวลาจบสรภัญญะว่า " ดีละ ๆ ภิกษุ."

ภุมมัฏฐกเทพดา นาค และสุบรรณ ฟังสาธุการที่พระศาสดา

ประทานแล้ว ได้ให้สาธุการแล้ว; เสียงสาธุการเป็นอันเดียวกัน ได้มีแล้ว

ตลอดพรหมโลกอย่างนั้น ด้วยประการดังนี้.

ในขณะนั้น แม้เทพดาผู้สิงอยู่ในเรือนของมหาอุบาสิกา ผู้เป็น

มารดาของพระเถระ ในกุรรฆรนคร ในที่สุด (ไกล) ประมาณ ๑๒๐

โยชน์ แต่พระเชตวันมหาวิหาร ก็ได้ให้สาธุการด้วยเสียงอันดังแล้ว.

ครั้งนั้น มหาอุบาสิกา ถามเทพดานั้นว่า " นั่น ใครให้สาธุการ ?"

เทพดา. เราเอง น้องหญิง.

มหาอุบาสิกา. ท่านเป็นใคร ?

เทพดา. เราเป็นเทพดา สิงอยู่ในเรือนของท่าน.

มหาอุบาสิกา. ในกาลก่อนแต่นี้ ท่านมิได้ให้สาธุการแก่เรา เพราะ

เหตุไร ? วันนี้จึงให้.

เทพดา. เรามิได้ให้สาธุการแก่ท่าน.

มหาอุบาสิกา. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านให้สาธุการแก่ใคร ?

เทพดา. เราให้แก่พระโสณกุฏิกัณณเถระ ผู้เป็นบุตรของท่าน.

มหาอุบาสิกา บุตรของเราทำอะไร ?

เทพดา. ในวันนี้ บุตรของท่านอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระ-

ศาสดา แล้วแสดงธรรมแก่พระศาสดา, พระศาสดาทรงสดับธรรมแห่ง

บุตรของท่าน แล้วก็ทรงเลื่อมใส จึงได้ประทานสาธุการ, เพราะเหตุนั้น

แม้เราจึงให้สาธุการแก่พระเถระนั้น, ก็เพราะรับสาธุการของพระสัมมา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 371

สัมพุทธเจ้า จึงเกิดสาธุการเป็นเสียงเดียวกันไปหมด นับตั้งต้นแต่ภุมมัฏ-

ฐกเทพดาตลอดถึงพรหมโลก.

มหาอุบาสิกา. นาย ก็บุตรของเราแสดงธรรมแก่พระศาสดา หรือ

พระศาสดาแสดงแก่บุตรของเรา.

เทพดา. บุตรของท่านแสดงธรรมแก่พระศาสดา.

เมื่อเทพดากล่าวอยู่อย่างนั้น, ปีติมีวรรณะ ๕ ประการ เกิดขึ้นแก่

อุบาสิกา แผ่ไปทั่วสรีระทั้งสิ้น. ครั้งนั้น มหาอุบาสิกานั้นได้มีความคิด

อย่างนี้ว่า " หากว่า บุตรของเราอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดา

แล้วยังสามารถแสดงธรรมแก่พระศาสดาได้, ก็จักสามารถให้แสดงธรรม

แม้แก่เราได้เหมือนกัน, ในเวลาบุตรมาถึง เราจักให้ทำการฟังธรรมกัน

แล้วฟังธรรมกถา."

พระโสณะทูลขอพร ๕ ประการกะพระศาสดา

ฝ่ายพระโสณเถระแล เมื่อพระศาสดาประทานสาธุการแล้ว, คิดว่า

" เวลานี้ เป็นเวลาสมควรที่จะกราบทูลข่าวที่พระอุปัชฌายะให้มา" ดังนี้

แล้ว จึงทูลขอพร ๕ ประการ กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งต้นแต่การ

อุปสมบทด้วยคณะสงฆ์มีภิกษุผู้ทรงวินัยเป็นที่ ๕ ในชนบททั้งหลายซึ่งตั้ง

อยู่ปลายแดนแล้ว อยู่ในสำนักของพระศาสดา ๒-๓ วันเท่านั้น ทูลลา

พระศาสดาว่า " ข้าพระองค์จักเยี่ยมพระอุปัชฌายะ" ได้ออกจากพระ-

เชตวันวิหาร ไปสู่สำนักพระอุปัชฌายะโดยลำดับ.

๑. ขอให้อุปสมบทด้วยคณะเพียง ๕ รูปได้ ๑ ขอให้ใช้รองเท้าหลายชั้นได้ ๑ ขอให้อาบน้ำได้

เนืองนิตย์ ๑ ขอให้ใช้เครื่องปูลาดที่ทำด้วยหนังได้ ๑ ( ๔ ข้อนี้เฉพาะในปัจจันตชนบท) มี

มนุษย์สั่งถวายจีวรแก่ภิกษุอยู่นอกสีมา ภิกษุผู้รับสั่งจึงมาบอกให้เธอรับ แต่เธอรังเกียจไม่ยอม

รับ ด้วยกลัวเป็นนิสสัคคีย์ ขออย่าให้เป็นนิสสัคคีย์ ๑. มหาวัคค์ ๕/๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 372

ในวันรุ่งขึ้น พระเถระพาท่านเที่ยวไปบิณฑบาต ได้ไปถึงประตู

เรือนของอุบาสิกาผู้เป็นมารดา.

ฝ่ายอุบาสิกานั้น เห็นบุตรแล้วก็ดีใจ ไหว้แล้ว อังคาสโดยเคารพ

แล้วถามว่า " พ่อ ได้ยินว่า คุณอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดา

แล้วแสดงธรรมกถาแก่พระศาสดา จริงหรือ ? "

พระโสณะ. เรื่องนี้ ใครบอกแก่โยม ? อุบาสิกา.

มหาอุบาสิกา. พ่อ เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือนนี้ ให้สาธุการด้วยเสียง

อันดัง, เมื่อโยมถามว่า ' นั่นใคร ' ก็กล่าวว่า ' เราเอง ' แล้วบอกอย่าง

นั้นนั่นแหละ, เพราะฟังเรื่องนั้น โยมจึงได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ' ถ้าว่า

บุตรของเราเสดงธรรมกถาแก่พระศาสดาได้ไซร้, ก็จักอาจแสดงธรรม

แม้แก่เราได้. '

ครั้งนั้น มหาอุบาสิกากล่าวกะพระโสณะนั้นว่า " พ่อ เพราะคุณ

แสดงธรรมเฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดาได้แล้ว, คุณก็จักอาจแสดง

แม้แก่โยมได้เหมือนกัน, ในวันชื่อโน้น โยมจักให้ทำการฟังธรรมกัน

แล้วจักฟังธรรมของคุณ" พระโสณะรับนิมนต์แล้ว.

อุบาสิกาคิดว่า " เราถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ ทำการบูชาแล้วจักฟัง

ธรรมกถาแห่งบุตรของเรา" จึงได้ตั้งให้หญิงทาสีคนเดียวเท่านั้นให้เป็น

คนเฝ้าเรือน แล้วได้พาเอาบริวารชนทั้งสิ้นไป เพื่อฟังธรรมกถาของ

บุตรผู้จะก้าวขึ้นสู่ธรรมาสน์ที่ประดับประดาไว้แล้ว ในมณฑปที่ตนให้

สร้างไว้ภายในพระนคร เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม แสดงธรรมอยู่.

พวกโจรเข้าปล้นเรือนมหาอุบาสิกา

ก็ในเวลานั้น พวกโจร ๙๐๐ เที่ยวมองหาช่องในเรือนของอุบาสิกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 373

นั้นอยู่. ก็เรือนของอุบาสิกานั้น ล้อมด้วยกำแพง ๗ ชั้น ประกอบด้วย

ซุ้มประตู ๗ ซุ้ม. เขาล่ามสุนัขที่ดุไว้ในที่นั้น ๆ ทุกๆ ซุ้มประตู; อนึ่ง

เขาขุดคูไว้ในที่น้ำตกแห่งชายคาภายในเรือน แล้วก็ใส่ดีบุกจนเต็ม, เวลา

กลางวัน ดีบุกนั้นปรากฏเป็นประดุจว่าละลายเดือดพล่านอยู่เพราะแสง

แดด (เผา), ในเวลากลางคืน ปรากฏเป็นก้อนแข็งกระด้าง, เขาปัก

ขวากเหล็กใหญ่ไว้ที่พื้นในระหว่างดูนั้นติด ๆ กันไป. พวกโจรเหล่านั้น

ไม่ได้โอกาส เพราะอาศัยการรักษานี้ และเพราะอาศัยความที่อุบาสิกาอยู่

ภายในเรือน วันนั้นทราบความอุบาสิกานั้นไปแล้ว จึงขุดอุโมงค์เข้าไป

สู่เรือน โดยทางเบื้องล่างแห่งดูดีบุกและขวากเหล็กทีเดียว แล้วส่งหัวหน้า

โจรไปสู่สำนักของอุบาสิกานั้น ด้วยสั่งว่า " ถ้าว่าอุบาสิกานั้น ได้ยินว่า

พวกเราเข้าไปในที่นี้แล้ว กลับมุ่งหน้ามายังเรือน, ท่านจงฟันอุบาสิกานั้น

ให้ตายเสียด้วยดาบ." หัวหน้าโจรนั้น ได้ไปยืนอยู่ในสำนักของอุบาสิกา

นั้น.

ฝ่ายพวกโจร จุดไฟให้สว่างในภายในเรือน แล้วเปิดประตูห้องเก็บ

กหาปณะ. นางทาสีนั้นเห็นพวกโจรแล้ว จึงไปสู่สำนักอุบาสิกา บอกว่า

" คุณนาย โจรเป็นอันมากเข้าไปสู่เรือน งัดประตูห้องเก็บกหาปณะ

แล้ว."

มหาอุบาสิกา. พวกโจรจงขนเอากหาปณะที่ตนค้นพบแล้วไปเถิด,

เราจะฟังธรรมกถาแห่งบุตรของเรา, เจ้าอย่าทำอันตรายแก่ธรรมของเรา

เลย, เจ้าจงไปเรือนเสียเถิด.

ฝ่ายพวกโจร ทำห้องเก็บกหาปณะให้ว่างเปล่าแล้ว จึงงัดห้องเก็บ

เงิน. นางทาสีนั้นก็มาแจ้งเนื้อความแม้นั้นอีก. อุบาสิกาพูดว่า " พวกโจร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 374

จงขนเอาทรัพย์ที่ตนปรารถนาไปเถิด, เราจะฟังธรรมกถาแห่งบุตรของเรา

เจ้าอย่าทำอันตรายแก่เราเลย" แล้วก็ส่งนางทาสีนั้นออกไปอีก.

พวกโจรทำแม้ห้องเก็บเงินให้ว่างเปล่าแล้ว จึงงัดห้องเก็บทอง.

นางทาสีนั้นก็ไปแจ้งเนื้อความนั้นแก่อุบาสิกาแม้อีก.

ครั้งนั้น อุบาสิกาเรียกนางทาสีมา แล้วพูดว่า " ชะนางตัวดี เจ้า

มาสำนักเราหลายครั้งแล้ว แม้เราสั่งว่า ' พวกโจรจงขนเอาไปตามชอบใจ

เถิด, เราจะฟังธรรมกถาแห่งบุตรของเรา, เจ้าอย่าทำอันตรายแก่เราเลย '

ก็หาเอื้อเฟื้อถ้อยคำของเราไม่ ยังขืนมาซ้ำ ๆ ซาก ๆ ร่ำไป, ที่นี้ ถ้าเจ้า

จักมา, เราจักรู้สิ่งที่ควรทำแก่เจ้า, เจ้าจงกลับบ้านเสียเถิด" แล้วส่งให้

กลับ.

ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

นายโจรฟังถ้อยคำของอุบาสิกานั้นแล้ว คิดว่า " เมื่อพวกเรานำสิ่ง

ของ ๆ หญิงเห็นปานนี้ไป, สายฟ้าพึงตกฟาดกระหม่อม" ดังนี้แล้ว จึงไป

สำนักพวกโจร สั่งว่า " พวกท่านจงขนเอาสิ่งของ ๆ อุบาสิกาไปไว้ตาม

เดิมโดยเร็ว." โจรเหล่านั้น ให้ห้องเก็บกหาปณะเต็มด้วยกหาปณะ ให้

ห้องเก็บเงินและทองเต็มไปด้วยเงินและทองแล้ว. ได้ยินว่า ความที่ธรรม

ย่อมรักษาบุคคลผู้ประพฤติธรรมเป็นธรรมดา, เพราะเหตุนั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-

" ธรรมแล ย่อมรักษาบุคคลผู้ประพฤติธรรม,

ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้,

นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว: ผู้มี

ปกติประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 375

พวกโจรได้ไปยืนอยู่ในที่เป็นที่ฟังธรรม. ฝ่ายพระเถระแสดงธรรม

แล้ว เมื่อราตรีสว่าง จึงลงจากอาสนะ. ในขณะนั้นหัวหน้าโจรหมอบลง

แทบเท้าของอุบาสิกา พูดว่า " คุณนาย โปรดอดโทษแก่ผมเถิด."

อุบาสิกา. นี้อะไรกัน ? พ่อ.

หัวหน้าโจร. ผมผูกอาฆาตในคุณนาย ประสงค์จะฆ่าคุณนาย จึง

ได้ยืน (คุม) อยู่.

อุบาสิกา. พ่อ ถ้าเช่นนั้น ฉันอดโทษให้.

พวกโจรเลื่อมใสขอบวชกะพระโสณะ

แม้พวกโจรที่เหลือ ก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน เมื่ออุบาสิกาพูดว่า

" พ่อทั้งหลาย ฉันอดโทษให้" จึงพูดว่า " คุณนาย ถ้าว่าคุณนายอดโทษ

แก่พวกผมไซร้, ขอคุณนายให้ ๆ บรรพชาแก่พวกผม ในสำนักแห่งบุตร

ของคุณนายเถิด." อุบาสิกานั้นไหว้บุตรแล้ว พูดว่า " พ่อ โจรพวกนี้

เลื่อมใสในคุณของโยม และธรรมกถาของคุณแล้ว จึงพากันขอบรรพชา,

ขอคุณจงให้โจรพวกนี้บวชเถิด. "

พระเถระพูดว่า " ดีละ " แล้วให้ตัดชายผ้าที่โจรเหล่านั้นนุ่งแล้ว

ให้ย้อมด้วยดินแดง ให้พวกเขาบวชแล้ว ให้ตั้งอยู่ในศีล. แม้ในเวลาที่

พวกเขาอุปสมบทแล้ว พระเถระได้ให้พระกัมมัฏฐานต่าง ๆ แก่ภิกษุเหล่า

นั้นร้อยละอย่าง. ภิกษุ ๙๐๐ รูปนั้นเรียนพระกัมมัฏฐาน ๙ อย่างต่าง ๆ กัน

แล้วพากันขึ้นไปสู่ภูเขาลูกหนึ่ง นั่งทำสมณธรรมใต้ร่มไม้นั้น ๆ แล้ว.

พระศาสดา ประทับนั่งอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารอันไกลกันได้ ๑๒๐

โยชน์นั่นแล ทรงเล็งดูภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงกำหนดพระธรรมเทศนา

ด้วยอำนาจแพ่งความประพฤติของเธอเหล่านั้น ทรงเปล่งพระรัศมีไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 376

ประหนึ่งว่าประทับนั่งตรัสอยู่ในที่เฉพาะหน้า ได้ทรงภาษิตพระคาถา

เหล่านี้ว่า :-

๗. เมตฺตาวิหารี โย ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน

อธิคจฺเฉ ปท สนฺต สงฺขารูปสม สุข.

สิญฺจ ภิกฺขุ อิม นาว สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ

เฉตฺวา ราคญฺจ โทสญฺจ ตโต นิพฺพานเมหิสิ.

ปญฺจ ฉินฺเท ปญฺจ ชเห ปญฺจ อุตฺตริ ภาวเย

ปญฺจสงฺคาติโค ภิกฺขุ โอฆติณฺโณติ วุจฺจติ.

ฌาย ภิกฺขุ มา จ ปมาโท

มา เต กามคุเณ ภมสฺสุ จิตฺต

มา โลหคุฬ คิลี ปมตฺโต

มา กนฺทิ ทุกฺขมิทนฺติ ฑยฺหมาโน.

นตฺถิ ณาน อปฺญฺสฺส ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต

ยมหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ ส เว นิพฺพานสนฺติเก.

สุญฺาคาร ปวิฏฺสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน

อมานุสี รตี โหติ สมฺมา ธมฺม วิปสฺสโต.

ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธาน อุทยพฺพย

ลภตี ปีติปาโมชฺช อิธ ปญฺสฺส ภิกฺขุโน

ตตฺายมาทิ ภวติ อิธ ปญฺสฺส ภิกฺขุโน

อินฺทฺริยคุตฺติ สนฺตุฏฺี ปาติโมกฺเข จ สวโร

มิตฺเต ภชสฺสุ กลฺยาเณ สุทฺธาชีเว อตนฺทิเต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 377

ปฏิสนฺถารวุตฺตฺยสฺส อาจารกุสโล สิยา

ตโต ปาโมชฺชพหุโล ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสติ.

" ภิกษุใด นี้ปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสในพระ-

พุทธศาสนา, ภิกษุนั้น พึงบรรลุบทอันสงบ เป็นที่

เข้าไประงับสังขาร อันเป็นสุข. ภิกษุ เธอจงวิดเรือ

นี้, เรือที่เธอวิดแล้ว จักถึงเร็ว; เธอตัดราคะและ

โทสะได้แล้ว แต่นั้นจักถึงพระนิพพาน. ภิกษุพึงตัด

ธรรม ๕ อย่าง พึงละธรรม ๕ อย่าง และพึงยังคุณ

ธรรม ๕ ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น, ภิกษุผู้ล่วงกิเลสเครื่อง

ข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เราเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้.

ภิกษุ เธอจงเพ่งและอย่าประมาท, จิตของเธออย่า

หมุนไปในกามคุณ, เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนกิน

ก้อนแห่งโลหะ, เธออย่าเป็นผู้อันกรรมแผดเผาอยู่

คร่ำครวญว่า ' นี้ทุกข์.' ฌานย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้

ไม่มีปัญญา, ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน. ฌาน

และปัญญาย่อมมีในบุคคลใด, บุคคลนั้นแล ตั้งอยู่

แล้วในที่ใกล้พระนิพพาน. ความยินดีมิใช่ของมีอยู่

แห่งมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปแล้วสู่เรือนนาง

ผู้มีจิตสงบแล้ว ผู้เห็นแจ้งธรรมอยู่โดยชอบ. ภิกษุ

พิจารณาอยู่ ซึ่งความเกิดขึ้นและควานเสื่อมไปแห่ง

ขันธ์ทั้งหลายโดยอาการใด ๆ, เธอย่อมได้ปีติและ

ปราโมทย์โดยอาการนั้น ๆ, การได้ปีติและปราโมทย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 378

นั้น เป็นธรรมอันไม่ตายของผู้รู้แจ้งทั้งหลาย, ธรรม

นี้ คือความคุ้มครองซึ่งอินทรีย์ ๑ ความสันโดษ ๑

ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ เป็นเบื้องต้นใน

ธรรมอันไม่ตายนั้น มีอยู่แก่ภิกษุผู้มีปัญญาในพระ-

ศาสนานี้. เธอจงคบมิตรที่ดีงาม มีอาชีวะอันหมด

จด มีเกียจคร้าน. ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติในปฏิ-

สันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ; เพราะเหตุนั้น

เธอจักเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ กระทำที่สุดแห่ง

ทุกข์ได้."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมตฺตาวิหารี ความว่า บุคคลผู้ทำกรรม

ในพระกัมมัฏฐานอันประกอบด้วยเมตตาอยู่ก็ดี ผู้ยังฌานหมวด ๓ และ

หมวด ๔ ให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเมตตาแล้วดำรงอยู่ก็ดี ชื่อว่า ผู้มีปกติ

อยู่ด้วยเมตตาโดยแท้.

คำว่า ปสนฺโน ความว่า ก็ภิกษุใดเป็นผู้เลื่อมใสแล้ว, อธิบายว่า

ย่อมปลูกฝังความเลื่อมใสลงในพระพุทธศาสนานั่นแล.

สองบทว่า ปท สนฺต นั่น เป็นชื่อแห่งพระนิพพาน. จริงอยู่ ภิกษุ

ผู้เห็นปานนั้น ย่อมบรรลุ, อธิบายว่า ย่อมประสบโดยแท้ ซึ่งพระนิพพาน

อันเป็นส่วนแห่งความสงบ ชื่อว่าเป็นที่เข้าไประงับสังขาร เพราะความ

ที่สังขารทั้งปวงเป็นสภาพระงับแล้ว ซึ่งมีชื่ออันได้แล้วว่า ' สุข ' เพราะ

ความเป็นสุขอย่างยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 379

บาทพระคาถาว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิม นาว ความว่า ภิกษุเธอจงวิด

เรือ กล่าวคืออัตภาพนี้ ซึ่งมีน้ำคือมิจฉาวิตกทิ้งเสีย.

บาทพระคาถาว่า สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ ความว่า เหมือนอย่างว่า

เรือที่เพียบแล้วด้วยน้ำในมหาสมุทรนั่นแล ชื่อว่าอันเขาวิดแล้ว เพราะ

ความที่น้ำอันเขาปิดช่องทั้งหลายวิดแล้ว เป็นเรือที่เบา ไม่อัปปางใน

มหาสมุทร ย่อมแล่นไปถึงท่าได้เร็วฉันใด; เรือคืออัตภาพแม้ของท่านนี้

ที่เต็มแล้วด้วยน้ำคือมิจฉาวิตกก็ฉันนั้น ชื่อว่าอันเธอวิดแล้ว เพราะความ

ที่น้ำคือมิจฉาวิตก ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว อันเธอปิดช่องทั้งหลายมีจักษุทวาร

เป็นต้น ด้วยความสำรวม วิดออกแล้วจึงเบา ไม่จมลงในสังสารวัฏ จัก

พลันถึงพระนิพพาน.

บทว่า เฉตฺวา เป็นต้น ความว่า เธอจงตัดเครื่องผูกคือราคะและ

โทสะ, ครั้นตัดเครื่องผูกเหล่านั้นแล้ว จักบรรลุพระอรหัต, อธิบายว่า

แต่นั้น คือในกาลต่อมา จักบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน.

สองบทว่า ปญฺจ ฉินฺเท คือ พึงตัดสังโยชน์อันมีในส่วนเบื้องต่ำ

๕ อย่าง อันยังสัตว์ให้ถึงอบายชั้นต่ำ ด้วยหมวด ๓ แห่งมรรคชั้นต่ำ ดุจ

บุรุษตัดเชือกอันผูกแล้วที่เท้าด้วยศัสตราฉะนั้น.

สองบทว่า ปญฺจ ชเห ความว่า พึงละ คือทิ้ง, อธิบายว่า พึงตัด

สังโยชน์อันมีในส่วนเบื้องบน ๕ อย่าง อันยังสัตว์ให้ถึงเทวโลกชั้นสูง

ด้วยพระอรหัตมรรค ดุจบุรุษตัดเชือกอันรัดไว้ที่คอฉะนั้น.

บาทพระคาถาว่า ปญฺจ อุตฺตริ ภาวเย คือ พึงยังอินทรีย์ ๕ มี

ศรัทธาเป็นต้นให้เจริญยิ่ง เพื่อประโยชน์แก่การละสังโยชน์อันมีในส่วน

เบื้องบน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 380

บทว่า ปญฺจสงฺคาติโค ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุชื่อว่าผู้ล่วง

กิเลสเครื่องข้อง ๕ อย่างได้ เพราะก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง คือราคะ

โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ๕ อย่าง พระศาสดาตรัสเรียกว่า " ผู้ข้าม

โอฆะได้;" อธิบายว่า ภิกษุนั้น พระศาสดาตรัสเรียกว่า " ผู้ข้ามโอฆะ

๔ ได้แท้จริง."

สองบทว่า ฌาย ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุ เธอจงเพ่งด้วยอำนาจแห่ง

ฌาน ๒ และชื่อว่า อย่าประมาทแล้ว เพราะความเป็นผู้มีปกติไม่ประมาท

ในกายกรรมเป็นต้นอยู่.

บทว่า ภมสฺสุ คือ จิตของเธอ จงอย่าหมุนไปในกามคุณ ๕ อย่าง.

บทว่า มา โลหคุฬ ความว่า ก็ชนทั้งหลายผู้ประมาทแล้วด้วยความ

เลินเล่อมีปล่อยสติเป็นลักษณะ ย่อมกลืนกินก้อนโลหะที่ร้อนแล้วในนรก,

เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวกะเธอ: เธออย่าเป็นผู้ประมาท กลืนกินก้อน

โลหะ, อย่าถูกไฟแผดเผาในนรก คร่ำครวญว่า " นี้ทุกข์ นี้ทุกข์."

สองบทว่า นตฺถิ ฌาน ความว่า ชื่อว่าฌาน ย่อมไม่มีแก่ผู้หา

ปัญญามิได้ ด้วยปัญญาเป็นเหตุพยายามอันยังฌานให้เกิดขึ้น.

สองบทว่า นตฺถิ ปญฺา ความว่า ก็ปัญญาซึ่งมีลักษณะที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความ

เป็นจริง" ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่เพ่ง.

บาทพระคาถาว่า ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺา จ ความว่า ฌานและ

ปัญญาแม้ทั้งสองนี้มีอยู่ในบุคคลใด, บุคคลนั้นชื่อว่าตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้

แห่งพระนิพพานโดยแท้ทีเดียว.

๑. อารัมมณปนิชฌาน และลักขณปนิชฌาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 381

บาทพระคาถาว่า สุญฺาคาร ปวิฏฺสฺส คือ ผู้ไม่ละพระกัมมัฏฐาน

นั่งอยู่ ด้วยการทำพระกัมมัฏฐานไว้ในใจในโอกาสที่สงัดบางแห่งนั่นแล.

บทว่า สนฺตจิตฺตสฺส คือ ผู้มีจิตอันสงบแล้ว.

บทว่า สมฺมา เป็นต้น ความว่า ความยินดีมิใช่เป็นของมีอยู่แห่ง

มนุษย์ กล่าวคือวิปัสสนาก็ดี ความยินดีอันเป็นทิพย์ กล่าวคือสมาบัติ ๘

ก็ดี ย่อมมี อธิบายว่า ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นแจ้งซึ่งธรรมโดยเหตุ

โดยการณ์.

บาทพระคาถาว่า ยโต ยโต สมฺมสติ ความว่า ทำกรรมใน

อารมณ์ ๓๘ ประการ โดยอาการใด ๆ, คือทำกรรมในกาลทั้งหลาย

มีกาลก่อนภัตเป็นต้น ในกาลใด ๆ ที่ตนชอบใจแล้ว, หรือทำกรรมใน

พระกัมมัฏฐานที่ตนชอบใจแล้ว ชื่อว่าย่อมพิจารณาเห็น.

บทว่า อุทยพฺพย คือ ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ ๕ โดยลักษณะ

๒๕ และความเสื่อมแห่งขันธ์ ๕ โดยลักษณะ ๒๕ เหมือนกัน.

บทว่า ปีติปาโมชฺช คือ เมื่อพิจารณาความเกิดขึ้นและความเสื่อม

ไปแห่งขันธ์ทั้งหลายอย่างนั้นอยู่ ชื่อว่าย่อมได้ปีติในธรรมและปราโมทย์ใน

ธรรม.

บทว่า อมต ความว่า เมื่อนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย เป็นสภาพ

ปรากฏตั้งขึ้นอยู่ ปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ชื่อว่าเป็นอมตะของ

๑. รูปเกิดขึ้นเพราะอวิชชา. ๒. . .เพราะตัณหา. ๓. . .เพราะกรรม. ๔. . .เพราะอาหาร

๕. ความเกิดขึ้นของรูปอย่างเดียว ไม่อาศัยเหตุปัจจัย. ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

ก็เหมือนกัน ต่างแต่ข้อ ๔ ให้เปลี่ยนว่า เกิดขึ้นเพราะผัสสะ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะนามรูป ๕x๕

จึงเป็น ๒๕. ๒. ในลักษณะความเสื่อม พึงทราบโดยนับตรงกันข้าม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 382

ท่านผู้รู้ทั้งหลาย คือของผู้เป็นบัณฑิตโดยแท้ เพราะความที่ปีติและ

ปราโมทย์เป็นธรรมที่ให้สัตว์ถึงอมตมหานิพพาน.

บาทพระคาถาว่า ตตฺรายมาทิ ภวติ คือ นี้เป็นเบื้องต้น คือปีติ

และปราโมทย์นี้ เป็นฐานะมีในเบื้องต้นในอมตธรรมนั้น.

สองบทว่า อิธ ปญฺสฺส คือ แก่ภิกษุผู้ฉลาดในพระศาสนานี้.

บัดนี้ พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงฐานะอันมีในเบื้องต้นที่พระองค์

ตรัสว่า " อาทิ " นั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า " อินฺทฺริยคุตฺติ. " จริงอยู่

ปาริสุทธิศีล ๔ ชื่อว่า เป็นฐานะมีในเบื้องต้น.

ความสำรวมอินทรีย์ ชื่อว่า อินฺทฺริยคุตฺติ ในพระคาถานั้น. ความ

สันโดษด้วยปัจจัย ๔ ชื่อว่า สนฺตุฏฺิ อาชีวปาริสุทธิศีลและปัจจยสัน-

นิสิตศีล พระศาสดาตรัสไว้ด้วยบทว่า สนฺตุฏฺิ นั้น.

ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลที่ประเสริฐสุด กล่าวคือพระปาติ-

โมกข์ พระศาสดาตรัสไว้ด้วยบทว่า ปาติโมกฺเข.

บาทพระคาถาว่า มิตฺเต ภชสฺสุ กลฺยาเณ ความว่า ท่านละสหาย

ผู้ไม่สมควร มีการงานอันสละแล้ว จงคบ คือ จงเสพ มิตรที่ดีงาม ผู้

ชื่อว่า มีอาชีวะอันบริสุทธิ์ เพราะมีชีวิตประกอบด้วยสาระ และชื่อว่า ผู้ไม่

เกียจคร้าน เพราะอาศัยกำลังแข้งเลี้ยงชีพ.

บาทพระคาถาว่า ปฏิสนฺถารวุตฺยสฺส คือ พึงเป็นผู้ชื่อว่าประพฤติ

ในปฏิสันถาร เพราะความเป็นผู้ประพฤติเต็มที่แล้วด้วยอามิสปฏิสันถาร

และธรรมปฏิสันถาร, อธิบายว่า พึงเป็นผู้ทำปฏิสันถาร.

บทว่า อาจารกุสโล ความว่า แม้ศีลก็ชื่อว่า มรรยาท ถึงวัตรปฏิวัตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 383

ก็ชื่อว่า มรรยาท, พึงเป็นผู้ฉลาด, อธิบายว่า พึงเป็นผู้เฉียบแหลม ใน

มรรยาทนั้น.

บาทพระคาถาว่า ตโต ปาโมชฺชพหุโล ความว่า เธอชื่อว่าเป็นผู้

มากด้วยปราโมทย์ เพราะความเป็นผู้บันเทิงในธรรม อันเกิดขึ้นแล้วจาก

การประพฤติปฏิสันถาร และจากความเป็นผู้ฉลาดในมรรยาทนั้น จักทำ

ที่สุดแห่งวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้นได้.

บรรดาบทพระคาถาเหล่านี้ ที่พระศาสดาทรงแสดงด้วยอย่างนี้ ใน

กาลจบพระคาถาหนึ่ง ๆ ภิกษุร้อยหนึ่ง ๆ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในที่แห่งตนนั่งแล้ว ๆ นั่นแล เหาะขึ้นไปสู่เวหาส

แล้ว ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ก้าวล่วงทางกันดาร ๑๒๐ โยชน์ทางอากาศ

นั่นแล ชมเชยพระสรีระซึ่งมีสีดุจทองของพระตถาคตเจ้า ถวายบังคม

พระบาทแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องสัมพหุลภิกษุ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 384

๘. เรื่องภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป [๒๕๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุประมาณ

๕๐๐ รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "วสฺสิกา วิย ปุปฺผานิ" เป็นต้น.

ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้นเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระ-

ศาสดา บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่า เห็นดอกมะลิที่บานแล้วแต่เช้าตรู่

หลุดออกจากขั้วในเวลาเย็น จึงพากันพยายาม ด้วยหวังว่า " พวกเราจัก

หลุดพ้นจากกิเลสมีราคะเป็นต้น ก่อนกว่าดอกไม้ทั้งหลายหลุดออกจากขั้ว.

ภิกษุควรพยายามให้หลุดพ้นจากวัฏทุกข์

พระศาสดาทรงตรวจดูภิกษุเหล่านั้น แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย

ธรรมดาภิกษุพึงพยายามเพื่อหลุดพ้นจากวัฏทุกข์ให้ได้ ดุจดอกไม้ที่หลุด

จากขั้วฉะนั้น." ประทับนั่งที่พระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงเปล่งพระรัศมีไป

แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๘. วสฺสิกา วิย ปุปฺผานิ มทฺทวานิ ปมุญฺจติ

เอว ราคญฺจ โทสญฺจ วิปฺปมุญฺเจถ ภิกฺขโว.

" ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงปลดเปลื้องราคะและ

โทสะเสีย เหมือนมะลิเครือปล่อยดอกทั้งหลายที่

เหี่ยวเสียฉะนั้น."

แก้อรรถ

มะลิ ชื่อว่า วสฺสิกา ในพระคาถานั้น.

บทว่า มชฺชวานิ แปลว่า เหี่ยวแล้ว.

๑. สี. ยุ. มทฺทวานิ. ม. มจฺจวานิ. บาลี มทฺทวานิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 385

ท่านกล่าวคำอธิบายนี้ไว้ว่า :-

" มะลิเครือ ย่อมปล่อยคือย่อมสลัดซึ่งดอกที่บานแล้วในวันวาน ใน

วันรุ่งขึ้นเป็นดอกไม้เก่า เสียจากขั้วฉันใด; แม้ท่านทั้งหลายก็จงปลด-

เปลื้องโทษทั้งหลายมีราคะเป็นต้นฉันนั้นเถิด."

ในกาลจบเทศนา ภิกษุแม้ทั้งหมดตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 386

๙. เรื่องพระสันตกายเถระ [๒๖๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสันตกาย-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สนฺตกาโย " เป็นต้น.

พระเถระเคยเกิดเป็นราชสีห์

ดังได้สดับมา ชื่อว่าการคะนองมือและเท้าของพระเถระนั้น มิได้

มีแล้ว. ท่านได้เป็นผู้เว้นจากการบิดกาย เป็นผู้มีอัตภาพสงบ.

ได้ยินว่า พระเถระนั้นมาจากกำเนิดแห่งราชสีห์. นัยว่า ราชสีห์

ทั้งหลาย ถือเอาอาหารในวันหนึ่งแล้ว เข้าไปสู่ถ้ำเงิน ถ้ำทอง ถ้ำแก้ว

มณี และถ้ำแก้วประพาฬ ถ้ำใดถ้ำหนึ่ง นอนที่จุรณแห่งมโนศิลา และ

หรดาลตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๗ ลุกขึ้นแล้ว ตรวจดูที่แห่งตนนอนแล้ว,

ถ้าเห็นว่าจุรณแห่งมโนศิลาและหรดาลกระจัดกระจายแล้ว เพราะความที่

หาง หู หรือเท้าอันตัวกระดิกแล้ว จึงคิดว่า " การทำเช่นนี้ ไม่สมควร

แก่ชาติหรือโคตรของเจ้า" แล้วก็นอนอดอาหารไปอีกตลอด ๗ วัน; แต่

เมื่อไม่มีความที่จุรณทั้งหลายยกระจัดกระจายไป จึงคิดว่า " การทำเช่นนี้

สมควรแก่ชาติและโคตรของเจ้า " ดังนี้แล้ว ก็ออกจากที่อาศัย บิดกาย

ชำเลืองดูทิศทั้งหลาย บันลือสีหนาท ๓ ครั้ง แล้วก็หลีกไปหากิน. ภิกษุ

นี้มาแล้วโดยกำเนิดแห่งราชสีห์เห็นปานนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย เห็นความประพฤติเรียบร้อยทางกายของท่าน จึง

กราบทูลแด่พระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า ภิกษุผู้เช่นกับพระสันตกายเถระ

พวกข้าพระองค์ไม่เคยเห็นแล้ว, ก็การคะนองมือ คะนองเท้า หรือการ

บิดกายของภิกษุนี้ ในที่แห่งภิกษุนี้นั่งแล้ว มิได้มี."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 387

ภิกษุควรเป็นผู้สงบ

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย

ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้สงบทางทวารทั้งหลายมีกายทวารเป็นต้นโดยแท้

เหมือนสันตกายเถระฉะนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๙. สนฺตกาโย สนฺตวาโจ สนฺตมโน สุสมาหิโต

วนฺตโลกามิโส ภิกฺขุ อุปสนฺโตติ วุจฺจติ.

" ภิกษุผู้มีกายสงบ มีวาจาสงบ มีใจสงบ ผู้

ตั้งมั่นดีแล้ว มีอามิสในโลกอันคายเสียแล้ว เรา

เรียกว่า " ผู้สงบระงับ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺตกาโย เป็นต้น ความว่า ชื่อว่า

ผู้มีกายสงบแล้ว เพราะความไม่มีกายทุจริตทั้งหลายมีปาณาติบาตเป็นต้น.

ชื่อว่า ผู้มีวาจาสงบแล้ว เพราะความไม่มีวจีทุจริตทั้งหลาย มีมุสาวาท

เป็นต้น, ชื่อว่า มีใจสงบแล้ว เพราะความไม่มีมโนทุจริตทั้งหลายมี

อภิชฌาเป็นต้น, ชื่อว่า ผู้ตั้งมั่นดีแล้ว เพราะความที่ทวารทั้ง ๓ มีกาย

เป็นต้นตั้งมั่นแล้วด้วยดี, ชื่อว่า มีอามิสในโลกอันคายแล้ว เพราะความ

ที่อามิสในโลกเป็นของอันตนสำรอกเสียแล้วด้วยมรรค ๔, พระศาสดา

ตรัสเรียกว่า ' ชื่อว่าผู้สงบ ' เพราะความที่กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นใน

ภายในสงบระงับแล้ว.

ในกาลจบเทศนา พระเถระตั้งอยู่ในพระอรหัตแล้ว, เทศนาได้

เป็นประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระสันตกายเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 388

๑๐. เรื่องพระนังคลกูฏเถระ [๒๖๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนังคลกูฏ-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตนา โจทยตฺตาน " เป็นต้น.

คนเข็ญใจบวชในพระพุทธศาสนา

ดังได้สดับมา มนุษย์เข็ญใจผู้หนึ่ง ทำการรับจ้างของชนเหล่าอื่น

เลี้ยงชีพ. ภิกษุรูปหนึ่ง เห็นเขานุ่งผ้าท่อนเก่า แบกไถ เดินไปอยู่ จึง

พูดอย่างนี้ว่า " ก็เธอบวช จะไม่ประเสริฐกว่าการเป็นอยู่อย่างนี้หรือ."

มนุษย์เข็ญใจ. ใครจักให้กระผมผู้เป็นอยู่อย่างนี้บวชเล่าขอรับ.

ภิกษุ. หากเธอจักบวช, ฉันก็จักให้เธอบวช.

มนุษย์เข็ญใจ. " ดีละ ขอรับ, ถ้าท่านจักให้กระผมบวช กระผม

ก็จักบวช."

ครั้งนั้น พระเถระนำเขาไปสู่พระเชตวัน แล้วให้อาบน้ำด้วยมือ

ของตน พักไว้ในโรงแล้วให้บวช ให้เขาเก็บไถ พร้อมกับผ้าท่อนเก่าที่

เขานุ่ง ไว้ที่กิ่งไม้ใกล้เขตแดนแห่งโรงนั้นแล. แม้ในเวลาอุปสมบท เธอ

ได้ปรากฏชื่อว่า " นังคลกูฏเถระ" นั่นแล.

ภิกษุมีอุบายสอนตนเองย่อมระงับความกระสัน

พระนังคลกูฏเถระนั้น อาศัยลาภสักการะซึ่งเกิดขึ้นเพื่อพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลายเลี้ยงชีพอยู่ กระสันขึ้นแล้ว เมื่อไม่สามารถเพื่อจะบรรเทาได้

จึงตกลงใจว่า " บัดนี้ เราจักไม่นุ่งห่มผ้ากาสายะทั้งหลายที่เขาให้ด้วย

ศรัทธาไปละ" ดังนี้แล้ว ก็ไปยังโคนต้นไม้ ให้โอวาทตนด้วยตนเองว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 389

" เจ้าผู้ไม่มีหิริ หมดยางอาย เจ้าอยากจะนุ่งห่มผ้าขี้ริ้วผืนนี้ สึกไปทำการ

รับจ้างเลี้ยงชีพ (หรือ)." เมื่อท่านโอวาทคนอยู่อย่างนั้นแล จิตถึงความ

เป็นธรรมชาติเบา (คลายกระสัน ) แล้ว.

ท่านกลับมาแล้ว โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน ก็กระสันขึ้นอีก จึง

สอนตนเหมือนอย่างนั้นนั่นแล, ท่านกลับใจได้อีก. ในเวลากระสันขึ้นมา

ท่านไปในที่นั้นแล้ว โอวาทตนโดยทำนองนี้แล.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย เห็นท่านไปอยู่ในที่นั้นเนือง ๆ จึงถามว่า

" ท่านนังคลกูฏเถระ เหตุไร ท่านจึงไปในที่นั้น."

ท่านตอบว่า " ผมไปยังสำนักอาจารย์ ขอรับ " ดังนี้แล้วต่อมา

๒-๓ วันเท่านั้น (ก็) บรรลุพระอรหัตผล.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะทำการล้อเล่นกับท่าน จึงกล่าวว่า " ท่าน

นังคลกูฏะผู้หลักผู้ใหญ่ ทางที่เที่ยวไปของท่าน เป็นประหนึ่งหารอยมิได้

แล้ว, ชะรอยท่านจะไม่ไปยังสำนักของอาจารย์อีกกระมัง"

พระเถระ. อย่างนั้น ขอรับ: เมื่อกิเลสเครื่องเกี่ยวข้องยังมีอยู่

ผมได้ไปแล้ว, แต่บัดนี้ กิเลสเครื่องเกี่ยวข้อง ผมตัดเสียได้แล้ว เพราะ-

ฉะนั้น ผมจึงไม่ไป.

ภิกษุทั้งหลาย ฟังคำตอบนั้นแล้ว เข้าใจว่า " ภิกษุนี่ พูดไม่จริง

พยากรณ์พระอรหัตผล" ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลเนื้อความนั้นแด่

พระศาสดา.

ภิกษุควรเป็นผู้เตือนตน

พระศาสดาตรัสว่า " เออ ภิกษุทั้งหลาย นังคลกูฏะบุตรของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 390

เตือนตนด้วยตนเองแล แล้วจึงถึงที่สุดแห่งกิจของบรรพชิต " ดังนี้แล้ว

เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๑๐. อตฺตนา โจทยตฺตาน ปฏิมเสตมฺตนา

โส อตฺตคุตฺโต สติมา สุข ภิกฺขุ วิหาหิสิ.

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ อตฺตา หิ อตฺตโน คติ

ตสฺมา สญฺม อตฺตาน อสฺส ภทฺรว วาณิโช.

" เธอจงตักเตือนตนด้วยตน, จงพิจารณาดูตน

นั้นด้วยตน, ภิกษุ เธอนั้นมีสติ ปกครองตนได้แล้ว

จักอยู่สบาย. ตนแหละ เป็นนาถะของตน, ตน

แหละ เป็นคติของตน; เพราะฉะนั้น เธอจงสงวน

ตนให้เหมือนอย่างพ่อค้าม้า สงวนม้าตัวเจริญฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โจทยตฺตาน ความว่า จงตักเตือน

ตนด้วยตนเอง คือจงยังตนให้รู้สึกด้วยตนเอง.

บทว่า ปฏิมเส คือตรวจตราดูตนด้วยตนเอง.

บทว่า โส เป็นต้น ความว่า ภิกษุ เธอนั้นเมื่อตักเตือนพิจารณา

ดูตนอย่างนั้นอยู่, เป็นผู้ชื่อว่า ปกครองตนได้ เพราะความเป็นผู้มีตน

ปกครองแล้วด้วยตนเอง เป็นผู้ชื่อว่า มีสติ เพราะความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น

แล้ว จักอยู่สบายทุกสรรพอิริยาบถ.

บทว่า นาโถ ความว่า เป็นที่อาศัย คือเป็นที่พำนัก (คนอื่นใคร

เล่า พึงเป็นที่พึ่งได้) เพราะบุคคลอาศัยในอัตภาพของผู้อื่น ไม่อาจเพื่อ

เป็นผู้กระทำกุศลแล้ว มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า หรือเป็นผู้ยังมรรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 391

ให้เจริญแล้ว ทำผลให้แจ้งได้; เพราะเหตุนั้น จึงมีอธิบายว่า " คนอื่น

ชื่อว่าใครเล่า พึงเป็นที่พึ่งได้."

บทว่า ตสฺมา เป็นต้น ความว่า เหตุที่ตนแลเป็นคติ คือเป็นที่

พำนัก ได้แก่เป็นสรณะของตน.

พ่อค้าม้าอาศัยม้าตัวเจริญ คือม้าอาชาไนยนั้น ปรารถนาลาภอยู่

จึงเกียดกันการเที่ยวไปในวิสมสถาน (ที่ไม่สมควร) แห่งม้านั้น ให้อาบน้ำ

ให้บริโภคอยู่ ตั้งสามครั้งต่อวัน ชื่อว่า ย่อมสงวน คือประดับประคอง

ฉันใด, แม้ตัวเธอ เมื่อป้องกันความเกิดขึ้นแห่งอกุศลซึ่งยังไม่เกิด ขจัด

ที่เกิดขึ้นแล้วเพราะการหลงลืมสติเสีย (ก็) ชื่อว่า สงวนคือปกครองตน

ฉันนั้น; เมื่อเธอสงวนตนได้อย่างนี้อยู่ เธอจักบรรลุคุณพิเศษทั้งที่เป็น

โลกิยะทั้งที่เป็นโลกุตระ เริ่มแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระนังคลกูฏเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 392

๑๐. เรื่องพระวักกลิเถระ [๒๖๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนพระวักกลิ-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ" เป็นต้น.

ผู้เห็นธรรมชื่อว่าเห็นพระตถาคต

ดังได้สดับมา ท่านวักกลิเถระนั้น เกิดในตระกูลพราหมณ์ในกรุง-

สาวัตถี เจริญวัยแล้ว, เห็นพระตถาคตเสด็จเข้าไปเพื่อบิณฑบาต แลดู

พระสรีระสมบัติของพระศาสดาแล้ว ไม่อิ่มด้วยการเห็นพระสรีระสมบัติ,

จึงบรรพชาในสำนักพระศาสดา ด้วยเข้าใจว่า " เราจักได้เห็นพระตถาคต-

เจ้าเป็นนิตยกาล ด้วยอุบายนี้ " ดังนี้แล้ว, ก็ยืนอยู่ในที่อันตนยืนอยู่แล้ว

สามารถเพื่อจะแลเห็นพระทศพลได้, ละกิจวัตรทั้งหลาย มีการสาธยาย

และมนสิการในพระกัมมัฏฐานเป็นต้น เที่ยวมองดูพระศาสดาอยู่.

พระศาสดาทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของท่านอยู่ จึงไม่ตรัส

อะไร (ต่อ) ทรงทราบว่า " บัดนี้ ญาณของเธอถึงความแก่กล้าแล้ว" จึง

ตรัสโอวาทว่า " วักกลิ ประโยชน์อะไรของเธอ ด้วยการเฝ้าดูกายเน่านี้,

วักกลิ คนใดแลเห็นธรรม, คนนั้น (ชื่อว่า) เห็นเรา (ผู้ตถาคต) คนใด

เห็นเรา (ผู้ตถาคต), คนนั้น (ชื่อว่า) เห็นธรรม. "

พระวักกลินั้น แม้อันพระศาสดาสอนแล้วอย่างนั้น ก็ไม่อาจเพื่อ

ละการดูพระศาสดาไปในที่อื่นได้เลย.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ ไม่ได้ความสังเวชแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 393

จักไม่ได้ตรัสรู้" เมื่อวัสสูปนายิกสมัยใกล้เข้ามาแล้ว จึงเสด็จไปสู่กรุง-

ราชคฤห์ ในวันเข้าพรรษา ทรงขับไล่ท่านด้วยพระดำรัสว่า " วักกลิ

เธอจงหลีกไป." ท่านคิดว่า " พระศาสดา ไม่รับสั่งกะเรา " ไม่อาจ

เพื่อดำรงอยู่ ณ ที่ตรงพระพักตร์ของพระศาสดาได้ตลอดไตรมาส จึงคิดว่า

" ประโยชน์อะไรของเราด้วยชีวิต, เราจักให้ตนตกจากภูเขาเสีย " ดังนี้

แล้ว จึงขึ้นภูเขาคิชฌกูฏ. พระศาสดาทรงทราบความเมื่อยล้าของท่าน

แล้ว ทรงดำริว่า " ภิกษุนี้ เมื่อไม่ได้ความปลอบโยนจากสำนักของเรา,

พึงยังอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้งหลายให้ฉิบหาย" จึงทรงเปล่งพระรัศมี

ไปแล้ว เพื่อจะทรงแสดงพระองค์ (ให้ปรากฏ).

ลำดับนั้น จำเดิมแต่เวลาท่านเห็นพระศาสดาแล้ว ความเศร้าโศก

แม้มากถึงเพียงนั้น หายไปแล้ว.

พระศาสดาเป็นประดุจว่ายังสระที่แห้งให้เต็มด้วยน้ำ เพื่อทรงยังปีติ

และปราโมทย์อันมีกำลังให้เกิดแก่พระเถระ จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๑. ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน

อธิคจฺเฉ ปท สนฺต สงฺขารูปสม สุข.

" ภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์ เลื่อมใสแล้วในพระ-

พุทธศาสนา พึงบรรลุสันตบท เป็นที่เข้าไปสงบ

สังขาร เป็นสุข."

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า:-

๑. น พุชฺฌิสฺสติ แปลว่า จักไม่รู้สึกตัวก็ได้ อธิบายว่า มัวแต่พะวงอยู่ด้วยการดูพระรูปพระ-

ศาสดา ความรู้สึกตัว เพื่อจะทำความเพียร บรรลุธรรมพิเศษ ย่อมไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 394

ภิกษุผู้มากด้วยปราโมทย์ แม้โดยปกติ ย่อมปลูกความเลื่อมใสใน

พระพุทธศาสนา, ภิกษุนั่นเลื่อมใส (ในพระพุทธศาสนา) แล้วอย่างนั้น

พึงบรรลุพระนิพพานในพระพุทธศาสนา อันได้ชื่อว่า " สันตบท เป็นที่

เข้าไปสงบสังขาร เป็นสุข. "

ก็แลพระศาสดาครั้นตรัสพระคาถานี้แล้ว ทรงเหยียดพระหัตถ์ ได้

ตรัสพระคาถาเหล่านี้แก่พระวักกลิเถระว่า :-

" มาเถิด วักกลิ เธออย่ากลัว จงแลดูพระตถาคต,

เราจักยกเธอขึ้น เหมือนบุคคลพยุงช้างตัวจมใน

เปือกตมขึ้นฉะนั้น. มาเถิด วักกลิ เธออย่ากลัว จง

แลดูพระตถาคต, เราจักยกเธอขึ้น เหมือนบุคคลที่

ช่วยพระจันทร์ที่ถูกราหูจับฉะนั้น."

ท่านยังปีติอย่างแรงกล้าให้เกิดขึ้นแล้วว่า " เราได้เห็นพระทศพลแล้ว"

และคำร้องเรียกว่า ' มาเถิด ' จึงคิดว่า " เราพึงไปโดยทางไหนหนอ ?"

เมื่อไม่เห็นทางเป็นที่ไป จึงเหาะขึ้นไปในอากาศในที่เฉพาะพระพักตร์

พระทศพล เมื่อเท้าทีแรกตั้งอยู่ที่ภูเขานั่นแล, นึกถึงพระคาถาที่พระ-

ศาสดาตรัสแล้ว ข่มปีติได้ในอากาศนั่นแล บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ถวายบังคมพระตถาคตอยู่นั่นแล ได้ลงมายืนอยู่

ในสำนักพระศาสดาแล้ว.

ครั้นในกาลต่อมา พระศาสดาทรงตั้งท่านไว้ในตำแหน่งอันเลิศกว่า

ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นสัทธาธิมุต ดังนี้แล.

เรื่องพระวักกลิเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 395

๑๒. เรื่องสุมนสามเณร [๒๖๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภสุมนสามเณร

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย หเว " เป็นต้น.

บุรพกรรมของพระอนุรุทธะ

อนุปุพพีกถาในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้ :-

ความพิสดารว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ

กุลบุตรผู้หนึ่ง เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งอันเลิศ

กว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ ในท่ามกลางบริษัท ๔ ปรารถนาสมบัติ

นั้น จึงนิมนต์พระศาสดา ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุขสิ้น ๗ วัน แล้วตั้งความปรารถนาว่า " พระเจ้าข้า แม้ข้าพระองค์

พึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้มีทิพยจักษุ ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า

พระองค์หนึ่งในอนาคต."

พระศาสดาทรงตรวจดูสิ้นแสนกัลป์ ทรงทราบความสำเร็จแห่ง

ความปรารถนาของเขาแล้ว จึงทรงพยากรณ์ว่า " ในที่สุดแห่งแสนกัลป์

แต่ภัทรกัลป์นี้ เธอจักเป็นผู้ชื่อว่าอนุรุทธเถระ เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้

ได้ทิพยจักษุ ในศาสนาของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม." เขาฟัง

คำพยากรณ์นั้นแล้ว สำคัญสมบัตินั้นดุจว่าอันตนบรรลุในวันพรุ่งนี้, เมื่อ

พระศาสดาปรินิพพานแล้ว, จึงถามการบริกรรมเพื่ออันได้ทิพยจักษุกะ

พวกภิกษุ ให้ทำโคมต้นหลายพันต้น ล้อมพระสถูปทองอัน (สูงใหญ่ได้)

๗ โยชน์ แล้วให้ทำการบูชาด้วยประทีป จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 396

เทวโลก ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลกสิ้นแสนกัลป์ ในกัลป์นี้

เกิดในตระกูลของคนเข็ญใจ ในกรุงพาราณสี อาศัยสุมนเศรษฐี เป็นคน

ขนหญ้าของเศรษฐีนั้นเลี้ยงชีพแล้ว. เขาได้มีชื่อว่า " อันนภาระ." แม้

สุมนเศรษฐีก็ถวายมหาทาน ในพระนครนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์.

ภายหลังวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธะนามว่าอุปริฏฐะ ออกจาก

นิโรธสมาบัติที่เขาคันธมาทน์แล้ว คิดว่า "วันนี้ เราจักทำความอนุเคราะห์

แก่ใครหนอแล ?" ทราบว่า " วันนี้ การที่เราทำความอนุเคราะห์แก่บุรุษ

ชื่ออันนภาระ ควร, ก็บัดนี้ เขาขนหญ้าจากดงแล้วจักมาเรือน" ดังนี้

แล้ว จึงถือบาตรและจีวรไปด้วยฤทธิ์ ปรากฏเฉพาะหน้าของอันนภาระ.

อันนภาระเห็นท่านมีบาตรเปล่าในมือแล้ว ถามว่า " ท่านขอรับ ท่านได้

ภิกษาบ้างแล้วหรือ ?" เมื่อท่านตอบว่า " เราจักได้ละ ท่านผู้มีบุญมาก "

จึงเรียนว่า "ท่านผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอพระผู้เป็นเจ้าโปรดรอหน่อย

เถิด" ดังนี้แล้ว ก็ทิ้งหาบหญ้าไว้ ไปสู่เรือนโดยเร็ว ถามภรรยาว่า " นาง

ผู้เจริญ ภัตส่วนที่หล่อนเก็บไว้เพื่อฉันมีหรือไม่ ? " เมื่อนางตอบว่า " มี

อยู่ นาย," จึงกลับมาโดยเร็ว รับบาตรของพระปัจเจกพุทธะไปสู่เรือน

ด้วยคิดว่า " เมื่อความที่เราเป็นผู้ปรารถนาเพื่อจะให้ มีอยู่ ไทยธรรมไม่

มี, เมื่อไทยธรรมมี เราไม่ได้ปฏิคาหก แต่วันนี้ปฏิคาหกเราก็พบแล้ว

และไทยธรรมของเราก็มีอยู่, เป็นลาภของเราหนอ" ให้เทภัตลงในบาตร

แล้วนำกลับมาตั้งไว้ในมือพระปัจเจกพุทธะแล้วตั้งความปรารถนาว่า :-

" ก็ด้วยทานอันนี้ ความเป็นผู้ขัดสนอย่าได้มี

แล้วแก่ข้าพเจ้า, ชื่อว่าคำว่า ไม่มี อย่ามีแล้วใน

ภพน้อยภพใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 397

ท่านเจ้าข้า ขอข้าพเจ้าพึงพ้นจากการเลี้ยงชีพอันฝืดเคืองเห็นปานนี้,

ไม่พึงได้ฟังบทว่า ' ไม่มี ' เลย."

พระปัจเจกพุทธะกระทำอนุโมทนาว่า " ขอความปรารถนาของท่าน

จงเป็นอย่างนั้นเถิด ท่านผู้มีบุญมาก" ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป.

เทพดาผู้สิงอยู่ในฉัตรแม้ของสุมนเศรษฐี กล่าวว่า :-

" น่าชื่นใจจริง ทานเป็นทานเยี่ยม อันนภาระ

ตั้งไว้ดีแล้วในพระอุปริฏฐปัจเจกพุทธะ "

ดังนี้แล้วก็ได้ให้สาธุการสามครั้ง.

ครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกะเทพดานั้นว่า "ท่านไม่เห็นเราผู้ถวายทาน

อยู่สิ้นกาลประมาณเท่านี้หรือ ? "

เทพดา. ข้าพเจ้าปรารภทานของท่านแล้วให้สาธุการก็หาไม่, แต่

สาธุการนี่ ข้าพเจ้าให้เป็นไปแล้ว ก็เพราะความเลื่อมใสในบิณฑบาตที่

อันนภาระถวายแล้วแก่พระอุปริฏฐปัจเจกพุทธะ.

เศรษฐีนั้นคิดว่า " น่าอัศจรรย์จริง ท่านผู้เจริญ: เราถวายทาน

สิ้นกาลเท่านี้ ก็ไม่สามารถเพื่อจะให้เทพดาให้สาธุการได้, อันนภาระ

อาศัยเราเป็นอยู่ ยังให้เทพดาสาธุการด้วยบิณฑบาตหนเดียวเท่านั้นได้,

เราจักทำสิ่งอันสมควรกันในทานของเขา แล้วทำบิณฑบาตนั้นให้เป็น

ของ ๆ เราเสีย " ดังนี้แล้ว จึงให้เรียกเขามาถามว่า " วันนี้ เจ้าได้ให้

อะไรแก่ใครบ้าง ?"

อันนภาระ. นายขอรับ, วันนี้ กระผมถวายภัตตาหารแก่พระ-

อุปริฏฐปัจเจกพุทธะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 398

เศรษฐี. เอาเถอะ พ่อ เจ้าจงถือเอากหาปณะ แล้วให้บิณฑบาต

นั่นแก่ฉันเถิด.

อันนภาระ. ให้ไม่ได้ดอกนาย.

เศรษฐีนั้น ขึ้นราคาให้จนถึงพัน. ฝ่ายอันนภาระนี้ ก็มิได้ให้แม้

ด้วยทรัพย์ตั้งพัน. ลำดับนั้น เศรษฐีกล่าวกะเขาว่า " ผู้เจริญ ข้อนั้น

จงยกไว้เถิด, ถ้าเจ้าไม่ให้บิณฑบาต, จงถือเอาทรัพย์พันหนึ่ง แล้วให้ส่วน

บุญแก่ฉันเถิด."

เขากล่าวว่า " กระผมปรึกษากับพระผู้เป็นเจ้าดูแล้ว จักรู้ได้ " รีบ

ไปทันพระปัจเจกพุทธะแล้วเรียนถามว่า " ท่านผู้เจริญ สุมนเศรษฐีให้

ทรัพย์พันหนึ่ง แล้วขอส่วนบุญในบิณฑบาตของท่าน, กระผมจะทำ

อย่างไร ? "

ทีนั้น ท่านนำข้อความมาเปรียบเทียบแก่เขาว่า " แม้ฉันใด ท่าน

ผู้เป็นบัณฑิต ประทีปในเรือนหลังหนึ่งในบ้าน ๑๐๐ ตระกูล พึงลุก

โพลงขึ้น, พวกชนที่เหลือ เอาน้ำมันของตนชุบไส้แล้วพึงไปจุดไฟดวง

อื่นแล้วถือเอา; แสงสว่างของประทีปดวงเดิม อันบุคคลจะพึงกล่าวว่า

' มี ' หรือว่า ' ไม่มี. '

อันนภาระ. แสงสว่างย่อมมีมากกว่า ขอรับ.

พระปัจเจกพุทธะ. ฉันนั้นนั่นแล ท่านผู้เป็นบัณฑิต จะเป็นข้าว

ยาคูกระบวยหนึ่ง หรือภิกษาทัพพีหนึ่งก็ตาม, เมื่อบุคคลให้ส่วนบุญใน

บิณฑบาตของตนแก่ผู้อื่นอยู่, ให้แก่คนไปเท่าใด, บุญเท่านั้นย่อมเจริญ;

ก็ท่านได้ให้บิณฑบาตส่วนหนึ่งเท่านั้น, แต่เมื่อท่านให้ส่วนบุญแก่เศรษฐี,

บิณฑบาตชื่อว่าเป็นสองส่วน: ส่วนหนึ่งเป็นของท่าน ส่วนหนึ่งเป็นของ

เศรษฐี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 399

เขารับว่า " ดีละ ท่านผู้เจริญ " แล้ว ไหว้พระปัจเจกพุทธะนั้น

แล้วไปสู่สำนักของเศรษฐี กล่าวว่า " นาย ขอท่านจงรับเอาส่วนบุญเถิด."

เศรษฐี. ถ้ากระนั้น พ่อจงรับเอากหาปณะเหล่านี้ไป.

อันนภาระ. กระผมไม่ได้ขายบิณฑบาต, กระผมให้ส่วนบุญแก่ท่าน

ด้วยศรัทธา.

เศรษฐีกล่าวว่า " เจ้าให้ด้วยศรัทธา, ถึงเราก็บูชาคุณของเจ้า;

ด้วยศรัทธา จงรับเอาไปเถิดพ่อ, อนึ่ง จำเดิมแต่นี้ไป เจ้าอย่าได้ทำการ

งานด้วยมือของตน, จงปลูกเรือนอยู่ริมถนนเถิด, และจงถือเอาวัตถุ

ทุกอย่างที่เจ้าต้องการ จากสำนักของฉัน. "

ก็บิณฑบาตที่บุคคลถวายแก่ท่านผู้ออกจากนิโรธ ย่อมให้ผลในวัน

นั้นนั่นเอง; เพราะฉะนั้น แม้พระราชาทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้ว จึง

รับสั่งให้เรียกอันนภาระมาแล้ว ทรงรับส่วนบุญ พระราชทานโภคะมาก

มาย แล้วรับสั่งให้พระราชทานตำแหน่งเศรษฐีแก่เขา.

ประวัติพระอนุรุทธะ

อันนภาระนั้น เป็นสหายของสุมนเศรษฐี ทำบุญทั้งหลายตลอด

ชีวิต จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลก

และมนุษยโลก, ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในตำหนักของเจ้าศากยะ

พระนามว่าอมิโตทนะ ในพระนครกบิลพัสดุ์. พระประยูรญาติทั้งหลาย

ทรงขนานพระนามแก่พระกุมารนั้นว่า " อนุรุทธะ. " พระกุมารนั้น เป็น

พระกนิษฐภาดาของเจ้ามหานามศากยะ เป็นพระโอรสของพระเจ้าอาของ

พระศาสดา ได้เป็นผู้สุขุมาลชาติอย่างยิ่ง มีบุญมาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 400

ได้ยินว่า วันหนึ่ง เมื่อกษัตริย์หกพระองค์เล่นขลุบเอาขนมทำ

คะแนนกัน, เจ้าอนุรุทธะแพ้, จึงส่งข่าวไปยังสำนักของพระมารดาเพื่อ

ต้องการขนม. พระมารดานั้น เอาภาชนะทองคำใบใหญ่บรรจุให้เต็มแล้ว

ส่งขนม (ให้). เจ้าอนุรุทธะเสวยขนมแล้ว ทรงเล่นแพ้อีก ก็ส่งข่าวไป

อย่างนั้นเหมือนกัน.

เมื่อคนนำขนมมาอย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง, ในครั้งที่ ๔ พระมารดาส่งข่าว

ไปว่า " บัดนี้ ขนมไม่มี." เจ้าอนุรุทธะ ทรงสดับคำของพระมารดานั้น,

แล้ว ทำความสำคัญว่า " ขนมที่ชื่อว่าไม่มี จักมีในบัดนี้ " เพราะความ

ที่บทว่า " ไม่มี " เป็นบทที่ตนไม่เคยสดับแล้ว จึงทรงส่งไปด้วยพระดำรัส

ว่า " เจ้าจงไป, จงนำขนมไม่มีมา."

ครั้งนั้นพระมารดาของพระกุมารนั้น, เมื่อคนรับใช้ ทูลว่า " ข้าแต่

พระแม่เจ้า นัยว่า ขอพระแม่เจ้าจงให้ขนมไม่มี," จึงทรงดำริว่า " บทว่า

' ไม่มี ' อันบุตรของเราไม่เคยฟังมาแล้ว, เราพึงให้เขารู้ความที่ขนมไม่มี

นั้นอย่างไรได้หนอแล ?" จึงทรงล้างถาดทองคำปิดด้วยถาดทองคำใบอื่น

ส่งไปว่า " เอาเถิด พ่อ เจ้าจงให้ถาดทองคำนี้แก่บุตรของเรา. "

ขณะนั้น เทพดาทั้งหลายผู้รักษาพระนคร คิดว่า " เจ้าอนุรุทธะ

ผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ถวายภัตอันเป็นส่วน (ของตน) แก่พระปัจเจกพุทธะ

นามว่าอุปริฏฐะ แล้วตั้งความปรารถนาไว้ว่า ' เราไม่พึงได้ฟังบทว่า

ไม่มี ' ในกาลแห่งตนเป็นคนขนหญ้าชื่ออันนภาระ. หากว่า เราทราบ

ความนั้นแล้ว พึงเฉยเสียไซร้, แม้ศีรษะของเราพึงแตกออก ๗ เสี่ยง "

จึงบรรจุถาดให้เต็มด้วยขนมทิพย์ทั้งหลายแล้ว . บุรุษนั้นนำถาดมาวางไว้ใน

สำนักของเจ้าศากยะเหล่านั้น แล้วเปิดออก. กลิ่นของขนมทิพย์เหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 401

แผ่ซ่านไปทั่วพระนคร. ก็เมื่อขนมพอสักว่าอันเจ้าศากยะเหล่านั้น ทรงวาง

ไว้ในพระโอษฐ์ กลิ่นนั้นได้แผ่ไปสู่เส้นสำหรับรสตั้ง ๗ พันตั้งอยู่แล้ว.

เจ้าอนุรุทธะทรงดำริว่า "ในกาลก่อนแต่นี้ พระมารดาเห็นจะไม่

ทรงรักเรา. เพราะในกาลอื่น พระองค์ท่านไม่เคยทอดขนมไม่มีแก่เรา. "

พระกุมารนั้นไปแล้ว ทูลกะพระมารดาอย่างนี้ว่า " ข้าแต่พระมารดา

หม่อมฉันไม่เป็นที่รักของพระองค์หรือ ?"

มารดา. พ่อ พูดอะไร ? เจ้าเป็นที่รักยิ่งของแม่ แม้กว่านัยน์ตา

ทั้งสอง แม้กว่าเนื้อในหทัย.

อนุรุทธะ. ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าหม่อมฉันเป็นที่รักของพระองค์ไซร้.

เพราะเหตุอะไร ? ในกาลก่อน พระองค์จึงไม่ได้ประทานขนมไม่มีเห็น

ปานนี้แก่หม่อมฉัน.

พระนางตรัสถามบุรุษนั้นว่า " พ่อ อะไรได้มีในถาดหรือ ?"

บุรุษนั้นทูลว่า " มี พระแม่เจ้า, ถาดเต็มเปี่ยมด้วยขนมทั้งหลาย,

ขนมเห็นปานนี้ ข้าพระองค์ไม่เคยเห็น."

พระนางดำริว่า " บุตรของเราได้ทำบุญไว้แล้ว, ขนมทิพย์จัก

เป็นของอันเทพดาทั้งหลายส่งไปให้บุตรของเรา."

แม้เจ้าอนุรุทธะ ก็ทูลกะพระมารดาว่า " ข้าแต่พระแม่เจ้า ขนม

เห็นปานนี้ หม่อมฉันไม่เคยกินเลย, จำเดิมแต่นี้ พระองค์พึงทอดเฉพาะ

ขนมไม่มีเท่านั้น แก่หม่อมฉัน."

จำเดิมแต่นั้น พระนางทรงล้างถาดทองคำแล้ว ปิดด้วยถาดใบอื่น

ส่งไป (ให้) ในเวลาเจ้าอนุรุทธะทูลว่า " หม่อมฉันมีประสงค์จะบริโภค

ขนม." เทพดาทั้งหลายย่อมยังถาดให้เต็ม (ด้วยขนม). พระกุมารนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 402

เมื่ออยู่ในท่ามกลางวัง มิได้ทราบเนื้อความแห่งบทว่า "ไม่มี" ด้วย

อาการอย่างนี้ เสวยแต่ขนมทิพย์ทั้งนั้น.

ก็เมื่อโอรสของเจ้าศากยะผนวชตามลำดับตระกูล เพื่อเป็นบริวาร

ของพระศาสดา, เมื่อเจ้ามหานามศากยะตรัสว่า " พ่อ ในตระกูลของพวก

เรา ใคร ๆ ซึ่งบวชแล้วไม่มี, เธอหรือฉันควรจะบวช." เจ้าอนุรุทธะ

ตรัสว่า " หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ไม่สามารถจะบวชได้."

เจ้ามหานาม. ถ้ากระนั้น เธอจงเรียนการงานเสีย. ฉันจักบวช.

เจ้าอนุรุทธะ. ชื่อว่าการงานนี้ เป็นอย่างไร ?

จริงอยู่ เจ้าอนุรุทธะย่อมไม่ทราบแม้ที่เกิดขึ้นแห่งภัต, จักทราบ

การงานได้อย่างไร ? เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น.

ก็วันหนึ่ง เจ้าศากยะสามพระองค์ คือ อนุรุทธะ ภัททิยะ กิมพิละ

ปรึกษากันว่า " ชื่อว่าภัต เกิดในที่ไหน ?" บรรดาเจ้าศากยะทั้งสาม

พระองค์นั้น เจ้ากิมพิละตรัสว่า " ภัตเกิดขึ้นในฉาง." ได้ยินว่าวันหนึ่ง

เจ้ากิมพิละนั้น ได้เห็นข้าวเปลือกที่เขาขึ้นใส่ในฉาง; เพราะฉะนั้น จึงตรัส

อย่างนี้ ด้วยสำคัญว่า " ภัต ย่อมเกิดขึ้นในฉาง."

ครั้งนั้น เจ้าภัททิยะตรัสกะเจ้ากิมพิละนั้นว่า " ท่านยังไม่ทราบ "

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ธรรมดาภัต ย่อมเกิดขึ้นในหม้อข้าว." ได้ยินว่า

วันหนึ่ง เจ้าภัททิยะนั้น เห็นชนทั้งหลายคดภัตออกจากหม้อข้าวนั้นแล้ว

ได้ทำความสำคัญว่า " ภัตนั่นเกิดขึ้นในหม้อนี้เอง," เพราะฉะนั้น จึงตรัส

อย่างนั้น.

เจ้าอนุรุทธะตรัสกะเจ้าทั้งสองนั้นว่า " แม้ท่านทั้งสองก็ยังไม่

ทราบ" แล้วตรัสว่า " ภัตเกิดขึ้นในถาดทองคำใบใหญ่ ซึ่งสูงได้

๑. โตก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 403

ศอกกำมา." ได้ยินว่า ท่านไม่เคยเห็นเขาตำข้าวเปลือก ไม่เคยเห็นเขาหุงภัต,

ท่านเห็นแต่ภัตที่เขาคดออกไว้ในถาดทองคำแล้ว ตั้งไว้ข้างหน้าเท่านั้น;

เพราะฉะนั้น ท่านจึงได้ทำความสำคัญว่า " ภัตนั่น ย่อมเกิดขึ้นในถาด

นั่นเอง; เพราะฉะนั้น จึงตรัสอย่างนั้น. กุลบุตรผู้มีบุญมาก เมื่อไม่รู้แม้

ที่เกิดขึ้นแห่งภัตอย่างนั้น จักรู้การงานทั้งหลายอย่างไรได้.

เจ้าอนุรุทธะนั้น ได้สดับความที่การงานทั้งหลายที่เจ้าพี่ตรัสบอก

โดยนัยเป็นต้นว่า " อนุรุทธะ จงมาเถิด, ฉันจักสอนเพื่อการอยู่ครองเรือน

แก่เธอ: อันผู้อยู่ครองเรือน จำต้องไถนาก่อน " ดังนี้ เป็นของไม่มีที่สุด

จึงทูลลาพระมารดาว่า " ความต้องการด้วยการอยู่ครองเรือนของหม่อมฉัน

ไม่มี" แล้วเสด็จออกไปพร้อมกับพระโอรสของเจ้าศากยะห้าพระองค์มีเจ้า

ภัททิยะเป็นประมุข เข้าไปเฝ้าพระศาสดาที่อนุปิยอัมพวัน ทรงผนวชแล้ว,

ก็แลครั้นผนวชแล้ว พระอนุรุทธะเป็นผู้ปฏิบัติชอบ ทำให้แจ้งซึ่งวิชชา ๓

โดยลำดับ เป็นผู้นั่งบนอาสนะเดียว สามารถเล็งดูโลกธาตุพ้นหนึ่งได้

ด้วยทิพยจักษุ ดุจผลมะขามป้อมที่บุคคลวางไว้บนฝ่ามือฉะนั้น จึงเปล่ง

อุทานขึ้นว่า :-

" เราย่อมระลึกได้ซึ่งบุพเพนิวาส, ทิพยจักษุเรา

ก็ชำระแล้ว, เราเป็นผู้ได้วิชชา ๓ เป็นผู้ถึงฤทธิ์,

คำสอนของพระพุทธเจ้า อันเราทำแล้ว."

พิจารณาดูว่า " เราทำกรรมอะไรหนอ ? จึงได้สมบัตินี้ " ทราบได้ว่า

" เราได้ตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า

ปทุมุตตระ " ทราบ (ต่อไป) อีกว่า " เราท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ในกาล

๑. ขันธ์อันอาศัยอยู่ในกาลก่อน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 404

ชื่อโน้น ได้อาศัยสุมนเศรษฐี ในกรุงพาราณสีเลี้ยงชีพ เป็นผู้ชื่อว่า

อันนภาระ" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า :-

" ในกาลก่อน เราเป็นผู้ชื่อว่าอันนภาระ เป็นคน

เข็ญใจ ขนหญ้า เราถวายบิณฑบาตแก่พระอุปริฏฐ-

ปัจเจกพุทธะ ผู้มียศ."

พระเถระระลึกถึงสหายเก่า

ครั้งนั้น ท่านได้มีความปริวิตกฉะนี้ว่า " สุมนเศรษฐีผู้เป็นสหาย

ของเรา ได้กหาปณะแล้วรับเอาส่วนบุญจากบิณฑบาตซึ่งเราถวายแก่พระ-

อุปริฏฐปัจเจกพุทธะ ในกาลนั้น, บัดนี้ เกิดในที่ไหนหนอแล ?" ทีนั้น

ท่านได้เล็งเห็นเศรษฐีนั้นว่า " บ้านชื่อว่ามุณฑนิคม มีอยู่ที่เชิงเขาใกล้ดงไฟ

ไหม้. อุบาสกชื่อมหามุณฑะในมุณฑนิคมนั้น มีบุตรสองคน คือมหาสุมนะ,

จูฬสุมนะ, ในบุตรสองคนนั้น สุมนเศรษฐี เกิดเป็นจูฬสุมนะ; " ก็แล

ครั้นเห็นแล้ว คิดว่า " เมื่อเราไปในที่นั้น, อุปการะจะมีหรือไม่มีหนอ ?"

ท่านใคร่ครวญอยู่ได้เห็นเหตุนี้ว่า " เมื่อเราไปในที่นั้น. จูฬสุมนะนั้น

มีอายุ ๗ ขวบเท่านั้นจักออกบวช, และจักบรรลุพระอรหัตในเวลาปลงผม

เสร็จนั่นเอง:" ก็แลท่านครั้นเห็นแล้ว เมื่อภายในกาลฝนใกล้เข้ามา จึง

ไปทางอากาศลงที่ประตูบ้าน. ส่วนมหามุณฑอุบาสก เป็นผู้คุ้นเคยของ

พระเถระแม้ในกาลก่อนเหมือนกัน. เขาเห็นพระเถระครองจีวรในเวลา

บิณฑบาต จึงกล่าวกะมหาสุมนะผู้บุตรว่า " พ่อ พระผู้เป็นเจ้าอนุรุทธ-

เถระของเรามาแล้ว; เจ้าจงไปรับบาตรของท่านให้ทันเวลาที่ใครๆ คนอื่น

ยังไม่รับบาตรของท่านไป; พ่อจักให้เขาปูอาสนะไว้." มหาสุมนะได้ทำ

อย่างนั้นแล้ว. อุบาสกอังคาสพระเถระภายในเรือนโดยเคารพแล้ว รับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 405

ปฏิญญาเพื่อต้องการแก่การอยู่ ( จำพรรษา ) ตลอดไตรมาส. พระเถระรับ

นิมนต์แล้ว.

ครั้งนั้น อุบาสกปฏิบัติพระเถระนั้นตลอดไตรมาส เป็นเหมือน

ปฏิบัติอยู่วันเดียว ในวันมหาปวารณา จึงนำไตรจีวรและอาหารวัตถุ

มีน้ำอ้อย น้ำมัน และข้าวสารเป็นต้นมาแล้ว วางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ

เรียนว่า " ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรับเถิด ขอรับ."

ไม่รับวัตถุกลับได้สามเณร

พระเถระ. อย่าเลยอุบาสก ความต้องการด้วยวัตถุนี้ของฉัน ไม่มี.

อุบาสก. ท่านผู้เจริญ นี่ชื่อว่า วัสสาวาสิกลาภ (คือลาภอันเกิดแก่

ผู้อยู่จำพรรษา), ขอพระผู้เป็นเจ้าจงรับวัตถุนั้นไว้เถิด.

พระเถระ. ช่างเถิด อุบาสก.

อุบาสก. ท่านย่อมไม่รับเพื่ออะไร ? ขอรับ.

พระเถระ. แม้สามเณรผู้เป็นกับปิยการก ในสำนักของฉันก็ไม่มี.

อุบาสก. ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้นมหาสุมนะเป็นบุตรของกระผม

จักเป็นสามเณร.

พระเถระ. อุบาสก ความต้องการด้วยมหาสุมนะของฉันก็ไม่มี.

อุบาสก, ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้าจงให้จูฬสุมนะ

บวชเถิด.

พระเถระ. รับว่า "ดีละ" แล้วให้จูฬสุมนะบวช. จูฬสุมนะนั้น

บรรลุอรหัตในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 406

พระเถระ อยู่ในที่นั้นกับจูฬสุมนสามเณรนั้นประมาณกึ่งเดือนแล้ว

ลาพวกญาติของเธอว่า " พวกฉันจักเฝ้าพระศาสดา" ดังนี้แล้วไปทาง

อากาศ ลงที่กระท่อมอันตั้งอยู่ในป่า ในหิมวันตประเทศ.

พระเถระปรารภความเพียรเสมอ

ก็พระเถระ แม้ตามปกติเป็นผู้ปรารภความเพียร. เมื่อท่านกำลัง

จงกรมอยู่ในที่นั้น ในคืนแรกและคืนต่อมา ลมในท้องตั้งขึ้นแล้ว.

ครั้งนั้น สามเณรเห็นท่านลำบาก จึงเรียนถามว่า " ท่านขอรับ

โรคอะไร ? ย่อมเสียดแทงท่าน."

พระเถระ. ลมเสียดท้องเกิดขึ้นแก่ฉันแล้ว.

สามเณร. แม้ในกาลอื่น ลมเสียดท้องเคยเกิดขึ้นหรือ ขอรับ.

พระเถระ. เออ ผู้มีอายุ.

สามเณร. ความสบาย ย่อมมีด้วยอะไรเล่า ? ขอรับ.

พระเถระ. เมื่อฉันได้น้ำดื่มจากสระอโนดาต, ความสบายย่อมมี

ผู้มีอายุ.

สามเณร. ท่านขอรับ ถ้ากระนั้น กระผมจะนำมา (ถวาย).

พระเถระ. เธอจักอาจ (นำมา) หรือ ? สามเณร.

สามเณร. อาจอยู่ ขอรับ.

พระเถระ. ถ้ากระนั้น นาคราชชื่อปันนกะ ในสระอโนดาตย่อม

รู้จักฉัน. เธอจงบอกแก่นาคราชนั้น แล้วนำขวดน้ำดื่มขวดหนึ่งมาเพื่อ

ประโยชน์แก่การประกอบยาเถิด.

เธอรับว่า " ดีละ" แล้วไหว้พระอุปัชฌายะ เหาะขึ้นสู่เวหาสได้ไป

ตลอดที่ ๕๐๐ โยชน์แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 407

สามเณรต่อสู้กับพระยานาค

ก็วันนั้น นาคราชมีนาคนักฟ้อนแวดล้อมแล้ว ปรารถนาจะเล่นน้ำ.

นาคราชนั้น พอได้เห็นสามเณรผู้ไปอยู่เท่านั้น ก็โกรธคิดเห็นว่า " สมณะ

โล้นนี้ เที่ยวโปรยฝุ่นที่เท้าของตนลงกระหม่อมของเรา, สมณะโล้นนี้

จักเป็นผู้มาแล้วเพื่อต้องการน้ำดื่มในสระอโนดาต, บัดนี้เราจะไม่ให้น้ำดื่ม

แก่เธอ " ดังนี้แล้ว นอนปิดสระอโนดาตซึ่งมีประมาณถึง ๕๐๐ โยชน์ด้วย

พังพาน ดุจบุคคลปิดหม้อข้าวด้วยถาดใหญ่ฉะนั้น.

สามเณร พอแลดูอาการของนาคราชแล้วก็ทราบว่า " นาคราชนี้

โกรธแล้ว" จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

" นาคราช ผู้มีเดชกล้า มีกำลังมาก ท่านจงฟัง

(คำ) ของข้าพเจ้าเถิด, จงให้หม้อน้ำดื่มแก่ข้าพเจ้า,

ข้าพเจ้าเป็นผู้มาแล้วเพื่อประโยชน์แก่น้ำสำหรับประ-

กอบยา."

นาคราชฟังคาถานั้นแล้ว กล่าวคาถานี้ว่า :-

" แม่น้ำใหญ่ชื่อคงคา ณ เบื้องทิศบูรพา ย่อมไหล

ไปสู่มหาสมุทร, ท่านจงนำเอาน้ำดื่มจากแม่น้ำคงคา

นั้นไปเถิด."

สามเณรฟังคำนั้นแล้วคิดว่า " พระยานาคนี้จักไม่ให้ตามความ

ปรารถนาของตน, เราจักทำพลการให้มันรู้อานุภาพใหญ่ จักข่มพระยานาค

นี้แล้ว จึงจักนำน้ำดื่มไป " ดังนี้แล้ว กล่าวว่า " มหาราช พระอุปัชฌายะ

ให้ข้าพเจ้านำน้ำดื่มมาจากสระอโนดาตเท่านั้น, เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 408

จักนำน้ำดื่มนี้อย่างเดียวไป, ท่านจงหลีกไปเสียอย่าห้ามข้าพเจ้าเลย" ดังนี้

แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า:-

" ข้าพเจ้าจักนำน้ำดื่มไปจากสระอโนดาตนี้เท่า

นั้น, ข้าพเจ้าเป็นผู้มีความต้องการด้วยน้ำดื่มนี้เท่านั้น,

ถ้าเรี่ยวแรงและกำลังมีอยู่ไซร้, นาคราชท่านจงขัด

ขวางไว้เถิด."

ครั้งนั้น พระยานาคกล่าวกะเธอว่า :-

" สามเณร ถ้าท่านมีความกล้าหาญอย่างลูกผู้ชาย

ไซร้, ข้าพเจ้าชอบใจคำพูดของท่าน, เชิญท่านนำ

น้ำดื่มของข้าพเจ้าไปเถิด."

ลำดับนั้น สามเณรตอบกะพระยานาคนั้นว่า " มหาราช ข้าพเจ้าจัก

นำไปอย่างนั้น, เมื่อพระยานาคพูดว่า " เมื่อท่านสามารถก็จงนำไปเถิด"

รับปฏิญญาถึง ๓ ครั้งว่า " ถ้ากระนั้น ท่านจงรู้ด้วยดีเถิด " แล้วคิดว่า

" การที่เราแสดงอานุภาพแห่งพระพุทธศาสนาแล้วจึงนำน้ำไป สมควรอยู่"

ได้ไปสู่สำนักของพวกอากาสัฏฐกเทพดาก่อน. เทพดาเหล่านั้นมาไหว้แล้ว

กล่าวว่า " อะไรกัน ? ขอรับ " แล้วพากันยืนอยู่.

สามเณรกล่าวว่า " สงครามของข้าพเจ้ากับปันนกนาคราชจักมี ที่

หลังสระอโนดาตนี่, พวกท่านจงไปในที่นั้นแล้ว ดูความชนะและความ

แพ้." สามเณรนั้นเข้าไปหาท้าวโลกบาลทั้ง ๔ และท้าวสักกะ ท้าวสุยาม

ท้าวสันดุสิต ท้าวสุนิมมิต และท้าววสวัตดี แล้วบอกเนื้อความนั้นโดย

ทำนองนั้นแล. ต่อแต่นั้น สามเณรไปโดยลำดับจนถึงพรหมโลก อัน

พรหมทั้งหลาย ในที่นั้นๆ ผู้มาไหว้แล้วยืนอยู่ถามว่า " อะไรกัน ? ขอรับ "

จึงแจ้งเนื้อความนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 409

สามเณรนั้นเที่ยวไปบอกในที่ทุกแห่ง ๆ โดยครู่เดียวเท่านั้น เว้น

เสียแต่อสัญญีสัตว์และอรูปพรหม ด้วยอาการอย่างนี้.

ถึงเทพดาทุก ๆ จำพวกฟังคำของเธอแล้ว ประชุมกันเต็มอากาศ

ไม่มีที่ว่าง ที่หลังสระอโนดาต ดุจจุรณแห่งขนมที่บุคคลใส่ไว้ในทะนาน

ฉะนั้น.

สามเณรเชิญเทพดามาดูการรบ

เมื่อหมู่เทพดาประชุมกันแล้ว, สามเณรยืน ณ อากาศ กล่าวกะ

พระยานาคว่า:-

" นาคราช ผู้มีเดชกล้า มีกำลังมาก ท่านจงฟัง

คำของข้าพเจ้า ท่านจงให้หม้อน้ำดื่มแก่ข้าพเจ้า,

ข้าพเจ้าเป็นผู้มาเพื่อต้องการน้ำประกอบยา."

ทีนั้น นาคกล่าวกะเธอว่า :-

" สามเณร ถ้าท่านมีความกล้าหาญอยู่อย่างลูก

ผู้ชายไซร้, ข้าพเจ้าชอบใจคำพูดของท่าน, ท่านจงนำ

น้ำดื่มของข้าพเจ้าไปเถิด."

สามเณรนั้นรับคำปฏิญญาของนาคราชถึง ๓ ครั้งแล้ว ยืน ณ อากาศนั้นเอง

นิรมิตอัตภาพเป็นพรหมประมาณ ๑๒ โยชน์ แล้วลงจากอากาศ เหยียบ

ที่พังพานของพระยานาค กดให้หน้าคว่ำลงแล้ว. ในทันทีนั้นเอง เมื่อ

สามเณรพอสักว่าเหยียบพังพานของพระยานาคเท่านั้น แผ่นพังพานได้

หดเข้าประมาณเท่าทัพพี ดุจหนังสดอันบุรุษผู้มีกำลังเหยียบแล้วฉะนั้น.

ในที่ซึ่งพ้นจากพังพานของพระยานาคออกมา สายน้ำประมาณเท่าลำตาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 410

พุ่งขึ้นแล้ว. สามเณรยังขวดน้ำดื่มให้เต็ม ณ อากาศนั้นเอง. หมู่เทพได้

ให้สาธุการแล้ว.

พระยานาคแพ้สามเณร

นาคราชละอาย โกรธต่อสามเณรแล้ว. นัยน์ตาทั้งสองของนาคราช

นั้นได้มีสีดุจดอกชบา. พระยานาคนั้นคิดว่า " สมณะโล้นนี้ให้หมู่เทพ

ประชุมกันแล้ว ถือเอาน้ำดื่ม ยังเราให้ละอายแล้ว, เราจะจับเธอ สอด

มือเข้าในปากแล้ว ขยี้เนื้อหทัยของเธอเสีย, หรือจะจับเธอที่เท้า แล้ว

ขว้างไปฟากแม่น้ำข้างโน้น " ดังนี้แล้วติดตามไปโดยเร็ว. แม้ติดตามไป

อยู่ ก็ไม่สามารถจะทันสามเณรได้เลย.

สามเณรมาแล้ว วางน้ำดื่มไว้ในมือพระอุปัชฌายะ เรียนว่า " ขอท่าน

จงดื่มเถิด ขอรับ."

พระยานาคพูดเท็จแต่สามเณรไม่พูดเท็จ

แม้พระยานาคก็มาข้างหลัง กล่าวว่า " ท่านอนุรุทธะผู้เจริญ สามเณร

ถือเอาน้ำซึ่งข้าพเจ้ายังไม่ได้ให้เลยมา, ขอท่านจงอย่าดื่ม."

พระเถระ. ถามว่า " นัยว่า อย่างนั้นหรือ ? สามเณร."

สามเณร. ขอนิมนท์ท่านดื่มเถิด ขอรับ, น่าดื่มอันพระยานาคนี้

ให้แล้ว กระผมจึงนำมา.

พระเถระทราบว่า " ขึ้นชื่อว่าการกล่าวคำเท็จของสามเณรผู้เป็น

ขีณาสพ ย่อมไม่มี " จึงดื่มน้ำแล้ว. อาพาธของท่านสงบลงในขณะนั้นเอง.

นาคราชกล่าวกะพระเถระอีกว่า " ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นผู้อัน

สามเณรให้หมู่เทพทั้งหมดประชุมกันให้ละอายแล้ว ข้าพเจ้าจักผ่าหทัย

ของเธอ, หรือจักจับเธอที่เท้า และขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำข้างโน้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 411

พระเถระกล่าวว่า " มหาราช สามเณรมีอานุภาพมาก, ท่านจักไม่

สามารถเพื่อสู้รบกับสามเณรได้; ท่านจงให้สามเณรนั้น อดโทษแล้วกลับ

ไปเสียเถิด."

พระยานาคขอขมาสามเณร

พระยานาคนั้น ย่อมรู้อานุภาพของสามเณรแม้เอง, แต่ติดตามมา

เพราะความละอาย.

ลำดับนั้น พระยานาคให้สามเณรนั้นอดโทษตามคำของพระเถระ

ทำความชอบพอกันฉันมิตรกับเธอ จึงกล่าวว่า " จำเดิม

ความต้องการด้วยน้ำในสระอโนดาตมีอยู่, กิจด้วยการมาแห่งพระผู้เป็นเจ้า

ย่อมไม่มี พระผู้เป็นเจ้าพึงส่ง (ข่าว) ไปถึงข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าเองจักนำ

น้ำมาถวาย " ดังนี้แล้ว หลีกไป, แม้พระเถระก็พาสามเณรไปแล้ว .

พระศาสดาทรงทราบความมาแห่งพระเถระแล้ว ประทับนั่งทอด-

พระเนตรการมาแห่งพระเถระบนปราสาทของมิคารมารดา. ถึงพวกภิกษุ

ก็เห็นพระเถระซึ่งกำลังมา ลุกขึ้นต้อนรับ รับบาตรและจีวร.

พวกภิกษุล้อเลียนสามเณร

ครั้งนั้น ภิกษุนางพวกจับสามเณรที่ศีรษะบ้าง ที่หูทั้ง ๒ บ้าง

ที่แขนบ้าง พลางเขย่า กล่าวว่า " ไม่กระสันหรือ ? สามเณร." พระศาสดา

ทอดพระเนตรเห็นกิริยาซึ่งภิกษุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " กรรมของ

ภิกษุเหล่านี้หยาบจริง. ภิกษุเหล่านี้ จับสามเณรเป็นดุจจับอสรพิษที่คอ,

พวกเธอหารู้อานุภาพของสามเณรไม่; วันนี้ การที่เราทำคุณของสุมน-

สามเณรให้ปรากฏ สมควรอยู่." แม้พระเถระก็มาถวายบังคมพระศาสดา

แล้วนั่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 412

พระศาสดาทรงทำคุณของสามเณรให้ปรากฏ

พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับด้วยท่านแล้ว ตรัสเรียกพระอานนท-

เถระมาว่า " อานนท์ เราเป็นผู้มีความประสงค์เพื่อจะล้างเท้าทั้งสองด้วย

น้ำในสระอโนดาต เธอจงให้หม้อแก่พวกสามเณรแล้วให้นำน้ำมาเถิด."

พระเถระ ให้สามเณรประมาณ ๕๐๐ ในวิหารประชุมกันแล้ว.

บรรดาสามเณรเหล่านั้น สุมนสามเณรได้เป็นผู้ใหม่กว่าสามเณร

ทั้งหมด. พระเถระกล่าวกะสามเณรผู้แก่กว่าสามเณรทั้งหมดว่า " สามเณร

พระศาสดามีพระประสงค์จะทรงล้างพระบาททั้งสองด้วยน้ำในสระอโนดาต,

เธอจงถือหม้อน้ำไปนำน้ำมาเถิด." สามเณรนั้นไม่ปรารถนา ด้วยกล่าวว่า

" กระผมไม่สามารถ ขอรับ. " พระเถระถามสามเณรทั้งหลายแม้ที่เหลือ

โดยลำดับ. แม้สามเณรเหล่านั้น ก็พูดปลีกตัวอย่างนั้นแล.

มีคำถามว่า " ก็บรรดาสามเณรเหล่านี้ เณรผู้เป็นขีณาสพ

ไม่มีหรือ ?"

แก้ว่า " มีอยู่. แต่สามเณรเหล่านั้นไม่ปรารถนา ด้วยคิดเห็นว่า

" พวงดอกไม้นี้ พระศาสดาไม่ทรงผูกไว้เพื่อพวกเรา พระองค์ทรงผูกไว้

เพื่อสุมนสามเณรองค์เดียว. แต่พวกสามเณรผู้เป็นปุถุชนไม่ปรารถนา

ก็เพราะความที่ตนเป็นผู้ไม่สามารถนั่นเอง. "

ก็ในที่สุด เมื่อวาระถึงแก่สุมนสามเณรเข้า, พระเถระกล่าวว่า

" สามเณร พระศาสดามีพระประสงค์จะทรงล้างพระบาททั้งสองด้วยน้ำ

ในสระอโนดาต, ได้ยินว่า เธอจงถือเอาหม้อไปตักน้ำมา" สุมนสามเณร

นั้น เรียนว่า " เมื่อพระศาสดาทรงให้นำมา, กระผมจักนำมา" ดังนี้แล้ว

ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 413

พระองค์ให้ข้าพระองค์นำน้ำมาจากสระอโนดาตหรือ ? พระเจ้าข้า "

พระศาสดา ตรัสว่า " อย่างนั้น สุมนะ. "

สุมนสามเณรนั้น เอามือจับหม้อใหญ่ใบหนึ่ง ซึ่งจุน้ำได้ตั้ง ๖๐

หม้อ ในบรรดาหม้อสำหรับเสนาสนะ ซึ่งเลี่ยมดาดด้วยทองแท่ง อัน

นางวิสาขาให้สร้างไว้ หิ้วไปด้วยคิดว่า " ความต้องการของเราด้วยหม้อ

อันเรายกขึ้นตั้งไว้บนจะงอยบ่านี้ ย่อมไม่มี " เหาะขึ้นสู่เวหาส บ่ายหน้า

ต่อหิมวันตประเทศ รีบไปแล้ว.

นาคราชเห็นสามเณรซึ่งกำลังมาแต่ไกลเทียว จึงต้อนรับ แบกหม้อ

ด้วยจะงอยบ่า กล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า เมื่อผู้รับใช้เช่นข้าพเจ้ามีอยู่เพราะ

อะไร พระผู้เป็นเจ้าจึงมาเสียเอง; เมื่อความต้องการน้ำมีอยู่, เหตุไร ?

พระผู้เป็นเจ้าจึงไม่ส่งเพียงข่าวสาสน์มา" ดังนี้แล้ว เอาหม้อตักน้ำแบกเอง

กล่าวว่า " นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าล่วงหน้าไปก่อนเถิดขอรับ, ข้าพเจ้าเอง

จักนำไป. " สามเณรกล่าวว่า " มหาราช ท่านจงหยุด, ข้าพเจ้าเองเป็นผู้

อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าใช้มา " ดังนี้ให้พระยานาคกลับแล้ว เอามือจับ

ที่ขอบปากหม้อ เหาะมาทางอากาศ.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงแลดูเธอซึ่งกำลังมา ตรัสเรียกพวกภิกษุ

มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูการเยื้องกรายของสามเณร,

เธอย่อมงดงามดุจพระยาหงส์ในอากาศฉะนั้น."

แม้สามเณรนั้นวางหม้อน้ำแล้ว ได้ถวายบังคมพระศาสดาแล้วยืนอยู่.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " สุมนะ เธอมีอายุได้เท่าไร ?

สามเณรกราบทูลว่า " มีอายุ ๗ ขวบ พระเจ้าข้า." พระศาสดาตรัสว่า

" สุมนะ ถ้ากระนั้น ตั้งแต่วันนี้ เธอจงเป็นภิกษุเถิด" ดังนี้แล้ว

ได้ประทานทายัชชอุปสมบท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 414

ได้ยินว่า สามเณรผู้มีอายุ ๗ ปี ๒ รูปเท่านั้น ได้อุปสมบท คือสุมน-

สามเณรนี้รูปหนึ่ง โสปากสามเณรรูปหนึ่ง เมื่อสุมนสามเณรนั้นอุปสมบท

แล้วอย่างนั้น พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย

กรรมนี้น่าอัศจรรย์:- อานุภาพของสามเณรน้อย แม้เห็นปานนี้ก็มีได้,

อานุภาพเห็นปานนี้ พวกเราไม่เคยเห็นแล้ว ในกาลก่อนแต่กาลนี้."

สมบัติย่อมสำเร็จแก่เด็ก ๆ ได้

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อพวกเธอกราบทูลว่า " ด้วยเรื่อง

ชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ในศาสนาของเรา บุคคล

แม้เป็นเด็ก ปฏิบัติชอบแล้ว ย่อมได้สมบัติเห็นปานนี้เหมือนกัน" เมื่อ

จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๒. โย หเว ทหโร ภิกฺขุ ยุญฺชติ พุทฺธสาสเน

โส อิม โลก ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.

" ภิกษุใด แลยังหนุ่ม พากเพียรอยู่ในพระพุทธ-

ศาสนา, ภิกษุนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่างดุจพระจันทร์

ที่พ้นแล้วจากหมอก (เมฆ) สว่างอยู่ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยุญฺชติ ได้แก่ พากเพียร คือ

พยายามอยู่.

บทว่า ปภาเสติ เป็นต้น ความว่า ภิกษุนั้นย่อมยังโลกต่างโดย

ขันธโลกเป็นต้น ให้สว่างได้ คือย่อมทำให้มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 415

ด้วยญาณอันสัมปยุตด้วยอรหัตมรรคของตน ดุจพระจันทร์ที่พ้นแล้วจาก

เครื่องกำบังมีหมอกเป็นต้นฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องสุมนสามเณร จบ.

ภิกขุวรรควรรคนา จบ.

วรรคที่ ๒๕ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 416

คาถาธรรมบท

พราหมณวรรคที่ ๒๖

ว่าด้วยคุณธรรมของผู้เป็นพราหมณ์

[๓๖] ๑. พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา

จงบรรเทากามทั้งหลายเสีย ท่านรู้ความสิ้นไปแห่ง

สังขารทั้งหลายแล้ว เป็นผู้รู้พระนิพพาน อันอะไร ๆ

กระทำไม่ได้แล้วนะ พราหมณ์.

๒. ในกาลใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรม

ทั้งสอง ในกาลนั้น กิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงของ

พราหมณ์ผู้รู้อยู่ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้.

๓. ฝั่งก็ดี ที่มิใช่ฝั่งก็ดี ฝั่งและที่มิใช่ฝั่งก็ดี

ไม่มีแก่ผู้ใด เราเรียกผู้นั้นซึ่งมีความกระวนกระวาย

ไปปราศแล้ว ผู้พราก (จากกิเลส) ได้แล้วว่า เป็น

พราหมณ์.

๔. เราเรียกบุคคลผู้มีความเพ่ง ผู้ปราศจากธุลี

อยู่แต่ผู้เดียว มีกิจอันกระทำแล้ว หาอาสวะมิได้

บรรลุประโยชน์อันสูงสุดแล้วนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

๕. พระอาทิตย์ ย่อมส่องแสงในกลางวัน

พระจันทร์ย่อมรุ่งเรื่องในกลางคืน กษัตริย์ทรงเครื่อง

รบแล้ว ย่อมรุ่งเรือง พราหมณ์ผู้มีความเพ่ง ย่อม

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๓๙ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 417

รุ่งเรือง ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดช

ตลอดกลางวันและกลางคืน.

๖. บุคคลมีบาปอันลอยแล้วแล เราเรียกว่า

พราหมณ์ บุคคลที่เราเรียกว่า สมณะ เพราะความ

ประพฤติเรียบร้อย บุคคลขับไล่มลทินของตนอยู่

เพราะเหตุนั้น เราเรียกว่า บรรพชิต.

๗. พราหมณ์ไม่ควรประหารแก่พราหมณ์ ไม่

ควรจอง (เวร) แก่เขา น่าติเตียนพราหมณ์ผู้ประหาร

พราหมณ์ น่าติเตียนพราหมณ์ผู้จอง (เวร) ยิ่งกว่า

พราหมณ์ผู้ประหารนั้น. ความเกียจกันใจจากอารมณ์

อันเป็นที่รักทั้งหลายใด ความเกียดกันนั่นย่อมเป็น

ความประเสริฐไม่น้อยแก่พราหมณ์ ใจอันสัมปยุต

ด้วยความเบียดเบียน ย่อมกลับได้จากวัตถุใด ๆ

ความทุกข์ย่อมสงบได้เพราะวัตถุนั้น ๆ นั่นแล.

๘. ความชั่วทางกาย วาจา และใจของบุคคลใด

ไม่มี เราเรียกบุคคลนั้น ผู้สำรวมแล้วโดยฐานะ ๓ ว่า

เป็นพราหมณ์.

๙. บุคคลพึงรู้แจ้งธรรมอันพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้าทรงแสดงแล้วจากอาจารย์ใด พึงนอบน้อมอาจารย์

นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชา

เพลิงอยู่ฉะนั้น.

๑๐. บุคคลย่อมเป็นพราหมณ์ ด้วยชฎา ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 418

โคตร ด้วยชาติหามิได้ สัจจะและธรรมมีอยู่ในผู้ใด

ผู้นั้นเป็นผู้สะอาด และผู้นั้น เป็นพราหมณ์.

๑๑. ผู้มีปัญญาทราม ประโยชน์อะไรด้วยชฎา

ทั้งหลายของเธอ ประโยชน์อะไรด้วยผ้าที่ทำด้วย

หนังสัตว์ของเธอ ภายในของเธอรกรุงรัง เธอย่อม

เกลี้ยงเกลาแต่ภายนอก.

๑๒. เราเรียกชนผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผู้ผอม สะพรั่ง

ด้วยเอ็น ผู้เพ่งอยู่ผู้เดียวในป่านั้นว่า เป็นพราหมณ์.

๑๓. เราไม่เรียกบุคคลผู้เกิดแต่กำเนิด ผู้มี

มารดาเป็นแดนเกิดว่าเป็นพราหมณ์ เขาย่อมเป็นผู้

ชื่อว่าโภวาที เขาย่อมเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวล เรา

เรียกผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้นว่า เป็น

พราหมณ์.

๑๔. ผู้ใดแล ตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้ว ย่อม

ไม่สะดุ้ง เราเรียกผู้นั้น ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องได้

ผู้หลุดพ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์.

๑๕. เราเรียกบุคคลผู้ตัดชะเนาะ เชือก และ

เครื่องต่อพร้อมทั้งสาย ผู้มีลิ่มสลักอันถอนขึ้นแล้ว

ผู้รู้แล้วนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

๑๖. ผู้ใด ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นซึ่งคำด่าและ

การตีและการจองจำได้ เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีกำลังคือ

ขันติ มีหมู่พลว่า เป็นพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 419

๑๗. เราเรียกผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล ไม่มีตัณหา

เครื่องฟูขึ้น ผู้ฝึกแล้ว มีสรีระในที่สุดนั้นว่า เป็น

พราหมณ์.

๑๘. ผู้ใด ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำ

ไม่ติดอยู่บนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดไม่ตั้ง

อยู่บนปลายเหล็กแหลมฉะนั้น เราเรียกผู้นั้นว่า เป็น

พราหมณ์.

๑๙. ผู้ใด ในศาสนานี้แล รู้ชัดความสิ้นไปแห่ง

ทุกข์ของตน เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีภาระอันปลงแล้ว

ผู้พรากได้แล้วว่า เป็นพราหมณ์.

๒๐. เราเรียกผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นปราชญ์

ฉลาดในทางและมิใช่ทาง บรรลุประโยชน์สูงสุดนั้น

ว่า เป็นพราหมณ์.

๒๑. เราเรียกบุคคลผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยชนสอง

จำพวก คือ คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑ ผู้ไม่มีอาลัย

เที่ยวไป ผู้ปรารถนาน้อยนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

๒๒. ผู้ใด วางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้สะดุ้ง

และผู้มั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช่ให้ผู้อื่นฆ่า เราเรียกผู้

นั้นว่า เป็นพราหมณ์.

๒๓. เราย่อมเรียกบุคคลผู้ไม่เคียดแค้น ใน

บุคคลผู้เคียดแค้น ผู้ดับเสียได้ในบุคคลผู้มีอาชญาใน

ตน ผู้ไม่ถือมั่นในบุคคลผู้ถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 420

๒๔. ราคะ โทสะ มานะและมักขะ อันผู้ใด

ให้ตกไปแล้ว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกไปจาก

ปลายเหล็กแหลมฉะนั้น เราเรียกผู้นั้นว่า เป็น

พราหมณ์.

๒๕. ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่ระคายหู อัน

ให้รู้กันได้เป็นคำจริง อันเป็นเหตุไม่ยังใคร ๆ ให้

ขัดใจ เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.

๒๖. ผู้ใด ไม่ถือเอาของยาวหรือสั้น น้อยหรือ

ใหญ่ งามหรือไม่งาม อันเขาไม่ให้แล้วในโลกนี้

เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.

๒๗. ความหลังของผู้ใด ไม่มีในโลกนี้และโลก

หน้า เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มีความหลัง พราก (กิเลส)

ได้แล้วว่า เป็นพราหมณ์.

๒๘. ความอาลัยของบุคคลใดไม่มี บุคคลใดรู้

ชัดแล้ว เป็นผู้ไม่มีความสงสัยเป็นเหตุกล่าวว่า

อย่างไร เราเรียกบุคคลนั้น ผู้หยั่งลงสู่อมตะ ตาม

บรรลุแล้วว่า เป็นพราหมณ์.

๒๙. ผู้ใด ล่วงบุญและบาปทั้งสอง และกิเลส

เครื่องข้องเสียได้ในโลกนี้ เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มี

ความโศก มีธุลีไปปราศแล้ว ผู้บริสุทธิ์แล้วว่า เป็น

พราหมณ์.

๓๐. เราเรียกผู้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว มีภพ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 421

เครื่องเพลิดเพลินสิ้นแล้ว เหมือนพระจันทร์ที่

ปราศจากมลทินนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

๓๑. ผู้ใด ล่วงทางอ้อม หล่ม สงสาร และ

โมหะนี้ไปแล้วเป็นผู้ข้ามไปได้ ถึงฝั่ง มีปกติเพ่ง หา

กิเลสเครื่องหวั่นไหวมิได้ ไม่มีความสงสัยเป็นเหตุ

กล่าวว่าอย่างไร ไม่ถือมั่น ดับแล้ว เราเรียกผู้นั้นว่า

เป็นพราหมณ์.

๓๒. บุคคลใด ละกามทั้งหลายในโลกนี้แล้ว

เป็นผู้ไม่มีเรือน งดเว้นเสียได้ เราเรียกบุคคลนั้นผู้

มีกามและภพสิ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์.

๓๓. ผู้ใด ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว เป็นผู้ไม่มี

เรือน เว้นเสียได้ เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีตัณหาและภพ

อันสิ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์.

๓๔. ผู้ใด ละกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของ

มนุษย์ ล่วงกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของทิพย์ได้

แล้ว เราเรียกผู้นั้น ซึ่งพรากกิเลสเครื่องประกอบ

ทั้งปวงได้แล้วว่า เป็นพราหมณ์.

๓๕. เราเรียกบุคคลนั้น ซึ่งละความยินดีและ

ความไม่ยินดีได้แล้ว ผู้เย็น ไม่มีอุปธิ ครอบงำโลก

ทั้งปวง ผู้แกล้วกล้าว่า เป็นพราหมณ์.

๓๖. ผู้ใด รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลาย โดย

ประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่ข้อง ไปดี รู้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 422

ว่า เป็นพราหมณ์. เทพยดาคนธรรพ์และหมู่มนุษย์

ย่อมไม่รู้คติของผู้ใด เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีอาสวะสิ้น

แล้ว ผู้ไกลกิเลสว่า เป็นพราหมณ์.

๓๗. ความกังวลในก่อน ในภายหลัง และใน

ท่ามกลางของผู้ใดไม่มี เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มีความ

กังวล ไม่มีความยึดมั่นว่า เป็นพราหมณ์.

๓๘. เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้ว

กล้า แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้ชนะโดยวิเศษ ไม่

หวั่นไหว ผู้ล้างแล้ว ผู้รู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.

๓๙. บุคคลใด รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน ทั้งเห็น

สวรรค์และอบาย อนึ่ง บรรลุความสิ้นไปแห่งชาติ

เสร็จกิจแล้ว เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี เราเรียกบุคคล

นั้น ซึ่งมีพรหมจรรย์อันอยู่เสร็จสรรพแล้วว่า เป็น

พราหมณ์.

จบพราหมณวรรคที่ ๒๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 423

๒๖. พราหมณวรรควรรณนา

๑. เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก [๒๖๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ผู้มี

ความเลื่อมใสมาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ฉินฺท โสต ปรกฺกมฺม "

เป็นต้น.

พวกภิกษุรังเกียจวาทะของพราหมณ์

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นฟังธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

มีจิตเลื่อมใส เริ่มตั้งนิตยภัตเพื่อภิกษุมีประมาณ ๑๖ รูป ไว้ในเรือนของ

ตน รับบาตรในเวลาภิกษุทั้งหลายมาแล้ว กล่าวว่า " ขอพระอรหันต์

ทั้งหลาย ผู้เจริญ จงมา, ขอพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เจริญ จงนั่ง" เมื่อ

จะกล่าวคำอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็กล่าวคำประกอบเฉพาะด้วยวาทะว่าพระ-

อรหันต์เท่านั้น. บรรดาภิกษุเหล่านั้น พวกที่เป็นปุถุชนคิดกันว่า

" พราหมณ์นี้ มีความสำคัญในพวกเราว่าเป็นพระอรหันต์" พวกที่เป็น

พระขีณาสพก็คิดว่า " พราหมณ์นี้ ย่อมรู้ความที่พวกเราเป็นพระขีณาสพ,"

ภิกษุแม้ทั้งหมดนั้น ประพฤติรังเกียจอยู่อย่างนี้ จึงไม่ไปสู่เรือนของ

พราหมณ์นั้น. เขาเป็นผู้มีทุกข์เสียใจ คิดว่า " ทำไมหนอแล พระผู้เป็นเจ้า

จึงไม่มา" จึงไปยังวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้น.

ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่ยินดีต่อวาทะนั้น

พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 424

ทั้งหลาย ข้อนั้นอย่างไร " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว,

จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอยังยินดีวาทะว่า เป็นพระอรหันต์

อยู่หรือ."

พวกภิกษุ. พวกข้าพระองค์ไม่ยินดี พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เมื่อเป็นเช่นนั้น, คำนั้น เป็นคำกล่าวด้วยความ

เลื่อมใสของมนุษย์ทั้งหลาย, ภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติในเพราะการ

กล่าวด้วยความเลื่อมใส; ก็แลอีกอย่างหนึ่ง ความรักใคร่ในพระอรหันต์

ทั้งหลายของพราหมณ์ มีประมาณยิ่ง; เหตุนั้น แม้พวกเธอตัดกระแส

ตัณหาแล้วบรรลุพระอรหันต์นั่นแล ควร" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดง

ธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑. ฉินฺท โสต ปรกฺกมฺม กาเม ปนูท พฺราหฺมณ

สงฺขาราน ขย ตฺวา อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณ.

" พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา,

จงบรรเทากามทั้งหลายเสีย, ท่านรู้ความสิ้นไปแห่ง

สังขารทั้งหลายแล้ว เป็นผู้รู้พระนิพพานอันอะไร ๆ

กระทำไม่ได้นะ พราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรกฺกมฺม เป็นต้น ความว่า ขึ้นชื่อว่า

กระแสตัณหา ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะตัดได้ด้วยความพยายามมีประมาณ

น้อย; เหตุนั้นท่านจงพยายามตัดกระแสนั้น ด้วยความบากบั่นอย่างใหญ่

ซึ่งสัมปยุตด้วยญาณ คือจงบรรเทา ได้แก่ จงขับไล่กามแม้ทั้งสองเสียเถิด.

คำว่า พฺราหฺมณ นั้น เป็นคำร้องเรียกพระขีณาสพทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 425

บทว่า สงฺขาราน ความว่า รู้ความสิ้นไปแห่งขันธ์ ๕.

บทว่า อกตญฺญู ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจะเป็นผู้ชื่อว่า

อกตัญญ. เพราะรู้พระนิพพาน อันอะไร ๆ บรรดาโลกธาตุทั้งหลายมี

ทองคำเป็นต้น ทำไม่ได้.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 426

๒. เรื่องภิกษุมากรูป [๒๖๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ " เป็นต้น.

พระสารีบุตรทูลถามปัญหาเพื่อพวกภิกษุ

ในวันหนึ่ง ภิกษุผู้อยู่ในทิศประมาณ ๓๐ รูป มาถวายบังคมพระ-

ศาสดาแล้วนั่ง. พระสารีบุตรเถระเล็งเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของภิกษุ

เหล่านั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ยืนอยู่เทียว ทูลถามปัญหานี้ว่า

" พระเจ้าข้า ธรรมทั้งหลายที่พระองค์ตรัสเรียกว่า ' ธรรม ๒ ประการ ๆ

ดังนี้; ธรรม ๒ ประการนี้เป็นไฉนหนอแล ?"

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า " สารีบุตร สมถะและวิปัสสนา

เรียกว่าธรรม ๒ ประการแล" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒. ยทา ทฺวเยสุ ธมฺเมสุ ปารคู โหติ พฺราหฺมโณ

อถสฺส สพฺเพ สโยคา อตฺถ คจฺฉนฺติ ชานโต.

" ในกาลใด พราหมณ์เป็นผู้ถึงฝั่งในธรรมสอง

ในกาลนั้น กิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงของพราหมณ์

ผู้รู้อยู่ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยทา เป็นต้น ความว่า ในกาลใด

พระขีณาสพนี้เป็นผู้ถึงฝั่ง ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนา อันตั้งอยู่โดย

ส่วน ๒ ด้วยอำนาจแห่งการถึงฝั่งคืออภิญญาเป็นต้น, ในกาลนั้นกิเลส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 427

เครื่องประกอบทั้งหลาย มีกิเลสเครื่องประกอบคือกามเป็นต้นทั้งปวง ซึ่ง

สามารถเพื่อประกอบไว้ในวัฏฏะของพระขีณาสพนั้น ผู้รู้อยู่อย่างนี้ ย่อม

ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ คือความสิ้นไป.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ตั้งอยู่ในพระอรหัต

แล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุมากรูป จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 428

๓. เรื่องมาร [๒๖๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภมาร ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺส ปาร อปาร วา " เป็นต้น.

มารปลอมตัวทูลถามเรื่องฝั่ง

ได้ยินว่า ในวันหนึ่ง มารนั้นปลอมเป็นบุรุษคนใดคนหนึ่งเข้าไป

เฝ้าพระศาสดา แล้วทูลถามว่า " พระเจ้าข้า สถานที่อันพระองค์ตรัสว่า

' ฝั่ง ๆ;' อะไรหนอแล ? ที่ชื่อว่าฝั่งนั่น."

พระศาสดาทรงทราบว่า " นี้เป็นมาร " จึงตรัสว่า " มารผู้มีบาป

ประโยชน์อะไรของท่านด้วยฝั่ง, ฝั่งนั้น อันผู้มีราคะไปปราศแล้วทั้งหลาย

พึงถึง " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. ยสฺส ปาร อปาร วา ปาราปาร น วิชฺชติ

วีตทฺทร วิสญฺญุตฺต ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ฝั่งก็ดี ที่มิใช่ฝั่งก็ดี ฝั่งและมิใช่ฝั่งก็ดี ไม่มี

แก่ผู้ใด, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีความกระวนกระวาย

ไปปราศแล้ว ผู้พราก (จากกิเลส) ได้แล้วว่า เป็น

พราหมณ์."

แก้อรรถ

อายตนะอันเป็นไปในภายใน ๖ ชื่อว่า ปาร ในพระคาถานั้น.

อายตนะอันมี ณ ภายนอก ๖ ชื่อว่า อปาร. อายตนะทั้งสองนั้น ชื่อว่า

ปาราปาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 429

บทว่า น วิชฺชติ ความว่า ฝั่งและที่มิใช่ฝั่งทั้งหมดนั่น ไม่มีแก่

ผู้ใด เพราะความไม่มีการยึดถือว่า " เรา " หรือว่า " ของเรา, " เราเรียก

ผู้นั้น ซึ่งชื่อว่ามีความกระวนกระวายไปปราศแล้ว เพราะอันไปปราศ

แห่งความกระวนกระวายคือกิเลสทั้งหลาย ผู้พรากจากกิเลสทั้งปวงได้แล้ว

ว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องมาร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 430

๔. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง [๒๖๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์

คนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ฌายึ " เป็นต้น.

พราหมณ์ทูลถามเรื่องพราหมณ์กะพระศาสดา

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นคิดว่า " พระศาสดา ตรัสเรียกสาวกของ

พระองค์ว่า ' พราหมณ์,' ส่วนเราเป็นพราหมณ์โดยชาติและโคตร, การ

ที่พระองค์จะตรัสเรียกเราอย่างนั้นบ้าง ควร." เขาเข้าไปเฝ้าพระศาสดา

ทูลถามเนื้อความนั้นแล้ว .

พระศาสดาตรัสว่า " เรามิได้เรียกบุคคลว่า ' พราหมณ์' ด้วยเหตุ

สักว่าชาติและโคตร, แต่เราเรียกบุคคลผู้บรรลุประโยชน์อันสูงสุดนั่นเท่า

นั้น (ว่าเป็นพราหมณ์)" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. ฌายึ วิรชมาสีน กตกิจฺจ อนาสว

อุตฺตมตฺถ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" เราเรียกบุคคลผู้มีความเพ่ง ผู้ปราศจากธุลี

อยู่แต่ผู้เดียว มีกิจอันกระทำแล้ว หาอาสวะมิได้

บรรลุประโยชน์อันสูงสุดแล้วนั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฌายึ เป็นต้น ความว่า เราเรียก

บุคคลผู้เพ่งอยู่ด้วยฌาน ๒ อย่าง ผู้ปราศจากธุลี ด้วยธุลีคือกาม อยู่แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 431

ผู้เดียวในป่า ชื่อว่าผู้มีกิจอันกระทำแล้ว เพราะกิจ ๑๖ อย่างอันตนทำ

ด้วยมรรค ๔ แล้ว ชื่อว่าหาอาสวะมิได้ เพราะไม่มีอาสวะทั้งหลาย

บรรลุประโยชน์อันสูงสุด คือพระอรหัตแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนา

ได้เป็นประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.

๑. ทุกข์ มีกิจ ๔:- ปีฬนตฺถ ในอรรถว่าเบียดเบียน ๑. สงฺขตตฺถ ในอรรถว่าปัจจัย

ประชุมแต่ง ๑. สนฺตาปนตฺถ ในอรรถว่าเร่าร้อน ๑. วิปริณามตฺถ ในอรรถว่าแปรปรวน ๑.

สมุทัย มีกิจ ๔:- อายฺหนตฺถ ในอรรถว่าทำให้เกิดกองทุกข์ ๑. นิทานตฺถ ในอรรถ

ว่าเป็นเหตุแห่งทุกข์ ๑. สงฺโยคตฺถ ในอรรถว่าประกอบไว้ด้วยสังสารทุกข์ ๑. ปลิโพธนตฺถ

ในอรรถว่าขังอยู่ในเรือนจำคือสังสารทุกข์ ๑.

นิโรธ มีกิจ ๔:- นิสฺสรณตฺถ ในอรรถว่าออกจากอุปธิ ๑. วิเวกตฺก ในอรรถว่าสงัด

จากหมู่คือกิเลส ๑. อสงฺขตตฺถ ในอรรถว่าปัจจัยประชุมแต่งไม่ได้ ๑. อมตตฺถ ในอรรถว่า

เป็นอมตรส (ไม่รู้จักตาย) ๑.

มรรค มีกิจ ๔:- นิยฺยานตฺถ ในอรรถว่าออกจากสงสาร ๑. เหตฺวตฺถ ในอรรถว่า

เป็นเหตุแห่งพระนิพพาน ๑. ทสฺสนตฺถ ในอรรถว่าเห็นพระนิพพาน ๑. อธิปเตยฺยตฺถ ใน

อรรถว่าเป็นอธิบดีในอันเห็นพระนิพพาน ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 432

๕. เรื่องพระอานนทเถระ [๒๖๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในปราสาทของอุบาสิกาชื่อมิคารมารดา

ทรงปรารภพระอานนทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ทิวา ตปติ

อาทิจฺโจ " เป็นต้น.

รัศมีของวัตถุ ๕ อย่างต่างกัน

ได้ยินว่า ในวันมหาปวารณา พระเจ้าปเสนทิโกสลทรงประดับ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ครบถ้วน ทรงถือเอาวัตถุทั้งหลายมีของหอมเป็นต้น

ได้เสด็จไปยังวิหารแล้ว .

ในขณะนั้น พระกาฬุทายีเถระนั่งเข้าฌานอยู่ที่ท้ายบริษัท. ก็คำว่า

' กาฬุทายีเถระ ' นั่น เป็นชื่อของท่านเอง. สรีระ (ของท่าน) มีสีเพียง

ดังทองคำ. ก็ในขณะนั้นพระจันทร์กำลังขึ้น, พระอาทิตย์กำลังอัสดงคต.

พระอานนท์เถระ แลดูรัศมีของพระอาทิตย์ซึ่งกำลังอัสดงคตและ

ของพระจันทร์ซึ่งกำลังขึ้น แล้วมองดูพระสรีโรภาสของพระราชา สรี-

โรภาสของพระเถระ และพระสรีโรภาสของพระตถาคต. ในท่านเหล่านั้น

พระศาสดาย่อมไพโรจน์ล่วงรัศมีทั้งปวง. พระเถระถวายบังคมพระศาสดา

แล้ว กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า " ในวันนี้ เมื่อข้าพระองค์แลดูรัศมีเหล่านี้

อยู่, พระรัศมีของพระองค์เท่านั้นข้าพระองค์ชอบใจ, เพราะว่า พระสรีระ

ของพระองค์ ย่อมไพโรจน์ล่วงรัศมีทั้งปวง."

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า " อานนท์ ธรรมดาพระอาทิตย์

ย่อมรุ่งเรืองในกลางวัน, พระจันทร์ ย่อมรุ่งเรืองในกลางคืน, พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 433

ย่อมรุ่งเรืองในเวลาประดับแล้วเท่านั้น, พระขีณาสพ ละความระคนด้วย

หมู่แล้ว ย่อมรุ่งเรืองในภายในสมาบัติเท่านั้น, ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อม

รุ่งเรืองด้วยเดช ๕ อย่าง ทั้งในกลางคืน ทั้งในกลางวัน " ดังนี้แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๕. ทิวา ตปติ อาทิจฺโจ รตฺติมาภาติ จนฺทิมา

สนฺนทฺโธ ขตฺติโย ตปิต ฌายี ตปติ พฺรหฺมโณ

อถ สพฺพมโหรตฺตึ พุทฺโธ ตปติ เตชสา.

" พระอาทิตย์ ย่อมส่องแสงในกลางวัน,

พระจันทร์ ย่อมรุ่งเรืองในกลางคืน, กษัตริย์ ทรง

เครื่องรบแล้ว ย่อมรุ่งเรือง, พราหมณ์ผู้มีความเพ่ง

ย่อมรุ่งเรือง. ส่วนพระพุทธเจ้า ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดช

ตลอดกลางวันและกลางคืน."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทิวา ตปติ ความว่า พระอาทิตย์

ย่อมรุ่งเรืองเฉพาะในกลางวัน, แต่แม้ทางที่พระอาทิตย์นั้นไปในกลางคืน

หาปรากฏไม่.

บทว่า จนฺทิมา ความว่า แม้พระจันทร์ ที่พ้นแล้วจากหมอก

เป็นต้น ก็รุ่งเรืองเฉพาะในกลางคืน, หารุ่งเรืองในกลางวันไม่.

บทว่า สนฺนทฺโธ ความว่า พระราชาผู้ทรงประดับด้วยเครื่อง

อิสริยาภรณ์ทั้งปวงอันวิจิตรด้วยทองและแก้วมณี อันเสนามีองค์ ๔

แวดล้อมแล้วเท่านั้น ย่อมรุ่งเรือง, ท้าวเธอประทับอยู่ด้วยเพศอันบุคคล

ไม่รู้ (ปลอมเพศ) หารุ่งเรืองไม่.

๑. พลช้าง พลม้า พลรถ พลเดินเท้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 434

บทว่า ฌายี ความว่า ฝ่ายพระขีณาสพ เปลื้องหมู่แล้ว เพ่งอยู่

เทียว ชื่อว่าย่อมรุ่งเรือง.

บทว่า เตชสา ความว่า ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงครอบงำ

เดชแห่งการทุศีลด้วยเดชแห่งศีล เดชแห่งคุณอันชั่ว ด้วยเดชแห่งคุณ

เดชแห่งปัญญาทรามด้วยเดชแห่งปัญญา เดชแห่งสิ่งมิใช่บุญด้วยเดชแห่ง

บุญ เดชแห่งอธรรมด้วยเดชแห่งธรรม ย่อมรุ่งเรืองด้วยเดช ๕ อย่างนี้

ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระอานนทเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 435

๖. เรื่องบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง [๒๖๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบรรพชิต

รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " พาหิตปาโป " เป็นต้น.

พราหมณ์บวชนอกพระพุทธศาสนา

ได้ยินว่า พราหมณ์คนหนึ่งบวชแล้ว ด้วยการบวชในภายนอก

(พระศาสนา) คิดว่า " พระสมณโคดม เรียกสาวกของพระองค์ ' บรรพชิต '

ส่วนเราก็เป็นบรรพชิต, การพระองค์เรียกเราอย่างนั้นบ้าง ก็ควร " แล้ว

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามเนื้อความนั่น.

พระศาสดาตรัสว่า " เราหาเรียกว่า ' บรรพชิต ' ด้วยเหตุเพียงเท่านี้

ไม่, ส่วนบุคคลผู้ชื่อว่าเป็นบรรพชิต เพราะความที่มลทินคือกิเลสทั้งหลาย

อันตนเว้นได้ขาด " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๖. พาหิตปาโป หิ พฺราหฺมโณ

สมจริยา สมโณติ วุจฺจติ

ปพฺพาชยมตฺตโน มล

ตสฺมา ปพฺพชิโตติ วุจฺจติ.

" บุคคลผู้มีบาปอันลอยแล้วแล เราเรียกว่า

'พราหมณ์,' บุคคลที่เราเรียกว่า ' สมณะ' เพราะ

ความประพฤติเรียบร้อย, บุคคลขับไล่มลทินของตน

อยู่ เพราะเหตุนั้น เราเรียกว่า ' บรรพชิต."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 436

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมจริยาย คือ เพราะความประพฤติ

ระงับซึ่งอกุศลธรรมทั้งปวง.

บทว่า ตสฺมา ความว่า บุคคลที่พระศาสดาตรัสเรียกว่า ' พราหมณ์ '

เพราะความเป็นผู้มีบาปอันลอยแล้ว, บุคคลที่พระศาสดาตรัสเรียกว่า

' สมณะ ' เพราะความประพฤติสงบซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลาย; เหตุนั้น ผู้ใด

ประพฤติขับไล่ คือขจัดมลทินมีราคะเป็นต้นของตนอยู่, แม้ผู้นั้น พระ-

ศาสดาก็ตรัสเรียกว่า ' บรรพชิต ' เพราะการขับไล่นั้น.

ในกาลจบเทศนา บรรพชิตนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 437

๗. เรื่องพระสารีบุตรเถระ [๒๗๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตร-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น พฺราหฺมณสฺส " เป็นต้น.

พระเถระถูกพราหมณ์ตี

ได้ยินว่า มนุษย์เป็นอันมากในที่แห่งหนึ่ง กล่าวคุณกถาของพระ-

เถระว่า " น่าชม พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา ประกอบแล้วด้วยกำลังคือ

ขันติ, เมื่อชนเหล่าอื่นด่าอยู่ก็ตาม ประหารอยู่ก็ตาม แม้เหตุสักว่าความ

โกรธ ย่อมไม่มี."

ครั้งนั้น พราหมณ์มิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง ถามว่า " ใครนั่น ไม่โกรธ."

พวกมนุษย์. พระเถระของพวกฉัน .

พราหมณ์. บุคคลผู้ยั่วให้ท่านโกรธ จักไม่มีกระมัง ?

พวกมนุษย์. พราหมณ์ ข้อนั้น หามีไม่.

พราหมณ์. ถ้าเช่นนั้น เราจักยั่วให้ท่านโกรธ.

พวกมนุษย์. ถ้าท่านสามารถไซร้, ก็จงยั่วให้พระเถระโกรธเถิด.

พราหมณ์นั้น คิดว่า " เอาละ, เราจักรู้กิจที่ควรทำ " ดังนี้แล้ว

เห็นพระเถระเข้าไปเพื่อภิกษา จึงเดินไปโดยส่วนข้างหลัง ได้ให้การ

ประหารด้วยฝ่ามืออย่างแรงที่กลางหลัง.

พระเถระมิได้คำนึงถึงเลยว่า " นี่ชื่ออะไรกัน" เดินไปแล้ว. ความ

เร่าร้อนเกิดขึ้นทั่วสรีระของพราหมณ์. เขาตกลงใจว่า " แหมพระผู้เป็นเจ้า

สมบูรณ์ด้วยคุณ" ดังนี้แล้ว หมอบลงแทบเท้าของพระเถระ เรียนว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 438

" ขอท่านจงอดโทษแก่กระผมเถิด ขอรับ" เมื่อพระเถระกล่าวว่า " นี่

อะไรกัน ?" จึงเรียนว่า " กระผมประหารท่านเพื่อประสงค์จะทดลองดู."

พระเถระกล่าวว่า " ช่างเถิด, เราอดโทษให้ท่าน." พราหมณ์จึง

เรียนว่า " ท่านผู้เจริญ ถ้าท่านอดโทษให้กระผมไซร้." ก็ขอจงนั่งรับ

ภิกษาในเรือนของกระผมเถิด" ดังนี้แล้ว ได้รับบาตรของพระเถระ. ฝ่าย

พระเถระได้ให้บาตรแล้ว. พราหมณ์นำพระเถระไปเรือนอังคาสแล้ว.

พวกมนุษย์โกรธแล้ว ต่างก็คิดว่า " พระผู้เป็นเจ้าของพวกเราผู้หา

โทษมิได้ ถูกพราหมณ์นี้ประหารแล้ว, ความพ้นแม้จากท่อนไม้ไม่มีแก่

พราหมณ์นั้น, พวกเราจักฆ่ามันเสียในที่นี้แหละ" ดังนี้แล้ว มีก้อนดิน

และท่อนไม้เป็นต้นในมือ ได้ยืนซุ่มอยู่ที่ประตูเรือนของพราหมณ์.

พระเถระลุกขึ้นเดินไปอยู่ ได้ให้บาตรในมือของพราหมณ์.

พวกมนุษย์เห็นพราหมณ์นั้นเดินไปกับพระเถระ จึงเรียนว่า " ท่าน

ขอรับ ขอท่านจงรับบาตรของท่านแล้วให้พราหมณ์กลับเสีย" พระเถระ

กล่าวว่า " นี่เรื่องอะไรกัน ? อุบาสก."

พวกมนุษย์. พราหมณ์ประหารท่าน, พวกกระผมจักรู้กิจที่ควรทำ

แก่เขา.

พระเถระ. ก็ท่านถูกพราหมณ์นี้ประหารหรือ, หรือเราถูก ?

พวกมนุษย์. ท่านถูก ขอรับ.

พระเถระกล่าวว่า " พราหมณ์นั่นประหารเราแล้ว (แต่) ได้ขอขมา

แล้ว, พวกท่านจงไปกันเถิด " ส่งพวกมนุษย์ไปแล้ว ให้พราหมณ์กลับ

ได้ไปสู่วิหารนั่นเทียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 439

ภิกษุทั้งหลายยกโทษว่า " นี่ชื่ออย่างไร ? พระสารีบุตรเถระถูก

พราหมณ์ใดประหารแล้ว ยังนั่งรับภิกษาในเรือนของพราหมณ์นั้น นั่น

แหละ มาแล้ว; จำเดิมแต่กาลที่พระเถระถูกพราหมณ์นั้นประหารแล้ว ต่อ

ไปนี้ เขาจักไม่ละอายต่อใคร ๆ, จักเที่ยวตีภิกษุทั้งหลายที่เหลือ."

พราหมณ์ไม่ควรประหารพราหมณ์

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วย

ถ้อยคำชื่อนี้ " แล้ว, ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์ชื่อว่าประหาร

พราหมณ์ ย่อมไม่มี, แต่พราหมณ์ผู้สมณะจักเป็นผู้ถูกพราหมณ์คฤหัสถ์

ประหารได้; ขึ้นชื่อว่า ความโกรธนั่นย่อมถึงความถอนขึ้นได้ ด้วย

อนาคามิมรรค" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ทรงภาษิตพระคาถา

เหล่านี้ว่า :-

๗. น พฺราหฺมณสฺส ปหเรยฺย นาสฺส มุญฺเจถ พฺราหฺมโณ

ธิ พฺราหฺมณสฺส หนฺตาร ตโต ธิ ยสฺส มุญฺจติ.

น พฺราหฺมณสฺเสตทภิญฺจิ เสยฺโย

ยทานิเสโธ มนโส ปิเยหิ

ยโต ยโต หึสมโน นิวตฺตติ

ตโต ตโต สมฺมติเมว ทุกฺข.

" พราหมณ์ไม่ควรประหารแก่พราหมณ์ ไม่ควร

จอง (เวร) แก่เขา, น่าติเตียนพราหมณ์ผู้จอง

(เวร) ยิ่งกว่าพราหมณ์ผู้ประหารนั้น. ความเกียดกัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 440

ใจ จากอารมณ์อันเป็นที่รักทั้งหลายใด, ความเกียด

กันนั่น ย่อมเป็นความประเสริฐไม่น้อยแก่พราหมณ์,

ใจอันสัมปยุตด้วยความเบียดเบียน ย่อมกลับได้จาก

วัตถุใด ๆ, ความทุกข์ย่อมสงบได้เพราะวัตถุนั้น ๆ

นั้นแล."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปหเรยฺย ความว่า พราหมณ์ผู้ขีณาสพ

รู้อยู่ว่า " เราเป็น (พระขีณาสพ) " ไม่ควรประหารแก่พราหมณ์ขีณาสพ

หรือพราหมณ์อื่น.

สองบทว่า นาสฺส มุญฺเจถ ความว่า พราหมณ์ขีณาสพแม้นั้น ถูก

เขาประหารแล้ว ไม่ควรจองเวรแก่เขาผู้ประหารแล้วยืนอยู่, คือไม่ควร

ทำความโกรธในพราหมณ์นั้น.

บทว่า ธิ พฺราหมฺณสฺส ความว่า เราย่อมติเตียนพราหมณ์ผู้ประหาร

พราหมณ์ขีณาสพ.

บทว่า ตโต ธิ ความว่า ก็ผู้ใด ประหารตอบซึ่งเขาผู้ประหารอยู่

ชื่อว่า ย่อมจองเวรในเบื้องบนของเขา, เราติเตียนผู้จองเวรนั้น แม้กว่าผู้

ประหารนั้นทีเดียว.

สองบทว่า เอตทกิญฺจ เสยฺโย ความว่า การไม่ด่าตอบซึ่งบุคคล

ผู้ด่าอยู่ หรือการไม่ประหารตอบซึ่งบุคคลผู้ประหารอยู่ ของพระขีณาสพ

ใด, การไม่ด่าตอบหรือการไม่ประหารตอบนั่น ย่อมเป็นความประเสริฐ

ไม่ใช่น้อย คือไม่เป็นความประเสริฐที่มีประมาณน้อย แก่พราหมณ์ผู้เป็น

ขีณาสพนั้น, ที่แท้ย่อมเป็นความประเสริฐอันมีประมาณยิ่งทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 441

บาทพระคาถาว่า ยทานิเสโธ มนโส ปิเยหิ ความว่า ก็ความ

เกิดขึ้นแห่งความโกรธ ชื่อว่าอารมณ์เป็นที่รักแห่งใจ ของบุคคลผู้มัก

โกรธ, ก็บุคคลผู้มักโกรธนั่น จะผิดในมารดาบิดาก็ดี ในพระพุทธเจ้า

เป็นต้นก็ดี ก็เพราะอารมณ์เป็นที่รักเหล่านั้น, เหตุนั้นความเกียดกันใจ

จากอารมณ์อันเป็นที่รักเหล่านั้น คือความข่มขี่จิตอันเกิดขึ้นอยู่ ด้วยอำนาจ

ความโกรธ ของบุคคลผู้มักโกรธนั้นใด, ความเกียดกันนั่น ย่อมเป็น

ความประเสริฐไม่น้อย.

ใจอันสัมปยุตด้วยความโกรธ ชื่อว่า หึสมโน, ใจอันสัมปยุตด้วย

ความโกรธของเขานั้น เมื่อถึงความถอนขึ้นด้วยอนาคามิมรรค ชื่อว่าย่อม

กลับได้จากวัตถุใด ๆ.

สองบทว่า ตโต ตโต ความว่า วัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้น ย่อมกลับได้

เพราะวัตถุนั้น ๆ นั่นแล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 442

๘. เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี [๒๗๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนางมหา-

ปชาบดีโคตมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺส กาเยน " เป็นต้น.

พระศาสดาทรงบัญญัติครุธรรม ๘

ความพิสดารว่า พระนางมหาปชาบดีโคตมีพร้อมกับบริวารรับครุ-

ธรรม ๘ ประการ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว ในเมื่อเรื่องยังไม่

เกิดขึ้น เหมือนบุรุษผู้มีชาติมักประดับรับพวงดอกไม้หอมด้วยเศียรเกล้า

ได้อุปสมบทแล้ว. อุปัชฌายะหรืออาจารย์อื่นของพระนางไม่มี. ภิกษุ

ทั้งหลาย ปรารภพระเถรีผู้มีอุปสมบทอันได้แล้วอย่างนั้น โดยสมัยอื่น

สนทนากันว่า " อาจารย์และอุปัชฌายะของพระนางมหาปชาบดีโคตมี ย่อม

ไม่ปรากฏ, พระนางถือเอาผ้ากาสายะทั้งหลายด้วยมือของตนเอง."

ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ภิกษุณีทั้งหลายประพฤติรังเกียจอยู่

ย่อมไม่ทำอุโบสถ ไม่ทำปวารณาร่วมกับพระนางเลย. ภิกษุณีทั้งหลายนั้น

ไปกราบทูลเนื้อความนั้นแม้แด่พระตถาคตแล้ว.

คนที่ควรเรียกว่าพราหมณ์

พระศาสดาทรงสดับคำของภิกษุณีเหล่านั้นแล้ว จึงตรัสว่า "ครุธรรม

๘ ประการ เราให้แล้วแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี, เราเองเป็นอาจารย์

๑. ภิกษุณีถึงมีพรรษาตั้ง ๑๐๐ ต้องกราบไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทให้วันนั้น ๑. ต้องอยู่จำพรรษา

ในอาวาสภิกษุ ๑. ต้องหวังต่อธรรมทั้ง ๒ คือ ถามอุโบสถและไปรับโอวาทจากภิกษุสงฆ์ทุกกิ่ง

เดือน ๑. ออกพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ๑. ต้องแสวงหาอุปสมบทแก่นางสิกขมานาผู้ศึกษาในธรรม ๖ สิ้น ๒ ปี

ปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ๑. ต้องแสวงหาอุปสมบทแก่นางสิกขมานาผู้ศึกษาในธรรม ๖ สิ้น ๒ ปี

แล้วในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ๑. ด่าแช่งภิกษุไม่ได้ ๑. ปิดทางไม่ให้ภิกษุสอนภิกษุ เปิดทางให้ภิกษุ

กล่าวสอนอย่างเดียว ๑. วิ. จุลล. ๗/๓๓๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 443

เราเองเป็นอุปัชฌายะของพระนาง, ชื่อว่าความรังเกียจในพระขีณาสพ

ทั้งหลาย ผู้เว้นแล้วจากทุจริตทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้น อันเธอทั้งหลาย

ไม่ควรทำ" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๘. ยสฺส กาเยน วาจาย มนสา นตฺถิ ทุกฺกต

สวุต ตีหิ าเนหิ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ความชั่วทางกาย วาจา และใจ ของบุคคลใด

ไม่มี, เราเรียกบุคคลนั้น ผู้สำรวมแล้วโดยฐานะ ๓

ว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

กรรมมีโทษ คือมีทุกข์เป็นกำไร อันยังสัตว์ให้เป็นไปในอบาย

ชื่อว่า ทุกฺกต ในพระคาถานั้น.

สองบทว่า ตีหิ าเนหิ ความว่า เราเรียกบุคคลผู้มีทวารอันปิด

แล้ว เพื่อต้องการห้ามความเข้าไปแห่งทุจริตเป็นต้น โดยเหตุ ๓ มีกาย

เป็นต้นเหล่านั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระนางมหาปชาบดีโคตมี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 444

๙. เรื่องพระสารีบุตรเถระ [๒๗๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตร-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยมฺหา ธมฺม วิชาเนยฺย " เป็นต้น.

พระสารีบุตรเคารพในพระอัสสชิผู้อาจารย์

ได้ยินว่า ท่านพระสารีบุตรนั้น จำเดิมแต่กาลที่ท่านฟังธรรมใน

สำนักของพระอัสสชิเถระแล้วบรรลุโสดาปัตติผล สดับว่า " พระเถระ

ย่อมอยู่ในทิศใด" ก็ประคองอัญชลีไปทางทิศนั้น นอนหันศีรษะไปทาง

ทิศนั้นแล.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า " พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถึงวันนี้ก็เที่ยว

นอนน้อมทิศทั้งหลายอยู่ " ดังนี้แล้ว กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระ-

ตถาคต.

พระศาสดารับสั่งให้เรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสถามว่า " สารีบุตร

นัยว่า เธอเที่ยวนอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่ จริงหรือ ?" เมื่อพระเถระ

กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า พระองค์เท่านั้นย่อมทรงทราบความเป็นคือ

อันนอบน้อมหรือไม่นอบน้อมทิศทั้งหลาย ของข้าพระองค์ " ดังนี้แล้ว,

ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมไม่นอนน้อมทิศทั้งหลาย, แต่เพราะ

ความที่เธอฟังธรรมจากสำนักของพระอัสสชิเถระ แล้วบรรลุโสดาปัตติผล

จึงนอบน้อมอาจารย์ของตน; เพราะว่า ภิกษุอาศัยอาจารย์ใด ย่อมรู้ธรรม,

ภิกษุนั้นพึงนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมไฟ

อยู่ฉะนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 445

๙. ยมฺหา ธมฺม วิชาเนยฺย สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิต

สกฺกจฺจ น นมสฺเสยฺย อคฺคิหุตฺตว พฺราหฺมโณ.

" บุคคลพึงรู้แจ้งธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงแสดงแล้ว จากอาจารย์ใด, พึงนอบน้อมอาจารย์

นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชา

เพลิงอยู่ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิหุตฺต ว ความว่า บุคคลพึงรู้แจ้ง

ธรรมอันพระตถาคตประกาศแล้ว จากอาจารย์ใด, พึงนอบน้อมอาจารย์

นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชาเพลิงโดยเคารพ ด้วย

การบำเรอด้วยดี และด้วยกิจทั้งหลายมีอัญชลีกรรมเป็นต้นฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 446

๑๐. เรื่องชฎิลพราหมณ์ [๒๗๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภชฎิลพราหมณ์

คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น ชฏาหิ " เป็นต้น.

ชฎิลต้องการให้ตรัสเรียกตนว่าพราหมณ์

ได้ยินว่า ชฎิลพราหมณ์นั้นคิดว่า " เราเกิดดีแล้วทั้งฝ่ายมารดา

ทั้งผ่ายบิดา เกิดในตระกูลพราหมณ์, ถ้าพระสมณโคดมตรัสเรียกพระสาวก

ทั้งหลายของพระองค์ว่า ' พราหมณ์ ' การที่พระองค์ตรัสเรียกเราอย่างนั้น ่

บ้าง ก็ควร " ดังนี้แล้ว จึงไปยังสำนักพระศาสดา ทูลถามเนื้อความนั้น.

ลักษณะแห่งพราหมณ์

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะพราหมณ์นั้นว่า " พราหมณ์ เราไม่

เรียกว่า ' พราหมณ์ ' ด้วยเหตุสักว่าชฎา ไม่เรียกด้วยเหตุสักว่าชาติและ

โคตร, แต่เราเรียกผู้มีสัจจะอันแทงตลอดแล้วเท่านั้นว่า " เป็นพราหมณ์ "

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๐. น ชฏาหิ น โคตฺเตหิ น ชจฺจา โหติ พฺราหฺมโณ

ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโม จ โส สุจี โส จ พฺราหฺมโณ.

" บุคคลย่อมเป็นพราหมณ์ ด้วยชฎา ด้วยโคตร

ด้วยชาติ หามิได้, สัจจะและธรรมมีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้น

เป็นผู้สะอาด และผู้นั้นเป็นพราหมณ์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 447

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สจฺจ เป็นต้น ความว่า สัจญาณอัน

แทงตลอดซึ่งสัจจะ ๔ อย่าง ด้วยอาการ ๑๖ แล้วตั้งอยู่ และโลกุตร-

ธรรม ๙ มีอยู่ในบุคคลใด, บุคคลนั้นเป็นผู้สะอาด และเป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องชฏิลพราหมณ์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 448

๑๑. เรื่องกุหกพราหมณ์ [๒๗๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ทรงปรารภกุหกพราหมณ์

ผู้มีวัตรดังค้างคาวคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " กินฺเต " เป็นต้น.

พราหมณ์ลวงเอาสิ่งของของชาวเมือง

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นขึ้นต้นกุ่มต้นหนึ่ง ใกล้ประตูพระนครเวสาลี

เอาเท้าทั้งสองเหนี่ยวกิ่งไม้ ห้อยหัวลงอยู่ กล่าวว่า " ท่านทั้งหลายจงให้

โคแดง ๑๐๐ แก่เรา จงให้กหาปณะทั้งหลายแก่เรา จงให้หญิงบำเรอแก่

เรา, ถ้าท่านทั้งหลายจักไม่ให้, เราตกจากต้นกุ่มนี้ตาย จักทำพระนคร

ไม่ให้เป็นพระนคร." ในกาลเป็นที่เสด็จเข้าไปยังพระนครแม้ของพระ-

ตถาคต ผู้อันหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้ว ภิกษุทั้งหลายเห็นพราหมณ์นั้นแล้ว

แม้ในกาลเป็นที่เสด็จออกไป ก็เห็นเขาห้อยอยู่อย่างนั้นเหมือนกัน.

ฝ่ายชาวพระนครต่างก็คิดว่า " พราหมณ์นี้ ห้อยอยู่อย่างนี้ตั้งแต่เช้า

พึงตกลง (ตา) ทำพระนครไม่ให้เป็นพระนคร" กลัวความล่มจมแห่ง

พระนคร จึงยอมรับว่า " พวกเราจะให้ของทุกอย่างที่พราหมณ์นั้นขอ"

แล้วได้ให้. เขาได้ลงรับเอาสิ่งของทั้งปวงไป.

ภิกษุทั้งหลายเห็นเขาเที่ยวไปดุจแม่โค ใกล้อุปจารแห่งวิหาร จำได้

จึงถามว่า " พราหมณ์ ท่านได้สิ่งของตามปรารถนาแล้วหรือ ?" ได้ฟังว่า

" ขอรับ กระผมได้แล้ว " จึงกราบทูลเรื่องนั้นแต่พระตถาคต ณ ภายใน

วิหาร.

พระศาสดาตรัสบุรพกรรมของพราหมณ์

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์นั่นเป็นโจรหลอกลวง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 449

ในกาลนี้เท่านั้น หามิได้, ถึงในกาลก่อน ก็เป็นโจรหลอกลวงแล้วเหมือน

กัน; ก็บัดนี้ พราหมณ์นั่นย่อมหลอกลวงพาลชนได้, แต่ในกาลนั้น ไม่

อาจเพื่อหลอกลวงบัณฑิตทั้งหลายได้ " ดังนี้แล้ว อันภิกษุเหล่านั้นทูล

อ้อนวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า :-

"ในอดีตกาล ดาบสหลอกลวงรูปหนึ่ง อาศัยกาสิกคามตำบลหนึ่ง

ย่อมสำเร็จการอยู่. ตระกูลหนึ่งบำรุงเธอ คือ:- ย่อมถวายส่วนหนึ่งแม้แก่

เธอ จากของควรเคี้ยวและของควรบริโภคอันเกิดขึ้นแล้วในกลางวัน

เหมือนให้แก่บุตรของตน, เก็บส่วนอันเกิดขึ้นในตอนเย็นไว้ถวายใน

วันที่ ๒.

ต่อมาวันหนึ่ง ตระกูลนั้นได้เนื้อเหี้ย (มา) ในเวลาเย็น แกงไว้

เรียบร้อยแล้ว เก็บส่วนหนึ่งจากส่วนที่แกงนั้นไว้ ถวายแก่เธอในวันที่ ๒.

ดาบสพอกินเนื้อแล้ว ถูกความอยากในรสผูกพันแล้ว ถามว่า " นั่นชื่อ

เนื้ออะไร ?" ได้ฟังว่า " เนื้อเหี้ย " ดังนี้แล้ว เที่ยวไปเพื่อภิกษา รับเอา

เนยใสนมส้มและเครื่องเผ็ดร้อนเป็นต้น ไปยังบรรณศาลา แล้วเก็บไว้ ณ

ส่วนข้างหนึ่ง.

ก็พระยาเหี้ยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง ณ ที่ไม่ไกลแห่งบรรณศาลา.

พระยาเหี้ยมาเพื่อไหว้พระดาบสตามกาลสมควร.

ก็ในวันนั้น ดาบสนั่นคิดว่า " เราจักฆ่าเหี้ยนั้น " ดังนี้แล้ว ซ่อน

ท่อนไม้ไว้ นั่งทำที่เหมือนหลับอยู่ ณ ที่ใกล้จอมปลวกนั้น.

พระยาเหี้ย ออกจากจอมปลวกแล้ว มายยังสำนักของเธอ กำหนด

อาการได้แล้ว จึงกลับจากที่นั้น ด้วยคิดว่า " วันนี้ เราไม่ชอบใจอาการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 450

ของอาจารย์." ดาบสรู้ความกลับของเหี้ยนั้นแล้วขว้างท่อนไม้ไปเพื่อ

ประสงค์จะฆ่าเหี้ยนั้น. ท่อนไม้พลาดไป, พระยาเหี้ยเข้าไปสู่จอมปลวกแล้ว

โผล่ศีรษะออกหาจากจอมปลวกนั้นแล้วแลดูทางที่มา กล่าวกะดาบสว่า :-

" ข้าพเจ้า สำคัญท่านผู้ไม่สำรวมว่าเป็นสมณะ

จึงเข้าไปหาแล้ว, ท่านนั้น ย่อมไม่เป็นสมณะ โดย

ประการที่ท่านเอาไม้ประหารข้าพเจ้า; ท่านผู้มีปัญญา

ทราม ประโยชน์อะไรด้วยชฎาทั้งหลายของท่าน,

ประโยชน์อะไรด้วยผ้าที่ทำด้วยหนังสัตว์ของท่าน,

ภายในของท่านรกรุงรัง ท่านย่อมเกลี้ยงเกลาแต่ภาย

นอก."

ครั้งนั้น ดาบสเพื่อจะล่อพระยาเหี้ยนั้น ด้วยของมีอยู่ของตน จึง

กล่าวอย่างนี้ว่า :-

" เหี้ย ท่านจงกลับมา จงบริโภคข้าวสุกแห่ง

ข้าวสาลีทั้งหลาย, น้ำมันและเกลือของข้าพเจ้ามีอยู่,

ดีปลีของข้าพเจ้าก็มีเพียงพอ."

พระยาเหี้ยฟังคำนั้นแล้ว กล่าวว่า " ท่านกล่าวโดยประการใด ๆ ;

ความที่ข้าพเจ้าประสงค์เพื่อหนีไปอย่างเดียว ย่อมมีโดยประการนั้น ๆ "

ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า :-

" ข้าพเจ้านั้น ยิ่งจักเข้าไปสู่จอมปลวกลึกตั้ง ๑๐๐

ชั่วบุรุษ น้ำมันและเกลือของท่านจะเป็นประโยชน์

อะไร ? ดีปลีก็ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 451

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว กล่าวว่า " ข้าพเจ้าได้ทำความสำคัญ

ในท่านว่าเป็นสมณะสิ้นกาลประมาณเท่านี้, บัดนี้ ท่านขว้างท่อนไม้ไป

เพราะความเป็นผู้ประสงค์จะประหารข้าพเจ้า, ท่านไม่เป็นสมณะแต่กาล

ที่ท่านขว้างท่อนไม้ไปแล้วทีเดียว, ประโยชน์อะไรด้วนชฎาทั้งหลายของ

บุคคลผู้ทรามปัญญาเช่นท่าน, ประโยชน์อะไรด้วยหนังเนื้อชื่ออชินะพร้อม

ทั้งกีบ. เพราะภายในของท่านรกรุงรัง, ท่านย่อมเกลี้ยงเกลาแต่ภายนอก

อย่างเดียวเท่านั้น."

พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ตรัสว่า " พราหมณ์

นี้ ได้เป็นดาบสผู้หลอกลวงในกาลนั้น, ส่วนพระยาเหี้ย ได้เป็นเรานี่เอง "

ดังนี้ แล้วทรงประมวลชาดก เมื่อจะทรงแสดงเหตุแห่งดาบสนั้น ถูกเหี้ย

ตัวฉลาดข่มในกาลนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๑. กินฺเต ชฏาหิ ทุมฺเมธ กินฺเต อชินสาฏิยา

อพฺภนฺตรนฺเต คหน พาหิร ปริมชฺชสิ.

" ผู้มีปัญญาทราม ประโยชน์อะไรด้วยชฎา

ทั้งหลายของเธอ, ประโยชน์อะไรด้วยผ้าที่ทำด้วย

หนังเนื้อชื่ออชินะของเธอ; ภายในของเธอรกรุงรัง,

เธอย่อมเกลี้ยงเกลาแต่ภายนอก. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า กินฺเต ชฏาหิ ความว่า ดูก่อน

ผู้ทรามปัญญา ประโยชน์อะไรด้วยชฎาเหล่านี้ แม้อันเธอเกล้าไว้ดีแล้ว

และด้วยผ้าสาฎกที่ทำด้วยหนังเนื้อชื่ออชินะนี้ พร้อมทั้งกีบอันเธอนุ่งแล้ว

ของเธอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 452

บทว่า อพฺภนฺตร ความว่า ในภายในของเธอรกรุงรังด้วยกิเลสมี

ราคะเป็นต้น, เธอย่อมเกลี้ยงเกลาแต่ภายนอก เหมือนคูถช้างคูถข้างคูถม้าเกลี้ยง-

เกลาแต่ภายนอกอย่างเดียว.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องกุหกพราหมณ์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 453

๑๒. เรื่องนางกิสาโคตมี [๒๗๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภนางกิสา-

โคตมี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปสุกูลธร" เป็นต้น.

นางโคตมีเห็นท้าวสักกะ

ได้ยินว่า ในกาลนั้นท้าวสักกะเข้าไปเฝ้าพระศาสดา พร้อมกับ

เทวบริษัท ในที่สุดแห่งปฐมยาม ถวายบังคมแล้วประทับนั่ง ทรงสดับ

ธรรมกถาอันเป็นที่ตั้งแหงความระลึกถึงอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.

ในขณะนั้น นางกิสาโคตมีคิดว่า " เราจักเฝ้าพระศาสดา " เหาะ

มาทางอากาศแล้ว เห็นท้าวสักกะ จึงกลับไปเสีย ท้าวเธอทอดพระเนตร

เห็นนางผู้ถวายบังคมแล้ว กลับไปอยู่ ทูลถามพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า

ภิกษุณีนั่นชื่อไร ? พอมาเห็นพระองค์แล้วก็กลับ."

นางกิสาโคตมีเลิศทางทรงผ้าบังสุกุล

พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร ภิกษุณีนั่น ชื่อกิสาโคตมี เป็น

ธิดาของตถาคต เป็นยอดแห่งพระเถรีผู้ทรงผ้าบังสุกุลทั้งหลาย" ดังนี้

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๒. ปสุกูลธร ชนฺตุ กิสนฺธมนิสนฺถต

เอก วนสฺมึ ฌายนฺต ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" เราเรียกชนผู้ทรงผ้าบังสุกุล ผู้ผอม สะพรั่ง

ด้วยเอ็น ผู้เพ่งอยู่ผู้เดียวในป่านั้นว่า เป็นพราหมณ์."

๑. การเที่ยวไปกลางคืนเสมอ ๆ ภิกษุณีมิได้ประพฤติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 454

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิส ความว่า ก็ชนทั้งหลายผู้ทรงผ้า

บังสุกุล บำเพ็ญข้อปฏิบัติอันสมควรแก่ตน ย่อมเป็นผู้มีเนื้อและโลหิต

น้อย และเป็นผู้มีตัวสะพรั่งด้วยเอ็น; เหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่าง

นั้น.

สองบทว่า เอก วนสฺมึ ความว่า เราย่อมเรียกบุคคลผู้เพ่งอยู่ผู้เดียว

ในที่สงัดนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องนางกิสาโคตมี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 455

๑๓. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง [๒๗๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์

คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น จาห " เป็นต้น.

พราหมณ์เข้าเฝ้าพระศาสดา

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นคิดว่า " พระสมณโคดม ตรัสเรียกสาวก

ทั้งหลายของพระองค์ว่า ' พราหมณ์,' ส่วนเราก็เป็นผู้เกิดในกำเนิด

พราหมณ์, การที่พระองค์ตรัสเรียกเราอย่างนั้นบ้าง ย่อมควร" ดังนี้แล้ว

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามเนื้อความนั้น.

ลักษณะแห่งพราหมณ์

ลำดับนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะเขาว่า " พราหมณ์ เราย่อมไม่

เรียกว่า ' พราหมณ์ ' ด้วยเหตุสักว่าเกิดในกำเนิดพราหมณ์เท่านั้น, ส่วน

ผู้ใดไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ไม่ถือมั่น, เราเรียกผู้นั้นว่า ' เป็นพราหมณ์ "

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๓. น จาห พฺราหฺมณ พฺรูมิ โยนิช มตฺติสมฺภว

โภวาที นาม โส โหติ ส เว โหติ สกิญฺจโน

อกิญฺจน อนาทน ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" เราไม่เรียกบุคคลผู้เกิดแต่กำเนิด ผู้มีมารดา

เป็นแดนเกิดว่า เป็นพราหมณ์; เขาย่อมเป็นผู้ชื่อว่า

โภวาที, เขาย่อมเป็นผู้มีกิเลสเครื่องกังวล, เราเรียก

ผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ผู้ไม่ถือมั่นนั้นว่า เป็น

พราหมณ์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 456

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โยนิช ได้แก่ ผู้เกิดแล้วแต่กำเนิด.

บทว่า มตฺติสมฺภว ความว่า ผู้เกิดแล้วในท้องอันเป็นของมีอยู่แห่ง

มารดาผู้เป็นพราหมณี.

บทว่า โภวาที ความว่า ก็เขาเที่ยวกล่าวอยู่ว่า " ผู้เจริญ ผู้เจริญ "

ในคำที่ร้องเรียกกันเป็นต้น ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า โภวาที, เขาแล ยังเป็น

ผู้มีกิเลสเครื่องกังวล ด้วยกิเลสเครื่องกังวลทั้งหลายมีราคะเป็นต้น; แต่

เราเรียกผู้ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล ด้วยกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นอาทิ ผู้ไม่

ถือมั่นด้วยอุปาทาน ๔ ว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 457

๑๔. เรื่องอุคคเสน [๒๗๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภเศรษฐีบุตร

ชื่ออุคคเสน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพสญฺโชน " เป็นต้น.

พระอรหันต์ย่อมไม่กลัว

เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว ในอรรถแห่งพระคาถาว่า " มุญฺจ

ปุเร มุญฺจ ปจฺฉโต " เป็นต้นนั้นแล.

ก็ในกาลนั้น พระศาสดา เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า " พระ-

เจ้าข้า พระอุคคเสนย่อมกล่าวว่า ' เราไม่กลัว ' ชะรอยว่าจะพยากรณ์

พระอรหัตผลด้วยคำไม่จริง," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เช่นกับ

บุตรของเรา มีสังโยชน์อันตัดได้แล้ว ย่อมไม่กลัวเลย " ดังนี้แล้ว ตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

๑๔. สพฺพสโยชน เฉตฺวา โย เว น ปริตสฺสติ

สงฺคาติค วิสยุตฺต ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ผู้ใดแล ตัดสังโยชน์ทั้งปวงได้แล้ว ย่อมไม่

สะดุ้ง, เราเรียกผู้นั้น ผู้ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้องได้

ผู้หลุดพ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพสญฺโชน ได้แก่ สังโยชน์ ๑๐

อย่าง.

บทว่า น ปริตสฺสติ ได้แก่ ย่อมไม่กลัวเพราะตัณหา.

บทว่า ตมห ตัดบทเป็น ต อห ความว่า เราเรียกผู้นั้น ซึ่งชื่อว่า

๑. บาลี เป็น สพฺพสโยชน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 458

ก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง เพราะความที่กิเลสเครื่องข้องทั้งหลาย มีราคะ

เป็นต้น อันล่วงได้แล้ว ผู้ชื่อว่าพรากได้แล้ว เพราะไม่มีแห่งโยคะแม้ ๔

ว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องอุคคเสน จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 459

๑๕. เรื่องพราหมณ์ ๒ คน [๒๗๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์

๒ คน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เฉตฺวา นทฺธึ " เป็นต้น.

พราหมณ์สองคนเอาโคแข่งขันกัน

ได้ยินว่า ในพราหมณ์สองคนนั้น พราหมณ์คนหนึ่งมีโคชื่อว่า

จูฬโรหิต, คนหนึ่งมีโคชื่อว่ามหาโรหิต.

ในวันหนึ่ง เขาทั้งสองเถียงกันว่า " โคของท่านแข็งแรง หรือโค

ของเราแข็งแรง" ดังนี้แล้ว ต่างกล่าวกันว่า " ประโยชน์อะไรของเรา

ทั้งหลาย ด้วยการเถียงกัน, เราแข่งกันแล้ว จักรู้ " ยังเกวียนให้เต็มด้วย

ทรายที่ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี แล้วเทียมโค.

ในขณะนั้น แม้ภิกษุทั้งหลายก็ได้ไปแล้วในที่นั้น เพื่อสรงน้ำ.

พราหมณ์ทั้งหลายแข่งโคกันแล้ว. เกวียนได้หยุดนิ่งอยู่, ส่วนชะเนาะและ

เชือกทั้งหลายขาดแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายเห็นแล้ว ไปยังวิหาร กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระ-

ศาสดา.

ควรตัดชะเนาะและเชือกภายใน

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ชะเนาะและเชือกนั่นเป็นแต่

ภายนอก, คนใดคนหนึ่งก็ตัดชะเนาะและเชือกเหล่านั้นได้ทั้งนั้น, ฝ่าย

ภิกษุตัดชะเนาะคือความโกรธ และเชือกคือตัณหาอันเป็นไปภายในควร"

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 460

๑๕. เฉตฺวา นทฺธึ วรตฺตญฺจ สนฺทาน สหนุกฺกม

อุกฺขิตฺตปลิฆ พุทฺธ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" เราเรียกบุคคลผู้ตัดชะเนาะ เชือก และเครื่อง

ต่อพร้อมทั้งหลาย ผู้มีลิ่มสลักอันถอนขึ้นแล้ว ผู้รู้แล้ว

นั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นทฺธึ ได้แก่ ความโกรธอันเป็นไปโดย

ความเป็นเครื่องผูกรัด.

บทว่า วรตฺต ได้แก่ ตัณหาอันเป็นไปโดยความเป็นเครื่องผูก.

บาทพระคาถาว่า สนฺธาน สหนุกฺกม เป็นต้น ความว่า เราเรียก

บุคคลผู้ตัดเครื่องต่อคือทิฏฐิ ๖๒ อันประกอบด้วยสายคืออนุสัย แม้ทั้งปวง

นี้ตั้งอยู่แล้ว ผู้ชื่อว่า มีลิ่มสลักอันถอนขึ้นแล้ว เพราะความที่ลิ่มสลักคือ

อวิชชาเป็นของอันตนถอนขึ้นแล้ว ผู้ชื่อว่า รู้แล้วเพราะรู้สัจจะ ๔ นั้นว่า

เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุ ๕๐๐ รูปตั้งอยู่ในพระอรหัตผลแล้ว. เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์ ๒ คน จบ.

๑. ม. โป. และ อรรถกถา เป็น สนฺธาน. ๒. ที. สี. ๙/๔๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 461

๑๖. เรื่องอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ [๒๗๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอักโกสก-

ภารทวาชพราหมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อกฺโกส " เป็นต้น.

นางธนัญชานีถูกด่า

ความพิสดารว่า นางพราหมณีชื่อธนัญชานี ของภารทวาชพราหมณ์

ผู้พี่ชายของอักโกสกภารทวาชพราหมณ์ ได้เป็นโสดาบันแล้ว. นางจาม

ก็ดี ไอก็ดี พลาดก็ดี เปล่งอุทานนี้ว่า " นโม ตสฺส ภควโต อรหโต

สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส (ความนอบน้อม จงมีแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็น

พระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ พระองค์นั้น)."

วันหนึ่ง ในเวลาที่อังคาสพราหมณ์ นางพลาดแล้ว เปล่งอุทาน

ขึ้นอย่างนั้นนั่นแล ด้วยเสียงอันดัง. พราหมณ์โกรธแล้ว กล่าวว่า " หญิง

ถ่อยนี้ พลาดแล้วในที่ใดที่หนึ่ง ย่อมกล่าวสรรเสริญพระสมณะหัวโล้นนั้น

อย่างนี้ทุกที " ดังนี้แล้ว กล่าวว่า " หญิงถ่อย บัดนี้ข้าจักไปยกวาทะต่อ

ศาสดานั้นของเจ้า."

ลำดับนั้น นางจึงกล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า " จงไปเถิดพราหมณ์

ดิฉันไม่เห็นบุคคลผู้จะยกวาทะต่อพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้: เออ ก็ครั้น

ไปแล้ว จงทูลถามปัญหากะพระผู้มีพระภาคเจ้า." เขาไปสู่สำนักพระ-

ศาสดา ไม่ถวายบังคมเลย ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว, เมื่อจะทูลถาม

ปัญหา จึงกล่าวคาถานี้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 462

" บุคคลฆ่าอะไรได้สิ จึงอยู่เป็นสุข, ฆ่าอะไร

ได้สิ จึงไม่เศร้าโศก, ข้าแต่พระโคดม พระองค์

ย่อมชอบใจซึ่งการฆ่าธรรมอะไรสิ ซึ่งเป็นธรรมอัน

เอก."

ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรงพยากรณ์ปัญหาแก่เขา จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

" บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว จึงอยู่เป็นสุข. ฆ่า

ความโกรธได้แล้วจึงไม่เศร้าโศก, พราหมณ์ พระ-

อริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญการฆ่าความโกรธ

อันมีรากเป็นพิษ มียอดหวาน, เพราะบุคคลนั้นฆ่า

ความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก."

พราหมณ์ ๔ คนบรรลุพระอรหัตผล

เขาเลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วบรรลุพระอรหัต.

ครั้งนั้น อักโกสกภารทวาชพราหมณ์ผู้น้องชายของเขา ได้ฟังว่า

" ได้ยินว่า พี่ชายของเราบวชแล้ว " ก็โกรธ จึงมาด่าพระศาสดาด้วย

วาจาหยาบคาย ซึ่งมิใช่วาจาสัตบุรุษ. แม้เขาก็ถูกพระศาสดาให้รู้สำนึก

แล้ว ด้วยข้ออุปมาด้วยการให้ของควรเคี้ยวเป็นต้นแก่แขกทั้งหลาย เลื่อม-

ใสในพระศาสดา บวชแล้วบรรลุพระอรหัต.

น้องชายทั้งสองของเธอแม้อื่นอีก คือสุนทริกภารทวาชะ พิลังคก-

ภารทวาชะ (พากัน ) ด่าพระศาสดาเหมือนกัน อันพระศาสดาทรงแนะนำ

บวชแล้วบรรลุพระอรหัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 463

ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุ

ทั้งหลาย คุณของพระพุทธเจ้าน่าอัศจรรย์หนอ: เมื่อพราหมณ์พี่น้องชาย

ทั้ง ๔ ด่าอยู่, พระศาสดาไม่ตรัสอะไร ๆ กลับเป็นที่พึ่งของพราหมณ์

เหล่านั้นอีก."

พระศาสดาเป็นที่พึ่งของมหาชน

พระศาสดา เสด็จมาแล้วตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วย

กถาชื่อนี้ " จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เราไม่ประทุษร้าย ในชน

ทั้งหลายผู้ประทุษร้าย เพราะความที่เราประกอบด้วยกำลังคือขันติ ย่อมเป็น

ที่พึ่งของมหาชนโดยแท้ ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๖. อกฺโกส วธพนฺธญฺจ อทุฏฺโ โย ติติกฺขติ

ขนฺตีพล พลาณีก ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ผู้ใด ไม่ประทุษร้าย อดกลั้นซึ่งคำด่าและ

การตีและการจำจองได้, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีกำลัง

คือขันติ มีหมู่พลว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทุฏฺโ เป็นต้น ความว่า ผู้ใดเป็น

ผู้มีใจไม่โกรธ อดกลั้นคำด่าและคำบริภาษ ด้วยอักโกสวัตถุ ๑๐ และ

การดีด้วยฝ่ามือเป็นต้น และการจำด้วยเครื่องจำคือขื่อเป็นต้น, เราเรียก

ผู้นั้น คือผู้เห็นปานนั้น ซึ่งชื่อว่ามีกำลังคือขันติ เพราะความเป็นผู้

ประกอบด้วยกำลังคือขันติ ผู้ชื่อว่ามีหมู่พล เพราะความเป็นผู้ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 464

ด้วยกำลังคือขันติ อันเป็นหมู่ เพราะเกิดขึ้นบ่อย ๆ นั่นแล ว่า เป็น

พราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องอักโกสกภารทวารพราหมณ์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 465

๑๗. เรื่องพระสารีบุตรเถระ [๒๘๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระสารี-

บุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อกฺโกธน " เป็นต้น.

พระเถระสละทรัพย์ออกบวช

ได้ยินว่า ในกาลนั้นพระเถระเที่ยวไปบิณฑบาตกับด้วยภิกษุ ๕๐๐0

รูป ได้ไปยังประตูเรือนของมารดา ในบ้านนาลกะ.

ครั้งนั้น นางนิมนต์ให้ท่านนั่งแล้ว อังคาสอยู่ ด่าว่า " ผู้เจริญ

ท่านไม่ได้ของเคี้ยวที่เป็นเดน และน้ำข้าวที่เป็นเดน ก็สมควรจะกินน้ำ

ข้าวที่ติดอยู่ทางหลังกระบวย ในเรือนของคนอื่น, ท่านสละทรัพย์ ๘๐

โกฏิบวชเสียได้, ท่านให้เราฉิบหายแล้ว, บัดนี้ท่านจงบริโภคเถิด." นาง

พลางถวายภัตแม้แก่ภิกษุทั้งหลาย กล่าวว่า " บุตรของเราถูกท่านทั้งหลาย

ทำให้เป็นคนรับใช้ของตนแล้ว, บัดนี้ พวกท่านจงบริโภคเถิด," พระ-

เถระรับภิกษาแล้วได้ตรงไปยังวิหารทีเดียว.

ครั้งนั้น ท่านพระราหุล เอื้อเฟื้อพระศาสดาด้วยบิณฑบาตแล้ว.

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า " ราหุล พวกเธอไป ณ ที่ไหน."

พระราหุล. พวกข้าพระองค์ไปยังบ้านของย่า พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ก็อุปัชฌายะของเธอ ถูกย่ากล่าวอย่างไร ?

พระราหุล. พระเจ้าข้า พระอุปัชฌายะของข้าพระองค์ ถูกย่าด่า

แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 466

พระศาสดา. อุปัชฌายะของเธอถูกย่าว่าอย่างไร ?

พระราหุล. ว่ากล่าวถ้อยคำชื่อนี้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ส่วนอุปัชฌายะของเธอ ว่าอย่างไร ?

พระราหุล. ไม่ว่าอะไร ๆ เลย พระเจ้าข้า.

ภิกษุทั้งหลายสรรเสริญพระเถระ

ภิกษุทั้งหลาย ฟังคำนั้นแล้ว สนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุ

ทั้งหลาย คุณทั้งหลายของพระสารีบุตรเถระน่าอัศจรรย์หนอ: เมื่อมารดา

ของท่านด่าอยู่ชื่ออย่างนั้น แม้เหตุสักว่าความโกรธ มิได้มีเลย."

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ

นั่งสนทนากันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วย

กถาชื่อนี้," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพทั้งหลาย

เป็นผู้โกรธเลย" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑๗. อกฺโกธน วตวนฺต สีลวนฺต อนุสฺสท

ทนฺต อนฺติมสารีร ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" เราเรียกผู้ไม่โกรธ มีวัตร มีศีล ไม่มีตัณหา

เครื่องฟูขึ้น ผู้ฝึกแล้ว มีสรีระในที่สุดนั้นว่า เป็น

พราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วตฺตวนฺต เป็นต้น ความว่า เราเรียก

ผู้ประกอบด้วยวัตรคือธุดงค์ ผู้มีศีลด้วยปาริสุทธิศีล ๔ ผู้ชื่อว่าไม่มีตัณหา

๑. บาลีเป็น วตวนฺต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 467

เครื่องฟูขึ้น เพราะไม่มีเครื่องฟูขึ้นคือตัณหา ผู้ชื่อว่าฝึกแล้ว เพราะฝึก

อินทรีย์ ๖ ผู้ชื่อว่ามีสรีระมีในที่สุด เพราะอัตภาพอันตั้งอยู่ในที่สุดนั้น

ว่าเป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 468

๑๘. เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี [๒๘๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอุบล-

วรรณาเถรี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " วาริ โปกฺขรปตฺเตว " เป็นต้น.

มหาชนเข้าใจว่าพระขีณาสพยินดีกามสุข

เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้วแล ในอรรถกถาแห่งพระคาถาว่า

" มธุวา มญฺตี พาโล" เป็นต้น.

จริงอยู่ ในที่นั้นข้าพเจ้ากล่าวว่า " โดยสมัยอื่นอีก มหาชนสนทนา

กันในโรงธรรมว่า " ถึงพระขีณาสพทั้งหลาย ชะรอยจะยังเสพกาม, ทำไม

จักไม่เสพ ? เพราะท่านเหล่านั้น ไม่ใช่ไม้ผุ ไม่ใช่จอมปลวก ยังมีเนื้อ

และสรีระสดชื่นอยู่เทียว; เหตุนั้น แม้พระขีณาสพเหล่านั้น จึงยังยินดี

กามสุขมีอยู่."

พระขีณาสพไม่ติดอยู่ในกาม

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วย

กถาชื่อนี้" จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่ยินดี

ซึ่งกามสุข ไม่เสพกาม, เหมือนอย่างว่าหยาดน้ำที่ตกลงบนใบบัว ย่อมไม่

ติด ไม่ค้างอยู่, ย่อมกลิ้งตกไปทีเดียวฉันใด; อนึ่ง เหมือนเมล็ดพันธุ์

ผักกาด ย่อมไม่ติด ไม่ตั้งอยู่บนปลายเหล็กแหลม, ย่อมกลิ้งตกไปทีเดียว

๑. มาใน ธัมมปทัฏฐกถา ภาค ๒ พาลวรรค เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 469

ฉันใด; แม้กามทั้งสองอย่าง ย่อมไม่ติด ไม่ตั้งอยู่ ในจิตของพระขีณาสพ

ฉันนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาใน

พราหมณวรรคนี้ว่า :-

๑๘. วาริ โปกฺขรปตฺเตว อารคฺเคริว สาสโป

โย น ลิมฺปติ กาเมสุ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ผู้ใด ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย เหมือนน้ำไม่

ติดอยู่บนใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุผักกาด ไม่ตั้ง

อยู่บนปลายเหล็กแหลมฉะนั้น, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็น

พราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย น ลิปฺปติ เป็นต้น ความว่า

ผู้ใด ย่อมไม่ติดแม้ในกามทั้งสองอย่างในภายใน คือไม่ตั้งอยู่ในกามนั้น

อย่างนี้นั่นแล, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี จบ.

๑. บาลีเป็น ลิมฺปติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 470

๑๙. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง [๒๘๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์

คนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย ทุกฺขสฺส " เป็นต้น.

ทาสของพราหมณ์หนีไปบวช

ได้ยินว่า ทาสคนหนึ่งของพราหมณ์นั้น เมื่อสิกขาบทอันพระศาสดา

ยังไม่ทรงบัญญัติ หนีไปบวชบรรลุพระอรหัตแล้ว. พราหมณ์ค้นหาอยู่

ก็ไม่พบ ในวันหนึ่งพบท่านเข้าไปบิณฑบาตกับพระศาสดาที่ระหว่างประตู

ได้ยึดจีวรไว้อย่างมั่น. พระศาสดาเสด็จกลับ ตรัสถามว่า " นี่อะไรกัน ?

พราหมณ์."

พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ (ภิกษุนี้) เป็นทาสของ

ข้าพระองค์.

พระศาสดา. พราหมณ์ ภิกษุนั่น เป็นผู้มีภาระอันปลงแล้ว.

เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " เป็นผู้มีภาระอันปลงแล้ว," พราหมณ์

กำหนดได้ว่า " เป็นพระอรหันต์." เหตุนั้น เมื่อพราหมณ์กราบทูลแม้

อีกว่า " อย่างนั้นหรือ ? พระโคดมผู้เจริญ."

พระศาสดาตรัสว่า " ถูกแล้ว พราหมณ์ ภิกษุนั่นเป็นผู้มีภาระอัน

ปลงแล้ว " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๙. โย ทุกฺขสฺส ปชานาติ อิเธว ขยมตฺตโน

ปนฺนภาร วิสญฺญุตฺต ตมห พฺรูมิ พฺรหฺมณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 471

" ผู้ใด ในศาสนานี้แล รู้ชัดความสิ้นไปแห่งทุกข์

ของตน, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีภาระอันปลงแล้ว ผู้

พรากได้แล้วว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขสฺส ได้แก่ ขันธทุกข์.

บทว่า ปนฺนภาร เป็นต้น ความว่า เราเรียกผู้มีภาระคือขันธ์อัน

ปลงแล้ว ผู้พรากได้แล้วจากโยคะ ๔ หรือสรรพกิเลสนั้นว่า เป็น

พราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา

ได้เป็นประโยชน์แม้แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 472

๒๐. เรื่องพระเขมาภิกษุณี [๒๘๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภพระเขมา

ภิกษุณี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " คมฺภีรปญฺ " เป็นต้น.

พระเขมาภิกษุณีพบท้าวสักกะ

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง ท้าวสักกเทวราชเสด็จมากับเทวบริษัท

ในระหว่างแห่งปฐมยาม ประทับนั่งสดับธรรมกถาอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ระลึกถึงอยู่ ในสำนักพระศาสดา.

ในขณะนั้น พระเขมาภิกษุณีมาด้วยดำริว่า " จักเฝ้าพระศาสดา "

เห็นท้าวสักกะแล้ว ยืนอยู่ในอากาศนั่นเอง ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว

ก็กลับไป.

ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระเขมานั้นแล้ว ทูลถามว่า " พระ-

เจ้าข้า ภิกษุณีนั่นชื่ออะไร ? มายืนอยู่ในอากาศนั้นเอง ถวายบังคมแล้ว

กลับไป."

ลักษณะแห่งพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา

พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร ภิกษุณีนั่น เป็นธิดาของตถาคต

ชื่อเขมา เป็นผู้มีปัญญามาก ฉลาดในทางและมิใช่ทาง" ดังนี้แล้ว ตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

๒๐. คมฺภีรปญฺ เมธาวึ มคฺคามคฺคสฺส โกวิท

อุตฺตมตฺถ อนุปฺปตฺต ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 473

" เราเรียกผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เป็นปราชญ์ ฉลาด

ในทางและมิใช่ทาง บรรลุประโยชน์สูงสุด นั้นว่า

เป็นพราหมณ์.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คมฺภีรปญฺ เป็นต้น ความว่า เรา

เรียกบุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นไปในธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น

อันลึกซึ้ง ผู้เป็นปราชญ์ ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ผู้ชื่อว่า

ฉลาด ในทางและมิใช่ทาง เพราะความเป็นผู้ฉลาดในทางและมิใช่ทาง

อย่างนี้ คือ นี้เป็นทางแห่งทุคติ, นี้เป็นทางแห่งสุคติ, นี้เป็นทางแห่ง

พระนิพพาน, นี้มิใช่ทาง, ผู้บรรลุประโยชน์อันสูงสุด กล่าวคือพระ-

อรหัตนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระเขมาภิกษุณี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 474

๒๑. เรื่องพระติสสเถระอยู่ในเงื้อมเขา [๒๘๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ

ผู้อยู่ในเงื้อมเขา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อสสฏฺิ " เป็นต้น.

เทพดากลัวผู้มีศีลบริสุทธิ์

ได้ยินว่า พระเถระนั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว เข้า

ไปสู่ป่า พลางตรวจดูเสนาสนะเป็นที่สบาย ถึงเงื้อมถ้ำแห่งหนึ่ง. ในขณะ

ที่ท่านถึงนั้นเอง จิตของท่านได้ (ถึง) ความเป็นธรรมชาติแน่แน่วแล้ว.

ท่านคิดว่า " เราเมื่ออยู่ในที่นี้ จักสามารถเพื่อให้กิจแห่งบรรพชิตสำเร็จ

ได้.

เทพดาผู้สิงอยู่แม้ที่ถ้ำคิดว่า " ภิกษุผู้มีศีลมาแล้ว, การที่เราอยู่ในที่

แห่งเดียวกันกับภิกษุนี้ ลำบาก; ก็ภิกษุนี้จักอยู่ในที่สิ้นราตรีหนึ่งเท่านั้น

ก็จักจากไป" จึงพาบุตรทั้งหลายออกไป.

ในวันรุ่งขึ้น พระเถระเข้าไปสู่โคจรคามแต่เช้าตรู่ เพื่อบิณฑบาต.

ครั้งนั้น อุบาสิกาคนหนึ่งเห็นท่านแล้ว กลับได้ความรักเพียงดัง

บุตรแล้ว นิมนต์ให้นั่งในเรือน ให้ฉันแล้ว อ้อนวอนเพื่อต้องการให้

อาศัยตนอยู่ตลอด ๓ เดือน. ฝ่ายท่านก็รับ ด้วยคิดว่า " เราอาศัยอุบาสิกานี้

สามารถเพื่อทำการสลัดออกจากภพได้" ดังนี้แล้ว ได้ไปยังถ้ำนั้นแล.

เทพดาเห็นท่านกำลังเดินมา คิดว่า " พระเถระนี้จักเป็นผู้อันใคร ๆ

นิมนต์ไว้แน่แท้, ท่านคงจักไปในวันพรุ่งนี้หรือมะรืนนี้."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 475

เทพยดาคิดอบายให้ภิกษุไปจากที่นั้น

เมื่อเวลาประมาณกึ่งเดือนล่วงไปแล้วอย่างนี้, เทพดาก็ติดว่า "ภิกษุ

นี้ เห็นจักอยู่ในที่นี้จริง ๆ สิ้นภายในฤดูฝน, ก็การที่เรากับบุตรน้อย

ทั้งหลายอยู่ในที่อันเดียวกันกับผู้มีศีล เป็นการทำได้ยาก; อนึ่งเราไม่อาจ

จะกล่าวกะภิกษุนี้ว่า ' ท่านจงออกไปเสีย ' ดังนี้ได้, ความพลั้งพลาดใน

ศีลของภิกษุนี้มีอยู่ไหมหนอ ?" ดังนี้แล้ว ตรวจดูอยู่ด้วยทิพยจักษุ ก็ยัง

ไม่เห็นความพลั้งพลาดในศีลของท่าน ตั้งแต่เวลาอุปสมบท จึงคิดว่า " ศีล

ของท่านบริสุทธิ์, เราจักทำเหตุบางอย่างนั่นเทียว ให้ความเสื่อมเสียเกิด

ขึ้นแก่ท่าน" ดังนี้แล้ว จึง (เข้าไป) สิงในสรีระของบุตรคนใหญ่ของ

อุบาสิกา ในตระกูลอุปัฏฐาก บิดคอแล้ว. นัยน์ตาทั้งสองของบุตรนั้น

เหลือกแล้ว, น้ำลายไหลออกจากปาก. อุบาสิกาเห็นบุตรนั้นแล้ว ร้องว่า

" นี้อะไรกัน ? "

ครั้งนั้น เทพดามีรูปไม่ปรากฏ กล่าวกะอุบาสิกานั้นอย่างนี้ว่า " บุตร

นั่นเราจับไว้แล้ว, เราไม่มีความต้องการแม้ด้วยพลีกรรม, แต่ท่านจงขอ

ชะเอมเครือกะพระเถระผู้เข้าถึงตระกูลของท่านแล้ว เอาชะเอมเครือนั้น

ทอดน้ำมันแล้ว จงให้แก่บุตรนี้โดยวิธีนัดถุเถิด, เมื่อทำอย่างนี้ เราจึง

จักปล่อยบุตรนี้."

อุบาสิกา. บุตรนั่น จงฉิบหายหรือตายไปก็ตามเถิด, ฉันไม่อาจจะ

ขอชะเอมเครือกะพระผู้เป็นเจ้าได้.

เทพดา. ถ้าท่านไม่อาจจะขอชะเอมเครือไซร้, ท่านจงบอกเพื่อใส่

ผงหิงคุลงในจมูกของบุตรนั้น.

อุบาสิกา. ฉันไม่อาจเพื่อกล่าวคำแม้อย่างนี้ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 476

เทพดา. ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเทน้ำล้างเท้าของพระเถระนั้น ลงบน

ศีรษะ (บุตร) เถิด.

อุบาสิกากล่าวว่า " ฉันอาจทำข้อนี้ได้," นิมนต์ให้พระเถระผู้มาตาม

เวลานั่งแล้ว ถวายข้าวยาคูและของเคี้ยว ล้างเท้าของพระเถระผู้นั่งอยู่ใน

ระหว่างภัต รองเอาน้ำไว้แล้ว เรียนให้ทราบว่า " ท่านผู้เจริญ ฉันจะรด

น้ำนี้ลงบนศีรษะของเด็ก," เมื่อท่านอนุญาตว่า " จงรดเถิด," ได้ทำ

อย่างนั้นแล้ว. เทพดาปล่อยเด็กนั้นในขณะนั้นเอง แล้วได้ไปยืนอยู่ที่

ประตูถ้ำ

แม้พระเถระ ในเวลาเสร็จภัตกิจ ลุกจากอาสนะ สาธยายอาการ

๓๒ อยู่เทียว เพราะความที่ท่านเป็นผู้ไม่ละเลยกัมมัฏฐาน หลีกไปแล้ว.

ครั้นในเวลาท่านถึงประตูถ้ำ เทพดานั้นกล่าวกะท่านว่า " พ่อ

หมอใหญ่ ท่านอย่าเข้ามาในที่นี้." ท่านยืนอยู่ ณ ที่นั้นเอง กล่าวว่า

" ท่านเป็นใคร ? "

เทพดา. ข้าพเจ้าเป็นเทพดาผู้สิงอยู่ในที่นี้.

พระเถระคิดว่า " ที่อันเราทำเวชกรรมมีอยู่หรือหนอแล ?" ดังนี้

แล้ว ตรวจดูจำเติมแต่กาลอุปสมบท ก็ยังไม่เห็นความเศร้าหมองหรือด่าง

พร้อยในศีลของตน จึงกล่าวว่า " ข้าพเจ้าไม่เห็นที่ที่ข้าพเจ้าทำเวชกรรม

เลย, ท่านกล่าวอย่างนี้ เพราะเหตุไร ?"

เทพดา. ท่านไม่เห็นหรือ ?

พระเถระ. เออ เราไม่เห็น.

เทพดา. ถ้าอย่างนั้น ข้าพเจ้าจะบอกแก่ท่าน.

พระเถระ. (เชิญ) ท่านจงบอก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 477

เทพดา. การพูดในสิ่งที่ไกลจงยกไว้ก่อนเถิด, ในวันนี้เอง ท่าน

รดน้ำล้างเท้าแก่บุตรของอุปัฏฐาก ซึ่งถูกอมนุษย์สิงแล้ว บนศีรษะ หรือ

ไม่ได้รด.

พระเถระ. เออ เราได้รด.

เทพดา. นั่นเป็นไรเล่า ? ท่านไม่เห็นหรือ ?

พระเถระ. ท่านกล่าวประสงค์เหตุนั่นหรือ ?

เทพดา. จ้ะ ข้าพเจ้ากล่าวประสงค์เหตุนั่น.

ผู้มีศีลบริสุทธิ์ไม่ต้องร้อนใจ

พระเถระติดว่า " โอหนอ ตนเราตั้งไว้ชอบแล้ว, เราประพฤติ

สมควรแก่ศาสนาแล้วจริง, แม้เทพดามิได้เห็นความเศร้าหมองหรือด่าง

พร้อยในจตุปาริสุทธิศีลของเรา ได้เห็นแต่เพียงน้ำล้างเท้า อันเรารดแล้ว

บนศีรษะของทารก." ปีติมีกำลังเพราะปรารภศีลเกิดขึ้นแล้วแก่ท่าน. ท่าน

ข่มปีติอันมีกำลังนั้นไว้แล้ว ไม่ทำแม้การยกเท้าขึ้น บรรลุพระอรหัตใน

ที่นั้นนั่นเอง แล้วกล่าวว่า " ท่านประทุษร้ายสมณะผู้บริสุทธิ์เช่นเรา, ท่าน

อย่าอยู่ในชัฏแห่งป่านี้, ท่านนั่นแล จงออกไปเสีย" เมื่อจะสอนเทวดา

จึงเปล่งอุทานนี้ว่า :-

" การอยู่ของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ, ท่านอย่า

ประทุษร้ายเราผู้ไม่มีมลทิน ผู้มีตบะ ผู้บริสุทธิ์แล้ว,

ท่านจงออกจากป่าใหญ่เสียเถิด."

ท่านอยู่ในที่นั้นนั่นแล ตลอดไตรมาส ออกพรรษาแล้วไปยังสำนัก

พระศาสดา ถูกภิกษุทั้งหลายถามว่า " ผู้มีอายุ กิจแห่งบรรพชิตท่านให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 478

ถึงที่สุดแล้วหรือ ?" จึงบอกเรื่องนั้นทั้งหมด จำเดิมแต่การเข้าจำพรรษา

ในถ้ำนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย, เมื่อภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า " ผู้มีอายุ ท่าน

ถูกเทพดาว่ากล่าวอยู่อย่างนั้น ไม่โกรธหรือ ?" กล่าวว่า " ผมไม่โกรธ. "

ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระตถาคตว่า " พระเจ้าข้า

ภิกษุนี้ย่อมพยากรณ์พระอรหัตผล, แม้ถูกเทพดาว่ากล่าวคำชื่อนี้อยู่ ย่อม

กล่าวได้ว่า ' เราไม่โกรธ."

ลักษณะพราหมณ์ในพระพุทธศาสนา

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพระภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย บุตรของเราย่อมไม่โกรธเลย, เพราะขึ้นชื่อว่าความเกี่ยวข้อง

ด้วยคฤหัสถ์หรือด้วยบรรพชิตทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่บุตรของเรานั่น, บุตร

ของเรานั่น ไม่เกี่ยวข้อง ปรารถนาน้อย สันโดษ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะ

ทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒๑. อสสฏฺ คหฏฺเหิ อนาคาเรหิ จูภย

อโนกสารึ อปฺปิจฺฉ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" เราเรียกบุคคลผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยชน ๒ จำพวก

คือคฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑ ผู้ไม่มีอาลัยเที่ยวไป ผู้

ปรารถนาน้อยนั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสสฏฺ ความว่า ชื่อว่า ผู้ไม่เกี่ยวข้อง

เพราะความไม่มีความเกี่ยวข้องด้วยการดู การฟัง การสนทนา การบริโภค

และด้วยกาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 479

บทว่า อุภย ได้แก่ ผู้ไม่เกี่ยวข้องด้วยชนแม้ ๒ จำพวก คือ

คฤหัสถ์ ๑ บรรพชิต ๑.

บทว่า อโนกสารึ ได้แก่ ผู้ไม่มีอาลัยเที่ยวไป. อธิบายว่า เราเรียก

ผู้นั้น คือเห็นปานนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระติสสเถระผู้อยู่ในเงื้อมเขา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 480

๒๒. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [๒๘๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใด

รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " นิธาย " เป็นต้น.

ภิกษุเดินทางร่วมกับหญิงแม้ไม่รู้ก็มีโทษ

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว พยายาม

อยู่ในป่า บรรลุพระอรหัตแล้ว คิดว่า " เราจักกราบทูลคุณอันตนได้แล้ว

แด่พระศาสดา " จึงออกจากป่านั้น.

ครั้งนั้น หญิงคนหนึ่งในบ้านตำบลหนึ่ง ทำการทะเลาะกับสามี,

เมื่อสามีนั้นออกไปภายนอก, คิดว่า " เราจักไปสู่เรือนตระกูล " จึงเดิน

ทางไป พบภิกษุนั้นในระหว่างทาง คิดว่า " เราจักอาศัยพระเถระนี้ไป"

จึงติดตามไปข้างหลัง ๆ. แต่พระเถระไม่เห็นนาง.

ครั้งนั้น สามีของนางมาสู่เรือน ไม่เห็นนาง คิดว่า " นางจักไปสู่

บ้านแห่งตระกูลแล้ว" ติดตามไปพบนางแล้วคิดว่า " อันหญิงนี้คนเดียว

ไม่อาจเดินข้ามดงนี้ได้, มันอาศัยอะไรหนอ ? จึงไปได้" ดังนี้แล้วตรวจดู

อยู่ เห็นพระเถระแล้ว คิดว่า " พระเถระนี้จักเป็นผู้พาหญิงนี้ออกไปแล้ว"

จึงขู่พระเถระ.

ครั้งนั้น หญิงนั้นจึงกล่าวกะสามีนั้นว่า " ท่านผู้เจริญนั่น มิได้เห็น

มิได้ร้องเรียกดิฉันเลย, คุณอย่าได้ว่ากล่าวอะไร ๆ กะท่านเลย."

พระเถระถูกสามีของหญิงนั้นตีแต่ไม่โกรธ

สามีนั้น มีความโกรธเกิดขึ้นว่า " ก็เจ้าจักไม่บอกบุคคลผู้พาเจ้าไป

แก่เราหรือ ? เราจักทำกรรมอันสมควรแก่ภิกษุนี้ (แทน) ตัวเจ้าให้ได้."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 481

ด้วยความอาฆาตในหญิง จึงตีพระเถระ แล้วพาหญิงนั้นกลับไป.

ทั่วสรีระของพระเถระได้เป็นปมเกิดขึ้นแล้ว. ครั้นในกาลแห่งพระ-

เถระนั้นมาสู่วิหาร ภิกษุทั้งหลายพากันนวดสรีระ เห็นปมแล้วถามว่า "นี่

อะไร ?" ท่านบอกเนื้อความนั้นแก่ภิกษุเหล่านั้น.

ลำดับนั้น พวกภิกษุถามท่านว่า " ผู้มีอายุ ก็เมื่อบุรุษนั้นประหาร

อยู่อย่างนั้น, ท่านได้กล่าวอะไร ? หรือความโกรธเกิดแก่ท่านไหม ?"

พระเถระกล่าวว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย ความโกรธย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เรา."

ภิกษุเหล่านั้น ไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว

กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ภิกษุนั้น อันข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวอยู่ว่า

' ความโกรธย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านไหม ' ยังกล่าวได้ว่า ' ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย

ความโกรธย่อมไม่เกิดขึ้นแก่เรา,' ภิกษุนั้นกล่าวคำไม่จริง พยากรณ์

อรหัตผล."

พระขีณาสพแม้ถูกตีก็ไม่โกรธ

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพทั้งหลาย มีอาชญาอันวางแล้ว, พระขีณาสพ

เหล่านั้น ย่อมไม่ทำความโกรธในชนทั้งหลาย แม้ผู้ประหารอยู่ " ดังนี้แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒๒. นิธาย ทณฺฑ ภูเตสุ ตเสสุ ถาวเรสุ จ

โย น หนฺติ น ฆาเตติ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ผู้ใดวางอาชญาในสัตว์ทั้งหลาย ผู้สะดุ้งและ

ผู้มั่นคง ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า, เราเรียกผู้นั้น

ว่า เป็นพราหมณ์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 482

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธาย ได้แก่ วางแล้ว คือ ปลงลง

แล้ว.

สองบทว่า ตเสสุ ถาวเรสุ จ ความว่า ผู้ชื่อว่าสะดุ้ง เพราะความ

สะดุ้งด้วยสามารถแห่งตัณหา และผู้ชื่อว่า มั่นคง เพราะความเป็นผู้มั่นคง

โดยความไม่มีแห่งตัณหา.

สองบทว่า โย น หนฺติ เป็นต้น ความว่า ผู้ใด ชื่อว่ามีอาชญาอัน

วางแล้ว เพราะความเป็นผู้มีปฏิฆะไปปราศแล้วในสัตว์ทั้งปวงอย่างนี้ ย่อม

ไม่ฆ่าเอง ไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า ซึ่งสัตว์อะไรๆ, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็น

พราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 483

๒๓. เรื่องสามเณร [๒๘๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสามเณร

ทั้งหลาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อวิรุทฺธ " เป็นต้น.

พราหมณีเสียใจเพราะได้สามเณรน้อย

ได้ยินว่า พราหมณีคนหนึ่ง จัดแจงอุทเทสภัตไว้เพื่อภิกษุ ๔ รูป

กล่าวกะพราหมณ์ว่า " พราหมณ์ ท่านจงไปวิหารแล้ว เจาะจงนำพราหมณ์

แก่ ๔ คนมา." พราหมณ์นั้นไปสู่วิหารแล้วกล่าวว่า " ท่านทั้งหลายจง

เจ้าจงให้พราหมณ์ ๔ คนแก่ผม."

สามเณรผู้เป็นขีณาสพ ๔ รูป ซึ่งมีอายุ ๗ ปี คือ " สังกิจจสามเณร

บัณฑิตสามเณร โสปากสามเณร เรวตสามเณร" ถึงแล้วแก่พราหมณ์นั้น.

พราหมณี แต่งตั้งอาสนะทั้งหลายควรแก่ค่ามากไว้ เห็นสามเณร

แล้ว โกรธ บ่นพึมพำอยู่ เหมือนเกลืออันบุคคลใส่ลงที่เตาไฟ กล่าวว่า

" ท่านไปวิหารแล้ว พาเด็ก ๔ คนแม้ปูนหลานของตนซึ่งไม่สมควรมา

แล้ว " จ่งไม่ให้สามเณรเหล่านั้นนั่งบนอาสนะเหล่านั้น ลาดตั่งที่ต่ำ ๆ

แล้วกล่าวว่า " ท่านทั้งหลายจงนั่งบนตั่งเหล่านั้น" กล่าวว่า " พราหมณ์

ท่านจงไป จงเลือกพราหมณ์แก่แล้วนำมา."

แม้อัครสาวกทั้งสองก็ไม่เป็นที่พอใจของพราหมณี

พราหมณ์ไปสู่วิหาร พบพระสารีบุตรเถระแล้ว เรียนว่า " มาเถิด

ท่าน, เราจักไปสู่เรือนของเราทั้งหลาย " ดังนี้แล้ว นำมา. พระเถระมา

เห็นสามเณรทั้งหลายแล้ว ถามว่า " พราหมณ์เหล่านี้ได้ภัตแล้วหรือ ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 484

เมื่อเขาตอบว่า " ยังไม่ได้," จึงทราบความที่เขาจัดภัตไว้เพื่อพราหมณ์ ๔

คนเท่านั้น กล่าวว่า " พวกท่านจงนำบาตรของเรามา" แล้วรับบาตร

หลีกไป.

ฝ่ายพราหมณี ถามว่า " พราหมณ์นี้กล่าวอะไร ?" เมื่อพราหมณ์

ตอบว่า " ท่านกล่าวว่า ' การที่พราหมณ์ผู้นั่งอยู่เหล่านั่นได้ (ก่อน) จึง

ควร, จงนำบาตรของเรามา, รับเอาบาตรของตนแล้วไป" จึงกล่าวว่า

" พระเถระนั้น เห็นจะไม่ประสงค์เพื่อจะฉัน, ท่านจงรีบไปเลือกดูพราหมณ์

อื่นแล้วนำมา."

พราหมณ์ไปพบพระมหาโมคคัลลานเถระ ก็กล่าวอย่างนั้นเหมือน

กัน นำมาแล้ว.

แม้ท่าน เห็นสามเณรทั้งหลายแล้ว ก็กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน แล้ว

ก็รับบาตรหลีกไป.

ลำดับนั้น พราหมณีกล่าวกะพราหมณ์นั้นว่า " พราหมณ์เหล่านั้น

เป็นผู้ไม่ประสงค์เพื่อจะฉันกระมัง ? ท่านจงไปสู่โรงสวดของพราหมณ์

นำพราหมณ์แก่คนหนึ่งมา."

ฝ่ายสามเณรทั้งหลาย ไม่ได้อะไร ๆ จำเดิมแต่เช้า ถูกความหิวบีบ

คั้น นั่งอยู่แล้ว.

ท้าวสักกะปลอมเป็นพราหมณ์แก่มาทรมานพราหมณี

ครั้งนั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อนแล้ว เพราะเดช

คุณของสามเณรเหล่านั้น. ท้าวเธอทรงใคร่ครวญอยู่ ก็ทราบความที่

สามเณรเหล่านั้นนั่งหิวโหยอยู่ตั้งแต่เช้า ทรงดำริว่า " การที่เราไปในที่นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 485

ควร" จึง (แปลง) เป็นพราหมณ์แก่คร่ำคร่าเพราะชรา ประทับนั่งอยู่บน

อาสนะที่เลิศของพราหมณ์ทั้งหลาย ในโรงสวดของพราหมณ์นั้น. พราหมณ์

พอเห็นท้าวสักกะนั้นแล้วคิดว่า " คราวนี้พราหมณีของเราจักพอใจ"

กล่าวว่า " มาเถิดท่าน, พวกเราจักไปสู่เรือน" ได้พาท้าวเธอไปสู่เรือน

แล้ว.

พราหมณี พอเห็นท้าวสักกะเท่านั้น มีจิตยินดีแล้ว ลาดเครื่องลาด

บนอาสนะ ๒ (ซ้อน) ในที่เดียวกัน กล่าวว่า " พระผู้เป็นเจ้า เชิญท่าน

นั่งบนเครื่องลาดนี้เถิด."

ท้าวสักกะเสด็จเข้าไปสู่เรือน แล้วไหว้สามเณรทั้ง ๔ รูปด้วยเบญ-

จางคประดิษฐ์ แล้วจึงประทับนั่งโดยบัลลังก์ที่พื้นท้ายอาสนะของสามเณร

เหล่านั้น.

ครั้งนั้น พราหมณีเห็นท้าวเธอกล่าวกะพราหมณ์ว่า " แย่จริง

พราหมณ์ท่านนำมาแล้ว, ท่านพาพราหมณ์บ้าแม้นั้นมา (อีก), พราหมณ์

นั้นเที่ยวไหว้สามเณรปูนหลานของตนได้; ประโยชน์อะไรด้วยพราหมณ์นี้,

ท่านจงขับไล่พราหมณ์นี้ออกไปเสีย." พราหมณ์แปลงนั้น ถูกเขาจับที่คอ

บ้าง ที่มือบ้าง ที่รักแร้บ้าง ฉุดคร่าออกไปอยู่ ก็ยังไม่ปรารถนาแม้เพื่อจะ

ลุกขึ้น.

ลำดับนั้น พราหมณีกล่าวกะพราหมณ์ผู้สามีนั้นว่า " พราหมณ์มา

เถิด, ท่านจงจับที่มือข้างหนึ่ง, ฉันจักจับที่มือข้างหนึ่ง." ทั้งสองคนจับ

ที่มือทั้งสองแล้วโบยที่หลังอยู่ ได้ช่วยกันคร่าไปไว้ในภายนอกแต่ประตู

เรือนแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 486

ฝ่ายท้าวสักกะ ก็คงประทับนั่งในที่ตนนั่งนั่นแล กวักพระหัตถ์แล้ว.

ทั้งสองงผัวเมียนั้น กลับมาเห็นท้าวสักกะนั้นประดับนั่งอยู่อย่างเดิม ร้อง

อยู่ด้วยความกลัว ปล่อยไปแล้ว. ในขณะนั้น ท้าวสักกะให้เขาทราบความ

ที่พระองค์เป็นท้าวสักกะแล้ว.

ลำดับนั้น ผัวเมียทั้งสองได้ถวายอาหารแก่สามเณรเหล่านั้นแล้ว.

ชนแม้ทั้ง ๕ รับอาหารแล้ว, รูปหนึ่งทำลายมณฑลช่อฟ้าไป, รูปหนึ่ง

ทำลายส่วนเบื้องหน้าแห่งหลังคาไป, รูปหนึ่งทำลายส่วนเบื้องหลังแห่ง

หลังคาไป, รูปหนึ่งดำลงในแผ่นดินไป, ฝ่ายท้าวสักกะก็เสด็จออกไปโดย

ทางหนึ่ง, ชนแม้ทั้ง ๕ ได้ไปสู่ที่ทั้ง ๕ ด้วยประการฉะนี้.

พวกสามเณรเล่าเรื่องที่ถูกทรมาน

ก็แล จำเดิมแต่นั้นมา ทราบว่าเรือนนั้น ชื่อว่าเป็นเรือนมีช่อง ๕.

ในกาลที่สามเณรไปสู่วิหาร ภิกษุทั้งหลาย ถามแม้ซึ่งสามเณรทั้งหลายว่า

" ผู้มีอายุทั้งหลาย เรื่องนี้เป็นเช่นไรกัน ?"

พวกสามเณร. ท่านทั้งหลายจงอย่าถามพวกกระผม, จำเดิมแต่กาล

ที่พราหมณีเห็นพวกกระผมแล้ว พราหมณีถูกความโกรธครอบงำ ไม่ให้

พวกกระผมนั่งบนอาสนะที่ตบแต่งไว้ แล้วยังกล่าวว่า ' ท่านจงนำพราหมณ์

แก่มาเร็ว,' อุปัชฌายะของพวกกระผมมาเห็นพวกกระผมแล้ว กล่าวว่า

' การที่พราหมณ์ผู้นั่งอยู่เหล่านี้ได้ (อาหารก่อน) ควร,' ให้นำบาตรมาแล้ว

ออกไป, เมื่อนางพราหมณีกล่าวว่า ' ท่านจงนำพราหมณ์แก่อื่นมา,'

พราหมณ์นำพระมหาโมคคัลลานเถระมาแล้ว, ท่านเห็นพวกกระผม ก็

กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วหลีกไป, ทีนั้น พราหมณีกล่าวว่า ' พราหมณ์

เหล่านี้ เป็นผู้ไม่ประสงค์จะฉัน, ท่านจงไป, จงนำพราหมณ์แก่คนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 487

จากโรงสวดของพราหมณ์มาเถิด ' แล้วส่งพราหมณ์ไป, พราหมณ์นั้นไป

ที่โรงสวดนั้นแล้ว นำท้าวสักกะผู้เสด็จมาด้วยเพศแห่งพราหมณ์มา, ใน

กาลที่ท้าวสักกะนั้นเสด็จมาแล้ว ผัวเมียทั้งสองจึงได้ถวายอาหารแก่พวก

กระผม.

ภิกษุทั้งหลาย. พวกเธอไม่โกรธแก่เขา ผู้ทำอยู่อย่างนั้นหรือ ?

พวกสามเณร. พวกกระผมไม่โกรธ.

ภิกษุทั้งหลาย ฟังคำนั้นแล้ว กราบทูลแด่พระศาสดาว่า " พระ-

เจ้าข้า สามเณรเหล่านี้ กล่าวคำไม่จริงว่า ' พวกกระผมไม่โกรธ ' ย่อม

พยากรณ์พระอรหัตผล."

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพทั้งหลาย

ย่อมไม่เคียดแค้นในชนทั้งหลาย แม้ผู้เคียดแค้นแล้วเลย" ดังนี้แล้ว ตรัส

พระคาถานี้ว่า:-

๒๓. อวิรุทฺธ วิรุทฺเธสุ อตฺตทณฺเฑสุ นิพฺพุต

สาทาเนสุ อนาทาน ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" เราย่อมเรียกบุคคลผู้ไม่เคียดแค้น ในบุคคลผู้

เคียดแค้น ผู้ดับเสียได้ในบุคคลผู้มีอาชญาในตน ผู้

ไม่ถือมั่นในบุคคลผู้ถือมั่นนั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิรุทฺธ เป็นต้น ความว่า เราย่อมเรียก

บุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น ผู้ชื่อว่าไม่เคียดแค้น เพราะความไม่มีอาฆาต

ในพวกโลกิยมหาชน แม้ผู้เคียดแค้นแล้ว ด้วยอำนาจแห่งความอาฆาต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 488

ผู้ชื่อว่าดับเสียได้ คือผู้มีอาชญาอันปลงแล้ว ในชนทั้งหลาย ผู้ชื่อว่ามี

อาชญาในตน เพราะความที่เข้าเป็นผู้ไม่เว้นจากการให้ประหารชนเหล่าอื่น

ในเมื่อท่อนไม้หรือศัสตราในมือ แม้ไม่มีอยู่ ผู้ชื่อว่าไม่ถือมั่น เพราะ

ความไม่มีการยึดถือนั้น ในชนทั้งหลาย ผู้ชื่อว่ามีความถือมั่น เพราะความ

ที่ยึดถือขันธ์ทั้ง ๕ ว่า " เรา " ว่า " ของเขา" ว่าเป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องสามเณร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 489

๒๔. เรื่องพระมหาปันถกเถระ [๒๘๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระมหา-

ปันถูกเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺส ราโค จ " เป็นต้น.

มหาปันถกะขับไล่พระผู้น้องชายจากวิหาร

ความพิสดารว่า ท่านมหาปันถกะนั้นขับไล่พระจูฬปันถกะ ผู้ไม่

อาจเพื่อกระทำ (ท่อง) คาถาหนึ่งให้คล่องแคล่วได้โดย ๔ เดือน ออก

จากวิหารด้วยคำว่า " เธอเป็นผู้อาภัพแม้ในพระศาสนา ทั้งเป็นผู้เสื่อม

แล้วจากโภคะของคฤหัสถ์, ประโยชน์อะไรของเธอด้วยการอยู่ในวิหารนี้,

เธอจงออกไปเสียจากวิหารนี้, แล้วปิดประตู."

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย กรรมชื่อนี้พระมหา-

ปันถกะทำได้, ชะรอยความโกรธย่อมเกิดมีขึ้นแม้แก่พระขีณาสพทั้งหลาย."

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก

เธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า

" ด้วยถ้อยคำชื่อนี้ " จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายมีราคะ

เป็นต้น ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย, แต่บุตรของเราทำกรรมนั้น

เพราะความที่ตนเป็นผู้มุ่งอรรถเป็นเบื้องหน้า และเพราะเป็นผู้มุ่งธรรม

เป็นเบื้องหน้า" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๒๔. ยสฺส ราโค จ โทโส จ มาโน มกฺโข จ ปาติโต

สาสโปริว อารคฺคา ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 490

" ราคะ โทสะ มานะและมักขะ อันผู้ใดให้ตก

ไปแล้ว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกไปจากปลาย

เหล็กแหลมฉะนั้น เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อารคฺคา เป็นต้น ความว่า กิเลส

ทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเหล่านั่น และมักขะมีอันลบหลู่คุณของผู้อื่นเป็น

ลักษณะนี้ อันผู้ใดให้ตกไปแล้ว เหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดตกไปจาก

ปลายเหล็กแหลมฉะนั้น, กิเลสเหล่านั้น ย่อมไม่ตั้งอยู่ในจิต เหมือนเมล็ด

พันธุ์ผักกาดไม่ติดอยู่ที่ปลายเหล็กแหลมฉะนั้น, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็น

พราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระมหาปันถกเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 491

๒๕. เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ [๒๘๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระปิลินท-

วัจฉเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อกกฺกส " เป็นต้น.

พระปิลินทวัจฉะใช้วาทะว่าคนถ่อยจนติดปาก

ได้ยินว่า ท่านปิลินทวัจฉะนั้น กล่าวคำเป็นต้นว่า " คนถ่อย จงมา,

คนถ่อย จงไป" ย่อมร้องเรียกทั้งคฤหัสถ์ทั้งบรรพชิต ด้วยวาทะว่าคนถ่อย

ทั้งนั้น.

ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุเป็นอันมากกราบทูลแด่พระศาสดาว่า " พระ-

เจ้าข้า ท่านปิลินทวัจฉะ ย่อมร้องเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยยวาทะว่าคนถ่อย."

พระศาสดารับสั่งให้หาท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า " ปิลินทวัจฉะ

ได้ยินว่า เธอร้องเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยวาทะว่าคนถ่อยจริงหรือ ?"

เมื่อท่านกราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า " จึงทรงกระทำบุพเพนิวาส

ของท่านปิลินทวัจฉะนั้นไว้ในพระหฤทัย แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธออย่ายกโทษแก่ภิกษุชื่อปิลินทวัจฉะเลย, ภิกษุทั้งหลาย วัจฉะหามี

โทสะในภายใน ร้องเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยวาทะว่า คนถ่อยไม่, ภิกษุ-

ทั้งหลาย ๕๐๐ ชาติของภิกษุชื่อวัจฉะไม่สับสนกัน, ทั้งหมดนั้นเกิดแล้ว

ในตระกูลพราหมณ์ ในภายหลัง, วาทะคนถ่อยนั้น เธอร้องเรียกมาแล้ว

ตลอดกาลนาน, ถ้อยคำกระทบกระทั่งชนเหล่าอื่น อันเป็นคำระคายหู

คำหยาบคายนั่นเทียว ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ, เพราะว่าบุตรของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 492

เรากล่าวอย่างนั้น ด้วยอำนาจแห่งความเคยชิน" เมื่อจะทรงแสดงธรรม

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒๕. อกฺกกส วิญฺาปนึ คิรึ สจฺจ อุทีรเย

ยาย นาภิสเช กญฺจิ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ผู้ใด พึงกล่าวถ้อยคำอันไม่ระคายหู อันให้รู้

กันได้ เป็นคำจริง อันเป็นเหตุไม่ยังใคร ๆ ให้ขัดใจ,

เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺกฺกส ได้แก่ คำไม่หยาบ.

บทว่า วิญฺาปนึ ได้แก่ ให้รู้เนื้อความกันได้.

บทว่า สจฺจ ได้แก่ เป็นเนื้อความอันจริง.

บทว่า นาภิสเช เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่พึงยังบุคคลอื่นให้ข้อง

ใจด้วยอำนาจแห่งการให้เขาโกรธ ด้วยถ้อยคำอันใด, ธรรมดาพระขีณาสพ

พึงกล่าวถ้อยคำเห็นปานนั้นนั่นแล; เหตุนั้น เราจึงเรียกผู้นั้นว่า เป็น

พราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระปิลินทวัจฉเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 493

๒๖. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [๒๘๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใด

รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยธ ทีฆ " เป็นต้น.

พระขีณาสพถือเอาของคนอื่นด้วยบังสุกุลสัญญา

ได้ยินว่า พราหมณ์มิจฉาที่ทิฏฐิคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี เปลื้องผ้า

สาฎกสำหรับห่ม วางไว้ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง เพราะกลัวถูกกลิ่นตัวจับ

นั่งผินหน้าออกมาข้างนอกประตูเรือน.

ลำดับนั้น พระขีณาสพรูปหนึ่งทำภัตกิจแล้ว กำลังเดินไปสู่วิหาร

เห็นผ้าสาฎกนั้นแล้ว เหลียวดูข้างโน้นและข้างนี้ เมื่อไม่เห็นใครๆ จึงคิด

ว่า " ผ้าสาฎกนี้หาเจ้าของมิได้ " แล้วอธิษฐานเป็นผ้าบังสุกุล ถือเอาแล้ว.

ขณะนั้น พราหมณ์เห็นท่านแล้ว ด่าพลางเข้าไปหา กล่าวว่า " สมณะ

โล้น ท่านถือเอาผ้าสาฎกของข้าพเจ้าทำไม ?"

พระขีณาสพ. พราหมณ์ นั่นผ้าสาฎกของท่านหรือ ?

พราหมณ์. เออ สมณะ.

พระขีณาสพ. กล่าวว่า " ฉันไม่เห็นใครๆ จึงถือเอาผ้าสาฎกนั้น

ด้วยสัญญาว่าเป็นผ้าบังสุกุล, ท่านจงรับเอาผ้านั้นเถิด" ให้ (ผ้าสาฎก)

แก่พราหมณ์นั้นแล้วไปสู่วิหาร บอกเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายฟังคำของท่านแล้ว เมื่อจะทำการเยาะเย้ย

กับด้วยท่าน จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุ ผ้าสาฎกยาวหรือสั้น หยาบหรือ

ละเอียดหนอแล ? "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 494

พระขีณาสพกล่าวว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย ผ้าสาฎกยาวหรือสั้น หยาบ

หรือละเอียดก็ช่างเถิด, ความอาลัยในผ้าสาฎกนั้นของผมไม่มี ผมถือเอา

ด้วยความสำคัญว่าผ้าบังสุกุล (ต่างหาก)."

ภิกษุทั้งหลายฟังคำนั้นแล้ว กราบทูลแด่พระตถาคตว่า " พระเจ้าข้า

ภิกษุนั่นกล่าวคำไม่จริง พยากรณ์พระอรหัตผล."

พระขีณาสพไม่ถือเอาของคนอื่นด้วยเจตนาขโมย

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นกล่าวคำจริง, ธรรมดา

พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่ถือเอาสิ่งของ ๆ คนเหล่าอื่น " ดังนี้แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒๖. โยธ ทีฆ ว รสฺส วา อณุ ถูล สุภาสุภ

โลเก อทินฺน นาทิยติ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ผู้ใด ไม่ถือเอาของยาวหรือสั้น น้อยหรือใหญ่

งามหรือไม่งาม อันเขาไม่ให้แล้ว ในโลกนี้, เรา

เรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้น (ดังนี้):-

ความว่า บุคคลใด ย่อมไม่ถือเอาสิ่งของยาวหรือสั้น บรรดาวัตถุ

ทั้งหลายมีผ้าสาฎกและเครื่องประดับเป็นต้น น้อยหรือใหญ่ บรรดาวัตถุ

ทั้งหลาย มีแก้วมณีและแก้วมุกดาเป็นต้น งามหรือไม่งาม ด้วยอำนาจ

๑. ตสฺสตฺโถ....อตฺโถ นี้อาจจะแปลได้อีกนัยหนึ่งว่า เนื้อความว่า....ดังนี้ เป็นเนื้อความแห่ง

คำอันเป็นคาถานั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 495

แห่งวัตถุอันมีค่ามากและมีค่าน้อย อันบุคคลอื่นหวงแหนแล้วในโลกนี้,

เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 496

๒๗. เรื่องพระสารีบุตรเถระ [๒๙๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตร

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อาสา ยสฺส " เป็นต้น.

พวกภิกษุเข้าใจว่าพระสารีบุตรยังมีตัณหา

ได้ยินว่า พระเถระนั้นมีภิกษุประมาณ ๕๐๐ เป็นบริวาร ไปสู่วิหาร

แห่งหนึ่งในชนบท แล้วเข้าจำพรรษา.

มนุษย์ทั้งหลาย เห็นพระเถระแล้ว ตระเตรียมผ้าจำนำพรรษาไว้

เป็นอันมาก. พระเถระปวารณาแล้ว เมื่อผ้าจำนำพรรษาทั้งปวงยังไม่ทัน

ถึง (แก่ท่าน) นั่นเทียว, เมื่อจะไปสู่สำนักพระศาสดา สั่งกะภิกษุทั้งหลาย

ไว้ว่า " เมื่อผ้าจำนำพรรษาอันมนุษย์ทั้งหลายนำมาแล้วเพื่อภิกษุหนุ่มและ

สามเณรทั้งหลาย พวกท่านรับไว้แล้วเพื่อส่งไป, หรือเก็บไว้แล้วพึงส่ง

ข่าวไป." ก็แลพระเถระ ครั้นสั่งอย่างนี้แล้ว ได้ไปสู่สำนักพระศาสดา.

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า " ถึงทุกวันนี้ตัณหาของพระสารีบุตร-

เถระ ชะรอยจะยังมีอยู่แน่, จริงอย่างนั้น พระเถระสั่งไว้แก่ภิกษุทั้งหลาย

ว่า ' เมื่อพวกมนุษย์ถวายผ้าจำนำพรรษาแล้ว, พวกท่านพึงส่งผ้าจำนำ

พรรษาไป แก่พวกสัทธิวิหาริกของตน, หรือเก็บไว้แล้วพึงส่งข่าวไป '

ดังนี้แล้ว จึงมา."

พระศาสดาเปลื้องความเข้าใจผิดของพวกภิกษุ

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก

เธอนั่งสนทนากันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายนั้นกราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 497

' ด้วยกถาชื่อนี้,' จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา,

แต่เธอกล่าวอย่างนั้น ก็ด้วยคิดว่า ' ก็ความเสื่อมจากบุญของพวกมนุษย์

และความเสื่อมจากลาภที่ชอบธรรม ของภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย

อย่าได้มี" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒๗. อาสา ยสฺส น วิชฺชนฺติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ

นิราสย วิสยุตฺต ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ความหวังของผู้ใด ไม่มีในโลกนี้และโลกหน้า,

เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มีความหวัง พราก (กิเลส) ได้

แล้วว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

ตัณหา ชื่อว่า อาสา ในพระคาถานั้น.

บทว่า นิราสาส ได้แก่ ไม่มีตัณหา.

บทว่า วิสยุตฺต ความว่า เราเรียกผู้พรากได้แล้วจากกิเลสทั้งปวง

นั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.

๑. บาลีเป็น นิราสย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 498

๒๘. เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ [๒๙๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระมหา-

โมคคัลลานเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺสาลยา " เป็นต้น.

พระศาสดาทรงแสดงลักษณะแห่งพราหมณ์

เรื่องก็เช่นกับเรื่องมีในก่อนนั่นเอง. แต่ในเรื่องนี้ พระศาสดา

ตรัสความที่พระมหาโมคคัลลานเถระเป็นผู้ไม่มีตัณหาแล้ว ตรัสพระคาถา

นี้ว่า :-

๒๘. ยสฺสาลยา น วิชฺชนฺติ อญฺาย อกถงฺกถี

อมโตคธ อนุปฺปตฺต ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ความอาลัยของบุคคลใดไม่มี, บุคคลใดรู้ชัด

แล้ว เป็นผู้ไม่มีความสงสัยเป็นเหตุกล่าวว่าอย่างไร,

เราเรียกบุคคลนั้น ผู้หยั่งลงสู่อมตะ ตามบรรลุแล้วว่า

เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

ตัณหา ชื่อว่า อาลัย ในพระคาถานั้น.

บาทพระคาถาว่า อญฺาย อกถงฺกถี ความว่า ผู้รู้วัตถุ ๘ ตามความ

เป็นจริงแล้ว เป็นผู้ไม่มีความสงสัย ด้วยความสงสัยซึ่งมีวัตถุ ๘.

บาทพระคาถาว่า อมโตคธ อนุปฺปตฺต ความว่า เราเรียกบุคคล

นั้น ผู้หยั่งลงสู่พระนิพพานชื่ออมตะ ตามบรรลุแล้ว ว่าเป็นพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 499

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 500

๒๙. เรื่องพระเรวตเถระ [๒๙๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภพระเรวตเถระ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยธ ปุญฺญุจ " เป็นต้น.

พระขีณาสพไม่มีบุญและบาป

เรื่องข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว ในอรรถกถาแห่งพระคาถาว่า " คาเม

วา ยทิ วา รญฺเ " เป็นต้นแล้วนั่นแล.

จริงอยู่ ในเรื่องนั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า " ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลาย

สนทนากันว่า " น่าอัศจรรย์ สามเณรมีลาภ, น่าอัศจรรย์สามเณรมีบุญ;

รูปเดียว (แท้) สร้างเรือนยอด ๕๐๐ หลังเพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูปได้."

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วย

กถาชื่อนี้ " จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บุญย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา,

บาปก็มิได้มี; บุญบาปทั้งสองเธอละเสียแล้ว" ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๒๙. โยธ ปุญฺญฺจ ปาปญฺจ อุโภ สงฺค อุปจฺจคา

อโสก วิรช สุทฺธ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ผู้ใดล่วงบุญและบาปทั้งสอง และกิเลสเครื่อง

ข้องเสียได้ในโลกนี้, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มีความโศก

มีธุลีไปปราศแล้ว ผู้บริสุทธิ์แล้ว ว่าเป็นพราหมณ์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 501

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ความว่า ละบุญและบาปแม้ทั้งสอง

บทว่า สงฺค ได้แก่ กิเลสเครื่องข้องอันต่างด้วยราคะเป็นต้น.

บทว่า อุปจฺจคา ได้แก่ ก้าวล่วงแล้ว. อธิบายว่า เราเรียกผู้ซึ่ง

ชื่อว่าไม่มีความโศก เพราะไม่มีความโศกอันมีวัฏฏะเป็นมูล ผู้ชื่อว่ามีธุลี

ไปปราศแล้ว เพราะไม่มีธุลีคือราคะเป็นต้นในภายใน ผู้ชื่อว่าบริสุทธิ์แล้ว

เพราะความเป็นผู้ไม่มีอุปกิเลสนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระเรวตเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 502

๓๐. เรื่องพระจันทาภเถระ [๒๙๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระจันทาภ-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " จนฺทว " เป็นต้น.

พระจันทาภะเคยเป็นพ่อค้าไม้จันทร์แดง

อนุปุพพีกถาในเรื่องของพระจันทาภเถระ ดังต่อไปนี้ :-

"ได้ยินว่า ในอดีตกาล พ่อค้าในกรุงพาราณสีคนหนึ่งคิดว่า " เรา

จักไปสู่ปัจจันตชนบทแล้ว นำไม้จันทน์แดงมา" ขนเอาวัตถุเป็นอันมาก

มีผ้าและเครื่องอาภรณ์เป็นต้น ไปยังปัจจันตชนบท ด้วยเกวียน ๕๐๐

ยึดที่พักใกล้ประตูบ้านแล้ว ถามพวกเด็กเลี้ยงโคในดงว่า " มนุษย์ไร ๆ

ในบ้านนี้ ผู้ทำงานที่เชิงเขามีอยู่หรือ ?"

พวกเด็กเลี้ยงโค. จ๊ะ มีอยู่.

พ่อค้า. มนุษย์นั่นชื่ออะไร ?

พวกเด็กเลี้ยงโค. มนุษย์นั่นชื่อโน้น.

พ่อค้า. ก็ภรรยาหรือพวกบุตรของเขา มีชื่ออย่างไร ?

พวกเด็กเลี้ยงโค. เขามีชื่ออย่างนั้น ๆ.

พ่อค้า. ก็เรือนของเขาอยู่ที่ไหน ?

พวกเด็กเลี้ยงโค. เรือนของเขาอยู่ที่ชื่อโน้น .

พ่อค้านั้น นั่งบนยานน้อยอันสบาย ไปสู่ประตูเรือนของเขาตาม

สัญญาที่พวกเด็กเหล่านั้นให้แล้ว ลงจากยาน เข้าไปสู่เรือนแล้วเรียกหา

หญิงนั้นว่า " ชื่อโน้น." หญิงนั้นคิดว่า " บุคคลนี้ จักเป็นญาติของพวก

เราคนหนึ่ง " จึงมาโดยเร็ว ปูอาสนะไว้ (รับรอง).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 503

พ่อค้านั้น นั่งบนอาสนะนั้นแล้ว ระบุชื่อถามว่า " สหายของฉัน

ไปไหน ? "

หญิง. ไปสู่ป่า นาย.

พ่อค้า ระบุชื่อของคนทั้งปวงเทียว ถามว่า " บุตรของฉันชื่อโน้น

ธิดาของฉันชื่อโน้น ไปไหน ? ดังนี้แล้ว กล่าวว่า " ท่านพึงให้ผ้าและ

เครื่องอาภรณ์เหล่านี้ แก่ชนเหล่านั้น, ในเวลาที่แม้สหายของฉันกลับมาแล้ว

จากดง หล่อนพึงให้ผ้าและเครื่องอาภรณ์นี้ " แล้วได้ให้ (วัตถุเหล่านั้น).

นางทำสักการะอย่างยิ่งแก่เขาแล้ว ในเวลาที่สามีมา จึงกล่าวว่า " นาย

บุคคลนี้ จำเดิมแต่เขามาแล้ว ระบุชื่อของชนทั้งปวงแล้ว ให้สิ่งนี้และ

สิ่งนี้ " ฝ่ายสามีของหญิงนั้น ก็ทำกิจอันควรทำแก่เขา.

ครั้นในเวลาเย็น พ่อค้านั่งบนที่นอน ถามเขาว่า " สหาย ท่าน

เที่ยวไปที่เชิงเขา เคยเห็นอะไรมาก ? "

ชายเจ้าถิ่น. ฉันไม่เห็นอย่างอื่น, แต่ฉันเห็นต้นไม้ชนิดที่มีกิ่ง

แดงมาก.

พ่อค้า. ต้นไม้ (ชนิดนั้น) มีมากหรือ ?

ชายเจ้าถิ่น, จ้ะ ต้นไม้ (ชนิดนั้น) มีมาก.

พ่อค้า กล่าวว่า " ถ้ากระนั้น ท่านจงแสดงไม้เหล่านั้นแก่ฉัน "

ดังนี้แล้ว ไปกับเขา ตัดต้นจันทน์แดงบรรทุกให้เต็มเกวียน ๕๐๐ เล่ม

แล้ว เมื่อเดินมา กล่าวกะชายนั้นว่า " สหาย เรือนของฉันมีอยู่ในที่ชื่อโน้น

ในกรุงพาราณสี, ท่านพึงมายังสำนักของตลอดกาลตามกาล, ฉันไม่มี

ความต้องการด้วยเครื่องบรรณาการอย่างอื่น, ท่านพึงนำมาเฉพาะแต่ต้นไม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 504

ที่มีกิ่งแดงเท่านั้น. เขารับรองว่า " ดีละ " แล้วเมื่อมาสู่สำนักของพ่อค้า

นั้นตลอดกาลตามกาล ย่อมนำมาแต่ไม้จันทน์แดงเท่านั้น. แม้พ่อค้านั้น

ก็ให้ทรัพย์เป็นอันมากแก่เขา.

โดยสมัยอื่นอีกแต่กาลนั้น เมื่อพระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้ว

เมื่อสถูปทองอันเขาประดิษฐานไว้แล้ว, บุรุษนั้นได้บรรทุกไม้จันทน์แดง

เป็นอันมาก ไปสู่กรุงพาราณสี.

ครั้งนั้น พ่อค้านั้นผู้เป็นสหายของเขา ให้บดไม้จันทน์เป็นอันมาก

ให้เต็มถาดแล้ว กล่าวว่า " สหาย ท่านจงมา, พวกเราจักไปสู่ที่ก่อเจดีย์

จนกว่าจะหุงภัต (สุก) แล้วจึงกลับ " ได้พาเขาไปในที่นั้นทำการบูชาด้วย

ไม้จันทน์แล้ว.

สหายชาวปัจจันตชนบทของเขาแม้นั้น ได้สร้างที่ดุจมณฑลแห่ง

พระจันทร์ด้วยไม้จันทน์ ในห้องแห่งพระเจดีย์, บุรพกรรมของเขามี

เพียงนี้เท่านั้น.

อานิสงส์การบูชาด้วยไม้จันทร์แดง

เขาจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเทวโลก ยังพุทธันดรหนึ่งให้สิ้น

ไปแล้วในเทวโลกนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดในตระกูลพราหมณ์

มหาศาล ในกรุงราชคฤห์. รัศมีเช่นกับด้วยมณฑลพระจันทร์ตั้งขึ้นจาก

มณฑลแห่งนาภีของเขา. เพราะเหตุนั้น พวกญาติจึงขนานนามของเขาว่า

" จันทาภะ " นัยว่า นั่นเป็นผลแห่งการทำที่ดุจมณฑลแห่งพระจันทร์ ใน

พระเจดีย์ของเขา.

พราหมณ์ทั้งหลายคิดกันว่า " พวกเราอาจเพื่อพาเอาพราหมณ์นี้ไป

หากินกะโลกเขาได้ " ดังนี้แล้ว ให้เขานั่งบนยานน้อย เที่ยวกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 505

" ผู้ใดเอามือลูบคลำสรีระของจันทาภพราหมณ์นี้, ผู้นั้นจะได้อิสริยสมบัติ

ชื่อเห็นปานนี้."

ชนทั้งหลาย เมื่อให้ทรัพย์ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง แสนหนึ่ง

บ้างนั่นแล จึงจะได้เพื่ออามือถูกต้องสรีระของพราหมณ์นั้น.

พราหมณ์เหล่านั้น เที่ยวไปเนือง ๆ อยู่อย่างนี้ ก็ถึงกรุงสาวัตถี

โดยลำดับ ยึดเอาที่พักในระหว่างแห่งพระนครและวิหารแล้ว.

อริยสาวกประมาณ ๕ โกฏิแม้ในกรุงสาวัตถี ถวายทานในกาลก่อน

แห่งภัตแล้ว ในกาลภายหลังภัต มีมือถือของหอมระเบียบดอกไม้ผ้าและ

เภสัชเป็นต้น ไปเพื่อฟังธรรม. พราหมณ์ทั้งหลายเห็นอริยสาวกเหล่านั้น

แล้ว ถามว่า " ท่านทั้งหลายจะไปที่ไหนกัน ? "

อริยสาวก. พวกเราจักไปสู่สำนักของพระศาสดา เพื่อฟังธรรม.

พวกพราหมณ์. ท่านทั้งหลายจงมา, ท่านทั้งหลายไปในที่นั้นแล้ว

จักทำอะไร ? อานุภาพเช่นกับด้วยอานุภาพของจันทาภพราหมณ์ ของ

พวกข้าพเจ้าไม่มี, เพราะว่าชนทั้งหลายถูกต้องสรีระของจันทาภพราหมณ์

นั่น ย่อมได้สมบัติชื่อนี้, ท่านทั้งหลายจงมา, จงดูจันทาภพราหมณ์นั้น.

อริยสาวกเหล่านั้นกล่าวว่า " ชื่อว่าอานุภาพของจันทาภพราหมณ์

ของท่านทั้งหลาย เป็นอย่างไร ? พระศาสดาของพวกเราเท่านั้น มี

อานุภาพมาก."

อริยสาวกและพวกพราหมณ์เหล่านั้น ไม่อาจเพื่อยังกันและกันให้

ยินยอมได้ จึงกล่าวว่า " พวกเราไปสู่วิหารแล้ว จักรู้อานุภาพของจันทาภ-

พราหมณ์ หรือของพระศาสดาของพวกเรา" ดังนี้แล้วได้พาจันทาภ-

พราหมณ์นั้นไปสู่วิหารแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 506

จันทาภพราหมณ์อับเฉาในสำนักพระศาสดา

พระศาสดา เมื่อจันทาภพราหมณ์นั้น พอเข้าไปสู่สำนักของพระ-

องค์, ได้ทรงทำให้รัศมีเพียงดังพระจันทร์หายไปเสีย. จันทาภพราหมณ์

นั้น ได้เป็นประหนึ่งกาในกระเช้าถ่าน ในสำนักพระศาสดา.

ครั้งนั้น พราหมณ์ทั้งหลายจึงนำเขาไปไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. รัศมี

ได้กลับเป็นปกติอย่างเดิม. พราหมณ์ก็นำมาสู่สำนักพระศาสดาอีก. รัศมี

ก็หายไปอย่างนั้นเหมือนกัน. จันทาภพราหมณ์ไปแล้วอย่างนั้นถึง ๓ ครั้ง

เห็นรัศมีหายไปอยู่ จึงคิดว่า " ผู้นี้ เห็นจะรู้มนต์เป็นเครื่องหายไปแห่ง

รัศมี." เขาจึงทูลถามพระศาสดาว่า " พระองค์ทรงทราบมนต์เป็นเครื่อง

หายไปแห่งรัศมีหรือหนอแล ?"

พระศาสดา. เออ เรารู้.

จันทาภะ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์จงประทานแก่ข้าพระองค์บ้าง.

พระศาสดา. เราไม่อาจเพื่อให้แก่บุคคลผู้ไม่บวช.

จันทาภะนั้นกล่าวกะพวกพราหมณ์ว่า " เมื่อฉันเรียนมนต์นั่นแล้ว

ฉันจักเป็นผู้ประเสริฐในชมพูทวีปทั้งสิ้น, พวกท่านจงรออยู่ที่นี่ก่อน, ฉัน

จักบวชเรียนมนต์โดย ๒-๓ วัน เท่านั้น." เ ขาทูลขอการบรรพชากะพระ-

ศาสดา ได้อุปสมบทแล้ว.

ครั้งนั้น พระศาสดาจึงตรัสบอกอาการ ๓๒ แก่จันทาภภิกษุนั้น.

เธอทูลถามว่า " นี้อะไร ? "

พระศาสดา. นี้เป็นบริกรรมแห่งมนต์, เธอควรสาธยาย.

แม้พวกพราหมณ์มาในระหว่าง ๆ แล้ว ถามว่า " ท่านเรียนมนต์

ได้แล้วหรือ ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 507

จันทาภะ. ยังก่อน. ฉันกำลังเรียน.

เขาบรรลุพระอรหัตโดย ๒-๓ วันเท่านั้น ในเวลาที่พวกพราหมณ์

มาถามแล้ว กล่าวว่า " ท่านทั้งหลายจงไปเถิด. เดี๋ยวนี้ฉันเป็นผู้มีธรรม

เครื่องไม่ไปเสียแล้ว."

ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลแด่พระตถาคตว่า " พระเจ้าข้า ภิกษุนี้

กล่าวคำไม่จริง ย่อมพยากรณ์พระอรหัตผล."

พระขีณาสพกล่าวแต่คำจริง

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ จันทาภะบุตรของเรา

มีอาสวะสิ้นแล้ว ย่อมกล่าวแต่คำจริงเท่านั้น " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา

นี้ว่า:-

๓๐. จนฺทว วิมล สุทฺธ วิปฺปสนฺนมนาวิล

นนฺทิภวปริกฺขีณ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" เราเรียกผู้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ขุ่นมัว มีภพ

เครื่องเพลิดเพลินสิ้นแล้ว เหมือนพระจันทร์ ที่

ปราศจากมลทินนั้นว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิมล ได้แก่ เว้นแล้วจากมลทินมี

หมอกเป็นต้น.

บทว่า สุทฺธ ได้แก่ ไม่มีอุปกิเลส.

บทว่า วิปฺปสนฺน ได้แก่ มีจิตผ่องใสแล้ว.

บทว่า อนาวิล ได้แก่ เว้นแล้วจากมลทินมีกิเลสเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 508

บทว่า นนฺทิภวปริกฺขีณ ความว่า เราเรียกผู้มีตัณหาในภพทั้ง ๓

สิ้นแล้วนับว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระจันทาภเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 509

๓๑. เรื่องพระสีวลีเถระ [๒๙๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยเมืองกุณฑิโกลิยะ ประทับอยู่ในป่าชื่อ

กุณฑธาน ทรงปรารภพระสีวสีเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย อิม "

เป็นต้น.

พระนางสุปปวาสาทรงอดกลั้นทุกข์ได้ด้วยวิตก ๓ ข้อ

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระธิดาของพระโกลิยวงศ์ พระ-

นามว่าสุปปวาสา ทรงครรภ์สิ้น ๗ ปี มีครรภ์อันหลง (มาอีก) ๗ วัน

ถูกทุกขเวทนากล้าเผ็ดร้อนถูกต้องแล้ว, ทรงอดกลั้นทุกข์นั้น ด้วยวิตก

๓ ข้อเหล่านี้คือ " (๑) พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ทรงแสดงธรรม

เพื่อละทุกข์แห่งรูปนี้นี่แหละ, พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นผู้

ตรัสรู้เองโดยชอบหนอ; (๒) พระสงฆ์สาวกใดปฏิบัติเพื่อละทุกข์แห่งรูป

นี้นี่แหละ, พระสงฆ์สาวกนั้น ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น

ผู้ปฏิบัติดีแล้วหนอ; (๓) ทุกข์เห็นปานนี้ " ไม่มีในพระนิพพานใด.

พระนิพพานนั้น เป็นสุขดีหนอ" ดังนี้แล้ว ทรงส่งพระสวามีไปสู่สำนัก

ของพระศาสดา, เมื่อพระสวามีนั้น กราบทูลการถวายบังคมแด่พระศาสดา

ตามคำของพระนางแล้ว, ในขณะที่พระศาสดาตรัสว่า " พระธิดาโกลิยวงศ์

พระนามว่าสุปปวาสาจงเป็นผู้มีสุข ไม่มีโรค, ประสูติพระโอรสซึ่งหาโรค

มิได้เถิด " ดังนี้นั่นแหละ เป็นผู้สบาย หายพระโรค ประสูติพระโอรส

ผู้หาโรคมิได้แล้ว ทรงนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วได้

ทรงถวายมหาทาน สิ้น ๗ วัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 510

พระโอรสได้บรรลุพระอรหัต

แม้พระโอรสของพระนาง ถือเอาธมกรกกรองน้ำถวายพระสงฆ์ได้

จำเดิมแต่วันที่ประสูติแล้ว. ในกาลต่อมา พระโอรสนั้นเสด็จออกบรรพชา

แล้วบรรลุพระอรหัต.

ต่อมาวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุ

ทั้งหลาย พวกท่านจงดู:. ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตชื่อ

เห็นปานนี้ ยังเสวยทุกข์ในท้องของมารดาตลอดกาล ประมาณเท่านี้,

จะป่วยกล่าวไปไยเล่าถึงชนเหล่าอื่น; ทุกข์เป็นอันมากหนอ อันภิกษุนี้

ถอนแล้ว."

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ

นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วย

กถาชื่อนี้ " จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เออ บุตรของเราพ้นจากทุกข์

ประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ ทำพระนิพพานให้แจ้งแล้วอยู่ " ดังนี้แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓๑. โย อิม ปลิปถ ทุคฺค สสาร โมหมฺจฺจคา

ติณฺโณ ปารคโต ฌายี อเนโช อกถงฺกถี

อนุปาทาย นิพฺพุโต ตมห พฺรูมิ พฺหาหฺมณ.

" ผู้ใด ล่วงทางอ้อม หล่ม สงสาร และโมหะ

นี้ไปแล้ว เป็นผู้ข้ามไปได้ ถึงฝั่ง มีปกติเพ่ง หากิเลส

เครื่องหวั่นไหวมิได้ ไม่มีความสงสัยเป็นเหตุกล่าวว่า

อย่างไร ไม่ถือมั่น ดับแล้ว, เราเรียกผู้นั้นว่า เป็น

พราหมณ์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 511

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้น (ดังนี้) :-

ความว่า ภิกษุใด ล่วงทางคือราคะ หล่มคือกิเลส สังสารวัฏ และ

โมหะอันไม่ให้แทงตลอดอริยสัจทั้ง ๕ นี้ไปแล้ว, เป็นผู้ข้ามโอฆะทั้ง ๔

ได้ ถึงฝั่งแล้วโดยลำดับ, มีปกติเพ่งด้วยฌาน ๒ อย่าง, ชื่อว่าหากิเลส

เครื่องหวั่นไหวมิได้ เพราะไม่มีตัณหา, ชื่อว่าไม่มีความสงสัยเป็นเหตุ

กล่าวว่าอย่างไร เพราะไม่มีวาจาเป็นเครื่องกล่าวว่าอย่างไร, ชื่อว่าไม่ถือ

มั่นแล้ว เพราะไม่มีอุปาทาน ชื่อว่าดับแล้ว เพราะอันดับไปแห่งกิเลส;

เราเรียกภิกษุนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระสีวลีเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 512

๓๒. เรื่องพระสุนทรสมุทรเถระ [๒๙๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสุนทร-

สมุทรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยธ กาเม " เป็นต้น.

กุลบุตรออกบวช

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี กุลบุตรคนหนึ่งชื่อสุนทรสมุทรกุมาร

เกิดในตระกูลใหญ่อันมีสมบัติ ๔๐ โกฏิ.

วันหนึ่ง เขาเห็นมหาชนมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นในมือ

ไปสู่พระเชตวันเพื่อต้องการฟังธรรม ในเวลาภายหลังภัตจึงถามว่า " พวก

ท่านจะไปไหนกัน" ? เมื่อมหาชนนั้นบอกว่า " พวกฉันจะไปสู่สำนัก

พระศาสดา เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม, กล่าวว่า " ฉันก็จักไป "

แล้วไปกับมหาชนนั้น นั่ง ณ ที่สุดบริษัท.

พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของเขา จึงทรงแสดงอนุปุพพีกถา.

เขาคิดว่า " บุคคลผู้อยู่ครองเรือน ไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ให้เป็น

ดุจสังข์ที่ขัดแล้วได้." อาศัยพระกถาของพระศาสดา มีความอุตสาหะเกิด

แล้วในบรรพชา, เมื่อบริษัทหลีกไปแล้ว, จึงทูลขอบรรพชากะพระศาสดา

ได้สดับว่า " พระตถาคตทั้งหลาย ไม่ยังกุลบุตรที่มารดาบิดายังไม่อนุญาต

ให้บรรพชา" จึงไปสู่เรือนแล้ว ยังมารดาบิดาให้อนุญาตด้วยความพยายาม

มากเหมือนกุลบุตรชื่อรัฏฐบาลเป็นต้น ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนัก

พระศาสดาแล้ว คิดว่า " ประโยชน์อะไรของเรา ด้วยการอยู่ในที่นี้ "

จึงออกจากกรุงสาวัตถีนั้นไปสู่กรุงราชคฤห์ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ ยังกาลให้

ล่วงไปแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 513

หญิงแพศยารับอาสาจะให้พระเถระสึกให้ได้

ต่อมาวันหนึ่ง มารดาบิดาของพระสุนทรสมุทรเถระนั้น เห็นพวก

กุมารที่เป็นสหายของท่าน กำลังเล่นอยู่ด้วยสิริโสภาคย์อันใหญ่ในวัน

มหรสพวันหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี คร่ำครวญว่า " การเล่นชนิดนี้ บุตร

ของเราได้โดยยาก."

ในขณะนั้น หญิงแพศยาคนหนึ่งไปสู่ตระกูลนั้น เห็นมารดาของ

พระสุนทรสมุทรเถระนั้นกำลังนั่งร้องไห้อยู่ จึงถามว่า " คุณแม่ เพราะ

เหตุไร ? คุณแม่จึงร้องไห้."

มารดาพระสุนทรสมุทร. ฉันคิดถึงลูก จึงร้องไห้.

หญิงแพศยา. ก็บุตรนั้นไปที่ไหนเล่า ? คุณแม่.

มารดาพระสุนทรสมุทร. บวชใน (สำนัก ) ภิกษุทั้งหลาย.

หญิงแพศยา. การให้ท่านสึกเสีย ไม่ควรหรือ ?

มารดาพระสุนทรสมุทร. ควร แต่เธอไม่ปรารถนา, เธอออกจาก

กรุงสาวัตถีนี้ ไปสู่กรุงราชคฤห์.

หญิงแพศยา. ถ้าดิฉันพึงให้ท่านสึกได้ไซร้, คุณแม่พึงทำอะไร ?

แก่ดิฉัน.

มารดาพระสุนทรสมุทร. พวกฉันพึงทำเจ้าให้เป็นเจ้าของแห่งขุม-

ทรัพย์ตระกูลนี้.

หญิงแพศยากล่าวว่า " ถ้าเช่นนั้น คุณแม่จงให้สินจ้างแก่ดิฉัน "

ถือเอาสินจ้างแล้ว ไปสู่กรุงราชคฤห์ด้วยบริวารหมู่ใหญ่ กำหนดถนนที่

เที่ยวบิณฑบาตของท่านได้แล้ว ยึดเอาเรือนเป็นที่พักหลังหนึ่งในที่นั้น

๑. ความเป็นผู้มีส่วนงามด้วยสิริ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 514

ตกแต่งอาหารที่ประณีตไว้แต่เช้าตรู่ แล้วถวายภิกษาในเวลาพระเถระเข้า

ไปบิณฑบาต โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน นิมนต์ว่า " ท่านเจ้าข้า ขอท่าน

จงนั่งในที่นี้นี่แหละ ทำภัตกิจ" แล้วรับเอาบาตร. ท่านได้ให้บาตรแล้ว.

หญิงแพศยาออกอุบายเกลี้ยกล่อมพระเถระ

ครั้งนั้น หญิงแพศยานั้นเลี้ยงพระเถระนั้น ด้วยอาหารอันประณีต

เรียนว่า " ท่านเจ้าข้า การเที่ยวบิณฑบาตในที่นี้นี่แหละสะดวกดี " นิมนต์

ให้พระเถระนั่งฉันที่ระเบียง ๒-๓ วัน แล้ว เอาขนมเกลี้ยกล่อมพวกเด็ก

แล้วพูดว่า " พวกเจ้าจงมา, ในเวลาพระเถระมาแล้ว แม้ฉันห้ามอยู่,

พวกเจ้าพึงมาในที่นี้ แล้ว (คุ้ย) ธุลีให้ฟุ้งขึ้น."

ในวันรุ่งขึ้นเวลาพระเถระฉัน พวกเด็กเหล่านั้นแม้ถูกหญิงแพศยา

นั้นห้ามอยู่ ก็ (คุ้ย) ธุลีให้ฟุ้งขึ้นแล้ว.

ในวันรุ่งขึ้น หญิงแพศยานั้นเรียนว่า " พวกเด็ก แม้ดิฉันห้ามอยู่

ก็ไม่ฟังคำของดิฉัน ยัง (คุ้ย) ธุลีให้ฟุ้งขึ้นในที่นี้ได้, ขอท่านจงนั่งภายใน

เรือนเถิด" ให้ท่านนั่งภายในแล้ว นิมนต์ให้ฉันสิ้น ๒-๓ วัน, นาง

เกลี้ยกล่อมเด็กอีก พูดว่า " พวกเจ้า แม้ถูกฉันห้ามอยู่ พึงทำเสียงอึกทึก

ในเวลาพระเถระฉัน." เด็กเหล่านั้น ทำอย่างนั้นแล้ว.

ในวันรุ่งขึ้น นางกล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า ในที่นี้มีเสียงอึกทึกเหลือ

เกิน, พวกเด็ก แม้ดิฉันห้ามอยู่ ก็ไม่เชื่อถือถ้อยคำของดิฉัน; นิมนต์ท่าน

นั่งเสียในปราสาทเบื้องบนเถิด," เมื่อพระเถระรับนิมนต์แล้ว, ทำพระเถระ

ไว้ข้างหน้า เมื่อจะขึ้นไปสู่ปราสาท ปิดประตูทั้งหลายเสีย จึงขึ้นไปสู่

ปราสาท.

พระเถระ แม้เป็นผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอกเป็นวัตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 515

อย่างอุกฤษฏ์ ถูกความอยากในรสพัวพันแล้ว จึงขึ้นไปสู่ปราสาท ๗ ชั้น

ตามคำของนาง.

หญิงแพศยาแสดงอาการ ๔๐ อย่าง เกี้ยวพระเถระ

นางให้พระเถระนั่งแล้ว แสดงแง่งอนของหญิง ลีลาของหญิง

ซึ่งมาแล้วอย่างนี้ว่า " เพื่อนผู้มีหน้าเอิบอิ่ม ได้ยินว่า หญิงย่อมเกี้ยวชาย

ด้วยฐานะ ๔๐ อย่าง คือ : สะบัดสะบิ้ง ๑ ก้มลง ๑ กรีดกราย ๑ ชะมด-

ชม้อย ๑ เอาเล็บดีดเล็บ ๑ เอาเท้าเหยียบเท้า ๑ เอาไม้ขีดแผ่นดิน ๑

ชูเด็กขึ้น ๑ ลดเด็กลง ๑ เล่นเอง ๑ ให้เด็กเล่น ๑ จูบเอง ๑ ให้เด็ก

จูบ ๑ รับประทานเอง ๑ ให้เด็กรับประทาน ๑ ให้ของเด็ก ๑ ขอของ

คืน ๑ ล้อเลียนเด็ก ๑ พูดดัง ๑ พูดค่อย ๑ พูดคำเปิดเผย ๑ พูด

ลี้ลับ ๑ (ทำนิมิต) ด้วยการฟ้อน ด้วยการขับ ด้วยการประโคม ด้วย

การร้องไห้ ด้วยการเยื้องกราย ด้วยการแต่งตัว ๑ ซิกซี้ ๑ จ้องมองดู ๑

สั่นสะเอว ๑ ยังของลับให้ไหว ๑ ถ่างขา ๑ หุบเขา ๑ แสดงถัน ๑

แสดงรักแร้ ๑ แสดงสะดือ ๑ ขยิบตา ๑ ยักคิ้ว ๑ แม้มริมฝีปาก ๑

แลบลิ้น ๑ เปลื้องผ้า ๑ นุ่งผ้า ๑ สยายผม ๑ เกล้าผม ๑" ยืนข้าง

หน้าของพระเถระนั้นแล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-

" หญิงแพศยาผู้มีเท้าย้อมแล้วด้วยน้ำครั่ง สวม

เขียงเท้า (กล่าวแล้วว่า) แม้ท่านก็เป็นชายหนุ่ม

สำหรับดิฉัน และแม้ดิฉันก็เป็นหญิงสาวสำหรับท่าน,

แม้เราทั้งสองแก่แล้ว มีไม้เท้ากรานไปข้างหน้าจึง

จักบวช."

๑. มาในอัฏฐกถาชาดก ๘/๒๖๑ กุณาลชาดก. ๒. กตมนุกโรติ ย่อมทำตามซึ่งกรรมอันเด็ก

ทำแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 516

พระเถระชนะหญิงแพศยาเพราะอาศัยพระศาสดา

ครั้งนั้น ความสังเวชใหญ่ได้เกิดขึ้นแก่พระเถระว่า " โอหนอ !

กรรมที่เราไม่ใคร่ครวญแล้วทำ หนัก." ในขณะนั้น พระศาสดาประทับ

นั่งอยู่ในพระเชตวัน ณ ที่ไกลประมาณ ๔๕ โยชน์นั่นแล ทรงเห็นเหตุนั้น

แล้วได้ทรงทำความยิ้มแย้มให้ปรากฏ.

ลำดับนั้น พระอานนทเถระทูลถามพระองค์ว่า " พระเจ้าข้า อะไร

หนอแล ? เป็นเหตุ, อะไร ? เป็นปัจจัย แห่งการทรงทำความยิ้มแย้มให้

ปรากฏ.

พระศาสดาตรัสว่า. อานนท์ สงครามของภิกษุชื่อสุนทรสมุทรและ

ของหญิงแพศยา กำลังเป็นไปอยู่ บนพื้นปราสาท ๗ ชั้น ในกรุง

ราชคฤห์.

พระอานนท์ทูลถามว่า พระเจ้าข้า ความชนะจักมีแก่ใครหนอแล ?

ความปราชัยจักมีแก่ใคร ?

พระศาสดาตรัสว่า " อานนท์ ความชนะจักมีแก่สุนทรสมุทร, ความ

ปราชัยจักมีแก่หญิงแพศยา" ดังนี้แล้ว ทรงประกาศความชนะของพระ-

เถระ ประทับนั่งในพระเชตวันนั้นนั่นเอง ทรงแผ่พระรัศมีไป ตรัสว่า

" ภิกษุ เธอจงหมดอาลัย ละกามแม้ทั้งสองเสีย " ดังนี้แล้ว ตรัสพระ-

คาถานี้ว่า :-

๓๒. โยธ กาเม ปหนฺตฺวาน อนาคาโร ปริพฺพเช

กามภวปริกฺขีณ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" บุคคลใด ละกามทั้งหลายในโลกนี้แล้ว เป็น

ผู้ไม่มีเรือน งดเว้นเสียได้, เราเรียกบุคคลนั้น ผู้มี

กามและภพสิ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 517

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้น (ดังนี้) :-

ความว่า บุคคลใด ละกามแม้ทั้งสองในโลกนี้แล้ว เป็นผู้ไม่มี

เรือน งดเว้นเสียได้, เราเรียกผู้นั้น ผู้มีกามสิ้นแล้ว และผู้มีภพสิ้นแล้ว

ว่าเป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว เหาะขึ้นไปสู่เวหาส

ด้วยกำลังแห่งฤทธิ์ ทะลุมณฑลช่อฟ้าออกไปแล้ว ชมเชยพระสรีระ

พระศาสดาอยู่นั่นเทียว มาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว.

พระศาสดาเป็นที่พึ่งของพระเถระ

ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันแม้ในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย

พระสุนทรสมุทรเถระ อาศัยรสที่พึงรู้ด้วยลิ้น เกือบเสียท่า. แต่พระศาสดา

เป็นที่พึ่งของเธอ."

พระศาสดาทรงสดับกถานั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เราเป็น

ที่พึ่งของสุนทรสมุทรนั่น แต่ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้, แม้ในกาลก่อน เรา

ก็เป็นที่พึ่งของสุนทรสมุทรนั่น ผู้ติดอยู่ในรสตัณหาแล้วเหมือนกัน " อัน

ภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา เพื่อจะทรงประกาศ

เนื้อความนั้น ทรงยังวาตมิคชาดกนี้ให้พิสดารว่า :-

" ได้ยินว่า สภาพอื่นที่เลวกว่ารสทั้งหลาย คือ

การเคยชินกัน หรือการสนิมสนมกัน ย่อมไม่มี,

คนรักษาอุทยานชื่อสญชัย ย่อมนำเนื้อสมันตัวอาศัย

อยู่ในรกชัฏ มาสู่อำนาจได้ ก็เพราะรสทั้งหลาย."

๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๕. อรรถกถา. ๑/๒๗๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 518

ดังนี้แล้ว ทรงประมวลชาดกว่า " ในกาลนั้น สุนทรสมุทรได้เป็น

เนื้อสมัน, ส่วนมหาอำมาตย์ของพระราชาผู้กล่าวคาถานี้แล้ว ให้ปล่อย

เนื้อนั้นไป ได้เป็นเรานี้เอง."

เรื่องพระสุนทรสมุทรเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 519

๓๓.เรื่องพระโชติกเถระ [๒๙๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระโชติก-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โยธ ตณฺห " เป็นต้น.

บุรพกรรมของสองพี่น้อง

อนุปุพพีกถาในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า ในอดีตกาล กุฎุมพี ๒ คนพี่น้องในกรุงพาราณสียังชน

ให้ทำไร่อ้อยไว้เป็นอันมาก.

ต่อมาวันหนึ่ง น้องชายไปยังไร่อ้อย คิดว่า " เราจักให้อ้อยลำหนึ่ง

แก่พี่ชาย ลำหนึ่งจักเป็นของเรา" แล้ว ผูกลำอ้อยทั้งสองลำในที่ ๆ ตัด

แล้ว เพื่อต้องการไม่ให้รสไหลออก ถือเอาแล้ว.

ได้ยินว่า ในครั้งนั้น กิจด้วยการหีบอ้อยด้วยเครื่องยนต์ ไม่มี

ในเวลาอ้อยลำที่เขาตัดที่ปลายหรือที่โคนแล้วยกขึ้น รส (อ้อย) ย่อมไหล

ออกเองทีเดียว เหมือนน้ำไหลออกจากธมกรกฉะนั้น. ก็ในเวลาที่เขาถือ

เอาลำอ้อยจากไร่เดินมา พระปัจเจกพุทธเจ้าที่ภูเขาคันธมาทน์ออกจาก

สมาบัติแล้ว ใคร่ครวญว่า " วันนี้ เราจักทำการอนุเคราะห์แก่ใครหนอ

แล ?" เห็นเขาเข้าไปในข่ายคือญาณของตน และทราบความที่เขาเป็นผู้

สามารถเพื่อจะทำการสงเคราะห์ได้ จึงถือบาตรและจีวรแล้ว มาด้วยฤทธิ์

ได้ยืนอยู่ข้างหน้าของเขา.

น้องชาวถวายอ้อยแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

เขาพอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ก็มีจิตเลื่อมใส จึงลาดผ้าห่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 520

บนภูมิประเทศที่สูงกว่า แล้วนิมนต์ให้พระปัจเจกพุทธเจ้านั่ง ด้วยคำว่า

" นิมนต์นั่งที่นี้ ขอรับ" แล้วก็กล่าวว่า " ขอท่านจงน้อมบาตรมาเถิด"

ได้แก่ที่ผูกลำอ้อย วางไว้เบื้องบนบาตร. รสไหลลงเต็มบาตรแล้ว. เมื่อ

พระปัจเจกพุทธเจ้าดื่มรส (อ้อย) นั้นแล้ว, เขาคิดว่า " ดีจริง พระผู้เป็น

เจ้าของเราดื่มรส (อ้อย) แล้ว, ถ้าพี่ชายของเราจักให้นำมูลค่ามา, เราก็จัก

ให้มูลค่า; ถ้าจักให้เรานาส่วนบุญมา, เราก็จักให้ส่วนบุญ" แล้วกล่าวว่า

" นิมนต์ท่านน้อมบาตรเข้ามาเถิด ขอรับ" แล้วได้แก้ลำอ้อยแม้ที่ ๒

ถวายรส.

นัยว่า เขามิได้มีความคิดที่จะลวงแม้มีประมาณเท่านี้ว่า " พี่ชายของ

เราจักนำอ้อยลำอื่นจากไร่อ้อยมาเคี้ยวกิน" ส่วนพระปัจเจกพุทธเจ้า เป็นผู้

ใคร่จะแบ่งรสอ้อยลำนั้นกับด้วยพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่าอื่น เพราะความที่

ตนดื่มรสอ้อยลำแรกนั้น จึงรับไว้เท่านั้น แล้วก็นั่งอยู่. เขาทราบอาการ

ของท่านแล้ว จึงไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ตั้งความปรารถนาว่า " ท่าน

ขอรับ รสอันเลิศนี้ใด ที่กระผมถวายแล้ว, ด้วยผลแห่งรสอันเลิศนี้

กระผมพึงเสวยสมบัติในเทวโลกและมนุษยโลก ในที่สุดพึงบรรลุธรรมที่

ท่านบรรลุแล้วนั่นแล." แม้พระปัจเจกพุทะเจ้า ก็กล่าวว่า " ขอความ

ปรารถนาที่ท่านตั้งไว้แล้ว จงสำเร็จอย่างนั้น" แล้วทำอนุโมทนาแก่เขา

ด้วย ๒ คาถาว่า " อิจฺฉิต ปตฺถิต ตุยฺห " เป็นต้น, แล้วก็อธิษฐาน

โดยประการที่เขาจะเห็นได้ แล้วเหาะไปสู่เขาคันธมาทน์โดยทางอากาศ

แล้วได้ถวายรส (อ้อย) แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ รูป. เขาเห็นปาฏิหาริย์

นั้นแล้ว ไปสู่สำนักพี่ชาย, เธอพี่ชายถามว่า " เจ้าไปไหน ?" จึงบอกว่า

" ฉันไปตรวจดูไร่อ้อย " ถูกพี่ชายกล่าวว่า " จะมีประโยชน์อะไรด้วยคน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 521

อย่างเจ้าไปไร่อ้อย, เจ้าควรจะถือเอาลำอ้อยมา ๑ ลำ หรือ ๒ ลำมิใช่

หรือ ?" กล่าวว่า " พี่ ถูกละ, ฉันถือเอาอ้อยมา ๒ ลำ, แต่ฉันเห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง จึงถวายรสแต่ลำอ้อยของฉัน แล้วถวายรสแต่

ลำอ้อยแม้ของพี่ ด้วยคิดว่า เราจักให้มูลค่าหรือส่วนบุญ;' พี่จักรับเอา

มูลค่าอ้อยนั้นหรือจักรับเอาส่วนบุญ ? "

พี่ชาย. ก็พระปัจเจกพุทธเจ้า ทำอะไร ?

น้องชาย. ท่านดื่มรสจากลำอ้อยของฉันแล้ว ก็ถือเอารสจากลำอ้อย

ของพี่ไปสู่เขาคันธมาทน์โดยอากาศ แล้วได้ให้แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

๕๐๐ รูป.

พี่ชายเลื่อมใสขออนุโมทนาส่วนบุญ

พี่ชายนั้น เมื่อเขากำลังกล่าวอยู่นั้นแหละ, เป็นผู้มีสรีระอันปีติ

ถูกต้องแล้ว หาระหว่างมิได้ ได้ทำความปรารถนาว่า " การบรรลุธรรมที่

พระปัจเจกพุทธเจ้านั้นเห็นแล้วนั่นแหละ พึงมีแก่เรา." น้องชายปรารถนา

สมบัติ ๓ อย่าง ส่วนพี่ชายปรารถนาพระอรหัต ด้วยประการฉะนี้.

นี้เป็นบุรพกรรมของชนทั้งสองนั้น.

สองพี่น้องได้เกิดร่วมกันอีกในชาติต่อมา

ชนทั้งสองนั้น ดำรงอยู่ตลอดอายุแล้ว เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว

บังเกิดในเทวโลก ยังพุทธันดรหนึ่งให้สิ้นไป. ในเวลาชนทั้งสองนั้นไป

เทวโลกนั่นแหละ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสีเสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้วในโลก.

พี่น้องทั้งสองแม้นั้น เคลื่อนจากเทวโลกแล้ว, ผู้พี่ชายก็คงเป็น

พี่ชาย ผู้น้องชายก็คงเป็นน้องชาย ถือปฏิสนธิในเรือนแห่งตระกูลหนึ่ง

ในพันธุมดีนคร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 522

บรรดาเด็กทั้งสองนั้น มารดาบิดาได้ตั้งชื่อของผู้พี่ชายว่า " เสนาะ"

ของผู้น้องชายว่า " อปราชิต." เมื่อพี่น้องทั้งสองนั้น กำลังรวบรวม

ขุมทรัพย์อยู่ ในเวลาเติบโตแล้ว, เสนกุฎุมพี ได้ฟังการป่าวร้องใน

พันธุมดีนครของอุบาสกผู้โฆษณาธรรมว่า " พุทธรัตนะเกิดขึ้นแล้วใน

โลก, ธรรมรัตนะเกิดขึ้นแล้วในโลก, สังฆรัตนะเกิดขึ้นแล้วในโลก,

พวกท่านจงให้ทานทั้งหลาย จงทำบุญทั้งหลาย วันนี้เป็นดิถีที่ ๑๔

วันนี้เป็นดิถีที่ ๑๕, พวกท่านจงทำอุโบสถ จงฟังธรรม" เห็นมหาชน

ถวายทานในกาลก่อนภัตแล้ว ไปเพื่อฟังธรรมในกาลภายหลังภัต จึงถามว่า

" พวกท่านจะไปไหน ? เมื่อมหาชนบอกว่า " พวกฉันจะไปสู่สำนัก

พระศาสดา เพื่อฟังธรรม." จึงพูดว่า " แม้ฉันก็จักไป " แล้วก็ไปพร้อม

กับชนเหล่านั้นทีเดียว นั่งแล้วในที่สุดบริษัท.

พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของเขา จึงตรัสอนุปุพพีกถา. เขาฟัง

ธรรมของพระศาสดาแล้ว เกิดความอุตสาหะในบรรพชา จึงทูลขอ

บรรพชากะพระศาสดา.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเขาว่า " ก็พวกญาติที่ท่านจะพึงอำลา

มีไหม ?"

เสนกุฎุมพี. มี พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ถ้าอย่างนั้น ท่านไปอำลา แล้วจงมา.

พี่ชายลาน้องชายออกบวชแล้วได้บรรลุพระอรหัต

เขาไปสู่สำนักของน้องชายแล้ว กล่าวว่า " ทรัพย์สมบัติใด มีอยู่

ในตระกูลนี้ ทรัพย์สมบัตินั้นทั้งหมด จงเป็นของเจ้า."

๑. หมายความว่า ได้ตั้งหลักฐานในการครองเรือนแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 523

น้องชาย. ก็พี่เล่า ? ขอรับ.

เสนกุฎุมพี. ฉันจักบวชในสำนักของพระศาสดา.

น้องชาย. พี่พูดอะไร ? ฉันเมื่อมารดาตายแล้ว ก็ได้พี่เป็นเหมือน

มารดา, เมื่อบิดาตายแล้ว ก็ได้พี่เป็นเหมือนบิดา; ตระกูลนี้ก็มีโภคะมาก,

พี่ดำรงอยู่ในเรือนนี่แหละ ก็สามารถจะทำบุญได้. พี่อย่าทำอย่างนั้น.

เสนกุฎุมพี. ฉันฟังธรรมในสำนักของพระศาสดาแล้ว, ฉันดำรง

อยู่ในท่ามกลางเรือน ไม่อาจบำเพ็ญธรรมนั้นได้; ฉันจักบวชให้ได้,

เจ้าจงกลับ.

เขายังน้องชายให้กลับไปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ได้บรรพชา

อุปสมบทในสำนักพระศาสดาแล้ว ต่อกาลไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต.

ฝ่ายน้องชาย คิดว่า " เราจักทำสักการะแก่บรรพชิตผู้พี่ชาย" จึง

ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขสิ้น ๗ วัน ไหว้พี่ชายแล้ว

กล่าวว่า " ท่านขอรับ ท่านท่าการสลัดออกจากภพแห่งตนได้แล้ว, ส่วน

กระผม ยังเป็นผู้พัวพันด้วยกามคุณ ๕, ไม่อาจออกบวชได้, ขอท่านจง

บอกบุญกรรมอันใหญ่ที่สมควร แก่กระผมผู้ดำรงอยู่ในเรือนนี่แหละ."

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะน้องชายนั้นว่า " ดีละ เจ้าผู้เป็น

บัณฑิต เจ้าจงให้ สร้างพระคันธกุฎี สำหรับพระศาสดา."

น้องชายสร้างพระคันธกุฎีถวายพระศาสดา

น้องชายนั้นรับว่า "สาธุ" แล้วยังชนให้นำไม้ต่าง ๆ มาแล้วให้

ถากเพื่อประโยชน์แก่ทัพสัมภาระทั้งหลายมีเสาเป็นต้น ให้ทำเสาทั้งหมด

ให้ขจิตด้วยแก้ว ๗ ประการ คือต้นหนึ่งขจิตด้วยทองคำ ต้นหนึ่งขจิต

๑. คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าใคร่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 524

ด้วยเงิน ต้นหนึ่งขจิตด้วยแก้วมณีเป็นต้น แล้วให้สร้างพระคันธกุฎีด้วย

เสาเหล่านั้น ให้มุงด้วยกระเบื้องสำหรับมุงอันขจิตด้วยแก้ว ๗ ประการ

เหมือนกัน.

ก็ในเวลาสร้างพระคันธกุฎีนั้นแล หลานชายชื่ออปราชิต ผู้มีชื่อ

เหมือนกับคนนั่นแล เข้าไปหาอปราชิตกุฎุมพีนั้นแล้ว กล่าวว่า " แม้ฉัน

ก็จักสร้าง, ท่านจงให้ส่วนบุญแก่ฉันเถิด ลุง" เขากล่าวว่า " พ่อ ฉัน

ไม่ให้, ฉันจักสร้างไม่ให้ทั่วไปด้วยชนเหล่าอื่น. "

หลานชายนั้น อ้อนวอนแม้เป็นอันมาก เมื่อไม่ได้ส่วนบุญ จึงคิด

ว่า " การที่เราได้กุญชรศาลาข้างหน้าพระคันธกุฎี ย่อมควร" ดังนี้แล้ว

จึงให้สร้างกุญชรศาลาที่สำเร็จด้วยแก้ว ๙ ประการ. เขาเกิดเป็นเมณฑก-

เศรษฐีในพุทธุปบาทกาลนี้.

ก็บานหน้าต่างใหญ่ ๓ บาน ที่สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ ได้มี

แล้วในพระคันธกุฎี. อปราชิตคฤหบดีให้สร้างสระโบกขรณี ๓ สระ ที่

โบกด้วยปูนขาว ณ ภายใต้ที่ตรงบานหน้าต่างเหล่านั้น ให้เต็มด้วยน้ำหอม

อันเกิดแต่ชาติทั้ง ๔ แล้วให้ปลูกดอกไม้ ๕ สี, ให้ย่อยบรรดาแก้ว ๗

ประการ แก้วที่ควรแก่ความเป็นของที่จะพึงย่อยได้แล้วถือเอาแก้วนอกนี้

ทั้งหมดทีเดียว โปรยรอบพระคันธกุฎีโดยถ่องแถวเพียงเข่า ยังบริเวณ

ให้เต็มแล้ว.

๑. ศาลามีรูปคล้ายช้าง. ๒. กุงฺกุม หญ้าฝรั่น ๑. ยวนปุปฺผ ดอกไม้เกิดในยวน-

ประเทศ ๑. ตคร กฤษณา ๑. ตุรุกฺโข กำยาน ๑. ๓. เบื้องหน้าแต่นี้ คำพูดอย่างนี้

ปรากฏโดยมาก. เพื่อจะโปรยพระสรีระด้วยสายแห่งเกสรทั้งหลาย อันตั้งขึ้นแล้วด้วยกำลังลม

ในกาลแห่งพระตถาคตประทับนั่งภายในแล้ว กระเบื้องที่ยอดพระคันธกุฎี ได้สำเร็จด้วยทองคำ

อันสุกปลั่ง. หาง (กระเบื้อง) สำเร็จด้วยแก้วประพาฬตอนล่าง กระเบื้องมุงสำเร็จด้วยแก้วมณี.

พระคันธกุฎีนั้น ได้ตั้งอยู่งดงามดุจนกยูงลำแพน ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 525

คฤหบดีชื่ออปราชิต ยังพระคันกุฎีให้สำเร็จด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว

จึงเข้าไปหาพระเถระผู้พี่ชาย เรียนว่า " ท่านขอรับ พระคันธกุฎีสำเร็จ

แล้ว. กระผมหวังการใช้สอยพระคันธกุฎีนั้น, ได้ยินว่า บุญเป็นอันมาก

ย่อมมีเพราะการใช้สอย."

พระเถระนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ทราบ

ว่า กุฎุมพีผู้นี้ให้สร้างพระคันธกุฎีเพื่อพระองค์, บัดนี้เธอหวังการใช้สอย."

พระศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะแล้ว เสด็จไปสู่ที่เฉพาะหน้าพระ-

คันธกุฎี ทอดพระเนตรกองรัตนะที่เขากองล้อมรอบพระคันธกุฎี ได้

ประทับยืนอยู่แล้วที่ซุ้มแห่งประตู, ก็เมื่อกุฎุมพีนั้นกราบทูลว่า " พระเจ้า-

ข้า การรักษาจักมีแก่ข้าพระองค์เอง, ขอพระองค์จงเสด็จเข้าไปเถิด."

พระศาสดาเสด็จเข้าไปแล้ว.

เขาตั้งการรักษารัตนะที่โปรยไว้รอบพระคันธกุฎี

แม้กุฎุมพีก็ตั้งการรักษาไว้โดยรอบ สั่งมนุษย์ทั้งหลายไว้ว่า " พ่อ

๑. เบื้องหน้าแต่นี้ คำพูดอย่างนี้ ปรากฏโดยมาก: ลำดับนั้น กุฏุมพีกราบทูลพระองค์ว่า

" ขอพระองค์โปรดเสด็จเข้าไปเถิด พระเจ้าข้า" พระศาสดาประทับยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นแล ทอด

พระเนตรดูพระเถระพี่ชายของกุฏุมพีนั้นถึง ๓ ครั้ง, พระเถระทราบด้วยอาการที่พระองค์ทอด

พระเนตรแล้วนั่นแล กล่าวกะน้องชายว่า " มาเถิด พ่อ เธอจงทูลพระศาสดาว่า การรักษาจักมี

แก่ข้าพระองค์เอง ขอเชิญพระองค์ประทับอยู่ตามสบายเถิด" เขาฟังคำพระเถระแล้ว ถวายบังคม

พระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พวกมนุษย์เข้าไปที่โคนไม้แล้ว

ไม่มีความเยื่อใยหลีกไปฉันใด, อนึ่ง พวกมนุษย์ข้ามแม่น้ำ ไม่มีความเยื่อใย สละพ่วงแพเสียได้

ฉันใด, ขอพระองค์ทรงเป็นผู้ไม่ความความเยื่อใยฉันนั้น ประทับอยู่เถิด." ก็พระศาสดาประทับยืน

อยู่เพื่ออะไร ๆ ได้ยินว่า พระองค์ทรงมีพระปริวิตกอย่างนี้ว่า "ชนเป็นอันมาก ย่อมมาสู่สำนัก

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ในเวลาก่อนภัตบ้าง ในเวลาหลังภัตบ้าง เมื่อชนเหล่านั้นถือเอารัตนะ

ทั้งหลายไปอยู่, พวกเราไม่อาจห้ามได้ กุฎุมพีพึงติเตียนว่า ' เมื่อรัตนะประมาณเท่านี้เราโปรยลง

แล้วที่บริเวณ, พระศาสดาไม่ห้ามปรามอุปัฏฐากของพระองค์ แม้ผู้นำ (รัตนะ) ไปอยู่ ดังนี้แล้ว

ทำความอาฆาตในเรา พึงเป็นผู้เข้าถึงอบาย ' เพราะเหตุนี้ พระศาสดาจึงได้ประทับยืนอยู่แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 526

พวกเธอจงห้ามชนทั้งหลายผู้ถือเอา (รัตนะ) ด้วยพก หรือด้วยกระเช้า

และกระสอบไป, แต่อย่าห้ามชนผู้ถือเอาด้วยมือไป." แม้ในภายในนคร

ก็ให้บอกว่า " รัตนะ ๗ ประการ อันเราโปรยลงแล้วที่บริเวณพระคันธกุฎี,

มนุษย์เข็ญใจทั้งหลายผู้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาแล้วไป จงถือเอาเต็ม

มือทั้งสอง, มนุษย์ทั้งหลายแม้ถึงสุขแล้วก็จงถือเอาด้วยมือเดียว."

ได้ยินว่า เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " ชนทั้งหลายผู้มีศรัทธา

ประสงค์จะฟังธรรมก่อนจึงจักไปทีเดียว, ส่วนผู้ไม่มีศรัทธา ไปด้วยความ

โลภในทรัพย์ ฟังธรรมแล้ว ก็จักพ้นจากทุกข์ได้;" เพราะเหตุนั้น เขาจึง

ให้บอกอย่างนั้น เพื่อต้องการจะสงเคราะห์ชน.

มหาชน ถือเอารัตนะทั้งหลายตามกำหนดที่เขาบอกแล้วนั่นแล. เมื่อ

รัตนะที่เขาโปรยลงไว้คราวเดียว หมดแล้ว เขาจึงให้โปรยลงเรื่อย ๆ โดย

ถ่องแถวเพียงเข่า ถึง ๓ ครั้ง. อนึ่ง เขาวางแก้วมณีอันหาค่ามิได้ประมาณ

เท่าผลแตงโม แทบบาทมูลของพระศาสดา.

ได้ยินว่า เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " ชื่อว่า ความอิ่ม จักไม่มี

แก่ชนทั้งหลายผู้แลดูรัศมีแห่งแก้วมณี พร้อมด้วยพระรัศมีอันมีสีดุจทองคำ

แต่พระสรีระของพระศาสดา;" เพราะฉะนั้น เขาจึงได้ทำอย่างนั้น. แม้

มหาชนก็แลดูไม่อิ่มเลย.

พราหมณ์มิจฉาทิฏฐิลักแก้วมณี

ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์มิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง คิดว่า " ได้ยินว่า

แก้วมณีที่มีค่ามาก อันกุฎุมพีนั้นวางไว้แทบบาทมูลของพระศาสดา, เรา

จักลักแก้วมณีนั้น " จึงไปสู่วิหาร เข้าไปโดยระหว่างมหาชนผู้มาแล้วเพื่อ

จะถวายบังคมพระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 527

กุฎุมพีกำหนดไว้ว่า " พราหมณ์นี้ มีประสงค์จะถือเอาแก้วมณี"

ด้วยอาการแห่งการเข้าไปแห่งพราหมณ์นั้นนั่นแล คิดว่า " โอหนอ !

พราหมณ์ไม่ควรถือเอา."

แม้พราหมณ์นั้น วางมือไว้แทบบาทมูลคล้ายจะถวายบังคมพระ-

ศาสดา ถือเอาแก้วมีซ่อนไว้ในเกลียวผ้า หลีกไปแล้ว. กุฎุมพีไม่อาจ

ยังจิตให้เลื่อมใสในพราหมณ์นั้นได้.

ในกาลจบธรรมกถา กุฏุมพีนั้นเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า

" พระเจ้าข้า รัตนะ ๗ ประการอันข้าพระองค์โปรยล้อมรอบพระคันธกุฎี

สิ้น ๓ ครั้ง โดยถ่องแถวเพียงเข่า, เมื่อชนทั้งหลายถือเอารัตนะเหล่านั้น

ขึ้นชื่อว่า ความอาฆาตมิได้มีแล้วแก่ข้าพระองค์, จิตยิ่งเลื่อมใสขึ้นเรื่อย ๆ,

แต่วันนี้ ข้าพระองค์คิดว่า " โอหนอ ! พราหมณ์นี้ ไม่ควรถือเอา

แก้วมณี," เมื่อพราหมณ์นั้นถือเอาแก้วมณีไปแล้ว, จึงไม่อาจยังจิตให้

เลื่อมใสได้."

พระศาสดาทรงสดับคำของกุฎุมพีนั้นแล้ว ตรัสว่า " อุบาสก ท่านไม่

อาจเพื่อจะทำของมีอยู่ของตน ให้เป็นของอันชนเหล่าอื่นพึงนำไปไม่ได้

มิใช่หรือ ?" ดังนี้แล้ว ได้ประทานนัยแล้ว.

กุฎุมพีนั้น ดำรงอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทานแล้ว ถวายบังคม

พระศาสดา ได้ทำการปรารถนาว่า " พระเจ้าข้า พระราชาหรือโจรแม้

หลายร้อย ชื่อว่าสามารถเพื่อจะข่มเหงข้าพระองค์ ถือเอาแม้เส้นด้ายแห่ง

ชายผ้าอันเป็นของข้าพระองค์ จงอย่ามี นับแต่วันนี้เป็นต้นไป, แม้ไฟก็

อย่าไหม้ของ ๆ ข้าพระองค์, แม้น้ำก็อย่าพัด."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 528

แม้พระศาสดา ก็ได้ทรงทำอนุโมทนาแก่กุฎุมพีนั้นว่า " ขอความ

ปรารถนาที่ท่านปรารถนาอย่างนั้น จงสำเร็จ."

กุฎุมพีนั้น เมื่อทำการฉลองพระคันธกุฎี ถวายมหาทานแก่ภิกษุ ๖๘

แสน ในภายในวิหารนั่นแหละ ตลอด ๙ เดือน ในกาลเป็นที่สุด ได้

ถวายไตรจีวรแก่ภิกษุทุกรูป. ผ้าสาฎกสำหรับทำจีวรของภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์

ได้มีค่าถึงพันหนึ่ง.

อปราชิตกุฎุมพีเกิดเป็นโชติกเศรษฐี

กุฎุมพีนั้น ทำบุญทั้งหลายจนตลอดอายุอย่างนั้นแล้ว เคลื่อนจาก

อัตภาพนั้น บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก

ตลอดกาลประมาณเท่านั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือปฏิสนธิในตระกูล

เศรษฐีตระกูลหนึ่ง ในกรุงราชคฤห์ อยู่ในท้องของมารดาตลอด ๙ เดือน

ครึ่ง.

ก็ในวันที่กุฎุมพีนั้นเกิด สรรพอาวุธทั้งหลายในพระนครทั้งสิ้น

รุ่งโรจน์แล้ว. แม้อาภรณ์ทั้งหลายที่สวมกายของชนทั้งปวง* เป็นราวกะว่า

รุ่งโรจน์ เปล่งรัศมีออกแล้ว. พระนครได้รุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน. แม้

เศรษฐีก็ได้ไปสู่ที่บำรุงพระราชาแต่เช้าตรู่.

ครั้งนั้น พระราชาตรัสถามเศรษฐีนั้นว่า " วันนี้สรรพอาวุธทั้งหลาย

รุ่งโรจน์แล้ว, พระนครก็รุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน; ท่านรู้เหตุในเรื่องนี้

ไหม ?"

เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทราบ.

พระราชา. เหตุอะไร ? เศรษฐี.

๑.กายารุฬฺหา อันขึ้นแล้วสู่กาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 529

เศรษฐี. ทาสของพระองค์เกิดในเรือนของข้าพระองค์, ความ

รุ่งโรจน์นั้น ได้มีแล้วด้วยเดชแห่งบุญของเขานั่นแหละ.

พระราชา. เขาจักเป็นโจรกระมัง ?

เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ ข้อนั้นไม่มี, สัตว์มีบุญได้ทำอภินิหาร

ไว้แล้ว.

พระราชาทรงตั้งทรัพย์ค่าเลี้ยงดูวันละพัน ด้วยพระดำรัสว่า " ถ้า

กระนั้น เธอเลี้ยงเขาไว้ให้ดีจึงจะควร, นี้จงเป็นค่าน้ำนมสำหรับเขา."

ครั้นในวันเป็นที่ตั้งชื่อ ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อของเขาว่า " โชติกะ" นั่น

แหละ เพราะพระนครทั้งสิ้นรุ่งโรจน์เป็นอันเดียวกัน.

ต่อมา ในเวลาที่เขาเติบโตแล้ว เมื่อภาคพื้นอันเขาลงชำระอยู่ เพื่อ

ต้องการปลูกเรือน ภพของท้าวสักกะแสดงอาการร้อนแล้ว.

ท้าวสักกะเสด็จมานิรมิตสมบัติให้โชติเศรษฐี

ท้าวสักกะทรงใคร่ครวญดูว่า " นี้เหตุอะไรหนอแล ?" ทรงทราบ

ว่า " ชนทั้งหลายกำลังจับจองที่ปลูกเรือนเพื่อโชติกะ" ทรงดำริว่า " โชติกะ

นี้ จักไม่อยู่ในเรือนที่ชนเหล่านั่นทำแล้ว, การที่เราไปในที่นั้น ควร"

แล้วเสด็จไปที่นั้นด้วยเพศแห่งนายช่างไม้ ตรัสว่า " พวกท่านทำอะไร

กัน ?"

เหล่าชน. พวกฉันจับจองที่ปลูกเรือน สำหรับโชติกะ.

ท้าวสักกะตรัสว่า " พวกท่านจงหลีกไป, โชติกะนี้จักไม่อยู่ในเรือน

ที่พวกท่านปลูก" แล้วทอดพระเนตรดูภูมิประเทศประมาณ ๑๖ กรีส.

ภูมิประเทศนั้น ได้เป็นที่สม่ำเสมอในทันใดนั้นนั่นเอง ดุจวงกสิณ. ท้าว

เธอทรงดำริอีกว่า " ขอปราสาท ๗ ชั้นสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ จง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 530

ชำแรกแผ่นดินผุดขึ้น ณ ที่นี้ " แล้วทอดพระเนตรดู. ปราสาท (เห็น

ปานนั้น) ผุดขึ้นแล้วในขณะนั้นนั่นเอง. ท้าวสักกะทรงดำริอีกว่า " ขอ

กำแพง ๗ ชั้น ที่สำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ จงผุดขึ้นแวดล้อมปราสาท

นี้" แล้วทอดพระเนตรดู. กำแพงเห็นปานนั้นผุดขึ้นแล้ว. ครั้งนั้น

ท้าวเธอทรงดำริว่า " ขอต้นกัลปพฤกษ์ทั้งหลาย จงผุดขึ้นในที่สุดรอบ

กำแพงเหล่านั้น " แล้วทอดพระเนตรดู. ต้นกัลปพฤกษ์ทั้งหลายเห็นปาน

นั้น ผุดขึ้นแล้ว. ท้าวเธอทรงดำริว่า " ขุมทรัพย์ ๔ ขุม จงผุดขึ้นที่มุม

ทั้ง ๔ แห่งปราสาท" แล้วทอดพระเนตรดู. ทุกสิ่งได้มีอย่างนั้นเหมือน

กัน.

ก็บรรดาขุมทรัพย์ทั้งหลาย ขุมทรัพย์ขุมหนึ่งได้มีประมาณโยชน์

หนึ่ง, ขุมหนึ่งได้มีประมาณ ๓ คาวุต, ขุมหนึ่งได้มีประมาณกึ่งโยชน์,

ขุมหนึ่งได้มีประมาณคาวุตหนึ่ง, ที่ซุ้มประตูทั้ง ๗ ยักษ์ ๗ ตนยึดการ

รักษาไว้แล้ว. ในซุ้มประตูที่ ๑ ยักษ์ชื่อยมโมลีพร้อมด้วยยักษ์พันหนึ่ง

ที่เป็นบริวารของตน ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๒ ยักษ์ชื่อ

อุปปละพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๒ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว,

ที่ซุ้มประตูที่ ๓ ยักษ์ชื่อวชิระพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๓ พัน

ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ยักษ์ชื่อวชิรพาหุพร้อมด้วยยักษ์ที่

๑. เบื้องหน้าแต่นี้ คำพูดอย่างนี้ ปรากฏโดยมาก: ก็ประมาณนั่น ได้เป็นประมาณแห่งปาก

ขุมทรัพย์ที่เกิดขึ้นแก่พระโพธิสัตว์. เบื้องล่างได้มีที่สุดแผ่นดิน, ประมาณขอบปากแห่งขุมทรัพย์

ที่เกิดขึ้นแก่โชติกเศรษฐี ท่านมิได้กล่าวไว้. ขุมทรัพย์ทุกขุมเต็มเปี่ยมเทียวผุดขึ้น เหมือน

ผลตาลที่เขาฝานหัวฉะนั้น, ลำอ้อย ๔ ลำ เป็นวิการแห่งทองคำ ประมาณเท่าต้นตาลรุ่น ๆ เกิด

ขึ้นที่มุมปราสาททั้ง ๔. ลำอ้อยเหล่านั้นมีใบเป็นวิการแห่งแก้วมณี มีข้อเป็นวิการแห่งทองคำ.

นับว่าสมบัตินั้นเกิดขึ้นแล้ว เพื่อแสดงบุรพกรรม (ของเขา).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 531

เป็นบริวารของตน ๔ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๕ ยักษ์

ชื่อสกฏะพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๕ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว,

ที่ซุ้มประตูที่ ๖ ยักษ์ชื่อสกฏัตถะพร้อมด้วยยักษ์ที่เป็นบริวารของตน ๖ พัน

ยึดการรักษาไว้แล้ว, ที่ซุ้มประตูที่ ๗ ยักษ์ชื่อทิสามุขะพร้อมด้วยยักษ์ที่

เป็นบริวารของตน ๗ พัน ยึดการรักษาไว้แล้ว. ทั้งภายในและภายนอก

แห่งปราสาท ได้มีการรักษาอย่างมั่นคงแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.

พระเจ้าพิมพิสารพระราชทานฉัตรตั้งให้เป็นเศรษฐี

พระราชาทรงพระนามว่าพิมพิสาร ทรงสดับว่า " ได้ยินว่า ปราสาท

๗ ชั้น ซึ่งสำเร็จด้วยแก้ว ๗ ประการ ผุดขึ้นแล้วเพื่อโชติกะ, กำแพง

๗ ชั้น ซุ้มประตู ๗ ซุ้ม ขุมทรัพย์ ๔ ขุมก็ผุดขึ้นแล้ว (เพื่อโชติกะ

เหมือนกัน )" ทรงส่งฉัตรตำแหน่งเศรษฐีไป (ให้) แล้ว, เขาได้เป็นผู้

ชื่อว่า โชติกเศรษฐี. ก็หญิงผู้มีบุญกรรมอันทำไว้แล้วกับโชติกเศรษฐีนั้น

เกิดแล้วในอุตตรกุรุทวีป.

ครั้งนั้น เทพดานำนางมาจากอุตตรกุรุทวีปนั้นแล้ว ให้นั่งในห้อง

อันเป็นสิริ.

หญิงนั้นเมื่อมา ถือเอาทะนานข้าวสารทะนานหนึ่ง และแผ่นศิลา

อันลุกโพลง ๓ แผ่น (มา), ภัตของชนทั้งสองนั้น ได้มีแล้วด้วยทะนาน

ข้าวสารนั้นนั่นเทียว ตลอดชีวิต.

ดังได้สดับมา ถ้าชนเหล่านั้นเป็นผู้มีประสงค์จะยังแม้เกวียน ๑๐๐

เล่มให้เต็มด้วยข้าวสาร, มันก็คงปรากฏเป็นทะนานอันเต็มด้วยข้าวสารอยู่

นั่นเอง. ในเวลาหุงภัต พวกเขาใส่ข้าวสารในหม้อ แล้ววางไว้เบื้องบน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 532

แผ่นศิลาเหล่านั้น. แผ่นศิลาก็ลุกโพลงขึ้นในขณะนั้นนั่นเอง เมื่อภัตสัก

ว่าสุกแล้ว ย่อมดับไป พวกเขารู้ความที่ภัตสุกแล้ว ด้วยสัญญานั้น

นั่นแหละ. แม้ในเวลาแกงของควรแกงเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. เขา

ทั้งสองย่อมหุงต้มอาหารด้วยแผ่นศิลาอันลุกโพลงด้วยอาการอย่างนี้.

ชนเหล่านั้น ย่อมอยู่ด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณี, ไม่รู้แสงสว่างของ

ไฟหรือประทีปเลย.

มหาชนต่างแตกตื่นมาชมสมบัติ

ได้ยินว่า สมบัติของโชติกเศรษฐีเห็นปานนั้น ได้ปรากฏทั่วชมพู-

ทวีปทั้งสิ้นแล้ว. มหาชนเทียมยานเป็นต้นมา เพื่อต้องการดู.

โชติกเศรษฐี สั่งให้หุงภัตด้วยข้าวสารที่นำมาจากอุตตรกุรุทวีปแล้ว

ให้ ๆ แก่ชนทั้งหลายผู้มาแล้ว ๆ, สั่งว่า " ชนทั้งหลายจงถือเอาผ้า, จงถือ

เอาเครื่องประดับ จากต้นกัลปพฤกษ์ทั้งหลาย," แล้วให้เปิดปากขุมทรัพย์

ที่มีประมาณคาวุตหนึ่ง แล้วสั่งว่า " ชนทั้งหลายจงถือเอาทรัพย์พอยัง

อัตภาพให้เป็นไปได้." เมื่อชนทั้งหลายผู้อยู่ในชมพูทวีปทั้งสิ้น ถือเอา

ทรัพย์ไปอยู่ ปากแห่งขุมทรัพย์มิได้พร่องลงแล้ว แม้เพียงองคุลีเดียว.

ได้ยินว่า นั่นเป็นผลแห่งรัตนะที่เขาโปรยลง ทำให้เป็นทรายใน

บริเวณพระคันธกุฎี.

พระเจ้าพิมพิสารมีพระประสงค์จะชมปราสาท

เมื่อมหาชน ถือเอาผ้าอาภรณ์ และทรัพย์ตามความปรารถนาไป

อยู่อย่างนั้น, พระเจ้าพิมพิสารมีพระประสงค์จะทอดพระเนตรปราสาท

ของโชติกเศรษฐีนั้นบ้าง เมื่อมหาชนมาอยู่ จึงไม่ได้โอกาสแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 533

ในกาลต่อมา เมื่อพวกมนุษย์น้อยลง เพราะถือเอาวัตถาภรณ์และ

ทรัพย์ตามความปรารถนาไปแล้ว พระราชาจึงตรัสกะบิดาของโชติกะว่า

" ฉันมีความประสงค์จะชมปราสาทของบุตรของท่าน." บิดาของโชติกะ

นั้นกราบทูลว่า " ดีละ สมมติเทพ " แล้วไปบอกแก่บุตรว่า " พ่อ พระ-

ราชามีพระประสงค์จะทอดพระเนตรปราสาทของเจ้า," เขาพูดว่า " ดีละ

คุณพ่อ, ขอพระองค์เสด็จมาเถิด."

พระราชา ได้เสด็จไปในที่นั้นพร้อมด้วยข้าราชบริพารเป็นอันมาก.

ทาสีผู้ปัดกวาดเทหยากเยื่อที่ซุ้มประตูที่ ๑ ได้ถวายมือแด่พระราชา.

พระราชาทรงละอาย ด้วยทรงสำคัญว่า " ภรรยาของเศรษฐี" จึงไม่ทรง

วางพระหัตถ์ที่แขนของนาง. พระราชาทรงสำคัญทาสีแม้ที่ซุ้มประตูที่เหลือ

ทั้งหลายว่า " ภรรยาของเศรษฐี " อย่างนั้น จึงไม่ทรงวางพระหัตถ์ที่แขน

ของทาสีเหล่านั้น.

โชติกเศรษฐี มาต้อนรับพระราชาถวายบังคมแล้ว อยู่เบื้องพระ-

ปฤษฎางค์ กราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ ขอเชิญเสด็จไปข้างหน้าเถิด "

แผ่นดินที่ประดับด้วยแก้วมณี ย่อมปรากฏแก่พระราชา เป็นเหมือนเหว

ที่ลึกตั้ง ๑๐๐ ชั่วบุรุษ. ท้าวเธอทรงสำคัญว่า " โชติกะนี้ ขุดบ่อไว้เพื่อ

ต้องการจับเรา " จึงไม่อาจเพื่อจะเสด็จพระราชดำเนินไปได้."

โชติกะ กราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ นี้มิใช่บ่อ, ขอพระองค์

จงเสด็จมาข้างหลังข้าพระองค์" แล้วได้เป็นผู้นำเสด็จ.

พระราชา ทรงเหยียบพื้นในเวลาที่โชติกะนั้นเหยียบแล้ว เสด็จ

เที่ยวทอดพระเนตรปราสาทตั้งแต่พื้นชั้นล่าง.

๑. ปาท นิกฺขิปิตุ เพื่ออันวางพระบาทลง. ๒. ปุรโต อโหสิ ได้มีข้างหน้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 534

พระเจ้าอชาตศัตรูทรงน้อยพระทัย

ในคราวนั้น พระราชกุมารทรงพระนามว่าอชาตศัตรู ทรงจับองคุลี

ของพระราชบิดา เสด็จเที่ยวไปอยู่ ทรงดำริว่า " โอ ทูลกระหม่อมของ

เราเป็นอันพาล, ชื่อว่าคฤหบดียังอยู่ในปราสาทที่ทำด้วยแก้ว ๗ ประการ

ได้ ทูลกระหม่อมของเรานี่ เป็นถึงพระราชา ยังประทับอยู่ในพระราช-

มณเฑียรที่ทำด้วยไม้, บัดนี้ เราจักเป็นพระราชาแล้ว จักไม่ให้คฤหบดีนี้

อยู่ในปราสาทนี้." เมื่อพระราชากำลังเสด็จขึ้นสู่พื้นปราสาทชั้นบน

นั่นแหละ เป็นเวลาเสวยพระกระยาหารเช้า. ท้าวเธอตรัสเรียกเศรษฐีมา

แล้ว ตรัสว่า " มหาเศรษฐี พวกเราจักบริโภคอาหารเช้าในที่นี้นี่แหละ."

เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ก็ทราบอยู่, พระกระยาหาร

สำหรับสมมติเทพ ข้าพระองค์ตระเตรียมไว้แล้ว."

ท้าวเธอทรงสรงสนานด้วยหม้อน้ำหอม ๑๖ หม้อ แล้วประทับนั่ง

บนบัลลังก์อันเป็นที่นั่งของเศรษฐีนั่นแหละ ที่เขาตกแต่งไว้ในมณฑป

เป็นที่นั่งของเศรษฐี ซึ่งทำด้วยแก้ว.

พระราชาประทับเสวยในบ้านโชติกเศรษฐี

ครั้งนั้น พวกบุรุษถวายน้ำสำหรับล้างพระหัตถ์แด่ท้าวเธอ แล้วคด

ข้าวปายาสเปียกจากภาชนะทองคำที่มีค่าได้แสนหนึ่ง วางไว้ตรงพระพักตร์.

พระราชาทรงเริ่มจะเสวยด้วยสำคัญว่า " เป็นโภชนะ."

เศรษฐีกราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ นี้ไม่ใช่ภาชนะ, นี้เป็นข้าว

ปายาสเปียก. พวกบุรุษคดโภชนะใสในภาชนะทองคำใบอื่น แล้ววางไว้

บนถาดเดิม." .

๑. อิมสฺส อิมสฺมึ ปาสาเท วสิตุ น ทสฺสามิ เราจักไม่ให้อยู่ในปราสาทนี้ แก่คฤหบดีนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 535

ได้ยินว่า การบริโภคภาชนะนั้นด้วยไออุ่นที่พลุ่งขึ้นจากภาชนะข้าว

ปายาสเปียกนั้น ย่อมเป็นเหตุนำมาซึ่งความสบาย. พระราชาเมื่อเสวย

โภชนะที่มีรสอร่อย ก็มิได้ทรงรู้ประมาณ.

ลำดับนั้น เศรษฐีถวายบังคมท้าวเธอแล้ว ประคองอัญชลีกราบทูล

ว่า " พอที พระเจ้าข้า, เพียงเท่านี้ก็พอ, พระองค์ไม่ทรงสามารถเพื่อ

จะให้โภชนะที่ยิ่งกว่านี้ไป ให้ย่อยได้."

ทีนั้น พระราชาตรัสกะเขาว่า " คฤหบดี เธอทำความหนักใจหรือ

จึงพูดถึงภัตของตน ?"

เศรษฐี. " ข้อนั้นหามิได้ พระเจ้าข้า, เพราะภัตเพื่อหมู่พลของ

พระองค์แม้ทั้งหมด ก็อันนี้แหละ, แกงก็อันนี้, ก็แต่ว่าข้าพระองค์กลัว

ต่อความเสื่อมยศ.

พระราชา. เพราะเหตุไร ?

เศรษฐี. ถ้าว่า เหตุสักว่าความอึดอัดแห่งพระกาย จะพึงมีแก่

สมมติเทพเจ้าไซร้, ข้าพระองค์ย่อมกลัวต่อคำว่า ' วานนี้ พระราชาเสวย

( ภัต ) ในเรือนของเศรษฐี. เศรษฐีคงจักทำอะไร (ถวายเป็นแน่) ' พระ-

เจ้าข้า.

พระราชา. ถ้าอย่างนั้น ท่านจงนำภัตไป, จงนำน้ำมา.

ในเวลาเสร็จภัตกิจของพระราชา ราชบริพารทั้งหมดก็บริโภคภต

นั้นนั่นแหละ.

พระราชาทรงสนทนากับเศรษฐี

พระราชาประทับนั่งสนทนาปรารภถึงความสุข ตรัสเรียกเศรษฐีมา

แล้วตรัสว่า " ภรรยาของท่านในเรือนนี้ไม่มีหรือ ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 536

เศรษฐี. มี พระเจ้าข้า.

พระราชา. นางอยู่ที่ไหน ?

เศรษฐี กราบทูลว่า นางนั่งอยู่ในห้องอันมีสิริ ยังไม่ทราบเกล้าว่า

สมมติเทพเสด็จมา.

ก็พระราชาพร้อมด้วยราชบริพาร เสด็จมาแล้วแต่เช้าตรู่ก็จริง, ถึง

อย่างนั้น นางก็ยังไม่รู้ว่าท้าวเธอเสด็จมา.

ลำดับนั้น เศรษฐีรู้ว่า " พระราชามีพระประสงค์จะทอดพระเนตร

ภริยาของเรา " จึงไปสู่สำนักของนางแล้ว บอกว่า " พระราชาเสด็จมา

แล้ว, การที่หล่อนเฝ้าพระราชา ไม่ควรหรือ ?"

ภรรยาเศรษฐีน้อยใจที่ยังมีผู้ใหญ่กว่าตน

นางนอนอยู่นั่นแล กล่าวว่า " นาย ชื่อว่าพระราชานั้นเป็นอย่าง-

ไร ?" เมื่อเขาบอกว่า " คนที่เป็นใหญ่ของพวกเรา ชื่อว่าพระราชา,"

จึงแจ้งความที่คนเป็นผู้มีใจไม่แช่มชื่นอยู่ กล่าวว่า " พวกเรา ยังมีแม้

บุคคลผู้เป็นใหญ่ (นับว่า) ทำบุญกรรมทั้งหลายไว้ไม่ดีหนอ, พวกเราทำ

บุญกรรมทั้งหลายชื่อด้วยไม่มีศรัทธา จึงถึงสมบัติเกิดแล้วในที่ของชนอื่น

ผู้เป็นใหญ่; ทานจักเป็นของอันเราทั้งหลายไม่เธอแล้วให้เป็นแน่, นี่เป็น

ผลของทานนั้น" แล้วกล่าวว่า " นาย บัดนี้ฉันจักทำอย่างไร ?"

สามี. หล่อนจงถือเอาพัดก้านตาลมาพัดถวายพระราชา.

เมื่อนางถือพัดก้านตาลมาพัดถวายพระราชาอยู่ ลม (มี) กลิ่นแห่ง

พระภูษาสำหรับโพกของพระราชา กระทบนัยน์ตาของนางแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 537

ภรรยาเศรษฐีน้ำตาไหล

ลำดับนั้น สายแห่งน้ำตาไหลออกจากนัยน์ตาของนาง. พระราชา

ทอดพระเนตรเห็นอาการนั้น จึงตรัสกะเศรษฐีว่า " มหาเศรษฐี ธรรมดา

มาตุคาม มีความรู้น้อย ชะรอยจะร้องไห้ เพราะกลัวว่า ' พระราชาจะพึง

ยึดเอาสมบัติของสามีของเรา,' ท่านจงปลอบนาง, เราไม่มีความต้องการ

ด้วยสมบัติของท่าน."

เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ นางมิได้ร้องไห้.

พระราชา. เมื่อเป็นเช่นนั้น นั่นอะไรกันเล่า ?

เศรษฐี. น้ำตาของนางไหลออกมาแล้ว เพราะกลิ่นแห่งพระภูษา

สำหรับโพกของพระองค์, ด้วยว่าภรรยาของข้าพระองค์นี้ ไม่เคยเห็น

แสงสว่างของประทีปหรือแสงสว่างของไฟ ย่อมบริโภค นั่งและนอน

ด้วยแสงสว่างของแก้วมณีเท่านั้น; ส่วนสมมติเทพ คงจักประทับนั่งด้วย

แสงสว่างแห่งประทีป.

พระราชา. ถูกละ เศรษฐี.

เศรษฐีกราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าเช่นนั้น จำเดิมแต่วันนี้

ขอพระองค์จงประทับนั่งด้วยแสงสว่างแห่งแก้วมณี" แล้วได้ถวายแก้วมณี

อันหาค่ามิได้ ใหญ่ประมาณเท่าผลแตงโม.

พระราชาทอดพระเนตรเรือนแล้ว ตรัสว่า " สมบัติของโชติกะมาก

จริง " แล้วได้เสด็จไป.

นี้เป็นเรื่องเกิดของพระโชติกเถระก่อน

๑. เบื้องหน้าแต่นี้ เรื่องพระชฏิลเถระ พึงเป็นเรื่องอันท่านเรียงไว้ในภายหลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 538

เด็กชฎิละถูกมารดาเอาลอยน้ำ

บัดนี้ พึงทราบการอุบัติของพระเถระชื่อชฎิละ :-

ความพิสดารว่า ในกรุงพาราณสี ได้มีธิดาของเศรษฐีคนหนึ่งเป็น

ผู้มีรูปสวย. มารดาบิดาให้หญิงคนใช้ไว้คนหนึ่ง เพื่อต้องการรักษานาง

ในเวลานางมีอายุรุ่นราว ๑๕- ๑๖ ปี ให้อยู่ในห้องอันมีสิริบนพื้นชั้นบน

แห่งปราสาท ๗ ชั้น.

วันหนึ่ง วิทยาธรคนหนึ่งกำลังเหาะไปทางอากาศ เห็นนางกำลัง

เปิดหน้าต่าง แลดูภายนอกอยู่ เกิดความสิเนหา จึงเข้าไปทางหน้าต่างแล้ว

ได้ทำความเชยชิดกับนาง. นางอาศัยการอยู่ร่วม (หลับนอน) กับวิทยาธร

นั้น ตั้งครรภ์แล้ว ต่อกาลไม่นานเลย.

ลำดับนั้น หญิงคนใช้นั้นเห็นเหตุนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า " คุณนาย

นี่อะไรกัน ? อันนางบอกว่า " ข้อนั้นจงยกไว้, เจ้าอย่าบอกแก่ใคร ๆ,"

จึงได้เป็นผู้นิ่งเสียเพราะกลัว. โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน แม้นางคลอด

บุตรแล้ว ให้หญิงคนใช้นำภาชนะใหม่มา ให้เด็กนั้นนอนในภาชนะนั้น

แล้ว ปิดภาชนะนั้นเสีย วางพวงดอกไม้ไว้ข้างบน สั่งหญิงคนใช้ว่า

" เจ้าจงเอาศีรษะเทินภาชนะนี้ไปลอยเสียในแม่น้ำคงคา, ถ้าถูกใคร ๆ ถาม

ว่า ' นี่อะไร ? ' เจ้าพึงบอกว่า ' พลีกรรมของคุณนายของฉัน." หญิง

คนใช้นั้นได้ทำอย่างนั้น.

หญิง ๒ คนเถียงกันเพราะเด็กชฎิละ

ก็หญิง ๒ คนกำลังอาบน้ำอยู่ในภายใต้แม่น้ำคงคา เห็นภาชนะนั้น

ถูกน้ำพัดมาอยู่, หญิงคนหนึ่งพูดว่า " ภาชนะนั้นเป็นของฉัน." คนหนึ่ง

พูดว่า " สิ่งที่มีอยู่ในภาชนะนั้น เป็นของฉัน," เมื่อภาชนะ (ลอยมา)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 539

ถึงแล้ว, จึงจับภาชนะนั้นวางไว้บนบก เปิดดูเห็นเด็ก, หญิงคนหนึ่ง พูดว่า

" เด็กเป็นของฉันทีเดียว เพราะฉันกล่าวว่า ' ภาชนะเป็นของฉัน." คนหนึ่ง

พูดว่า " เด็กเป็นของฉันเพราะฉันกล่าวว่า ' สิ่งที่มีอยู่ในภาชนะเป็นของ

ฉันทีเดียว."

หญิงทั้งสองนั้นเถียงกัน ไปสู่ศาลวินิจฉัยแล้ว แจ้งเนื้อความนั้น

เมื่อพวกอำมาตย์ไม่สามารถจะวินิจฉัยได้, จึงได้ไปสู่สำนักพระราชา.

พระราชาทรงสดับคำของหญิงทั้งสองนั้น จึงตรัสว่า " เจ้าจงเอา

เด็ก, เจ้าจงเอาภาชนะ."

ก็หญิงผู้ที่ได้เด็ก ได้เป็นอุปัฏฐายิกาของพระมหากัจจายนเถระ,

เพราะเหตุนั้น หญิงนั้นจึงเลี้ยงทารกนั้นไว้ ด้วยคิดว่า " จักให้เด็กนี้บวช

ในสำนักของพระเถระ."

เหตุที่เด็กนั้นได้รับตั้งชื่อว่าชฎิละ

ผมของเด็กนั้น ได้ปรากฏรุงรัง เพราะมลทินแห่งครรภ์อันเขาล้าง

ออกไม่หมด ในวันที่เด็กนั้นเกิด. เพราะเหตุนั้น ชนทั้งหลายจึงตั้งชื่อ

เขาว่า " ชฎิล" นั้นแหละ.

ในเวลาที่เดินได้ พระเถระเข้าไปสู่เรือนนั้นเพื่อบิณฑบาต.

อุบาสิกานิมนต์พระเถระให้นั่งแล้ว ได้ถวายอาหาร.

พระเถระเห็นเด็ก จึงถามว่า " อุบาสิกา ท่านได้เด็กหรือ ?"

อุบาสิกาเรียนว่า " ได้ เจ้าค่ะ, ดิฉันเลี้ยงเด็กนี้ไว้ด้วยหวังว่า ' จัก

ให้บวชในสำนักของท่าน,' ขอท่านจงให้เขาบวช" ดังนี้แล้ว ได้ถวาย

แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 540

พระมหากัจจายนะรับเด็กไปมอบให้อุปัฏฐาก

พระเถระรับว่า " ดีละ " แล้วพาเด็กนั้นไป ตรวจดูว่า " บุญกรรม

ที่จะเสวยสมบัติของคฤหัสถ์ของเด็กนี้ มีอยู่หรือหนอแล ?" คิดว่า " สัตว์

ผู้มีบุญมาก จักเสวยสมบัติใหญ่, เด็กนี้ยังเล็กนัก, แม้ญาณของเขาก็ยัง

ไม่ถึงความแก่รอบ" จึงได้พาเด็กนั้นไปสู่เรือนของอุปัฏฐากคนหนึ่ง ใน

กรุงตักกสิลา. อุปัฏฐากนั้นไหว้พระเถระแล้วยืนอยู่, เห็นเด็กนั้นแล้ว

เรียนถามว่า " ท่านได้เด็กหรือขอรับ ?"

พระเถระตอบว่า " เออ อุบาสกเขาจักบวช, แต่ยังเป็นเด็กเล็กนัก,

จงอยู่ในสำนักของท่านเถิด."

อุบาสกนั้นรับว่า " ดีละ ขอรับ " แล้วตั้งเด็กไว้ในฐานะเพียงดัง

บุตรบำรุงแล้ว.

ก็สินค้าในเรือนของอุบาสกนั้น เป็นของที่สั่งสมไว้แล้วสิ้น ๑๒ ปี.

เขาไปสู่ระหว่างแห่งบ้าน นำเอาสินค้าแม้ทั้งหมดไปสู่ตลาด ให้เด็กนั่งใน

ตลาดแล้ว บอกราคาแห่งสินค้านั้น ๆ แล้วกล่าวว่า " เจ้าพึงถือเอาทรัพย์

ชื่อมีประมาณเท่านี้ แล้วจึงให้สิ่งนี้และสิ่งนี้" ดังนี้แล้วหลีกไป.

เทพดาช่วยให้เด็กขายของได้หมด

ในวันนั้น เทพดาผู้รักษาพระนคร ทำให้ชนผู้มีความต้องการ

(ด้วยวัตถุ) โดยที่สุดแม้สักว่าพริกและผักชี ให้บ่ายหน้าไปสู่ตลาดของเด็ก

เท่านั้น. เด็กนั้นขายสินค้าที่สะสมไว้สิ้น ๑๒ ปี (หมด) โดยวันเดียว

เท่านั้น. กุฎุมพีมาไม่เห็นอะไร ๆ ในตลาด จึงกล่าวว่า " พ่อ สินค้า

ทั้งหมด เจ้าให้ฉิบหายเสียแล้วหรือ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 541

เด็กตอบว่า " ฉันไม่ได้ให้สินค้าฉิบหาย, ฉันขายสินค้าทั้งหมดตาม

นัยที่ท่านบอกไว้แล้วนั่นแหละ, นี้เป็นค่าของสินค้าชื่อโน้น. นี้เป็นค่า

ของสินค้าชื่อโน้น." กุฎุมพีปลื้มใจ คิดว่า " บุรุษที่หาค่ามิได้สามารถ

เพื่อจะเป็นอยู่ในที่ใดที่หนึ่งได้" จึงให้ลูกสาวผู้เจริญวัยแล้วในเรือนของ

ตนแก่เขา สั่งพวกบุรุษว่า " พวกเจ้าจงสร้างเรือนแก่เขา" เมื่อเรือน

สำเร็จแล้ว จึงบอกว่า " พวกเจ้าจงไป, จงอยู่ในเรือนของตน."

ชฎิลกุมารได้เป็นเศรษฐีเพราะภูเขาทองผุดใกล้เรือน

ครั้นในเวลาที่ชฎิลกุมารนั้นเข้าไปสู่เรือน เมื่อธรณีประตูพอเขา

เหยียบแล้วด้วยเท้าช้างหนึ่ง ภูเขาทองประมาณ ๘๐ ศอก ชำแรกแผ่นดิน

ผุดขึ้นแล้ว ณ ที่ส่วนอันมีข้างหลังเรือน.

พระราชาพอสดับว่า " ข่าวว่า ภูเขาทองชำแรกแผ่นดินผุดขึ้นใกล้

เรือนของชฎิลกุมาร" จึงทรงส่งฉัตรสำหรับเศรษฐีไปประทานแก่เขา.

เขาได้เป็นผู้มีชื่อว่า ชฎิลเศรษฐี. เขาได้บุตร ๓ คน.

ชฎิลเศรษฐีให้บุรุษเที่ยวสืบหาเศรษฐีที่เสมอกับตน

เขายังจิตให้เกิดขึ้นในการบวช ในเวลาที่บุตรเหล่านั้นเจริญวัยแล้ว

คิดว่า " ถ้าตระกูลเศรษฐีที่มีโภคะเสมอด้วยเราทั้งหลายจักมีไซร้, บุตร

ทั้งหลายก็จักให้บวชได้; ถ้าไม่มีไซร้, บุตรทั้งหลายก็จักไม่ให้; ในชมพู-

ทวีป ตระกูลที่มีโภคะเสมอด้วยเราทั้งหลาย มีอยู่หรือหนอ" จึงให้ช่าง

ทำอิฐที่สำเร็จด้วยทองคำ ด้ามปฏักที่สำเร็จด้วยทองคำ และเขียงเท้า

ที่สำเร็จด้วยทองคำ เพื่อต้องการจะทดลองดู ให้ในมือของบุรุษทั้งหลาย

แล้ว ส่งไปว่า " พวกเจ้าจงไป, จงถืออิฐที่สำเร็จด้วยทองคำเป็นต้น

เหล่านี้ ทำเป็นเหมือนแลดูอะไร ๆ นั่นเทียว เที่ยวไปในพื้นชมพูทวีป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 542

รู้ความที่ตระกูลแห่งเศรษฐีที่มีโภคะเสมอด้วยเรามีอยู่หรือไม่มีแล้ว จงมา."

บุรุษเหล่านั้นเที่ยวจาริกไปถึงภัททิยนคร.

พวกบุรุษพบเมณฑกเศรษฐี

ครั้งนั้น เมณฑกเศรษฐีเห็นบุรุษเหล่านั้นแล้ว ถามว่า " พ่อทั้งหลาย

พวกท่านเที่ยวไปทำอะไรกัน ?" เมื่อพวกเขาบอกว่า " พวกฉันเที่ยวดูของ

สิ่งหนึ่ง ," รู้ว่า " กิจด้วยการถืออิฐที่สำเร็จด้วยทองคำเป็นต้นเหล่านี้เที่ยว

ไป เพื่อจะตรวจดูสิ่งอะไร ๆ นั่นแหละ ของบุรุษเหล่านี้ ย่อมไม่มี,

บุรุษเหล่านี้เที่ยวสืบสวนดูเศรษฐี " จึงกล่าวว่า " พ่อทั้งหลาย พวกท่าน

จงเข้าไปตรวจดูหลังเรือนของเรา."

บุรุษเหล่านั้น เห็นแพะทองคำทั้งหลาย มีประการดังกล่าวแล้วใน

หนหลัง มีขนาดเท่าช้าง ม้า และโคอุสุภะ ซึ่งเอาหลังจดหลัง ชำแรก

แผ่นดินผุดขึ้นแล้วในที่ประมาณ ๘ กรีส ที่หลังเรือนนั้นแล้ว เทียวไปใน

ระหว่าง ๆ แพะเหล่านั้นแล้วออกไป.

ลำดับนั้น เศรษฐีถามบุรุษเหล่านั้นว่า " พ่อทั้งหลาย พวกท่าน

เที่ยวไปตรวจดูผู้ใด, ผู้นั้น พวกท่านเห็นแล้วหรือ ?" เมื่อพวกเขากล่าวว่า

" เห็น นาย " จึงส่งไปแล้วด้วยพูดว่า " ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงไป."

บุรุษเหล่านั้นไปจากที่นั้นนั่นแหละแล้ว, เมื่อเศรษฐีของตนพูดว่า

" พ่อทั้งหลาย ตระกูลเศรษฐีที่โภคะเสมอเราทั้งหลาย พวกเจ้าเห็นแล้ว

หรือ ? " บอกว่า " นาย ท่านจะมีอะไร ? สมบัติชื่อเห็นปานนี้ของ

เมณฑกเศรษฐีมีอยู่ ในภัททิยนคร" แล้วบอกเรื่องราวนั้นทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 543

ชฏิลเศรษฐีให้สืบเสาะเป็นครั้งที่ ๒

เศรษฐีฟังคำนั้นแล้ว เป็นผู้มีใจแช่มชื่น คิดว่า " ตระกูลเศรษฐี

เราได้ไว้ก่อนแล้วตระกูลหนึ่ง, ตระกูลเศรษฐีแม้อื่นอีกมีอยู่หรือหนอ ?"

แล้วให้ผ้ากัมพลมีค่าได้แสนหนึ่ง ส่งไปว่า " พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าจงไป,

จงเสาะหาตระกูลเศรษฐีแม้อื่น." พวกเขาไปสู่กรุงราชคฤห์แล้ว ทำกอง

ฟืนในที่ไม่ไกลแต่เรือนของโชติกเศรษฐี ติดไฟแล้วได้ยืนอยู่.

ก็ในเวลาพวกชนถามว่า " นี้อะไรกัน ?" ก็บอกว่า " เมื่อพวกฉัน

จะขายผ้ากัมพลซึ่งมีค่ามากผืนหนึ่ง ผู้ซื้อไม่มี, พวกฉันแม้จะถือเที่ยวไป

อยู่ ก็กลัวโจร, เพราะเหตุนั้น พวกฉันจักเผามันเสียแล้วจึงจักไป."

พวกบุรุษพบโชติกเศรษฐี

ครั้งนั้น โชติกเศรษฐีเห็นพวกเขาจึงถามว่า " พวกนี้ทำอะไรกัน ?"

ฟังเนื้อความนั้นแล้ว ให้เรียกมาถามว่า "ผ้ากัมพลมีค่าเท่าไร ? " เมื่อ

พวกเขาบอกว่า " มีค่าแสนหนึ่ง " จึงสั่งให้ ๆ ทรัพย์แสนหนึ่ง บอกว่า

" พวกท่านจงให้ (ผ้าผืนนั้น) แก่ทาสีผู้กวาดซุ้มประตูเทหยากเยื่อ" แล้วส่ง

ให้ในมือของพวกเขานั่นแล. ทาสีนั้นรับเอาผ้ากัมพลแล้วร้องไห้ ไปสู่

สำนักของนาย บอกว่า " นาย เมื่อความผิดมีอยู่ ประหารดิฉันเสีย ไม่

ควรหรือ ? เพราะเหตุไร จึงส่งผ้ากัมพลเนื้อหยาบอย่างนี้แก่ดิฉัน,? ดิฉัน

จักนุ่งหรือจักห่มผ้ากัมพลผืนนี้อย่างไรได้ ?"

โชติกเศรษฐี. ฉันมิได้ส่งไปให้เจ้าเพื่อประโยชน์แก่การนุ่งหรือการ

ห่มนั่น แต่ส่งผ้ากัมพลผืนนั้นไปให้เจ้า เพื่อต้องการจะให้พับเข้าแล้ววาง

ไว้ใกล้ที่นอนของเจ้า ในเวลาจะนอน เช็ดเท้าที่ล้างแล้วด้วยน้ำหอม

(ต่างหาก), เจ้าไม่อาจทำกิจแม้นั่นได้หรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 544

ทาสีนั้นกล่าวว่า " ถ้ากระนั้น ดิฉันอาจเพื่อจะทำกิจนั่นได้ " จึง

ได้รับเอาไปแล้ว.

ฝ่ายบุรุษเหล่านั้น เห็นเหตุนั้นแล้ว จึงไปสู่สำนักเศรษฐีของตน

เมื่อเศรษฐีกล่าวว่า " พ่อทั้งหลาย ตระกูลแห่งเศรษฐีอันพวกเจ้าเห็นแล้ว

หรือ ? " เรียนว่า " นาย ท่านจะมีอะไร, สมบัติชื่อเห็นปานนี้ ของ

เศรษฐีชื่อโชติกะ มีอยู่ในกรุงราชคฤห์ " จึงบอกสมบัติในเรือนทั้งหมด

แล้วบอกเรื่องราวนั้น.

เศรษฐีฟังคำของบุรุษเหล่านั้นแล้วมีใจยินดี คิดว่า " บัดนี้เราจัก

ได้บวช" จึงไปสู่สำนักของพระราชา กราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ

ข้าพระองค์มีประสงค์จะบวช."

พระราชาตรัสว่า " ดีละ มหาเศรษฐี ท่านจงบวชเถิด."

เศรษฐีนั้นไปสู่เรือนแล้ว ให้เรียกบุตรทั้งหลายมาแล้ว วางจอบ

มีด้ามเป็นทองคำ ตัวจอบเป็นเพชร ไว้ที่มือของบุตรคนใหญ่แล้ว กล่าว

ว่า " พ่อ เจ้าจงขุดเอาลิ่มทองจากภูเขาทองที่หลังเรือน." ลูกชายคน

ใหญ่นั้น ถือเอาจอบไปสับภูเขาทอง. เวลาเขาสับภูเขาทองนั้น ได้เป็น

เหมือนเวลาที่เขาสับที่หินดาดฉะนั้น.

เศรษฐีรับจอบจากมือของลูกชายคนใหญ่นั้น ส่งให้ในมือของลูก

ชายคนกลาง. แม้ลูกชายคนกลางแม้นั้น สับภูเขาทองอยู่, เวลาเขาสับ

นั้น ได้เป็นเหมือนเวลาที่เขาสับหินดาดฉะนั้น.

ลำดับนั้น เศรษฐีจึงส่งจอบนั้นให้ในมือของลูกชายคนเล็ก. เมื่อ

ลูกชายคนเล็กนั้น รับอาจอบนั้นฟันอยู่ เวลาที่เขาฟันนั้น ได้เป็นเหมือน

เวลาที่เขาสับดินเหนียวที่เขาทำให้เป็นกองไว้ฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 545

ลำดับนั้น เศรษฐีจึงกล่าวกะลูกชายคนเล็กว่า " มาเถิดพ่อ,

พอละ ด้วยทรัพย์ประมาณเท่านี้ " แล้วให้เรียกพี่ชาย ๒ คนนอกนี้มา

แล้ว นอกว่า " ภูเขาทองลูกนี้ ไม่ใช่เกิดเพื่อพวกเจ้า, เกิดขึ้นเพื่อพ่อ

และลูกชายคนเล็ก, พวกเจ้าจงใช่สอยรวมกันกับลูกชายคนเล็กนี้เถิด."

ถามว่า " ก็เพราะเหตุไร ภูเขาทองนั้นจึงเกิดเพื่อบิดาและลูกชาย

คนเล็กเท่านั้น ? เพราะเหตุไร ชฎิลเศรษฐีจึงถูกโยนลงไปในน้ำในเวลา

เกิดแล้ว ?"

แก้ว่า เพราะกรรมที่ตนทำแล้วนั่นเอง.

บุรพกรรมของชฎิลเศรษฐี

ความพิสดารว่า เมื่อมหาชนกำลังสร้างพระเจดีย์ของพระกัสสป-

สัมมาสัมพุทธเจ้าอยู่ พระขีณาสพองค์หนึ่งไปสู่เจติยสถาน แลดูแล้วถามว่า

" พ่อทั้งหลาย เพราะเหตุไร มุขทางทิศอุดรแห่งเจดีย์ จึงยังไม่ก่อขึ้น ?"

มหาชน. ทองยังไม่พอ.

พระขีณาสพ. ฉันจักเข้าไปสู่ภายในบ้านแล้วชักชวน, พวกท่าน

จงทำกรรมโดยเอื้อเฟื้อเถิด.

ท่านกล่าวอย่างนั้นแล้วเข้าไปสู่พระนคร ชักชวนมหาชนว่า " แม่

และพ่อทั้งหลาย ทองที่หน้ามุขข้างหนึ่งแห่งพระเจดีย์ของพวกเรา ยังไม่

พอ, พวกท่านจงรู้ทองเถิด" ได้ไปสู่ตระกูลแห่งนายช่างทองแล้ว. ฝ่าย

นายช่างทอง กำลังนั่งทะเลาะกับภรรยาอยู่ในขณะนั้นเอง.

ครั้งนั้น พระเถระกล่าวกะเขาว่า " ทองสำหรับหน้ามุขที่พระเจดีย์

อันท่านทั้งหลายรับไว้ยังไม่พอ, การที่ท่านรู้ทองนั้นย่อมควร. เขากล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 546

ด้วยความโกรธต่อภรรยาว่า " ท่านจงโยนพระศาสดาของท่านลงในน้ำ

แล้วไปเสีย."

ลำดับนั้น นางจึงกล่าวกะเขาว่า " ท่านทำกรรมอย่างสาหัสยิ่ง

ท่านโกรธดิฉัน ควรจะด่าหรือควรจะเฆี่ยนดิฉันเท่านั้น, เหตุไฉนท่านจึง

ทำเวรในพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทั้งที่เป็นอดีตอนาคตและปัจจุบันเล่า ? "

ทันใดนั้นเอง นายช่างทองเป็นผู้ถึงความสลดใจแล้ว กล่าวว่า " ท่าน

เจ้าข้า ขอท่านจงอดโทษแก่กระผม " แล้วหมอบลงแทบเท้าของพระ-

เถระ.

พระเถระ. โยม ฉันหาถูกท่านว่ากล่าวอะไร ๆ ไม่, ท่านจงยัง

พระศาสดาให้อดโทษเถิด.

นายช่างทอง. ท่านเจ้าข้า กระผมจะทำอย่างไรเล่า จึงจะให้พระ-

ศาสดาอดโทษได้ ?

พระเถระ. ท่านจงทำหม้อดอกไม้ทองคำ ๓ หม้อ บรรจุเข้าไว้

ภายในที่บรรจุพระธาตุแล้ว เป็นผู้มีผ้าชุ่ม มีผมชุ่ม ยังพระศาสดาให้

อดโทษเถิด โยม.

เขารับว่า ดีละ ขอรับ " แล้วเมื่อจะทำดอกไม้ทองคำ ให้เรียก

บุตรชายคนใหญ่ในบุตร ๓ คนมาแล้ว กล่าวว่า " มานี่แน่ะ พ่อ, พ่อ

ได้กล่าวกะพระศาสดาด้วยคำเป็นเวร, เพราะฉะนั้น พ่อจักทำดอกไม้

เหล่านี้ บรรจุในที่บรรจุพระธาตุ ให้พระศาสดาอดโทษ, แม้เจ้าแล ก็

จงเป็นสหายของเรา."

ลูกชายคนใหญ่นั้นบอกว่า " พ่ออันฉันใช้ให้กล่าวคำเป็นเวร หามิ

ได้, พ่อทำแต่ลำพังเถิด" แล้วไม่ปรารถนาจะทำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 547

ช่างทอง ให้เรียกลูกชายคนกลางมาแล้ว กล่าวเหมือนอย่างนั้น.

แม้ลูกชายคนกลางนั้น ก็กล่าวเหมือนอย่างนั้น แล้วไม่ปรารถนาจะทำ.

เขาจึงให้เรียกลูกชายคนเล็กมาแล้ว ก็กล่าว (เหมือนอย่างนั้น).

ลูกชายคนเล็กนั้นคิดว่า " ธรรมดาว่ากิจที่เกิดขึ้นแก่บิดา ย่อมเป็น

ภาระของบุตร" จึงเป็นสหายของบิดา ได้ทำดอกไม้ทั้งหลายแล้ว. นาย

ช่างทองยังหม้อดอกไม้ขนาดคืบหนึ่ง ๓ หม้อ ให้สำเร็จแล้วบรรจุในที่

บรรจุพระธาตุ มีผ้าชุ่ม มีผมชุ่ม ยังพระศาสดาให้อดโทษแล้ว. เขาได้

ถูกโยนลงไปในน้ำในเวลาเกิดถึง ๗ ครั้ง ด้วยประการฉะนี้.

ก็อัตภาพของเขาที่ตั้งอยู่แล้วในที่สุดนี้ แม้ในบัดนี้ ก็ถูกโยนลงไป

ในน้ำ เพราะผลของกรรมนั้นเหมือนกัน. ส่วนบุตรของเขาสองคนใด

ไม่ปรารถนาจะเป็นสหายในเวลาทำดอกไม้ทองคำ, เพราะเหตุนั้น ภูเขา

ทองจึงไม่เกิดสำหรับบุตรทั้งสองนั้น, แต่เกิดสำหรับลูกชายคนเล็ก เพราะ

ความที่เขาทำดอกไม้ทองคำร่วมกัน (กับบิดา).

ชฎิลเศรษฐีออกบวชได้บรรลุพระอรหัต

เศรษฐีนั้นพร่ำสอนบุตรแล้ว บวชในสำนักพระศาสดา บรรลุ

พระอรหัตแล้วโดย ๒-๓ วันเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

โดยสมัยอื่น พระศาสดาเสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต พร้อมด้วย

ภิกษุ ๕๐๐ รูป ได้เสด็จไปสู่ประตูเรือนของบุตรทั้งหลายของเศรษฐีนั้น.

บุตรเหล่านั้น ได้ถวายภิกษาหารแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

ตลอดกึ่งเดือน.

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า " ชฎิล ผู้มีอายุ แม้ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 548

วันนี้ ความทะยานอยากในภูเขาทองประมาณ ๘๐ ศอก และในบุตร

ทั้งหลายของท่านมีอยู่หรือ ?"

พระชฎิล. ผู้มีอายุ ตัณหาหรือมานะในภูเขาทองและบุตรเหล่านั้น

ของผม ย่อมไม่มี.

ภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวว่า " พระชฎิลเถระนี้ พูดไม่จริง พยากรณ์

พระอรหัตผล."

พระศาสดาทรงสดับคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย ตัณหาหรือมานะในภูเขาทองและบุตรเหล่านั้นของบุตรของเรา

ย่อมไม่มี" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓๓. โยธ ตณฺห ปหนฺตฺวาน อนาคาโร ปริพฺพเช

ตณฺหาภวปริกฺขีณ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ผู้ใด ละตัณหาในโลกนี้ได้แล้ว เป็นผู้ไม่มี

เรือน เว้นเสียได้, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีตัณหาและ

ภพอันสิ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า :-

ผู้ใดละตัณหาอันเป็นไปในทวาร ๖ ในโลกนี้เสียได้ เป็นผู้ไม่มี

ความต้องการอยู่ครองเรือน ชื่อว่า เป็นผู้ไม่มีเรือน เว้นเสียได้ เราเรียก

ผู้ชื่อว่า มีตัณหาและภพอันสิ้นแล้ว เพราะความที่ตัณหาและภพเป็นของ

สิ้นแล้วนั้น ว่าเป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 549

ปัตติผลเป็นต้นดังนี้แล.

พระเจ้าอชาตศัตรูจะยึดเอาบ้านเศรษฐี

ฝ่ายพระเจ้าอชาตศัตรูกุมารสมคบกับพระเทวทัต ปลงพระชนม์

พระราชบิดา ดำรงอยู่ในราชสมบัติแล้ว ทรงดำริว่า " เราจักยึดเอา

ปราสาทของโชติกเศรษฐี" จึงทรงเตรียมการรบแล้วเสด็จออกไป พอ

ทอดพระเนตรเห็นพระฉายของพระองค์พร้อมด้วยบริวารที่กำแพงแก้ว

เข้าพระทัยว่า " คฤหบดี เป็นผู้เตรียมการรบคุมพลออกมาแล้ว " จึง

ไม่ทรงสามารถจะเสด็จเข้าไปได้.

ในวันนั้น แม้เศรษฐีเป็นผู้รักษาอุโบสถ บริโภคอาหารเช้าแต่

เช้าตรู่ ไปสู่วิหาร นั่งฟังธรรมอยู่ในสำนักของพระศาสดา.

ส่วนยักษ์ชื่อยมโมลี ผู้ยึดการรักษายืนอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๑ เห็น

พระเจ้าอชาตศัตรูนั้น จึงถามว่า " ท่านจะไปไหน ?" แล้วกำจัดพระเจ้า

อชาตศัตรูพร้อมด้วยราชบริพาร ติดตามไปในทิศใหญ่ทิศน้อยทั้งหลาย

พระราชาได้เสด็จไปสู่วิหารแล้วเหมือนกัน.

ครั้งนั้น เศรษฐีพอเห็นท้าวเธอ จึงทูลว่า " เรื่องอะไรกัน ?

พระเจ้าข้า " ได้ลุกขึ้นจากอาสนะ ยืนอยู่แล้ว.

พระราชา. คฤหบดี ท่านบังคับพวกบุรุษของท่านว่า ' จงรบกับ

เรา ' แล้วมาในที่นี้ นั่งทำเป็นเหมือนฟังธรรมอยู่หรือ ?

เศรษฐี. ก็สมมติเทพ เสด็จไปเพื่อยึดเอาเรือนของข้าพระองค์

มิใช่หรือ ?

พระราชา. เออ เราไป.

๑. เบื้องหน้าแต่นี้ บัณฑิตพึงเห็นความสืบต่อด้วยเรื่องเดิม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 550

เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ แม้พระราชาตั้งพัน ก็ไม่สามารถเพื่อ

จะยึดเอาเรือนของข้าพระองค์ได้ เพราะข้าพระองค์ไม่ปรารถนา.

พระราชาทรงถอดแหวนไม่ออก

ท้าวเธอกริ้วว่า " ก็ท่านจักเป็นพระราชาหรือ ? "

เศรษฐี. ข้าพระองค์ไม่เป็นพระราชา, แต่พระราชาหรือโจรไม่

สามารถจะถือเอาแม้เส้นด้ายที่ชายผ้าอันเป็นของข้าพระองค์ได้ เพราะ

ข้าพระองค์ไม่ปรารถนา.

พระราชา. ก็ฉันจักถือเอาตามความพอใจของท่านได้ อย่างไร ?

เศรษฐี. ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าอย่างนั้น แหวน ๒๐ วงเหล่านั้น ที่

นิ้วมือทั้ง ๑๐ ของข้าพระองค์มีอยู่, ข้าพระองค์ไม่ถวายแหวนเหล่านี้แก่

พระองค์: ถ้าพระองค์ทรงสามารถไซร้, ข้าพระองค์จงทรงถือเอาเถิด.

ก็พระราชานั้น ประทับนั่งกระโหย่งบนพื้น เมื่อจะทรงกระโดด

ย่อมทรงกระโดดขึ้นสู่ที่ ๑๘ ศอกได้, ประทับยืน เมื่อจะทรงกระโดด

ย่อมทรงกระโดดขึ้นสู่ที่ ๘๐ ศอกได้. พระราชาแม้ทรงมีพระกำลังมาก

อย่างนี้ ทรงกระโดดไปมาอย่างโน้นและข้างนี้ ก็ไม่ทรงสามารถเพื่อจะ

ถอดแม้ซึ่งแหวนวงหนึ่งได้.

เศรษฐีสลดใจใคร่จะบวช

ลำดับนั้น เศรษฐีกราบทูลกะท้าวเธอว่า " ข้าแต่สมมติเทพ ขอ

พระองค์ทรงลาดผ้าสาฎก " แล้วได้ทำนิ้วทั้งหลายให้ตรง. แหวนแม้ทั้ง

๒๐ วง หลุดออกแล้ว.

ลำดับนั้น เศรษฐีกราบทูลท้าวเธอว่า " ข้าแต่สมมติเทพ ใคร ๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 551

ไม่สามารถเพื่อจะถือเอาทรัพย์สมบัติอันเป็นของข้าพระองค์ด้วยอาการอย่าง

นั้นได้ เพราะช้าพระองค์ไม่ปรารถนา" ดังนี้แล้ว เกิดสลดใจเพราะ

พระกิริยาของพระราชา จึงกราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ ขอพระองค์

จงทรงอนุญาตเพื่อการบวชแก่ข้าพระองค์." ท้าวเธอทรงดำริว่า " เมื่อ

เศรษฐีนี้บวชแล้ว, เราจักยึดเอาปราสาทได้สะดวก" จึงตรัสว่า " จง

บวชเถิด" ด้วยพระดำรัสคำเดียวเท่านั้น. เศรษฐีนั้นบวชในสำนักพระ-

ศาสดาแล้ว ต่อกาลไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัต มีชื่อว่า พระโชติก-

เถระ.

ในขณะที่ท่านบรรลุพระอรหัตแล้วนั่นแล สมบัตินั้นแม้ทั้งหมดก็

อันตรธานไป. พวกเทพดาก็นำภรรยาของเศรษฐีนั้น ชื่อสตุลกายา แม้

นั้นไปสู่อุตตรกุรุทวีปนั่นแล.

พวกภิกษุเข้าใจว่าพระเถระอวดอุตริมนุสธรรม

ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเรียกพระโชติกเถระนั้นมาแล้ว ถามว่า

" โชติกะผู้มีอายุ ก็ตัณหาในปราสาทหรือในหญิงนั้นของท่านยังมีอยู่หรือ ?

เมื่อท่านบอกว่า " ไม่มี ผู้มีอายุทั้งหลาย " จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า

" พระเจ้าข้า พระโชติกะนี้ กล่าวไม่จริง พยากรณ์พระอรหัตผล."

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราไม่มีตัณหาใน

ปราสาทหรือในหญิงนั้นเลย " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

" ผู้ใด ละตัณหาได้แล้ว ในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มี

เรือน เว้นเสียได้, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีตัณหาและ

ภพอันสิ้นแล้วว่า เป็นพราหมณ์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 552

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระโชติกเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 553

๓๔. เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๑ [๒๙๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุผู้เคยเป็น

นักฟ้อนรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หิตฺวา มานุสก " เป็นต้น.

นักฟ้อนออกบวชได้บรรลุพระอรหัต

ได้ยินว่า นักฟ้อนนั้นเที่ยวเล่นกีฬาคือการฟ้อนชนิดหนึ่ง ฟัง

ธรรมกถาของพระศาสดา บวชแล้วบรรลุพระอรหัต. เมื่อภิกษุนั้นกำลัง

เข้าไปบิณฑบาตกับภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ภิกษุทั้งหลาย

เห็นบุตรของนักฟ้อนคนหนึ่งกำลังเล่นอยู่ จึงถามว่า " ผู้มีอายุ บุตรของ

นักฟ้อนนั่น เล่นกีฬาที่ท่านเล่นแล้ว ๆ, ท่านยังมีความเยื่อใยในกีฬา

ชนิดนี้อยู่หรือหนอแล ?" เมื่อภิกษุนั้นตอบว่า " ไม่มี " จึงพูดกันว่า

" ท่านผู้เจริญ ภิกษุนี้กล่าวไม่จริง พยากรณ์พระอรหัตผล."

พระศาสดาทรงสดับคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย บุตรของเราก้าวล่วงกิเลสเครื่องประกอบทั้งปวงได้แล้ว" ดังนี้

แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓๔. หิตฺวา มานุสก โยค ทิพฺพ โยค อุปจฺจคา

สพฺพโยควิสยุตฺต ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ผู้ใด ละกิเลสเครื่องประกอบ อันเป็นของ

มนุษย์ ล่วงกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นของทิพย์ได้

แล้ว, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งพรากกิเลสเครื่องประกอบ

ทั้งปวงได้แล้วว่า เป็นพราหมณ์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 554

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า มานุสก โยค ได้แก่ อายุและ

กามคุณทั้ง ๕ อันเป็นของมนุษย์. แม้ในกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์

ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อุปจฺจคา เป็นต้น ความว่า ผู้ใดละกิเลสเครื่องประกอบ

อันเป็นของมนุษย์ ก้าวล่วงกิเลสเครื่องประกอบอันเป็นทิพย์ได้แล้ว,

เราเรียกผู้นั้น ซึ่งพรากกิเลสเครื่องประกอบทั้งหมดแม้ ๔ อย่างใดแล้วว่า

เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๑ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 555

๓๕. เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๒ [๒๙๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุผู้เคยเป็น

นักฟ้อนเหมือนกันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หิตฺวา รติญฺจ "

เป็นต้น.

พราหมณ์ละความยินดีและไม่ยินดีได้

เรื่องเป็นเช่นเดียวกับเรื่องก่อนนั้นแล. แต่ในเรื่องนี้ พระศาสดา

ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราละความยินดีและความไม่ยินดีได้

แล้ว ดำรงอยู่ " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓๕. หิตฺวา รติญฺจ อรติญฺจ สีติภูต นิรูปธึ

สพฺพโลกาภิภุ วีร ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" เราเรียกบุคคลนั้น ซึ่งละความยินดีและความ

ไม่ยินดีได้แล้ว ผู้เย็น ไม่มีอุปธิ ครอบงำโลกทั้งปวง

ผู้แกล้วกล้าว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตึ ได้แก่ ความยินดีในกามคุณ ๕.

บทว่า อรตึ ได้แก่ ผู้ระอาในการอยู่ป่า.

บทว่า สีติภูต ได้แก่ ผู้ดับแล้ว.

บทว่า นิรูปธึ ได้แก่ ผู้ไม่มีอุปกิเลส.

บทว่า วีร ความว่า เราเรียกบุคคลผู้ครอบงำขันธโลกทั้งหมดได้

แล้ว ดำรงอยู่ ผู้มีความแกล้วกล้านั้น คือเห็นปานนั้นว่า เป็นพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 556

ในกาลจบเทศนา เป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุผู้เคยเป็นนักฟ้อนรูปที่ ๒ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 557

๓๖. เรื่องพระวังคีสเถระ [๒๙๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระวังคีสะ-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " จุตึ โย เวทิ " เป็นต้น.

วังคีสพราหมณ์เป็นนักทำนาย

ได้ยินว่า พราหมณ์ในกรุงราชคฤห์คนหนึ่งชื่อวังคีสะ เคาะ (กะ-

โหลก) ศีรษะของพวกมนุษย์ที่ตายแล้วกู้รู้ได้ว่า " นี้เป็นศีรษะของผู้เกิด

ในนรก, นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน, นี้เป็นศีรษะของ

ผู้เกิดในเปรตวิสัย, นี้เป็นศีรษะของผู้เกิดในมนุษยโลก, นี้เป็นศีรษะของ

ผู้เกิดในเทวโลก."

พวกพราหมณ์คิดว่า " พวกเราอาศัยวังคีสพราหมณ์นี้ ก็สามารถ

หากินกะชาวโลกได้" จึงให้เขานุ่งผ้าแดง ๒ ผืนแล้วพาเที่ยวไปชนบท

กล่าวกะพวกมนุษย์ว่า " พราหมณ์ชื่อวังคีสะนั่น เคาะ (กะโหลก) ศีรษะ

ของพวกมนุษย์ที่ตายแล้ว ก็รู้จักที่เกิด, พวกท่านจงถามถึงที่พวกญาติของ

ตน ๆ เกิดแล้วเถิด."

พวกมนุษย์ให้กหาปณะ ๑๐ บ้าง ๒๐ บ้าง ๑๐๐ บ้าง ตามกำลัง

แล้ว จึงถามถึงทีพวกญาติเกิดแล้ว. พราหมณ์เหล่านั้นถึงกรุงสาวัตถีโดย

ลำดับแล้ว ยึดอาที่พักในที่ไม่ไกลแห่งพระเชตวัน, พวกเขาเห็นมหาชน

ผู้บริโภคอาหารเช้าแล้ว มีมือถือของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น กำลัง

เดินไปเพื่อฟังธรรม จึงถามว่า " พวกท่านไปไหนกัน ?" เมื่อมหาชน

นั้นบอกว่า " ไปสู่วิหาร เพื่อฟังธรรม." จึงกล่าวว่า " พวกท่านจักไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 558

ในที่นั้นทำอะไร ? บุคคลผู้ทัดเทียมกับวังดีสพราหมณ์ของพวกเรา ย่อม

ไม่มี, เขาเคาะ (กะโหลก) ศีรษะของพวกมนุษย์ที่ตายแล้ว ก็รู้ที่เกิดได้,

พวกท่านจงถามถึงที่พวกญาติเกิดเถิด."

มนุษย์เหล่านั้นกล่าวว่า " วังคีสะจะรู้อะไร ? บุคคลผู้ทัดเทียมกับ

พระศาสดาของพวกเรา ไม่มี." เมื่อพวกพราหมณ์แม้นอกนี้ กล่าวว่า

" บุคคลผู้ทัดเทียมกับวังคีสะ ไม่มี, เถียงกันแล้ว กล่าวว่า " มาเถิด

บัดนี้ พวกเราจักรู้ว่าวังคีสะของพวกท่าน หรือพระศาสดาของพวกเรา

มีความรู้ " แล้วได้พาพราหมณ์เหล่านั้นไปสู่วิหาร.

เขายอมจำนนพระศาสดา

พระศาสดาทรงทราบว่าชนเหล่านั้นมา จึงรับสั่งให้นำ (กะโหลก)

ศีรษะมา ๕ ศีรษะ คือ " ศีรษะของสัตว์ผู้เกิดในฐานะทั้ง ๔ คือ ' ใน

นรก ในกำเนิดดิรัจฉาน ในมนุษยโลก ในเทวโลก ' ๔ ศีรษะ และ

(กะโหลก) ศีรษะของพระขีณาสพ " รับสั่งให้วางไว้ตามลำดับ ในเวลา

ที่วังคีสะมาแล้ว จึงตรัสถามวังคีสะว่า " ทราบว่า ท่านเคาะ (กะโหลก)

ศีรษะแล้ว รู้ที่เกิดของสัตว์ทั้งหลายผู้ตายแล้วหรือ ?"

วังคีสะ. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ได้.

พระศาสดา. นี้ (กะโหลก) ศีรษะของใคร ?

เขาเคาะ (กะโหลก) ศีรษะนั้นแล้ว กราบทูลว่า " ของสัตว์ผู้เกิด

ในนรก." ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่เขาว่า " ดีละ " จึง

ตรัสถามถึงศีรษะทั้ง ๓ นอกนี้ ในขณะที่เขากราบทูลแล้ว ๆ ไม่ผิด ก็

ประทานสาธุการเหมือนอย่างนั้น จึงทรงแสดง (กะโหลก) ศีรษะที่ ๕

๑. กถ วฑฺเฒตฺวา ยังถ้อยคำให้เจริญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 559

ตรัสถามว่า " นี้ (กะโหลก) ศีรษะของใคร ? " เขาเคาะ ( กะโหลก)

นั้นแล้ว ไม่รู้ที่เกิด. ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า " วังคีสะ ท่าน

ไม่รู้หรือ ? " เมื่อเขากราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่รู้ " จึง

ตรัสว่า " ฉันรู้."

วังดีสะ. พระองค์ทรงทราบด้วยอะไร ?

พระศาสดา. ทราบด้วยกำลังมนต์.

ลำดับนั้น วังคีสะทูลวิงวอนพระองค์ว่า " ขอพระองค์จงประทาน

มนต์นี้แก่ข้าพระองค์ พระศาสดาตรัสว่า " เราไม่สามารถจะให้มนต์แก่

บุคคลผู้ไม่บวชได้."

วังคีสะบวชเพื่อเรียนพุทธมนต์

เขาคิดว่า " เมื่อเราเรียนมนต์นี้แล้ว เราก็จักเป็นผู้ประเสริฐใน

ชมพูทวีปทั้งสิ้น" จึงส่งพราหมณ์เหล่านั้นไป ด้วยคำว่า " พวกท่านจง

อยู่ในที่นั้นนั่นแหละสิ้น ๒- ๓วัน ฉันจักบวช " แล้วได้บรรพชาอุปสมบท

ในสำนักพระศาสดา ได้เป็นผู้มีนามว่า วังคีสเถระ.

ลำดับนั้น พระศาสดาประทานกัมมัฏฐานมีอาการ ๓๒ เป็นอารมณ์

แก่เธอแล้ว ตรัสว่า " เธอจงสาธยายบริกรรมมนต์."

พระเถระบรรลุพระอรหัต

พระวังคีสเถระนั้นสาธยายมนต์อยู่ ถูกพวกพราหมณ์ถามใน

ระหว่าง ๆ ว่า " ท่านเรียนมนต์ได้แล้วหรือยัง ? " จึงบอกว่า " พวก

ท่านจงรอก่อน ฉันกำลังเรียน" ต่อกาล ๒-๓ วันเท่านั้นก็ได้บรรลุพระ-

อรหัต ถูกพราหมณ์ทั้งหลายถามอีก จึงกล่าวว่า " ท่านผู้มีอายุ บัดนี้

ฉันไม่ควรเพื่อจะไป."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 560

พวกภิกษุได้ยินคำนั้นแล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า

พระวังคีสเถระนี้ พยากรณ์พระอรหัตผล ด้วยคำไม่จริง."

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่ากล่าวอย่างนั้น.

ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้บุตรของเราฉลาดในการจุติและปฏิสนธิแล้ว " ดังนี้

แล้ว ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๓๖. จุตึ โย เวทิ สตฺตาน อุปปตฺติญฺจ สพฺพโส

อสตฺต สุคต พุทฺธ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

ยสฺส คตึ น ชานนฺติ เทวา คนฺธพฺพมานุสา

ขีณาสว อรหนฺต ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ผู้ใด รู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายโดยประ-

การทั้งปวง, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่ข้อง ไปดี รู้แล้ว;

ว่าเป็นพราหมณ์. เทพยดา คนธรรพ์และหมู่มนุษย์

ย่อมไม่รู้คติของผู้ใด, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งมีอาสวะสิ้น

แล้ว ผู้ไกลกิเลสว่า เป็นพราหมณ์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย เวทิ เป็นต้น ความว่า ผู้ใด

รู้จุติปฏิสนธิของสัตว์ทั้งหลาย โดยประการทั้งปวงอย่างแจ้งชัด, เรา

เรียกบุคคลผู้นั้น ซึ่งชื่อว่า ไม่ข้อง เพราะความเป็นผู้ไม่เกี่ยวข้อง ชื่อว่า

ไปดีแล้ว เพราะความเป็นผู้ไปดีแล้วด้วยการปฏิบัติ ชื่อว่าผู้รู้แล้ว เพราะ

ความเป็นผู้รู้สัจจะทั้ง ๔ ว่า เป็นพราหมณ์.

๑. ปากฏ กตฺวา ทำให้ปรากฏ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 561

บทว่า "ยสฺส เป็นต้น ความว่า เทพดาเป็นต้นเหล่านั้น ไม่รู้คติ

ของผู้ใด, เราเรียกผู้นั้น ซึ่งชื่อว่า มีอาสวะสิ้นแล้ว เพราะความที่

อาสวะทั้งหลายสิ้นแล้ว ชื่อว่า ผู้ไกลกิเลส เพราะความเป็นผู้ห่างไกล

จากกิเลสทั้งหลายว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระวังคีสเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 562

๓๗. เรื่องพระธรรมทินนาเถรี [๓๐๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุณีชื่อ

ธรรมทินนา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺส ปุเร จ " เป็นต้น.

วิสาขอุบาสกบรรลุอนาคามิผล

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง ในเวลานางเป็นคฤหัสถ์ วิสาขอุบาสก

ผู้เป็นสามี ฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา บรรลุอนาคามิผลแล้วคิดว่า

" การที่เราให้นางธรรมทินนารับทรัพย์สมบัติทั้งปวง ควร;" ในกาลก่อน

แต่นั้น อุบาสกนั้นเมื่อมา เห็นนางธรรมทินนาผู้แลดูอยู่ทางหน้าต่าง

ย่อมทำความยิ้มแย้ม. แต่ในวันนั้น ไม่แลดูนางผู้ยืนอยู่ที่หน้าต่างเลย

ได้ไปแล้ว.

นางคิดว่า " นี้เรื่องอะไรกันหนอ ? คิดว่า ' ข้อนั้นจงยกไว้,

เราจักรู้ในเวลาบริโภค" แล้วนำภัตเข้าไปในเวลาบริโภค.

ในวันอื่น ๆ อุบาสกนั้นพูดว่า " มาเถิด, เราบริโภคด้วยกัน. แต่

ในวันนั้น เป็นผู้นิ่งเฉย บริโภคแล้ว. นางคิดว่า " สามีคงจักโกรธด้วย

เหตุอะไร ๆ แน่นอน."

ครั้งนั้น. วิสาขอุบาสกเรียกนางในเวลานั่งตามสบายมาแล้ว กล่าว

กะนางว่า " ธรรมทินนา หล่อนจงรับทรัพย์สมบัติทั้งปวงในเรือนนี้เถิด."

นางคิดว่า " ธรรมดาว่า คนทั้งหลายโกรธแล้วย่อมไม่ให้ใครรับทรัพย์

สมบัติ, นี่เรื่องอะไรกันหนอ ?" จึงกล่าวว่า " นาย ก็ท่านเล่า ? "

อุบาสก. จำเดิมแต่นี้ ฉันจักไม่จัดแจงอะไร ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 563

ธรรมทินนา. ใครจักรับน้ำลายที่ท่านบ้วนทิ้ง, เมื่อเป็นเช่นนั้น

ท่านก็จงอนุญาตการบวชแก่ดิฉันเถิด.

อุบาสกนั้น รับว่า " ดีละ นางผู้เจริญ " แล้วนำนางไปสู่สำนัก

ภิกษุณีด้วยสักการะเป็นอันมาก ให้บวชแล้ว. นางได้อุปสมบทแล้ว

ได้มีชื่อว่า ธรรมทินนาเถรี.

วิสาขอุบาสกถามปัญหาในมรรคกะพระเถรี

นางไปสู่ชนบทกับภิกษุณีทั้งหลาย เพราะความเป็นผู้ประสงค์วิเวก

เมื่ออยู่ในชนบทนั้นไม่นานเท่าไร ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา

ทั้งหลาย กลับมาสู่กรุงราชคฤห์อย่างเดิมอีก ด้วยคิดว่า " บัดนี้ พวกชน

ผู้เป็นญาติอาศัยเราแล้ว จักทำบุญทั้งหลาย."

อุบาสก ได้ทราบความที่พระเถรีมาแล้ว คิดว่า " พระเถรีมา

เพราะเหตุไรหนอ ?" จึงไปสู่สำนักภิกษุณี ไหว้พระเถรีแล้วนั่ง ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง คิดว่า " การที่เราจะพูดว่า ' แม่เจ้า ท่านกระสันหรือหนอ '

ดังนี้ ก็เป็นการไม่สมควร, เราจักถามปัญหาสักข้อหนึ่งกะพระเถรีนั้น "

แล้วถามปัญหาในโสดาปัตติมรรค. พระเถรี เฉลยปัญหาข้อนั้นได้. อุบาสก

จึงถามปัญหาแม้ในมรรคที่เหลือ โดยอุบายนั้นนั่นแล เมื่อพระเถรีนั้น

กล่าวในเวลาปัญหาอันอุบาสกนั้นถามก้าวล่วง (วิสัย) ว่า " วิสาขะผู้มีอายุ

ท่านแล่นเลย (วิสัย) ไปแล" แล้วกล่าวว่า " เมื่อท่านจำนง ก็พึงเข้าไป

เฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามปัญหานี้" ไหว้พระเถรีแล้ว ลุกจากอาสนะ

ไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลการสนทนาปราศรัยนั้นทั้งหมด แด่พระผู้มี

พระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 564

พระศาสดาทรงยกย่องพระธรรมทินนาเถรี

พระศาสดาตรัสว่า " ธรรมทินนาธิดาของเรากล่าวดีแล้ว, ด้วยเรา

เมื่อจะแก้ปัญหานั่น ก็จะพึงแก้อย่างนั้นเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว เมื่อ

จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๓๗. ยสฺส ปุเร จ ปจฺฉา จ มชฺเฌ จ นตฺถิ กิญฺจน

อกิญฺจน อนาทาน ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" ความกังวลในก่อน ในภายหลัง และในท่าม

กลาง ของผู้ใดไม่มี. เราเรียกผู้นั้น ซึ่งไม่มีความ

กังวล ไม่มีความยึดมั่นว่า เป็นพราหมณ์"

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุเร ความว่า ในขันธ์ทั้งหลายที่

เป็นอดีต.

บทว่า ปจฺฉา คือ ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอนาคต.

บทว่า มชฺเฌ ได้แก่ ในขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปัจจุบัน.

สองบทว่า นตฺถิ กิญฺจน เป็นต้น ความว่า ความกังวลกล่าวคือ

ความยึดถือด้วยตัณหาในฐานะ ๓ เหล่านั้น ของผู้ใดไม่มี, เราเรียกผู้นั้น

ซึ่งไม่มีความกังวลด้วยกิเลสเครื่องกังวลคือราคะเป็นต้น ผู้ชื่อว่าไม่มีความ

ยึดมั่น เพราะไม่มีความยึดถืออะไร ๆ ว่า เป็นพราหมณ์.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระธรรมทินนาเถรี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 565

๓๘. เรื่องพระอังคุลิมาลเถระ [๓๐๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอังคุลิมาล

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อุสภ " เป็นต้น.

พระอังคุลิมาลไม่กลัวช้าง

เรื่องข้าพเจ้ากล่าว ไว้ในคาถาวรรณนาว่า " น เว กทริยา เทวโลก

วชนฺติ " เป็นต้นนั่นแล.

จริงอยู่ ในที่นั้นข้าพเจ้ากล่าวไว้ว่า " ภิกษุทั้งหลายถามพระอังคุลิมาล

ว่า " ผู้มีอายุ ท่านเห็นช้างตัวดุร้าย ยืนกั้นฉัตรอยู่แล้ว ไม่กลัวหรือหนอ ? "

พระอังคุลิมาลตอบว่า " ไม่กลัว ผู้มีอายุ."

ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลพระศาสดา " พระเจ้าข้า พระอังคุลิมาล

พยากรณ์พระอรหัตด้วยคำไม่จริง."

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย อังคุลิมาลบุตรของเราย่อมไม่

กลัว, เพราะว่า ภิกษุทั้งหลายเช่นกับบุตรของเรา ผู้องอาจที่สุดในระหว่าง

พระขีณาสพผู้องอาจทั้งหลาย ย่อมไม่กลัว " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้

ในพราหมณวรรคว่า:-

๓๘. อุสภ ปวร วีร มเหสึ วิชิตาวิน

อเนช นฺหาตก พุทฺธ ตมห พฺรูมิ พฺราหมณ.

" เราเรียกบุคคลผู้องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า

แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้ชนะโดยวิเศษ ไม่หวั่นไหว

ผู้ล้างแล้ว ผู้รู้นั้นว่า เป็นพราหมณ์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 566

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า :-

เราเรียกบุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น ผู้ชื่อว่า องอาจ เพราะความ

เป็นผู้เช่นกับโคอุสภะ ด้วยอรรถว่าเป็นผู้ไม่หวาดเสียว ชื่อว่า ประเสริฐ

เพราะอรรถว่าสูงสุด ชื่อว่า ผู้แกล้วกล้า เพราะถึงพร้อมด้วยความเป็นผู้

กล้าหาญ ชื่อว่า ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ เพราะความเป็นผู้แสวงหาคุณ

อันใหญ่ มีศีลขันธ์เป็นต้น ชื่อว่า ผู้ชนะโดยวิเศษ เพราะความที่มารทั้ง ๓

อันตนชนะแล้ว ชื่อว่า ผู้ล้างแล้ว เพราะความเป็นผู้มีกิเลสอันล้างแล้ว

ชื่อว่า ผู้รู้ เพราะความเป็นผู้รู้สัจจะทั้ง ๔ ว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระอังคุลิมาลเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 567

๓๙. เรื่องเทวหิตพราหมณ์ [๓๐๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปัญหาของ

เทวหิตพราหมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปุพฺเพนิวาส " เป็นต้น.

พราหมณ์ทูลถามทักษิณาที่มีผลมาก

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาพาธด้วย

พระวาโย (กำเริบ) ทรงส่งพระอุปวานเถระไปสู่สำนักของเทวหิตพราหมณ์

เพื่อต้องการน้ำร้อน. ท่านไปบอกความที่พระศาสดาทรงอาพาธแล้วขอ

น้ำร้อน.

พราหมณ์ฟังคำนั้นแล้ว เป็นผู้มีใจยินดี คิดว่า " การที่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทรงส่ง (พระอุปวานเถระ) มาสู่สำนักของเรา เพื่อต้องการ

น้ำร้อน เป็นลาภของเราหนอ" จึงใช้บุรุษให้ถือเอาหาบน้ำร้อนและ

ห่อน้ำอ้อย มอบถวายแก่พระอุปวานเถระ.

พระเถระ ให้ชนถือเอาน้ำร้อนเป็นต้นนั้นไปสู่วิหาร กราบทูล

พระศาสดาให้ทรงสรงด้วยน้ำร้อนแล้ว ละลายน้ำอ้อยด้วยน้ำร้อนถวายแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ในขณะนั้นนั่นเอง อาพาธนั้นของพระองค์ก็สงบระงับ. พราหมณ์

คิดว่า " ไทยธรรมเราให้แก่ใครหนอแล ? จึงมีผลมาก, เราจักทูลถาม

พระศาสดา." พราหมณ์นั้นไปสู่สำนักพระศาสดาแล้ว เมื่อจะทูลถาม

เนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 568

" บุคคลควรให้ไทยธรรมในบุคคลไหน ? ไทย-

ธรรมวัตถุอันบุคคลให้ในบุคคลไหน จึงมีผลมาก ?

ทักษิณาของบุคคลผู้บูชาอยู่อย่างไรเล่า ? จะสำเร็จ

ได้อย่างไร ?"

พระศาสดาทรงแก้ปัญหาของพราหมณ์

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสว่า " ไทยธรรมวัตถุ ที่บุคคลให้แล้ว

แก่พราหมณ์ผู้เช่นนี้ ย่อมมีผลมาก" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงประกาศบุคคล

ผู้เป็นพราหมณ์แก่พราหมณ์นั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. ปุพฺเพนิวาส โย เวทิ สคฺคาปายญฺจ ปสฺสติ

อโถ ชาติกฺขย ปตฺโต อภิญฺา โวสิโต มุนิ

สพฺพโวสิตโวสาน ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ.

" บุคคลใด รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ทั้งเห็น

สวรรค์และอบาย, อนึ่ง บรรลุความสิ้นไปแห่งชาติ

เสร็จกิจแล้ว เพราะรู้ยิ่ง เป็นมุนี, เราเรียกบุคคล

นั้น ซึ่งมีพรหมจรรย์อันอยู่เสร็จสรรพแล้วว่า เป็น

พราหมณ์."

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า :-

บุคคลใด รู้ขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อนอย่างแจ้งชัด เห็นสวรรค์ต่างด้วย

เทวโลก ๒๖ ชั้น และอบาย ๔ ด้วยทิพยจักษุ อนึ่ง บรรลุพระอรหัต

๑. กามาพจร ๖ รูปพรหม ๑๖ อรูปพรหม ๔ รวมเป็น ๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 569

กล่าวคือความสิ้นไปแห่งชาติ เสร็จกิจแล้ว เพราะรู้ยิ่งซึ่งธรรมควรรู้ยิ่ง

กำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ ละธรรมที่ควรละ ทำให้แจ้งซึ่งธรรม

ที่ควรทำให้แจ้ง คือบรรลุพระนิพพานหรือบรรลุพรหมจรรย์อันคนอยู่จบ

แล้ว ชื่อว่า เป็นมุนี เพราะเป็นผู้บรรลุภาวะแห่งผู้รู้ ด้วยปัญญาอันเป็น

เหตุสิ้นไปแห่งอาสวะ, เราเรียกบุคคลนั้นซึ่งชื่อว่ามีพรหมจรรย์อยู่เสร็จ-

สรรพแล้ว เพราะความเป็นผู้อยู่จบพรหมจรรย์ อันเป็นที่สุดแห่งกิเลส

ทั้งสิ้น คือพระอรหัตมรรคญาณว่า เป็นพราหมณ์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น.

ฝ่ายพราหมณ์ มีใจเลื่อมใสแล้ว ตั้งอยู่ในสรณะทั้งหลาย ประกาศ

ความเป็นอุบาสกแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องเทวหิตพราหมณ์ จบ

พราหมณวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๒๖ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 570

รวมวรรคที่มีในคาถาธรรมบท คือ

[ ๓๗ ] ยมกวรรค อัปปมาทวรรค จิตตวรรค ปุปผวรรค พาลวรรค

บัณฑิตวรรค อรหันตวรรค สหัสสวรรค ปาปวรรค ทัณฑวรรค ชราวรรค

อัตตวรรค โลกวรรค พุทธวรรค สุขวรรค ปิยวรรค โกธวรรค มลวรรค

ธัมมัฏฐวรรค มรรควรรค รวมเป็น ๒๐ วรรค ปกิณณกวรรค นิรยวรรค

นาควรรค ตัณหาวรรค ภิกขุวรรค พราหมณวรรค รวมทั้งหมดนี้เป็น

๒๖ วรรค อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ทรงแสดงแล้ว

ในยมกวรรค มี ๒๐ คาถา ในอัปปมาทวรรคมี ๑ คาถา ในจิตตวรรคมี ๑๑

คาถา ในปุปผวรรคมี ๑๖ คาถา ในพาลวรรคมี ๑๗ คาถา ในบัณฑิตวรรค

มี ๑๔ คาถา ในอรหันตวรรคมี ๑๐ คาถา ในสหัสสวรรคมี ๑๖ คาถา

ในปาปวรรคมี ๑๓ คาถา ในทัณฑวรรคมี ๑๗ คาถา ในชราวรรค

มี ๑๑ คาถา ในอัตตวรรคมี ๑๒ คาถา ในโลกวรรคมี ๑๒ คาถา

ในพุทธวรรคมี ๑๖ คาถา ในสุขวรรคและปิยวรรคมีวรรคละ ๑๒ คาถา

ในโกธวรรคมี ๑๔ คาถา ในมลวรรคมี ๒๑ คาถา ในธัมมัฏฐวรรค

มี ๑๗ คาถา ในมรรควรรคมี ๑๖ คาถา ในปกิณณกวรรคมี ๑๖ คาถา

ในนิรยวรรคและนาควรรคมีวรรคละ ๑๔ คาถา ในตัณหาวรรคมี ๒๒ คาถา

ในภิกขุวรรคมี ๒๓ คาถา ในพราหมณวรรคอันเป็นวรรคที่สุดมี ๔๐ คาถา

คาถา ๔๒๓ คาถา อันพระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรง

แสดงไว้ในนิบาตในธรรมบท.

จบคาถาธรรมบท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 571

อรรถกถา

รวมเรื่องทั้งหมด

อรรถกถาแห่งพระธรรมบท มีประมาณ ๗๒ ภาณวาร อันข้าพเจ้า

ประกาศเรื่อง ๒๙๙ เรื่อง คือ " ในยมกวรรค อันเป็นวรรคแรกของ

วรรคทั้งปวง ๑๔ เรื่อง, ในอัปปมาทวรรค ๙ เรื่อง ในจิตตวรรค ๙ เรื่อง,

ในปุปผวรรค ๑๒ เรื่อง ในพาลวรรค ๑๕ เรื่อง, ในบัณฑิตวรรค

๑๑ เรื่อง, ในอรหันตวรรค ๑๐ เรื่อง, ในสหัสสวรรค ๑๔ เรื่อง, ใน

ปาปวรรค ๑๒ เรื่อง, ในทัณฑวรรค ๑๑ เรื่อง, ในชราวรรค ๙ เรื่อง,

ในอัตตวรรค ๑๐ เรื่อง, ในโลกวรรค ๑๑ เรื่อง, ในพุทธวรรค ๙ เรื่อง,

ในสุขวรรค ๘ เรื่อง, ในปิยวรรค ๙ เรื่อง, ในโกธวรรค ๘ เรื่อง,

ในมลวรรค ๑๒ เรื่อง ในธัมมัฏฐวรรค ๑๐ เรื่อง, ในมรรควรรค ๑๐ เรื่อง,

ในปกิณณกวรรค ๙ เรื่อง, ในนิรยวรรค ๙ เรื่อง; ในนาควรรค ๘ เรื่อง,

ในตัณหาวรรค ๑๒ เรื่อง, ในภิกขุวรรค ๑๒ เรื่อง, ในพราหมณวรรค

๓๙ เรื่อง" รจนาไว้พอเหมาะ ด้วยสามารถไม่ย่อนักไม่พิสดารนัก

จบแล้ว ด้วยคำมีประมาณเท่านี้.

จบธัมมปทัฏฐกถา

๑. ในเรื่องเหล่านี้นับรวมทั้งหมดมี ๓๐๒ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 572

คำอุทิศของผู้เรียบเรียง

ธรรมบทอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์ใดผู้พระธรรมราชา ทรงบรรลุแล้ว, พระ-

คาถาเหล่าใดในพระธรรมบท มีประมาณ ๔๒๓ พระ-

คาถา ตั้งขึ้นแล้ว ในเพราะเรื่อง ๒๙๙ เรื่อง อัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้แสวงหาคุณใหญ่

ทรงยังสัจจะทั้ง ๔ ให้แจ่มแจ้ง ทรงภาษิตไว้แล้ว,

ข้าพเจ้าผู้อยู่ในปราสาทของพระเจ้าสิริกูฏ ในวิหาร

อันพระอธิราชเจ้าผู้มีพระกตัญญูตรัสให้สร้างไว้แล้ว

เรียบเรียงอรรถกถานี้ แห่งพระคาถาเหล่านั้น ให้ถึง

พร้อมด้วยอรรถและพยัญชนะ ให้หมดมลทินด้วยดี

ตามพระบาลีมีประมาณ ๗๒ ภาณวาร เพื่อประโยชน์

และเพื่อเกื้อกูลแก่โลก เพราะความที่ข้าพเจ้าเป็นผู้

ใคร่เพื่อความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรมของพระโลก-

นาถเจ้า ได้บรรลุกุศลใดแล้ว, ด้วยอำนาจกุศลนั้น

ขอความดำริอันเป็นกุศลทั้งปวง จงเผล็ดผลที่น่าจับใจ

สำเร็จแก่สัตว์ทั้งปวง ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 573

พรรณนาคุณสมบัติของผู้เรียบเรียงคัมภีร์นี้

พระเถระผู้ทรงนามอันครูทั้งหลายขนานแล้วว่า " พุทธโฆสะ "

ผู้ประดับด้วยศรัทธา ความรู้ และความเพียร อันบริสุทธิ์อย่างยิ่ง มี

คุณสมุทัย มีศีล อาจาระ ความเป็นผู้ซื่อตรง และความเป็นผู้อ่อนโยน

เป็นต้น พรั่งพร้อมแล้ว สามารถหยั่งลงในการถือเอาลัทธิของตนและ

ลัทธิอื่น ประกอบด้วยความเฉลียวฉลาดด้วยปัญญา ประกาศญาณอันไม่

ขัดข้องในสัตถุศาสน์ อันต่างด้วยปริยัติธรรม คือพระไตรปิฎก พร้อม

ทั้งอรรถกถา ผู้ชำนาญในไวยากรณ์มาก ผู้ประกอบด้วยความกลมเกลี้ยง

แห่งถ้อยคำที่ไพเราะยิ่ง อันเปล่งออกได้สะดวก ที่ยังกรณสมบัติให้เกิด

ผู้มีปกติพูดถูกต้องคล่องแคล่วประเสริฐในทางพูด เป็นมหากวี เป็นผู้

ประดับวงศ์ของพระเถระทั้งหลาย ผู้อยู่ในมหาวิหารโดยปกติ ผู้เพียงดัง

ประทีปในวงศ์ของพระเถระ ผู้มีความรู้อันไม่ขัดข้องในอุตริมนุสธรรม

อันประดับด้วยคุณต่างด้วยอภิญญา ๖ และปฏิสัมภิทา ๔ เป็นต้น มีความรู้

ไพบูลย์ทั้งหมดจด ได้เรียบเรียงอรรถวรรณนาแห่งพระธรรมนี้ไว้แล้ว.