ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

ตอนที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คาถาธรรมบท

ปุปผวรรคที่

ว่าด้วยคนฉลาดและดอกไม้

[๑๔] ๑. ใครจักรู้ชัดซึ่งแผ่นดินนี้และยมโลก กับ

มนุสสโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก ใครจักเลือกบท

ธรรมอันเราแสดงดีแล้ว เหมือนนายมาลาการผู้ฉลาด

เลือกดอกไม้ฉะนั้น พระเสขะจักรู้ชัดแผ่นดินและ

ยมโลกกับมนุสสโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก พระเสขะ

จักเลือกบทธรรมอันเราแสดงดีแล้ว เหมือนนาย

มาลาการผู้ฉลาดเลือกดอกไม้ฉะนั้น.

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๒ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 2

๒. ภิกษุรู้แจ้งกายนี้ว่า มีฟองน้ำเป็นเครื่อง

เปรียบ รู้ชัดกายนี้ว่า มีพยับแดดเป็นธรรม ตัด

พวงดอกไม้ของมารเสียแล้ว พึงสถานที่มัจจุราช

ไม่เห็น.

๓. มัจจุย่อมพานระผู้มีใจข้องไปในอารมณ์

ต่าง ๆ ผู้เลือกเก็บดอกไม้อยู่เที่ยวไป เหมือนห้วงน้ำ

ใหญ่พัดชาวบ้านอันหลับแล้วไปฉะนั้น.

๔. มัจจุผู้ทำซึ่งที่สุด กระทำนระผู้มีใจข้อง

ในอารมณ์ต่าง ๆ เลือกเก็บดอกไม่อยู่เทียว ผู้ไม่อิ่ม

ในกามทั้งหลายนั่นแล สู่อำนาจ.

๕. มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน เหมือนแมลงภู่ไม่

ยังดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ ถือเอาแต่รสแล้ว

บินไปฉะนั้น.

๖. บุคคลผู้ไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่า

อื่นไว้ในใจ ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ

ของคนเหล่าอื่น พึงพิจารณากิจที่ทำแล้ว และยัง

มิได้ทำของตนเท่านั้น.

๗. ดอกไม้งามมีสี ไม่มีกลิ่นแม้ฉันใด วาจา

สุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำอยู่ ดอกไม้

งามมีสี พร้อมด้วยกลิ่นแม้ฉันใด วาจาสุภาษิตก็

ฉันนั้น ย่อมมีผลแก่ผู้ทำดีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 3

๘. นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มากจาก

กองดอกไม้แม้ฉันใด มัจจสัตว์ผู้มีอันจะพึงตาย

เป็นสภาพ ควรทำกุศลไว้ให้มากฉันนั้น.

๙. กลิ่นดอกไม้ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้ กลิ่น

จันทน์หรือกลิ่นกฤษณาและกลัมพักก็ฟุ้งไปไม่ได้ แต่

กลิ่นของสัตบุรุษฟุ้งไปทวนลมได้ กลิ่นจันทน์ก็ดี

แม้กลิ่นกฤษณาก็ดี กลิ่นอุบลก็ดี กลิ่นมะลิก็ดี

กลิ่นศีลเป็นเยี่ยมกว่าคันธชาตนั่น.

๑๐. กลิ่นนี้ คือกลิ่นกลัมพัก และกลิ่นจันทน์

เป็นกลิ่นเพียงเล็กน้อย ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลาย

เป็นกลิ่นชั้นสูง ย่อมหอมฟุ้งไปในเทพเจ้าและเหล่า

มนุษย์.

๑๑. มารย่อมไม่ประสบทางของท่านผู้มีศีลถึง

พร้อมแล้ว มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท พ้นวิเศษ

แล้วเพราะรู้ชอบเหล่านั้น.

๑๒. ดอกบัวมีกลิ่นดี พึงเกิดในกองหยากเยื่อ

อันบุคคลทิ้งแล้วใกล้ทางใหญ่ ดอกบัวนั้นพึงเป็นที่

ชอบใจฉันใด สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อ

ปุถุชนเป็นดังกองหยากเยื่อเกิดแล้ว ย่อมไพโรจน์

ล่วงซึ่งปุถุชนผู้มืดทั้งหลายด้วยปัญญาฉันนั้น.

จบปุปผวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 4

๔. ปุปผวรรควรรณนา

๑. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้ขวนขวายในปฐวีกถา [๓๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุ

๕๐๐ รูป ผู้ขวนขวายในปฐวีกถา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โก

อิม ปวึ วิเชสฺสติ" เป็นต้น.

ควรปรารภแผ่นดินภายใน

ดังได้สดับมา ภิกษุเหล่านั้น เที่ยวจาริกไปในชนบทกับพระผู้มี-

พระภาคเจ้า มาถึงพระเชตวันแล้วนั่งในหอฉันในเวลาเย็น เล่าถึงเรื่อง

แผ่นดินในสถานที่ตนไปแล้ว ๆ ว่า "ในสถานเป็นที่ไปสู่บ้านโน้น จาก

บ้านโน้น เสมอ ไม่เสมอ มีเปือกตมมาก มีกรวดมาก มีดินดำ มีดิน

แดง."

พระศาสดา เสด็จมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอ

นั่งสนทนากันด้วย เรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า

" ด้วยเรื่องแผ่นดินในสถานที่พวกข้าพระองค์เที่ยวไปแล้ว พระเจ้าข้า"

ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย นั่นชื่อว่าแผ่นดินภายนอก, การ

ที่พวกเธอทำบริกรรมในแผ่นดินภายในจึงจะควร" ดังนี้ แล้วได้ทรง

ภาษิต ๒ พระคาถามนี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 5

๑. โก อิม ปวึ วิเชสฺสติ ยมโลกญฺจ อิม สเทวก

โก ธมฺมปท สุเทสิต กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ.

เสโข ปวึ วิเชสฺสติ ยมโลกญฺจ อิม สเทวก

เสโข ธมฺมปท สุเทสิต กุสโล ปุปฺผมิว ปเจสฺสติ.

"ใคร จักรู้ชัดซึ่งแผ่นดินนี้ และยมโลกกับ

มนุสสโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก, ใคร จักเลือก

บทธรรม อันเราแสดงดีแล้ว เหมือนนายมาลาการ

ผู้ฉลาดเลือกดอกไม้ฉะนั้น. พระเสขะจักรู้ชัดแผ่นดิน

และยมโลกกับมนุสสโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก. พระ-

เสขะจักเลือกบทธรรมอันเราแสดงดีแล้ว เหมือน

นายมาลาการผู้ฉลาดเลือกดอกไม้ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โก อิม ความว่า ใคร (จักรู้

ชัด) ซึ่งแผ่นดินนี้ กล่าวคืออัตภาพ.

บทว่า วิเชสฺสติ ความว่า จักรู้แจ้ง คือแทงตลอด ได้แก่ ทำให้

แจ้ง ด้วยญาณของตน.

บทว่า ยมโลกญฺจ ได้แก่ อบายโลก ๔ อย่างด้วย.

สองบทว่า อิม สเทวก ความว่า ใคร จักรู้ชัด คือจักทราบชัด

ได้แก่ แทงตลอด ทำให้แจ้งซึ่งมนุสสโลกนี้กับเทวโลกด้วย พระศาสดา

ย่อมตรัสถามดังนี้.

บาทพระคาถาว่า โก ธมฺมปท สุเทสิต ความว่า ใคร จัก

เลือก คือคัด ได้แก่พิจารณาเห็น แทงตลอด ทำให้แจ้ง ซึ่งบทธรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 6

กล่าวคือโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ที่ชื่อว่าอันเราแสดงดีแล้ว เพราะ

ความเป็นธรรมอันเรากล่าวแล้วตามความเป็นจริง เหมือนนายมาลาการผู้

ฉลาดเลือกดอกไม้อยู่ฉะนั้น.

บทว่า เสโข เป็นต้น ความว่า พระอริยบุคคล ๗ จำพวก

ตั้งแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงท่านผู้ตั้งอยู่ในอรหัตมรรค

ชื่อว่าพระเสขะ เพราะยังศึกษาสิกขา ๓ เหล่านี้ คือ อธิสีลสิกขา อธิจิตต-

สิกขา อธิปัญญาสิกขา คร่าออกอยู่ซึ่งฉันทราคะจากอัตภาพนั้น ด้วย

อรหัตมรรค ชื่อว่าจักรู้ชัด คือจักทราบชัด ได้แก่แทงตลอด ทำให้แจ้ง

ซึ่งแผ่นดินนี้ กล่าวคืออัตภาพ.

บทว่า ยมโลกญฺจ เป็นต้น ความว่า พระเสขะนั้นนั่นแหละ

จักรู้ชัด คือจักทราบชัด ได้แก่แทงตลอด ทำให้แจ้ง ซึ่งยมโลก มี

ประการอันกล่าวแล้วอย่างนั้น และมนุสสโลกนี้ กับทั้งเทวโลกทั้งหลาย

ชื่อว่าพร้อมทั้งเทวโลก. พระผู้ยังต้องศึกษา ๗ จำพวกนั้นแหละ ชื่อว่า

เสขะ. อธิบายว่า นายมาลาการผู้ฉลาด เข้าไปสู่สวนดอกไม้แล้ว เว้น

ดอกไม้ที่อ่อนและตูม ที่สัตว์เจาะ ที่เหี่ยว และที่เกิดเป็นปมเสียแล้ว

เลือกเอาเฉพาะแต่ดอกไม้ที่งาม ที่เกิดดีแล้ว ชื่อฉันใด พระเสขะ จักเลือก

คือคัด ได้แก่พิจารณาเห็น แทงตลอด ทำให้แจ้ง แม้ซึ่งบทแห่งโพธิ-

ปักขิยธรรมนี้ ที่เรากล่าวดีแล้ว คือแสดงดีแล้ว ฉันนั้นนั่นแล.

๑. คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗

มรรคมีองค์ ๘.

๒. ฉันทราคะ แปลว่า ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 7

พระศาสดาทรงเฉลยปัญหาเองทีเดียว. ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ

๕๐๐ รูป บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว, เทศนา

ได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกัน ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้ขวนขวายในปฐวีกถา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 8

๒. เรื่องพระเถระผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน [๓๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุรูปใด

รูปหนึ่ง ผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เผณูปม"

เป็นต้น.

พระเถระเจริญมรีจิกัมมัฏฐาน

ดังได้สดับมา พระเถระนั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา

แล้วคิดว่า " เราจักทำสมณธรรม " ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่ป่า พากเพียร

พยายามแล้ว ก็ไม่อาจบรรลุพระอรหัตได้ จึงกลับมายังสำนักพระศาสดา

ด้วยตั้งใจว่า " จักทูลอาราธนาให้ตรัสบอกพระกัมมัฏฐานให้วิเศษ, "

เห็นพยับแดดในระหว่างทาง เจริญมรีกัมมัฏฐานว่า " พยับแดดนี้

ตั้งขึ้นแล้วในฤดูร้อน ย่อมปรากฏแก่บุคคลทั้งหลายผู้ยืนอยู่ ณ ที่ไกล

ดุจมีรูปร่าง, แต่ไม่ปรากฏเลย แก่บุคคลผู้มาสู่ที่ใกล้ฉันใด; แม้อัตภาพนี้

ก็มีรูปเหมือนอย่างนั้น เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นและเสื่อมไป" เดินมาแล้ว

เมื่อยล้าในหนทาง อาบน้ำในแน่น้ำอจิรวดี นั่งที่ร่ม (ไม้) ริมฝั่ง

แม่น้ำมีกระแสอันเชี่ยวแห่งหนึ่ง เห็นฟองน้ำใหญ่ ตั้งขึ้นด้วยกำลังแห่ง

น้ำกระทบกันแล้วแตกไป ได้ถือเอาเป็นอารมณ์ว่า " แม้อัตภาพนี้ ก็มี

รูปร่างอย่างนั้นเหมือนกัน เพราะอรรถว่า เกิดขึ้นแล้วก็แตกไป."

๑. กัมมัฏฐานมีอันพิจารณาพยับแดดเป็นอารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 9

ทรงเปรียบกายด้วยฟองน้ำและพยับแดด

พระศาสดา ประทับอยู่ที่พระคันธกุฎีนั่นแล ทอดพระเนตรเห็น

พระเถระนั้นแล้ว จึงตรัสว่า "อย่างนั้นนั่นแหละ ภิกษุ อัตภาพนี้มีรูป

อย่างนั้นแล มีอันเกิดขึ้นและแตกไปเป็นสภาพแน่แท้ เหมือนฟองน้ำ

(และ) พยับแดด" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒. เผณูปม กายมิม วิทิตฺวา

มรีจิธมฺม อภิสมฺพุธาโน

เฉตฺวาน มารสฺส ปปุปฺผกานิ

อทสฺสน มจฺจุราชสฺส คจฺเฉ.

" ภิกษุรู้แจ้งกายนี้ว่า มีฟองน้ำเป็นเครื่อง

เปรียบ, รู้ชัดกายนี้ว่า มีพยับแดดเป็นธรรม ตัด

พวงดอกไม้ของมารเสียแล้ว พึงถึงสถานที่มัจจุราช

ไม่เห็น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เผณูปม ความว่า รู้แจ้งกายนี้คือ

อันนับว่าเป็นที่ประชุมแห่งส่วนต่าง ๆ มีผมเป็นต้น ว่า " เห็นสมด้วย

ฟองน้ำ เพราะอรรถว่า ไม่มีกำลัง มีกำลังทราม ไม่ตั้งอยู่นานและเป็น

ไปชั่วกาล."

บทว่า มรีจิรธมฺม เป็นต้น ความว่า รู้ชัด คือรู้ ได้แก่ทราบว่า

" แม้กายนี้ ชื่อว่ามีพยับแดดเป็นธรรม เพราะอรรถว่า เป็นไปชั่วขณะ

และปรากฏนิดหน่อย เหมือนอย่างพยับแดด เป็นดุจมีรูปร่าง (และ)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 10

เป็นดุจเข้าถึงความเป็นของที่ควรถือเอาได้ แก่บุคคลทั้งหลายผู้ยืนอยู่ ณ ที่

ไกล, ( แต่ ) เมื่อบุคคลเข้าไปใกล้ ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า เข้า

ถึงความเป็นของถือเอาไม่ได้ฉะนั้น."

สองบทว่า มารสฺส ปปุปฺผกานิ เป็นต้น ความว่า ภิกษุผู้

ขีณาสพ ตัดวัฏฏะอันเป็นไปในไตรภูมิ กล่าวคือพวงดอกไม้ของมาร

เสียได้ ด้วยอริยมรรคแล้ว พึงถึงสถานที่ไม่เห็น คือที่อันไม่เห็น คือที่

อันไม่เป็นวิสัยของมัจจุราช ได้แก่พระอมตมหานิพพาน.

ในกาลจบคาถา พระเถระ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา

ทั้งหลายแล้ว ชมเชย สรรเสริญ ถวายบังคมพระสรีระของพระศาสดา

ซึ่งมีพรรณดุจทองคำ มาแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระเถระผู้เจริญมรีจิกัมมัฏฐาน จบ.

๑. ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว. ๒. ไตรภูมิ=ภูมิ ๓ คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาวจรภูมิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 11

๓. เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ [๓๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระนครสาวัตถี ทรงปรารภพระเจ้า

วิฑูฑภะ พร้อมทั้งบริษัท ซึ่งถูกห้วงน้ำท่วมทับให้สวรรคตแล้ว ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ว่า "ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺต" เป็นต้น.

อนุปุพพีกถาในเรื่องนั้น ดังต่อไปนี้ :-

สามพระกุมารไปศึกษาศิลปะในกรุงตักกสิลา

พระกุมาร ๓ พระองค์เหล่านั้น คือ " พระราชโอรสของพระเจ้า

มหาโกศล ในพระนครสาวัตถี พระนามว่าปเสนทิกุมาร, พระกุมาร

ของเจ้าลิจฉวี ในพระนครเวสาลี พระนามว่ามหาลิ, โอรสของเจ้า

มัลละ ในพระนครกุสินารา พระนามว่าพันธุละ" เสด็จไปนครตักกสิลา

เพื่อเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ มาพบกันที่ศาลานอก

พระนคร ต่างก็ถามถึงเหตุที่มา ตระกูล และพระนามของกันและกัน

แล้ว เป็นพระสหายกัน ร่วมกันเข้าไปหาอาจารย์ ต่อกาลไม่นานนักก็

เรียนศิลปะสำเร็จ จึงกราบอาอาจารย์พร้อมกัน เสด็จออก (จาก

กรุงตักกสิลา) ได้ไปสู่ที่อยู่ของตน ๆ.

สามพระกุมารได้รับตำแหน่งต่างกัน

บรรดาพระกุมารทั้ง ๓ พระองค์นั้น ปเสนทิกุมาร ทรงแสดง

ศิลปะถวายพระชนก อันพระชนกทรงเลื่อมใสแล้ว (จึง) อภิเษกใน

ราชสมบัติ.

๑. ม. วิฏฏูภวัตถุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 12

มหาลิกุมาร เพื่อจะทรงแสดงศิลปะแก่เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ก็ทรง

แสดงด้วยความอุตสาหะมาก. พระเนตรของพระองค์ได้แตกไปแล้ว.

พวกเจ้าลิจฉวีปรึกษากันว่า "พุทโธ่เอ๋ย อาจารย์ของพวกเรา ถึงความ

เสียพระเนตรแล้ว, พวกเราจะไม่ทอดทิ้งท่าน, จักบำรุงท่าน" ดังนี้แล้ว

จึงได้ถวายประตู ด้านหนึ่ง ซึ่งเก็บส่วยได้วันละแสนแก่มหาลิกุมารนั้น.

พระองค์ทรงอาศัยประตูนั้น ให้โอรสของเจ้าลิจฉวี ๕๐๐ องค์ ทรงศึกษา

ศิลปะ อยู่แล้ว.

(ฝ่าย) พันธุลกุมาร เมื่อพวกตระกูลมัลลราชกล่าวว่า "ขอพันธุล-

กุมารจงฟันไม้ไผ่เหล่านี้" ดังนี้แลั้ว ได้กระโดดขึ้นไปยังอากาศ (สูง)

ถึง ๘๐ ศอก เอาดาบฟันมัดไม้ไผ่ ๖๐ ลำ ที่พวกเจ้ามัลละเอาไม้ไผ่

๖๐ ลำใส่ซี่เหล็กในท่ามกลางแถ้ว ให้ยกขึ้นตั้งไว้ ( ขาดกระเด็น )

ไปแล้ว. พันธุลกุมารนั้นได้ยินเสียงดัง "กริก" ของซี่เหล็กในมัด

สุดท้าย (จึง) ถามว่า " นี่อะไร ? " ได้ยินว่า เขาเอาซี่เหล็กใส่ใน

ไม้ไผ่ทุกมัดแล้ว จึงทิ้งดาบ ร้องไห้พลางพูดว่า "บรรดาญาติและเพื่อน

ของเราประมาณเท่านี้ แม้แต่คนเดียว ซึ่งเป็นผู้มีความสิเนหา (ในเรา)

มิได้บอกเหตุนี้ ( แก่เรา ); ก็หากว่า เราพึงรู้ไซร้, พึงฟันไม่ให้เสียง

ซี่เหล็กดังขึ้นเลย" แล้วทูลแก่พระชนนีและพระชนกว่า "หม่อมฉันจัก

ฆ่าเจ้ามัลละเหล่านี้แม้ทั้งหมดแล้วครองราชสมบัติ" อันพระชนนีและ

พระชนกห้ามแล้ว โดยประการต่าง ๆ เป็นต้นว่า "ลูกเอ๋ย นี้ เป็น

ราชประเพณี, เจ้าไม่ได้เพื่อจะทำอย่างนั้น" จึงทูลว่า " ถ้ากระนั้น

๑. คำว่า "ประตู" หมายความว่าหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ทางประตูด้านหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 13

หม่อมฉันจักไปสู่สำนักเพื่อนของหม่อมฉัน" ดังนี้ ได้เสด็จไปเมือง

สาวัตถีแล้ว.

พระเจ้าปเสนทิทรงทราบการเสด็จมาของพันธุละนั้น ก็ทรงต้อนรับ

เชิญให้เสด็จเข้าพระนคร ด้วยสักการะใหญ่แล้ว ทรงตั้งไว้ในตำแหน่ง

เสนาบดี. พันธุลเสนาบดีนั้น ให้เชิญพระชนนีและพระชนกมาพักอาศัย

อยู่ในเมืองสาวัตถีนั้นนั่นแล

พระราชาทรงเลี้ยงภัตตาหารภิกษุเอง

ภายหลังวันหนึ่ง พระราชาประทับยืนอยู่ปราสาทชั้นบน ทอด

พระเนตรไปยังระหว่างถนน เห็นภิกษุหลายพันรูป ซึ่งไปเพื่อต้องการ

ทำภัตกิจ ในคฤหาสน์ของท่านเหล่านั้น คือ "ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

จูฬอนาถบิณฑิกเศรษฐี นางวิสาขา นางสุปปวาสา " จึงตรัสถามว่า

พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไปไหนกัน?" เมื่อพวกราชบุรุษทูลว่า " ข้าแต่

สมมติเทพ ภิกษุสองพันรูป ไปเพื่อประโยชน์แก่ภัตทั้งหลายมีนายภัต

สลากภัต และคิลานภัต เป็นต้น ในคฤหาสน์ของอนาบิณฑิกเศรษฐี

ทุก ๆ วัน, ภิกษุ ๕๐๐ รูป ไปคฤหาสน์ของจูฬอนาบิณฑิกเศรษฐี

เป็นนิตย์. ของนางวิสาขา ( และ ) นางสัปปวาสา ก็เช่นเดียวกัน"

ดังนี้แล้ว ทรงพระประสงค์จะบำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยพระองค์เองบ้าง จึงเสด็จ

ไปวิหาร ทรงนิมนต์พระศาสดา พร้อมกับภิกษุพันรูป ถวายทานด้วย

พระหัตถ์ (เอง) สิ้น ๗ วัน ในวันที่ ๗ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว

ทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์จงทรงรับภิกษาของพระองค์

พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป เป็นนิตย์เถิด."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 14

พระศาสดา. มหาบพิตร ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่

รับภิกษาประจำในที่แห่งเดียว. ประชาชนเป็นจำนวนมาก ย่อมหวัง

เฉพาะการมาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

พระราชา. ถ้ากระนั้น ขอพระองค์ โปรดส่งภิกษุรูปหนึ่งไป

ประจำเถิด

พระศาสดาได้ทรงทำให้เป็นภาระของพระอานนทเถระ.

พระราชาทรงลืมจัดการเลี้ยงภิกษุถึง ๓ วัน

พระราชาไม่ทรงจัด ( เจ้าหน้าที่ ) ไว้ว่า "เมื่อภิกษุสงฆ์มาแล้ว

ชื่อว่าชนเหล่านั้น รับบาตรแล้ว จงอังคาส " ทรงอังคาสด้วยพระองค์เอง

เท่านั้นตลอด ๗ วัน ในวันที่ ๘ ทรงลืมไป จึงได้ทรงกระทำให้เนิ่นช้า

แล้ว.

ก็ธรรมดาในราชตระกูล ชนทั้งหลาย อันพระราชามิได้ทรงสั่ง

แล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อปูอาสนะทั้งหลาย นิมนต์พวกภิกษุให้นั่งแล้วอังคาส.

พวกภิกษุ (ก็) คิดกันว่า "เราไม่อาจเพื่อยับยั้งอยู่ในที่นี้ได้" พากัน

หลีกไปเสียหลายรูป. แม้ในวันที่ ๒ พระราชาก็ทรงลืมแล้ว. แม้ใน

วันที่ ๒ ภิกษุเป็นอันมากก็พากันหลีกไป. ถึงในวันที่ ๓ พระราชา

ก็ทรงลืม ในกาลนั้น เว้นพระอานนทเถระองค์เดียวเท่านั้น พวกภิกษุ

ที่เหลือพากันหลีกไป.

คนมีบุญย่อมหนักในเหตุ

ธรรมดาผู้มีบุญทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้เป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ จึง

รักษาความเลื่อมใสแห่งตระกูลทั้งหลายไว้ได้. ก็สาวกของพระตถาคต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 15

แม้ทั้งหมดที่ถึงฐานันดร ตั้งแต่ชนทั้ง ๘ เหล่านี้ คือ อัครสาวก

๒ รูป คือ พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ, อัครสาวิกา ๒ รูป

คือ นางเขมา นางอุบลวรรณา, บรรดาอุบาสกทั้งหลาย อุบาสกผู้เป็น

อัครสาวก ๒ คน คือ จิตคคฤหบดี หัคถกอุบาสก ชาวเมืองอาฬวี.

บรรดาอุบาสิกาทั้งหลาย อุบาสิกาผู้เป็นอัครสาวิกา ๒ คน คือ มารดา

ของนันทมาณพ ชื่อเวฬุกัณฎกี นางขุชชุตตรา, (ล้วน) มีบุญมาก

สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร เพราะความเป็นผู้บำเพ็ญบารมี ๑๐ โดยเอกเทศ.

พระราชาเสด็จไปกราบทูลพระศาสดา

แม้พระอานนท์เถระ มีบารมีอันบำเพ็ญแล้วตั้งแสนกปะ สมบูรณ์

ด้วยอภินิหาร มีบุญมาก เมื่อจะรักษาความเลื่อมใสของตระกูล จึงได้

ยับยั้งอยู่ เพราะความที่ตนเป็นไปในอำนาจแห่งเหตุ, พวกราชบุรุษ

นิมนต์ท่านรูปเดียวเท่านั้นให้นั่งแล้วอังคาส. พระราชาเสด็จมาในเวลา

ที่พวกภิกษุไปแล้ว ทอดพระเนตรเห็นขาทนียะและโภชนียะตั้งอยู่อย่างนั้น

แหละ จึงตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายมิได้มาหรือ ?" ทรงสดับ

ว่า "พระอานนท์เถระมารูปเดียวเท่านั้น พระเจ้าข้า " ทรงพิโรธภิกษุ

ทั้งหลายว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ได้ทำการตัดขาดต่อเราเพียงเท่านี้

เป็นแน่ จึงเสด็จไปสำนักพระศาสดา กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์จัดแจงภิกษาไว้ เพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป, ทราบว่า

พระอานนทเถระรูปเดียวเท่านั้นมา, ภิกษาที่หม่อมฉันจัดแจงแล้ว ตั้งอยู่

๑. บารมี ๑๐ คือ ทานบารมี ศีลบารมี เนกขัมมบารมี ปัญญาบารมี วิริยบารมี ขันติบารมี

สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตาบารมี อุเบกขาบารมี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 16

อย่างนั้นนั่นเอง ภิกษุ ๕๐๐ รูป ไม่กระทำความสำคัญในพระราชวังของ

หม่อมฉัน ( เลย ). จักมีเหตุอะไรหนอแล ?

ตระกูลที่ภิกษุควรเข้าไปและไม่ควรเข้าไป

พระศาสดาไม่ตรัสโทษของพวกภิกษุ ตรัสว่า " มหาบพิตร สาวก

ทั้งหลายของอาตมภาพ ไม่มีความคุ้นเคยกับพระองค์. เพราะเหตุนั้น

ภิกษุทั้งหลายจักไม่ไปแล้ว เมื่อจะทรงประกาศเหตุแห่งการไม่เข้าไป และ

เหตุแห่งการเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัส

พระสูตรนี้ว่า :-

"ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ภิกษุยังไม่เข้า

ไปแล้ว ก็ไม่ควรเข้าไป, และครั้นเข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้,

ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เป็นไฉน ? ตระกูลที่ประกอบด้วย

องค์ ๙ เหล่านี้; คือ เขาไม่ต้อนรับด้วยความพอใจ, ไม่อภิวาทด้วย

ความพอใจ, ไม่ให้อาสนะด้วยความพอใจ, ซ่อนของที่มีอยู่ของเขา

ไว้, เมื่อของมีอยู่มาก ก็ให้แต่น้อย, เมื่อมีของประณีต ก็ให้ของ

เศร้าหมอง, ให้โดยไม่เคารพ ไม่ให้โดยความเคารพ, ไม่นั่งใกล้เพื่อ

ฟังธรรม, เมื่อกล่าวธรรมอยู่เขาก็ไม่ยินดี ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่

ประกอบด้วยองค์ ๙ เหล่านี้แล ภิกษุยังไม่เข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรเข้าไป

และครั้นเข้าไปแล้ว ก็ไม่ควรนั่งใกล้.

ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ ภิกษุยังไม่เข้าไป

ก็ควรเข้าไป และเมื่อเข้าไปแล้ว ก็ควรนั่งใกล้. ตระกูลที่ประกอบ

๑. อัง. นวก. ๒๓/๔๐๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 17

ด้วยองค์ ๙ เป็นไฉน ? ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เหล่านี้ คือ

เขาต้อนรับด้วยความพอใจ, อภิวาทด้วยความพอใจ, ให้อาสนะด้วย

ความพอใจ, ไม่ซ่อนของที่มีอยู่ของเขาไว้, เมื่อของมีมาก ก็ให้มาก,

เมื่อมีของประณีต ก็ให้ของประณีต, รู้โดยเคารพ ไม่ให้โดย

ไม่เคารพ, เข้าไปนั่งใกล้เพื่อฟังธรรม, เมื่อกล่าวธรรมอยู่ เขาก็ยินดี

ภิกษุทั้งหลาย ตระกูลที่ประกอบด้วยองค์ ๙ เหล่านี้แล ภิกษุยังไม่

เข้าไป ก็ควรเข้าไป และครั้นเข้ารูปแล้ว ก็ควรนั่งใกล้" ดังนี้แล้ว

จึงตรัสว่า " มหาบพิตร สาวกของอาตมภาพ เมื่อไม่ได้ความคุ้นเคย

จากสำนักของพระองค์ จึงจักไม่ไป ด้วยประการฉะนี้แล; แท้จริง

โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย แม้เขาบำรุงอยู่ด้วยความเคารพในที่ ๆ ไม่คุ้น

เคย ถึงเวทนาแทบปางตาย ก็ได้ไปสู่ที่ของผู้คุ้นเคยกันเหมือนกัน. อัน

พระราชาทูลถามว่า ในกาลไร ? พระเจ้าข้า " ทรงนำอดีตนิทานมา

( สาธกดังต่อไปนี้ ) :-

เรื่องเกสวดาบส

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต เสวยราชสมบัติในพระนคร

พาราณสี พระราชาทรงพระนามว่าเกสวะ ทรงสละราชสมบัติผนวชเป็น

ฤาษี. บุรุษ ๕๐๐ คน (ออก) บวชตามพระราชานั้น. ท้าวเธอได้

พระนามว่าเกสวดาบส. อนึ่ง นายภูษามาลาของพระองค์ก็ได้ตามบวช

เป็นอันเตวาสิกนามว่ากัปปกะ เกสวดาบสกับบริษัทอาศัยอยู่ในหิมวันต-

ประเทศสิ้น ๘ เดือน ในฤดูฝน เพื่อต้องการเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว

ไปถึงกรุงพาราณสีแล้ว เข้าไปสู่พระนครเพื่อภิกษา, ลำดับนั้น พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 18

ทอดพระเนตรเห็นดาบสนั้น ทรงเลื่อมใส. ทรงรับปฏิญญาเพื่อประโยชน์

แก่การอยู่ในสำนักของพระองค์ตลอด ๔ เดือน (นิมนต์) ให้พักอยู่

ในพระราชอุทยาน ย่อมเสด็จไปสู่ที่บำรุงพระดาบสนั้น ทั้งเย็นทั้งเช้า.

พวกดาบสที่เหลือพักอยู่ ๒-๓ วัน รำคาญด้วยเสียงอึงคะนึงต่าง ๆ มีเสียง

ช้างเป็นต้น จึงกล่าวว่า " ท่านอาจารย์พวกกระผมรำคาญใจ, จะไปละ"

เกสวะ. จะไปไหนกัน ? พ่อ.

อันเตวาสิก. ไปสู่หิมวันตประเทศ ท่านอาจารย์.

เกสวะ. ในวันที่พวกเรามาทีเดียว พระเจ้าแผ่นดินทรงรับปฏิญญา

เพื่อประโยชน์แก่การอยู่ในที่นี้ตลอด ๔ เดือน, พวกเธอจักไปเสียอย่างไร

เล่า ? พ่อ.

อันเตวาสิกกล่าวว่า "ท่านอาจารย์ไม่บอกพวกกระผมเสียก่อนแล้ว

จึงถวายปฏิญญา, พวกกระผมไม่สามารถจะอยู่ในที่นี้ได้, จักอยู่ใน

ที่ ๆ (พอ) ฟังความเป็นไปของท่านอาจารย์ได้ ซึ่งไม่ไกลจากที่นี้"

ดังนี้ พากันไหว้พระอาจารย์แล้วหลีกไป. อาจารย์คงอยู่กับอันเตวาสิก

ชื่อกัปปกะ (เท่านั้น).

พระราชาเสด็จมาสู่ที่บำรุง ตรัสถามว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย

ไปไหน ? " เกสวดาบสทูลว่า " มหาบพิตร พวกดาบสเหล่านั้นบอกว่า

' พวกกระผมรำคาญใจ' ดังนี้แล้ว ก็ไปสู่หิมวันตประเทศ"

กาลต่อมาไม่นานนัก แม้กัปปกดาบสก็รำคาญแล้ว แม้ถูกอาจารย์

ห้ามอยู่บ่อย ๆ ก็กล่าวว่า " ไม่อาจ " แล้วก็หลีกไป.

๑. อันเสียงทั้งหลายมีเสียงช้างเป็นต้น เบียดเบียนแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 19

แต่กัปปกดาบสนั้น ไม่ไปสำนักของพวกดาบสนอกนี้ คอยฟังข่าว

ของอาจารย์อยู่ในที่ไม่ไกลนัก.

ในกาลต่อมาเมื่ออาจารย์คิดถึงพวกอันเตวาสิก โรคในท้องก็เกิดขึ้น

พระราชารับสั่งให้แพทย์เยียวยา. โรคก็ไม่สงบได้. พระดาบสจึง

ทูลว่า " มหาบพิตร พระองค์ทรงพระประสงค์จะให้โรคของอาตมภาพ

สงบหรือ ?"

พระราชา ข้าแต่ท่านผู้เจริญ หากว่าข้าพเจ้าอาจ, ก็พึงทำความ

ผาสุกแก่ท่าน เดี๋ยวนี้แหละ.

ดาบส. มหาบพิตร หากว่า พระองค์ทรงปรารถนาความสุขแก่

อาตมภาพไซร้, โปรดส่งอาตมภาพไปสำนักพวกอันเตวาสิกเถิด.

พระราชาทรงรับว่า "ดีล่ะ ขอรับ" แล้วให้ดาบสนั้นนอน

บนเตียงน้อย ทรงส่งอำมาตย์ (ไป) ๔ นาย มีนารทอำมาตย์เป็น

หัวหน้า ด้วยรับสั่งว่า "พวกท่านทราบข้าวของพระผู้เป็นเจ้าของเรา

แล้ว พึงส่งข่าวถึงเรานะ."

กัปปกอันเตวาสิก ทราบว่าอาจารย์มา ก็ทำการต้อนรับ เมื่ออาจารย์

กล่าวว่า "พวกนอกนี้ไปอยู่ที่ไหนกัน ? " จึงเรียนว่า " ทราบว่าอยู่

ที่โน้น."

อันเตวาสิกแม้เหล่านั้น ทราบว่าอาจารย์มาแล้ว (มา) ประชุม

กัน ณ ที่นั้นนั่นแล ถวายน้ำร้อนแล้ว ได้ถวายผลาผลแก่อาจารย์.

โรคสงบแล้วในขณะนั้นเอง. พระดาบสนั้น มีวรรณะประดุจทองคำโดย

๒-๓ วันเท่านั้น.

๑. ปวตฺตึ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 20

ลำดับนั้น นารทอำมาตย์ถามว่า :-

" ข้าแต่เกสีดาบสผู้มีโชค อย่างไรหนอ ท่านจึง

ละพระราชา ผู้เป็นจอมแห่งมนุษย์ ผู้บันดาลสมบัติ

น่าใคร่ทั้งสิ้นให้สำเร็จเสีย แล้วยินดีในอาศรมของ

กัปปกดาบส."

ท่านตอบว่า :-

" คำไพเราะชวนให้รื่นรมย์มีอยู่, รุกขชาติเป็น

ที่เพลินใจมีอยู่, ดูก่อนนารทะ คำที่กัปปกะกล่าวดี

แล้ว ย่อมให้เรายินดีได้ "

นารทอำมาตย์ถามว่า

" ท่านบริโภคข้าวสุกแห่งข้าวสาลีอันเจือด้วยรส

เนื้อดี ๆ แล้ว, ข้าวฟ่างและลูกเดือย ซึ่งหารสเค็ม

มิได้ จะทำให้ห่านยินดีได้อย่างไร ?"

ท่านตอบว่า

" ผู้คุ้นเคยกันบริโภคอาหารไม่อร่อยหรืออร่อย

น้อยหรือมากในที่ใด, (อาหารที่บริโภคในที่นั้นก็ให้

สำเร็จประโยชน์ได้) เพราะว่า รสทั้งหลายมีความ

คุ้นเคยเป็นอย่างยิ่ง."

๑. ขุ. ชา. จตุกก. ๒๗/๑๖๐. อรรถกถา. ๔/๔๐๕.

๒. ภุญฺเชยฺย ในชาดกและบาลีเป็น ภุญฺเช อรรถถาแก้เป็น ภุญฺชิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 21

พระศาสดาทรงย่อชาดก

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประมวล

ชาดก ตรัสว่า " พระราชา ในครั้งนั้น ได้เป็นโมคคัลลานะ, นารท-

อำมาตย์ ได้เป็นสารีบุตร, อันเตวาสิกชื่อกัปปกะ ได้เป็นอานนท์,

เกสวดาบส เป็นเราเอง " ดังนี้แล้ว ตรัสว่า อย่างนั้น มหาบพิตร

บัณฑิตในปางก่อน ถึงเวทนาปางตาย ได้ไปสู่ที่คนมีความคุ้นเคยกันแล้ว,

สาวกทั้งหลายของอาตมภาพ ชะรอยจะไม่ได้ความคุ้นเคยในสำนักของ

พระองค์."

พระราชาทรงส่งสาสน์ไปขอธิดาเจ้าศากยะ

พระราชาทรงดำริว่า เราควรจะทำความคุ้นเคยกับภิกษุสงฆ์,

เราจักทำอย่างไรหนอ ?" ดังนี้แล้ว ทรงดำริ ( อีก ) ว่า "ควรทำ

พระธิดาแห่งพระญาติของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไว้ในพระราชมนเฑียร,

เมื่อเป็นเช่นนี้ พวกภิกษุหนุ่มและพวกสามเณร ( ก็จะ) คุ้นเคยแล้วมา

ยังสำนักของเราเป็นนิตย์ ด้วยคิดว่า "พระราชาเป็นพระญาติของพระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า" ดังนี้ ส่งพระราชสาสน์ไปสำนักเจ้าศากยะทั้งหลายว่า

" ขอเจ้าศากยะทั้งหลาย จงประทานพระธิดาคนหนึ่ง แก่หม่อมฉัน,"

แล้วรับสั่งบังคับทูตทั้งหลายว่า "พวกท่านพึงถามว่า 'เป็นพระธิดา

แห่งเจ้าศากยะองค์ไหน ?' แล้ว ( จึง ) มา."

เจ้าศากยะให้ธิดานางทาสีแก่พระเจ้าปเสนทิ

พวกทูตไปแล้ว ทูลขอเจ้าหญิง (คนหนึ่ง ) กะเจ้าศากยะทั้งหลาย

เจ้าศากยะเหล่านั้นประชุมกันแล้ว ทรงดำริว่า พระราชาเป็นฝักฝ่ายอื่น;

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 22

ผิว่า พวกเราจักไม่ให้ไซร้, ท้าวเธอจักทำให้เราฉิบหาย; ก็ (เมื่อว่า )

โดยสกุล ท้าวเธอไม่เสมอกับเราเลย; พวกเราควรทำอย่างไรกันดี ?"

ท้าวมหานาม ตรัสว่า "ธิดาของหม่อมฉัน ชื่อวาสภขัตติยา เกิด

ในท้องของนางทาสี ถึงความเป็นผู้มีรูปงามเลิศมีอยู่, พวกเราจักให้นาง

นั้น" ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งกะพวกทูตว่า "ดีละ พวกเราจักถวายเจ้าหญิง

แด่พระราชา."

ทูต. เป็นพระธิดาของเจ้าศากยะองค์ไหน ?

เจ้าศากยะ. เป็นพระธิดาของท้าวมหานามศากยราช ผู้เป็นพระ

โอรสของพระเจ้าอาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อวาสภขัตติยา.

ทูตเหล่านั้นไปกราบทูลแด่พระราชา (ของตน.) พระราชาตรัส

ว่า " ถ้าอย่างนั้นก็ดีละ, พวกเธอจงรีบนำมาเถิด; ก็ธรรมดาพวกกษัตริย์

มีเล่ห์กลมาก ( จะ ) พึงส่งแม้ลูกสาวของนางทาสีมา (ก็อาจเป็นได้),

พวกท่านจงนำธิดาผู้เสวยอยู่ในภาชนะเดียวกันกับพระบิดามา " ดังนี้แล้ว

ทรงส่งทูตทั้งหลายไป.

พวกเขาไปแล้วกราบทูลว่า "ขอเดชะ พระราชาทรงปรารถนา

พระธิดาผู้เสวยร่วมกับพระองค์" ท้าวมหานามรับสั่งว่า " ได้ซิ พ่อ "

(จึง) ให้ตกแต่งนาง ในเวลาเสวยของพระองค์รับสั่งให้เรียกนางมา

แสดงอาการ (ประหนึ่ง) ร่วมเสวยกับนางแล้วมอบแก่ทูตทั้งหลาย.

พวกเขาพานางไปยังเมืองสาวัตถีแล้ว กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชา.

พระราชาทรงพอพระทัย ตั้งให้นางเป็นใหญ่กว่าสตรี ๕๐๐ คน

อภิเษกไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี. ต่อกาลไม่ช้านัก นาง (ก็) ประสูติ

พระโอรส มีวรรณะเหมือนทองคำ. ต่อมาในวันขนานพระนามพระโอรส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 23

นั้น พระราชาทรงส่งพระราชสาสน์ไปสำนักพระอัยยิกาว่า "พระนาง

วาสภขัตติยา พระธิดาแห่งศากยราช ประสูติพระโอรสแล้ว, จะทรง

ขนานพระนามพระกุมารนั้นว่าอย่างไร ?"

ฝ่ายอำมาตย์ผู้รับพระราชสาสน์นั้นไป ค่อนข้างหูตึง. เขาไปแล้ว

ก็กราบทูลแก่พระอัยยิกาของพระราชา.

พระกุมารได้พระนามว่าวิฑูฑภะ

พระอัยยิกานั้นทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า "พระนางวาสภ-

ขัตติยา แม้ไม่ประสูติพระโอรส ก็ได้ครอบครองชนทั้งหมด, ก็บัดนี้

นางจักเป็นที่โปรดปรานยิ่งของพระราชา."

อำมาตย์หูตึงฟังคำว่า " วัลลภา" ไม่ค่อยชัด เข้าใจว่า "วิฑูฑภะ"

ครั้นเข้าเฝ้าพระราชาแล้ว ก็กราบทูลว่า "ขอเดชะ ขอพระองค์จงทรง

ขนานพระนามพระกุมารว่า ' วิฑูฑภะ' เถิด."

พระราชาทรงดำริว่า "คำว่า 'วิฑูฑภะ.่ จักเป็นชื่อประจำ

ตระกูลเก่าของเรา" จึงได้ทรงขนานพระนามว่า " วิฑูฑภะ."

วิฑูฑภะเสด็จเยี่ยมศากยสกุล

ต่อมา พระราชาได้พระราชทานดำแหน่งเสนาบดีแก่วิฑูฑภกุมาร

นั้น ในเวลาที่ยังทรงพระเยาว์นั่นแล ด้วยตั้งพระทัยว่า "จะกระทำให้

เป็นที่โปรดปรานของพระศาสดา."

วิฑูฑภะนั้น ทรงเจริญด้วยเครื่องบำรุงสำหรับกุมาร ในเวลามี

พระชนม์ ๗ ขวบ ทรงเห็นของเล่นต่าง ๆ มีรูปช้างและรูปม้าเป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 24

ของกุมารเหล่าอื่น อันบุคคลนำมาจากตระกูลยาย จึงถามพระมารดาว่า

" เจ้าแม่ ใคร ๆ เขาก็นำบรรณาการมาจากตระกูลยายเพื่อพวกกุมาร

เหล่าอื่น, พระญาติไร ๆ ย่อมไม่ส่งบรรณาการไร ๆ มาเพื่อหม่อมฉัน

(บ้างเลย). เจ้าแม่ไม่มีพระชนนีพระชนกหรือ ?"

ทีนั้น พระมารดาจึงลวงโอรสนั้นว่า " พ่อ เจ้าศากยะเป็นยาย

ของเจ้ามีอยู่, แต่อยู่ไกล, เหตุนั้น พวกท่าน (จึง ) มิได้ส่งเครื่อง

บรรณาการไร ๆ มาเพื่อเจ้า."

ในเวลามีพระชันษาครบ ๑๖ ปี พระกุมารจึงทูลพระมารดาอีก

ว่า "เจ้าแม่ หม่อมฉันใคร่จะเยี่ยมตระกูลพระเจ้ายาย " แม้ถูกพระมารดา

ห้ามอยู่ว่า "อย่าเลย ลูกเอ๋ย, ลูกจักไปทำอะไรในที่นั้น "ก็ยังอ้อนวอน

ร่ำไป.

ทีนั้น พระมารดาของพระกุมาร ก็ทรงยินยอมว่า " ถ้าอย่างนั้นก็

ไปเถิด."

พวกศากยะต้องรับวิฑูฑภะ

พระกุมารกราบทูลพระราชบิดาแล้ว เสด็จออกไป พร้อมด้วย

บริวารเป็นอันมาก. พระนางวาสภขัตติยาทรงส่งจดหมายล่วงหน้าไปก่อน

ว่า " หม่อมฉันอยู่ในที่นี้สบายดี, พระญาติทั้งหลายอย่าแสดงโทษไร ๆ

ของพระสวามีแก่พระกุมารนั้นเลย."

เจ้าศากยะทรงทราบว่าวิฑูฑภกุมารเสด็จมา ทรงปรึกษากันว่า

" พวกเราไม่อาจไหว้ (วิฑูฑภกุมาร) ได้" จึงส่งพระกุมารทั้งหลาย

ที่เด็ก ๆ กว่าวิฑูฑภะนั้นไปยังชนบทเสีย, เมื่อวิฑูฑภกุมารนั้นเสด็จถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 25

กบิลพัสดุ์บุรี, ก็ประชุมกันในท้องพระโรง. วิฑูฑภกุมารได้เสด็จไป

ประทับอยู่ ณ ที่นั้น.

ลำดับนั้น พวกเจ้าศากยะกล่าวกะพระกุมารนั้นว่า "พ่อ ผู้นี้เป็น

พระเจ้าตาของพ่อ. ผู้นี้เป็นพระเจ้าลุง." วิฑูฑภกุมารนั้น เที่ยวไหว้เจ้า

ศากยะทั้งหมด มิได้เห็นเจ้าศากยะแม้องค์หนึ่งไหว้ตน (จึง) ทูลถามว่า

" ทำไมหนอ จึงไม่มีเจ้าศากยะทั้งหลายไหว้หม่อมฉันบ้าง ?"

พวกเจ้าศากยะตรัสว่า "พ่อ กุมารที่เป็นน้อง ๆ ของพ่อเสด็จไป

ชนบท (เสียหมด) แล้วทรงทำสักการะให้แก่พระกุมารนั้น. พระ-

องค์ประทับอยู่สิ้น ๒-๓ วัน ก็เสด็จออกจากพระนครด้วยบริวารเป็น

อันมาก.

วิฑูฑภะกลับสู่เมืองของตน

ลำดับนั้น นางทาสีคนหนึ่งแช่งด่าว่า "นี้เป็นแผ่นกระดานที่บุตร

ของนางทาสีชื่อวาสภขัตติยานั่ง" ดังนี้แล้ว ล้างแผ่นกระดานที่พระกุมาร

นั้นนั่งในท้องพระโรง ด้วยน้ำเจือด้วยน้ำนม. มหาดเล็กคนหนึ่ง ลืม

อาวุธของตนไว้ กลับไปเอาอาวุธนั้น ได้ยินเสียงด่าวิฑูฑภกุมาร จึงถาม

โทษนั้น ทราบว่า "นางวาสภขัตติยา เกิดในท้องของนางทาสีของท้าว

มหานามศากยะ" ( จึง) บอกกล่าวแก่พวกพล. ได้มีการอื้อฉาวกัน

อย่างขนานใหญ่ว่า "ได้ยินว่า พระนางวาสภขัตติยา เป็นธิดาของ

นางทาสี."

วิฑูฑภะทรงอาฆาตพวกเจ้าศากยะ

เจ้าวิฑูฑภะทรงสดับคำนั้น ตั้งพระหฤทัยไว้ว่า "เจ้าศากยะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 26

เหล่านั้น จงล้างแผ่นกระดานที่เรานั่งด้วยน้ำเจือด้วยนมก่อน. แต่ใน

กาลที่เราดำรงราชสมบัติแล้ว เราจักเอาเลือดในลำคอของเจ้าศากยะ

เหล่านั้น ล้างแผ่นกระดานที่เรานั่ง" เมื่อพระองค์เสด็จยาตราถึงกรุง

สาวัตถี, พวกอำมาตย์ก็กราบทูลเรื่องทั้งหมดแด่พระราชา.

พระราชาทรงพิโรธเจ้าศากยะว่า " ได้ให้ธิดานางทาสีแก่เรา"

จึงรับสั่งให้ริบเครื่องบริหารที่พระราชทานแก่พระนางวาสภขัตติยาและ

พระโอรสให้พระราชทานเพียงสิ่งของอันผู้เป็นทาสและทาสีพึงได้เท่านั้น.

ต่อมา โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน พระศาสดาเสด็จไปยังพระราช-

นิเวศน์ ประทับนั่งแล้ว. พระราชาเสด็จมาถวายบังคมแล้วทูลว่า "ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข่าวลือว่า พวกพระญาติของพระองค์ประทานธิดาแห่ง

นางทาสีแก่หม่อมฉัน . เพราะฉะนั้น หม่อมฉันจึงริบเครื่องบริหารของ

นางวาสภขัตติยานั้นพร้อมทั้งบุตร ให้ ๆ เพียงสิงของอันผู้เป็นทาสและ

ทาสีควรได้เท่านั้น."

พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร พวกเจ้าศากยะทำกรรมไม่สมควร,

ธรรมดาเมื่อจะให้ ก็ควรให้พระธิดาที่มีชาติเสมอกัน; มหาบพิตร ก็

อาตมภาพขอทูลพระองค์ว่า 'พระนางวาสภขัตติยาเป็นพระธิดาของขัตติย-

ราช ได้อภิเษกในพระราชมนเฑียรของขัตติยราช. ฝ่ายวิฑูฑภกุมาร ก็

ทรงอาศัยขัตติยราชนั่นแลประสูติแล้ว, ธรรมดาว่า โคตรฝ่ายมารดาจัก

ทำอะไร (ได้) โคตรฝ่ายบิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า

" โบราณกบัณฑิตทั้งหลายได้พระราชทานตำแหน่งอัครมเหสี แก่หญิงผู้

ยากจนชื่อกัฏฐหาริกา, และพระกุมารที่เกิดในท้องของนางนั้น (ก็) ถึง

๑. หญิงหาบฟืน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 27

ความเป็นพระราชาในพระนครพาราณสี (อันกว้างใหญ่ไพศาล) ถึง

๑๒ โยชน์ ทรงพระนามว่า " กัฏฐวาหนราช" แล้วตรัสกัฏฐหาริย-

ชาดก.

พระราชาทรงสดับธรรมกถา ทรงยินดีว่า "ทราบว่า โคตรฝ่าย

บิดาเท่านั้นเป็นสำคัญ " จึงรับสั่งให้พระราชทานเครื่องบริหารเช่นเคยนั่น

แล แก่มารดาและบุตร.

พันธุละพาภรรยาผู้แพ้ท้องอาบน้ำ

ภรรยาแม้ของพันธุลเสนาบดีแล ชื่อมัลลิกา ซึ่งเป็นพระธิดาของ

เจ้ามัลละ ในกุสินารานคร ไม่คลอดบุตรสิ้นกาลนาน.

ต่อมา พันธุลเสนาบดีส่งนางไปว่า "เจ้าจงไปสู่เรือนแห่งตระกูล

ของตนเสียเถิด."

นางคิดว่า "เราจักเฝ้าพระศาสดาแล้วจึงไป" จึงเข้าไปยังพระ-

เชตวัน ยืนถวายบังคนพระตถาคต อันพระตถาคตตรัสถามว่า "เธอ

จะไป ณ ที่ไหน ?" กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สามีส่งหม่อมฉัน

ไปสู่เรือนแห่งตระกูล."

พระศาสดา. เพราะเหตุไร ?

นาง. นัยว่า หม่อมฉันเป็นหมัน ไม่มีบุตร.

พระศาสดา. ถ้าอย่างนั้น. กิจคือการไปไม่มี, จงกลับเสียเถิด.

นางดีใจ ถวายบังคมพระศาสดา กลับไปสู่นิเวศน์ เมื่อสามีถามว่า

" กลับมาทำไม ?" ตอบว่า "พระทศพลให้ฉันกลับ." พันธุละคิดว่า

๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๓. อรรถกถา. ๑/๒๐๔. แต่ในที่นั้น เป็น กัฏฐหาริชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 28

" พระทศพลทรงเห็นการณ์ไกล จักเห็นเหตุ ( นี้ ) " จึงรับไว้. ต่อมา

ไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์ เกิดแพ้ท้อง บอกว่า "ความแพ้ท้องเกิด

แก่ฉันแล้ว."

พันธุละ. แพ้ท้องอะไร ?

นาง. นาย ฉันใคร่จะลงอาบแล้ว ดื่มน้ำควรดื่มในสระโบกขรณี

อันเป็นมงคล ในงานอภิเษกแห่งคณะราชตระกูลในนครไพสาลี.

พันธุละกล่าวว่า "ดีละ" แล้วถือธนูอันบุคคลพึงโก่งด้วยเรี่ยวแรง

ของบุรุษพันหนึ่ง อุ้มนางขึ้นรถ ออกจากเมืองสาวัตถี ขับรถเข้าไปสู่

เมืองไพสาลี โดยประตูที่เจ้าลิจฉวีให้แก่มหาลิลิจฉวี.

ก็ที่อยู่อาศัยของเจ้าลิจฉวีนามว่ามหาลิ มีอยู่ ณ ที่ใกล้ประตูนั่นแล.

พอท่านได้ยินเสียงรถกระทบธรณีประตูก็รู้ว่า " เสียงรถของพันธุละ"

จึงกล่าวว่า "วันนี้ ภัยจะเกิดแก่พวกเจ้าลิจฉวี."

การอารักขาสระโบกขรณี แข็งแรงทั้งภายในและภายนอก, เบื้อง

บนเขาขึงข่ายโลหะ, แม้นกก็ไม่มีโอกาส.

ฝ่ายพันธุลเสนาบดีลงจากรถ เฆี่ยนพวกมนุษย์ผู้รักษาด้วยหวายให้

หลบหนีไป แล้วตัดข่ายโลหะ ให้ภริยาอาบแล้ว แม้ตนเองก็อาบใน

ภายในสระโบกขรณีแล้ว อุ้มนางขึ้นรถอีก ออกจากพระนคร ขับไปโดย

ทางที่มาแล้วนั่นแล.

พวกเจ้าลิจฉวีติดตาม

พวกเจ้าหน้าที่ผู้รักษา ทูลเรื่องแก่พวกเจ้าลิจฉวี. พวกเจ้าลิจฉวี

กริ้ว เสด็จขึ้นรถ ๕๐๐ คัน (ขับ) ออกไปด้วยเจตนาว่า "จักจับเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 29

มัลละชื่อพันธุละ." ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่เจ้ามหาลิ.

เจ้ามหาลิตรัสว่า "พวกท่านอย่าเสด็จไป, เพราะเจ้าพันธุละนั้น

จักฆ่าพวกท่านทั้งหมด." แม้เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นก็ยังตรัสว่า "พวกข้าพเจ้า

จักไปให้ได้." เจ้ามหาลิ ตรัสว่า " ถ้ากระนั้น พวกท่านทรงเห็นที่ ๆ

ล้อรถจมลงไปสู่แผ่นดินจนถึงดุมแล้ว ก็พึงเสด็จกลับ; เมื่อไม่กลับแต่

นั้น จักได้ยินเสียงราวกับสายอสนีบาตข้างหน้า, พึงเสด็จกลับจากที่นั้น;

เมื่อไม่กลับแต่นั้น จักเห็นช่องในแอกรถของพวกท่าน, พึงกลับแต่ที่นั้น

ทีเดียว, อย่าได้เสด็จไปข้างหน้า ( เป็นอันขาด )."

เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ไม่เสด็จกลับตามคำของเจ้ามหาลิ พากันติดตาม

พันธุละเรื่อยไป. นางมัลลิกาเห็นแล้ว จึงกล่าวว่า "นาย รถทั้งหลาย

ย่อมปรากฏ."

พันธุละกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น ในเวลารถปรากฏเป็นต้นเดียวกัน

ทีเดียว เจ้าพึงบอก."

ในกาลเมื่อรถทั้งหมดปรากฏดุจเป็นต้นเดียวกัน นางจึงบอกว่า

"นาย งอนรถปรากฏเป็นต้นเดียวกันทีเดียว."

พันธุละกล่าวว่า " ถ้ากระนั้น เจ้าจงจับเชือกเหล่านี้ " แล้วให้

เชือกแก่นาง ยืนตรงอยู่บนรถ โก่งธนูขึ้น. ล้อรถจมลงไปสู่แผ่นดิน

ถึงดุม. เจ้าลิจฉวีทรงเห็นที่นั้นแล้ว ก็ยังไม่เสด็จไป. เจ้าพันธุละนอกนี้

ไปได้หน่อยหนึ่งก็ดีดสายธนู. เสียงสายธนูนั้นได้เป็นประหนึ่งอสนีบาต.

เจ้าลิจฉวีเหล่านั้นก็ยังไม่เสด็จกลับแม้จากที่นั้น, ยังเสด็จติดตามไปอยู่นั่น

แล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 30

อำนาจลูกศรของพันธุละ

พันธุละยืนอยู่บนรถนั่นแล ยิงลูกศรไปลูกหนึ่ง ลูกศรนั้น ทำ

งอนรถ ๕๐๐ คันให้เป็นช่องแล้ว แทงทะลุพระราชา ๕๐๐ ในที่ผูกเกราะ

แล้วจมลงไปในแผ่นดิน.

เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ไม่รู้ว่าคนถูกลูกศรแทงแล้วตรัสว่า " เฮ้ย หยุด

ก่อน, เฮ้ย หยุดก่อน" ยังเสด็จติดตามไปนั่นแล. พันธุลเสนาบดี

หยุดรถแล้วกล่าวว่า " พวกท่านเป็นคนตาย. ชื่อว่าการรบของข้าพเจ้า

กับคนตายทั้งหลาย ย่อมไม่มี."

เจ้าลิจฉวี. ชื่อว่าคนตาย ไม่เหมือนเรา.

พันธุละ. ถ้ากระนั้น พวกท่านจงแก้เกราะของคนหลังทั้งหมดดู.

พวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นให้แก้แล้ว. เจ้าลิจฉวีองค์นั้น ล้มลงสิ้น

ชีพิตักษัยในขณะแก้เกราะออกแล้วนั่งเอง.

ทีนั้น พันธุละจึงกล่าวกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า "พวกท่านแม้ทั้งหมด

ก็เหมือนกัน, เสด็จไปเรือนของตน ๆ แล้ว จึงจัดสิ่งที่ควรจัด พร่ำสอน

ลูกเมีย แล้วแก้เกราะออก.

เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น กระทำอย่างนั้นทุก ๆ องค์ ถึงชีพิตักษัยแล้ว.

พันธุละมีบุตร ๓๒ คน

ฝ่ายพันธุละ พานางมัลลิกามายังเมืองสาวัตถี. นางคลอดบุตรเป็น

คู่ ๆ ถึง ๑๖ ครั้ง.

แม้บุตรของนางทั้งหมดได้เป็นผู้แกล้วกล้า ถึงพร้อมด้วยกำลัง, ถึง

ความสำเร็จศิลปะทั้งหมด. คนหนึ่ง ๆ ได้มีบุรุษพันคนเป็นบริวาร. พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 31

ลานหลวงเต็มไปด้วยบุตรเหล่านั้นแล ซึ่งไปราชนิเวศน์กับบิดา.

พันธุละเสนาบดีถูกฆ่าพร้อมทั้งบุตร

อยู่มาวันหนึ่ง พวกมนุษย์แพ้ความด้วยคดีโกงในการวินิจฉัย เห็น

พันธุละกำลังเดินมา ร่ำร้องกันใหญ่ แจ้งการกระทำคดีโกงของพวก

อำมาตย์ผู้วินิจฉัย แก่พันธุละนั้น.

พันธุละไปสู่โรงวินิจฉัย พิจารณาคดีนั้นแล้ว ได้ทำผู้เป็นเจ้าของ

นั่นแล ให้เป็นเจ้าของ. มหาชนให้สาธุการเป็นไปด้วยเสียงอันดัง.

พระราชาทรงสดับเสียงนั้น ตรัสถามว่า " นี่อะไรกัน?" เมื่อทรง

สดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงโสมนัส ให้ถอดพวกอำมาตย์เหล่านั้นแม้ทั้งหมด

ทรงมอบการวินิจฉัยแก่พันธุละเท่านั้น. ตั้งแต่นั้นมา พันธุละก็วินิจฉัย

โดยถูกต้อง. จำเติมตั้งแต่วันนั้นมา พวกอำมาตย์ผู้วินิจฉัยรุ่นเก่า ไม่

ได้ค่าจ้าง มีรายได้น้อย ยุยงในราชตระกูลว่า " พันธุละปรารถนาเป็น

พระราชา."

พระราชาทรงเชื่อคำของอำมาตย์เหล่านั้น มิได้อาจจะทรงข่มพระ-

หฤทัยได้, ทรงดำริอีกว่า " เมื่อพันธุละถูกฆ่าตายในที่นี้นั้นแล. ความ

ครหาก็จักเกิดแก่เรา" ทรงมีรับสั่งให้บุรุษที่แต่งไว้ โจมตีปัจจันตนคร

แล้วรับสั่งให้หาพันธุละมา ทรงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า "ทราบว่า จังหวัด

ปลายแดน โจรกำเริบขึ้น. ท่านพร้อมทั้งบุตรของท่านจงไปจับโจรมา ,"

แล้วทรงส่งนายทหารผู้ใหญ่ซึ่งสามารถเหล่าอื่น ไปกับพันธุละเสนาบดีนั้น

ด้วยพระดำรัสว่า "พวกท่านจงตัดศีรษะพันธุลเสนาบดีพร้อมทั้งบุตร

๓๒ คน ในที่นั้นแล้วนำมา."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 32

เมื่อพันธุละนั้นพอถึงจังหวัดปลายแดน, พวกโจรที่พระราชาทรง

แต่งไว้ กล่าวกันว่า " ทราบว่า ท่านเสนาบดีมา" แล้วพากันหลบหนี

ไป.

พันธุลเสนาบดีนั้น ยังประเทศนั้นให้สงบราบคาบแล้ว ก็กลับมา.

ลำดับนั้น ทหารเหล่านั้นก็ตัดศีรษะพันธุลเสนาบดีพร้อมกับบุตรทั้งหมด

ในที่ใกล้พระนคร.

นางมัลลิกาเทวีไม่มีความเสียใจ

วันนั้น นางมัลลิกาเทวี นิมนต์พระอัครสาวกทั้งสองพร้อมทั้ง

ภิกษุ ๕๐๐ รูป.

ครั้นในเวลาเช้า พวกคนได้นำหนังสือมาให้นาง เนื้อความว่า

"โจรตัดศีรษะสามีพร้อมทั้งบุตรของท่าน." นางรู้เรื่องนั้นแล้ว ไม่บอก

ใคร ๆ พับหนังสือใส่ไว้ในพกผ้า อังคาสภิกษุสงฆ์เรื่อยไป.

ขณะนั้น สาวใช้ของนางถวายภัตแก่ภิกษุแล้ว นำถาดเนยใสมา

ทำถาดแตกตรงหน้าพระเถระ. พระธรรมเสนาบดีกล่าวว่า " สิ่งของมี

อันแตกเป็นธรรมดา ก็แตกไปแล้ว, ใคร ๆ ไม่ควรคิด."

นางมัลลิกานั้น นำเอาหนังสือออกจากพกผ้า เรียนท่านว่า "เขา

นำหนังสือนี้มาให้แก่ดิฉัน เนื้อความว่า 'พวกโจรตัดศีรษะบิดาพร้อม

ด้วยบุตร ๓๒ คน,' ดิฉันแม้สดับเรื่องนี้แล้ว ก็ยังไม่คิด; เมื่อ (เพียง)

ถาดเนยใสแตก ดิฉันจักคิดอย่างไรเล่า ? เจ้าข้า."

พระธรรมเสนาบดีกล่าวคำเป็นต้นว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 33

"ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย ในโลกนี้ ไม่มีนิมิต

ใคร ๆ ก็รู้ไม่ได้ ทั้งฝืดเคือง ทั้งน้อย, และชีวิตนั้น

ซ้ำประกอบด้วยทุกข์."

แสดงธรรมเสร็จแล้ว ลุกจากอาสนะ ได้ไปวิหารแล้ว.

ฝ่ายนางมัลลิกาให้เรียกบุตรสะใภ้ทั้ง ๓๒ คนมาแล้ว สั่งสอนว่า

"สามีของพวกเธอไม่มีความผิด ได้รับผลกรรมในชาติก่อนของตน, เธอ

ทั้งหลายอย่าเศร้าโศก อย่าปริเทวนาการ, อย่าทำการผูกใจแค้นเบื้องบน

พระราชา."

จารบุรุษของพระราชา ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว กราบทูลความที่ชน

เหล่านั้นไม่มีโทษแด่พระราชา. พระราชาทรงถึงความสลดพระหฤทัยเสด็จ

ไปนิเวศน์ของนางมัลลิกานั้น ให้นางมัลลิกาและหญิงสะใภ้ของนางอดโทษ

แล้วได้พระราชทานพรแก่นางมัลลิกา. นางกราบทูลว่า "พรจงเป็นพร

อันหม่อมฉันรับไว้เถิด" เมื่อพระราชานั้นเสด็จไปแล้ว, ถวายภัตเพื่อผู้

ตาย อาบน้ำแล้ว เข้าเฝ้าพระราชา ทูลว่า "ขอเดชะ พระองค์พระ-

ราชทานพรแก่หม่อมฉันแล้ว, อนึ่ง หม่อมฉันไม่มีความต้องการด้วยของ

อื่น, ขอพระองค์จงทรงอนุญาตให้ลูกสะใภ้ ๓๒ คนของหม่อมฉัน และ

ตัวหม่อมฉัน กลับไปเรือนแห่งตระกูลเถิด."

พระราชาทรงรับแล้ว. นางมัลลิกาส่งหญิงสะใภ้ ๓๒ คนไปสู่ตระกูล

ของตน ๆ ด้วยตนเอง. ส่วนนางได้ไปสู่เรือนแห่งตระกูลของตนใน

กุสินารานคร.

ฝ่ายพระราชา ได้พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่ทีฆการายนะผู้

ซึ่งเป็นหลานพันธุลเสนาบดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 34

ก็ทีฆการายนะนั้น เที่ยวแสวงหาโทษของพระราชาด้วยคิดอยู่ว่า

" ลุงของเรา ถูกพระราชาองค์นี้ ให้ตายแล้ว." ข่าวว่า จำเดิมแต่การ

ที่พันธุละผู้ไม่มีความผิดถูกฆ่าแล้ว พระราชาทรงมีวิปฏิสาร ไม่ได้รับ

ความสบายพระหฤทัย ไม่ได้เสวยความสุขในราชสมบัติเลย.

พระราชาสวรรคต

ครั้งนั้น พระศาสดา ทรงอาศัยนิคมชื่อเมทฬุปะของพวกเจ้าศากยะ

ประทับอยู่. พระราชาเสด็จไปที่นั้นแล้ว ทรงให้ตั้งค่ายในที่ไม่ไกลจาก

พระอารามแล้ว เสด็จไปวิหาร ด้วยบริวารเป็นอันมาก ด้วยทรงดำริว่า

" จักถวายบังคมพระศาสดา" พระราชที่เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง ๕

แก่ทีฆการายนะแล้ว พระองค์เดียวเท่านั้น เสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี. พึง

ทราบเรื่องทั้งหมดโดยทำนองแห่งธรรมเจติยสูตร. เมื่อพระองค์เสด็จเข้า

สู่พระคันธกุฎีแล้ว ทีฆการายนะจึงถือเอาเครื่องราชกกุธภัณฑ์เหล่านั้น ทำ

วิฑูฑภะให้เป็นพระราชา เหลือม้าไว้ตัวหนึ่ง และหญิงผู้เป็นพนักงาน

อุปัฏฐากคนหนึ่ง แล้วได้กลับไปเมืองสาวัตถี.

พระราชาตรัสปิยกถากับพระศาสดาแล้วเสด็จออก ไม่ทรงเห็นเสนา

จึงตรัสถามหญิงนั้น ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " เราจักพา

หลานไปจับวิฑูฑภะ" ดังนี้แล้ว เสด็จไปกรุงราชคฤห์ เสด็จถึงพระนคร

เมื่อประตู (พระนคร) อันเขาปิดแล้วในเวลาวิกาล บรรทมแล้วในศาลา

๑. เครื่องประดับพระเกียรติยศของพระเจ้าแผ่นดินมี ๕ อย่าง คือ ๑. แส้จามรี ๒. มงกุฏ

๓. พระขรรค์ ๔. ธาระพระการ ๕. ฉลองพระบาท บางแห่งว่า ๑. พระขรรค์ ๒. เศวตฉัตร

๓. มงกุฏ ๔. ฉลองพระบาท ๕. พัดวาลวิชนี. ๒. ม. ม. ๑๓/๕๐๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 35

แห่งหนึ่ง ทรงเหน็ดเหนื่อยเพราะลมและแดด ได้สวรรคตในที่นั้นนั่งเอง

ในเวลากลางคืน. เมื่อราตรีสว่างแล้ว, ประชาชนได้ยินเสียงหญิงคนนั้น

คร่ำครวญอยู่ว่า "ข้าแต่สมมติเทพ ผู้จอมแห่งชาวโกศล พระองค์ไม่มี

ที่พึ่งแล้ว" จึงกราบทูลแด่พระราชา. ท้าวเธอ ทรงรับสั่งให้ทำสรีรกิจ

ของพระเจ้าลุง ด้วยสักการะใหญ่.

พระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จไปพบพระศาสดา

แม้พระเจ้าวิฑูฑภะ ได้ราชสมบัติแล้ว ทรงระลึกถึงเวรนั้น ทรง

ดำริว่า " เราจักยังเจ้าศากยะแม้ทั้งหมดให้ตาย " ดังนี้แล้ว จึงเสด็จออก

ไปด้วยเสนาใหญ่.

ในวันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นความ

พินาศแห่งหมู่พระญาติแล้ว ทรงดำริว่า " เราควรกระทำญาติสังคหะ"

ในเวลาเช้า เสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว

ทรงสำเร็จสีหไสยาในพระคันธกุฎี ในเวลาเย็นเสด็จไปทางอากาศ ประทับ

นั่งที่โคนไม้ มีเงาปรุโปร่ง ใกล้เมืองกบิลพัสดุ์.

แต่นั้นไป มีต้นไทรเงาสนิทต้นใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ในรัชสีมาของพระ-

เจ้าวิฑูฑภะ. พระเจ้าวิฑูฑภะทอดพระเนตรเห็นพระศาสดา จึงเสด็จเข้า

ไปเฝ้า ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะ

เหตุไร พระองค์จึงประทับนั่งแล้วที่โคนไม้เงาปรุโปร่งนี้ ในเวลาร้อน

เห็นปานนี้, ขอพระองค์โปรดประทับนั่งที่โคนไทร มีเงาอันสนิทนั่นเถิด

พระเจ้าข้า" เมื่อพระศาสดาตรัสตอบว่า "ช่างเถิด มหาบพิตร, ชื่อว่า

เงาของหมู่พระญาติเป็นของเย็น," จึงทรงดำริว่า "พระศาสดาจักเสด็จ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 36

มาเพื่อทรงประสงค์รักษาหมู่พระญาติ" จึงถวายบังคมพระศาสดา เสด็จ

กลับไปสู่เมืองสาวัตถีนั่นแล. แม้พระศาสดาก็ทรงเหาะไปสู่เชตวันเหมือน

กัน. พระราชาทรงระลึกถึงโทษแห่งพวกเจ้าศากยะ เสด็จออกไปแม้ครั้ง

ที่ ๒ ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาในที่นั้นนั่นแล ก็เสด็จกลับอีก. เสด็จ

ออกไปแม้ครั้งที่ ๓ ทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาในที่นั้นนั่นแล ก็เสด็จ

กลับ. แต่เมื่อพระเจ้าวิฑูฑภะนั้นเสด็จออกไปในครั้งที่ ๔, พระศาสดา

ทรงพิจารณาเห็นบุรพกรรมของเจ้าศากยะทั้งหลาย ทรงทราบความที่กรรม

อันลามกคือการโปรยยาพิษ ในแม่น้ำของเจ้าศากยะเหล่านั้น เป็นกรรม

อันใคร ๆ ห้ามไม่ได้ จึงมิได้เสด็จไปในครั้งที่ ๔. พระเจ้าวิฑูฑภะเสด็จ

ออกไปแล้วด้วยพลใหญ่ ด้วยทรงดำริว่า "เราจักฆ่าพวกเจ้าศากยะ."

พระเจ้าวิฑูฑภะฆ่าพวกศากยะ

ก็พระญาติทั้งหลายของพระสัมมาสัมพุทธะชื่อว่าไม่ฆ่าสัตว์ แม้จะ

ตายอยู่ก็ไม่ปลงชีวิตของเหล่าสัตว์อื่น.

เจ้าศากยะเหส่านั้นคิดว่า " พวกเราฝึกหัดมือแล้ว มีเครื่องผูกสอด

อันทำแล้ว หัดปรือมาก, แต่พวกเราไม่อาจปลงสัตว์อื่นจากชีวิตได้เลย,

พวกเราจักแสดงกรรมของตนแล้วให้หนีไป." เจ้าศากยะเหล่านั้น ทรงมี

เครื่องผูกสอดอันทำแล้ว จึงเสด็จออกเริ่มการยุทธ. ถูกศรที่เจ้าศากยะ

เหล่านั้นยิงไปไปตามระหว่าง ๆ พวกบุรุษของพระเจ้าวิฑูฑภะ, ออกไป

โดยช่องโล่และช่องหูเป็นต้น. พระเจ้าวิฑูฑภะทอดพระเนตรเห็น, จึง

ตรัสว่า "พนาย พวกเจ้าศากยะย่อมตรัสว่า 'พวกเราเป็นผู้ไม่ฆ่าสัตว์'

มิใช่หรือ ? เมื่อเช่นนี้ ไฉนพวกเจ้าศากยะจึงยิงบุรุษของเราให้ฉิบหาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 37

เล่า." ลำดับนั้น บุรุษคนหนึ่งกราบทูลพระเจ้าวิฑูฑภะนั้นว่า "ข้าแต่

เจ้า พระองค์ตรวจสอบดูแล้วหรือ ?"

พระเจ้าวิฑูฑภะ. พวกเจ้าศากยะ ยังบุรุษของเราให้ฉิบหาย.

บุรุษ. บุรุษไร ๆ ของพระองค์ ชื่อว่าตายแล้ว ย่อมไม่มี, ขอเชิญ

พระองค์จงรับสั่งให้นับบุรุษเหล่านั้นเถิด.

พระเจ้าวิฑูฑภะเมื่อรับสั่งให้นับดู ไม่ทรงเห็นหมดไปแม้คนหนึ่ง.

ท้าวเธอเสด็จกลับจากที่นั้นแล้ว ตรัสว่า " พนาย คนเหล่าใด ๆ บอกว่า

'พวกเราเป็นเจ้าศากยะ' ท่านทั้งหลาย จงฆ่าคนเหล่านั้นทั้งหมด; แต่

จงให้ชีวิต แก่คนที่ยืนอยู่ในสำนักของเจ้าศากยะมหานาม ผู้เป็นพระเจ้าตา

ของเรา.

เจ้าศากยะทั้งหลายไม่เห็นเครื่องถือที่คนพึงถือเอา บางพวกคาบหญ้า

บางพวกถือไม้อ้อ ยืนอยู่, ถูกเขาถามว่า "ท่านเป็นเจ้าศากยะหรือไม่

ใช่ ? เพราะเหตุที่เจ้าศากยะเหล่านั้น แม้จะตายก็ไม่พูดคำเท็จ; พวกที่

ยืนคาบหญ้าอยู่แล้ว จึงกล่าวว่า "ไม่ใช่เจ้าศากยะ, หญ้า." พวกที่ยืน

ถือไม้อ้อก็กล่าวว่า " ไม่ใช่เจ้าศากยะ, ไม้อ้อ." เจ้าศากยะเหล่านั้นและ

เจ้าศากยะที่ยืนอยู่ในสำนักของท้าวมหานาม ได้ชีวิตแล้ว

บรรดาเจ้าศากยะเหล่านั้น เจ้าศากยะที่ยืนคาบหญ้า ชื่อว่าเจ้าศากยะ

หญ้า, พวกที่ยืนถือไม้อ้อ ชื่อว่าเจ้าศากยะไม้อ้อ.

พระเจ้าวิฑูฑภะรับสั่งให้ฆ่าเจ้าศากยะอันเหลือทั้งหลาย ไม่เว้นทารก

แม้ยังดื่มนม ยังแม่น้ำคือโลหิต ให้ไหลไปแล้ว รับสั่งให้ล้างแผ่นกระดาน

ด้วยโลหิตในลำคอของเจ้าศากยะเหล่านั้น.

ศากยวงศ์ อันพระเจ้าวิฑูฑภะเข้าไปตัดแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 38

พระเจ้าวิฑูฑภะนั้น รับสั่งให้จับเจ้าศากยมหานาม เสด็จกลับแล้ว ใน

เวลาเสวยกระยาหารเช้า ทรงดำริว่า " เราจักเสวยอาหารเช้า" ดังนี้แล้ว

ทรงแวะในที่แห่งหนึ่ง, เมื่อโภชนะอันบุคคลนำเข้าไปแล้ว, รับสั่งให้

เรียกพระเจ้าตามา ด้วยพระดำรัสว่า " เราจักเสวยร่วมกัน."

มานะกษัตริย์

แต่กษัตริย์ทั้งหลาย ถึงจะสละชีวิต ก็ไม่ยอมเสวยร่วมกับบุตรนาง

ทาสี; เพราะฉะนั้น ท้าวมหานามทอดพระเนตรเห็นสระ ๆ หนึ่งจึงตรัสว่า

เรามีร่างกายอันสกปรก, พ่อ เราจักอาบน้ำ."

พระเจ้าวิฑูฑภะตรัสว่า " ดีละ พระเจ้าตา เชิญพระเจ้าตาอาบเถิด."

ท้าวมหานามทรงดำริว่า "พระเจ้าวิฑูฑภะนี้ จักฆ่าเราผู้ไม่บริโภคร่วม,

การตายเองของเราเท่านั้น ประเสริฐกว่า" ดังนี้แล้ว จึงทรงสยายผม

สอดหัวแม่เท้าเข้าไปในผม ขอดให้เป็นปมที่ปลาย ดำลงไปในน้ำ.

ด้วยเดชแห่งคุณของท้าวมหานามนั้น นาคภพก็แสดงอาการร้อน.

พระยานาคใคร่ครวญว่า " เรื่องอะไรกันหนอ ?" เห็นแล้วจึงมาสู่สำนัก

ของท้าวมหานามนั้น ให้ท้าวมหานามประทับบนพังพาน แล้วเชิญเสด็จ

เข้าไปสู่นาคภพ. ท้าวมหานามนั้นอยู่ในนาคภพนั้นนั่นแล สิ้น ๑๒ ปี.

ฝ่ายพระเจ้าวิฑูฑภะประทับนั่งคอยอยู่ ด้วยทรงดำริว่า "พระเจ้า

ตาของเราจักมาในบัดนี้ ; เมื่อท้าวมหานามนั้นชักช้าอยู่, จึงรับสั่งให้ค้น

ในสระ. ตรวจดูแม้ระหว่างบุรุษด้วยแสงประทีป ไม่เห็นแล้วก็เสด็จหลีก

ไป ด้วยทรงดำริว่า " พระเจ้าตาจักเสด็จไปแล้ว."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 39

พระเจ้าวิฑูฑภะถูกน้ำท่วมสวรรคต

พระเจ้าวิฑูฑภะนั้น เสด็จถึงแม่น้ำอจิรวดีในเวลาราตรี รับสั่งให้

ตั้งค่าย แล้ว. คนบางพวก นอนแล้วที่หาดทรายภายในแม่น้ำ, บางพวก

นอนบนบกในภายนอก. แม้บรรดาพวกที่นอนแล้วในภายใน พวกที่มี

บาปกรรมอันไม่ได้กระทำแล้วในก่อน มีอยู่. แม้บรรดาพวกที่นอนแล้ว

ในภายนอก ผู้ที่มีบาปกรรมอันได้กระทำแล้วในก่อน มีอยู่, มดแดง

ทั้งหลายตั้งขึ้นแล้ว ในที่ซึ่งคนเหล่านั้นนอนแล้ว.

ชนเหล่านั้น กล่าวกันว่า "มดแดงตั้งขึ้นแล้วในที่เรานอนแล้ว,

มดแดงตั้งขึ้นแล้ว ในที่เรานอนแล้ว" จึงลุกขึ้น, พวกที่มีบาปกรรมอัน

ไม่ได้กระทำแล้ว ลุกขึ้นไปนอนบนบก, พวกมีบาปกรรมอันกระทำแล้ว

ลงไปนอนเหนือหาดทราย.

ขณะนั้น มหาเมฆตั้งขึ้น ยังฝนลูกเห็บให้ตกแล้ว. ห้วงน้ำหลากมา

ยังพระเจ้าวิฑูฑภะพร้อมด้วยบริษัท ให้ถึงสมุทรนั่นแล. ชนทั้งหมด ได้

เป็นเหยื่อแห่งปลาและเต่าในสมุทรนั้นแล้ว. มหาชนยังกถาให้ตั้งขึ้นว่า

" ความตายของเจ้าศากยะทั้งหลายไม่สมควรเลย, ความตายนี่ คือพวกเจ้า

ศากยะ อันพระเจ้าวิฑูฑภะทุบแล้ว ๆ ชื่ออย่างนี้ให้ตาย จึงสมควร."

พวกเจ้าศากยะตายสมควรแก่บุรพกรรม

พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย, ความ

ตายอย่างนี้ ไม่สมควรแก่เจ้าศากยะทั้งหลายในอัตภาพนี้ก็จริง ถึงอย่างนั้น

ความตายที่พวกเจ้าศากยะนั่นได้แล้ว ก็ควรโดยแท้ ด้วยสามารถแห่ง

กรรมลามกที่เขาทำไว้ในปางก่อน."

๑. น่าจะเป็น "จึงไม่สมควร"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 40

ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เจ้าศากยะทั้งหลายนั่น ได้กระทำ

กรรมอะไรไว้ในปางก่อน ?

พระศาสดา. ในปางก่อน พวกเจ้าศากยะนั่น รวมเป็นพวกเดียวกัน

โปรยยาพิษในแม่น้ำ.

ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายยังกถาให้ตั้งขึ้นในโรงธรรมว่า "พระ-

เจ้าวิฑูฑภะ ยังเจ้าศากยะทั้งหลายประมาณเท่านี้ให้ตายแล้ว เสด็จมาอยู่,

เมื่อมโนรถของตนยังไม่ถึงที่สุดนั่นแล, พาชนมีประมาณเท่านั้น (ไป)

เกิดเป็นภักษาแห่งปลาและเต่าในสมุทรแล้ว."

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวก

เธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลว่า "ด้วย

กถาชื่อนี้ " จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมโนรถของสัตว์เหล่านี้ ยัง

ไม่ถึงที่สุดนั่นแล, มัจจุราชตัดชีวิตินทรีย์แล้ว ให้จมลงในสมุทรคือ

อบาย ๔ ประดุจห้วงน้ำใหญ่ ท่วมทับชาวบ้านอันหลับฉะนั้น" ดังนี้

แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺต พฺยาสตฺตมนส นร

สุตฺต คาม มโหโฆว มจฺจุ อาทาย คจฺฉติ.

"มัจจุ ย่อมพานระผู้มีใจข้องในอารมณ์ต่าง ๆ

ผู้เลือกเก็บดอกไม้อยู่เที่ยวไป เหมือนห้วงน้ำใหญ่

พัดชาวบ้านอันหลับแล้วไปฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า พฺยาสตฺตมนส นร ความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 41

ว่า ผู้มีใจข้องแล้ว ในอารมณ์อันถึงพร้อมแล้ว หรืออันยังไม่ถึงพร้อม

แล้ว.

พระผู้มีพระภาคตรัสคำอธิบายนี้ไว้ว่า ; นายมาลาการเข้าไปสู่สวน

ดอกไม้ คิดว่า "จักเก็บดอกไม้ทั้งหลาย" แล้วไม่เก็บเอาดอกไม้จาก

ในสวนนั้น ปรารถนากออื่น ๆ ชื่อว่าส่งใจไปในสวนดอกไม้ทั้งสิ้น หรือ

คิดว่า "เราจักเก็บดอกไม้จากกอื่น ๆ แล้วไม่เก็บเอาดอกไม้จากกอนั้น

ย่อมส่งใจไปในที่อื่น เลือกอยู่ซึ่งกอไม้นั้นนั่นเอง ชื่อว่าย่อมถึงความ

ประมาทฉันใด; นระบางคน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน หยั่งลงสู่ท่ามกลาง

กามคุณ ๕ เช่นกันกับสวนดอกไม้ ได้รูปอันชอบใจแล้ว ปรารถนา

กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชอบใจอย่างใดอย่างหนึ่ง. หรือได้

บรรดาอารมณ์มีเสียงเป็นต้นเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ยังปรารถนา

อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ( ต่อไป ). หรือได้รูปนั้นแหละ แล้วยัง

ปรารถนาอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ชื่อว่าย่อมยินดีอารมณ์นั้นนั่นแล,

หรือได้บรรดาอารมณ์มีเสียงเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วปรารถนา

อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (ชื่อว่าย่อมยินดีอารมณ์อันตนได้แล้วนั้น).

ในสวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์ มีโค กระบือ ทาสี ทาส

นา สวน บ้าน นิคมและชนบทเป็นต้น ก็นัยนั้นนั่นแล. ในบริเวณ

วิหารและปัจจัยมีบาตรและจีวรเป็นต้น แม้ของบรรพชิต ก็นัยนั้นเหมือน

กัน; (มัจจุย่อมพา) พระผู้มีใจข้องในกามคุณอันถึงพร้อมแล้ว หรือ

อันยังไม่ถึงพร้อมแล้ว ซึ่งกำลังเลือกเก็บดอกไม้ กล่าวคือกามคุณ ๕

อยู่อย่างนั้น ด้วยประการฉะนี้ (ไป).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 42

สองบทว่า สุตฺต คาม ความว่า ชื่อว่าการหลับด้วยสามารถแห่ง

การหลับ แห่งทัพพสัมภาระทั้งหลายมีฝาเรือนเป็นต้นแห่งบ้าน ย่อมไม่มี,

แต่บ้านชื่อว่าเป็นอันหลับแล้ว ก็เพราะเปรียบเทียบความที่สัตว์ทั้งหลาย

เป็นผู้ประมาทแล้วเพียงดังว่าหลับแล้ว; มัจจุพา (นระ) ไป ดุจห้วงน้ำ

ใหญ่อันกว้างและลึก ๒-๓ โยชน์ (พัดพา) ชาวบ้านที่หลับแล้วอย่าง

นั้นไปอยู่ฉะนั้น; คือว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น ยังชาวบ้านนั้นทั้งหมด ไม่

ให้สัตว์ไร ๆ ในบรรดาสตรี บุรุษ โค กระบือ และไก่เป็นต้น เหลือ

ไว้ ให้ถึงสมุทรแล้ว ทำให้เป็นภักษาของปลาและเต่าฉันใด; มัจจุราช

คือความตาย พานระผู้มีใจข้องแล้วในอารมณ์ต่าง ๆ คือตัดอินทรีย์คือ

ชีวิตของพระนั้น ให้จมลงในสมุทรคืออบายทั้ง ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้นแล้ว, เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระเจ้าวิฑูฑภะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 43

๔. เรื่องนางปติปูชิกา [๓๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภหญิงชื่อ

ปติปูชิกา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปุปฺผานิ เหว" เป็นต้น.

เรื่องตั้งขึ้นในดาวดึงสเทวโลก.

เทพธิดาจุติแล้วเกิดในกรุงสาวัตถี

ได้ยินว่า เทพบุตรนามว่ามาลาภารี ในดาวดึงสเทวโลกนั้น มี

นางอัปสรพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว เข้าไปสู่สวน. เทพธิดา ๕๐๐ ขึ้นสู่

ต้นไม้ ยังดอกไม้ให้ตกอยู่. เทพธิดา ๕๐๐ เก็บเอาดอกไม้ที่เทพธิดา

เหล่านั้นให้ตกแล้ว ประดับเทพบุตร. บรรดาเทพธิดาเหล่านั้น เทพธิดา

องค์หนึ่ง จุติบนกิ่งไม้นั่นแล. สรีระดับไป ดุจเปลวประทีป นางถือ

ปฏิสนธิในเรือนแห่งตระกูลหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ในเวลาที่นางเกิดแล้ว

เป็นหญิงระลึกชาติได้ ระลึกอยู่ว่า "เราเป็นภริยาของมาลาภารีเทพบุตร"

ถึงความเจริญ กระทำการบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น ปรารถนา

การเกิดเฉพาะในสำนักสามี. นางแม้ไปสู่ตระกูลอื่น. ในเวลามีอายุ ๑๖ ปี

ถวายสลากภัต ปักขิกภัต และวัสสาวาสิกภัตเป็นต้นแล้ว ย่อมกล่าวว่า

"ส่วนแห่งบุญนี้ จงเป็นปัจจัยเพื่อประโยชน์แก่อันบังเกิดในสำนักสามี

ของเรา."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 44

จุติจากมนุษยโลกแล้วไปเกิดในสวรรค์

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายทราบว่า "นางนี้ ลุกขึ้นเสร็จสรรพแล้ว

ย่อมปรารถนาสามีเท่านั้น" จึงขนานนามของนางว่า "ปติปูชิกา."

แม้นางปติปูชิกานั้น ย่อมปฏิบัติโรงฉัน เข้าไปตั้งน้ำฉัน ปูอาสนะ

เป็นนิตย์. มนุษย์แม้พวกอื่น ใคร่เพื่อจะถวายสลากภัตเป็นต้น นำมา

มอบให้ด้วยคำว่า "แม่ ท่านจงจัดแจงภัตเหล่านี้ แก่ภิกษุสงฆ์." แม้

นางเดินไปเดินมาอยู่โดยทำนองนั้น ได้กุศลธรรม ๕๖ ทุกย่างเท้า. นาง

ตั้งครรภ์แล้ว. นางก็คลอดบุตร โดยกาลอันล่วงไป ๑๐ เดือน. ในกาล

ที่บุตรนั้นเดินได้ นางได้บุตรแม้อื่น ๆ รวม ๔ คน. ในวันหนึ่ง นาง

ถวายทาน ทำการบูชา ฟังธรรม รักษาสิกขาบท ในเวลาเป็นที่สุดแห่ง

วัน ก็ทำกาละด้วยโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งบังเกิดขึ้นในขณะนั้น แล้ว

บังเกิดในสำนักสามีเติมของตน.

อายุของมนุษย์ประมาณ ๑๐๐ ปี

ฝ่ายนางเทพธิดานอกนี้ กำลังประดับอยู่นั่งเอง ตลอดกาลเท่านี้.

เทพบุตรเห็นนางนั้น กล่าวว่า "เธอหายหน้าไปตั้งแต่เช้า, เธอไป

ไหนมา ?"

เทพธิดา. ดิฉันจุติค่ะ นาย.

เทพบุตร. เธอพูดอะไร ?

เทพธิดา. ข้อนั้นเป็นอย่างนี้ นาย.

เทพบุตร. เธอเกิดแล้วในที่ไหน.

เทพธิดา. เกิดในเรือนแห่งตระกูล ในกรุงสาวัตถี.

๑. อภิ. ส. ๓๔/๑๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 45

เทพบุตร. เธอดำรงอยู่ในกรุงสาวัตถีนั้นสิ้นกาลเท่าไร ?

เทพธิดา. ข้าแต่นาย ดิฉันออกจากท้องมารดา โดยกาลอันล่วง

ไป ๑๐ เตือน ในเวลาอายุ ๑๖ ปี ไปสู่ตระกูลสามี คลอดบุตร ๔ คน

ทำบุญมีทานเป็นต้น ปรารถนาถึงนา มาบังเกิดแล้วในสำนักของนาย

ตามเดิม.

เทพบุตร. อายุของมนุษย์มีประมาณเท่าไร ?

เทพธิดา. ประมาณ ๑๐๐ ปี.

เทพบุตร. เท่านั้นเองหรือ ?

เทพธิดา. ค่ะ นาย.

เทพบุตร. พวกมนุษย์ถือเอาอายุประมาณเท่านี้เกิดแล้ว เป็นผู้

ประมาทเหมือนหลับ ยังกาลให้ล่วงไปหรือ ? หรือทำบุญมีทานเป็นต้น ?

เทพธิดา. พูดอะไร นาย, พวกมนุษย์ประมาทเป็นนิตย์ ประหนึ่ง

ถือเอาอายุตั้งอสงไขยเกิดแล้ว ประหนึ่งว่าไม่แก่ไม่ตาย.

ความสังเวชเป็นอันมาก ได้เกิดขึ้นแก่มาลาภารีเทพบุตรว่า

" ทราบว่า พวกมนุษย์ถือเอาอายุประมาณ ๑๐๐ ปีเกิดแล้ว ประมาท

นอนหลับอยู่. เมื่อไรหนอ ? จึงจักพ้นจากทุกข์ได้."

๑๐๐ ปีของมนุษย์เท่า ๑ วันในสวรรค์

ก็ ๑๐๐ ปีของพวกเรา เป็นคืนหนึ่งวันหนึ่งของพวกเทพเจ้าชั้น

ดาวดึงส์, ๓๐ ราตรีโดยราตรีนั้น เป็นเดือนหนึ่ง, กำหนดด้วย ๑๒

เดือนโดยเดือนนั้น เป็นปีหนึ่ง, ๑,๐๐๐ ปีทิพย์ โดยปีนั้น เป็นประมาณ

อายุของเทพเจ้าชั้นดาวดึงส์, ๑,๐๐๐ ปีทิพย์นั้น โดยการนับในมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 46

เป็น ๓ โกฏิ ๖ ล้านปี.

เพราะฉะนั้น แม้วันเดียวของเทพบุตรนั้น ก็ยังไม่ล่วงไป ได้

เป็นกาลเช่นครู่เดียวเท่านั้น. ขึ้นชื่อว่าความประมาทของสัตว์ผู้มีอายุน้อย

อย่างนี้ ไม่ควรอย่างยิ่งแล

ในวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุเข้าไปสู่บ้าน เห็นโรงฉันยังไม่ได้จัด

อาสนะยังไม่ได้ปู น้ำฉันยังไม่ได้ตั้งไว้ จึงกล่าวว่า " นางปติปูชิกา

ไปไหน ?"

ชาวบ้าน. ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักเห็นนาง ณ ที่

ไหน ? วันวานนี้ เมื่อพระผู้เป็นเจ้าฉันแล้ว (กลับ ) ไป, นางตายใน

ตอนเย็น.

ภิกษุปุถุชนฟังคำนั้นแล้ว ระลึกถึงอุปการะของนางนั่น ไม่อาจจะ

กลั้นน้ำตาไว้ได้, ธรรมสังเวชได้เกิดแก่พระขีณาสพ. ภิกษุเหล่านั้นทำ

ภัตกิจแล้ว ไปวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา ทูลถามว่า "ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ อุบาสิกาชื่อปติปูชิกา ลุกขึ้นเสร็จสรรพแล้ว ทำบุญมี

ประการต่าง ๆ ปรารถนาถึงสามีเท่านั้น, บัดนี้ นาง ตายแล้ว (ไป)

เกิด ณ ที่ไหน?"

พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย นางเกิดในสำนักสามีของตนนั่นแหละ.

ภิกษุ. ในสำนักสามี ไม่มี พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย นางปรารถนาถึงสามีนั่น ก็หามิได้,

มาลาภารีเทพบุตร ในดาวดึงสพิภพ เป็นสามีของนาง, นางเคลื่อนจาก

ที่ประดับดอกไม้ของสามีนั้นแล้ว ไปบังเกิดในสำนักของสามีนั้นนั่นแลอีก.

ภิกษุ. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ? พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 47

พระศาสดา. อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุ น่าสังเวช ! ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายน้อย ( จริง) พระเจ้าข้า

เช้าตรู่ นางอังคาสพวกข้าพระองค์ ตอนเย็น ตายด้วยพยาธิที่เกิดขึ้น.

พระศาสดา. อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ชีวิตของสัตว์

ทั้งหลายน้อย (จริง). เหตุนั้นแล มัจจุผู้กระทำซึ่งที่สุด ยังสัตว์เหล่านี้

ซึ่งไม่อิ่ม ด้วยวัตถุกาม และกิเลสกามนั่นแล ให้เป็นไปในอำนาจของ

ตนแล้ว ย่อมพาเอาสัตว์ที่คร่ำครวญ ร่ำไรไป" ดังนี้แล้ว ตรัสพระ-

คาถานี้ว่า :-

๔.ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺต พฺยาสตฺตมนส นร

อติตฺตเยว กาเมสุ อนฺตโก กุรุเต วส ฯ

"มัจจุ ผู้ทำซึ่งที่สุด กระทำนระผู้มีใจข้องใน

อารมณ์ต่างๆ เลือกเก็บดอกไม้อยู่เทียว ผู้ไม่อิ่มใน

กามทั้งหลายนั่นแล สู่อำนาจ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ปุปฺผานิ เหว ปจินนฺต

ความว่า ผู้มัวเลือกเก็บดอกไม้คือกามคุณทั้งหลาย อันเนื่องด้วยอัตภาพ

และเนื่องด้วยเครื่องอุปกรณ์อยู่ เหมือนนายมาลาการ เลือกเก็บดอกไม้

ต่างชนิดอยู่ในสวนดอกไม้ฉะนั้น.

บาทพระคาถาว่า พฺยาสตฺตมนส นร ความว่า ผู้มีจิตซ่านไปโดย

อาการต่าง ๆ ในอารมณ์อันยังไม่ถึงแล้ว ด้วยสามารถแห่งความปรารถนา

ในอารมณ์ที่ถึงแล้ว ด้วยสามารถแห่งความยินดี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 48

บาทพระคาถาว่า อติตฺตเยว กาเมสุ ความว่า ผู้ไม่อิ่มในวัตถุ-

กามและกิเลสกามทั้งหลายนั่นแล ด้วยการแสวงหาบ้าง ด้วยการได้เฉพาะ

บ้าง ด้วยการใช้สอยบ้าง ด้วยการเก็บไว้บ้าง.

บาทพระคาถาว่า อนฺตโก กุรุเต วส ความว่า มัจจุผู้ทำซึ่ง

ที่สุด กล่าวคือมรณะ พานระผู้คร่ำครวญ ร่ำไร ไปอยู่ ให้ถึงอำนาจ

ของตน.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้น เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องนางปติปูชิกา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 49

๕. เรื่องโกสิยเศรษฐผู้มีความตระหนี่ [๓๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภเศรษฐี

ชื่อโกสิยะผู้มีความตระหนี่ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถาปิ ภมโร

ปุปฺผ" เป็นต้น. เรื่องตั้งขึ้นแล้วในกรุงราชคฤห์.

สมบัติของเศรษฐีไม่อำนวยประโยชน์แก่ใคร ๆ

ดังได้สดับมา ในที่ไม่ไกลแห่งกรุงราชคฤห์ ได้มีนิคม ชื่อสักกระ,

เศรษฐีคนหนึ่งชื่อโกสิยะ มีความตระหนี่ มีสมบัติ ๘๐ โกฏิ ประจำ

อยู่ในนิคมนั้น. เขาไม่ให้แม้หยดน้ำมัน (สักหยดเดียว) ด้วยปลายหญ้า

แก่คนเหล่าอื่น. ทั้งไม่บริโภคด้วยตนเอง. สมบัติของเขานั้น ไม่อำนวย

ประโยชน์แก่ปิยชนทั้งหลายมีบุตรและภรรยาเป็นต้น ไม่อำนวยประโยชน์

แก่สมณะและพราหมณ์ทั้งหลาย คงเป็นของไม่ได้ใช้สอย ตั้งอยู่ เหมือน

สระโบกขรณี ที่ผีเสื้อน้ำหวงแหน ด้วยประการฉะนี้แล.

เศรษฐีอยากกินขนมเบื้องจมผอม

วันหนึ่ง เวลาจวนสว่าง พระศาสดาเสด็จออกจากสมาบัติอัน

ประกอบด้วยความกรุณาใหญ่ ทรงตรวจดูหมู่สัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์ที่พอ

แนะนำในการตรัสรู้ได้ในสกลโลกธาตุ ได้ทรงเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติผล

ของเศรษฐีพร้อมทั้งภรรยา ซึ่งอยู่ในที่สุดแห่งที่ ๔๕ โยชน์. ก็ในวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 50

ก่อนแต่วันนั้น เศรษฐีนั้นไปสู่พระราชมนเทียร เพื่อบำรุงพระราชา

ทำการบำรุงพระราชาแล้ว กลับมา เห็นคนบ้านนอกคนหนึ่งถูกความหิว

ครอบงำ กำลังกินขนมกุมมาส (ขนมเบื้อง) ให้เกิดความกระหายใน

ขนมนั้นขึ้น ไปสู่เรือนของตนแล้ว คิดว่า "ถ้าเราบอกว่าเราอยากกิน

ขนมเบื้อง ' ไซร้, คนเป็นอันมากก็จัก ( พากัน) อยากกินกับเรา,

เมื่อเป็นอย่างนั้น วัตถุเป็นอันมาก มีงา ข้าวสาร เนยใส น้ำอ้อย

เป็นต้น ของเรา ก็จักถึงความหมดไป. เราจักไม่บอกแก่ใคร ๆ"

ดังนี้แล้ว อดกลั้นความอยากเที่ยวไป, เมื่อเวลาล่วงไป ๆ เขาผอมเหลือง

ลงทุกที มีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น, แต่นั้น ไม่สามารถจะอดกลั้นความ

อยากไว้ได้ เข้าห้องแล้วนอนกอดเตียง. เขาแม้ถึงความทุกข์อย่างนี้ก็ยัง

ไม่บอกอะไร ๆ แก่ใคร ๆ เพราะกลัวเสียทรัพย์.

ภรรยาเศรษฐีทอดขนมเบื้อง

ลำดับนั้น ภรรยาเข้าไปหาเขาลูบหลังถามว่า "ท่านไม่สบายหรือ ?

นาย."

เศรษฐี. ความไม่สบายอะไร ๆ ของฉันไม่มี.

ภรรยา. ก็พระราชากริ้วท่านหรือ ?

เศรษฐี. ถึงพระราชาก็ไม่กริ้วฉัน.

ภรรยา. เมื่อเป็นเช่นนั้น ความไม่พอใจอะไร ๆ ที่พวกลูกชาย

ลูกหญิงหรือปริชนมีทาสกรรมกรเป็นต้นกระทำแก่ท่าน มีอยู่หรือ ?

เศรษฐี. แม้กรรมเห็นปานนั้นก็ไม่มี.

ภรรยา. ก็ท่านมีความอยากในอะไรหรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 51

แม้เมื่อภรรยากล่าวอย่างนั้น เขาก็ไม่กล่าวอะไร คงนอนเงียบ

เสียงเพราะกลัวเสียทรัพย์. ลำดับนั้น ภรรยากล่าวกะเขาว่า " บอกเถิด

นาย, ท่านอยากอะไร ?" เขาเป็นเหมือนกลืนคำพูดไว้ ตอบว่า "ฉัน

มีความอยาก."

ภรรยา. อยากอะไร ? นาย.

เศรษฐี. ฉันอยากกินขนมเบื้อง.

ภรรยา. เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไม ท่านไม่บอกแก่ดิฉัน. ท่านเป็น

คนจนหรือ ? บัดนี้ ดิฉันจักทอดขนมเบื้องให้พอแก่คนที่อยู่ในสักกรนิคม

ทั้งสิ้น.

เศรษฐี. ประโยชน์อะไรของเธอด้วยคนพวกนั้น, พวกเขาทำงาน

ของตน ก็จักกิน ( องตน).

ภรรยา. ถ้ากระนั้น ดิฉันจักทอดขนมเบื้องให้พอแก่คนที่อยู่ใน

ตรอกเดียวกัน.

เศรษฐี. ฉันรู้ความที่เธอเป็นคนรวยทรัพย์ละ.

ภรรยา. ดิฉันจะทอดให้พอแก่คนทั้งหมด (ที่อยู่ ) ในที่ใกล้

เรือนนี้.

เศรษฐี. ฉันรู้ความที่เธอเป็นคนมีอัธยาศัยกว้างขวางละ.

ภรรยา. ถ้ากระนั้น ดิฉันจะทอดให้พอแก่ชนสักว่าลูกเมียท่าน

เท่านั้นเอง.

เศรษฐี. ประโยชน์อะไรของเธอด้วยคนพวกนั้น.

ภรรยา. ก็ดิฉันจะทอดให้พอแก่ท่านและดิฉันหรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 52

เศรษฐี. เธอจักทำ ทำไม ?

ภรรยา. ถ้ากระนั้น ดิฉันจะทอดให้พอแก่ท่านผู้เดียวเท่านั้น.

เศรษฐี. เมื่อเธอทอดขนมที่นี้ คนเป็นจำนวนมากก็ย่อมหวัง

(ที่จะกินด้วย) เธอจงเว้นข้าวสาร (ที่ดี) ทั้งสิ้น ถือเอาข้าวสารหัก

และเชิงกรานและกระเบื้อง และถือเอาน้ำนม เนยใส น้ำผึ้ง และน้ำอ้อย

หน่อยหนึ่งแล้ว ขึ้นไปชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น แล้วทอดเถิด, ฉัน

คนเดียวเท่านั้น จักนั่งกิน ณ ที่นั้น.

นางรับคำว่า "ดีละ" แล้วให้ทาสีถือสิ่งของที่ควรถือ เอาขึ้นไป

สู่ปราสาท แล้วไล่ทาสีไป ให้เรียกเศรษฐีมา. เศรษฐีนั้น ปิดประตูใส่

ลิ่มและสลักทุกประตูตั้งแต่ประตูแรกมา แล้วขึ้นไปยังชั้นที่ ๗ ปิดประตู

แล้วนั่ง ณ ชั้นแม้นั้น. ฝ่ายภรรยาของเขาก็ติดไฟที่เชิงกราน ยกกระเบื้อง

ขึ้นตั้ง แล้วเริ่มทอดขนม.

พระมหาโมคคัลลานะไปทรมานเศรษฐี

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระมหาโมคคัลลานเถระมาแต่เช้าตรู่

ตรัสว่า "โมคคัลลานะ ในสักกรนิคม (ซึ่งตั้งอยู่ ) ไม่ไกลกรุง

ราชคฤห์ เศรษฐีผู้มีความตระหนี่นั่นคิดว่า 'เราจักกินขนมเบื้อง' จึง

ให้ภรรยาทอดขนมเบื้องบนปราสาท ๗ ชั้น เพราะกลัวคนเหล่าอื่นเห็น,

เธอจงไป ณ ที่นั้นแล้วทรมานเศรษฐี ทำให้สิ้นพยศ ให้ผัวเมียแม้

ทั้งสองถือขนม และน้ำนม เนยใส น้ำผึ้งและน้ำอ้อย แล้วนำมายัง

พระเชตวันด้วยกำลังของตน; วันนี้เรากับภิกษุ ๕๐๐ รูปจักนั่งในวิหาร

นั่นแหละ, จักทำภัตกิจด้วยขนมเท่านั้น."

๑. นิพฺพิเสวน แปลตามศัพท์ว่า มีความเสพผิดออกแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 53

แม้พระเถระ ก็รับพระดำรัสของพระศาสดาว่า "ดีละ พระเจ้า-

ข้า" แล้วไปยังนิคมนั้นด้วยกำลังฤทธิ์ทันทีทีเดียว เป็นผู้นุ่งห่มเรียบร้อย

ได้ยืนอยู่ที่ช่องสีหบัญชรแห่งปราสาทนั้น เหมือนรูปแก้วมณีลอยเด่นอยู่

กลางอากาศเทียว. เพราะเห็นพระเถระนั้นแล ดวงหทัยของมหาเศรษฐี

ก็สั่นสะท้าน เขาคิดว่า " เรามาที่นี่ เพราะกลัวบุคคลทั้งหลายผู้มีรูป

อย่างนี้นั่นแล, แต่สมณะนี้ยังมายืนอยู่ที่ช่องหน้าต่างได้" เมื่อไม่เห็น

เครื่องมือที่ตนควรจะฉวยเอา เดือดดาลทำเสียงตฏะ ๆ ประดุจก้อนเกลือ

ที่ถูกโรยลงในไฟ จึงกล่าวอย่างนั้นว่า "สมณะ ท่านยืนอยู่ในอากาศ จัก

ได้อะไร ? แม้จงกรมแสดงรอยเท้าในอากาศซึ่งหารอยมิได้อยู่ ก็จักไม่ได้

เหมือนกัน." พระเถระจงกรมกลับไปกลับมาในที่นั้นนั่นแล. เศรษฐี

กล่าวว่า "ท่านจงกรมอยู่จักได้อะไร ? แม้นั่งด้วยบัลลังก์ ในอากาศ

ก็จักไม่ได้เช่นกัน." พระเถระจึงนั่งคู้บัลลังก์.

ลำดับนั้น เศรษฐีกล่าวกะท่านว่า " ท่านนั่งในอากาศ จักได้

อะไร ? แม้มายืนที่ธรณีหน้าต่างก็จักไม่ได้." พระเถระได้ยืนอยู่ที่ธรณี

(หน้าต่าง ) แล้ว. ลำดับนั้น เขากล่าวกะท่านว่า "ท่านยืนที่ธรณี

(หน้าต่าง ) จักได้อะไร ? แม้บังหวนควันแล้ว ก็จักไม่ได้เหมือนกัน."

แม้พระเถรก็บังหวนควัน. ปราสาททั้งสิ้นได้มีควันเป็นกลุ่มเดียวกัน.

อาการนั้น ได้เป็นเหมือนเวลาเป็นที่แทงตาทั้งสองของเศรษฐีด้วยเข็ม

เศรษฐีไม่กล่าวกะท่านว่า "แม้ท่านให้ไฟโพลงอยู่ก็จักไม่ได้" เพราะ

กลัวไฟไหม้เรือน แล้วคิดว่า "สมณะนี้ จักเป็นผู้เกี่ยวข้องอย่างสนิท

๑. ศัพท์ว่า "สีหบัญชร" หมายความว่า หน้าต่างมีลูกกรง แปลตามศัพท์ว่า "หน้าต่างมี

สัณฐานประดุจกรงเล็บแห่งสีหะ. ๒. นั่งขัดสมาธิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 54

ไม่ได้แล้วจักไม่ไป, เราจักให้ถวายขนมแก่ท่านชิ้นหนึ่ง " แล้วจึงกล่าว

กะภรรยาว่า "นางผู้เจริญ เธอจงทอดขนมชิ้นเล็ก ๆ ชิ้นหนึ่ง ให้แก่

สมณะแล้ว จงส่งท่านไปเสียเถอะ." นางหยอดแป้งลงในถาดกระเบื้อง

นิดเดียว. (แต่ ) ขนม ( กลาย) เป็นขนมชิ้นใหญ่ ได้พองขึ้นเต็ม

ทั่วทั้งถาด ตั้งอยู่แล้ว. เศรษฐีเห็นเหตุนั้น กล่าวว่า "(ชะรอย)

หล่อนจักหยิบแป้งมากไป" ดังนี้แล้ว ตักแป้งหน่อยหนึ่งด้วยมุมทัพพี

แล้ว หยอดเองทีเดียว. ขนมเกิดใหญ่กว่าขนมชิ้นก่อน. เศรษฐีทอด

ขนมชิ้นใด ๆ ด้วยอาการอย่างนั้น, ขนมชิ้นนั้น ๆ ก็ยิ่งใหญ่โตทีเดียว.

เขาเบื่อหน่าย จึงกล่าวกะภรรยาว่า "นางผู้เจริญ เธอจงให้ขนมแก่

สมณะนี้ชิ้นหนึ่งเถอะ." เมื่อนางหยิบขนมชิ้นหนึ่งจากกระเช้า, ขนม

ทั้งหมดก็ติดเนื่องเป็นอันเดียวกัน. นางจึงกล่าวกะเศรษฐีว่า "นาย

ขนมทั้งหมดติดเนื่องเป็นอันเดียวกันเสียแล้ว. ดิฉันไม่สามารถทำให้แยก

กันได้." แม้เขากล่าวว่า " ฉันจักทำเอง." แล้วก็ไม่อาจทำได้. ถึงทั้ง

สองคน จับที่ริม (แผ่นขนม) แม้ดึงออกอยู่ ก็ไม่อาจให้แยกออกจาก

กันได้เลย. ครั้นเมื่อเศรษฐีนั้นปล้ำอยู่กับขนม ( เพื่อจะให้แยกกัน ),

เหงื่อก็ไหลออกจากสรีระแล้ว. ความหิวกระหายก็หายไป. ลำดับนั้น

เขากล่าวกะภรรยาว่า "นางผู้เจริญ ฉันไม่มีความต้องการขนมแล้ว,

เธอจงให้แก่สมณะเถิด." นางฉวยกระเช้าแล้วเข้าไปหาพระเถระ. พระ-

เถระแสดงธรรมแก่คนแม้ทั้งสอง, กล่าวคุณพระรัตนตรัย, แสดงผลทาน

ที่บุคคลให้แล้วเป็นอาทิ ให้เป็นดังพระจันทร์ในพื้นท้องฟ้าว่า " ทานที่

บุคคลให้แล้ว ย่อมมีผล. ยัญที่บุคคลบูชา ย่อมมีผล." เศรษฐีฟังธรรม

นั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส กล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ท่านจงมานั่งฉันบน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 55

บัลลังก์นี้เถิด."

พระเถระนำเศรษฐีและภรรยาไปเฝ้าพระศาสดา

พระเถระกล่าวว่า " มหาเศรษฐี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับนั่ง

ในวิหารกับภิกษุ ๕๐๐ รูป ด้วยตั้งพระหฤทัยว่า "จักเสวยขนม. เมื่อ

ท่านมีความชอบใจ. เศรษฐี ท่านจงให้ภรรยาถือเอาขนมและวัตถุอื่น

มีน้ำนมเป็นต้น, พวกเราจักไปสู่สำนักของพระศาสดา."

เศรษฐี. ก็บัดนี้ พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ไหนเล่า ? ขอรับ.

พระเถระ. ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหาร ในที่สุดแห่งที่ ๔๕

โยชน์จากที่นี้ เศรษฐี.

เศรษฐี. ท่านผู้เจริญ พวกเราจักไปสิ้นหนทางไกลมีประมาณเท่านี้

จะไม่ล่วงเลยเวลาอย่างไร ?

พระเถระ. มหาเศรษฐี เมื่อท่านมีความชอบใจ, เราจักนำท่าน

ทั้งสองไปด้วยกำลังของตน. หัวบันไดปราสาทของท่านจักมีในที่ของตน

นี่เอง, แต่เชิงบันไดจักมีที่ซุ้มประตูพระเชตวัน, เราจักนำไปสู่พระเชตวัน

โดยกาลชั่วเวลาลงจากปราสาทชั้นบนไปยังชั้นล่าง.

เขารับว่า "ดีละ ขอรับ." พระเถระทำหัวบันไดไว้ในที่นั้น

นั่นเองแล้ว อธิษฐานว่า "ขอเชิงบันไดจงมีที่ซุ้มประตูพระเชตวัน."

บันไดก็ได้เป็นแล้วอย่างนั้นนั่นแล. พระเถระให้เศรษฐีและภรรยาถึงพระ-

เชตวันเร็วกว่ากาลที่ลงไปจากปราสาทชั้นบนลงไปยังชั้นล่าง.

สามีภรรยาแม้ทั้งสองคนนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้ว กราบทูล

กาล. พระศาสดาเสด็จเข้าไปสู่โรงฉันแล้ว ประทับนั่งบนพุทธอาสน์ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 56

เขาปูลาดไว้แล้ว พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. มหาเศรษฐีได้ถวายทักษิโณทก

แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข, ภรรยาใส่ขนมในบาตรของพระ-

ตถาคตเจ้าแล้ว แม้มหาเศรษฐีพร้อมด้วยภรรยา ก็บริโภคขนมพอแก่

ความต้องการ. ความหมดสิ้นของขนมไม่ปรากฏเลย. แม้เมื่อเขาถวาย

ขนมแก่ภิกษุในวิหารทั้งสิ้นและ (ให้ ) แก่คนกินเดนทั้งหลายแล้ว

ความหมดสิ้นไป (แห่งขนม) ก็ไม่ปรากฏอยู่นั่นเอง. เขาทั้งสองจึง

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขนมหาถึงความ

หมดไปไม่."

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " ถ้ากระนั้น ท่านทั้งสองจงทิ้งเสียที่

ซุ้มประตูพระเชตวัน." เขาทั้งสองก็ทิ้งที่เงื้อมซึ่งไม่ไกลซุ้มประตู

(พระเชตวัน). แม้ทุกวันนี้ ที่นั้น ก็ยังปรากฏชื่อว่า "เงื้อมขนมเบื้อง."

มหาเศรษฐีพร้อมด้วยภรรยาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ยืนอยู่ ณ ที่

ควรข้างหนึ่งแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว.

ในกาลจนอนุโมทนา สามีและภรรยาแม้ทั้งสองดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผลแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา ขึ้นบันไดที่ซุ้มประตู (พระ-

เชตวัน) แล้ว สถิตอยู่ที่ปราสาทของตนทีเดียว ตั้งแต่นั้นมาเศรษฐี

ได้เกลี่ยทรัพย์จำนวน ๘๐ โกฏิ ในพระพุทธศาสนานั่นแหละ.

พวกภิกษุสรรเสริญพระมหาโมคคัลลานะ

ในเวลาเย็นวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุประชุมกันในโรงธรรม นั่งกล่าว

คุณกถาของพระเถระว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงดู

อานุภาพของพระมหาโมคคัลลานะ ท่านชื่อว่าไม่กระทบกระทั่งศรัทธา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 57

ไม่กระทบกระทั่งโภคะ ทรมานเศรษฐีผู้มีความตระหนี่โดยครู่เดียว กระทำ

ให้หมดพยศแล้ว ให้เขาถือขนมนำมาสู่พระเชตวัน กระทำไว้ตรง

พระพักตร์พระศาสดาแล้ว ให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล น่าอัศจรรย์ พระ-

เถระมีอานุภาพมาก.

พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของพวกภิกษุ ด้วยพระโสตธาตุอัน

เป็นทิพย์ เสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่ง

ประชุมด้วยเรื่องอะไรกันหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วย

เรื่องชื่อนี้" จึงตรัสสรรเสริญพระเถระว่า " ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาอัน

ภิกษุผู้ทรมาน ไม่กระทบกระทั่งศรัทธา ไม่กระทบกระทั่งโภคะ ไม่ให้

สกุลชอกช้ำ ไม่เบียดเบียน (สกุล) เป็นดุจแมลงภู่เคล้าเอาละอองจาก

ดอกไม้ เข้าไปหา (สกุล) แล้ว ควรให้รู้พุทธคุณ, โมคคัลลานะ

บุตรของเราก็เป็นเช่นนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๕. ยถาปิ ภมโร ปุปฺผ วณฺณวนฺต อเหย

ปเลติ รสมาทาย เอว คาเม มุนี จเร.

"มุนีพึงเที่ยวไปในบ้าน เหมือนแมลงภู่ไม่ยัง

ดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ ถือเอาแต่รสแล้วบิน

รูปฉะนั้น."

แก้อรรถ

ชาติแห่งสัตว์ผู้กระทำน้ำหวานชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่า ภมร ใน

พระคาถานั้น. บทว่า ปุปฺผ เป็นต้น ความว่า แมลงภู่เมื่อบินไปในสวน

ดอกไม้ ไม่ยังดอก สี และกลิ่นให้ชอกช้ำ คือว่า ไม่ให้เสียหาย บินไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 58

บทว่า ปเลติ ความว่า ครั้นบินไปอย่างนั้นแล้ว ดื่มรสจนพอ

ความต้องการ ดาบเอารสแม้อื่นไปเพื่อประโยชน์แก่การกระทำน้ำหวาน

แล้วบินไป. แมลงภู่นั้น ร่อนลงสู่ป่าชัฏแห่งหนึ่งแล้ว เก็บรสซึ่งเจือด้วย

ธุลีนั้นไว้ในโพรงไม้แห่งหนึ่งแล้ว กระทำรสน้ำหวานให้เป็นน้ำผึ้งโดย

ลำดับ; ดอก หรือสี และกลิ่นของดอกไม้นั้นหาชอกช้ำไป เพราะการ

เที่ยวไปในสวนดอกไม้แห่งแมลงภู่นั้นเป็นปัจจัยไม่ ที่แท้สิ่งทั้งหมดคง

เป็นปกติอยู่นั่นเอง.

บาทพระคาถาว่า เอว คาเม มุนี จเร ความว่า พระอนา-

คาริยมุนี ต่างโดยเสขะและอเสขะก็ฉันนั้น เที่ยวรับภิกษาในบ้านโดย

ลำดับสกุล.

แท้จริง การเลื่อมศรัทธาหรือการเสื่อมโภคะหามีแก่สกุลทั้งหลาย

เพราะการเที่ยวไปในบ้านของมุนีนั้นเป็นปัจจัยไม่, ศรัทธาก็ดี โภคะก็ดี

คงเป็นปกติอยู่นั่นเอง; ก็แล พระเสขมุนีและอเสขมุนี ครั้นเที่ยวไป

อย่างนั้นออกมาแล้ว. พระเสขมุนี ปูสังฆาฏิ นั่ง ณ ที่ที่สบายด้วยน้ำ

ภายนอกบ้านก่อนแล้วพิจารณา (อาหารบิณฑบาต) ด้วยสามารถแห่ง

การเปรียบด้วยน้ำมันหยอดเพลา ผ้าปิดแผล และเนื้อแห่งบุตร แล้ว

ฉันบิณฑบาต หลบเข้าไปสู่ไพรสณฑ์เห็นปานนั้น พิจารณากัมมัฏฐาน

เป็นไปภายใน กระทำมรรค ๔ และผล ๔ ให้อยู่ในเงื้อมมือให้ได้, ส่วน

พระอเสขมุนี ประกอบการอยู่สบายในทิฏฐธรรมเนือง ๆ บัณฑิตพึง

ทราบความที่มุนีนั้นควรเห็นสมกับแมลงภู่โดยการกระทำน้ำหวานเช่นนี้.

แต่ในที่นี้ทรงประสงค์เอาพระขีณาสพ.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 59

ปัตติผลเป็นต้น.

พระศาสดา ครั้นตรัสพระธรรมเทศนานี้แล้ว เพื่อจะประกาศคุณ

ของพระเถระแม้ให้ยิ่ง จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะทรมาน

เศรษฐีผู้มีความตระหนี่ในบัดนี้เท่านั้นก็หาไม่ แม้ในกาลก่อน เธอก็

ทรมานเขาแล้ว ให้รู้ความเกี่ยวเนื่องกันแห่งกรรมและผลแห่งกรรมเหมือน

กัน" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ ทรงนำอดีตนิทาน

(มาสาธก) ตรัสอิลลีสชาดกนี้ก็ :-

" คนทั้งสองเป็นคนกระจอก คนทั้งสองเป็นคน

ค่อม คนทั้งสองเป็นคนมีตาเหล่ คนทั้งสองมีย่อม

บนศีรษะ, เราไม่รู้จักเศรษฐีชื่ออิลลีสะ (ว่า) คน

ไหน?" ดังนี้แล.

เรื่องโกสิยเศรษฐีผู้มีความตระหนี่ จบ.

๑. ขุ. ชา. ๒๗/ข้อ ๗๘ อรถกถา ๒/๑๖๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 60

๖. เรื่องปาฏิกาชีวก [๓๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภอาชีวกชื่อ

ปาฏิกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ปเรส วิโลมานิ" เป็นต้น.

ชาวบ้านสรรเสริญธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า

ดังได้สดับมา หญิงแม่เรือนคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี ปฏิบัติอาชีวก

ชื่อปาฏิกะ ตั้งไว้ในฐานะดังลูก. พวกมนุษย์ในเรือนใกล้เคียงของนาง

ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว มาพรรณนาพระพุทธคุณโดยประการ

ต่าง ๆ เป็นต้นว่า " แหม ! พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

น่าอัศจรรย์ (นัก)."

นางอยากไปฟังธรรมแต่ไม่สมประสงค์

หญิงแม่เรือนนั้น ฟังถ้อยคำสรรเสริญพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้ว

ประสงค์จะไปสู่วิหารแล้วฟังธรรม จึงเล่าความนั้นแก่อาชีวก แล้วกล่าว

ว่า "พระผู้เป็นเจ้า ดิฉันจักไปสำนักของพระพุทธเจ้า."

อาชีวกนั้นห้ามว่า " อย่าไปเลย" แล้วก็เลยห้ามนางแม้ผู้อ้อนวอน

อยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ เสียทีเดียว.

นางคิดว่า " พระผู้เป็นเจ้านี้ ไม่ให้เราไปวิหารฟังธรรม. เรา

จักนิมนต์พระศาสดามา แล้วฟังธรรมในที่นี้แหละ" ดังนี้แล้ว ใน

เวลาเย็น จึงเรียกบุตรชายมาแล้วส่งไปด้วยคำว่า " เจ้าจงไป, จงนิมนต์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 61

พระศาสดามาเพื่อเสวยภัตตาหารพรุ่งนี้."

บุตรชายนั้น เมื่อจะไป ก็ไปที่อยู่ของอาชีวกก่อน ไหว้อาชีวก

แล้วนั่ง. ทีนั้น อาชีวกนั้นถามเขาว่า "เธอจะไปไหน ?"

บุตร. ผมจะไปนิมนต์พระศาสดาตามคำสั่งของคุณแม่.

อาชีวก. อย่าไปสำนักของพระองค์เลย.

บุตร. ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า, ผมจักไป.

อาชีวก. เราทั้งสองคน จักกินเครื่องสักการะที่คุณแม่ของเธอทำ

ถวายพระศาสดานั่น, อย่าไปเลย.

บุตร. ไม่ได้ พระผู้เป็นเจ้า. คุณแม่จักดุผม.

อาชีวก. ถ้ากระนั้น ก็ไปเถิด. ก็แล ครั้นไปแล้ว จงนิมนต์

(แต่) อย่าบอกว่า 'พระองค์พึงเสด็จไปเรือนของพวกข้าพระองค์ในที่

โน้น ในถนนโน้น หรือโดยหนทางโน้น' (ทำ) เป็นเหมือนยืนอยู่ใน

ที่ใกล้เหมือนจะไปโดยหนทางอื่น จงหนีมาเสีย.

บุตรชายทำตามคำของชีวก

เขาฟังถ้อยของอาชีวกแล้วไปสำนักของพระศาสดา นิมนต์แล้ว

ทำกิจทุกสิ่งโดยทำนองอาชีวกกล่าวแล้วนั่นแล แล้วไปสำนักของอาชีวก

นั้น ถูกอาชีวกถามว่า " เธอทำอย่างไร ?" จึงตอบว่า "ที่ท่านบอก

ทั้งหมด ผมทำแล้ว ขอรับ." อาชีวกกล่าวว่า " เธอทำดีแล้ว, เรา

ทั้งสองคนจักกินเครื่องสักการะที่คุณแม่ของเธอทำไว้เพื่อพระศาสดานั้น"

ดังนี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น อาชีวกได้ไปสู่เรือนนั้นแต่เช้าตรู่. พวกคน

ในบ้านพาชีวกนั้นให้ไปนั่งที่ห้องหลัง, พวกมนุษย์คุ้นเคยฉาบทาเรือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 62

นั้นด้วยโคมัยสด โปรยดอกไม้ซึ่งมีข้าวตอกเป็นที่ ๕ ลง แล้วปูลาด

อาสนะอันควรแก่ค่ามาก เพื่อประโยชน์แก่การประทับนั่งของพระศาสดา.

จริงอยู่ พวกมนุษย์ที่ไม่คุ้นเคยกับพระพุทธเจ้า ย่อมไม่รู้จักการปูลาด

อาสนะ.

พระพุทธเจ้าเสด็จไปเยือนอุบาสิกา

อนึ่ง ชื่อว่ากิจ ( เนื่อง ) ด้วยผู้แสดงทาง ย่อมไม่มีแก่พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย: เพราะหนทางทั้งหมดแจ่มแจ้งแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น

แล้วว่า "ทางนี้ไปนรก, นี้ไปกำเนิดดิรัจฉาน, นี้ไปเปตวิสัย, นี้ไป

มนุษยโลก, นี้ไปเทวโลก, นี้ไปอมตนิพพาน" ในวันที่ทรงยังหมื่นแห่ง

โลกธาตุให้หวั่นไหว แล้วบรรลุสัมโพธิที่โคนต้นโพธินั่นแล, จึงไม่มี

คำที่ควรกล่าวในหนทางแห่งสถานที่ต่าง ๆ มีคามและนิคมเป็นต้นเลย

เพราะฉะนั้น พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวรแล้ว จึงเสด็จไปสู่ประตูเรือน

ของมหาอุบาสิกาแต่เช้าตรู่. นางออกมาจากเรือน ถวายบังคมพระศาสดา

ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ อัญเชิญให้เสด็จเข้าไปภายในเรือน ให้ประทับนั่ง

เหนืออาสนะแล้วถวายทักษิโณทก อังคาสด้วยชาทนียะ และโภชนียะ

อันประณีต. อุบาสิกาประสงค์จะให้พระศาสดาผู้ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว

ทรงกระทำอนุโมทนาจึงรับบาตรแล้ว.

อุบาสิกาฟังธรรมแล้วถูกอาชีวกด่า

พระศาสดา ทรงเริ่มธรรมกถาสำหรับอนุโมทนา ด้วยพระสุรเสียง

อันไพเราะ. อุบาสิกาฟังธรรมพลางให้สาธุการว่า " สาธุ สาธุ. "

อาชีวกนั่งอยู่ห้องหลังนั่นแล ได้ยินเสียงนางให้สาธุการแล้วฟังธรรมอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 63

ไม่อาจจะอดทนอยู่ได้ จึงออกไป ด้วยคิดว่า " ทีนี้แหละ นางไม่เป็น

ของเราละ" ดังนี้แล้ว ด่าอุบาสิกาและพระศาสดาโดยประการต่าง ๆ ว่า

" อีกาลกิณี มึงเป็นคนฉิบหาย. มึงจงทำสักการะนี้แก่สมณะนั่นเถิด"

ดังนี้เป็นต้น หนีไปแล้ว.

อุบาสิกามีจิตฟุ้งซ่าน

อุบาสิกาละอาย เพราะถ้อยคำของอาชีวกนั้น ไม่อาจจะส่งจิตซึ่ง

ถึงความฟุ้งซ่าน๑ ไปตามกระแสแห่งเทศนาได้.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า "อุบาสิกา เธอไม่อาจทำจิต

ให้ไปตาม ( แนว ) เทศนาได้หรือ ?"

อุบาสิกา. พระเจ้าค่ะ เพราะถ้อยคำของอาชีวกนี้ จิตของข้า-

พระองค์ เข้าถึงความฟุ้งซ่านเสียแล้ว .

พระศาสดา ตรัสว่า "ไม่ควรระลึกถึงถ้อยคำที่ชนผู้ไม่เสมอภาค

กันเห็นปานนี้กล่าว, การไม่คำนึงถึงถ้อยคำเห็นปานนี้แล้ว ตรวจดูกิจ

ที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนเท่านั้นจึงควร" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถา

นี้ว่า :-

๖. น ปเรส วิโลมานิ น ปเรส กตากต

อตฺตโน ว อเวกฺเขตยฺย กตานิ อกตานิ จ.

"บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้

ในใจ, ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคน

เหล่าอื่น, พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ

ของตนเท่านั้น."

๑. อญฺถตฺต แปลตามศัพท์ว่า ซึ่งความเป็นอย่างอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 64

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า น ปเรส วิโลมานิ

ความว่า ไม่ควรทำคำแสยงขน คือคำหยาบ ได้แก่คำตัดเสียซึ่งความรัก

ของตนเหล่าอื่นไว้ในใจ.

บาทพระคาถาว่า น ปเรส กตากต ความว่า ไม่ควรแลดู

กรรมที่ทำแล้วและยังไม่ทำแล้ว ของคนเหล่าอื่น อย่างนั้นว่า " อุบาสก

โน้น ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส, แม้วัตถุมีภิกษาทัพพีหนึ่งเป็นต้น

ในเรือน เขาก็ไม่ให้, สลากภัตเป็นต้น เขาก็ไม่ให้, การให้ปัจจัยมี

จีวรเป็นต้น ไม่มีแก่อุบาสกนั่น; อุบาสิกาโน้นก็เหมือนกัน ไม่มี

ศรัทธา ไม่เลื่อมใส, ภิกษาทัพพีหนึ่งเป็นต้น ในเรือน นางก็ไม่ให้,

สลากภัตเป็นต้นก็ไม่ให้, การให้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ก็ไม่มีแก่อุบาสิกา

นั้น. ภิกษุโน้นก็เช่นกัน ไม่มีศรัทธา ไม่เลื่อมใส ทั้งไม่ทำอุปัชฌายวัตร,

ไม่ทำอาจริยวัตร, ไม่ทำอาคันตุกวัตร, ไม่ทำวัตรเพื่อภิกษุผู้เตรียมจะไป,

ไม่ทำวัตรที่ลานพระเจดีย์. ไม่ทำวัตรในโรงอุโบสถ. ไม่ทำวัตรที่หอฉัน,

ไม่ทำวัตรมีวัตรในเรือนไฟเป็นอาทิ, ทั้งธุดงค์ไร ๆ ก็ไม่มีแก่เธอ แม้

เหตุสักว่าความอุตสาหะ เพื่อความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่มายินดี ก็ไม่มี."

บาทพระคาถาว่า อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย ความว่า กุลบุตร

ผู้บวชด้วยศรัทธา เมื่อระลึกถึงโอวาทนี้ว่า "บรรพชิต พึงพิจารณา

เนือง ๆ ว่า 'วันคืนล่วงไป ๆ เราทำอะไรอยู่" ดังนี้แล้ว ก็พึงแลดูกิจ

ที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนอย่างนั้นว่า "เราไม่อาจจะยกตนขึ้นสู่

ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วทำให้เกษมจากโยคะ

๑. อัง. ทสก. ๒๔/๙๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 65

หรือหนอ ?"

ในกาลจบเทศนา อุบาสิกาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. เทศนา

มีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องปาฏิกาชีวก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 66

๗. เรื่องฉัตตปาณิอุบาสก [๓๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภฉัตตปาณิ-

อุบาสก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยถา รุจิร ปุปฺผ" เป็นต้น.

ฉัตตปาณิเข้าเฝ้าพระศาสดา

ความพิสดารว่า ในกรุงสาวัตถี ยังมีอุบาสก ( คนหนึ่ง ) ชื่อ

ฉัตตปาณิ เป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก เป็นอนาคามี. อุบาสกนั้น เป็นผู้

รักษาอุโบสถแต่เช้าตรู่ ได้ไปยังที่บำรุงของพระศาสดา. จริงอยู่ ชื่อว่า

อุโบสถกรรม หามีแก่อริยสาวกผู้เป็นอนาคามีทั้งหลาย ด้วยสามารถแห่ง

การสมาทานไม่ พรหมจรรย์และการบริโภคภัตครั้งเดียวของอริยสาวก

ผู้เป็นอนาคามีเหล่านั้น มาแล้วโดยมรรคนั่นแหละ เพราะเหตุนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " มหาบพิตร นางช่างหม้อชื่อฆฏิการแล

เป็นผู้บริโภคภัตครั้งเดียว มีปกติประพฤติพรหมจรรย์ มีศีล มีกัลยาณ-

ธรรม." โดยปกติทีเดียว ท่านอนาคามีทั้งหลาย เป็นผู้บริโภคภัต

ครั้งเดียว และมีปกติประพฤติพรหมจรรย์อย่างนั้น. อุบาสกแม้นั้น ก็

เป็นผู้รักษาอุโบสถอย่างนั้นเหมือนกัน เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคม

แล้วนั่งฟังธรรมกถา.

ฉัตตปาณิไม่ลุกรับเสด็จพระเจ้าปเสนทิโกศล

ในสมัยนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ได้เสด็จไปสู่ที่บำรุงของพระศาสดา.

๑. ฆฏการสูตร ม.ม. ๑๓/๓๗๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 67

อุบาสกเห็นพระองค์เสด็จมา จึงคิดว่า " เราควรลุกขึ้นหรือไม่หนอ ?"

ดังนี้แล้ว ก็ไม่ลุกขึ้น ด้วยสำคัญว่า "เรานั่งในสำนักของพระราชา

ผู้เลิศ การที่เรานั้นเห็นเจ้าประเทศราช แล้วลุกขึ้นต้อนรับ ไม่ควร;

ก็แล เมื่อเราไม่ลุกขึ้น พระราชาจักกริ้ว. เมื่อพระราชานั้นแม้กริ้วอยู่

เราก็จักไม่ลุกขึ้นต้อนรับละ; ด้วยว่า เราเห็นพระราชาแล้ว ลุกขึ้น

ก็ชื่อว่าเป็นอันทำความเคารพพระราชา ไม่ทำความเคารพพระศาสดา;

เราจักไม่ลุกขึ้นละ."

ก็ธรรมดาบุรุษผู้เป็นบัณฑิต เห็นคนที่นั่งในสำนักของท่านที่ควร

เคารพกว่า (ตน) ไม่ลุกขึ้น (ต้อนรับ) ย่อมไม่โกรธ. แต่พระราชา

เห็นอุบาสกนั้น ไม่ลุกขึ้น (ต้อนรับ) มีพระมนัสขุ่นเคือง ถวายบังคม

พระศาสดาแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงทราบ

ความที่พระราชากริ้ว จึงตรัสกถาพรรณนาคุณของอุบาสกว่า "มหาบพิตร

ฉัตตปาณิอุบาสกนี้เป็นบัณฑิต มีธรรมเห็นแล้ว ทรงพระไตรปิฎก ฉลาด

ในประโยชน์และมิใช่ประโยชน์. เมื่อพระราชาทรงสดับคุณกถาของ

อุบาสกอยู่นั้นแล พระหฤทัยก็อ่อน.

พระราชาตรัสถามเหตุที่ไม่ลุกรับกะฉัตตปาณิ

ภายหลังวันหนึ่ง พระราชาประทับยืนบนปราสาทชั้นบน ทอด

พระเนตรเห็นฉัตตปาณิอุบาสกผู้ทำภัตกิจเสร็จแล้ว กั้นร่ม สวมรองเท้า

เดินไปทางพระลานหลวง จึงรับสั่งให้ราชบุรุษเรียกมา. อุบาสกนั้น

หุบร่มและถอดรองเท้าออกแล้ว เข้าไปเฝ้าพระราชา ถวายบังคมแล้ว

ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง, ลำดับนั้น พระราชา ตรัสกะอุบาสก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 68

นั้นว่า "อุบาสกผู้เจริญ ทำไมท่านจึงหุบร่มและถอดรองเท้าออกเสียเล่า ?

อุบาสก. ข้าพระองค์ได้ฟังว่า ' พระราชารับสั่งหา' จึงมาแล้ว.

พระราชา. ความที่เราเป็นพระราชา (ชะรอย) ท่านจักเพิ่งรู้ใน

วันนี้ (กระมัง?).

อุบาสก. ข้าพระองค์ทราบความที่พระองค์เป็นพระราชา แม้ใน

กาลทุกเมื่อ.

พระราชา. เมื่อเป็นเช่นนั้น, ทำไม ในวันก่อน ท่านนั่งใน

สำนักของพระศาสดา เห็นเราแล้ว จึงไม่ลุกขึ้น (ต้อนรับ).

อุบาสก. ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์นั่งในสำนักของพระราชา

ผู้เลิศ เมื่อเห็นพระราชาประเทศราชแล้วลุกขึ้น (ต้อนรับ) พึงเป็น

ผู้ไม่เคารพในพระศาสดา; เพราะฉะนั้น ข้าพระองค์จึงไม่ลุกขึ้น

(ต้อนรับ).

พระราชา. ช่างเถอะ ผู้เจริญ, ข้อนี้งดไว้ก่อน, เขาเลื่องลือกันว่า

ท่านเป็นผู้ฉลาดในประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ซึ่งเป็นไปในทิฎฐธรรม

และสัมปรายภพ ทรงพระไตรปิฎก จงบอกธรรมแก่เราทั้งหลายในภายใน

วังเถิด.

อุบาสก. ข้าแต่สมมติเทพ ข้าพระองค์ไม่สามารถ.

พระราชา. เพราะเหตุไร ?

อุบาสก. เพราะว่า ขึ้นชื่อว่าพระราชมนเทียร (แล้ว) ย่อม

เป็นสถานที่มีโทษมาก, ข้าแต่สมมติเทพ ในพระราชมนเฑียรนี้ กรรมที่

บุคคลประกอบชั่วและดี ย่อมเป็นกรรมหนัก.

พระราชา. ท่านอย่ากล่าวอย่างนั้น, อย่าทำความรังเกียจว่า 'วัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 69

ก่อนเห็นเราแล้วไม่ลุกขึ้น (ต้อนรับ );

อุบาสก. ข้าแต่สมมติเทพ ขึ้นชื่อว่า สถานเป็นที่เที่ยวของเหล่า

คฤหัสถ์ เป็นสถานที่มีโทษ, ขอพระองค์จงรับสั่งให้นิมนต์บรรพชิต

รูปหนึ่งมาแล้ว จงให้บอกธรรมเถิด.

พระอานนท์สอนธรรมพระราชเทวีทั้งสอง

พระราชาทรงส่งฉัตตปาณิอุบาสกนั้นไปด้วยพระกระแสว่า "ดีละ

ผู้เจริญ. ขอท่านจงไปเถิด" ดังนี้แล้ว เสด็จไปสู่ที่เฝ้าพระศาสดาทูลขอ

กะพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า พระนางมัลลิกาเทวีและพระนางวาสภขัตติยา

พูดอยู่ว่า 'จักเรียนธรรม' ขอพระองค์กับภิกษุ ๕๐๐ รูป จงเสด็จไป

สู่เรือนของข้าพระองค์เนืองนิตย์ ทรงแสดงธรรมแก่หล่อนทั้งสอง."

พระศาสดา. ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไปในที่แห่งเดียว

เนืองนิตย์ ไม่มี มหาบพิตร.

พระราชา. ถ้าอย่างนั้น ขอจงประทานภิกษุรูปอื่น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา ได้ทรงมอบให้เป็นภาระแก่พระอานนท์เถระ. พระ-

เถระ ไปแสดงพระบาลีแก่พระนางเหล่านั้นเนืองนิตย์. ในพระนาง

เหล่านั้น พระนางมัลลิกาเทวีได้เรียน ได้ท่อง (และ) ให้พระเถระ

รับรองพระบาลีโดยเคารพ. ส่วนพระนางวาสภขัตติยา ไม่เรียน ไม่ท่อง

โดยเคารพทีเดียว ( และ) ไม่อาจให้พระเถระรับรองพระบาลีโดยเคารพ

ได้. ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดาตรัสถามพระเถระว่า "อานนท์ อุบาสิกา

(ทั้งสอง) ยังเรียนธรรมอยู่หรือ ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 70

พระอานนท์. ยังเรียนธรรมอยู่ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อุบาสิกาคนไหน เรียนโดยเคารพ.

พระอานนท์. พระนางมัลลิกาเทวี เรียนโดยเคารพ ท่องโดย

เคารพ อาจให้ข้าพระองค์รับรองพระบาลีโดยเคารพ พระเจ้าข้า; ส่วน

ธิดาซึ่งเป็นพระญาติของพระองค์ ไม่เรียนโดยเคารพ ไม่ท่องโดยเคารพ

ไม่อาจให้ข้าพระองค์รับรองพระบาลีโดยเคารพได้เลยก็เดียว.

วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่ผู้ปฏิบัติ

พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของพระเถระแล้ว ตรัสว่า "อานนท์

ธรรมดาธรรมที่เรา ( ผู้ตถาคต) กล่าวแล้ว ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ฟัง

ไม่เรียน ไม่ท่อง ไม่แสดง โดยเคารพ ดุจว่าดอกไม้สมบูรณ์ด้วยสี

(แต่ ) ไม่มีกลิ่น (หอม) ฉะนั้น. แต่ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

แก่ผู้ทำกิจทั้งหลายมีการฟังโดยเคารพเป็นต้น " ดังนี้แล้ว ได้ตรัสสอง

พระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๗. ยถาปิ รุจิร ปุปฺผ วณฺณวนฺต อคนฺธก

เอ  สุภาสิตา วาจา อผลา โหติ อกุพฺพโต.

ยถาปิ รุจิร ปุปฺผ วณฺณวนฺต สคนฺธก

เอว สุภาสิตา วาจา สผลา โหติ สุกุพฺพโต.

"ดอกไม้งามมีสี (แต่) ไม่มีกลิ่น (หอม)

แม้ฉันใด, วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีผล

แก่ผู้ไม่ทำอยู่; (ส่วน) ดอกไม้งาม มีสีพร้อมด้วย

๑. พระนางวาสภขัตติยา เป็นธิดาของท้าวมหานามผู้อนุชาของพระศาสดา, นับตามลำดับชั้น

พระนางวาสภขัตติยาเป็นพระภาคิไนยของพระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 71

กลิ่น (หอม) แม้ฉันใด, วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น

ย่อมมีผลแก่ผู้ทำดีอยู่."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รุจิร คือ งาม. บทว่า วณฺณวนฺต

คือ บริบูรณ์ด้วยสีและทรวดทรง. บทว่า อคนฺธก คือ ไร้จากกลิ่น

มีดอกหงอนไก่ ดอกกรรณิการ์เขา และดอกชัยพฤกษ์เป็นต้นเป็นประเภท.

บาทพระคาถาว่า เอว สุภาสิตา วาจา ความว่า พระพุทธพจน์ คือ

ปิฎก ๓ ชื่อว่าวาจาสุภาษิต. พระพุทธพจน์นั้น เหมือนดอกไม้สมบูรณ์

ด้วยสีและทรวดทรง ( แต่ ) ไม่มีกลิ่น ( หอม). เหมือนอย่างว่า

ดอกไม้ไม่มีกลิ่น ( หอม ), กลิ่น (หอม ) ย่อมไม่แผ่ไป (คือไม่ฟุ้ง

ไป) ในสรีระของผู้ทัดทรงดอกไม้อันไม่มีกลิ่นนั้น ฉันใด, แม้พระ-

พุทธพจน์นี้ ก็ฉันนั้น ย่อมไม่นำกลิ่นคือการฟัง กลิ่นคือการจำทรง

และกลิ่นคือการปฏิบัติมาให้ ชื่อว่าย่อมไม่มีผลแก่ผู้ (ซึ่ง) ไม่ตั้งใจ

ประพฤติพระพุทธพจน์นั้นโดยเอื้อเฟื้อ ด้วยกิจทั้งหลายมีการฟังเป็นต้น,

ชื่อว่าผู้ไม่ทำกิจที่ควรทำในพระพุทธพจน์นั้น; เพราะเหตุนั้น พระศาสดา

จึงได้ตรัสว่า "วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำอยู่."

บทว่า สคนฺธก ได้แก่ ดอกจำปาและบัวเขียวเป็นต้นเป็นประเภท.

บทว่า เอว เป็นต้น ความว่า กลิ่น (หอม) ย่อมแผ่ไป (คือฟุ้งไป)

ในสรีระของผู้ทัดทรงดอกไม้นั้น ฉันใด; แม้วาจาสุภาษิต กล่าวคือ

พระพุทธพจน์ปิฎก ๓ ก็ฉันนั้น ย่อมมีผล คือชื่อว่าย่อมมีผลมาก มี

อานิสงส์มาก เพราะนำกลิ่นคือการฟัง กลิ่นคือการจำทรง กลิ่นคือการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 72

ปฏิบัติมาให้ แก่บุคคลผู้ทำดีอยู่ คือบุคคลที่ตั้งใจทำกิจที่ควรทำใน

พระพุทธพจน์นั้น ด้วยกิจทั้งหลาย มีการฟังเป็นต้น

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้น เทศนาได้เกิดเป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องฉัตตปาณิอุบาสก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 73

๘. เรื่องนางวิสาขา [๔๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อทรงเข้าไปอาศัยกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ในบุพพาราม

ทรงปรารภอุบาสิกาชื่อวิสาขา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถาปิ

ปุปฺผราสิมฺหา" เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จไปโปรดสัตว์

ดังได้สดับมา นางวิสาขาอุบาสิกานั้น เกิดในท้องนางสุมนาเทวี

ภริยาหลวงของธนญชัยเศรษฐี ผู้เป็นบุตรเมณฑกเศรษฐี ในภัททิยนคร

แคว้นอังคะ. ในเวลาที่นางมีอายุ ๗ ขวบ พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัย

สมบัติของสัตว์ ผู้มีเผ่าพันธุ์ที่พึงแนะนำ เพื่อความตรัสรู้ มีเสลพราหมณ์

เป็นต้น มีภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นบริวารเสด็จจาริกไปถึงนครนั้น.

ผู้มีบุญทั้ง ๕ ในภัททิยนคร

ก็ในสมัยนั้น เมณฑกคฤหบดี เป็นหัวหน้าของผู้มีบุญมาก ๕ คน

ครองตำแหน่งเศรษฐีอยู่ในเมืองนั้น. ชื่อว่าคนที่มีบุญมาก ๕ คน คือ

เมณฑกเศรษฐี ๑ ภริยาหลวงของเศรษฐีนั้น นามว่าจันทปทุมา ๑ บุตร

ชายคนโตของเศรษฐีนั่นเอง ชื่อธนญชัย ๑ ภริยาของธนญชัยนั้น ชื่อว่า

สุมนาเทวี ๑ คนใช้ของเมณฑกเศรษฐี ชื่อปุณณะ ๑.

คนมั่งมีในแคว้นของพระเจ้าพิมพิสาร ๕ คน

ใช่จะมีแต่เมณฑกเศรษฐีแต่ผู้เดียวเท่านั้นก็หาไม่, ก็ในแคว้นของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 74

พระเจ้าพิมพิสาร ก็ได้มีคนผู้มีโภคะนับไม่ถ้วน ๕ คน คือ โชติยะ ๑

ชฏิละ ๑ เมณฑกะ ๑ ปุณณกะ ๑ กากวัลลิยะ ๑.

เมณฑลเศรษฐีให้นางวิสาขาไปรับพระศาสดา

ในท่านเหล่านั้น เมณฑกเศรษฐีนี้ ได้ทราบความที่พระทศพล

เสด็จถึงนครของตน จึงให้เรียกเด็กหญิงวิสาขาลูกสาวธนญชัยเศรษฐีผู้

บุตรมา บอกว่า "แม่หนู เป็นมงคล ทั้งแก่เจ้า, ทั้งแก่เรา; แม่หนู

กับพวกเด็กหญิงบริวารของเจ้า ๕๐๐ จงขึ้นรถ ๕๐๐ คัน แวดล้อมด้วย

ทาสี ๕๐๐ คน (ไป) ทำการต้อนรับพระทศพล." นางรับว่า "ดีละ"

แล้วได้ทำอย่างนั้น. แต่เพราะความที่นางเป็นเด็กฉลาดในเหตุอันควรและ

ไม่ควร นางจึงไปด้วยยาน เท่าที่ยาน ( ไปได้) ลงจากยานแล้ว ก็เดิน

เท้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ได้ยืน ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น

พระศาสดาทรงแสดงธรรม ด้วยสามารถแห่งบุรพจรรยาของนาง.

นางได้โสดาปัตติผลแต่อายุ ๗ ขวบ

ในเวลาจบเทศนา นางพร้อมด้วยเด็กหญิง ๕๐๐ ตั้งอยู่ในโสดา-

ปัตติผลแล้ว. ฝ่ายเมณฑกเศรษฐีแล เข้าเฝ้าพระศาสดา ฟังธรรมกถา

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว จึงนิมนต์เพื่อเสวยอาหารเช้าในวันรุ่งขึ้น

อังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยขาทนียะโภชนียะอัน

ประณีตที่เรือนของตน ได้ถวายมหาทานโดยอุบายนี้แล ตลอดกึ่งเดือน.

พระศาสดา ประทับอยู่ในภัททิยนคร ตามความพอพระหฤทัยแล้ว ก็เสด็จ

หลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 75

พระเจ้าปเสนทิโกศลอยากได้ผู้มีบุญ

ก็โดยสมัยนั้นแล พระเจ้าพิมพิสารและพระเจ้าปเสนทิโกศลต่าง

ก็เป็นพระภัสดาของพระภคินีกันและกัน. ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าโกศล

ทรงดำริว่า "คนมีโภคะนับไม่ถ้วน มีบุญมากทั้ง ๕ ย่อมอยู่ในแคว้น

พระเจ้าพิมพิสาร. ในแคว้นของเรา ผู้เช่นนั้น แม้เพียงคนเดียวก็ไม่มี.

อย่ากระนั้นเลย เราพึงไปสู่สำนักของพระเจ้าพิมพิสารขอผู้มีบุญมากสักคน

หนึ่ง."

พระองค์เสด็จไปในพระนครนั้นแล้ว อันพระราชาทรงทำปฎิสัน-

ถารทูลถามว่า "พระองค์เสด็จมา เพราะเหตุไร ?" จึงตรัสว่า " หม่อม-

ฉันมา ด้วยประสงค์ว่า คนมีโภคะนับไม่ถ้วน มีบุญมากทั้ง ๕ คน

อยู่ในแคว้นของพระองค์ หม่อมฉันจักพาเอาคนหนึ่งจาก ๕ คนนั้นไป,

ข้อพระองค์จงประทานคนหนึ่งใน ๕ คนนั้น แก่หม่อมฉันเถิด."

พิมพิสาร. หม่อมฉันไม่อาจจะให้ตระกูลใหญ่ ๆ ย้ายได้.

ปเสนทิโกศล. หม่อมฉันไม่ได้ ก็จักไม่ไป.

มอบธนญชัยเศรษฐีให้พระเจ้าโกศล

พระราชา ( พระเจ้าพิมพิสาร ) ทรงปรึกษากับพวกอำมาตย์แล้ว

ตรัสว่า "ชื่อว่าการย้ายตระกูลใหญ่ ๆ มีโชติยสกุลเป็นต้น เช่นกับ

แผ่นดินไหว, บุตรของเมณฑกมหาเศรษฐีชื่อธนญชัยเศรษฐี มีอยู่,

หม่อมฉันปรึกษากับเธอเสร็จแล้ว จักถวายคำตอบแด่พระองค์" ดังนี้แล้ว

รับสั่งให้เรียกธนญชัยเศรษฐีมาแล้ว ตรัสว่า "พ่อ พระเจ้าโกศลตรัสว่า

'จักพาเอาเศรษฐีมีทรัพย์คนหนึ่งไป, เธอจงไปกับพระองค์เถิด."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 76

ธนญชัย. เมื่อพระองค์ส่งไป. ข้าพระองค์ก็จักไป พระเจ้าข้า

พิมพิสาร. ถ้าเช่นนั้น เธอจงทำการตระเตรียมไปเถิด พ่อ.

เศรษฐีนั้น ได้ทำกิจจำเป็นที่ควรทำของตนแล้ว. ฝ่ายพระราชา

ทรงทำสักการะใหญ่แก่เขา ทรงส่งพระเจ้าปเสนทิโกศลไปด้วยพระดำรัส

ว่า "ขอพระองค์จงพาเศรษฐีนี้ไปเถิด." ท้าวเธอพาธนญชัยเศรษฐีนั้น

เสด็จไปโดยการประทับแรมราตรีหนึ่งในที่ทั้งปวง บรรลุถึงสถานอันผาสุก

แห่งหนึ่งแล้ว ก็ทรงหยุดพัก.

การสร้างเมืองสาเกต

ครั้งนั้น ธนญชัยเศรษฐี ทูลถามท้าวเธอว่า " นี้เป็นแคว้นของ

ใคร ?"

ปเสนทิโกศล. ของเรา เศรษฐี.

ธนชัย. เมืองสาวัตถี แต่นี้ไป ไกลเท่าไร ?

ปเสนทิโกศล. ในที่สุด ๗ โยชน์.

ธนญชัย. ภายในพระนครคับแคบ, ชนบริวารของข้าพระองค์มาก

ถ้าพระองค์ทรงโปรดไซร้, ข้าพระองค์พึงอยู่ที่นี้แหละ พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงรับว่า "ดีละ" ดังนี้แล้ว ให้สร้างเมืองในที่นั้น

ได้พระราชทานแก่เศรษฐีนั้นแล้วเสด็จไป. เมืองได้นามว่า "สาเกต"

เพราะความที่แห่งสถานที่อยู่ ในประเทศนั้น อันเศรษฐีจับจองแล้วใน

เวลาเย็น.

แม้ในกรุงสาวัตถีแล บุตรของมิคารเศรษฐี ชื่อว่าปุณณวัฒนกุมาร

เจริญวัยได้มีแล้ว. ครั้งนั้น มารดาบิดากล่าวกะเขาว่า "พ่อ เจ้าจงเลือก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 77

เด็กหญิงคนหนึ่งในที่เป็นที่ชอบใจของเจ้า."

ปุณณะ. กิจด้วยภริยาเห็นปานนั้น ของผมไม่มี.

มารดาบิดา. เจ้าอย่าทำอย่างนั้น ลูก, ธรรมดาตระกูลที่ไม่มีบุตร

ตั้งอยู่ไม่ได้.

ลักษณะเบญจกัลยาณี

เขาถูกมารดาบิดาพูดรบเร้าอยู่ จึงกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น ผม

เมื่อได้หญิงสาวประกอบพร้อมด้วยความงาม ๕ อย่าง ก็จักทำตามคำของ

คุณพ่อคุณแม่."

มารดาบิดา. ก็ชื่อว่าความงาม ๕ อย่างนั้น อะไรเล่า? พ่อ.

ปุณณะ. คือ ผมงาม, เนื้องาม, กระดูกงาม, ผิวงาม, วัยงาม.

ก็ผมของหญิงผู้มีบุญมาก เป็นเช่นกับกำหางนกยูง แก้ปล่อยระชาย

ผ้านุ่งแล้ว ก็กลับมีปลายงอนขึ้นตั้งอยู่, นี้ ชื่อว่าผมงาม. ริมผีปากเช่น

กับผลตำลึง (สุก) ถึงพร้อมด้วยสีเรียบชิดสนิทดี, นี้ ชื่อว่าเนื้องาม.

ฟันขาวเรียบไม่ห่างกัน งดงามดุจระเบียบแห่งเพชร ที่เขายกขึ้นตั้งไว้

และดุจระเบียบแห่งสังข์ที่เขาขัดสีแล้ว, นี้ ชื่อว่ากระดูกงาม, ผิวพรรณ

ของหญิงดำไม่ลูบไล้ด้วยเครื่องประเทืองผิวเป็นต้นเลย ก็ดำสนิทประหนึ่ง

พวงอุบลเขียว, ของหญิงชาว ประหนึ่งพวงดอกกรรณิการ์. นี้ ชื่อว่า

ผิวงาม. ก็แลหญิงแม้คลอดแล้วตั้ง ๑๐ ครั้ง ก็เหมือนคลอดครั้งเดียว

ยังสาวพริ้งอยู่เทียว, นี้ ชื่อว่าวัยงาม ดังนี้แล.

เศรษฐีส่งพราหมณ์ไปแสวงหาหญิงเบญจกัลยาณี

ครั้งนั้น มารดาบิดาของนายปุณณวัฒนกุมารนั้น เชิญพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 78

๑๐๘ คนมาให้บริโภคแล้ว ถามว่า "ชื่อว่าหญิงที่ต้องด้วยลักษณะ

เบญจกัลยาณี มีอยู่หรือ ?" พราหมณ์เหล่านั้น ตอบว่า "จ๊ะ มีอยู่."

เศรษฐีกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น ชน (คือพราหมณ์ ) ๘ คนจงไป

แสวงหาเด็กหญิงเห็นปานนี้" ดังนี้แล้ว ให้ทรัพย์เป็นอันมาก สั่งว่า

" ก็ในเวลาที่พวกท่านกลับ ข้าพเจ้าทั้งหลายจักรู้สิ่งที่ควรทำแก่พวกท่าน,

ท่านทั้งหลายไปเถิด. แสวงหาเด็กหญิงแม้เห็นปานนั้น, และในเวลาที่

พบแล้ว พึงประดับพวงมาลัยทองคำนี้" ดังนี้แล้ว ให้พวงมาลัยทองคำ

อันมีราคาแสนหนึ่ง ส่งไปแล้ว .

พราหมณ์เหล่านั้น ไปยังนครใหญ่ ๆ แสวงหาอยู่ ไม่พบเด็กหญิง

ที่ต้องด้วยลักษณะเบญจกัลยาณี กลับมาถึงเมืองสาเกตโดยลำดับ ในวัน

มีงานนักขัตฤกษ์เปิด จึงติดกันว่า "การงานของพวกเราคงสำเร็จใน

วันนี้."

งานประจำปีของนครสาเกต

ก็ในนครนั้น ชื่อว่างานนักขัตฤกษ์เปิดย่อมมีประจำปี. ในกาลนั้น

แม้ตระกูลที่ไม่ออกภายนอก ก็ออกจากเรือนกับบริวาร มีร่างกายมิได้

ปกปิด ไปสู่ฝั่งแม่น้ำด้วยเท้าเทียว. ในวันนั้นถึงบุตรทั้งหลายของขัตติย-

มหาศาลเป็นต้น ก็ยืนแอบหนทางนั้น ๆ ด้วยตั้งใจว่า "พวกเรา พบ-

เด็กหญิงมีตระกูลที่พึงใจ มีชาติเสมอด้วยคนแล้ว จึงคล้องด้วยพวง

มาลัย."

๑. วิวฏนกฺขตฺต นักษัตรเปิดเผย เป็นงานประจำปีของนครสาเกต ในงานนี้ชาวเมืองทุกคน

เผยร่างโดยปราศจากผ้าคลุมปิดหน้า เดินเท้าไปยังแม่น้ำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 79

พราหมณ์พบนางวิสาขา

พราหมณ์แม้เหล่านั้น เข้าไปถึงศาลาแห่งหนึ่งริมฝั่งแม่น้ำแล้ว

ได้ยืนอยู่. ขณะนั้น นางวิสาขา มีอายุย่างเข้า ๑๕ - ๑๖ ปี ประดับ

ประดาด้วยเครื่องอาภรณ์ครบทุกอย่าง อันเหล่ากุมารี ๕๐๐ คนแวดล้อม

แล้ว คิดว่า "เราจักไปยังแม่น้ำแล้วอาบน้ำ " ถึงประเทศนั้นแล้ว.

ครั้งนั้นแล เมฆตั้งขึ้นแล้ว ก็ยังฝนให้ตก. เด็กหญิง ๕๐๐ รีบเดินเข้า

ไปสู่ศาลา. พวกพราหมณ์พิจารณาดูอยู่ ก็ไม่เห็นเด็กหญิงเหล่านั้นแม้

สักคนเดียว ที่ต้องด้วยลักษณะเบญจกัลยาณี. นางวิสาขาเข้าไปยังศาลา

ด้วยการเดินตามปกตินั่นเอง. ผ้าและอาภรณ์เปียกโชก. พวกพราหมณ์

เห็นความงาม ๔ อย่างของนางแล้ว ประสงค์จะเห็นฟัน จึงกล่าวกะกัน

และกันว่า "ธิดาของพวกเรา เป็นหญิงเฉื่อยชา, สามีของหญิงคนนี้

เห็นที่จักไม่ได้ แม้เพียงข้าวปลายเกรียน" ทีนั้น นางวิสาขา พูดกะ

พราหมณ์เหล่านั้นว่า "พวกท่านว่าใครกัน."

พราหมณ์. ว่าเธอ แม่.

ได้ยินว่า เสียงอันไพเราะของนาง เปล่งออกประหนึ่งเสียงกังสดาล,

ลำดับนั้น นางจึงถามพราหมณ์เหล่านั้นด้วยเสียงอันไพเราะอีกว่า " เพราะ

เหตุไร ? จึงว่าฉัน. "

พราหมณ์. หญิงบริวารของเธอ ไม่ให้ผ้าและเครื่องประดับเปียก

รีบเข้าสู่ศาลา, กิจแม้เพียงการรีบมาสู่ที่ประมาณเท่านี้ของเธอ ก็มิได้มี,

เธอปล่อยให้ผ้าและเครื่องอาภรณ์เปียกมาแล้ว; เพราะฉะนั้น พวกเรา

จึงพากันว่า.

วิสาขา. พ่อทั้งหลาย พวกท่านอย่าพูดอย่างนั้น, ฉันแข็งแรงกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 80

เด็กหญิงเหล่านั้น, แต่ฉันกำหนดเหตุการณ์แล้ว จึงไม่มาโดยเร็ว.

พราหมณ์. เหตุอะไร ? แม่.

ชน ๔ จำพวกวิ่งไปไม่งาม

วิสาขา. พ่อทั้งหลาย ชน ๔ จำพวก เมื่อวิ่ง ย่อมไม่งาม,

เหตุอันหนึ่ง แม้อื่นอีก ยังมีอยู่.

พราหมณ์. ชน ๔ จำพวก เหล่าไหน ? เมื่อวิ่ง ย่อมไม่งาม แม่.

วิสาขา. พ่อทั้งหลาย พระราชาผู้อภิเษกแล้ว ทรงประดับประดา

แล้วด้วยเครื่องอาภรณ์ทั้งปวง เมื่อถกเขมรวิ่งไปในพระลานหลวง ย่อม

ไม่งาม, ย่อมได้ความครหาเป็นแน่นอนว่า 'ทำไม พระราชาองค์นี้จึงวิ่ง

เหมือนคฤหบดี' ค่อย ๆ เสด็จไปนั่นแหละ. จึงจะงาม; แม้ช้างมงคล

ของพระราชา ประดับแล้ว วิ่งไป ก็ไม่งาม, ต่อเมื่อเดินไปด้วยลีลา

แห่งช้าง จึงจะงาม, บรรพชิต เมื่อวิ่ง ก็ไม่งาม, ย่อมได้แต่ความ

ครหาอย่างเดียวเท่านั้นว่า 'ทำไม สมณะรูปนี้ จึงวิ่งไปเหมือนคฤหัสถ์,'

แต่ย่อมงาม ด้วยการเดินอย่างอาการของผู้สงบเสงี่ยม; สตรี เมื่อวิ่ง

ก็ไม่งาม, ย่อมถูกเขาติเตียนอย่างเดียวว่า "ทำไม หญิงคนนี้ จึงวิ่ง

เหมือนผู้ชาย; แต่ย่อมงามด้วยการเดินอย่างธรรมดา; พ่อทั้งหลาย ชน

๔ จำพวกเหล่านี้ เมื่อวิ่งไป ย่อมไม่งาม.

พราหมณ์ ก็เหตุอื่นอีกอย่างหนึ่ง เป็นไฉน ? แม่.

วิสาขา. พ่อทั้งหลาย ธรรมดามารดาบิดา ถนอมอวัยวะน้อยใหญ่

เลี้ยงดูธิดา, เพราะว่า พวกฉัน ชื่อว่าเป็นสิ่งของอันมารดาบิดาพึงขาย,

มารดาบิดาเลี้ยงฉันมา ก็เพื่อต้องการจะส่งไปสู่ตระกูลอื่น, ถ้าว่า ในเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 81

ที่พวกฉันวิ่งไป เหยียบชายผ้านุ่งหรือลื่นล้มลงบนพื้นดิน มือหรือเท้า

ก็จะพึงหัก, พวกฉันก็จะพึงเป็นภาระของตระกูลนั่นแล, ส่วนเครื่อง

แต่งตัว เปียกแล้วก็จะแห้ง; ดิฉันกำหนดเหตุนี้ จึงไม่วิ่งไป พ่อ.

พราหมณ์สวมมาลัยทองให้

พวกพราหมณ์เห็นความถึงพร้อมแห่งฟัน ในเวลานางพูด จึงให้

สาธุการแก่นางว่า "สมบัติเช่นนี้ พวกเรายังไม่เคยเห็นเลย" แล้ว

กล่าวว่า "แม่ พวกมาลัยนี้ สมควรแก่เธอเท่านั้น" ดังนี้แล้ว จึงได้

คล้องพวงมาลัยทองนั้นให้. ลำดับนั้น นางจึงถามพวกเขาว่า "พ่อ

ทั้งหลาย พวกท่านมาจากเมืองไหน ?

พราหมณ์. จากเมืองสาวัตถี แม่.

วิสาขา. ตระกูลเศรษฐี ชื่อไร ?

พราหมณ์. ชื่อมิคารเศรษฐี แม่.

วิสาขา. บุตรของท่านเจ้าพระคุณ ชื่อไร ?

พราหมณ์. ชื่อปุณณวัฒนกุมาร แม่.

นางวิสาขานั้น รับรองว่า "ตระกูลของเรา เสมอกัน" ดังนี้แล้ว

จึงส่งข่าวไปแก่บิดาว่า "ขอคุณพ่อและคุณแม่ จงส่งรถไปให้พวกดิฉัน."

ก็ในเวลามา นางเดินมาก็จริง, อย่างนั้น จำเดิมแต่กาลที่ประดับด้วย

มาลัยทองคำแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อจะไปเช่นนั้น. เด็กหญิงทั้งหลายผู้มีอิสระ

ย่อมไปด้วยยานมีรถเป็นต้น, หญิงนอกนี้ขึ้นยานธรรมดา (ไป), กั้นแตร

หรือใบตาลข้างบน, เมื่อฉัตรหรือใบตาล แม้นั้นไม่มี ก็ยกชายผ้านุ่ง

ขึ้นมาพาดบนบ่าทีเดียว, ส่วนบิดาของนางวิสาขานั้น ส่งรถไป ๕๐๐ คัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 82

นางวิสาขานั้นกับบริวารขึ้นรถไปแล้ว แม้พวกพราหมณ์ ก็ได้ไปด้วยกัน.

ทีนั้น ท่านเศรษฐี ถามพราหมณ์เหล่านั้นว่า "พวกท่านมาจาก

ไหน ?"

พราหมณ์. มาจากเมืองสาวัตถี ท่านมหาเศรษฐี.

เศรษฐี. เศรษฐีชื่อไร ?

พราหมณ์. ชื่อมิคารเศรษฐี.

เศรษฐี. บุตรชื่อไร ?

พราหมณ์. ชื่อปุณณวัฒนกุมาร.

เศรษฐี. ทรัพย์มีเท่าไร ?

พราหมณ์. ๔๐ โกฏิ ท่านมหาเศรษฐี.

เศรษฐีรับคำ ด้วยคิดว่า "ทรัพย์เท่านั้น, เทียบทรัพย์ของ

เรา ก็เท่ากับกากณิกเดียว. แต่จะประโยชน์อะไรด้วยเหตุอื่น จำเดิม

แต่กาลที่นางทาริกาได้เหตุเพียงการรักษา." เศรษฐีนั้น ทำสักการะแก่

พราหมณ์เหล่านั้น ให้พักอยู่วัน ๒ วัน แล้วก็ส่งกลับ.

พราหมณ์กลับเมืองสาวัตถี

พวกเขา ไปกรุงสาวัตถีแล้ว เรียน (ท่านเศรษฐี) ว่า "พวก

ข้าพเจ้าได้นางทาริกาแล้ว."

เศรษฐี. ลูกสาวของใคร ?

พราหมณ์. ของธนญชัยเศรษฐี.

เศรษฐีนั้น คิดว่า "นางทาริกาแห่งตระกูลใหญ่ อันเราได้แล้ว,

ควรที่เราจะนำนางมาโดยเร็วทีเดียว " ดังนี้แล้ว กราบทูลแด่พระราชา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 83

เพื่อไปในเมืองนั้น.

พระราชา ทรงดำริว่า " ตระกูลใหญ่นั่น อันเรานำมาจากสำนัก

ของพระเจ้าพิมพิสาร แล้วให้อยู่อาศัยในเมืองสาเกต, ควรจะทำความ

ยกย่องแก่ตระกูลนั้น" ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งว่า " แม้เรา ก็จักไป."

เศรษฐี ทูลว่า " ดีละ พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว ส่งข่าวไปบอก

แก่ธนญชัยเศรษฐีว่า "เมื่อข้าพเจ้ามา, แม้พระราชาก็จักเสด็จมา, พลของ

พระราชามาก. ท่านจักอาจเพื่อทำกิจที่ควรทำแก่ชนประมาณเท่านั้น หรือ

จักไม่อาจ."

ฝ่ายเศรษฐีนอกนี้ ได้ส่งข่าวตอบไปว่า แม้ถ้าพระราชาจะเสด็จมา

สัก ๑๐ พระองค์. ขอจงเสด็จมาเถิด." มิคารเศรษฐี เว้นเพียงคนเฝ้า

เรือน พาเอาคนที่เหลือในนครใหญ่ถึงเพียงนั้นไป หยุดพักในหนทาง

กึ่งโยชน์แล้ว ส่งข่าวไปว่า " พวกข้าพเจ้ามาแล้ว."

ธนญชัยเศรษฐีกับธิดาจัดสถานที่ต้อนรับ

ธนญชัยเศรษฐี ส่งเครื่องบรรณาการเป็นอันมากไป แล้วปรึกษา

กับธิดาว่า "แม่ ได้ยินว่า พ่อผัวของเจ้า มากับพระเจ้าโกศล, เราควร

จัดเรือนหลังไหน สำหรับพ่อผัวของเจ้านั้น, หลังไหน สำหรับพระราชา,

หลังไหน สำหรับอิสรชนมีอุปราชเป็นต้น." เศรษฐีธิดาผู้ฉลาด มีญาณ

เฉียบแหลมดุจยอดเพชร ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป สมบูรณ์

แล้วด้วยอภินิหาร จัดแจงว่า "ท่านทั้งหลายจงจัดแจงเรือนหลังโน้น

เพื่อพ่อผัวของเรา. หลังโน้น เพื่อพระราชา. หลังโน้น เพื่ออุปราช

เป็นต้น " ดังนี้แล้ว ให้เรียกทาสและกรรมกรมา จัดการว่า " พวกท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 84

เท่านี้คน จงทำกิจที่ควรทำแก่พระราชา, เท่านี้คน จงทำกิจที่ควรทำแก่

อุปราชเป็นต้น. พวกท่านนั่นแล จงดูแลแม้สัตว์พาหนะมีช้างและม้า

เป็นต้น, แม้คนผูกม้าเป็นต้น มาถึงแล้ว จักได้ชมมหรสพในงานมงคล."

ถามว่า "เพราะเหตุไร ? (นางจึงจัดอย่างนั้น)."

ตอบว่า "(เพราะ) คนบางพวก อย่าได้เพื่อพูดว่า 'เราไปสู่

ที่มงคลแห่งนางวิสาขา ไม่ได้อะไรเลย, ทำแต่กิจมีการเฝ้าม้าเป็นต้น

ไม่ได้เที่ยวตามสบาย."

เครื่องแต่งตัวนางวิสาขา ๔ เดือนจึงแล้วเสร็จ

ในวันนั้นแล บิดาของนางวิสาขา ให้เรียกช่างทองมา ๕๐๐ คน

แล้ว กล่าวว่า " พวกท่านจงทำเครื่องประดับ ชื่อมหาลดาปสาธน์

แก่ธิดาของเรา" ดังนี้แล้ว สั่งให้ให้ทองคำมีสีสุกพันลิ่ม และเงิน

แก้วมณี แก้วมุกดา แก้วประพาฬและเพชรเป็นต้น พอสมกับทองนั้น.

พระราชา ประทับอยู่ ๒-๓ วันแล้ว ทรงส่งข่าวไปแก่ธนญชัย

เศรษฐีว่า "เศรษฐีไม่สามารถทำการเลี้ยงดูพวกเราได้, ขอเศรษฐีจงรู้

กาลไปแห่งนางทาริกาเถิด."

ฝ่ายเศรษฐีนั้น ส่งข่าวไปทูลพระราชาว่า "บัดนี้ กาลฝนมา

ถึงแล้ว, ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อเที่ยวไปตลอด ๔ เดือนได้; การที่หมู่พล

ของพระองค์ ได้วัตถุใด ๆ สมควร, วัตถุนั้น ๆ ทั้งหมด เป็นภาระ

ของข้าพระองค์; พระองค์ผู้สมมติเทพจักเสด็จไปได้ในเวลาที่ข้าพระองค์

ส่งเสด็จ." จำเดิมแต่กาลนั้น นครสาเกต ได้เป็นนครราวกะมีนักษัตร

เป็นนิตย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 85

วัตถุมีพวงดอกไม้ของหอมและผ้าเป็นต้น เป็นของอันเศรษฐีจัดแล้ว

แก่ชนทั้งหมด ตั้งแต่พระราชาแล. ชนเหล่านั้นคิดกันว่า "เศรษฐี

ทำสักการะแก่พวกเราถ่ายเดียว ๓ เดือนล่วงไปแล้ว โดยอาการอย่างนี้.

ส่วนเครื่องประดับ ก็ยังไม่เสร็จก่อน. ผู้ควบคุมงานมาแจ้งแก่เศรษฐีว่า

" สิ่งอื่นที่ชื่อว่าไม่มี ก็หาไม่, แต่ฟืนสำหรับหุงต้มภัตเพื่อหมู่พล ไม่พอ."

เศรษฐี กล่าวว่า "ไปเถิดพ่อทั้งหลาย. พวกท่านจง (รื้อ) ขนเอา

โรงช้างเก่า ๆ เป็นต้นและเรือนเก่าในนครนี้หุงต้มเถิด."

แม้เมื่อหุงต้มอยู่อย่างนั้น, กึ่งเดือนล่วงไปแล้ว. ลำดับนั้น ผู้

ควบคุมงาน มาแจ้งแก่ท่านเศรษฐีอีกครั้งว่า "ฟืนไม่มี." เศรษฐีกล่าวว่า

" ใคร ๆ ไม่อาจได้ฟืนในเวลานี้, พวกท่าน จงเปิดเรือนคลังผ้าทั้งหลาย

แล้วเอาผ้าเนื้อหยาบ ทำเกลียวชุบลงในตุ่มน้ำมันหุงภัตเถิด." ชนเหล่านั้น

ได้ทำอย่างนั้น ตลอดกึ่งเดือน. ๔ เดือนล่วงไปแล้วโดยอาการอย่างนี้.

แม้เครื่องประดับก็เสร็จแล้ว.

เครื่องประกอบในมหาลดาปสาธน์

เพชร ๔ ทะนาน ได้ถึงอันประกอบเข้าในเครื่องประดับนั้น,

แก้วมุกดา ๑๑ ทะนาน, แก้วประพาฬ ๒๐ ทะนาน. แก้วมณี ๓๓

ทะนาน. เครื่องประดับนั้น ได้ถึงความสำเร็จ ด้วยรัตนะเหล่านี้และ

เหล่าอื่น ด้วยประการฉะนี้. เครื่องประดับไม่สำเร็จด้วยด้าย, การงานที่

ทำด้วยด้าย เขาทำแล้วด้วยเงิน. เครื่องประดับนั้น สวมที่ศีรษะแล้ว

ย่อมจดหลังเท้า.

ลูกดุมที่เขาประกอบทำเป็นแหวนในที่นั้น ๆ ทำด้วยทอง, ห่วง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 86

ทำด้วยเงิน, แหวนวงหนึ่ง ที่ท่ามกลางกระหม่อม, หลังหูทั้งสอง ๒ วง,

ที่หลุมคอ ๑ วง, ที่เข่าทั้งสอง ๒ วง, ที่ข้อศอกทั้งสอง ๒ วง, ที่ข้าง

สะเอวทั้งสอง ๒ วง ดังนี้. ก็ในเครื่องประดับนั้นแล เขาทำนกยูงตัวหนึ่งไว้.

ขนปีกทำด้วยทอง ๕๐๐ ขน ได้มีที่ปีกเบื้องขวาแห่งนกยูงนั้น, ๕๐๐ ขน

ได้มีที่ปีกเบื้องซ้าย, จะงอยปาก ทำด้วยแก้วประพาฬ, นัยน์ตาทำด้วย

แก้วมณี, คอและแววหางก็เหมือนกัน, ก้านขนทำด้วยเงิน, ขาก็เหมือน

กัน. นกยูงนั้น สถิตอยู่ท่ามกลางกระหม่อมแห่งนางวิสาขา ปรากฏ

ประหนึ่งนกยูงยืนรำแพนอยู่บนยอดเขา. เสียงแห่งก้านขนปีกพันหนึ่ง

เป็นไปประหนึ่งทิพยสังคีต และประหนึ่งเสียงกึกก้องแห่งดนตรีประกอบ

ด้วยองค์ ๕. ชนทั้งหลายผู้เข้าไปสู่ที่ใกล้เท่านั้น ย่อมทราบว่า นกยูง

นั้นไม่ใช่นกยูง (จริง ). เครื่องประดับมีค่า ๙ โกฎิ. ท่านเศรษฐีให้ค่า

หัตถกรรม (ค่าบำเหน็จ) แสนหนึ่ง.

หญิงถวายจีวรย่อมได้มหาลดาปสาธน์

ถามว่า " ก็เครื่องประดับนั่น อันนางวิสาขานั้นได้แล้ว เพราะ

ผลแห่งกรรมอะไร ?"

แก้ว่า "ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นาง

ถวายจีวรสาฎก แก่ภิกษุ ๒ หมื่นรูปแล้ว ได้ถวายด้ายบ้าง เข็มบ้าง

เครื่องย้อมบ้าง ซึ่งเป็นของตนนั่นเอง นางได้แล้วซึ่งเครื่องประดับนี้

เพราะผลแห่งจีวรทานนั้น. ก็จีวรทานของหญิงทั้งหลาย ย่อมถึงที่สุดด้วย

เครื่องประดับชื่อมหาลดาปสาธน์, จีวรทานของบุรุษทั้งหลาย ย่อมถึงที่สุด

ด้วยบาตรและจีวรอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 87

เศรษฐีจัดไทยธรรมให้นางวิสาขา

มหาเศรษฐี ทำการตระเตรียม เพื่อธิดาโดย ๔ เตือนอย่างนั้น

แล้ว เมื่อจะให้ไทยธรรมแก่ธิดานั้น ได้ให้เกวียนเต็มด้วยยกหาปณะ ๕๐๐

เล่ม, ได้ให้เกวียนเต็มด้วยภาชนะทองคำ ๕๐๐ เล่ม, เต็มด้วยภาชนะเงิน

๕๐๐ เล่ม, เต็มด้วยภาชนะทองแดง ๕๐๐ เล่ม, เต็มด้วยภาชนะสำริด

๕๐๐ เล่ม, เต็มด้วยผ้าด้ายผ้าไหม ๕๐๐ เล่ม. เต็มด้วยเนยใส ๕๐๐ เล่ม,

เต็มด้วยน้ำมัน ๕๐๐ เล่ม, เต็มด้วยน้ำอ้อย ๕๐๐ เล่ม, เต็มด้วยข้าวสาร

แห่งข้าวสาลี ๕๐๐ เล่ม, เต็มด้วยเครื่องอุปกรณ์ มีไถและผาลเป็นต้น

๕๐๐ เล่ม.

ได้ยินว่า ความคิดอย่างนี้ได้มีแก่มหาเศรษฐีนั้นว่า " ในที่แห่ง

ธิดาของเราไปแล้ว นางอย่าได้ส่งคนไปสู่ประตูเรือนของคนอื่นว่า "เรา

ต้องการด้วยวัตถุชื่อโน้น;" เพราะฉะนั้น มหาเศรษฐีจึงได้สั่งให้ให้เครื่อง

อุปกรณ์ทุกสิ่ง (แก่ธิดาของตน ). มหาเศรษฐีได้ให้รถ ๕๐๐ คัน ตั้ง

นางสาวใช้รูปงามผู้ประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ ไว้บนรถคันละ

๓ คน ๆ. ได้ให้นางปริจาริกา ๑,๕๐๐ คน ด้วยสั่งว่า "พวกเจ้าเท่านี้คน

จงให้ธิดาของเราอาบ เท่านี้คนให้บริโภค เท่านี้คนแต่งตัว เที่ยวไป."

ครั้งนั้น มหาเศรษฐีได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " เราจักให้โคแก่ธิดา

ของเรา." ท่านสั่งบุรุษว่า "พนาย พวกท่านจงไป. จงเปิดประตูคอก

น้อยแล้ว ยืนถือกลอง ๓ ใบ อยู่ในที่ ๓ คาวุต, ยืนอยู่ที่ข้างทั้งสองในที่

ประมาณ ๑ อุสภะ โดยส่วนกว้าง. ถัดจากนั้นจงอย่าให้แม่โคทั้งหลายไป

ที่อื่น, พึงตีกลองสัญญาในเวลาแม้โคหยุดแล้วอย่างนี้." บุรุษเหล่านั้น

ได้ทำอย่างนั้นแล้ว. เวลาแม่โคออกจากคอกได้ ๑ คาวุต พวกเขาได้ตีกลอง

สัญญาขึ้น. ในเวลาแม่โคไปได้กึ่งโยชน์ ได้ดีกลองสัญญาอีก, แต่ในเวลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 88

แม่โคไปได้ ๓ คาวุต พวกเขาได้ห้ามการไปโดยส่วนกว้างอีก แม่โค

ทั้งหลายได้ยืนเบียดกันและกันในที่ยาวประมาณ ๓ คาวุต กว้างประมาณ

๑ อุสภะ ด้วยประการอย่างนี้.

มหาเศรษฐีสั่งให้ปิดประตูคอก ด้วยคำว่า " โคเท่านี้ พอแล้ว

แก่ธิดาของข้าพเจ้า, พวกเจ้าจงปิดประตูเถิด." เมื่อเขาปิดประตูคอก

แล้ว, เพราะผลบุญของนางวิสาขา โคตัวมีกำลังและแม่โคนมทั้งหลาย

ก็กระโดดออกไปแล้ว. เมื่อพวกมนุษย์ห้ามอยู่นั่นแล. โคตัวมีกำลัง

๖ หมื่นตัว และแม่โคนม ๖ หมื่นตัว ออกแล้ว, (และ) ลูกโคตัวมี

กำลัง มีจำนวนเท่านั้น ก็ออกไปแล้ว, พวกโคอุสภะของแม่นมเหล่านั้น

ก็ได้ติดตามไปแล้ว.

ถามว่า "ก็โคทั้งหลายไปแล้วอย่างนั้น เพราะผลแห่งกรรม

อะไร ? "

แก้ว่า "เพราะผลแห่งทานที่นางวิสาขาถวายแล้วแก่ภิกษุหนุ่มและ

สามเณรผู้ห้ามอยู่ ๆ."

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า นางเป็นน้อง

สุดท้องของธิดาทั้ง ๗ ของพระเจ้ากิกิ มีพระนามว่าสังฆทาสี เมื่อถวาย

เบญจโครสทานแก่ภิกษุ ๒ หมื่นรูป แม้เมื่อภิกษุหนุ่มและสามเณร

ปิดบาตรห้ามอยู่ว่า "พอ พอ" ก็ยังรับสั่งว่า "นี่อร่อย นี่น่าฉัน"

แล้วได้ถวาย (อีก ). เพราะผลแห่งกรรมนั้น โคเหล่านั้น แม้เขาห้าม

อยู่ ก็ออกไปแล้วอย่างนั้น.

ในเวลาที่เศรษฐีให้ทรัพย์เท่านี้ (แก่ธิดา) แล้ว ภริยาของ

เศรษฐีได้พูดว่า "ทุกสิ่งอันท่านจัดแจงแล้วแก่ธิดาของเรา, แต่คนใช้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 89

ชายหญิง ผู้ทำการรับใช้ ท่านมิได้จัดแจง, ข้อนั้นเพราะเหตุไร ?"

เศรษฐี ตอบว่า "(ที่เราไม่จัดแจง) เพื่อรู้คนผู้มีความรักและชังใน

ธิดาของเรา, เพราะเราจะจับคอพวกที่ไม่ไปกับธิดานั้นส่งไปไม่ได้, แต่

ในเวลาจะขึ้นยานไปนั้นแล เราจะพูดว่า ' โครอยากไปกับนางวิสาขานั่น

ก็จงไป, ผู้ไม่อยากไป ก็อย่าไป."

ลำดับนั้น เศรษฐีคิดว่า " ธิดาของเรา จักไปพรุ่งนี้" นั่งใน

ห้อง ให้ธิดานั่งในที่ใกล้แล้วให้โอวาทว่า " แม่ ธรรมดาหญิงผู้อยู่ใน

สกุลผัว รักษามรรยาทนี้และนี้ จึงจะควร. แม้มิคารเศรษฐีนี้นั่งในห้อง

ถัดไป ได้ยินโอวาทของธนญชัยเศรษฐีแล้ว .

โอวาท ๑๐ ข้อของเศรษฐี

ฝ่าย (ธนญชัย) เศรษฐีนั้น สอนธิดาอย่างนั้นแล้ว ให้โอวาท

๑๐ ข้อนี้ว่า "แม่ ธรรมดาหญิงที่อยู่ในสกุลพ่อผัวแม่ผัว ไม่ควรนำ

ไฟภายในออกไปภายนอก, ไม่ควรนำไฟภายนอกเข้าไปภายใน, พึงให้

แก่คนที่ให้เท่านั้น, ไม่พึงให้แก่คนที่ไม่ให้, พึงให้แก่คนทั้งที่ให้ทั้งที่

ไม่ให้, พึงนั่งให้เป็นสุข, พึงบริโภคให้เป็นสุข, พึงนอนให้เป็นสุข,

พึงบำเรอไฟ, พึงนอบน้อมเทวดาภายใน" ดังนี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น

เรียกประชุมเสนาทั้งหมดแล้ว จึงเอากุฎุมพี ๘ คนให้เป็นผู้ค้ำประกัน

ในท่ามกลางราชเสนาแล้ว กล่าวว่า " ถ้าโทษเกิดขึ้นแก่ธิดาของเรา

ในที่ที่ไปแล้ว, พวกท่านพึงชำระ" ดังนี้แล้ว ประดับธิดาด้วยเครื่อง

ประดับชื่อมหาลดาปสาธน์ ซึ่งมีค่าได้ ๙ โกฏิ ให้ทรัพย์ ๕๔ โกฏิ

เป็นค่าจุณสำหรับอาบ ให้ขึ้นสู่ยานแล้ว ให้คนเที่ยวตีกลองประกาศใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 90

บ้านส่วย ๑๔ ตำบลอันเป็นของตน เท่าอนุราธบุรี รอบเมืองสาเกตว่า

" ชนผู้อยากไปกับธิดาของเรา ก็จงไป."

ชาวบ้าน ๑๔ ตำบลพอได้ยินเสียง จึงออกไปไม่เหลือใคร ๆ เลย

ด้วยคิดว่า " จักมีประโยชน์อะไรแก่พวกเราในที่นี้ ในเวลาที่แม่เจ้าของ

เราไปเสีย." ฝ่ายธนญชัยเศรษฐี ทำสักการะแด่พระราชาและมิคารเศรษฐี

แล้ว ก็ตามไปส่งธิดากับคนเหล่านั้นหน่อยหนึ่ง.

มิคารเศรษฐี นั่งในยานน้อยไปข้างหลังยานทั้งหมด เห็นหมู่พล

แล้ว จึงถามว่า "นั่นพวกไหน ?"

พวกคนใช้. ทาสหญิงทาสชาย ผู้รับใช้ของหญิงสะใภ้ของท่าน.

มิคารเศรษฐี ใครจักเลี้ยงดูคนจำนวนเท่านั้นได้; พวกท่านจง

โบยคนพวกนั้นแล้วไล่ให้หนีไป, จงฉุดพวกที่ไม่หนีออกจากที่นี้.

แต่นางวิสาขากล่าวว่า "หลีกไป, อย่าห้าม. พลนั่นแล จักให้

ภัตแก่พล."

แม้เมื่อนางกล่าวอย่างนั้น. เศรษฐีก็ยังกล่าวว่า " แม่ เราไม่มี

ความต้องการด้วยชนเหล่านั้น, ใครจักเลี้ยงคนเหล่านี้ได้" ดังนี้แล้ว

จึงให้โบยด้วยก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น ไล่ให้หนีไปแล้วพาพวกที่เหลือ

ไป ด้วยคิดว่า "เราพอละ ด้วยคนจำนวนเท่านี้."

นางวิสาขาถึงกรุงสาวัตถี

ครั้นเวลาถึงประตูนครสาวัตถี นางวิสาขาคิดว่า "เราจักนั่งใน

ยานที่ปกปิดเข้าไปหรือหนอ ? หรือจะยืนบนรถเข้าไป." ทีนั้นนางได้

ตกลงใจอย่างนี้ว่า "เมื่อเราเข้าไปด้วยยานที่ปกปิด, ความวิเศษแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 91

เครื่องประดับชื่อมหาลดาปสาธน์จักไม่ปรากฏ." นางยืนบนรถแสดงตน

แก่ชาวนครทั้งสิ้น เข้าไปสู่นครแล้ว. ชาวกรุงสาวัตถี เห็นสมบัติของ

นางวิสาขาแล้ว จึงพูดกันว่า "นัยว่า หญิงนั่น ชื่อวิสาขา, สมบัติเห็น

ปานนี้ นี้สมควรแก่นางแท้."

นางวิสาขานั้น เข้าไปสู่เรือนของเศรษฐี ด้วยสมบัติมาก ด้วย

ประการฉะนี้. ก็ในวันที่นางมาถึง ชาวนครทั้งสิ้น ได้ส่งบรรณาการไป

ตามกำลัง ด้วยคิดว่า "ธนญชัยเศรษฐี ได้ทำสักการะมากมายแก่พวก

เราผู้ถึงนครของตน." นางวิสาขาได้ให้ให้บรรณาการที่เขาส่งมาแล้ว ๆ

(ทำ) ให้เป็นประโยชน์ทุกอย่าง ในตระกูลอื่น ๆ ในนครนั้นนั่นแหละ.

นางวิสาขาเจรจาไพเราะ

นางกล่าวถ้อยคำเป็นที่รัก เหมาะแก่วัยของคนเหล่านั้น ๆ ว่า

" ท่านจงให้สิ่งนี้แก่คุณแม่ของฉัน, จงให้สิ่งนี้แก่คุณพ่อของฉัน, จง

ให้สิ่งนี้แก่พี่ชายน้องชายของฉัน. จงให้สิ่งนี้แก่พี่สาวน้องสาวของฉัน"

ดังนี้แล้ว ส่งบรรณาการไป. ได้ทำชาวนครทั้งหมดให้เป็นเหมือนพวก

ญาติ ด้วยประการฉะนี้.

ต่อมาในระหว่างตอนกลางคืน นางลาตัวเป็นแม่ม้าอาชาไนยของ

นางได้ตกลูก. นางให้พวกทาสีถือประทีปด้ามไปในที่นั้นแล้ว ยังนางลา

ให้อาบด้วยน้ำอุ่น ให้ทาด้วยน้ำมัน แล้วได้ไปสู่ที่อยู่ของตนตามเดิม.

มิคารเศรษฐี เมื่อทำอาวาหมงคลของบุตร หาได้คำนึงถึงพระ-

ตถาคต แม้ประทับอยู่ในวิหารใกล้ไม่ อันความรักที่ตั้งอยู่เฉพาะใน

พวกสมณะเปลือยสิ้นกาลนาน เตือนอยู่ คิดว่า " เราจักทำสักการะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 92

แม้แก่พระผู้เป็นเจ้าของเรา" ดังนี้แล้ว วันหนึ่งให้คนหุงข้าวปายาส

ขึ้นบรรจุในภาชนะใหม่ หลายร้อยสำหรับ ให้นิมนต์พวกอเจลกะ ๕๐๐

คน เชิญเข้าไปในเรือนแล้ว จึงส่งข่าวแก่นางวิสาขาว่า "สะใภ้ของฉัน

จงมา, ไหว้พระอรหันต์ทั้งหลาย."

นางวิสาขาตำหนิพ่อผัว

นางเป็นอริยสาวิกาผู้โสดาบัน [พอ] ได้ยินคำว่า "อรหันต์"

ก็เป็นผู้ร่าเริงยินดี มาสู่ที่บริโภคแห่งอเจลกะเหล่านั้น แลดูอเจลกะ

เหล่านั้นแล้ว คิดว่า "ผู้เว้นจากหิริโอตตัปปะเห็นปานนี้ ย่อมชื่อว่า

พระอรหันต์ไม่ได้, เหตุไร พ่อผัวจึงให้เรียกเรามา ?" ติเตียนเศรษฐี

แล้ว ก็ไปที่อยู่ของตนตามเดิม.

พวกอเจลกะเห็นอาการของหางวิสาขานั้นแล้ว จึงติเตียนเศรษฐี

โดยเป็นเสียงเดียวกัน ทั้งหมดว่า "คฤหบดี ท่านไม่ได้หญิงอื่นแล้วหรือ

จึงให้สาวิกของสมณโคดมซึ่งเป็นนางกาลกิณีตัวสำคัญเข้ามาในที่นี้ ?

จงให้ขับไล่นางออกจากเรือนนี้โดยเร็ว." เศรษฐีนั้นคิดว่า " เราไม่

อาจให้ขับไล่ออกไป ด้วยเหตุเพียงถ้อยคำของท่านเหล่านี้เท่านั้น, นาง

เป็นธิดาของสกุลใหญ่" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย

ธรรมดาเด็ก รู้บ้างไม่รู้บ้าง พึงทำ, ท่านทั้งหลายนิ่งเสียเถิด " ส่ง

อเจลกะเหล่านั้นไปแล้ว นั่งบนอาสนะมีค่ามาก บริโภคข้ามธุปายาส

มีน้ำน้อยในถาดทองคำ.

ในสมัยนั้น พระเถระผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง

๑. อเจลกะ คนผู้ถือลัทธิเปลือยกาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 93

กำลังเที่ยวบิณฑบาต ได้เข้าไปสู่เรือนหลังนั้นแล้ว. นางวิสาขายืนพัด

พ่อผัวอยู่ เห็นพระเถระรูปนั้นว่า คิดว่า "การบอกพ่อผัวไม่ควร,"

จึงได้เลี่ยงออกไปยืนโดยอาการที่พ่อผัวนั้นจะเห็นพระเถระได้. แต่เศรษฐี

นั้นเป็นพาล แม้เห็นพระเถระ ก็แกล้งทำเป็นเหมือนไม่เห็น ก้มหน้า

บริโภคอยู่นั่นเอง.

นางวิสาขาติพ่อผัวว่าบริโภคของเก่า

นางวิสาขารู้ว่า " พ่อผัวของเราแม้เห็นพระเถระ ก็ไม่เอาใจใส่"

จึงกล่าวว่า "นิมนต์ไปข้างหน้าเถิด เจ้าข้า, พ่อผัวของดิฉันกำลังบริโภค

ของเก่า." เศรษฐีนั้น แม้อดกลั้นได้ในเวลาที่พวกนิครนถ์บอก (แต่)

ในขณะที่นางวิสาขากล่าวว่า "บริโภคของเก่า" นั่นเอง ก็วางมือ

กล่าวว่า ท่านทั้งหลายจำข้าวปายาสนี้ไปเสียจากที่นี่, จงขับไล่นางนั่น

ออกจากเรือนนี้, นางคนนี้ทำให้เราเป็นผู้ชื่อว่าเคี้ยวกินของไม่สะอาด

ในกาลมงคลเช่นนี้."

ก็แลทาสและกรรมกรทั้งหมดในเรือนนั้น ล้วนเป็นคนของนาง

วิสาขา จึงไม่อาจจะเข้าใกล้ ใครจักจับนางที่มือหรือที่เท้า. แม้ผู้สามารถ

กล่าวด้วยปากก็ไม่มี.

นางวิสาขาฟังคำของพ่อผัวแล้ว กล่าวว่า "คุณพ่อ ดิฉันจะไม่

ออกไปด้วยเหตุเพียงเท่านี้ คุณพ่อมิได้นำดิฉันมา เหมือนนำนางกุมภทาสี

มาแต่ท่าน้ำ ธรรมดาธิดาของมารดาบิดาผู้ยังมีชีวิตอยู่ จะไม่ออกไปด้วย

เหตุเพียงเท่านี้; เพราะเหตุนั้นแล ในเวลาจะมาที่นี้ คุณพ่อของดิฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 94

จึงได้เรียกกุฎุมพี ๘ คนมา พูดว่า ' ถ้าโทษเกิดขึ้นแก่ธิดาของเรา'

ดังนี้แล้ว ก็มอบดิฉันไว้ในมือของกุฎุมพีเหล่านั้น คุณพ่อจงให้เรียกท่าน

เหล่านั้นมาแล้วให้ชำระโทษของดิฉัน."

เศรษฐีคิดว่า "นางวิสาขานี้ พูดดี" จึงให้เรียกกุฎุมพีทั้ง ๘

มาแล้วบอกว่า "นางทาริกานี้ ว่าฉันผู้นั่งรับประทานข้าวปายาสมีน้ำข้น

ในถาดทอง ในเวลามงคลว่า 'ผู้กินของไม่สะอาด,' พวกท่านยกโทษ

นางวิสาขานี้ขึ้นแล้ว จงคร่านางนี้ออกจากเรือนนี้."

กุฎุมพี. ทราบว่า อย่างนั้นหรือ ? แม่.

วิสาขา. ฉันไม่ได้พูดอย่างนั้น. แต่เมื่อพระเถระผู้ถือการเที่ยว

บิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง ยืนอยู่ที่ประตูเรือน, พ่อผัวของฉัน กำลัง

รับประทานข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อย ไม่ใส่ใจถึงพระเถระนั้น, ฉันคิดว่า

พ่อผัวของเรา ไม่ทำบุญในอัตภาพนี้, บริโภคแต่บุญเก่าเท่านั้น, จึง

ได้พูดว่า นิมนต์ไปข้างหน้าเถิด เจ้าข้า, พ่อผัวของดิฉัน กำลังบริโภค

ของเก่า.' โทษอะไรของดิฉันจะมีในเพราะเหตุนี้เล่า ?

กุฎุมพี. ท่าน โทษในเพราะเหตุนี้ มิได้มี ธิดาของข้าพเจ้า

กล่าวชอบ. เหตุไร ท่านจึงโกรธ ?

เศรษฐี. ท่านทั้งหลาย โทษอันนี้ เป็นอันพ้นไปก่อน, แต่

วันหนึ่ง ในมัชฌิมยาม นางวิสาขานี้อันคนใช้ชายหญิงแวดล้อมแล้ว

ได้ไปหลังเรือน.

กุฎุมพี. ทราบว่า อย่างนั้นหรือ ? แม่.

วิสาขา. พ่อทั้งหลาย ดิฉันไม่ได้ไปเพราะเหตุอื่น, ก็เมื่อนางลา

แม่ม้าอาชาไนยตกลูกแล้วใกล้เรือนนี้ ดิฉันคิดว่า ' การที่นั่งเฉยไม่เอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 95

เป็นธุระเสียเลย ไม่สมควร' จึงให้คนถือประทีปด้ามไปกับพวกหญิง

คนใช้ ให้ทำการบริหารแก่แม่ลาที่ตกลูกแล้ว, ในเพราะเหตุนี้ ดิฉัน

จะมีโทษอะไร ?

กุฎุมพี. ท่าน ธิดาของพวกข้าพเจ้า ทำกรรมแม้พวกหญิงคนใช้

ไม่พึงทำในเรือนของท่าน, ท่านยังเห็นโทษอะไร ในเพราะเหตุนี้ ?

เศรษฐี. ท่านทั้งหลาย แม้ในเรื่องนี้ จะไม่มีโทษ ก็ช่างเถอะ,

แต่ว่า บิดาของนางวิสาขานี้ เมื่อกล่าวสอนนางวิสาขานี้ ในเวลาจะมา

ที่นี้ ได้ให้โอวาท ๑๐ ข้อซึ่งลี้ลับปิดบัง, เราไม่ทราบเนื้อความแห่ง

โอวาทนั้น, นางจงบอกเนื้อความแห่งโอวาทนั้นแก่เรา; ก็บิดาของนางนี้

ได้บอกว่า 'ไฟในไม่พึงนำออกไปภายนอก' พวกเราอาจหรือหนอ ?

เพื่อจะไม่ให้ไฟแก่เรือนคุ้นเคยทั้งสองฝ่ายแล้วอยู่ได้."

นางวิสาขาชนะความพ่อผัว

กุฎุมพี. ทราบว่าอย่างนั้นหรือ ? แม่.

วิสาขา. พ่อทั้งหลาย คุณพ่อของดิฉันมิได้พูดหมายความดังนั้น,

แต่ได้พูดหมายความดังนี้ว่า ' แม่ เจ้าเห็นโทษของแม่ผัวพ่อผัวและสามี

ของเจ้าแล้ว อย่าเฝ้ากล่าว ณ ภายนอกคือในเรือนนั้น ๆ, เพราะว่า

ขึ้นชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟชนิดนี้ ย่อมไม่มี.

เศรษฐี. ท่านทั้งหลาย ข้อนั้นยกไว้ก่อน, ก็บิดาของนางวิสาขานี้

กล่าวว่า 'ไฟแต่ภายนอก ไม่พึงให้เข้าไปภายใน, พวกเราอาจเพื่อจะ

ไม่ไปนำไฟมาจากภายนอกหรือ ? ในเมื่อไฟใน (เรือน) ดับ.

กุฎุมพี. ทราบว่าอย่างนั้นหรือ ? แม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 96

วิสาขา. พ่อทั้งหลาย คุณพ่อของดิฉัน ไม่ได้พูดหมายความดังนั้น,

แต่ได้พูดหมายความดังนี้ว่า 'ถ้าหญิงหรือชายทั้งหลาย ในบ้านใกล้

เรือนเคียงของเจ้า พูดถึงโทษของแม่ผัวพ่อผัวและสามี, เจ้าอย่านำเอาคำ

ที่ชนพวกนั้นพูดแล้ว มาพูดอีกว่า 'คนชื่อโน้น พูดยกโทษอย่างนั้นของ

ท่านทั้งหลาย' เพราะขึ้นชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟนั่น ย่อมไม่มี.

นางวิสาขาได้พ้นโทษ เพราะเหตุนี้อย่างนี้. ก็นางพ้นโทษใน

เพราะเหตุนี้ฉันใด, แม้ในคำที่เหลือ นางก็ได้พ้นโทษฉันนั้น (เหมือน

กัน).

อรรถาธิบายข้อโอวาทอื่น

ก็ในโอวาทเหล่านั้น พึงทราบอธิบายดังนี้ :-

ก็คำที่บิดาของนางสอนว่า "แม่ เจ้าควรให้แก่ชนทั้งหลายที่ให้

เท่านั้น" เศรษฐีกล่าวหมายเอา [เนื้อความนี้] ว่า "ควรให้ แก่คน

ที่ถือเครื่องอุปกรณ์ที่ยืมไปแล้ว ส่งคืนเท่านั้น." แม้คำว่า "ไม่ควรให้

แก่คนที่ไม่ให้ " นี้ เศรษฐีกล่าวหมายความว่า " ไม่ควรให้แก่ผู้ที่ถือเอา

เครื่องอุปกรณ์ที่ยืมไปแล้ว ไม่ส่งคืน." ก็แลคำว่า " ควรให้แก่คนทั้งที่

ให้ทั้งที่ไม่ให้" นี้ เศรษฐีกล่าวหมายความว่า " เมื่อญาติและมิตรยากจน

มาถึงแล้ว, ชนเหล่านั้น อาจจะใช้คืน หรือไม่อาจก็ตาม. ให้แก่ญาติ

และมิตรเหล่านั้นนั่นแหละ ควร." แม้คำว่า " พึงนั่งเป็นสุข" นี้ เศรษฐี

กล่าวหมายความว่า "การนั่งในที่ ๆ เห็นแม่ผัวพ่อผัวและสามีแล้วต้อง

ลุกขึ้น ไม่ควร." ส่วนคำว่า "พึงบริโภคเป็นสุข" นี้ เศรษฐีกล่าว

หมายความว่า "การไม่บริโภคก่อนแม่ผัวพ่อผัวและสามี เลี้ยงดูท่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 97

เหล่านั้น รู้สิ่งที่ท่านเหล่านั้น ทุก ๆ คนได้แล้วหรือยังไม่ได้ แล้วตนเอง

บริโภคทีหลัง จึงควร." แม้คำว่า "พึงนอนเป็นสุข" นี้ เศรษฐีกล่าว

หมายความว่า " ไม่พึงขึ้นที่นอน นอนก่อนแม่ผัวพ่อผัวและสามี,

ควรทำวัตรปฏิบัติที่ตนควรทำแก่ท่านเหล่านั้นแล้ว ตนเองนอนทีหลัง

จึงควร." และคำว่า "พึงบำเรอไฟ" นี้ เศรษฐีกล่าวหมายความว่า

" การเห็นทั้งแม่ผัวพ่อผัวทั้งสามี ให้เป็นเหมือนกองไฟและเหมือนพระ-

ยานาค จึงควร." แม้คำว่า " พึงนอบน้อมเทวดาภายใน " นี้ เศรษฐี

กล่าวหมายความว่า "การเห็นแม่ผัวพ่อผัวและสามี ให้เป็นเหมือนเทวดา

จึงสมควร."

เศรษฐีได้ฟังเนื้อความแห่งโอวาท ๑๐ ข้อนี้ อย่างนั้นแล้ว ไม่

เห็นคำโต้เถียง ได้นั่งก้มหน้าแล้ว.

ครั้งนั้น กุฎุมพีทั้งหลาย ถามเศรษฐีนั้นว่า "ท่านเศรษฐี โทษ

แม้อย่างอื่นแห่งธิดาของพวกข้าพเจ้า ยังมีอยู่หรือ ?"

เศรษฐี. ไม่มีดอก ท่าน.

กุฎุมพี. เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร ท่านจึงให้ขับไล่ นางผู้ไม่มี

ความผิด ออกจากเรือน โดยไม่มีเหตุเล่า ?

มิคารเศรษฐีขอโทษนางวิสาขา

เมื่อกุฎุมพีทั้งหลาย พูดอย่างนั้นแล้ว, นางวิสาขาได้พูดว่า "พ่อ

ทั้งหลาย การที่ดิฉันไปก่อนตามคำของพ่อผัว ไม่สมควรเลย ก็จริง,

แต่ในเวลาจะมา คุณพ่อของดิฉัน ได้มอบดิฉันไว้ในมือของพวกท่าน

เพื่อต้องการชำระโทษของดิฉัน, ก็ความที่ดิฉันไม่มีโทษ ท่านทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 98

ทราบแล้ว, บัดนี้ ดิฉันควรไปได้" ดังนี้แล้ว จึงสั่งคนใช้หญิงชาย

ทั้งหลายว่า "พวกเจ้าจงให้ช่วยกันจัดแจงพาหนะ มียานเป็นต้น." ทีนั้น

เศรษฐียึดกุฎุมพีเหล่านั้นไว้ แล้วกล่าวกะนางว่า " แม่ ฉัน ไม่รู้ พูด

ไปแล้ว . ยกโทษให้ฉันเถิด."

วิสาขา. คุณพ่อ ดิฉันยกโทษที่ควรยกให้แก่คุณพ่อได้โดยแท้,

แต่ดิฉันเป็นธิดาของตระกูลผู้มีความเลื่อมใสอันไม่ง่อนแง่น ในพระพุทธ-

ศาสนา, พวกดิฉันเว้นภิกษุสงฆ์แล้ว เป็นอยู่ไม่ได้, หากดิฉันได้เพื่อ

บำรุงภิกษุสงฆ์ตามความพอใจของดิฉัน, ดิฉันจึงจักอยู่.

เศรษฐี. แม่ เจ้าจงบำรุงพวกสมณะของเจ้า ตามความชอบใจเถิด.

มิคารเศรษฐีฟังธรรมของพระพุทธเจ้า

นางวิสาขา ให้คนไปทูลนิมนต์พระทศพล แล้วเชิญเสด็จให้เข้าไป

สู่นิเวศน์ในวันรุ่งขึ้น. ฝ่ายพวกสมณะเปลือย ได้ยินว่าพระศาสดาเสด็จไป

ยังเรือนของมิคารเศรษฐี จึงไปนั่งล้อมเรือนไว้. นางวิสาขาถวายน้ำ

ทักษิโณทกแล้วส่งข่าวไปว่า "ดิฉันตกแต่งเครื่องสักการะทั้งปวงไว้แล้ว.

เชิญพ่อผัวของดิฉัน มาอังคาสพระทศพลเถิด." ครั้งนั้น พวกอาชีวก

ห้ามมิคารเศรษฐีผู้อยากจะมาว่า "คฤหบดี ท่านอย่าไปสู่สำนักของ

พระสมณโคดมเลย." เศรษฐี ส่งข่าวไปว่า "สะใภ้ของฉัน จงอังคาส

เองเถิด." นางอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เมื่อเสร็จ

ภัตกิจแล้ว ได้ส่งข่าวไปอีกว่า "เชิญพ่อผัวของดิฉัน มาฟังธรรมกถา

เถิด." ทีนั้น พวกอาชีวกนั้น กล่าวกะเศรษฐีนั้นผู้คิดว่า "ชื่อว่า การ

ไม่ไปคราวนี้ ไม่สมควรอย่างยิ่ง" แล้วกำลังไป เพราะความที่ตนอยาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 99

ฟังธรรมอีกว่า " ถ้ากระนั้น ท่านเมื่อฟังธรรมของพระสมณโคดม จง

นั่งฟังภายนอกม่าน" ดังนี้แล้ว จึงล่วงหน้าไปก่อนเศรษฐีนั้นแล้วก็กั้น

ม่านไว้. เศรษฐีไปนั่งภายนอกม่าน.

พระศาสดา ตรัสว่า "ท่านจงนั่งนอกม่านก็ตาม ที่ฝาเรือนคน

อื่นก็ตาม ฟากภูเขาหินโน้นก็ตาม ฟากจักรวาลโน้นก็ตาม, เราชื่อว่า

เป็นพระพุทธเจ้า ย่อมอาจจะให้ท่านได้ยินเสียงของเราได้" ดังนี้แล้ว

ทรงเริ่มอนุปุพพีกถาเพื่อแสดงธรรม ดุจจับต้นหว้าใหญ่สั่น และดุจ

ยังฝนคืออมตธรรมให้ตกอยู่.

ก็เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงธรรมอยู่ ชนผู้ยืนอยู่ข้างหน้า

ก็ตาม ข้างหลังก็ตาม อยู่เลยร้อยจักรวาล พันจักรวาลก็ตาม อยู่ในภพ

อกนิษฐ์ก็ตาม ย่อมกล่าวกันว่า "พระศาสดา ย่อมทอดพระเนตรดูเรา

คนเดียว, ทรงแสดงธรรมโปรดเราคนเดียว." แท้จริง พระศาสดาเป็น

ดุจทอดพระเนตรดูชนนั้น ๆ และเป็นดุจตรัสกับคนนั้น ๆ.

นัยว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย อุปมาดังพระจันทร์. ย่อมปรากฏ

เหมือนประทับยืนอยู่ตรงหน้าแห่งสัตว์ทั้งหลาย ผู้ยืนอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง

เหมือนพระจันทร์ลอยอยู่แล้วในกลางหาว ย่อมปรากฏแก่ปวงสัตว์ว่า

"พระจันทร์อยู่บนศีรษะของเรา, พระจันทร์อยู่บนศีรษะของเรา" ฉะนั้น.

ได้ยินว่า นี้เป็นผลแห่งทานที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงตัดพระเศียรที่

ประดับแล้ว ทรงควักพระเนตรที่หยอดดีแล้ว ทรงชำแหล่ะเนื้อหทัยแล้ว

ทรงบริจาคโอรสเช่นกับพระชาลี ธิดาเช่นกับนางกัณหาชินา ปชาบดี

เช่นกับพระนางมัทรี ให้แล้ว เพื่อเป็นทาสของผู้อื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 100

นางวิสาขาได้นามว่ามิคารมารดา

ฝ่ายมิคารเศรษฐี เมื่อพระตถาคตทรงเปลี่ยนแปลงยักย้ายธรรม-

เทศนาอยู่ นั่งอยู่ภายนอกม่านนั่นเอง ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล อัน

ประดับด้วยพันนัย ประกอบด้วยอจลศรัทธา เป็นผู้หมดสงสัยในรัตนะ ๓

ยกชายม่านขึ้นแล้ว มาเอาปากอมถันหญิงสะใภ้ ตั้งนางไว้ในตำแหน่ง

มารดาด้วยคำว่า "เจ้าจงเป็นมารดาของฉัน ตั้งแต่วันนี้ไป."

จำเดิมแต่วันนั้น นางวิสาขาได้ชื่อว่ามิคารมารดาแล้ว, ภายหลัง

ได้บุตรชาย จึงได้ตั้งชื่อบุตรนั้นว่า "มิคาระ."

มหาเศรษฐีปล่อยถันของหญิงสะใภ้แล้ว ไปหมอบลงแทบพระบาท

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า นวดฟั้นพระบาทด้วยมือ และจุ๊บด้วยปาก

และประกาศชื่อ ๓ ครั้งว่า " ข้าพระองค์ชื่อมิคาระ พระเจ้าข้า " ดังนี้

เป็นต้นแล้ว กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่ทราบ ตลอดกาล

เพียงเท่านี้ 'ทานที่บุคคลให้แล้วในศาสนานี้ มีผลมาก, ข้าพระองค์

ทราบผลแห่งทานในบัดนี้ ก็เพราะอาศัยหญิงสะใภ้ ของข้าพระองค์,

ข้าพระองค์ เป็นผู้พ้นแล้วจากอบายทุกข์ทั้งปวง, หญิงสะใภ้ของ

ข้าพระองค์ เมื่อมาสู่เรือนนี้ ก็มาแล้วเพื่อประโยชน์เพื่อเกื้อกูล เพื่อความ

สุขแก่ข้าพระองค์" ดังนี้แล้ว ได้กล่าวคาถานี้ว่า:-

"ข้าพระองค์นั้น ย่อมรู้ทั่วถึงทานที่บุคคลให้

แล้ว ในเขตที่บุคคลให้แล้วมีผลมากในวันนี้,

หญิงสะใภ้คนดีของข้าพระองค์มาสู่เรือน เพื่อ

ประโยชน์แก่ข้าพระองค์หนอ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 101

นางวิสาขา ทูลนิมนต์พระศาสดา แม้เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้น. แม้

ในวันรุ่งขึ้น แม่ผัวได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. จำเดิมแต่กาลนั้น เรือน

หลังนั้น ได้เปิดประตูแล้วเพื่อพระศาสนา.

มิคารเศรษฐีทำเครื่องประดับให้นางวิสาขา

ลำดับนั้น เศรษฐีคิดว่า " สะใภ้ของเรา มีอุปการะมาก, เรา

จักทำบรรณาการให้แก่นาง, เพราะเครื่องประดับของสะใภ้นั้นหนัก,

ไม่อาจเพื่อประดับตลอดกาลเป็นนิตย์ได้, เราจักให้ช่างทำเครื่องประดับ

อย่างเบา ๆ แก่นาง ควรแก่การประดับในทุกอิริยาบถ ทั้งในกลางวัน

และกลางคืน" ดังนี้แล้ว จึงให้ช่างทำเครื่องประดับ ชื่อฆนมัฏฐกะ

อันมีราคาแสนหนึ่ง, เมื่อเครื่องประดับนั้นเสร็จแล้ว, นิมนต์พระภิกษุ

สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้ฉัน โดยความเคารพแล้ว ให้นาง

วิสาขาอาบน้ำด้วยหม้อน้ำหอม ๑๖ หม้อ ให้ยืนถวายบังคมพระศาสดา

ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดาแล้ว. พระศาสดาทรงทำอนุโมทนา

แล้ว เสด็จไปสู่วิหารตามเดิม.

นางวิสาขามีกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก

จำเดิมแต่กาลนั้น แม้นางวิสาขา ทำบุญมีทานเป็นต้นอยู่ ได้

พร ๘ ประการ จากสำนักพระศาสดา ปรากฏประหนึ่งจันทเลขา

(วงจันทร์) ในกลางหาว ถึงความเจริญด้วยบุตรและธิดาแล้ว. ได้

ทราบมาว่า นางมีบุตร ๑๐ คน มีธิดา ๑๐ คน, บรรดาบุตร (ชายหญิง )

เหล่านั้น คนหนึ่ง ๆ ได้มีบุตรคนละ ๑๐ คน มีธิดาคนละ ๑๐ คน, บรรดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 102

หลานเหล่านั้น คนหนึ่ง ๆ ได้มีบุตรคนละ ๑๐ คน มีธิดาคนละ ๑๐ คน.

จำนวนคน ได้มีตั้ง ๘,๔๒๐ คน เป็นไปด้วยสามารถแห่งความสืบเนื่อง

แห่งบุตรหลานและเหลน ของนางวิสาขานั้น อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

นางวิสาขาเอง ก็ได้มีอายุ ๑๒๐ ปี. ชื่อว่าผมหงอกบนศีรษะแม้เส้นหนึ่ง

ก็ไม่มี. นางได้เป็นประหนึ่งเด็กหญิงรุ่นอายุราว ๑๖ ปี เป็นนิตย์. ชน

ทั้งหลาย เห็นนางมีบุตรและหลานเป็นบริวารเดินไปวิหาร ย่อมถามกัน

ว่า "ในหญิงเหล่านี้ คนไหน นางวิสาขา ?. ชนผู้เห็นนางเดินไปอยู่

ย่อมคิดว่า 'บัดนี้ขอจงเดินไปหน่อยเถิด. แม่เจ้าของเราเดินไปอยู่เทียว

ย่อมงาม." ชนที่เห็นนางยืน นั่ง นอน ก็ย่อมคิดว่า "บัดนี้ จงนอน

หน่อยเถิด, แม่เจ้าของเรานอนแล้วแล ย่อมงาม." นางได้เป็นผู้อัน

ใคร ๆ พูดไม่ได้ว่า "ในอิริยาบถทั้ง ๔ นางย่อมไม่งามในอิริยาบถ

ชื่อโน้น" ด้วยประการฉะนี้. ก็นางวิสาขานั้น ย่อมทรงกำลังเท่าช้าง

๕ เชือก. พระราชาทรงสดับว่า " ได้ทราบว่า นางวิสาขา ทรงกำลัง

เท่าช้าง ๕ เชือก" ในเวลานางไปวิหารฟังธรรมแล้วกลับมา มีพระ-

ประสงค์จะทดลองกำลัง จึงรับสั่งให้ปล่อยช้างไป. ช้างนั้นชูงวง ได้วิ่ง

รี่เข้าใส่นางวิสาขาแล้ว . หญิงบริวารของนาง ๕๐๐ บางพวกวิ่งหนีไป,

บางพวกไม่ละนาง, เมื่อนางวิสาขาถามว่า " อะไรกันนี่ ? " จึงบอก

ว่า " แม่เจ้า ได้ทราบว่า พระราชาทรงประสงค์จะทดลองกำลังแม่เจ้า

จึงรับสั่งให้ปล่อยช้าง." นางวิสาขา คิดว่า "ประโยชน์อะไร ด้วยการ

เห็นช้างนี้แล้ววิ่งหนีไป, เราจักจับช้างนั้นอย่างไรหนอแล ?" จึงคิดว่า

" ถ้าเราจับช้างนั้นอย่างมั่นคง, ช้างนั้นจะพึงฉิบหาย" ดังนี้แล้ว จึง

เอานิ้ว ๒ นิ้ว จับงวงแล้วผลักไป. ช้างไม่อาจทรงตัวอยู่ได้, ได้ซวน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 103

ล้มลงที่พระลานหลวงแล้ว. มหาชนได้ให้สาธุการ. นางพร้อมกับบริวาร

ได้กลับเรือนโดยสวัสดีแล้ว.

นางวิสาขาลืมเครื่องประดับไว้ที่วิหาร

ก็โดยสมัยนั้นแล นางวิสาขามิคารมารดา มีบุตรมาก มีหลาน

มาก มีบุตรหาโรคมิได้ มีหลานหาโรคมิได้ สมมติกัน ว่า เป็นมงคล

อย่างยิ่ง ในกรุงสาวัตถี. บรรดาบุตรหลานตั้งพัน มีจำนวนเท่านั้น

แม้คนหนึ่ง ที่ชื่อว่า ถึงความตายในระหว่าง มิได้มีแล้ว. ในงาน

มหรสพที่เป็นมงคล ชาวกรุงสาวัตถี ย่อมอัญเชิญนางวิสาขาให้บริโภค

ก่อน. ต่อมา ในวันมหรสพวันหนึ่ง เมื่อมหาชนแต่งตัวไปวิหารเพื่อ

ฟังธรรม, แม้นางวิสาขา บริโภคในที่ที่เขาเชิญแล้ว ก็แต่งเครื่อง

มหาลดาปสาธน์ ไปวิหารกับด้วยมหาชน ได้เปลื้องเครื่องอาภรณ์ให้แก่

หญิงคนใช้ไว้, ที่พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวหมายเอาคำนี้ว่า "ก็โดย

สมัยนั้นแล ในกรุงสาวัตถี มีการมหรสพ, มนุษย์ทั้งหลายแต่งตัวแล้ว

ไปวัด. แม้นางวิสาขามิคารมารดา ก็แต่งตัวไปวิหาร. ครั้งนั้นแล นาง

วิสาขามิคารมารดา เปลื้องเครื่องประดับ ผูกให้เป็นห่อที่ผ้าห่มแล้วได้

(ส่ง ) ให้หญิงคนใช้ว่า "นี่แน่ะ แม่ เจ้าจงรับห่อนี้ไว้."

ได้ยินว่า นางวิสาขานั้น เมื่อกำลังเดินไปวิหาร คิดว่า "การ

ที่เราสวมเครื่องประดับมีค่ามากเห็นปานนี้ไว้บนศีรษะ แล้วประดับเครื่อง

อลังการจนถึงหลังเท้า เข้าไปสู่วิหาร ไม่ควร" จึงเปลื้องเครื่องประดับ

นั้นออกห่อไว้ แล้วได้ส่งให้ในมือหญิงคนใช้ ผู้ทรงกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก

๑. วิ. มหาวิภังค์ ๒/๔๘๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 104

ผู้เกิดด้วยบุญของตนเหมือนกัน. หญิงคนใช้นั้นคนเดียว ย่อมอาจเพื่อรับ

เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์นั้นได้, เพราะเหตุนั้น นางวิสาขา จึงกล่าว

กะหญิงคนใช้นั้นว่า "แม่ จงรับเครื่องประดับนี้ไว้, ฉันจักสวมมันใน

เวลากลับจากสำนักของพระศาสดา. ก็นางวิสาขา ครั้นให้เครื่องประดับ

มหาลดาปสาธน์นั้นแล้ว จึงสวมเครื่องประดับชื่อฆนมัฎฐกะ ได้เข้าไป

เฝ้าพระศาสดา สดับธรรมแล้ว. ในที่สุดการสดับธรรม นางถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคจ้าลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว. ฝ่ายหญิงคนใช้นั้นของนาง

ลืมเครื่องประดับนั้นแล้ว. ก็เมื่อบริษัทฟังธรรมหลีกไปแล้ว, ถ้าใครลืม

ของอะไรไว้. พระอานนทเถระย่อมเก็บงำของนั้น. เพราะเหตุดังนี้

ในวันนั้น ท่านเห็นเครื่องมหาลดาปสาธน์แล้ว จึงทูลแด่พระศาสดาว่า

" นางวิสาขา ลืมเครื่องประดับไว้ ไปแล้ว พระเจ้าข้า." พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ตรัสว่า " จงเก็บไว้ในที่สุดข้างหนึ่งเถิด อานนท์." พระเถระ

ยกเครื่องประดับนั้น เก็บคล้องไว้ที่ข้างบันได.

นางวิสาขาตรวจบริเวณวัด

ฝ่ายนางวิสาขา เที่ยวเดินไปภายในวิหาร กับนางสุปปิยา ด้วย

ตั้งใจว่า "จักรู้สิ่งที่ควรทำแก่ภิกษุอาคันทุกะภิกษุผู้เตรียมตัวจะไปและภิกษุ

ไข้เป็นต้น." ก็โดยปกติแล ภิกษุหนุ่มและสามเณร ผู้ต้องการด้วยเนยใส

น้ำผึ้งและน้ำมันเป็นต้น เห็นอุบาสิกาเหล่านั้น ในภายในวิหารแล้ว

ย่อมถือภาชนะมีถาดเป็นต้น เดินเข้าไปหา. ถึงในวันนั้น ก็ทำแล้วอย่าง

นั้นเหมือนกัน. ครั้งนั้น นางสุปปิยา เห็นภิกษุไข้รูปหนึ่ง จึงถามว่า

"พระผู้เป็นเจ้าต้องการอะไร ?" เมื่อภิกษุไข้รูปนั้น ตอบว่า "ต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 105

การรสแห่งเนื้อ" จึงตอบว่า ได้พระพระผู้เป็นเจ้า, ดิฉันจักส่งไป"

ในวันที่ ๒ เมื่อไม่ได้เนื้อที่เป็นกัปปิยะ จึงทำกิจที่ควรทำด้วยเนื้อขาอ่อน

ของตน ด้วยความเลื่อมใสในพระศาสดา ก็กลับเป็นผู้มีสรีระตั้งอยู่ตาม

ปกตินั่นแล. ฝ่ายหางวิสาขาตรวจดูภิกษุหนุ่มและสามเณรผู้เป็นไข้แล้ว

ก็ออกโดยประตูอื่น ยืนอยู่ที่อุปจารวิหารแล้ว พูดว่า "แม่ จงเอาเครื่อง

ประดับมา, ฉันจักแต่ง." ในขณะนั้นหญิงคนใช้นั้น รู้ว่าตนลืมแล้ว

ออกมา จึงตอบว่า " ดิฉันลืม แม่เจ้า." นางวิสาขา กล่าวว่า "ถ้า

กระนั้น จงไปเอามา, แต่ถ้าพระผู้เป็นเจ้าอานนทเถระของเรา ยกเก็บ

เอาไว้ในที่อื่น, เจ้าอย่าเอามา, ฉันบริจาคเครื่องประดับนั้น ถวายพระผู้

เป็นเจ้านั้นแล." นัยว่า นางวิสาขานั้นย่อมรู้ว่า "พระเถระย่อมเก็บสิ่ง

ของที่พวกมนุษย์ลืมไว้," เพราะฉะนั้น จึงพูดอย่างนั้น.

นางวิสาขาซื้อที่สร้างวิหารถวายสงฆ์

ฝ่ายพระเถระ พอเห็นนางคนใช้นั้น ก็ถามว่า "เจ้ามาเพื่อ

ประสงค์อะไร ?" เมื่อหญิงคนใช้นั่นตอบว่า " ดิฉันลืมเครื่องประดับ

ของแม่เจ้าของดิฉัน จึงได้ม้า." จึงกล่าวว่า "ฉันเก็บมันไว้ที่ข้างบันได

นั้น, เจ้าจงเอาไป." หญิงคนใช้นั้นตอบว่า "พระผู้เป็นเจ้า ห่อภัณฑะ

ที่ท่านเอามือถูกแล้ว แม่เจ้าของดิฉัน สั่งมิให้นำเอาไป" ดังนี้แล้ว ก็มี

มือเปล่ากลับไป ถูกนางวิสาขาถามว่า อะไร แม่ ? " จึงบอกเนื้อความ

นั้น. นางวิสาขา กล่าวว่า " แม่ ฉันจักไม่ประดับเครื่องที่พระผู้เป็น

เจ้าของฉันถูกต้องแล้ว ฉันบริจาคแล้ว. แต่พระผู้เป็นเจ้ารักษาไว้ เป็น

๑. อรรถกถาแก้ว่า ปฏิจฺฉาทนีเยนาติ มสรเสน (น้ำเนื้อต้ม).

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 106

การลำบาก. ฉันจำหน่ายเครื่องประดับนั้นแล้วจักน้อมนำสิ่งที่เป็นกัปปิยะ

ไป. เจ้าจงไปเอาเครื่องประดับนั้นมา." หญิงคนใช้นั้นไปนำเอามาแล้ว.

นางวิสาขา ไม่แต่งเครื่องประดับนั้น สั่งให้เรียกพวกช่างทองมาแล้วให้

ตีราคา, เมื่อพวกช่างทองเหล่านั้นตอบว่า มีราคาถึง ๖ โกฏิ, แต่

สำหรับค่าบำเหน็จต้องถึงแสน," จึงวางเครื่องประดับไว้บนยานแล้วกล่าว

ว่า " ถ้ากระนั้น พวกท่านจงขายเครื่องประดับนั้น." ไม่มีใครจักอาจ

ให้ทรัพย์จำนวนเท่านั้นรับไว้ได้. เพราะหญิงผู้สมควรประดับเครื่องประ-

ดับนั้น หาได้ยาก. แท้จริง หญิง ๓ คนเท่านั้น ในปฐพีมณฑล ได้

เครื่องประดับมหาลดาปสาธน์ คือ นางวิสาขามหาอุบาสิกา ๑, นางมัลลิกา

ภรรยาของพันธุลมัลลเสนาบดี ๑, ลูกสาวของเศรษฐีกรุงพาราณสี ๑,

เพราะฉะนั้น นางวิสาขา จึงให้ค่าเครื่องประดับนั้นเสียเองทีเดียว แล้ว

ให้ขนทรัพย์ ๙ โกฏิ ๑ แสน ขึ้นใส่เกวียน นำไปสู่วิหาร ถวายบังคม

พระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พระอานนทเถระผู้เป็นเจ้า

ของหม่อมฉัน เอามือถูกต้องเครื่องประดับของหม่อมฉันแล้ว, จำเดิม

แต่กาลที่ท่านถูกต้องแล้ว หม่อมฉันไม่อาจประดับได้, แต่หม่อมฉันให้

ขายเครื่องประดับนั้น ด้วยคิดว่า "จักจำหน่าย น้อมนำเอาสิ่งอันเป็น

กัปปิยะมา' ไม่เห็นผู้อื่นจะสามารถรับไว้ได้ จึงให้รับค่าเครื่องประดับ

นั้นเสียเองมาแล้ว. หม่อมฉันจะน้อมเข้าในปัจจัยไหน ในปัจจัย ๔ พระ-

เจ้าข้า ?" พระศาสดา ตรัสว่า "เธอควรจะทำที่อยู่เพื่อสงฆ์ ใกล้

ประตูด้านปราจีนทิศเถิด วิสาขา." นางวิสาขา ทูลรับว่า "สมควร

พระเจ้าข้า" มีใจเบิกบาน จึงเอาทรัพย์ ๙ โกฏิ ซื้อเฉพาะที่ดิน. นาง

เริ่มสร้างวิหารด้วยทรัพย์ ๙ โกฏินอกนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 107

การสร้างวิหารของวิสาขา ๙ เดือนแล้วเสร็จ

ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสาดา ทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ได้

ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยสมบัติของเศรษฐีบุตรนามว่าภัททิยะ ผู้จุติจาก

เทวโลกแล้วเกิดในตระกูลเศรษฐีในภัททิยนคร ทรงทำภัตกิจในเรือนของ

อนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว ก็เสด็จบ่ายพระพักตร์ไปยังประตูด้านทิศอุดร.

แม้ตามปกติ พระศาสดา ทรงรับภิกษาในเรือนของนางวิสาขาแล้ว ก็

เสด็จออกทางประตูด้านทักษิณ ประทับอยู่ในพระเชตวัน, ทรงรับภิกษา

ในเรือนของอนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว ก็เสด็จออกทางประตูด้านปราจีน

ประทับอยู่ในบุพพาราม. ชนทั้งหลายเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จดำเนิน

มุ่งตรงประตูด้านทิศอุดรแล้ว ย่อมรู้ได้ว่า "จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก."

ในวันนั้น แม้นางวิสาขา พอทราบว่า " พระศาสดา เสด็จดำเนิน

บ่ายพระพักตร์ไปทางประตูด้านทิศอุดร" จึงรีบไป ถวายบังคมแล้ว

กราบทูลว่า " ทรงประสงค์จะเสด็จดำเนินไปสู่ที่จาริกหรือ พระเจ้าข้า ?"

พระศาสดา. อย่างนั้น วิสาขา.

วิสาขา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันบริจาคทรัพย์จำนวนเท่านี้ ให้สร้าง

วิหารถวายแด่พระองค์, โปรดเสด็จกลับเถิด พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. นี้ เป็นการไปยังไม่กลับ วิสาขา.

นางวิสาขานั้น คิดว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้า จะทรงเห็นใคร ๆ

ผู้สมบูรณ์ด้วยเหตุ เป็นแน่." จึงกราบทูลว่า " ถ้ากระนั้น ขอพระองค์

โปรดรับสั่งให้ภิกษุรูปหนึ่ง ผู้เข้าใจการงานที่หม่อมฉันทำแล้วหรือยังไม่

ได้ทำ กลับ แล้วเสด็จเถิด พระเจ้าข้า."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 108

พระศาสดา. เธอพอใจภิกษุรูปใด, จงรับบาตรของภิกษุรูปนั้น

เถิด วิสาขา.

แม้นางจะพึงใจพระอานนท์เถระก็จริง, แต่คิดว่า "พระมหา-

โมคคัลลานเถระเป็นผู้มีฤทธิ์, การงานของเราจักพลันสำเร็จ ก็เพราะ

อาศัยพระเถระนั่น" ดังนี้แล้ว จึงรับบาตรของพระเถระไว้. พระเถระ

แลดูพระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า "โมคคัลลานะ เธอจงพาภิกษุ

บริวารของเธอ ๕๐๐ รูป กลับเถิด." ท่านได้ทำตามพระดำรัสนั้นแล้ว.

ด้วยอานุภาพของท่าน พวกมนุษย์ผู้ไปเพื่อต้องการไม้และเพื่อต้องการหิน

ระยะทางแม้ตั้ง ๕๐-๖๐ โยชน์ ก็ขนเอาไม้และหินมากมายมาทันในวัน

นั้นนั่นเอง, แม้ยกไม้และหินใส่เกวียนก็ไม่ลำบากเลย, เพลาเกวียนก็

ไม่หัก. ต่อกาลไม่นานนัก พวกเขาก็สร้างปราสาท ๒ ชั้นเสร็จ. ปราสาท

นั้นได้เป็นปราสาทประดับด้วยห้องพันห้อง คือชั้นล่าง ๕๐๐ ห้อง. ชั้น

บน ๕๐๐ ห้อง. พระศาสดา เสด็จดำเนินจาริกไปโดย ๙ เดือนแล้ว

ได้เสด็จ ( กลับ) ไปสู่กรุงสาวัตถีอีก. แม้การงานในปราสาทของนาง

วิสาขา ก็สำเร็จโดย ๙ เดือนเหมือนกัน. นางให้สร้างยอดปราสาทอันจุ

น้ำได้ ๖๐ หม้อ ด้วยทองคำสีสุกที่บุเป็นแท่งนั่นแล. นางได้ยินว่า

" พระศาสดา เสด็จไปยังเชตวันมหาวิหาร" จึงทำการต้อนรับนำพระ-

ศาสดาไปวิหารของตนแล้ว รับปฏิญญาว่า "พระเจ้าข้า ขอพระองค์

โปรดพาภิกษุสงฆ์ประทับอยู่ในวิหารนี้แหละตลอด ๔ เดือนนี้, หม่อมฉัน

จักทำการฉลองปราสาท." พระศาสดาทรงรับแล้ว.

นางวิสาขาทำบุญฉลองวิหาร

จำเดิมแต่กาลนั้น นางวิสาขานั้น ย่อมถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 109

พระพุทธเจ้าเป็นประธานในวิหารนั่นแล. ครั้งนั้น หญิงสหายคนหนึ่ง

ของนาง ถือผ้าผืนหนึ่งราคา ๑,๐๐๐ มาแล้ว กล่าวว่า " สหาย ฉัน

อยากจะลาดผ้าผืนนี้ โดยสังเขปว่าเครื่องลาดพื้นในปราสาทของท่าน, ขอ

ท่านช่วยบอกที่ลาดแก่ฉัน." นางวิสาขากล่าวว่า "สหาย ถ้าฉันจะบอกแก่

ท่านว่า 'โอกาสไม่มี,' ท่านก็จักสำคัญว่า 'ไม่ปรารถนาจะให้โอกาส

แก่เรา, ท่านจงตรวจดูพื้นแห่งปราสาท ๒ ชั้น และห้องพันห้องแล้ว

รู้ที่ลาดเอาเองเถิด" หญิงสหายนั้น ถือผ้าราคา ๑,๐๐๐ เที่ยว (เดิน

ตรวจ) ในที่นั้น ๆ ไม่เห็นผ้าที่มีราคาน้อยกว่าผ้าของตนนั้นแล้ว ก็ถึง

ความเสียใจว่า "เราไม่ได้ส่วนบุญในปราสาทนี้" ได้ยืนร้องไห้อยู่แล้ว

ในที่แห่งหนึ่ง. ครั้งนั้น พระอานนทเถระ เห็นหญิงนั้น จึงถามว่า

" ร้องไห้เพราะเหตุไร ?" นางบอกเนื้อความนั้นแล้ว. พระเถระกล่าวว่า

" อย่าคิดเลย, เราจักบอกที่ลาดให้แก่ท่าน," กล่าวแล้วว่า 'ท่านจงลาด

ไว้ที่บันได ทำเป็นผ้าเช็ดเท้า, ภิกษุทั้งหลาย ล้างเท้าแล้ว เช็ดเท้าที่

ผ้านั้นก่อน จึงจักเข้าไปภายใน, เมื่อเป็นเช่นนั้น ผลเป็นอันมากก็จักมี

แก่ท่าน." ได้ยินว่า ที่นั่นเป็นสถานอันนางวิสาขามิได้กำหนดไว้. นาง

วิสาขาได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ในภายใน

วิหาร ตลอด ๔ เดือน. ในวันสุดท้าย ได้ถวายผ้าสาฎกเพื่อทำจีวรแก่

ภิกษุสงฆ์. ผ้าสาฎกเพื่อทำจีวร ที่ภิกษุใหม่ในสงฆ์ได้แล้ว ได้มีราคา

พันหนึ่ง. นางได้ถวายเภสัชเต็มบาตรแก่ภิกษุทุกรูป. ในเพราะการ

บริจาคทาน ทรัพย์ได้ (หมดไป ) ถึง ๙ โกฏิ. นางวิสาขาบริจาค

ทรัพย์ในพระพุทธศาสนา ทั้งหมด ๒๗ โกฏิ คือ ในการซื้อพื้นที่แห่ง

วิหาร ๙ โกฏิ, ในการสร้างวิหาร ๙ โกฏิ, ในการฉลองวิหาร ๙ โกฏิ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 110

ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่าการบริจาคเห็นปานนี้ ย่อมไม่มีแก่หญิงอื่น ผู้ดำรงอยู่ใน

ภาวะแห่งสตรีอยู่ในเรือนของตนผู้มิจฉาทิฏฐิ.

นางวิสาขาเปล่งอุทานในวันฉลองวิหารเสร็จ

ในวันแห่งการฉลองวิหารเสร็จ เวลาบ่าย นางวิสาขานั้นอันบุตร

หลานแวดล้อมแล้ว คิดว่า " ความปรารถนาใด ๆ อันเราตั้งไว้แล้วใน

กาลก่อน, ความปรารถนานั้น ๆ ทั้งหมดเทียว ถึงที่สุดแล้ว." เดินเวียน

รอบปราสาท เปล่งอุทานนี้ด้วยเสียงอันไพเราะด้วย ๕ คาถาว่า :-

"ความคำริของเราว่า ' เมื่อไร เราจักถวาย

ปราสาทใหม่ ฉาบด้วยปูนขาวและดิน เป็นวิหารทาน'

ดังนี้ บริบูรณ์แล้ว. ความดำริของเราว่า 'เมื่อไร

เราจักวายเตียงตั่งฟูกและหมอนเป็นเสนาสนภัณฑ์'

ดังนี้ บริบูรณ์แล้ว. ความดำริของเราว่า ' เมื่อไร

เราจักถวายสลากภัต ผสมด้วยเนื้ออันสะอาด เป็น

โภชนทาน' ดังนี้ บริบูรณ์แล้ว. ความดำริของ

เราว่า 'เมื่อไร เราจักถวายผ้ากาสิกพัสตร์ ผ้าเปลือก

ไม้ และผ้าฝ้าย เป็นจีวรทาน' ดังนี้ บริบูรณ์แล้ว.

ความดำริของเราว่า ' เมื่อไร เราจักถวายเนยใส

เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำมัน และน้ำอ้อย เป็นเภสัชทาน'

ดังนี้ บริบูรณ์แล้ว"

ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินเสียงของนางแล้ว กราบทูลแด่พระศาสดาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 111

" พระเจ้าข้า ชื่อว่าการขับร้องของนางวิสาขา พวกข้าพระองค์ไม่เคยเห็น

ในกาลนาน ประมาณเท่านี้, วันนี้ นางอันบุตรและหลานแวดล้อมแล้ว

ขับเพลงเดินเวียนรอบปราสาท, ดีของนางกำเริบหรือหนอแล, หรือนาง

เสียจริตเสียแล้ว ?" พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธิดาของเราหา

ขับเพลงไม่, แต่อัชฌาสัยส่วนตัวของเธอเต็มเปี่ยมแล้ว, เธอดีใจว่า

' ความปรารถนาที่เราตั้งไว้ ถึงที่สุดแล้ว, จึงเดินเปล่งอุทาน." เมื่อ

ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า " ก็นางตั้งความปรารถนาไว้เมื่อไร พระเจ้าข้า,"

จึงตรัสว่า "จักฟังหรือภิกษุทั้งหลาย ." เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า

"จักฟัง พระเจ้าข้า." จึงทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสดังต่อไปนี้):-

บุรพประวัติของนางวิสาขา

ภิกษุทั้งหลาย ในที่สุดแสนกัปแต่นี้ไป พระพุทธเจ้า พระนามว่า

ปทุมุตตระ ทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก. พระองค์ได้มีพระชนมายุแสนปี,

มีภิกษุขีณาสพแสนหนึ่งเป็นบริวาร, นครชื่อหังสวดี พระชนกเป็นพระ-

ราชา นามว่า สุนันทะ, พระชนนีเป็นพระเทวี นามว่า สุชาดา.

อุบาสิกาผู้เป็นยอดอุปัฏฐายิกาของพระศาสดาองค์นั้นทูลขอพร ๘ ประการ

แล้ว ตั้งอยู่ในฐานะดังมารดา บำรุงพระศาสดาด้วยปัจจัย ๔ ย่อมไปสู่

ที่บำรุงทั้งเย็นและเช้า. หญิงสหายคนหนึ่งของอุบาสิกานั้น ย่อมไปวิหาร

กับอุบาสิกานั้นเป็นนิตย์. หญิงนั้น เห็นอุบาสิกนั้น พูดกับพระศาสดา

ด้วยความคุ้นเคย และเห็นความเป็นผู้สนิทสนมกับพระศาสดา คิดว่า

" เธอทำกรรมอะไรหนอแล จึงเป็นผู้สนิทสนมกับพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

อย่างนี้ ?" ดังนี้แล้ว จึงทูลถามพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า หญิงนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 112

เป็นอะไรแก่พระองค์ ?"

พระศาสดา. เป็นเลิศแห่งหญิงผู้อุปัฏฐายิกา.

หญิง. พระเจ้าข้า นางกระทำกรรมอะไร จึงเป็นเลิศแห่งหญิงผู้

อุปัฏฐายิกา ?

พระศาสดา. เธอตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป.

หญิง. บัดนี้ หม่อมฉันปรารถนาแล้วอาจจะได้ไหม พระเจ้าข้า ?

พระศาสดา. จ้ะ อาจ.

หญิงนั้นกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ถ้ากระนั้น ขอพระองค์

กับภิกษุแสนรูป โปรดรับภิกษาของหม่อมฉันตลอด ๗ วันเถิด.

พระศาสดาทรงรับแล้ว. หญิงนั้น ถวายทานครบ ๗ วัน ในวันที่สุด

ได้ถวายผ้าสาฎกเพื่อทำจีวรแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา หมอบลงแทบ

บาทมูล ตั้งความปรารถนาว่า " พระเจ้าข้า ด้วยผลแห่งทานนี้ หม่อม

ฉันปรารถนาความเป็นใหญ่ในเทวโลกเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็หาไม่.

หม่อมฉันพึงได้พร ๘ ประการ ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้าผู้เช่นพระองค์

แล้ว ตั้งอยู่ในฐานะดังมารดา เป็นยอดของอุบาสิกาผู้สามารถเพื่อบำรุง

ด้วยปัจจัย ๔. " พระศาสดา ทรงดำริว่า " ความปรารถนาของหญิงนี้ จัก

สำเร็จหรือหนอ ?" ทรงคำนึงถึงอนาคตกาล ตรวจดูตลอดแสนกัปแล้ว

จึงตรัสว่า ในที่สุดแห่งแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักทรง

อุบัติขึ้น, ในกาลนั้น เธอจักเป็นอุบาสิกาชื่อว่าวิสาขา ได้พร ๘ ประการ

ในสำนักของพระองค์แล้ว ตั้งอยู่ในฐานะดังมารดา จักเป็นเลิศแห่ง

หญิงผู้เป็นอุปัฏฐายิกา ผู้บำรุงด้วยปัจจัย ๔." สมบัตินั้นได้เป็นประหนึ่ง

ว่า อันนางจะพึงได้ในวันพรุ่งนี้ทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 113

นางทำบุญจนตลอดอายุแล้ว จุติจากอัตภาพนั้น เกิดในเทวโลก

ท่องเที่ยวอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่ากัสสป เป็นพระธิดา พระนามว่า สังฆทาสี ผู้พระกนิษฐา

ของบรรดาพระธิดา ๗ พระองค์ของพระเจ้ากาสีพระนามว่ากิกิ ยังมิได้ไป

สู่ตระกูลอื่น ทรงทำบุญมีทานเป็นต้นกับด้วยเจ้าพี่หญิงเหล่านั้นตลอดกาล

นาน, ได้ทำความปรารถนาไว้ แม้แทบบาทมูลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่ากัสสป ว่า " ในอนาคตกาล หม่อมฉัน พึงได้พร ๘ ประการ

ในสำนักแห่งพระพุทธเจ้าผู้เช่นพระองค์แล้ว ตั้งอยู่ในฐานะดังมารดา

เป็นยอดแห่งอุบาสิถาผู้ถวายปัจจัย ๔." ก็จำเดิมแต่กาลนั้น นางท่องเที่ยว

อยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ในอัตภาพนี้ ได้เกิดเป็นธิดาของธนญชัน

เศรษฐีผู้เป็นบุตรแห่งเมณฑกเศรษฐี ได้ทำบุญเป็นอันมากในศาสนา

ของเรา.

สัตว์เกิดแล้วควรทำกุศลให้มาก

พระศาสดา (ครั้นทรงแสดงอดีตนิทานจบแล้ว ) ตรัสว่า "ภิกษุ

ทั้งหลาย ธิดาของเราย่อมไม่ขับเพลง ด้วยประการฉะนี้แล, แต่เธอเห็น

ความสำเร็จ แห่งความปรารถนาที่ตั้งไว้ จึงเปล่งอุทาน." เมื่อจะทรง

แสดงธรรม ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย นายมาลาการผู้ฉลาด ทำกอง

ดอกไม่ต่าง ๆ ให้เป็นกองโตแล้ว ย่อมทำพวงดอกไม้มีประการต่าง ๆ ได้

ฉันใด; จิตของนางวิสาขา ย่อมน้อมไปเพื่อทำกุศล มีประการต่าง ๆ

ฉันนั้นเหมือนกัน " ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 114

๘. ยถาปิ ปุปฺผราสิมฺหา กยิรา มาลาคุเฬ พหู

เอว ชาเตน มจฺเจน กตฺตพฺพ กุสล พหุ.

" นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มาก จาก

กองดอกไม้ แม้ฉันใด; มัจจสัตว์ผู้มีอันจะพึงตาย

เป็นสภาพ ควรทำกุศลไว้ให้มาก ฉันนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุปฺผราสิมฺหา ได้แก่ จากกองแห่ง

ดอกไม้มีประการต่าง ๆ. บทว่า กยิรา แปลว่า พึงทำ. สองบทว่า

มาลาคุเณ พหู ความว่า ซึ่งมาลาวิกัติ หลายชนิด ต่างโดยชนิด

มีดอกไม้ที่ร้อยขั้วข้างเดียวเป็นต้น. บทว่า มจฺเจน ความว่า สัตว์ผู้

ได้ชื่อว่า 'มจฺโจ' เพราะความเป็นผู้มีอันจะพึงตายเป็นสภาพ ควรทำ

กุศล ต่างด้วยกุศลมีการถวายจีวรเป็นต้นไว้ให้มาก. ศัพท์คือ ปุปฺผราสิ

ในพระคาถานั้น มีอันแสดงดอกไม้มากเป็นอรรถ.

ก็ถ้าดอกไม้มีน้อย และนายมาลาการฉลาด ก็ย่อมไม่อาจทำพวง

ดอกไม้ให้มากได้เลย; ส่วนนายมาลาการผู้ไม่ฉลาด เมื่อดอกไม้จะมีน้อย

ก็ตาม มากก็ตาม ย่อมไม่อาจโดยแท้; แต่เมื่อดอกไม้มีมาก นายมาลา-

การผู้ฉลาด ขยัน เฉียบแหลม ย่อมทำพวกดอกไม้ให้มาก ฉันใด; ถ้า

ศรัทธาของคนบางคนมีน้อย ส่วนโภคะมีมาก ผู้นั้นย่อมไม่อาจทำ

กุศลให้มากได้ , ก็แล เมื่อศรัทธามีน้อยทั้งโภคะก็น้อย. เขาก็ย่อมไม่อาจ;

ก็แล เมื่อศรัทธาโอฬาร แต่โภคะน้อย เขาก็ย่อมไม่อาจเหมือนกัน,

๑. อรรถกถา เป็นมาลาคุเณ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 115

ก็แต่เมื่อมีศรัทธาโอฬาร และโภคะก็โอฬาร เขาย่อมอาจทำกุศลให้มาก

ได้ ฉันนั้น นางวิสาขาอุบาสิกาเป็นผู้เช่นนั้นแล, พระศาสดา ทรง

หมายนางวิสาขานั้น จึงตรัสคำเป็นพระคาถาดังนี้ว่า:-

"นายมาลาการพึงทำพวงดอกไม้ให้มาก จาก

กองดอกไม้ แม้ฉันใด; มัจจสัตว์ผู้มีอันจะพึงตาย

เป็นสภาพ ควรทำกุศลไว้ให้มาก ฉันนั้น."

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากได้เป็นอริยบุคคล มีโสดาบัน

เป็นต้น, เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องนางวิสาขา จบ.

บาทพระคาถาว่า อติตฺตเยว กาเมสุ ความว่า ผู้ไม่อิ่มในวัตถุ-

กามและกิเลสกามทั้งหลายนั่นแล ด้วยการแสวงหาบ้าง ด้วยการได้เฉพาะ

บ้าง ด้วยการใช้สอยบ้าง ด้วยการเก็บไว้บ้าง.

บาทพระคาถาว่า อนฺตโก กุรุเต วส ความว่า มัจจุผู้ทำซึ่ง

ที่สุด กล่าวคือมรณะ พานระผู้คร่ำครวญ ร่ำไร ไปอยู่ ให้ถึงอำนาจ

ของตน.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้น, เทศนาเป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องนางปติปูชิกา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 116

๙. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ [๔๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี เมื่อจะทรงแก้ปัญหา

ของพระอานนทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ปุปฺผคนฺโธ

ปฏิวาตเมติ" เป็นต้น.

พระอานนท์เถระทูลถามปัญหา

ดังได้สดับมา พระเถระหลีกเร้นแล้วในเวลาเย็น คิดว่า "พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตรัสกลิ่นสูงสุดไว้ ๓ อย่าง คือ 'กลิ่นเกิดจากราก กลิ่นเกิด

จากแก่น กลิ่นเกิดจากดอก, กลิ่นของคันธชาตเหล่านั้นฟุ้งไปได้ตามลม

เท่านั้น ไปทวนลมไม่ได้; กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปได้แม้ทวนลม

คันธชาตนั้น มีอยู่หรือหนอแล ?" ครั้งนั้น ท่านได้มีความคิดนี้ว่า

"ประโยชน์อะไรของเราด้วยปัญหาที่จะวินิจฉัยด้วยตนเอง, เราจักทูลถาม

พระศาสดานั่นแหละ (ดีกว่า) " ท่านเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถาม.

เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวไว้ว่า "ครั้งนั้นแล

ท่านพระอานนท์ ออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น, เข้าไปเฝ้าโดยทิสาภาค

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่. ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "พระเจ้าข้า กลิ่นของคันธชาตเหล่าใดฟุ้งไปตามลม

อย่างเดียว ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้, คันธชาตเหล่านี้มี ๓ อย่าง. คันธชาต ๓

อย่างเป็นไฉน ? พระเจ้าข้า กลิ่นของคันธชาตเหล่าใด ฟุ้งไปตามลม

๑. อัง. ติก. ๒๐/๒๙๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 117

อย่างเดียว ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้, คันธชาต ๓ อย่างเหล่านี้แล คือ กลิ่น

เกิดจากราก, กลิ่นเกิดจากแก่น, กลิ่นเกิดจากดอก. พระเจ้าข้า กลิ่น

ของคันธชาตใด ฟุ้งไปตามลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปทวนลม

ก็ได้. กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้, คันธชาตนั้น

บางอย่าง มีอยู่หรือหนอแล ?"

พระศาสดาทรงเฉยปัญหา

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงเฉลยปัญหาแก่ท่าน จึงตรัสว่า

" อานนท์ กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปตามลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาตใด

ฟุ้งไปทวนลมก็ได้, กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้,

คันธชาตนั้น มีอยู่."

พระอานนท์. พระเจ้าข้า ก็กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปตามลม

ก็ได้. กลิ่นของคันธชาตใด ฟุ้งไปทวนลมก็ได้. กลิ่นของคันธชาตใด

ฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้, คันธชาตนั้นเป็นไฉน ?

พระศาสดา ตรัสว่า "อานนท์ หญิงก็ตาม ชายก็ตาม ในบ้าน

หรือในนิคมใด ในโลกนี้ เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง, เป็นผู้ถึง

พระธรรมว่าเป็นที่พึ่ง, เป็นผู้ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง; เป็นผู้งดเว้นจากการ

ทำสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วง. เป็นผู้งดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้.

เป็นผู้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม เป็นผู้งดเว้นจากการกล่าวเท็จ.

เป็นผู้งดเว้นจากฐานะเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท คือการดื่มน้ำเมา ได้แก่

สุราและเมรัย; เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม; มีใจมีความตระหนี่เป็นมลทิน

ไปปราศแล้ว มีเครื่องบริจาคอันสละแล้ว มีฝ่ามืออันล้างแล้ว ยินดีใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 118

การสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน ย่อมอยู่ครอบครองเรือน,

สมณะและพราหมณ์ในทิศทั้งหลาย ย่อมกล่าว (สรรเสริญ) เกียรติคุณ

ของหญิงและชายนั้นว่า 'หญิงหรือชายในนิคมชื่อโน้น เป็นผู้ถึงพระ-

พุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง, ฯลฯ ยินดีในการจำแนกทาน.' แม้เทวดาทั้งหลาย

ย่อมกล่าว (สรรเสริญ) เกียรติคุณของหญิงและชายนั้นว่า หญิงหรือ

ชายในบ้านหรือนิคมชื่อโน้น เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นที่พึ่ง, ฯ ลฯ

ยินดีในการจำแนกทาน.' อานนท์ นี้แล เป็นคันธชาตมีกลิ่นฟุ้งไปตาม

ลมก็ได้. มีกลิ่นฟุ้งไปทวนลมก็ได้, มีกลิ่นฟุ้งไปตามลมและทวนลมก็ได้"

ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านั้นว่า :-

๙. น ปุปฺผคนฺโธ ปฏิวาตเมติ

น จนฺทน ตครมลฺลิกา วา

สตญฺจ คนฺโธ ปฏิวาตเมติ

สพฺพา ทิสา สปฺปุริโส ปวายติ.

จนฺทน ตคร วาปิ อุปฺปล อถ อสฺสิกี

เอเตส คนฺธชาตาน สีลคนฺโธ อนุตฺตโร.

"กลิ่นดอกไม้ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้, กลิ่นจันทน์

หรือกลิ่นกฤษณาและกลัมพักก็ฟุ้งไปไม่ได้, แต่กลิ่น

ของสัตบุรุษฟุ้งไปทวนลมได้, (เพราะ) สัตบุรุษ

ย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทุกทิศ, กลิ่นจันทน์ก็ดี แม้กลิ่น

กฤษณาก็ดี กลิ่นอุบลก็ดี กลิ่นดอกมะลิก็ดี, กลิ่น

ศีลเป็นเยี่ยม กว่าคันธชาตทั้งหลายนั่น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 119

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ปุปฺผคนฺโธ ความว่า ต้นปาริฉัตร

ในภพชื่อดาวดึงส์ โดยด้านยาวและด้านกว้าง มีประมาณ (ด้านละ)

๑๐๐ โยชน์, รัศมีดอกไม้ของต้นปาริฉัตรนั้นแผ่ออกไปตลอด ๕๐ โยชน์,

กลิ่นฟุ้งไปได้ ๑๐๐ โยชน์. แม้กลิ่นนั้น ก็ฟุ้งไปได้ตามลมเท่านั้น. แต่

หาสามารถฟุ้งไปทวนลมได้แม้ ( เพียง) ครึ่งองคุลีไม่. กลิ่นดอกไม้

แม้เห็นปานนี้ ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้. บทว่า จนฺทน ได้แก่ กลิ่นจันทน์.

ด้วยบทว่า ตครมลฺลิกา วา นี้ ทรงพระประสงค์กลิ่นของคันธชาต

แม้เหล่านั้นเหมือนกัน. แท้จริง กลิ่นของจันทน์แดงก็ดี ของกฤษณาและ

กลัมพักก็ดี ซึ่งเป็นยอดแห่งกลิ่นที่เกิดจากแก่นทั้งหลาย ย่อมฟุ้งไปได้

ตามลมเท่านั้น ฟุ้งไปทวนลมไม่ได้. สองบทว่า สตญฺจ คนฺโธ ความว่า

ส่วนกลิ่นศีลของสัตบุรุษ คือของพระพุทธเจ้าและพระสาวกทั้งหลาย ย่อม

ฟุ้งไปทวนลมได้.

ถามว่า เพราะเหตุไร ?

แก้ว่า เพราะสัตบุรุษย่อมฟุ้งขจรไปตลอดทุกทิศ. อธิบายว่า

เพราะสัตบุรุษย่อมฟุ้งปกคลุมไปตลอดทุกทิศด้วยกลิ่นศีล; ฉะนั้น สัตบุรุษ

อันบัณฑิตควรกล่าวได้ว่า "กลิ่นของท่านฟุ้งไปทวนลมได้" เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า " ปฏิวาตเมติ." บทว่า วสฺสิกี ได้แก่

ดอกมะลิ.

บทว่า เอเตส เป็นต้น ความว่า กลิ่นศีลของสัตบุรุษผู้มีศีลนั่นแล

เป็นกลิ่นยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นแห่งคันธชาต มีจันทน์ (แดง ) เป็นต้นเหล่านี้

คือหากลิ่นที่เหมือนไม่มี ได้แก่ไม่มีส่วนเปรียบเทียบได้.

๑. กลิ่นกฤษณาและดอกมะลิ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 120

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น, เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 121

๑๐. เรื่องถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ [๔๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภการถวาย

บิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมตฺโต

อย คนฺโธ" เป็นต้น.

นางอัปสรอยากทำบุญแต่ไม่สมหวัง

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระเถระออกจากนิโรธสมาบัติ โดย

ล่วงไป ๗ วัน ออกไปแล้ว ด้วยคิดว่า "จักเที่ยวบิณฑบาต ตาม

ลำดับตรอก ในกรุงราชคฤห์." ในสมัยนั้น นางอัปสรประมาณ ๕๐๐

มีเท้าเหมือนเท้านกพิราบ เป็นบริจาริกา ของท้าวสักกเทวราช เกิดความ

อุตสาหะว่า " จักถวายบิณฑบาตแก่พระเถระ" จึงตระเตรียมบิณฑบาต

๕๐๐ ที่ แล้วถือมายืนอยู่ในระหว่างทาง กล่าวว่า " นิมนต์รับบิณฑบาตนี้

เจ้าข้า, โปรดทำความสงเคราะห์แก่พวกดิฉันเถิด."

พระเถระ พวกเจ้าจงไปเสียเถิด, ฉันจักทำความสงเคราะห์พวกคน

เข็ญใจ.

นางอัปสร. ขอท่านอย่าให้พวกดิฉันฉิบหายเสียเลย เจ้าข้า, โปรด

ทำความสงเคราะห์พวกดิฉันเถิด.

พระเถระรู้แล้ว จึงห้ามเสียอีก แล้วดีดนิ้ว ( บอก) นาง

อัปสรทั้งหลายผู้ไม่ปรารถนาจะหลีกไปยังอ้อนวอนอยู่ว่า "พวกเจ้าไม่รู้จัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 122

ประมาณตัว, จงหลีกไป." นางอัปสรเหล่านั้น ฟังเสียงนิ้วมือของพระเถระ

แล้ว ไม่อาจเพื่อจะยืนขัดแข็งอยู่ได้ จึงหนีไปยังเทวโลกตามเดิม อันท้าว-

สักกะตรัสถามว่า "พวกหล่อนไปไหนกันมา" จึงทูลว่า "หม่อมฉัน

พากันไปด้วยหมายว่า จักถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ ผู้ออก

จากสมาบัติ พระเจ้าข้า.

สักกะ. ก็พวกหล่อนถวายแล้วหรือ ?

นางอัปสร. พระเถระไม่ปรารถนาจะรับ.

สักกะ. พระเถระพูดอย่างไร ?

นางอัปสร. " ท่านพูดว่า จักทำความสงเคราะห์พวกคนเข็ญใจ'

พระเจ้าข้า.

สักกะ. พวกหล่อนไปกันด้วยอาการอย่างไร ?

นางอัปสร. ไปด้วยอาการนี้แล พระเจ้าข้า.

ท้าวสักกะแปลงตัวทำบุญแก่พระเถระ

ท้าวสักกะ ตรัสว่า "หญิงเช่นพวกหล่อน จักถวายบิณฑบาต

แก่พระเถระได้อย่างไร?" ประสงค์จะถวายด้วยพระองค์เอง จึงแปลง

เป็นคนแก่คร่ำคร่าด้วยอำนาจชรา มีฟันหัก มีผมหงอก หลังโกง เป็น

ช่างหูกผู้เฒ่า ทรงทำแม้นางสุชาดาผู้เทพธิดา ให้เป็นหญิงแก่ เหมือน

อย่างนั้นนั่นแล แล้วทรงนิรมิตถนนช่างหูกขึ้นสายหนึ่งประทับขึงหูกอยู่.

ฝ่ายพระเถระ เดินบ่ายหน้าเข้าเมือง ด้วยหวังว่า "จักทำความ

สงเคราะห์พวกคนเข็ญใจ" เห็นถนนสายนั้น นอกเมืองนั้นแล แลดูอยู่

ก็ได้เห็นคน ๒ คน. ในขณะนั้น ท้าวสักกะกำลังขึงหูก, นางสุชาดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 123

กรอหลอด. พระเถระคิดว่า " สองคนนี้ แม้ในเวลาแก่ก็ยังทำงาน,

ในเมืองนี้ผู้ที่จะเข็ญใจกว่าสองคนนี้เห็นจะไม่มี, เราจักรับภัตแม้ประมาณ

กระบวนหนึ่งที่สองคนนี้ถวายแล้ว ทำความสงเคราะห์แก่คนสองคนนี้."

พระเถระได้บ่ายหน้าไปตรงเรือนของตนทั้งสองนั้นแล.

ท้าวสักกะ ทอดพระเนตรเห็นพระเถระนั้นมาอยู่ จึงตรัสกะนาง

สุชาดาว่า "หล่อน พระผู้เป็นเจ้าของเรา เดินมาทางนี้, เธอจงนั่งทำ

เป็นเหมือนไม่เห็นท่านเสีย, ฉันจักลวงท่านสักครู่หนึ่ง แล้วจึงถวาย

บิณฑบาต." พระเถระได้มายืนอยู่ที่ประตูเรือนแล้ว. แม้สองผัวเมียนั้น

ก็ทำเป็นเหมือนไม่เห็น ทำแต่การงานของตนฝ่ายเดียว คอยอยู่หน่อยหนึ่ง

แล้ว . ครั้งนั้น ท้าวสักกะตรัสว่า "ที่ประตูเรือนดูเหมือน (มี)

พระเถระยืนอยู่รูปหนึ่ง, เธอจงไปตรวจดูก่อน." นางสุชาดาตอบว่า

"ท่านจงไปตรวจดูเถอะ นาย." ท้าวเธอเสด็จออกจากเรือนแล้ว, ทรง

ไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว. เอาพระหัตถ์ทั้งสองเท้าพระชานุ

แล้ว ถอนใจ เสด็จลุกขึ้น. ย่อพระองค์ลงหน่อยหนึ่ง ตรัสว่า "พระ-

ผู้เป็นเจ้า เป็นพระเถระรูปไหนหนอแล ?" แล้วตรัสว่า "ตาของผม

ฝ้าฟาง" ดังนี้แล้ว, ทรงวางพระหัตถ์ไว้เหนือพระนลาต (ป้องหน้า)

ทรงแหงนดูแล้ว, ตรัสว่า " โอ ตายจริง !, พระผู้เป็นเจ้า พระมหา-

กัสสปเถระของเรา นาน ๆ จึงมายังประตูกระท่อมของเรา, มีอะไรอยู่

ในเรือนบ้างไหม ?" นางสุชาดาทำเป็นกุลีกุจออยู่หน่อยหนึ่งแล้ว ได้ให้

คำตอบว่า " มี นาย" ท้าวสักกะ ตรัสว่า "ท่านเจ้าข้า พระคุณเจ้า

อย่าคิดเลยว่า 'ทานเศร้าหมอง หรือประณีต' โปรดทำความสงเคราะห์

แก่กระผมทั้งสองเถิด" ดังนี้แล้ว ก็ทรงรับบาตรไว้, พระเถระคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 124

" ทานที่สองผัวเมียนั่นถวายแล้ว จะเป็นน้ำผักดองหรือรำกำมือหนึ่งก็ตามที,

เราจักทำความสงเคราะห์แก่สองผัวเมียนั้น" ดังนี้แล้ว จึงได้ให้บาตรไป.

ท้าวสักกะนั้น เสด็จเข้าไปภายในเรือนแล้ว ทรงคดข้าวสุกออกจากหม้อ

ใส่เต็มบาตรแล้ว มอบถวายในมือพระเถระ. บิณฑบาตนั้นได้มีสูปพยัญชนะ

มากมาย ได้หอมตลบทั่วกรุงราชคฤห์แล้ว.

ท้าวสักกะตรัสบอกความจริงแก่พระเถระ

ในกาลนั้น พระเถระคิดว่า "ชายนี้ มีศักดิ์น้อย, บิณฑบาต

มีศักดิ์มาก เช่นกับโภชนะของท้าวสักกะ, นั่น ใครหนอ ?" ครั้งนั้น

พระเถระ ทราบชายนั้นว่า " ท้าวสักกะ" จึงกล่าวว่า "พระองค์ทรง

แย่งสมบัติของคนเข็ญใจ ( จัดว่า ) ทำกรรมหนักแล้ว . ใคร ๆ ก็ตาม

ที่เป็นคนเข็ญใจ ถวายทานแก่อาตมภาพในวันนี้ พึงได้ตำแหน่งเสนาบดี

หรือตำแหน่งเศรษฐี."

สักกะ. ผู้ที่เข็ญใจไปกว่ากระผม ไม่มีเลย ขอรับ.

พระเถระ, พระองค์เสวยสิริราชสมบัติในเทวโลก จะจัดว่าเป็นคน

เข็ญใจ เพราะเหตุไร ?

สักกะ. อย่างที่พระผู้เป็นเจ้าว่า ก็ถูกละ ขอรับ. แต่เมื่อพระ-

พุทธเจ้า ยังมิทรงอุบัติ, กระผมได้ทำกัลยาณกรรมไว้. เมื่อพุทธุปบาทกาล

ยังเป็นไปอยู่, เทพบุตรผู้มีศักดิ์เสมอกัน ๓ องค์เหล่านี้ คือ จูฬรถเทพบุตร,

มหารถเทพบุตร, อเนกวัณณเทพบุตรทำกัลยาณกรรมแล้ว ได้เกิดในที่

ใกล้ของกระผม มีเดชมากกว่ากระผม; ก็กระผม เมื่อเทพบุตรทั้งสามนั้น

พาพวกบริจาริกาลงสู่ระหว่างถนน ด้วยคิดว่า 'จักเล่นนักขัตฤกษ์' ต้อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 125

หนีเข้าตำหนัก, เพราะเดชจากสรีระของเทพบุตรทั้งสามนั้น ท่วมทับ

สรีระของกระผม, เดชจากสรีระของกระผม ไม่ท่วมทับสรีระของเทพบุตร

ทั้งสามนั้น, ใครจะเข็ญใจกว่ากระผมเล่า ? ขอรับ.

พระเถระ. แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ตั้งแต่นี้ต่อไป พระองค์อย่าได้

ลวงถวายทานแก่อาตมภาพอย่างนั้น.

สักกะ. เมื่อกระผมลวงถวายทานแก่ท่าน, กุศลจะมีแก่กระผมหรือ

ไม่มี ?

พระเถระ. มี พระองค์.

สักกะ. เมื่อเป็นอย่างนั้น การทำกุศลกรรมก็จัดเป็นหน้าที่ของ

กระผมซิ ขอรับ.

ท้าวเธอตรัสอย่างนั้นแล้ว ทรงไหว้พระเถระ พานางสุชาดา

ทรงทำปทักษิณพระเถระแล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงเปล่งอุทานว่า :-

"โอ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้ง

ไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป."

มหากัสสสปเถรทานสูตร

เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า :-

" สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน กลันทก-

นิวาปสถาน ใกล้กรุงราชคฤห์. ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระมหากัสสป

อยู่ที่ปิปผลิคูหา, นั่งเข้าสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยบัลลังก์เดียว สิ้น ๗ วัน.

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสปโดยล่วง ๗ วันนั้นแล้วจึงออกจากสมาธินั้น,

๑. ขุ. อุ. ๒๕/๑๑๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 126

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป ผู้ออกจากสมาธินั้นแล้ว ได้มีความ

ปริวิตกอย่างนี้ว่า 'ไฉนหนอ ? เราพึงเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต."

ก็โดยสมัยนั้นแล เทวดา ประมาณ ๕๐๐ ถึงความขวนขวาย เพื่อจะให้

ท่านพระมหากัสสปได้บิณฑบาต. ครั้งนั้นแล ท่านมหากัสสป ห้ามเทวดา

ประมาณ ๕๐๐ เหล่านั้นแล้ว ในเวลาเช้า นุ่ง ( สบง) แล้ว ถือบาตร

และจีวร เข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ เพื่อบิณฑบาต. ก็โดยสมัยนั้นแล ท้าว-

สักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ทรงประสงค์จะถวายบิณฑบาตแก่ท่าน

พระมหากัสสป ทรงนิรมิตเป็นช่างหูก ทอหูกอยู่. อสุรกัญญา นามว่า

สุชาดา กรอหลอด.

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป, ที่ประทับอยู่ของท้าวสักกะ

ผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า มีอยู่โดยทิศาภาคใด, เข้าไปหาแล้ว โดย

ทิศาภาคนั้น; ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ได้ทอดพระเนตร

เห็นแล้วแล ซึ่งท่านพระมหากัสสปกำลังเดินมา แต่ที่ไกลเทียว, ครั้น

ทอดพระเนตรเห็นแล้ว เสด็จออกจากเรือน ทรงต้อนรับ รับบาตรจาก

มือ เสด็จเข้าไปสู่เรือน คดข้าวสุกจากหม้อ ใส่เต็มบาตรแล้ว ได้ถวาย

แก่ท่านพระมหากัสสป. บิณฑบาตนั้น ได้มีกับมากมาย มีแกงเหลือหลาย.

ครั้งนั้นแล ท่านพระมหากัสสป ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า " สัตว์ผู้มี

ฤทธิ์มีอานุภาพเห็นปานนี้นี่ คือใครกันหนอ ?. ครั้งนั้นแล ท่านพระ-

มหากัสสป ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า "นี้ คือท้าวสักกะ ผู้เป็นจอม

แห่งเหล่าเทพเจ้าแล." ครั้นทราบแล้ว ได้กล่าวคำนี้กะท้าวสักกะ

ผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้าว่า "ท้าวโกสีย์ กรรมนี้ อันพระองค์ทรง

ทำแล้ว, พระองค์อย่าได้ทรงทำกรรมเห็นปานนี้อีกเลย." ท้าวสักกะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 127

ตรัสว่า "ท่านกัสสป ผู้เจริญ แม้พวกผมก็ต้องการบุญ, แม้พวกผมก็

ควรทำบุญ." ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทพเจ้า อภิวาท

ท่านพระมหากัสสปแล้ว ทรงทำปทักษิณ เหาะขึ้นสู่เวหาส ทรงเปล่ง

อุทาน ๓ ครั้ง ในอากาศกลางหาวว่า :-

"โอ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดี

แล้วในท่านพระกัสสป, โอ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม

เราได้ตั้งไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป, โอ ทานที่เป็น

ทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป."

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับยืนอยู่ในพระวิหารนั่นแล ได้ทรงสดับ

เสียงของท้าวสักกะนั้น จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอจงดูท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ทรงเปล่ง

อุทาน เสด็จไปทางอากาศ."

ภิกษุ. ก็ท้าวสักกะนั้น ทำอะไร ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ท้าวเธอลวงถวายบิณฑบาตแก่กัสสปผู้บุตรของเรา,

ครั้นถวายบิณฑบาตนั้นแล้ว ดีพระทัย พลางทรงเปล่งอุทานไป.

ภิกษุ. ท้าวเธอทราบได้อย่างไรว่า "ถวายบิณฑบาตแก่พระเถระ

ควร พระเจ้าข้า?"

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ทั้งเหล่าเทพเจ้า ทั้งเหล่ามนุษย์

ย่อมพอใจ ภิกษุผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ชื่อว่าเช่นบุตรของเรา"

ดังนี้แล้ว แม้พระองค์เองก็ทรงเปล่งอุทานแล้ว.

ก็ในพระสูตร คำมาแล้วเท่านี้นั่นเทียวว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 128

ทรงสดับแล้วแล ซึ่งเสียงของท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพเจ้า ผู้เหาะขึ้น

สู่เวหาส ทรงเปล่งอุทาน ๓ ครั้ง ในอากาศกลางหาวว่า :-

" โอ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดี

แล้วในท่านพระกัสสป, โอ ทานที่เป็นทานอย่างเยี่ยม

เราได้ตั้งไว้ดีแล้ในท่านพระกัสสป, โอ ทานที่เป็น

ทานอย่างเยี่ยม เราได้ตั้งไว้ดีแล้วในท่านพระกัสสป."

ด้วยพระโสตธาตุอันเป็นทิพย์ หมดจด ล่วงเสียซึ่งโสตของมนุษย์."

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรง

เปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า:-

" เทวดาและมนุษย์ ย่อมพอใจ แก่ภิกษุผู้ถือ

การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ผู้เลี้ยงตัวเอง มิใช่เลี้ยง

ผู้อื่น ผู้มั่นคง ผู้เข้าไปสงบแล้ว มีสติทุกเมื่อ."

ก็แลครั้นทรงเปล่งอุทานนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะ

ผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ได้เสด็จมาถวายบิณฑบาตแก่บุตรของเรา

เพราะกลิ่นศีล " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๐. อปฺปมตฺโต อย คนฺโธ ยวาย ตครจนฺทนี

โย จ สีลวต คนฺโธ วาติ เทเวสุ อุตฺตโม.

" กลิ่นนี้ คือ กลิ่นกฤษณา และกลิ่นจันทน์

เป็นกลิ่นเพียงเล็กน้อย, ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลาย

เป็นกลิ่นชั้นสูง ย่อมหอมฟุ้งไป ในเทพเจ้าและ

เหล่ามนุษย์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 129

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺโต คือ มีประมาณนิดหน่อย.

สองบทว่า โย จ สีลวต ความว่า ส่วนกลิ่นศีล ของผู้มีศีลทั้งหลาย

ใด. กลิ่นศีลนั้น หาเป็นกลิ่นเล็กน้อย เหมือนกลิ่นในกฤษณาและ

จันทน์แดงไม่ คือเป็นกลิ่นอันโอฬาร แผ่ซ่านไปเหลือเกิน, ด้วยเหตุ

นั้นแล กลิ่นศีล จึงเป็นกลิ่นสูงสุด คือประเสริฐ เลิศ ฟุ้งไปใน

เหล่าเทพเจ้าและเหล่ามนุษย์ คือฟุ้งไปในเหล่าเทพเจ้า และเหล่ามนุษย์

ได้แก่หอมตลบทั่วไปทีเดียว.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น. เทศนาเกิดประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องถวายบิณฑบาตแก่พระมหากัสสปเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 130

๑๑. เรื่องปรินิพพานของพระโคธิกเถระ [๔๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระ-

เวฬุวัน ทรงปรารภการปรินิพพานของพระโคธิกเถระ ตรัสพระธรรม-

เทศนานี้ว่า "เตส สมฺปนฺนสีลาน" เป็นต้น.

พระเถระคิดฆ่าตนเพราะเสื่อมจากฌาน

ความพิสดารว่า ท่านผู้มีอายุนั้น อยู่ใกล้ถ้ำกาฬสิลาข้างภูเขาอิสิคิลิ

เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ถูกต้องเจโตวิมุตติ

อันเกิดขึ้นในสมัย (เกิดเป็นครั้งคราว) เสื่อมจากเจโตวิมุตตินั้น ด้วย

อำนาจแห่งโรคชนิดหนึ่งอันเรื้อรัง. ท่านยังฌานที่ ๒ บ้าง ที่ ๓ บ้าง

ให้เกิดขึ้นถึง ๖ ครั้ง แล้วก็เสื่อม ในวาระที่ ๗ ให้เกิดขึ้นแล้ว คิดว่า

"เราเสื่อมจากฌานถึง ๖ ครั้งแล้ว, ก็คติของผู้มีฌานเสื่อมแล้วแล ไม่แน่-

นอน, คราวนี้แล เราจักนำศัสตรามา" ดังนี้แล้ว จึงถือมีดสำหรับ

ปลงผม นอนบนเตียงน้อย เพื่อจะตัดก้านคอแล้ว.

มารทูลให้พระศาสดาทรงทราบ

มารรู้จิตของท่านแล้วคิดว่า "ภิกษุนี้ ใคร่จะนำศัสตรามา;

ก็แล ภิกษุทั้งหลายเมื่อนำศัสตรามา ย่อมเป็นผู้หมดความอาลัยในชีวิต,

ภิกษุเหล่านั้นเริ่มตั้งวิปัสสนาแล้ว ย่อมบรรลุพระอรหัตได้, ถ้าเราจักห้าม

ภิกษุนั้น; เธอจักไม่ทำตามคำของเรา, เราจักทูลให้พระศาสดาห้าม"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 131

ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ด้วยเพศที่คนอื่นไม่รู้จัก กราบทูล

อย่างนั้นว่า:-

"ข้าแต่พระมหาวีระ ผู้มีบุญมาก รุ่งเรื่องด้วย

ฤทธิ์ ด้วยยศ ล่วงเสียได้ซึ่งเวรและภัยทั้งปวง

ผู้มีจักษุ ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระบาททั้งสอง.

ข้าแต่พระมหาวีระ สาวกของพระองค์ อันความตาย

ครอบงำ ย่อมจำนง คิดถึงความตาย, ข้าแต่พระองค์

ผู้ทรงไว้ซึ่งความรุ่งเรื่อง ขอพระองค์จงทรงห้ามพระ-

สาวกนั้น, ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปรากฏในหมู่ชน

สาวกของพระองค์ยินดีแล้วในศาสนา (แต่) มีธรรม

มีในใจยังมิได้บรรลุ ยังเป็นผู้จะต้องศึกษา จะพึงทำ

กาละเสียอย่างไรเล่า ?"

มารแสวงหาวิญญาณของพระโคธิกะ

ในขณะนั้น พระเถระนำศัสตรามาแล้ว. พระศาสดาทรงทราบว่า

" ผู้นี้ เป็นมาร " จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

"ปราชญ์ทั้งหลายย่อมทำอย่างนั้นแล ย่อมไม่

จำนงชีวิต, โคธิกะ ถอนตัณหาขึ้นพร้อมทั้งราก

ปรินิพพานแล้ว."

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จไปสู่ที่พระเถระนำศัสตรา

มานอนอยู่แล้ว พร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก. ขณะนั้น มารผู้ลามกคิดว่า

" ปฏิสนธิวิญญาณของพระโคธิกะนี้ ตั้งอยู่แล้วในที่ไหนหนอแล ?"

๑. ส. ส. ๑๕/๑๗๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 132

ดังนี้แล้ว เป็นดุจกลุ่มควันและก้อนเมฆ แสวงหาวิญญาณของพระเถระ

ในทิศทั้งปวง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงความที่มารนั้น เป็นควัน

และก้อนเมฆนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย มารผู้

ลามกนั่นแล แสวงหาวิญญาณของกุลบุตรชื่อโคธิกะอยู่ ด้วยคิดว่า

'วิญญาณของกุลบุตรชื่อโคธิกะตั้งอยู่แล้ว ณ ที่ไหน ?' ภิกษุทั้งหลาย

กุลบุตรชื่อโคธิกะมีวิญญาณไม่ตั้งอยู่เลย ปรินิพพานแล้ว." แม้มาร

เมื่อไม่อาจเห็นที่ตั้งวิญญาณของพระโคธิกะนั้นได้ จึงแปลงเพศเป็นกุมาร

ถือพิณมีสีเหลืองดุจผลมะตูม เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลถามว่า :-

" ข้าพระองค์เที่ยวแสวงหาอยู่ ในทิศเบื้องบน

เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ทิศใหญ่ ทิศน้อย ก็มิได้

ประสบ, พระโคธิกะนั้นไปแล้ว ณ ที่ไหน ?"

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะมารนั้นว่า :-

" ภิกษุชื่อโคธิกะ เป็นปราชญ์ สมบูรณ์ด้วย

ปัญญาเครื่องทรงจำ มีณาน ยินดีแล้วในณาน

ในกาลทุกเมื่อ ประกอบความเพียรทั้งกลางวัน

กลางคืน ไม่ไยดีชีวิต ชนะเสนาแห่งมัจจุได้แล้ว

ไม่มาสู่ภพอีก ถอนตัณหาพร้อมทั้งราก ปรินิพพาน

แล้ว. "

เมื่อพระศาสดาตรัสอย่างนั้นแล้ว, พิณได้พลัดตกจากรักแร้ของมาร

นั้น ผู้อันความโศกครอบงำ ลำดับนั้น ยักษ์นั้นเสียใจ ได้หายไปในที่นั้น

นั่นเอง ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 133

แม้พระศาสดา ตรัสว่า "มารผู้ลามก เจ้าต้องการอะไรด้วย

สถานที่กุลบุตรชื่อโคธิกะเกิดแล้ว. เพราะคนอย่างเจ้า ตั้งร้อย ตั้งพัน

ก็ไม่อาจจะเห็นที่ที่โคธิกะนั้นเกิด" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑๑. เตส สมฺปนฺนสีลาน อุปฺปมาทวิหาริน

สมฺมทญฺา วิมุตฺตาน มาโร มคฺค น วินฺทติ.

"มาร ย่อมไม่ประสบพางของท่านผู้มีศีลถึง

พร้อมแล้ว มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท พ้นวิเศษ

แล้ว เพราะรู้ชอบ เหล่านั้น.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เตส คือ แห่งท่านที่ปรินิพพาน

เหมือนอย่างกุลบุตรชื่อโคธิกะ มีวิญญาณไม่ตั้งอยู่ ปรินิพพานแล้วฉะนั้น

บทว่า สมฺปนฺนสีลาน คือ ผู้มีศีลบริบูรณ์แล้ว. บทว่า อปฺป-

มาทวิหาริน คือ ผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท กล่าวคือ ความไม่อยู่

ปราศจากสติ.

บาทพระคาถาว่า สมฺมทญฺา วิมุตฺตาน ความว่า ผู้พ้นวิเศษ

แล้ว ด้วยวิมุตติ ๕ เหล่านั้น คือ "ตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจ-

เฉทวิมุตติ ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ นิสสรณวิมุตติ" เพราะรู้โดยเหตุ คือโดย

นัย โดยการณ์.

บาทพระคาถาว่า มาโร มคิค น วินฺทติ ความว่า มารแม้

แสวงหาอยู่ โดยเต็มกำลัง ย่อมไม่ประสบ คือย่อมไม่ได้เฉพาะ ได้แก่

ย่อมไม่เห็น ทางแห่งพระมหาขีณาสพทั้งหลาย ผู้เห็นปานนี้ ไปแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 134

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้นแล้ว. เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องปรินิพพานของพระโคธิกเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 135

๑๒. เครื่องครหทินน์ [๔๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสาวกของ

นิครนถ์ ชื่อครหทินน์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถา สงฺการ-

ธานสฺมึ" เป็นต้น.

เป็นสหายกันแต่เลื่อมใสวัตถุไม่ตรงกัน

ความพิสดารว่า ในกรุงสาวัตถี ได้มีชนผู้เป็นสหายกันสองคน

คือ สิริคุตต์ ๑ ครหทินน์ ๑. ในสองคนนั้น สิริคุตต์เป็นอุบาสก,

ครหทินน์เป็นสาวกของนิครนถ์. พวกนิครนถ์ ย่อมกล่าวกะครหทินน์

นั้นเนือง ๆ อย่างนี้ว่า "การที่ท่านพูดกะสิริคุตต์ ผู้สหายของท่านว่า

ท่านเข้าไปหาพระสมณโคดมทำไม ? ท่านจักได้อะไร ในสำนักของ

พระสมณโคดมนั้น ? ' ดังนี้แล้ว กล่าวสอนโดยอาการที่สิริคุตต์เข้ามาหา

พวกเราแล้ว จักให้ไทยธรรมแก่พวกเรา จะไม่ควรหรือ ?" ครหทินน์

ฟังคำของนิครนถ์เหล่านั้นแล้ว ก็หมั่นไปพูดกะสิริคุตต์" ในที่ที่เขายืน

และนั่งแล้วเป็นต้น อย่างนี้ว่า "สหาย ประโยชน์อะไรของท่านด้วย

พระสมณโคดมเล่า ? ท่านเข้าไปหาพระสมณโคดมนั้นจักได้อะไร ? การ

ที่ท่านเข้าไปหาพระผู้เป็นเจ้าของเราแล้ว ถวายทานแก่พระผู้เป็นเจ้า

เหล่านั้น จะไม่ควรหรือ ?" สิริคุตต์แม้ฟังคำของครหทินน์นั้น ก็นิ่งเฉย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 136

เสียหลายวัน รำคาญแล้ว วันหนึ่งจึงพูดว่า "เพื่อน ท่านหมั่นมาพูด

กะเราในที่ที่ยืนแล้วเป็นต้น อย่างนี้ว่า 'ท่านไปหาพระสม โคคมแล้ว

จักได้อะไร ? ท่านจงเข้าไปหาพระผู้เป็นเจ้าของเรา ถวายทานแก่พระผู้

เป็นเจ้าเหล่านั้น. ท่านจงบอกแก่เราก่อน. พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของท่าน

ย่อมรู้อะไร ?"

ครหทินน์. "โอ ! นาย ท่านอย่าพูดอย่างนี้ ขึ้นชื่อว่าสิ่งที่พระ-

ผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของเรา จะไม่รู้ไม่มี, พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ย่อมรู้เหตุ

ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบันทั้งหมด, กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม

ทั้งหมด, ย่อมรู้เหตุที่ควรและไม่ควรทั้งหมดว่า 'เหตุนี้ จักมี, เหตุนี้

จักไม่มี.'

สิริคุตต์. ท่านพูดว่า 'พระผู้เป็นเจ้าของท่าน ย่อมรู้' ดังนี้

มิใช่หรือ ?

ครหทินน์. ข้าพเจ้าพูดอย่างนั้น.

สิริคุตต์. ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น, ท่านไม่บอกเนื้อความนี้แก่ข้าพเจ้า

ตลอดกาลประมาณเท่านี้ นับว่าทำกรรมหนักแล้ว, วันนี้ ข้าพเจ้าทราบ

อานุภาพแห่งญาณของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายแล้ว, จงไปเถิดสหาย, จง

นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ตามคำของข้าพเจ้า.

ครหทินน์นั้นไปสำนักของพวกนิครั้นถ์ ไหว้นิครนถ์เหล่านั้นแล้ว

กล่าวว่า " สิริคุตต์สหายของข้าพเจ้า นิมนต์เพื่อฉันวันพรุ่งนี้."

นิครนถ์. สิริคุตต์พูดกะท่านเองหรือ ?

ครหทินน์. อย่างนั้น พระผู้เป็นเจ้า.

นิครนถ์เหล่านั้นร่าเริงยินดีแล้ว กล่าวแล้วว่า " กิจของพวกเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 137

สำเร็จแล้ว, จำเดิมแต่กาลที่สิริคุตต์เลื่อมใสในพวกเราแล้ว สมบัติชื่อ

อะไร จักไม่มีแก่พวกเรา ?" ที่อยู่ แม้ของสิริคุตต์ก็ใหญ่.

สิริคุตต์เตรียมรับรองนิครนถ์

สิริคุตต์นั้น ให้คนขุดหลุมยาว ๒ ข้าง ในระหว่างเรือน ๒ หลัง

นั้นแล้ว ก็ให้เอาคูถเหลวใส่จนเต็ม, ให้ตอกหลักไว้ในที่สุด ๒ ข้าง

ภายนอกหลุม ให้ผูกเชือกไว้ที่หลักเหล่านั้น ให้ตั้งเท้าหน้าของอาสนะ

ทั้งหลายไว้บนเบื้องบนหลุม ให้ตั้งเท้าหลังไว้ที่เชือก สำคัญอยู่ว่า "ใน

เวลาที่นั่งแล้วอย่างนั้นแล พวกนิครนถ์จักมีหัวปักตกลง." ให้คนลาด

เครื่องลาดไว้เบื้องบนอาสนะทั้งหลาย โดยอาการที่หลุมจะไม่ปรากฏ. ให้

คนล้างตุ่มใหญ่ ๆ แล้ว ให้ผูกปากด้วยใบกล้วยและผ้าเก่า ทำตุ่มเปล่า

เหล่านั้นแล ให้เปื้อนด้วยเมล็ดข้าวต้ม ข้าวสวย เนยใส น้ำอ้อยและขนม

ในภายนอกแล้ว ให้ตั้งไว้ข้างหลังเรือน.

ครหทินน์รีบไปเรือนของสิริคุตต์นั้นแต่เช้าตรู่แล้ว ถามว่า "ท่าน

จัดแจงสักการะเพื่อพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายแล้วหรือ ?"

สิริคุตต์. เออ สหาย ข้าพเจ้าจัดแจงแล้ว.

ครหทินน์. ก็สักการะนั่นอยู่ไหน ?

สิริคุตต์. ข้าวต้มในตุ่มทั้งหลายนั่นประมาณเท่านี้, ข้าวสวยในตุ่ม

ประมาณเท่านี้, เนยใส น้ำอ้อย ขนม เบื้องต้น ในตุ่มประมาณเท่านี้

อาสนะปูไว้แล้ว.

ครหทินน์นั้นกล่าวว่า " ดีละ" แล้วก็ไป. ในเวลาที่ครหทินน์

นั้นไปแล้ว พวกนิครนถ์ประมาณ ๕๐๐ ก็มา. สิริคุตต์ออกจากเรือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 138

ไหว้พวกนิครนถ์ด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว ยืนประคองอัญชลีอยู่

เบื้องหน้าของนิครนถ์เหล่านั้น คิดว่า "นัยว่า ท่านทั้งหลาย ย่อมรู้เหตุ

ทุกอย่าง ต่างโดยเป็นเหตุที่เป็นอดีตเป็นต้น. อุปัฏฐากของพวกท่าน

บอกแก่ข้าพเจ้าแล้วอย่างนั้น ถ้าพวกท่าน ย่อมรู้เหตุทั้งหมด, พวกท่าน

อย่าเข้าไปสู่เรือนของข้าพเจ้า เพราะเมื่อพวกท่านเข้าไปสู่เรือนของ

ข้าพเจ้าแล้ว ข้าวต้มไม่มีเลย ข้าวสวยเป็นต้นก็ไม่มี ถ้าพวกท่านไม่รู้ก็

จงเข้าไป, เราให้พวกท่านตกลงในหลุมคูถแล้ว จักให้ตี," ครั้นคิด

อย่างนั้นแล้ว จึงให้สัญญาแก่พวกบุรุษว่า "พวกท่านรู้ภาวะคือการนั่ง

ของนิครนถ์เหล่านั้นแล้ว ยืนอยู่ข้างหลัง พึงนำเครื่องลาดในเบื้องบน

แห่งอาสนะทั้งหลายออกเสีย อาสนะเหล่านั้นอย่าเปื้อนแล้วด้วยของไม่

สะอาดเลย." ครั้งนั้น สิริคุตต์ พูดกะพวกนิครนถ์ว่า "นิมนต์มา

ข้างนี้เถิด ขอรับ." พวกนิครนถ์เข้าไปแล้วก็ปรารภเพื่อจะนั่งบนอาสนะ

ที่เขาปูไว้. ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายกล่าวกะนิครนถ์เหล่านั้นว่า "จงรอ

ก่อน ขอรับ, จงอย่านั่งก่อน."

นิครนถ์. เพราะอะไร ?

มนุษย์. การที่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย เข้าไปสู่เรือนของพวก

ข้าพเจ้า รู้ธรรมเนียมแล้ว จึงนั่ง ย่อมสมควร.

นิครนถ์. ทำอย่างไร จึงสมควรเล่า ? ท่าน

มนุษย์. การที่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหมด ยืนอยู่ใกล้อาสนะที่ถึงแก่ตน ๆ

แล้ว นั่งลงพร้อมกันทีเทียว จึงควร.

ได้ยินว่า สิริคุตต์นั้นให้ทำพิธีนี้ ก็ด้วยคิดว่า "เมื่อนิครนถ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 139

คนหนึ่ง ตกลงในหลุมแล้ว, นิครนถ์ที่เหลือ อย่านั่งแล้ว." นิครนถ์

เหล่านั้น กล่าวว่า "ดี" แล้วคิดว่า "การที่พวกเราทำตามถ้อยคำ

ที่คนพวกนี้บอกแล้ว สมควร."

พวกนิครนถ์ตกหลุมคูถ

ครั้งนั้น นิครนถ์ทั้งหมด ได้ยืนอยู่ใกล้อาสนะที่ถึงแล้วแก่ตน ๆ

โดยลำดับ. ลำดับนั้น พวกมนุษย์ กล่าวกะนิครนถ์เหล่านั้นว่า " พวก

ท่านจงรีบนั่งพร้อมกันทีเดียว ขอรับ" รู้ภาวะคือการนั่งของนิครนถ์

เหล่านั้นแล้ว จึงนำเครื่องลาดเบื้องบนอาสนะทั้งหลายออก. พวกนิครนถ์

นั่งพร้อมกันทีเดียว. เท้าอาสนะที่ตั้งไว้บนเชือก พลัดตกแล้ว. พวก

นิครนถ์หัวขมำตกลงในหลุม. สิริคุตต์ เมื่อพวกนิครนถ์นั้น ตกลงแล้ว

จึงปิดประตู ให้เอาท่อนไม้ตีพวกนิครนถ์ที่ตะกายขึ้นแล้ว ๆ ด้วยพูดว่า

" พวกท่าน ไม่รู้เหตุที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เพราะเหตุไร ?"

แล้วบอกว่า " การทำเท่านี้ จักสมควรแก่พวกนิครนถ์เหล่านั้น" ดังนี้

แล้ว จึงให้เปิดประตู. พวกนิครนถ์เหล่านั้นออกแล้ว ปรารภเพื่อจะหนี

ไป. ก็ในทางไปแห่งพวกนิครนถ์นั้น สิริคุตต์ให้คนทำพื้นที่อันทำ

บริกรรมด้วยปุนขาวไว้ให้ลื่น. สิริคุตต์ ให้คนโบกซ้ำพวกนิครนถ์นั้น

ผู้ยืนอยู่ไม่ได้ในที่นั้น ล้มลงแล้ว ๆ จึงส่งไปด้วยคำว่า "การทำเท่านี้

พอแก่ท่านทั้งหลาย." นิครนถ์เหล่านั้นคร่ำครวญอยู่ว่า " พวกเรา อัน

ท่านให้ฉิบหาย, พวกเรา อันท่านให้ฉิบหาย" ได้ไปสู่ประตูเรือนของ

อุปัฏฐานแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 140

ครหทินน์ฟ้องสิริคุตต์แด่พระราชา

ครหทินน์ เห็นประการอันแปลกนั้น ของนิครนถ์เหล่านั้นแล้ว

โกรธ คิดว่า "เรา อันสิริคุตต์ให้ฉิบหายแล้ว, มันให้โบกพระผู้เป็น

เจ้าทั้งหลายของเรา ผู้เป็นบุญเขต ผู้ได้นามว่าสามารถเพื่อจะให้เทวโลก

ทั้ง ๖ แก่มนุษย์ทั้งหลาย ผู้เหยียดมือออกไหว้อยู่ ตามความพอใจ ให้

ถึงความฉิบหายแล้ว" จึงไปยังราชตระกูลกราบทูลให้พระราชาทรงทำ

สินไหมแก่สิริคุตต์นั้น ๑ พันกหาปณะ. ครั้งนั้น พระราชาทรงส่ง

พระราชสาสน์ไปแก่สิริคุตต์นั้น. สิริคุตต์นั้นไปถวายบังคมพระราชาแล้ว

กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พระองค์ทรงสอบสวนแล้วจักปรับสินไหมได้,

ยังมิได้ทรงสอบสวน อย่าปรับ."

พระราชา. เราสอบสวนดูแล้ว จึงจักปรับ .

สิริคุตต์. ดีละ พระเจ้าข้า ถ้ากระนั้น จงปรับเถิด.

พระราชา. ถ้ากระนั้น จงพูด. สิริคุตต์ กราบทูลความเป็นไป

นั้นทั้งหมด ตั้งต้นแต่เรื่องนี้ว่า "พระเจ้าข้า สหายของข้าพระองค์เป็น

สาวกของนิครนถ์ เข้าไปหาข้าพระองค์แล้ว กล่าวอย่างนี้เนือง ๆ ในที่ยืน

ที่นั่งเป็นต้นว่า 'สหาย ประโยชน์อะไรของท่านด้วยพระสมณโคดมเล่า ?

ท่านเข้าไปหาพระสมณโคดมนั้น จักได้อะไร ?" ดังนี้แล้ว กราบทูล

ว่า " พระเจ้าข้า ถ้าการปรับสินไหมในเพราะเหตุนี้ ควรแล้ว: ขอจง

ปรับเถิด." พระราชา ทอดพระเนตรครหทินน์ ตรัสว่า "นัยว่า เจ้า

พูดอย่างนั้น จริงหรือ ?

ครหทินน์. จริง พระเจ้าข้า.

พระราชา. เจ้าคบพวกนิครนถ์ ผู้ไม่รู้แม้เหตุเพียงเท่านี้เที่ยวไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 141

อยู่ ด้วยคิดว่า 'เป็นครู' บอกแก่สาวกของพระตถาคตว่า 'ย่อมรู้

ทุกอย่าง' เพราะเหตุไร ? สินไหมอันเจ้ายกขึ้นปรับ จงมีแก่เจ้าเอง

เถิด.

ครหทินน์นั้นแล อันพระราชาทรงปรับสินไหมแล้ว ด้วยอาการ

อย่างนั้น. พวกนิครนถ์ เข้าถึงสกุลของครหทินน์นั้นนั่นแล อันสิริคุตต์

โบยไล่ออกแล้ว.

ครหทินน์เตรียมแก้แค้นสิริคุตต์

ครหทินน์นั้น โกรธสิริคุตต์นั้นแล้ว จำเดิมแต่นั้น ไม่พูดกับ

ด้วยสิริคุตต์ เป็นเวลาประมาณกึ่งเดือน คิดว่า "การเที่ยวไปโดยอาการ

อย่างนั้น ไม่ควรแก่เรา. การที่เราทำความฉิบหาย แม้แก่พวกภิกษุผู้เข้า

ถึงสกุลของสิริคุตต์นั้น ย่อมควร" ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปหาสิริคุตต์

กล่าวว่า "สหาย สิริคุตต์."

สิริคุตต์. อะไร ? สหาย.

ครหทินน์. ธรรมดาญาติและสหายทั้งหลาย ย่อมมีการทะเลาะ

กันบ้าง วิวาทกันบ้าง, ท่านไม่พูดอะไรๆ, เพราะเหตุอะไร ท่านจึง

ทำอย่างนั้น ?

สิริคุตต์. สหาย ข้าพเจ้าไม่พูด ก็เพราะท่านไม่พูดกับข้าพเจ้า

กรรมใดอันข้าพเจ้าทำแล้ว. กรรมนั้นจงเป็นอันทำแล้วเถิด เราทั้งสอง

จักไม่ทำลายไมตรีกัน.

จำเดิมแต่กาลนั้น สหายทั้งสองย่อมยืน ย่อมนั่ง ในที่แห่งเดียว

กัน. ต่อมาในกาลวันหนึ่ง สิริคุตต์กล่าวกะครหทินน์ว่า " ประโยชน์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 142

อะไรของท่านด้วยพวกนิครนถ์เล่า ? ท่านเข้าไปพานิครนถ์เหล่านั้นจักได้

อะไร ? การเข้าไปหาพระศาสดาของเราก็ดี การถวายทานแก่พระผู้เป็น

เจ้าทั้งหลายก็ดี จะไม่ควรแก่ท่านหรือ ?" แม้ครหทินน์นั้นย่อมหวัง

เหตุนี้เหมือนกัน, เพราะฉะนั้น คำพูดของสิริคุตต์นั้น จึงได้เป็นเหมือน

เกาที่แผลฝีด้วยเล็บ. แม้ครหทินน์นั้น ถามสิริคุตต์ว่า "พระศาสดา

ของท่านย่อมรู้อะไร?"

สิริคุตต์. ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าพูดอย่างนั้น, ขึ้นชื่อว่าสิ่งอัน

พระศาสดาของเราไม่รู้ไม่มี; พระศาสดาของเรานั้น ย่อมรู้เหตุทั้งหมด

ต่างโดยเหตุที่เป็นอดีตเป็นต้น, ย่อมกำหนดจิตของสัตว์ทั้งหลายโดย

อาการ ๑๖ อย่างได้.

ครหทินน์. ข้าพเจ้าไม่ทราบอย่างนั้น, เพราะเหตุอะไร ท่านจึง

ไม่บอกแก่ข้าพเจ้า ตลอดกาลประมาณเท่านี้ ? ถ้ากระนั้นท่านจงไป,

จงทูลนิมนต์พระศาสดา เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ ข้าพเจ้าจักให้เสวย. ท่าน

จงกราบทูล เพื่อทรงรับภิกษาของข้าพเจ้า พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป

สิริคุตต์เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว กราบทูลอย่างนี้ว่า

" พระเจ้าข้า ครหทินน์สหายของข้าพระองค์ สั่งให้ทูลนิมนต์พระองค์,

ทราบว่า ขอพระองค์ทรงรับภิกษาของครหทินน์นั้นพร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐

รูปในวันพรุ่งนี้ ; ก็ในวันก่อนแล กรรมชื่อนี้ อันข้าพระองค์ทำแล้ว

แก่พวกนิครนถ์ ผู้เข้าถึงสกุลของครหทินน์นั้น, ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบ

แม้การทำตอบ แก่กรรมอันข้าพระองค์ทำแล้ว, ข้าพระองค์ไม่ทราบ

แม้ความที่ครหทินน์นั้น ใคร่จะถวายภิกษาแก่พระองค์ด้วยจิตอันบริสุทธิ์,

พระองค์ทรงพิจารณาแล้ว, หากสมควร, จงทรงรับ, หากไม่สมควร,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 143

อย่าทรงรับ." พระศาสดาทรงพิจารณาว่า " ครหทินน์นั้น ใคร่จะถวาย

แก่เราหรือหนอแล ?" ได้ทรงเห็นว่า "ครหทินน์นั้น ให้คนขุดหลุม

ใหญ่ในระหว่างเรือน ๒ หลังแล้ว ให้คนนำไม้ตะเคียนมาประมาณ ๘๐

เล่มเกวียนจุดไฟแล้ว ต้องการจะให้เราตกลงในหลุมถ่านเพลิงแล้วข่มขี่"

ทรงพิจารณาอีกว่า "เพราะเราไปในที่นั้นเป็นปัจจัย ประโยชน์จะมีหรือ

ไม่มีหนอแล ? ลำดับนั้น ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า " เราจักเหยียดเท้า

บนหลุมถ่านเพลิง. เสื่อลำแพนที่วางปิดหลุมถ่านเพลิงนั้น จักหายไป,

ดอกบัวใหญ่ประมาณเท่าล้อ จักผุดขึ้นทำลายหลุมถ่านเพลิง, เมื่อเป็น

เช่นนั้น เราจักเหยียบกลีบบัว ไปนั่งบนอาสนะ, ภิกษุทั้ง ๕๐๐ จักไป

นั่งอย่างนั้นเหมือนกัน; มหาชนจักประชุมกัน, เราจักทำอนุโมทนาด้วย

คาถา ๒ คาถา ในสมาคมนั้น, ในเวลาจบอนุโมทนา ความตรัสรู้ธรรม

จักมีแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔ พัน. สิริคุตต์และครหทินน์ จักเป็นโสดาบัน

จักหว่านกองทรัพย์ของตน ๆ ในศาสนา; การที่เราอาศัยกุลบุตรนี้ไป

ย่อมสมควร" ดังนี้แล้ว จึงทรงรับภิกษา. สิริคุตต์ทราบการรับของ

พระศาสดาแล้ว จึงบอกแก่ครหทินน์ แล้วบอกว่า "ท่านจงทำสักการะ

แก่พระโลกเชษฐ์."

ครหทินน์เตรียมรับพระศาสดา

ครหทินน์ คิดว่า "บัดนี้ เราจักรู้กิจที่ควรทำแก่พระสมณโคดม

นั้น" จึงให้ขุดหลุมใหญ่ไว้ในระหว่างเรือน ๒ หลัง ให้นำไม้ตะเคียน

มาประมาณ ๘๐ เล่มเกวียน ให้จุดไฟสุมตลอดคืนยังรุ่งแล้ว ให้ทำกอง

ถ่านเพลิงไม้ตะเคียนไว้ วางไม้เรียบบนปากหลุม ให้ปิดด้วยเสื่อลำแพน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 144

ให้ทาด้วยโคมัย ลาดท่อนไม้ผุไว้โดยข้างหนึ่งแล้ว ให้ทำทางเป็นที่ไป

สำคัญอยู่ว่า "ในเวลาที่พวกสมณะเหยียบแล้ว ๆ อย่างนั้น เมื่อท่อนไม้

ทั้งหลายหักแล้ว พวกสมณะจักกลิ้งตกไปในหลุมถ่านเพลิง." ให้ทั้งตุ่ม

ไว้ในภาคแห่งหลังเรือน โดยวิธีที่สิริคุตต์ตั้งแล้วเหมือนกัน. ให้ปูแม้

อาสนะทั้งหลายไว้อย่างนั้นเหมือนกัน. สิริคุตต์ไปเรือนของครหทินน์นั้น

แต่เช้าตรู่แล้ว กล่าวว่า "สหาย ท่านทำสักการะแล้วหรือ?

ครหินน์. เออ สหาย

สิริคุตต์. ก็ สักการะนั่น อยู่ที่ไหน ?

ครหทินน์ ตอบว่า "จงมา, จะดูกัน" แล้วแสดงของทั้งหมด

โดยวิธีที่สิริคุตต์แสดงแล้วเหมือนกัน. สิริคุตต์กล่าวว่า "ดีละสหาย."

มหาชน ประชุมแล้ว. ก็เมื่อพระศาสดา อันคนผู้มิจฉาทิฏฐินิมนต์แล้ว

การประชุมใหญ่ ย่อมมี. ฝ่ายพวกมิจฉาทิฏฐิย่อมประชุมกัน ด้วยคิดว่า

" พวกเราจักเห็นประการอันแปลกของพระสมณโคดม." ฝ่ายพวก

สัมมาทิฏฐิ ย่อมประชุมกัน ด้วยคิดว่า "วันนี้ พระศาสดา จักทรง

แสดงธรรมเทศนาอย่างใหญ่ พวกเราจักกำหนดพุทธวิสัย พุทธลีลา."

ในวันรุ่งขึ้น พระศาสดา ได้เสด็จไปประตูเรือนของครหทินน์ กับภิกษุ

๕๐๐ รูป. ครหทินน์นั้น ออกจากเรือนแล้ว ถวายบังคมด้วยเบญจางค-

ประดิษฐ์ ยืนประคองอัญชลีอยู่เบื้องพระพักตร์ คิดว่า "พระเจ้าข้า

อุปัฏฐากของพระองค์ บอกแก่ข้าพระองค์อย่างนี้ว่า 'ได้ยินว่า พระองค์

ย่อมทรงทราบเหตุทุกอย่าง ต่างโดยเหตุที่เป็นอดีตเป็นต้น, ย่อมทรง

กำหนดจิตของสัตว์ทั้งหลาย โดยอาการ ๑๖ อย่างได้, ถ้าพระองค์ทรง

ทราบอยู่ ขอพระองค์อย่าเสด็จเข้าไปสู่เรือนของข้าพระองค์, เพราะเมื่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 145

พระองค์เสด็จเข้าไปแล้ว ข้าวยาคูไม่มีเลย ภัตเป็นต้นก็ไม่มี, ก็แล

ข้าพระองค์จักยังท่านทั้งหมด ให้ตกลงในหลุมถ่านเพลิงแล้วข่มขี่." ครั้น

คิดอย่างนั้นแล้ว จึงรับบาตรของพระศาสดา กราบทูลว่า "ขอพระผู้มี-

พระภาคเจ้า จงเสด็จมาทางนี้" แล้วกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ผู้มาสู่เรือน

ของข้าพระองค์ รู้ธรรมเนียมแล้วมา จึงสมควร."

พระศาสดา. เราทำอย่างไร จึงควรเล่า ? ท่าน.

ครหทินน์. ในเวลาที่ภิกษุรูปหนึ่ง ๆ เข้าไปข้างหน้า นั่งแล้ว

ภิกษุอื่นมาในภายหลัง จึงควร.

ได้ยินว่า ครหทินน์นั้น ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า "ภิกษุที่

เหลือ เห็นภิกษุผู้ไปข้างหน้า ตกลงในหลุมถ่านเพลิงแล้ว จักไม่มา.

เราจักให้ภิกษุตกลงทีละรูป ๆ เท่านั้นแล้วข่มขี่." พระศาสดา ตรัสว่า

" ดีละ " แล้วเสด็จเข้าไปแต่พระองค์เดียว. ครหทินน์ ถึงหลุมถ่านเพลิง

แล้ว ถอยออกไปยืนอยู่ กราบทูลว่า "ขอพระองค์เสด็จไปข้างหน้าเถิด

พระเจ้าข้า."

ครหทินน์เลื่อมใสพระพุทธเจ้า

ลำดับนั้น พระศาสดา ทรงเหยียดพระบาทลงเหนือหลุมถ่านเพลิง,

เสื่อลำแพน หายไปแล้ว, ดอกบัวประมาณเท่าล้อผุดขึ้นทำลายหลุม

ถ่านเพลิง พระศาสดา ทรงเหยียบกลีบบัว เสด็จไปประทับนั่งลงบน

พุทธอาสน์ ที่เขาปูลาดไว้. แม้ภิกษุทั้งหลาย ก็ไปนั่งบนอาสนะอย่างนั้น

เหมือนกัน. ความเร่าร้อนตั้งขึ้นแต่กายของครหทินน์แล้ว . เขาไปโดย

เร็ว เข้าไปหาสิริคุตต์ บอกว่า " นาย ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของ

ข้าพเจ้า."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 146

สิริคุตต์. นี่ อะไรกัน ?

ครหทินน์. ข้าวยาคูหรือภัตเป็นต้น เพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป ไม่มีใน

เรือน, ข้าพเจ้าจะทำอย่างไรหนอแล ?

สิริคุตต์. ก็ท่านทำอะไรไว้ ?

ครหทินน์. ข้าพเจ้าให้คนทำหลุมใหญ่ไว้ในระหว่างเรือน ๒ หลัง

เต็มด้วยถ่านเพลิง ด้วยหวังว่า 'จักให้พวกภิกษุตกไปในหลุมถ่านเพลิง

นั้นแล้วข่มขี่.' ทีนั้น ดอกบัวใหญ่ ผุดขึ้นทำลายหลุมถ่านเพลิงนั้น.

ภิกษุทั้งหมด เหยียบกลีบบัว เดินไปนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้, บัดนี้

ข้าพเจ้าจะทำอย่างไร ?

สิริคุตต์. ท่านแสดงแก่ข้าพเจ้าเดี๋ยวนี้เองว่า ' ตุ่มข้าวยาคูเท่านี้,

ตุ่มภัตเป็นต้นเท่านี้, มิใช่หรือ.

ครหทินน์. นั้นเท็จ นาย, ตุ่มเปล่าทั้งนั้น.

สิริคุตต์. ช่างเถิด, ท่านจงไป, จงตรวจดูข้าวยาคูเป็นต้นใน

ตุ่มเหล่านั้น.

ในขณะนั้นนั่นเอง ข้าวยาคูในตุ่มทั้งหลายใด อันครหทินน์นั้น

บอกแล้ว, ตุ่มเหล่านั้น เต็มด้วยข้าวยาคูแล้ว, ภัตเป็นต้น ในตุ่ม

เหล่าใด อันครหทินน์บอกแล้ว, ตุ่มเหล่านั้น ได้เต็มแล้วด้วยภัตเป็น

ต้นเทียว. เพราะได้เห็นสมบัตินั้น สรีระของครหทินน์ เต็มด้วยปีติและ

ปราโมทย์แล้ว. จิตเลื่อมใสแล้ว. เขาอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข โดยความเคารพ ใคร่จะให้ทรงทำอนุโมทนา จึงรับบาตรของ

พระศาสดา ผู้ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 147

สัตว์ไม่รู้คุณพระศาสนาเพราะไร้ปัญญา

พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา ตรัสว่า " สัตว์เหล่านั้นไม่รู้คุณ

แห่งสาวกของเรา และแห่งพระพุทธศาสนา เพราะความไม่มีปัญญาจักษุ

ชื่อว่าผู้มืด, ผู้มีปัญญา ชื่อว่ามีจักษุ" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถา

เหล่านั้นว่า :-

๑๒. ยถา สงฺการธานสฺนึ อุชฺฌิตสฺมึ มหาปเถ

ปทุม ตตฺถ ชาเยถ สุจิคนฺธ มโนรม

เอว สงฺการภูเตสุ อนฺธภูเต ปุถุชฺชเน

อติโรจติ ปญฺาย สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก

"ดอกบัวมีกลิ่นดี พึงเกิดในกองหยากเยื่อ อัน

บุคคลทิ้งแล้วใกล้ทางใหญ่ ดอกบัวนั้น พึงเป็นที่

ชอบใจ ฉันใด, สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อ

ปุถุชนเป็นดังกองหยากเยื่อเกิดแล้ว ย่อมไพโรจน์

ล่วงซึ่งปุถุชนผู้มืดทั้งหลาย ด้วยปัญญา ฉันนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺการธานสฺมึ คือ ในที่ทิ้งหยาก

เยื่อ อธิบายว่า ในกองหยากเยื่อ. สองบทว่า อุชฺฌิตสฺมึ มหาปเถ

คือ อันบุคคลทิ้งแล้วใกล้ทางใหญ่. บทว่า สุจิคนฺธ คือ มีกลิ่นหอม.

บทว่า มโนรม มีวิเคราะห์ว่า ใจย่อมยินดีในดอกบัวนี้ เหตุนั้น ดอกบัว

นั้น ชื่อว่า เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ. บทว่า สงฺการภูเตสุ คือ เป็นดัง

๑. ที่แปลอย่างนี้ แปลตามนัยอรรถกถา. แต่บางท่านแปล ตตฺถ เป็นวิเสสนะ ของ สงฺการ-

ธานสฺมึ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 148

หยากเยื่อ. บทว่า ปุถุชฺชเน ความว่า ซึ่งโลกิยมหาชนทั้งหลาย ผู้มีชื่อ

อันได้แล้วอย่างนั้น เพราะยังกิเลสหนาให้เกิด.

พระผู้มีพระภาคตรัสคำนี้ไว้ว่า "ดอกบัวมีกลิ่นดี พึงเกิดในกอง

หยากเยื่อ อันบุคคลทิ้งแล้วใกล้ทางใหญ่ แม้ไม้สะอาด น่าเกลียด ปฏิกูล

ดอกบัวนั้น พึงเป็นที่ชอบใจ คือ พึงเป็นของน่าใคร่ พึงใจ ได้แก่

พึงเป็นของควรประดิษฐานไว้เหนือกระหม่อมแห่งอิสรชนทั้งหลาย มี

พระราชาและมหาอำมาตย์ของพระราชาเป็นต้น ชื่อฉันใด; สาวกของ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คือภิกษุผู้ขีณาสพ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อปุถุชน

แม้เป็นดังกองหยากเยื่อเกิดแล้ว แม้เกิดในระหว่างแห่งมหาชน ผู้ไม่มี

ปัญญา ไม่มีจักษุ ย่อมไพโรจน์ล่วงด้วยกำลังแห่งปัญญาของตน เห็น

โทษในกามทั้งหลาย และอานิสงส์ในการออกบวช ออกบวชแล้ว ย่อม

ไพโรจน์ล่วง แม้ด้วยคุณสักว่าการบรรพชา, แม้ยก (ตน) ขึ้นสู่ศีล

สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ยิ่งกว่าคุณสักว่าการบรรพชา

นั้น ก็ย่อมไพโรจน์ คืองามล่วง ซึ่งปุถุชนผู้มืดทั้งหลาย."

ครหทินน์กับสิริคุตต์บรรลุโสดาปัตติผล

ในเวลาจบเทศนา ความตรัสรู้ธรรม ได้มีแล้วแก่สัตว์ ๘ หมื่น

๔ พัน. ครหทินน์และสิริคุตต์บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. สองคนนั้น หว่าน

ทรัพย์ของตนทั้งหมดลงในพระพุทธศาสนาแล้ว. พระศาสดาได้เสด็จลุก

จากอาสนะ ไปสู่วิหาร.

ภิกษุทั้งหลาย ยังกถาให้ตั้งขึ้นในโรงธรรมเวลาเย็นว่า "น่า

เลื่อมใส ธรรมดาคุณของพระพุทธเจ้า น่าอัศจรรย์, ดอกบัวผุดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 149

ทำลายกองถ่านตะเคียน ชื่อเห็นปานนั้นแล้ว." พระศาสดาเสด็จมาแล้ว

ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยกกถา

อะไรหนอ ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า "ด้วยกถาชื่อนี้" แล้ว

จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ดอกบัวผุดขึ้นแต่กองถ่านเพลิงเพื่อเรา

ผู้เป็นพระพุทธเจ้า ในกาลบัดนี้ ไม่น่าอัศจรรย์ ในกาลก่อนดอกบัว

เหล่านั้น ก็ผุดขึ้นแล้วเพื่อเรา แม้ผู้เป็นโพธิสัตว์ เป็นไปอยู่ในประเทศ

ญาณ," อันภิกษุเหล่านั้น ทูลอ้อนวอนว่า " ในกาลไร พระเจ้าข้า,

ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว จึงทรงนำอดีต

นิทานมา ตรัสขทิรังคารชาดก นี้ ให้พิสดารว่า :-

" เรามีเท้าขึ้นเบื้องบน มีศีรษะลงเบื้องต่ำ

จะตกสู่เหวโดยแท้ เราจักไม่ทำกรรมอันมิใช่ของ

พระอริยะ, เชิญท่านรับก้อนข้าวเถิด" ดังนี้แล.

เรื่องครหทินน์ จบ.

ปุปผวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๔ จบ.

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๑๓ อรรถกถา. ๑/๓๓๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 150

คาถาธรรมบท

พาลวรรคที่ ๕

ว่าด้วยคนพาลร้อยกว่าทุกอย่าง

[๑๕] ๑. ราตรีของคนผู้ตื่นอยู่นาน โยชน์ของคนล้า

แล้วไกล สงสารของคนพาลทั้งหลาย ผู้ไม่รู้อยู่ซึ่ง

สัทธรรมย่อมยาว.

๒. ถ้าบุคคลเมื่อเที่ยวไป ไม่พึงประสบสหาย

ผู้ประเสริฐกว่า ผู้เช่นกับ (ด้วยคุณ) ของคนไซร้

พึงทำความเที่ยวไปคนเดียวให้มั่น เพราะว่า คุณ

เครื่องเป็นสหายย่อมไม่มีในเพราะคนพาล.

๓. คนพาลย่อมเดือดร้อนว่า บุตรทั้งหลาย

ของเรามีอยู่ ทรัพย์ ( ของเรา) มีอยู่ ตนแลย่อม

ไม่มีแก่ตน บุตรทั้งหลายจักมีแต่ที่ไหน ทรัพย์จักมี

แต่ที่ไหน.

๔. บุคคลใดโง่ ย่อมสำคัญความที่ตนเป็น

คนโง่ บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิต เพราะเหตุนั้นได้บ้าง

สวนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็น

บัณฑิต บุคคลนั้นแล เราเรียกว่าคนโง่.

๕. ถ้าคนพาล เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอยู่แม้จน

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๕ เรื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 151

ตลอดชีวิต เขาย่อมไม่รู้ธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้

รสแกงฉะนั้น.

๖. ถ้าวิญญูชนเข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ครู่เดียว

เขาย่อมรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน เหมือนลิ้นรู้รสแกง

ฉะนั้น.

๗. ชนพาลทั้งหลาย มีปัญญาทราม มีตน

เป็นดังข้าศึก เที่ยวทำกรรมลามกซึ่งมีผลเผ็ดร้อนอยู่.

๘. บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนใน

ภายหลัง เป็นผู้มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้เสวยผล

ของกรรมใดอยู่ กรรมนั้นอันบุคคลกระทำแล้วไม่ดี

เลย.

๙. บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อน

ในภายหลังเป็นผู้เอิบอิ่ม มีใจดี ย่อมเสวยผลของ

กรรมใด กรรมนั้นแล อันบุคคลทำแล้วเป็นกรรมดี.

๑๐. คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบ

เท่าที่บาปยังไม่ให้ผล ก็เมื่อใดบาปให้ผล เมื่อนั้น

คนพาลย่อมประสบทุกข์.

๑๑. คนพาลพึงบริโภคโภชนะด้วยปลายหญ้า

คาทุก ๆ เดือน เขาย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งท่าน

ผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว.

๑๒. ก็กรรมชั่วอันบุคคลทำแล้ว ยังไม่ให้ผล

เหมือนน้ำนมที่รีดในขณะนั้น ยังไม่แปรไปฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 152

บาปกรรมย่อมตามเผาคนพาล เหมือนไฟอันเถ้า

กลบไว้ฉะนั้น.

๑๓. ความรู้ย่อมเกิดแก่คนพาล เพียงเพื่อ

ความฉิบหายเท่านั้น ความรู้นั้นยังหัวคิดของเขาให้

ตกไป ย่อมฆ่าส่วนสุกกธรรมของคนพาลเสีย.

๑๔. ภิกษุผู้พาล พึงปรารถนาครามยกย่องอัน

ไม่มีอยู่ ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็น

ใหญ่ในอาวาส และการบูชาในตระกูลแห่งชนอื่น

ความดำริย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลว่า คฤหัสถ์และ

บรรพชิตทั้งสองจงสำคัญกรรมอันเขาทำเสร็จแล้ว

เพราะอาศัยเราผู้เดียว จงเป็นไปในอำนาจของเขา

เท่านั้น ในกิจน้อยใหญ่กิจไร ๆ ริษยาและมานะ

ย่อมเจริญ ( แก่เธอ).

๑๕. ก็ข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ เป็น

อย่างอื่น ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพานเป็น

อย่างอื่น (คนละอย่าง) ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระ-

พุทธเจ้าทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว ไม่พึงเพลิด-

เพลินสักการะ พึงตามเจริญวิเวก.

จบพาลวรรคที่ ๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 153

๕. พาลวรรควรรณนา

๑. เรื่องบุรุษคนใดคนหนึ่ง [๔๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเจ้า-

ปเสนทิโกศลและบุรุษคนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ทีฆา

ชาครโต รตฺติ" เป็นต้น.

พระราชาประทักษิณพระนคร

ได้ยินว่า ในวันมหรสพวันหนึ่ง พระราชา พระนามว่าปเสนทิ-

โกศล ทรงช้างเผือกล้วนเชือกหนึ่ง ชื่อปุณฑรีกะ ซึ่งประดับประดา

แล้ว ทรงทำประทักษิณพระนครด้วยอานุภาพแห่งพระราชาอันใหญ่.

เมื่ออาญาเป็นเหตุให้บุคคลลุกไป เป็นไปอยู่, มหาชนถูกราชบุรุษโบย

ด้วยวัตถุมีก้อนดินและท่อนไม้เป็นต้น หนีไป ก็ยังเอี้ยวคอกลับแลดูอยู่

นั้นแล. ได้ยินว่า ข้อนี้ เป็นผลแห่งทานที่พระราชาทั้งหลายทรงถวาย

ดีแล้ว.

อำนาจความรัก

ภรรยาของทุคคตบุรุษแม้คนใดคนหนึ่ง ยืนอยู่ที่พื้นชั้นบนแห่ง

ปราสาท ๗ ชั้น เปิดบานหน้าต่างบานหนึ่ง พอแลดูพระราชาแล้วก็หลบ

ไป. การหลบไปของหญิงนั้น ปรากฏแก่พระราชา ราวกับว่า พระ-

๑. หมายความว่า ตำรวจกำลังทำการขับไล่ไม่ให้ยืนเกะกะทางเสด็จ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 154

จันทร์เพ็ญเข้าไปสู่กลีบเมฆ. ท้าวเธอ ทรงมีพระหฤทัยปฏิพัทธ์ในหญิง

นั้น เป็นประหนึ่งว่า ถึงอาการพลัดตกจากคอช้าง ทรงรีบกระทำประ-

ทักษิณพระนครแล้ว เสด็จเข้าสู่ภายในพระราชวัง ตรัสกะอำมาตย์คน

สนิทนายหนึ่งว่า "ปราสาทที่เราแลดูในที่โน้น เธอเห็นไหม ?"

อำมาตย์. เห็น พระเจ้าข้า.

พระราชา. เธอได้เห็นหญิงคนหนึ่งในปราสาทนั้นไหม ?

อำมาตย์. ได้เห็น พระเจ้าข้า.

พระราชา. เธอจงไป. จงรู้ความที่หญิงนั้น มีสามีหรือไม่มีสามี.

อำมาตย์นั้นไปแล้ว ทราบความที่หญิงนั้นมีสามี จึงมากราบทูล

แก่พระราชาว่า "หญิงนั้นมีสามี." ทีนั้น เมื่อพระราชา ตรัสว่า

" ถ้ากระนั้น เธอจงเรียกสามีของหญิงนั้นมา," อำมาตย์นั้น ไปพูดว่า

" มานี่แน่ะ นาย, พระราชารับสั่งหาท่าน," บุรุษนั้น คิดว่า "อัน

ภัยพึงบังเกิดขึ้นแก่เรา เพราะอาศัยภรรยา" เมื่อไม่อาจจะขัดขืนพระ-

ราชอาญา จึงได้ไปถวายบังคมพระราชา ยืนอยู่แล้ว. ขณะนั้นพระราชา

ตรัสกะบุรุษนั้นว่า "เธอจงบำรุงเรา."

บุรุษ. ข้าแต่สมมติเทพ อย่าเลย. ข้าพระองค์ ทำการงานของตน

ถวายส่วยแด่พระองค์อยู่, การเลี้ยงชีพนั้นแล จงมีแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระราชาตรัสว่า "เราไม่มีความต้องการด้วยส่วยของเธอ, จำเดิม

แต่วันนี้ไป เธอจงบำรุงเรา" แล้วให้พระราชทานโล่และอาวุธแก่บุรุษ

นั้น.

ได้ยินว่า พระราชา ได้ทรงดำริอย่างนี้ว่า "เราจักยกโทษบาง

อย่างของเขาขึ้นแล้วฆ่าเสีย ริบเอาภรรยา." ทีนั้น เขากลัวแต่มรณภัย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 155

เป็นผู้ไม่ประมาท บำรุงพระราชานั้นแล้ว. พระราชาไม่ทรงเห็นช่อง

(โทษ) แห่งบุรุษนั้น เมื่อความเร่าร้อนเพราะกามเจริญอยู่. ทรงดำริว่า

" เราจะยกโทษของบุรุษนั้นขึ้นสักอย่างหนึ่ง แล้วลงราชอาญา" จึงรับ

สั่งให้เรียกบุรุษนั้นมาแล้ว ตรัสอย่างนั้นว่า " ผู้เจริญ เธอจงไปจากที่นี้

ที่ชื่อโน้น แห่งแม่น้ำในที่สุดประมาณ ๕ โยชน์ นำเอาดอกโกมุท

ดอกอุบลและดินสีอรุณมา (ให้ทัน) ในเวลาเราอาบน้ำในเวลาเย็น, ถ้า

เธอไม่พึงมาในขณะนั้น, เราจักลงอาญาแก่เธอ."

ความลำบากในราชสำนัก

ได้ยินว่า เสวก ( ผู้เข้าเฝ้า ) ลำบากกว่าทาสแม้ทั้งสี่. จริงอยู่

ทาสทั้งหลาย มีทาสที่เขาไถ่มาด้วยทรัพย์เป็นต้น ยังได้เพื่อจะพูดว่า

" ผมปวดศีรษะ, ผมปวดหลัง" แล้วพักผ่อน.

คำที่ทาสทั้งหลายกล่าวแล้วได้พักผ่อนนั่น ย่อมไม่มีแก่เสวก,

เสวกควรทำการงานตามรับสั่งเท่านั้น; เพราะเหตุนั้น บุรุษนั้น คิดอยู่ว่า

" เราต้องไปเป็นแน่แท้. ชื่อว่าดินสีอรุณกับดอกโกมุทและดอกอุบล ย่อม

เกิดในภพแห่งนาค, เราจักได้ที่ไหน ?" กลัวแต่มรณภัย ไปเรือนแล้ว

กล่าวว่า "หล่อน ภัตสำหรับฉันสำเร็จแล้วหรือ ?" ภรรยา กล่าวว่า

" ยังตั้งอยู่บนเตา นาย." เขาไม่อาจจะรออยู่ จนกว่าภรรยาจะปลงภัต

ลงได้ จึงให้ภรรยาเอากระบวยตักน้ำข้าวเท (ปนกับ ) ข้าวที่แฉะนั้นเอง

ลงในกระเช้าพร้อมด้วยกับตามแต่จะได้ ถือเอาแล้ว เดินดุ่มไปแล้วสิ้นทาง

โยชน์หนึ่ง.

เมื่อเขากำลังเดินไปนั่นแหละ ภัตได้สุกแล้ว. เขาแบ่งภัตไว้หน่อ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 156

หนึ่ง กระทำไม่ให้เป็นเดนบริโภคอยู่ พบคนเดินทางคน หนึ่งจึงกล่าวว่า

" ภัตหน่อยหนึ่งเท่านั้น ฉันแบ่งออกกระทำไม่ให้เป็นเดนมีอยู่, เธอจงรับ

ไปบริโภคเถิด นาย." เขารับไปบริโภคแล้ว. แม้บุรุษนอกนี้ ก็โปรย

ภัตลงในน้ำกำมือหนึ่ง บ้วนปากแล้ว ประกาศขึ้น ๓ ครั้งด้วยเสียงอัน

ดังว่า "ขอพวกนาค ครุฑและเทวดา ผู้สิงอยู่ในประเทศแห่งแม่น้ำนี้

จงฟังคำของข้าพเจ้า; พระราชาทรงปรารถนาจะลงอาญาแก่ข้าพเจ้า

ทรงบังคับข้าพเจ้าว่า "เธอจงนำเอาดินสีอรุณกับดอกโกมุทและดอกอุบล

มา," ก็ภัตที่ข้าพเจ้าให้แก่มนุษย์เดินทางแล้ว, ทานที่ข้าพเจ้าให้แล้วนั้น

มีอานิสงส์ตั้งพัน, ภัตที่ข้าพเจ้าให้แก่ปลาทั้งหลายในน้ำ, ทานที่ข้าพเจ้า

ให้นั้นมีอานิสงส์ตั้งร้อย, ข้าพเจ้าให้ผลบุญประมาณเท่านี้ ให้เป็นส่วนบุญ

แก่ท่านทั้งหลาย; ท่านทั้งหลายจงนำดินสีอรุณกับดอกโกมุทและดอกอุบล

มาให้แก่ข้าพเจ้าเถิด."

พระยานาค ผู้อาศัยอยู่ในประเทศนั้น ได้ยินเสียงนั้น จึงไปสู่

สำนักบุรุษนั้น ด้วยเพศแห่งคนแก่ กล่าวว่า " ท่านพูดอะไร ? บุรุษ

นั้น จึงกล่าวซ้ำอย่างนั้นนั่นแหละ, เมื่อพระยานาค กล่าวว่า " ท่าน

จงให้ส่วนบุญนั้นแก่เรา," จึงกล่าวว่า " เราให้ นาย " เมื่อพระยานาค

กล่าวแม้อีกว่า "ท่านจงให้" ก็กล่าว (ยืนคำ) ว่า "เราให้ นาย,"

พระยานาคนั้น ให้น้ำส่วนบุญมาอย่างนั้นสิ้น ๒ - ๓ คราวแล้ว จึงได้

ให้ดินสีอรุณกับดอกโกมุทและดอกอุบล (แก่บุรุษนั้น).

ฝ่ายพระราชา ทรงดำริว่า ธรรมดามนุษย์ทั้งหลาย มีมนต์มาก,

ถ้าบุรุษนั้น พึงได้ (ของนั้น) ด้วยอุบายบางอย่างไซร้, กิจของเราก็ไม่

พึงสำเร็จ," ท้าวเธอรับสั่งให้ปิดประตู (เมือง) เสียแต่วันทีเดียว แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 157

ให้นำลูกดาลไปยังสำนักของพระองค์.

บุรุษแม้นอกนี้ มาทันในเวลาพระราชาทรงสรงสนานเหมือนกัน

เมื่อไม่ได้ประตู จึงเรียกคนยามประตู กล่าวว่า "ท่านจงเปิดประตู."

คนยามประตูกล่าวว่า "เราไม่อาจจะเปิดได้. พระราชารับสั่งให้นำลูกดาล

ไปสู่พระราชมนเทียรแต่กาลยังวันทีเดียว." บุรุษนั้น แม้บอกว่า " เรา

เป็นราชทูต, ท่านจงเปิดประตู" เมื่อไม่ได้ประตู จึงคิดว่า " บัดนี้

เราจะไม่มีชีวิต. เราจักทำอย่างไรหนอแล ?" แล้วโยนก้อนดินไปที่ธรณี

ประตูข้างบน แขวนโอกไม้ไว้บนธรณีประตูนั้น ตะโกนร้องขึ้น ๓ ครั้ง

ว่า "ชาวพระนคร ผู้เจริญทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย จงรู้ความที่กิจ

อันข้าพเจ้ากระทำตามรับสั่งของพระราชาแล้วเถิด; พระราชาทรงใคร่จะ

ยังเราให้พินาศ ด้วยเหตุไม่สมควร" แล้วคิดอยู่ว่า " เราจักไปที่ไหน

หนอแล ? ได้ทำความตกลงใจว่า "ธรรมดาภิกษุทั้งหลาย มีใจอ่อนโยน.

เราจักไปสู่วิหารแล้วนอน." ธรรมดาสัตว์เหล่านี้ ในเวลาได้รับสุข ไม่

ทราบแม้ความที่ภิกษุทั้งหลายมีอยู่ พอถูกทุกข์ครอบงำ จึงปรารถนาจะไป

วิหาร; เพราะเหตุนั้น แม้บุรุษนั้น ก็คิดว่า " ที่พึ่งอย่างอื่นของเราไม่มี"

จึงไปยังวิหาร นอนอยู่ในที่สำราญแห่งหนึ่ง แม้เมื่อพระราชา ไม่ได้การ

หลับอยู่ตลอดราตรี ทรงรำพึงถึงหญิงอยู่, ความรุ่มร้อนเพราะกามเกิดขึ้น

แล้ว. ท้าวเธอทรงคิดว่า "ในขณะที่ราตรีสว่างแล้วนั่นแหละ เราจักให้

ฆ่าบุรุษนั้นเสีย แล้วให้นำเอาหญิงนั้นมา."

เรื่องของเปรตผู้กล่าวอักษร ทุ. สะ. นะ. โส.

ในขณะนั้นนั่นแล บุรุษ ๔ คนที่เกิดในนรก ชื่อโลหกุมภี ซึ่ง

ลึกได้ ๖๐ โยชน์ ถูกไฟนรกไหม้กลิ้งไปมาอยู่ ดุจข้าวสารในหม้อที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 158

กำลังเดือดพล่าน (จมลงไป) ถึงพื้นภายใต้ ๓ หมื่นปีแล้ว (ลอยขึ้นมา)

ถึงที่ขอบปากโดย ๓ หมื่นปีอีก. สัตว์นรกเหล่านั้น ยกศีรษะขึ้นแลดูกัน

และกันแล้ว ปรารถนาเพื่อจะกล่าวคาถาตนละคาถา ( แต่ ) ไม่อาจ

จะกล่าวได้ จึงกล่าวอักษรตนละอักษร แล้วหมุนกลับไปสู่โลหกุมภี

อย่างเดิม.

พระราชา เมื่อไม่ทรงได้การหลับ ได้ยินเสียงนั้นในระหว่างแห่ง

มัชฌิมยาม ทรงหวาดหวั่น มีพระทัยสะดุ้ง ทรงดำริว่า "อนตราย

แห่งชีวิต จักมีแก่เราหรือหนอ ? หรือจักมีแก่พระอัครมเหสี. หรือ

ราชสมบัติของเราจักพินาศ ?" ไม่อาจหลับพระเนตรทั้งสองได้ตลอดคืน

ยังรุ่ง. พอเวลาอรุณขึ้น ท้าวเธอรับสั่งให้หาปุโรหิตมาแล้ว ตรัสว่า

" อาจารย์ เสียงที่น่ากลัวอย่างใหญ่ เราได้ยินในระหว่างแห่งมัชฌิมยาม.

เราไม่ทราบว่า 'อันตรายจักมีแก่ราชสมบัติ หรือแก่พระมเหสี แก่เรา

หรือแก่ใคร ?' เพราะเหตุนั้น เราจึงให้เชิญท่านมา."

พราหมณ์โง่ให้พระราชาบูชายัญ

ปุโรหิต. ข้าแต่มหาราช เสียงที่พระองค์ทรงสดับอย่างไร ?

ราชา. อาจารย์ เราได้ยินเสียงเหล่านี้ว่า ' ทุ. สะ. นะ. โส.' ท่าน

จงใคร่ครวญผลสำเร็จแห่งเสียงเหล่านี้ดู.

เหตุอะไร ๆ ย่อมไม่ปรากฏแก่พราหมณ์ ราวกะเข้าไปสู่ที่มืดใหญ่.

ปุโรหิตนั้นกลัวว่า "ก็เมื่อเราทูลว่า 'ข้าพระองค์ไม่ทราบ' ดังนี้ ลาภ

สักการะของเราจักเสื่อม" จึงทูลว่า 'ข้าแต่มหาราช เหตุนี้หนัก."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 159

ราชา. เหตุอะไร ? อาจารย์.

ปุโรหิต. อันตรายแห่งชีวิต จะปรากฏแก่พระองค์.

พระราชาทรงหวาดหวั่นตั้ง ๒ เท่า ตรัสว่า "อาจารย์ เหตุเครื่อง

บำบัดอะไร ๆ มีอยู่หรือ ?"

ปุโรหิต. มีอยู่มหาราช พระองค์อย่าทรงหวาดหวั่นเลย ข้าพระ-

องค์รู้พระเวท ๓.

ราชา. เราได้อะไรเล่า ? จึงจะควร.

ปุโรหิต. ขอเดชะ พระองค์ทรงบูชายัญ มีสัตว์อย่างละ ๑๐๐

ทุกอย่างแล้ว จักได้ชีวิต.

ราชา. ได้อะไร ? จึงควร

ปุโรหิตนั้น เมื่อจะให้จับปาณชาติชนิดหนึ่ง ๆ ให้ได้ชนิดละ ๑๐๐

อย่างนี้ คือ ช้าง ๑๐๐ ม้า ๑๐๐ โคอุสภะ ๑๐๐ แม่โคนม ๑๐๐ แพะ ๑๐๐

แกะ ๑๐๐ ไก่ ๑๐๐ สุกร ๑๐๐ เด็กชาย ๑๐๐ เด็กหญิง ๑๐๐, จึงคิด

ว่า " ถ้าเราจักให้จับเอาแต่จำพวกเนื้อเท่านั้น, ชนทั้งหลายก็จะพูดว่า

'ปุโรหิต ให้จับเอาแต่สัตว์ที่เป็นของกินได้สำหรับคนเท่านั้น;" เพราะ

เหตุนั้น จึงให้จับทั้งจำพวก ช้าง ม้า และมนุษย์ (ด้วย). พระราชา

ทรงดำริว่า " ความเป็นอยู่ของเรานั่นแหละเป็นลาภของเรา" จึงตรัสว่า

" ท่านจงจับสัตว์ทุกชนิดเร็ว." พวกมนุษย์ผู้ได้รับสั่ง ก็จับเอามากเกิน

ประมาณ.

๑. เวท ๓ คือ อิรุพเพท เป็นคัมภีร์มีคาถากล่าวถึงชื่อเทวดาและอ้อนวอนขอให้ช่วยกำจัดภัย

ต่าง ๆ ๑ ยชุพเพท เป็นคัมภีร์กล่าวถึงพิธีการบูชายัญ เช่น เซ่นสรวงต่าง ๆ ๑ สามเพท เป็น

คัมภีร์กล่าวถึงอุบายชนะศึก ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 160

บาลีโกสลสังยุต

จริงอยู่ พระธรรมสังคาหกาจารย์ กล่าวแม้คำนี้ไว้ในโกสลสังยุต

" ก็โดยสมัยนั้นแล ยัญใหญ่เป็นอาการปรากฏเฉพาะ แก่พระเจ้าปเสนทิ-

โกศลแล้ว, โคอุสภะ ๕๐๐ ลูกโคผู้ ๕๐๐ ลูกโคตัวเมีย ๕๐๐ แพะ

๕๐๐ แกะ ๕๐๐ ถูกนำเข้าไปหาหลักแล้ว เพื่อประโยชน์แก่ยัญ, สัตว์

เหล่านั้นแม้ใด คือทาสก็ดี, ทาสีก็ดี, คนใช้ก็ดี, กรรมกรก็ดี, ย่อมมี

เพื่อยัญนั้น, สัตว์แม้เหล่านั้น, ถูกเขาคุกคามด้วยอาญา ถูกภัยคุกคาม

แล้ว มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้ กระทำบริกรรม (คร่ำครวญ ) อยู่."

พระนางมัลลิกาทรงเปลื้องทุกข์ของสัตว์

มหาชน คร่ำครวญอยู่เพื่อประโยชน์แก่หมู่ญาติของตน ๆ ได้ร้อง

เสียงดังแล้ว; เสียงนั้น ได้เป็นราวกะว่าเสียงถล่มแห่งมหาปฐพี. ครั้งนั้น

พระนางมัลลิกาเทวี ทรงสดับเสียงนั้นแล้ว เสด็จไปสู่ราชสำนักทูลถามว่า

" ข้าแต่มหาราช เพราะเหตุไรหนอแล ? พระอินทรีย์ของพระองค์ไม่

เป็นปกติ พระองค์ย่อมทรงปรากฏดุจมีพระรูปอิดโรย."

ราชา. ประโยชน์อะไรของเธอเล่า ? มัลลิกา, เธอไม่รู้อสรพิษ

เลื้อยอยู่ในที่ใกล้หูของเราหรือ ?

มัลลิกา. นั้นเหตุอะไร ? พระเจ้าข้า.

ราชา. ในส่วนราตรี เราได้ยินเสียงชื่อเห็นปานนี้, เราจึงถาม

ปุโรหิต ได้สดับว่า 'อันตรายแห่งชีวิตย่อมปรากฏแก่พระองค์, พระ-

องค์ทรงบูชายัญ มีสัตว์ชนิดละ ๑๐๐ ทุกชนิดแล้ว จักได้ชีวิต' เรา

๑. ส. ส. ๑๕/๑๐๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 161

จึงคิดว่า 'ความเป็นอยู่ของเรานั่นแหละ เป็นลาภของเรา' จึงสั่งให้จับ

สัตว์เหล่านั้นไว้แล้ว.

พระนางมัลลิกาเทวี ทูลว่า "ข้าแต่มหาราช พระองค์เป็นคน

อันธพาล; ทรงมีภักษามก พระองค์ย่อมเสวยโภชนะอันหุงด้วยข้าวตั้ง

ทะนาน มีสูปะและพยัญชนะหลาก ๆ หลายอย่าง พระองค์ทรงราชย์ใน

แคว้นทั้งสอง ก็จริง แต่พระปัญญาของพระองค์ยังเขลา."

ราชา. เพราะเหตุไร ? เธอจึงพูดอย่างนั้น.

มัลลิกา. การได้ชีวิตของคนอื่น เพราะการตายของคนอื่น พระ-

องค์เคยเห็น ณ ที่ไหน ? เพราะเหตุไร พระองค์จึงทรงเชื่อถ้อยคำของ

พราหมณ์ผู้อันธพาลแล้ว โยนทุกข์ไปในเบื้องบนของมหาชนเล่า ? พระ-

ศาสดา ผู้เป็นอัครบุคคลของโลกทั้งเทวโลก มีพระญาณไม่ขัดข้องในกาล

ทั้งหลายมีอดีตกาลเป็นต้น ประทับอยู่ในวิหารใกล้เคียง, พระองค์ทูลถาม

พระศาสดานั้นแล้ว จงทรงกระทำตามพระโอวาทของพระองค์เถิด.

ครั้งนั้นแล พระราชา เสด็จไปวิหารกับพระนางมัลลิกา ด้วยยาน

เบา ถูกมรณภัยคุกคามแล้ว ไม่อาจทูลอะไร ๆ ได้ ถวายบังคมพระศาสดา

แล้ว ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทักทาย

พระราชานั้นก่อนว่า "เชิญเถิด มหาบพิตร พระองค์เสด็จมาจากไหนแต่

ยังวันนักเล่า ?" พระราชาแม้นั้น ก็ทรงนั่งนิ่งเงียบเสีย. ลำดับนั้น

พระนางมัลลิกา กราบทูลแด่พระผู้มีพระผู้มีภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ได้ทราบว่า พระราชาทรงสดับเสียง (ประหลาด) ในระหว่างแห่ง

มัชฌิมยาม, เมื่อเช่นนั้นท้าวเธอจึงทรงบอกเหตุนั้นแก่ปุโรหิต, ปุโรหิต

กราบทูลว่า 'อันตรายแห่งชีวิตจักมีแก่พระองค์, เมื่อพระองค์จับสัตว์อย่างละ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 162

๑๐๐ ทุกชนิด บูชายัญด้วยโลหิตในคอของสัตว์เหล่านั้น เพื่อประโยชน์

แก่อันขจัดอันตรายนั้น. พระองค์จักได้ชีวิต,' พระราชาให้จับสัตว์ไว้

เป็นอันมาก; เพราะเหตุนั้น หม่อมฉันจึงนำพระราชามา ณ ที่นี้."

พระศาสดา. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ? มหาบพิตร.

ราชา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เสียง พระองค์ทรงสดับแล้ว อย่างไร ?

พระราชานั้น ทูลโดยทำนองที่พระองค์สดับแล้ว. แสงสว่างเป็น

อันเดียวได้ปรากฏแด่พระตถาคต เพราะทรงสดับเนื้อความนั้น. ลำดับ

นั้น พระศาสดา ตรัสกะพระราชานั้นว่า "พระองค์อย่าทรงหวาดหวั่น

เลย มหาบพิตร, อันตรายไม่มีแก่พระองค์, สัตว์ทั้งหลายผู้มีกรรมลามก

เมื่อกระทำทุกข์ของตน ๆ ให้แจ้ง จึงกล่าวอย่างนี้." พระราชา ทูลว่า

" ก็กรรมอะไร ? อันสัตว์เหล่านั้นกระทำไว้ พระเจ้าข้า."

พระศาสดาทรงแสดงโทษปรทาริกกรรม

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงกรรมของสัตว์นรกเหล่านั้น จึง

ตรัสว่า "ถ้ากระนั้น พระองค์จงทรงสดับ มหาบพิตร" แล้วทรงนำ

อดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า:-

ในอดีตกาล เมื่อมนุษย์มีอายุ ๒ หมื่นปี พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม

ว่า กัสสป อุบัติขึ้นในโลก เสด็จเที่ยวจาริกไปกับด้วยพระขีณาสพ ๒ หมื่น

ได้เสด็จถึงกรุงพาราณสี. ชาวกรุงพาราณสี ๒ คนบ้าง ๓ คนบ้าง มาก

กว่าบ้าง รวมเป็นพวกเดียวกัน ยังอาคันตุกทานให้เป็นไปแล้ว. ในกาล

นั้น ในกรุงพาราณสีได้มีเศรษฐีบุตร ๔ คน มีสมบัติ ๔๐ โกฏิ เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 163

สหายกัน เศรษฐีบุตรเหล่านั้น ปรึกษากันว่า ในเรือนของพวกเรามี

ทรัพย์มาก พวกเราจะกระทำอะไรด้วยทรัพย์นั้น."

เมื่อพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น เสด็จเที่ยวจาริกไปอยู่ บรรดาเศรษฐี

บุตรเหล่านั้น มิได้กล่าวว่า พวกเราจักถวายทาน จักกระทำบูชา จักรักษา

ศีล" คนหนึ่งกล่าวอย่างนี้ก่อนว่า" พวกเราดื่มสุราที่เข้ม เคี้ยวกินเนื้อ

มีที่รสอร่อย จักเที่ยวไป ชีวิตนี้ของพวกเราจักมีผล."

อีกคนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า "พวกเราจักบริโภคภัตแห่งข้าวสาร

แห่งข้าวสาลีมีกลิ่นหอมที่เก็บค้างไว้ ๓ ปี ด้วยรสเลิศต่าง ๆ เที่ยวไป."

อีกคนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า " พวกเราจักให้เขาทอดของควรเคี้ยว

แปลก ๆ มีประการต่าง ๆ เคี้ยวกินเที่ยวไป."

อีกคนหนึ่ง กล่าวอย่างนั้นว่า " แน่ะเพื่อน พวกเราจักไม่กระทำ

กิจอะไร ๆ แม้อย่างอื่น. หญิงทั้งหลาย เมื่อเรากล่าวว่า 'จักให้ทรัพย์.'

ชื่อว่าไม่ปรารถนา ย่อมไม่มี; เพราะเหตุนั้น พวกเรารวบรวมทรัพย์ไว้

แล้ว จักประเล้าประโลม (หญิง) ทำปรทาริกกรร (การประพฤติ

ผิดในภรรยาของชายอื่น)."

เศรษฐีบุตรทั้งหมด รับคำว่า "ดีล่ะ ๆ" ได้ตั้งอยู่ในถ้อยคำ

ของคนที่ ๔ นั้น. จำเดิมแต่นั้นมา เศรษฐีบุตรเหล่านั้น ส่งทรัพย์ไป

เพื่อ (บำเรอ) หญิงที่มีรูปงาม กระทำปรทาริกกรรมตลอด ๒ หมื่นปี

กระทำกาละแล้ว บังเกิดในอเวจีมหานรก.

เศรษฐีบุตรเหล่านั้น ไหม้แล้วในนรกสิ้นพุทธันดรหนึ่ง กระทำ

กาละในนรกนั้น ด้วยเศษผลกรรม ก็เกิดในโลหกุมภีนรก (อันลึก)

๖๐ โยชน์ (จมลง) ถึงพื้นภายใต้ ๓ หมื่นปี (ลอยขึ้นมา) ถึงปาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 164

หม้อโดย ๓ หมื่นปีอีก เป็นผู้ใคร่จะกล่าวคาถาตนละคาถา ( แต่) ไม่

อาจจะกล่าวได้ กล่าวตนละอักษรแล้ว ก็หมุนกลับลงไปสู่ก้นหม้ออย่างเดิม

อีก. พระองค์จงบอก มหาบพิตร, พระองค์ได้สดับเสียงข้ออย่างไร ?

ทีแรก. "

พระราชา. เสียงว่า ทุ. พระเจ้าข้า.

พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงคาถาที่สัตว์นรกนั้น กล่าวไม่เต็ม

ทำให้เต็ม จึงตรัสอย่างนี้ว่า :-

" เราทั้งหลายเหล่าใด เมื่อโภคะทั้งหลายมีอยู่

ไม่ได้ถวายทาน, ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน, พวกเรา

เหล่านั้น จัดว่ามีชีวิตอยู่ชั่วช้าแล้ว."

ลำดับนั้น พระศาสดา ครั้นทรงประกาศเนื้อความแห่งคาถานี้แก่

พระราชาแล้ว จึงตรัสถามว่า " มหาบพิตร เสียงที่ ๒, เสียงที่ ๓,

เสียงที่ ๔, พระองค์ได้สดับอย่างไร ?" เมื่อพระราชาทูลว่า "ชื่อ

อย่างนั้น พระเจ้าข้า" เมื่อจะทรงยิ่งอรรถที่เหลือให้บริบูรณ์ จึงตรัส

( คาถา ) ว่า :-

" เมื่อเราทั้งหลาย ถูกไฟไหม้อยู่ในนรกครบ ๖

หมื่นปี โดยประการทั้งปวง, เมื่อไร ที่สุดจัก

ปรากฏ ? ผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย ที่สุดย่อมไม่มี, ที่สุด

จักมีแต่ที่ไหน ? ที่สุดจะไม่ปรากฏ. เพราะว่ากรรมชั่ว

อันเราและท่านได้กระทำไว้แล้วในกาลนั้น. เรานั้น

ไปจากที่นี่แล้ว ได้กำเนิดเป็นมนุษย์ จักเป็นผู้รู้

๑. ปาฐะว่า เยสนฺโน ฯ เยสโน เป็น ฉฏฺิปจฺจตฺตตฺถ ฯ บางปาฐะว่า เย สนฺเต ก็มี ฯ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 165

ถ้อยคำที่ยาจกกล่าว ถึงพร้อมด้วยศีล ทำกุศลให้มาก

แน่."

พระศาสดา ครั้นตรัสคาถาเหล่านี้โดยลำดับ ประกาศเนื้อความ

แล้ว จึงตรัสว่า " มหาบพิตร ชนทั้ง ๔ นั้น ปรารถนาจะกล่าวคาถา

คนละคาถา เมื่อไม่อาจจะกล่าวได้ กล่าวคนละอักษรเท่านั้น และลง

ไปสู่โลหกุมภีนั้นนั่นแลอีก ด้วยประการฉะนี้แล."

ได้ยินว่า จำเดิมแต่กาลแห่งเสียงนั้น อันพระเจ้าปเสนทิโกศลทรง

สดับแล้ว ชนเหล่านั้น พลัดลงไป ณ ภายใต้อย่างเดิม แม้จนวันนี้ก็ยัง

ไม่ล่วงหนึ่งพันปี. ความสังเวชใหญ่ ได้เกิดขึ้นแก่พระราชา เพราะทรง

สดับเทศนานั้น. ท้าวเธอทรงดำริว่า "ชื่อว่าปรทาริกกรรมนี้หนักหนอ,

ได้ยินว่า ชนทั้ง ๔ ไหม้แล้วในอเวจีนรก ตลอดพุทธันดรหนึ่ง จุติ

จากอเวจีนรกนั้นแล้ว เกิดในโลหกุมภี อันลึก ๖๐ โยชน์ ไหม้แล้วใน

โลหกุมภีนั้น ถึง ๖ หมื่นปี, แม้อย่างนี้ กาลเป็นที่พ้นจากทุกข์ของชน

เหล่านั้น ยังไม่ปรากฏ; แม้เราทำความเยื่อใยในภรรยาของชายอื่น ไม่

ได้หลับตลอดคืนยังรุ่ง, บัดนี้ จำเดิมแต่นี้ไปเราจักไม่ผูกความพอใจใน

ภรรยาของชายอื่นละ" จึงกราบทูลพระตถาคตว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ทราบความที่แห่งราตรีนานในวันนี้."

ฝ่ายบุรุษนั้น นั่งอยู่ในที่นั้นนั่นแล ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว คิดว่า

" ปัจจัยมีกำลัง เราได้แล้ว" จึงกราบทูลพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ พระราชา ทรงทราบความที่แห่งราตรีนาน ในวันนี้ก่อน,

ส่วนข้าพระองค์เองได้ทราบความที่แห่งโยชน์ไกลในวันวาน."

๑. ขุ. เปต. ๒๖/๒๕๗.

๒. คำว่า อฏฺ...สี. ม. ยุ. เป็น ตตฺถ...

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 166

พระศาสดา ทรงเทียบเคียงถ้อยคำของคนแม้ทั้งสองแล้ว ตรัสว่า

" ราตรีของคนบางคนย่อมเป็นเวลานาน, โยชน์ของคนบางคนเป็นของ

ไกล, ส่วนสงสารของคนพาลย่อมเป็นสภาพยาว" เมื่อจะทรงแสดงธรรม

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑. ทีฆา ชาครโต รตฺติ ทีฆ สนฺตสฺส โยชน

ทีโฆ พาลาน สสาโร สทฺธมฺม อวิชานต.

"ราตรีของคนผู้ตื่นอยู่ นาน, โยชน์ของคนล้า

แล้ว ไกล, สงสารของคนพาลทั้งหลาย ผู้ไม่รู้อยู่

ซึ่งสัทธรรม ย่อมยาว."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทีฆา เป็นต้น ความว่า ชื่อว่าราตรี

นี้มีเพียง ๓ ยามเท่านั้น, แต่สำหรับผู้ตื่นอยู่ อยู่ข้างนาน คือว่า ย่อม

ปรากฏเป็นราวกะว่า ๒ เท่า ๓ เท่า; บุคคลผู้เกียจคร้านมาก ทำตนให้

เป็นเหยื่อของหมู่เรือด นอนกลิ้งเกลือกอยู่ตลอดจนพระอาทิตย์ขึ้นก็ดี

ผู้เสพกาม บริโภคโภชนะที่ดีแล้ว นอนอยู่บนที่นอนอันเป็นสิริก็ดี ย่อม

ไม่รู้ความที่ราตรีนั้นนาน, ส่วนพระโยคาวจร ผู้เริ่มตั้งความเพียรตลอด

คืนยังรุ่งก็ดี พระธรรมกถึก แสดงพระธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่งก็ดี บุคคล

ผู้นั่งฟังธรรมอยู่ในที่ใกล้อาสนะตลอดคืนยังรุ่งก็ดี ผู้ที่ถูกโรคทั้งหลาย

มีโรคในศีรษะเป็นต้นถูกต้องแล้ว หรือผู้ถึงทุกข์ มีการตัดมือและเท้า

เป็นต้น ถูกเวทนาครอบงำก็ดี คนเดินทางไกล เดินทางตลอดคืนก็ดี

ย่อมรู้ความที่ราตรีนั้นนาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 167

บทว่า โยชน์ เป็นต้น ความว่า แม้โยชน์ก็มีเพียง ๔ คาวุต

เท่านั้น, แต่สำหรับผู้ล้าแล้ว คือผู้บอบช้ำแล้ว อยู่ข้างไกล คือว่า ย่อม

ปรากฏเป็นราวกะว่า ๒ เท่า ๓ เท่า. จริงอยู่ คนเดินทางตลอดทั้งวัน

ล้าแล้ว พบคนเดินสวนทางมา ถามว่า "บ้านข้างหน้าไกลเท่าไร ?"

เมื่อเขาบอกว่า "โยชน์หนึ่ง" ไปได้หน่อยหนึ่ง ก็ถามคนแม้อื่นอีก,

แม้เมื่อคนอื่นนั้นบอกว่า " โยชน์หนึ่ง" ไปได้หน่อยหนึ่งอีก ก็ถามแม้

คนอื่นอีก, แม้เขาก็กล่าวว่า "โยชน์หนึ่ง" คนเหล่านั้น ถูกคนผู้เดิน

ทางนั้นถามแล้ว ๆ ก็บอกว่า "โยชน์หนึ่ง" เขาคิดว่า โยชน์นี้ ไกล

จริงหนอ" ย่อมสำคัญโยชน์หนึ่งเป็นราวกับว่า ๒-๓ โยชน์.

บทว่า พาลาน เป็นต้น ความว่า ส่วนสงสารของชนพาลทั้งหลาย

ผู้ไม่รู้ประโยชน์ในโลกนี้และประโยชน์ในโลกหน้า คือผู้ไม่อาจเพื่อกระทำ

ที่สุดแห่งสังสารวัฏ ผู้ไม่รู้แจ้งสัทธรรม อันต่างด้วยธรรม มีโพธิปักขิย-

ธรรม ๓๗ เป็นต้น ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายรู้แล้วกระทำที่สุดแห่งสงสารได้

ย่อมชื่อว่ายาว. แท้จริง สงสารนั้น ชื่อว่ายาว ตามธรรมดาของตนเอง.

สมจริงดังพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย สงสาร

นี้มีที่สุดอันใคร ๆ ไปตามไม่รู้แล้ว เบื้องต้น เบื้องปลา (แห่ง

สงสารนั้น) ย่อมไม่ปรากฏ." แต่สำหรับชนพาลทั้งหลาย ผู้ไม่สามารถ

จะทำที่สุดได้ ย่อมยาวแท้ทีเดียว.

ในกาลจบเทศนา บุรุษนั้น บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ชนแม้เหล่า

อื่นเป็นอันมาก ก็บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น เทศนา

มีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

๑. ส. นิทาน. ๑๖/๒๑๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 168

พระราชาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กำลังเสด็จไป รับสั่งให้

ปล่อยสัตว์เหล่านั้น จากเครื่องจองจำแล้ว. บรรดามนุษย์และสัตว์เหล่า

นั้น หญิงและชายทั้งหลาย พ้นจากเครื่องผูก สนานศีรษะแล้วไปสู่เรือน

ของตน ๆ กล่าวสรรเสริญพระคุณแห่งพระนางมัลลิกาว่า เราทั้งหลาย

ได้ชีวิตเพราะอาศัยพระเทวีองค์ใด ขอพระนางมัลลิกาพระเทวีองค์นั้น

ผู้เป็นพระแม่เจ้าของเราทั้งหลาย จงทรงพระชนม์อยู่ตลอดกาลนานเทอญ."

ในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า "น่าสรร-

เสริญ ! พระนางมัลลิกานี้ฉลาดหนอ ทรงอาศัยพระปัญญาของพระองค์

ได้ให้ชีวิตทานแก่ชนมีประมาณเท่านี้แล้ว."

พระนางมัลลิกาเคยช่วยทุกข์คนในชาติก่อน

พระศาสดาเสด็จนาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอ

ทั้งหลาย นั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบ

ทูลว่า "ด้วยถ้อยคำชื่อนี้" ภิกษุทั้งหลาย พระนางมัลลิกา ทรงอาศัย

พระปัญญาของตน ให้ชีวิตทานแก่มหาชนในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ ถึงใน

กาลก่อน พระนางก็ได้ให้แล้วเหมือนกัน" เมื่อจะทรงประกาศความนั้น

จึงทรงน่าอดีตนิทานมา (ตรัส ) ว่า.

ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้าพาราณสีเข้าไปสู่ต้นไทรต้นหนึ่ง

แล้ว ทรงอ้อนวอนเทวดาผู้เกิด ณ ต้นไทรนั้นว่า "ข้าแต่เทวราชผู้เป็น

เจ้า ในชมพูทวีปนี้ มีพระราชา ๑๐๑ พระอัครมเหสี ๑๐๑, ถ้าข้าพเจ้า

จักได้ราชสมบัติโดยกาลล่วงไปแห่งบิดาไซร้, ข้าพเจ้าจักทำพลีด้วยเลือด

ในลำคอของพระราชาและพระอัครมเหสีเหล่านั้น." พระกุมารนั้น เมื่อ

พระบิดาสวรรคตแล้ว ได้รับราชสมบัติ (สมพระประสงค์) ทรงคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 169

"เราได้รับราชสมบัติด้วยอานุภาพของเทวดา เราจักทำพลีแก่เทวดานั้น"

จึงเสด็จออกไปด้วยเสนาหมู่ใหญ่ ยังพระราชาพระองค์หนึ่ง ให้เป็นไป

ในอำนาจของตนแล้ว ทำพระราชาพระองค์อื่นและอื่นอีก กับด้วยพระ-

ราชาพระองค์นั้น ให้อยู่ในอำนาจของตน ทำพระราชาทั้งหมดให้อยู่ใน

อำนาจของตน ด้วยประการฉะนี้แล้ว ทรงพาไปพร้อมกับพระอัครมเหสี

ทั้งหลาย. ทรงละพระเทวีพระนามว่าธัมมทินนา ผู้ทรงพระครรภ์แก่

ซึ่งเป็นพระอัครมเหสีของพระราชาพระนามว่าอุคคเสน ซึ่งเป็นพระราชา

องค์เล็กว่าพระราชาทั้งปวงไว้ เสด็จไป ทรงดำริว่า " เราจักให้ชน

เหล่านี้ดื่มน้ำเจือยาพิษให้ตาย" จึงให้ชนทั้งหลายชำระโคนไม้ให้สะอาด

แล้ว .

เทวดาคิดว่า "พระราชาองค์นี้ เมื่อจับพระราชาประมาณเท่านี้

ทรงอาศัยเราจึงจับ, ท้าวเธอทรงใคร่จะทำพลีกรรมแก่เราด้วยโลหิตใน

ลำพระศอของพระราชาเหล่านั้น, ก็ถ้าพระราชานี้ จักทรงสำเร็จโทษ

พระราชาเหล่านั้นไซร้. พระราชวงศ์ในชมพูทวีปจักขาดสูญ, แม้โคนไม้

ของเรา ก็จักไม่สะอาด, เราจักอาจห้ามพระราชานั้นได้ไหมหนอแล ?"

เทวดานั้น ใคร่ครวญอยู่ก็รู้ว่า " เราจักไม่อาจ" จึงเข้าไปหาเทวดาองค์

อื่น บอกเนื้อความนั้นแล้ว กล่าวว่า "ท่านจักอาจหรือ ?" เทวดานั้น

แม้อันเทวดา (ที่ถูกถาม ) นั้นห้ามแล้ว, จึงเข้าไปหาเทวดาในจักรวาล

ทั้งสิ้น อย่างนี้คือ 'เข้าไปหาเทวดาองค์อื่นและองค์อื่น' แม้ถูกเทวดา

เหล่านั้นห้ามแล้ว จึงไปสำนักของท้าวมหาราชทั้งสี่ ในเวลาที่แม้ท้าว-

มหาราชทั้งสี่นั้น ห้ามแล้วด้วยคำว่า "พวกเราไม่อาจ, แต่ว่าพระราชา

ของเราทั้งหลาย เป็นผู้วิเศษกว่าพวกเราด้วยบุญและปัญญา, ท่านจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 170

ทูลถามพระราชานั้นเถิด" ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าท้าวสักกะ กราบทูล

เนื้อความนั้นแล้ว ทูลว่า " ขอเดชะ เมื่อพระองค์ถึงความเป็นผู้ขวนขวาย

น้อยเสียแล้ว ขัตติยวงศ์จักขาดสูญ, ขอพระองค์จงทรงเป็นที่พำนักแห่ง

ขัตติยวงศ์นั้นเถิด."

ท้าวสักกะตรัสว่า "แม้เราก็ไม่อาจเพื่อจะห้ามพระราชานั้น, แต่

จักบอกอุบายแก่ท่าน" แล้วทรงบอกอุบายว่า "ไปเถิดท่าน. เมื่อพระ-

ราชาทรงเห็นอยู่นั้นแหละ. ท่านจงนุ่งผ้าแดง แสดงอาการดุจออกไปจาก

ต้นไม้ของตน, เมื่อเช่นนั้น พระราชาทรงดำริว่า 'เทวดาของเราไปอยู่'

เราจักให้เทวดานั้นกลับมา" แล้วจักอ้อนวอนท่านด้วยประการต่าง ๆ,

เมื่อเช่นนั้น ท่านพึงกล่าวกะพระราชานั้นว่า 'ท่านบนต่อเราไว้ว่า จัก

นำพระราชา ๑๐๑ กับพระอัครมเหสีทั้งหลายมาทำพลีด้วยโลหิตในลำพระ-

ศอของพระราชาเหล่านั้น' (แต่) ทรงทิ้งพระเทวีของพระอุคคเสนไว้

แล้วเสด็จมา; เราจักไม่รับพลีของคนผู้มักพูดเท็จ เช่นกับพระองค์; นัยว่า

เมื่อท่านกล่าวอย่างนั้น พระราชาจักให้นำพระเทวีนั้นมา, พระเทวีนั้น

จักแสดงธรรมแก่พระราชา ให้ชีวิตทานแก่ชนมีประมาณเท่านี้." ท้าว-

สักกะ ตรัสบอกอุบายนี้แก่เทวดาด้วยเหตุนี้. เทวดาได้กระทำตามนั้น

แล้ว แม้พระราชาก็รับสั่งให้นำพระเทวีนั้นมาแล้ว.

เทวดาบูชาพระนางมัลลิกา

พระเทวีนั้นมาถวายบังคมพระราชา (ผู้สวามี) ของตนเท่านั้น

แม้ประทับนั่ง ณ ที่สุดแห่งพระราชาเหล่านั้น, พระราชากริ้วต่อพระเทวี

นั้นว่า "เมื่อเราดำรงอยู่ในตำแหน่งผู้ใหญ่กว่าพระราชาทั้งปวง นางยัง

ไหว้สามีของตน ซึ่งเป็นผู้น้อยกว่าพระราชาทั้งปวงได้." ลำดับนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 171

พระเทวีทูลพระราชานั้นว่า "เรื่องอะไรของหม่อมฉันต้องเกี่ยวข้องใน

พระองค์เล่า ? ก็พระราชาพระองค์นี้ เป็นสามีผู้ให้ความเป็นใหญ่แก่

หม่อมฉัน, หม่อมฉันไม่ไหว้พระราชาพระองค์นี้แล้ว จักไหว้พระองค์

เพราะเหตุไร ?" เมื่อชนนั้นเห็นอยู่นั้นเทียว รุกขเทวดากล่าวว่า "อย่าง

นั้น พระเทวีผู้เจริญ. อย่างนั้น พระเทวีผู้เจริญ" แล้วบูชาพระเทวี

นั้น ด้วยดอกไม้กำมือหนึ่ง.

พระราชา ตรัสอีกว่า "ถ้าเธอไม่ไหว้เราไซร้. เพราะเหตุไร

จึงไม่ไหว้เทวดาของเราผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้ ผู้ให้สิริแห่งความเป็น

พระราชาเล่า ?" พระเทวีทูลว่า "ข้าแต่มหาราช พระราชาทั้งหลาย

อันพระองค์ทรงตั้งอยู่ในบุญของพระองค์ จึงจับได้, ไม่ใช่เทวดาจับ

ถวาย." เทวดากล่าวกะพระเทวีอีกว่า "อย่างนั้น พระเทวีผู้เจริญ,

อย่างนั้น พระเทวีผู้เจริญ" แล้วบูชาเหมือนอย่างนั้น.

พระเทวีนั้นทูลพระราชาอีกว่า " พระองค์ตรัสว่า ' พระราชา

ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้ เทวดาจับให้แก่เรา.' บัดนี้ ต้นไม้ถูกไฟไหม้

ณ ข้างซ้ายในเบื้องบนแห่งเทวดาของพระองค์ เพราะเหตุไร เทวดานั้น

จึงไม่อาจเพื่อจะยังไฟนั้นให้ดับได้ ? ถ้าเทวดามีอานุภาพมากอย่างนั้น."

เทวดากล่าวกะพระเทวีแม้อีกว่า " อย่างนั้น พระเทวีผู้เจริญ. อย่างนั้น

พระเทวีผู้เจริญ " แล้วบูชาเหมือนอย่างนั้น.

พระเทวียืนตรัสอยู่ ทั้งทรงพระกันแสง ทั้งทรงพระสรวล. ลำดับ

นั้น พระราชา ตรัสกะพระเทวีนั้นว่า "เธอเป็นบ้าหรือ ?"

พระเทวี. ขอเดชะ เพราะเหตุไร ? พระองค์จึงตรัสอย่างนั้น,

หญิงทั้งหลายผู้เช่นกับหม่อมฉัน ไม่ใช่เป็นบ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 172

พระราชา เมื่อเช่นนั้น เพราะเหตุไร เธอจึงร้องไห้และหัวเราะ ?

พระเทวี ทูลว่า "ขอพระองค์จงสดับเถิด มหาราช; ก็ในอดีต-

กาล หม่อมฉันเป็นกุลธิดา เมื่ออยู่ในตระกูลสามี เห็นแขกผู้เป็นสหาย

ของสามีมาแล้ว ใคร่เพื่อหุงข้าวเพื่อแขกนั้น จึงให้กหาปณะแก่นางทาสี

ด้วยสั่งว่า ' เจ้าจงซื้อเนื้อมา' เมื่อนางทาสีนั้นไม่ได้เนื้อมาแล้ว กล่าวว่า

' เนื้อไม่มี ' จึงตัดศีรษะแม่แพะที่นอนอยู่เบื้องหลังเรือน จัดแจงภัต

เสร็จ; หม่อมฉันนั้น ตัดศีรษะแม่แพะตัวเดียว ไหม้ในนรก ด้วยเศษ

ผลแห่งกรรม จึงได้ถูกตัดศีรษะด้วยการนับขนแม่แพะนั้น; พระองค์

สำเร็จโทษชนมีประมาณเท่านี้ เมื่อไรจักพ้นจากทุกข์ หม่อมฉันระลึกถึง

ทุกข์อันใหญ่ของพระองค์ดังนี้ อย่างนั้นจึงร้องไห้" ดังนี้แล้ว จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

" หม่อมฉันตัดคอแม่แพะตัวเดียว ไหม้อยู่แล้ว

( ในนรก ) ด้วยการนับขน ( แพะ ), ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เป็นกษัตริย์ พระองค์ตัดคอของมนุษย์เป็นอัน

มาก จักกระทำอย่างไร ?"

พระราชา. เมื่อเช่นนั้น เธอหัวเราะเพราะเหตุไร ?

พระเทวี. ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันยินดีว่า เราพ้นจากทุกข์นั้น

แล้ว' จึงหัวเราะ.

เทวดากล่าวกะพระเทวีนั้นอีกว่า " อย่างนั้น พระเทวีผู้เจริญ,

อย่างนั้น พระเทวีผู้เจริญ" แล้วบูชาด้วยดอกไม้กำมือหนึ่ง.

พระราชา ทรงดำริว่า "น่าสลด ! กรรมของเราหนัก ได้ยินว่า

พระเทวีนี้ ฆ่าแม่แพะตัวเดียว ไหม้ในนรกแล้ว ด้วยเศษแห่งผลกรรม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 173

ถูกตัดศีรษะด้วยการนับขนแห่งแม่แพะนั้น, เราฆ่าชนมีประมาณเท่านี้

จักถึงความสวัสดีเมื่อไร ?" ดังนี้แล้ว จึงทรงปล่อยพระราชาทั้งหมด

ถวายบังคมพระราชาผู้แก่กว่าตน ทรงประคองอัญชลีแก่พระราชาที่หนุ่ม

กว่า ยังพระราชาทั้งหมดให้ทรงอดโทษแล้ว ทรงส่งไปสู่ที่ของตน ๆ

อย่างเดิม.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า

" อย่างนั้นภิกษุทั้งหลาย พระนางมัลลิกาอาศัยปัญญาของตน ประทาน

ชีวิตทานแก่มหาชนในบัดนี้เท่านั้นหามิได้. ถึงในกาลก่อน พระนางก็ได้

ประทานแล้วเหมือนกัน" แล้วทรงประชุมเรื่องอดีตว่า " พระเจ้า

พาราณสี ในกาลนั้น ได้เป็นพระเจ้าปเสนทิโกศล, พระนางธัมมทินนาเทวี

เป็นพระนางมัลลิกา, รุกขเทวดาคือเราเอง." ครั้นทรงประชุมเรื่องอดีต

อย่างนั้นแล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมอีก จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย

ชื่อว่าปาณาติบาตเป็นโทษ ไม่สมควรที่บุคคลจะพึงกระทำ, เพราะว่า

บุคคลผู้ฆ่าสัตว์เป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกสิ้นกาลนาน" จึงตรัสพระคาถา

นี้ว่า :-

"ถ้าสัตว์ทั้งหลายพึงรู้อย่างนี้ว่า ชาติสมภพ

นี้เป็นทุกข์, สัตว์ไม่พึงฆ่าสัตว์ เพราะว่า ผู้ฆ่าสัตว์

เป็นปกติ ย่อมเศร้าโศก."

เรื่องบุรุษคนใดคนหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 174

๒. เรื่องสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ [๔๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภสัทธิวิหาริก

ของพระมหากัสสปเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "จรญฺเจ นาธิคจฺ-

เฉยฺย" เป็นต้น.

ผู้เกียจคร้านมักอ้างความดีของคนอื่น

เทศนาตั้งขึ้นในกรุงราชคฤห์. ได้ยินว่า สัทธิวิหาริก ๒ รูป

อุปัฏฐากพระเถระผู้อาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ในถ้ำปิปผลิ. บรรดาภิกษุ ๒ รูป

นั้น รูปหนึ่งกระทำวัตรโดยเคารพ, รูปหนึ่งแสดงวัตรที่ภิกษุนั้นกระทำ

แล้วเป็นเหมือนคนกระทำ รู้ความที่น้ำล้างหน้าและไม้ชำระฟันอันภิกษุ

นั้นจัดแจงแล้ว จึงเรียน ( พระเถระ) ว่า "น้ำล้างหน้าและไม้ชำระฟัน

กระผมจัดแจงแล้ว ขอรับ, ขอท่านจงล้างหน้าเถิด." แม้ในกาลทำกิจมี

การล้างเท้าและสรงน้ำเป็นต้น ก็ย่อมเรียนอย่างนั้นเหมือนกัน.

ภิกษุนอกนี้ คิดว่า "ภิกษุนี้ย่อมแสดงวัตรที่เรากระทำแล้ว เป็น

เหมือนว่าตนกระ.แล้วตลอดกาลเป็นนิตย์, ช่างเถิดข้อนั้น, เราจัก

กระทำสิ่งที่ควรกระทำแก่เธอ;" เมื่อภิกษุนั้น ฉันแล้ว หลับอยู่นั่นแล,

ต้มน้ำอาบแล้ว ตักใส่ในหม้อใบหนึ่ง ตั้งไว้หลังซุ้ม. แต่ให้เหลือนั่นไว้

ในภาชนะต้มน้ำประมาณกระบวยหนึ่ง แล้วดังไว้ให้พ่นไออยู่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 175

กรรมตามทัน

ในเวลาเย็น ภิกษุนอกนี้ตื่นขึ้น เห็นไอพลุ่งออกอยู่ จึงคิดว่า น้ำ

จักเป็นน้ำอันภิกษุนั้นต้มแล้วตั้งไว้ในซุ้ม" รีบไปไหว้พระเถระแล้วเรียน

ว่า "น้ำกระผมตั้งไว้ในซุ้ม ขอรับ, นิมนต์ท่านสรงเถิด" แล้วเข้าไป

สู่ซุ้มกับด้วยพระเถระเหมือนกัน. พระเถระ เมื่อไม่เห็นน้ำ จึงกล่าวว่า

"น้ำอยู่ที่ไหน ? คุณ " ภิกษุหนุ่มไปยังโรงไฟ จ้วงกระบวยลงในภาชนะ

รู้ความที่ภาชนะเปล่า จึงโพนทะนาว่า " ขอท่านจงดูกรรมของภิกษุหัวดื้อ

เธอยกภาชนะเปล่าขึ้นตั้งไว้บนเตา แล้วไปไหนเสีย ? กระผมเรียนด้วย

เข้าใจว่า " น้ำมีอยู่ในซุ้ม" ดังนี้แล้วก็ได้ถือเอาหม้อน้ำไปยังท่าน้ำ.

ฝ่ายภิกษุนอกนี้ นำเอาน้ำมาจากหลังซุ้มแล้วตั้งไว้ในซุ้ม. แม้

พระเถระ คิดว่า " ภิกษุหนุ่มรูปนี้ กล่าวว่า ' น้ำกระผมต้มตั้งไว้ใน

ซุ้มแล้ว, นิมนต์ท่านมาสรงเถิด ขอรับ' บัดนี้ โพนทะนาอยู่ถือเอา

หม้อไปสู่ท่าน้ำ, นี่เหตุอะไรหนอแล ?" ใคร่ครวญดู ก็รู้ว่า " ภิกษุ

หนุ่มรูปนั้น ประกาศกิจวัตรที่ภิกษุนี้กระทำแล้ว เป็นดังว่าตนกระทำแล้ว

ตลอดกาลเท่านี้ " ได้ให้โอวาทแก่เธอผู้มานั่งในเวลาเย็นว่า "คุณ ชื่อว่า

ภิกษุ กล่าวกิจที่ตนกระทำแล้วนั่นแหละว่า 'ตนกระทำแล้ว' ย่อมควร,

จะกล่าวกิจที่คนมิได้กระทำว่า เป็นกิจที่ตนกระทำแล้ว ย่อมไม่ควร,

บัดนี้ เธอกล่าวว่า "น้ำผมตั้งไว้ในซุ้ม, นิมนต์ท่านสรงเถิด ขอรับ '

เมื่อเราเข้าไปยืนอยู่, ถือหม้อน้ำโพนทะนาไป, ชื่อว่าบรรพชิตกระทำอย่าง

นั้น ย่อมไม่ควร ."

ภิกษุนั้น กล่าวว่า ท่านทั้งหลาย จงดูกรรมของพระเถระ,

พระเถระ อาศัยเหตุสักว่าน้ำ จึงกล่าวกะเราอย่างนี้" โกรธแล้วในวัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 176

รุ่งขึ้น ไม่เข้าไปบิณฑบาตกับพระเถระ. พระเถระไปสู่ประเทศแห่งหนึ่ง

กับภิกษุนอกนี้. เมื่อพระเถระไปแล้ว ภิกษุนั้น ไปสู่ตระกูลอุปัฏฐาก

ของพระเถระ ถูกอุปัฏฐากถามว่า "พระเถระไปไหน ? ขอรับ" จึง

บอกว่า " ความไม่ผาสุกเกิดแก่พระเถระ, ท่านนั่งอยู่ในวิหารนั่นเอง."

อุปัฏฐาก. ก็ได้อะไรเล่า จึงจะควร ? ขอรับ.

ภิกษุ. ได้ยินว่า ท่านทั้งหลายจงถวายอาหารชื่อเห็นปานนี้.

อุปัฏฐากทั้งหลาย ได้จัดแจงตามทำนองที่ภิกษุนั้นกล่าวนั่นเอง

ถวายแล้ว. ภิกษุนั้น ฉันอาหารนั้นในระหว่างหนทางแล ไปสู่วิหารแล้ว.

พระเถระจับความเลวทรามของศิษย์ได้

ฝ่ายพระเถระ ได้ผ้าเนื้อละเอียดผืนใหญ่ในที่ที่ไปแล้ว ก็ได้ให้

แก่ภิกษุหนุ่มผู้ไปกับด้วยตน. ภิกษุหนุ่มนั้น ย้อมผ้านั้นแล้ว ได้กระทำ

ให้เป็นผ้าสำหรับนุ่งห่มแห่งตน. ในวันรุ่งขึ้น พระเถระไปสู่ตระกูล

อุปัฏฐากนั้น, เมื่อพวกอุปัฏฐาก กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า

ทราบว่า 'ได้ยินว่า ความไม่ผาสุกเกิดแก่ท่าน' จึงจัดแจงอาหารส่งไป

โดยทำนองที่ภิกษุหนุ่มกล่าวนั่นเอง ความผาสุกเกิดแก่ท่านเพราะฉันแล้ว

หรือ ?" ก็นิ่งเสีย ก็พระเถระไปสู่วิหารแล้ว กล่าวกะภิกษุหนุ่มนั้นผู้

ไหว้แล้ว นั่งอยู่ในเวลาเย็นอย่างนี้ว่า " คุณ ได้ยินว่า วานนี้ เธอกระทำ

กรรมชื่อนี้, กรรมนี้ ไม่สมควรแก่บรรพชิตทั้งหลาย. บรรพชิตกระทำ

วิญญัติ ( ขอ) แล้วฉัน ย่อมไม่สมควร."

ประทุษร้ายแก่ผู้มีคุณตายไปเกิดในอเวจี

ภิกษุนั้น โกรธแล้ว ผูกอาฆาตในพระเถระว่า "ในวันก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 177

พระเถระอาศัยเหตุสักว่าน้ำ กระทำเราให้เป็นคนมักพูดเท็จ ในวันนี้

เพราะเหตุที่เราบริโภคภัตกำมือหนึ่งในสกุลอุปัฏฐากของตน จึงกล่าวกะ

เราว่า ' บรรพชิตกระทำวิญญัติบริโภค ย่อมไม่ควร' แม้ผ้าท่านก็ให้แก่

ภิกษุผู้บำรุงตนเท่านั้น; โอ ! กรรมของพระเถระหนัก, เราจักรู้สิ่งที่เรา

ควรกระทำแก่พระเถระนั้น" ในวันรุ่งขึ้น เมื่อพระเถระเข้าไปสู่บ้าน.

ส่วนตนพักอยู่ในวิหาร จับท่อนไม้ ทุบวัตถุทั้งหลาย มีภาชนะสำหรับ

ใช้สอยเป็นต้น แล้วจุดไฟที่บรรณศาลาของพระเถระ, สิ่งใดไฟไม่ไหม้,

เอาพลองทุบทำลายสิ่งนั้นแล้วออกหนีไป กระทำกาละแล้ว เกิดในอเวจี

มหานรก. มหาชนตั้งเรื่องสนทนากันว่า " ได้ยินว่า สัทธิวิหาริกของ

พระเถระ ไม่อดทนเหตุสักว่าการกล่าวสอน โกรธเผาบรรณศาลาแล้ว

หนีไป. "

ต่อมาภายหลัง ภิกษุรูปหนึ่ง ออกจากกรุงราชคฤห์ ใคร่จะเฝ้า

พระศาสดา ไปถึงพระเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดา อันพระศาสดา

ทรงกระทำปฏิสันถารแล้ว ตรัสถามว่า " เธอมาจากไหน ? ทูลว่า

"มาจากกรุงราชคฤห์ พระเจ้าข้า."

พระศาสดา. มหากัสสปบุตรเรา อยู่สบายหรือ ?

ภิกษุ. สบาย พระเจ้าข้า. แต่ว่า สัทธิวิหาริกของท่านรูปหนึ่ง

โกรธด้วยเหตุสักว่าการกล่าวสอน เผาบรรณศาลาแล้วหนีไป.

พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุนั้น พึงโอวาทแล้วโกรธในบัดนี้

เท่านั้นหามิได้. แม้ในกาลก่อน ก็โกรธแล้วเหมือนกัน . และภิกษุนั้น

ประทุษร้ายกุฎีในบัดนี้เท่านั้นหามิได้. แม้ในกาลก่อน ก็ประทุษร้ายแล้ว

เหมือนกัน;" ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัส) ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 178

เรื่องนกขมิ้นกับลิงวิวาทกัน

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในกรุง-

พาราณสี นกขมิ้นตัวหนึ่ง ทำรังอยู่ในหิมวันตประเทศ. ต่อมาวันหนึ่ง

เมื่อฝนกำลังตก, ลิงตัวหนึ่ง สะท้านอยู่เพราะความหนาว ได้ไปยังประเทศ

นั้น. นกขมิ้นเห็นลิงนั้น จึงกล่าวคาถาว่า:-

" วานร ศีรษะและมือเท้าของท่านก็มีเหมือน

ของมนุษย์, เมื่อเช่นนั้น เพราะโทษอะไรหนอ ?

เรือนของพ่านจึงไม่มี."

ลิง คิดว่า " มือและเท้าของเรามีอยู่ก็จริง, ถึงกระนั้น เรา

พิจารณาแล้ว พึงกระทำเรือนด้วยปัญญาใด, ปัญญานั้นของเราย่อมไม่มี."

ใคร่จะประกาศเนื้อความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

" นกขมิ้น ศีรษะและมือเท้าของเรา ย่อมมี

เหมือนของมนุษย์, บัณฑิตทั้งหลายกล่าวว่า ปัญญาใด

ประเสริฐในมนุษย์ทั้งหลาย, ปัญญานั้น ย่อมไม่มี

แม้แก่เรา."

ลำดับนั้น เมื่อนกขมิ้นจะติเตียนลิงนั้นว่า "การอยู่ครองเรือน

จักสำเร็จแก่ท่านผู้เห็นปานนี้ได้อย่างไร ?" จึงกล่าว ๒ คาถานี้ว่า:-

" สุขภาพ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีจิตไม่มั่นคง

มีจิตเบา (กลับกลอก) มักประทุษร้ายมิตร มีปกติ

ไม่ยังยืนเป็นนิตย์ ท่านนั้นจงกระทำอานุภาพเถิด

๑. ขุ. ชา. จตุกก. ๒๗/๑๒๔. อรรถกถา. ๔/๓๑๕.

๒. ถ้าตัดบท ยาห เป็น ยา - อหุ ก็แปลว่า แต่ข้าพเจ้าไม่มีปัญหา ที่เป็นสิ่งประเสริฐสุด

ในหมู่มนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 179

จงเป็นไปล่วงความเป็นปกติ (ของตน) เสีย,

จงกระทำกระท่อมเป็นที่ป้องกันหนาวและลมเกิด

กบี่."

ลิง คิดว่า "นกขมิ้นตัวนี้ ย่อมกระทำเราให้เป็นผู้มีจิตไม่มั่นคง

มีจิตเบา มักประทุษร้ายมิตร มีปกติไม่ยั่งยืน, บัดนี้ เราจักแสดงความ

ที่เรามักเป็นผู้ประทุษร้ายมิตรต่อมัน" จึงขยี้รังโปรยลงแล้ว. นกขมิ้น

เมื่อลิงนั้น จับเอารังอยู่นั่นแหละ หนีออกไปโดยข้างหนึ่งแล้ว.

ทรงประมวลชาดก

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประมวล

ชาดกว่า "ลิงในกาลนั้น ได้เป็นภิกษุผู้ประทุษร้ายกุฎีในบัดนี้, นก

ขมิ้น คือกัสสป." ครั้นประมวลชาดกนาแล้ว จึงตรัสว่า "อย่างนั้น

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ประทุษร้ายกุฎีในบัดนี้เท่านั้นหามิได้, แม้ใน

กาลก่อน ภิกษุนั้นโกระในเพราะโอวาทแล้ว ก็ประทุษร้ายกุฎีแล้ว

(เหมือนกัน); การอยู่ของกัสสปบุตรเราคนเดียวเท่านั้น ดีกว่าการอยู่

ร่วมกับคนพาลผู้เห็นปานนั้น" ดังนี้แล้ว ตรัสพะคาถานี้ว่า:-

๒. จรญฺเจ นาธิคจฺเฉยฺย เสยฺย สนทิสมตฺตโน

เอกจริย ทฬฺห กยิรา นตฺถิ พาเล สหายตา.

ถ้าบุคคลเมื่อเที่ยวไป ไม่พึงประสบสหายผู้

ประเสริฐกว่า ผู้เช่นกับ (ด้วยคุณ) ของตนไซร้,

พึงพำการเที่ยวไปคนเดียวให้มั่น, เพราะว่า คุณ

เครื่องเป็นสหาย ย่อมไม่มีในเพราะคนพาล"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 180

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า จร บัณฑิตพึงทราบการเที่ยวไป

ด้วยใจ ไม่เกี่ยวกับการเที่ยวไปด้วยอิริยาบถ. อธิบายว่า เมื่อแสวงหา

กัลยาณมิตร.

บาทพระคาถาว่า เสยฺย สทิสมตฺตโน ความว่า ถ้าไม่พึงได้

สหายผู้ยิ่งกว่า หรือผู้แม้กัน ด้วยคุณคือศีล สมาธิ ปัญญาของตน.

บทว่า เอกจริย ความว่า ก็ในสหายเหล่านั้น บุคคลเมื่อได้

สหายผู้ดีกว่า ย่อมเจริญด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น, เมื่อได้สหายผู้เช่นกัน

ย่อมไม่เสื่อมจากคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น, แต่เมื่ออยู่โดยร่วมกันกับสหาย

ที่เลว ทำการสมโภคและบริโภคโดยความเป็นพวกเดียวกัน ย่อมเสื่อม

จากคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำนี้ว่า "บุคคลผู้เห็น

ปานนั้น อันบัณฑิตไม่พึงเสพ ไม่พึงคบ ไม่พึงเข้าไปนั่งใกล้, เว้น ไว้

แต่ความเอ็นดู เว้นไว้แต่ความอนุเคราะห์."

เพราะเหตุนั้น หากบุคคลอาศัยความการุญ คิดว่า " บุคคลนี้

อาศัยเรา จักเจริญด้วยคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้น" ไม่หวังตอบแทนอยู่ซึ่ง

วัตถุอะไร ? จากบุคคลนั้น ชื่อว่าย่อมอาจสงเคราะห์บุคคลนั้นได้, การ

อาศัยความการุญ สงเคราะห์ดังนี้นั้นเป็นการดี; ถ้าไม่อาจจะสงเคราะห์

(อย่างนั้น) ได้. พึงทำความเที่ยวไปผู้เดียวให้มั่น คือว่า ทำความ

เป็นคนโดดเดี่ยวเท่านั้นให้มั่น อยู่แต่ผู้เดียวในอิริยาบถทั้งปวง

ถามว่า " เพราะเหตุอะไร?"

ตอบว่า "เพราะคุณเครื่องเป็นสหาย ย่อมไม่มีในพระชนพาล."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 181

อธิบายว่า จุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล กถาวัตถุ ๑๐ ธุดงคคุณ ๑๓

วิปัสสนาคุณ มรรค ๔ ผล ๔ วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ชื่อว่าคุณเครื่อง

เป็นสหาย, คุณเครื่องเป็นสหายนี้ ย่อมไม่มีเพราะอาศัยคนพาล.

ในกาลจบเทศนา อาคันตุกภิกษุ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, ชน

แม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

เทศนาได้เป็นไปกับด้วยประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องสัทธิวิหาริกของพระมหากัสสปเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 182

๓. เรื่องอานนทเศรษฐี [๔๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภอานนท-

เศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปุตฺตามตฺถิ ธนมตฺถิ" เป็นต้น.

อานนทเศรษฐีสั่งสอนบุตรให้ตระหนี่

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี เศรษฐีชื่ออานนท์ มีสมบัติประมาณ

๘๐ โกฏิ (แต่) เป็นคนตระหนี่มาก. อานนท์เศรษฐีนั้น ให้พวกญาติ

ประชุมกันทุกกึ่งเดือนแล้ว กล่าวสอนบุตร (ของตน) ผู้ชื่อว่ามูลสิริ

ใน ๓ เวลาอย่างนี้ว่า " เจ้าอย่าได้ทำความสำคัญว่า ' ทรัพย์ ๔๐ โกฏิ

นี้มาก,' เจ้าไม่ควรให้ทรัพย์ที่มีอยู่, ควรยังทรัพย์ใหม่ให้เกิดขึ้น, เพราะ

เมื่อบุคคลทำกหาปณะแม้หนึ่ง ๆ ให้เสื่อมไป ทรัพย์ย่อมสิ้นด้วยเหมือนกัน;

เพราะเหตุนั้น

บุคคลผู้ฉลาด พึงเห็นความสิ้นแห่งยาสำหรับ

หยอด (ตา) ความก่อขึ้นแห่งตัวปลวกทั้งหลาย

และการประมวลมาแห่งตัวผึ้งทั้งหลาย พึงอยู่ครอง-

เรือน.

อานนท์เศรษฐีตายไปเกิดในตระกูลคนจัณฑาล

โดยสมัยอื่นอีก อานนท์เศรษฐีนั้นไม่บอกขุมทรัพย์ใหญ่ ๕ แห่ง

ของตนแก่บุตร อาศัยทรัพย์ มีความหม่นหมองเพราะมลทิน คือความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 183

ตระหนี่ ทำกาละแล้ว, ถือปฏิสนธิในท้องของหญิงจัณฑาลคนหนึ่ง

ในจำพวกจัณฑาลพันตระกูล ที่อยู่อาศัยในบ้านใกล้ประตูแห่งหนึ่ง แห่ง

พระนครนั้นนั่นเอง. พระราชา ทรงทราบการทำกาละของอานนท์เศรษฐี

แล้ว รับสั่งให้เรียกมูลสิริผู้บุตรของเขามา ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งเศรษฐี.

ตระกูลแห่งคนจัณฑาลตั้งพันแม้นั้น ทำงานเพื่อค่าจ้าง โดยความ

เป็นพวกเดียวกันเทียว เป็นอยู่ จำเติมแต่กาลถือปฏิสนธิของทารกนั้น

ย่อมไม่ได้ค่าจ้างเลย ทั้งไม่ได้แม้ก้อนข้าวเกินไปกว่าอาหารพอยังอัตภาพ

ให้เป็นไป. พวกเขากล่าวว่า "บัดนี้ เราทั้งหลายแม้ทำการงานอยู่ ย่อม

ไม่ได้อาหารสักว่าก้อนข้าว, หญิงกาลกิณีพึงมีในระหว่างเราทั้งหลาย"

ดังนี้แล้ว จึงแยกกันออกเป็น ๒ พวก จนแยกมารดาบิดาของทารกนั้นอยู่

แผนกหนึ่งต่างหาก, ไล่มารดาของทารกนั้นออก ด้วยคิดว่า "หญิง

กาลกิณีเกิดในตระกูลนี้." ทารกนั้นยังอยู่ในท้องของหญิงนั้นตราบใด,

หญิงนั้นได้อาหารแม้สักว่ายังอัตภาพให้เป็นไปโดยฝืดเคืองตราบนั้น คลอด

บุตรแล้ว.

ทารกนั้น ได้มีมือและเท้า นัยน์ตา หู จมูก และปากไม่ตั้งอยู่

ในที่ตามปกติ. ทารกนั้น ประกอบด้วยความวิกลแห่งอวัยวะเห็นปานนั้น

ได้มีรูปน่าเกลียดเหลือเกิน ดุจปิศาจคลุกฝุ่น. แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ มารดา

ก็ไม่ละบุตรนั้น. จริงอยู่ มารดาย่อมมีความเยื่อใยเป็นกำลังในบุตรที่อยู่

ในท้อง. นางเลี้ยงทารกนั้นอยู่โดยฝืดเคือง, ในวันที่พาเขาไป ไม่ได้

อะไร ๆ เลย, ในวันที่ให้เขาอยู่บ้านแล้วไปเองนั่นแล จึงได้ค่าจ้าง.

มารดาปล่อยบุตรไปขอทานเลี้ยงชีพเอง

ต่อมา ในกาลที่ทารกนั้นสามารถเที่ยวไป เพื่อก้อนข้าวเลี้ยงตัวได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 184

นางวางกระเบื้องไว้บนมือแล้ว กล่าวกะบุตรนั้นว่า "พ่อ แม่อาศัยเจ้า

ถึงความลำบากมาก. บัดนี้ แม่ไม่อาจเลี้ยงเจ้าได้, อาหารวัตถุทั้งหลาย

มีข้าวเป็นต้นที่เขาจัดไว้ เพื่อคนทั้งหลายมีคนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น

มีอยู่ในนครนี้, เจ้าจงเที่ยวไปเพื่อภิกษาในนครนั้นเลี้ยงชีพเถิด." ดังนี้

แล้ว ปล่อยบุตรนั้นไป. ทารกนั้นเที่ยวไปตามลำดับเรือน ถึงที่แห่งตน

เกิดในคราวเป็นอานนท์เศรษฐีแล้ว เป็นผู้ละลึกชาติได้ เข้าไปสู่เรือน

ของตน. ใคร ๆ ไม่ได้สังเกตเขาในซุ้มประตูทั้งสาม ในซุ้มประตูที่ ๔

พวกบุตรของมูลสิริเศรษฐีเห็น (เขา) แล้วมีใจหวาดเสียวร้องไห้แล้ว.

ลำดับนั้น พวกบุรุษของเศรษฐีกล่าวกะทารกนั้นว่า " เองจงออกไป

คนกาลกิณี" โบยพลางนำออกไปโยนไว้ที่กองหยากเยื่อ.

พระศาสดาแสดงธรรมแก่มูลสิริเศรษฐี

พระศาสดา มีพระอานนทเถระเป็นปัจฉาสมณะ เสด็จบิณฑบาต

ถือที่นั้นแล้ว ทอดพระเนตรดูพระเถระ อันพระเถระนั้นทูลถามแล้ว

ตรัสบอกพฤติการณ์นั้น, พระเถระให้เชิญมูลสิริเศรษฐีมาแล้ว. หมู่มหาชน

ประชุมกันแล้ว. พระศาสดา ตรัสเรียกมูลสิริเศรษฐีมาแล้ว ตรัสถามว่า

" ท่านรู้จักทารกนั่นไหม ?" เมื่อมูลสิริเศรษฐีนั้นทูลว่า "ไม่รู้จัก"

จึงตรัสว่า "ทารกนั้น คืออานนท์เศรษฐีผู้บิดาของท่าน" แล้วยังทารก

นั้นให้บอก (ขุมทรัพย์) ด้วยพระดำรัสว่า "อานนท์เศรษฐี ท่านจง

บอกขุมทรัพย์ใหญ่ ๕ แห่งแก่บุตรของท่าน" แล้วทรงยังมูลสิริเศรษฐี

ผู้ไม่เชื่ออยู่นั้นให้เชื่อแล้ว. มูลสิริเศรษฐีนั้นได้ถึงพระศาสดาเป็นสรณะ

แล้ว. พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่มูลลิริเศรษฐีนั้น จึงตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 185

พระคาถานี้ว่า:-

๓. ปุตฺตา มตฺถิ ธนมตฺถิ อิติ พาโล วิหญฺติ

อตฺตา หิ อตฺตโน นตฺถิ กุโต ปุตฺตา กุโต ธน.

"คนพาล ย่อมเดือดร้อนว่า 'บุตรทั้งหลาย

ของเรามีอยู่, ทรัพย์ (ของเรา) มีอยู่,' ตนแล

ย่อมไม่มีแก่ตน, บุตรทั้งหลายจักมีแต่ที่ไหน ? ทรัพย์

จักมีแต่ที่ไหน ?"

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งคาถานี้ว่า :-

"คนพาลย่อมเดือดร้อนด้วยความอยากในบุตร และด้วยความ

อยากในทรัพย์ว่า 'บุตรทั้งหลายของเรามีอยู่, ทรัพย์ของเรามีอยู่.' คือ

ย่อมลำบาก ย่อมถึงทุกข์; คือย่อมเดือดร้อนว่า "บุตรทั้งหลายของเรา

ฉิบหายแล้ว," ย่อมเดือดร้อนว่า "ฉิบหายอยู่," ย่อมเดือดร้อนว่า

" จักฉิบหาย." แม้ในทรัพย์ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. คนพาลย่อมเดือดร้อน

ด้วยอาการ ๖ อย่าง ด้วยประการฉะนี้, คนพาลแม้พยายามอยู่ในที่ทั้งหลาย

มีทางบกและทางน้ำเป็นต้น ทั้งกลางคืนและกลางวันโดยประการต่าง ๆ

ด้วยคิดว่า "เราจักเลี้ยงบุตรทั้งหลาย" ชื่อว่าย่อมเดือดร้อน, แม้ทำกรรม

ทั้งหลายมีการทำนาและการค้าขายเป็นต้น ด้วยคิดว่า "เราจักยังทรัพย์

ให้เกิดขึ้น" ชื่อว่าย่อมเดือดร้อนเหมือนกัน; ก็เมื่อเขาเดือดร้อนอยู่อย่างนั้น

ตนแลชื่อว่าย่อมไม่มีแก่ตน, เมื่อเขาไม่อาจทำคนที่ถึงทุกข์ด้วยความคับแค้น

นั้นให้ถึงสุขได้ แม้ในปัจจุบันกาล ตนของเขาแล ชื่อว่าย่อมไม่มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 186

แก่ตน, เมื่อเขานอนแล้วบนเตียงเป็นที่ตาย ถูกเวทนาทั้งหลายมีความตาย

เป็นที่สุด เผาอยู่ราวกะว่าถูกเปลวเพลิงเผาอยู่ เมื่อเครื่องต่อและเครื่องผูก

(เส้นเอ็น ) จะขาดไป เมื่อร่างกระดูกจะแตกไป แม้เมื่อเขาหลับตา

เห็นโลกหน้า ลืมตาเห็นโลกนี้อยู่ ตนแลแม้อันเขาให้อาบน้ำวันละ ๒ ครั้ง

ให้บริโภควันละ ๓ ครั้ง ประดับด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น

เลี้ยงแล้วตลอดชีวิต ก็ชื่อว่าย่อมไม่มีแก่ตน เพราะความที่ตนเป็นผู้ไม่

สามารถจะทำเครื่องต้านทานทุกข์โดยความเป็นสหายได้; บุตรจักมีแต่

ที่ไหน ? ทรัพย์จักมีแต่ที่ไหน ? คือว่าในสมัยนั้น; บุตรหรือทรัพย์

จักทำอะไรได้เล่า ? แม้เมื่ออานนท์เศรษฐีไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ

รวบรวมทรัพย์ไว้เพื่อประโยชน์แก่บุตร นอนบนเตียงเป็นที่ตายในกาลก่อน

ก็ดี ถึงทุกข์นี้ในบัดนี้ก็ดี, บุตรแต่ที่ไหน ? ทรัพย์แต่ที่ไหน ? คือว่า

บุตรหรือทรัพย์นำทุกข์อะไรไปได้ ? หรือให้สุขอะไรเกิดขึ้นได้เล่า ?"

ในกาลจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์ ๘๔,๐๐๐, เทศนา

ได้มีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องอานนทเศรษฐี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 187

๔. เรื่องโจรผู้ทำลายปม [๔๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกโจรผู้

ทำลายปม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย พาโล มญฺตี พาลฺย"

เป็นต้น.

โจรลักของที่ขอดไว้ที่พกผ้า

ได้ยินว่า โจร ๒ คนนั้นเป็นสหายกัน ไปสู่พระเชตวันกับมหาชน

ผู้ไปอยู่เพื่อต้องการฟังธรรม. โจรคนหนึ่งได้ฟังธรรมกถาแล้ว, โจร

คนหนึ่งมองดูของที่ตนควรถือเอา. บรรดาโจรทั้งสองนั้น โจรผู้ฟังธรรม

อยู่ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. โจรนอกนี้ได้ทรัพย์ประมาณ ๕ มาสกที่

ขอดไว้ที่ชายผ้าของอุบาสกคนหนึ่ง. ทรัพย์นั้นเป็นค่าอาหารในเรือนของ

เขาแล้ว. ย่อมไม่สำเร็จผลในเรือนของโจรผู้โสดาบันนอกนี้.

ครั้งนั้น โจรผู้สหายกับภรรยาของตน เมื่อจะเย้ยหยันโจรผู้

โสดาบันนั้น จึงกล่าวว่า "ท่านไม่ยังแม้ค่าอาหารให้สำเร็จในเรือนของตน

เพราะความที่คนฉลาดเกินไป." สหายผู้โสดาบันนอกนี้คิดว่า " เจ้าคนนี้

ย่อมสำคัญความที่คนเป็นบัณฑิต ด้วยความเป็นพาลทีเดียวหนอ" เพื่อ

จะกราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระศาสดา จึงไปสู่พระเชตวันกับญาติ

ทั้งหลาย กราบทูลแล้ว.

ผู้รู้สึกตัวว่าโง่ย่อมเป็นบัณฑิตได้

พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่เขา จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 188

๔. โย พาโล มญฺญตี พาลฺย ปณฺฑิโต วาปิ เตน โส

พาโล จ ปณฺฑิตมานี ส เว พาโลติ วุจฺจติ.

"บุคคลใดโง่ ย่อมสำคัญความที่แห่งตนเป็น

คนโง่, บุคคลนั้นจะเป็นบัณฑิตเพราะเหตุนั้นได้บ้าง;

ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่ มีความสำคัญว่าตนเป็น

บัณฑิต บุคคลนั้นแล เราเรียกว่า 'คนโง่.'

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า โย พาโล ความว่า บุคคลใด

เป็นคนโง่ คือมิใช่เป็นบัณฑิต ย่อมสำคัญ คือย่อมรู้ความที่ตนเป็นคนโง่

คือความเป็นคนเขลานั้น ด้วยตนเองว่า "เราเป็นคนเขลา."

สองบทว่า เตน โส ความว่า ด้วยเหตุนั้น บุคคลนั้นจะเป็น

บัณฑิตได้บ้าง หรือจะเป็นเช่นกับบัณฑิตได้บ้าง.

ก็เขารู้อยู่ว่า "เราเป็นคนโง่" เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้คนอื่น

ซึ่งเป็นบัณฑิต อันบัณฑิตนั้นกล่าวสอนอยู่ พร่ำสอนอยู่ เพื่อประโยชน์

แก่ความเป็นบัณฑิต เรียนเอาโอวาทนั้นแล้ว ย่อมเป็นบัณฑิต หรือ

เป็นบัณฑิตกว่าได้.

สองบทว่า ส เว พาโล ความว่า ส่วนบุคคลใดเป็นคนโง่อยู่

เป็นผู้มีความสำคัญว่าคนเป็นบัณฑิตถ่ายเดียวอย่างนั้นว่า " คนอื่นใครเล่า ?

จะเป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ทรงวินัย มีวาทะกล่าวคุณเครื่องขจัดกิเลส

เช่นกับด้วยเรามีอยู่" บุคคลนั้นไม่เข้าไปหา ไม่เข้าไปนั่งใกล้บุคคลอื่น

ซึ่งเป็นบัณฑิต ย่อมไม่เรียนปริยัติเลย, ย่อมไม่บำเพ็ญข้อปฏิบัติ, ย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 189

ถึงความเป็นคนโง่โดยส่วนเดียวแท้. บุคคลนั้นย่อมเป็นเหมือนโจรทำลาย

ปมฉะนั้น. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำนี้ว่า " ส เว

พาโลติ วุจฺจติ."

ในกาลจบเทศนา มหาชนพร้อมด้วยญาติทั้งหลายของโจรผู้โสดาบัน

นอกนี้ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องโจรผู้ทำลายปม จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 190

๕. เรื่องพระอุทายีเถระ [๔๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระอุทายี-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล" เป็นต้น.

คนไม่รู้มักถือตัว

ได้ยินว่า พระอุทายีเถระนั้น เมื่อพระเถระผู้ใหญ่หลีกไปแล้ว ไปสู่

โรงธรรมแล้ว นั่งบนธรรมาสน์. ต่อมาวันหนึ่ง พวกภิกษุอาคันตุกะเห็น

พระอุทายีเถระนั้นแล้วเข้าใจว่า " ภิกษุนี้จักเป็นพระมหาเถระผู้พหูสูต"

จึงถามปัญหาปฏิสังยุตด้วยขันธ์เป็นต้นแล้ว ติเตียนท่านผู้ไม่รู้อยู่ซึ่งพระ-

พุทธวจนะอะไร ๆ ว่า "นี่พระเถระอะไร ? อยู่ในพระวิหารเดียวกัน

กับพระพุทธเจ้า ยังไม่รู้ธรรมแม้สักว่าขันธ์ธาตุและอายตนะ" ดังนี้แล้ว

จึงกราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระตถาคต. ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อ

จะทรงแสดงธรรมแก่พวกภิกษุอาคันตุกะนั้น จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๕. ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล ปณฺฑิต ปยิรุปาสติ

น โส ธมฺม วิชานาติ ทพฺพี สูปรส ยถา.

"ถ้าคนพาล เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอยู่ แม้จน

ตลอดชีวิต, เขาย่อมไม่รู้ธรรม เหมือนทัพพีไม่รู้รส

แกงฉะนั้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 191

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า :-

"ชื่อว่าคนพาลนี้ เข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้จนตลอดชีวิต

ย่อมไม่รู้ปริยัติธรรมอย่างนี้ว่า 'นี้เป็นพระพุทธพจน์ พระพุทธพจน์

มีประมาณเท่านี้' หรือซึ่งปฏิปัตติธรรมและปฏิเวธธรรมอย่างนี้ว่า 'ธรรม

นี้เป็นเครื่องอยู่. ธรรมนี้เป็นมรรยาท, นี้เป็นโคจรกรรม นี้เป็นไป

กับด้วยโทษ. กรรมนี้หาโทษมิได้. กรรมนี้ควรเสพ; กรรมนี้ไม่ควรเสพ;

สิ่งนี้พึงแทงตลอด, สิ่งนี้ควรกระทำให้แจ้ง."

ถามว่า " เหมือนอะไร ?"

แก้ว่า " เหมือนทัพพีไม่รู้รสแกงฉะนั้น."

อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ทัพพี แม้คนแกงต่างชนิด มีประการ

ต่าง ๆ อยู่จนกร่อนไป ย่อมไม่รู้รสแกงป่า 'นี้รสเค็ม, นี้รสจืด, นี้รส

ขม, นี้รสขื่น, นี้รสเผ็ด, นี้รสเปรี้ยว, นี้รสฝาด ฉันใด; คนพาลเข้า

ไปนั่งใกล้บัณฑิตลอดชีวิต ย่อมไม่รู้ธรรมมีประการดังกล่าวแล้ว ฉันนั้น

เหมือนกัน.

ในกาลจบเทศนา จิตของพวกภิกษุอาคันตุกะ หลุดพ้นแล้วจาก

อาสวะทั้งหลาย ดังนี้แล.

เรื่องพระอุทายีเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 192

๖. เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา [๕๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุชาว

เมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มุหุตฺตมปิ

เจ วิญฺญู" เป็นต้น.

ภิกษุสมาทานธุดงค์

ความพิสดารว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมคราวแรกในชัฎ

แห่งป่าไร่ฝ้ายแก่สหาย ๓๐ นั้น ผู้แสวงหาหญิงอยู่. ในกาลนั้น สหาย

ทั้งหมดเทียว ถึงความเป็นเอหิภิกขุ เป็นผู้ทรงบาตรและจีวร อันสำเร็จ

แล้วด้วยฤทธิ์ สมาทานธุดงค์ ๑๓ ประพฤติอยู่ โดยล่วงไปแห่งกาลนาน

เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแม้อีก ฟังอนมตัคคธรรมเทศนา บรรลุพระอรหัต

แล้ว อาสนะนั้นนั่นเอง.

ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภาว่า " น่าอัศจรรย์หนอ !

ภิกษุเหล่านี้ รู้แจ้งธรรมพลันทีเดียว." พระศาสดา ทรงสดับกถานั้น

แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาลก่อน

ภิกษุเหล่านี้เป็นนักเลง เป็นสหายกันประมาณ ๓๐ คน ฟังธรรมเทศนา

ของสุกรชื่อมหาตุณฑิละ ในตุณฑิลชาดก รู้แจ้งธรรมได้ฉับพลันทีเดียว

สมาทานศีล ๕ แล้ว. เพราะอุปนิสัยนั้นนั่นเอง เขาเหล่านั้น จึงบรรลุ

พระอรหัต ณ อาสนะที่ตนนั่งแล้วทีเดียวในกาลบัดนี้ " ดังนี้แล้ว เมื่อ

๑. ส. นิทาน. ๑๖/๒๐๒. ๒. ขุ. ชา. ฉักก. ๒๗/๒๐๐. อรรถกถา ๕/๗๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 193

จะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๖. มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู ปณฺฑิต ปยิรุปาสติ

ขิปฺป ธมฺม วิชานาติ ชิวฺหา สูปรส ยถา.

"ถ้าวิญญูชน เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต แม้ครู่

เดียว, เขาย่อมรู้แจ้งธรรมได้ฉับพลัน, เหมือนลิ้น

รู้รสแกงฉะนั้น.

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งพระคาถานี้ว่า :-

" ถ้าวิญญูชน คือว่า บุรุษผู้บัณฑิต เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตอื่น

แม้ครู่เดียว, เขาเรียนอยู่ สอบสวนอยู่ ในสำนักบัณฑิตอื่นนั้น ชื่อว่า

ย่อมรู้แจ้งปริยัติธรรมโดยพลันทีเดียว, แต่นั้น เขาให้บัณฑิตบอกกัมมัฏฐาน

แล้ว เพียรพยายามอยู่ในข้อปฏิบัติ, เป็นบัณฑิต ย่อมรู้แจ้งแม้โลกุตรธรรม

พลันทีเดียว, เหมือนบุรุษผู้มีชิวหาประสาทอันโรคไม่กำจัดแล้ว พอวาง

อาหารลงที่ปลายลิ้นเพื่อจะรู้รส ย่อมรู้รส อันต่างด้วยรสเค็มเป็นต้นฉะนั้น."

ในกาลจบเทศนา ภิกษุเป็นอันมาก บรรลุพระอรหัตแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุชาวเมืองปาฐา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 194

๗. เรื่องสุปปพุทธกุฏฐิ [๕๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรุษโรค

เรื้อน ชื่อว่าสุปปพุทธะ ตรัสว่าธรรมเทศนานี้ว่า "จรนฺติ พาลา

ทุมฺเมธา" เป็นต้น.

สุปปพุทธะกราบทูลคุณวิเศษแด่พระศาสดา

เรื่องสุปปพุทธะนี้มาแล้วในอุทานนั่นแล. ก็โนกาลนั้น สุปปพุทธ-

กุฏฐินั่งที่ท้ายบริษัท ฟังธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วบรรลุ

โสดาปัตติผล ปรารถนาจะกราบทูลคุณที่คนได้แล้ว แด่พระศาสดา (แต่)

ไม่อาจเพื่อจะหยั่งลงในท่ามกลางบริษัท ได้ไปยังวิหารในเวลามหาชน

ถวายบังคมพระศาสดากลับไปแล้ว.

คนมีอริยทรัพย์ ๗ เป็นผู้ไม่ขัดสน

ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราช ทรงทราบว่า "สุปปพุทธกุฏฐินี้ใคร่

เพื่อกระทำคุณที่ตนได้ในศาสนาของพระศาสดาให้ปรากฏ" ทรงดำริว่า

"เราจักทดลองนายสุปปพุทธกุฏฐินั้น" เสด็จไปยืนในอากาศแล้ว ได้

ตรัสคำนี้ว่า "สุปปพุทธะ เธอเป็นมนุษย์ขัดสน เป็นมนุษย์ยากไร้,

เราจักให้ทรัพย์หาที่สิ้นสุดมิได้แก่เธอ, เธอจงกล่าวว่า 'พระพุทธไม่ใช่

พระพุทธ, พระธรรมไม่ใช่พระธรรม, พระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์, อย่าเลย

๑. ขุ. อุ. ๒๕/๑๔๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 195

ด้วยพระพุทธแก่เรา, อย่าเลยด้วยพระธรรมแก่เรา, อย่าเลยด้วยพระ-

สงฆ์แก่เรา." ลำดับนั้น สุปปพุทธกุฏฐินั้น กล่าวกะท้าวสักกะนั้นว่า

"ท่านเป็นใคร ?"

สักกะ. เราเป็นท้าวสักกะ.

สุปปพุทธะ. ท่านผู้อันธพาล ผู้ไม่มียางอาย, ท่านเป็นผู้ไม่สมควร

จะพูดกับเรา. ท่านพูดกะเราว่า ่ เป็นคนเข็ญใจ เป็นคนขัดสน เป็น

คนกำพร้า.' เราไม่ใช่คนเข็ญใจ ไม่ใช่คนขัดสนเลย เราเป็นผู้ถึงความ

สุข มีทรัพย์มาก,

"ทรัพย์เหล่านี้คือ ทรัพย์คือศรัทธา ๑, ทรัพย์

คือศีล ๑, ทรัพย์คือหิริ ๑, ทรัพย์คือโอตตัปปะ ๑,

ทรัพย์คือสุตะ ๑, ทรัพย์คือจาคะ ๑, ปัญญาแล

เป็นทรัพย์ที่ ๗, ย่อมมีแก่ผู้ใด จะเป็นหญิงก็ตาม

เป็นชายก็ตาม, บัณฑิตทั้งหลายกล่าวบุคคลนั้นว่า

' เป็นคนไม่ขัดสน.' ชีวิตของบุคคลนั้นไม่ว่างเปล่า."

เพราะเหตุนั้น อริยทรัพย์มีอย่าง ๗ นี้ มีอยู่แก่ชนเหล่าใดแล,

ชนเหล่านั้น อันพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หรือพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

ย่อมไม่กล่าวว่า เป็นคนจน.'

ท้าวสักกะ ทรงสดับถ้อยคำของสุปปพุทธะนั้นแล้ว ทรงละเขาไว้

ในระหว่างทาง เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลการโต้ตอบถ้อย

คำนั้นทั้งหมดแด่พระศาสดาแล้ว. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส

กะท้าวสักกะนั้นว่า "ท้าวสักกะ ทั้งร้อยทั้งพันแห่งคนทั้งหลายผู้เช่นกับ

๑. องฺ. สตฺตก. ๒๓/๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 196

พระองค์ ไม่อาจเพื่อจะให้สุปปพุทธกุฏฐิ กล่าวว่า ' พระพุทธไม่ใช่

พระพุทธ พระธรรมไม่ใช่พระธรรม หรือพระสงฆ์ไม่ใช่พระสงฆ์

ได้เลย."

ฝ่ายสุปปพุทธะแล ไปสู่สำนักของพระศาสดา มีความบันเทิงอัน

พระศาสดาทรงกระทำแล้ว กราบทูลคุณอันตนได้แล้วแต่งระศาสดา ลูก

จากอาสนะหลีกไปแล้ว. ขณะนั้น แม่โคลูกอ่อน ปลงสุปปพุทธะนั้น

ผู้หลีกไปแล้วไม่นานจากชีวิตแล้ว.

บุรพกรรมของสุปปพุทธะและแม่โค

ได้ยินว่า โคแม่ลูกอ่อนนั้น เป็นยักษิณีตนหนึ่ง เป็นแม่โคปลง

ชนทั้ง ๔ นี้ คือกุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ๑ พาหิยทารุจีริยะ ๑ นายโจร-

ฆาตกะชื่อตัมพทาฐิกะ ๑ สุปปพุทธกุฎฐิ ๑ จากชีวิตคนละร้อยอัตภาพ.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ชนเหล่านั้น เป็นบุตรเศรษฐีทั้ง ๔ คน นำ

หญิงแพศยาผู้เป็นนครโสเภณีคนหนึ่งไปสู่สวนอุทยาน เสวยสมบัติตลอด

วันแล้ว ในเวลาเย็น ปรึกษากันอย่างนี้ว่า " ในที่นี้ไม่มีคนอื่น, เรา

ทั้งหลาย จักถือเอากหาปณะพันหนึ่ง และเครื่องประดับทั้งหมดที่พวก

เราให้แก่หญิงนี้แล้ว ฆ่าหญิงนี้เสียไปกันเกิด." หญิงนั้นฟังถ้อยคำของ

เศรษฐีบุตรเหล่านั้นแล้ว คิดว่า "ชนพวกนี้ไม่มียางอาบ อภิรมย์กับ

เราแล้ว บัดนี้ ปรารถนาจะฆ่าเรา, เราจักรู้กิจที่ควรกระทำแก่ชนเหล่า

นั้น" เมื่อถูกชนเหล่านั้นฆ่าอยู่ ได้กระทำความปรารถนาว่า " ขอเรา

พึงเป็นยักษิณี ผู้สามารถเพื่อฆ่าชนเหล่านั้น เหมือนอย่างที่พวกนี้ฆ่าเรา

ฉะนั้นเหมือนกัน."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 197

คนโง่ทำกรรมลามก

ภิกษุหลายรูป กราบทูลการกระทำกาละของสุปปพุทธะนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลถามว่า "คติของสุปปพุทธะนั้น เป็นอย่างไร ?

เพราะเหตุไรเล่า ? เขาจึงถึงความเป็นคนมีโรคเรื้อน."

พระศาสดา ทรงพยากรณ์ความที่สุปปพุทธะนั้นบรรลุโสดาปัตติผล

แล้ว เกิดในดาวดึงสภพ และการเห็นพระตครสีขีปัจเจกพุทธเจ้าถ่ม

(น้ำลาย) แล้ว หลีกไปทางซ้าย๑ ไหม้แเล้วในนรกตลอดกาลนาน ด้วย

วิบากที่เหลือ ถึงความเป็นคนมีโรคเรื้อนในบัดนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้ เที่ยวกระทำกรรมมีผลเผ็ดร้อนแก่ตนเองแล "

ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้น จึงตรัสพระคาถา

นี้ว่า :-

๗. จรนฺติ พาลา ทุมฺเมธา อมิตฺเตเนว อตฺตนา

กโรนฺตา ปาปก กมฺม ย โหติ กฏุกปฺผล.

"ชนพาลทั้งหลาย มีปัญญาทราม มีตนเป็นดัง

ข้าศึก เที่ยวทำกรรมลามกซึ่งมีผลเผ็ดร้อนอยู่."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จรนฺติ ความว่า เที่ยวกระทำอกุศล

ถ่ายเดียว ด้วยอิริยาบถ ๔ อยู่.

ชนทั้งหลาย ผู้ไม่รู้ประโยชน์ในโลกนี้ และประโยชน์โนโลกหน้า

ข้อว่าพาล ในบทว่า พาลา นี้.

๑. อปพฺยาม กตฺวา ถือเอาความว่า หลีกซ้าย. ธรรมดาบัณฑิต เห็นพุทธบุคคลแล้วย่อมหลีก

ทางขวา. ดูใน อรรถกถาอุทาน หน้า ๓๖๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 198

บทว่า ทุมฺเมธา คือมีปัญญาเขลา. บทว่า อมิตฺเตเนว ความว่า

เป็นราวกะว่าคนมีเวรผู้มิใช่มิตร. บทว่า กฏุกปฺผล ความว่า มีผล

เข้มแข็ง คือมีทุกข์เป็นผล.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปิตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องสุปปพุทธกุฏฐิ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 199

๘. เรื่องชาวนา [๕๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภชาวนาคน

หนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ต กมฺม กต สาธุ" เป็นต้น.

โจรเข้าลักทรัพย์ในตระกูลมั่งคั่ง

ได้ยินว่า ชาวนานั้น ไถนาแห่งหนึ่งอยู่ในที่ไม่ไกลจากกรุงสาวัตถี.

พวกโจรเข้าไปสู่พระนครโดยท่อน้ำ ทำลายอุโมงค์ในตระกูลมั่งคั่งตระกูล

หนึ่ง เข้าไปถือเอาเงินและทองเป็นอันมากแล้วก็ออกไปโดยทางท่อน้ำ

นั่นเอง. โจรคนหนึ่ง ลวงโจรเหล่านั้น กระทำถุงที่บรรจุทรัพย์พันหนึ่ง

ถุงหนึ่งไว้ที่เกลียวผ้าแล้วไปถึงนานั้น แบ่งภัณฑะกับโจรทั้งหลายเหล่านั้น

แล้ว ถือพาเดินไปอยู่ ไม่ได้กำหนดถึงถุงบรรจุทรัพย์พันหนึ่งที่ตกลงจาก

เกลียวผ้า.

พระศาสดาทรงเล็งเห็นอุปนิสัยของชาวนา

ในวันนั้น เวลาใกล้รุ่ง พระศาสดา ทรงตรวจดูสัตวโลก ทรง

เห็นชาวนานั้น ผู้เข้าไปในภายในข่ายคือพระญาณของพระองค์ แล้วทรง

ใคร่ครวญอยู่ว่า "เหตุอะไรหนอแล ? จักมี" ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า

" ชาวนาคนนี้ จักไปเพื่อไถนาแต่เช้าตรู่, แม้พวกเจ้าของภัณฑะ ไป

ตามรอยเท้าของโจรทั้งหลายแล้ว เห็นถึงที่บรรจุทรัพย์พันหนึ่งในนาของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 200

ชาวนานั้นแล้วก็จักจับชาวนานั่น, เว้นเราเสีย คนอื่นชื่อว่าผู้เป็นพยาน

ของชาวนานั้นจักไม่มี; แม้อุปนิสัยแห่งโสดาปัตติมรรค ของชาวนานั้น

ก็มีอยู่, เราไปในที่นั้น ย่อมควร." ฝ่ายชาวนานั้น ไปเพื่อไถนาแต่

เช้าตรู่. พระศาสดามีพระอานนทเถระเป็นปัจฉาสมณะ ได้เสด็จไปในที่

นั้นแล้ว. ชาวนาเห็นพระศาสดาแล้ว ไปถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วเริ่มไถนาอีก. พระศาสดา ไม่ตรัสอะไร ๆ กับเขา เสด็จไปยังที่ ๆ

ถุงบรรจุทรัพย์พันหนึ่งตก ทอดพระเนตรเห็นถุงนั้นแล้ว จึงตรัสกะพระ-

อานนท์เถระว่า "อานนท์ เธอเห็นไหม อสรพิษ." พระอานนท์เถระ

ทูลว่า "เห็น พระเจ้าข้า อสรพิษร้าย." ชาวนาได้ยินถ้อยคำนั้น คิดว่า

" ที่นี้เป็นที่เที่ยวไปในเวลาหรือมิใช่เวลาแห่งเรา. ได้ยินว่า อสรพิษมีอยู่

ในที่นั่น " เมื่อพระศาสดาตรัสคำมีประมาณเท่านั้นหลีกไปแล้ว, จึงถือ

เอาด้ามปฏักเดินไปด้วยตั้งใจว่า " จักฆ่าอสรพิษนั้น เห็นถุงบรรจุ

ทรัพย์พันหนึ่ง แล้วคิดว่า " คำนั้น จักเป็นคำอันพระศาสดาตรัสหมาย

เอาถุงบรรจุทรัพย์พันหนึ่งนี้ " จึงถือถุงบรรจุทรัพย์พันหนึ่งนั้นกลับไป

เพราะความที่ตนเป็นคนไม่ฉลาด จึงซ่อนมันไว้ในที่สมควรแห่งหนึ่ง

กลบด้วยฝุ่นแล้วเริ่มจะไถนาอีก.

ชาวนาถูกจับไปประหารชีวิต

แม้พวกมนุษย์ เมื่อราตรีสว่างแล้ว เห็นกรรมอันพวกโจรกระทำ

ในเรือน จึงเดินตามรอยเท้าไป ถึงนานั้นแล้ว เห็นที่ ๆ พวกโจรแบ่ง

ภัณฑะกันในนานั้น ได้เห็นรอยเท้าของชาวนาแล้ว. มนุษย์เหล่านั้น

ไปตามแนวรอยเท้าของชาวนานั้น เห็นที่แห่งถุงทรัพย์ที่ชาวนาเก็บเอาไว้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 201

คุ้ยฝุ่นออกแล้ว ถือเอาถุงทรัพย์ คุกคามว่า "แกปล้นเรือนแล้ว เทียว

ไปราวกับไถนาอยู่" โบยด้วยท่อนไม้ นำไปแสดงแก่พระราชาแล้ว.

พระราชา ทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้ว จึงรับสั่งให้ประหารชีวิตชาวนา

นั้น. พวกราชบุรุษ มัดชาวนานั้นให้มีแขนไพล่หลัง เฆี่ยนด้วยหวาย

นำไปสู่ตะแลงแกงแล้ว. ชาวนานั้นถูกราชบุรุษเฆี่ยนด้วยหวาย ไม่กล่าว

คำอะไร ๆ อื่น กล่าวอยู่ว่า "เห็นไหม อานนท์ อสรพิษ, 'เห็น

พระเจ้าข้า อสรพิษร้าย " เดินไปอยู่. ครั้งนั้น พวกราชบุรุษ ถามเขาว่า

" แกกล่าวถ้อยคำของพระศาสดาและพระอานนทเถระเท่านั้น, นี่ชื่อ

อะไร ?" เมื่อชาวนาตอบว่า "เราเมื่อได้เฝ้าพระราชาจึงจักบอก," จึง

นำไปสู่สำนักของพระราชา กราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระราชาแล้ว.

ชาวนาพ้นโทษเพราะอ้างพระสาดาเป็นพยาน

ลำดับนั้น พระราชา ตรัสถามชาวนานั้นว่า "เพราะเหตุไร เจ้า

จึงกล่าวดังนั้น ?" แม้ชาวนานั้น กราบทูลว่า "ข้าแต่สมมติเทพ

ข้าพระองค์ไม่ใช่โจร" แล้วก็กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดแด่พระราชา จำเดิม

แต่กาลที่คนออกไปเพื่อต้องการจะไถนา. พระราชา ทรงสดับถ้อยคำของ

ชาวนานั้นแล้ว ตรัสว่า " พนาย ชาวนานี้อ้างเอาพระศาสดาผู้เป็นบุคคล

เลิศในโลกเป็นพยาน, เราจะยกโทษแก่ชาวนานี่ยังไม่สมควร, เราจักรู้สิ่งที่

ควรกระทำในเรื่องนี้" ดังนี้แล้ว ทรงพาชาวนานั้นไปยังสำนักของพระ-

ศาสดาในเวลาเย็น ทูลถามพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พระ-

องค์ได้เสด็จไปสู่ที่ไถนาของชาวนานั้น กับพระอานนท์เถระแลหรือ ?"

พระศาสดา. ขอถวายพระพร มหาบพิตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 202

พระราชา. พระองค์ทอดพระเนตรเห็นอะไรในนานั้น ?

พระศาสดา. ถุงทรัพย์พันหนึ่ง มหาบพิตร.

พระราชา. ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ได้ตรัสคำอะไร ?

พระศาสดา. คำชื่อนี้ มหาบพิตร.

พระราชา. พระเจ้าข้า ถ้าบุรุษนี้จักไม่ได้กระทำการอ้างบุคคลผู้

เช่นกับด้วยพระองค์แล้วไซร้, เขาจักไม่ได้ชีวิต. แต่เขากล่าวคำที่พระ-

องค์ตรัสแล้ว จึงได้ชีวิต.

ไม่ควรทำกรรมที่ให้ผลเดือดร้อนในภายหลัง

พระศาสดา ทรงสดับพระราชดำรัสนั้นแล้ว ตรัสว่า "ขอถวาย

พระพร มหาบพิตร, แม้ตถาคตกล่าวคำมีประมาณเท่านั้นนั่นเองแล้ว

ก็ไป, ความตามเดือดร้อนในภายหลังย่อมมี เพราะกระทำกรรมใด

กรรมนั้น ผู้ชื่อว่าเป็นบัณฑิตไม่พึงกระทำ " ดังนี้ เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ

แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๘. น ต กมฺม กต สาธุ ย กตฺวา อนุตปฺปติ

ยสฺส อสฺสุมุโข โรท วิปาก ปฏิเสวติ.

"บุคคลกระทำกรรมใดแล้ว ย่อมเดือดร้อนใน

ภายหลัง เป็นผู้มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา ร้องไห้เสวย

ผลของกรรมใดอยู่ กรรมนั้น อันบุคคลกระทำแล้ว

ไม่ดีเลย."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ย กตฺวา ความว่า บุคคลกระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 203

กรรมใด คืออันสามารถจะให้เกิดในอบายภูมิทั้งหลายมีนรกเป็นต้น ได้แก่

มีทุกข์เป็นกำไร เมื่อตามระลึกถึง ชื่อว่าย่อมเดือดร้อนในภายหลัง คือ

ย่อมเศร้าโศกในภายหลัง ในขณะที่ระลึกถึงแล้ว ๆ, กรรมนั้น อันบุคคล

กระทำแล้วไม่ดี คือไม่งาม ได้แก่ ไม่สละสลวย.

สองบทว่า ยสฺส อสฺสุมุโข ความว่า เป็นผู้มีหน้าชุ่มด้วยน้ำตา

ร้องไห้ ย่อมเสวยผลกรรมใด.

ในเวลาจบเทศนา อุบาสกชาวนาบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. แม้ภิกษุ

ผู้ประชุมกันเป็นอันมาก ก็บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

ดังนี้แล.

เรื่องชาวนา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 204

๙. เรื่องนายสุมนมาลาการ [๕๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนายมาลาการ

ชื่อสุมนะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ตญฺจ กมฺม กต สาธุ "

เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จบิณฑบาต

ดังได้สดับมา นายมาลาการนั้น บำรุงพระเจ้าพิมพิสารด้วยดอก

มะลิ ๘ ทะนานแต่เช้าตรู่ทุกวัน ย่อมได้กหาปณะวันละ ๘ กหาปณะ.

ต่อมาวันหนึ่ง เมื่อนายมาลาการนั้นถือดอกไม้ พอเข้าไปสู่พระนคร

พระผู้มีพระภาคเจ้า อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อม ทรงเปล่งพระรัศมี

มีพรรณะ ๖ เสด็จเข้าไปสู่พระนคร เพื่อบิณฑบาต ด้วยพระพุทธานุภาพ

อันใหญ่ ด้วยพระพุทธลีลาอันใหญ่. แท้จริง ในกาลบางคราว พระ-

ผู้มีพระภาคทรงปิดพระรัศมีมีพรรณะ ๖ ด้วยจีวรแล้ว เสด็จไป เหมือน

ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปใดรูปหนึ่ง เหมือนเสด็จไปต้อนรับพระ-

อังคุลิมาล สิ้นทางตั้ง ๓๐ โยชน์. ในกาลบางคราว ทรงเปล่งพระรัศมี

มีพรรณะ ๖ เหมือนทรงเปล่งในเวลาเสด็จเข้าไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์เป็นต้น.

แม้ในวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระรัศมีมีพรรณะ ๖ จาก

พระสรีระ เสด็จเข้าไปสู่กรุงราชคฤห์ ด้วยพระพุทธานุภาพอันใหญ่ ด้วย

พระพุทธลีลาอันใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 205

นายมาลาการบูชาพระศาสดาด้วยดอกไม้

ครั้งนั้น นายมาลาการเห็นอัตภาพพระผู้มีพระภาคเจ้า เช่นกับด้วย

รัตนะอันมีค่าและทองอันมีค่า แลดูพระสรีระซึ่งประดับแล้ว ด้วยมหา-

ปุริสลักษณะ ๓๒ มีส่วนความงามด้วยพระสิริคืออนุพยัญชนะ ๘๐ มีจิต

เลื่อมใสแล้ว คิดว่า "เราจักทำการบูชาอันยิ่งแด่พระศาสดาอย่างไรหนอ

แล ?" เมื่อไม่เห็นสิ่งอื่น จึงคิดว่า " เราจักบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย

ดอกไม้เหล่านี้" คิดอีกว่า "ดอกไม้เหล่านี้เป็นดอกไม้สำหรับบำรุง

พระราชาประจำ, พระราชา เมื่อไม่ทรงได้ดอกไม้เหล่านี้ พึงให้จองจำ

เราบ้าง พึงให้ฆ่าเราบ้าง พึงขับไล่เสียจากแว่นแคว้นบ้าง, เราจะทำ

อย่างไรหนอแล ?" ครั้งนั้น ความคิดอย่างนี้ได้มีแก่นายมาลาการนั้นว่า

" พระราชาจะทรงฆ่าเราเสียก็ตาม ขับไล่เสียจากแว่นแคว้นก็ตาม, ก็พระ-

ราชานั้น แม้เมื่อพระราชทานแก่เรา พึงพระราชทานทรัพย์สักว่าเลี้ยงชีพ

ให้อัตภาพนี้; ส่วนการบูชาพระศาสดา อาจเพื่อประโยชน์เกื้อกูลและ

ความสุข แก่เราในโกฏิกัปเป็นอเนกทีเดียว" สละชีวิตของตน แด่พระ-

ตถาคตแล้ว. นายมาลาการนั้น คิดว่า " จิตเลื่อมใสของเราไม่กลับกลาย

เพียงใด; เราจักทำการบูชาเพียงนั้นทีเดียว" เป็นผู้ร่าเริงบันเทิงแล้ว มี

จิตเบิกบานและแช่มชื่น บูชาพระศาสดาแล้ว.

ความอัศจรรย์ของดอกไม้ที่เป็นพุทธบูชา

นายมาลาการนั้นบูชาอย่างไร ? ทีแรก นายมาลาการซัดดอกไม้

๒ กำ ขึ้นไปในเบื้องบนแห่งพระตถาคตก่อน. ดอกไม้ ๒ กำนั้น

๑. เช่นกับด้วยพวงแก้วและพวงทองก็ว่า โบราณว่า เช่นกับด้วยพนมแก้วและพนมทองก็มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 206

ได้ตั้งเป็นเพดานในเบื้องบนพระเศียร. เขาซัดดอกไม้ ๒ กำอื่นอีก.

ดอกไม้ ๒ กำนั้นได้ย้อยลงมาตั้งอยู่ทางด้านพระหัตถ์ขวา โดยอาการอัน

มาลาบังไว้. เขาซัดดอกไม้ ๒ กำอื่นอีก. ดอกไม้ ๒ กำนั้น ได้ห้อย

ย้อยลงมาตั้งอยู่ทางด้านพระปฤษฎางค์ อย่างนั้นเหมือนกัน. เขาซัดดอก

ไม้ ๒ กำอื่นอีก. ดอกไม้ ๒ กำนั้นห้อยย้อยลงมาตั้งอยู่ทางด้านพระ-

หัตถ์ซ้าย อย่างนั้นเหมือนกัน. ดอกไม้ ๘ ทะนานเป็น ๘ กำ แวด

ล้อมพระตถาคตในฐานะทั้ง ๔ ด้วยประการฉะนี้. ได้มีทางพอเป็นประตู

เดินไปข้างหน้าเท่านั้น. ขั้วดอกไม้ทั้งหลายได้หันหน้าเข้าข้างใน, หัน

กลีบออกข้างนอก. พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นราวกะว่า แวดล้อมแล้วด้วย

แผ่นเงิน เสด็จไปแล้ว. ดอกไม้ทั้งหลาย แม้ไม่มีจิต อาศัยบุคคลผู้มีจิต

ไม่แยกกัน ไม่ตกลง ย่อมไปกับพระศาสดานั่นเทียว ย่อมหยุดในที่

ประทับยืน. รัศมีเป็นราวกะว่าสายฟ้าแลบตั้งแสนสาย ออกจากพระสรีระ

ของพระศาสดา. พระรัศมีที่ออก (จากพระกายนั้น) ออกทั้งข้างหน้า

ทั้งข้างหลัง ทั้งข้างขวาทั้งข้างซ้าย ทั้งเบื้องบนพระเศียร. พระรัศมี

แม้แต่สายหนึ่ง ไม่หายไปทางที่ตรงเบื้องพระพักตร์ แม้ทั้งหมดกระทำ

ประทักษิณพระศาสดา ๓ รอบแล้ว รวมเป็นพระรัศมี มีประมาณเท่า

ลำตาลหนุ่ม พุ่งตรงไปข้างหน้าทางเดียว.

นายมาลาการบอกแก่ภรรยา

นครทั้งสิ้นเลื่องลือแล้ว. บรรดาชน ๑๘ โกฏิ คือในภายในนคร

๙ โกฏิ ภายนอกนคร ๙ โกฏิ ชายหรือหญิงแม้คนหนึ่ง ชื่อว่าจะไม่

ถือเอาภิกษาออกไปย่อมไม่มี. มหาชนบันลือสีหนาท ทำการยกท่อนผ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 207

ขึ้นตั้งพันอยู่ข้างหน้าของพระศาสดาเทียว. แม้พระศาสดาเพื่อจะทรงทำ

คุณของนายมาลาการให้ปรากฏ ได้เสด็จเที่ยวไปในพระนครประมาณ ๓

คาวุต โดยหนทางเป็นที่เที่ยวไปด้วยยกลองนั้นเอง. สรีระทั้งสิ้น ของนาย

มาลาการเต็มเปี่ยมด้วยปีติมีวรรณะ ๕. นายมาลาการนั้นเที่ยวไปกับพระ-

ตถาคตหน่อยหนึ่งเท่านั้น เข้าไปในภายในแห่งพุทธรัศมี เป็นราวกะว่า

จมลงในรสแห่งมโนสิลา ชมเชยถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ได้ถือเอา

กระเช้าเปล่านั่นแลไปสู่เรือน.

ครั้งนั้น ภรรยาถามเขาว่า " ดอกไม้อยู่ที่ไหน ?"

มาลาการ. เราบูชาพระศาสดาแล้ว.

ภรรยา. บัดนี้ ท่านจักทำอะไรแด่พระราชาเล่า ?

มาลาการ. พระราชาจะทรงฆ่าเราก็ตาม ขับไล่จากแว่นแคว้น

ก็ตาม, เราสละชีวิตบูชาพระศาสดาแล้ว, ดอกไม้ทั้งหมดมี ๘ กำ, บูชา

ชื่อเห็นปานนี้เกิดแล้ว, มหาชนทำการโห่ร้องตั้งพัน เที่ยวไปกับพระ-

ศาสดา นั่นเสียงโห่ร้องของมหาชนในที่นั้น.

ภรรยาไม่เลื่อมใสฟ้องพระราซา

ลำดับนั้น ภรรยาของเขาเป็นหญิงอันธพาล ไม่ยังความเลื่อมใส

ในพระปาฏิหาริย์เห็นปานนั้นให้เกิด ด่าเขาแล้ว กล่าวว่า " ธรรมดา

พระราชาทั้งหลาย เป็นผู้ดุร้าย กริ้วคราวเดียวก็กระทำความพินาศแม้

มาก ด้วยการตัดมือและเท้าเป็นต้น, ความพินาศพึงมีแม้แก่เรา เพราะ

กรรมที่เธอกระทำ" พาพวกบุตรไปสู่ราชตระกูล ผู้อันพระราชาตรัส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 208

เรียกมาถามว่า " อะไรกันนี่ ?" จึงกราบทูลว่า " สามีของหม่อมฉัน

เอาดอกไม้สำหรับบำรุงพระองค์บูชาพระศาสดาแล้ว มีมือเปล่ามาสู่เรือน

ถูกหม่อมฉันถามว่า " ดอกไม้อยู่ไหน ? ' ก็กล่าวคำชื่อนี้, หม่อมฉันด่า

เขาแล้วกล่าวว่า ' ธรรมดาพระราชาทั้งหลายเป็นผู้ดุร้าย กริ้วคราวเดียวก็

กระทำความพินาศแม้มาก ด้วยการตัดมือและเท้าเป็นต้น, ความพินาศ

พึงมีแม้แก่เรา เพราะกรรมที่เธอกระทำ ' ดังนี้แล้วก็ทิ้งเขามาในที่นี้;

กรรมที่เขากระทำ จงเป็นกรรมดีก็ตาม จงเป็นกรรมชั่วก็ตาม, กรรม

นั้นจงเป็นของเขาผู้เดียว; ขอเดชะ พระองค์จงทรงทราบความที่เขาอัน

หม่อมฉันทิ้งแล้ว."

พระราชาทรงทำเป็นกริ้ว

พระราชาทรงบรรลุโสดาปัตติผล ถึงพร้อมด้วยศรัทธา เป็น

อริยสาวก ด้วยการเห็นทีแรกนั้นแล ทรงดำริว่า "โอ ! หญิงนี้เป็น

อันธพาล ไม่ยังความเลื่อมใสในคุณเห็นปานนี้ให้เกิดขึ้น." ท้าวเธอ

ทำเป็นดังกริ้ว ตรัสว่า " เจ้าพูดอะไร แม่ ? นายมาลาการนั้นกระทำ

การบูชา ด้วยดอกไม้สำหรับบำรุงเราหรือ ?" หญิงนั้น ทูลว่า

" ขอเดชะ พระเจ้าข้า." พระราชาตรัสว่า " ความดีอันเจ้าทิ้งเขา

กระทำแล้ว, เราจักรู้กิจที่ควรกระทำแก่นายมาลาการผู้กระทำการบูชาด้วย

ดอกไม้ทั้งหลายของเรา," ทรงส่งหญิงนั้นไปแล้ว รีบเสด็จไปในสำนัก

พระศาสดา ถวายบังคมแล้ว เสด็จเที่ยวไปกับด้วยพระศาสดานั่นเทียว.

พระศาสดาทรงทราบความเลื่อมใสแห่งพระหฤทัย ของพระราชานั้น

เสด็จเที่ยวไปสู่พระนครตามถนนเป็นที่เที่ยวไปด้วยกลองแล้ว ได้เสด็จไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 209

สู่พระทวารแห่งพระราชมนเฑียรของพระราชา. พระราชาทรงรับบาตร

ได้ทรงมีพระประสงค์จะเชิญเสด็จพระศาสดาเข้าไปสู่พระราชมนเฑียร. ส่วน

พระศาสดา ได้ทรงแสดงพระอาการที่จะประทับนั่งในพระลานหลวง

นั่นเอง. พระราชาทรงทราบพระอาการนั้นแล้ว รับสั่งให้กระทำปะรำใน

ขณะนั้นนั่นเอง ด้วยพระดำรัสว่า "ท่านทั้งหลายจงกระทำปะรำโดยเร็ว."

พระศาสดาประทับนั่งกับหมู่ภิกษุแล้ว.

ถามว่า " ก็เพราะเหตุไร พระศาสดาจึงไม่เสด็จเข้าสู่พระราช-

มนเทียร ? "

แก้ว่า " (เพราะ) ได้ยินว่า ความปริวิตกอย่างนี้ได้มีแก่พระ-

องค์ว่า 'ถ้าว่าเราพึงเข้าไปนั่งในภายในไซร้, มหาชนไม่พึงได้เพื่อจะ

เห็นเรา. คุณของนายมาลาการจะไม่พึงปรากฏ, แต่ว่ามหาชนจักได้เพื่อ

เห็นเราผู้นั่งอยู่ ณ พระลานหลวง, คุณของนายมาลาการจักปรากฏ."

พระราชาทรงพระราชทานสิ่งของอย่างละ ๘ อย่าง

จริงอยู่ พระพุทธเจ้าของเราเท่านั้น ย่อมอาจเพื่อกระทำคุณของ

บุคคลผู้มีคุณทั้งหลายให้ปรากฏ, ชนที่เหลือเมื่อจะกล่าวคุณของบุคคลผู้มี

คุณทั้งหลาย ย่อมประพฤติตระหนี่ (คือออมเสีย). แผ่นดอกไม้ ๔ แผ่น

ได้ตั้งอยู่ในทิศทั้ง ๔ แล้ว. มหาชนแวดล้อมพระศาสดาแล้ว. พระราชา

ทรงอังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ด้วยอาหารอันประณีต.

ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนาแล้ว อันแผ่น

ดอกไม้ ๔ แผ่น แวดล้อมโดยนัยก่อนนั่นแล อันมหาชนผู้บันลือสีหนาท

แวดล้อม ได้เสด็จไปสู่วิหารแล้ว. พระราชา ตามส่งพระศาสดา กลับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 210

แล้ว รับสั่งให้หานายมาลาการมาแล้ว ตรัสถามว่า " เจ้าว่าอย่างไร

จึงบูชาพระศาสดาด้วยดอกไม้ อันตนพึงนำมาเพื่อเรา ?" นายมาลาการ

กราบทูลว่า "ขอเดชะ ข้าพระองค์คิดว่า 'พระราชาจะฆ่าเราก็ตาม

จะขับไล่เราเสียจากแว่นแคว้นก็ตาม' ดังนี้แล้ว จึงสละชีวิตบูชาพระ-

ศาสดา." พระราชาตรัสว่า "เจ้าชื่อว่าเป็นมหาบุรุษ" แล้วพระราชทาน

ของที่ควรให้ ชื่อหมวด ๘ แห่งวัตถุทั้งปวงนี้ คือช้าง ๘ ม้า ๘ ทาส ๘

ทาสี ๘ เครื่องประดับใหญ่ ๘ กหาปณะ ๘ พัน นารี ๘ นาง ที่นำมา

จากราชตระกูล ประดับด้วยเครื่องอลังการทั้งปวง และบ้านส่วย ๘ ตำบล

พระศาสดาตรัสสรรเสริญนายมาลาการ

พระอานนท์เถร ะ คิดว่า "วันนี้ ตั้งแต่เช้าตรู่ เสียงสีหนาท

ตั้งพัน และการยกท่อนผ้าขึ้นตั้งพันย่อมเป็นไป. วิบากของนายมาลาการ

เป็นอย่างไรหนอแล ?" พระเถระนั้น ทูลถามพระศาสดาแล้ว ลำดับนั้น

พระศาสดา ตรัสกะพระเถระนั้นว่า " อานนท์ เธออย่าได้กำหนดว่า

กรรมมีประมาณเล็กน้อย อันนายมาลาการนี้กระทำแล้ว' ก็นายมาลาการ

นี้ได้สละชีวิตกระทำการบูชาเราแล้ว, เขายังจิตให้เลื่อมใสในเราด้วยอาการ

อย่างนั้น จักไม่ไปสู่ทุคติ ตลอดแสนกัลป์" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า :-

"นายมาลาการ จักดำรงอยู่ในเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย จักไม่ไปสู่ทุติ ตลอดแสนกัลป์, นี่เป็น

ผลแห่งกรรมนั้น, ภายหลังเขาจักเป็นพระปัจเจก-

พุทธะ นามว่าสุมนะ."

ก็ในเวลาพระศาสดาเสด็จถึงวิหาร เข้าไปสู่พระคันธกุฎี ดอกไม้

เหล่านั้นตกลงที่ซุ้มพระทวารแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 211

ไม่ควรทำกรรมที่เดือดร้อนภายหลัง

ในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า " แหม !

กรรมของนายมาลาการ น่าอัศจรรย์. เธอสละชีวิตเพื่อพระพุทธเจ้าผู้ยัง

ดำรงพระชนม์อยู่ กระทำการบูชาด้วยดอกไม้แล้ว ได้ของพระราชทาน

ชื่อว่าหมวด ๘ ล้วน ในขณะนั้นนั่นเอง." พระศาสดาเสด็จออกจาก

พระคันธกุฎีแล้ว ไปสู่โรงธรรมด้วยการเสด็จไป ๓ อย่าง อย่างใด

อย่างหนึ่ง ประทับนั่งบนพระพุทธอาสน์แล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย บัดนี้ เธอทั้งหลายนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อ

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วยกถาชื่อนี้," จึงตรัสว่า "อย่างนั้นภิกษุ

ทั้งหลาย ความเดือดร้อนในภายหลังย่อมไม่มี โสมนัสเท่านั้นย่อมเกิดขึ้น

ในขณะที่ระลึกแล้ว ๆ เพราะบุคคลกระทำกรรมใด, กรรมเห็นปานนั้น

อันบุคคลควรกระทำแท้" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า:-

๙. ตญฺจ กมฺม กต สาธุ ย กตฺวา นานุตปฺปติ

ยสฺส ปตีโต สุมโน วิปาก ปฏิเสวติ.

"บุคคลทำกรรมใดแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนใน

ภายหลัง เป็นผู้เอิบอิ่ม มีใจดี ย่อมเสวยผลของ

กรรมใด, กรรมนั้นแล อันบุคคลทำแล้ว เป็น

กรรมดี."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ย กตฺวา ความว่า บุคคลกระทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 212

กรรมใด คือกรรมที่สามารถเพื่ออันยังสมบัติแห่งเทวดาและสมบัติแห่ง

มนุษย์ และนิพพานสมบัติให้เกิด คือมีสุขเป็นกำไร ย่อมไม่ตาม

เดือดร้อน, โดยที่แท้ บุคคลนั้น ชื่อว่าเป็นผู้เอิบอิ่มแล้วด้วยกำลังแห่ง

ปีติ และชื่อว่ามีใจดีด้วยกำลังแห่งโสมนัส ในขณะที่ระลึกถึง ๆ เป็น

ผู้เกิดปีติและโสมนัสในกาลต่อไป ย่อมเสวยผล ในทิฏฐธรรมนั่นเอง,

กรรมนั้นอันบุคคลกระทำแล้ว เป็นกรรมดี คือเป็นกรรมงาม ได้แก่

สละสลวย.

ในเวลาจบเทศนา การตรัสรู้ธรรมได้มีแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔ พันแล้ว

ดังนี้แล.

เรื่องนายสุมนมาลาการ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 213

๑๐. เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี [๕๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถรี

นามว่าอุบลวรรณา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มธุวา มญฺตี พาโล"

เป็นต้น.

พระเถรีตั้งความปรารถนา

ดังได้สดับมา พระเถรีนั้น ตั้งความปรารถนาไว้แทบบาทมูลของ

พระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ กระทำบุญทั้งหลาย สิ้นแสนกัลป์

ท่องเที่ยวอยู่ ในเทวดาและมนุษย์ จุติจากเทวโลก ถือปฏิสนธิในสกุล

เศรษฐี ในกรุงสาวัตถี ในพุทธุปบาทกาลนี้. ก็มารดาบิดาได้ตั้งชื่อนาง

ว่า อุบลวรรณนา เพราะนางมีผิวพรรณเหมือนกลีบอุบลเขียว. ต่อมา

ในกาลที่นางเจริญวัยแล้ว พระราชาและเศรษฐีทั้งหลายในสกลชมพู-

ทวีป ส่งบรรณาการไปสู่สำนักของเศรษฐีว่า "ขอเศรษฐีจงให้ธิดา

แก่เรา." ชื่อว่าคนผู้ไม่ส่งบรรณาการไป มิได้มี. ลำดับนั้น เศรษฐี

คิดว่า "เราจักไม่สามารถเอาใจของคนทั้งหมดได้. แต่เราจักทำอุบาย

ลักอย่างหนึ่ง." เศรษฐีนั้นเรียกธิดามาแล้วกล่าวว่า " แม่ เจ้าจักอาจ

เพื่อบวชไหม ? " คำของบิดาได้เป็นเหมือนน้ำมันที่หุงแล้วตั้ง ๑๐๐ ครั้ง

อันเขารดลงบนศีรษะ เพราะความที่นางมีภพมีในที่สุด; เพราะฉะนั้น

นางจึงกล่าวกะบิดาว่า "พ่อ ฉันจักบวช." เศรษฐีนั่น ทำสักการะ

เป็นอันมากแก่นางแล้ว นำนางไปสู่สำนักนางภิกษุณี ให้บวชแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 214

พระอุบลวรรณาเถรีบรรลุพระอรหัต

เมื่อนางบวชแล้วไม่นาน วาระรักษาลูกดาลในโรงอุโบสถถึงแล้ว

นางตามประทีป กวาดโรงอุโบสถ ยืนถือนิมิตแห่งเปลวประทีป แลดู

แล้ว ๆ เล่า ๆ ยังฌานมีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว กระทำฌาน

นั้นแลให้เป็นบาท บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาและอภิญญา

ทั้งหลายแล้ว. โดยสมัยอื่น พระเถรีนั้นเที่ยวจาริกไปในชนบท กลับมา

แล้ว เข้าไปสู่ป่าอันธวัน. ในกาลนั้น พระศาสดายังไม่ทรงห้ามการอยู่ป่า

ของพวกนางภิกษุณี. ครั้งนั้นพวกมนุษย์ทำกระท่อม ตั้งเตียงกั้นม่านไว้

ในป่านั้น แก่พระเถรีนั้น. พระเถรีนั้น เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี

ออกมาแล้ว.

นันทมาณพข่มขืนพระเถรี

ฝ่ายนันทมาณพ ผู้เป็นบุตรแห่งลุงของพระเถรีนั้น มีจิตปฏิพัทธ์

ตั้งแต่กาลแห่งพระเถรียังเป็นคฤหัสถ์ สดับความที่พระเถรีมา จึงไปสู่ป่า

อันธวันก่อนแต่พระเถรีมาทีเดียว เข้าไปสู่กระท่อม ซ่อนอยู่ภายใต้เตียง

พอเมื่อพระเถรีมาแล้ว เข้าไปสู่กระท่อม ปิดประตู นั่งลงบนเตียง เมื่อ

ความมืดในคลองจักษุยังไม่ทันหาย เพราะมาจาก (กลาง) แดดใน

ภายนอก, จึงออกมาจากภายใต้เตียง ขึ้นเตียงแล้ว ถูกพระเถรีห้ามอยู่ว่า

" คนพาล เธออย่าฉิบหายเลย, คนพาล เธออย่าฉิบหายเลย" ข่มขืน

กระทำกรรมอันตนปรารถนาแล้วก็หนีไป. ครั้งนั้น แผ่นดินให้ประดุจ

ว่าไม่อาจจะทรงโทษของเขาไว้ได้ แยกออกเป็น ๒ ส่วนแล้ว . เขาข้าไปสู่

แผ่นดิน ไปเกิดในอเวจีมหานรกแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 215

ฝ่ายพระเถรี บอกเนื้อความแก่ภิกษุณีทั้งหลายแล้ว. พวกภิกษุณี

แจ้งเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย. พวกภิกษุ กราบทูลแด่พระผู้มี-

พระภาคเจ้า.

คนพาลประสบทุกข์เพราะบาปกรรม

พระศาสดา ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัส

ว่า " ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใด

ผู้หนึ่งเป็นพาล เมื่อทำกรรมลามก เป็นผู้ยินดีร่าเริง เป็นประดุจฟูขึ้น ๆ

ย่อมทำได้ ประดุจบุรุษเคี้ยวกินรสของหวาน มีจำพวกน้ำผึ้ง และ

น้ำตาลกรวดเป็นต้น บางชนิด" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง

ธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๐. มธุวา มญฺตี พาโล ยาว ปาป น ปจฺจติ

ยทา จ ปจฺจติ ปาป อถ (พาโล) ทุกฺข นิคจฺฉติ.

"คนพาลย่อมสำคัญบาปประดุจน้ำผึ้ง ตราบเท่า

ที่บาปยังไม่ให้ผล; ก็เมื่อใด บาปให้ผล; เมื่อนั้น

คนพาล ย่อมประสพทุกข์.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มธุวา เป็นต้น ความว่า ก็เมื่อ

คนพาลกระทำบาป คืออกุศลกรรมอยู่ กรรมนั้นย่อมปรากฏดุจน้ำผึ้ง คือ

ดุจน้ำหวาน ได้แก่ประดุจน่าใคร่ น่าชอบใจ, คนพาลนั้น ย่อมสำคัญบาป

นั้น เหมือนน้ำหวาน ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า ยาว คือ ตลอดกาลเพียงใด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 216

สองบทว่า ปาป น ปจฺจติ ความว่า คนพาล ย่อมสำคัญ

บาปนั้นอย่างนั้น ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผลในทิฏฐธรรม หรือใน

สัมปรายภพ.

บทว่า ยทา จ ความว่า ก็ในกาลใด เมื่อคนพาลนั้น ถูกทำ

กรรมกรณ์ต่าง ๆ ในทิฏฐธรรม หรือเสวยทุกข์ใหญ่ในอบายมีนรก

เป็นต้นในสัมปรายภพ บาปนั้นชื่อว่าย่อมให้ผล; ในกาลนั้น คนพาลนั้น

ย่อมเข้าถึง คือประสพ ได้แก่กลับได้ทุกข์.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น.

พระขีณาสพไม่ยินดีกามสุข

โดยสมัยอื่น มหาชนสนทนากันในธรรมสภาว่า "แม้พระขีณาสพ

ทั้งหลาย ชะรอยจะยังยินดีกามสุข ยังเสพกาม, ทำไมจักไม่ซ่องเสพ;

เพราะพระขีณาสพเหล่านั้น ไม่ใช่ไม้ผุ, ไม่ใช่จอมปลวก. มีเนื้อและ

สรีระยังสดเหมือนกัน; เพราะฉะนั้น แม้พระขีณาสพเหล่านั้น ยังยินดี

กามสุข, ยังเสพกาม."

พระศาสดา เสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก

เธอนั่งสนทนาด้วยเรื่องอะไรกัน ?" เมื่อพวกภิกษุ กราบทูลว่า " ด้วย

เรื่องชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พระขีณาสพทั้งหลาย ไม่ยินดี

กามสุข ไม่เสพกาม, เหมือนอย่างว่า หยาดน้ำตกลงบนใบบัว ย่อม

ไม่ติด ไม่ตั้งอยู่. ย่อมกลิ้งตกไปทีเดียว; และเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาด

ไม่ติด ไม่ตั้งอยู่ ที่ปลายเหล็กแหลม, ย่อมกลิ้งตกไปแน่แท้ ฉันใด;

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 217

กามแม้ ๒อย่าง ย่อมไม่ซึมซาบ ไม่ตั้งอยู่ในจิตของพระขีณาสพ ฉันนั้น"

ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถาม ใน

พราหมณวรรคว่า :-

"เรากล่าวบุคคล ผู้ไม่ติดอยู่ในกามทั้งหลาย

เหมือนน้ำไม่ติดอยู่ในใบบัว เหมือนเมล็ดพันธุ์

ผักกาดไม่ติดอยู่ที่ปลายเหล็กแหลม; ว่าเป็นพราหมณ์."

เนื้อความแห่งพระคาถานี้ จักแจ่มแจ้งในพราหมณวรรคนั่นแล.

ภิกษุณีควรอยู่ในพระนคร

ก็พระศาสดา รับสั่งให้เชิญพระเจ้าปเสนทิโกศลมาแล้ว ตรัสว่า

" มหาบพิตร แม้กุลธิดาทั้งหลาย ในพระศาสนานี้ ละหมู่ญาติอันใหญ่

และกองแห่งโภคะมาก บวชแล้ว ย่อมอยู่ในป่า เหมือนอย่างกุลบุตร

ทั้งหลายเหมือนกัน, คนลามก ถูกราคะย้อมแล้ว ย่อมเบียดเบียนภิกษุณี

เหล่านั้น ผู้อยู่ในป่า ด้วยสามารถแห่งการดูถูกดูหมิ่นบ้าง ให้ถึงอันตราย

แห่งพรหมจรรย์บ้าง; เพราะฉะนั้น พระองค์ควรทำที่อยู่ภายในพระนคร

แก่ภิกษุณีสงฆ์."

พระราชา ทรงรับว่า "ดีละ" ดังนี้แล้ว รับสั่งให้สร้างที่อยู่

เพื่อภิกษุณีสงฆ์ ที่ข้างหนึ่งแห่งพระนคร. จำเดิมแต่นั้นมา พวกภิกษุณี

ย่อมอยู่ในละแวกบ้านเท่านั้น.

เรื่องพระอุบลวรรณาเถรี จบ.

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๖๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 218

๑๑. เรื่องชัมพุกาชีวก [๕๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภชัมพุกาชีวก

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มาเส มาเส กุสคฺเคน" เป็นต้น.

กุฏุมพีบำรุงพระเถระ

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสป

ในอดีตกาล กุฎุมพีชาวบ้านคนหนึ่ง สร้างวิหาร ( ถวาย ) แก่พระเถระ

รูปหนึ่งแล้ว บำรุงพระเถระผู้อยู่ในวิหารนั้นด้วยปัจจัย ๔. พระเถระ

ฉันในเรือนของกุฎุมพีนั้นเป็นนิตย์. ครั้งนั้น ภิกษุขีณาสพรูปหนึ่ง เที่ยว

บิตฑบาตในกลางวัน ถึงประตูเรือนของกุฎุมพีนั้น. กุฎุมพีเห็นพระ-

ขีณาสพนั้นแล้ว เลื่อมใสในอิริยาบถของท่าน นิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือน

อังคาสด้วยโภชนะอันประณีตโดยเคารพ ถวายผ้าสาฎกผืนใหญ่ ด้วยเรียน

ว่า " ท่านผู้เจริญ ท่านพึงย้อมผ้าสาฎกนี้นุ่งเถิด" ดังนี้แล้ว เรียนว่า

" ท่านผู้เจริญ ผมของท่านยาว; กระผมจักนำช่างกัลบกมา เพื่อประโยชน์

แก่อันปลงผมของท่าน, จักให้จัดเตียงมาเพื่อประโยชน์แก่การนอน."

ภิกษุกุลุปกะ ผู้ฉันอยู่ในเรือนเป็นนิตย์ เห็นสักการะนั้น ของพระ-

ขีณาสพนั้น ไม่อาจยังจิตให้เลื่อมใสได้ คิดว่า " กุฎุมพีนี้ ทำสักการะ

นั้นเห็นปานนี้ แก่ภิกษุผู้ที่คนเห็นแล้วครู่เดียว, แต่ไม่ทำแก่เราผู้ฉันอยู่

ในเรือนเป็นนิตย์" ดังนี้แล้ว ได้ไปสู่วิหาร. แม้ภิกษุขีณาสพนอกนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 219

ไปกับด้วยภิกษุนั้นนั่นแล ย้อมผ้าสาฎกที่กุฏุมพีถวายนุ่งแล้ว. แม้กุฎุมพี

พาช่างกัลบกไปให้ปลงผมของพระเถระ ให้คนลาดเตียงไว้แล้วเรียนว่า

" ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงนอนบนเตียงนี้แหละ" นิมนต์พระเถระ

ทั้งสองรูป เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้แล้ว ก็หลีกไป. ภิกษุเจ้าถิ่นไม่อาจอดกลั้น

สักการะที่กุฎุมพีทำแก่พระขีณาสพนั้นได้.

ด่าพระอรหันต์ด้วยอาการ ๔ มีโทษ

ครั้นเวลาเย็น เธอไปสู่ที่ที่พระเถระนั้นนอนแล้ว ด่าด้วยอาการ

๔ อย่างว่า " อาคันตุกะผู้มีอายุ ท่านเคี้ยวกินคูถ ประเสริฐกว่าการ

บริโภคภัตในเรือนของกุฎุมพี. ท่านให้ถอนผมด้วยแปรงตาล ประเสริฐ

ว่าการปลงผมด้วยช่างกัลบก ที่กุฎุมพีนำมา, ท่านเปลือยกายเที่ยวไป

ประเสริฐกว่าการนุ่งผ้าสาฎก ที่กุฏุมพีถวาย, ท่านนอนเหนือแผ่นดิน

ประเสริฐกว่าการนอนบนเตียง ที่กุฎุมพีนำมา." ฝ่ายพระเถระ คิดว่า

" คนพาลนี่ อย่าฉิบหายเพราะอาศัยเราเลย" ดังนี้แล้ว ไม่เอื้อเฟื้อถึง

การนิมนต์ ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ได้ไปตามสบายแล้ว. ฝ่ายภิกษุเจ้าถิ่น ทำวัตร

ที่ควรทำในวิหารแต่เช้าตรู่แล้ว เคาะระฆังด้วยหลังเล็บเท่านั้น ด้วยความ

สำคัญว่า " เวลานี้ เป็นเวลาเที่ยวภิกษา, แม้บัดนี้ ภิกษุอาคันตุกะ

หลับอยู่, เธอพึงตื่นด้วยเสียงระฆัง ดังนี้แล้ว เข้าไปสู่บ้านเพื่อ

บิณฑบาต แม้กุฎุมพีนั้น กระทำสักการะแล้ว แลดูทางมาของพระเถระ

ทั้งสอง เห็นภิกษุเจ้าถิ่นแล้ว ถามว่า " ท่านผู้เจริญ พระเถระไปไหน ?"

ทีนั้น ภิกษุเจ้าถิ่น กล่าวกะกุฎุมพีนั้นว่า " ผู้มีอายุ อย่าได้พูดถึงเลย

ภิกษุกุลุปกะของท่าน เข้าสู่ห้องน้อย ในเวลาที่ท่านออกไปเมื่อวาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 220

ก้าวลงสู่ความหลับ เมื่อข้าพเจ้า ทำเสียงกวาดวิหารก็ดี เสียงกรอกน้ำ

ในหม้อฉันและหม้อน้ำใช้ก็ดี เสียงระฆังก็ดี ตั้งแต่เช้าตรู่ ก็ยังไม่รู้สึก..."

กฎุมพีคิดว่า "ชื่อว่าการหลับจนถึงกาลนี้ ย่อมไม่มี แก่พระผู้เป็นเจ้าของ

เราประกอบด้วยอิริยาบถสมบัติเช่นนั้น, แต่ท่านผู้เจริญรูปนี้ จักกล่าวคำ

อะไร ๆ แน่นอน เพราะเห็นเราทำสักการะแก่ท่าน." เพราะความที่ตน

เป็นบัณฑิต กุฎุมพีนั้น จึงนิมนต์ให้ภิกษุฉันโดยเคารพ ล้างบาตรของ

ท่านให้ดีแล้ว ให้เต็มด้วยโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ แล้วกล่าวว่า " ท่าน

ผู้เจริญ ถ้าท่านพึงเห็นพระผู้เป็นเจ้าของกระผม, ท่านพึงถวายบิณฑบาต

นี้ แก่พระผู้เป็นเจ้านั้น." ภิกษุนอกนี้พอรับบิณฑบาตนั้นแล้ว ก็คิดว่า

"ถ้าภิกษุนั้น จักบริโภคบิณฑบาตเห็นปานนี้ไซร้, เธอก็จักข้องอยู่ในที่นี้

เท่านั้น" ทิ้งบิณฑบาตนั้นในระหว่างทาง ไปสู่ที่อยู่ของพระเถระ แลดู

พระเถระนั้นในที่นั้นมิได้เห็นแล้ว. ทีนั้น สมณธรรมแม้ที่เธอทำไว้ สิ้น

สองหมื่นปีไม่อาจเพื่อรักษาเธอได้ เพราะเธอทำกรรมประมาณเท่านี้. ก็

ในกาลสิ้นอายุ เธอเกิดแล้วในอเวจี เสวยทุกข์เป็นอันมาก สิ้นพุทธันดร

หนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ เกิดในเรือนแห่งตระกูล ซึ่งมีข้าวและน้ำมาก

แห่งหนึ่งในพระนครราชคฤห์.

โทษของการด่าพระอรหันต์

จำเดิมแต่กาลที่เดินได้ด้วยเท้า เขาไม่ปรารถนา เพื่อจะนอนบน

ที่นอนทีเดียว ไม่ปรารถนาเพื่อจะบริโภคภัต, เคี้ยวกินแต่สรีรวลัญชะ

ของตนเท่านั้น. มารดาบิดา เลี้ยงทารกนั้นไว้ ด้วยสำคัญว่า " เด็ก

๑. อุจจาระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 221

ไม่รู้เพราะยังอ่อน จึงทำ." แม้ในเวลาเป็นผู้ใหญ่ เขาไม่ปรารถนาเพื่อ

จะนุ่งผ้า. เป็นผู้เปลือยกายเที่ยวไป นอนบนแผ่นดิน, เคี้ยวกินแต่

สรีรวลัญชะของตนเท่านั้น. ลำดับนั้น มารดาและบิดาของเขา คิดว่า

" เด็กนี้ไม่สมควรแก่เรือนแห่งสกุล; เด็กนี้สมควรแก่พวกอาชีวก" ดังนี้

แล้ว จึงนำไปสู่สำนักของอาชีวกเหล่านั้น ได้มอบให้ว่า " ขอท่าน

ทั้งหลายจงยังเด็กนี้ให้บวชเถิด." ลำดับนั้น อาชีวกเหล่านั้นยังเขาให้บวช

แล้ว ก็แลครั้นให้บวชแล้ว พวกอาชีวกนั้นตั้งเขาไว้ในหลุมประมาณเพียง

คอ วางไม้เรียบไว้บนจะงอยบ่าทั้งสอง นั่งบนไม้เรียบเหล่านั้น ถอน

ผมด้วยท่อนแห่งแปรงตาล. ลำดับนั้น มารดาบิดาของเขา เชิญอาชีวก

เหล่านั้น เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้แล้ว หลีกไป. วันรุ่งขึ้น พวกอาชีวก

กล่าวกะเขาว่า "ท่านจงมา, พวกเราจักเข้าไปสู่บ้าน." เขากล่าวว่า "ขอ

เชิญพวกท่านไปเถิด, ข้าพเจ้าจักอยู่ในที่นี้แล" ดังนี้แล้ว ก็ไม่ปรารถนา.

ครั้งนั้น อาชีวกทั้งหลาย ได้ละเขาผู้กล่าวแล้ว ๆ เล่า ๆ ซึ่งไม่ปรารถนา

อยู่ ไปแล้ว. ฝ่ายเขาทราบความที่อาชีวกเหล่านั้นไปแล้ว เปิดประตูเวจกุฏี

ลงไปกินคูถปั้นให้เป็นคำด้วยมือทั้งสอง พวกอาชีวกส่งอาหารไปจากภาย-

ในบ้านเพื่อเขา. เขาไม่ปรารถนาแม้อาหารนั้น, แม้ถูกพวกอาชีวกกล่าวอยู่

บ่อย ๆ ก็กล่าวว่า "ข้าพเจ้าไม่ต้องการอาหารนี้. อาหารอันข้าพเจ้าได้

แล้ว." พวกอาชีวกถามว่า " ท่านได้อาหารที่ไหน ?" เขาตอบว่า "ื ได้

ในที่นี้นั้นเอง. "

แม้ในวันที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๘ เขาถูกพวกอาชีวกนั้น กล่าวอยู่แม้

มากอย่างนั้น ก็ยังกล่าว "ข้าพเจ้าจักอยู่ในที่นี้แหละ" ไม่ปรากฏนา

เพื่อจะไปบ้าน. พวกอาชีวิวก คิดว่า "อาชีวกนี้ ไม่ปรารถนาจะเข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 222

บ้านทุกวัน ๆ ทีเดียว, ไม่ปรารถนาจะกลืนกินอาหารที่พวกเรานำมาให้

กล่าวอยู่ว่า 'อาหารเราได้แล้วในที่นี้เทียว; เขาทำอะไรหนอแล ? พวก

เราจักจับผิดเขา' ดังนี้แล้ว เมื่อจะเข้าไปสู่บ้าน เว้นคนไว้คนหนึ่ง

สองคน เพื่อจับผิด แม้ซึ่งอาชีวกนั้น จึงไป. อาชีวกเหล่านั้น เป็น

ราวกะไปข้างหลัง ซ่อนอยู่แล้ว. แม้เขา รู้ความที่อาชีวกเหล่านั้นไป

แล้ว ลงสู่เวจกุฎี กินคูถโดยนัยก่อนนั้นแล. พวกอาชีวกนอกนี้ เห็น

กิริยาของเขาแล้ว จึงบอกแก่อาชีวกทั้งหลาย. พวกอาชีวก ฟังคำนั้น

แล้ว คิดว่า " โอ กรรมหนัก; ถ้าสาวกของพระสมณโคดม พึง

รู้ไซร้, พึงประกาศความเสื่อมเกียรติของพวกเราว่า 'อาชีวกทั้งหลาย

เที่ยวกินคูถ; อาชีวกนี้ไม่สมควรแก่พวกเรา" จึงขับไล่เขาออกจาก

สำนักของตนแล้ว. เขาถูกพวกอาชีวกเหล่านั้นไล่ออกแล้ว. มีหินดาด

ก้อนหนึ่ง ที่เขาลาดไว้ในที่ถ่ายอุจจาระของมหาชน, มีกระพังใหญ่บน

แผ่นหินนั้น, มหาชนอาศัยหินดาดเป็นที่ถ่ายอุจจาระ. เขาไปในที่นั้น

กินคูถในกลางคืน ในกาลที่มหาชนมาเพื่อต้องการถ่ายอุจจาระ เหนี่ยว

ก้อนหินข้างหนึ่งด้วยมือข้างหนึ่ง ยกเท้าขึ้นข้างหนึ่งตั้งไว้บนเข่า ยืน

เงยหน้าอ้าปากอยู่. มหาชนเห็นเขาแล้ว เข้าไปหา ไหว้แล้ว ถามว่า

" ท่านผู้เจริญ เพราะเหตุไร พระผู้เป็นเจ้าจึงยืนอ้าปาก ?"

อาชีวก. (เพราะ) เรามีลมเป็นภักษา อาหารอย่างอื่นของเรา

ไม่มี.

มหาชน. เมื่อเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงยกเท้าข้างหนึ่งตั้งไว้

บนเข่ายืนอยู่เล่า ขอรับ ?

อาชีวก. เรามีตบะสูง มีตบะกล้า แผ่นดินถูกเราเหยียบด้วยเท้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 223

ทั้งสองย่อมหวั่นไหว; เพราะฉะนั้น เราจึงยกเท้าขึ้นข้างหนึ่งไว้บนเข่า

ยืนอยู่, ก็เราแลยืนอย่างเดียว ยิ่งกาลให้ล่วงไป ไม่นั่ง ไม่นอน.

ขึ้นชื่อว่าพวกมนุษย์โดยมาก มักเชื่อเพียงถ้อยคำเท่านั้น; เพราะ-

ฉะนั้น ชนชาวแคว้นอังคะและมคธะโดยมาก จึงลือกระฉ่อนว่า "แหม !

น่าอัศจรรย์จริง. ท่านผู้มีตบะชื่อแม้เห็นปานนี้ มีอยู่, ผู้เช่นนี้ พวกเรา

ยังไม่เคยเห็น" ดังนี้แล้ว ย่อมนำสักการะเป็นอันมากไปทุก ๆ เดือน.

อาชีวกนั้น กล่าวว่า "เรากินลมอย่างเดียว, ไม่กินอาหารอย่างอื่น.

เพราะเมื่อเรากินอาหารอย่างอื่น ตบะย่อมเสื่อมไป " ดังนี้แล้ว ไม่

ปรารถนาของอะไรๆ ที่พวกมนุษย์เหล่านั้นนำมา. พวกมนุษย์ อ้อนวอน

บ่อย ๆ ว่า " ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าให้พวกกระผมฉิบหายเลย, การ

บริโภค อันคนผู้มีตบะกล้าเช่นท่านกระทำแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

เพื่อความสุข แก่พวกกระผม สิ้นกาลนาน." อาชีวก กล่าวว่า "เรา

นั้นไม่ชอบใจอาหารอย่างอื่น" แต่ถูกมหาชนรบกวนด้วยการอ้อนวอน

จึงวางเภสัชมีเนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น อันชนเหล่านั้นนำมา ที่ปลายลิ้น

ด้วยปลายหญ้าคาแล้ว ส่งไป ด้วยคำว่า " พวกท่านจงไปเถิด, เท่านี้

พอละเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ท่านทั้งหลาย." อาชีวกนั้น

เป็นคนเปลือย เคี้ยวกินคูถ ถอนผม นอนบนแผ่นดิน ให้กาลล่วงไป

๕๕ ปี ด้วยประการฉะนี้.

พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดชัมพุกาชีวก

การตรวจดูสัตว์โลก ในเวลาใกล้รุ่ง เป็นพุทธกิจ แม้อัน

๑. ปจฺจูสกาเล ปฏิ-อุส-กาล กาลเป็นที่กำจัดตอบซึ่งมืด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 224

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ทรงละโดยแท้; เพราะฉะนั้น เมื่อพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ทางพิจารณาดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่งวันหนึ่ง, ชัมพุกาชีวก

นี้ ปรากฏภายในข่ายคือพระญาณแล้ว. พระศาสดา ทรงใคร่ครวญว่า

"อะไรหนอแล จักมี ?" ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัต พร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาของเขาแล้ว ทรงทราบว่า "เราจักทำชัมพุกาชีวกนั้นให้

เป็นต้นแล้ว กล่าวคาถา ๆ หนึ่ง, ในกาลจบคาถา สัตว์ ๘ หมื่น ๔ พัน

จักตรัสรู้ธรรม อาศัยกุลบุตรนี้ มหาชนจักถึงความสวัสดี" ดังนี้แล้ว

ในวันรุ่งขึ้น เสด็จเที่ยวไปในกรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาต เสด็จกลับจาก

บิณฑบาตแล้ว ตรัสกะพระอานนทเถระว่า "อานนท์ เราจักไปสู่สำนัก

ของชัมพุกาชีวก."

อานนท์. พระองค์เท่านั้น จักเสด็จไปหรือ พระเจ้าข้า ?

พระศาสดา. อย่างนั้น เราผู้เดียวจักไป.

พระศาสดา ครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว ในเวลาบ่าย เสด็จไปสู่สำนัก

ของชัมพุกาชีวกนั้น. เทวดาทั้งหลาย คิดว่า "พระศาสดาจะเสด็จไปสู่

สำนักของชัมพุกาชีวกในเวลาเย็น, ก็ชัมพุกาชีวกนั้น อยู่บนหินดาด

น่าเกลียด เป็นที่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ เศร้าหมองด้วยไม้ชำระฟัน,

พวกเราควรให้ฝนตก" ดังนี้แล้ว จึงยังฝนให้ตก ครู่เดียวเท่านั้น

ด้วยอานุภาพของตน. หินดาด ได้สะอาดปราศจากมลทินแล้ว. ลำดับนั้น

เทวดาทั้งหลาย ยังฝนเป็นวิการแห่งดอกไม้ ๕ สี ให้ตกลงบนหินดาด

นั้น. ในเวลาเย็น พระศาสดา เสด็จไปสู่สำนักของชัมพุกาชีวกแล้ว ได้

เปล่งพระสุรเสียงว่า "ชัมพุกะ." ชัมพุกะคิดว่า "นั่นใครหนอแล รู้ยาก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 225

เรียกเราด้วยวาทะว่าชัมพุกะ" จึงคิดว่า "นั่นใคร ?"

พระศาสดา. เรา ชัมพุกะ.

ชัมพุกะ. ทำไม มหาสมณะ ?

พระศาสดา. วันนี้ เธอจงให้ที่อยู่ในที่นี้แก่เรา สักคืนหนึ่ง.

ชัมพุกะ. มหาสมณะ ที่อยู่ในที่นี้ ไม่มี.

พระศาสดา. ชัมพุกะ เธออย่ากระทำอย่างนั้น, เธอจงให้ที่อยู่

แก่เรา สักคืนหนึ่ง; ชื่อว่าพวกบรรพชิตย่อมปรารถนาบรรพชิต,

พวกมนุษย์ย่อมปรารถนามนุษย์, พวกปศุสัตว์ย่อมปรารถนาพวกปศุสัตว์.

ชัมพุกะ. ก็ท่านเป็นบรรพชิตหรือ ?

พระศาสดา. เออ เราเป็นบรรพชิต.

ชัมพุกะ. ถ้าท่านเป็นบรรพชิต, น้ำเต้าของท่านอยู่ที่ไหน ? ทัพพี

สำหรับโบกควันของท่านอยู่ที่ไหน ? ด้ายสำหรับบูชายัญของท่านอยู่

ที่ไหน ?

พระศาสดา. น้ำเต้าเป็นต้นนั่น ของเรามีอยู่, แต่การถือเอาเป็น

แผนก ๆ เที่ยวไปลำบาก เพราะฉะนั้น เราจึงเก็บไว้ภายในเท่านั้นเที่ยว

ไป. อาชีวกนั้นโกรธว่า "ท่านจักไม่ถือน่าเต้าเป็นต้นนั่นเที่ยวไปได้

หรือ ?" ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสกะอาชีวกนั้นว่า "ช่างเถอะ

ชัมพุกะ, เธออย่าโกรธเลย. เธอจงบอกที่อยู่แก่เราเถิด." เขากล่าวว่า

"มหาสมณะ ที่อยู่ในที่นี้ ไม่มี."

พระศาสดา เมื่อจะทรงชี้เงื้อมแห่งหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่

อยู่ของเขา จึงตรัสว่า "ที่เงื้อมนั่น ใครอยู่ ?"

๑. ยัชโญปวีต สายเครื่องหมายวรรณะพราหมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 226

ชัมพุกะ. มหาสมณะ ที่เงื้อมนั่น ไม่มีใครอยู่.

พระศาสดา. ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้เงื้อมนั่นแก่เรา.

ชัมพุกะ. มหาสมณะ ท่านจงรู้เองเถิด.

พระศาสดา ทรงปูผ้านั่ง ประทับนั่งที่เงื้อมแล้ว.

ชัมพุกาชีวกได้บรรลุพระอรหัต

ครั้งนั้น ท้าวมหาราชทั้งสี่ ทำทิศทั้งสี่ ให้มีแสงสว่างเป็นอัน

เดียวกัน มาสู่ที่บำรุงในปฐมยาม. ชัมพุกะเห็นแสงสว่างแล้ว คิดว่า

" นั่น ชื่อแสงสว่างอะไรกัน ?" ในมัชฌิมยาม ท้าวสักกเทวราชเสด็จ

มาแล้ว. ชัมพุกะเห็นแม้ท้าวสักกเทวราชนั้น คิดว่า "ชื่อว่าใครนั่น ?"

ในปัจฉิมยาม ท้าวมหาพรหม ผู้สามารถยังจักรวาลหนึ่ง ให้สว่างด้วย

นิ้วมือนิ้วหนึ่ง ยังจักรวาลสองจักรวาล ให้สว่างด้วยนิ้วมือ ๒ นิ้ว ฯลฯ

ยังจักรวาลสิบจักรวาล ให้สว่างด้วยนิ้วมือ ๑๐ นิ้ว ทำป่าทั้งสิ้นให้มีแสง

สว่างเป็นอันเดียวมาแล้ว. ชัมพุกะเห็นท้าวมหาพรหมแม้นั้น คิดว่า "นั่น

ใครหนอแล ?" ดังนี้แล้ว จึงไปสู่สำนักพระศาสดาแต่เช้าตรู่ กระทำ

ปฏิสันถารแล้ว ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ทูลถามพระศาสดาว่า

" มหาสมณะ ใคร ยังทิศทั้งสี่ให้สว่าง มาสู่สำนักของท่านในปฐม-

ยาม ?"

พระศาสดา. ท้าวมหาราชทั้งสี่.

ชัมพุกะ. มาเพราะเหตุไร ?"

พระศาสดา. มาเพื่อบำรุงเรา.

ชัมพุกะ. ก็ท่านเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าท้าวมหาราชทั้งสี่หรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 227

พระศาสดา. เออ ชัมพุกะ เราแลเป็นพระราชายอดเยี่ยมกว่าพระ-

ราชาทั้งหลาย.

ชัมพุกะ. ก็ในมัชฌิมยาม ใครมา ?

พระศาสดา. ท้าวสักกเทวราช.

ชัมพุกะ. เพราะเหตุไร ?

พระศาสดา. เพื่อบำรุงเราเหมือนกัน .

ชัมพุกะ. ก็ท่านเป็นผู้ยอดเยี่ยมกว่าท้าวสักกเทวราชหรือ?

พระศาสดา. เออ ชัมพุกะ, เราเป็นผู้ยอดเยี่ยมแม้กว่าท้าวสักกะ,

ก็ท้าวสักกะนั่น เป็นคิลานุปัฏฐากของเรา เช่นเดียวกับสามเณรผู้เป็น

กัปปิยการก.

ชัมพุกะ. ก็ใคร ยังป่าทั้งสิ้นให้สว่าง มาแล้วในปัจฉิมยาม ?

พระศาสดา. ชนทั้งหลาย มีพราหมณ์เป็นต้น ในโลก จามแล้ว

พลาดพลั้งแล้ว ย่อมกล่าวว่า 'ขอความนอบน้อม จงมี แก่มหาพรหม'

อาศัยผู้ใด ผู้นั้นแหละ เป็นท้าวมหาพรหม.

ชัมพุกะ. ก็ท่านเป็นผู้ยอดเยี่ยมแม้กว่าท้าวมหาพรหมหรือ ?

พระศาสดา. เออ ชัมพุกะ, เราแลเป็นพรหมยิ่งแม้กว่าพรหม.

ชัมพุกะ. มหาสมณะ ท่านเป็นผู้อัศจรรย์, ก็เมื่อเราอยู่ในที่นี้

สิ้น ๕๕ ปี บรรดาเทวดาเหล่านั้น แม้องค์หนึ่ง ก็ไม่เคยมาเพื่อบำรุง

เรา; ก็เราเป็นผู้มีลมเป็นภักษา ยืนอย่างเดียว ให้กาลนานประมาณ

เท่านี้ล่วงไปแล้ว, เทวดาเหล่านั้น ไม่เคยมาสู่ที่บำรุงของเราเลย.

ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสกะชัมพุกะนั้นว่า "ชัมพุกะ เธอ

ลวงมหาชนผู้อันธพาลในโลก ยังปรารถนาจะลวงแม้ซึ่งเรา; เธอเคี้ยวกิน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 228

คูถเท่านั้น, นอนบนแผ่นดินอย่างเดียว, เป็นผู้เปลือยเที่ยวไป, ถอนผม

ด้วยท่อนแปรงตาลสิ้น ๕๕ ปี มิใช่หรือ ? ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น เธอลวง

โลก กล่าวว่า ' เราเป็นผู้มีลมเป็นภักษา, ยืนด้วยเท้าข้างเดียว, ไม่นั่ง

ไม่นอน,' ยังเป็นผู้ปรารถนาจะลวงแม้ซึ่งเรา ? แม้ในกาลก่อน เธอ

อาศัยทิฏฐิอันชั่วช้าลามก เป็นผู้มีคูถเป็นภักษาสิ้นกาลประมาณเท่านี้ เป็น

ผู้นอนเหนือแผ่นดิน เปลือยกายเที่ยวไป ถึงการถอนผมด้วยท่อนแปรง

ตาล, แม้ในบัดนี้ เธอยังถือทิฏฐิอันชั่วช้าลามกเหมือนเดิม."

ชัมพุกะ. มหาสมณะ ก็เราทำกรรมอะไรไว้.

ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสบอกกรรมที่เขากระทำแล้วในก่อนแก่

ชัมพุกะนั้น. เมื่อพระศาสดา ตรัสอยู่นั่นแหละ ความสังเวชเกิดขึ้นแก่

เขาแล้ว, หิริโอตตัปปะปรากฏแล้ว. เขานั่งกระโหย่งแล้ว. ลำดับนั้น

พระศาสดา ได้ทรงโยนผ้าสาฎกสำหรับอาบน้ำไปให้เขา. เขานุ่งผ้านั้น

แล้ว ถวายบังคมพระศาสดา นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายพระศาสดา

ตรัสอนุบุพพีกถาแสดงธรรมแก่เขา. ในกาลจบเทศนา เขาบรรลุพระ-

อรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ถวายบังคมพระศาสดาแล้วลุกขึ้นจากที่นั่ง

ทูลขอบรรพชาและอุปสมบท. ด้วยอาการเพียงเท่านี้ กรรมในก่อนของ

ชัมพุกะนั้นสิ้นแล้ว . ก็ชัมพุกะนี้ ด่าพระมหาเถระผู้ขีณาสพ ด้วยอักโกส-

วัตถุ ๔ อย่าง, ไหม้แล้วในอเวจี ตราบเท่ามหาปฐพีนี้หนาขึ้น ๑ โยชน์

ยิ่งด้วย ๓ คาวุต ถึงอาการอันน่าเกลียดนี้สิ้น ๕๕ ปี ด้วยเศษแห่งผล

กรรม ในเพราะการด่านั้น, กรรมนั้นของเธอสิ้นแล้ว เพราะบรรลุพระ-

อรหันต์นั้น, กรรมที่เธอทำแล้วนั้น ไม่อาจยังผลแห่งสมณธรรม ที่

ชัมพุกาชีวกนี้ทำแล้วสิ้น ๒ หมื่นปีให้ฉิบหายได้; เพราะฉะนั้น พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 229

ศาสดาจึงทรงเหยียดพระหัตถ์เบื้องขวาออก ตรัสกะชัมพุกะนั้นว่า "เธอ

จงเป็นภิกษุมาเถิด, จงประพฤติพรหมจรรย์เถิด." ขณะนั้นเอง เพศ

คฤหัสถ์ของเธอ หายไปแล้ว. เธอเป็นผู้ทรงบริขาร ๘ ได้เป็นประดุจ

พระเถระมีพรรษา ๖๐ แล้ว.

ชัมพุกะบอกความจริงแก่มหาชน

ได้ยินว่า วันนั้น เป็นวันแห่งชาวอังคะและมคธะ ถือสักการะมา

เพื่อชัมพุกะนั่น; เพราะฉะนั้น ชาวแว่นแคว้นทั้งสอง ถือสักการะมาแล้ว

เห็นพระตถาคตแล้ว จึงคิดว่า "ชัมพุกะผู้เป็นเจ้าของพวกเราเป็นใหญ่

หรือหนอแล ? หรือว่า พระสมณโคดมเป็นใหญ่" คิดว่า "ถ้า

พระสมณโคดม พึงเป็นใหญ่, ชัมพุกะนี้ พึงไปสู่สำนักของพระสมณ-

โคดม, แต่เพราะความที่ชัมพุกาชีวกเป็นใหญ่ พระสมณโคดมจึงเสด็จมา

สู่สำนักชัมพุกาชีวกนี้."

พระศาสดา ทรงทราบความปริวิตกของมหาชน จึงตรัสว่า

" ชัมพุกะ เธอจงตัดความสงสัยของพวกอุปัฏฐากของเธอเสีย." เธอ

กราบทูลว่า แม้ข้าพระองค์ ก็หวังพระพุทธดำรัสมีประมาณเท่านี้

เหมือนกัน พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว เข้าฌานที่ ๔ ลุกขึ้น เหาะขึ้นสู่

เวหาสประมาณชั่วลำตาล กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นพระศาสดาของข้าพระองค์, ข้าพระองค์เป็นสาวก" แล้วลงมา

ถวายบังคม เหาะขึ้นสู่เวหาสประมาณ ๗ ชั่วลำตาลอีก ด้วยอาการอย่างนี้

คือ ประมาณ ๒ ชั่วลำตาล ประมาณ ๓ ชั่วลำตาล แล้วลงมา ยัง

มหาชนให้ทราบความที่ตนเป็นสาวก. มหาชนเห็นเหตุนั้นแล้ว คิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 230

" โอ ! ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้น่าอัศจรรย์ มีพระคุณไม่

ทรามเลย."

พระศาสดาเมื่อตรัสกับมหาชน ตรัสอย่างนี้ว่า "ชัมพุกะนี้ วาง

สักการะที่พวกท่านนำมาแล้ว ที่ปลายลิ้นด้วยปลายหญ้าคา ตลอดกาล

ประมาณเท่านี้ อยู่ในที่นี้ ด้วยหวังว่า ' เราบำเพ็ญการประพฤติตบะ;'

ถ้าเธอพึงบำเพ็ญการประพฤติตบะสิ้น ๑๐๐ ปีด้วยอุบายนี้ไซร้, ก็การ

บำเพ็ญตบะนั้น ยังไม่ถึงเสี้ยวแม้ที่ ๑๖ แห่งกุศลเจตนาเป็นเครื่องตัดภัต

ของเธอผู้รังเกียจสกุลหรือภัต แล้วไม่บริโภคในบัดนี้" ดังนี้แล้ว เมื่อ

จะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๑. มาเส มาเส กุสคฺเตน พาโล ภุญฺเชถ โภชน

น โส สงฺขาตธมฺมาน กล อคฺฆติ โสฬสึ.

"คนพาล พึงบริโภคโภชนะด้วยปลายหญ้าคา

ทุก ๆ เดือน, เขาย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งท่าน

ผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว."

แก้อรรถ

พึงทราบเนื้อความแห่งคาถานั้นว่า :-

" ถ้าคนพาล คือผู้มีธรรมยังไม่กำหนดรู้ เหินห่างจากคุณมีศีล

เป็นต้น บวชในลัทธิเดียรถีย์ บริโภคโภชนะด้วยปลายหญ้าคาทุก ๆ เดือน

ที่ถึงแล้ว ด้วยหวังว่า "เราจักบำเพ็ญการประพฤติตบะ" ชื่อว่า พึง

บริโภคโภชนะตลอด ๑๐๐ ปี.

ในกึ่งพระคาถาว่า น โส สงฺขาตธมฺมาน กล อคฺฆติ โสฬสึ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 231

แสดงเป็นบุคลาธิษฐานว่า "ท่านผู้มีธรรมอันรู้แล้ว คือผู้มีธรรม

อันชั่งได้แล้ว เรียกว่าผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว, บรรดาท่านเหล่านั้น

โดยที่สุดมี ณ เบื้องต่ำ พระโสดาบัน ชื่อว่าผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว,

โดยที่สุดมี ณ เบื้องสูง พระขีณาสพ ชื่อว่าผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว;

ชนพาลนั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ของท่านผู้มีธรรมอันนับได้แล้วเหล่านี้.

ส่วนเนื้อความในกึ่งพระคาถานี้ พึงทราบดังนี้ :-

ก็เจตนาของคนพาลนั้น ผู้บำเพ็ญการประพฤติตบะอย่างนั้น ตลอด

๑๐๐ ปี เป็นไปสิ้นราตรีนานเพียงนั้น ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งกุศล-

เจตนาเครื่องตัดภัตดวงหนึ่งของท่านผู้มีธรรมอันนับได้แล้ว รังเกียจสกุล

หรือภัตแล้วไม่บริโภค.

พระศาสดา ตรัสอธิบายไว้ดังนี้ว่า "ผลแห่งส่วนหนึ่ง ๆ จาก

ส่วนที่ ๑๖ ซึ่งทำผลแห่งเจตนาของท่านผู้มีธรรมอันนับได้แล้วนั้นให้

เป็น ๑๖ ส่วนแล้ว ทำส่วนหนึ่ง ๆ จาก ๑๖ ส่วนนั้น ให้เป็น ๖ ส่วน

อีกนั้นแล ยังมากกว่าการประพฤติตบะของชนพาลนั้น."

ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์ ๘ หมื่น ๔ พัน

แล้ว ดังนี้แล.

เรื่องชัมพุกาชีวก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 232

๑๒. เรื่องอหิเปรต [๕๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภอหิเปรต

ตนใดตนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น หิ ปาป กต กมฺม"

เป็นต้น.

พระมหาโมคคัลลานเถระทำการยิ้ม

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง ท่านพระลักขณเถระ ภายในชฎิล

พันหนึ่ง และท่านพระมหาโมคคัลลานเถระ ลงจากภูเขาคิชฌกูฏด้วย

คิดว่า "เราจักเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์." บรรดาพระเถระ ๒ รูป

นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เห็นอหิเปรตตนหนึ่ง จึงได้กระทำการ

ยิ้มแย้มให้ปรากฏ. ลำดับนั้น พระลักขณเถระ ถามเหตุกะพระเถระนั้นว่า

" ผู้มีอายุ เพราะเหตุไร ท่านจึงทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ ?" พระเถระ

ตอบว่า "ผู้มีอายุ นี้ไม่ใช่กาลแล เพื่อวิสัชนาปัญหานี้, ท่านพึงถามผม

ในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด." เมื่อพระเถระทั้งสองนั้น เที่ยว

บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ไปสู่สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งแล้ว,

พระลักขณเถระถามว่า " ท่านโมคคัลลานะผู้มีอายุ ท่านลงจากภูเขา

คิชฌกูฏ ทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ ผมถามถึงเหตุแห่งการยิ้มแย้ม ได้

กล่าวว่า ' ท่านพึงถามผมในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า,' บัดนี้ ท่านจง

บอกเหตุนั้นเถิด."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 233

พระมหาโมคคัลลานะบอกเหตุแห่งการยิ้ม

พระเถระ กล่าวว่า "ผู้มีอายุ ผมเห็นอหิเปรตตนหนึ่ง จึงได้

ทำการยิ้มแย้มให้ปรากฏ, อัตภาพของเปรตนั้นเห็นปานนี้, ศีรษะของมัน

เหมือนศีรษะมนุษย์, อัตภาพที่เหลือของมัน เหมือนของงู, นั่นชื่อ

อหิเปรต โดยประมาณ ๒๕ โยชน์, เปลวไฟตั้งขึ้นจากศีรษะของมัน

ลามไปจนถึงหาง, ตั้งขึ้นจากหางถึงศีรษะ, ตั้งขึ้นในท่ามกลาง ลามไป

ถึงข้างทั้งสอง ตั้งขึ้นแต่ข้างทั้งสอง รวมลงในท่ามกลาง." ได้ยินว่า

อัตภาพของเปรตทั้งสอง นั่นแล ประมาณ ๒๕ โยชน์, ของเปรตที่เหลือ

ประมาณ ๓ คาวุต, ของอหิเปรตนี้นั่นแล และของกากเปรต ประมาณ

๒๕ โยชน์, บรรดาเปรตทั้งสองนั้น อหิเปรต เป็นดังนี้ก่อน.

บุรพกรรมของกากเปรต

พระมหาโมคคัลลานะ เห็นแม้กากเปรต อันไฟไหม้อยู่ที่ยอดเขา

คิชฌกูฏ เมื่อจะถามบุรพกรรมของเปรตนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

" ลิ้นของเจ้าประมาณ ๕ โยชน์, ศีรษะของเจ้า

ประมาณ ๙ โยชน์, กายของเจ้าสูงประมาณ ๒๕

โยชน์, เจ้าทำกรรมอะไรไว้จึงถึงทุกข์เช่นนี้."

ครั้งนั้น เปรตเมื่อจะบอกแก่พระเถระนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

" พระโมคคัลลานะผู้เจริญ ข้าพเจ้ากลืนกินภัต

ที่เขานำมาเพื่อสงฆ์ ของพระพุทธเจ้าพระนานว่า

กัสสป ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ตานปรารถนา."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 234

ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนาม

ว่ากัสสป พวกภิกษุมากรูป เข้าไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. พวกมนุษย์

เห็นพระเถระทั้งหลายแล้ว รักใคร่ นิมนต์ให้นั่งที่โรงฉัน ล้างเท้า

ทาด้วยน้ำมัน ให้ดื่มข้าวยาคู ถวายของควรเคี้ยว รอคอยบิณฑบาตกาล

นั่งฟังธรรมอยู่. ในกาลจบธรรมกถา พวกมนุษย์รับบาตรของพระเถระ

ทั้งหลายแล้ว ให้เต็มด้วยโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ในเรือนของตน ๆ แล้ว

นำมา. ในครั้งนั้น ข้าพเจ้าเป็นกา จับอยู่ที่หลังคาแห่งโรงฉัน เห็น

โภชนะนั้นแล้ว ได้คาบเอาคำข้าว ๓ คำเต็มปาก ๓ ครั้ง จากบาตรอัน

มนุษย์ผู้หนึ่งถือไว้, แต่ภัตนั้น ยังหาเป็นของสงฆ์ไม่, มิใช่เป็นภัตที่เขา

กำหนดถวายแก่สงฆ์, เป็นภัตอันเหลือจากที่ภิกษุทั้งหลายฉัน อันพวก

มนุษย์พึงนำไปสู่เรือนของตนบริโภคก็ไม่ใช่, เป็นเพียงภัตที่เขานำมา

เฉพาะสงฆ์อย่างเดียวเท่านั้น. ข้าพเจ้าคาบเอาคำข้าว ๓ คำจากบาตรนั้น,

กรรมเพียงเท่านี้ เป็นบุรพกรรมของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้านั้น ทำกาละ

แล้วไหม้ในอเวจี เพราะวิบากแห่งกรรมนั้น ในบัดนี้ เกิดเป็นกากเปรต

เสวยทุกข์นี้ ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ด้วยผลกรรมที่เหลือในเพราะกรรมนั้น

เรื่องกากเปรต มีเท่านี้.

แต่ในเรื่องนี้ พระเถระกล่าวว่า " ผมเห็นอหิเปรต จึงได้ทำการ

ยิ้มแย้มให้ปรากฏ." ลำดับนั้น พระศาสดาทรงเป็นพยานของพระเถระ

นั้น ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย โมคคัลลานะพูดจริง, ก็เราเห็นเปรตนั่น

ในวันบรรลุสัมโพธิญาณเหมือนกัน, แต่เราไม่กล่าว เพราะเอ็นดูคนอื่นว่า

' ชนเหล่าใด ไม่เชื่อคำของเรา, ความไม่เชื่อนั้น พึงเป็นไปเพื่อสิ่งมิใช่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 235

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเหล่านั้น." ก็ในกาลที่พระมหาโมคคัลลานะเห็น

แล้วนั่นแล พระศาสดาทรงเป็นพยานของท่าน ตรัสเรื่อง ๒ เรื่อง

แม้ในลักขณสังยุตเเล้ว. แม้เรื่องนี้ พระเถระนั้น ก็กล่าวไว้อย่างนั้น

เหมือนกัน. ภิกษุทั้งหลายฟังเรื่องนั้นแล้ว จึงทูลถามบุรพกรรมของเปรต

นั้น. แม้พระศาสดา ก็ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า:-

บุรพกรรมของอหิเปรต

" ได้ยินว่า ในอดีตกาล พวกชนอาศัยกรุงพาราณสี สร้าง

บรรณศาลาไว้เพื่อพระปัจเจกพุทธเจ้า ใกล้ฝั่งแม่น้ำ. พระปัจเจกพุทธเจ้า

นั้น อยู่ในบรรณศาลานั้น ย่อมเที่ยวไปบิณฑบาตในเมืองเนืองนิตย์.

แม้พวกชาวเมือง มีมือถือสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปสู่ที่

บำรุงของพระปัจเจกพุทธเจ้า ทั้งเย็นทั้งเช้า. บุรุษชาวกรุงพาราณสีคน

หนึ่ง อาศัยหนทางนั้นไถนา. มหาชน เมื่อไปสู่ที่บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้า

ย่อมเหยียบย่ำนานั้นไป ทั้งเย็นทั้งเช้า. ชาวนา แม้ห้ามอยู่ว่า "ขอ

พวกท่านอย่าเหยียบนาของข้าพเจ้า" ก็ไม่สามารถจะห้ามได้. ครั้งนั้น

ชาวนานั้น ได้มีความคิดอย่างนั้นว่า " ถ้าบรรณศาลาของพระปัจเจก-

พุทธเจ้า ไม่พึงมีในที่นี้ไซร้ ชนทั้งหลายก็ไม่พึงเหยียบย่ำนาของเรา."

ในกาลที่พระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าไปบิณฑบาต ชาวนานั้น ทุบภาชนะ

เครื่องใช้แล้วเผาบรรณศาลาเสีย. พระปัจเจกพุทธเจ้า เห็นบรรณศาลา

นั้นถูกไฟไหม้ จึงหลีกไปตามสบาย. มหาชน ถือของหอมและระเบียบ

ดอกไม้มา เห็นบรรณศาลาถูกไฟไหม้ จึงกล่าวว่า " พระผู้เป็นเจ้าของ

๑. ส. นิ. ๑๖/๒๙๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 236

พวกเรา ไป ณ ที่ไหนหนอแล ? " แม้ชาวนานั้น ก็มากับด้วยมหาชน

เหมือนกัน ยืนอยู่ในท่ามกลางแห่งมหาชน พูดอย่างนี้ว่า " ข้าพเจ้าเอง

เผาบรรณศาลาของพระปัจเจกพุทธเจ้า. " ครั้งนั้น ชนทั้งหลายพูดว่า

" พวกท่านจงจับ. " พวกเราอาศัยบุรุษชั่วนี้ จึงไม่ได้เพื่อจะเห็นพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า. " ดังนี้แล้ว ก็โบยชาวนานั้น ด้วยเครื่องประหาร มี

ท่อนไม้เป็นต้น ให้ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว. ชาวนานั้นเกิดในอเวจี. ไหม้

ในนรกตราบเท่าแผ่นดินนี้ หนาขึ้นประมาณโยชน์หนึ่งแล้ว จึงเกิดเป็น

อหิเปรตที่เขาคิชฌกูฏ ด้วยผลกรรมอันเหลือ. "

พระศาสดาทรงเปรียบเทียบผลกรรม

พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมนี้ของอหิเปรตนั้นแล้ว จึงตรัสว่า

" ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าบาปกรรมนั้น เป็นเช่นกับน้ำนม. น้ำนมอันบุคคล

กำลังรีดแล ย่อมไม่แปรไปฉันใด; กรรมอันบุคคลกำลังกระทำเทียว

ก็ยังไม่ทันให้ผลฉันนั้น. แต่ในกาลใด กรรมให้ผล; ในกาลนั้น ผู้กระทำ

ย่อมประกอบด้วยทุกข์เห็นปานนั้น " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ

แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑๒. น หิ ปาป กต กมฺม สชฺชุขีรว มุจฺจิ

ฑหนฺติ พาลมเนฺวติ ภสฺมาจฺฉนฺโนว ปาวโก.

" ก็กรรมชั่วอันบุคคลทำแล้ว ยังไม่ให้ผล

เหมือนน้ำนมที่รีดในขณะนั้น ยังไม่แปรไปฉะนั้น,

บาปกรรม ย่อมตามเผาคนพาล เหมือนไฟอันเถ้า

กลบไว้ฉะนั้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 237

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สชฺชุขีร ความว่า น้ำนมซึ่งไหล

ออกจากนมของแม่โคนมในขณะนั้นนั่นแล ยังอุ่น ย่อมไม่เปลี่ยน คือ

ย่อมไม่แปรไป. พระศาสดา ตรัสคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า " น้ำนมที่เขารีด

ในขณะนั้น ย่อมไม่เปลี่ยน คือไม่แปร ได้แก่ไม่ละปกติในขณะนั้น

นั่นแล. แต่ที่เขารีดใส่ไว้ในภาชนะใด. ก็ย่อมไม่ละปกติตราบเท่าที่ยัง

ไม่ได้ใส่ของเปรี้ยวมีเปรียงเป็นต้น ลงในภาชนะนั้น คือตราบเท่าที่ยัง

ไม่ถึงภาชนะของเปรี้ยว มีภาชนะนมส้มเป็นต้น ย่อมละในภายหลัง

ฉันใด; แม้บาปกรรมที่บุคคลกำลังทำ ก็ย่อมไม่ให้ผลฉันนั้นเหมือนกัน.

ถ้าบาปกรรมพึงให้ผล (ในขณะทำ ). ใคร ๆ ไม่พึงอาจเพื่อทำบาปกรรม

ได้. ก็ขันธ์ทั้งหลายที่บังเกิดด้วยกุศล ยังทรงอยู่เพียงใด; ขันธ์เหล่านั้น

ย่อมรักษาบุคคลนั้นไว้ได้เพียงนั้น. เมื่อขันธ์ทั้งหลายเกิดในอบาย เพราะ

ความแตกแห่งขันธ์เหล่านั้น บาปกรรมย่อมให้ผล, ก็เมื่อให้ผล ชื่อว่า

ย่อมตามเผาผลาญคนพาล."

ถามว่า "เหมือนอะไร ?"

แก้ว่า "เหมือนไฟอันเถ้ากลบไว้."

อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ถ่านไฟปราศจากเปลวไฟ อันเถ้า

กลบไว้ แม้คนเหยียบแล้วก็ยังไม่ไหม้ก่อน เพราะเถ้ายังปิดไว้, แต่ยัง

เถ้าให้ร้อนแล้ว ย่อมไหม้ไปจนถึงมันสมอง ด้วยสามารถไหม้อวัยวะ

มีหนังเป็นต้นฉันใด; แม้บาปกรรมก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นบาปกรรม

อันผู้ใดกระทำไว้, ย่อมตามเผาผู้นั้น ซึ่งเป็นพาล เกิดแล้วในอบาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 238

มีนรกเป็นต้น ในอัตภาพที่ ๒ หรือที่ ๓.

ในกาลจนเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องอหิเปรต จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 239

๑๓. เรื่องสัฏฐิกูฏเปรต [๕๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภสัฏฐิกูฏ-

เปรต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยาวเทว อนตฺถาย " เป็นต้น.

พระมหาโมคคัลลานเถระเห็นสัฏฐิกูฏเปรต

ความพิสดารว่า พระมหาโมคคัลลานเถระ ลงจากภูเขาคิชฌกูฏ

พร้อมกับพระลักขณเถระ กระทำการยิ้มแย้มในประเทศแห่งใดแห่งหนึ่ง

โดยนัยมีในก่อนนั้นแล ถูกพระเถระถามถึงเหตุแห่งการยิ้มแย้มจึงกล่าวว่า

" ท่านพึงถามผมในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า" ในกาลแห่งพระมหา-

โมคคัลลานเถระเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคม

นั่งแล้ว ถูกพระเถระถามอีก จึงกล่าวว่า " ผู้มีอายุ ผมได้เห็นเปรตตน

หนึ่ง มีอัตภาพประมาณ ๓ คาวุต, ค้อนเหล็ก ๖ หมื่นอันไฟติดลุกโพลง

แล้ว ตกไปเบื้องบนแห่งกระหม่อมของเปรตนั้นแล้ว ตั้งขึ้น ทำลาย

ศีรษะ, ศีรษะที่แตกแล้ว ๆ ย่อมตั้งขึ้นอีก, โดยอัตภาพนี้ อัตภาพเห็น

ปานนี้ ผมยังไม่เคยเห็น. ผมเห็นอัตภาพนั้น จึงได้กระทำการยิ้มแย้มให้

ปรากฏ." จริงอยู่ ในเรื่องเปรต พระมหาโมคคัลลานเถระหมายเอาซึ่ง

เปรตนี้นั่นแหละ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า:-

"ค้อนเหล็ก ๖ หมื่น บริบูรณ์แล้วโดยประการ

ทั้งปวง ย่อมตกไปบนศีรษะของเจ้า ต่อยกระหม่อม

อยู่เสมอ."

๑. เปรตผู้มีศีรษะอันไม้ค้อน ๖ หมื่น ต่อยแล้ว. ๒. ขุ. เปต. ๒๖/๒๕๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 240

พระศาสดาทรงรับรองว่าเปรตมี

พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของพระเถระแล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุ

ทั้งหลาย สัตว์นี้ แม้เรานั่งอยู่ที่โพธิมัณฑประเทศ ก็เห็นแล้วเหมือนกัน

เราไม่บอก ก็เพื่อนุเคราะห์แก่คนเหล่าอื่นว่า ' ก็แลคนเหล่าใด ไม่พึง

เชื่อคำของเรา; ความไม่เชื่อนั้น พึงมีเพื่อกรรมไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล

แก่คนเหล่านั้น,' แต่ว่า บัดนี้ เราเป็นพยานของโมคคัลลานะ จึงบอก

ได้." ภิกษุทั้งหลาย ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว จึงทูลถามถึงบุรพกรรมของ

เปรตนั้น. แม้พระศาสดา ก็ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า :-

บุรพกรรมของสัฏฐิกูฏเปรต

" ดังได้ยินมา ในอดีตกาล ในกรุงพาราณสี ได้มีบุรุษเปลี้ย

คนหนึ่ง ถึงซึ่งความสำเร็จในศิลปะของบุคคลผู้ดีดก้อนกรวด. บุรุษนั้น

นั่ง ณ ภายใต้ต้นไทรย้อยต้นหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร อันพวกเด็ก

ชาวบ้านกล่าวอยู่ว่า " ท่านจงดีดก้อนกรวดไปเจาะใบไทรนั้นแสดงรูปช้าง

แก่พวกเรา; แสดงรูปม้าแก่พวกเรา" ก็แสดงรูปทั้งหลายอันพวกเด็ก

ปรารถนาแล้ว ๆ ได้วัตถุมีของเคี้ยวเป็นต้น จากสำนักพวกเด็กเหล่านั้น.

ภายหลังวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปสู่พระราชอุทยาน เสด็จถึงประเทศนั้น.

พวกเด็กซ่อนบุรุษเปลี้ยไว้ในระหว่างย่านไทรแล้ว ก็หนีไป. เมื่อพระ-

ราชาเสด็จเข้าไปสู่โคนต้นไม้ในเวลาเที่ยงตรง เงาของช่องส่องต้องพร-

สรีระ. ท้าวเธอทรงดำริว่า "นี้อะไรหนอแล ?" ทรงตรวจดูในเบื้องบน

ทอดพระเนตรเห็นรูปมีรูปช้างเป็นต้นที่ใบไม้ทั้งหลาย จึงตรัสถามว่า

" นี่กรรมของใคร ?" ทรงสดับว่า " ของบุรุษเปลี้ย" จงรับสั่งให้หา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 241

บุรุษเปลี้ยนั้นมาแล้ว ตรัสว่า "ปุโรหิตของเรา ปากกล้านัก เมื่อเรา

พูดแม้นิดหน่อย ก็พูดเสียมากมาย ย่อมเบียดเบียนเรา, ท่านอาจ เพื่อ

ดีดมูลแพะประมาณทะนานหนึ่ง เข้าในปากของปุโรหิตนั้นได้หรือ ?"

บุรุษเปลี้ยทูลว่า " อาจ พระเจ้าข้า, ขอพระองค์จงให้คนนำมูลแพะมา

แล้วประทับนั่งภายในม่านกับปุโรหิต, ข้าพระองค์ จักรู้กรรมที่ควร

กระทำในเรื่องนี้." พระราชา ได้ทรงกระทำเหมือนอย่างนั้น. บุรุษ

เปลี้ยนอกนี้ ให้กระทำช่องไว้ที่ม่านด้วยปลายแห่งกรรไกร เมื่อปุโรหิต

พูดกับด้วยพระราชา พออ้าปาก ก็ดีดมูลแพะไปทีละก้อน ๆ. ปุโรหิต

กลืนมูลแพะที่เข้าปากแล้ว ๆ. เมื่อมูลแพะหมด บุรุษเปลี้ยจึงสั่นม่าน

พระราชา ทรงทราบความที่มูลแพะหมดด้วยสัญญานั้นแล้ว จึงตรัสว่า

" ท่านอาจารย์ เราพูดกับท่าน จักไม่อาจจำคำไว้ได้ ท่านแม้กลืนกิน

มูลแพะประมาณทะนานหนึ่งแล้ว ยังไม่ถึงความเป็นผู้นิ่ง เพราะความที่

ท่านมีปากกล้านัก." พราหมณ์ถึงความเป็นผู้เก้อ จำเดิมแต่นั้น ไม่อาจ

เพื่ออ้าปากเจรจากับพระราชาได้. พระราชารับสั่งให้เรียกบุรุษเปลี้ยมาแล้ว

ตรัสว่า " เราได้ความสุขเพราะอาศัยท่าน. " ทรงพอพระทัย จึงพระ-

ราชทานชื่อหมวด ๘ แห่งวัตถุทั้งสิ้นแก่เขา ได้พระราชทานบ้านส่วย ๔

ตำบล ในทิศทั้ง ๔ แห่งเมือง. อำมาตย์ผู้พร่ำสอนอรรถและธรรมของ

พระราชาทราบความนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า:-

" ชื่อว่าศิลปะ แม้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ยังประ-

โยชน์ให้สำเร็จได้. ท่านจงดูเถิด, ด้วยการดีดตาม

ประสาคนเปลี้ย บุรุษเปลี้ยได้บ้านส่วย อันตั้งอยู่

ในทิศทั้ง ๔."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 242

(ก็อำมาตย์นั้น) โดยสมัยนั้น ได้เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า คือเรานี่

เอง. ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่ง เห็นสมบัติอันบุรุษเปลี้ยได้แล้ว จึงคิดว่า

" บุรุษชื่อนี้ เป็นคนเปลี้ย อาศัยศิลปะนี้ จึงถึงแล้วซึ่งสมบัติใหญ่

แม้เราศึกษาศิลปะนี้ไว้ก็ควร. " เขาเข้าไปหาบุรุษเปลี้ย ไหว้แล้วกล่าวว่า

" ท่านอาจารย์ ขอท่านจงให้ศิลปะนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด. " บุรุษเปลี้ย กล่าวว่า

" พ่อ เราไม่อาจให้ได้. " เขาถูกบุรุษเปลี้ยนั้นห้ามแล้ว คิดว่า " ช่าง

เถอะ. เราจักยังบุรุษเปลี้ยนั้นให้ยินดี. " จึงกระทำกิจมีการนวดมือและ

เท้าเป็นต้น แก่บุรุษเปลี้ยนั้นอยู่ ให้บุรุษเปลี้ยนั้นยินดีแล้ว สิ้นกาลนาน

วิงวอนบ่อย ๆ แล้ว. บุรุษเปลี้ยคิดว่า " คนนี้มีอุปการะแก่เราเหลือเกิน "

จึงมิอาจเพื่อห้ามเขาได้ ให้เขาศึกษาศิลปะแล้ว กล่าวว่า " พ่อ ศิลปะ

ของท่านสำเร็จแล้ว, บัดนี้ท่านจักกระทำอะไรเล่า ? "

บุรุษ. ข้าพเจ้าจักไปทดลองศิลปะในภายนอก.

บุรุษเปลี้ย. ท่านจักทำอย่างไร ?

บุรุษ. ข้าพเจ้าจักดีดแม่โคหรือมนุษย์ให้ตาย.

บุรุษเปลี้ย กล่าวว่า " พ่อ เมื่อคนฆ่าแม่โค สินไหมมีอยู่ ๑๐๐,

เมื่อฆ่ามนุษย์ สินไหมมีอยู่ ๑ พัน, ท่านแม้ทั้งบุตรและภรรยา จักไม่

อาจเพื่อจะปลดเปลื้องสินไหมนั้นได้, ท่านจงอย่าฉิบหายเสียเลย เมื่อ

ท่านประหารบุคคลใด ไม่ต้องเสียสินไหม. ท่านจะตรวจดูใคร ๆ ผู้หา

มารดาบิดามิได้เช่นนั้น. " บุรุษนั้น รับว่า " ดีละ " แล้วเอากรวด

ใส่พกเที่ยวเลือกดูบุคคลเช่นนั้นอยู่ เห็นแม่โคแล้ว ไม่อาจดีดได้ด้วย

คิดว่า " แม่โคนี้มีเจ้าของ. " เห็นมนุษย์แล้วไม่อาจดีดได้ ด้วยคิดว่า

" คนนี้มีมารดาบิดา. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 243

ก็โดยสมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า ชื่อว่าสุเนตตะ อาศัยพระนคร

อยู่ในบรรณศาลา. บุรุษนั้น เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ผู้เข้าไปเพื่อ

บิณฑบาต ยืนอยู่ที่ระหว่างประตูพระนคร จึงคิดว่า " พระปัจเจกพุทธ-

เจ้านี้ เป็นผู้ไม่มีมารดาบิดา, เมื่อเราดีดผู้นี้ ไม่ต้องมีสินไหม, เราจัก

ดีดพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ทดลองศิลปะ " ดังนี้แล้ว จึงดีดก้อนกรวดไป

หมายช่องหูเบื้องขวาของพระปัจเจกพุทธเจ้า. ก้อนกรวดเข้าไปโดยช่องหู

เบื้องขวา ทะลุออกโดยช่องหูเบื้องซ้าย. ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้ว. พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า ไม่อาจจะเที่ยวไปเพื่อภิกษาได้. จึงไปสู่บรรณศาลาโดย

อากาศ ปรินิพพานแล้ว. พวกมนุษย์เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่มา

คิดว่า " ความไม่ผาสุกอะไร ๆ จักมี " จึงไปที่บรรณศาลานั้น เห็นท่านปริ-

นิพพานแล้วร้องไห้คร่ำครวญแล้ว. แม้บุรุษนั้น เห็นมหาชนไปอยู่ ไป

ที่บรรณศาลานั้นแล้ว จำพระปัจเจกพุทธเจ้าได้ จึงกล่าวว่า " พระปัจเจก-

พุทธเจ้าองค์นี้ เมื่อเข้าไปเพื่อบิณฑบาต พบเราที่ระหว่างประตู. เรา

เมื่อจะทดลองศิลปะของตน จึงประหารพระปัจเจกพุทธเจ้านี้. " พวกมนุษย์

กล่าวว่า " ได้ยินว่า คนชั่วนี้ ประหารพระปัจเจกพุทธเจ้า. พวกท่าน

จงจับ ๆ " โบยให้บุรุษนั้นถึงความสิ้นชีวิตในที่นั้นเอง. บุรุษนั้น เกิด

ในอเวจีไหม้แล้ว จนแผ่นดินใหญ่นี้หนาขึ้นโยชน์หนึ่ง บังเกิดเป็นสัฏฐิ-

กูฏเปรต ที่ยอดภูเขาคิชฌกูฏ ด้วยผลกรรมอันเหลือ.

พระศาสดาตรัสสอนพวกภิกษุ

พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมนี้ของเปรตนั้นแล้ว จึงตรัสว่า

" ภิกษุทั้งหลาย ศิลปะหรือความเป็นอิสระ เมื่อเกิดขึ้นแก่ผู้ชื่อว่าคนพาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 244

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อความฉิบหาย, ด้วยว่า คนพาลได้ศิลปะหรือความเป็น

อิสระแล้ว ย่อมทำความฉิบหายแก่ตนถ่ายเดียว" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรง

สืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑๓. ยาวเทว อนตฺถาย ตฺต พาลสฺส ชายติ

หนฺติ พาลสฺส สุกฺกส มุทฺธ อสฺส วิปาตย.

"ความรู้ย่อมเกิดแก่คนพาล เพียงเพื่อความ

ฉิบหายเท่านั้น, ตามรู้นั้น ยังหัวคิดของเขาให้

ตกไป ย่อมฆ่าส่วนสุกกธรรมของคนพาลเสีย."

แก้อรรถ

ศัพท์ว่า ยาวเทว ในคาถานั้นเป็นนิบาต ในอรรถคือความ

กำหนดซึ่งแดน. ภาวะคือความรู้ ชื่อว่า ตฺต. บุคคลย่อมรู้ศิลปะ

แม้ใด, หรือบุคคลดำรงอยู่ในความเป็นใหญ่ใด หรือด้วยความถึงพร้อม

ด้วยยศใด อันชนย่อมรู้จัก คือปรากฏ ได้แก่เป็นผู้โด่งดัง, คำว่า ตฺต

นี้ เป็นชื่อแห่งศิลปะ ความเป็นใหญ่และความถึงพร้อมด้วยยศนั้น. แท้

จริง ศิลปะหรือความเป็นใหญ่เป็นต้น ย่อมเกิดแก่คนพาล เพื่อความ

ฉิบหายถ่ายเดียว คือคนพาลนั้น อาศัยศิลปะเป็นต้นนั้น ย่อมทำความ

ฉิบหายแก่คนอย่างเดียว. บทว่า หนฺติ ได้แก่ ให้พินาศ. บทว่า

สุกฺกส คือส่วนแห่งกุศล. อธิบายว่า ก็ศิลปะหรือความเป็นใหญ่ เมื่อ

เกิดขึ้นแก่คนพาล ย่อมเกิดขึ้นฆ่าส่วนอันเป็นกุศลอย่างเดียว. บทว่า มุทฺธ

นี้ เป็นชื่อว่าของปัญญา. บทว่า วิปาตย คือกำจัดอยู่ อธิบายว่า

ก็ความรู้นั้น ฆ่าส่วนกุศลของคนพาลนั้น ยังมุทธา กล่าวคือปัญญา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 245

ให้ตกไป คือขจัดอยู่นั้นแหละ ชื่อว่าฆ่า.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องสัฏิกูฏเปรต จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 246

๑๔. เรื่องพระสุธรรมเถระ [๕๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสุธรรม-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อสนฺต ภาวมิจฺเฉยฺย" เป็นต้น.

จิตตคฤหบดีถวายสวนเป็นสังฆาราม

ก็เทศนาตั้งขึ้นแล้ว ในมัจฉิกาสัณฑนคร จบแล้วในกรุงสาวัตถี.

ความพิสดารว่า จิตตคฤหบดี ในมัจฉิกาสัณฑนคร เห็นพระ-

มหานามเถระ ภายในพวกภิกษุปัญจวัคคีย์ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ เลื่อมใส

ในอิริยาบถของพระเถระแล้ว จึงรับบาตร นิมนต์ให้เข้าไปสู่เรือนให้ฉัน

แล้ว ในกาลเสร็จภัตกิจ สดับธรรมกถา บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว เป็น

ผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหว ใคร่เพื่อจะทำอุทยานของตนอันชื่อว่าอัมพาฏกวัน

ให้เป็นสังฆาราม จึงหลั่งน้ำลงไปในมือของพระเถระ มอบถวายแล้ว. ใน

ขณะนั้น มหาปฐพี ทำน้ำที่สุด ก็หวั่นไหวด้วยบอกเหตุว่า " พระพุทธ-

ศาสนาตั้งมั่นแล้ว."

มหาเศรษฐี ให้สร้างวิหารใหญ่ในอุทยาน ได้เป็นผู้มีประตูเปิดไว้

เพื่อพวกภิกษุผู้มาจากทิศทั้งปวงแล้ว. พระสุธรรมเถระ ได้เป็นเจ้าอาวาส

อยู่ในมัจฉิกาสัณฑ์.

คฤหบดีบรรลุอนาคามิผล

โดยสมัยอื่น พระอัครสาวกทั้งสอง สดับกถาพรรณนาคุณของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 247

จิตตคฤหบดีแล้ว ใคร่จะทำความสงเคราะห์แก่คฤหบดีนั้น จึงได้ไปสู่มัจ-

ฉิกาสัณฑนคร. จิตตคฤหบดี ทราบการมาของพระอัครสาวกทั้งสองนั้น

จึงไปต้อนรับสิ้นทางประมาณกึ่งโยชน์ พาพระอัครสาวกทั้งสองนั้น มา

แล้ว นิมนต์ให้เข้าไปสู่วิหารของตน ทำอาคันตุกวัตรแล้ว อ้อนวอน

พระธรรมเสนาบดีว่า " ท่านผู้เจริญ กระผมปรารถนาฟังธรรมกถาสัก

หน่อย." ครั้งนั้น พระเถระกล่าวกะเขาว่า "อุบาสก อาตมะทั้งหลาย

เหน็ดเหนื่อยแล้วโดยทางไกล, อนึ่ง ท่านจงฟังเพียงนิดหน่อยเถิด"

ดังนี้แล้ว ก็กล่าวธรรมกถาแก่เขา. คฤหบดีนั้นฟังธรรมกถาของพระเถระ

อยู่แล บรรลุอนาคามิผลแล้ว. เขาไหว้พระอัครสาวกทั้งสองแล้วนิมนต์ว่า

"ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ขอท่านทั้งสอง กับภิกษุพันรูป รับภิกษาที่เรือน

กระผม" แล้วนิมนต์พระสุธรรมเถระเจ้าอาวาสภายหลังว่า " ท่านขอรับ

พรุ่งนี้แม้ท่านก็พึงมากับพระเถระทั้งหลาย."

พระสุธรรมเถระด่าคฤหบดี

พระสุธรรมเถระนั้น โกรธว่า " อุบาสกนี้ นิมนต์เราภายหลัง "

จึงห้ามเสีย แม้อันคฤหบดีอ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ก็ห้ามแล้วนั่นแล. อุบาสก

กล่าวว่า "ท่านจักปรากฏ ขอรับ" แล้วหลีกไป ในวันรุ่งขึ้นจัดแจง

ทานใหญ่ไว้ในที่อยู่ของตน. ในเวลาใกล้รุ่งแล แม้พระสุธรรมเถระ คิดว่า

" คฤหบดี จัดแจงสักการะเช่นไรหนอแล ? เพื่อพระอัครสาวกทั้งสอง

พรุ่งนี้เราจักไปดู" แล้วได้ถือบาตรและจีวรไปสู่เรือนของคฤหบดีนั้นแต่

เช้าตรู่. พระสุธรรมเถระนั้น แม้อันคฤหบดี กล่าวว่า "นิมนต์นั่งเถิด

ขอรับ" ก็กล่าวว่า "เราไม่นั่ง, จักเที่ยวบิณฑบาต" แล้วตรวจดู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 248

สักการะอันคฤหบดีเตรียมไว้เพื่อพระอัครสาวกทั้งสอง ใคร่จะเสียดสี

คฤหบดีโดยชาติ จึงกล่าวว่า "คฤหบดีสักการะของท่านล้นเหลือ, ก็แต่

ในสักการะนี้ ไม่มีอยู่อย่างเดียวเท่านั้น."

คฤหบดี. อะไร ขอรับ ?

พระเถระ ตอบว่า " ขนมแดกงา คฤหบดี" ถูกคฤหบดีรุกราน

ด้วยวาจาอุปมาด้วยกา โกรธแล้ว กล่าวว่า " คฤหบดี นั่นอาวาสของ

ท่าน, เราจักหลีกไป." แม้อันคฤหบดีห้ามถึง ๓ ครั้ง ก็หลีกไปสู่สำนัก

พระศาสดา กราบทูลลำที่จิตตคฤหบดี และตนกล่าวแล้ว.

พระสุธรรมเถระถูกสงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม

พระศาสดา ตรัสว่า "อุบาสกเป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส อันเธอ

ด่าด้วยคำเลว" ดังนี้แล้ว ทรงปรับโทษแก่พระสุธรรมเถระนั้นนั่นแล

แล้วรับสั่งให้สงฆ์ลงปฏิสารณียกรรม แล้วส่งไปว่า "เธอจงไป, ให้

จิตตคฤหบดีอดโทษเสีย." พระเถระไปในที่นั้นแล้ว แม้กล่าวว่า

" คฤหบดี นั่นโทษของอาตมะเท่านั้น, ท่านจงอดโทษแก่อาตมะเถิด "

อันคฤหบดีนั้น ห้ามว่า "ผมไม่อดโทษ" เป็นผู้เก้อ ไม่อาจให้คฤหบดี

นั้นอดโทษได้, จึงกลับมาสู่สำนักพระศาสดาอีกเทียว. พระศาสดา แม้

ทรงทราบว่า "อุบาสกจักไม่อดโทษแก่พระสุธรรมนั้น ทรงดำริว่า

"ภิกษุนี้ กระด้างเพราะมานะ จงไปสู่ทาง ๓ โยชน์แล้วกลับมา" จึง

ไม่ทรงบอกอุบายให้อดโทษเลย ทรงส่งไปแล้ว.

๑. กรรมอันให้ระลึกถึงความผิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 249

สมณะไม่ควรทำมานะและริษยา

ครั้นในกาลที่พระสุธรรมเถระนั้นกลับมา พระศาสดา ประทาน

ภิกษุผู้อนุทูตแก่เธอผู้นำมานะออกแล้ว ตรัสว่า "เธอจงไปเถิด, ไปกับ

ภิกษุนี้ จงให้อุบาสกอดโทษ" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ธรรมดาสมณะ

ไม่ควรทำมานะหรือริษยาว่า 'วิหารของเรา, ที่อยู่ของเรา, อุบาสกของ

เรา, อุบาสิกาของเรา, เพราะเมื่อสมณะทำอย่างนั้น เหล่ากิเลส มีริษยา

และมานะเป็นต้น ย่อมเจริญ" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึง

ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

๑๔. อสนฺต ภาวมิจฺเฉยฺย ปุเรกฺขารญฺจ ภิกฺขุสุ

อาวาเสสุ จ อิสฺสริย ปูชา ปรกุเลสุ จ

มเนว กตมญฺนฺตุ คิหี ปพฺพชิตา อุโภ

มเมว อติวสา อสฺสุ กิจฺจากิจฺเจสุ กิสฺมิจิ

อิติ พาลสฺส สงฺกปฺโป อิสฺสา มโน จ วฑฺฒตฺ.

"ภิกษุผู้พาล พึงปรารถนาความยกย่องอันไม่

มีอยู่ ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่

ในอาวาส และการบูชาในตระกูลแห่งชนอื่น ความ

ดำริ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลว่า 'คฤหัสถ์และ

บรรพชิตทั้งสองจงสำคัญกรรม อันเขาทำเสร็จแล้ว

เพราะอาศัยเราผู้เดียว จงเป็นไปในอำนาจของเรา

เท่านั้น ในกิจน้อยใหญ่ กิจไร ๆ, ริษยาและมานะ

ย่อมเจริญ (แก่เธอ)."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 250

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสนฺต ความว่า ภิกษุผู้พาล พึง

ปรารถนาความสรรเสริญอันไม่มีอยู่ คือภิกษุผู้พาล ไม่มีศรัทธา เป็น

ผู้ทุศีล สดับน้อย ไม่สงัด เกียจคร้าน มีสติไม่ตั้งมั่น มีจิตไม่มั่นคง

มีปัญญาทราม ไม่ใช่ขีณาสพ ย่อมปรารถนาความยกย่องอันไม่มีอยู่นี้ว่า

"ไฉนหนอ ชนพึงรู้จักเราว่า ' ภิกษุนี้ มีศรัทธา มีศีล เป็นพหูสูต

เป็นผู้สงัด ปรารภความเพียร มีสติตั้งมั่น มีจิตมั่นคง มีปัญญา เป็น

พระขีณาสพ" โดยนัยที่ท่านกล่าวไว้ในปาปิจฉตานิทเทสว่า " ภิกษุ

เป็นผู้ไม่มีศรัทธาเลย ย่อมปรารถนาว่า 'ชนจงรู้จักเราว่า 'ผู้มีศรัทธา"

เป็นต้น.

บทว่า ปุเรกฺขาร คือ ซึ่งบริวาร. อธิบายว่า ภิกษุผู้พาล ตั้ง

อยู่ในความประพฤติด้วยอำนาจความอยากอย่างนี้ว่า " ไฉนหนอ ภิกษุ

ในวิหารทั้งสิ้น พึงแวดล้อมเราถามปัญหาอยู่" ชื่อว่า ย่อมปรารถนา

ความแวดล้อมในภิกษุทั้งหลาย.

บทว่า อาวาเสสุ ได้แก่ ในอาวาสอันเป็นของสงฆ์. อธิบายว่า

ภิกษุผู้พาล จัดเสนาสนะประณีตในท่ามกลางวิหารเพื่อภิกษุทั้งหลาย

มีภิกษุที่เป็นเพื่อนเห็นและเพื่อนคบเป็นต้นของตัว ด้วยบอกว่า "พวก

ท่าน จงอยู่ในเสนาสนะนี้" ส่วนตนเกียดกันเสนาสนะที่ดี จัดเสนาสนะ

อันทรามและเสนาสนะอันอมนุษย์หวงแหนแล้ว ซึ่งตั้งอยู่สุดท้าย เพื่อ

อาคันตุกภิกษุที่เหลือทั้งหลาย ด้วยบอกว่า "พวกท่าน จงอยู่ในเสนา-

๑. อภิ. วิ. ๓๕/ ๔๗๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 251

สนะนี้" ชื่อว่า ย่อมปรารถนาความเป็นใหญ่ในอาวาส.

บาทพระคาถาว่า ปุชา ปรกุเลสุ จ ความว่า ภิกษุผู้พาลย่อม

ไม่ปรารถนาการบูชาด้วยปัจจัย ๔ ในสกุลของมารดาและบิดาเลย และ

ของพวกญาติก็ไม่ปรารถนา. ( แต่ ) ย่อมปรารถนาในสกุลของชนเหล่า

อื่นเท่านั้น อย่างนี้ว่า " ไฉนหนอ ชนเหล่านั้น พึงถวายแก่เราคนเดียว

ไม่พึงถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น."

บาทพระคาถาว่า มเมว กตมญฺนฺตุ ความว่า ก็ความดำริ

ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลใดว่า "พวกคฤหัสถ์และบรรพชิต แม้ทั้งสอง

จงสำคัญกิจอันตนทำแล้ว คือที่สำเร็จแล้วเพราะอาศัยเราเท่านั้น" ด้วย

ความประสงค์ อย่างนั้นว่า "นวกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาทำแล้วใน

วิหาร ด้วยสามารถการกระทำนวกรรมมีโรงอุโบสถเป็นต้น. นวกรรม

นั้นทั้งหมด อันพระเถระของพวกเราทำแล้ว."

บาทพระคาถาว่า นเมว อติวสา อสฺสุ ความว่า ความดำริ

ย่อมเกิดขึ้น (แก่ภิกษุผู้พาลนั้น) ว่า "คฤหัสถ์และบรรพชิตแม้ทั้งหมด

จงเป็นไปในอำนาจของเราแต่ผู้เดียว คือ พาหนะและเครื่องอุปกรณ์ทั้ง

หลาย เป็นต้นว่า เกวียน โค พร้า ขวาน หรือโดยที่สุดกิจทั้งหลาย

เป็นต้นว่า อุ่นแม้เพียงข้าวยาคูแล้วดื่ม อันคฤหัสถ์และบรรพชิตจะพึง

ได้ก็ตามเถิด. แต่บรรดากิจน้อยและกิจใหญ่ คือบรรดากรณียกิจทั้งน้อย

ทั้งใหญ่ เห็นปานนี้ คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย จงเป็นไปในอำนาจ

ของเราเท่านั้น ในกิจไร ๆ คือ แม้ในกิจอย่างหนึ่ง. อธิบายว่า จงถาม

เราเท่านั้นแล้วจึงกระทำ."

สองบทว่า อิติ พาลสฺส ความว่า ความอยากนั้น และความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 252

ดำริเห็นปานนี้ ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้พาลใด, วิปัสสนา มรรคและผล

ย่อมไม่เจริญทีเดียวแก่ภิกษุผู้พาลนั้น, แต่ตัณหาซึ่งบังเกิดขึ้นในทวาร ๖

และมานะ ๙ อย่าง ย่อมเจริญแก่ภิกษุผู้พาลนั้นอย่างเดียว เหมือนน้ำ

เจริญแก่ทะเลในเวลาพระจันทร์ขึ้นฉะนั้น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

พระสุธรรมเถระบรรลุพระอรหัต

แม้พระสุธรรมเถระ ฟังพระโอวาทนี้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดา

ลุกขึ้นจากอาสนะ กระทำประทักษิณแล้ว ไปกับภิกษุผู้เป็นอนุทูตนั้น

กระทำคืนอาบัติในคลองจักษุของอุบาสก ยังอุบาสกให้อดโทษแล้ว.

พระสุธรรมเถระนั้น อันอุบาสกให้อดโทษด้วยคำว่า "กระผมอดโทษ

ขอรับ. ถ้าโทษของกระผมมี, ขอท่านอดโทษแก่กระผม" ตั้งอยู่ใน

พระโอวาท ที่พระศาสดาประทานแล้ว โดย ๒-๓ วันเท่านั้น ก็บรรลุ

พระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว.

จิตตคฤหบดีไปเฝ้าพระศาสดา

ฝ่ายอุบาสก คิดว่า "เรายังไม่ได้เฝ้าพระศาสดาเลย เมื่อบรรลุโสดา-

ปัตติผลแล้ว, ยังไม่ได้เฝ้าพระศาสดาเหมือนกัน เมื่อดำรงอยู่ในอนาคามิผล,

๑. มานะ ๙ อย่าง ดูพิสดารในธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒.

๒. นี้แปลตามฉบับสีหลและยุโรป แต่ฉบับของเราที่ใช่อยู่ เวลาแปลเติม นิสฺสาย เข้ามา

แปลว่า ตัณหาอันจะอาศัยฉันทะเป็นต้น เกิดขึ้นในทวาร ๖ และมานะ ๙ อย่างย่อมเจริญแก่..,

สี. ยุ. ฉนฺทาทโย เป็น จนฺโททเย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 253

เราควรเฝ้าพระศาสดาโดยแท้." คฤหบดีนั้น ให้เทียมเกวียน ๕๐๐ เล่ม

เต็มด้วยวัตถุมีงา ข้าวสาร เนยใส น้ำอ้อย และผ้านุ่งห่มเป็นต้นแล้ว

ให้บอกแก่หมู่ภิกษุว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายใด ประสงค์จะเฝ้าพระ-

ศาสดา. พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายนั้นจงไป, จักไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต

เห็นต้น" ดังนี้แล้ว ก็ให้แจ้งทั้งแก่หมู่ภิกษุณี ทั้งแก่พวกอุบาสก

ทั้งแก่พวกอุบาสิกา. ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ภิกษุณีประมาณ ๕๐๐ รูป

อุบาสกประมาน ๕๐๐ อุบาสิกาประมาณ ๕๐๐ ออกไปกับคฤหบดีนั้น.

เขาตระเตรียมแล้วโดยประการที่จะไม่มีความบกพร่องสักน้อยหนึ่ง ด้วยข้าว

ยาคูและภัตเป็นต้น ในหนทาง ๓๐ โยชน์ เพื่อชนสามพันคน คือ

เพื่อภิกษุเป็นต้นเหล่านั้นนั่นแล และเพื่อบริษัทของตน. ฝ่ายพวกเทวดา

ทราบความที่อุบาสกนั้นออกไปแล้ว ปลูกค่ายที่พักไว้ทุก ๆ โยชน์ บำรุง

มหาชนอันด้วยอาหารวัตถุ มีข้าวยาคู องควรเคี้ยว ภัตและน้ำดื่มเป็นต้น

อันเป็นทิพย์. ความบกพร่องด้วยวัตถุอะไร ๆ มิได้มีแล้วแก่ใคร ๆ.

มหาชนอันเทวดาทั้งหลาย บำรุงอยู่อย่างนั้น เดินทางได้วันละโยชน์ ๆ

โดยเดือนหนึ่งก็ถึงกรุงสาวัตถี. เกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่ม ยังเต็มบริบูรณ์เช่น

เติมนั้นแหละ. คฤหบดี ได้สละบรรณาการ อันพวกเทวดานั้นแลและ

มนุษย์ทั้งหลายนำมา ไปแล้ว.

พระศาสดาทรงแสดงปฏิหาริย์

พระศาสดา ตรัสกะพระอานนท์เถระว่า " อานนท์ ในเวลาบ่าย

วันนี้ จิตตคฤหบดี อันอุบาสก ๕๐๐ ห้อมล้อมแล้ว จักมาไหว้เรา."

พระอานนท์. พระเจ้าข้า ก็ในกาลที่จิตตคฤหบดีนั้น ถวายบังคม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 254

พระองค์ ปาฏิหาริย์ไร ๆ จักมีหรือ ?

พระศาสดา. จักมี อานนท์.

อานนท์. ปาฏิหาริย์อะไร ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ในกาลที่จิตตคฤหบดีนั้น มาไหว้เรา ฝนลูกเห็บ

แห่งดอกไม้ทิพย์ มีสี ๕ สี จักตกโดยถ่องแถวประมาณเพียงเข่าใน

ประเทศประมาณ ๘ กรีส โดยวิธีนับอย่างของหลวง.

ชาวเมือง ฟังข่าวนั้นแล้ว คิดว่า " ได้ยินว่า จิตตคฤหบดีผู้มี

บุญมากอย่างนั้น จักมาถวายบังคมพระศาสดาวันนี้, เขาว่าปาฏิหาริย์เห็น

ปานนี้ จักมี, แม้พวกเรา จักได้เห็นผู้มีบุญมากนั้น" ดังนี้แล้วได้ถือ

เอาเครื่องบรรณาการไปยืนอยู่สองข้างทาง. ในกาลที่จิตตคฤหบดีมาใกล้

วิหาร ภิกษุ ๕๐๐ รูปมาถึงก่อน. จิตตคฤหบดี กล่าวกะพวกอุบาสิกาว่า

" แม่ทั้งหลาย พวกท่านจงมาข้างหลัง" แล้ว ส่วนตนอันอุบาสก ๕๐๐

แวดล้อมแล้ว ได้ไปสู่สำนักของพระศาสดา. ก็ชนทั้งหลาย ผู้ยืนก็ดี

นั่งก็ดี ในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมิได้มีข้างนี้หรือข้าง

โน้น ย่อมยืนอยู่แน่นขนัดเทียวในสองข้างแห่งพุทธวิถี. จิตตคฤหบดี

ก้าวลงสู่พุทธวิถีใหญ่แล้ว. ที่อันพระอริยสาวกผู้บรรลุผล ๓ แลดู ๆ

หวั่นไหวแล้ว. มหาชนแลดูแล้ว ด้วยคิดว่า " เขาว่า คนนั่นคือ

จิตตคฤหบดี." คฤหบดีนั้นเข้าเฝ้าพระศาสดา เข้าไปภายในพระพุทธรัศมี

มีพรรณะ ๖ จับพระบาทพระศาสดาที่ข้อพระบาททั้งสองถวายบังคมแล้ว.

ในขณะนั้นเอง ฝนดอกไม้มีประการดังกล่าวมา ตกแล้ว. สาธุการพัน

หนึ่งเป็นไปแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 255

จิตตคฤหบดีถวายทาน

คฤหบดีนั้น อยู่ในสำนักพระศาสดาสิ้นเดือนหนึ่งแล ได้นิมนต์

ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานทั้งสิ้น ให้นั่งในวิหารนั่นแหละ

ถวายทานใหญ่แล้ว. ทาภิกษุแม้ผู้มากับตนไว้ภายในวิหารนั้นแหละบำรุง

แล้ว. ไม่ต้องหยิบอะไร ๆ ในเกวียนของตน แม้สักวันหนึ่ง. ได้ทำกิจ

ทุกอย่าง ด้วยบรรณาการ อันเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายนำมาเท่านั้น.

จิตตคฤหบดีนั้น ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า

ข้าพระองค์มาด้วยตั้งใจว่า 'จักถวายทานแด่พระองค์ ได้พักอยู่ใน

ระหว่างทางเดือนหนึ่ง, เดือนหนึ่งของข้าพระองค์ล่วงไปแล้ว ในที่นี้,

ข้าพระองค์ ไม่ได้เพื่อจะถือเอาของอะไร ๆ ที่ข้าพระองค์นำมาเลย,

ได้ถวายทาน สิ้นกาลเท่านี้ ด้วยบรรณาการที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

นำมาเท่านั้น, แม้ถ้าข้าพระองค์นั้น จักอยู่ในที่นี้ สิ้นปีหนึ่ง, ก็จักไม่

ได้เพื่อจะถวายไทยธรรมของข้าพระองค์แน่แท้, ข้าพระองค์ปรารถนาจัก

ถ่ายเกวียนแล้วไป, ขอพระองค์ จงโปรดให้บอกที่สำหรับเก็บแก่

ข้าพระองค์เถิด."

พระศาสดา ตรัสกะพระอานนทเถระว่า "อานนท์" เธอจงให้

จัดที่แห่งหนึ่งให้ว่าง ให้แก่อุบาสก." พระเถระ ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว.

ได้ยินว่า พระศาสดา ทรงอนุญาตกัปปิยภูมิแก่จิตตคฤหบดีแล้ว.

จิตตคฤหบดีเดินทางกลับ

ฝ่ายอุบาสกกับชนสามพัน ซึ่งมาพร้อมกับตน เดินทางกลับด้วย

เกวียนเปล่าแล้ว. พวกเทวดาและมนุษย์ ลุกขึ้นแล้ว กล่าวว่า "พระผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 256

เป็นเจ้า ท่านทำกรรมคือการเดินไปด้วยเกวียนเปล่า" ดังนี้แล้ว ก็บรรจุ

เกวียนให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ. คฤหบดี นั้น ได้บำรุงมหาชนด้วย

บรรณาการอันเขานำมาเพื่อตน ไปแล้ว.

พระอานนทเถระ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า

" พระเจ้าข้า จิตตคฤหบดี แม้เมื่อมาสู่สำนักของพระองค์ มาแล้วโดย

เดือนหนึ่ง; อยู่ในที่นี้เดือนหนึ่งเหมือนกัน. ได้ถวายทานด้วยบรรณาการ

ที่เทวดาและมนุษย์นำมาเท่านั้น สิ้นกาลเท่านี้; ได้ยินว่า บัดนี้คฤหบดีนั้น

ทำเกวียน ๕๐๐ เล่ม ให้เปล่า จักไปโดยเดือนหนึ่งเหมือนกัน, แก่เทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย ลุกขึ้นแล้ว กล่าวแก่คฤหบดีนั้นว่า ' พระผู้เป็นเจ้า

ท่านทำกรรมคือการเดินไปด้วยเกวียนเปล่า" ดังนี้แล้ว ก็บรรจุเกวียน

ให้เต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ. ได้ยินว่า คฤหบดี บำรุงมหาชน ด้วย

เครื่องบรรณาการอันเทวดาและมนุษย์ นำมาเพื่อตนนั่นแหละจักกลับไป;

พระเจ้าข้า ก็สักการะนี้เกิดขึ้นแก่คฤหบดีนั่นผู้นาสู่สำนักของพระองค์เท่า

นั้นหรือ. หรือแม้ไปในที่อื่นก็เกิดขึ้นเหมือนกัน."

พระศาสดา ตรัสว่า "อานนท์ จิตตคฤหบดีนั้นมาสู่สำนักของเรา

ก็ดี ไป ณ ที่อื่นก็ดี สักการะย่อมเกิดขึ้นทั้งนั้น, เพราะอุบาสกนี้เป็นผู้

มีศรัทธา เลื่อมใส มีศีลสมบูรณ์, อุบาสกผู้เห็นปานนี้ ย่อมคบ (ไป)

ประเทศใด ๆ; ลาภสักการะ ย่อมเกิดแก่เขาในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว"

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถาในปกิณณกวรรคนี้ว่า :-

"ผู้มีศรัทธา สมบูรณ์ด้วยศีล เพียบพร้อม

ด้วยยศ และโภคะ ย่อมคบประเทศใด ๆ ย่อมเป็นผู้

อันเขาบูชาแล้ว ในประเทศนั้น ๆ ทีเดียว."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 257

ก็เนื้อความแห่งพระคาถานั้น จักแจ่มแจ้งในปกิณณกวรรคนั้นแล.

บุรพกรรมของจิตตคฤหบดี

เมื่อพระคาสดา ตรัสอย่างนั้นแล้ว, พระอานนทเถระ จึงทูลถาม

บุรพกรรมของจิตตคฤหบดี. ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะตรัสแก่พระ-

อานนทเถระนั้น จึงตรัสว่า :-

" อานนท์ จิตตคฤหบดีนี้ มีอภินิหารอันทำไว้แทบบาทมูลของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์

สิ้นแสนกัลป์ ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป เกิดในสกุล

ของพรานเนื้อ ถึงควานเจริญแล้ว วันหนึ่ง เมื่อฝนตกอยู่ถือหอกไปสู่ป่า

เพื่อต้องการจะล่าเนื้อ ตรวจดูหมู่เนื้ออยู่ เห็นภิกษุรูปหนึ่งนั่งคลุมศีรษะ

ที่เงื้อมเกิดเองแห่งหนึ่ง จึงคิดว่า "พระผู้เป็นเจ้ารูปเดียว จักนั่งทำ

สมณธรรม, เราจักนำอาหารมา เพื่อพระผู้เป็นเจ้านั้น" ดังนี้แล้ว รีบไป

สู่เรือน ให้คนปิ้งเนื้อที่ตนนำมาเมื่อวานที่เตาแห่งหนึ่ง ให้หุงข้าวที่เตา

แห่งหนึ่ง เห็นภิกษุเที่ยวบิณฑบาตพวกอื่น รับบาตรของภิกษุแม้เหล่านั้น

นิมนต์ให้นั่งเหนืออาสนะที่จัดแจงไว้ ตระเตรียมภิกษาแล้ว สั่งคนอื่นว่า

" พวกท่านจงอังคาสพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย แล้ว ใส่ภัตนั้นลงในตะกร้า

ถือเดินไป เลือกเก็บดอกไม้ต่าง ๆ ในระหว่างทาง ห่อด้วยใบไม้ ไป

สู่ที่พระเถระนั่งแล้วกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงทำความสงเคราะห์

แก่กระผมเถิด" ดังนี้แล้ว รับบาตร ให้เต็มด้วยภัตแล้ววางไว้ในมือของ

พระเถระ กระทำการบูชาด้วยดอกไม้เหล่านั้น ตั้งความปรารถนาว่า

๑. อกตปพฺภาร เงื้อมที่บุคคลไม่ได้ทำ หมายความว่า เกิดเป็นเองตามธรรมชาติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 258

" บิณฑบาตอันมีรสนี้ พร้อมด้วยดอกไม้เครื่องบูชา ยังจิตของข้าพเจ้า

ให้ยินดีฉันใด; ขอบรรณาการพันหนึ่ง จงมายังจิตของข้าพเจ้าให้ยินดี

ในที่ที่ข้าพเจ้าเกิดแล้ว ๆ ฉันนั้น, และขอฝนดอกไม้มีสี ๕ สีจงตก."

เขาบำเพ็ญกุศลจนตลอดชีพแล้ว เกิดในเทวโลก. ฝนดอกไม้ทิพย์ ตกแล้ว

โดยถ่องแถว ประมาณเพียงเข่า ในที่ที่เขาเกิดแล้ว. แม้ในกาลนี้ ฝน

ดอกไม้ (ทิพย์) ก็ตกในวันที่เขาเกิดแล้ว และเมื่อเขามาในที่นี้ การ

นำบรรณาการมา และการที่เกวียนเต็มด้วยรัตนะ ๗ ประการ ก็เป็นผล

แห่งกรรมนั้นแล."

เรื่องพระสุธรรมเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 259

๑๕. เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ [๕๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ

ผู้มีปกติอยู่ในป่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อญฺา หิ ลาภูปนิสา "

เป็นต้น.

พระสารีบุตรอนุเคราะห์พราหมณ์ผู้ยากจน

เทศนาตั้งขึ้นแล้วในกรุงราชคฤห์. ได้ยินว่า สหายของวังคันต-

พราหมณ์ ผู้บิดาของพระสารีบุตรเถระ ชื่อ มหาเสนพราหมณ์ อยู่ในกรุง-

ราชคฤห์. วันหนึ่ง พระสารีบุตรเถระเที่ยวบิณฑบาต ได้ไปยังประตูเรือน

ของพราหมณ์นั้น เพื่อนุเคราะห์เขา. แต่พราหมณ์นั้น มีสมบัติหมด

เสียแล้ว กลับเป็นคนยากจน. เขาคิดว่า "บุตรของเราจักมาเพื่อเที่ยว

บิณฑบาตที่ประตูเรือนของเรา, แต่เราเป็นคนยากจน. บุตรของเราเห็น

จะไม่ทราบความที่เราเป็นคนยากจน, ไทยธรรมอะไร ๆ ของเราก็ไม่มี,"

เมื่อไม่อาจจะเผชิญหน้าพระเถระนั้นได้จึงหลบเสีย. ถึงในวันอื่น แม้พระ-

เถระได้ไป (อีก). พราหมณ์ก็ได้หลบเสียอย่างนั้นเหมือนกัน. เขาคิด

อยู่ว่า "เราได้อะไร ๆ แล้วนั่นแหละจักถวาย" ก็ไม่ได้ (อะไร ๆ).

ภายหลังวันหนึ่งเขาได้ถาดเต็มด้วยข้าวปายาสพร้อมกับผ้าสาฎกเนื้อหยาบ

ในที่บอกลัทธิของพราหมณ์แห่งหนึ่ง ถือไปถึงเรือน นึกถึงพระเถระขึ้น

ได้ว่า " การที่เราถวายบิณฑบาตนี้แก่พระเถระ ควร."

ในขณะนั้นนั่นเอง แม้พระเถระเข้าฌาน ออกจากสมาบัติแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 260

เห็นพราหมณ์นั้น คิดว่า " พราหมณ์ได้ไทยธรรมแล้ว หวังอยู่ซึ่งกรรม

ของเรา. การที่เราไปในที่นั้น ควร" ดังนี้แล้ว จึงห่มผ้าสังฆาฏิ ถือ

บาตร แสดงตนยืนอยู่แล้วที่ประตูเรือนของพราหมณ์นั้นนั่นเอง. เพราะ

เห็นพระเถระเท่านั้น จิตของพราหมณ์เลื่อมใสแล้ว. ลำดับนั้น เขาเข้า

ไปหาพระเถระนั้น ไหว้แล้ว กระทำปฏิสันถารนิมนต์ให้นั่งภายในเรือน

ถือถาดอันเต็มด้วยข้าวปายาส เกลี่ยลงในบาตรของพระเถระ. พระเถระ

รับกึ่งหนึ่งแล้วจึงเอามือปิดบาตร. ทีนั้น พราหมณ์กล่าวกะพระเถระนั้นว่า

" ท่านผู้เจริญ ข้าวปายาสนี้สักว่าเป็นส่วนของคน ๆ เดียวเท่านั้น. ขอ

ท่านจงทำความสงเคราะห์ในปรโลกแก่กระผมเถิด, อย่าทำความสงเคราะห์

ในโลกนี้เลย; กระผมปรารถนาถวายไม่ให้เหลือทีเดียว" ดังนี้แล้ว จึง

เกลี่ยลงทั้งหมด. พระเถระฉันในที่นั้นนั่นแล. ครั้นในเวลาเสร็จภัตกิจ

เขาถวายผ้าสาฎกแม้นั้น แก่พระเถระนั้น ไหว้แล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่าน

ผู้เจริญ แม้กระผมพึงบรรลุธรรมที่ท่านเห็นแล้วเหมือนกัน." พระเถระ

ทำอนุโมทนาแก่พราหมณ์นั้นว่า "จงสำเร็จอย่างนั้น พราหมณ์" ลุกขึ้น

จากอาสนะหลีกไป เที่ยวจาริกโดยลำดับ ได้ถึงพระเชตวันแล้ว.

พราหมณ์ยากจนตายไปเกิดในกรุงสาวัตถี

ก็ทานที่บุคคลถวายแล้วในคราวที่ตนตกยาก ย่อมยังผู้ถวายให้ร่าเริง

อย่างยิ่ง เพราะฉะนั้น แม้พราหมณ์ถวายทานนั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส เกิด

โสมนัสแล้ว ได้ทำความสิเนหามีประมาณยิ่งในพระเถระ. ด้วยความ

สิเนหาในพระเถระนั่นแล พราหมณ์นั้น ทำกาละแล้ว ถือปฏิสนธิในสกุล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 261

อุปัฏฐากของพระเถระในกรุงสาวัตถี. ก็ในขณะนั้นแล มารดาของเขา

บอกแก่สามีว่า "สัตว์เกิดในครรภ์ตั้งขึ้นในท้องของฉัน." สามีนั้นได้ให้

เครื่องบริหารครรภ์แก่มารดาของทารกนั้นแล้ว . เมื่อนางเว้นการบริโภค

อาหารวัตถุมีของร้อนจัด เย็นนัก และเปรี้ยวนักเป็นต้น รักษาครรภ์อยู่

โดยสบาย ความแพ้ท้องเห็นปานนี้เกิดขึ้นว่า "ไฉนหนอ เราพึงนิมนต์

ภิกษุ ๕๐๐ รูปมีพระสารีบุตรเถระเป็นประธานให้นั่งในเรือน ถวายปายาส

เจือด้วยน้ำนมล้วน แม้ตนเองนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ถือขันทองนั่งในที่สุด

แห่งอาสนะ แล้วบริโภคข้าวปายาสอันเป็นเดนของภิกษุประมาณเท่านี้."

ได้ยินว่า ความแพ้ท้องในเพราะการนุ่งห่มผ้ากาสาวะนั้นของนาง ได้เป็น

บุรพนิมิตแห่งการบรรพชาในพระพุทธศาสนาของบุตรในท้อง. ลำดับนั้น

พวกญาติของนาง คิดว่า "ความแพ้ท้องของธิดาพวกเราประกอบด้วย

ธรรม" ดังนี้แล้ว จึงถวายข้าวปายาสเจือด้วยน้ำนมล้วน แก่ภิกษุ ๕๐๐

รูป ทำพระสารีบุตรเถระให้เป็นพระสังฆเถระ. แม้นางก็นุ่งผ้ากาสาวะผืน

หนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ถือขันทองนั่งในที่สุดแห่งอาสนะ บริโภคข้าวปายาส

อันเป็นเดน ( ของภิกษุ ). ความแพ้ท้องสงบแล้ว. ในมงคลอันเขากระทำ

แล้วในระหว่าง ๆ แก่นางนั้น ตลอดเวลาสัตว์เกิดในครรภ์ตลอดก็ดี ใน

มงคลอันเขากระทำแล้วแก่นางผู้ตลอดบุตรแล้ว โดยล่วงไป ๑๐ เดือนก็ดี

พวกญาติก็ได้ถวายข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อย แก่ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป มี

พระสารีบุตรเถระเป็นประธานเหมือนกัน. ได้ยินว่า นี้เป็นผลแห่งข้าว

ปายาสที่ทารกถวายแล้ว ในเวลาที่คนเป็นพราหมณ์ในกาลก่อน. ก็ใน

วันมงคลที่พวกญาติกระทำในวันที่ทารกเกิด พวกญาติให้ทารกนั้นอาบน้ำ

๑. ข้าวชนิดหนึ่ง ที่หุงเจือด้วยน้ำนม น้ำผึ้ง น้ำตาล เป็นต้น หรือข้าวเปียกเจือนม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 262

แต่เช้าตรู่ ประดับแล้วให้นอนเบื้องบนผ้ากัมพลมีค่าแสนหนึ่งบนที่นอน

อันมีสิริ.

ทารกบริจาคทาน

ทารกนั้น นอนอยู่บนผ้ากัมพลนั้นเอง แลดูพระเถระแล้ว คิดว่า

" พระเถระนี้ เป็นบุรพาจารย์ของเรา, เราได้สมบัตินี้ เพราะอาศัยพระ-

เถระนี้, การที่เราทำการบริจาคอย่างหนึ่งแก่ท่านผู้นี้ ควร" อันญาติ

นำไปเพื่อประโยชน์แก่การรับสิกขาบท ได้เอานิ้วก้อยเกี่ยวผ้ากัมพลนั้น

ยึดไว้. ครั้งนั้น ญาติทั้งหลายของทารกนั้น คิดว่า " ผ้ากัมพลคล้องที่

นิ้วมือแล้ว" จึงปรารภจะนำออก. ทารกนั้น ร้องไห้แล้ว พวกญาติ

กล่าวว่า " ขอพวกท่านจงหลีกไปเถิด, ท่านทั้งหลายอย่ายังทารกให้ร้อง-

ไห้เลย" ดังนี้แล้ว จึงนำไปพร้อมกับผ้ากัมพลนั่นแล. ในเวลาไหว้พระ-

เถระ. ทารกนั้น ชักนิ้วมือออกจากผ้ากัมพล ให้ผ้ากัมพลตกลง ณ ที่ใกล้

เท้าของพระเถระ. ลำดับนั้น พวกญาติไม่กล่าวว่า " เด็กเล็กไม่รู้กระทำ

แล้ว" กล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า ผ้าอันบุตรของพวกข้าพเจ้าถวายแล้ว จง

เป็นอันบริจาคแล้วทีเดียว" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ขอพระผู้

เป็นเจ้าจงให้สิกขาบทแก่ทาสของท่าน ผู้ทำการบูชาด้วยผ้ากัมพลนั่นแหละ

อันมีราคาแสนหนึ่ง."

พระเถระ. เด็กนี้ชื่ออะไร ?

พากญาติ. ชื่อเหมือนกับพระผู้เป็นเจ้า ขอรับ.

พระเถระ. นี้จักชื่อ ติสสะ.

ได้ยินว่า พระเถระ ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ ได้มีชื่อว่า อุปติสส-

มาณพ, แม้มารดาของเด็กนั้น ก็คิดว่า "เราไม่ควรทำลายอัธยาศัยของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 263

บุตร." พวกญาติ ครั้นกระทำมงคลคือการขนานนามแห่งเด็กอย่างนั้น

แล้ว ในมงคลคือการบริโภคอาหาของเด็กนั้นก็ดี ในมงคลคือการเจาะหู

ของเด็กนั้นก็ดี ในมงคลคือการนุ่งผ้าของเด็กนั้นก็ดี ในมงคลคือการ

โกนจุกของเด็กนั้นก็ดี ได้ถวายข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อย แก่ภิกษุประมาณ

๕๐๐ รูป มีพระสารีบุตรเถระเป็นประธาน. เด็กเจริญวัยแล้ว กล่าวกะ

มารดา ในเวลามีอายุ ๗ ขวบว่า "แม่ ฉันจักบวชในสำนักของพระเถระ."

มารดานั้น รับว่า " ดีละ ลูก, เมื่อก่อนแม่ก็ได้หมายใจไว้ว่า 'เราไม่ควร

ทำลายอัธยาศัยของลูก.' เจ้าจงบวชเถิดลูก" ดังนี้แล้ว ให้คนนิมนต์

พระเถระมา ถวายภิกษาแก่พระเถระนั้นผู้มาแล้ว กล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า

ทาสของท่านกล่าวว่า ' จักบวช,' พวกดิฉันจักพาทาสของท่านนี้ไปสู่

วิหารในเวลาเย็น" ส่งพระเถระไปแล้ว ในเวลาเย็นพาบุตรไปสู่วิหาร

ด้วยสักการะและสัมมานะเป็นอันมาก แล้วก็มอบถวายพระเถระ.

การบวชทำได้ยาก

พระเถระกล่าวกับเด็กนั้นว่า " ติสสะ ชื่อว่าการบวชเป็นของที่ทำ

ได้ยาก, เมื่อความต้องการด้วยของร้อนมีอยู่ ย่อมได้ของเย็น, เมื่อความ

ต้องการด้วยของเย็นมีอยู่ ย่อมได้ของร้อน, ชื่อว่า นักบวชทั้งหลาย ย่อม

เป็นอยู่โดยลำบาก. ก็เธอเสวยความสุขมาแล้ว ."

ติสสะ. ท่านขอรับ กระผมจักสามารถทำได้ทุกอย่าง ตามทำนอง

ที่ท่านบอกแล้ว.

กัมมัฏฐานพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่เคยทรงละ

พระเถระ กล่าวว่า " ดีละ" แล้วบอกตจปัญจกกัมมัฏฐานด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 264

สามารถแห่งการกระทำไว้ในใจโดยความเป็นของปฏิกูลแก่เด็กนั้น ให้เด็ก

บวชแล้ว. จริงอยู่ การที่ภิกษุบอกอาการ ๓๒ แม้ทั้งสิ้นควรแท้, เมื่อ

ไม่อาจบอกได้ทั้งหมด พึงบอกตจปัญจกกัมมัฏฐานก็ได้ ด้วยว่ากัมมัฏฐาน

นี้ พระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ไม่ทรงละแล้วโดยแท้. การกำหนดภิกษุ

ก็ดี ภิกษุณีก็ดี อุบาสกก็ดี อุบาสิกาก็ดี ผู้บรรลุพระอรหัต ในเพราะ

บรรดาอาการทั้งหลายมีผมเป็นต้น ส่วนหนึ่ง ๆ ย่อมไม่มี. ก็ภิกษุทั้งหลาย

ผู้ไม่ฉลาด เมื่อยังกุลบุตรให้บวช ย่อมยังอุปนิสัยแห่งพระอรหัตให้ฉิบหาย

เสีย เพราะเหตุนั้น พระเถระพอบอกกัมมัฏฐานแล้ว จึงให้บวช ให้ตั้ง

อยู่ในศีล ๑๐. มารดาบิดาทำสักการะแก่บุตรผู้บวชแล้ว ได้ถวายข้าว

มธุปายาสมีน้ำน้อยเท่านั้นแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ใน

วิหารนั่นเองสิ้น ๗ วัน. ฝ่ายภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า "เราทั้งหลาย

ไม่สามารถจะฉันข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยเป็นนิตย์ได้." มารดาบิดา แม้ของ

สามเณรนั้น ได้ไปสู่เรือนในเวลาเย็นในวันที่ ๗ ในวันที่ ๘ สามเณร

เข้าไปบิณฑบาตกับภิกษุทั้งหลาย.

สามเณรมีลาภมากเพราะผลทานในกาลก่อน

ชาวเมืองสาวัตถี กล่าวว่า " ได้ยินว่า สามเณรจักเข้าไปบิณฑบาต

ในวันนี้, พวกเราจักทำสักการะแก่สามเณรนั้น" ดังนี้แล้ว จึงทำเทริด

ด้วยผ้าสาฎกประมาณ ๕๐๐ ผืน จัดแจงบิณฑบาต ประมาณ ๕๐๐ ที่

ได้ถือไปยืนดักทางถวายแล้ว. ในวันรุ่งขึ้น ได้มาสู่ป่าใกล้วิหาร ถวายแล้ว.

สามเณรได้บิณฑบาตพันหนึ่ง กับผ้าสาฎกพันหนึ่ง โดย ๒ วันเท่านั้น

ด้วยอาการอย่างนี้ ให้คนถวายแก่ภิกษุสงฆ์แล้ว. ได้ยินว่า นั่นเป็นผล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 265

แห่งผ้าสาฎกเนื้อหยาบที่สามเณรถวายแล้วในคราวเป็นพราหมณ์. ลำดับนั้น

ภิกษุทั้งหลายขนานนามสามเณรนั้นว่า "ปิณฑปาตทายกติสสะ." รุ่งขึ้น

วันหนึ่งในฤดูหนาว สามเณรเที่ยวจาริกไปในวิหาร เห็นภิกษุทั้งหลาย

ผิงไฟอยู่ในเรือนไฟเป็นต้นในที่นั้น ๆ จึงเรียนว่า "ท่านขอรับ เหตุไร

ท่านทั้งหลายจึงนั่งผิงไฟ ?"

พวกภิกษุ. ความหนาวเบียดเบียนพวกเรา สามเณร.

สามเณร. ท่านขอรับ ธรรมดาในฤดูหนาว ท่านทั้งหลายควรห่มผ้า

กัมพล, เพราะผ้ากัมพลนั้น สามารถกันหนาวได้.

พวกภิกษุ. สามเณร เธอมีบุญมาก พึงได้ผ้ากัมพล, พวกเราจักได้

ผ้ากัมพลแต่ที่ไหน ?

สามเณร กล่าวว่า " ท่านขอรับ ถ้ากระนั้น พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย

ผู้มีความต้องการผ้ากัมพล จงมากับกระผมเถิด" แล้วให้บอกภิกษุใน

วิหารทั้งสิ้น. ภิกษุทั้งหลายคิดว่า "พวกเราจักไปกับสามเณรแล้ว นำผ้า

กัมพลมา" อาศัยสามเณรผู้มีอายุ ๗ ปี ออกไปแล้วประมาณพันรูป.

สามเณรนั้น มิให้แม้จิตเกิดขึ้นว่า " เราจักได้ผ้ากัมพลแต่ที่ไหน เพื่อ

ภิกษุประมาณเท่านี้ " พวกภิกษุเหล่านั้นบ่ายหน้าสู่พระนครไปแล้ว. จริงอยู่

ทานที่บุคคลถวายดีแล้ว ย่อมมีอานุภาพเช่นนี้. สามเณรนั้น เที่ยวไป

ตามลำดับเรือนภายนอกพระนครเท่านั้น ได้ผ้ากัมพลประมาณ ๕๐๐ ผืน

แล้ว จึงเข้าไปภายในพระนคร. พวกมนุษย์นำผ้ากัมพลมาแต่ที่โน้นที่นี้.

ส่วนบุรุษคนหนึ่งเดินไปโดยทางประตูร้านตลาด เห็นชาวร้านตลาดคน

หนึ่ง ผู้นั่งคลี่ผ้ากัมพล ๕๐๐ ผืน จึงพูดว่า " ผู้เจริญ สามเณรรูปหนึ่ง

รวบรวมผ้ากัมพลอยู่, ท่านจงซ่อมผ้ากัมพลของท่านเสียเถิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 266

ชาวร้านตลาด. ก็สามเณรนั้น ถือเอาสิ่งที่เขาให้แล้วหรือที่เขายัง

ไม่ให้.

บุรุษ. ถือเอาสิ่งที่เขาให้แล้ว.

ชาวร้านตลาดพูดว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น, ถ้าเราปรารถนา เราจักให้;

หากเราไม่ปรารถนา, จักไม่ให้; ท่านจงไปเสียเถิด" ดังนี้แล้วก็ส่งเขาไป.

ลักษณะคนตระหนี่

จริงอยู่ พวกคนตระหนี่ผู้เป็นอันธพาล, เมื่อชนเหล่าอื่นให้ทาน

อย่างนี้ ก็ตระหนี่แล้ว จึงเกิดในนรก เหมือนกาฬอำมาตย์เห็นอสทิสทาน

แล้ว ตระหนี่อยู่ฉะนั้น. ชาวร้านตลาด คิดว่า "บุรุษนี้มาโดยธรรมดา

ของตน กล่าวกะเราว่า ' ท่านจงซ่อนผ้ากัมพลของท่านเสีย.' แม้เราก็ได้

กล่าวว่า " ถ้าสามเณรนั้น ถือเอาสิ่งที่เขาให้; ถ้าเราปรารถนา เราจักให้

ของ ๆ เรา; หากไม่ปรารถนา, เราก็จักไม่ให้; ก็เมื่อเราไม่ให้ของที่สาม-

เณรเห็นแล้ว ความละอายย่อมเกิดขึ้น, เมื่อเราซ่อนของ ๆ ตนไว้ ย่อม

ไม่มีโทษ; บรรดาผ้ากัมพล ๕๐๐ นี้ ผ้ากัมพล ๒ ผืนมีราคาตั้งแสน;

การซ่อนผ้า ๒ ผืนนี้ไว้ ควร" ดังนี้แล้ว จึงผูกผ้ากัมพลทั้งสองผืน ทำให้

เป็นชายด้วยชาย วางซ่อนไว้ในระหว่างแห่งผ้าเหล่านั้น. ฝ่ายสามเณรถึง

ประเทศนั้นพร้อมด้วยภิกษุพันหนึ่ง. เพราะเห็นสามเณรเท่านั้น ความรัก

เพียงดังบุตรก็เกิดขึ้นแก่ชาวร้านตลาด. สรีระทั้งสิ้นได้เต็มเปี่ยมแล้วด้วย

ความรัก. เขาคิดว่า "ผ้ากัมพลทั้งหลายจงยกไว้, เราเห็นสามเณรนี้แล้วจะ

ให้แม้เนื้อคือหทัย ก็ควร." ชาวร้านตลาดนั้นนำผ้ากัมพลทั้งสองผืนนั้น

๑. เอาชายผ้า ๒ ผืนผูกติดกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 267

ออกมาวางไว้แทบเท้าของสามเณร ไหว้แล้วได้กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ผมพึง

มีส่วนแห่งธรรมที่ท่านเห็นแล้ว." สามเณรแม้นั้นได้ทำอนุโมทนาแก่เขาว่า

" จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด" สามเณรได้ผ้ากัมพล ๕๐๐ ผืนแม้ในภายใน

พระนคร. ในวันเดียวเท่านั้น ได้ผ้ากัมพลพันหนึ่ง ได้ถวายแก่ภิกษุพันหนึ่ง

ด้วยประการฉะนี้. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาบขนานนามของสามเณรนั้นว่า

" กัมพลทายกติสสะ." ผ้ากัมพลที่สามเณรให้ในวันตั้งชื่อ ถึงความเป็น

ผ้ากัมพลพันหนึ่ง ในเวลาตนมีอายุ ๗ ปี ด้วยประการฉะนี้.

ให้ของน้อยแต่ได้ผลมาก

ของน้อยอันบุคคลให้แล้วในฐานะใด ย่อมมีผลมาก. ของมากที่

บุคคลให้แล้วในฐานะใด ย่อมมีผลมากกว่า. ฐานะอื่นนั้น ยกพระพุทธ-

ศาสนาเสียมิได้มี. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย ของน้อยที่บุคคลให้แล้วในหมู่ภิกษุเช่นใดมีผลมาก; ของมาก

ที่บุคคลให้แล้วในหมู่ภิกษุเช่นมีผลมากกว่า, หมู่ภิกษุนี้ก็เป็นเช่นนั้น."

แม้สามเณรมีอายุ ๗ ปี ได้ผ้ากัมพลพันหนึ่ง ด้วยผลแห่งผ้ากัมพลผืนหนึ่ง

ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อสามเณรนั้นอยู่ในพระเชตวัน พวกเด็กที่เป็นญาติมาสู่สำนัก

พูดจาปราศรัยเนือง ๆ. สามเณรนั้นคิดว่า "อันเราเมื่ออยู่ในที่นี้ เมื่อเด็ก

ที่เป็นญาติมาพูดอยู่, ไม่อาจที่จะไม่พูดได้, ด้วยการเนิ่นช้าคือการสนทนา

กับเด็กเหล่านี้ เราไม่อาจทำที่พึ่งแก่ตนได้, ไฉนหนอเราเรียนกัมมัฏฐานใน

สำนักของพระศาสดาแล้ว พึงเข้าไปสู่ป่า."

ติสสสามเณรออกป่าทำสมณธรรม

ติสสสามเณรนั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลให้พระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 268

ศาสดาตรัสบอกกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัต ไหว้พระอุปัชฌายะแล้ว ถือ

บาตรและจีวรออกไปจากวิหารแล้ว คิดว่า " ถ้าเราจักอยู่ในที่ใกล้ไซร้,

พวกญาติจะร้องเรียกเราไป" จึงได้ไปสิ้นทางประมาณ ๑๒๐ โยชน์.

ครั้งนั้น สามเณรเดินไปทางประตูบ้านแห่งหนึ่ง เห็นชายแก่คนหนึ่ง จึง

ถามว่า " อุบาสก วิหารในป่าของภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในประเทศนี้มีไหม ?"

อุบาสก. มี ขอรับ.

สามเณร. ถ้าอย่างนั้น ขอท่านช่วยบอกทางแก่ฉัน.

ก็ความรักเพียงดังบุตรเกิดขึ้นแล้วแก่อุบาสก เพราะเห็นสามเณร

นั้น. ลำดับนั้น อุบาสกยืนอยู่ในที่นั้นนั่นแล ไม่บอกแก่สามเณรนั้น

กล่าวว่า " มาเถิด ขอรับ, ผมจักบอกแก่ท่าน" ได้พาสามเณรนั้นไป

แล้ว. สามเณร เมื่อไปกับอุบาสกแก่นั้น เห็นประเทศ ๖ แห่ง ๕ แห่ง

อันประดับแล้วด้วยดอกไม้และผลไม้ต่าง ๆ ในระหว่างทาง จึงถามว่า

"ประเทศนี้ชื่ออะไร ? อุบาสก" ฝ่ายอุบาสกนั้น บอกชื่อประเทศเหล่า

นั้น แก่สามเณรนั้น ถึงวิหารอันตั้งอยู่ในป่าแล้ว กล่าวว่า "ท่านขอรับ

ที่นี่เป็นที่สบาย, ขอท่านจงอยู่ในที่นี้เถิด" แล้วถามชื่อว่า "ท่านชื่อ

อะไร ? ขอรับ" เมื่อสามเณรบอกว่า "ฉันชื่อวนวาสีติสสะ อุบาสก."

จึงกล่าวว่า "พรุ่งนี้ ท่านควรไปเที่ยวบิณฑบาตในบ้านของพวกกระผม"

แล้วกลับไปสู่บ้านของตนนั่นแหละ บอกแก่พวกมนุษย์ว่า สามเณร

ชื่อวนวาสีติสสะมาสู่วิหารแล้ว. ขอท่านจงจัดแจงอาหารวัตถุมียาคูและภัต

เป็นต้น เพื่อสามเณรนั้น." ครั้งแรกทีเดียว สามเณรเป็นผู้ชื่อว่า "ติสสะ"

แต่นั้นได้ชื่อ ๓ ชื่อเหล่านี้คือ ปิณฑปาตทายกติสสะ กัมพลทายกติสสะ

๑. คำว่าประเทศในที่นี้ หมายความเพียงบ้านหนึ่งหรือตำบลหนึ่งเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 269

วนวาสีติสสะ ได้ชื่อ ๔ ชื่อภายในอายุ ๗ ปี. รุ่งขึ้น สามเณรนั้นเข้าไป

บิณฑบาตยังบ้านนั้นแต่เช้าตรู่. พวกมนุษย์ถวายภิกษาไหว้แล้ว. สามเณร

กล่าวว่า "ขอท่านทั้งหลายจงถึงซึ่งความสุข, จงพ้นจากทุกข์เถิด." แม้

มนุษย์คนหนึ่งถวายภิกษาแก่สามเณรนั้นแล้ว ก็ไม่สามารถจะ ( กลับ)

ไปยังเรือนได้อีก, ทุกคนได้ยืนแลดูอยู่ทั้งนั้น. แม้สามเณรนั้นก็รับภัตพอ

ยังอัตภาพให้เป็นไปเพื่อตน. ชาวบ้านทั้งสิ้นหมอบลงด้วยอก แทบเท้า

ของสามเณรนั้นแล้ว กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อท่านอยู่ในที่นี้ตลอดไตร-

มาสนี้ พวกกระผมจักรับสรณะ ๓ ตั้งอยู่ในศีล ๕ จักทำอุโบสถกรรม

๘ ครั้งต่อเดือน. ขอท่านจงให้ปฏิญญาแก่กระผมทั้งหลาย เพื่อประโยชน์

แห่งการอยู่ในที่นี้." สามเณรนั้นกำหนดอุปการะ จึงให้ปฏิญญาแก่มนุษย์

เหล่านั้น เที่ยวบิณฑบาตในบ้านนั้นนั่นแลเป็นประจำ. ก็ในขณะที่เขา

ไหว้แล้ว ๆ กล่าวเฉพาะ ๒ บทว่า "ขอท่านทั้งหลายจงถึงซึ่งความสุข,

จงพ้นจากทุกข์" ดังนี้แล้ว หลีกไป. สามเณรนั้นให้เดือนที่ ๑ และ

เดือนที่ ๒ ล่วงไปแล้ว ณ ที่นั้น เมื่อเดือนที่ ๓ ล่วงไป, ก็บรรลุพระอรหัต

พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.

อุปัญฌายะไปเยี่ยมสามเณร

ครั้นเวลาปวารณาออกพรรษาแล้ว พระอุปัชฌาย์ของสามเณรนั้น

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์-

ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะไปยังสำนักติสสสามเณร."

พระศาสดา. ไปเถิด สารีบุตร.

พระสารีบุตรเถระนั้น เมื่อพาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 270

บริวารของตน หลีกไป กล่าวว่า "โมคคัลลานะผู้มีอายุ กระผมจะไป

ยังสำนักติสสสามเณร" พระโมคคัลลานเถระ กล่าวว่า "ท่านผู้มีอายุ

แม้กระผมก็จักไปด้วย" ดังนี้แล้ว ก็ออกไปพร้อมกับภิกษุประมาณ ๕๐๐

รูป. พระมหาสาวกทั้งปวง คือ พระมหากัสสปเถระ. พระอนุรุทธเถระ

พระอุบาสีเถระ พระปุณณเถระเป็นต้น ออกไปพร้อมกับภิกษุประมาณ

องค์ละ ๕๐๐ รูป โดยอุบายนั้นแล. บริวารของพระมหาสาวกแม้ทั้งหมด

ได้เป็นภิกษุประมาณ ๔ หมื่น. อุบาสกผู้บำรุงสามเณรเป็นประจำ เห็น

ภิกษุเหล่านั้น ผู้เดินทางประมาณ ๑๒๐ โยชน์ ถึงโคจรคามแล้ว ณ ประตู

บ้านนั่นเองต้อนรับไหว้แล้ว. ลำดับนั้น พระสารีบุตรเถระ ถามอุบาสก

นั้นว่า "อุบาสก วิหารอันตั้งอยู่ในป่าในประเทศนี้มีอยู่หรือ ?"

อุบาสก. มีขอรับ.

พระเถระ. มีภิกษุไหม ?

อุบาสก. มีขอรับ.

พระเถระ. ใคร อยู่ในที่นั้น ?

อุบาสก. วนวาสีติสสสามเณร ขอรับ.

พระเถระ. ถ้ากระนั้น ท่านจงบอกทางแก่พวกฉัน.

อุบาสก. ท่านเป็นภิกษุพวกไหน ? ขอรับ.

พระเถระ. พวกเรามาสู่สำนักของสามเณร.

อุบาสกแลดูภิกษุเหล่านั้น จำพระมหาสาวกแม้ทั้งหมดได้ นับ

ตั้งแต่พระธรรมเสนาบดีเป็นต้น . เขามีสรีระอันปีติถูกต้องแล้วหาระหว่าง

มิได้ กล่าวว่า "ท่านขอรับ ขอท่านจงหยุดก่อนเถิด" แล้วเข้าไปสู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 271

บ้านโดยเร็ว ป่าวร้องว่า " พระอสีติมหาสาวกผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น

นับแต่พระสารีบุตรเถระเป็นต้น มาสู่สำนักของสามเณร กับด้วยบริวาร

ของตน ๆ, ท่านทั้งหลายจงถือเอาเครื่องใช้ มี เตียง ตั่ง เครื่องปูลาด

ประทีปและน้ำมันเป็นต้น ออกไปโดยเร็วเถิด." ทันใดนั้นเอง พวก

มนุษย์ขนเตียงเป็นต้น เดินติดตามรอยพระเถระไป เข้าไปสู่วิหารพร้อม

กับพระเถระนั่นแหละ. สามเณรจำหมู่ภิกษุได้ รับบาตรและจีวรพระมหา-

เถระ ๒ - ๓ องค์แล้ว ได้ทำวัตร. เมื่อสามเณรนั้นจัดแจงที่อยู่เพื่อพระ-

เถระทั้งหลายเก็บบาตรและจีวรอยู่นั่นแล, ก็มืดพอดี. พระสารีบุตรเถระ

กล่าวกะพวกอุบาสกว่า " อุบาสกทั้งหลาย พวกท่านไปเถิด, ความมืด

เกิดแก่พวกท่าน."

พวกอุบาสก. ท่านผู้เจริญ วันนี้เป็นวันฟังธรรม, พวกกระผม

จักยังไม่ไป, จักฟังธรรม, ในกาลก่อนแต่นี้ แม้การฟังธรรมมิได้มีแก่

กระผมทั้งหลาย.

พระเถระ. สามเณร ถ้ากระนั้น เธอจงตามประทีปประกาศเวลา

ฟังธรรมเถิด.

สามเณรนั้น ได้ทำแล้วอย่างนั้น.

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะสามเณรนั้นว่า "ติสสะ พวกอุปัฏฐาก

ของเธอ กล่าวอยู่ว่า ' พวกเราใคร่จะฟังธรรม เธอจงกล่าวธรรมแก่

อุปัฏฐากเหล่านั้น." พวกอุบาสก ลุกขึ้นพร้อมกันทันที กล่าวว่า

" ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้า ของพวกกระผม ยกแต่บท ๒ บทเหล่านี้

คือ ' ขอท่านทั้งหลายจงมีความสุข, จงพ้นจากทุกข์,' หารู้ธรรมกถา

อย่างอื่นไม่, ขอท่านทั้งหลาย จงให้พระธรรมกถึกรูปอื่นแก่พวกกระผม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 272

เถิด." ก็สามเณรถึงบรรลุพระอรหัตแล้วก็มิได้กล่าวธรรมกถาแก่อุปัฏฐาก

เหล่านั้นเลย.

เหตุให้ถึงสุขและพ้นจากทุกข์

ก็ในกาลนั้น พระอุปัชฌายะ กล่าวกะสามเณรนั้นว่า " สามเณร

คนทั้งหลายจะมีความสุขได้อย่างไร ? [และ] จะพ้นจากทุกข์ได้อย่างไร ?

เธอจงกล่าวเนื้อความแห่งบททั้งสองนี้แก่เราทั้งหลาย." สามเณรนั้นรับว่า

" ดีละ ขอรับ " แล้วถือพัดอันวิจิตร ขึ้นสู่ธรรมาสน์ ชักผลและเหตุ

มาจากนิกายทั้ง ๔ จำแนกขันธ์ ธาตุ อายตนะ และโพธิปักขิยธรรม

ดุจมหาเมฆตั้งขึ้นใน ๔ ทวีป ยังฝนลูกเห็บให้ตกอยู่ กล่าวธรรมกถาด้วย

ยอดคือพระอรหัต แล้วกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ความสุขย่อมมีแก่บุคคลผู้

บรรลุพระอรหัตอย่างนี้. ผู้บรรลุพระอรหัตแล้วนั่นแล ย่อมพ้นจากทุกข์,

คนที่เหลือไม่พ้นจากชาติทุกข์เป็นต้น และจากทุกข์ในนรกเป็นต้นได้."

พระเถระกล่าวว่า "ดีละ สามเณร การกล่าวโดยบทอันเธอกล่าวดีแล้ว

บัดนี้ จงกล่าวสรภัญญะเถิด." สามเณรนั้น กล่าวแม้สรภัญญะแล้ว.

เมื่ออรุณขึ้น พวกมนุษย์ที่บำรุงสามเณร ได้เป็น ๒ พวก. บางพวก

โกรธว่า " ในกาลก่อนแต่นี้ พวกเราไม่เคยเห็นคนหยาบช้าเช่นนี้.

ทำไม สามเณรรู้ธรรมกถาเห็นปานนี้ จึงไม่กล่าวบทแห่งธรรมแม้สักบท

หนึ่ง แก่พวกมนุษย์ผู้ตั้งอยู่ในฐานะเพียงดังมารดาบิดา อุปัฏฐากอยู่

สิ้นกาลประมาณเท่านี้. บางพวกยินดีว่า "เป็นลาภของพวกเราหนอ ผู้

แม้ไม่รู้คุณหรือโทษ บำรุงท่านผู้เจริญเห็นปานนี้, แต่บัดนี้ พวกเรา

ได้เพื่อฟังธรรมในสำนักของท่านผู้เจริญนั้น." ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 273

แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรวจดูสัตวโลก ทรงเห็นพวกอุปัฎฐาก

ของวนวาสีติสสสามเณร ผู้เข้าไปภายในข่ายคือพระญาณของพระองค์.

ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า "เหตุอะไรหนอแล จักมี" ทรงใคร่ครวญเนื้อ

ความนี้ว่า " พวกอุปัฏฐากของวนวาสีติสสสามเณร บางพวกโกรธ, บาง

พวกยินดี, ก็พวกที่โกรธสามเณรผู้เป็นบุตรของเราจักไปสู่นรก, เราควร

ไปที่นั้นเถิด, เมื่อเราไป, คนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด จักทำเมตตาจิตใน

สามเณรแล้วพ้นจากทุกข์." มนุษย์แม้เหล่านั้น นิมนต์ภิกษุสงฆ์แล้วก็ไป

บ้าน ให้คนทำมณฑป จัดอาหารวัตถุมียาคูและภัตเป็นต้น ปูอาสนะไว้

แล้ว นั่งดูการมาของพระสงฆ์. แม้ภิกษุทั้งหลายทำการชำระสรีระแล้ว

เมื่อจะเข้าไปสู่บ้านในเวลาเที่ยวภิกษา จึงถามสามเณรว่า "ติสสะ เธอ

จักไปพร้อมกับพวกเราหรือ หรือจักไปภายหลัง ?"

สามเณร. กระผมจักไปในเวลาเป็นที่ไปของกระผมตามเคย, นิมนต์

ท่านทั้งหลายไปเถิด ขอรับ.

พวกมนุษย์เลื่อมใสติสสสามเณร

ภิกษุทั้งหลายถือบาตรและจีวรเข้าไปแล้ว.

พระศาสดา ทรงห่มจีวรในพระเชตวันนั่นแล แล้วทรงถือบาตร

เสด็จไปโดยขณะจิตเดียวเท่านั้น ทรงแสดงพระองค์ประทับยืนข้างหน้า

ภิกษุทั้งหลายทีเดียว. ชาวบ้านทั้งสิ้นได้ตื่นเต้นเอิกเกริกเป็นอย่างเดียวกัน

ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมา." พวกมนุษย์มีจิตร่าเริง นิมนต์

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้นั่งแล้ว ถวายยาคูแล้ว ได้ถวาย

ของควรเคี้ยว. เมื่อภัตยังไม่ทันเสร็จนั้นแล สามเณรเข้าไปสู่ภายในบ้าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 274

แล้ว. ชาวบ้าน ได้นำออกไป ถวายภิกษุแก่สามเณรโดยเคารพ

สามเณรนั้นรับภิกษาเพียงยังอัตภาพ. ให้เป็นไปแล้ว ไปสู่สำนักพระศาสดา

น้อมบาตรเข้าไปแล้ว. พระศาสดาตรัสว่า " นำมาเถิด ติสสะ " แล้ว

ทรงเหยียดพระหัตถ์รับบาตร ทรงแสดงแก่พระเถระว่า "สารีบุตร จง

ดูบาตรของสามเณรของเธอ." พระเถระรับบาตรจากพระหัตถ์ของพระ-

ศาสดา ให้แก่สามเณรแล้ว กล่าวว่า "เธอจงไปนั่งทำภัตกิจในที่ที่ถึง

แก่ตน." ชาวบ้านอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วทูล

ขออนุโมทนากะพระศาสดา. พระศาสดาเมื่อจะทรงทำอนุโมทนา จึง

ตรัสอย่างนี้ว่า " อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย เป็นลาภของท่านทั้งหลาย

ซึ่งได้เห็นอสีติมหาสาวก คือ สารีบุตร โมคคัลลานะ กัสสป เป็นต้น

เพราะอาศัยสามเณรผู้เข้าถึงสกุลของตน ๆ. แม้เราก็มาแล้ว เพราะอาศัย

สามเณรผู้เข้าถึงสกุลท่านทั้งหลายเหมือนกัน. แม้การเห็นพระพุทธเจ้า

อันท่านทั้งหลายได้แล้ว เพราะอาศัยสามเณรนี้นั่นเอง, เป็นลาภของท่าน

ทั้งหลาย. ท่านทั้งหลายได้ดีแล้ว." มนุษย์ทั้งหลายคิดว่า " น่ายินดี !

เป็นลาภของพวกเรา. พวกเราได้เห็นพระผู้เป็นเข้าของพวกเรา ผู้สามารถ

ในการยังพระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์ให้โปรดปราน. และย่อมได้ถวาย

ไทยธรรมแก่พระผู้เป็นเจ้านั้น." พวกมนุษย์ที่โกรธสามเณรกับยินดีแล้ว

พวกที่ยินดีแล้วเลื่อมใสโดยประมาณยิ่ง. ก็ในเวลาจบอนุโมทนา ชนเป็น

อันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว พระศาสดา

เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว. มนุษย์ทั้งหลายตามส่งเสด็จพระศาสดา

ถวายบังคมแล้วกลับ.

พระศาสดา เสด็จไปด้วยพระธุระอันเสมอกับสามเณร ตรัสถาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 275

ประเทศที่อุบาสกแสดงแล้วแก่สามเณรนั้น ในกาลก่อนว่า "สามเณร

ประเทศนี้ชื่ออะไร ? ประเทศนี้ชื่ออะไร ?" ดังนี้แล้ว ได้เสด็จไป.

แม้สามเณรก็กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ประเทศนี้ชื่อนี้,

ประเทศนี้ชื่อนี้ " ได้ไปแล้ว.

น้ำตาของมนุษย์มากกว่าน้ำในมหาสมุทร

พระศาสดา เสด็จถึงที่อยู่ของสามเณรนั้นแล้ว เสด็จขึ้นสู่ยอด

ภูเขา. ก็มหาสมุทรย่อมปรากฏแก่ผู้ที่ยืนอยู่บนยอดภูเขานั้น. พระศาสดา

ตรัสถามสามเณรว่า "ติสสะ เธอยืนอยู่บนยอดเขา แลดูข้างโน้นและ

ข้างนี้ เห็นอะไร ?"

สามเณร. เห็นมหาสมุทร พระเจ้าข้า

พระศาสดา. เห็นมหาสมุทรแล้วคิดอย่างไร ?

สามเณร. ข้าพระองค์คิดอย่างนี้ว่า 'เมื่อเราร้องไห้ในคราวที่ถึง

ทุกข์ น้ำตาพึงมากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่' พระเจ้าข้า.

พระศาสดา ตรัสว่า "ดีละ ดีละ ติสสะ, ข้อนี้เป็นอย่างนั้น,

เพราะน้ำตาอันไหลออก ในเวลาที่สัตว์ผู้หนึ่ง ๆ ถึงซึ่งทุกข์ พึงเป็นของ

มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่ โดยแท้." ก็แล ครั้นตรัสคำนี้แล้ว จึง

ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

" น้ำในมหาสมุทรทั้งสีนิดหน่อย, น้ำคือน้ำตา

ของนระผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศกอยู่ มี

ประมาณไม่น้อย มากกว่าน้ำในมหาสมุทรทั้งสี่นั้น,

สหาย เพราะเหตุไร ท่านจึงยังประมาทอยู่ ? "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 276

สถานที่สัตว์เคยตายและไม่เคยตาย

ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสถามสามเณรนั้นอีกว่า "ติสสะ เธอ

อยู่ที่ไหน ?

สามเณร. อยู่ที่เงื้อมเขานี้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ก็เมื่ออยู่ในที่นั้น คิดอย่างไร ?

สามเณร. ข้าพระองค์คิดว่า ' การกำหนดที่ทิ้งสรีระ อันเราผู้ตาย

อยู่ ทำแล้วในที่นี้ ไม่มี' พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ตรัสว่า "ดีละ ดีละ ติสสะ, ข้อนี้ อย่างนั้น,

เพราะชื่อว่าสถานที่แห่งสัตว์เหล่านี้ ผู้ที่ไม่นอนตายบนแผ่นดิน ไม่มี "

ดังนี้แล้ว จึงตรัสอุปสาฬหกชาดกในทุกนิบาตนี้ว่า :-

" พราหมณ์ นามว่าอุปสาฬหก หมื่นสี่พัน

ถูกไฟไหม้แล้วในประเทศนี้, สถานที่อันสัตว์ไม่เคย

ตายไม่มีในโลก. ความสัตย์ ๑ ธรรม ๑ ความไม่

เบียดเบียน ๑ ความสำรวม ๑ ความฝึกฝน

(ทรมาน) ๑ มีอยู่ที่ใด, พระอริยเจ้าทั้งหลาย

ย่อมเสพที่เช่นนั้น, สถานที่นั้นชื่อว่า อันสัตว์ไม่

เคยตายในโลก."

เมื่อสัตว์ทั้งหลาย ทำการทอดทิ้งสรีระไว้เหนือแผ่นดิน ตายอยู่,

สัตว์ทั้งหลาย ชื่อว่าตายในประเทศที่ไม่เคยตาย ย่อมไม่มี ด้วยประการ

ฉะนี้.

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๕๗. อรรถกถา. ๓/๗๐.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 277

ส่วนพระเถระทั้งหลาย เช่นพระอานนทเถระ ย่อมปรินิพพาน

ในประเทศที่สัตว์ไม่เคยตาย.

การปรินิพพานของพระอานนท์

ดังได้สดับมา พระอานนทเถระ พิจารณาดูอายุสังขารในกาลที่มี

อายุได้ ๑๒๐ ปี ทราบความที่อายุนั้นสิ้นไปรอบ จึงบอกว่า " เราจัก

ปรินิพพานในวันที่ ๗ แต่วันนี้." บรรดามนุษย์ผู้อยู่ที่ฝั่งทั้งสองแห่ง

แม่น้ำโรหิณี ทราบข่าวนั้นแล้ว ผู้ที่อยู่ฝั่งนี้ กล่าวว่า "พวกเรา มี

อุปการะมากแก่พระเถระ, พระเถระจักปรินิพพานในสำนักของพวกเรา."

ผู้ที่อยู่ฝั่งโน้นก็กล่าวว่า " พวกเรามีอุปการะมากแก่พระเถระ, พระเถระ

จักปรินิพพานในสำนักของพวกเรา." พระเถระฟังคำของชนเหล่านั้นแล้ว

คิดว่า "แม้พวกชนผู้ที่อยู่ฝั่งทั้งสองก็มีอุปการะแก่เราทั้งนั้น. เราไม่อาจ

กล่าวว่า ' ชนเหล่านี้ไม่มีอุปการะ' ได้, ถ้าเราจักปรินิพพานที่ฝั่งนี้,

ผู้อยู่ฝั่งโน้นจักทำการทะเลาะกับพวกฝั่งนี้ เพื่อจะถือเอา (อัฐิ) ธาตุ;

ถ้าเราจักปรินิพพานที่ฝั่งโน้น, พวกที่อยู่ฝั่งนี้ ก็จักทำเหมือนอย่างนั้น;

ความทะเลาะแม้เมื่อจะเกิด ก็จักเกิดขึ้นอาศัยเราแน่แท้, แม้เมื่อจะสงบ

ก็จะสงบอาศัยเราเหมือกัน" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า "ทั้งพวกที่อยู่ฝั่งนี้

ย่อมมีอุปการะแก่เรา, ทั้งพวกที่อยู่ฝั่งโน้น ก็มีอุปการะแก่เรา. ใคร ๆ

ชื่อว่าไม่มีอุปการะไม่มี; พวกที่อยู่ฝั่งนี้จงประชุมกันที่ฝั่งนี้แหละ, พวก

ที่อยู่ฝั่งโน้นก็จงประชุมกันที่ฝั่งโน้นแหละ." ในวันที่ ๗ แต่วันนั้น

พระเถระนั่งโดยบัลลังก์ในอากาศประมาณ ๗ ชั่วลำตาล ในท่ามกลางแห่ง

แม่น้ำ กล่าวธรรมแก่มหาชนแล้วอธิษฐานว่า "ขอสรีระของเราจงแตก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 278

ในท่ามกลาง, ส่วนหนึ่งจงตกฝั่งนี้, ส่วนหนึ่งจงตกฝั่งโน้น" นั่งอยู่ตาม

ปกตินั่นแหละ เข้าสมาบัติมีเตโชธาตุเป็นอารมณ์. เปลวไฟตั้งขึ้นแล้ว.

สรีระแตกแล้วในท่ามกลาง. ส่วนหนึ่งตกฝั่งนี้; ส่วนหนึ่งตกที่ฝั่งโน้น.

มหาชนร้องไห้แล้ว. เสียงร้องไห้ ได้เป็นราวกะว่าเสียงแผ่นดินทรุด

น่าสงสาร แม้กว่าเสียงร้องไห้ในวันปรินิพพานแห่งพระศาสดา. พวก

มนุษย์ร้องไห้ร่ำไรอยู่ตลอด ๔ เดือน เที่ยวบ่นเพ้ออยู่ว่า " เมื่อพระเถระ

ผู้รับบาตรจีวรของพระศาสดายังดำรงอยู่, ได้ปรากฏแก่พวกเรา เหมือน

การที่พระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่, บัดนี้ พระศาสดาของพวกเรา

ปรินิพพานแล้ว."

พระศาสดาสนทนากับติสสสามเณร

พระศาสดา ตรัสถามสามเณรอีกว่า " ติสสะ เธอไม่กลัวในเพราะ

เสียงแห่งสัตว์ทั้งหลายมีเสือเหลืองเป็นต้น ในชัฏป่านี้หรือ ?"

สามเณรกราบทูลว่า " ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์

ย่อมไม่กลัว, ก็แลอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าความยินดีในป่า ย่อมเกิดขึ้นแก่

ข้าพระองค์ เพราะฟังเสียงแห่งสัตว์เหล่านั้น" แล้วกล่าวพรรณนาป่าด้วย

คาถาประมาณ ๖๐ คาถา.

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสเรียกสามเณรนั้นว่า "ติสสะ."

สามเณร. อะไร ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. พวกเราจะไป เธอจักไปหรือจักกลับ ?

สามเณร. เมื่ออุปัชฌายะของข้าพระองค์ พาข้าพระองค์ไป,

ข้าพระองค์จักไป, เมื่อให้ข้าพระองค์กลับ, ข้าพระองค์ก็จักกลับพระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 279

พระศาสดา เสด็จหลีกไปกับภิกษุสงฆ์. แต่อัธยาศัยของสามเณร

ใคร่จะกลับอย่างเดียว. พระเถระทราบอัธยาศัยนั้น จึงกล่าวว่า " ติสสะ

ถ้าเธอใคร่จะกลับ, ก็จงกลับเถิด." สามเณรถวายบังคมพระศาสดาและ

ไหว้ภิกษุสงฆ์แล้วกลับ. พระศาสดาได้เสด็จไปยังพระเชตวันแล้วเทียว.

พวกภิกษุสรรเสริญสามเณร

การสนทนาของภิกษุทั้งหลาย เกิดขึ้นในโรงธรรมว่า "น่า

อัศจรรย์หนอ ติสสสามเณร ทำกรรมที่บุคคลทำได้ยาก; จำเดิมแต่ถือ

ปฏิสนธิ พวกญาติของเธอ ได้ถวายข้าวปายาสมีน้ำน้อยแก่ภิกษุประมาณ

๕๐๐ ในมงคล ๗ ครั้ง, ในเวลาบวชแล้ว ก็ได้ถวายข้าวมธุปายาสมีน้ำ

น้อยเหมือนกัน แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ภายในวิหาร

สิ้น ๗ วัน ครั้นบวชแล้ว ในวันที่ ๘ เข้าไปสู่บ้าน ได้บิณฑบาตพัน

หนึ่งกับผ้าสาฎกพันหนึ่ง โดย ๒ วันเท่านั้น, วันรุ่งขึ้น ได้ผ้ากัมพลพัน

หนึ่ง ในเวลาเธออยู่ในที่นี้ ลาภและสักการะมากก็เกิดขึ้นแล้ว ด้วย

ประการฉะนี้. บัดนี้ เธอทิ้งลาภสละสักการะเห็นปานนี้เสีย แล้วเข้าไปสู่

ป่า ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยอาหารที่เจือกัน; สามเณรทำกรรมที่ทำได้

โดยยากหนอ."

ข้อปฏิบัติ ๒ อย่าง

พระศาสดา เสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พวกเธอนึ่งสนทนากันด้วยเรื่องอันใดหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบ

ทูลว่า "ด้วยเรื่องชื่อนี้" จึงตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า

ข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภนั้นเป็นอย่างอื่น, ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 280

พระนิพพาน เป็นอย่างอื่น ก็อบาย ๔ มีประตูอันเปิดแล้วนั้นแล

ดังอยู่ เพื่อภิกษุผู้รักษาข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ ด้วยสามารถแห่งการ

สมาทานธุดงค์ มีการอยู่ป่าเป็นต้น ด้วยหวังว่า ' เราจักได้ลาภด้วยการ

ปฏิบัติอย่างนี้' ส่วนภิกษุผู้ละลาภและสักการะอันเกิดขึ้น ด้วยข้อปฏิบัติ

อันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพานแล้วเข้าไปสู่ป่า เพียรพยายามอยู่ ย่อมยึดเอา

พระอรหัตไว้ได้" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

๑๕. อญฺา หิ ลาภูปนิสา อญฺา นิพฺพานคามินี

เอวเมต อภิญฺาย ภิกฺขุ พุทฺธสฺส สาวโก

สกฺการ นาภินนฺเทยฺย วิเวกมนุพฺรูหเย.

"ก็ข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ เป็นอย่างอื่น,

ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน เป็นอย่างอื่น

(คนละอย่าง). ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า

ทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว ไม่พึงเพลิดเพลิน

สักการะ พึงตามเจริญวิเวก."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อญฺา หิ ลาภูปนิสา

ความว่า ชื่อว่าข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภนี้เป็นอย่างนี้แล; ข้อปฏิบัติ

อันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน เป็นอย่างอื่น ( เป็นคนละอย่าง). จริงอยู่

๑. อบาย ๔ คือ นรก เปรต อสุรกาย สัตว์ดิรัจฉาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 281

อันภิกษุผู้จะให้ลาภเกิดขึ้น ควรทำอกุศลกรรมหน่อยหนึ่ง. การคดกาย

เป็นต้น น่าที่เธอจะพึงทำ. ด้วยว่า ในกาลใดภิกษุทำการคดบางอย่าง

บรรดาคดกายเป็นต้น, ในกาลนั้นลาภย่อมเกิดขึ้น. ก็เมื่อภิกษุหย่อนมือ

ลงตรง ๆ ในถาดเข้าปายาสไม่ให้งอแล้วยกขึ้น, มือเป็นแต่เพียงเปื้อน

เท่านั้น, แต่เมื่อหย่อนลง ทำให้งอแล้วยกขึ้น, มือย่อมช้อนก้อนข้าว

ปายาสออกมาได้แท้; ลาภและสักการะย่อมเกิดขึ้นในคราวทำการคดกาย

เป็นต้นอย่างนี้: นี้จัดเป็นข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภที่ไม่ชอบธรรม. แต่

ลาภที่เกิดขึ้นด้วยเหตุเห็นปานนี้ คือ "การถึงพร้อมด้วยอุปธิ การ

ทรงไว้ซึ่งจีวร (การครองจีวร) ความเป็นพหูสูต ความมีบริวาร การ

อยู่ป่า" ชื่อว่าประกอบด้วยธรรม. ก็ภิกษุผู้บำเพ็ญข้อปฏิบัติอันยังสัตว์

ให้ถึงพระนิพพาน พึงละการคดกายเป็นต้นเสีย, อันภิกษุผู้บำเพ็ญข้อ

ปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ไม่ใช่คนบอด เป็นเหมือนคนบอด

ไม่ใช่คนใบ้ เป็นเหมือนคนใบ้ ไม่ใช่คนหนวก เป็นเหมือนคนหนวก

จึงควร.

บทว่า เอวเมต เป็นต้น ความว่า ภิกษุชื่อว่าเป็นสาวก

เพราะอรรถว่า เกิดในที่สุดแห่งการฟัง หรือเพราะอรรถว่า ฟังโอวาท

และอนุสาสนี ของท่านผู้ชื่อว่าพุทธะ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สังขตธรรม

และอสังขตธรรมทั้งหมด ทราบข้อปฏิบัติเป็นเครื่องยังลาภให้เกิดขึ้น

และข้อปฏิบัติยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพานนั้น อย่างนั้นแล้ว ไม่พึงเพลิดเพลิน

๑. อุปธิสมฺปทา ฉบับยุโรปเป็น อุปสมฺปทา. คำว่า อุปธิ เป็นชื่อของกิเลสก็มี ของร่างกายก็มี

ในที่นี้เป็นชื่อของร่างกาย อุปธิสมฺปทา จึงหมายถึงรูปสมบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 282

สักการะคือปัจจัย ๔ อันไม่ชอบธรรม คือไม่พึงห้ามสักการะอันชอบ

ธรรมนั้นนั่นแล พึงเจริญวิเวก มีกายวิเวกเป็นต้น.

บรรดาวิเวกเหล่านั้น ความเป็นผู้มีกายโดดเดี่ยว ชื่อว่ากายวิเวก,

สมาบัติ ๘ ชื่อว่าจิตตวิเวก พระนิพพาน ชื่อว่าอุปธิวิเวก.

บรรดาวิเวกเหล่านั้น กายวิเวก ย่อมบรรเทาความคลุกคลีด้วยหมู่,

จิตตวิเวก ย่อมบรรเทาความหมักหมมด้วยกิเลส, อุปธิวิเวก ย่อมบรรเทา

ซึ่งความเกี่ยวข้องด้วยสังขาร; กายวิเวก ย่อมเป็นปัจจัยแห่งจิตตวิเวก,

จิตตวิเวก ย่อมเป็นปัจจัยแห่งอุปธิวิเวก. สมจริงดังคำที่พระสารีบุตรเถระ

แม้กล่าวไว้ว่า "กายวิเวกของผู้มีกายสงบแล้ว ยินดียิ่งแล้วในการออก

บวช, จิตตวิเวกของผู้มีจิตบริสุทธิ์แล้ว ถึงความผ่องแผ้วอย่างยิ่ง,

และอุปธิวิเวกของบุคคลผู้ไม่มีอุปธิ ถึงพระนิพพาน" พึงเจริญ คือ

พึงพอกพูน อธิบายว่า พึงเข้าไปสำเร็จวิเวก ๓ นี้อยู่.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระวนวาสีติสสเถระ จบ.

พาลวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๕ จบ.

๑. จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานเภสัช. ๒. รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔. ๓. อุปธิมี ๔

คือ ขันธูปธิ, กิเลสสูปธิ, อภิสังขารูปธิ, กามูปธิ. ๔. ขุ. มหา. ๒๙/๑๗๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 283

คาถาธรรมบท

บัณฑิตวรรคที่ ๖

ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นบัณฑิต

[๑๖] ๑. บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าว

นิคคหะชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้

พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต เพราะว่า

เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มี

โทษที่ลามก.

๒. ผู้ใดพึงว่ากล่าว พึงสอน และพึงห้ามจาก

ธรรมของอสัตบุรุษ ผู้นั้นแล ย่อมเป็นที่รักของ

สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ.

๓. บุคคลไม่ควรคบบาปมิตร ไม่ควรคบบุรุษ

ต่ำช้า ควรคบกัลยาณมิตร ควรคบบุรุษสูงสุด.

๔. บุคคลผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อม

อยู่เป็นสุข บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า

ประกาศแล้วทุกเมื่อ.

๕. อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมไขน้ำ ช่างศร

ทั้งหลายย่อมดัดศร ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้

บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน.

๑. วรรคที่ ๖ มีอรรกถา ๑๑ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 284

๖. ภูเขาศิลาล้วน เป็นแท่งเดียว ย่อมไม่

สะเทือนด้วยลมฉันใด บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่

เอนเอียงในเพราะนินทาและสรรเสริญฉันนั้น.

๗. บัณฑิตทั้งหลาย ฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส

เหมือนห้วงน้ำลึก ใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัวฉะนั้น.

๘. สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมเว้นในธรรมทั้งปวง

แล สัตบุรุษทั้งหลาย หาใช่ผู้ปรารถนากามบ่นไม่

บัณฑิตทั้งหลาย อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อม

ไม่แสดงอาการขึ้นลง.

๙. บัณฑิตย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งตน

ย่อมไม่ทำบาปเพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น บัณฑิตไม่

พึงปรารถนาบุตร ไม่พึงปรารถนาทรัพย์ ไม่พึง

ปรารถนาแว่นแคว้น ( และ) ไม่พึงปรารถนาความ

สำเร็จเพื่อตนโดยไม่เป็นธรรม บัณฑิตนั้นพึงเป็นผู้

มีศีล มีปัญญา ตั้งอยู่ในธรรม.

๑๐. บรรดามนุษย์ ชนผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย

ฝ่ายประชานอกนี้เลาะไปตามตลิ่งอย่างเดียว ก็ชน

เหล่าใดแล ประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่เรา

กล่าวชอบแล้ว ชนเหล่านั้นล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้ยาก

อย่างเอกแล้วจักถึงฝั่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 285

๑๑. บัณฑิตละธรรมดำแล้ว ออกจากอาลัย

อาศัยธรรม อันหาอาลัยมิได้แล้ว ควรเจริญธรรมขาว

ละกามทั้งหลายแล้ว หมดความกังวล พึงปรารถนา

ความยินดียิ่งในวิเวก อันเป็นที่ซึ่งประชายินดีได้ยาก

บัณฑิตควรทำตนให้ผ่องแผ้วจากเครื่องเศร้าหมอง

ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้ว โดยชอบ ในองค์ธรรม

แห่งความตรัสรู้ ( และ) ชนเหล่าใดไม่ถือมั่น

ยินดีในการละ เลิกความถือมั่น ชนเหล่านั้น ฯ

เป็นพระขีณาสพ รุ่งเรื่อง ดับสนิทแล้วในโลก.

จบบัณฑิตวรรคที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 286

๖. บัณฑิตวรรควรรณนา

๑. เรื่องพระราธเถระ [๖๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับ อยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภท่านพระราธะ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "นิธีนว ปวตฺตาร" เป็นต้น.

ราธพราหมณ์ซูบผอมเพราะไม่ได้บวช

ได้ยินว่า พระราธะนั้น ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ ได้เป็นพราหมณ์

ตกยากอยู่ในกรุงสาวัตถี. เขาคิดว่า " เราจักเลี้ยงชีพอยู่ในสำนักของ

ภิกษุทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว ไปสู่วิหาร ตายหญ้า กวาดบริเวณ ถวาย

วัตถุมีน้ำล้างหน้าเป็นต้น อยู่ในวิหารแล้ว. ภิกษุทั้งหลายได้สงเคราะห์

เธอแล้วก็ตาม, แต่ก็ไม่ปรารถนาจะให้บวช. เขาเมื่อไม่ได้บวช จึง

ซูบผอมแล้ว.

ราธพราหมณ์มีอุปนิสัยพระอรหัต

ภายหลังวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง

ทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์นั้นแล้ว ทรงใคร่ครวญอยู่ว่า "เหตุอะไร

หนอ ?" ดังนี้แล้ว ทรงทราบว่า "ราธพราหมณ์จักเป็นพระอรหันต์"

ในเวลาเย็น เป็นเหมือนเสด็จเที่ยวจาริกไปในวิหาร เสด็จไปสู่สำนักของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 287

พราหมณ์แล้วตรัสถามว่า "พราหมณ์ เธอเที่ยวทำอะไรอยู่ ?" เขา

กราบทูลว่า " ข้าพระองค์ทำวัตรปฏิวัตรแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ พระเจ้าข้า."

พระศาสดา. เธอได้การสงเคราะห์จากสำนักของภิกษุเหล่านั้น

หรือ ?

พราหมณ์. ได้พระเจ้าข้า, ข้าพระองค์ได้แต่เพียงอาหาร, แต่

ท่านไม่ให้ข้าพระองค์บวช.

พระสารีบุตรเป็นผู้กตัญญูกตเวที

พระศาสดารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเรื่องนั้นแล้ว ตรัส

ถามความนั้นแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ ระลึกถึงคุณของ

พราหมณ์นี้ได้ มีอยู่บ้างหรือ ?" พระสารีบุตรเถระกราบทูลว่า

"พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ระลึกได้, เมื่อข้าพระองค์เที่ยวบิณฑบาตอยู่ใน

กรุงราชคฤห์ พราหมณ์นี้ให้คนถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง ที่เขานำมาเพื่อตน,

ข้าพระองค์ระลึกถึงคุณของพราหมณ์นี้ได้." เมื่อพระศาสดาตรัสว่า

" สารีบุตร ก็การที่เธอเปลื้องพราหมณ์ผู้มีอุปการะอันกระทำแล้วอย่างนั้น

จากทุกข์ ไม่ควรหรือ ?" ท่านกราบทูลว่า " ดีละ พระเจ้าข้า, ข้า-

พระองค์จักให้เขาบวช" จึงให้พราหมณ์นั้นบวชแล้ว.

พราหมณ์บวชแล้วเป็นคนว่าง่าย

อาสนะที่สุดแห่งอาสนะในโรงฉันย่อมถึงแก่ท่าน. ท่านลำบากอยู่

ด้วยอาหารวัตถุมีข้าวยาคูและภัตเป็นต้น. พระเถระพาท่านหลีกไปสู่ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 288

จาริกแล้ว, กล่าวสอน พร่ำสอนท่านเนือง ๆ ว่า " สิ่งนี้ คุณควรทำ,

สิ่งนี้ คุณไม่ควรทำ " เป็นต้น. ท่านได้เป็นผู้ว่าง่าย มีปกติรับเอา

โอวาทโดยเคารพแล้ว, เพราะฉะนั้น เมื่อท่านปฏิบัติตามคำที่พระเถระ

พร่ำสอนอยู่ โดย ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว. พระเถระ

พาท่านไปสู่สำนักพระศาสดา ถวายบังคมนั่งแล้ว.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกะท่านแล้ว ตรัสว่า

" สารีบุตร อันเตวาสิกของเธอเป็นผู้ว่าง่ายแลหรือ ?"

พระเถระ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า. เธอเป็นผู้ว่าง่ายเหลือเกิน

เมื่อโทษไร ๆ ที่ข้าพระองค์แม้กล่าวสอนอยู่. ไม่เคยโกรธเลย.

พระศาสดา. สารีบุตร เธอเมื่อได้สัทธิวิหาริกเห็นปานนี้ จะพึง

รับได้ประมาณเท่าไร ?

พระเถระ. ข้าพระองค์พึงรับได้แม้มากทีเดียว พระเจ้าข้า.

พวกภิกษุสรรเสริญพระสารีบุตรและพระราธะ

ภายหลังวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า "ได้ยินว่า

พระสารีบุตรเถระเป็นผู้กตัญญูกตเวที ระลึกถึงอุปการะสักว่าภิกษาทัพพี

หนึ่ง ให้พราหมณ์ตกยากบวชแล้ว; แม้พระราธเถระก็เป็นผู้อดทนต่อ

โอวาท ย่อมได้ท่านผู้ควรแก่การให้โอวาทเหมือนกันแล้ว."

พระศาสดาทรงแสดงอลีนจิตตชาดก

พระศาสดาทรงสดับกถาของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, ถึงในกาลก่อน สารีบุตรเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 289

กตัญญูกตเวทีเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว เพื่อจะประกาศความนั้น จึงตรัส

อลีนจิตตชาดก ในทุกนิบาตนี้ ให้พิสดารว่า:-

" เสนาหมู่ใหญ่อาศัยเจ้าอลีนจิตตกุมาร ร่าเริง

ทั่วกันแล้ว ได้ให้ช้างจับพระเจ้าโกศลทั้งเป็น ผู้ไม่

พอพระทัยด้วยราชสมบัติ, ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยนิสัย

อย่างนี้ เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว เจริญ

กุศลธรรมอยู่, เพื่อบรรลุธรรมเป็นแดนเกษมจาก

โยคะ พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์

ทั้งปวงโดยลำดับ."

ได้ยินว่า ช้างตัวหนึ่งเที่ยวไปตัวเดียว รู้อุปการะที่พวกช่างไม้

ทำแล้วแก่ตน โดยภาวะคือทำเท้าให้หายโรค แล้วให้ลูกช้างตัวขาวปลอด

ในครั้งนั้น ได้เป็นพระสารีบุตรเถระแล้ว .

ภิกษุควรเป็นผู้ว่าง่ายอย่างพระราธะ

พระศาสดาครั้นตรัสชาดกปรารภพระเถระอย่างนั้นแล้ว ทรง

ปรารภพระราธเถระ ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุควรเป็น

ผู้ว่าง่ายเหมือนราธะ, แม้อาจารย์ชี้โทษกล่าวสอนอยู่ ก็ไม่ควรโกรธ

อนึ่ง ควรเห็นบุคคลผู้ให้โอวาท เหมือนบุคคลผู้บอกขุมทรัพย์ให้ฉะนั้น

ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑. ข. ชา. ๒๗/ข้อ ๑๖๑. อรรถกถา. ๓/๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 290

๑. นิธีนว ปวตฺตาร ย ปสฺเส วชฺชทสฺสิน

นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิส ปณฺฑิต ภเช

ตาทิส ภชมานสฺส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย

"บุคคลพึงเห็นผู้มีปัญญาใด ซึ่งเป็นผู้กล่าว

นิคคหะ ชี้โทษ ว่าเป็นเหมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้,

พึงคบผู้มีปัญญาเช่นนั้น ซึ่งเป็นบัณฑิต, ( เพราะว่า)

เมื่อคบท่านผู้เช่นนั้น มีแต่คุณอย่างประเสริฐ ไม่มี

โทษที่ลามก."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิธีน ได้แก่ หม้อแห่งขุมทรัพย์อัน

เต็มด้วยเงินทองเป็นต้น ซึ่งเขาฝังเก็บไว้ในที่นั้น ๆ

บทว่า ปวตฺตาร คือ เหมือนอย่างผู้ทำความอนุเคราะห์คนเข็ญใจ

ซึ่งเป็นอยู่โดยฝืดเคือง แล้วชักชวนว่า " ท่านจงมา, เราจักชี้อุบาย

เลี้ยงชีพโดยสะดวกแก่ท่าน" ดังนี้แล้ว นำไปยังที่ขุมทรัพย์แล้ว เหยียด

มือออกบอกว่า " ท่านจงถือเอาทรัพย์นี้เลี้ยงชีพตามสบายเถิด."

วินิจฉัยในบทว่า วชฺชทสฺสิน ภิกษุผู้ชี้โทษมี ๒ จำพวก คือ

ภิกษุคอยแส่หาโทษ ด้วยคิดว่า "เราจักข่มภิกษุนั้นด้วยมารยาทอันไม่

สมควร หรือด้วยความพลั้งพลาดอันนี้ในท่ามกลางสงฆ์" ดังนี้ จำพวก ๑,

ภิกษุผู้ดำรงอยู่แล้วตามสภาพ ด้วยสามารถแห่งการอุ้มชูด้วยการแลดูโทษ

นั้น ๆ เพื่อประโยชน์จะให้รู้สิ่งที่ยังไม่รู้ เพื่อต้องการจะได้ตามถือเอาสิ่ง

ที่รู้แล้ว เพราะความเป็นผู้ปรารถนาความเจริญแห่งคุณมีศีลเป็นต้นแก่ผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 291

นั้น จำพวก ๑; ภิกษุจำพวกหลังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์

ในบทว่า วชฺชทสฺสิน นี้. คนเข็ญใจถูกผู้อื่นคุกคามก็ดี ตีก็ดี ชี้ขุมทรัพย์

ให้ว่า "แกจงถือเอาทรัพย์นี้" ย่อมไม่ทำความโกรธ, มีแต่ปราโมทย์

อย่างเดียว ฉันใด; เมื่อบุคคลเห็นปานดังนั้น เห็นมารยาทมิบังควรก็ดี

ความพลั้งพลาดก็ดี แล้วบอกอยู่. ผู้รับบอกไม่ควรทำความโกรธ ควร

เป็นผู้ยินดีอย่างเดียว ฉันนั้น, ควรปวารณาทีเดียวว่า "ท่านเจ้าข้า

กรรมอันใหญ่ อันท่านผู้ตั้งอยู่ในฐานะเป็นอาจารย์ เป็นอุปัชฌาย์ ของ

กระผมแล้ว สั่งสอนอยู่กระทำแล้ว, แม้ต่อไป ท่านพึงโอวาทกระผม"

ดังนี้.

บทว่า นิคฺคยฺหวาทึ ความว่า ก็อาจารย์บางท่านเห็นมารยาท

อันมิบังควรก็ดี ความพลั้งพลาดก็ดี ของพวกศิษย์มีสัทธิวิหาริกเป็นอาทิ

แล้ว ไม่อาจเพื่อจะพูด ด้วยเกรงว่า "ศิษย์ผู้นี้อุปัฏฐากเราอยู่ด้วยกิจวัตร

มีให้น้ำบ้วนปากเป็นต้น แก่เรา โดยเคารพ; ถ้าเราจักว่าเธอไซร้,

เธอจักไม่อุปัฏฐากเรา, ความเสื่อมจักมีแก่เรา ด้วยอาการอย่างนี้" ดังนี้

ย่อมหาชื่อว่าเป็นผู้กล่าวนิคคหะไม่, เธอผู้นั้นชื่อว่าเรี่ยรายหยากเยื่อ,

ลงในศาสนานี้. ส่วนอาจารย์ใด เมื่อเห็นโทษปานนั้นแล้ว คุกคาม

ประณาม ลงทัณฑกรรม ไล่ออกจากวิหาร ตามสมควรแก่โทษ ให้ศึกษา

อยู่. อาจารย์นั้น ชื่อว่าผู้กล่าวนิคคหะ แม้เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธ-

เจ้า. สมจริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำนี้ไว้ว่า "ดูก่อนอานนท์

เราจักกล่าวข่ม ๆ, ดูก่อนอานนท์ เราจักกล่าวยกย่อง ๆ ผู้ใดเป็นสาระ,

ผู้นั้นจักดำรงอยู่ได้."

บทว่า เมธาวึ คือ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 292

บทว่า ตาทิส เป็นต้น ความว่า บุคคลพึงคบ คือพึงเข้าไปนั่ง

ใกล้ บัณฑิตเห็นปานนั้น, เพราะเมื่ออันเตวาสิกคบอาจารย์เช่นนั้นอยู่,

คุณอย่างประเสริฐย่อมมี โทษที่ลามกย่อมไม่มี คือมีแต่ความเจริญอย่าง

เดียว ไม่มีความเสื่อมเสีย.

ในที่สุดเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผล

เป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระราธเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 293

๒. เรื่องภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะ [๖๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุอัสสชิ

และปุนัพพสุกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โอวเทยฺยานุสาเสยฺย"

เป็นต้น . ก็เทศนาตั้งขึ้นแล้วที่กิฏาคีรี.

ภิกษุลามกต้องถูกปัพพาชนียกรรม

ดังได้สดับมา ภิกษุ ๒ รูปนั้น แม้เป็นสัทธิจะจาริกของพระ-

อัครสาวกก็จริง, ถึงอย่างนั้น เธอก็กลายเป็นอลัชชี เป็นภิกษุชั่ว.

ภิกษุ ๒ รูปนั้น เมื่ออยู่ที่กิฏาคีรี กับภิกษุ ๕๐๐ รูป ซึ่งเป็นบริวาร

ของตน (ล้วน ) เป็นผู้ชั่วช้า ทำอนาจารหลายอย่างหลายประการ

เป็นต้น ปลูกต้นไม้กระถางเองบ้าง ใช้ให้เขาปลูกบ้าง ทำกรรมแห่ง

ภิกษุผู้ประทุษร้ายตระกูล เลี้ยงชีพด้วยปัจจัยอันเกิดแต่กรรมนั้น ได้ทำ

อาวาสนั้นมิให้เป็นที่อยู่แห่งพวกภิกษุมีศีลเป็นที่รัก. พระศาสดาทรงสดับ

ข่าวนั้นแล้ว ตรัสเรียกพระอัครสาวกทั้งสองพร้อมด้วยบริวารมา เพื่อ

ทรงประสงค์ทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุพวกนั้นแล้ว ตรัสว่า "สารีบุตร

และโมคคัลลานะ เธอพากันไปเถิด. ในภิกษุเหล่านั้น เหล่าใดไม่เชื่อฟัง

คำของเธอ. จงทำปัพพาชนียกรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น; ส่วนเหล่าใดเชื่อฟัง

คำ, จงว่ากล่าวพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้น, ธรรมดาผู้ว่ากล่าวสอน ย่อมไม่เป็น

ที่รักของผู้ที่ไม่ใช่บัณฑิตเท่านั้น, แต่เป็นที่รักที่ชอบใจของบัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 294

ทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ตรัสพระ-

คาถานี้ว่า:-

๒. โอเทยฺยานุสาเสยฺย อสพฺภา จ นิวารเย

สต หิ โส ปิโย โหติ อสต โหติ อปฺปิโย.

"ผู้ใดพึงว่ากล่าว พึงสอน และพึงห้ามจาก

ธรรมของอสัตบุรุษ, ผู้นั้นแล ย่อมเป็นที่รักของ

สัตบุรุษทั้งกลาย, ไม่เป็นที่รักของพวกอสัตบุรุษ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โอวเทยฺย ความว่า เมื่อเกิดเรื่อง

ขึ้นแล้ว จึงกล่าว ชื่อว่าย่อมโอวาท, เมื่อยังไม่เกิดเรื่อง ชี้โทษอัน

ยังไม่มาถึง ด้วยสามารถเป็นต้นว่า "แม้โทษจะพึงมีแก่ท่าน" ดังนี้

ชื่อว่าย่อมอนุศาสน์; กล่าวต่อหน้า ชื่อว่าย่อมโอวาท, ส่งทูตหรือศาสน์

ไปในที่ลับหลัง ชื่อว่าย่อมอนุศาสน์. แม้กล่าวคราวเดียว ชื่อว่าย่อม

โอวาท, กล่าวบ่อย ๆ ชื่อว่าย่อมอนุศาสน์. อีกอย่างหนึ่งกำลังโอวาท

นั่นแล ชื่อว่าอนุศาสน์ พึงกล่าวสั่งสอนอย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อสพฺภา ความว่า พึงห้ามจากอกุศลธรรม พึงให้ตั้งอยู่

ในกุศลธรรม. บทว่า สต ความว่า บุคคลเห็นปานนี้นั้น ย่อมเป็น

ที่รักแห่งสัตบุรุษทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น; แต่ผู้ว่ากล่าว ผู้สั่งสอน

นั้น ย่อมไม่เป็นที่รักแห่งพวกที่ไม่เห็นธรรม มีปรโลกอันข้ามล่วงแล้ว

ผู้เห็นแก่อามิส บวชเพื่อประโยชน์แก่การเลี้ยงชีพเหล่านั้น ชื่อว่าอสัตบุรุษ

ผู้ทิ่มแทงด้วยหอกคือปากอย่างนั้นว่า " ท่านไม่ใช่อุปัชฌาย์อาจารย์ของพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 295

เรา, ว่ากล่าวพวกเราทำไม ?"

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้นแล้ว.

ฝ่ายพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ ไปที่กิฏาคีรีนั้น ว่ากล่าว

สั่งสอนภิกษุเหล่านั้นแล้ว. ในภิกษุเหล่านั้น บางพวกก็รับโอวาท ตั้งใจ

ประพฤติปฏิบัติ, บางพวกก็สึกไป, บางพวกต้องปัพพาชนียกรรม ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุอัสสชิและปุนัพพสุกะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 296

๓. เรื่องพระฉันนเถระ [๖๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระฉันนเถระ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ภเช ปาปเก มิตฺเต" เป็นต้น.

พระฉันนเถระด่าพระอัครสาวก

ดังได้สดับมา ท่านพระฉันนะนั้นด่าพระอัครสาวกทั้งสองว่า

"เราเมื่อตามเสด็จออกมหาเนษกรมณ์ กับพระลูกเจ้าของเราทั้งหลายใน

เวลานั้น มิได้เห็นผู้อื่นแม้สึกคนเดียว, แต่บัดนี้ ท่านพวกนี้เที่ยวกล่าวว่า

เราชื่อสารีบุตร, เราชื่อโมคลัลลานะ, พวกเราเป็นอัครสาวก." พระ-

ศาสดาทรงสดับข่าวนั้นแต่สำนักภิกษุทั้งหลายแล้ว รับสั่งให้หาพระฉันน-

เถระมา ตรัสสอนแล้ว. ท่านนิ่งในชั่วขณะนั้นเท่านั้น ยังกลับไปด่าพระ-

เถระทั้งหลายเหมือนอย่างนั้นอีก. พระศาสดารับสั่งให้หาท่านซึ่งกำลังด่า

มาแล้ว ตรัสสอนอย่างนั้นถึง ๓ ครั้งแล้ว ตรัสเตือนว่า "ฉันนะ ชื่อว่า

อัครสาวกทั้งสองเป็นกัลยาณมิตร เป็นบุรุษชั้นสูงของเธอ, เธอจงเสพ

จงคบกัลยาณมิตรเห็นปานนี้" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง

ธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓. น ภเช ปาปเก มิตฺเต น ภเช ปุริสาธเม

ภเชถ มิตฺเต กลฺยาเณ ภเชถ ปุริสุตฺตเม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 297

"บุคคลไม่ควรลบปาปมิตร ไม่ควรคบบุรุษต่ำช้า

ควรคบกัลยาณมิตร ควรคบบุรุษสูงสุด."

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า "คนผู้ยินดีในอกุศลกรรม มีกาย

ทุจริตเป็นต้น ชื่อว่าปาปมิตร, คนผู้ชักนำในเหตุอันไม่สมควร มีการ

ตัดช่องเป็นต้นก็ดี อันต่างโดยการแสวงหาไม่ควร ๒๑ อย่างก็ดี ชื่อว่า

บุรุษต่ำช้า. อนึ่ง ชน ๒ จำพวกนั้น ชื่อว่าเป็นทั้งปาปมิตร ทั้งบุรุษ

ต่ำช้า; บุคคลไม่ควรคบ คือไม่ควรนั่งใกล้เขาเหล่านั้น; ฝ่ายชนผู้ผิด

ตรงกันข้าม ชื่อว่าเป็นทั้งกัลยาณมิตร ทั้งสัตบุรุษ, บุคคลควรคบ คือ

ควรนั่งใกล้ท่านเหล่านั้น.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว.

พระศาสดาตรัสสั่งให้ลงพรหมทัณฑ์พระฉันนะ

ฝ่ายพระฉันนเถระ แม้ได้ฟังพระโอวาทแล้ว ก็ยังด่าขู่พวกภิกษุ

อยู่อีกเหมือนนัยก่อนนั่นเอง. แม้พวกภิกษุก็กราบทูลแด่พระศาสดาอีก.

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายังมีชีวิตอยู่ พวกเธอจักไม่อาจ

เพื่อให้ฉันนะสำเหนียกได้, แต่เมื่อเราปรินิพพานแล้ว จึงจักอาจ" ดังนี้

แล้ว, เมื่อท่านพระอานนท์ทูลถาม ในเวลาจวนจะเสด็จปรินิพพานว่า

"พระเจ้าข้า อันพวกข้าพระองค์จะพึงปฏิบัติในพระฉันนเถระอย่างไร ?

จึงตรัสบังคับว่า "อานนท์ พวกเธอพึงลงพรหมทัณฑ์แก่ฉันนภิกษุเถิด."

๑. ปรมัตถโชติกา หน้า ๒๖๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 298

พระฉันนะนั้น เมื่อพระศาสดาเสด็จปรินิพพานแล้ว ได้ฟัง

พรหมทัณฑ์ ที่พระอานนทเถระยกขึ้นแล้ว มีทุกข์ เสียใจ ล้มสลบ

ถึง ๓ ครั้ง แล้ววิงวอนว่า " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านอย่าให้กระผม

ฉิบหายเลย" ดังนี้แล้ว บำเพ็ญวัตรอยู่โดยชอบ ต่อกาลไม่นานนัก

ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระฉันนเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 299

๔. เรื่องพระมหากัปปินเถระ [๖๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพรพะเชตวัน ทรงปรารภพระมหา-

กัปปินเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ธมฺมปีติ สุข เสติ" เป็นต้น.

ในเรื่องนั้น มีอนุบุพพีกถา ดังต่อไปนี้ :-

พระปัจเจกพุทธเจ้าทูลขอหัตถกรรมทำเสนาสนะ

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ท่านพระมหากัปปินะ มีอภินิหารได้ทำไว้

แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ท่องเที่ยวอยู่ใน

สงสาร เกิดเป็นนายช่างหูกผู้เป็นหัวหน้า ในบ้านช่างหูกแห่งหนึ่งในที่

ไม่ไกลแต่กรุงพาราณสี. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณพันองค์

อยู่ในหิมวันตประเทศ ๘ เดือน อยู่ในชนบท ๔ เดือนอันเป็นฤดูฝน.

คราวหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น พักอยู่ในที่ไม่ไกลแต่กรุงพาราณสี

แล้วส่งพระปัจเจกพุทธเจ้า ๒ รูปไปยังสำนักพระราชาด้วยคำว่า "ท่าน

ทั้งหลายจงทูลขอหัตถกรรมเพื่อประโยชน์แก่การทำเสนาสนะ." ก็ในกาล

นั้น เป็นคราววัปปมงคลแรกนาขวัญของพระราชา. ท้าวเธอทรงสดับว่า

"ได้ยินว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมา" จึงเสด็จออกไป ตรัสถามถึง

เหตุที่มา แล้วตรัสว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ วันนี้ยังไม่มีโอกาส, (เพราะ)

พรุ่งนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายจะมีการมงคลแรกนาขวัญ, ข้าพเจ้าจักทำใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 300

วันที่ ๓ ไม่ทรงอาราธนาพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไว้เลย เสด็จเข้าไป

แล้ว. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายคิดว่า " เราทั้งหลายจักเข้าไปสู่บ้าน

อื่น" หลีกไปแล้ว.

พวกบ้านช่างหูกทำบุญ

ในขณะนั้น ภรรยาของนายช่างหูกผู้หัวหน้า ไปสู่กรุงพาราณสี

ด้วยกิจบางอย่าง เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น นมัสการแล้วถามว่า

"ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้ามาในกาลมิใช่เวลา เพราะเหตุไร ?" ได้

ทราบความเป็นไปนั้นตั้งแต่ต้น เป็นหญิงมีศรัทธา ถึงพร้อมด้วยปัญญา

นิมนต์ว่า " ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายจงรับภิกษาของดิฉันทั้งหลาย

ในวันพรุ่งนี้."

พระปัจเจก. น้องหญิง พวกเรามีมาก.

หญิง. มีประมาณเท่าไร ? เจ้าข้า.

พระปัจเจก. มีประมาณพันรูป น้องหญิง.

หญิงนั้นกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ พวกดิฉันมีประมาณพันคน อยู่

ในบ้านนี้, คนหนึ่ง ๆ จักถวายภิกษาแด่พระผู้เป็นเจ้ารูปหนึ่ง ๆ ขอท่าน

ทั้งหลาย จงรับภิกษาเถิด, ดิฉันคนเดียวจักให้ทำแม้ที่อยู่แก่ท่านทั้งหลาย."

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายรับ (อาราธนา ) แล้ว. นางเข้าไปสู่บ้าน

ป่าวร้องว่า "เราเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้าประมาณพันองค์ นิมนต์ไว้แล้ว,

ท่านทั้งหลายจงจัดแจงที่เป็นที่นั่งแด่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย, จงจัดอาหาร

วัตถุทั้งหลายมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้น แด่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเถิด"

แล้วให้สร้างปะรำในท่ามกลางบ้าน ลาดอาสนะไว้ในวันรุ่งขึ้น จึงให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 301

นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายนั่ง อังคาสด้วยโภชนะอันประณีต ใน

เวลาเสร็จภัตกิจ จึงพาหญิงทั้งหมดในบ้านนั้น พร้อมกับหญิงเหล่านั้น

นมัสการพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว รับเอาปฏิญญาเพื่อประโยชน์แก่

การอยู่ตลอดไตรมาส แล้วป่าวร้องชาวบ้านอีกว่า "แม่และพ่อทั้งหลาย

บุรุษคนหนึ่ง ๆ แต่ตระกูลหนึ่ง ๆ จงถือเอาเครื่องมือมีมีดเป็นต้น เข้าไป

สู่ป่า นำเอาทัพสัมภาระมาสร้างที่เป็นที่อยู่ของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย."

พวกชาวบ้านตั้งอยู่ในถ้อยคำของนางแล้ว คนหนึ่ง ๆ ทำที่แห่ง

หนึ่ง ๆ แล้วให้สร้างศาลามุงด้วยใบไม้พันหลัง พร้อมกับที่พักกลางคืน

และกลางวัน แล้วอุปัฏฐากพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เข้าจำพรรษาในบรรณ-

ศาลาของตน ๆ ด้วยตั้งใจว่า " เราจักอุปัฏฐากโดยเคารพ. เราจักอุปัฏฐาก

โดยเคารพ."

ในเวลาออกพรรษาแล้ว นางชักชวนว่า "ท่านทั้งหลายาจง

ตระเตรียมผ้าเพื่อจีวร ( ถวาย ) แด่พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายผู้อยู่

จำพรรษาในบรรณศาลาของตน ๆ เถิด," แล้วให้ถวายจีวรมีค่าพันหนึ่ง

แด่พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ๆ. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายออก

พรรษาแล้ว ทำอนุโมทนาแล้วก็หลีกไป.

อานิสงส์ทานนำให้เกิดในดาวดึงส์

แม้พวกชาวบ้าน ครั้นทำบุญนี้แล้ว จุติจากอัตภาพนั้นแล้วเกิด

ในภพดาวดึงส์ ได้มีความว่าคณะเทวบุตรแล้ว. เทวบุตรเหล่านั้น เสวย

ทิพยสมบัติในภพดาวดึงส์นั้น ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 302

นามว่ากัสสปะ (มา) เกิดในเรือนของกุฎุมพี ในกรุงพาราณสี. หัวหน้า

ช่างหูกได้เป็นบุตรของกุฎุมพีผู้ใหญ่. ฝ่ายภรรยาของเขา ก็ได้เป็นธิดา

ของกุฎุมพีผู้ใหญ่เหมือนกัน. หญิงเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ถึงควานเจริญวัย

แล้ว เมื่อจะไปสู่ตระกูลสามี ก็ได้ไปสู่เรือนของบุรุษเหล่านั้นนั่นแล.

กุฎุมพีถวายมหาทาน

ต่อมาวันหนึ่ง เขาป่าวร้องการฟังธรรมในวิหาร กุฎุมพีเหล่านั้น

แม้ทั้งหมด ได้ยินว่า "พระศาสดาจะทรงแสดงธรรม ปรึกษากันว่า

" เราทั้งหลายจักฟังธรรม" แล้วได้ไปสู่วิหารกับภรรยา. ในขณะที่ชน

เหล่านั้น เข้าไปสู่ท่ามกลางวิหาร ฝนได้ตั้งเค้าแล้ว. บรรพชิตทั้งหลาย

มีสามเณรเป็นต้น ผู้เป็นกุลุปกะหรือเป็นญาติของชนเหล่าใดมีอยู่; ชน

เหล่านั้นก็เข้าไปสู่บริเวณของบรรพชิตเหล่านั้น. แต่กุฎุมพีเหล่านั้นไม่

อาจจะเข้าไปในที่ไหน ๆ ได้ เพราะความที่กุลุปกะหรือญาติเห็นปานนั้น

ไม่มี ได้ยืนอยู่ท่ามกลางวิหารนั่นเอง.

ลำดับนั้น กุฎุมพีผู้เป็นหัวหน้า จึงกล่าวกะกุฎุมพีผู้บริวารเหล่า

นั้นว่า "ท่านทั้งหลาย จงดูอาการอันน่าเกลียดของพวกเรา, ธรรมดา

กุลบุตรทั้งหลาย ละอายด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ สมควรแล้ว."

บริวาร. นาย พวกเราจะทำอย่างไรเล่า ?

กุฎุมพี. พวกเราถึงอาการอันน่าเกลียดนี้ เพราะไม่มีสถานที่ซึ่งมี

คนคุ้นเคยกัน, เราทั้งหมดรวมทรัพย์กัน สร้างบริเวณเถอะ.

บริวาร. ดีละ นาย.

คนผู้หัวหน้า ได้ให้ทรัพย์พันหนึ่ง, ชนที่เหลือให้คนละ ๕๐๐,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 303

พวกหญิงให้คนละ ๒๕๐. ชนเหล่านั้นรวบรวมทรัพย์นั้นแล้วเริ่ม ( สร้าง )

ชื่อบริเวณใหญ่ เพื่อประโยชน์เป็นที่ประทับของพระศาสดาซึ่งมีเรือนยอด

พันหลังเป็นบริวาร. เมื่อทรัพย์ไม่เพียงพอ เพราะความที่นวกรรมเป็น

งานใหญ่, จึงได้ออกอีกคนละกึ่ง จากทรัพย์ที่ตนให้แล้วในก่อน. เมื่อ

บริเวณเสร็จแล้ว. ชนเหล่านั้นเมื่อจะทำการฉลองวิหาร จึงถวายมหาทาน

แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด ๗ วัน แล้วจัดจีวรเพื่อภิกษุ

สองหมื่นรูป.

ภรรยาของกุฎุมพีถวายดอกอังกาบ

ฝ่ายภรรยาของกุฎุมพีผู้เป็นหัวหน้า ไม่ทำให้มีส่วนเสมอด้วยชน

ทั้งหมด ตั้งอยู่ด้วยปัญญาของตน คิดว่า "เราจักบูชาพระศาสดาทำให้

ยิ่ง (กว่าเขา)" จึงถือเอาผอบดอกอังกาบ กับผ้าสาฎกมีสีดังดอกอังกาบ

ราคาพันหนึ่ง ในเวลาอนุโมทนา บูชาพระศาสดาด้วยดอกอังกาบแล้ว

วางผ้าสาฎกนั้นไว้ แทบบาทมูลของพระศาสดาตั้งความปรารถนาว่า

" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอสรีระของหม่อมฉันจงมีสีดุจดอกอังกาบนี้แหละ

ในที่หม่อมฉันเกิดแล้ว ๆ, และขอหม่อมฉันจงมีนามว่า อโนชา นั้นแล."

พระศาสดาได้ทรงทำอนุโมทนาว่า "จงสำเร็จอย่างนั้นเถิด."

กุฎุมพีภรรยาและบริวารเกิดในราชตระกูล

ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ดำรงอยู่จนตลอดอายุแล้ว จุติจากอัตภาพ

นั้นแล้วก็เกิดในเทวโลก ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากเทวโลกแล้ว.

กุฎุมพีผู้เป็นหัวหน้าเกิดในราชตระกูล ในกุกกุฏวดีนคร ถึงความเจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 304

วัยแล้ว ได้เป็นพระราชาพระนามว่า พระเจ้ามหากัปปินะ, ชนที่เหลือ

วัยเกิดในตระกูลอำมาตย์; ภรรยาของกุฎุมพีผู้เป็นหัวหน้าเกิดในราชตระกูล

ในสาคลนคร ในมัททรัฐ, พระนางได้มีพระสรีระเช่นกับสีดอกอังกาบ

นั่นเทียว, พระญาติขนานพระนามแก่พระนางว่า " อโนชา" นั่นแล.

พระนางทรงถึงความเจริญวัยแล้ว ก็ไปสู่พระราชมณเฑียรของพระเจ้า

กัปปินะ ได้เป็นพระเทวีมีพระนามว่าอโนชาแล้ว, แม้หญิงทั้งหลายที่เหลือ

เกิดในตระกูลอำมาตย์ทั้งหลายถึงความเจริญวัยแล้ว ก็ได้ไปสู่เรือนแห่ง

บุตรอำมาตย์เหล่านั้นเหมือนกัน. ชนเหล่านั้นแม้ทุกคน ได้เสวยสมบัติ

เช่นกับสมบัติของพระราชา. ในกาลใด พระราชาทรงประดับ เครื่องอลัง-

การทั้งปวง ทรงช้างเที่ยวไป; ในกาลนั้น แม้ชนเหล่านั้นก็เที่ยวไปเหมือน

อย่างนั้น. เมื่อพระราชาเสด็จเที่ยวไปด้วยม้าหรือด้วยรถ, แม้ชนเหล่านั้น

ก็เที่ยวไปเหมือนอย่างนั้น. ชนเหล่านั้นเสวยสมบัติร่วมกัน ด้วยอานุภาพ

แห่งบุตรที่ทำร่วมกัน ด้วยประการฉะนี้.

ก็ม้าของพระราชามีอยู่ ๕ ตัว คือ " ม้าชื่อพละ ๑ พลวาหนะ ๑

ปุปผะ ๑ ปุปผวาหนะ ๑ สุปัตตะ ๑. บรรดาม้าเหล่านั้น ม้าชื่อ

สุปัตตะ พระราชาทรงเอง. ม้า ๔ ตัว นอกนี้ ได้พระราชทานแก่พวกม้า

ใช้ เพื่อประโยชน์นำข่าวสารมา.

พระราชาให้สืบข้าวพระรัตนตรัย

พระราชาให้ม้าใช้เหล่านั้น บริโภคแต่เช้าตรู่แล้ว ทรงส่งไปด้วย

พระดำรัสว่า "พวกท่านไปเถิด, เที่ยวไป ๒ หรือ ๓ โยชน์แล้วทราบ

ว่าพระพุทธ พระธรรม หรือพระสงฆ์อุบัติแล้ว จงนำข่าวที่ให้เกิดสุข

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 305

มาแก่เรา." ม้าใช้เหล่านั้น ออกโดยประตูทั้ง ๔ เที่ยวไปได้ ๒-๓ โยชน์

ไม่ได้ข่าวแล้วก็กลับ.

พระราชาได้ข่าวพระรัตนตรัยจากพ่อค้าม้า

ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาทรงม้าชื่อสุปัตตะ อันอำมาตย์พันหนึ่ง

แวดล้อม เสด็จไปพระราชอุทยาน ทอดพระเนตรเห็นพวกพ่อค้าประมาณ

๕๐๐ ผู้มีร่างกายอ่อนเพลียกำลังเข้าสู่พระนคร แล้วทรงดำริว่า "ชนเหล่านี้

ลำบากในการเดินทางไกล. เราจักได้ฟังข่าวดีอย่างหนึ่งจากสำนักแห่งชน

เหล่านี้เป็นแน่ " จึงรับสั่งให้เรียกพ่อค้าเหล่านั้นมาแล้วตรัสถามว่า "ท่าน

ทั้งหลายมาจากเมืองไหน ?"

พ่อค้า. พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์มาจากนครชื่อสาวัตถีซึ่งมีอยู่

ในที่สุดประมาณ ๑๒๐ โยชน์ แต่พระนครนี้.

พระราชา. ก็ข่าวอะไร ๆ อุบัติขึ้นในประเทศของพวกท่านมี

อยู่หรือ ?

พ่อค้า. พระเจ้าข้า ข่าวอะไร ๆ อย่างอื่นไม่มี, แต่พระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว.

พระราชามีพระสรีระอันปีติมีวรรณะ ๕ ถูกต้องแล้ว ในทันใด

นั้นนั่นเอง ไม่อาจเพื่อจะกำหนดอะไร ๆ ได้ ทรงยับยั้งอยู่ครู่หนึ่งแล้ว

ตรัสถามว่า "พวกท่านกล่าวอะไร ? พ่อ. " พวกพ่อค้ากราบทูลว่า

" พระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว." แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓

พระราชาก็ทรงยับยั้งอยู่เหมือนอย่างนั้น, ในวาระที่ ๔ ตรัสถามว่า พวก

ท่านกล่าวอะไร ? พ่อ" เมื่อพ่อค้าเหล่านั้น กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 306

พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว." จึงตรัสว่า "พ่อทั้งหลาย เราให้ทรัพย์

แก่พวกท่านแสนหนึ่ง " แล้วตรัสถามว่า "ข่าวอะไร ๆ แม้อื่นอีก มี

อยู่หรือ ? พ่อ." พวกพ่อค้ากราบทูลว่า " มีอยู่ พระเจ้าข้า, พระธรรม

อุบัติขึ้นแล้ว." พระราชาทรงสดับแม้คำนั้นแล้ว ทรงยับยังอยู่ตลอด ๓

วาระโดยนัยก่อนนั่นแล. ในวาระที่ ๔ เมื่อพวกพ่อค้ากราบทูลบทว่า

" ธมฺโม " จึงตรัสว่า "แม้ในเพราะบทนี้ เราให้ทรัพย์แก่พวกท่าน

แสนหนึ่ง " แล้วตรัสถามว่า " ข่าวแม้อื่นอีก มีอยู่หรือ ? พ่อ." พวก

พ่อค้ากราบทูลว่า " พระเจ้าข้า มีอยู่, พระสังฆรัตนะอุบัติขึ้นแล้ว."

พระราชาทรงสดับแม้คำนั้นแล้วทรงยับยั้งอยู่ตลอด ๓ วาระอย่างนั้นเหมือน

กัน, ในวาระที่ ๔ เมื่อพวกพ่อค้ากราบทูลบทว่า " สงฺโฆ " จึงตรัสว่า

" แม้ในเพราะบทนี้ เราให้ทรัพย์แก่พวกท่านแสนหนึ่ง " แล้วทรงแลดู

อำมาตย์พ้นหนึ่งตรัสถามว่า "พ่อทั้งหลาย พวกท่านจักทำอย่างไร ?"

อำมาตย์. พระเจ้าข้า พระองค์จักทรงทำอย่างไรเล่า ?

พระราชา. พ่อทั้งหลาย เราได้สดับว่า ' พระพุทธเจ้าทรงอุบัติ

ขึ้นแล้ว, พระธรรมอุบัติขึ้นแล้ว, พระสงฆ์อุบัติขึ้นแล้ว จักไม่กลับ

อีก, เราจักอุทิศต่อพระศาสดาไปบวชในสำนักของพระองค์.

อำมาตย์. แม้ข้าพระองค์ทั้งหลาย ก็จักบวชพร้อมด้วยพระองค์

พระเจ้าข้า.

พระราชาออกผนวชพร้อมกับอำมาตย์

พระราชารับสั่งให้เจ้าพนักงานอาลักษณ์จารึกอักษรลงในแผ่นทอง

แล้ว ตรัสกะพวกพ่อค้าว่า "พระเทวีพระนามว่าอโนชา จักพระราช-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 307

ทานทรัพย์ ๓ แสนแก่พวกท่าน; ก็แลพวกท่านพึงทูลอย่างนี้ว่า 'ได้

ยินว่า พระราชาทรงสละความเป็นใหญ่ถวายพระองค์แล้ว, พระองค์จง

เสวยสมบัติตามสบายเถิด; ก็ถ้าพระเทวีจักตรัสถามพวกท่านว่า 'พระราชา

เสด็จไปที่ไหน ?" พวกท่านพึงทูลว่า 'พระราชาตรัสว่าจักบวชอุทิศ

พระศาสดา" แล้วก็เสด็จไป

แม้อำมาตย์ทั้งหลายก็ส่งข่าวไปแก่ภรรยาของตน ๆ อย่างนั้นเหมือน

กัน. พระราชาทรงส่งพวกพ่อค้าไปแล้ว อันอำมาตย์พันหนึ่งแวดล้อม

เสด็จออกไปในขณะนั้นนั่นแล.

ในวันนั้น แม้พระศาสดาเมื่อทรงตรวจดูสัตวโลกในกาลใกล้รุ่ง

ได้ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้ามหากัปปินะพร้อมทั้งบริวาร ทรงดำริว่า

" พระเจ้ามหากัปปินะนี้ ได้ทรงสดับความที่รัตนะ ๓ อุบัติขึ้นแต่สำนัก

ของพวกพ่อค้าแล้ว ทรงบูชาคำของพ่อค้าเหล่านั้นด้วยทรัพย์ ๓ แสน

ทรงสละราชสมบัติ อันอำมาตย์พันหนึ่งแวดล้อม ทรงประสงค์เพื่อจะ

ผนวช อุทิศเรา จักเสด็จออกไปในวันพรุ่งนี้, ท้าวเธอพร้อมทั้งบริวาร

จักบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย, เราจักทำการต้อนรับ

ท้าวเธอ" ดังนี้แล้ว ในวันรุ่งขึ้น ทรงบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง

ทีเดียว เสด็จต้อนรับสิ้นทาง ๑๒๐ โยชน์ ดุจพระเจ้าจักรพรรดิทรง

ต้อนรับกำนันฉะนั้น ประทับนั่งเปล่งพระรัศมี มีวรรณะ ๖ ภายใต้โคน

ต้นนิโครธริมฝั่งแม่น้ำจันทภาคานที.

ฝ่ายพระราชาเสด็จมาถึงแม่น้ำแห่งหนึ่งแล้ว ตรัสถามว่า "นี่ชื่อ

แม่น้ำอะไร ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 308

อำมาตย์. ชื่ออารวปัจฉานที พระเจ้าข้า.

พระราชา. พ่อทั้งหลาย แม่น้ำนี้ประมาณเท่าไร ?

อำมาตย์. โดยลึก คาวุตหนึ่ง, โดยกว้าง ๒ คาวุต พระเจ้าข้า.

พระราชา. ก็ในแม่น้ำนี้ เรือหรือแพมีไหม ?

อำมาตย์. ไม่มี พระเจ้าข้า.

พระราชาตรัสว่า " เมื่อเราทั้งหลายมัวหายานมีเรือเป็นต้น, ชาติ

ย่อมนำไปสู่ชรา, ชราย่อมนำไปสู่มรณะ, เราไม่มีความสงสัย ออกบวช

อุทิศพระรัตนตรัย. ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้น น้ำนี้ อย่าได้

เป็นเหมือนน้ำเลย" ดังนี้แล้ว ทรงระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ระลึกถึง

พุทธานุสสติว่า " แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็น

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า" เป็นต้น พร้อมทั้งบริวารเสด็จไปบน

หลังน้ำด้วยม้าพันหนึ่ง. ม้าสินธพทั้งหลายก็วิ่งไป ดุจวิ่งไปบนหลังแผ่น

หิน. ปลายกีบก็ไม่เปียก.

พระราชาเสด็จข้ามแม่น้ำแล้ว เสด็จไปข้างหน้า ทอดพระเนตร

เห็นแม่น้ำอื่นอีก จึงตรัสถามว่า "แม่น้ำนี้ชื่ออะไร ?"

อำมาตย์. ชื่อนีลวาหนานที พระเจ้าข้า.

พระราชา. แม่น้ำนี้ประมาณเท่าไร ?"

อำมาตย์. ทั้งส่วนลึก ทั้งส่วนกว้าง ประมาณกึ่งโยชน์พระเจ้าข้า.

คำที่เหลือก็เช่นกับคำก่อนนั้นแล.

ก็พระราชา ทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำนั้นแล้ว ทรงระลึกถึงธรรมา-

นุสสติว่า "พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว" เป็นต้นเสด็จไป

๑. ถ้าบาลีเป็น อคฺคาเนว เตมึสุ ก็แปลว่า ปลายกีบเท่านั้น เปียกน้ำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 309

แล้ว. ครั้นเสด็จข้ามแม่น้ำแม่นั้นไปได้แล้ว ทอดพระเนตรเห็นแม้แม่น้ำ

อื่นอีก จึงตรัสถามว่า "แม่น้ำนี้ชื่ออะไร ?"

อำมาตย์. แม่น่านี้ชื่อว่าจันทภาคานที พระเจ้าข้า.

พระราชา. แม่น้ำนี้ประมาณเท่าไร ?

อำมาตย์. ทั้งส่วนลึก ทั้งส่วนกว้าง ประมาณโยชน์หนึ่ง พระ-

เจ้าข้า.

คำที่เหลือก็เหมือนกับคำก่อนนั่นแล.

ส่วนพระราชาทอดพระเนตรเห็นแม่น้ำนี้แล้ว ทรงระลึกถึงสังฆา-

นุสสติว่า "พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว"

เป็นต้น เสด็จไปแล้ว. ก็เมื่อเสด็จข้ามแม่น้ำนั้นไป ได้ทอดพระเนตร

เห็นพระรัศมีมีวรรณะ ๖ แต่พระสรีระของพระศาสดา. กิ่งค่าคบ และใบ

แห่งต้นนิโครธ ได้เป็นราวกะว่าสำเร็จด้วยทองคำ.

พระราชาและอำมาตย์ได้บรรลุคุณวิเศษ

พระราชาทรงดำริว่า " แสงสว่างนี้ ไม่ใช่แสงจันทร์, ไม่ใช่แสง

อาทิตย์, ไม่ใช่แสงสว่างแห่งเทวดา มาร พรหม นาค ครุฑเป็นต้น

ผู้ใดผู้หนึ่ง เราอุทิศพระศาสดามาอยู่ จักเป็นผู้อันพระมหาโคดมพุทธเจ้า

ทรงเห็นแล้วโดยแน่แท้." ในทันใดนั้นนั่นแล ท้าวเธอเสด็จลงจาก

หลังม้าทรงน้อมพระสรีระ เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ตามสายพระรัศมี เสด็จ

เข้าไปภายในแห่งพระพุทธรัศมี ราวกะว่าดำลงไปในมโนสิลารส ถวาย

บังคมพระศาสดาแล้ว ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งพร้อมกับอำมาตย์

พันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 310

พระศาสดาทรงแสดงอนุปุพพีกถาแล้ว. ในเวลาจบเทศนาพระราชา

พร้อมด้วยบริวาร ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. ลำดับนั้นชนเหล่านั้น

ทั้งหมด ลุกขึ้นทูลขอบรรพชาแล้ว.

พระศาสดาทรงใคร่ครวญว่า "บาตรจีวรสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ของ

กุลบุตรเหล่านี้ จักมาหรือหนอแล ?" ทรงทราบว่า " กุลบุตรเหล่านี้

ได้ถวายจีวรพันผืน ได้พระปัจเจกพุทธเจ้าพันองค์, ในกาลแห่งพระ-

พุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ได้ถวายจีวรสองหมื่น แม้แก่ภิกษุสองหมื่นรูป,

ความมาแห่งบาตรและจีวรอันสำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ของกุลบุตรเหล่านี้ ไม่น่า

อัศจรรย์" ดังนี้แล้ว ทรงเหยียดพระหัตถ์ขวา ตรัสว่า " ท่านทั้งหลาย

จงเป็นภิกษุมาเถิด. ท่านทั้งหลายจงประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุด

ทุกข์โดยชอบเถิด." ทันใดนั้นนั่นเองกุลบุตรเหล่านั้นเป็นราวกะพระเถระ

มีพรรษาตั้ง ๑๐๐ ทรงบริขาร ๘ เหาะขึ้นสู่เวหาส กลับลงมาถวาย

บังคมพระศาสดานั่งอยู่แล้ว.

พระนางอโนชาเทวีเสด็จออกผนวช

ฝ่ายพ่อค้าเหล่านั้นไปสู่ราชตระกูลแล้ว ให้เจ้าหน้าที่กราบทูลข่าวที่

พระราชาทรงส่งไป. เมื่อพระเทวีรับสั่งว่า "จงมาเถิด" เข้าไปถวาย

บังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระเทวีตรัสถาม

พ่อค้าเหล่านั้นว่า " พ่อทั้งหลาย พวกท่านมาเพราะเหตุอะไร ?"

พ่อค้า. พระราชาทรงส่งพวกข้าพระองค์มายังสำนักของพระองค์,

นัยว่า ขอพระราชทานทรัพย์ ๓ แสนแก่พวกข้าพระองค์.

พระเทวี. พ่อทั้งหลาย พวกท่านพูดมากเกินไป, พวกท่านทำอะไร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 311

แก่พระราชา. พระราชาทรงเลื่อมใสในอะไรของพวกท่านจึงรับสั่งให้

พระราชทานทรัพย์มีประมาณเท่านี้ ?

พ่อค้า. พระเจ้าข้า อะไรๆ อย่างอื่น พวกข้าพระองค์มิได้ทำ,

แต่พวกข้าพระองค์ได้กราบทูลข่าวแด่พระราชา.

พระเทวี. พ่อทั้งหลาย ก็พวกท่านสามารถบอกแก่เราบ้างได้ไหม ?

พ่อค้า. ได้ พระเจ้าข้า.

พระเทวี. พ่อทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกท่านจงบอก.

พ่อค้า. พระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลก.

แม้พระเทวีทรงสดับคำนั้นแล้ว มีพระสรีระอันปีติถูกต้องแล้ว

โดยนัยก่อนนั่นแล ทรงกำหนดอะไร ๆ ไม่ได้ถึง ๓ ครั้ง, ในวาระที่ ๔

ทรงสดับบทว่า "พุทฺโธ" แล้วจึงตรัสว่า "พ่อทั้งหลายในเพราะ

บทนี้ พระราชาพระราชานอะไร ?"

พ่อค้า. ทรัพย์แสนหนึ่ง พระเจ้าข้า.

พระเทวี. พ่อทั้งหลาย พระราชาทรงสดับข่าวเห็นปานนี้แล้วพระ-

ราชทานทรัพย์แสนหนึ่งแก่ท่านทั้งหลาย ( ชื่อว่า) ทรงกระทำไม่สมกัน

เลย, แต่เราจะให้แก่พวกท่าน ๓ แสน ในเพราะของกำนัลอันขัดสน

ของเรา. ข่าวอะไรอีก ? ที่ท่านทั้งหลายกราบทูลแล้ว.

พ่อค้าเหล่านั้นกราบทูลข่าว ๒ อย่าง แม้อื่นอีกว่า "ข่าวอย่าง

นี้ แลอย่างนี้."

พระเทวีมีพระสรีระอันปีติถูกต้องแล้ว โดยนัยก่อนนั้นแล ทรง

กำหนดอะไร ๆ ไม่ได้ถึง ๓ ครั้ง, ในครั้งที่ ๔ ทรงสดับอย่างนั้นเหมือน

กันแล้ว รับสั่งให้พระราชทานทรัพย์ครั้งละ ๓ แสน. พ่อค้าเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 312

ได้ทรัพย์ทั้งหมดเป็น ๑๒ แสน ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระเทวีตรัสถามพ่อค้าเหล่านั้นว่า "พ่อทั้งหลาย พระ-

ราชาเสด็จไปไหน ?"

พ่อค้า. พระเจ้าข้า พระราชารับสั่งว่า "เราจักบวชอุทิศพระ-

ศาสดา" แล้วก็เสด็จไป.

พระเทวี. ข่าวอะไร ? ที่พระองค์พระราชทานแก่เรา.

พ่อค้า. นัยว่า พระองค์ทรงสละความเป็นใหญ่ทั้งหมด ถวาย

พระองค์. นัยว่า พระองค์จงเสวยสมบัติตามพระประสงค์เถิด.

พระเทวี. ก็พวกอำมาตย์ไปไหน ? พ่อ.

พ่อค้า. แม้อำมาตย์เหล่านั้นกล่าวว่า เราจักบวชกับพระราชา

เหมือนกัน' แล้วก็ไป พระเจ้าข้า.

พระนาง รับสั่งให้เรียกภรรยา ของอำมาตย์เหล่านั้นมาและตรัสว่า

"แม่ทั้งหลาย สามีของพวกเจ้า กล่าวว่า 'เราจักบวชกับพระราชา'

แล้วก็ไป, พวกเจ้าจักทำอย่างไร?"

หญิง. พระเจ้าข้า ก็ข่าวอะไร ? ที่พวกเขาส่งมาเพื่อพวกหม่อมฉัน .

พระเทวี. ได้ยินว่า อำมาตย์เหล่านั้น สละสมบัติของตน ๆ แก่

พวกเจ้าแล้ว. ได้ยินว่า พวกเจ้าจงบริโภคสมบัตินั้นตามชอบใจเถิด.

หญิง. ก็พระองค์จักทรงทำอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า.

พระเทวี แม่ทั้งหลาย ทีแรก พระราชานั้นทรงสดับข่าวแล้ว

ประทับยืนในหนทางเทียว ทรงบูชาพระรัตนตรัยด้วยทรัพย์ ๓ แสน

ทรงสละสมบัติดุจก้อนน้ำลาย ตรัสว่า เราจักบวช แล้วเสด็จออกไป;

ส่วนเราได้ฟังข่าวพระรัตนตรัยแล้ว บูชาพระรัตนตรัยด้วยทรัพย์ ๙ แสน;

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 313

ก็แล ชื่อว่าสมบัตินี้ มิได้นำทุกข์มาแต่พระราชาเท่านั้น. ย่อมเป็นเหตุ

นำทุกข์มา แม้แก่เราเหมือนกัน, ใครจักคุกเข่ารับเอาก้อนน้ำลายที่

พระราชาทรงบ้วนทิ้งแล้วด้วยปากเล่า ? เราไม่ต้องการด้วยสมบัติ, แม้

เราก็จักไปบวชอุทิศพระศาสดา.

หญิง. พระเจ้าข้า แม้พวกหม่อมฉันก็จักบวชกับพระองค์เหมือนกัน

พระเทวี. ถ้าพวกเจ้าอาจ. ก็ดีละแม่.

หญิง. อาจ พระเจ้าข้า.

พระเทวี ตรัสว่า "ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงมา " ดังนี้แล้ว รับสั่ง

ให้เทียมรถพันคัน เสด็จขึ้นรถออกไปกับหญิงเหล่านั้น ทอดพระเนตร

เห็นแม่น้ำสายที่หนึ่งในระหว่างทาง ตรัสถามเหมือนพระราชาตรัสถาม

แล้วเหมือนกัน ทรงสดับความเป็นไปทั้งหมดแล้ว ตรัสว่า " พวกเจ้า

จงตรวจดูทางเสด็จไปของพระราชา เมื่อหญิงเหล่านั้นกราบทูลว่า

" พวกหม่อมฉันไม่เห็นรอยเท้าม้าสินธพ พระเจ้าข้า" ทรงดำริว่า

" พระราชาจักทรงทำสัจจกิริยาว่า ' เราออกบวชอุทิศพระรัตนตรัย"

แล้วเสด็จไป, ถึงเราก็ออกบวชอุทิศพระรัตนตรัย, ด้วยอานุภาพแห่ง

พระรัตนะเหล่านั้นนั่นแล ขอน้ำนี้อย่าได้เป็นเหมือนน้ำเลย " ดังนี้แล้ว

ทรงระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย ทรงส่งรถพันคันไป. น้ำได้เป็นเช่นกับ

หลังแผ่นหิน. ปลายเพลาและเกลียวกงแห่งล้อก็ไม่เปียกเลย. พระเทวี

เสด็จข้ามแม่น้ำทั้งสองแม้นอกนี้ไปได้ โดยอุบายนั้นเหมือนกัน.

พระศาสดาทรงทราบความเสด็จมาของพระเทวี ได้ทรงทำโดย

ประการที่ภิกษุทั้งหลาย ผู้นั่งอยู่ในสำนักของพระองค์ ไม่ปรากฏได้.

แม้พระเทวีเสด็จไปอยู่ ๆ ทอดพระเนตรเห็นพระรัศมีพุ่งออกจากพระสรีระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 314

ของพระศาสดา ทรงดำริอย่างนั้นเหมือนกัน แล้วเสด็จเข้าไปเฝ้าพระ-

ศาสดา ถวายบังคมแล้ว ประทับยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทูลถามว่า

" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระเจ้ามหากัปปินะ เสด็จออกผนวชอุทิศพระองค์,

ท้าวเธอชะรอยจะเสด็จมาในที่นี้แล้ว, ท้าวเธอประทับอยู่ไหน ? พระองค์

ไม่ทรงแสดงแม้แก่พวกหม่อมฉันบ้าง."

พระศาสดาตรัสว่า "ท่านทั้งหลายจงนั่งก่อน, จักเห็นพระราชา

ในที่นี้เอง." หญิงเหล่านั้นแม้ทุกคน มีจิตยินดี นั่งแล้ว ด้วยคิดว่า

" นัยว่า พวกเรานั่งในที่นี้แหละ จักเห็นพวกสามี."

พระศาสดาตรัสอนุปุพพีกถาแล้ว. ในเวลาจบเทศนา พระนาง

อโนชาเทวี พร้อมทั้งบริวาร บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว.

พระมหากัปปินเถระพร้อมทั้งบริวาร สดับพระธรรมเทศนาที่

พระศาสดาทรงขยายแก่หญิงเหล่านั้นแล้ว ก็ได้บรรลุพระอรหัต พร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ในขณะนั้น พระศาสดา ทรงแสดงภิกษุ

เหล่านั้น ผู้บรรลุพระอรหัตแล้ว แก่หญิงเหล่านั้น.

ได้ยินว่า ในขณะที่หญิงเหล่านั้นมานั่นเทียว จิต (ของเขา)

ไม่พึงมีอารมณ์เป็นหนึ่ง เพราะเห็นสามีของตน ๆ ทรงผ้าย้อมน้ำฝาด,

มีศีรษะโล้น เพราะเหตุนั้น หญิงเหล่านั้น จึงไม่พึงอาจเพื่อบรรลุมรรค

ผลได้; เพราะฉะนั้น ในเวลาหญิงเหล่านั้น ตั้งมั่นอยู่ในศรัทธาอันไม่

หวั่นไหวแล้ว พระศาสดาจึงทรงแสดงภิกษุเหล่านั้น ผู้บรรลุพระอรหัต

แล้ว แก่หญิงเหล่านั้น. แม้หญิงเหล่านั้น เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว

นมัสการด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ กิจบรรพชิต

ของท่านทั้งหลาย ถึงที่สุดก่อน" ดังนี้แล้วถวายบังคมพระศาสดา ยืนอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 315

ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วทูลขอบรรพชา.

อาจารย์บางพวก กล่าวว่า "ได้ยินว่า เมื่อหญิงเหล่านั้นกราบ

ทูลอย่างนั้นแล้ว. พระศาสดาทรงดำริการมาของพระอุบลวรรณาเถรี."

แต่พระศาสดาตรัสกะอุบาสิกาเหล่านั้นว่า " ท่านทั้งหลายพึงไปสู่

กรุงสาวัตถี บรรพชาในสำนักแห่งภิกษุณีเถิด." อุบาสิกาเหล่านั้น เที่ยว

จาริกไปโดยลำดับ มีสักการะและสัมมานะอันมหาชนนำมาในระหว่างทาง

เดินทางไปด้วยเท้าสิ้นหนทาง ๑๒๐ โยชน์ บวชในสำนักแห่งนางภิกษุณี

ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว. แม้พระศาสดาก็ได้ทรงพาภิกษุพันรูป เสด็จไป

สู่พระเชตวัน ทางอากาศนั่นแล.

ได้ยินว่า ในภิกษุเหล่านั้น ท่านพระมหากัปปินะเที่ยวเปล่งอุทาน

ในที่ทั้งหลายมีที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันว่า "สุขหนอ สุขหนอ."

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระมหากัปปินะ เที่ยวเปล่งอุทานว่า 'สุขหนอ สุขหนอ,' ท่านเห็น

จะกล่าวปรารภความสุขในราชสมบัติของตน."

พระศาสดารับสั่งให้เรียกพระมหากัปปินะนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า

" กัปปินะ ได้ยินว่า เธอเปล่งอุทานปรารภสุขในกาม สุขในราชสมบัติ

จริงหรือ ?"

พระมหากัปปินะทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมทรงทราบ การเปล่งหรือไม่เปล่งปรารภกามสุขและรัชสุขนั้นของ

ข้าพระองค์"

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราย่อมเปล่งอุทาน

ปรารภสุขในกาม สุขในราชสมบัติ หามิได้, ก็แต่ว่า ความเอิบอิ่มใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 316

ธรรม ย่อมเกิดขึ้นแก่บุตรของเรา. บุตรของเรานั้นย่อมเปล่งอุทาน

อย่างนั้น เพราะปรารภอมตมหานิพพาน" ดังนี้แล้วเมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ

แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. ธมฺมปีติ สุข เสติ วิปฺปสนฺเนน เจตสา

อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม สทา รมติ ปณฺฑิโต.

"บุคคลผู้เอิบอิ่มในธรรม มีใจผ่องใส ย่อมอยู่

เป็นสุข, บัณฑิตย่อมยินดีในธรรมที่พระอริยเจ้า

ประกาศแล้วทุกเมื่อ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺมปีติ ความว่า ผู้เอิบอิ่มในธรรม

อธิบายว่า ผู้ดื่มธรรม. ก็ชื่อพระธรรมนี่ อันใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะดื่ม

ได้ เหมือนดื่มข้าวยาคูเป็นต้น ด้วยภาชนะฉะนั้น. ก็บุคคลถูกต้อง

โลกุตรธรรม ๙ อย่าง ด้วยนามกาย ทำให้แจ้งโดยความเป็นอารมณ์

แทงตลอดอริยสัจมีทุกข์เป็นต้น ด้วยกิจมีการบรรลุธรรมด้วยความกำหนด

รู้เป็นต้น ชื่อว่าย่อมดื่มธรรม.

คำว่า สุข เสติ นี้ สักว่าเป็นหัวข้อเทศนา. อธิบายว่า ย่อม

อยู่เป็นสุข แม้ด้วยอิริยาบถ ๔.

บทว่า วิปฺปสนฺเนน คือไม่ขุ่นมัว ได้แก่ ไม่มีอุปกิเลส.

บทว่า อริยปฺปเวทิเต ความว่า ในโพธิปักขิยธรรม อันต่างด้วย

สติปัฏฐานเป็นต้น อันพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ประกาศแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 317

สองบทว่า สทา รมติ ความว่า บัณฑิตผู้เอิบอิ่มในธรรมเห็น

ปานนั้น มีใจผ่องใสอยู่ มาตามพร้อมแล้วด้วยความเป็นบัณฑิตย่อมยินดี

คือย่อมชื่นชมทุกเมื่อ.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้เป็นพระอริยบุคคล มีพระ-

โสดาบันเป็นต้นแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพระมหากัปปินเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 318

๕. เรื่องบัณฑิตสมเณร [๖๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภบัณฑิต สามเณร

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุทก หิ นยนฺติ" เป็นต้น.

พระศาสดาตรัสอนุโมทนากถา

ดังได้สดับมา ในอดีตกาล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป

มีพระขีณาสพ ๒ หมื่นรูปเป็นบริวาร ได้เสด็จไปสู่กรุงพาราณสี. มนุษย์

ทั้งหลายกำหนดกำลังของตน ๆ แล้ว รวมกัน ๘ คนบ้าง ๑๐ คนบ้าง

ได้ถวายอาคันตุกทานแล้ว.

ต่อมาวันหนึ่ง ในกาลเป็นที่เสร็จภัตกิจ พระศาสดาได้ทรงทำ

อนุโมทนาอย่างนี้ว่า " อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้

คิดว่า ' เราให้ของ ๆ ตนเท่านั้นควร, ประโยชน์อะไรด้วยการชักชวน

คนอื่น' ดังนี้แล้ว จึงให้ทานด้วยตนเท่านั้น ไม่ชักชวนผู้อื่น, เขาย่อม

ได้โภคสมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ ในที่ ๆ ตนเกิดแล้ว, บางคนชักชวน

ผู้อื่น ไม่ให้ด้วยตน, เขาย่อมได้บริวารสมบัติไม่ได้โภคสมบัติ ในที่ ๆ

ตนเกิดแล้ว, บางคนทั้งไม่ให้ด้วยตน ทั้งไม่ชักชวนผู้อื่น. เขาย่อม

ไม่ได้โภคสมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ เป็นคนกินเดนเป็นอยู่ ในที่ ๆ ตน

เกิดแล้ว; บางคนทั้งให้ด้วยตน ทั้งชักชวนผู้อื่น, เขาย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ

ในที่ ๆ คนเกิดแล้ว."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 319

ผู้เลื่อมใสในอนุโมทนากถา

ชายบัณฑิตผู้หนึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ ได้ฟังอนุโมทนากถานั้นแล้วคิด

ว่า "บัดนี้ เราจักทำอย่างที่สมบัติทั้งสองจักมีแก่เรา." เขาถวายบังคม

พระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า " พรุ่งนี้ ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษาของ

ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า."

พระศาสดา. ต้องการภิกษุเท่าไร ?

บัณฑิต. ก็บริวารของพระองค์ มีเท่าไร ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. มีภิกษุ ๒ หมื่นรูป.

บัณฑิต. พระเจ้าข้า พรุ่งนี้ ขอพระองค์กับภิกษุทั้งหมด โปรดทรง

รับภิกษาของข้าพระองค์.

พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว. เขาเข้าไปบ้านแล้ว เดินบอกบุญ

ว่า "แม่และพ่อทั้งหลาย พรุ่งนี้ ข้าพเจ้านิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุขไว้ ( เพื่อรับภิกษา). ท่านทั้งหลายจงถวายแก่ภิกษุเท่าจำนวน

ที่สามารถ ( ถวายได้)." เมื่อชนทั้งหลายกำหนดกำลังของตน ๆ แล้ว

กล่าวว่า "พวกเรา จักถวาย ๑๐ รูป, พวกเราจักถวาย ๒๐ รูป, พวกเรา

๑๐๐ รูป, พวกเรา ๕๐๐ รูป" ดังนี้แล้ว จึงจดคำของคนทั้งหมดลง

ไว้ในบัญชีตั้งแต่ต้นมา.

ชายเข็ญใจยินดีรับเลี้ยงภิกษุ

ก็ในสมัยนั้น ในกรุงนั้นมีชายคนหนึ่งปรากฏชื่อว่า " มหาทุคตะ"

เพราะความเป็นผู้ยากจนยิ่งนัก. ชายบัณฑิตนั้นเห็นชายเข็ญใจแม้นั้นมา

เฉพาะหน้า จึงบอกว่า "เพื่อนมหาทุคตะ ข้าพเจ้าได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 320

มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานไว้ เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้, พรุ่งนี้ ชาวเมือง

จักถวายทานกัน, แกจักเลี้ยงภิกษุสักกี่รูป ?"

มหาทุคตะ. คุณ ผมจะต้องการอะไรด้วยภิกษุเล่า ? ชื่อว่าความ

ต้องการภิกษุ เป็นของคนมีทรัพย์, ส่วนผมแม้สักว่าข้าวสารทะนานหนึ่ง

เพื่อประโยชน์แก่ข้าวต้มพรุ่งนี้ ก็ไม่มี, ผมทำงานรับจ้างเลี้ยงชีพ. ผม

จะต้องการอะไรด้วยภิกษุ ?

ธรรมดาผู้ชักชวนพึงเป็นผู้ฉลาด. เพราะฉะนั้น ชายบัณฑิตนั้น

แม้เมื่อมหาทุคตะพูดว่า "ไม่มี" ก็ไม่นิ่งเฉย ยังกล่าวอย่างนี้ว่า

"เพื่อนมหาทุคตะ คนเป็นอันมาก ในเมืองนี้ บริโภคโภชนะอย่างดี

นุ่งผ้าเนื้อละเอียด แต่งตัวด้วยเครื่องอาภรณ์ต่าง ๆ นอนบนที่นอนอัน

สง่างาม ย่อมเสวยสมบัติกัน, ส่วนแกทำงานรับจ้างตลอดวัน ยังไม่ได้

อาหารแม้พอเต็มท้อง; แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ แกยังไม่รู้สึกว่า 'เราไม่ได้

อะไรๆ เพราะไม่ได้ทำบุญอะไร ๆ ไว้แม้ในกาลก่อน."

มหาทุคตะ. ผมทราบ คุณ.

บัณฑิต. เมื่อเช่นนั้น ทำไมบัดนี้แกจึงไม่ทำบุญเล่า ? แกยังเป็น

หนุ่ม มีเรี่ยวแรงสมบูรณ์ แกแม้ทำงานจ้างแล้ว ให้ทานตามกำลัง จะ

ไม่ควรหรือ ?

มหาทุคตะนั้น เมื่อชายบัณฑิตกล่าวอยู่ ถึงความสลดใจ จึงพูด

ว่า "คุณจงลงบัญชีภิกษุให้ผมบ้างสักรูปหนึ่ง, ผมจักทำงานจ้างอะไร

สักอย่างแล้ว จักถวายภิกษาแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. ชายบัณฑิตนอกนี้ คิดว่า

"ภิกษุรูปเดียว จะจดลงในบัญชีทำไม ?" ดังนี้แล้วจึงไม่จดไว้.

ฝ่ายมหาทุคตะ ไปเรือนแล้ว พูดกะภรรยาว่า "หล่อน พรุ่งนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 321

ชาวเมืองเขาจัดภัตเพื่อพระสงฆ์ แม้ฉันก็ถูกผู้ชักชวนบอกว่า 'จงถวาย

ภิกษาแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. พวกเราจักถวายภิกษาแก่ภิกษุรูปหนึ่ง พรุ่งนี้."

ลำดับนั้น ภรรยาของเขาไม่พูดเลยว่า " พวกเราเป็นคนจน, แกรับคำ

เขาทำไม ?" กล่าวว่า " นาย แกทำดีแล้ว, เมื่อก่อนเราไม่ให้อะไร ๆ

ชาตินี้จึงเกิดเป็นคนยากจน, เราทั้งสองคน ทำงานจ้างแล้ว จักถวาย

แก่ภิกษุรูปหนึ่ง" แม้ทั้งสองคนได้ออกไปสู่ที่สำนักงานจ้าง. มหาเศรษฐี

เห็นมหาทุคตะ จึงถามว่า "เพื่อนมหาทุคตะ เธอจักทำงานจ้างหรือ ?"

มหาทุคตะ. ขอรับ กระผม.

มหาเศรษฐี. จักทำอะไร ?

มหาทุคตะ. แล้วแต่ท่านจักให้ทำ.

มหาเศรษฐีกล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้น พรุ่งนี้ เราจักเลี้ยงภิกษุ ๒ - ๓

ร้อย, จงมา ผ่าฟืนเถิด" แล้วก็ให้หยิบมีดและขวานมาให้. มหาทุคตะ

ถกเขมรอย่างแข็งแรง ถึงความอุตสาหะ วางมีด คว้าขวาน ทิ้งขวาน

ฉวยมีด ผ่าฟืนไป.

ลำดับนั้น เศรษฐีพูดกะเขาว่า "เพื่อน วันนี้ เธอขยันทำงาน

เหลือเกิน, มีเหตุอะไรหรือ ?"

มหาทุคตะ. นาย ผมจักเลี้ยงภิกษุรูปหนึ่ง.

เศรษฐีฟังคำนั้นแล้ว มีใจเลื่อมใส คิดว่า น่าเลื่อมใสจริง

มหาทุคตะนี้ ทำกรรมที่ทำได้ยาก, เขาไม่ถึงความเฉยเมยด้วยคิดว่า

'เราจน' พูดว่า 'จักทำงานจ้างแล้วเลี้ยงภิกษุสักรูปหนึ่ง."

ฝ่ายภรรยาของเศรษฐี เห็นภรรยาของมหาทุคตะนั้นแล้ว ก็

ถามว่า " แม่ เจ้าจักทำงานอะไร ? เมื่อนางตอบว่า "แล้วแต่จะใช้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 322

ดิฉันให้ทำ" จึงให้เข้าไปสู่โรงกระเดื่องแล้ว ให้มอบเครื่องมือมีกระด้ง

และสากเป็นต้นให้แล้ว. นางยินดีร่าเริง ทั้งตำและฝัดข้าวเหมือนจะ

รำละคร.

ลำดับนั้น ภรรยาเศรษฐีถามนางว่า "แม่ เจ้ายินดีร่าเริงทำงาน

เหลือเกิน. มีเหตุอะไรหรือ ?"

นาง. คุณนาย พวกดิฉันทำงานจ้างนี้แล้ว จักเลี้ยงภิกษุสักรูป

หนึ่ง.

ฝ่ายภรรยาเศรษฐี ฟังคำนั้นแล้ว เลื่อมใสในนางว่า "น่าเลื่อมใส

นางนี้ทำกรรมที่ทำได้ยาก."

ในเวลาที่มหาทุคตะผ่าฟืนเสร็จ เศรษฐีสั่งให้ให้ข้าวสาลี ๔

ทะนาน ด้วยพูดว่า "นี้ค่าจ้างของเธอ" แล้วสั่งให้ให้แม้อีก ๔ ทะนาน

ด้วยพูดว่า "นี้เป็นส่วนที่เพิ่มให้เพราะความยินดีแก่เธอ."

เขาไปสู่เรือน บอกกะภรรยาว่า " ฉันรับจ้างได้ข้าวสาลีมา, ส่วนนี้

จักเป็นกับ. เจ้าจงถือเอาของ คือ นมส้ม น้ำมัน และเครื่องเทศ

ด้วยค่าจ้าง ( แรงงาน ) ที่เจ้าได้แล้ว."

ฝ่ายภรรยาเศรษฐี สั่งให้จ่ายเนยใสขวดหนึ่ง นมส้มกระปุกหนึ่ง

เครื่องเทศหนึ่ง และข้าวสารสาลีอย่างเป็นตัวทะนานหนึ่งแก่นาง. เขา

ทั้งสองได้มีข้าวสารรวม ๕ ทะนาน ด้วยประการฉะนี้.

ทั้งสองผัวเมียยินดีร่าเริงว่า "เราได้ไทยธรรมแล้ว" ลุกขึ้นแต่

เช้าตรู่. ภรรยาพูดกับมหาทุคตะว่า "ไปหาผักมาซิ นาย" เขาไม่

เห็นผักในร้านตลาด จึงไปฝั่งแม่น้ำ มีใจร่าเริงว่า " จักได้ถวายโภชนะ

แก่พระผู้เป็นเจ้า " ร้องเพลงพลาง เลือกเก็บผักพลาง. ชาวประมงยืน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 323

ทอดแหใหญ่อยู่ รู้ว่า " เป็นเสียงของมหาทุคตะ" จึงเรียกเขามาถาม

ว่า " แกมีจิตยินดีเหลือเกิน ร้องเพลงอยู่, มีเหตุอะไรหรือ ?"

มหาทุคตะ. เก็บผัก เพื่อน.

ชาวประมง. จักทำอะไรกัน ?

มหาทุคตะ. จักเลี้ยงภิกษุสักรูปหนึ่ง.

ชาวประมง. โอ ! อิ่มละ ภิกษุที่ฉันผักของแก.

มหาทุคตะ. จะทำอย่างไรได้ ? เพื่อน, กันต้องเลี้ยงภิกษุด้วย

ผักที่กันได้.

ชาวประมง. ถ้าอย่างนั้น มานี่เถิด.

มหาทุคตะ. จะทำอย่างไร ? เพื่อน.

ชาวประมง. จงถือเอาปลาเหล่านี้ ร้อยให้เป็นพวง มีราคาบาทหนึ่ง

บ้าง กึ่งบาทบ้าง กหาปณะหนึ่งบ้าง. เขาได้กระทำอย่างนั้น.

ชาวเมืองซื้อปลาที่มหาทุคตะร้อยไว้ ๆ ไป เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุ

ที่ตนนิมนต์แล้ว ๆ. เมื่อเขากำลังร้อยปลาอยู่นั้นแล, ก็ถึงเวลาภิกขาจาร

แล้ว. เขากำหนดเวลาแล้ว กล่าวว่า " จักต้องไป เพื่อน, นี้ เป็น

เวลาที่ภิกษุมา."

ชาวประมง. ก็พวงปลายังมีอยู่ไหม ?

มหาทุคตะ. ไม่มี เพื่อน, หมดสิ้นแล้ว.

ชาวประมง. " ถ้าอย่างนั้น ปลาตะเพียน ๔ ตัว ข้าหมกทรายไว้

เพื่อประโยชน์แก่ตน, แม้ถ้าแกต้องการจะเลี้ยงภิกษุ, จงเอาปลาเหล่านี้

ไปเถิด" ดังนี้แล้ว ก็ได้ให้ปลาตะเพียนเหล่านั้นแก่เขาไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 324

มหาทุคตะได้ถวายทานแด่พระพุทธเจ้า

ก็วันนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทรง

เห็นมหาทุคตะ เข้าไปในภายในข่ายคือพระญาณของพระองค์ ทรงรำพึง

ว่า " จักมีเหตุอะไรหนอ ?" ทรงดำริว่า " มหาทุคตะ " คิดว่า จักเลี้ยง

ภิกษุรูปหนึ่ง, จึงได้ทำงานจ้างกับภรรยาแล้วในวันวาน, เขาจักได้ภิกษุ

รูปไหนหนอ ?" จึงทรงใคร่ครวญว่า " คนทั้งหลาย จักพาภิกษุไปคาม

ชื่อที่จดไว้ในบัญชีแล้ว ให้นั่งในเรือนของตน ๆ. มหาทุคตะเว้น เรา

เสียแล้ว จักไม่ได้ภิกษุอื่น."

ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรงทำความอนุเคราะห์ใน

พวกคนเข็ญใจ. เพราะฉะนั้น พระศาสดาทรงทำสรีรกิจแต่เช้าตรู่แล้ว

เสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎี ประทับนั่ง ด้วยทรงดำริว่า "จักสงเคราะห์มหา-

ทุคตะ." แม้เมื่อมหาทุคตะ กำลังถือปลาเข้าไปสู่เรือน, บัณฑุกัมพล-

ศิลาอาสน์ของท้าวสักกะ แสดงอาการร้อน. ท้าวเธอทรงพิจารณาว่า

" เหตุอะไรกันหนอ ?" ทรงดำริว่า "วานนี้ มหาทุคตะได้ทำงานจ้าง

กับภรรยาของตน ด้วยจงใจว่า 'จักถวายภิกษาแก่ภิกษุสัก ๑ รูป' เขา

จักได้ภิกษุรูปไหนหนอ ?" ทรงทราบว่า "ภิกษุอื่นไม่มีสำหรับเขา, แต่

พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันกุฎีนั่นเอง ด้วยตั้งพระทัยว่า 'จัก

สงเคราะห์มหาทุคตะ,' มหาทุคตะ พึงถวายข้าวต้มข้าวสวย และมีผัก

เป็นกับ อย่างที่ตัวบริโภคเองแด่พระตถาคต. ถ้ากระไร เราควรไปยัง

เรือนของมหาทุคตะ ทำหน้าที่เป็นพ่อครัว" ดังนี้แล้ว จึงทรงจำแลง

เพศมิให้ใครรู้จัก เสด็จไปที่ใกล้เรือนของมหาทุคตะนั้นแล้ว ตรัสถาม

ว่า "ใคร ๆ มีงานจ้างอะไรบ้างหรือ ?" มหาทุคตะเห็นท้าวสักกะแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 325

จึงกล่าวว่า "จักทำงานอะไร ? เพื่อน."

ชายแปลง. ข้าพเจ้ารู้วิชาการทุกอย่าง นาย, ชื่อว่าวิชาการสิ่งไร

ที่ข้าพเจ้าไม่เข้าใจ ไม่มีเลย, รู้จนการปรุงข้าวต้ม ข้าวสวยเป็นต้น.

มหาทุคตะ. เพื่อน พวกข้าพเจ้ามีความต้องการด้วยการงานของ

ท่าน, แต่ยังไม่เห็นค่าจ้างที่ควรจะให้แก่ท่าน.

ชายแปลง. ก็ท่านต้องการทำอะไร ?

มหาทุคตะ. ข้าพเจ้าประสงค์จะถวายภิกษาแก่ภิกษุรูปหนึ่ง,

ประสงค์จัดแจงข้าวต้มข้าวสวยถวายภิกษุนั้น.

ชายแปลง. ถ้าท่านจะถวายภิกษาแก่ภิกษุ. ข้าพเจ้าไม่ต้องการ

ค่าจ้าง, ท่านให้บุญแก่ข้าพเจ้า ไม่ควรหรือ ?

มหาทุคตะ. เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เป็นการดีละ เพื่อน, เชิญเข้า

ไปเถิด.

ท้าวสักกะนั้น เสด็จเข้าไปในเรือนของมหาทุคตะนั้นแล้ว ให้นำ

ข้าวสารเป็นต้นมาแล้ว ทรงส่งมหาทุคตะนั้นไปด้วยคำว่า "ไปเถิดท่าน,

จงนำภิกษุที่ถึงแก่ตนมา."

ฝ่ายผู้จัดการทาน ได้จ่ายภิกษุไปสู่เรือนของพวกชนเหล่านั้น ๆ

ตามรายการที่จดไว้ในบัญชีนั่นแล. มหาทุคตะไปยังสำนักของเขาแล้ว

พูดว่า "จงให้ภิกษุที่ถึงแก่ผมเถิด" เขาได้สติขึ้นในขณะนั้น จึงพูดว่า

"ฉันลืมภิกษุสำหรับแกเสียแล้ว" มหาทุคตะเป็นเหมือนถูกประหารที่

ท้องด้วยหอกอันคม ประคองแขนร่ำไรว่า " เหตุไรจึงให้ผมฉิบหาย

เสียเล่า ? คุณ, แม้ผมอันท่านชวนแล้วเมื่อวาน ก็พร้อมด้วยภรรยาทำงาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 326

จ้างตลอดวัน วันนี้ แต่เช้าตรู่ เที่ยวไปที่ฝั่งแม่น้ำ เพื่อต้องการผัก

แล้วจึงมา ขอท่านจงให้ภิกษุแก่ผมสักรูปหนึ่งเถิด."

มหาทุคตะไปนิมนต์พระศาสดา

คนทั้งหลายประชุมกันแล้ว ถามว่า "มหาทุคตะ นั่นอะไรกัน ?"

เขาบอกเนื้อความนั้น. คนเหล่านั้น ถามผู้จัดการว่า "จริงไหม ? เพื่อน,

ได้ยินว่า มหาทุคตะนี้ ท่านชักชวนว่า 'จงทำงานจ้างแล้วถวายภิกษา

แก่ภิกษุรูปหนึ่ง.

ผู้จัดการ. ขอรับ นาย.

คนเหล่านั้น. ท่านจัดการภิกษุมีประมาณถึงเท่านี้ ไม่ได้ให้ภิกษุ

แก่มหาทุคตะนี้สักรูปหนึ่ง ทำกรรมหนักเสียแล้ว.

เขาละอายใจ ด้วยคำพูดของคนเหล่านั้น จึงพูดกะมหาทุคตะ

นั้นว่า "เพื่อนมหาทุคตะ อย่าให้ฉันฉิบหายเลย, ฉันถึงความลำบาก

ใหญ่ เพราะเหตุแห่งท่าน. คนทั้งหลาย นำภิกษุที่ถึงแก่ตน ๆ ไปตาม

รายการที่จดไว้ในบัญชี, ชื่อว่าคนผู้ซึ่งจะถอนภิกษุผู้ซึ่งนั่งในเรือนของตน

ให้ ไม่มี, ส่วนพระศาสดา สรงพระพักตร์แล้วประทับนั่งอยู่ในพระ-

คันธกุฎีนั่นเอง, พระเจ้าแผ่นดิน ยุพราช และคนโต ๆ มีเสนาบดี

เป็นต้น นั่งแลดูการเสด็จออกจากพระคันธกุฎีแห่งพระศาสดา คิดว่า

'จักรับบาตรของพระศาสดาไป,' ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อม

ทรงทำอนุเคราะห์ในคนยากจน, ท่านจงไปวิหาร กราบทูลพระศาสดา

ว่า 'ข้าพระองค์เป็นคนยากจน พระเจ้าข้า, ขอพระองค์ จงทรงทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 327

ความสงเคราะห์แก่ข้าพระองค์เถิด; ถ้าท่านมีบุญ. ท่านจักได้แน่" เขา

ได้ไปสู่วิหารแล้ว.

พระศาสดาประทานบาตรแก่มหาทุคตะ

ลำดับนั้น พระเจ้าแผ่นดินและยุพราชเป็นต้น ตรัสกะเขาว่า

"มหาทุคตะ ไม่ใช่เวลาภัตก่อน, เจ้ามาทำไม?" เพราะเคยเห็นเขา

โดยความเป็นคนกินเดนในวิหาร ในวันอื่น ๆ. มหาทุคตะกราบทูลว่า

" ข้าพระองค์ทราบอยู่ว่า 'ไม่ใช่เวลาภัตก่อน' แต่ข้าพระองค์มาก็เพื่อ

ถวายบังคมพระศาสดา" ดังนี้แล้ว จึงซบศีรษะลงที่ธรณีพระคันธกุฎี

ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กราบทูลว่า " ผู้ที่ยากจนกว่า

ข้าพระองค์ในพระนครนี้ไม่มี พระเจ้าข้า, ขอทรงเป็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์

เถิด, ขอทรงทำความสงเคราะห์แก่ข้าพระองค์เถิด." พระศาสดาทรง

เปิดพระทวารพระคันธกุฎี ทรงนำบาตรมาประทานในมือของเขา. เขา

ได้เป็นเหมือนบรรลุจักรพรรดิสิริ. พระเจ้าแผ่นดินและยุพราชเป็นต้น

ต่างทรงดูแลดูพระพักตร์กันและกัน.

แท้จริง ใครๆ ชื่อว่าสามารถเพื่อจะรับบาตรที่พระศาสดาประทาน

แก่มหาทุคตะ ด้วยอำนาจความเป็นใหญ่ หามีไม่. เป็นแต่กล่าวอย่างนี้

ว่า "เพื่อนมหาทุคตะ ท่านจงให้บาตรของพระศาสดาแก่พวกเรา,

พวกเราจักให้ทรัพย์มีประมาณเท่านี้ คือ พันหนึ่งหรือแสนหนึ่ง แก่ท่าน.

ท่านเป็นคนเข็ญใจ จงเอาทรัพย์เถิด, ประโยชน์อะไรของท่านด้วยบาตร

เล่า ?" มหาทุคตะ ตอบว่า "ข้าพเจ้าจักไม่ให้ใคร, ข้าพเจ้าไม่มี

ความต้องการด้วยทรัพย์, จักให้พระศาสดาเท่านั้นเสวย." ชนทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 328

ที่เหลือ อ้อนวอนเขา ไม่ได้บาตรแล้วจึงกลับไป.

ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดิน ทรงดำริว่า " มหาทุคตะ แม้ถูกเขาเล้าโลม

ล่อด้วยทรัพย์ ก็ไม่ให้บาตรของพระศาสดา, ก็ใคร ๆ ไม่อาจจะรับบาตร

ที่พระศาสดาประทานแล้วด้วยพระองค์เองได้, อันไทยธรรมของมหา

ทุคตะนี้ จักมีประมาณเท่าไร ? ในเวลามหาทุคตะนี้ถวายไทยธรรม

เสร็จ เราจักนำพระศาสดาไปยังเรือน ถวายอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับเรา"

ดังนี้แล้ว จึงได้ตามเสด็จไปพร้อมด้วยพระศาสดาทีเดียว.

พระศาสดาเสด็จไปเรือนของมหาทุคตะ

ฝ่ายท้าวสักกเทวราช จัดอาหารภัตมีข้าวต้มข้าวสวยและผักเป็นต้น

ปูอาสนะที่สมควรเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดาแล้วประทับนั่ง. มหา

ทุคตะนำพระศาสดาไปแล้ว กราบทูลว่า "จงเสด็จเข้าไปเถิด

พระเจ้าข้า." ก็เรือนที่อยู่ของเขาต่ำ, ผู้ที่ไม่ก้ม ไม่อาจเข้าไปได้, ก็แต่

ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อเสด็จเข้าสู่เรือน ไม่ต้องก้มเสด็จเข้าไป,

เพราะว่า ในเวลาเสด็จเข้าสู่เรือน แผ่นดินใหญ่ย่อมยุบลงภายใต้. หรือ

เรือนสูงขึ้น. นี่เป็นผลแห่งทานที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้นถวายไว้ดีแล้ว.

ในเวลาที่พระองค์เสด็จออกไปแล้ว ทุกสิ่งเป็นปกติเหมือนเดิมอีก; เพราะ-

ฉะนั้น พระศาสดา ทั้งประทับยืนอยู่นั่นเอง เสด็จเข้าสู่เรือนแล้ว

ประทับนั่งบนอาสนะที่ท้าวสักกะปูไว้แล้ว. เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว

พระราชารับสั่งว่า " เพื่อนมหาทุคตะ ท่านไม่ให้บาตรของพระศาสดา

แก่พวกเรา แม้ผู้อ้อนวอนอยู่, พวกเราจะดูก่อน, สักการะที่ท่านจัด

ถวายพระศาสดาเป็นเช่นไร ?" ลำดับนั้น ท้าวสักกะเปิดข้าวยาคูและภัต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 329

ออกอวด. กลิ่นเครื่องอบอาหารภัตเหล่านั้น ได้ตลบทั่วพระนครตั้งอยู่.

พระราชาทรงตรวจดูข้าวยาคูเป็นต้นแล้ว กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อนฉัน คิดว่า ' ไทยธรรมของมหาทุคตะ

จักมีสักเท่าไร ? เมื่อมหาทุคตะนี้ถวายไทยธรรมแล้ว จักนำเสด็จ

พระศาสดาไปยังเรือน ถวายอาหารที่เขาจัดไว้สำหรับตน' ดังนี้ จึง

มาแล้ว, อาหารเห็นปานนี้ หม่อมฉันไม่เคยเห็นเลย, เมื่อหม่อมฉันอยู่

ในที่นี้ มหาทุคตะต้องลำบากเหลือเกิน หม่อมฉันจะกลับ" ถวายบังคม

พระศาสดาแล้ว เสด็จหลีกไป.

บ้านของมหาทุคตะเต็มด้วยแก้ว ๗ อย่าง

ฝ่ายท้าวสักกะ ถวายยาคูเป็นต้น ทรงอังคาสพระศาสดาโดยเคารพ.

แม้พระศาสดา ทรงทำภัตกิจแล้ว ทรงทำอนุโมทนา เสด็จลุกจากอาสนะ

หลีกไป. ท้าวสักกะได้ให้สัญญาแก่มหาทุคตะ. เขารับบาตร ตามเสด็จ

พระศาสดา. ท้าวสักกะเสด็จกลับ ประทับยืนอยู่ที่ประตูเรือนของมหา

ทุคตะ ทรงแลดูอากาศแล้ว. ฝนแก้ว ๗ ประการตกลงจากอากาศ

เต็มภาชนะทั้งหมดในเรือนของเขาแล้ว ยังล้นไปทั่วเรือน. ในเรือนของ

เขาไม่มีที่ว่าง ภรรยาของเขาได้จูงมือพวกเด็ก นำออกไปยืนอยู่ภายนอก.

เขาตามเสด็จพระศาสดาแล้วกลับมาเห็นเด็กข้างถนน จึงถามว่า "นี่

อะไร ?" ภรรยาของเขาตอบว่า " นาย เรือนของเราเต็มไปด้วยแก้ว ๗

ประการทั่วทั้งหลัง, ไม่มีช่องจะเข้าไปได้." เขาคิดว่า "ทานของเรา

ให้ผลในวันนี้เอง" ดังนี้แล้วจึงไปสู่พระราชสำนัก ถวายบังคมพระราชา

แล้ว, เมื่อพระราชารับสั่งถามว่า " มาทำไม ?" จึงกราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 330

" พระเจ้า เรือนของข้าพระองค์ เต็มไปด้วยแก้ว ๗ ประการ, ขอ

พระองค์ทรงถือเอาทรัพย์นั้นเถิด."

พระราชาทรงดำริว่า "น่าอัศจรรย์ ทานที่เขาถวายแด่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ถึงที่สุดวันนี้เอง" ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งกะเขาว่า "เธอควรจะ

ได้อะไร ?"

มหาทุคตะ. ขอจงพระราชทานเกวียนพันเล่ม เพื่อต้องการนำ

ทรัพย์มา.

พระราชาทรงส่งเกวียนพันเล่มไป ให้นำทรัพย์มา เกลี่ยไว้ที่

พระลานหลวง. กองทรัพย์ได้เป็นกองสูงประมาณเท่าต้นตาล. พระราชา

รับสั่งให้ชาวเมืองประชุมกันแล้ว ตรัสถามว่า "ในกรุงนี้ ใครมีทรัพย์

ถึงเท่านี้ไหม ?"

ชาวเมือง. ไม่มี พระเจ้าข้า.

พระราชา. จะควรทำอย่างไร ? แก่คนมีทรัพย์มากอย่างนั้น.

ชาวเมือง. ควรตั้งเป็นเศรษฐี พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงทำสักการะเป็นอันมากแก่เขาแล้ว รับสั่งให้พระ-

ราชทานตำแหน่งเศรษฐี.

ลำดับนั้น ท้าวเธอตรัสบอกที่บ้านของเศรษฐีคนหนึ่งในกาลก่อน

แก่เขาแล้ว ตรัสว่า " เธอจงให้ถางพุ่มไม้ที่เกิดในที่นี้แล้ว ปลูกเรือน

อยู่เถิด." เมื่อเขาแผ้วถางที่นั้น ขุดพื้นที่ทำให้เรียบอยู่. หม้อทรัพย์ได้

ผุดขึ้นยัดเยียดกันและกัน. เมื่อเขากราบทูลแด่พระราชา, ท้าวเธอจึง

รับสั่งว่า "หม้อทรัพย์เกิดเพราะบุญของเธอนั่นเอง, เธอนั่นแหละจงถือ

เอาเถิด."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 331

มหาทุคตะตายแล้วเกิดในกรุงสาวัตถี

เขาได้ปลูกเรือนแล้ว ได้ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุขตลอด ๗ วัน. แม้เบื้องหน้าแต่นั้น เขาดำรงอยู่ บำเพ็ญบุญ

จนตลอดอายุ ในที่สุดอายุ ได้บังเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติ

สิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากนั้นแล้วถือปฏิสนธิใน

ท้องธิดาคนโต ในตระกูลอุปัฏฐาก ของพระสารีบุตรเถระในกรุงสาวัตถี.

ครั้งนั้น มารดาบิดาของนาง ทราบความที่นางตั้งครรภ์ จึงได้

ให้เครื่องบริหารครรภ์. โดยสมัยอื่น นางเกิดแพ้ท้องเห็นปานนี้ว่า "โอ !

เราพึงถวายทานแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ตั้งต้นแต่พระธรรมเสนาบดี ด้วยรส

ปลาตะเพียนแล้ว นุ่งผ้าย้อมน้ำฝาด นั่งในที่สุดอาสนะ บริโภคภัตที่

เป็นเดนของภิกษุเหล่านั้น." นางบอกแก่มารดาบิดาแล้วก็ได้กระทำตาม

ประสงค์. ความแพ้ท้องระงับไปแล้ว. ต่อมาในงานมงคล ๗ ครั้งแม้อื่น

จากนั้น. มารดาบิดาของนางเลี้ยงภิกษุ ๕๐๐ รูป มีพระธรรมเสนาบดี

เถระเป็นประมุข ด้วยรสปลาตะเพียนเหมือนกัน.

พึงทราบเรื่องทั้งหมด โดยนัยที่กล่าวแล้ว ในเรื่องติสสกุมาร

นั้นแล. ก็แต่ว่า นี้เป็นผลแห่งการถวายรสปลาตะเพียนที่ถวายในกาลที่

เด็กนี้เป็นมหาทุคตะนั่นเอง.

ทารกออกบวชเป็นสามเณร

ก็ในวันตั้งชื่อ เมื่อมารดาของเด็กนั้น กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ขอท่านจงให้สิกขาบททั้งหลายแก่ทาสของท่านเถิด" พระเถระจึงกล่าวว่า

"เด็กนี้ชื่ออะไร ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 332

มารดาของเด็ก ตอบว่า " ข้าแต่ท่านผู้เจริญ คนเงอะงะในเรือนนี้

แม้พวกพูดไม่ได้เรื่อง ก็กลับเป็นผู้ฉลาด ตั้งแต่กาลที่เด็กนี้ถือปฏิสนธิ

ในท้อง; เพราะฉะนั้น บุตรของดิฉัน จักมีชื่อว่า "หนูบัณฑิต" เถิด.

พระเถระ ได้ให้สิกขาบททั้งหลายแล้ว. ก็ตั้งแต่วันที่หนูบัณฑิตเกิดมาความ

คิดเกิดขึ้นแก่มารดาของเขาว่า " เราจักไม่ทำลายอัธยาศัยของบุตรเรา."

ในเวลาที่เขามีอายุได้ ๗ ขวบ เขากล่าวกะมารดาว่า "ผมจักบวชใน

สำนักพระเถระ." นางกล่าวว่า "ได้ พ่อคุณ, แม่ได้นึกไว้แล้วอย่างนั้นว่า

'จักไม่ทำลายอัธยาศัยของเจ้า" ดังนี้แล้ว จึงนิมนต์พระเถระให้ฉันแล้ว

กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ทาสของท่าน อยากจะบวช, ดิฉันจักนำ

เด็กนี้ไปวิหารในเวลาเย็น" ส่งพระเถระไปแล้ว ให้หมู่ญาติประชุมกัน

กล่าวว่า "พวกข้าพเจ้า จักทำสักการะที่ควรทำแก่บุตรของข้าพเจ้า ใน

เวลาเป็นคฤหัสถ์ ในวันนี้ทีเดียว" ดังนี้แล้ว ก็ให้ทำสักการะมากมาย

พาหนูบัณฑิตนั้นไปสู่วิหาร ได้มอบถวายแก่พระเถระว่า "ขอท่านจงให้

เด็กนี้บวชเถิด เจ้าข้า." พระเถระนอกความที่การบวชเป็นกิจทำได้ยาก

แล้ว, เมื่อเด็กรับรองว่า "ผมจักทำตามโอวาทของท่านขอรับ" จึง

กล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้น จงมาเถิด" ชุบผมให้เปียกแล้ว บอกตจปัญจก-

กัมมัฏฐาน ให้บวชแล้ว. แม้มารดาบิดาของบัณฑิตสามเณรนั้น อยู่ใน

วิหารนั่นเองสิ้น ๗ วัน ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข ด้วยรสปลาตะเพียนอย่างเดียว ในวันที่เจ็ด เวลาเย็นจึงได้ไป

เรือน.

ในวันที่แปด พระเถระเมื่อจะไปภายในบ้าน พาสามเณรนั้นไป

ไม่ได้ไปกับหมู่ภิกษา เพราะเหตุไร ? เพราะว่า การห่มจีวรและถือบาตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 333

หรืออิริยาบถของเธอ ยังไม่น่าเลื่อมใสก่อน; อีกอย่างหนึ่ง วัตรที่พึงทำ

ในวิหารของพระเถระ ยังมีอยู่; อนึ่ง พระเถระ, เมื่อภิกษุสงฆ์เข้าไป

ภายในบ้านแล้ว. เที่ยวไปทั่ววิหาร กวาดที่ ๆ ยังไม่กวาด ตั้งน้ำฉันน้ำ

ใช้ไว้ในภาชนะที่ว่างเปล่า เก็บเตียงตั่งเป็นต้น ที่ยังเก็บไว้ไม่เรียบร้อย

แล้ว จึงเข้าไปบ้านภายหลัง; อีกอย่างหนึ่ง ท่านคิดเห็นว่า " พวก

เดียรถีย์เข้าไปยังวิหารว่างแล้ว อย่าได้เพื่อจะพูดว่า ' ดูเถิด ที่นั่ง

ของพวกสาวกพระสมณโคดม' ดังนี้แล้ว จึงได้จัดแจงวิหารทั้งสิ้น เข้า

ไปบ้านภายหลัง; เพราะฉะนั้น แม้ในวันนั้น พระเถระให้สามเณรนั่น

เอง ถือบาตรจีวร เข้าไปบ้านสายหน่อย.

สามเณรเข้าไปบิณฑบาตกับพระเถระ

สามเณรเมื่อไปกับพระอุปัชฌาย์ เห็นเหมืองในระหว่างทางจึง

เรียนถามว่า " นี้ชื่ออะไร ? ขอรับ.

พระเถระ. ชื่อว่าเหมือง สามเณร.

สามเณร. เขาทำอะไร ? ด้วยเหมืองนี้.

พระเถระ. เขาไขน้ำจากที่นี้ ๆ แล้ว ทำการงานเกี่ยวด้วยข้าว

กล้าของตน.

สามเณร. ก็น้ำมีจิตไหม ? ขอรับ

พระเถระ. ไม่มี เธอ.

สามเณร. ชนทั้งหลายย่อมไขน้ำที่ไม่มีจิตเห็นปานนี้สู่ที่ ๆ ตน

ปรารถนาแล้ว ๆ ได้หรือ ? ขอรับ.

พระเถระ. ได้ เธอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 334

สามเณรนั้น คิดว่า " ถ้าคนทั้งหลายไขน้ำซึ่งไม่มีจิตแม้เห็นปานนี้

ที่ ๆ คนปรารถนาแล้ว ๆ ทำการงานได้; เหตุไฉน ? คนมีจิตแท้ ๆ

จักไม่อาจเพื่อทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจแล้ว บำเพ็ญสมณธรรม."

เธอเดินต่อไปเห็นพวกช่างศรกำลังเอาลูกศรลนไฟแล้ว เล็งด้วยหางตา

ดัดให้ตรง จึงเรียนถามว่า " พวกนี้ ชื่อพวกอะไรกัน ? ขอรับ."

พระเถระ. ชื่อช่างศร เธอ.

สามเณร. ก็พวกเขา ทำอะไรกัน ?

พระเถระ. เขาลนที่ไฟ แล้วดัดลูกศรให้ตรง.

สามเณร. ลูกศรนั่น มีจิตไหม ? ขอรับ.

พระเถระ. ไม่มีจิต เธอ.

เธอคิดว่า " ถ้าคนทั้งหลายถือเอาลูกศรอันไม่มีจิตลนไฟแล้วดัด

ให้ตรงได้; เพราะเหตุไร ? แม้คนมีจิต จึงจักไม่อาจเพื่อทำจิตของตน

ให้เป็นไปในอำนาจ แล้วบำเพ็ญสมณธรรมเล่า ?"

ครั้นสามเณรเดินต่อไป เห็นชนถากไม้ทำเครื่องทัพสัมภาระมีกำ

กงและดุมเป็นต้น จึงเรียนถามว่า "พวกนี้ ชื่อพวกอะไร ? ขอรับ."

พระเถระ. ชื่อช่างถาก เธอ.

สามเณร. ก็พวกเขา ทำอะไรกัน ?

พระเถระ. เขาถือเอาไม้แล้วทำล้อแห่งยานน้อยเป็นต้น เธอ.

สามเณร. ก็ไม้เหล่านั่น มีจิตไหม ? ขอรับ.

พระเถระ. ไม่มีจิต เธอ.

สามเณรลากลับไปทำสมณธรรม

ทีนั้น เธอได้มีความตริตรองอย่างนั้นว่า "ถ้าคนทั้งหลายถือเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 335

ท่อนไม้ที่มีจิต ทำเป็นล้อเป็นต้นได้. เพราะเหตุไร คนผู้มีจิตจึงจักไม่

อาจทำจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจแล้วบำเพ็ญสมณธรรมเล่า ? เธอ

เห็นเหตุเหล่านี้แล้ว จึงเรียนว่า " ใต้เท้าขอรับ ถ้าใต้เท้าควรถือบาตร

และจีวรของใต้เท้าได้; กระผมพึงกลับ" พระเถระมิได้เกิดความคิด

เลยว่า "เจ้าสามเณรเล็กนี้บวชได้หยก ๆ ตามเรามา กล่าวอย่างนั้นได้"

กลับกล่าว่า " จงเอามา สามเณร" แล้วได้รับบาตรและจีวรของ

ตนไว้.

ฝ่ายสามเณรไหว้พระอุปัชฌาย์แล้ว เมื่อจะกลับ จึงเรียนว่า "ใต้เท้า

เมื่อจะนำอาหารมาเพื่อกระผม พึงนำมาด้วยรสปลาตะเพียนเถอะขอรับ."

พระเถระ. เราจักได้ ในที่ไหนเล่า ? เธอ.

สามเณรเรียนว่า "ถ้าไม่ได้ด้วยบุญของใต้เท้า ก็จักได้ด้วยบุญของ

กระผม ขอรับ." พระเถระวิตกว่า "แม้อันตรายจะพึงมีแก่สามเณรเล็ก

ผู้นั่งข้างนอก' จึงให้ลูกดาลไปแล้วบอกว่า "ควรเปิดประตูห้องอยู่ของ

ฉันแล้ว เข้าไปนั่งเสียภายใน." เธอได้กระทำอย่างนั้นแล้ว นั่งหยั่งความ

รู้ลงในกรัชกายของตน พิจารณาอัตภาพอยู่.

อาสนะท้าวสักกะร้อนเพราะคุณของสามเณร

ครั้งนั้น ที่ประทับนั่งของท้าวสักกะ แสดงอาการร้อนด้วยเดช

แห่งคุณ ของสามเณรนั้น. ท้าวเธอใคร่ครวญว่า "จักมีเหตุอะไรกัน

หนอ ?" ทรงดำริได้ว่า "บัณฑิตสามเณรถวายบาตรและจีวรแก่พระ-

อุปัชฌาย์แล้วกลับ. ด้วยตั้งใจว่า 'จักทำสมณธรรม' แม้เราก็ควรไป

ในที่นั้น" ดังนี้แล้ว, ตรัสเรียกท้าวมหาราชทั้ง ๔ มา ตรัสว่า " พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 336

ท่านจงไปไล่นกที่บินจอแจอยู่ในป่าใกล้วิหารให้หนีไป แล้วยึดอารักขา

ไว้โดยรอบ," ตรัสกะจันทเทพบุตรว่า "ท่านจงฉุดรั้งมณฑลพระจันทร์

ไว้. ตรัสกะสุริยเทพบุตรว่า "ท่านจงฉุดรั้งมณฑลพระอาทิตย์ไว้"

ดังนี้แล้ว พระองค์เอง ได้เสด็จไปประทับยืนยึดอารักขาอยู่ที่สายยู, ใน

วิหารแม้เสียงแห่งใบไม้แก่ก็มิได้มี. จิตของสามเณรได้มีอารมณ์เป็นหนึ่ง

แล้ว . เธอพิจารณาอัตภาพแล้ว บรรลุผล ๓ อย่างในระหว่างภัตนั้น

เอง.

ฝ่ายพระเถระ คิดว่า "สามเณรนั่งแล้วในวิหาร, เราอาจจะได้

โภชนะที่สมประสงค์แก่เธอ ในสกุลชื่อโน้น" ดังนี้แล้ว จึงได้ไปสู่

ตระกูลอุปัฏฐาก ซึ่งประกอบด้วยความรักและเคารพตระกูลหนึ่ง. ก็ใน

วันนั้น มนุษย์ทั้งหลายในตระกูลนั้น ได้ปลาตะเพียนหลายตัวนั่งดูการมา

แห่งพระเถระอยู่เทียว. พวกเขาเห็นพระเถระกำลังมาจึงกล่าวว่า " ท่าน

ขอรับ ท่านมาที่นี้ ทำกรรมเจริญแล้ว " แล้วนิมนต์ให้เข้าไปข้างใน

ถวายข้าวยาคูและของควรเคี้ยวเป็นต้นแล้ว ได้ถวายบิณฑบาตด้วยรสปลา

ตะเพียน. พระเถระแสดงอาการจะนำไป. พวกมนุษย์เรียนว่า " นิมนต์

ฉันเถิดขอรับ ใต้เท้าจักได้แม้ภัตสำหรับจะนำไป" ในเวลาเสร็จภัตกิจ

ของพระเถระ ได้เอาโภชนะประกอบด้วยรสปลาตะเพียน ใส่เต็มบาตร

ถวายแล้ว. พระเถระคิดว่า " สามเณรของเราหิวแล้ว " จึงได้รีบไป

พระศาสดาทรงทำอารักขาสามเณร

แม้พระศาสดา ในวันนั้น เสวยแต่เช้าทีเดียว เสด็จไปวิหารทรง

ใคร่ครวญว่า " บัณฑิตสามเณรให้บาตรและจีวรแก่พระอุปัชฌาย์แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 337

กลับไป ด้วยตั้งใจว่า 'จักทำสมณธรรม;' กิจแห่งบรรพชิตของเธอ

จักสำเร็จหรือไม่ ?" ทรงทราบว่า สามเณรบรรลุผล ๓ อย่างแล้ว

จึงทรงพิจารณาว่า "อุปนิสัยแห่งพระอรหัตจะมีหรือไม่มี ?" ทรงเห็น

ว่า "มี" แล้วทรงใคร่ครวญว่า "เธอจักอาจเพื่อบรรลุพระอรหัตก่อน

ภัตทีเดียว หรือจักไม่อาจ ?" ได้ทรงทราบว่า " จักอาจ." ลำดับนั้น

พระองค์ได้มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า "สารีบุตร ถือภัตเพื่อสามเณร

รีบมา. เธอจะพึงทำอันตรายแก่สามเณรนั้นก็ได้, เราจักนั่งถือเอาอารักขา

ที่ซุ้มประตู, ทีนั้นจักถามปัญหา ๔ ข้อกะเธอ, เมื่อเธอแก้อยู่, สาม-

เณรจักบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา" ดังนี้แล้ว จึงเสด็จไปจาก

วิหารนั้น ประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตู ตรัสถามปัญหา ๔ ข้อกะพระเถระ

ผู้มาถึงแล้ว. พระเถระแก้ปัญหาที่พระศาสดาตรัสถามแล้ว.

ในปัญหานั้น มีปุจฉาวิสัชนาดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า " สารีบุตร เธอ

ได้อะไรมา ?

พระเถระ. อาหาร พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ชื่อว่าอาหาร ย่อมนำอะไรมา ? สารีบุตร.

พระเถระ. เวทนา พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เวทนา ย่อมนำอะไรมา ? สารีบุตร.

พระเถระ. รูป พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ก็รูป ย่อมนำอะไรมา ? สารีบุตร.

พระเถระ. ผัสสะ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 338

คำอธิบายในปัญหา

ในปัญหานั้น มีอธิบายดังนี้ :-

จริงอยู่ อาหารอันคนหิวบริโภคแล้ว กำจัดความหิวของเขาแล้ว

นำสุขเวทนามาให้. เมื่อสุขเวทนาเกิดขึ้นแก่ผู้มีความสุขเพราะการบริโภค

อาหาร วรรณสมบัติย่อมมีในสรีระ, เวทนาชื่อว่าย่อมนำรูปมา ด้วย

อาการอย่างนั้น. ก็ผู้มีสุขเกิดสุขโสมนัส ด้วยอำนาจรูปที่เกิดจากอาหาร

นอนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม ด้วยคิดว่า "บัดนี้ อัสสาทะ เกิดแก่เรา

แล้ว" ย่อมได้สุขสัมผัส.

สามเณรบรรลุพระอรหัตผล

เมื่อพระเถระแก้ปัญหาทั้ง ๔ ข้อเหล่านี้ อย่างนั้นแล้ว สามเณร

ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. ฝ่ายพระศาสดา ตรัสกะพระ-

เถระว่า "ไปเถิด สารีบุตร, จงให้ภัตแก่สามเณรของเธอ." พระ-

เถระไปเคาะประตูแล้ว. สามเณรออกมารับบาตรจากมือพระเถระ วางไว้

ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว จึงเอาพัดก้านตาลพัดพระเถระ. ลำดับนั้น พระเถระ

กล่าวกะเธอว่า " สามเณร จงทำภัตกิจเสียเถิด."

สามเณร. ก็ใต้เท้าเล่า ขอรับ.

พระเถระ. เราทำภัตกิจเสร็จแล้ว, เธอจงทำเถิด.

เด็กอายุ ๗ ขวบ บวชแล้ว ในวันที่ ๘ บรรลุพระอรหัตเป็น

เหมือนดอกปทุมที่แย้มแล้ว ในขณะนั้น ได้นั่งพิจารณาที่เป็นที่ใส่ภัต

ทำภัตกิจแล้ว. ในขณะที่เธอล้างบาตรเก็บไว้ จันทเทพบุตรปล่อยมณฑล

พระจันทร์. สุริยเทพบุตรปล่อยมณฑลพระอาทิตย์ ท้าวมหาราชทั้ง ๔

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 339

อารักขาทั้ง ๔ ทิศ, ท้าวสักกเทวราช เลิกอารักขาที่สายยู, พระอาทิตย์

เคลื่อนคล้อยไปแล้วจากที่ท่ามกลาง.

ธรรมดาบัณฑิตย่อมฝึกตน

ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า "เงา บ่ายเกินประมาณแล้ว, พระ-

อาทิตย์เคลื่อนคล้อยไปจากที่ท่ามกลาง. ก็สามเณรฉันเสร็จเดี๋ยวนี้เอง, นี่

เรื่องอะไรกัน หนอ ? พระศาสดาทรงทราบความเป็นไปนั้นแล้วเสด็จมา

ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน ?"

พวกภิกษุ. เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า " อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย. ในเวลาผู้มีบุญ

ทำสมณธรรม จันทเทพบุตรฉุดมณฑลพระจันทร์รั้งไว้, สุริยเทพบุตร

ฉุดมณฑลพระอาทิตย์รั้งไว้, ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถืออารักขาทั้ง ๔ ทิศ

ในป่าใกล้วิหาร, ท้าวสักกเทวราชเสด็จมายึดอารักขาที่สายยู, ถึงเราผู้

มีความขวนขวายน้อยด้วยนึกเสียว่า 'เป็นพระพุทธเจ้า' ก็ไม่ได้เพื่อ

จะนั่งอยู่ได้, ยังได้ไปยึดอารักขาเพื่อบุตรซึ่งเรา ที่ซุ้มประตู, พวก

บัณฑิตเห็นคนไขน้ำกำลังไขน้ำไปจากเหมือง ช่างศรกำลังดัดลูกศรให้

ตรง และช่างถากกำลังถากไม้แล้ว ถือเอาเหตุเท่านั้น ให้เป็นอารมณ์

ทรมานตนแล้ว ย่อมยึดเอาพระอรหัตไว้ได้ทีเดียว" ดังนี้แล้ว เมื่อจะ

ทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๕. อุทกญฺหิ นยนฺติ เนตฺติกา

อุสุการา นนยนฺติ เตชน

ทารุ นมยนฺติ ตจฺฉกา

อตฺตาน ทมยนฺติ ปณฺฑิตา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 340

" อันคนไขน้ำทั้งหลายย่อมย่อมไขน้ำ, ช่างศร

ทั้งหลายย่อมดัดศร, ช่างถากทั้งหลายย่อมถากไม้,

บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุทก เป็นต้น ความว่า ชนทั้งหลาย

ขุดที่ดอนบนแผ่นดิน ถมที่เป็นบ่อแล้วทำเหมือง หรือวางรางไม้ไว้

ย่อมไขน้ำไปสู่ที่ตนต้องการ ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้ไขน้ำ.

บทว่า เตชน ได้แก่ ลูกศร.

มีพระพุทธาธิบาย ตรัสไว้ดังนี้ว่า :-

" พวกคนไขน้ำย่อมไขน้ำไปตามชอบใจของตนได้, แม้ช่างศรก็

ย่อมลนดัดลูกศร คือทำให้ตรง, ถึงช่างถาก เมื่อจะถากเพื่อเป็น

ประโยชน์แก่ทัพสัมภาระมีกงเป็นต้น ย่อมดัดไม้ คือทำให้ตรงหรือคด

ตามชอบใจของตน. บัณฑิตทั้งหลายทำเหตุมีประมาณเท่านี้ ให้เป็น

อารมณ์อย่างนั้นแล้ว ยังมรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้นให้เกิดขึ้นอยู่

ย่อมชื่อว่าทรมานตน, แต่เมื่อบรรลุพระอรหัตแล้วย่อมจัดว่าทรมานโดย

ส่วนเดียว."

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องบัณฑิตสามเณร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 341

๖. เรืองพระลกุณฏกภัททิยเถระ [๖๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระลกุณฏก-

ภัททิยเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เสโล ยถา" เป็นต้น.

พระเถระถูกล้อเลียนเพราะร่างเล็ก

ได้ยินว่า สหธรรมิกมีสามเณรเป็นต้น ซึ่งเป็นปุถุชน เห็นพระ-

เถระแล้ว จับที่ศีรษะบ้าง ที่หูบ้าง ที่จมูกบ้าง พลางกล่าวว่า " อาจ๊ะ

อาจ๋า อาไม่กระสัน ยังยินดีแน่นแฟ้น ในพระศาสนาหรือ ?" พระเถระ

ไม่โกรธ ไม่ประทุษร้ายในสหธรรมิกเหล่านั้นเลย.

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พวก

ท่านจงดูเถิด สหธรรมมิกมีสามเณรเป็นต้น เห็นพระลกุณฏกภัททิยเถระ

แล้ว ย่อมรังแกอย่างนั้นอย่างนี้, ท่านไม่โกรธ ไม่ประทุษร้ายในสห-

ธรรมิกเหล่านั้นเลย."

พระขีณาสพเป็นดังศิลา

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

พูดอะไรกัน ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า " เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า"

จึงตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพ ย่อมไม่โกรธ

ไม่ประทุษร้ายเลย, เพราะท่านเหล่านั้นไม่หวั่นไหว ไม่สะเทือน เช่นกับ

ศิลาแท่งทึบ" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระ-

คาถานี้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 342

๖. เสโล ยถา เอกฆโน วาเตน น สมีรติ

เอว นินฺทาปสสาสุ น สมฺนิญฺชนฺติ ปณฺฑิตา.

"ภูเขาศิลาล้วน เป็นแท่งเดียว ย่อมไม่

สะเทือนด้วยลมฉันใด, บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่

เอนเอียงในเพราะนินทาและสรรเสริญฉันนั้น.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า นินฺทาปสสาสุ นี้ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสโลกธรรมไว้ ๒ ก็จริง, ถึงอย่างนั้น พึงทราบเนื้อความด้วย

สามารถแห่งโลกธรรมแม้ทั้ง ๘. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่าภูเขาศิลาล้วน

เป็นแท่งเดียว คือ ไม่มีโพรง ย่อมไม่สะเทือน คือ ไม่เอนเอียง ไม่

หวั่นไหว ด้วยลม ต่างด้วยลมพัดมาแต่ทิศตะวันออกเป็นต้นฉันใด; เมื่อ

โลกธรรมแม้ทั้ง ๘ ครอบงำอยู่ บัณฑิตทั้งหลายย่อมไม่เอนเอียง คือไม่

หวั่นไหว ไม่สะเทือน ด้วยอำนาจความยินร้ายหรือยินดีฉันนั้น."

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุพระอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระลกุณฏกภัททิยเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 343

๗. เรื่องมารดาของนางกาณา [๖๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภมารดาของ

นางกาณา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถาปิ รหโท คมฺภีโร"

เป็นต้น .

เรื่องมาแล้วในวินัย แล.

นางกาณาด่าภิกษุ

ก็ครั้งนั้น ในกาลเมื่อมารดาของนางกาณาทอดขนม เพื่อส่งธิดา

ให้เป็นผู้ไม่มีมือเปล่า ไปสู่ตระกูลผัวแล้ว ถวายแก่ภิกษุ ๔ รูปเสีย ถึง

๔ ครั้ง เมื่อพระศาสดาทรงบัญญัติสิกขาบทในเพราะเรื่องนั้น, เมื่อสามี

ของนางกาณา นำภรรยาใหม่มาแล้ว, นางกาณาได้ฟังเรื่องนั้น จึงด่า

จึงบริภาษพวกภิกษุ ซึ่งตนได้เห็นแล้วและเห็นแล้วว่า "การครองเรือน

ของเรา อันภิกษุเหล่านี้ ให้ฉิบหายแล้ว." ภิกษุทั้งหลายไม่อาจเดินไป

สู่ถนนนั้นได้.

นางกาณาบรรลุโสดาปัตติผล

พระศาสดาทรงทราบเรื่องนั้นแล้ว จึงได้เสด็จไปในที่นั้น. มารดา

ของนางกาณา ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นิมนต์ให้ประทับนั่งบนอาสนะ

ที่ตนตกแต่งไว้ ได้ถวายข้าวยาคูและของควรเคี้ยวแล้ว;

๑. มหาวิภงฺค ๒/๓๒๒. แต่ในคัมภีร์นั้น กล่าวถึงจำนวนภิกษุรับขนมเพียง ๓ องค์ และ

มารดาของนางกาณาก็ทอดขนมถวายภิกษุเพียง ๓ ครั้งเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 344

พระศาสดาเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ตรัสถามว่า "กาณาไป

ไหน ?"

กาณมารดา. พระเจ้าข้า นางเห็นพระองค์แล้ว เป็นผู้เก้อยืน

ร้องไห้อยู่.

พระศาสดา. เพราะเหตุอะไรเล่า ?

กาณมารดา. นางด่าบริภาษพวกภิกษุ; เพราะฉะนั้น นางเห็น

พระองค์แล้ว จึงเป็นผู้เก้อ ยืนร้องไห้อยู่ พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงมีรับสั่งให้เรียกนางกาณามาแล้ว ตรัส

ถามว่า "กาณา เจ้าเห็นเราแล้ว จึงเก้อเขิน แอบร้องไห้ทำไม ?"

ครั้งนั้น มารดาของนางกราบทูลกิริยาที่นางกระทำแล้ว (ให้ทรงทราบ).

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะมารดาของนางกาณาว่า "กาณมารดา ก็สาวก

ทั้งหลายของเรา ถือเอาสิ่งที่เธอให้แล้วหรือว่าที่ยังมิได้ให้เล่า ?"

กาณมารดา. ถือเอาสิ่งที่หม่อมฉันถวายแล้ว พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ถ้าสาวกของเราเที่ยวบิณฑบาต ถึงประตูเรือนของ

เธอแล้ว ถือเอาสิ่งที่เธอให้แล้ว , จะมีโทษอะไรแก่สาวกเหล่านั้นเล่า ?

กาณมารดา. โทษของพระผู้เป็นเจ้าไม่มี พระเจ้าข้า. โทษของ

นางนี่เท่านั้น มีอยู่.

พระศาสดา. ตรัสกะนางกาณาว่า "กาณา ได้ยินว่า สาวกของเรา

เที่ยวบิณฑบาต มาถึงประตูเรือนนี้แล้ว, เมื่อเป็นเช่นนี้ มารดาของเจ้า

ได้ถวายขนมแก่สาวกเหล่านั้น, ในเรื่องนี้ ชื่อว่าโทษอะไรจักมีแก่พวก

สาวกทั้งหลายของเราเล่า ?" .

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 345

นางกาณา. โทษของพระผู้เป็นเจ้า ไม่มี พระเจ้าข้า, หม่อมฉัน

เท่านั้น มีโทษ.

นางถวายบังคมพระศาสดา ให้ทรงอดโทษแล้ว. ครั้งนั้น พระ-

ศาสดาได้ตรัสอนุบุพพีกถาแก่นาง. นางบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว.

พระราชาทรงตั้งนางกาณาในตำแหน่งเชษฐธิดา

พระศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะแล้ว เมื่อจะเสด็จไปสู่วิหาร ได้

เสด็จไปทางพระลานหลวง . พระราชาทอดพระเนตรเห็นแล้ว ตรัสถามว่า

" พนาย นั่นดูเหมือนพระศาสดา," เมื่อราชบุรุษกราบทูลว่า "ถูกแล้ว

พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว จึงส่งไปด้วยพระดำรัสว่า "จงไป จงกราบทูล

ความที่เราจะมาถวายบังคม" แล้ว ได้เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ซึ่งประทับ

ยืนอยู่ ณ พระลานหลวง ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์แล้ว ทูล

ถามว่า "พระองค์จะเสด็จไปไหน ? พระเจ้าข้า."

พระศาสดา. มหาบพิตร อาตมภาพจะไปสู่เรือนมารดาของนาง

กาณา.

พระราชา. เพราะเหตุอะไร ? พระองค์จึงเสด็จไป พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ได้ข่าวว่า นางกาณาด่าบริภาษภิกษุ. อาตมภาพไป

เพราะเหตุนั้น.

พระราชา. ก็พระองค์ทรงทำความที่นางไม่ด่าแล้วหรือ ? พระ-

เจ้าข้า.

พระศาสดา. ถวายพระพร มหาบพิตร อาตมภาพทำนางมิให้

เป็นผู้ด่าภิกษุแล้ว และให้เป็นเจ้าของทรัพย์อันเป็นโลกกุตระแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 346

พระราชา. "พระองค์ทรงทำให้นางเป็นเจ้าของทรัพย์ที่เป็น

โลกุตระแล้วก็ช่างเถิด พระเจ้าข้า. ส่วนหม่อมฉัน จักทำนางให้เป็นเจ้า

ของทรัพย์ที่เป็นโลกีย์" ดังนี้แล้ว ถวายบังคมพระศาสดาเสด็จกลับแล้ว

ทรงส่งยานใหญ่ที่ปกปิดไป รับสั่งให้เรียกนางกาณามาแล้วประดับด้วย

เครื่องอาภรณ์ทุกอย่าง ทรงตั้งไว้ในตำแหน่งพระธิดาผู้ใหญ่แล้ว ตรัสว่า

" ผู้ใดสามารถเลี้ยงดูธิดาของเราได้; ผู้นั้นจงรับเอานางไป."

มหาอำมาตย์รับเลี้ยงนางกาณา

ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ผู้สำเร็จราชกิจทุกอย่างคนหนึ่ง กราบทูลว่า

" ข้าพระองค์จักเลี้ยงดูพระธิดาของผ่าพระบาท" ดังนี้แล้ว นำนาไปยัง

เรือนของตน มอบความเป็นใหญ่ทุกอย่างให้แล้ว กล่าวว่า " เจ้าจงทำ

บุญตามชอบใจเถิด."

จำเดิมแต่วันนั้นมา นางกาณาตั้งบุรุษไว้ที่ประตูทั้ง ๔ ก็ยังไม่ได้

ภิกษุและภิกษุณีที่ตนพึงบำรุง. ของควรเคี้ยวและของควรบริโภคที่นาง

กาณาตระเตรียมตั้งไว้ที่ประตูเรือน ย่อมเป็นเหมือนห้วงน้ำใหญ่.

พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า " ผู้มีอายุ ในกาลก่อนพระ-

เถระ ๔ รูป ทำความเดือดร้อนให้แก่นางกาณา, นางแม้เป็นผู้เดือดร้อน-

อย่างนั้น อาศัยพระศาสดา ได้ความถึงพร้อมด้วยศรัทธาแล้ว; พระศาสดา

ได้ทรงทำประตูเรือนของนาง ให้เป็นสถานที่ควรเข้าไปของพวกภิกษุอีก,

บัดนี้ นางแม้แสวงหาภิกษุหรือภิกษุณีทั้งหลายที่คนจะพึงบำรุง ก็ยังได้,

โอ ! ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีคุณน่าอัศจรรย์จริง.

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 347

พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น กราบ

ทูลว่า "ด้วยกถาชื่อนี้." จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุแก่เหล่านั้น

ทำความเดือดร้อนแก่นางกาณา มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน

พวกเธอก็ทำแล้วเหมือนกัน; อนึ่ง เราได้ทำให้นางกาณาทำตามถ้อยคำ

ของเรา มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น, ถึงในกาลก่อน เราก็ทำแล้วเหมือนกัน

อันพวกภิกษุผู้ใคร่จะฟังเนื้อความนั้น ทูลวิงวอนแล้วจึงตรัสพัพพุชาดกนี้

โดยพิสดารว่า:-

" แมวตัวหนึ่งได้หนูและเนื้อในที่ใด, แมว

ตัวที่ ๒ ก็ย่อมเกิดในที่นั้น. ตัวที่ ๓ และตัว

ที่ ๔ ก็ย่อมเกิดในที่นั้น. แมวเหล่านั้นทำลาย

ปล่องนี้แล้ว (ถึงแก่ความตาย). "

แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า " ภิกษุแก่ ๔ รูป (ในบัดนี้) ได้เป็นแมว

๔ ตัวในครั้งนั้น. หนูได้เป็นนางกาณา. นายช่างแก้ว คือเรานั่นเอง "

ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย แม้ในอดีตกาล นางกาณาได้

เป็นผู้มีใจหม่นหมอง มีจิตขุ่นมัวอย่างนั้น (แต่ ) ได้เป็นผู้มีจิตผ่องใส

เหมือนห้วงน้ำมีน้ำใส เพราะคำของเรา เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง

ธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๗. ยถาปิ รหโท คมฺภีโร วิปฺปสนฺโน อนาวิโล

เอว ธมฺมานิ สุตฺวาน วิปฺปสีทนฺติ ปณฺฑิตา.

" บัณฑิตทั้งหลาย ฟังธรรมแล้ว ย่อมผ่องใส

เหมือนห้วงน้ำลึก ใสแจ๋ว ไม่ขุ่นมัว ฉะนั้น. "

๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๔๔. อรรถกถา. ๒/๓๖๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 348

แก้อรรถ

ห้วงน้ำใด แม้เมื่อเสนาทั้ง ๔ เหล่า ข้ามอยู่ ย่อมไม่กระเพื่อม.

ห้วงน้ำเห็นปานนี้ ชื่อว่า รหโท ในพระคาถานั้น.

ก็นีลมหาสมุทรซึ่งลึกถึง ๘ หมื่น ๔ พันโยชน์ โดยอาการทั้งปวง

ชื่อว่า ห้วงน้ำ. แท้จริง น้ำในที่มีประมาณ ๔ หมื่นโยชน์ ภายใต้

นีลมหาสมุทรนั้น ย่อมหวั่นไหวเพราะฝูงปลา. น้ำในที่มีประมาณเท่านั้น

เหมือนกัน ในเบื้องบน ย่อมหวั่นไหวเพราะลม. (ส่วน) น้ำในที่มี

ประมาณ ๔ พันโยชน์ในท่ามกลาง (นีลมหาสมุทรนั้น) ไม่หวั่นไหว

ตั้งอยู่; นี้ ชื่อว่าห้วงน้ำลึก.

บทว่า ธมฺมานิ ได้แก่ เทศนาธรรมทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสคำอธิบายนี้ไว้ว่า " ห้วงน้ำนั้น ชื่อว่า ใสแจ๋ว เพราะเป็นน้ำไม่

อากูล ชื่อว่า ไม่ขุ่นมัว เพราะเป็นน้ำไม่หวั่นไหว ฉันใด; บัณฑิต

ทั้งหลาย ฟังเทศนาธรรมของเราแล้ว ถึงความเป็นผู้มีจิตปราศจาก

อุปกิเลส ด้วยสามารถแห่งมรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น ชื่อว่า ย่อม

ผ่องใส ฉันนั้น. ส่วนท่านผู้บรรลุพระอรหัตแล้วย่อมเป็นผู้ผ่องใสโดย

ส่วนเดียวแล."

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องมาดาของนางกาณา จบ.

๑. ได้แก่ จตุรงคเสนา คือ พลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 349

๙. เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป [๖๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๕๐๐

รูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพตฺถ เว สปฺปุริสา วชนฺติ "

เป็นต้น.

พระธรรมเทศนาตั้งขึ้นที่เมืองเวรัญชา.

พระศาสดาเสด็จเมืองเวรัญชา

ความพิสดารว่า ครั้งปฐมโพธิกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไป

เมืองเวรัญชา อันพราหมณ์ชื่อว่าเวรัญชะทูลนิมนต์แล้ว จึงเสด็จจำพรรษา

พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป. เวรัญชพราหมณ์ถูกมารดลใจมิให้เกิดสติ

ปรารภถึงพระศาสดาแม้สักวันหนึ่ง. แม้เมืองเวรัญชาได้เป็นเมืองข้าวแพง

แล้ว. พวกภิกษุเที่ยวไปบิณฑบาตตลอดเมืองเวรัญชา ทั้งภายในภายนอก

เมื่อไม่ได้บิณฑบาต จึงลำบากมาก.

พวกพ่อค้าม้าจัดแจงภิกษา มีข้าวแดงราวแล่งหนึ่ง ๆ เพื่อภิกษุ

เหล่านั้น. พระมหาโมคคัลลานเถระเห็นภิกษุเหล่านั้นลำบาก ได้มีความ

ประสงค์จะให้ภิกษุฉันง้วนดิน และประสงค์จะให้พวกภิกษุเข้าไปสู่อุตตร-

กุรุทวีป เพื่อบิณฑบาต. พระศาสดาได้ทรงห้ามท่านเสีย. แม้ในวันหนึ่ง

พวกภิกษุมิได้มีความสะดุ้งเพราะปรารภบิณฑบาต. ภิกษุทั้งหลายเว้น

ความประพฤติด้วยอำนาจความอยากแลอยู่แล้ว.

๑. มาราวฏฺฏเนน อาวฏฺโฏ อันเครื่องหมุนไปทั่วแห่งหารให้หมุนทั่วแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 350

พระศาสดาเสด็จไปกรุงสาวัตถี

พระศาสดาประทับอยู่ที่เมืองเวรัญชานั้น สิ้นไตรมาสแล้ว ทรง

อำลาเวรัญชพราหมณ์ มีสักการะสัมมานะอันพราหมณ์นั้นกระทำแล้ว

ทรงให้เขาตั้งอยู่ในสรณะแล้ว เสด็จออกจากเมืองเวรัญชานั้นเสด็จจาริก

ไปโดยลำดับ สมัยหนึ่ง เสด็จถึงกรุงสาวัตถี ประทับอยู่ในพระเชตวัน

ชาวกรุงสาวัตถี กระทำอาคันตุกภัตแด่พระศาสดาแล้ว.

ก็ในกาลนั้น พวกกินแดนประมาณ ๕๐๐ คน อาศัยพวกภิกษุ

อยู่ภายในวิหารนั่นเอง. พวกเขากินโภชนะอันประณีต ที่เหลือจากภิกษุ

ทั้งหลายฉันแล้ว ก็นอนหลับ ลุกขึ้นแล้ว ไปสู่ฝั่งแม่น้ำ แผดเสียง

โห่ร้อง กระโดดโลดเต้น ซ้อมมวยปล้ำ เล่นกันอยู่ประพฤติแต่อนาจาร

เท่านั้น ทั้งภายในวิหาร ทั้งภายนอกวิหาร.

พวกภิกษุสนทนากันในโรงธรรมว่า "ดูเถิด ผู้มีอายุทั้งหลาย,

ในเวลาเกิดทุพภิกขภัย พวกกินเดนเหล่านี้ มิได้แสดงวิการอะไร ๆ

ในเมืองเวรัญชา, แต่บัดนี้ กินโภชนะอันประณีตเห็นปานนี้แล้ว เที่ยว

แสดงอาการแปลก ๆ เป็นอเนกประการ ; ส่วนพวกภิกษุ สงบอยู่ แม้

ในเมืองเวรัญชา ถึงในบัดนี้ ก็พากันอยู่อย่างเสงี่ยมเหมือนกัน.

พระศาสดาตรัสวาโลทกชาดก

พระศาสดาเสด็จไปสู่โรงธรรมแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอพูดอะไรกัน ? " เมื่อพวกภิกษุกราบทูล "เรื่องชื่อนี้" ดังนี้แล้ว

ตรัสว่า "แม้ในกาลก่อน คนกินเดนเหล่านี้ เกิดในกำเนิดลา เป็นลา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 351

๕๐๐ ได้ดื่มน้ำมีรสน้อยอันเลว ซึ่งถึงการนับว่า 'น้ำหาง' เพราะ

ความที่เขาเอาน้ำขยำกากอันเป็นแดนซึ่งเหลือจากน้ำลูกจันทน์มีรสชุ่ม ที่ม้า

สินธพชาติอาชาไนย ๕๐๐ ดื่มแล้ว จึงกรองด้วยผ้าเปลือกปอเก่า ๆ เป็น

เหมือนเมาน้ำหวาน เที่ยวร้องเอ็ดอึงอยู่" เมื่อจะทรงแสดงกิริยาของลา

เหล่านั้น อันพระโพธิสัตว์ผู้อันพระราชาทรงสดับเสียงของลาเหล่านั้น

ตรัสถามแล้ว ได้กราบทูลแด่พระราชา ตรัสวาโลทกชาดกนี้โดยพิสดาร

ว่า :-

"ความเมาย่อมบังเกิดแก่พวกลา เพราะดื่มกิน

น้ำหางมีรสน้อยอันเลว, แต่ความเมาย่อมไม่เกิดแก่

ม้าสินธพ เพราะดื่มรสที่ประณีตนี้.

ข้าแต่พระราชาผู้เป็นจอมนรชน ลานั้นเป็นสัตว์

มีชาติเลว ดื่มน้ำมีรสน้อย อันรสนั้นถูกต้องแล้ว

ย่อมเมา, ส่วนม้าอาชาไนย ผู้เอาธุระเสมอ เกิด

ในตระกูล (ที่ดี) ดื่มรสที่เลิศแล้วหาเมาไม่"

แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษเว้นธรรมคือความโลภแล้ว ย่อม

เป็นผู้ไม่มีวิการเลย ทั้งในเวลาถึงสุข ทั้งในเวลาถึงทุกข์ อย่างนี้" เมื่อ

จะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๘. สพฺพตฺถ เว สปฺปุริสา วชนฺติ

น กามกามา ลปยนฺติ สนฺโต

สุเขน ผุฏฺา อถวา ทุกฺเขน

น อุจฺจาวจ ปณฺฑิตา ทสฺสยนฺติ.

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๖๕. อรรถกถา. ๓/๑๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 352

" สัตบุรุษทั้งหลายย่อมเว้นในธรรมทั้งปวงแล.

สัตบุรุษทั้งหลาย หาใช่ผู้ปรารถนากามบ่นไม่,

บัณฑิตทั้งหลาย อันสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อม

ไม่แสดงอาการขึ้นลง. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพตฺถ ได้แก่ ในธรรมทั้งหมด

ต่างโดยธรรมมีขันธ์ เป็นต้น . บุรุษดี ชื่อว่า สปฺปุริสา.

บทว่า วชนฺติ ความว่า สัตบุรุษเมื่อคร่าฉันทราคะออกด้วย

อรหัตมรรคญาณ ชื่อว่าย่อมเว้นฉันทราคะ.

บทว่า น กามกามา ได้แก่ ผู้ใคร่กาม. ( อีกอย่างหนึ่ง) ได้

แก่ เพราะเหตุแห่งกาม คือเพราะกามเป็นเหตุ.

สองบทว่า ลปยนฺติ สนฺโต ความว่า สัตบุรุษทั้งหลายมีพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้น ย่อมไม่บ่นเพ้อด้วยตนเองเลย (ทั้ง ) ไม่ยังผู้อื่นให้

บ่นเพ้อ เพราะเหตุแห่งกาม. จริงอยู่ ภิกษุเหล่าใดเข้าไปเพื่อภิกษา

ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร กล่าวคำเป็นต้นว่า " อุบาสก บุตรภรรยาของท่าน

ยังสุขสบายดีหรือ ? อุปัทวะไร ๆ ด้วยสามารถแห่งราชภัยและโจรภัย

เป็นต้น มิได้มีในสัตว์ ๒ เท้าและสัตว์ ๔ เท้าดอกหรือ ? " ภิกษุ

เหล่านั้น ชื่อว่า ย่อมบ่นเพ้อเอง. ก็ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว ( พูด )

ให้เขานิมนต์ตนว่า " อย่างนั้น ขอรับ พวกผมทุกคนมีความสุขดี.

๑. อีกนัยหนึ่ง แปลว่า สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมไม่พร่ำเพ้อ เพราะความใคร่ในกาม.

๒. ขันธ์ ๕ คือ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 353

อุปัทวะไร ๆ มิได้มี, บัดนี้ เรือนของพวกผมมีข้าวน้ำเหลือเฟือ. นิมนต์

ท่านอยู่ในที่นี้แหละ " ดังนี้ ชื่อว่าให้บุคคลอื่นบ่นเพ้อ. ส่วนสัตบุรุษ

ทั้งหลาย ย่อมไม่ทำการบ่นเพ้อแม้ทั้งสองอย่างนั้น.

คำว่า สุเขน ผุฏฺา อถวา ทุกฺเขน นี้ สักว่าเป็นเทศนา.

อธิบายว่า " บัณฑิตทั้งหลายผู้อันโลกธรรม ๘ ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่

แสดงอาการขึ้นลง ด้วยสามารถแห่งความเป็นผู้ยินดีและความเป็นผู้เก้อเขิน

หรือด้วยสามารถแห่งการกล่าวคุณและกล่าวโทษ. "

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุ ๕๐๐ รูป จบ.

๑. โลกธรรม ๘ คือ ลาภ เสื่อมลาภ ยศ เสื่อมยศ นินทา สรรเสริญ สุข ทุกข์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 354

๙. เรื่องพระเถระผู้ตั้งอยู่ในธรรม [๖๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระธรรมิก-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น อตฺตเหตุ" เป็นต้น.

อุบาสกหนีไปบวชได้บรรลุพระอรหัต

ได้ยินว่า อุบาสกคนหนึ่งในกรุงสาวัตถี อยู่ครองเรืองโดยชอบ

ธรรม. อุบาสกนั้นเป็นผู้ใคร่จะบวช วันหนึ่งเมื่อนั่งสนทนาถึงถ้อยคำ

ปรารภความสุขกับภรรยา จึงพูดว่า "นางผู้เจริญ ฉันปรารถนาจะ

บวช." ภรรยาอ้อนวอนว่า "นาย ถ้ากระนั้น ขอท่านจงคอย จน

กว่าดิฉันจะคลอดบุตรซึ่งอยู่ในท้องก่อนเถิด." เขาคอยแล้ว ในเวลา

ที่เด็กเดินได้ จึงอำลานางอีก เมื่อนางวิงวอนว่า "นาย ขอท่านจงคอย

จนกว่าเด็กนี้เจริญวันเถิด." จึงมาคิดว่า "ประโยชน์อะไรของเราด้วย

หญิงนี้ ที่เราลาแล้วหรือไม่ลา, เราจักทำการสลัดออกจากทุกข์แก่ตนละ"

ดังนี้แล้ว ออกไปบวชแล้ว. ท่านเรียนกัมมัฏฐาน พากเพียนพยายามอยู่

ยังกิจแห่งบรรพชิตของตนให้สำเร็จแล้วจึง (กลับ) ไปเมืองสาวัตถีอีก

เพื่อประโยชน์แก่การเยี่ยมบุตรและภรรยาเหล่านั้น แล้วได้แสดงธรรมกถา

แก่บุตร.

บุตรและภรรยาออกบวชได้บรรลุพระอรหัต

แม้บุตรนั้นออกบวชแล้ว. ก็แลครั้นบวชแล้ว ไม่นานนักก็ได้

บรรลุพระอรหัต. ฝ่ายภรรยาเก่าของภิกษุ (ผู้เป็นบิดา) นั้นคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 355

"เราอยู่ครองเรือนเพื่อประโยชน์แก่ชนเหล่าใด, ชนเหล่านั้นแม้ทั้งสอง

ก็บวชแล้ว, บัดนี้ ประโยชน์อะไรของเราด้วยการครองเรือนเล่า ? เรา

จักบวชละ " แล้วจึงออกไปบวชในสำนักงานภิกษุณี, ก็แลครั้นบวชแล้ว

ไม่นานเลยก็ได้บรรลุพระอรหัต.

พวกภิกษุสรรเสริญพระธรรมิกะ

ภายหลังวันหนึ่ง พวกภิกษุสนทนากันขึ้นในธรรมสภาว่า "ผู้มี

อายุทั้งหลาย ธรรมิกอุบาสก ออกบวช บรรลุพระอรหัตแล้ว ทั้งได้

เป็นที่พึ่งแก่บุตรและภรรยา ก็เพราะความที่ตนตั้งอยู่ในธรรม."

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พวกเธอ นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า

"ด้วยกถาชื่อนี้พระเจ้าข้า" แล้ว, จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา

ว่าบัณฑิตไม่พึงปรารถนาความสำเร็จเพราะเหตุแห่งตน (และ) ไม่พึง

ปรารถนาความสำเร็จเพราะเหตุแห่งคนอื่น, แต่พึงเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม

มีธรรมเป็นที่พึ่งโดยแท้" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระ-

คาถานี้ว่า :-

๙. น อตฺตเหตุ น ปรสฺส เหตุ

น ปุตฺตมิจฺเฉ น ธน น รฏฺ

น อิจฺเฉยฺย อธมฺเมน สมิทฺธิมตฺตโน

ส สีลวา ปญฺญวา ธมฺมิโก สิยา.

"บัณฑิตย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งตน,

ย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น, บัณฑิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 356

ไม่พึงปรารถนาบุตร, ไม่พึงปรารถนาทรัพย์ ไม่พึง

ปรารถนาแว่นแคว้น, ( และ) ไม่พึงปรารถนาความ

สำเร็จเพื่อตน โดยไม่เป็นธรรม, บัณฑิตนั้นพึง

เป็นผู้มีศีล มีปัญญา ตั้งอยู่ในธรรม."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น อตฺตเหตุ ความว่า ธรรมดา

บัณฑิต ย่อมไม่ทำบาป เพราะเหตุแห่งตนหรือเพราะเหตุแห่งบุคคลอื่น.

บทว่า น ปุตฺตมิจฺเฉ ความว่า บัณฑิตไม่พึงปรารถนาบุตร

หรือทรัพย์ หรือแว่นแคว้น ด้วยกรรมอันลามก. บัณฑิตเมื่อปรารถนา

แม้สิ่งเหล่านั้น ย่อมไม่กระทำกรรมลามกเลย.

บทว่า สมิทฺธิมตฺตโน ความว่า บัณฑิตไม่พึงปรารถนา แม้

ความสำเร็จเพื่อตน โดยไม่เป็นธรรม. อธิบายว่า บัณฑิตย่อมไม่ทำบาป

แม้เพราะเหตุแห่งความสำเร็จ

บทว่า ส สีลวา ความว่า บุคคลผู้เห็นปานนี้นั่นแล พึงเป็น

ผู้มีศีล มีปัญญา และตั้งอยู่ในธรรม อธิบายว่า ไม่พึงเป็นอย่างอื่น.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระเถระผู้ตั้งอยู่ในธรรม จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 357

๑๐. เรื่องการฟังธรรม [๖๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภการฟังธรรม

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ" เป็นต้น.

คนอาศัยภพแล้วติดภพมีมาก

ดังได้สดับมา พวกมนุษย์ผู้อยู่ถนนสายเดียวกัน ในกรุงสาวัตถี

เป็นผู้พร้อมเพรียงกัน ถวายทานโดยรวมกันเป็นคณะแล้ว ก็ให้ทำการ

ฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่ง, แต่ไม่อาจฟังธรรมตลอดคืนยังรุ่งได้; บางพวก

เป็นผู้อาศัยความยินดีในกามก็กลับไปเรือนเสียก่อน, บางพวกเป็นผู้อาศัย

โทสะไปแล้ว, แต่บางพวกง่วงงุนเต็มที นั่งสัปหงกอยู่ในที่นั้นนั่นเอง

ไม่อาจจะฟังได้. ในวันรุ่งขึ้น พวกภิกษุยังถ้อยคำให้ตั้งขึ้นในโรงธรรม

เจาะจงถึงเรื่องนั้น. พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลว่า " ด้วยเรื่องชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดา

สัตว์เหล่านี้ อาศัยภพแล้วเลยข้องอยู่ในภพนั่นเอง โดยดาษดื่น, ชนิดผู้

ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย," เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระ-

คาถาเหล่านี้ว่า :-

๑๐. อปฺปกา เต มนุสฺเสสุ เย ชนา ปารคามิโน

อถาย อิตรา ปชา ตีรเมวานุธาวติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 358

เย จ โข สมฺมทกฺขาเต ธมฺเม ธมฺมานุวตฺติโน

เต ชนา ปารเมสฺสนฺติ มจฺจุเธยฺย สุทุตฺตร.

"บรรดามนุษย์ ชนผู้ถึงฝั่งมีจำนวนน้อย, ฝ่าย

ประชานอกนี้เลาะไปตามตลิ่งอย่างเดียว. ก็ชน

เหล่าใดแล ประพฤติสมควรแก่ธรรมในธรรมที่เรา

กล่าวชอบแล้ว, ชนเหล่านั้นล่วงบ่วงมารที่ข้ามได้

ยากอย่างเอกแล้ว จึงถึงฝั่ง."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปกา คือ นิดหน่อย ได้แก่

ไม่มาก. บทว่า ปารคามิโน คือบรรลุพระนิพพาน. บาทพระคาถาว่า

อถาย อิตรา ปชา ความว่า ฝ่ายประชาที่เหลือนี้ใด ย่อมเลาะไปตาม

ริมตลิ่ง คือ สักกายทิฏฐิ, นี้แล มากนัก.

บทว่า สมฺมทกฺขาเต คือตรัสโดยชอบ ได้แก่ตรัสถูกต้อง.

บทว่า ธมฺเม คือ ในเทศนาธรรม. บทว่า ธมฺมานุวตฺติโน ความ

ว่า ประพฤติสมควรแก่ธรรม ด้วยสามารถแห่งการฟังธรรมนั้นแล้ว

บำเพ็ญปฏิปทาเหมาะแก่ธรรมนั้นแล้ว กระทำมรรคผลให้แจ้ง.

บทว่า ปารเมสฺสนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้น คือเห็นปานนั้น

จึงถึงฝั่งคือนิพพาน. บทว่า มจฺจุเธยฺย ได้แก่ วัฏฏะอันเป็นไปใน ๓

ภูมิ อันเป็นสถานที่อยู่อาศัยของมัจจุ กล่าวคือกิเลสมาร.

บทว่า สุทุตฺตร ความว่า ชนเหล่าใดประพฤติธรรมสมควรแก่

ธรรม, ชนเหล่านั้นล่วงคือเลยบ่วงมารที่ข้ามได้ยากอย่างเอก คือก้าวล่วง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 359

ได้ยากนักแล้วนั้น จักถึงฝ่ายคือพระนิพพาน.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้.

เรื่องการฟังธรรม จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 360

๑๑. เรื่องภิกษุอาคันตุกะ [๗๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุ

อาคันคุกะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "กณฺห ธมฺม วิปฺปหาย"

เป็นต้น .

พระศาสดาตรัสเหมาะแก่ความประพฤติ

ดังได้ทราบมาว่า ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป จำพรรษาอยู่ใน

แคว้นโกศล ออกพรรษาแล้ว ปรึกษากันว่า "จักเฝ้าพระศาสดา"

จึงไปยังพระเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่สุแห่งหนึ่ง.

พระศาสดาทรงพิจารณาธรรมอันเป็นปฏิปักษ์แก่จริยาของพวกเธอ เมื่อ

จะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

๑๑. กณฺห ธมฺม วิปฺปหาย สุกฺก ภาเวถ ปณฺฑิโต

โอกา อโนกมาคมฺม วิเวเก ยตฺถ ทูรม

ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย หิตฺวา กาเม อกิญฺจโน

ปริโยทเปยฺย อตฺตาน จิตฺตเกฺลเสหิ ปณฺฑิโต.

เยส สมฺโพธิยงฺเคสุ สมฺมา จิตฺต สุภาวิต

อาทานปฏินิสฺสคฺเค อนุปาทาย เย รตา

ขีณาสวา ชุติมนฺโต เต โลเก ปรินิพฺพุตา.

" บัณฑิตละธรรมดำแล้ว ออกจากอาลัย อาศัย

ธรรมอันหาอาลัยมิได้แล้ว ควรเจริญธรรมขาว, ละ

กามทั้งหลายแล้ว หมดความกังวล พึงปรารถนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 361

ความยินดียิ่งในวิเวก อันเป็นซึ่งประชายินดีได้ยาก,

บัณฑิตควรทำตนให้ผ่องแล้ว จากเครื่องเศร้าหมอง.

ชนเหล่าใดอบรมจิตดีแล้วโดยชอบ ในองค์ธรรมแห่ง

ความตรัสรู้, (และ) ชนเหล่าใด ไม่ถือมั่นยินดี

ในการละเลิกความถือมั่น, ชนเหล่านั้น ๆ เป็น

พระขีณาสพ รุ่งเรื่อง ดับสนิทแล้วในโลก."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า กณฺห ธมฺม ความว่า ละ คือ

สละอกุศลธรรม ต่างโดยเป็นกายทุจริตเป็นต้น.

สองบทว่า สุกฺก ภาเวถ ความว่า ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ควร

เจริญธรรมขาว ต่างโดยเป็นกายสุจริตเป็นต้น ตั้งแต่ออกบวช จน

ถึงอรหัตมรรค. เจริญอย่างไร ? คือออกจากอาลัย ปรารภธรรมอันหา

อาลัยมิได้.

อธิบายว่า ธรรมเป็นเหตุให้อาลัย ตรัสเรียกว่าโอกะ ธรรมเป็น

เหตุให้ไม่มีอาลัย ตรัสเรียกว่า อโนกะ, บัณฑิตออกจากธรรมเป็นเหตุ

ให้อาลัยแล้ว เจาะจง คือปรารภพระนิพพาน กล่าวคือธรรมเป็นเหตุ

ไม่มีอาลัย เมื่อปรารถนาพระนิพพานนั้น ควรเจริญธรรมขาว.

บาทพระคาถาว่า ตตฺราภิรติมิจฺเฉยฺย ความว่า พึงปรารถนา

ความยินดียิ่งในวิเวก ที่นับว่าเป็นธรรมอันไม่มีอาลัย คือพระนิพพาน

ซึ่งสัตว์เหล่านั้นอภิรมย์ได้โดยยาก.

สองบทว่า หิตฺวา กาเม ความว่า ละวัตถุกามและกิเลสกาม

แล้วเป็นผู้หมดความกังวล พึงปรารถนาความยินดียิ่งในวิเวก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 362

บทว่า จิตฺตเกฺลเสหิ ความว่า พึงทำตนให้ขาวผ่อง คือให้

บริสุทธิ์จากนิวรณ์ ๕.

บทว่า สมฺโพธิยงฺเคสุ ได้แก่ ในธรรมเป็นองค์เครื่องตรัสรู้.

บาทพระคาถาว่า สมฺมา จิตฺต สุภาวิต ความว่า (ชน

เหล่าใด) อบรม คือเจริญจิตด้วยดีแล้ว ตามเหตุ คือตามนัย.

บาทพระคาถาว่า อาทานปฏินิสฺสคฺเค ความว่า ความยึดถือ

ตรัสเรียกว่า ความถือมั่น, ชนเหล่าใด ไม่ถืออะไร ๆ ด้วยอุปาทาน ๔

ยินดีแล้วในการไม่ถือมั่น กล่าวคือการเลิกละความยึดถือนั้น.

บทว่า ชุติมนฺโต ความว่า ผู้มีอานุภาพ คือผู้ยังธรรมต่างโดย

ขันธ์เป็นต้นให้รุ่งเรือง แล้วดำรงมั่นอยู่ ด้วยความรุ่งเรืองคือญาณอัน

กำกับด้วยอรหัตมรรค.

สองบทว่า เต โลเก เป็นต้น ความว่า ชนเหล่าชั้นชื่อว่า

ดับสนิทแล้ว ในขันธาทิโลกนี้ คือปรินิพพานแล้ว ด้วยปรินิพพาน

๒ อย่าง คือด้วยปรินิพพานที่ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะกิเลสวัฏอันตน

ให้สิ้นไปแล้ว ตั้งแต่เวลาที่บรรลุพระอรหัต และด้วยปรินิพพานที่ชื่อว่า

อนุปาทิเสส เพราะขันธวัฏอันตนให้สิ้นไปแล้ว ด้วยดับจริมจิต คือถึง

ความหาบัญญัติไม่ได้ ดังประทีปหาเชื้อมิได้ฉะนั้น.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุอาคันตุกะ จบ.

บัณฑิตวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๖ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 363

คาถาธรรมบท

อรหันตวรรคที่ ๗

ว่าด้วยภิกษุอรหันต์

[๑๗] ๑. ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้มีทางไกล

อันถึงแล้ว หาความเศร้าโศกมิได้ หลุดพ้นแล้วในที่

ทั้งปวง ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้แล้ว.

๒. ท่านผู้มีสติย่อมออก ท่านย่อมไม่ยินดีใน

ที่อยู่ ท่านละความห่วงใยเสีย เหมือนฝูงหงส์ละเปือก

ตมไปฉะนั้น.

๓. คติของชนทั้งหลายผู้หาสั่งสมมิได้ ผู้กำหนด

รู้โภชนะ มีสุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์

เป็นอารมณ์ ไปตามยาก เหมือนทางไปของฝูงนก

ในอากาศฉะนั้น.

๔. อาสวะทั้งหลายของบุคคลใดสิ้นแล้ว บุคคล

ใดไม่อาศัยแล้วในอาหารและสุญญตวิโมกข์ อนิมิตต-

วิโมกข์ เป็นโคจรของบุคคลใด ร่องรอยของบุคคล

นั้น ๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยของนกทั้งหลายในอากาศ

ฉะนั้น.

๕. อินทรีย์ทั้งหลายของภิกษุใด ถึงความสงบ

แล้ว เหมือนม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้วฉะนั้น แม้

๑. ในวรรคนี้ มีอรรถกถา ๑๐ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 364

เหล่าเทพเจ้าย่อมกระหยิ่มต่อภิกษุนั้น ผู้มีมานะอัน

ละแล้ว ผู้หาอาสวะมิได้ ผู้คงที่.

๖. ภิกษุใด เสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วย

เสาเขื่อนคงที่ มีวัตรดี มีกิเลสดังเปือกตมไปปราศ

แล้ว เหมือนห้วงน้ำปราศจากเปือกตม ย่อมไม่

(ยินดี) ยินร้าย สงสารทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุ

นั้น ผู้คงที่.

๗. ใจของท่านพ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ ผู้

สงบระงับ คงที่ เป็นผู้มีใจสงบแล้ว วาจาก็สงบแล้ว

การงานก็สงบแล้ว.

๘. นระใดไม่เชื่อง่าย มีปกติรู้พระนิพพานอัน

ปัจจัยทำไม่ได้ ตัดที่ต่อ มีโอกาสอันกำจัดแล้ว มี

ความหวังอันคายแล้ว นระนั้นแล เป็นบุรุษสูงสุด

๙. พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด เป็นบ้าน

ก็ตาม เป็นป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม

ที่นั้นเป็นภูมิสถานที่น่ารื่นรมย์.

๑๐. ป่าทั้งหลาย เป็นที่น่ารื่นรมย์ ท่านผู้มีราคะ

ไปปราศแล้วทั้งหลาย จักยินดีในป่าอันไม่เป็นที่ยินดี

ของชน เพราะท่านผู้มีราคะไปปราศแล้วเหล่านั้น

เป็นผู้มีปกติไม่แสวงหากาม.

จบอรหันตวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 365

๗. อรหันตวรรควรรณนา

๑. เรื่องหมอชีวก [๗๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในสวนมะม่วงของหมอชีวก ทรงปรารภ

ปัญหาอันหมอชีวกทูลถามแล้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "คตทฺธิโน"

เป็นต้น.

พระเทวทัตทำโลหิตุปบาทกรรม

เรื่องหมอชีวก ท่านให้พิสดารในขันธกะแล้วแล.

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระเทวทัตเป็นผู้ร่วมคิดกับพระเจ้า

อชาตศัตรูขึ้นสู่เขาคิชฌกูฎ มีจิตคิดร้าย คิดว่า "เราจักปลงพระชนม์

พระศาสดา" จึงกลิ้งหินลง. ยอดเขา ๒ ยอดรับหินนั้นไว้. สะเก็ดซึ่ง

แตกออกจากหินนั้น กระเด็นไป กระทบพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ยังพระโลหิตให้ห้อแล้ว. เวทนากลับเป็นไปแล้ว.

หมอชีวกทำการพยาบาลแล้ว

ภิกษุทั้งหลายนำพระศาสดาไปยังสวนมัททกุจฉิ. พระศาสดามีพระ-

ประสงค์จะเสด็จ แม้จากสวนมัททกุจฉินั้นไปยังสวนมะม่วงของหมอชีวก

จึงตรัสว่า " เธอทั้งหลาย จงนำเราไปในสวนมะม่วงของหมอชีวกนั้น."

พวกภิกษุได้พาพระผู้มีพระภาคเจ้าไปยังสวนมะม่วงของหมอชีวกแล้ว. หมอ

ชีวกทราบเรื่องนั้น ไปสู่สำนักพระศาสดา ถวายเภสัชขนานที่ชะงัด เพื่อ

ประโยชน์กำชับแผล พันแผลเสร็จแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กะพระศาสดาว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 366

" พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ประกอบเภสัชแก่มนุษย์ผู้หนึ่งภายในพระนคร,

ข้าพระองค์จักไปยังสำนักของมนุษย์นั้นแล้ว จัก ( กลับ) มาเฝ้า นี้จงตั้ง

อยู่โดยนิยามที่ข้าพระองค์พันไว้นั่นแหละจนกว่าข้าพระองค์จะกลับมาเฝ้า."

เขาไปทำกิจที่ควรทำแก่บุรุษนั้นแล้ว กลับมาในเวลาปิดประตู

จึงไม่ทันประตู. ทีนั้น เขาได้มีความวิตกอย่างนี้ว่า "แย่จริง เราทำ

กรรมหนักเสียแล้ว ที่เราถวายเภสัชอย่างชะงัด พันแผลที่พระบาทของ

พระตถาคตเจ้า ดุจคนสามัญ; เวลานี้เป็นเวลาแก้แผลนั้น, เมื่อแผลนั้น

อันเรายังไม่แก้, ความเร่าร้อนในพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าจักเกิด

ตลอดคืนยังรุ่ง."

แผลของพระศาสดาหายสนิท

ขณะนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระอานนทเถระมาเฝ้า รับสั่งว่า

" อานนท์ หมอชีวกมาในเวลาเย็นไม่ทันประตู, ก็เขาคิดว่า 'เวลานี้

เป็นเวลาแก้แผล,' เธอจงแก้แผลนั้น." พระเถระแก้แล้ว. แผลหายสนิท

ดุจสะเก็ดไม้หลุดออกจากต้นไม้.

พระอรหันต์ไม่มีความเร่าร้อนใจ

หมอชีวกมายังสำนักพระศาสดาโดยเร็ว ภายในอรุณนั่นแล ทูลถาม

ว่า "พระเจ้าข้า ความเร่าร้อนเกิดขึ้นในพระสรีระของพระองค์หรือไม่ ?"

พระศาสดาตรัสว่า "ชีวก ความเร่าร้อนทั้งปวงของตถาคตสงบราบคาบ

แล้ว ที่ควงโพธิพฤกษ์นั่นแล" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดง

ธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑. อญฺตรสฺส แปลว่า คนใดคนหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 367

๑. คตทฺธิโน วิโสกสฺส วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ

สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส ปริฬาโห น วิชฺชติ.

" ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่ท่านผู้มีทางไกล

อันถึงแล้ว หาความเศร้าโศกมิได้ หลุดพ้นแล้วใน

ธรรมทั้งปวง ผู้ละกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้แล้ว."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คตทฺธิโน ได้แก่ ผู้มีทางไกลอันถึง

แล้ว. ชื่อว่าทางไกลมี ๒ อย่าง คือ ทางไกลคือกันดาร ทางไกลคือ

วัฏฏะ, บรรดาทางไกล ๒ อย่างนั้น ผู้เดินทางกันดาร, ยังไม่ถึงที่ ๆ

คนปรารถนาเพียงใด ; ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกลเรื่อยไปเพียงนั้น, แต่เมื่อ

ทางไกลนั้นอันเขาถึงแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทางไกลอันถึงแล้ว, ฝ่ายสัตว์

ทั้งหลายแม้ผู้อาวัฏฏะ, คนยังอยู่ในวัฏฏะเพียงใด; ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกล

เรื่อยไปเพียงนั้น. มีคำถามสอดเข้ามาว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า เพราะ

ความที่วัฏฏะอันตนยังให้สิ้นไปไม่ได้. แม้พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระ-

โสดาบันเป็นต้น ก็ชื่อว่าผู้เดินทางไกลเหมือนกัน. ส่วนพระขีณาสพยัง

วัฏฏะให้สิ้นไปได้แล้วดำรงอยู่ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีทางไกลอันถึงแล้ว. แก่

พระขีณาสพนั้นผู้มีทางไกลอันถึงแล้ว.

บทว่า วิโสกสฺส คือชื่อว่าผู้หาความเศร้าโศกมิได้ เพราะความ

ที่ความเศร้าโศกมีวัฏฏะเป็นมูลปราศจากไปแล้ว.

บาทพระคาถาว่า วิปฺปมุตฺตสฺส สพฺพธิ คือผู้หลุดพ้นแล้วใน

ธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 368

บาทพระคาถาว่า สพฺพคนฺถปฺปหีนสฺส คือ ชื่อว่าผู้ละกิเลสเครื่อง

ร้อยรัดทั้งปวงได้ เพราะความที่กิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ อย่างอันตนละได้

แล้ว.

บาทพระคาถาว่า ปริฬาโห น วิชฺชติ ความว่า ความเร่าร้อน

มี ๒ อย่าง คือ ความเร่าร้อนเป็นไปทางกายอย่าง ๑ ความเร่าร้อนเป็น

ไปทางจิตอย่าง ๑. บรรดาความเร่าร้อน ๒ อย่างนั้น ความเร่าร้อนเป็น

ไปทางกาย ซึ่งเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ ด้วยสามารถแห่งผัสสะมีหนาวและ

ร้อนเป็นต้น ยังไม่ดับเลย, หมอชีวกทูลถามหมายถึงความเร่าร้อนอัน

เป็นไปทางกายนั้น. แต่พระศาสดาทรงพลิกแพลงพระเทศนาด้วย สามารถ

แห่งความเร่าร้อนอันเป็นไปทางจิต เพราะความที่พระองค์เป็นผู้ฉลาดใน

เทศนาวิธี เพราะความที่พระองค์เป็นพระธรรมราชาจึงตรัสว่า "ชีวก

ผู้มีอายุ ก็โดยปรมัตถ์ ความเร่าร้อน ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพผู้เห็น

ปานนั้น."

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องหมอชีวก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 369

๒. เรื่องพระมหากัสสปเถระ [๗๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระมหากัสสป-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุยฺยุญฺชนฺติ" เป็นต้น.

ธรรมเนียมของพระพุทธเจ้าผู้จะเสด็จจาริก

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ในกรุง-

ราชคฤห์ รับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า " โดยกาลล่วงไปกึ่งเดือน

เราจักหลีกไปสู่ที่จาริก."

ได้ยินว่า การรับสั่งให้แจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า "บัดนี้เราจักหลีก

ไปสู่ที่จาริกโดยกาลล่วงไปกึ่งเดือน" ดังนี้ ด้วยทรงประสงค์ว่า "ภิกษุ

ทั้งหลายจักทำกิจต่าง ๆ มีการระบมบาตรและย้อมจีวรเป็นต้นของตนแล้ว

จักไปตามสบาย ด้วยอาการอย่างนี้ " นี้เป็นธรรมเนียนของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ผู้มีพระประสงค์จะเสด็จจาริกไปกับพวกภิกษุ. ก็เมื่อภิกษุทั้งหลาย

กำลังทำกิจต่าง ๆ มีการระบมบาตรเป็นต้นของตนอยู่. แม้พระมหากัสสป-

เถระ ก็ชักจีวรทั้งหลายแล้ว.

พวกภิกษุว่าพระเถระละญาติและอุปัฏฐากไปไม่ได้

พวกภิกษุยกโทษว่า "เพราะเหตุไร พระเถระจึงชักจีวร ? ใน

พระนครนี้ ทั้งภายในและภายนอก มีมนุษย์อาศัยอยู่ ๑๘ โกฏิ: บรรดา

มนุษย์เหล่านั้น พวกใดไม่เป็นญาติของพระเถระ, พวกนั้นเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 370

อุปัฏฐาก, พวกใดไม่เป็นอุปัฏฐาก, พวกนั้นเป็นญาติ; ชนเหล่านั้น

ย่อมทำความนับถือ ( และ ) สักการะแก่พระเถระด้วยปัจจัย ๔; พระ-

เถระนั้น จักละอุปการะมีประมาณเท่านั้น ไป ณ ที่ไหนได้; แม้หากพึง

ไปได้ ก็จักไม่ไป เลยจากซอกชื่อมาปมาทะ.

ดังได้สดับมา พระศาสดาเสด็จถึงซอกใดแล้ว ย่อมตรัสบอกภิกษุ

ทั้งหลาย ผู้ควรที่พระองค์พึงให้กลับอีกว่า " เธอทั้งหลายจงกลับเสียแต่

ที่นี้, อย่าประมาท," ซอกนั้นชาวโลกเรียกว่า "ซอกมาปมาทะ," คำนั่น

ภิกษุทั้งหลายกล่าวหมายเอาซอกมาปมาทะนั้น.

รับสั่งให้พระมหากัสสปกลับ

แม้พระศาสดาเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกพลางดำริว่า " ในนครนี้ทั้งภาย

ใน ทั้งภายนอก มีมนุษย์อยู่ ๑๘ โกฏิ. อันภิกษุจะต้องไปในที่ทำการ

มงคลและอวมงคลของมนุษย์ทั้งหลายมีอยู่, เราไม่อาจทำวิหารให้เปล่าได้

เราจักให้ใครหนอแลกลับ."

ลำดับนั้น พระองค์ได้ทรงมีพระปริวิตกอย่างนี้ว่า "ก็พวกมนุษย์

เหล่านั้น เป็นทั้งญาติเป็นทั้งอุปัฏฐากของกัสสป, เราควรให้กัสสปกลับ."

พระองค์ตรัสกะพระเถระว่า " กัสสป เราไม่อาจทำวิหารให้เปล่าได้,

ความต้องการด้วยภิกษุ ในที่ทำมงคลและอวมงคลทั้งหลาย ของพวก

มนุษย์มีอยู่, เธอกับบริษัทของตน จงกลับเถิด." พระเถระทูลว่า "ดีละ

พระเจ้าข้า" แล้วพาบริษัทกลับ. ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า " ผู้มีอายุ

ทั้งหลาย พวกท่านเห็นไหมละ, พวกเราพูดประเดี๋ยวนี้เองมิใช่หรือ ?

คำที่พวกเราพูดว่า 'เพราะเหตุไร พระมหากสัสปจึงชักจีวร ? ท่านจัก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 371

ไม่ไปกับพระศาสดา,' ดังนี้นั่นแลเกิด เป็นจริง แล้ว."

ทรงชี้แจงเหตุที่พระมหากัสสปกลับ

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุทั้งหลายแล้วเสด็จกลับประทับ

ยืน ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวชื่ออะไรกันนั่น ?" ภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลว่า "พวกข้าพระองค์ กล่าวปรารภพระมหากัสสปเถระ

พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดตามแนวความที่ตน

กล่าวแล้วนั่นแล.

พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอกล่าว (หา) กัสสปว่า ข้องแล้วในตระกูลและในปัจจัยทั้งหลาย,'

(แต่ความจริง) เธอกลับแล้ว ด้วยทำในใจว่า 'เราจักทำตามคำของเรา

(ตถาคต).' ก็กัสสปนั่น แม้ในกาลก่อน เมื่อจะทำความปรารถนานั่นแล

ก็ได้ทำความปรารถนาว่า 'เราพึงเป็นผู้ไม่ข้องในปัจจัย ๔ มีอุปมาดัง

พระจันทร์ สามารถเข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลายได้,' กัสสปนั่น ไม่มีความ

ข้องในตระกูลหรือในปัจจัยทั้งหลาย; เราเมื่อจะกล่าวข้อปฏิบัติอันเปรียบ

ด้วยพระจันทร์ และข้อปฏิบัติแห่งวงศ์ของพระอริยะ ก็กล่าวอ้างกัสสปให้

เป็นต้น."

พระศาสดาตรัสบุรพจริตของพระเถระ

ภิกษุทั้งหลายทูลถามพระศาสดาว่า "ก็พระเถระตั้งความปรารถนา

ไว้เมื่อไร ? พระเจ้าข้า."

พระศาสดา. พวกเธอประสงค์จะฟังหรือ ? ภิกษุทั้งหลาย.

พวกภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 372

พระศาสดา ตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า "ภิกษุทั้งหลาย ในที่สุด

แห่งแสนกัลป์แต่กัลป์นี้ พระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าปทุมุตตระ ทรง

อุบัติขึ้นแล้วในโลก" ดังนี้แล้ว ตรัสความประพฤติในกาลก่อนของ

พระเถระทั้งหมด ตั้งต้นแต่ท่านตั้งความปรารถนาไว้ในกาลแห่งพระ-

พุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ. บุรพจริตนั้น พระธรรมสังคาหกา-

จารย์ให้พิสดารแล้ว ในพระบาลีอันแสดงประวัติของพระเถระนั่นแล.

ตรัสเปรียบพระเถระด้วยพระยาหงส์

ก็พระศาสดาครั้นตรัสบุรพจริตของพระเถระนี้ให้พิสดารแล้ว จึง

ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะอย่างนี้แล เราจึงกล่าวข้อปฏิบัติอันเปรียบ

ด้วยพระจันทร์ และข้อปฏิบัติแห่งวงศ์ของพระอริยะ อ้างเอากัสสปบุตร

ของเราให้เป็นต้น. ชื่อว่าความข้องในปัจจัยก็ดี ตระกูลก็ดี วิหารก็ดี

บริเวณก็ดี ย่อมไม่มีแก่บุตรของเรา. บุตรของเราไม่ข้องในอะไร ๆ เลย

เหมือนพระยาหงส์ ร่อนลงในเปือกตม เที่ยวไปในเปือกตมนั้นแล้ว ก็บิน

ไปฉะนั้น" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรมจึงตรัสพระ-

คาถานี้ว่า:-

๒. อุยฺยุญฺชนฺติ สตีมนฺโต น นิเกเต รมนฺติ เต

หสาว ปลฺลล หิตฺวา โอกโมก ชหนฺติ เต.

"ท่านผู้มีสติย่อมออก. ท่านย่อมไม่ยินดีใน

ที่อยู่; ท่านละความห่วงใยเสีย เหมือนฝูงหงส์

ละเปือกตมไปฉะนั้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 373

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อุยฺยุญฺชนฺติ สตีมนฺโต ความ

ว่า ท่านผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ คือว่าท่านผู้มีอาสวะสิ้นแล้วย่อมขวน

ขวาย ร่ำอยู่ในคุณอันตนแทงตลอดแล้ว มีฌานและวิปัสสนาเป็นต้น

ด้วยนึกถึง ด้วยเข้าสมาบัติ ด้วยออกจากสมาบัติ ด้วยตั้งใจอยู่ในสมาบัติ

และด้วยพิจารณาถึง.

บาทพระคาถาว่า น นิเกเค รมนฺติ เต คือชื่อว่าความยินดีใน

ที่ห่วงของท่าน ย่อมไม่มี.

บทว่า หสาว นี้ เป็นแง่แห่งเทศนา. ก็นี้ความอธิบายในคำนี้

ว่า :- ฝูงนกถือเอาเหยื่อของตน ในเปือกตมอันบริบูรณ์ด้วยเหยื่อแล้ว

ในเวลาไป ไม่ทำความห่วงสักหน่อยในที่นั้นว่า "น้ำของเรา, ดอก

ปทุมของเรา, ดอกอุบลของเรา, ดอกบุณฑริกของเรา. หญ้าของเรา"

หาความเสียดายมิได้เทียว ละประเทศนั้น บินเล่นไปในอากาศ ฉันใด :

พระขีณาสพทั้งหลายนั่น ก็ฉันนั้นแล แม้อยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ไม่ข้องแล้ว

ในสกุลเป็นต้นเทียวอยู่ แม้ในคราวไป ละที่นั้นไปอยู่ หาความห่วงหา

ความเสียดายว่า " วิหารของเรา, บริเวณของเรา, อุปัฏฐากของเรา"

มิได้เทียว ไปอยู่.

บทว่า โอกโมก คือ อาลัย, ความว่า ละความห่วงทั้งปวงเสีย.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระมหากัสสปเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 374

๓. เรื่องพระเพฬัฏฐสีสเถระ [๗๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชต วันทรงปรารภท่านเพฬัฏฐสีสะ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เยส สนฺนิจโย นตฺถิ" เป็นต้น.

ทรงบัญญัติสันนิธิการสิกขาบท

ดังได้สดับมา ท่านนั้นเที่ยวบิณฑบาตถนนหนึ่ง ภายในบ้าน

ทำภัตกิจแล้ว เที่ยวถนนอื่นอีก ถือเอาข้าวตากนำไปวิหารเก็บไว้ คิดเห็น

ว่า " ขึ้นชื่อว่าการเที่ยวแสวงหาบิณฑบาตร่ำไป เป็นทุกข์" ยังวันเล็ก

น้อยให้ล่วงไป ด้วยสุขในฌานแล้ว, เมื่อต้องการด้วยอาหารมีขึ้น, ย่อม

ฉันข้าวตากนั้น. พวกภิกษุรู้เข้าติเตียนแล้ว ทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. พระศาสดาแม้ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อประ-

โยชน์เว้นการสั่งสมต่อไปในเพราะเหตุนั้นแล้ว ก็ต่อเมื่อจะทรงประกาศ

ความหาโทษมิได้แห่งพระเถระ เพราะการเก็บอาหารนั้น อันพระเถระ

อาศัยความมักน้อย ทำเมื่อยังมิได้ทรงบัญญัติสิกขาบท เมื่อจะทรงสืบ

อนุสนธิแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๓. เยส สนฺนิจฺจโย นตฺถิ เย ปฺริญฺาตโภชนา

สุญฺโต อนิมิตฺโต จ วิโมกฺโข เยส โคจโร

อากาเสว สกุนฺตาน คติ เตส ทุรนฺนยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 375

" คติของชนทั้งหลายผู้หาสั่งสมมิได้, ผู้กำหนด

รู้โภชนะ, มีสุญญตวิโมกข์ และอนิมิตตวิโมกข์เป็น

อารมณ์, ไปตามยาก เหมือนทางไปของฝูงนกใน

อากาศฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า สนฺนิจโย สั่งสมมี ๒ อย่าง คือ

สั่งสมกรรม ๑ สั่งสมปัจจัย ๑; ในการสั่งสม ๒ อย่างนั้น กรรมที่

เป็นกุศลและอกุศล ชื่อว่าสั่งสมกรรม. ปัจจัย ๔ ชื่อว่าสั่งสมปัจจัย.

ในสั่งสม ๒ อย่างนั้น สั่งสมปัจจัยย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้อยู่ในวิหาร เก็บน้ำ

อ้อยก้อนหนึ่ง เนยใสสักเท่าเสี้ยวที่ ๔ และข้าวสารทะนานหนึ่งไว้.

ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เก็บไว้ยิ่งกว่านั้น; สั่งสม ๒ อย่างนี้ของชนเหล่าใดไม่มี.

บทว่า ปริญฺาตโภชนา คือกำหนดรู้โภชนะด้วยปริญญา ๓.

ก็การรู้โภชนะมีข้าวต้มเป็นต้น โดยความเป็นข้าวต้มเป็นต้น ชื่อว่า

ญาตปริญญา (กำหนดรู้ด้วยอันรู้อยู่แล้ว). ส่วนการกำหนดรู้โภชนะ

ด้วยอำนาจสำคัญเห็นในอาหารปฏิกูล ชื่อว่าตีรณปริญญา (กำหนดรู้ด้วย

อันไตร่ตรอง). ญาณเป็นเหตุถอนความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจใน

โภชนาหารออกเสีย ชื่อว่าปหานปริญญา (กำหนดรู้ด้วยอันละเสีย);

ชนเหล่าใด กำหนดรู้โภชนะด้วยปริญญา ๓ นี้.

ในบาทพระคาถาว่า สุญฺโต อนิมิตฺโต จ นี้ แม้อัปปณิหิต-

วิโมกข์ ก็ทรงถือเอาด้วยแท้. เหตุว่า บทเหล่านั้นทั้ง ๓ เป็นชื่อแห่ง

๑. บาลี เป็น สนฺนิจฺจโย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 376

พระนิพพานนั่นแล. จริงอยู่ พระนิพพานท่านกล่าวว่าสุญญตวิโมกข์

เหตุว่า ว่าง เพราะไม่มีแห่งราคะโทสะโมหะ และพ้นจากราคะโทสะ

โมหะนั้น, พระนิพพานนั้น ท่านกล่าวว่าอนิมิตตวิโมกข์ เหตุว่า

หานิมิตมิได้ เพราะไม่มีแห่งนิมิตมีราคะเป็นต้น และพ้นแล้วจากนิมิต

เหล่านั้น. อนึ่งท่านกล่าวว่า อัปปณิหิตวิโมกข์ เหตุว่า มิได้ตั้งอยู่

เพราะไม่มีแห่งปณิธิ คือกิเลสเป็นเหตุตั้งอยู่มีราคะเป็นต้น และพ้นแล้ว

จากปณิธิเหล่านั้น. วิโมกข์ ๓ อย่างนั้น เป็นอารมณ์ของชนเหล่าใด ผู้

ทำพระนิพพานนั้นให้เป็นอารมณ์ ด้วยอำนาจเข้าสมาบัติ สัมปยุตด้วย

ผลจิตอยู่.

บาทพระคาถาว่า คติ เตส ทุรนฺวยา ความว่า เหมือนอย่าง

ว่า ทางไปของฝูงนกผู้ไปแล้วโดยอากาศไปตามยาก คือไม่อาจจะรู้ เพราะ

ไม่เห็นรอยเท้า ฉันใด; คติของชนทั้งหลายผู้หาสั่งสม ๒ อย่างนี้มิได้

ผู้กำหนดรู้โภชนะด้วยปริญญา ๓ นี้ และผู้มีวิโมกข์มีประการอันกล่าว

แล้วนี้เป็นอารมณ์ ก็ไปตามยาก คือไม่อาจบัญญัติ เพราะไม่ปรากฏแห่ง

การไปว่า "ไปแล้ว ในส่วน ๕ นี้ คือ ' ภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕

วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ' โดยส่วนชื่อนี้ ๆ " ฉันนั้นแล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระเพฬัฎฐสีสเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 377

๔. เรื่องพระอนุรุทธเถระ

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระอนุรุทธเถระ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ยสฺสาสวา ปริกฺขีณา " เป็นต้น.

เทพธิดาถวายผ้าแก่พระอนุรุทธเถระ

ความพิสดารว่า ในวันหนึ่ง พระเถระมีจีวรเก่าแล้ว แสวงหา

จีวรในที่ทั้งหลายมีกองหยากเยื่อเป็นต้น. หญิงภรรยาเก่าของพระเถระนั้น

ในอัตภาพที่ ๓ แต่อัตภาพนี้ ได้เกิดเป็นเทพธิดาชื่อชาลินี ในดาวดึงส-

ภพ. นางชาลินีเทพธิดานั้น เห็นพระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้าอยู่

ถือผ้าทิพย์ ๓ ผืน ยาว ๓ ศอก กว้าง ๔ ศอก แล้วคิดว่า " ถ้าเรา

จักถวายโดยทำนองนี้. พระเถระจักไม่รับ " จึงวางผ้าไว้บนกองหยากเยื่อ

แห่งหนึ่ง ข้างหน้าของพระเถระนั้น ผู้แสวงหาท่อนผ้าทั้งหลายอยู่ โดย

อาการที่เพียงชายผ้าเท่านั้น จะปรากฏได้. พระเถระเที่ยวแสวงหาท่อนผ้า

อยู่โดยทางนั้น เห็นชายผ้าของท่อนผ้าเหล่านั้นแล้ว จึงจับที่ชายผ้านั้น

นั่นแลฉุดมาอยู่ เห็นผ้าทิพย์มีประมาณดังกล่าวแล้วถือเอาด้วยคิดว่า " ผ้านี้

เป็นผ้าบังสุกุลอย่างอุกฤษฏ์หนอ " ดังนี้แล้วหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 378

พระศาสดาทรงช่วยทำจีวร

ครั้นในวันทำจีวรของพระเถระนั้น พระศาสดามีภิกษุ ๕๐๐ รูป

เป็นบริวาร เสด็จไปวิหารประทับนั่งแล้ว. แม้พระเถระผู้ใหญ่ ๘๐ รูป

ก็นั่งแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน. พระมหากัสสปเถระนั่งแล้วตอนต้น เพื่อ

เย็บจีวร. พระสารีบุตรเถระนั่งในท่ามกลาง. พระอานนท์เถระนั่งในที่สุด.

ภิกษุสงฆ์กรอด้าย. พระศาสดาทรงร้อยด้ายนั้นในรูเข็ม. พระมหา-

โมคคัลลานเถระ. ความต้องการด้วยวัตถุใด ๆ มีอยู่. เที่ยวน้อมนำวัตถุ

นั้น ๆ มาแล้ว. แม้เทพธิดาเข้าไปสู่ภายในบ้านแล้ว ชักชวนให้รับภิกษา

ว่า " ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระศาสดาทรงทำจีวรแก่พระอนุรุทธเถระ

ผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลายวันนี้ อันพระอสีติมหาสาวกแวดล้อม ประทับ

นั่งอยู่ในวิหาร กับภิกษุ ๕๐๐ รูป. พวกท่านจงถือข้าวยาคูเป็นต้น ไป

วิหาร. " แม้พระมหาโมคคัลลานเถระ นำชิ้นชมพู่ใหญ่มาแล้วในระหว่าง

ภัต. ภิกษุ ๕๐๐ รูปไม่อาจเพื่อขบฉันให้หมดได้. ท้าวสักกะได้ทรงทำ

การประพรมในที่เป็นที่กระทำจีวร. พื้นแผ่นดินได้เป็นราวกะว่าย้อมด้วย

น้ำครั่ง. กองใหญ่แห่งข้าวยาคูของควรเคี้ยวและภัต อันภิกษุทั้งหลาย

ฉันเหลือ ได้มีแล้ว.

พระขีณาสพไม่พูดเกี่ยวกับปัจจัย

ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า " ประโยชน์อะไร ? ของภิกษุมีประมาณ

เท่านี้ ด้วยข้าวยาคูเป็นต้นอันมากอย่างนั้น. ญาติและอุปัฏฐาก อันภิกษุ

ทั้งหลายกำหนดประมาณแล้ว พึงพูดว่า 'พวกท่าน จงนำวัตถุชื่อมี

ประมาณเท่านี้มา มิใช่หรือ ? พระอนุรุทธเถระเห็นจะประสงค์ให้เขารู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 379

ความที่แห่งญาติและอุปัฏฐากของตนมีมาก." ลำดับนั้น พระศาสดา

ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไรกัน ?"

เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "พูดเรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า" จึงตรัสถาม

ว่า "ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอสำคัญว่า 'ของนี้อันอนุรุทธะให้นำมา

แล้วหรือ ?" ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า" พระ-

ศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อนุรุทธะผู้บุตรของเรา ไม่กล่าวถ้อยคำ

เห็นปานนั้น, แท้จริง พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวกถาปฏิสังยุต

ด้วยปัจจัย ก็บิณฑบาตนี้ เกิดแล้วด้วยอานุภาพของเทวดา" เมื่อจะ

ทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔. ยสฺสาสวา ปริกฺขีณา อาหาเร จ อนิสฺสิโต

สุญฺโต อนิมิตฺโต จ วิโมกฺโข ยสฺส โคจโร

อากาเสว สกุนฺตาน ปทนฺตสฺส ทุรนฺนย.

"อาสวะทั้งหลาย ของบุคคลใด สิ้นแล้ว,

บุคคลใด ไม่อาศัยแล้ว ในอาหาร, และสุญญต-

วิโมกข์ อนิมิตตวิโมกข์ เห็นโคจรของบุลคลใด,

ร่องรอยของบุคคลนั้น ๆ รู้ได้ยาก เหมือนรอยของ

นกทั้งหลายในอากาศฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺสาสวา ความว่า อาสวะ ๔

ของบุคคลใด สิ้นแล้ว. บาทพระคาถาว่า อาหาเร จ อนิสฺสิโต ความว่า

อันตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย ไม่อาศัยแล้ว ในอาหาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 380

บาทพระคาถาว่า ปทนฺตสฺส ทุรนฺวย ความว่า อันบุคคลไม่อาจ

เพื่อจะรู้รอยของนกทั้งหลายซึ่งไปในอากาศว่า "นกทั้งหลายเหยียบด้วย

เท้าในที่นี้บินไปแล้ว, กระแทกที่นี้ด้วยอกบินไปแล้ว, ที่นี้ด้วยศีรษะ,

ที่นี้ด้วยปีกทั้งสองฉันใด, อันใคร ๆ ก็ไม่อาจเพื่อบัญญัติ ซึ่งรอยของ

ภิกษุผู้เห็นปานนี้ โดยนัยเป็นต้นว่า 'ภิกษุนี้ ไปแล้วโดยทางนรก

หรือไปแล้วโดยทางดิรัจฉานกำเนิด" ฉันนั้นเหมือนกัน .

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระอนุรุทธเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 381

๕. เรื่องพระมหากัจจายนเถระ [๗๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในบุพพาราม ทรงปรารภพระมหากัจจา-

ยนเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยสฺสินฺทฺริยานิ" เป็นต้น.

พระเถระยกย่องการฟังธรรม

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระศาสดาอันพระสาวกหมู่ใหญ่

แวดล้อมแล้ว ประทับนั่ง ณ ภายใต้ปราสาทของมิคารมารดา ในวัน

มหาปวารณา. ในสมัยนั้น พระมหากัจจายนเถระอยู่ในอวันตีชนบท

ก็ท่านนั้นมาแล้วแม้แต่ที่ไกล ย่อมยกย่องการฟังธรรมนั่นเทียว. เพราะ-

ฉะนั้น พระเถระผู้ใหญ่ทั้งหลายเมื่อจะนั่ง จึงนั่งเว้นอาสนะไว้เพื่อ

พระมหากัจจายนเถระ. ท้าวสักกเทวราชเสด็จมาจากเทวโลกทั้งสองพร้อม

ด้วยเทพบริษัท ทรงบูชาพระศาสดา ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้

อันเป็นทิพย์เป็นต้นแล้ว ประทับยืนอยู่ มิได้เห็นพระมหากัจจายนเถระ

จึงทรงรำพึงว่า " เพราะเหตุอะไรหนอแล ? พระผู้เป็นเจ้าของเราจึงไม่

ปรากฏ. ก็ถ้าพระผู้เป็นเจ้าพึงมา, การมาของท่านนั้น เป็นการดีแล."

พระเถระมาแล้วในขณะนั้นนั่นเอง แสดงตนซึ่งนั่งแล้วบนอาสนะของตน

นั่นแล. ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระเถระแล้ว ทรงจับข้อเท้าทั้งสอง

อย่างมั่นแล้ว ตรัสว่า " พระผู้เป็นเจ้าของเรามาแล้วหนอ. เราหวังการ

มาของพระผู้เป็นเจ้าอยู่ทีเดียว " ดังนี้แล้ว ก็ทรงนวดเท้าทั้งสองของพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 382

เถระด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง บูชาด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น

ไหว้แล้วได้ประทับยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

เทพดารักใคร่ภิกษุผู้สำรวมอินทรีย์

ภิกษุทั้งหลายโพนทะนาว่า "ท้าวสักกะทรงเห็นแก่หน้า จึงทำ

สักการะ, ไม่ทรงทำสักการะเห็นปานนี้แก่พระสาวกผู้ใหญ่ที่เหลือ เห็น

พระมหากัจจายนเถระแล้ว จับข้อเท้าทั้งสองโดยเร็ว ตรัสว่า 'พระ-

ผู้เป็นเจ้าของเรามา ดีหนอ, เราหวังการมาของพระผู้เป็นเจ้าอยู่ทีเดียว'

ดังนี้แล้ว ทรงนวดเท้าทั้งสองด้วยพระหัตถ์ทั้งสอง บูชาแล้ว ไหว้แล้ว

ประทับยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง." พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของภิกษุ

ทั้งหลายนั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีทวารอันตนคุ้มครอง

แล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เช่นกับด้วยมหากัจจายนะผู้บุตรของเราย่อมเป็น

ที่รักของเหล่าเทพเจ้านั่นเทียว" เมื่อจะทรงสืบอันสนธิแสดงธรรม จึง

ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๕. ยสฺสินฺทฺริยานิ สมถงฺคตานิ

อสฺสา ยถา สารถินา สุทนฺตา

ปหีนมานสฺส อนาสวสฺส

เทวาปิ ตสฺส ปิหยนฺติ ตาทิโน.

"อินทรีย์ทั้งหลายของภิกษุใด ถึงความสงบแล้ว

เหมือนเม้าอันนายสารถีฝึกดีแล้วฉะนั้น, แม้เหล่า

เทพเจ้า ย่อมกระหยิ่มต่อภิกษุนั้น ผู้มีมานะอันละ

แล้ว ผู้หาอาสวะมิได้ ผู้คงที่".

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 383

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังนี้ :-

อินทรีย์ ๖ ของภิกษุใดถึงความสงบ คือความเป็นอินทรีย์อันตน

ทรมานแล้ว ได้แก่ความเป็นอินทรีย์หมดพยศร้าย เหมือนม้าอันนายสารถี

ผู้ฉลาดฝึกดีแล้วฉะนั้น, ต่อภิกษุนั้น ผู้ชื่อว่ามีมานะอันละแล้ว เพราะ

ละมานะมีอย่าง ๙ ดำรงอยู่ ผู้ชื่อว่าหาอาสวะมิได้ เพราะไม่มีอาสวะ ๔.

บทว่า ตาทิโน ความว่า ทั้งเหล่าเทพเจ้า ทั้งเหล่ามนุษย์ ย่อมกระหยิ่ม

คือย่อมปรารถนาการเห็น และการมาของภิกษุผู้เห็นปานนั้น ผู้ดำรงอยู่

โดยภาวะแห่งผู้คงที่.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระมหากัจจายนเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 384

๖. เรื่องพระสารีบุตรเถระ [๗๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตร-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปวีสโม" เป็นต้น .

พระสารีบุตรถูกภิกษุรูปหนึ่งฟ้อง

ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร ออกพรรษาแล้ว

ใคร่จะหลีกไปสู่ที่จาริก จึงทูลลาพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว

ออกไปกับด้วยบริวารของตน. ภิกษุทั้งหลายมากแม้อื่นตามส่งพระเถระ

แล้ว. ก็พระเถระปราศรัยกะภิกษุทั้งหลายผู้ปรากฏอยู่ ด้วยสามารถชื่อ

และโคตร ตามชื่อและโคตรแล้วจึงบอกให้กลับ. ภิกษุผู้ไม่ปรากฏ

ด้วยสามารถชื่อและโคตรรูปใดรูปหนึ่ง คิดว่า "โอหนอ พระเถระ

น่าจะยกย่องปราศรัยกะเราบ้าง ด้วยสามารถชื่อและโคตร แล้วพึงให้กลับ."

พระเถระไม่ทันกำหนดถึงท่าน ในระหว่างแห่งภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก. แม้

ภิกษุนั้นผูกอาฆาตในพระเถระว่า "พระเถระไม่ยกย่องเรา เหมือนภิกษุ

ทั้งหลายอื่น." มุมสังฆาฏิแม้ของพระเถระถูกสรีระของภิกษุนั้นแล้ว. แม้

ด้วยเหตุนั้น ภิกษุนั้นก็ผูกอาฆาตแล้วเหมือนกัน. ภิกษุนั้นรู้ว่า " บัดนี้

พระเถระจักล่วงอุปจารวิหาร" จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่า "พระ-

เจ้าข้า ท่านพระสารีบุตรประหารข้าพระองค์เหมือนทำลายหมวกหู ไม่ยัง

ข้าพระองค์ให้อดโทษแล้ว หลีกไปสู่ที่จาริก" ด้วยสำคัญว่า "เป็น

อัครสาวกของพระองค์." พระศาสดารับสั่งให้เรียกพระเถระมาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 385

พระเถระเปรียบตนด้วยอุปมา ๙ อย่าง

ในขณะนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระและพระอานนทเถระคิดแล้ว

ว่า "พระศาสดาไม่ทรงทราบความที่แห่งภิกษุนี้ อันพี่ชายของพวกเรา

ไม่ประหารแล้วก็หาไม่, แต่พระองค์จักทรงประสงค์ให้ท่านบันลือสีหนาท,

เราจักให้บริษัทประชุมกัน." พระเถระทั้งสองนั้นมีลูกดาลอยู่ในมือ

เปิดประตูบริเวณแล้วกล่าวว่า " ท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงออก, ท่านผู้มี

อายุทั้งหลายจงออก, บัดนี้ท่านพระสารีบุตรจักบันลือสีหนาท ณ เบื้อง

พระพักตร์แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า" ให้ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประชุมกันแล้ว.

ฝ่ายพระเถระมาถวายบังคมพระศาสดานั่งแล้ว. ลำดับนั้น พระ-

ศาสดาตรัสถามเนื้อความนั้นกะพระเถระนั้นแล้ว. พระเถระไม่กราบทูล

ทันทีว่า "ภิกษุนี้อันข้าพระองค์ไม่ประหารแล้ว" เมื่อจะกล่าวคุณกถา

ของตนจึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า สติเป็นไปในกาย อันภิกษุใดไม่พึง

เข้าไปตั้งไว้แล้วในกาย. ภิกษุนั้นกระทบกระทั้งสพรหมจารีรูปใดรูปหนึ่ง

ในศาสนานี้ ไม่ขอโทษแล้วพึงหลีกไปสู่ที่จาริกแน่" ดังนี้แล้ว ประกาศ

ความที่แห่งตนมีจิตเสมอด้วยแผ่นดิน เสมอด้วย น้ำ ไฟ ลม ผ้าเช็ด-

ธุลี เด็กจัณฑาล โคอุสภะมีเขาขาด ความอึดอัดด้วยกายของคนเหมือน

ซากงูเป็นต้น และการบริหารกายของตน ดุจภาชนะมันข้นโดยนัยเป็นต้น

ว่า "พระเจ้าข้า บุคคลย่อมทั้งของอันสะอาดบ้าง ย่อมทิ้งของอันไม่

สะอาดบ้าง ลงในแผ่นดินแม้ฉันใด" ก็แลเมื่อพระเถระกล่าวคุณของตน

ด้วยอุปมา ๙ อย่างนี้อยู่, แผ่นดินใหญ่ไหวจนที่สุดน้ำ ในวาระทั้ง ๙

แล้ว. ก็ในเวลาน้ำอุปมาด้วยผ้าเช็ดธุลี เด็กาจัณฑาลและภาชนะมันข้นมา

ภิกษุผู้ปุถุชนไม่อาจเพื่ออดกลั้นน้ำตาไว้ได้, ธรรมสังเวชเกิดแก่ภิกษุผู้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 386

ขีณาสพทั้งหลายแล้ว. เมื่อพระเถระกล่าวคุณของตนอยู่นั่นแล, ความ

เร่าร้อนเกิดขึ้นในสรีระทั้งสิ้นของภิกษุผู้กล่าวตู่แล้ว. ทันใดนั้นแล ภิกษุ

นั้นหมอบลงใกล้พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกาศโทษ

ในเพราะความกล่าวตู่ ด้วยคำอันไม่จริงแสดงโทษล่วงเกินแล้ว.

จิตของพระสารีบุตรเหมือนแผ่นดิน

พระศาสดาตรัสเรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสว่า " สารีบุตร เธอจง

อดโทษต่อโมฆบุรุษนี้เสีย, ตลอดเวลาที่ศีรษะของเขา จักไม่แตกโดย ๗

เสี่ยง." พระเถระนั่งกระโหย่งประคองอัญชลีกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า

ข้าพระองก์ยอมอดโทษต่อผู้มีอายุนั้น, และขอผู้มีอายุนั้นจงอดโทษต่อ

ข้าพระองค์. ถ้าว่าโทษของข้าพระองค์มีอยู่." ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า

" ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดูความที่พระเถระมีคุณไม่ต่ำทราม,

พระเถระไม่กระทำความโกรธหรือความประทุษร้าย แม้มีประมาณน้อย

ในเบื้องบนของภิกษุผู้กล่าวตูด้วยมุสาวาทชื่อเห็นปานนี้ ตัวเองเทียวนั่ง

กระโหย่งประคองอัญชลีให้ภิกษุนั้นอดโทษ."

พระศาสดาทรงสดับกถานั้นแล้วตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอพูดอะไรกัน ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า "กถาชื่อนี้พระเจ้าข้า"

ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ ไม่อาจให้ความโกรธหรือความประทุษ-

ร้ายเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้เช่นกับสารีบุตรได้. ภิกษุทั้งหลาย จิตของสารีบุตร

เช่นกับด้วยแผ่นดินใหญ่ เช่นกับเสาเขื่อนและเช่นกับท้วงน้ำใส" เมื่อ

จะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 387

๖. ปวีสโม โน วิรุชฺฌติ

อินฺทขีลูปโม ตาทิ สุพฺพโต

รหโทว อเปตกทฺทโม

สสารา น ภวนฺติ ตาทิโน.

"ภิกษุใด เสมอด้วยแผ่นดิน เปรียบด้วยเสา

เขื่อน คงที่ มีวัตรดี มีกิเลสดังเปือกตมไปปราศแล้ว

เหมือนห้วงน้ำปราศจากเปือกตม ย่อมไม่ (ยินดี)

ยินร้าย, สงสารทั้งหลายย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้คงที่."

แก้อรรถ

เนื้อความแห่งพระคาถานั้น ดังนี้:-

ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลายย่อมทิ้งของสะอาดมีของหอมและระเบียบ

ดอกไม้เป็นต้นบ้าง ย่อมทิ้งของไม่สะอามีมูตรและกรีสเป็นต้นบ้าง ลง

ในแผ่นดิน. อนึ่งเด็กเป็นต้น ย่อมถ่ายปัสสาวะบ้าง ย่อมถ่ายอุจจาระบ้าง

รดเสาเขื่อน อันเขาฝั่งไว้ใกล้ประตูเมือง, แต่ชนทั้งหลายพวกอื่น ย่อม

สักการะเสาเขื่อนนั้น ด้วยวัตถุมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น, ใน

เพราะการทำนั้น ความยินดีหรือความยินร้าย ย่อมไม่เกิดแก่แผ่นดิน

หรือเสาเขื่อนนั่นแลฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนี้ใดชื่อว่าผู้คงที่ เพราะความ

เป็นผู้ไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรมทั้งหลาย ๘, ชื่อว่าผู้มีวัตรดี เพราะ

ความที่แห่งวัตรทั้งหลายงาม, ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อชน

ทั้งหลายทำสักการะและอสักการะอยู่ ย่อมไม่ยินดีย่อมไม่ยินร้ายทีเดียวว่า

"ชนเหล่านั้นย่อมสักการะเราด้วยปัจจัย ๔, แต่ชนเหล่านี้ย่อมไม่สักการะ;

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 388

โดยที่แท้ ภิกษุผู้ขีณาสพนั้นย่อมเป็นผู้เสมอด้วยแผ่นดินและเป็นผู้เปรียบ

ด้วยเสาเขื่อนนั่นเอง. ก็ห้วงน้ำที่มีเปือกตมไปปราศแล้ว เป็นห้วงน้ำใส

ฉันใด; ภิกษุผู้ขีณาสพนั้น ชื่อว่ามีเปือกตมไปปราศแล้ว ด้วยเปือกตม

ทั้งหลายมีเปือกตมคือราคะเป็นต้น เพราะความเป็นผู้มีกิเลสไปปราศแล้ว

ย่อมเป็นผู้ผ่องใสเทียว ฉันนั้น.

บทว่า ตาทิโน ความว่า ก็ชื่อว่าสงสารทั้งหลาย ด้วยสามารถ

แห่งการท่องเที่ยวไปในสุคติและทุคติทั้งหลาย ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น คือ

ผู้เห็นปานนั้น.

ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๙ พันรูปบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล.

เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 389

๗. เรื่องพระติสสเถระชาวกรุงโกสัมพี [๗๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสามเณรของ

พระติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สนฺต ตสฺส มน โหติ"

เป็นต้น.

ศิษย์บรรลุพระอรหัตก่อนอาจารย์

ดังได้สดับมา กุลบุตรชาวกรุงโกสัมพีผู้หนึ่ง บวชในพระศาสนา

ได้อุปสมบทแล้วปรากฏว่า "พระโกสัมพีวาสีติสสเถระ." เมื่อพระเถระ

นั้นจำพรรษาอยู่ในกรุงโกสัมพี อุปัฏฐากนำไตรจีวร เนยใสและน้ำอ้อย

มาวางไว้ใกล้เท้า. ครั้งนั้นพระเถระกล่าวกะอุปัฏฐากนั้นว่า "นี้อะไร ?

อุบาสก."

อุปัฏฐาก. กระผมนิมนต์ท่านให้อยู่จำพรรษามิใช่หรือ ขอรับ,

ก็พวกภิกษุผู้จำพรรษาอยู่ในวิหารของพวกกระผม ย่อมได้ลาภนั้น, นิมนต์

รับเถิด ขอรับ.

พระเถระ. ช่างเถิด อุบาสก. ความต้องการด้วยวัตถุนี้ ของเรา

ไม่มี.

อุปัฏฐาก. เพราะเหตุอะไร ? ขอรับ.

พระเถระ. แม้สามเณรผู้เป็นกัปปิยการกในสำนักของเรา ก็ไม่มี

ผู้มีอายุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 390

อุปัฏฐาก. ท่านผู้เจริญ ถ้ากัปปิยการกไม่มี บุตรของกระผมจัก

เป็นสามเณรในสำนักของพระผู้เป็นเจ้า.

พระเถระรับแล้ว. อุบาสกนำบุตรของตนผู้มีอายุ ๗ ขวบไปสู่

สำนักของพระเถระแล้ว ได้ถวายว่า "ขอท่านจงให้เด็กนี้บวชเถิด."

ครั้งนั้น พระเถระชุบผมของเด็กนั้นให้ชุ่มแล้ว ให้ตจปัญจกกัมมัฏฐาน

ให้บวชแล้ว. ในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง กุมารนั้นก็บรรลุพระอรหัต

พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. พระเถระครั้นให้กุมารนั้นบวชแล้วอยู่ในที่นั้นสิ้น

กึ่งเดือนแล้วคิดว่า "จักเฝ้าพระศาสดา" จึงให้สามเณรถือห่อภัณฑะ

เดินไปสู่วิหารแห่งหนึ่งในระหว่างทาง. สามเณรถือเสนาสนะจัดแจงเพื่อ

พระอุปัชฌาย์แล้ว. เมื่อสามเณรนั้นจัดแจงเสนาสนะอยู่เทียว ก็หมดเวลา

แล้ว. เพราะเหตุนั้น สามเณรจึงไม่อาจจัดแจงเสนาสนะเพื่อตนได้.

ครั้งนั้น พระเถระถามสามเณรนั้น ผู้มาในเวลาบำรุงนั่งอยู่แล้วว่า

"สามเณร เจ้าจัดแจงที่อยู่ของตนแล้วหรือ."

สามเณร. กระผมไม่ได้โอกาสเพื่อจัดแจง ขอรับ.

ตาสามเณรแตกเพราะอาจารย์

พระเถระกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น จงอยู่ในที่อยู่ของฉันเถิด, การ

อยู่ในที่อาคันตุกะลำบาก" พาสามเณรนั้นแลเข้าไปสู่เสนาสนะแล้ว. ก็

พระเถระเป็นปุถุชน พอนอนเท่านั้น ก็หยั่งลงสู่ความหลับ. สามเณร

คิดว่า "วันนี้เป็นวันที่ ๓ ของเรา ผู้อยู่ในเสนาสนะเดียวกันกับพระ-

อุปัชฌาย์; ถ้าเราจักนอนหลับ, พระเถระพึงต้องสหไสยาบัติ, เราจะ

นั่งอย่างเดียว ยังกาลให้น้อมล่วงไป." สามเณรนั่งคู้บัลลังก์ใกล้เตียงของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 391

พระอุปัชฌาย์เทียว ยังราตรีให้น้อมล่วงไปแล้ว. พระเถระลุกขึ้นในเวลา

ใกล้รุ่ง คิดว่า "ควรให้สามเณรออก" จึงจับพัดที่วางอยู่ข้างเตียง เอา

ปลายใบพัดตีเสื่อลำแพนของสามเณรแล้ว ยกพัดขึ้นเบื้องบนกล่าวว่า

"สามเณรจงออกไปข้างนอก" ใบพัดกระทบตา. ตาแตกแล้ว ทันใด

นั้นนั่นเอง สามเณรนั้น กล่าวว่า " อะไร ? ขอรับ" เมื่อพระเถระ

กล่าวว่า "เจ้าจงลุกขึ้น ออกไปข้างนอก." ก็ไม่กล่าวว่า " ตาของผม

แตกแล้ว ขอรับ" ปิด (ตา) ด้วยมือข้างหนึ่งออกไปแล้ว. ก็แลใน

เวลาทำวัตร สามเณรไม่นั่งนิ่งด้วยคิดว่า "ตา ของเราแตกแล้ว."

กุมตาด้วยมือข้างหนึ่ง ถือกำไม้กวาดด้วยมือข้างหนึ่ง กวาดเวจกุฎีและที่ล้าง

หน้าและตั้งน้ำล้างหน้าไว้แล้วกวาดบริเวณ. สามเณรนั้นเมื่อถวายไม้ชำระ

ฟันแก่พระอุปัชฌาย์ ได้ถวายด้วยมือเดียว.

อาจารย์ขอโทษศิษย์

ครั้งนั้น พระอุปัชฌาย์กล่าวกะสามเณรนั้นว่า "สามเณรนี้ไม่ได้

สำเหนียกหนอ, จึงได้เพื่อถวายไม้ชำระฟันแก่อาจารย์และอุปัชฌาย์ด้วย

มือเดียว."

สามเณร. ผมทราบ ขอรับ ว่า 'นั่นไม่เป็นวัตร,' แต่มือข้าง

หนึ่งของผม ไม่ว่าง

พระเถระ. อะไร ? สามเณร.

สามเณรนั้นบอกความเป็นไปนั้นแล้วจำเดิมแต่ต้น. พระเถระพอ

ฟังแล้วมีใจสลด กล่าวว่า " โอ กรรมหนักอันเราทำแล้ว" กล่าวว่า

"จงอดโทษแก่ฉัน สัตบุรุษ, ฉันไม่รู้ข้อนั้น, ขอจงเป็นที่พึ่ง" ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 392

แล้ว ประคองอัญชลี นั่งกระโหย่งใกล้เท้าของเด็กอายุ ๗ ขวบ. ลำดับ

นั้นสามเณรบอกกะพระเถระนั้นว่า "กระผมมิได้พูดเพื่อต้องการเหตุนั้น

ขอรับ, กระผมเมื่อตามรักษาจิตของท่าน จึงได้พูดแล้วอย่างนี้, ในข้อนี้

โทษของท่านไม่มี, โทษของผมก็ไม่มี, นั่นเป็นโทษของวัฏฏะเท่านั้น,

ขอท่านอย่าคิดแล้ว, อันผมรักษาความเดือดร้อนของท่านอยู่นั่นเทียว

จึงไม่บอกแล้ว" พระเถระแม้อันสามเณรให้เบาใจอยู่ ไม่เบาใจแล้ว มี

ความสลดใจเกิดขึ้นแล้ว ถือภัณฑะของสามเณรไปสู่สำนักของพระศาสดา

แล้ว. แม้พระศาสดาประทับนั่งทอดพระเนตรการมาของพระเถระนั้น

เหมือนกัน. พระเถระนั้นไปถวายบังคมพระศาสดา ทำความบันเทิงกับ

พระศาสดาแล้ว อันพระศาสดาตรัสถามว่า " พออดพอทนหรือ ? ภิกษุ,

ความไม่ผาสุกที่รุนแรงอะไร ๆ ไม่มีหรือ?" จึงกราบทูลว่า "พออด

พอทน พระเจ้าข้า. ความไม่ผาสุกที่รุนแรงอะไร ๆ ของข้าพระองค์

ไม่มี. ก็อีกอย่างหนึ่งแล คนอื่นผู้มีคุณอย่างล้นเหลือเหมือนสามเณร

เด็กนี้ อันข้าพระองค์ไม่เคยเห็น" พระศาสดาตรัสถามว่า "กรรมอะไร ?

อันสามเณรนี้ทำแล้ว ภิกษุ." พระเถระนั้นกราบทูลความเป็นไปนั้นทั้งหมด

ตั้งแต่ต้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า สามเณรนี้

อันข้าพระองค์ให้อดโทษอยู่อย่างนั้น กล่าวกะข้าพระองค์อย่างนั้นว่า 'ในข้อนี้

โทษของท่านไม่มีเลย, โทษของผมก็ไม่มี, นั่นเป็นโทษของวัฏฏะเท่านั้น,

ขอท่านอย่าคิดแล้ว,' สามเณรยังข้าพระองค์ให้เบาใจแล้วนั่นเทียวด้วย

ประการฉะนี้, ไม่ทำความโกรธไม่ทำความประทุษร้าย ในข้าพระองค์

เลย; ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณเห็นปานนี้ อันข้าพระองค์

ไม่เคยเห็น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 393

พระขีณาสพไม่โกรธไม่ประทุษร้ายใคร

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า "ภิกษุ ธรรมดาพระขีณาสพ

ทั้งหลาย ไม่โกรธ ไม่ประทุษร้าย ต่อใครๆ, เป็นผู้มีอินทรีย์สงบแล้ว

เป็นผู้มีใจสงบแล้วเทียว" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๗. สนฺติ ตสฺส มน โหติ สนฺตา วาจา จ กมฺม จ

สมฺมทญฺา วิมุตฺตสฺส อุปสนฺตสฺส ตาทิโน.

"ใจของท่านผู้พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ตอบ ผู้

สงบระงับ คงที่ เป็นใจสงบแล้ว วาจาก็สงบแล้ว

การงานก็สงบ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺต ความว่า ใจของสมณะผู้

ขีณาสพนั้น ชื่อว่า สงบแล้วแท้ คือ ระงับ ได้แก่ ดับ เพราะความ

ไม่มีแห่งมโนทุจริตทั้งหลายมีอภิชฌาเป็นต้น, อนึ่งวาจา ชื่อว่า สงบแล้ว

เพราะความไม่มีแห่งวจีทุจริตทั้งหลายมีมุสาวาทเป็นต้น, และกายกรรม

ชื่อว่า สงบแล้วนั่นเทียว เพราะความไม่มีแห่งกายทุจริตมีปาณาติบาต

เป็นต้น.

บาทพระคาถาว่า สมฺมทญฺา วิมุติตสฺส ความว่า ผู้พ้นวิเศษ

แล้ว ด้วยวิมุตติ ๕ เพราะรู้โดยนัยโดยเหตุ.

บทว่า อุปสนฺตสฺส ความว่า ชื่อว่าผู้สงบระงับแล้ว เพราะความ

ระงับแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ณ ภายใน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 394

บทว่า ตาทิโน คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณเห็นปานนั้น.

ในเวลาจบเทศนา พระติสสเถระชาวกรุงโกสัมพีบรรลุพระอรหัต

พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย, ธรรมเทศนาได้เป็นประโยชน์ แม้เก่

มหาชนที่เหลือ ดังนี้แล.

เรื่องพระติสสเถระชาวกรุงโกสัมพี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 395

๘. เรื่องพระสารีบุตรเถระ [๗๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตร-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อสฺสทฺโธ" เป็นต้น.

สัทธินทรีย์เป็นต้นมีอมตะเป็นที่สุด

ความพิสดารว่า ภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ประมาณ ๓๐ รูป วัน

หนึ่งไปสู่สำนักพระศาสดา ถวายบังคมนั่งแล้ว. พระศาสดาทรงทราบ

อุปนิสัยแห่งพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ของภิกษุเหล่านั้น

แล้ว ตรัสเรียกพระสารีบุตรเถระมา ตรัสถามปัญหาปรารภอินทรีย์ ๕

อย่างนั้นว่า "สารีบุตร เธอเชื่อหรือ ?, อินทรีย์คือศรัทธาอันบุคคล

เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งถึงอมตะ มีอมตะเป็นที่สุด." พระเถระ

ทูลแก้ปัญหานั้นอย่างนั้นว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ย่อมไม่ถึงด้วยความ

เชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าในอินทรีย์ ๕ นี้แล; (ว่า) อินทรีย์ คือ

ศรัทธา ฯลฯ มีอมตะเป็นที่สุด, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อินทรีย์ คือ

ศรัทธานั่น อันชนเหล่าใดไม่รู้แล้ว ไม่สดับแล้ว ไม่เห็นแล้ว ไม่ทราบ

แล้ว ไม่ทำให้แจ้งแล้ว ไม่ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา, ชนเหล่านั้นพึงถึง

ด้วยความเชื่อต่อชนเหล่าอื่นในอินทรีย์ ๕ นั้น (ว่า) อินทรีย์ คือ

ศรัทธา ฯลฯ มีอมตะเป็นที่สุด."

ภิกษุทั้งหลายฟังคำนั้นแล้ว ยังกถาให้ตั้งขึ้นว่า "พระสารีบุตรเถระ

แก้แล้ว ด้วยการถือผิดทีเดียว, แม้ในวันนี้ พระเถระไม่เชื่อแล้วต่อ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเทียว."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 396

พระสารีบุตรอันใคร ๆ ไม่ควรติเตียน

พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

กล่าวคำชื่ออะไรนั่น ? เราแล ถามว่า 'สารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า

ชื่อว่าบุคคลผู้ไม่อบรมอินทรีย์ ๕ ไม่เจริญสมถะและวิปัสสนา สามารถ

เพื่อทำมรรคและผลให้แจ้งมีอยู่" สารีบุตรนั้น กล่าวว่า " พระเจ้าข้า

ข้าพระองค์ไม่เชื่อว่า 'ผู้กระทำให้แจ้งอย่างนั้น ชื่อว่ามีอยู่' สารีบุตร

ไม่เชื่อผลวิบาก แห่งทานอันบุคคลถวายแล้ว หรือแห่งกรรมอันบุคคล

กระทำแล้วก็หาไม่; อนึ่ง สารีบุตร ไม่เชื่อคุณของพระรัตนะ ๓ มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นต้นก็หาไม่; แต่สารีบุตรนั้น ไม่ถึงความเชื่อต่อบุคคลอื่นใน

ธรรมคือ ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล อันตนได้เฉพาะแล้ว;

เพราะฉะนั้น สารีบุตรจึงเป็นผู้อันใคร ๆ ไม่ควรติเตียน, เมื่อจะทรงสืบ

อนุสนธิแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๘. อสฺสทฺโธ อกตญญู จ สนฺธิจฺเฉโท จ โย นโร

หตาวกาโส วนฺตาโส ส เว อุตฺตมโปริโส.

"นระใดไม่เชื่อง่าย มีปกติรู้พระนิพพาน อัน

ปัจจัยทำไม่ได้ ตัดที่ต่อ มีโอกาสอันกำจัดแล้ว

มีความหวังอันคายแล้ว นระนั้นแล เป็นบุรุษ

สูงสุด."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสฺสทฺโธ เป็นต้น พึงทราบวิเคราะห์

ดังนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 397

นระ ชื่อว่า อสฺสทฺโธ เพราะอรรถว่า ไม่เธอคุณอันตนแทง

ตลอดแล้ว ด้วยคำของชนเหล่าอื่น, ชื่อว่า อกตญฺญฺ เพราะอรรถว่า

รู้พระนิพพานอันปัจจัยทำไม่ได้แล้ว, อธิบายว่า มีพระนิพพานอันตน

ทำให้แจ้งแล้ว ชื่อว่า สนฺธิจฺเฉโท เพราะอรรถว่า ตัดที่ต่อคือวัฏฏะ

ที่ต่อคือสงสาร ดำรงอยู่ ชื่อว่า หตาวกาโส เพราะอรรถว่า โอกาส

แห่งการบังเกิด ชื่อว่าอันนระกำจัดแล้ว เพราะความที่พืชคือกุศลกรรม

และอกุศลกรรมสิ้นแล้ว. ชื่อว่า วนฺตาโส เพราะอรรถว่า ความหวัง

ทั้งปวง ชื่อว่าอันนระนี้คายแล้ว เพราะความที่กิจอันตนควรทำด้วย

มรรค ๔ อันตนทำแล้ว. ก็นระเห็นปานนี้ใด, นระนั้นแล ชื่อว่าผู้สูงสุด

ในบุรุษ เพราะอรรถว่า ถึงความเป็นผู้สูงสุดในบุรุษทั้งหลาย ด้วยความ

ที่แห่งโลกุตรธรรม อันคนแทงตลอดแล้ว.

ในเวลาจบพระคาถา ภิกษุประมาณ ๓๐ รูป ผู้อยู่ป่าเหล่านั้น

บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว. พระธรรมเทศนาได้

มีประโยชน์แม้แก่มหาชนที่เหลือ ดังนี้แล.

เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 398

๙. เรื่องพระขทิรวนิยเรวตเถระ [๗๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเรวตเถระ

ผู้อยู่ป่าไม้สะแก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "คาเม วา" เป็นต้น.

พระสารีบุตรชวนพี่น้องบวช

ความพิสดารว่า ท่านพระสารีบุตร ละทรัพย์ ๘๗ โกฏิบวชแล้ว

(ชักชวน) น้องสาว ๓ คน คือนางจาลา, นางอุปจาลา, นางสีสุปจาลา,

(และ) น้องชาย ๒ คนนี้ คือ นายจุนทะ, นายอุปเสนะ, ให้บวชแล้ว.

เรวตกุมารผู้เดียวเท่านั้นยังเหลืออยู่แล้วในบ้าน. ลำดับนั้น มารดาของ

ท่านคิดว่า "อุปติสสะบุตรของเรา ละทรัพย์ประมาณเท่านี้บวชแล้ว

(ยังชักชวน) น้องสาว ๓ คน น้องชาย ๒ คน ให้บวชด้วย, เรวตะ

ผู้เดียวเท่านั้นยังเหลืออยู่ ถ้าเธอจัก (ชักชวน) เรวตะแม้นี้ให้บวชไซร้,

ทรัพย์ของเราประมาณเท่านี้จักฉิบหาย, วงศ์สกุลจักขาดสูญ เราจักผูก

เรวตะนั้นไว้ ด้วยการอยู่ครองเรือน แต่ในกาลที่เขายังเป็นเด็กเถิด."

ฝ่ายพระสารีบุตรเถระสั่งภิกษุทั้งหลายไว้ก่อนทีเดียวว่า "ผู้มีอายุ

ถ้าเรวตะประสงค์จะบวช มาไซร้, พวกท่านพึงให้เขาผู้มาตรว่ามาถึงเท่านั้น

บวช (เพราะ) มารดาบิดาของผมเป็นมิจฉาทิฏฐิ, ประโยชน์อะไรด้วย

ท่านทั้งสองนั้น อันเรวตะจะบอกลาเล่า ? ผมเองเป็นมารดาและบิดาของ

เรวตะนั้น."

๑. ขทิร แปลว่าไม้ตะเคียนก็มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 399

มารดาบิดาให้เรวตะแต่งงาน

แม้มารดาของพระสารีบุตรเถระนั้น ประสงค์จะผูกเรวตกุมารผู้มี

อายุ ๗ ขวบเท่านั้น ด้วยเครื่องผูกคือเรือน จึงหมั้นเด็กหญิงในตระกูล

ที่มีชาติเสมอกัน กำหนดวันแล้ว ประดับตกแต่งกุมารแล้ว ได้พาไป

สู่เรือนของญาติเด็กหญิง พร้อมด้วยบริวารเป็นอันมาก. ลำดับนั้น เมื่อ

พวกญาติของเขาทั้งสองผู้ทำการมงคลประชุมกันแล้ว, พวกญาติให้เขา

ทั้งสองจุ่มมือลงในถาดน้ำแล้ว กล่าวมงคลทั้งหลาย หวังความเจริญ

แก่เด็กหญิง จึงกล่าวว่า " ขอเจ้าจงเห็นธรรมอันยายของเจ้าเห็นแล้ว,

เจ้าจงเป็นอยู่สิ้นกาลนาน เหมือนยาย นะแม่" เรวตกุมาร คิดว่า

"อะไรหนอแล ? ชื่อว่าธรรมอันยายนี้เห็นแล้ว" จึงถามว่า " คนไหน ?

เป็นยายของหญิง."

ลำดับนั้น พวกญาติบอกกะเขาว่า "พ่อ คนนี้ มีอายุ ๑๒๐ ปี

มีฟันหลุด ผมหงอก หนังหดเหี่ยว ตัวตกกระ หลังโกงดุจกลอนเรือน

เจ้าไม่เห็นหรือ ? นั่นเป็นยายของเด็กหญิงนั้น."

เรวตะ. ก็แม้หญิงนี้ จักเป็นอย่างนั้นหรือ ?

พวกญาติ. ถ้าเขาจักเป็นอยู่ไซร้, ก็จักเป็นอย่างนั้น พ่อ.

เรวตะคิดหาอุบายออกบวช

เรวตะนั้น คิดว่า "ชื่อว่าสรีระ แม้เห็นปานนี้ จักถึงประการ

อันแปลกนี้ เพราะชรา, อุปติสสะพี่ชายของเรา จักเห็นเหตุนี้แล้ว. ควร

ที่เราจะหนีไปบวชเสียในวันนี้แหละ." ทีนั้น พวกญาติอุ้มเขาขึ้นสู่ยาน

อันเดียวกันกับเด็กหญิงพาหลีกไปแล้ว . เขาไปได้หน่อยหนึ่งอ้างการถ่าย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 400

อุจจาระ พูดว่า "ท่านทั้งหลาย จงหยุดยานก่อน, ฉันลงไปแล้วจัก

มา" ดังนี้แล้ว ลงจากยานท่าให้ชักช้าหน่อยหนึ่ง ที่พุ่มไม้พุ่มหนึ่งแล้ว

จึงได้ไป. เขาไปได้หน่อยหนึ่งแล้ว ลงไปด้วยการอ้างนั้นนั่นแลแม้อีก

ขึ้นแล้วก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกันอีก.

ลำดับนั้น พวกญาติของเขากำหนดว่า "เรวตะนี้ หมั่นไปแท้ๆ "

จึงมิได้ทำการรักษาอย่างเข้มแข็ง. เขาไปได้หน่อยหนึ่งก็ลงไปด้วยการอ้าง

นั้นนั่นแลแม้อีกแล้ว พูดว่า "พวกท่าน จงขับไปข้างหน้า, ฉันจัก

ค่อย ๆ เดินมาข้างหลัง" จึงลงไปแล้ว ได้บ่ายหน้าตรงไปยังพุ่มไม้.

เรวตะได้บรรพชา

แม้พวกญาติของเขา ได้ขับยานไปด้วยสำคัญว่า เรวตะจักมา

ข้างหลัง." ฝ่ายเรวตะนั้นหนีไปจากที่นั้นแล้ว, ไปยังสำนักของภิกษุ

ประมาณ ๓๐ รูป ซึ่งอยู่ในประเทศแห่งหนึ่ง ไหว้แล้วเรียนว่า "ท่าน

ขอรับ ขอท่านทั้งหลายจงให้กระผมบวช."

พวกภิกษุ. ผู้มีอายุ เธอประดับด้วยเครื่องอลังการพร้อมสรรพ

พวกข้าพเจ้าไม่ทราบว่า เธอเป็นพระราชโอรสหรือเป็นบุตรของอำมาตย์

จักให้เธอบวชอย่างไรได้."

เรวตะ. พวกท่านไม่รู้จักกระผมหรือ ? ขอรับ.

พวกภิกษุ. ไม่รู้ ผู้มีอายุ.

เรวตะ. กระผมเป็นน้องชายของอุปติสสะ.

พวกภิกษุ. ชื่อว่าอุปติสสะนั่น คือใคร ?

เรวตะ. ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เรียกพี่ชายของกระผมว่า สารี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 401

บุตร เพราะฉะนั้น เมื่อกระผมเรียนว่า 'อุปติสสะ' ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

จึงไม่ทราบ.

พวกภิกษุ. ก็เธอเป็นน้องชายของพระสารีบุตรเถระหรือ ?

เรวตะ. อย่างนั้น ขอรับ.

ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น มาเถิด พี่ชายของเธออนุญาต

ไว้แล้วเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว ก็ให้เปลื้องเครื่องอาภรณ์ของเขาออก

ให้วางไว้ ณ ที่สุดแห่งหนึ่ง ให้เขาบวชแล้ว จึงส่งข่าวไปแก่พระเถระ.

พระเถระ ฟังข่าวนั้นแล้ว จึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

" พระเจ้าข้า ภิกษุทั้งหลายส่งข่าวมาว่า ' ได้ยินว่า พวกภิกษุที่อยู่ป่าให้

เรวตะบวช' ข้าพระองค์ไปเยี่ยมเธอแล้วจึงจักกลับมา."

พระศาสดา มิได้ทรงยอมให้ไป ด้วยพระดำรัสว่า "สารีบุตร จง

ยับยั้งอยู่ก่อน." โดยการล่วงไป ๒-๓ วัน พระเถระก็ทูลลาพระศาสดา

อีก. พระศาสดามิได้ทรงยอมให้ไป ด้วยพระดำรัสว่า "สารีบุตร จงยับยั้ง

อยู่ก่อน แม้เราก็จักไป."

เรวตสามเณรบรรลุพระอรหัต

ฝ่ายสามเณรคิดว่า "ถ้าเราจักอยู่ในที่นี้ไซร้ พวกญาติจักให้คนติด

ตามเรียกเรา ( กลับ)" จึงเรียนกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัตแต่สำนัก

ของภิกษุเหล่านั้น ถือบาตรแลจีวร เที่ยวจาริกไปถึงป่าไม้สะแกในที่

ประมาณ ๓๐ โยชน์แต่ที่นั้น ในระหว่าง ๓ เดือนภายในพรรษานั่นแล

บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.

แม้พระเถระปวารณาแล้ว ทูลลาพระศาสดาเพื่อต้องการไปในที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 402

นั้นอีก. พระศาสดาตรัสว่า "สารีบุตร แม้เราก็จักไป" เสด็จออกไป

พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป. ในเวลาเสด็จไปได้หน่อยหนึ่ง พระอานนท-

เถระยืนอยู่ที่ทาง ๒ แพร่ง กราบทูลพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า บรรดา

ทางที่ไปสู่สำนักของเรวตะ ทางนี้เป็นทางอ้อม ประมาณ ๖๐ โยชน์

เป็นที่อยู่ของมนุษย์ ทางนี้เป็นทางตรง ประมาณ ๓๐ โยชน์ อันอมนุษย์

คุ้มครอง พวกเราจะไปโดยทางไหน ?"

พระศาสดา. อานนท์ ก็สีวลี มากับพวกเรา ( มิใช่หรือ ?)

อานนท์. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ถ้าสีวลีมา, เธอจงถือเอาทางตรงนั่นแหละ.

พวกภิกษุอาศัยบุญของพระสีวลีเถระ

ได้ยินว่า พระศาสดามิได้ตรัสว่า "เราจักยังข้าวต้มและข้าวสวยให้

เกิดขึ้นแก่พวกเธอ พวกเธอจงถือเอาทางตรง" ทรงทราบว่า "ที่นั่นเป็น

ที่ให้ผลแห่งบุญแก่ชนเหล่านั้น ๆ" จึงตรัสว่า "ถ้าสีวลีมา เธอจงถือเอา

ทางตรง." ก็เมื่อพระศาสดาทรงดำเนินไปทางนั้น พวกเทวดาคิดว่า

" พวกเราจักทำสักการะแก่พระสีวลีเถระ พระผู้เป็นเจ้าของเรา" ให้สร้าง

วิหารในที่โยชน์หนึ่ง ๆ ไม่ให้เกินไปกว่าโยชน์หนึ่ง ลุกขึ้นแต่เช้าเทียว

ถือเอาวัตถุมีข้าวต้มเป็นต้นอันเป็นทิพย์แล้วเที่ยวไปด้วยตั้งใจว่า "พระสีวลี

เถระผู้เป็นเจ้าของเรา นั่งอยู่ที่ไหน ?"

พระเถระให้เทวดาถวายภัตที่นำมาเพื่อตน แก่ภิกษุสงฆ์ มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุข. พระศาสดาพร้อมทั้งบริวารเสวยบุญของพระสีวลี-

เถระผู้เดียว ได้เสด็จไปตลอดทางกันดารประมาณ ๓๐ โยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 403

ฝ่ายพระเรวตเถระ ทราบการเสด็จมาของพระศาสดา จึงนิรมิต

พระคันธกุฎีเพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า นิรมิตเรือนยอด ๕๐๐ ที่จงกรม ๕๐๐

และที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ๕๐๐. พระศาสดาประทับอยู่ใน

สำนักของพระเรวตเถระนั้นสิ้นกาลประมาณเดือนหนึ่งแล. แม้ประทับอยู่

ในที่นั้น ก็เสวยบุญของพระสีวลีเถระนั่นเอง.

ก็บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุแก่ ๒ รูป ในเวลาพระศาสดาเสด็จ

เข้าไปสู่ป่าไม้สะแก คิดแล้วอย่างนี้ว่า " ภิกษุนี้ทำนวกรรม (การก่อสร้าง)

ประมาณเท่านี้อยู่ จักอาจทำสมณธรรมได้อย่างไร ? พระศาสดาทรง

ทำกิจคือการเห็นแก่หน้า ด้วยทรงดำริว่า 'เป็นน้องชายของพระสารีบุตร'

จึงเสด็จมาสู่สำนักของเธอผู้ประกอบนวกรรมเห็นปานนี้."

พระศาสดาทรงอธิฐานให้ภิกษุลืมบริขาร

ในวันนั้น แม้พระศาสดาทรงตรวจดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรง

เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว ได้ทรงทราบวาระจิตของภิกษุเหล่านั้นแล้ว เพราะ

เหตุนั้น ประทับอยู่ในที่นั้นสิ้นกาลประมาณเดือนหนึ่งแล้ว ในวันเสด็จ

ออกไป ทรงอธิษฐานโดยประการที่ภิกษุเหล่านั้นลืมหลอดน้ำมัน ลักจั่น-

น้ำ และรองเท้าของตนไว้ เสด็จออกไปอยู่ ในเวลาเสด็จออกไปภายนอก

แต่อุปจารวิหารจึงทรงคลายพระฤทธิ์.

ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นกล่าวกันว่า "ผมลืมสิ่งนี้และสิ่งนี้ แม้ผมก็

ลืม" ดังนี้แล้ว ทั้งสองรูปจึงกลับไป ไม่กำหนดถึงที่นั้น ถูกหนาม

๑. เรวตะ เป็นสามเณร แต่เรียกว่าพระเถระ เป็นเพราะท่านบรรลุพระอรหัตผลแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 404

ไม้สะแกแทง เที่ยวไป พบห่อสิ่งของของตน ซึ่งห้อยอยู่ที่ต้นสะแกต้น

หนึ่ง ถือเอาแล้วก็หลีกไป.

แม้พระศาสดาทรงพาภิกษุสงฆ์ไป เสวยบุญของพระสีวลีเถระ

ตลอดกาลประมาณเดือนหนึ่งนั่นแลอีก เสด็จเข้าไปสู่บุพพาราม. ลำดับ

นั้น ภิกษุแก่เหล่านั้นล้างหน้าแต่เช้าตรู่ เดินไปด้วยตั้งใจว่า พวกเราจัก

ดื่มข้าวต้มในเรือนของนางวิสาขา ผู้ถวายอาคันตุกภัต ดื่มข้าวต้มแล้ว

ฉันของเคี้ยวแล้วนั่งอยู่.

นางวิสาขาถามถึงที่อยู่ของเรวตะ

ลำดับนั้น นางวิสาขาถามภิกษุแก่เหล่านั้นว่า "ท่านผู้เจริญ ก็

ท่านทั้งหลายได้ไปที่อยู่ของเรวตเถระกับพระศาสดาหรือ ?"

ภิกษุแก่. อย่างนั้น อุบาสิกา.

วิสาขา. ท่านผู้เจริญ ที่อยู่ของพระเถระน่ารื่นรมย์หรือ ?

ภิกษุแก่. ที่อยู่ของพระเถระนั้นเป็นสถานที่น่ารื่นรมย์ จักมีแต่

ที่ไหน ? อุบาสิกา ที่นั้นรกด้วยไม้สะแกมีหนามขาว เป็นเช่นกับสถาน

ที่อยู่ของพวกเปรต.

ครั้งนั้น ภิกษุหนุ่มสองรูปพวกอื่นมาแล้ว. อุบาสิกาถวายข้าวต้ม

และของควรเคี้ยวทั้งหลายแม้แก่ภิกษุหนุ่มเหล่านั้นแล้ว ถามอย่างนั้น

เหมือนกัน. ภิกษุเหล่านั้น กล่าวว่า "อุบาสิกา พวกฉันไม่อาจ

พรรณนาได้ ที่อยู่ของพระเถระ เป็นเช่นกับเทวสภาชื่อสุธรรมาดุจตกแต่ง

ขึ้นด้วยฤทธิ์."

อุบาสิกาคิดว่า "ภิกษุพวกที่มาครั้งแรกกล่าวอย่างอื่น ภิกษุพวกนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 405

กล่าวอย่างอื่น ภิกษุพวกที่มาครั้งแรก ลืมอะไรไว้เป็นแน่ จักกลับไป

ในเวลาคลายฤทธิ์แล้ว ส่วนภิกษุพวกนี้จักไปในเวลาที่พระเถระตกแต่ง

นิรมิตสถานที่ด้วยฤทธิ์" เพราะความที่ตนเป็นบัณฑิตจึงทราบเนื้อความ

นั้น ได้ยืนอยู่แล้วด้วยหวังว่า "จักมูลถามในกาลที่พระศาสดาเสด็จมา."

ต่อกาลเพียงครู่เดียวแต่กาลนั้น พระศาสดาอันภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จ

ไปสู่เรือนของนางวิสาขา ประทับนั่งเหนืออาสนะอันเขาตกแต่งไว้แล้ว

นางอังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขโดยเคารพในเวลาเสร็จภัตกิจ

ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ทูลถามเฉพาะว่า "พระเจ้าข้า บรรดาภิกษุ

ที่ไปกับพระองค์ บางพวกกล่าวว่า ที่อยู่ของพระเรวตเถระ เป็นป่ารก

ด้วยไม้สะแก บางพวกกล่าวว่า เป็นสถานที่รื่นรมย์ ที่อยู่ของพระเถระ

นั่นเป็นอย่างไรหนอแล ?"

พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า "อุบาสิกา จะเป็นบ้านหรือ

เป็นป่าก็ตาม พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมอยู่ในที่ใด ที่นั้นน่ารื่นรมย์แท้ "

ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๙. คาเม วา ยทิ วา รญฺเ นินฺเน วา ยทิ วา ถเล

ยตฺถ อรหนฺโต วิหรนฺติ ต ภูมิรามเณยิยก.

"พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด เป็นบ้าน

ก็ตาม เป็นป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม,

ที่นั้นเป็นภูมิสถานน่ารื่นรมย์."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 406

แก้อรรถ

ในพระคาถานั้น มีความว่า พระอรหันต์ทั้งหลาย ย่อมไม่ได้กาย-

วิเวกภายในบ้านก็จริง, ถึงดังนั้น ย่อมได้จิตตวิเวกอย่างแน่นอน, เพราะ

อารมณ์ทั้งหลายแม้เปรียบดังของทิพย์ ย่อมไม่อาจทำจิตของพระอรหันต์

เหล่านั้นให้หวั่นไหวได้, เพราะเหตุนั้น จะเป็นบ้านหรือจะเป็นที่ใดที่หนึ่ง

มีป่าเป็นต้น, พระอรหันต์ทั้งหลายย่อมอยู่ในที่ใด. บาทพระคาถาว่า

ต ภูมิรามเณยฺยก ความว่า ภูมิประเทศนั้น เป็นที่น่ารื่นรมย์แท้.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้นแล้ว.

พวกภิกษุปรารภถึงความเป็นไปของพระสีวลี

โดยสมัยอื่นอีก ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย

เพราะเหตุไรหนอแล ท่านพระสีวลีเถระ จึงอยู่ในท้องของมารดา

ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน ? เพราะกรรมอะไร จึงไหม้แล้วในนรก ?

เพราะกรรมอะไร จึงถึงความเป็นผู้มีลาภเลิศ และมียศเลิศอย่างนั้น ?"

พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอกล่าวอะไรกัน ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "กถาชื่อนี้

พระเจ้าข้า" ดังนี้แล้ว เมื่อจะตรัสบุรพกรรมของท่านพระสีวลีเถระนั้น

จึงตรัสว่า :-

บุรพกรรมของพระสีวลี

"ภิกษุทั้งหลาย ในกัลป์ที่ ๙๑ แต่กัลป์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพระนามว่าวิปัสสี ทรงอุบัติในโลกแล้ว สมัยหนึ่งเสด็จเที่ยวจาริกไปใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 407

ชนบท กลับมาสู่นครของพระบิดา. พระราชาทรงตระเตรียมอาคันตุกทาน

เพื่อภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ทรงส่งข่าวแก่ชาวเมืองว่า

"ชนทั้งหลายจงมาเป็นสหายในทานของเรา." ชนเหล่านั้นทำอย่างนั้น

แล้วคิดว่า "พวกเราจักถวายทานให้ยิ่งกว่าทานที่พระราชาถวายแล้ว "

จึงทูลนิมนต์พระศาสดา ในวันรุ่งขึ้นตกแต่งทานแล้ว ก็ส่งข่าวไปทูลแด่

พระราชา. พระราชาเสด็จมาทอดพระเนตรเห็นทานของชนเหล่านั้นแล้ว

ทรงดำริว่า "เราจักถวายทานให้ยิ่งกว่าทานนี้" ในวันรุ่งขึ้นทรงนิมนต์

พระศาสดาแล้ว. พระราชาไม่ทรงสามารถจะให้ชาวเมืองแพ้ได้เลย (ถึง)

ชาวเมืองก็ไม่สามารถจะให้พระราชาแพ้ได้. ในครั้งที่ ๖ ชาวเมืองคิดว่า

"บัดนี้พวกเราจักถวายทานในวันพรุ่งนี้ โดยประการที่ใคร ๆ ไม่อาจพูด

ได้ว่า "วัตถุชื่อนี้ไม่มี ในทานของชนเหล่านี้" ดังนี้แล้ว ในวัน

รุ่งขึ้นจัดแจงของถวายเสร็จแล้วตรวจดูว่า "อะไรหนอแล ? ยังไม่มีใน

ทานนี้" ไม่ได้เห็นน้ำผึ้งดิบเลย, ส่วนน้ำผึ้งสุกมีมาก. ชนเหล่านั้นให้

คนถือเอาทรัพย์ ๔ พันแล้ว ส่งไปในประตูแห่งพระนครทั้ง ๔ เพื่อ

ต้องการน้ำผึ้งดิบ.

ครั้งนั้น คนบ้านนอกคนหนึ่งมาเพื่อจะเยี่ยมนายบ้าน เห็นรวงผึ้ง

ในระหว่างทาง ไล่ตัวผึ้งให้หนีไปแล้ว ตัดกิ่งไม้ถือรวงผึ้งพร้อมทั้งคอน

นั่นแลเข้าไปสู่พระนครด้วยตั้งใจว่า "เราจักให้แก่นายบ้าน" บุรุษผู้ไป

เพื่อต้องการน้ำผึ้งพบคนบ้านนอกนั้นแล้ว จึงถามว่า "ท่านผู้เจริญ

น้ำผึ้งท่านขายไหม ?"

๑. อลฺลมธุ ตามศัพท์แปลว่าน้ำผึ้งสด. ได้แก่น้ำผึ้งที่ได้จากรังใหม่ ๆ ยังไม่ได้ต้มหรือเคี่ยว,

เพื่อความให้ความเข้ากันกับน้ำผึ้งสุก ศัพท์นี้จึงควรแปลว่า น้ำผึ้งดิบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 408

คนบ้านนอก. ไม่ขาย นาย.

บุรุษ. เชิญท่านรับเอากหาปณะนี้แล้ว จงให้ (รวงผึ้งแก่ฉัน )

เถิด.

คนบ้านนอกนั้นคิดว่า "รวงผึ้งนี้ย่อมไม่ถึงค่าแม้สักว่าบาทหนึ่ง;

แต่บุรุษนี้ให้ทรัพย์กหาปณะหนึ่ง, เห็นจะเป็นผู้มีกหาปณะมาก, เราควร

ขึ้นราคา." ลำดับนั้น เขาจึงตอบกะบุรุษนั้นว่า "ฉันให้ไม่ได้."

บุรุษ. ถ้ากระนั้น ท่านจงรับเอาทรัพย์ ๒ กหาปณะ.

คนบ้านนอก. แม้ด้วยทรัพย์ ๒ กหาปณะฉันก็ให้ไม่ได้.

เขาขึ้นราคาด้วยอาการอย่างนั้น จนถึงบุรุษนั้นกล่าวว่า "ถ้า

กระนั้น ขอท่านจงรับเอาทรัพย์พันกหาปณะนี้" ดังนี้แล้ว น้อมห่อ

ภัณฑะเข้าไป. ทีนั้นคนบ้านนอกกล่าวกะบุรุษนั้นว่า "ท่านบ้าหรือหนอ

แล ? หรือไม่ได้โอกาสเป็นที่เก็บกหาปณะ; น้ำผึ้งไม่ถึงค่าแม้บาทหนึ่ง

ท่านยังกล่าวว่า 'ท่านรับเอากหาปณะพันหนึ่งแล้ว จงให้ (รวงผึ้งแก่

ฉัน), ชื่อว่าเหตุอะไรกันนี้ ?"

บุรุษ. ผู้เจริญ ข้าพเจ้ารู้, ก็กรรมของข้าพเจ้าด้วยน้ำผึ้งนี้มีอยู่,

เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงพูดอย่างนั้น.

คนบ้านนอก. กรรมอะไร ? นาย.

บุรุษ. พวกข้าพเจ้าตระเตรียมมหาทาน เพื่อพระวิปัสสีสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ผู้มีสมณะ ๖ ล้าน ๘ แสนเป็นบริวาร, ในมหาทานนั้นยัง

ไม่มีน้ำผึ้งดิบอย่างเดียวเท่านั้น, เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงขอซื้อ (รวงผึ้ง)

ด้วยอาการอย่างนั้น.

คนบ้านนอก. เมื่อเป็นอย่างนั้น ข้าพเจ้าจักไม่ให้ด้วยราคา, ถ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 409

แม้ข้าพเจ้าได้ส่วนบุญในทานบ้างไซร้, ข้าพเจ้าจักให้.

บุรุษนั้นไปบอกเนื้อความนั้นแก่ชาวเมือง. ชาวเมืองทราบความที่

ศรัทธาของเขามีกำลัง จึงรับว่า "สาธุ ขอเขาจงเป็นผู้ได้ส่วนบุญ.

พวกชาวเมืองนั้นนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขให้นั่งแล้ว

ถวายข้าวต้มและของเคี้ยว ให้คนนำถาดทองคำอย่างใหญ่มาให้บีบรวงผึ้ง

แล้ว. แม้กระบอกนมส้มอันมนุษย์นั้นแลนำมา เพื่อต้องการเป็นของ

กำนัลมีอยู่. เขาเทนมส้มแม้นั้นลงในถาดแล้วเคล้ากับน้ำผึ้งนั้น ได้ถวาย

แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขจำเดิมแต่ต้น. น้ำผึ้งนั้นทั่วถึงแก่

ภิกษุทุกรูป ผู้รับเอาจนพอความต้องการ. ได้เหลือเกินไปด้วยซ้ำ.

ใคร ๆ ไม่ควรคิดว่า "น้ำผึ้งน้อยอย่างนั้น ถึงแก่ภิกษุมากเพียงนั้นได้

อย่างไร ?" จริงอยู่ น้ำผึ้งนั้น ถึงได้ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้า.

พุทธวิสัยใคร ๆไม่ควรคิด. จริงอยู่ เหตุ ๔ อย่าง อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า " เป็นเรื่องที่ไม่ควรคิด." ใคร ๆ เมื่อไปคิดเหตุเหล่านั้นเข้า

ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคนบ้าทีเดียว ด้วยประการฉะนี้.

บุรุษนั้น ทำกรรมประมาณเท่านั้นแล้ว ในกาลเป็นที่สิ้นสุดแห่ง

อายุ บังเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวอยู่สิ้นกาลนานประมาณเท่านั้น ใน

สมัยหนึ่งจุติจากเทวโลก บังเกิดในราชตระกูลในกรุงพาราณสี โดยกาล

ที่พระชนกสวรรคต ถึงความเป็นพระราชาแล้ว. ท้าวเธอทรงดำริว่า

"จักยึดเอาพระนครหนึ่ง" จึงเสด็จไปล้อม (นครนั้นไว้). และทรง

ส่งสาสน์ไปแก่ชาวเมืองว่า "จงให้ราชสมบัติหรือให้การยุทธ" ชาวเมือง

เหล่านั้นตอบว่า "จักไม่ให้ทั้งราชสมบัตินั่นแหละ, จักไม่ให้ทั้งการยุทธ"

๑. อนิจไตย เรื่องที่ไม่ควรคิด ๔ อย่าง คือ พุทธวิสัย. ฌานวิสัย. กรรมวิสัย. โลกจินตะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 410

ดังนี้แล้ว ก็ออกไปนำฟืนและน้ำเป็นต้นมาทางประตูเล็ก ๆ, ทำกิจ

ทุกอย่าง.

ฝ่ายพระราชานอกนี้รักษาประตูใหญ่ ๔ ประตู ล้อมพระนครไว้

สิ้น ๗ ปี ยิ่งด้วย ๗ เดือน ๗ วัน. ในกาลต่อมา พระชนนีของพระราชา

นั้นตรัสถามว่า บุตรของเราทำอะไร ?" ทรงสดับเรื่องนั้นว่า "ทรง

ทำกรรมชื่อนี้ พระเจ้าข้า" ตรัสว่า "บุตรของเราโง่, พวกเธอจงไป

จงทูลแก่บุตรของเรานั้นว่า "จงปิดประตูเล็ก ๆ ล้อมพระนคร."

ท้าวเธอทรงสดับคำสอนของพระชนนีแล้ว ก็ได้ทรงทำอย่างนั้น.

ฝ่ายชาวเมืองเมื่อไม่ได้เพื่อออกไปภายนอก ในวันที่ ๗ จึงปลง

พระชนม์พระราชาของตนเสีย ได้ถวายราชสมบัติแด่พระราชานั้น. ท้าว

เธอทรงทำกรรมนี้แล้ว ในกาลเป็นที่สิ้นสุดแห่งอายุบังเกิดในอเวจี, ไหม้

แล้วในนรกตราบเท่ามหาปฐพีนี้หนาขึ้นได้ประมาณโยชน์หนึ่ง, จุติจาก

อัตภาพนั้นแล้ว ถือปฏิสนธิในท้องของมารดานั้นนั่นแหละ อยู่ภายในท้อง

สิ้น ๗ ปี ยิ่งด้วย ๗ เดือน นอนขวางอยู่ที่ปากช่องกำเนิดสิ้น ๗ วัน เพราะ

ความที่ตนปิดประตูเล็ก ๆ ทั้งสี่.

ภิกษุทั้งหลาย สีวลีไหม้แล้วในนรกสิ้นกาลประมาณเท่านั้น เพราะ

กรรมที่เธอล้อมพระนครแล้วยึดเอาในกาลนั้น ถือปฏิสนธิในท้องของ

มารดานั้นนั่นแหละ อยู่ในท้องสิ้นกาลประมาณเท่านั้น เพราะความที่เธอ

ปิดประตูเล็ก ๆ ทั้งสี่, เป็นผู้ถึงความเป็นผู้มีลาภเลิศ มียศเลิศ เพราะ

ความที่เธอถวายน้ำผึ้งใหม่ ด้วยประการอย่างนี้.

พวกภิกษุชมเชยบุญของเรวตะ

ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า "แม้สามเณรผู้เดียวทำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 411

เรือนยอด ๕๐๐ หลัง เพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป มีลาภ, มีบุญ. น่าชมจริง,"

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุม

กันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยถ้อยคำ

ชื่อนี้พระเจ้าข้า," ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราไม่มีบุญ, ไม่มีบาป;

(เพราะ) บุญและบาปทั้งสองเธอละเสียแล้ว" ได้ตรัสพระคาถานี้ ใน

พราหมณวรรค ว่า:-

"บุคคลใดในโลกนี้ ล่วงเครื่องข้อง ๒ อย่าง

คือบุญและบาป, เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่โศก ปราศ-

จากกิเลสเพียงดังธุลี ผู้หมดจดว่า เป็นพราหมณ์."

เรื่องพระขทิรวนิยเรวตเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 412

๑๐. เรื่องหญิงคนใดคนหนึ่ง [๗๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภหญิงคนใด

คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "รมณียานิ" เป็นต้น.

หญิงนครโสภิณียั่วจิตพระเถระให้หลง

ดังได้สดับมา ภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง เรียนกัมมัฏฐาน

ในสำนักของพระศาสดาแล้ว เข้าไปสู่สวนร้างสวนหนึ่งทำสมณธรรมอยู่.

ครั้งนั้นหญิงนครโสภิณีคนหนึ่ง ทำการนัดแนะกับบุรุษว่า "ฉันจักไปสู่

ที่ชื่อโน้น, เธอพึงมาในที่นั้น" ได้ไปแล้ว. บุรุษนั้นไม่มาแล้ว. นาง

แลดูทางมาของบุรุษนั้นอยู่ไม่เห็นเขา กระสันขึ้นแล้ว จึงเที่ยวไปข้างโน้น

ข้างนี้ เข้าไปสู่สวนนั้นพบพระเถระนั่งคู้บัลลังก์ แลไปข้างโน้นข้างนี้

ไม่เห็นใคร ๆ อื่น คิดว่า "ผู้นี้เป็นเป็นชายเหมือนกัน, เราจักยังจิตของ

ผู้นี้ให้ลุ่มหลง" ยืนอยู่ข้างหน้าของพระเถระนั้น เปลื้องผ้านุ่งแล้ว

(กลับ) นุ่งบ่อย ๆ, สยายผมแล้วเกล้า, ปรบมือแล้วหัวเราะ.

ความสังเวชเกิดขึ้นแก่พระเถระ แผ่ซ่านไปทั่วสรีระ. ท่านคิด

ว่า "นี้เป็นอย่างไรหนอแล ?"

พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พระเถระ

ฝ่ายพระศาสดาทรงใคร่ครวญว่า " ความเป็นไปของภิกษุผู้เรียน

กัมมัฏฐานจากสำนักของเราไปแล้วด้วยตั้งใจว่า 'จักทำสมณธรรม'

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 413

เป็นอย่างไรหนอแล ?" ทรงเห็นหญิงนั้นแล้ว ทรงทราบกิริยาอนาจาร

ของหญิงนั้น และความเกิดขึ้นแห่งอวามสังเวชของพระเถระ ประทับนั่ง

ในพระคันธกุฎนั่นแหละ ตรัสกับพระเถระนั้นว่า "ภิกษุ ที่ ๆ ไม่

รื่นรมย์ของพวกคนผู้แสวงหากามนั่นแหละ เป็นที่รื่นรมย์ของผู้มีราคะ

ปราศจากแล้วทั้งหลาย." ก็แลครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว ทรงแผ่พระโอภาส

ไป เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุนั้น ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๐. รมณียานี อรญฺนิ ยตฺถ น รมตี ชโน

วีตราคา รเมสฺสนฺติ น เต กามคเวสิโน.

"ป่าทั้งหลาย เป็นที่น่ารื่นรมย์, ท่านผู้มีราคะ

ไปปราศแล้วทั้งหลาย จักยินดีในป่าอันไม่เป็นที่

ยินดีของชน, ( เพราะ ) ท่านผู้มีราคะไปปราศแล้ว

นั้น เป็นผู้มีปกติไม่แสวงหากาม."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺานิ ความว่า ธรรมดาป่าทั้งหลาย

อันประดับด้วยไพรสณฑ์มีต้นไม้รุ่น ๆ มีดอกบานแล้ว สมบูรณ์ด้วย

น้ำใสสะอาด เป็นที่น่ารื่นรมย์. บทว่า ยตฺถ เป็นต้น ความว่า ชน

ผู้แสวงหากาม ย่อมไม่ยินดีในป่าทั้งหลายใด เหมือนแมลงวันบ้าน

ไม่ยินดีในป่าบัวหลวง ซึ่งมีดอกอันแย้มแล้วฉะนั้น.

บทว่า วีตราคา เป็นต้น ความว่า ก็ท่านผู้มีราคะไปปราศแล้ว

ทั้งหลาย คือพระขีณาสพ จักยินดีในป่าทั้งหลายเห็นปานนั้น เหมือน

แมลงภู่และแมลงผึ้ง ยินดีในป่าบัวหลวงฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 414

ถามว่า " เพราะเหตุไร ?"

แก้ว่า "เพราะท่านผู้มีราคะไปปราศแล้วเหล่านั้น เป็นผู้มีปกติ

ไม่แสวงหากาม." อธิบายว่า เพราะท่านเหล่านั้นย่อมไม่เป็นผู้มีปกติ

แสวงหากาม (จึงยินดีในป่าทั้งหลาย).

ในกาลจบเทศนา พระเถระนั้นนั่งตามปกตินั่นแล บรรลุพระอรหัต

พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย มาโดยอากาศ ทำความชมเชย ถวาย

บังคมพระบาททั้งสองของพระตถาคต ได้ไปแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องหญิงคนใดคนหนึ่ง จบ.

อรหันตวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๗ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 415

คาถาธรรมบท

สหัสสวรรคที่ ๘

ว่าด้วยสิ่งเดียวประเสริฐกว่าร้อยกว่าพัน

[๑๘] ๑. หากวาจาแม้ตั้งพัน ไม่ประกอบด้วยบทที่

เป็นประโยชน์ไซร้ บทที่เป็นประโยชน์บทเดียว ซึ่ง

บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า.

๒. หากว่า คาถาแม้พันหนึ่ง ไม่ประกอบ

ด้วยบทเป็นประโยชน์ (ไม่ประเสริฐ ) บทแห่ง

คาถาบทเดียว ซึ่งบุคคลฟังแล้ว สงบระงับได้

ประเสริฐกว่า.

๓. ก็ผู้ใดพึงกล่าวคาถาตั้งร้อย ซึ่งไม่ประกอบ

ด้วยบทเป็นประโยชน์ บทแห่งธรรมบทเดียวที่บุคคล

ฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า (การกล่าวคาถา

ตั้งร้อยของผู้นั้น) ผู้ใดพึงชนะมนุษย์พันหนึ่งคูณด้วย

พันหนึ่ง (คือ ๑ ล้าน) ในสงคราม ผู้นั้นหาชื่อว่า

เป็นยอดแห่งชนผู้ชนะในสงครามไม่ ส่วนผู้ใดชนะ

ตนคนเดียวได้ ผู้นั้นแลเป็นยอดแห่งผู้ชนะใน

สงคราม.

๔. ตนนั่นแล บุคคลชนะแล้วประเสริฐ ส่วน

๑. วรรคที่ ๘ มีอรรถกถา ๑๔ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 416

หมู่สัตว์นอกนี้ บุคคลชนะแล้วไม่ประเสริฐเลย

(เพราะ) เมื่อบุรุษฝึกตนแล้ว ประพฤติสำรวม

เป็นนิตย์ เทวดา คนธรรพ์ มาร พร้อมทั้งพรหม

พึงทำความชนะของสัตว์เห็นปานนั้น ให้กลับแพ้

ไม่ได้เลย.

๕. ผู้ใด พึงบูชาด้วยทรัพย์พันหนึ่งทุก ๆ

เดือนสิ้น ๑๐๐ ปี ส่วนการบูชานั้นนั่นแลของผู้ที่พึง

บูชา ท่านผู้มีตนอบรมแล้วคนเดียว แม้ครู่หนึ่ง

ประเสริฐกว่าการบูชาของผู้นั้น การบูชาสิ้น ๑๐๐ ปี

จะประเสริฐอะไรเล่า.

๖. ก็สัตว์ใด พึงบำเรอไฟในป่าตั้ง ๑๐๐ ปี

ส่วนเขาพึงบูชาท่านผู้มีตนอบรมแล้วผู้เดียว แม้ครู่

หนึ่ง การบูชานั้นนั่นแลประเสริฐกว่า (การบูชาไฟ

ในป่าตั้ง ๑๐๐ ปี) การบูชา ๑๐๐ ปี จะประเสริฐ

อะไรเล่า.

๗. ผู้มุ่งบุญพึงบูชายัญและทำบำบวงอย่างใด

อย่างหนึ่งในโลกตลอดปี ทานนั้นแม้ทั้งหมดไม่ถึง

ส่วน ๔ การอภิวาทในท่านผู้ดำเนินตรงประเสริฐสุด.

๘. ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ

สุขะ พละ เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ

ผู้อ่อนน้อมต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์.

๙. ก็ผู้ใดทุศีล มีใจไม่ตั้งมั่น พึงเป็นอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 417

๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีศีล มีฌาน

ประเสริฐกว่า (ความเป็นอยู่ของผู้นั้น).

๑๐. ก็ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจตั้งมั่น พึงเป็น

อยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีปัญญา มี

ฌาน ประเสริฐกว่า (ความเป็นอยู่ของผู้นั้น).

๑๑. ก็ผู้ใดเกียจคร้านมีความเพียรอันทราม

พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของท่านผู้

ปรารภความเพียรมั่น ประเสริฐกว่าชีวิตของผู้นั้น.

๑๒. ก็ผู้ใดไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อม

อยู่ พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของ

ผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่า

ความเป็นอยู่ของผู้นั้น.

๑๓. ก็ผู้ใดไม่เห็นบทอันไม่ตาย พึงเป็นอยู่

๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นบทอันไม่

ตาย ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น.

๑๔. ผู้ใดไม่เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม พึงเป็น

อยู่ ๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นธรรม

อันยอดเยี่ยม ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ของผู้นั้น.

จบสหัสสวรรคที่ ๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 418

๘. สหัสสวรรควรรณนา

๑. เรื่องบุรุษผู้ฆ่าโจรมีเคราแดง [๘๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรุษผู้ฆ่าโจร

มีเคราแดง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สหสฺสมปิ เจ วาจา "

เป็นต้น.

เพชฌฆาตเคราแดง

ดังได้สดับมา โจร ๔๙๙ คน ทำกรรมมีการปล้นชาวบ้านเป็นต้น

สำเร็จความเป็นอยู่แล้ว. ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่งมีตาเหลือกเหลือง มีเครา

แดง ไปยังสำนักของโจรเหล่านั้น กล่าวว่า "แม้เราจักเป็นอยู่กับ

พวกท่าน." ทีนั้นพวกโจรแสดงบุรุษนั้นแก่หัวหน้าโจร แล้วกล่าวว่า

"ชายแม้นี้ ปรารถนาจะอยู่ในสำนักของพวกเรา." ครั้งนั้นหัวหน้าโจร

แลดูบุรุษนั้นแล้วคิดว่า "บุรุษผู้นี้ กักขฬะนัก สามารถในการที่จะ

ตัดนมของแม่ หรือนำเลือดในลำคอของพ่อออกแล้ว กินได้" จึงห้ามว่า

" กิจคือการอยู่ ในสำนักของพวกเราสำหรับบุรุษนี้ไม่มี." บุรุษนั้นแม้ถูก

หัวหน้าโจรห้ามแล้วอย่างนั้นก็ไม่ไป บำรุงศิษย์คนหนึ่งของหัวหน้าโจร

นั้นนั่นแลให้พอใจแล้ว. โจรนั้นพาบุรุษนั้นเข้าไปหาหัวหน้าโจรแล้ว

อ้อนวอนว่า "นาย ผู้นี้เป็นคนดี มีอุปการะแก่พวกเรา, ขอท่านจง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 419

สงเคราะห์เขาเถิด" ให้หัวหน้าโจรรับไว้แล้ว. ภายหลังวันหนึ่ง พวก

ชาวเมืองร่วมกันกับพวกราชบุรุษจับโจรเหล่านั้นได้ จึงนำไปสู่สำนักของ

พวกอำมาตย์ผู้วินิจฉัยทั้งหลาย. พวกอำมาตย์สั่งบังคับการตัดศีรษะของโจร

เหล่านั้นด้วยขวาน. ลำดับนั้น พวกชาวเมืองปรึกษากันว่า "ใครหนอ

แล ? จักฆ่าโจรเหล่านี้" แสวงหาอยู่ ไม่เห็นใคร ๆ ผู้ปรารถนาเพื่อ

จะฆ่าโจรเหล่านั้น จึงพูดกะหัวหน้าโจรว่า ท่านฆ่าโจรเหล่านี้แล้ว

จักได้ทั้งชีวิต ทั้งความนับถือทีเดียว. ท่านจงฆ่าโจรเหล่านั้น." แม้

หัวหน้าโจรนั้น ก็ไม่ปรารถนาจะฆ่า เพราะความที่พวกโจรนั้นอาศัยตน

อยู่แล้ว. พวกชาวเมืองถามโจร ๔๙๙ คนโดยอุบายนั้น. แม้โจรทั้งหมด

ก็ไม่ปรารถนาแล้ว. พวกชาวเมือง ถามนายตัมพทาฐิกะ ( เคราแดง)

ผู้มีตาเหลือกเหลืองนั้น ภายหลังโจรทั้งหมด. นายตัมพทาฐิกะนั้นรับคำ

ว่า " ดีละ " แล้ว ฆ่าโจรทั้งหมดนั้น ได้ทั้งชีวิตทั้งความนับถือแล้ว.

เพชฌฆาตออกจากตำแหน่งเวลาแก่

พวกชาวเมืองนำโจร ๕๐๐ คนมาแม้แต่ทิศทักษิณแห่งเมืองแล้ว

แสดงแก่พวกอำมาตย์โดยอุบายนั้น, เมื่อพวกอำมาตย์นั้นสั่งบังคับให้ตัด

ศีรษะโจรเหล่านั้น, จึงถามตั้งแต่หัวหน้าโจรเป็นต้นไป ไม่เห็นใครผู้

ปรารถนาจะฆ่า จึงถามว่า "ในวันก่อน บุรุษหนึ่งฆ่าโจร ๕๐๐ คนแล้ว,

บุรุษนั่นอยู่ที่ไหนหนอแล ?" เมื่อชนทั้งหลายตอบว่า "พวกข้าพเจ้า

เห็นเขาแล้วในที่ชื่อโน้น" จึงให้เรียกเขาแล้วสั่งบังคับว่า "ท่านจงฆ่า

โจรเหล่านี้, ท่านจะได้ความนับถือ." นายตัมพทาฐิกะนั้นรับว่า "ดีละ"

แล้วฆ่าโจรเหล่านั้น ได้ความนับถือแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 420

ครั้งนั้นชาวเมืองเหล่านั้นปรึกษากันว่า "บุรุษคนนี้ดี, พวกเรา

จักทำเขาให้เป็นคนฆ่าโจรประจำทีเดียว" ดังนี้แล้ว จึงให้ตำแหน่งนั้น

แก่เขา กระทำความนับถือแล้ว.

นายตัมพทาฐิกะนั้นฆ่าโจร (คราวละ) ๕๐๐ ๆ ซึ่งเขานำมาแต่

ทิศปัศจิมบ้าง ทิศอุดรบ้าง. เขาฆ่าโจร (สิ้น) ๒ พันคน ซึ่งนำมา

แต่ทิศทั้ง ๔ ด้วยอุบายอย่างนั้น จำเดิมแต่นั้น เมื่อฆ่ามนุษย์ที่เขานำมา ๆ

คือ "คนหนึ่ง สองคน" ทุกวัน ๆ ได้กระทำโจรฆาตกกรรมสิ้น ๕๕ ปี.

ื้ในเวลาเป็นคนแก่ เขาไม่อาจจะตัดศีรษะด้วยการฟันทีเดียวได้, ต้องฟัน

๒-๓ ที ทำให้มนุษย์ทั้งหลายลำบาก. พวกชาวเมืองคิดกันว่า "คนฆ่าโจร

แม้อื่นจักเกิดขึ้น, ผู้นี้ทำมนุษย์ทั้งหลายให้ลำบากเหลือเกิน. จะต้องการ

อะไรด้วยผู้นี้" จึงถอนตำแหน่งนั้นของเขาเสีย.

นายตัมพทาฐิกะนั้น กระทำโจรฆาตกรรมอยู่ในกาลก่อน จึงไม่ได้

กิจ อย่างนี้ คือ "การนุ่งผ้าใหม่ การดื่มยาคูเจือน้ำนมที่ปรุงด้วย

เนยใสใหม่ การประดับดอกมะลิ การทาด้วยของหอม." ในวันที่ถูก

ออกจากตำแหน่ง เขากล่าวว่า " ท่านทั้งหลาย จงดื่มยาคูเจือน้ำนมแก่

เรา" แล้ว ให้คนถือผ้าใหม่ ระเบียบดอกมะลิและเครื่องทา ไปยังแม่น้ำ

อาบน้ำแล้ว นุ่งผ้าใหม่ ประดับดอกไม้ มีตัวทาด้วยของหอมมาสู่เรือน

นั่งแล้ว. ทีนั้นชนทั้งหลายวางยาคูเจือน้ำนมที่ปรุงด้วยเนยใสใหม่ข้างหน้า

ของเขาแล้ว นำน้ำสำหรับล้างมือมา.

นายตัมพทาฐิกะกระทำบุญแก่พระสารีบุตร

ในขณะนั้น พระสารีบุตรเถระออกจากสมาบัติ พิจารณาทางเที่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 421

ภิกษาของตนว่า "วันนี้ เราควรไปที่ไหนหนอแล ?" เห็นยาคูเจือน้ำนม

ในเรือนของนายตัมพทาฐิกะนั้น จึงใคร่ครวญว่า "บุรุษนั้น จักทำการ

สงเคราะห์เราหรือหนอแล ?" รู้ว่า "เขาเห็นเราแล้ว จักทำการสงเคราะห์

แก่เรา, ก็แล กุลบุตรนี้ ครั้นกระทำแล้ว จักได้สมบัติใหญ่" จึงห่ม

จีวร ถือบาตร แสดงตนยืนอยู่ที่ประตูเรือนของนายตัมพทาฐิกะนั้น

นั่นแล.

นายตัมพทาฐิกะนั้น พอแลเห็นพระเถระก็มีจิตเลื่อมใส คิดว่า

"เรากระทำโจรฆาตกกรรมมานาน, เราฆ่ามนุษย์เสียเป็นอันมาก; บัดนี้

ในเรือนของเราตกแต่งยาคูเจือน้ำนมไว้, แลพระเถระก็มายืนอยู่ที่ประตู

เรือนของเรา; เราถวายไทยธรรมแก่พระผู้เป็นเจ้าเสียในเวลานี้ ก็ควร"

ดังนี้แล้ว จึงนำยาคูที่วางไว้ข้างหน้าออกไปแล้ว เข้าไปหาพระเถระ

ไหว้แล้วนิมนต์ให้นั่งภายในเรือน เกลี่ยยาคูเจือน้ำนมลงในบาตร ราดเนย

ใสใหม่แล้ว ได้ยืนพูดพระเถระอยู่. ทีนั้น อัธยาศัยเพื่อดื่มยาคูเจือน้ำนม

ได้มีกำลัง เพราะเขาไม่เคยได้แล้วสิ้นเวลานาน. พระเถระรู้อัธยาศัยของ

นายตัมพทาฐิกะนั้น จึงพูดกะเขาว่า " อุบาสก ท่านจงดื่มยาคูของตน

เถิด." เขาให้พูดในมือแก่ผู้อื่นแล้วดื่มยาคูเอง. พระเถระพูดกะบุรุษผู้

พัดว่า "ท่านจงไป จงพัดอุบาสกเถิด." เขาอันบุรุษนั้นพัดอยู่ ดื่มยาคู

เต็มท้องแล้วมายืนพัดพระเถระ ได้รับบาตรของพระเถระ ผู้กระทำภัตกิจ

เสร็จแล้ว. พระเถระเริ่มอนุโมทนาแก่เขาแล้ว เขาไม่อาจกระทำจิต

ของตนให้ไปตามธรรมเทศนาของพระเถระได้. พระเถระสังเกตได้จึงถาม

ว่า "อุบาสก เหตุไร ท่านจึงไม่อาจทำจิตให้ไปตามธรรมเทศนาได้ ?"

ตัมพทาฐิกะ. "ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทำกรรมหยาบช้ามาสิ้นกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 422

นาน. มนุษย์เป็นอันมากถูกข้าพเจ้าฆ่าตาย, ข้าพเจ้ามัวระลึกถึงกรรม

ของตนนั้นอยู่ จึงไม่อาจทำจิตให้ไปตามเทศนา ของพระผู้เป็นเจ้าได้."

พระเถระคิดว่า "เราจักลวงบุรุษนั้น" จึงพูดว่า "ก็ท่านได้

กระทำตามชอบใจตน, หรือถูกคนอื่นให้กระทำเล่า ?"

ตัมพทาฐิกะ. ท่านผู้เจริญ พระราชาให้ข้าพเจ้าทำ."

พระเถระ. " อุบาสก เมื่อเป็นเช่นนั้น อกุศลจะมีแก่ท่านอย่างไร

หนอ ?"

นายตัมพทาฐิกะตายไปเกิดในดุสิตบุรี

อุบาสกเป็นคนธาตุทึบ ถูกพระเถระกล่าวอย่างนั้น มีความสำคัญว่า

"อกุศลไม่มีแก่เรา" จึงกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ขอท่าน

จงกล่าวธรรมเถิด." อุบาสกนั้น เมื่อพระเถระทำอนุโมทนาอยู่ล มีจิต

มีอารมณ์เป็นหนึ่ง ฟังธรรมอยู่ ยังขันติเป็นไปโดยอนุโลม ( แก่อริยสัจ )

ภายในแห่งโสดาปัตติมรรค ให้บังเกิดแล้ว . แม้พระเถระ กระทำ

อนุโมทนาแล้วก็หลีกไป.

นางยักษิณีตนหนึ่งมาแล้วด้วยเพศแห่งแม่โคนม ขวิดที่อกอุบาสก

ผู้ตามส่งพระเถระหน่อยหนึ่งแล้วกลับอยู่ให้ตายแล้ว. อุบาสกนั้นกระทำ

กาละแล้วก็บังเกิดในดุสิตบุรี.

กัลยาณมิตรเป็นเหตุให้เกิดในดุสิต

ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า "บุรุษฆ่าโจร กระทำ

กรรมหยาบช้าสิ้น ๕๕ ปี พ้นจากกรรมนั้นในวันนี้แล ถวายภิกษาแก่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 423

พระเถระก็ในวันนี้เหมือนกัน กระทำกาละก็ในวันนี้นั่นแล, เขาบังเกิด

ในที่ไหนหนอแล ?"

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้

พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบ

ทูลว่า "ด้วยถ้อยคำชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้น

บังเกิดในดุสิตบุรี." ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า "พระเจ้าข้า พระองค์

ตรัสอะไร ? บุรุษนั้นฆ่ามนุษย์เท่านี้สิ้นเวลาเท่านี้ แล้วบังเกิดในวิมาน

ดุสิต."

พระศาสดาตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย, บุรุษนั้นได้

กัลยาณมิตรผู้ใหญ่, เขาฟังธรรมเทศนาของสารีบุตร ยังอนุโลมญาณให้

บังเกิดแล้ว เคลื่อนจากโลกนี้แล้ว บังเกิดในวิมานดุสิต" ดังนี้แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" บุรุษผู้ฆ่าโจรในเมือง ฟังคำเป็นสุภาษิตแล้ว

ได้อนุโลมขันติ ไปสู่เทวโลกชั้นไตรทิพย์ ย่อม

บันเทิงใจ."

ภิกษุ. " พระเจ้าข้า ธรรมดาอนุโมทนากถามีกำลัง, บุรุษนั้น

กระทำอกุศลกรรมไว้มาก, เขายังคุณวิเศษให้บังเกิดด้วยเหตุเท่านั้นอย่างไร

ได้ ?"

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าถือประมาณ

แห่งธรรมที่เราแสดงแล้วว่า 'น้อยหรือมาก' เพราะว่า แม้วาจาคำเดียว

ที่อาศัยประโยชน์ ประเสริฐโดยแท้" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 424

๑. สหสฺสมปิ เจ วาจา อนตฺถปทสญฺหิตา

เอก อตฺถปท เสยฺโย ย สุตฺวา อุปสมฺมติ.

"หากวาจาแม้ตั้งพัน ไม่ประกอบด้วยบทที่เป็น

ประโยชน์ไซร้, บทที่เป็นประโยชน์ บทเดียว ซึ่ง

บุคคลฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺสมปิ เป็นคำสำหรับกำหนด.

อธิบายว่า "แม้หากว่าวาจาเขากำหนดด้วยพันอย่างนี้ คือ ๑ พัน ๒ พัน

ไซร้, ก็วาจาเหล่านั้นไม่ประกอบด้วยบทที่เป็นประโยชน์ คือ ประกอบ

ด้วยบททั้งหลายที่ไม่เป็นประโยชน์ อันประการแต่เรื่องพรรณนาอากาศ

พรรณนาภูเขา และพรรณนาป่าเป็นต้น ไม่แสดงนิพพาน มีมากเพียงใด;

ก็เป็นวาจาชั่วนั่นแหละ เพียงนั้น."

สองบทว่า เอก อตฺถปท ความว่า ส่วนบุคคลฟังบทใด ที่

เป็นประโยชน์แม้บทเดียวเห็นปานนี้ว่า "นี้กาย, นี้สติไปในกาย, วิชชา ๓

เราตามบรรลุแล้ว, คำสอนของพระพุทธะทั้งหลาย เรากระทำแล้ว."

ย่อมสงบระงับ ด้วยการสงบระงับกิเลส มีราคะเป็นต้นได้, บทนั้น

สำเร็จประโยชน์ ประกอบด้วยนิพพาน คือแสดงขันธ์ ธาตุ อายตนะ

อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ และสติปัฏฐาน แม้บทเดียว ยังประเสริฐกว่า

โดยแท้.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องบุรุษผู้ฆ่าโจรมีเคราแดง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 425

๒. เรื่องพระทารุจีริยเถระ [๘๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระ-

ทารุจีริยเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สหสฺสมปิ เจ คาถา"

เป็นต้น.

ทารุจีริยะสำคัญว่าตนเป็นอรหันต์

ความพิสดารว่า ในกาลหนึ่ง มนุษย์เป็นอันมากแล่นเรือไปสู่

มหาสมุทร เมื่อเรืออับปางในภายในมหาสมุทร ได้เป็นภักษาของเต่า

และปลาแล้ว. บรรดามนุษย์เหล่านั้น บุรุษคนหนึ่งแลจับกระดานไว้ได้

แผ่นหนึ่ง พยายามกระเสือกไป สู่ฝั่งแห่งท่าเรือชื่อสุปปารกะ. ผ้านุ่งห่ม

ของเขาไม่มี. บุรุษนั้นไม่เห็นอะไรอื่น จึงเอาปอพันท่อนไม้แห้งทำเป็น

ผ้านุ่งห่ม ถือกระเบื้องจากเทวสถาน ได้ไปสู่ท่าเรือสุปปารกะ. มนุษย์

ทั้งหลายเห็นเขาแล้วให้ยาคูและภัตเป็นต้นแล้วยกย่องว่า "ผู้นี้เป็นพระ-

อรหันต์องค์หนึ่ง." บุรุษนั้น เมื่อมนุษย์ทั้งหลายนำผ้าเข้าไปให้ คิดว่า

" ถ้าเราจักนุ่งหรือจักห่ม, ลาภสักการะของเราจักเสื่อม" จึงห้ามผ้าที่เขา

นำมาเสีย นุ่งห่มแต่เปลือกไม้เท่านั้น.

ครั้งนั้น เมื่อเขาถูกมนุษย์เป็นอันมากกล่าวอยู่ว่า "เป็นพระ-

อรหันต์" ความปริวิตกแห่งใจจึงเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า "พระอรหันต์ หรือ

ผู้บรรลุพระอรหัตมรรคเหล่าใดเหล่าหนึ่งแลในโลก, บรรดาพระอรหันต์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 426

เหล่านั้น เราก็เป็นพระอรหันต์องค์ใดองค์หนึ่ง." ทีนั้นเทวดาผู้เป็น

สาโลหิตกันในกาลก่อนแห่งบุรุษนั้น ก็คิดแล้ว อย่างนั้น.

ประวัติเดิมของทารุจีริยะ

ข้อว่า ผู้เป็นสาโลหิตกัน ในกาลก่อน คือกระทำสมณธรรมร่วมกัน

ในครั้งก่อน. ได้ยินว่า ในกาลก่อนเมื่อศาสนาของพระทศพล พระนาม

ว่ากัสสปะเสื่อมลงอยู่, ภิกษุ ๗ รูปเห็นประการอันแปลกแห่งบรรพชิต

ทั้งหลายมีสามเณรเป็นต้นแล้ว ถึงความสลดใจคิดว่า "ความอันตรธาน

แห่งพระศาสนายังไม่มีเพียงใด; พวกเราจักกระทำที่พึ่งแก่ตนเพียงนั้น"

ไหว้พระเจดีย์ทองคำแล้ว เข้าไปสู่ป่า เห็นภูเขาลูกหนึ่ง จึงกล่าวว่า

"ผู้มีอาลัยในชีวิตจงกลับไป, ผู้ไม่มีอาลัยจงขึ้นภูเขาลูกนี้" พาดบันได

แล้ว แม้ทั้งหมดขึ้นสู่ภูเขานั้น ผลักบันไดแล้วกระทำสมณธรรม. บรรดา

ภิกษุเหล่านั้น พระสังฆเถระบรรลุพระอรหัตโดยล่วงไปราตรีเดียวเท่านั้น.

พระเถระนั้นเดียวไม้ชำระฟันชื่อนาคลดาในสระอโนดาต นำบิณฑบาตมา

แต่อุตตรกุรุทวีป แล้วกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า "ผู้มีอายุทั้งหลาย พวก

ท่านเคี้ยวไม้ชำระฟันนี้ บ้วนปากแล้วจงฉันบิณฑบาตนี้."

ภิกษุ. ท่านผู้เจริญ ก็พวกเราทำกติกากัน ไว้อย่างนี้ว่า "ภิกษุ

ใดบรรลุพระอรหัตก่อน, ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ จักฉันบิณฑบาตที่ภิกษุ

นั้นนำมา หรือ ?"

พระเถระ. ผู้มีอายุ ข้อนั้นไม่มีเลย.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า " ถ้าเช่นนั้น แม้พวกเราพึงยังคุณวิเศษ

ให้บังเกิดเหมือนท่าน, พวกเราจักนำมาบริโภคเอง" ดังนี้แล้ว ก็ไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 427

ปรารถนา. ในวันที่ ๒ พระเถระองค์ที่ ๒ บรรลุอนาคามิผลแล้ว. แม้

พระเถระนั้นนำบิณฑบาตมาแล้ว ก็นิมนต์ภิกษุนอกนี้อย่างนั้นเหมือนกัน

ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ ก็พวกเราทำกติกากันไว้

อย่างนี้ว่า 'พวกเราจักไม่บริโภคบิณฑบาตที่พระมหาเถระนำมา แต่จัก

บริโภคบิณฑบาตที่พระอนุเถระนำมา, หรือ ?"

พระเถระองค์ที่ ๒. ผู้มีอายุ ข้อนั้นไม่มีเลย.

ภิกษุเหล่านั้นกล่าวว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้พวกเรายังคุณวิเศษ

ให้บังเกิดเหมือนท่านแล้ว อาจเพื่อบริโภคด้วยความเพียรแห่งบุรุษของ

ตนได้จึงจักบริโภค " ดังนี้แล้ว ก็ไม่ปรารถนา.

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัตปรินิพพานแล้ว, ภิกษุ

ผู้เป็นอนาคามีบังเกิดในพรหมโลก, ภิกษุ ๕ รูปนอกนี้ไม่อาจยังคุณวิเศษ

ให้บังเกิดได้ ผ่ายผอมแล้วกระทำกาละในวันที่ ๗ บังเกิดในเทวโลก

ในพุทธุปบาทกาลนี้ จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว บังเกิดในเรือนแห่งตระกูล

นั้นๆ.

บรรดาคนเหล่านั้น คนหนึ่งได้เป็นพระราชา พระนามว่า ปุก-

กุสาติ, คนหนึ่งได้เป็นพระกุมารกัสสป, คนหนึ่งได้เป็นพระทารุจีริยะ,

คนหนึ่งได้เป็นพระทัพพมัลลบุตร, คนหนึ่งได้เป็นปริพาชกชื่อสภิยะแล.

คำว่า เทวดาผู้เป็นสาโลหิตกันในกาลก่อนนี้ ท่านกล่าวหมายเอาภิกษุผู้ที่

บังเกิดในพรหมโลกนั้น.

พรหมบอกความจริงแก่ทารุจีริยะ

พรหมนั้น ได้มีความปริวิตกอย่างนั้นว่า "บุรุษนี้พาดบันไดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 428

ขึ้นสู่ภูเขา ได้กระทำสมณธรรมกับเรา, เดี๋ยวนี้เขาถือลัทธินี้เที่ยวไป

พึงฉิบหาย. เราจักยังเขาให้สลดใจ." ทีนั้นพรหมนั้นเข้าไปหาบุรุษนั้น

แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า "พาหิยะ ท่านไม่ใช่เป็นพระอรหันต์ดอก, ท่านยัง

ไม่ได้บรรลุพระอรหัตมรรคเลย: ถึงปฏิปทาของท่านเป็นเหตุให้เป็นพระ-

อรหันต์ หรือเป็นผู้บรรลุพระอรหัตมรรค ก็ยังไม่มี." พาหิยะแลดู

มหาพรหมผู้ยืนพูดอยู่ในอากาศจึงคิดว่า "โอ ! เราทำกรรมหนัก, เรา

คิดว่า 'เราเป็นพระอรหันต์.' ก็มหาพรหมผู้นี้พูดกะเราว่า ' ท่านไม่ใช่

พระอรหันต์, ท่านยังไม่ได้บรรลุพระอรหัตมรรคเลย,' พระอรหันต์อื่น

มีอยู่ในโลกหรือหนอแล ?" ทีนั้นเขาถามมหาพรหมนั้นว่า " ท่านผู้เป็น

เทวดา เดี๋ยวนี้พระอรหันต์หรือผู้บรรลุพระอรหัตมรรค มีอยู่ในโลกหรือ

หนอแล ?"

ครั้งนั้น เทวดาบอกแก่พาหิยะนั้นว่า " พาหิยะ นครชื่อสาวัตถี

มีอยู่ในชนบทแถบอุดร, เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต-

สัมมาสัมพุทธะนั้น ประทับอยู่ในพระนครนั้น, พาหิยะ ก็พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้านั้น เป็นพระอรหันต์ด้วย ทรงแสดงธรรมเพื่อความเป็นพระอรหันต์

ด้วย."

ทารุจีริยะไปเฝ้าพระศาสดา

พาหิยะฟังคำของเทวดาในส่วนแห่งราตรีแล้ว มีใจสลด ในทันใด

นั้นนั่นเอง ออกจากท่าเรือสุปปารกะได้ไปถึงกรุงสาวัตถี ด้วยการพัก

โดยราตรีเดียว. เขาได้เดินทางประมาณ ๑๒๐ โยชน์ ทั้งหมดโดยการ

พักราตรีเดียวเท่านั้น; ก็แล เมื่อไป ไปแล้วด้วยอานุภาพของเทวดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 429

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ไปด้วยอานุภาพของพระพุทธเจ้าบ้าง "ที่เดียว.

ก็ในขณะนั้น พระศาสดาเสด็จเข้าไปสู่กรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต.

พาหิยะนั้นถามภิกษุทั้งหลายผู้ฉันอาหารเช้าแล้ว เดินจงกรมอยู่ในที่แจ้ง

เพื่อต้องการเปลื้องความคร้านทางกายว่า "เดี๋ยวนี้ พระศาสดาประทับ

อยู่ที่ไหน ?" ภิกษุทั้งหลายตอบว่า "เสด็จเข้าไปกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต"

แล้วถามบุรุษนั้นว่า "ก็ท่านมาแต่ที่ไหนเล่า ?"

ทารุจีริยะ. ข้าพเจ้ามาแต่ท่าเรือสุปปารกะ.

ภิกษุ. ท่านออกในกาลไร ?

ทารุจีริยะ. ข้าพเจ้าออกในเวลาเย็นวานนี้.

ภิกษุ. ท่านมาแต่ที่ไกล, จงนั่งก่อน, ล้างเท้าแล้วทาด้วยน้ำมัน

แล้ว จงพักเหนื่อยเสียหน่อย, ท่านจักเห็นพระศาสดา ในเวลาที่เสด็จมา.

ทารุจีริยะ. ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่รู้อันตรายแห่งชีวิตของพระ-

ศาสดาหรือของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าไม่ได้หยุด ไม่ได้นั่งในที่ไหน เดินมา

สิ้นทาง ๑๒๐ โยชน์โดยคืนเดียวเท่านั้น, ข้าพเจ้าพลเห็นพระศาสดาแล้ว

จึงจักพักเหนื่อย.

พาหิยะนั้น กล่าวอย่างนั้นแล้ว มีทีท่าเร่งร้อนเข้าไปยังกรุงสาวัตถี

เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตด้วยพุทธสิริอันหาที่เปรียบ

มิได้ คิดว่า "นานหนอ เราเห็นพระโคดมสัมมาสัมพุทธะ" ดังนี้แล้ว ก็น้อม

ตัวเดินไปตั้งแต่ที่ๆ ตนเห็น ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในระหว่าง

ถนน จับที่ข้อพระบาททั้งสองแน่น แล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า "พระเจ้าข้า

๑. ตรมานรูโป=มีรูปแห่งบุคคลผู้ด่วน แปลตรงศัพท์ ไม่ได้ความแก่ภาษา, เพื่อให้ได้ความ

แก่ภาษาและเหมาะแก่เรื่อง จึงได้แปลอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 430

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์, ขอพระสุคตจง

ทรงแสดงธรรม อันจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์สุข แก่ข้าพระองค์สิ้นกาล

นานเถิด."

ทารุจีริยะบรรลุพระอรหัตแต่ยังเป็นคฤหัสถ์

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสห้ามเขาว่า "พาหิยะ ไม่ใช่กาลก่อน,

เราเป็นผู้เข้าไปสู่ระหว่างถนนเพื่อบิณฑบาต." พาหิยะ ฟังพระพุทธ-

ดำรัสนั้นแล้วกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ผู้ท่องเที่ยวไปในสงสาร ไม่เคย

ได้อาหารคือคำข้าวเลยหรือ ? ข้าพระองค์ไม่รู้อันตรายแห่งชีวิตของพระ-

องค์ หรือของข้าพระองค์, ขอพระองค์จงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์

เถิด." แม้ครั้งที่ ๒ พระศาสดาก็ตรัสห้ามแล้วเหมือนกัน. ได้ยินว่า

พระศาสดานั้นได้ทรงปริวิตกอย่างนั้นว่า "จำเดิมแต่กาลที่พาหิยะนี้เห็นเรา

แล้ว สรีระทั้งสิ้น (ของเขา) อันปีติท่วมทับไม่มีระหว่าง, ผู้มีปีติกำลัง

แม้ฟังธรรมแล้วจักไม่อาจแทงตลอด (ของจริง) ได้, เขาจงตั้งอยู่

ในอุเบกขาคือความมัธยัสถ์ก่อน, แม้ความกระวนกระวายของเขาจะมีกำลัง

เพราะเป็นผู้เดินมาสิ้นทาง ๑๒๐ โยชน์โดยคืนเดียวเท่านั้น, แม้ความ

กระวนกระวายนั้นจงระงับเสียก่อน," เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัส

ห้ามถึง ๒ ครั้ง ถูกเขาอ้อนวอนแม้ครั้งที่ ๓ ประทับยืนในระหว่างถนน

นั่นเอง ทรงแสดงธรรมโดยนัยเป็นต้นว่า "พาหิยะ เพราะเหตุนั้น เธอ

พึงศึกษาในศาสนานี้ อย่างนั้นว่า "เมื่อรูปเราได้เห็นแล้ว รูปจักเป็นเพียง

เราเห็น." พาหิยะนั้นกำลังฟังธรรมของพระศาสดานั้นแล ยังอาสวะ

ทั้งหมดให้สิ้นไป บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ แล้ว, ก็แล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 431

ขณะนั้นนั่นเองเขาทูลขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้า, ถูกตรัสถามว่า

" บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ ?" ทูลตอบว่า "ยังไม่ครบ." ทีนั้น

พระศาสดาตรัสกะเขาว่า "ถ้าอย่างนั้น เธอจงแสวงหาบาตรจีวร" แล้ว

ก็เสด็จหลีกไป.

ได้ยินว่า พาหิยะนั้นกระทำสมณธรรมสิ้น ๒ หมื่นปี คิดว่า

"ธรรมดาภิกษุได้ปัจจัยด้วยตนแล้ว ไม่เหลียวแลผู้อื่น บริโภคเองเท่านั้น

จึงควร" ดังนี้แล้ว ไม่ได้กระทำการสงเคราะห์ด้วยบาตรหรือจีวร แม้

แก่ภิกษุรูปหนึ่ง. เพราะฉะนั้น พระศาสดาทรงทราบว่า "บาตรจีวรอัน

สำเร็จแล้วด้วยฤทธิ์ จักไม่เกิดขึ้น" จึงไม่ได้ประทานบรรพชา ด้วยความ

เป็นเอหิภิกษุแก่เขา. แม้พาหิยะนั้นแสวงหาบาตรจีวรอยู่นั่นแล ยักษิณี

คนหนึ่งมาด้วยรูปแม่โคนม ขวิดถูกตรงขาอ่อนข้างซ้าย ให้ถึงความสิ้น

ชีวิต.

พระศาสดาเสด็จเที่ยวบิณฑบาต ทรงกระทำภัตกิจเสร็จแล้วเสด็จ

ออกไปพร้อมกับภิกษุเป็นอันมาก ทรงเห็นสรีระของพาหิยะถูกทิ้งในที่

กองขยะ จึงทรงบัญชาภิกษุทั้งหลายว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงยืนใกล้ประตูเรือนแห่งหนึ่ง ให้นำเตียงมาแล้ว นำสรีระนี้ออกจากเมือง

เผาแล้วกระทำสถูปไว้." ภิกษุทั้งหลายกระทำดังนั้นแล้ว; ก็แลครั้นกระทำ

แล้วไปยังวิหารเข้าเฝ้าพระศาสดา ทูลบอกกิจที่ตนกระทำแล้ว ทูลถาม

อภิสัมปรายภพของพาหิยะนั้น.

ทารุจีระเลิศในทางขิปปาภิญญา

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกความที่พาหิยะนั้นปรินิพพาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 432

แล้วแก่ภิกษุเหล่านั้น, ทรงตั้งไว้ในเอคทัคคะว่า "ภิกษุทั้งหลาย พาหิยะ

ทารุจีริยะ (ผู้นุ่งผ้าเปลือกไม้) เป็นเลิศกว่าภิกษุผู้สาวกของเรา ผู้ตรัสรู้

เร็ว." ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายทูลถามพระศาสดาว่า "พระเจ้าข้า

พระองค์ตรัสว่า 'พาหิยะ ทารุจีริยะ บรรลุพระอรหัต, เขาบรรลุ

พระอรหัตเมื่อไร ?"

พระศาสดา. ในกาลที่เขาฟังธรรมของเรา ภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุ. ก็พระองค์ตรัสธรรมแก่เขาเมื่อไรเล่า ?

พระศาสดา. เรากำลังเที่ยวบิณฑบาต ยืนในระหว่างถนนกล่าว

ธรรมแก่เขา.

ภิกษุ. พระเจ้าข้า ก็ธรรมที่พระองค์ประทับยืนในระหว่างถนน

ตรัสแล้ว มีประมาณเล็กน้อย เขายังคุณวิเศษให้บังเกิดด้วยธรรมมีประมาณ

เพียงนั้นอย่างไร ?

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า "ภิกษุทั้งหลาย

เธอทั้งหลายอย่านับธรรมของเราว่า 'น้อยหรือมาก,' ด้วยคาถาว่า

พันหนึ่งแม้เป็นอเนกที่ไม่อาศัยประโยชน์ ไม่ประเสริฐ, ส่วนบทแห่ง

คาถาแม้บทเดียวอาศัยประโยชน์ ประเสริฐกว่า" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรง

สืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๒. สหสฺสมี เจ คาถา อนตฺถปทสญฺหิตา

เอก คาถาปท เสยฺโย ย สุตฺวา อุปสมฺมติ.

"หากว่า คาถาแม้พันหนึ่ง ไม่ประกอบด้วย

บทเป็นประโยชน์ [ไม่ประเสริฐ]: บทแห่งคาถา

๑. อัง. เอก. ๒๐/๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 433

บทเดียว ซึ่งบุคคลฟังแล้ว สงบระงับได้ประเสริฐ

กว่า."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เอก คาถาปท ความว่า แม้

คาถา ๆ เดียวเห็นปานนี้ว่า " ความไม่ประมาท เป็นทางอมตะ ฯลฯ

เหมือนคนตายแล้ว" ประเสริฐกว่า. บทที่เหลือพึงทราบตามนัยก่อน

นั่นแล.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระทารุจีริยเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 434

๓. เรื่องพระกุณฑลเกสีเถรี [๘๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางกุณฑลเกสี

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย จ คาถา สต ภาเส" เป็นต้น.

ธิดาเศรษฐีได้โจรเป็นสามี

ดังได้สดับมา ธิดาเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ มีอายุย่าง ๑๖ ปี

มีรูปสวย น่าดู. ก็นารีทั้งหลายผู้ตั้งอยู่ในวัยนั้น ย่อมมีความฝักใฝ่ใน

บุรุษ โลเลในบุรุษ. ครั้งนั้น มารดาบิดา ให้ธิดานั้นอยู่ในห้องอัน

มีสิริ บนพื้นชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น, ได้กระทำทาสีคนเดียวเท่านั้น

ให้เป็นผู้บำรุงบำเรอนาง.

ครั้งนั้น พวกราชบุรุษจับกุลบุตรคนหนึ่ง ผู้กระทำโจรกรรม

ได้มัดมือไพล่หลัง โบยด้วยหวายครั้งละ ๔ เส้น ๆ แล้วนำไปสู่ที่สำหรับ

ฆ่า. ธิดาเศรษฐีได้ยินเสียงของมหาชน คิดว่า "นี่อะไรกันหนอแล ?

ยืนแลดูอยู่บนพื้นปราสาท เห็นโจรนั้นแล้วก็มีจิตปฏิพัทธ์ปรารถนาอยู่

ห้ามอาหารแล้วนอนบนเตียง." ลำดับนั้น มารดาถามนางว่า " แม่ นี้

อย่างไรกัน ?"

ธิดาเศรษฐี. ถ้าดิฉันจักได้บุรุษคนที่ถูกเขาจับนำไปว่า 'เป็นโจร'

นั่นไซร้, ดิฉันจักเป็นอยู่; ถ้าไม่ได้, ชีวิตดิฉันก็จะไม่มี, ดิฉันจักตาย

ในที่นี้นี่แหละ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 435

มารดา. แม่ เจ้าอย่ากระทำอย่างนั้นเลย. เจ้าจักได้สามีอื่นซึ่งเสมอ

กันโดยชาติและโภคะของเรา.

ธิดาเศรษฐี. กิจด้วยบุรุษอื่นสำหรับดิฉันไม่มี; ดิฉันเมื่อไม่ได้

บุรุษคนนี้จักตาย.

มารดา เมื่อไม่อาจยังธิดาให้ยินยอมได้จึงบอกแก่บิดา. ถึงบิดา

นั้นก็ไม่อาจยังธิดานั้นให้ยินยอมได้ คิดว่า "เราอาจจะกระทำอย่างไร

ได้ ?" ส่งห่อภัณฑะพันหนึ่งแก่ราชบุรุษ ผู้ให้จับโจรนั้นแล้วเดินไป

อยู่ ด้วยคำว่า " ท่านจงรับภัณฑะนี้ไว้แล้ว ให้บุรุษคนนั้นแก่ฉัน."

ราชบุรุษนั้นรับคำว่า "ดีล่ะ" แล้วรับกหาปณะ ปล่อยโจรนั้นไป ฆ่า

บุรุษอื่นแล้ว กราบทูลแด่พระราชาว่า "ขอเดชะ ข้าพระองค์ฆ่าโจรแล้ว."

แม้เศรษฐีได้ให้ธิดาแก่โจรนั้นแล้ว . นางคิดว่า "จักยังสามีให้

ยินดี" จึงตกแต่งด้วยเครื่องประดับทั้งปวง จัดแจงยาคูเป็นต้นแก่โจร

นั้นเองทีเดียว.

โจรคิดอุบายพาภรรยาไปฆ่า

โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน โจรคิดว่า "ในกาลไรหนอแล ? เรา

จักได้เพื่อฆ่าหญิงนี้ ถือเอาเครื่องประดับของหญิงนี้ ขายกินในโรงสุรา

แห่งหนึ่ง." โจรนั้นคิดว่า "อุบายนี้มีอยู่" จึงห้ามอาหารเสียนอนบน

เตียง. ทีนั้น นางเข้าไปหาโจรนั้นแล้วถามว่า" นาย อะไรเสียดแทงท่าน ?"

โจร. อะไร ๆ ไม่ได้เสียดแทงดอก นางผู้เจริญ.

ธิดาเศรษฐี. ก็มารดาบิดาของดิฉัน โกรธท่านแลหรือ ?

โจร. ไม่โกรธ นางผู้เจริญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 436

ธิดาเศรษฐี. เมื่อเป็นเช่นนั้น นี่ชื่ออะไร ?

โจร. นางผู้เจริญ ฉันถูกจับนำไปในวันนั้น บนบานไว้ต่อเทวดา

ผู้สถิตอยู่ที่ภูเขาทิ้งโจรได้ชีวิตแล้ว, แม้หล่อนฉันก็ได้ด้วยอานุภาพแห่ง

เทวดานั้นเหมือนกัน, นางผู้เจริญ ฉันคิดว่า "ฉันตั้งพลีกรรมนั้นไว้ต่อ

เทพดา."

ธิดาเศรษฐี. นาย อย่าคิดเลย, ดิฉันจักกระทำพลีกรรม, ท่าน

จงบอก, ต้องการอะไร ?

โจร. ต้องการข้าวมธุปายาสชนิดมีน้ำน้อย และดอกไม้มีข้าวตอก

เป็นที่ ๕.

ธิดาเศรษฐี. ดีละ นาย, ดิฉันจักจัดแจง.

ธิดาเศรษฐีนั้นจัดแจงพลีกรรมทุกอย่างแล้ว จึงกล่าวว่า "มาเถิด

นาย เราไปกัน."

โจร. นางผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น หล่อนให้พวกญาติของหล่อนกลับ

เสีย ถือเอาผ้าและเครื่องประดับที่มีด่ามากแล้วจงตกแต่งตัว, เราจักหัวเราะ

เล่นพลางเดินไปอย่างสบาย.

นางได้กระทำอย่างนั้นแล้ว. ทันทีนั้น ในเวลาถึงเชิงเขา โจรนั้น

กล่าวกะนางว่า "นางผู้เจริญ เบื้องหน้าแต่นี้ เราจักไปกัน ๒ คน,

หล่อนจงให้คนที่เหลือกลับพร้อมกับยาน ยกภาชนะพลีกรรมถือไปเอง."

นางได้กระทำอย่างนั้น. โจรพานางขึ้นสู่ภูเขาทิ้งโจร

ก็มนุษย์ทั้งหลายย่อมขึ้นไปโดยข้าง ๆ หนึ่งแห่งภูเขานั้น. ข้าง ๆ

หนึ่งเป็นโกรกชัน, มนุษย์ทั้งหลายยืนอยู่บนยอดเขาแล้ว ย่อมทิ้งโจร

๑. พลิกมฺม ปฏิสฺสณิตฺวา รับซึ่งพลีกรรม คือการบวงสรวง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 437

ทั้งหลายโดยทางข้างนั้น. โจรเหล่านั้นเป็นท่อนเล็กท่อนน้อยตกลงไปที่

พื้น; เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า " เขาทิ้งโจร." นางยืนอยู่บนยอด

เขานั้นกล่าวว่า "นาย ท่านจรทำพลีกรรมของท่าน." โจรนั้นได้นิ่งแล้ว.

เมื่อนางกล่าวอีกว่า "นาย เหตุไรท่านจึงนิ่งเสียเล่า ?" จึงบอกกะนางว่า

"ฉันไม่ต้องการพลีกรรมดอก, แต่ฉันล่อลวงพาหล่อนมา."

ธิดาเศรษฐี. เพราะเหตุไร ? นาย.

โจร. เพื่อต้องการฆ่าหล่อนเสีย แล้วถือเอาเครื่องประดับของ

หล่อนหนีไป.

นางถูกมรณภัยคุกคามแล้วกล่าวว่า " นายจ๋า ดิฉันและเครื่อง

ประดับของดิฉันก็เป็นของ ๆ ท่านทั้งนั้น. เหตุไร ท่านจึงพูดอย่างนี้ ?"

โจรนั้นแม้ถูกอ้อนวอนบ่อย ๆ ว่า "ท่านจงอย่ากระทำอย่างนี้" ก็กล่าว

ว่า "ฉันจะฆ่าให้ได้." นางกล่าวว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจะต้อง

การอะไร ? ด้วยความตายของดิฉัน, ท่านถือเอาเครื่องประดับเหล่านี้

แล้วให้ชีวิตแก่ดิฉันเถิด, จำเดิมแต่นี้ท่านจงจำดิฉันว่า 'ตายแล้ว,' หรือ

ว่าดิฉันจักเป็นทาสีของท่านกระทำหัตถกรรม" ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า:-

" สายสร้อยทองคำเหล่านี้ ล้วนสำเร็จด้วยแก้ว

ไพฑูรย์, ท่านผู้เจริญ ท่านจงถือเอาทั้งหมด และ

จงประกาศว่าดิฉันเป็นทาสี."

โจรฟังคำนั้นแล้ว กล่าวว่า "เมื่อฉันกระทำอย่างนั้น, หล่อนไปแล้ว

ก็จักบอกแก่มารดาบิดา, ฉันจักฆ่าให้ได้, หล่อนอย่าคร่ำครวญไปนักเลย"

ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า :-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 438

"หล่อนอย่าคร่ำครวญนักเลย, จงรีบห่อสิ่งของ

เข้าเถิด, ชีวิตของหล่อนไม่มีดอก, ฉันจะถือเอาสิ่ง

ของทั้งหมด."

ธิดาเศรษฐีผลักโจรตกเขาตาย

นางคิดว่า "โอ กรรมนี้หนัก, ชื่อว่าปัญญา ธรรมดามิได้สร้าง

มาเพื่อประโยชน์แกงกิน, ที่แท้ สร้างมาเพื่อประโยชน์พิจารณา, เรา

จักรู้สิ่งที่ควรกระทำแก่เขา."

ลำดับนั้น นางกล่าวกะโจรนั้นว่า "นาย ท่านถูกจับนำไปว่า

'เป็นโจร' ในกาลใด; ในกาลนั้น ดิฉันบอกแก่มารดาบิดา, ท่าน

ทั้งสองนั้นสละทรัพย์พันหนึ่ง ให้น้ำท่านมากระทำไว้ในเรือน, จำเดิม

แต่นั้นดิฉันก็อุปการะท่าน, วันนี้ท่านจงให้ดิฉันกระทำตัว ( ท่าน ) ให้

เห็นถนัดแล้วไหว้."

โจรนั้นกล่าวว่า "ดีละ นางผู้เจริญ, หล่อนจงทำตัว (ฉัน)

ให้เห็นได้ถนัด แล้วไหว้เถิด" ดังนี้แล้ว ก็ได้ยืนอยู่บนยอดเขา. ทีนั้น

นางทำประทักษิณ ๓ ครั้ง ไหว้โจรนั้นในที่ ๔ สถานแล้ว กล่าวว่า

"นาย นี้เป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของดิฉัน. บัดนี้การที่ท่านเห็นดิฉัน

หรือการที่ดิฉันเห็นท่านไม่มีละ" แล้วสวมกอดข้างหน้าข้างหลังยืนที่ข้าง

หลังเอามือข้างหนึ่งจับโจรผู้ประมาท ยืนอยู่บนยอดเขาตรงคอเอามือข้าง

หนึ่งจับตรงรักแร้ข้างหลัง ผลักลงไปในเหวแห่งภูเขา. โจรนั้นถูกกระทบ

ที่ท้องแห่งเขา เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ตกลงไปแล้วที่พื้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 439

หญิงผู้มีปัญญาก็เป็นบัณฑิตได้

เทวดาผู้สถิตอยู่บนยอดเขาที่ทิ้งโจร เห็นกิริยาแม้ของชนทั้งสองนั้น

จึงให้สาธุการแก่หญิงนั้น แล้วกล่าวคาถานี้ว่า :-

"บุรุษนั่น เป็นบัณฑิตในที่ทุกสถาน ก็หาไม่,

แม้สตรี ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ ก็เป็นบัณฑิตได้

ในที่นั้น ๆ."

ธิดาเศรษฐีแม้นั้น ครั้นผลักโจรลงไปในเหวแล้ว (คิดว่า)

" หากว่า เราจักไปบ้าน. มารดาบิดาจักถามว่า 'สามีของเจ้าไปไหน ?

หากเราถูกถามอย่างนั้นจะตอบว่า 'ดิฉันฆ่าเสียแล้ว' ท่านจักทิ่มแทง

เราด้วยหอกคือปากว่า 'นางคนหัวดื้อ เจ้าให้ทรัพย์พันหนึ่งให้นำผัวมา

บัดนี้ ก็ฆ่าเขาเสียแล้ว;' แม้เมื่อเราบอกว่า ' เขาปรารถนาจะฆ่าดิฉัน

เพื่อต้องการเครื่องประดับ,' ท่านก็จักไม่เชื่อ; อย่าเลยด้วยบ้านของเรา"

ดังนี้แล้ว ทิ้งเครื่องประดับไว้ในที่นั้นนั่นเอง เข้าไปสู่ป่าเที่ยวไปโดย

ลำดับ ถึงอาศรมของพวกปริพาชกแห่งหนึ่ง ไหว้แล้ว กล่าวว่า "ท่าน

ผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายจงให้การบรรพชา ในสำนักของท่านแก่ดิฉัน

เถิด." ลำดับนั้น ปริพาชกทั้งหลายให้นางบรรพชาแล้ว.

ธิดาเศรษฐีบวชเป็นปริพาชิกา

ธิดาเศรษฐีนั้นพอบวชแล้ว ถามว่า " ท่านผู้เจริญ อะไรเป็น

สูงสุดแห่งบรรพชาของท่าน."

ปริพาชก. นางผู้เจริญ บุคคลกระทำบริกรรมในกสิณ ๑๐ แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 440

พึงยังฌานให้บังเกิดบ้าง, พึงเรียนวาทะพันหนึ่งบ้าง, นี้เป็นประโยชน์

สูงสุดแห่งบรรพชาของพวกเรา.

ธิดาเศรษฐี. ดิฉันไม่อาจจะยังฌานให้เกิดได้ก่อน, แต่จักเรียน

วาทะพันหนึ่ง พระผู้เป็นเจ้า.

ลำดับนั้น ปริพาชกเหล่านั้น ยังนางให้เรียนวาทะพันหนึ่งแล้ว

กล่าวว่า "ศิลปะ ท่านก็เรียนแล้ว, บัดนี้ ท่านจงเที่ยวไปบนพื้นชมพู-

ทวีป ตรวจดูผู้สามารถจะกล่าวปัญหากับตน" แล้ว ให้กิ่งหว้าในมือ

แก่นาง ส่งไปด้วยสั่งว่า "ไปเถิด นางผู้เจริญ; หากใคร ๆ เป็นคฤหัสถ์

อาจกล่าวปัญหากับท่านได้, ท่านจงเป็นบาทปริจาริกา ของผู้นั้นเทียว;

หากเป็นบรรพชิต, ท่านจงบรรพชาในสำนักผู้นั้นเถิด." นางมีชื่อว่า

ชัมพุปริพาชิกา ตามนาม (ไม้) ออกจากที่นั้นเที่ยวถามปัญหากะผู้ที่ตน

เห็นแล้ว ๆ. คนชื่อว่าผู้สามารถจะกล่าวกับนางไม่ได้มีแล้ว. มนุษย์

ทั้งหลายพอฟังว่า "นางชัมพุปริพาชิกามาแต่ที่นี้' ย่อมหนีไป. นาง

เข้าไปสู่บ้านหรือตำบลเพื่อภิกษา ก่อกองทรายไว้ใกล้ประตูบ้าน ปักกิ่งหว้า

บทกองทรายนั้น กล่าวว่า "ผู้สามารถจะกล่าวกับเรา จงเหยียบกิ่งหว้า"

แล้วก็เข้าไปสู่บ้าน. ใคร ๆ ชื่อว่าสามารถจะเข้าไปยังที่นั้น มิได้มิ. แม้

นางย่อมถือกิ่งอื่น ในเมื่อกิ่งหว้า ( เก่า) เหี่ยวแห้ง. เที่ยวไปโดย

ทำนองนี้ ถึงกรุงสาวัตถี ปักกิ่ง (หว้า) ใกล้ประตูบ้าน พูดโดยนัย

ที่กล่าวมาแล้วนั่นแล เข้าไปเพื่อภิกษา. เด็กเป็นอันมากได้ยืนล้อมกิ่งไม้

ไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 441

ธิดาเศรษฐีมีชื่อว่ากุณฑลเกสีเถรี

ในกาลนั้น พระสารีบุตรเถระเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต กระทำภัตกิจ

แล้วออกไปจากเมือง เห็นเด็กเหล่านั้นยืนล้อมกิ่งไม้ จึงถามว่า "นี้

อะไร ?" เด็กทั้งหลายบอกเรื่องนั้นแก่พระเถระแล้ว. พระเถระกล่าวว่า

"เด็กทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น พวกเจ้าจงเหยียบกิ่งไม้นี้."

พวกเด็ก. พวกกระผมกลัว ขอรับ.

พระเถระ. เราจักกล่าวปัญหา, พวกเจ้าเหยียบเถิด.

เด็กเหล่านั้น เกิดความอุตสาหะด้วยคำของพระเถระ กระทำอย่างนั้น

โห่ร้องอยู่ โปรยธุลีขึ้นแล้ว.

นางปริพาชิกามาแล้วดุเด็กเหล่านั้น กล่าวว่า "กิจด้วยปัญหาของ

เรากับพวกเจ้าไม่มี; เหตุไร พวกเจ้าจึงพากันเหยียบกิ่งไม้ของเรา ?"

พวกเด็กกล่าวว่า "พวกเรา อันพระผู้เป็นเจ้าใช้ให้เหยียบ."

นางปริพาชิกา. ท่านผู้เจริญ ท่านใช้พวกเด็กเหยียบกิ่งไม้ของ

ดิฉันหรือ ?

พระเถระ. เออ น้องหญิง.

นางปริพาชิกา. ถ้าอย่างนั้น ท่านจงกล่าวปัญหากับดิฉัน.

พระเถระ. ดีละ, เราจักกล่าว.

นางปริพาชิกานั้น ได้ไปสู่สำนักของพระเถระเพื่อถามปัญหาใน

เวลาเงาไม้เจริญ (คือเวลาบ่าย). ทั่วทั้งเมือง ลือกระฉ่อนกันว่า "พวก

เราจักฟังถ้อยคำของ ๒ บัณฑิต." พวกชาวเมืองไปกับนางปริพาชิกานั้น

เหมือนกัน ไหว้พระเถระแล้วนั่ง ณ ที่สุดข้างหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 442

นางปริพาชิกา กล่าวกะพระเถระว่า " ท่านผู้เจริญ ดิฉันจักถาม

ปัญหากะท่าน."

พระเถระ. ถามเถิด น้องหญิง.

นางถามวาทะพันหนึ่งแล้ว. พระเถระแก้ปัญหาที่นางถามแล้ว ๆ.

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะนางว่า "ปัญหาของท่านมีเท่านี้,

ปัญหาแม้อื่นมีอยู่หรือ ?"

นางปริพาชิกา. มีเท่านี้แหละ ท่านผู้เจริญ.

พระเถระ. ท่านถามปัญหาเป็นอันมาก. แม้เราจักถามสักปัญหาหนึ่ง,

ท่านจักแก้ได้หรือไม่ ?

นางปริพาชิกา. ดิฉันรู้ก็จักแก้, จงถามเถิด ท่านผู้เจริญ.

พระเถระ ถามปัญหาว่า "อะไร ? ชื่อว่าหนึ่ง." นางปริพาชิกา

นั้น ไม่รู้ว่า "ปัญหานี้ ควรแก้อย่างนี้" จึงถามว่า "นั่นชื่อว่าอะไร ?

ท่านผู้เจริญ"

พระเถระ. ชื่อพุทธมนต์ น้องหญิง.

นางปริพาชิกา. ท่านจงให้พุทธมนต์นั้น แก่ดิฉันบ้าง ท่าน

ผู้เจริญ.

พระเถระ. หากว่า ท่านจักเป็นเช่นเรา. เราจักให้.

นางปริพาชิกา. ถ้าเช่นนั้น ขอท่านยังดิฉันให้บรรพชาเถิด.

พระเถระ บอกแก่นางภิกษุณีทั้งหลายให้บรรพชาแล้ว. นางครั้น

ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว มีชื่อว่ากุณฑลเกสีเถรี บรรลุพระอรหัตพร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายโดย ๒-๓ วันเท่านั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 443

ชนะกิเลสประเสริฐ

ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า "การฟังธรรมของ

นางกุณฑลเกสีเถรีไม่มีมาก, กิจแห่งบรรพชิตของนางถึงที่สุดแล้ว, ได้

ยินว่า นางทำมหาสงครามกับโจรคนหนึ่งชนะแล้วมา."

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก

เธอนั่งสนทนากันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายนั้น กราบทูล

ว่า "ถ้อยคำชื่อนี้." จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่านับธรรม

ที่เราแสดงแล้วว่า 'น้อยหรือมาก' บทที่ไม่เป็นประโยชน์แม้ ๑๐๐ บท

ไม่ประเสริฐ, ส่วนบทแห่งธรรมแม้บทเดียวประเสริฐกว่าเทียว; อนึ่ง

เมื่อบุคคลชนะโจรที่เหลือ หาชื่อว่าชนะไม่, ส่วนบุคคลชนะโจรคือกิเลส

อันเป็นไปภายในนั่นแหละ จึงชื่อว่าชนะ" เมื่อจะทรงสืบอันสนุธิแสดง

ธรรม จึงตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๓. โย จ คาถาสต ภาเส อนตฺถปทสญฺหิตา

เอก ธมฺมปท เสยฺโย ย สุตฺวา อุปสมฺมติ.

โย สหสฺส สหสฺเสน สงฺคาเม มานุเส ชิเน

เอกญฺจ เชยฺยมตฺตาน ส เว สงฺคามชุตฺตโม.

"ก็ผู้ใด พึงกล่าวคาถาตั้งร้อย ซึ่งไม่ประกอบ

ด้วยบพเป็นประโยชน์; บทแห่งธรรมบทเดียวที่บุคคล

ฟังแล้วสงบระงับได้ ประเสริฐกว่า ( การกล่าว

คาถาตั้ง ๑๐๐ ของผู้นั้น). ผู้ใด พึงชนะมนุษย์

พันหนึ่งคูณด้วยพันหนึ่ง (คือ ๑ ล้าน) ในสงคราม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 444

ผู้นั้น หาชื่อว่า เป็นยอดแห่งชนผู้ชนะในสงครามไม่,

ส่วนผู้ใดชนะตนคนเดียวได้, ผู้นั้นแล เป็นยอดแห่ง

ผู้ชนะ ในสงคราม."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า คาถาสต ความว่า ก็บุคคลใด

พึงกล่าวคาถากำหนดด้วยร้อย คือเป็นอันมาก. บาทพระคาถาว่า

อนตฺถปทสญฺหิตา ความว่า ประกอบด้วยบททั้งหลายอันไม่มีประโยชน์

ด้วยอำนาจพรรณนาอากาศเป็นต้น.

บทที่ปฏิสังยุตด้วยธรรมมีขันธ์เป็นต้น สำเร็จประโยชน์ ชื่อว่า

บทธรรม. บรรดาธรรม ๔ ที่พระศาสดาตรัสไว้อย่างนี้ว่า " ปริพาชก

ทั้งหลาย บทธรรม ๔ เหล่านี้; ๔ คืออะไรบ้าง ? ปริพาชกทั้งหลาย

บทธรรมคือความไม่เพ่งเล็ง, บทธรรมคือความไม่ปองร้าย, บทธรรม

คือความระลึกชอบ, บทธรรมคือความตั้งใจไว้ชอบ บทธรรมแม้บท

เดียวประเสริฐกว่า."

บาทพระคาถาว่า โย สหสฺส สหสฺเสน ความว่า ผู้ใดคือ

นักรบในสงคราม พึงชนะมนุษย์พันหนึ่งซึ่งคูณด้วยพัน ในสงคราม

ครั้งหนึ่ง ได้แก่ชนะมนุษย์ ๑๐ แสนแล้ว พึงนำชัยมา, แม้ผู้นี้ ก็หา

ชื่อว่า เป็นยอดแห่งชนทั้งหลายผู้ชนะในสงครามไม่.

บาทพระคาถาว่า เอกญฺจ เชยฺยมตฺตาน ความว่า ส่วนผู้ใด

พิจารณากัมมัฏฐานอันเป็นไปในภายใน ในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน

พึงชนะตน ด้วยการชนะกิเลสมีโลภะเป็นต้น ของตนได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 445

บาทพระคาถาว่า ส เว สงฺคามชุตฺตโม ความว่า ผู้นั้นชื่อว่า

เป็นยอด คือประเสริฐ แห่งชนทั้งหลายผู้ชนะในสงคราม ได้แก่ เป็น

นักรบเยี่ยมในสงคราม.

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระกุณฑลเกสีเถรี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 446

๔. เรื่องอนันถปุจฉกพราหมณ์ [๘๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภอนัตถปุจฉก-

พราหมณ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อตฺตา หเว" เป็นต้น.

ความฉิบหายย่อมมีแก่ผู้เสพกรรม ๖ อย่าง

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นคิดว่า "พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบ

สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างเดียวหรือหนอแล ? หรือทรงทราบแม้สิ่งมิใช่

ประโยชน์; เราจักทูลถามพระองค์" ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา

ทูลถามว่า "พระเจ้าข้า พระองค์เห็นจะทรงทราบสิ่งที่เป็นประโยชน์

อย่างเดียว. ไม่ทรงทราบสิ่งที่มิใช่ประโยชน์."

พระศาสดา. พราหมณ์ เราะรู้ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทั้งสิ่งที่มิใช่

ประโยชน์.

พราหมณ์. ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงตรัสบอกสิ่งที่มิใช่ประโยชน์

แก่ข้าพระองค์เถิด.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสพระคาถานี้ แก่พราหมณ์นั้นว่า

"การนอนจนตะวันขึ้น (นอนตื่นสาย) ความ

เกียจคร้าน ความดุร้าย การผัดวันประกันพรุ่ง การ

เดินทางไกลของคนคนเดียว การเข้าไปเสพภรรยาของ

๑. ทีฆโสตฺติย หมายความว่า การผัดเพี้ยนกาลเวลา, การผันวันประกันพรุ่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 447

ผู้อื่น พราหมณ์ ท่านจงเสพกรรม ๖ อย่าง นี้เถิด,

สิ่งมิใช่ประโยชน์ [ความฉิบหาย] จักมีแก่ท่าน."

พราหมณ์ฟังพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว ได้ให้สาธุการว่า "ดีละ

ดีละ ท่านผู้เป็นอาจารย์ของคณะ ท่านผู้เป็นใหญ่ในคณะ, พระองค์เทียว

ย่อมทรงทราบทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ ทั้งสิ่งที่มิใช่ประโยชน์."

พระศาสดา. อย่างนั้น พราหมณ์, ขึ้นชื่อว่าผู้รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์

และสิ่งมิใช่ประโยชน์ เช่นกับด้วยเราไม่มี.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงตรวจดูอัธยาศัยของพราหมณ์นั้นแล้ว

จึงตรัสถามว่า "พราหมณ์ ท่านเป็นอยู่ (เลี้ยงชีพ) ด้วยการงานอะไร ?"

พราหมณ์. ด้วยการงานคือเล่นสกา (การพนัน) พระโคดมผู้เจริญ

พระศาสดา. ก็ท่านชนะหรือแพ้เล่า ?

ชนะตนเป็นการชนะประเสริฐ

เมื่อพราหมณ์นั้นทูลว่า "ชนะบ้าง แพ้บ้าง" ดังนี้แล้ว พระ-

ศาสดาจึงตรัสว่า "พราหมณ์ นั่นยังมีประมาณน้อย. ขึ้นชื่อว่าความ

ชนะของบุคคลผู้ชนะผู้อื่นไม่ประเสริฐ; ส่วนผู้ใดชนะตนได้ ด้วยชนะ

กิเลส, ความชนะของผู้นั้นประเสริฐ; เพราะว่าใคร ๆ ไม่อาจทำความ

ชนะนั้นให้กลับพ่ายแพ้ได้" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัส

พระคาถาเหล่านั้นว่า :-

๔. อต ตา หเว ชิต เสยฺโย ยา จาย อิตรา ปชา

อตฺตทนฺตสฺส โปสสฺส นิจฺจ สญฺตจาริโน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 448

เนว เทโว น คนฺธพฺโพ น มาโร สห พฺรหฺมุนา

ชิต อปชิต กยิรา ตถารูปสฺส ชนฺตุโน.

"ตนนั่นแล บุคคลชนะแล้ว ประเสริฐ, ส่วน

หมู่สัตว์นอกนี้ บุคคลชนะแล้ว ไม่ประเสริฐเลย,

(เพราะ) เมื่อบุรุษฝึกตนแล้ว ประพฤติสำรวมเป็น

นิตย์, เทวดา คนธรรพ์ มาร พร้อมทั้งพรหม พึง

ทำความชนะของสัตว์เห็นปานนั้น ให้กลับแพ้ไม่ได้

เลย."

แก้อรรถ

ในพระคาถานั้น ศัพท์ว่า หเว เป็นนิบาต.

ศัพท์ว่า ชิต เป็นลิงควิปลาส. ความว่า ตนอันบุคคลชนะแล้ว

ด้วยความชนะกิเลสของตน ประเสริฐ.

บาทพระคาถาว่า ยา จาย อิตรา ปชา ความว่า ส่วนหมู่สัตว์

นี้ใด คือ ที่เหลือ พึงเป็นผู้อันเขาชนะ ด้วยการเล่นสกาก็ดี ด้วยการ

ฉ้อทรัพย์ก็ดี ด้วยการครอบงำพลในสงครามก็ดี, ความชนะที่บุคคลผู้ชนะ

หมู่สัตว์นั้นชนะแล้ว ไม่ประเสริฐ.

ถามว่า "ก็เหตุไร ? ความชนะนั้นเท่านั้นประเสริฐ, ความชนะนี้

ไม่ประเสริฐ."

แก้ว่า "เพราะเมื่อบุรุษฝึกตนแล้ว ฯลฯ ของสัตว์เห็นปานนั้น

ให้กลับแพ้ไม่ได้."

พระศาสดาตรัสคำนี้ไว้ว่า "เพราะว่า เมื่อบุรุษผู้ชื่อว่าฝึกตนแล้ว

เพราะเป็นผู้ไร้กิเลส ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน มีปกติประพฤติสำรวม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 449

ทางกายเป็นต้นเป็นนิตย์, เทวดาก็ดี คนธรรพ์ก็ดี ก็หรือมารพร้อม

ทั้งพรหม แม้พากเพียรพยายามอยู่ว่า ' เราจักทำความชนะของผู้นั้นให้

กลับแพ้, จักทำกิเลสทั้งหลายที่เขาละได้ด้วยมรรคภาวนาให้เกิดอีก, ก็ไม่

พึงอาจเลย เพื่อจะทำ ( ความชนะ) ของสัตว์เห็นปานนั้น คือ ผู้สำรวม

แล้ว ด้วยการสำรวมทางกายเป็นต้น เหล่านั้น ให้กลับแพ้ เหมือนผู้แพ้

ด้วยทรัพย์เป็นต้นแล้วเป็นปรปักษ์ ชนะผู้ที่คนนอกนี้ชนะแล้ว พึงทำให้

กลับแพ้อีกฉะนั้น"

ในเวลาจบเทศหา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องอนัตถปุจฉกพราหมณ์ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 450

๕. เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นลุงของพระสารีบุตรเถระ [๘๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพราหมณ์

ผู้เป็นลุงของพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "มาเส

มาเส" เป็นต้น.

พระเถระพาลุงไปเฝ้าพระศาสดา

ได้ยินว่า พระเถระ ไปสู่สำนักของพราหมณ์นั้นแล้ว ถามว่า

พราหมณ์ ท่านทำกุศลอะไร ๆ บ้างหรือหนอแล ?"

พราหมณ์. ทำ ขอรับ.

พระเถระ. ทำกุศลอะไร ?

พราหมณ์. ผมก็ให้ทาน ด้วยบริจาคทรัพย์พันหนึ่ง ทุก ๆ เดือน

พระเถระ ให้แก่ใคร ?

พราหมณ์. ให้แก่พวกนิครนถ์ ขอรับ.

พระเถระ ปรารถนาอะไร ?

พราหมณ์. พรหมโลก ขอรับ.

พระเถระ. ก็นี้เป็นทางแห่งพรหมโลกหรือ ?

พราหมณ์. อย่างนั้น ขอรับ.

พระเถระ. ใครกล่าวอย่านี้ ?

พราหมณ์. พวกอาจารย์ของผมกล่าว ขอรับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 451

พระเถระกล่าวว่า "ท่านไม่รู้ทางแห่งพรหมโลกทีเดียว, แม้พวก

อาจารย์ของท่านก็ไม่รู้: พระศาสดาพระองค์เดียวเท่านั้น ทรงรู้, มาเถิด

พราหมณ์. ฉันจะทูลอาราธนาให้พระองค์ตรัสบอกทางแห่งพรหมโลกแก่

ท่าน" ดังนี้แล้ว พาพราหมณ์นั้น นำไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบ

ทูลเรื่องนั้นว่า พราหมณ์ผู้นี้ กล่าวอย่างนั้น พระเจ้าข้า" แล้วกราบทูล

ว่า "ดีละหนอ ขอพระองค์ตรัสบอกทางแห่งพรหมโลกแก่พราหมณ์นั้น."

พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดพราหมณ์

พระศาสดาตรัสถามว่า "ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ? พราหมณ์"

เมื่อพราหมณ์นั้นทูลว่า " อย่างนั้น พระโคคมผู้เจริญ " จึงตรัสว่า

"พราหมณ์ การแลดูสาวกของเราด้วยจิตอันเลื่อมใสเพียงครู่เดียว หรือ

การถวายอาหารวัตถุเพียงภิกษาทัพพีเดียว มีผลมากแม้กว่าทานที่ท่านเมื่อ

ให้อย่างนั้น ให้แล้วตั้ง ๑๐๐ ปี เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๕. มาเส มาเส สหสฺเสน โย ยเชถ สต สม

เอญฺจ ภาวิตตฺตาน มุหุตฺตมปิ ปูชเย

สา เย ปูชนา เสยฮ ย ยญฺเจ วสฺสสต หุต.

"ผู้ใด พึงบูชาด้วยทรัพย์พันหนึ่งทุก ๆ เดือน

สิ้น ๑๐๐ ปี, ส่วนการบูชานั้นนั่นแล ของผู้ที่พึง

บูชาท่านผู้มีตนอบรนแล้วคนเดียวแม้ตรู่หนึ่ง ประ-

เสริฐกว่าการบูชาของผู้นั้น, การบูชา สิ้น ๑๐๐ ปี

จะประเสริฐอะไรเล่า ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 452

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหสฺเสน ความว่า ด้วยการบริจาค

ทรัพย์พันหนึ่ง.

บาทพระคาถาว่า โย ยเชถ สต สม ความว่า ผู้ใดเมื่อบริจาค

ทรัพย์พันหนึ่งทุก ๆ เดือน พึงให้ทานแก่โลกิยมหาชน สิ้น ๑๐๐ ปี.

บาทพระคาถาว่า เอกญฺจ ภาวิตฺตาน ความว่า ส่วนผู้ใดพึง

บูชาท่านผู้มีในอบรมแล้ว ด้วยอำนาจแห่งคุณผู้เดียว โดยที่สุดเบื้องต่ำเป็น

พระโสดาบัน โดยที่สุดเบื้องสูงเป็นพระขีณาสพ ผู้มาถึงแทบประตูเรือน

ด้วยอำนาจถวายภิกษาทัพพีหนึ่ง ด้วยอำนาจถวายอาหาร พอยังอัตภาพ

ให้เป็นไปได้ หรือด้วยเพียงถวายผ้าเนื้อหยาบ, บูชาของผู้นั้นนั่นแล

ประเสริฐ คือล้ำเลิศ ได้แก่ สูงสุดกว่าความบูชาอันบุคคลนอกนี้บูชา

แล้ว สิ้น ๑๐๐ ปี.

ในเวลาจบเทศนา พราหมณ์นั้นบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, ชนแม้

เหล่าอื่นเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นลุงของพระสารีบุตรเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 453

๖. เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ [๘๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภหลานของ

พระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย จ วสฺสสต ชนฺตุ"

เป็นต้น .

พระเถระพาหลานไปเฝ้าพระศาสดา

ความพิสดารว่า พระเถระเข้าไปหาหลานแม้นั้นแล้ว ถามว่า

"พราหมณ์ เธอทำกุศลหรือ ?"

พราหมณ์. อย่างนั้น ขอรับ.

พระเถระ. ทำกุศลอะไร ?

พราหมณ์. ฆ่าสัตว์เลี้ยงตัวหนึ่งแล้วบำเรอไฟทุก ๆ เดือน.

พระเถระ. ทำอย่างนั้น เพื่ออะไร ?

พราหมณ์. เขาว่า นั่นเป็นทางแห่งพรหมโลก.

พระเถระ. ใคร ว่าอย่างนั้น ?

พราหมณ์. พวกอาจารย์ของกระผม ขอรับ.

พระเถระกล่าวว่า " เธอไม่รู้ทางแห่งพรหมโลกเลย. แม้พวก

อาจารย์ของเธอก็ไม่รู้ มาเถิด, เราจักไปสำนักของพระศาสดา" ดังนี้

แล้ว นำหลานนั้นไปสู่สำนักของพระศาสดา ทูลเรื่องนั้นแล้ว กราบทูลว่า

" พระเจ้าข้า ขอพระองค์ตรัสบอกทางแห่งพรหมโลกแก่พราหมณ์นี้."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 454

พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดพราหมณ์

พระศาสดาตรัสถามว่า "ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ?" เมื่อพราหมณ์

นั้นทูลว่า "อย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญ" จึงตรัสว่า "พราหมณ์

การบำเรอไฟของท่านผู้บำเรอไฟอย่างนั้น ตั้ง ๑๐๐ ปี ย่อมไม่ถึงแม้

การบูชาสาวกของเรา เพียงขณะเดียว" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม

จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๖. โย จ วสฺสสต ชนฺตุ อคฺคึ ปริจเร วเน

เอกญฺจ ภาวิตตฺตาน มุหุติตมปิ ปูชเย

สา เยว ปูชนา เสยฺโย ยญฺเจ วสฺสสต หุต.

"ก็สัตว์ใด พึงบำเรอไฟในป่า ตั้ง ๑๐๐ ปี,

ส่วนเขา พึงบูชาท่านผู้มีตนอบรมแล้วผู้เดียว แม้

ครู่หนึ่ง, การบูชานั้นนั่นแลประเสริฐกว่า ( การบูชา

ตั้ง ๑๐๐ ปี ของสัตว์นั้น) การบูชา ๑๐๐ ปี

จะประเสริฐอะไรเล่า ?"

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ชนฺตุ นี้ เป็นชื่อของสัตว์. บาทพระ-

คาถาว่า อคฺคึ ปริจเร วเน ความว่า แม้เข้าไปสู่ป่า ด้วยปรารถนา

ความเป็นผู้ไม่มีธรรมเครื่องเนิ่นช้า พึงบำเรอไฟในป่านั้น.

คำที่เหลือ เช่นเดียวกับคำที่มีในก่อนนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 455

ในเวลาจบเทศนา พราหมณ์บรรลุโสดาปัตติผล. ชนแม้เหล่าอื่น

เป็นอัน มากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นหลานของพระสารีบุตรเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 456

๗. เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นสหายของพระสารีบุตรเถระ [๘๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพราหมณ์ผู้

เป็นสหายของพระสารีบุตรเถระ. ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยงฺกิญฺจิ

ยิฏฺญฺจ" เป็นต้น.

พระเถระพาสหายไปเฝ้าพระศาสดา

ความพิสดารว่า พระเถระเข้าไปหาพราหมณ์แม้นั้นแล้ว ถามว่า

"พราหมณ์ ท่านทำกุศลบางอย่างหรือ ?"

พราหมณ์. อย่างนั้น ขอรับ.

พระเถระ. ทำกุศลอะไร ?

พราหมณ์. บูชายัญอย่างที่เขาบูชากัน.

ทราบว่า ครั้งนั้น ชนทั้งหลายย่อมบูชายัญนั้น ด้วยการบริจาค

อย่างมาก. ต่อแต่นี้ พระเถระถามโดยนัยก่อนนั่นแล แล้วนำพราหมณ์

นั้นไปยังสำนักของพระศาสดา ทูลเรื่องนั้นแล้ว กราบทูลว่า " พระ-

เจ้าข้า ขอพระองค์ตรัสบอกทางแห่งพรหมโลก แก่พราหมณ์นี้."

พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดพราหมณ์

พระศาสดาตรัสถามว่า ได้ยินว่าอย่างนั้นหรือ ? พราหมณ์"

เมื่อพราหมณ์ทูลรับว่า "อย่างนั้น" แล้ว จึงตรัสว่า "พราหมณ์

ทานที่ท่านบูชายัญอย่างที่เขาบูชากัน ให้แก่โลกิยมหาชนตั้งปี ย่อมไม่ถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 457

แม้เพียงส่วนที่ ๔ แห่งกุศลเจตนาที่เกิดขึ้นแก่คนทั้งหลาย ผู้ไหว้สาวก

ของเราด้วยจิตที่เลื่อมใส" เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

๗. ยงฺกิญฺจิ ยิฏฺ ว หุต ว โลเก

สวจฺฉร ยเชถ ปุญฺเปกฺโข

สพฺพปิ ต น จตุภาคเมติ

อภิวาทนา อุชุคเตสุ เสยฺโย.

"ผู้มุ่งบุญพึงบูชายัญ และทำบำบวงอย่างใด

อย่างหนึ่งในโลกตลอดปี, ทานนั้นแม้ทั้งหมดไม่ถึง

ส่วนที่ ๔, การอภิวาทในท่านผู้ดำเนินตรงประเสริฐ

สุด."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยงฺกิญฺจิ นี้ เป็นคำรวบถือไม่มีส่วน

เหลือ. บทว่า ยิฏฺ ได้แก่ ทานที่เขาให้ด้วยอำนาจการทำมงคลเป็นต้น

โดยมาก. บทว่า หุต ได้แก่ ทานเพื่อแขกที่เขาจัดแจงทำ และทานที่

เขาเธอกรรมและผลของกรรมทำ.

สองบทว่า สวจฺฉร ยเชถ ความว่า พึงให้ทานมีประการ

ดังกล่าวแล้วแก่โลกิยมหาชนแม้ในจักรวาลทั้งสิ้น ตลอดปีหนึ่งไม่มีระหว่าง

เลย. บทว่า ปุญฺเปกฺโข ได้แก่ ผู้ปรารถนาบุญ. บทว่า อุชุคเตสุ

ความว่า ในพระโสดาบันโดยที่สุดอย่างต่ำ ในพระขีณาสพโดยที่สุดอย่างสูง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 458

คำนี้ เป็นคำที่พระศาสดาตรัสไว้ว่า "ทานนั้นทั้งหมด ไม่ถึงแม้

ส่วนที่ ๔ จากผลแห่งกุศลเจตนา ของผู้น้อมสรีระไหว้ ด้วยจิตที่เลื่อมใส

เห็นปานนั้น; เพราะฉะนั้น การอภิวาทในท่านผู้ดำเนินตรงเท่านั้น

ประเสริฐสุด.

ในเวลาจบเทศนา พราหมณ์บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. ชนแม้เหล่า

อื่นเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพราหมณ์ผู้เป็นสหายของพระสารีบุตรเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 459

๘. เรื่องอายุวัฒนกุมาร [๘๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยทีฆลัมพิกนคร ประทับอยู่ ณ กุฎีในป่า

ทรงปรารภกุมารผู้อายุยืน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อภิวาทนสีลิสฺส"

เป็นต้น.

พราหมณ์ ๒ สหายออกบวช

ได้ยินว่า พราหมณ์ ๒ คนชาวทีฆลัมพิกนคร บวชในลัทธิภาย

นอก บำเพ็ญตบะสิ้นกาล ๔๘ ปี. บรรดาพราหมณ์ ๒ คนนั้น คนหนึ่ง

คิดว่า "ประเพณีของเราจักเสื่อมเสีย, เราจักสึก " ดังนี้แล้ว จึงขาย

บริขารตบะที่ตนทำไว้แก่คนเหล่าอื่น ได้ภรรยาพร้อมด้วยโค ๑๐๐ ตัว

และทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ ให้ตั้งไว้เป็นกองทุน. ครั้งนั้น ภรรยาของ

เขาคลอดเด็ก.

ส่วนสหายของเขานอกจากนี้ไปสู่ต่างถิ่นแล้ว ก็กลับมาสู่นครนั้นอีก

นั่นแล. เขาได้ยินความที่สหายนั้นมา จึงได้พาบุตรและภรรยาไปเพื่อ

ต้องการเยี่ยมสหาย, ครั้นถึงแล้วให้บุตรในมือของมารดาแล้วก็ไหว้เอง

ก่อน. แม้มารดาให้บุตรในมือของบิดาแล้วก็ไหว้. สหายนั้นกล่าวว่า

" ขอท่านจงเป็นผู้มีอายุยืน" แต่เมื่อมารดาบิดาให้บุตรไหว้แล้ว สหาย

นั้นได้นิ่งเสีย.

๑. กุฏิกศัพท์ แปลว่า กระท่อม ก็มี คำว่า อรญฺกุฏิกาย คงเป็นกระท่อมที่เขาสร้าง

ไว้ในป่า ไม่ใช่สถานที่ประทับยืน เป็นที่ประทับชั่วคราว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 460

พราหมณ์ถามเหตุที่สหายไม่ให้พรแก่บุตร

สำคัญนั้น เขากล่าวกะสหายนั้นว่า "ผู้เจริญ ก็เพราะเหตุไร ?

เมื่อผมไหว้ ท่านจึงกล่าวว่า ' ขอท่านจงเป็นผู้มีอายุยืน.' ในเวลาที่เด็ก

นี้ไหว้ ไม่กล่าวคำอะไร ๆ ?"

สหาย. พราหมณ์ อันตรายอย่างหนึ่งของเด็กนี้มีอยู่.

พราหมณ์. เด็กจักเป็นอยู่ตลอดกาลเท่าไร ? ขอรับ.

สหาย. ๗ วัน พราหมณ์.

พราหมณ์. เหตุเป็นเครื่องป้องกัน มีไหม ? ขอรับ.

สหาย. เราไม่รู้เหตุเป็นเครื่องป้องกัน.

พราหมณ์. ก็ใครพึงรู้เล่า ? ขอรับ.

สหาย. พระสมณโคดม, ท่านจงไปสำนักของพระสมณโคดมนั้น

แล้วถามเถิด.

พราหมณ์. ผมไปในที่นั้น กลัวแต่การเสื่อมแห่งตบะ.

สหาย. ถ้าความรักในบุตรของท่านมีอยู่, ท่านอย่าคิดถึงการเสื่อม

แห่งตบะ จงไปสำนักของพระสมณโคดมนั้น ถามเถิด.

พราหมณ์ไปเฝ้าพระศาสดา

พราหมณ์นั้นไปสู่สำนักของพระศาสดาไหว้เองก่อน. พระศาสดา

ตรัสว่า "ท่านจงมีอายุยืน," แม้ในเวลาที่ปชาบดีไหว้ ก็ตรัสแก่นาง

อย่างนั้นเหมือนกัน ในเวลาที่เวลาให้บุตรไหว้ได้ทรงนิ่งเสีย. เขาทูลถาม

พระศาสดาโดยนัยก่อนนั่นแล. แม้พระศาสดาก็ทรงพยากรณ์แก่เขาอย่าง

นั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 461

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นไม่แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณ จึงเทียบ

เคียงมนต์ของตนกับพระสัพพัญญุตญาณ. แต่ไม่รู้อุบายเครื่องป้องกัน.

พระศาสดาตรัสบอกอุบายป้องกัน

พราหมณ์ทูลถามพระศาสดาว่า "ก็อุบายเครื่องป้องกันมีอยู่หรือ ?

พระเจ้าข้า."

พระศาสดา พึงมี พราหมณ์.

พราหมณ์. พึงมีอย่างไร ?

พระศาสดา. ถ้าท่านพึงอาจเพื่อทำมณฑปใกล้ประตูเรือนของตน

ให้ทำตั่งไว้ตรงกลางมณฑปนั้น แล้วปูอาสนะไว้ ๘ หรือ ๖ ที่ ล้อม

รอบตั่งนั้น ให้สาวกของเรานั่งบนอาสนะเหล่านั้น ให้ทำพระปริตร ๗

วันไม่มีระหว่าง. อันตรายของเด็กนั้นพึงเสื่อมไป ด้วยอุบายอย่างนี้.

พราหมณ์. พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์อาจทำมณฑปเป็นต้นได้.

แต่จักได้สาวกของพระองค์อย่างไร ?

พระศาสดา. เมื่อท่านทำกิจเท่านี้แล้ว เราจักส่งสาวกของเราไป

พราหมณ์ทูลรับว่า "ดีละ พระโคดมผู้เจริญ" แล้วทำกิจนั้น

ทั้งหมดใกล้ประตูเรือนของตนแล้ว ได้ไปยังสำนักของพระศาสดา.

พวกภิกษุไปสวดพระปริตร

พระศาสดาทรงส่งภิกษุทั้งหลายไป. ภิกษุเหล่านั้นไปนั่งในมณฑป

นั้น. พราหมณ์สามีภริยาให้เด็กนอนบนตั่งแล้ว. ภิกษุทั้งหลายสวดพระ-

ปริตร ๗ คืน ๗ วันไม่มีระหว่าง. ในวันที่ ๗ พระศาสดาเสด็จมาเอง.

เมื่อพระศาสดานั้นเสด็จไปแล้ว. พวกเทวดาในจักรวาลทั้งสิ้นประชุมกัน

แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 462

ก็อวรุทธกยักษ์ตนหนึ่งบำรุงท้าวเวสวัณ ๑๒ ปี เมื่อจะได้พรจาก

สำนักท้าวเวสวัณนั้น ได้กล่าวว่า "ในวันที่ ๗ จากวันนี้ ท่านพึงจับ

เอาเด็กนี้; เพราะฉะนั้น ยักษ์ตนนั้นจึงได้มายืนอยู่. ก็เมื่อพระศาสดา

เสด็จไปในมณฑปนั้น, เมื่อพวกเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน. พวก

เทวดาผู้มีศักดิ์น้อยถดถอยไป ไม่ได้โอกาส หลีกไปตลอด ๑๒ โยชน์

ถึงอวรุทธกยักษ์ก็ได้หลีกไปยืนอย่างนั้นเหมือนกัน.

เด็กพ้นอันตรายกลับมีอายุยืน

แม้พระศาสดาได้ทรงทำพระปริตรตลอดคืนยังรุ่ง. เมื่อ ๗ วัน

ล่วงแล้ว, อวรุทธกยักษ์ไม่ได้เด็ก. ก็ในวันที่ ๘ เนื้ออรุณพอขึ้นเท่านั้น,

สองสามีภรรยานำเด็กมาให้ถวายบังคมพระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า

" ขอเจ้าจงมีอายุยืนเถิด."

พราหมณ์. พระโคดมผู้เจริญ ก็เด็กจะดำรงอยู่นานเท่าไร ?

พระศาสดา. ๑๒๐ ปี พราหมณ์.

ลำดับนั้น ๒ สามีภรรยาขนานนามเด็กนั้นว่า "อายุวัฒนกุมาร."

อายุวัฒนกุมารนั้น เติบโตแล้ว อันอุบาสก ๕๐๐ คนแวดล้อมเที่ยวไป.

การกราบไหว้ท่านผู้มีคุณทำให้อายุยืน

ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่า "ผู้มี

อายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงดู, ได้ยินว่า อายุวัฒนกุมารพึงตายใน

วันที่ ๗, บัดนี้อายุวัฒนกุมารนั้น (ดำรงอยู่ ๑๒๐ ปี) อันอุบาสก ๕๐๐

คนแวดล้อมเที่ยวไป; เหตุเครื่องเจริญอายุของสัตว์เหล่านี้ เห็นจะมี."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 463

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมกัน ด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

"ด้วยเรื่องชื่อนี้," จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อายุเจริญอย่างเดียว

เท่านั้นก็หาไม่, ก็สัตว์เหล่านี้ไหว้ท่านผู้มีพระคุณ ย่อมเจริญด้วยเหตุ

๔ ประการ, พ้นจากอันตราย, ดำรงอยู่จนตลอดอายุทีเดียว" ดังนี้แล้ว

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๘. อภิวาทนสีลิสฺส นิจฺจ วุฑฺฒาปจายิโน

จตฺตาโร ธมฺมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สุข พล.

"ธรรม ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ

พละ เจริญแก่บุคคลผู้กราบไหว้เป็นปกติ ผู้อ่อนน้อม

ต่อท่านผู้เจริญเป็นนิตย์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิวาทนสีลิสฺส คือ ผู้ไหว้เป็นปกติ

ได้แก่ ผู้ขวนขวายกิจคือการไหว้เนือง ๆ. บทว่า วุฑฺฒาปจายิโน ความ

ว่า แก่คฤหัสถ์ผู้อ่อนน้อมหรือผู้บูชาเป็นนิตย์ ด้วยการกราบไหว้ แม้ใน

ภิกษุหนุ่มและสามเณรบวชในวันนั้น, ก็หรือแก่บรรพชิตผู้อ่อนน้อมหรือ

ผู้บูชาเป็นนิตย์ ด้วยการกราบไหว้ในท่านผู้แก่กว่าโดยบรรพชาหรือโดย

อุปสมบท (หรือ ) ในท่านผู้เจริญด้วยคุณ.

สองบทว่า จตฺตาโร ธมฺมา ความว่า เมื่ออายุเจริญอยู่, อายุนั้น

ย่อมเจริญสิ้นกาลเท่าใด, ธรรมทั้งหลายแม้นอกนี้ ก็เจริญสิ้นกาลเท่านั้น

เหมือนกัน, ด้วยว่าผู้ใดทำกุศลที่ยังอายุ ๕๐ ปี ให้เป็นไป, อันตราย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 464

แห่งชีวิตของผู้นั้นพึงเกิดขึ้นแม้ในกาลมีอายุ ๒๕ ปี; อันตรายนั้นย่อม

ระงับเสียได้ ด้วยความเป็นผู้กราบไหว้เป็นปกติ. ผู้นั้นย่อมดำรงอยู่ได้จน

ตลอดอายุทีเดียว. แม้วรรณะเป็นต้นของผู้นั้น ย่อมเจริญพร้อมกับอายุแล.

นัยแม้ยิ่งกว่านี้ ก็อย่างนี้แล.

ก็ชื่อว่าการเจริญแห่งอายุ ที่เป็นไปโดยไม่มีอันตราย หามีไม่.

ในเวลาจบเทศนา อายุวัฒนกุมาร ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พร้อม

กับอุบาสก ๕๐๐ แล้ว. แม้ชนเหล่าอื่นเป็นอันหาก ก็บรรลุอริยผล

ทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องอายุวัฒนกุมาร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 465

๙. เรื่องสังกิจจสามเณร [๘๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภสังกิจจสามเณร

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย จ วสฺสสต ชีเว" เป็นต้น.

กุลบุตร ๓๐ คนออกบวช

ได้ยินว่า กุลบุตรประมาณ ๓๐ คนในกรุงสาวัตถี ฟังธรรมกถา

แล้ว บวชถวายชีวิตในศาสนาของพระศาสดา. ภิกษุเหล่านั้นอุปสมบท

ได้ ๕ พรรษา เข้าไปเฝ้าพระศาสดา สดับธุระ ๒ ประการ คือ

" คันธธุระ วิปัสสนาธุระ" ไม่ทำอุตสาหะในคันถธุระ เพราะเป็นผู้

บวชในเวลาเป็นคนแก่ มีความประสงค์จะบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ ทูลให้

พระศาสดาตรัสบอกก้มมัฏฐานจนถึงพระอรหัตแล้ว จึงทูลอำลาพระ-

ศาสดาว่า "ข้าพระองค์จักไปสู่แดงป่าแห่งหนึ่ง พระเจ้าข้า."

พระศาสดาตรัสถามว่า "พวกเธอจักไปยังที่ไหน ? เมื่อภิกษุ

เหล่านั้นกราบทูลว่า "สถานชื่อโน้น," ได้ทรงทราบว่า "ภัยจักเกิดขึ้น

ในที่นั้นแก่ภิกษุเหล่านั้น เพราะอาศัยคนกินเดนคนหนึ่ง ก็แต่ว่าเมื่อ

สังกิจจสามเณรไปแล้ว ภัยนั้นจักระงับ, เมื่อเป็นเช่นนั้นกิจบรรพชิตของ

ภิกษุเหล่านั้นจักถึงความบริบูรณ์."

๑. อุปสมฺปทาย ปญฺจวสฺสา หุตฺวา เป็นผู้มีพรรษา ๕ โดยการอุสมบท.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 466

ประวัติของสังกิจจสามเณร

สามเณรของพระสารีบุตรเถระชื่อสังกิจจสามเณร มีอายุ ๗ ปี

โดยกำเนิด. ได้ยินว่า มารดาของสังกิจจสามเณรนั้น เป็นธิดาของ

ตระกูลมั่งคั่งในกรุงสาวัตถี. เมื่อสามเณรนั้นยังอยู่ในท้อง มารดานั้น

ได้ทำกาละในขณะนั้นนั่นเอง ด้วยความเจ็บไข้อย่างหนึ่ง. เมื่อมารดา

นั้นถูกเผาอยู่ เนื้อส่วนที่เหลือไหม้ไป เว้นแต่เนื้อท้อง. ลำดับนั้น

พวกสัปเหร่อยกเนื้อท้องของนางลงจากเชิงตะกอน แทงด้วยหลาวเหล็ก

ในที่ ๒-๓ แห่ง. ปลายหลาวเหล็กกระทบทางตาของทารก. พวก

สัปเหร่อแทงเนื้อท้องอย่างนั้นแล้ว จึงโยนไปบนกองถ่าน ปกปิดด้วย

ถ่านนั่นแลแล้วหลีกไป. เนื้อท้องไหม้แล้ว. ส่วนทารกได้เป็นเช่นกับรูป

ทองคำบนกองถ่าน เหมือนนอนอยู่ในกลีบแห่งดอกบัว. แท้จริง สัตว์ผู้

มีในภพเป็นที่สุด แม้ถูกภูเขาสิเนรุทับอยู่ ชื่อว่ายังไม่บรรลุพระอรหัต

แล้วสิ้นชีวิตไม่มี. ในวันรุ่งขึ้น พวกสัปเหร่อมาด้วยคิดว่า "จักดับเชิง

ตะกอน" เห็นทารกนอนอยู่อย่างนั้น เกิดอัศจรรย์และแปลกใจ คิดว่า

" ชื่ออย่างไรกัน ? เมื่อสรีระทั้งสิ้นถูกเผาอยู่บนฟืนเท่านี้ ทารกไม่ไหม้

แล้ว, จักมีเหตุอะไรกันหนอ ?" จึงอุ้มเด็กนั้นนำไปภายในบ้านแล้ว

ถามพวกหมอทายนิมิต. พวกหมอทายนิมิตพูดว่า "ถ้าทารกนี้ จักอยู่

ครองเรือน. พวกญาติคลอด ๗ เครือสกุล จักไม่ยากจน; ถ้าจักบวช,

จักเป็นผู้อันสมณะ ๕๐๐ รูปแวดล้อมเที่ยวไป." พวกญาติขนานนามว่า

สังกิจจะ เพราะหางตาของเขาแตกด้วยขอเหล็ก.

สมัยอื่น เด็กนั้นปรากฏว่า "สังกิจจะ." ครั้งนั้น พวกญาติ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 467

เลี้ยงเขาไว้ ด้วยปรึกษากันว่า "ช่างเถิด, ในเวลาที่เขาเติบโตแล้วพวก

เราจะให้เขาบวชในสำนักพระสารีบุตรผู้เป็นเจ้าของเรา. ในเวลาที่ตน

มีอายุได้ ๗ ขวบ สังกิจจะนั้นได้ยินคำพูดของพวกเด็ก ๆ ว่า "ในเวลา

ที่เจ้าอยู่ในท้อง มารดาของเจ้าได้กระทำกาละแล้ว, เมื่อสรีระมารดาของ

เจ้านั้นแม้ถูกเผาอยู่ เจ้าก็ไม่ไหม้" จึงบอกแก่พวกญาติว่า "เขาว่า

ฉันพ้นภัยเห็นปานนั้น, ประโยชน์อะไรของฉันด้วยเรือน. ฉันจักบวช."

ญาติเหล่านั้นรับว่า " ดีละพ่อ" แล้วนำไปยังสำนักพระสารีบุตรเถระ

ได้ถวายด้วยกล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงให้เด็กนี้บวช." พระเถระ

ให้ตจปัญจกกัมมัฏฐานแล้วก็ให้บวช. สามเณรนั้นบรรลุพระอรหัตพร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทา ในเวลาปลงผมเสร็จนั่นเอง, ชื่อว่าสังกิจจสามเณรเพียง

เท่านี้.

รับสั่งให้ภิกษุไปลาพระสารีบุตร

พระศาสดาทรงทราบว่า "เมื่อสามเณรนี้ไปแล้ว ภัยนั้นจักระงับ,

เมื่อเป็นเช่นนั้น กิจแห่งบรรพชิตของภิกษุเหล่านั้น จักถึงความบริบูรณ์"

ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงอำลาสารีบุตรพี่ชาย

ของพวกเธอแล้วจึงไป." ภิกษุเหล่านั้น รับว่า "ดีละ" แล้วไปยัง

สำนักของพระเถระ เมื่อพระเถระถามว่า "อะไร ? ผู้มีอายุ" จึงกล่าว

ว่า "พวกกระผมเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้ว มีประสงค์จะ

เข้าไปป่าจึงทูลอำลา, เมื่อเป็นเช่นนั้น พระศาสดาจึงตรัสอย่างนี้แก่พวก

กระผมว่า 'พวกเธออำลาพี่ชายของพวกเธอแล้วจึงไป,' ด้วยเหตุนั้น

พวกกระผมจึงมาในที่นี้."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 468

พระเถระ คิดว่า "ภิกษุเหล่านี้ จักเป็นผู้ที่พระศาสดาทรงเห็น

เหตุอย่างหนึ่งแล้วส่งมาที่นี่, นี่อะไรกันหนอแล ? รู้เรื่องนั้นแล้ว จึง

กล่าวว่า "ผู้มีอายุ ก็สามเณรของพวกท่านมีหรือ ?"

พวกภิกษุ. ไม่มี ท่านผู้มีอายุ.

พระเถระ. ถ้าไม่มี, พวกท่านจงพาสังกิจจสามเณรนี้ไป.

พวกภิกษุ. อย่าเลย ท่านผู้มีอายุ. เพราะอาศัยสามเณร ความ

กังวลจักมีแก่พวกกระผม, ประโยชน์อะไรด้วยสามเณร สำหรับพวก

ภิกษุผู้ที่อยู่ในป่า.

พระเถระ. ท่านผู้มีอายุ เพราะอาศัยสามเณรนี้ ความกังวลจัก

ไม่มีแก่พวกท่าน, ก็แต่ว่าเพราะอาศัยพวกท่าน ความกังวลจักมีแก่

สามเณรนี้, ถึงพระศาสดาเมื่อจะทรงส่งพวกท่านมายังสำนักเรา ทรง

หวังจะส่งสามเณรไปกับพวกท่านจึงทรงส่งมา, พวกท่านจงพาสามเณรนี้

ไปเถิด.

ภิกษุ ๓๐ รูปไปทำสมณธรรม

ภิกษุเหล่านั้นรับว่า "ดีละ" รวมเป็น ๓๑ รูปพร้อมทั้งสามเณร

อำลาพระเถระออกจากวิหารเที่ยวจาริกไป บรรลุถึงบ้านหนึ่ง ซึ่งมี

พันสกุลในที่สุด ๑๒๐ โยชน์. พวกมนุษย์เห็นภิกษุเหล่านั้นมีจิตเลื่อมใส

อังคาสโดยเคารพแล้ว ถามว่า "ท่านเจ้าข้า พวกท่านจะไปไหน ?"

เมื่อภิกษุเหล่านั้นตอบว่า "จะไปตามสถานที่ผาสุก ผู้มีอายุ" จึงหมอบลง

แทบเท้าอ้อนวอนว่า "ท่านเจ้าข้า เมื่อพวกพระผู้เป็นเจ้าอาศัยบ้านนี้

อยู่ตลอดภายในพรรษา, พวกกระผมจะสมาทานศีลห้าทำอุโบสถกรรม."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 469

พระเถระทั้งหลายรับแล้ว. ครั้งนั้น พวกภิกษุจัดแจงที่พักกลางคืน

ที่พักกลางวัน ที่จงกรมและบรรณศาลา ถึงความอุตสาหะว่า "วันนี้

พวกเรา, พรุ่งนี้ พวกเรา" ได้ทำการบำรุงภิกษุเหล่านั้น.

พวกภิกษุตั้งกติกากันอยู่จำพรรษา

ในวันเข้าจำพรรษา พระเถระทั้งหลายทำกติกวัตรกันว่า "ผู้มี

อายุ พวกเราเรียนกัมมัฏฐาน ในสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้ยังทรงพระ-

ชนม์อยู่, แต่เว้นความถึงพร้อมด้วยข้อปฏิบัติ พวกเราไม่อาจยังพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลายให้ยินดีได้, อนึ่ง ประตูอบายก็เปิดแล้วสำหรับพวกเรา

ทีเดียว, เพราะฉะนั้น เว้นเวลาภิกษาจารในตอนเช้า และเวลาบำรุง

พระเถระตอนเย็น ในกาลที่เหลือ พวกเราจักไม่อยู่ในที่แห่งเดียวกัน ๒

รูป; ความไม่ผาสุกจักมีแก่ท่านผู้ใด, เมื่อท่านผู้นั้นตีระฆัง, พวกเรา

จักไปสำนักท่านผู้นั้น ทำยา; ในส่วนกลางคืนหรือส่วนกลางวันอื่นจากนี้

พวกเราจักไม่ประมาทประกอบกัมมัฏฐานเนือง ๆ."

ทุคตบุรุษมาอาศัยอยู่กับพวกภิกษุ

เมื่อภิกษุเหล่านั้น ครั้นทำกติกาอย่างนั้นอยู่. บุรุษเข็ญใจคนหนึ่ง

อาศัยธิดาเป็นอยู่, เมื่อทุพภิกขภัยเกิดขึ้นในที่นั้น, มีความประสงค์จะอาศัย

ธิดาคนอื่นเป็นอยู่ จึงเดินทางไป, แม้พระเถระทั้งหลายเที่ยวไปบิณฑบาต

ในบ้าน มาถึงที่อยู่ อาบน้ำในแม่น้ำแห่งหนึ่งในระหว่างทางนั่งบน

หาดทราย ทำภัตกิจ. ในขณะนั้น บุรุษนั้นถึงที่นั้นแล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่สุด

ส่วนข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระเถระทั้งหลายถามเขาว่า "จะไปไหน ?"

บุรุษนั้นบอกเนื้อความนั้นแล้ว. พระเถระทั้งหลายเกิดความกรุณาในบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 470

นั้น จึงกล่าวว่า "อุบาสก ท่านหิวจัด, จงไป, นำใบไม้มา, พวกเรา

จักให้ก้อนภัตแก่ท่านรูปละก้อน" เมื่อเขานำใบไม้มาแล้ว; จึงคลุกด้วย

แกงและกับ โดยทำนองที่จะฉันด้วยตน ๆ ได้ให้ก้อนภัตรูปละก้อน.

ทราบว่า ธรรมเนียมมีดังนี้ ภิกษุผู้จะให้ภัตแก่ผู้มาถึงในเวลาฉัน ไม่

ให้ภัตตอนยอด พึงให้น้อยบ้าง มากบ้าง โดยทำนองที่จะฉันด้วยตน

นั้นแล; เพราะฉะนั้น ภิกษุแม้เหล่านั้น จึงได้ให้อย่างนั้น. บุรุษนั้นทำ

ภัตกิจแล้วไหว้พระเถระทั้งหลาย ถามว่า "ท่านขอรับ พวกพระผู้เป็นเจ้า

ใคร ๆ นิมนต์ไว้หรือ ?"

พวกภิกษุ. ไม่มีการนิมนต์ดอก อุบาสก, พวกมนุษย์ถวายอาหาร

เช่นนี้แหละทุกวัน ๆ.

ทุคตบุรุษคิดว่า "เราแม้ขยันขันแข็งทำงานตลอดกาลเป็นนิตย์

ก็ไม่อาจได้อาหารเช่นนั้น, ประโยชน์อะไรของเราด้วยการไปที่อื่น, เรา

จักเป็นอยู่ในสำนักของภิกษุเหล่านี้นี่แหละ." ลำดับนั้น จึงกล่าวกะภิกษุ

เหล่านี้ว่า "กระผมปรารถนาจะทำวัตรปฏิบัติอยู่ในสำนักของพวกพระผู้-

เป็นเจ้า."

พวกภิกษุ. ดีละ อุบาสก.

ทุคตบุรุษหนีพวกภิกษุไปเยี่ยมธิดา

เขาไปที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้นกับภิกษุเหล่านั้น ทำวัตรปฏิบัติเป็น

อันดี ยังพวกภิกษุให้รักใคร่อย่างยิ่ง โดยล่วงไป ๒ เดือน ปรารถนาจะ

ไปเยี่ยมธิดา คิดว่า "ถ้าเราจักอำลาพวกพระผู้เป็นเจ้า, พระผู้เป็นเจ้า

๑. อนามัฏฐบิณฑบาต ภิกษุละเมิดธรรมเนียมนี้ ท่านปรับอาบัติทุกกฏ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 471

ทั้งหลาย จักไม่ปล่อยเรา, เราจักไม่อำลาไปละ" ดังนี้แล้ว ก็ไม่บอก

แก่ภิกษุเหล่านั้นเลยออกไปแล้ว. ทราบว่า ข้อที่เขาไม่บอกพวกภิกษุ

หลีกไปเท่านั้น ได้เป็นความพลั้งพลาดอย่างขนาดใหญ่, ก็ในหนทางไป

ของบุรุษนั้น มีดงอยู่แห่งหนึ่ง. วันที่ ๗ เป็นวันของโจร ๕๐๐ คน

ผู้ทำการบนบานเทวดาว่า " ผู้ใดจักเข้าสู่ดงนี้, พวกเราจักฆ่าผู้นั้นแล้ว

ทำพลีกรรมแด่ท่าน ด้วยเนื้อและเลือดของผู้นั้นแหละ" แล้วอยู่ในดง

นั้น.

เขาถูกโจรจับในกลางดง

เพราะฉะนั้น ในวันที่ ๗ หัวหน้าโจรขึ้นต้นไม้ตรวจดูพวกมนุษย์

เห็นบุรุษนั้นเดินมา จึงได้ให้สัญญาแก่พวกโจร. โจรเหล่านั้นรู้ความที่

บุรุษนั้นเข้าสู่กลางดง จึงล้อมจับเขา ทำการผูกอย่างมั่นคง สีไฟด้วยไม้

สีไฟ ขนฟืนมาก่อเป็นกองไฟใหญ่ เสี้ยมหลาวไว้. บุรุษนั้นเห็นกิริยา

ของโจรเหล่านั้น ถึงถามว่า "นาย ในที่นี้ ข้าพเจ้าไม่เห็นหมูและเนื้อ

เป็นต้นเลย, เหตุไร พวกท่านจึงทำหลาวนี้ ?"

พวกโจร. พวกเราจักฆ่าเจ้า ทำพลีกรรมแก่เทวดา ด้วยเนื้อและ

เลือดของเจ้า.

บุรุษนั้นถูกมรณภัยคุกคาม มิได้ติดถึงอุปการะนั้นของพวกภิกษุ

เมื่อจะรักษาชีวิตของตนอย่างเดียวเท่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้ว่า "นาย

ข้าพเจ้าเป็นคนกินเดน กินภัตที่เป็นเดนเติบโต, ขึ้นชื่อว่าคนกินเดน

เป็นคนกาลกิณี; ก็พวกพระผู้เป็นเจ้า แม้ออกบวชจากสกุลใดสกุลหนึ่ง

เป็นกษัตริย์ทีเดียว; ภิกษุ ๓๑ รูปอยู่ในที่โน้น พวกท่านจงฆ่าภิกษุ

เหล่านั้นแล้วทำกรรม, เทวดาของพวกท่านจักยินดี เป็นอย่างยิ่ง."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 472

พวกโจรไปจับภิกษุเพื่อทำพลีกรรม

พวกโจรฟังคำนั้นแล้วคิดว่า "คนนี้พูดดี, ประโยชน์อะไรด้วย

คนกาลกิณีนี้, พวกเราจักฆ่าพวกกษัตริย์ทำพลีกรรม" ดังนี้แล้ว

จึงกล่าวว่า "มาเถิด, จงแสดงที่อยู่ของภิกษุเหล่านั้น" แล้วให้เขา

นั่นแลเป็นผู้นำทาง ถึงที่นั้นแล้ว ไม่เห็นพวกภิกษุในท่านกลางวิหาร

จึงถามเขาว่า "พวกภิกษุไปไหน ?" เขารู้กติกวัตรของภิกษุเหล่านั้น

เพราะอยู่ถึง ๒ เดือน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า "พวกภิกษุนั่งอยู่ในที่พัก

กลางคืนและที่พักกลางวันของตน, จงตีระฆังนั่น, พวกภิกษุจักประชุม

กันด้วยเสียงระฆัง." หัวหน้าโจรตีระฆังแล้ว. พวกภิกษุได้ยินเสียงระฆัง

คิดว่า "ใครตีระฆังผิดเวลา, ความไม่ผาสุกจักมีแก่ใคร" ดังนี้แล้ว

จึงมานั่งบนแผ่นหินที่เขาแต่งตั้งไว้ โดยลำดับตรงกลางวิหาร พระสังฆ-

เถระแลดูพวกโจรแล้ว ถามว่า "อุบาสก ใครตีระฆังนี้." หัวหน้าโจร

ตอบว่า ข้าพเจ้าเองขอรับ."

พระสังฆเถระ. เพราะเหตุไร ?

หัวหน้าโจร. พวกข้าพเจ้าบนบานเทพยดาประจำดงไว้, จักจับ

ภิกษุรูปหนึ่งไป เพื่อต้องการทำพลีกรรมแก่เทวดานั้น.

พวกภิกษุยอมตัวให้โจรจับ

พระมหาเถระฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวกะพวกภิกษุว่า "ผู้มีอายุ

ธรรดากิจเกิดแก่พวกน้อง ๆ ผู้เป็นพี่ชายต้องช่วยเหลือ, ผมจักสละชีวิต

ของตนเพื่อพวกท่าน ไปกับโจรเหล่านี้, ข้ออันตรายจงอย่ามีแก่ทุก ๆ

ท่าน, พวกท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาททำสมณธรรมเถิด." พระอนุเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 473

กล่าวว่า "ท่านขอรับ ธรรมดากิจของพี่ชายย่อมเป็นภาระของน้องชาย,

กระผมจักไป, ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด." โดยอุบายนี้

ชนแม้ทั้ง ๓๐ ลุกขึ้นพูดเป็นลำดับว่า "ผมเอง ผมเอง." ด้วยประการ

ฉะนี้ ภิกษุทั้งหมดไม่เป็นบุตรของมารดาเดียวกันเลย. ไม่เป็นบุตรของ

บิดาเดียวกัน, ทั้งยังไม่สิ้นราคะ, แต่กระนั้นก็ยอมเสียสละชีวิตตามลำดับ

เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุที่เหลือ; บรรดาภิกษุเหล่านั้น แม้ภิกษุรูปหนึ่ง

ชื่อว่าสามารถกล่าวว่า "ท่านไปเถิด" มิได้มีเลย.

สังกิจจสามเณรยอมมอบตัวให้แก่โจร

สังกิจจสามเณรได้ฟังคำของภิกษุเหล่านั้น จึงกล่าวว่า "หยุด

เถิด ท่านขอรับ, กระผมจักสละชีวิตเพื่อพวกท่านไปเอง."

พวกภิกษุ. ผู้มีอายุ เราทั้งหมดแม้จักถูกฆ่ารวมกัน ก็จักไม่ยอม

สละเธอผู้เดียว.

สามเณร. เพราะเหตุไร ? ขอรับ.

พวกภิกษุ. ผู้มีอายุ เธอเป็นสามเณรของพระธรรมเสนาบดี

สารีบุตรเถระ, ถ้าเราจักสละเธอ, พระเถระจักติว่า 'พวกภิกษุพา

สามเณรของเราไปมอบให้แก่พวกโจร,' เราไม่อาจจะสลัดคำติเตียนนั้น

ได้ ด้วยเหตุนั้น เราจักไม่สละเธอ.

สามเณร. ท่านขอรับ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงส่งพวกท่านไปยัง

สำนักพระอุปัชฌายะของกระผมก็ดี, พระอุปัชฌายะของกระผม ส่ง

กระผมมากับพวกท่านก็ดี. ได้ทรงเห็นเหตุอันนี้แล้วทั้งนั้น จึงส่งมา,

หยุดเถิด ขอรับ, กระผมนี่แหละจักไปเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 474

สามเณรนั้นไหว้ภิกษุทั้ง ๓๐ รูปแล้ว กล่าวว่า "ท่านขอรับ

ถ้าโทษของกระผมมีอยู่, ขอท่านจงอดโทษ" ดังนี้ แล้วก็ออกไป.

ความสลดใจอย่างใหญ่เกิดขึ้นแก่พวกภิกษุแล้ว, ตาเต็มไปด้วยน้ำตา,

เนื้อหัวใจสิ้นแล้ว. พระมหาเถระพูดกะพวกโจรว่า "อุบาสก เด็กนี้เห็น

พวกท่านก่อไฟ เสี้ยมหลาว ลาดใบไม้จักกลัว, ท่านทั้งหลายพักสามเณร

นี้ไว้ในที่ส่วนหนึ่ง พึงทำกิจเหล่านั้น." พวกโจรพาสามเณรไปพักไว้ใน

ที่ส่วนหนึ่ง แล้วทำกิจทั้งปวง.

นายโจรลงมือฆ่าสามเณร

ในเวลาเสร็จกิจ หัวหน้าโจรชักดาบเดินเข้าไปหาสามเณร. สามเณร

เมื่อนั่ง นั่งเข้าฌานมั่น, หัวหน้าโจรแกว่งดาบฟันลงที่คอสามเณร.

ดาบงอเอาคมกระทบคม. หัวหน้าโจรนั้นสำคัญว่า "เราประหารไม่ดี"

จึงดัดดาบนั้นให้ตรงแล้วประหารอีก. ดาบเป็นดังใบตาลที่ม้วน ได้ร่นถึง

โคนดาบ. แท้จริง บุคคลแม้จะเอาภูเขาสิเนรุทับสามเณรในเวลานั้น

ชื่อว่าสามารถจะให้สามเณรตายไม่มีเลย, จะป่วยกล่าวไปไยถึงว่าจะเอา

ดาบฟันให้ตาย. หัวหน้าโจรเห็นปาฏิหาริย์นั้นแล้วคิดว่า "เมื่อก่อนดาบ

ของเรา ย่อมตัดเสาหินหรือตอไม้ตะเคียนเหมือนหยวกกล้วย, บัดนี้ ดาบ

ของเรางอคราวหนึ่ง อีกคราวหนึ่งเกิดเป็นดังใบตาลม้วน; ดาบชื่อนี้

แม้ไม่มีเจตนา ยังรู้คุณของสามเณรนี้, เรามีเจตนายังไม่รู้.

นายโจรเลื่อนใสในปาฏิหาริย์ของสามเณร

นายโจรนั้นทิ้งดาบลงที่ฟันดิน เอาอกหมอบแทบใกล้เท้าของ

สามเณร แม้จะถามว่า "ท่านเจ้าข้า พวกผมเข้ามาในดงนี้ เพราะเหตุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 475

ต้องการทรัพย์. บุรุษแม้มีประมาณพันคน เห็นพวกเราแต่ที่ไกลเทียว

ยังสั่น, ไม่อาจพูด ๒ - ๓ คำได้, ส่วนสำหรับท่านแม้เพียงความหวาด

สะดุ้งแห่งจิตก็มิได้มี, หน้าของท่านผ่องใสดังทองคำในปากเบ้า และ

ดังดอกกรรณิการ์ที่บานดี; เหตุอะไรกันหนอ ?" จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

"ความหวาดเสียวไม่มีแก่ท่าน, ความกลัวก็

ไม่มี, วรรณะผ่องใสยิ่งนัก, เหตุไร ท่านจึงไม่

คร่ำครวญ ในเพราะภัยใหญ่หลวงเห็นปานนี้เล่า ?"

สามเณรออกจากฌาน เมื่อจะแสดงธรรมแก่หัวหน้าโจรนั้น จึง

กล่าวว่า "ท่านผู้เป็นนายบ้าน ขึ้นชื่อว่าอัตภาพของพระขีณาสพ ย่อม

เป็นเหมือนภาระ (ของหนัก) ซึ่งวางไว้บนศีรษะ, พระขีณาสพนั้น

เมื่ออัตภาพนั้นแตกไป ย่อมยินดีทีเดียว ย่อมไม่กลัวเลย" ดังนี้แล้ว

ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

"ท่านผู้เป็นนายบ้าน ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่

ท่านผู้ไม่มีความห่วงใย, ท่านผู้แสวงหาคุณ สิ้น

สัญโญชน์แล้ว ก้าวล่วงภัยทุกอย่างได้, ตัณหา

อันนำไปสู่ภพของพระขีณาสพนั้นสิ้นแล้ว, ท่านเห็น

ธรรมแล้วตามเป็นจริง หรือโดยถ่องแท้, ความตาย

[ของท่าน] หมดภัยดังปลงภาระลงฉะนั้น."

นายโจรขอบรรพชากะสามเณร

หัวหน้าโจรนั้นฟังคำสามเณรนั้นแล้ว แลดูโจร ๕๐๐ คนพูดว่า

" พวกท่านจักทำอย่างไร ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 476

พวกโจร. ก็ท่านเหล่า ? นาย.

นายโจร. กิจในท่ามกลางเรือนของฉันไม่มี เพราะเห็นปาฏิหาริย์

เห็นปานนี้ก่อน, ฉันจักบวชในสำนักพระผู้เป็นเจ้า.

พวกโจร. แม้เราจักทำอย่างนั้นเหมือนกัน.

นายโจร. ดีละ พ่อ.

ลำดับนั้น โจรทั้ง ๕๐๐ คนไหว้สามเณรแล้วจึงขอบรรพชา.

สามเณรนั้นตัดผมและชายผ้าด้วยคมดาบของโจรเหล่านั้นเอง ย้อมด้วย

ดินแดง ให้ครองผ้ากาสายะเหล่านั้น ให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ เมื่อพา

สามเณรเหล่านั้นไป คิดว่า "ถ้าเราจักไม่เยี่ยมพระเถระทั้งหลายไปเสีย,

พระเถระเหล่านั้นจักไม่อาจทำสมณธรรมได้, จำเดิมแต่กาลที่พวกโจรจับ

เราออกไป บรรดาพระเถระเหล่านั้น แม้รูปหนึ่งก็มิได้อาจอดกลั้นน้ำตา

ไว้ได้, เมื่อพระเถระเหล่านั้น คิดอยู่ว่า 'สามเณรถูกโจรฆ่าตายแล้ว

หรือยังหนอ' กัมมัฏฐาน จักไม่มุ่งหน้าได้;๑ เพราะฉะนั้น เราเยี่ยม

ท่านแล้วนั้นแหละ จึงจักไป."

สามเณรกลับไปเยี่ยมพวกภิกษุ

สามเณรนั้นมีสามเณร ๕๐๐ รูปเป็นบริวารไปในที่นั้น, เมื่อภิกษุ

เหล่านั้นกลับได้ความเบาใจเพราะเห็นตนแล้ว กล่าวว่า "สังกิจจะผู้

สัตบุรุษ เธอได้ชีวิตแล้วหรือ ?" จึงตอบว่า "อย่างนั้นขอรับ, โจร

เหล่านี้ใคร่จะฆ่ากระผมให้ตาย ก็ไม่อาจฆ่าได้ เลื่อมใสในคุณธรรมของ

กระผม ฟังธรรมแล้วบวช: กระผมมาด้วยหวังว่า 'เยี่ยมท่านแล้วจัก

๑. ถือเอาความว่า ไม่เป็นอันตั้งหน้าทำกัมมัฏฐานได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 477

ไป,' ขอท่านจงเป็นผู้ไม่ประมาททำสมณธรรมเถิด, กระผมจักไปสำนัก

พระศาสดา" แล้วไหว้ภิกษุเหล่านั้น พาสามเณรนอกนี้ไปยังสำนัก

พระอุปัชฌายะ, เมื่อท่านถามว่า "สังกิจจะ เธอได้อันเตวาสิกแล้ว

หรือ ?" จึงตอบว่า "ถูกแล้ว ขอรับ" ดังนี้แล้วก็เล่าเรื่องนั้น, ก็

เมื่อพระเถระกล่าวว่า 'สังกิจจะ เธอจงไป, เฝ้าเยี่ยมพระศาสดา,' เธอ

รับว่า "ดีละ" แล้วไหว้พระเถระพาสามเณรเหล่านั้นไปยิ่งสำนักพระ-

ศาสดา, แม้เมื่อพระศาสดาตรัสถามว่า "สังกิจจะ เธอได้อันเตวาสิก

แล้วหรือ ?" จึงกราบทูลเรื่องนั้น

ผู้มีศีลประเสริฐกว่าผู้ทุศีล

พระศาสดาตรัสถามว่า "ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ? ภิกษุทั้งหลาย,"

เมื่อพวกภิกษุทูลรับว่า "อย่างนั้น พระเจ้าข้า" จึงตรัสว่า "ความ

ตั้งอยู่ในศีลแล้วเป็นอยู่แม้วันเดียวในบัดนี้ ประเสริฐกว่าการที่ท่านทำ

โจรกรรมตั้งอยู่ในทุศีลเป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี" ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบ

อนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๙. โย จ วสฺสสต ชีเว ทุกสฺสีโล อสมาหิโต

เอกาห ชีวิต เสยฺโย สีลวนฺตสฺส ฌายิโน.

"ก็ผู้ใดทุศีล มีใจไม่ตั้งมั่น พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี,

ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีศีล มีฌาน ประเสริฐ

ว่า (ความเป็นอยู่ของผู้นั้น)."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 478

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุสฺสีโล คือ ไม่มีศีล.

บทว่า สีลวนฺตสฺส ความว่า ความเป็นอยู่แม้วันเดียว คือ

แม้ครู่เดียวของผู้มีศีล มีฌาน ด้วยฌาน ๒ ประการ ประเสริฐ คือ

สูงสุดกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปีของผู้ทุศีล.

ในเวลาจบเทศนา ภิกษุแม้ ๕๐๐ นั้นบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย, ธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้ประชุม

กัน.

ประวัติอธิมุตตกสามเณร

โดยสมัยอื่นอีก สังกิจจะได้อุปสมบทแล้วมีพรรษา ๑๐ จึงรับ

สามเณรไว้. ก็สามเณรนั้นเป็นหลานของท่านเอง ชื่ออธิมุตตกสามเณร.

ครั้งนั้น พระเถระเรียกสามเณรนั้นมาในเวลามีอายุครบส่งไปด้วยคำว่า

" เราจักทำการอุปสมบทเธอ, จงไป, ถามจำนวนอายุในสำนักพวกญาติ

แล้วจงมา." อธิมุตตกสามเณรนั้น เมื่อไปสำนักของมารดาบิดา ถูก

พวกโจร ๕๐๐ คนจะฆ่าให้ตายเพื่อต้องการทำพลีกรรมในระหว่างทาง

แสดงธรรมแก่โจรเหล่านั้นเป็นผู้อันพวกโจรมีจิตเลื่อมใส ปล่อยไปด้วย

คำว่า "ท่านไม่พึงบอกความที่พวกผมมีอยู่ในที่นี้แก่ใคร ๆ" เห็นมารดา

บิดาเดินสวนทางมาก็รักษาสัจจะไม่บอกแก่มารดาบิดาเหล่านั้น แม้เดินไป

ทางนั้นนั่นแหละ. เมื่อมารดาบิดานั้นถูกพวกโจรเบียดเบียน คร่ำครวญ

พูดว่า "ชะรอยว่าแม้ท่านก็เป็นพวกเดียวกันกับพวกโจรจึงไม่บอกแก่เรา"

โจรเหล่านั้นได้ยินเสียงแล้ว รู้ความที่สามเณรไม่บอกแก่มารดาบิดา ก็มีจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 479

เลื่อมใส ขอบรรพชา. แม้อธิมุตตกสามเณรนั้นก็ยังโจรเหล่านั้นทั้งหมด

ให้บวชแล้ว เหมือนสังกิจจสามเณร นำมายังสำนักพระอุปัชฌาย์ ผู้อัน

พระอุปัชฌาย์นั้นส่งไปยังสำนักพระศาสดา พาภิกษุเหล่านั้นไป กราบทูล

เรื่องนั้นแด่พระศาสดาแล้ว. พระศาสดาตรัสถามว่า "เขาว่าอย่างนั้นหรือ ?

ภิกษุทั้งหลาย" เมื่อพวกภิกษุทูลว่า "ถูกแล้วพระเจ้าข้า" เมื่อจะทรง

สืบอนุสนธิแสดงธรรมโดยนัยก่อนนั้นแล จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

"ก็ผู้ใดทุศีล มีใจไม่ตั้งมั่น พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี,

ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีศีล มีฌาน ประเสริฐ

ว่า [ความเป็นอยู่ของผู้นั้น]."

(ชื่อเรื่องอธิมุตตกสามเณร) แม้นี้ ข้าพเจ้าก่กล่าวไว้แล้วด้วย

พระคาถานี้เหมือนกัน.

เรื่องสังกิจจสามเณร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 480

๑๐. เรื่องพระขานุโกณฑัญญเถระ [๙๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระขานุ-

โกณฑัญญเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย จ สฺสสต ชีเว "

เป็นต้น.

พระเถระนั่งเข้าฌาน โจรเอาห่อของทับไม่รู้สึก

ได้ยินว่า พระเถระนั้นเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาอยู่ในป่า

บรรลุพระอรหัตแล้วคิดว่า "จักทูลพระศาสดา" เมื่อมาจากที่นั้นเหน็ด

เหนื่อยในระหว่างทาง แวะจากทางนั่งเข้าฌานบนศิลาดาดแห่งหนึ่ง.

ครั้งนั้น โจร ๕๐๐ คนปล้นบ้านแห่งหนึ่งแล้วผูกห่อสิ่งของตามสมควร

แก่กาลังของตน เอาศีรษะเทินเดินไป ครั้นเดินไปไกลก็เหน็ดเหนื่อย

คิดว่า 'เรามาไกลแล้ว, จักพักเหนื่อยบนศิลาดาดนี้' แวะจากทางไปยัง

ที่ใกล้ศิลาดาด แม้เห็นพระเถระแล้วก็มีความสำคัญว่า "นี่เป็นตอไม้."

ลำดับนั้น โจรคนหนึ่งวางห่อสิ่งของลงบนศีรษะพระเถระ. โจรคนอื่น ๆ

ก็วางห่อสิ่งของพิงพระเถระนั้น. ด้วยประการฉะนี้ โจรแม้ทัง ๕๐๐ คน

เอาห่อสิ่งของ ๕๐๐ ห่อล้อมรอบพระเถระ แม้ตนเองก็นอนหลับ ตื่น

ในเวลาอรุณขึ้น คว้าห่อของตน ๆ ได้เห็นพระเถระก็เริ่มจะหนีไป ด้วย

สำคัญว่า "เป็นอมนุษย์."

ทันใดนั้น พระเถระกล่าวกะพวกโจรนั้นว่า "อย่ากลัวเลยอุบาสก,

๑. ปิฏิปาสาเณ บนแผ่นหินมีหลัง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 481

ฉันเป็นบรรพชิต." โจรเหล่านั้นหมอบลงที่ใกล้เท้าพระเถระ ให้พระเถระ

อดโทษด้วยคำว่า " โปรดอดโทษเถิด ขอรับ. พวกกระผมได้สำคัญว่า

ตอไม้," เมื่อหัวหน้าโจรบอกว่า "เราจักบวชในสำนักพระผู้เป็นเจ้า,"

พวกโจรที่เหลือก็กล่าวว่า "แม้พวกเราก็จักบวช" มีฉันทะเป็นอันเดียวกัน

ทั้งหมดเทียว ขอบรรพชากะพระเถระ. พระเถระให้โจรเหล่านั้นทั้งหมด

บวช ดุจสังกิจจสามเณร. จำเดิมแต่นั้น พระเถระปรากฏชื่อว่า "ขานุ-

โกณฑัญญะ." ท่านไปสำนักพระศาสดาพร้อมด้วยภิกษุเหล่านั้น, เมื่อ

พระศาสดาตรัสถามว่า โกณฑัญญะ เธอได้อันเตวาสิกแล้วหรือ ? จึง

กราบทูลเรื่องนั้น.

คนมีปัญญาดีกว่าคนทรามปัญหา

พระศาสดาตรัสถามว่า "เขาว่าอย่างนั้นหรือ ? ภิกษุทั้งหลาย"

เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า " ถูกแล้ว พระเจ้าข้า, พวกข้าพระองค์

ไม่เคยเห็นอานุภาพเห็นปานนั้นของผู้อื่นเลย, ด้วยเหตุนั้น พวกข้าพระองค์

จึงบวช," จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นอยู่แม้วันเดียวของพวก

เธอ ผู้ประพฤติในปัญญาสัมปทาในบัดนี้ ประเสริฐกว่าความตั้งอยู่ใน

กรรมของผู้มีปัญญาทรามเห็นปานนั้น เป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี" ดังนี้แล้ว

เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๐. โย จ วสฺสสต ชีเว ทุปฺปญฺโ อสมาหิโต

เอกาห ชีวิต เสยฺโย ปญฺวนฺตสฺส ณายิโน.

"ก็ผู้ใดมีปัญญาทราม มีใจไม่ตั้งมั่น พึงเป็น

อยู่ ๑๐๐ ปี, ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้มีปัญญา มี

ฌาน ประเสริฐกว่า [ความเป็นอยู่ของผู้นั้น]."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 482

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุปฺปญฺโ ความว่า ผู้ไร้ปัญญา

บทว่า ปญฺวนฺตสฺส ความว่า ผู้เป็นไปกับด้วยปัญญา. คำที่

เหลือเช่นเดียวกับคำมีในก่อนนั่นแล.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุแม้ ๕๐๐ รูป บรรลุพระอรหัต พร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว, พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนผู้

ประชุมกัน ดังนี้แล.

เรื่องพระขานุโกณฑัญญเถระจบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 483

๑๑. เรื่องพระสัปปทาสเถระ [๙๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสัปปทาส-

เถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย จ วสฺสสต ชีเว" เป็นต้น.

พระเถระให้งูกัดตัว

ดังได้สดับมา กุลบุตรผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี ฟังพระธรรมเทศนา

ของพระศาสดาแล้ว บรรพชาได้อุปสมบทแล้ว โดยสมัยอื่นอีก กระสันขึ้น

จึงคิดว่า "ชื่อว่าภาวะแห่งคฤหัสถ์ ไม่ควรแก่กุลบุตรเช่นเรา. แม้การ

ดำรงอยู่ในบรรพชาแล้วตายไป เป็นความดีของเรา" ดังนี้แล้ว ก็เที่ยว

คำนึงหาอุบายเพื่อมรณะของตนอยู่.

ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายสรงน้ำแต่เช้าตรู่ ทำภัตกิจเสร็จแล้ว

ไปสู่วิหาร เห็นงูที่โรงไฟ จึงใส่งูนั้นไว้ในหม้อใบหนึ่งปิดหม้อแล้วถือ

ออกจากวิหาร. ฝ่ายภิกษุผู้กระสัน ทำภัตกิจแล้วเดินมาเห็นภิกษุเหล่านั้น

จึงถามว่า "นี่อะไร ? ผู้มีอายุ" เมื่อพวกภิกษุตอบว่า "งู ผู้มีอายุ"

จึงถามว่า "จักทำอะไรด้วยงูนี้ ?" ฟังคำของภิกษุเหล่านั้นว่า "เราจัก

ทิ้งมัน" คิดว่า "เราจักให้งูนี้กัดตัวตายเสีย" จึงกล่าวว่า "นำมาเถิด,

กระผมจักทิ้งมันเอง" รับหม้อจากมือของภิกษุเหล่านั้นแล้ว นิ่งอยู่ในที่

แห่งหนึ่งแล้ว ก็ให้งูนั้นกัดตน. งูไม่ปรารถนาจะกัด. ภิกษุนั้นเอามือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 484

ล้วงลงในหม้อแล้ว คนข้างโน้นข้างนี้, เปิดปากงูแล้วสอดนิ้วมือเข้าไป.

งูก็ไม่กัดเธอเลย. เธอคิดว่า "งูนี้มิใช่งูมีพิษ, เป็นงูเรือน" จึงทิ้งงูนั้น

แล้วได้ไปยังวิหาร.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะเธอว่า "ผู้มีอายุ ท่านทิ้งงูแล้ว

หรือ ?"

ภิกษุกระสัน . ผู้มีอายุ นั้นจะไม่ใช่งู (พิษ), นั่นเป็นงูเรือน.

ภิกษุ. ผู้มีอายุ งู (พิษ) ทีเดียว แผ่แม่เบี้ยใหญ่ ขู่ฟู่ฟู่ พวก

ผมจับได้โดยยาก, เพราะเหตุไร ท่านจึงว่าอย่างนี้ ?

ภิกษุกระสัน. ผู้มีอายุ ผมให้มันกัดอวัยวะบ้าง สอดนิ้วมือเข้าใน

ปากบ้าง ก็ไม่อาจให้มันกัดได้.

พวกภิกษุฟังคำนั้นแล้ว ได้นิ่งเสีย.

พระเถระบรรลุพระอรหัตแล้วมีชื่อว่าสัปปทาสะ

ภายหลังวันหนึ่ง ช่างกัลบกถือมีดโกน ๒-๓ เล่ม ไปวิหาร

วางมีดโกนเล่มหนึ่งไว้ที่พื้น เอาเล่มหนึ่งปลงผมของภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุ

กระสันนั้น จับมีดโกนเล่มที่เขาวางไว้ที่พื้นแล้ว คิดว่า "จักตัดคอด้วย

มีดโกนนี้ตาย" จึงยืนพาดคอไว้ที่ต้นไม้ต้นหนึ่งแล้ว จ่อคมมีดโกนที่

ก้านคอ ใคร่ครวญถึงศีลของตน จำเดิมแต่กาลอุปสมบท ได้เห็นศีล

หมดมลทิน ดังดวงจันทร์ปราศจากมลทิน และดังดวงแก้วมณีที่ขัดดี. เมื่อ

เธอตรวจดูศีลนั้นอยู่, ปีติเกิดแผ่ซ่านทั่วทั้งสรีระ. เธอข่มปีติได้แล้ว

เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย จึงถือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 485

มีดโกนเข้าไปท่ามกลางวิหาร. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย ถามเธอว่า

" ผู้มีอายุ ท่านไปไหน ?"

ภิกษุกระสัน. ผู้มีอายุ ผมไปด้วยคิดว่า 'จักเอามีดโกนนี้ตัด

ก้านคอตาย.'

ภิกษุ. เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ตาย ?

ภิกษุกระสัน. บัดนี้ ผมเป็นผู้ไม่ควรนำศัสตรามา, ด้วยว่าผมคิดว่า

'จักตัดก้านคอด้วยมีดโกนนี้, แต่ตัดกิเลสเสียสิ้นด้วยมีดโกนคือญาณ.'

พวกภิกษุกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ภิกษุนี้ พยากรณ์

พระอรหัตด้วยคำที่ไม่เป็นจริง." พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของภิกษุ

เหล่านั้น จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาพระขีณาสพย่อมไม่ปลงตน

จากชีวิตด้วยมือตนเอง."

ภิกษุ. พระเจ้าข้า พระองค์ตรัสภิกษุนี้ว่า 'เป็นพระขีณาสพ,'

ก็ภิกษุนี้ สมบูรณ์ด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตอย่างนั้น เหตุไรจึงกระสัน ?

อะไรเป็นเหตุแห่งอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของภิกษุนั้น; เหตุไรงูนั้นจึงไม่

กัดภิกษุนั้น.

พระศาสดา. "ภิกษุทั้งหลาย งูนั้นได้เป็นทาสของภิกษุนี้ในอัตภาพ

ที่ ๓ จากอัตภาพนี้ก่อน, มันไม่อาจจะกัดสรีระของผู้เป็นนายของตน

ได้."

พระศาสดาทรงบอกเหตุอย่างหนึ่งแก่ภิกษุเหล่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้ก่อน. ก็ตั้งแต่นั้นมา ภิกษุนั้นได้ชื่อว่าสัปปทาสะ.

๑. นี้เป็นสำนวน หมายความว่า ฆ่าตัวตาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 486

บุรพกรรมของพระสัปปทาสเถระ

ดังได้สดับมา ในกาลแห่งพระกัสสปพุทธเจ้า บุตรแห่งคฤหบดี

ผู้หนึ่ง ฟังธรรมของพระศาสดาแล้ว เกิดความสลดใจจึงบรรพชา ได้

อุปสมบทแล้ว. โดยสมัยอื่นอีก เมื่อความเบื่อหน่ายเกิดขึ้น, จึงบอกแก่

ภิกษุผู้สหายรูปหนึ่ง. สหายนั้น กล่าวโทษในภาวะแห่งคฤหัสถ์แก่เธอ

เนือง ๆ. ภิกษุนอกนี้ฟังคำนั้นแล้ว ก็ยินดียิ่งในพระศาสนา จึงนั่ง

ขัดสมณบริขารทั้งหลายซึ่งมลทินจับในเวลาที่หน่ายในก่อน ให้หมดมลทิน

ใกล้ขอบสระแห่งหนึ่ง. ฝ่ายสหายของภิกษุนั้นนั่งในที่ใกล้นั้นเอง. ลำดับ

นั้น ภิกษุนั้นกล่าวกะสหายนั้นอย่างนี้ว่า "ผู้มีอายุ ผมเมื่อสึก ได้

ปรารถนาจะถวายบริขารเหล่านี้แก่ท่าน." สหายนั้นเกิดโลภขึ้น คิดว่า

"เราจะต้องการอะไรด้วยภิกษุนี้ผู้ยังบวชหรือสึกเสีย, บัดนี้ เราจักยัง

บริขารทั้งหลายให้ฉิบหาย." ตั้งแต่นั้นมา สหายนั้นพูดเป็นต้นว่า "ผู้มี

อายุ บัดนี้จะประโยชน์อะไรด้วยชีวิตของพวกเรา ผู้ซึ่งมีมือถือกระเบื้อง

เที่ยวไปเพื่อก้อนข้าวในสกุลผู้อื่น ? (ทั้ง) ไม่ทำการสนทนาปราศรัย

กับบุตรและภรรยา" ดังนี้แล้ว ก็กล่าวคุณแห่งภาวะของคฤหัสถ์. ภิกษุ

นั้นฟังคำของสหายนั้นแล้ว ก็กระสันขึ้นอีก คิดว่า "สหายนี้เมื่อเรา

กล่าวว่า 'ผมกระสัน' ก็กล่าวโทษในภาวะแห่งคฤหัสถ์ก่อน บัดนี้

กล่าวถึงคุณเนือง ๆ, เหตุอะไรหนอแล ? รู้ว่า "เพราะความโลภใน

สมณบริขารเหล่านี้" จึงกลับจิตของตนเสียด้วยตนเองทีเดียว. เพราะ

ความที่ภิกษุรูปหนึ่งถูกตนทำให้กระสันแล้ว ในกาลแห่งพระกัสสป-

พุทธเจ้า บัดนี้ความเบื่อหน่ายจึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ก็สมณธรรมใดอันภิกษุนั้นบำเพ็ญมา ๒ หมื่นปีครั้งนั้น, สมณธรรมนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 487

เกิดเป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของภิกษุนั้น ในกาลบัดนี้แล.

ชีวิตของผู้ปรารภความเพียรวันเดียวประเสริฐ

ภิกษุเหล่านั้นฟังเนื้อความนี้จากสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทูล

ถามยิ่งขึ้นว่า "พระเจ้าข้า ได้ยินว่า ภิกษุนี้ยืนจดคมมีดโกนที่ก้านคออยู่

เทียวบรรลุพระอรหัต, พระอรหัตมรรคเกิดขึ้นได้โดยขณะเพียงเท่านั้น

หรือหนอแล ?"

พระศาสดาตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย, เมื่อภิกษุผู้ปรารภ

ความเพียร ยกเท้าขึ้นวางบนพื้น เมื่อเท้ายังไม่ทันถึงฟื้นเลย พระอรหัต-

มรรคก็ได้เกิดขึ้น; แท้จริง ความเป็นอยู่แม้เพียงชั่วขณะของท่านผู้ปรารภ

ความเพียร ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของบุคคลผู้เกียจคร้าน"

ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๑. โย จ วสฺสสต ชีเว กุสีโต หีนวีริโย

เอกาห ชีวิต เสยฺโย วีริย อารภโต ทฬฺห.

" ผู้ใดเกียจคร้านมีความเพียรอันทราม พึง

เป็นอยู่ ๑๐๐ ปี, ความเป็นอยู่วันเดียว ของท่านผู้

ปรารภความเพียรมั่น ประเสริฐกว่าชีวิต ของผู้นั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุสีโต ได้แก่ บุคคลผู้ยังเวลาให้ล่วง

ไปด้วยวิตก ๓ มีกามวิตกเป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 488

บทว่า หีนวีริโย คือไร้ความเพียร.

บาทพระคาถาว่า วีริย อารภโจ ทฬฺห ความว่า ผู้ปรารภ

ความเพียรมั่นคง ซึ่งสามารถยังฌาน ๒ ประการให้เกิด.

คำที่เหลือ เช่นเดียวกับคำมีในก่อนนั่นแล.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระสัปปทาสเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 489

๑๒. เรื่องนางปฏาจารา [๙๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระ-

ปฏาจาราเถรี ตรัสพระคาถานี้ว่า "โย จ วสฺสสต ชีเว" เป็นต้น.

ความรักไม่เลือกชั้นวรรณะ

ดังได้สดับมา นางปฏาจารานั้นได้เป็นธิดาของเศรษฐีผู้มีสมบัติ

๔๐ โกฏิในกรุงสาวัตถี มีรูปงาม. ในเวลานางมีอายุ ๑๖ ปี มารดา

บิดาเมื่อจะรักษา จึงให้นางอยู่บนชั้นบนปราสาท ๗ ชั้น. ถึงเมื่อเป็น

เช่นนั้น นางก็ยังสมคบกับคนรับใช้คนหนึ่งของตน. ครั้งนั้นมารดา

บิดาของนางยกให้แก่ชายหนุ่มคนหนึ่ง ในสกุลที่มีชาติเสมอกันแล้ว

กำหนดวันวิวาหะ. เมื่อวันวิวาหะนั้นใกล้เข้ามา, นางจึงพูดกะคนรับใช้

ผู้นั้นว่า "ได้ยินว่า มารดาบิดาจักยกฉันให้แก่สกุลโน้น, ในกาลที่ฉัน

ไปสู่สกุลผัว ท่านแม้ถือบรรณาการเพื่อฉันมาแล้ว ก็จักไม่ได้เข้าไปในที่

นั้น, ถ้าท่านมีความรักในฉัน, ก็จงพาฉันหนีไปโดยทางใดทางหนึ่งใน

บัดนี้นี้แล." คนรับใช้นั้นรับว่า " ดีละ นางผู้เจริญ" แล้วกล่าวว่า " ถ้า

อย่างนั้นฉันจักยืนอยู่ในที่ชื่อโน้นแห่งประตูเมืองแต่เวลาเช้าตรู่พรุ่งนี้,

หล่อนพึงออกไปด้วยอุบายอย่างหนึ่งแล้ว มาในที่นั้น" ในวันที่ ๒ ก็

ได้ยืนอยู่ในที่นัดหมายกันไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 490

นางปฏาจาราหนีไปกับคนใช้

ฝ่ายธิดาเศรษฐีนั้นนุ่งผ้าปอน ๆ สยายผม เอารำทาสรีระถือหม้อน้ำ

ออกจากเรือนเหมือนเดินไปกับพวกทาสี ได้ไปยังที่นั้นแต่เช้าตรู่. ชายคน

รับใช้นั้นพานางไปไกลแล้ว สำเร็จการอาศัยอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง ไถนา

ในป่าแล้ว ได้นำฟืนและผักเป็นต้นมา. ธิดาเศรษฐีนอกนี้เอาหม้อน้ำมา

แล้ว ทำกิจมีการคำข้าวและหุงต้นเป็นต้นด้วยมือตนเอง เสวยผลแห่ง

ความชั่วของตน. ครั้งนั้น สัตว์เกิดในครรภ์ตั้งขึ้นในท้องของนางแล้ว.

นางมีครรภ์แก่แล้วจึงอ้อนวอนสามีว่า "ใคร ๆ ผู้อุปการะของเราไม่มี

ในที่นี้, ธรรมดามารดาบิดา เป็นผู้มีใจอ่อนโยนในบุตรทั้งหลาย, ท่าน

จงนำฉันไปยังสำนักของท่านเถิด, ฉันจักคลอดบุตรในที่นั้น." สามีนั้น

คัดค้านว่า "นางผู้เจริญ เจ้าพูดอะไร ? มารดาบิดาของเจ้าเห็นฉันแล้ว

พึงทำกรรมกรณ์มีอย่างต่าง ๆ ฉันไม่อาจไปในที่นั้นได้." นางแม้อ้อนวอน

แล้ว ๆ เล่า ๆ เมื่อไม่ได้ความยินยอม ในเวลาที่สามีนั้นไปป่า จึงเรียก

คนผู้คุ้นเคยมาสั่งว่า "ถ้าเขามาไม่เห็นฉัน จักถามว่า 'ฉันไปไหน ?'

พวกท่านพึงบอกความที่ฉันไปสู่เรือนแห่งตระกูลของตน" ดังนี้แล้ว

ก็ปิดประตูเรือนหลีกไป.

ฝ่ายสามีนั้นมาแล้ว ไม่เห็นภรรยานั้นจึงถามคนคุ้นเคย ฟังเรื่อง

นั้นแล้ว ก็ติดตามไปด้วยคิดว่า "จักให้นางกลับ" พบนางแล้วแม้จะ

อ้อนวอนมีประการต่าง ๆ ก็มิอาจให้นางกลับได้.

ทีนั้น ลมกัมมัชวาตของนางปั่นป่วนแล้วในที่แห่งหนึ่ง. นางเข้า

ไปในระหว่างพุ่มไม้พุ่มหนึ่ง พูดว่า "นาย ลมกัมมัชวาตของฉัน

ปั่นป่วนแล้ว" นอนกลิ้งเกลือกอยู่บนพื้นดิน คลอดเด็กโดยยากแล้ว คิด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 491

ว่า "เราพึงไปสู่เรือนแห่งตระกูลเพื่อประโยชน์ใด, ประโยชน์นั้นสำเร็จ

แล้ว" จึงกลับมาสู่เรือนกับสามี สำเร็จการอยู่กันอีกเทียว.

สมัยอื่น ครรภ์ของนางตั้งขึ้นอีก. นางเป็นผู้มีครรภ์แก่แล้วจึง

อ้อนวอนสามีโดยนัยก่อนนั้นแล เมื่อไม่ได้ความยินยอม จึงอุ้มบุตรด้วย

สะเอวหลีกไปอย่างนั้นนั่นแล แม้ถูกสามีนั้นติดตามไปพบแล้ว ก็ไม่

ปรารถนาจะกลับ.

ครั้งนั้น เมื่อชนเหล่านั้นเดินไปอยู่, มหาเมฆอันมิใช่ฤดูกาลเกิด

ขึ้น. ท้องฟ้าได้มีท่อธารตกลงไม่มีระหว่าง ดังสายฟ้าแผดเผาอยู่โดยรอบ

ดังจะทำลายลงด้วยเสียงแผดแห่งเมฆ. ในขณะนั้น ลมกัมมัชวาตของนาง

ปั่นป่วนแล้ว. นางเรียกสามีมากล่าวว่า "นาย ลมกัมมัชวาตของฉัน

ปั่นป่วนแล้ว, ฉันไม่อาจจะทนได้, ท่านจงรู้สถานที่ฝนไม่รดฉันเถิด."

สามีนั้นมีมีดอยู่ในมือ ตรวจดูข้างโน้นข้างนี้ เห็นพุ่มไม้ซึ่งเกิดอยู่บน

จอมปลวกแห่งหนึ่ง เริ่มจะตัด. ลำดับนั้น อสรพิษมีพิษร้ายกาจเลื้อย

ออกจากจอมปลวก กัดเขาในขณะนั้นนั่นแล สรีระของเขามีสีเขียวดัง

ถูกเปลวไฟอันตั้งขึ้นในภายในไหม้อยู่ ล้มลงในที่นั้นนั่นเอง. ฝ่ายภรรยา

นอกนี้เสวยทุกข์อย่างมหันต์ แม้มองดูทางมาของเขาอยู่ ก็มิได้เห็นเขาเลย

จึงคลอดบุตรคนอื่นอีก. ทารกทั้ง ๒ ทนกำลังแห่งลมและฝนไม่ได้ ก็

ร้องไห้ลั่น. นางเอาทารกแม้ทั้ง ๒ คนนั้นไว้ที่ระหว่างอุทร ยืนเท้า

แผ่นดินด้วยเข่าและมือทั้ง ๒ ให้ราตรีล่วงไปแล้ว. สรีระทั้งสิ้นได้เป็น

ดังสีใบไม้เหลือง เหมือนไม่มีโลหิต. เมื่ออรุณขึ้นนางอุ้มบุตรคนหนึ่งซึ้ง

มีสีดังชิ้นเนื้อด้วยสะเอว จูงบุตรนอกนี้ด้วยนิ้วมือกล่าวว่า "มาเถิด พ่อ,

บิดาเจ้าไปโดยทางนี้" ดังนี้แล้ว ก็เดินไปตามทางที่สามีไป เห็นสามี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 492

นั้นล้มตายบนจอมปลวกมีสีเขียวตัวกระด้าง ร้องไห้รำพันว่า "เพราะ

อาศัยเรา สามีของเราจึงตายที่หนทางเปลี่ยว" ดังนี้แล้วก็เดินไป.

นางเห็นแม่น้ำอจิรวดี เต็มเปี่ยมด้วยน้ำมีประมาณเพียงหัวเข่า

มีประมาณเพียงนม เพราะฝนตกตลอดคืนยังรุ่ง ไม่อาจลงน้ำพร้อมด้วย

ทารก ๒ คนได้ เพราะตนมีความรู้อ่อน จึงพักบุตรคนใหญ่ไว้ที่ฝั่งนี้

อุ้มบุตรคนเล็กนอกนี้ไปฝั่งโน้น ลาดกิ่งไม้ไว้ให้บุตรนอนแล้ว คิดว่า

"จักไปที่อยู่ของบุตรนอกนี้" ไม่อาจละบุตรอ่อนได้กลับแลดูแล้ว ๆ

เล่า ๆ เดินไป. ครั้นในเวลาที่นางถึงกลางแม่น้ำเหยี่ยวตัวหนึ่งเห็นเด็ก

นั้น จึงโฉบลงมาจากอากาศ ด้วยสำคัญว่า "เป็นชิ้นเนื้อ." นางเห็น

มันโฉบลงเพื่อต้องการบุตร จึงยกมือทั้งสองขึ้น ร้องเสียงดัง ๓ ครั้งว่า

"สู สู" เหยี่ยวไม่ได้ยินเสียงนั้นเลยเพราะไกลกัน จึงเฉี่ยวเด็กบินขึ้นสู่

เวหาสไปแล้ว. แม้บุตรผู้ยืนอยู่ที่ฝั่งนี้ เห็นมารดายกมือทั้งสองขึ้น ร้อง

เสียงดังที่ท่ามกลางแม่น้ำ จึงกระโดดลงในแม่น้ำโดยเร็วด้วยสำคัญว่า

" มารดาเรียกเรา." เหยี่ยวเฉี่ยวบุตรอ่อนของนางไป บุตรคนโตถูกน้ำพัด

ไป ด้วยประการฉะนี้.

นางทราบข่าวว่ามารดาบิดาตายอีก

นางเดินร้องไห้รำพันว่า "บุตรของเราคนหนึ่งถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป,

คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป, สามีก็ตายเสียในที่เปลี่ยว," พบบุรุษผู้หนึ่งเดินมา

แต่กรุงสาวัตถี จึงถามว่า "พ่อ ท่านอยู่ที่ไหน ?"

บุรุษ. ฉันอยู่ในกรุงสาวัตถี แม่.

๑. ฉบับสีหล ชานุปฺปมาณ ไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 493

ธิดาเศรษฐี. ตระกูลชื่อโน้นเห็นปานนี้ใกล้ถนนโน้นในกรุงสาวัตถี

มีอยู่, ทราบไหม ? พ่อ.

บุรุษ. ฉันทราบ แม่, แต่อย่าถามถึงตระกูลนั้นเลย; ถ้าท่าน

รู้จักตระกูลอื่น, ก็จงถามเถิด.

ธิดาเศรษฐี. กรรมด้วยตระกูลอื่นของฉันไม่มี, ฉันถามถึงตระกูล

นั้นเท่านั้นแหละ พ่อ.

บุรุษ. แม่ ฉันบอกก็ไม่ควร.

ธิดาเศรษฐี. บอกฉันเถิด พ่อ

บุรุษ. วันนี้ แม่เห็นฝนตกคืนยังรุ่งไหม ?

ธิดาเศรษฐี. ฉันเห็น พ่อ, ฝนนั้นตกคืนยังรุ่งเพื่อฉันเท่านั้นไม่

ตกเพื่อคนอื่น, แต่ฉันจักบอกเหตุที่ฝนตกเพื่อฉันแก่ท่านภายหลัง, โปรด

บอกความเป็นไปในเรือนเศรษฐีนั้นแก่ฉันก่อน.

บุรุษ. แม่ วันนี้ ในกลางคืน เรือนล้มทับคนแม้ทั้ง ๓ คือ

เศรษฐี ๑ ภรรยาเศรษฐี ๑ บุตรเศรษฐี ๑, คนทั้ง ๓ นั้นถูกเผาบน

เชิงตะกอนเดียวกัน, แม่เอ๋ย ควันนั่นยังปรากฏอยู่.

ในขณะนั้น นางไม่รู้สึกถึงผ้าที่นุ่งซึ่งได้หลุดลง ถึงความเป็นคน

วิกลจริตยืนตะลึงอยู่ ร้องไห้รำพันบ่นเพ้อเซซวนไปว่า:-

"บุตร ๒ คน ตายเสียแล้ว, สามีของเรา

ก็ตายเสียที่ทางเปลี่ยว, มารดาบิดาและพี่ชายก็ถูกเผา

บนเชิงตะกอนเดียวกัน."

คนทั้งหลายเห็นนางแล้ว เข้าใจว่า "หญิงบ้า ๆ" จึงถือเอา

หยากเยื่อ กอบฝุ่น โปรยลงบนศีรษะ ขว้างด้วยก้อนดิน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 494

พระศาสดาประทับนั่งแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท ๔ ใน

พระเชตวันมหาวิหาร ได้ทอดพระเนตรเห็นนางผู้บำเพ็ญบารมีมาแสนกัลป์

สมบูรณ์ด้วยอภินิหารเดินมาอยู่.

นางได้ตั้งความปรารถนาไว้ในชาติก่อน

ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ

นางปฏาจารานั้น เห็นพระเถรีผู้ทรงวินัยรูปหนึ่ง อันพระปทุมุตตรศาสดา

ทรงทั้งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ดังท้าวสักกะจับที่แขน ตั้งไว้ในสวน

นันทวัน จึงทำคุณความดีแล้ว ตั้งความปรารถนาไว้ว่า " แม้หม่อมฉัน

พึงได้ตำแหน่งเลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินัยทั้งหลายในสำนักพระพุทธเจ้าเช่น

กับด้วยพระองค์," พระปทุมุตตรพุทธเจ้าทรงเล็งอนาคตังสญาณไป ก็

ทรงทราบว่าความปรารถนาจะสำเร็จจึงทรงพยากรณ์ว่า "ในอนาคตกาล

หญิงผู้นี้จักเป็นผู้เลิศกว่าพระเถรีผู้ทรงวินัยทั้งหลาย มีนามว่าปฏาจารา

ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า."

พระศาสดา ทรงเห็นนางผู้มีความปรารถนาตั้งไว้แล้ว อย่างนั้น

ผู้สมบูรณ์ด้วยอภินิหาร กำลังเดินมาแต่ที่ไกลเทียว ทรงดำริว่า " เว้น

เราเสีย ผู้อื่นชื่อว่าสามารถจะเป็นที่พึ่งของหญิงผู้นี้ได้ ไม่มี" จึงได้

ทรงทำนางโดยประการที่นางจะบ่ายหน้าสู่วิหารเดินมา.

บริษัทเห็นนางแล้วจึงกล่าวว่า "ท่านทั้งหลาย อย่าให้หญิงบ้านี้

มาที่นี้เลย."

พระศาสดาตรัสว่า "พวกท่านจงหลีกไป, อย่าห้ามเธอ" ในเวลา

นางมาใกล้ จึงตรัสว่า "จงกลับได้สติเถิด น้องหญิง." นางกลับได้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 495

สติด้วยพุทธานุภาพไม่ขณะนั้นเอง. ในเวลานั้น นางกำหนดความที่ผ้านุ่ง

หลุดได้แล้ว ให้เกิดหิริโอตตัปปะขึ้น จึงนั่งกระโหย่ง.

ลำดับนั้น บุรุษผู้หนึ่งจึงโยนผ้าห่มไปให้นาง. นางนุ่งผ้านั้นแล้ว

เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แทบพระบาท

ทั้งสองซึ่งมีพรรณะดังทองคำแล้ว ทูลว่า "ขอพระองค์จึงทรงเป็นที่พึ่ง

แก่หม่อมฉันเถิด พระเจ้าข้า, เพราะว่าเหยี่ยวเฉี่ยวบุตรคนหนึ่งของ

หม่อมฉันไป; คนหนึ่งถูกน้ำพัดไป, สามีตายที่ทางเปลี่ยว, มารดาบิดาและ

พี่ชายถูกเรือนทับตาย เขาเผาบนเชิงตะกอนเดียวกัน."

พระศาสดาทรงสดับคำของนาง จึงตรัสว่า "อย่าคิดเลยปฏาจารา,

เธอมาสู่สำนักของผู้สามารถจะเป็นที่พึ่งพำนักอาศัยของเธอได้แล้ว; เหมือน

อย่างว่า บัดนี้ บุตรคนหนึ่งของเธอถูกเหยี่ยวเฉี่ยวไป, คนหนึ่งถูกน้ำ

พัดไป, สามีตายแล้วที่ทางเปลี่ยว, มารดาบิดาและพี่ชายถูกเรือนทับ

ฉันใด; น้ำตาที่ไหลออกของเธอผู้ร้องไห้อยู่ในสงสารนี้ ในเวลาที่ปิยชน

มีบุตรเป็นต้นตาย ยังมากกว่าน้ำแห่งมหาสมุทรทั้ง ๔ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน"

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:-

"น้ำในสมุทรทั้ง ๔ มีประมาณน้อย, น้ำตาของ

คนผู้อันทุกข์ถูกต้องแล้ว เศร้าโศก มิใช่น้อย มาก

ว่าน้ำในมหาสมุทรนั้น; เหตุไร เธอจึงประมาทอยู่

เล่า ? แม่น้อง."

เมื่อพระศาสดาตรัสอนมตัคคปริยายสูตรอยู่อย่างนั้น, ความโศกใน

สรีระของนาง ได้ถึงความเบาบางแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 496

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบที่นางผู้มีความโศกเบาบางแล้วทรง

เตือนอีก แล้วตรัสว่า " ปฏาจารา ขึ้นชื่อว่าปิยชนมีบุตรเป็นต้น ไม่อาจ

เพื่อเป็นที่ต้านทาน เป็นที่พึ่ง หรือเป็นที่ป้องกันของผู้ไปสู่ปรโลกได้;

เพราะฉะนั้น บุตรเป็นต้นเหล่านั้นถึงมีอยู่ ก็ชื่อว่าย่อมไม่มีทีเดียว, ส่วน

บัณฑิตชำระศีลแล้ว ควรชำระทางที่ยังสัตว์ให้ถึงนิพพานของตนเท่านั้น"

เมื่อจะทรงแสดงธรรม ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

"บุตรทั้งหลาย ไม่มีเพื่อต้านทาน, บิดาก็ไม่มี

ถึงพวกพ้องก็ไม่มี, เมื่อบุคคลถูกความตาย ครอบงำ

แล้ว ความต้านทานในญาติทั้งหลาย ย่อมไม่มี;

บัณฑิตทราบอำนาจประโยชน์นั้นแล้ว สำรวมในศีล

พึงชำระทางไปพระนิพพานโดยเร็วทีเดียว."

ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราเผากิเลสมีประมาณเท่าฝุ่นใน

แผ่นดินใหญ่แล้ว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล, ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก

บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

นางปฏาจาราทูลขอบวช

ฝ่ายนางปฏาจารานั้นเป็นพระโสดาบันแล้ว ทูลขอบรรพชากะ

พระศาสดา. พระศาสดาทรงส่งนางไปยังสำนักของพวกภิกษุณีให้บรรพชา

แล้ว. นางได้อุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า " ปฏาจารา " เพราะนางกลับ

ความประพฤติได้. วันหนึ่ง นางกำลังเอาหม้อตักน้ำล้างเท้า เทน้ำลง.

๑. บาลีว่า เพราะมีความประพฤติเว้นจากผืนผ้า ดังนี้ก็มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 497

น้ำนั้นไหลไปหน่อยหนึ่งแล้วก็ขาด. ครั้งที่ ๒ น้ำที่นางเทลง ได้ไหลไป

ไกลกว่านั้น. ครั้งที่ ๓ น้ำที่เทลง ได้ไหลไปไกลแม้กว่านั้น ด้วยประการ

ฉะนี้. นางถือเอาน้ำนั้นนั่นแลเป็นอารมณ์ กำหนดวัยทั้ง ๓ แล้ว คิดว่า

"สัตว์เหล่านี้ ตายเสียในปฐมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งแรก, ตาย

เสียในมัชฌิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๒ ไหลไปไกลกว่านั้น, ตาย

เสียในปัจฉิมวัยก็มี เหมือนน้ำที่เราเทลงครั้งที่ ๓ ไหลไปไกลแม้กว่านั้น."

พระศาสดาประทับในพระคันธกุฎี ทรงแผ่พระรัศมีไป เป็นดัง

ประทับยืนตรัสอยู่เฉพาะหน้าของนาง ตรัสว่า "ปฏาจารา ข้อนั้น

อย่างนั้น, ด้วยว่าความเป็นอยู่วันเดียวก็ดี ขณะเดียวก็ดี ของผู้เห็น

ความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐกว่า ความ

เป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์"

ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-

๑๒. โย จ วสฺสสต ชีเว อปสฺส อุทยพฺพย

เอกาห ชีวิต เสยฺโย ปสฺสโต อุทยพฺฑย.

"ก็ผู้ใด ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่

พึงเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี, ความเป็นอยู่วันเดียว ของ

ผู้เห็นความเกิดและความเสื่อม ประเสริฐกว่า

ความเป็นอยู่ของผู้นั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถา อปสฺส อุทยพฺพย ความว่า

ไม่เห็นความเกิดขึ้นและความเสื่อมอยู่ ด้วยลักษณะ ๒๕ แห่งปัญจขันธ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 498

บาทพระคาถาว่า ปสฺสโต อุทยพฺพย ความว่า ความเป็นอยู่แม้วันเดียว

ของผู้เห็น ความเกิดขึ้นและความเสื่อมแห่งปัญจขันธ์เหล่านั้น ประเสริฐ

กว่าความเป็นอยู่ของบุคคลนอกนี้.

ในกาลจบเทศนา นางปฏาจาราบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัม-

ภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล.

เรื่องนางปฏาจารา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 499

๑๓. เรื่องนางกิสาโคตมี [๙๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนางกิสาโคตมี

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "โย จ วสฺสสต ชีเว" เป็นต้น.

ทรัพย์ของเศรษฐีกลายเป็นถ่าน

ได้ยินว่า ทรัพย์ ๔๐ โกฏิ ในเรือนของเศรษฐีคนหนึ่ง ในกรุง

สาวัตถี ได้กลายเป็นถ่านหมดตั้งอยู่. เศรษฐีเห็นเหตุนั้นเกิดความเศร้าโศก

จึงห้ามอาหารเสีย นอนอยู่บนเตียงน้อย. สหายผู้หนึ่งของเศรษฐีนั้นถาม

ว่า "เหตุไร จึงเศร้าโศกเล่า ? เพื่อน" ฟังความเป็นไปนั้นแล้ว กล่าวว่า

" อย่าเศร้าโศกเลย เพื่อน, ฉันทราบอุบายอย่างหนึ่ง, จงทำอุบายนั้นเถิด."

เศรษฐี. ทำอย่างไรเล่า ? เพื่อน.

สหาย. เพื่อน ท่านจงปูเสื่อลำแพนที่ตลาดของตน ทำถ่านให้เป็น

กองไว้ จงนั่งเหมือนจะขาย, บรรดามนุษย์ที่มาแล้ว ๆ คนเหล่าใดพูด

อย่างนี้ว่า 'ชนที่เหลือ ชายผ้า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น ส่วน

ท่านนั่งขายถ่าน,' ท่านพึงพูดกับคนเหล่านั้น ว่า 'เราไม่ขายของ ๆ

ตนจักทำอะไร ?' ส่วนผู้ใดพูดกับท่านอย่างนี้ว่า 'ชนที่เหลือ ขายผ้า

น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น, ส่วนท่านนั่งขายเงินและทอง,' ท่าน

พึงพูดกะผู้นั้นว่า 'เงินและทองที่ไหน ?' ก็เมื่อเธอพูดว่า 'นี้,' ท่าน

พึงพูดว่า 'จงนำเงินทองนั้นมาก่อน, แล้วรับด้วยมือทั้งสอง ของที่เขาให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 500

ในมือของท่านอย่างนั้น จักกลายเป็นเงินและทอง; ก็ผู้นั้นถ้าเป็นหญิง

รุ่นสาว, ท่านจงนำนางมาเพื่อบุตรในเรือนของท่าน มอบทรัพย์ ๔๐ โกฏิ

ให้แก่นาง พึงใช้สอยเงินทองที่นางให้, ถ้าเป็นเด็กชาย, ท่านพึงให้ธิดา

ผู้เจริญวัยแล้วในเรือนของท่านแก่เขา แล้วมอบทรัพย์ ๔๐ โกฏิให้แก่เขา

ใช้สอยทรัพย์ที่เขาให้.

เศรษฐีนั้นกล่าวว่า "อุบายดี" จึงทำถ่านให้กองไว้ในร้านตลาด

ของตน นั่งทำเหมือนจะขาย. คนเหล่าใดพูดกะเศรษฐีนั้นอย่างนี้ว่า

" ชนที่เหลือทั้งหลาย ขายผ้า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น, ท่าน

นั่งขายถ่าน" ก็ให้คำตอบแก่คนเหล่านั้นว่า "ฉันไม่ขายของ ๆ ตน

จักทำอย่างไร ?"

ถ่านกลายเป็นทรัพย์อย่างเดิม

ครั้งนั้น หญิงรุ่นสาวคนหนึ่งชื่อโคตมี ปรากฏชื่อว่า "กิสาโคตมี"

เพราะนางมีสรีระแบบบาง เป็นธิดาของตระกูลเก่าแก่ ไปยังประตูตลาด

ด้วยกิจอย่างหนึ่งของตน เห็นเศรษฐีนั้น จึงกล่าวอย่างนั้นว่า "พ่อ ชนที่

เหลือ ขายผ้า น้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น. ทำไมท่านจึงนั่งขาย

เงินและทอง ?"

เศรษฐี. เงินทองที่ไหน ? แม่.

นางโคตมี. ท่านนั่งจับเงินทองนั้นเอง มิใช่หรือ ?

เศรษฐี. จงนำเงินทองนั้นมาก่อน แม่.

นางกอบเต็มมือแล้ว วางไว้ในมือของเศรษฐีนั้น. ถ่านนั้นได้กลาย

เป็นเงินและทองทั้งนั้น.

ลำดับนั้น เศรษฐีถามนางว่า "แม่ เรือนเจ้าอยู่ไหน." เมื่อนาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 501

ตอบว่า "ชื่อโน้นจ้ะ." รู้ความที่นางยังไม่มีสามีแล้ว จึงเก็บทรัพย์นำนาง

มาเพื่อนบุตรของตน ให้รับทรัพย์ ๔๐ โกฏิไว้. ทรัพย์ทั้งหมดได้กลาย

เป็นเงินและทองดังเดิม.

สมัยอื่นอีกนางตั้งครรภ์. โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางคลอดบุตร

แล้ว. บุตรนั้นได้ทำกาละแล้วในเวลาเดินได้. นางห้ามพวกชนที่จะนำ

บุตรนั้นไปเผา เพราะนางไม่เคยเห็นความตาย อุ้มร่างบุตรผู้ตายแล้วด้วย

สะเอว ด้วยหวังว่า "จักถามถึงยา เพื่อบุตรเรา" เที่ยวถามไปตามลำดับ

เรือนว่า "ท่านทั้งหลายรู้จักยาเพื่อบุตรของฉันบ้างไหมหนอ ?" ทีนั้น

คนทั้งหลายพูดกับนางว่า " แม่ เจ้าเป็นบ้าแล้วหรือ ? เจ้าเที่ยวถามถึง

ยาเพื่อบุตรที่ตายแล้ว." นางสำคัญว่า "จักได้คนผู้รู้จักยาเพื่อบุตรของเรา

แน่แท้" จึงเที่ยวไป.

ทีนั้น บุรุษผู้เป็นบัณฑิตคนหนึ่ง เห็นนางแล้วคิดว่า "ธิดาของ

เรานี้จักคลอดบุตรคนแรก ไม่เคยเห็นความตาย, เราเป็นที่พึ่งของหญิง

นี้ย่อมควร" จึงกล่าวว่า "แม่ ฉันไม่รู้จักยา, แต่ฉันรู้จักคนผู้รู้ยา."

นางโคตมี. ใครรู้ ? พ่อ.

บัณฑิต. แม่ พระศาสดาทรงทราบ, จงไปทูลถามพระองค์เถิด

นางกล่าวว่า "พ่อ ฉันจักไป, จักทูลถาม พ่อ" ดังนั้นแล้วเข้าไป

เฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วยืนอยู่ ณ ที่สุดข้างหนึ่ง ทูลถามว่า "ทราบ

ว่า พระองค์ทรงทราบยาเพื่อบุตรของหม่อมฉันหรือ ? พระเจ้าข้า."

พระศาสดา. เออ เรารู้.

นางโคตมี. ได้อะไร ? จึงควร.

พระศาสดา. ได้เมล็ดพันธุ์ผักกาดสักหยิบมือหนึ่ง ควร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 502

นางโคตมี. จักได้ พระเจ้าข้า, แต่ได้ในเรือนใคร ? จึงควร.

พระศาสดา. บุตรหรือธิดาไร ๆ ในเรือนของผู้ใด ไม่เคยตาย.

ได้ในเรือนของผู้นั้น จึงควร.

นางทูลรับว่า " ดีละ พระเจ้าข้า" แล้วถวายบังคมพระศาสดา

อุ้มบุตรผู้ตายแล้วด้วยสะเอวเข้าไปภายในบ้าน ยืนที่ประตูเรือนหลังแรก

กล่าวว่า " เมล็ดพันธุ์ผักกาดในเรือนนี้ มีบ้างไหม ? ทราบว่านั่นเป็น

ยาเพื่อบุตรของฉัน." เมื่อเขาตอบว่า "มี" จึงกล่าวว่า " ถ้าอย่างนั้น

จงให้เถิด," เมื่อคนเหล่านั้นนำเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาให้, จึงถามว่า " ใน

เรือนนี้ บุตรหรือธิดาเคยตายไม่มีบ้างหรือ ? แม่" เมื่อเขาตอบว่า "พูด

อะไร ? แม่ เพราะคนเป็นมีเล็กน้อย, คนตายนั้นแหละมีมาก." จึงกล่าว

ว่า "ถ้าอย่างนั้น จงรับเมล็ดพันธุ์ผักกาดของท่านไปเถิด, นั่นไม่เป็นยา

เพื่อบุตรของฉัน" แล้วได้ให้คืนไป; เที่ยวถามโดยทำนองนี้ ตั้งแต่เรือน

หลังต้น. นางไม่รับเมล็ดพันธุ์ผักกาดแม้ในเรือนหลังหนึ่ง ในเวลาเย็น

คิดว่า "โอ กรรมหนัก, เราได้ทำความสำคัญว่า 'บุตรของเราเท่านั้น

ตาย,' ก็ในบ้านทั้งสิ้น คนที่ตายเท่านั้นมากกว่าคนเป็น." เมื่อนางคิดอยู่

อย่างนี้ หัวใจที่อ่อนด้วยความรักบุตร ได้ถึงความแข็งแล้ว. นางทิ้งบุตร

ไว้ในป่า ไปยังสำนักพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ได้ยืน ณ ที่สุดข้าง

หนึ่ง.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า "เธอได้เมล็ดพันธุ์ผักกาด

ประมาณหยิบมือหนึ่งแล้วหรือ ?"

นางโคตมี. ไม่ได้ พระเจ้าข้า, เพราะในบ้านทั้งสิ้น คนตายนั้น

แหละมากกว่าคนเป็น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 503

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า "เธอเข้าใจว่า 'บุตรของ

เราเท่านั้นตาย,' ความตายนั่นเป็นธรรมยั่งยืนสำหรับสัตว์ทั้งหลาย, ด้วย

ว่า มัจจุราชฉุดคร่าสัตว์ทั้งหมด ผู้มีอัธยาศัยยังไม่เต็มเปี่ยมนั่นแลลงใน

สมุทรคืออบาย ดุจห้วงน้ำใหญ่ฉะนั้น" เมื่อจะทรงแสดงธรรมจึงตรัส

พระคาถานี้ว่า :-

"มฤตยู ย่อมพาชนผู้มัวเมาในบุตรและสัตว์

ของเลี้ยง ผู้มีใจซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ไป ดุจ

ห้วงน้ำใหญ่ พัดชาวบ้านผู้หลับไหลไปฉะนั้น."

ในกาลจบคาถา นางกิสาโคตมีดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล, แม้ชน

เหล่าอื่นเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล

นางบวชในพุทธศาสนา

ฝ่ายนางกิสาโคตมีนั้นทูลขอบรรพชากะพระศาสดาแล้ว. พระศาสดา

ทรงส่งไปยังสำนักของนางภิกษุณีให้บรรพชาแล้ว. นางได้อุปสมบทแล้ว

ปรากฏชื่อว่า " กิสาโคตมีเถรี."

วันหนึ่ง นางถึงวาระในโรงอุโบสถ นั่งตามประทีปเห็นเปลวประทีป

ลุกโพลงขึ้นและหรี่ลง ได้ถือเป็นอารมณ์ว่า " สัตว์เหล่านั้นก็อย่างนั้น

เหมือนกัน เกิดขึ้นและดับไปดังเปลวประทีป, ผู้ถึงพระนิพพาน ไม่

ปรากฏอย่างนั้น."

พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นแล ทรงแผ่พระรัศมีไป ดัง

นั่งตรัสตรงหน้านาง ตรัสว่า "อย่างนั้นแหละโคตมี สัตว์เหล่านั้น ย่อม

เกิดและดับเหมือนเปลวประทีป, ถึงพระนิพพานแล้ว ย่อมไม่ปรากฏ

๑. ภิชฺชนฺติโย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 504

อย่างนั้น; ความเป็นอยู่แม้เพียงขณะเดียว ของผู้เห็นพระนิพพาน ประ-

เสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่เห็นพระนิพพานอย่างนั้น" ดังนี้

แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๓. โย จ วสฺสสต ชีเว อปสฺส อมต ปท

เอกาห ชีวิต เสยฺโย ปสฺสโต อมต ปท.

"ก็ผู้ใด ไม่เห็นบทอันไม่ตาย พึงเป็นอยู่ ๑๐๐

ปี, ความเป็นอยู่วันเดียว ของผู้เห็นบทอันไม่ตาย

ประเสริฐกว่า ความเป็นอยู่ของผู้นั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อมต ปท ความว่า อมตมหา-

นิพพาน อันเป็นส่วนที่เว้นจากมรณะ.

คำที่เหลือ เช่นเดียวกับคำมีในก่อนนั้นแล.

ในกาลจบเทศนา นางกิสาโคตมีนั่งอยู่ตามเดิมนั่นแล ดำรงอยู่ใน

พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล.

เรื่องนางกิสาโคตมี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 505

๑๔. เรื่องพระพหุปุตติกาเถรี [๙๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระพหุปุตติกา-

เถรี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย จ วสฺสสต ชีเว" เป็นต้น.

นางมีลูกมาก

ได้ยินว่า ในตระกูลหนึ่ง ณ กรุงสาวัตถี ได้มีบุตร ๗ คนและ

ธิดา ๗ คน บุตรและธิดาแม้ทั้งหมดนั้นเจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ในเรือน

ได้ถึงความสุขตามธรรมดาของตน. สมัยอื่น บิดาของชนเหล่านั้นได้ทำ

กาละแล้ว.

มหาอุบาสิกา ถึงเมื่อสามีล่วงลับไปแล้ว ก็ยังไม่แบ่งกองทรัพย์ให้

แก่บุตรทั้งหลายก่อน. ครั้งนั้น บุตรทั้งหลายกล่าวกะมารดานั้นว่า "เมื่อ

บิดาของฉันล่วงลับไปแล้ว, ประโยชน์อะไรของแม่ด้วยกองทรัพย์, พวก

ฉันไม่อาจบำรุงแม่ได้หรือ ?" นางฟังคำของบุตรเหล่านั้นแล้วก็นิ่งเสีย

ถูกบุตรเหล่านั้นพูดบ่อย ๆ จึงคิดว่า "พวกลูก ๆ จักบำรุงเรา, ประ-

โยชน์อะไรของเราด้วยกองทรัพย์ส่วนหนึ่ง" ได้แบ่งสมบัติทั้งหมดครึ่งหนึ่ง

ให้ไป

ครั้งนั้น โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน ภรรยาของบุตรคนใหญ่กล่าว

กะแม่ผัวนั้นว่า "โอ คุณแม่ของพวกเรามาเรือนนี้เท่านั้นเหมือนกะให้

ไว้ ๒ ส่วนว่า 'บุตรชายคนใหญ่ของเรา." แม้ภรรยาของบุตรที่เหลือ

ก็กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 506

ตั้งต้นแต่ธิดาคนใหญ่ก็กล่าวกะนางดุจเดียวกัน แม้ในเวลาที่นางไป

เรือนของธิดาเหล่านั้น. นางถูกดูหมิ่น คิดว่า "ประโยชน์อะไร ด้วย

การอยู่ในสำนักของคนเหล่านี้. เราจักเป็นนางภิกษุณีเป็นอยู่ " แล้วไปสู่

สำนักของนางภิกษุณีขอบรรพชาแล้ว . นางภิกษุณีเหล่านั้นให้นางบรรพชา

แล้ว. นางได้อุปสมบทแล้วปรากฏชื่อว่า "พหุปุตติกาเถรี." นางคิดว่า

" เราบวชในเวลาแก่, เราไม่ควรเป็นคนประมาท" จึงทำวัตรปฏิบัติแก่

นางภิกษุณีทั้งหลาย, คิดว่า " จักทำสมณธรรมตลอดคืนยังรุ่ง" จึงเอา

มือจับเสาต้นหนึ่งที่ภายใต้ปราสาท เดินเวียนเสานั้นทำสมณธรรม แม้

เมื่อเดินจงกรมก็เอามือจับต้นไม้ด้วยคิดว่า "ศีรษะของเราพึงกระทบต้น

ไม้หรือที่ไหน ๆ ในที่มืด " ดังนี้แล้ว เดินวนเวียนต้นไม้นั้น ทำสมณ-

ธรรม, นึกถึงธรรมด้วยคิดว่า "จักทำตามธรรมที่พระศาสดาทรงแสดง"

ตามระลึกถึงธรรมอยู่เทียวทำสมณธรรม.

ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในพระคันธกุฎีเทียว ทรงแผ่พระ-

รัศมีไปดังประทับนั่งตรงหน้า เมื่อตรัสกับนาง ตรัสว่า "พหุปุตติกา

ความเป็นอยู่แม้ครู่เดียวของผู้เห็นธรรม ที่เราแสดง ประเสริฐกว่าความ

เป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้ไม่พิจารณา ผู้ไม่เห็นธรรมที่เราแสดง" เมื่อ

จะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๑๔. โย จ วสฺสสต ชีเว อปสฺส ธมฺมมุตฺตม

เอกาห ชีวิต เสยฺโย ปสฺสโต ธมฺมมุตฺตม.

"ก็ผู้ใด ไม่เห็นธรรมอันยอดเยี่ยม พึงเป็นอยู่

๑๐๐ ปี ความเป็นอยู่วันเดียวของผู้เห็นธรรมอัน

ยอดเยี่ยม ประเสริฐกว่า ความเป็นอยู่ของผู้นั้น."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 507

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธ มฺมมุตฺตม ได้แก่ โลกุตรธรรม

๙ อย่าง. ก็โลกุตรธรรมนั้น ชื่อว่า ธรรมอันยอดเยี่ยม. ก็ผู้ใดไม่เห็นธรรม

อันยอดเยี่ยมนั้น, ความเป็นอยู่แม้วันเดียว คือแม้ขณะเดียว ของผู้เห็น

คือแทงตลอดธรรมนั้น ประเสริฐกว่าความเป็นอยู่ ๑๐๐ ปี ของผู้นั้น.

ในกาลจบคาถา พระพหุปุตติกาเถรีดำรงอยู่ในพระอรหัตพร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนี้แล.

เรื่องพระพหุปุตติกาเถร จบ.

สหัสสวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๘ จบ.