ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

ตอนที่ ๓

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คาถาธรรมบท

ปาปวรรคที่ ๙

ว่าด้วยบุญและบาป

[๑๙] ๑. บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี พึงห้ามจิต

เสียจากบาป เพราะว่าเมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่

ใจจะยินดีในบาป.

๒. ถ้าบุรุษพึงทำบาปไซร้ ไม่ควรทำบาปนั้น

บ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น เพราะว่า

ความสั่งสมเป็นเหตุให้เกิดทุกข์.

๓. ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้ พึงทำบุญนั้นบ่อย ๆ

พึงทำความพอใจในบุญนั้น เพราะว่าความสั่งสมบุญ

ทำให้เกิดสุข.

๑. วรรคนี้มีอรรถกถา ๑๒ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 2

๔. แม้คนผู้ทำบุญ ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอด

กาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล แต่เมื่อใดบาปเผล็ดผล

เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นบาปว่าชั่ว ฝ่ายคนทำกรรมดี ย่อม

เห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล

แต่เมื่อใดกรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้นเขาย่อมเห็นกรรม

ดีว่าดี.

๕. บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า บาปมีประมาณ

น้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตก

ลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ชนพาลเมื่อสั่งสมบาป

แม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ฉันนั้น.

๖. บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า บุญมีประมาณ

น้อยจักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่

ตกลงมา (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ธีรชน (ชนผู้มี

ปัญญา) สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ

ได้ฉันนั้น.

๗. บุคคลพึงเว้นกรรมชั่วทั้งหลายเสีย เหมือน

พ่อค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางอันพึงกลัว

(และ) เหมือนผู้ต้องการจะเป็นอยู่ เว้นยาพิษเสีย

ฉะนั้น.

๘. ถ้าแผลไม่พึงมีในฝ่ามือไซร้ บุคคลพึงนำยา

พิษไปด้วยฝ่ามือได้ เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมเข้าไปสู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 3

ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำอยู่

ฉันนั้น.

๙. ผู้ใด ประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษร้าย

ผู้บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสดุจเนิน บาปย่อมกลับถึงผู้นั้น

ซึ่งเป็นคนพาลนั่นเอง เหมือนธุลีอันละเอียดที่เขาซัด

ทวนลมไปฉะนั้น.

๑๐. ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์ ผู้มี

กรรมลามก ย่อมเข้าถึงนรก ผู้มีกรรมเป็นเหตุแห่ง

สุคติ ย่อมไปสวรรค์ ผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน.

๑๑. บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ

ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีไปในท่ามกลางมหา-

สมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีเข้าไปสู่ซอก

ภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ (เพราะ) เขาอยู่

แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรมชั่ว

ได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่.

๑๒. บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ

ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีไปในท่ามกลางมหา-

สมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ หนีเข้าไปสู่ซอก

ภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ (เพราะ) เขาอยู่

แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด ความตายพึงครอบงำ

ไม่ได้ ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่.

จบปาปวรรคที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 4

๙. ปาปวรรควรรณนา

๑. เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก [๙๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์ ชื่อ

จูเฬกสาฎก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ " เป็นต้น.

พราหมณ์และพราหมณีผลัดกันไปฟังธรรม

ความพิสดารว่า ในการแห่งพระวิปัสสีทศพล ได้มีพราหมณ์คนหนึ่ง

ชื่อมหาเอกสาฎก. แต่ในกาลนี้ พราหมณ์นี้ได้เป็นพราหมณ์ ชื่อจูเฬก

สาฎกในเมืองสาวัตถี. ก็ผ้าสาฎกสำหรับนุ่งของพราหมณ์นั้นมีผืนเดียว.

แม้ของนางพราหมณีก็มีผืนเดียว. ทั้งสองคนมีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น. ใน

เวลาไปภายนอก พราหมณ์หรือพราหมณีย่อมห่มผ้าผืนนั้น. ภายหลังวัน

หนึ่ง เมื่อเขาประกาศการฟังธรรมในวิหาร พราหมณ์กล่าวว่า "นาง

เขาประกาศการฟังธรรม. เจ้าจักไปสู่สถานที่ฟังธรรมในกลางวัน หรือ

กลางคืน ? เพราะเราทั้งสองไม่อาจไปพร้อมกันได้ เพราะไม่มีผ้าห่ม"

พราหมณีตอบว่า "นาย ฉันจักไปในกลางวัน" แล้วได้ห่มผ้าสาฎกไป.

พราหมณ์คิดบูชาธรรมด้วยผ้าสาฎกที่ห่มอยู่

พราหมณ์ยับยั้งอยู่ในเรือนตลอดวัน ต่อกลางคืนจึงได้ไปนั่งฟัง

ธรรมทางด้านพระพักตร์พระศาสดา. ครั้งนั้น ปีติ ๕ อย่างซาบซ่าน

๑. ปีติ ๕ คือ ขุททกาปีติ ปีติอย่างน้อย ๑ ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ ๑ โอกกันติกาปีติ ปีติเป็น

พัก ๆ ๑ อุพเพงคาปีติ ปีติอย่างโลดโผน ๑ ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 5

ไปทั่วสรีระของพราหมณ์นั้นเกิดขึ้นแล้ว. เขาเป็นผู้ใคร่จะบูชาพระศาสดา

คิดว่า " ถ้าเราจักถวายผ้าสาฎกนี้ไซร้, ผ้าห่มของนางพราหมณีจักไม่มี

ของเราก็จักไม่มี " ขณะนั้นจิตประกอบด้วยความตระหนี่พันดวงเกิดขึ้น

แล้วแก่เขา, จิตประกอบด้วยสัทธาดวงหนึ่งเกิดขึ้นอีก. จิตประกอบด้วย

ความตระหนี่พันดวงเกิดขึ้นครอบงำสัทธาจิต แม้นั้นอีก. ความตระหนี่

อันมีกำลังของเขาคอยกีดกันสัทธาจิตไว้ ดุจจับมัดไว้อยู่เทียว ด้วยประการ

ฉะนี้.

ชนะมัจเฉรจิตด้วยสัทธาจิต

เมื่อเขากำลังคิดว่า " จักถวาย จักไม่ถวาย " ดังนี้นั่นแหละ ปฐม-

ยามล่วงไปแล้ว. แต่นั้น ครั้นถึงมัชฌิมยาม เขาไม่อาจถวายในมัชฌิมยาม

แม้นั้นได้. เมื่อถึงปัจฉิมยาม เขาคิดว่า " เมื่อเรารบกับสัทธาจิตและ

มัจเฉรจิตอยู่นั่นแล ๒ ยามล่วงไปแล้ว. มัจเฉรจิตนี้ของเรามีประมาณเท่านี้

เจริญอยู่ จักไม่ให้ยกศีรษะขึ้นจากอบาย ๔, เราจักถวายผ้าสาฎกละ. "

เขาข่มความตระหนี่ตั้งพันดวงได้เเล้วทำสัทธาจิตให้เป็นปุเรจาริก ถือผ้า

สาฎกไปวางแทบบาทมูลพระศาสดา ได้เปล่งเสียงดังขึ้น ๓ ครั้งว่า " ข้าพ-

เจ้าชนะแล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้ว เป็นต้น ."

ทานของพราหมณ์ให้ผลทันตาเห็น

พระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังทรงฟังธรรม ได้สดับเสียงนั้นแล้ว

ตรัสว่า " พวกท่านจงถามพราหมณ์นั้นดู. ได้ยินว่า เขาชนะอะไร ?."

พราหมณ์นั้นถูกพวกราชบุรุษถาม ได้เเจ้งความนั้น. พระราชาได้

สดับความนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " พราหมณ์ทำสิ่งที่บุคคลทำได้ยาก เราจัก

ทำการสงเคราะห์เขา " จึงรับสั่งให้พระราชทานผ้าสาฎก ๑ คู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 6

เขาได้ถวายผ้าแม้นั้นแด่พระตถาคตเหมือนกัน พระราชาจึงรับสั่ง

ให้พระราชทานทำให้เป็นทวีคูณอีก คือ ๒ คู่ ๔ คู่ ๘ คู่ ๑๖ คู่. เขาได้

ถวายผ้าแม้เหล่านั้นแด่พระตถาคตนั้นเทียว. ต่อมา พระราชารับสั่งให้

พระราชทานผ้าสาฎก ๓๒ คู่แก่เขา.

พราหมณ์เพื่อจะป้องกันวาทะว่า " พราหมณ์ไม่ถือเอาเพื่อตน สละ

ผ้าที่ได้แล้ว ๆ เสียสิ้น " จึงถือเอาผ้าสาฎก ๒ คู่จากผ้า ๓๒ คู่นั้นคือ " เพื่อ

ตน ๑ คู่ เพื่อนางพราหมณี ๑ คู่ " ได้ถวายผ้าสาฎก ๓๐ คู่แด่พระตถาคต

ทีเดียว. ฝ่ายพระราชา เมื่อพราหมณ์นั้นถวายถึง ๗ ครั้ง ได้มีพระราช

ประสงค์จะพระราชทานอีก. พราหมณ์ชื่อมหาเอกสาฎก ในกาลก่อน

ได้ถือเอาผ้าสาฎก ๒ คู่ในจำนวนผ้าสาฎก ๖๔ คู่. ส่วนพราหมณ์ชื่อจูเฬก-

สาฎกนี้ ได้ถือเอาผ้าสาฎก ๒ คู่ ในเวลาที่ตนได้ผ้าสาฎก ๓๒ คู่.

พระราชา ทรงบังคับพวกราชบุรุษว่า " พนาย พราหมณ์ทำสิ่งที่ทำ

ได้ยาก. ท่านทั้งหลายพึงให้นำเอาผ้ากัมพล ๒ ผืนภายในวังของเรามา."

พวกราชบุรุษได้กระทำอย่างนั้น. พระราชารับสั่งให้พระราชทานผ้ากัมพล

๒ ผืนมีค่าแสนหนึ่งแก่เขา. พราหมณ์คิดว่า " ผ้ากัมพลเหล่านี้ไม่สมควร

แตะต้องที่สรีระของเรา. ผ้าเหล่านั้นสมควรแก่พระพุทธศาสนาเท่านั้น "

จึงได้ขึงผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ทำให้เป็นเพดานไว้เบื้องบนที่บรรทมของพระ-

ศาสดาภายในพระคันธกุฎี. ขึงผืนหนึ่งทำให้เป็นเพดานในที่ทำภัตกิจของ

ภิกษุผู้ฉันเป็นนิตย์ในเรือนของตน. ในเวลาเย็น พระราชาเสด็จไปสู่

สำนักของพระศาสดา ทรงจำผ้ากัมพลได้แล้ว ทูลถามว่า " ใครทำการ

บูชา พระเจ้าข้า ? " เมื่อพระศาสดาตรัสตอบว่า " พราหมณ์ชื่อเอกสาฎก "

ดังนี้แล้ว ทรงดำริว่า " พราหมณ์เลื่อมใสในฐานะที่เราเลื่อมใสเหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 7

กัน " รับสั่งให้พระราชทานหมวด ๔ แห่งวัตถุทุกอย่าง จนถึงร้อยแห่ง

วัตถุทั้งหมด ทำให้เป็นอย่างละ ๔ แก่พราหมณ์นั้น อย่างนี้ คือช้าง ๔

ม้า ๔ กหาปณะสี่พัน สตรี ๔ ทาสี ๔ บุรุษ ๔ บ้านส่วย ๔ ตำบล.

รีบทำกุศลดีกว่าทำช้า

ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า " แม้ ! กรรมของพราหมณ์

ชื่อจูเฬกสาฎก น่าอัศจรรย์. ชั่วครู่เดียวเท่านั้น เขาได้หมวด ๔ แห่ง

วัตถุทุกอย่าง. กรรมอันงามเขาทำในที่อันเป็นเนื้อนาในบัดนี้นั่นแล ให้

ผลในวันนี้ทีเดียว. "

พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย

นั่งสนทนากันด้วยกถาอะไรเล่า ? " เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยกถาชื่อ

นี้ พระเจ้าข้า " ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเอกสาฎกนี้จักได้อาจเพื่อถวาย

แก่เราในปฐมยามไซร้ เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ ๑๖, ถ้าจักได้อาจ

ถวายในมัชฌิมยามไซร้ เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ ๘, แต่เพราะถวาย

ในเวลาจวนใกล้รุ่ง เขาจึงได้สรรพวัตถุอย่างละ ๔, แท้จริง กรรมงาม

อันบุคคลผู้เมื่อกระทำ ไม่ให้จิตที่เกิดขึ้นเสื่อมเสียควรทำในทันทีนั้นเอง,

ด้วยว่า กุศลที่บุคคลทำช้า เมื่อให้สมบัติ ย่อมให้ช้าเหมือนกัน เพราะ

ฉะนั้น พึงทำกรรมงามในลำดับแห่งจิตตุปบาททีเดียว " เมื่อทรงสืบอนุ-

สนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๑. อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ ปาปา จิตฺต นิวารเย

ทนฺธิ หิ กรโต ปุญฺ ปาปสฺมึ รมตี มโน

ทนฺธิ หิ กรโต ปุญฺ ปาปสฺมึ รมตี มโน.

๑. เป็นชื่อเงินตราชนิดหนึ่ง ซึ่งในอินเดียโบราณ มีค่าเท่ากับ ๔ บาท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 8

"บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี, พึงห้ามจิต

เสียจากบาป, เพราะว่า เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่,

ใจจะยินดีในบาป."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิตฺเรถ ความว่า พึงทำด่วนๆ คือ

เร็ว ๆ. จริงอยู่ คฤหัสถ์เมื่อจิตเกิดขึ้นว่า " จักทำกุศลบางอย่าง ในกุศล

ทานทั้งหลายมีถวายสลากภัตเป็นต้น " ควรทำไว ๆทีเดียว ด้วยคิดว่า

เราจะทำก่อน เราจะทำก่อน " โดยประการที่ชนเหล่าอื่นจะไม่ได้โอกาส

ฉะนั้น. หรือบรรพชิต เมื่อทำวัตรทั้งหลายมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้น ไม่ให้

โอกาสแก่ผู้อื่น ควรทำเร็ว ๆ ทีเดียว ด้วยคิดว่า " เราจะทำก่อน เราจะ

ทำก่อน."

สองบทว่า ปาปา จิตฺต ความว่า ก็บุคคลพึงห้ามจิตจากบาปกรรม

มีกายทุจริตเป็นต้น หรือจากอกุศลจิตตุปบาท ในที่ทุกสถาน.

สองบทว่า ทนฺธิ หิ กรโต ความว่า ก็ผู้ใดคิดอยู่อย่างนั้นว่า " เรา

จักให้, จักทำ, ผลนี้จักสำเร็จแก่เราหรือไม่ " ชื่อว่าทำบุญช้าอยู่ เหมือน

บุคคลเดินทางลื่น. ความชั่วของผู้นั้นย่อมได้โอกาส เหมือนมัจเฉรจิต

พันดวงของพราหมณ์ชื่อเอกสาฎกฉะนั้น. เมื่อเช่นนั้นใจของเขาย่อมยินดี

ในความชั่ว, เพราะว่าในเวลาที่ทำกุศลกรรมเท่านั้นจิตย่อมยินดีในกุศล

กรรม, พ้นจากนั้นแล้ว ย่อมน้อมไปสู่ความชั่วได้แท้.

ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 9

๒. เรื่องพระเสยยสกัตเถระ [๙๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเสยยส-

กัตเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา" เป็นต้น.

พระเถระทำปฐมสังฆาทิเสส

ดังได้สดับมา พระเสยยสกัตเถระนั้น เป็นสัทธิวิหาริกของพระ-

โลฬุทายีเถระ บอกความไม่ยินดีของตนแก่พระโลฬุทายีนั้น ถูกท่าน

ชักชวนในการทำปฐมสังฆาทิเสส เมื่อความไม่ยินดีเกิดทวีขึ้น ได้ทำกรรม

นั้นแล้ว.

กรรมชั่วให้ทุกข์ในภพทั้ง

พระศาสดา ได้สดับกิริยาของเธอ รับสั่งให้เรียกเธอมาแล้ว ตรัส

ถามว่า " ได้ยินว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ ? " เมื่อเธอทูลว่า " อย่างนั้น

พระเจ้าข้า ? " จึงตรัสว่า " แน่ะโมฆบุรุษ เหตุไร เธอจึงได้ทำกรรมหนัก

อันไม่สมควรเล่า ? " ทรงติเตียนโดยประการต่าง ๆ ทรงบัญญัติสิกขาบท

แล้ว ตรัสว่า " ก็กรรมเห็นปานนี้ เป็นกรรมยังสัตว์ให้เป็นไปเพื่อทุกข์

อย่างเดียว ทั้งในภพนี้ทั้งในภพหน้า " เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๒. ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา น น กยิรา ปุนปฺปุน

น ตมฺหิ ฉนฺท กยิราถ ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย.

"ถ้าบุรุษพึงทำบาปไซร้, ไม่ควรทำบาปนั้น

บ่อย ๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น. เพราะว่า

ความสั่งสมบาปเป็นเหตุให้เกิดทุกข์."

๑. อนภิรดี บางแห่งแปลว่า ความกระสัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 10

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถามนั้นว่า " ถ้าบุคคลพึงทำกรรมลามกคราว

เดียว. ควรพิจารณาในขณะนั้นแหละ สำเหนียกว่า " กรรมนี้ไม่สมควร

เป็นกรรมหยาบ " ไม่ควรทำกรรมนั้นบ่อย ๆ. พึงบรรเทาเสีย ไม่ควรทำ

แม้ซึ่งความพอใจ หรือความชอบใจในบาปกรรมนั้น ซึ่งจะพึงเกิดขึ้น

เลย.

ถามว่า " เพราะเหตุไร ? "

แก้ว่า " เพราะว่า ความสั่งสม คือความพอกพูนบาป เป็นเหตุ

ให้เกิดทุกข์ คือย่อมนำแต่ทุกข์มาให้ ทั้งในโลกนี้ ทั้งในโลกหน้า. "

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระเสยยสกัตเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 11

๓. เรื่องนางลาชเทวธิดา [๙๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางลาช-

เทวธิดา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปุญฺญญฺเจ ปุริโส กยิรา" เป็นต้น.

เรื่องเกิดขึ้นแล้วในเมืองราชคฤห์.

หญิงถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสป

ความพิสดารว่า ท่านพระมหากัสสป อยู่ที่ปิปผลิคูหา เข้าฌาณ

แล้ว ออกในวันที่ ๗ ตรวจดูที่เที่ยวไปเพื่อภิกษาด้วยทิพยจักษุ เห็น

หญิงรักษานาข้าวสาลีคนหนึ่ง เด็ดรวงข้าวสาลีทำข้าวตอกอยู่ พิจารณาว่า

" หญิงนี้มีศรัทธาหรือไม่หนอ " รู้ว่า " มีศรัทธา " ใคร่ครวญว่า " เธอ

จักอาจ เพื่อทำการสงเคราะห์แก่เราหรือไม่หนอ ? " รู้ว่า " กุลธิดาเป็น

หญิงแกล้วกล้า จักทำการสงเคราะห์เรา, ก็แลครั้นทำแล้ว จักได้สมบัติ

เป็นอันมาก " จึงครองจีวรถือบาตร ได้ยืนอยู่ที่ใกล้นาข้าวสาลี. กุลธิดา

พอเห็นพระเถระก็มีจิตเลื่อมใส มีสระรีอันปีติ ๕ อย่างถูกต้องแล้ว กล่าวว่า

นิมนต์หยุดก่อน เจ้าข้า " ถือข้าวตอกไปโดยเร็ว เกลี่ยลงในบาตรของ

พระเถระแล้ว ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ได้ทำความปรารถนาว่า " ท่าน

เจ้าข้า ขอดิฉันพึงเป็นผู้มีสวนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว. "

จิตเลื่อมใสในทานไปเกิดในสวรรค์

พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า "ความปรารถนาอย่างนั้น จงสำเร็จ."

ฝ่ายนางไหว้พระเถระแล้ว พลางนึกถึงทานที่ตนถวายแล้วกลับไป. ก็ใน

๑. คำว่า เบญจางคประดิษฐ์ แปลว่า ตั้งไว้เฉพาะซึ่งองค์ ๕ หมายความว่า ไหว้ได้องค์ ๕ คือ

หน้าผาก ๑ ฝ่ามือทั้ง ๒ และเข่าทั้ง ๒ จดลงที่พื้น จึงรวมเป็น ๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 12

หนทางที่นางเดินไป บนคันนา มีงูพิษร้ายนอนอยู่ในรูแห่งหนึ่ง งูไม่

อาจขบกัดแข้งพระเถระอันปกปิดด้วยผ้ากาสายะได้. นางพลางระลึกถึง

ทานกลับไปถึงที่นั้น. งูเลื้อยออกจากรู กัดนางให้ล้มลง ณ ที่นั้นเอง

นางมีจิตเลื่อมใส ทำกาละแล้ว ไปเกิดในวิมานทองประมาณ ๓๐ โยชน์

ในภพดาวดึงส์ มีอัตภาพประมาณ ๓ คาวุต ประดับเครื่องอลังการทุก

อย่าง เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น.

วิธีทำทิพยสมบัติให้ถาวร

นางนุ่งผ้าทิพย์ประมาณ ๑๒ ศอกผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง แวดล้อม

ด้วยนางอัปสรตั้งพัน เพื่อประกาศบุรพกรรม จึงยืนอยู่ที่ประตูวิมาน

อันประดับด้วยขันทองคำ เต็มด้วยข้าวตอกทองคำห้อยระย้าอยู่ ตรวจดู

สมบัติของตน ใคร่ครวญด้วยทิพยจักษุว่า " เราทำกรรมสิ่งไรหนอ จึง

ได้สมบัตินี้ " ได้รู้ว่า " สมบัตินี้เราได้เเล้ว เพราะผลแห่งข้าวตอกที่เรา

ถวายพระผู้เป็นเจ้ามหากัสสปเถระ. " นางคิดว่า " เราได้สมบัติเห็นปานนี้

เพราะกรรมนิดหน่อยอย่างนี้ บัดนี้เราไม่ควรประมาท. เราจักทำวัตร

ปฏิบัติแก่พระผู้เป็นเจ้า ทำสมบัตินี้ให้ถาวร " จึงถือไม้กวาด และกระเช้า

สำหรับเทมูลฝอยสำเร็จด้วยทองไปกวาดบริเวณของพระเถระ แล้วตั้งน้ำ

ฉันน้ำใช้ไว้แต่เช้าตรู่.

พระเถระเห็นเช่นนั้น สำคัญว่า " จักเป็นวัตรที่ภิกษุหนุ่มหรือสามเณร

บางรูปทำ. " แม้ในวันที่ ๒ นางก็ได้ทำอย่างนั้น. ผ่ายพระเถระก็สำคัญ

เช่นนั้นเหมือนกัน. แต่ในวันที่ ๓ พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดของนาง

๑. คาวุต ๑ ยาวเท่ากับ ๑๐๐ เส้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 13

และเห็นแสงสว่างแห่งสรีระฉายเข้าไปทางช่องลูกดาล จึงเปิดประตู (ออก

มา) ถามว่า " ใครนั่น กวาดอยู่ ? "

นาง. ท่านเจ้าข้า ดิฉันเอง เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน ชื่อลาช-

เทวธิดา.

พระเถระ. อันอุปัฏฐายิกาของเรา ผู้มีชื่ออย่างนั้น ดูเหมือนไม่มี.

นาง. ท่านเจ้าข้า ดิฉัน ผู้รักษานาข้าวสาลี ถวายข้าวตอกแล้ว มีจิต

เลื่อมใสกำลังกลับไป ถูกงูกัด ทำกาละแล้ว บังเกิดในเทวโลกชั้นดาวดึงส์.

ท่านเจ้าข้า ดิฉันคิดว่า " สมบัตินี้เราได้เพราะอาศัยพระผู้เป็นเจ้า, แม้ใน

บัดนี้ เราจักทำวัตรปฏิบัติแก่ท่าน ทำสมบัติให้มั่นคง, จึงได้มา. "

พระเถระ. ทั้งวานนี้ทั้งวานซืนนี้ เจ้าคนเดียวกวาดที่นี่. เจ้าคน

เดียวเข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ไว้หรือ ?

นาง. อย่างนั้น เจ้าข้า.

พระเถระ. จงหลีกไปเสีย นางเทวธิดา, วัตรที่เจ้าทำแล้ว จงเป็น

อันทำแล้ว, ตั้งแต่นี้ไป เจ้าอย่ามาที่นี้ (อีก).

นาง. อย่าให้ดิฉันฉิบหายเสียเลย เจ้าข้า, ขอพระผู้เป็นเจ้า จงให้

ดิฉันทำวัตรแก่พระผู้เป็นเจ้า ทำสมบัติของดิฉันให้มั่นคงเถิด.

พระเถระ. จงหลีกไป นางเทวธิดา, เจ้าอย่าทำให้เราถูกพระ-

ธรรมกถึกทั้งหลาย นั่งจับพัดอันวิจิตร พึงกล่าวในอนาคตว่า ' ได้ยินว่า

นางเทวธิดาผู้หนึ่ง มาทำวัตรปฏิบัติ เข้าไปตั้งน้ำฉันน้ำใช้ เพื่อพระมหา-

กัสสปเถระ,' แต่นี้ไป เจ้าอย่ามา ณ ที่นี้ จงกลับไปเสีย.

นางจึงอ้อนวอนซ้ำ ๆ อีกว่า " ขอท่านอย่าให้ดิฉันฉิบหายเลย

เจ้าข้า. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 14

พระเถระคิดว่า " นางเทวธิดานี้ไม่เชื่อฟังถ้อยคำของเรา " จึงปรบ

มือด้วยกล่าวว่า " เจ้าไม่รู้จักประมาณของเจ้า. "

นางไม่อาจดำรงอยู่ในที่นั้นได้ เหาะขึ้นในอากาศ ประคองอัญชลี

ได้ยืนร้องไห้ (คร่ำครวญอยู่) ในอากาศว่า " ท่านเจ้าข้า อย่าให้สมบัติ

ที่ดิฉันได้เเล้วฉิบหายเสียเลย, จงให้เพื่อทำให้มั่นคงเถิด. "

บุญให้เกิดสุขในภพทั้งสอง

พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงสดับเสียงนาง

เทวธิดานั้นร้องไห้ ทรงแผ่พระรัศมีดุจประทับนั่งตรัสอยู่ในที่เฉพาะหน้า

นางเทวธิดา ตรัสว่า " เทวธิดา การทำความสังวรนั่นเทียว เป็นภาระ.'

ของกัสสปผู้บุตรของเรา. แต่การกำหนดว่า ' นี้เป็นประโยชน์ของเรา

แล้วมุ่งกระทำแต่บุญ ย่อมเป็นภาระของผู้มีความต้องการด้วยบุญ, ด้วยว่า

การทำบุญเป็นเหตุให้เกิดสุขอย่างเดียว ทั้งในภพนี้ ทั้งในภพหน้า " ดังนี้

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๓. ปุญฺญฺเจ ปุริโส กยิรา กยิราเถน ปุนปฺปุน

ตมฺหิ ฉนฺท กยิราถ สุโข ปุญฺสฺส อุจฺจโย.

" ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้, พึงทำบุญนั้นบ่อย ๆ พึง

ทำความพอใจในบุญนั้น, เพราะว่า ความสั่งสมบุญ

ทำให้เกิดสุข. "

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " ถ้าบุรุษพึงทำบุญไซร้. ไม่พึง

งดเว้นเสียด้วยเข้าใจว่า " เราทำบุญครั้งเดียวแล้ว, พอละ ด้วยบุญเพียง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 15

เท่านี้ พึงทำบ่อยๆ แม้ในขณะทำบุญนั้น พึงทำความพอใจ คือความ

ชอบใจ ได้แก่ความอุตสาหะในบุญนั่นแหละ.

ถามว่า " เพราะเหตุไร? "

วิสัชนาว่า เพราะว่าความสั่งสมบุญให้เกิดสุข อธิบายว่า เพราะว่า

ความสั่งสมคือความพอกพูนบุญ ชื่อว่าให้เกิดสุข เพราะเป็นเหตุนำความ

สุขมาให้ในโลกนี้และโลกหน้า.

ในกาลจบเทศนา นางเทวธิดานั้น ยืนอยู่ในที่สุดทาง ๔๕ โยชน์

นั่นแล ได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องนางลาชเทวธิดา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 16

๔. เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี [๙๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเศรษฐีชื่อ

อนาถบิณฑิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปาโปปิ ปสฺสตี ภทฺร "

เป็นต้น.

ท่านเศรษฐีบำรุงภิกษุสามเณรเป็นนิตย์

ความพิสดารว่า อนาถบิณฑิกเศรษฐี จ่ายทรัพย์ตั้ง ๕๔ โกฎิ ใน

พระพุทธศาสนาเฉพาะวิหารเท่านั้น. เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระ-

เชตวัน ไปสู่ที่บำรุงใหญ่ ๓ แห่งทุกวัน, ก็เมื่อจะไป คิดว่า " สามเณร

ก็ดี ภิกษุหนุ่มก็ดี พึงแลดูแม้มือของเรา ด้วยการนึกว่า เศรษฐีนั้นถือ

อะไรมาบ้าง ดังนี้ ไม่เคยเป็นผู้ชื่อว่ามีมือเปล่าไปเลย, เมื่อไปเวลาเช้า

ให้คนถือข้าวต้มไป บริโภคอาหารเช้าแล้วให้คนถือเภสัชทั้งหลาย มีเนยใส

เนยข้นเป็นต้นไป. ในเวลาเย็น ให้ถือวัตถุต่างๆ มีระเบียบดอกไม้ ของ

หอม เครื่องลูบไล้และผ้าเป็นต้น ไปสู่วิหาร. ถวายทาน รักษาศีล อย่างนั้น

ทุก ๆ วัน ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว.

การหมดสิ้นแห่งทรัพย์ของเศรษฐี

ในกาลต่อมา เศรษฐี ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งทรัพย์. ทั้งพวกพาณิช

ก็กู้หนี้เป็นทรัพย์ ๑๘ โกฏิจากมือเศรษฐีนั้น. เงิน ๑๘ โกฏิแม้เป็นสมบัติ

แห่งตระกูลของเศรษฐี ที่ฝังตั้งไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝั่งพังลงเพราะน้ำ

(เซาะ) ก็จมลงยังมหาสมุทร. ทรัพย์ของเศรษฐีนั้นได้ถึงความหมดสิ้น

ไปโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 17

เศรษฐีถวายทานตามมีตามได้

เศรษฐีแม้เป็นผู้อย่างนั้นแล้ว ก็ยังถวายทานแก่สงฆ์เรื่อยไป. แต่

ไม่อาจถวายทำให้ประณีตได้. ในวันหนึ่ง เศรษฐี เมื่อพระศาสดารับสั่งว่า

" คฤหบดี ก็ทานในตระกูล ท่านยังให้อยู่หรือ ? " กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า

ทานในตระกูล ข้าพระองค์ยังให้อยู่. ก็แลทานนั้น (ใช้) ข้าวปลายเกรียน

มีน้ำส้มพะอูมเป็นที่ ๒."

เมื่อมีจิตผ่องใสทานที่ถวายไม่เป็นของเลว

ทีนั้น พระศาสดา ตรัสกะเศรษฐีว่า " คฤหบดี ท่านอย่าคิดว่า ' เรา

ถวายทานเศร้าหมอง. ' ด้วยว่าเมื่อจิตประณีตแล้ว, ทานที่บุคคลถวายแด่

พระอรหันต์ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่าเศร้าหมองย่อมไม่มี.

คฤหบดี อีกประการหนึ่ง ท่านได้ถวายทานแด่พระอริยบุคคลทั้ง ๘แล้ว;

ส่วนเราในกาลเป็นเวลาพราหมณ์นั้น กระทำชาวชมพูททวีปทั้งสิ้น ให้พัก

ไถนา ยังมหาทานให้เป็นไปอยู่ ไม่ได้ทักขิไณยบุคคลไรๆ แม้ผู้ถึงซึ่ง

ไตรสรณะ. ชื่อว่าทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ยากที่บุคคลจะได้ด้วยประการ

ฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านอย่าคิดเลยว่า 'ทานของเราเศร้าหมอง' ดังนี้

แล้ว ได้ตรัสเวลามสูตร แก่เศรษฐีนั้น.

เทวดาเตือนเศรษฐีให้เลิกการบริจาค

ครั้งนั้น เทวดาซึ่งสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูของเศรษฐี เมื่อพระศาสดา

และสาวกทั้งหลายเข้าไปสู่เรือน. ไม่อาจจะดำรงอยู่ได้เพราะเดชแห่งพระ-

ศาสดาและพระสาวกเหล่านั้น คิดว่า " พระศาสดาและพระสาวกเหล่านี้จะ

๑. อัง. นวก. ๒๓/๔๐๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 18

ไม่เข้าไปสู่เรือนนี้ได้ด้วยประการใด. เราจะยุยงคฤหบดีด้วยประการนั้น:

แม้ใคร่จะพูดกะเศรษฐีนั้น ก็ไม่ได้อาจเพื่อจะกล่าวอะไร ๆ ในกาลที่

เศรษฐีเป็นอิสระ " คิดว่า " ก็บัดนี้เศรษฐีนี้เป็นผู้ยากจนแล้ว. คงจักเชื่อ

ฟังคำของเรา " ในเวลาราตรี เข้าไปสู่ห้องอันเป็นสิริของเศรษฐี ได้ยืนอยู่

ในอากาศ.

ขณะนั้น เศรษฐีเห็นเทวดานั้นแล้วถามว่า " นั่นใคร ? "

เทวดา. มหาเศรษฐี ข้าพเจ้าเป็นเทวดาสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ของ

ท่าน มาเพื่อต้องการเตือนท่าน.

เศรษฐี. เทวดา ถ้าเช่นนั้น เชิญท่านพูดเถิด.

เทวดา. มหาเศรษฐี ท่านไม่เหลียวแลถึงกาลภายหลังเลย จ่าย

ทรัพย์เป็นอันมากในศาสนาของพระสมณโคคม. บัดนี้ ท่านแม้เป็นผู้ยาก

จนแล้ว ก็ยังไม่ละการจ่ายทรัพย์อีก. เมื่อท่านประพฤติอย่างนี้ จักไม่ได้

แม้วัตถุสักว่าอาหารและเครื่องนุ่งห่ม โดย ๒-๓ วันแน่แท้; ท่านจะต้อง

การอะไรด้วยพระสมณโคคม ท่านจงเลิกจากการบริจาคเกิน (กำลัง) เสีย

แล้วประกอบการงานทั้งหลาย รวบรวมสมบัติไว้เถิด.

เศรษฐี. นี้เป็นโอวาทที่ท่านให้แก่ข้าพเจ้าหรือ ?

เทวดา. จ้ะ มหาเศรษฐี.

เศรษฐี. ไปเถิดท่าน. ข้าพเจ้า อันบุคคลผู้เช่นท่าน แม้ตั้งร้อย

ตั้งพัน ตั้งแสนคน ก็ไม่อาจให้หวั่นไหวได้. ท่านกล่าวคำไม่สมควร จะ

ต้องการอะไรด้วยท่านผู้อยู่ในเรือนของข้าพเจ้า. ท่านจงออกไปจากเรือน

ของข้าพเจ้าเร็ว ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 19

เทวดาถูกเศรษฐีขับไล่ไม่มีที่อาศัย

เทวดานั้น ฟังคำของเศรษฐีผู้เป็นโสดาบันอริยสาวกแล้ว ไม่อาจ

ดำรงอยู่ได้ จึงพาทารกทั้งหลายออกไป, ก็แล ครั้นออกไปแล้วไม่ได้ที่อยู่

ในที่อื่น จึงคิดว่า " เราจักให้ท่านเศรษฐีอดโทษแล้วอยู่ในที่เดิมนั้น

เข้าไปหาเทพบุตรผู้รักษาพระนคร แจ้งความผิดที่ตนทำแล้ว กล่าวว่า

" เชิญมาเถิดท่าน, ขอท่านจงนำข้าพเจ้าไปยังสำนักของท่านเศรษฐี ให้

ท่านเศรษฐีอดโทษแล้วให้ที่อยู่ (แก่ข้าพเจ้า). "

เทพบุตรห้ามเทวดานั้นว่า " ท่านกล่าวคำไม่สมควร, ข้าพเจ้าไม่

อาจไปยังสำนักของเศรษฐีนั้นได้. "

เทวดานั้นจึงไปสู่สำนักของท้าวมหาราชทั้ง ๔ ก็ถูกท่านเหล่านั้น

ห้ามไว้ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวสักกเทวราช กราบทูลเรื่องนั้น (ให้ทรงทราบ)

แล้ว ทูลวิงวอนอย่างน่าสงสารว่า " ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ไม่ได้ที่อยู่

ต้องจูงพวกทารกเที่ยวระหกระเหิน หาที่พึ่งมิได้. ขอได้โปรดให้เศรษฐี

ให้ที่อยู่แก่ข้าพระองค์เถิด."

ท้าวสักกะทรงแนะนำอุบายให้เทวดา

คราวนั้น ท้าวสักกะ ตรัสกะเทวดานั้นว่า " ถึงเราก็จักไม่อาจกล่าว

กะเศรษฐีเพราะเหตุแห่งท่านได้ (เช่นเดียวกัน). แต่จักบอกอุบายให้แก่

ท่านสักอย่างหนึ่ง. "

เทวดา. ดีละ เทพเจ้า ขอพระองค์ทรงพระกรุณาตรัสบอกเถิด.

ท้าวสักกะ. ไปเถิดท่าน. จงแปลงเพศเป็นเสมียนของเศรษฐี ให้

ใครนำหนังสือ (สัญญากู้เงิน) จากมือเศรษฐีมาแล้ว (นำไป) ให้เขาชำระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 20

ทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ที่พวกค้าขายถือเอาไป ด้วยอานุภาพของตนแล้ว บรรจุ

ไว้ให้เต็มในห้องเปล่า. ทรัพย์ ๑๘ โกฏิ ที่จมลงยังมหาสมุทรมีอยู่ก็ดี.

ทรัพย์ ๘ โกฏิ ส่วนอื่น ซึ่งหาเจ้าของมิได้ มีอยู่ในที่โน้นก็ดี. จงรวบ

รวมทรัพย์ทั้งหมดนั้น บรรจุไว้ให้เต็มในห้องเปล่าของเศรษฐี ครั้นทำ

กรรมชื่อนี้ให้เป็นทัณฑกรรมแล้ว จึงขอขมาโทษเศรษฐี.

เศรษฐีกลับรวยอย่างเดิม

เทวดานั้น รับว่า " ดีละ เทพเจ้า " แล้วทำกรรมทุก ๆ อย่างตาม

นัยที่ท้าวสักกะตรัสบอกแล้วนั่นแล ยังห้องอันเป็นสิริของท่านเศรษฐีให้

สว่างไสว ดำรงอยู่ในอากาศ เมื่อท่านเศรษฐีกล่าวว่า " นั่น ใคร " จึง

ตอบว่า " ข้าพเจ้าเป็นเทวดาอันธพาล ซึ่งสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูที่ ๔ ของ

ท่าน. คำใด อันข้าพเจ้ากล่าวแล้วในสำนักของท่านด้วยความเป็นอันธ-

พาล. ขอท่านจงอดโทษคำนั้นแก่ข้าพเจ้าเถิด. เพราะข้าพเจ้าได้ทำทัณฑ-

กรรมด้วยการรวบรวมทรัพย์ ๕๔ โกฏิ มาบรรจุไว้เต็มห้องเปล่า ตาม

บัญชาของท้าวสักกะ. ข้าพเจ้าเมื่อไม่ได้ที่อยู่ ย่อมลำบาก. "

เศรษฐีอดโทษแก่เทวดา

อนาถบิณฑิกเศรษฐี จินตนาการว่า " เทวดานี้ กล่าวว่า "ทัณฑ-

กรรม อันข้าพเจ้ากระทำแล้ว" ดังนี้. และรู้สึกโทษ (ความผิด) ของตน.

เราจักแสดงเทวดานั้นแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า." ท่านเศรษฐี นำเทวดา

นั้นไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลกรรมอันเทวดานั้นทำแล้ว

ทั้งหมด.

เทวดาหมอบลงด้วยเศียรเกล้า แทบพระบาทยุคลแห่งพระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 21

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ทราบพระคุณทั้งหลาย

ของพระองค์ ได้กล่าวคำใดอันชั่วช้า เพราะความเป็นอันธพาล. ขอ

พระองค์ทรงงดโทษคำนั้นแก่ข้าพระองค์ ให้พระศาสดาทรงอดโทษแล้ว

จึงให้ท่านมหาเศรษฐีอดโทษให้ (ในภายหลัง).

เมื่อกรรมให้ผล คนโง่จึงเห็นถูกต้อง

พระศาสดา เมื่อจะทรงโอวาทเศรษฐีและเทวดา ด้วยสามารถวิบาก

แห่งกรรมดีและชั่วนั่นแล จึงตรัสว่า " ดูก่อนคฤหบดี แม้บุคคลผู้ทำบาป

ในโลกนี้ ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาลที่บาปยังไม่เผล็ดผล. แต่เมื่อใด

บาปของเขาเผล็ดผล, เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่วเเท้ ๆ; ฝ่ายบุคคล

ผู้ทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ดผล,

แต่เมื่อใด กรรมดีของเขาเผล็ดผล. เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นกรรมดีว่า

ดีจริง ๆ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ภาษิตพระ-

คาถาเหล่านี้ว่า

๔. ปาโปปิ ปสฺสติ ภทฺร ยาว ปาป น ปจฺจติ

ยทา จ ปจฺจติ ปาป อถ (ปาโป) ปาปานิ ปสฺสติ.

ภโทฺรปิ ปสฺสติ ปาป ยาว ภทฺร น ปจฺจติ

ยทา จ ปจฺจติ ภทฺร อถ (ภโทฺร) ภทฺรานิ ปสฺสติ.

" แม้คนผู้ทำบาป ย่อมเห็นบาปว่าดี ตลอดกาล

ที่บาปยังไม่เผล็ดผล, แต่เมื่อใด บาปเผล็ดผล,

เมื่อนั้น เขาย่อมเห็นบาปว่าชั่ว, ฝ่ายคนทำกรรมดี

ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่ว ตลอดกาลที่กรรมดียังไม่เผล็ด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 22

ผล แต่เมื่อใด กรรมดีเผล็ดผล เมื่อนั้น เขาย่อม

เห็นกรรมดีว่าดี."

แก้อรรถ

บุคคลผู้ประกอบบาปกรรมมีทุจริตทางกายเป็นต้น ชื่อว่าคนผู้บาป

ในพระคาถานั้น.

ก็บุคคลแม้นั้น เมื่อยังเสวยสุขอันเกิดขึ้น ด้วยอานุภาพแห่งสุจริต

กรรมในปางก่อนอยู่ ย่อมเห็นแม้บาปกรรมว่าดี.

บาทพระคาถาว่า ยาว ปาป น ปจฺจติ เป็นต้น ความว่า บาปกรรม

ของเขานั้น ยังไม่ให้ผลในปัจจุบันภพหรือสัมปรายภพเพียงใด. (ผู้ทำ

บาป ย่อมเห็นบาปว่าดี เพียงนั้น). แต่เมื่อใดบาปกรรมของเขานั้นให้ผล

ในปัจจุบันภพหรือในสัมปรายภพ. เมื่อนั้น ผู้ทำบาปนั้น เมื่อเสวยกรรม-

กรณ์ต่าง ๆ ในปัจจุบันภพ และทุกข์ในอบายในสัมปรายภพอยู่ ย่อมเห็น

บาปว่าชั่วถ่ายเดียว.

ในพระคาถาที่ ๒ (พึงทราบเนื้อความดังต่อไปนี้). บุคคลผู้ประ-

กอบกรรมดีมีทุจริตทางกายเป็นต้น ชื่อว่าคนทำกรรมดี. คนทำกรรมดี

แม้นั้น เมื่อเสวยทุกข์อันเกิดขึ้นด้วยอานุภาพแห่งทุจริตในปางก่อน ย่อม

เห็นกรรมดีว่าชั่ว.

บาทพระคาถาว่า ยาว ภทฺร น ปจฺจิต เป็นต้น ความว่ากรรมดี

ของเขานั้น ยังไม่ให้ผล ในปัจจุบันภพหรือในสัมปรายภพเพียงใด. (คน

ทำกรรมดี ย่อมเห็นกรรมดีว่าชั่วอยู่ เพียงนั้น). แต่เมื่อใด กรรมดีนั้น

ให้ผล, เมื่อนั้นคนทำกรรมดีนั้น เมื่อเสวยสุขที่อิงอามิส มีลาภและสักการะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 23

เป็นต้นในปัจจุบันภพ และสุขที่อิงสมบัติ อันเป็นทิพย์ในสัมปรายภพอยู่

ย่อมเห็นกรรมดีว่า ดีจริง ๆ ดังนี้.

ในกาลจบเทศนา เทวดานั้น ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระธรรม-

เทศนา ได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้มาประชุมกัน ดังนี้เเล.

เรื่องอนาถบิณฑิกเศรษฐี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 24

๕. เรื่องภิกษุไม่ถนอมบริขาร [๙๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปหนึ่ง

ผู้ไม่ถนอมบริขาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มาวมญฺเถ ปาปสฺส "

เป็นต้น.

ของสงฆ์ใช้เเล้วควรรีบเก็บ

ได้ยินว่า ภิกษุนั้น ใช้สอยบริขารอันต่างด้วยเตียงและตั่งเป็นต้น

อย่างใดอย่างหนึ่ง ในภายนอกแล้ว ทิ้งไว้ในที่นั้นนั่นเอง. บริขารย่อม

เสียหายไป เพราะฝนบ้าง แดดบ้าง พวกสัตว์มีปลวกเป็นต้นบ้าง. ภิกษุ

นั้น เมื่อพวกภิกษุกล่าวเตือนว่า " ผู้มีอายุ ธรรมดาบริขาร ภิกษุควร

เก็บงำมิใช่หรือ ? " กลับกล่าวว่า " กรรมที่ผมทำนั่นนิดหน่อย ผู้มีอายุ,

บริขารนั่นไม่มีจิต, ความวิจิตรก็ไม่มี " ดังนี้แล้ว (ยังขืน) ทำอยู่อย่างนั้น

นั่นแลอีก. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลกิริยา (การ) ของเธอแด่พระศาสดา.

พระศาสดารับสั่งให้เรียกภิกษุนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุ ข่าวว่า

เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ ? " เธอแม้ถูกพระศาสดาตรัสถามแล้ว ก็กราบ-

ทูลอย่างดูหมิ่นอย่างนั้นนั่นแหละว่า " ข้าเเต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้น

จะเป็นอะไร, ข้าพระองค์ทำกรรมเล็กน้อย. บริขารนั้น ไม่มีจิต. ความ

วิจิตรก็ไม่มี. "

อย่าดูหมิ่นกรรมชั่วว่านิดหน่อย

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกับเธอว่า " อันภิกษุทั้งหลายทำอย่างนั้น

ย่อมไม่ควร, ขึ้นชื่อว่าบาปกรรม ใคร ๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่า นิดหน่อย;

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 25

เหมือนอย่างว่า ภาชนะที่เขาเปิดปากตั้งไว้กลางแจ้ง เมื่อฝนตกอยู่ ไม่

เต็มได้ด้วยหยาดน้ำหยาดเดียวโดยแท้, ถึงกระนั้น เมื่อฝนตกอยู่บ่อย ๆ

ภาชนะนั้นย่อมเต็มได้เเน่ ๆ ฉันใด. บุคคลผู้ทำบาปกรรมอยู่ ย่อมทำกอง

บาปให้ใหญ่โตขึ้นโดยลำดับได้อย่างแน่ ๆ ฉันนั้นเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว.

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๕. มาวมญฺเถ ปาปสฺส น มตฺต อาคมิสฺสติ

อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ

อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถก โถกปิ อาจิน.

" บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบาปว่า ่บาปมีประมาณ

น้อยจักไม่มาถึง ' แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่

ตกลง (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด, ชนพาลเมื่อสั่งสม

บาปแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ ฉันนั้น. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มาวมญฺเถ ความว่า บุคคลไม่ควร

ดูหมิ่น.

บทว่า ปาปสฺส แปลว่า ซึ่งบาป.

บาทพระคาถาว่า น มตฺต อาคมิสฺสติ ความว่า บุคคลไม่ควรดูหมิ่น

บาปอย่างนั้นว่า " เราทำบาปมีประมาณน้อย, เมื่อไร บาปนั่นจักเผล็ด

ผล ? "

บทว่า อุทกุมฺโภปิ ความว่า ภาชนะดินชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่เขา

เปิดปากทิ้งไว้ในเมื่อฝนตกอยู่ ย่อมเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงแม้ทีละหยาดๆ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 26

โดยลำดับได้ฉันใด. บุคคลเขลา เมื่อสั่งสมคือเมื่อพอกพูนบาปแม้ทีละ

น้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบาปได้ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้นแล้ว. แม้พระศาสดา ก็ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า " ภิกษุ

ลาดที่นอน (ของสงฆ์) ไว้ในที่แจ้งแล้ว ไม่เก็บไว้ตามเดิมต้องอาบัติชื่อนี้ "

ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุไม่ถนอมบริขาร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 27

๖. เรื่องเศรษฐีชื่อพิฬาลปทกะ [๑๐๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเศรษฐีชื่อ

พิฬาลปทกะ (เศรษฐีตีนแมว) ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มาวมญฺเถ

ปุญฺสฺส เป็นต้น.

ให้ทานองและชวนคนอื่น ได้สมบัติ ๒ อย่าง

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง ชาวเมืองสาวัตถีพากันถวายทานแด่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน โดยเนื่องเป็นพวกเดียวกัน. อยู่มา

วันหนึ่ง พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา ตรัสอย่างนี้ว่า " อุบาสก

อุบาสิกาทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานด้วยตน, (แต่) ไม่ชัก-

ชวนผู้อื่น. เขาย่อมได้โภคสมบัติ, (แต่) ไม่ได้บริวารสมบัติ ในที่แห่ง

ตนเกิดแล้ว ๆ; บางคนไม่ให้ทานด้วยตน. ชักชวนแต่คนอื่น. เขาย่อม

ได้บริวารสมบัติ (แต่) ไม่ได้โภคสมบัติในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ; บางคน

ไม่ให้ทานด้วยตนด้วย ไม่ชักชวนคนอื่นด้วย. เขาย่อมไม่ได้โภคสมบัติ

ไม่ได้บริวารสมบัติ ในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ; เป็นคนเที่ยวกินเดน บาง

คน ให้ทานด้วยคนด้วย ชักชวนคนอื่นด้วย,. เขาย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ

และบริวารสมบัติ ในที่แห่งคนเกิดแล้ว ๆ."

บัณฑิตเรี่ยไรของทำบุญ

ครั้งนั้น บัณฑิตบุรุษผู้หนึ่ง ฟังธรรมเทศนานั้นแล้ว คิดว่า " โอ !

เหตุนี้น่าอัศจรรย์, บัดนี้ เราจักทำกรรมที่เป็นไปเพื่อสมบัติทั้งสอง," จึง

กราบทูลพระศาสดาในเวลาเสด็จลุกไปว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้

ขอพระองค์จงทรงรับภิกษาขอพวกข้าพระองค์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 28

พระศาสดา. ก็ท่านมีความต้องการด้วยภิกษุสักเท่าไร ?

บุรุษ. ภิกษุทั้งหมด พระเจ้าข้า.

พระศาสดาทรงรับแล้ว. แม้เขาก็เข้าไปยังบ้าน เที่ยวป่าวร้องว่า

"ข้าแต่แม่และพ่อทั้งหลาย ข้าพเจ้านิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประธาน เพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้, ผู้ใดอาจถวายแก่ภิกษุทั้งหลายมี

ประมาณเท่าใด, ผู้นั้นจงให้วัตถุต่าง ๆ มีข้าวสารเป็นต้น เพื่อประโยชน์

แก่อาหารมียาคูเป็นต้น เพื่อภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านั้น, พวกเราจัก

ให้หุงต้มในที่แห่งเดียวกันแล้วถวายทาน"

เหตุที่เศรษฐีชื่อว่าพิฬาลปทกะ

ทีนั้น เศรษฐีคนหนึ่ง เห็นบุรุษนั้นมาถึงประตูร้านตลาดของตน

ก็โกรธว่า "เจ้าคนนี้ ไม่นิมนต์ภิกษุแต่พอ (กำลัง) ของตน ต้องมา

เที่ยวชักชวนชาวบ้านทั้งหมด (อีก)," จึงบอกว่า "แกจงนำเอาภาชนะ

ที่แกถือมา" ดังนี้แล้ว เอานิ้วมือ ๓ นิ้วหยิบ ได้ให้ข้าวสารหน่อยหนึ่ง,

ถั่วเขียว ถั่วราชมาษก็เหมือนกันแล. ตั้งแต่นั้น เศรษฐีนั้นจึงมีชื่อว่า

พิฬาลปทกเศรษฐี. แม้เมื่อจะให้เภสัชมีเนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น ก็เอียง

ปากขวดเข้าที่หม้อ ทำให้ปากขวดนั้นติดเป็นอันเดียวกัน ให้เภสัชมีเนยใส

และน้ำอ้อยเป็นต้นไหลลงทีละหยด ๆ ได้ให้หน่อยหนึ่งเท่านั้น.

อุบาสกทำวัตถุทานที่คนอื่นให้โดยรวมกัน (แต่) ได้ถือเอาสิ่งของ

ที่เศรษฐีนี้ให้ไว้แผนกหนึ่งต่างหาก.

เศรษฐีให้คนสนิทไปดูการทำของบุรุษผู้เรี่ยไร

เศรษฐีนั้น เห็นกิริยาของอุบาสกนั้นแล้ว คิดว่า " ทำไมหนอ

เจ้าคนนี้จึงรับสิ่งของที่เราให้ไว้แผนกหนึ่ง ? " จึงส่งจูฬุปัฏฐากคนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 29

ไปข้างหลังเขา ด้วยสั่งว่า " เจ้าจงไป, จงรู้กรรมที่เจ้านั่นทำ." อุบาสก

นั้นไปแล้ว กล่าวว่า " ขอผลใหญ่จงมีแก่เศรษฐี." ดังนี้แล้วใส่ข้าวสาร

๑-๒ เมล็ด เพื่อประโยชน์ แก่ยาคู ภัต และขนม, ใส่ถั่วเขียวถั่วราชมาษ

บ้าง หยาดน้ำมันและหยาดน้ำอ้อยเป็นต้นบ้าง ลงในภาชนะทุก ๆ ภาชนะ.

จูฬุปัฏฐากไปบอกแก่เศรษฐีแล้ว. เศรษฐีฟังคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า " หาก

เจ้าคนนั้นจักกล่าวโทษเราในท่ามกลางบริษัทไซร้, พอมันเอ่ยชื่อของเรา

ขึ้นเท่านั้น เราจักประหารมันให้ตาย." ในวันรุ่งขึ้น จึงเหน็บกฤชไว้ใน

ระหว่างผ้านุ่งแล้ว ได้ไปยืนอยู่ที่โรงครัว.

ฉลาดพูดทำให้ผู้มุ่งร้ายกลับอ่อนน้อม

บุรุษนั้น เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบ

ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชักชวนมหา-

ชนถวายทานนี้, พวกมนุษย์ข้าพระองค์ชักชวนแล้วในที่นั้น ได้ให้ข้าวสาร

เป็นต้นมากบ้างน้อยบ้าง ตามกำลังของตน, ขอผลอันไพศาลจงมีแก่

มหาชนเหล่านั้นทั้งหมด."

เศรษฐีได้ยินคำนั้นแล้ว คิดว่า " เรามาด้วยตั้งใจว่า ' พอมันเอ่ย

ชื่อของเราขึ้นว่า ' เศรษฐีชื่อโน้นถือเอาข้าวสารเป็นต้นด้วยหยิบมือให้,'

เราก็จักฆ่าบุรุษนี้ ให้ตาย, แต่บุรุษนี้ ทำทานให้รวมกันทั้งหมด แล้ว

กล่าวว่า ' ทานที่ชนเหล่าใดตวงด้วยทะนานเป็นต้นแล้วให้ก็ดี, ทานที่

ชนเหล่าใดถือเอาด้วยหยิบมือแล้วให้ก็ดี, ขอผลอันไพศาล จงมีแก่ชน

เหล่านั้นทั้งหมด,' ถ้าเราจักไม่ให้บุรุษเห็นปานนี้อดโทษไซร้, อาชญา

ของเทพเจ้าจักตกลงบนศีรษะของเรา." เศรษฐีนั้นหมอบลงแทบเท้าของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 30

อุบาสกนั้นแล้วกล่าวว่า " นาย ขอนายจงอดโทษให้ผมด้วย," และถูก

อุบาสกนั้นถามว่า "นี้อะไรกัน ? " จึงบอกเรื่องนั้นทั้งหมด.

พระศาสดาทรงเห็นกิริยานั้นแล้ว ตรัสถามผู้ขวนขวายในทานว่า

" นี่อะไรกัน ? " เขากราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดตั้งแต่วันที่แล้ว ๆ มา.

อย่าดูหมิ่นบุญว่านิดหน่อย

ทีนั้น พระศาสดาตรัสถามเศรษฐีนั้นว่า " นัยว่า เป็นอย่างนั้น

หรือ ? เศรษฐี." เมื่อเขากราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า. " ตรัสว่า

" อุบาสก ขึ้นชื่อว่าบุญ อัน ใคร ๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่า 'นิดหน่อย.' อัน

บุคคลถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเช่นเราเป็นประธานแล้ว ไม่

ควรดูหมิ่นว่า 'เป็นของนิดหน่อย.' ด้วยว่า บุรุษผู้บัณฑิต ทำบุญอยู่

ย่อมเต็มไปด้วยบุญโดยลำดับแน่แท้ เปรียบเหมือนภาชนะที่เปิดปาก ย่อม

เต็มไปด้วยน้ำ ฉะนั้น." ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึง

ตรัสพระคาถานี้ว่า

๖. มาวมญฺเถ ปุสฺส น มตฺต อาคมิสฺสติ

อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ

อาปูรติ ธีโร ปุญฺสฺส โถก โถกปิ อาจิน.

" บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า 'บุญมีประมาณน้อย

จักไม่มาถึง' แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา

(ทีละหยาดๆ)ได้ฉันใด, ธีรชน (ชนผู้มีปัญญา) สั่ง-

สมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น."

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " มนุษย์ผู้บัณฑิต ทำบุญแล้วอย่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 31

ดูหมิ่น คือไม่ควรดูถูกบุญ อย่างนี้ว่า " เราทำบุญมีประมาณน้อย บุญมี

ประมาณน้อยจักมาถึง ด้วยอำนาจแห่งวิบากก็หาไม่. เมื่อเป็นเช่นนี้

กรรมนิดหน่อยจักเห็นเราที่ไหน ? หรือว่าเราจักเห็นกรรมนั้นที่ไหน ?

เมื่อไรบุญนั่นจักเผล็ดผล ? เหมือนอย่างว่า ภาชนะดินที่เขาเปิดฝาตั้งไว้

ย่อมเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา (ทีละหยาด ๆ) ไม่ขาดสายได้ ฉันใด,

ธีรชน คือบุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อสั่งสมบุญทีละน้อย ๆ ชื่อว่าเต็มด้วยบุญ

ได้ ฉันนั้น."

ในกาลจบเทศนา เศรษฐีนั้นบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. พระธรรม-

เทศนาได้มีประโยชน์แม้เเก่บริษัทที่มาประชุมกัน ดังนี้แล.

เรื่องเศรษฐีชื่อพิฬาลปทกะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 32

๗. เรื่องมหาธนวาณิช [๑๐๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพ่อค้ามีทรัพย์

มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "วาณิโชว ภย มคฺค" เป็นต้น.

พ่อค้านิมนต์ภิกษุ ๕๐๐ เดินทางร่วม

ดังได้สดับมา พวกโจร ๕๐๐ คน แสวงหาช่องในเรือนของพ่อค้า

นั้น ไม่ได้(ช่อง) แล้ว. โดยสมัยอื่น พ่อค้านั้นบรรทุกเกวียน ๕๐๐ เล่ม

ให้เต็มด้วยสิ่งของแล้ว ให้เผดียงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า " เราจะไปสู่ที่ชื่อ

โน้นเพื่อค้าขาย พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใดประสงค์จะไปสู่ที่นั้น. ขอนิมนต์

พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นจงออกไป. จักไม่ลำบากด้วยภิกษาในหนทาง. "

ภิกษุ ๕๐๐ รูปฟังคำนั้นแล้ว ได้เดินทางไปกับพ่อค้านั้น. โจรแม้เหล่านั้น

ได้ข่าวว่า " ได้ยินว่า พ่อค้านั้นออกไปแล้ว " ได้ไปซุ่มอยู่ในดง.

ฝ่ายพ่อค้าไปแล้ว ยึดเอาที่พักใกล้บ้านแห่งหนึ่งที่ปากดง จัดแจง

โคและเกวียนเป็นต้นสิ้น ๒-๓ วัน และถวายภิกษาแก่ภิกษุเหล่านั้นเป็น

นิตย์เทียว.

พวกโจรให้คนใช้ไปสืบข่าวพ่อค้า

พวกโจร เมื่อพ่อค้านั้นล่าช้าอยู่ จึงส่งบุรุษคนหนึ่งไปด้วยสั่งว่า

" เจ้าจงไป. จงรู้วันออก (เดินทาง) ของพ่อค้านั้นแล้วจงมา. " บุรุษ

นั้นไปถึงบ้านนั้นแล้ว ถามสหายคนหนึ่งว่า " พ่อค้าจักออกไปเมื่อไร "

สหายนั้นตอบว่า " โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน " ดังนี้แล้วกล่าวว่า " ก็

ท่านถามเพื่ออะไร ? "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 33

ทีนั้น บุรุษนั้นบอกแก่เขาว่า " พวกข้าพเจ้าเป็นโจร ๕๐๐ ซุ่มอยู่

ในดงเพื่อต้องการพ่อค้านั่น." ฝ่ายสหาย กล่าวว่า " ถ้าเช่นนั้น ท่านจง

ไป. พ่อค้าจักออกไปโดยเร็ว " ส่งบุรุษนั้นไปแล้ว คิดว่า " เราจักห้าม

พวกโจรหรือพ่อค้าดีหนอ ? " ตกลงใจว่า " ประโยชน์อะไรของเราด้วย

พวกโจร ภิกษุ ๕๐๐ รูปอาศัยพ่อค้าเป็นอยู่. เราจักให้สัญญาแก่พ่อค้า "

แล้วได้ไปสู่สำนักของพ่อค้านั้น ถามว่า " ท่านจักไปเมื่อไร " พ่อค้า

ตอบว่า ในวันที่ ๓ " กล่าวว่า " ท่านจงทำตามคำของข้าพเจ้า, ได้ยิน

ว่าพวกโจร ๕๐๐ ซุ่มอยู่ในดงเพื่อต้องการตัวท่าน, ท่านอย่าเพิ่งไปก่อน. "

พ่อค้าถูกสกัดต้องพักอยู่ในระหว่างทาง

พ่อค้า. ท่านรู้อย่างไร ?

บุรุษสหาย. เพื่อนของข้าพเจ้ามีอยู่ในระหว่างพวกโจรเหล่านั้น.

ข้าพเจ้ารู้เพราะคำบอกเล่าของเขา.

พ่อค้า. ถ้าเช่นนั้น ประโยชน์อะไรของเราด้วยการไปจากที่นี้.

เราจักกลับไปเรือนละ.

เมื่อพ่อค้านั้นชักช้า บุรุษที่พวกโจรเหล่านั้นส่งมาอีก มาถึงแล้ว

ถามสหายนั้น ได้ฟังความเป็นไปนั้นแล้ว ไปบอกแก่พวกโจรว่า " ได้

ยินว่า พ่อค้าจักกลับคืนไปเรือนทีเดียว. " พวกโจรฟังคำนั้นแล้ว ได้

ออกจากดงนั้นไปซุ่มอยู่ริมหนทางนอกนี้. เมื่อพ่อค้านั้นชักช้าอยู่ โจร

เหล่านั้นก็ส่งบุรุษไปในสำนักของสหายแม้อีก. สหายนั้นรู้ความที่พวกโจร

ชุ่มอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็แจ้งแก่พ่อค้าอีก.

พ่อค้าคิดว่า " แม้ในที่นี่ ความขาดแคลน (ด้วยอะไร ๆ) ของ

เราก็ไม่มี, เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักไม่ไปข้างโน้น ไม่ไปข้างนี้, จักอยู่ที่นี่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 34

แหละ " ดังนี้แล้ว ไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย เรียนว่า " ท่านผู้เจริญ

ได้ยินว่า พวกโจรประสงค์จะปล้นผม ซุ่มอยู่ริมหนทาง, ครั้นได้ยินว่า

บัดนี้ พ่อค้าจักกลับมาอีก.' (จึงไป) ซุ่มอยู่ริมหนทางนอกนี้, ผมจักไม่ไป

ทั้งข้างโน้นทั้งข้างนี้ จักพักอยู่ที่นี่แหละชั่วคราว; ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

ประสงค์จะอยู่ที่นี่ก็จงอยู่. ประสงค์จะไปก็จงไปตามความพอใจของตน. "

ภิกษุลาพ่อค้ากลับไปเมืองสาวัตถี

พวกภิกษุกล่าวว่า " เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกฉันจักกลับ. " อำลา

พ่อค้าแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ไปสู่เมืองสาวัตถี ถวายบังคมพระศาสดานั่งอยู่

แล้ว.

สิ่งที่ควรเว้น

พระศาสดา ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ไปกับพ่อค้า

มีทรัพย์มากหรือ ? " เมื่อพวกภิกษุนั้นกราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า

พวกโจรซุ่มอยู่ริมทางทั้งสองข้าง เพื่อต้องการปล้นพ่อค้าผู้มีทรัพย์มาก.

เพราะเหตุนั้น เขาจึงพักอยู่ในที่นั้นแล, ส่วนพวกข้าพระองค์ ลาเขากลับ

มา " ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้มีทรัพย์มาก ย่อมเว้นทาง (ที่มีภัย)

เพราะความที่พวกโจรมีอยู่, บุรุษแม้ใคร่จะเป็นอยู่ ย่อมเว้น ยาพิษอันร้าย

แรง. แม้ภิกษุทราบว่า 'ภพ ๓ เป็นเช่นกับหนทางที่พวกโจรซุ่มอยู่.่

แล้วเว้นกรรมชั่วเสียควร.' ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๗. วาณิโชว ภย มคฺค อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน

วิส ชีวิตุกาโมว ปาปานิ ปริวชฺชเย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 35

บุคคลพึงเว้นกรรมชั่วทั้งหลายเสีย, เหมือนพ่อ-

ค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางอันพึงกลัว,

(และ) เหมือนผู้ต้องการจะเป็นอยู่ เว้นยาพิษเสีย

ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภย ได้แก่ อันน่ากลัว, อธิบายว่า

ชื่อว่ามีภัยเฉพาะหน้า เพราะเป็นทางที่พวกโจรซุ่มอยู่. ท่านกล่าวอธิบาย

คำนี้ไว้ว่า " พ่อค้าผู้มีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางที่มีภัยเฉพาะหน้า

ฉันใด. ผู้ต้องการจะเป็นอยู่ ย่อมเว้นยาพิษอันร้ายแรงฉันใด. ภิกษุผู้

บัณฑิต ควรเว้นกรรมชั่วทั้งหลายแม้มีประมาณน้อยเสียฉันนั้น. "

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้น บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. พระธรรมเทศนาได้เป็นประโยชน์เเม้เเก่มหาชนผู้มา

ประชุม ดังนี้แล.

เรื่องมหาธนวาณิช จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 36

๘. เรื่องนายพรานกุกุกฏมิตร [๑๐๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนายพรานชื่อ

กุกกุฏมิตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปาณิมหิ เจ วโณ นาสฺส "

เป็นต้น.

ธิดาเศรษฐีรักพรานกุกกุฏมิตร

ได้ยินว่า ธิดาเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ เจริญวัยแล้ว เพื่อ

ประโยชน์แก่การรักษา มารดาบิดาจึงมอบหญิงคนใช้ให้คนหนึ่ง ให้อยู่ใน

ห้องบนปราสาท ๗ ชั้น ในเวลาเย็นวันหนึ่ง แลไปในระหว่างถนน

ทางหน้าต่าง เห็นนายพรานคนหนึ่งชื่อกุกกุฏมิตร ผู้ถือบ่วง ๕๐๐ และ

หลาว ๕๐๐ ฆ่าเนื้อทั้งหลายเลี้ยงชีพ ฆ่าเนื้อ ๕๐๐ ตัวแล้วบรรทุกเกวียน

ใหญ่ให้เต็มไปด้วยเนื้อสัตว์เหล่านั้น นั่งบนแอกเกวียนเข้าไปสู่พระนคร

เพื่อต้องการขายเนื้อ เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในนายพรานนั้น ให้บรรณาการ

ในมือหญิงคนใช้ ส่งไปว่า " เจ้าจงไป. จงให้บรรณาการแก่บุรุษนั้น

รู้เวลาไป (ของเขา) แล้วจงมา. "

หญิงคนใช้ไปแล้ว ให้บรรณาการแก่นายพรานนั้นแล้ว ถามว่า

" ท่านจักไปเมื่อไร ?" นายพรานตอบว่า " วันนี้เราขายเนื้อแล้ว จัก

ออกไปโดยประตูชื่อโน้นแต่เช้าเทียว." หญิงคนใช้ฟังคำที่นายพรานนั้น

บอกแล้ว กลับมาบอกแก่นาง.

ธิดาเศรษฐีลอบหนีไปกับนายพราน

ธิดาเศรษฐีรวบรวมผ้าและอาภรณ์อันควรแก่ความเป็นของที่ตน

ควรถือเอา นุ่งผ้าเก่า ถือหม้อออกไปแต่เช้าตรู่เหมือนไปสู่ท่าน้ำกับพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 37

นางทาสี ถึงที่นั้นแล้วได้ยืนคอยการมาของนายพรานอยู่. แม้นายพรานก็

ขับเกวียนออกไปแต่เช้าตรู่. ผ่ายนางก็เดินตามหลังนายพรานนั้นไป. เขา

เห็นนางจึงพูดว่า " ข้าพเจ้าไม่รู้จักเจ้าว่า ' เป็นธิดาของผู้ชื่อโน้น .' แน่ะ

แม่ เจ้าอย่าตามฉันไปเลย. " นางตอบว่า "ท่านไม่ได้เรียกฉันมา ฉัน

มาตามธรรมดาของตน. ท่านจงนิ่ง ขับเกวียนของตนไปเถิด." เขาห้าม

นางแล้ว ๆ เล่า ๆ ทีเดียว. ครั้นนางพูดกับเขาว่า " อันการห้ามสิริอันมา

สู่สำนักของตนย่อมไม่ควร " นายพรานทราบการมาของนางเพื่อตนโดย

ไม่สงสัยแล้ว ได้อุ้มนางขึ้นเกวียนไป.

มารดาบิดาของนางให้คนหาข้างโน้นข้างนี้ก็ไม่พบ สำคัญว่า " นาง

จักตายเสียแล้ว " จึงทำภัตเพื่อผู้ตาย. แม้นางอาศัยการอยู่ร่วมกับนาย-

พรานนั้น คลอดบุตร ๗ คนโดยลำดับ ผูกบุตรเหล่านั้นผู้เจริญวัยเติบโต

แล้ว ด้วยเครื่องผูกคือเรือน.

กุกกุฏมิตรอาฆาตในพระพุทธเจ้า

ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่ง

ทรงเห็นนายพรานกุกกุฏมิตรกับบุตรและสะใภ้ เข้าไปภายในข่ายคือพระ-

ญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญว่า " นั่นเหตุอะไรหนอแล ? " ทรง

เห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรคของชนเหล่านั้นแล้ว ทรงถือบาตรและ

จีวร ได้เสด็จไปที่ดักบ่วงของนายพรานนั้นแต่เช้าตรู่. วันนั้นแม้เนื้อ

สักตัวหนึ่งก็มิได้ติดบ่วง.

พระศาสดาทรงแสดงรอยพระบาท ที่ใกล้บ่วงของเขาแล้วประทับ

นั่งที่ใต้ร่มพุ่มไม้พุ่มหนึ่งข้างหน้า. นายพรานกุกกุฏมิตรถือธนูไปสู่บ่วง

๑. ทำบุญเลี้ยงพระแล้วอุทิศผลบุญให้ผู้ตาย. ๒. จัดแจงแต่งงานให้มีเหย้าเรือน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 38

แต่เช้าตรู่ ตรวจดูบ่วงจำเดิมแต่ต้น ไม่พบแม้ตัวเดียวซึ่งติดบ่วง ได้

เห็นรอยพระบาทของพระศาสดาแล้ว. ทีนั้นเขาได้ดำริฉะนี้ว่า " ใครเที่ยว

ปล่อยเนื้อตัวติด (บ่วง) ของเรา." เขาผูกอาฆาตในพระศาสดา เมื่อเดิน

ไปก็พบพระศาสดาประทับนั่งที่โคนพุ่มไม้คิดว่า " สมณะองค์นี้ปล่อยเนื้อ

ของเรา. เราจักฆ่าสมณะนั้นเสีย." ดังนี้แล้ว ได้โก่งธนู.

พระศาสดาให้โก่งธนูได้ (แต่) ไม่ให้ยิง (ธนู) ไปได้. เขาไม่อาจ

ทั้งเพื่อปล่อยลูกศรไป ทั้งลดลง มีสีข้างทั้ง ๒ ปานดังจะแตกมีน้ำลายไหล

ออกจากปาก เป็นผู้อ่อนเพลีย ได้ยืนอยู่แล้ว.

ครั้งนั้น พวกบุตรของเขาไปเรือนพูดกันว่า " บิดาของเราล่าช้า

อยู่. จักมีเหตุอะไรหนอ ?" อันมารดาส่งไปว่า " พ่อทั้งหลาย พวกเจ้า

จงไปสู่สำนักของบิดา." ต่างก็ถือธนูไปเห็นบิดายืนอยู่เช่นนั้น คิดว่า " ผู้

นี้ จักเป็นปัจจามิตรของบิดาพวกเรา." ทั้ง ๗ คนโก่งธนูแล้ว ได้ยืนอยู่

เหมือนกับบิดาของพวกเขายืนแล้ว เพราะอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า.

กุกกุฏมิตรเลิกอาฆาตในพระพุทธเจ้า

ลำดับนั้น มารดาของพวกเขาคิดว่า " ทำไมหนอแล ? บิดา (และ)

บุตรจึงล่าช้าอยู่ " ไปกับลูกสะใภ้๗ คน เห็นชนเหล่านั้นยืนอยู่อย่างนั้น

คิดว่า " ชนเหล่านั้นยืนโก่งธนูต่อใครหนอแล ?" แลไปก็เห็นพระศาสดา

จึงประคองแขนทั้ง ๒ ร้องลั่นขึ้นว่า " พวกท่านอย่ายังบิดาของเราให้

พินาศ พวกท่านอย่ายังบิดาของเราให้พินาศ."

นายพรานกุกกุฏมิตรได้ยินเสียงนั้นแล้ว คิดว่า " เราฉิบหายแล้ว

หนอ, นัยว่า ผู้นั้นเป็นพ่อตาของเรา. ตายจริง เราทำกรรมหนัก." แม้

พวกบุตรของเขาก็คิดว่า " นัยว่า ผู้นั้นเป็นตาของเรา, ตายจริง เราทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 39

กรรมหนัก. " นายพรานกุกกุฏมิตร เข้าไปตั้งเมตตาจิตไว้ว่า " คนนี้เป็น

พ่อตาของเรา. " แม้พวกบุตรของเขาก็เข้าไปตั้งเมตตาจิตว่า " คนนี้เป็น

ตาของพวกเรา." ขณะนั้น ธิดาเศรษฐีผู้มารดาของพวกเขาพูดว่า " พวก

เจ้าจงทิ้งธนูเสียโดยเร็วแล้วให้บิดาของฉันอดโทษ."

เขาทั้งหมดสำเร็จโสดาปัตติผล

พระศาสดา ทรงทราบจิตของเขาเหล่านั้นอ่อนแล้ว จึงให้ลดธนูลง

ได้. ชนเหล่านั้นทั้งหมด ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ให้พระองค์อดโทษ

ว่า " ข้าแต่พระองค์เจริญ ขอพระองค์ทรงอดโทษแก่ข้าพระองค์ ดัง

นี้แล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้นพระศาสดา ตรัสอนุปุพพีกถาแก่

พวกเขา. ในเวลาจบเทศนา นายพรานกุกกุฎมิตรพร้อมทั้งบุตรและสะใภ้

มีตนเป็นที่ ๑๕ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. พระศาสดาเสด็จเที่ยวไป

บิณฑบาต ได้เสด็จไปสู่วิหารภายหลังภัต. ลำดับนั้น พระอานนท์เถระ

ทูลถามพระองค์ว่า " วันนี้พระองค์เสด็จไปไหน ? พระเจ้าข้า. "

พระศาสดา. ไปสำนักของกุกกุฏมิตร อานนท์.

พระอานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายพรานกุกกุฏมิตรพระองค์

ทำให้เป็นผู้ไม่ทำกรรมคือปาณาติบาตแล้วหรือ ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เออ อานนท์ นายพรานกุกกุฏมิตรนั้นมีตนเป็นที่ ๑๕

ตั้งอยู่ในศรัทธาอันไม่คลอนแคลน เป็นผู้หมดสงสัยในรัตนะ ๓ เป็นผู้ไม่

ทำกรรมคือปาณาติบาตแล้ว .

พวกภิกษุกราบทูลว่า " แม้ภริยาของเขามีมิใช่หรือ ? พระเจ้าข้า "

พระศาสดา ตรัสว่า " อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย, นางเป็นกุมาริกาในเรือน

ของผู้มีตระกูลเทียว บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 40

พระโสดาบันไม่ทำบาป

พวกภิกษุสนทนากันว่า " ได้ยินว่า ภริยาของนายพรานกุกกุฏมิตร

บรรลุโสดาปัตติผลในกาลที่ยังเป็นเด็กหญิงนั่นแล แล้วไปสู่เรือนของนาย-

พรานนั้น ได้บุตร ๗ คน. นางอันสามีสั่งตลอดกาลเท่านี้ว่า ' หล่อนจง

นำธนูมา นำลูกศรมา นำหอกมา นำหลาวมา นำข่ายมา.' ได้ให้สิ่ง

เหล่านั้นแล้ว, นายพรานนั้นถือเครื่องประหารที่นางให้ไปทำปาณาติบาต;

แม้พระโสดาบันทั้งหลายยังทำปาณาติบาตอยู่หรือหนอ ? "

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ

นั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า

" ด้วยเรื่องชื่อนี้." ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พระโสดาบันย่อมไม่ทำ

ปาณาติบาต. แต่นางได้ทำอย่างนั้น ด้วยคิดว่า 'เราจักทำตามคำสามี.'

จิตของนางไม่มีเลยว่า สามีนั้นจงถือเอาเครื่องประหารนี้ไปทำปาณาติบาต;

จริงอยู่ เมื่อแผลในฝ่ามือไม่มี ยาพิษนั้นก็ไม่อาจจะให้โทษแก่ผู้ถือยาพิษได้

ฉันใด. ชื่อว่าบาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำบาป แม้นำเครื่องประหารทั้งหลาย

มีธนูเป็นต้นออกให้เพราะไม่มีอกุศลเจตนา ฉันนั้นเหมือนกัน, ดังนี้แล้ว

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๘. ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิส

นาพฺพณ วิสมเนฺวติ นตฺถิ ปาป อกุพฺพโต.

" ถ้าแผลไม่พึงมีในฝ่ามือไซร้, บุคคลพึงนำยา

พิษไปด้วยฝ่ามือได้, เพราะยาพิษย่อมไม่ซึมเข้าสู่ฝ่า

มือที่ไม่มีแผล ฉันใด, บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำอยู่

ฉันนั้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 41

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสฺส แปลว่า ไม่พึงมี.

บทว่า หเรยฺย แปลว่า พึงอาจนำไปได้.

ถามว่า " เพราะเหตุไร ? "

แก้ว่า " เพราะยาพิษไม่ซึมไปสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล " จริงอยู่ ยาพิษ

ย่อมไม่อาจซึมซาบเข้าสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด; ชื่อว่าบาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่

ทำบาป แม้นำเครื่องประหารทั้งหลายมีธนูเป็นต้นออกให้ เพราะไม่มี

อกุศลเจตนา ฉันนั้นเหมือนกัน, แท้จริง บาปย่อมไม่ติดตามจิตของบุคคล

นั้น เหมือนยาพิษไม่ซึมเข้าไปสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผลฉะนั้น ดังนี้แล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้นแล้ว.

บุรพกรรมของกุกกุฏมิตรพร้อมด้วยบุตรและสะใภ้

โดยสมัยอื่น พวกภิกษุสนทนากันว่า " อะไรหนอเเล เป็นอุปนิสัย

แห่งโสดาปัตติมรรค ของนายพรานกุกกุฏมิตร ทั้งบุตร และสะใภ้ ?

นายพรานกุกกุฏมิตรนี้ เกิดในตระกูลของพรานเนื้อเพราะเหตุอะไร ? "

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก

เธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า

" ด้วยเรื่องชื่อนี้. " ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล หมู่ชนจัดสร้าง

เจดีย์บรรจุพระธาตุของพระกัสสปทสพล กล่าวกันอย่างนี้ว่า " อะไรหนอ

จักเป็นดินเหนียว ? อะไรหนอ จักเป็นน้ำเชื้อ แห่งเจดีย์นี้ ? ่ ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 42

การสร้างเจดีย์ในสมัยก่อน

ทีนั้น พวกเขาได้มีปริวิตกนี้ว่า " หรดาลและมโนสิลาจักเป็นดิน-

เหนียว. น้ำมันงาจักเป็นน้ำเชื้อ. " พวกเขาตำหรดาลและมโนสิลาแล้ว

ผสมกับน้ำมันงา ก่อด้วยอิฐ ปิดด้วยทองคำ แล้วเขียนลวดลายข้างใน.

แต่ที่มุขภายนอกมีอิฐเป็นทองทั้งแท่งเทียว. อิฐแผ่นหนึ่ง ๆ ได้มีค่าแสน

หนึ่ง. พวกเขาเมื่อเจดีย์สำเร็จแล้ว จนถึงกาลจะบรรจุพระธาตุ คิดกัน

ว่า " ในกาลบรรจุพระธาตุ ต้องการทรัพย์มาก. พวกเราจักทำใครหนอ

แล ให้เป็นหัวหน้า ? "

แย่งกันเป็นหัวหน้าในการบรรจุพระธาตุ

ขณะนั้น เศรษฐีบ้านนอกคนหนึ่ง กล่าวว่า " ข้าพเจ้า จักเป็น

หัวหน้า " ได้ใส่เงิน ๑ โกฏิ ในที่บรรจุพระธาตุ. ชาวแว่นแคว้นเห็นกิริยา

นั้น ติเตียนว่า " เศรษฐีในกรุงนี้ ย่อมรวบรวมทรัพย์ไว้ถ่ายเดียว, ไม่

อาจเป็นหัวหน้าในเจดีย์เห็นปานนี้ได้. ส่วนเศรษฐีบ้านนอก ใส่ทรัพย์

๑ โกฏิ เป็นหัวหน้าทีเดียว."

เศรษฐีในกรุงนั้น ได้ยินถ้อยคำของชนเหล่านั้นแล้ว กล่าวว่า

" เราจักให้ทรัพย์ ๒ โกฏิแล้วเป็นหัวหน้า " ได้ให้ทรัพย์ ๒ โกฏิแล้ว.

เศรษฐีบ้านนอกคิดว่า " เราเองจักเป็นหัวหน้า " ได้ให้ทรัพย์ ๓

โกฎิ. ครั้นเศรษฐีทั้ง ๒ เพิ่มทรัพย์กันด้วยอาการอย่างนั้น. เศรษฐีในกรุง

ได้ให้ทรัพย์ ๘ โกฏิแล้ว.

ส่วนเศรษฐีบ้านนอก มีทรัพย์ ๙ โกฏิเท่านั้นในเรือน. เศรษฐีใน

กรุงมีทรัพย์ ๔๐ โกฏิ. เพราะฉะนั้น เศรษฐีบ้านนอก จึงคิดว่า " ถ้า

เราให้ทรัพย์ ๙ โกฏิไซร้. เศรษฐีนี้จักกล่าวว่า " เราจักให้๑๐ โกฏิ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 43

เมื่อเป็นเช่นนั้น ความหมดทรัพย์ของเราจักปรากฏ " เธอจึงกล่าวอย่างนั้น

ว่า " เราจักให้ทรัพย์ประมาณเท่านี้, และเราทั้งลูกและเมียจักเป็นทาสของ

เจดีย์ ดังนี้แล้ว พาบุตรทั้ง ๗ คน สะใภ้ทั้ง ๗ คนและภริยา มอบ

แก่เจดีย์พร้อมกับตน.

เศรษฐีบ้านนอกได้เป็นหัวหน้า

ชาวแว่นแคว้นทำเศรษฐีบ้านนอกนั้นให้เป็นหัวหน้า ด้วยอ้างว่า

"ชื่อว่าทรัพย์ใคร ๆ ก็อาจให้เกิดขึ้นได้, แต่เศรษฐีบ้านนอกนี้พร้อมทั้ง

บุตรและภริยา มอบตัว (เฉพาะเจดีย์). เศรษฐีนี้แหละจงเป็นหัวหน้า."

ชนทั้ง ๑๖ คนนั้น ได้เป็นทาสของเจดีย์ด้วยประการฉะนี้. แต่ชาวแว่น-

แคว้นได้ทำพวกเขาให้เป็นไท. แต่เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกเขาก็ปฏิบัติเจดีย์

นั้นแล ดำรงอยู่ตลอดอายุ จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก.

เมื่อชนเหล่านั้น อยู่ในเทวโลกตลอด ๑ พุทธันดร ในพุทธุปบาทนี้ ภริยา

จุติจากเทวโลกนั้น บังเกิดเป็นธิดาเศรษฐีในกรุงราชคฤห์.

คติของผู้ไม่เห็นสัจจะไม่แน่นอน

นางยังเป็นเด็กหญิงเทียว บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. ก็ชื่อว่าปฏิสนธิ

ของสัตว์ผู้ยังไม่เห็นสัจจะ เป็นภาระหนัก เพราะฉะนั้น สามีของนาง

จึงเวียนกลับไปเกิดในสกุลพรานเนื้อ. ความสิเนหาในก่อนได้ครอบงำ

ธิดาของเศรษฐี พร้อมกับการเห็นนายพรานกุกกุฏมิตรนั้นแล. จริงอยู่

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสคำนี้ไว้ว่า

" ความรักนั้น ย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ ๒

ประการ อย่างนี้ คือ เพราะการอยู่ร่วมกันในกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 44

ก่อน ๑ เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ ดุจดอกบัว

เกิดในน้ำ (เพราะอาศัยเปือกตมและน้ำ) ฉะนั้น."

ธิดาของเศรษฐีนั้น ได้ไปสู่ตระกูลของพรานเนื้อเพราะความสิเนหา

ในปางก่อน, แม้พวกบุตรของนางก็จุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในท้อง

ของนางนั้นแล.

แม้เหล่าสะใภ้ของนาง บังเกิดในที่นั้น ๆ เจริญวัยแล้ว ได้ไป

สู่เรือนของชนเหล่านั้นนั่นแหละ. ชนเหล่านั้นทั้งหมด ปฏิบัติเจดีย์ในกาล

นั้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงได้บรรลุโสดาปัตติผล ด้วยอานุภาพแห่ง

กรรมนั้น ดังนี้แล.

เรื่องนายพรานกุกกุฏมิตร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 45

๙. เรื่องนายพรานสุนัขชื่อโกกะ [๑๐๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนายพราน

สุนัขชื่อโกกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย อปฺปทุฏฺสฺส นรสฺส

ทุสฺสติ " เป็นต้น.

นายพรานพบพระเถระเที่ยวบิณฑบาต

ได้ยินว่า เวลาเช้าวันหนึ่ง นายพรานนั้นถือธนู มีสุนัขห้อมล้อม

ออกไปป่า พบภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง กำลังเที่ยวบิณฑบาต

ในระหว่างทาง โกรธแล้ว พลางคิดว่า " เราพบคนกาลกรรณี, วันนี้

จักไม่ได้สิ่งอะไรเลย " ดังนี้ จึงหลีกไป. ฝ่ายพระเถระเที่ยวบิณฑบาตใน

หมู่บ้าน ทำภัตกิจแล้วจึงกลับไปสู่วิหารอีก.

นายพรานให้สุนัขกัดพระเถระ

ฝ่ายนายพรานนอกนี้ เที่ยวไปในป่าไม่ได้อะไร ๆ เมื่อกลับมาก็พบ

พระเถระอีก จึงคิดว่า " วันนี้ เราพบคน(กาลกรรณี)นี้แล้ว ไปป่าจึงไม่

ได้อะไร ๆ. บัดนี้เธอได้มาเผชิญหน้าของเราแม้อีก. เราจักให้สุนัขทั้งหลาย

กัดพระรูปนั้นเสีย ดังนี้แล้ว จึงให้สัญญาปล่อยสุนัขไป.

พระเถระอ้อนวอนว่า " อุบาสก ท่านอย่าทำอย่างนั้น. " เขาร้อง

บอกว่า " วันนี้ ข้าพเจ้าไม่ได้อะไร เพราะประสบท่าน. ท่านก็มาประสบ

ข้าพเจ้าแม้อีก. ข้าพเจ้าจักให้สุนัขกัดท่าน " ดังนี้แล้ว จึงให้สุนัข (กัด).

พระเถระรีบขึ้นต้นไม้ต้นหนึ่งโดยเร็ว นั่งในที่สูงชั่วบุรุษหนึ่ง. สุนัข

ทั้งหลายก็พากันล้อมต้นไม้ไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 46

นายพรานแทงพระเถระ

นายโกกะไปแล้ว ร้องบอกว่า " ท่านแม้ขึ้นต้นไม้ก็ไม่มีความพ้น

ไปได้ " ดังนี้แล้ว จึงแทงพื้นเท้าของพระเถระด้วยปลายลูกศร. พระเถระ

ได้เเต่อ้อนวอนว่า " ขอท่านอย่าทำเช่นนั้น. " นายโกกะนอกนี้ไม่คำนึงถึง

คำวอนของท่าน กลับแทงกระหน่ำใหญ่. พระเถระเมื่อพื้นเท้าข้างหนึ่งถูก

แทงอยู่ จึงยกเท้านั้นขึ้น หย่อนเท้าที่ ๒ ลง. แม้เมื่อเท้าที่ ๒ นั้นถูกแทง

อยู่ จึงยกเท้านั้นขึ้นเสีย, นายโกกะไม่คำนึงถึงคำอ้อนวอนของพระเถระ

แทงพื้นเท้าทั้งสองแล้วด้วยอาการอย่างนี้เทียว. สรีระของพระเถระได้เป็น

ประดุจถูกรมด้วยคบเพลิง. ท่านเสวยเวทนาไม่สามารถจะคุมสติไว้ได้,

จีวรที่ท่านห่มแม้หลุดลงก็กำหนดไม่ได้. จีวรนั้น เมื่อตกลง ก็ตกลงมา

คลุมนายโกกะ ตั้งแต่ศีรษะทีเดียว.

สุนัขรุมกัดนายพราน

เหล่าสุนัขตรูกันเข้าไปในระหว่างจีวร ด้วยสำคัญว่า " พระเถระ

ตกลงมา " ดังนี้แล้วก็รุมกันกัดกินเจ้าของของตน ทำให้เหลืออยู่เพียง

กระดูก. สุนัขทั้งหลายออกมาจากระหว่างจีวรแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ภายนอก.

ทีนั้น พระเถระจึงหักกิ่งไม้เเห้งกิ่งหนึ่งขว้างสุนัขเหล่านั้น. เหล่าสุนัขเห็น

พระเถระแล้ว รู้ว่า " พวกตัวกัดกินเจ้าของเอง " จึงหนีเข้าป่า.

พระเถระสงสัยในศีลและสมณภาพของตน

พระเถระเกิดความสงสัยขึ้นว่า " บุรุษนั่นเข้าสู่ระหว่างจีวรของเรา

ฉิบหายแล้ว. ศีลของเราไม่ด่างพร้อยหรือหนอ ? " ท่านลงจากต้นไม้เเล้ว

ไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเรื่องราวนั้นตั้งแต่ต้นแล้วทูลถามว่า

" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกนั้น อาศัยจีวรของข้าพระองค์ฉิบหายแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 47

ศีลของข้าพระองค์ไม่ด่างพร้อยแลหรือ ? สมณภาพของข้าพระองค์ ยัง

คงมีอยู่แลหรือ ? "

พระศาสดาทรงรับรองศีลและสมณภาพ

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพระเถระนั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ศีลของเธอไม่ด่างพร้อย, สมณภาพของเธอยังมีอยู่. เขาประทุษร้าย ต่อ

เธอผู้ไม่ประทุษร้าย จึงถึงความพินาศ. ทั้งมิใช่แต่ในบัดนี้อย่างเดียวเท่า-

นั้น. แม้ในอดีตกาล เขาก็ประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ถึงความพินาศ

แล้วเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ทรงนำอดีต

นิทานมา (ตรัสว่า)

บุรพกรรมของนายพราน

"ดังได้สดับมา ในอดีตกาล หมอผู้หนึ่งเที่ยวไปถึงหมู่บ้าน เพื่อ

ต้องการประกอบเวชกรรม ไม่ได้กรรมอะไร ๆ อันความหิวรบกวนแล้ว

ออกไปพบเด็ก ๆ เป็นอันมาก กำลังเล่นอยู่ที่ประตูบ้าน จึงคิดว่า ' เรา

จักให้งูกัดเด็กเหล่านั้นแล้วรักษา ก็จักได้อาหาร ' ดังนี้แล้ว จึงแสดงงูนอน

ชูศีรษะในโพรงไม้เเห่งหนึ่ง บอกว่า ่แน่ะ เจ้าเด็กผู้เจริญทั้งหลาย นั่น

ลูกนกสาลิกา, พวกเจ้าจงจับมัน."

ทันใดนั้น เด็กน้อยคนหนึ่ง จับงูที่คออย่างมั่นดึงออกมา รู้ว่ามัน

เป็นงู จึงร้องขึ้น สลัดไปบนกระหม่อมของหมอผู้ยืนอยู่ไม่ไกล. งูรัด

ก้านคอของหมอ กัดอย่างถนัด ให้ถึงความสิ้นชีวิตในที่นั้นนั่นเอง.

นายโกกะพรานสุนัขนี้ แม้ในกาลก่อนก็ประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย

ถึงความพินาศแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 48

พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ

แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๙. โย อปฺปทุฏฺสฺส นรสฺส ทุสฺสติ

สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส

ตเมว พาล ปจฺเจติ ปาป

สุขุโม รโช ปฏิวาตว ขิตฺโต.

"ผู้ใด ประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้

บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสดุจเนิน, บาปย่อมกลับถึงผู้นั้น

ซึ่งเป็นคนพาลนั่นเอง เหมือนธุลีอันละเอียดที่เขา

ซัดทวนลมไปฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปทุฏฺสฺส คือผู้ไม่ประทุษร้ายต่อตน

หรือต่อสรรพสัตว์. บทว่า นรสฺส ได้แก่ สัตว์. บทว่า ทุสฺสติแปลว่า

ย่อมพระพฤติผิด. บทว่า สุทฺธสฺส คือผู้ไม่มีความผิดเลย. แม้คำว่า

โปสสฺส นี้ ก็เป็นชื่อของสัตว์นั้นเอง โดยอาการอื่น.

บทว่า อนงฺคณสฺส คือผู้ไม่มีกิเลส. คำว่า ปจฺเจติ ตัดบทเป็น

ปฏิ-เอติ (แปลว่า ย่อมกลับถึง).

บทว่า ปฏิวาต เป็นต้น ความว่า ธุลีที่ละเอียด อันบุรุษผู้หนึ่งซัด

ไป ด้วยความเป็นผู้ใคร่ประหารคนผู้ยืนอยู่ในที่เหนือลมย่อมกลับถึงบุรุษ

นั้นเอง คือตกลงที่เบื้องบนของผู้ซัดไปนั้นเอง ฉันใด. บุคคลใด เมื่อให้

การประหารด้วยฝ่ามือเป็นต้น ชื่อว่าย่อมประทุษร้ายต่อบุรุษผู้ไม่ประทุษ-

ร้าย. บาปนั้นเมื่อให้ผลในปัจจุบันนี้ หรือในอบายทั้งหลายมีนรกเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 49

ในภพหน้า ชื่อว่าย่อมกลับถึงบุคคลนั้นแหละผู้เป็นพาล ด้วยสามารถ

วิบากทุกข์ ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในพระอรหัตผล. พระธรรม-

เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องนายพรานสุนัขชื่อโกกะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 50

๑๐. เรื่องพระติสสเถระผู้เข้าถึงสกุลนายช่างแก้ว [๑๐๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ

ชื่อติสสะผู้เข้าถึงสกุลนายช่างเเก้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "คพฺภเมเก

อุปฺปชฺชนฺติ" เป็นต้น.

พระเจ้าปเสนทิโกศลส่งแก้วให้นายช่างเจียระไน

ได้ยินว่า พระเถระนั้นฉัน (ภัต) อยู่ในสกุลของนายมณีการผู้หนึ่ง

สิ้น ๑๒ ปี. ภรรยาและสามีในสกุลนั้นตั้งอยู่ในฐานะเพียงมารดาและบิดา

ปฏิบัติพระเถระแล้ว.

อยู่มาวันหนึ่ง นายมณีการกำลังนั่งหั่นเนื้อข้างหน้าพระเถระ. ใน

ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงส่งแก้วมณีดวงหนึ่งไป ด้วยรับสั่งว่า

" นายช่างจงจัดและเจียระไนแก้วมณีนี้แล้วส่งมา. " นายมณีการรับแก้วนั้น

ด้วยมือทั้งเปื้อนโลหิต วางไว้บนเขียงแล้ว ก็เข้าไปข้างในเพื่อล้างมือ.

แก้วมณีหายนายช่างสืบหาคนเอาไป

ก็ในเรือนนั้น นกกะเรียนที่เขาเลี้ยงไว้มีอยู่. นกนั้นกลืนกินแก้ว

มณีนั้น ด้วยสำคัญว่าเนื้อ เพราะกลิ่นโลหิต เมื่อพระเถระกำลังเห็นอยู่

เทียว. นายมณีการมาแล้ว เมื่อไม่เห็นแก้วมณีจึงถามภริยา ธิดาและบุตร

โดยลำดับว่า " พวกเจ้าเอาแก้วมณีไปหรือ ? " เมื่อชนเหล่านั้นกล่าวว่า

" มิได้เอาไป " จึงคิดว่า " (ชะรอย) พระเถระจักเอาไป จึงปรึกษากับ

ภริยาว่า " แก้วมณี (ชะรอย) พระเถระจักเอาไป " ภริยาบอกว่า " แน่ะ

นาย นายอย่ากล่าวอย่างนั้น. ดิฉันไม่เคยเห็นโทษอะไร ๆ ของพระเถระ

๑. หมายความถึงผู้สนิทสนมกับสกุล ได้รับอุปการะจากสกุลนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 51

เลยตลอดกาลประมาณเท่านี้. ท่านย่อมไม่ถือเอาแก้วมณี (แน่นอน)."

นายมณีการถามพระเถระว่า " ท่านขอรับ ท่านเอาแก้วมณีในที่นี้ไปหรือ? "

พระเถระ. เราไม่ได้ถือเอาดอก อุบาสก.

นายมณีการ. ท่านขอรับ ในที่นี้ไม่มีคนอื่น. ท่านต้องเอาไปเป็น

แน่, ขอท่านจงให้แก้วมณีแก่ผมเถิด.

เมื่อพระเถระนั้นไม่รับ, เขาจึงพูดกะภริยาว่า " พระเถระเอาแก้วมณี

ไปแน่, เราจักบีบคั้นถามท่าน. "

ภริยาตอบว่า " แน่ะนาย นายอย่าให้พวกเราฉิบหายเลย, พวกเรา

เข้าถึงความเป็นทาสเสียยังประเสริฐกว่า, ก็การกล่าวหาพระเถระผู้เห็น

ปานนี้ไม่ประเสริฐเลย. "

ช่างแก้วทำโทษพระติสสเถระเพราะเข้าใจผิด

นายช่างแก้วนั้นกล่าวว่า " พวกเราทั้งหมดด้วยกัน เข้าถึงความเป็น

ทาส ยังไม่เท่าค่าแก้วมณี " ดังนี้แล้ว จึงถือเอาเชือกพันศีรษะพระเถระ

ขันด้วยท่อนไม้. โลหิตไหลออกจากศีรษะหูและจมูกของพระเถระ. หน่วย

ตาทั้งสองได้ถึงอาการทะเล้นออก, ท่านเจ็บปวดมาก ก็ล้มลง ณ ภาคพื้น.

นกกะเรียนมาด้วยกลืนโลหิต ดื่มกินโลหิต.

ช่างแก้วเตะนกกะเรียนตายแล้วจึงทราบความจริง

ขณะนั้น นายมณีการจึงเตะมันด้วยเท้าแล้วเขี่ยไปพลางกล่าวว่า

" มึงจะทำอะไรหรือ ? " ด้วยกำลังความโกรธที่เกิดขึ้นในพระเถระ. นก

กะเรียนนั้นล้มกลิ้งตายด้วยการเตะทีเดียวเท่านั้น. พระเถระเห็นนกนั้น จึง

กล่าวว่า " อุบาสก ท่านจงผ่อนเชือกพันศีรษะของเราให้หย่อนก่อนแล้ว

๑. เวทนาปฺปตฺโต ถึงซึ่งเวทนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 52

จงพิจารณาดูนกกะเรียนนี้ (ว่า) มันตายแล้วหรือยัง ?" ลำดับนั้น นาย

ช่างแก้วจึงกล่าวกะท่านว่า "แม้ท่านก็จักตายเช่นนกนั่น."

พระเถระตอบว่า "อุบาสก แก้วมณีนั้น อันนกนี้กลืนกินแล้ว.

หากนกนี้จักไม่ตายไซร้, ข้าพเจ้าแม้จะตาย ก็จักไม่บอกแก้วมณีแก่ท่าน."

ช่างแก้วได้แก้วมณีคืนแล้วขอขมาพระติสสเถระ

เขาแหวะท้องนกนั้นพบแก้วมณีแล้ว งกงันอยู่ มีใจสลด หมอบลง

ใกล้เท้าของพระเถระ กล่าวว่า " ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอดโทษแก่ผม, ผม

ไม่รู้อยู่ ทำไปแล้ว."

พระเถระ. อุบาสก โทษของท่านไม่มี. ของเราก็ไม่มี มีแต่โทษ

ของวัฏฏะเท่านั้น. เราอดโทษแก่ท่าน.

นายมณีการ. ท่านขอรับ หากท่านอดโทษแก่ผมไซร้. ท่านจงนั่ง

รับภิกษาในเรือนของผมตามทำนองเถิด.

พระเถระเห็นโทษของการเข้าชายคาเรือน

พระเถระกล่าวว่า " อุบาสก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราจักไม่เข้า

ไปภายในชายคาเรือนของผู้อื่น เพราะว่านี้เป็นโทษแห่งการเข้าไปภายใน

เรือนโดยตรง. ตั้งแต่นี้ไป เมื่อเท้าทั้งสองยังเดินไปได้ เราจักยืนที่ประตู

เรือนเท่านั้น รับภิกษา " ดังนี้แล้ว สมาทานธุดงค์กล่าวคาถานี้ว่า

" ภัตในทุกสกุล ๆ ละนิดหน่อย อันเขาหุงไว้

เพื่อมุนี เราจักเที่ยวไปด้วยปลีแข้ง, กำลังแข้งของ

เรายังมีอยู่. "

ก็แล พระเถระ ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว ต่อกาลไม่นานักก็ปรินิพพาน

ด้วยพยาธินั้นนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 53

คนทำบาปกับคนทำบุญมีคติต่างกัน

นกกะเรียนได้ถือปฏิสนธิในท้องแห่งภริยาของนายช่างแก้ว. นาย

ช่างแก้วทำกาละแล้ว ก็บังเกิดในนรก. ภริยาของนายช่างแก้วทำกาละ

แล้ว เกิดในเทวโลก เพราะความเป็นผู้มีจิตอ่อนโยนในพระเถระ.

ภิกษุทั้งหลายทูลถามอภิสัมปรายภพของชนเหล่านั้น กะพระศาสดา.

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สัตว์บางจำพวกในโลกนี้ ย่อม

เกิดในครรภ์. บางจำพวกทำกรรมลามก ย่อมเกิดในนรก. บางจำพวก

ทำกรรมดีแล้ว ย่อมเกิดในเทวโลก. ส่วนผู้ไม่มีอาสวะ ย่อมปรินิพพาน "

ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๑๐. คพฺภเมเก อุปฺปชฺชนฺติ นิรย ปาปกมฺมิโน

สคฺค สุคติโน ยนฺติ ปรินิพฺพนฺติ อนาสวา.

" ชนทั้งหลายบางพวก ย่อมเข้าถึงครรภ์, ผู้มี

กรรมลามก ย่อมเข้าถึงนรก, ผู้มีกรรมเป็นเหตุแห่ง

สุคติ ย่อมไปสวรรค์ ผู้ไม่มีอาสวะย่อมปรินิพพาน. "

แก้อรรถ

ในบทเหล่านั้น ครรภ์มนุษย์เทียว พระศาสดาทรงประสงค์เอาใน

บทว่า คพฺภ นี้. คำที่เหลือในคาถานี้มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น ฉะนี้แล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระติสสเถระผู้เข้าถึงสกุลนายช่างแก้ว จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 54

๑๑. เรื่องชน ๓ คน [๑๐๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภชน ๓ คน

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ" เป็นต้น.

กาถูกไฟไหม้ตายในอากาศ

ได้ยินว่า เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวัน ภิกษุหลายรูป

มาเพื่อต้องการจะเฝ้าพระศาสดา เข้าไปสู่บ้านตำบลหนึ่ง เพื่อบิณฑบาต.

ชนชาวบ้านรับบาตรของภิกษุเหล่านั้นแล้ว นิมนต์ให้นั่งในโรงฉัน ถวาย

ข้าวยาคูและของเคี้ยว เมื่อรอเวลาบิณฑบาต นั่งฟังธรรมแล้ว. ในขณะ

นั้น เปลวไฟลุกขึ้นจากเตาของหญิงคนหนึ่ง ผู้หุงข้าวแล้วปรุงสูปะและ

พยัญชนะอยู่ ติดชายคา. เสวียนหญ้าอันหนึ่งปลิวขึ้นจากชายคานั้น อัน

ไฟไหม้อยู่ลอยไปสู่อากาศ. ในขณะนั้น กาตัวหนึ่งบินมาทางอากาศ สอด

คอเข้าไปในเสวียนหญ้านั้น อันเกลียวหญ้าพันแล้ว ไหม้ตกลงที่กลาง

บ้าน. พวกภิกษุเห็นเหตุนั้นคิดว่า " โอ กรรมหนัก, ผู้มีอายุ ท่าน

ทั้งหลายจงดูอาการแปลกที่กาถึงแล้ว, เว้นพระศาสดาเสีย ใครจักรู้กรรม

ที่กานี้ทำแล้ว พวกเราจักทูลถามกรรมของกานั้นกะพระศาสดา " ดังนี้

แล้ว ก็พากันหลีกไป.

ภรรยานายเรือถูกถ่วงน้ำ

เมื่อภิกษุอีกพวกหนึ่ง โดยสารเรือไป เพื่อต้องการจะเฝ้าพระศาสดา

เรือได้หยุดนิ่งเฉยในกลางสมุทร. พวกมนุษย์พากันคิดว่า " คนกาลกรรณี

พึงมีในเรือนี้. " ดังนี้แล้ว จึงแจกสลาก (ให้จับ). ก็ภรรยาของนายเรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 55

ตั้งอยู่ในปฐมวัย (กำลัง) น่าดู สลากถึงแก่นางนั้น. พวกมนุษย์พากัน

กล่าวว่า " จงแจกสลากอีก. " แล้วให้เเจกถึง ๓ ครั้ง. สลากถึงแก่นาง

นั้นคนเดียวถึง ๓ ครั้ง. พวกมนุษย์แลดูหน้านายเรือ (เป็นทีจะพูดว่า)

" อย่างไรกัน ? นายครับ " นายเรือกล่าวว่า " ข้าพเจ้าไม่อาจให้มหาชน

ฉิบหาย เพื่อประโยชน์แก่นางนี้. พวกท่านจงทิ้งนางในน้ำเถิด. " นางนั้น

เมื่อพวกมนุษย์จับจะทิ้งน้ำ กลัวต่อมรณภัย ได้ร้องใหญ่แล้ว นายเรือ

ได้ยินเสียงร้องนั้น จึงกล่าวว่า " ประโยชน์อะไร ด้วยอาภรณ์ของนางนี้

(จะ) ฉิบหายเสีย (เปล่าๆ). พวกท่านจงเปลื้องเครื่องอาภรณ์ทั้งหมด ให้

นางนุ่งผ้าเก่าผืนหนึ่งแล้วจงทิ้งนางนั้น. ก็ข้าพเจ้าไม่อาจดูนางนั้น ผู้ลอย

อยู่เหนือหลังน้ำได้, เพราะฉะนั้น พวกท่านจงเอากระออมที่เต็มด้วยทราย

ผูกไว้ที่คอแล้ว โยนลงไปเสียในสมุทรเถิด (ทำ) โดยประการที่ข้าพเจ้าจะ

ไม่เห็นเขาได้. " พวกมนุษย์เหล่านั้น ได้กระทำตามนั้นเเล้ว. ปลาและ

เต่ารุมกินนางแม้นั้นในที่ตกนั่นเอง. พวกภิกษุฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็คิดว่า

" ใครคนอื่น เว้นพระศาสดาเสีย จักรู้กรรมของหญิงนั้นได้. พวกเราจะ

ทูลถามกรรมของหญิงนั้นกะพระศาสดา " ถึงถิ่นที่ประสงค์แล้ว จึงพากัน

ลงจากเรือหลีกไป.

ภิกษุ ๗ รูป อดอาหาร ๗ วันในถ้ำ

ภิกษุ ๗ รูปอีกพวกหนึ่ง ไปจากปัจจันตชนบท เพื่อต้องการจะ

เฝ้าพระศาสดา เวลาเย็น เข้าไปสู่วัดแห่งหนึ่ง แล้วถามถึงที่พัก. ก็ในถ้ำ

แห่งหนึ่ง มีเตียงอยู่ ๗ เตียง, เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้ถ้ำนั้นแล นอนบน

เตียงนั้นแล้ว. ตอนกลางคืน แผ่นหินเท่าเรือนยอดกลิ้งลงมาปิดประตูถ้ำ

ไว้ พวกภิกษุเจ้าของถิ่นกล่าวว่า " พวกเราให้ถ้ำนี้ถึงแก่ภิกษุอาคันตุกะ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 56

ก็แผ่นหินใหญ่นี้ ได้ตั้งปิดประตูถ้ำเสียแล้ว. พวกเราจักนำแผ่นหินนั้น

ออก " แล้วให้ประชุมพวกมนุษย์จากบ้าน ๗ ตำบลโดยรอบ แม้พยายาม

อยู่ ก็ไม่อาจยังแผ่นหินนั้นให้เขยื้อนจากที่ได้.

แม้พวกภิกษุผู้เข้าไป (อยู่) ในภายใน ก็พยายามเหมือนกัน. แม้

เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็ยังไม่อาจให้เเผ่นหินนั้นเขยื้อนได้ตลอด ๗ วัน, พวก

ภิกษุอาคันตุกะ อันความหิวแผดเผาแล้วตลอด ๗ วัน ได้เสวยทุกข์ใหญ่

แล้ว. ในวันที่ ๗ แผ่นหินก็ได้กลับกลิ้งออกไปเอง. พวกภิกษุออกไป

แล้ว คิดว่า " บาปของพวกเรานี้ เว้นพระศาสดาเสียแล้วใครเล่าจักรู้ได้

พวกเราจักทูลถามพระศาสดา " ดังนี้แล้ว ก็พากันหลีกไป.

พวกภิกษุทูลถามถึงกรรมของตนและของผู้อื่น

ภิกษุเหล่านั้น มาบรรจบกันกับภิกษุพวกก่อนในระหว่างทาง รวม

เป็นพวกเดียวกันเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง

มีปฏิสันถารอันพระศาสดาทรงทำแล้ว จึงทูลถามถึงเหตุที่ตนเห็นและที่

ตนเสวยมาแล้วโดยลำดับ. แม้พระศาสดาก็ตรัสพยากรณ์แก่ภิกษุเหล่านั้น

โดยลำดับอย่างนี้.

บุรพกรรมของกา

ภิกษุทั้งหลาย กานั้นได้เสวยกรรมที่ตนทำแล้วนั่นแหละโดยแท้.

ก็ในอดีตกาล ชาวนาผู้หนึ่งในกรุงพาราณสี ฝึกโคของตนอยู่ (แต่) ไม่

อาจฝึกได้. ด้วยว่าโคของเขานั้นเดินไปได้หน่อยหนึ่งแล้วก็นอนเสีย. แม้

เขาตีให้ลุกขึ้นแล้ว เดินไปได้หน่อยหนึ่ง ก็กลับนอนเสียเหมือนอย่างเดิม

นั่นแล. ชาวนานั้น แม้พยายามแล้วก็ไม่อาจฝึกโคนั้นได้ เป็นผู้อันความ

โกรธครอบงำแล้ว จึงกล่าวว่า 'บัดนี้เจ้าจักนอนสบายตั้งแต่นี้ไป' ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 57

แล้ว ทำโคนั้นให้เป็นดุจฟ่อนฟาง พันคอโคนั้นด้วยฟางแล้วก็จุดไฟ.

โคถูกไฟคลอกตายในที่นั้นเอง. ภิกษุทั้งหลาย กรรมอันเป็นบาปนั้น อัน

กานั้นทำแล้วในครั้งนั้น. เขาไหม้อยู่ในนรกสิ้นกาลนาน เพราะวิบาก

ของกรรมอันเป็นบาปนั้นเกิดแล้วในกำเนิดกา ๗ ครั้ง (ถูกไฟ) ไหม้ตาย

ในอากาศอย่างนั้นแหละด้วยวิบากที่เหลือ."

บุรพกรรมของภรรยานายเรือ

" ภิกษุทั้งหลาย หญิงแม้นั้น เสวยกรรมที่ตนทำแล้วเหมือนกัน. ก็

ในอดีตกาล หญิงนั้นเป็นภรรยาแห่งคฤหบดีคนหนึ่งในกรุงพาราณสีได้ทำ

กิจทุกอย่างมีตักน้ำ ซ้อมข้าว ปรุงอาหาร เป็นต้น ด้วยมือของนางเอง.

สุนัขตัวหนึ่งของนางนั่งแลดูนางนั้น ผู้ทำกิจทุกอย่างอยู่ในเรือน. เมื่อ

นางนำภัตไปนาก็ดี ไปป่าเพื่อต้องการวัตถุต่าง ๆ มีฟืนและผักเป็นต้นก็ดี

สุนัขนั้นย่อมไปกับนางนั้นเสมอ. พวกคนหนุ่มเห็นดังนั้น ย่อมเยาะเย้ยว่า

' แน่ะพ่อ พรานสุนัขออกแล้ว. วันนี้พวกเราจักกิน (ข้าว) กับเนื้อ '

นางขวยเขินเพราะคำพูดของพวกคนเหล่านั้น จึงประหารสุนัขด้วยก้อน

ดินและท่อนไม้เป็นต้นให้หนีไป. สุนัขกลับแล้วก็ตามไปอีก. ได้ยินว่า

สุนัขนั้นได้เป็นสามีของนางในอัตภาพที่ ๓; เหตุนั้น มันจึงไม่อาจตัดความ

รักได้. จริงอยู่ ใคร ๆ ชื่อว่าไม่เคยเป็นเมียหรือเป็นผัวกัน ในสงสาร

มีที่สุดอันบุคคลไปตาม ไม่รู้แล้ว ไม่มีโดยแท้; ถึงกระนั้น ความรักมี

ประมาณยิ่ง ย่อมมีในผู้ที่เป็นญาติกันในอัตภาพไม่ไกล; เหตุนั้น สุนัขนั้น

จึงไม่อาจละนางนั้นได้. นางโกรธสุนัขนั้น เมื่อนำข้าวยาคูไปเพื่อสามีที่

นา (จึง) ได้เอาเชือกใส่ไว้ในชายพกแล้วไป. สุนัขไปกับนางเหมือนกัน.

นางให้ข้าวยาคูแก่สามีแล้ว ถือกระออมเปล่าไปสู่ท่าน้ำแห่งหนึ่ง บรรจุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 58

กระออมให้เต็มด้วยทรายแล้ว ได้ทำเสียง (สัญญา) แก่สุนัขซึ่งยืนแลดูอยู่

ในที่ใกล้. สุนัขดีใจว่า นานแล้วหนอ เราได้ถ้อยคำที่ไพเราะในวันนี้,

จึงกระดิกหางเข้าหานาง. นางจับสุนัขนั้นอย่างมั่นที่คอแล้ว จึงเอาปลาย

เชือกข้างหนึ่งผูกกระออมไว้ เอาปลายเชือกอีกข้างหนึ่งผูกที่คอสุนัข ผลัก

กระออมให้กลิ้งลงน้ำ. สุนัขตามกระออมไปตกลงน้ำ ก็ได้ทำกาละในน้ำ

นั้นเอง. นางนั้นไหม้อยู่ในนรกสิ้นกาลนาน เพราะวิบากของกรรมนั้น

ด้วยวิบากที่เหลือจึงถูกเขาเอากระออมเต็มด้วยทรายผูกคอถ่วงลงในน้ำ ได้

ทำกาละแล้วตลอด ๑๐๐ อัตภาพ."

บุรพกรรมของภิกษุ ๗ รูป

ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกเธอก็เสวยกรรมอันตนกระทำแล้วเหมือน

กัน. ก็ในอดีตกาล เด็กเลี้ยงโค ๗ คนชาวกรุงพาราณสี เที่ยวเลี้ยงโค

อยู่คราวละ ๗ วัน ในประเทศใกล้ดงแห่งหนึ่ง วันหนึ่งเที่ยวเลี้ยงโคแล้ว

กลับมาพบเหี้ยใหญ่ตัวหนึ่ง จึงไล่ตาม. เหี้ยหนีเข้าไปสู่จอมปลวกแห่งหนึ่ง.

ก็ช่องแห่งจอมปลวกนั้นมี ๗ ช่อง. พวกเด็กปรึกษากันว่า บัดนี้ พวก

เราจักไม่อาจจับได้ พรุ่งนี้จึงจักมาจับดังนี้แล้ว จึงต่างคนต่างก็ถือเอากิ่ง

ไม้ที่หักได้คนละกำ ๆ แม้ทั้ง ๗ คนพากันปิดช่องทั้ง ๗ ช่องแล้วหลีกไป.

ในวันรุ่งขึ้นเด็กเหล่านั้นมิได้คำนึงถึงเหี้ยนั้น ต้อนโคไปในประเทศอื่น ครั้น

ในวันที่ ๗ พาโคกลับมา พบจอมปลวกนั้น กลับได้สติ คิดกันว่า ' เหี้ย

นั้นเป็นอย่างไรหนอ ' จึงเปิดช่องที่ตน ๆ ปิดไว้เเล้ว. เหี้ยหมดอาลัยใน

ชีวิต เหลือแต่กระดูกและหนังสั่นคลานออกมา. เด็กเหล่านั้นเห็นดังนั้น

แล้ว จึงทำความเอ็นดูพูดกันว่า ่ พวกเราอย่าฆ่ามันเลย. มันอดเหยื่อตลอด

๗ วัน' จึงลูบหลังเหี้ยนั้นแล้วปล่อยไป ด้วยกล่าวว่า 'จงไปตามสบายเถิด.'

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 59

เด็กเหล่านั้นไม่ต้องไหม้ในนรกก่อน เพราะไม่ได้ฆ่าเหี้ย. แต่ชนทั้ง ๗

นั้น ได้เป็นผู้อดข้าวร่วมกันตลอด ๗ วัน ๆ ใน ๑๔ อัตภาพ ภิกษุทั้งหลาย

กรรมนั้น พวกเธอเป็นเด็กเลี้ยงโค ๗ คนทำไว้แล้วในกาลนั้น."

พระศาสดาทรงพยากรณ์ปัญหา อันภิกษุเหล่านั้นทูลถามแล้ว ๆ ด้วย

ประการฉะนี้. "

คนจะอยู่ที่ไหน ๆ ก็ไม่พ้นจากกรรมชั่ว

ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง ทูลพระศาสดาว่า " ความพ้นย่อมไม่มีแก่

สัตว์ที่ทำกรรมเป็นบาปแล้ว ผู้ซึ่งเหาะไปในอากาศก็ดี แล่นไปสู่สมุทร

ก็ดี เข้าไปสู่ซอกแห่งภูเขาก็ดี หรือ ? พระเจ้าข้า."

พระศาสดา ตรัสบอกว่า " อย่างนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย แม้ใน

ที่ทั้งหลาย มีอากาศเป็นต้น ประเทศแม้สักส่วนหนึ่งที่บุคคลอยู่แล้ว

พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ ไม่มี " เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัส

พระคาถานี้ว่า

๑๑. น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ

น ปพฺพตาน วิวร ปวีส

น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส

ยตฺรฏฺิโต มุญฺเจยฺย ปาปกมฺมา.

" บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็

ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีไปในท่ามกลางมหา-

สมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีเข้าไปสู่ซอก

แห่งภูเขา ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, (เพราะ) เขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 60

อยู่แล้วในประเทศแห่งแผ่นดินใด พึงพ้นจากกรรม

ชั่วได้, ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่."

แก้อรรถ

ความแห่งพระคาถานั้นว่า " ก็หากว่า คนบางคนคิดว่า 'เราจัก

พ้นจากกรรมชั่วด้วยอุบายนี้ พึงนั่งในอากาศก็ดี. พึงเข้าไปสู่มหาสมุทร

อันลึกแปดหมื่นสี่พันโยชน์ก็ดี พึงนั่งในซอกแห่งภูเขาก็ดี. เข้าไม่พึงพ้น

จากกรรมชั่วได้เลย. ' ด้วยว่า ในส่วนแห่งแผ่นดินคือภาคแห่งปฐพีมี

ปุรัตถิมทิศเป็นต้น โอกาสแม้ประมาณเท่าปลายขนทรายที่บุคคลอยู่แล้ว

พึงอาจพ้นจากกรรมชั่วได้ หามีไม่. "

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้น บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น. พระธรรมเทศนาเป็นกถามีประโยชน์ แม้เเก่มหาชนผู้

ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องชน ๓ คน จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 61

๑๒. เรื่องเจ้าสุปปพุทธศากยะ [๑๐๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในนิโครธาราม ทรงปรารภเจ้าศากยะ

พระนามว่าสุปปพุทธะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น อนฺตลิกฺเข น

สมุทฺทมชฺเฌ " เป็นต้น.

เจ้าสุปปพุทธะแกล้งนั่งปิดทางเสด็จพระศาสดา

ดังได้สดับมา เจ้าสุปปพุทธะพระองค์นั้น ผูกอาฆาตในพระศาสดา

ด้วยเหตุ ๒ ประการนี้ คือ พระสมณโคดมนี้ทิ้งลูกสาวของเราออกบวช

ประการ ๑ ให้ลูกชายของเราบวชแล้วตั้งอยู่ในฐานะแห่งผู้มีเวรต่อลูกชาย

นั้นประการ ๑, วันหนึ่ง ทรงดำริว่า " บัดนี้ เราจักไม่ให้พระสมณโคดม

นั้นไปฉันยังสถานที่นิมนต์ " ดังนี้ จึงปิดทางเป็นที่เสด็จไป นั่งเสวย

น้ำจัณฑ์ในระหว่างทาง.

ลำดับนั้น เมื่อพระศาสดามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมเสด็จมาที่นั้น พวก

มหาดเล็กทูลท้าวเธอว่า " พระศาสดาเสด็จมาแล้ว." ท้าวเธอตรัสว่า

" พวกเจ้าจงล่วงหน้าไปก่อน. จงบอกพระสมณะนั้นว่า 'พระสมณโคดม

องค์นี้ไม่เป็นใหญ่กว่าเรา เราจักไม่ให้ทางแก่พระสมณโคดมนั้น " แม้

พวกมหาดเล็กทูลเตือนแล้ว ๆ เล่า ๆ ก็คงประทับนั่งรับสั่งอย่างนั้นแล.

พระศาสดาไม่ได้หนทางจากสำนักของพระมาตุละ (ลุง) แล้วจึง

เสด็จกลับจากที่นั้น. แม้ท้าวเธอก็ส่งจารบุรุษ (คนสอดแนม) ไปคนหนึ่ง

ด้วยกำชับว่า " เจ้าจงไป ฟังคำของพระสมณโคดมนั้นแล้วกลับมา."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 62

เจ้าสุปปพุทธะทำกรรมหนักจักถูกแผ่นดินสูบ

แม้พระศาสดาเสด็จกลับมา ทรงทำการแย้มพระโอฐ พระอานนท-

เถระทูลถามว่า " อะไรหนอแล ? เป็นปัจจัยแห่งกรรมคือการแย้มพระโอฐ

ให้ปรากฏ พระเจ้าข้า " จึงตรัสว่า " อานนท์ เธอเห็นเจ้าสุปปพุทธะ

ไหม ? "

พระอานนทเถระ. ทูลว่า " เห็น พระเจ้าข้า. "

พระศาสดา ตรัสว่า " เจ้าสุปปพุทธะนั้นไม่ให้ทางแก่พระพุทธเจ้า

ผู้เช่นเรา ทำกรรมหนักแล้ว ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ ท้าวเธอจักเข้าไปสู่

แผ่นดิน (ธรณีสูบ) ณ ที่ใกล้เชิงบันได ในภายใต้ปราสาท. "

เจ้าสุปปพุทธะมุ่งจับผิดพระศาสดาด้วยคำเท็จ

จารบุรุษได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ไปสู่สำนักของเจ้าสุปปพุทธะ ๆ

ตรัสถามว่า " หลานของเราเมื่อกลับไปพูดอะไรบ้าง ? " จึงกราบทูลตาม

ที่ตนได้ยินแล้ว.

ท้าวเธอได้สดับคำของจารบุรุษนั้นแล้ว ตรัสว่า " บัดนี้ โทษใน

การพูด (ผิด) แห่งหลานของเราย่อมไม่มี เธอตรัสคำใด คำนั้นต้อง

เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ทีเดียว. แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น คราวนี้ เราจักจับผิดเธอ

ด้วยการพูดเท็จ. เพราะเธอไม่ตรัสกะเราโดยไม่เจาะจงว่า 'ท่านสุปป-

พุทธะจักถูกธรณีสูบในวันที่ ๗ ' ตรัสว่า ' ท่านสุปปพุทธะจักถูกธรณีสูบ

ที่ใกล้เชิงบันได ในภายใต้ปราสาท ' ตั้งแต่วันนี้ไป เราจักไม่ไปสู่ที่นั้น.

เมื่อเป็นเช่นนั้น เราไม่ถูกธรณีสูบในที่นั้นแล้ว จักข่มขี่เธอด้วยการ

พูดเท็จ. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 63

เจ้าสุปปพุทธะทรงทำการรักษาพระองค์อย่างแข็งแรง

ท้าวเธอรับสั่งให้พวกมหาดเล็กขนเครื่องใช้สอยของพระองค์ออก

ทั้งหมดไว้บนปราสาท ๗ ชั้น ให้ชักบันได ปิดประตู ตั้งคนแข็งแรง

ประจำไว้ที่ประตู ประตูละ ๒ คน ตรัสว่า " ถ้าเราเป็นผู้มุ่งจะลงไปข้าง

ล่างโดยความประมาทไซร้ พวกเจ้าต้องห้ามเราเสีย. " ดังนี้แล้วประทับ

นั่งในห้องอันเป็นสิริบนพื้นปราสาทชั้นที่ ๗.

จะหนีผลแห่งกรรมชั่วย่อมไม่พ้น

พระศาสดา ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เจ้า-

สุปปพุทธะมิใช่จะนั่งบนพื้นปราสาทอย่างเดียว, ต่อให้เหาะขึ้นไปสู่เวหาส

นั่งในอากาศก็ตาม. ไปสู่สมุทรด้วยเรือก็ตาม. เข้าซอกเขาก็ตาม, ธรรมดา

พระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลายจะเป็นสองไม่มี, ท้าวเธอจักถูกธรณี

สูบในสถานที่เราพูดไว้นั่นแหละ. " เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึง

ตรัสพระคาถานี้ว่า

๑๒. น อนฺตลิกฺเข น สมุทฺทมชฺเฌ

น ปพฺพตาน วิวร ปวีส

น วิชฺชตี โส ชคติปฺปเทโส

ยตฺรฏฺิต นปฺปสเหยฺย มจฺจุ.

" บุคคลที่ทำกรรมชั่วไว้ หนีไปแล้วในอากาศ ก็

ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้, หนีไปในท่ามกลางมหา-

สมุทร ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้. หนีไปสู่ซอกภูเขา

ก็ไม่พึงพ้นจากกรรมชั่วได้ (เพราะ) เขาอยู่แล้วใน

ประเทศแห่งแผ่นดินใด ความตายพึงครอบงำไม่ได้

ประเทศแห่งแผ่นดินนั้น หามีอยู่ไม่. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 64

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า นปฺปสเหยฺย มจฺจุ ความว่า

ประเทศคือแผ่นดิน แม้เพียงเท่าปลายผม ที่มรณะไม่พึงย่ำยี คือไม่พึง

ครอบงำผู้สถิตอยู่ ย่อมไม่มี คำที่เหลือ ก็เช่นกับคำก่อนนั่นเทียวดังนี้แล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

ม้ามงคลเป็นเหตุให้ท้าวเธอเสด็จลงจากปราสาท

ในวันที่ ๗ ในเวลาคล้ายกับเวลาที่เจ้าสุปปพุทธะปิดหนทางภิกษา-

จารของพระศาสดา ม้ามงคลของเจ้าสุปปพุทธะในภายใต้ปราสาทคึก

คะนอง กระแทกแล้วซึ่งฝานั้น ๆ.

ท้าวเธอประทับนั่งอยู่ชั้นบนนั่นเอง ได้สดับเสียงของม้านั้น จึง

ตรัสถามว่า " นั่นอะไรกัน ? " พวกมหาดเล็กทูลว่า " ม้ามงคลคะนอง. "

ส่วนม้านั้น พอเห็นเจ้าสุปปพุทธะ ก็หยุดนิ่ง.

เกิดเหตุน่าประหลาดเพราะกรรมชั่ว

ขณะนั้น ท้าวเธอมีพระประสงค์จะจับม้านั้น ได้เสด็จลุกจากที่

ประทับบ่ายพระพักตร์มาทางประตู. ประตูทั้งหลายเปิดเองทีเดียว; บันได

ตั้งอยู่ในที่ของตนตามเดิม. คนแข็งแรงผู้ยืนอยู่ที่ประตูจับท้าวเธอที่พระศอ

ผลักให้มีพระพักตร์คะมำลงไป. โดยอุบายนั้นประตูที่พื้นทั้ง ๗ ก็เปิดเอง

ทีเดียว บันไดทั้งหลายก็ดังอยู่ในที่เดิม. พวกคนที่แข็งแรง (ประจำอยู่)

ที่ชั้นนั้น ๆ จับท้าวเธอที่พระศอเทียวแล้วผลักให้มีพระพักตร์คะมำลงไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 65

ท้าวเธอถูกแผ่นดินสูบไปเกิดในอเวจีนรก

ขณะนั้น มหาปฐพีแตกแยกออกคอยรับเจ้าสุปปพุทธะนั้นผู้ถึงที่

ใกล้เชิงบันไดที่ภายใต้ปราสาทนั่นเอง. ท้าวเธอไปบังเกิดในอเวจีนรก

แล้วแล.

เรื่องเจ้าสุปปพุทธศากยะ จบ

ปาปวรรควรรณนา จบ

วรรคที่ ๙ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 66

คาถาธรรมบท

ทัณฑวรรคที่ ๑๐

ว่าด้วยอาชญามีผล

[๒๐] ๑. สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา สัตว์

ทั้งหมดย่อมกลัวต่อความตาย บุคคลทำตนให้เป็น

อุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ผู้อื่นให้ฆ่า.

๒. สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา ชีวิต

ย่อมเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหมด บุคคลควรทำตนให้

เป็นอุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ให้ฆ่า.

๓. สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข บุคคล

ใดแสวงหาสุขเพื่อตน แต่เบียดเบียนสัตว์อื่นด้วย

ท่อนไม้ บุคคลนั้นละไปแล้วย่อมไม่ได้สุข สัตว์ผู้

เกิดแล้วทั้งหลายเป็นผู้ใคร่สุข บุคคลใดแสวงหาสุข

เพื่อตน ไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) ด้วยท่อนไม้ บุคคล

นั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.

๔. เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใครๆ ชนเหล่า

อื่นถูกเธอว่าแล้ว จะพึงว่าตอบเธอ.

๕. นายโคบาล ย่อมต้อนโคทั้งหลายไปสู่ที่หา

กิน ด้วยท่อนไม้ฉันใด ชราและมัจจุย่อมต้อนอายุ

ของสัตว์ ทั้งหลายไปฉันนั้น.

๑. วรรคที่ ๑๐ มีอรรถกถา ๑๑ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 67

๖. อันคนพาล ทำกรรมทั้งหลายอันลามกอยู่

ย่อมไม่รู้ (สึก) บุคคลผู้มีปัญญาทราม ย่อมเดือดร้อน

ดุจถูกไฟไหม้ เพราะกรรมของตนเอง.

๗. ผู้ใด ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้าย

ทั้งหลาย ผู้ไม่มีอาชญาด้วยอาชญา ย่อมถึงฐานะ

๑๐ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว คือ ถึง

เวทนากล้า ๑ ความเสื่อมทรัพย์ ๑ ความสลายแห่ง

สรีระ ๑ อาพาธหนัก ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑

ความขัดข้องแต่พระราชา ๑ การถูกกล่าวตู่อย่างร้าย

แรง ๑ ความย่อยยับแห่งเครือญาติ ๑ ความเสียหาย

แห่งโภคะทั้งหลาย ๑ อีกอย่างหนึ่ง ไฟป่าย่อมไหม้

เรือนของเขา ๑ ผู้นั้นมีปัญญาทราม เพราะกายแตก

ย่อมเข้าถึงนรก.

๘. การประพฤติเป็นคนเปลือย ก็ทำสัตว์ให้

บริสุทธิ์ไม่ได้ การเกล้าชฎาก็ไม่ได้ การนอนเหนือ

เปือกตมก็ไม่ได้ การไม่กินข้าวก็ดี การนอนบนแผ่น-

ดินก็ดี ความเป็นผู้มีกายหมักหมมด้วยธุลีก็ดี ความ

เพียรด้วยการนั่งกระหย่งก็ดี (แต่ละอย่าง) หาทำ

สัตว์ผู้ยังไม่ล่วงสงสัยให้บริสุทธิ์ได้ไม่.

๙. แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว พึงประพฤติสม่ำ

เสมอ เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 68

พฤติประเสริฐ วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก

บุคคลนั้นเป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ.

๑๐. บุรุษผู้ห้ามอกุศลวิตก ด้วยหิริได้ น้อยคน

จะมีในโลก บุคคลใดกำจัดความหลับ ตื่นอยู่ เหมือน

ม้าดีหลบแส้ไม่ให้ถูกตน บุคคลนั้นหาได้ยาก ท่าน

ทั้งหลายจงมีความเพียร มีความสลดใจ เหมือนม้าดี

ถูกเขาตีด้วยแส้แล้ว (มีความบากบั่น) ฉะนั้น ท่าน

ทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล วิริยะ สมาธิ

และด้วยคุณเครื่องวินิจฉัยธรรม มีวิชชาและจรณะ

ถึงพร้อม มีสติมั่นคง จักละทุกข์อันมีประมาณไม่

น้อยนี้ได้.

๑๑. อันคนไขน้ำทั้งหลาย ย่อมไขน้ำ ช่างศร

ทั้งหลาย ย่อมดัดศร ช่างถากทั้งหลาย ย่อมถากไม้

ผู้สอนง่ายทั้งหลาย ย่อมฝึกตน.

จบทัณฑวรรคที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 69

๑๐. ทัณฑวรรควรรณนา

๑. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๐๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ

ฉัพพัคคีย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สพฺเพ ตสนฺติ" เป็นต้น.

เหตุทรงบัญญัติปหารทานสิกขาบท

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เมื่อเสนาสนะอันภิกษุสัตตรสพัคคีย์

ซ่อมแซมแล้ว ภิกษุฉัพพัคคีย์กล่าวว่า " พวกท่านจงออกไป, พวกผม

แก่กว่า, เสนาสนะนั่นถึงแก่พวกผม." เมื่อภิกษุสัตตรสพัคคีย์เหล่านั้น

พูดว่า " พวกผมจักไม่ยอมให้, (เพราะ) พวกผมซ่อมแซมไว้ก่อน " ดังนี้

แล้ว จึงประหารภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุสัตตรสพัคคีย์ถูกมรณภัยคุกคามแล้ว

จึงร้องเสียงลั่น.

พระศาสดา ทรงสดับเสียงของภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสถามว่า " อะไร

กันนี่ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " เรื่องชื่อนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสว่า

" ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ ธรรมดาภิกษุไม่ควรทำอย่างนั้น, ภิกษุ

ใดทำ, ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติชื่อนี้. " ดังนี้แล้ว ทรงบัญญัติปหารทาน-

สิกขาบท ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุรู้ว่า ' เราย่อม

หวาดหวั่นต่ออาชญา กลัวต่อความตายฉันใด, แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ย่อม

หวาดหวั่นต่ออาชญา กลัวต่อความตายฉันนั้นเหมือนกัน ' ไม่ควรประหาร

๑. ภิกษุมีพวก ๖. ๒. ภิกษุมีพวก ๑๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 70

เอง ไม่ควรใช้ให้ฆ่าผู้อื่น " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๑. สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพ ภายฺนฺติ มจฺจุโน

อตฺตานิ อุปม กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย.

" สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา, สัตว์

ทั้งหมด ย่อมกลัวต่อความตาย, บุคคลทำตนให้เป็น

อุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ผู้อื่นให้ฆ่า."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า " สพฺเพ ตสนฺติ " ความว่า สัตว์

แม้ทั้งหมด เมื่ออาชญาจะตกที่ตน ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญานั้น.

บทว่า มจจุโน ได้แก่ ย่อมกลัวแม้ต่อความตายแท้.

ก็พยัญชนะแห่งเทศนานี้ไม่มีเหลือ. ส่วนเนื้อความยังมีเหลือ. เหมือน

อย่างว่า เมื่อพระราชารับสั่งให้พวกราชบุรุษตีกลองเที่ยวป่าวร้องว่า " ชน

ทั้งหมดจงประชุมกัน " ชนทั้งหลายที่เหลือเว้นพระราชาและมหาอำมาตย์

ของพระราชาเสีย ย่อมประชุมกันฉันใด. แม้เมื่อพระศาสดา ตรัสว่า

" สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่น " ดังนี้. สัตว์ทั้งหลายที่เหลือเว้นสัตว์วิเศษ

๔ จำพวกเหล่านั้น คือ 'ช้างอาชาไนย ม้าอาชาไนย โคอุสภอาชาไนย

และพระขีณาสพ ' บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมหวาดหวั่นฉันนั้นเหมือนกัน.

จริงอยู่ บรรดาสัตว์วิเศษเหล่านี้ พระขีณาสพ ไม่เห็นสัตว์ที่จะตาย เพราะ

ความที่ท่านละสักกายทิฏฐิเสียได้เเล้วจึงไม่กลัว. สัตว์วิเศษ ๓ พวกนอกนี้

๑. อธิบายว่า เพ่งตามพยัญชนะ แสดงว่า สัตว์ทั้งหลายกลัวต่อความตาย ไม่มีเว้นใครเลย แต่

ตามอรรถ มีเว้นสัตว์บางพวก จึงกล่าวว่า ยังมีเหลือ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 71

ไม่เห็นสัตว์ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อตน เพราะความที่สักกายทิฏฐิ มีกำลังจึงไม่

กลัว.

พระคาถาว่า น หเนยฺย น ฆาตเย ความว่า บุคคลรู้ว่า " เราฉัน

ใด. แม้สัตว์เหล่าอื่นก็ฉันนั้น " ดังนี้แล้ว ก็ไม่ควรฆ่าเอง (และ)ไม่ควร

ใช้ผู้อื่นให้ฆ่า.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 72

๒. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๐๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุ-

ฉัพพัคคีย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺเพ สนฺติ " เป็นต้น.

เหตุให้ทรงบัญญัติตลสัตติกสิกขาบท

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ เงือดเงื้อหอก

คือฝ่ามือแก่พวกภิกษุสัตตรสพัคคีย์เหล่านั้น ด้วยเหตุที่ตนประหารพวก

สัตตรสพัคคีย์ ในสิกขาบทก่อนนั้นนั่นแล.

แม้ในเรื่องนี้ พระศาสดาทรงสดับเสียงของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ก็

ตรัสถามว่า " นี่อะไรกัน ? " ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " เรื่องชื่อนี้ " แล้ว

ตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จำเดิมแต่นี้ไป ธรรมดาภิกษุไม่ควรทำ

อย่างนี้, ภิกษุใดทำ, ภิกษุนั้นย่อมต้องอาบัติชื่อนี้ " ดังนี้แล้ว ทรงบัญญัติ

ตลสัตติกสิกขาบท ตรัสว่า " ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุทราบว่า

แม้สัตว์เหล่าอื่นย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา อย่างเดียวกับเราเหมือนกัน,

อนึ่ง ชีวิตก็ย่อมเป็นที่รักของสัตว์เหล่านั้น เหมือนของเราโดยแท้ ไม่ควร

ประหารเอง ไม่ควรใช้ผู้อื่นให้ฆ่า " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ

แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๒. สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส สพฺเพส ชีวิต ปิย

อตฺตาน อุปม กตฺวา น หเนยฺย น ฆาตเย.

" สัตว์ทั้งหมด ย่อมหวาดหวั่นต่ออาชญา ชีวิต

ย่อมเป็นที่รักของสัตว์ทั้งหมด. บุคคลควรทำตนให้

เป็นอุปมาแล้ว ไม่ควรฆ่าเอง ไม่ควรใช้ให้ฆ่า. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 73

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า สพฺเพส ชีวิต ปิย ความว่า

ชีวิตย่อมเป็นที่รักยิ่งของเหล่าสัตว์ที่เหลือ เว้นพระขีณาสพเสีย. อันพระ-

ขีณาสพ ย่อมเป็นผู้วางเฉยในชีวิตหรือในมรณะโดยแท้. คำที่เหลือ เช่น

กับคำอันมีในก่อนนั่นแล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 74

๓. เรื่องเด็กหลายคน [๑๐๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเด็กเป็นอัน

มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุขกามานิ ภูตานิ " เป็นต้น.

พระศาสดาทรงพบพวกเด็กตีงู

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จทรงบาตรเข้าไปใน

กรุงสาวัตถี ทรงเห็นพวกเด็กเป็นอันมาก เอาไม้ตีงูเรือนตัวหนึ่ง ใน

ระหว่างทาง ตรัสถามว่า " แน่ะ เจ้าเด็กทั้งหลาย พวกเจ้าทำอะไรกัน ? "

เมื่อเด็กเหล่านั้นกราบทูลว่า " พวกข้าพระองค์เอาไม้ตีงู " พระเจ้าข้า "

ตรัสถามอีกว่า " เพราะเหตุไร ? " เมื่อพวกเขากราบทูลว่า " เพราะกลัว

มันกัด พระเจ้าข้า " จึงตรัสว่า " พวกเจ้าตีงูนี้ด้วยคิดว่า 'จักทำความสุข

แก่ตน ' จักไม่เป็นผู้ได้รับความสุขในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ. แท้จริง บุคคล

เมื่อปรารถนาสุขแก่ตน (แต่) ประหารสัตว์อื่น ย่อมไม่ควร " ดังนี้แล้ว

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๓. สุขกานานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน วิหึสติ

อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ โส น ลภเต สุข.

สุขกานานิ ภูตานิ โย ทณฺเฑน น หึสติ

อตฺตโน สุขเมสาโน เปจฺจ ลภเต สุข.

" สัตว์ผู้เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข บุคคล

ใดแสวงหาสุขเพื่อตน, แต่เบียดเบียนสัตว์อื่นด้วย

ท่อนไม้ บุคคลนั้นละไปแล้วย่อมไม่ได้สุข. สัตว์ผู้

๑. คืองูที่อาศัยอยู่ตามเรือน เช่นงูเขียว งูลายสอ เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 75

เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นผู้ใคร่สุข, บุคคลใดแสวงหา

สุขเพื่อตน, ไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) ด้วยท่อนไม้,

บุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมได้สุข.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย ทณฺเฑน ความว่า บุคคลใด

ย่อมเบียดเบียน (ผู้อื่น) ด้วย ท่อนไม้หรือวัตถุทั้งหลายมีก้อนดินเป็นต้น.

บาทพระคาถาว่า เปจฺจ โส น ลภเต สุข ความว่า บุคคลนั้น

ย่อมไม่ได้สุขสำหรับมนุษย์ สุขอันเป็นทิพย์ หรือสุขคือพระนิพพาน อัน

เป็นปรมัตถ์ (สุข) ในโลกหน้า.

ในพระคาถาที่ ๒ (มีความว่า) หลายบทว่า เปจฺจ โส ลภเต สุข

ความว่า บุคคลนั้นย่อมได้สุขทั้ง ๓ อย่าง มีประการดังกล่าวแล้วใน

ปรโลก.

ในกาลจบเทศนา เด็กเหล่านั้นทั้ง ๕๐๐ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

ดังนี้แล.

เรื่องเด็กหลายคน จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 76

๔. เรื่องพระโกณฑธานเถระ [๑๑๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระชื่อ

โกณฑธานะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มาโวจ ผรุส กญฺจิ " เป็นต้น.

รูปสตรีติดตามพระเถระไปทุกแห่ง

ดังได้สดับมา จำเดิมแต่วันที่พระเถระนั้นบวชแล้ว รูปสตรีรูปหนึ่ง

เที่ยวไปกับพระเถระ (แต่) พระเถระไม่เห็นรูปสตรีนั้น, ส่วนมหาชนเห็น.

เมื่อท่านแม้เที่ยวบิณฑบาตอยู่ภายในบ้าน. พวกมนุษย์ถวายภิกษาทัพพี ๑

แล้ว พูดว่า " ท่านขอรับ ส่วนนี้จงเป็นของสำหรับท่าน, แต่ส่วนนี้

สำหรับสตรีผู้สหายของท่าน " ดังนี้แล้ว ก็ถวายภิกษาแม้ทัพพีที่ ๒.

บุรพกรรมของพระเถระ

ถามว่า " บุรพกรรมของท่านเป็นอย่างไร ? "

ตอบว่า " ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ

ภิกษุ ๒ รูปเป็นสหายกัน ได้เป็นผู้กลมเกลียวกันอย่างยิ่ง ดุจคลอดจาก

ครรภ์มารดาเดียวกัน."

ก็ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าผู้ทรงพระชนมายุยืน ภิกษุทั้งหลายย่อม

ประชุมกัน เพื่อประโยชน์แก่การทำอุโบสถทุก ๆ ๑ ปี หรือทุก ๆ ๖เดือน

(ครั้งหนึ่ง) เพราะฉะนั้น แม้ท่านทั้งสองรูปนั้น ก็ออกไปจากที่อยู่ด้วย

คิดว่า " จักไปสู่โรงอุโบสถ. "

เทวดาแกล้งทำพระเถระให้แตกกัน

เทวดาผู้เกิดในชั้นดาวดึงส์ผู้หนึ่ง เห็นท่านทั้งสองแล้ว คิดว่า " ภิกษุ

เหล่านั้นช่างกลมเกลียวกันเหลือเกิน, เราอาจทำลายภิกษุเหล่านี้ได้หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 77

หนอ ? " ดังนี้แล้ว ได้มาในลำดับเวลาที่ตนคิดแล้วนั่นแล เพราะความ

ที่ตนเป็นผู้เกเร. ในภิกษุ ๒ รูปนั้น เมื่อรูปหนึ่งกล่าวว่า " ผู้มีอายุ ขอ

ท่านจงรออยู่สักครู่หนึ่ง ผมมีความต้องการถ่ายอุจจาระ " จึงนิรมิตเพศ

เป็นหญิงมนุษย์คนหนึ่ง. ในกาลที่พระเถระเข้าไปในระหว่างพุ่มไม้เเล้ว

ออกมา เอามือข้างหนึ่งเกล้ามวยผม ข้างหนึ่งจัดผ้านุ่ง (เดินตาม) ออก

มาข้างหลังพระเถระนั้น. ท่านไม่เห็นหญิงนั้น. แต่ภิกษุรูปที่ยืนอยู่ข้าง

หน้าซึ่งคอยท่านอยู่ เหลียวมาแลดูเห็นหญิงนั้นทำอย่างนั้น (เดินตาม)

ออกมา.

รังเกียจกันด้วยสีลเภท

เทวดานั้นรู้ภาวะแห่งตน อันภิกษุนั้นเห็นแล้ว ก็อันตรธานไป.

ภิกษุรูปนอกนี้ (ที่คอยอยู่) พูดกะภิกษุนั้น ในเวลาที่มาสู่ที่ใกล้ตนว่า

" ผู้มีอายุ ศีลของท่านทำลายเสียแล้ว. "

ภิกษุนั้นกล่าวว่า " ผู้มีอายุ กรรมเห็นปานนั้นของผมไม่มี. " ภิกษุ

นอกนี้กล่าวว่า " เดี๋ยวนี้เอง หญิงรุ่นสาว (เดินตาม) ออกมาข้างหลัง

ท่าน ทำกรรมชื่อนี้ผมเห็นแล้ว. ท่านยังพูด (ปฏิเสธ) ได้ว่า 'กรรมเห็น

ปานนี้ของผมไม่มี. "

ภิกษุนั้น ปานประหนึ่งถูกสายฟ้าฟาดลงที่กระหม่อม กล่าววิงวอน

ว่า " ผู้มีอายุ ขอท่านจงอย่าให้ผมฉิบหายเลย. กรรมเห็นปานนั้นของผม

ไม่มีจริง ๆ. "

ภิกษุนอกนี้ก็พูดว่า " ผมเห็นด้วยนัยน์ตาทั้งสองเอง, จักเชื่อท่าน

๑. สรีรกิจฺเจน ด้วยกิจแห่งสรีระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 78

ได้อย่างไร " ดังนี้แล้ว ก็แตกกันดุจท่อนไม้แล้วหลีกไป. แม้ในโรง

อุโบสถก็นั่งด้วยตั้งใจว่า " เราจักไม่ทำอุโบสถร่วมกับภิกษุนี้. "

ภิกษุนอกนี้ (ผู้ถูกหา) แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า " ท่านขอรับจุดดำ

แม้เท่าเมล็ดงา ย่อมไม่มีในศีลของผม."

แม้ภิกษุนั้น ก็กล่าวยันว่า " กรรมลามกนั้นผมเห็นเอง. "

เทวดาขยายความจริง

เทวดาเห็นภิกษุรูปที่คอยนั้น ไม่ปรารถนาจะทำอุโบสถร่วมกับภิกษุ

(รูปที่ตนแกล้ง) นั้น หวนคิดว่า " เราทำกรรมหนักแล้ว " ดังนี้ จึงชี้แจง

ว่า " ความทำลายแห่งศีลของพระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าย่อมไม่มี. แต่ข้าพ-

เจ้าทำกรรมอันลามกนั้น ก็ด้วยสามารถจะทดลองดู, ขอท่านจงทำอุโบสถ

ร่วมกับพระผู้เป็นเจ้านั้นเถิด."

ภิกษุรูปที่คอยนั้น เมื่อเทวดานั้น ดำรงอยู่ในอากาศชี้แจงอยู่จึงเชื่อ

แล้วได้ทำอุโบสถ (ร่วมกัน ) แต่หาได้เป็นผู้มีจิตชิดเชื้อในพระเถระเหมือน

ในกาลก่อนไม่.

บุรพกรรมของเทวดามีประมาณเท่านี้. ก็ในเวลาสิ้นอายุ พระเถระ

เหล่านั้น ได้บังเกิดในเทวโลกแสนสบาย.

เทวดามาเกิดเป็นพระโกณฑธานะ

ฝ่ายเทวดาบังเกิดในอเวจีแล้ว หมกไหม้อยู่ในอเวจีนั้นสิ้น ๑ พุทธัน-

ดร ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้บังเกิดในกรุงสาวัตถี ถึงความเจริญวัยแล้ว

ได้บรรพชาอุปสมบทในพระศาสนา. ตั้งแต่วันที่ท่านบวชแล้ว รูปสตรี

๑. ระหว่างกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งซึ่งปรินิพพานแล้ว องค์ใหม่อุบัติขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 79

นั้นก็ได้ปรากฏอย่างนั้นนั่นแล. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลายจึงได้

ขนานนามท่านว่า " โกณฑธานะ. "

พวกภิกษุบอกคฤหัสห์ให้ขับไล่

ภิกษุทั้งหลายเห็นท่านเที่ยวไปอยู่อย่างนั้น จึงบอกอนาถปิณฑิก-

เศรษฐีว่า " ท่านเศรษฐี ท่านจงขับไล่ภิกษุผู้ทุศีลรูปนี้ออกจากวิหารของ

ท่านเสีย. เพราะว่า ความเสียหายจะเกิดขึ้นแก่ภิกษุที่เหลือ. "

เศรษฐี. ท่านผู้เจริญ ก็พระศาสดาไม่มีในวิหารหรือ ?

ภิกษุ. มีอยู่ ท่านเศรษฐี.

เศรษฐี. ท่านผู้เจริญ ถ้ากระนั้น พระศาสดาคงจักทรงทราบ.

ภิกษุทั้งหลายก็ไปแจ้งแม้แก่นางวิสาขาอย่างนั้นเหมือนกัน.

ถึงนางวิสาขา ก็ได้ให้คำตอบแก่ภิกษุเหล่านั้นเหมือนกัน.

ฝ่ายภิกษุทั้งหลาย อันท่านเหล่านั้นไม่รับถ้อยคำ (ของตน) จึงได้

ทูลแด่พระราชาว่า " มหาบพิตร ภิกษุชื่อโกณฑธานะ พาหญิงคนหนึ่ง

เที่ยวไป จะยังความเสียหายให้เกิดแก่ภิกษุทุกรูป. ขอมหาบพิตรทรงขับไล่

ภิกษุนั้นออกจากแว่นแคว้นของพระองค์เสีย. "

พระราชา. ภิกษุนั้นอยู่ที่ไหนเล่า ?

พวกภิกษุ. อยู่ในวิหาร มหาบพิตร.

พระราชา. อยู่ในเสนาสนะหลังไหน ?

พวกภิกษุ. ในเสนาสนะชื่อโน้น.

พระราชา. ถ้าเช่นนั้น ขออาราธนาพระคุณเจ้าไปเถิด. ข้าพเจ้า

จักสั่งให้จับภิกษุรูปนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 80

พระราชาเสด็จไปสอบสวนพระโกณฑธานะ

ในเวลาเย็น ท้าวเธอเสด็จไปวิหาร รับสั่งให้พวกบุรุษล้อมเสนา-

สนะนั้นไว้แล้ว ได้เสด็จผินพระพักตร์ตรงที่อยู่ของพระเถระ.

พระเถระได้ยินเสียงเอะอะ จึงได้ออกจากวิหาร (ที่อยู่) ยืนอยู่ที่

หน้ามุข. พระราชาได้ทอดพระเนตรเห็นรูปสตรีแม้นั้น ยืนอยู่ข้างหลัง

พระเถระนั้น. พระเถระทราบว่าพระราชาเสด็จมา จึงขึ้นไปยังวิหารนั่งอยู่

แล้ว. พระราชาไม่ทรงไหว้พระเถระ, ไม่ได้ทอดพระเนตรเห็นแม้สตรีนั้น

ท้าวเธอทรงตรวจดูที่ซอกประตูบ้าง ที่ใต้เตียงบ้าง ก็มิได้ทรงประสบเลย

จึงได้ตรัสกะพระเถระว่า " ท่านขอรับ ผมได้เห็นสตรีคนหนึ่งในที่นี้, เขา

ไปเสียไหน ? "

พระเถระทูลว่า " อาตมภาพไม่เห็น มหาบพิตร. แม้เมื่อพระราชา

ตรัสว่า " เมื่อกี้นี้ ข้าพเจ้าเห็นสตรียืนอยู่ข้างหลังท่าน. " ก็ทูลยืนกรานว่า

" อาตมภาพไม่เห็น มหาบพิตร. "

พระราชาทรงดำริว่า " นี่มันเป็นเรื่องอะไรหนอ ? " แล้วตรัสว่า

" ขอนิมนต์ท่านออกไปจากที่นี้ก่อน ขอรับ " เมื่อพระเถระออกไปจากที่

นั้น ยืนอยู่ที่หน้ามุข. สตรีนั้นก็ได้ยืนอยู่ข้างหลังของพระเถระอีก. พระ-

ราชาทอดพระเนตรเห็นสตรีนั้นแล้ว จึงเสด็จขึ้นไปชั้นบนอีก.

พระเถระทราบความที่พระราชานั้นเสด็จมาแล้ว จึงนั่งอยู่.

พระราชา แม้ทรงตรวจดูสตรีนั้นในที่ทุกแห่งอีก ก็มิได้ทรง

ประสบ จึงตรัสถามพระเถระนั้นซ้ำอีกว่า " สตรีนั้นมีอยู่ ณ ที่ไหน ?

ขอรับ. "

พระเถระ. อาตมภาพไม่เห็น (สตรีนั้น) มหาบพิตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 81

พระราชา. ขอท่านโปรดบอกเถิด ขอรับ เมื่อกี้นี้เอง ผมเห็น

สตรียืนอยู่ข้างหลังของท่าน.

พระเถระ. ขอถวายพระพร มหาบพิตร แม้มหาชนก็พูดว่า " สตรี

เที่ยวไปข้างหลังอาตมภาพ." ส่วนอาตมภาพไม่เห็น (สตรีนั้นเลย).

พระราชาทรงสันนิษฐานว่าเป็นรูปเทียม

พระราชาทรงกำหนดว่า " นั่นพึงเป็นรูปเทียม " แล้วรับสั่งกะ

พระเถระอีกว่า " ท่านขอรับ ขอท่านจงลงไปจากที่นี้ดูที. " เมื่อพระเถระ

ลงไปยืนอยู่ที่หน้ามุข. ก็ได้ทอดพระเนตรเห็นสตรีนั้นยืนอยู่ข้างหลังของ

พระเถระนั้นอีก ครั้นเสด็จขึ้นไปข้างบน ก็กลับมิได้ทอดพระเนตรเห็น.

ท้าวเธอทรงซักถามพระเถระอีก. เมื่อท่านทูล (ยืนกรานคำเดียว) ว่า

" อาตมภาพไม่เห็น. " ก็ทรงสันนิษฐานได้ว่า " นั่นเป็นรูปเทียมแน่ "

จึงตรัสกะพระเถระว่า " ท่านขอรับ เมื่อสังกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง)

เห็นปานนั้น เที่ยวติดตามไปข้างหลังท่านอยู่. คนอื่นใคร ๆ จักไม่ถวาย

ภิกษาแก่ท่าน. ท่านจงเข้าไปพระราชวังของข้าพเจ้าเนืองนิตย์. ข้าพเจ้า

จักบำรุง (ท่าน) ด้วยปัจจัย ๔, " ทรงนิมนต์พระเถระแล้ว ก็เสด็จหลีกไป.

พวกภิกษุติเตียนพระราชาและพระเถระ

ภิกษุทั้งหลาย ยกโทษว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู

กิริยาของพระราชาผู้ลามก. เมื่อพวกเราทูลว่า ' ขอพระองค์ทรงขับไล่

ภิกษุนั้นออกจากวิหารเสีย. ก็เสด็จมา (กลับ) นิมนต์ (ภิกษุนั้น) ด้วย

ปัจจัย ๔ แล้วเสด็จกลับ. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 82

ภิกษุทั้งหลาย ก็กล่าวกะพระเถระนั้นว่า " เฮ้ย คนทุศีล บัดนี้

พระราชากลายเป็นคนชั่วแล้ว. "

แม้พระเถระนั้น ในกาลก่อนไม่อาจจะกล่าวอะไรๆ กะภิกษุทั้งหลาย

ได้, บัดนี้ กล่าวตอบทันทีว่า " พวกท่านเป็นผู้ทุศีล. พวกท่านเป็นคน

ชั่ว, พวกท่านพาหญิงเที่ยวไป. "

ภิกษุเหล่านั้น ไปกราบทูลแด่พระศาสดาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระโกณฑธานะ อันข้าพระองค์ทั้งหลายว่ากล่าวแล้ว กลับกล่าวด่าต่างๆ

เป็นต้นว่า 'แม้พวกท่าน ก็เป็นผู้ทุศีล. "

พระศาสดาทรงไต่สวนทั้งสองฝ่าย

พระศาสดา รับสั่งให้เรียกพระโกณฑธานะนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า

" ภิกษุ ข่าวว่า เธอกล่าวอย่างนั้น จริงหรือ ? "

พระเถระ กราบทูลว่า " จริง พระเจ้าข้า."

พระศาสดา. เพราะเหตุไร ? เธอจึงกล่าวอย่างนั้น.

พระเถระ. เพราะเหตุที่ภิกษุเหล่านั้นกล่าวกับข้าพระองค์.

พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุไร ? แม้พวกท่านจึงกล่าว

กะภิกษุนี้ (อย่างนั้น).

พวกภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์เห็นหญิงเที่ยว

ไปข้างหลังภิกษุนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น.

พระศาสดา. นัยว่า ภิกษุเหล่านี้เห็นหญิงเที่ยวไปกับเธอ จึงกล่าว

(ขึ้นอย่างนั้น) ส่วนตัวเธอไม่ได้เห็นเลย เหตุไฉน ? จึงกล่าวกะภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 83

เหล่านี้ (อย่างนั้นเล่า ?). ผลนี้ เกิดขึ้นเพราะอาศัยทิฏฐิลามกของเธอใน

กาลก่อนมิใช่หรือ ? เหตุไร ในบัดนี้ เธอจึงถือทิฏฐิลามกอีกเล่า ?

พวกภิกษุทูลถามว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุนี้ได้ทำกรรม

อะไรในปางก่อน ? "

ทีนั้น พระศาสดา ตรัสบุรพกรรมของท่านแก่ภิกษุเหล่านั้นแล้ว

ตรัสว่า " ภิกษุ เธออาศัยกรรมลามกนี้ จึงถึงประการอันแปลกนี้แล้ว

บัดนี้ การที่เธอถือทิฏฐิอันลามกเห็นปานนั้นอีก ไม่สมควร. เธออย่า

กล่าวอะไร ๆ กับภิกษุทั้งหลายอีก. จงเป็นผู้ไม่มีเสียง เช่นกังสดาลอัน

เขาตัดขอบปากแล้ว. เมื่อทำอย่างนั้น จักเป็นผู้ชื่อว่าบรรลุพระนิพพาน "

ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถา

เหล่านี้ว่า

๔. มาโวจ ผรุส กญฺจิ วุตฺตา ปฏิวเทยฺยุ ต

ทุกฺขา หิ สารมฺภกถา ปฏิทณฺฑา ผุเสยฺยุ ต.

สเจ เนเรสิ อตฺตาน กโส อุปหโต ยถา

เอส ปตฺโตสิ นิพฺพาน สารมฺโภ เต น วิชฺชติ.

" เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกะใคร ๆ, ชนเหล่าอื่น

ถูกเธอว่าแล้ว จะพึงตอบเธอ, เพราะการกล่าวแข่งขัน

กันให้เกิดทุกข์ อาชญาตอบพึงถูกต้องเธอ, ผิเธอ

อาจยังตนไม่ให้หวั่นไหวได้ ดังกังสดาลที่ถูกกำจัด

แล้วไซร้ เธอนั่นย่อมบรรลุพระนิพพาน, การกล่าว

แข่งขันกัน ย่อมไม่มีแก่เธอ."

๑. ระฆังวงเดือน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 84

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กญฺจิ ความว่า อย่าได้กล่าวคำหยาบ

กะใคร ๆ คือแม้กะบุคคลผู้หนึ่ง.

บทว่า วุตฺตา ความว่า คนเหล่าอื่นถูกเธอกล่าวว่า " เจ้าพวกทุศีล, "

พึงกล่าวตอบเธอบ้าง อย่างนั้นเหมือนกัน.

บทว่า สารมฺภกถา ขึ้นชื่อว่าการกล่าวแข่งขันกันเกินกว่าเหตุนั้น

ให้เกิดทุกข์.

บทว่า ปฏิทณฺฑา ความว่า เมื่อเธอประหารผู้อื่น ด้วยอาชญา

ทั้งหลาย มีอาชญาทางกายเป็นต้น. อาชญาตอบเช่นนั้นแหละ พึงตกลง

เหนือกระหม่อมของเธอ.

บทว่า สเจ เนเรสิ ความว่า ถ้าเธอจักอาจทำตนไม่ให้หวั่นไหวได้

ไซร้.

บาทพระคาถาว่า กโส อุปหโต ยถา ความว่า เหมือนกังสดาล ที่

เขาตัดขอบปากทำให้เหลือแต่พื้นวางไว้. จริงอยู่ กังสดาลเช่นนั้น แม้

บุคคลตีแล้วด้วยมือ เท้า หรือด้วยท่อนไม้ ก็ย่อมไม่ดัง.

สองบทว่า เอส ปตฺโตสิ ความว่า ถ้าเธอจักอาจเป็นผู้เห็นปานนั้น

ได้ไซร้. เธอนั่น บำเพ็ญปฏิปทานี้อยู่. เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วในบัดนี้

ชื่อว่าบรรลุพระนิพพาน.

บาทพระคาถาว่า สารมฺโภ เต น วิชฺชติ ความว่า ก็เมื่อเป็นอย่าง

นั้น แม้ความแข่งขันกัน มีอันกล่าวทำให้ยิ่งกว่ากันเป็นลักษณะเป็นต้น

อย่างนั้นว่า " เจ้าเป็นผู้ทุศีล " ว่า " พวกเจ้าเป็นผู้ทุศีล " ดังนี้ ย่อมไม่มี

คือจักไม่มีแก่เธอเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 85

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอรหัตผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้นแล้ว. แม้พระโกณฑธานเถระ ตั้งอยู่ในพระโอวาทที่

พระศาสดาประทานเเล้ว ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล. ต่อกาลไม่นานนัก

ท่านได้เหาะขึ้นไปในอากาศ จับสลากเป็นครั้งแรก ดังนี้แล.

เรื่องพระโกณฑธานเถระ จบ.

๑. ได้ยินว่า ท่านได้จับสลากได้ที่ ๑ สามครั้ง คือพระศาสดาจะเสด็จไปสู่อุคคนคร ในกิจ

นิมนต์ของนางมหาสุภัททา ๑ เมื่อเสด็จไปสู่เมืองสาเกต ในกิจนิมนต์ของนางสุภัททา ๑ เมื่อ

เสด็จไปสู่สุนาปรันตชนบท ๑ ในกิจนิมนต์เหล่านั้น ต้องการแต่พระขีณาสพล้วนๆ ๕๐๐ องค์.

นัย. มโน., ๑/๒๘๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 86

๕. เรื่องอุโบสถกรรม [๑๑๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภอุโบสถกรรม

ของอุบาสิกาทั้งหลายมีนางวิสาขาเป็นต้น ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยถา

ทณฺเฑน โคปาโล " เป็นต้น.

หญิงรักษาอุโบสถมุ่งผลต่างกัน

ดังได้สดับมา ในวันอุโบสถวันหนึ่ง หญิงประมาณ ๕๐๐ คนใน

นครสาวัตถี เป็นผู้รักษาอุโบสถ ได้ไปสู่วิหาร. นางวิสาขาเข้าไปหา

หญิงแก่ๆ ในจำนวนหญิง ๕๐๐ นั้นแล้ว ถามว่า " แน่ะแม่ทั้งหลาย พวก

ท่านเป็นผู้รักษาอุโบสถ เพื่ออะไร ? " เมื่อหญิงแก่เหล่านั้นบอกว่า " พวก

ฉันปรารถนาทิพยสมบัติ จึงรักษาอุโบสถ. " ถามพวกหญิงกลางคน,

เมื่อพวกหญิงเหล่านั้นบอกว่า " พวกฉันรักษาอุโบสถ ก็เพื่อต้องการพ้น

จากการอยู่กับหญิงร่วมสามี. " ถามพวกหญิงสาว ๆ. เมื่อพวกเขาบอกว่า

" พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อต้องการได้บุตรชายในการมีครรภ์คราวแรก. "

ถามพวกหญิงสาวน้อย. เมื่อพวกเขาบอกว่า " พวกฉันรักษาอุโบสถ เพื่อ

ต้องการไปสู่สกุลผัวแต่ในวัยสาว ๆ. " (นาง) ได้ฟังถ้อยคำแม้ทั้งหมดของ

หญิงเหล่านั้นแล้ว ก็พาพวกเขาไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูล (ความ

ประสงค์ของหญิงเหล่านั้น) ตามลำดับ.

สรรพสัตว์ถูกส่งไปเป็นทอด ๆ

พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า " วิสาขา ธรรมดาสภาว-

ธรรมทั้งหลายมีชาติเป็นต้นของสัตว์เหล่านี้ เป็นเช่นกับนายโคบาลที่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 87

ท่อนไม้ในมือ. ชาติส่งสรรพสัตว์ไปสู่สำนักชรา ชราส่งไปสู่สำนักพยาธิ

พยาธิส่งไปสู่สำนักมรณะ มรณะย่อมตัดชีวิต ดุจบุคลตัดต้นไม้ด้วย

ขวาน. แต่เมื่อเป็นอย่างนั้น ปวงสัตว์ชื่อว่าปรารถนาวิวัฏฏะ(พระนิพพาน)

ย่อมไม่มี, มัวแต่ปรารถนาวัฏฏะเท่านั้น. " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ

แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๕. ยถา ทณฺเฑน โคปาโล คาโว ปาเชติ โคจร

เอว ชรา จ มจฺจุ จ อายุ ปาเชนฺติ ปาณิน.

" นายโคบาล ย่อนต้อนโคทั้งหลายไปสู่ที่หากิน

ด้วยท่อนไม้ ฉันใด, ชราและมัจจุ ย่อมต้อนอายุ

ของสัตว์ทั้งหลายไป ฉันนั้น. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาเชติ ความว่า นายโคบาลผู้ฉลาด

กันโคทั้งหลาย ตัวเข้าไปสู่ระหว่างคันนาด้วยท่อนไม้ ตีด้วยท่อนไม้นั้น

นั่นแหละ นำไปอยู่ ชื่อว่า ย่อมต้อน (โคทั้งหลาย) ไปสู่ที่หากิน ซึ่ง

มีหญ้าและน้ำหาได้ง่าย.

สองบทว่า อายุ ปาเชนฺติ ความว่า ย่อมตัดอินทรีย์คือชีวิต คือ

ย่อมยังชีวิตินทรีย์ให้สิ้นไป. ในพระคาถานี้ มีคำอุปมาอุปไมย ฉะนี้ว่า

ก็ชราและมัจจุ เปรียบเหมือนนายโคบาล, อินทรีย์คือชีวิต เปรียบ

เหมือนฝูงโค, มรณะ เปรียบเหมือนสถานที่หากิน. บรรดาสภาวธรรม

เหล่านั้น ชาติส่งอินทรีย์คือชีวิตของสัตว์ทั้งหลายไปสู่สำนักชรา ชราส่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 88

ไปสู่สำนักพยาธิ พยาธิส่งไปสู่สำนักมรณะ, มรณะนั้นแลตัด (ชีวิตินทรีย์

ของสัตว์ทั้งหลาย) ไป เหมือนบุคคลตัดต้นไม้ด้วยขวานฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องอุโบสถกรรม จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 89

๖. เรื่องอชครเปรต [๑๑๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอชครเปรต

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อถ ปาปนิ กมฺมานิ " เป็นต้น.

พระมหาโมคคัลลานะเห็นเปรตถูกไฟไหม้

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานะเถระกับพระ-

ลักขณเถระลงจากเขาคิชฌกูฏ ได้เห็นสัตว์ชื่ออชครเปรต ประมาณ ๒๕

โยชน์ ด้วยจักษุทิพย์. เปลวไฟตั้งขึ้นแต่ศีรษะของเปรตนั้น ลามถึงหาง,

ตั้งขึ้นแต่หาง ลามถึงศีรษะ. ตั้งขึ้นแต่ข้างทั้งสองไปรวมอยู่ที่กลางตัว.

เล่าการเห็นเปรตให้พระเถระฟัง

พระเถระครั้นเห็นเปรตนั้นแล้วจึงยิ้ม อันพระลักขณเถระถามเหตุ

แห่งการยิ้มแล้ว ก็ตอบว่า " ผู้มีอายุ กาลนี้ ไม่ใช่กาลพยากรณ์

ปัญหานี้, ท่านค่อยถามผมในสำนักพระศาสดาเถิด " เที่ยวบิณฑบาตใน

กรุงราชคฤห์. ในกาลไปยังสำนักพระศาสดา พระลักขณเถระถามแล้ว

จึงตอบว่า " ผู้มีอายุ ผมได้เห็นเปรตตนหนึ่งในที่นั้น. อัตภาพของมัน

ชื่อว่ามีรูปอย่างนี้; ผมครั้นเห็นมันแล้ว ได้ทำการยิ้มให้ปรากฏ ก็ด้วย

ความคิดว่า 'อัตภาพเห็นปานนี้ เราไม่เคยเห็นเลย. "

พระศาสดาก็เคยทรงเห็นเปรตนั้น

พระศาสดา เมื่อจะตรัสคำเป็นต้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย สาวกของ

เรา เป็นผู้มีจักษุอยู่หนอ " ทรงรับรองถ้อยคำของพระเถระแล้ว จึง

ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้น แม้เราก็ได้เห็นแล้วที่โพธิมัณฑสถาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 90

เหมือนกัน. แต่เราไม่พูด เพราะคิดเห็นว่า ' ก็แลชนเหล่าใดไม่พึงเชื่อ

คำของเรา ความไม่เชื่อนั้นของคนเหล่านั้น พึงเป็นไปเพื่อหาประโยชน์

เกื้อกูลมิได้ ' บัดนี้ เราได้โมคคัลลานะเป็นพยานแล้วจึงพูดได้." อัน

ภิกษุทั้งหลายทูลถามบุรพกรรมของเปรตนั้นแล้ว จึงทรงพยากรณ์ (ดัง

ต่อไปนี้) ว่า

บุรพกรรมของอชครเปรต

ดังได้ยินมา ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ

เศรษฐีชื่อว่าสุมงคล ปูพื้นที่ด้วยแผ่นอิฐทองคำ ให้สร้างวิหารในที่

ประมาณ ๒๐ อุสภะ ด้วยทรัพย์ประมาณเท่านั้นแล้ว ก็ให้ทำการฉลองด้วย

ทรัพย์ประมาณเท่านั้นเหมือนกัน. วันหนึ่ง ท่านเศรษฐีไปสู่สำนักพระ-

ศาสดาแต่เช้าตรู่ เห็นโจรคนหนึ่งนอนเอาผ้ากาสาวะคลุมร่างตลอดถึงศีรษะ

ทั้งมีเท้าเปื้อนโคลน อยู่ในศาลาหลังหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร จึงกล่าวว่า

" เจ้าคนนี้ มีเท้าเปื้อนโคลน คงจักเป็นมนุษย์ที่เที่ยวเตร่ในเวลากลางคืน

แล้ว (มา) นอน. "

กรรมชั่วให้ผลชั่ว

โจรเปิดหน้าเห็นเศรษฐีแล้ว คิดในใจว่า " เอาเถอะน่ะ. เราจัก

รู้กรรมที่ควรทำแก่มัน " ดังนี้แล้วก็ผูกอาฆาตไว้ ได้เผานา (ของเศรษฐี)

๗ ครั้ง ตัดเท้าโคทั้งหลาย ในคอก ๗ ครั้ง เผาเรือน ๗ ครั้ง เขาไม่อาจ

ให้ความแค้นเคืองดับได้ แม้ด้วยทารุณกรรมมีประมาณเท่านั้น จึงทำการ

สนิทชิดเชื้อกับคนใช้ของเศรษฐีนั้นแล้ว ถามว่า " อะไรเป็นที่รักของ

เศรษฐี (นาย) ของท่าน ? " ได้ฟังว่า " วัตถุเป็นที่รักยิ่งของเศรษฐีอื่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 91

จากพระคันธกุฎี ย่อมไม่มี " คิดว่า " เอาละ, เราจักเผาพระคันธกุฎี ยัง

ความแค้นเคืองให้ดับ. " เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปบิณฑบาต. จึงทุบ

หม้อน้ำสำหรับดื่มและสำหรับใช้ ได้จุดไฟที่พระคันธกุฎีแล้ว.

เศรษฐีได้ทราบว่า " ข่าวว่า พระคันธกุฎีถูกไฟไหม้ " เดินมา

อยู่ ในเวลาพระคันธกุฎีถูกไฟไหม้เเล้ว จึงมาถึง แลดูพระคันธกุฎีที่ไฟ

ไหม้ ก็มิได้ทำความเสียใจแม้สักเท่าปลายขนทราย คู้แขนข้างซ้ายเข้ามา

ปรบด้วยมือข้างขวาอย่างขนานใหญ่.

ขณะนั้น ประชาชนยืนอยู่ ณ ที่ใกล้ ถามท่านเศรษฐีว่า " นาย

ขอรับ เพราะเหตุไร ท่านจึงปรบมือ ในเวลาที่พระคันธกุฎีซึ่งท่านสละ

ทรัพย์ประมาณเท่านี้สร้างไว้ถูกไฟไหม้เล่า ? "

เศรษฐีตอบว่า " พ่อแม่ทั้งหลาย ข้าพเจ้าทำกรรมประมาณเท่านี้

(ชื่อว่า) ได้ฝังทรัพย์ไว้ในพระศาสนาที่ไม่สาธารณะแก่อันตรายมีไฟเป็น

ต้น, ข้าพเจ้าจึงมีใจยินดี ปรบมือด้วยคิดว่า ' เราจักได้สละทรัพย์ประมาณ

เท่านี้ สร้างพระคันธกุฎี (ถวาย) พระศาสดาแม้อีก."

ท่านเศรษฐี สละทรัพย์ประมาณเท่านั้น สร้างพระคันธกุฎีอีก ได้

ถวายแด่พระศาสดา ซึ่งมีภิกษุ ๒ หมื่นรูปเป็นบริวาร.

โจรเห็นกิริยานั้นแล้ว คิดว่า " เราไม่ฆ่าเศรษฐีนี้เสีย จักไม่อาจ

ทำให้เก้อเขินได้, เอาเถอะ, เราจักฆ่ามันเสีย, " ดังนี้แล้ว จึงซ่อนกริช

ไว้ในระหว่างผ้านุ่ง แม้เดินเตร่อยู่ในวิหารสิ้น ๗ วัน ก็ไม่ได้โอกาส.

ฝ่ายมหาเศรษฐีถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข

สิ้น ๗ วัน ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ บุรุษผู้หนึ่งเผานาของข้าพระองค์ ๗ ครั้ง ตัดเท้าโคในคอก ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 92

ครั้ง, เผาเรือน ๗ ครั้ง, บัดนี้ แม้พระคันธกุฎี ก็จักเป็นเจ้าคนนั้น

แหละเผา ข้าพระองค์ขอให้ส่วนบุญในทานนี้แก่เขาก่อน. "

ผู้ทำกรรมดีย่อมชนะผู้ทำกรรมชั่ว

โจรได้ยินคำนั้น ระทมทุกข์ว่า " เราทำกรรมอันหนักหนอ เมื่อ

เป็นอย่างนั้น บุรุษนี้ก็มิได้มีแม้สักว่าความแค้นเคืองในเราผู้ทำผิด (ยัง

กลับ) ให้ส่วนบุญในทานนี้แก่เราก่อนเสียด้วย; เราคิดประทุษร้ายใน

บุรุษนี้ (ไม่สมควรเลย) แม้เทวทัณฑ์พึงตกลงบนกระหม่อมของเราผู้ไม่

ให้บุรุษผู้เห็นปานนี้อดโทษให้." ดังนี้แล้ว จึงไปหมอบลงที่ใกล้เท้าของ

เศรษฐี กล่าวว่า " นายขอรับ ขอท่านจงกรุณาอดโทษแก่ผมเถิด. เมื่อ

เศรษฐีกล่าวว่า " อะไรกันนี่ ? " จึงเรียนว่า " นายขอรับ ผมได้ทำกรรม

ประมาณเท่านี้ ๆ. ขอท่านจงอดโทษนั้นแก่ผมเถิด, "

ทีนั้น เศรษฐีถามกรรมทุก ๆ อย่างกะเขาว่า " เจ้าทำกรรมนี้ด้วย

นี้ด้วย ประมาณเท่านี้แก่เราหรือ ? " เมื่อเขารับสารภาพว่า ' ขอรับ ผม

ทำ " จึงถาม (ต่อไป) ว่า " เราไม่เคยเห็นเจ้าเลย เหตุไรเจ้าจึงโกรธ

ได้ทำอย่างนั้นแก่เรา ?."

เขาเตือนให้เศรษฐีระลึกถึงคำ ที่ตนผู้ออกจากพระนครในวันหนึ่ง

พูดแล้ว ได้บอกว่า " ผมเกิดความแค้นเคืองขึ้นเพราะเหตุนี้."

เศรษฐีระลึกถึงความแห่งถ้อยคำที่ตนพูดได้เเล้ว ให้โจรอดโทษให้

ด้วยถ้อยคำว่า " เออพ่อ เราพูดจริง, เจ้าจงอดโทษข้อนั้นแก่เราเถิด. "

แล้วกล่าวว่า 'ลุกขึ้นเถิด เราอดโทษให้แก่เจ้าละ, เจ้าจงไปเถิด. ''

โจร. นายขอรับ ถ้าท่านอดโทษแก่ผมไซร้. ขอจงทำผมพร้อม

ทั้งบุตรและภริยา ให้เป็นทาส (ผู้รับใช้) ในเรือนของท่านเถิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 93

เศรษฐี. แน่ะพ่อ เมื่อเรากล่าวคำมีประมาณเท่านี้. เจ้าก็ได้ทำการ

ตัดเห็นปานนี้. เราไม่อาจจะกล่าวอะไร ๆ กับ เจ้าผู้อยู่ในเรือนได้เลย. เรา

ไม่มีกิจเกี่ยวด้วยเจ้าผู้จะอยู่ในเรือน. เราอดโทษให้เเก่เจ้า, ไปเถิด พ่อ

โจรครั้นทำกรรมนั้นแล้ว ในกาลสิ้นอายุ บังเกิดแล้วในอเวจี

ไหม้ในอเวจีสิ้นกาลนาน ในกาลบัดนี้ เกิดเป็นอชครเปรต ถูกไฟไหม้

อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ด้วยวิบาก [แห่งกรรม] ที่ยังเหลือ.

พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมของเปรตนั้นอย่างนี้แล้ว จึง

ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาคนพาล ทำกรรมอันลามกอยู่ ย่อมไม่

รู้. แต่ภายหลัง เร่าร้อนอยู่เพราะกรรมอันตนทำแล้ว ย่อมเป็นเช่นกับ

ไฟไหม้ป่า ด้วยตนของตนเอง " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง

ธรรม จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

๖. อถ ปาปานิ กมฺมานิ กร พาโล น พุชฺฌติ

เสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิหฑฺโฒว ตปฺปติ.

" อันคนพาล ทำกรรมทั้งหลายอันลามกอยู่ ย่อม

ไม่รู้ (สึก) บุคคลมีปัญญาทราม ย่อมเดือดร้อน ดุจ

ถูกไฟไหม้ เพราะกรรมของตนเอง. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อถ ปาปานิ ความว่า คนพาลหาใช่ทำ

บาปทั้งหลายด้วยสามารถแห่งความโกรธอย่างเดียวไม่, แม้ทำอยู่ก็ไม่รู้สึก.

แต่เมื่อทำบาปอยู่ จะชื่อว่า ไม่รู้ว่า " เราทำบาป " ย่อมไม่มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " ย่อมไม่รู้ เพราะความไม่รู้ว่า " ผล

ของกรรมนี้ มีชื่อเห็นปานนี้."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 94

บทว่า เสหิ ความว่า เพราะกรรมอันเป็นของตนเหล่านั้น.

บทว่า ทุมฺเนโธ ความว่า บุคคลผู้มีปัญญาทราม เกิดในนรกย่อม

เดือดร้อน เหมือนถูกไฟไหม้.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องอชครเปรต จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 95

๗. เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ [๑๑๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระมหา-

โมคคัลลานเถระ. ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย ทณฺเฑน อทณฺเฑสุ "

เป็นต้น.

พวกเดียรถีย์คิดหาอุบายฆ่าท่าน

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พวกเดียรถีย์ประชุมกัน คิดว่า " ท่าน

ผู้มีอายุ ท่านทั้งหลายทราบหรือ ? ด้วยเหตุไร ลาภสักการะ จึงเกิดขึ้น

เป็นอันมากแก่พระสมณโคดม ? เดียรถีย์พวกหนึ่งกล่าวว่า " พวกข้าพเจ้า

ไม่ทราบ ส่วนพวกท่านทราบหรือ ? " เดียรถีย์ที่รู้เรื่องก็พากันตอบว่า

ขอรับ พวกข้าพเจ้าทราบ ลาภและสักการะเกิดขึ้นเพราะอาศัยพระเถระ

รูปหนึ่ง ชื่อมหาโมคคัลลานะ เพราะพระเถระนั้น ไปเทวโลก ถาม

กรรมที่พวกเทวดาทำแล้ว ก็กลับมาบอกกับพวกมนุษย์ว่า ' ทวยเทพทำ

กรรมชื่อนี้ ย่อมได้สมบติเห็นปานนี้.' แม้ไปนรก ก็ถามกรรมของหมู่

สัตว์ผู้เกิดในนรกแล้วกลับมาบอกพวกมนุษย์ว่า 'พวกเนรยิกสัตว์ทำกรรม

ชื่อนี้ ย่อมเสวยทุกข์เห็นปานนี้.' พวกมนุษย์ได้ฟังถ้อยคำของพระเถระ

นั้นแล้ว ย่อมนำลาภสักการะเป็นอันมากไป (ถวาย). ถ้าพวกเราจักสามารถ

ฆ่าพระเถระนั้นได้ไชร้. ลาภและสักการะนั้น ก็จักเกิดแก่พวกเรา. "

เดียรถีย์จ้างพวกโจรฆ่าพระเถระ

เดียรถีย์เหล่านั้นต่างรับรองว่า " อุบายนี้ใช้ได้ " ทุกคนเป็นผู้มี

ฉันทะอันเดียวกัน ตกลงกันว่า " พวกเราจักทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 96

ฆ่าพระเถระนั้นเสีย " ดังนี้แล้ว ชักชวนพวกอุปัฏฐากของตนได้ทรัพย์

พันกหาปณะ ให้เรียกหมู่โจรผู้เที่ยวทำกรรมคือฆ่าบุรุษมาแล้ว สั่งว่า

" พระเถระชื่อมหาโมคคัลลานะอยู่ที่กาฬสิลา. พวกเจ้าไปในที่นั้นแล้ว

จงฆ่าพระเถระนั้น. " ดังนี้แล้ว ก็ได้ให้กหาปณะ (แก่พวกโจร).

พวกโจร รับคำเพราะความโลภในทรัพย์ ตั้งใจว่า " พวกเราจัก

ฆ่าพระเถระ " ดังนี้แล้ว ไปล้อมที่อยู่ของพระมหาโมคคัลลานเถระนั้นไว้.

พระเถระถูกพวกโจรทุบ

พระเถระ ทราบความที่ตนถูกพวกโจรเหล่านั้นล้อมแล้ว จึงออก

ไปทางช่องลูกกุญแจหลีกไปเสีย. ในวันนั้น พวกโจรนั้น มิได้เห็นพระ-

เถระ. วันรุ่งขึ้น จึงไปล้อม (อีก).

พระเถระทราบแล้ว ก็ทำลายมณฑลช่อฟ้าเหาะไปสู่อากาศ. เมื่อ

เป็นเช่นนี้ ในเดือนแรกก็ดี ในเดือนท่ามกลางก็ดี พวกเดียรถีย์นั้น ก็

มิได้อาจจับพระเถระได้. แต่เมื่อมาถึงเดือนสุดท้าย. พระเถระทราบภาวะ

คือการชักมาแห่งกรรมอันตนทำไว้เเล้ว จึงมิได้หลบเลี่ยง.

พวกโจรไปจับพระเถระได้แล้ว ทุบกระดูกทั้งหลายของท่านให้

(แตกยับเป็นชิ้นน้อย) มีประมาณเท่าเมล็ดข้าวสารหัก. ทีนั้น พวกโจร

เหวี่ยงท่านไปที่หลังพุ่มไม้เเห่งหนึ่ง ด้วยสำคัญว่า ' ตายแล้ว.' ก็หลีกไป.

พระเถระประสานกระดูกแล้วไปเฝ้าพระศาสดา

พระเถระคิดว่า " เราเฝ้าพระศาสดาเสียก่อนแล้วจักปรินิพพาน "

ดังนี้แล้ว จึงประสานอัตภาพด้วยเครื่องประสานคือฌาน ทำให้มั่นคง

แล้ว ไปสู่สำนักพระศาสดาโดยอากาศ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว

กราบทูลว่า " ข้าพระองค์จักปรินิพพาน พระเจ้าข้า. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 97

พระผู้มีพระภาคเจ้า. เธอจักปรินิพพานหรือ ? โมคคัลลานะ.

พระเถระ. จักปรินิพพาน พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอจักปรินิพพาน ณ ที่ไหน ?

พระเถระ. ข้าพระองค์จักไปสู่ประเทศชื่อกาฬสิลาแล้วปรินิพพาน

พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. โมคคัลลานะ ถ้ากระนั้น เธอกล่าวธรรมแก่เราแล้ว

จึงค่อยไป เพราะบัดนี้ เราไม่พบเห็นสาวกผู้เช่นเธอ (อีก).

พระเถระแสดงฤทธิ์แล้วปรินิพพาน

พระเถระกราบทูลว่า " ข้าพระองค์จักทำอย่างนั้น พระเจ้าข้า "

ดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดา เหาะขึ้นไปในอากาศ แสดงฤทธิ์มีประ-

การต่าง ๆ อย่างพระสารีบุตรแสดงฤทธิ์ในวันปรินิพพานแล้วกล่าวธรรม

ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปสู่ดงใกล้กาฬสิลาประเทศ ปรินิพพานแล้ว.

ถ้อยคำ (เล่าลือ) แม้นี้ว่า " ข่าวว่า พวกโจรฆ่าพระเถระเสียแล้ว "

ดังนี้ ได้กระฉ่อนไปทั่วชมพูทวีป.

พวกโจรถูกจารบุรุษจับได้

พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงแต่งจารบุรุษไปเพื่อต้องการสืบเสาะหาพวก

โจร. เมื่อโจรแม้เหล่านั้น ซึ่งกำลังดื่มสุราอยู่ในโรงดื่มสุรา, โจรคนหนึ่ง

ก็ถองหลังโจรคนหนึ่งให้ล้มลง. โจรที่ถูกถองนั้น ขู่ตะคอกโจรนั้นแล้ว

พูดว่า " เฮ้ย อ้ายหัวดื้อ ทำไมจึงถองหลังกูเล่า."

โจรผู้หนึ่ง. เฮ้ย อ้ายโจรชั่วร้าย ก็พระมหาโมคคัลลานะ มึง

(ลงมือ) ตีก่อนหรือ ?

๑. บุรุษสอดแนม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 98

โจรอีกผู้หนึ่ง. ก็มึงไม่รู้ว่าพระโมคัลลานะถูกตีดอกหรือ ?

เมื่อพวกโจรเหล่านั้นพากันกล่าว (อวดอ้าง) อยู่ว่า "พระโมคคัล-

ลานะ กูเองตีแล้ว ๆ."

จารบุรุษเหล่านั้นได้ยินแล้ว จึงจับโจรเหล่านั้นไว้ทั้งหมดแล้ว

กราบทูลแด่พระราชา.

พระราชาทรงมีรับสั่งให้เรียกพวกโจรมาแล้ว ตรัสถามว่า "พวก

เจ้าฆ่าพระเถระหรือ ? "

พวกโจร. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระราชา. ใครใช้พวกเจ้าเล่า ?

พวกโจร. พวกสมณะเปลือย พระเจ้าข้า.

พวกเดียรถีย์และพวกโจรถูกลงโทษ

พระราชา ทรงมีรับสั่งให้จับสมณะเปลือยประมาณ ๕๐๐ แล้วให้ฝัง

ไว้ในหลุมประมาณเพียงสะดือที่พระลานหลวง รวมกับโจรทั้ง ๕๐๐ คน

ให้กลบด้วยฟางแล้ว ก่อไฟ (เผา). ครั้นทรงทราบว่าพวกเหล่านั้นถูกไฟ

ไหม้แล้ว จึงรับสั่งให้ไถด้วยไถเหล็ก ทำพวกนั้นทั้งหมดให้เป็นท่อนและ

หาท่อนมิได้. รับสั่งให้ทำการเสียบหลาวไว้ในโจร ๔ คน.

พระเถระถึงมรณะสมควรแก่กรรมของตน

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า "น่าสังเวชจริง พระมหา

โมคคัลลานะ มรณภาพไม่สมควรแก่ตน."

๑. กถ สมุฏฺาเปสุ แปลว่า ยังกถาให้ตั้งขึ้นพร้อม. ๒. มรณ ปตฺโต แปลว่า ถึงแล้วซึ่ง

มรณะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 99

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ

นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า " ด้วย

กถาชื่อนี้ พระเจ้าข้า " ดังนี้แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะ

มรณภาพไม่สมควรแก่อัตภาพนี้เท่านั้น, แต่เธอถึงมรณภาพสมควรแท้

แก่กรรมที่เธอทำไว้ในกาลก่อน " อันภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า " ก็บุรพ-

กรรมของท่านเป็นอย่างไร ? พระเจ้าข้า " ได้ตรัส (อดีตนิทาน) อย่าง

พิสดาร (ดังต่อไปนี้) :-

บุรพกรรมของพระมหาโมคคัลลานะ

ดังได้สดับมา ในอดีตกาล กุลบุตรผู้หนึ่ง เป็นชาวเมืองพาราณสี

ทำกิจต่าง ๆ มีตำข้าวและหุงต้มเป็นต้นเองทั้งนั้น ปรนนิบัติมารดาบิดา.

ต่อมา มารดาบิดาของเขา พูดกะเขาว่า " พ่อ เจ้าผู้เดียวเท่านั้น

ทำงานทั้งในเรือน ทั้งในป่า ย่อมลำบาก, มารดาบิดาจักนำหญิงสาวคน

หนึ่งมาให้เจ้า," ถูกเขาห้ามว่า ' คุณแม่และคุณพ่อ ผมไม่ต้องการด้วย

หญิงสาวเห็นปานนั้น, ผมจักบำรุงท่านทั้งสองด้วยมือของผมเอง ตราบ

เท่าท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ " ก็อ้อนวอนเขาแล้ว ๆ เล่า ๆ แล้วนำหญิง-

สาวมา (ให้เขา).

หญิงชั่วยุยงผัวฆ่ามารดาบิดา

หญิงนั้นบำรุงแม่ผัวและพ่อผัวได้เพียง ๒-๓ วันเท่านั้น ภายหลัง

ก็ไม่อยากเห็นท่านทั้งสองนั้นเลย จึงบอกสามีว่า " ฉันไม่อาจอยู่ในที่แห่ง

เดียวกับมารดาบิดาของเธอได้ " ดังนี้แล้ว ติเตียน (ต่าง ๆ นานา) เมื่อ

สามีนั้นไม่เชื่อถ้อยคำของตน, ในเวลาสามีไปภายนอก ถือเอาปอ ก้านปอ

และฟองข้าวยาคู ไปเรี่ยรายไว้ในที่นั้น ๆ (ให้รกรุงรังเลอะเทอะ) สามีมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 100

แล้ว ก็ถามว่า " นี้ อะไรกัน " ก็บอกว่า " นี่ เป็นกรรมของคนแก่ผู้

บอดเหล่านี้, แกทั้งสองเที่ยวทำเรือนทั่วทุกแห่งให้สกปรก. ฉันไม่อาจ

อยู่ในที่แห่งเดียวกันกับแกทั้งสองนั่นได้.

เชื่อเมียต้องเสียพ่อแม่

เมื่อหญิงนั้น บ่นพร่ำอยู่อย่างนั้น. สัตว์ผู้มีบารมีบำเพ็ญไว้แล้ว

แม้เห็นปานนั้น ก็แตกกับมารดาบิดาได้. เขาพูดว่า " เอาเถอะ, ฉันจักรู้

กรรมที่ควรทำแก่ท่านทั้งสอง " ดังนี้แล้ว เชิญมารดาบิดาให้บริโภคแล้ว

ก็ชักชวนว่า " ข้าแต่พ่อและแม่ พวกญาติในที่ชื่อโน้น หวังการมาของ

ท่านทั้งสองอยู่. ผมจัก (พา) ไปในที่นั้น " ดังนี้แล้ว ให้ท่านทั้งสองขึ้น

สู่ยานน้อยแล้วพาไป ในเวลาถึงกลางดงลวงว่า " คุณพ่อขอรับ ขอพ่อ

จงถือเชือกไว้. โคทั้งสองจักไปด้วยสัญญาแห่งปฏัก, ในที่นี้มีพวกโจรซุ่ม

อยู่, ผมจะลงไป " ดังนี้แล้ว มอบเชือกไว้ในมือของบิดา ลงไปแล้ว

ได้เปลี่ยนเสียงทำให้เป็นเสียงพวกโจรซุ่มอยู่.

มารดาบิดาสิเนหาในบุตรยิ่งกว่าตน

มารดาบิดาได้ยินเสียงนั้น ด้วยสำคัญว่า " พวกโจรซุ่มอยู่ " จึงกล่าว

ว่า " ลูกเอ๋ย แม่และพ่อแก่แล้ว, เจ้าจงรักษาเฉพาะตัวเจ้า (ให้พ้นภัย)

เถิด." เขาทำเสียงดุจโจร ทุบตีมารดาบิดา แม้ผู้ร้องอยู่อย่างนั้นให้ตาย

แล้ว ทิ้งไว้ในดง แล้วกลับไป.

ผลของกรรมชั่วตามสนอง

พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมนี้ของพระมหาโมคคัลลานะนั้นแล้ว

ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะ ทำกรรมประมาณเท่านี้ไหม้ใน

นรกหลายแสนปี, ด้วยวิบากที่ยังเหลือ จึงถูกทุบตีอย่างนั้นนั่นแล ละเอียด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 101

หมด ถึงมรณะ สิ้น ๑๐๐ อัตภาพ, โมคคัลลานะ ได้มรณะอย่างนี้ ก็พอ

สมแก่กรรมของตนเองแท้. พวกเดียรถีย์ ๕๐๐ กับโจร ๕๐๐ ประทุษ-

ร้ายต่อบุตรของเราผู้ไม่ประทุษร้าย ก็ได้มรณะที่เหมาะ (แก่กรรมของเขา)

เหมือนกัน, ด้วยว่า บุคคลผู้ประทุษร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้าย ย่อม

ถึงความพินาศฉิบหายด้วยเหตุ ๑๐ ประการเป็นแท้ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะ

ทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๗. โย ทณฺเฑน อทณฺเฑนสุ อปฺปทุฏฺเสุ ทุสฺสติ

ทสนฺนมญฺตร าน ขิปฺปเมว นิคจฺฉติ

เวทน ผรุส ชานึ สรีรสฺส จ เภทน

ครุก วาปิ อาพาธ จิตฺตกฺเขป ว ปาปุเณ

ราชฺโต วา อุปสคฺค อพฺภกฺขาน ว ทารุณ

ปริกฺขย ว ญาตีน โภคาน ว ปภงฺคุณ

อถ วาสฺส อคารานิ อคฺคิ ฑหติ ปาวโก

กายสฺส เภทา ทุปฺปญฺโ นิรย โส อุปปชฺชติ.

" ผู้ใด ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้ายทั้ง

หลาย ผู้ไม่มีอาชญา ด้วยอาชญา ย่อมถึงฐานะ ๑๐

อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งพลันทีเดียว คือ ถึงเวทนา

กล้า ๑ ความเสื่อมทรัพย์ ๑ ความสลายแห่งสรีระ ๑

อาพาธหนัก ๑ ความฟุ้งซ่านแห่งจิต ๑ ความขัดข้อง

แต่พระราชา ๑ การถูกกล่าวตู่อย่างร้ายแรง ๑ ความ

ย่อยยับแห่งเครือญาติ ๑ ความเสียหายแห่งโภคะ

ทั้งหลาย ๑ อีกอย่างหนึ่ง ไฟป่าย่อมไหม้เรือนของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 102

เขา, ผู้นั้นมีปัญญาทราม เพราะกายแตก ย่อมเข้า

ถึงนรก."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อทณฺเฑสุ ความว่า ในพระขีณาสพ

ทั้งหลาย ผู้เว้น จากอาชญามีอาชญาทางกายเป็นอาทิ.

บทว่า อปฺปทุฏฺเสุ ความว่า ผู้ไม่มีความผิดในชนเหล่าอื่น หรือ

ในตน.

บาทพระคาถาว่า ทสนฺนนญฺตร าน ความว่า ในเหตุแห่งทุกข์

๑๐ อย่าง ซึ่งเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า เวทน ได้แก่ เวทนากล้า อันต่างด้วยโรคมีโรคในศีรษะ

เป็นต้น.

บทว่า ชานึ ได้แก่ ความเสื่อมทรัพย์ที่ได้โดยยาก.

บทว่า เภทน ได้แก่ ความสลายแห่งสรีระมีการตัดมือเป็นต้น.

บทว่า ครุก ได้แก่ (หรือ) อาพาธหนักต่างโดยโรคมีโรคอัมพาต

มีจักษุข้างเดียว เปลี้ย ง่อย และโรคเรื้อนเป็นต้น.

บทว่า จิตฺตกฺเขป ได้แก่ ความเป็นบ้า.

บทว่า อุปสคฺค ได้แก่ (หรือ) ความขัดข้องแต่พระราชาเป็นต้น

ว่า ถอดยศลดตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้น.

บทว่า อพฺภกฺขาน ความว่า การถูกกล่าวตู่อย่างร้ายแรงเห็นปานนี้

ว่า ' กรรมมีการตัดที่ต่อเป็นต้นนี้ก็ดี, กรรมคือการประพฤติผิดในพระ-

ราชานี้ก็ดี เจ้าทำแล้ว.' ซึ่งตนไม่เคยเห็น ไม่เคยได้ยิน และไม่เคยคิดเลย.

๑. Caralysis โรคเส้นประสาทพิการทำให้เนื้อตัวตาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 103

บาทพระคาถาว่า ปริกฺขย ว าตีน ได้แก่ ความย่อยยับแห่ง

เครือญาติ ผู้สามารถเป็นที่พำนักของตน.

บทว่า ปภงฺคุณ คือ ความเสียหาย ได้แก่ ความผุพังไป. ก็

ข้าวเปลือกในเรือนของเขา ย่อมถึงความผุ. ทองคำถึงความเป็นถ่าน

เพลิง. แก้วมุกดาถึงความเป็นเมล็ดฝ้าย. กหาปณะถึงความเป็นชิ้นกระ-

เบื้องเป็นต้น. สัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า ถึงความเป็นสัตว์บอดเป็นอาที.

สองบทว่า อคฺคิ ฑหตี ความว่า ในปีหนึ่ง เมื่อไฟผลาญอย่าง

อื่นแม้ไม่มี ไฟคืออสนิบาต ย่อมตกลงเผาผลาญ ๒-๓ ครั้ง. หรือไฟป่า

ตั้งขึ้นตามธรรมดาของมัน ย่อมไหม้เทียว.

บทว่า นิรย เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " ผู้นั้น

ย่อมเข้าถึงนรก " ก็เพื่อแสดงฐานะ อันการกบุคคลแม้ถึงฐานะ ๑๐ อย่าง

เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งในปัจจุบันนี้แล้ว ก็พึงถึงในสัมปรายภพโดยอย่าง

เดียวกัน.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระมหาโมคคัลลานเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 104

๘. เรื่องภิกษุมีภัณฑะมาก [๑๑๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้มีภัณฑะ

มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น นคฺคจริยา " เป็นต้น.

กุฎุมพีเตรียมเครื่องใช้ก่อนบวช

ได้ยินว่า กุฎุมพีชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่ง มีภรรยาทำกาละแล้ว จึง

บวช. เขาเมื่อจะบวช ให้สร้างบริเวณ เรือนไฟและห้องเก็บภัณฑะเพื่อตน

บรรจุห้องเก็บภัณฑะแม้ทั้งหมดให้เต็มด้วยวัตถุทั้งหลายมีเนยใสและน้ำมัน

เป็นต้นแล้ว จึงบวช. ก็แล ครั้นบวชแล้วให้เรียกพวกทาสของตน มา

หุงต้มอาหารตามที่ตนชอบใจ แล้วบริโภค. ได้เป็นผู้มีภัณฑะมาก และ

มีบริขารมาก. ผ้านุ่งผ้าห่มในราตรีมีชุดหนึ่ง. กลางวันมีอีกชุดหนึ่ง. อยู่

ในวิหารหลังสุดท้าย.

ถูกพวกภิกษุต่อว่าแล้วนำตัวไปเฝ้าพระศาสดา

วันหนึ่ง เมื่อภิกษุนั้น ตากจีวรและผ้าปูที่นอนอยู่. ภิกษุทั้งหลาย

เดินเที่ยวจาริกไปตามเสนาสนะ เห็นแล้ว จึงถามว่า " ผู้มีอายุ จีวรและ

ผ้าปูที่นอนเหล่านี้ของใคร ? " เมื่อเขาตอบว่า " ของผมขอรับ " ดังนี้

แล้ว จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอนุญาตจีวร (เพียง)

๓ ผืน. ก็ท่านบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้มีความปรารถนาน้อยอย่าง

นี้ (ทำไม) จึงเป็นผู้มีบริขารมากอย่างนี้ " ดังนี้แล้ว ได้นำภิกษุนั้นไปสู่

สำนักพระศาสดา กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้ เป็น

ผู้มีภัณฑะมากเหลือเกิน."

๑. สั่งสมสิ่งของ. ๒. เสนาสนจาริก อาหิณฺฑนฺตา. ๓. มังคลัตถทีปนี ทุติยภาค หน้า ๒๗๑

แก้ศัพท์นี้ว่า ไม่มีความปรารถนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 105

พระศาสดาตรัสถาม (ภิกษุนั้น) ว่า "ได้ยินว่า เป็นอย่างนั้น

จริงหรือ ? ภิกษุ " เมื่อภิกษุนั้นกราบทูลว่า " จริง พระเจ้าข้า " จึงตรัส

ว่า " ภิกษุ ก็เหตุไร เธอ เมื่อเราแสดงธรรมเพื่อความเป็นผู้มีความ

ปรารถนาน้อยแล้ว, จึงกลับเป็นผู้มีภัณฑ์มากอย่างนี้เล่า ? "

ภิกษุนั้นโกรธแล้วด้วยเหตุเพียงเท่านั้นแล คิดว่า " บัดนี้เราจัก

เที่ยวไป โดยทำนองนี้ " ดังนี้แล้ว ทิ้ง (เปลื้อง) ผ้าห่ม มีจีวรตัวเดียว

ได้ยืนอยู่ในท่ามกลางบริษัท.

พระศาสดาให้เธอกลับมีหิริและโอตตัปปะ

ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงอุปถัมภ์ภิกษุรูปนั้น จึงตรัสว่า

" ภิกษุ ในกาลก่อน เธอแสวงหาหิริและโอตตัปปะ แม้ในกาลเป็นรากษส

น้ำ ก็แสวงหาหิริโอตตัปปะอยู่ (ถึง) ๑๒ ปี มิใช่หรือ ? (แต่) บัดนี้ เธอ

บวชในพระพุทธศาสนาที่เคารพอย่างนี้แล้ว เปลื้องผ้าห่มละหิริและโอต-

ตัปปะ ยืนอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔ เพราะเหตุไร ? "

ภิกษุนั้นฟังพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว กลับตั้งหิริและโอต-

ตัปปะขึ้นได้ ห่มจีวรนั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่ สมควร

ข้างหนึ่ง.

ภิกษุทั้งหลายทูลขอพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อให้ทรงประกาศ

เนื้อความนั้น. ทีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนำอดีตนิทานมาตรัสว่า:-

บุรพกรรมของภิกษุนั้น

" ได้ยินว่า ในอดีตกาล พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในพระครรภ์

พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี. ในวันขนานพระนามของพระโพธิ-

๑. คือ เหลือสบงตัวเดียว เพราะ ติจีวร ย่อมหมายผ้า ๓ ผืน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 106

สัตว์นั้น ชนทั้งหลายขนานพระนามของพระองค์ว่า " มหิสสากุมาร. "

พระกนิษฐภาดาของพระองค์ ได้มีพระนามว่าจันทกุมาร. เมื่อพระชนนี

ของพระราชกุมารทั้งสองนั้น สิ้นพระชนม์แล้ว พระราชาก็ทรงสถาปนา

สตรีอื่นไว้ในตำแหน่งพระอัครมเหสี.

พระนางแม้นั้นประสูติพระราชโอรส (พระองค์หนึ่ง). ชนทั้งหลาย

ขนานพระนามของพระโอรสนั้นว่า " สุริยกุมาร " พระราชาทอดพระ-

เนตรเห็นสุริยกุมารนั้นแล้ว ก็ทรงพอพระทัย ตรัส (พระราชทานพร) ว่า

" เราให้พรแก่บุตรของเธอ. " ฝ่ายพระเทวีนั้นแลกราบทูลว่า " หม่อม

ฉันจักรับเอา ในเวลาที่ต้องการ " ดังนี้แล้ว ในกาลที่พระราชโอรส

เจริญวัยแล้ว จึงทูลพระราชาว่า " ขอเดชะสมมติเทพ พระองค์ได้พระ-

ราชทานพรไว้แล้ว ในเวลาบุตรของหม่อมฉันประสูติ. ขอพระองค์โปรด

พระราชทานราชสมบัติแก่บุตรของหม่อมฉันเถิด. "

พระโพธิสัตว์ต้องเดินไพร

พระราชาแม้ทรงห้ามว่า " บุตรทั้งสองของเรากำลังรุ่งเรืองดุจกอง-

ไฟ เที่ยวไป, เราไม่อาจให้ราชสมบัติแก่สุริยกุมารนั้นได้ (แต่) ทรงเห็น

พระนางยังขืนอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ จึงทรงดำริว่า " นางนี้จะพึงทำแม้ความ

ฉิบหายแก่บุตรของเรา " ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งให้เรียกพระราชโอรสทั้งสอง

มา ตรัสว่า " พ่อทั้งสอง พ่อได้ให้พรไว้ในเวลาสุริยกุมารประสูติ. บัดนี้

มารดาของเขา ทูลขอราชสมบัติ. พ่อไม่อยากจะให้แก่เขาเลย มารดา

ของเขา จะพึงทำแม้ความฉิบหายแก่เจ้าทั้งสอง. เจ้าจงไป อยู่ในป่าแล้ว

๑. แปลว่า กุมารผู้ซัดไปซึ่งลูกศรใหญ่ ฉบับยุโรปและสิงหลว่า มหิงฺสกกุมาโร. ๒. แปลว่า

น้องชาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 107

ค่อยกลับมารับราชสมบัติโดยกาลที่พ่อล่วงไป " ดังนี้แล้ว ทรงส่งไป.

สุริยกุมารเล่นอยู่ที่พระลานหลวง เห็นพระราชกุมารทั้งสองนั้น

ถวายบังคมพระราชบิดาแล้วลงจากปราสาท ทราบเหตุนั้นแล้วจึงออกไป

กับพระราชกุมารเหล่านั้นด้วย.

พระราชกุมารทั้งสองถูกรากษสจับไว้

ในกาลที่พระราชกุมารเหล่านั้น เข้าไปสู่หิมวันตประเทศ พระ-

โพธิสัตว์เสด็จแยกออกจากทาง นั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่งแล้วตรัส

กะสุริยกุมารว่า " แน่ะพ่อ เจ้าจงไปสู่สระนั่น อาบน้ำและดื่มน้ำแล้ว

จงเอาใบบัวนำน้ำมาเพื่อพี่ทั้งสองบ้าง. " ก็สระนั้น เป็นสระที่รากษสน้ำตน

หนึ่งได้จากสำนักแห่งท้าวเวสวัณ. ก็ท้าวเวสวัณรับสั่งกะรากษสน้ำนั้นว่า

" เว้นชนผู้รู้เทวธรรมเท่านั้น ชนเหล่าอื่นลงสู่สระนี้, เจ้าย่อมได้เพื่อเคี้ยว

กินชนเหล่านั้น. " ตั้งแต่นั้นมา รากษสน้ำนั้นถามเทวธรรมกะคนผู้ลง

แล้ว ๆ ลงสู่สระนั้น ย่อมเคี้ยวกินคนผู้ไม่รู้อยู่.

ฝ่ายสุริยกุมาร มิทันพิจารณาสระนั้น ลงไป, และถูกรากษสนั้น

ถามว่า " ท่านรู้เทวธรรมหรือ ? " ก็ตอบว่า " พระจันทร์และพระอาทิตย์

ชื่อว่าเทวธรรม. " ลำดับนั้น รากษสกล่าวกะสุริยกุมารนั้นว่า " ท่านไม่

รู้เทวธรรม. " แล้วก็ฉุดลงน้ำไปพักไว้ในภพของตน.

ส่วนพระโพธิสัตว์ เห็นสุริยกุมารนั้นช้าอยู่ จึงส่งจันทกุมารไป

แม้จันทกุมารนั้น ถูกรากษสนั้นถามว่า " ท่านรู้เทวธรรมหรือ ? " ก็ตอบ

ว่า " ทิศ ๔ ชื่อว่า เทวธรรม, " รากษสน้ำก็ฉุดแม้จันทกุมารนั้นลงน้ำ

ไปพักไว้อย่างนั้นเหมือนกัน.

๑. ปทานุกรม กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๔๗๐ ว่า รากษส (รากสด) ยักษ์ ผีเสื้อน้ำ เป็น

ชื่อพวกอสูรอย่างเลว มีนิสัยดุร้าย ชอบเที่ยวตามป่า ทำลายพิธีและคน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 108

พระโพธิสัตว์แสดงเทวธรรมแก่รากษส

พระโพธิสัตว์แม้เมื่อจันทกุมารนั้นเช้าอยู่ จึงคิดว่า "อันตรายจะ

พึงมี" ดังนี้แล้ว จึงไปเอง เห็นรอย (เท้า) ลงแห่งกุมารแม้ทั้งสองแล้ว

ก็ทราบว่า "สระนี้มีรากษสรักษา" จึงสอดพระขรรค์ไว้ ถือธนูได้ยืน

แล้ว. รากษสเห็นพระโพธิสัตว์นั้นไม่ลง (สู่สระ) จึงแปลงเพศเป็นชาย

ชาวป่า มากล่าวปราศรัยว่า "ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านเดินทางอ่อนเพลีย

ทำไม จึงไม่ลงสู่สระนี้ อาบน้ำ, ดื่มน้ำ, เคี้ยวกินเหง้าบัว ประดับดอกไม้

แล้ว จึงไปเปล่า ?"

พระโพธิสัตว์พอเห็นบุรุษนั้นก็ทราบได้ว่า "ผู้นี้เป็นยักษ์" จึง

กล่าวว่า "ท่านจับเอาน้องชายทั้งสองของข้าพเจ้าไว้หรือ ?"

ยักษ์. เออ ข้าพเจ้าจับไว้.

โพธิสัตว์. จับไว้ทำไม ?

ยักษ์. ข้าพเจ้า ย่อมได้ (เพื่อกิน) ผู้ลงสู่สระนี้.

โพธิสัตว์. ก็ท่านย่อมได้ทุกคนเทียวหรือ ?

ยักษ์. เว้นผู้รู้เทวธรรม คนที่เหลือ ข้าพเจ้าย่อมได้.

โพธิสัตว์. ก็ท่านมีความต้องการด้วยเทวธรรมหรือ ?

ยักษ์. ข้าพเจ้ามีความต้องการ.

โพธิสัตว์. ข้าพเจ้าจักกล่าว (ให้ท่านฟัง).

ยักษ์. ถ้ากระนั้น ขอท่านจงกล่าวเถิด.

โพธิสัตว์. ข้าพเจ้ามีตัวสกปรก ไม่อาจกล่าวได้.

ยักษ์ให้พระโพธิสัตว์อาบน้ำ ให้ดื่มน้ำอันควรดื่ม ตบแต่งแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 109

เชิญขึ้นสู่บัลลังก์ ในท่ามกลางมณฑปอันแต่งไว้ ตัวเองหมอบอยู่แทบ

บาทมูลของพระโพธิสัตว์นั้น.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์บอกกะยักษ์นั้นว่า "ท่านจงฟังโดยเคารพ"

ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

"นักปราชญ์ เรียกคนผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและ

โอตตัปปะ ตั้งมั่นดีแล้วในธรรมขาว เป็นผู้สงบเป็น

สัตบุรุษในโลกว่า 'ผู้ทรงเทวธรรม."

ยักษ์ฟังธรรมเทศนานี้แล้วเลื่อมใส กล่าวกะพระโพธิสัตว์ว่า

" ท่านบัณฑิต ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อท่านแล้ว จะให้น้องชายคนหนึ่ง, จะนำ

คนไหนมา ?"

โพธิสัตว์. จงนำน้องชายคนเล็กมา.

ยักษ์. ท่านบัณฑิต ท่านรู้เทวธรรมอย่างเดียวเท่านั้น, แต่ท่านไม่

ประพฤติในเทวธรรมเหล่านั้น.

โพธิสัตว์. เพราะเหตุไร ?

ยักษ์. เพราะท่านให้นำน้องชายคนเล็กมาเว้นคนโตเสีย ย่อมไม่

ชื่อว่าทำอปจายิกกรรมต่อผู้เจริญ.

พระโพธิสัตว์ทั้งรู้ทั้งพฤติเทวธรรม

พระโพธิสัตว์ตรัสว่า "ยักษ์ เรารู้ทั้งเทวธรรม, ทั้งประพฤติใน

เทวธรรมนั้น, เพราะเราอาศัยน้องชายคนเล็กนั่น พวกเราจึงต้องเข้าป่า

นี้, เหตุว่า มารดาของน้องชายนั่น ทูลขอราชสมบัติกะพระราชบิดาของ

เราทั้งสอง เพื่อประโยชน์แก่น้องชายนั้น, ก็พระบิดาของเราไม่พระราช-

ทานพรนั้น ทรงอนุญาตการอยู่ป่า เพื่อประโยชน์แก่การตามรักษาเรา

๑. กรรมคือการทำความอ่อนน้อม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 110

ทั้งสอง. กุมารนั้นไม่กลับ มากับพวกเรา. แม้เมื่อข้าพเจ้าจะกล่าวว่า

ยักษ์ตนหนึ่งในป่าเคี้ยวกินน้องชายคนเล็กนั้น ' ดังนี้ ใคร ๆ ก็จักไม่

เชื่อ. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าผู้กลัวต่อภัยคือการครหา จึงให้นำน้องชาย

คนเล็กนั้นผู้เดียวมาให้. "

ยักษ์เลื่อมใสต่อพระโพธิสัตว์ สรรเสริญว่า " สาธุ ท่านบัณฑิต

ท่านผู้เดียวทั้งรู้เทวธรรม ทั้งประพฤติในเทวธรรม " ดังนี้แล้ว จึงได้

นำเอาน้องชายแม้ทั้งสองคนมาให้.

พระโพธิสัตว์ได้ครองราชสมบัติ

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ตรัสพรรณนาโทษในความเป็นยักษ์แล้ว

ให้ยักษ์นั้นดำรงอยู่ในศีล ๕. พระโพธิสัตว์นั้น เป็นผู้มีความรักษาอัน

ยักษ์นั้นจัดทำด้วยดีแล้ว อยู่ในป่านั้น. ครั้นเมื่อพระราชบิดาสวรรคต

แล้ว. พายักษ์ไปยังกรุงพาราณสี ครอบครองราชสมบัติแล้ว พระราช-

ทานตำแหน่งอุปราชแก่จันทกุมาร พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่สุริย-

กุมาร โปรดให้สร้างที่อยู่ในรัมณียสถานแก่ยักษ์. (และ) ได้ทรงทำโดย

ประการที่ยักษ์นั้นจะถึงความเป็นผู้เลิศด้วยลาภ.

พระศาสดาทรงย่อชาดก

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม

ชาดกว่า " รากษสน้ำนั้น ในกาลนั้น ได้เป็นภิกษุผู้มีภัณฑะมาก, สุริย-

กุมาร เป็นพระอานนท์. จันทกุมาร เป็นพระสารีบุตร. มหิสสาสกุมาร

ได้เป็นเรานี่เอง."

พระศาสดา ครั้นตรัสชาดกอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า " ภิกษุ ในกาล

ก่อน เธอแสวงหาเทวธรรม ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะเที่ยวไปอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 111

นั้น. บัดนี้ เธอยืนอยู่โดยทำนองนี้ ในท่ามกลางแห่งบริษัท ๔ กล่าวอยู่

ต่อหน้าเราว่า " ฉันมีความปรารถนาน้อย " ดังนี้ ชื่อว่าได้ทำกรรมอันไม่

สมควรแล้ว. เพราะว่า บุคคลจะชื่อว่าเป็นสมณะ ด้วยเหตุสักว่าห้ามผ้า

สาฎกเป็นต้นก็หามิได้ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๘. น นคฺคจริยา น ชฏา น ปงฺกา

นานาสกา ตณฺฑิลสายิกา วา

รโชชลฺล อุกูกุฏิกป)ปธาน

โสเธนฺติ มจฺจ อวิติณฺณกงฺข.

" การประพฤติเป็นคนเปลือย ก็ทำสัตว์ให้บริสุทธิ์

ไม่ได้, การเกล้าชฎาก็ไม่ได้ การนอนเหนือเปือกตม

ก็ไม่ได้, การไม่กินข้าวก็ดี การนอนบนแผ่นดินก็ดี

ความเป็นผู้มีกายหมักหมมด้วยธุลีก็ดี ความเพียร

ด้วยการนั่งกระหย่งก็ดี (แต่ละอย่าง) หาทำสัตว์ผู้ยัง

ไม่ล่วงสงสัยให้บริสุทธิ์ได้ไม่.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานาสกา ตัดบทเป็น น อนาสกา.

ความว่า การห้ามภัต. การนอนบนแผ่นดิน ชื่อว่า ตณฺฑิลสายิกา

ธุลีที่หมักหมมอยู่ในสรีระ โดยอาการคือดังฉาบทาด้วยเปือกตม ชื่อว่า

รโชชลฺล, ความเพียรที่ปรารภแล้ว ด้วยความเป็นผู้นั่งกระโหย่ง ชื่อว่า

อุกฺกุฏิกปฺปธาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบายคำนี้ว่า " ก็สัตว์ใดเข้าใจว่า

เราจักบรรลุความบริสุทธิ์ กล่าวคือการออกจากโลก ด้วยการปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 112

อย่างนี้ ' ดังนี้แล้ว พึงสมาทานประพฤติวัตรอย่างใดอย่างหนึ่ง ในวัตร

มีการประพฤติเป็นคนเปลือยเป็นต้น เหล่านี้. สัตว์นั้น พึงชื่อว่าเจริญ

ความเห็นผิด และพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความลำบากโดยส่วนเดียว. ด้วยว่า

วัตรเหล่านั้น ที่สัตว์สมาทานดีแล้ว ย่อมยังสัตว์ที่ชื่อว่าผู้ยังไม่ล่วงความ

สงสัยอันมีวัตถุ ๕ อันตนยังไม่ก้าวล่วงแล้วให้หมดจดไม่ได้. "

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุผู้มีภัณฑะมาก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 113

๙. เรื่องสันตติมหาอำมาตย์ [๑๑๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสันตติมหา-

อำมาตย์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อลงฺกโต เจปิ สมญฺจเรยฺย"

เป็นต้น.

สันตติมหาอำมาตย์ ได้ครองราชสมบัติ ๗ วัน

ความพิสดารว่า ในกาลครั้งหนึ่ง สันตติมหาอำมาตย์นั้นปราบปราม

ปัจจันตชนบท ของพระเจ้าปเสนทิโกศล อันกำเริบให้สงบแล้วกลับมา.

ต่อมา พระราชาทรงพอพระหฤทัย ประทานราชสมบัติให้ ๗ วัน ได้

ประทานหญิงผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับนางหนึ่งแก่เขา. เขาเป็นผู้

มึนเมาสุราสิ้น ๗ วัน ในวันที่ ๗ ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่างแล้ว

ขึ้นสู่คอช้างตัวประเสริฐไปสู่ท่าอาบน้ำ เห็นพระศาสดากำลังเสด็จเข้าไป

บิณฑบาตที่ระหว่างประตู อยู่บนคอช้างตัวประเสริฐนั่นเอง ผงกศีรษะ

ถวายบังคมแล้ว.

พระศาสดาทรงทำการแย้ม พระอานนท์ทูลถามว่า "ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ อะไรหนอแล ? เป็นเหตุให้ทรงกระทำการแย้มให้ปรากฏ"

เมื่อจะตรัสบอกเหตุแห่งการแย้ม จึงตรัสว่า "อานนท์ เธอจงดูสันตติ-

มหาอำมาตย์, ในวันนี้เอง เขาทั้งประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่างเทียว มา

สู่สำนักของเรา จักบรรลุพระอรหัตในเวลาจบคาถาอันประกอบด้วยบท ๔

แล้ว นั่งบนอากาศ ชั่ว ๗ ลำตาล จักปรินิพพาน."

มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา ผู้กำลังตรัสกับพระเถระอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 114

คน ๒ พวกมีความคิดต่างกัน

บรรดามหาชนเหล่านั้น พวกมิจฉาทิฏฐิ คิดว่า " ท่านทั้งหลาย

จงดูกิริยาของพระสมณโคดม, พระสมณโคดมนั่น ย่อมพูดสักแต่ปาก

เท่านั้น ได้ยินว่า ในวันนี้ สันตติมหาอำมาตย์นั่น มึนเมาสุราอย่างนั้น

แต่งตัวอยู่ตามปกติ ฟังธรรมในสำนักของพระสมณโคดมนั้นแล้ว จัก

ปรินิพพาน, ในวันนี้ พวกเราจักจับผิดพระสมณโคดมนั้นด้วยมุสาวาท."

พวกสัมมาทิฏฐิ คิดกันว่า "น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย

มีอานุภาพมาก, ในวันนี้เราทั้งหลาย จักได้ดูการเยื้องกรายของพระพุทธเจ้า

และการเยื้องกรายของสันตติมหาอำมาตย์."

ส่วนสันตติมหาอำมาตย์ เล่นน้ำตลอดวันที่ท่าอาบน้ำแล้ว ไปสู่

อุทยาน นั่งที่พ่นโรงดื่ม.

หญิงฟ้อนเป็นลมตาย

ฝ่ายหญิงนั้น ลงไปในท่ามกลางที่เต้นรำ เริ่มจะแสดงการฟ้อน

และการขับ, เมื่อนางแสดงการฟ้อนการขับอยู่ในวันนั้น ลมมีพิษเพียง

ดังศัสตราเกิดขึ้นแล้วในภายในท้อง ได้ตัดเนื้อหทัยแล้ว เพราะความที่

นางเป็นผู้มีอาหารน้อยถึง ๗ วัน เพื่อแสดงความอ้อนแอ้นแห่งสรีระ. ใน

ทีทันใดนั้นเอง นางมีปากล้าและตาเหลือก ได้กระทำกาละแล้ว.

โศกเพราะภรรยาตาย

สันตติมหาอำมาตย์ กล่าวว่า "ท่านทั้งหลาย จงตรวจดูนางนั้น"

ในขณะสักว่าคำอันชนทั้งหลายกล่าวว่า "หญิงนั้นดับแล้ว นาย" ดังนี้

ถูกความโศกอย่างแรงกล้าครอบงำแล้ว. ในขณะนั้นเอง สุราที่เธอดื่ม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 115

ตลอด ๗ วัน ได้ถึงความเสื่อมหายแล้ว ประหนึ่งหยาดน้ำในกระเบื้อง

ที่ร้อนฉะนั้น. เธอคิดว่า " คนอื่น เว้นพระตถาคตเสีย จักไม่อาจเพื่อจะ

ยังความโศกของเรานี้ให้ดับได้ " มีพลกายแวดล้อมแล้ว ไปสู่สำนักของ

พระศาสดาในเวลาเย็น ถวายบังคมแล้ว กราบทูลอย่างนั้นว่า " ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ความโศกเห็นปานนี้เกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์, ข้าพระองค์

มาแล้ว ก็ด้วยหมายว่า 'พระองค์จักอาจเพื่อจะดับความโศก ของ

ข้าพระองค์นั้นได้.' ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พึ่งของข้าพระองค์เถิด. "

พระศาสดาระงับความโศกของบุคคลได้

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " ท่านมาสู่สำนักของผู้สามารถ

เพื่อดับความโศกได้แน่นอน, อันที่จริง น้ำตาที่ไหลออกของท่านผู้ร้องไห้

ในเวลาที่หญิงนี้ตาย ด้วยเหตุนี้นั่นแล มากกว่าน้ำของมหาสมุทรทั้ง ๔ "

ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

" กิเลสเครื่องกังวลใด มีอยู่ในกาลก่อน เธอจง

ยังกิเลสเครื่องกังวลนั้น ให้เหือดแห้งไป กิเลสเครื่อง

กังวล จงอย่ามีแก่เธอในภายหลัง, ถ้าเธอจักไม่ยึด

ถือขันธ์ ในท่ามกลาง จักเป็นผู้สงบระงับเที่ยว

ไป. "

ในกาลจบพระคาถา สันตติมหาอำมาตย์ บรรลุพระอรหัตแล้ว

พิจารณาดูอายุสังขารของตน ทราบความเป็นไปไม่ได้แห่งอายุสังขารนั้น

แล้ว จึงกราบทูลพระศาสดาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จง

ทรงอนุญาตการปรินิพพานแก่ข้าพระองค์เถิด. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 116

พระศาสดาแม้ทรงทราบกรรมที่เธอทำแล้ว ก็ทรงกำหนดว่า " พวก

มิจฉาทิฏฐิประชุมกัน เพื่อข่มขี่ (เรา) ด้วยมุสาวาท จักไม่ได้โอกาส.

พวกสัมมาทิฏฐิ ประชุมกัน ด้วยหมายว่า ่พวกเราจักดูการเยื้องกราย

ของพระพุทธเจ้า และการเยื้องกรายของสันตติมหาอำมาตย์ ' ฟังกรรม

ที่สันตติมหาอำมาตย์นี้ทำแล้ว จักทำความเอื้อเฟื้อในบุญทั้งหลาย " ดังนี้

แล้ว จึงตรัสว่า " ถ้ากระนั้น เธอจงบอกกรรมที่เธอทำแล้วแก่เรา,

ก็เมื่อจะบอก จงอย่ายืนบนภาคพื้นบอก จงยืนบนอากาศชั่ว ๗ ลำตาล

แล้วจึงบอก. "

แสดงอิทธิปาฏิหารย์ในอากาศ

สันตติมหาอำมาตย์นั้น ทูลรับว่า " ดีละ พระเจ้าข้า " ดังนี้แล้ว

จึงถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ขึ้นไปสู่อากาศชั่วลำตาลหนึ่ง ลงมาถวาย

บังคมพระศาสดาอีก ขึ้นไปนั่งโดยบัลลังก์บนอากาศ ๗ ชั่ว ลำตาลตาม

ลำดับแล้ว ทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์ทรงสดับ บุรพกรรม

ของข้าพระองค์ " (ดังต่อไปนี้ ):-

บุรพกรรมของสันตติมหาอำมาตย์

ในกัลป์ที่ ๙๑ เเต่กัลป์นี้ ครั้งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าวิปัสสี

ข้าพระองค์บังเกิดในตระกูล ๆ หนึ่ง ในพันธุมดีนคร คิดแล้วว่า 'อะไร

หนอแล ? เป็นกรรมที่ไม่ทำการตัดรอนหรือบีบคั้น ซึ่งชนเหล่าอื่น '

ดังนี้แล้ว เมื่อใคร่ครวญอยู่ จึงเห็นกรรมคือการป่าวร้องในบุญทั้ง-

หลาย จำเดิมแต่กาลนั้น ทำกรรมนั้นอยู่ ชักชวนมหาชนเที่ยวป่าวร้อง

อยู่ว่า 'พวกท่าน จงทำบุญทั้งหลาย, จงสมาทานอุโบสถ ในวันอุโบสถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 117

ทั้งหลาย. จงถวายทาน, จงฟังธรรม, ชื่อว่า รัตนะอย่างอื่นเช่นกับ

พุทธรัตนะเป็นต้นไม่มี. พวกท่านจงทำสักการะรัตนะทั้ง ๓ เถิด. "

ผลของการชักชวนมหาชนบำเพ็ญการกุศล

พระราชาผู้ใหญ่ทรงพระนามว่าพันธุมะ เป็นพระพุทธบิดา ทรง

สดับเสียงของข้าพระองค์นั้น รับสั่งให้เรียกข้าพระองค์มาเฝ้าแล้ว ตรัสถาม

ว่า ' พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร ? ' เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า ' ข้าแต่สมมติเทพ

ข้าพระองค์เที่ยวประกาศคุณรัตนะทั้ง ๓ ชักชวนมหาชนในการบุญทั้ง-

หลาย.' จึงตรัสถามว่า ' เจ้านั่งบนอะไรเที่ยวไป ? ' เมื่อข้าพระองค์

ทูลว่า ' ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์เดินไป ' จึงตรัสว่า ' พ่อ เจ้าไม่

ควรเพื่อเที่ยวไปอย่างนั้น, จงประดับพวงดอกไม้นี้แล้ว นั่งบนหลังม้า

เที่ยวไปเถิด ' ดังนี้แล้ว ก็พระราชทานพวงดอกไม้ เช่นกับพวงแก้วมุกดา

ทั้งได้พระราชทานม้าที่ฝึกแล้วแก่ข้าพระองค์.

ต่อมา พระราชารับสั่งให้ข้าพระองค์ ผู้กำลังเที่ยวประกาศอยู่อย่าง

นั้นนั่นแล ด้วยเครื่องบริหารที่พระราชาพระราชทาน มาเฝ้า แล้วตรัสถาม

อีกว่า 'พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร ? ' เมื่อข้าพระองค์ทูลว่า ' ข้าแต่สมมติเทพ

ข้าพระองค์ทำกรรมอย่างนั้นนั่นแล จึงตรัสว่า ' พ่อ แม้ม้าก็ไม่สมควร

แก่เจ้า. เจ้าจงนั่งบนรถนี้เที่ยวไปเถิด ' แล้วได้พระราชทานรถที่เทียม

ด้วยม้าสินธพ ๔. แม้ในครั้งที่ ๓ พระราชาทรงสดับเสียงของข้าพระองค์

แล้ว รับสั่งให้หา ตรัสถามว่า ่ พ่อ เจ้าเที่ยวทำอะไร ' เมื่อข้าพระองค์

ทูลว่า ' ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ทำกรรมนั้นแล ' จึงตรัสว่า ' แน่ะพ่อ

แม้รถก็ไม่สมควรแก่เจ้า ' แล้วพระราชทานโภคะเป็นอันมาก และเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 118

ประดับใหญ่ ทั้งได้พระราชทานช้างเชือกหนึ่งแก่ข้าพระองค์. ข้าพระองค์

นั้น ประดับด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง นั่งบนคอช้าง ได้ทำกรรมของผู้

ป่าวร้องธรรมสิ้นแปดหมื่นปี กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากกายของข้าพระองค์

นั้น กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากปาก ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้; นี้เป็นกรรมที่

ข้าพระองค์ทำแล้ว. "

การปรินิพพานของสันตติมหาอำมาตย์

สันตติมหาอำมาตย์นั้น ครั้นทูลบุรพกรรมของตนอย่างนั้นแล้ว

นั่งบนอากาศเทียว เข้าเตโชธาตุ ปรินิพพานแล้ว. เปลวไฟเกิดขึ้นในสรีระ

ไหม้เนื้อและโลหิตแล้ว. ธาตุทั้งหลายดุจดอกมะลิเหลืออยู่แล้ว.

พระศาสดา ทรงคลี่ผ้าขาว. ธาตุทั้งหลายก็ตกลงบนผ้าขาวนั้น.

พระศาสดา ทรงบรรจุธาตุเหล่านั้นแล้ว รับสั่งให้สร้างสถูปไว้ที่ทางใหญ่

๔ เเพร่ง ด้วยทรงประสงค์ว่า " มหาชนไหว้แล้ว จักเป็นผู้มีส่วน

แห่งบุญ. "

สันตติมหาอำมาตย์ควรเรียกว่าสมณะหรือพราหมณ์

พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุ สันตติมหาอำมาตย์

บรรลุพระอรหัตในเวลาจบพระคาถา ๆ เดียว ยังประดับประดาอยู่นั่น

แหละ นั่งบนอากาศปรินิพพานแล้ว. การเรียกเธอว่า ' สมณะ' ควร

หรือหนอแล ? หรือเรียกเธอว่า ' พราหมณ์ ' จึงจะควร. "

พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลว่า ' พวก

ข้าพระองค์ นั่งประชุมกันด้วยกถาชื่อนี้ " จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 119

กาเรียกบุตรของเราแม้ว่า ' สมณะ ' ก็ควร. เรียกว่า ' พราหมณ์ '

ก็ควรเหมือนกัน " ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า

๙. อลงฺกโต เจปิ สม จเรยฺย

สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจารี

สพฺเพสุ ภุเตสุ นิธาย ทณฺฑ

โส พฺราหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกฺขุ.

" แม้ถ้าบุคคลประดับแล้ว พึงประพฤติสม่ำเสมอ

เป็นผู้สงบ ฝึกแล้ว เที่ยงธรรม มีปกติประพฤติ

ประเสริฐ วางเสียซึ่งอาชญาในสัตว์ทุกจำพวก,

บุคคลนั้น เป็นพราหมณ์ เป็นสมณะ เป็นภิกษุ. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกโต ได้แก่ ประดับด้วยผ้าและ

อาภรณ์. บัณฑิตพึงทราบความแห่งพระคาถานั้นว่า " แม้หากว่าบุคคล

ประดับด้วยเครื่องอลังการมีผ้าเป็นต้น พึงประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยกาย

เป็นต้น. ชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะความสงบระงับแห่งราคะเป็นต้น, ชื่อว่า

เป็นผู้ฝึก เพราะฝึกอินทรีย์, ชื่อว่าเป็นผู้เที่ยง เพราะเที่ยงในมรรคทั้ง ๔.

ชื่อว่าพรหมจารี เพราะประพฤติประเสริฐ, ชื่อว่าวางอาชญาในสัตว์ทุก

จำพวก เพราะความเป็นผู้วางเสียซึ่งอาชญาทางกายเป็นต้นแล้ว. ผู้นั้น

คือผู้เห็นปานนั้น อันบุคคลควรเรียกว่า ' พราหมณ์ ' เพราะความเป็นผู้

มีบาปอันลอยแล้ว ก็ได้, ว่า ' สมณะ ' เพราะความเป็นผู้มีบาปอันสงบ

๑. อรรถกถาเป็น สมญฺจเรยฺยย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 120

แล้ว ก็ได้, ว่า ' ภิกษุ ' เพราะความเป็นผู้มีกิเลสอันทำลายแล้ว ก็ได้

โดยแท้. "

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องสันตติมหาอำมาตย์ จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 121

๑๐. เรื่องพระปิโลติกเถระ [๑๑๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระปิโลติก-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "หิรินิเสโ ปุริโธ ปุริโส" เป็นต้น.

พระอานนท์จัดการให้ปิโลติกะบวช

ความพิศดารว่า ในวันหนึ่ง พระอานนทเถระเห็นทารกคนหนึ่ง

นุ่งผ้าท่อนเก่า ถือกระเบื้องเที่ยวขอทานอยู่ จึงพูดว่า " เจ้าบวชเสียจะ

ไม่ดียิ่งกว่าการเที่ยวไปอย่างนี้เป็นอยู่หรือ ? " เมื่อเขาตอบว่า "ใครจัก

ให้ผมบวชเล่า ? ขอรับ " จึงกล่าวรับรองว่า "ฉันจะให้บวช " แล้ว

พาเขาไปยังวิหารให้อาบน้ำด้วยมือของตน ให้กรรมฐานแล้วก็ให้บวช.

ก็พระอานนทเถระนั้น คลี่ท่อนผ้าเก่าที่ทารกนั้นนุ่งแล้ว ตรวจดู

ไม่เห็นส่วนอะไร ๆ พอใช้สอยได้ แม้สักว่าทำเป็นผ้าสำหรับกรองน้ำ

จึงเอาพาดไว้ที่กิ่งไม้กิ่งหนึ่งกับกระเบื้อง.

พระปิโลติกะอยากสึก

เขาได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว บริโภคลาภและสักการะอันเกิดขึ้นเพื่อ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย นุ่งห่มจีวรที่มีค่ามากเที่ยวไปอยู่ เป็นผู้มีสรีระอ้วน

การะสันขึ้นแล้ว คิดว่า "ประโยชน์อะไรของเราด้วยการนุ่ง (ห่ม) จีวร

อันชนให้ด้วยศรัทธาเที่ยวไป, เราจะนุ่งผ้าเก่าของตัวนี่แหละ " ดังนี้

แล้ว ก็ไปสู่ที่นั้นแล้ว จังผ้าเก่าทำผ้านั้นให้เป็นอารมณ์ แล้วจึงโอวาท

ตนด้วยตนเองว่า " เจ้าผู้ไม่มีหิริ หมดยางอาย เจ้ายังปรารถนาเพื่อจะละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 122

ฐานะคือการนุ่งห่มผ้าทั้งหลายเห็นปานนั้น (กลับไป ) นุ่งผ้าท่อนเก่านี้ มี

มือถือกระเบื้องเที่ยวขอทาน ( อีกหรือ)".

ก็เมื่อท่านโอวาท (ตน ) อยู่นั้น แหละจิตผ่องใสแล้ว. ท่านเก็บผ้า

เก่าผืนนั้นไว้ที่เดิมนั้นแล้ว กลับไปยังวิหารตามเดิม. โดยกาลล่วงไป

๒-๓ วัน ท่านกระสันขึ้นอีก ไปกล่าวอย่างนั้นแหละ แล้วก็กลับ. ถึง

กระสันขึ้นอีก ก็ไปกล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วด้วยประการฉะนี้.

พระปิโลติกเถระบรรลุพระอรหัต

ภิกษุทั้งหลาย เห็นท่านเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่อย่างนั้น จึงถามว่า

" ผู้มีอายุ ท่านจะไปไหน ? "

ท่านบอกว่า " ผู้มีอายุ ผมจะไปสำนักอาจารย์ " ดังนี้แล้ว ก็ทำ

ผ้าท่อนเก่าของคนนั้น แหละให้เป็นอารมณ์ โดยทำนองนั้นนั่นเองห้ามตน

ได้ โดย ๒-๓ วัน เท่านั้น ก็บรรลุพระอรหัตผล.

ภิกษุทั้งหลาย กล่าว " ผู้มีอายุ บัดนี้ ท่านไม่ไปสำนักอาจารย์

หรือ ? ทางนี้เป็นทางเที่ยวไปของท่านมิใช่หรือ ? "

คนหมดเครื่องข้องไม่ต้องไป ๆ มา ๆ

ท่านตอบว่า " ผู้มีอายุ เมื่อความเกี่ยวข้องกับอาจารย์มีอยู่ผมจึงไป

แต่บัดนี้ ผมตัดความเกี่ยวข้องได้แล้ว, เพราะฉะนั้น ผมจึงไม่ไปสำนัก

อาจารย์. "

พวกภิกษุกราบทูลเรื่องราวแด่พระตถาคตว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระปิโลติกเถระอวดอ้างพระอรหัตผล.

๑. อีกนัยหนึ่ง แปลว่า " ก็จิตของท่านผู้โอวาท (ตน) อยู่นั่นแล ผ่องใสแล้ว"ก็ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 123

พระศาสดา. เธอกล่าวอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย.

พวกภิกษุ. เธอกล่าวคำชื่อนี้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า " ถูกละ ภิกษุทั้งหลาย, บุตร

ของเรา เมื่อความเกี่ยวข้องมีอยู่ จึงไปสำนักอาจารย์. แต่บัดนี้ ความ

เกี่ยวข้องเธอตัดได้แล้ว. เธอห้ามตนด้วยตนเอง บรรลุพระอรหัตแล้ว. "

ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๑๐. หิรินิเสโธ ปุริโส โกจิ โลกสฺมิ วิชฺชติ

โย นิทฺท อปโพเธติ อสฺโส ภโทฺร กสามิว

อสฺโส ยถา ภโทฺร กสานิวิฏฺโ

อาตาปิโน สเวคิโน ภวาถ

สทฺธาย สีเลน จ วีริเยน จ

สมาธินา ธมฺมวินิจฺฉเยน จ

สมฺปนฺนวิชฺชาจรณา ปติสฺสตา

ปหสฺสถ ทุกฺขมิท อนปฺป.

" บุรุษผู้ข้ามอกุศลวิตกด้วยหิริได้ น้อยคนจะมี

ในโลก, บุคคลใดกำจัดความหลับ ตื่นอยู่ เหมือน

ม้าดีหลบแส้ไม่ให้ถูกตน, บุคคลนั้นหาได้ยาก. ท่าน

ทั้งหลายจงมีความเพียร มีความสลดใจ เหมือนม้าดี

ถูกเขาตีด้วยแส้แล้ว (มีความบากบั่น) ฉะนั้น.

ท่านทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ศีล วิริยะ

สมาธิ และ ด้วยคุณเครื่องวินิจฉัยธรรม มีวิชชาและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 124

จรณะถึงพร้อม มีสติมั่นคง จักละทุกข์อันมีประมาณ

ไม่น้อยนี้ได้."

แก้อรรถ

คนผู้ชื่อว่า หิรินิเสธบุคคล ในพระคาถานั้น ก็เพราะอรรถว่า

ห้ามอกุศลวิตกอันเกิดในภายในด้วยความละอายได้.

สองบทว่า โกจิ โลกสฺมึ ความว่า บุคคลเห็นปานนั้น หาได้ยาก

จึงชื่อว่า น้อยคนนักจะมีในโลก.

สองบทว่า โย นิทฺท ความว่า บุคคลใด ไม่ประมาทแล้ว ทำสมณ-

ธรรมอยู่ คอยขับไล่ความหลับที่เกิดแล้วแก่ตน ตื่นอยู่ เพราะฉะนั้น

บุคคลนั้นจึงชื่อว่า กำจัดความหลับให้ตื่นอยู่.

บทว่า กสามิว เป็นต้น ความว่า บุคคลใดกำจัดความหลับ ตื่นอยู่

เหมือนม้าดีคอยหลบแส้อันจะตกลงที่ตน คือไม่ให้ตกลงที่ตนได้ฉะนั้น.

บุคคลนั้นหาได้ยาก.

ในคาถาที่ ๒ มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้:-

" ภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลาย จงเป็นผู้มีความเพียร มีความ

สลดใจ เหมือนม้าดีอาศัยความประมาท ถูกเขาฟาดด้วยแส้แล้ว รู้สึก

ตัวว่า ' ชื่อแม้ตัวเรา ถูกเขาหวดด้วยแส้แล้ว ' ในกาลต่อมา ย่อมทำ

ความเพียรฉะนั้น. เธอทั้งหลายเป็นผู้อย่างนั้นแล้ว ประกอบด้วยศรัทธา

๒ อย่าง ที่เป็นโลกิยะและโลกุตระ ด้วยปาริสุทธิศีล ๔ ด้วยความเพียร

เป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต ด้วยสมาธิสัมปยุตด้วยสมาบัติ ๘ และ

ด้วยคุณเครื่องวินิจฉัยธรรม มีอันรู้เหตุและมิใช่เหตุเป็นลักษณะ, ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 125

วิชชาและจรณะถึงพร้อม เพราะความถึงพร้อมแห่งวิชชา ๓ หรือวิชชา ๘

และจรณะ ๑๕, ชื่อว่าเป็นผู้มีสติมั่นคง เพราะความเป็นผู้มีสติตั้งมั่นแล้ว

จักละทุกข์ในวัฏฏะอันมีประมาณไม่น้อยนี้ได้. "

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระปิโลติกเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 126

๑๑. เรื่องสุขสามเณร [๑๑๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสุขสามเณร

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อุทก หิ นยนฺติ เนตฺติกา " เป็นต้น.

เรื่องคันธเศรษฐี

ความพิสดารว่า ในอดีตกาล มีบุตรของเศรษฐีชาวเมืองพาราณสี

คนหนึ่งชื่อว่า คันธกุมาร เมื่อบิดาของเธอถึงแก่กรรมแล้ว พระราชา

รับสั่งให้หาเธอมาเฝ้า ทรงปลอบโยนแล้ว ได้พระราชทานตำแหน่งเศรษฐี

แก่เธอนั้นแล ด้วยสักการะเป็นอันมาก. จำเดิมแต่กาลนั้นมา คันธกุมารนั้น

ก็ได้ปรากฏนามว่า " คันธเศรษฐี " ครั้งนั้น ผู้รักษาเรือนคลังของเศรษฐี

นั้น ได้เปิดประตูห้องสำหรับเก็บทรัพย์ ขนออกมาแล้ว ชี้แจงว่า " นาย

ทรัพย์นี้ของบิดาท่าน มีประมาณเท่านี้. ของบุรพบุรุษมีปู่เป็นต้น มี

จำนวนเท่านี้." เศรษฐีนั้นแลดูกองทรัพย์แล้ว พูดว่า " ก็ทำไม บุรพบุรุษ

เหล่านั้น จึงมิได้ถือเอาทรัพย์นี้ไปด้วย ? " ผู้รักษาเรือนคลังตอบว่า

" นาย ชื่อว่าผู้ที่จะถือเอาทรัพย์ไปด้วยไม่มี. แท้จริง สัตว์ทั้งหลายพาเอา

แต่กุศลอกุศลที่ตนได้ทำไว้เท่านั้นไป "

เศรษฐีจ่ายทรัพย์สร้างสิ่งต่าง ๆ

เศรษฐีนั้นคิดว่า " บุรพบุรุษเหล่านั้น พากันสั่งสมทรัพย์ไว้แล้ว

ก็ละทิ้งไปเสีย เพราะความที่ตนเป็นคนโง่. ส่วนเราจักถือเอาทรัพย์นั่น

ไปด้วย. " ก็คันธเศรษฐีเมื่อคิดอยู่อย่างนั้น มิได้คิดว่า " เราจักให้ทาน,

หรือจักทำการบูชา. " คิดแต่ว่า " เราจักบริโภคทรัพย์นี้ให้หมดแล้วจึงไป. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 127

เศรษฐีนั้นได้สละทรัพย์แสนหนึ่ง ให้ทำซุ้มที่อาบน้ำ อันแล้วด้วย

แก้วผลึก, จ่ายทรัพย์แสนหนึ่ง ให้ทำกระดานสำหรับอาบน้ำ อันแล้วด้วย

แก้วผลึกเหมือนกัน, จ่ายทรัพย์แสนหนึ่ง ให้ทำบัลลังก์สำหรับนั่ง. จ่าย

ทรัพย์แสนหนึ่ง ให้ทำถาดสำหรับใส่โภชนะ, จ่ายทรัพย์อีกแสนหนึ่ง ให้

ทำมณฑปในที่บริโภค, จ่ายทรัพย์แสนหนึ่ง ให้ทำเตียงรองถาดโภชนะ,

ให้สร้างสีหบัญชรไว้ในเรือนด้วยทรัพย์แสนหนึ่งเหมือนกัน, จ่ายทรัพย์

พันหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่อาหารเช้าของตน. จ่ายทรัพย์อีกพันหนึ่ง แม้

เพื่อประโยชน์แก่อาหารเย็น. แต่ในวันเพ็ญ ได้สั่งจ่ายทรัพย์แสนหนึ่ง

เพื่อประโยชน์แก่โภชนะ, ในวันบริโภคภัตนั้น ท่านเศรษฐีได้สละทรัพย์

แสนหนึ่ง ตกแต่งพระนคร ใช้คนเที่ยวตีกลองประกาศว่า " ได้ยินว่า

มหาชนจงดูท่าทางแห่งการบริโภคภัตของคันธเศรษฐี. " มหาชนได้ผูก

เตียงซ้อนเตียงประชุมกัน.

ฝ่ายคันธเศรษฐีนั้นนั่งบนแผ่นกระดานอันมีค่าแสนหนึ่ง ในซุ้ม

อาบน้ำอันมีค่าแสนหนึ่ง อาบน้ำด้วยหม้อน้ำหอม๑๖ หม้อ เปิดสีหบัญชร

นั้นแล้ว นั่งบนบัลลังก์นั้น กาลนั้น พวกคนใช้วางถาดนั้นไว้บนเตียงรอง

นั้นแล้ว คดโภชนะอันมีค่าแสนหนึ่งเพื่อเศรษฐีนั้น. ท่านเศรษฐีอัน

หญิงนักฟ้อนแวดล้อมแล้ว บริโภคโภชนะนั้นอยู่ด้วยสมบัติเห็นปานนี้.

คนบ้านนอกกระหายในภัตของเศรษฐี

โดยสมัยอื่น คนบ้านนอกผู้หนึ่งบรรทุกฟืนเป็นต้น ใส่ในยาน

ย่อม ๆ เพื่อต้องการแลกเปลี่ยนเสบียงอาหารสำหรับตน ไปถึงพระนคร

แล้ว ก็พักอยู่ในเรือนของสหาย. ก็กาลนั้นเป็นวันเพ็ญ. ชนทั้งหลาย

เที่ยวตีกลองประกาศในพระนครว่า " มหาชนจงดูท่าทางบริโภคของท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 128

คันธเศรษฐี. " ครั้งนั้น สหายจึงกล่าวกะชาวบ้านนอกนั้นว่า " เพื่อนเอ๋ย

ท่าทางบริโภคภัตของคันธเศรษฐี เพื่อนเคยเห็นหรือ ? "

ชาวบ้านนอก. ไม่เคยเห็นเลย เพื่อน.

สหายชาวเมือง. ถ้ากระนั้นมาเถิดเพื่อน เราจักไปด้วยกัน, กลองนี้

เที่ยวไปทั่วพระนคร เราจักดูสมบัติใหญ่.

สหายชาวเมืองได้พาสหายชาวบ้านนอกไปแล้ว. แม้มหาชนก็ได้พา

กันขึ้นเตียงซ้อนเตียงดูอยู่. สหายชาวบ้านนอก พอได้สูดกลิ่นภัต ก็พูด

กับสหายชาวเมืองว่า " กันเกิดกระหายในก้อนภัตในถาดนั่นแล้วละ. "

สหายชาวเมือง. อย่าปรารภก้อนภัตนั้นเลยเพื่อน เราไม่อาจจะ

ได้ดอก.

ชาวบ้านนอก. เพื่อนเอ๋ย เมื่อไม่ได้ ก็จักไม่เป็นอยู่ (ต่อไปละ).

สหายชาวเมืองนั้น เมื่อไม่อาจห้ามสหายชาวบ้านนอกนั้นไว้ได้ ยืน

อยู่ท้ายบริษัท เปล่งเสียงดัง ๓ ครั้งว่า " นาย ฉันไหว้ท่าน " เมื่อคันธ-

เศรษฐีถามว่า " นั่นใคร ? " จึงตอบว่า " ผมครับ นาย. "

เศรษฐี นี่เหตุอะไรกัน.

สหายชาวเมือง. คนบ้านนอกผู้หนึ่งนี้ เกิดกระหายในก้อนภัตใน

ถาดของท่าน, ขอท่านกรุณาให้ก้อนภัตก้อนหนึ่งเถิด.

เศรษฐี. ไม่อาจจะได้ดอก.

สหายชาวเมือง. คำของเศรษฐี เพื่อนได้ยินไหม เพื่อน.

ชาวบ้านนอก. กันได้ยินแล้วเพื่อน เออ ก็กันเมื่อได้ จักเป็นอยู่

เมื่อกันไม่ได้ ความตายจักมี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 129

สหายชาวเมืองร้องอีกว่า " นาย ได้ยินว่า ชายคนนี้ เมื่อไม่ได้ก็จัก

ตาย. ขอท่านจงให้ชีวิตแก่เขาเถิด.

คันธเศรษฐี. ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าก้อนภัตนี้ ย่อมถึงค่าร้อยหนึ่งก็มี

สองร้อยก็มี, ผู้ใดๆย่อมขอ. เมื่อให้แก่ผู้นั้น ๆ ฉันจักบริโภคอะไร

เล่า ?

สหายชาวเมือง. นาย ชายคนนี้ เมื่อไม่ได้จักตาย, ขอท่านจงให้

ชีวิตแก่เขาเถิด.

คันธเศรษฐี. เขาไม่อาจได้เปล่า ๆ ก็ถ้าเขาเมื่อไม่ได้จักไม่เป็นอยู่

ไซร้ ชายนั้นจงทำการรับจ้างในเรือนของฉัน ๓ ปี, ฉันจักให้ถาดภัต

แก่เขาถาดหนึ่ง.

ชาวชนบทยอมทำการรับจ้างในบ้านเศรษฐี

ชาวบ้านนอกฟังคำนั้นแล้ว จึงพูดกะสหายว่า " อย่างนั้น เอาละ

เพื่อน " ดังนี้แล้ว ได้ละบุตรและภรรยา เข้าไปสู่เรือนของเศรษฐี ด้วย

หมายใจว่า " จักทำการรับจ้างตลอด ๓ ปี. เพื่อประโยชน์แก่ถาดภัต

ถาดหนึ่ง. " เขาเมื่อทำการรับจ้าง ได้ทำกิจทุกอย่างโดยเรียบร้อย. การงาน

ที่ควรทำในบ้าน ในป่า ในกลางวัน กลางคืน ได้ปรากฏว่า เขาทำเสร็จ

เรียบร้อย. เมื่อมหาชนเรียกเขาว่า " นายภัตตภติกะ " คำนั้นได้ปรากฏ

ไปทั่วพระนคร.

กาลต่อมา เมื่อวัน (รับจ้าง) ของนายภัตตภติกะครบบริบูรณ์แล้ว.

ผู้จัดการภัตเรียนว่า " นาย วัน (รับจ้าง) ของนายภัตติภติกะครบบริบูรณ์

แล้ว เขาทำการรับจ้างอยู่ตลอด ๓ ปี ทำกรรมยากที่คนอื่นจะทำได้แล้ว,

การงานแม้สักอย่างหนึ่ง ก็ไม่เคยเสียหาย. " ครั้งนั้น ท่านเศรษฐี ได้สั่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 130

จ่ายทรัพย์ ๓ พันแก่ผู้จัดการภัตนั้น คือสองพัน เพื่อประโยชน์แก่อาหาร

เย็นและอาหารเช้าของตน, พันหนึ่ง เพื่อประโยชน์แก่อาหารเช้าของนาย

ภัตตภติกะนั้น แล้วสั่งคนใช้ว่า " วันนี้ พวกเจ้าจงทำการบริหารที่พึงทำ

แก่เรา แก่นายภัตตภติกะนั้นเถิด. " ก็แลครั้นสั่งแล้ว จึงสั่งแม้กะชนที่

เหลือ เว้นภรรยาเป็นที่รักนามว่าจินดามณีคนเดียว ว่า " วันนี้ พวกเจ้า

จงแวดล้อมนายภัตตภติกะนั้นเถิด . " ดังนี้แล้ว ก็มอบสมบัติทั้งหมดให้แก่

นายภัตตภติกะนั้น.

นายภัตติภติกะเตรียมบริโภคภัต

นายภัตตภติกะ นั่งบนแผ่นกระดานนั้นในซุ้มนั้นนั่นแล อาบ

น้ำด้วยสำหรับอาบของเศรษฐี นุ่งผ้าสาฎกสำหรับนุ่งของเศรษฐีนั่น

แหละ แล้วนั่งบนบัลลังก์ของเศรษฐีนั้นเหมือนกัน. แม้ท่านเศรษฐีก็ใช้

ให้คนเอากลองเที่ยวตีประกาศไปในพระนครว่า " นายภัตตภติกะทำการ

รับจ้างตลอด ๓ ปีในเรือนของคันธเศรษฐี ได้ถาดภัตถาดหนึ่ง, ขอชน

ทั้งหลายจงดูสมบัติแห่งการบริโภคของเขา. มหาชนได้ขึ้นเตียงซ้อนเตียง

ดูอยู่. ที่ๆชายชาวบ้านนอกดูแล้ว ๆก็ได้ถึงอาการหวั่นไหว. พวก

นักฟ้อนได้ยืนล้อมนายภัตตภติกะนั้น. พวกคนใช้ยกถาดภัตถาดหนึ่ง ตั้ง

ไว้ข้างหน้าของนายภัตตภติกะนั้นแล้ว.

ครั้งนั้น ในเวลาที่นายภัตตภติกะนั้นล้างมือ พระปัจเจกพุทธเจ้า

องค์หนึ่งที่ภูเขาคันธมาทน์ ออกจากสมาบัติในวันที่ ๗ แล้ว ใคร่ครวญ

อยู่ว่า " วันนี้ เราจักไปเพื่อประโยชน์แก่ภิกขาจารในที่ไหนหนอแล ? ก็ได้

เห็นนายภัตตภติกะแล้ว. ครั้งนั้น ท่านพิจารณาต่อไปอีกว่า " นาย

ภัตตภติกะนี้ ทำการรับจ้างถึง ๓ ปี จึงได้ถาดภัต. ศรัทธาของเขามี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 131

หรือไม่มีหนอ ? ใคร่ครวญไปก็ทราบได้ว่า " ศรัทธาของเขามีอยู่ " คิดไป

อีกว่า " คนบางพวก ถึงมีศรัทธา ก็ไม่อาจเพื่อทำการสงเคราะห์ได้.

นายภัตตภติกะนี้ จักอาจหรือไม่หนอ เพื่อจะทำการสงเคราะห์เรา ? "

ก็รู้ว่า " นายภัตตภติกะ จักอาจทีเดียว ทั้งจักได้มหาสมบัติเพราะอาศัย

เหตุคือการสงเคราะห์แก่เราด้วย " ดังนี้แล้ว จึงห่มจีวรถือบาตร เหาะขึ้น

สู่เวหาสไปโดยระหว่างบริษัท แสดงตนยืนอยู่ข้างหน้าแห่งนายภัตตภติกะ

นั้นนั่นแล.

นายภัตตภติกะถวายภัตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

นายภัตตภติกะนั้น เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว คิดว่า " เราได้ทำ

การรับจ้างในเรือนคนอื่นถึง ๓ ปี ก็เพื่อประโยชน์แก่ถาดภัตถาดเดียว

เพราะความที่เราไม่ได้ให้ทานในกาลก่อน. บัดนี้ ภัตนี้ของเราพึงรักษา

เราก็เพียงวันหนึ่งคืนหนึ่ง, ก็ถ้าเราจักถวายภัตนั้นแก่พระผู้เป็นเจ้า ภัต

จักรักษาเราไว้มิใช่พันโกฏิกัลป์เดียว เราจักถวายภัตนั้นแก่พระผู้เป็น

เจ้าละ." นายภัตตภติกะนั้น ทำการรับจ้างตลอด ๓ ปี ได้ถาดภัตแล้ว

ไม่ทันวางภัตแม้ก้อนเดียวในปาก บรรเทาความอยากได้ ยกถาดภัตขึ้น

เองทีเดียว ไปสู่สำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้า ให้ถาดในมือของคนอื่น

แล้ว ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว เอามือซ้ายจับถาดภัต เอามือขวา

เกลี่ยภัตลงในบาตรของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น. พระปัจเจกพุทธเจ้าได้

เอามือปิดบาตรเสีย ในเวลาที่ภัตยังเหลืออยู่กึ่งหนึ่ง.

ครั้งนั้น นายภัตตภติกะนั้นเรียนท่านว่า " ท่านขอรับ ภัตส่วน

เดียวเท่านั้น ผมไม่อาจเพื่อจะเเบ่งเป็น ๒ ส่วนได้, ท่านอย่าสงเคราะห์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 132

ผมในโลกนี้เลย. ขอจงทำการสงเคราะห์ในปรโลกเถิด. ผมจักถวายทั้งหมด

ทีเดียว ไม่ให้เหลือ."

ทานที่ถวายไม่เหลือมีผลมาก

จริงอยู่ ทานที่บุคคลถวายไม่เหลือไว้เพื่อตนแม้แต่น้อยหนึ่ง ชื่อว่า

ทานไม่มีส่วนเหลือ. ทานนั้นย่อมมีผลมาก. นายภัตตภติกะนั้น เมื่อทำ

อย่างนั้น จึงได้ถวายหมด ไหว้อีกแล้ว เรียนว่า " ท่านขอรับ ผมอาศัย

ถาดภัตถาดเดียว ต้องทำการรับจ้างในเรือนของคนอื่นถึง ๓ ปี ได้เสวย

ทุกข์แล้ว. บัดนี้ ขอความสุขจงมีแก่กระผมในที่ที่บังเกิดแล้วเถิด. ขอ

กระผมพึงมีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้วเถิด. " พระปัจเจกพุทธเจ้า

กล่าวว่า " ขอจงสมคิด เหมือนแก้วสารพัดนึก ความดำริอันให้ความใคร่

ทุกอย่าง จงบริบูรณ์แก่ท่าน เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญฉะนั้น " เมื่อ

จะทำอนุโมทนา จึงกล่าวว่า

"สิ่งที่ท่านมุ่งหมายแล้ว จงสำเร็จพลันทีเดียว,

ความดำริทั้งปวง จงเต็มเหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ.

สิ่งที่ท่านมุ่งหมายแล้ว จงสำเร็จพลันทีเดียว. ความ

ดำริทั้งปวง จงเต็มเหมือนแก้วมณีโชติรส ฉะนั้น "

ดังนี้แล้ว อธิษฐานว่า " ขอมหาชนนี้ จงยืนเห็นเราจนกระทั่งถึงเขาคันธ-

มาทน์เถิด." ได้ไปสู่ภูเขาคันธมาทน์โดยอากาศแล้ว. ถึงมหาชนก็ได้ยืนเห็น

ท่านอยู่นั่นแหละ. พระปัจเจกพุทธเจ้า ไปภูเขาคันธมาทน์แล้ว ได้แบ่ง

บิณฑบาตนั้นถวายแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ รูป พระปัจเจกพุทธเจ้า

ทุก ๆ รูป ได้รับเอาภัตเพียงพอแก่ตน ๆ แล้ว ใคร ๆ ไม่พึงคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 133

" บิณฑบาตเล็กน้อยจะพอเพียงอย่างไร ? " ด้วยว่าอจินไตย ๔ อย่าง พระ-

ผู้มีพระเจ้าตรัสไว้แล้ว, ในอจินไตย ๔ เหล่านั้น นี้ก็เป็นปัจเจกพุทธ-

วิสัยแล.

คันธเศรษฐีแบ่งทรัพย์ให้นายภัตตภติกะ

มหาชน เห็นบิณฑบาตที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเเบ่งถวายแก่พระปัจ-

เจกพุทธเจ้าทั้งหลายอยู่ ก็ได้พากันยังพันแห่งสาธุการให้เป็นไปเเล้ว.

เสียงสาธุการได้เป็นประหนึ่งเสียงอสนีบาต. คันธเศรษฐีได้ยินเสียงนั้นแล้ว

จึงคิดว่า " นายภัตติภติกะเห็นจะไม่สามารถทรงสมบัติเราให้แล้วได้.

เพราะเหตุนั้น มหาชนนี้ เมื่อทำการหัวเราะเยาะจึงได้อื้อฉาวขึ้น. ท่าน

เศรษฐีนั้น ส่งคนไปเพื่อทราบเรื่องราวที่เป็นไปแล้ว. คนเหล่านั้น มาแล้ว

บอกว่า " นายขอรับ ธรรมดาผู้ทรงสมบัติ ย่อมเป็นเห็นปานนี้ " ดังนี้แล้ว

จึงบอกเรื่องราวที่เป็นไปแล้วนั้น.

เศรษฐี ฟังเรื่องนั้นแล้ว เป็นผู้มีสรีระอันปีติมีวรรณะ ๕ ถูกต้อง

แล้ว จึงกล่าวว่า " น่าอัศจรรย์ นายภัตตภติกะนั้น ทำสิ่งที่บุคคลทำได้

โดยยากแล้ว. เราดำรงอยู่ในสมบัติเห็นปานนี้ ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้

ยังไม่ได้อาจเพื่อให้สิ่งไรได้ " ดังนี้แล้ว จึงให้เรียกนายภัตตภติกะนั้นมา

แล้ว ถามว่า " ได้ยินว่า เธอทำกรรมชื่อนี้จริงหรือ ? " เมื่อเขาตอบว่า

" ขอรับ นาย " จึงกล่าวว่า " เอาเถิด เธอจงถือเอาทรัพย์พันหนึ่งแล้วแบ่ง

ส่วนบุญในทานของเธอให้ฉันบ้าง. " นายภัตตภติกะนั้น ได้ทำตามนั้น

แล้ว. แม้เศรษฐีก็ได้แบ่งครึ่งทรัพย์สมบัติอันเป็นของ ๆ ตนทั้งหมด

ให้แก่นายภัตตภติกะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 134

สัมปทา ๔ อย่าง

จริงอยู่ ชื่อว่าสัมปทามี ๔ อย่างคือ วัตถุสัมปทา ปัจจัยสัมปทา

เจตนาสัมปทา คุณาติเรกสัมปทา. ในสัมปทา ๔ อย่างนั้น พระอรหันต์

หรือพระอนาคามี ควรแก่นิโรธสมาบัติ ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลล ชื่อวัตถุ

สัมปทา. การบังเกิดขึ้นแห่งปัจจัยทั้งหลาย โดยธรรมสม่ำเสมอ ชื่อปัจจัย-

สัมปทา, ความที่เจตนาใน ๓ กาล คือในกาลก่อนแต่ให้, ในกาลกำลังให้,

ในกาลภายหลัง สัมปยุตด้วยญาณ อันกำกับโดยโสมนัส ชื่อเจตนสัมปทา.

ส่วนความที่ทักขิไณยบุคคลออกจากสมาบัติ ชื่อว่าคุณาติเรกสัมปทา.

ก็สัมปทาทั้ง ๔ อย่างคือ พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ขีณาสพเป็นทักขิไณย-

บุคคล. ปัจจัยที่เกิดแล้ว โดยธรรม โดยความที่ทำการจ้างได้เเล้ว. เจตนา

บริสุทธิ์ใน ๓ กาล พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้ออกจากสมาบัติเป็นผู้ยิ่ง

โดยคุณ สำเร็จแล้วแก่นายภัตตภติกะนี้. ด้วยอานุภาพแห่งสัมปทา ๔ นี้

นายภัตตภติกะ จึงบรรลุมหาสมบัติในทันตาเห็นทีเดียว. เพราะฉะนั้น

นายภัตตภติกะนั้น จึงได้สมบัติจากสำนักของเศรษฐี.

นายภัตตภติกะได้เป็นเศรษฐี

ก็ในกาลต่อมา แม้พระราชา ทรงสดับกรรมที่นายภัตตภติกะนี้ทำ

แล้ว จึงได้รับสั่งให้เรียกเข้ามาเฝ้า แล้วพระราชทานทรัพย์ให้พันหนึ่ง

ทรงรับส่วนบุญ ทรงพอพระทัย พระราชทานโภคะเป็นอันมาก แล้วก็ได้

พระราชทานตำแหน่งเศรษฐีให้. เขาได้มีชื่อว่า " ภัตตภติกเศรษฐี "

ภัตตภติกเศรษฐีนั้น เป็นสหายกับคันธเศรษฐี กินดื่มร่วมกัน ดำรงอยู่

ตลอดอายุแล้ว จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ได้บังเกิดในเทวโลก เสวยสมบัติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 135

อันเป็นทิพย์ ๑ พุทธันดร ในพุทธุปบาทกาลนี้ ได้ถือปฏิสนธิในตระกูล

อุปัฏฐากของพระสารีบุตรเถระ ในเมืองสาวัตถี.

นายภัตตภติกะไปเกิดในเมืองสาวัตถี

ครั้งนั้น มารดาของทารกนั้น ได้ครรภ์บริหารแล้ว โดยล่วงไป

๒-๓ วัน ก็เกิดแพ้ท้องว่า " โอหนอ เราถวายโภชนะมีรส ๑๐๐ ชนิด

แก่พระสารีบุตรเถระพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป นุ่งผ้าย้อมฝาดแล้ว ถือ

ขันทองนั่งอยู่ ณ ท้ายอาสนะ พึงบริโภคภัตที่เหลือเดนของภิกษุทั้งหลาย

นั้น " ดังนี้แล้ว ทำตามความคิดนั้นนั่นแล บรรเทาความแพ้ท้องแล้ว.

นางแม้ในกาลมงคลอื่นๆถวายทานอย่างนั้นเหมือนกัน คลอดบุตรแล้ว ใน

วันตั้งชื่อ จึงเรียนพระเถระว่า " จงให้สิกขาบทแก่ลูกชายของฉันเถิด ท่าน

ผู้เจริญ. " พระเถระถามว่า " เด็กนั้นชื่อไร ? " เมื่อมารดาของเด็กเรียนว่า

ท่านผู้เจริญ จำเดิมแต่ลูกชายของฉันถือปฏิสนธิ ขึ้นชื่อว่าทุกข์ ไม่เคยมี

แก่ใครในเรือนนี้, เพราะฉะนั้น คำว่า 'สุขกุมาร ' นั่นแล จักเป็นชื่อของ

เด็กนั้น. " จึงถือเอาคำนั้นแล เป็นชื่อของเด็กนั้น ได้ให้สิกขาบทแล้ว.

ในกาลนั้น ความคิดได้เกิดแก่มารดาของเด็กนั้นอย่างนี้ว่า " เราจักไม่

ทำลายอัธยาศัยของลูกชายเรา." แม้ในกาลมงคลทั้งหลาย มีมงคลเจาะหู

เด็กนั้นเป็นต้น นางก็ได้ถวายทานอย่างนั้นเหมือนกัน.

สุขกุมารบรรพชา

ฝ่ายกุมาร ในเวลามีอายุ ๗ ขวบ ก็พูดว่า " คุณแม่ ผมอยากออก

บวชในสำนักของพระเถระ. " นางตอบว่า " ดีละ พ่อ แม่จักไม่ทำลาย

อัธยาศัยของเจ้า " ดังนี้แล้ว จึงนิมนต์พระเถระ ให้ท่านฉันแล้ว ก็เรียน

ว่า " ท่านผู้เจริญ ลูกชายของฉันอยากบวช, ในเวลาเย็น จักนำเด็กนี้ไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 136

สู่วิหาร. " ส่งพระเถระไปแล้ว ให้ประชุมพวกญาติ กล่าวว่า " ในเวลา

ที่ลูกชายของฉันเป็นคฤหัสถ์ พวกเราจักทำกิจที่ควรทำในวันนี้แหละ. "

ดังนี้แล้ว จึงแต่งตัวลูกชายนำไปวิหาร ด้วยสิริโสภาคอันใหญ่ แล้วมอบ

ถวายแก่พระเถร. ฝ่ายพระเถระกล่าวกะสุขกุมารนั้นว่า " พ่อ ธรรมดา

บรรพชา ทำได้โดยยาก. เจ้าจักอาจเพื่อภิรมย์หรือ ? " เมื่อตอบว่า " ผม

จักทำตามโอวาทของท่าน ขอรับ " จึงให้กัมมัฏฐาน ให้บวชแล้ว. แม้

มารดาบิดาของสุขกุมารนั้น เมื่อทำสักการะในการบรรพชา ก็ถวายโภชนะ

มีรส ๑๐๐ ชนิดแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ในภายใน

วิหารนั่นเองตลอด ๗ วัน ในเวลาเย็น จึงได้ไปสู่เรือนของตน. ใน

วันที่ ๓ พระสารีบุตรเถระ เมื่อภิกษุสงฆ์เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. ทำ

กิจที่ควรทำในวิหารแล้ว จึงให้สามเณรถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่บ้าน

เพื่อบิณฑบาต.

สามเณรฝึกตน

สามเณรเห็นเหมืองน้ำเป็นต้นในระหว่างทาง จึงถามพระเถระ

ดุจสามเณรบัณฑิต. แม้พระเถระก็พยากรณ์แก่สามเณรนั้นอย่างนั้นเหมือน

กัน. สามเณรฟังเหตุนั้นแล้ว จึงเรียนพระเถระว่า " ถ้าท่านพึงรับ

บาตรและจีวรของท่านไซร้. กระผมพึงกลับ. " เมื่อพระเถระไม่ทำลาย

อัธยาศัยของสามเณรนั้น กล่าวว่า จงเอาบาตรและจีวรของฉันมา " รับ

บาตรและจีวรไปแล้ว. ก็ไหว้พระเถระ เมื่อจะกลับ จึงเรียนสั่งว่า " ท่าน

ขอรับ ท่านเมื่อนำอาหารมาเพื่อผม พึงนำเอาโภชนะมีรส ๑๐๐ ชนิดมา. "

พระเถระ. จักได้โภชนะนั้น จากไหน ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 137

สามเณร. เมื่อไม่ได้ด้วยบุญของท่าน ก็จักได้ด้วยบุญของผม ขอ

รับ.

ครั้งนั้น พระเถระให้ลูกกุญแจแก่สามเณรนั้นแล้ว ก็เข้าบ้านเพื่อ

บิณฑบาต. สามเณรนั้นไปวิหารแล้ว เปิดห้องของพระเถระเข้าไปแล้ว

ปิดประตู นั่งหยั่งญาณลงในกายของตนแล้ว. ด้วยเดชแห่งคุณของสามเณร

นั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อนแล้ว. ท้าวสักกะพิจารณาดูว่า

" นี้เหตุอะไรหนอ ? " เห็นสามเณรแล้ว ทรงดำริว่า " สุขสามเณรถวาย

จีวรแก่อุปัชฌาย์แล้ว กลับ (วิหาร) ด้วยคิดว่า ' จักทำสมณธรรม ' ควร

ที่เราจะไปในที่นั้น " จึงรับสั่งให้เรียกท้าวมหาราชทั้ง ๔ แล้วทรงส่งไป

ด้วยดำรัสสั่งว่า " พ่อทั้งหลาย พวกท่านจงไป. จงไล่นกที่มีเสียงเป็นโทษ

ใกล้ป่าแห่งวิหารให้หนีไป. ท้าวมหาราชทั้งหลายนั้น กระทำตามนั้นแล้ว

ก็ (พากัน) รักษาอยู่โดยรอบ. ท้าวสักกะ ทรงบังคับพระจันทร์และ

พระอาทิตย์ว่า " พวกท่านจงยึดวิมานของตนๆหยุดก่อน. " แม้พระจันทร์

และพระอาทิตย์ก็กระตามนั้นแล้ว. แม้ท้าวสักกะเอง ก็ทรงรักษาอยู่ที่

สายยู. วิหารสงบเงียบปราศจากเสียง. สามเณรเจริญวิปัสสนาด้วยจิต

มีอารมณ์เป็นหนึ่ง บรรลุมรรคและผล ๓ แล้ว.

พระเถระ อันสามเณรกล่าวว่า " ท่านพึงนำโภชนะมีรส ๑๐๐ ชนิด

มา " ดังนี้แล้ว ก็คิดว่า " อันเราอาจเพื่อได้ในตระกูลของใครหนอแล ? "

พิจารณาดูอยู่ ก็เห็นตระกูลอุปัฏฐากผู้สมบูรณ์ด้วยอัธยาศัยตระกูลหนึ่ง จึง

ไปในตระกูลนั้น อันชนเหล่านั้น มีใจยินดีว่า " ท่านผู้เจริญ ความดี

อันท่านผู้มาในที่นี้ ในวันนี้ กระทำแล้ว " รับบาตรนิมนต์ให้นั่ง ถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 138

ยาคูและของขบฉัน อัน เขาเชิญกล่าวธรรมชั่วเวลาภัต จึงกล่าวสาราณีย-

ธรรมกถาแก่ชนเหล่านั้น กำหนัดกาล ยังเทศนาให้จบแล้ว.

สามเณรบรรลุพระอรหัต

ทีนั้น ชนทั้งหลาย จึงถวายโภชนะมีรส ๑๐๐ ชนิด แก่พระเถระ

นั้น เห็นพระเถระรับโภชนะนั้นแล้วประสงค์จะกลับ จึงเรียนว่า " ฉันเถิด

ขอรับ พวกผมจักถวายโภชนะแม้อื่นอีก " ให้พระเถระฉันแล้ว ก็ถวาย

จนเต็มบาตรอีก. พระเถระรับโภชนะนั้นแล้ว ก็รีบไปวิหาร ด้วยคิดว่า

" สามเณรของเราจักหิว. " วันนั้น พระศาสดาเสด็จออกประทับนั่งใน

พระคันธกุฎีแต่เช้าตรู่ ทรงรำพึงว่า " วันนี้ สุขสามเณรรับบาตรและจีวร

ของอุปัชฌาย์แล้ว กลับไปแล้วตั้งใจว่า " จักทำสมณธรรม, กิจของเธอ

สำเร็จแล้วหรือ ? พระองค์ทรงเห็นความที่มรรคผลทั้ง ๓ เทียว อัน

สามเณรบรรลุแล้ว จึงทรงพิจารณาแม้ยิ่งขึ้นไปว่า " สุขสามเณรนี้ จักอาจ

ไหมหนอ ? เพื่อจะบรรลุพระอรหัตในวันนี้, ส่วนพระสารีบุตรรับภัต

แล้ว ก็รีบออกด้วยคิดว่า " สามเณรของเราจักหิว " ถ้าเมื่อสามเณรนี้

ยังไม่บรรลุพระอรหัต. พระสารีบุตรจักนำภัตมาก่อน. อันตรายก็จักมี

แก่สามเณรนี้; ควรเราจะไปยึดอารักขาอยู่ที่ซุ้มประตู " ครั้นทรงดำริแล้ว

จึงเสด็จออกจากคันธกุฎี ประทับยืนยึดอารักขาอยู่ที่ซุ้มประตู. ฝ่ายพระ-

เถระก็นำภัตมา. ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกะพระเถระ

นั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังแล. ในที่สุดแห่งการวิสัชนาปัญหา

สามเณรก็บรรลุพระอรหัตแล้ว.

พระศาสดาตรัสเรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสว่า " สารีบุตร จงไป

เถิด, จงให้ภัตแก่สามเณรของเธอ. " พระเถระไปถึงแล้ว จึงเคาะประตู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 139

สามเณรออกมาทำวัตรแก่อุปัชฌาย์แล้ว, เมื่อพระเถระบอกว่า " จงทำ

ภัตกิจ, " ก็รู้ว่าพระเถระไม่มีความต้องการด้วยภัต เป็นเด็กมีอายุ ๗ ขวบ

บรรลุพระอรหัตในขณะนั้นนั่นเอง ตรวจตราดูที่นั่งอันต่ำ ทำภัตกิจแล้ว

ก็ล้างบาตร. ในกาลนั้น ท้าวมหาราช ๔ องค์ ก็พากันเลิกการรักษา.

ถึงพระจันทร์พระอาทิตย์ก็ปล่อยวิมาน. แม้ท้าวสักกะก็ทรงเลิกอารักขาที่

สายยู พระอาทิตย์ปรากฏคล้อยเลยท่ามกลางฟ้าไปแล้วเทียว.

ภิกษุทั้งหลาย พากันพูดว่า " กาลเย็นปรากฏ, สามเณรเพิ่งทำภัตกิจ

เสร็จเดี๋ยวนี้เอง. ทำไมหนอ วันนี้เวลาเช้าจึงมาก. เวลาเย็นจึงน้อย. "

พระศาสดา เสด็จมาตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่ง

ประชุมกันด้วยกล่าวเรื่องอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุทั้งหลาย ทูลว่า " พระเจ้าข้า

วันนี้ เวลาเช้ามาก เวลาเย็นน้อย สามเณรเพิ่งฉันภัตเสร็จเดี๋ยวนี้เอง.

ก็แลเป็นไฉน พระอาทิตย์จึงปรากฏคล้อยเคลื่อนท่ามกลางฟ้าไป, " จึง

ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ในเวลาทำสมณธรรมของผู้มีบุญทั้งหลาย ย่อม

เป็นเช่นนั้นนั่นแล. ก็ในวันนี้ ท้าวมหาราช ๔ องค์ยึดอารักขาไว้โดย

รอบ. พระจันทร์และพระอาทิตย์ได้ยึดวิมานหยุดอยู่, ท้าวสักกะทรงยึด

อารักขาที่สายยู ถึงเราก็ยึดอารักขาอยู่ที่ซุ้มประตู; วันนี้ สุขสามเณร เห็น

คนไขน้ำเข้าเหมือง ช่างศรดัดศรให้ตรง ช่างถาก ถากทัพสัมภาระทั้งหลาย

มีล้อเป็นต้นแล้ว ฝึกตน บรรลุพระอรหัตแล้ว " ดังนี้แล้วจึงตรัสพระ-

คาถานี้ว่า

๑๑. อุทก หิ นยนฺติ เนตฺติกา

อุสุการา นมยนฺติ เตชน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 140

ทารุ นมยนฺติ ตจฺฉกา

อตฺตาน ทมยนฺติ สุพฺพตา.

" อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ, ช่างศรทั้งหลาย

ย่อมดัดลูกศร, ช่างถากทั้งหลาย ย่อมถากไม้, ผู้

สอนง่ายทั้งหลาย ย่อมฝึกตน. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุพฺพตา ความว่า ว่าง่าย คือพึงโอวาท

พึงอนุศาสน์ โดยสะดวก. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังแล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้นแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องสุขสามเณร จบ.

ทัณฑวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๐ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 141

คาถาธรรม

ชราวรรคที่ ๑๑

ว่าด้วยสิ่งที่คร่ำคร่า ชรา

[๒๑] ๑. เมื่อโลกสันนิวาส อันไฟลุกโพลงอยู่เป็นนิตย์

พวกเธอยังจะร่าเริงบันเทิงอะไรกันหนอ เธอทั้งหลาย

อันความมืดปกคลุมแล้ว ทำไมจึงไม่แสวงหาประทีป

เล่า.

๒. เธอจงดูอัตภาพที่ไม่มีความยั่งยืน (และ)

ความมั่นคง (อันกรรม) ทำให้วิจิตรแล้ว มีกายเป็น

แผล อันกระดูก ๓๐๐ ท่อน ยกขึ้นแล้ว อันอาดูร

ที่มหาชนครุ่นคิดแล้วโดยมาก.

๓. รูปนี้แก่หง่อมแล้ว เป็นรังของโลก เปื่อยพัง

กายของตนเป็นของเน่า จักแตก เพราะชีวิตมีความ

ตายเป็นที่สุด.

๔. กระดูกเหล่านี้ใด อันเขาทิ้งเกลื่อนกลาดดุจ

น้ำเต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ ความยินดี

อะไรเล่า (จักมี) เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น.

๕. สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้ง-

หลาย ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา

มรณะ มานะ และมักขะ.

๑. วรรคนี้มีอรรถกถา ๙ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 142

๖. ราชรถที่วิจิตรดียังคร่ำคร่าได้เเล อนึ่ง ถึง

สรีระ ก็ย่อมถึงความคร่ำคร่า ธรรมของสัตบุรุษหา

เข้าถึงความคร่ำคร่าไม่ สัตบุรุษทั้งหลายแล ย่อม

ปราศรัยกับด้วยสัตบุรุษ.

๗. คนมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก เนื้อ

ของเขาย่อมเจริญ แต่ปัญญาของเขาหาเจริญไม่.

๘. เราแสวงหาช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบ

จึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร มีชาติเป็นอเนก ความ

เกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบ

ท่านแล้ว ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้ ซี่โครงทุกซี่ของ

ท่านเราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว จิต

ของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว เพราะ

เราบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว.

๙. พวกคนเขลาไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้

ทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมซบเซาดังนก

กะเรียนแก่ ซบเซาอยู่ในเปือกตมที่หมดปลาฉะนั้น.

พวกคนเขลาไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์ใน

คราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมนอนทอดถอนถึงทรัพย์เก่า

เหมือนลูกศรที่ตกจากแล่งฉะนั้น.

จบชราวรรคที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 143

๑๑. ชราวรรควรรณนา

๑. เรื่องหญิงสหายของนางวิสาขา [๑๑๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกหญิง

สหายของนางวิสาขา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โก นุ หาโส กิมา-

นนฺโท " เป็นต้น.

สามีมอบภรรยาของตนแก่นางวิสาขา

ดังได้สดับมา กุลบุตร ๕๐๐ คน ในพระนครสาวัตถี ได้มอบภริยา

ของตนๆกะนางวิสาขามหาอุบาสิกา ด้วยมุ่งหมายว่า " ด้วยอุบายอย่างนี้

ภริยาเหล่านี้จักเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท. " หญิงเหล่านั้นเมื่อไปสวน

ก็ดี ไปวิหารก็ดี ย่อมไปกับนางวิสาขานั่นแล.

มหรสพเกี่ยวกับสุรา

ในคราวหนึ่ง เมื่อเขาโฆษณาการมหรสพว่า " จักมีการมหรสพ

เกี่ยวกับสุราตลอด ๗ วัน " หญิงเหล่านั้นก็จัดเตรียมสุราเพื่อสามีของตนๆ

สามีเหล่านั้น เล่นมหรสพเกี่ยวกับสุราตลอด ๗ วันแล้ว ในวันที่ ๘ ได้

ออกไปเพื่อทำการงาน.

หญิงเหล่านั้นคิดหาอุบายดื่มสุรา

หญิงแม้เหล่านั้นหารือกันว่า " พวกเราไม่ได้ดื่มสุราต่อหน้าสามี,

ก็สุราที่เหลือยังมีอยู่, เราทั้งหลายจักดื่มสุรานี้ด้วยวิธีที่สามีเหล่านั้นจะไม่

รู้ " ดังนี้แล้ว จึงไปสำนักของนางวิสาขา กล่าวว่า " แม่เจ้า ดิฉันทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 144

ปรารถนาจะชมสวน " เมื่อนางวิสาขาตอบว่า " ดีละ แม่ทั้งหลาย ถ้าเช่น

นั้น จงทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้วจึงออกไป. " ได้ไปพร้อมกับนางวิสาขานั้น

ซ่อนสุราไปโดยอาการอันมิดชิด ดื่มเสีย (จน) เมาแล้ว เที่ยวไปในสวน.

นางวิสาขาคิดว่า " หญิงเหล่านี้ทำกรรมไม่สมควร. คราวนี้ถึงพวกเดียรถีย์

ก็จักติเตียนได้ว่า " สาวิกาทั้งหลายของพระสมณโคคม ดื่มสุรา ย่อมเที่ยว

ไป " จึงกล่าวกะหญิงเหล่านั้นว่า " นี่แน่ะแม่ เธอทั้งหลายทำกรรมไม่

สมควร. พลอยให้เกิดอัปยศแก่ฉันด้วย. ถึงสามีก็จะโกรธพวกเธอ. บัดนี้

พวกเธอจักทำอย่างไรกัน ? " หญิงเหล่านั้นตอบว่า " แม่เจ้า ดิฉันทั้งหลาย

จักแสดงอาการลวงว่าเป็นไข้ " นางวิสาขาจึงกล่าวว่า " ถ้าเช่นนั้น พวก

เธอก็จักปรากฏด้วยกรรมของตน." หญิงเหล่านั้นไปถึงเรือนแล้ว ทำท่า

ลวงว่าเป็นไข้. ทีนั้นสามีของหญิงเหล่านั้นถามว่า " หญิงชื่อนี้และชื่อนี้ไป

ไปไหน ? " ได้ยินว่า " เป็นไข้ " ก็กำหนดจับได้ว่า " พวกนี้จักดื่มสุรา

ที่เหลือเป็นแน่ " จึงได้ทุบตีหญิงเหล่านั้นให้ถึงความเสื่อมเสีย. ในคราว

มหรสพแม้อื่นอีก หญิงเหล่านั้นอยากดื่มสุราเหมือนอย่างนั้น จึงเข้าไปหา

นางวิสาขา กล่าวว่า " แม่เจ้า โปรดพาดิฉันไปชมสวนเถิด " ถูกนาง

ห้ามว่า " แม้ในคราวก่อน เธอทั้งหลายกระทำให้อัปยศแก่ฉัน. ไปเอง

เถอะ, ฉันจะไม่พาเธอทั้งหลายไปละ " ได้พูดเอาใจว่า " ทีนี้ พวกดิฉันจัก

ไม่ทำอย่างนั้น " แล้วเข้าไปหานางวิสาขานั้น พูดใหม่ว่า " แม่เจ้า ดิฉัน

ทั้งหลายประสงค์จะทำพุทธบูชา. ขอจงพาดิฉันทั้งหลายไปวิหารเถิด. "

นางจึงพูดว่า " แน่ะแม่ บัดนี้ สมควร (แท้). เธอทั้งหลายจงไปจัดแจง

เตรียมตัวเถอะ. หญิงเหล่านั้น ให้คนถือของหอมเเละระเบียบดอกไม้เป็นต้น

ด้วยผอบ หิ้วขวดมีสัณฐานดุจกำมือ ซึ่งเต็มด้วยสุรา ด้วยมือทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 145

คลุมผ้าผืนใหญ่เข้าไปหานางวิสาขาแล้ว เข้าไปวิหารพร้อมกับนางวิสาขา

นั้น นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง ดื่มสุราด้วยขวดอันมีสัณฐานดุจกำมือนั่นเอง

แล้วทิ้งขวดเสีย นั่งตรงพระพักตร์พระศาสดาในโรงธรรม. นางวิสาขา

กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ขอพระองค์แสดงธรรมแก่หญิงเหล่านี้. "

ผ่ายหญิงเหล่านั้น มีตัวสั่นเทิ้มอยู่ด้วยฤทธิ์เมา เกิดความคิดขึ้นว่า " เรา

ทั้งหลายจักฟ้อน จักขับ. "

เทวบุตรมารบันดาลให้แสดงกายวิการแต่ไม่สำเร็จ

ลำดับนั้น เทวดาองค์หนึ่ง ซึ่งนับเนื่องในหมู่มาร คิดว่า " บัดนี้

เราจักสิงในสรีระของหญิงเหล่านี้แล้ว จักแสดงประการอันแปลกตรง

พระพักตร์พระสมณโคดม " แล้วเข้าสิงในสรีระของหญิงเหล่านั้น บรรดา

หญิงเหล่านั้น บางพวกจะเริ่มปรบมือหัวเราะ, บางพวกเริ่มจะฟ้อน ตรง

พระพักตร์พระศาสดา. พระศาสดาทรงรำพึงว่า " นี้อย่างไรกัน ? " ทรง

ทราบเหตุนั้นแล้ว ทรงดำริแล้วว่า " บัดนี้ เราจักไม่ให้เทวดาผู้นับเนื่องใน

หมู่มารได้ช่อง. เพราะเมื่อเราบำเพ็ญบารมีตลอดกาลเท่านี้ ก็หาได้บำเพ็ญ

เพื่อมุ่งจะให้พวกเทวดาผู้นับเนื่องในหมู่มารได้ช่องไม่ " เพื่อจะให้หญิง

เหล่านั้นสังเวช จึงทรงเปล่งรัศมีจากพระโลมาระหว่างพระโขนง ทันใด

นั้นเอง ความมืดมนอนธการได้มีแล้ว. หญิงเหล่านั้นได้หวาดหวั่น อัน

มรณภัยคุกคามแล้ว ด้วยเหตุนั้น สุราในท้องของหญิงเหล่านั้นจึงสร่างคลาย

ไป. พระศาสดาทรงหายไป ณ บัลลังก์ที่ประทับนั่ง ประทับยืนอยู่บน

ยอดเขาสิเนรุ ทรงเปล่งพระรัศมีจากพระอุณาโลม. ขณะนั้น แสงสว่าง

ได้มีเหมือนพระจันทร์ขึ้นตั้งพันดวง. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสเรียกหญิง

๑. ภมุกโลมโตติ. ภมุกนฺตเร โลมโต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 146

เหล่านั้นมาแล้ว ตรัสว่า " พวกเธอ เมื่อมาสำนักของเรา ประมาทแล้ว

หาควรไม่, เพราะความประมาทของพวกเธอนั่นเอง เทวดาซึ่งนับเนื่อง

ในหมู่มารจึงได้ช่อง ให้พวกเธอทำกายวิการมีหัวเราะเป็นต้น ในที่ซึ่งไม่

ควรทำกายวิหารมีหัวเราะเป็นต้น, บัดนี้ พวกเธอทำความอุตสาหะ เพื่อ

มุ่งให้ไฟราคะเป็นต้นดับไปจึงควร " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๑. โก นุ หาโส กิมานนฺโท นิจฺจ ปชฺชลิเต สติ

อนฺธกาเรน โอนทฺธา ปทีป น คเวสถ.

" เมื่อโลกสันนิวาส อันไฟลุกโพลงอยู่เป็นนิตย์,

พวกเธอยังจะร่าเริง บันเทิงอะไรกันหนอ ? เธอ

ทั้งหลายย่อมความมืดปกคลุมแล้ว ทำไมจึงไม่แสวงหา

ประทีปเล่า ? "

แก้อรรถ

ความยินดี ชื่อว่า อานนฺโท ในพระคาถานั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า " เมื่อโลกสันนิวาสนี้ อันไฟ ๑๑ อย่าง มี

ราคะเป็นต้นลุกโพลงแล้วเป็นนิตย์. เธอทั้งหลายจะมัวร่าเริงหรือเพลิด-

เพลินอะไรกันหนอ ? นั่นไม่สมควรทำเลย มิใช่หรือ ? ก็เธอทั้งหลาย

อันความมืดคืออวิชชาซึ่งมีวัตถุ ๘ ปกคลุมไว้ เหตุไรจึงไม่แสวงหา คือ

ไม่ทำประทีปคือญาณ เพื่อประโยชน์แก่การกำจัดความมืดนั้นเสีย ? "

ผู้รับคำเตือนย่อมได้ผล

ในเวลาจบพระธรรมเทศนา หญิง ๕๐๐ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

แล้ว. พระศาสดาทรงทราบความที่หญิงเหล่านั้นเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในอจล-

ศรัทธาแล้ว เสด็จลงจากยอดเขาสิเนรุ ประทับนั่งบนพุทธอาสน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 147

นางวิสาขาชี้โทษของสุราโดยบุคลาธิษฐาน

ลำดับนั้น นางวิสาขาได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า " พระเจ้าข้า ขึ้น

ชื่อว่าสุรานี้, เลวทราม, เพราะว่าหญิงเหล่านี้ ชื่อเห็นปานนี้ นั่งตรงพระ-

พักตร์พระพุทธเจ้าเช่นพระองค์ ยังไม่สามารถจะยังแม้เพียงอิริยาบถให้เรียบ

ร้อยได้ เริ่มจะลุกขึ้นปรบมือ ทำการหัวเราะ ขับ และฟ้อนเป็นต้นแล้ว. "

พระศาสดาตรัสว่า " นั่นแหละวิสาขา ขึ้นชื่อว่าสุรานี้ เลวทรามแท้, เพราะ

ประชาชนอาศัยสุรานี้ ถึงความพินาศแล้วตั้งหลายร้อย." เมื่อนางวิสาขา

กราบทูลว่า " ก็สุรานี้เกิดขึ้นเมื่อไร ? พระเจ้าข้า, " เพื่อจะตรัสอุปัตติเหตุ

แห่งสุรานั้น (แก่นางวิสาขา) โดยพิสดาร จึงทรงนำอดีตนิทานมาแล้ว

ตรัสกุมภชาดก ดังนี้แล.

เรื่องหญิงสหายของนางวิสาขา จบ.

๑. ขุ. ชา. ตึส. ๒๗/๔๗๗. อรรถกถา. ๗/๑๙๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 148

๒. เรื่องนางสิริมา [๑๑๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนางสิริมา

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปสฺส จิตฺตกต พิมพ " เป็นต้น.

นางสิริมาบรรลุโสดาปัตติผล

ดังได้สดับมา นางสิริมานั้นมีรูปร่างงดงาม เป็นหญิงแพศยา ใน

กรุงราชคห์ ภายในพรรษาหนึ่ง ได้ประทุษร้ายต่ออุบาสิกานามว่าอุตตรา

ซึ่งเป็นธิดาของปุณณกเศรษฐี ผู้เป็นภริยาของสุมนเศรษฐีบุตร ประสงค์

จะให้นางอุตตรานั้นเลื่อมใส จึงทูลขอขมาพระศาสดาผู้ทรงทำภัตกิจกับ

ภิกษุสงฆ์เสร็จแล้ว ในเรือนของนางอุตตรานั้น, ในวันนั้น ได้ฟัง

ภัตตานุโมทนาของพระทศพล บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ในเวลาจบพระ-

คาถาว่า

" พึงชำนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ, พึง

ชนะคนไม่ดี ด้วยความดี. พึงชนะคนตระหนี่ ด้วย

การให้ปัน, พึงชนะคนพูดพล่อย ๆ ด้วยคำจริง. "

นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้. ส่วนเนื้อเรื่องพิสดาร จักมีแจ้งในวรรณนา

แห่งคาถาอนุโมทนาในโกธวรรคนั่นแล. นางสิริมานั้น ครั้นบรรลุโสดา-

ปัตติผลอย่างนั้นแล้ว นิมนต์พระทศพล รุ่งขึ้นถวายทานเป็นอันมาก แล้ว

ได้ตั้งอัฏฐกภัตเพื่อพระสงฆ์ไว้เป็นประจำ. ตั้งแต่วันต้นมาภิกษุ ๘ รูป

ไปเรือนเสมอ. นางเอ่ยปากว่า " นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายรับเนยใส,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 149

รับนมสด " ดังนี้เป็นต้นแล้ว (บรรจุภัต) ให้เต็มบาตรของภิกษุเหล่านั้น.

อาหารบิณฑบาตที่ภิกษุรูปหนึ่งได้เเล้ว ย่อมเพียงพอแก่ภิกษุ ๓ รูปบ้าง

๔ รูปบ้าง. นางถวายบิณฑบาตด้วยการจับจ่ายทรัพย์ ๑๖ กหาปณะทุกวัน.

ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งฉันอัฏฐกภัตในเรือนของนางแล้ว ได้ไปวิหาร

แห่งหนึ่ง ณ ที่ไกล ๓ โยชน์. ครั้งนั้น พวกภิกษุถามเธอซึ่งนั่งอยู่ในที่

บำรุงพระเถระในเวลาเย็นว่า " ผู้มีอายุ (ไป) รับภิกษาที่ไหนมา ? " เธอ

ตอบว่า " ผม (ไป) ฉันอัฏฐกภัตของนางสิริมา (มา). " พวกภิกษุถาม

อีกว่า " นางทำของอันน่าพึงใจถวายไหม ? ผู้มีอายุ. "

ภิกษุพรรณนาความดีของนางสิริมา

เธอจึงกล่าวคุณของนางว่า " ผมไม่สามารถจะพรรณนาภัตของนาง

ได้. นางทำถวายแสนจะประณีต. ภัตที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ย่อมเพียงพอแก่

ภิกษุ ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง; แต่การได้เห็นนางนั้นแล ดีเสียยิ่งกว่าไทย-

ธรรมของนางอีก. เพราะนางสวยงามเช่นนี้ ๆ. " ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง

ได้ฟังถ้อยคำที่พรรณนาคุณของนาง เกิดความรักขึ้นแล้ว โดยมิได้เห็นตัว

เลย คิดว่า " ควรที่เราจะไปดูนาง " แล้วบอกจำนวนพรรษาของตนแล้ว

ถามลำดับกะภิกษุนั้นแล้ว ได้ยินว่า " ผู้มีอายุ พรุ่งนี้ ท่านเป็นพระสังฆ-

เถระ จักได้อัฎฐกภัตในเรือนนั้น " จึงคว้าบาตรและจีวรหลีกไปใน

ขณะนั้นเอง. เมื่ออรุณขึ้นแต่เช้าเทียว เข้าไปสู่โรงภัตยืน (คอย) อยู่แล้ว

เป็นพระสังฆเถระได้อัฏฐกภัต ในเรือนของนาง.

นางสิริมาเจ็บ

ก็ในเวลาที่ภิกษุนั้นฉันแล้ว หลีกไปในวันวานนั่นเอง โรคได้เกิด

ขึ้นในสรีระของนาง; ฉะนั้น นางจึงเปลื้องอาภรณ์แล้วนอน. ขณะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 150

พวกทาสีของนางเห็นภิกษุทั้งหลายผู้ได้อัฏฐกภัตมาแล้ว จึงบอกแก่นาง.

นางไม่สามารถจะรับบาตรแล้วนิมนต์ให้นั่ง หรืออังคาสด้วยมือของตนได้

จึงสั่งพวกทาสีว่า " แน่ะแม่ทั้งหลาย พวกเธอรับบาตรแล้วนิมนต์พระผู้-

เป็นเจ้าให้นั่ง ให้ดื่มข้าวยาคู ถวายของเคี้ยว ในเวลาฉันภัต จง (บรรจุ

ภัต) ให้เต็มบาตรแล้วถวายเถิด. " ทาสีเหล่านั้นรับว่า " ดีละ คุณแม่. "

แล้วนิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้เข้ามา ให้ดื่มข้าวยาคู ถวายของเคี้ยวแล้ว ใน

เวลาฉันภัต (บรรจุภัต) ให้เต็มบาตรแล้ว บอกแก่นาง. นางกล่าวว่า

" จงช่วยพยุงฉันไปที, ฉันจักไหว้พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย " อันทาสีเหล่านั้น

พยุงไปสู่ที่ใกล้ภิกษุทั้งหลายแล้ว ได้ไหว้ภิกษุทั้งหลายด้วยทั้งสรีระอันสั่น

เทิ้มอยู่. ภิกษุนั้นแลดูนางแล้ว คิดว่า " ความสวยงามแห่งรูปของหญิง

ผู้เป็นไข้นี้ (ยังสวยงาม) ถึงเพียงนี้. ก็ในเวลาไม่มีโรค รูปสมบัติของนาง

คนนี้ ที่ตกแต่งแล้วด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง จะสวยงามสักเพียงไร." ครั้งนั้น

กิเลสที่เธอสั่งสมไว้ตั้งหลายโกฏิปีกำเริบขึ้นแล้ว. ภิกษุนั้นมิได้มีใจจดจ่อ

ที่อื่น (มีใจจดจ่อแต่เฉพาะนางเท่านั้น) ไม่สามารถจะฉันหาอาหารได้

จึงถือบาตรกลับวิหาร ปิดบาตรวางไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ปูจีวรนอนแล้ว.

ลำดับนั้น ภิกษุหาย (ของเธอ) รูปหนึ่ง แม้อ้อนวอนอยู่ ก็ไม่สามารถ

จะให้เธอฉันได้. ภิกษุนั้นได้อดอาหารแล้ว.

นางสิริมาถึงแก่กรรม

ในเวลาเย็นวันนั้นเอง นางสิริมาได้ทำกาลกิริยาแล้ว. พระราชา

ทรงส่งพระราชสาสน์ไปถวายพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า นางสิริมาน้อง

สาวหมอชีวก ได้ทำกาลกิริยาเสียแล้ว. " พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้น

จึงส่งข่าวไปแด่พระราชาว่า " กิจคือการเผา (ศพ) นางสิริมา ยังไม่มี,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 151

พระองค์จงทรงรับสั่งให้เอาศพนางสิริมานั้นนอนในป่าช้าผีดิบแล้ว ให้

รักษาไว้โดยอาการที่กาและสุนัขจะกินไม่ได้เถิด. " พระราชาได้ทรงทำ

ตามรับสั่งแล้ว. สามวันล่วงไปแล้วโดยลำดับ ในวันที่ ๔ สรีระขึ้นพอง

แล้ว. หมู่หนอนไต่ออกจากปากแผลทั้ง ๙. สรีระทั้งสิ้นได้แตกสลาย

คล้ายถาดข้าวสาลีฉะนั้น. พระราชาให้พวกราชบุรุษตีกลองโฆษณาใน

พระนครว่า " เว้นเด็กๆที่เฝ้าเรือนเสีย ใครไม่มาดูนางสิริมาจะถูกปรับ

๘ กหาปณะ, " และได้ส่ง (พระราชสาสน์) ไปสำนักพระศาสดาว่า " นัย

ว่าภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ของจงมาดูนางสิริมา; พระศาสดา

รับสั่งให้เผดียงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า " เราทั้งหลายจะไปดูนางสิริมา. " ภิกษุ

หนุ่มแม้รูปนั้นไม่เชื่อฟังคำของใครๆเลย ตลอด ๔ วัน อดอาหารนอน

แซ่วอยู่แล้ว. ข้าวสวยในบาตรบูด, สนิมก็ตั้งขึ้นในบาตร. ลำดับนั้น ภิกษุ

สหายนั้น จึงเข้าไปหาเธอแล้วบอกว่า " ผู้มีอายุ พระศาสดาจะเสด็จไป

ทอดพระเนตรนางสิริมา." เธอแม้ถูกความหิวแผดเผาอย่างนั้น ก็ลุกขึ้น

ได้โดยรวดเร็ว ในเพราะบทที่กล่าวว่า " สิริมา " นั่นเอง กล่าวถามว่า

" ท่านว่าอะไรนะ " เมื่อภิกษุสหายตอบว่า " พระศาสดาจะเสด็จไปทอด

พระเนตรนางสิริมา ท่านจะไปด้วยไหม ? " รีบรับว่า " ไปขอรับ " แล้ว

เทข้าวล้างบาตรใส่ในถลก ได้ไปกับหมู่ภิกษุ. พระศาสดามีหมู่ภิกษุห้อม

ล้อมแล้ว ได้ประทับอยู่ ณ ข้างหนึ่ง. ภิกษุณีสงฆ์ก็ดี ราชบริษัทก็ดี

อุบาสกบริษัทก็ดี อุบาสิกาบริษัทก็ดี ได้ยืนอยู่พวกละข้าง.

ศพนางสิริมาผู้เลอโฉมหาค่ามิได้

พระศาสดาตรัสถามพระราชาว่า " นี่ใคร ? มหาบพิตร. "

พระราชา. น้องสาวหมอชีวก ชื่อสิริมา พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 152

พระศาสดา. นางสิริมาหรือนี่ ?

พระราชา. นางสิริมา พระเจ้าข้า.

พระศาสดา ถ้ากระนั้น ขอพระองค์ได้โปรดให้ราชบุรุษตีกลอง

โฆษณาในพระนครว่า " ใครให้ทรัพย์พันหนึ่ง จงเอานางสิริมาไป."

พระราชาได้ทรงทำอย่างนั้นแล้ว. ผู้ที่จะออกปากว่า " ข้าพเจ้าหรือ

ว่าเรา " แม้คนหนึ่งก็ไม่มี. พระราชาทูลแก่พระศาสดาว่า " ชนทั้งหลาย

ไม่รับ พระเจ้าข้า. " พระศาสดาตรัสว่า " มหาบพิตร ถ้ากระนั้น จงลด

ราคาลง (อีก). พระราชารับสั่งให้ตีกลองโฆษณาว่า " ใครให้ทรัพย์ ๕๐๐

จงเอาไป " ไม่ทรงเห็นใครๆจะรับเอา จึงรับสั่งให้ตีกลองโฆษณาว่า

" ใครให้ทรัพย์ ๒๕๐-๒๐๐-๑๐๐-๕๐-๒๕ กหาปณะ, ๑๐ กหาปณะ,

๕ กหาปณะ, ๑ กหาปณะ, ครึ่งกหาปณะ, บาท ๑, มาสก ๑, กากณิก ๑

แล้วเอานางสิริมาไป " (ก็ไม่เห็นใครจะรับเอาไป) จึงรับสั่งให้ตีกลอง

โฆษณาว่า " จงเอาไปเปล่า ๆ ก็ได้ " ผู้ที่จะออกปากว่า " ข้าพเจ้า. หรือ

ว่าเรา " (แม้คนหนึ่ง) ก็ไม่มี. พระราชาทูลว่า " พระเจ้าข้า ชื่อว่าผู้ที่จะ

รับเอาไปแม้เปล่าๆ ก็ไม่มี " พระศาสดาจึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงดูมาตุคามซึ่งเป็นที่รักของมหาชน. ในกาลก่อน ชนทั้งหลาย

ในพระนครนี้แล ให้ทรัพย์พันหนึ่งแล้ว ได้ (ภิรมย์) วันหนึ่ง, บัดนี้

แม้ผู้ที่จะรับเอาเปล่าๆ ก็ไม่มี. รูปเห็นปานนี้ ถึงความสิ้นและเสื่อม

แล้ว. ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงดูอัตภาพอันอาดูร " ดังนี้แล้ว ตรัส

พระคาถานี้ว่า

๒. ปสฺส จิตฺตกต พิมฺพ อรุกาย สมุสฺสิต

อาตุร พหุสงฺกปฺป ยสฺส นตฺถิ ธุว ิติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 153

" เธอจงดูอัตภาพ ที่ไม่มีความยั่งยืน (และ)

ความมั่นคง (อันกรรม) ทำให้วิจิตรแล้ว มีกายเป็น

แผล อันกระดูก ๓๐๐ ท่อนยกขึ้นแล้ว อันอาดูร ที่

มหาชนครุ่นคิดแล้วโดยมาก. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิตฺตกต ความว่า มีความวิจิตรอันกรรม

ทำแล้ว คือ (อันกรรม) ทำให้วิจิตรด้วยวัตถุต่างๆ มีอาภรณ์คือผ้าและ

เครื่องประดับ คือระเบียบดอกไม้เป็นต้น. บทว่า พิมฺพ ได้แก่ ซึ่งอัตภาพ

อันตั้งอยู่ถูกส่วนด้วยอวัยวะทั้งหลายใหญ่น้อย มีส่วนยาวเป็นต้น ในฐานะ

อันสมควรแก่ความเป็นอวัยวะยาวเป็นต้น. บทว่า อรุกาย คือ มีกายเป็น

แผล ด้วยสามารถปากแผลทั้ง ๙. บทว่า สนุสฺสิต คือ อันกระดูก ๓๐๐

ท่อนยกขึ้นแล้ว. บทว่า อาตุร ความว่า ชื่อว่าเป็นไข้ประจำ เพราะความ

เป็นสถานที่ต้องบริหารด้วยอิริยาบถเป็นต้นทุกเวลา. บทว่า พหุสงฺกปฺป

ได้แก่ อันมหาชนครุ่นคิดแล้วโดยมาก. บาทพระคาถาว่า ยสฺส นตฺถิ ธุว

ิติ ความว่า เธอทั้งหลายจงดูอัตภาพนี้ ที่ไม่มีความยั่งยืน หรือความ

มั่นคง มีความแตกเรี่ยรายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา โดยส่วน

เดียวเท่านั้น.

ในเวลาจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแล้วแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔ พัน

ภิกษุแม้รูปนั้น ก็ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ดังนี้แล.

เรื่องนางสิริมา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 154

๓. เรื่องพระอุตตราเถรี [๑๒๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอุตตรา-

เถรี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปริชิณฺณมิท รุป " เป็นต้น.

พระเถรีอดอาหารเพราะน้ำใจกรุณา

ดังได้สดับมา พระเถรีมีอายุได้๑๒๐ปีโดยกำเนิด เที่ยวบิณฑบาต

ได้บิณฑบาตแล้ว เห็นภิกษุรูปหนึ่งในระหว่างถนน ได้ถามโดยเอื้อเฟื้อ

ด้วยบิณฑบาต เมื่อภิกษุนั้นไม่ห้ามรับเอา ก็ถวายทั้งหมด (ส่วนตน) ได้

อดอาหารแล้ว; แม้ในวันที่ ๒ ที่ ๓ ก็ได้ถวายภัตแก่ภิกษุนั้นแหละในที่นั้น

เหมือนกัน ได้อดอาหารแล้วอย่างนั้น.

ได้ฟังเทศนาบรรลุโสดาปัตติผล

แต่ในวันที่ ๘ พระเถรีเที่ยวบิณฑบาต พบพระศาสดาในที่แคบ

แห่งหนึ่ง เมื่อถอยหลังได้เหยียบมุมจีวรของตนซึ่งห้อยอยู่ ไม่สามารถตั้ง

ตัวได้ จึงซวนล้มแล้ว. พระศาสดาเสด็จไปสู่ที่ใกล้เธอแล้ว ตรัสว่า " น้อง

หญิง อัตภาพของเธอแก่หง่อมแล้ว ต่อกาลไม่ช้านัก ก็จะแตกสลายไป "

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๓. ปริชิณฺณมิท รูป โรคนิทฺธ ปภงฺคุณ

ภิชฺชติ ปูติ สนฺเทโห มรณนฺต หิ ชีวิต.

" รูปนี้แก่หง่อมแล้ว เป็นรังของโรค เปื่อยพัง,

กายของตนเป็นของเน่า จักแตก, เพราะชีวิตมีความ

ตายเป็นที่สุด. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 155

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " น้องหญิง รูปนี้ คือที่นับว่าสรีระ

ของเธอ ชื่อว่าแก่หง่อมแล้ว เพราะความเป็นคนแก่. ก็รูปนั้นแล ชื่อว่า

เป็นรังของโรค เพราะอรรถว่า เป็นสถานที่อยู่อาศัยของโรคทุกชนิด;

เปรียบเหมือนสุนัขจิ้งจอกแม้หนุ่ม เขาเรียกว่า " สุนัขจิ้งจอกแก่. " เถา

หัวด้วนแม้อ่อน เขาเรียกว่า " เถาเน่า " ฉันใด รูปนี้ก็ฉันนั้น เกิดใน

วันนั้น แม้เป็นรูปมีสีเหมือนทองคำ ก็ชื่อว่ากายเน่า เปื่อยพัง เพราะ

อรรถว่า ไหลลอกเป็นนิตย์. กายของเธอนี้นั้นเป็นของเน่า พึงทราบเถิด

ว่า " จะแตก คือจักทำลาย ต่อกาลไม่นานนัก. " เพราะเหตุไร ? เพราะ

ชีวิตมีความตายเป็นที่สุด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นคำอธิบายไว้ว่า

" เพราะชีวิตของสรรพสัตว์มีความตายเป็นที่สุดทั้งนั้น. "

ในกาลจบเทศนา พระเถรีบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนาได้เป็น

กถามีประโยชน์ แม้แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระอุตตราเถรี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 156

๔. เรื่องพระอธิมานิกภิกษุ [๑๒๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุผู้มี

ความสำคัญว่าตนได้บรรลุพระอรหัตผลหลายรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า

" ยานิมานิ " เป็นต้น.

พวกภิกษุสำคัญผิด

ดังได้สดับมา ภิกษุ ๕๐๐ รูปเรียนกรรมฐานในสำนักพระศาสดา

แล้ว เข้าไปสู่ป่า พากเพียรพยายามอยู่ ยังฌานให้เกิดขึ้นแล้ว สำคัญว่า

" กิจบรรพชิตของพวกเราสำเร็จแล้ว " เพราะกิเลสทั้งหลายไม่ฟุ้งขึ้น จึง

(กลับ) มาด้วยหวังว่า " จักกราบทูลคุณที่ตนได้แล้วแด่พระศาสดา. "

พระศาสดาจึงแก้ความสำคัญผิดนั้น

ในเวลาที่พวกเธอถึงซุ้มประตูชั้นนอกเท่านั้น พระศาสดาตรัสกะ

พระอานนทเถระว่า " อานนท์ การงาน (เกี่ยว) ด้วยเราผู้อันภิกษุเหล่านี้

เข้ามาเฝ้า ยังไม่มี. ภิกษุเหล่านี้จงไปป่าช้าผีดิบ (เสียก่อน) กลับมาจาก

ที่นั้นแล้วจึงค่อยเฝ้าเรา." พระเถระไปแจ้งความนั้นแก่พวกเธอแล้ว. พวก

เธอไม่พูดเลยว่า " พวกเราจะได้ประโยชน์อะไรด้วยป่าช้าผีดิบ " คิดเสียว่า

" พระพุทธเจ้าทรงเห็นการณ์ไกล จักทรงเห็น (เหตุ) การณ์ ดังนี้แล้ว ไป

สู่ป่าช้าผีดิบแล้ว เมื่อเห็นศพในที่นั้น กลับได้ความเกลียดชังในซากศพ

ที่เขาทิ้งไว้ ๑ วัน ๒ วัน ยังความกำหนัดให้เกิดในสรีระอันสดซึ่งเขาทิ้ง

ไว้ในขณะนั้น. ในขณะนั้นก็รู้ว่าตนยังมีกิเลส. พระศาสดาประทับนั่งใน

พระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงฉายพระรัศมีไป ดุจตรัสอยู่เฉพาะหน้าของภิกษุ

เหล่านั้น. ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย การที่เธอทั้งหลายเห็นร่างกระดูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 157

เช่นนั้น ยังความยินดีด้วยอำนาจราคะให้เกิดขึ้น ควรละหรือ ? " ดังนี้แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า

๔. ยานิมานิ อปตฺถานิ อลาปูเนว สารเท

กาโปตกานิ อฏฺีนิ ตานิ ทิสฺวาน กา รติ.

" กระดูกนี้เหล่าใด อันเขาทิ้งเกลื่อนกลาด ดุจ

น้ำเต้าในสารทกาล มีสีเหมือนนกพิราบ ความยินดี

อะไรเล่า ? (จักมี) เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปตฺถานิ ได้แก่ อันเขาทิ้งแล้ว. บทว่า

สารเท ความว่า เหมือนน้ำเต้าที่ถูกลมและแดดกระทบ หล่นเกลื่อนกลาด

ในที่นั้นๆ ในสารทกาล. ว่า กาโปตกานิ แปลว่า มีสีเหมือนสีนก

พิราบ. สองบทว่า ตานิ ทิสฺวาน ความว่า ความยินดีอะไรเล่าของพวก

เธอ (จักมี) เพราะเห็นกระดูกเหล่านั้น คือเห็นปานนั้น การทำความ

ยินดีในกามแม้เพียงนิดหน่อย ย่อมไม่ควรเลย มิใช่หรือ ?

ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นได้บรรลุอรหัตผลแล้ว ตามที่ยืนอยู่

เทียว ชมเชย พระผู้มีพระภาคเจ้า มาถวายบังคมแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระอธิมานิกภิกษุ จบ.

๑. อรรถกถาว่า อลาพูเนว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 158

๕. เรื่องพระนางรูปนันทาเถรี [๑๒๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนาง

รูปนันทาเถรี ซึ่งเป็นนางงามในชนบท ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า

" อฏฺิน นคร กต " เป็นต้น.

พระนางรูปนันทาทรงผนวช

ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระนางรูปนันทานั้น ทรงดำริว่า " เจ้าพี่ใหญ่

ของเราสละสิริราชสมบัติ (ออก) ผนวช เป็นพระพุทธเจ้าผู้อัครบุคคลใน

โลก. แม้โอรสของพระองค์ทรงนามว่าราหุลกุมาร ก็ผนวชแล้ว. แม้

เจ้าพี่ของเรา (คือพระนันทะ) ก็ผนวชแล้ว. แม้พระมารดาของเรา ก็

ทรงผนวชแล้ว. เมื่อคณะพระญาติมีประมาณเท่านี้ ทรงผนวชแล้ว. แม้

เราจักทำอะไรในเรือน. จักผนวช (บ้าง). " พระนางเสด็จเข้าไปสู่สำนัก

ภิกษุณีทั้งหลายแล้วทรงผนวชพระนางทรงผนวชเพราะสิเนหาในพระญาติ

เท่านั้น หาใช่เพราะศรัทธาไม่; แต่เพราะพระนางเป็นผู้มีพระโฉมอัน

วิไล จึงปรากฏพระนามว่า " รูปนันทา."

นางไม่เข้าเฝ้าศาสดาเพราะเกรงถูกตำหนิ

พระนางได้ทรงสดับว่า " ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสว่า ' รูปไม่

เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ' จึงไม่เสด็จไปเผชิญพระพักตร์พระศาสดา ด้วย

ทรงเกรงว่า " พระศาสดาจะพึงตรัสโทษในรูปแม้ของเราซึ่งน่าดู น่า

เลื่อมใสอย่างนี้. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 159

ชาวนครนิยมฟังธรรม

ชาวพระนครสาวัตถีถวายท่านแต่เช้าตรู่ สมาทานอุโบสถแล้วห่มผ้า

สะอาด มีมือถือของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ในเวลาเย็น ประชุม

กันฟังธรรมในพระเชตวัน. เเม้ภิกษุณีสงฆ์ผู้เกิดฉันทะในพระธรรมเทศนา

ของพระศาสดา ก็ย่อมไปวิหารฟังธรรม. ชาวพระนครสาวัตถีเหล่านั้น

ครั้นฟังธรรมแล้ว เมื่อเข้าไปสู่พระนคร ก็กล่าวแต่คุณกถาของพระศาสดา

เท่านั้นเข้าไป.

ความเลื่อมใสของบุคคล ๔ จำพวก

จริงอยู่ จำพวกสัตว์ในโลกสันนิวาสซึ่งมีประมาณ ๔ จำพวก ที่

เห็นพระตถาคตอยู่ ไม่เกิดความเลื่อมใส มีจำนวนน้อยนัก.

๑. รูปัปปมาณิกา

ด้วยว่าจำพวกสัตว์ที่เป็นรูปัปปปมาณิกา (ถือรูปเป็นประมาณ) เห็น

พระสรีระของพระตถาคต อันประดับแล้วด้วยพระลักษณะและอนุพยัญ-

ชนะมีพระฉวีวรรณดุจทองคำ ย่อมเลื่อมใส.

๒. โฆสัปปมาณิกา

จำพวกโฆสัปปมาณิกา (ถือเสียงเป็นประมาณ) ฟังเสียงประกาศ

พระคุณของพระศาสดา ซึ่งอาศัยเป็นไปแล้วตั้งหลายร้อยชาติ และเสียง

ประกาศพระธรรมเทศนา อันประกอบด้วยองค์ ๘ ย่อมเลื่อมใส.

๓. ลูขัปปมาณิก

แม้จำพวกลูขัปปมาณิกา (ถือการปฏิบัติเศร้าหมองเป็นประมาณ)

๑ . เสียงที่ประกอบด้วยองค์ ๘ คือ แจ่มใส ๑ ชัดเจน ๑ นุ่มนวล ๑ น่าฟัง ๑ กลมกล่อม ๑

ไม่พร่า ๑ ลึก ๑ มีกังวาน ๑ ที. มหาวรรค ชนวสภสูตร ข้อ ๑๙๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 160

อาศัยความที่พระองค์เป็นผู้เศร้าหมองด้วยปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น ย่อม

เลื่อมใส.

๔ . ธัมมัปปมาณิกา

แม้จำพวกธัมมัปปมาณิกา (ถือธรรมเป็นประมาณ) ก็ย่อมเลื่อมใส

ว่า " ศีลของพระทศพลเห็นปานนี้. สมาธิเห็นปานนี้. ปัญญาเห็นปานนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าหาผู้เสมอมิได้ ไม่มีผู้เสมอเท่า หาผู้เสมอเหมือนมิได้

ไม่มีผู้ทัดเทียม ด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น. " เมื่อชนเหล่านั้นพรรณนา

คุณของพระตถาคตอยู่ ปากไม่เพียงพอ.

พระนางรูปนันทาเถรีเข้าเฝ้าทรงสดับธรรม

พระนางรูปนันทา ได้สดับคำพรรณนาคุณของพระตถาคต แต่

สำนักพวกภิกษุณีและพวกอุบาสิกา จึงทรงดำริว่า " ชนทั้งหลาย ย่อม

กล่าวชมเจ้าพี่ของเรานักหนาทีเดียว แม้ในวันหนึ่ง พระองค์เมื่อจะตรัส

โทษในรูปของเรา จะตรัสได้สักเท่าไร ? ถ้ากระไร เราพึงไปกับพวก

ภิกษุณี ไม่แสดงตนเลย เฝ้าพระตถาคตฟังธรรมแล้วพึงมา. " พระนาง

จึงตรัสบอกแก่พวกภิกษุณีว่า " วันนี้ ฉันจักไปสู่ที่ฟังธรรม. " พวก

ภิกษุณีมีใจยินดีว่า " นานนักหนา การที่พระนางรูปนันทาทรงมีพระ-

ประสงค์จะเสด็จไปสู่ที่บำรุงพระศาสดาเกิดขึ้นแล้ว, วันนี้พระศาสดา ทรง

อาศัยพระนางรูปนันทานี้แล้ว จักทรงแสดงพระธรรมเทศนาอันวิจิตร "

ดังนี้แล้วพาพระนางออกไปแล้ว. ตั้งแต่เวลาที่ออกไป พระนางทรงดำริ

ว่า " เราจะไม่แสดงตนเลย. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 161

พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระนาง

พระศาสดาทรงดำริว่า " วันนี้ รูปนันทาจักมาที่บำรุงของเรา

ธรรมเทศนาเช่นไรหนอแล ? จักเป็นที่สบายของเธอ " ทรงทำความ

ตกลงพระหฤทัยว่า " รูปนันทานั่น หนักในรูป มีความเยื่อใยในอัตภาพ

อย่างรุนแรง การบรรเทาความเมาในรูปด้วยรูปนั่นแล เป็นที่สบายของ

เธอ ดุจการบ่งหนามด้วยหนามฉะนั้น " ในเวลาที่พระนางเข้าไปสู่วิหาร

ทรงนิรมิตหญิงมีรูปสวยพริ้งผู้หนึ่ง อายุราว ๑๖ ปี นุ่งผ้าแดง ประดับ

แล้วด้วยอาภรณ์ทุกอย่าง ถือพัด ยืนถวายงานพัดอยู่ในที่ใกล้พระองค์

ด้วยกำลังพระฤทธิ์. ก็แล พระศาสดาและพระนางรูปนันทาเท่านั้น ทรง

เห็นรูปหญิงนั้น. พระนางเสด็จเข้าไปวิหารพร้อมกับภิกษุณีทั้งหลาย ทรง

ยืนข้างหลังพวกภิกษุณี ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ นั่ง

ในระหว่างพวกภิกษุณี ทรงแลดูพระศาสดาตั้งแต่พระบาท ทรงเห็น

พระสรีระของพระศาสดาวิจิตรแล้วด้วยพระลักษณะ รุ่งเรืองด้วยอนุพยัญ-

ชนะ. อันพระรัศมีวาหนึ่งแวดล้อมแล้ว ทรงแลดูพระพักตร์อันมีสิริดุจ

พระจันทร์เพ็ญ ได้ทรงเห็นรูปหญิงยืนอยู่ในที่ใกล้แล้ว. พระนางทรง

แลดูหญิงนั้นแล้ว ทรงแลดูอัตภาพ (ของตน) รู้สึกว่าตนเหมือนนางกา

(ซึ่งอยู่) ข้างหน้านางพระยาหงส์ทอง. ก็จำเดิมแต่เวลาที่ (พระนาง) ทรง

เห็นรูปอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ทีเดียว พระเนตรทั้งสองของพระนางก็วิง-

เวียน. พระนางมีจิตอันสิริโฉมแห่งสรีรประเทศทั้งหมดดึงดูดไปแล้วว่า

" โอผมของหญิงนี้ก็งาม. โอหน้าผากก็งาม " ดังนี้ ได้มีสิเนหาในรูปนั้น

อย่างรุนแรง. พระศาสดาทรงทราบความยินดีอย่างสุดซึ้งในรูปนั้นของ

พระนาง พอเมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงทรงแสดงรูปนั้นให้ล่วงภาวะของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 162

ผู้มีอายุ ๑๖ ปี มีอายุราว ๒๐ ปี. พระนางรูปนันทาได้ทอดพระเนตร

มีจิตเบื่อหน่ายหน่อยหนึ่งว่า " รูปนี้ไม่เหมือนรูปก่อนหนอ. " พระศาสดา

(ทรงแสดงความแปรเปลี่ยนเพศ) ของหญิงนั้น โดยลำดับเทียว คือ เพศ

หญิงคลอดบุตรครั้งเดียว เพศหญิงกลางคน เพศหญิงแก่ เพศหญิงแก่

คร่ำคร่าแล้วเพราะชรา. แม้พระนางก็ทรงเบื่อหน่ายรูปนั้น ในเวลาที่

ทรุดโทรมเพราะชราโดยลำดับเหมือนกัน ว่า " โอรูปนี้ หายไปแล้ว ๆ "

(ครั้น) ทรงเห็นรูปนั้นมีฟันหัก ผมหงอก หลังโกง มีซี่โครงขึ้นดุจ

กลอน มีไม้เท้ายันข้างหน้า งกงันอยู่ ก็ทรงเบื่อหน่ายเหลือเกิน. ลำดับ

นั้น พระศาสดาทรงแสดงรูปหญิงนั้นให้เป็นรูปอันพยาธิครอบงำ ใน

ขณะนั้นเอง หญิงนั้นทิ้งไม้เท้าและพัดใบตาล ร้องเสียงขรม ล้มลงที่

ภาคพื้น จมลงในมูตรและกรีสของตน กลิ้งเกลือกไปมา. พระนางรูป-

นันทา ทรงเห็นหญิงนั้นเเล้ว ทรงเบื่อหน่ายเต็มที. พระศาสดา ทรง

แสดงมรณะของหญิงนั้นแล้ว. หญิงนั้นถึงความเป็นศพพองขึ้นในขณะ

นั้นเอง. สายเเห่งหนองและหมู่หนอนไหลออกจากปากแผล๑ทั้ง ๙. ฝูง

สัตว์มีกาเป็นต้น รุมแย่งกันกินแล้ว. พระนางรูปนันทา ทรงพิจารณาซาก

ศพนั้นแล้ว ทรงเห็นอัตภาพโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงว่า " หญิงนี้ถึง

ความแก่ ถึงความเจ็บ ถึงความตาย ในที่นี้เอง. ความแก่ ความเจ็บ

และความตาย จักมาถึงแก่อัตภาพแม้นี้อย่างนั้นเหมือนกัน. " และเพราะ

ความที่อัตภาพเป็นสภาพอันพระนางทรงเห็นแล้ว โดยความเป็นสภาพไม่

เที่ยงนั่นเอง อัตภาพนั้น จึงเป็นอันทรงเห็นแล้วโดยความเป็นทุกข์ โดย

ความเป็นอนัตตาทีเดียว. ลำดับนั้น ภพทั้งสามปรากฏแก่พระนางดุจถูก

๑. แผล ๙ คือ ตา หู จมูก อย่างละ ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 163

ไฟเผาลนแล้ว และดุจซากศพอันเขาผูกไว้ที่พระศอ จิตมุ่งตรงต่อกรรมฐาน

แล้ว. พระศาสดาทรงทราบว่า พระนางทรงคิดเห็นอัตภาพโดยความเป็น

สภาพไม่เที่ยงแล้ว จึงทรงพิจารณาดูว่า " พระนางจักสามารถทำที่พึ่งแก่

ตนได้เองทีเดียวหรือไม่หนอแล ? " ทรงเห็นว่า " จักไม่อาจ. การที่

พระนางได้ปัจจัยภายนอก (เสียก่อน) จึงจะเหมาะ " ดังนี้แล้ว เมื่อจะ

ทรงแสดงธรรม ด้วยอำนาจธรรมเป็นที่สบายแห่งพระนาง ได้ตรัสพระ-

คาถาเหล่านี้ว่า

" นันทา เธอจงดูกายอันกรรมยกขึ้น อันอาดูร

ไม่สะอาด เปื่อยเน่า ไหลออกอยู่ข้างบน ไหลออก

อยู่ข้างล่าง ที่พาลชนทั้งหลายปรารถนากันนัก; สรีระ

ของเธอนี้ ฉันใด, สรีระของหญิงนั่น ก็ฉันนั้น,

สรีระของหญิงนั่น ฉันใด สรีระของเธอนี้ ก็ฉันนั้น:

เธอจงเห็นธาตุ ทั้งหลายโดยความเป็นของสูญ, อย่า

กลับมาสู่โลกนี้อีก, เธอคลี่คลายความพอใจในภพ

เสียแล้ว จักเป็นบุคคลผู้สงบเที่ยวไป.

พระนางนันทาสำเร็จโสดาปัตติผล

ได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปรารภพระนางนันทาภิกษุณี

ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล. พระนางนันทา ทรงส่ง

ญาณไปตามกระแสเทศนา บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว.

พระศาสดาทรงแสดงวิปัสสนา

ลำดับนั้น พระศาสดาเพื่อจะตรัสสุญญตกรรมฐาน เพื่อต้องการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 164

อบรมวิปัสสนาเพื่อมรรคผลทั้งสามยิ่งขึ้นไปแก่พระนาง จึงตรัสว่า "นันทา

เธออย่าทำความเข้าใจว่า ' สาระในสรีระนี้ มีอยู่' เพราะสาระในสรีระนี้

แม้เพียงเล็กน้อย ก็ไม่มี, สรีระนี้ อันกรรมยกกระดูก ๓๐๐ ท่อนขึ้น

สร้างให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย " ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

๕. อฏฺิน นคร กต มสโลหิตเลปน

ยตฺถ ชรา จ มจฺจุ จ มาโน มกฺโข จ โอหิโต.

"สรีระอันกรรมทำให้เป็นนครแห่งกระดูกทั้งหลาย

ฉาบด้วยเนื้อและโลหิต เป็นที่ตั้งลงแห่งชรา มรณะ

มานะ และมักขะ"

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายให้

ยกไม้ทั้งหลายขึ้น (เป็นโครง) เอาเถาวัลย์ผูกแล้ว ฉาบด้วยดินเหนียว

ทำให้เป็นเรือนภายนอกกล่าวคือนคร เพื่อประโยชน์แก่การตั้งปุพพัณชาติ

และอปรัณชาติเป็นต้นลง ฉันใด; แม้สรีระนี้ที่เป็นไปในภายใน ก็ฉัน

นั้น อันกรรมยังกระดูก ๓๐๐ ท่านให้ยกขึ้นแล้วทำให้เป็นนคร อันเส้น

เอ็นรึงรัดไว้ ฉาบทาด้วยเนื้อและโลหิต หุ้มห่อด้วยหนัง เพื่อประโยชน์

แก่การตั้งลงแห่งชรา ซึ่งมีความทรุดโทรมเป็นลักษณะ แห่งมัจจุซึ่งมี

ความตายเป็นลักษณะ แห่งมานะซึ่งมีความเมา เพราะอาศัยความถึงพร้อม

ด้วยความระหงเป็นต้นเป็นลักษณะ และแห่งมักขะมีการทำกรรมที่เขาทำ

ดีแล้วให้ฉิบหายเป็นลักษณะ. เพราะอาพาธอันเป็นไปทางกายและทางใจ

๑. อาโห เป็นส่วนสูง ปริณาห เป็นส่วนกลม งามพร้อม ได้ส่วนสัด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 165

เห็นปานนี้นั่นแล ตั้งลงแล้วในสรีระนี้. นอกจากนี้ไม่มีอะไร ๆ ที่เข้า

ถึงความเป็นของจะพึงถือเอาได้.

ในกาลจบเทศนา พระนางรูปนันทาเถรีได้บรรลุพระอรหัตผล.

พระธรรมเทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์เเก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระนางรูปนันทาเถรี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 166

๖. เรื่องของพระนางมัลลิกาเทวี [๑๒๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระนาง-

มัลลิกาเทวี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา "

เป็นต้น.

พระนางมัลลิกาทำสันถวะกับสุนัข

ได้ยินว่า วันหนึ่ง พระนางมัลลิกาเทวีนั้น เสด็จเข้าไปยังซุ้ม

สำหรับสรงสนาน ทรงชำระพระโอษฐ์แล้ว ทรงน้อมพระสรีระลงปรารภ

เพื่อจะชำระพระชงฆ์ มีสุนัขตัวโปรดตัวหนึ่ง เข้าไปพร้อมกับพระนาง

ทีเดียว. มันเห็นพระนางน้อมลงเช่นนั้น จึงเริ่มจะทำอสัทธรรมสันถวะ.

พระนางทรงยินดีผัสสะของมัน จึงได้ประทับยืนอยู่. พระราชาทรงทอด

พระเนตรทางพระแกลในปราสาทชั้นบน ทรงเห็นกิริยานั้น ในเวลา

พระนางเสด็จมาจากซุ้มน้ำนั้น จึงตรัสว่า " หญิงถ่อย จงฉิบหาย เพราะ

เหตุไร เจ้าจึงได้ทำกรรมเห็นปานนี้ ? "

พระราชาแพรูพระนางมัลลิกา

พระนาง. หม่อมฉันทำกรรมอะไร พระเจ้าข้า.

พระราชา. ทำสันถวะกับ สุนัข.

พระนาง. เรื่องนี้หามิได้ พระเจ้าข้า.

พระราชา. ฉันเองเห็น. ฉันจะเชื่อเจ้าไม่ได้. หญิงถ่อย จง

ฉิบหาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 167

พระนาง. ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้า ฯ ผู้ใดผู้หนึ่งเข้า

ไปยังซุ้มน้ำนี้ผู้เดียวเท่านั้น ก็ปรากฏเห็นสองคน แก่ผู้ที่แลดูทางพระ-

แกลนี้.

พระราชา. เจ้าพูดไม่จริง หญิงชั่ว.

พระนาง. พระเจ้าข้า ถ้าพระองค์ไม่ทรงเชื่อหม่อมฉัน. ขอเชิญ

พระองค์เสด็จเข้าไปยังซุ้มน้ำนั้น. หม่อมฉันจักแลดูพระองค์ทางพระแกลนี้.

พระราชาติดจะเขลา จึงทรงเชื่อถ้อยคำของพระนาง แล้วเสด็จเข้า

ไปยังซุ้มน้ำ. ฝ่ายพระนางเทวีนั้นแล ทรงยืนทอดพระเนตรอยู่ที่พระแกล

ทูลว่า " มหาราชผู้มืดเขลา ชื่ออะไรนั่น. พระองค์ทรงทำสันถวะกับ

นางแพะ " แม้เมื่อพระราชาจะตรัสว่า " นางผู้เจริญ ฉันมิได้ทำกรรม

เห็นปานนั้น " ก็ทูลว่า " แม้หม่อมฉันเห็นเอง หม่อมฉันจะเชื่อพระองค์

ไม่ได้ " พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ก็ทรงเชื่อว่า " ผู้เข้าไปยังซุ้มน้ำ

นี้ ผู้เดียวเท่านั้น ก็ย่อมปรากฏเป็นสองคนแน่. " พระนางมัลลิกา ทรง

ดำริว่า " พระราชานี้ อันเราลวงได้เเล้ว ก็เพราะพระองค์โง่เขลา. เรา

ทำกรรมชั่วแล้ว, ก็พระราชานี้ เรากล่าตู่ด้วยคำไม่จริง. แลแม้พระ-

ศาสดา จักทรงทราบกรรมนี้ของเรา. พระอัครสาวกทั้งสองก็ดี พระ-

อสีติมหาสาวกก็ดี จักทราบ; ตายจริง เราทำกรรมหนักแล้ว." ทราบว่า

พระนางมัลลิกานี้ ได้เป็นสหายในอสติสทานของพระราชา.

พระนางมัลลิกาเกิดในอเวจี

ก็ในอสติสทานนั้น การบริจาคที่ทรงทำในวันหนึ่ง มีค่าถึงทรัพย์

๑๔โกฏิ. ก็เศวตฉัตร บัลลังก์ประทับนั่ง เชิงบาตร ตั่งสำหรับรอง

พระบาทของพระตถาคตเจ้า ๔ อย่างนี้ ได้มีค่านับไม่ได้. ในเวลาจะสิ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 168

พระชนม์ พระนางมัลลิกานั้นมิได้ทรงนึกถึงการบริจาคใหญ่ เห็นปาน

นั้น ทรงระลึกถึงกรรมอันลามกนั้นอย่างเดียว สิ้นพระชนม์แล้ว ก็บังเกิด

ในอเวจี. ก็พระนางมัลลิกานั้นได้เป็นผู้โปรดปรานของพระราชาอย่างยิ่ง.

พระราชาทูลถามสถานที่พระนางเกิด

ท้าวเธออันความโศกเป็นกำลังครอบงำ รับสั่งให้ทำฌาปนกิจ

พระสรีระของพระนางแล้ว ทรงดำริว่า " เราจะทูลถามสถานที่เกิดของ

พระนาง " จึงได้เสด็จไปยังสำนักของพระศาสดา. พระศาสดาได้ทรงทำ

โดยประการที่ท้าวเธอระลึกถึงเหตุที่เสด็จมาไม่ได้. ท้าวเธอทรงสดับธรรม-

กถาชวนให้ระลึกถึง ในสำนักของพระศาสดาแล้ว ก็ทรงลืม; ในเวลา

เสด็จเข้าไปสู่พระราชนิเวศน์ ทรงระลกได้ จึงตรัสว่า " พนาย ฉันตั้งใจ

ว่า ' จักทูลถามที่พระนางมัลลิกาเทวีเกิด ' ไปยังสำนักของพระศาสดาก็

ลืมเสีย. วันพรุ่งนี้ ฉันจะทูลถามอีก " ดังนี้แล้ว ก็ได้เสด็จไป แม้ใน

วันรุ่งขึ้น. ฝ่ายพระศาสดาก็ได้ทรงทำ โดยประการที่ท้าวเธอระลึกไม่ได้

ตลอด ๗ วันโดยลำดับ.

ฝ่ายพระนางมัลลิกานั้นไหม้ในนรกตลอด ๗ วันเท่านั้น. ในวันที่ ๘

จุติจากที่นั้นแล้ว เกิดในดุสิตภพ.

ถามว่า " ก็เพราะเหตุไร พระศาสดา จึงได้ทรงทำความที่พระราชา

นั้น ทรงระลึกไม่ได้ ? "

แก้ว่า " ทราบว่า พระนางมัลลิกานั้น ได้เป็นที่โปรดปรานพอ

พระทัยของพระราชานั้นอย่างที่สุด ? " เพราะฉะนั้น ท้าวเธอทราบว่า

พระนางเกิดในนรกแล้ว ก็จะทรงยึดถือมิจฉาทิฏฐิ ด้วยทรงดำริว่า " ถ้า

หญิงสมบูรณ์ด้วยศรัทธาเห็นปานนี้ เกิดในนรกไซร้ เราจะถวายทานทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 169

อะไร ? " ดังนี้แล้วก็จะรับสั่งให้เลิกนิตยภัตที่เป็นไปในพระราชนิเวศน์

เพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูปแล้วพึงเกิดในนรก; เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงทรง

ทำความที่พระราชานั้น ทรงระลึกไม่ได้ตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘ ทรง

ดำเนินไปเพื่อบิณฑบาต ได้เสด็จไปยังประตูพระราชวังด้วยพระองค์เอง

ทีเดียว. พระราชาทรงทราบว่า " พระศาสดาเสด็จมาแล้ว " จึงเสด็จ

ออก ทรงรับบาตรแล้ว ปรารภเพื่อจะเสด็จขึ้นสู่ปราสาท. แต่พระศาสดา

ทรงแสดงพระอาการเพื่อจะประทับนั่งที่โรงรถ. พระราชาจึงทูลอัญเชิญ

พระศาสดาให้ประทับนั่ง ณ ที่นั้นเหมือนกัน ทรงรับรองด้วยข้าวยาคูและ

ของควรเคี้ยวแล้ว จึงถวายบังคม พอประทับนั่ง ก็กราบทูลว่า " หม่อม

ฉันมาก็ด้วยประสงค์ว่า 'จักทูลถามที่เกิดของพระนางมัลลิกาเทวี. แล้ว

ลืมเสีย พระนางเกิดในที่ไหนหนอแล ? พระเจ้าข้า. "

พระศาสดา. ในดุสิตภพ มหาบพิตร.

พระราชา. พระเจ้าข้า เมื่อพระนางไม่บังเกิดในดุสิตภพ. คนอื่น

ใครเล่าจะบังเกิด. พระเจ้าข้า หญิงเช่นกันพระนางมัลลิกานั้นไม่มี. เพราะ

ในที่ ๆ พระนางนั่งเป็นต้น กิจอื่น เว้นการจัดแจงทาน ด้วยคิดว่า

" พรุ่งนี้ จักถวายสิ่งนี้, จักทำสิ่งนี้, แด่พระตถาคต " ดังนี้ไม่มีเลย,

พระเจ้าข้า ตั้งแต่เวลาพระนางไปสู่ปรโลกแล้ว สรีระของหม่อมฉัน ไม่

ค่อยกระปรี้กระเปร่า.

ธรรมของสัตบุรุษไม่เก่าเหมือนของอื่น

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " อย่าคิดเลยมหาบพิตร

นี้เป็นธรรมอันแน่นอนของสัตว์ทุกจำพวก " ตรัสถามว่า " นี้รถของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 170

ใคร ? มหาบพิตร. " พระราชาทรงประดิษฐานอัญชลีไว้เหนือพระเศียร

แล้ว ทูลว่า " ของพระเจ้าปู่ของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า. "

พระศาสดา. นี้ ของใคร.

พระราชา. ของพระชนกของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า.

เมื่อพระราชากราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาจึงตรัสว่า " มหา-

บพิตร รถของพระเจ้าปู่ ของมหาบพิตร เพราะเหตุไร จึงไม่ถึงรถของ

พระชนก ของมหาบพิตร. รถของพระชนก ของมหาบพิต ไม่ถึงรถ

ของมหาบพิตร. ความคร่ำคร่าย่อมมาถึง แม้แก่ท่อนไม้ชื่อเห็นปานนี้.

ก็จะกล่าวไปไย ความคร่ำคร่าจักไม่มาถึงแม้แก่อัตภาพเล่า ? มหาบพิตร

ความจริง ธรรมของสัตบุรุษเท่านั้นไม่มีความชรา. ส่วนสัตว์ทั้งหลาย

ชื่อว่าไม่ชรา ย่อมไม่มี " ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

๖. ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา

อโถ สรีรมฺปิ ชร อุเปติ

สตญฺจ ธมฺโม น ชร อุเปติ

สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ.

" ราชรถ ที่วิจิตรดี ยังคร่ำคร่าได้แล, อนึ่งถึง

สรีระ ก็ย่อมถึงความคร่ำคร่า, ธรรมของสัตบุรุษ

หาเข้าถึงความคร่ำคร่าไม่, สัตบุรุษทั้งหลายแล ย่อม

ปราศรัยกับด้วยสัตบุรุษ."

แก้อรรถ

ศัพท์ว่า เว ในพระคาถานั้น เป็นนิบาต. บทว่า สุจิตฺตา ความว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 171

รถทั้งหลาย แม้ของพระราชาทั้งหลาย อันวิจิตรดีแล้วด้วยรัตนะ ๗ และ

ด้วยเครื่องประดับรถอย่างอื่น ย่อมคร่ำคร่าได้.

บทว่า สรีรมฺปิ ความว่า มิใช่รถอย่างเดียวเท่านั้น. ถึงสรีระที่

ประคบประหงมกันอย่างดีนี้ ก็ย่อมถึงความชำรุดมีความเป็นผู้มีฟันหัก

เป็นต้น ชื่อว่าเข้าถึงความคร่ำคร่า.

บทว่า สตญฺจ ความว่า แต่โลกุตรธรรมมีอย่าง ๙ ของสัตบุรุษ

ทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมไม่ทำการกระทบกระทั่งอะไร ๆ เลย

ชื่อว่าไม่เข้าถึงความทรุดโทรม.

บทว่า ปเวทยนฺติ ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ย่อมปราศรัยกับด้วยสัตบุรุษ คือด้วยบัณฑิตทั้งหลายอย่างนี้.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระนางมัลลิกาเทวี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 172

๗. เรื่องพระโลฬุทายีเถระ [๑๒๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพพระโลฬุทายี-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อปฺปสฺสุตาย ปุริโส " เป็นต้น.

พระเถระกล่าวธรรมไม่เหมาะแก่งาน

ดังได้สดับมา พระโลฬุทายีเถระนั้น ไปสู่เรือนของหมู่คนผู้ทำการ

มงคล ก็กล่าวอวมงคล โดยนัยเป็นต้นว่า " ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺนฺติ " ไป

เรือนของผู้ทำการอวมงคล เมื่อควรกล่าว ติโรกุฑฑสูตรเป็นต้น. ก็กล่าว

มงคลคาถา โดยนัยเป็นต้นว่า " ทานญฺจ ธมฺมจริยา จ " หรือรัตนสูตร

เป็นต้นว่า " ยงฺกิญฺจิ วิตฺต อิธ วา หุร วา. " เธอคิดว่า " เราจักสวดสูตร

อื่น " แม้สวดสูตรอื่นอยู่ในที่นั้นๆ อย่างนั้นก็ไม่รู้ว่า " เราสวดสูตรอื่น. "

ถึงกาลก่อนก็เลอะเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลายฟังกถาของท่านแล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดาว่า

" พระเจ้าข้า เป็นอย่างไร พระโลฬุทายี ในที่ทำการมงคลและอวมงคล

ควรกล่าวสูตรอื่น ก็ไพล่ไปกล่าวสูตรอื่น ? " พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย โลฬุทายีนั่น กล่าวอย่างนั้น ในกาลบัดนี้เท่านั้น ก็หาไม่.

ถึงในกาลก่อน โลฬุทายี เมื่อสูตรอื่นอันตนควรกล่าว ก็ไพล่กล่าวสูตร

อื่น " อันภิกษุเหล่านั้น ทูลอ้อนวอน จึงทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส

ดังต่อไปนี้):-

บุรพกรรมของพระโลฬุทายี

ในอดีตกาล บุตรของพราหมณ์ ชื่ออัคคิทัต ในกรุงพาราณสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 173

ชื่อโสมทัตกุมาร บำรุงพระราชาแล้ว. เธอได้เป็นที่โปรดปรานพอพระ-

หฤทัยของพระราชา. ส่วนพราหมณ์อาศัยกสิกรรมเลี้ยงชีพ. พราหมณ์

นั้นมีโค ๒ตัว. ใน ๒ ตัวนั้น ตัว ๑ ได้ล้มเสียแล้ว. พราหมณ์จึง

กล่าวกะบุตรชายว่า " พ่อโสมทัต พ่อจงทูลขอในหลวง นำโคมาให้พ่อ

ตัวหนึ่ง. "

โสมทัตสอนพ่อให้ทูลขอโค

มหาดเล็กโสมทัตคิดว่า " ถ้าเราจักขอพระราชทานกะสมเด็จ

พระเจ้าอยู่หัวไซร้, ความเป็นคนผลุนผลันจักปรากฏแก่เรา " จึงพูดว่า

" คุณพ่อขอรับ คุณพ่อเองจงขอพระราชทานกะในหลวงเถิด " เมื่อบิดา

พูดว่า " ลูกเอ๋ย ถ้ากระนั้น เจ้าจงพาเข้าไปเถิด, " จึงคิดว่า " ท่าน

พราหมณ์นี้ มีปัญญาแล่นช้า ย่อมไม่รู้จักแม้สักแต่คำพูดเป็นต้นว่า " จง

ไปข้างหน้า จงถอยมาข้างหลัง. เมื่อคำอื่นอันควรพูด ก็ไพล่พูดคำอื่น

เสีย เราจะให้สำเหนียกแล้วจึงพาท่านไป. " เธอพาท่านไปป่าช้า ชื่อ

วีรณัตถัมภกะแล้ว จึงมัดฟ่อนหญ้าหลายฟ่อน ทำสมมติว่า " ฟ่อนหญ้า

นี้เป็นเจ้าชีวิต. ฟ่อนหญ้านี้เป็นวังหน้า. ฟ่อนหญ้านี้เป็นเสนาบดี " ดังนี้

เป็นต้น แสดงแก่บิดาตามลำดับแล้ว จึงชี้แจงว่า " อันคุณพ่อไปราชสกุล

ต้องเดินหน้าอย่างนี้. ต้องถอยหลังอย่างนี้. พระเจ้าอยู่หัว ต้องกราบ

บังคมทูลอย่างนี้. วังหน้าต้องกราบทูลอย่างนี้. คุณพ่อเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว

แล้ว ต้องถวายชัยมงคลอย่างนี้ว่า ' ขอเดชะฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าฯ

ขอพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จงทรงชนะเถิด ' ดังนี้ พึงว่าคาถานี้

แล้ว ขอพระราชทานโคเถิด " จึงให้บิดาเรียนคาถาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 174

" ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้สมมติเทพ โคสำหรับ

ไถนาของข้าพระพุทธเจ้ามี ๒ ตัว ในโค ๒ ตัวนั้น

ตัวหนึ่งล้มเสียแล้ว, พระองค์ผู้เทพขัตติยราช ขอ

พระองค์ผู้สมมติเทพ จงพระราชทานตัวที่ ๒ เถิด. "

โสมทัตพาพ่อเข้าเฝ้าพระราชา

พราหมณ์นั้นท่องคาถานั้นให้คล่องแคล่วราวปีหนึ่ง จึงบอกความที่

คาถานั้นคล่องแคล่วแล้วแก่บุตร. เมื่อลูกนั้นกล่าวว่า " คุณพ่อขอรับ ถ้า

กระนั้นคุณพ่อจงเอาเครื่องบรรณาการนิดหน่อยนั่นแหละมาเถิด. ผมจะไป

ก่อน แล้วยืนที่ราชสำนัก " จึงพูดว่า " ดีละ ลูก " แล้วถือเครื่องบรรณา-

การไป เป็นผู้ถึงความอุตสาหะไปราชสกุล ในเวลาที่โสมทัตยืนอยู่

ในราชสำนัก เป็นผู้มีพระราชปฏิสันถาร อันพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชหทัย

ยินดี ทรงกระทำแล้ว เมื่อพระองค์ตรัสว่า " ตา แกมานานแล้วหรือ ?

นี้ที่นั่ง, แกจงนั่งแล้วพูดไปเถิด แกต้องการด้วยสิ่งใดเล่า ? " จึงว่า

คาถานี้ว่า

" ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ผู้สมมติเทพ โคสำหรับ

ไถนาของข้าพระพุทธเจ้ามี ๒ ตัว, ในโค ๒ ตัวนั้น

ตัวหนึ่งล้มเสียแล้ว, พระองค์ผู้เทพขัตติยราช ขอ

พระองค์ผู้สมมติเทพ จงทรงถือเอาตัวที่ ๒ มาเสีย. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 175

โสมทัตได้รับพระราชทาน

แม้เมื่อในหลวงตรัสว่า " ตา แกว่าอะไรนะ ? จงว่าไปอีก. "

พราหมณ์นั้น ก็คงกล่าวคาถาบทนั้นเอง. ในหลวงทรงทราบความที่คาถา

นั้นพราหมณ์กล่าวผิด ทรงแย้มสรวลแล้วตรัสว่า " โสมทัต โคในบ้าน

ของเจ้าเห็นจะมากนะ. " เมื่อโสมทัตกราบทูลว่า " ขอเดชะฝ่าละอองธุลี

พระบาทผู้สมมติเทวราช โคอันใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ทรงพระกรุณา

โคพระราชทานแล้วจักมีมาก " ดังนี้แล้ว ทรงโปรดปรานโสมทัต-

ผู้โพธิสัตว์ จึงพระราชทานโค ๑๖ ตัวแก่พราหมณ์ สิ่งของเครื่องอลังการ

และบ้านที่อยู่แก่โพธิสัตว์นั้นให้เป็นพรหมไทยแล้ว จึงทรงส่งพราหมณ์

ไปด้วยยศใหญ่.

ผู้มีสุตะน้อยเหมือนโคถึก

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ประชุมชาดกว่า

" พระเจ้าแผ่นดินในครั้งกระนั้น เป็นอานนท์. ตาพราหมณ์ในครั้งกระนั้น

เป็นโลฬุทายี. มหาดเล็กโสมทัตในครั้งกระนั้น เป็นเราตถาคตนี่แหละ "

จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย โลฬุทายีนี้ เมื่อคำอื่นอันคนควรพูด ก็ไพล่

พูดคำอื่นไปเสีย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน เธอก็พูดแล้ว

เพราะความที่ตนเป็นคนมีธรรมได้สดับน้อย. เพราะว่า คนมีสุตะน้อย

ชื่อว่าเป็นเหมือนโคถึก จึงตรัสพระคาถาว่า

๗. อปฺปสฺสุตาย ปุริโส พลิพทฺโทว ชีรติ

มสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ ปญฺา ตสฺส น วฑฺฒติ.

๑. อรรถกถา. ๓/๒๑๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 176

" คนมีสุตะน้อยนี้ ย่อมแก่เหมือนโคถึก,

เนื้อของเขาย่อมเจริญ แต่ปัญญาของเขาหาเจริญไม่. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น เนื้อความแห่งบทว่า อปฺปสฺสุตาย ว่าคนชื่อ

ว่า อัปปัสสุตะ เพราะไม่มีหมวดสูตร ห้าสิบ ๑ หมวด หรือ ๒ หมวด

ก็หรือว่า เพราะไม่มีวรรคสูตร ๑ วรรค หรือ ๒ วรรค โดยกำหนดที่สุด

ทั้งหมด เพราะไม่มีแม้สูตร ๑ หรือ ๒ สูตร. แต่ได้เรียนกรรมฐาน

เล็กน้อยประกอบความเพียรเนือง ๆ อยู่ ก็เป็นพหุสูตได้ทีเดียว.

สองบทว่า พลิพฺทโทว ชีรติ ความว่า เหมือนโคถึกเมื่อแก่

คือเมื่อเฒ่า ย่อมโตขึ้นเพื่อประโยชน์แก่โคแม่พ่อหามิได้เลย แก่โคที่เป็น

พี่น้องที่เหลือก็หามิได้. โดยที่แท้ก็แก่ไม่มีประโยชน์เลย ฉันใด, แม้

อัปปัสสุตชนนี้ไม่ทำอุปัชฌายวัตร, ไม่ทำอาจริยวัตร. และไม่ทำวัตรอื่น

มีอาคันตุกวัตรเป็นต้น. ไม่หมั่นประกอบแม้สักว่าภาวนา. ชื่อว่า ย่อมแก่

ไม่มีประโยชน์เลย ฉันนั้นนั่นแหละ.

บาทพระคาถาว่า มสานิ ตสฺส วฑฺฒนฺติ มีอธิบายว่า เนื้อของโคถึก

ที่เจ้าของคิดว่า " อ้ายนี่ไม่อาจจะลากแอกไถเป็นต้นไหวแล้ว " ปล่อย

เสียในป่า เที่ยวเคี้ยวกินดื่มอยู่ในป่านั้นแหละ ย่อมเจริญ ฉันใด. เนื้อแม้

ของอัปปัสสุตชนนี้ อันพระครุฏฐานิยะมีพระอุปัชฌาย์เป็นต้น ปล่อยเสีย

แล้ว อาศัยสงฆ์ได้ปัจจัย ๔ ทำกิจมีระบายท้องเป็นต้น เลี้ยงกายอยู่

ย่อมเจริญ คือว่าเธอเป็นผู้มีร่างกายอ้วนพีเที่ยวไป ฉันนั้น นั่นแหละ.

สองบทว่า ปญฺา ตสฺส มีเนื้อความว่า ส่วนปัญญที่เป็นโลกิยะ

โลกุตระของอัปปัสสุตชนนั้น แม้ประมาณองคุลีเดียวก็ไม่เจริญ แต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 177

ตัณหาและมานะ ๙ อย่าง ย่อมเจริญเพราะอาศัยทวาร ๖ เหมือนกอหญ้า

ลดาวัลย์เป็นต้น เจริญอยู่ในป่าฉะนั้น.

ในเวลาจบเทศนา มหาชนบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล

เป็นต้นแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระโลฬุทายีเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 178

๘. เรื่องปฐมโพธิกาล [๑๒๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธิพฤกษ์ ทรงเปล่งอุทานด้วย

สามารถเบิกบานพระหฤทัย ในสมัยอื่น พระอานนทเถระทูลถาม จึงตรัส

พระธรรมเทศนานี้ว่า " อเนกชาติสสาร " เป็นต้น.

ทรงกำจัดมารแล้วเปล่งอุทาน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล ประทับนั่ง ณ ควงไม้โพธิ-

พฤกษ์ เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่อัสดงคตเทียว ทรงกำจัดมารและพลแห่งมาร

แล้ว ในปฐมยาม ทรงทำลายความมืดที่ปกปิดปุพเพนิวาสญาณ. ใน

มัชฌิมยาม ทรงชำระทิพยจักษุให้หมดจดแล้ว. ในปัจฉิมยาม ทรงอาศัย

ความกรุณาในหมู่สัตว์ ทรงหยั่งพระญาณลงในปัจจยาการแล้ว ทรง

พิจารณาปัจจยาการนั้น ด้วยสามารถแห่งอนุโลมปฏิโลม. ในเวลาอรุณขึ้น

ทรงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณพร้อมด้วยอัศจรรย์หลายอย่าง เมื่อจะ

ทรงเปล่งอุทาน ที่พระพุทธเจ้ามิใช่แสนเดียวไม่ทรงละแล้ว จึงได้ตรัส

พระคาถาเหล่านี้ว่า

๘. อเนกชาติสสาร สนฺธาวิสฺส อนิพฺพิส

คหการก คเวสนฺโต ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปุน

คหการก ทิฏฺโสิ ปุน เคห น กาหสิ

สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคา คหกูฏ วิสงฺขต

วิสงฺขารคต จิตฺต ตณฺหาน ขยมชฺฌคา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 179

" เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบ

จึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร มีชาติเป็นอเนก ความเกิด

บ่อยๆ เป็นทุกข์, แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่าน

แล้ว, ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้, ซี่โครงทุกซี่ของท่าน

เราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว, จิตของ

เราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว, เพราะเรา

บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า คหการ คเวสวนฺโต ความว่า เรา

เมื่อแสวงหานายช่างคือตัณหาผู้ทำเรือน กล่าวคืออัตภาพนี้มีอภินิหารอัน

ทำไว้แล้ว แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ทีปังกร เพื่อ

ประโยชน์แก่พระญาณ อันเป็นเครื่องอาจเห็นนายช่างนั้นได้ คือพระ-

โพธิญาณ เมื่อไม่ประสบ ไม่พบ คือไม่ได้พระญาณนั้นแล จึงท่องเที่ยว

คือเร่ร่อน ได้แก่วนเวียนไป ๆ มา ๆ สู่สงสารมีชาติเป็นอเนก คือสู่

สังสารวัฏนี้ อันนับได้หลายแสนชาติ สิ้นกาลมีประมาณเท่านี้.

คำว่า ทุกฺขา ชาติ ปุนปฺปน นี้ เป็นคำแสดงเหตุแห่งการแสวงหา

ช่างผู้ทำเรือน. เพราะชื่อว่าชาตินี้ คือการเข้าถึงบ่อย ๆ ชื่อว่าเป็นทุกข์

เพราะภาวะที่เจือด้วยชรา พยาธิและมรณะ. ก็ชาตินั้น เมื่อนายช่างผู้ทำ

เรือนนั้น อันใครๆ ไม่พบแล้ว ย่อมไม่กลับ. ฉะนั้น เราเมื่อแสวงหา

นายช่างผู้ทำเรือน จึงได้ท่องเที่ยวไป.

๑. ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป. ๒. อีกนัยหนึ่ง ผาสุกกา เป็นคำเปรียบกับเครื่องเรือน แปลว่า

จันทันเรือนของท่านเราหักเสียหมดแล้ว. ๓. บาลีเป็น คหการก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 180

บทว่า ทิฏฺโสิ ความว่า บัดนี้เราตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ พบ

ท่านแล้วแน่นอน. บทว่า ปุน เคห ความว่า ท่านจักทำเรือนของเรา

กล่าวคืออัตภาพ ในสังสารวัฏนี้อีกไม่ได้.

บาทพระคาถาว่า สพฺพา เต ผาสุกา ภคฺคาความว่า ซี่โครงกล่าว

คือกิเลสที่เหลือทั้งหมดของท่าน เราหักเสียแล้ว.

บาทพระคาถาว่า คหกูฏ วิสงฺขต ความว่า ถึงมณฑลช่อฟ้ากล่าว

คืออวิชชา แห่งเรือนคืออัตภาพที่ท่านสร้างแล้วนี้ เราก็รื้อเสียแล้ว.

บาทพระคาถาว่า วิสงฺขารคต จิตฺต ความว่า บัดนี้ จิตของเราถึง

คือเข้าไปถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว คือพระนิพพาน ด้วย

สามารถแห่งอันกระทำให้เป็นอารมณ์.

บาทพระคาถาว่า ตณฺหาน ขยมชฺฌคา ความว่า เราบรรลุ

พระอรหัต กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหาแล้ว.

เรื่องปฐมโพธิกาล จบ.

๑. หรือ จันทันเรือน กล่าวคือกิเลสที่เหลือทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 181

๙. เรื่องบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มาก [๑๒๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงปรารภ

บุตรเศรษฐีผู้มีทรัพย์มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อจริตฺวา

พฺรหฺมจริย. " เป็นต้น.

พวกนักเลงชวนเศรษฐีบุตรให้ดื่มเหล้า

ดังได้สดับมา บุตรเศรษฐีนั้น เกิดแล้วในตระกูลผู้มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ

ในกรุงพาราณสี. ครั้งนั้น มารดาบิดาของเขาคิดว่า " ในตระกูลของเรา

มีกองโภคะเป็นอันมาก. เราจักมอบกองโภคะนั้นไว้ในมือบุตรของเรา

ทำให้ใช้สอยอย่างสบาย. กิจด้วยการงานอย่างอื่นไม่ต้องมี. " ดังนี้แล้วจึง

ให้เขาศึกษาศิลปะสักว่าการฟ้อน ขับ และประโคมอย่างเดียว. ในพระนคร

นั้นแล แม้ธิดาคนหนึ่ง ก็เกิดแล้วในตระกูลอื่น ซึ่งมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ.

บิดามารดาแม้ของนางก็คิดแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วก็ให้นางศึกษาก็ได้

ศิลปะสักว่าการฟ้อนขับและประโคมอย่างเดียว. เมื่อเขาทั้งสองเจริญวัยแล้ว

ก็ได้มีการอาวาหวิวาหมงคลกัน ต่อมาภายหลัง มารดาบิดาของคนทั้งสอง

นั้นได้ถึงแก่กรรมแล้ว. ทรัพย์ ๑๖๐ โกฏิ ก็ได้รวมอยู่ในเรือนเดียวกัน

ทั้งหมด. เศรษฐีบุตร ย่อมไปสู่ที่บำรุงพระราชาวันหนึ่งถึง ๓ ครั้ง ครั้งนั้น

พวกนักเลงในพระนครนั้น คิดกันว่า " ถ้าเศรษฐีบุตรนี้ จักเป็นนักเลง

สุรา. ความผาสุกก็จักมีแก่พวกเรา; เราจะให้เธอเรียนความเป็นนักเลง

สุรา. " พวกนักเลงนั้นจึงถือเอาสุรา มัดเนื้อสำหรับแกล้ม และก้อนเกลือ

ไว้ที่ชายผ้า ถือหัวผักกาด นั่งแลดูทางของเศรษฐีบุตรนั้น ผู้มาจาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 182

ราชกุล เห็นเขากำลังเดินมา จึงดื่มสุรา เอาก้อนเกลือใส่เข้าในปาก กัดหัว

ผักกาด กล่าวว่า " จงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปีเถิด นายเศรษฐีบุตร. พวกผม

อาศัยท่าน ก็พึงสามารถในการเคี้ยวและการดื่ม. "

บุตรเศรษฐีฟังคำของพวกนักเลงนั้นแล้ว จึงถามคนใช้สนิทผู้ตาม

มาข้างหลังว่า " พวกนั้น ดื่มอะไรกัน ? "

คนใช้. น่าดื่มชนิดหนึ่ง นาย.

บุตรเศรษฐี. มีรสชาติอร่อยหรือ ?

คนใช้. นาย ธรรมดาน้ำที่ควรดื่ม เช่นกับน้ำดื่มนี้ ไม่มีในโลก

ที่เป็นอยู่นี้.

เศรษฐีบุตรหมดตัวเพราะประพฤติอบายมุข

บุตรเศรษฐีนั้นพูดว่า " เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้เราดื่มก็ควร " ดังนี้

แล้ว จึงให้นำมาแต่นิดหน่อยแล้วก็ดื่ม ต่อมาไม่นานนัก นักเลงเหล่านั้น

รู้ว่าบุตรเศรษฐีนั้นดื่ม จึงพากันแวดล้อมบุตรเศรษฐีนั้น เมื่อกาลล่วงไป

ก็ได้มีบริวารหมู่ใหญ่. บุตรเศรษฐีนั้น ให้นำสุรามาด้วยทรัพย์ ๑๐๐ บ้าง

๒๐๐ บ้าง ดื่มอยู่ตั้งกองกหาปณะไว้ในที่นั่งเป็นต้นโดยลำดับ ดื่มสุรา

กล่าวว่า " จงนำเอาดอกไม้มาด้วยกหาปณะนี้ จงนำเอาของหอมมาด้วย

กหาปณะนี้ ผู้นี้ฉลาดในการขับ ผู้นี้ฉลาดในการฟ้อน ผู้นี้ฉลาดในการ

ประโคม จงให้ทรัพย์ ๑ พันแก่ผู้นี้ จงให้ทรัพย์ ๒ พันแก่ผู้นี้. " เมื่อ

ใช้สุรุ่ยสุร่ายอย่างนั้นต่อกาลไม่นานนัก ก็ยังทรัพย์ ๘๐ โกฏิ อันเป็นของ

ตนให้หมดไปแล้ว เมื่อเหรัญญิกเรียนว่า " นาย ทรัพย์ของนายหมด

แล้ว. " จึงพูดว่า " ทรัพย์ของภรรยาของข้าไม่มีหรือ ? " เมื่อเขาเรียนว่า

" ยังมีนาย " จึงบอกว่า " ถ้ากระนั้น จงเอาทรัพย์นั้นมา, " ได้ยังทรัพย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 183

แม้นั้นให้สิ้นไปแล้วอย่างนั้น เหมือนกัน แล้วขายสมบัติของตนทั้งหมดคือ

นา สวนดอกไม้ สวนผลไม้ ยานพาหนะ เป็นต้นบ้าง โดยที่สุด

ภาชนะเครื่องใช้บ้าง เครื่องลาด ผ้าห่ม และผ้าปูนั่งบ้าง โดยลำดับ

เคี้ยวกิน.

เศรษฐีต้องเที่ยวขอทาน

ครั้นในเวลาที่เขาแก่ลง เจ้าของเรือนจึงไล่เขาออกจากเรือน ที่เขา

มีโภคะหมดแล้ว ขายเรือนของตัว (แต่ยัง) ถืออาศัยอยู่ก่อน. เขาพา

ภรรยาไปอาศัยเรือนของชนอื่นอยู่ ถือชิ้นกระเบื้องเที่ยวไปขอทาน

ปรารภจะบริโภคภัตที่เป็นเดนของชนแล้ว. ครั้งนั้น พระศาสดาทอด

พระเนตรเห็นเขายืนอยู่ที่ประตูโรงฉัน คอยรับโภชนะที่เป็นเดนอันภิกษุ

หนุ่มและสามเณรให้ในวันหนึ่ง จึงทรงแย้มพระโอษฐ์ ลำดับนั้น

พระอานนทเถระทูลถามถึงเหตุที่ทรงแย้มกะพระองค์. พระศาสดา เมื่อ

จะตรัสบอกเหตุที่ทรงแย้ม จึงว่า " อานนท์ เธอจงดูบุตรเศรษฐี

ผู้มีทรัพย์มากผู้นี้ ผลาญทรัพย์เสีย ๑๖๐ โกฏิ พาภรรยาเที่ยวขอทาน

อยู่ในนครนี้แล: ก็ถ้าบุตรเศรษฐีไม่ผลาญทรัพย์ให้หมดสิ้น จักประกอบ

การงานในปฐมวัย ก็จักได้เป็นเศรษฐีชั้นเลิศในนครนี้แล และถ้าจัก

ออกบวช, ก็จักบรรลุอรหัต. แม้ภรรยาของเขาก็จักดำรงอยู่ในอนาคามิผล.

ถ้าไม่ผลาญทรัพย์ให้หมดไป จักประกอบการงานในมัชฌิมวัย. จักได้เป็น

เศรษฐีชั้นที่ ๒. ออกบวชจักได้เป็นอนาคามี. แม้ภรรยาของเขาก็จักดำรง

อยู่ในสกทาคามิผล. ถ้าไม่ผลาญทรัพย์ให้สิ้นไป ประกอบการงานใน

ปัจฉิมวัยจักได้เป็นเศรษฐีชั้นที่ ๓ แม้ออกบวช ก็จักได้เป็นสกทาคามี,

แม้ภรรยาของเขาก็จักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. แต่เดี๋ยวนี้บุตรเศรษฐีนั่น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 184

ทั้งเสื่อมแล้วจากโภคะของคฤหัสถ์ ทั้งเสื่อมแล้วจากสามัญผล. ก็แล

ครั้นเสื่อมแล้ว จึงเป็นเหมือนนกกะเรียนในเปือกตมแห้งฉะนั้น " ดังนี้แล้ว

จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

๙. อจริตฺวา พฺรหฺมจริย อลทฺธนา โยพฺพเน ธน

ชิณฺณโกญฺจาว ณายนฺติ ขีณมจฺเฉว ปลฺลเล

อจริตฺวา พฺรหฺมจริย อลทฺธา โยพฺพเน ธน

เสนฺติ จาปาติขีณาว ปุราณานิ อนุตฺถุน.

" พวกคนเขลา ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้

ทรัพย์ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมซบเซาดังนก

กะเรียนแก่ ซบเซาอยู่ในเปือกตมที่หมดปลาฉะนั้น.

พวกคนเขลา ไม่ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่ได้ทรัพย์

ในคราวยังเป็นหนุ่มสาว ย่อมนอนทอดถอนถึงทรัพย์

เก่า เหมือนลูกศรที่ตกจากแล่งฉะนั้น.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจริตฺวา ความว่า ไม่อยู่พรหมจริยาวาส.

บทว่า โยพฺพเน ความว่า ไม่ได้แม้ทรัพย์ในเวลาที่ตนสามารถ เพื่อจะยัง

โภคะที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น หรือเพื่อตามรักษาโภคะที่เกิดขึ้นแล้ว. บทว่า

ขีณมจฺเฉ ความว่า คนเขลาเห็นปานนั้นนั่น ย่อมซบเซา ดังนกกะเรียนแก่

มีขนเปียกอันเหี้ยนเกรียน ซบเซาอยู่ในเปือกตม. ที่ชื่อว่าหมดปลาแล้ว

เพราะไม่มีน้ำ. มีคำอธิบายกล่าวไว้ดังนี้ว่า " อันความไม่มีที่อยู่ของคนเขลา

เหล่านี้ เหมือนความไม่มีน้ำในเปือกตม. ความไม่มีโภคะของคนเขลา

เหล่านี้ เหมือนความหมดปลา, ความไม่สามารถจะรวบรวมโภคะไว้ได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 185

โดยทางน้ำหรือทางบกเป็นต้นในกาลบัดนี้แล ของคนขลาเหล่านี้ เหมือน

ความไม่มีการโผขึ้นแล้วบินไปแห่งนกกะเรียนที่มีขนปีกอันเหี้ยน; เพราะ

ฉะนั้น คนเขลาเหล่านี้ จึงนอนซบเซาอยู่ในที่นี้เอง เหมือนนกกะเรียน

มีขนปีกอันเหี้ยนแล้วฉะนั้น.

บทว่า จาปาติขีณาว ความว่า หลุดจากแล่ง คือพ้นแล้วจาก

แล่ง. มีคำอธิบายกล่าวไว้ดังนี้ว่า " ลูกศรพ้นจากแล่งไปตามกำลัง

ตกแล้ว. เมื่อไม่มีใครจับมันยกขึ้น. มันก็ต้องเป็นอาหารของหมู่ปลวก

ในที่นั้นเอง ฉันใด; ถึงคนเขลาเหล่านี้ ก็ฉันนั้น ล่วง ๓ วัยไปแล้ว ก็จัก

เข้าถึงมรณะ เพราะความไม่สามารถจะยกตนขึ้นได้ในกาลบัดนี้; เพราะ-

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสนฺติ จาปาติขีณาว. "

บาทพระคาถาว่า ปุราณานิ อนุตฺถุน ความว่า ย่อมนอนทอดถอน

คือเศร้าโศกถึงการกิน การดื่ม การฟ้อน การขับ และการประโคม

เป็นต้น ที่คนทำแล้วในกาลก่อนว่า " พวกเรา กินแล้วอย่างนี้, ดื่มแล้ว

อย่านี้."

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องบุตรเศรษฐีมีทรัพย์มาก จบ.

ชราวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๑ จบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 186

คาถาธรรมบท

อัตวรรคที่ ๑๒

ว่าด้วยเรื่องตน

[๒๒] ๑. ถ้าบุคคลทราบตนว่าเป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น

ให้เป็นอันรักษาด้วยดี บัณฑิตพึงประคับประคอง(ตน)

ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง.

๒. บัณฑิตพึงตั้งตนนั่นแล ในคุณอันสมควร

ก่อนพึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง จะไม่พึงเศร้าหมอง.

๓. ถ้าผู้อื่นพร่ำสอนผู้อื่นอยู่ฉันใด พึงทำตาม

ฉันนั้น บุคคลผู้มีตนฝึกดีแล้วหนอ (จึง) ควรฝึก

(ผู้อื่น) เพราะว่าได้ยินว่า ตนฝึกฝนได้โดยยาก.

๔. ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บุคคลอื่นใครเล่าพึง

เป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคลมีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้

ที่พึ่งที่บุคคลได้โดยยาก.

๕. บาปอันตนทำไว้เอง เกิดในตน มีตนเป็น

แดนเกิด ย่อมย่ำยีบุคคลผู้มีปัญญาทราม ดุจเพชร

ย่ำยีแก้วมณี อันเกิดแต่หินฉะนั้น.

๖. ความเป็นผู้ทุศีลล่วงส่วน รวบรัด (อัตภาพ)

ของบุคคลใด ดุจเถาย่านทราย รัดรึงต้นสาละฉะนั้น

บุคคลนั้น ย่อมทำตนอย่างเดียวกันกับที่โจรหัวโจก

ปรารถนาทำให้ตนฉะนั้น.

๑. วรรคนี้มีอรรถกถา ๑๐ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 187

๗. กรรมอันไม่ดี และไม่เป็นประโยชน์แก่ตน

คนทำง่าย กรรมใดแลเป็นประโยชน์แก่ตน และดี

กรรมนั้นแลทำยากอย่างยิ่ง.

๘. บุคคลใดปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า

คัดค้านคำสั่งสอนของพระอริยบุคคลผู้อรหันต์ มีปกติ

เป็นอยู่โดยธรรม บุคคลนั้นย่อมเกิดมาเพื่อมาฆ่าตน

เหมือนขุยแห่งไม้ไผ่.

๙. บาปอันผู้ใดทำแล้วด้วยตนเอง ผู้นั้นย่อม

เศร้าหมองด้วยตน บาปอันผู้ใดไม่ทำด้วยตน ผู้นั้น

ย่อมบริสุทธิ์ด้วยตนเอง ความบริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์เป็น

ของเฉพาะตน คนอื่นทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้.

๑๐. บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตนให้เสื่อม

เสียเพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์

ของตนแล้ว พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน.

จบอัตตวรรคที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 188

๑๒. อัตตวรรควรรณนา

๑. เรื่องโพธิราชกุมาร [๑๒๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในเภสกฬาวัน ทรงปรารภโพธิราชกุมาร

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตานญฺเจ " เป็นต้น.

โพธิราชกุมารสร้างปราสาทแล้วคิดฆ่านายช่าง

ดังได้สดับมา โพธิราชกุมาร รับสั่งให้สร้างปราสาท ชื่อโกกนท

มีรูปทรงไม่เหมือนปราสาทอื่น ๆ บนพื้นแผ่นดิน ปานดังลอยอยู่ในอากาศ

แล้ว ตรัสถามนายช่างว่า " ปราสาทที่มีรูปทรงอย่างนี้ เธอเคยสร้างในที่

อื่นบ้างแล้วหรือ ? หรือว่านี้เป็นศิลปะครั้งแรกของเธอทีเดียว " เมื่อเขา

ทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ นี้เป็นศิลปะครั้งแรกทีเดียว " ท้าวเธอทรง

ดำริว่า " ถ้านายช่างผู้นี้จักสร้างปราสาทมีรูปทรงอย่างนี้แม้แก่คนอื่นไซร้,

ปราสาทนี้ก็จักไม่น่าอัศจรรย์; การที่เราฆ่านายช่างนี้เสีย ตัดมือและเท้า

ของเขา หรือควักนัยน์ตาทั้งสองเสียย่อมควร; เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจะสร้าง

ปราสาทแก่คนอื่นไม่ได้ ท้าวเธอตรัสบอกความนั้น แก่มาณพน้อยบุตร

ของสัญชีวก ผู้เป็นสหายรักของตน.

นายช่างทำนกครุฑขี่หนีภัย

มาณพน้อยนั้น คิดว่า " พระราชกุมารพระองค์นี้ จักผลาญนายช่าง

ให้ฉิบหายอย่างไม่ต้องสงสัย, คนผู้มีศิลปะเป็นผู้หาค่ามิได้, เมื่อเรายังมีอยู่

เขาจงอย่าฉิบหาย. เราจักให้สัญญาแก่เขา." มาณพน้อยนั้นเข้าไปหาเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 189

แล้ว ถามว่า " การงานของท่านที่ปราสาทสำเร็จแล้วหรือยัง ? " เมื่อเขา

บอกว่า " สำเร็จแล้ว. " จึงกล่าวว่า " พระราชกุมารมีพระประสงค์

จะผลาญท่านให้ฉิบหาย. เพราะฉะนั้น ท่านพึงรักษาตน (ให้ดี). "

นายช่างพูดว่า " นาย ท่านบอก ( ความนั้น ) แก่ข้าพเจ้า ทำกรรม

อันงามแล้ว. ข้าพเจ้าจักทราบกิจที่ควรทำในเรื่องนี้ ดังนี้แล้ว อัน

พระราชกุมารตรัสถามว่า " สหาย การงานของท่านที่ปราสาทของเรา

สำเร็จแล้วหรือ ? " จึงทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ การงาน (ที่ปราสาท)

ยังไม่สำเร็จก่อน. ยังเหลืออีกมาก. "

ราชกุมาร. ชื่อว่าการงานอะไร ? ยังเหลือ.

นายช่าง. ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์จะทูล (ให้ทรงทราบ)

ภายหลัง. ขอพระองค์จงตรัสสั่งให้ใคร ๆ ขนไม้มาก่อนเถิด.

ราชกุมาร. จะให้ขนไม้ชนิดไหนมาเล่า ?

นายช่าง. ไม้แห้งหาแก่นมิได้ พระเจ้าข้า.

ท้าวเธอได้รับสั่งให้ขนมาให้แล้ว. ลำดับนั้น นายช่างทูลพระราช-

กุมารนั้นว่า " ข้าแต่สมมติเทพ จำเดิมแต่นี้ พระองค์ไม่พึงเสด็จมายังสำนัก

ของข้าพระองค์. เพราะเมื่อข้าพระองค์ทำงานที่ละเอียดอยู่ เมื่อมีการ

สนทนากับคนอื่น ความฟุ้งซ่านก็จะมี. อนึ่ง เวลารับประทานอาหาร

ภรรยาของข้าพระองค์เท่านั้น จักนำอาหารมา. " พระราชกุมารทรงรับว่า

" ดีแล้ว. " ฝ่ายนายช่างนั่งถากไม้เหล่านั้นอยู่ในห้อง ๆ หนึ่ง ทำเป็นนกครุฑ

ควรที่บุตรภรรยาของตนนั่งภายในได้ ในเวลารับประทานอาหาร สั่ง

ภรรยาว่า " เธอจงขายของทุกสิ่งอันมีอยู่ในเรือนแล้ว รับเอาเงินและ

ทองไว้."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 190

นายช่างพาครอบครัวหนี

ฝ่ายพระราชกุมาร รับสั่งให้ล้อมเรือนไว้ ทรงจัดตั้งการรักษาเพื่อ

ประโยชน์จะไม่ให้นายช่างออกไปได้. แม้นายช่าง ในเวลาที่นกสำเร็จ

แล้ว สั่งภรรยาว่า " วันนี้ หล่อนพึงพาเด็ก แม้ทั้งหมดมา " รับประทาน

อาหารเช้าเสร็จแล้ว ให้บุตรและภรรยานั่งในท้องนก ออกทางหน้าต่าง

หลบหนีไปแล้ว. เมื่อพวกอารักขาเหล่านั้น พิไรรำพันทูลว่า " ขอเดชะ

สมมติเทพนายช่างหลบหนีไปได้ " ดังนี้อยู่นั่นแหละ นายช่างนั้นก็ไปลง

ที่หิมวันตประเทศ สร้างนครขึ้นนครหนึ่ง ได้เป็นพระราชา ทรงพระนาม

ว่า กัฏฐวาหนะ ในนครนั้น.

พระศาสดาไม่ทรงเหยียบผ้าที่ลาดไว้

ฝ่ายพระราชกุมาร ทรงดำริว่า " เราจะทำการฉลองปราสาท จึง

ตรัสสั่งให้นิมนต์พระศาสดา ทรงทำการประพรมในปราสาทด้วยของหอม

ที่ผสมกัน ๔ อย่าง ทรงลาดแผ่นผ้าน้อย ตั้งแต่ธรณีแรก. ได้ยินว่าท้าว

เธอไม่มีพระโอรส, เพราะฉะนั้น จึงทรงดำริว่า " ถ้าเราจักได้บุตรหรือ

ธิดาไซร้. พระศาสดาจักทรงเหยียบแผ่นผ้าน้อยนี้ แล้วจึงทรงลาด. ท้าว

เธอ เมื่อพระศาสดาเสด็จมา ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์

แล้ว รับบาตร กราบทูลว่า " ขอเชิญพระองค์เสด็จเข้าไปเถิด พระเจ้าข้า "

พระศาสดาไม่เสด็จเข้าไป. ท้าวเธอทรงอ้อนวอนถึง ๒ - ๓ ครั้ง พระ-

ศาสดาก็ยังไม่เสด็จเข้าไป ทรงแลดูพระอานนท์.

พระเถระทราบความที่ไม่ทรงเหยียบผ้าทั้งหลาย ด้วยสัญญาที่พระองค์

ทรงแลดูนั่นเอง จึงทูลให้พระราชกุมารเก็บผ้าทั้งหลายเสีย ด้วยคำว่า

๑. ผู้มีท่อนไม้เป็นพาหนะ หรือผู้มีพาหนะอันทำด้วยท่อนไม้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 191

" พระราชกุมาร ขอพระองค์ทรงเก็บผ้าทั้งหลายเสียเถิด. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจักไม่ทรงเหยียบแผ่นผ้า, (เพราะ) พระตถาคตทรงเล็งดูหมู่ชน

ผู้เกิดภายหลัง."

พระศาสดาตรัสบอกเหตุที่ไม่ทรงเยียบผ้า

ท้าวเธอทรงเก็บผ้าทั้งหลายแล้ว ทูลอาราธนาพระศาสดาให้เสด็จ

เข้าไปภายใน ทรงเลี้ยงดูให้อิ่มหนำด้วยยาคูและของเคี้ยว แล้วนั่งอยู่ ณ

ส่วนข้างหนึ่ง ถวายบังคมแล้วทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉัน

เป็นอุปัฏฐากของพระองค์ ถึง (พระองค์) ว่าเป็นที่พึ่งถึง ๓ ครั้งแล้ว

(คือ) นัยว่า ข้าพระองค์อยู่ในท้อง ถึง (พระองค์) ว่าเป็นที่พึ่งครั้งที่ ๑,

แม้ครั้งที่ ๒ ในเวลาที่หม่อมฉันเป็นเด็กรุ่นหนุ่ม, แม้ครั้งที่ ๓ ในกาล

ที่หม่อมฉัน ถึงความเป็นผู้รู้ดีรู้ชั่ว; พระองค์ไม่ทรงเหยียบแผ่นผ้าน้อย

ของหม่อมฉันนั้น เพราะเหตุอะไร ? "

พระศาสดา. ราชกุมาร ก็พระองค์ทรงดำริอย่างไร ? จึงลาดแผ่น

ผ้าน้อย.

ราชกุมาร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันคิดดังนี้ว่า " ถ้าเรา

จักได้บุตรหรือธิดาไซร้. พระศาสดาจักทรงเหยียบแผ่นผ้าน้อยของเรา."

แล้วจึงลาดแผ่นผ้าน้อย.

พระศาสดา. ราชกุมาร เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงไม่เหยียบ.

ราชกุมาร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็หม่อมฉันจักไม่ได้บุตรหรือ

ธิดาเลยเทียวหรือ ?

พระศาสดา. อย่างนั้น ราชกุมาร.

ราชกุมาร. เพาระเหตุไร ? พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 192

พระศาสดา. เพราะความที่พระองค์กับพระชายา เป็นผู้ถึงความ

ประมาทแล้วในอัตภาพก่อน.

ราชกุมาร. ในกาลไหน ? พระเจ้าข้า.

บุรพกรรมของโพธิราชกุมาร

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงนำอดีตนิทาน มาแสดงแด่พระราชกุมาร

นั้น:-

ดังได้สดับมา ในอดีตกาล มนุษย์หลายร้อยคนแล่นเรือลำใหญ่

ไปสู่มหาสมุทร. เรืออับปางในกลางสมุทร สองสามีภรรยาคว้าได้เเผ่น

กระดานแผ่นหนึ่ง (อาศัย) ว่ายเข้าไปสู่เกาะน้อยอันมีในระหว่าง มนุษย์

ที่เหลือทั้งหมดตายในมหาสมุทรนั้นนั่นแล. ก็หมู่นกเป็นอันมากอย่ที่เกาะ

นั้นแล เขาทั้งสองไม่เห็นสิ่งอื่นที่ควรกินได้ ถูกความหิวครอบงำแล้ว

จึงเผาฟองนกทั้งหลายที่ถ่านเพลิงแล้วเคี้ยวกิน. เมื่อฟองนกเหล่านั้นไม่

เพียงพอ ก็จับลูกนกทั้งหลายปิ้งกิน. เมื่อลูกนกเหล่านั้นไม่เพียงพอ

ก็จับนกทั้งหลาย (ปิ้ง) กิน. ในปฐมวัยก็ดี มัชฌิมวัยก็ดี ปัจฉิมวัยก็ดี

ได้เคี้ยวกินอย่างนี้แหละ. แม้ในวันหนึ่ง ก็มิได้ถึงความไม่ประมาท อนึ่ง

บรรดาชน ๒ คนนั้น เเม้คนหนึ่งไม่ได้ถึงความไม่ประมาท.

พึงรักษาตนไว้ให้ดีในวัยทั้งสาม

พระศาสดา ครั้นทรงแสดงบุรพกรรมนี้ ของโพธิราชกุมารนั้นแล้ว

ตรัสว่า " ราชกุมาร ก็ในกาลนั้น ถ้าพระองค์กับภรรยาจักถึงความไม่

ประมาท แม้ในวัยหนึ่งไซร้ บุตรหรือธิดาพึงเกิดขึ้นแม้ในวัยหนึ่ง; ก็ถ้า

บรรดาท่านทั้งสองแม้คนหนึ่ง จักได้เป็นผู้ไม่ประมาทแล้วไซร้. บุตรหรือ

ธิดา จักอาศัยผู้ไม่ประมาทนั้นเกิดขึ้น, ราชกุมาร ก็บุคคลเมื่อสำคัญตน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 193

อยู่ว่า เป็นที่รัก พึงไม่ประมาท รักษาตนแม้ในวัยทั้งสาม เมื่อไม่อาจ

(รักษา) ได้อย่างนั้น พึงรักษาให้ได้แม้ในวัยหนึ่ง " ดังนี้แล้ว จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

๑. อตฺตานญฺเจ ปิย ชญฺญา รกฺเขยฺย น สุรกฺขิต

ติณฺณ อญฺญตร ยาม ปฏิชคฺเคยฺย ปณฺฑิโต.

" ถ้าบุคคลทราบตนว่า เป็นที่รัก พึงรักษาตนนั้น

ให้เป็นอันรักษาด้วยดี, บัณฑิตพึงประคับประคอง

(ตน) ตลอดยามทั้งสาม ยามใดยามหนึ่ง."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาม นี้ พระศาสดาทรงแสดงทำวัยทั้ง

๓ วัยด้วยหนึ่งให้ชื่อว่า ยาม เพราะความที่พระองค์ทรงเป็นใหญ่ในธรรม

และเพราะความที่พระองค์ทรงฉลาดในเทศนาวิธี เพราะเหตุนั้น ในพระ-

คาถานี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความอย่างนั้นว่า " ถ้าบุคคลทราบตนว่า เป็น

ที่รัก. พึงรักษาตนนั้น ให้เป็นอันรักษาดีแล้ว; คือพึงรักษาตนนั้น โดย

ประการที่ตนเป็นอันรักษาดีแล้ว."

บรรดาชนผู้รักษาตนเหล่านั้น ถ้าผู้เป็นคฤหัสถ์คิดว่า ' จักรักษาตน '

ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่ห้องที่เขาปิดไว้ให้เรียบร้อย เป็นผู้มีอารักขาสมบูรณ์

อยู่บนพื้นปราสาทชั้นบนก็ดี. ผู้เป็นบรรพชิต อยู่ในถ้ำอันปิดเรียบร้อย

มีประตูและหน้าต่างอันปิดแล้วก็ดี ยังไม่ชื่อว่ารักษาตนเลย. แต่ผู้เป็น

คฤหัสถ์ทำบุญทั้งหลายมีทาน ศีล เป็นต้นตามกำลังอยู่. หรือผู้เป็นบรรพชิต

ถึงความขวนขวายในวัตร ปฏิวัตร ปริยัติ และการทำไว้ในใจอยู่ ชื่อว่า

ย่อมรักษาตน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 194

บุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อไม่อาจ (ทำ) อย่างนั้นได้ในวัย (ต้อง)

ประคับประคองตนไว้ แม้ในวัยใดวัยหนึ่งก็ได้เหมือนกัน. ก็ถ้าผู้เป็น

คฤหัสถ์ ไม่อาจทำกุศลได้ในปฐมวัย เพราะความเป็นผู้หมกมุ่นอยู่ในการ

เล่นไซร้. ในมัชฌิมวัย พึงเป็นผู้ไม่ประมาทบำเพ็ญกุศล. ถ้าในมัชฌิมวัย

ยังต้องเลี้ยงบุตรและภรรยา ไม่อาจบำเพ็ญกุศลได้ไซร้. ในปัจฉิมวัย พึง

บำเพ็ญกุศลให้ได้. ด้วยอาการแม้อย่างนี้ ตนต้องเป็นอันเขาประคับ

ประคองแล้วทีเดียว. แต่เมื่อเขาไม่ทำอย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่า ไม่เป็นที่รัก.

ผู้นั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้น ให้มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าทีเดียว.

ก็ถ้าว่า บรรพชิต ในปฐมวัยทำการสาธยายอยู่ ทรงจำ บอก ทำ

วัตรและปฏิวัตรอยู่ เชื่อว่าถึงความประมาท ในมัชฌิมวัย พึงเป็นผู้ไม่

ประมาท บำเพ็ญสมณธรรม.

อนึ่ง ถ้ายังสอบถามอรรถกถาและวินิจฉัย และเหตุแห่งพระปริยัติ

อันตนเรียนแล้วในปฐมวัยอยู่ ชื่อว่าถึงความประมาท ในมัชฌิมวัย. ใน

ปัจฉิมวัย พึงเป็นผู้ไม่ประมาทบำเพ็ญสมณธรรม. ด้วยอาการแม้อย่างนี้

ตนย่อมเป็นอันบรรพชิตนั้น ประคับประคองแล้วทีเดียว. แต่เมื่อไม่ทำ

อย่างนั้น ตนย่อมชื่อว่า ไม่เป็นที่รัก. บรรพชิตนั้น (เท่ากับ) ทำตนนั้น

ให้เดือดร้อน ด้วยการตามเดือดร้อนในภายหลังแท้.

ในกาลจบเทศนา โพธิราชกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว พระ-

ธรรมเทศนาได้สำเร็จประโยชน์ แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องโพธิราชกุมาร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 195

๒. เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร [๑๒๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอุป-

นันทศากยบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตานเมว ปม " เป็นต้น.

พระเถระออกอุบายหาลาภ

ดังได้สดับมา พระเถระนั้นฉลาดกล่าวธรรมกถา. ภิกษุเป็นอันมาก

ฟังธรรมกถาอันปฏิสังยุตด้วยความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยเป็นต้น ของ

ท่านแล้ว จึงบูชาท่านด้วยจีวรทั้งหลาย สมาทานธุดงค์. พระอุปนันทะนั้น

รูปเดียว รับเอาบริขารที่ภิกษุเหล่านั้นสละแล้ว.

เมื่อภายในกาลฝนหนึ่งใกล้เข้ามา พระอุปนันทะนั้นได้ไปสู่ชนบท

แล้ว. ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรในวิหารแห่งหนึ่ง กล่าวกะท่าน

ด้วยความรักในธรรมกถึกว่า " ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงเข้าพรรษาในที่นี้

เถิด. " พระอุปนันทะถามว่า " ในวิหารนี้ ได้ผ้าจำนำพรรษากี่ผืน ? "

เมื่อภิกษุเหล่านั้น ตอบว่า " ได้ผ้าสาฎกองค์ละผืน " จึงวางรองเท้าไว้ใน

วิหารนั้น ได้ไปวิหารอื่น, ถึงวิหารที่ ๒ แล้วถามว่า " ในวิหารนี้ ภิกษุ

ทั้งหลายได้อะไร ? " เมื่อพวกภิกษุตอบว่า " ได้ผ้าสาฎก ๒ ผืน " จึงวาง

ไม้เท้าไว้. ถึงวิหารที่ ๓ ถามว่า " ในวิหารนี้ ภิกษุทั้งหลายได้อะไร "

เมื่อพวกภิกษุตอบว่า " ได้ผ้าสาฎก ๓ ผืน. " จึงวางลักจั่นน้ำไว้; ถึง

วิหารที่ ๔ ถามว่า " ในวิหารนี้ ภิกษุทั้งหลายได้อะไร ? " เมื่อพวกภิกษุ

ตอบว่า " ได้ผ้าสาฎก ๔ ผืน. " จึงกล่าวว่า " ดีละ เราจักอยู่ในที่นี้ "

ดังนี้แล้ว เข้าพรรษาในวิหารนั้น กล่าวธรรมกถาแก่คฤหัสถ์เเละภิกษุ

ทั้งหลายนั่นแล. คฤหัสถ์และภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น บูชาพระอุปนันทะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 196

นั้นด้วยผ้าและจีวรเป็นอันมากทีเดียว. พระอุปนันทะนั้นออกพรรษาแล้ว

ส่งข่าวไปในวิหารแม้นอกนี้ว่า " เราควรได้ผ้าจำนำพรรษา เพราะเราวาง

บริขารไว้, ภิกษุทั้งหลายจงส่งผ้าจำนำพรรษาให้เรา " ให้นำผ้าจำนำ

พรรษาทั้งหมดมาแล้ว บรรทุกยานน้อยขับไป.

พระอุปนันทะตัดสินข้อพิพากษา

ครั้งนั้นภิกษุหนุ่ม ๒ รูปในวิหารแห่งหนึ่ง ได้ผ้าสาฎก ๒ ผืน

และผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ไม่อาจจะแบ่งกันได้ว่า " ผ้าสาฎกจงเป็นของท่าน,

ผ้ากัมพลเป็นของเรา " นั่งทะเลาะกันอยู่ใกล้หนทาง. ภิกษุหนุ่ม ๒ รูปนั้น

เห็นพระเถระนั้นเดินมา จึงกล่าวว่า " ขอท่านจงช่วยแบ่งให้แก่พวกผม

เถิด ขอรับ. "

เถระ. พวกคุณจงแบ่งกันเองเถิด.

ภิกษุ. พวกผมไม่สามารถ ขอรับ ขอท่านจงแบ่งให้พวกผมเถิด.

เถระ. พวกคุณจักตั้งอยู่ในคำของเราหรือ ?

ภิกษุ. ขอรับ พวกผมจักตั้งอยู่.

พระเถระนั้นกล่าวว่า " ถ้ากระนั้น ดีละ " ให้ผ้าสาฎก ๒ ผืนแก่

ภิกษุหนุ่ม ๒ รูปนั้นแล้ว กล่าวว่า " ผ้ากัมพลผืนนี้ จงเป็นผ้าห่มของเรา

ผู้กล่าวธรรมกถา " ดังนี้แล้ว ก็ถือเอาผ้ากัมพลมีค่ามากหลีกไป. พวก

ภิกษุหนุ่มเป็นผู้เดือดร้อน ไปสู่สำนักพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้น

แล้ว.

บุรพกรรมของพระอุปนันทะ

พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย อุปนันทะนี้ถือเอาของ ๆ พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 197

เธอ กระทำให้พวกเธอเดือดร้อนในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน

ก็ได้ทำแล้วเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า :-

ก็ในอดีตกาล นาก๒ ตัว คือนากเที่ยวหากินตามริมฝั่ง ๑ นาก

เที่ยวหากินทางน้ำลึก ๑ ได้ปลาตะเพียนตัวใหญ่ ถึงความทะเลาะกันว่า

" ศีรษะจงเป็นของเรา. หางจงเป็นของท่าน. " ไม่อาจจะแบ่งกันได้ เห็น

สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่ง จึงกล่าวว่า " ลุง ขอท่านจงช่วยแบ่งปลานี้ ให้แก่

พวกข้าพเจ้า. "

สุนัขจิ้งจอก. เราอันพระราชาตั้งไว้ในตำแหน่งผู้พิพากษา, เรานั่ง

ในที่วินิจฉัยนั้นนานแล้ว จึงมาเสียเพื่อต้องการเดินเที่ยวเล่น. เดี๋ยวนี้

โอกาสของเราไม่มี.

นาก. ลุง ท่านอย่าทำอย่างนี้เลย. โปรดช่วยแบ่งให้พวกข้าพเจ้า

เถิด.

สุนัขจิ้งจอก. พวกเจ้าจักตั้งอยู่ในคำของเราหรือ ?

นาก. พวกข้าพเจ้าจักตั้งอยู่ ลุง.

สุนัขจิ้งจอกนั้น กล่าวว่า " ถ้าเช่นนั้น ดีละ " จึงได้ตัดทำหัวไว้

ข้างหนึ่ง. หางไว้ข้างหนึ่ง; ก็แลครั้นทำแล้ว จึงกล่าวว่า " พ่อทั้งสอง

บรรดาพวกเจ้าทั้งสอง ตัวใดเที่ยวไปริมฝั่ง ตัวนั้นจึงถือทางหาง. ตัวใด

เที่ยวไปในน้ำลึก. ศีรษะจงเป็นของตัวนั้น. ส่วนท่อนกลางนี้จักเป็นของ

เรา ผู้ตั้งอยู่ในวินิจฉัยธรรม " เมื่อจะให้นากเหล่านั้นยินยอม จึงกล่าว

คาถานี้ว่า:-

๑ . ชงฺฆวิหาร ศัพท์นี้ แปลว่า เดินเที่ยวเล่นหรือพักแข้ง. ๒. ขุ. ชา. สัตตก. ๒๗/๒๑๖.

อรรถกถา. ๕/๑๓๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 198

" หางเป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินตามริมฝั่ง, ศีรษะ

เป็นของนาก ผู้เที่ยวหากินในน้ำลึก, ส่วนท่อน

กลางนี้ จักเป็นของเรา ผู้ตั้งอยู่ในธรรม."

ดังนี้แล้ว คาบเอาท่อนกลางหลีกไป. แม้นากทั้งสองนั้นเดือดร้อน ได้

ยืนแลดูสุนัขจิ้งจอกนั้นแล้ว.

พระศาสดา ครั้นทรงแสดงเรื่องอดีตนี้แล้ว ตรัสว่า แม้ในอดีตกาล

อุปนันทะนี้ได้กระทำพวกเธอให้เดือดร้อนอย่างนี้เหมือนกัน " ให้ภิกษุเหล่า

นั้นยินยอมแล้ว เมื่อจะทรงติเตียนพระอุปนันทะ จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย

ธรรมดาผู้จะสั่งสอนผู้อื่น พึงให้ตนตั้งอยู่ในคุณอันสมควรเสียก่อนทีเดียว "

ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๒. อตฺตานเมว ปม ปฏิรูเป นิเวสเย

อถญฺมนุสาเสยฺย น กิลิสฺเสยฺย ปณฺฑิโต.

" บัณฑิตพึงตั้งตนนั่นแล ในคุณอันสมควรก่อน.

พึงสั่งสอนผู้อื่นในภายหลัง. จะไม่พึงเศร้าหมอง. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปฏิรูเป นิเวสเย ได้แก่ พึง

ยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณอันสมควร. พระศาสดาตรัสคำนี้ว่า " บุคคลใด

ประสงค์จะสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณมีความปรารถนาน้อยเป็นต้น หรือด้วย

ปฏิปทาของอริยวงศ์เป็นต้น. บุคคลนั้น พึงยังตนนั่นแลให้ตั้งอยู่ในคุณ

นั้นก่อน; ครั้นตั้งตนไว้อย่างนั้นแล้ว พึงสั่งสอนผู้อื่น ด้วยคุณนั้นใน

ภายหลัง. ด้วยว่าบุคคล เมื่อไม่ยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณนั้น สอนผู้อื่นอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 199

เดียวเท่านั้น ได้ความนินทาจากผู้อื่นแล้ว ชื่อว่าย่อมเศร้าหมอง. บุคคล

เมื่อยังตนให้ตั้งอยู่ในคุณนั้นแล้ว สั่งสอนผู้อื่นอยู่ ย่อมได้รับความสรร-

เสริญจากผู้อื่น; เพราะฉะนั้นชื่อว่าย่อมไม่เศร้าหมอง. บัณฑิตเมื่อทำอยู่

อย่างนี้ ชื่อว่าไม่พึงเศร้าหมอง.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุสองรูปนั้น ดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.

เทศนาได้เป็นไปกับด้วยประโยชน์แม้เเก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระอุปนันทศากยบุตร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 200

๓. เรื่องพระปธานิกติสสเถระ [๑๒๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระปธานิก-

ติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตานญฺเจ " เป็นต้น.

พระปธานิกติสสเถระดีแต่สอนคนอื่น ตนไม่ทำ

ดังได้สดับมา พระเถระนั้นเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระ-

ศาสดาแล้ว พวกภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปไปจำพรรษาในป่า กล่าวสอนว่า

"ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านเรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักของพระพุทธเจ้า

ผู้ทรงพระชนม์อยู่, จงเป็นผู้ไม่ประมาท ทำสมณธรรมเถิด" ดังนี้แล้ว

ตนเองก็ไปนอนหลับ. ภิกษุเหล่านั้นจงกรมในปฐมยามแล้ว เข้าไปสู่วิหาร

ในมัชฌิมยาม. พระเถระนั้นไปสู่สำนักของภิกษุเหล่านั้น ในเวลาตนนอน

หลับแล้วตื่นขึ้น กล่าวว่า "พวกท่านมาด้วยหวังว่า 'จักหลับนอน' ดังนี้

หรือ ? จงรีบออกไปทำสมณธรรมเถิด" ดังนี้แล้ว ตนเองก็ไปนอน

เหมือนอย่างนั้นนั่นแล. พวกภิกษุนอกนี้ จงกรมในภายนอกในมัชฌิมยาม

แล้ว เข้าไปสู่วิหารในปัจฉิมยาม. พระเถระนั้น ตื่นขึ้นแม้อีกแล้ว ไปสู่

สำนักของภิกษุเหล่านั้น นำภิกษุเหล่านั้นออกจากวิหารแล้ว ตนเองก็ไป

นอนหลับเสียอีก. เมื่อพระเถระนั้นกระทำอยู่อย่างนั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์.

ภิกษุเหล่านั้นไม่สามารถจะทำการสาธยายหรือทำพระกัมมัฏฐานไว้ในใจได้.

จึงได้ถึงความฟุ้งซ่านแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นปรึกษากันว่า " อาจารย์ของพวก

เรา ปรารภความเพียรเหลือเกิน, พวกเราจักคอยจับท่าน " เมื่อคอยจับอยู่

เห็นกิริยาของพระเถระนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเรา

ฉิบหายแล้ว, อาจารย์ของพวกเราย่อมร้องเปล่า ๆ " บรรดาภิกษุเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 201

ลำบากอยู่เหลือเกิน ภิกษุแม้รูปหนึ่ง ไม่สามารถจะยังคุณวิเศษให้บังเกิด

ได้. ภิกษุเหล่านั้นออกพรรษาแล้ว ไปสู่สำนักของพระศาสดา มีปฏิสันถาร

อันพระศาสดาทรงทำแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเป็นผู้

ไม่ประมาท ทำสมณธรรมหรือ ? จึงกราบทูลความนั้น.

เรื่องไก่ขันไม่เป็นเวลา

พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ได้ทำอันตรายแก่พวก

เธอไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน ภิกษุนั้นก็ได้ทำอันตรายแก่

พวกเธอเหมือนกัน " อันภิกษุเหล่านั้น ทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงยังอกาล-

รวกุกกุฏชาดก ให้พิสดาร (ความย่อ) ว่า :-

" ไก่ตัวนี้ เติบโตแล้วในสำนักของผู้มิใช่มารดา

และบิดา อยู่ในสกุลแห่งผู้มิใช่อาจารย์ จึงไม่รู้จัก

กาลหรือมิใช่กาล "

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย อันธรรมดาภิกษุ เมื่อกล่าวสอนคนอื่น

พึงทำตนให้เป็นอันทรมานดีแล้ว, เพราะบุคคล เมื่อกล่าวสอนอย่างนั้น

เป็นผู้ฝึกดีแล้ว ชื่อว่าย่อมฝึกได้ " แล้วตรัสพระคาถานี้ :-

๓. อตฺตานญฺเจ ตถา กยิรา ยถญฺมนุสาสติ

สุทนฺโต วต ทเมถ อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม.

" ถ้าบุคคลพร่ำสอนผู้อื่นอยู่ฉันใด, พึงทำตน

ฉันนั้น, บุคคลผู้มีตนฝึกดีแล้วหนอ (จึง) ควรฝึก

(ผู้อื่น) เพราะว่าได้ยินว่า ตนฝึกได้โดยยาก."

๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๘. อรรถกถา. ๒/๓๐๒. อกาลราวิชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 202

แก้อรรถ

พึงทราบความแห่งพระคาถานี้ว่า :-

"ภิกษุกล่าวแล้วว่า ่พึงจงกรมในปฐมยามเป็นต้น ' ชื่อว่าย่อมกล่าว

สอนผู้อื่นฉันใด ตนเองก็ฉันนั้น อธิษฐานกิจมีจงกรมเป็นต้น ชื่อว่าพึง

กระทำตนเหมือนอย่างสอนผู้อื่น. เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีตนฝึก

ดีแล้วหนอ ควรฝึก(บุคคลอื่น). "

บาทพระคาถาว่า สุทนฺโต วต ทเมถ ความว่า ภิกษุย่อมพร่ำสอน

ผู้อื่น ด้วยคุณอันใด. เป็นผู้ฝึกฝนดีแล้วด้วยตน ด้วยคุณอันนั้น ควรฝึก

(ผู้อื่น).

บาทพระคาถาว่า อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม ความว่า เพราะว่าชื่อว่า

ตนนี้ เป็นสภาพอันบุคคลฝึกฝนได้ยาก. เพราะเหตุนั้น ตนนั้นย่อมเป็น

สภาพอันบุคคลฝึกฝนดีแล้ว ด้วยประการใด ควรฝึกฝนตนด้วยประการ

นั้น.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุแม้ประมาณ ๕๐๐ รูปนั้น บรรลุพระ-

อรหัตผลแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระปธานิติสสเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 203

๔. เรื่องมารดาของพระกุมารกัสสปเถระ [๑๓๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภมารดาของ

พระกุมารกัสสปเถระ. ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตา หิ อตฺตโน

นาโถ " เป็นต้น.

มารดาของพระกุมารกัสสปบวช

ดังได้สดับมา มารดาของพระเถระนั้น เป็นธิดาของเศรษฐีในกรุง

ราชคฤห์ ขอบรรพชาแล้วจำเดิมแต่เวลาตนถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา, แม้

อ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่ได้บรรพชา แต่สำนักของมารดาและบิดา เจริญ

วัยแล้ว ไปสู่ตระกูลสามี เป็นผู้มีสามีดังเทวดา อยู่ครองเรือนแล้ว. ครั้น

ต่อมาไม่นานนัก สัตว์เกิดในครรภ์ ตั้งขึ้นแล้วในท้องของนาง. แต่นางไม่

ทราบความที่ครรภ์นั้นตั้งขึ้นเลย ยังสามีให้ยินดีแล้ว จึงขอบรรพชา.

ครั้งนั้น สามีนำนางไปสู่สำนักของนางภิกษุณี ด้วยสักการะใหญ่ไม่ทราบ

อยู่ ให้บวชในสำนักของนางภิกษุณี ที่เป็นฝักฝ่ายแห่งพระเทวทัตแล้ว.

โดยสมัยอื่น นางถูกนางภิกษุณีเหล่านั้น ทราบความที่นางมีครรภ์

แล้ว ถามว่า " นี่อะไรกัน ? " จึงตอบว่า " แม่เจ้า ดิฉันไม่ทราบว่า

'นี่เป็นอย่างไร ? ' แต่ศีลของดิฉันไม่ด่างพร้อยเลย. " พวกนางภิกษุณี

นำนางไปสู่สำนักของพระเทวทัตแล้ว ถามว่า " นางภิกษุณีนี้บวชด้วย

ศรัทธา. พวกดิฉันไม่ทราบกาลแห่งครรภ์ของนางนี้ตั้งขึ้น; บัดนี้ พวก

ดิฉันจะทำอย่างไร ? " พระเทวทัต คิดเหตุเพียงเท่านี้ว่า " ความเสีย

ชื่อเสียง จงอย่าเกิดขึ้นแก่พวกนางภิกษุณีผู้ทำตามโอวาทของเรา " จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 204

กล่าวว่า " พวกเธอ จงให้นางนั้นสึกเสีย. " นางภิกษุณีสาวนั้น ฟังคำนั้น

แล้ว กล่าวว่า " แม่เจ้า ขอแม่เจ้าทั้งหลาย อย่าให้ดิฉันฉิบหายเสียเลย.

ดิฉันมิได้บวชเจาะจงพระเทวทัต, แม่เจ้าทั้งหลาย จงมาเถิด จงนำดิฉัน

ไปสู่พระเชตวัน ซึ่งเป็นสำนักของพระศาสดา. " นางภิกษุณีเหล่านั้นพา

นางไปสู่พระเชตวัน กราบทูลแด่พระศาสดาแล้ว.

พระกุมารกัสสปเกิด

พระศาสดา แม้ทรงทราบอยู่ว่า " ครรภ์ตั้งขึ้นแล้ว ในเวลานาง

เป็นคฤหัสถ์ " เพื่อจะเปลื้องเสียซึ่งถ้อยคำของชนอื่น จึงรับสั่งให้เชิญ

พระเจ้าปเสนทิโกศล ท่านมหาอนาถบิณฑิกะ ท่านจุลอนาถบิณฑิกะ

นางวิสาขาอุบาสิกา และสกุลใหญ่อื่นๆ มาแล้ว ทรงบังคับพระอุบาลี

เถระว่า " เธอจงไป. จงชำระกรรมของภิกษุณีสาวนี้ให้หมดจด ในท่าม

กลางบริษัท ๔. " พระเถระให้เชิญนางวิสาขามา ตรงพระพักตร์พระ-

ราชาแล้ว ให้สอบสวนอธิกรณ์นั้น. นางวิสาขานั้นให้คนล้อมเครื่องล้อม

คือม่าน ตรวจดูมือ เท้า สะดือ และที่สุดแห่งท้องของนางภิกษุณีนั้น

ภายในม่าน แล้วนับเดือนและวันดู ทราบว่า " นางได้มีครรภ์ในเวลาเป็น

คฤหัสถ์ " จึงบอกความนั้นแก่พระเถระ. ครั้งนั้น พระเถระยังความที่นาง

เป็นผู้บริสุทธิ์ ให้กลับตั้งขึ้นในท่ามกลางบริษัทแล้ว. โดยสมัยอื่น นาง

คลอดบุตรมีอานุภาพมาก ซึ่งมีความปรารถนาตั้งไว้ แทบบาทมูลของ

พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ.

มีกุมารนำหน้าเพราะพระราชาทรงเลี้ยง

ภายหลังวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไป ณ ที่ใกล้สำนักของนางภิกษุณี

ทรงสดับเสียงทารก จึงตรัสถามว่า " นี้เสียงอะไร ? " เมื่ออำมาตย์กราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 205

ทูลว่า " พระเจ้าข้า บุตรของนางภิกษุณีนั่นเกิดแล้ว, นั่นเป็นเสียงของ

บุตรนางภิกษุณีนั้น. " ทรงนำกุมารนั้นไปสู่พระราชมนเฑียรของพระองค์

ได้ประทานให้แก่แม่นมทั้งหลาย. ก็ในวันตั้งชื่อ ชนทั้งหลายตั้งชื่อกุมาร

นั้นว่า " กัสสป " เพราะความที่กุมารนั้น เป็นผู้อันพระราชาทรงให้

เจริญแล้วด้วย เครื่องบริหารของพระกุมาร จึงรู้กันว่า " กุมารกัสสป." กุมาร

นั้นทุบตีเด็กในสนามกีฬาแล้ว. เมื่อพวกเด็กกล่าวว่า " พวกเราถูกคนไม่

มีแม่ไม่มีพ่อทุบตีแล้ว." จึงเข้าไปเฝ้าพระราชา ทูลถามว่า " ข้าแต่

พระองค์ผู้เป็นสมมติเทพ พวกเด็กย่อมว่าหม่อมฉันว่า " ไม่มีมารดาและ

บิดา ขอพระองค์จงตรัสบอกมารดาแก่หม่อมฉัน. " เมื่อพระราชา

ทรงแสดงหญิงแม่นมทั้งหลาย ตรัสว่า " หญิงเหล่านี้เป็นมารดาของเจ้า."

จึงกราบทูลว่า " มารดาของหม่อมฉันไม่มีเท่านี้. อันมารดาของหม่อมฉัน

พึงมีคนเดียว, ขอพระองค์ตรัสบอกมารดานั้น แก่หม่อมฉันเถิด. "

พระราชาทรงดำริว่า " เราไม่อาจลวงกุมารนี้ได้ " จึงตรัสว่า " พ่อ

มารดาของเจ้าเป็นภิกษุณี เจ้า อันเรานำมาแต่สำนักนางภิกษุณี."

กุมารกัสสปออกบวชบรรลุพระอรหัต

กุมารนั้น มีความสังเวชเกิดขึ้นพร้อมแล้ว ด้วยเหตุเพียงเท่านั้น

นั่นแหละ กราบทูลว่า " ข้าแต่พระบิดา ขอพระองค์ทรงให้หม่อมฉัน

บวชเถิด " พระราชาทรงรับว่า " ดีละ พ่อ " แล้วยังกุมารนั้นให้บวชใน

สำนักของพระศาสดา ด้วยสักการะเป็นอันมาก.

กุมารกัสสปนั้นได้อุปสมบทแล้ว ปรากฏว่า " พระกุมารกัสสป-

เถระ. " ท่านเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา เข้าไปสู่ป่าพยายามแล้ว

ไม่สามารถจะให้คุณวิเศษบังเกิดได้ จึงคิดว่า " เราจะเรียนกัมมัฏฐานให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 206

วิเศษอีก " มาสู่สำนักของพระศาสดา อยู่ในป่าอันธวันแล้ว. ครั้งนั้นภิกษุ

ผู้ทำสมณธรรมร่วมกัน ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า บรรลุอนาคามิผล

แล้ว บังเกิดในพรหมโลก มาจากพรหมโลกถามปัญหา ๑๕ ข้อ กะพระ-

กุมารกัสสปนั้นแล้ว ส่งไปด้วยคำว่า " คนอื่นยกพระศาสดาเสีย ที่สามารถ

เพื่อจะพยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ไม่มี. ท่านจงไป จงเรียนเนื้อความของ

ปัญหาเหล่านั้นในสำนักของพระศาสดาเถิด. " ท่านทำเหมือนอย่างนั้น

บรรลุพระอรหัตผลในเวลาที่พระศาสดาทรงแก้ปัญหาจบ.

มารดาพระกุมารกัสสปบรรลุพระอรหัต

ก็ตั้งแต่วันที่พระเถระนั้นออกไปแล้ว น้ำตาไหลออกจากนัยน์ตาทั้ง

สองของนางภิกษุณีผู้เป็นมารดาตลอด ๑๒ ปี. นางมีทุกข์เพราะพลัดพราก

จากบุตร มีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตาทีเดียว เที่ยวไปเพื่อภิกษา พอเห็น

พระเถระในระหว่างแห่งถนน จึงร้องว่า " ลูก ลูก " วิ่งเข้าไปเพื่อจะจับ

พระเถระ ซวนล้มลงแล้ว. นางมีถันหลั่งน้ำนมอยู่ ลุกขึ้น มีจีวรเปียก ไป

จับพระเถระแล้ว พระเถระคิดว่า " ถ้ามารดานี้จักได้ถ้อยคำอันไพเราะจาก

สำนักของเรา. นางจักฉิบหายเสีย; เราจักเจรจากับมารดานี้ ทำให้กระด้าง

เทียว. " ทีนั้น พระเถระกล่าวกะนางภิกษุณีผู้เป็นมารดานั้นว่า " ท่าน

เที่ยวทำอะไรอยู่ ? จึงไม่อาจตัดแม้มาตรว่าความรักได้. " นางคิดว่า " โอ

ถ้อยคำของพระเถระหยาบคาย, " จึงกล่าวว่า " พ่อ พ่อพูดอะไร ? " ถูก

พระเถระว่าเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละอีก จึงคิดว่า " เราไม่อาจอดกลั้น

น้ำตาไว้ได้สิ้น ๑๒ ปี เพราะเหตุแห่งบุตรนี้. แต่บุตรของเรานี้ มีหัวใจ

กระด้าง ประโยชน์อะไรของเราด้วยบุตรนี้ " ตัดความเสน่หาในบุตร

แล้ว บรรลุพระอรหัตผลในวันนั้นนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 207

พวกภิกษุพากันสรรเสริญพระพุทธคุณ

โดยสมัยอื่น ภิกษุทั้งหลายสนทนากัน ในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุ

ทั้งหลาย พระกุมารกัสสปและพระเถรี ผู้สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัยอย่างนี้ ถูก

พระเทวทัตให้ฉิบหายแล้ว. ส่วนพระศาสดาเกิดเป็นที่พึ่งของท่านทั้งสอง

นั้น; โอ ! น่าอัศจรรย์ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้

อนุเคราะห์โลก. "

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ

นั่งสนทนากัน ด้วยเรื่องอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า

" ด้วยเรื่องชื่อนี้ " จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นปัจจัย เป็นที่พำนัก

ของคนทั้งสองนี้ ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่. แม้ในกาลก่อน เราก็ได้เป็นที่

พำนักของคนทั้งสองนั้นเหมือนกัน " ดังนี้แล้วจึงตรัสนิโครธชาดกนี้โดย

พิสดารว่า:-

" เจ้าหรือคนอื่น พึงคบเนื้อชื่อว่านิโครธผู้เดียว

อย่าเข้าไปคบเนื้อชื่อว่าสาขะ; ความตายในสำนัก

ของเนื้อชื่อว่านิโครธประเสริฐกว่า. ความเป็นอยู่ใน

สำนักของเนื้อชื่อว่าสาขะนั้นจะประเสริฐอะไร."

ทรงประชุมชาดกว่า "เนื้อชื่อว่าสาขะในครั้งนั้น ได้เป็นพระเทวทัต

(ในบัดนี้). เเม้บริษัทของเนื้อชื่อว่าสาขะนั้น (ก็) เป็นบริษัทของพระ-

เทวทัตนั่นแหละ. แม่เนื้อตัวถึงวาระได้เป็นพระเถรี. บุตรได้เป็นกุมาร-

กัสสป. ส่วนพระยาเนื้อนามว่านิโครธ ผู้ไปสละชีวิตแก่แม่เนื้อตัวมีครรภ์

คือเราเอง, " เมื่อจะทรงประกาศความที่พระเถรีตัดความรักในบุตรแล้ว

๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๕. อรรถกถา. ๑/๒๓๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 208

ทำที่พึ่งแก่ตนเองแล จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เพราะบุคคลอาศัยคน

อื่น ไม่สามารถเพื่อจะมีสวรรค์หรือมรรคเป็นที่ไปในเบื้องหน้าได้, ฉะนั้น

ตนนั่นแหละเป็นที่พึ่งของตน, คนอื่นจะทำอะไรได้ " ดังนี้แล้ว ตรัส

พระคาถานี้ว่า:-

๔. อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโร สิยา

อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถ ลภติ ทุลฺลภ.

" ตนแลเป็นที่พึ่งของตน. บุคคลอื่นใครเล่า พึง

เป็นที่พึ่งได้ เพราะบุคคล มีตนฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้

พึ่ง ที่บุคคลได้โดยยาก. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาโถ คือเป็นที่พำนัก พระผู้มีพระภาค-

เจ้า ตรัสคำนี้ไว้ว่า " บุคคลตั้งอยู่ในตน คือสมบูรณ์แล้วด้วยตน สามารถ

จะทำกุศลแล้วถึงสวรรค์ หรือเพื่อยังมรรคให้เจริญ หรือทำให้แจ้งซึ่งผล

ได้, เพราะเหตุนั้นแหละ ตนแลพึงเป็นที่พึ่งของตน. คนอื่นใครเล่า ?

พึงเป็นที่พึ่งของใครได้. เพราะบุคคลมีตนฝึกดีแล้ว คือมีความเสพผิด

ออกแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งซึ่งบุคคลได้โดยยากกล่าวคือพระอรหัตผล. ก็คำว่า

" นาถ ลภติ ทุลฺลภ " นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายเอาพระอรหัต.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องมารดาของพระกุมารกัสสปเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 209

๕. เรื่องอุบาสกชื่อมหากาล [๑๓๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสกผู้

โสดาบันคนหนึ่งชื่อมหากาล ตรัสพระธรรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตนา หิ

กต ปาป " เป็นต้น.

มหากาลถูกหาว่าเป็นโจรเลยถูกทุบตาย

ได้ยินว่า มหากาลนั้นเป็นผู้รักษาอุโบสถ ๘ วันต่อเดือน (เดือน

ละ ๘ วัน) ฟังธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่งในวิหาร. ครั้งนั้นพวกโจรตัด

ที่ต่อในเรือนหลังหนึ่งในเวลากลางคืน ถือเอาห่อภัณฑะไป ถูกพวก

เจ้าของตื่นขึ้น เพราะเสียงภาชนะโลหะ (กระทบกัน) ติดตามแล้ว ทิ้งสิ่ง

ของที่ตนถือไว้แล้วก็หลบหนีไป.

ฝ่ายพวกเจ้าของ ติดตามโจรเหล่านั้นเรื่อยไป. พวกโจรเหล่านั้น

กระจัดกระจายหนีกันไปทั่วทิศ. ส่วนโจรคนหนึ่ง ถือเอาทางที่ไปยังวิหาร

ทิ้งห่อภัณฑะไว้ข้างหน้ามหากาล ผู้ฟังธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่ง ล้างหน้า

อยู่ริมสระโบกขรณีแต่เช้าตรู่แล้ว หลบหนีไป.

พวกมนุษย์ติดตามหมู่โจรมา พบห่อภัณฑะแล้ว จึงจับมหากาลนั้น

ไว้ ด้วยกล่าวว่า " แกตัดที่ต่อในเรือนของพวกฉัน ลักห่อภัณฑะไปแล้ว

เที่ยวเดินเหมือนฟังธรรมอยู่ " ได้ทุบให้ตายแล้วก็ทิ้งไว้เลยไป.

มหากาลตายสมแก่บุรพกรรม

ครั้งนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายถือหม้อน้ำดื่มไปแต่เช้าตรู่

พบมหากาลนั้น กล่าวว่า " อุบาสกฟังธรรมกถาอยู่ในวิหาร ได้มรณะ

ไม่สมควร " ดังนี้แล้ว จึงได้กราบทูลแด่พระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 210

พระศาสดา ตรัสว่า " อย่างนั้นภิกษุทั้งหลาย นายกาล ได้มรณะไม่

สมควรในอัตภาพนี้, แต่เขาได้มรณะสมควรแก่กรรมที่ทำไว้แล้วในกาล

ก่อนนั่นแล " อันภิกษุหนุ่มและสามเณรเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงตรัส

บุรพกรรมของมหากาลนั้นว่า:-

บุรพกรรมของมหากาล

ดังได้สดับมา ในอดีตกาลพวกโจรซุ่มอยู่ที่ปากดงแห่งปัจจันตคาม

แห่งหนึ่ง ในแคว้นของพระเจ้าพาราณสี. พระราชาทรงตั้งราชภัฏคน

หนึ่งไว้ที่ปากดง. ราชภัฏนั้นรับค่าจ้างแล้ว ก็นำคนไปจากฟากข้างนี้ สู่

ฟากข้างโน้น. นำคนจากฟากข้างโน้นมาสู่ฟากข้างนี้.

ต่อมนุษย์คนหนึ่ง พาภริยารูปสวยของตนขึ้นสู่ยานน้อยแล้ว ได้

ไปถึงที่นั้น. ราชภัฏพอเห็นหญิงนั้น ก็เกิดสิเนหา เมื่อมนุษย์นั้น

แม้กล่าวว่า " นาย ขอท่านจงช่วยกระผมทั้งสองให้ผ่านพ้นดงเถิด. " ก็ตอบ

ว่า " บัดนี้ ค่ำมืดเสียแล้ว. เช้าตรู่เถอะ เราจักช่วยให้ท่านพ้นไป. "

มนุษย์. นาย ยังมีเวลา, ขอโปรดนำกระผมทั้งสอง ไปเดี๋ยวนี้เถอะ.

ราชภัฏ. กลับเถิดท่านผู้เจริญ อาหารและที่พักอาศัยจักมีในเรือน

ของเราทีเดียว.

มนุษย์นั้นไม่ปรารถนากลับเลย. ฝ่ายราชภัฏนอกนี้ ให้สัญญาแก่

พวกบุรุษ ยังยานน้อยให้กลับแล้ว ให้ที่พักอาศัยที่ซุ้มประตู ให้ตระเตรียม

อาหารแก่เขาผู้ไม่ปรารถนาเลย. ก็ในเรือนราชภัฏนั้นมีเเก้วมณีดวงหนึ่ง.

เขาให้เอาแก้วมณีนั้นซ่อนไว้ในซอกแห่งยานน้อย ของมนุษย์ผู้นั้นแล้ว

ในเวลาจวนรุ่ง ให้ทำเสียงเป็นพวกโจรเข้าไป (บ้าน).

๑. น่ามีมหาด้วย. ๒. บ้านตั้งอยู่ริมเขตแดน. ๓. คนอันพระราชาชุบเลี้ยง ได้แก่ข้าราชการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 211

ลำดับนั้น พวกบุรุษแจ้งแก่เขาว่า " นาย แก้วมณีถูกพวกโจรลัก

เอาไปแล้ว. " เขาสั่งว่า " พวกเจ้าจงตั้งกองรักษาไว้ที่ประตูบ้านทั้งหลาย

ตรวจค้นคนผู้ออกไปจากภายในบ้าน. " ฝ่ายมนุษย์นอกนี้ จัดยานน้อย

เสร็จแล้วก็ขับไปแต่เช้าตรู่. ทีนั้น พวกคนใช้ของราชภัฏ จึงค้นยานน้อย

ของมนุษย์นั้น พบแก้วมณีที่ตนซ่อนไว้จึงขู่พูดว่า " เจ้าลักเอาแก้วมณี

หนีไป " ดังนี้แล้ว ก็โบย แสดงแก่นายบ้านว่า " นาย พวกผมจับตัว

ได้เเล้ว." เขาพูดว่า " ตัวเราเป็นถึงนายราชภัฏ ให้พักอาศัยในเรือน

ให้ภัตแล้ว. มันยังลักแก้วมณีไปได้. พวกเจ้าจงจับอ้ายบุรุษชั่วช้านั้น "

ดังนี้แล้ว ให้ช่วยกันทุบตายแล้วให้ทิ้งเสีย. นี้เป็นบุรพกรรมของมหากาล

นั้น. ราชภัฏนั้นเคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้วเกิดในอเวจี ไหม้อยู่ในอเวจี

นั้นสิ้นกาลนาน ถูกทุบถึงความตายอย่างนั้นแล ใน ๑๐๐ อัตภาพ เพราะ

วิบากที่ยังเหลืออยู่.

บาปย่อมย่ำยีผู้ทำ

พระศาสดา ครั้นทรงแสดงบุรพกรรมของมหากาลอย่างนั้นแล้ว

ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บาปกรรมอันตนทำไว้นั่นแล ย่อมย่ำยีสัตว์เหล่านี้

ในอบาย ๔ อย่างนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๕. อตฺตนา กต ปาป อตฺตช อตฺตสมฺภว

อภิมตฺถติ ทุมฺเมธ วชิรวมฺหย มณึ.

" บาป อันตนทำไว้เอง เกิดในตน มีตนเป็น

แดนเกิด ย่อมย่ำยีบุคคลผู้มีปัญญาทราม ดุจเพชร

ย่ำยีแก้วมณี อันเกิดแต่หินฉะนั้น. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 212

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า วชิรวมฺหย มณึ ความว่า

เปรียบดังเพชร (ย่ำยี) แก้วมณีที่เกิดแต่หิน. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า

" เพชรอันสำเร็จจากหิน มีหินเป็นแดนเกิด กัดแก้วมณีที่เกิดแต่หิน

คือแก้วมณีอันสำเร็จแต่หิน ซึ่งนับว่าเป็นที่ตั้งขึ้นของตนนั้นนั่นแล คือ

ทำให้เป็นช่องน้อยช่องใหญ่ ให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ทำให้ใช้สอยไม่

ได้ ฉันใด; บาปอันตนทำไว้เเล้ว เกิดในตน มีตนเป็นแดนเกิด ย่อม

ย่ำยี คือขจัดบุคคลผู้มีปัญญาทราม คือผู้ไร้ปัญญา ในอบาย ๔ ฉันนั้น

เหมือนกัน ."

ในกาลจบเทศนา ภิกษุที่มาประชุมบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องอุบาสกชื่อมหากาล จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 213

๖. เรื่องพระเทวทัต [๑๓๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระเทวทัต

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺย " เป็นต้น.

สนทนาเรื่องลามกของพระเทวทัต

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พวกภิกษุ สนทนากันในโรงธรรมว่า

" ผู้มีอายุทั้งหลาย พระเทวทัตเป็นผู้ทุศีล มีธรรมลามก เกลี้ยกล่อม

พระเจ้าอชาตศัตรู ยังลาภสักการะเป็นอันมากให้เกิดขึ้น ชักชวนพระเจ้า

อชาตศัตรู ในการฆ่าพระราชบิดา เป็นผู้ร่วมคิดกับพระเจ้าอชาตศัตรูนั้น

ตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าพระตถาคตเจ้าด้วยประการต่าง ๆ เพราะตัณหา

อันเจริญขึ้นแล้ว ด้วยเหตุคือความเป็นผู้ทุศีลนั่นเอง. "

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่ง

สนทนากันด้วยกถาอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วย

กถาชื่อนี้, " จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น. ถึงใน

กาลก่อน เทวทัตก็ตะเกียกตะกายเพื่อจะฆ่าเราด้วยประการต่าง ๆ เหมือน

กัน " ดังนี้แล้ว จึงตรัสชาดกทั้งหลาย มีกุรุงคชาดกเป็นต้น แล้วตรัส

ว่า " ภิกษุทั้งหลาย ตัณหาอันเกิดขึ้นเพราะเหตุคือเป็นผู้ทุศีลหุ้มห่อ

รวบรัดซัดซึ่งบุคคลผู้ทุศีลล่วงส่วน ไปในอบายทั้งหลายมีนรกเป็นต้น

เหมือนเถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละจนหักรานลงฉะนั้น " ดังนี้แล้ว ตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 214

๖. ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺย. มาลุวา สาลมิโวตฺถต

กโรติ โส ตถตฺตาน ยถา น อิจฺฉตี ทิโส.

" ความเป็นผู้ทุศีลล่วงส่วน รวบรัด (อัตภาพ)

ของบุคคลใด ดุจเถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละ ฉะนั้น,

บุคคลนั้น ย่อมทำตนอย่างเดียวกันกับที่โจรหัวโจก

ปรารถนาทำให้ตนฉะนั้น. "

แก้อรรถ

ความเป็นผู้ทุศีลโดยส่วนเดียว ชื่อว่า อจฺจนฺตทุสฺสีลฺย ในพระคาถา

นั้น. บุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ ทำอกุศลกรรมบถ ๑๐ ตั้งแต่เกิดก็ดี. ผู้เป็น

บรรพชิต ต้องครุกาบัติ ตั้งแต่วันอุปสมบทก็ดี ชื่อว่า ผู้ทุศีลล่วงส่วน.

แต่บทว่า อจฺจนฺตทุสฺสีลฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสในพระคาถา

นี้ ทรงหมายเอาความเป็นผู้ทุศีลอันมาแล้วตามคติของบุคคลผู้ทุศีลใน

๒ - ๓ อัตภาพ.

อนึ่ง ตัณหาอันอาศัยทวาร ๖ ของผู้ทุศีลเกิดขึ้น บัณฑิตพึงทราบว่า

" ความเป็นผู้ทุศีล " ในพระคาถานี้.

บาทพระคาถาว่า มาลุวา สาลมิโวตฺถต ความว่า ความเป็นผู้ทุศีล

กล่าวคือตัณหา รวบรัด คือหุ้มห่ออัตภาพของบุคคลใดตั้งอยู่. เหมือน

เถาย่านทรายรัดรึงต้นสาละ. คือปกคลุมทั่วทั้งหมดทีเดียว ด้วยสามารถรับ

น้ำด้วยใบในเมื่อฝนตก แล้วหักรานลงฉะนั้นแล. บุคคลนั้นคือผู้ถูกตัณหา

กล่าวคือความเป็นผู้ทุศีลนั้นหักราน ให้ตกไปในอบายทั้งหลาย เหมือน

๑. แปลว่า อาบัติหนัก ได้แก่ ปราชิก และสังฆาทิเสส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 215

ต้นไม้ถูกเถาย่านทรายหักราน ให้โค่นลงเหนือแผ่นดินฉะนั้น. ชื่อว่า

ย่อมทำตนอย่างเดียวกันกับที่โจรหัวโจกผู้ใคร่ความพินาศปรารถนาทำให้

ฉะนั้น.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระเทวทัต จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 216

๗. เรื่องกระเสือกกระสนเพื่อจะทำลายสงฆ์ [๑๓๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวันทรงปรารภการกระเสือก

กระสนเพื่อจะทำลายสงฆ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุกรานิ " เป็นต้น.

พระเทวทัตพยายามทำลายสงฆ์

ความพิสดารว่า พระเทวทัตกระเสือกกระสนเพื่อจะทำลายสงฆ์ วัน

หนึ่ง เห็นท่านพระอานนท์เที่ยวบิณฑบาตอยู่ บอกความประสงค์ของ

ตนแล้ว. พระเถระฟังข่าวนั้นแล้วไปสู่สำนักของพระศาสดา ได้ทูลคำนี้

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " พระเจ้าข้า เวลาเช้า ข้าพระองค์ครองสบงที่

เวฬุวันนี้แล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต. พระเจ้าข้า

พระเทวทัตได้เห็นข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์แล้วแลตาม

เข้าไปหาข้าพระองค์ ได้กล่าวคำนี้ว่า 'อาวุโส อานนท์ จำเดิมแต่วันนี้

ฉันจักทำอุโบสถและสังฆกรรมแยกจากพระผู้มีพระภาคเจ้า แยกจากภิกษุ

สงฆ์; ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า วันนี้ พระเทวทัตจักทำลายสงฆ์. คือ

จักทำอุโบสถและสังฆกรรม. "

ความดีคนทำง่าย

เมื่อท่านพระอานนท์กราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาทรงเปล่ง

พระอุทานว่า:-

" ความดีคนดีทำง่าย, ความดีคนชั่วทำยาก, ความ

คนชั่วทำง่าย, ความชั่วอริยบุคคลทำได้ยาก "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 217

แล้วตรัสว่า " อานนท์ ขึ้นชื่อว่ากรรมอัน ไม่เป็นประโยชน์แก่ตน

ทำได้ง่าย. กรรมอันเป็นประโยชน์แก่ตนทำยากนักหนา " แล้วตรัสพระ-

คาถานี้ว่า:-

๗. สุกรานิ อสาธูนิ อตฺตโน อหิตานิ จ

ย เว หิตญฺจ สาธุญฺจ ต เว ปรมทุกฺกร.

" กรรมอันไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่ตน คน

ทำง่าย; กรรมใดแลเป็นประโยชน์แก่ตนและดี,

กรรมนั้นแลทำยากอย่างยิ่ง."

แก้อรรถ

ความแห่งพระคาถานั้นว่า :-

" กรรมเหล่าใดไม่ดี คือมีโทษและเป็นไปเพื่ออบาย ชื่อว่าไม่เป็น

ประโยชน์แก่คนเพราะทำนั่นแล กรรมเหล่านั้นทำง่าย. ฝ่ายกรรมใดชื่อ

ว่าเป็นประโยชน์แก่ตนเพราะทำ และชื่อว่าดี ด้วยอรรถว่าหาโทษมิได้คือ

เป็นไปเพื่อสุคติ และเป็นไปเพื่อพระนิพพาน. กรรมนั้นทำแสนยาก

ราวกับทดน้ำแม่คงคาอันไหลไปทิศตะวันออก ทำให้ไหลกลับฉะนั้น. "

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากได้บรรลุโลกุตรผล มีโสดาปัตติ-

ผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องกระเสือกกระสนเพื่อจะทำลายสงฆ์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 218

๘. เรื่องพระกาลเถระ [๑๓๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระกาลเถระ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย สาสน " เป็นต้น.

พระเถระไม่ให้อุปัฏฐายิกาไปฟังธรรม

ดังได้ยินมา หญิงคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ตั้งอยู่ในที่แห่งมารดา

ทำนุบำรุงพระเถระนั้นอยู่. พวกคนในเรือนแห่งผู้คุ้นเคยของหญิงนั้น

ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาแล้ว กลับมาเรือนแล้ว สรรเสริญอยู่ว่า

" โอ ชื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอัศจรรย์. โอ พระธรรมเทศนาก็

ไพเราะ. " หญิงนั้น ฟังถ้อยคำของคนพวกนั้นแล้ว จึงบอกแก่พระกาละ

ว่า " ท่านเจ้าข้า ดิฉันอยากจะฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาบ้าง. " เธอ

ห้ามเขาว่า " อย่าไปที่นั่นเลย." หญิงนั้นในวันรุ่งขึ้นก็ขออีก แม้อัน

พระกาละนั้นห้ามอยู่ถึง ๓ ครั้งก็ยังอยากจะฟังอยู่นั้นแล. มีคำถามสอดเข้า

มาว่า " ก็เหตุไฉน ? เธอจึงได้ห้ามเขาเสีย." แก้ว่า " ได้ยินว่า เธอ

ได้มีความเห็นเช่นนี้ว่า " อุบาสิกานี้ ได้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาแล้ว

จักแตกจากเรา " เหตุนั้น เธอจึงได้ห้ามเขาเสีย.

วันหนึ่ง หญิงนั้นบริโภคอาหารเสร็จสมาทานอุโบสถแล้ว สั่งบุตรี

ไว้ว่า " แม่ จงอังคาสพระผู้เป็นเจ้าให้ดี " แล้วได้ไปวิหารแต่เช้าเทียว.

ฝ่ายบุตรีของเขาก็อังคาสพระกาละโดยเรียบร้อย ในกาลเธอมาถึง เธอ

ถามว่า " อุบาสิกาผู้ใหญ่ไปไหน ? " (นาง) ตอบว่า " ไปวิหารเพื่อฟัง

ธรรม. " เธอพอได้ฟังข่าวนั้น ทุรนทุรายอยู่เพราะความกลัดกลุ้มอันตั้ง

ขึ้นในท้อง (ควรจะเป็น อนฺโต ในภายใน) นึกว่า " เดี๋ยวนี้ อุบาสิกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 219

นั้นแตกจากเราแล้ว " รีบไป เห็นหญิงนั้นฟังธรรมอยู่ในสำนักพระศาสดา

จึงทูลพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า หญิงคนนี้เขลา ไม่เข้าใจธรรมกถาอัน

ละเอียด. อย่าตรัสธรรมกถาอันละเอียดซึ่งประดับด้วยสภาวธรรมมีขันธ์

เป็นต้น ตรัสแต่เพียงทานกถาหรือสีลกถาแก่เขาก็พอ."

สักการะย่อมฆ่าคนถ่อย

พระศาสดา ทรงทราบอัธยาสัยของเธอแล้ว ตรัสว่า " เธอเป็น

คนปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า ห้ามปรามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า.

เธอพยายามเพื่อฆ่าตนเอง " แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๘. โย สาสน อรหต อริยาน ธมฺมชีวิน

ปฏิกฺโกสิ ทุมฺเมโธ ทิฏฺึ นิสฺสาย ปาปิก

ผลานิ กณฺฏกสฺเสว อตฺตฆญฺาย ผลฺลติ.

" บุคคลใดปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า คัด

ค้านคำสั่งสอนของพระอริยบุคคล ผู้อรหันต์ มีปกติ

เป็นอยู่โดยธรรม, บุคคลนั้นย่อมเกิดมาเพื่อฆ่าตน

เหมือนขุยแห่งไม้ไผ่. "

แก้อรรถ

ความแห่งพระคาถานั้นว่า :-

บุคคลใดปัญญาโฉด อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้า ห้ามปรามพวกคนผู้

กล่าวอยู่ว่า ' จักฟังธรรมก็ดี.' ว่า ' จักถวายทานก็ดี.' เพราะกลัวแต่

เสื่อมสักการะของตน ชื่อว่าโต้แย้งคำสั่งสอนของพระอริยบุคคลผู้อรหันต์

มีปกติเป็นอยู่โดยธรรม คือพระพุทธเจ้า. การโต้แย้งและทิฏฐิอันเลวทราม

นั้นของบุคคลนั้น ย่อมเป็นเหมือนขุยของไม้มีหนาม กล่าวคือไม้ไผ่,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 220

เหตุนั้น ไม้ไผ่เมื่อตกขุย ย่อมตกเพื่อฆ่าตนเท่านั้น ฉันใด ; แม้บุคคล

นั้นก็ย่อมเกิดมาเพื่อฆ่าตน คือว่าเกิดมาเพื่อผลาญตนเอง ฉันนั้น. สมจริง

แม้คาถาประพันธ์นี้ พระผู้มีพระภาคก็ได้ตรัสไว้ว่า :-

" ผลนั้น แลย่อมฆ่าต้นกล้วยเสีย. ผลนั้นแลย่อม

ฆ่าไม้ไผ่เสีย, ผลนั้นแลย่อมฆ่าไม้อ้อเสีย, ลูกใน

ท้องย่อมฆ่าแม่ม้าอัศดรเสีย ฉันใด, สักการะก็ย่อม

ฆ่าบุรุษถ่อยเสีย ฉันนั้น."

ในเวลาจบเทศนา อุบาสิกาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล เทศนาได้มี

ประโยชน์แม้เเก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล

เรื่องพระกาลเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 221

๙. เรื่องอุบาสิกาชื่อจุลกาล [๑๓๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสกชื่อ

จุลกาล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตนาว กต ปาป " เป็นต้น.

จุลกาลถูกกล่าวหาว่าเป็นโจร

ความพิสดารว่า วันหนึ่งพวกโจรขุดอุโมงค์ อันเจ้าของทั้งหลาย

ติดตามแล้ว จึงทิ้งห่อภัณฑะไว้ข้างหน้าของอุบาสก ผู้ฟังธรรมกถาใน

วิหารตลอดราตรี เดินออกจากวิหารแต่เช้าตรู่มาสู่กรุงสาวัตถีแล้ว ก็หลบ

หนีไป โดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องมหากาลนั่นแล. พวกมนุษย์เห็นเข้า

แล้ว พูดว่า " คนนี้ ทำโจรกรรมในราตรีแล้ว ทำทีเหมือนฟังธรรม

เที่ยวไป, ท่านทั้งหลายจงช่วยกันจับมันไว้ ดังนี้แล้ว โบยอุบาสกนั้น.

จุลกาลรอดตายเพราะนางกุมภทาสีช่วย

หมู่นางกุมภทาสี เดินไปท่าน้ำ ประสบเหตุนั้น จึงกล่าวว่า " นาย

ท่านทั้งหลายจงหลีกไป. ท่านผู้นี้ย่อมไม่ทำกรรมเห็นปานนั้น " ดังนี้แล้ว

ให้มนุษย์พวกนั้นปล่อยเขาแล้ว. เขาไปวิหาร บอกแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

" ท่านขอรับ ก็กระผมถูกมนุษย์ทั้งหลายให้ฉิบหายแล้ว. กระผมได้ชีวิต

เพราะอาศัยพวกนางกุมภทาสี. " ภิกษุทั้งหลายกราบทูลความนั้นแด่พระ-

ตถาคต.

จะเศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเพราะตน

พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นเเล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 222

ทั้งหลาย จุลกาลอุบาสก ได้ชีวิตเพราะอาศัยพวกนางกุมภทาสี และ

ความที่ตนไม่ใช่ผู้ทำ ; ด้วยว่า ธรรมดาสัตว์เหล่านี้ทำบาปกรรมด้วยตน

แล้ว ย่อมเศร้าหมองด้วยตนเอง ในอบายมีนรกเป็นต้น. ส่วนสัตว์

ทั้งหลายทำกุศลแล้ว ไปสู่สุคติและนิพพาน ย่อมชื่อว่าบริสุทธิ์ได้ด้วยตน

เอง " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๙. อตฺตนา ว กต ปาป อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ

อตฺตนา อกต ปาป อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ

สุทฺธิ อสุทฺธิ ปจฺจตฺต นาญฺโ อญฺ วิโสธเย.

" บาปอันผู้ใดทำแล้วด้วยตนเอง ผู้นั้นย่อมเศร้า

หมองด้วยตน ; บาปอันผู้ใดไม่ทำด้วยตน, ผู้นั้นย่อม

บริสุทธิ์ด้วยตนเอง ; ความบริสุทธิ์ไม่บริสุทธิ์ เป็น

ของเฉพาะตน, คนอื่นทำคนอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้. "

แก้อรรถ

ความแห่งพระคาถานั้นว่า :-

อกุศลกรรมเป็นกรรมอันผู้ใดทำแล้วด้วยตน. ผู้นั้นเมื่อเสวยทุกข์

ในอบาย ๔ ชื่อว่าเศร้าหมองด้วยตนเอง ; ส่วนบาปอันผู้ใดไม่ได้ทำด้วย

ตน ผู้นั้นเมื่อไปสู่สุคติและนิพพาน ชื่อว่าย่อมบริสุทธิ์ด้วยตนเอง. ความ

บริสุทธิ์กล่าวคือกุศลกรรม และความไม่บริสุทธิ์กล่าวคืออกุศลกรรม เป็น

ของเฉพาะตน คือย่อมเผล็ดผลเฉพาะในตนของสัตว์ผู้ทำทั้งหลาย. บุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 223

อื่นทำบุคคลอื่นให้บริสุทธิ์ไม่ได้ คือให้หมดจดไม่ได้เลย ให้เศร้าหมอง

ไม่ได้เลย. "

ในกาลจบเทศนา จุลกาลตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. พระธรรม-

เทศนาได้มีประโยชน์แม้เเก่บริษัทผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.

เรื่องอุบาสกชื่อจุลกาล จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 224

๑๐. เรื่องพระอัตตทัตถเถระ [๑๓๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอัตต-

ทัตถเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อตฺตทตฺถ ปรตฺเถน " เป็นต้น.

พระเถระพยายามบำเพ็ญประโยชน์

ความพิสดารว่า เมื่อพระศาสดาตรัสในกาลที่จวนจะปรินิพพานว่า

" ภิกษุทั้งหลาย โดยกาลล่วงไป ๔ เดือนแต่วันนี้ เราจักปรินิพพาน. "

ภิกษุประมาณ ๗๐๐ รูปซึ่งยังเป็นปุถุชน เกิดความสังเวช ไม่ละสำนัก

พระศาสดาเยล เที่ยวปรึกษากันว่า " ท่านผู้มีอายุ พวกเราจะทำอะไร

หนอแล ? "

ส่วนพระอัตตทัตถเถระ คิดว่า " ข่าวว่า พระศาสดา จักปรินิพพาน

โดยกาลล่วงไป ๔ เดือน. ก็ตัวเรายังเป็นผู้มีราคะไม่ไปปราศ. เมื่อพระ-

ศาสดายังทรงพระชนม์อยู่นี่แหละ เราจักพยายามเพื่อประโยชน์แก่พระ-

อรหัต. " พระเถระนั้น ย่อมไม่ไปสำนักของภิกษุทั้งหลาย. ลำดับนั้น

ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า " ผู้มีอายุ ทำไม ? ท่านจึงไม่มาสำนักของ

พวกกระผมเสียเลย. ท่านไม่ปรึกษาอะไร ๆ " ดังนี้แล้ว ก็นำไปสู่สำนัก

พระศาสดา กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ภิกษุรูปนี้ ย่อมทำชื่ออย่างนี้. "

พระอัตตทัตถเถระนั้น แม้พระศาสดาตรัสว่า " เหตุไร ? เธอ

จึงทำอย่างนั้น " ก็กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ข่าวว่า พระองค์จัก

ปรินิพพานโดยกาลล่วงไป ๔ เดือน. ข้าพระองค์พยายามเพื่อบรรลุพระ-

อรหัต ในเมื่อพระองค์ยังทรงพระชนม์อยู่นี่แหละ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 225

ผู้ปฏิบัติธรรมชื่อว่าบูชาพระศาสดา

พระศาสดา ประทานสาธุการแก่พระเถระนั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย ผู้ใดมีความสิเนหาในเรา. ผู้นั้นควรเป็นดุจอัตตทัตถะ ด้วยว่า

ชนทั้งหลายบูชาอยู่ด้วยวัตถุต่าง ๆ มีของหอมเป็นต้น ย่อมไม่ชื่อว่าบูชา

เรา, ส่วนผู้บูชาอยู่ด้วยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมชื่อว่าบูชา

เรา; เพราะฉะนั้น แม้ภิกษุรูปอื่นก็พึงเป็นเช่นอัตตทัตถะ " ดังนี้แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๐. อตฺตทตฺถ ปรตฺเถน พหุนาปิ น หาปเย

อตฺตทตฺถมภิญฺาย สทตฺถปสุโต สิยา.

" บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตน ให้เสื่อมเสีย

เพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์

ของตนแล้ว พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน."

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า.

" บุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงยังประโยชน์ของตน แม้ประมาณ

กากณิกหนึ่งให้เสื่อมเสีย เพราะประโยชน์ของคนอื่น แม้ประมาณค่าตั้ง

พันทีเดียว. ด้วยว่าประโยชน์ของตนแห่งบุคคลนั้นแล แม้ประมาณกากณิก

หนึ่ง ก็ยังของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภคให้สำเร็จได้, ประโยชน์ของ

คนอื่น หาให้สำเร็จไม่. ส่วนสองบาทพระคาถาเหล่านี้ พระผู้มีพระภาค

เจ้าไม่ตรัสอย่างนั้น ตรัสด้วยหัวข้อแห่งกัมมัฏฐาน. เพราะฉะนั้น ภิกษุ

๑. เป็นชื่อของมาตราเงินอย่างต่ำที่สุด แทบไม่มีค่าเสียเลย แต่ในที่นี้ เป็นคุณบทของคำว่า

ประโยชน์ จึงหมายความว่า ประโยชน์ของตนแม้น้อย จนไม่รู้จะประมาณได้ว่าเท่าไหน ก็ไม่

ควรให้เสียไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 226

ตั้งใจว่า ' เราจะไม่ยังประโยชน์ของตนให้เสื่อมเสีย ' ดังนี้แล้ว ก็ไม่พึง

ยังกิจมีการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์เป็นต้น อันบังเกิดขึ้นแก่สงฆ์ หรือวัตถุมี

อุปัชฌายวัตรเป็นต้นให้เสื่อมเสีย. ด้วยว่าภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริกวัตร

ให้สมบูรณ์อยู่แล ย่อมทำให้แจ้งซึ่งผลทั้งหลายมีอริยผลเป็นต้น. เพราะ-

ฉันนั้น การบำเพ็ญวัตรให้บริบูรณ์แม้นี้ จึงชื่อว่าเป็นประโยชน์ของตนแท้.

อนึ่ง ภิกษุใด มีวิปัสสนาอันปรารภยิ่งแล้ว ปรารถนาการแทง

ตลอดว่า 'เราจักแทงตลอดในวันนี้ ๆ แหละ ' ดังนี้แล้ว ประพฤติอยู่.

ภิกษุนั้น แม้ยังวัตรมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้นให้เสื่อมแล้ว ก็พึงทำกิจของตน

ให้ได้. ก็ภิกษุรู้จักประโยชน์ของตนเห็นปานนั้น คือกำหนดได้ว่า ่นี้

เป็นประโยชน์ตนของเรา ' พึงเป็นผู้เร่งขวนขวาย ประกอบในประโยชน์

ของตนนั้น. "

ในกาลจบเทศนา พระเถระนั้น ได้ตั้งอยู่ในพระอรหัตผล เทศนา

ได้เป็นประโยชน์แม้เเก่ภิกษุผู้ประชุมกันทั้งหลาย ดังนี้แล.

เรื่องพระอัตตทัตถเถระ จบ.

อัตตวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๒ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 227

คาถาธรรมบท

โลกวรรคที่ ๑๓

ว่าด้วยเรื่องโลก

[๒๓] ๑. บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว ไม่พึงอยู่ร่วม

ด้วยความประมาท ไม่พึงเสพความเห็นผิด ไม่พึง

เป็นคนรกโลก.

๒. บรรพชิตไม่พึงประมาทในก้อนข้าว อันตน

พึงลุกขึ้นยืนรับ บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต

ผู้มีปกติประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และ

โลกหน้า, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึง

ประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต ผู้มีปกติประพฤติธรรม

ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า.

๓. พระยามัจจุ ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณา

เห็นอยู่ซึ่งโลก เหมือนบุคคลพึงเห็นฟองน้ำ (และ)

เหมือนบุคคลพึงเห็นพยับแดด.

๔. ท่านทั้งหลายจงดูโลกนี้ อันตระการดุจราชรถ

ที่พวกคนเขลาหมกอยู่ (แต่) พวกผู้รู้หาข้องอยู่ไม่.

๕. ผู้ใดประมาทในก่อน ภายหลังไม่ประมาท

ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างได้ เหมือนดวงจันทร์พ้น

จากหมอกฉะนั้น.

๖. บุคคลใดละบาปกรรมที่ตนทำไว้แล้วได้ด้วย

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๐ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 228

กุศล บุคคลนั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนดวง

จันทร์พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น.

๗. สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนบอด ในโลกนี้น้อย

คนนักจะเห็นแจ้ง น้อยคนนักจะไปในสวรรค์ เหมือน

นกหลุดเเล้วจากข่าย (มีน้อย) ฉะนั้น.

๘. หงส์ทั้งหลาย ย่อมไปในทางแห่งดวงอาทิตย์

ท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์ ธีรชน

ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ย่อมออกไปจากโลกได้.

๙. บาปอันชนผู้ก้าวล่วงธรรมอย่างเอกเสีย ผู้

มักพูดเท็จ ผู้มีปรโลกอันล่วงเลยเสียแล้ว ไม่พึงทำ

ย่อมไม่มี.

๑๐. พวกคนตระหนี่ จะไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย

พวกชนพาลแล ย่อมไม่สรรเสริญทาน ส่วนนัก-

ปราชญ์อนุโมทนาทานอยู่ เพราะเหตุนั้นนั่นแล นัก-

ปราชญ์นั้นจึงเป็นผู้มีสุขในโลกหน้า.

๑๑. โสดาปัตติผลประเสริฐกว่าความเป็นเอกราช

ในแผ่นดิน กว่าการไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็น

ใหญ่ในโลกทั้งปวง.

จบโลกวรรคที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 229

๑๓. โลกวรรควรรณนา

๑. เรื่องภิกษุหนุ่ม [๑๓๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุหนุ่ม

รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หีน ธมฺม " เป็นต้น.

ภิกษุทะเลาะกับหลานสาวนางวิสาขา

ได้ยินว่า พระเถระรูปใดรูปหนึ่งพร้อมทั้งภิกษุหนุ่ม ได้ไปสู่เรือน

ของนางวิสาขาแต่เช้าตรู่ ข้าวต้มประจำย่อมเป็นของอันเขาตกแต่งไว้เป็น

นิตย์ เพื่อภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ในเรือนของนางวิสาขา. พระเถระ

ฉันข้าวต้มแล้ว ให้ภิกษุหนุ่มนั่งอยู่บนเรือนของนางวิสาขานั้น ส่วนตน

ได้ไปเรือนหลังอื่น. ก็โดยสมัยนั้น ธิดาของบุตรของนางวิสาขาตั้งอยู่ใน

ฐานะของย่า ทำการขวนขวายแก่ภิกษุทั้งหลาย. นางกรองน้ำเพื่อภิกษุ

หนุ่มนั้น เห็นเงาหน้าของตนในตุ่ม จึงหัวเราะ. แม้ภิกษุหนุ่มมองดูนาง

ก็หัวเราะ. นางเห็นภิกษุหนุ่มนั้นหัวเราะอยู่ จึงกล่าวว่า " คนหัวขาด

ย่อมหัวเราะ" ลำดับนั้นภิกษุหนุ่มด่านางว่า " เธอก็หัวขาด. ถึงมารดา

บิดาของเธอก็หัวขาด." นางร้องไห้ไปสู่สำนักของย่าในโรงครัวใหญ่.

เมื่อนางวิสาขากล่าวว่า " นี้อะไร ? แม่ " จึงบอกเนื้อความนั้น. นาง-

วิสาขานั้นมาสู่สำนักของภิกษุหนุ่มแล้ว พูดว่า " ท่านเจ้าข้า อย่า

โกรธแล้ว. คำนั้นเป็นคำไม่หนักนักสำหรับพระผู้เป็นเจ้า ผู้มีผมและ

๑. หมายความว่า ทำแทนนางวิสาขาผู้เป็นย่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 230

เล็บอันตัดแล้ว ผู้มีผ้านุ่งผ้าห่มอันตัดแล้ว ผู้ถือกระเบื้องตัด ณ ท่ามกลาง

เที่ยวไปอยู่เพื่อภิกษา. " ภิกษุหนุ่มพูดว่า " เออ อุบาสิกา ท่านย่อม

ทราบความที่อาตมาเป็นผู้มีผมอันตัดแล้วเป็นต้น." การที่หลานของท่าน

นี้ด่าทำอาตมาว่า ' ผู้มีหัวขาด ' ดังนี้ จักควรหรือ.? " นางวิสาขา

ไม่ได้อาจ เพื่อให้ภิกษุหนุ่มยินยอมเลย (ทั้ง) ไม่ได้อาจเพื่อให้นางทาริกา

ยินยอม. ขณะนั้น พระเถระมาแล้ว ถามว่า " นี้ อะไรกัน ? อุบาสิกา "

ฟังความนั้นแล้ว เมื่อจะกล่าวสอนภิกษุหนุ่ม จึงพูดว่า " ผู้มีอายุ เธอจง

หลีกไป, หญิงนี้ไม่ได้ด่าต่อเธอผู้มีผมเล็บและผ้าอันตัดแล้ว ผู้ถือกระเบื้อง

ตัดในท่ามกลางเที่ยวไปอยู่เพื่อภิกษา, เธอจงเป็นผู้นิ่งเสีย. "

ภิกษุหนุ่ม. อย่างนั้นขอรับ ท่านไม่คุกคามอุปัฏฐายิกาของตน จัก

คุกคามกระผมทำไม ? การที่นางด่ากระผมว่า ' ผู้มีหัวขาด ' จักควรหรือ ?

ขณะนั้น พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " นี้อะไรกัน ? " นาง-

วิสาขากราบทูลประพฤติเหตุนั้นตั้งแต่ต้น.

พระศาสดาประทานโอวาทแก่ภิกษุหนุ่ม

พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของภิกษุหนุ่มนั้น

แล้ว จึงทรงดำริว่า " เราคล้อยตามภิกษุหนุ่มนี้จะควร " ดังนี้แล้ว จึง

ตรัสกะนางวิสาขาว่า " วิสาขา ก็ทาริกาของท่านด่าทำสาวกทั้งหลายของ

เราให้เป็นผู้มีศีรษะขาด ด้วยเหตุสักว่ามีผมอันตัดแล้วเป็นต้นนั้นแล ควร

หรือ ? " ภิกษุหนุ่ม ลุกขึ้นประคองอัญชลีในทันใดนั่นแล กราบทูล

ว่า " พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบปัญหานั่นด้วยดี. อุปัชฌาย์ของ

ข้าพระองค์และมหาอุบาสิกา ย่อมไม่ทราบด้วยดี. " พระศาสดา ทรง

ทราบความที่พระองค์เป็นผู้อนุกูลแก่ภิกษุหนุ่มแล้ว ตรัสว่า " ชื่อว่าความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 231

เป็นคือการหัวเราะปรารภกามคุณเป็นธรรมอันเลว. อนึ่งการเสพธรรมที่

ชื่อว่าเลว และการอยู่ร่วมกับความประมาทย่อมไม่ควร " จึงตรัสพระคาถา

นี้ว่า :-

๑. หีน ธมฺม น เสเวยฺย ปมาเทน น สวเส

มิจฺฉาทิฏฺึ น เสเวยฺย น สิยา โลกวฑฺฒโน.

" บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว, ไม่พึงอยู่ร่วม

ด้วยความประมาท, ไม่พึงเสพความเห็นผิด ไม่พึง

เป็นคนรกโลก. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า หีน ธมฺม ได้แก่ ธรรม คือ

เบญจกามคุณ. แท้จริง ธรรมคือเบญจกามคุณนั้น อันชนเลว โดยที่สุด

แม้อูฐและโคเป็นต้นพึงเสพ. ธรรมคือเบญจกามคุณ ย่อมให้สัตว์ผู้เสพ-

บังเกิดในฐานะทั้งหลายมีนรกเป็นต้นอันเลว เพราะเหตุนั้น ธรรมคือ

เบญจกามคุณนั้น จึงชื่อว่าเป็นธรรมเลว : บุคคลไม่พึงเสพธรรมอันเลว

นั้น. บทว่า ปมาเทน ความว่า ไม่พึงอยู่ร่วมแม้ด้วยความประมาท มี

อันปล่อยสติเป็นลักษณะ บทว่า น เสเวยฺย ได้แก่ ไม่พึงถือความเห็น

ผิด. บทว่า โลกวฑฺฒโน ความว่า ก็ผู้ใดทำอย่างนี้. ผู้นั้นย่อมชื่อว่า

เป็นคนรกโลก ; เพราะเหตุนั้น (ไม่) พึงเป็นคนรกโลก เพราะไม่ทำ

อย่างนั้น.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุหนุ่มตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา

ได้เป็นประโยชน์แม้แก่ชนทั้งหลายผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุหนุ่ม จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 232

๒. เรื่องพระเจ้าสุทโธนทะ [๑๓๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในนิโครธาราม ทรงปรารภพระบิดา

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อุตฺติฏฺเ นปฺปมชฺเชยฺย " เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์ครั้งแรก

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระศาสดาเสด็จไปกรุงกบิลพัสดุ์บุรี

โดยเสด็จไปครั้งแรก มีการต้อนรับอันพระญาติทั้งหลายทำแล้วเสด็จไปสู่

นิโครธาราม ทรงนิรมิตตนจงกรมในอากาศ จงกรมบนรัตนจงกรมนั้น

ทรงแสดงธรรมเพื่อต้องการทำลายมานะของพระญาติทั้งหลายแล้ว. พระ-

ญาติทั้งหลายมีจิตเลื่อมใสแล้ว ถวายบังคมตั้งต้นแต่พระเจ้าสุทโธทนมหา-

ราช. ฝนโบกขรพรรษตกในสมาคมแห่งพระญาตินั้น. เมื่อมหาชนปรารภ

ฝนนั้น สนทนากันแล้วพระศาสดาตรัสว่า " ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้

ภิกษุทั้งหลาย. ถึงในกาลก่อน ฝนโบกขรพรรษก็ตกในสมาคมแห่งญาติ

ของเราเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว จึงตรัสเวสสันดรชาดก. บรรดาพระญาติ

ซึ่งฟังพระธรรมเทศนาแล้วหลีกไปอยู่. แม้องค์หนึ่งก็ไม่นิมนต์พระศาสดา

แล้ว. แม้พระราชาก็ไม่ทรงนิมนต์เลย ด้วยทรงดำริว่า " บุตรเราไม่มา

สู่เรือนของเรา จักไปไหน ? " ดังนี้แล้ว ได้เสด็จไป ; ก็แลครั้นเสด็จไป

แล้ว รับสั่งให้คนตกแต่งข้าวต้มเป็นต้น ให้ปูลาดอาสนะทั้งหลายไว้เพื่อ

ภิกษุมีประมาณสองหมื่น ในพระราชมนเฑียร.

๑. ขุ. ชา. มหา. ๒๗/๓๖๕. อรรถกถา.๑๐/๓๑๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 233

วันรุ่งขึ้น พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปสู่พระนครเพื่อบิณฑบาต ทรง

ใคร่ครวญว่า " พระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลาย เสด็จถึงพระนครแห่งพระ-

บิดาแล้ว เสด็จตรงไปสู่ตระกูลแห่งพระญาติทีเดียวหรือหนอแล ? หรือว่า

เสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต โดยลำดับ " ทรงเห็นว่า " เสด็จเที่ยวไปโดย

ลำดับ " ดังนี้แล้ว จึงเสด็จดำเนินไปเพื่อบิณฑบาตตั้งแต่เรือนหลังแรก.

พระมารดาของพระราหุลประทับนั่งบนพื้นปราสาทแลเห็นแล้ว จึงกราบ-

ทูลประพฤติเหตุนั้นแด่พระราชา พระราชาทรงจัดแจงผ้าสาฎกรีบเสด็จ

ออกไป ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ตรัสว่า " ลูก เพราะเหตุไร ? ท่าน

จึงให้ข้าพเจ้าฉิบหาย. ท่านเที่ยวไปเพื่อภิกษา ให้ความละอายเกิดขึ้นแล้ว

แก่ข้าพเจ้าเหลือเกิน. ขึ้นชื่อว่ากรรมไม่ควรอันท่านทำแล้ว. การที่ท่าน

เที่ยวไปด้วยวอทองคำเป็นต้น เที่ยวไปเพื่อภิกษา ในนครนี้นั้นแหละจึง

ควร ; ท่านให้ข้าพเจ้าละอายทำไม ? "

การบิณฑบาตเป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้า

พระศาสดา. มหาบพิตร อาตมภาพให้พระองค์ละอายหามิได้,

แต่อาตมภาพย่อมประพฤติตามวงศ์สกุลของตน.

พระราชา. พ่อ ก็การเที่ยวไปเพื่อภิกษาแล้วเป็นอยู่ เป็นวงศ์

ของข้าพเจ้าหรือ ?

พระศาสดาตรัส ว่า " มหาบพิตร นั่นมิใช่เป็นวงศ์ของพระองค์. แต่

นั่นเป็นวงศ์ของอาตมภาพ ; เพราะพระพุทธเจ้าไม่ใช่พันหนึ่ง เสด็จเที่ยว

ไปเพื่อบิณฑบาตแล้วเป็นอยู่เหมือนกัน" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม

ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านั้นว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 234

๒. อุตฺติฏฺเ นปฺปมชฺเชยฺย ธมฺม สุจริต จเร

ธมฺมจารี สุข เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.

ธมฺม จเร สุจริต น น ทุจฺจริต จเร

ธมฺมจารี สุข เสติ อสฺมึ โลเก ปรมฺหิ จ.

" บรรพชิตไม่พึงประมาทในก้อนข้าว อันตนพึง

ลุกขึ้นยืนรับ, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต ผู้มี

ปกติประพฤติธรรม ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลก

หน้า, บุคคลพึงประพฤติธรรมให้สุจริต, ไม่พึง

ประพฤติธรรมนั้นให้ทุจริต, ผู้มีปกติประพฤติธรรม

ย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และโลกหน้า."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺติฏฺเ ความว่า ในก้อนข้าว อันตน

พึงลุกขึ้นยืนรับที่ประตูเรือนของชนเหล่าอื่น. บทว่า นปฺปมชฺเชยฺย

ความว่า ก็ภิกษุเมื่อให้ธรรมเนียมของผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นปกติเสื่อมแล้ว

แสวงหาโภชนะอันประณีต ชื่อว่าย่อมประมาท ในก้อนข้าวอันตนพึงลุก

ขึ้นยืนรับ. แต่ว่าเมื่อเที่ยวไปตามลำดับตรอกเพื่อบิณฑบาต ชื่อว่าย่อมไม่

ประมาท. ทำอยู่อย่างนั้น ชื่อว่าไม่พึงประมาท ในก้อนข้าวที่ตนพึงลุกขึ้น

ยืนรับ.

บทว่า ธมฺม ความว่า เมื่อละการแสวงหาอันไม่ควรแล้วเที่ยวไป

ตามลำดับตรอก ชื่อว่าพึงประพฤติธรรม คือการเที่ยวไปเพื่อภิกษานั้น

นั่นแลให้เป็นสุจริต. คำว่า สุข เสติ นั่น สักว่าเป็นเทศนา. อธิบายว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 235

เมื่อประพฤติธรรมคือการเที่ยวไปเพื่อภิกษา ชื่อว่าประพฤติธรรมเป็น

ปกติ ย่อมอยู่เป็นสุขโดยอิริยาบถแม้ทั้ง ๔ ในโลกนี้และโลกหน้า.

สองบทว่า น ต ทุจฺจริต ความว่า เมื่อเที่ยวไปในอโคจร ต่างด้วย

อโคจรมีหญิงแพศยาเป็นต้น ชื่อว่าย่อมประพฤติธรรม คือการเที่ยวไปเพื่อ

ภิกษาให้เป็นทุจริต. ไม่ประพฤติอย่างนั้น พึงประพฤติธรรมนั้นให้เป็น

สุจริต, ไม่พึงประพฤติธรรมนั้นให้เป็นทุจริต. คำที่เหลือ มีเนื้อความ

ดังกล่าวแล้วเหมือนกัน.

ในเวลาจบเทศนา พระราชาทรงดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผลแล้ว.

เทศนาได้มีประโยชน์แม้เเก่ชนทั้งหลายผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.

เรื่องพระเจ้าสุทโธทนะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 236

๓. เรื่องภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา [๑๓๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้เจริญ

วิปัสสนามีประมาณ๕๐๐รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยถา ปุพฺพุฬก

ปสฺเส " เป็นต้น.

ภิกษุถือเอาพยับแดดเป็นอารมณ์

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดา

แล้ว เข้าไปสู่ป่า แม้พยายามอยู่ ก็ไม่ได้บรรลุคุณวิเศษ จึงคิดว่า '' พวก

เราจักเรียนกัมมัฏฐานให้วิเศษ " กำลังมาสู่สำนักของพระศาสดา เห็น

พยับแดดในระหว่างทาง เจริญกัมมัฏฐานมีพยับแดดเป็นอารมณ์นั่นแหละ

มาแล้ว. ฝนตกในขณะแห่งภิกษุเหล่านั้นเข้าไปสู่วิหารนั่นเอง ภิกษุ

เหล่านั้นยืนที่หน้ามุขนั้น ๆ เห็นฟองน้ำทั้งหลายซึ่งตั้งขึ้นแล้ว แตกไป

อยู่ด้วยความเร็วแห่งสายน้ำ ยึดเอาเป็นอารมณ์ว่า " อัตภาพแม้นี้ เป็น

เช่นกับฟองน้ำ เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นแล้วแตกไปเหมือนกัน. " พระศาสดา

ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงแลดูภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงแผ่

พระโอภาส เหมือนตรัสกับภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. ยถา ปุพฺพุฬก ปสฺเส ยถา ปสฺเส มรีจิก

เอว โลก อเวกฺขนฺต มจฺจุราชา น ปสฺสติ.

" พระยามัจจุ ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็น

อยู่ซึ่งโลก เหมือนบุคคลพึงเห็นฟองน้ำ (และ)

เหมือนบุคคลพึงเห็นพยับแดด. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 237

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มรีจิก คือพยับแดด จริงอยู่ พยับแดด

แม้ปรากฏขึ้นแต่ที่ไกลเทียว ด้วยสามารถมีสัณฐานดังสัณฐานเรือนเป็นต้น

เป็นของเข้าถึงความเป็นรูปที่ถือเอามิได้ เป็นของว่างเปล่าแท้ (ย่อม

ปรากฏ) แก่คนทั้งหลายผู้เข้าไปใกล้อยู่, เพราะเหตุนั้น จึงมีอธิบายว่า

" พระยามัจจุ ย่อมไม่เห็นบุคคลผู้พิจารณาเห็นอยู่ซึ่งโลกมีขันธ์เป็นอาทิ

เหมือนบุคคลพึงเห็นฟองน้ำ เพราะอรรถว่าเกิดขึ้นแล้วแตกไป (และ)

เหมือนบุคคลพึงเห็นพยับแดด เพราะความเป็นธรรมชาติว่างเปล่าเป็น

อาทิ ฉะนั้น. "

ในเวลาจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว ในที่แห่ง

ตนยืนนั่นเอง ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 238

๔. เรื่องอภัยราชกุมาร [๑๔๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอภัยราชกุมาร

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เอถ ปสฺสถิม โลก " เป็นต้น.

พระกุมารได้รับพระราชทานราชสมบัติ

ได้ยินว่า เมื่ออภัยราชกุมารนั้น ทรงปราบปรามปัจจันตชนบทให้

สงบมาแล้ว พระเจ้าพิมพิสารผู้พระบิดา ทรงพอพระทัยแล้ว พระราชทาน

หญิงฟ้อนคนหนึ่ง ผู้ฉลาดในการฟ้อนและการขับแล้ว ได้พระราชทาน

ราชสมบัติสิ้น ๗ วัน. อภัยราชกุมารนั้น ไม่เสด็จออกภายนอกพระราช-

มนเฑียรเลย. เสวยสิริแห่งความเป็นพระราชาสิ้น ๗ วัน เสด็จไปสู่ท่า

แม่น้ำในวันที่ ๘ ทรงสรงสนานแล้ว เสด็จเข้าไปสู่พระอุทยาน ประทับ

นั่งทอดพระเนตรการฟ้อนและการขับของหญิงนั้น ดุจสันตติมหาอำมาตย์.

ในขณะนั้นเอง แม้นางนั้นได้ทำกาละ ด้วยอำนาจกองลมกล้าดุจศัสตรา

ดุจหญิงฟ้อนของสันตติมหาอำมาตย์ พระกุมารมีความโศกเกิดขึ้นแล้ว

เพราะกาลกิริยาของหญิงฟ้อนนั้น ทรงดำริว่า " ผู้อื่น เว้นพระศาสดาเสีย

จักไม่อาจเพื่อให้ความโศกนี้ของเราดับได้ " ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระ-

ศาสดากราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงให้ความโศกของข้าพระองค์

ดับเถิด. "

อุบายระงับความโศก

พระศาสดา ทรงปลอบพระกุมารนั้นแล้วตรัสว่า " กุมาร ก็ประมาณ

แห่งน้ำตาทั้งหลาย ที่เธอร้องไห้อยู่ในกาลแห่งหญิงนี้ตายแล้ว อย่างนี้

นี่แลให้เป็นไปแล้ว ย่อมไม่มีในสงสาร ซึ่งมีที่สุดอันใคร ๆ รู้ไม่ได้ "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 239

ทรงทราบความที่ความโศกเป็นภาพเบาบาง เพราะเทศนานั้นแล้วจึง

ตรัสว่า " กุมาร เธออย่าโศกเลย, ข้อนั้นเป็นฐานะเป็นที่จมลงของชน

พาลทั้งหลาย ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. เอถ ปสฺสถิม โลก จิตฺต ราชรถูปม

ยตฺถ พาลา วิสีทนฺติ นตฺถิ สงฺโค วิชานต

" ท่านทั้งหลายจงมาดูโลกนี้ อันตระการ ดุจ

ราชรถ, ที่พวกคนเขลาหมกอยู่, (แต่) พวกผู้รู้หา

ข้องอยู่ไม่."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เอถ ปสฺสถ พระศาสดาตรัสหมาย

เอาพระราชกุมารนั่นเอง, สองบทว่า อิม โลก ได้แก่ อัตภาพ กล่าวคือ

ขันธโลกเป็นต้นนี้. บทว่า จิตฺต ความว่า อันวิจิตรด้วยเครื่องประดับ

มีเครื่องประดับคือผ้าเป็นต้น ดุจราชรถอันวิจิตรด้วยเครื่องประดับมีเเก้ว

๗ ประการเป็นอาทิ. สองบทว่า ยตฺถ พาลา ความว่า พวกคนเขลา

เท่านั้นหมกอยู่ในอัตภาพใด. บทว่า วิชานต ความว่า แต่สำหรับพวก

ผู้รู้คือบัณฑิตทั้งหลาย หามีความข้องในกิเลสเครื่องข้อง คือราคะเป็นต้น

แม้อย่างหนึ่งในอัตภาพนั้นไม่.

ในเวลาจบเทศนา พระราชกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว, พระ-

ธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้เเก่ผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.

เรื่องอภัยราชกุมาร จบ.

๑. พระศาสดาตรัสสองบทว่า เอถ ปสฺสถ ในพระคาถานั้น ทรงหมายเอาจำเพาะพระราชกุมาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 240

๕. เรื่องพระสัมมัชชนเถระ [๑๔๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสัมมัช-

ชนเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตฺวา "

เป็นต้น.

ผู้ไม่ประมาทย่อมยังโลกให้สว่าง

ได้ยินว่า พระเถระนั้นไม่ทำเวลาให้เป็นประมาณว่า " เช้าหรือ

เย็น " ย่อมเที่ยวกวาดอยู่เนือง ๆ. วันหนึ่ง พระเถระนั้น ถือไม้กวาด

ไปสู่สำนักของพระเรวตเถระ ผู้นั่งในที่พักกลางวันแล้ว กล่าวว่า " พระ-

เถระนี้เป็นผู้เกียจคร้านมาก. บริโภคของที่ชนถวายด้วยศรัทธา แล้วมา

นั่งอยู่ ; การที่พระเถระนั้นถือเอาไม้กวาดแล้วกวาดที่แห่งหนึ่ง จะไม่ควร

หรือ ? " พระเถระคิดว่า " เราจักให้โอวาทแก่เธอ " ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า

" มานี่แน่ะ คุณ."

พระสัมมัชชนเถระ. อะไร ? ขอรับ.

พระเรวตเถระ. ท่านจงไป. อาบน้ำแล้วจงมา.

พระสัมมัชชนเถระนั้น ได้ทำอย่างนั้นแล้ว.

ลำดับนั้น พระเถระให้เธอนั่ง ณ ส่วนสุดข้างหนึ่งแล้ว เมื่อจะกล่าว

สอน จึงกล่าวว่า " คุณ ธรรมดาภิกษุเที่ยวกวาดอยู่ตลอดทุกเวลา ไม่ควร,

ก็การที่ภิกษุกวาดแต่เช้าตรู่แล้ว เที่ยวบิณฑบาต กลับจากบิณฑบาตแล้ว

มานั่งในที่พักกลางคืนหรือในที่พักกลางวัน สาธยายอาการ ๓๒ เริ่มตั้ง

ความสิ้นความเสื่อมในอัตภาพแล้ว ลุกขึ้นกวาดในเวลาเย็น จึงควร. อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 241

ภิกษุไม่กวาดตลอดกาลเป็นนิตย์ แล้วพึงทำโอกาส ชื่อแม้แก่ตน." พระ-

สัมมัชชนเถระนั้นตั้งอยู่ในโอวาทของพระเถระแล้ว ไม่นานเท่าไรก็บรรลุ

พระอรหัต. ที่นั้น ๆได้รกรุงรังแล้ว.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะพระสัมมัชชนเถระนั้นว่า " สัมมัช-

ชนเถระผู้มีอายุ ที่นั้น ๆ รกรุงรัง. เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่กวาด ? "

พระสัมมัชชนเถระ. ท่านผู้เจริญ กระผมทำแล้วอย่างนั้น ในเวลา

ประมาท, บัดนี้ กระผมเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแด่พระศาสดาว่า " พระเถระนี้ พยากรณ์

อรหัตผล. " พระศาสดาตรัสว่า " อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเรา

เที่ยวกวาดอยู่ในเวลาประมาทในก่อน. แต่บัดนี้ บุตรของเรายับยั้งอยู่

ด้วยความสุขซึ่งเกิดแต่มรรคผล จึงไม่กวาด " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา

นี้ว่า :-

๕. โย จ ปุพฺเพ ปมชฺชิตวา ปจฺฉา โส นปฺปมชฺชติ

โส อิม โลก ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา.

" ผู้ใดประมาทในก่อน ภายหลังไม่ประมาท,

ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่างได้ เหมือนดวงจันทร์พ้น

แล้วจากหมอกฉะนั้น."

แก้อรรถ

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า :-

บุคคลใดประมาทแล้วในก่อน ด้วยการทำวัตรและวัตรตอบ หรือ

ด้วยการสาธยายเป็นต้น ภายหลังยับยั้งอยู่ด้วยสุขซึ่งเกิดแต่มรรคผล ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 242

ย่อมไม่ประมาท. บุคคลนั้น ย่อมยังโลกมีขันธ์เป็นต้นนี้ให้สว่าง คือย่อม

ทำให้แสงสว่างเป็นอันเดียวกันได้ด้วยมรรคญาณ เหมือนดวงจันทร์พ้นแล้ว

จากหมอกเป็นต้น ยังโอกาสโลกให้สว่างอยู่ ฉะนั้น.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระสัมมัชชนเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 243

๖. เรื่องพระอังคุลิมาลเถระ [๑๔๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอังคุลิ-

มาลเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺส ปาป กต กมฺม " เป็นต้น.

ต้นคดปลายตรงใช้ได้

เนื้อเรื่องบัณฑิตพึงทราบด้วยสามารถแห่งอังคุลิมาลสูตรนั่นแล. ก็

พระเถระบวชในสำนักของพระศาสดา บรรลุพระอรหัตแล้ว. ครั้งนั้นแล

ท่านพระอังคุลิมาลไปแล้วในที่ลับหลีกเร้นอยู่ เสวยวิมุตติสุขแล้ว, เปล่ง

อุทานนี้ในเวลานั้นว่า :-

" ก็ผู้ใด ประมาทแล้วในก่อน ภายหลังไม่ประ-

มาท, ผู้นั้นย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือนดวงจันทร์

พ้นแล้วจากหมอกฉะนั้น. "

ครั้นเปล่งอุทานแล้ว ก็ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ.

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุ พระเถระบังเกิดแล้ว

ณ ที่ไหนหนอแล ? พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พวกเธอเป็นผู้นั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลว่า " ด้วยถ้อยคำปรารภถึงที่บังเกิดของพระอังคุลิมาลเถระ. พระ-

เจ้าข้า. " จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราปรินิพพานแล้ว." เมื่อ

ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า " พระอังคุลิมาลเถระฆ่ามนุษย์มีประมาณเท่านี้

ปรินิพพานแล้วหรือ ? พระเจ้าข้า " จึงตรัสว่า " อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย

เพราะอังคุลิมาลนั้นไม่ได้กัลยามิตรสักคนหนึ่ง จึงได้ทำบาปมีประมาณ

๑. ม. ม. ๑๓/๔๗๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 244

เท่านี้ในกาลก่อน. แต่ภายหลังเธอได้กัลยาณมิตรเป็นปัจจัย จึงได้เป็น

ผู้ไม่ประมาท; เหตุนั้น บาปกรรมนั้นอันบุตรของเราละได้แล้วด้วยกุศล"

ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๖. ยสฺส ปาป กต กมฺม กุสเลน ปิถียติ

โส อิม โลก ปภาเสติ อพฺภา มุตฺโตว จนฺทิมา

" บุคคลใด ละบาปกรรมที่ตนทำไว้เเล้วได้ด้วย

กุศล, บุคคลนั้น ย่อมยังโลกนี้ให้สว่าง เหมือน

ดวงจันทร์พ้นแล้วจากหมอก ฉะนั้น. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสเลน พระศาสดาตรัสหมายเอาพระ-

อรหัตมรรค. คำที่เหลือ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น.

เรื่องพระอังคุลิมาลเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 245

๗. เรื่องธิดานายช่างหูก [๑๔๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเจดีย์ชื่อว่าอัคคาฬวะ ทรงปรารภ

ธิดาของนายช่างหูกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อนฺธภูโต อย

โลโก " เป็นต้น.

คนเจริญมรณสติไม่กลัวตาย

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกชาวเมืองอาฬวี เมื่อพระศาสดา

เสด็จถึงเมืองอาฬวีแล้ว ได้ทูลนิมนต์ถวายทานแล้ว. พระศาสดาเมื่อจะ

ทรงทำอนุโมทนาในเวลาเสร็จภัตกิจ จึงตรัสว่า " ท่านทั้งหลายจงเจริญ

มรณสติอย่างนี้ว่า ' ชีวิตของเราไม่ยั่งยืน, ความตายของเราแน่นอน, เรา

พึงตายแน่แท้. ชีวิตของเรามีความตายเป็นที่สุด. ชีวิตของเราไม่เที่ยง.

ความตายเที่ยง; ก็มรณะอันชนทั้งหลายใดไม่เจริญแล้ว, ในกาลที่สุด

ชนทั้งหลายนั้น ย่อมถึงความสะดุ้ง ร้องอย่างขลาดกลัวอยู่ทำกาละ เหมือน

บุรุษเห็นอสรพิษแล้วกลัวฉะนั้น; ส่วนมรณะอันชนทั้งหลายใดเจริญแล้ว

ชนทั้งหลายนั้น ย่อมไม่สะดุ้งในกาลที่สุด ดุจบุรุษเห็นอสรพิษแต่ไกล

เทียว แล้วก็เอาท่อนไม้เขี่ยทิ้งไปยืนอยู่ฉะนั้น; เพราะฉะนั้นมรณสติอัน

ท่านทั้งหลายพึงเจริญ. "

พระศาสดาเสด็จประทานโอวาทธิดาช่างหูก

พวกชนที่เหลือฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว ได้เป็นผู้ขวนขวายใน

กิจของตนอย่างเดียว. ส่วนธิดาของนายช่างหูกอายุ ๑๖ ปีคนหนึ่ง คิดว่า

" โอ ธรรมดาถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอัศจรรย์, เราเจริญมรณสติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 246

จึงควร " ดังนี้แล้ว ก็เจริญมรณสติอย่างเดียวตลอดทั้งกลางวันกลางคืน.

ฝ่ายพระศาสดาเสด็จออกจากเมืองอาฬวีแล้ว ก็ได้เสด็จไปพระเชตวัน.

นางกุมาริกาแม้นั้น ก็เจริญมรณสติสิ้น ๓ ปีทีเดียว. ต่อมาวันหนึ่ง พระ-

ศาสดาทรงตรวจดูโลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นนางกุมาริกานั้น เข้าไป

ในภายในข่าย คือพระญาติของพระองค์ ทรงใคร่ครวญว่า " เหตุอะไร

หนอ ? จักมี " ทรงทราบว่า นางกุมาริกานี้เจริญมรณสติแล้วสิ้น ๓ ปี

ตั้งแต่วันที่ฟังธรรมเทศนาของเรา. บัดนี้ เราไปในที่นั้นแล้ว ถามปัญหา

๔ ข้อกะนางกุมาริกานี้ เมื่อนางเเก้ปัญหาอยู่ จักให้สธุการในฐานะ ๔

แล้วภาษิตคาถานี้. ในเวลาจบคาถา นางกุมาริกานั้น จักตั้งอยู่ในโสดา-

ปัตติผล, เพราะอาศัยนางกุมาริกานั้น เทศนาจักมีประโยชน์แม้แก่มหาชน

ดังนี้แล้ว มีภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จออกจากพระ-

เชตวัน ไปสู่อัคคาฬววิหารโดยลำดับ. ชาวเมืองอาฬวีทราบว่า " พระ-

ศาสดาเสด็จมาแล้ว " จึงไปวิหาร ทูลนิมนต์แล้ว. แม้นางกุมาริกานั้น ทราบ

การเสด็จมาของพระศาสดา มีใจยินดีว่า " ข่าวว่า พระมหาโคดมพุทธเจ้า

ผู้พระบิดา ผู้เป็นใหญ่ เป็นพระอาจารย์ ผู้มีพระพักตร์ดังพระจันทร์เพ็ญ

ของเราเสด็จมาแล้ว " จึงคิดว่า " พระศาสดา ผู้มีวรรณะดังทองคำ อัน

เราเคยเห็น ในที่สุด ๓ ปี แต่วันนี้. บัดนี้ เราจักได้เห็นพระสรีระซึ่งมี

วรรณะดังทองคำ และฟังธรรมอันเป็นโอวาท ซึ่งโอชะอันไพเราะ

(จับใจ) ของพระศาสดานั้น. "

ฝ่ายบิดาของนาง เมื่อจะไปสู่โรงหูก ได้สั่งไว้ว่า " แม่ ผ้าสาฎก

ซึ่งเป็นของคนอื่น เรายกขึ้นไว้ (กำลังทอ), ผ้านั้นประมาณคืบหนึ่ง ยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 247

ไม่สำเร็จ; เราจะให้ผ้านั้นเสร็จในวันนี้. เจ้ากรอด้ายหลอดแล้ว พึงนำ

มาให้แก่พ่อโดยเร็ว. " นางกุมาริกานั้นคิดว่า " เราใคร่จะฟังธรรมของ

พระศาสดา ก็บิดาสั่งเราไว้อย่างนี้; เราจะฟังธรรมของพระศาสดาหรือ

หนอแล หรือจะกรอด้ายหลอดแล้วนำไปให้แก่บิดา ? " ครั้งนั้น นาง

กุมาริกานั้น ได้มีความปริวิตกอย่างนั้นว่า " เมื่อเราไม่นำด้ายหลอดไปให้

บิดาพึงโบยเราบ้าง พึงตีเราบ้าง. เพราะฉะนั้น เรากรอด้ายหลอดให้เเก่

ท่านแล้ว จึงจักฟังธรรมในภายหลัง " ดังนี้แล้ว จึงนั่งกรอด้ายหลอดอยู่

บนตั่ง แม้พวกชาวเมืองอาฬวีอังคาสพระศาสดาแล้ว ได้รับบาตร ยืนอยู่

เพื่อต้องการอนุโมทนา. พระศาสดาประทับนั่งแล้ว ด้วยทรงดำริว่า " เรา

อาศัยกุลธิดาใดมาแล้วสิ้นทาง ๓๐ โยชน์, กุลธิดานั้น ไม่มีโอกาสแม้ใน

วันนี้. เมื่อกุลธิดานั้นได้โอกาสเราจักทำอนุโมทนา. " ก็ใครๆในโลก

พร้อมทั้งเทวโลก ย่อมไม่อาจเพื่อจะทูลอะไร ๆ กะพระศาสดา ผู้ทรงนิ่ง

อย่างนั้นได้. แม้นางกุมาริกานั้นแล กรอด้ายหลอดแล้วใส่ในกระเช้า

เดินไปสู่สำนักของบิดา ถึงที่สุดของบริษัทแล้ว ก็ได้เดินแลดูพระศาสดา

ไป. แม้พระศาสดา ก็ทรงชะเง้อทอดพระเนตรนางกุมาริกานั้น. ถึงนาง

กุมาริกานั้นก็ได้ทราบแล้ว โดยอาการที่พระศาสดาทอดพระเนตรเหมือน

กันว่า " พระศาสดา ประทับนั่งอยู่ในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้น ทอด

พระเนตรเราอยู่ ย่อมทรงหวังการมาของเรา ย่อมทรงหวังการมาสู่สำนัก

ของพระองค์ทีเดียว. " นางวางกระเช้าด้ายหลอด แล้วได้ไปยังสำนักของ

พระศาสดา.

๑. คีว อุกฺขิปิตฺวา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 248

ถามว่า " ก็เพราะเหตุอะไร ? พระศาสดา จึงทอดพระเนตรนาง

กุมาริกานั้น."

แก้ว่า " ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงปริวิตกอย่างนี้ว่า " นางกุมาริกา

นั้น เมื่อไปจากที่นี้ ทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว จักเป็นผู้มีคติไม่แน่นอน.

แต่มาสู่สำนักของเราแล้วไปอยู่ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จักเป็นผู้มีคติ

แน่นอน เกิดในดุสิตวิมาน." นัยว่า ในวันนั้น ชื่อว่าความพ้นจากความ

ตายไม่มีแก่นางกุมาริกานั้น.

นางกุมาริกานั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ด้วยเครื่องหมายอันพระศาสดา

ทอดพระเนตรนั่นแล เข้าไปสู่ระหว่างแห่งรัศมี มีพรรณะ ๖ ถวายบังคม

แล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสถามปัญหากะธิดาช่างหูก

ในขณะที่นางกุมาริกานั้น ถวายบังคมพระศาสดาผู้ประทับนั่งนิ่งใน

ท่ามกลางบริษัทเห็นปานนั้นแล้ว ยืนอยู่นั่นแล พระศาสดาตรัสกะนางว่า

" กุมาริกา เธอมาจากไหน ? "

กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอจักไปที่ไหน ?

กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอไม่ทราบหรือ ?

กุมาริกา. ทราบ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอทราบหรือ ?

กุมาริกา. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 249

พระศาสดาตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกะนางกุมาริกานั้น ด้วยประการ

ฉะนี้.

มหาชนโพนทะนาว่า " ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู, ธิดา

ของช่างหูกนี้ พูดคำอันตนปรารถนาแล้ว ๆ กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า;

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า ' เธอมาจากไหน ? ' ธิดาของช่างหูกนี้

ควรพูดว่า ' จากเรือนของช่างหูก, ' เมื่อตรัสว่า ' เธอ จะไปไหน ? '

ก็ควรกล่าวว่า ' ไปโรงของช่างหูก ' มิใช่หรือ ?. พระศาสดาทรงกระทำ

มหาชนให้เงียบเสียงแล้ว ตรัสถามว่า ' กุมาริกา เธอ เมื่อเรากล่าวว่า

' มาจากไหน ? ' เพราะเหตุไรเธอจึงตอบว่า ่ ไม่ทราบ '

กุมาริกา. " พระเจ้าข้า พระองค์ย่อมทรงทราบความที่หม่อมฉันมา

จากเรือนช่างหูก. แต่พระองค์เมื่อตรัสถามว่า ' เธอมาจากไหน ? ' ย่อม

ตรัสถามว่า 'เธอมาจากที่ไหน จึงเกิดแล้วในที่นี้ ? ' แต่หม่อมฉัน

ย่อมไม่ทราบว่า ' ก็เรามาแล้วจากไหน จึงเกิดในที่นี้ ? '

ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการเป็นครั้งแรกแก่นางกุมาริกา

นั้นว่า " ดีละ ดีละ กุมาริกา ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล อันเธอแก้

ได้แล้ว " แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไปว่า " เธอ อันเราถามแล้วว่า ' เธอ

จะไป ณ ที่ไหน ? ่ เพราะเหตุไร จึงกล่าวว่า ' ไม่ทราบ ? '

กุมาริกา. " พระเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบหม่อมฉันผู้ถือกระเช้า

ด้ายหลอดเดินไปยังโรงของช่างหูก, พระองค์ย่อมตรัสถามว่า ' ก็เธอไป

จากโลกนี้แล้ว จักเกิดในที่ไหน ?' ก็หม่อมฉันจุติจากโลกนี้แล้วย่อม

ไม่ทราบว่า 'จักไปเกิดในที่ไหน ? "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 250

ลำดับนั้น พระศาสดา ประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๒ ว่า

" ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว " แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไป

ว่า " เมื่อเช่นนั้น. เธอ อันเราถามว่า ' ไม่ทราบหรือ ? ;' เพราะเหตุไร

จึงกล่าวว่า 'ทราบ? "

กุมาริกา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันย่อมทราบภาวะคือความตายของ

หม่อมฉันเท่านั้น, เหตุนั้น จึงกราบทูลอย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการแก่นางเป็นครั้งที่ ๓ ว่า

" ปัญหาอันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว " แล้วตรัสถามแม้ข้อต่อไป

ว่า " เมื่อเป็นเช่นนั้น, เธอ อันเราถามว่า ' เธอย่อมทราบหรือ ?' เพราะ

เหตุไร จึงพูดว่า 'ไม่ทราบ ? '

กุมาริกา. หม่อมฉันย่อมทราบแต่ภาวะคือความตายของหม่อมฉัน

เท่านั้น พระเจ้าข้า แต่ย่อมไม่ทราบว่า จักตายในเวลากลางคืน กลางวัน

หรือเวลาเช้าเป็นต้น ในกาลชื่อโน้น เพราะเหตุนั้น จึงพูดอย่างนั้น. "

คนมีปัญญาชื่อว่ามีจักษุ

ลำดับนั้น พระศาสดาประทานสาธุการครั้งที่ ๔ แก่นางว่า " ปัญหา

อันเราถามแล้วนั่นแล เธอแก้ได้แล้ว " แล้วตรัสเตือนบริษัทว่า

พวกท่านย่อมไม่ทราบถ้อยคำชื่อมีประมาณเท่านี้ ที่นางกุมาริกานี้กล่าว

แล้ว, ย่อมโพนทะนาอย่างเดียวเท่านั้น; เพราะจักษุ คือปัญญาของชน

เหล่าใดไม่มี. ชนเหล่านั้นเป็น (ดุจ) คนบอดทีเดียว; จักษุคือปัญญา

ของชนเหล่าใดมีอยู่. ชนเหล่านั้นนั่นแล เป็นผู้มีจักษุ " ดังนี้แล้ว ตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 251

๗. อนฺธภูโต อย โลโก ตนุเกตฺถ วิปสฺสติ

สกุนฺโต ชาลมุตฺโตว อปฺโป สคฺคาย คจฺฉติ.

" สัตว์โลกนี้เป็นเหมือนคนตาบอด, ในโลกนี้

น้อยคนนัก จะเห็นแจ้ง, น้อยคนนักจะไปในสวรรค์

เหมือนนกหลุดแล้วจากข่าย (มีน้อย) ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อย โลโก ความว่า โลกิยมหาชนนี้

ชื่อว่าเป็นเหมือนคนบอด เพราะไม่มีจักษุคือปัญญา. สองบทว่า ตนุ-

เกตฺถ ความว่า ชนในโลกนี้น้อยคน คือไม่มาก จะเห็นแจ้งด้วยสามารถ

แห่งไตรลักษณ์มีไม่เที่ยงเป็นต้น. บทว่า ชาลมุตฺโตว ความว่า บรรดาฝูง-

นกกระจาบที่นายพรานนกผู้ฉลาดตลบด้วยข่ายจับเอาอยู่ นกกระจาบบางตัว

เท่านั้น ย่อมหลุดจากข่ายได้. ที่เหลือย่อมเข้าไปสู่ภายในข่ายทั้งนั้น ฉันใด;

บรรดาสัตว์ที่ข่ายคือมารรวบไว้แล้ว สัตว์เป็นอันมาก ย่อมไปสู่อบาย.

น้อยคนคือบางคนเท่านั้น ไปในสวรรค์ คือย่อมถึงสุคติหรือนิพพาน

ฉันนั้น.

ในเวลาจบเทศนา นางกุมาริกานั้น ดำรงอยู่โนโสดาปัตติผล.

เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชน.

ธิดาช่างหูกตายไปเกิดในดุสิตภพ

แม้นางกุมาริกานั้น ได้ถือกระเช้าด้ายหลอดไปสู่สำนักของบิดาแล้ว.

แม้บิดานั้น ก็นั่งหลับแล้ว. เมื่อนางไม่กำหนดแล้ว น้อมกระเช้าด้ายหลอด

เข้าไปอยู่ กระเช้าด้ายหลอดกระทบที่สุดฟืม ทำเสียงตกไป. บิดานั้น

ตื่นขึ้นแล้ว ฉุดที่สุดฟืมไป ด้วยนิมิตที่ตนจับเอาแล้วนั่นเอง. ที่สุดฟืม

๑. อรรถกถา เป็น สกุโณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 252

ไปประหารนางกุมาริกานั้นที่อก. นางทำกาละ ณ ที่นั้นนั่นเอง บังเกิด

แล้วในที่สุดภพ. ลำดับนั้น บิดาของนางเมื่อแลดูนาง ได้เห็นนางมีสรีระ

ทั้งสิ้นเปื้อนด้วยโลหิตล้มลงตายแล้ว. ลำดับนั้น ความโศกใหญ่บังเกิดขึ้น

แก่บิดานั้น. เขาร้องไห้อยู่ด้วยคิดว่า " ผู้อื่นจักไม่สามารถเพื่อยังความ

โศกของเราให้ดับได้ " จึงไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลเนื้อความ

นั้นแล้ว กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงยังความโศกของข้า

พระองค์ให้ดับ. " พระศาสดาทรงปลอบเขาแล้ว ตรัสว่า " ท่านอย่า

โศกแล้ว, เพราะว่าน้ำตาของท่านอันไหลออกแล้ว ในกาลเป็นที่ตายแห่ง

ธิดาของท่านด้วยอาการอย่างนั้นนั่นแล ในสงสารมีที่สุด ที่ใคร ๆ ไม่รู้แล้ว

เป็นของยิ่งกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง ๔ " ดังนี้แล้ว จึงตรัสอนมตัคคสูตร.

เขามีความโศกเบาบาง ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา ได้อุปสมบทแล้ว

ต่อกาลไม่นานบรรลุพระอรหัตแล้ว ดังนี้เเล.

เรื่องธิดาของนายช่างหูก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 253

๘. เรื่องภิกษุ ๓๐ รูป [๑๔๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๓๐ รูป

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " หสา อาทิจฺจปเถ ยนฺติ " เป็นต้น.

ผู้เจริญอิทธิบาทย่อมเหาะไปได้

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง ภิกษุผู้มีปกติอยู่ในทิศประมาณ ๓๐ รูป

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา. พระอานนทเถระมาในเวลาที่ทำวัตรแด่พระศาสดา

เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้วคิดว่า " เมื่อพระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับด้วย

ภิกษุเหล่านี้แล้ว, เราจักทำวัตร " ดังนี้แล้ว จึงได้ยืนอยู่ที่ซุ้มประตู.

แม้พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับด้วยภิกษุเหล่านั้นแล้ว ก็ตรัสกถาอัน

ปรารภธรรมซึ่งเป็นเครื่องให้ระลึกถึงกัน แก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น

แม้ทั้งหมดฟังธรรมกถานั้นแล้ว บรรลุพระอรหัต ได้เหาะไปทางอากาศ.

พระอานนทเถระ เมื่อภิกษุเหล่านั้นชักช้าอยู่ จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา

ทูลถามว่า " พระเจ้าข้า ภิกษุมีประมาณ๓๐รูปมาแล้ว ณ ที่นี้. ภิกษุเหล่านั้น

ไปไหน ? "

พระศาสดา. ไปแล้ว อานนท์.

พระอานนท์. ไปโดยทางไหน ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ทางอากาศ อานนท์.

พระอานนท์. ก็ภิกษุเหล่านั้นเป็นพระขีณาสพหรือ ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อย่างนั้น อานนท์. ภิกษุเหล่านั้นฟังธรรมในสำนักเรา

บรรลุพระอรหัตแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 254

ก็ในขณะนั้น หงส์ทั้งหลายไปโดยอากาศแล้ว. พระศาสดาตรัส ว่า

" อานนท์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดแลเจริญดีแล้ว. ผู้นั้น ย่อมไปโดยอากาศ

ดุจหงส์ฉะนั้น " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๘. หสา อาทิจฺจปเถ ยนฺติ อากาเส ยนฺติ อิทฺธิยา

นียนฺติ ธีรา โลกมฺหา เชตฺวา มาร สวาหน.

" หงส์ทั้งหลาย ย่อมไปในทางแห่งดวงอาทิตย์.

ท่านผู้มีฤทธิ์ทั้งหลายย่อมไปในอากาศด้วยฤทธิ์, ธีร-

ชนชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว ย่อมออกไปจาก

โลกได้. "

แก้อรรถ

บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า :-

" หงส์เหล่านี้ ย่อมไปในทางแห่งดวงอาทิตย์คือในอากาศ. ก็

อิทธิบาทอันชนเหล่าใดเจริญดีแล้ว. ชนแม้เหล่านั้น ย่อมไปในอากาศ

ด้วยฤทธิ์. แม้ธีรชนทั้งหลายคือบัณฑิต ชนะมารพร้อมทั้งพาหนะแล้ว

ย่อมออกไป คือย่อมสลัดออกจากโลกคือวัฏฏะนี้ ได้แก่ถึงพระนิพพาน."

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุ ๓๐ รูป จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 255

๙. เรื่องนางจิญจมาณวิกา [๑๔๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางจิญจ-

มาณวิกา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เอกธมฺมมตีตสฺส " เป็นต้น.

พวกเดียรถีย์ริษยาพระพุทธศาสนา

ความพิสดารว่า ในปฐมโพธิกาล เมื่อสาวกของพระทศพลมีมาก

หาประมาณมิได้. เมื่อพวกเทวดาและมนุษย์หยั่งลงสู่อริยภูมิ, เมื่อการเกิด

ขึ้นแห่งพระคุณของพระศาสดาแผ่ไปแล้ว. ลาภสักการะเป็นอันมากเกิดขึ้น

แล้ว. พวกเดียรถีย์ เป็นผู้เช่นกับแสงหิ่งห้อยในเวลาดวงอาทิตย์ขึ้น เป็นผู้

เสื่อมลาภสักการะ. พวกเดียรถีย์เหล่านั้น ยืนในระหว่างถนน แม้ประกาศ

ให้พวกมนุษย์รู้แจ้งอยู่อย่างนั้นว่า " พระสมณโคดมเท่านั้นหรือ เป็น

พระพุทธเจ้า." แม้พวกเราก็เป็นพระพุทธเจ้า; ทานที่เขาให้แล้วแก่

พระสมณโคดมนั้นเท่านั้นหรือ มีผลมาก. ทานที่เขาให้แล้วแม้แก่เรา

ทั้งหลายก็มีผลมากเหมือนกัน; ท่านทั้งหลาย จงให้ จงทำ แก่เราทั้งหลาย

บ้าง " ดังนี้แล้ว ไม่ได้ลาภสักการะแล้ว ประชุมคิดกันในที่ลับว่า

" พวกเรา พึงยังโทษให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดม ในระหว่างมนุษย์

ทั้งหลาย พึงยังลาภสักการะให้ฉิบหายโดยอุบายอะไรหนอแล ? " กาลนั้น

ในกรุงสาวัตถี มีนางปริพาชิกาคนหนึ่ง ชื่อว่าจิญจมาณวิกา เป็นผู้ทรง

รูปอันเลอโฉม ถึงความเลิศด้วยความงาม เหมือนนางเทพอัปสรฉะนั้น,

รัศมีย่อมเปล่งออกจากสรีระของนางนั้น.

๑. พระไตรปิฎก เป็น เอก ธมฺม อตีตสฺส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 256

นางจิญจมาณวิการับอาสาพวกเดียรถีย์

ลำดับนั้น เดียรถีย์ผู้มีความรู้เฉียบแหลมคนหนึ่ง กล่าวอย่างนั้นว่า

" เราทั้งหลายอาศัยนางจิญจมาณวิกา พึงยังโทษให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดม

ยังลาภสักการะ (ของเธอ) ให้ฉิบหายได้." เดียรถีย์เหล่านั้น รับรองว่า

" อุบายนี้ มีอยู่." ต่อมา นางจิญจมาณวิกานั้นไปสู่อารามของเดียรถีย์

ไหว้แล้วได้ยืนอยู่. พวกเดียรถีย์ไม่พูดกับนาง. นางจึงคิดว่า " เรามีโทษ

อะไรหนอแล ? " แม้พูดครั้งที่ ๓ ว่า " พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ดิฉันไหว้ "

ดังนี้แล้วจึงพูดว่า " พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ดิฉันมีโทษอะไรหนอแล ?

เพราะเหตุอะไร ท่านทั้งหลาย จึงไม่พูดกับดิฉัน ? "

เดียรถีย์. น้องหญิง เจ้าย่อมไม่ทราบซึ่งพระสมณโคดม ผู้เบียดเบียน

เราทั้งหลาย เที่ยวทำเราทั้งหลายให้เสื่อมลาภสักการะหรือ ?

นางจิญจมาณวิกา. ดิฉันยังไม่ทราบ เจ้าข้า. ก็ในเรื่องนี้ดิฉัน

ควรทำอย่างไรเล่า ?

เดียรถีย์. น้องหญิง ถ้าเจ้าปรารถนาความสุขแก่เราทั้งหลายไซร้,

จงยังโทษให้เกิดขึ้นแก่พระสมณโคดมแล้ว ยังลาภสักการะให้ฉิบหาย

เพราะอาศัยตน.

นางกล่าวว่า " ดีละ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย. ข้อนี้จงเป็นภาระ

ของดิฉันเอง. ท่านทั้งหลายอย่าคิดแล้ว " ดังนี้แล้ว หลีกไป ห่มผ้ามีสี

ดุจแมลงค่อมทอง มีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นในมือ มุ่งหน้า

ตรงพระเชตวัน ไปอยู่ในสมัยเป็นที่ฟังธรรมกถาแห่งชนชาวเมืองสาวัตถี

แล้วออกไปจากพระเชตวัน ตั้งแต่กาลนั้น เพราะความที่นางเป็นผู้ฉลาด

ในมารยาทของหญิง. เมื่อผู้อื่นถามว่า " นางจะไปไหนในเวลานี้ ? " จึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 257

กล่าวว่า " ประโยชน์อะไรของท่านทั้งหลายด้วยที่ที่เราไป " พักอยู่

ในวัดของเดียรถีย์ในที่ใกล้พระเชตวัน เมื่อคนผู้เป็นอุบาสกออกจาก

พระนครแต่เช้าตรู่ ด้วยหวังว่า " จักถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า "

(นาง) ทำทีเหมือนอยู่ในพระเชตวัน เข้าไปสู่พระนคร เมื่อคนผู้เป็นอุบาสก

ถามว่า " ท่านอยู่ ณ ที่ไหน ? " แล้วจึงกล่าวว่า " ประโยชน์อะไรของ

ท่านทั้งหลายด้วยที่ที่เราอยู่ " โดยกาลล่วงไป ๑ - ๒ เดือน เมื่อถูกถาม

จึงกล่าวว่า " เราอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระสมณโคดม ใน

พระเชตวัน " ยังความสงสัยให้เกิดขึ้นแก่ปุถุชนทั้งหลายว่า " ข้อนั้นจริง

หรือไม่หนอ ? " โดยกาลล่วงไป ๓ - ๔ เดือน เอาท่อนผ้าพันท้อง แสดง

เพศของหญิงมีครรภ์ ให้เหล่าชนอันธพาลถือเอาว่า " ครรภ์บังเกิดขึ้น

เพราะอาศัยพระสมณโคดม " โดยกาลล่วงไป ๘ - ๙ เดือน ผูกไม้กลมไว้

ที่ท้องห่มผ้าทับข้างบน ให้ทุบหลังมือและเท้าด้วยไม้คางโค แสดงอาการ

บวมขึ้น มีอินทรีย์บอบช้ำ เมื่อพระตถาคตประทับนั่งแสดงธรรมบน

ธรรมาสน์ที่ประดับแล้วในเวลาเย็น, ไปสู่ธรรมสภา ยืนตรงพระพักตร์

ของพระตถาคตแล้ว กล่าวว่า " มหาสมณะ พระองค์ (ดีแต่) แสดงธรรม

แก่มหาชนเท่านั้น. เสียงของพระองค์ไพเราะ. พระโอษฐ์ของพระองค์

สนิท; ส่วนหม่อมฉัน อาศัยพระองค์ได้เกิดมีครรภ์ครบกำหนดแล้ว

พระองค์ไม่ทรงทราบเรือนเป็นที่คลอดของหม่อมฉัน, ไม่ทรงทราบเครื่อง

ครรภบริหารมีเนยใสและน้ำมันเป็นต้น, เมื่อไม่ทรงทำเอง ก็ไม่ตรัสบอก

พระเจ้าโกศล หรืออนาถบิณฑิกะ หรือนางวิสาขามหาอุบาสิกา คนใด

คนหนึ่ง แม้บรรดาอุปัฏฐากทั้งหลายว่า ่ท่านจงทำกิจที่ควรทำแก่นาง-

จิญจมาณวิกานี้, พระองค์ทรงรู้แต่จะอภิรมย์เท่านั้น,ื ไม่ทรงรู้ครรภบริหาร "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 258

เหมือนพยายามจับก้อนคูถ ปามณฑลพระจันทร์ฉะนั้น ด่าพระตถาคต

ในท่ามกลางบริษัทแล้ว.

พระตถาคต ทรงงดธรรมกถาแล้ว เมื่อจะทรงบันลือเยี่ยงอย่างสีหะ

จึงตรัสว่า " น้องหญิง ความที่คำอันเจ้ากล่าวแล้ว จะจริงหรือไม่ เรา

และเจ้าเท่านั้น ย่อมรู้. "

นางจิญจมาณวิกา. อย่างนั้น มหาสมณะ ข้อนั้น เกิดแล้วโดยความ

ที่ท่านและหม่อมฉันทราบแล้ว .

เทพบุตรทำลายกลอุบายของนางจิญจมาณวิกา

ขณะนั้น อาสนะของท้าวสักกะแสดงอาการร้อน. ท้าวเธอทรง

ใคร่ครวญอยู่ ก็ทราบว่า " นางจิญจมาณวิกา ย่อมด่าพระตถาคตด้วยคำ

ไม่เป็นจริง " แล้วทรงดำริว่า " เราจักชำระเรื่องนี้ให้หมดจด " จึงเสด็จ

มากับเทพบุตร ๔ องค์. เทพบุตรทั้งหลายแปลงเป็นลูกหนูกัดเชือกที่ผูก

ท่อนไม้กลม ด้วยอันแทะทีเดียวเท่านั้น. ลมพัดเวิกผ้าห่มขึ้น. ไม้กลม

พลัดตกลงบนหลังเท้าของนางจิญจมาณวิกานั้น. ปลายเท้าทั้ง ๒ ข้างแตก

แล้ว. มนุษย์ทั้งหลายพูดว่า " แน่ะนางกาลกรรณี เจ้าด่าพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า " ถ่มเขฬะลงบนศีรษะ มีมือถือก้อนดินและท่อนไม้ ฉุดลาก

ออกจากพระเชตวัน.

นางจิญจมาณวิกาถูกแผ่นดินสูบ

ครั้นในเวลานางล่วงคลองพระเนตรของพระตถาคตไป แผ่นดิน

ใหญ่แตกแยกช่องให้แล้ว. เปลวไฟตั้งขึ้นจากอเวจี. นางจิญจมาณวิกานั้น

ไปเกิดในอเวจี เป็นเหมือนห่มผ้ากัมพลที่ตระกูลให้. ลาภสักการะของ

พวกเดียรถีย์เสื่อมแล้ว (แต่กลับ) เจริญแก่พระทศพลโดยประมาณยิ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 259

ในวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุสนทนากันในธรรมสภาว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย

นางจิญจมาณวิกาด่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ควรทักษิณาอันเลิศ ผู้มีคุณ

อันยิ่งอย่างนี้ ด้วยคำไม่จริง จึงถึงความพินาศใหญ่แล้ว." พระศาสดา

เสด็จมา ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วย

ถ้อยคำอะไรหนอ ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า " ด้วยถ้อยคำชื่อนี้. "

แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เท่านั้นหามิได้. ถึงในกาลก่อน

นางจิญจมาณวิกานั้น ก็ด่าเราด้วยคำไม่จริง ถึงความพินาศแล้วเหมือนกัน "

ดังนี้แล้ว จึงตรัสมหาปทุมชาดก*ในทวาทสกนิบาตนี้ให้พิสดารว่า :-

" ผู้เป็นใหญ่ไม่เห็นโทษน้อยใหญ่ ของผู้อื่นโดย

ประการทั้งปวงแล้ว ไม่ทันพิจารณาเห็นเอง ไม่พึง

ลงอาญา."

พระโพธิสัตว์ถูกทิ้งลงเหวแต่ไม่ตาย

(พระองค์ตรัสว่า) " ได้ยินว่า ในกาลนั้น นางจิญจมาณวิกานั้น

เป็นผู้ร่วมสามีของพระมารดาของพระโพธิสัตว์ ทรงนามว่ามหาปทุมกุมาร

เป็นอัครมเหสีของพระราชา เชิญชวนพระมหาสัตว์ด้วยอสัทธรรม ไม่ได้

ความยินยอมของพระโพธิสัตว์นั้นแล้ว ทำประการแปลกในตนด้วยตนเอง

แสดงอาการลวงว่าเป็นไข้ จึงกราบทูลแด่พระราชาว่า " พระราชโอรสของ

พระองค์ ยังหม่อมฉันผู้ไม่ปรารถนาอยู่ ให้ถึงประการแปลกนี้. " พระราชา

กริ้ว ทิ้งพระมหาสัตว์ไปในเหวเป็นที่ทิ้งโจร.

๑. ขุ. ชา. ทวาทสก. ๒๗/๓๓๘. อรรถกถา. ๖/๑๓๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 260

ลำดับนั้น เทวดาผู้สิงอยู่ที่ท้องแห่งภูเขา (หุบเขา) รับพระมหาสัตว์

นั้นแล้ว ให้ประดิษฐานอยู่ในห้องพังพานของพระยานาค. พระยานาค

นำพระมหาสัตว์นั้นไปสู่ภพนาค ทรงรับรองด้วยราชสมบัติกึ่งหนึ่ง.

พระมหาสัตว์นั้นอยู่ในภพนาคนั้นสิ้นปีหนึ่ง ใคร่จะบวช จึงมาสู่หิมวันต-

ประเทศ บวชแล้ว ให้ฌานและอภิญญาบังเกิดแล้ว.

พระโพธิสัตว์ถวายพระโอวาทแก่พระราชา

ต่อมา พรานไพรผู้หนึ่งเห็นพระมหาสัตว์นั้น จึงกราบทูลแด่

พระราชา. พระราชาเสด็จไปสู่สำนักของพระมหาสัตว์นั้นแล้ว มีปฏิสันถาร

อันพระมหาสัตว์ทำแล้ว ทรงทราบประพฤติเหตุนั้นทั้งหมด ทรงเชื้อเชิญ

พระมหาสัตว์ด้วยราชสมบัติ อันพระมหาสัตว์นั้นถวายโอวาทว่า " กิจด้วย

ราชสมบัติของหม่อมฉันไม่มี, ก็พระองค์จงอย่าให้ราชธรรม ๑๐ ประการ

กำเริบ ทรงละการถึงอคติเสียแล้ว เสวยราชสมบัติโดยธรรมเถิด " ดังนี้

แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะ ทรงกันแสง เสด็จไปสู่พระนคร จึงตรัสถาม

อำมาตย์ทั้งหลายในระหว่างหนทางว่า " เราถึงความพลัดพรากจากบุตร

ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอาจาระอย่างนั้นเพราะอาศัยใคร ? "

อำมาตย์. เพราะอาศัยพระอัครมเหสี พระเจ้าข้า.

พระราชารับสั่งให้จับพระอัครมเหสีนั้น ให้มีเท้าขึ้นแล้ว ทิ้งไป

ในเหวที่ทิ้งโจร เสด็จเข้าไปสู่พระนคร เสวยราชสมบัติโดยธรรม

มหาปทุมกุมารในกาลนั้น ได้เป็นพระมหาสัตว์. หญิงร่วมสามีของ

พระมารดา ได้เป็นนางจิญจมาณวิกา.

พระศาสดาครั้นทรงประกาศเนื้อความนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ขึ้นชื่อว่าบาปกรรม อันบุคคลผู้ละคำสัตย์ ซึ่งเป็นธรรมอย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 261

เอกแล้ว ตั้งอยู่ในมุสาวาท ผู้มีปรโลกอันสละแล้ว ไม่พึงทำย่อมไม่มี

ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๙. เอก ธมฺม อตีตสฺส มุสาวาทิสฺส ชนฺตุโน

วิติณฺณปรโลกสฺส นตฺถิ ปาป อการิย.

" บาปอันชนผู้ก้าวล่วงธรรมอย่างเอกเสีย ผู้มัก

พูดเท็จ ผู้มีปรโลกอันล่วงเลยเสียแล้ว ไม่พึงทำ

ย่อมไม่มี. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอก ธมฺม คือ ซึ่งคำสัตย์. บทว่า มุสา-

วาทิสฺส ความว่า บรรดาคำพูด ๑๐ คำ คำสัตย์แม้สักคำหนึ่งย่อมไม่มีแก่

ผู้ใด อันผู้เห็นปานนี้ ชื่อว่าผู้มักพูดเท็จ. บาทพระคาถาว่า วิติณฺณปรโล-

กสฺส ได้แก่ ผู้มีปรโลกอันปล่อยเสียแล้ว. ก็บุคคลเห็นปานนี้ ย่อมไม่

พบสมบัติ ๓ อย่างเหล่านั้น คือ มนุษยสมบัติ เทพสมบัติ นิพพานสมบัติ

ในอวสาน. สองบทว่า นตฺถิ ปาป ความว่า ความสงสัยว่า บาปชื่อนี้

อันบุคคลนั้น คือผู้เห็นปานนั้น ไม่พึงทำดังนี้ย่อมไม่มี.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องนางจิญจมาณวิกา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 262

๑๐. เรื่องอสทิสทาน [๑๔๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอสทิสทาน

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น เว กทริยา เทวโลก วชนฺติ " เป็นต้น.

พระราชาถวายทานแข่งกับราษฎร

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระศาสดาเสด็จจาริกไปแล้ว มีภิกษุ

ประมาณ ๕๐๐ เป็นบริวาร เสด็จเข้าไปในพระเชตวัน. พระราชาเสด็จ

ไปวิหาร ทูลนิมนต์พระศาสดา ในวันรุ่งขึ้น ทรงตระเตรียมอาคันตุกทาน

แล้ว จึงตรัสเรียกชาวพระนครว่า " จงดูทานของเรา. " ชาวพระนคร

มาเห็นทานของพระราชาแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ทูลนิมนต์พระศาสดา ตระ-

เตรียมทานแล้ว ส่ง (ข่าวไปกราบทูล) แด่พระราชาว่า " ขอพระองค์

ผู้เป็นสมมติเทพ จงทอดพระเนตรทานของพวกข้าพระองค์. " พระราชา

เสด็จไปทอดพระเนตรทานของชาวพระนครเหล่านั้นแล้ว ทรงดำริว่า

" ทานอันยิ่งกว่าทานของเราอันชนเหล่านี้ทำแล้ว. เราจักทำทานอีก "

จึงรับสั่งให้ตระเตรียมทานแล้ว แม้ในวันรุ่งขึ้น. แม้ชาวพระนครเห็นทาน

นั้นแล้ว ในวันรุ่งขึ้น จึงตระเตรียม (ทาน) แล้ว ด้วยประการฉะนี้.

ด้วยอาการอย่างนี้ พระราชาไม่ทรงอาจเพื่อให้ชาวพระนครแพ้ได้เลย

ชาวพระนครก็ไม่อาจเพื่อให้พระราชาแพ้ได้. ต่อมาในวาระที่ ๖ ชาว

พระนครเพิ่มขึ้นร้อยเท่าพันเท่า ตระเตรียมทาน โดยประการที่ใคร ๆ

ไม่อาจจะพูดได้ว่า " วัตถุชื่อนี้ ไม่มีในทานของชาวพระนครเหล่านี้. "

พระราชาทอดพระเนตรทานนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " ถ้าเราจักไม่อาจเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 263

ทำทานให้ยิ่งกว่าทานของชาวพระนครเหล่านั้นไซร้. ประโยชน์อะไร

ของเราด้วยชีวิตเล่า " ดังนี้แล้ว ได้บรรทมดำริถึงอุบายอยู่.

พระนางมัลลิกาทรงจัดทาน

ลำดับนั้น พระนางมัลลิกาเทวีเข้าไปเฝ้าท้าวเธอแล้ว ทูลถามว่า

" ข้าแต่มหาราชเจ้า. เพราะเหตุไร พระองค์จึงเป็นผู้บรรทมอย่างนี้ ? "

พระราชาตรัสว่า " เทวี บัดนี้ เธอยังไม่ทราบหรือ ? "

พระเทวี. หม่อมฉันยังไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

ท้าวเธอตรัสบอกเนื้อความนั้นแก่พระนางแล้ว.

ลำดับนั้น พระนางมัลลิกากราบทูลท้าวเธอว่า " ข้าแต่สมมติเทพ

พระองค์อย่าทรงดำริเลย. พระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน อันชาวพระนคร

ทั้งหลายให้พ่ายแพ้อยู่ พระองค์เคยทอดพระเนตรหรือ หรือเคยสดับแล้ว

ที่ไหน ? หม่อมฉันจักจัดแจงทานแทนพระองค์."

พระนางกราบทูลแด่ท้าวเธออย่างนี้ เพราะความที่พระนางเป็น

ผู้ใคร่จะจัดแจงอสทิสทาน แล้วกราบทูลว่า " ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ขอ

พระองค์จงรับสั่งให้เขาทำมณฑปสำหรับนั่งภายในวงเวียน เพื่อภิกษุ

ประมาณ ๕๐๐ รูป ด้วยไม้เรียบที่ทำด้วยไม้สาละและไม้ขานาง พวกภิกษุ

ที่เหลือจักนั่งภายนอกวงเวียน; ขอจงรับสั่งให้ทำเศวตฉัตร ๕๐๐ คัน.

ช้างประมาณ ๕๐๐ เชือก จักถือเศวตฉัตรเหล่านั้น ยืนกั้นอยู่เบื้องบน

แห่งภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป. ขอจงรับสั่งให้ทำเรือสำเร็จด้วยทองคำอันมี

สีสุก สัก ๘ ลำ หรือ ๑๐ ลำ, เรือเหล่านั้นจักมี ณ ท่ามกลางมณฑป.

เจ้าหญิงองค์หนึ่ง ๆ จักนั่งบดของหอมอยู่ในระหว่างภิกษุ ๒ รูป ๆ, เจ้า

หญิงองค์หนึ่ง ๆ จักถือพัดยืนพัดภิกษุ ๒ รูป ๆ, เจ้าหญิงที่เหลือ จักนำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 264

ของหอมที่บดแล้ว ๆ มาใส่ในเรือทองคำทั้งหลาย. บรรดาเจ้าหญิงเหล่านั้น

เจ้าหญิงบางพวกจักถือกำดอกอุบลเขียว เคล้าของหอมที่ใส่ไว้ในเรือทองคำ

แล้ว จักให้ภิกษุรับเอาไออบ; เพราะเจ้าหญิงไม่มีแก่ชาวพระนครเลย

ทีเดียว. เศวตฉัตรก็ไม่มี. ช้างก็ไม่มี. ชาวพระนครจักพ่ายแพ้ด้วยเหตุ

เหล่านี้, ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงรับสั่งให้ทำอย่างนี้เถิด. " พระราชา

ทรงรับว่า " ดีละ พระเทวี เรื่องอันงาม เจ้าบอกแล้ว " จึงรับสั่งให้ทำ

กิจทั้งสิ้น โดยทำนองที่พระนางกราบทูลแล้วทีเดียว. ก็ช้างเชือกหนึ่ง

ยังไม่พอแก่ภิกษุรูปหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกับพระนางมัลลิกาว่า " นางผู้เจริญ ช้าง

เชือกหนึ่ง ยังไม่พอแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. เราจักทำอย่างไร ? "

พระเทวี. ช้าง ๕๐๐ เชือกไม่มีหรือ ? พระเจ้าข้า.

พระราชา. มีอยู่ เทวี, แต่ช้างที่เหลือ เป็นช้างดุร้าย. ช้างเหล่านั้น

พอเห็นภิกษุทั้งหลายเข้า ย่อมเป็นสัตว์ดุร้าย เหมือนลมเวรัมภา. "

พระเทวี. ข้าแต่สมมติเทพ หม่อมฉันทราบที่เป็นที่ยืนถือฉัตร

ของลูกช้างซึ่งดุร้ายเชือกหนึ่ง.

พระราชา. เราจักเอาช้างยืน ณ ที่ไหน ?

พระเทวี. ยืน ณ ที่ใกล้ของพระผู้เป็นเจ้าชื่อว่าอังคุลิมาล.

พระราชารับสั่งให้ราชบุรุษทำแล้วอย่างนั้น. ลูกช้างสอดหางเข้าใน

ระหว่างขา ได้ปรบหูทั้งสอง หลับตายืนอยู่แล้ว. มหาชนแลดูช้างที่ทรง

เศวตฉัตรเพื่อพระเถระเท่านั้น ด้วยคิดว่า " นี้เป็นอาการของช้างดุร้าย

ชื่อเห็นปานนี้ (ท่าน) พระอังคุลิมาลเถระย่อมทำได้. " พระราชาทรง

อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารอันประณีตแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 265

ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิ่งใดเป็น

กัปปิยภัณฑ์หรือเป็นอกัปปิยภัณฑ์ ในโรงทานนี้ หม่อมฉันจักถวายสิ่งนั้น

ทั้งหมดแด่พระองค์เท่านั้น. "

ทานที่พระนางมัลลิกาจัดชื่ออสทิสทาน

ก็ในทานนั้นแล ทรัพย์มีประมาณ ๑๔ โกฏิ เป็นอันพระราชาทรง

บริจาคโดยวันเดียวเท่านั้น. ก็ของ ๔ อย่าง คือเศวตฉัตร ๑ บัลลังก์

สำหรับนั่ง ๑ เชิงบาตร ๑ ตั่งสำหรับเช็ดเท้า ๑ เป็นของหาค่ามิได้เทียว

เพื่อพระศาสดา. ใคร ๆ ผู้สามารถเพื่อทำทานเห็นปานนี้แล้ว ถวายทาน

แด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ได้มีแล้วอีก; เพราะเหตุนั้นนั่นแล ทานนั้น

จึงปรากฏว่า " อสทิสทาน. " ได้ยินว่า อสทิสทานนั้น มีแด่พระพุทธเจ้า

ทุก ๆพระองค์ ครั้งเดียวเท่านั้น. สตรีเท่านั้นย่อมจัดแจง (ทาน) เพื่อ

พระศาสดาและภิกษุทั้งปวง.

ลักษณะของคนดีคนชั่ว

ก็อำมาตย์ของพระราชา ได้มีสองคน คือกาฬะ ๑ ชุณหะ ๑. บรรดา

อำมาตย์สองคนนั้น กาฬอำมาตย์คิดว่า " โอ ความเสื่อมรอบแห่งราช-

ตระกูล, ทรัพย์ประมาณ ๑๔ โกฏิ ถึงความสิ้นไปโดยวันเดียวเท่านั้น,

ภิกษุเหล่านี้ บริโภคทานแล้วจักไปนอนหลับ; โอ ราชตระกูลฉิบหาย

แล้ว. " ส่วนชุณหอำมาตย์คิดว่า " โอ ทานของพระราชา, ก็ใคร ๆไม่

ดำรงในความเป็นพระราชา ไม่อาจเพื่อถวายทานเห็นปานนี้ได้. พระราชา

ชื่อว่าไม่ให้ส่วนบุญแก่สัตว์ทั้งปวงย่อมไม่มี;. ก็เราอนุโมทนาทานนี้. "

ในที่สุดภัตกิจแห่งพระศาสดา พระราชาทรงรับบาตรเพื่อต้องการ

อนุโมทนา. พระศาสดาทรงดำริว่า " พระราชาถวายมหาทาน เหมือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 266

ให้ห้วงน้ำใหญ่เป็นไปอยู่. มหาชนได้อาจเพื่อยังจิตให้เลื่อมใสหรือไม่

หนอ ? " พระองค์ทรงทราบวาระจิตของอำมาตย์เหล่านั้นแล้ว ทรงทราบ

ว่า ถ้าเราจักทำอนุโมทนาให้สมควรแก่ทานของพระราชาไซร้: ศีรษะ

ของกาฬอำมาตย์จักแตก ๗ เสี่ยง, ชุณหอำมาตย์จักตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล "

ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ในกาฬอำมาตย์ จึงตรัสพระคาถา ๔ บาทเท่านั้น

แด่พระราชาผู้ทรงถวายทานเห็นปานนี้ ประทับยืนอยู่แล้ว เสด็จลุกจาก

อาสนะไปสู่พระวิหาร.

ตรัสสรรเสริญพระอังคุลิมาล

ภิกษุทั้งหลาย ถามพระอังคุลิมาลเถระว่า " ผู้มีอายุ ท่านเห็นช้าง

ดุร้ายยืนทรงฉัตร ไม่กลัวหรือหนอแล ? "

พระอังคุลิมาล. ผู้มีอายุทั้งหลาย กระผมไม่กลัว.

ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ พระอังคุลิมาล ย่อมพยากรณ์อรหัตผล. " พระศาสดาตรัสว่า

" ภิกษุทั้งหลาย อังคุลิมาลย่อมไม่กลัว. เพราะว่าภิกษุทั้งหลาย ผู้เช่นกับ

บุตรของเรา เสมอด้วยโคผู้ตัวประเสริฐ ในระหว่างแห่งโคผู้คือพระ-

ขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กลัว ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถาในพราหมณ-

วรรคว่า :-

" เรากล่าวบุคคลผู้องอาจ ผู้ประเสริฐ ผู้แกล้ว-

กล้า ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ผู้ชนะโดยวิเศษ ผู้ไม่

หวั่นไหว ผู้ล้างแล้ว ผู้ตรัสรู้แล้วนั้น ว่าเป็น

พราหมณ์. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 267

แม้พระราชา ถึงความโทมนัสว่า " พระศาสดาไม่ทรงทำอนุโมทนา

ให้สมควรแก่เราผู้ถวายทานแล้วยืนอยู่ในท่ามกลางบริษัทเห็นปานนี้ ตรัส

เพียงพระคาถาเท่านั้นแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะไป, เราจักเป็นอันไม่ทำ

ทานให้สมควรแก่พระศาสดา ทำทานอันไม่สมควรเสียแล้ว. เราจักเป็น

อันไม่ถวายกัปปิยภัณฑ์ ถวายแต่อกัปปิยภัณฑ์ถ่ายเดียวเสียเเล้ว. เราพึง

เป็นผู้อันพระศาสดาทรงขุ่นเคืองเสียแล้ว, การทำอนุโมทนาอันสมควรแก่

ทาน ซึ่งผู้ใดผู้หนึ่งนั้นแล จึงควร " ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปสู่วิหาร

ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ทานที่ควรจะถวาย หม่อมฉันมิได้ถวายแล้วหรือหนอ หรือหม่อมฉัน

มิได้ถวายกัปปิยภัณฑ์อันสมควรแก่ทาน ถวายแต่อกัปปิยภัณฑ์เท่านั้น ? "

พระศาสดา. นี่อย่างไร ? มหาบพิตร.

พระราชา. พระองค์ไม่ทรงทำอนุโมทนา ที่สมควรแก่ทานของ

หม่อนฉัน.

พระศาสดา. มหาบพิตร พระองค์ถวายทานอันสมควรแล้วทีเดียว

ก็ทานนั่นชื่อว่าอสทิสทาน. ใครๆ อาจเพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าพระองค์

หนึ่ง ครั้งเดียวเท่านั้น. ธรรมดาทานเห็นปานนี้ เป็นของยากที่บุคคลจะ

ถวายอีก.

พระราชา. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงทำ

อนุโมทนา ให้สมควรแก่ทานของหม่อมฉัน ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เพราะบริษัทไม่บริสุทธิ์ มหาบพิตร.

พระราชา. โทษอะไรหนอแล ของบริษัท ? พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 268

พระราชาทรงเนรเทศอำมาตย์ชั่ว

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสบอกวาระจิต ของอำมาตย์ทั้งสองคนแล้ว

ตรัสบอกความที่อนุโมทนา เป็นอันพระองค์อาศัยความอนุเคราะห์ในกาฬ-

อำมาตย์ จึงไม่ทรงทำแล้วแก่ท้าวเธอ. พระราชาตรัสถามว่า " กาฬะ ได้

ยินว่า ท่านคิดอย่างนี้จริงหรือ ? " เมื่อเขาทูลว่า "จริง" จึงตรัสว่า

" เมื่อเราพร้อมกับบุตรภรรยาของเรา มิได้ถือเอาของมีอยู่ของท่าน ให้

ของมีอยู่ของตน, เบียดเบียนอะไรท่าน ? สิ่งใดที่เราให้แก่ท่านแล้ว สิ่ง

นั้นจงเป็นอันให้เลยทีเดียว; แต่ท่านจงออกไปจากแว่นแคว้นของเรา "

ดังนี้แล้ว จึงทรงเนรเทศกาฬอำมาตย์นั้นออกจากแว่นแคว้น แล้วรับสั่ง

ให้เรียกชุณหอำมาตย์มา ตรัสถามว่า " ได้ยินว่า ท่านคิดอย่างนี้ จริง

หรือ ? เมื่อเขาทูลว่า " จริง " จึงตรัสว่า " ดีละ ลุง, เราเลื่อมใส

(ขอบใจ). ท่านจงรับราชสมบัติของเราแล้ว ให้ทานสิ้น ๗ วัน โดย

ทำนองที่เราให้แล้วนั่นแล " ทรงมอบราชสมบัติแก่เขาสิ้น ๗ วันแล้ว

จึงกราบทูลพระศาสดาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทอด

พระเนตรการทำของคนพาล. เขาได้ให้ความลบหลู่ในทาน ที่หม่อมฉัน

ถวายแล้วอย่างนี้. "

คนตระหนี่ไปเทวโลกไม่ได้

พระศาสดาตรัสว่า " อย่างนั้น มหาบพิตร, ขึ้นชื่อว่าพวกคนพาล

ไม่ยินดีทานของผู้อื่น เป็นผู้มีทุคติเป็นที่ไป ณ เบื้องหน้า. ส่วนพวกนัก

ปราชญ์อนุโมทนาทานแม้ของชนเหล่าอื่น จึงเป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไป ณ

เบื้องหน้าโดยแท้ " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 269

๑๐. น เว กทริยา เทวโลก วชนฺติ

พาลา หเว นปฺปสสนฺติ ทาน

ธีโร จ ทาน อนุโมทมาโน

เตเนว โส โหติ สุขี ปรตฺถ.

" พวกคนตระหนี่จะไปสู่เทวโลกไม่ได้เลย, พวก

คนพาลแล ย่อมไม่สรรเสริญทาน, ส่วนนักปราชญ์

อนุโมทนาทานอยู่ เพราะเหตุนั้นนั่นเอง นักปราชญ์

นั้น จึงเป็นผู้มีสุขในโลกหน้า. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กทริยา คือผู้มีความตระหนี่เหนียว

แน่น. ผู้ไม่รู้จักประโยชน์โนโลกนี้และโลกหน้า ชื่อว่าพวกพาล บัณฑิต

ชื่อว่า ธีรชน, สองบทว่า สุขี ปรตฺถ ความว่า ธีรชนนั้น เมื่อเสวย

ทิพยสมบัติ ชื่อว่าเป็นผู้มีความสุขในโลกหน้า เพราะบุญอันสำเร็จแต่การ

อนุโมทนาทานนั้นนั่นเอง.

ในเวลาจบเทศนา ชุณหอำมาตย์ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้เเก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว. ชุณหอำมาตย์ ครั้นเป็น

พระโสดาบันแล้ว ได้ถวายทานโดยทำนองที่พระราชาถวายแล้วสิ้น ๗ วัน

เหมือนกัน ดังนี้แล.

เรื่องอสทิสทาน จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 270

๑๑. เรื่องนายกาละบุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี [๑๔๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบุตรของ

ท่านอนาถบิณฑิกะ ชื่อว่า กาละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปพฺยา

เอกรชฺเชน " เป็นต้น.

บิดาจ้างบุตรให้ฟังธรรม

ได้ยินว่า นายกาละนั้นเป็นบุตรเศรษฐี ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศรัทธา

เช่นนั้น ก็ไม่ปรารถนาจะไปสู่สำนักของพระศาสดาเลย. ไม่ปรารถนาจะฟัง

ธรรม. ไม่ปรารถนาจะทำการขวนขวายแก่สงฆ์; แม้ถูกบิดาพูดว่า " เจ้า

อย่าทำอย่างนี้ พ่อ " ก็ไม่ฟังคำของท่าน.

ลำดับนั้น บิดาของเขาคิดว่า เจ้ากาละนี้ เมื่อถือทิฏฐิเห็นปานนี้

เที่ยวไป จักเป็นผู้มีอเวจีเป็นที่ไปในเบื้องหน้า; ก็เมื่อเรายังเห็นอยู่ บุตร

ของเราพึงไปสู่นรก, ข้อนั้นไม่สมควรแก่เราเลย; ก็ขึ้นชื่อว่าสัตว์ผู้ไม่เพ่ง

เล็งเพราะการให้ทรัพย์ ไม่มีในโลกนี้เลย, เราจักทำลายทิฏฐิของบุตรนั้น

ด้วยทรัพย์."

ลำดับนั้น เศรษฐีพูดกะนายกาละนั้นว่า " พ่อ เจ้าจงเป็นผู้รักษา

อุโบสถ ไปสู่วิหารฟังธรรมแล้วมาเถิด เราจักให้กหาปณะ ๑๐๐ แก่เจ้า."

กาละ. จักให้หรือ ? พ่อ.

เศรษฐี. จักให้ ลูก.

นายกาละนั้น รับปฏิญญา ๓ ครั้งแล้ว เป็นผู้รักษาอุโบสถ ได้ไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 271

สู่วิหารแล้ว. แต่กิจด้วยการฟังธรรมของเขาไม่มี; เขานอนในที่ตามความ

สำราญแล้ว ได้ไปบ้านแต่เช้าตรู่. ลำดับนั้น บิดาของเขาพูดว่า " บุตร

ของเราได้เป็นผู้รักษาอุโบสถ, ท่านทั้งหลายจงนำข้าวต้มเป็นต้นมาแก่เขา

เร็ว " ดังนี้แล้ว ก็สั่งคนใช้ให้ ๆ. นายกาละนั้นห้ามอาหารเสีย ด้วย

พูดว่า " เรายังมิได้รับกหาปณะจักไม่บริโภค. " ลำดับนั้น บิดาของเขา

เมื่ออดทนการรบกวนไม่ได้ จึงให้ห่อกหาปณะแล้ว. นายกาละนั้น ต่อ

รับกหาปณะนั้นไว้ด้วยมือแล้ว จึงบริโภคอาหาร.

ต่อมาในวันรุ่งขึ้น เศรษฐีสั่งเขาไป ด้วยพูดว่า " พ่อ เราจักให้

กหาปณะพันหนึ่งแก่เจ้า. เจ้ายืนตรงพระพักตร์ของพระศาสดา เรียนเอา

บทแห่งธรรมให้ได้บทหนึ่งแล้วพึงมา. เขาไปวิหาร ยืนตรงพระพักตร์

ของพระศาสดา ได้เป็นผู้ใคร่จะเรียนเอาบทแห่งธรรม บทเดียวเท่านั้น

แล้วหนีไป. ลำดับนั้น พระศาสดาได้ทรงทำอาการ คือการกำหนดไม่ได้

แก่เขา. เขากำหนดบทนั้นไม่ได้เเล้ว จึงได้ยืนฟังแล้วเทียว ด้วยคิดว่า

" เราจักเรียนบทต่อไป. " นัยว่าชนทั้งหลาย ต่อฟังอยู่ ด้วยคิดว่า " เรา

จักเรียนให้ได้ ชื่อว่าฟังโดยเคารพ.

ก็ธรรมดา เมื่อชนทั้งหลายฟังอยู่อย่างนี้, ธรรมย่อมให้โสดา-

ปัตติมรรคเป็นต้น. ถึงนายกาละนั้นก็ฟังอยู่ด้วยคิดว่า " จักเรียนให้ได้."

แม้พระศาสดาก็ทรงทำอาการคือการกำหนดไม่ได้แก่เขา. เขากำลังยืนฟัง

อยู่เทียว ด้วยคิดว่า " จักเรียนต่อไป " จึงตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.

บรรลุโสดาปัตติผลแล้วรับค่าจ้าง

ในวันรุ่งขึ้น นายกาละนั้นไปสู่กรุงสาวัตถี พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 272

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขทีเดียว. มหาเศรษฐีพอเห็นเขาก็คิดว่า " วันนี้

เราชอบใจอาการของบุตร." แม้นายกาละนั้นก็ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า

" โอหนอ วันนี้ บิดาของเราไม่พึงให้กหาปณะในที่ใกล้พระศาสดา

พึงปกปิดความที่เราเป็นผู้รักษาอุโบสถเพราะเหตุแห่งกหาปณะไว้. " แต่

พระศาสดา ได้ทรงทราบความที่นายกาละนั้น เป็นผู้รักษาอุโบสถ เพราะ

เหตุแห่งกหาปณะแล้วในวันวาน มหาเศรษฐีให้ถวายข้าวต้มแก่ภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว จึงสั่งให้ ๆ แม้แก่บุตร. นายกาละนั้นเป็น

ผู้นั่งนิ่งเทียว ดื่มข้าวต้ม เคี้ยวของควรเคี้ยว บริโภคภัต.

ในเวลาเสร็จภัตกิจของพระศาสดา มหาเศรษฐีให้บุคคลวางห่อ

กหาปณะพันหนึ่งไว้ตรงหน้าบุตรแล้ว พูดว่า " พ่อ พ่อพูดว่า 'จักให้'

กหาปณะพันหนึ่งแก่เจ้า' จึงให้เจ้าสมาทานอุโบสถ ส่งไปวิหาร นี้กหา-

ปณะพันหนึ่งของเจ้า. " นายกาละนั้น เห็นกหาปณะที่บิดาให้เฉพาะพระ-

พักตร์ของพระศาสดา ละอายอยู่ จึงพูดว่า " ผมไม่ต้องการด้วยกหาปณะ

ทั้งหลาย " แม้ถูกบิดาพูดว่า " จงรับเถิด พ่อ " ก็ไม่รับแล้ว.

โสดาปัตติผลเลิศกว่าสมบัติทุกอย่าง

ลำดับนั้น บิดาของเขาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า

" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วันนี้ ข้าพระองค์ ชอบใจอาการของบุตร " เมื่อ

พระศาสดาตรัส ถามว่า " อะไร ? มหาเศรษฐี " จึงกราบทูลว่า " ใน

วันก่อน บุตรของข้าพระองค์นี้ อันข้าพระองค์พูดว่า 'เราจักให้กหาปณะ

๑๐ แก่เจ้า ' แล้วส่งไปวิหาร ในวันรุ่งขึ้น ยังไม่ได้รับกหาปณะแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 273

ไม่ปรารถนาจะบริโภค; แต่วันนี้ เขาไม่ปรารถนากหาปณะแม้ที่ข้าพระ-

องค์ให้. " พระศาสดาตรัสว่า " อย่างนั้น มหาเศรษฐี. วันนี้ โสดาปัตติผล

นั่นแลของบุตรของท่าน ประเสริฐแม้กว่าสมบัติของพระเจ้าจักรพรรดิ

แม้กว่าสมบัติในเทวโลก และพรหมโลก " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถา

นี้ว่า :-

๑๑. ปพฺยา เอกรชฺเชน สคฺคสฺส คมเนน วา

สพฺพโลกาธิปจฺเจน โสตาปตฺติผล วร.

" โสดาปัตติผล ประเสริฐกว่าความเป็นเอกราช

ในแผ่นดิน กว่าการไปสู่สวรรค์ และกว่าความเป็น

ใหญ่ในโลกทั้งปวง. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปพฺยา เอกรชฺเชน คือ

กว่าความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ. บาทพระคาถาว่า สคฺคสฺส คมเนน วา

ความว่า กว่าการกล่าวถึงสวรรค์ ๒๖ ชั้น. บาทพระคาถาว่า สพฺพโลกา

ธิปจฺเจน ความว่า กว่าความเป็นใหญ่ในโลก มีประมาณเท่านั้น ๆ คือ

ในโลกทั้งปวง พร้อมด้วยนาค ครุฑ และเวมานิกเปรต. บาทพระคาถาว่า

โสตาปตฺติผล วร ความว่า เพราพระพระราชา แม้เสวยราชสมบัติในที่มี

ประมาณเท่านั้น ก็เป็นผู้ไม่พ้นจากนรกเป็นต้นได้เลย ส่วนพระโสดาบัน

เป็นผู้มีประตูอบายอันปิดแล้ว แม้มีกำลังเพลากว่าพระโสดาบันทั้งสิ้น ก็

๑. พระโสดาบัน ๓ พวก คือ สัตตักขัตตุปรมะ ๑ โกลังโกละ ๑ เอกพิชี ๑. พวกแรกมีกำลัง

เพลากว่า ๒ พวกหลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 274

ไม่เกิดในภพที่ ๘; ฉะนั้น โสดาปัตติผลนั่นแล จึงประเสริฐ คือสูงสุด.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องนายกาละบุตรของอนาถบิณฑิกเศรษฐี จบ.

โลกวรรครรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๓ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 275

คาถาธรรมบท

พุทธวรรคที่ ๑๔

ว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้า

[๒๔] ๑. กิเลสชาตมีราคะเป็นต้น อันพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้า พระองค์ใดชนะแล้ว อันพระองค์ย่อมไม่-

กลับแพ้ กิเลสหน่อยหนึ่งในโลกย่อมไปหากิเลสชาต

ที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นชนะแล้วไม่ได้ พวกเจ้าจัก

นำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ไม่มี

ร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร ตัณหามีข่ายซ่านไปตาม

อารมณ์ต่าง ๆ ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อ

นำไปในภพไหนๆ พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระ-

องค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ไม่มีร่องรอยไปด้วย

ร่องรอยอะไร.

๒. พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเป็นปราชญ์ ขวน-

ขวายในฌาน ยินดีแล้วในธรรมที่เข้าไปสงบ ด้วย-

สามารถแห่งการออก แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ก็ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมพุทธเจ้าผู้มีสติเหล่านั้น.

๓. ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์เป็นการยาก ชีวิต

ของสัตว์ทั้งหลายเป็นอยู่ยาก การฟังพระสัทธรรม

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๙ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 276

เป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เป็นการยาก.

๔. ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศลให้ถึง

พร้อม ความทำจิตของตนให้ผ่องใส นี้เป็นคำ

สอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความอดทนต่อความ

อดกลั้น เป็นธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้ทั้งหลาย

ย่อมกล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม ผู้ทำร้ายผู้อื่นไม่

ชื่อว่าบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็น

สมณะ ความไม่กล่าวร้าย ๑ ความไม่ทำร้าย ๑

ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประ-

มาณในภัตตาหาร ๑ ที่นั่งที่นอนอันสงัด ๑ ความ

ประกอบโดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต ๑ นี่เป็นคำสอนของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

๕. ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝน

คือกหาปณะ กามทั้งหลายมีรสอร่อยน้อย มีทุกข์

มาก บัณฑิตรู้แจ้งดังนี้แล้ว ย่อมไม่ถึงควานยินดีใน

กามทั้งหลาย แม้ที่เป็นทิพย์ พระสาวกของพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่ง

ตัณหา.

๖. มนุษย์เป็นอันมากถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อมถึง

ภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ ว่าเป็นที่พึ่ง สรณะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 277

นั่นแลไม่เกษม สรณะนั่นไม่อุดม เพราะบุคคลอาศัย

สรณะนั่นย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้ ส่วนบุคคล

ใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง

ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ (คือ) ทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์

ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐ

ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบแห่งทุกข์ ด้วยปัญญาชอบ

สรณะนั่นแลของบุคคลนั้นเกษม สรณะนั่นอุดม

เพราะบุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง

ได้.

๗. บุรุษอาชาไนยหาได้ยาก (เพราะว่า) บุรุษ

อาชาไนยนั้น ย่อมไม่เกิดในที่ทั่วไป บุรุษอาชาไนย

นั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมเกิดในตระกูลใด ตระกูลนั้น

ย่อมถึงความสุข.

๘. ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งทลาย เป็น

เหตุนำสุขมา การแสดงธรรมของสัตบุรุษเป็นเหตุนำ

สุขมา ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นเหตุนำสุขมา

ความเพียรของชนผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นเหตุนำสุข

มา.

๙. ใครๆไม่อาจเพื่อจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาอยู่

ซึ่งท่านผู้ควรบูชา คือพระพุทธเจ้า หรือว่าพระสาวก

ทั้งหลายด้วย ผู้ก้าวล่วงปัญจธรรม เครื่องเนิ่นช้า

ได้แล้ว ผู้มีความเศร้าโศกและความคร่ำครวญ อัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 278

ข้ามพ้นแล้ว (หรือว่า) ของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่าน

ผู้ควรบูชาเช่นนั้นเหล่านั้น ผู้นิพพานแล้ว ไม่มีภัย

แต่ที่ไหน ๆ ด้วยการนับแม้วิธีไร ๆ ก็ตาม ว่าบุญนี้

มีประมาณเท่านี้.

จบพุทธวรรคที่ ๑๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 279

๑๔. พุทธวรรควรรณนา

๑. เรื่องมารธิดา [๑๔๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่โพธิมัณฑสถาน ทรงปรารภธิดามาร

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺส ชิต " เป็นต้น.

พราหมณ์หาสามีให้ลูกสาว

ก็พระศาสดา ทรงยังพระธรรมเทศนาให้ตั้งขึ้นที่กรุงสาวัตถีแล้ว

ตรัสแก่พราหมณ์ชื่อมาคันทิยะ ในเเคว้นกุรุอีก.

ทราบว่า ในแคว้นกุรุ ธิดาของมาคันทิยพราหมณ์ ชื่อว่ามาคันทิยา

เหมือนกัน ได้เป็นผู้มีรูปงามเลอโฉม. พราหมณ์มหาศาลเป็นอันมาก

และเหล่าขัตติยมหาศาลอยากได้นางมาคันทิยานั้น จึงส่งข่าวไปแก่มาคัน-

ทิยะว่า " ขอจงให้ธิดาแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด. " แม้มาคันทิยพราหมณ์

ก็ห้ามพราหมณ์มหาศาล และขัตติยมหาศาลเสียทั้งหมดเหมือนกันว่า " พวก

ท่าน ไม่สมควรแก่ธิดาของข้าพเจ้า. " ต่อมาวันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่ง

พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นมาคันทิยพราหมณ์เข้าไปภายใน

แห่งข่ายคือพระญาณของพระองค์ จึงทรงใคร่ครวญว่า " จักมีเหตุอะไร

หนอ ? " ได้ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งมรรคและผลทั้ง ๓ ของพราหมณ์และ

นางพราหมณี. ฝ่ายพราหมณ์ก็บำเรอไฟอยู่เป็นนิตย์ ภายนอกบ้าน. พระ-

ศาสดาได้ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปยังที่นั้นแต่เช้าตรู่. พราหมณ์

ตรวจดูรูปสิริของพระศาสดา พลางคิดว่า " ขึ้นชื่อว่าบุรุษในโลกนี้ ที่จะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 280

เหมือนด้วยบุรุษคนนี้ไม่มี. บุรุษคนนี้ เป็นผู้สมควรแก่ธิดาของเรา, เรา

จะให้ธิดาแก่บุรุษคนนี้ " แล้วกราบทูลพระศาสดาว่า " สมณะ เรามีธิดา

อยู่คนหนึ่ง. เรายังไม่เห็นบุรุษผู้ที่สมควรแก่นาง จึงไม่ได้ให้นางแก่ใครๆ

เลย, ส่วนท่านเป็นผู้สมควรแก่นาง, เราใคร่จะให้ธิดาแก่ท่าน ทำให้เป็น

หญิงบำเรอบาท ท่านจงรออยู่ในที่นี้แหละ จนกว่าเราจะนำธิดานั้นมา. "

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้วไม่ทรงยินดีเลย (แต่) ไม่ทรงห้าม.

รอยพระบาทจะปรากฏเพราะทรงอธิษฐาน

ฝ่ายพราหมณ์ ไปเรือนแล้ว บอกกะนางพราหมณีว่า " นางผู้เจริญ

วันนี้ เราเห็นบุรุษผู้สมควรแก่ธิดาของเราแล้ว, พวกเราจักให้ธิดานั้นแก่

เขา " ให้ธิดาตกแต่งกายแล้ว ได้พาไปยังที่นั้นพร้อมด้วยนางพราหมณี.

แม้มหาชนก็ตื่นเต้น พากันออกไป (ดู). พระศาสดาไม่ได้ประทับยืนอยู่

ในที่ที่พราหมณ์บอกไว้ ทรงแสดงเจดีย์ คือรอยพระบาทไว้ในที่นั้นแล้ว

ได้ประทับยืนเสียในที่อื่น. ทราบว่าเจดีย์ คือ รอยพระบาทของพระพุทธ-

เจ้าทั้งหลาย ย่อมปรากฏในที่ที่พระองค์ทรงอธิษฐานว่า " บุคคลชื่อโน้น

จงเห็นเจดีย์ คือรอยเท้านี้ " แล้วทรงเหยียบไว้เท่านั้น. ชื่อว่า ผู้ที่จะเห็น

เจดีย์ คือรอยพระบาทนั้นในที่ที่เหลือไม่มี. พราหมณ์ ถูกนางพราหมณี

ผู้ไปกับตนถามว่า " บุรุษนั้นอยู่ที่ไหน " จึงบอกว่า " ฉันได้สั่งเขาไว้

แล้วว่า ่ ท่านจงรออยู่ที่นี้ ' พลางมองหาอยู่ พบรอยพระบาทแล้ว จึง

ชี้ว่า นี้รอยเท้าของเขา. "

รอยเท้าเป็นเครื่องแสดงลักษณะของคน

นางพราหมณีนั้นกล่าวร่า " พราหมณ์ นี้ ไม่ใช่รอยเท้าของบุคคล

ผู้บริโภคกาม " เพราะความที่นางเป็นคนฉลาดในมนต์เครื่องทำนาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 281

ลักษณะ, เมื่อพราหมณ์พูดว่า " นางผู้เจริญ เจ้าเห็นจระเข้ในตุ่มน้ำ.

สมณะนั้นเราบอกแล้วว่า ' เราจักให้ธิดาแก่เขา ' ถึงเขาก็รับคำของเรา

แล้ว, " กล่าวว่า " พราหมณ์ ท่านบอกอย่างนั้นก็จริง. ถึงดังนั้น รอยเท้า

นี้ เป็นรอยเท้าของผู้หมดกิเลสทีเดียว ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า :-

" ก็คนเจ้าราคะ พึงมีรอยเท้ากระโหย่ง (เว้า

กลาง) คนเจ้าโทสะ ย่อมมีรอยเท้าอันส้นบีบ (หนัก

ส้น) คนเจ้าโมหะย่อมมีรอยเท้าจิกลง (หนักทาง

ปลายเท้า) คนมีกิเลสเครื่องมุงบังอันเปิดแล้วมีรอย

เท้าเช่นนี้ นี้. "

ทีนั้น พราหมณ์จึงบอกนางพราหมณีว่า " นางผู้เจริญ เจ้าอย่าอึง

ไป. จงเป็นผู้นิ่งมาเถิด " ไปพบพระศาสดาแล้ว จึงแสดงแก่นางพราหมณี

นั้นว่า " นี้ คือ บุรุษคนนั้น. " แล้วเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลว่า " สมณะ

เราจะให้ธิดา. " พระศาสดา ไม่ตรัสว่า " เราไม่ต้องการด้วยธิดาของ

ท่าน " (กลับ) ตรัสว่า " พราหมณ์ เราจักบอกเหตุสักอย่างหนึ่งแก่ท่าน.

ท่านจักฟังไหม ? " เมื่อพราหมณ์ทูลว่า " สมณะผู้เจริญ ท่านจงกล่าว,

ข้าพเจ้าจักฟัง. จึงทรงนำเรื่องอดีต ตั้งแต่ครั้งออกมหาภิเนษกรมณ์มา

แสดงแล้ว.

กถาโดยย่อในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้ :-

" พระมหาสัตว์ ทรงละสิริราชสมบัติ ทรงขึ้นม้ากัณฐกะ (ม้าสีขาว)

มีนายฉันนะเป็นสหาย เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ เมื่อมารยืนอยู่ที่ประตู

แห่งพระนคร กล่าวว่า " สิทธัตถะ ท่านจงกลับเสียเถิด แต่วันนี้ไปใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 282

วันที่ ๗ จักรรัตนะจักปรากฏแก่ท่าน. จึงตรัสว่า " มาร ถึงเราก็รู้จักร-

รัตนะนั้น. แต่เราไม่มีความต้องการด้วยจักรรัตนะนั้น. "

มาร. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านออกไปเพื่อประโยชน์อะไร ?

พระมหาสัตว์. เพื่อประโยชน์แก่สัพพัญญุตญาณ.

มาร. ถ้าเช่นนั้น ตั้งแต่วันนี้ไป บรรดาวิตกทั้งสามมีกามวิตกเป็น

ต้น ท่านจะต้องตรึกวิตกแม้สักอย่างหนึ่ง เราจักรู้กิจที่ควรทำแก่ท่าน.

ตั้งแต่นั้นมา มารนั้นคอยเพ่งจับผิด ติดตามพระมหาสัตว์ไป ๗ ปี

แม้พระศาสดาทรงประพฤติทุกรกิริยาสิ้น ๖ ปี ทรงอาศัยการกระทำ

(ความเพียร) ของบุรุษ เฉพาะพระองค์ ทรงแทงตลอดซึ่งพระสัพพัญญุต-

ญาณ เสวยวิมุตติสุข (สุขอันเกิดจากความพ้นกิเลส) ที่ควงไม้โพธิ ใน

สัปดาห์ที่ ๕ ประทับนั่งที่ควงไม้อชปาลนิโครธ.

มารเสียใจเพราะพระองค์ตรัสรู้

ในสมัยนั้น มารถึงความโทมนัสแล้ว นั่งที่หนทางใหญ่ พลางรำพึง

ว่า " เราติดตามมาตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ แม้คอยเพ่งจับผิด ก็ไม่ได้

เห็นความพลั้งพลาดอะไร ๆ ของสิทธัตถะนี้, บัดนี้ เธอก้าวล่วงวิสัยของ

เราไปเสียแล้ว. " ทีนั้น ธิดาของมารนั้นสามคนเหล่านี้ คือ นางตัณหา

นางอรดี นางราคา ดำริว่า " บิดาของเราไม่ปรากฏ. บัดนี้ ท่านอยู่ที่ไหน

หนอ ? เที่ยวมองหาอยู่ จึงเห็นบิดานั้นผู้นั่งแล้วอย่างนั้น จึงเข้าไปหา

แล้วไต่ถามว่า " คุณพ่อ เพราะเหตุไร คุณพ่อจึงมีทุกข์เสียใจ " มาร

นั้น จึงเล่าเนื้อความแก่ธิดาเหล่านั้น. ลำดับนั้น ธิดาเหล่านั้น จึงบอก

กะมารผู้บิดานั้นว่า " คุณพ่อ คุณพ่ออย่าคิดเลย. พวกดิฉันจักทำเขาให้

อยู่ในอำนาจของตนแล้วนำมา. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 283

มาร. แม่ทั้งหลาย ใคร ๆ ก็ไม่อาจทำเขาไว้ในอำนาจได้.

ธิดา. คุณพ่อ พวกดิฉันชื่อว่าเป็นหญิง. พวกดิฉันจักผูกเธอไว้ด้วย

บ่วง มีบ่วงคือราคะเป็นต้นแล้วนำมา ในบัดนี้แหละ, คุณพ่ออย่าคิด

เลย " แล้วพากันเข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า " ข้าแต่พระสมณะ

พวกหม่อมฉันจักบำเรอพระบาทของพระองค์."

ธิดามารประเล้าประโลมพระศาสดา

พระศาสดา มิได้ทรงใฝ่พระหฤทัยถึงถ้อยคำของธิดามารเหล่านั้น

เลย. ไม่ทรงลืมพระเนตรทั้งสองขึ้นดูเลย. พวกธิดามาร คิดกันอีกว่า

" ความประสงค์ของพวกบุรุษ สูง ๆ ต่ำ ๆ แล. บางพวกมีความรักใน

เด็กหญิงรุ่นทั้งหลาย บางพวกมีความรักในพวกหญิงที่ตั้งอยู่ในปฐมวัย.

บางพวกมีความรักในพวกหญิงที่ตั้งอยู่ในมัชฌิมวัย. บางพวกมีความรัก

ในพวกหญิงที่ตั้งอยู่ในปัจฉิมวัย; พวกเราจักประเล้าประโลมเธอโดย

ประการต่าง ๆ คนหนึ่ง ๆ นิรมิตอัตภาพได้ร้อยหนึ่ง ๆ ด้วยสามารถ

แห่งเพศมีเพศเด็กหญิงรุ่นเป็นต้น เป็นเด็กหญิงรุ่นทั้งหลาย เป็นหญิงยัง

ไม่คลอด คลอดแล้วคราวหนึ่ง คลอดแล้วสองคราว เป็นหญิงกลางคน

และเป็นหญิงแก่. เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า " ข้าแต่

พระสมณะ พวกหม่อมฉันจักบำเรอพระบาททั้งสองของพระองค์ " ดังนี้

ถึง ๖ ครั้ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงใฝ่พระหฤทัยถึงถ้อยคำของธิดามาร

แม้นั้น โดยประการที่ทรงน้อมไปในธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิอันยอดเยี่ยม ด้วย

ประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะธิดามารผู้ติดตามมา แม้ด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ว่า " พวกเจ้าจงหลีกไป, พวกเจ้าเห็นอะไรจึงพยายามอย่างนี้ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 284

การทำกรรมชื่อเห็นปานนี้ต่อหน้าของพวกที่มีราคะไม่ไปปราศจึงจะควร,

ส่วนตถาคตละกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นได้เเล้ว, พวกเจ้าจักนำเราไปใน

อำนาจของตน ด้วยเหตุอะไรเล่า ? " ดังนี้ แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถา

เหล่านี้ว่า :-

๑. ยสฺส ชิต นาวชียติ

ชิตมสฺส โนยาติ โกจิ โลเก

ต พุทฺธ อนนฺตโคจร

อปท เกน ปเทน เนสฺสถ.

ยสฺส ชาลินี วิสตฺติกา

ตณฺหา นตฺถิ กุหิญฺจิ เนตเว

ต พุทฺธ อนนฺตโคจร

อปท เกน ปเทน เนสฺสถ.

" กิเลสชาตมีราคะเป็นต้น อันพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าพระองค์ใดชนะแล้ว อันพระองค์ย่อมไม่

กลับแพ้, กิเลสหน่อยหนึ่งในโลก ย่อมไปหากิเลส-

ชาตที่พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นชนะแล้วไม่ได้. พวก

เจ้าจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้มีอารมณ์ไม่มีที่

สุด ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร ? ตัณหามี

ข่ายซ่านไปตามอารมณ์ต่าง ๆ ไม่มีแก่พระพุทธเจ้า

พระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหน ๆ, พวกเจ้าจักนำ

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ไม่มี

ร่องรอยไป ด้วยร่องรอยอะไร ? "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 285

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ยสฺส ชิต นาวชิยติ ความว่า

กิเลสชาตมีราคะเป็นต้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว

ด้วยมรรคนั้น ๆ อันพระองค์ ย่อมไม่กลับแพ้ คือชื่อว่าชนะแล้วไม่ดี

หามิได้ เพราะไม่กลับฟุ้งขึ้นอีก.

บทว่า โนยาติ ตัดเป็น น อุยฺยาติ แปลว่า ย่อมไม่ไปตาม.

อธิบายว่า บรรดากิเลสมีราคะเป็นต้น แม้กิเลสอย่างหนึ่งไร ๆ ในโลก

ชื่อว่ากลับไปข้างหลังไม่มี คือไม่มีความกิเลสชาตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระองค์ใดทรงชนะแล้ว.

บทว่า อนนฺคโคจร ความว่า ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ด้วยสามารถ

แห่งพระสัพพัญญุตญาณ มีอารมณ์หาที่สุดมิได้.

สองบทว่า เกน ปเทน เป็นต้น ความว่า บรรดารอยมีรอย คือ

ราคะเป็นต้น แม้รอยหนึ่ง ไม่มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด, พวก

เจ้าจักนำพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นไป ด้วยร่องรอยอะไร คือ ก็

แม้ร่องรอยสักอย่างหนึ่ง ไม่มีแก่พระพุทธเจ้า, พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้า

นั้น ผู้ไม่มีร่องรอยไป ด้วยร่องรอยอะไร ?

วินิจฉัยในคาถาที่สอง. ขึ้นชื่อว่าตัณหานั่น ชื่อว่า ชาลินี เพราะ

วิเคราะห์ว่า มีข่ายบ้าง มีปกติทำซึ่งข่ายบ้าง เปรียบด้วยข่ายบ้าง เพราะ

อรรถว่า รวบรัดตรึงตราผูกมัดไว้, ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะเป็นธรรม-

ชาติมักซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น เพราะเปรียบด้วยอาหาร

อันมีพิษ เพราะเปรียบด้วยดอกไม้มีพิษ เพราะเปรียบด้วยผลไม้มีพิษ

๑. กิเลสเหล่าอื่น ติดตานกิเลสที่ทรงชนะแล้วเนื่องกันเป็นสาย ๆ ไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 286

เพราะเปรียบด้วยเครื่องบริโภคมีพิษ. อธิบายว่า ตัณหาเห็นปานนั้น

ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหน ๆ. พวกเจ้าจักนำ

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร ?

ในกาลจบเทศนา ธัมมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาเป็นอันมาก. แม้ธิดา

มารก็อันตรธานไปในที่นั้นนั่นแล.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า " มาคัน-

ทิยะ ในกาลก่อน เราได้เห็นธิดามารทั้งสามเหล่านี้ผู้ประกอบด้วยอัตภาพ

เช่นกับแท่งทอง ไม่แปดเปื้อนด้วยของโสโครก มีเสมหะเป็นต้น. แม้

ในกาลนั้น เราไม่ได้มีความพอใจในเมถุนเลย. ก็สรีระแห่งธิดาของ

ท่านเต็มไปด้วยซากศพ คืออาการ ๓๒ เหมือนหม้อที่ใส่ของไม่สะอาด

อันตระการตา ณ ภายนอก. แม้ถ้าเท้าของเราพึงเป็นเท้าที่แปดเปื้อนด้วย

ของไม่สะอาดไซร้. และธิดาของท่านนี้พึงยืนอยู่ที่ธรณีประตู; ถึงอย่างนั้น

เราก็ไม่พึงถูกต้องสรีระของนางด้วยเท้า " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" แม้ความพอใจในเมถุน ไม่ได้มีแล้ว เพราะ

เห็น นางตัณหา นางอรดี และนางราคา, เพราะ

เห็นสรีระ แห่งธิดาของท่านนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตร

และกรีส. (เราจักมีความพอใจในเมถุนอย่างไรได้ ?)

เราย่อมไม่ปรารถนาเพื่อจะแตะต้องสรีระธิดาของท่าน

นั้น แม้ด้วยเท้า."

ในเวลาจบเทศนา เมียผัวทั้งสองตั้งอยู่แล้วในอนาคามิผล ดังนี้แล.

เรื่องมารธิดา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 287

๒. เรื่องยมกปาฏิหารย์ [๑๔๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาทรงปรารภเทวดาและพวกมนุษย์เป็นอันมาก ที่พระ-

ทวารแห่งสังกัสสนคร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เย ฌานปฺปสุตา

ธีรา " เป็นต้น.

ก็เทศนาตั้งขึ้นแล้วในกรุงราชคฤห์.

เศรษฐีได้ไม้จันทน์ทำบาตร

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ให้ขึงข่ายมี

สัณฐานคล้ายขวด เพื่อความปลอดภัย และเพื่อรักษาอาภรณ์เป็นต้น ที่

หลุดไปด้วยความพลั้งเผลอแล้ว เล่นกีฬาทางน้ำในแม่น้ำคงคา.

ในกาลนั้น ต้นจันทน์แดงต้นหนึ่ง เกิดขึ้นที่ริมฝั่งตอนเหนือของ

แม่น้ำคงคา มีรากถูกน้ำในแม่น้ำคงคาเซาะโค่นหักกระจัดกระจายอยู่บน

หินเหล่านั้น ๆ. ครั้งนั้นปุ่ม ๆ หนึ่งมีประมาณเท่าหม้อ ถูกหินครูดสี ถูก

คลื่นน้ำซัด เป็นของเกลี้ยงเกลา ลอยไปโดยลำดับ อันสาหร่ายรวบรัด

มาติดที่ข่ายของเศรษฐีนั้น.

เศรษฐีกล่าวว่า " นั่นอะไร ? " ได้ยินว่า " ปุ่มไม้ " จึงให้นำ

ปุ่มไม้นั้นมาให้ถากด้วยปลายมีด เพื่อจะพิจารณาว่า " นั่นชื่ออะไร ? "

ในทันใดนั่นเอง จันทน์แดงมีสีดังครั่งสดก็ปรากฏ. ก็เศรษฐียัง

ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ. ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ. วางตนเป็นกลาง; เขาคิดว่า

" จันทน์แดงในเรือนของเรามีมาก. เราจะเอาจันทน์แดงนี้ทำอะไรหนอ

แล ? " ทีนั้นเขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " ในโลกนี้ พวกที่กล่าวว่า 'เรา

๑. เพื่อเปลื้องอันตราย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 288

เป็นพระอรหันต์ ' มีอยู่มาก. เราไม่รู้จักพระอรหันต์แม้สักองค์หนึ่ง; เรา

จักให้ประกอบเครื่องกลึงไว้ในเรือน ให้กลึงบาตรแล้ว ใส่สาแหรกห้อย

ไว้ในอากาศประมาณ ๖๐ ศอก โดยเอาไม้ไผ่ต่อกันขึ้นไปแล้ว จะบอกว่า

' ถ้าว่า พระอรหันต์มีอยู่, จงมาทางอากาศแล้ว ถือเอาบาตรนี้; ผู้โคจัก

ถือเอาบาตรนั้นได้ เราพร้อมด้วยบุตรภรรยา จักถึงผู้นั้นเป็นสรณะ. "

เขาให้กลึงบาตรโดยทำนองที่คิดไว้นั่นแหละ ให้ยกขึ้นโดยเอาไม้ไผ่ต่อ ๆ

กันขึ้นไปแล้ว กล่าวว่า " ในโลกนี้ ผู้ใดเป็นพระอรหันต์. ผู้นั้นจงมา

ทางอากาศ ถือเอาบาตรนี้. "

ครูทั้ง ๖ อยากได้บาตรไม้จันทน์

ครูทั้งหกกล่าวว่า " บาตรนั้น สมควรแก่พวกข้าพเจ้า. ท่านจง

ให้บาตรนั้นแก่พวกข้าพเจ้าเสียเถิด. " เศรษฐีนั้นกล่าวว่า " พวกท่าน

จลมาทางอากาศแล้วเอาไปเถิด. "

ในวันที่ ๖ นิครนถ์นาฎบุตรส่งพวกอันเตวาสิกไปด้วยสั่งว่า " พวก

เจ้าจงไป. จงพูดกะเศรษฐีอย่างนั้นว่า " บาตรนั่น สมควรแก่อาจารย์ของ

พวกข้าพเจ้า. ท่านอย่าทำการมาทางอากาศเพราะเหตุแห่งของเพียงเล็กน้อย

เลย. นัยว่า ท่านจงให้บาตรนั่นเถิด. " พวกอันเตวาสิกไปพูดกะเศรษฐี

อย่างนั้นแล้ว. เศรษฐีกล่าวว่า " ผู้ที่สามารถมาทางอากาศแล้วถือเอาได้

เท่านั้น จงเอาไป. "

นาฏบุตรออกอุบายเอาบาตร

นาฏบุตรเป็นผู้ปรารถนาจะไปเอง จึงได้ให้สัญญาแก่พวกอันเต-

วาสิกว่า " เราจักยกมือและเท้าข้างหนึ่ง เป็นทีว่าปรารถนาจะเหาะ,

พวกเจ้าจงร้องบอกเราว่า " ท่านอาจารย์ ท่านจะทำอะไร ? ท่านอย่าแสดง

ความเป็นพระอรหันต์ที่ปกปิดไว้ เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ แก่มหาชนเลย '

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 289

ดังนี้แล้ว จงพากันจับเราที่มือและเท้าดึงไว้ ให้ล้มลงที่พื้นดิน. " เขาไป

ในที่นั้นแล้ว กล่าวกะเศรษฐีว่า " มหาเศรษฐี บาตรนี้สมควรแก่เรา.

ไม่สมควรแก่ชนพวกอื่น. ท่านอย่าชอบใจการเหาะขึ้นไปในอากาศของเรา

เพราะเหตุแห่งของเพียงเล็กน้อย. จงให้บาตรแก่เราเถิด. "

เศรษฐี. ผู้เจริญ ท่านต้องเหาะขึ้นไปทางอากาศแล้ว ถือเอาเถิด.

ลำดับนั้น นาฏบุตรกล่าวว่า " ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงหลีกไป ๆ "

กันพวกอันเตวาสิกออกไปแล้ว กล่าวว่า " เราจักเหาะขึ้นไปในอากาศ

ดังนี้แล้ว ก็ยกมือและเท้าขึ้นข้างหนึ่ง. ทีนั้น พวกอันเตวาสิกกล่าวกับ

อาจารย์ว่า " ท่านอาจารย์ ท่านจะทำชื่ออะไรกันนั่น ? ประโยชน์อะไร

ด้วยคุณที่ปกปิดไว้ อันท่านแสดงแก่มหาชน เพราะเหตุแห่งบาตรไม้นี้ "

แล้วช่วยกันจับนาฏบุตรนั้นที่มือและเท้า ดึงมาให้ล้มลงแผ่นดิน. เขา

บอกกะเศรษฐีว่า " มหาเศรษฐี อันเตวาสิกเหล่านี้ ไม่ให้เหาะ, ท่าน

จงให้บาตรแก่เรา. "

เศรษฐี. ผู้เจริญ ท่านต้องเหาะขึ้นไปถือเอาเถิด.

พวกเดียรถีย์ เเม้พยายามด้วยอาการอย่างนั้นสิ้น ๖ วันแล้ว ยังไม่

ได้บาตรนั้นเลย.

ชาวกรุงเข้าใจว่าไม่มีพระอรหันต์

ในวันที่ ๗ ในกาลที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระปิณโฑล-

ภารทวาชะไปยืนบนหินดาดแห่งหนึ่งแล้วห่มจีวร ด้วยตั้งใจว่า " จักเที่ยว

ไปเพื่อบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ พวกนักเลงคุยกันว่า " ชาวเราเอ๋ย ใน

กาลก่อน ครูทั้ง ๖ กล่าวว่า ' พวกเราเป็นพระอรหันต์ในโลก. ก็เมื่อเศรษฐี

ชาวกรุงราชคฤห์ให้ยกบาตรขึ้นไว้แล้วกล่าวว่า ' ถ้าว่า พระอรหันต์มีอยู่,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 290

จงมาทางอากาศแล้ว ถือเอาเถิด' วันนี้เป็นวันที่ ๗ แม้สักคนหนึ่งชื่อว่า

เหาะขึ้นไปในอากาศด้วยแสดงตนว่า ' เราเป็นพระอรหันต์ ' ก็ไม่มี; วันนี้

พวกเรารู้ความที่พระอรหันต์ไม่มีในโลกแล้ว. "

ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ยินถ้อยคำนั้นแล้ว จึงกล่าวกะท่าน

พระปิณโฑลภารทวาชะว่า " อาวุโส ภารทวาชะ ท่านได้ยินถ้อยคำของ

พวกนักเลงเหล่านั้นไหม " พวกนักเลงเหล่านี้ พูดเป็นทีว่าจะย่ำยีพระพุทธ-

ศาสนา; ก็ท่านมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก, ท่านจงไปเถิด จงมาทางอากาศ

แล้วถือเอาบาตรนั้น. "

ปิณโฑลภารทวาชะ. อาวุโส โมคคัลลานะ ท่านเป็นผู้เลิศกว่าบรรดา

สาวกผู้มีฤทธิ์ ท่านจงถือเอาบาตรนั้น. แต่เมื่อท่านไม่ถือเอา ผมจักถือเอา.

พระปิณโฑลภารทวาชะแสดงปาฏิหาริย์

เมื่อพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนั้นว่า " ท่านจงถือเอาเถิดผู้มี

อายุ " ท่านปิณโฑลภารทวาชะก็เข้าจตุตถฌาน มีอภิญญาเป็นบาท ออก

แล้ว เอาปลายเท้าคีบหินดาดประมาณ ๑ คาวุต ให้ขึ้นไปในอากาศเหมือน

ปุยนุ่น แล้วหมุนเวียนไปในเบื้องบนพระนครราชคฤห์ ๗ ครั้ง. หินดาด

นั้นปรากฏดังฝาละมีสำหรับปิดพระนครไว้ประมาณ ๓ คาวุต. พวกชาว

พระนครกลัว ร้องว่า " หินจะตกทับข้าพเจ้า " จึงทำเครื่องกั้นมีกระด้ง

เป็นต้นไว้บนกระหม่อม แล้วซุกซ่อนในที่นั้น ๆ. ในวาระที่ ๗ พระ-

เถระทำลายหินดาด แสดงตนแล้ว.

มหาชนเห็นพระเถระแล้ว กล่าวว่า " ท่านปิณโฑลภารทวาชะผู้

เจริญ ท่านจงจับหินของท่านไว้ให้มั่น, อย่าให้พวกข้าพเจ้าทั้งหมด

พินาศเสียเลย. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 291

พระเถระเอาปลายเท้าเหวี่ยงหินทิ้งไป. แผ่นหินนั้นไปตั้งอยู่ในที่

เดิมนั่นเอง. พระเถระได้ยืนอยู่ในที่สุดแห่งเรือนของเศรษฐี. เศรษฐีเห็น

ท่านแล้ว หมอบลงแล้ว กราบเรียนว่า " ลงเถิด พระผู้เป็นเจ้า " นิมนต์

พระเถระผู้ลงจากอากาศให้นั่งแล้ว. ให้นำบาตรลง กระทำให้เต็มด้วยวัตถุ

อันมีรสหวาน ๔ อย่างแล้ว ได้ถวายแก่พระเถระ. พระเถระรับบาตรแล้ว

บ่ายหน้าสู่วิหาร ไปแล้ว.

ลำดับนั้น ชนเหล่าใดที่อยู่ในป่าบ้าง อยู่ในบ้านบ้าง ไม่เห็น

ปาฏิหาริย์ของพระเถระ, ชนเหล่านั้นประชุมกันแล้ววิงวอนพระเถระว่า

" ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดงปาฏิหาริย์แม้แก่พวกผม " ดังนี้แล้ว

ก็พากันติดตามพระเถระไป. พระเถระนั้น แสดงปาฏิหาริย์แก่ชนเหล่า

นั้น ๆ พลางได้ไปยังพระวิหารแล้ว.

พระศาสดาทรงห้ามไม่ให้ภิกษุทำปาฏิหาริย์

พระศาสดา ทรงสดับเสียงมหาชนที่ติดตามพระเถระนั้นอื้ออึงอยู่

จึงตรัสถามว่า " อานนท์ นั่นเสียงใคร " ทรงสดับว่า " พระเจ้าข้า

พระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นไปในอากาศแล้ว ถือเอาบาตรไม้จันทน์,

นั่นเสียงในสำนักของท่าน " จึงรับสั่งให้เรียกพระปิณโฑลภารทวาชะมา

ตรัสถามว่า " ได้ยินว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ " เมื่อท่านกราบทูลว่า

" จริง พระเจ้าข้า " จึงตรัสว่า " ภารทวาชะ ทำไม เธอจึงทำอย่างนั้น ? "

ทรงติเตียนพระเถระ แล้วรับสั่งให้ทำลายบาตรนั้น ให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่

แล้ว รับสั่งให้ประทานแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่อันบดผสมยาตา

แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย เพื่อต้องการไม่ให้ทำ

ปาฏิหาริย์. ฝ่ายพวกเดียรถีย์ได้ยินว่า " ทราบว่า พระสมณโคดมให้ทำลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 292

บาตรนั้นแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อต้องการมิให้ทำ

ปาฏิหาริย์ " จึงเที่ยวบอกกันในถนนในพระนครว่า " สาวกทั้งหลายของ

พระสมณโคดม ไม่ก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต.

ถึงพระสมณโคดมก็จักรักษาสิกขาบทที่ทรงบัญญัตินั้นเหมือนกัน. บัดนี้

พวกเรา ได้โอกาสแล้ว " แล้วกล่าวว่า " พวกเรารักษาคุณของตน จึง

ไม่แสดงคุณของตนแก่มหาชนเพราะเหตุแห่งบาตรไว้ในกาลก่อน เหล่า

สาวกของพระสมณโคดมแสดงคุณของตนแก่มหาชนเพราะเหตุแห่งบาตร.

พระสมณโคดมรับสั่งให้ทำลายบาตรนั้นแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่เหล่า

สาวก เพราะพระองค์เป็นบัณฑิต. บัดนี้ พวกเราจักทำปาฏิหาริย์กับพระ-

สมณโคดมนั่นแล. "

พระศาสดาทรงประสงค์จะทำปาฏิหาริย์

พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว เสด็จไปยังสำนักพระ-

ศาสดา กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ได้ทราบว่าพระองค์ทรงบัญญัติสิกขา-

บทแก่เหล่าสาวก เพื่อต้องการไม่ให้ทำปาฏิหาริย์เสียแล้วหรือ ? "

พระศาสดา. ขอถวายพระพร มหาบพิตร.

พระราชา. บัดนี้ พวกเดียรถีย์พากันกล่าวว่า ' พวกเราจักทำ

ปาฏิหาริย์กับด้วยพระองค์.' บัดนี้ พระองค์จักทรงทำอย่างไร ?

พระศาสดา. เมื่อเดียรถีย์เหล่านั้นกระทำ อาตมภาพก็จักกระทำ

มหาบพิตร.

พระราชา. พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้เเล้วมิใช่หรือ ?

พระศาสดา มหาบพิตร อาตมภาพมิได้บัญญัติสิกขาบทเพื่อตน.

สิกขาบทนั้นนั่นแล อาตมภาพบัญญัติไว้เพื่อสาวกทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 293

พระราชา. สิกขาบท เป็นอันชื่อว่าอันพระองค์ทรงบัญญัติในสาวก

ทั้งหลายอื่น เว้นพระองค์เสียหรือ ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักย้อนถามพระองค์

นั่นแหละในเพราะเรื่องนี้, มหาบพิตร ก็พระอุทยานในแว่นแคว้นของ

พระองค์มีอยู่หรือ ?

พระราชา. มี พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. มหาบพิตร ถ้าว่ามหาชนพึงบริโภคผลไม้ เป็นต้นว่า

ผลมะม่วงในพระอุทยานของพระองค์, พระองค์พึงทรงทำอย่างไร แก่เขา ?

พระราชา. พึงลงอาชญา พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ก็พระองค์ย่อมได้เพื่อเสวยหรือ ?

พระราชา. พระเจ้าข้า อาชญาไม่มีแก่หม่อมฉัน, หม่อมฉันย่อม

ได้เพื่อเสวยของ ๆ ตน.

พระศาสดา. มหาบพิตร อาชญาแม้ของอาตมภาพย่อมแผ่ไปใน

แสนโกฏิจักรวาล เหมือนอาชญาของพระองค์ที่แผ่ไปในแว่นแคว้นประ-

มาณ ๓๐๐ โยชน์. อาชญาไม่มีแก่พระองค์ผู้เสวยผลไม้ทั้งหลาย เป็นต้น

ว่าผลมะม่วงในพระอุทยานของพระองค์. แต่มีอยู่แก่ชนเหล่าอื่น. ขึ้นชื่อว่า

การก้าวล่วงบัญญัติ คือ สิกขาบท ย่อมไม่มีแก่ตน, แต่ย่อมมีแก่สาวก

เหล่าอื่น, อาตมภาพจึงจักทำปาฏิหาริย์.

พวกเดียรถีย์ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ปรึกษากันว่า " บัดนี้ พวกเรา

ฉิบหายแล้ว. ได้ยินว่า พระสมณโคดมทรงบัญญัติสิกขาบทเพื่อเหล่าสาวก

เท่านั้น, ไม่ทรงบัญญัติไว้เพื่อตน; ได้ยินว่า ท่านปรารถนาจะทำปาฏิหาริย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 294

เองทีเดียว; พวกเราจักทำอย่างไรกันเล่า ? พระราชาทูลถามพระศาสดา

ว่า " เมื่อไร พระองค์จักทรงทำปาฏิหาริย์ ? พระเจ้าข้า. "

พระศาสดา. มหาบพิตร โดยล่วงไปอีก ๔ เดือน ต่อจากนี้ไป

วันเพ็ญเดือน ๘ จักทำ.

พระราชา. พระองค์จักทรงทำที่ไหน ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อาตมภาพจักอาศัยเมืองสาวัตถีทำ มหาบพิตร.

มีคำถามสอดเข้ามาว่า " ก็ทำไม พระศาสดาจึงอ้างที่ไกลอย่างนี้ ? "

แก้ว่า " เพราะที่นั้นเป็นสถานที่ทำมหาปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้า

ทุก ๆ พระองค์; อีกอย่างหนึ่ง พระองค์อ้างที่ไกลทีเดียว แม้เพื่อ

ประโยชน์จะให้มหาชนประชุมกัน ."

พวกเดียรถีย์ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว กล่าวว่า " ได้ยินว่า ต่อจากนี้

โดยล่วงไป ๔ เดือน พระสมณโคดมจักทำปาฏิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถี.

บัดนี้ พวกเราไม่ละเทียว จักติดตามพระองค์ไป. มหาชนเห็นพวกเรา

แล้ว จักถามว่า " นี่อะไรกัน ? " ทีนั้นพวกเราจักบอกแก่เขาว่า " พวก

เราพูดไว้เเล้วว่า ่จักทำปาฏิหาริย์กับพระสมณโคดม.' พระสมณโคดม

นั้นย่อมหนีไป, พวกเราไม่ให้พระสมณโคดมนั้นหนีจึงติดตามไป. " พระ-

ศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ออกมาแล้ว. ถึงพวกเดียรถีย์

ก็ออกมาข้างหลังของพระองค์นั่นแล อยู่ใกล้ที่ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทำภัตกิจ. ในวันรุ่งขึ้นพวกเดียรถีย์บริโภคอาหารเช้าในที่ ๆ ตนอยู่แล้ว.

เดียรถีย์เหล่านั้น ถูกพวกมนุษย์ถามว่า " นี่อะไรกัน ? " จึงบอกโดยนัย

แห่งคำที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล. ฝ่ายมหาชนคิดว่า " พวกเราจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 295

ดูปาฏิหาริย์ ดังนี้แล้วได้ติดตามไป. พระศาสดาบรรลุถึงพระนครสาวัตถี

โดยลำดับ.

เดียรถีย์เตรียมทำปาฏิหารย์แข่ง

แม้พวกเดียรถีย์ ก็ไปกับพระองค์เหมือนกัน ชักชวนอุปัฏฐากได้

ทรัพย์แสนหนึ่งแล้ว ให้ทำมณฑปด้วยเสาไม้ตะเคียน ให้มุงด้วยอุบลเขียว

นั่งพูดกันว่า " พวกเราจักทำปาฏิหาริย์ในที่นี้. "

ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูล

ว่า " พวกเดียรถีย์ให้ทำมณฑปแล้ว พระเจ้าข้า แม้ข้าพระองค์จะให้ทำ

มณฑปเพื่อพระองค์. "

พระศาสดา. อย่าเลยมหาบพิตร. ผู้ทำมณฑปของอาตมภาพมี.

พระราชา. คนอื่นใครเล่า เว้นข้าพระองค์เสีย จักอาจทำได้

พระเจ้าข้า ?

พระศาสดา. ท้าวสักกเทวราช.

พระราชา. ก็พระองค์จักทรงทำปาฏิหาริย์ที่ไหนเล่า ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ที่ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์ มหาบพิตร.

พวกเดียรถีย์ได้ยินว่า " ได้ข่าวว่า พระสมณโคดมจักทำปาฏิหาริย์

ที่ควงไม้มะม่วง " จึงบอกพวกอุปัฏฐากของตน ให้ถอนต้นมะม่วงเล็กๆ

โดยที่สุดแม้งอกในวันนั้น ในที่ระหว่างโยชน์หนึ่ง แล้วให้ทิ้งไปในป่า.

ในวันเพ็ญเดือน ๘ พระศาสดาเสด็จเข้าไปภายในพระนคร. ผู้

รักษาสวนของพระราชา ชื่อคัณฑะ เห็นมะม่วงสุกผลใหญ่ผลหนึ่งใน

ระหว่างกลุ่มใบที่มดดำมดแดงทำรังไว้. ไล่กาที่มาชุมนุมด้วยความโลภใน

๑. ขทิร ในที่บางแห่งแปลว่า ไม้สะแก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 296

กลิ่นและรสแห่งมะม่วงนั้นให้หนีไปแล้ว ถือเอาเพื่อประโยชน์แด่พระ-

ราชา เดินไปเห็นพระศาสดาในระหว่างทาง คิดว่า " พระราชาเสวยผล

มะม่วงนี้แล้ว พึงพระราชทานกหาปณะแก่เรา ๘ กหาปณะ หรือ ๑๖

กหาปณะ, กหาปณะนั้นไม่พอเพื่อเลี้ยงชีพในอัตภาพหนึ่งของเรา; ก็ถ้า

ว่า เราจักถวายผลมะม่วงนี้แด่พระศาสดา. นั่นจักเป็นคุณนำประโยชน์

เกื้อกูลมาให้เเก่เราตลอดกาลไม่มีสิ้นสุด." เขาน้อมถวายผลมะม่วงนั้นแด่

พระศาสดา.

พระศาสดาทอดพระเนตรดูพระอานนทเถระแล้ว. ลำดับนั้นพระ-

เถระนำบาตรที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถวายออกมาแล้ว วางที่พระหัตถ์ของ

พระองค์.

พระศาสดา ทรงน้อมบาตรเข้าไปรับมะม่วงแล้ว ทรงแสดงอาการ

เพื่อประทับนั่งในที่นั้นนั่นแหละ. พระเถระได้ปูจีวรถวายแล้ว. ลำดับนั้น

เมื่อพระองค์ประทับนั่งบนจีวรนั้นแล้ว พระเถระกรองน้ำดื่ม แล้วขยำ

มะม่วงสุกผลนั้น ได้ทำให้เป็นนำปานะถวาย. พระศาสดาเสวยน้ำปานะ

ผลมะม่วงแล้วตรัสกะนายคัณฑะว่า " เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นแล้ว ปลูก

เมล็ดมะม่วงนี้ในที่นี้นี่แหละ. " เขาได้ทำอย่างนั้นแล้ว.

ประวัติคัณฑามพพฤกษ์

พระศาสดาทรงล้างพระหัตถ์บนเมล็ดมะม่วงนั้น. พอเมื่อพระหัตถ์

อันพระองค์ทรงล้างแล้วเท่านั้น, ต้นมะม่วงมีลำต้นเท่าศีรษะไถ (งอนไถ)

มีประมาณ ๕๐ ศอกโดยส่วนสูงงอกขึ้นแล้ว. กิ่งใหญ่ ๕ กิ่ง คือใน

๔ ทิศ ๆ ละกิ่ง เบื้องบนกิ่งหนึ่ง ได้มีประมาณกิ่งละ ๕๐ ศอกเทียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 297

ต้นมะม่วงนั้นสมบูรณ์ด้วยช่อและผล ได้ทรงไว้ซึ่งพวงแห่งมะม่วงสุกในที่

แห่งหนึ่ง ในขณะนั้นนั่นเอง.

พวกภิกษุผู้มาข้างหลัง มาขบฉันผลมะม่วงสุกเหมือนกัน.

พระราชาทรงสดับว่า " ข่าวว่า ต้นมะม่วงเห็นปานนี้เกิดขึ้นแล้ว "

จึงทรงตั้งอารักขาไว้ด้วยพระดำรัสว่า " ใคร ๆ อย่าตัดต้นมะม่วงนั้น."

ก็ต้นมะม่วงนั้น ปรากฏชื่อว่า " คัณฑามพพฤกษ์ " เพราะความที่นาย

คัณฑะปลูกไว้. แม้พวกนักเลงเคี้ยวกินผลมะม่วงสุกแล้วพูดว่า " เจ้าพวก

เดียรถีย์ถ่อยเว้ย พวกเจ้ารู้ว่า 'พระสมณโคดมจักทรงทำปาฏิหาริย์ที่โคน

ต้นคัณฑามพพฤกษ์ จึงสั่งให้ถอนต้นมะม่วงเล็ก ๆ แม้ที่เกิดในวันนั้นใน

ร่วมในที่โยชน์หนึ่ง, ต้นมะม่วงนี้ ชื่อว่าคัณฑามพะ " แล้วเอาเมล็ด

มะม่วงที่เป็นเดนประหารพวกเดียรถีย์เหล่านั้น.

ท้าวสักกะทำลายพิธีของพวกเดียรถีย์

ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับวาตวลาหกเทวบุตรว่า " ท่านจงถอนมณฑป

ของพวกเดียรถีย์เสียด้วยลม แล้วให้ลม (หอบไป) ทิ้งเสียบนแผ่นดินที่ทิ้ง

หยากเยื่อ. เทวบุตรนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ท้าวสักกะสั่งบังคับ

สุริยเทวบุตรว่า " ท่านจงขยายมณฑลพระอาทิตย์ ยัง (พวกเดียรถีย์) ให้

เร่าร้อน่. " แม้เทวบุตรนั้นก็ได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ท้าวสักกะทรงสั่ง

บังคับวาตวลาหกเทวบุตรอีกว่า " ท่านจงยังมณฑลแห่งลม (ลมหัวด้วน)

ให้ตั้งขึ้นไปเถิด. " เทวบุตรนั้นทำอยู่เหมือนอย่างนั้น โปรยเกลียวธุลีลง

ที่สรีระของพวกเดียรถีย์ที่มีเหงื่อไหล. พวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้เป็นเช่นกับ

จอมปลวกแดง. ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับแม้วัสสวลาหกเทวบุตรว่า " ท่าน

จงให้หยาดน้ำเมล็ดใหญ่ ๆ ตก. " เทวบุตรนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 298

ทีนั้น กายของพวกเดียรถีย์เหล่านั้น ได้เป็นเช่นกับแม่โคด่างแล้ว. พวก

เขาแตกหมู่กัน หนีไปในที่เฉพาะหน้า ๆ นั่นเอง. เมื่อพวกเขาหนีไปอยู่

อย่างนั้น ชาวนาคนหนึ่งเป็นอุปัฏฐาก องปูรณกัสสป คิดว่า " บัดนี้

เป็นเวลาทำปาฏิหาริย์แห่งพระผู้เป็นเจ้าของเรา, เราจักดูปาฎิหาริย์นั้น "

แล้วปล่อยโค ถือหม้อยาคูและเชือก ซึ่งตนนำมาแต่เช้าตรู่เดินมาอยู่ เห็น

ปูรณะหนีไปอยู่เช่นนั้น จึงกล่าวว่า " ท่านขอรับ ผมมาด้วยหวังว่า

' จักดูปาฏิหาริย์ของพระผู้เป็นเจ้า, ' พวกท่านจะไปที่ไหน ? "

ปูรณะ. ท่านจะต้องการอะไรด้วยปาฏิหาริย์. ท่านจงให้หม้อและ

เชือกนี้แก่เรา.

เขาถือเอาหม้อและเชือกที่อุปัฏฐากนั้นให้เเล้ว ไปยังฝั่งแม่น้ำ เอา

เชือกผูกหม้อเข้าที่คอของตนแล้ว กระโดดลงไปในห้วงน้ำ ยังฟองน้ำให้

ตั้งขึ้นอยู่ ทำกาละในอเวจีแล้ว.

พระศาสดาทรงนิรมิตจงกรมแก้วในอากาศ. ที่สุดด้านหนึ่งของ

จงกรมนั้น ได้มีที่ขอบปากจักรวาลด้านปาจีนทิศ. ด้านหนึ่งได้มีที่ขอบปาก

จักรวาลด้านปัศจิมทิศ. พระศาสดา เมื่อบริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์

ประชุมกันแล้ว. ในเวลาบ่ายเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ด้วยทรงดำริว่า

" บัดนี้เป็นเวลาทำปาฏิหาริย์ " แล้ว ได้ประทับยืนที่หน้ามุข.

สาวกสาวิการับอาสาทำปาฏิหาริย์แทน

ครั้งนั้น อนาคามีอุบาสิกาคนหนึ่ง ผู้นันทมารดา ชื่อฆรณี เข้า

ไปเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า เมื่อธิดาเช่นหม่อมฉันมีอยู่.

กิจที่พระองค์ต้องลำบากย่อมไม่มี, หม่อมฉันจักทำปาฏิหาริย์. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 299

พระศาสดา. ฆรณี เธอจักทำอย่างไร ?

ฆรณี. พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักทำแผ่นดินใหญ่ในท้องแห่งจักร-

วาลหนึ่งให้เป็นน้ำแล้วดำลงเหมือนนางนกเป็ดน้ำ แสดงตนที่ขอบปาก

แห่งจักรวาลด้านปาจีนทิศ. ที่ขอบปากแห่งจักรวาลด้านปัศจิมทิศ อุตรทิศ

และทักษิณทิศก็เช่นนั้น, ตรงกลางก็เช่นนั้น; เมื่อเป็นเช่นนั้น มหาชน

เห็นหม่อมฉันแล้ว. เมื่อใคร ๆ พูดขึ้นว่า ' นั่นใคร ' ก็จะบอกว่า ' นั่น

ชื่อนางฆรณี. อานุภาพของหญิงคนหนึ่งยังเพียงนี้ก่อน. ส่วนอานุภาพ

ของพระพุทธเจ้า จักเป็นเช่นไร ? ' พวกเดียรถีย์ไม่ทันเห็นพระองค์เลย

ก็จักหนี ไปด้วยอาการอย่างนี้.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า " ฆรณี เราย่อมทราบความ

ที่เธอเป็นผู้สามารถทำปาฏิหาริย์เห็นปานนี้ได้. แต่พวงดอกไม้นี้เขามิได้

ผูกไว้เพื่อประโยชน์แก่เธอ " แล้วทรงห้ามเสีย.

นางฆรณีนั้นคิดว่า " พระศาสดาไม่ทรงอนุญาตแก่เรา. คนอื่น

ผู้สามารถทำปาฏิหาริย์ยิ่งขึ้นไปกว่าเราจะมีแน่แท้ " ดังนี้ แล้วได้ยืนอยู่

ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.

ฝ่ายพระศาสดาทรงดำริว่า " คุณของสาวกเหล่านั้นจักปรากฏด้วย

อาการอย่างนี้แหละ " ทรงสำคัญอยู่ว่า " พวกสาวกจะบันลือสีหนาท

ณ ท่ามกลางบริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์ ด้วยอาการอย่างนี้ " จึงตรัส

ถามสาวกแม้พวกอื่นอีกว่า " พวกเธอจักทำปาฏิหาริย์อย่างไร ? สาวก

เหล่านั้นก็กราบทูลว่า " พวกข้าพระองค์จักทำอย่างนี้และอย่างนี้ พระ-

เจ้าข้า " แล้วยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดานั่นแหละ บันลือ

สีหนาท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 300

บรรดาสาวกเหล่านั้น ได้ยินว่า ท่านจุลอนาถบิณฑิกะ คิดว่า

" เมื่ออนาคามีอุบาสกผู้เป็นบุตรเช่นเรามีอยู่. กิจที่พระศาสดาต้องลำบาก

ย่อมไม่มี " จึงกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จัก ทำปาฏิหาริย์

ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า " เธอจักทำอย่างไร ? " จึงกราบทูลว่า " พระ-

เจ้าข้า ข้าพระองค์จักนิรมิตอัตภาพเหมือนพรหมมีประมาณ ๑๒ โยชน์

จักปรบดุจดังพรหมด้วยเสียงเช่นกับมหาเมฆกระหึ่มในท่ามกลางบริษัทนี้,

มหาชนจักถามว่า 'นี่ชื่อว่าเสียงอะไรกัน ? ' แล้วจักกล่าวกันเองว่า

' นัยว่า นี่ชื่อว่าเป็นเสียงแห่งการปรบดังพรหมของท่านจุลอนาถบิณฑิกะ.'

พวกเดียรถีย์จักคิดว่า " อานุภาพของคฤหบดียังถึงเพียงนี้ก่อน. อานุภาพ

ของพระพุทธเจ้าจะเป็นเช่นไร ? ยังไม่ทันเห็นพระองค์เลยก็จักหนีไป."

พระศาสดาตรัสเช่นนั้นเหมือนกัน แม้เเก่ท่านจุลอนาถบิณฑิกะนั้นว่า

" เราทราบอานุภาพของเธอ " แล้วไม่ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์.

ต่อมา สามเณรีชื่อว่า วีรา มีอายุได้ ๗ ขวบ บรรลุปฏิสัมภิทารูป

หนึ่ง ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักทำ

ปาฏิหาริย์. "

พระศาสดา. วีรา เธอจักทำอย่างไร.

วีรา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักนำภูเขาสิเนรุ ภูเขาจักรวาล และ

ภูเขาหิมพานต์ตั้งเรียงไว้ในที่นี้ แล้วจักออกจากภูเขานั้น ๆ ไปไม่ขัดข้อง

ดุจนางหงส์. มหาชนเห็นหม่อมฉันแล้วจักถามว่า ' นั่นใคร? ' แล้วจัก

กล่าวว่า ' วีราสามเณรี. พวกเดียรถีย์คิดกันว่า อานุภาพของสามเณรี

ผู้มีอายุ ๗ ขวบ ยังถึงเพียงนี้ก่อน, อานุภาพของพระพุทธเจ้าจักเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 301

เช่นไร ? ยังไม่ทันเห็นพระองค์เลยก็จักหนีไป. เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึง

ทราบคำเห็นปานนี้ โดยทำนองดังที่กล่าวแล้วนั่นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสแม้เเก่สามเณรีนั้นว่า " เราทราบอานุภาพของเธอ " ดังนี้แล้ว ก็ไม่

ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์."

ลำดับนั้น สามเณรชื่อจุนทะผู้เป็นขีณาสพ บรรลุปฏิสัมภิทารูปหนึ่ง

มีอายุ ๗ ขวบแต่เกิดมา เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูล

ว่า " ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า. " ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า

" เธอจักทำอย่างไร ? " จึงกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักจับ

ต้นหว้าใหญ่ที่เป็นธงแห่งชมพูทวีปที่ลำต้นแล้วเขย่า นำผลหว้าใหญ่มาให้

บริษัทนี้เคี้ยวกิน. และข้าพระองค์จักนำดอกแคฝอยมาแล้ว ถวายบังคม

พระองค์. พระศาสดาตรัสว่า " เราทราบอานุภาพของเธอ " ดังนี้แล้ว

ก็ทรงห้ามการทำปาฏิหาริย์ แม้ของสามเณรนั้น.

ลำดับนั้น พระเถรีชื่ออุบลวรรณา ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว

กราบทูลว่า " หม่อมฉันจักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า " ถูกพระศาสดา

ตรัสถามว่า " เธอจักทำอย่างไร ? " จึงกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า หม่อมฉัน

จักแสดงบริษัทมีประมาณ ๓๒ โยชน์โดยรอบ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อัน

บริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์โดยกลมแวดล้อมแล้วมาถวายบังคมพระองค์."

พระศาสดาตรัสว่า " เราทราบอานุภาพของเธอ " แล้วก็ทรงห้ามการทำ

ปาฏิหาริย์ แม้ของพระเถรีนั้น.

ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค-

เจ้าแล้วกราบทูลว่า " ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า " ถูก

พระศาสดาตรัสถามว่า " เธอจักทำอะไร ? " จึงกราบทูลว่า " ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 302

จักวางเขาหลวงชื่อสิเนรุไว้ในระหว่างฟันแล้ว เคี้ยวกินภูเขานั้นดุจพืช

เมล็ดผักกาด พระเจ้าข้า. "

พระศาสดา. เธอจักทำอะไร ? อย่างอื่น.

มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักม้วนแผ่นดินใหญ่นี้ดุจเสื่อลำแพน

แล้วใส่เข้าไว้(หนีบไว้) ในระหว่างนิ้วมือ.

พระศาสดา เธอจักทำอะไร. อย่างอื่น.

มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักหมุนแผ่นดินใหญ่ ให้เป็นเหมือน

แป้นหมุนภาชนะดินของช่างหม้อ แล้วให้มหาชนเคี้ยวกินโอชะแผ่นดิน.

พระศาสดา. เธอจักทำอะไร ? อย่างอื่น.

มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักทำแผ่นดินไว้ในมือเบื้องซ้ายแล้ว

วางสัตว์เหล่านั้นไว้ในทวีปอื่นด้วยมือเบื้องขวา.

พระศาสดา. เธอจักทำอะไร ? อย่างอื่น.

มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักทำเขาสิเนรุให้เป็นด้ามร่ม ยก

แผ่นดินใหญ่ขึ้นวางไว้ข้างบนของภูเขาสิเนรุนั้น เอามือข้างหนึ่งถือไว้

คล้ายภิกษุมีร่มในมือ จงกรมไปในอากาศ.

พระศาสดาตรัสว่า " เราทราบอานุภาพของเธอ " ดังนี้แล้วก็ไม่

ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์ แม้ของพระเถระนั้น. พระเถระนั้นคิดว่า

" ชะรอยพระศาสดาจะทรงทราบผู้สามารถทำปาฏิหาริย์ยิ่งกว่าเรา " จึงได้

ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า " โมคคัลลานะ พวง

ดอกไม้นี้เขามิได้ผูกไว้เพื่อประโยชน์แก่เธอ, ด้วยว่า เราเป็นผู้มีธุระที่หา

ผู้เสมอมิได้. ผู้อื่นที่ชื่อว่าสามารถนำธุระของเราไปได้ไม่มี; การที่ผู้สามารถ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 303

นำธุระของเราไปได้ไม่พึงมีในบัดนี้ไม่เป็นของอัศจรรย์, แม้ในกาลที่เรา

เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานที่เป็นอเหตุกกำเนิด ผู้อื่นที่สามารถนำธุระของ

เราไป ก็มิได้มีแล้วเหมือนกัน " อันพระเถระทูลถามว่า " ในกาลไรเล่า ?

พระเจ้าข้า " จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสกัณหอุสภชาดกนี้ให้พิสดารว่า :-

" ธุระหนักมีอยู่ในกาลใด ๆ, ทางไปในที่ลุ่มลึก

มีอยู่ในกาลใด ในกาลนั้นแหละ พวกเจ้าของย่อม

เทียมโคชื่อกัณหะ; โคชื่อกัณหะนั้นแหละ ย่อมนำ

ธุระนั้นไป. "

เมื่อจะทรงแสดงเรื่องนั้นนั่นแหละให้พิเศษยิ่งขึ้นไปอีก จึงตรัส

นันทวิสาลชาดกนี้ให้พิสดารว่า :-

" บุคคลพึงกล่าวคำเป็นที่พอใจเท่านั้น, ไม่พึง

กล่าวคำไม่เป็นที่พอใจในกาลไหน ๆ; (เพราะ) เมื่อ

พราหมณ์กล่าวคำเป็นที่พอใจอยู่, โคนันทวิสาลเข็น

ภาระอันหนักไปได้; ยังพราหมณ์นั้นให้ได้ทรัพย์,

และพราหมณ์นั้นได้เป็นผู้มีใจเบิกบาน เพราะการได้

ทรัพย์นั้น."

ก็แล พระศาสดาครั้นตรัสแล้ว จึงเสด็จขึ้นสู่จงกรมแก้วนั้น. ข้าง

หน้าได้มีบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์. ข้างหลัง ข้างซ้าย และข้างขวา

ก็เหมือนอย่างนั้น, ส่วนโดยตรง มีประมาณ ๒๔ โยชน์ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ในท่ามกลางบริษัท. ยมกปาฏิหาริย์นั้น

บัณฑิตพึงทราบตามพระบาลีอย่างนี้ก่อน.

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๑๐. อรรถกถา. ๑/๒๘๙. ๒. ขุ. ชา. ๒๗/๑๐. อรรถกถา. ๑/๒๙๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 304

ลักษณะของยมกปาฏิหาริย์

" ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคตเป็นไฉน ? ในญาณนี้

พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ไม่ทั่วไปด้วยพวกสาวก; ท่อไฟพลุ่ง

ออกแต่พระกายเบื้องบน, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องล่าง; ท่อไฟ

พลุ่งออกแต่พระกายเบื้องล่าง, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องบน; ท่อ

ไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องหน้า, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องหลัง;

ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องหลัง, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้อง

หน้า; ท่อไฟพลุ่งออกเเต่พระเนตรเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่พระเนตร

เบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระเนตรเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่

พระเนตรเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องขวา, สายน้ำ

ไหลออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระกรรณ

เบื้องซ้าย; สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องขวา, ท่อไฟพลุ่งออก

แต่ช่องพระนาสิกเบื้องขวา; สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย;

ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระ-

นาสิกเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องขวา, สายน้ำไหล

ออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้อง

ซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่

พระหัตถ์เบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่พระหัตถ์เบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่ง

ออกแต่พระหัตถ์เบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระหัตถ์เบื้องขวา; ท่อไฟ

พลุ่งออกแต่พระปรัศว์เบื้องขวา; สายน้ำไหลออกแต่พระปรัศว์เบื้องซ้าย;

๑. ขุ. ปฏิ. ๓๐/๑๘๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 305

ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระปรัศว์เบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระปรัศว์เบื้อง

ขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระบาทเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกเเต่พระบาท

เบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระบาทเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่

พระบาทเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระองคุลี, สายน้ำไหลออกแต่

ช่องพระองคุลี; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระองคุลี, สายน้ำไหลออกจาก

พระองคุลี; ท่อไฟพลุ่งออกแค่ขุมพระโลมาขุมหนึ่ง ๆ. สายน้ำไหลออก

แต่พระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ, ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ,

สายน้ำไหลออกแต่ขุมพระโลมาขุมหนึ่ง ๆ. รัศมีทั้งหลาย ย่อมเป็นไป

ด้วยสามารถแห่งสี ๖ อย่าง คือ เขียว เหลือง แดง ขาว หงสบาท ปภัสสร;

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรม. พระพุทธนิรมิตย่อมยืนหรือนั่งหรือสำเร็จ

การนอน; (พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรม นั่ง

หรือสำเร็จการนอน, พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตย่อม

จงกรม ยืนหรือสำเร็จการนอน; พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จสีหไสยา

พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรม ยืนหรือนั่ง; พระพุทธนิรนิตจงกรม. พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ย่อมทรงยืน ประทับนั่ง หรือสำเร็จสีหไสยา; พระพุทธ-

นิรมิตทรงยืน. พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงจงกรม ประทับนั่งหรือทรง

สำเร็จสีหไสยา;). พระพุทธนิรมิตประทับนั่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรง

จงกรม ประทับยืน หรือสำเร็จสีหไสยา พระพุทธนิรมิตสำเร็จสีหไสยา.

พระผู้มีพระภาคย่อมทรงจงกรม ประทับยืน หรือประทับนั่ง. นี้เป็น

ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 306

ก็พระศาสดาเสด็จจงกรมบนที่จงกรมนั้น ได้ทรงทำปาฏิหาริย์นี้

แล้ว. เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น " ท่อไฟย่อมพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องบน

ด้วยอำนาจเตโชกสิณสมาบัติของพระศาสดานั้น. สายน้ำไหลออกแต่พระ-

กายเบื้องล่าง ด้วยอำนาจอาโปกสิณสมาบัติ; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ที่ ๆ สาย

น้ำไหลออกแล้วอีก, และสายน้ำก็ไหลออกแต่ที่ ๆ ท่อไฟพลุ่งออก

พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า " เหฏฺิมกายโต อุปริมกายโต. " นัยในบท

ทั้งปวงก็เช่นนี้. ก็ในยมกปาฏิหาริย์นี้ ท่อไฟมิได้เจือปนกับสายน้ำเลย,

อนึ่ง สายน้ำก็มิได้เจือด้วยท่อไฟ, ก็นัยว่าท่อไฟและสายน้ำทั้งสองนี้ พลุ่ง

ขึ้นไปตลอดถึงพรหมโลก แล้วก็ลุกลามไปที่ขอบปากจักรวาล. ก็เพราะ

เหตุที่พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า " ฉนฺน วณฺณาน " พระรัศมีพรรณะ

๖ ประการของพระศาสดานั้น พลุ่งขึ้นไปจากห้องแห่งจักรวาลหนึ่ง ดุจ

ทองคำละลายคว้าง ซึ่งกำลังไหลออกจากเบ้า และดุจสายน้ำแห่งทองคำ

ที่ไหลออกจากทะนานยนต์ จดพรหมโลกแล้วสะท้อนกลับมาจดขอบปาก

จักรวาลตามเดิม. ห้องแห่งจักรวาลหนึ่ง ได้เป็นดุจเรือนต้นโพธิที่ตรึง

ไว้ด้วยซี่กลอนอันคด มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน.

ในวันนั้น พระศาสดาเสด็จจงกรมทรงทำ (ยมก) ปาฏิหาริย์แสดง

ธรรมกถาแก่มหาชนในระหว่าง ๆ, และเมื่อทรงแสดงไม่ทรงทำให้มหาชน

ให้หนักใจ ประทานให้เบาใจยิ่ง. ในขณะนั้น มหาชนยังสาธุการให้เป็น

ไปแล้ว. ในเวลาที่สาธุการของมหาชนนั้นเป็นไป พระศาสดาทรงตรวจดู

จิตของบริษัทซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น ได้ทรงทราบวาระจิตของคนหนึ่ง ๆ ด้วย

๑. นิรสฺสาส ให้มีความโล่งใจออกแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 307

อำนาจอาการ ๑๖ อย่าง. จิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้,

บุคคลใด ๆ เลื่อมใสในธรรมใด และในปาฏิหาริย์ใด. พระศาสดาทรง

แสดงธรรม และได้ทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอำนาจอัธยาศัยแห่งบุคคลนั้น ๆ.

เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม และทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอาการอย่างนี้

ธรรมาภิสมัยได้มีแก่มหาชนแล้ว. ก็พระศาสดาทรงกำหนดจิตของพระองค์

ไม่ทรงเห็นคนอื่นผู้สามารถจะถามปัญหาในสมาคมนั้น จึงทรงนิรมิตพระ-

พุทธนิรมิต. พระศาสดาทรงเฉลยปัญหาที่พระพุทธนิรมิตนั้นถามแล้ว.

พระพุทธนิรมิตนั้นก็เฉลยปัญหาที่พระศาสดาตรัสถามแล้ว. ในเวลาที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรม พระพุทธนิรมิตสำเร็จอิริยาบถมีการยืน

เป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในเวลาที่พระพุทธนิรมิตจงกรม พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงสำเร็จพระอิริยาบถ มีการประทับยืนเป็นต้นอย่างใดอย่าง

หนึ่ง. เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำ

เป็นต้นว่า " พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรมบ้าง " เป็นต้น .

ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๒๐ โกฏิในสมาคมนั้น เพราะเห็น

ปาฏิหาริย์ของพระศาสดา ผู้ทรงทำอยู่อย่างนั้น และเพราะได้ฟังธรรมกถา.

พระศาสดาเสด็จจำพรรษาชั้นดาวดึงส์

พระศาสดากำลังทรงทำปาฏิหาริย์อยู่นั่นแล ทรงรำพึงว่า " พระ-

พุทธเจ้าในอดีตทั้งหลาย ทำปาฏิหาริย์นี้แล้ว จำพรรษาที่ไหนหนอแล ? "

ทรงเห็นว่า " จำพรรษาในภพดาวดึงส์ แล้วทรงแสดงอภิธรรมปิฎก

แก่พระพุทธมารดา " ดังนี้แล้ว ทรงยกพระบาทขวาเหยียบเหนือยอด

ภูเขายุคันธร ทรงยกพระบาทอีกข้างหนึ่งเหยียบเหนือยอดเขาสิเนรุ วาระที่

ย่างพระบาท ๓ ก้าว ได้มีแล้วในที่ ๖๘ แสนโยชน์อย่างนี้. ช่องพระบาท

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 308

๒ ช่อง ได้ถ่างออกเช่นเดียวกันกับการย่างพระบาทตามปกติ. ใคร ๆ

ไม่พึงกำหนดว่า " พระศาสดาทรงเหยียดพระบาทเหยียบแล้ว. เพราะใน

เวลาที่พระองค์ทรงยกพระบาทนั่นแหละ ภูเขาเหล่านั้นก็มาสู่ที่ใกล้พระ-

บาทรับไว้แล้ว, ในเวลาที่พระศาสดาทรงเหยียบแล้ว ภูเขาเหล่านั้นก็ตั้ง

ประดิษฐานในที่เดิม. ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาแล้ว ทรง

ดำริว่า " พระศาสดาจักทรงเข้าจำพรรษานี้ ในท่ามกลางบัณฑุกัมพลสิลา.

อุปการะจักมีแก่เหล่าเทพดามากหนอ. แต่เมื่อพระศาสดาทรงจำพรรษา

ที่นั่น เทพดาอื่น ๆ จักไม่อาจหยุดมือได้; ก็แลบัณฑุกัมพลสิลานี้ ยาว

๖๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ แม้เมื่อพระศาสดาประทับ

นั่งแล้ว ก็คงคล้ายกับว่างเปล่า." พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของท้าวเธอ

ทรงโยนสังฆาฏิของพระองค์ไปให้คลุมพื้นศิลาแล้ว. ท้าวสักกะทรงดำริว่า

" พระศาสดาทรงโยนจีวรมาให้คลุมไว้ก่อน. ก็พระองค์จักประทับนั่งในที่

นิดหน่อยด้วยพระองค์เอง. " พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของท้าวเธอ

จึงประทับนั่งทำบัณฑุกัมพลสิลาไว้ภายในขนดจีวรนั่นเอง ประหนึ่งภิกษุ

ผู้ทรงผ้ามหาบังสุกุล ทำตั่งเตี้ยไว้ภายในขนดจีวรฉะนั้น. ขณะนั้นเอง แม้

มหาชนแลดูพระศาสดาอยู่ ก็มิได้เห็น. กาลนั้น ได้เป็นประหนึ่งเวลา

พระจันทร์ตก. และได้เป็นเหมือนเวลาพระอาทิตย์ตก. มหาชนคร่ำครวญ

กล่าวคาถานี้ว่า :-

" พระศาสดาเสด็จไปสู่เขาจิตรกูฏ หรือสู่เขา

ไกรลาส หรือสู่เขายุคันธร, เราทั้งหลายจึงไม่เห็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้โลกเชษฐ์ ผู้ประเสริฐ

กว่านระ. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 309

อีกพวกหนึ่งกำลังคร่ำครวญว่า "ชื่อว่าพระศาสดา ทรงยินดีแล้ว

ในวิเวก, พระองค์จักเสด็จไปสู่แคว้นอื่น หรือชนบทอื่นเสียแล้ว เพราะ

ทรงละอายว่า 'เราทำปาฏิหาริย์เห็นปานนี้ แก่บริษัทเห็นปานนี้,' บัดนี้

เราทั้งหลายคงไม่ได้เห็นพระองค์" ดังนี้ กล่าวคาถานี้ว่า:-

"พระองค์ผู้เป็นปราชญ์ ทรงยินดีแล้วในวิเวก

จักไม่เสด็จกลับมาโลกนี้อีก. เราทั้งหลายจะไม่เห็น

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้โลกเชษฐ์ ผู้ประเสริฐ

กว่านระ" ดังนี้.

ชนเหล่านั้นถามพระมหาโมคคัลลานะว่า " พระศาสดาเสด็จไปที่

ไหน ? ขอรับ" ท่านแม้ทราบอยู่เอง ก็ยังกล่าวว่า " จงถามพระอนุรุทธ

เถิด" ด้วยมุ่งหมายว่า "คุณแม้ของสาวกอื่น ๆ จงปรากฏ" ดังนี้.

ชนเหล่านั้นถามพระเถระอย่างนั้นว่า " พระศาสดาเสด็จไปที่ไหน"

ขอรับ. "

อนุรุทธ. เสด็จไปจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลสิลา ในภพดาวดึงส์

แล้วทรงแสดงอภิธรรมปิฎกแก่พระมารดา.

มหาชน. จักเสด็จมาเมื่อไร ? ขอรับ.

อนุรุทธ. ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกตลอด ๓ เดือนแล้ว จักเสด็จมา

ในวันมหาปวารณา.

ชนเหล่านั้นพูดกันว่า " พวกเราไม่ได้เห็นพระศาสดา จักไม่ไป"

ดังนี้แล้ว ทำที่พักอยู่แล้วในที่นั้นนั่นเอง. ได้ยินว่า ชนเหล่านั้นได้มี

อากาศนั่นเอง เป็นเครื่องมุ่งเครื่องบัง ชื่อว่าเหงื่อที่ไหลออกจากตัวของ

บริษัทใหญ่ถึงเพียงนั้น มิได้ปรากฏแล้ว. แผ่นดินได้แหวกช่องให้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 310

พื้นแผ่นดินในที่ทุกแห่ง ได้เป็นที่สะอาดทีเดียว. พระศาสดาได้ตรัสสั่ง

พระมหาโมคคัลลานะไว้ก่อนทีเดียวว่า " โมคัลลานะ เธอพึงแสดงธรรม

แก่บริษัทนั่น, จุลอนาถบิณฑิกะจักให้อาหาร. " เพราะเหตุนั้น จุลอนาถ-

บิณฑิกะแล ได้ให้แล้วซึ่งข้าวต้ม ข้าวสวย ของเคี้ยว ของหอม

ระเบียบและเครื่องประดับ แก่บริษัทนั้น ทุกเวลาทั้งเช้าและเย็นตลอด

ไตรมาสนั้น. พระมหาโมคคัลลานะแสดงธรรมแล้ว วิสัชนาปัญหาที่

เหล่าชนผู้มาแล้ว ๆ เพื่อดูปาฏิหาริย์ถามแล้ว.

พระสัมพุทธเจ้าไพโรจน์ล่วงเหล่าเทวดา

เทวดาในหมื่นจักรวาล แวดล้อมแม้พระศาสดา ผู้ทรงจำพรรษา

ที่บัณฑุกัมพลสิลา เพื่อทรงแสดงอภิธรรมแก่พระมารดา เหตุนั้น

พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า :-

" ในกาลใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดบุรุษประทับ

อยู่เหนือบัณฑุกัมพลสิลา ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในภพ

ดาวดึงส์, ในกาลนั้น เทพดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ

ประชุมพร้อมกันแล้วเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้

ประทับอยู่บนยอดเขา, เทพดาองค์ไหน ๆ ก็หา

ไพโรจน์กว่าพระสัมพุทธเจ้าโดยวรรณะไม่, พระ-

สัมพุทธเจ้าเท่านั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงปวงเทพดา

ทั้งหมด. "

ก็เมื่อพระศาสดานั้น ประทับนั่งครอบงำเทพดาทุกหมู่เหล่า ด้วย

รัศมีพระสรีระของพระองค์อย่างนี้ พระพุทธมารดาเสด็จมาจากวิมาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 311

ชั้นดุสิต ประทับนั่ง ณ พระปรัศว์เบื้องขวา. แม้อินทกเทพบุตร ก็มานั่ง

ณ พระปรัศว์เบื้องขวาเหมือนกัน. อังกุรเทพบุตรมานั่ง ณ พระปรัศว์เบื้อง-

ซ้าย. อังกุรเทพบุตรนั้น เมื่อเทพดาทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน ร่นออก

ไปแล้ว ได้โอกาสในที่มีประมาณ ๑๒ โยชน์. อินทกเทพบุตรนั่งในที่

นั่นเอง. พระศาสดาทอดพระเนตรดูเทพบุตรทั้งสองนั้นแล้ว มีพระประ-

สงค์จะยังบริษัทให้ทราบความที่ทานอันบุคคลถวายแล้วแก่ทักขิไนยบุคคล

ในศาสนาของพระองค์ เป็นกุศลมีผลมาก จึงตรัสอย่างนั้นว่า " อังกุระ

เธอทำแถวเตาไฟยาว ๑๒ โยชน์ให้ทานเป็นอันมาก ในกาลประมาณหมื่นปี

ซึ่งเป็นระยะกาลนาน. บัดนี้เธอมาสู่สมาคมของเรา ได้โอกาสในที่ไกล

ตั้ง ๑๒ โยชน์ ซึ่งไกลกว่าเทพบุตรทั้งหมด; อะไรหนอแล เป็นเหตุใน

ข้อนี้ ? " แท้จริงพระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า:-

" พระสัมพุทธเจ้า ทอดพระเนตรอังกุรเทพบุตร

และอินทกเทพบุตรแล้ว เมื่อจะทรงยกย่องทักขิ-

ไณยบุคคล ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ' อังกุระ เธอ

ให้ทานเป็นอันมาก ในระหว่างกาลนาน, เธอเมื่อ

มาสู่สำนักของเรา นั่งเสียไกลลิบ. "

พระศาสดาตรัสได้ยินถึงมนุษยโลก

พระสุรเสียงนั้น (ดัง) ถึงพื้นปฐพี. บริษัททั้งหมดนั้น ได้ยิน

พระสุรเสียงนั้น.

เมื่อพระศาสดาตรัสอย่างนั้นแล้ว อังกุรเทพบุตร อันพระศาสดา

ผู้มีพระองค์อันอบรมแล้วตรัสเตือนแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 312

" ข้าพระองค์จะต้องการอะไร ด้วยทานอันว่าง

เปล่าจากทักขิไณยบุคคล ยักษ์ชื่ออินทกะนี้นั้น ถวาย

ทานแล้วนิดหน่อย ยังรุ่งเรืองยิ่งกว่าข้าพระองค์ดุจ

พระจันทร์ในหมู่ดาว."

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทชฺชา แก้เป็น ทตฺวา (แปลว่า

ให้แล้ว).

เมื่ออังกุรเทพบุตรกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาตรัสกะอินทก-

เทพบุตรว่า " อินทกะ เธอนั่งข้างขวาของเรา. ไฉนจึงไม่ต้องร่นออก

ไปนั่งเล่า ? " อินทกเทพบุตรกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้

ทักขิไณยสมบัติแล้ว ดุจชาวนาหว่านพืชนิดหน่อยในนาดี " ดังนี้แล้ว

เมื่อจะประกาศทักขิไณยบุคคล จึงกราบทูลว่า :-

" พืชแม้มาก อันบุคคลหว่านแล้วในนาดอน

ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังชาวนาให้ยินดี ฉันใด,

ทานมากมาย อันบุคคลตั้งไว้ในหมู่ชนผู้ทุศีล ผล

ย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังทายกให้ยินดี ฉันนั้น

เหมือนกัน; พืชแม้เล็กน้อย อันบุคคลหว่านแล้วในนา

ดี เมื่อฝนหลั่งสายน้ำถูกต้อง (ตามกาล) ผลก็ย่อม

ยังชาวนาให้ยินดีได้ ฉันใด, เมื่อสักการะแม้เล็กน้อย

อันทายกทำแล้วในเหล่าท่านผู้มีศีล ผู้มีคุณคงที่

ผลก็ย่อมยังทายกให้ยินดีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน."

๑. เทพบุตรอันบุคคลพึงบูชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 313

ทานที่ให้ในทักขิไณยบุคคลมีผลมาก

ถามว่า " บุรพกรรมของอินทกเทพบุตรนั้น เป็นอย่างไร ? "

แก้ว่า " ได้ยินว่า อินทกเทพบุตรนั้นได้ให้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง

ที่เขานำมาแล้วเพื่อตน แก่พระอนิรุทธเถระผู้เข้าไปบิณฑบาตภายในบ้าน.

บุญของเธอนั้น มีผลมากกว่าทานที่อังกุรเทพบุตร ทำแถวเตาไฟยาวตั้ง

๑๒ โยชน์ ให้แล้วตั้งหมื่นปี, เพราะเหตุนั้น อินทกเทพบุตรจึงกราบทูล

อย่างนั้น. " เมื่ออินทกเทพบุตรกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาตรัสว่า

" อังกุระ การเลือกเสียก่อนแล้วให้ทานจึงควร, ทานนั้นย่อมมีผลมากด้วย

อาการอย่างนี้ ดุจพืชที่เขาหว่านดีในนาดีฉะนั้น; แต่เธอหาได้ทำอย่าง

นั้นไม่, เหตุนั้น ทานของเธอจึงไม่มีผลมาก " เมื่อจะทรงประกาศเนื้อ

ความนี้ให้แจ่มแจ้งจึงตรัสว่า :-

" ทานอันบุคคลให้แล้วในเขตใด มีผลมาก,

บุคคลพึงเลือกให้ทานในเขตนั้น; การเลือกให้ อัน

พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว, ทานที่บุคคลให้แล้วใน

ทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ที่มีอยู่ในโลกคือหมู่สัตว์

ที่ยังเป็นอยู่นี้ มีผลมาก เหมือนพืชที่บุคคลหว่านแล้ว

ในนาดีฉะนั้น. "

เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป ได้ตรัสพระคาถาเหล่านั้นว่า:-

" นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย หมู่

สัตว์นี้มีราคะเป็นเครื่องประทุษร้าย, เพราะเหตุนั้นแล

ทานที่บุคคลให้แล้ว ในท่านที่มีราคะไปปราศแล้ว

ทั้งหลาย จึงมีผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 314

ประทุษร้าย หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นเครื่องประทุษร้าย

เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้วในท่านผู้มีโท

สะไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก. นาทั้งหลาย

มีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย หมู่สัตว์นี้มีโมหะเป็น

เครื่องประทุษร้าย. เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคล

ให้แล้วในท่านผู้มีโมหะไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมี

ผลมาก. นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย

หมู่สัตว์นี้มีความอยากเป็นเครื่องประทุษร้าย เพราะ

เหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้ว ในท่านผู้มีความ

อยากไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก. "

ในกาลจบเทศนา อังกุรเทพบุตรและอินทกเทพบุตร ดำรงอยู่แล้ว

ในโสดาปัตติผล. (ธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว).

พระศาสดาเสด็จไปโปรดพระมารดาชั้นดาวดึงส์

ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางเทวบริษัท ทรง

ปรารภพระมารดาเริ่มตั้งอภิธรรมปิฎกว่า " กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา,

อพฺยากตา ธมฺมา " ดังนี้เป็นต้น. ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกโดยนัยนี้

เรื่อยไปตลอด ๓ เดือน. ก็แลทรงแสดงธรรมอยู่ ในเวลาภิกษาจาร

ทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิต ด้วยทรงอธิษฐานว่า " พุทธนิรมิตนี้จงแสดง

ธรรมชื่อเท่านี้ จนกว่าเราจะมา " แล้วเสด็จไปป่าหิมพานต์ ทรงเคี้ยว

ไม้สีฟันชื่อนาคลตา บ้วนพระโอษฐ์ที่สระอโนดาต นำบิณฑบาตมาแต่

อุตตรกุรุทวีป ได้ประทับนั่งทำภัตกิจในโรงกว้างใหญ่แล้ว. พระสารีบุตร-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 315

เถระไปทำวัตรแต่พระศาสดาในที่นั้น. พระศาสดาทรงทำภัตกิจแล้ว ตรัส

แก่พระเถระว่า " สารีบุตร วันนี้เราภาษิตธรรมชื่อเท่านี้. เธอจงบอกแก่

(ภิกษุ ๕๐๐) นิสิตของตน. " ได้ทราบว่า กุลบุตร ๕๐๐ เลื่อมใสยมก-

ปาฏิหาริย์ บวชแล้วในสำนักของพระเถระ. พระศาสดาตรัสแล้วอย่างนั้น

ทรงหมายเอาภิกษุเหล่านั้น. ก็แลครั้นตรัสแล้ว เสด็จไปสู่เทวโลก ทรง

แสดงธรรมเอง ต่อจากที่พระพุทธนิรมิตแสดง. แม้พระเถระก็ไปแสดง

ธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่ในเทวโลก

นั้นแล ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ แล้ว.

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ภิกษุ

เหล่านั้นเป็นค้างคาวหนู ห้อยอยู่ที่เงื้อมแห่งหนึ่ง เมื่อพระเถระ ๒ รูป

จงกรมแล้วท่องอภิธรรมอยู่ ได้ฟังถือเอานิมิตในเสียงแล้ว. ค้างคาว

เหล่านั้นไม่รู้ว่า " เหล่านั้น ชื่อว่าขันธ์. เหล่านี้ ชื่อว่าธาตุ " ด้วยเหตุ

สักว่าถือเอานิมิตในเสียงเท่านั้น จุติจากอัตภาพนั้น แล้วเกิดในเทวโลก

เสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดในเรือน

ตระกูลในกรุงสาวัตถี เกิดความเลื่อมใสในยมกปาฏิหาริย์ บวชในสำนัก

ของพระเถระแล้ว ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ ก่อนกว่าภิกษุทั้งปวง. แม้

พระศาสดาก็ทรงแสดงอภิธรรมโดยทำนองนั้นแล ตลอด ๓ เดือนนั้น.

ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดา ๘ หมื่นโกฏิ. แม้

พระมหามายาก็ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.

พระโมคคัลลานเถระขึ้นไปทูลถามข่าวเสด็จลง

บริษัทมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์ แม้นั้นแล คิดว่า " แต่บัดนี้ไป

ในวันที่ ๗ จักเป็นวันมหาปวารณา " แล้วเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลาน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 316

เถระ กล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า ควรจะทราบวันเสด็จลงของพระศาสดา.

เพราะข้าพเจ้าทั้งหลาย ไม่เห็นพระศาสดาแล้ว จักไม่ไป." ท่านพระ-

มหาโมคคัลลานะ ฟังถ้อยคำนั้นแล้วรับว่า " ดีละ." แล้วดำลงในแผ่นดิน

ตรงนั้นเอง อธิษฐานว่า " บริษัทจงเห็นเรา ผู้ไปถึงเชิงเขาสิเนรุแล้ว

ขึ้นไปอยู่ " มีรูปปรากฏดุจด้ายกัมพลเหลืองที่ร้อยไว้ในแก้วมณีเทียว ขึ้น

ไปแล้วโดยท่ามกลางเขาสิเนรุ. แม้พวกมนุษย์ก็แลเห็นท่านว่า " ขึ้นไป

แล้ว ๑ โยชน์ ขึ้นไปแล้ว ๒ โยชน์ " เป็นต้น. แม้พระเถระขึ้นไปถวาย

บังคมพระบาทยุคลของพระศาสดา ดุจเทินไว้ด้วยเศียรเกล้า กราบทูล

อย่างนั้นว่า " พระเจ้าข้า บริษัทประสงค์จะเฝ้าพระองค์ก่อนแล้วไป.

พระองค์จักเสด็จลงเมื่อไร ? "

พระศาสดา. โมคคัลลานะ ก็สารีบุตร พี่ของเธอ อยู่ที่ไหน.

โมคคัลลานะ พระเจ้าข้า ท่านจำพรรษาอยู่ ในสังกัสสนคร.

พระศาสดา. โมคคัลลานะ ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ (ไป) เราจักลง

ที่ประตูเมืองสังกัสสะ ในวันมหาปวารณา ผู้ใคร่จะพบเราก็จงไปที่นั่นเถิด;

ก็แลสังกัสสนครจากกรุงสาวัตถี มีประมาณ ๓๐ โยชน์ ในทางเท่านั้น

กิจที่จะต้องเตรียมเสบียง ย่อมไม่มีแก่ใคร ๆ. เธอพึงบอกแก่คนเหล่านั้น

ว่า ' ท่านทั้งหลาย จงเป็นผู้รักษาอุโบสถไป ดุจไปสู่วิหารใกล้เพื่อ

ฟังธรรมเถิด.'

พระพุทธองค์ทรงเปิดโลก

พระเถระทูลว่า " ดีละ พระเจ้าข้า " แล้วได้บอกตามรับสั่ง.

พระศาสดาเสด็จจำพรรษาปวารณาแล้ว ตรัสบอกแก่ท้าวสักกะว่า " มหา-

บพิตร อาตมภาพจักไปสู่ถิ่นของมนุษย์." ท้าวสักกะทรงนิรมิตบันได

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 317

๓ ชนิด คือบันไดทองคำ บันไดแก้วมณี บันไดเงิน. เชิงบันไดเหล่านั้น

ตั้งอยู่แล้วที่ประตูสังกัสสนคร. หัวบันไดเหล่านั้น ตั้งอยู่แล้วที่ยอดเขา

สิเนรุ. ในบันไดเหล่านั้น บันไดทอง ได้มีในข้างเบื้องขวา เพื่อพวก

เทวดา. บันไดเงิน ได้มีในข้างเบื้องซ้าย เพื่อมหาพรหมทั้งหลาย.

บันไดเเก้วมณีได้มีในท่ามกลาง เพื่อพระตถาคต. พระศาสดาประทับยืนอยู่

บนยอดเขาสิเนรุ. ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ทรง

แลดูข้างบนแล้ว. สถานที่อันพระองค์ทรงแลดูแล้วทั้งหลาย ได้มีเนิน

เป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก; ทรงแลดูข้างล่าง, สถานที่อันพระองค์

ทรงแลดูแล้ว ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงอเวจี; ทรงแลดูทิศใหญ่และ

ทิศเฉียงทั้งหลาย. จักรวาลหลายแสน ได้มีเนินเป็นอันเดียวกัน; เทวดา

เห็นพวกมนุษย์. แม้พวกมนุษย์ก็เห็นพวกเทวดา. พวกเทวดาเเละมนุษย์

ทั้งหมด ต่างเห็นกันแล้วเฉพาะหน้าทีเดียว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่ง

พระฉัพพรรณรังสีไปแล้ว. มนุษย์ในบริษัทซึ่งมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์แม้

คนหนึ่ง เมื่อแลดูสิริของพระพุทธเจ้าในวันนั้นแล้ว ชื่อว่าไม่ปรารถนา

ความเป็นพระพุทธเจ้า มิได้มีเลย. พวกเทวดาลงทางบันไดทอง. พวก

มหาพรหมลงทางบันไดเงิน; พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จลงทางบันได

แก้วมณี. เทพบุตรนักฟ้อนชื่อปัญจสิขะ ถือพิณสีเหลืองดุจผลมะตูมยืนอยู่

ณ ข้างเบื้องขวา ทำบูชาด้วยการฟ้อนแด่พระศาสดาลงมา มาตลิสังคาหก-

เทพบุตรยืน ณ ข้างเบื้องซ้าย ถือของหอมระเบียบและดอกไม้อันเป็นทิพย์

นมัสการอยู่ ทำบูชาแล้วลงมา. ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร. ท้าวสุยามถือพัด

วาลวิชนี. พระศาสดาเสด็จลงพร้อมด้วยบริวารนี้ หยุดประทับอยู่ที่ประตู

สังกัสสนคร. เเม้พระสารีบุตรเถระ มาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว เพราะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 318

พระศาสดาเสด็จลงด้วยพุทธสิริเห็นปานนั้น อันท่านไม่เคยเห็นแล้ว ใน

กาลก่อนแต่นี้. เพราะฉะนั้น จึงประกาศความยินดีของตน ด้วยคาถา

ทั้งหลายเป็นต้นว่า :-

" พระศาสดา ผู้มีถ้อยคำอันไพเราะ ทรงเป็น

อาจารย์แห่งคณะ เสด็จมาจากดุสิตอย่างนี้ เรายัง

ไม่เห็น หรือไม่ได้ยินต่อใคร ในกาลก่อนแต่นี้ "

แล้วทูลว่า " พระเจ้าข้า วันนี้เทวดาและมนุษย์แม้ทั้งหมดย่อมกระหยิ่ม

ปรารถนาต่อพระองค์. "

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า " สารีบุตร ชื่อว่าพระพุทธเจ้า

ผู้ประกอบพร้อมด้วยคุณเห็นปานนี้ ย่อมเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลายโดยแท้." เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒. เย ฌานปฺปสุตา ธีรา เนกฺขมฺมูปสเม รตา

เทวาปิ เตส ปิหยนฺติ สมฺพุทฺธาน สตีมต.

" พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใด เป็นปราชญ์ ขวน

ขวายในฌาน ยินดีแล้วในธรรมที่เข้าไปสงบด้วย

สามารถแห่งการออก, แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ก็ย่อมกระหยิ่มต่อพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีสติ. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เย ฌานปฺปสุตา ความว่า ประกอบ

แล้ว ขวนขวายแล้วในฌาน ๒ อย่างเหล่านี้ คือ ลักขณูปนิชฌาน อารัม-

๑. คณิมาคโต ตัดบทเป็น คณี อาคโต. อรรถกถาว่า.....คณาจริยาตฺตา คณี.....

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 319

มณูปนิชฌาน ด้วยการนึกการเข้าการอธิษฐานการออกและการพิจารณา.

บรรพชา อันผู้ศึกษาไม่พึงถือว่า " เนกขัมมะ " ในคำว่า เนขมฺมูปสเม

รตา นี้. ก็คำ " เนกขัมมะ " นั่น พระองค์ตรัส หมายเอาความยินดี

ในนิพพาน อันเป็นที่เข้าไปสงบกิเลส. บทว่า เทวาปิ ความว่า เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลายย่อมกระหยิ่ม คือปรารถนาต่อพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น.

บทว่า สตีมฺต ความว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาความเป็น

พระพุทธเจ้าว่า " น่าชมจริงหนอ แม้เราพึงเป็นพระพุทธเจ้า " ดังนี้

ชื่อว่าย่อมกระหยิ่มต่อพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีพระคุณเห็นปานนี้ ผู้

ประกอบพร้อมแล้วด้วยสติ.

ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ประมาณ ๓๐ โกฏิ.

ภิกษุ ๕๐๐ สัทธิวิหาริกของพระเถระ ตั้งอยู่แล้วในพระอรหัต.

สังกัสสนครเป็นที่เสด็จลงจากดาวดึงส์

ได้ยินว่า การทำยมกปาฏิหาริย์แล้วจำพรรษาในเทวโลก แล้วเสด็จ

ลงที่ประตูสังกัสสนคร อันพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ไม่ทรงละแล้วแล.

ก็สถานที่พระบาทเบื้องขวาประดิษฐาน ณ ที่เสด็จลงนั้น มีนามว่าอจล-

เจติยสถาน. พระศาสดาประทับยืน ณ ที่นั้น ตรัสถามปัญหาในวิสัยของ

ปุถุชนเป็นต้น. พวกปุถุชนแก้ปัญหาได้ในวิสัยของตนเท่านั้น ไม่สามารถ

จะแก้ปัญหาในวิสัยของพระโสดาบันได้. พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระ-

โสดาบันเป็นต้นก็เหมือนกัน ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระอริย-

บุคคลทั้งหลาย มีพระสกทาคามีเป็นต้น. พระมหาสาวกที่เหลือไม่สามารถจะ

แก้ปัญหาในวิสัยของพระมหาโมคคัลลานะ. พระมหาโมคคัลลานะไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 320

สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระสารีบุตรเถระได้. แม้พระสารีบุตรเถระ

ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระพุทธเจ้าได้เหมือนกัน. พระศาสดา

ทรงแลดูทิศทั้งปวง ตั้งต้นแต่ปาจีนทิศ. สถานที่ทั้งปวง ได้มีเนินเป็นอัน

เดียวกันทีเดียว เทวดาและมนุษย์ใน ๘ ทิศ และเทวดาเบื้องบนจด

พรหมโลก และยักษ์นาคและสุบรรณผู้อยู่ ณ ภาคพื้นเบื้องต่ำ ประคอง

อัญชลีกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ชื่อว่าผู้วิสัชนาปัญหานี้มิได้มีในสมาคมนี้,

ขอพระองค์โปรดใคร่ครวญในสมาคมนี้ทีเดียว."

พระสารีบุตรเถระมีปัญญามาก

พระศาสดาทรงดำริว่า " สารีบุตรย่อมลำบาก. ด้วยว่าเธอได้ฟัง

ปัญหาที่เราถามแล้วในพุทธวิสัยนี้ว่า :-

" ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เธอมีปัญญารักษาตน

อันเราถามถึงความเป็นไปของท่าน ผู้มีธรรมอันนับ

พร้อมแล้วทั้งหลาย และพระเสขะทั้งหลาย ซึ่งมี

อยู่มากในโลกนี้ จงบอกความเป็นไปนั้นแก่เรา "

ดังนี้,เป็นผู้หมดความสงสัยในปัญหาว่า ' พระศาสดาย่อมตรัสถามถึงปฏิปทา

เป็นที่มา (มรรคปฏิปทา) ของพระเสขะและอเสขะกะเรา ' ดังนี้ก็จริง,

ถึงอย่างนั้นก็ยังหวังอัธยาศัยของเราอยู่ว่า ' เราเมื่อกล่าวปฏิปทานี้ด้วยมุข

ไหน ๆ ในธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น จึงจักอาจถือเอาอัธยาศัยของ

พระศาสดาได้; สารีบุตรนั้นเมื่อเราไม่ให้นัย จักไม่อาจแก้ได้, เรา

จักให้นัยแก่เธอ " เมื่อจะทรงแสดงนัย ตรัสว่า " สารีบุตร เธอจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 321

พิจารณาเห็นความเป็นจริงนี้. " ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงดำริอย่างนี้ว่า

" สารีบุตรเมื่อถือเอาอัธยาศัยของเราแก้ จักแก้ด้วยสามารถแห่งขันธ์ "

ปัญหานั้นปรากฏแก่พระเถระตั้งร้อยนัย พันนัย พร้อมกับการประทานนัย.

ท่านตั้งอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทาน แก้ปัญหานั้นได้เเล้ว. ได้ยินว่า

คนอื่นยกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสีย ชื่อว่าสามารถเพื่อจะทันปัญญาของ

พระสารีบุตรเถระหามิได้. นัยว่า เหตุนั้นแล พระเถระจึงยืนตรงพระพักตร์

พระศาสดา บันลือสีหนาทว่า " พระเจ้าข้า เมื่อฝนตกแม้ตลอดกัลป์ทั้งสิ้น

ข้าพระองค์ก็สามารถเพื่อจะนับ แล้วยกขึ้นซึ่งคะแนนว่า ' หยาดน้ำทั้งหลาย

ตกในมหาสมุทรเท่านี้หยาด, ตกบนแผ่นดินเท่านี้หยาด, บนภูเขาเท่านี้

หยาด." แม้พระศาสดาก็ตรัสกะท่านว่า " สารีบุตร เราก็ทราบความที่

เธอสามารถจะนับได้." ชื่อว่าข้ออุปมาเปรียบด้วยปัญญาของท่านนั้น ย่อม

ไม่มี. เหตุนั้นแล ท่านจึงกราบทูลว่า :-

" ทรายในแม่น้ำคงคา พึงสิ้นไป น้ำในห้วงน้ำ

ใหญ่ พึงสิ้นไป ดินในแผ่นดิน พึงสิ้นไป การแก้

ปัญหาด้วยความรู้ของข้าพระองค์ ย่อมไม่สิ้นไปด้วย

คะแนน. "

มีคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้

เป็นที่พึ่งของโลก ก็ถ้าว่า เมื่อข้าพระองค์แก้ปัญหาข้อหนึ่งแล้ว บุคคล

พึงใส่ทรายเมล็ดหนึ่งหรือหยาดน้ำหยาดหนึ่ง หรือดินร่วนก้อนหนึ่ง เมื่อ

ข้าพระองค์แก้ปัญหาร้อย หรือพัน หรือแสนข้อ พึงใส่คะแนนทั้งหลายมี

ทรายเป็นต้น ทีละหนึ่ง ๆ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ในแม่น้ำคงคา, คะแนนทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 322

มีทรายเป็นต้นในแม่น้ำคงคาเป็นต้น พึงถึงความสิ้นไปเร็วกว่า: การแก้

ปัญหาของข้าพระองค์ ย่อมไม่สิ้นไป. "

ภิกษุแม้มีปัญญามากอย่างนี้ ก็ยังไม่เห็นเงื่อนต้นหรือเงื่อนปลาย

แห่งปัญหาที่พระศาสดาถามแล้วในพุทธวิสัย ต่อตั้งอยู่ในนัยที่พระศาสดา

ประทานแล้ว จึงแก้ปัญหาได้ ภิกษุทั้งหลายฟังดังนั้นแล้ว สนทนากัน

ว่า " แม้ชนทั้งหมด อันพระศาสดาตรัสถามปัญหาใด ไม่อาจแก้ได้,

พระสารีบุตรเถระผู้เป็นธรรมเสนาบดีผู้เดียวเท่านั้น แก้ปัญหานั้นได้. "

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้วตรัสว่า " สารีบุตรแก้ปัญหาที่มหาชน

ไม่สามารถจะแก้ได้ ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ ; แม้ในภพก่อน เธอก็แก้ได้

แล้วเหมือนกัน " ดังนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ตรัสชาดกนี้โดยพิสดาร

ว่า :-

" คนที่มาประชุมกันแล้ว แม้ตั้งพันเป็นกำหนด

คนเหล่านั้นหาปัญญามิได้ พึงคร่ำครวญตั้ง ๑๐๐ ปี,

บุรุษใดผู้รู้ชัดซึ่งอรรถแห่งภาษิตได้ บุรุษผู้นั้นซึ่งเป็น

ผู้มีปัญญาคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า " ดังนี้แล.

เรื่องยมกปาฏิหาริย์ จบ.

๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 323

๓. เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ [๑๕๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา ทรงอาศัยนครพาราณสี ประทับอยู่ที่โคนไม้ซึก ๗ ต้น

ทรงปรารภพระยานาคชื่อเอรกปัตตะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " กิจฺโฉ

มนุสฺสปฏิลาโภ " เป็นต้น.

อาบัติเล็กน้อยไม่แสดงเสียก่อนให้โทษ

ทราบว่า ในศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้าในกาลก่อน

พระยานาคนั้นเป็นภิกษุหนุ่ม ขึ้นเรือไปในแม่น้ำคงคา ยึดใบตะไคร้น้ำ

กอหนึ่ง เมื่อเรือแม้เเล่นไปโดยเร็ว, ก็ไม่ปล่อย. ใบตะไคร้น้ำขาดไปแล้ว.

ภิกษุหนุ่มนั้นไม่แสดงอาบัติ ด้วยคิดเสียว่า " นี้เป็นโทษเพียงเล็กน้อย "

แม้ทำสมณธรรมในป่าสิ้น ๒ หมื่นปี ในกาลมรณภาพ เป็นประดุจใบ

ตะไคร้น้ำผูกคอ แม้อยากจะแสดงอาบัติ เมื่อไม่เห็นภิกษุอื่น ก็เกิดความ

เดือดร้อนขึ้นว่า " เรามีศีลไม่บริสุทธิ์ " จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิด

เป็นพระยานาค ร่างกายประมาทเท่าเรือโกลน. เขาได้มีชื่อว่า " เอรก

ปัตตะ " นั่นแล. ในขณะที่เกิดแล้วนั่นเอง พระยานาคนั้นแลดูอัตภาพ

แล้ว ได้มีความเดือดร้อนว่า " เราทำสมณธรรมตลอดกาลชื่อมีประมาณ

เท่านี้ เป็นผู้บังเกิดในที่มีกบเป็นอาหาร ในกำเนิดแห่งอเหตุกสัตว์."

ในกาลต่อมาเขาได้ธิดาคนหนึ่ง แผ่พังพานใหญ่บนหลังน้ำในแม่น้ำ

คงคา วางธิดาไว้บนพังพานนั้น ให้ฟ้อนรำขับร้องแล้ว.

พระยานาคออกอุบายเพื่อทราบการอุบัติแห่งพระพุทธเจ้า

ทราบว่า เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " เมื่อพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 324

เราจักได้ยินความที่พระพุทธเจ้านั้นบังเกิดขึ้น ด้วยอุบายนี้แน่ละ; ผู้ใด

นำเพลงขับ แก้เพลงขับของเราได้, เราจักให้ธิดากับด้วยนาคพิภพอันใหญ่

แก่ผู้นั้น," วางธิดานั้นไว้บนพังพาน ในวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน. ธิดา

นั้นยืนฟ้อนอยู่บนพังพานนั้น ขับเพลงขับนี้ว่า :-

" ผู้เป็นใหญ่อย่างไรเล่า ชื่อว่าพระราชา ?

อย่างไรเล่า พระราชาชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร ?

อย่างไรเล่า ชื่อว่าปราศจากธุลี, อย่างไร ? ท่าน

จึงเรียกว่า ' คนพาล.' "

ชาวชมพูทวีปทั้งสิ้น พากันมาด้วยหวังว่า " เราจักพาเอานางนาค-

มาณวิกา " แล้วทำเพลงขับแก้ ขับไปโดยกำลังปัญญาของตน ๆ. นาง

ย่อมห้ามเพลงขับตอบนั้น. เมื่อนางยืนอยู่บนพังพานทุกกึ่งเดือน ขับเพลง

อยู่อย่างนี้เท่านั้น พุทธันดรหนึ่งล่วงไปแล้ว .

พระศาสดาทรงผูกเพลงขับแก้

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่ง

ทรงตรวจดูโลก ทำเอรกปัตตนาราชให้เป็นต้น ทรงเห็นมาณพชื่อ

อุตตระ ผู้เข้าไปภายในข่ายคือพระญาณของพระองค์ ทรงใคร่ครวญดูว่า

" จักมีเหตุอะไร ? " ได้ทรงเห็นแล้วว่า " วันนี้เป็นวันที่เอรกปัตตนาคราช

ทำธิดาไว้บนพังพานแล้วให้ฟ้อน อุตตรมาณพนี้เรียนเอาเพลงขับแก้ที่เรา

ให้เเล้วจักเป็นโสดาบัน เรียนเอาเพลงขับนั้นไปสู่สำนักของนาคราชนั้น,

นาคราชนั้นฟังเพลงขับแก้นั้นแล้ว จักทราบว่า ' พระพุทธเจ้าทรงอุบัติ

ขึ้นแล้ว ' จักมาสู่สำนักของเรา, เมื่อนาคราชนั้นมาแล้ว, เราจักกล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 325

คาถาในสมาคมอันใหญ่, ในกาลจบคาถา สัตว์ประมาณ ๘ หมื่น ๔ พัน

จักตรัสรู้ธรรม"

พระศาสดาเสด็จไปในที่นั้นแล้ว ประทับนั่ง ณ โคนต้นซึกต้นหนึ่ง

บรรดาต้นซึก ๗ ต้นที่มีอยู่ในที่ไม่ไกลแต่เมืองพาราณสี. ชาวชมพูทวีป

พาเอาเพลงขับแก้เพลงขับไปประชุมกันแล้ว . พระศาสดาทอดพระเนตร

เห็นอุตตรมาณพกำลังไปในที่ไม่ไกล จึงตรัสว่า " อุตตระ. "

อุตตระ. อะไร ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอจงมานี่ก่อน.

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะอุตตรมาณพนั้น ผู้มาถวายบังคมนั่งลงแล้ว

ถามว่า " เธอจะไปไหน ? "

อุตตรมาณพ. จักไปยังที่ที่ธิดาของเอรกปัตตนาคราช ขับเพลง.

พระศาสดา. ก็เธอรู้เพลงขับแก้เพลงขับหรือ ?

อุตตรมาณพ. ข้าพระองค์ทราบ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอจงกล่าวเพลงเหล่านั้นดูก่อน.

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะอุตตรมาณพผู้กล่าวตามธรรมดาความรู้ของ

ตนเท่านั้นว่า " แน่ะอุตตระ นั่น ไม่ใช่เพลงขับแก้, เราจักให้เพลงขับ

แก้แก่เธอ, เธอต้องเรียนเพลงขับแก้นั้น ให้ได้ "

อุตตมาณพ. ดีละ พระเจ้าข้า.

อุตตรมาณพเรียนเพลงแก้จากพระศาสดา

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า " อุตตระ ในกาลที่นางนาคมาณ

วิกาขับเพลง เธอพึงขับเพลงแก้นี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 326

" ผู้เป็นใหญ่ในทวาร ๖ ชื่อว่าเป็นพระราชา,

พระราชาผู้กำหนัดอยู่ ชื่อว่าธุลีบนพระเศียร, ผู้ไม่

กำหนัดอยู่ ชื่อว่าปราศจากธุลี, ผู้กำหนัดอยู่ ท่าน

เรียกว่า คนพาล."

ก็เพลงขับของนางนาคมาณวิกา มีอธิบายว่า:

บาทคาถาว่า กึสุ อธิปตี ราชา ความว่า ผู้เป็นใหญ่อย่างไรเล่า

จึงชื่อว่าพระราชา ?

คาถาว่า กึสุ ราชา รชสฺสิโร ความว่า อย่างไรพระราชา ย่อม

เป็นผู้ชื่อว่า มีธุลีบนพระเศียร ?

บทว่า กถ สุ ความว่า อย่างไรกันเอ่ย พระราชานั้นเป็นผู้ชื่อว่า

ปราศจากธุลี ?

ส่วนเพลงขับแก้ มีอธิบายว่า :

บาทคาถาว่า ฉทฺวาราธิปตี ราชา ความว่า ผู้ใดเป็นผู้ใหญ่แห่ง

ทวาร ๖ อันอารมณ์ทั้ง ๖ มีรูปเป็นต้นครอบงำไม่ได้ แม้ในทวารหนึ่ง

ผู้นี้ชื่อว่าเป็นพระราชา.

บาทคาถาว่า รชมาโน รชสฺสิโร ความว่า ก็พระราชาใดกำหนัด

อยู่ในอารมณ์เหล่านั้น, พระราชาผู้กำหนัดอยู่นั้น ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร.

บทว่า อรช ความว่า ส่วนพระราชาผู้ไม่กำหนัดอยู่ ชื่อว่าเป็นผู้

ปราศจากธุลี.

บทว่า รช ความว่า พระราชาผู้กำหนัดอยู่ ท่านเรียกว่า " เป็น

คนพาล"

พระศาสดาครั้นประทานเพลงขับแก้ แก่อุตตรมาณพนั้นอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 327

แล้ว ตรัสว่า " อุตตระ " เมื่อเธอขับเพลงขับนี้ (นาง) จักขับเพลงขับแก้

เพลงขับของเธออย่างนี้ว่า:-

" คนพาลอันอะไรเอ่ย ย่อมพัด ไป, บัณฑิตย่อม

บรรเทาอย่างไร, อย่างไร จึงเป็นผู้มีความเกษมจาก

โยคะ, ท่านผู้อันเราถามแล้ว โปรดบอกข้อนั้นแก่เรา "

ทีนั้น ท่านพึงขับเพลงขับแก้นี้แก่นางว่า :-

" คนพาลอันห้วงน้ำ (คือกามโอฆะเป็นต้น) ย่อม

พัดไป, บัณฑิตย่อมบรรเทา (โอฆะนั้น) เสียด้วย

ความเพียร, บัณฑิตผู้ไม่ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง

ท่านเรียกว่า ผู้มีความเกษมจากโยคะ "

เพลงขับแก้นั้น มีเนื้อความว่า :-

" คนพาลอันโอฆะ (กิเลสดุจห้วงน้ำ) ๔ อย่าง

มีโอฆะคือกามเป็นต้น ย่อมพัดไป, บัณฑิตย่อม

บรรเทาโอฆะนั้น ด้วยความเพียร กล่าวคือสัมมัป-

ปธาน (ความเพียรอันตั้งไว้ชอบ), บัณฑิตนั้นไม่

ประกอบด้วยโยคะทั้งปวง มีโยคะคือกามเป็นต้น ท่าน

เรียกชื่อว่า ' ผู้มีความเกษมจากโยคะ."

อุตตรมาณพ เมื่อกำลังเรียนเพลงขับแก้นี้เทียว ดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผล. เขาเป็นโสดาบัน เรียนเอาคาถานั้นไปแล้ว กล่าวว่า " ผู้เจริญ

ฉันนำเพลงขับแก้เพลงขับมาแล้ว, พวกท่านจงให้โอกาสแก่ฉัน " ได้

คุกเข่าไปในท่ามกลางมหาชนที่ยืนยัดเยียดกันอยู่แล้ว. นางนาคมาณวิกา

ยืนฟ้อนอยู่บนพังพานของพระบิดา แล้วขับเพลงขับว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 328

" ผู้เป็นใหญ่ อย่างไรเล่า ชื่อว่าเป็นพระราชา ? " เป็นต้น.

อุตตรมาณพ ขับเพลงแก้ว่า

" ผู้เป็นใหญ่ในทวาร ๖ ชื่อว่าเป็พระราชา " เป็นอาทิ. นาง-

นาคมาณวิกา ขับเพลงโต้แก่อุตตรมาณพนั้นอีกว่า

" คนพาล อันอะไรเอ่ย ย่อมพัคไป ? " เป็นต้น.

ทีนั้น อุตตรมาณพเมื่อจะขับเพลงแก้แก่นาง จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

" คนพาลอันห้วงน้ำย่อมพัดไป " ดังนี้เป็นต้น.

นาคราชทราบว่าพระพุทธเจ้าอุบัติแล้ว

นาคราชพอฟังคาถานั้น ทราบความที่พระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น ดีใจ

ว่า " เราไม่เคยฟังชื่อบทเห็นปานนี้ ตลอดพุทธันดรหนึ่ง, " ผู้เจริญ

พระพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในโลกแล้วหนอ " จึงเอาหางฟาดน้ำ, คลื่นใหญ่

เกิดขึ้นแล้ว. ฝั่งทั้งสองพังลงแล้ว. พวกมนุษย์ในที่ประมาณอุสภะหนึ่ง

แต่ฝั่งข้างนี้และฝั่งข้างโน้น จมลงไปในน้ำ. นาคราชนั้น ยกมหาชนมี

ประมาณเท่านั้นวางไว้บนพังพาน แล้วตั้งไว้บนบก. นาคราชนั้นเข้าไป

หาอุตตรมาณพ แล้วถามว่า " แน่ะนาย พระศาสดาประทับอยู่ที่ไหน ? "

อุตตระ. ประทับนั่งที่โคนไม้ต้นหนึ่ง มหาราช.

นาคราชนั้นกล่าวว่า " มาเถิดนาย พวกเราจะพากันไป " แล้ว

ได้ไปกับอุตตรมาณพ. ฝ่ายมหาชนก็ได้ไปกับเขาเหมือนกัน. นาคราชนั้น

ไปถึง เข้าไปสู่ระหว่างพระรัศมีมีพรรณะ ๖ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว

ได้ยืนร้องไห้อยู่. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนาคราชนั้นว่า " นี่อะไร

กัน ? มหาบพิตร. "

นาคราช. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 329

เช่นกับด้วยพระองค์ ได้ทำสมณธรรมสิ้น ๒ หมื่นปี แม้สมณธรรมนั้น

ก็ไม่อาจเพื่อจะช่วยข้าพระองค์ได้. ข้าพระองค์อาศัยเหตุสักว่าให้ใบตะไคร้

น้ำขาดไปมีประมาณเล็กน้อย ถือปฏิสนธิในอเหตุกสัตว์ เกิดในที่ที่ต้อง

เลื้อยไปด้วยอก. ย่อมไม่ได้ความเป็นมนุษย์เลย. ไม่ได้ฟังพระธรรม,

ไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้า ผู้เช่นกับด้วยพระองค์ตลอดพุทธันดรหนึ่ง.

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของนาคราชนั้นแล้ว ตรัสว่า " มหา-

บพิตร ชื่อว่าความเป็นมนุษย์หาได้ยากนัก, การฟังพระสัทธรรม ก็

อย่างนั้น การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากเหมือนกัน ; เพราะ

ว่าทั้งสามอย่างนี้ บุคคลย่อมได้โดยลำบากยากเย็น " เมื่อจะทรงแสดง

ธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉ มจฺจาน ชีวิต

กิจฺฉ สทฺธมฺมสฺสวน กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.

" ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก, ชีวิต

ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก, การฟังพระสัทธรรม

เป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

เป็นการยาก."

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น พึงทราบดังนี้ว่า " ก็ขึ้นชื่อว่า ความ

ได้อัตภาพเป็นมนุษย์ ชื่อว่าเป็นการยาก คือหาได้ยากเพราะความเป็น

มนุษย์ บุคคลต้องได้ด้วยความพยายามมาก ด้วยกุศลมาก, ถึงชีวิตของ

สัตว์ทั้งหลาย ก็ชื่อว่าเป็นอยู่ยาก เพราะทำกรรมมีกสิกรรมเป็นต้นเนือง ๆ

แล้วสืบต่อความเป็นไปแห่งชีวิตบ้าง เพราะชีวิตเป็นของน้อยบ้าง, แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 330

การฟังพระสัทธรรม ก็เป็นการยาก เพราะค่าที่บุคคลผู้แสดงธรรมหา

ได้ยาก ในกัปแม้มิใช่น้อย. อนึ่ง ถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ก็เป็นการยากเหมือนกัน คือได้ยากยิ่งนัก เพราะอภินิหารสำเร็จ

ด้วยความพยายามมาก และเพราะการอุบัติขึ้นแห่งท่านผู้มีอภินิหารอัน

สำเร็จแล้ว เป็นการได้โดยยาก ด้วยพันแห่งโกฏิกัป แม้มิใช่น้อย. "

นาคราชไม่บรรลุโสดาบัน

ในกาลจบเทศนา เหล่าสัตว์ ๘ หมื่น ๔ พัน ได้ตรัสรู้ธรรมแล้ว.

ฝ่ายนาคราชควรจะได้โสดาปัตติผลในวันนั้น แต่ก็ไม่ได้ เพราะค่าที่ตน

เป็นสัตว์ดิรัจฉาน. นาคราชนั้นถึงภาวะคือความไม่ลำบากในฐานะทั้ง ๕

กล่าวคือการถือปฏิสนธิ การลอกคราบ การวางใจแล้วก้าวลงสู่ความหลับ

การเสพเมถุนกับด้วยนางนาคผู้มีชาติเสมอกัน และจุติ ที่พวกนาคถือเอา

สรีระแห่งนาคนั่นแหละ แล้วลำบากอยู่ ย่อมได้เพื่อเที่ยวไปด้วยรูปแห่ง

มาณพนั่นแล ดังนี้แล.

เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 331

๔. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ [๑๕๑]

ข้อความเบื้อต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปัญหาของ

พระอานนทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพปาปสฺส อกรณ "

เป็นต้น.

กาลแห่งพระพุทธเจ้าต่างกัน แต่คำสอนเหมือนกัน

ได้ยินว่า พระเถระนั่งในที่พักกลางวัน คิดว่า " พระศาสดาตรัส

บอกเหตุแห่งพระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ทุกอย่าง คือ พระชนนีและพระ-

ชนก การกำหนดพระชนมายุ ไม้เป็นที่ตรัสรู้ สาวกสันนิบาต อัครสาวก

อุปัฏฐาก. แต่อุโบสถมิได้ตรัสบอกไว้; อุโบสถแห่งพระพุทธเจ้าแม้

เหล่านั้นเหมือนอย่างนี้ หรือเป็นอย่างอื่น. " ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา

แล้วทูลถามเนื้อความนั้น. ก็เพระความแตกต่างแห่งกาลแห่งพระพุทธเจ้า

เหล่านั้นเท่านั้น ได้มีแล้ว, ความแตกต่างแห่งคาถาไม่มี; ด้วยว่า พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงกระทำอุโบสถในทุก ๆ ๗ ปี,

เพราะพระโอวาทที่พระองค์ประทานแล้วในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้๗ปี,

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขีและเวสสภู ทรงกระทำอุโบสถใน

ทุก ๆ ๖ ปี. (เพราะพระโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง ๒ พระองค์นั้น

ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้ ๖ ปี) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่ากกุสันธะ และ โกนาคมนะ ได้ทรงกระทำอุโบสถทุก ๆ ปี,

(เพราะพระโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์นั้น ทรงประทาน

ในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้ปีหนึ่ง ๆ); พระกัสสปทสพล ได้ทรงกระทำ

อุโบสถทุก ๆ ๖ เดือน, เพราะพระโอวาทที่พระองค์ทรงประทานในวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 332

หนึ่ง พอไปได้ ๖ เดือน; ฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสความแตกต่างกัน

เเห่งกาลนี้ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ส่วนโอวาทคาถาของ

พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นอย่างนี้นี่แหละ." ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงกระทำ

อุโบสถแห่งพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ซึ่งเป็นอันเดียวกันทั้งนั้นให้

แจ่มแจ้ง จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๔. สพฺพปาปสฺส อกรณ กุสลสฺสูปสมฺปทา

สจิตฺตปริโยทปน เอต พุทฺธาน สาสน.

ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกฺขา

นิพฺพาน ปรม วทนฺติ พุทฺธา

น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี

สมโณ โหติ ปร วิเหฐยนฺโต.

อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สวโร

มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสน

อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอต พุทฺธาน สาสน.

" ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศลให้ถึง

พร้อม ความทำจิตของตนให้ผ่องใส นี่เป็นคำสอน

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ความอดทนคือความอด

กลั้น เป็นธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้ทั้งหลาย

ย่อมกล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม, ผู้ทำร้ายผู้อื่น

ไม่ชื่อว่าบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็น

สมณะ. ความไม่กล่าวร้าย ๑ ความไม่ทำร้าย ๑

ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้ประมาณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 333

ในภัตตาหาร ๑ ที่นอนที่นั่งอันสงัด ๑ ความประกอบ

โดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต ๑ นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพปาปสฺส ได้แก่ อกุศลกรรมทุก

ชนิด. การยังกุศลให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ออกบวชจนถึงพระอรหัตมรรค และ

การยังกุศลที่ตนให้เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ ชื่อว่า อุปสมฺปทา. การยังจิตของ

ตนให้ผ่องใสจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ชื่อว่า สจิตฺตปริโยทปน.

บาทพระคาถาว่า เอต พุทฺธานสาสน โดยอรรถว่า นี้เป็นวาจา

เครื่องพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์.

บทว่า ขนฺติ ความว่า ขึ้นชื่อว่าความอดทน กล่าวคือ ความอด

กลั้นนี้ เป็นตบะอย่างยอดยิ่ง คืออย่างสูงสุดในพระศาสนานี้.

บาทพระคาถาว่า นิพฺพาน ปรม วทนฺติ พุทฺธา ความว่า พุทธ-

บุคคลทั้ง ๓ จำพวกนี้ คือ พระพุทธะจำพวก ๑ พระปัจเจกพุทธะจำพวก ๑

พระอนุพุทธะจำพวก ๑ ย่อมกล่าวพระนิพพานว่า " เป็นธรรมชาติอัน

สูงสุด. "

บทว่า น หิ ปพฺพชิโต โดยความว่า บุคคลผู้ที่ล้างผลาญบีบคั้น

สัตว์อื่นอยู่ ด้วยเครื่องประหารต่าง ๆ มีฝ่ามือเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ทำร้ายผู้อื่น

ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต. บทว่า สมโณ ความว่า บุคคลผู้ยังเบียดเบียนสัตว์

อื่นอยู่ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะด้วยเหมือนกัน.

การไม่ติเตียนเอง และการไม่ยังผู้อื่นให้ติเตียน ชื่อว่า อนูปวาโท. การ

ไม่ทำร้ายเอง และการไม่ใช้ผู้อื่นให้ทำร้าย ชื่อว่า อนูปฆาโต.

๑. บาลี เป็น พุทฺธาน สาสน

.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 334

บทว่า ปาติโมกฺเข ได้แก่ ศีลที่เป็นประธาน. การปิด ชื่อว่า สวโร.

ความเป็นผู้รู้จักพอดี คือความรู้จักประมาณ ชื่อว่า มตฺตญฺญุตา. บทว่า

ปนฺติ ได้แก่ เงียบ. บทว่า อธิจิตฺเต ความว่า ในจิตอันยิ่ง กล่าวคือ

จิตที่สหรคตด้วยสมาบัติ ๘. การกระทำความเพียร ชื่อว่า อาโยโค. บทว่า

เอต ความว่า นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์. ก็ในพระ-

คาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศีลอันเป็นไปทางวาจา ด้วยอนูปวาท

ตรัสศีลอันเป็นไปทางกาย ด้วยอนูปฆาต. ตรัสปาติโมกขสีลกับอินทริย-

สังวรสีล ด้วยคำนี้ว่า ปาติโมกฺเข จ สวโร. ตรัสอาชีวปาริสุทธิสีลและ

ปัจจัยสันนิสิตสีล ด้วยมัตตัญญุตา, ตรัสเสนาสนะอันสัปปายะ ด้วยปันต-

เสนาสนะ, ตรัสสมาบัติ ๘ ด้วยอธิจิต. ด้วยประการนี้ สิกขาแม้ทั้ง ๓

ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสแล้วด้วยพระคาถานี้ทีเดียว ฉะนี้แล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ฉะนี้แล.

เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 335

๕. เรื่องภิกษุผู้ไม่ยินดี [๑๒๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ไม่ยินดี

(ในพรหมจรรย์) รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น กหาปณวสฺเสน "

เป็นต้น.

ภิกษุหนุ่มกระสันอยากสึก

ได้ยินว่า ภิกษุนั้นบรรพชาแล้วในศาสนา ได้อุปสมบทแล้ว อัน

พระอุปัชฌาย์ส่งไป ด้วยคำว่า " เธอจงไปที่ชื่อโน้นแล้ว เรียนอุทเทส "

ได้ไปในที่นั้นแล้ว. ครั้งนั้นโรคเกิดขึ้นแก่บิดาของท่าน เขาเป็นผู้ใคร่จะ

ได้เห็นบุตร (แต่) ไม่ได้ใคร ๆ ที่สามารถจะเรียกบุตรนั้นมาได้ จึงบ่น

เพ้ออยู่ เพราะความโศกถึงบุตรนั่นแล เป็นผู้มีความตายอันใกล้เข้ามา

แล้ว จึงสั่งน้องชายว่า " เจ้าพึงทำทรัพย์นี้ให้เป็นค่าบาตรและจีวรแก่บุตร

ของเรา " แล้วให้ทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะไว้ในมือของน้องชาย ได้ทำ

กาละแล้ว.

ในกาลที่ภิกษุหนุ่มมาแล้ว น้องชายนั้น จึงหมอบลงแทบเท้าร้องไห้

กลิ้งเกลือกไปมา พลางกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ บิดาของท่านทั้งหลาย

บ่นถึงอยู่เทียว ทำกาละแล้ว. ก็บิดานั้นได้มอบกหาปณะไว้ ๑๐๐ ในมือ

ของผม. ผมจักทำอะไร ? ด้วยทรัพย์นั้น. " ภิกษุหนุ่มจึงห้ามว่า " เรา

ไม่มีความต้องการด้วยกหาปณะ " ในกาลต่อมาจึงคิดว่า " ประโยชน์อะไร

ของเรา ด้วยการเที่ยวไปบิณฑบาตในตระกูลอื่นเลี้ยงชีพ, เราอาจเพื่อจะ

อาศัยกหาปณะ ๑๐๐ นั้นเลี้ยงชีพได้. เราจักสึกละ. " เธอถูกความไม่ยินดี

บีบคั้นแล้ว จึงสละการสาธยายและพระกัมมัฏฐาน ได้เป็นเหมือนผู้มีโรค

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 336

ผอมเหลือง, ครั้งนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรถามเธอว่า " นี่อะไรกัน ?

เมื่อเธอตอบว่า " ผมเป็นผู้กระสัน " จึงพากันเรียนแก่อาจารย์และ

อุปัชฌาย์. ทีนั้นอาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้น จึงนำเธอไปยังสำนักของ

พระศาสดา แสดงแด่พระศาสดาแล้ว.

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุ ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ ? " เมื่อ

เธอกราบทูลรับว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า " ตรัสว่า " เพราะเหตุไร ?

เธอจึงได้ทำอย่างนั้น. ก็อะไร ๆที่เป็นปัจจัยแห่งการเลี้ยงชีพของเธอมีอยู่

หรือ ?"

ภิกษุ. มี พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อะไร ? ของเธอมีอยู่.

ภิกษุ. กหาปณะ ๑๐๐ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ถ้ากระนั้น เธอจงนำก้อนกรวดมา แม้เพียงเล็กน้อย

ก่อน. เธอลองนับดูก็จักรู้ได้ว่า ' เธออาจเลี้ยงชีวิตได้ด้วยกหาปณะจำนวน

เท่านั้นหรือ. หรือไม่อาจเลี้ยงชีวิตได้.'

ภิกษุหนุ่มนั้น จึงนำก้อนกรวดมา.

ความอยากให้เต็มได้ยาก

ทีนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะเธอว่า " เธอจงตั้งไว้ ๕๐ เพื่อประโยชน์

แก่เครื่องบริโภคก่อน, ตั้งไว้ ๒๘ เพื่อประโยชน์แก่โค ๒ ตัว, ตั้งไว้ชื่อ

มีประมาณเท่านี้ เพื่อประโยชน์แก่พืช, เพื่อประโยชน์แก่แอกและไถ,

เพื่อประโยชน์แก่จอบ, เพื่อประโยชน์เเก่พร้าและขวาน. " เมื่อเธอนับ

อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ กหาปณะ ๑๐๐ นั้น ย่อมไม่เพียงพอ. ครั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 337

พระศาสดาจึงตรัสกะเธอว่า " ภิกษุ กหาปณะของเธอมีน้อยนัก, เธออาศัย

กหาปณะเหล่านั้น จักให้ความทะยานอยากเต็มขึ้นได้อย่างไร ? ได้ยินว่า

ในอดีตกาล บัณฑิตทั้งหลายครองจักรพรรดิราชสมบัติ สามารถจะยัง

ฝนคือรัตนะ ๗ ประการให้ตกลงมาเพียงสะเอวในที่ประมาณ ๑๒ โยชน์

ด้วยอาการสักว่าปรบมือ แม้ครองราชสมบัติในเทวโลก ตลอดกาลที่

ท้าวสักกะ ๓๖ พระองค์จุติไป ในเวลาตาย (ก็) ไม่ยังความอยากให้เต็ม

ได้เลย ได้ทำกาละแล้ว " อันภิกษุนั้นทูลวิงวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทาน

มา ยังมันธาตุราชชาดกให้พิสดารแล้ว ในลำดับแห่งพระคาถานี้ว่า :-

" พระจันทร์และพระอาทิตย์ (ย่อมหมุนเวียนไป)

ส่องทิศให้สว่างไสวอยู่กำหนดเพียงใด, สัตว์ทั้งหลาย

ผู้อาศัยแผ่นดินทั้งหมดเทียว ย่อมเป็นทาสของพระ-

เจ้ามันธาตุราชกำหนดเพียงนั้น."

ได้ทรงภาษิต ๒ พระคาถานี้ว่า :-

๕. น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ

อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา อิติ วิญฺาย ปณฺฑิโต

อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รตึ โส นาธิคจฺฉติ

ตณฺหกฺขยรโต โหติ สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก.

" ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝน

คือกหาปณะ, กามทั้งหลาย มีรสอร่อยน้อย ทุกข์

มาก บัณฑิตรู้แจ้งดังนี้แล้ว ย่อมไม่ถึงความยินดีใน

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๒๐๐. อรรถกถา. ๒/๔๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 338

กามทั้งหลายแม้ที่เป็นทิพย์, พระสาวกของพระสัมมา

สัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่ง

ตัณหา. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กหาปณวสฺเสน ความว่า บัณฑิตนั้น

ปรบมือแล้ว ยังฝนคือรัตนะ ๗ ประการให้ตกลงได้, ฝนคือรัตนะ ๗

ประการนั้น ตรัสให้ชื่อว่า กหาปณวสฺส ในพระคาถานี้, ก็ขึ้นชื่อว่า

ความอิ่มในวัตถุกามและกิเลสกาม ย่อมไม่มี แม้เพราะฝนคือรัตนะทั้ง ๗

ประการนั้น; ความทะยานอยากนั่น เต็มได้ยากด้วยอาการอย่างนี้.

บทว่า อปฺปสฺสาทา คือ ชื่อว่ามีสุขนิดหน่อย เพราะค่าที่กามมี

อุปมาเหมือนความฝันเป็นต้น.

บทว่า ทุกฺขา คือ ชื่อว่ามีทุกข์มากแท้ ด้วยสามารถแห่งทุกข์อัน

มาในทุกขักขันธสูตรเป็นต้น.

บทว่า อิติ วิฺาย คือ รู้กามทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยอาการ

อย่างนี้.

บทว่า อปิ ทิพฺเพสุ ความว่า ก็ถ้าใคร ๆ พึงเธอเชิญด้วยกามอัน

เข้าไปสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย. ถึงอย่างนั้นท่านย่อมไม่ประสบความยินดี

ในกามเหล่านั้นเลย เหมือนท่านพระสมิทธิ ที่ถูกเทวดาเธอเชื้อเชิญฉะนั้น.

บทว่า ตณฺหกฺขยรโต ความว่า เป็นผู้ยินดียิ่ง ในพระอรหัตและ

ในพระนิพพาน คือปรารถนาพระอรหัตและพระนิพพานอยู่.

๑. ม. มู. มหาทุกขักขันธสูตร ๑๒/๑๖๖. จูฬทุกขักขันธสูตร ๑๒/๑๗๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 339

ภิกษุโยคาวจรผู้เกิดในที่สุดแห่งการฟังธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ทรงแสดงแล้ว ชื่อว่าพระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. เทศนาได้มี

ประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุผู้ไม่ยินดี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 340

๖. เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัต. [๑๕๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา (เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน) ประทับนั่งบนกอง

ทราย ทรงปรารภปุโรหิตของพระเจ้าโกศล ชื่ออัคคิทัต ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ว่า " พหุ เว สรณ ยนฺติ " เป็นต้น.

อัคคิทัตได้เป็นปุโรหิตถึง ๒ รัชกาล

ดังได้สดับมา อัคคิทัตนั้น ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้ามหาโกศล.

ครั้นเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระราชาทรงพระนามว่า ปเสนทิโกศล

ทรงดำริว่า " ผู้นี้เป็นปุโรหิตแห่งพระชนกของเรา " จึงตั้งเขาไว้ใน

ตำแหน่งนั้นนั่นแล ด้วยความเคารพ ในเวลาเขามาสู่ที่บำรุงของพระองค์

ทรงทำการเสด็จลุกรับ. รับสั่งให้พระราชทานอาสนะเสมอกัน ด้วยพระ-

ดำรัสว่า " อาจารย์ เชิญนั่งบนอาสนะนี้. "

อัคคิทัตออกบวชนอกพระพุทธศาสนา

อัคคิทัตนั้น คิดว่า " พระราชานี้ทรงทำความเคารพในเราอย่าง

เหลือเกิน, แต่เราก็ไม่อาจเอาใจของพระราชาทั้งหลายได้ตลอดกาลเป็น

นิตย์เทียว; อนึ่ง พระราชาก็เยาว์วัย ยังหนุ่มน้อย, ชื่อว่าความเป็นพระ-

ราชากับด้วยคนผู้มีวัยเสมอกันนั่นแล เป็นเหตุให้เกิดสุข; ส่วนเราเป็นคน

แก่, เราควรบวช " เขากราบทูลให้พระราชาพระราชทานพระบรมราชา-

นุญาตการบรรพชาแล้ว ให้คนตีกลองเที่ยวไปในพระนครแล้ว สละทรัพย์

ของตนทั้งหมดในเพราะการให้ทานเป็นใหญ่ตลอด ๗ วันแล้ว บวชเป็น

นักบวชภายนอก. บุรุษหมื่นหนึ่งอาศัยอัคคิทัตนั้น บวชตามแล้ว. อัคคิทัต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 341

นั้นพร้อมด้วยนักบวชเหล่านั้น สำเร็จการอยู่ในระหว่างแคว้นอังคะ แคว้น

มคธะและแคว้นกุรุ (ต่อกัน) ให้โอวาทนี้ว่า " พ่อทั้งหลาย บรรดาเธอ

ทั้งหลาย ผู้ใดมีกามวิตกเป็นต้น เกิดขึ้น, ผู้นั้นจงขนหม้อทรายหม้อหนึ่ง ๆ

จากแม่น้ำ (มา) เกลี่ยลง ณ ที่นี้. " พวกนักบวชเหล่านั้นรับว่า " ดีละ " ใน

เวลากามวิตกเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว ก็ทำอย่างนั้น. โดยสมัยอื่นอีก ได้มีกอง

ทรายใหญ่แล้ว. นาคราชชื่อ อหิฉัตตะ หวงแหนกองทรายใหญ่นั้น. ชาว

อังคะ มคธะ และชาวแคว้นกุรุ นำเครื่องสักการะเป็นอันมากไป ถวาย

ทานแก่พวกนักบวชเหล่านั้นทุกๆเดือน.

อัคคิทัตสอนประชาชนให้ถึงสรณะ

ครั้งนั้น อัคคิทัตได้ให้โอวาทแก่ชนเหล่านั้น ดังนี้ว่า " พวกท่าน

จงถึงภูเขาเป็นสรณะ, จงถึงป่าเป็นสรณะ, จงถึงอารามเป็นสรณะ, จงถึง

ต้นไม้เป็นสรณะ; พวกท่านจักพ้นจากทุกข์ทั้งสิ้นได้ด้วยอาการอย่างนี้ "

กล่าวสอนแม้ซึ่งอันเตวาสิกของตน ด้วยโอวาทนี้เหมือนกัน.

พระมหาโมคคัลลนะไปทรมานอัคคิทัต

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรลุสัมมา-

สัมโพธิแล้ว ในสมัยนั้น ทรงอาศัยกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ในพระเชตวัน.

ในเวลาจวนรุ่งทรงตรวจดูสัตว์โลก ทรงเห็นอัคคิทัตพราหมณ์พร้อมด้วย

อันเตวาสิก ผู้เข้าไปภายในข่ายคือพระญาณของพระองค์แล้ว ทรงทราบ

ว่า " ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัต "

ในตอนเย็น ตรัสกะพระมหาโมคคัลลานเถระว่า " โมคคัลลานะ เธอเห็น

อัคคิทัตพราหมณ์ผู้ยังมหาชนให้เเล่นไปโดยทางไม่ใช่ท่าไหม ? เธอจงไป,

ให้โอวาทแก่มหาชนเหล่านั้น. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 342

พระเถระ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่านั้นเป็นอันมาก ข้าพระ-

องค์ผู้เดียวพึงข่มขี่ไม่ได้ ถ้าแม้พระองค์จักเสด็จมาไซร้. ชนเหล่านั้นจัก

เป็นอันพึงข่มขี่ได้.

พระศาสดา. โมคคัลลานะ แม้เราก็จักมา. เธอจงล่วงหน้าไป

ก่อน.

พระเถระ กำลังเดินไปเทียว พลางคิดว่า " ชนเหล่านั้น ทั้งมีกำลัง

ทั้งมีมาก, ถ้าเราจักพูดอะไรๆในที่ประชุมของชนทั้งปวงไซร้; ชนแม้

ทั้งหมดพึงลุกขึ้น โดยความเป็นพวกๆ กัน " ยังฝนมีเม็ดหยาบให้ตกลง

แล้ว ด้วยอานุภาพของตน. ชนเหล่านั้น เมื่อฝนมีเม็ดหยาบตกอยู่, ต่าง

ก็ลุกขึ้นแล้ว ๆเข้าไปยังบรรณศาลาของตน ๆ. พระเถระยืนอยู่ที่ประตู

บรรณาศาลาของอัคคิทัตกล่าวว่า อัคคิทัต. เขาได้ยินเสียงของพระเถระ

แล้ว กล่าวว่า " นั่นเป็นใคร ? " เพราะความเป็นผู้กระด้างเพราะมานะว่า

" ในโลกนี้ใคร ๆชื่อว่าผู้สามารถเรียกเราโดย (ออก) ชื่อ ไม่มี, ใคร

หนอแล ? เรียกเราโดย (ออก) ชื่อ. "

พระเถระ. ข้าพเจ้า พราหมณ์.

อัคคิทัต. ท่านพูดอะไร ?

พระเถระ. ขอท่านจงบอกสถานที่พักอยู่ในที่นี้แก่ข้าพเจ้าสิ้นคืน

หนึ่ง ในวันนี้.

อัคคิทัต. สถานที่พักอยู่ในที่นี้ ไม่มี, บรรณาศาลาหลังหนึ่งก็สำหรับ

คนหนึ่งเท่านั้น.

พระเถระ. อัคคิทัต ธรรมดาพวกมนุษย์ ย่อมไปสู่สำนักของพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 343

มนุษย์. พวกโคก็ไปสู่สำนักของโค พวกบรรพชิตก็ไปสู่สำนักของพวก

บรรพชิต, ท่านอย่าทำอย่างนั้น, ขอจงให้ที่พักอยู่แก่ข้าพเจ้า.

อัคคิทัต. ก็ท่านเป็นบรรพชิตหรือ ?

พระเถระ. เออ ข้าพเจ้าเป็นบรรพชิต.

อัคคิทัต. ถ้าท่านเป็นบรรพชิตไซร้. สิ่งของคือสาแหรกบริขารแห่ง

บรรพชิต ของท่านอยู่ไหน ?

พระเถระ. บริขารของข้าพเจ้ามีอยู่. ข้าพเจ้าคิดเห็นว่า ' ก็การถือ

บริขารนั้นเป็นแผนก เที่ยวไป ลำบาก ' ดังนี้แล้ว จึงถือบริขารนั้นไว้

โดยภายในนั้นแลเที่ยวไป พราหมณ์. "

พราหมณ์นั้นโกรธพระเถระว่า " ท่านจักถือบริขารนั้นเที่ยวไป

หรือ ? " ลำดับนั้น พระเถระจึงพูดกะเขาว่า " (จงหลีกไป) อัคคิทัต

ท่านอย่าโกรธ (ข้าพเจ้า). จงบอกสถานที่พักอยู่แก่ข้าพเจ้า. "

อัคคิทัต. สถานที่พักอยู่ที่นี้ไม่มี.

พระเถระ. ก็ใคร ? อยู่บนกองทรายนั่น.

อัคคิทัต. นาคราชตัวหนึ่ง.

พระเถระ. ท่านจงให้ที่นั้น แก่ข้าพเจ้า.

อัคคิทัต. ข้าพเจ้าไม่อาจให้ได้. กรรมของนาคราชนั่นร้ายกาจ.

พระเถระ. ช่างเถอะ, ขอท่านจงให้แก่เราเถิด.

อัคคิทัต. ถ้าเช่นนั้น ท่านจงรู้เองเถิด.

พระเถระผจญกับนาคราช

พระเถระ ผินหน้าตรงกองทรายไปแล้ว. นาคราชเห็นพระเถระ

นั้นมา จึงดำริว่า " พระสมณะนี้มาข้างนี้, เห็นจะไม่ทราบความที่เรามีอยู่;

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 344

เราจะบังหวนควัน ให้สมณะนั้นตาย " บังหวนควันแล้ว.

พระเถระคิดว่า " นาคราชนี้เห็นจะเข้าใจว่า ' เราเท่านั้นอาจบังหวน

ควันได้. พวกอื่นย่อมไม่อาจ ' ดังนี้แล้ว บังหวนควันแม้เอง. ควัน

ทั้งหลายพุ่งออกจากสรีระแห่งนาคราชและพระเถระ แม้ทั้งสองฝ่าย ตั้งขึ้น

จนถึงพรหมโลก. ควันทั้งสองฝ่ายไม่เบียดเบียนพระเถระ เบียดเบียนแต่

นาคราชฝ่ายเดียว. นาคราชไม่อาจอดทนกำลังแห่งควันได้ จึงให้ลุกโพลง

(เป็นไฟ). ฝ่ายพระเถระเข้าสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์แล้ว ให้ลุกโพลง

(เป็นไฟ) พร้อมกับนาคราชนั้นเหมือนกัน. เปลวไฟพุ่งขึ้นไปจนถึง

พรหมโลก. เปลวไฟแม้ทั้งสองฝ่ายไม่เบียดเบียนพระเถระ เบียดเบียนแต่

นาคราชฝ่ายเดียว.

นาคราชแพ้พระเถระ

ลำดับนั้น สรีระทั้งสิ้นของนาคราชนั้น ได้เป็นราวกะว่าถูกคบเพลิง

ทั้งหลายลนทั่วแล้ว. หมู่ฤษีแลดูแล้วคิดว่า " นาคราชเผาสมณะ, สมณะ

คนดีหนอ ไม่เชื่อฟังคำของพวกเรา จึงฉิบหายแล้ว. "

พระเถระ ทรมานนาคราชทำให้หมดพยศแล้ว นั่งบนกองทราย.

นาคราชเอาขนดรวบกองทราย แผ่พังพานประมาณเท่าห้องโถงแห่งเรือน

ยอด กั้นอยู่แล้วเบื้องบนแห่งพระเถระ. หมู่ฤษีไปยังสำนักของพระเถระ

แต่เช้าตรู่ ด้วยคิดว่า " พวกเราจักรู้ความที่สมณะตายแล้วหรือยังไม่ตาย "

เห็นท่านนั่งอยู่บนยอดกองทรายแล้ว ประคองอัญชลีชมเชยอยู่ กล่าวว่า

" สมณะ นาคราชไม่เบียดเบียนท่านแลหรือ ? "

พระเถระ. ท่านทั้งหลายไม่เห็นนาคราชแผ่พังพานดำรงอยู่เบื้องบน

แห่งเราหรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 345

ฤษีเหล่านั้น พูดกันว่า " น่าอัศจรรย์หนอ ! ท่านผู้เจริญ. อานุภาพ

แห่งสมณะ ชื่อเห็นปานนี้. พระสมณะนี้ทรมานนาคราชได้แล้ว " ได้ยืน

ล้อมพระเถระอยู่แล้ว.

ในขณะนั้น พระศาสดาเสด็จมาแล้ว. พระเถระเห็นพระศาสดาแล้ว

ลุกขึ้นถวายบังคม. ลำดับนั้น ฤษีทั้งหลาย พูดกะพระเถระนั้นว่า " สมณะ

นี้ เป็นใหญ่แม้กว่าท่านหรือ ? "

พระเถระ. พระผู้มีพระภาคเจ้านั่น เป็นพระศาสดา, ข้าพเจ้าเป็น

สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้.

พวกฤษีชมเชยพระศาสดา

พระศาสดาประทับนั่งบนยอดกองทรายแล้ว. หมู่ฤษีประคองอัญชลี

ชมเชยพระศาสดาว่า " อานุภาพของสาวกยังถึงเพียงนี้, ส่วนอานุภาพ

ของพระศาสดานี้ จักเป็นเช่นไร ? "

พระศาสดาตรัสเรียกอัคคิทัตมาแล้ว ตรัสว่า " อัคติทัต ท่านเมื่อ

ให้โอวาทแก่สาวกและอุปัฏฐากทั้งหลายของท่าน ย่อมกล่าวว่า ' อย่างไร ? '

ให้. "

อัคคิทัต. ข้าพระองค์ให้โอวาทแก่สาวกและอุปัฏฐากเหล่านั้น อย่าง

นี้ว่า ่ท่านทั้งหลาย จงถึงภูเขานั่นว่าเป็นที่พึ่ง, จงถึงป่า อาราม, จงถึง

ต้นไม้ ว่าเป็นที่พึ่ง; ด้วยว่าบุคคลถึงวัตถุทั้งหลาย มีภูเขาเป็นต้นนั้นว่า

เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.'

สรณะที่เกษมและไม่เกษม

พระศาสดาตรัสว่า " อัคคิทัต บุคคลถึงวัตถุทั้งหลายมีภูเขาเป็นต้น

นั่นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย, ส่วนบุคคลถึงพระพุทธ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 346

พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้ "

ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๖. พหุ เว สรณ ยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิ จ

อารามรุกฺขเจตฺยานิ มนุสฺสา ภยตชฺชิตา

เนต โข สรณ เขม เนต สรณมุตฺตม

เนต สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.

โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณ คโต

จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺาย ปสฺสติ

ทุกฺข ทุกฺขสมุปฺปาท ทุกฺขสฺส จ อติกฺกม

อริยญฺจฏฺงฺคิก มคฺค ทุกฺขูปสมคามิน

เอต โข สรณ เขม เอต สรณมุตฺตม

เอต สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.

" มนุษย์เป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อม

ถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง;

สรณะนั่นแลไม่เกษม, สรณะนั่นไม่อุดม, เพราะ

บุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.

ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ ๔ (คือ) ทุกข์

เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรค

มีองค์ ๘ อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบ

แห่งทุกข์ ด้วยปัญญาชอบ; สรณะนั่นแลของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 347

บุคคลนั้นเกษม, สรณะนั่นอุดม, เพราะบุคคลอาศัย

สรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุ ได้แก่ พหู แปลว่ามาก. บทว่า

ปพฺพตานิ เป็นต้น ความว่า มนุษย์เหล่านั้นๆ อันภัยนั้นๆ คุกคามแล้ว

อยากพ้นจากภัย หรือปรารถนาลาภทั้งหลาย มีการได้บุตรเป็นต้น ย่อม

ถึงภูเขา มีภูเขาชื่ออิสิคิลิ เวปุลละและเวภาระเป็นต้น ป่าทั้งหลาย มีป่า

มหาวัน ป่าโคสิงคสาลวันเป็นต้น อารามทั้งหลาย มีเวฬุวันและชีวกัมพวัน

เป็นต้น และรุกขเจดีย์ทั้งหลาย มีอุเทนเจดีย์และโคตมเจดีย์เป็นต้นในที่

นั้น ๆ ว่าเป็นที่พึ่ง.

สองบทว่า เนต สรณ ความว่า ก็สรณะแม้ทั้งหมดนั่นไม่เกษม

ไม่อุดม. ด้วยว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นต้น เป็นธรรมดาแม้

ผู้หนึ่ง อาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง มีชาติเป็นต้นได้.

คำว่า โย จ เป็นต้นนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสรณะอันไม่

เกษม ไม่อุดมแล้ว ปรารภไว้เพื่อจะทรงแสดงสรณะอันเกษม อันอุดม.

เนื้อความแห่งคำว่า โย จ เป็นต้นนั้น (ดังต่อไปนี้) :-

ส่วนบุคคลใด เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม อาศัยกัมมัฎ-

ฐาน คือการตามระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้นว่า

" แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ถึงพระพุทธ พระธรรม เเละพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ด้วย

สามารถแห่งความเป็นวัตถุอันประเสริฐ, การถึงสรณะนั้น ของบุคคลแม้

นั้น ยังกำเริบ ยังหวั่นไหว ด้วยกิจทั้งหลายมีการไหว้อัญเดียรถีย์เป็นต้น,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 348

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงความที่การถึงสรณะนั้นไม่หวั่นไหว

เมื่อจะทรงประกาศสรณะอันมาแล้วโดยมรรคนั่นแล จึงตรัสว่า ' ย่อมเห็น

อริยสัจ ๔ ด้วยปัญญาชอบ.' ด้วยว่าบุคคลใดถึงรัตนะทั้งหลาย มีพระพุทธ-

รัตนะเป็นต้นนั่นว่า เป็นที่พึ่ง ด้วยสามารถแห่งการเห็นสัจจะเหล่านั้น,

สรณะนั้นของบุคคลนั้น เกษมและอุดม. และบุคคลนั้นอาศัยสรณะนั่น

ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะแม้ทั้งสิ้นได้; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงตรัสว่า เอต โข สรณ เขม เป็นต้น

ในกาลจบเทศนา ฤษีเหล่านั้นแม้ทั้งหมด บรรลุพระอรหัตพร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา ทูลขอบรรพชาแล้ว.

พระศาสดา ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกจากกลีบจีวร ตรัสว่า " ท่าน

ทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด จงประพฤติพรหมจรรย์."

ชาวเมืองเข้าใจว่าอัคคิทัตใหญ่กว่าพระศาสดา

ในขณะนั้นเอง ฤษีเหล่านั้นได้เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร ๘ ดุจพระ-

เถระมีพรรษาตั้งร้อย. ก็วันนั้นได้เป็นวันที่ชาวแคว้นอังคะ แคว้นมคธะ

และแคว้นกุรุ แม้ทั้งปวงถือเครื่องสักการะมา. ชนเหล่านั้นถือเครื่อง

สักการะมาแล้ว เห็นฤษีเหล่านั้นแม้ทั้งหมดบวชแล้ว คิดว่า " อัคคิทัต

พราหมณ์ของพวกเราเป็นใหญ่ หรือพระสมณโคดมเป็นใหญ่หนอแล ? "

ได้สำคัญว่า " อัคคิทัต เป็นใหญ่แน่ เพราะเหตุที่พระสมณโคดมมาหา."

อัคคิทัตตัดความสงสัยของชาวเมือง

พระศาสดา ทรงตรวจดูอัธยาศัยของชนเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า

" อัคคิทัต เธอจงตัดความสงสัยของบริษัท. " พระอัคคิทัตนั้นกราบทูลว่า

" แม้ข้าพระองค์ ก็หวังเหตุมีประมาณเพียงนั้นเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 349

เหาะขึ้นไปสู่เวหาสด้วยกำลังฤทธิ์ แล้วลงมาถวายบังคมพระศาสดาบ่อย ๆ

ถึง ๗ ครั้งแล้ว กล่าวประกาศความที่ตนเป็นสาวกว่า " ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์. ข้าพระองค์เป็น

สาวก " ดังนี้แล.

เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัต จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 350

๗. เรื่องปัญหาพระอานนทเถระ [๑๕๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปัญหาของ

พระอานนทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโ "

เป็นต้น.

พระเถระรำพึงถึงที่เกิดของบุรุษอาชาไนย

ความพิสดารว่า วันหนึ่งพระเถระนั่งในที่พักกลางวัน คิดว่า " พระ-

ศาสดาเมื่อตรัสคำว่า ' ช้างอาชาไนย เกิดขึ้นในตระกูลช้างฉัททันต์ หรือ

ในตระกูลช้างอุโบสถ, ม้าอาชาไนยเกิดขึ้นในตระกูลม้าสินธพ หรือใน

ตระกูลพระยาม้าวลาหก, โคอาชาไนย เกิดขึ้นในทักขิณาปถชนบท '

เป็นต้น เป็นอันตรัสสถานที่เกิดขึ้นแห่งสัตว์ประเสริฐ มีช้างอาชาไนย

เป็นต้นแล้ว, ส่วนบุรุษอาชาไนย ย่อมบังเกิดขึ้นในที่ไหนหนอ ? "

พระเถระเข้าไปทูลถามพระศาสดา

พระเถระนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วทูลถามเรื่อง

นั้น. พระศาสดาตรัสว่า " อานนท์ ขึ้นชื่อว่าบุรุษอาชาไนย ย่อมไม่

บังเกิดในที่ทั่วไป, แต่บังเกิดขึ้นในที่อันเป็นมัชฌิมประเทศ (วัด) โดย

ตรงยาว ๓๐๐ โยชน์ โดยรอบประมาณ ๙๐๐ โยชน์ ก็เมื่อจะบังเกิดขึ้น

ก็ย่อมไม่บังเกิดขึ้นในตระกูลสามัญ, ย่อมบังเกิดขึ้นในตระกูลขัตติยมหา-

ศาลและพราหมณมหาศาล ตระกูลใดตระกูลหนึ่งเท่านั้น " ดังนี้แล้ว ตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

๗. ทุลฺลโภ ปุริสาชญฺโ น โส สพฺพ ชายติ

ยตฺถ โส ชายตี ธีโร ต กุล สุขเมธติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 351

" บุรุษอาชาไนยหาได้ยาก, (เพราะว่า) บุรุษ

อาชาไนยนั้น ย่อมไม่เกิดในที่ทั่วไป; บุรุษอาชาไนย

นั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมเกิดในตระกูลใด, ตระกูล

นั้น ย่อมถึงความสุข. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุลฺลโภ เป็นต้น ความว่า บุรุษอาชา-

ไนยแล เป็นผู้อันบุคคลหาได้ยาก. คือหาได้ง่ายเหมือนช้างอาชาไนยเป็น

ต้นก็หาไม่. บุรุษอาชาไนยนั้น ย่อมไม่เกิดในที่ทั่วไปคือ ในปัจจันต-

ประเทศ หรือในตระกูลต่ำ, แต่ย่อมเกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง บรรดา

ตระกูลกษัตริย์และตระกูลพราหมณ์ ในที่ทำสักการะมีอภิวาทเป็นต้น

แห่งมหาชนในมัชฌิมประเทศเท่านั้น. ก็บุรุษอาชาไนยนั้นเป็นนักปราชญ์

คือเป็นผู้มีปัญญาสูงสุด ได้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะเกิดอย่างนั้น

ย่อมเกิดในตระกูลใดตระกูลนั้น ย่อมถึงความสุข คือย่อมเป็นตระกูลที่

บรรลุความสุขแท้.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 352

๘. เรื่องสัมพหุลภิกขุ [๑๕๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภการสนทนา

ของภิกษุมากรูปด้วยกัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุโข พุทฺธาน-

มุปฺปาโท " เป็นต้น.

ความเห็นในปัญหาต่าง ๆ กัน

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุ ๕๐๐ รูปนั่งในศาลาเป็นที่บำรุง

สนทนากันว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย อะไรหนอแล เป็นสุขในโลกนี้ ? "

บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า " ชื่อว่าสุข เช่นกับด้วยสุข

ในราชสมบัติ ย่อมไม่มี. " บางพวกกล่าวว่า " ชื่อว่าสุข เช่นกับด้วยสุข

ในกาม ย่อมไม่มี. " บางพวกกล่าวว่า " ชื่อว่าสุข เช่นกับด้วยสุขอันเกิด

แต่การบริโภคข้าวสาลีและเนื้อ ย่อมไม่มี. "

พระศาสดาทรงแก้ปัญหานั้น

พระศาสดา เสด็จมาสู่ที่ ๆ ภิกษุเหล่านั้นนั่งแล้ว ตรัสถามว่า

" ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ? " เมื่อ

ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า " ด้วยถ้อยคำชื่อนี้, " จึงตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอกล่าวอะไร ? ก็ความสุขนี้แม้ทั้งหมด นับเนื่องด้วยทุกข์

ในวัฏฏะทั้งนั้น. แต่เหตุนี้เท่านั้นคือ ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า การ

ฟังธรรม ความพร้อมเพรียงของหมู่ ความเป็นผู้ปรองดองกัน เป็นสุขใน

โลกนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 353

๘. สุโข พุทฺธาน อุปฺปาโท สุขา สทฺธมฺมเทสนา

สุขา สงฺฆส ส สามคฺคี สมคฺคาน ตโป สุโข.

" ความเกิดขึ้นเเห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็น

เหตุนำสุขมา, การแสดงธรรมของสัตบุรุษ เป็นเหตุ

นำสุขมา, ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นเหตุนำสุข

มา, ความเพียรของชนผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นเหตุนำ

สุขมา."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธานมุปฺปาโท ความว่า พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อทรงอุบัติขึ้น ย่อมยังมหาชนให้ข้ามจากความกันดาร

ทั้งหลาย มีความกันดารคือราคะเป็นต้น เหตุใด. เหตุนั้น ความเกิดขึ้น

แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงชื่อว่าเป็นเหตุนำสุขมา. สัตว์ทั้งหลายผู้มีทุกข์

มีชาติเป็นต้นเป็นธรรม. อาศัยการแสดงธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพ้นจาก

ทุกข์ทั้งหลาย มีชาติเป็นต้น เหตุใด. เหตุนั้น การแสดงธรรมของสัตบุรุษ

จึงชื่อว่าเป็นเหตุนำสุขมา. ความเป็นผู้มีจิตเสมอกัน ชื่อว่าสามัคคี. แม้

สามัคคีนั้น ก็ชื่อว่าเป็นเหตุนำสุขมาโดยแท้. อนึ่ง การเรียนพระพุทธพจน์

ก็ดี การรักษาธุดงค์ทั้งหลายก็ดี การทำสมณธรรมก็ดี ของเหล่าชนผู้

พร้อมเพรียงกัน คือผู้มีจิตเป็นอันเดียวกัน เป็นเหตุนำสุขมา เหตุใด,

เหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า " สมคฺคาน ตโป สุโข. " เพราะเหตุนั้น

นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า " ภิกษุทั้งหลาย ก็พวก

ภิกษุจักพร้อมเพรียงกันประชุม, จักพร้อมเพรียงกันเลิก (ประชุม), จัก

พร้อมเพรียงกันทำกิจที่ควรทำของหมู่, ตลอดกาลเพียงใด; ภิกษุทั้งหลาย

๑. บาลีเป็น พุทฺธาน อุปฺปาโท. ๒. ยัง. สัตตก. ๒๓/๒๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 354

ความเจริญฝ่ายเดียว อันภิกษุทั้งหลายพึงหวังได้, ความเสื่อมอันภิกษุ

ทั้งหลายไม่พึงหวังได้ ตลอดกาลเพียงนั้น. "

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเป็นอันมากตั้งอยู่ในอรหัตผลแล้ว. เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องสัมพหุลภิกขุ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 355

๙. เรื่องพระจดีย์ทองของพระกัสสปทสพล [๑๕๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระบรมศาสดาเมื่อเสด็จจาริกไป ทรงปรารภพระเจดีย์ทองของ

พระกัสสปทสพล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปูชารเห " เป็นต้น.

ความพิสดารว่า พระตถาคตเจ้ามีพระสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นพุทธบริวาร

เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีแล้วเสด็จไปเมืองพาราณสีโดยลำดับ เสด็จถึง

เทวสถานแห่งหนึ่ง ในที่ใกล้บ้านโตไทยคาม ในระหว่างทาง. พระสุคต-

เจ้าได้ประทับใกล้เทวสถานนั้น ทรงส่งพระธรรมภัณฑาคาริก (คือพระ-

อานนท์ผู้เป็นขุนคลังแห่งพระธรรม) ให้บอกพราหมณ์ซึ่งกำลังทำกสิกรรม

อยู่ในที่ไม่ไกลมาเฝ้า. พราหมณ์นั้นมาแล้วไม่ถวายอภิวาทแด่พระตถาคต

แต่ไหว้เทวสถานนั้นอย่างเดียว แล้วยืนอยู่. แม้พระสุคตเจ้าก็ตรัสว่า

" ดูก่อนพราหมณ์ ท่านสำคัญประเทศนี้ว่าเป็นที่อะไร ? " พราหมณ์จึง

กราบทูลว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าไหว้ด้วยตั้งใจว่า ที่นี้เป็น

เจติยสถานตามประเพณีของพวกข้าพเจ้า. " พระสุคตเจ้าจึงให้พราหมณ์นั้น

ซื่นชมยินดีว่า " ดูก่อนพราหมณ์ ท่านไหว้สถานที่นี้ ได้ทำกรรมที่ดีแล้ว."

ภิกษุทั้งหลายได้สดับพระพุทธดำรัสนั้นแล้วจึงเกิดสงสัยขึ้นว่า " พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงให้พราหมณ์ชื่นชมยินดีอย่างนี้ ด้วยเหตุอะไรหนอ."

ลำดับนั้น พระตถาคตเจ้า เพื่อทรงปลดเปลื้องความสงสัยของภิกษุเหล่านั้น

จึงตรัสเทศนา ฆฏิการสูตร ในมัชฌิมนิกาย แล้วทรงนิรมิตพระเจดีย์ทอง

ของพระกัสสปทศพล สูงหนึ่งโยชน์ และพระเจดีย์ทองอีกหนึ่งองค์ไว้ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 356

อากาศ ทรงแสดงให้มหาชนเห็นแล้วตรัสว่า " ดูก่อนพราหมณ์ การบูชา

ซึ่งบุคคลควรบูชาชนิดเช่นนี้ ย่อมสมควรกว่าแท้ " ดังนี้แล้ว จึงทรง

ประกาศปูชารหบุคคล ๔ จำพวก มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น โดยนัยดังที่ตรัส

ไว้ในมหาปรินิพพานสูตรนั้นเอง แล้วทรงแสดงโดยพิเศษถึงพระเจดีย์ ๓

ประเภทคือ สรีรเจดีย์ ๑ อุททิสเจดีย์ ๑ ปริโภคเจดีย์ ๑ (ครั้นแล้ว) ได้

ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า.

๙. ปูชารเห ปูชยโต พุทฺเธ ยทิ จ สาวเก

ปปญฺจสมติกฺกนฺเต ติณฺณโสกปริทฺทเว

เต ตาทิเส ปูชยโต นิพฺพุเต อกุโตภเย

น สกฺกา ปุญฺ สงฺขาตุ อิเมตฺตมปิ เกนจิ.

" ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาอยู่

ซึ่งท่านผู้ควรบูชา คือพระพุทธเจ้า หรือว่าพระสาวก

ทั้งหลายด้วย ผู้ก้าวล่วงปปัญจธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้

แล้ว ผู้มีความเศร้าโศก และความคร่ำครวญ อันข้าม

พ้นแล้ว (หรือว่า) ของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควร

บูชาเช่นนั้นเหล่านั้น ผู้นิพพานแล้ว ไม่มีภัยเเต่ที่

ไหน ๆ ด้วยการนับแม้วิธีไร ๆ ก็ตาม ว่าบุญนี้มี

ประมาณเท่านี้ " ดังนี้.

แก้อรรถ

บุคคลผู้ควรเพื่อบูชา อธิบายว่า ผู้ควรแล้วเพื่อบูชา ชื่อว่าปูชารห-

บุคคลในพระคาถานั้น. คำว่าของบุคคลผู้บูชาอยู่ซึ่งท่านผู้ควรบูชา ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 357

ว่า ผู้บูชาอยู่ด้วยการนอบน้อมมีกราบไหว้เป็นต้นและด้วยปัจจัย ๔.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงปูชารหบุคคลด้วยคำว่า พุทฺเธ คือ พระพุทธะ

ทั้งหลาย. บทว่า พุทฺเธ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ศัพท์นิบาตว่า ยทิ

ได้แก่ ยทิวา อธิบายว่า อถวา คือ ก็หรือว่า. คำว่า ซึ่งพระปัจเจกพุทธะ

ทั้งหลายก็เป็นอันตรัสไว้แล้วในพระคาถานั้น. (หรือว่า) พระสาวกทั้งหลาย

ด้วย. บทว่า ผู้ก้าวล่วงปปัญจธรรมได้เเล้ว หมายความว่าปปัญจธรรมคือ

ตัณหา ทิฏฐิ มานะ ท่านก้าวล่วงได้เเล้ว. คำว่าผู้มีความเศร้าโศกความ

คร่ำครวญอันข้ามพ้นแล้ว ได้แก่ผู้มีความโศกและความร่ำไรอันล่วงพ้น

แล้ว. อธิบายว่า ข้ามล่วงได้ทั้งสองอย่าง. ความเป็นผู้ควรแก่บูชา พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสด้วยบทวิเสสนะ (คุณบท) เหล่านั้น. คำว่าเหล่านั้น ได้แก่

พระพุทธะเป็นต้น. คำว่าผู้เช่นนั้น ได้แก่ผู้ประกอบด้วยคุณเช่นนั้น ด้วย

อำนาจแห่งคุณดังกล่าวแล้ว. คำว่านิพพานแล้ว ได้แก่นิพพานด้วยการดับ

กิเลสมีราคะเป็นต้น. ภัยแต่ที่ไหน ๆ คือจากภพหรือจากอารมณ์ย่อมไม่มี

แก่ท่านผู้ควรบูชาเหล่านั้น ฉะนั้นท่านเหล่านั้นจึงชื่อว่าไม่มีภัยแต่ที่ไหนๆ.

ซึ่งท่านผู้ไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ เหล่านั้น. คำว่าอันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะนับ

บุญได้ ความว่า ไม่อาจเพื่อคำนวณบุญได้. หากมีคำถามสอดมาว่า นับ

อย่างไร ? พึงแก้ว่า อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อนับบุญว่านี้มีประมาณเท่านี้ อธิบาย

ว่า อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะนับว่า บุญนี้มีประมาณเท่านี้ บุญนี้มีประมาณ

เท่านี้. อปิศัพท์พึงเชื่อมในบทว่า เกนจิ. อธิบายว่า อันบุคคลไร ๆ หรือ

ว่าด้วยการนับวิธีไร ๆ ในสองคำนั้น คำว่าอันบุคคล ได้แก่อันบุคคลนั้น

มีพระพรหมเป็นต้น. คำว่าด้วยการนับ ได้แก่ด้วยการนับ ๓ อย่างคือ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 358

การคะเน ด้วยการชั่งและด้วยการตวง. การคะเนโดยนัยว่าของนี้มีประมาณ

เท่านี้ ชื่อว่าคะเน การชั่งด้วยเครื่องชั่ง ชื่อว่าชั่ง การทำให้เต็ม (ตวง)

ด้วยสามารถแห่งกึ่งฟายมือ ฟายมือ แล่ง และทะนานเป็นต้น ชื่อว่าตวง.

อันบุคคลไร ๆ ไม่อาจเพื่อนับบุญของผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควรบูชามีพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้น ด้วยการนับทั้ง ๓ วิธีเหล่านี้ ด้วยสามารถแห่งวิบากคือผล

เพราะเว้นจากที่สุดฉะนี้.

ผลทานของผู้บูชาในสถานะทั้งสอง เป็นอย่างไรกัน ? บุญของผู้

บูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้น ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่ ใคร ๆ ไม่อาจนับได้ก็พอ

ทำเนา. บุญของผู้บูชาพระพุทธเจ้าเป็นต้นผู้เช่นนั้นแม้นิพพานแล้วด้วย

ขันธปรินิพพาน อันมีกิเลสปรินิพพานเป็นนิมิต ใคร ๆ ก็ไม่อาจนับได้อีก

เล่า เพราะฉะนั้น ควรจะแตกต่างกันบ้าง. เพราะเหตุ (ที่จะมีข้อสงสัย)

นั้นแหละ ท้าวสักกะจึงกล่าวไว้ในวิมานวัตถุว่า

" เมื่อพระสัมพุทธเจ้าเป็นต้น ยังทรงพระชนม์

อยู่ก็ดี นิพพานแล้วก็ดี เมื่อจิตเสมอกัน ผลก็ย่อม

เท่ากัน ในเพราะเหตุคือความเลื่อมใสแห่งใจ สัตว์

ทั้งหลาย ย่อมไปสู่สุคติ " ดังนี้.

ในอวสานแห่งพระธรรมเทศนา พราหมณ์นั้นได้เป็นพระโสดาบัน

แล้วแล.

พระเจดีย์ทองสูงตั้งโยชน์ ได้ตั้ง (เด่น) อยู่ในอากาศนั้นแลตลอด

๗ วัน. ก็สมาคมได้มีแล้วด้วยชนเป็นอันมาก พวกเขาบูชาพระเจดีย์ด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 359

ประการต่าง ๆ ตลอด ๗วัน. ต่อนั้นมาความแตกต่างแห่งลัทธิของผู้มีลัทธิ

ต่างกันได้เกิดมีแล้ว.

พระเจดีย์นั้นได้ไปสู่ที่เดิมแห่งตนด้วยพุทธานุภาพ, ในขณะนั้น

พระเจดีย์ศิลาใหญ่ ได้มีขึ้นแล้วในที่นั้นนั่นแล.

ประชาสัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรมาภิสมัย (คือตรัสรู้ธรรม) แล้ว

ในสมาคมนั้น.

เรื่องพระเจดีย์ทองของพระกัสสปทสพล จบ.

พุทธวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๔ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 360

คาถาธรรมบท

สุขวรรคที่ ๑๕

ว่าด้วยความสุขที่แท้จริง.

[๒๕] ๑. ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน พวกเราไม่มี

เวร เป็นอยู่สบายดีหนอ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน

พวกเราไม่มีเวรอยู่ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือด-

ร้อนกัน พวกเราไม่มีความเดือดร้อน เป็นอยู่สบายดี

หนอ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือดร้อนกัน พวก

เราไม่มีความเดือดร้อนอยู่ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้ขวน

ขวายกัน พวกเราไม่มีความขวนขวาย เป็นอยู่สบาย

ดีหนอ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความขวนขวายน้อย

พวกเราไม่มีความขวนขวายอยู่.

๒. เราผู้ซึ่งไม่มีกิเลสชาตเครื่องกังวล ย่อมเป็น

อยู่สบายดีหนอ เราจักเป็นผู้มีปีติเป็นภักษา เหมือน

เหล่าเทวดาชั้นอาภัสระ.

๓. ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้

สงบระงับละความชนะและความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่

เป็นสุข.

๔. ไฟเสมอด้วยราคะย่อมไม่มี โทษเสมอด้วย

โทสะย่อมไม่มี ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ย่อมไม่

มี สุขอื่นจากความสงบย่อมไม่มี.

๕. ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลาย

๑. วรรคนี้มีอรรถกถา ๘ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 361

เป็นทุกข์อย่างยิ่ง บัณฑิตทราบเนื้อความนั้นตาม

ความจริงแล้ว (กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน) เพราะ

พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.

๖. ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง

ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง ญาติมีความคุ้นเคย

เป็นอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.

๗. บุคคลดื่มรสอันเกิดแต่วิเวก และรสพระ-

นิพพานเป็นที่เข้าไปสงบ ดื่มรสปีติอันเกิดแต่ธรรม

ย่อมเป็นผู้ร่วมความกระวนกระวาย ไม่มีบาป.

๘. การพบเห็นเหล่าอริยบุคคลเป็นการดี การ

อยู่ร่วม (ด้วยเหล่าอริยบุคคล) ให้เกิดสุขทุกเมื่อ

บุคคลพึงเป็นผู้มีความสุขเป็นนิตย์แท้จริง เพราะไม่

พบเห็นพวกคนพาล เพราะว่าคนเที่ยวสมาคมกับคน

พาล ย่อมโศกเศร้าตลอดกาลยืดยาวนาน ความอยู่

ร่วมกับพวกคนพาล ให้เกิดทุกข์เสมอไป เหมือน

ความอยู่ร่วมด้วยศัตรู ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็น

สุข เหมือนสมาคมเเห่งญาติ เพราะฉะนั้นแล ท่าน

ทั้งหลายจงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์ และมีปัญญา ทั้ง

เป็นพหุสูต นำธุระไปเป็นปกติ มีวัตร เป็นอริยบุคคล

เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดีเช่นนั้น เหมือนพระจันทร์

ซ่องเสพคลองแห่งนักษัตรฤกษ์ฉะนั้น.

จบสุขวรรคที่ ๑๕

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 362

๑๕. สุขวรรควรรณนา

๑. เรื่องระงับความทะเลาะแห่งหมู่พระญาติ [๑๕๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในแคว้นของชาวสักกะ ทรงปรารภหมู่

พระญาติ เพื่อระงับความทะเลาะ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุสุข

วต " เป็นต้น.

ความวิวาทเกิดเพราะแย่งน้ำ

ดังได้ยินมาว่า พวกเจ้าศากยะและพวกเจ้าโกลิยะ ให้กั้นแม่น้ำชื่อ

ว่าโรหิณี ด้วยทำนบอันเดียวกัน ในระหว่างนครกบิลพัสดุ์กับนครโกลิยะ

แล้วให้ทำข้าวกล้า. ถึงต้นเดือนเชฏฐมาส เมื่อข้าวกล้าเหี่ยว, พวกกรรมกร

แม้ของชาวนครทั้งสองประชุมกัน. ในชาวนครทั้งสองนั้นชาวนครโกลิยะ

กล่าวว่า " น้ำนี้ เมื่อถูกพวกเรานำไปแต่ข้างทั้งสองจักไม่พอแก่พวกท่าน,

เมื่อถูกพวกท่านนำไปแต่ข้างทั้งสอง. ก็จักไม่พอแก่พวกข้าพเจ้า; แต่ข้าว

กล้าของพวกข้าพเจ้า จักสำเร็จด้วยน้ำคราวเดียวเท่านั้น พวกท่านจงให้

น้ำนี้แก่พวกข้าพเจ้าเถิด. " ฝ่ายพวกชาวศากยะนอกนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า

" เมื่อพวกท่านทำฉางให้เต็มตั้งไว้เเล้ว พวกข้าพเจ้าจักไม่อาจถือเอาทอง

มีสีสุก แก้วสีเขียว แก้วสีดำและกหาปณะ แล้วมีกระเช้าและกระสอบ

เป็นต้นในมือเที่ยวไปที่ประตูเรือนของพวกท่าน, ข้าวกล้าแม้ของพวก

๑. เดือนมิถุนายน เดือน ๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 363

ข้าพเจ้า ก็จักสำเร็จด้วยน้ำคราวเดียวเหมือนกัน, พวกท่านจงให้น้ำนี้แก่

พวกข้าพเจ้าเถิด. "

โกลิยะ. พวกข้าพเจ้าจักไม่ให้.

ศากยะ. แม้พวกข้าพเจ้าก็จักไม่ให้.

ชาวเมืองทั้งสอง ยังถ้อยคำให้เจริญขึ้นอย่างนั้นแล้ว ประหารซึ่งกัน

และกันอย่างนี้ คือคนหนึ่งลุกขึ้นแล้วได้ให้ประหารแก่คนหนึ่ง. แม้ชนผู้

ถูกประหารนั้น ก็ได้ให้ประหารแม้แก่ชนอื่น กระทบกระทั่งถึงชาติแห่ง

ราชตระกูลทั้งหลาย ก่อความทะเลาะให้เจริญขึ้นแล้ว. พวกกรรมกรชาว-

โกลิยะกล่าวว่า " พวกเจ้าจงพาเด็กชาวเมืองกบิลพัสดุ์ไปเสียเถิด, ชน

เหล่าใด อยู่ร่วมกับพวกพี่สาวน้องสาวของตน ๆ เหมือนสุนัขบ้านและสุนัข

จิ้งจอกเป็นต้น; ช้าง ม้า โล่และอาวุธทั้งหลายของชนเหล่านั้นจักทำอะไร

แก่พวกข้าพเจ้าได้. "

ฝ่ายพวกกรรมกรชาวศากยะกล่าวว่า " บัดนี้ พวกเจ้าจงพาพวก

เด็กขี้เรื้อนไปเสียเถิด, ชนเหล่าใด ไม่มีที่พึ่ง ไม่มีคติ อยู่ที่ต้นกระเบา

ดุจสัตว์ดิรัจฉาน; ช้าง ม้า โล่และอาวุธของชนเหล่านั้นจักทำอะไรแก่

พวกข้าพเจ้าได้." ชนเหล่านั้น ไปบอกแก่พวกอำมาตย์ผู้ประกอบใน

กรรมนั้น. พวกอำมาตย์ทูลแก่ราชตระกูลทั้งหลาย.

ลำดับนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายคิดว่า " พวกเราจักแสดงเรี่ยวแรง

และกำลัง ของเหล่าชนผู้อยู่ร่วมกับพวกพี่สาวน้องสาว " แล้วตระเตรียม

การยุทธ์ ออกไปแล้ว. ฝ่ายเจ้าโกลิยะทั้งหลายคิดว่า " พวกเราจักสำแดง

เรี่ยวแรงและกำลัง ของเหล่าชนผู้อยู่ที่ต้นกระเบา " ดังนี้แล้ว ตระเตรียม

การยุทธ์ ออกไปแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 364

พระศาสดาเสด็จห้ามพระญาติ

แม้พระศาสดาทรงตรวจดูสัตว์โลกในเวลาใกล้รุ่ง ทอดพระเนตร

เห็นหมู่พระญาติแล้ว ทรงดำริว่า " เมื่อเราไม่ไป. พวกญาติเหล่านี้จัก

ฉิบหาย. การที่เราไปก็ควร " ดังนี้แล้ว จึงเสด็จทางอากาศพระองค์เดียว

เท่านั้น ประทับนั่งโดยบัลลังก์ในอากาศ ณ ท่ามกลางแม่น้ำโรหิณี. พระ-

ญาติทั้งหลาย เห็นพระศาสดาแล้วทิ้งอาวุธ ถวายบังคม. ครั้งนั้น พระ-

ศาสดาตรัสกะพระญาติเหล่านั้นว่า " มหาบพิตร นี่ชื่อว่าทะเลาะอะไรกัน ? "

พวกพระญาติ. พวกข้าพระองค์ ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. บัดนี้ ใครจักทราบเล่า ?

พระญาติเหล่านั้น ถามตลอดถึงพวกทาสและกรรมกร โดยอุบายนี้

ว่า " อุปราช จักทราบ, เสนาบดี จักทราบ " เป็นต้น แล้วกราบทูลว่า

" ทะเลาะกันเพราะน้ำ พระเจ้าข้า. "

พระศาสดา. น้ำตีราคาเท่าไร ? มหาบพิตร.

พวกพระญาติ. มีราคาน้อย พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. กษัตริย์ทั้งหลาย ราคาเท่าไร.

พวกพระญาติ. ขึ้นชื่อว่า กษัตริย์ทั้งหลาย หาค่ามิได้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ก็การที่ท่านทั้งหลาย ยังพวกกษัตริย์ซึ่งหาค่ามิได้ให้

ฉิบหาย เพราะอาศัยน้ำ ซึ่งมีประมาณน้อย ควรแล้วหรือ ?

พระญาติเหล่านั้น ได้นิ่งแล้ว. ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสเตือน

พระญาติเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " มหาบพิตร เพราะเหตุไร ? พวกท่าน

จึงกระทำกรรมเห็นปานนี้, เมื่อเราไม่มีอยู่. ในวันนี้ แม่น้ำคือโลหิตจัก

ไหลนอง, ท่านทั้งหลาย ทำกรรมไม่สมควรแล้ว, ท่านทั้งหลาย เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 365

มีเวรด้วยเวร ๕ อยู่, เราไม่มีเวรอยู่; ท่านทั้งหลายเป็นผู้มีความเดือดร้อน

ด้วยกิเลสอยู่, เราไม่มีความเดือดร้อนอยู่; ท่านทั้งหลายเป็นผู้มีความ

ขวนขวายในอันแสวงหากามคุณอยู่, เราไม่มีความขวนขวายอยู่ " แล้วได้

ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๑. สุสุข วต ชีวาม เวริเนสุ อเวริโน

เวริเนสุ มนุสฺเสสุ วิหราม อเวริโน.

สุสุข วต ชีวาม อาตุเรสุ อนาตุรา

อาตุเรสิ มนุสฺเสสุ วิหราม อนาตุรา.

สุสุข วต ชีวาม อุสฺสุเกสุ อนุสฺสุกา

อุสฺสุเกสุ มนุสฺเสสุ วิหราม อนุสฺสุกา.

" ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน พวกเราไม่มีเวร

เป็นอยู่สบายดีหนอ, ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน

พวกเราไม่มีเวรอยู่, ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความ

เดือดร้อนกัน พวกเราไม่มีความเดือดร้อน เป็นอยู่

สบายดีหนอ, ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือดร้อน

กัน พวกเราไม่มีความเดือดร้อนอยู่, ในมนุษย์

ทั้งหลายผู้ขวนขวายกัน พวกเราไม่มีความขวนขวาย

เป็นอยู่สบายดีหนอ, ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความ

ขวนขวายกัน พวกเราไม่มีความขวนขวายอยู่. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุสุข ได้แก่ สบายดี. พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสคำอธิบายนี้ไว้ว่า " ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน ด้วยเวร ๕ พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 366

เราไม่มีเวร ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือดร้อนด้วยกิเลส (พวกเรา) ชื่อ

ว่าไม่มีความเดือดร้อนเพราะความเป็นผู้ไม่มีกิเลส ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มี

ความขวนขวายในอันแสวงหากามคุณ ๕ (พวกเรา) ชื่อว่าไม่มีความขวน-

ขวาย เพราะไม่มีการแสวงหานั้น จึงเป็นอยู่สบายดี กว่าพวกคฤหัสถ์

ผู้ยังความเป็นไปแห่งชีวิตให้บังเกิดขึ้น ด้วยสามารถแห่งการตัดที่ต่อเป็น

ต้น หรือกว่าพวกบรรพชิต ผู้ยังความเป็นไปแห่งชีวิตให้บังเกิดขึ้น ด้วย

สามารถแห่งเวชกรรมเป็นต้นแล้ว กล่าวว่า ' เราเป็นอยู่โดยความสบาย. '

บทที่เหลือมีอรรถอันง่ายทั้งนั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องระงับความทะเลาะแห่งหมู่พระญาติ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 367

๒. เรื่องมาร [๑๕๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในบ้านพราหมณ์ชื่อปัญจสาลา ทรง

ปรารภมาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุสุข วต " เป็นต้น.

เด็กหญิง ๕๐๐ เล่นนักษัตร

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่งพระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งโสดา-

ปัตติมรรคขอเด็กหญิง ๕๐๐ จึงเสด็จเข้าไปอาศัยบ้านนั้นอยู่. แม้เด็กหญิง

เหล่านั้น ในวันนักษัตรวันหนึ่ง ไปสู่แม่น้ำอาบแล้ว ประดับตกแต่งแล้ว

บ่ายหน้าสู่บ้านไปแล้ว. แม้พระศาสดาเสด็จเข้าไปสู่บ้านนั้น เที่ยวไปเพื่อ

บิณฑบาต. มารเข้าสิงในสรีระของชาวบ้านทั้งสิ้น, ได้ทำอย่างที่พระ-

ศาสนาไม่ได้แม้มาตรว่าภิกษาทัพพีหนึ่ง ยืนอยู่ที่ประตูบ้าน ทูลพระศาสดา

ซึ่งเสด็จออกมาด้วยทั้งบาตรตามที่ล้างไว้แล้วว่า " ข้าเเต่พระสมณะ ท่าน

ได้ก้อนข้าวบ้างไหม ? "

พระศาสดา. มารผู้มีบาป ก็ท่านได้ทำโดยอาการที่เราไม่พึงได้ภิกษา

มาร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้ากระนั้นขอพระองค์เสด็จเข้าไปอีก

เถิด.

ได้ยินว่า มารได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " หากว่าพระสมณะจะเสด็จ

เข้าไปอีก. เราจักเข้าสิงในสรีระของชนทั้งปวง แล้วปรบฝ่ามือกระทำการ

หัวเราะเยาะเย้ย ข้างหน้าพระสมณะนี้. " ในขณะนั้น เด็กหญิงเหล่านั้น

ถึงประตูบ้าน เห็นพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 368

ฝ่ายมารทูลกะพระศาสดาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์เมื่อไม่ได้

ก้อนข้าว จะเป็นผู้อันความทุกข์อันเกิดจากความหิวบีบคั้นบ้างไหม ? "

ผู้ไม่มีความกังวลเสวยปีติแทนอาหาร

พระศาสดาตรัสว่า " มารผู้มีบาป ในวันนี้ เราแม้ไม่ได้อะไร ๆ

ก็จักยังกาลให้น้อมล่วงไปด้วยความสุขอันเกิดจากปีติเท่านั้น ดุจพรหมใน

เทวโลกชั้นอาภัสระ " แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒. สุสุข วต ชีวาม เยสนฺโน นตฺถิ กิญฺจน

ปีติภกฺขา ภวิสฺสาม เทวา อาภสฺสรา ยถา.

" เรา ผู้ซึ่งไม่มีกิเลสชาตเป็นเครื่องกังวล ย่อม

เป็นอยู่สบายดีหนอ, เรา จักเป็นผู้มีปีติเป็นภักษา

เหมือนเหล่าเทวดาชั้นอาภัสระ. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยสนฺโน ความว่า บรรดากิเลสชาต

เครื่องกังวล มีราคะเป็นต้น กิเลสชาตเครื่องกังวลแม้อย่างหนึ่ง โดย

อรรถว่าเครื่องพัวพัน ไม่มีแก่เราเหล่าใด.

บทว่า ปีติภกฺขา ความว่า เหล่าเทวดาชั้นอาภัสระ เป็นผู้มีปีติเป็น

ภักษา ยิ่งกาลให้น้อมล่วงไปฉันใด, แม้เราก็จักเป็นฉันนั้น.

ในกาลจบเทศนา เด็กหญิงทั้ง ๕๐๐ เหล่านั้น ตั้งอยู่ในโสดาปัตติ-

ผล ดังนี้แล.

เรื่องมาร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 369

๓. เรื่องปราชัยของพระเจ้าโกศล [๑๕๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปราชภความปราชัย

ของพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ชย เวร " เป็นต้น.

อาแพ้หลาน

ได้ยินว่า พระเจ้าโกศลนั้นทรงอาศัยกาสิกคาม รบอยู่กับพระเจ้า

อชาตศัตรู ผู้เป็นพระเจ้าหลาน อันพระเจ้าอชาตศัตรูนั้นให้แพ้เเล้ว ๓ ครั้ง

ในครั้งที่๓ ทรงดำริว่า " เราไม่อาจจะยังเด็กซึ่งมีปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม

ให้แพ้ได้, ประโยชน์อะไร ด้วยความเป็นอยู่ของเรา ? " ท้าวเธอทรงตัด

พระกระยาหาร เสด็จบรรทมบนพระแท่น. ครั้งนั้น ความเป็นไปอันนั้น

ของท้าวเธอ กระฉ่อนไปทั่วพระนคร. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแด่พระ-

ตถาคตว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้ยินว่า พระราชาทรงอาศัยกาสิกคาม

อันพระเจ้าอชาตศัตรูให้ทรงปราชัยแล้ว ๓ ครั้ง, บัดนี้ ท้าวเธอทรงปราชัย

(กลับ) มาแล้ว ทรงตัดพระกระยาหารผทมบนพระแท่น ด้วยทรงดำริว่า

' เราไม่อาจจะยังเด็กซึ่งมีปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมให้เเพ้ได้, ประโยชน์อะไร

ด้วยความเป็นอยู่ของเรา ? '

พระศาสดา ทรงสดับกถาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย แม้ผู้ชนะย่อมก่อเวร, ฝ่ายผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์เหมือนกัน "

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. ชย เวร ปสวติ ทุกฺข เสติ ปราชิโต

อุปสนฺโต สุข เสติ หิตฺวา ชยปราชย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 370

" ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์, ผู้สงบ

ระงับ ละความชนะและความแพ้ได้เเล้ว ย่อมอยู่

เป็นสุข."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชย ความว่า ผู้ชนะผู้อื่น ย่อมกลับ

ได้เวร. บทว่า ปราชิโต ความว่า ผู้อันคนอื่นให้เเพ้เเล้ว ย่อมอยู่เป็น

ทุกข์ คือย่อมอยู่ลำบาก ในอิริยาบถทั้งปวงทีเดียว ด้วยคิดว่า " ในกาล

ไรเล่าหนอ เราอาจเห็นหลังของปัจจามิตร ? "

บทว่า อุปสนฺโต ความว่า พระขีณาสพ ผู้มีกิเลสมีราคะเป็นต้น

ในภายในสงบระงับ ละความชนะและความแพ้ได้ ย่อมอยู่เป็นสุข คือ

ย่อมอยู่สบายแท้ ในอิริยาบถทั้งปวง.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องปราชัยของพระเจ้าโภกล จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 371

๔. เรื่องเด็กหญิงแห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง [๑๖๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภกุมาริกาคนใด

คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " นตฺถิ ราคสโม อคฺคิ " เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จในงานอาวาหมงคล

ได้ยินว่า มารดาของกุมาริกนั้นกระทำอาวาหมงคล นิมนต์พระ-

ศาสดาในวันมงคล. พระศาสดา อันหมู่แห่งภิกษุแวดล้อมเสด็จไปในที่

นั้น ประทับนั่งแล้ว. หญิงสาวแม้คนนั้นแล กระทำการกรองน้ำเป็นต้น

เพื่อหมู่แห่งภิกษุ เที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่. ฝ่ายสามีของนางได้ยืนแลดูนางอยู่

แล้ว. เมื่อเขาแลดูอยู่ ด้วยอำนาจแห่งราคะ, กิเลสในภายในย่อมฟุ้งซ่าน.

เขาถูกความไม่รู้ (ไม่รู้สึก) ครอบงำแล้ว จึงไม่บำรุงพระพุทธเจ้า, ไม่

บำรุงพระมหาเถระ ๘๐, แต่ได้กระทำจิตไว้ว่า " เราจักเหยียดมือออกจับ

(หญิงสาว) นั้น. " พระศาสดาทรงเล็งเห็นอัชฌาสัยของเขาแล้ว. ได้ทรง

กระทำอย่างที่เขาไม่เห็น (หญิง) นั้น. เขาไม่เห็นหญิงนั้นแล้ว จึงได้ยืน

แลดูพระศาสดา. ในกาลที่เขายืนแลอยู่ พระศาสดาตรัสว่า " แน่ะกุมาร

ก็ชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟคือราคะ ไม่มี, ชื่อว่าโทษ เช่นกับโทษคือโทสะ

ไม่มี, ชื่อว่าทุกข์ เช่นกับทุกข์เพราะการบริหารขันธ์ ไม่มี, แม้สุขเช่นกับ

นิพพานสุข ไม่มีเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. นตฺถิ ราคสโน อคฺคิ นตฺถิ โทสสโม กลิ

นตฺถิ ขนฺธาทิสา ทุกฺขา นตฺถิ สนฺติปร สุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 372

" ไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี, โทษเสมอด้วย

โทสะ ย่อมไม่มี, ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ ย่อม

ไม่มี, สุขอื่นจากความสงบ ย่อมไม่มี. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า นตฺถิ ราคสโม ความว่า ชื่อว่าไฟ

อื่นเสมอด้วยราคะ ซึ่งสามารถเพื่อจะไม่แสดงควัน เปลว หรือถ่าน ไหม้

ในภายในเท่านั้น แล้วจึงกระทำกองเถ้า ย่อมไม่มี.

บทว่า กลิ ความว่า แม้โทษ เสมอด้วยโทสะ ย่อมไม่มี.

บทว่า ขนฺธสมา ได้แก่ เสมอด้วยขันธ์ทั้งหลาย. อธิบายว่า ชื่อว่า

ทุกข์อย่างอื่น เหมือนอย่างขันธ์ทั้งหลายที่บุคคลบริหารอยู่เป็นทุกข์ ย่อม

ไม่มี.

สองบทว่า สนฺติปร สุข ความว่า แม้สุขอื่นยิ่งกว่าพระนิพพาน

ย่อมไม่มี. อธิบายว่า ความจริง สุขอย่างอื่นก็เป็นสุขเหมือนกัน แต่

พระนิพพานเป็นบรมสุข.

ในกาลจบเทศนา กุมาริกาและกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. ใน

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำอาการคืออันเห็นซึ่งกันและกัน แก่

คนทั้งสองนั้นดังนี้แล.

เรื่องเด็กหญิงแห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง จบ.

๑. บาลีเป็น ขนฺธาทิสา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 373

๕. เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง [๑๖๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเมืองอาฬวี ทรงปรารภอุบาสกคน

หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ชิฆจฺฉา " เป็นต้น.

เสด็จโปรดคนเข็ญใจ

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎี

ในพระเชตวันเทียว ทรงตรวจดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นมนุษย์เข็ญใจ

คนหนึ่ง ในเมืองอาฬวี ทรงทราบความถึงพร้อมแห่งอุปนิสัยของเขา

มีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวาร ได้เสด็จไปสู่เมืองอาฬวี. ชาวเมืองอาฬวีนิมนต์

พระศาสดา. มนุษย์เข็ญใจแม้นั้นได้ยินว่า " พระศาสดาเสด็จมา " ดังนี้แล้ว

ได้ตั้งใจไว้ว่า " เราจักฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา." แลในวันนั้น

เอง โคของเขาตัวหนึ่งหนีไป เขาคิดว่า " เราจักค้นหาโคหรือจะฟังธรรม "

แล้วคิดว่า " เราค้นหาโคต้อนให้เข้าไปสู่ฝูงโคแล้ว จึงจักฟังธรรมภาย

หลัง " ดังนี้แล้ว จึงออกจากเรือนแต่เช้าตรู่. แม้ชาวเมืองอาฬวีนิมนต์

ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานให้นั่งแล้วอังคาส รับบาตร เพื่อ

ประโยชน์แก่อนุโมทนา. พระศาสดาได้ทรงนิ่งเสีย ด้วยหมายพระหฤทัย

ว่า " เราอาศัยบุคคลใดมาแล้ว ตลอดหนทาง ๓๐ โยชน์, บุคคลนั้นเข้า

ไปสู่ป่า เพื่อแสวงหาโค; เมื่อเขามาแล้วนั่นแหละ เราจึงจักแสดงธรรม. "

มนุษย์แม้นั้น เห็นโคในกลางวัน ต้อนเข้าฝูงโคแล้วคิดว่า " แม้ถ้าของ

อื่นไม่มี. เราจักกระทำกิจสักว่าการถวายบังคมพระศาสดา " แม้ถูกความ

หิวบีบคั้นก็ไม่ใฝ่ใจจะไปเรือน มาสู่สำนักพระศาสดาโดยเร็ว ถวายบังคม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 374

พระศาสดาแล้ว ได้ยืนอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง. ในเวลาที่เขายืนอยู่ พระศาสดา

ตรัสกะผู้ขวนขวายในทานว่า " ของอะไรที่เป็นเดนของภิกษุสงฆ์ มีอยู่

หรือ ? "

ผู้ขวนขวายในทาน. มีอยู่ทุกอย่าง พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ถ้ากระนั้น เธอจงเลี้ยงดูผู้นี้.

พระศาสดายังถูกโพนทะนา

เขาให้มนุษย์นั้นนั่งในที่ที่พระศาสดาตรัสสั่งนั่นแหละ แล้วเลี้ยง

ดูด้วยข้าวยาคู ของควรเคี้ยว และของควรบริโภค โดยเคารพ. มนุษย์

ผู้นั้นบริโภคภัตเสร็จ บ้วนปากแล้ว. ได้ยินว่า ชื่อว่าการจัดภัตของพระ-

ตถาคต ย่อมไม่มีในที่อื่น ในปิฎก ๓ เว้นที่นี้เสีย. จิตของเขามีความ

กระวนกระวายสงบแล้ว ได้เป็นจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว. ครั้งนั้น พระ-

ศาสดาตรัสอนุปุพพีกถาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแก่เขา. ในที่สุด

แห่งเทศนา เขาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล แม้พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนา

แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. มหาชนตามส่งเสด็จพระศาสดาแล้ว

ก็กลับ.

ภิกษุทั้งหลายที่ไปกับพระศาสดานั่นแหละ ยกโทษว่า " ผู้มีอายุ

ทั้งหลาย พวกท่านจงดูกรรมของพระศาสดาเถิด. กรรมเห็นปานนี้ ย่อม

ไม่มีในวันทั้งหลายอื่น, แต่วันนี้ พระศาสดาทรงอาศัยมนุษย์คนหนึ่ง

รับสั่งให้คนจัดแจงข้าวยาคูเป็นต้นให้ให้แล้ว. " พระศาสดาเสด็จกลับ

ประทับยืนอยู่แล้วเทียว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไร

กัน ? " ทรงสดับเนื้อความนั้นแล้ว ตรัสว่า " อย่างนั้นภิกษุทั้งหลาย เรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 375

คิดว่า ' เราเมื่อมาสิ้นทางกันดาร ๓๐ โยชน์ เห็นอุปนิสัยของอุบาสกคนนั้น

แล้วจึงมา. อุบาสกนั้นหิวยิ่งนัก ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วเที่ยวไปหาโคในป่า

แม้เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ก็ไม่อาจบรรลุได้ เพราะความเป็นทุกข์อันเกิด

แต่ความหิว. จึงได้กระทำอย่างนี้; ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่าชื่อว่าโรค เช่น

กับโรค คือความหิวไม่มี " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๕. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา

เอต ญฺตวา ยถาภูต นิพฺพาน ปรม สุข.

" ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง, สังขารทั้งหลาย เป็น

ทุกข์อย่างยิ่ง, บัณฑิตทราบเนื้อความนั่น ตามความ

จริงแล้ว (กระทำให้เเจ้งซึ่งพระนิพพาน) เพราะ

พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา ความ

ว่า เพราะโรคอย่างอื่นรักษาคราวเดียวก็หาย หรือว่าอันบุคคลย่อมบำบัด

ได้ ด้วยความสามารถแห่งองค์นั้น ๆ (คือเป็นครั้งคราว). ส่วนความหิว

ต้องรักษากันสิ้นกาลเป็นนิตย์ทีเดียว เหตุนั้น ความหิวนี้จึงจัดเป็นเยี่ยม

กว่าโรคที่เหลือ.

ขันธ์ ๕ ชื่อว่า สังขารทั้งหลาย. สองบทว่า เอต ตฺวา ความว่า

บัณฑิตทราบเนื้อความตามเป็นจริงว่า " โรคเสมอด้วยความหิว ย่อมไม่มี,

ชื่อว่าทุกข์ เสมอด้วยการบริหารขันธ์ ย่อมไม่มี, " แล้วกระทำพระ-

นิพพานให้แจ้ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 376

บาทพระคาถาว่า นิพฺพาน ปรม สุข ความว่า เพราะพระนิพพาน

นั้น เป็นสุขอย่างยอด คืออย่างสูงสุดกว่าสุขทั้งหมด.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 377

๖. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล [๑๖๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเจ้า

ปเสนทิโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อาโรคฺยปรมา ลาภา " เป็น

ต้น.

พระราชาเสวยพระกระยาหารจุ

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระราชาเสวยพระกระยาหารตั้ง

ทะนานแห่งข้าวสาร ด้วยสูปะและพยัญชนะอันสมควรแก่พระกระยาหาร

นั้น. วันหนึ่ง ท้าวเธอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ยังไม่บรรเทาความ

เมาเพราะภัตเลย เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา มีพระรูปอึดอัด ทรง

พลิกกลับไปมาข้างโน้นข้างนี้อยู่ แม้ถูกความหลับครอบงำ เมื่อไม่

สามารถจะทรงผทมตรงได้ จึงประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น

พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร พระองค์ยังไม่ทันพักผ่อนเลย

เสด็จมาแล้วหรือ ? "

พระราชา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ตั้งแต่เวลาบริโภคแล้วหม่อมฉัน

มีทุกข์มาก.

อุบายแก้การบริโภคอาหารจุ

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร การบริโภค

มากเกินไป เป็นทุกข์อย่างนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสสอนด้วยพระคาถานี้ว่า :-

" ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินจุ มักง่วง และมัก

นอนหลับ กระสับกระส่าย เป็นดุจสุกรใหญ่ที่เขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 378

เลี้ยงด้วยอาหาร, ในกาลนั้น เขาเป็นคนมึนซึม ย่อม

เข้าห้องบ่อย ๆ."

แล้วตรัสว่า " มหาบพิตร การบริโภคโภชนะแต่พอประมาณ จึงควร,

เพราะผู้บริโภคพอประมาณ ย่อมมีความสุข " เมื่อจะทรงโอวาทให้ยิ่ง จึง

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" คนมีสติทุกเมื่อ รู้ประมาณในโภชนะที่ได้แล้ว

นั้น มีเวทนาเบาบาง, (อาหารที่บริโภคแล้ว) เลี้ยง

อายุอยู่ ค่อย ๆ ย่อยไป "

พระราชาไม่อาจจะทรงเรียนพระคาถาได้. แต่ตรัสกะเจ้าหลานชื่อ

สุทัสนะ ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ว่า " พ่อ เธอจงเรียนคาถานี้. " สุทัสนะนั้น

ทรงเรียนคาถานั้นเเล้ว ทูลถามพระศาสดาว่า " ข้าพระองค์จะกระทำ

อย่างไร พระเจ้าข้า ? " ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " เมื่อพระ-

ราชาเสวยอยู่ ท่านพึงกล่าวคาถานี้ในกาลเสวยก้อนที่สุด, พระราชาทรง

กำหนดเนื้อความได้เเล้ว จักทรงทิ้งก้อนข้าวนั้น, ในการหุงภัตเพื่อพระ-

ราชา เธอพึงให้ลดข้าวสารมีประมาณเท่านั้น ด้วยอันนับเมล็ดข้าวในก้อน

ข้าวนั้น. " สุทัสนะนั้นทูลรับว่า " ดีละ พระเจ้าข้า เมื่อพระราชาเสวย

เวลาเช้าก็ตาม เวลาเย็นก็ตาม ก็กล่าวคาถานั้นขึ้น ในการเสวยก้อน

สุดท้าย แล้วให้ลดข้าวสาร ด้วยอันนับเมล็ด ในก้อนข้าวที่พระราชานั้น

ทรงทิ้ง. แม้พระราชาทรงสดับคาถาของสุทัสนะนั้นแล้ว รับสั่งให้พระ-

ราชทานทรัพย์ครั้งละพัน.

๑. แปลกันมาอย่างนี้. คือเติม ภุตฺตาหาโร เป็นประธาน แต่น่าจะหมายความว่า....... มีโรค

ภัยไข้เจ็บน้อย, เขาแก่ช้าอายุยืน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 379

พระราชาลดพระกระยาหารได้แล้ว

โดยสมัยอื่นอีก พระราชานั้นทรงตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีพระกระยา-

หารแห่งข้าวสารทะนานหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ทรงถึงความสุขแล้ว ได้มีพระ-

สรีระอันเบา.

ภายหลังวันหนึ่ง ท้าวเธอเสด็จไปสำนักพระศาสดา ถวายบังคม

พระศาสดาแล้วทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ความสุขเกิดแก่

หม่อมฉันแล้ว หม่อมฉันเป็นผู้สามารถ จะติดตามจับเนื้อก็ได้ ม้าก็ได้,

เมื่อก่อนหม่อมฉันมีการยุทธ์กับหลาน; บัดนี้หม่อมฉันให้ธิดาชื่อว่าวชิร-

กุมารีแก่หลานแล้ว ให้บ้านนั้น ทำให้เป็นค่าน้ำอาบของธิดานั้นนั่นแล.

ความทะเลาะกับหลานนั้นสงบแล้ว, สุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อมฉัน เพราะ

เหตุแม้นี้. เเม้เเก้วมณีของพระเจ้ากุสะ ซึ่งหายไปแล้วในเรือนของหม่อม-

ฉันในวันก่อน; บัดนี้แก้วมณีแม้นั้นมาสู่เงื้อมมือแล้ว, ความสุขแท้เกิด

แล้วแก่หม่อมฉัน เพราะเหตุแม้นี้, หม่อมฉันปรารถนาความคุ้นเคยกับ

เหล่าสาวกของพระองค์ จึงทำแม้ธิดาแห่งญาติของพระองค์ไว้ในเรือน,

ความสุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อนฉัน เพราะเหตุเเม้นี้. " พระศาสดาตรัสว่า

" มหาบพิตร ชื่อว่าความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง, ทรัพย์แม้เช่นกับ

ความเป็นผู้สันโดษ ด้วยวัตถุตามที่ตนได้แล้ว ไม่มี, ชื่อว่าญาติเช่นกับ

ด้วยผู้คุ้นเคยกัน ไม่มี, ชื่อว่าความสุขอย่างยิ่ง เช่นกับด้วยพระนิพพาน

ไม่มี " จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๖. อาโรคฺยปรมา ลาภา สนฺตุฏฺิปรม ธน

วิสฺสาสปรมา าติ นิพฺพาน ปรม สุข.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 380

" ลาภทั้งหลาย มีความไม่มีโรค เป็นอย่างยิ่ง,

ทรัพย์มีความสันโดษ เป็นอย่างยิ่ง, ญาติมีความ

คุ้นเคย เป็นอย่างยิ่ง, พระนิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาโรคฺยปรมา ความว่า มีความเป็นผู้

ไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง. จริงอยู่ ลาภทั้งหลาย แม้มีอยู่แก่คนมีโรค ไม่จัด

เป็นลาภแท้, เพราะฉะนั้น ลาภทั้งปวงจึงมาถึงแก่คนไม่มีโรคเท่านั้น; เหตุ

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " อาโรคฺยปรมา ลาภา. "

บาทพระคาถาว่า สนฺตุฏฺปรม ธน ความว่า ภาวะคืออันยินดี

ด้วยวัตถุที่ตนได้เเล้วซึ่งเป็นของมีอยู่แห่งตน ของคฤหัสถ์หรือบรรพชิต

นั่นแล ชื่อว่าสันโดษ, สัน โดษนั้น เป็นทรัพย์อันยิ่งกว่าทรัพย์ที่เหลือ.

บาทพระคาถาว่า วิสฺสาสปรมา าตี ความว่า มารดาก็ตาม บิดา

ก็ตามจงยกไว้. ไม่มีความคุ้นเคยกับคนใด. คนนั้นไม่ใช่ญาติแท้: แต่มี

ความคุ้นเคยกับคนใด, คนนั่นแม้ไม่เนื่องกัน ก็ชื่อว่าเป็นญาติอย่างยิ่ง

คืออย่างสูง; เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " วิสฺสาสปรมา

าตี. "

อนึ่ง ชื่อว่าความสุข เหมือนพระนิพพาน ไม่มี, เหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " นิพฺพาน ปรม สุข."

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล จบ.

๑ . บาลีเป็น าติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 381

๗. เรื่องพระติสสเถระ [๑๖๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเมืองไพศาลี ทรงปรารภภิกษุรูปใด

รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปริเวกรส " เป็นต้น.

ได้ทราบข่าวปรินิพพานแล้วบำเพ็ญสมณธรรม

ความพิสดารว่า เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลายโดยเดือน ๔ เดือน

จากนี้ เราจักปรินิพพาน. " ภิกษุ ๗๐๐ ในสำนักของพระศาสดาถึงความ

สะดุ้งแล้ว. ธรรมสังเวชเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพทั้งหลาย. ภิกษุปุถุชน

ทั้งหลายไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาได้. ภิกษุทั้งหลายเป็นพวก ๆ เที่ยว

ปรึกษากันว่า " พวกเราจักทำอย่างไรหนอ ? " ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง

ชื่อว่าติสสเถระคิดว่า " ได้ยินว่า พระศาสดาจักปรินิพพาน โดยล่วงไป

๔ เดือน ก็เราเป็นผู้มีราคะยังไม่ไปปราศ, เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์

อยู่นั่นแหละ, เราควรถือเอาพระอรหัต (ให้ได้)" แล้วจึงอยู่ผู้เดียวเท่านั้น

ในอิริยาบถ ๔. การไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย หรือการสนทนาปราศรัย

กับผู้ใดผู้หนึ่ง ย่อมไม่มี. ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า" คุณติสสะ

เหตุไร ? คุณจึงทำอย่างนี้. " ท่านไม่ฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุ

เหล่านั้น กราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระติสสเถระไม่มีความรักในพระองค์. " พระศาสดา

๑. น่าจะเป็น ๓ เดือน แต่ว่าในที่นี้เห็นจะนับโดยเดือน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 382

รับสั่งให้หาท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า " ติสสะ เหตุไร ? เธอจึงทำอย่างนี้. "

เมื่อท่านกราบทูลความประสงค์ของตนแล้ว ประทานสาธุการว่า " ดีละ

ติสสะ " แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความรักในเรา จงเป็นเหมือน

ติสสะเถิด; แม้คนกระทำการบูชาอยู่ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็น

ต้น ไม่ชื่อว่าบูชาเราเลย, แต่คนผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั่นแหละ

ชื่อว่าบูชาเรา. " แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๗. ปวิเวกรส ปิตฺวา รส อุปสมสฺส จ

นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป ธมฺมปีติรส ปิว.

" บุคคลดื่มรสอันเกิดแต่วิเวกและรสพระนิพพาน

เป็นที่เข้าไปสงบ ดื่มรสปีติอันเกิดแต่ธรรม ย่อมเป็น

ผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิเวกรส ความว่า ซึ่งรสอันเกิดแล้ว

แต่วิเวก, อธิบายว่า ซึ่งความสุขอันเกิดแต่ความเป็นผู้เดียว.

บทว่า ปิตฺวา ความว่า ดื่มแล้วด้วยความสามารถแห่งอันเป็นผู้ทำกิจ

มีอันกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น ทำให้แจ้งโดยความเป็นอารมณ์.

บาทพระคาถาว่า รส อุปสมสฺส จ ความว่า ดื่มแล้วซึ่งรสแห่ง

พระนิพพาน อันเป็นที่เข้าไปสงบกิเลสด้วย.

สองบทว่า นิทฺทโร โหติ ความว่า ภิกษุผู้ขีณาสพ ชื่อว่าเป็นผู้

ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีบาป เพราะความไม่มีความกระวน

กระวาย คือราคะเป็นต้นในภายใน เพราะดื่มรสทั้งสองอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 383

สองบทว่า รส ปิว ความว่า แม้เมื่อดื่มรสแห่งปีติ อันเกิดขึ้นแล้ว

ด้วยสามารถแห่งโลกุตรธรรม ๙ ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย และ

ไม่มีบาป.

ในกาลจบเทศนา พระติสสเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว. เทศนาได้

มีประโยชน์แม้แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระติสสเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 384

๘. เรื่องท้าวสักกะ [๑๖๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเวฬุวคาม ทรงปรารภท้าวสักกะ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สาหุ ทสฺสน " เป็นต้น.

ความพิสดารว่า ท้าวสักกเทวราชทรงทราบความที่พระอาพาธ มี

อันแล่นไปแห่งพระโลหิตเป็นสมุฏฐาน เกิดขึ้นแล้วแก่พระตถาคต ใน

เมื่อพระองค์ทรงปลงอายุสังขารแล้ว ทรงดำริว่า " การที่เราไปสู่สำนัก

ของพระศาสดาแล้ว ทำคิลานุปัฏฐากย่อมควร " ทรงละอัตภาพประมาณ

๓ คาวุตเสีย เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทรงนวดพระบาทด้วย

พระหัตถ์ทั้งสอง, ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสกะท้าวสักกะนั้นว่า " นั่นใคร ? "

ท้าวสักกะ. ข้าพระองค์ คือท้าวสักกะ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ท่านมาทำไม ?

ท้าวสักกะ. มาเพื่อบำรุงพระองค์ผู้ประชวร พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ท้าวสักกะ กลิ่นมนุษย์ย่อมปรากฏแก่เทวดาทั้งหลาย

เหมือนซากศพที่ผูกไว้ที่คอ ตั้งแต่ ๑๐๐ โยชน์ขึ้นไป, ท่านจงไปเถิด,

ภิกษุผู้คิลานุปัฏฐากของเรามี.

ท้าวสักกะกราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ดำรง

อยู่ในที่สุดแห่ง ๘ หมื่น ๔ พันโยชน์ สูดกลิ่นแห่งศีลของพระองค์มา

แล้ว. ข้าพระองค์นี่แหละจักบำรุง " แล้วไม่ให้บุคคลอื่นถูกต้องภาชนะ

พระบังคนหนักของพระศาสดาแม้ด้วยมือ ทรงทูนไว้บนพระเศียรทีเดียว

๑. อาพาธลงพระโลหิต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 385

นำไปอยู่ ไม่ได้กระทำแม้อาการสักว่าการสยิ้วพระพักตร์, ได้เป็นดุจนำ

ภาชนะของหอมไป. ท้าวเธอปฏิบัติพระศาสดาอย่างนี้แล้ว ในเวลา

พระศาสดามีความสำราญนั่นแหละ จึงได้เสด็จไป.

ภิกษุสรรเสริญท้าวสักกะ

ภิกษุประชุมพูดกันขึ้นว่า " น่าสรรเสริญ ท้าวสักกเทวราชมีความ

สิเนหาในพระศาสดา, ท้าวเธอทรงละทิพยสมบัติ เห็นปานฉะนี้เสีย ทรง

นำภาชนะสำหรับรองพระบังคนหนักของพระศาสดาออกไปด้วยพระเศียร

หาทรงทำพระอาการมาตรว่าสยิ้วพระพักตร์ไม่ ดุจบุรุษผู้นำภาชนะอัน

เต็มด้วยของหอมออกไปอยู่ฉะนั้น ได้ทรงกระทำอุปัฏฐากแล้ว " พระศาสดา

ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอพูดอะไรกัน ? " ครั้นภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า "

จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ข้อซึ่งท้าวสักกเทวราชทำสิเนหาในเรานั้น

ไม่น่าอัศจรรย์. เพราะท้าวสักกเทวราชนี้ ฟังธรรมเทศนาแล้วเป็นโสดาบัน

ละความเป็นท้าวสักกะชรา ถึงความเป็นท้าวสักกะหนุ่ม เหตุอาศัยเรา;

แท้จริงเมื่อท้าวเธอเสด็จนั่งในท่ามกลางเทพบริษัท ณ อินทสาลคูหา ใน

กาลเมื่อตนถูกมรณภัยคุกคาม ทำคนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะข้างหน้า

เสด็จมา เราได้กล่าวว่า :-

" ดูก่อนท้าววาสวะ ท่านจงถามปัญหากะเรา,

ท่านปรารถนาปัญหาข้อใดข้อหนึ่งในพระหฤทัย เรา

จะทำที่สุดแห่งปัญหานั้น ๆ ของท่านได้แน่แท้ "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 386

เมื่อจะบรรเทาความสงสัยของท้าวเธอ จึงได้เเสดงธรรมเทศนา, ใน

กาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ทั้งหลายประมาณ ๑๔ โกฎิ. ส่วน

ท้าวสักกเทวราชบรรลุโสดาปัตติผล ตามที่ประทับนั่งแล้วนั่นเอง เป็น

ท้าวสักกะหนุ่มแล้ว; เรามีอุปการะเป็นอันมากแก่ท้าวสักกเทวราชนั้น ด้วย

ประการอย่างนี้, ชื่อว่าความสิเนหาในเราของท้าวสักกเทวราชนั้น ไม่น่า

อัศจรรย์; ภิกษุทั้งหลาย ก็การพบเห็นเหล่าอริยบุคคลก็ดี การอยู่

ณ ที่เดียวกันกับเหล่าอริยบุคคลก็ดี ให้เกิดสุข, แต่ว่า กิจเช่นนั้นกับพวก

คนพาล ให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น " แล้วจึงได้ทรงภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า :-

๘. สาหุ ทสฺสนมริยาน สนฺนิวาโส สทา สุโข

อทสฺสเนน พาลาน นิจฺจเม สุขี สิยา.

พาลสงฺคตจารี หิ ทีฆมทฺธาน โสจติ

ทุกฺโข พาเลหิ สวาโส อมิตฺเตเนว สพฺพทา.

ธีโร จ สุขสวาโส าตีนว สมาคโม

ตสฺมา หิ

ธีรญฺจ ปญฺญฺจ พหุสฺสุตญฺจ

โธรยฺหสีล วตวนฺตมริย

ต ตาทิส สปฺปุริส สุเมธ

ภเชถ นกฺขตฺตปถว จนฺทิมา.

" การพบเห็นเหล่าอริยบุคคล เป็นการดี, การอยู่

ร่วม (ด้วยเหล่าอริยบุคคล) ให้เกิดสุขทุกเมื่อ, บุคคล

พึงเป็นผู้มีสุข เป็นนิตย์แท้จริง เพราะไม่พบเห็น

พวกคนพาล, เพราะว่า คนเที่ยวสมาคมกับคนพาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 387

ย่อมโศกเศร้าตลอดกาลยืดยาวนาน, ความอยู่ร่วมกับ

พวกคนพาลให้เกิดทุกข์เสมอไป เหมือนความอยู่ร่วม

ด้วยศัตรู, ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็นสุข เหมือน

สมาคมเเห่งญาติ. เพราะฉะนั้น แล

ท่านทั้งหลาย จงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์ และมี

ปัญญาทั้งเป็นพหุสูต นำธุระไปเป็นปกติ มีวัตร เป็น

อริยบุคคล เป็นสัตบุรุษมีปัญญาดี เช่นนั้น เหมือน

พระจันทร์ ซ่องเสพคลองแห่งนักขัตฤกษ์ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาหุ ได้แก่ เป็นการยังประโยชน์

ให้สำเร็จ คือว่าเป็นความงาม ได้แก่กรรมอันเจริญ.

บทว่า สนฺนิวาโส ความว่า หาใช่เพียงการพบพระอริยบุคคล

เหล่านั้นอย่างเดียวเป็นการดีไม่ ถึงความเป็น คือเป็นต้นว่าความนั่งร่วม

กับพระอริยบุคคลเหล่านั้น ณ ที่เดียวกันก็ดี ความเป็นคืออันได้เพื่อจะ

กระทำวัตรและปฏิวัตรแก่พระอริยบุคคลเหล่านั้นก็ดี เป็นการดีโดยแท้.

บทว่า พาลสงฺคตจารี หิ ความว่า เพราะผู้ใดเที่ยวร่วมกับคนพาล.

ประชุมบทว่า ทีฆมทฺธาน เป็นต้น ความว่า ผู้นั้นถูกสหายพาล

พูดว่า " เจ้าจงมา, พวกเราจะกระทำกรรม มีอันตัดต่อเป็นต้น " เป็น

ผู้ร่วมฉันทะกับสหายพาลนั้น กระทำกรรมเหล่านั้นต้องกรรมกรณ์หลาย

อย่าง มีถูกตัดมือเป็นต้น ชื่อว่าย่อมโศกเศร้าสิ้นกาลยาวนาน.

บทว่า สพฺพทา ความว่า ขึ้นชื่อว่าการอยู่ ณ ที่เดียวกัน กับผู้เป็น

ศัตรูมีมือถือดาบก็ดี พวกสัตว์ร้ายมีอสรพิษเป็นต้นก็ดี ให้เกิดทุกข์เป็นนิตย์

ฉันใด, การอยู่ร่วมกับคนพาล (ก็) ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 388

ในบาทพระคาถาว่า ธีโร จ สุขสวาโส นี้ มีวิเคราะห์ว่า การ

อยู่ร่วมด้วยปราชญ์นั้น เป็นสุข เหตุนั้นจึงชื่อว่า มีการอยู่ร่วมให้เกิดสุข,

อธิบายว่า การอยู่ ณ ที่เดียวกันกับด้วยบัณฑิตให้เกิดสุข.

ถามว่า " การอยู่ร่วมด้วยปราชญ์ ให้เกิดสุขอย่างไร ? " แก้ว่า

" เหมือนสมาคมแห่งหมู่ญาติฉะนั้น, " อธิบายว่า การสมาคมแห่งหมู่ญาติ

อันเป็นที่รักให้เกิดสุขฉันใด ; การอยู่ร่วมด้วยปราชญ์ให้เกิดสุขฉันนั้น.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการอยู่ร่วมกับคนพาลให้เกิดทุกข์,

กับด้วยบัณฑิตให้เกิดสุข; ฉะนั้นแล ท่านทั้งหลายจงคบหา คือว่าเข้าไป

นั่งใกล้ ท่านที่เป็นปราชญ์สมบูรณ์ด้วยปัญญา และผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา

เป็นโลกิยะและโลกุตระ ซึ่งชื่อว่าผู้มีปัญญา และผู้ถึงพร้อมด้วยอาคมและ

อธิคมที่ชื่อว่าพหุสูต ผู้ชื่อว่านำธุระไปเป็นปกติ เพราะความเป็นผู้มีอันนำ

ธุระไปเป็นปกติ คือให้ถึงพระอรหัต ผู้ชื่อว่ามีวัตร เพราะวัตรคือศีล

และวัตรคือธุดงค์ ผู้ชื่อว่าอริยะ เพราะความเป็นผู้ไกลจากกองกิเลส

ผู้สัตบุรุษ ผู้มีปัญญางามเห็นปานนั้น, เหมือนพระจันทร์ซ่องเสพอากาศ

ที่กล่าวกันว่าคลองเเห่งนักขัตฤกษ์ อันไม่มัวหมองฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา คนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้นแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องท้าวสักกะ จบ.

สุขวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๕ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 389

คาถาธรรม

ปิยวรรคที่ ๑๖

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นที่รัก

[๒๖] ๑. บุคคลประกอบตนไว้ในสิ่งอันไม่ควรประกอบ

และไม่ประกอบไว้ในสิ่งอันควรประกอบ ละเสียแล้ว

ซึ่งประโยชน์ ถือเอาอารมณ์อันเป็นที่รัก ย่อมทะเยอ

ทะยานต่อบุคคลผู้ตามประกอบตน บุคคลอย่าสมาคม

กับสัตว์และสังขารทั้งหลายอันเป็นที่รัก (และ) ไม่

เป็นที่รักในกาลไหน ๆ (เพราะว่า) การไม่เห็นสัตว์

และสังขารอันเป็นที่รัก และการเห็นสัตว์และสังขาร

อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่พึง

กระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก เพราะความพราก

จากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก เป็นการต่ำทราม

กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ของเหล่าบุคคลผู้ไม่มี

อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ย่อมไม่มี.

๒. ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก ภัยย่อมเกิด

แต่ของที่รัก ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้ปลดเปลื้องได้

จากของที่รัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน.

๓. ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก ภัยย่อมเกิด

แต่ความรัก ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้วจาก

ความรัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน.

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๙ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 390

๔. ความโศกย่อมเกิดแต่ความยินดี ภัยย่อม

เกิดแต่ความยินดี ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษ

แล้วจากความยินดี ภัยจักมีแต่ที่ไหน

๕. ความโศกย่อมเกิดแต่กาม ภัยย่อมเกิดแต่

กาม ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้วจาก

กาม ภัยมีภัยแต่ที่ไหน.

๖. ความโศกย่อมเกิดเพราะตัณหา ภัยย่อมเกิด

เพราะตัณหา ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้ว

จากตัณหา ภัยจักมีแต่ที่ไหน.

๗. ชนย่อมทำท่านผู้สนบูรณ์ด้วยศีลและทัสสนะ

ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้มีปกติกล่าวแต่วาจาสัตย์ ผู้กระทำ

การงานของตนนั้นให้เป็นที่รัก.

๘. ภิกษุผู้มีฉันทะเกิดแล้ว ในพระนิพพาน

อันใคร ๆ บอกไม่ได้ พึงเป็นผู้อันใจถูกต้องแล้วก็ดี

ผู้มีจิตไม่เกาะเกี่ยวในกามทั้งหลายก็ดี ท่านเรียกว่า

ผู้มีกระแสในเบื้องบน.

๙. ญาติ มิตร และคนมีใจดีทั้งหลาย เห็นบุรุษ

ผู้ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน มาแล้วแต่ที่ไกลโดยสวัสดี

ย่อมยินดียิ่งว่ามาแล้ว ฉันใด บุญทั้งหลายก็ย่อม

ต้อนรับแม้บุคคลผู้กระทำบุญไว้ ซึ่งจากโลกนี้สู่โลก

หน้า ดุจพวกญาติเห็นญาติที่รักมาแล้วต้อนรับอยู่

ฉันนั้น.

จบปิยวรรคที่ ๑๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 391

๑๖. ปิยวรรควรรณนา

๑. เรื่องบรรพชิต ๓ รูป [๑๖๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบรรพชิต

๓ รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อโยเค ยุญฺชมตฺตาน " เป็นต้น

ตระกูลที่มีลูกชายคนเดียวและหนีไปบวช

ได้ยินว่า มารดาบิดาในตระกูล ในกรุงสาวัตถี ได้มีบุตรน้อย

คนเดียวเท่านั้น เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจ. วันหนึ่งบุตรน้อยนั้นฟังธรรมกถา

ของพวกภิกษุที่นิมนต์มาในเรือน ทำอนุโมทนาอยู่ อยากจะบวช จึงขอ

บวชกะมารดาบิดา. มารดาบิดาเหล่านั้นไม่อนุญาต ครั้งนั้นเขาได้มีความ

คิดขึ้นว่า " เมื่อมารดาบิดาไม่เห็นนั่นแล เราจัก (ออก) ไปข้างนอก

แล้วบวชเสีย, " ต่อมา บิดาของเขาเมื่อจะออกไปข้างนอก ได้มอบหมาย

กะมารดาว่า " เธอพึงรักษาบุตรน้อยนี้, " มารดาเมื่อจะออกไปข้างนอก

ก็มอบหมายกะบิดา (เช่นกัน).

ภายหลังวันหนึ่ง เมื่อบิดาของเขาไปข้างนอก มารดาตั้งใจว่า

" จักรักษาบุตร " พิงบานประตูข้างหนึ่ง (อีก) ข้างหนึ่งเอาเท้าทั้งสอง

ยันไว้แล้ว นั่งลงที่แผ่นดินปั่นด้ายอยู่.

เขาคิดว่า " เราจักลวงมารดานี้ แล้ว (หนี) ไป " ดังนี้แล้ว กล่าวว่า

" แม่จ๋า หลีกฉันหน่อยก่อนเถิด, ฉันจักถ่ายอุจจาระ " ครั้นมารดานั้น

หดเท้าแล้ว, ก็ออกไปสู่วิหารโดยเร็ว เข้าไปหาภิกษุทั้งหลาย อ้อนวอนว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 392

" ท่านผู้เจริญ ขอท่านบวชให้ผมเถิด " แล้วบรรพชาในสำนักของภิกษุ

เหล่านั้น.

บิดาออกบวชตามบุตร

ลำดับนั้น บิดาของเขา (กลับ) มาแล้ว ถามมารดาว่า " ลูกของ

เราไปไหน ? " มารดาตอบว่า " นาย เมื่อกี้นี้อยู่ที่นี่ " บิดานั้นก็ค้นดู

เพื่อรู้ว่า " บุตรของเราอยู่ที่ไหนหนอแล ? " ไม่เห็นเขาแล้ว " คิดว่า

ลูกของเราจักไปวิหาร " จึงไปสู่วิหารแล้ว เห็นบุตรบวชแล้ว คร่ำครวญ

ร้องไห้แล้ว กล่าวว่า " พ่อ ทำไมเจ้าจึงทำให้เราพินาศ ? " ดังนี้แล้ว

คิดว่า " ก็เมื่อบุตรของเราบวชแล้ว บัดนี้ เราจักทำอะไรในเรือน "

ดังนี้ ตนเองก็บวชแล้วในสำนักของภิกษุทั้งหลาย.

มารดาออกบวชตามบุตรและสามี

ลำดับนั้น มารดาของเขาคิดว่า " ทำไมหนอ ลูกและผัวของเรา

จึงชักช้าอยู่, จักไปวิหารบวชเสียแล้วกระมัง ? " มองหาชนทั้งสองนั้น

พลางไปวิหารเห็นชนแม้ทั้งสองบวชแล้ว คิดว่า " ประโยชน์อะไร ด้วย

เรือนของเรา ในกาลแห่งชนทั้งสองนี้บวชแล้ว ? " แม้ตนเอง ก็ไปสู่

สำนักภิกษุณี บวชแล้ว.

ชนทั้งสามแม้บวชก็ยังคลุกคลีกัน

ชนทั้งสามนั้นแม้บวชแล้ว ก็ไม่อาจแยกกันอยู่ได้. นั่งสนทนา

รวมกันเทียว ปล่อยวันให้ล่วงไปทั้งในวิหาร ทั้งในสำนักภิกษุณี. เหตุนั้น

ทั้งพวกภิกษุ ทั้งพวกภิกษุณี จึงเป็นอันถูกเบียดเบียนแล้ว. ต่อมาวันหนึ่ง

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลการกระทำของชนทั้งสามนั้น แด่พระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 393

พระศาสดาตรัสเรียกมาเตือน

พระศาสดา รับสั่งให้เรียกชนทั้งสามนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า

" ได้ยินว่า พวกเธอทำอย่างนั้นจริงหรือ ? " เมื่อชนเหล่านั้นทูลว่า " จริง

พระเจ้าข้า, " ตรัสถามว่า " ทำไม พวกเธอจึงทำอย่างนั้น ? เพราะว่า

นั่นไม่ใช่ความเพียรของพวกบรรพชิต. "

ชนทั้งสามกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ไม่อาจจะอยู่

แยกกัน." พระศาสดาตรัสว่า " ชื่อว่าการทำอย่างนั้น จำเดิมแต่กาลแห่งตน

บวชแล้ว ไม่ควร, เพราะว่า การไม่เห็นสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก และ

การเห็นสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์โดยแท้; เหตุนั้น การ

ทำบรรดาสัตว์และสังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นที่รัก หรือไม่

ให้เป็นที่รัก ย่อมไม่สมควร " ดังนี้แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๑. อโยเค ยุญฺชมตฺตาน โยคสฺมิญฺจ อโยชย

อตฺถ หิตฺวา ปิยคฺคาหี ปิเหตตฺตานุโยคิน.

มา ปิเยหิ สมาคญฺฉิ อปฺปิเยหิ กุทาจน

ปิยาน อทสฺสน ทุกฺข อปฺปิยานญฺจ ทสฺสน

ตสฺมา ปิย น กยิราถ ปิยาปาโย หิ ปาปโก

คนฺถา เตส น วิชฺชนฺติ เยส นตฺถิ ปิยาปฺปิย.

" บุคคล ประกอบตนไว้ในสิ่งอันไม่ควรประกอบ

และไม่ประกอบไว้ในสิ่งอันควรประกอบ ละเสียแล้ว

ซึ่งประโยชน์ ถือเอาอารมณ์อันเป็นที่รัก ย่อมทะเยอ

ทะยาน ต่อบุคคลผู้ตามประกอบตน, บุคคลอย่า

สมาคมกับสัตว์และสังขารทั้งหลาย อันเป็นที่รัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 394

(และ)อันไม่เป็นที่รักในกาลไหน ๆ, (เพราะว่า) การ

ไม่เห็นสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก และการเห็นสัตว์

และสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์; เพราะเหตุนั้น

บุคคลไม่พึงกระทำสัตว์หรือสังขาร ให้เป็นที่รัก.

เพราะความพรากจากสัตว์ และสังขารอันเป็นที่รักเป็น

การต่ำทราม. กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ของ

เหล่าบุคคลผู้ไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก

ย่อมไม่มี."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยเค ความว่า ในสิ่งอันไม่ควรประกอบ

คือการทำในใจโดยไม่แยบคาย. อธิบายว่า ก็การเสพอโคจร ๖ อย่าง

ต่างโดยอโคจรมีอโคจรคือหญิงแพศยาเป็นต้น ชื่อว่าการทำในใจโดยไม่

แยบคายในที่นี้. บุคคลประกอบตนในการทำในใจโดยไม่แยบคายนั้น.

บทว่า โยคสฺมึ ความว่า และไม่ประกอบ (ตน)ในโยนิโสมนสิการ

อันผิดแผกจากอโยนิโสมนสิการนั้น.

สองบทว่า อตฺถ หิตฺวา ความว่า หมวด ๓ แห่งสิกขามีอธิสีลสิกขา

เป็นต้น จำเดิมแต่กาล [แห่งตน] บวชแล้ว ชื่อว่าประโยชน์. ละเสียแล้ว

ซึ่งประโยชน์นั้น.

บทว่า ปิยคฺคาหี ความว่า ถือเอาอยู่ซึ่งอารมณ์อันเป็นที่รักกล่าว

คือกามคุณ ๕ เท่านั้น.

บทว่า ปิเหตตฺตานุโยคิน ความว่า บุคคลเคลื่อนแล้วจากศาสนา

เพราะความปฏิบัตินั้น ถึงความเป็นคฤหัสถ์แล้ว ภายหลังย่อมทะเยอทะยาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 395

ต่อบุคคลทั้งหลาย ผู้ตามประกอบตน ยังคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้นให้ถึง

พร้อมแล้ว. สักการะจากสำนักเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คือย่อมปรารถนา

ว่า " โอหนอ แม้เราก็พึงเป็นผู้เช่นนี้. "

บทว่า มา ปิเยหิ ความว่า บุคคลไม่พึงสมาคมด้วยสัตว์หรือสังขาร

ทั้งหลายอันเป็นที่รัก ในกาลไหนๆ คือแม้ชั่วขณะหนึ่ง, สัตว์หรือสังขาร

ทั้งหลายอันไม่เป็นที่รัก ก็เหมือนกัน. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า

เพราะว่าการไม่เห็นสัตว์และสังขารทั้งหลายอันเป็นที่รัก ด้วยอำนาจความ

พลัดพราก และการเห็นสัตว์และสังขารทั้งหลายอันไม่เป็นที่รัก ด้วยอำนาจ

เข้าไปใกล้ เป็นทุกข์.

บทว่า ตสฺมา ความว่า และการเห็นและไม่เห็นทั้งสองนี้เป็นทุกข์.

เหตุนั้น บุคคลไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารไร ๆ ให้เป็นที่รักเลย.

ความไปปราศ คือความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารทั้งหลาย อัน

เป็นที่รัก ชื่อว่า ปิยาปาโย. บทว่า ปาปโก ได้แก่ ลามก.

บาทพระคาถาว่า คนฺถา เตส น วิชฺชนฺติ ความว่า ชนเหล่าใด

มีอารมณ์เป็นที่รัก. ชนเหล่านั้น ย่อมละกิเลสเครื่องร้อยรัดทางกายคือ

อภิชฌาเสียได้. ชนเหล่าใด ไม่มีอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก. ชนเหล่านั้น

ย่อมละกายคันถะคือพยาบาทเสียได้ ก็เมื่อละกิเลส ๒ อย่างนั้นได้แล้ว แม้

กิเลสเครื่องร้อยรัดที่เหลือ ก็เป็นอันชื่อว่าละได้เเล้ว (เหมือนกัน); เหตุนั้น

บุคคลไม่พึงทำอารมณ์ให้เป็นที่รักหรือไม่ให้เป็นที่รัก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 396

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น. ฝ่ายชนทั้งสามนั้นคิดว่า " พวกเราไม่อาจอยู่พรากกัน

ได้ " ดังนี้แล้วได้สึกไปสู่เรือนตามเดิม ดังนี้แล.

เรื่องบรรพชิต ๓ รูป จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 397

๒. เรื่องกุฎุมพีคนใดคนหนึ่ง [๑๖๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภกุฎุมพีคนใด

คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้วา " ปิยโต ชายตี " เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จไประงับความโศกของพราหมณ์

ความพิสดารว่า กุฏุมพีนั้น ครั้นบุตรของตนทำกาละแล้ว. อัน

ความโศกถึงบุตรครอบงำ ไปสู่ป่าช้า ร้องไห้อยู่, ไม่อาจที่จะหักห้าม

ความโศกถึงบุตรได้.

พระศาสดาทรงพิจารณาดูสัตว์โลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัย

โสดาปัตติมรรคของกุฎุมพีนั้น กลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้ทรงพาภิกษุผู้

เป็นปัจฉาสมณะรูปหนึ่ง เสด็จไปประตูเรือนของกุฎุมพีนั้น กุฎุมพีนั้น

ได้ฟังความที่พระศาสดาเสด็จมา คิดว่า " พระศาสดาจักทรงประสงค์เพื่อ

ทำปฏิสันถารกับด้วยเรา " จึงอัญเชิญพระศาสดาให้เสด็จไปสู่เรือน ปู

อาสนะไว้ในท่ามกลางเรือน เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว, ก็มาถวาย

บังคมเเล้วนั่ง ส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามกุฎุมพีนั้นว่า " อุบาสก ท่านต้อง

ทุกข์เพราะเหตุอะไรหนอแล ? " เมื่อกุฎุมพีนั้น กราบทูลทุกข์เพราะพลัด

พรากจากบุตรแล้ว. ตรัสว่า " อย่าคิดเลย อุบาสก. ชื่อว่าความตายนี้

มิใช่มีอยู่ในที่เดียว. และมิใช่มีจำเพาะแก่บุคคลผู้เดียว, ก็ชื่อว่าความเป็น

ไปแห่งภพ ยังมีอยู่เพียงใด. ความตายก็ย่อมมีแก่สรรพสัตว์เพียงนั้น

เหมือนกัน; แม้สังขารอันหนึ่ง ที่ชื่อว่าเที่ยงย่อมไม่มี; เพราะเหตุนั้น

๑. โบราณว่า ชายเต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 398

ท่านพึงพิจารณาโดยอุบายอันแยบคายว่า ' ธรรมชาติมีความตายเป็นธรรมดา

ตายเสียแล้ว, ธรรมชาติมีความแตกเป็นธรรมดา แตกเสียแล้ว,' ไม่พึง

เศร้าโศก; เพราะว่าโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ในกาลที่ลูกรักตายแล้ว

พิจารณาว่า ' ธรรมชาติมีความตายเป็นธรรมดา ตายเสียแล้ว. ธรรมชาติ

มีความแตกเป็นธรรมดา แตกเสียแล้ว ่ ดังนี้แล้ว ไม่ทำความเศร้าโศก

เจริญมรณัสสติอย่างเดียว " อันกุฎุมพีทูลอ้อนวอนว่า " ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ บัณฑิตพวกไหน ได้ทำแล้วอย่างนั้น; และได้ทำในกาลไร ? ขอ

พระองค์จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ " เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น

จึงทรงนำอดีตนิทานมา ยังอุรคชาดกในปัญจกนิบาตนี้ให้พิสดารว่า :-

" บุตรของเรา เมื่อสรีระใช้ไม่ได้ ละสรีระของ

ตนไป ดุจงูลอกคราบเก่าฉะนั้น, เมื่อบุตรของเราตาย

จากไปแล้ว, เขาถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ปริเทวนาการ

ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกถึงบุตร

นั่น; เขามีคติเช่นใด ก็ไปสู่คติเช่นนั้น (เอง) "

ดังนี้แล้ว จึงตรัส (ต่อไปอีก) ว่า " บัณฑิตในกาลก่อนเมื่อลูกรักทำกาละ

แล้วอย่างนั้น. ไม่ประพฤติอย่างท่าน ผู้ทอดทิ้งการงานแล้วอดอาหาร

เที่ยวร้องไห้อยู่เดี๋ยวนี้ ไม่ทำความโศก ด้วยอำนาจมรณัสสติภาวนา

รับประทานอาหาร และอธิษฐาน (ตั้งใจทำ) การงาน, เพราะฉะนั้น

ท่านอย่าคิดว่า ' ลูกรักของเรากระทำกาละแล้ว, ' แท้จริง ความโศกก็ดี

ภัยก็ดี เมื่อจะเกิดย่อมอาศัยของที่รักนั่นเองเกิด " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระ-

คาถานี้ว่า :-

๑. ขุ. ชา. อรรถกถา. ๔/๔๓๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 399

๒. ปิยโต ชายตี โสโก ปิยโต ชายตี ภย

ปิยโต วิปฺปมุตฺตสฺส นตฺถิ โสโก กุโต ภย.

" ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก, ภัย ย่อมเกิด

แต่ของที่รัก; ความโศก ย่อมไม่มีแก่ผู้ปลดเปลื้อง

ได้จากของที่รัก, ภัยจักมีแต่ไหน. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิยโต เป็นต้น ความว่า ก็ความโศก

ก็ดี ภัยก็ดี อันมีวัฏฏะเป็นมูล เมื่อจะเกิดขึ้น ย่อมอาศัยสัตว์หรือสังขาร

อันเป็นที่รักเท่านั้นเกิด, แต่ความโศกและภัยแม้ทั้งสองนั่นย่อมไม่มีแก่ผู้

ปลดเปลื้องจากสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักนั้นได้เเล้ว.

ในกาลจบเทศนา กุฎุมพีตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. เทศนาได้มี

ประโยชน์แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องกุฎุมพีคนใดคนหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 400

๓. เรื่องนางวิสาขาอุบาสิกา [๑๖๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางวิสาขา

อุบาสิกา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เปมโต ชายตี " เป็นต้น.

นางวิสาขาโศกถึงนางสุทัตตีที่ทำกาละ

ได้ยินว่า นางวิสาขานั้นตั้งกุมาริกาชื่อว่าสุทัตตี ผู้เป็นธิดาของบุตร

ไว้ในหน้าที่ของตน ให้ทำความขวนขวายแก่ภิกษุสงฆ์ในเรือน.

โดยสมัยอื่น กุมาริกานั้นได้ทำกาละแล้ว, นางวิสาขาให้ทำการฝัง

สรีระ (ศพ) นางแล้ว ไม่อาจจะอดกลั้นความโศกไว้ได้ มีทุกข์เสียใจไป

สู่สำนักพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสอุบายระงับความโศก

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า " วิสาขา ทำไมหนอเธอจึง

มีทุกข์เสียใจ มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา นั่งร้องไห้อยู่ ? " นางจึงทูลข้อความ

นั้น แล้วกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า นางกุมารีนั้นเป็นที่รักของหม่อมฉัน

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร, บัดนี้หม่อมฉันไม่เห็นใครเช่นนั้น. "

พระศาสดา. วิสาขา ก็ในกรุงสาวัตถีมีมนุษย์ประมาณเท่าไร ?

วิสาขา. พระเจ้าข้า พระองค์นั่นแหละ ตรัสแก่หม่อมฉันว่า ' ใน

กรุงสาวัตถี มีชน ๗ โกฏิ.'

พระศาสดา. ก็ถ้าชนมีประมาณเท่านี้ ๆ พึงเป็นเช่นกับหลานสาว

ของเธอไซร้ เธอพึงปรารถนาเขาหรือ ?

นางวิสาขา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 401

พระศาสดา. ก็ชนในกรุงสาวัตถีทำกาละวันละเท่าไร ?

นางวิสาขา. มาก พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เมื่อเป็นเช่นนี้ เวลาที่เธอจะเศร้าโศกก็จะไม่พึงมี

มิใช่หรือ ? เธอพึงเที่ยวร้องไห้อยู่ทั้งกลางคืนและกลางวันทีเดียวหรือ ?

นางวิสาขา. ยกไว้เถิด พระเจ้าข้า. หม่อมฉันทราบแล้ว.

ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสกะนางว่า " ถ้ากระนั้น เธออย่าเศร้า

โศก. ความโศกก็ดี ความกลัวก็ดี ย่อมเกิดแต่ความรัก " ดังนี้แล้ว

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. เปมโต ชายตี โสโก เปมโต ชายตี ภย

เปมโต วิปฺปมุตฺตสฺส นตฺถิ โสโก กุโต ภย.

" ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก ภัยย่อมเกิดแต่

ความรัก; ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้วจาก

ความรัก, ภัยจักมีแต่ไหน. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เปมโต ความว่า เพราะอาศัยความรัก

ที่ทำไว้ในบุตรและธิดาเป็นต้นนั่นเอง.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องนางวิสาขาอุบาสิกา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 402

๔. เรื่องเจ้าลิจฉวี [๑๖๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยเมืองเวสาลี ประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา

ทรงปรารภพวกเจ้าลิจฉวี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " รติยา ชายตี "

เป็นต้น.

พวกเจ้าลิจฉวีแต่งกายประกวดกัน

ได้ยินว่า ในวันมหรสพวันหนึ่ง เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ต่างองค์ต่าง

ประดับด้วยเครื่องประดับไม่เหมือนกัน ออกจากพระนครเพื่อทรงประสงค์

จะเสด็จไปอุทยาน. พระศาสดาเสด็จเข้าไปบิณฑบาต ทรงเห็นเจ้าลิจฉวี

เหล่านั้น จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอจงดูพวกเจ้าลิจฉวี, พวกที่ไม่เคยเห็นเทวดาชั้นดาวดึงส์ ก็จงดูเจ้าลิจฉวี

เหล่านี้เถิด " ดังนี้แล้ว เสด็จเข้าสู่พระนคร.

พวกเจ้าลิจฉวีวิวาทกันเพราะหญิงนครโสภิณี

แม้เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น เมื่อไปสู่อุทยาน พาหญิงนครโสภิณีคนหนึ่ง

อาศัยหญิงนั้น อันความริษยาครอบงำแล้ว ประหารกันและกัน ยังเลือด

ให้ไหลนองดุจแม่น้ำ.

ครั้งนั้น พวกเจ้าพนักงานเอาเตียงหามเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นมาแล้ว.

ฝ่ายพระศาสดา ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ก็เสด็จออกจากพระนคร. พวก

ภิกษุเห็นพวกเจ้าลิจฉวี อันเจ้าพนักงานนำไปอยู่อย่างนั้น จึงกราบทูล

พระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า พวกเจ้าลิจฉวีเมื่อเช้าตรู่ ประดับประดา

แล้วออกจากพระนครราวกะพวกเทวดา. บัดนี้อาศัยหญิงคนหนึ่งถึงความ

พินาศนี้แล้ว."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 403

พระศาสดาตรัสโทษของความยินดีในกาม

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ความโศกก็ดี ภัยก็ดี เมื่อจะ

เกิด ย่อมอาศัยความยินดีนั่นเองเกิด ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. รติยา ชายตี โสโก รติยา ชายตี ภย

รติยา วิปฺปมุตฺตสฺส นตฺถิ โสโก กุโต ภย.

" ความโศก ย่อมเกิดแต่ความยินดี ภัยย่อมเกิด

แต่ความยินดี; ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้ว

จากความยินดี. ภัยจักมีแต่ไหน. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รติยา ความว่า แต่ความยินดีใน

กามคุณ ๕ คือเพราะอาศัยความยินดีในกามคุณ ๕ นั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องเจ้าลิจฉวี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 404

๕. เรื่องอนิตถิคันธกุมาร [๑๖๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอนิตถิคันธ-

กุมาร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " กามโต ชายตี " เป็นต้น.

อนิตถิคันธกุมารให้ช่างหล่อรูปสตรี

ได้ยินว่า อนิตถิคันธกุมารนั้น เป็นสัตว์ที่จุติจากพรหมโลก เกิด

ในตระกูลมีโภคะมาก ในกรุงสาวัตถี ตั้งแต่วันเกิดมาแล้วไม่ปรารถนา

จะเข้าไปใกล้หญิง ถูกผู้หญิงจับก็ร้องไห้. มารดา (ต้อง) อุ้มกุมารนั้น

ด้วยเทริดผ้าแล้วจึงให้ดื่มนม.

กุมารนั้นเจริญวัยแล้ว เมื่อมารดาบิดากล่าวว่า " พ่อ เราจักทำ

อาวาหมงคลแก่เจ้า. " ก็ห้ามว่า " ฉันไม่มีความต้องการด้วยหญิง " เมื่อ

ถูกอ้อนวอนบ่อยเข้า จึงให้เรียกช่างทองมา ๕๐๐ คน แล้วให้ ๆ ทองคำ

มีสีสุกพันนิกขะ ให้ทำรูปหญิง บุอย่างหนา น่าเลื่อมใสยิ่งนัก, เมื่อ

มารดาบิดากล่าวอีกว่า " พ่อ เมื่อเจ้าไม่ทำอาวาหมงคล, ตระกูลวงศ์จัก

ตั้งอยู่ไม่ได้, เราจักนำกุมาริกามาให้เจ้า " ก็กล่าวว่า " ถ้ากระนั้น ถ้า

ท่านทั้งสองจะนำกุมาริกาเช่นนั้นมาให้ฉัน, ฉันจักทำตามคำของท่านทั้ง-

สอง " ดังนี้แล้ว จึงแสดงรูปทองคำนั้น.

ส่งพราหมณ์ไปหาคู่ครองบุตร

ลำดับนั้น มารดาบิดาของเขา ให้พาพวกพราหมณ์มีชื่อเสียงมา

แล้วบอกว่า " บุตรของเรามีบุญมาก, คงจักมีกุมาริกาผู้ทำบุญร่วมกับบุตร

นี้เป็นแน่; พวกท่านจงไป, จงพาเอารูปทองคำนี้ไปแล้วนำนางกุมาริกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 405

ผู้มีรูปเช่นนี้มา " ดังนี้แล้วส่ง (พราหมณ์เหล่านั้น)ไป. พราหมณ์เหล่านั้น

รับว่า " ดีละ " เที่ยวจาริกไป ไปถึงสาคลนคร ในแคว้นชื่อมัททะ.

พราหมณ์พบหญิงมีรูปดุจรูปหล่อแล้วกลับมา

ก็ในนครนั้น ได้มีกุมาริกาคนหนึ่งมีรูปสวย มีอายุรุ่นราว ๑๖ ปี.

มารดาบิดาให้นางอยู่ที่พื้นชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น พราหมณ์แม้เหล่า-

นั้นแล คิดกันว่า " ถ้าในนครนี้ จักมีกุมาริกาเห็นปานนี้, ชนทั้งหลาย

เห็นรูปทองคำนี้แล้ว ก็จักกล่าวว่า รูปจำลองนี้สวยเหมือนธิดาของตระกูล

โน้น " ดังนี้แล้ว จึงตั้งรูปทองคำนั้นไว้ริมทางไปสู่ท่าน้ำ นั่ง (คอยเฝ้า)

ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น หญิงแม่นมของกุมาริกานั้น ให้กุมาริกานั้นอาบน้ำแล้ว

ใคร่จะอาบเองบ้าง จึงไปสู่ท่าน้ำ เห็นรูปนั้นสำคัญว่า " ธิดาของเรา "

จึงกล่าวว่า " โอ แม่หัวดื้อ, เราให้เจ้าอาบน้ำแล้วออกมาเมื่อกี้นี้เอง, เจ้า

ล่วงหน้ามาที่นี่ก่อนเรา " ดังนี้แล้ว จึงตีด้วยมือ รู้ความที่รูปนั้นแข็งและ

ไม่มีวิการ จึงกล่าวว่า " เราได้ทำความเข้าใจว่า ่นางนี้เป็นธิดาของเรา

นั่นอะไรกันเล่า ? "

ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้น ถามหญิงแม่นมนั่นว่า " แม่ ธิดา

ของท่าน เห็นปานนี้หรือ ? "

หญิงแม่นม. นี้จะมีค่าอะไร ในสำนักธิดาของเรา.

พราหมณ์. ถ้ากระนั้น ท่านจงแสดงธิดาของท่าน แก่พวกเรา.

หญิงแม่นมนั้น ไปสู่เรือนพร้อมด้วยพราหมณ์ทั้งหลายนั้นแล้ว ก็

บอกแก่นาย (เจ้าบ้าน). นายทำความชื่นชมกับพวกพราหมณ์แล้ว ให้ธิดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 406

ลงมายืนอยู่ในที่ใกล้รูปทองคำ ณ ปราสาทชั้นล่าง. รูปทองคำได้เป็นรูป

หมดรัศมีแล้ว. พวกพราหมณ์ ให้รูปทองคำนั้นแก่นายนั้นแล้วมอบหมาย

กุมาริกาไว้ แล้วไปบอกแก่มารดาบิดาของอนิตถิคันธกุมาร.

คู่ครองของอนิตถิคันธกุมารตายในระหว่างทาง

มารดาบิคานั้นมีใจยินดีแล้ว กล่าวว่า " ท่านทั้งหลายจงไป, นำ

กุมาริกานั้นมาโดยเร็ว " ดังนี้แล้ว ส่งไปด้วยสักการะเป็นอันมาก.

ฝ่ายกุมาร ได้ยินข่าวนั้น ก็ยังความรักให้เกิดขึ้นด้วยสามารถการ

ได้ยินว่า " มีเด็กหญิงรูปร่างสวยยิ่งกว่ารูปทองคำอีก " จึงกล่าวว่า " ท่าน

ทั้งหลายจงนำมาโดยเร็วเถิด. " กุมาริกาเเม้นั้นแล อันเขายกขึ้นสู่ยาน นำ

มาอยู่ มีโรคลมอันความกระทบกระทั่งแห่งยานให้เกิดขึ้นแล้ว ได้ทำกาละ

ในระหว่างทางนั่นเอง เพราะความที่นางเป็นผู้ละเอียดอ่อนยิ่งนัก.

ความรักก่อให้ระทมทุกข์

แม้กุมาร ก็ถามอยู่เสมอว่า " มาแล้วหรือ ? " ชนทั้งหลายไม่บอก

แก่กุมารนั้น ซึ่งถามอยู่ด้วยความสิเนหาอันยิ่ง โดยพลันทีเดียว ทำการ

อำพรางเสีย ๒ - ๓ วันแล้วจึงบอกเรื่องนั้น. กุมารนั้นเกิดโทมนัสขึ้นว่า

" เราไม่ได้สมาคมกับหญิงชื่อเห็นปานนั้นเสียแล้ว " ได้เป็นผู้ถูกทุกข์คือ

โศกประหนึ่งภูเขาท่วมทับแล้ว.

พระศาสดาทรงเเสดงอุบายระงับความโศก

พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยของกุมารนั้น เมื่อเสด็จไปบิณฑบาต

จึงได้เสด็จไปยังประตูเรือนนั้น. ลำดับนั้น มารดาบิดาของกุมารนั้น

อัญเชิญพระศาสดาเสด็จเข้าไปภายในเรือน แล้วอังคาสโดยเคารพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 407

ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระศาสดาตรัสถามว่า " อนิตถิคันธกุมารไป

ไหน ? "

มารดาบิดา. พระเจ้าข้า อนิตถิคันธกุมารนั่น อดอาหารนอนอยู่

ในห้อง.

พระศาสดา. จงเรียกเธอมา.

อนิตถิคันธกุมารนั้น มาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ส่วน

ข้างหนึ่ง. เมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า " กุมาร ความโศกมีกำลังเกิดขึ้น

แล้วแก่เธอหรือ ? " จึงกราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าข้า.

ความโศกมีกำลังเกิดขึ้นแก่ข้าพระองค์ เพราะได้ยินว่าหญิงชื่อเห็นปานนี้

ทำกาละในระหว่างทางเสียแล้ว แม้ภัต ข้าพระองค์ก็ไม่หิว. "

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเขาว่า " กุมาร ก็เธอรู้ไหมว่าความ

โศกเกิดแก่เธอ เพราะอาศัยอะไร ? "

อนิตถิคันธกุมาร. ไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า " กุมาร ความโศกมีกำลังเกิดขึ้นแก่เธอ เพราะ

อาศัยกาม. เพราะความโศกก็ดี ภัยก็ดี ย่อมเกิดขึ้นเพราะอาศัยกาม "

ดังนี้แล้ว จรัสพระคาถานี้ว่า :-

๕. กามโต ชายตี โสโก กามโต ชายตี ภย

กามโต วิปฺปมุตฺตสฺส นตฺถิ โสโก กุโต ภย.

" ความโศกย่อมเกิดแต่กาม ภัยย่อมเกิดแต่

กาม; ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษแล้ว

จากกาม, ภัยจักมีแต่ไหน. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 408

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามโต ความว่า จากวัตถุกามและกิเลส-

กาม. อธิบายว่า ความโศกก็ดี ภัยก็ดี ย่อมอาศัยกามแม้ทั้งสองอย่างนั่น

เกิด.

ในกาลจบเทศนา อนิตถิคันธกุมารตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล ดังนี้

แล.

เรื่องอนิตถิคันธกุมาร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 409

๖. เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง [๑๗๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพราหมณ์คน

ใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ตณฺหาย ชายตี " เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จไปหาพราหมณ์ผู้มิจฉาทิฏฐิ

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ วันหนึ่งไปสู่ฝั่งแม่น้ำแล้ว

ถางนาอยู่. พระศาสดาทรงเห็นความถึงพร้อมแห่งอุปนิสัยของเขา จึงได้

เสด็จไปสู่สำนักของเขา. เขาแม้เห็นพระศาสดา ก็ไม่ทำสามีจิกรรมเลย

ได้นิ่งเสีย.

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสทักเขาก่อนว่า " พราหมณ์ ท่านกำลัง

ทำอะไร ? "

พราหมณ์. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ากำลังแผ้วถางนาอยู่.

พระศาสดาตรัสเพียงเท่านั้นแล้วก็เสด็จไป แม้ในวันรุ่งขึ้น พระ-

ศาสดาเสด็จไปสำนักของเขาผู้มาแล้วเพื่อจะไถนา ตรัสถามว่า " พราหมณ์

ท่านทำอะไรอยู่ ? " ทรงสดับว่า " พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ากำลังไถนา "

ดังนี้แล้ว ก็เสด็จหลีกไป แม้ในวันต่อมาเป็นต้น พระศาสดาก็เสด็จไป

ตรัสถามเหมือนอย่างนั้น ทรงสดับว่า " พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ากำลัง

หว่าน กำลังไขน้ำ กำลังรักษานา " ดังนี้แล้ว ก็เสด็จหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 410

พราหมณ์นับถือพระองค์ดุจสหาย

ครั้นในวันหนึ่ง พราหมณ์กราบทูลพระองค์ว่า " พระโคดมผู้เจริญ

ท่านมาแล้ว ตั้งแต่วันที่ข้าพเจ้าแผ้วถางนา, ถ้าข้าวกล้าของข้าพเจ้าจัก

เผล็ดผล, ข้าพเจ้าจักแบ่งปันแก่ท่านบ้าง, ยังไม่ให้ท่าน ข้าพเจ้าเองก็

จักไม่เคี้ยวกิน; ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ท่านเป็นสหายของเรา. "

ข้าวกล้าเสียหาย

ครั้นโดยสมัยอื่นอีก ข้าวกล้าของพราหมณ์นั้น เผล็ดผลแล้ว. เมื่อ

พราหมณ์นั้นทำกิจทั้งปวงเพื่อการเกี่ยว ด้วยตั้งใจว่า ข้าวกล้าของเรา

เผล็ดผลแล้ว, เราจักให้เกี่ยวตั้งแต่พรุ่งนี้ไป " มหาเมฆยังฝนให้ตกตลอด

คืน พาเอาข้าวกล้าไปหมด. นาได้เป็นเช่นกับที่อันเขาถางเอาไว้.

พราหมณ์เสียใจเพราะทำนาไม่ได้ผล

ก็พระศาสดา ได้ทรงทราบแล้วในวันแรกทีเดียวว่า " ข้าวกล้านั้น

จักไม่เผล็ดผล. " พราหมณ์ไปแล้วแต่เช้าตรู่ ด้วยคิดว่า " เราจักตรวจดู

ข้าวกล้า " เห็นแต่นาเปล่า เกิดความโศกเป็นกำลังจึงคิดว่า " พระ-

สมณโคดมมาสู่นาของเรา ตั้งแต่คราวที่แผ้วถางนา, แม้เราก็ได้กล่าว

กะท่านว่า " เมื่อข้าวกล้าเผล็ดผลแล้ว จักแบ่งส่วนให้แก่ท่านบ้าง, ยัง

ไม่ให้ท่านแล้วเราเองก็จักไม่เคี้ยวกิน, ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ท่านเป็นสหาย

ของเรา, ความปรารถนาในใจของเราเเม้นั้น ไม่ถึงที่สุดเสียแล้ว. " พราหมณ์

นั้นทำการอดอาหาร นอนบนเตียงน้อยแล้ว.

พระศาสดาเสด็จไปตรัสถามข่าวพราหมณ์

ลำดับนั้น พระศาสดาได้เสด็จไปสู่ประตูเรือนของพราหมณ์นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 411

พราหมณ์นั้น ทราบการเสด็จมาของพระศาสดา จึงสั่ง (ชนผู้เป็นบริวาร)

ว่า " พวกเธอจงนำสหายของเรามาแล้ว ให้นั่งที่นี้. " ชนผู้เป็นบริวารได้

ทำอย่างนั้นแล้ว. พระศาสดาประทับนั่งแล้ว ตรัสถามว่า " พราหมณ์

ไปไหน ? " เมื่อเขากราบทูลว่า " นอนในห้อง." ก็รับสั่งหาด้วยพุทธดำรัส

ว่า " พวกเธอ จงเรียกพราหมณ์นั้นมา. " เเล้วตรัสกะพราหมณ์ผู้มานั่ง

แล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่งว่า " เป็นอะไร ? พราหมณ์."

พราหมณ์. พระโคดมผู้เจริญ ท่านมาสู่นาของข้าพเจ้าตั้งแต่วันที่

แผ้วถาง. แม้ข้าพเจ้าก็ได้พูดไว้ว่า " เมื่อข้าวกล้าเผล็ดผลแล้ว จักแบ่งส่วน

ถวายท่านบ้าง, ความปรารถนาในใจของข้าพเจ้าไม่สำเร็จเสียแล้ว; เพราะ

เหตุนั้น ความโศกจึงเกิดแล้วแก่ข้าพเจ้า, แม้ภัตข้าพเจ้าก็ไม่หิว. "

ตรัสเหตุแห่งความโศกและอุบายระงับความโศก

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามพราหมณ์นั้นว่า " พราหมณ์ ก็ท่าน

รู้ไหมว่า ความโศกเกิดแล้วแก่ท่าน เพราะอาศัยอะไร ? " เมื่อพราหมณ์

กราบทูลว่า " พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ทราบ, ก็ท่านทราบหรือ ? "

จึงตรัสว่า " อย่างนั้น พราหมณ์ ความจริง ความโศกก็ดี ภัยก็ดี เมื่อ

จะเกิด ย่อมอาศัยตัณหาเกิดขึ้น " ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๖. ตณฺหาย ชายตี โสโก ตณฺหาย ชายตี ภย

ตณฺหาย วิปฺปมุตฺตสฺส นตฺถิ โสโก กุโต ภย.

" ความโศก ย่อมเกิดเพราะตัณหา, ภัยย่อมเกิด

เพราะตัณหา; ความโศกย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้พ้นวิเศษ

แล้วจากตัณหา. ภัยจักมีแต่ไหน. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 412

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตณฺหาย ได้แก่ ตัณหาอันเป็นไป

ในทวาร ๖. อธิบายว่า ความโศกเป็นต้น ย่อมอาศัยตัณหานั่นเกิดขึ้น.

ในกาลจบเทศนา พราหมณ์ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์คนใดคนหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 413

๗. เรื่องเด็ก ๕๐๐ คน [๑๗๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬัวัน ทรงปรารภเด็ก ๕๐๐

ในระหว่างทาง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สีลทสฺสนสสมฺปนฺน "

เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จบิณฑบาต พบเด็ก ๕๐๐ คน

ความพิสดารว่า วันหนึ่งพระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ เป็นบริวารพร้อม

ด้วยพระอสีติมหาเถระ เสด็จเข้าไปกรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต ได้ทอด

พระเนตรเห็นเด็ก ๕๐๐ คน ยกกระเช้าขนมออกจากเมืองแล้วไปสวน ใน

วันมหรสพวันหนึ่ง แม้เด็กเหล่านั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้วก็หลีกไป.

ไม่กล่าวกะภิกษุแม้สักรูปหนึ่งว่า " ขอท่าน รับเอาขนม ? "

พระศาสดาตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ในกาลที่ภิกษุเหล่านั้นไปแล้ว ว่า

" ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจักฉันขนมไหม ? "

ภิกษุ. ขนมที่ไหน ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอทั้งหลายไม่เห็นพวกเด็กถือกระเช้าขนมเดินผ่านไป

แล้วดอกหรือ ?

ภิกษุ. พวกเด็กเห็นปานนั้น ไม่ถวายขนมแก่ใคร ๆ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย เด็กเหล่านั้นไม่นิมนต์เราหรือพวกเธอ

ด้วยขนมก็จริง. ถึงกระนั้น ภิกษุผู้เป็นเจ้าของขนม ก็กำลังมาข้างหลัง

ฉันขนมเสียก่อนแล้วไป จึงควร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 414

ตามธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่มีความริษยาหรือความ

ประทุษร้ายแม้ในบุคคลคนหนึ่ง; เพราะฉะนั้น พระศาสดาตรัสคำนี้แล้ว

จึงพาภิกษุสงฆ์ไปประทับนั่งใต้ร่มเงาโคนไม้ต้นหนึ่ง.

พวกเด็ก เห็นพระมหากัสสปเถระเดินมาข้างหลัง เกิดความรักขึ้น

มีสรีระเต็มเปี่ยมด้วยกำลังแห่งปีติ วางกระเช้า ไหว้พระเถระด้วยเบญ-

จางคประดิษฐ์ ยกขนมพร้อมทั้งกระเช้าทีเดียวแล้ว กล่าวกะพระเถระว่า

" นิมนต์รับเถิด ขอรับ. "

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะเด็กเหล่านั้นว่า " นั่น พระศาสดาพา

พระภิกษุสงฆ์ไปประทับนั่งแล้วที่โคนไม้, พวกเธอจงถือไทยธรรมไป

แบ่งส่วนถวายภิกษุสงฆ์." พวกเด็กรับคำว่า " ดีละ ขอรับ " แล้วกลับ

ไปพร้อมกับพระเถระทีเดียว ถวายขนมแล้ว ยืนมองดูอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง

แล้ว ได้ถวายน้ำในเวลาฉันเสร็จ.

พวกภิกษุโพทะนาพวกเด็กผู้ถวายขนม

ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า " พวกเด็กถวายภิกษาเพราะเห็นแก่หน้า,

ไม่ต้อนรับพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระมหาเถระทั้งหลายด้วยขนม เห็น

พระมหากัสสปเถระแล้ว ถือเอาขนมพร้อมด้วยกระเช้านั่นแลมาแล้ว."

พระศาสดาทรงยกพระมหากัสสปเป็นนิทัศนะ

พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุผู้เช่นกับมหากัสสปผู้บุตรของเรา ย่อมเป็นที่รักของเหล่า

เทวดาและมนุษย์ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ย่อมทำบูชาด้วยปัจจัย ๔ แก่

เธอโดยแท้ " ดังนี้ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 415

๗. สีลทสฺสนสมฺปนฺน ธมฺมฏฺ สจฺจวาทิน

อตฺตโน กมฺมกุพฺพาน ตญฺชโน กุรุเต ปิย.

" ชน ย่อมทำท่านผู้สมบูรณ์ด้วยศีลและทัสสนะ

ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ผู้มีปกติกล่าวแต่วาจาสัตย์ ผู้กระทำ

การงานของตนนั้น ให้เป็นที่รัก. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลทสฺสนสมฺปนฺน ความว่า ผู้ถึง

พร้อมด้วยจตุปาริสุทธิศีล และความเห็นชอบอันสัมปยุตด้วยมรรคและผล.

บทว่า ธมฺมฏฺ ความว่า ผู้ตั้งอยู่ในโลกุตรธรรม ๙ ประการ.

อธิบายว่า ผู้มีโลกุตรธรรมอันทำให้แจ้งแล้ว.

บทว่า สจฺจวาทิน ความว่า ชื่อว่าผู้มีปกติกล่าววาจาสัตย์ด้วย

สัจญาณ เพราะความที่สัจจะ ๔ อันท่านทำให้แจ้งแล้ว ด้วยอาการ ๑๖.

บาทพระคาถาว่า อตฺตโน กมฺมกุพฺพาน ความว่า สิกขา ๓

ชื่อว่าการงานของตน, ผู้บำเพ็ญสิกขา ๓ นั้น.

สองบทว่า ต ชโน ความว่า โลกิยมหาชน ย่อมทำบุคคลนั้น

ให้เป็นที่รัก คือเป็นผู้ใคร่จะเห็น ใคร่จะไหว้ ใคร่จะบูชาด้วยปัจจัย ๔

โดยแท้.

ในกาลจบเทศนา เด็กเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ตั้งอยู่แล้วในโสดา-

ปัตติผล ดังนี้แล.

เรื่องเด็ก ๕๐๐ คน จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 416

๘. เรื่องพระอนาคามิเถระ [๑๗๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระผู้

อนาคามีองค์หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ฉนฺทชาโต " เป็นต้น.

พระเถระบรรลุอนาคามิผล

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พวกสัทธิวิหาริกถามพระเถระนั้นว่า

" ท่านขอรับ ก็การบรรลุธรรมพิเศษของท่าน มีอยู่หรือ ? "

พระเถระ ละอายอยู่ว่า " แม้คฤหัสถชนก็ยังบรรลุพระอนาคามิผล

ได้, ในเวลาบรรลุพระอรหัตแล้วนั่นแล เราจักบอกกับสัทธิวิหาริกเหล่า

นั้น " ดังนี้แล้ว ไม่กล่าวอะไร ๆ เลย ทำกาละแล้วเกิดในเทวโลกชั้น

สุทธาวาส.

ลำดับนั้น พวกสัทธิวิหาริกของท่าน ร้องไห้คร่ำครวญไปสู่สำนัก

พระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ร้องไห้อยู่ทีเดียว นั่งแล้ว ณ

ส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอร้องไห้ทำไม ? "

ภิกษุ. อุปัชฌายะของข้าพระองค์ทำกาละแล้ว พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ช่างเถิด ภิกษุทั้งหลาย, เธอทั้งหลายอย่าคิดเลย,

นั่นชื่อว่าเป็นธรรมที่ยั่งยืน.

ภิกษุ. พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ก็ทราบอยู่,

แต่พวกข้าพระองค์ ได้ถามถึงการบรรลุธรรมพิเศษ กะพระอุปัชฌายะ,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 417

ท่านไม่บอกอะไร ๆ เลย ทำกาละแล้ว, เหตุนั้น พวกข้าพระองค์จึงถึง

ความทุกข์.

ลักษณะของผู้ชื่อว่ามีกระแสในเบื้องบน

พระศาสดาตรัสว่า " อย่าคิดเลย ภิกษุทั้งหลาย, อุปัชฌายะของ

พวกเธอ บรรลุอนาคามิผลแล้ว, เธอละอายอยู่ว่า ' แม้พวกคฤหัสถ์ก็

บรรลุอนาคามิผลนั่น.' เราต่อบรรลุอรหัตแล้ว จึงจักบอกแก่พวก

สัทธิวิหาริกนั้น ไม่บอกอะไร ๆ แก่พวกเธอเลย ทำกาละแล้วเกิดใน

ชั้นสุทธาวาส; วางใจเสียเถิด ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะของพวกเธอ

ถึงความเป็นผู้มีจิต ไม่เกี่ยวเกาะในกามทั้งหลาย มีกระแสในเบื้องบน " ดัง

นี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๘. ฉนฺทชาโต อนฺกขาเต มนฺสา จ ผุโ สิยา

กาเม จ อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต อุทฺธโสโตติ วุจฺจติ.

" ภิกษุ ผู้มีฉันทะเกิดแล้ว ในพระนิพพานอัน

ใคร ๆ บอกไม่ได้ พึงเป็นผู้อันใจถูกต้องแล้วก็ดี ผู้

มีจิตไม่เกี่ยวเกาะในกามทั้งหลายก็ดี ท่านเรียกว่า

ผู้มีกระแสในเบื้องบน."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺทชาโต ความว่า มีฉันทะเกิด

แล้ว ด้วยอำนาจความพอใจ ในความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ คือถึงความ

อุตสาหะแล้ว.

บทว่า อนฺกขาเต คือ ในพระนิพพาน. แท้จริง พระนิพพาน

นั้น ชื่อว่า อนักขาตะ เพราะความเป็นธรรมชาติอันใคร ๆ บอกไม่ได้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 418

" อันปัจจัยโน้นทำ หรือบรรดาสีต่าง ๆ มีสีเขียวเป็นต้น เห็นปานนี้."

บาทพระคาถาว่า มนฺสา จ ผุโฏ สิยา ความว่า พึงเป็นผู้อัน

จิตที่สัมปยุตด้วยมรรคผล ๓ เบื้องต่ำถูกต้องแล้ว คือให้เต็มแล้ว.

บทว่า อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต ความว่า มีจิตไม่เกี่ยวเกาะในกาม

ทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามิมรรคก็ดี.

บทว่า อุทฺธโสโต ความว่า ภิกษุเห็นปานนี้ เกิดแล้วในภพ

อวิหา ถัดนั้นไป ก็ไปสู่อกนิษฐภพ ด้วยอำนาจปฏิสนธิ ท่านเรียกว่า

' ผู้มีกระแสในเบื้องบน ' พระอุปัชฌาย์ของพวกเธอ ก็เป็นผู้เช่นนั้น.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่แล้วในอรหัตผล. เทศนาได้

มีประโยชน์แม้เเก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระอนาคามิเถระ จบ.

๑. บาลีเป็น ผโ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 419

๙. เรื่องนายนันทิยะ [๑๗๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในป่าอิสิปตนะ ทรงปรารภนายนันทิยะ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " จิรปฺปวาสึ " เป็นต้น.

นันทิยะเป็นอนุชาตบุตร

ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี ได้มีบุตรแห่งตระกูลซึ่งถึงพร้อมด้วย

ศรัทธาคนหนึ่งชื่อนันทิยะ, เขาได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาบำรุงสงฆ์แท้

อนุรูปแก่มารดาบิดาเทียว. ครั้นในเวลาที่เขาเจริญวัยมารดาบิดาได้มี

ความจำนงจะนำธิดาของลุงชื่อว่าเรวดี มาจากเรือนอันตรงกันข้าม. แต่

นางเป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีการให้ปั่นเป็นปกติ, นายนันทิยะจึงไม่

ปรารถนานาง.

ลำดับนั้น มารดาของเขากล่าวกะนางเรวดีว่า " แม่ เจ้าจงฉาบทา

สถานที่นั่นของภิกษุสงฆ์ แล้วปูลาดอาสนะไว้ในเรือนนี้, จงตั้งเชิง

บาตรไว้. ในเวลาภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จงรับบาตร นิมนต์ให้นั่ง เอา

ธมกรกกรองน้ำฉันถวาย แล้วล้างบาตรในเวลาฉันเสร็จ; เมื่อเจ้าทำได้

อย่างนี้ ก็จักเป็นที่พึ่งใจแก่บุตรของเรา." นางได้ทำอย่างนั้นแล้ว. ต่อมา

มารดาบิดาเล่าถึงความประพฤติของนางนั้นแก่บุตร ว่า " นางเป็นผู้อดทน

ต่อโอวาท " เมื่อเขารับว่า " ดีละ " จึงกำหนดวันแล้ว ทำอาวาหมงคล.

ลำดับนั้น นายนันทิยะกล่าวกะนางว่า " ถ้าเธอจักบำรุงภิกษุสงฆ์

และมารดาของฉัน, เป็นเช่นนี้ เธอก็จักได้พัสดุในเรือนนี้, จงเป็นผู้ไม่

ประมาทเถิด. " นางรับว่า " ดีละ " แล้วทำทีเป็นผู้มีศรัทธาบำรุงอยู่ ๒ - ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 420

วัน จนคลอดบุตร ๒ คน. มารดาบิดาแม้ของนายนันทิยะ ได้ทำกาละแล้ว.

ความเป็นใหญ่ทั้งหมดในเรือน ก็ตกอยู่แก่นางเรวดีนั้นคนเดียว.

นันทิยะดำรงตำแหน่งทานบดี

จำเดิมแต่มารดาบิดาทำกาละ แม้นายนันทิยะก็เป็นมหาทานบดี

เตรียมตั้งทานสำหรับภิกษุสงฆ์. และเริ่มตั้งค่าอาหารแม้สำหรับคนกำพร้า

และคนเดินทางเป็นต้น ไว้ที่ประตูเรือน. ในกาลต่อมา เขาฟังพระธรรม-

เทศนาของพระศาสดา กำหนดอานิสงส์ในการถวายอาวาสได้แล้ว ให้ทำ

ศาลา ๔ มุข ประดับด้วยห้อง ๔ ห้อง ในมหาวิหารในป่าอิสิปตนะแล้ว

ให้ลาคเตียงและตั่งเป็นต้น เมื่อจะมอบถวายอาวาสนั้น ได้ถวายทานแก่

ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้วถวายน้ำทักขิโณทก แด่

พระตถาคต. ปราสาททิพย์สำเร็จโดยรัตนะ ๗ ประการ สมบูรณ์ด้วยหมู่

นารี มีประมาณ ๑๒ โยชน์ในทิศทั้งปวง เบื้องบนสูงประมาณ ๑๐๐ โยชน์

ผุดขึ้นในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ พร้อมด้วยการตั้งน้ำทักขิโณทก ในพระหัตถ์

ของพระศาสดาทีเดียว.

พระมหาโมคคัลลานะไปเยี่ยมสวรรค์

ภายหลังวันหนึ่ง พระมหาโมคคัลลานเถระไปสู่ที่จาริกในเทวโลก

ยืนอยู่แล้วในที่ไม่ไกลจากปราสาทนั้น ถามเทวบุตรทั้งหลายซึ่งมาสู่สำนัก

ของตนว่า " ปราสาททิพย์ เต็มด้วยหมู่นางอัปสรนั่น เกิดแล้วเพื่อใคร."

ลำดับนั้น พวกเทวบุตรนั้นเมื่อจะบอกเจ้าของวิมานแก่พระเถระนั้น

จึงกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ วิมานั่นเกิดแล้วเพื่อประโยชน์แก่บุตรคฤหบดี

ชื่อนันทิยะ ผู้สร้างวิหารถวายพระศาสดา ในป่าอิสิปตนะ. " ฝ่ายหมู่นาง

อัปสร เห็นพระเถระนั้นแล้ว ลงจากปราสาทกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 421

ดิฉันเกิดในที่นี้ ด้วยหวังว่า ' จักเป็นนางบำเรอของนายนันทิยะ ' แต่เมื่อ

ไม่พบเห็นนายนันทิยะนั้น เป็นผู้ระอาเหลือเกิน; ด้วยว่าการละมนุษย-

สมบัติ แล้วถือเอาทิพยสมบัติ ก็เช่นกับการทำลายถาดดินแล้วถือเอาถาด

ทองคำฉะนั้น พระผู้เป็นเจ้าพึงบอกเขา เพื่อประโยชน์แก่การมา ณ ที่นี้. "

ทิพยสมบัติเกิดรอผู้ทำบุญ

พระเถระกลับมาจากเทวโลกนั้นแล้ว เขาไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามว่า

" พระเจ้าข้า ทิพยสมบัติย่อมเกิดแก่บุคคลผู้ทำความดีที่ยังอยู่มนุษย์โลกนี่

เอง หรือหนอแล ? "

พระศาสดา. โมคคัลลานะ ทิพยสมบัติที่เกิดแล้วแก่นายนันทิยะใน

เทวโลก อันเธอเห็นแล้วเองมิใช่หรือ ? ไฉนจึงถามเราเล่า ?

โมคคัลลานะ. ทิพยสมบัติเกิดได้อย่างนั้นหรือ ? พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า โมคคัลลานะ เธอ

พูดอะไรนั่น ? เหมือนอย่างว่า ใคร ๆ ยืนอยู่ที่ประตูเรือน เห็นบุตร

พี่น้อง ผู้ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน (กลับ) มาแต่ถิ่นที่จากไปอยู่ พึงมาสู่เรือน

โดยเร็ว บอกว่า ' คนชื่อโน้น มาแล้ว.' เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกญาติของ

เขาก็ยินดีร่าเริงแล้ว ออกมาโดยขมีขมัน พึงยินดียิ่งกะผู้นั้นว่า ' พ่อ มา

แล้ว พ่อ มาแล้ว ่ ฉันใด; เหล่าเทวดา (ต่าง) ถือเอาเครื่องบรรณาการ

อันเป็นทิพย์ ๑๐ อย่างต้อนรับด้วยคิดว่า ' เราก่อน เราก่อน ' แล้วย่อม

ยินดียิ่งกะสตรีหรือบุรุษ ผู้ทำความดีไว้ในโลกนี้ ซึ่งละโลกนี้แล้วไปสู่

โลกหน้าฉันนั้นเหมือนกัน ดังนี้แล้ว " ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๙. จิรปฺปวาส ปุริส ทูรโต โสตฺถิมาคต

าตี มิตฺตา สุหชฺชา จ อภินนฺทนฺติ อาคต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 422

ตเถว กตปุญฺญมฺปิ อสฺมา โลกา ปร คต

ปุญฺานิ ปฏิคณฺหนฺติ ปิย าตีว อาคต.

" ญาติ มิตร และคนมีใจดีทั้งหลาย เห็นบุรุษผู้

ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน มาแล้วแต่ที่ไกลโดยสวัสดี

ย่อมยินดียิ่งว่า 'มาแล้ว ' ฉันใด. บุญทั้งหลายก็ย่อม

ต้อนรับแม้บุคคลผู้กระทำบุญไว้ ซึ่งไปจากโลกนี้สู่

โลกหน้า ดุจพวกญาติเห็นญาติที่รักมาแล้ว ต้อนรับ

อยู่ ฉันนั้นแล.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรปฺปวาสึ คือจากไปแล้วนาน.

บาทพระคาถาว่า ทูรโต โสตฺถิมาคต ความว่า ผู้ได้ลาภคือมี

สมบัติอันสำเร็จแล้วเพราะทำพาณิชยกรรม หรือเพราะทำหน้าที่ราชบุรุษ

มาแล้วแต่ที่ไกล ไม่มีอุปัทวะ.

บาทพระคาถาว่า าตี มิตฺตา สุหชฺชา จ ความว่า เหล่าชน

ที่ชื่อว่าญาติ เพราะสามารถเกี่ยวเนื่องกันด้วยตระกูล และชื่อว่ามิตร

เพราะภาวะมีเคยเห็นกันเป็นต้น แล้วชื่อว่ามีใจดี เพราะความเป็นผู้

มีหทัยดี.

บาทพระคาถาว่า อภินนฺทนฺติ อาคต ความว่า ญาติเป็นต้น เห็น

เขาแล้ว ย่อมยินดียิ่ง ด้วยอาการเพียงแต่พูดว่า 'มาดีเเล้ว ' หรือด้วย

อาการเพียงทำอัญชลี, อนึ่ง ย่อมยินดียิ่งกะเขาผู้มาถึงเรือนแล้ว ด้วย

สามารถนำไปเฉพาะซึ่งบรรณาการมีประการต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 423

บทว่า ตเถว เป็นต้น ความว่า บุญทั้งหลาย ตั้งอยู่ในฐานะ

ดุจมารดาบิดา นำเครื่องบรรณาการ ๑๐ อย่างนี้คือ " อายุ วรรณะ สุข

ยศ ความเป็นอธิบดีอันเป็นทิพย์; รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อัน

เป็นทิพย์ เพลินยิ่งอยู่ ชื่อว่าย่อมรับรองบุคคลแม้ผู้ทำบุญไว้เเล้ว ซึ่ง

ไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า ด้วยเหตุนั้นนั่นแล.

สองบทว่า ปิย าตีว ความว่า ดุจพวกญาติที่เหลือ เห็นญาติ

ที่รักมาแล้ว รับรองอยู่ในโลกนี้ฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องนายนันทิยะ จบ.

ปิยวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๖ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 424

คาถาธรรมบท

โกธวรรคที่ ๑๗

ว่าด้วยเรื่องความโกรธ

[๒๗] ๑. บุคคลพึงละความโกรธ สละความถือตัว ล่วง

สังโยชน์ทั้งสินได้ ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกต้องบุคคล

นั้น ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล.

๒. ผู้ใดแล พึงสกัดความโกรธที่พลุ่งขึ้น

เหมือนคนห้ามรถที่กำลังแล่นไปได้ เราเรียกผู้นั้นว่า

สารถี ส่วนคนนอกนี้เป็นเพียงผู้ถือเชือก.

๓. พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะ

คนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้

พึงชนะคนพูดเหลวไหล ด้วยคาจริง.

๔. บุคคลควรกล่าวคำสัตย์ ไม่ควรโกรธ ถึงถูก

เขาขอน้อย ก็พึงให้ บุคคลพึงไปในสำนักของเทวดา

ทั้งหลายได้ ด้วยฐานะ ๓ นั่น.

๕. มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวม

แล้วด้วยกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้นย่อมไปสู่ฐานะ

อันไม่จุติ ซึ่งเป็นที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก.

๖. อาสวะทั้งหลายของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ มีปกติ

ตามศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน น้อมไปแล้วสู่พระ-

นิพพาน ย่อมถึงควานตั้งอยู่ไม่ได้.

๑. วรรคนี้มีอรรถกถา ๘ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 425

๗. อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่นเป็นของ

เก่า นั่นไม่ใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้ ชนทั้งหลายย่อม

นินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง ย่อม

นินทาผู้พูดพอประมาณบ้าง ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มีใน

โลก คนผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือว่าอันเขา

สรรเสริญโดยส่วนเดียว ไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และ

ไม่มีอยู่ในบัดนี้ หากว่าวิญญูชนใคร่ครวญแล้วทุก ๆ

วัน สรรเสริญผู้ใด ซึ่งมีความประพฤตไม่ขาดสาย

มีปัญญา ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล ใครเล่าย่อมควร

เพื่อติเตียนผู้นั้น ผู้เป็นดังแท่งทองชมพูนุท แม้เทวดา

ทั้งหลายก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรรเสริญแล้ว.

๘. พึงรักษาความกำเริบทางกาย พึงเป็นผู้

สำรวมทางกาย พึงละกายทุจริตแล้ว พึงประพฤติ

สุจริตทางกาย พึงรักษาความกำเริบทางวาจา พึงเป็น

ผู้สำรวมทางวาจา พึงละวจีทุจริต พึงประพฤติสุจริต

ทางวาจา พึงละความกำเริบทางใจ พึงเป็นผู้สำรวม

ทางใจ พึงละมโนทุจริตแล้ว พึงประพฤติสุจริตทาง

ใจ ธีรชนทั้งหลายสำรวมทางกาย สำรวมทางวาจา

สำรวมทางใจ ธีรชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าสำรวม

รอบคอบดีแล้ว.

จบโกธวรรคที่ ๑๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 426

๑๗. โกธวรรควรรณนา

๑. เรื่องเจ้าหญิงโรหิณี [๑๗๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในนิโครธาราม ทรงปรารภเจ้าหญิง

โรหิณี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โกธ ชเห " เป็นต้น.

สร้างโรงฉันหายจากโรคผิวหนังได้

ได้ยินว่า สมัยหนึ่ง พระอนุรุทธผู้มีอายุได้ไปเมืองกบิลพัสดุ์พร้อม

ด้วยภิกษุ ๕๐๐. ครั้งนั้น พวกพระญาติของท่าน ทรงสดับว่า พระเถระมา

จึงได้ไปสู่สำนักพระเถระ เว้นเเต่พระน้องนางของพระเถระชื่อโรหิณี.

พระเถระถามพวกพระญาติว่า " พระนางโรหิณีอยู่ไหน ? "

พวกพระญาติ. อยู่ในตำหนัก เจ้าข้า.

พระเถระ. เหตุไร ? จึงไม่เสด็จมา.

พวกพระญาติ. พระนางไม่เสด็จมาเพราะทรงละอายว่า ' โรคผิว

หนังเกิดที่สรีระของเขา ' เจ้าข้า.

พระเถระ กล่าวว่า " ท่านทั้งหลายจงเชิญพระนางเสด็จมาเถิด "

ให้ไปเชิญพระนางเสด็จมาแล้ว จึงกล่าวอย่างนี้ กะพระนางผู้ทรงฉลอง-

พระองค์เสด็จมาแล้วว่า " โรหิณี เหตุไร ? เธอจึงไม่เสด็จมา. "

พระนางโรหิณี. ท่านผู้เจริญ โรคผิวหนังเกิดขึ้นที่สรีระของ

หม่อมฉัน; เหตุนั้น หม่อมฉันจึงมิได้มาด้วยความละอาย.

พระเถระ. ก็เธอทรงทำบุญไม่ควรหรือ ?

พระนางโรหิณี. จะทำอะไร ? เจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 427

พระเถระ. จงให้สร้างโรงฉัน.

พระนางโรหิณี. หม่อมฉันจะเอาอะไรทำ ?

พระเถระ. ก็เครื่องประดับของเธอไม่มีหรือ ?

พระนางโรหิณี. มีอยู่ เจ้าข้า.

พระเถระ. ราคาเท่าไร ?

พระนางโรหิณี. จักมีราคาหมื่นหนึ่ง.

พระเถระ. ถ้ากระนั้น จงขายเครื่องประดับนั้น ให้สร้างโรง-

ฉันเถิด.

พระนางโรหิณี. ใครเล่า ? จักทาให้หม่อมฉัน เจ้าข้า.

พระเถระ. แลดูพระญาติซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้เเล้ว กล่าวว่า " ขอจง

เป็นภาระของพวกท่านทั้งหลาย."

พวกพระญาติ. ก็พระคุณเจ้าจักทำอะไรหรือ ? เจ้าข้า.

พระเถระ. แม้อาตมภาพก็จักอยู่ในที่นี้เหมือนกัน, ถ้ากระนั้นพวก

ท่านจงนำทัพพสัมภาระมาเพื่อโรงฉันนี่.

พวกพระญาตินั้น ตรัสว่า " ดีละ เจ้าข้า " จึงนำมาแล้ว.

พระเถระ. เมื่อจะจัดโรงฉัน จึงกล่าวกะพระนางโรหิณีว่า " เธอ

จงให้ทำโรงฉันเป็น ๒ ชั้น จำเดิมแต่กาลที่ให้พื้นชั้นบนเรียบแล้วจง

กวาดพื้นล่าง แล้วให้ปูอาสนะไว้เสมอ ๆ, จงให้ตั้งหม้อน้ำดื่มไว้เสมอๆ. "

พระนางรับคำว่า " ดีละ เจ้าข้า " แล้วจำหน่ายเครื่องประดับ ให้ทำ

โรงฉัน ๒ ชั้น เริ่มแต่กาลที่ให้พื้นชั้นบนเรียบแล้ว ได้ทรงทำกิจมีการ

กวาดพื้นล่างเป็นต้นเนือง ๆ. พวกภิกษุก็นั่งเสมอ ๆ.

ลำดับนั้น เมื่อพระนางกวาดโรงฉันอยู่นั่นแล. โรคผิวหนังก็ราบ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 428

ไปแล้ว. เมื่อโรงฉันเสร็จ พระนางนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุขแล้ว ได้ถวายขาทนียะและโภชนียะที่ประณีตแด่ภิกษุสงฆ์มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุขซึ่งนั่งเต็มโรงฉัน.

พระศาสดา ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสถามว่า " นี่เป็นทาน

ของใคร ? "

พระอนุรุทธ. ของโรหิณีพระน้องนางของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ก็นางไปไหน ?

พระอนุรุทธ. อยู่ในตำหนัก พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. พวกท่านจงไปเรียกนางมา.

พระนางไม่ประสงค์จะเสด็จมา. ทีนั้น พระศาสดารับสั่งให้เรียก

พระนางแม้ไม่ปรารถนา (จะมา) จนได้. ก็แลพระศาสดาตรัสกะพระนาง

ผู้เสด็จมาถวายบังคม ประทับนั่งแล้วว่า " โรหิณี เหตุไรเธอจึงไม่มา ? "

พระนางโรหิณี. " โรคผิวหนังมีที่สรีระของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า

หม่อมฉันละอายด้วยโรคนั้น. จึงมิได้มา. "

พระศาสดา. ก็เธอรู้ไหมว่า ่โรคนั้นอาศัยกรรมอะไรของเธอ จึง

เกิดขึ้น ? "

พระนางโรหิณี. หม่อมฉันไม่ทราบ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. โรคนั้นอาศัยความโกรธของเธอ จึงเกิดขึ้นแล้ว.

พระนางโรหิณี. ก็หม่อมฉันทำกรรมอะไรไว้ ? พระเจ้าข้า.

บุรพกรรมของพระนางโรหิณี

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสแก่พระนาง)ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 429

ในอดีตกาล พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ผูกอาฆาตใน

หญิงนักฟ้อนของพระราชาองค์หนึ่ง ทรงดำริว่า " เราจักให้ทุกข์เกิดแก่

หญิงนั้น " แล้วให้เขานำลูกเต่าร้างใหญ่มารับสั่งให้เรียกหญิงนักฟ้อนนั้น

มายังสำนักของตนแล้ว. ให้ใส่ผงเต่าร้างบนที่นอน ที่ผ้าห่ม และที่ระหว่าง

เครื่องใช้ มีผ้าปูที่นอนเป็นต้น ของหญิงนักฟ้อนนั้น โดยประการที่นาง

ไม่ทันรู้ตัว. โปรยลงแม้ที่ตัวของนาง ราวกะทำความเย้ยหยันเล่น ทันใด

นั้นเอง สรีระของหญิงนั้นได้พุพองขึ้นเป็นตุ่มน้อยตุ่มใหญ่. นางเกาอยู่

ไปนอนบนที่นอน. เมื่อนางถูกผงเต่าร้างกัดแม้บนที่นอนนั้น เวทนากล้า

ยิ่งนักเกิดขึ้นแล้ว. พระอัครมเหสีในกาลนั้นได้เป็นพระนางโรหิณี.

พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานั้นมาแล้ว ตรัสว่า " โรหิณี ก็

กรรมนั่นที่เธอทำแล้วในกาลนั้น, ก็ความโกรธก็ดี ความริษยาก็ดี แม้มี

ประมาณเล็กน้อย ย่อมไม่ควรทำเลย " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑. โกธ ชเห วิปฺปชเหยฺย มาน

สญฺโชน สพฺพมติกฺกเมยฺย

ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมาน

อกิญฺจน นานุปตนฺติ ทุกฺขา.

" บุคคลพึงละความโกรธ, สละความถือตัว

ล่วงสังโยชน์ทั้งสิ้นได้ ทุกทั้งหลายย่อมไม่ตกต้อง,

บุคคลนั้น ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่อง

กังวล. "

๑. แปลว่า หมามุ้ยใหญ่ ก็มี. ๒. อรรถกถา เป็น สโยชน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 430

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกธ ความว่า พึงละความโกรธทุกๆ

อาการก็ดี มานะ ๙ อย่างก็ดี.

บทว่า สโยชน ความว่า พึงล่วงสังโยชน์ทั้ง ๑๐ อย่าง มีกาม

ราคสังโยชน์เป็นต้น.

บทว่า อสชฺชมาน ความว่า ไม่ข้องอยู่. อธิบายว่า ก็ผู้ใดยึดถือ

นามรูปโดยนัยว่า " รูปของเรา, เวทนาของเรา เป็นต้น และเมื่อ

นามรูปนั้นแตกไป. ย่อมเศร้าโศกเดือดร้อน; ผู้นี้ชื่อว่าข้องอยู่ในนามรูป;

ส่วนผู้ไม่ยึดถืออย่างนั้น ชื่อว่าย่อมไม่ขัดข้อง; ขึ้นชื่อว่าทุกข์ทั้งหลาย

ย่อมไม่ตกต้องบุคคลนั้น ผู้ไม่ข้องอยู่อย่างนั้น ผู้ชื่อว่าไม่มีกิเลสเครื่อง

กังวล เพราะไม่มีราคะเป็นต้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น.

แม้พระนางโรหิณี ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. สรีระของพระนาง

ได้มีวรรณะดุจทองคำ ในขณะนั้นเอง. พระนางจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว

เกิดในระหว่างเขตแดนของเทพบุตร ๔ องค์ ในภพดาวดึงส์ ได้เป็นผู้

น่าเลื่อมใส ถึงความเป็นผู้มีรูปงามเลิศ เทพบุตรทั้ง ๔ องค์เห็นนางแล้ว

เป็นผู้เกิดความสิเนหา วิวาทกันว่า " นางเกิดภายในแดนของเรา, นาง

เกิดภายในแดนของเรา." ไปสู่สำนักของท้าวสักกเทวราช กราบทูลว่า

" ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ทั้งสี่เกิดคดีขึ้น เพราะอาศัยเทพธิดานี้, ขอ

พระองค์ทรงวินิจฉัยคดีนั้น. " แม้ท้าวสักกะ แต่พอได้ทรงเห็นพระนางก็

เป็นผู้เกิดสิเนหา ตรัสอย่างนั้นว่า " จาเดิมแต่กาลที่พวกท่านเห็นเทพธิดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 431

นี้แล้ว จิตเกิดขึ้นอย่างไร. ? "

ลำดับนั้น เทพบุตรองค์หนึ่งกราบทูลว่า " จิตของข้าพระองค์

เกิดขึ้นดุจกลองในคราวสงครามก่อน ไม่อาจสงบลงได้เลย. "

องค์ที่ ๒ จิตของข้าพระองค์ [เกิดขึ้น] เหมือนแม่น้ำตกจากภูเขา

ย่อมเป็นไปเร็วพลันทีเดียว.

องค์ที่ ๓. จำเดิมแต่กาลที่ข้าพระองค์เห็นนางนี้แล้ว ตาทั้งสอง

ถลนออกแล้ว ดุจตาของปู.

องค์ที่ ๔. จิตของข้าพระองค์ประดุจธงที่เขายกขึ้นบนเจดีย์ ไม่

สามารถจะดำรงนิ่งอยู่ได้.

ครั้งนั้น ท้าวสักกะตรัสกะเทพบุตรทั้งสี่นั้นว่า " พ่อทั้งหลาย จิต

ของพวกท่านยังพอข่มได้ก่อน ส่วนเราเมื่อได้เห็นเทพธิดานี้ จึงจักเป็น

อยู่ เมื่อเราไม่ได้ จักต้องตาย. "

พวกเทพบุตรจึงทูลว่า " ข้าแต่มหาราช พวกข้าพระองค์ไม่มีความ

ต้องการด้วยความตายของพระองค์ " แล้วต่างสละเทพธิดานั้นถวายท้าว

สักกะแล้วหลีกไป. เทพธิดานั้นได้เป็นที่รักที่พอพระหฤทัยของท้าวสักกะ.

เมื่อนางกราบทูลว่า " หม่อมฉันจักไปสู่สนามเล่นชื่อโน้น " ท้าวสักกะก็

ไม่สามารถจะทรงขัดคำของนางได้เลย ดังนี้แล.

เรื่องเจ้าหญิงโรหิณี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 432

๒. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [๑๗๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ ทรงปรารภภิกษุรูปใด

รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย เว อุปฺปติต โกธ " เป็นต้น.

ภิกษุตัดต้นไม้ที่เทวดาสิงอยู่

ความพิสดารว่า เมื่อพระศาสดาทรงอนุญาตเสนาสนะแก่ภิกษุสงฆ์

แล้ว. (และ) เมื่อเสนาสนะทั้งหลาย อันคฤหัสถ์ทั้งหลายมีเศรษฐีชาว

กรุงราชคฤห์เป็นต้น กำลังให้สร้าง, ภิกษุชาวเมืองอาฬวีรูปหนึ่ง สร้าง

เสนาสนะของตนอยู่ เห็นต้นไม้ที่พอใจต้นหนึ่งแล้ว เรึมจะตัด ก็เทพดา

มีลูกอ่อนองค์หนึ่งเกิดที่ต้นไม้นั้น อุ้มบุตรด้วยสะเอว ยืนอ้อนวอนว่า

" พระคุณเจ้า ขอท่านอย่าได้ตัดวิมานของข้าพเจ้าเลย, ข้าพเจ้าไม่มีที่อยู่

ไม่อาจอุ้มบุตรเที่ยวเร่ร่อนไปได้."

ภิกษุนั้นคิดว่า " เราจักไม่ได้ต้นไม้เช่นนี้ ในที่อื่น " จึงไม่เอื้อเฟื้อ

คำพูดของเทวดานั้น.

เทวดานั้นคิดว่า " ภิกษุนี้ เห็นทารกนี้แล้วจักงดเป็นแท้ " จึง

วางบุตรไว้บนกิ่งไม้. ฝ่ายภิกษุนั้นไม่อาจยั้งขวานที่ตนเงื้อขึ้นแล้วได้ จึง

ตัดแขนทารกนั้นขาดแล้ว เทพดาเกิดความโกรธมีกำลัง ยกมือทั้งสอง

ขึ้นด้วยเจตนาว่า " จะฟาดภิกษุรูปนั้นให้ตาย " แต่พลันคิดได้อย่างนี้ว่า

" ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล ถ้าเราจักฆ่าภิกษุนี้เสีย ก็จักเป็นผู้ไปนรก; แม้

เทพธิดาที่เหลือ ได้พบภิกษุตัดต้นไม้ของตน จักถือเอาเป็นประมาณบ้าง

๑. น่าจะปรารภเทพดา เพราะเป็นเรื่องของเทพดาได้ทำและเข้าเฝ้าเอง. ๒. ก่อนอนุญาต

เสนาสนะ ผู้บวชแล้วต้องอยู่โคนไม้หรือถ้ำเขา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 433

ว่า ' เทพดาองค์โน้นฆ่าภิกษุเสีย ก็อย่างนี้เหมือนกัน ' แล้วจักฆ่าภิกษุ

ทั้งหลายเสีย; ก็ภิกษุนี้มีเจ้าของ เราจักต้องบอกกล่าวเธอแก่เจ้าของ

ทีเดียว." ลดมือที่ยกขึ้นแล้ว ร้องไห้ไปสู่สำนักของพระศาสดา ถวาย

บังคมแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " ทาไมหรือ ? เทวดา "

เขาทูลว่า " พระเจ้าข้า สาวกของพระองค์แหละ ทำกรรทชื่อนี้. แม้

ข้าพระองค์ก็ใคร่จะฆ่าเธอ แต่คิดข้อนี้ได้ จึงไม่ฆ่า แล้วรีบมาที่นี้เทียว "

ดังนี้แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดโดยพิสดาร.

พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า " ถูกแล้ว ๆ เทพดา

เธอข่มความโกรธที่เกิดขึ้นอย่างนั้นไว้อยู่ เหมือนห้ามรถกำลังหมุนไว้ได้

ชื่อว่าทำความดีแล้ว " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒. โย เว อุปฺปติต โกธ รถ ภนฺติ ธารเย

ตมห สารถิ พฺรูมิ รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโน.

" ผู้ใดแล พึงสะกดความโกรธที่พลุ่งขึ้นเหมือน

คนห้ามรถที่กำลังแล่นไปได้, เราเรียกผู้นั้นว่า

' สารถี ' ส่วนคนนอกนี้เป็นเพียงผู้ถือเชือก. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปติต ได้แก่ ที่เกิดขึ้นแล้ว.

สองบทว่า รถ ภนฺตว ความว่า เหมือนอย่างนายสารถีผู้ฉลาด

ห้ามรถที่แล่นอยู่โดยกำลังเร็ว หยุดไว้ได้ตามต้องการ ชื่อฉันใด; บุคคล

ใด พึงสะกด คืออาจข่มความโกรธที่เกิดขึ้นไว้ได้ ก็ฉันนั้น.

บทว่า ตมห ความว่า เราเรียกบุคคลนั้นว่า สารถี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 434

สองบทว่า อิตโร ชโน ความว่า ส่วนชนนอกนี้คือสารถีรถ

ของอิสรชนมีพระราชาและอุปราชเป็นต้น ย่อมชื่อว่าเป็นเพียงผู้ถือเชือก

หาใช่สารถีชั้นเยี่ยมไม่.

ในกาลจบเทศนา เทพดาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล, เทศนาได้มี

ประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

ฝ่ายเทพดา แม้เป็นพระโสดาบันก็ยังยืนร้องไห้อยู่. ครั้งนั้น พระ-

ศาสดาตรัสถามเธอว่า " ทำไมหรือ เทพดา ? " เมื่อเทพดาทูลว่า

" พระเจ้าข้า วิมานของข้าพระองค์ฉิบหายเสียแล้ว, บัดนี้ข้าพระองค์จะ

ทาอย่างไร ? " จึงตรัสว่า " อย่าเลย เทพดา ท่านอย่าคิด เราจักให้

วิมานแก่ท่าน " แล้วทรงชี้ต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งเทพดาจุติไปเมื่อวันก่อน

ใกล้กับพระคันธกุฎีในพระเชตวัน ตรัสว่า ่" ต้นไม้โน้นในโอกาสโน้น

ว่าง, เธอจงเข้าสถิต ณ ต้นไม้นั้นเถิด. " เทพดานั้นเข้าสถิตที่ต้นไม้นั้น

แล้ว. ตั้งแต่นั้น แม้เทพดาที่ทรงศักดิ์ใหญ่ ทราบว่า " วิมานของเทพดา

นี้ อันพระพุทธเจ้าประทาน " ก็ไม่อาจมาทำให้เธอหวั่นไหวได้.

พระศาสดาทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นเหตุเกิดขึ้นแล้ว ทรงบัญญัติ

ภูตคามสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 435

๓. เรื่องอุตตราอุบาสิกา [๑๗๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงทำภัตกิจในเรือน

ของนางอุตตราแล้ว ทรงปรารภอุบาสิกาชื่ออุตตรา ตรัสพระธรรมเทศนา

นี้ว่า " อกฺโกเธน ชิเน โกธ " เป็นต้น.

นายปุณณะยากจนต้องรับจ้างสุมนเศรษฐี

อนุปุพพีกถา ในเรื่องอุตตราอุบาสิกานั้น ดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า คนขัดสนชื่อปุณณะ อาศัยสุมนเศรษฐี รับจ้างเลี้ยงชีพ

อยู่ในกรุงราชคฤห์. ในเรือน (ของเขา) มีคน ๒ คนเท่านั้น คือภรรยา

ของเขาคนหนึ่ง ธิดาชื่อนางอุตตราคนหนึ่ง.

ต่อมาวันหนึ่ง พวกราชบุรุษทำการโฆษณาในกรุงราชคฤห์ว่า

" ชาวพระนครพึงเล่นนักษัตรกันตลอด ๗ วัน. " สุมนเศรษฐีได้ยินคำ

โฆษณานั้นแล้ว จึงเรียกนายปุณณะผู้มาแต่เช้าตรู่กล่าวว่า " พ่อ ปริชน

ของฉัน ประสงค์จะเล่นนักษัตรกัน, แกจักเล่นนักษัตร (กะเขา) หรือ

หรือว่าจักทำการรับจ้างเล่า ? "

นายปุณณะ. นาย ชื่อว่าการเล่นนักษัตร ย่อมเป็นของพวกท่าน

ผู้มีทรัพย์. ก็ในเรือนของผม แม้ข้าวสารจะต้มข้าวต้มเพื่อรับประทานใน

วันพรุ่งนี้ก็ไม่มี. ผมจะต้องการอะไรด้วยนักษัตรเล่า ? ผมได้โคเเล้ว ก็

จักไปไถนา.

สุมนเศรษฐี. ถ้าเช่นนั้น แกจงรับโคไปเถิด.

เขารับโคตัวทรงกำลังและไถแล้ว พูดกะภรรยาว่า " นางผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 436

ชาวพระนครเล่นนักษัตรกัน. ฉันต้องไปทำการรับจ้าง เพราะความที่เรา

เป็นคนจน. วันนี้เจ้าพึงต้มผักสัก ๒ เท่า แล้วนำภัตไปให้เราก่อน "

แล้วจึงได้ไปนา.

พระสารีบุตรเถระไปสงเคราะห์นายปุณณะ

ในกาลนั้น พระสารีบุตรเถระเข้านิโรธสมาบัติตลอด ๗ วันแล้ว

ในวันนั้นออกแล้ว ตรวจดูว่า " วันนี้ เราควรจะทำความสงเคราะห์แก่

ใครหนอแล ? " เห็นนายปุณณะซึ่งเข้าไปในข่ายคือญาณของตนแล้ว

จึงตรวจดูว่า " นายปุณณะนี้ มีศรัทธาหรือหนอ ? เขาจักอาจทำการ

สงเคราะห์แก่เราหรือไม่ ? " ทราบความที่เขามีศรัทธา มีความสามารถจะ

ทำการสงเคราะห์ได้ และเขาจะได้รับสมบัติใหญ่เพราะบุญนั้นเป็นปัจจัย

แล้ว จึงถือบาตรและจีวรไปยังที่ไถนาของเขา ได้ยืนแลดูพุ่มไม้ที่ริมบ่อ.

นายปุณณะเห็นพระเถระแล้ว จึงวางไถ ไหว้พระเถระด้วยเบญจางค-

ประดิษฐ์แล้ว คิดว่า " พระเถระคงจักต้องการไม้สีฟัน " จึงได้ทำไม้

สีฟันให้เป็นกัปปิยะถวาย.

ลำดับนั้น พระเถระได้นำเอาบาตรและผ้ากรองน้ำออกมาให้เขา.

เขาคิดว่า " พระเถระจักมีความต้องการด้วยน้ำดื่ม " จึงถือเอาบาตรและ

ผ้ากรองน้ำนั้นแล้ว ได้กรองน้ำดื่มถวาย.

พระเถระคิดว่า " นายปุณณะนี้ อยู่เรือนหลังท้ายของชนเหล่าอื่น,

ถ้าเราจักไปสู่เรือนของเขา, ภรรยาของนายปุณณะนี้จักไม่ได้เห็นเรา;

เราจักต้องอยู่ ณ ที่นี้แหละ จนกว่าภรรยาของเขาจักเดินทางนำภัตมาให้

เขา." พระเถระได้ยังเวลาให้ล่วงไปเล็กน้อย ณ ที่นั้นเอง ทราบความที่

ภรรยาของนายปุณณะนั้นขึ้นสู่ทางแล้ว จึงเดินมุ่งหน้าไปภายในพระนคร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 437

ภรรยานายปุณณะถวายภัตแก่พระเถระ

นางพบพระเถระในระหว่างทางแล้ว คิดว่า " บางคราว เมื่อมี

ไทยธรรม, เราก็ไม่พบพระผู้เป็นเจ้า, บางคราว เมื่อเราพบพระผู้เป็น

เจ้า, ไทยธรรมก็ไม่มี, ก็วันนี้เราได้พบพระผู้เป็นเจ้าแล้ว, ทั้งไทยธรรม

ก็มีอยู่; พระผู้เป็นเจ้า จักทำความอนุเคราะห์แก่เราหรือหนอแล " นาง

วางภาชนะใส่ภัตลงแล้ว ไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว กล่าว

ว่า " ท่านผู้เจริญ ขอพระผู้เป็นเจ้าอย่าคิดว่า ' ภัตนี้ เศร้าหมองหรือ

ประณีต ' จงทำความสงเคราะห์แก่ทาสของพระผู้เป็นเจ้าเถิด. "

พระเถระน้อมบาตรเข้าไป เมื่อนางเอามือข้างหนึ่งรองภาชนะ อีก

ข้างหนึ่งถวายภัตอยู่, เมื่อถวายไปได้ครึ่งหนึ่ง จึงเอามือปิดบาตรด้วยพูดว่า

" พอแล้ว. " นางกล่าวว่า " พระคุณเจ้า ส่วนเพียงส่วนเดียว ดิฉันไม่

อาจทำให้เป็นสองส่วนได้ พระผู้เป็นเจ้าไม่ต้องทำความสงเคราะห์แก่ทาส

ของพระผู้เป็นเจ้าในโลกนี้ จงทำความสงเคราะห์ในปรโลกเถิด, ดิฉัน

ประสงค์จะถวายมิให้เหลือเศษเลย " ดังนี้แล้ว ก็ได้ใส่ภัตทั้งหมดลงใน

บาตรของพระเถระ แล้วทำความปรารถนาว่า " ดิฉันพึงเป็นผู้มีส่วนแห่ง

ธรรมที่พระผู้เป็นเจ้าเห็นแล้วนั่นแหละ."

พระเถระกล่าวว่า " จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด " ยืนอยู่นั่นแหละ ทำ

อนุโมทนาเเล้ว ได้นั่งทำภัตกิจ ณ ที่สะดวกด้วยน้ำแห่งหนึ่ง.

ฝ่ายนางกลับไปหาข้าวสารหุงเป็นภัตแล้ว. แม้นายปุณณะที่ได้

ประมาณครึ่งกรีส ไม่อาจทนความหิวได้ จึงปล่อยโค เข้าไปยังร่มไม้

แห่งหนึ่ง นั่งคอยดูทางอยู่.

ลำดับนั้น ภรรยาของเขาถือภัตเดินไป พอเห็นเขาก็คิดว่า " เขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 438

ถูกความหิวบีบคั้น นั่งคอยดูเราอยู่แล้ว; ถ้าว่าเขาจักคุกคามเราว่า 'เจ้า

ชักช้าเหลือเกิน ' แล้วเอาด้ามปฏักฟาดเรา, กรรมที่เราทำแล้วจักเป็น

ของไร้ประโยชน์, เราจักต้องชิงบอกแก่เขาก่อนทีเดียว " ดังนี้แล้ว จึง

กล่าวอย่างนั้นว่า " นาย ท่านจงทำจิตให้ผ่องใสสักวันหนึ่งเถิด วันนี้,

อย่าได้ทำกรรมที่ดิฉันทำแล้วให้ไร้ประโยชน์, ก็ดิฉันนำภัตมาให้ท่านแต่

เช้าตรู่ พบพระธรรมเสนาบดีในระหว่างทาง จึงถวายภัตของท่านแก่

พระเถระนั้น แล้วไปหุงภัตมาใหม่, จงทำจิตให้เลื่อมใสเถิดนาย. " เขา

ถามว่า " เจ้าพูดอะไร ? นางผู้เจริญ " ได้สดับเรื่องนั้นซ้ำอีกแล้ว จึง

พูดว่า " นางผู้เจริญ เจ้าถวายภัตของเราแก่พระผู้เป็นเจ้า ทำความดีแล้ว

เทียว, เช้าตรู่วันนี้ แม้เราก็ได้ถวายไม้สีฟัน และน้ำบ้วนปากแก่พระผู้

เป็นเจ้าแล้ว " มีใจเลื่อมใสเพลิดเพลินถ้อยคำนั้นแล้ว เป็นผู้มีกายอ่อน

เพลีย เพราะได้ภัตในเวลาสาย พาดศีรษะบนตักของภรรยานั้นแล้วก็

หลับไป.

ทานของสามีภรรยาอานวยผลในวันนั้น

ครั้งนั้น ที่ที่เขาไถไว้เเต่เช้าตรู่ ได้เป็นทองคำเนื้อสุกทั้งหมด จน

กระทั่งฝุ่นละลองดิน ตั้งอยู่งดงามดุจดอกกรรณิกา. เขาตื่นขึ้น แลเห็น

แล้ว จึงพูดกะภรรยาว่า " นางผู้เจริญ ที่ที่ฉันไถแล้วนั่น ปรากฏ

แก่ฉันเป็นทองคำทั้งหมด, เพราะฉันได้ภัตสายเกินไป ตาจะลายไปกระมัง

หนอ ?"

แม้ภรรยาองเขาก็รับรองว่า " ที่นั้น ก็ย่อมปรากฏแม้แก่ดิฉัน

อย่างนั้นเหมือนกัน. "

เขาลุกขึ้นไปในที่นั้น จับก้อนหนึ่งตีที่งอนไถแล้ว ทราบว่าเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 439

ทองคำ จึงคิดว่า " โอ ทานที่เราถวายแก่พระผู้เป็นเจ้าธรรมเสนาบดี

แสดงผลในวันนี้เอง ก็เราไม่อาจที่จะซ่อนทรัพย์ประมาณเท่านี้ไว้ใช้สอย

ได้ " จึงเอาทองคำใส่เต็มถาดข้าวที่ภรรยานำมาแล้ว ได้ไปสู่ราชตระกูล

มีโอกาสอันพระราชาพระราชทานแล้ว จึงเข้าไปถวายบังคมพระราชา,

เมื่อพระองค์ตรัสว่า " อะไร ? พ่อ " จึงกราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติ

เทวราช ที่ที่ข้าพระองค์ไถแล้วในวันนี้ทั้งหมด เป็นที่เต็มไปด้วยทองคำ

ทั้งนั้นตั้งอยู่แล้ว, พระองค์ควรจะรับสั่งให้ขนทองคำมาไว้. "

พระราชา. ท่านเป็นใคร ?

นายปุณณะ. ข้าพระองค์ชื่อปุณณะ.

พระราชา. ก็วันนี้ ท่านทำอะไรเล่า ?

นายปุณณะ. เช้าตรู่วันนี้ ข้าพระองค์ได้ถวายไม้สีฟันและน้ำ

บ้วนปากแก่พระธรรมเสนาบดี. ส่วนภรรยาของข้าพระองค์ได้ถวายภัตที่

เขานำมาให้ข้าพระองค์แก่พระธรรมเสนาบดีนั้นเหมือนกัน.

พระราชา ทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า " พ่อผู้เจริญ ได้ยินว่า

ทานที่ท่านถวายพระธรรมเสนาบดี แสดงวิบากในวันนี้เอง " แล้วตรัส

ถามว่า " พ่อ เราจะทำอย่างไร ? "

นายปุณณะ ขอพระองค์จงส่งเกวียนไปหลาย ๆ พัน ให้นำทองคำ

มาเถิด.

พระราชาทรงส่งเกวียนทั้งหลายไปแล้ว. เมื่อพวกราชบุรุษพูดว่า

" เป็นของพระราชา " ถือเอาอยู่. ทองคำที่เขาถือเอาแล้ว ๆ ย่อมเป็น

ดินอย่างเดิม. พวกเขาไปทูลพระราชา อันพระองค์ตรัสถามว่า " ก็พวก

เจ้าพูดว่ากระไร ? จึงถือเอา " จึงทูลว่า " พูดว่า ' เป็นราชทรัพย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 440

ของพระองค์."

พระราชา. หาใช่ทรัพย์ของเราไม่, พวกเจ้าจงไป, จงพูดว่า

' เป็นทรัพย์ของนายปุณณะ ' ถือเอาเถิด.

พวกเขาทาอย่างนั้น. ทองคำที่เขาถือแล้ว ๆ ได้เป็นทองคำแท้.

พวกเขาจึงขนทองคำนั้นทั้งหมดมาทำเป็นกองไว้ที่ท้องพระลานหลวง.

(ทองคาทั้งหมดนั้น) ได้กองสูงประมาณ ๘๐ ศอก.

นายปุณณะได้รับตำแหน่งเศรษฐี

พระราชาทรงรับสั่งให้ชาวพระนครประชุมกันแล้ว ตรัสถามว่า

" ในพระนครนี้ ใครมีทองคำถึงเพียงนี้บ้าง "

ชาวพระนคร. ไม่มี พระเจ้าข้า.

พระราชา. ก็เราควรจะให้อะไรแก่นายปุณณะเล่า ?

ชาวพระนคร. ฉัตรสำหรับเศรษฐี พระเจ้าข้า.

พระราชา. ตรัสว่า " นายปุณณะจงเป็นเศรษฐีชื่อพหุธนเศรษฐี "

แล้ว ได้พระราชทานฉัตรสำหรับเศรษฐีแก่เขา พร้อมด้วยโภคะมากมาย.

ครั้งนั้น เขากราบทูลพระราชานั้นว่า " ข้าแต่สมมติเทวราช ข้า-

พระองค์ทั้งหลายอาศัยอยู่ในตระกูลอื่น ตลอดเวลาถึงเพียงนี้, ขอพระองค์

ได้โปรดประทานที่อยู่แก่ข้าพระองค์เถิด. "

พระราชาตรัสว่า " ถ้ากระนั้น ท่านจงดู, กอไม้นั้นปรากฏอยู่

ทางด้านทักษิณ, จงนำกอไม้นั่นออก ให้ช่างทำเรือนเถิด " ดังนี้แล้ว

ก็ตรัสบอกที่เรือนของเศรษฐีเก่า.

เขาให้ช่างทำเรือนในที่นั้น โดย ๒ - ๓ วันเท่านั้น ทำเคหปปเวสน-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 441

มงคล และฉัตรมงคล เป็นงานเดียวกัน ได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน. ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรง

ทำอนุโมทนาแก่เขา จึงตรัสอนุปุพพีกถาแล้ว.

ในกาลจบธรรมกถา ชนทั้ง ๓ คือ ปุณณเศรษฐี ๑ ภรรยาของ

เขา ๑ นางอุตตราผู้เป็นธิดา ๑ ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว.

ธิดาปุณณเศรษฐีได้เป็นภรรยาบุตรสุมนเศรษฐี

ในกาลต่อมา เศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ขอธิดาของปุณณเศรษฐีให้

บุตรของตน. เขาพูดว่า " ผมให้ไม่ได้." เมื่อเศรษฐีในกรุงราชคฤห์

พูดว่า " จงอย่าทำอย่างนั้น, ท่านอาศัยฉันอยู่ตลอดเวลาถึงเพียงนี้ทีเดียว

จึงได้สมบัติ, จงให้ธิดาแก่บุตรของฉันเถิด " จึงกล่าวว่า " บุตรของ

ท่านนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ, ส่วนธิดาของผมเหินห่างจากพระรัตนะทั้งสามแล้ว

ไม่อาจเป็นไปได้, ผมจึงจักยกธิดาให้บุตรของท่านไม่ได้เลย. "

ครั้งนั้น กุลบุตรทั้งหลายมีเศรษฐีและคฤหบดีเป็นต้น เป็นอันมาก

วิงวอนเขาว่า " อย่าทำลายความสนิทสนมกับด้วยเศรษฐีในกรุงราชคฤห์

นั้น, จงยกธิดาให้บุตรของเขาเถิด. " เขารับคำของกุลบุตรเหล่านั้นแล้ว

ได้ยกธิดาให้ในดิถีเพ็ญเดือนอาสฬหะ.

จำเดิมแต่เวลาไปสู่เรือนตระกูลสามีแล้ว นางมิได้เพื่อจะเข้าไปหาภิกษุ

หรือภิกษุณี หรือเพื่อถวายทานหรือฟังธรรมเลย. เมื่อล่วงไปได้ประมาณ

๒ เดือนครึ่ง ด้วยอาการอย่างนี้, นางจึงถามสาวใช้ผู้อยู่ในสำนักว่า " เวลา

นี้ภายในพรรษายังเหลืออีกเท่าไร ? "

๑. มงคลอันบุคคลพึงทำในกาลเป็นที่เข้าไปสู่เรือน. ๒. มงคลอันบุคคลพึงทำแก่ฉัตร ในกาล

เป็นที่ฉลองฉัตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 442

สาวใช้. ยังอยู่อีกครึ่งเดือน คุณแม่.

นางส่งข่าวไปให้บิดาว่า " เหตุไฉน บิดาจึงขังดิฉันไว้ในเรือน มี

รูปอย่างนี้ ? การที่บิดาทำฉันให้เป็นคนเสียโฉม แล้วประกาศว่า เป็น

ทาสีของชนพวกอื่น ยังจะประเสริฐกว่า, การที่ยกให้แก่ตระกูลมิจฉาทิฏฐิ

เห็นปานนี้ ไม่ประเสริฐเลย, ตั้งแต่ดิฉันมาแล้ว ดิฉันไม่ได้ทำบุญแม้

สักอย่างในประเภทบุญ มีการพบเห็นภิกษุเป็นต้นเลย. "

ลำดับนั้น บิดาของนางให้รู้สึกไม่สบายใจ ด้วยคิดว่า " ธิดาของ

เราได้รับทุกข์หนอ " จึงส่งทรัพย์ไป ๑๕,๐๐๐ กหาปณะ ด้วยสั่งว่า " ใน

นครนี้ มีหญิงคณิกาชื่อสิริมา, เจ้าจงพูดว่า ' หล่อนจงรับทรัพย์วันละ

๑,๐๐๐ กหาปณะ นำนางมาด้วยกหาปณะเหล่านี้ ทำให้เป็นนางบำเรอ

ของสามีแล้ว ส่วนตัวเจ้าจงทำบุญทั้งหลายเถิด. "

นางให้เชิญนางสิริมามาแล้ว พูดว่า " สหาย เธอจงรับกหาปณะ

เหล่านั้นแล้ว บำเรอชาย สหายของเธอสักกึ่งเดือนนี้เถิด. "

นางสิริมานั้นรับรองว่า " ดีละ " นางพาเขาไปสำนักของสามี เมื่อ

สามีนั้นเห็นนางสิริมาแล้ว กล่าวว่า " อะไรกันนี่ ? " จึงบอกว่า " นาย

ขอให้หญิงสหายของดิฉันบำเรอนายตลอดกึ่งเดือนนี้, ส่วนดิฉันใคร่จะ

ถวายทานและฟังธรรม ตลอดกึ่งเดือนนี้. "

เศรษฐีบุตรเห็นนางมีรูปงาม เกิดความสิเนหา จึงรับรองว่า

" ดีละ."

นางอุตตราได้โอกาสทำบุญ

แม้นางอุตตราแล นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขว่า

" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์อย่าเสด็จไปที่อื่น พึงรับภิกษาใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 443

เรือนนี้แห่งเดียว ตลอดกึ่งเดือนนี้. " รับปฏิญญาของพระศาสดาแล้ว

มีใจยินดีว่า " บัดนี้ เราจักได้เพื่ออุปัฏฐากพระศาสดาและฟังธรรมตั้งแต่นี้

ไป ตลอดจนถึงวันมหาปวารณา " เที่ยวจัดแจงกิจทุกอย่างในโรงครัว

ใหญ่ว่า " พวกท่านจงต้มข้าวต้มอย่างนั้น จงนึ่งขนมอย่างนี้. "

ครั้งนั้น สามีของนางคิดว่า " พรุ่งนี้เป็นวันมหาปวารณา " ยื่นตรง

หน้าต่าง บ่ายหน้าไปทางโรงครัวใหญ่ ตรวจดูอยู่ด้วยคิดว่า " นาง

อันธพาลนั้น เที่ยวทำอะไรอยู่หนอแล ? " แลเห็นธิดาเศรษฐีนั้น ขะมุก-

ขะมอมไปด้วยเหงื่อ เปรอะด้วยเถ้า มอมแมมด้วยถ่านและเขม่า เที่ยวจัด

ทำอยู่อย่างนั้น จึงคิดว่า " พุทโธ่ หญิงอันธพาล ไม่เสวยสมบัติมีสิริเช่นนี้

ในฐานะเห็นปานนี้, กลับมีจิตยินดีว่า ' เราจักอุปัฏฐากศีรษะโล้น.

เที่ยวไปได้ " จึงหัวเราะแล้วหลบไป.

เมื่อเศรษฐีบุตรนั้นหลบไปแล้ว. นางสิริมาซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ของ

เขาคิดว่า " เศรษฐีบุตรนั่นมองดูอะไรหนอแล จึงหัวเราะ " จึงมองลงไป

ทางหน้าต่างนั้นแหละ เห็นนางอุตตราแล้วคิดว่า " เศรษฐีบุตรนี้หัวเราะ

ก็เพราะเห็นนางคนนี้, ความชิดชมของเศรษฐีบุตรนี้คงมีกับด้วยนางนี้

เป็นแน่. "

นางสิริมาหึงนางอุตตราเอาเนยใสเดือดรด

ได้ยินว่า นางสิริมานั้นแม้อยู่เป็นพาหิรกสตรีในเรือนนั้นตลอดกึ่ง

เดือน เสวยสมบัตินั้นอยู่ ก็ยังไม่รู้ตัวว่าเป็นหญิงภายนอก ได้ทำความ

สำคัญว่า " ตัวเป็นแม่เจ้าเรือน. " นางผูกอาฆาตต่อนางอุตตราว่า " จัก

ต้องยังทุกข์ให้เกิดแก่มัน " จึงลงจากปราสาท เข้าไปสู่โรงครัวใหญ่ เอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 444

ทัพพีตักเนยใสอันเดือดพล่านในที่ทอดขนมแล้ว ก็เดินมุ่งหน้าตรงไปหา

นางอุตตรา. นางอุตตราเห็นนางสิริมาเดินมา จึงแผ่เมตตาไปถึงนางว่า

" หญิงสหายของเราทำอุปการะแก่เรามาก, จักรวาลก็แคบเกินไป, พรหม-

โลกก็ต่ำนัก, ส่วนคุณของหญิงสหายเราใหญ่มาก; ก็เราอาศัยนางนั่น จึงได้

เพื่อถวายทานและฟังธรรม; ถ้าเรามีความโกรธเหนือนางสิริมานั้น เนยใส

นี้จงลวกเราเถิด; ถ้าไม่มี อย่าลวกเลย. " เนยใสซึ่งเดือดพล่านที่นางสิริมา

นั้นรดลงเบื้องบนนางอุตตรานั้น ได้เป็นเหมือนน้ำเย็น.

ลำดับนั้น พวกทาสีของนางอุตตรา เห็นนางผู้ตักเนยใสให้เต็มทัพพี

อีกด้วยเข้าใจว่า " เนยใสนี้คงจักเย็น ถือเดินมาอยู่ จึงคุกคามว่า " นาง

หัวดื้อ เจ้าจงหลีกไป, เจ้าไม่ควรจะรดเนยใสที่เดือดพล่าน บนเจ้าแม่ของ

พวกเรา " แล้วต่างลุกขึ้นจากที่นี้บ้าง ที่นั้นบ้าง ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ทุบ

ถีบให้ล้มลงบนพื้น. นางอุตตราไม่สามารถจะห้ามปรามนางทาสีเหล่านั้น

ได้. ทีนั้นนางจึงห้ามทาสีทุกคน ที่ยืนคร่อมอยู่ข้างบนนางสิริมานั้นแล้ว

ถามว่า " เพื่อประสงค์อะไร เธอจึงทำกรรมหนักถึงปานนี้ ? " ดังนี้แล้ว

โอวาทนางสิริมา ให้อาบด้วยน้ำอุ่น ทาด้วยน้ำมันที่หุงตั้ง ๑๐๐ ครั้ง.

นางสิริมารู้สึกตัวขอโทษนางอุตตรา

ขณะนั้น นางสิริมานั้นรู้สึกตัวว่าเป็นหญิงภายนอกแล้ว คิดว่า " เรา

รดเนยใสที่เดือดพล่านลงเบื้องบนนางอุตตรานี้ เพราะเหตุเพียงความหัวเราะ

ของสามี ทำกรรมหนักแล้ว, นางอุตตรานี้ไม่สั่งบังคับพวกทาสีว่า ' พวก

เธอจงจับเขาไว้ ' กลับห้ามพวกทาสีทั้งหมด แม้ในเวลาที่ข่มเหงเรา ได้

ทำกรรมที่ควรแก่เราทั้งนั้น; ถ้าเราไม่ขอให้นางอุตตรานี้อดโทษให้, ศีรษะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 445

ของเราจะพึงแตกออก ๗ เสี่ยง " ดังนี้แล้ว จึงหมอบลงแทบเท้าของนาง

อุตตรานั้น แล้วกล่าวว่า " คุณแม่ ขอคุณแม่จงอดโทษให้ดิฉันเถิด. "

นางอุตตรา. ดิฉันเป็นธิดาที่มีบิดา เมื่อบิดาอดโทษให้. ก็จักอด

โทษให้.

นางสิริมา. คุณแม่ ข้อนั้นจงยกไว้เถิด. ดิฉันจักให้ท่านปุณณ-

เศรษฐีผู้บิดาของคุณแม่อดโทษให้ด้วย.

นางอุตตรา. ท่านปุณณะ เป็นบิดาบังเกิดเกล้าของคุณแม่ในวัฏฏะ,

แต่เมื่อบิดาผู้บังเกิดเกล้าในวิวัฏฏะอดโทษให้ ดิฉันจึงจักอดโทษ.

นางสิริมา. ก็ใครเล่า ? เป็นบิดาบังเกิดเกล้าของคุณแม่ในวิวัฎฎะ.

นางอุตตรา. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า.

นางสิริมา. ดิฉันไม่มีความคุ้นเคยกับพระองค์.

นางอุตตรา. ฉันจักทำเอง. พรุ่งนี้ พระศาสดาจักทรงพาภิกษุสงฆ์

เสด็จมาที่นี้: เธอจงถือสักการะตามแต่จะได้มาที่นี้แหละ แล้วขอให้พระ-

องค์อดโทษเถิด.

นางสิริมาขอให้พระศาสดาทรงอดโทษ

นางสิริมานั้นรับว่า " ดีละ คุณแม่ " ลุกขึ้นแล้วไปสู่เรือนของตน

สั่งหญิงบริวาร ๕๐๐ ให้ตระเตรียมขาทนียะและสูเปยยะต่าง ๆ อย่าง รุ่ง

ขึ้นก็ถือสักการะนั้นมาเรือนของนางอุตตรา ไม่กล้าจะใส่บาตรภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จึงได้ยืนอยู่แล้ว. นางอุตตรารับเอาสิ่งของ

ทั้งหมดนั้นมาจัดแล้ว.

๑. สูเปยฺย วัตถุเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สูปะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 446

ในเวลาเสร็จภัตกิจ นางสิริมาพร้อมด้วยบริวาร หมอบลงแทบเบื้อง

พระบาทของพระศาสดา.

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสถามนางว่า " เจ้ามีความผิดอะไร ? "

นางสิริมา. พระเจ้าข้า วานนี้หม่อมฉันได้ทำกรรมชื่อนี้, เมื่อเป็น

เช่นนั้น หญิงสหายของหม่อมฉัน ยังห้ามทาสีซึ่งเบียดเบียนหม่อมฉัน ได้

ทำอุปการะแก่หม่อมฉันโดยแท้, หม่อมฉันนั้นรู้สึกถึงคุณของนางนี้ จึงขอ

ให้นางนี้อดโทษ, เมื่อเป็นเช่นนั้น นางกล่าวกะหม่อมฉันว่า 'เมื่อพระองค์

ทรงอดโทษให้ จึงจักอดโทษให้. '

พระศาสดา. อุตตราได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ?

นางอุตตรา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า วานนี้หญิงสหายของหม่อมฉัน

ได้รดเนยใสที่เดือดพล่าน บนศีรษะของหม่อมฉัน.

พระศาสดา. เมื่อเช่นนั้น เธอคิดอย่างไร ?

นางอุตตรา หม่อมฉันคิดอย่างนั้นว่า 'จักรวาลแคบนัก พรหมโลก

ก็ยังต่ำเกินไป, คุณของหญิงสหายข้าพระองค์เท่านั้นใหญ่, เพราะหม่อมฉัน

อาศัยเขา จึงได้ถวายทานและฟังธรรม; ถ้าว่าหม่อมฉันมีความโกรธอยู่

เหมือนางนี้, เนยใสที่เดือดพล่านนี้ จงลวกหม่อมฉันเถิด, ถ้าหาไม่แล้ว,

ขออย่าลวกเลย.' แล้วได้เเผ่เมตตาไปยังนางสิริมานี้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า " ดีละ ดีละ อุตตรา การชนะความโกรธอย่าง

นั้น สมควร; ก็ธรรมดาคนมักโกรธ พึงชนะด้วยความไม่โกรธ, คนด่า

เขา ตัดพ้อเขา พึงชนะได้ด้วยความไม่ด่า (ตอบ) ไม่ตัดพ้อ (ตอบ), คน

ตระหนี่จัด พึงชนะได้ด้วยการให้ของตน, คนมักพูดเท็จ พึงชนะได้ด้วย

คำจริง " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 447

๓. อกฺโกเธน ชิเน โกธ อสาธุ สาธุนา ชิเน

ชิเน กทริย ทาเนน สจฺเจนาลิกวาทิน.

" พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ, พึงชนะ

คนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการ

ให้ พึงชนะคนพูดเหลวไหล ด้วยคำจริง. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺโกเธน ความว่า บุคคลผู้มักโกรธ

แล พึงเป็นผู้อันบุคคลพึงชนะด้วยความไม่โกรธ. ผู้ไม่ดี คือผู้ไม่เจริญ

เป็นผู้อันบุคคลพึงชนะด้วยความดี, ผู้ตระหนี่ คือเหนียวแน่นจัด เป็นผู้

อันบุคคลพึงชนะด้วยจิตคิดสละของของตน, คนพูดเหลาะแหละ อันบุคคล

พึงชนะด้วยคำจริง; เพราะเหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้ว่า " อกฺโก-

เธน ชิเน โกธ ฯ เป ฯ สจฺเจนาลิกวาทิน. "

ในกาลจบเทศนา นางสิริมาพร้อมด้วยญาติทั้ง ๕๐๐ ตั้งอยู่แล้วใน

โสดาปัตติผล ดังนี้แล.

เรื่องอุตตราอุบาสิกา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 448

๕. เรื่องปัญหาของพระโมคคัลลานเถระ [๑๗๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปัญหาของ

พระมหาโมคคัลลานเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สจฺจ ภเณ "

เป็นต้น.

พระโมคคัลลนะไปเทวโลก

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระเถระไปยังเทวจาริก ยืนอยู่ที่ประตู

วิมานของเทพธิดาผู้มีศักดิ์มากแล้ว จึงพูดอย่างนั้นกะเทพธิดาองค์นั้น ผู้มา

สู่สำนักของตน ไหว้แล้วยืนอยู่ว่า " เทพธิดา สมบัติของท่านมากมาย,

ท่านได้เพราะทำกรรมอะไร ? "

เทพธิดา. อย่าถามดิฉันเลย เจ้าข้า.

นัยว่า เทพธิดาละอายอยู่ด้วยกรรมอันเล็กน้อยของตน จึงได้พูด

อย่างนั้น. ก็เทพธิดานั้น อันพระเถระกล่าวอยู่ว่า " จงบอกเถิด " จึงพูดว่า

" ท่านผู้เจริญ ทานดิฉันก็มิได้ถวาย, การบูชาก็มิได้ทำ, พระธรรมก็มิได้

ฟัง, รักษาเพียงคำสัตย์อย่างเดียว. "

พระเถระ ไปยังประตูวิมานแม้อื่นแล้ว ก็ถามเทพธิดาแม้อื่นผู้มา

แล้ว ๆ ถึงเมื่อเทพธิดาเหล่านั้น ไม่อาจเพื่อจะปกปิดเกียดกันพระเถระได้

อย่างนั้นนั่นแล, เทพธิดาองค์หนึ่งจึงพูดก่อนว่า " ท่านผู้เจริญ บรรดา

บุญกรรมมีทานเป็นต้น ชื่อว่าบุญกรรมอันดิฉันทำแล้ว ไม่มี, แต่ในกาล

ของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ดิฉันได้เป็นทาสีของคนอื่น, นาย

ของดิฉันนั้น ดุร้ายหยาบคายเหลือเกิน ย่อมเอาไม้บ้าง ท่อนฟืนบ้าง ที่ตัว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 449

พลันฉวยได้ ๆ ตีที่ศีรษะ, ดิฉันนั้นเมื่อความโกรธเกิดขึ้น, ก็นึกติตัวเอง

เท่านั้นว่า ' นายของเจ้านี่ เป็นใหญ่ เพื่อจะทำเจ้าให้เสียโฉมก็ได้, เพื่อ

จะตัดอวัยวะมีจมูกเป็นต้น ของเจ้าก็ได้, เจ้าอย่าโกรธเลย ' ดังนี้แล้ว ก็ไม่

ทำความโกรธ; ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงได้สมบัตินี้. "

เทพธิดาองค์อื่น ต่างก็บอกทานเล็กน้อยอันตน ๆ ทำแล้ว โดยนัย

เป็นต้นว่า " ท่านผู้เจริญ ดิฉันรักษาไร่อ้อย ได้ถวายอ้อยลำหนึ่งแก่ภิกษุ

รูปหนึ่ง. " องค์อื่นบอกว่า ' ดิฉันถวายมะพลับผลหนึ่ง ' องค์อื่นบอกว่า

' ดิฉันได้ถวายฟักทองผลหนึ่ง ' องค์อื่นบอกว่า ' ดิฉันได้ถวายผลลิ้นจี่

ผลหนึ่ง' องค์อื่นบอกว่า ' ดิฉันได้ถวายเหง้ามันกำมือหนึ่ง ' องค์อื่นบอก

ว่า ' ดิฉันได้ถวายสะเดากำมือหนึ่ง ' ดังนี้แล้ว ก็บอกว่า ' ด้วยเหตุนี้

พวกดิฉันจึงได้สมบัตินี้. "

กล่าวคาสัตย์เท่านั้นก็ได้ไปสวรรค์ได้

พระเถระ ฟังกรรมที่เทพธิดาเหล่านั้นทำแล้ว จึงลงจากสวรรค์

เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า " พระเจ้าข้า บุคคลอาจไหมหนอแล

เพื่อจะได้ทิพยสมบัติ ด้วยเหตุเพียงกล่าวคำสัตย์ เพียงดับความโกรธ เพียง

ถวายทานมีผลมะพลับเป็นต้น อันเล็กน้อยเหลือเกิน ? "

พระศาสดา. โมคคัลลานะ เพราะเหตุไร เธอจึงถามเรา ? พวก

เทพธิดาบอกเนื้อความนี้แก่เธอแล้ว มิใช่หรือ ?

โมคคัลลานะ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า บุคคลเห็นจะได้ทิพยสมบัติ

ด้วยกรรมมีประมาณเท่านั้น.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระโมคคัลลานะนั้นว่า " โมคคัลลานะ

บุคคลกล่าวเพียงคาสัตย์ก็ดี ละเพียงความโกรธก็ดี ถวายทานเพียงเล็ก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 450

น้อยก็ดี ย่อมไปเทวโลกได้เเท้ " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. สจฺจ ภเณ น กุชฺเฌยฺย ทชฺชา อปฺปสฺมิ ยาจิโต

เอเตหิ ตีหิ าเนหิ คจฺเฉ เทวาน สนฺติเก.

" บุคคลควรกล่าวคำสัตย์ ไม่ควรโกรธ, ถึงถูก

เขาขอน้อย ก็พึงให้, บุคคลพึงไปในสำนักของเทวดา

ทั้งหลายได้ ด้วยฐานะ ๓ นั่น. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สจฺจ ภเณ ความว่า พึงแสดง คือ

พึงกล่าวคำสัตย์, อธิบายว่า ควรตั้งมั่นอยู่ในคำสัตย์.

บทว่า น กุชฺเฌยฺย ได้แก่ ไม่ควรโกรธต่อบุคคลอื่น.

บทว่า ยาจิโต ความว่า บรรพชิตผู้มีศีล ชื่อว่าผู้ขอ. ความจริง

บรรพชิตเหล่านั้น ไม่ขอเลยว่า " ขอท่านจงให้ " ย่อมยืนอยู่ที่ประตูเรือน

ก็จริง. ถึงกระนั้น โดยอรรถก็ชื่อว่าย่อมขอทีเดียว บุคคลอันผู้มีศีลขอแล้ว

อย่างนั้น เมื่อไทยธรรมแม้เล็กน้อยมีอยู่ ก็พึงให้เเม้เพียงเล็กน้อย.

สองบทว่า เอเตหิ ตีหิ ความว่า บรรดาเหตุเหล่านั้น ด้วยเหตุแม้

เพียงอย่างเดียว บุคคลพึงไปเทวโลกได้.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องปัญหาของพระโมคคัลลานเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 451

๕. เรื่องปัญหาที่ภิกษุทูลถาม [๑๗๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยเมืองสาเกต ประทับอยู่ที่อัญชนวัน ทรง

ปรารภปัญหาที่ภิกษุทั้งหลายทูลถาม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อหึสกา

เย " เป็นต้น.

สองผัวเมียแสดงตนเป็นพุทธบิดาและพุทธมารดา

ดังได้สดับมา ในกาลที่พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จ

เข้าไปในเมืองสาเกต เพื่อบิณฑบาต พราหมณ์เฒ่าชาวเมืองสาเกตคนหนึ่ง

กำลังเดินออกไปจากพระนคร พบพระทศพลที่ระหว่างประตู จึงหมอบ

ลงแทบพระบาททั้งสองแล้ว จับที่ข้อพระบาทไว้มั่น พลางกล่าวว่า " พ่อ

ธรรมดามารดาและบิดา อันพวกลูกชายพึงประคบประหงม ในเวลาที่

ท่านชราแล้วมิใช่หรือ ? เหตุไรเล่า พ่อจึงไม่แสดงตน (ให้ปรากฏ) แก่

ข้าพระองค์สิ้นกาลประมาณเพียงนี้ ? พระองค์อันข้าพระองค์เห็นก่อน,

ขอพระองค์จงเสด็จมาเยี่ยมมารดาบ้าง " ดังนี้แล้ว ก็ได้พาพระศาสดาไป

สู่เรือนของตน. พระศาสดาเสด็จไปที่เรือนนั้นแล้ว ประทับนั่งเหนือ

อาสนะซึ่งปูลาดไว้กับด้วยภิกษุสงฆ์.

ฝ่ายพราหมณี มาหมอบแทบพระบาททั้งสองของพระศาสดาแล้ว

ทูลว่า " พ่อ พ่อเป็นผู้ไปเสียที่ไหน สิ้นกาลประมาณเพียงนี้ ? ธรรมดา

มารดาและบิดา อันบุตรธิดาควรบำรุง ในเวลาที่ท่านแก่เฒ่ามิใช่หรือ ?

แล้วให้บุตรและธิดาทั้งหลายถวายบังคมด้วยคำว่า " พวกเจ้าจงมา, จง

ถวายบังคมพระพี่ชาย. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 452

แม้สองสามีภรรยานั้น มีใจยินดี เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุขแล้ว ทูลว่า " พระเจ้าข้า ขอพระองค์จงทรงรับภิกษาที่เรือน

นี้แหละเป็นนิตย์ " เมื่อพระศาสดาตรัสว่า " ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ย่อมไม่ทรงรับภิกษาเป็นนิตย์ ในที่แห่งเดียวเท่านั้น. " จึงกราบทูลว่า

" ถ้ากระนั้น ขอพระองค์พึงส่งพวกคนที่มาเพื่อนิมนต์พระองค์ไปที่สำนัก

ของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า."

จำเดิมแต่นั้น พระศาสดาทรงส่งพวกคนที่มาเพื่อนิมนต์ไป ด้วย

พระดำรัสว่า " พวกท่านจงไปบอกแก่พราหมณ์เถิด. " คนที่มานิมนต์

เหล่านั้น ย่อมไปบอกกะพราหมณ์ว่า " เราทั้งหลาย ย่อมนิมนต์พระศาสดา

เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้. "

ในวันรุ่งขึ้น พราหมณ์ย่อมถือภาชนะภัตและภาชนะแกง จากเรือน

ของตนไปสู่สถานที่พระศาสดาประทับนั่งอยู่. ก็ในเมื่อการนิมนต์ไป (ฉัน)

ในที่อื่นไม่มี พระศาสดาย่อมทรงทำภัตกิจที่เรือนของพราหมณ์นั้นแล.

แม้สองสามีภรรยานั้น ถวายไทยธรรมของตนแด่พระตถาคตอยู่ ฟังธรรม

กถาอยู่ตลอดกาลเป็นนิตย์ บรรลุอนาคามิผลแล้ว.

พระศาสดาตรัสบุรพประวัติของพราหมณ์

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย พราหมณ์

ชื่อโน้น รู้ว่า ' พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพระบิดาของพระตถาคต, พระนาง

เจ้ามหามายาเป็นพระมารดา ' ทั้งรู้อยู่ (อย่างนั้น) แหละ พร้อมกับ

พราหมณ์เรียกพระตถาคตว่า ' บุตรของเรา.' ฝ่ายพระศาสดาก็ทรงรับรอง

อย่างนั้นเหมือนกัน; จักมีเหตุอะไรหนอแล ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 453

พระศาสดา ทรงสดับกถาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย ทั้งสองสามีภริยานั้น ย่อมเรียกบุตรของตนเท่านั้นว่า 'บุตร'

ดังนี้แล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมา ทรงแสดงความที่พระองค์เป็นบุตร

ของพราหมณ์ผัวเมียทั้งสองนั้นสิ้น ๓,๐๐๐ ชาติว่า " ภิกษุทั้งหลาย ในอดีต-

กาล พราหมณ์นี้ได้เป็นบิดาของเรา ๕,๐๐๐ ชาติติด ๆ กัน, เป็นอาของเรา

๕๐๐ ชาติ, เป็นลุง ๕๐๐ ชาติ, ถึงพราหมณีนั้นก็ได้เป็นมารดาของเรา

๕๐๐ ชาติติด ๆ กัน, เป็นน้าของเรา ๕๐๐ ชาติ, เป็นป้าของเรา ๕๐๐

ชาติ; เราเป็นผู้เจริญแล้วในมือของพราหมณ์ ๑,๕๐๐ ชาติ; เจริญแล้ว

ในมือพราหมณี ๑,๕๐๐ ชาติอย่างนี้. " แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้

ว่า :-

" ใจย่อมจดจ่อ, แม้จิตก็เลื่อมใสในบุคคลใด,

เขาย่อมสนิทสนมในบุคคลแม้นั้น ซึ่งตนไม่เคยเห็น

โดยแท้ ความรักนั้นย่อมเกิด เพราะอาศัยเหตุ ๒

ประการอย่างนี้ คือเพราะการอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑,

เพราะการเกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ เปรียบเหมือน

ดอกบัวเกิดในน้ำได้ (เพราะอาศัยเปือกตมและน้ำ)

ฉะนั้น."

พระศาสดาเสด็จไปสู่ที่เผาศพของพราหมณ์

พระศาสดาทรงอาศัยตระกูลนั้น ประทับอยู่แล้วสิ้นไตรมาสนั่นแล.

ฝ่ายพราหมณ์และพราหมณีทั้งสองนั้น ทำให้แจ้งซึ่งพระอรหัตผลแล้วก็

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๒๒. สาเกตชาดก. อรรถกถา. ๒/๑๐๙.

๒. ขุ. ชา. ๒๗/๙๑. อรรถกถา. ๓/๓๐๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 454

ปรินิพพาน คราวนั้นชนทั้งหลายทำสักการะอย่างมากมายแก่พราหมณ์และ

พราหมณีเหล่านั้นแล้ว ก็ยกทั้งสองขึ้นสู่เรือนยอดหลังเดียวกันนั่นแหละ

นำไปแล้ว.

แม้พระศาสดา มีภิกษุ ๕๐๐ รูปเป็นบริวาร ได้เสด็จไปยังป่าช้ากับ

ชนเหล่านั้นเหมือนกัน.

มหาชนออกไปแล้ว ด้วยคิดว่า " ได้ยินว่าพระมารดาและพระบิดา

ของพระพุทธเจ้าทำกาละเสียแล้ว. พระศาสดาได้เสด็จเข้าไปยังศาลาหลัง

หนึ่ง ในที่ใกล้ป่าช้าประทับยืนแล้ว. พวกมนุษย์ถวายบังคมพระศาสดา

แล้วยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทำปฏิสันถารกับพระศาสดา ด้วยทูลว่า " พระ

เจ้าข้า ขอพระองค์อย่าทรงคิดว่า " พระมารดาและพระบิดาของพระองค์

ทำกาละแล้ว. "

พระศาสดาตรัสชราสูตร

พระศาสดา ไม่ทรงห้ามคนเหล่านั้นเลยว่า " พวกเธออย่าได้กล่าว

อย่างนั้น " ทรงตรวจดูอัธยาศัยของบริษัทแล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม

ให้เหมาะแก่ขณะนั้น จึงตรัสชราสูตรนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า :-

" ชีวิตนี้น้อยหนอ สัตว์ย่อมตายหย่อนแม้กว่า

๑๐๐ ปี, แม้หากผู้ใดเป็นอยู่เกินไป, ผู้นั้นย่อมตาย

แม้เพราะชราโดยแท้. "

ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔ พันแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไม่ทราบความที่พราหมณ์และพราหมณีปริ-

๑. ขุ. มหา. ๒๙/๑๔๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 455

นิพพานแล้ว จึงทูลถามว่า " ภพหน้าของพราหมณ์และพราหมณีนั้นเป็น

อย่างไร ? พระเจ้าข้า. "

พระอเสขมุนีไปสู่ฐานะที่ไม่จุติ

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าอภิสัมปรายภพของพระ-

อเสขมุนีทั้งหลายผู้เห็นปานนั้น ย่อมไม่มี, เพราะว่าพระอเสขมุนีผู้เห็น

ปานนั้น ย่อมบรรลุมหานิพพานอันไม่จุติ อันไม่ตาย " ดังนี้แล้ว จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

๕. อหึสกา เย มุนโย นิจฺจ กาเยน สวุตา

เต ยนฺติ อจฺจุตาน ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร.

" มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้ว

ด้วยกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่ฐานะอัน

ไม่จุติ ซึ่งเป็นที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุนโย คือ พระอเสขมุนีทั้งหลายบรรลุ

มรรคและผลด้วยโมไนยปฏิปทา.

บทว่า กาเยน นั่น สักว่าเป็น (หัวข้อ) เทศนาเท่านั้น. อธิบายว่า

สำรวมแล้วด้วยทวารแม้ทั้ง ๓.

บทว่า อจฺจุต ได้แก่ เที่ยง.

บทว่า าน ได้แก่ ฐานะที่ไม่กำเริบ คือฐานะที่ยั่งยืน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 456

บทว่า ยตฺถ เป็นต้น ความว่า มุนีทั้งหลาย ย่อมไปสู่ฐานะ คือ

พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก คือไม่เดือดร้อน.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องปัญหาที่ภิกษุทูลถาม จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 457

๖. เรื่องนางปุณณทาสี [๑๗๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภทาสีของเศรษฐี

กรุงราชคฤห์ชื่อนางปุณณา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สทา ชาคร-

มานาน " เป็นต้น.

นางปุณณาถวายขนมราแด่พระพุทธเจ้า

ดังได้สดับมา ในวันหนึ่ง เศรษฐีได้ให้ข้าวเปลือกเป็นอันมากแก่

นางปุณณานั้น เพื่อประโยชน์แก่อันซ้อม. นางตามประทีปในกลางคืน

ซ้อมข้าวเปลือกอยู่ มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ จึงได้ไปยืนตากลมอยู่ ณ ภายนอก

เพื่อต้องการพักผ่อน.

ในสมัยนั้น พระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้จัดแจงเสนาสนะเพื่อภิกษุ

ทั้งหลาย ท่านยังนิ้วมือให้สว่างเพื่อภิกษุทั้งหลาย ผู้ฟังธรรมแล้วไปสู่

เสนาสนะของตน ๆ นิรมิตภิกษุทั้งหลายผู้ไปข้างหน้า ๆ เพื่อประโยชน์แก่

การแสดงทาง. นางปุณณา เห็นภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนภูเขา ด้วยแสง

สว่างนั้น จึงคิดว่า " เราถูกทุกข์ของตัวเบียดเบียน จึงไม่เข้าถึงความหลับ

ในเวลาแม้นี้ก่อน. เพราะเหตุไร ท่านผู้เจริญทั้งหลาย " จึงไม่หลับ ? "

ดังนี้แล้ว ก็ทำความเข้าใจเอาเองว่า " ความไม่ผาสุก จักมีแก่ภิกษุบาง

รูป, หรืออุปัทวเหตุเพราะงู จักมีในที่นั่นเป็นแน่ " แต่เช้าตรู่ จึงหยิบ

รำชุบน้ำให้ชุ่มแล้ว ทำขนมบนฝ่ามือ ปิ้งที่ถ่านเพลิง ห่อไว้ในพก คิดว่า

" จักกินขนมที่ทางไปสู่ท่าน้ำ " จึงถือหม้อ เดินบ่ายหน้าไปยังท่าน้ำ.

๑. ทีฆชาติเกน = สัตว์มีชาติแห่งสัตว์ยาว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 458

แม้พระศาสดา ก็เสด็จดำเนินไปทางนั้นเหมือนกัน เพื่อเข้าบ้าน.

นางเห็นพระศาสดาแล้ว คิดว่า " ในวันอื่น ๆ ถึงเมื่อเราพบพระศาสดา,

ไทยธรรมของเราก็ไม่มี, เมื่อไทยธรรมมี, เราก็ไม่พบพระศาสดา; ก็บัดนี้

ไทยธรรมของเราก็มี, ทั้งพระศาสดาก็ปรากฏเฉพาะหน้า, ถ้าพระองค์ไม่

ทรงคิดว่า " ทานของเราเศร้าหมองหรือประณีต แล้วพึงรับไซร้, เรา

พึงถวายขนมนี้ " ดังนี้แล้ว จึงวางหม้อไว้ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ถวายบังคม

พระศาสดา กราบทูลว่า " ขอพระองค์จงทรงรับทานอันเศร้าหมองนี้ ทำ

การสงเคราะห์แก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า. "

พระศาสดา ทอดพระเนตรดูพระอานนทเถระแล้ว ทรงน้อมบาตร

ที่ท้าวมหาราชถวายไว้ อันพระอานนท์เถระนำออกถวาย รับขนม. แม้

นางปุณณา วางขนมนั้นลงในบาตรของพระศาสดาแล้ว ถวายบังคมด้วย

เบญจางคประดิษฐ์ กราบทูลว่า " ขอธรรมที่พระองค์ทรงเห็นแล้วนั่น-

แหละ จงสำเร็จแก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า. " พระศาสดา ประทับยืน

อยู่นั่นแหละ ได้ทรงกระทำอนุโมทนาว่า " จงสำเร็จอย่างนั้น. "

พระศาสดาเสวยขนมของนางปุณณา

แม้นางปุณณาก็คิดว่า " พระศาสดา ทรงทำการสงเคราะห์แก่เรา

รับขนมก็จริง, ถึงกระนั้น พระองค์ก็จักไม่เสวยขนมนั้น; คงประทาน

ให้แก่กาหรือสุนัขข้างหน้า เสด็จไปยังพระราชมณเฑียรของพระราชาหรือ

เรือนของมหาอำมาตย์แล้ว จักเสวยโภชนะอันประณีตแน่แท้. "

แม้พระศาสดาก็ทรงดำริว่า " นางปุณณานั่น คิดอย่างไรหนอแล ? "

ทรงทราบวาระจิตของนางแล้ว จึงทอดพระเนตรดูพระอานนทเถระ แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 459

ทรงแสดงอาการที่จะประทับนั่ง. พระเถระได้ปูลาดจีวรถวาย. พระศาสดา

ได้ประทับนั่งทำภัตกิจ ณ ภายนอกพระนครนั่นเอง. เทพดาในห้องแห่ง

จักรวาลทั้งสิ้น บีบโอชารสอันสมควรแก่เทพดาและมนุษย์ทั้งหลาย ให้

เหมือนรวงผึ้งแล้ว ใส่ลงในขนมนั้น. ส่วนนางปุณณาได้ยืนแลดูอยู่.

ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระเถระได้ถวายน้ำ. พระศาสดาทรงทำภัตกิจ

เสร็จแล้ว ตรัสเรียกนางปุณณามา ตรัสว่า " ปุณณา เพราะเหตุไร เจ้า

จึงดูหมิ่นสาวกทั้งหลายของเรา ? "

นางปุณณา. หม่อมฉันมิได้ดูหมิ่น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เมื่อเป็นเช่นนั้น เจ้าแลดูสาวกทั้งหลายของเราแล้ว

คิดอย่างไร ?

นางปุณณา. หม่อมฉันคิดเท่านี้ว่า เราไม่ถึงความหลับ ก็เพราะ

อุปัทวันตรายคือทุกข์นี้ก่อน ท่านผู้เจริญทั้งหลายไม่เข้าถึงความหลับ เพื่อ

อะไรกัน, ความไม่ผาสุกจักมีแก่ภิกษุบางรูป หรืออุปัทวันตรายเพราะงู

จักมีเป็นแน่ พระเจ้าข้า.

สาวกของพระพุทธเข้าตื่นเสมอ

พระศาสดาทรงสดับคำของนางปุณณานั้นแล้ว จึงตรัสว่า " ปุณณา

เจ้าไม่หลับ เพราะอันตรายคือทุกข์ของตัวก่อน, ส่วนสาวกทั้งหลายของ

เรา ไม่หลับ เพราะความเป็นผู้ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมเครื่องตื่นอยู่

ทุกเมื่อ " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๖. สทา ชาครมานาน อโหรตฺตานุสิกฺขิน

นิพฺพาน อธิมุตฺตาน อตฺถ คจฺฉนฺติ อาสวา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 460

" อาสวะทั้งหลาย ของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ มีปกติ

ตามศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน น้อมไปแล้วสู่พระ-

นิพพาน ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อโหรตฺตานุสิกฺขิน ได้แก่

ศึกษาไตรสิกขาอยู่ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน.

บาทพระคาถาว่า นิพฺพาน อธิมุตฺตาน ได้แก่ ผู้มีอัธยาศัยในพระ-

นิพพาน.

สองบทว่า อฏฺ คจฺฉนฺติ ความว่า อาสวะทั้งหลายแม้ทั้งปวงของ

ผู้เห็นปานนั้น ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ คือความฉิบหาย ได้แก่ ความ

ไม่มี.

ในกาลจบเทศนา นางปุณณายืนอยู่ตามเดิมนั่นเอง ดำรงอยู่ใน

โสดาปัตติผลแล้ว. เทศนาได้มีประโยชน์แม้เเก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว.

ภิกษุพากันสรรเสริญพระศาสดา

พระศาสดา ครั้นทรงทำภัตกิจด้วยขนมปิ้งที่ถ่านเพลิง ซึ่งทำด้วย

รำแล้ว ได้เสด็จไปวิหาร.

ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย กรรม

ทีทำได้ยากอันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงทาภัตกิจ ด้วยขนมปิ้งซึ่งทำด้วย

รำ อันนางปุณณาถวาย ทรงทำแล้ว. "

พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่ง

ประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอแล ? " เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า " ด้วย

เรื่องชื่อนี้ " ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า " ไม่ใช่ในบัดนี้เท่านั้น ภิกษุทั้งหลาย;

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 461

ถึงในก่อน เราก็บริโภครำที่นางปุณณานี้ให้แล้วเหมือนกัน แล้วทรงนำ

อดีตนิทานมา ตรัสกุณฑกสินธวโปตกชาดกนี้ ให้พิสดารว่า :-

พระโพธิสัตว์เมื่อจะทดลอง(ถาม) ลูกม้าสินธพนั้น จึงกล่าวคาถา

ที่ ๑ ว่า

" เจ้ากินหญ้าอันเป็นเดน, เจ้ากินข้าวตังและรำ

(มาจนโต) นี่เป็นอาหารเดิมของเจ้า เพราะเหตุไร

บัดนี้ เจ้าจึงไม่กิน ? "

ลูกม้าสินธพฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าว ๒ คาถานอกนี้ว่า

" ในที่ใด ชนทั้งหลาย ไม่รู้จักสัตว์ผู้ควรเลี้ยง

โดยชาติหรือโดยวินัย, ท่านมหาพราหมณ์ เออก็ใน

ที่นั้น มีข้าวตังและรำมาก, ส่วนท่านแล ย่อมรู้จัก

ข้าพเจ้าดีว่า ม้าเช่นใดนี้เป็นม้าสูงสุด ข้าพเจ้ารู้อยู่

อาศัยท่านผู้รู้ จึงไม่กินรำของท่าน. "

ดังนี้แล.

เรื่องนางปุณณทาสี จบ.

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๑๐๐. อรรถกถา. ๔/๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 462

๗. เรื่องอตุลอุบาสก [๑๘๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอุบาสก ชื่อ

อตุละ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โปราณเมต " เป็นต้น.

อตุละโกรธพระเรวตะเพราะท่านไม่พูดด้วย

ความพิสดารว่า อตุละนั้นเป็นอุบาสกชาวกรุงสาวัตถี มีอุบาสก

เป็นบริวาร ๕๐๐ คน วันหนึ่ง พาพวกอุบาสกเหล่านั้นไปวิหาร เพื่อ

ต้องการฟังธรรม ใคร่จะฟังธรรมในสำนักพระเรวตเถระ ไหว้พระเรวต-

เถระแล้วนั่ง.

ก็ท่านผู้มีอายุนั้น เป็นผู้ยินดีในการหลีกเร้น เที่ยวไปผู้เดียวเหมือน

ราชสีห์, ฉะนั้น ท่านจึงไม่กล่าวอะไรกับอุบาสกนั้น เขาโกรธว่า " พระ-

เถระนี้ ไม่กล่าวอะไร " จึงลุกขึ้น ไปยังสำนักพระสารีบุตรเถระ ยืนอยู่

ณ ส่วนข้างหนึ่ง. เมื่อพระเถระกล่าวว่า " พวกท่านมาด้วยต้องการอะไร ? "

จึงกล่าวว่า " ท่านขอรับ ผมพาอุบาสกเหล่านี้เข้าไปหาพระเรวตเถระ เพื่อ

ต้องการฟังธรรม, พระเถระไม่กล่าวอะไรแก่ผมนั้นเลย, ผมนั้นโกรธท่าน

จึงมาที่นี้, ขอท่านจงแสดงธรรมแก่ผมเถิด. "

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวว่า " ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงนั่งเถิด

อุบาสกทั้งหลาย " แล้วแสดงอภิธรรมกถาอย่างมากมาย.

อตุละโกรธคนผู้พูดมาก

อุบาสกโกรธว่า " ชื่อว่าอภิธรรมกถา ละเอียดยิ่งนัก สุขุมยิ่งนัก,

พระเถระแสดงอภิธรรมอย่างเดียวมากมาย, พวกเราต้องการอะไรด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 463

พระอภิธรรมนี้ " ดังนี้แล้ว ได้พาบริษัทไปยังสำนักพระอานนทเถระ;

แม้เมื่อพระเถระกล่าวว่า " ทำไม ? อุบาสก, " จึงกล่าวว่า " ท่านขอรับ

พวกผมเข้าไปหาพระเรวตเถระ เพื่อต้องการฟังธรรม, ไม่ได้แม้เเต่การ

สนทนาและปราศรัยในสานักของท่าน เลยโกรธ แล้วจึงมายังสำนักของ

พระสารีบุตรเถระ, แม้พระเถระนั้น ก็แสดงอภิธรรมอย่างเดียวละเอียด

นัก มากมายแก่พวกผม, พวกผมโกรธแม้ต่อพระเถระนั้นว่า ' พวกเรา

ต้องการอะไรด้วยอภิธรรมนี้ แล้วจึงมาที่นี้; ขอท่านจงแสดงธรรมกถา

แก่พวกผมเถิด ขอรับ."

พระเถระ. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านจงนั่งฟังเถิด.

พระเถระแสดงธรรมแก่พวกเขาแต่น้อย ๆ ทำให้เข้าใจง่าย.

อตุละโกรธคนผู้พูดน้อย

พวกเขาโกรธแม้ต่อพระเถระแล้ว ก็ไปยังสำนักพระศาสดา ถวาย

บังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพวกเขาว่า " อุบาสกทั้งหลาย พวก

ท่านมาทำไมกัน ."

พวกอุบาสก. เพื่อต้องการฟังธรรม พระเจ้าข้า.

พระศาสดา ก็พวกท่านฟังธรรมแล้วหรือ ?

พวกอุบาสก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เบื้องต้น พวกข้าพระองค์

เข้าไปหาพระเรวตเถระ, ท่านไม่กล่าวอะไรกับพวกข้าพระองค์, พวก

ข้าพระองค์โกรธท่านแล้ว จึงไปหาพระสารีบุตรเถระ, พระเถระนั้น

แสดงอภิธรรมแก่พวกข้าพระองค์มากมาย, พวกข้าพระองค์กำหนด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 464

อภิธรรมนั้นไม่ได้ จึงโกรธ แล้วเข้าไปหาพระอานนทเถระ พระเถระ

นั้น แสดงธรรมแก่พวกข้าพระองค์น้อยนัก, พวกข้าพระองค์โกรธแม้ต่อ

ท่าน แล้วมาในที่นี้.

การนินทาสรรเสริญเป็นของเก่า

พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว จึงตรัสว่า " อตุละ ข้อ

นั้น เขาเคยประพฤติกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว, ชนทั้งหลายติเตียน ทั้ง

คนนิ่ง ทั้งคนพูดมาก ทั้งคนพูดน้อยทีเดียว, ด้วยว่าผู้อันเขาพึงติเตียน

อย่างเดียวเท่านั้น หรือว่าผู้อันเขาพึงสรรเสริญอย่างเดียวไม่มีเลย; แม้

พระราชาทั้งหลาย คนบางพวกก็นินทา บางพวกก็สรรเสริญ, แผ่นดิน

ใหญ่ก็ดี, พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ดี, ธาตุมีอากาศเป็นต้นก็ดี, คน

บางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ, แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประทับ

นั่งแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ๔ บางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ;

ก็การนินทาและสรรเสริญของพวกอันธพาลไม่เป็นประมาณ; แต่ผู้ที่ถูก

บัณฑิตผู้มีปัญญาติเตียน จึงชื่อว่า เป็นอันติเตียน ผู้อันบัณฑิตสรรเสริญ

แล้ว ชื่อว่าเป็นอันสรรเสริญ " ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้

ว่า :-

๗. โปราณเมต อตุล เนต อชฺชตนามิว

นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีน นินฺทนฺติ พหุภาณิน

มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต

น จาหุ น จ ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ

เอกนฺติ นินฺทิโต โปโส เอกนฺต วา ปสสิโต

ยญฺเจ วิญฺญู ปสสนฺติ อนุวิจฺจ สุเว สุเว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 465

อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ ปญฺาสีลสมาหิ

เนกฺข ชมฺโพนทสฺเสว โก ต นินฺทิตุมรหติ

เทวาปิ น ปสสนฺติ พฺรหฺมุนาปิ ปสสิโต.

" อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่น เป็นของ

เก่า, นั่นมิใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้, ชนทั้งหลาย

ย่อมนินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง, ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง,

ย่อมนินทาผู้พูดพอประมาณบ้าง. ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มี

ในโลก คนผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือว่าอันเขา

สรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และไม่

มีอยู่ในบัดนี้; หากว่าวิญญูชนใคร่ครวญแล้วทุก ๆ วัน

สรรเสริญผู้ใด ซึ่งมีความประพฤติไม่ขาดสาย มี

ปัญญา ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล, ใครเล่าย่อมควร

เพื่อติเตียนผู้นั้นผู้เป็นดังแท่งทองชมพูนุท, แม้เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย ก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรร-

เสริญแล้ว. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปราณเมต คือการนินทาและสรรเสริญ

นั่นเอง เป็นของเก่า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอุบาสกนั้นว่า " อตุละ. "

บาทพระคาถาว่า เนต อชฺชตนามิว ความว่า การนินทาหรือ

สรรเสริญนี้ เป็นเหมือนมีในวันนี้ คือเกิดขึ้นเมื่อตะกี้ หามิได้. อธิบายว่า

๑. ตามพยัญชนะว่า ผู้พูดพอนับได้. ๒. ทองพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งได้มาจากแม่น้ำชมพู.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 466

จริงอยู่ คนทั้งหลายย่อมนินทาคนนิ่งว่า " ทำไม ? คนนี่จึงนั่งนิ่ง

เหมือนคนใบ้ เหมือนคนหนวก เหมือนไม่รู้อะไร ๆ เสียเลย " ดังนี้บ้าง,

ย่อมนินทาคนพูดมากว่า " ทำไม ? คนนี่จึงประพฤติเสียงกฏะกฏะ เหมือน

กับใบตาลถูกลมพัด, คำพูดของผู้นี้ไม่มีที่สิ้นสุด " ดังนี้บ้าง, ย่อม

นินทาผู้พูดพอประมาณว่า " ทำไม ? คนนี่จึงสำคัญคำพูดของตนเหมือน

ทองคำและเงิน พูดคำสองคำแล้วนิ่งเสีย " ดังนี้บ้าง; คนชื่อว่าไม่ถูก

นินทา ย่อมไม่มีในโลกนี้ แม้โดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนั้น.

บทว่า น จาหุ เป็นต้น ได้แก่ ไม่ได้มีแล้วแม้ในอดีต. ทั้งจัก

ไม่มีในอนาคต.

สองบทว่า ยญฺเจ วิญฺญู ความว่า การนินทาหรือสรรเสริญของ

พวกชนพาล ไม่เป็นประมาณ แต่บัณฑิตทั้งหลาย ใคร่ครวญเเล้ว คือ

ทราบเหตุแห่งนินทาหรือเหตุแห่งสรรเสริญแล้วทุก ๆ วัน ย่อมสรรเสริญ

บุคคลใด ผู้ชื่อว่า มีความประพฤติไม่ขาดสาย เพราะความเป็นผู้ประกอบ

ด้วยสิกขาอันไม่ขาดสาย หรือด้วยความเป็นไปแห่งชีวิตไม่ขาดสาย ผู้ชื่อว่า

มีปัญญา เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ชื่อว่า

ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเป็น

โลกิยะและโลกุตระ และด้วยปาริสุทธิศีล ๔, ใครเล่า ย่อมควรเพื่อ

นินทาบุคคลนั้น ผู้เป็นดุจดังแท่งทองชมพูนุท อันเว้นจากโทษแห่งทองคำ

อันควรเพื่อจะบุและขัด.

บทว่า เทวาปิ เป็นต้น ได้แก่ เทพดาก็ดี มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี

ย่อมลุกขึ้นชมเชย สรรเสริญ ซึ่งภิกษุนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 467

บทว่า พฺรหฺมุนาปิ ความว่า ไม่ใช่เทพดาและมนุษย์อย่างเดียว

(ย่อมสรรเสริญ). ถึงมหาพรหมในหมื่นจักรวาล ก็สรรเสริญบุคคลนั่น

เหมือนกัน.

ในกาลจบเทศนา อุบาสกเหล่านั้นทั้ง ๕๐๐ ดำรงอยู่แล้วในโสดา-

ปัตติผล ดังนี้แล.

เรื่องอตุลอุบาสก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 468

๘. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [๑๘๑]

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " กายปฺปโกป " เป็นต้น.

มูลบัญญัติการสวมเขียงเท้า

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระศาสดาทรงสดับเสียง " ขฏะขฏะ ก๊อก ๆ "

แห่งภิกษุเหล่านั้น ผู้ถือไม้เท้าทั้งสองมือ สวมเขียงเท้าไม้ จงกรมอยู่บน

หลังแผ่นหิน ตรัสถามว่า " อานนท์ นั่นชื่อ เสียงอะไรกัน ? " ทรงสดับา

" เป็นเสียงขฏะขฏะแห่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ผู้สวมเขียงเท้าไม้จงกรมอยู่ "

จึงทรงบัญญัติสิกขาบท แล้วตรัสว่า " ธรรมดาภิกษุ ควรรักษาทวาร

มีกายทวาร เป็นต้น " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงได้ทรง

ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๘. กายปฺปโกป รกฺเขยฺย กาเยน สวุโต สิยา

กายทุจฺจริต หิตฺวา กาเยน สุจริต จเร

วจีปโกป รกฺเขยฺย วาจาย สวุใต สิยา

วจีทุจฺจริต หิตฺวา วาจาย สุจริต จเร

มโนปโกป รกฺเขยฺย มนสา สวุโต สิยา

มโนทุจฺจริต หิตฺวา มนสา สุจริต จเร

กาเยน สวุตา ธีรา อโถ วาจาย สวุตา

มนสา สวุตา ธีรา เต เว สุปริสวุตา.

" พึงรักษาความกำเริบทางกาย พึงเป็นผู้สำรวม

ทางกาย, พึงละกายทุจริตแล้ว ประพฤติสุจริตทาง

กาย; พึงรักษาความกำเริบทางวาจา, พึงเป็นผู้สำรวม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 469

ทางวาจา พึงละวจีทุจริตแล้ว ประพฤติสุจริตทาง

วาจา; พึงละความกำเริบทางใจ, พึงเป็นผู้สำรวม

ทางใจ, พึงละมโนทุจริตแล้ว ประพฤติสุจริตทางใจ,

ธีรชนทั้งหลายสำรวมทางกาย, อนึ่งสำรวมทางวาจา,

สำรวมทางใจ, ธีรชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าสำรวม

รอบคอบดีแล้ว. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายปฺปโกป ได้แก่ พึงรักษากาย-

ทุจริตสามอย่าง.

สองบทว่า กาเยน สวุโต ความว่า พึงห้ามการเข้าไปแห่งทุจริต

ในกายทวาร สำรวมไว้แล้ว คือมีทวารปิดแล้ว; ก็เพราะบุคคลละกาย

ทุจริตอยู่ประพฤติกายสุจริต ชื่อว่า ย่อมกระทำกรรมนั้น แม้ทั้งสองอย่าง;

ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า " กายทุจฺจริต หิตฺวา กาเยน สุจริต จเร. "

แม้ในคาถาเป็นลำดับไป ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บาทพระคาถาว่า กาเยน สวุตา ธีรา ความว่า บัณฑิตเหล่าใด

เมื่อไม่ทำกายทุจริตมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า สำรวมแล้วทางกาย, เมื่อ

ไม่ทำวจีทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่า สำรวมแล้วทางวาจา, เมื่อไม่ให้

มโนทุจริตมีอภิชฌาเป็นต้นตั้งขึ้น ชื่อว่า สำรวมแล้วทางใจ; บัณฑิต

เหล่านั้น ชื่อว่า สำรวมรอบคอบดีแล้ว คือ รักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว

มีทวารอันปิดดีแล้ว ในโลกนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ 470

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ จบ.

โกธวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๗ จบ.