ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๒

ตอนที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คาถาธรรมบท

ยมกวรรคที่ ๑

ว่าด้วยคู่แห่งความดีและความชั่ว

[๑๑] ๑. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็น

ใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูด

อยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุ

นั้น ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่

ฉะนั้น.

๒. ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็น

ใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใสแล้ว

๑. เลขในวงเล็บเป็นเลขข้อในพระบาลี เลขหลังวงเล็บ เป็นเลขลำดับคาถา ที่จัดไว้ตามลำดับ

เรื่องในอรรถกถา วรรคที่ ๑ มีอรรถกถา ๑๔ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 2

พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไปตามเขา เพราะ

เหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัว ฉะนั้น.

๓. ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกความโกรธนั้นว่า ผู้

โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้

โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว เวรของชนเหล่านั้น

ย่อมไม่ระงับได้ ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความ

โกรธนั้นไว้ว่า ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้น

ได้ชนะเรา ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว เวรของ

ชนเหล่านั้นย่อมระงับ

๔. ในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อม

ไม่ระงับด้วยเวรเลย ก็แต่ย่อมระงับได้ด้วยความไม่มี

เวร ธรรมนี้เป็นของเก่า.

๕. ก็ชนเหล่านั้นไม่รู้ตัวว่า พวกเราพากัน

ย่อยยับอยู่ในท่ามกลางสงฆ์นี้ ฝ่ายชนเหล่าใดใน

หมู่นั้นย่อมรู้ชัด ความหมายมั่นกันและกันย่อมสงบ

เพราะการปฏิบัติของตนพวกนั้น.

๖. ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่างาม ไม่สำรวมใน

อินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เกียจคร้าน

มีความเพียรเลวทรามอยู่. ผู้นั้นแล มารย่อมรังควาน

ได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ลม

รังควานได้ ฉะนั้น (ส่วน) ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่า

ไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 3

โภชนะ มีศรัทธาและปรารภความเพียรอยู่ ผู้นั้นแล

มารย่อมรังควานไม่ได้ เปรียบเหมือนภูเขาหิน มี

รู้ความไม่ได้ ฉะนั้น.

๗. ผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่ออก ปราศ-

จากทมะและสัจจะ จะนุ่งห่มผ้ากาสาวะ. ผู้นั้นย่อม

ไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ ส่วนผู้ใดพึงเป็นผู้มีกิเลส

ดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลายประกอบ

ด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่มผ้า

กาสาวะ

๘. ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระ

ว่าเป็นสาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็น

สาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริผู้เป็นโคจร ย่อม

ไม่ประสบสิ่งอันเป็นสาระ ชนเหล่าใดรู้สิ่งอันเป็น

สาระ โดยความเป็นสาระ และสิ่งที่ไม่เป็นสาระ

โดยความไม่เห็นสาระ ชนเหล่านั้น ไม่ความดำริ

ชอบเป็นโคจร ย่อมประสบสิ่งเป็นสาระ.

๙. ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ฉันใด ราคะ

ย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ฉันนั้น. ฝน

ย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ฉันใด ราคะก็ย่อม

เสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ฉันนั้น.

๑๐. ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้

ละไปแล้วย่อมเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 4

เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศก

เขาย่อมเดือดร้อน.

๑๑. ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละ

ไปแล้ว ก็ย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง

เขาเห็นความหมดจดแห่งธรรมของตน ย่อมบันเทิง

เขาย่อมรื่นเริง.

๑๒. ผู้ปกติทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้

ละไปแล้วย่อมเดือดร้อน เขาย่อมเดือดร้อนในโลก

ทั้งสอง เขาย่อมเดือดร้อนว่า กรรมชั่วเราทำแล้ว

ไปสู่ทุคติย่อมเดือดร้อนยิ่งขึ้น.

๑๓. ผู้มีบุญอันตนทำไว้แล้ว ย่อมเพลิดเพลิน

ในโลกนี้ และไปแล้วย่อมเพลิดเพลินในโลกทั้งสอง

เขาย่อมเพลิดเพลินว่า เราทำบุญไว้แล้ว สู่สุคติ

ย่อมเพลิดเพลินยิ่งขึ้น.

๑๔. หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมี

ประโยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้ว

ไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้ เขาย่อมไม่

เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนเลี้ยงโคนับโค

ทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มีส่วนแห่ง

ปัญจโครสฉะนั้น หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์

อันมีประโยชน์เกื้อกูลแม้น้อย (แต่) เป็นผู้มีปกติ

ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ เขาละราคะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 5

โทสะและโมหะแล้ว รู้ชอบ มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว

หมดความยึดถือในโลกนี้หรือในโลกหน้า เขาย่อม

เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล.

จบยมกวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 6

ธัมมปทัฏฐกถา

อรรถกถาขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

คำนมัสการ

ข้าพเจ้า อันพระกุมารกัสสปเถระ ผู้ฝึกตน

เรียบร้อยแล้ว ประพฤติสม่ำเสมอโดยปกติ มีจิต

มั่นคง ใคร่ความดำรงมั่นแห่งพระสัทธรรม หวังอยู่ว่า

" พระอรรถกถา อันพรรณนาอรรถแห่งพระธรรมบท

อันงาม ที่พระศาสดาผู้ฉลาดในสภาพที่เป็นธรรม

และมิใช่ธรรม มีบทคือพระสัทธรรมถึงพร้อมแล้ว มี

พระอัธยาศัยอันกำลังแห่งพระกรุณาให้อุตสาหะด้วย

ได้แล้ว ทรงอาศัยเหตุนั้น ๆ แสดงแล้ว เป็นเครื่อง

เจริญปีติปราโมทย์ ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

เป็นคำที่สุขุมละเอียด นำสืบ ๆ กันมา ตั้งอยู่แล้ว

ในตามพปัณณิทวีป โดยภาษาของชาวเกาะ ยังไม่

ทำความถึงพร้อมแห่งประโยชน์ ให้สำเร็จแก่สัตว์

ทั้งหลายที่เหลือได้. ไฉนพระอรรถกถาแห่งพระ-

๑. พระพุทธโฆษาจารย์. ๒. เป็นนามพระสังฆเถระองค์หนึ่ง ในสมัยพระพุทธ

โฆษาจารย์ไม่ใช่พระกุมารกัสสป ในสมัยพุทธกาล. ๓. เกาะเป็นที่อยู่ของชาวชน

ที่มีฝ่ามือแดง คือ เกาะลังกา [Ceylon].

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 7

ธรรมบทนั้น จะทำประโยชน์ให้สำเร็จแก่โลกทั้งปวง

ได้" ดังนี้ อาราธนาโดยเคารพแล้ว จึงขอนมัสการ

พระบาทแห่งพระสัมพุทธเจ้าผู้ทรงสิริ ทรงแลพึง

ที่สุดโลกได้ มีพระฤทธิ์รุ่งโรจน์ ทรงยังประทีป คือ

พระสัทธรรมให้รุ่งโรจน์ ในเนื้อโลกอันมืด คือโมหะ

ใหญ่ปกคลุมแล้ว, บูชาพระสัทธรรมแห่งพระสัม-

พุทธเจ้าพระองค์นั้นและทำอัญชลีแด่พระสงฆ์แห่ง

พระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแล้ว จักกล่าวอรรถกถา

อันพรรณนาอรรถแห่งพระธรรมบทนั้น ด้วยภาษาอื่น

โดยอรรถไม่ให้เหลือเลย ละภาษานั้นและลำดับคำ

อันถึงพิสดารเกินเสีย ยกขึ้นสู่ภาษาอันเป็นแบบที่

ไพเรา อธิบายบทพยัญชนะแห่งคาถาทั้งหลาย

ที่ท่านยังมิได้อธิบายไว้แล้วในอรรถกถานั้นให้สิ้นเชิง

นำมาซึ่งปีติปราโมทย์แห่งใจ อิงอาศัยอรรถและธรรม

แก่นักปราชญ์ทั้งหลาย.

๑. มโนรม เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 8

๑. ยมกวรรควรรณนา

๑. เรื่องพระจักขุปาลเถระ [๑]

ข้อความเบื้องต้น

มีปุจฉาว่า " พระธรรมเทศนานี้ว่า

'ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่

สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจร้ายแล้ว พูดอยู่ก็ดี

ทำอยู่ก็ดี ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพระเหตุนั้น ดุจ

ล้ออันหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำเอกไปอยู่ฉะนั้น,'

ดังนี้ พระศาสดาตรัสแล้ว ณ ที่ไหน ? "

วิสัชนาว่า "พระองค์ตรัสแล้ว ณ กรุงสาวัตถี"

มีปุจฉา (เป็นลำดับไป) ว่า " พระองค์ทรงปรารภใคร ?"

มีวิสัชนาว่า " พระองค์ทรงปรารภพระจักขุปาลเถระ."

กุฎุมพีทำพิธีขอบุตร

ดังได้สดับมา ในกรุงสาวัตถี มีกุฎุมพีผู้หนึ่งชื่อมหาสุวรรณ เป็น

คนมั่งมี มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก (แต่) ไม่มีบุตร. วันหนึ่งเขา

ไปสู่ท่าอาบน้ำ อาบเสร็จแล้วกลับมา เห็นต้นไม้ใหญ่ที่เป็นเจ้าไพร

ต้นหนึ่ง มีกิ่งสมบูรณ์ในระหว่างทาง คิดว่า " ต้นไม้นี้จักมีเทวดา ผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 9

ศักดิ์ใหญ่สิงอยู่" ดังนี้แล้ว จึงให้ชำระส่วนภายใต้แห่งต้นไม้นั้นให้

สะอาดแล้ว ให้วงรั้ว เกลี่ยทราย ยกธงชัยและธงปฏากขึ้น แต่งต้นไม้

เจ้าไพรแล้ว ทำปรารถนา (คือบน) ว่า "ข้าพเจ้าได้บุตรหรือธิดา

แล้ว จักทำสักการะใหญ่ถวายท่าน " ดังนี้แล้ว หลีกไป.

กุฎุมพีได้บุตรสองคน

ในกาลเป็นลำดับมา ภรรยาของท่านเศรษฐีก็ตั้งครรภ์. ท่านก็ให้

พิธีครรภบริหาร แก่นาง. ครั้นล่วง ๑๐ เดือน นางคลอดบุตรคนหนึ่ง

ท่านเศรษฐีขนานนามแห่งบุตรนั้นว่า "ปาละ" เพราะเหตุทารกนั้นตน

อาศัยไม้ใหญ่ที่เป็นเจ้าไพรอันตนอภิบาลจึงได้แล้ว.

ในกาลเป็นส่วนอื่น ท่านเศรษฐีได้บุตรอีกคนหนึ่ง ขนานนาม

ว่า " จุลปาละ " ขนานนามบุตรคนแรกว่า "มหาปาละ." ครั้น

๒ กุมารนั้นเจริญวัย มารดาบิดาก็คิดผูกพันด้วยเครื่องผูกพันคือการครอง

เคหสถาน.

ในกาลเป็นส่วนอื่น มารดาได้ทำกาลกิริยาล่วงไป. วงศ์ญาติ

ก็เปิดสมบัติทั้งหมดมอบให้แก่ ๒ เศรษฐีบุตร.

พระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ๒๕ พรรษา

ในสมัยนั้น พระศาสดา ทรงประกาศพระบวรธรรมจักรให้เป็น

ไปแล้ว เสด็จไปโดยลำดับ ประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ที่ท่าน

๑. เป็นพิธีอย่างหนึ่งในศาสนาพราหมณ์ทำกัน ๒ คราว คือทำเมื่อภรรยาตั้งครรภ์ได้ ๕ เดือน

ครั้งหนึ่งเรียก ปจามฺฤตมฺ ทำเมื่อตั้งครรภ์ได้ ๗ เดือนครั้งหนึ่ง เรียกสปฺตามฺฤตมฺ.

๒. มารดาบิดา ผูกบุตรทั้งสองนั้นผู้เจริญวัยแล้ว ด้วยเครื่องผูกคือเรือน.

๓. พวกญาติก็แบ่งโภคะทั้งหมดจำเพาะแก่สองเศรษฐีบุตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 10

อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี บริจาคทรัพย์นับได้ ๕๔ โกฏิสร้างถวาย, ทรง

สั่งสอนมหาชนให้ตั้งอยู่ในทางสวรรค์และในทางนิพพาน.

แท้จริง พระตถาคตเสด็จอยู่จำพรรษา ๆ เดียวเท่านั้นในนิโครธ-

มหาวิหารที่พระญาติวงศ์ฝ่ายพระชนนี ๘ หมื่นตระกูล, ฝ่ายพระชนก ๘

หมื่นตระกูล เข้ากันเป็นแสนหกหมื่นตระกูลสร้างถวาย, เสด็จอยู่

จำพรรษา ณ เชตวันมหาวิหาร ที่ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย ๑๙

พรรษา, เสด็จจำพรรษา ณ บุพพาราม ที่นางวิสาขามหาอุบาสิกาบริจาค

ทรัพย์นับได้ ๒๗ โกฏิสร้างถวาย ๖ พรรษา. ทรงอาศัยที่ตระกูลทั้งสอง

เป็นผู้ใหญ่โดยคุณธรรม เสด็จอยู่จำพรรษาอาศัยกรุงสาวัตถี (เป็น

โคจรคาม) ถึง ๒๕ พรรษา ด้วยประการฉะนี้.

ผู้บำรุงภิกษุสามเณร

ทั้งท่านอนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี ทั้งวิสาขามหาอุบาสิกา ย่อมไปสู่ที่

อุปัฏฐากพระตถาคตเจ้าวันละ ๒ ครั้งเป็นประจำ. และเมื่อไปไม่เคยมีมือ

เปล่าไป ด้วยคิดเกรงว่า " ภิกษุหนุ่มและสามเณร จักแลดูมือตน."

เมื่อไปก่อนเวลาฉันอาหาร ย่อมใช้ให้คนถือของขบเคี้ยวเป็นต้นไป; เมื่อ

ไปภายหลังแต่เวลาฉันอาหาร ใช้ให้คนถือปัญจเภสัช และอัฐบาน

ไป. และในเคหสถานแห่งท่านทั้งสองนั้น เขาแต่งอาสนะไว้เพื่อภิกษุ

๑. กุล ตระกูล สกุล ครอบครัว (Family) . ๒. เภสัช ๕ คือ เนยใส ๑ เนยข้น

๑ น้ำมัน ๑ น้ำผึ้ง ๑ น้ำอ้อย ๑. ๓. ปานะ ๘ คือ น้ำมะม่วง ๑ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า ๑

น้ำกล้วยมีเมล็ด ๑ น้ำกล้วยไม่มีเมล็ด ๑ น้ำมะซาง ๑ น้ำลูกจันทร์ หรือองุ่น ๑ น้ำเหง้า

อุบล ๑ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 11

แห่งละ ๒ พันรูปเป็นนิตยกาล. พระภิกษุรูปใด ปรารถนาของสิ่งใด

จะเป็นข้าวน่าหรือเภสัช ของนั้นก็สำเร็จแก่พระภิกษุรูปนั้นสมปรารถนา.

เศรษฐีไม่เคยทูลถามปัญหา

ในท่านทั้งสองนั้น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่เคยทูลถาม

ปัญหาต่อพระศาสดา จนวันเดียว. ได้ยินว่า ท่านคิดว่า " พระ-

ตถาคตเจ้า เป็นพระพุทธเจ้า ผู้ละเอียดอ่อน เป็นกษัตริย์ผู้ละเอียดอ่อน

เมื่อทรงแสดงธรรมแก่เรา ด้วยทรงพระดำริว่า ' คฤหบดีมีอุปการะ

แก่เรามาก ่ ดังนี้ จะทรงลำบาก " แล้วไม่ทูลถามปัญหาด้วยความรัก

ในพระศาสดาเป็นอย่างยิ่ง. ฝ่ายพระศาสดา พอท่านเศรษฐีนั่งแล้ว

ทรงพระพุทธดำริว่า " เศรษฐีผู้นี้ รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา, เหตุว่า

เราได้ตัดศีรษะของเราอันประดับประดาแล้ว ควักดวงตาของเราออกแล้ว

ชำแหละเนื้อหัวใจของเราแล้ว สละลูกเมียผู้เป็นที่รักเสมอด้วยชีวิตของ

เราแล้ว บำเพ็ญบารมีอยู่ ๔ อสงไขยกับแสดงกัลป์ ก็บำเพ็ญแล้วเพื่อ

แสดงธรรมแก่ผู้อื่นเท่านั้น เศรษฐีนี่รักษาเราในที่ไม่ควรรักษา," (ครั้น

ทรงพุทธดำริ) ฉะนี้แล้ว ก็ตรัสพระธรรมเทศนากัณฑ์หนึ่งเสมอ.

ชาวสาวัตถีไปฟังธรรม

ครั้งนั้น ในกรุงสาวัตถี มีคนอยู่ ๗ โกฏิ. ในคนหมู่นั้น คน

ได้ฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว เกิดเป็นอริยสาวกประมาณ ๕ โกฏิ

๑. ในกรุงสาวัตถีไม่ปรากฏว่าใหญ่โตถึงกับจุคนได้ตั้ง ๗๐ ล้าน เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นอเนก-

สังขยากระมัง ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 12

ยังเป็นปุถุชนอยู่ประมาณ ๒ โกฏิ. ในคนเหล่านั้น กิจของพระอริยสาวก

มีเพียง ๒ อย่างเท่านั้น คือในกาลก่อนแต่เวลาฉันอาหาร ท่านถวายทาน

ในกาลภายหลังแต่ฉันอาหารแล้ว ท่านมีมือถือเครื่องสักการบูชามีของ

หอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ใช้คนให้ถือไทยธรรมมีผ้าเภสัชและน้ำ

ปานะเป็นต้น ไปเพื่อต้องการฟังธรรม.

มหาปาละตามไปฟังธรรม

ภายหลังวันหนึ่ง กุฎุมพีมหาปาละเห็นหมู่อริยสาวก มีมือถือ

เครื่องสักการบูชา มีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ไปสู่วิหาริ

จึงถามว่า "มหาชนหมู่นี้ไปไหนกัน ?" ครั้นได้ยินว่า " ไปฟังธรรม"

ก็คิดว่า "เราก็จักไปบ้าง" ครั้นไปถึง ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว

นั่งอยู่ข้างท้ายประชุมชน.

ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อจะทรงแสดงธรรม ทอด

พระเนตรอุปนิสัยแห่งคุณ มีสรณะ ศีล และบรรพชาเป็นต้น (ก่อน)

แล้วจึงทรงแสดงธรรมตามอำนาจอัธยาศัย.

อนุปุพพีกถา ๕

เหตุนั้น วันนั้น พระศาสดา ทอดพระเนตรอุปนิสัยของกุฎุมพี-

มหาปาละแล้ว เมื่อทรงแสดงธรรม ได้ตรัสอนุปุพพีกถา คือทรงประกาศ

ทานกถา (พรรณนาทาน) สีลกถา (พรรณนาศีล) สัคคกถา

(พรรณนาสวรรค์ ) โทษ ความเลวทรามและความเศร้าหมองแห่งกาม

ทั้งหลาย และอานิสงส์ในเนกขัมมะ (คือความออกไปจากกามทั้งหลาย).

๑. วิหาร สำนักสงฆ์ วัด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 13

มหาปาละขอบวช

กุฎุมพีมหาปาละได้สดับธรรมนั้นแล้ว คิดว่า "บุตรและธิดาก็ดี

โภคสมบัติก็ดี ย่อมไปตามผู้ไปสู่ปรโลกหาได้ไม่ แม้สรีระก็ไปกับตัว

ไม่ได้ ประโยชน์อะไรของเราด้วยการอยู่ครองเรือน เราจักบวช พอเทศนา

จบ เขาก็เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขอบวช. ขณะนั้น พระศาสดาตรัสถาม

เขาว่า "ญาติไหน ๆ ของท่านที่ควรจะต้องอำลาไม่มีบ้างหรือ ?"

เขาทูลว่า "พระเจ้าข้า น้องชายของข้าพระพุทธเจ้ามีอยู่."

พระศาสดารับสั่งว่า "ถ้าอย่างนั้นท่านจงอำลาเขาเสีย [ก่อน]."

มหาปาละมอบสมบัติให้น้องชาย

เขาทูลรับว่า "ดีแล้ว" ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปถึงเรือน

แล้ว ให้เรียกน้องชายมา มอบทรัพย์สมบัติให้ว่า "แน่ะพ่อ สวิญญาณก-

ทรัพย์ก็ดี อวิญญาณกทรัพย์ก็ดี อันใดอันหนึ่ง บรรดามีในตระกูลนี้

ทรัพย์นั้นจงตกเป็นภาระของเจ้าทั้งหมด เจ้าจงดูแลทรัพย์นั้นเถิด."

น้องชายถามว่า "นาย ก็ท่านเล่า ?"

พี่ชายตอบว่า "ข้าจักบวชในสำนักของพระศาสดา."

น. พี่พูดอะไร เมื่อมารดาของข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าได้ท่านเป็น

เหมือนมารดา เมื่อบิดาตายแล้ว ได้ท่านเป็นเหมือนบิดา. สมบัติเป็นอัน

มากมีอยู่ในเรือนของท่าน, ท่านอยู่ครองเรือนเท่านั้นอาจทำบุญได้, ขอ

ท่านอย่าได้ทำอย่างนั้นเลย.

พ. พ่อ ข้าได้ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา, เพราะ (เหตุที่)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 14

พระศาสดาทรงแสดงธรรมมีคุณไพเราะ (ทั้ง) ในเบื้องต้น ท่ามกลาง

และที่สุด ยกขึ้นสู่ไตรลักษณะ อันละเอียดสุขุม ธรรมนั้น อันใคร ๆ

ไม่สามารถจะบำเพ็ญให้บริบูรณ์ในท่ามกลางเรือนได้; ข้าจักบวชละ พ่อ.

น. พี่ เออ ก็ท่านยังหนุ่มอยู่โดยแท้, เอาไว้บวชในเมื่อท่าน

แก่เถิด.

พ. พ่อ ก็แม้มือและเท้าของคนแก่ (แต่) ของตัว ก็ยังว่าไม่ฟัง

ไม่เป็นไปในอำนาจ, ก็จักกล่าวไปทำไมถึงญาติทั้งหลาย, ข้านั้นจะไม่ทำ

(ตาม) ถ้อยคำของเจ้า. ข้าจักบำเพ็ญสมณปฏิบัติให้บริบูรณ์.

มือและเท้าของผู้ใด ทรุดโทรมไปเพราะชรา

ว่าไม่ฟัง ผู้นั้น มีเรี่ยวแรงอันชรากำจัดเสียแล้ว

จักประพฤติธรรมอย่างไรได้.

ข้าจักบวชแน่ล่ะ พ่อ.

มหาปาละบรรพชาอุปสมบท

เมื่อน้องชายกำลังร้องไห้อยู่เที่ยว, เขาไปสู่สำนักพระศาสดาแล้ว

ทูลขอบวช ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว อยู่ในสำนักแห่งพระอาจารย์และ

อุปัชฌาย์ครบ ๕ พรรษาแล้ว ออกพรรษา ปวารณาแล้วเข้าไปเฝ้า

พระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลถามว่า "พระเจ้าข้า ในพระศาสนานี้

มีธุระกี่อย่าง ?"

๑. ไตรลักษณะ คือ อนิจจลักษณะ ๑. ทุกขลักษณะ ๑. อนัตตลักษณะ ๑

๒. ถ้าฟังตามนี้ พระมหาปาละบรรพชาอุปสมบทด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจา หาใช่เอหิภิกขุ

อุปสัมปทาไม่.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 15

ธุระ ๒ อย่างในพระศาสนา

พระศาสดาตรัสตอบว่า "ภิกษุ ธุระมี ๒ อย่าง คือ คันถธุระ

(กับ) วิปัสสนาธุระ เท่านั้น."

พระมหาปาละทูลถามว่า "พระเจ้าข้า ก็คันถธุระเป็นอย่างไร ?

วิปัสสนาธุระเป็นอย่างไร ?"

ศ ธุระนี้ คือ การเรียนนิกายหนึ่งก็ดี สองนิกายก็ดี จบพุทธ-

วจนะคือพระไตรปิฏกก็ดี ตามสมควรแก่ปัญญาของตนแล้วทรงไว้ กล่าว

บอก พุทธวจนะนั้น ชื่อว่าคันถธุระ. ส่วนการเริ่มตั้งความสิ้นและ

ความเสื่อมไว้ในอัตภาพ ยังวิปัสสนาให้เจริญ ด้วยอำนาจแห่งการติดต่อ

แล้ว ถือเอาพระอรหัตของภิกษุผู้มีความประพฤติแคล่วคล่อง ยินดียิ่งแล้ว

ในเสนาสนะอันสงัด ชื่อว่าวิปัสสนาธุระ.

ม. พระเจ้าข้า ข้าพระองค์บวชแล้วแต่เมื่อแก่ ไม่สามารถจะ

บำเพ็ญคันถธุระให้บริบูรณ์ได้, แต่จักบำเพ็ญวิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์,

ขอพระองค์ตรัสบอกพระกรรมฐานแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระมหาปาละเดินทางไปบ้านปลายแดน

ลำดับนั้น พระศาสดาได้ตรัสบอกพระกรรมฐานตลอดถึงพระอรหัต

แก่พระมหาปาละ. ท่านถวายบังคมพระศาสดาแล้ว แสวงหาภิกษุผู้จะ

ไปกับตน ได้ภิกษุ ๖๐ รูปแล้ว ออกพร้อมกับเธอทั้งหลายไป

ตลอดทาง ๑๒๐ โยชน์ ถึงบ้านปลายแดนหมู่ใหญ่ตำบลหนึ่ง จึงพร้อม

ด้วยบริวาร เข้าไปบิณฑบาต ณ บ้านนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 16

ชาวบ้านเลื่อมใสอาราธนาให้อยู่จำพรรษา

หมู่มนุษย์ เห็นภิกษุทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยวัตร มีจิตเลื่อมใส

แต่งอาสนะแล้วนิมนต์ให้นั่ง อังคาสด้วยอาหารอันประณีตแล้ว ถามว่า

"ท่านเจ้าข้า พระผู้เป็นเจ้าจะไปที่ไหน ?" เมื่อเธอทั้งหลายกล่าว

ตอบว่า "อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย เราจะไปสู่ที่ตามผาสุก" ดังนี้

แล้ว, มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตรู้ว่า "ท่านผู้เจริญทั้งหลายแสวงหาเสนาสนะ

ที่จำพรรษา," จึงกล่าวอาราธนาว่า " ท่านผู้เจริญ ถ้าพระผู้เป็นเจ้า

ทั้งหลาย พึงอยู่ ณ ที่นี่ตลอดไตรมาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลาย จะพึงตั้งอยู่

ในสรณะแล้วถือศีล." แม้เธอทั้งหลายก็คิดเห็นว่า "เราได้อาศัยตระกูล

เหล่านี้ จักทำการออกไปจากภพได้" ดังนี้ จึงรับนิมนต์. หมู่มนุษย์รับ

ปฏิญญาของเธอทั้งหลายแล้ว ได้ (ช่วยกัน) ปัดกวาดวิหาร จัดที่อยู่

ในกลางคืน และที่อยู่ในกลางวันแล้วมอบถวาย. เธอทั้งหลาย เข้าไป

บิณฑบาตบ้านนั้นตำบลเดียวเป็นประจำ. ครั้งนั้น หมอผู้หนึ่งเข้าไปหา

เธอทั้งหลาย ปวารณาว่า "ท่านผู้เจริญ ธรรมดาในที่อยู่ของคนมาก

ย่อมมีความไม่ผาสุกบ้าง. เมื่อความไม่ผาสุกนั้นเกิดขึ้นแล้ว ท่านทั้งหลาย

พึงบอกแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักทำเภสัชถวาย."

พระมหาปาละถือเนสัชชิกธุดงค์

ในวันจำพรรษา พระเถระเรียกภิกษุเหล่านั้นมา (พร้อมกัน )

แล้ว ถามว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจักให้ไตรมาสนี้น้อม

ล่วงไปด้วยอิริยาบถเท่าไร ?"

๑. วสฺสปนายิกทิวเส.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 17

ภิกษุทั้งหลายเรียนตอบว่า "จักให้น้อมล่วงไปด้วยอิริยาบถครบทั้ง

๔ ขอรับ."

ถ. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ข้อนั้นสมควรละหรือ ? เราทั้งหลาย

ควรเป็นผู้ไม่ประมาทไม่ใช่หรือ ? เพราะเราทั้งหลายเรียนพระกรรมฐาน

มาจากสำนักของพระพุทธเจ้า ผู้ยังทรงพระชนม์อยู่. แลธรรมดาว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันคนมักอวดไม่สามารถจะให้ทรงยินดีได้, ด้วยว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลายนั้น อันคนมีอัธยาศัยงาม (จำพวกเดียว) พึงให้

ทรงยินดีได้, และขึ้นชื่อว่าอบายทั้ง ๔ เป็นเหมือนเรือนของตัวเอง แห่ง

คนผู้ประมาทแล้ว, ขอท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ท่านผู้มีอายุ

ทั้งหลาย.

ภ. ก็ท่านเล่า ขอรับ.

ถ. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้าจักให้ (ไตรมาสนี้) (น้อม)

ล่วงไปด้วยอิริยาบถ ๓ , จักไม่เหยียดหลัง.

ภ. สาธุ ขอจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด ขอรับ.

จักษุของพระมหาปาละพิการ

เมื่อพระเถระไม่หยั่งลงสู่นิทรา, เมื่อเดือนต้นผ่านไปแล้ว, โรค

ในจักษุก็เกิดขึ้น. สายน้ำไหลออกจากตาทั้ง ๒ ข้าง เหมือนสายน้ำอัน

ไหลออกจากหม้ออันทะลุ. ท่านบำเพ็ญสมณธรรมตลอดราตรีทั้งสิ้นแล้ว

ในเวลาอรุณขึ้น เข้าห้องนั่งแล้ว. ในเวลาภิกขาจาร ภิกษุทั้งหลายไปสู่

สำนักของพระเถระเรียนว่า "เวลานี้เป็นเวลาภิกขาจาร ขอรับ." พระ-

เถระตอบว่า "ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายถือบาตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 18

และจีวรเถิด" ดังนี้แล้ว ให้เธอทั้งหลายถือบาตรและจีวรของตน ออก

ไปแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย เห็นตาทั้งสองของพระเถระนองอยู่ จึงเรียนถามว่า

" นั่นเป็นอะไร ขอรับ."

ถ. ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ลมแทงตาของข้าพเจ้า.

ภ. ท่านขอรับ หมอปวารณาเราไว้ไม่ใช่หรือ ? เราควรบอก

แก่เขา.

ถ. ดีละ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.

หมอปรุงยาให้หยอด

เธอทั้งหลายจึงได้บอกแก่หมอ. เขาหุงน้ำมันส่งไปถวายแล้ว.

พระเถระเมื่อหยอดน้ำมันในจมูก นั่งหยอดเทียวแล้วเข้าไปภายในบ้าน.

หมอเห็นเรียนถามว่า "ท่านขอรับ ได้ยินว่า ลมแทงตาของพระผู้

เป็นเจ้าหรือ ?"

ถ. เออ อุบาสก.

ม. ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าหุงน้ำมันแล้วส่งไป ( ถวาย) ท่านหยอด

ทางจมูกแล้วหรือ ?

ถ. เออ อุบาสก.

ม. เดี๋ยวนี้ เป็นอย่างไร ขอรับ.

ถ. ยังแทงอยู่ทีเดียว อุบาสก.

พระมหาปาละนั่นหยอดยา

หมอคิดฉงนใจ "เราส่งน้ำมันเพื่อจะยังโรคให้ระงับได้ด้วยการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 19

หยอดเพียงครั้งเดียวเท่านั้นไปถวายแล้ว. เหตุไฉนหนอแล โรคจึงยังไม่

สงบ ?" จึงเรียนถามว่า "ท่านเจ้าข้า น้ำมันนั้นท่านนั่งหยอดหรือ

นอนหยอด."

พระเถระได้นิ่งเสีย, ท่านแม้หมอซักถามอยู่ก็ไม่พูด.

หมอนึกว่า "เราจักไปวิหารดูที่อยู่เอง" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า

"ถ้าอย่างนั้น นิมนต์ไปเถิด ขอรับ" ผละพระเถระแล้ว ไปสู่วิหารดู

ที่อยู่ของพระเถระ เห็นแต่ที่จงกรมและที่นั่ง ไม่เห็นที่นอน จึงเรียนถามว่า

" ท่านเจ้าข้า น้ำมันนั้น ท่านนั่งหยอดหรือนอนหยอด" พระเถระได้

นิ่งเสีย. หมออ้อนวอนซ้ำว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านอย่าได้ทำอย่างนั้น.

ธรรมดาสมณธรรม เมื่อร่างกายยังเป็นไปอยู่ ก็อาจทำได้, ขอท่านนอน

หยอดเถิด."

พระมหาปาละปรึกษากรัชกาย

พระเถระตอบว่า " ไปเถิด ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าจักปรึกษาดูก่อนแล้ว

จึงจักรู้. ก็ในที่นั้นไม่มีญาติสาโลหิตของพระเถระเลย ท่านจะพึงปรึกษา

กับใครเล่า. ถึงอย่างนั้นท่านปรึกษากับกรัชกายอยู่ ดำริว่า "แน่ะปาลิตะ

ผู้มีอายุ ท่านจงว่ามาก่อน, ท่านจักเห็นแก่จักษุหรือจักเห็นแก่พระพุทธ-

ศาสนา. ก็ในสังสารวัฏอันมีที่สุด อันใครตามค้นไปก็รู้ไม่ได้ การคณนา

นับตัวท่านผู้บอดด้วยจักษุหามีไม่, และพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ก็ล่วงไป

หลายร้อยหลายพันพระองค์แล้ว ในพระพุทธเจ้าเหล่านั้น พระพุทธเจ้า

แม้แต่พระองค์เดียวก็กำหนดไม่ได้, ท่านได้ผูกใจไว้เดี๋ยวนี้เองว่า "จักไม่

๑. แปลว่ากายอันเกิดแต่ธุลีมีในสรีระ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 20

นอน จนตลอด ๓ เดือนภายในฤดูฝนนี้; เหตุฉะนั้น จักษุของท่าน

ฉิบหายเสียหรือแตกเสียก็ตามเถิด ท่านจงทรงแต่พระพุทธศาสนาไว้เถิด

อย่าเห็นแก่จักษุเลย" เมื่อกล่าวสอนภูตกาย ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า:-

" จักษุที่ท่านถือว่าของตัว เสื่อมไปเสียเถิด หูก็

เสื่อมไปเสียเถิด, กายก็เป็นเหมือนกันอย่างนั้นเถิด,

แม้สรรพสิ่งอันอาศัยกายนี้ ก็เสื่อมไปเสียเถิด,

ปาลิตะ เหตุไฉน ท่านจึงประมาทอยู่. จักษุที่ท่าน

ถือว่าของตัว ทรุดโทรมไปเสียเถิด, หูก็ทรุดโทรมไป

เสียเถิด, กายก็เป็นเหมือนกันอย่างนั้นเถิด, แม้

สรรพสิ่งอันอาศัยกายนี้ก็ทรุดโทรมไปเสียเถิด, ปาลิตะ

เหตุไฉน ท่านจึงประมาทอยู่. จักษุที่ท่านถือว่าของตัว

แตกไปเสียเถิด, หูก็แตกไปเสียเถิด, รูปก็เป็น

เหมือนกันอย่างนั้นเถิด, แม้สรรพสิ่งอันอาศัยกายนี้

ก็แตกไปเสียเถิด, ปาลิตะ เหตุไฉน ท่านจึง

ประมาทอยู่ ."

หมอเลิกรักษาพระมหาปาละ

ครั้นพระเถระให้โอวาทแก่ตนเองด้วย ๓ คาถาอย่างนี้แล้ว ได้นั่ง

ทำนัตถุกรรม แล้วจึงเข้าไปบ้านเพื่อบิณฑบาต หมอเห็นแล้วเรียนถามว่า

"ท่านเจ้าข้า ท่านทำนัตถุกรรมแล้วหรือ ?"

ถ. เออ อุบาสก.

๑. คือเป่าน้ำมัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 21

ม. เป็นอย่างไรบ้าง ขอรับ.

ถ. ยังแทงอยู่เทียว อุบาสก.

ม. ท่านนั่งหยอดหรือนอนหยอด ขอรับ.

พระเถระได้นิ่งเสีย, ท่านแม้อันหมอถามซ้ำ ก็ไม่พูดอะไร.

ขณะนั้น หมอกล่าวกะท่านว่า "ท่านผู้เจริญ ท่านไม่ทำความสบาย

ตั้งแต่วันนี้ ขอท่านอย่าได้กล่าวว่า 'หมอผู้โน้นหุงน้ำมันให้เรา' แม้

ข้าพเจ้าก็จักไม่กล่าวว่า ่ข้าพเจ้าหุงน้ำมันถวายท่าน."

พระเถระเสียจักษุพร้อมกับการบรรลุพระอรหัต

พระเถระถูกหมอบอกเลิกแล้ว กลับไปสู่วิหาร ดำริว่า "ท่าน

แม้หมอเขาก็บอกเลิกแล้ว ท่านอย่าได้ละอิริยาบถเสียนะ สมณะ" แล้ว

กล่าวสอนตนด้วยคาถานี้ว่า

"ปาลิตะ. ท่านถูกหมอเขาบอกเลิกจากการรักษา

ทิ้งเสียแล้ว เที่ยงต่อมัจจุราช ไฉนจึงยังประมาท

อยู่เล่า ?"

ดังนี้แล้ว บำเพ็ญสมณธรรม.

ลำดับนั้น พอมัชฌิมยามล่วงแล้ว, ทั้งดวงตา ทั้งกิเลส ของท่าน

แตก (พร้อมกัน ) ไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน. ท่านเป็นพระอรหันต์

สุกขวิปัสสก เข้าไปสู่ห้องนั่งแล้ว.

พวกภิกษุและชาวบ้านรับบำรุงพระเถระ

ในเวลาภิกขาจาร ภิกษุทั้งหลายไปเรียนว่า "ท่านผู้เจริญ เวลานี้

๑. คือ เป็นพระอรหันต์ ฝ่ายวิปัสสนา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 22

เป็นเวลาภิกขาจาร."

ถ. กาลหรือ ? ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.

ภ. ขอรับ.

ถ. ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายไปเถิด.

ภ. ก็ท่านเล่า ? ขอรับ.

ถ. ตาของข้าพเจ้า เสื่อมเสียแล้ว ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย.

เธอทั้งหลายแลดูตาของท่านแล้ว มีตาเต็มด้วยน้ำตา ปลอบพระเถระ

ว่า "ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าคิดไปเลย, กระผมทั้งหลายจักปฏิบัติท่าน"

ดังนี้แล้ว ทำวัตรปฏิบัติที่ควรจะทำเสร็จแล้วเข้าไปสู่บ้าน. หมู่มนุษย์ไม่

เห็นพระเถระ ถามว่า "ท่านเจ้าข้า พระผู้เป็นเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย

ไปข้างไหนเสีย" ทราบข่าวนั้นแล้ว ส่งข้าวต้มไปถวายก่อนแล้ว ถือเอา

บิณฑบาตไปเอง ไหว้พระเถระแล้ว ร้องไห้กลิ้งเกลือกอยู่แทบเท้า

(ของท่าน) ปลอบว่า "ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าทั้งหลายจักรับปฏิบัติ

ท่านอย่าได้คิดไปเลย" แล้วลากลับ . ตั้งแต่นั้นมาเขาก็ส่งข้าวต้มและ

ข้าวสวยไปถวายที่วิหารเป็นนิตย์.

ฝ่ายพระเถระ ก็กล่าวสอนภิกษุ ๖๐ รูปนอกนี้เป็นนิรันดร์. เธอ

ทั้งหลายตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน. ครั้นจวนวันปวารณา ก็บรรลุพระ-

อรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทุกรูป.

พวกภิกษุไปเฝ้าพระศาสดา

ก็แลเธอทั้งหลายออกพรรษาแล้ว อยากจะเฝ้าพระศาสดา จึงเรียน

พระเถระว่า "กระผมทั้งหลายอยากจะเฝ้าพระศาสดา ขอรับ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 23

พระเถระได้ฟังคำของเธอทั้งหลายแล้ว คิดว่า "เราเป็นคน

ทุพพลภาพ และในระหว่างทาง ดงที่อมนุษย์สิงก็มีอยู่ เมื่อเราไปกับเธอ

ทั้งหลาย จักพากันลำบากทั้งหมด จักไม่อาจเพื่ออันได้แม้ภิกษา เราจัก

ส่งภิกษุเหล่านี้ไปเสียก่อน ลำดับนั้น ท่านจึงกล่าวกะเธอทั้งหลายว่า

" ผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไปก่อนเถิด."

ภ. ก็ท่านเล่า ? ขอรับ.

ถ. ข้าพเจ้าเป็นคนทุพพลภาพ และในระหว่างทาง ดงที่อมนุษย์

สิงก็มียู่ เมื่อข้าพเจ้าไปกับท่านทั้งหลาย จักพากันลำบากทั้งหมด ท่าน

ทั้งหลายไปก่อนเถิด.

ภ. อย่าทำอย่างนี้เลย ขอรับ กระผมทั้งหลายจักไปพร้อมกันกับ

ท่านทีเดียว.

ถ. "ท่านทั้งหลายอย่าชอบอย่างนั้นเลย, เมื่อเป็นอย่างนั้น ความ

ไม่ผาสุกจักมีแก่ข้าพเจ้า, น้องชายของข้าพเจ้า เห็นท่านทั้งหลายแล้ว

คงจักถาม. เมื่อเช่นนั้น ท่านทั้งหลายพึงบอกความที่จักษุของข้าพเจ้า

เสื่อมเสียแล้วแก่เขา เขาคงจักส่งใคร ๆ มาสู่สำนักของข้าพเจ้า ข้าพเจ้า

จักไปกับเขา, ท่านทั้งหลายจงไหว้พระทศพลและพระอสีติมหาเถระตาม

คำของข้าพเจ้า ดังนี้แล้ว ก็ส่งภิกษุเหล่านั้นไป.

พวกภิกษุแจ้งข่าวแก่น้องชายพระเถระ

เธอทั้งหลายขมาพระเถระแล้ว เข้าไปสู่ภายในบ้าน. หมู่มนุษย์

นิมนต์ให้นั่ง ถวายภิกษาแล้ว ถามว่า "ท่านเจ้าข้า ดูท่าทีพระผู้เป็น

เจ้าทั้งหลายจะไปกันละหรือ ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 24

เธอทั้งหลายตอบว่า " เออ อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย พวก

ข้าพเจ้าอยากจะเฝ้าพระศาสดา." พวกเขาอ้อนวอนเป็นหลายครั้นแล้ว

ทราบความพลใจในการที่เธอทั้งหลายจะไปให้ได้ จึงตามไปส่งแล้ว

บ่นรำพันกลับมา.

ฝ่ายเธอทั้งหลายไปถึงพระเชตวันโดยลำดับ ถวายบังคมพระศาสดา

และไหว้พระมหาเถระทั้งหลาย ตามคำของพระเถระแล้ว, ครั้นรุ่งขึ้น

เข้าไปสู่ถนนที่น้องชายของพระเถระอยู่ เพื่อบิณฑบาต. กุฏุมพีจำเธอ

ทั้งหลายได้ นิมนต์ให้นั่ง ทำปฏิสันถารแล้ว ถามว่า "พระเถระพี่ชาย

ของข้าพเจ้าอยู่ไหน ?"

ลำดับนั้น เธอทั้งหลาย แจ้งข่าวนั้นแก่เขาแล้ว.

เขาร้องไห้กลิ้งเกลือกอยู่แทบบาทมูลของเธอทั้งหลาย ถมว่า "ท่าน

เจ้าข้า บัดนี้ควรทำอะไรดี ?"

ส่งสามเณรหลานชายไปรับพระเถระ

ภ. พระเถระต้องการให้ใคร ๆ ไปจากที่นี้, ในกาลเมื่อไปถึงแล้ว

ท่านจักมากับเขา.

ก. ท่านเจ้าข้า เจ้าคนนี้ หลานของข้าพเจ้าชื่อปาลิตะ ขอท่าน

ทั้งหลายส่งเจ้านี่ไปเถิด.

ภ. ส่งไปอย่างนี้ไม่ได้ (เพราะ) อันตรายในทางมีอยู่, ต้องให้

บวชเสียก่อนแล้วส่งไป จึงจะควร.

ก. ขอท่านทั้งหลายทำอย่างนั้นแล้วส่งไปเถิด ขอรับ.

ครั้งนั้น เธอทั้งหลายให้เขาบวชแล้ว สั่งสอนให้ศึกษาข้อวัตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 25

ปฏิบัติมีรับจีวรเป็นต้นสักกึ่งเดือนแล้ว บอกทางให้แล้วส่งไป.

สามเณรถึงบ้านนั้นโดยลำดับ เห็นชายผู้ใหญ่คนหนึ่งที่ประตูบ้าน

จึงถามว่า "วิหารป่าไร ๆ อาศัยบ้านนี้มีบ้างหรือ ?"

ช. มี เจ้าข้า.

ส. ใครอยู่ที่นั้น ?

ช. พระเถระชื่อปาลิตะ เจ้าข้า.

ส. ขอท่านบอกทางแก่ข้าพเจ้าหน่อย.

ช. ท่านเป็นอะไรกัน ? เจ้าข้า.

ส. รูปเป็นหลานของพระเถระ

สามเณรชวนพระมหาปาละกลับ

ขณะนั้น เขาพาเธอนำไปสู่วิหารแล้ว. เธอไหว้พระเถระแล้วทำ

วัตรปฏิบัติ บำรุงพระเถระด้วยดีสักกึ่งเดือนแล้ว เรียนว่า "ท่านผู้เจริญ

กุฎุมพีผู้ลุงของกระผม ต้องการให้ท่านกลับไป ขอท่านมาไปด้วยกันเถิด."

พระเถระกล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้น เธอจงจับปลายไม้เท้าของเราข้า.

สามเณรจับปลายไม้เท้า เข้าไปภายในบ้านกับพระเถระ. หมู่มนุษย์นิมนต์

ให้นั่งแล้ว เรียนถามว่า "ท่านผู้เจริญ ดูท่าทีท่านจะไปละกระมัง ?"

พระเถระตอบว่า "เออ อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย เราจะไป

ถวายบังคมพระศาสดา." หมู่มนุษย์เหล่านั้น อ้อนวอนโดยประการต่าง ๆ

เมื่อไม่ได้ (สมหวัง) ก็ไปส่งพระเถระได้กึ่งทางแล้ว พากันร้องไห้

กลับมา.

๑. น่าจะชื่อปาละ เพราะปาลิตะ เป็นชื่อของสามเณรหลานชาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 26

สามเณรถึงศีลวิบัติเพราะเสียงหญิง

สามเณรพาพระเถระด้วยปลายไม้เท้าไปอยู่ ถึงบ้านที่พระเถระ

เคยอาศัยเมืองชื่อสังกัฏฐะ อยู่แล้วในคงระหว่างทาง. เธอได้ยินเสียงขับ

ของหญิงคนหนึ่ง ผู้ออกจากบ้านนั้นแล้ว ขับพลางเที่ยวเก็บฟืนพลาง

อยู่ในป่า ถือนิมิตในเสียงแล้ว.

จริงอยู่ ไม่มีเสียงอื่น ชื่อว่าสามารถแผ่ไปทั่วสรีระของบุรุษทั้งหลาย

ตั้งอยู่ เหมือนเสียงหญิง, เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ภิกษุ

ทั้งหลาย เราไม่เห็นเสียงอื่นแม้สักอย่าง อันจะยึดจิตของบุรุษตั้งอยู่

เหมือนเสียงหญิง นะภิกษุทั้งหลาย."

สามเณรถือนิมิตในเสียงนั้นแล้ว ปล่อยปลายไม้เท้าเสียแล้ว

กล่าวว่า "ท่านขอรับ ขอท่านรออยู่ก่อน, กิจของกระผมมี" ดังนี้แล้ว

ไปสู่สำนักของหญิงนั้น. นางเห็นเธอแล้วได้หยุดนิ่ง. เธอถึงศีลวิบัติกับ

นางแล้ว. พระเถระคิดว่า "เราได้ยินเสียงขับอันหนึ่งแล้วเดี๋ยวนี้เอง,

ก็แล เสียงนั้นคงเป็นเสียงหญิง ถึงสามเณรก็ชักช้าอยู่, เธอจักถึงศีลวิบัติ

เสียแน่แล้ว." ฝ่ายสามเณรนั้น ทำกิจของตนสำเร็จแล้วมาพูดว่า "เรา

ทั้งหลายไปกันเถิด ขอรับ.

ขณะนั้น พระเถระถามเธอว่า "สามเณร เธอกลายเป็นคนชั่วเสีย

แล้วหรือ ? เธอนิ่งเสีย แม้พระเถระถามซ้ำก็ไม่พูดอะไร ๆ.

พระเถระไม่ยอมให้สามเณรคบ

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะเธอว่า " ธุระด้วยการที่คนชั่วเช่น

เธอจับปลายไม้เท้าของเรา ไม่ต้องมี." เธอถึงซึ่งความสังเวชแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 27

เปลื้องผ้ากาสายะเสียแล้ว นุ่งห่มอย่างคฤหัสถ์พูดว่า "ท่านผู้เจริญ เมื่อก่อน

กระผมเป็นสามเณร แต่เดี๋ยวนี้กระผมกลับเป็นคฤหัสถ์แล้ว. อนึ่ง กระผม

เมื่อบวชก็ไม่ได้บวชด้วยศรัทธา บวชเพราะกลัวแต่อันตรายในหนทาง

ขอท่านมาไปด้วยกันเถิด."

พระเถระพูดว่า " ผู้มีอายุ คฤหัสถ์ชั่วก็ดี สมณะชั่วก็ดี ก็ชั่ว

ทั้งนั้น; เธอแม้ตั้งอยู่ในความเป็นสมณะแล้ว ไม่อาจเพื่อทำคุณเพียงแต่

ศีลให้บริบูรณ์ เป็นคฤหัสถ์ จักทำความดีงามชื่ออะไรได้, ธุระด้วยการ

ที่คนชั่วเช่นเธอจับปลายไม้เท้าของเรา ไม่ต้องมี."

นายปาลิตะตอบว่า "ท่านผู้เจริญ หนทางมีอมนุษย์ชุมและท่าน

ก็เสียจักษุ จักอยู่ในที่นี้อย่างไรได้."

ลำดับนั้น พระเถระ กล่าวกะเขาว่า "ผู้มีอายุ เธออย่าได้คิด

อย่างนั้นเลย, เราจะนอนตายอยู่ ณ ที่นี้ก็ดี จะนอนพลิกกลับไปกลับมา

ณ ที่นี้ก็ดี ขึ้นชื่อว่าการไปกับเธอย่อมไม่มี" (ครั้นว่าอย่างนี้แล้ว) ได้

กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

"เอาเถิด, เราเป็นผู้มีจักษุอันเสียแล้ว มาสู่ทาง

ไกลอันกันดาร นอนอยู่ (ก็ช่าง) จะไม่ไป,

เพราะความเป็นสหายในชนพาลย่อมไม่มี. เอาเถิด

เราเป็นผู้มีจักษุเสียแล้ว มาสู่ทางไกลอันกันดาร

จักตายเสีย จักไม่ไป, เพราะความเป็นสหายใน

ชนพาลย่อมไม่มี."

นายปาลิตะ ได้ยินคำนั้นแล้ว เกิดความสังเวช นึกว่า "เราทำ

กรรมหนัก เป็นไปโดยด่วน ไม่สมควรหนอ" ดังนี้แล้ว กอดแขน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 28

คร่ำครวญ แล่นเข้าราวป่า ได้หลีกไป ด้วยประการนั้นแล.

อาสนะท้าวสักกะร้อน

ด้วยเดชแห่งศีลแม้ของพระเถระ (ในขณะนั้น) บัณฑุกัมพล-

สิลาอาสน์ ของท้าวสักกเทวราช ยาว ๖๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์

หนา ๑๕ โยชน์ มีสีดุจดอกชัยพฤกษ์ มีปกติยุบลงในเวลาประทับนั่งและ

ฟูขึ้นในเวลาเสด็จลุกขึ้น แสดงอาการร้อนแล้ว.

ท้าวสักกเทวราช ทรงดำริว่า "ใครหนอแล ใคร่จะยังเราให้

เคลื่อนจากสถาน" ดังนี้แล้ว ทรงเล็งลงมา ได้ทอดพระเนตรเห็น

พระเถระด้วยทิพยจักษุ.

เหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

"ท้าวสหัสเนตร ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา ส่องทิพย-

จักษุ (ทรงทราบว่า) พระปาลเถระองค์นี้ ติเตียน

คนบาป ชำระเครื่องเลี้ยงชีพให้บริสุทธิ์แล้ว, ท้าว

สหัสเนตร ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา ส่องทิพยจักษุ

(ทรงทราบว่า) พระปาลเถระ องค์นี้หนักในธรรม

ยินดีในศาสนา นั่งอยู่แล้ว."

ขณะนั้น ท้าวเธอได้ทรงพระดำริว่า "ถ้าเราจักไม่ไปสู่สำนักของ

พระผู้เป็นเจ้า ผู้ติเตียนคนบาป หนักในธรรม เห็นปานนั้น, ศีรษะของ

เราพึงแตก ๗ เสียง; เราจักไปสู่สำนักของท่าน," (ครั้นทรงพระดำริ

ฉะนี้แล้ว ก็เสด็จไป).

๑. แผ่นศิลาที่ประทับ มีสีดุจผ้าขนสัตว์เหลือง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 29

เหตุนั้น (พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า)

" ท้าวสหัสเนตร ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา ทรงสิริ

ของเทวราช เสด็จมาโดยขณะนั้นแล้ว เข้าไปใกล้

พระจักขุปาลเถระแล้ว."

ก็แลครั้นเสด็จเข้าไปใกล้แล้ว ได้ทรงทำเสียงฝีพระบาทในที่ใกล้พระเถระ.

ขณะนั้น พระเถระถามท้าวเธอว่า "นั่นใคร ?"

เทวราชตรัสตอบว่า "ข้าพเจ้าคนเดินทาง เจ้าข้า."

ถ. ท่านจะไปไหน อุบาสก.

ท. เมืองสาวัตถี เจ้าข้า.

ถ. ไปเถิด ท่านผู้มีอายุ.

ท. ก็พระผู้เป็นเจ้าเล่า เจ้าข้า จักไปไหน ?

ถ. ถึงเราก็จักไปในที่นั้นเหมือนกัน.

ท. ถ้าอย่างนั้น เราทั้งหลายไปด้วยกันเถิด เจ้าข้า.

ถ. เราเป็นคนทุพพลภาพ, ความเนิ่นช้าจักมีแก่ท่านผู้ไปอยู่กับเรา.

ท. กิจรีบของข้าพเจ้าไม่มี ถึงข้าพเจ้าไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าจักได้

บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ สักประการหนึ่ง เราทั้งหลายไปด้วยกันเถอะเจ้าข้า.

พระเถระคิดว่า "นั่นจักเป็นสัตบุรุษ" จึงกล่าวว่า "ถ้าอย่างนั้น

จับปลายไม้เท้าเข้าเถิด อุบาสก."

ท้าวสักกเทวราช พาพระเถระไปถึงพระเชตวัน

ท้าวสักกเทวราช ทรงทำอย่างนั้นแล้ว ย่อพื้นปฐพีให้ถึงพระ-

เชตวันในเพลาเย็น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 30

พระเถระได้ฟังเสียงเครื่องประโคมมีสังข์และบัณเฑาะว์เป็นต้นแล้ว

ถามว่า "นั่น เสียงที่ไหน ?"

ท. ในเมืองสาวัตถี เจ้าข้า.

ถ. ในเวลาไป เราไปโดยกาลช้านานแล้ว.

ท. ข้าพเจ้ารู้ทางตรง เจ้าข้า.

ในขณะนั้น พระเถระกำหนดได้ว่า "ผู้นี้มิใช่มนุษย์ จักเป็น

เทวดา."

(เหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า)

" ท้าวสหัสเนตร ผู้เป็นเจ้าแห่งเทวดา ทรงสิริ

ของเทวราช ย่นทางนั้น พลันเสด็จมาถึงเมือง

สาวัตถีแล้ว."

ท้าวเธอนำพระเถระไปสู่บรรณศาลา ที่กุฎุมพีผู้น้องชายทำเพื่อ

ประโยชน์แก่พระเถระนั้นเทียว นิมนต์ให้นั่งเหนือแผ่นกระดานแล้วจำแลง

เป็นสหายที่รักไปสู่สำนักของกุฎุมพีจุลปาละ ตรัสร้องเรียกว่า "แน่ะ

ปาละผู้สหาย."

กุฎุมพีจุลปาละร้องถามว่า "อะไร ? สหาย."

ท. ท่านรู้ความที่พระเถระมาแล้วหรือ ?

จ. ข้าพเจ้ายังไม่รู้, ก็พระเถระมาแล้วหรือ ?

เทวราช ตรัสว่า "เออ สหาย ข้าพเจ้าไปวิหาร เห็นพระเถระ

นั่งในบรรณศาลาที่ท่านทำ มาแล้วเดี๋ยวนี้เอง" ดังนี้แล้ว เสด็จ

หลีกไป.

ฝ่ายกุฎุมพีไปถึงวิหาร เห็นพระเถระแล้ว ร้องไห้กลิ้งเกลือกอยู่ที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 31

บาทมูล กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญเจ้าข้า ข้าพเจ้าเห็นเหตุนี้แล้วจึงไม่ยอม

ให้ท่านบวช" ดังนี้เป็นต้นแล้ว ทำเด็กทาส ๒ คนให้เป็นไทให้บวช

ในสำนักของพระเถระแล้ว สั่งว่า "ท่านทั้งหลาย จงนำเอาของฉันมี

ข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้น มาจากภายในบ้านอุปัฏสากพระเถระ" ดังนี้

แล้ว มอบให้แล้ว. สามเณรทั้งหลาย ก็ทำวัตรปฏิบัติอุปัฏฐากพระเถระ

แล้ว.

ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายผู้อยู่ในทิศ (ผู้อยู่ที่อื่น) มาสู่

พระเชตวัน ด้วยหวังว่า " จักเฝ้าพระศาสดา" ถวายบังคมพระศาสดา

เยี่ยมพระอสีติมหาเถระแล้ว เที่ยวจาริกอยู่ในวิหาร ถึงที่อยู่ของพระจักขุ-

ปาสเถระแล้ว มีหน้าตรงต่อที่นั้นในเวลาเย็น ด้วยหวังว่า "จักดูแม้

ที่นี้."

ในขณะนั้น มหาเมฆตั้งขึ้นแล้ว. พวกเธอคิดว่า "เดี๋ยวนี้เย็น

แล้ว, และเมฆก็ตั้งขึ้นแล้ว, เราจักมาดูแต่เช้าเทียว" ดังนี้แล้วกลับไป.

ฝนตกในปฐมยาม หยุดในมัชฌิมยาม. พระเถระเป็นผู้ (เคย) ปรารภ

ความเพียร เดินจงกรมเป็นอาจิณ; เหตุฉะนั้น จึงลงสู่ที่จงกรมแล้วใน

ปัจฉิมยาม. แลในกาลนั้น ตัวแมลงค่อมทอง (หรือแมลงเม่า) เป็น

อันมาก ตั้งขึ้นแล้ว บนพื้นที่ฝนตกใหม่. ตัวเหล่านั้น เมื่อพระเถระ

จงกรมอยู่ ได้วิบัติ (ตาย) โดยมาก.

พวกอันเตวาสิก ยังไม่ทันกวาดที่จงกรมของพระเถระแต่เช้า. ฝ่าย

พวกภิกษุนอกนี้ มาด้วยหวังว่า " จักดูที่อยู่ของพระเถระ" เห็นสัตว์

ทั้งหลายในที่จงกรมแล้ว ถามว่า "ใครจงกรมในที่นี้." พวกอันเตวาสิก

ของพระเถระตอบว่า " อุปัชฌาย์ของพวกกระผมขอรับ." เธอทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 32

ติเตียนว่า "ท่านทั้งหลายดูกรรมของสมณะเถิด ในกาลมีจักษุท่านนอน

หลับเสีย ไม่ทำอะไร, ในกาลมีจักษุวิกลเดี๋ยวนี้ไว้ตัวว่า 'จงกรม' ทำ

สัตว์มีประมาณถึงเท่านี้ให้ตายแล้ว ท่านคิดว่า ' จักทำประโยชน์' กลับ

ทำการหาประโยชน์มิได้."

พวกเธอไปกราบทูลพระตถาคตแล้วในขณะนั้นว่า "พระเจ้าข้า

พระจักขุปาลเถระ ไว้ตัวว่า 'จงกรม' ทำสัตว์มีชีวิตเป็นอันมากให้ตาย

แล้ว."

พระศาสดาตรัสถามว่า "ท่านทั้งหลายเห็นเธอกำลังทำสัตว์มีชีวิต

เป็นอันมากให้ตายแล้วหรือ ?"

ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า "ไม่ได้เห็น พระเจ้าข้า."

ศ. ท่านทั้งหลายไม่เห็นเธอ (ทำดังนั้น) ฉันใดแล ถึงเธอก็ไม่

เห็นสัตว์มีชีวิตเหล่านั้น ฉันนั้น. ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าเจตนาเป็นเหตุ

ให้ตาย ของพระขีณาสพทั้งหลาย (คือบุคคลผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว) มิได้มี.

ภ. พระเจ้าข้า เมื่ออุปนิสัยแห่งพระอรหัตมีอยู่ เหตุไฉนท่านจึง

กลายเป็นคนมีจักษุมืดแล้ว.

ศ. ด้วยอำนาจกรรมอันตนทำไว้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย.

ภ. ก็ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้แล้ว พระเจ้าข้า.

บุรพกรรมของพระจักขุปาลเถระ

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย

จงฟัง" ดังนี้แล้ว (ตรัสเล่าเรื่องว่า)

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพาราณสี ดำรงราชย์อยู่ในกรุงพาราณสี

หมอผู้หนึ่งเที่ยวทำเวชกรรมอยู่ในบ้านและนิคม เห็นหญิงทุรพลด้วยจักษุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 33

คนหนึ่ง จึงถามว่า "ความไม่ผาสุกของท่านเป็นอย่างไร ?

หญิงนั้นตอบว่า "ข้าพเจ้าไม่แลเห็นด้วยดวงตาก."

หมอกล่าวว่า "ข้าพเจ้าจักทำยาให้แก่ท่าน"

ญ. ทำเถิด นาย.

ม. ท่านจักให้อะไรแก่ข้าพเจ้า ?

ญ. ถ้าท่านอาจจะทำดวงตาของข้าพเจ้าให้กลับเป็นปกติได้,

ข้าพเจ้ากับบุตรและธิดา จักยอมเป็นทาสีของท่าน.

ม. รับว่า "ดีละ" ดังนี้แล้ว ประกอบยาให้แล้ว. ดวงตากลับ

เป็นปกติ ด้วยยาขนานเดียวเท่านั้น.

หญิงนั้นคิดแล้วว่า "เราได้ปฏิญญาแก่หมอนั้นไว้ว่า 'จักพร้อม

ด้วยบุตรธิดา ยอมเป็นทาสีของเขา ' ก็แต่เขาจักไม่เรียกเราด้วยวาจา

อันอ่อนหวาน เราจักลวงเขา." นางอันหมอมาแล้ว ถามว่า " เป็น

อย่างไร ? นางผู้เจริญ " ตอบว่า "เมื่อก่อน ดวงตาของข้าพเจ้า

ปวดน้อย เดี๋ยวนี้ปวดมากเหลือเกิน." หมอคิดว่า "หญิงนี้ประสงค์

ลวงเราแล้วไม่ให้อะไร ความต้องการของเราด้วยค่าจ้างที่หญิงนี้ให้แก่เรา

มิได้มี, เราจักทำเขาให้จักษุมืดเสียเดี๋ยวนี้" แล้วไปถึงเรือนบอกความ

นั้นแก่ภรรยา. นางได้นิ่งเสีย. หมอนั้นประกอบยาขนานหนึ่งแล้วไปสู่

สำนักหญิงนั้น บอกให้หยอดว่า "นางผู้เจริญ ขอท่านจงหยอดยาขนาน

นี้." ดวงตาทั้งสองข้าง ได้ดับวูบแล้วเหมือนเปลวไฟ. หมอนั้นได้

(มาเกิด) เป็นจักขุปาลภิกษุแล้ว.

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย กรรมที่บุตรของเราทำแล้วใน

กาลนั้น ติดตามเธอไปข้างหลัง ๆ. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่า บาปกรรมนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 34

ย่อมตามผู้ทำไป เหมือนล้ออันหมุนตามรอยเท้าโคพลิพัท (คือโคที่เขา

เทียมเกวียนบรรทุกสินค้า) ตัวเข็นธุระไปอยู่" ครั้นตรัสเรื่องนี้แล้ว

พระองค์ผู้เป็นพระธรรมราชา ได้ตรัสพระคาถานี้สืบอนุสนธิ ดุจประทับ

พระราชสาสน์ ซึ่งมีดินประจำไว้แล้ว ด้วยพระราชลัญจกรว่า

๑. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺา มโนมยา

มนสา เจ ปทุฏฺเน ภาสติ วา กโรติ วา

ตโต น ทุกฺขมเนฺวติ จกฺกว วหโต ปท.

"ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็นใหญ่

สำเร็จแล้วด้วยใจ, ถ้าบุคคลมีใจร้าย พูดอยู่ก็ดี

ทำอยู่ก็ดี, ทุกข์ย่อมไปตามเขา เพราะเหตุนั้น

ดุจล้อหมุนไปตามรอยเท้าโค ผู้นำแอกไปอยู่ฉะนั้น."

แก้อรรถ

จิตที่เป็นไปในภูมิ ๔ แม้ทั้งหมด ต่างโดยจิตมีกามาวจรกุศลจิต

เป็นต้น ชื่อว่า "มโน" ในพระคาถานั้น. ถึงอย่างนั้น ในบทนี้

เมื่อนิยม กะ กำหนดลง ด้วยอำนาจจิตที่เกิดขึ้นแก่หม้อนั้นในคราวนั้น

ย่อมได้จำเพาะจิต ที่เป็นไปกับด้วยโทมนัส ประกอบด้วยปฏิฆะ-

(อย่างเดียว).

บทว่า ปุพฺพงฺคมา คือ ชื่อว่า มาตามพร้อมด้วยจิตนั้น อันเป็น

หัวหน้าไปก่อน.

บทว่า ธมฺมา คือ ชื่อว่า ธรรมเป็น ๔ อย่าง ด้วยอำนาจ

คุณธรรม เทศนาธรรม ปริยัติธรรม และนิสสัตตนิชชีวธรรม. ในธรรม

๔ ประการนั้น ธรรมศัพท์นี้ในคำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 35

"ธรรมและอธรรม ๒ ประการ ให้ผลเหมือนกัน

หามิได้ อธรรมย่อมนำไปสู่นรก ธรรมย่อม

ให้ถึงสุคติ."

ดังนี้ ชื่อว่าคุณธรรม (แปลว่าธรรมคือคุณ). ธรรมศัพท์นี้ ใน

คำว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมงามในเบื้องต้น แก่ท่านทั้งหลาย"

ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่าเทศนาธรรม (แปลว่าธรรมคือเทศนา ). ธรรมศัพท์

นี้ ในคำว่า "ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง กุลบุตรบางจำพวกในโลกนี้ ย่อม

เรียนธรรม คือสุตตะ เคยยะ" ดังนี้เป็นต้น ชื่อว่า ปริยัติธรรม

(แปลว่าธรรมคือปริยัติ). ธรรมศัพท์นี้ ในคำว่า "ก็สมัยนั้นแล

ธรรมทั้งหลายย่อมมี ขันธ์ทั้งหลายย่อมมี" ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่า

นิสสัตตธรรม (แปลว่าธรรมคือสภาพที่มิใช่สัตว์) นัยแม้ในบทว่า

"นิชชีวธรรม" (ซึ่งแปลว่าธรรมคือสภาพมิใช่ชีวิต) ก็ดุจเดียวกัน.

ในธรรม ๔ ประการนั้น นิสสัตตธรรมหรือนิชชีวธรรม พระศาสดาทรง

ประสงค์แล้วในที่นี้. นิสสัตตธรรมหรือนิชชีวธรรมนั้น โดยความก็

อรูปขันธ์ ๓ ประการ คือ "เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์."

เหตุว่าอรูปขันธ์ ๓ ประการนั่น ชื่อว่ามีใจเป็นหัวหน้าของอรูปขันธ์ ๓

ประการนั่น.

มีคำถามว่า "ก็ใจ มีวัตถุเดียวกัน มีอารมณ์เดียวกัน เกิดใน

ขณะเดียวกัน พร้อมกับธรรมเหล่านั้น ไม่ก่อนไม่หลังกว่ากัน ชื่อว่า

เป็นหัวหน้าของธรรมเหล่านั้นอย่างไร ?"

มีคำแก้ว่า " ใจ ได้ชื่อว่าเป็นหัวหน้าของธรรมเหล่านั้น ด้วย

อรรถว่า เป็นปัจจัยเครื่องยังธรรมให้เกิดขึ้น. เหมือนอย่างว่า เมื่อพวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 36

โจรเป็นอันมาก ทำโจรกรรมมีปล้นบ้านเป็นต้นอยู่ด้วยกัน เมื่อมีใคร

ถามว่า "ใครเป็นหัวหน้าของพวกมัน ?" ผู้ใดเป็นปัจจัยของพวกมัน คือ

อาศัยผู้ใดจึงทำกรรมนั้นได้ ผู้นั้นชื่อทัตตะก็ตาม ชื่อมัตตะก็ตาม เขา

เรียกว่าหัวหน้าของมัน ฉันใด; คำอุปไมยซึ่งเป็นเครื่องให้อรรถถึงพร้อม

นี้ บัณฑิตพุงรู้แจ้ง ฉันนั้น. ใจชื่อว่าเป็นหัวหน้าของธรรมทั้งหลายนั่น

ด้วยอรรถว่า เป็นปัจจัยเครื่องยังธรรมให้เกิดขึ้นฉะนี้ เหตุนั้น ธรรม

ทั้งหลายนั่น จึงชื่อว่ามีใจเป็นหัวหน้า, เพราะเมื่อใจไม่เกิดขึ้น ธรรม

เหล่านั้นย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้. ฝ่ายใจ ถึงเจตสิกธรรมบางเหล่า

แม้ไม่เกิดขึ้น ก็ย่อมเกิดขึ้นได้แท้. อนึ่ง ใจชื่อว่าเป็นใหญ่ของธรรม

ทั้งหลายนั่น ด้วยอำนาจเป็นอธิบดี เหตุนั้น ธรรมทั้งหลายนั่นจึงชื่อว่า

มีใจเป็นใหญ่. เหมืออย่างว่า ชนทั้งหลายมีโจรผู้เป็นหัวโจกเป็นต้น

ผู้เป็นอธิบดี ได้ชื่อว่าเป็นใหญ่ของชนทั้งหลายมีโจรเป็นต้น ฉันใด,

ใจผู้เป็นอธิบดี ได้ชื่อว่าเป็นใหญ่ของธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น, เหตุนั้น

ธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่ามีใจเป็นใหญ่. อนึ่ง สิ่งทั้งหลายนั้น ๆ เสร็จ

แล้วด้วยวัตถุมีไม้เป็นต้น ก็ชื่อว่าของสำเร็จแล้วด้วยไม้เป็นต้น ฉันใด.

แม้ธรรมทั้งหลายนั่น ได้ชื่อว่าสำเร็จแล้วด้วยใจ เพราะเสร็จมาแต่ใจ

ฉันนั้น.

บทว่า ปทุฏฺเน คือ อันโทษมีอภิชฌาเป็นต้นซึ่งจรมาประทุษ-

ร้ายแล้ว. จริงอยู่ ใจปกติชื่อว่าภวังคจิต, ภวังคจิตนั้นไม่ต้องโทษ

ประทุษร้ายแล้ว. เหมือนอย่างว่า น่าใสเศร้าหมองแล้ว เพราะสีทั้งหลาย

มีสีเขียวเป็นต้นซึ่งจรมา (กลับ ) เป็นน้ำต่างโดยประเภทมีน้ำเขียว

เป็นต้น จะชื่อว่าน้ำใหม่ก็มิใช่ จะชื่อว่าน้ำใสตามเดิมนั่นแลก็มิใช่ ฉันใด,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 37

ภวังคจิตแม้นั้น อันโทษมีอภิชฌาเป็นต้น ที่จรมาประทุษร้ายแล้ว จะชื่อ

ว่าจิตใหม่ก็มิใช่ จะชื่อว่าภวังคจิตตามเดิมนั่นแลก็มิใช่ ฉันนั้น, เหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่มัน

เศร้าหมองแล้ว เหตุอุปกิเลสทั้งหลายซึ่งจรมาแล" ดังนี้. ถ้าบุคคลมี

ใจร้ายแล้วอย่างนี้.

บาทพระคาถาว่า ภาสติ วา กโรติ วา คือ เมื่อเขาพูด ย่อมพูด

เฉพาะแต่วจีทุจริต ๔ อย่าง, เมื่อทำ ย่อมทำ เฉพาะแต่กายทุจริต ๓

อย่าง, เมื่อไม่พูด เมื่อไม่ทำ เพราะความที่ตัวเป็นผู้มีใจอันโทษมีอภิชฌา

เป็นต้นประทุษร้ายแล้วนั้น ย่อมทำมโนทุจริต ๓ อย่างให้เต็ม. อกุศล-

กรรมบถ ๑๐ อย่างของเขา ย่อมถึงความเต็มที่ ด้วยประการอย่างนี้.

บาทพระคาถาว่า ตโต น ทุกฺขมเนฺวติ ความว่า ทุกข์ย่อมตาม

บุคคลนั้นไป เพราะทุจริต ๓ อย่างนั้น คือว่า ทุกข์ที่เป็นผลทั้งเป็นไป

ในกาย ทั้งเป็นไปในจิต โดยบรรยายนี้ว่า ทุกข์มีกายเป็นที่ตั้งบ้าง ทุกข์

มีจิตนอกนี้เป็นที่ตั้งบ้าง ย่อมไปตามอัตภาพนั้น ผู้ไปอยู่ในอบาย ๔

ก็ดี ในหมู่มนุษย์ก็ดี เพราะอานุภาพแห่งทุจริต.

มีคำถามว่า "ทุกข์ย่อมติดตามบุคคลนั้นเหมือนอะไร ?"

มีคำแก้ว่า เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าของโคพลิพัทตัวเข็นไป

อยู่, อธิบายว่า "เหมือนล้อหมุนไปตามรอยเท้าของโคพลิพัทอันเขาเทียม

ไว้ที่แอก นำแอกไปอยู่. เหมือนอย่างว่า มันลากไปวันหนึ่งก็ดี สองวัน

ก็ดี สิบวันก็ดี กึ่งเดือนก็ดี ย่อมไม่อาจให้ล้อหมุนกลับ คือ ไม่อาจ

ละล้อไปได้, โดยที่แท้เมื่อมันก้าวไปข้างหน้า แอกก็เบียดคอ (ของมัน)

เมื่อมันถอยหลังล้อก็ขูดเนื้อที่ขา, ล้อเบียดเบียนด้วยเหตุ ๒ ประการนี้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 38

หมุนตามรอยเท้าของมันไป ฉันใด, ทุกข์ทั้งที่เป็นไปทางกาย ทั้งที่เป็น

ไปทางจิต อันมีทุจริตเป็นมูล ย่อมติดตามบุคคลผู้มีใจร้ายแล้ว ทำทุจริต

๓ ประการให้เต็มที่ตั้งอยู่ ในที่เขาไปแล้วนั้น ๆ มีนรกเป็นต้น ฉันนั้นแล.

ในกาลจบคาถา ภิกษุสามพันรูป ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์มีผลแม้แก่บริษัทผู้

ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล้ว

เรื่องพระจักขุปาลเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 39

๒. เรื่องมัฏฐกุณฑลี [๒]

ข้อความเบื้องต้น

ฝ่ายพระคาถาที่สองว่า "มโนปุพฺพงฺคมา" เป็นต้น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงปรารภมัฏฐกุณฑลีมาณพ ภาษิตแล้ว ในกรุงสาวัตถี

นั่นแล.

พราหมณ์ทำตุ้มหูให้บุตร

ดังได้สดับมา ในกรุงสาวัตถี ได้มีพราหมณ์คนหนึ่ง ชื่อ อทินน-

ปุพพกะ. เขาไม่เคยให้สิ่งของอะไร ๆ แก่ใคร ๆ. เพราะฉะนั้นประชุมชน

จึงได้ตั้งชื่อว่า "อทินนปุพพกะ." เขาได้มีบุตรคนเดียวเป็นที่รักใคร่

พอใจ. ภายหลัง เขาอยากจะทำเครื่องประดับให้บุตร คิดว่า "ถ้าเราจัก

จ้างช่างทอง ก็จะต้องให้ค่าบำเหน็จ " ดังนี้แล้วจึงแผ่ทองคำ ทำให้

เป็นตุ้มหูเกลี้ยง ๆ เสร็จแล้ว ได้ให้ (แก่บุตรของตน). เพราะฉะนั้น

บุตรของเขาจึงได้ปรากฏโดยชื่อว่า "มัฏฐกุณฑลี."

รักษาบุตรเองเพราะกลัวเสียขวัญข้าว

ในเวลาเมื่อบุตรนั้นอายุได้ ๑๖ ปี เกิดเป็นโรคผอมเหลือง. มารดา

แลดูบุตรแล้ว จึงพูดกะพราหมณ์ (ผู้สามี) ว่า " พราหมณ์ โรคเกิด

ขึ้นแล้วแก่บุตรของท่าน, ขอท่านจงหาหมอมารักษาเขาเสียเถิด."

พราหมณ์ตอบว่า "นางผู้เจริญ ถ้าเราจะหาหมอมา, เราจะต้อง

๑. ผู้ไม่เคยให้อะไรแก่ใคร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 40

ให้ขวัญข้าวเขา หล่อนช่างไม่มองดูความเปลืองทรัพย์ของเรา (บ้าง)."

นางพราหมณีถามว่า "เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านจะทำอย่างไรเล่า ?

พราหมณ์. "

พราหมณ์ตอบว่า "ทรัพย์ของเราจะไม่ขาดไปได้อย่างใด เราจะ

ทำอย่างนั้น."

พราหมณ์นั้นไปยังสำนักพวกหมอแล้ว ถามว่า "พวกท่านวางเอา

ขนานไหน ? แก่คนที่เป็นโรคชนิดโน้น."

ลำดับนั้น พวกหมอก็บอกยาเกล็ดที่เข้าเปลือกไม้เป็นต้นแก่เขา.

เขา (ไป) เอารากไม้เป็นต้นที่พวกหมอบบอกให้นั้นมาแล้ว ทำเอาให้

แก่บุตร. เมื่อพราหมณ์ทำอยู่เช่นนั้นนั่นแล, โรคได้ (กำเริบ) กล้าแล้ว

(จน) เข้าถึงความไม่มีใครที่จะเยียวยาได้. พราหมณ์รู้ว่าบุตรทุพพลภาพ

แล้ว จึงหาหมอมาคนหนึ่ง. หมอนั้น (มา) ตรวจดูแล้ว จึงพูด

(เลี่ยง) ว่า "ข้าพเจ้ามีกิจอยู่อย่างหนึ่ง ท่านจงหาหมออื่นมาให้รักษา

เถิด" ดังนี้แล้ว บอกเลิกกับพราหมณ์นั้นแล้วก็ลาไป.

ให้บุตรนอนที่ระเบียงเพราะกลัวเห็นสมบัติ

พราหมณ์รู้เวลาว่าบุตรจวนจะตายแล้วคิดว่า "เหล่าชนที่มาแล้ว ๆ

เพื่อประโยชน์จะเยี่ยมเยียนบุตรนี้ จักเห็นทรัพย์สมบัติภายในเรือน เรา

จะเอาเขาไว้ข้างนอก" ดังนี้แล้ว จึงนำเอาบุตรออกมาให้นอนที่ระเบียง

เรือนข้างนอก.

พระพุทธเจ้าเล็งเห็นอุปนิสัยของมัฏฐกุณฑลี

ในเวลากำลังปัจจุสมัย (คือเวลาจวนสว่าง) วันนั้น พระผู้มี-

๑. ภตฺตเวตน ค่าจ้างและรางวัล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 41

พระภาคเจ้า เสด็จออกจากพระมหากรุณาสมาบัติ ทรงเล็งดูโลกด้วย

พุทธจักษุ เพื่อทอดพระเนตรเหล่าสัตว์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์อันพระองค์พอ

แนะนำได้ ซึ่งมีกุศลอันหนาแน่นแล้ว มีความปรารถนาซึ่งได้ทำไว้

แล้วในพระพุทธเจ้าแต่ปางก่อนทั้งหลาย ได้ทรงแผ่ตาข่ายคือพระญาณไป

ในหมื่นจักรวาล. มัฏฐกุณฑลีมาณพปรากฏแล้ว ณ ภายในตาข่ายคือ

พระญาณนั้น โดยอาการอันนอนที่ระเบียงข้างนอกอย่างนั้น.

พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นเขาแล้ว ทรงทราบว่า พราหมณ์

ผู้บิดานำเขาออกจากภายในเรือนแล้ว ให้นอนในที่นั้น ทรงดำริว่า

"จะมีประโยชน์บ้างหรือไม่หนอ ด้วยปัจจัยที่เราไปในที่นั้น" กำลังทรง

รำพึง (อยู่) ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า "มาณพนี้ จักทำจิตให้เลื่อมใสใน

เรา ทำกาละแล้ว จักเกิดในวิมานทองสูง ๓๐ โยชน์ในดาวดึงสเทวโลก

มีนางอัปสรเป็นบริวารพันหนึ่ง. ฝ่ายพราหมณ์จักทำฌาปนกิจสรีระนั้น

ร้องไห้ไปในป่าช้า. เทพบุตรจักมองดูอัตภาพตนสูงประมาณ ๓ คาวุต

(สามร้อยเส้น) ประดับด้วยเครื่องอลังการ หนัก ๖๐ เล่มเกวียน มี

นางอัปสรเป็นบริวารพันหนึ่ง คิดว่า " สิริสมบัตินี้ เราได้ด้วยกรรม

อะไรหนอ ?" ดังนี้แล้ว เล็งดูอยู่, ก็ทราบว่าได้ด้วยจิตเลื่อมใสในเรา

คิดว่า "บิดาไม่หาหมอมาให้ประกอบยาให้แก่เรา เพราะเกรงว่าทรัพย์

จะหมดไป เดี๋ยวนี้ไปป่าช้าร้องไห้อยู่, เราจักทำเขาให้ถึงประการอัน

แปลก" ดังนี้ ด้วยความขัดเคืองในบิดา จักจำแลงตัวเหมือนมัฏฐกุณฑลี

มาณพ มาทำนองร้องไห้อยู่ในที่ใกล้ป่าช้า. ทีนั้น พราหมณ์ จักถามเขา

ว่า "เจ้าเป็นใคร ?" เขาจักตอบ ฉันเป็นมัฏฐกุณฑลีมาณพ บุตรของ

๑. กตาธิการาน มีอธิการอันทำไว้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 42

ท่าน."

พราหมณ์. ท่านไปเกิดในภพไหน ?

เทพบุตร. ในภพดาวดึงส์.

เมื่อพราหมณ์ถามว่า "เพราะทำกรรมอะไร ?" เขาจักบอกว่า เขา

เกิดเพราะจิตที่เลื่อมใสในเรา. พราหมณ์จักถามเราว่า "ขึ้นชื่อว่า ความ

ทำจิตให้เลื่อมใสในพระองค์ (เท่านั้น) แล้วไปเกิดในสวรรค์ มีหรือ ?"

ทีนั้น เราจักตอบว่า "ไม่มีใครอาจจะกำหนดด้วยการนับได้ว่า มี

ประมาณเท่านั้นร้อย หรือเท่านั้นพัน หรือเท่านั้นแสน" ดังนี้แล้ว จัก

ภาษิตคาถาในธรรมบท. ในกาลจบคาถา ความตรัสรู้ธรรม จักมีแก่

สัตว์ประมาณแปดหมื่นสี่พัน. มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร จักเป็นพระโสดาบัน;

ถึงอทินนปุพพกพราหมณ์ก็เหมือนกัน. อาศัยกุลบุตรนี้ ความบูชาธรรม

เป็นอันมากจักมี ด้วยประการฉะนี้, ในวันรุ่งขึ้น ทรงทำความปฏิบัติ

(ชำระ) พระสรีระเสร็จแล้ว อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว เสด็จ

เข้าไปสู่กรุงสาวัตถี เพื่อบิณฑบาต เสด็จถึงประตูเรือนของพราหมณ์

โดยลำดับ.

มัฏฐกุณฑลีทำใจให้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า

ในขณะนั้น มัฏฐกุณฑลีมาณพ กำลังนอนผินหน้าไปข้างในเรือน

พระศาสดาทรงทราบว่าไม่เห็นพระองค์, จึงได้เปล่งพระรัศมีในวาบหนึ่ง.

มาณพคิดว่า "นี่แสงสว่างอะไร?" จึงนอนพลิกกลับมา เห็นพระศาสดา

แล้ว คิดว่า "เราอาศัยบิดาเป็นอันธพาล จึงไม่ได้เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้า

เห็นปานนี้แล้ว ทำความขวนขวายด้วยกาย หรือถวายทาน หรือฟัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 43

ธรรม, เดี๋ยวนี้แม้แต่มือสองข้างของเราก็ยกไม่ไหว. กิจที่ควรทำอย่างอื่น

ไม่มี" ดังนี้แล้ว ได้ทำใจเท่านั้นให้เลื่อม

เพราะใจเลื่อมใสทำกาละไปเกิดในเทวโลก

พระศาสดาทรงพระดำริว่า "พอละ ด้วยการที่มาณพนี้ทำใจให้

เลื่อมใส ประมาณเท่านั้น" ก็เสด็จหลีกไปแล้ว. เมื่อพระตถาคตพอ

กำลังเสด็จลับตาไป, มาณพนั้นมีใจเลื่อมใส ทำกาละแล้ว เป็นประดุจ

ดังว่า หลับแล้วกลับตื่นขึ้น ไปเกิดในวิมานทองสูงประมาณ ๓๐ โยชน์

ในเทวโลก.

พราหมณ์คร่ำครวญถึงบุตร

ฝ่ายพราหมณ์ทำฌาปนกิจสรีระมาณพนั้นแล้ว ได้มีแต่การร้องให้

เป็นเบื้องหน้า, ไปที่ป่าช้า ทุกวัน ๆ ร้องให้พลางบ่นพลางว่า "เจ้าลูก

คนเดียวของพ่ออยู่ที่ไหน ? เจ้าลูกคนเดียวของพ่ออยู่ที่ไหน ?"

เทพบุตรจำแลงกายไปหาพราหมณ์

(แม้) เทพบุตรแลดูสมบัติของตนแล้ว คิดว่า "สมบัตินี้เราได้

ด้วยกรรมอะไร ?" เมื่อพิจารณาไปก็รู้ว่า "ได้ด้วยใจที่เลื่อมใสใน

พระศาสดา" ดังนี้แล้ว จึงคิดต่อไปว่า "พราหมณ์ผู้นี้ ในกาลเมื่อเรา

ไม่สบาย หาได้ให้หมอประกอบยาไม่ เดี๋ยวนี้สิ ไปป่าช้าร้องให้อยู่,

ควรที่เราจะทำแกให้ถึงประการอันแปลก" ดังนี้แล้วจึงจำแลงตัวเหมือน

มัฏฐกุณฑลีมาณพ มาแล้ว ได้กอดแขนยืนร้องไห้อยู่ ในที่ไม่ไกลป่าช้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 44

เทพบุตรกับพราหมณ์โต้วาทะกัน

พราหมณ์เห็นเขาแล้ว จึงคิดว่า "เราร้องไห้เพราะโศกถึงบุตร

ก่อน, ก็มาณพนั่น ร้องไห้ต้องการอะไรเล่า ? เราจะถามเขาดู" ดังนี้

แล้ว เมื่อจะถาม ได้กล่าวคาถานี้ว่า

"ท่านตกแต่งแล้ว เหมือนมัฏฐกุณฑลี มีภาระ

คือระเบียบดอกไม้ มีตัวฟุ้งด้วยจันทน์เหลือง,

กอดแขนทั้งสองคร่ำครวญอยู่ ในกลางป่าช้า,

ท่านเป็นทุกข์อะไรหรือ ?"

มาณพกล่าวว่า

"เรือนรถ ทำด้วยทองคำ ผุดผ่อง เกิดขึ้นแล้ว

แก่ข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าหาคู่ล้อของมันยังไม่ได้

ข้าพเจ้าจักยอมเสียชีวิต เพราะความทุกข์นั้น."

ทีนั้น พราหมณ์ได้พูดกะเขาว่า

"พ่อมาณพผู้เจริญ คู่ล้อของมันนั้น จะทำ

ด้วยทองคำก็ตาม ทำด้วยแก้วก็ตาม ทำด้วย

โลหะก็ตาม ทำด้วยเงินก็ตาม ท่านจงบอ

ข้าพเจ้าเถิด, ข้าพเจ้าจะรับประกันให้ท่านได้

คู่ล้อ (ของมัน)."

มาณพได้ฟังคำนั้น คิดว่า " พราหมณ์ผู้นี้ ไม่ทำยาให้แก่บุตร

แล้ว ครั้นมาเห็นเรารูปร่างคล้ายบุตร ร้องไห้อยู่ ยังพูดว่า 'เราจะ

ทำล้อรถซึ่งทำด้วยทองคำเป็นต้นให้, ช่างเถิด เราจักแกล้งแกเล่น"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 45

ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า "ท่านจะทำคู่ล้อให้แก่ข้าพเจ้าโตเท่าไร ?" เมื่อ

พราหมณ์นั้นกล่าวว่า "ท่านจะต้อการโตเท่าไรเล่า ? จึงบอกว่า

"ข้าพเจ้าต้องการด้วยพระจันทร์ และพระ-

อาทิตย์ทั้งสองดวง ท่านอันข้าพเจ้าขอแล้ว

โปรดให้พระจันทร์และพระอาทิตย์ทั้งสองนั้น

แก่ข้าพเจ้าเถิด."

มาณพนั้นกล่าวซ้ำแก่เขา

"พระจันทร์และพระอาทิตย์ ส่องแสงเป็น

คู่กัน ในวิถีทั้งสอง รถของข้าพเจ้าทำด้วย

ทองคำ ย่อมงามสมกับคู่ล้ออันนั้น."

ลำดับนั้น พราหมณ์พูดกับเขาว่า

"พ่อมาณพ ท่านผู้ปรารถนาของที่ไม่ควร

ปรารถนา เป็นคนเขลาแท้ ๆ, ข้าพเจ้าเข้าใจ

ว่า ท่านจักตายเสียเปล่า จักไม่ได้พระจันทร์

และพระอาทิตย์ทั้งสองเลย."

ลำดับนั้น มาณพจึงพูดกะพราหมณ์นั้นว่า "ก็บุคคลผู้ร้องไห้

เพื่อต้องการสิ่งซึ่งปรากฏอยู่ เป็นคนเขลา หรือว่าบุคคลผู้ร้องไห้เพื่อ

ต้องการสิ่งซึ่งไม่ปรากฏอยู่ เป็นคนเขลาเล่า ?" ดังนี้แล้ว จึงกล่าว

เป็นคาถา

"แม้ความไปและความมา ของพระจันทร์

และพระอาทิตย์ก็ปรากฏอยู่ ธาตุคือวรรณะแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 46

พระจันทร์และพระอาทิตย์ ก็ปรากฏอยู่ในวิถี

ทั้งสอง (ส่วน) ชนที่ทำกาละ ละไปแล้ว

ใครก็ไม่แลเห็น, บรรดาเราทั้งสอง ผู้คร่ำครวญ

อยู่ในที่นี้ ใครจะเป็นคนเขลากว่ากัน."

พราหมณ์ย่อมจำนนแล้วชมเชยเทพบุตร

พราหมณ์สดับคำนั้นแล้ว กำหนดได้ว่า "มาณพนี้พูดถูก" จึง

กล่าวว่า

"พ่อมาณพ ท่านพูดจริงทีเดียว, บรรดา

เราทั้งสอง ผู้คร่ำครวญอยู่ (ในที่นี้) ข้าพเจ้า

เองเป็นคนเขลากว่า, ข้าพเจ้าอยากได้บุตรที่ทำ

กาละแล้วคืนมา เป็นเหมือนทารกร้องไห้อยาก

ได้พระจันทร์"

ดังนี้แล้ว เป็นผู้หายโศก เพราะถ้อยคำของมาณพนั้น, เมื่อ

จะทำความชมเชยมาณพ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า

"ท่านมาดาข้าพเจ้าซึ่งเป็นผู้ร้อนหนักหนา

เหมือนบุคคลดับไฟที่ติดน้ำมันด้วยน้ำ, ข้าพเจ้า

ย่อมยังความกระวนกระวายทั้งปวง ให้ดับได้

๑. สนฺต ในคาถาเท่ากับสมาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 47

ท่านผู้บรรเทาความโศกถึงบุตรของข้าพเจ้า อัน

ความโศกครอบงำแล้ว ได้ถอนลูกศรคือความโศก

อันเสียดหฤทัยข้าพเจ้าออกได้หนอ ข้าพเจ้านั้น

เป็นผู้มีลูกศรอันท่านถอนเสียแล้ว เป็นผู้เย็นสงบ

แล้ว, พ่อมาณพ ข้าพเจ้าหายเศร้าโศก หาย

ร้องไห้ เพราะได้ฟังถ้อยคำของท่าน."

พราหมณ์ซักถามเทพบุตร

ขณะนั้น พราหมณ์ เมื่อจะถามเขาว่า "ท่านชื่ออะไร ?" จึง

กล่าวว่า

"ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือว่าเป็น

ท้าวปุรินททสักกเทวราช, ท่านชื่อไร ? หรือ

เป็นบุตรของใคร ? อย่างไร ข้าพเจ้าจะรู้จัก

ท่านได้ ?"

ลำดับนั้น มาณพบอกแก่เขาว่า

"ท่านเผาบุตรคนใด ในป่าช้าเองแล้ว ย่อม

คร่ำครวญและร้องไห้ถึงบุตรคนใด บุตรคนนั้น

คือข้าพเจ้า ทำกุศลธรรมแล้ว ถึงความเป็นเพื่อน

ของเหล่าไตรทศ (เทพดา)."

พราหมณ์ได้กล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 48

"เมื่อท่านให้ทานน้อยหรือมาก ในเรือนของ

ตน หรือรักษาอุโบสถกรรมเช่นนั้นอยู่ ข้าพเจ้า

ไม่เห็น, ท่านไปเทวโลกได้เพราะกรรมอะไร ?"

มาณพได้กล่าวว่า

"ข้าพเจ้ามีโรค เจ็บลำบาก มีการระส่ำ

ระสายอยู่ในเรือนของตน, ได้เห็นพระพุทธเจ้า

ผู้ปราศจากกิเลสธุลี ข้ามความสงสัยเสียได้

เสด็จไปดี มีพระปัญญาไม่ทราม, ข้าพเจ้านั้น

มีใจเบิกบานแล้ว มีจิตเลื่อมใสแล้ว ได้ถวาย

อัญชลีแด่พระตถาคตเจ้า. ข้าพเจ้าได้ทำกุศล-

กรรมนั้นแล้ว จึงได้ถึงความเป็นเพื่อนของเหล่า

ไตรทศ (เทพดา)."

พราหมณ์ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

เมื่อมาณพนั้น กำลังพูดพร่ำอยู่นั่นเทียว, สรีระทั้งสิ้นของ

พราหมณ์ก็เต็มแล้วด้วยปีติ. เขาเมื่อจะประกาศปีตินั้น จึงกล่าวว่า

"น่าอัศจรรย์หนอ น่าประหลาดหนอ วิบาก

ของการทำอัญชลีนี้ เป็นไปได้เช่นนี้ แม้

ข้าพเจ้า มีใจเบิกบานแล้ว มีจิตเลื่อมใสแล้ว

ถึงพระพุทธเจ้าว่า เป็นสรณะในวันนี้แล."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 49

เทพบุตรโอวาทพราหมณ์แล้วก็หายตัวไป

ลำดับนั้น มาณพได้กล่าวตอบว่า

"ท่านจงเป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว ถึงพระ-

พุทธเจ้า ทั้งพระธรรม ทั้งพระสงฆ์ ว่าเป็น

สรณะในวันนี้แล ท่านจงเป็นผู้มีจิตเลื่อมใส

อย่างนั้นนั่นแล สมาทานสิกขาบท ๕ อย่า

ให้ขาดทำลาย, จงรีบเว้นจากปาณาติบาต (การ

ฆ่าสัตว์) จงเว้นของที่เจ้าของยังไม่ให้ในโลก,

จงอย่าดื่มน้ำเมา, จงอย่าพูดปด, และจงเป็น

ผู้เต็มใจด้วยภรรยาของตน."

เขารับว่า "ดีแล้ว" ได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า

"ดูก่อนยักษ์ ท่านเป็นผู้ใคร่ประโยชน์

แก่ข้าพเจ้า, ดูก่อนเทพดา ท่านเป็นผู้ใคร่สิ่งที่

เกื้อกูลแก่ข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าจะทำ (ตาม)

ถ้อยคำของท่าน, ท่านเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า,

ข้าพเจ้าเข้าถึงพระพุทธเจ้า ว่าเป็นสรณะด้วย,

ข้าพเจ้าเข้าถึงแม้พระธรรม ซึ่งไม่มีสิ่งอื่นยิ่งกว่า

ว่าเป็นสรณะด้วย, ข้าพเจ้าเข้าถึงพระสงฆ์ของ

พระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ (พิเศษ) ดุจเทพดา

ว่าเป็นสรณะด้วย, ข้าพเจ้าจะรีบเว้นจาก

๑. คำนี้ในที่อื่นหมายถึงผู้ดุร้าย แต่ในที่นี้หมายถึงผู้อันบุคคลควรบูชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 50

ปาณาติบาต, เว้นของที่เจ้าของยังไม่ให้ในโลก,

ไม่ดื่มน้ำเมา, ไม่พูดปด, และเป็นผู้เต็มใจ

ด้วยภรรยาของตน."

ลำดับนั้น เทพบุตรกล่าวกะเขาว่า "พราหมณ์ ทรัพย์ในเรือน

ของท่านมีมาก, ท่านจงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วถวายทาน, จงฟังธรรม,

จงถามปัญหา " ดังนี้แล้ว ก็อันตรธานไป ณ ที่นั้นนั่นแล.

พราหมณ์ถวายทานแด่พระพุทธเจ้า

ฝ่ายพราหมณ์ ไปเรือนแล้วเรียกนางพราหมณีมา พูดว่า "นาง

ผู้เจริญ ฉันจักนิมนต์พระสมณโคดมแล้วทูลถามปัญหา, หล่อนจงทำ

สักการะ" ดังนี้แล้ว ไปสู่วิหาร ไม่ถวายบังคมพระศาสดาเลย ไม่ทำ

ปฏิสันถาร ยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลว่า " พระโคดมผู้เจริญ

ของพระองค์กับทั้งพระภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตตาหารแห่งข้าพระองค์

เพื่อเสวยในวันนี้ ."

พระศาสดาทรงรับแล้ว. เขาได้ทราบว่า พระศาสดาทรงรับแล้ว

จึงมาโดยเร็ว ใช้คนให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารไว้ในเรือนของตน.

พระศาสดาอันหมู่ภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว เสด็จไปสู่เรือนแห่งพราหมณ์นั้น

ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งไว้. พราหมณ์อังคาสแล้ว (เลี้ยงแล้ว)

โดยเคารพ.

มหาชนประชุมกัน. ได้ยินว่า เมื่อพระตถาคตอันพราหมณ์ผู้

มิจฉาทิฏฐินิมนต์แล้ว, หมู่ชน ๒ พวกมาประชุมกัน คือพวกชนผู้เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 51

มิจฉาทิฏฐิประชุมกัน ด้วยตั้งใจว่า "วันนี้ พวกเราจักคอยดูพระ-

สมณโคดมที่ถูกพราหมณ์เบียดเบียนอยู่ ด้วยการถามปัญหา," พวกชนผู้

เป็นสัมมาทิฏฐิก็ประชุมกัน ด้วยตั้งใจว่า "วันนี้ พวกเราจักคอยดู

พุทธวิสัย พุทธลีลา."

ลำดับนั้น พราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระตถาคตผู้ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว

นั่งบนอาสนะต่ำ ได้ทูลถามปัญหาว่า " พระโคดมผู้เจริญ มีหรือ

ขึ้นชื่อว่า เหล่าชนที่ไม่ได้ถวายทานแก่พระองค์ ไม่ได้บูชาพระองค์ ไม่

ได้ฟังธรรม ไม่ได้รักษาอุโบสถเลย ได้ไปเกิดในสวรรค์ ด้วยมาตรว่า

ใจเลื่อมใสอย่างเดียวเท่านั้น ?"

ศ. พราหมณ์ เหตุใดท่านมาถามเรา, ความที่ตนทำใจให้เลื่อมใส

ในเราแล้วเกิดในสวรรค์ อันมัฏฐกุณฑลีผู้บุตรของท่านบอกแก่ท่านมิใช่

หรือ ?

พ. เมื่อไร ? พระโคดมผู้เจริญ.

ศ. วันนี้ท่านไปป่าช้าคร่ำครวญอยู่. เห็นมาณพคนหนึ่ง กอด

แขนคร่ำครวญอยู่ในที่ไม่ไกลแล้ว ถามว่า

"ท่านตกแต่งแล้วเหมือนมัฏฐกุณฑลี มีภาระ

คือระเบียบดอกไม้ มีตัวฟุ้งด้วยจันทน์เหลือง"

ดังนี้เป็นต้น มิใช่หรือ ? เมื่อจะทรงประกาศถ้อยคำที่ชนทั้งสองกล่าวกัน

แล้วได้ตรัสเรื่องมัฏฐกุณฑลีทั้งหมด. เพราะฉะนั้นแลเรื่องมัฏฐกุณฑลีนั้น

จึงได้ชื่อว่าเป็นพุทธภาษิต. ก็แล ครั้นพระศาสดาตรัสเล่าเรื่องมัฏฐกุณฑลี

นั้นแล้ว จึงตรัสว่า "พราหมณ์ ใช่ว่าจะมีแต่ร้อยเดียวและสองร้อย,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 52

โดยที่แท้ การที่จะนับเหล่าสัตว์ซึ่งทำใจให้เลื่อมใสในเราแล้วเกิดในสวรรค์

ย่อมไม่มี." มหาชนได้เป็นผู้เกิดความสงสัยแล้ว.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบความที่มหาชนนั้นไม่สิ้นความ

สงสัย ได้ทรงอธิษฐานว่า " ขอมัฏฐกุณฑลีเทวบุตร จงมาพร้อมด้วย

วิมานทีเดียว." เธอมีอัตภาพอันประดับแล้วด้วยเครื่องอาภรณ์ทิพย์ สูง

ประมาณ ๓ คาวุตมาแล้ว ลงมาจากวิมาน ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว

ได้ยืน ณ ที่ควรข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระศาสดาเมื่อจะตรัสถามเธอว่า "ท่านทำกรรมสิ่งไร

จึงได้สมบัตินี้" ได้ตรัสพระคาถาว่า

"เทพดา ท่านมีกายงามยิ่งนัก ยืนทำทิศ

ทั้งสิ้นให้สว่าง เหมือนดาวประจำรุ่ง, เทพ

ผู้มีอานุภาพมาก เราขอถามท่าน (เมื่อ) ท่าน

เป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้."

เทพบุตรกราบทูลว่า "พระองค์ผู้เจริญ สมบัตินี้ข้าพระองค์ได้

แล้ว เพราะทำให้ให้เลื่อมใสในพระองค์."

ศ. สมบัตินี้ ท่านได้แล้ว เพราะทำใจให้เลื่อมใสในเราหรือ ?

ท. พระเจ้าข้า.

มหาชนแลดูเทพบุตรแล้ว ได้ประกาศความยินดีว่า "แน่ะพ่อ !

พุทธคุณน่าอัศจรรย์จริงหนอ บุตรของพราหมณ์ ชื่อว่า อทินนปุพพกะ

ไม่ได้ทำบุญอะไร ๆ อย่างอื่น ยังใจให้เลื่อมใสพระศาสดาแล้ว ได้

สมบัติเห็นปานนี้."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 53

ใจเป็นใหญ่ในกรรมทุกอย่าง

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสแก่พวกชนเหล่านั้นว่า "ในการทำ

กรรมที่เป็นกุศลและอกุศล ใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นใหญ่, เพราะว่า

กรรมที่ทำด้วยใจอันผ่องใสแล้ว ย่อมไม่ละบุคคลผู้ไปสู่เทวโลกมนุษยโลก

ดุจเงาฉะนั้น" ครั้นตรัสเรื่องนี้แล้ว พระองค์ผู้เป็นธรรมราชา ได้ตรัส

พระคาถานี้สืบอนุสนธิ ดุจประทับพระราชสาสน์ซึ่งมีดินประจำไว้แล้ว

ด้วยพระราชลัญจกรว่า:-

๒. มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺา มโนมยา

มนสา เจ ปสนฺเนส ภาสติ วา กโรติ วา

ตโต น สุขมเนฺวติ ฉายาว อนุปายินี.

" ธรรมทั้งหลาย มีใจเป็นหัวหน้า มีใจเป็น

ใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ ถ้าบุคคลมีใจผ่องใส

แล้ว พูดอยู่ก็ดี ทำอยู่ก็ดี ความสุขย่อมไป

ตามเขา เพราะเหตุนั้น เหมือนเงาไปตามตัว

ฉะนั้น.

แก้อรรถ

จิตที่เป็นไปใน ๔ ภูมิ แม้ทั้งหมด เรียกว่าใจ ในพระคาถานั้น

ก็จริง โดยไม่แปลกกัน, ถึงอย่างนั้น เมื่อนิยม กะ กำหนดลง ในบทนี้

ย่อมได้แก่จิตเป็นกามาพจรกุศล ๘ ดวง; ก็เมื่อกล่าวด้วยสามารถวัตถุ

๑. ภูมิ ๔ คือ กามาวจรภูมิ ๑ รูปาวจรภูมิ ๑ อรูปาวจรภูมิ ๑ โลกุตรภูมิ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 54

ย่อมได้แก่จิตประกอบด้วยญาณ เป็นไปกับด้วยโสมนัสแม้จากกามาพจร

กุศลจิต ๔ ดวงเท่านั้น.

บทว่า ปุพฺพงฺคมา ความว่า ประกอบกับใจซึ่งเป็นผู้ไปก่อนนั้น.

ขันธ์ ๓ มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าธรรม. แท้จริง ใจเป็นหัวหน้าของ

อรูปขันธ์ทั้ง ๓ มีเวทนาขันธ์เป็นต้นนั้น โดยอรรถคือเป็นปัจจัยเครื่อง

ให้เกิดขึ้น เหตุนั้นขันธ์ทั้ง ๓ ประการนั่น จึงชื่อว่ามีใจเป็นหัวหน้า.

เหมือนอย่างว่า เมื่อทายกเป็นอันมาก กำลังทำบุญ มีถวายบาตรและ

จีวรเป็นต้น แก่ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ก็ดี มีบูชาอันยิ่ง และฟังธรรม และ

ตามประทีป และทำสักการะด้วยระเบียบดอกไม้เป็นต้นก็ดี ด้วยกัน

เมื่อมีผู้กล่าวว่า "ใครเป็นหัวหน้าของทายกเหล่านั้น," ทายกผู้ใดเป็น

ปัจจัยของพวกเขา, คือพวกเขาอาศัยทายกผู้ใดจึงทำบุญเหล่านั้นได้,

ทายกผู้นั้น ชื่อติสสะก็ตาม ชื่อปุสสะก็ตาม ประชุมชนย่อมเรียกว่า

"เป็นหัวหน้าของพวกเขา" ฉันใด, คำอุปไมยซึ่งเป็นเครื่องให้เกิด

เนื้อความถึงพร้อมนี้ บัณฑิตพึงทราบฉันนั้น. ใจชื่อว่าเป็นหัวหน้าของ

ธรรมเหล่านี้ ด้วยอรรถว่าเป็นปัจจัยเครื่องให้เกิดขึ้นด้วยประการฉะนี้

เหตุนั้น ธรรมเหล่านี้ จึงชื่อว่ามีใจเป็นหัวหน้า. แท้จริง ธรรมเหล่านั้น

เมื่อใจไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้, ส่วนใจ เมื่อเจตสิก

บางเหล่าถึงยังไม่เกิดขึ้น ก็เกิดขึ้นได้แท้. และใจชื่อว่าเป็นใหญ่กว่าธรรม

เหล่านี้ ด้วยอำนาจเป็นอธิบดี เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านี้ จึงชื่อว่า

มีใจเป็นใหญ่. อนึ่ง สิ่งของทั้งหลายนั้น ๆ เสร็จแล้วด้วยวัตถุมีทองคำ

เป็นต้น ก็ชื่อว่าสำเร็จแล้วด้วยทองคำเป็นต้น ฉันใด, ถึงธรรมทั้งหลาย

นั่นก็ได้ชื่อว่า สำเร็จแล้วด้วยใจ เพราะเป็นของเสร็จมาแต่ใจ ฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 55

บทว่า ปสนฺเนน ความว่า ผ่องใสแล้ว ด้วยคุณทั้งหลาย มี

ความไม่เพ่งเล็งเป็นต้น.

สองบทว่า ภาสติ วา กโรติ วา ความว่า บุคคลมีใจเห็น

ปานนี้ เมื่อจะพูด ย่อมพูดแต่วจีสุจริต ๔ อย่าง เมื่อจะทำ ย่อมทำ

แต่กายสุจริต ๓ อย่าง เมื่อไม่พูด เมื่อไม่ทำ ย่อมทำแต่มโนสุจริต ๓

อย่างให้เต็มที่ เพราะความที่ตัวเป็นผู้มีใจผ่องใสแล้ว ด้วยคุณทั้งหลาย

มีความไม่เพ่งเล็งเป็นต้นนั้น. กุศลกรรมบถ ๑๐ ของเขาย่อมถึงความ

เต็มที่ ด้วยประการอย่างนี้.

บาทพระคาถาว่า ตโต น สุขมเนฺวติ ความว่า ความสุข

ย่อมตามบุคคลนั้นไป เพราะสุจริต ๓ อย่างนั้น. กุศลทั้ง ๓ ภูมิ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์แล้วในที่นี้, เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึง

ทราบอธิบายว่า "ความสุขที่เป็นผล ซึ่งเป็นไปในกายและเป็นไปในจิต

(โดยบรรยายนี้) ว่า ' ความสุขมีกายเป็นที่ตั้งบ้าง ความสุขมีจิตนอกนี้

เป็นที่ตั้งบ้าง' ย่อมตามไป คือว่า ย่อมไม่ละบุคคลนั้น ผู้เกิดแล้วใน

สุคติภพก็ดี ตั้งอยู่แล้วในที่เสวยสุขในสุคติก็ดี เพราะอานุภาพแห่งสุจริต

ที่เป็นไปในภูมิ ๓. มีคำถามสอดเข้ามาว่า "เหมือนอะไร" แก้ว่า

" เหมือนเงามีปกติไปตามตัว" อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ธรรมดา

เงาเป็นของเนื่องกับสรีระ เมื่อสรีระเดินไป มันก็เดินไป, เมื่อสรีระหยุดอยู่

มันก็หยุด, เมื่อสรีระนั่ง มันก็นั่ง, ไม่มีใครสามารถที่จะว่ากล่าวกะมัน

ด้วยถ้อยคำอันละเอียดก็ดี ด้วยถ้อยคำอันหยาบก็ดีว่า "เจ้าจงกลับไปเสีย

๑. ภูมิ ๓ คือ กามาวจรภูมิ ๑ รูปาวจรภูมิ ๑ อรูปาวจรภูมิ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 56

หรือเฆี่ยนตีแล้วจึงให้กลับได้." ถามว่า "เพราะเหตุไร ?" ตอบว่า

"เพราะมันเป็นของเนื่องกับสรีระ ฉันใด. ความสุขที่เป็นไปในกายและ

"เพราะมันเป็นของเนื่องกับสรีระ ฉันใด. ความสุขที่เป็นไปในกายและ

เป็นไปในจิต ต่างโดยสุขมีกามาพจรสุขเป็นต้น มีกุศลแห่งกุศลกรรมบถ

๑๐ เหล่านี้ ที่บุคคลประพฤติมากแล้ว และประพฤติดีแล้ว เป็นรากเหง้า

ย่อมไม่ละ (บุคคลนั้น) ในที่แห่งเขาไปแล้วและไปแล้ว เหมือนเงาไป

ตามตัว ฉันนั้นแล."

ในกาลจบคาถา ความตรัสรู้ธรรม ได้มีแล้วแก่เหล่าสัตว์แปด

หมื่นสี่พัน, มัฏฐกุณฑลีเทพบุตร ตั้งอยู่แล้วในพระโสดาปัตติผล,

อทินนปุพพกพราหมณ์ ก็เหมือนกัน. เขาได้หว่านสมบัติใหญ่ถึงเท่านั้น

ลงไว้ในพระพุทธศาสนาแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องมัฏฐกุณฑลี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 57

๓. เรื่องพระติสสเถระ [๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ

ได้ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อกฺโกจฺฉิ ม อวธิ ม" เป็นต้น.

พระติสสเถระเป็นผู้ว่ายากและถือตัว

ดังได้สดับมา ท่านติสสเถระนั้น เป็นโอรสพระปิตุจฉาของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า บวชในกาลเป็นคนแก่ บริโภคลาภสักการะอันเกิด

ขึ้นแล้ว ในพระพุทธศาสนา มีร่างกายอ้วนพี มีจีวรรีดเรียบร้อยแล้ว

โดยมากนั่งอยู่ที่โรงฉันกลางวิหาร. ภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย มาแล้ว

เพื่อประโยชน์จะเฝ้าพระตถาคต ไปสู่สำนักแห่งเธอ ด้วยสำคัญว่า

" นี่ จักเป็นพระเถระผู้ใหญ่" ดังนี้แล้ว ถามถึงวัตร ถามถึงกิจควรทำ

มีนวดเท้าเป็นต้น. เธอนิ่งเสีย.

ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มองค์หนึ่งถามเธอว่า "ท่านมีพรรษา

เท่าไร ?" เมื่อเธอตอบว่า " ยังไม่มีพรรษา ข้าพเจ้าบวชแล้ว ใน

กาลเป็นคนแก่" จึงกล่าวว่า "ท่านขรัวตาผู้มีอายุ ฝึกได้ยาก ท่าน

ไม่รู้จักประมาณตน, ท่านเห็นพระเถระผู้ใหญ่มีประมาณเท่านี้แล้ว ไม่

ทำวัตรแม้มาตรว่าสามีจิกรรม เมื่อวัตรอันพระเถระเหล่านี้ถามโดย

เอื้อเฟื้ออยู่ ท่านนิ่งเสีย, แม้มาตรว่าความรังเกียจ ก็ไม่มีแก่ท่าน"

๑. อาโกฏิตปฺปจฺจาโกฏิเตหิ แปลว่า ทุบแล้วและทุบเฉพาะแล้ว. ๒. แนะนำยาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 58

ดังนี้ จึงโบกมือ (เป็นที่รุกราน). เธอยังขัตติยมานะให้เกิดขึ้นแล้ว

ถามว่า "พวกท่านมาสู่สำนักใคร ?" เมื่ออาคันตุกภิกษุเหล่านั้นตอบว่า

"มาสู่สำนักของพระศาสดา" จึงกล่าวว่า " ก็พวกท่านคาดข้าพเจ้าว่า

" นี่ใคร ? ' ข้าพเจ้าจักตัดมูลของพวกท่านเสียให้ได้" ดังนี้แล้ว ร้องไห้

เป็นทุกข์ เสียใจ ได้ไปสู่สำนักของพระศาสดาแล้ว.

พระติสสะทูลเรื่องแด่พระศาสดา

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า "ติสสะ เป็นอะไรหนอ ?

เธอจึงเป็นทุกข์ เสียใจ มีน้ำตาอาบหน้า ร้องไห้ มาแล้ว." ฝ่ายภิกษุ

เหล่านั้น (คือพวกภิกษุอาคันตุกะ) คิดว่า "ภิกษุนั้น คงไปทำกรรม

ขุ่นมัวอะไร ๆ " ดังนี้ จึงไปกับพระติสสะนั้นทีเดียว ถวายบังคมพระ-

ศาสดาแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. พระติสสะนั้น อันพระศาสดา

ตรัสถามแล้ว ได้กราบทูลว่า " พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุเหล่านี้ด่าข้า

พระองค์."

ศ. ก็เธอนั่งแล้วที่ไหน ?

ต. ที่โรงฉันกลางวิหาร พระเจ้าข้า.

ศ. ภิกษุเหล่านี้มา เธอได้เห็นหรือ ?

ต. เห็น พระเจ้าข้า.

ศ. เธอได้ลุกขึ้นทำการต้อนรับหรือ ?

ต. ไม่ได้ทำ พระเจ้าข้า.

๑. ตัดความเป็นสมณะ คือ ให้ขาดจากสมณภาพ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 59

ศ. เธอได้ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงการรับบริขาร ของภิกษุเหล่านั้น

หรือ ?

ต. ข้าพระองค์ไม่ได้ถามโดยเอื้อเฟื้อ พระเจ้าข้า.

ศ. เธอได้ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงธรรมเนียม หรือน้ำดื่มหรือ ?

ต. ข้าพระองค์ไม่ได้ถามโดยเอื้อเฟื้อ พระเจ้าข้า.

ศ. เธอนำอาสนะมาแล้ว ทำการนวดเท้าให้หรือ ?

ต. ไม่ได้ทำ พระเจ้าข้า.

พระติสสะไม่ยอมขมาภิกษุสงฆ์

ศ. ติสสะ วัตรทั้งปวงนั่น เธอควรทำแก่ภิกษุผู้แก่. การที่

เธอไม่ทำวัตรทั้งปวงนั่น นั่งอยู่ในท่ามกลางวิหาร ไม่สมควร, โทษ

ของเธอเองมี, เธอจงขอโทษภิกษุทั้งหลายนั่นเสีย.

ต. พระองค์ผู้เจริญ พวกภิกษุนี้ได้ด่าข้าพระองค์, ข้าพระองค์

ไม่ยอมขอโทษเธอ.

ศ. ติสสะ เธออย่าได้ทำอย่างนี้. โทษของเธอเองมี เธอจงขอ

โทษภิกษุเหล่านั้นเสีย.

ต. พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ยอมขอโทษภิกษุเหล่านี้ .

ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อภิกษุทั้งหลายยกราบทูลว่า "ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระติสสะนี้เป็นคนว่ายาก" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ติสสะนี้ มิใช่เป็นผู้ว่ายากแต่ในบัดนี้เท่านั้น, ถึงใน

กาลก่อน ติสสะนี้ก็เป็นคนว่ายากเหมือนกัน," เมื่อภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ทราบความที่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 60

เธอเป็นผู้ว่ายากแต่ในบัดนี้เท่านั้น, เธอได้ทำอะไรไว้ในอดีตกาล"

ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลายจงฟัง"

ดังนี้แล้ว ได้ทรงนำเรื่องอดีตมา.

บุรพกรรมของพระติสสะ

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพาราณสี เสวยราชสมบัติอยู่ในเมือง

พาราณสี, ดาบสชื่อเทวละ อยู่ในหิมวันตประเทศ ๘ เดือน ใคร่จะ

เข้าไปอาศัยพระนครอยู่ ๔ เดือน เพื่อต้องการจะเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว

จึงมาจากหิมวันตประเทศ พบพวกคนเฝ้าประตูพระนคร จึงถามว่า

"พวกบรรพชิตผู้มาถึงพระนครนี้แล้ว ย่อมพักอยู่ที่ไหนกัน ?" เขา

ทั้งหลายบอกว่า "ที่โรงนายช่างหม้อ ขอรับ." เธอไปสู่โรงนายช่าง

หม้อแล้ว ยืนที่ประตูกล่าวว่า "ถ้าท่านไม่มีความหนักใจ, ข้าพเจ้า

ขอพักอยู่ในโรงสักราตรีหนึ่ง." ช่างหม้อกล่าวว่า "กลางคืน กิจของ

ข้าพเจ้าที่โรงไม่มี. โรงใหญ่, นิมนต์ท่านอยู่ตามสบายเถิด ขอรับ "

ดังนี้แล้ว มอบโรงถวาย.

เมื่อเธอเข้าไปนั่งแล้ว. ดาบสแม้อีกองค์หนึ่ง ชื่อนารทะมาจาก

หินวันตประเทศ ได้ขอพักอยู่ราตรีหนึ่งกะนายช่างหม้อ. นายช่างหม้อ

คิดว่า "ดาบสองค์มาก่อน พึงเป็นผู้อยากจะอยู่ด้วยกันกับดาบสองค์นี้

หรือไม่ (ก็ไม่ทราบ), เราจะปลีกตัวเสีย" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า

" ถ้าท่านองค์เข้าไปก่อน จักพอใจไซร้, ท่านจงพักอยู่ตามความพอใจ

ของดาบสองค์ก่อนเถิด ขอรับ." นารทดาบสนั้น เข้าไปหาเธอแล้ว

กล่าวว่า "ท่านอาจารย์ ถ้าท่านไม่มีความหนักใจ, ผมขอพักอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 61

โรงนี้ราตรีหนึ่งเถิด" เมื่อเธอกล่าวว่า "โรงใหญ่, ท่านจงเข้าไปอยู่

ที่ส่วนข้างหนึ่งเถิด" ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปนั่ง ณ ที่อีกส่วนหนึ่งแห่งเธอผู้

เข้าไปก่อน.

โทษของการนอนไม่เป็นที่

ดาบสแม้ทั้งสองรูป พูดปราศรัยชวนให้ระลึกถึงกันแล้ว, ใน

เวลาจะนอน. นารทดาบสกำหนดที่นอนแห่งดาบสและประตูแล้วจึงนอน.

ส่วนเทวลดาบสนั้น เมื่อจะนอน หาได้นอนในที่ของตนไม่. (ไพล่)

นอนขวางที่กลางประตู. นารทดาบส เมื่อออกไปในราตรี ได้เหยียบที่

ชฎาของเธอ. เมื่อเธอกล่าวว่า "ใครเหยียบเรา ?" นารทดาบสกล่าวว่า

" ท่านอาจารย์ ผมเอง."

ท. ชฎิลโกง ท่านมาจากป่าแล้ว เหยียบที่ชฎาของเรา.

น. ท่านอาจารย์ ผมไม่ทราบว่าท่านนอนที่นี้ ขอท่านจงอดโทษ

แก่ผมเถิด. เมื่อเธอกำลังบ่นอยู่นั้นแล, ออกไปข้างนอกแล้ว. เทวลดาบส

นอกนี้คิดว่า "ดาบสรูปนี้ แม้เข้ามาจะพึงเหยียบเรา" ดังนี้แล้ว

จึงได้กลับนอนหันศีรษะไปทางเท้า.

ฝ่ายนารทดาบส เมื่อจะเข้าไปคิดว่า "แม้ทีแรก เราได้ผิดแล้วใน

ท่านอาจารย์, บัดนี้ เราจะเข้าไปโดยทางเท้าของท่าน" ดังนี้แล้ว เมื่อ

มา ได้เหยียบที่คอแห่งเธอ, เมื่อเธอกล่าวว่า "นี่ใคร ?" จึงกล่าวว่า

" ท่านอาจารย์ ผมเอง" เมื่อเธอกล่าวว่า "ชฏิลโกง ทีแรกท่าน

เหยียบที่ชฎาของเราแล้ว เดี๋ยวนี้เหยียบที่คอเราอีก เราจักสาปท่าน"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 62

จึงกล่าวว่า "ท่านอาจารย์ โทษของผมไม่มี, ผมไม่ทราบว่าท่านนอน

แล้วอย่างนั้น. ผมเข้ามาด้วยคิดว่า ' แม้ทีแรกความผิดของเรามีอยู่, เดี๋ยวนี้

เราจักเข้าไปโดยทางเท้าท่าน' ดังนี้ ขอท่านจงอดโทษแก่ผมเถิด."

ดาบสทั้งสองต่างสาปกัน

ท. ชฎิลโกง เราจะสาปท่าน.

น. ท่านอาจารย์ ท่านอย่าทำอย่างนี้เลย.

เธอมิเอื้อเฟื้อถ้อยคำของนารทดาบสนั้น ยังขืนสาปนารทดาบสนั้น

( ด้วยคาถา ) ว่า

"พระอาทิตย์ มีรัศมีตั้ง ๑,๐๐๐ มีเดชตั้ง ๑๐๐

มีปกติกำจัดความมืด, พอพระอาทิตย์ขึ้นมาใน

เวลาเช้า ขอศีรษะของท่านจงแตกออก ๗ เสี่ยง."

นารทดาบส กล่าวว่า " ท่านอาจารย์ โทษของผมไม่มี เมื่อ

กำลังพูดอยู่ทีเดียว ท่านได้สาปแล้ว. โทษของผู้ใดมีอยู่ ขอศีรษะของ

ผู้นั้นจงแตก, ของผู้ไม่มีโทษ จงอย่าแตก" ดังนี้แล้ว ได้สาป (ด้วย

คาถา) ว่า

" พระอาทิตย์ มีรัศมีตั้ง ๑,๐๐๐ มีเดชตั้ง ๑๐๐

มีปกติกำจัดความมืด, พอพระอาทิตย์ขึ้นมาใน

เวลาเช้า ขอศีรษะของท่านจงแตกออก ๗ เสี่ยง."

และนารทดาบสนั้น มีอานุภาพใหญ่ ตามระลึกชาติได้ ๘๐ กัลป์ คือ

ในอดีตกาล ๔๐ กัลป์ ในอนาคตกาล ๔๐ กัลป์. เพราะเหตุนั้นท่านคิด

ว่า "ความสาปจักตกในเบื้องบนแห่งใครหนอแล ?" ดังนี้ เมื่อใคร่ครวญ

ไป ก็ทราบว่า "จักตกในเบื้องบนแห่งอาจารย์" อาศัยความกรุณาใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 63

เธอ จิ่งได้ห้ามอรุณขึ้นด้วยกำลังฤทธิ์."

ประชาชนเดือดร้อนตลอดถึงพระราชา

ชาวพระนคร เมื่ออรุณไม่ขึ้นอยู่ ก็พากันไปสู่ประตูพระราชวัง

แล้วกราบทูลพิไรว่า "ข้าแต่สมมติเทพ เมื่อพระองค์ทรงครองราชสมบัติ

อยู่. อรุณไม่ขึ้น, ขอพระองค์จงทรงพระกรุณาโปรดให้อรุณขึ้น เพื่อ

ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด."

พระราชา ทรงพิจารณาจริยาอนุวัตร มีกายกรรมเป็นต้น ของ

พระองค์ มิได้ทรงเห็นการอันไม่สมควรอะไร ๆ จึงทรงพระดำริว่า "เหตุ

อะไรหนอแล ?" ดังนี้ ทรงระแวงว่า "ชะรอยจะเป็นความวิวาทของ

พวกบรรพชิต" ดังนี้แล้ว จึงตรัสถามว่า "พวกบรรพชิตในพระนครนี้

มีอยู่บ้างหรือ ?" เมื่อมีผู้กราบทูลว่า "เมื่อเวลาเย็นวานนี้ มีพวกบรรพชิต

มาสู่โรงนายช่างหม้อ พระเจ้าข้า " พระราชามีราชบุรุษถือคบนำเสด็จ

ไปที่นั้น ในทันใดนั้นเอง ทรงอภิวาทพระนารทดาบสแล้ว ประทับ ณ

ที่ควรข้างหนึ่งตรัสถามว่า

"ผู้เป็นเจ้านารทะ การงานทั้งหลายของพวก

ชมพูทวีป ย่อมเป็นไปไม่ได้, โลกเกิดมืดแล้ว

เพราะเหตุอะไร ท่านอันข้าพเจ้าถามแล้ว ได้

โปรดบอกเหตุนั้นแก่ข้าพเจ้า."

นารทดาบส เล่าเรื่องทั้งปวงถวายเสร็จแล้ว ถวายพระพรว่า

" อาตมภาพ อันดาบสรูปนี้สาปแล้วเพราะเหตุนี้, เมื่อเป็นอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 64

อาตมาภาพจึงได้กล่าวสาปบ้างว่า "โทษของข้าพเจ้าไม่มี. โทษของ

ผู้ใดมี; ความสาปจงตกลงในเบื้องบนแห่งผู้นั้นแล" ก็ครั้นสาปแล้ว

จึงคิดว่า "ความสาปจักตกในเบื้องบนแห่งใดหนอแล ?" เมื่อใคร่ครวญ

ไปก็เห็นว่า "ในเวลาพระอาทิตย์ขึ้น ศีรษะของอาจารย์จักแตกออก

๗ เสี่ยง" ดังนี้แล้ว อาศัยความกรุณาในท่าน จึงมิให้อรุณขึ้นไป.

ร. ก็อย่างไร อันตรายจะไม่พึงมีแก่ท่านเล่า ขอรับ ?

น. ถ้าท่านขอโทษอาตมภาพเสีย อันตรายก็จักไม่พึงมี.

ร. ถ้าอย่างนั้น ท่านจงขอโทษเสียเถิด.

ท. ชฎิลนั่นเหยียบอาตมภาพ ที่ชฎาและที่คอ อาตมภาพไม่ยอม

ขอโทษชฎิลโกงนั่น.

ร. ขอท่านจงขอโทษเสียเถิด ขอรับ ท่านอย่าทำอย่างนี้.

เทวลดาบสทูลว่า "อาตมภาพ ไม่ยอมขอโทษ" แม้เมื่อพระราชา

ตรัสว่า "ศีรษะของท่านจักแตกออก ๗ เสี่ยง" ดังนี้ ก็ยังไม่ยอมขอโทษ

อยู่นั่นเอง.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกับเธอว่า "ท่านจักไม่ยอมขอโทษตาม

ชอบใจของตนหรือ ?" ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งให้ราชบุรุษจับเทวลดาบสนั้น

ที่มือ ที่เท้า ที่ท้อง ที่คอ ให้ก้มลงที่บาทมูลแห่งนารทดาบส.

นารทดาบสกล่าวว่า "อาจารย์ เชิญท่านลุกขึ้นเถิด, ข้าพเจ้ายอม

ยกโทษให้แก่ท่าน ดังนี้แล้ว ถวายพระพรว่า "มหาบพิตร ดาบส

รูปนี้หาได้ขอโทษอาตมภาพตามใจสมัครไม่, มีสระอยู่ในที่ไม่ไกลสระหนึ่ง

ขอพระองค์รับสั่งให้เธอยืนทูนก้อนดินเหนียวบนศีรษะ แช่น้ำอยู่ในสระ

นั้นแค่คอ. พระราชารับสั่งให้ทำอย่างนั้นแล้ว. นารทดาบสเรียกเทวลดาบส

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 65

มาว่า "ท่านอาจารย์ ครั้นฤทธิ์อันผมคลายแล้ว. เมื่อแสงพระอาทิตย์

ตั้งขึ้นอยู่, ท่านพึงดำลงเสียในน้ำแล้ว โผล่ขึ้นไปเสียโดยทางอื่น."

ก้อนดินเหนียวบนศีรษะของเทวลดาบสนั้น พอรัศมีแห่งพระอาทิตย์ถูกเข้า

เท่านั้น ก็แตกออก ๗ เสี่ยง, เทวลดาบสนั้น ดำลงหนีไปที่อื่นแล้ว.

เวรไม่ระงับด้วยผูกเวร

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นอานนท์แล้ว . เทวลดาบส

ได้เป็นติสสะแล้ว, นารทดาบส ได้เป็นเราเอง, ถึงในครั้งนั้น ติสสะ

นี้ก็เป็นผู้ว่ายากอย่างนี้เหมือนกัน" ดังนี้แล้ว รับสั่งเรียกติสสเถระมาแล้ว

ตรัสว่า "ติสสะ ก็เมื่อภิกษุคิดอยู่ว่า 'เราถูกผู้โน้นด่าแล้ว ถูกผู้โน้น

ประหารแล้ว ถูกผู้โน้นชนะแล้ว ผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราไปแล้ว'

ดังนี้ ชื่อว่าเวรย่อมไม่ระงับได้; แต่เมื่อภิกษุไม่เข้าไปผูกอยู่อย่างนั้นนั่นแล

เวรย่อมระงับได้,' ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า:-

๓. อกฺโกจฺฉิ ม อวธิ ม อชินิ ม อหาสิ เม

เย จ ต อุปนยฺยนฺติ เวร เตส น สมฺมติ.

อกฺโกจฺฉิ ม อวธิ ม อชินิ ม อหาสิ เม

เย จ ต นูปนยฺหนฺติ เวร เตสูปสมฺมติ.

"ก็ชนเหล่าใด เข้าไปผูกความโกรธนั้นไว้ว่า 'ผู้โน้น

ได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ตีเรา ผู้โน้นได้ชนะเรา ผู้โน้น

ได้ลักสิ่งของของเราแล้ว' เวรของชนเหล่านั้น ย่อมไม่

ระงับได้, ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 66

ไว้ว่า 'ผู้โน้นได้ด่าเรา ผู้โน้นได้ติเรา ผู้โน้นได้ชนะ

เราผู้โน้นได้ลักสิ่งของของเราแล้ว' เวรของชนเหล่า

นั้นย่อมระงับได้."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกฺโกจฺฉิ คือ ด่าแล้ว. บทว่า

อวธิ คือ ประหารแล้ว . บทว่า อชินิ คือ ได้ชนะเราด้วยการอ้าง

พยานโกงบ้าง ด้วยการกล่าวโต้ตอบถ้อยคำบ้าง ด้วยการทำให้ยิ่งกว่าการ

ทำบ้าง.

บทว่า อหาสิ คือ ผู้โน้นได้ลักของคือบรรดาวัตถุทั้งหลายมีผ้า

เป็นต้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งของเรา.

สองบทว่า เย จ ต เป็นต้น ความว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

คือ เทพดาหรือมนุษย์ คฤหัสถ์หรือบรรพชิต เข้าไปผูกความโกรธนั้น

คือมีวัตถุเป็นต้นว่า "คนโน้นได้ด่าเรา" ดุจพวกคนขับเกวียน ขันทุบ

เกวียนด้วยชะเนาะ และดุจพวกประมง พันสิ่งของมีปลาเน่า เป็นต้น

ด้วยวัตถุมีหญ้าคาเป็นต้น บ่อยๆ, เวรของพวกเขาเกิดขึ้นแล้ว คราวเดียว

ย่อมไม่ระงับ คือว่าย่อมไม่สงบลงได้.

บาทพระคาถาว่า เย จ ต นูปนยฺหติ ความว่า ชนเหล่าใด

ไม่เข้าไปผูกความโกรธนั้น คือมีคำดำเป็นต้นเป็นที่ตั้ง ด้วยอำนาจการ

ไม่ระลึกถึงและการไม่ทำไว้ในใจบ้าง ด้วยอำนาจการพิจารณาเห็นกรรม

อย่างนี้ว่า "ใคร ๆ ผู้หาโทษมิได้ แม้ท่านคงจักด่าแล้วในภพก่อน

คงจักประหารแล้ว (ในภพก่อน ) คงจักเบิกพยานโกงชนะแล้ว (ใน

ภพก่อน) สิ่งของอะไรๆ ของใครๆ ท่านคงจักข่มแหงชิงเอาแล้ว (ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 67

ภพก่อน). เพราะฉะนั้น ท่านแม้เป็นผู้ไม่มีโทษ จึงได้ผลที่ไม่น่า

ปรารถนา มีคำด่าเป็นต้น" ดังนี้บ้าง, เวรของชนเหล่านั้น แม้เกิด

แล้วเพราะความประมาท ย่อมสงบได้ด้วยการไม่ผูก (โกรธ ) นี้ ดุจ

ไฟไม่มีเธอเกิดขึ้นแล้วดับไปฉะนั้นแล.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุแสนหนึ่ง ได้บรรลุอริยผลทั้งหลายมี

โสดาปัตติผลเป็นต้น. พระธรรมเทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์แก่มหาชน

แล้ว. พระติสสเถระ ถึงเป็นคนว่ายาก ก็กลายเป็นคนว่าง่ายแล้วดังนี้แล.

เรื่องพระติสสเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 68

๔. เรื่องความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี [๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภหญิงหมัน

คนใดคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "น หิ เวเรน เวรานิ"

เป็นต้น.

มารดาหาภรรยาให้บุตร

ดังได้สดับมา บุตรกุฎุมพีคนหนึ่ง เมื่อบิดาทำกาละแล้ว ทำการ

งานทั้งปวง ทั้งที่นา ทั้งที่บ้าน ด้วยตนเอง ปฏิบัติมารดาอยู่. ต่อมา

มารดาได้บอกแก่เขาว่า "พ่อ แม่จักนำนางกุมาริกามาให้เจ้า."

บุ. แม่ อย่าพูดอย่างนี้เลย, ฉันจักปฏิบัติแม่ไปจนตลอดชีวิต.

ม. พ่อ เจ้าคนเดียวทำการงานอยู่ ทั้งที่นาและที่บ้าน, เพราะ

เหตุนั้น แม่จึงไม่มีความสบายใจเลย, แม่จักนำนางกุมาริกามาให้เจ้า.

เขาแม้ห้าม (มารดา) หลายครั้งแล้วได้นิ่งเสีย. มารดานั้นออก

จากเรือน เพื่อจะไปสู่ตระกูลแห่งหนึ่ง.

ลำดับนั้น บุตรถามมารดาว่า "แม่จะไปตระกูลไหน?" เมื่อ

มารดาบอกว่า "จะไปตระกูลชื่อโน้น " ดังนี้แล้ว ห้ามการที่จะไป

ตระกูลนั้นเสียแล้ว บอกตระกูลที่ตนชอบใจให้. มารดาได้ไปตระกูลนั้น

หมั้นนางกุหาริกาไว้แล้ว กำหนดวัน (แต่งงาน) นำนางกุมาริกาคน

นั้นมา ได้ทำไว้ในเรือนของบุตร. นางกุมาริกานั้น ได้เป็นหญิงหมัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 69

ทีนั้น มารดาจึงพูดกะบุตรว่า "พ่อ เจ้าให้แม่นำนางกุมาริกามาตาม

ชอบใจของเจ้าแล้ว บัดนี้ นางกุมาริกานั้นเป็นหมัน, ก็ธรรมดา

ตระกูลที่ไม่มีบุตรย่อมฉิบทาย. ประเพณีย่อมไม่สืบเนื่องไป, เพราะฉะนั้น

แม่จักนำนางกุมาริกาคนอื่นมา (ให้เจ้า)" แม้บุตรนั้นกล่าวห้ามอยู่ว่า

"อย่าเลย แม่" ดังนี้ ก็ยังได้กล่าว (อย่างนั้น) บ่อยๆ. หญิงหมัน

ได้ยินคำนี้ จึงคิดว่า "ธรรมดาบุตร ย่อมไม่อาจฝืนคำมารดาบิดา

ไปได้, บัดนี้ แม่ผัวคิดจะนำหญิงอื่น ผู้ไม่เป็นหมันมาแล้ว ก็จักใช้เรา

อย่างทาสี, ถ้าอย่างไรเราพึงนำนางกุมาริกาคนหนึ่งมาเสียเอง" ดังนี้แล้ว

จึงไปยังตระกูลแห่งหนึ่ง ขอนางกุมาริกา เพื่อประโยชน์แก่สามี, ถูก

พวกชนในตระกูลนั้นห้ามว่า "หล่อนพูดอะไรเช่นนั้น" ดังนี้แล้ว จึง

อ้อนวอนว่า "ฉันเป็นหมัน ตระกูลที่ไม่มีบุตร ย่อมฉิบทาย บุตรีของ

ท่านได้บุตรแล้ว จักได้เป็นเจ้าของสมบัติ, ขอท่านโปรดยกบุตรีนั้นให้

แก่สามีของฉันเถิด" ดังนี้แล้ว ยังตระกูลนั้นให้ยอมรับแล้ว จึงนำมา

ไว้ในเรือนของสามี.

ต่อมา หญิงหมันนั้น ได้มีความปริวิตกว่า "ถ้านางคนนี้จักได้

บุตรหรือบุตรีไซร้ จักเป็นเจ้าของสมบัติแต่ผู้เดียว, ควรเราจะทำนางอย่า

ให้ได้ทารกเลย."

เมียหลวงปรุงยาทำลายครรภ์เมียน้อย

ลำดับนั้น หญิงหมันจึงพูดกะนางนั้นว่า "ครรภ์ตั้งขึ้นในท้อง

หล่อนเมื่อใด ขอให้หล่อนบอกแก่ฉันเมื่อนั้น." นางนั้นรับว่า "จ้ะ"

เมื่อครรภ์ตั้งแล้ว ได้บอกแก่หญิงหมันนั้น. ส่วนหญิงหมันนั้นแลให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 70

ข้าวต้มและข้าวสวยแก่นางนั้นเป็นนิตย์. ภายหลัง นางได้ให้ยาสำหรับ

ทำครรภ์ให้ตก ปนกับอาหารแก่นางนั้น. ครรภ์ก็ตก [แท้ง]. เมื่อ

ครรภ์ตั้งแล้วเป็นครั้งที่ ๒ นางก็ได้บอกแก่หญิงหมันนั้น. แม้หญิงหมัน

ก็ได้ทำครรภ์ให้ตก ด้วยอุบายอย่างนั้นนั่นแล เป็นครั้งที่ ๒.

ลำดับนั้น พวกหญิงที่คุ้นเคยกัน ได้ถามนางนั้นว่า "หญิงร่วม

สามีทำอันตรายหล่อนบ้างหรือไม่ ? นางแจ้งความนั้นแล้ว ถูกหญิง

เหล่านั้นกล่าวว่า "หญิงอันธพาล เหตุไร หล่อนจึงได้ทำอย่างนั้นเล่า ?

หญิงหมันนี้ ได้ประกอบยาสำหรับทำครรภ์ให้ตกให้แก่หล่อน เพราะ

กลัวหล่อนจะเป็นใหญ่, เพราะฉะนั้น ครรภ์ของหล่อนจึงตก, หล่อน

อย่าได้ทำอย่างนี้อีก." ในครั้งที่ ๓ นางจึงมิได้บอก. ต่อมา [ฝ่าย]

หญิงหมันเห็นท้องของนางนั้นแล้วจึงกล่าวว่า "เหตุไร ? หล่อนจึงไม่

บอกความที่ครรภ์ตั้งแก่ฉัน " เมื่อนางนั้นกล่าวว่า "หล่อนนำฉันมาแล้ว

ทำครรภ์ให้ตกไปเสียถึง ๒ ครั้งแล้ว, ฉันจะบอกแก่หล่อนทำไม ?" จึง

คิดว่า "บัดนี้ เราฉิบหายแล้ว คอยแลดูความประมาทของนางกุมาริกา

นั้นอยู่. เมื่อครรภ์แก่เต็มที่แล้ว, จึงได้ช่อง ได้ประกอบยาให้แล้ว

ครรภ์ไม่อาจตก เพราะครรภ์แก่ จึงนอนขวาง [ทวาร]. เวทนา

กล้าแข็งขึ้น. นางถึงความสิ้นชีวิต.

นางตั้งความปรารถนาว่า "เราถูกมันให้ฉิบหายแล้ว, มันเองนำ

เรามา ทำทารกให้ฉิบหายถึง ๓ คนแล้ว, บัดนี้ เราเองก็จะฉิบหาย,

บัดนี้ เราจุติจากอัตภาพนี้ พึงเกิดเป็นนางยักษิณี อาจเคี้ยวกินทารก

ของมันเถิด" ดังนี้แล้ว ตายไปเกิดเป็นแม่แมวในเรือนนั้นเอง. ฝ่าย

สามี จับหญิงหมันแล้ว กล่าวว่า "เจ้าได้ทำการตัดตระกูลของเราให้

๑.ชีวิตกฺขย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 71

ขาดสูญ" ดังนี้แล้ว ทุบด้วยอวัยวะทั้งหลายมีศอกและเข่าเป็นต้นให้

บอบซ้ำแล้ว. หญิงหมันนั้นตายเพราะความเจ็บนั้นแล แล้วได้เกิดเป็น

แม่ไก่ในเรือนนั้นเหมือนกัน.

ผลัดกันสังหารคนละชาติด้วยอำนาจผูกเวร

จำเนียรกาลไม่นาน แม่ไก่ได้ตกฟองหลายฟอง. แม่แมวมากิน

ฟองไก่เหล่านั้นเสีย. ถึงครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ มันก็ได้กินเสียเหมือนกัน.

แม่ไก่ทำความปรารถนาว่า "มันกินฟองของเราถึง ๓ ครั้งแล้ว เดี๋ยวนี้

มันก็อยากกินตัวเราด้วย. เดี๋ยวนี้ เราจุติจากอัตภาพนี้แล้ว พึงได้กินมัน

กับลูกของมัน" ดังนี้แล้ว จุติจากอัตภาพนั้น ได้เกิดเป็นแม่เสือเหลือง.

ฝ่ายแม่แมว ได้เกิดเป็นแม่เนื้อ. ในเวลาแต่เนื้อนั้นคลอดลูกแล้ว ๆ

แม่เสือเหลือง ก็ได้มากินลูกทั้งหลายเสียถึง ๓ ครั้ง. เมื่อเวลาจะตาย

แม่เนื้อทำความปรารถนาว่า "พวกลูกของเรา แม่เสือเหลืองตัวนี้กินเสีย

ถึง ๓ ครั้งแล้ว เดี๋ยวนี้มันจักกินตัวเราด้วย. เดี๋ยวนี้เราจุติจากอัตภาพนี้

แล้ว พึงได้กินมันกับลูกของมันเถิด" ดังนี้แล้ว ได้ตายไปเกิดเป็น

นางยักษิณี. ฝ่ายแม่เสือเหลือง จุติจากอัตภาพนั้นแล้วได้เกิดเป็นกุลธิดา*

ในเมืองสาวัตถี. นางถึงความเจริญแล้ว ได้ไปสู่ตระกูลสามีในบ้านริม

ประตู [เมือง]. ในกาลต่อมา นางได้คลอดบุตรคนหนึ่ง. นางยักษิณี

จำแลงตัวเป็นหญิงสหายที่รักของเขามาแล้ว ถามว่า "หญิงสหายของฉัน

อยู่ที่ไหน ?" พวกชาวบ้านได้บอกว่า "เขาคลอดบุตรอยู่ภายในห้อง."

นางยักษิณีฟังคำนั้น แสร้งพูดว่า "หญิงสหายของฉันคลอดลูกเป็นชาย

หรือหญิงหนอ. ฉันจักดูเด็กนั้น" ดังนี้แล้วเข้าไปทำเป็นแลดูอยู่ จับ

๑. หญิงสาวของตระกูล หญิงสาวในตระกูล หรือหญิงสาวมิตระกูล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 72

ทารกกินแล้วก็ไป ถึงในหนที่๒ ก็ได้กินเสียเหมือนกัน. ในหนที่ ๓

นางกุลธิดามีครรภ์แก่ เรียกสามีมาแล้ว นอกว่า "นาย นางยักษิณี

คนหนึ่งกินบุตรของฉันเสียในที่นี้ ๒ คนแล้วไป, เดี๋ยวนี้ ฉันจักไปสู่เรือน

แห่งตระกูลของฉันคลอดบุตร" ดังนี้แล้ว ไปสู่เรือนแห่งตระกูลคลอด

[บุตรที่นั่น]. ในกาลนั้น นางยักษิณีนั้นถึงคราวส่งน้ำ. ด้วยว่า นาง

ยักษิณีทั้งหลายต้องตักน้ำ จากสระอโนดาตทูนบนศีรษะมา เพื่อท้าว

เวสสวัณ ตามวาระ ต่อล่วง ๔ เดือนบ้าง ๕ เดือนบ้างจึงพ้น (จาก

เวร) ได้. นางยักษิณีเหล่าอื่นมีกายบอบช้ำ ถึงความสิ้นชีวิตบ้างก็มี.

ส่วนนางยักษิณีนั้น พอพ้นจากเวรส่งน้ำแล้วเท่านั้น ก็รีบไปสู่เรือนนั้น

ถามว่า "หญิงสหายของฉันอยู่ที่ไหน?" พวกชาวบ้านบอกว่า "ท่าน

จักพบเขาที่ไหน ? นางยักษิณีคนหนึ่งกินทารกของเขาที่คลอดในที่นี้,

เพราะฉะนั้น เขาจึงไปสู่เรือนแห่งตระกูล." นางยักษิณีนั้นคิดว่า "เขา

ไปในที่ไหน ๆ ก็ตามเถิด จักไม่พ้นเราได้" ดังนี้แล้ว อันกำลังเวรให้

อุตสาหะแล้ว วิ่งบ่ายหน้าไปสู่เมือง. ฝ่ายนางกุลธิดา ในวันเป็นที่รับชื่อ

ให้ทารกนั้นอาบน้ำ ตั้งชื่อแล้ว กล่าวกะสามีว่า "นาย เดี๋ยวนี้ เรา

พากันไปสู่เรือนของเราเถิด" อุ้มบุตรไปกับสามี ตามทางอันตัดไปใน

ท่ามกลางวิหาร มอบบุตรให้สามีแล้ว ลงอาบน้ำในสระโบกขรณีข้าง

วิหารแล้ว ขึ้นมารับเอาบุตร. เมื่อสามีกำลังอาบน้ำอยู่, ยืนให้บุตรดื่มนม

แลเห็นนางยักษิณีมาอยู่ จำได้แล้ว ร้องด้วยเสียงอันดังว่า "นาย มาเร็วๆ

เถิด นี้นางยักษิณีตนนั้น" ดังนี้แล้ว ไม่อาจยืนรออยู่จนสามีนั้นมาได้

วิ่งกลับบ่ายหน้าไปสู่ภายในวิหารแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 73

เวรไม่ระงับด้วยเวร แต่ระงับได้ด้วยไม่ผูกเวร

ในสมัยนั้น พระศาสดา ทรงแสดงธรรมอยู่ในท่ามกลางบริษัท.

นางกุลธิดานั้น ให้บุตรนอนลงเคียงหลังพระบาทแห่งพระตถาคตเจ้า

แล้วกราบทูลว่า "บุตรคนนี้ ข้าพระองค์ถวายแด่พระองค์แล้ว ขอ

พระองค์ประทานชีวิตแก่บุตรข้าพระองค์เถิด." สุมนเทพ ผู้สิงอยู่ที่ซุ้ม

ประตู ไม่ยอมให้นางยักษิณีเข้าไปข้างใน. พระศาสดารับสั่งเรียก

พระอานนทเถระมาแล้ว ตรัสว่า "อานนท์ เธอจงไปเรียกนางยักษิณี

นั้นมา." พระเถระเรียกนางยักษิณีนั้นมาแล้ว. นางกุลธิดา กราบทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางยักษิณีนี้มา." พระศาสดาตรัสว่า "นาง

ยักษิณีจงมาเถิด, เจ้าอย่าได้ร้องไปเลย" ดังนี้แล้ว ได้ตรัสกะนาง

ยักษิณีผู้มายืนอยู่แล้วว่า "เหตุไร? เจ้าจึงทำอย่างนั้น ก็ถ้าพวกเจ้า

ไม่มาสู่เฉพาะหน้าพระพุทธเจ้า ผู้เช่นเราแล้ว เวรของพวกเจ้า จักได้

เป็นกรรมตั้งอยู่ชั่วกัลป์ เหมือนเวรของงูกับพังพอน, ของหมีกับไม้

สะคร้อ และของกากับนกเค้า, เหตุไฉน พวกเจ้าจึงทำเวรและเวรตอบ

แก่กัน? เพราะเวรย่อมระงับได้ด้วยความไม่มีเวร หาระงับได้ด้วยเวรไม่"

ดังนี้แล้ว ได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

๔. น หิ เวเรน เวรานิ สมฺมนฺตีธ กุทาจน

อเวเรน จ สมฺมนฺติ เอส ธมฺโม สนนฺตโน.

"ในกาลไหน ๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อม

ไม่ระงับด้วยเวรเลย ก็แต่ย่อมระงับได้ด้วยความ

ไม่มีเวร, ธรรมนี้เป็นของเก่า."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 74

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ เวเรน เป็นต้น ความว่า

เหมือนอย่างว่า บุคคล แม้เมื่อล้างที่ซึ่งเปื้อนแล้วด้วยของไม่สะอาดมี

น้ำลายและน้ำมูกเป็นต้น ด้วยของไม่สะอาดเหล่านั้นแล ย่อมไม่อาจทำ

ให้เป็นที่หมดจด หายกลิ่นเหม็นได้, โดยที่แท้ ที่นั้นกลับเป็นที่ไม่หมด

จดและมีกลิ่นเหม็นยิ่งกว่าเก่าอีก ฉันใด. บุคคลเมื่อด่าตอบชนผู้ด่าอยู่

ประหารตอบชนผู้ประหารอยู่ ย่อมไม่อาจยังเวรให้ระงับด้วยเวรได้, โดย

ที่แท้ เขาชื่อว่าทำเวรนั่นเองให้ยิ่งขึ้น ฉันนั้นนั่นเทียว. แม้ในกาลไหน ๆ

ขึ้นชื่อว่าเวรทั้งหลาย ย่อมไม่ระงับได้ด้วยเวร, โดยที่แท้ ชื่อว่าย่อม

เจริญอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.

สองบทว่า อเวเรน จ สมฺมนฺติ ความว่า เหมือนอย่างว่าของ

ไม่สะอาด มีน้ำลายเป็นต้นเหล่านั้น อันบุคคลล้างด้วยน้ำที่ใสย่อมหาย

หมดได้, ที่นั้นย่อมเป็นที่หมดจด ไม่มีกลิ่นเหม็น ฉันใด, เวรทั้งหลาย

ย่อมระงับ คือย่อมสงบ ได้แก่ ย่อมถึงความไม่มีด้วยความไม่มีเวร

คือด้วยน้ำคือขันติและเมตตา ด้วยการทำไว้ในใจโดยแยบคาย [และ]

ด้วยการพิจารณา ฉันนั้นนั่นเทียว.

บาทพระคาถาว่า เอส ธมฺโม สนฺนตโน ความว่า ธรรมนี้

คือที่นับว่า ความสงบเวร ด้วยความไม่มีเวร เป็นของเก่า คือเป็น

มรรคาแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพทั้งหลาย

ทุก ๆ พระองค์ ดำเนินไปแล้ว.

ในกาลจบพระคาถา นางยักษิณีนั้น ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล

แล้ว. เทศนาได้เป็นกถามีประโยชน์ แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 75

นางยักษิณีรู้ฝนมากฝนน้อย

พระศาสดา ได้ตรัสกะหญิงนั้นว่า "เจ้าจงให้บุตรของเจ้าแก่นาง

ยักษิณีเถิด."

ญ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์กลัว.

ศ. เจ้าอย่ากลัวเลย, อันตรายย่อมไม่มีแก่เจ้า เพราะอาศัยนาง

ยักษิณีนี้.

นางได้ให้บุตรแก่นางยักษิณีนั้นแล้ว. นางยักษิณีนั้นอุ้มทารกนั้น

จูบกอดแล้ว คืนให้แก่มารดาอีก ก็เริ่มร้องไห้.

ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสถามนางยักษิณีนั้นว่า "อะไรนั่น ?"

นางยักษิณีนั้นกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อก่อน

ข้าพระองค์ แม้สำเร็จการเลี้ยงชีพด้วยไม่เลือกทาง ยังไม่ได้อาหารพอ

เต็มท้อง, บัดนี้ ข้าพระองค์จะเลี้ยงชีพได้อย่างไร."

ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสปลอบนางยักษิณีนั้นว่า "เจ้าอย่า

วิตกเลย" ดังนี้แล้ว ตรัสกะหญิงนั้นว่า "เจ้าจงนำนางยักษิณีไปให้

อยู่ในเรือนของตนแล้ว จงปฏิบัติด้วยข้าวต้มและข้าวสวยอย่างดี." หญิง

นั้นนำนางยักษิณีไปแล้ว ให้พักอยู่ในโรงกระเดื่อง ได้ปฏิบัติด้วยข้าวต้ม

และข้าวสวยอย่างดีแล้ว. ในเวลาซ้อมข้าวเปลือก สากปรากฏแก่นาง

ยักษิณีนั้นดุจต่อยศีรษะ. เขาจึงเรียกนางกุลธิดาผู้สหายมาแล้ว พูดว่า

" ฉันจักไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ ขอท่านจงให้ฉันพักอยู่ในที่อื่นเถิด" แม้

อันหญิงสหายนั้นให้พักอยู่ในที่เหล่านี้ คือในโรงสาก ข้างตุ่มน้ำ ริม

เตาไฟ ริมชายคา ริมกลงหยากเยื่อ ริมประตูบ้าน, (นาง) ก็กล่าวว่า

" ในโรงสากนี้ สากย่อมปรากฏดุจต่อยศีรษะฉันอยู่, ที่ข้างตุ่มน้ำนี้ พวก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 76

เด็กย่อมราดน้ำเป็นเดนลงไป, ที่ริมเตาไฟนี้ ฝูงสุนัขย่อมมานอน, ที่

ริมชายคานี้ พวกเด็กย่อมทำสกปรก, ที่ริมกองหยากเยื่อนี้ ชนทั้งหลาย

ย่อมเทหยากเยื่อ, ที่ริมประตูบ้านนี้ เด็กพวกชาวบ้าน ย่อมเล่นการพนัน

กันด้วยคะแนน" ดังนี้แล้ว ได้ห้ามที่ทั้งปวงนั้นเสีย.

ครั้งนั้น หญิงสหาย จึงให้นางยักษิณีนั้นพักอยู่ในที่อันสงัดภายนอก

บ้านแล้ว นำโภชนะมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้นอย่างดีไปเพื่อนาง

ยักษิณีนั้น แล้วปฏิบัติในที่นั้น. นางยักษิณีนั้น คิดอย่างนี้ว่า "เดี๋ยวนี้

หญิงสหายของเรานี้ มีอุปการะแก่เรามาก, เอาเถอะเราจักทำความ

แทนคุณสักอย่างหนึ่ง" ดังนี้แล้ว ได้บอกแก่หญิงสหายว่า "ในปีนี้

จักมีฝนดี, ท่านจงทำข้าวกล้าในที่ดอนเถิด, ในปีนี้ฝนจักแล้ง ท่านจง

ทำข้าวกล้าในที่ลุ่มเถิด. ข้าวกล้าอันพวกชนที่เหลือทำแล้ว ย่อมเสียหาย

ด้วยน้ำมากเกินไปบ้าง ด้วยน้ำน้อยบ้าง. ส่วนข้าวกล้าของนางกุลธิดานั้น

ย่อมสมบูรณ์เหลือเกิน.

นางยักษิณีเริ่มตั้งสลากภัต

ครั้งนั้น พวกชนที่เหลือเหล่านั้น พากันถามนางว่า "แม่ ข้าว

กล้าที่หล่อนทำแล้ว ย่อมไม่เสียหายด้วยน้ำมากเกินไป ย่อมไม่เสียหายด้วย

น้ำน้อยไป, หล่อนรู้ความที่ฝนดีและฝนแล้งแล้วจึงทำการงานหรือ ? ข้อนี้

เป็นอย่างไรหนอแล ?" นางบอกว่า "นางยักษิณี ผู้เป็นหญิงสหาย

ของฉันบอกความที่ฝนดีและฝนแล้งแก่ฉัน, ฉันทำข้าวกล้าทั้งหลายในที่

ดอนและที่ลุ่ม ตามคำของยักษิณีนั้น, เหตุนั้น ข้าวกล้าของฉันจึงสมบูรณ์ดี,

พวกท่านไม่เห็นโภชนะมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้น ที่ฉันนำไปจากเรือน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 77

เนืองนิตย์หรือ ? สิ่งของเหล่านั้น ฉันนำไปให้นางยักษิณีนั้น. แม้พวก

ท่านก็จงนำโภชนะมีข้าวต้มและข้าวสวยเป็นต้นอย่างดี ไปให้นางยักษิณี

บ้างซิ, นางยักษิณีก็จักแลดูการงานของพวกท่านบ้าง."

ครั้งนั้น พวกชนชาวเมืองทั้งสิ้น พากันทำสักการะแก่นางยักษิณี

นั้นแล้ว. จำเดิมแต่นั้นมา นางยักษิณีแม้นั้น แลดูการงานทั้งหลายของ

ชนทั้งปวงอยู่ ได้เป็นผู้ถึงลาภอันเลิศ [และ] มีบริวารมากแล้ว.

ในกาลต่อมา นางยักษิณีนั้นเริ่มตั้งสลากภัต ๘ ที่แล้ว. สลากภัต

นั้น ชนทั้งหลายยังถวายอยู่จนกาลทุกวันนี้แล.

เรื่องความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 78

๕. เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี [๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพวกภิกษุ

ชาวเมืองโกสัมพี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปเร จ น วิชานนฺติ"

เป็นต้น.

พระวินัยธรกับพระธรรมกถึกเถียงกันเรื่องวินัย

ความพิสดารว่า ภิกษุ ๒ รูป คือ พระวินัยธรรูป ๑ พระธรรม-

กถึกรูป ๑ มีบริวารรูปละ ๕๐๐ ได้อยู่ที่โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี.

วันหนึ่ง ในภิกษุ ๒ รูปนั้น พระธรรมกถึก ไปถามแล้ว เว้นน้ำชำระ

ที่เหลือไว้ในภาชนะ ที่ซุ้มน้ำแล้ว ก็ออกมา. ภายหลัง พระวินัยธร

เข้าไปที่ซุ้มน้ำนั้น เห็นน้ำนั้น ออกมาถามพระธรรมกถึกนอกนี้ว่า

"ผู้มีอายุ ท่านเหลือน้ำไว้หรือ ?"

ธ. ขอรับ ผู้มีอายุ.

ว. ท่านก็ไม่รู้ว่าอาบัติ ในเพราะการเหลือน้ำไว้นี้หรือ ?

ธ. ขอรับ ผมไม่ทราบ

ว. ไม่รู้ก็ช่างเถิด ผู้มีอายุ เป็นอาบัติในข้อนี้.

ธ. ถ้าอย่างนั้น ผมจักทำคืนอาบัตินั้นเสีย.

ว. ผู้มีอายุ ก็ถ้าว่าข้อนั้นท่านไม่แกล้งทำ เพราะความไม่มีสติ,

อาบัติไม่มี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 79

พระธรรมกถึกนั้น ได้เป็นผู้มีความเห็นอาบัตินั้นว่ามิใช่อาบัติ.

ฝ่ายพระวินัยธร ได้บอกแก่พวกนิสิตของตนว่า "พระธรรมกถึก

รูปนี้ แต่ต้องอาบัติก็ไม่รู้." พวกนิสิตพระวินัยธรนั้น เห็นพวกนิสิต

ของพระธรรมกถึกนั้นแล้ว ได้กล่าวว่า "พระอุปัชฌาย์ของพวกท่าน

แม้ต้องอาบัติแล้ว ก็ไม่รู้ว่าเป็นอาบัติ." พวกนิสิตของพระธรรมกถึกนั้น

ไปแจ้งแก่พระอุปัชฌาย์ของตนแล้ว. พระธรรมกถึกนั้น พูดอย่างนี้ว่า

"พระวินัยธรรูปนี้ เมื่อก่อนพูดว่า 'ไม่เป็นอาบัติ,' เดี๋ยวนี้พูดว่า

' เป็นอาบัติ,' พระวินัยธรนั้น พูดมุสา;" พวกนิสิตของพระธรรมกถึก

นั้นไปกล่าวว่า "พระอุปัชฌาย์ของพวกท่าน พูดมุสา." พวกนิสิตของ

พระวินัยธรและพระธรรมกถึกนั้น ทำความทะเลาะกันและกันให้เจริญ

แล้ว ด้วยประการอย่างนี้.

ภายหลัง พระวินัยธรได้โอกาสแล้ว จึงได้ทำอุกเขปนียกรรมแก่

พระธรรมกถึก เพราะโทษที่ไม่เห็นอาบัติ. จำเดิมแต่กาลนั้น แม้พวก

อุปัฏฐากผู้ถวายปัจจัยของภิกษุ ๒ รูปนั้น ก็ได้เป็น ๒ ฝ่าย. พวก

ภิกษุณีผู้รับโอวาทก็ดี พวกอารักขเทวดาก็ดี ของภิกษุ ๒ รูปนั้น พวก

อากาสัฏฐเทวดา ผู้เพื่อนเห็น เพื่อนคบ ของพวกอารักขเทวดาเหล่านั้น

ก็ดี พวกปุถุชนทั้งปวงก็ดี ได้เป็น ๒ ฝ่าย ตลอดจนพรหมโลกก็โกลาหล

กึกก้องเป็นเสียงเดียว ได้ขึ้นไปจนถึงอกนิฏฐภพ.

พระศาสดาตรัสสอนให้สามัคคีกัน

ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปเฝ้าพระตถาคตเจ้า กราบทูลการ

๑. กรรมที่สงฆ์จะพึงทำแก่ภิกษุที่สงฆ์สมควรจะยกเสีย. ๒. เทวดาผู้คุ้มครองรักษา ๓. เทวดา

ผู้สถิตอยู่ในอากาศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 80

ที่พวกภิกษุผู้ยกวัตรถือว่า "พระธรรมถึกรูปนี้ สงฆ์ยกเสียแล้วด้วยกรรม

ที่ประกอบด้วยธรรมแท้," และการที่พวกภิกษุผู้ประพฤติตามพระธรรม-

กถึกผู้ที่สงฆ์ยกเสียแล้วถือว่า "พระอุปัชฌาย์ของพวกเรา สงฆ์ยกเสียแล้ว

ด้วยกรรมซึ่งมิได้ประกอบด้วยธรรม," และการที่พวกภิกษุผู้ประพฤติตาม

พระธรรมกถึก ผู้ที่สงฆ์ยกวัตรเหล่านั้น แม้อันพวกภิกษุผู้ยกวัตรห้ามอยู่

ก็ยังขืนเที่ยวตามห้อมล้อมพระธรรมกถึกนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

ส่งโอวาทไปว่า "นัยว่า ภิกษุทั้งหลายจงพร้อมเพรียงกัน" ถึง ๒ ครั้ง

ทรงสดับว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายไม่ปรารถนาจะเป็นผู้

พร้อมเพรียงกัน," ครั้นหนที่ ๓ ทรงสดับว่า "ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว

ภิกษุสงฆ์แตกกันแล้ว" ดังนี้ จึงเสด็จไปสู่สำนักของเธอทั้งหลายแล้ว

ตรัสโทษในการยกวัตรของพวกภิกษุผู้ยกวัตร และโทษในการไม่เห็น

อาบัติของพวกภิกษุนอกนี้แล้ว ทรงอนุญาตสังฆกรรมทั้งหลายมีอุโบสถ

เป็นต้น ในสีมาเดียวกันที่โฆสิตารามนั่นเอง แก่เธอทั้งหลายอีกแล้ว

ทรงบัญญัติวัตรในโรงฉันว่า "ภิกษุทั้งหลาย พึงนั่งในแถวมีอาสนะหนึ่ง ๆ

ในระหว่าง ๆ" ดังนี้เป็นต้น แก่เธอทั้งหลาย ผู้เกิดการแตกร้าวใน

สถานที่ทั้งหลาย มีโรงฉันเป็นต้น แล้วทรงสดับว่า "ถึงเดี๋ยว นี้ ภิกษุ

ทั้งหลาย ก็ยังเกิดการแตกร้าวกันอยู่" จึงเสด็จไปที่โฆสิตารามนั้นแล้ว

ตรัสห้ามว่า "อย่าเลย ภิกษุทั้งหลาย พวกท่านอย่าได้ทำการแตกร้าวกัน"

ดังนี้เป็นต้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการแตกร้าว การ

ทะเลาะ การแก่งแย่งและการวิวาทนั่น ทำความฉิบทายให้. แท้จริง

๑. ลทฺธึ. ๒. ได้แก่นั่งเป็นแถว เว้นช่องว่างไว้ให้ภิกษุอื่นเข้าแทรกนั่งได้รูปหนึ่ง ๆใน

ระหว่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 81

แม้นางนกลฏุกิกา อาศัยการทะเลาะกัน ยังอาจทำพระยาช้างให้ถึงความ

สิ้นชีวิต" ดังนี้แล้ว ตรัสลฏุกิกชาดกแล้ว ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย

ขอพวกท่านจงพร้อมเพรียงกันเถิด อย่าวิวาทกันเลย, เพราะว่า แม้นก

กระจาบดังหลายพัน อาศัยความวิวาทกัน ได้ถึงความสิ้นชีวิต" ดังนี้แล้ว

ตรัสวัฏฏกชาดก.

ตรัสสอนเท่าไรก็ไม่เชื่อ

แม้อย่างนี้ พวกภิกษุนั้นก็ไม่เธอถือถ้อยคำ, เมื่อภิกษุผู้เป็น

ธรรมวาทีรูปใดรูปหนึ่ง ไม่พอใจให้พระตถาคตเจ้าทรงลำบาก กราบ

ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เจ้าของแห่งธรรม

ทรงรอก่อน, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีความ

ขวนขวายน้อย หมั่นประกอบธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมอยู่เถิด;

พวกข้าพระองค์จักปรากฏ เพราะการแตกร้าว การทะเลาะ การแก่งแย่ง

และการวิวาทนั่นเอง; พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเล่าถึงความที่พระเจ้าทีฆีติ-

โกศลราช ถูกพระเจ้าพรหมทัต ชิงเอาราชสมบัติ ปลอมเพศไม่ให้ใคร

รู้จัก เสด็จอยู่ (ในเมืองพาราณสี) ถูกจับปลงพระชนม์เสีย และความ

ที่พระเจ้าพรหมทัต และทีฆาวุกุมารเหล่านั้นพร้อมเพรียงกัน จำเดิมแต่

เมื่อทีฆาวุกุมารยกพระชนม์ของพระองค์ถวายว่า "ภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้

ได้เคยมีแล้ว ในเมืองพาราณสี ได้มีพระเจ้ากรุงกาสี (พระองค์หนึ่ง)

ทรงพระนามว่าพระเจ้าพรหมทัต" ดังนี้เป็นต้น แม้ตรัสสอนว่า "ภิกษุ

๑. นกไส้. ๒. ขุ. ชา. ปัญจก. ๒๗/๑๗๐. อรรถกถา. ๔/๔๔๖. ๓. ขุ ชา. เอก. ๒๗/๓๘.

อรรถกถา. ๒/๒๙๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 82

ทั้งหลาย ความอดกลั้นและความสงบเสงี่ยม. เห็นปานนั้น ยังได้มีแล้ว

แก่พระราชาเหล่านั้น ผู้มีไม้อันถือไว้แล้ว ผู้มีศัสตราอันถือไว้แล้ว;

ข้อที่ท่านทั้งหลายผู้บวชแล้วในธรรมวินัยที่กล่าวชอบแล้วอย่างนี้ ควรเป็น

ผู้อดกลั้นเป็นผู้สงบเสงี่ยม, จะพึงงามในธรรมวินัยนี้แล ภิกษุทั้งหลาย"

ดังนี้แล้ว ก็ไม่สามารถจะทำเธอทั้งหลาย ให้พร้อมเพรียงกันได้เลย.

พระศาสดาทรงระอาจึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ป่ารักขิตวัน

พระองค์ทรงระอาพระทัย เพราะความอยู่อาเกียรณนั้น ทรงพระ-

ดำริว่า "เดี๋ยวนี้เราอยู่อาเกียรณเป็นทุกข์. และภิกษุเหล่านั้นไม่ทำ (ตาม)

คำของเรา ถ้าอย่างไร เราพึงหลีกออกจากหมู่อยู่ผู้เดียว" ดังนี้

เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในเมืองโกสัมพี ไม่ตรัสบอกพระภิกษุสงฆ์ ทรงถือ

บาตรจีวรของพระองค์ เสด็จไปพาลกโลณการาม แต่พระองค์เดียว

ตรัสเอกจาริกวัตร แก่พระภคุเถระที่พาลกโลณการามนั้นแล้ว ตรัส

อานิสงส์แห่งสามัคคีรสเก่กุลบุตร ๓ คน ในมิคทายวัน ชื่อปาจีนวังสะ

แล้ว เสด็จไปทางบ้านปาริเลยยกะ. ดังได้สดับมา ครั้งนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงอาศัยบ้านปาริเลยยกะ เสด็จจำพรรษาอยู่ที่ควงไม้สาละใหญ่

ในราวป่ารักขิตวัน อันช้างปาริเลยยกะอุปัฏฐากอยู่เป็นผาสุก.

พวกอุบาสกทรมานพระภิกษุ

ฝ่ายพวกอุบาสก ผู้อยู่ในเมืองโกสัมพีแล ไปสู่วิหาร ไม่เห็น

พระศาสดา จึงถามว่า "พระศาสดาเสด็จอยู่ที่ไหน ? ขอรับ." ภิกษุ

๑. ภวิสฺสติ เป็นกิริยาอาขยาต บอกอนาคตกาล แต่ในประโยคนี้มี หิ นาม จึงแปล

ภวิสฺสติ เป็นอดีตกาล. ๒. ได้แก่ข้อปฏิบัติของภิกษุผู้อยู่แต่ผู้อยู่แต่ผู้เดียว. ๓. ป่าซึ่งประทาน

ให้หมู่เนื้ออาศัย ป่าชนิดนี้ใครจะทำอันตรายแก่หมู่สัตว์ไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 83

เหล่านั้นกล่าวว่า. "พระองค์เสด็จไปสู่ราวป่าปาริเลยยกะเสียแล้ว."

อุ. เพราะเหตุอะไร ? ขอรับ.

ภ. พระองค์ทรงพยายามจะทำพวกเราให้พร้อมเพรียงกัน . แต่

พวกเราหาได้เป็นผู้พร้อมเพรียงกันไม่.

อุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายบวชในสำนักของพระศาสดา

แล้ว, ถึงเมื่อพระองค์ทรงทำสามัคคี, ไม่ได้เป็นผู้สามัคคีกันแล้วหรือ ?

ภ. อย่างนั้นแล ผู้มีอายุ.

พวกมนุษย์คิดกันว่า "ภิกษุพวกนี้ บวชในสำนักของพระศาสดา

แล้ว, ถึงเมื่อพระองค์ทรงทำสามัคคีอยู่, ก็ไม่สามัคคีกันแล้ว; พวก

เราไม่ได้เห็นพระศาสดา เพราะอาศัยภิกษุพวกนี้; พวกเราจักไม่ถวาย

อาสนะ จักไม่ทำสามีจิกรรมมีการไหว้เป็นต้นแก่ภิกษุพวกนี้:" จำเดิม

แต่นั้นมา ก็ไม่ทำสามีจิกรรมแก่ภิกษุพวกนั้น. เธอทั้งหลาย

ซูบซีดเพราะมีอาหารน้อย, โดยสองสามวันเท่านั้นก็เป็นคนตรง แสดง

โทษที่ล่วงเกินแก่กันและกัน ต่างรูปต่างขอขมากันแล้ว กล่าวว่า

"อุบาสกทั้งหลาย พวกเราพร้อมเพรียงกันแล้ว . ฝ่ายพวกท่าน ขอให้

เป็นพวกเราเหมือนอย่างก่อน."

อุ. พวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาแล้วหรือ ? ขอรับ.

ภ. ยังไม่ได้ทูลขอขมา ผู้มีอายุ.

อุ. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านทูลขอขมาพระศาสดาเสีย, ฝ่ายพวก

ข้าพเจ้าจักเป็นพวกท่านเหมือนอย่างก่อน ในกาลเมื่อพวกท่านทูลขอขมา

พระศาสดาแล้ว.

เธอทั้งหลายไม่สามารถจะไปสู่สำนักของพระศาสดา เพราะเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 84

ภายในพรรษา ยังภายในพรรษานั้น ให้ล่วงไปด้วยความลำบาก.

ช้างปาริเลยยกะอุปัฏฐากพระศาสดา

ฝ่ายพระศาสดา อันช้างนั้นอุปัฏฐากอยู่ ประทับอยู่สำราญแล้ว.

ฝ่ายช้างนั้น ละฝูงเข้าไปสู่ราวป่านั้น เพื่อต้องการความอยู่ผาสุก.

พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้อย่างไร ? พระธรรมสังคาหกาจารย์

กล่าวไว้ว่า (ครั้งนั้น ความตริได้มีแก่พระยาช้างนั้นว่า) " เราอยู่

อาเกียรณด้วยพวกช้างพลาย ช้างพัง ช้างสะเทิ้นและลูกช้าง เคี้ยวกิน

หญ้าที่เขาเด็ดปลายเสียแล้ว, และเขาคอยเคี้ยวกินกิ่งไม้ที่เราหักลง ๆ และ

เราดื่มน้ำที่ขุ่น, เมื่อเราลงและขึ้นสู่ท่าแล้ว พวกช้างพังก็เดินเสียดสีกาย

ไป; ถ้าอย่างไร เราจะหลีกออกจากหมู่อยู่ตัวเดียว." ครั้งนั้นแล

พระยาช้างนั้น หลีกออกจากโขลง เข้าไป ณ บ้านปาริเลยยกะ ราวป่า

รักขิตวัน ควงไม้สาละใหญ่ (และ) ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่แล้ว;

ก็แลครั้นเข้าไปแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แลดูอยู่ไม่เห็นวัตถุ

อะไร ๆ อื่น จึงกระทืบควงไม้สาละใหญ่ด้วยเท้า ถาก (ให้เรียบ)

ถือกิ่งไม้ด้วยงวงกวาด. ตั้งแต่นั้นมา พระยาช้างนั้นจับหม้อด้วยงวง

ตักน้ำฉันน้ำใช้มาตั้งไว้, เมื่อทรงพระประสงค์ด้วยน้ำร้อน, ก็จัดน้ำร้อน

ถวาย. พระยาช้างนั้นจัดน้ำร้อนได้อย่างไร ? พระยาช้างนั้นสีไม้แห้ง

ด้วยงวงให้ไฟเกิด, ใส่ฟืนให้ไฟลุกขึ้น เผาศิลาในกองไฟนั้นแล้ว

กลิ้งก้อนศิลาเหล่านั้นไปด้วยท่อนไม้ ทิ้งลงในสะพังน้อยที่ตัวกำหนดหมาย

ไว้, ลำดับนั้น หย่อนงวงลงไป รู้ว่าน้ำร้อนแล้ว, จึงไปถวายบังคม

พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า "ปาริเลยยกะ น้ำเจ้าต้มแล้วหรือ ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 85

ดังนี้แล้ว เสด็จไปสรงในที่นั้น. ในกาลนั้น พระยาช้างนั้นนำผลไม้

ต่างอย่างมาถวายแด่พระศาสดา. ก็เมื่อพระศาสดาจะเสด็จเข้าบ้านเพื่อ

บิณฑบาต พระยาช้างนั้นถือบาตรจีวรวางไว้บนตระพอง ตามเสด็จพระ-

ศาสดาไป. พระศาสดาเสด็จถึงแดนบ้านแล้วรับสั่งว่า "ปาริเลยยกะ ตั้งแต่

ที่นี้ เจ้าไม่อาจไปได้. เจ้าจงเอาบาตรจีวรของเรามา" ดังนี้แล้ว ให้

พระยาช้างนั้นเอาบาตรจีวรมาถวายแล้ว เสด็จเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต.

ส่วนพระยาช้างนั้นยืนอยู่ที่นั้นเอง จนกว่าพระศาสดาจะเสด็จออกมา ใน

เวลาพระศาสดาเสด็จมา ทำการต้อนรับแล้ว ถือบาตรจีวรโดยนัยก่อน

(นำไป) ปลงลง ณ ที่ประทับอยู่แล้ว ถวายงานพัดด้วยกิ่งไม้ แสดง

วัตรอยู่. ในราตรี พระยาช้างนั้นถือท่อนไม้ใหญ่ด้วยงวง เที่ยวไปใน

ระหว่าง ๆ แห่งราวป่ากว่าอรุณจะขึ้น เพื่อกันอันตรายอันจะมีแต่เนื้อร้าย

ด้วยตั้งใจว่า "จักรักษาพระศาสดา" ได้ยินว่า ราวป่านั้นชื่อว่ารักขิต-

วันสัณฑะ จำเดิมแต่กาลนั้นมา. ครั้นอรุณขึ้นแล้ว, พระยาช้างนั้น

ทำวัตรทั้งปวง โดยอุบายนั้นนั่นแล ตั้งต้นแต่การถวายน้ำสรงพระพักตร์.

วานรถวายรวงน้ำผึ้ง

ในกาลนั้น วานรตัวหนึ่ง เห็นช้างนั้นลุกขึ้นแล้ว ๆ ทำอภิสมา-

จาริกวัตร ( คือการปฏิบัติ ) แด่พระตถาคตเจ้าแล้ว คิดว่า "เราก็จัก

ทำอะไร ๆ ถวายบ้าง" เที่ยวไปอยู่, วันหนึ่ง เห็นรวงผึ้งที่กิ่งไม้หา

ตัวมิได้ หักกิ่งไม้แล้ว นำรวงผึ้งพร้อมทั้งกิ่งไม้ไปสู่สำนักพระศาสดา

ได้เด็ดใบตองรองถวาย. พระศาสดาทรงรับแล้ว. วานรแลดูอยู่ ด้วย

๑. ตตฺถ เปฺวา อทาสิ วางถวายไว้ ณ ที่นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 86

คิดว่า "พระศาสดาจักทรงทำบริโภคหรือไม่ ?" เห็นพระศาสดาทรง

รับแล้วนั่งเฉยอยู่ คิดว่า "อะไรหนอแล" จึงจับปลายกิ่งไม้พลิก

พิจารณาดู เห็นตัวอ่อนแล้ว จึงค่อย ๆ นำตัวอ่อนเหล่านั้นออกเสียแล้ว

จึงได้ถวายใหม่. พระศาสดาทรงบริโภคแล้ว. วานรนั้นมีใจยินดี ได้จับ

กิ่งไม้นั้น ๆ ยืนฟ้อนอยู่. ในกาลนั้น กิ่งไม้ที่วานรนั้นจับแล้วก็ดี กิ่งไม้

ที่วานรนั้นเหยียบแล้วก็ดี หักแล้ว. วานรนั้นตกลงที่ปลายตออันหนึ่ง

มีตัวอันปลายตอแทงแล้ว มีจิตเลื่อมใส ทำกาลกิริยาแล้ว เกิดในวิมาน

ทองสูง ๓๐ โยชน์ ในภพดาวดึงส์ มีนางอัปสรพันหนึ่งเป็นบริวาร.

พระยาช้างสังเกตดูวัตรพระอานนท์

การที่พระตถาคตเจ้า อันพระยาช้างอุปัฏฐาก ประทับอยู่ใน

ราวป่ารักขิตวันนั้น ได้ปรากฏในชมพูทวีปทั้งสิ้น. ตระกูลใหญ่ ๆ คือ

ท่านเศรษฐีอนาถบิณฑิกะ และนางวิสาขามหาอุบาสิกา อย่างนี้เป็น

ต้น ได้ส่งสาสน์จากนครสาวัตถี ไปถึงพระอานนท์เถระว่า "ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดงพระศาสดาแก่พวกข้าพเจ้า." ฝ่ายภิกษุ

๕๐๐ รูปผู้อยู่ในทิศ จำพรรษาแล้ว เข้าไปหาพระอานนท์เถระ วอน

ขอว่า "อานนท์ผู้มีอายุ ธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์แห่งพระผู้-

มีพระภาคเจ้า ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ฟังนานมาแล้ว; อานนท์ผู้มีอายุ ดีละ

ข้าพเจ้าทั้งหลาย พึงได้ฟังธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเถิด." พระเถระพาภิกษุเหล่านั้นไป ณ ที่นั้นแล้ว คิดว่า "การเข้า

ไปสู่สำนักพระตถาคตเจ้า ผู้เสด็จอยู่พระองค์เดียว ตลอดไตรมาส พร้อม

กับภิกษุมีประมาณถึงเท่านี้ หาควรไม่" ดังนี้แล้ว จึงพักภิกษุเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 87

ไว้ข้างนอกแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแต่รูปเดียวเท่านั้น. พระยาช้าง

ปาริเลยยกะ เห็นพระอานนทเถระนั้นแล้ว ถือท่อนไม้วิ่งไป. พระศาสดา

ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ตรัสว่า "หลีกไปเสียปาริเลยยกะ อย่าห้ามเลย,

ภิกษุนั่น เป็นพุทธอุปัฏฐาก." พระยาช้างปาริเลยยกะนั้น ทิ้งท่อนไม้

เสียในที่นั้นเองแล้ว ได้เอื้อเฟื้อถึงการรับบาตรจีวร, พระเถระมิได้ให้แล้ว.

พระยาช้างได้คิดว่า "ถ้าภิกษุรูปนี้จักมีวัตรอันได้เรียนแล้ว. ท่านคงจัก

ไม่วางบริขารของคนไว้บนแผ่นศิลาที่ประทับของพระศาสดา." พระเถระ

ได้วางบาตรจีวรไว้ที่พื้นแล้ว.

ไม่ได้สหายที่มีปัญญาเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐว่า

จริงอยู่ ชนผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยวัตร ย่อมไม่วางบริขารของตน

ไว้บนที่นั่งหรือบนที่นอนของครู. พระยาช้างนั้น เห็นอาการนั้น ได้

เป็นผู้มีจิตเลื่อมใสแล้ว . พระเถระอภิวาทพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ที่ส่วน

ข้างหนึ่ง. พระศาสดาตรัสถามว่า "อานนท์ เธอมาผู้เดียวเท่านั้น

หรือ ?" ทรงสดับความที่พระเถระเป็นผู้มาพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ แล้ว

ตรัสว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น อยู่ที่ไหน ?" เมื่อพระเถระทูลว่า "ข้าพระ-

องค์ไม่ทราบน้ำพระทัยของพระองค์ จึงพักเธอทั้งหลายไว้ข้างนอกมาแล้ว

(แต่รูปเดียว) " ตรัสว่า "เรียกเธอทั้งหลายมาเถิด" พระเถระได้

ทำตามรับสั่งแล้ว. ภิกษุเหล่านั้น มาถวายบังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่

ส่วนข้างหนึ่ง. พระศาสดาทรงทำปฏิสันถารกับเธอทั้งหลายแล้ว. เมื่อ

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็น

พระพุทธเจ้าอันสุขุม และเป็นกษัตริย์อันสุขุม พระองค์เสด็จยืนและ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 88

ประทับนั่งพระองค์เดียวตลอดไตรมาส ทำกิจที่ทำได้ด้วยยาก, ผู้ทำวัตร

และปฏิวัตรก็ดี ผู้ถวายน้ำสรงพระพักตร์ก็ดี ชะรอยจะมิได้มีแล้ว." ตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย กิจทั้งปวงของเรา อันพระยาช้างปาริเลยยกะทำแล้ว

ก็อันบุคคลผู้ได้สหายเห็นปานนี้ อยู่ด้วยกันควรแล้ว, เมื่อไม่ได้สหาย

(เห็นปานนี้) ความเป็นผู้เที่ยวไปผู้เดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า" ดังนี้แล้ว

ได้ภาษิต ๓ คาถาในนาควรรคเหล่านี้ว่า:-

ถ้าบุคคลได้สหายผู้มีปัญญารักษาตน มีปัญญา

ทรงจำ มีคุณธรรมเป็นเครื่องอยู่ยังประโยชน์ให้

สำเร็จ ไว้เป็นผู้เที่ยวไปด้วยกันไซร้, (บุคคลผู้ได้

สหายเห็นปานนั้น ) ควรมีใจยินดี มีสติ ครอบงำ

อันตราย ซึ่งคอยเบียดเบียนรอบข้าง ทั้งปวงเสีย

แล้ว เที่ยวไปกับสหายนั้น, ถ้าบุคคลไม่ได้สหาย

ผู้มีปัญญารักษาตน มีปัญญาทรงจำ มีคุณธรรม

เป็นเครื่องอยู่ยังประโยชน์ให้สำเร็จไว้ เป็นผู้เที่ยว

ไปด้วยกันไซร้, บุคคลนั้นควรเที่ยวไปคนเดียว

เหมือนพระราชาผู้ละแว่นแคว้นที่พระองค์ทรงชำนะ

แล้ว เสด็จอยู่แต่องค์เดียว, (และ) เหมือนพระ-

ยาช้างอันชื่อว่ามาตังคะเที่ยวอยู่ในป่าแต่เชือกเดียว,

การเที่ยวไปผู้เดียวประเสริฐกว่า ความเป็นสหาย

ไม่มีในเพราะชนพาล, บุคคลผู้ไม่ได้สหายเห็น

ปานนั้น ควรมีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปผู้

เดียว และไม่ควรทำบาปทั้งหลาย, เหมือนพระยา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 89

ช้างชื่อมาตังคะผู้มีความขวนขวายน้อย เที่ยวไปใน

ป่าแต่เชือกเดียว และหาได้ทำบาปไม่."

ในกาลจบคาถา ภิกษุเหล่านั้นทั้ง ๕๐๐ รูป ตั้งอยู่ในพระอรหัต

แล้ว. พระอานนทเถระกราบทูลสาสน์ที่ตระกูลใหญ่ ๆ มีท่านเศรษฐี

อนาถบิณฑิกะเป็นต้นส่งมาแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อริยสาวก ๕ โกฏิ มีท่านเศรษฐีอนาถบิณฑิกะเป็นหัวหน้า หวังความ

เสด็จมาของพระองค์อยู่." พระศาสดาตรัสว่า "ถ้าอย่างนั้นเธอจงรับ

บาตรจีวร" ดังนี้แล้ว ให้พระเถระรับบาตรจีวรแล้ว เสด็จออกไป.

พระยาช้างได้ไปยืนขวางทางไว้. ภิกษุทั้งหลายเห็นดังนั้น ทูลถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระยาช้างทำอะไร ?"

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ช้างหวังจะถวายภิกขาแก่เธอทั้งหลาย,

ก็แลช้างนี้ได้ทำอุปการะแก่เราตลอดราตรีนาน, การยังจิตของช้างนี้ให้

ขัดเคืองไม่ควร. ภิกษุทั้งหลาย ขอเธอทั้งหลายกลับเถิด." พระศาสดา

ทรงพาภิกษุทั้งหลายเสด็จกลับแล้ว.

ฝ่ายช้างเข้าไปสู่ราวป่าแล้ว รวบรวมผลไม้ต่าง ๆ มีผลขนุนและ

กล้วยเป็นต้นมาทำให้เป็นกองไว้, ในวันรุ่งขึ้น ได้ถวายแก่ภิกษุทั้งหลาย.

ภิกษุ ๕๐๐ รูปไม่อาจฉันผลไม้ทั้งหลายให้หมดสิ้น. ในกาลเสร็จภัตกิจ

พระศาสดาทรงถือบาตรจีวรเสด็จออกไปแล้ว. พระยาช้างไปตามระหว่าง ๆ

แห่งภิกษุทั้งหลาย ยืนขวางพระพักตร์พระศาสดาไว้. ภิกษุทั้งหลายเห็น

ดังนั้น ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ช้างนี้

ทำอะไร ?"

ศ. ภิกษุทั้งหลาย ช้างนี้จะส่งพวกเธอไปแล้ว ชวนให้เรากลับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 90

ภ. อย่างนั้นหรือ ? พระองค์ผู้เจริญ.

ศ. อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย.

ช้างทำกาละไปเกิดเป็นเทพบุตร

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะช้างนั้นว่า "ปาริเลยยกะ นี้ความ

ไปไม่กลับของเรา, ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคและผลก็ดี ย่อมไม่มี

แก่เจ้าด้วยอัตภาพนี้, เจ้าหยุดอยู่เถิด" พระยาช้างได้ฟังรับสั่งดังนั้นแล้ว

ได้สอดงวงเข้าปากร้องไห้ เดินตามไปข้างหลัง ๆ. ก็พระยาช้างนั้น

เมื่อเชิญพระศาสดาให้กลับได้ พึงปฏิบัติโดยอาการนั้นแลจนตลอดชีวิต.

ฝ่ายพระศาสดาเสด็จถึงแดนบ้านนั้นแล้ว ตรัสว่า "ปาริเลยยกะ จำเดิม

แต่นี้ไป มิใช่ที่ของเจ้า, เป็นที่อยู่ของหมู่มนุษย์. มีอันตรายเบียดเบียน

อยู่รอบข้าง, เจ้าจงหยุดอยู่เถิด" ช้างนั้นยืนร้องไห้อยู่ในที่นั้น, ครั้นเมื่อ

พระศาสดาทรงละคลองจักษุไป, มีหัวใจแตก. ทำกาละแล้ว เกิดใน

ท่ามกลางนางเทพอัปสรพันหนึ่ง ในวิมานทองสูง ๓๐ โยชน์ ในภพ

ดาวดึงส์ เพราะความเสื่อมใสในพระศาสดา ชื่อของเทพบุตรนั้นว่า

"ปาริเลยยกเทพบุตร." ฝ่ายพระศาสดาได้เสด็จถึงพระเชตวันแล้วโดย

ลำดับ.

ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทูลขอขมาพระศาสดา

ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี สดับว่า "ได้ยินว่า พระศาสดาเสด็จถึงกรุง

สาวัตถีแล้ว." ได้ไป ณ ที่นั้นเพื่อจะกราบทูลขอขมาพระศาสดา. พระเจ้า-

โกศลทรงสดับว่า "ได้ยินว่า พวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ผู้ก่อการแตกร้าว

เหล่านั้นมาอยู่" จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 91

หม่อมฉันจักไม่ยอมให้ภิกษุเหล่านั้นเข้ามาสู่แว่นแคว้นของหม่อมฉัน."

พระศาสดา ตรัสตอบว่า " ดูก่อนมหาราช ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้มีศีล,

แต่ไม่ถือเอาคำของอาตมภาพ เพราะวิวาทกันและกันเท่านั้น, บัดนี้

เธอทั้งหลายมาเพื่อขอขมาอาตมภาพ, ดูก่อนมหาราช ขอภิกษุเหล่านั้น

จงมาเถิด."

ฝ่ายท่านเศรษฐีอนาถบิณฑิกะ ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์จักไม่ยอมให้ภิกษุเหล่านั้นเข้ามาสู่วิหาร" ดังนี้แล้ว ถูกพระ-

ศาสดาทรงห้ามเสียเหมือนอย่างนั้น ได้นิ่งแล้ว. ก็เมื่อภิกษุเหล่านั้น

ถึงกรุงสาวัตถีโดยลำดับแล้ว, พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้ประทาน

เสนาสนะ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทำให้เป็นที่สงัดแต่เธอทั้งหลาย. ภิกษุเหล่าอื่น

ไม่นั่ง ไม่ยืน ร่วมกับภิกษุพวกนั้น.

พวกชนผู้มาแล้ว ๆ ทูลถามพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พวกไหน ภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ผู้ก่อการแตกร้าวเหล่านั้น ?" พระศาสดา

ทรงแสดงว่า "พวกนั่น." ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีเหล่านั้น ถูกพวกชนผู้

มาแล้ว ๆ ชี้นิ้วว่า "ได้ยินว่า นั่นพวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ผู้ก่อการ

แตกร้าวเหล่านั้น, ได้ยินว่า นั่นพวกภิกษุชาวเมืองโกสัมพี ผู้ก่อการ

แตกร้าวเหล่านั้น" ดังนี้ ไม่อาจยกศีรษะขึ้น เพราะความอาย ฟุบลง

แทบบาทมูลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายทำกรรมหนัก

แล้ว. ชื่อว่าเธอทั้งหลายแม้บวชแล้วในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้เช่นเรา,

เมื่อเราทำความสามัคคีอยู่ ไม่ทำ (ตาม) คำของเรา, ฝ่ายบัณฑิต

อันมีในปางก่อน สดับโอวาทของมารดาและบิดาผู้ต้องประหารชีวิต,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 92

เมื่อบิดามารดานั้นแม้ถูกปลงชีวิคอยู่, ก็ไม่ล่วงโอวาทนั้น ภายหลังได้ครอง

ราชสมบัติใน ๒ แว่นแคว้น" ดังนี้แล้ว ตรัสทีฆาวุกุมารชาดก อีกเหมือน

กันแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุกุมาร ถึงเมื่อพระชนนีและ

พระชนกถูกปลงชีวิตอยู่อย่างนั้น, ก็ไม่ก้าวล่วงโอวาทของพระชนนีและ

พระชนกเหล่านั้นแล้ว ภายหลังได้ธิดาของพระเจ้าพรหมทัตครองราช-

สมบัติในแว่นแคว้นกาสีและแว่นแคว้นโกศลทั้งสองแล้ว, ส่วนพวกเธอ

ทั้งหลายไม่ทำ (ตาม ) คำของเรา ทำกรรมหนัก" ดังนี้ แล้ว

ตรัสพระคาถานี้ว่า

๕. ปเร จ น วิชานนฺติ มยเมตฺถ ยมามฺหเส

เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ตโต สมฺมนฺติ เมธคา.

"ก็ชนเหล่าอื่นไม่รู้ตัวว่า 'พวกเราพากันย่อยยับ

อยู่ในท่ามกลางสงฆ์นี้' ฝ่ายชนเหล่าใดในหมู่นั้น

ย่อมรู้ชัด, ความหมายมั่นกันและกัน ย่อมสงบ

เพราะการปฏิบัติของชนพวกนั้น ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปเร เป็นต้น ความว่า เหล่าชนผู้ทำ

ความแตกร้าว ยกบัณฑิตทั้งหลายเสีย คือพวกอื่นจากบัณฑิตนั้น ชื่อว่า

ชนพวกอื่น, ชนพวกอื่นนั้น ทำความวุ่นวายอยู่ในทำมกลางสงฆ์นั้น

ย่อมไม่รู้สึกตัวว่า "เราทั้งหลาย ย่อมย่อยับ คือบ่นปี้ ฉิบหาย ได้แก่

ไปสู่ที่ใกล้ คือสำนักมฤตยูเป็นนิตย์."

๑. ขุ. ปัญจก. ๒๗/๑๘๒. อรรถกถา. ๔/๔๙๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 93

บาทพระคาถาว่า เย จ ตตฺถ วิชานนฺติ ความว่า ชนเหล่าใด

ผู้เป็นบัณฑิตในหมู่นั้น ย่อมรู้สึกตัวว่า "เราทั้งหลายไปสู่ที่ใกล้มฤตยู."

บาทพระคาถาว่า ตโต สมฺมนฺติ เมธคา ความว่า ชนเหล่านั้น

รู้อยู่อย่างนี้แล ยังการทำความในใจโดยอุบายที่ชอบให้เกิดขึ้นแล้ว ย่อม

ปฏิบัติเพื่อสงบความหมายมั่น คือความทะเลาะกัน, เมื่อเป็นเช่นนั้น

ความหมายมั่นเหล่านั้นย่อมสงบ เพราะความปฏิบัตินั้นของบัณฑิตเหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบอธิบายในพระคาถานี้ อย่างนี้ว่า "คำว่า

ปเร จ เป็นต้น ความว่า ชนทั้งหลาย แม้อันเรา (ตถาคต) กล่าว

สอนอยู่ว่า 'ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าได้ทำความแตกร้าวกัน'

ดังนี้เป็นต้น ในกาลก่อน ก็ไม่นับถือ เพราะไม่รับโอวาทของเรา ชื่อว่า

ชนพวกอื่น. ชนพวกอื่นนั้น ย่อมไม่รู้สึกตัวว่า 'เราทั้งหลายถือผิด

ด้วยอำนาจอคติมีฉันทะเป็นต้น ย่อมย่อยยับ ได้แก่พยายามเพื่อความเจริญ

แห่งเหตุอันทำความพินาศ มีแตกร้าวกันเป็นต้น ในท่ามกลางสงฆ์นี้.'

แต่บัดนี้ บุรุษผู้เป็นบัณฑิตเหล่าใด ในระหว่างแห่งเธอทั้งหลายนั้น

พิจารณาอยู่รู้ชัดว่า ' เมื่อก่อนเราทั้งหลายพยายามอยู่ ด้วยอำนาจอคติมี

ฉันทะเป็นต้น ปฏิบัติโดยไม่ชอบแล้ว' ความหมายมั่น ที่นับว่าความ

ทะเลาะกันในบัดนี้เหล่านี้ ย่อมสงบจากสำนักบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ๆ

คือเพราะอาศัยบุรุษผู้เป็นบัณฑิตทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้."

ในกาลจบคาถา ภิกษุผู้ประชุมกัน ได้ดำรงอยู่ในอริยผลทั้งหลาย

มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 94

๖. เรื่องจุลกาลและมหากาล [๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยเสตัพยนคร ประทับอยู่ในป่าไม้

ประดู่ลาย ทรงปรารภจุลกาลและมหากาล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า

"สุภานุปสฺสึ วิหรนฺต" เป็นต้น.

พี่น้อง ๓ คนทำการค้าขาย

ความพิสดารว่า กุฎุม พีชาวเสตัพยนคร ๓ พี่น้อง คือ จุลกาล ๑

มัชฌิมกาล ๑ มหากาล ๑. บรรดาพี่น้อง ๓ คนนั้นพี่ชายใหญ่และน้อง

ชายน้อยเที่ยวไปในทิศทั้งหลาย นำสิ่งของมาด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม.

มัชฌิมกาล ขายสิ่งของที่พี่และน้องทั้งสองนำมา.

ต่อมาสมัยหนึ่ง พี่น้องทั้งสองนั้น บรรทุกสิ่งของต่าง ๆ ด้วย

เกวียน ๕๐๐ เล่มไปสู่กรุงสาวัตถี ปลดเกวียนทั้งหลายในระหว่างกรุง

สาวัตถีและพระเชตวัน (ต่อกัน).

มหากาลฟังธรรมแล้วลาน้องชายไปบวช

ในพี่น้อง ๒ คนนั้น มหากาลเห็นอริยสาวกทั้งหลายชาวกรุง

สาวัตถี มีมือถือระเบียบดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไปเพื่อฟังธรรม

ในเวลาเย็น จึงถามว่า "ชนเหล่านี้ไปไหนกัน ?" ได้ฟังความนั้นแล้ว

คิดว่า "แม้เราก็จักไป" เรียกน้องชายมาแล้วบอกว่า " พ่อ ! เจ้าจง

๑. กุฏุมพี คือ คนมั่งมี คนมีทรัพย์สมบัติมาก, ผู้ครองเรือน, พ่อเรือน, ผู้ดูแลการงาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 95

เป็นผู้ไม่ประมาทในเกวียนทั้งหลาย, ฝ่ายเราจักไปฟังธรรม" ดังนี้แล้ว

ไปถวายบังคมพระตถาคต นั่งที่สุดบริษัทแล้ว.

วันนั้น พระศาสดา เมื่อจะตรัสอนุปุพพีกถา ตามอัธยาศัยของ

มหากาลนั้น จึงตรัสโทษความเลวทรามและความเศร้าหมองแห่งกาม

ทั้งหลาย โดยปริยายเป็นอันมาก ด้วยสามารถแห่งสูตรมีทุกขักขันธสูตร

เป็นอาทิ. มหากาลได้สดับพระธรรมเทศนานั้นแล้ว จึงคิดว่า "นัยว่า

คนเราจำต้องละสิ่งทั้งปวงไป, โภคะ (และ ) ญาติทั้งหลาย ย่อมไม่

ติดตามบุคคลผู้ไปปรโลกเลย, เราจะต้องการอะไรด้วยการครองเรือน

เราจักบวชละ, " เมื่อมหาชนถวายบังคมแล้วหลีกไป, ทูลขอบรรพชา

กะพระศาสดา, เมื่อพระศาสดารับสั่งว่า "ผู้ที่ท่านควรลาไร ๆ ไม่มี

หรือ ? ทูลว่า "น้องชายของข้าพระองค์มี พระเจ้าข้า" เมื่อพระองค์

ตรัสว่า "ถ้ากระนั้น เธอจงลาเขาเสีย," ทูลรับว่า "ดีละ พระเจ้าข้า"

กลับมาบอกน้องชาย ดังนี้ว่า "พ่อ เจ้าจงปกครองสมบัติทั้งหมดนี้เถิด ."

จ. ก็พี่เล่า ? ขอรับ.

ม. พี่จักบวชในสำนักของพระศาสดา. เขาอ้อนวอนพี่ชายนั้น

ด้วยประการต่าง ๆ ก็ไม่อาจให้กลับได้, จึงกล่าวว่า "ดีล่ะพี่ ขอพี่จง

ทำตามอัธยาศัยเถิด." มหากาลไปบวชในสำนักของพระศาสดาแล้ว. ฝ่าย

จุลกาลก็ (ไป) บวช ด้วยตั้งใจว่า "เราจักชวนพี่ชายสึก."

พระมหากาลบำเพ็ญโสสานิกธุดงค์

ในกาลต่อมา มหากาลได้อุปสมบทแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา

ทูลถามถึงธุระในพระศาสนา, เมื่อพระศาสดาตรัสบอกธุระ ๒ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 96

แล้ว, ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไม่สามารถบำเพ็ญ

คันถธุระได้ เพราะข้าพระองค์บวชในกาลเป็นคนแก่, แต่จักบำเพ็ญ

วิปัสสนาธุระให้บริบูรณ์" ทูลให้พระองค์ตรัสบอกโสสานิกธุดงค์จนถึง

พระอรหัต, ครั้นล่วงปฐมยาม เมื่อชนนอนหลับหมดทุกคนแล้ว, ไปสู่

ป่าช้า เวลาจวนรุ่ง เมื่อชนทั้งหมด ยังไม่ทันลุกขึ้น (ตื่น) เลย กลับ

มายังวิหาร.

ระเบียบของผู้อยู่ในป่าช้า

ครั้งนั้น หญิงสัปเหร่อคนหนึ่งชื่อกาลี ผู้เฝ้าป่าช้า เห็นที่ยืนที่นั่ง

และที่จงกรมของพระเถระเข้า คิดว่า " ใครหนอมาในที่นี้ ? เราจัก

คอยจับตัว" เมื่อไม่อาจจับได้, วันหนึ่ง จึงตามประทีปไว้ที่กระท่อม

ใกล้ป่าช้า พาบุตรธิดาไปแอบอยู่ในที่ส่วนข้างหนึ่ง เห็นพระเถระเดิน

มาในมัชฌินยาม จึงไปไหว้แล้วพูดว่า "ท่านผู้เจริญ พระผู้เป็นเจ้าพำนัก

อยู่ในที่ของพวกดิฉันนี้หรือ ?"

ถ. จ้ะ อุบาสิกา.

ญ. ท่านผู้เจริญ ธรรมดาผู้อยู่ในป่าช้าทั้งหลาย เรียนระเบียบ

( ก่อน ) จึงจะควร.

พระเถระไม่กล่าวว่า "ก็ข้าพเจ้าจักประพฤติในระเบียบที่เจ้าบอก

แล้วอย่างไรเล่า ? " กลับกล่าวว่า "ทำอย่างไรเล่าจึงจะควร ? อุบาสิกา."

ญ. ท่านผู้เจริญ ธรรมดาผู้อยู่ในป่าช้าทั้งหลาย ควรแจ้งความ

ที่คนอยู่ในป่าช้า แก่ผู้เฝ้าป่าช้า พระมหาเถระในวิหาร และนายบ้าน.

ถ. เพราะเหตุไร ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 97

ญ. เพราะพวกโจรทำกรรมแล้ว ถูกพวกเจ้าของ (ทรัพย์) สะกด

ตามรอยเท้าไป จึงทิ้งห่อภัณฑะไว้ในป่าช้าแล้วหลบหนีไป; เมื่อเป็น

เช่นนั้น พวกมนุษย์ก็ (รุมกัน ) ทำอันตรายแก่คนที่อยู่ในป่าช้า แต่เมื่อ

ได้แจ้งความแก่เจ้าหน้าที่เหล่านั้นแล้ว, เจ้าหน้าที่เหล่านั้นย่อมช่วยกัน

ป้องกันอันตรายได้ ด้วยกล่าวรับรองว่า 'พวกข้าพเจ้าทราบความที่ท่าน

ผู้เจริญนี้อยู่ในที่นี้สิ้นกาลประมาณเท่านี้, ท่านผู้เจริญรูปนี้มิใช่โจร'

เพราะฉะนั้น ควรบอกแก่เจ้าหน้าที่เหล่านั้น.

ถ. กิจอื่นอะไรเล่า ? ที่ข้าพเจ้าควรทำ.

ญ. ท่านผู้เจริญ ธรรมดาพระผู้เป็นเจ้า ผู้อยู่ในป่าช้า จำต้อง

เว้นวัตถุทั้งหลายมี ปลา เนื้อ แป้ง งา และน้ำอ้อยเป็นต้นเสีย, ไม่

ควรจำวัดกลางวัน ไม่ควรเป็นผู้เกียจคร้าน ควรปรารภความเพียร,

ควรเป็นผู้ไม่โอ้อวด ไม่ใช่เจ้าเล่ห์ เป็นผู้มีอัธยาศัยงาม, เวลาเย็นเมื่อ

ชนหลับหมดแล้ว พึงมาจากวิหาร, เวลาจวนรุ่ง เมื่อหมู่ชนทุกคนยัง

ไม่ลุกขึ้น (ตื่นนอน) เลย พึงไปวิหาร, ท่านผู้เจริญ ถ้าพระผู้เป็นเจ้า

อยู่ในที่นี้ด้วยอาการอย่างนี้ ไซร้ จักอาจยังกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้,

ถ้าหมู่ชนนำศพมาทิ้ง, ดิฉันจะยกขึ้นสู่เรือนยอดอันดาดด้วยผ้ากัมพล

ทำสักการะด้วยวัตถุทั้งหลาย มีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นแล้ว

จักทำการปลงศพ, ผิว่า พระผู้เป็นเจ้าจักยังไม่อาจเพื่อยังกิจแห่งบรรพชิต

ให้ถึงที่สุดได้ไซร้, ดิฉันจะยกขึ้นสู่เชิงตะกอนแล้วติดไฟเผา เอาขอเกี่ยว

ลาก (ศพ) ออกมาวางไว้ภายนอก ทอนด้วยขวาน เฉือนให้เป็นชิ้น

๑. ผ้าทำด้วยขนสัตว์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 98

น้อยชิ้นใหญ่แล้วใส่ในไฟ แสดงแก่ท่าน ( พระผู้เป็นเจ้า ) แล้วจึง

ค่อยเผา.

ทีนั้น พระเถระสั่งนางกาลีนั้นว่า "ดีละ นางผู้เจริญ ก็นางเห็น

รูปารมณ์อย่างหนึ่งแล้ว จงบอกแก่ข้าพเจ้านะ." นางกาลีรับว่า " จ้ะ."

พระเถระทำสมณธรรมอยู่ในป่าช้าตามอัธยาศัย (ของตน).

พระจุลกาลกลุ้มใจ

ส่วนพระจุลกาลเถระ ผุดลงผุดนั่ง รัญจวนถึงฆราวาส คิดถึงบุตร

และภรรยา คิดว่า "พี่ชายของเรานี้ ทำกรรมหนักยิ่ง."

พระมหากาลพิจารณาศพกุลธิดา

ลำดับนั้น กุลธิดาคนหนึ่ง ได้ทำกาละในเวลาเย็น ซึ่งยังมิทัน

เหี่ยวแห้ง ซูบซีด เพราะพยาธิกำเริบขึ้นในครู่เดียวนั้น. พวกญาติ

หามศพกุลธิดานั้นไปสู่ป่าช้าในเวลาเย็น พร้อมด้วยเครื่องเผาต่าง ๆ มีฟืน

และน้ำมันเป็นต้น ให้ค่าจ้างแก่หญิงเฝ้าป่าช้า ด้วยคำว่า " นางจงจัด

การเผาศพนี้" ดังนี้แล้ว มอบ (ศพ) ให้แล้วหลีกไป. นางเปลื้อง

ผ้าห่มของกุลธิดานั้นออกแล้ว เห็นสรีระซึ่งตายเพียงครู่เดียวนั้น แสน

ประณีต มีสีดังทองคำ จึงคิดว่า "อารมณ์นี้ควรจะแสดงแก่พระผู้เป็น

เจ้า" แล้วไปไหว้พระเถระกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า อารมณ์ชื่อเห็นปานนี้

มีอยู่, ขอพระคุณเจ้าพึง (ไป) พิจารณาเถิด."

พระเถระรับว่า "จ้ะ" ดังนี้แล้วไป ให้เลิกผ้าห่มออกแล้ว

พิจารณาตั้งแต่ฝ่าเท้าถึงปลายผมแล้ว พูดว่า "รูปนี้ประณีตยิ่งนัก มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 99

สีดุจทองคำ, นางพึงใส่รูปนั้นในไฟ ในกาลที่รูปนั้นถูกเปลวไฟใหญ่

ลวกแล้ว จึงบอกแก่ข้าพเจ้า" ดังนี้แล้ว ไปยังที่อยู่ของคนนั่นแล นั่ง

แล้ว. นางทำอย่างนั้นแล้ว จึงแจ้งแก่พระเถระ พระเถระไปพิจารณา.

ในที่ถูกเปลวไฟกระทบแล้ว ๆ สีแห่งสรีระได้เป็นดังแม่โคด่าง. เท้าทั้งสอง

งอหงิกห้อยลง มือทั้งสองกำเข้า หน้าผากได้มีหนังปอกแล้ว.

พระมหากาลบรรลุพระอรหัต

พระเถระพิจารณาว่า "สรีระนี้เป็นธรรมชาติทำให้ไม่วายกระสัน

แก่บุคคลผู้แลดูอยู่ในบัดเดี๋ยวนี้เอง, แต่บัดนี้ (กลับ) ถึงความสิ้นถึง

ความเสื่อมไปแล้ว." กลับไปที่พักกลางคืน นั่งพิจารณาถึงความสิ้นและ

ความเสื่อมอยู่ กล่าวคาถาว่า

"สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีอันเกิดขึ้นและ

เสื่อมไปเป็นธรรมดา, เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความ

สงบแห่งสังขารนั้นเป็นสุข"

เจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.

เมื่อท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว, พระศาสดามีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จ

จาริกไปยังเสตัพยนครแล้ว เสด็จเข้าสู่ป่าไม้ประดู่ลาย.

พวกภรรยาของพระจุลกาล ได้ยินว่า "ข่าวว่า พระศาสดาเสด็จ

มาถึงแล้ว." คิดว่า "พวกเราจัก ( ช่วยกัน) จับสามีของพวกเรา "

ดังนี้แล้ว ส่ง (คน) ไปให้ทูลอาราธนาพระศาสดา.

ระเบียบปูอาสนะสมัยพุทธกาล

ก็ในสถานที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงคุ้นเคย ควรที่ภิกษุรูป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 100

หนึ่งผู้บอกการปูอาสนะจะต้องล่วงหน้าไปก่อน. ก็อาสนะสำหรับพระ

พุทธเจ้าทั้งหลาย พึงให้ปูในที่ท่ามกลาง, อาสนะสำหรับพระสารีบุตรเถระ

พ่อให้ปูข้างขวา, อาสนะสำหรับพระมหาโมคคัลลานเถระ พึงให้ปูข้างซ้าย

แห่งอาสนะของพระพุทธเจ้านั้น, อาสนะสำหรับภิกษุสงฆ์พึงให้ปูในข้าง

ทั้งสองถัดจากที่นั้นไป. เพราะฉะนั้น พระมหากาลเถระพักอยู่ในที่

ห่มจีวร ส่งพระจุลกาลไปว่า "เธอจงล่วงหน้าไปบอกการปูอาสนะ."

พระจุลกาลถูกหญิงจักสึก

พวกชนในเรือน ทำการเสสรวลกับท่าน จำเดิมแต่กาลที่พวกเขา

เห็นท่าน (แกล้ง) ปูอาสนะต่ำในที่สุดพระสังฆเถระ ปูอาสนะสูงในที่

สุดของสังฆนวกะ. พระจุลกาลนอกนี้ ชี้เเจงว่า "พวกเจ้าจงอย่าทำ

อย่างนั้น, จงปูอาสนะสูงในที่สูง ปูอาสนะต่ำในที่ต่ำ."

พวกหญิง ทำที่เหมือนไม่ได้ยินถ้อยคำของท่าน รุมกันว่า "ท่าน

เที่ยวทำอะไรอยู่ ? หน้าที่ให้ปูอาสนะไม่สมควรแก่ท่านหรือ ? ท่านลา

ใครบวช ? ท่านใครเป็นผู้ยอมให้บวช ? มาในที่นี้ทำไม .?" ดังนี้แล้ว

ช่วยกันฉุดสบงและจีวรออกแล้ว ให้นุ่งผ้าขาว สวมเทริดมาลาบนศีรษะ

แล้วส่งไปด้วยคำว่า "เธอจงไปนำเสด็จพระศาสดามา, พวกข้าพเจ้าจะ

ปูอาสนะ."

จุลกาลดำรงอยู่ในภาวะแห่งภิกษุ สิ้นกาลไม่นาน ยังไม่ทันได้

พรรษา ก็สึก จึงไม่รู้สึกอาย, เพราะฉะนั้น เขาจึงหมดความรังเกียจ

๑. ผู้ใหม่ในสงฆ์ หมายความว่า ผู้มีพรรษาน้อยกว่าทุกรูปในหมู่นั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 101

ด้วยกิริยาอาการนั้นเสียทีเดียว ไปถวายบังคมพระศาสดาแล้ว พาภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขมา.

ก็ในกาลเสร็จภัตกิจของภิกษุสงฆ์ พวกภรรยาของพระมหากาลคิด

กันว่า "หญิงพวกนี้ รุมจับสามีของตนได้ พวกเราก็จักจับสามีของ

พวกเราบ้าง" จึงให้นิมนต์พระศาสดา เพื่อประโยชน์แก่การเสวย

ภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น.

พระมหากาลก็ถูกภรรยาจับสึก

ก็ในกาลนั้น ภิกษุรูปอื่นได้ไป (ชี้แจง) ให้ปูอาสนะ. หญิง

เหล่านั้นไม่ได้โอกาสในขณะนั้น อาราธนาภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุขให้นั่งแล้ว ได้ถวายภิกษา, ก็จุลกาลมีภรรยา ๒ คน มัชฌิมกาล

มี ๔ คน, มหากาลมี ๘ คน, ฝ่ายภิกษุทั้งหลายใคร่ทำภัตกิจ ได้นั่งทำ

ภัตกิจแล้ว, พวกที่ใคร่ไปภายนอก ก็ได้ลุกไปแล้ว; ส่วนพระศาสดา

ประทับนั่งทรงทำภัตกิจ. ในกาลเสร็จภัตกิจของพระองค์ หญิงเหล่านั้น

ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระมหากาลทำอนุโมทนาแก่พวก

ข้าพระองค์แล้ว จึงจักไป, ขอพระองค์เสด็จไปก่อนเถิด."

พระศาสดา ตรัสว่า " ดีละ" ได้เสด็จล่วงหน้าไปแล้ว. ครั้นถึง

ประตูบ้าน ภิกษุสงฆ์ก็ยกโทษว่า "ทำไม พระศาสดา จึงทรงทำ

เช่นนี้นี่ ? พระองค์ทรงทราบแล้ว จึงทรงทำ หรือไม่ทรงทราบแล้ว

ทรงทำหนอ ? วานนี้ อันตรายแห่งบรรพชาเกิดขึ้นแก่จุลกาล เพราะ

การล่วงหน้าไปก่อน, วันนี้ อันตรายมิได้มี เพราะภิกษุอื่นล่วงหน้าไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 102

ก่อน, บัดนี้ พระศาสดา รับสั่งให้พระมหากาลยับยั้งอยู่ แล้วเสด็จมา.

ก็ภิกษุผู้มีศีล ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระ หญิงเหล่านั้นจักทำอันตรายแห่ง

บรรพชาแก่พระมหากาลนั้นได้ละหรือ ?"

พระศาสดาทรงสดับคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว เสด็จกลับมาประทับ

ยืนอยู่ ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวอะไรกัน ?" ภิกษุ

เหล่านั้น ทูลความนั้นแล้ว.

ศ. ภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอสำคัญมหากาลเหมือนจุลกาลหรือ ?

ภ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า เพราะจุลกาลนั้น มีภรรยา ๒ คน

( ส่วน) พระมหากาลนี้ มีถึง ๘ คน, เธอถูกภรรยาทั้ง ๘ รุมจับไว้

แล้ว จักทำอะไรได้ พระเจ้าข้า ?

พระมหากาลเป็นผู้ไม่หวั่นไหว

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้กล่าวอย่างนั้น,

จุลกาล ลุกขึ้น ลุกขึ้นพร้อมแล้ว มากไปด้วยอารมณ์ว่างามอยู่ เป็นเช่น

กับต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ตั้งอยู่ริมเหวและเขาขาด, ส่วนมหากาลบุตร

ของเรา ตามเห็นอารมณ์ว่าไม่งามอยู่ เป็นผู้ไม่หวั่นไหวเลย เหมือน

ภูเขาหินแต่งทึบ" ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๗. สุภานุปสฺสึ วิหรนฺต อินฺทฺริเยสุ อสวุต

โภชนมฺหิ อมตฺตญฺญุ กุสีต หีนวีริย

ต เว ปสหติ มาโร วาโต รุกฺขว ทุพฺพล.

อสุภานุปสฺสึ วหรนฺต อินฺทฺริเยสุ สุสวุต

๑. นิวตฺตตฺวา ตามศัพท์ว่า ให้กลับ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 103

โภชนมฺหิ จ มตฺตญฺญุ สทฺธ อารทฺธวีริย

ต เว นปฺปสหติ มาโร วาโต เสลว ปพฺพต.

"ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่างาม ไม่สำรวมในอินทรีย์

ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ เกียจคร้าน

มีความเพียรเลวทรามอยู่ ผู้นั้นแล มารย่อมรังควาน

ได้, เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ลม

รังควานได้ฉะนั้น. (ส่วน) ผู้ตามเห็นอารมณ์ว่า

ไม่งาม สำรวมดีในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณใน

โภชนะ มีศรัทธาและปรารภความเพียรอยู่ ผู้นั้นแล

มารย่อมรังควานไม่ได้, เปรียบเหมือนภูเขาหิน ลม

รังควานไม่ได้ ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุภานุปสฺสึ ได้แก่ ผู้ตามเห็นอารมณ์

ว่างาม. อธิบายว่า ผู้ปล่อยใจไปในอารมณ์ที่น่าปรารถนาอยู่. ก็บุคคล

ใด เมื่อถือโดยนิมิต โดยอนุพยัญชนะ ย่อมถือว่า "เล็บทั้งหลายงาม."

ถือว่า "นิ้วทั้งหลายงาม." ถือว่า "มือทั้งสอง เท้าทั้งสอง แข้งทั้งสอง

ขาทั้งสอง สะเอว ท้อง ถันทั้งสอง คอ ริมฝีปาก ฟันทั้งหลาย ปาก จมูก

ตาทั้งสอง หูทั้งสอง คิ้วทั้งสอง หน้าผาก ผมทั้งหลาย งาม." ถือว่า "ผม

ขน เล็บ ฟัน หนัง งาม." (หรือ) ถือว่า "สีงาม ทรวดทรง

๑. ได้แก่รวบถือทั้งหมด. ๒. ได้แก่แยกถือเป็นส่วน ๆ เช่น ผมงาม เล็บงาม เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 104

งาม." บุคคลนี้ชื่อว่าตามเห็นอารมณ์ว่างาม. ผู้นั้นคือผู้ตามเห็น

อารมณ์ว่างามอย่างนั้นอยู่.

บทว่า อินฺทฺริเยสุ ได้แก่ ในอินทรีย์ ๖ มีจักษุเป็นต้น.

บทว่า อสวุต ได้แก่ ผู้ไม่รักษาทวารทั้งหลาย มีจักษุทวาร

เป็นต้น.

บทว่า อมตฺตุ ความว่า ชื่อว่าผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ

เพราะไม่รู้ประมาณนี้ คือประมาณในการแสวงหา ประมาณในการรับ

ประมาณในการบริโภค. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้ไม่รู้จักประมาณเพราะไม่รู้

ประมาณแม้นี้ คือ ประมาณในการพิจารณา ประมาณในการสละ คือ

ไม่ทราบแม้ว่า "โภชนะนี้ประกอบด้วยธรรม นี้ไม่ประกอบด้วยธรรม."

บทว่า กุสีต ความว่า ชื่อว่าผู้เกียจคร้าน เพราะความเป็นผู้เป็น

ไปในอำนาจของกามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสาวิตก.

บทว่า หีนวีริย ความว่า ผู้ไม่มีความเพียร คือผู้เว้นจากการ

ทำความเพียรในอิริยาบถทั้งสี่.

บทว่า ปสหติ แปลว่า ย่อมครอบงำ คือ ย่ำยี.

บาทพระคาถาว่า วาโต รุกฺขว ทุพฺพล ความว่า เหมือนลม

มีกำลังแรง รังควานต้นไม้ที่มีกำลังไม่แข็งแรง ซึ่งเกิดริมเขาขาด.

อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ลมนั้น ยังส่วนต่าง ๆ มี ดอก ผล ใบอ่อน

เป็นต้น แห่งต้นไม้นั้นให้ร่วงลงบ้าง หักกิ่งน้อยบ้าง หักกิ่งใหญ่บ้าง

พัดถอนต้นไม้นั้นพร้อมทั้งราก ทำให้รากขึ้นเบื้องบน กิ่งลงเบื้องล่าง

ฉันใด; มารคือกิเลส อันเกิดในภายใน ย่อมรังควานบุคคลผู้เห็นปาน

๑. อินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ มนินทรีย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 105

นั้นได้ฉันนั้นเหมือนกัน; คือกิเลสมารทำให้ต้องอาบัติเล็ก ๆ น้อย ๆ

เหมือนลมมีกำลังแรง พัดส่วนต่าง ๆ มี ดอก ผล ใบอ่อนเป็นต้น

แห่งต้นไม้ที่ไม่แข็งแรงให้ร่วงลงบ้าง, ทำให้ต้องอาบัติมีนิสสัคคียะเป็นต้น

เหมือนลมมีกำลังแรง ทำการหักกิ่งไม้เล็ก ๆ บ้าง, ทำให้ต้องอาบัติ

สังฆาทิเสส ๑๓ เหมือนลมมีกำลังแรง ทำการหักกิ่งไม้ใหญ่บ้าง, ทำให้

ต้องอาบัติปาราชิก นำออกจากศาสนา อันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว

ให้ถึงความเป็นคฤหัสถ์โดย ๒-๓ วันเท่านั้น เหมือนลมมีกำลังแรงถอน

(ต้นไม้) ทำให้โค่นลง มีรากขึ้นเบื้องบน มีกิ่งลงเบื้องล่างบ้าง. กิเลส-

มารย่อมยังบุคคลเห็นปานนั้นให้เป็นไปในอำนาจของตน.

บทว่า อสุภานุปสฺสึ ความว่า ผู้เห็นอารมณ์ไม่งาม๑๐ อย่าง อย่างใด

อย่างหนึ่งว่าไม่งาม. คือประกอบในมนสิการ โดยความเป็นของปฏิกูล

ได้แก่เห็นผมทั้งหลาย โดยความไม่งาม เห็นขน เล็บ ฟัน หนัง

สี ทรวดทรง โดยความไม่งาม.

บทว่า อินฺทฺริเยสุ ได้แก่ ในอินทรีย์ ๖. บทว่า สุสวุต ได้แก่

ผู้เว้นจากการถือ มีถือโดยนิมิตเป็นต้น คือผู้มีทวารอันปิดแล้ว.

บทว่า มตฺตญฺญุ ความว่า ผู้รู้จักประมาณในโภชนะ โดยตรงกัน

ข้ามกับความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณ.

๑. อสุภ อารมณ์อันไม่งาม มี ๑๐ คือ ๑. อุทธุมาตกอสุก อสุภที่ขึ้นพอง ๒. วินีลกอสุภ

อสุภที่มีสีเขียว ๓. วิปุพพกอสุภ อสุภที่มีหนองไหลออก ๔. วิจฺฉิททกอสุภ อสุภที่เขาสับฟัน

เป็นท่อน ๆ ๕. วิกฺขายิตกอสุภ อสุภที่สัตว์ยื้อแย่งกิน ๖. วิกฺขิตฺตกอสุภ อสุภี่ขาดกลาง

๗. หตวิกฺขิตฺตกอสุภ อสุภที่ขาดกระจักกระจาย ๘. โลหิตกอสุภ อสุภที่เปื้อนเลือด

๙. ปุฬุวกกุสุภ อสุภที่มีหมู่หนอน ๑๐. อฏฺิกอสุภ อสุภที่มีแต่ร่างกระดูก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 106

บทว่า สทฺธึ ความว่า ผู้ประกอบด้วยโลกิยสัทธา มีอันเชื่อกรรม

และผลเป็นลักษณะอย่างหนึ่ง และประกอบด้วยโลกุตรสัทธา กล่าวคือ

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในวัตถุ ๓ อย่างหนึ่ง.

บทว่า อารทฺธวีริย ได้แก่ ผู้ประคองความเพียร คือผู้มีความ

เพียรเต็มที่.

บทว่า ต เว ได้แก่ บุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น.

อธิบายว่า ลมมีกำลังอ่อน พัดเบา ๆ ย่อมไม่อาจให้ศิลาแต่ง

ทึบหวั่นไหวได้ ฉันใด; กิเลสมารที่มีกำลังทราม แม้เกิดขึ้นในภายใน

ย่อมรังควาน (บุคคลนั้น) ไม่ได้ คือไม่อาจให้หวั่นไหว สะเทือน

คลอนแคลนได้ ฉันนั้น.

พระมหากาลเหาะหนีภรรยา

พวกหญิงแม้เหล่านั้นแล ที่เป็นภรรยาเก่าของพระมหากาลนั้น

ล้อมพระเถระเเล้ว กล่าวคำเป็นต้นว่า "ท่านลาใครบวช บัดนี้ท่านจัก

เป็นคฤหัสถ์หรือจักไม่เป็นเล่า ?" ดังนี้แล้ว ได้เป็นผู้ใคร่เพื่อจะเปลื้อง

ผู้กาสายะทั้งหลาย (ของพระเถระ) ออก.

พระเถระกำหนดลาการของหญิงเหล่านั้นได้แล้ว ลุกจากอาสนะ

ที่นั่งแล้วเหาะไปด้วยฤทธิ์ ทำลายช่อฟ้าเรือนยอด ไปทางอากาศ. เมื่อ

พระศาสดา พอตรัสพระคาถาจบลง, ชมเชยพระสรีระของพระศาสดา

ซึ่งมีวรรณะดังทองคำ ลงมาถวายบังคมพระบาทยุคลของพระตถาคตแล้ว

๑. วัตถุ ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 107

ในกาลจบคาถา ภิกษุผู้ประชุมกัน ดำรงอยู่ในอริยผลทั้งหลายมี

โสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องจุลกาลและมหากาล จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 108

๗. เรื่องพระเทวทัต [๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภการได้ผ้า

กาสาวะอันบุคคลนำมาแต่แคว้นคันธาระของพระเทวทัต ในกรุงราชคฤห์

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนิกฺกสาโว" เป็นต้น.

พระสารีบุตรแสดงธรรมแก่ชาวกรุงราชคฤห์

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง พระอัครสาวกทั้งสองพาบริวารของ

ตน องค์ละ ๕๐๐ รูป ไปทูลลาพระศาสดาแล้ว ได้ไปจากพระเชตวัน

สู่กรุงราชคฤห์.

ชาวกรุงราชคฤห์ รวมเป็นพวกเดียวกัน ๒ คนบ้าง ๓ คนบ้าง

หลายคนบ้าง ได้ถวายอาคันตุกทาน. อยู่มาวันหนึ่ง ท่านพระสารีบุตร

เมื่อจะทำอนุโมทนา แสดงธรรมอย่างนี้ว่า "อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลาย

ทายกคนหนึ่งถวายทานด้วยตนเอง (แต่) ไม่ชักชวนคนอื่น, ทายก

นั้น ย่อมได้โภคสมบัติในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ ( แต่ ) ไม่ได้บริวาร-

สมบัติ, คนหนึ่งชักชวนคนอื่น ส่วนตนเองไม่ถวาย, ผู้นั้น ย่อมได้

บริวารสมบัติในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ (แต่ ) ไม่ได้โภคสมบัติ, คน

หนึ่งแม้ตนเองก็ไม่ได้ถวาย แม้คนอื่นก็ไม่ชักชวน, ผู้นั้น ย่อมไม่ได้

แม้วัตถุมาตรว่าข้าวปลายเกรียนพออิ่มท้อง ย่อมเป็นคนอนาถา หา

ปัจจัยมิได้ ในที่แห่งคนเกิดแล้ว ๆ คนหนึ่งทั้งตนเองก็ถวาย ทั้งชัก

๑. ถวายแก่ภิกษุผู้มาใหม่ คือผู้เป็นแขก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 109

ชวนคนอื่น ผู้นั้น ย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ ทั้งบริวารสมบัติ ในที่แห่งตน

เกิดแล้ว ๆ สิ้นร้อยอัตภาพบ้าง พันอัตภาพบ้าง แสนอัตภาพบ้าง."

นิมนต์ภิกษุพันรูปรับภัตตาหาร

บุรุษผู้บัณฑิตคนหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนานั้นแล้ว คิดว่า "ท่าน

ผู้เจริญ พระธรรมเทศนาน่าอัศจรรย์นัก. พระผู้เป็นเจ้าสารีบุตรกล่าว

เหตุแห่งความสุข, เราทำกรรมอันยังสมบัติทั้งสองเหล่านี้ให้สำเร็จ ย่อม

สมควร" ดังนี้แล้ว จึงนิมนต์พระเถระว่า "ท่านขอรับ พรุ่งนี้ ขอ

นิมนต์ท่านทั้งหลายรับภิกษาของผมเถิด."

พระเถระ ถามว่า "ท่านต้องการภิกษุเท่าไร ? อุบาสก."

อุบาสก ย้อนถามว่า "ภิกษุที่เป็นบริวารของใต้เท้ามีเท่าไร ?

ขอรับ."

ถ. มีประมาณพันรูป อุบาสก.

อุ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอใต้เท้าพร้อมด้วยภิกษุทั้งหมดทีเดียว

โปรดรับภิกษา (ของผม). พระเถระรับแล้ว.

อุบาสกชวนชาวบ้านถวายภัตตาหาร

อุบาสกเที่ยวไปในถนนพระนคร ชักชวนด้วยคำว่า "ข้าแต่แม่และ

พ่อทั้งหลาย ฉันนิมนต์ภิกษุไว้พันรูป, ท่านทั้งหลายจักอาจถวายภิกษา

มีจำนวนเท่าไร ? ท่านทั้งหลายจักอาจถวายภิกษาแก่ภิกษุมีจำนวน

เท่าไร ?"

พวกมนุษย์กล่าวโดยพอเหมาะพอควร (แก่กำลัง) ของตน ๆ ว่า

"พวกฉันจักถวายแก่ภิกษุ ๑๐ รูป, พวกฉัน ๒๐ รูป, พวกฉัน ๑๐๐ รูป."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 110

อุบาสกกล่าวว่า "ถ้ากระนั้น เราทั้งหลาย จักประชุมหุงต้ม

รวมกันในที่แห่งเดียว, ขอท่านทุก ๆ คน จงรวบรวมวัตถุต่าง ๆ มี

น้ำมัน งา ข้าวสาร เนยใส น้ำอ้อยเป็นต้น" ดังนี้แล้ว ให้รวม

ไว้ในที่แห่งหนึ่ง.

ทีนั้น กุฏุมพีผู้หนึ่งให้ผ้ากาสาวะอันนำมาจากแคว้นคันธาระซึ่งมี

ค่าแสนหนึ่ง แก่อุบาสกนั้นแล้ว สั่งว่า "ถ้าทานวัฏฏ์ของท่านยังไม่

เพียงพอไซร้. ท่านพึงจ่ายผ้าผืนนี้ให้ครบส่วนที่บกพร่อง, ถ้าทานวัฏฏ์

ของท่านเพียงพอไซร้ ท่านพึงถวาย (ผ้าผืนนี้ ) แก่ภิกษุรูปที่ท่าน

ปรารถนา." ในกาลนั้น ทานวัฏฏ์ทุก ๆ อย่างของอุบาสกนั้นเพียงพอ

แล้ว. อะไร ๆ ชื่อว่าบกพร่องมิได้มี, อุบาสกนั้นจึงถามมนุษย์ทั้งหลาย

ว่า "ผ้ากาสาวะอันหาค่ามิได้ผืนนี้ อันกุฏุมพีผู้หนึ่งกล่าวอย่างนี้แล้ว

มอบให้ไว้. ทานวัฏฏ์ (ของพวกเรา ) ก็มีเหลือเพื่อแล้ว, เราทั้งหลาย

จะถวายผ้ากาสาวะผืนนี้แก่ท่านรูปไหนเล่า ?"

ถวายผ้าราคาตั้งแสนแก่พระเทวทัต

บางพวกกล่าวว่า "ถวายแก่พระสารีบุตรเถระ." บางพวกกล่าวว่า

"พระเถระมักมาในเวลาข้าวกล้าแก่ แล้วก็ไป, พระเทวทัตเป็นสหายใน

การมงคลและอวมงคลทั้งหลายของพวกเรา ดำรงอยู่เป็นนิตย์ เหมือน

หม้อน้ำ, พวกเราจะถวายผ้าผืนนั้นแก่ท่าน," แม้เมื่อถ้อยคำเป็นไปหลาย

ทาง (อย่างนั้น), พวกที่กล่าว่า "ควรถวายแก่พระเทวทัต" ได้มี

จำนวนมากกว่า. เมื่อเป็นอย่างนั้น พวกเขาจึงได้ถวายผ้ากาสาวะนั้นแก่

พระเทวทัต.

๑. ทานวัฏฏ์ ได้แก่ของทำบุญ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 111

พระเทวทัตนุ่งห่มผ้าไม่สมควรแก่ตน

พระเทวทัต ตัดผ้านั้นแล้ว เย็บ ย้อม นุ่งห่มเที่ยวไป. พวก

มนุษย์เห็นท่านแล้ว จึงพูดกันว่า "ผ้าผืนนี้หาสมควรแก่พระเทวทัตไม่

ควรแก่พระสารีบุตรเถระ, พระเทวทัตนุ่งห่มผ้าอันไม่สมควรแก่ตนเที่ยว

ไป."

ขณะนั้น ภิกษุผู้อยู่ต่างทิศรูปหนึ่ง ( ออก ) จากกรุงราชคฤห์

ไปสู่กรุงสาวัตถี ถวายบังคมพระศาสดา เป็นผู้อันพระศาสดาทรงทำ

ปฏิสันถาร ตรัสถามถึงการอยู่ผาสุกของพระอัครสาวกทั้งสองแล้ว จึง

กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดจำเดิมแต่ต้น.

พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุ เทวทัตนั้นทรงผ้าที่ไม่สมควรแก่

ตนในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้, แม้ในกาลก่อน เธอก็ทรงแล้วเหมือนกัน"

ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า)

ครั้งก่อนพระเทวทัตเป็นนายพรานช้าง

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติ ในพระนคร

พาราณสี, นายพรานช้าง ชาวพระนครพาราณสีผู้หนึ่ง ล้มช้างแล้ว

นำงา หนัง ไส้ใหญ่และเนื้อล่ำมาแล้วขายเลี้ยงชีวิต. ครั้งนั้นช้างหลาย

พันเชือกเดินหากินอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง พบพระปัจเจกพุทธะหลายองค์

จำเดิมแต่กาลนั้น เมื่อไป หมอบลงด้วยเข่าทั้งสองแล้วจบในกาลที่ไป

และมา ( ทุกครั้ง) แล้วจึงผ่านไป. วันหนึ่ง นายพรานช้างเห็นกิริยา

นั้นแล้ว คิดว่า "เราล้มช้างเหล่านี้ได้โดยยาก, ก็ในกาลไปและมา

๑. กิริยาของช้างที่ทำความเคารพ ตรงกับคำว่า ไหว้.

.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 112

ช้างเหล่านี้ย่อมจบพระปัจเจกพุทธะทั้งหลาย, มันเห็นอะไรหนอ ? จึง

จบ," กำหนดได้ว่า "เห็นผ้ากาสาวะ" ดังนี้แล้ว ดำริว่า "บัดนี้

แม้เราได้ผ้ากาสาวะย่อมควร," เมื่อพระปัจเจกพุทธะรูปหนึ่งลงไปสู่ชาต-

สระสรงน้ำอยู่ วางผ้ากาสาวะทั้งหลายไว้ที่ริมฝั่ง, จึงลักจีวรไป จับหอก

นั่งคลุมโปงอยู่ริมหนทางที่ช้างเหล่านั้นไปมา.

หมู่ช้างเห็นเขาแล้วจึงจบ ด้วยสำคัญว่า "พระปัจเจกพุทธะ"

แล้วก็ผ่านไป. นายพรานช้างนั้นเอาหอกพุ่งถูกช้างตัวไปข้างหลังช้างเหล่า

นั้นทั้งหมดให้ตายแล้ว ถือเอาส่วนต่าง ๆ มีงาเป็นต้น ฝั่งส่วนที่เหลือใน

แผ่นดินแล้วไป.

ในกาลต่อมา พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดช้าง ได้เป็น

หัวหน้าช้าง เป็นนายโขลง. ถึงในกาลนั้น นายพรานช้างนั้น ก็คงทำ

อยู่อย่างนั้น. พระมหาบุรุษทราบความหมดสิ้นไปแห่งบริษัทของตน

จึงถามว่า "ช้างเหล่านี้ไปไหน ? จึงเบาบางไป," เมื่อเหล่าช้างนั้น

ตอบว่า "ไม่ทราบ นาย" คิดว่า "ช้างทั้งหลายจะไปไหนไม่บอกเรา

( ก่อน ) จักไม่ไป, อันตรายพึงมี" นึกสงสัยว่า "อันตรายพึงมีแต่

สำนักแห่งบุรุษผู้นั่งคลุมผ้ากาสาวะในที่แห่งหนึ่ง," เพื่อจะจับบุรุษนั้น

จึงส่งช้างทั้งหมดล่วงหน้าไปก่อน ส่วนคนมาล้าหลัง, นายพรานช้างนั้น

เมื่อช้างที่เหลือจบแล้วเดินไป, เห็นพระมหาบุรุษกำลังเดินมาจึงม้วนจีวร

พุ่งหอกไป.

พระมหาบุรุษคุมสติเดินมา ถอยกลับไปข้างหลังหู ลบหอกแล้ว.

ทีนั้น จึงวิ่งแปรเข้าไป เพื่อจะจับนายพรานช้างนั้น ด้วยสำคัญว่า

๑. ชาตสระ สระที่เป็นของไม่มีใครขุดทำ. ๒. สสีส ปารุปิตฺวา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 113

"เจ้าคนนี้ ให้ช้างของเราฉิบหายแล้ว." นายพรานข้างนอกนี้ แอบบัง

ต้นไม้ต้นหนึ่ง. ทีนั้น พระมหาบุรุษ เอางวงรวบเขาพร้อมกับต้นไม้

หมายใจว่า "จักจับฟาดลงที่แผ่นดิน. " ( ครั้น ) เห็นผ้ากาสาวะที่เขา

นำออกแสดง จึงยับยั้งไว้ ด้วยคิดเห็นว่า " ถ้าเราจักประทุษร้ายใน

บุรุษนี้ไซร้. ชื่อว่าความละอายในพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธะและ

พระขีณาสพหลายพันองค์ จักเป็นอันเราทำลายแล้ว." ซักถามว่า

"ญาติของเราประมาณเท่านี้ เจ้าให้ฉิบหายแล้วหรือ ?"

นายพรานช้างรับสารภาพว่า "จ้ะ นาย."

พระมหาบุรุษกล่าวว่า "เพราะอะไร เจ้าจึงได้ทำกรรมอันหยาบช้า

อย่างนี้ ? เจ้าห่มผ้าไม่สมควรแก่ตน สมควรแก่ท่านผู้ปราศจากราคะ

ทั้งหลาย เมื่อทำกรรมอันลามกเห็นปานนี้ ชื่อว่าทำกรรมอันหนัก."

ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะข่มขี่ให้ยิ่งขึ้น จึงกล่าวคาถาว่า

" ผู้ใด มีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่ออก ปราศจาก

ทมะและสัจจะ จักนุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ผู้นั้นย่อมไม่

ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ส่วนผู้ใด พึงเป็นผู้มีกิเลส

ดุจน้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย ประ-

กอบด้วยทมะและสัจจะ, ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่ม

ผ้ากาสาวะ.

ดังนี้แล้ว กล่าวว่า เจ้าทำกรรมอันไม่สมควร" แล้วก็ปล่อยเขาไป.

ของดีย่อมควรแก่คนดีหาควรกับคนชั่วไม่

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา (แสดง) แล้ว

ทรงย่อชาดกว่า "นายพรานช้างในกาลนั้น ได้เป็นเทวทัต (ในบัดนี้)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 114

ช้างตัวประเสริฐผู้ข่มขี่นายพรานช้างนั้น คือเราเอง " ดังนี้ ตรัสว่า

"ภิกษุ ไม่ใช่แต่ในกาลนี้เท่านั้น. แม้ในกาลก่อน เทวทัตก็ทรงผ้า

ไม่สมควรแก่ตนเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๗. อันกกสาโว กาสาว โย วตฺถ ปริทเหสฺสติ

อเปโต ทมสจฺเจน น โส กาสาวมรหติ.

โย จ วนฺตกสาวสฺส สีเลสุ สุสมาหิโต

อุเปโต ทมสจฺเจน ส เว กาสาวมรหติ.

"ผู้ใด มีกิเลสดุจน้ำฝาดยังไม่ออก ปราศจากทมะ

และสัจจะ จักนุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ผู้นั้นย่อมไม่ควร

นุ่งห่มผ้ากาสาวะ, ส่วนผู้ใด พึงเป็นผู้มีกิเลสดุจ

น้ำฝาดอันคายแล้ว ตั้งมั่นดีในศีลทั้งหลาย ประกอบ

ด้วยทมะและสัจจะ, ผู้นั้นแล ย่อมควรนุ่งห่มผ้า

กาสาวะ."

เนื้อความนี้ บัณฑิตพึงแสดงแม้ด้วยฉัททันตชาดก ดังนี้แล.

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิกฺกสาโว ความว่า ผู้ชื่อว่ามี

กิเลสดุจน้ำฝาด เพราะกิเลสดุจน้ำฝาดทั้งหลาย มีกามราคะเป็นต้น.

บทว่า ปริทเหสฺสติ ความว่า จักใช้สอยด้วยสามารถแห่งการนุ่ง

การห่ม และการลาด. พระบาลีว่า "ปริทหิสฺสติ" ก็มี.

บาทพระคาถาว่า อเปโต ทมสจฺเจน ความว่า ปราศจาก.

๑. ขุ. ติรสติ. ๒๗/ ๔๙๐. อรรถกถา. ๗/๒๒๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 115

อธิบายว่า "พราก" จากการฝึกอินทรีย์ และวจีสัจจะอันเป็นฝ่าย

ปรมัตถสัจจะ.

บทว่า น โส เป็นต้น ความว่า บุคคลนั้น คือผู้เห็นปานนั้น

ย่อมไม่ควรนุ่งห่มผ้ากาสาวะ.

บทว่า วนฺตกสาวสฺส ความว่า พึงเป็นผู้มีกิเลสดุจน้ำฝาดอัน

คายแล้ว คือมีกิเลสดุจน้ำฝาดอันทิ้งแล้ว ได้แก่ มีกิเลสดุจน้ำฟาดอันละ

แล้ว ด้วยมรรค ๔.

บทว่า สีเลสุ ได้แก่ ในปาริสุทธิศีล ๔.

บทว่า สุสมาหิโต ได้แก่ ผู้ตั้งมั่นดี คือดำรงอยู่ด้วยดี.

บทว่า อุเปโต ความว่า ประกอบด้วยการฝึกอินทรีย์และวจีสัจจะ

มีประการดังกล่าวแล้ว.

บทว่า ส เว เป็นต้น ความว่า บุคคลนั้น คือเห็นปานนั้น

ย่อมควร [นุ่งห่ม] ผ้ากาสาวะนั้น.

ในกาลจบคาถา ภิกษุผู้อยู่ในต่างทิศนั้น ได้เป็นพระโสดาบัน.

ชนแม้เหล่าอื่นมีจำนวนมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดาปัตติผลเป็นต้น.

เทศนาได้สำเร็จประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระเทวทัต จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 116

๘. เรื่องสญชัย [๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภความไม่มา

ของสญชัย (ปริพาชก ) ซึ่งสองพระอัครสาวกกราบทูลแล้ว ตรัส

พระธรรมเทศนานี้ว่า "อสาเร สารมติโน" เป็นต้น. อนุปุพพีกถา

ในเรื่องสญชัยนั้น ดังต่อไปนี้:-

พระศาสดาได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ๒๓ พระองค์

ความพิสดารว่า ในที่สุด ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัลป์แต่กัลป์

นี้ไป พระศาสดาของเราทั้งหลาย เป็นกุมารของพราหมณ์นามว่าสุเมธะ

ในอมรวดีนคร ถึงความสำเร็จศิลปะทุกอย่างแล้ว โดยกาลล่วงไปแห่ง

มารดาและบิดา ทรงบริจาคทรัพย์นับได้หลายโกฏิ บวชเป็นฤษีอยู่ใน

หิมวันตประเทศ ทำฌานและอภิญญาให้เกิดแล้ว ไปโดยอากาศเห็นคน

ถางทางอยู่เพื่อประโยชน์เสด็จ (ออก) จากสุทัศนวิหาร เข้าไปสู่อมร-

วดีนคร แห่งพระทศพลทรงพระนามว่าทีปังกร แม้ตนเองก็ถือเอา

ประเทศแห่งหนึ่ง, เมื่อประเทศนั้น ยังไม่ทันเสร็จ, นอนทอดตนให้

เป็นสะพาน ลาดหนังเสือเหลืองบนเปือกตม เพื่อพระศาสดาผู้เสด็จมาแล้ว

ด้วยประสงค์ว่า "ขอพระศาสดาพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก ไม่ต้องทรง

เหยียบเปือกตม จงทรงเหยียบเราเสด็จไปเถิด" แต่พอพระศาสดาทอด

พระเนตรเห็น ก็ทรงพยากรณ์ว่า "ผู้นี้เป็นพุทธังกูร จักเป็นพระพุทธ-

๑. หน่อเนื้อ, เชื้อสาย แห่งพระพุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 117

เจ้าทรงพระนามว่าโคดม ในที่สุด ๔ อสงไขย ยิ่งด้วยแสนกัลป์ใน

อนาคต," ในสมัยต่อมาแห่งพระศาสดาพระองค์นั้น ก็ได้รับพยากรณ์

ในสำนักพระพุทธเจ้า ๒๓ พระองค์ ซึ่งเสด็จอุบัติขึ้นส่องโลกให้สว่าง

เหล่านี้ คือ พระโกณฑัญญะ ๑ พระสุมังคละ ๑ พระสุมนะ ๑ พระ-

เรวตะ ๑ พระโสภิตะ ๑ พระอโนมทัสสี ๑ พระปทุมะ ๑ พระ-

นารทะ ๑ พระปทุมุตตระ ๑ พระสุเมธะ ๑ พระสุชาตะ ๑ พระปิย-

ทัสสี ๑ พระอัตถทัสสี ๑ พระธรรมทัสสี ๑ พระสิทธัตถะ ๑ พระ-

ติสสะ ๑ พระปุสสะ ๑ พระวิปัสสี ๑ พระสิขี ๑ พระเวสสภะ ๑

พระกกุสันธะ ๑ พระโกนาคมนะ ๑ พระกัสสปะ ๑," ทรงบำเพ็ญ

บารมีครบ ๓๐ คือบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ (ครั้ง)

ดำรงอยู่ในอัตภาพเป็นพระเวสสันดร ให้มหาทาน อันทำแผ่นดินให้ไหว

๗ ครั้ง ทรงบริจาคพระโอรสและพระชายา. ในที่สุดพระชนมายุ, ก็ทรง

อุบัติในดุสิตบุรี ดำรงอยู่ในดุสิตบุรีนั้น ตลอดพระชนมายุ, เมื่อเทวดา

ในหมื่นจักรวาลประชุมกันอาราธนาว่า

"ข้าแต่พระมหาวีระ กาลนี้ เป็นกาลของพระ-

องค์, ขอพระองค์ จงเสด็จอุบัติในพระครรภ์พระ-

มารดา ตรัสรู้อมตบท ยังโลกนี้กับทั้งเทวโลกให้

ข้ามอยู่."

ทรงเลือกฐานะใหญ่ ๆ ที่ควรเลือก ๕ เสด็จจุติจากดุสิตบุรีนั้นแล้ว

ทรงถือปฏิสนธิในศากยราชสกุล อันพระประยูรญาติบำเรออยู่ด้วยมหา-

สมบัติในศากยสกุลนั้น ทรงถึงความเจริญวัยโดยลำดับ เสวยสิริราช-

๑. ฐานใหญ่ที่ควรเลือก ๕ คือ ๑. กาล ๒. ประเทศ ๓. ทวีป ๔. ตระกูล ๕. มารดา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 118

สมบัติในปราสาททั้งสามอันสมควรแก่ฤดูทั้งสามดุจสิริสมบัติในเทวโลก.

ทรงเห็นเทวทูตแล้วเสด็จบรรพชา

ในสมัยที่เสด็จไปเพื่อประพาสพระอุทยาน ทรงเห็นเทวทูต ๓

กล่าวคือคนแก่ คนเจ็บ และคนตาย โดยลำดับ ทรงเกิดความสังเวช

เสด็จกลับแล้ว. ในวันที่ ๔ ทรงเห็นบรรพชิต ยังความพอพระทัยใน

การบรรพชาให้เกิดขึ้นว่า "การบรรพชาดี, เสด็จไปสู่อุทยาน ยังวัน

ให้สิ้นไปในพระอุทยานนั้น ประทับนั่งริมขอบสระโบกขรณีอันเป็นมงคล

อันวิสสุกรรมเทพบุตรผู้จำแลงเพศเป็นช่างกัลบกมาตบแต่งถวาย ทรงสดับ

ข่าวประสูติของราหุลกุมาร ทรงทราบถึงความสิเนหาในพระโอรสมีกำลัง

ทรงพระดำริว่า "เราจักตัดเครื่องผูกนี้ จนผูกมัด (เรา ) ไม่ได้

ทีเดียว," เวลาเย็นเสด็จเข้าไปยิ่งพระนคร ทรงสดับคาถานี้ ที่พระธิดา

ของพระเจ้าอา พระนามว่า กิสาโคตมี ภาษิตว่า

"พระราชกุมารผู้เช่นนี้ เป็นพระราชโอรสแห่ง

พระชนนีพระชนก และเป็นพระสวามีของพระนาง

ใด ๆ พระชนนีพระชนกและพระนางนั้น ๆ ดับ

( เย็นใจ ) แน่แล้ว"

ทรงพระดำริว่า "เราอันพระนางกิสาโคตมีนี้ (สวด ) ให้ได้ยิน

นิพพุตบทแล้ว," จึงเปลื้องแก้วมุกดาหารจากพระศอ ส่งไปประทานแก่

พระนางแล้ว เสด็จเข้าไปสู่ที่อยู่ของพระองค์ ประทับนั่งบนพระแท่น

บรรทมอันมีสิริ ทอดพระเนตรเห็นประการอันแปลกของหมู่หญิงฟ้อนที่

เข้าถึงความหลับแล้ว มีพระทัยเบื่อหน่าย จึงปลุกนายฉันนะให้ลุกขึ้น ให้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 119

นำม้ากัณฐกะมา เสด็จขึ้นม้ากัณฐกะ มีนายฉันทะเป็นสหาย อันเทวดา

ในหมื่นจักรวาลห้อมล้อมแล้ว เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรพชา

ที่ริมฝั่งแม่น้ำอโนมานที, เสด็จถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ เสด็จเที่ยว

บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์นั้น ประทับนั่งที่เงื้อมเขาปัณฑวะ อันพระเจ้า

แผ่นดินมคธทรงเชื้อเชิญด้วยราชสมบัติ ทรงปฏิเสธคำเชื้อเชิญนั้น ทรง

รับปฏิญญาจากท้าวเธอเพื่อประโยชน์แก่การได้บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ

แล้ว จะเสด็จมาสู่แคว้นของพระองค์เสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบสเเละอุทก-

ดาบส ไม่ทรงพอพระทัยคุณวิเศษที่ทรงได้บรรลุในสำนักของสองดาบส

นั้น ทรงตั้งความเพียรใหญ่ถึง ๖ ปี.

ทรงบรรลุสัพพัญญุตญาณแล้วทรงแสดงธรรม

ในวันวิสาขบุรณมี เช้าตรู่เสวยข้าวปายาสซึ่งนางสุชาดาถวายแล้ว

ทรงลอยถาดทองคำในแม่น้ำเนรัญชรา ให้ส่วนกลางวันล่วงไปด้วยสมาบัติ

ต่าง ๆ ในราวป่ามหาวันริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา, เวลาเย็นทรงรับหญ้าที่

นายโสตถิยะถวาย มีพระคุณอันพระยากาฬนาคราชชมเชยแล้ว เสด็จสู่

ควงไม้โพธิ ทำปฏิญญาว่า "เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้ ตลอดเวลาที่

จิตของเราจักยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย ด้วยการไม่เข้าไปถือมั่น,"

ประทับนั่งผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา, เมื่อพระอาทิตย์ยังไม่ทันอัสดงคต,

ทรงกำจัดมารและพลมารได้, ทรงบรรลุปุพเพนิวาสญาณในปฐมยาม

บรรลุจุตูปปาตญาณ ในมัชฌิมยาม หยั่งพระญาณลงในปัจจยาการ ในที่

สุดปัจฉิมยาม, ในเวลาอรุณขึ้นทรงแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ ซึ่งประดับ

๑. รู้จักระลึกชาติได้. ๒. รู้จักกำหนดจุติและเกิด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 120

ด้วยคุณทุกอย่าง มีทสพลญาณและจตุเวสารัชชญาณเป็นอาทิ ทรงยังกาม

ให้ผ่านไปที่ควงไม้โพธิถึง ๗ สัปดาห์, ในสัปดาห์ที่ ๘ ประทับนั่งที่โคน

ไม้อชปาลนิโครธ ทรงถึงความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ด้วยพิจารณาเห็นว่า

ธรรมเป็นสภาพลึกซึ้ง อันท้าวสหัมบดีพรหม ผู้มีมหาพรหมหมื่นหนึ่ง

เป็นบริวารเชื้อเชิญให้ทรงแสดงธรรม ทรงพิจารณาดูสัตวโลกด้วย

พุทธจักษุแล้ว ทรงรับคำเชิญของพรหม ทรงใคร่ครวญว่า " เราพึง

แสดงธรรมแก่ใครหนอแล เป็นคนแรก," ทรงทราบว่า อาฬารดาบส

และอุทกดาบสทำกาละแล้ว ทรงหวนระลึกถึงอุปการะมากของภิกษุปัญจ-

วัคคีย์ เสด็จลุกจากอาสนะไปยังกาสีบุรี ในระหว่างบรรดา ได้สนทนา

กับอุปกาชีวก ในวันอาสาฬหบุรณมีเสด็จถึงที่อยู่ของภิกษุปัญจวัคคีย์ ใน

ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงยังภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ซึ่งเรียกร้อง

(พระองค์) ด้วยถ้อยคำอันไม่สมควรให้สำนึกตัวแล้ว เมื่อจะยังพรหม

๑๘ โกฏิ มีพระอัญญาโกณฑัญญะเป็นประมุข ให้ดื่มน้ำอมตะ จึงทรง

แสดงพระธรรมจักร ทรงมีธรรมจักรบวรอันให้เป็นไปแล้ว, ในดิถีที่ ๕

แห่งปักษ์ ทรงยังภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด ให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต, วันเดียว

กันนั้น ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติของสกุลบุตรแล้ว ตรัสเรียกเขาซึ่งเบื่อ

หน่าย ละเรือนออกมาในตอนกลางคืนว่า " มานี่เถิด ยสะ " ทำเขาให้

บรรลุโสดาปัตติผลในตอนกลางคืนนั้นเอง ในวันรุ่งขึ้นให้ได้บรรลุพระ-

อรหัต ทรงยังสหายของยสะนั้น แม้พวกอื่นอีก ๕๔ คน ให้บรรพชา

ด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาแล้ว ให้ได้บรรลุพระอรหัต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 121

พระศาสดาทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนา

เมื่อพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖๑ พระองค์ ด้วยประการอย่างนี้

แล้ว, พระศาสดาเสด็จอยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว ทรงส่งภิกษุ ๖๐ รูป

ไปในทิศทั้งหลายด้วยพระพุทธดำรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยว

จาริกไปเถิด" ดังนี้เป็นต้น. ส่วนพระองค์เสด็จไปอุรุเวลาประเทศ ใน

ระหว่างทาง ได้ทรงแนะนำภัททวัคคิยกุมาร ๓๐ คน ณ ราวป่ากัปปาสิก-

วัน, บรรดาภัททวัคคิยกุมาร ๓๐ คนนั้น อย่างต่ำกว่าเขาทั้งหมด ได้

เป็นโสดาบัน, สูงกว่าเขาทั้งหมด ได้เป็นพระอนาคามี. พระองค์ทรง

ให้ภัททวัคคีย์ทั้งหมดแม้นั้น บรรพชาด้วยเอหิภิกขุภาวะอย่างเดียวกันแล้ว

ทรงส่งไปในทิศทั้งหลาย, ส่วนพระองค์เสด็จไปอุรุเวลาประเทศ ทรง

แสดงปาฏิหาริย์สามพันห้าร้อยอย่างแนะนำชฎิล ๓ พี่น้อง ซึ่งมีชฎิลพัน

คนเป็นบริวาร มีอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น ให้บรรพชาด้วยเอหิภิกขุภาวะ

เช่นเดียวกันแล้ว ให้ประชุมกันที่คยาสีสประเทศ ให้ตั้งอยู่ในพระอรหัต

ด้วยอาทิตตปริยายเทศนา แวดล้อมด้วยพระอรหันต์พันองค์นั้นเสด็จไปสู่

อุทยานลัฏฐิวัน ใกล้แดนพระนครราชคฤห์ ด้วยทรงพระดำริว่า "จัก

เปลื้องปฏิญญา ที่ถวายไว้แก่พระเจ้าพิมพิสาร" ตรัสพระธรรมกถา

อันไพเราะแด่พระราชา ผู้ทรงสดับข่าวว่า "ทราบว่า พระศาสดา

เสด็จมาแล้ว" เสด็จมาเฝ้า พร้อมด้วยพราหมณ์และคฤหบดี ๑๒ นหุต

ยังพระราชากับพราหมณ์และคฤหบดี ๑๑ นหุต ให้ตั้งอยู่ในพระโสดา-

ปัตติผล อีกนหุตหนึ่งให้ตั้งอยู่ในสรณะ ๓, วันรุ่งขึ้น มีพระคุณอันท้าว

๑. ไร่ฝ้าย. ๒. ๑ นหุต = ๑๐,๐๐๐ คน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 122

สักกเทวราชทรงแปลงเพศเป็นมาณพชมเชยแล้ว เสด็จเข้าไปสู่พระนคร

ราชคฤห์ ทรงทำภัตกิจในพระราชนิเวศน์ ทรงรับเวฬุวนาราม ประ-

ทับอยู่ในเวฬุวนารามนั้นนั่นแล. พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ เข้า

ไปเฝ้าพระองค์ในเวฬุวนารามนั้น.

อนุปุพพีกถาในเรื่องพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะนั้น ดังต่อ

ไปนี้ :-

ประวัติพระสารีบุตรและโมคคัลลานะ

ความพิสดารว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติแล้วนั่นแล. ได้มี

บ้านพราหมณ์ ๒ ตำบล คือ อุปติสสคาม ๑ โกลิตคาม ๑ ในที่ไม่

ไกลแต่กรุงราชคฤห์. ในสองบ้านนั้น ในวันที่นางพราหมณีชื่อสารี

ในอุปลิสสคามตั้งครรภ์นั่นแล. แม้นางพราหมณีชื่อโมคคัลลีในโกสิตคาม

ก็ตั้งครรภ์. ได้ยินว่า ตระกูลทั้งสองนั้น ได้เป็นสหายเกี่ยวพัน

สืบเนื่องกันมาถึง ๗ ชั่วตระกูลทีเดียว. พราหมณ์ผู้สามีได้ให้พิธี

บริหารครรภ์แก่พราหมณีทั้งสองนั้น ในวันเดียวกันเหมือนกัน. โดย

กาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางพราหมณีทั้งสองนั้นก็คลอดบุตร. ใน

วันขนานชื่อ พวกญาติตั้งชื่อบุตรของสารีพราหมณีว่า "อุปติสสะ"

เพราะเป็นบุตรของตระกูลนายบ้าน ในตำบลอุปติสสคาม, ตั้งชื่อ

บุตรของโมคคัลลีพราหมณีว่า "โกลิตะ" เพราะเป็นบุตรของตระกูล

นายบ้านในตำบลโกลิตคามนอกนี้. เด็กทั้งสองนั้นถึงความเจริญแล้ว

ได้ถึงความสำเร็จแห่งศิลปะทุกอย่าง. ในเวลาไปสู่แม่น้ำหรือสวนเพื่อ

ประโยชน์จะเล่น อุปติสสมาณพมีเสลี่ยงทองคำ ๕๐๐ เป็นเครื่องแห่

๑. เป็นมูลเหตุแห่งการถวายวัดในพระพุทธศาสนา ในการต่อ ๆ มา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 123

แหน, ไกลิตมาณพมีรถเทียมด้วยม้าอาชาไนย ๕๐๐ เป็นเครื่องแห่แหน,

ชนทั้งสองมีมาณพเป็นบริวารคนละ ๕๐๐. ก็ในกรุงราชคฤห์มีมหรสพ

บนยอดเขาทุก ๆ ปี. หมู่ญาติได้ยกเตียงซ้อนกันเพื่อกุมารทั้งสองนั้น

ในทีเดียวกันนั่นเอง. แม้กุมารทั้งสองก็นั่งดูมหรสพร่วมกัน ย่อม

หัวเราะในฐานะควรหัวเราะ ย่อมถึงความสังเวชในฐานะที่ควรสังเวช

ย่อมตกรางวัลในฐานะที่ควรตกรางวัล. วันหนึ่ง เมื่อกุมารทั้งสองเหล่า

นั้นดูมหรสพโดยทำนองนี้ ความหัวเราะในฐานะที่ควรหัวเราะ หรือความ

สังเวชในฐานะที่ควรสังเวช หรือตกรางวัลในฐานะที่ควรตกรางวัล มิได้

มีแล้วเหมือนในวันก่อน ๆ เพราะญาณถึงความแก่รอบแล้ว. ก็ชนทั้งสอง

คิดกันอย่างนี้ว่า "จะมีอะไรเล่า ? ที่น่าดูในการนี้, ชนทั้งหมดแม้นี้

เมื่อยังไม่ถึง ๑๐ ปี, ก็จักถึงความเป็นสภาพหาบัญญัติมิได้, ก็เราทั้งสอง

ควรแสวงหาธรรมเครื่องพ้นอย่างเอก" ดังนี้แล้ว ถือเอาเป็นอารมณ์

นั่งอยู่แล้ว. ลำดับนั้น โกลิตะพูดกะอุปติสสะว่า "อุปติสสะผู้สหาย

ไฉน ? ท่านจึงไม่หัวเราะรื่นเริงเหมือนในวันอื่น ๆ, วันนี้ ท่านมีใจ

ไม่เบิกบาน ท่านกำหนดอะไรได้หรือ ?" อุปติสสะนั้นกล่าวว่า "โกลิตะผู้

สหาย เรานั่งคิดถึงเหตุนี้ว่า 'ในการดูคนเหล่านี้ หาสาระมิได้, การดูนี้

ไม่มีประโยชน์, เราควรแสวงหาโมกขธรรมเพื่อตน,' ก็ท่านเล่า เพราะ

เหตุไร ? จึงไม่เบิกบาน." แม้โกลิตะนั้น ก็บอกอย่างนั้นเหมือนกัน.

ลำดับนั้น อุปติสสะ ทราบความที่โกลิตะนั้นมีอัธยาศัยเช่นเดียวกันกับตน

จึงกล่าวว่า "สหายเอ๋ย เราทั้งสองคิดกันดีแล้ว, ก็เราควรแสวงหา

โมกขธรรม, ธรรมดาผู้แสวงหา ต้องได้บรรพชาชนิดหนึ่งจึงควร, เรา

ทั้งสองจะบรรพชาในสำนักใครเล่า ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 124

สองสหายทำกติกากัน

ก็โดยสมัยนั้นแล สญชัยปริพาชก อาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์ กับ

ปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่. สารีบุตรและโมคคัลลานะทั้งสองนั้น ตกลง

กันว่า "เราจักบวชในสำนักท่านสญชัยนั้น," ต่างส่งมาณพ ๕๐๐ ไป

ด้วยคำว่า "ท่านทั้งหลายจงเอาเสลี่ยงและรถไปเถิด ." พร้อมด้วย

มาณพ ๕๐๐ บวชแล้วในสำนักของสญชัย. จำเดิมแต่เขาทั้งสองบวชแล้ว

สญชัยก็ได้ถึงความเลิศด้วยลาภและยศอย่างเหลือเฟือ. ทั้งสองเรียนจบ

ลัทธิสมัยของสญชัยโดยสองสามวันเท่านั้น จึงถามว่า "ท่านอาจารย์

ลัทธิที่ท่านรู้ มีเพียงเท่านี้ หรือมีแม้ยิ่งกว่านี้ ?" เมื่อสญชัยตอบว่า

"มีเพียงเท่านี้แหละ, เธอทั้งสองรู้จบหมดแล้ว." เขาทั้งสองจึงคิดกันว่า

"เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ ในสำนักของท่านผู้นี้ก็ไม่

มีประโยชน์ เราทั้งสองออกมาเพื่อแสวงหาโมกขธรรม, โมกขธรรมนั้น

เราไม่สามารถให้เกิดขึ้นได้ในสำนักของท่านผู้นี้, อันชมพูทวีปใหญ่นัก,

เราเที่ยวไปยังคามนิคม ชนบท และราชธานี คงจักได้อาจารย์ผู้แสดง

โมกขธรรมสักคนเป็นแน่ ." ตั้งแต่นั้น ใครพูดในที่ใด ๆ ว่า "สมณ-

พราหมณ์ผู้บัณฑิต มีอยู่" เขาทั้งสองย่อมไปทำสากัจฉาในที่นั้น ๆ

ปัญหาที่เขาทั้งสองถามไป อาจารย์เหล่าอื่นหาอาจตอบได้ไม่, แต่เขา

ทั้งสองย่อมแก้ปัญหาของอาจารย์เหล่านั้นได้. เขาสอบสวนทั่วชมพูทวีป

อย่างนั้นแล้ว กลับมายังที่อยู่ของตน จึงทำกติกากันว่า "โกลิตะผู้สหาย

ในเราสองคน ผู้ใดได้บรรลุอมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอก (แก่กัน)."

เมื่อเขาทั้งสองทำกติกากันอย่างนั้นอยู่ พระศาสดาเสด็จถึงกรุงราช-

คฤห์ โดยลำดับดังที่กล่าวแล้ว ทรงรับเวฬุวันแล้ว ประทับอยู่ใน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 125

เวฬุวัน. ในกาลนั้น พระอัสสชิเถระ ในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ระหว่าง

พระอรหันต์ ๖๑ องค์ ที่พระศาสดาทรงส่งไปเพื่อประกาศคุณพระ-

รัตนตรัย ด้วยพระดำรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงจาริกไปเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมากเถิด," กลับมายังกรุงราชคฤห์แล้ว ใน

วันรุ่งขึ้น ท่านถือบาตรและจีวรไปสู่กรุงราชคฤห์เพื่อบิณฑบาตแต่เช้าตรู่.

สมัยนั้น อุปติสสปริพาชก ทำภัตกิจแต่เช้าตรู่แล้ว ไปยังอาราม

ของปริพาชก พบพระเถระ จึงคิดว่า "อันนักบวชเห็นปานนี้เรายังไม่

เคยพบเลย, ภิกษุรูปนี้ (คง) จะเป็นผู้หนึ่งบรรดาผู้ที่เป็นพระอรหันต์

หรือผู้บรรลุพระอรหัตมรรคในโลก. ไฉนหนอเราพึงเข้าไปหาภิกษุนี้แล้ว

ถามว่า "ท่านผู้มีอายุ ท่านบวชอุทิศเฉพาะใคร ? ใครเป็นศาสดาของ

ท่าน ? หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร ?"

ทีนั้น ความปริวิตกนี้ได้มีแก่เขาว่า "กาลนี้มิใช่กาลควรถาม

ปัญหากะภิกษุนี้แล, ภิกษุนี้กำลังเข้าไปสู่ละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาต, ถ้า

กระไร เราเมื่อแสวงหาโมกขธรรมที่คนผู้ต้องการรู้แล้ว ควรติดตาม

ภิกษุรูปนี้ไปข้างหลัง ๆ." เขาเห็นพระเถระได้บิณฑบาตแล้ว ไปสู่

โอกาสแห่งใดแห่งหนึ่ง และทราบความที่พระเถระนั้นประสงค์จะนั่ง จึง

ได้จัดตั่งของปริพาชกสำหรับตนถวาย. แม้ในเวลาที่ท่านฉันเสร็จแล้ว

ก็ได้ถวายถวายน้ำในกุณโฑของตนแด่พระ.เถระ. ครั้นทำอาจาริยวัตรอย่างนั้น

แล้ว จึงทำปฏิสันถารอย่างจับใจกับพระเถระซึ่งฉันเสร็จแล้ว เรียนถาม

อย่างนี้ว่า "ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก, ผิวพรรณบริสุทธิ์

ผุดผ่อง, ท่านผู้มีอายุ ท่านบวชอุทิศเฉพาะใคร ? ใครเป็นศาสดาของ

ท่าน ? หรือท่านชอบใจธรรมของใคร ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 126

พระอัสสชิแสดงหัวใจพระศาสนา

พระเถระคิดว่า "ธรรมดาปริพาชกเหล่านี้ ย่อมเป็นปฏิปักษ์ต่อ

พระศาสนา, เราจักแสดงความลึกซึ้งในพระศาสนาแก่ปริพาชกนี้," เมื่อ

จะแสดงความที่ตนบวชใหม่ จึงกล่าวว่า "ผู้มีอายุ เราแลเป็นผู้ใหม่

บวชแล้วไม่นาน เพิ่งมาสู่ธรรมวินัยนี้, เราจักไม่สามารถแสดงธรรม

โดยพิสดารก่อน." ปริพาชกเรียนว่า "ข้าพเจ้าชื่ออุปติสสะ, ขอพระผู้

เป็นเจ้ากล่าวตามสามารถเถิด จะน้อยหรือมากก็ตาม ข้อนั้นเป็นภาระ

ของข้าพเจ้า เพื่อแทงตลอดด้วย ๑๐๐ นัย ๑,๐๐๐ นัย" ดังนี้แล้ว

เรียนว่า

" จะมากหรือน้อยก็ตาม ขอพระผู้เป็นเจ้า จง

กล่าวเถิด, จงบอกแก่ข้าพเจ้าแต่ใจความเท่านั้น,

ข้าพเจ้าต้องการใจความ จะต้องทำพยัญชนะ

ให้มากไปทำไม."

เมื่อเขาเรียนอย่างนั้นแล้ว, พระเถระจึงกล่าวคาถาว่า

"ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระ-

ตถาคตตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และเหตุ

แห่งความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะ

มีปกติตรัสอย่างนี้."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 127

สองสหายสำเร็จพระโสดาบัน

ปริพาชก ฟังเพียง ๒ บทต้นเท่านั้น ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

อันถึงพร้อมด้วยนัยพันหนึ่ง, พระเถระยัง ๒ บทนอกนี้ให้จบลง ใน

เวลาเขาเป็นพระโสดาบัน. เขาเป็นพระโสดาบันแล้ว เมื่อคุณวิเศษ

ชั้นสูงยังไม่เป็นไปอยู่. ก็คาดว่า "เหตุในสิ่งนี้จักมี" จึงเรียนกะพระ-

เถระว่า "ท่านขอรับ ท่านไม่ต้องขยายธรรมเทศนายิ่งขึ้นไป เพียง

เท่านี้ก็พอ พระศาสดาของพวกเราประทับอยู่ที่ไหน ?" พระเถระตอบว่า

" ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ผู้มีอายุ." เขาเรียนว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ถ้ากระนั้น ขอท่านโปรดล่วงหน้าไปก่อนเถิด ข้าพเจ้า มีเพื่อนอีกคน

หนึ่ง และข้าพเจ้าทั้งสองได้ทำกติกากะกันและกันไว้ว่า 'ผู้ใดบรรลุอมตะ

ก่อน ผู้นั้นจงบอกกัน' ข้าพเจ้าเปลื้องปฏิญญานั้นแล้ว จักพาสหายไป

สำนักพระศาสดา ตามที่ท่านไปแล้วนั่นแล" ดังนี้แล้ว หมอบลงแทบ

เท้าทั้งสองของพระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ทำประทักษิณ ๓ รอบ

ส่งพระเถระไปแล้ว ได้บ่ายหน้าไปสู่อารามของปริพาชกแล้ว. โกลิต-

ปริพาชกเห็นเขามาแต่ไกล คิดว่า "วันนี้สีหน้าสหายของเราไม่เหมือน

ในวันอื่น ๆ เขาคงได้บรรลุอมตะ โดยแน่แท้" จึงถามถึงการบรรลุ

อมตะ. แม้อุปติสสปริพาชกนั้นก็รับว่า "เออ ผู้มีอายุ อมตะเราได้บรรลุ

แล้ว" ได้ภาษิตคาถานั้นนั่นแลแก่โกลิตปริพาชกนั้น.

ในกาลจบคาถา โกลิตะดำรงอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว จึงกล่าว

ว่า "สหาย ข่าวว่า พระศาสดาของพวกเราประทับอยู่ที่ไหน ?"

๑. เบญจางคประดิษฐ์ ได้แก่ การตั้งไว้เฉพาะซึ่งอวัยวะ ๕ คือ หน้าผาก ๑ ฝ่ามือทั้งสอง

และเข่าทั้งสองจดลงที่พื้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 128

อุ. ข่าวว่า ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน สหาย ข่าวนี้ ท่าน

อัสสชิเถระ พระอาจารย์ของเราบอกไว้แล้ว.

ก. สหาย ถ้ากระนั้น เราไปเฝ้าพระศาสดาเถิด.

สองสหายชวนสญชัยไปเฝ้าพระศาสดา

ก็ธรรมดาพระสารีบุตรเถระนี้ ย่อมเป็นผู้บูชาอาจารย์แม้ในกาลทุก

เมื่อเทียว เพราะฉะนั้น จึงกล่าวกะสหายอย่างนี้ว่า "สหาย เราจักบอก

อมตะที่เราทั้งสองบรรลุ แก่สญชัยปริพาชกผู้อาจารย์ของเราบ้าง. ท่านรู้

อยู่ก็จักแทงตลอด, เมื่อไม่แทงตลอด, เชื่อพวกเราแล้วจักไปยังสำนัก

พระศาสดา, สดับเทศนาของพุทธบุคคลทั้งหลายแล้ว จักทำการแทง

ตลอดซึ่งมรรคและผล."

ลำดับนั้น ทั้งสองคนก็ได้ไปสู่สำนักของท่านสญชัย. สญชัยพอเห็น

เขาจึงถามว่า "พ่อทั้งสอง พวกพ่อได้ใครที่แสดงทางอมตะแล้วหรือ ?"

สหายทั้งสองจึงเรียนว่า "ได้แล้วขอรับ ท่านอาจารย์ พระพุทธเจ้าเสด็จ

อุบัติขึ้นแล้วในโลก, พระธรรมก็อุบัติขึ้นแล้ว, พระสงฆ์ก็อุบัติขึ้นแล้ว,

ท่านอาจารย์ประพฤติธรรมเปล่า ไร้สาระ เชิญท่านมาเถิด เราทั้งหลาย

จักไปยังสำนักพระศาสดา."

ส. ท่านทั้งสองไปเถิด, ข้าพเจ้าไม่สามารถ.

สห. เพราะเหตุไร ?

ส. เราเทียวเป็นอาจารย์ของมหาชนแล้ว. การอยู่เป็นอันเตวาสิก

ของเรานั้น เช่นกับเกิดความไหวแห่งน้ำในตุ่ม, เราไม่สามารถอยู่เป็น

อันเตวาสิกได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 129

สห. อย่าทำอย่างนั้นเลย ท่านอาจารย์.

ส. ช่างเถอะ พ่อ พ่อพากันไปเถอะ, เราจักไม่สามารถ.

สห. ท่านอาจารย์ จำเดิมแต่กาลแห่งพระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้น

ในโลก มหาชนมีของหอมระเบียบดอกไม้เป็นต้นในมือไปบูชาพระองค์

เท่านั้น, แม้กระผมทั้งสองก็จักไปในที่นั้นเหมือนกัน, ท่านอาจารย์จะทำ

อย่างไร ?

ส. พ่อทั้งสอง ในโลกนี้ มีคนเขลาหากหรือมีคนฉลาดมาเล่า ?

สห. คนเขลามากขอรับ ท่านอาจารย์ อันคนฉลาดมีเพียงเล็ก

น้อย.

ส. พ่อทั้งสอง ถ้ากระนั้น พวกคนฉลาด ๆ จักไปสู่สำนัก

พระสมณโคดม, พวกคนเขลา ๆ จักมาสู่สำนักเรา พ่อไปกันเถิด เรา

จักไม่ไป.

สหายทั้งสองนั้นจึงกล่าวว่า "ท่านอาจารย์ ท่านจักปรากฏเอง"

ดังนี้แล้ว หลีกไป. เมื่อสหายทั้งสองนั้นไปอยู่. บริษัทของสญชัยแตก

กันแล้ว. ขณะนั้นอารามได้ว่างลง. สญชัยนั้นเห็นอารามว่างแล้ว ก็

อาเจียนออกเป็นเป็นโลหิตอุ่น. ในปริพาชก ๕๐๐ คน ซึ่งไปกับสหาย

ทั้งสองนั้น บริษัทของสญชัย ๒๕๐ คนกลับแล้ว. สหายทั้งสองได้ไปสู่

พระเวฬุวัน พร้อมด้วยปริพาชก ๒๕๐ คน ผู้เป็นอันเตวาสิกของตน.

ศิษย์สำเร็จอรหัตผลก่อนอาจารย์

พระศาสดา ประทับนั่งแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท ๔ ทอด

พระเนตรเห็นปริพาชกเหล่านั้นแต่ไกลทีเดียว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 130

ด้วยพระดำรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย สองสหายนั่นกำลังมา คือโกลิตะ

และอุปติสสะ ทั้งสองนั่นจักเป็นคู่สาวกที่ดีเลิศของเรา." สองสหายนั้น

ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. เขาทั้งสองได้กราบทูล

คำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา พึงได้อุปสมบท

ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิดพระเจ้าข้า." พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ว่า "ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด, ธรรมเรากล่าวดีแล้ว จงประพฤติ

พรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบเถิด." คนทั้งหมดได้เป็นผู้

ทรงบาตรจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ราวกะว่าพระเถระ ๑๐๐ พรรษา.

ครั้งนั้น พระศาสดา ทรงขยายพระธรรมเทศนาด้วยอำนาจจริยา

แก่บริษัทของทั้งสองสหายนั้น เว้นพระอัครสาวกทั้งสองเสีย, ชนที่

เหลือ บรรลุพระอรหัตแล้ว. ก็กิจด้วยมรรคเบื้องสิ่งของพระอัครสาวก

ทั้งสองมิได้สำเร็จแล้ว.

ถามว่า "เพราะเหตุไร."

แก้ว่า "เพราะสาวกบารมีญาณเป็นของใหญ่."

ต่อมาในวันที่ ๒ แต่วันบวชแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

เข้าไปอาศัยหมู่บ้านกัลลวาละ ในแคว้นมคธอยู่, เมื่อถีนมิทธะครอบงำ,

อันพระศาสดาทรงให้สังเวชแล้ว บรรเทาถีนมิทธะได้ กำลังฟังพระธาตุ-

กรรมฐาน ที่พระตถาคตประทานแล้ว ได้ยังกิจในมรรค ๓ เบื้องบน

ให้สำเร็จ บรรลุที่สุดสาวกบารมีญาณแล้ว.

ฝ่ายพระสารีบุตร ล่วงได้กึ่งเดือนแต่วันบวช เข้าไปอาศัยกรุง

ราชคฤห์นั้นแหละ อยู่ในถ้ำสูกรขาตา กับด้วยพระศาสดา, เมื่อพระ-

๑. มหาโมคคัลลานสูตร. อัง. สัตตกะ. ๒๓/๗๗ ว่า กลฺลวาลมุตฺตคามก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 131

ศาสดาทรงแสดงเวทนาปริคคหสูตร แก่ทีฆนขปริพาชกผู้หลานของตน,

ส่งญาณไปตามกระแสแห่งพระสูตร ก็ได้บรรลุที่สุดสาวกบารมีญาณ

เหมือนผู้ที่บริโภคภัตที่เขาคดให้ผู้อื่น.

มีคำถามว่า "ก็ท่านพระสารีบุตร เป็นผู้มีปัญญามาก มิใช่หรือ ?

เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร จึงบรรลุสาวกบารมีญาณช้ากว่าพระมหา-

โมคคัลลานะ."

แก้ว่า "เพราะมีบริกรรมมาก." เหมือนอย่างว่า พวกคนเข็ญใจ

ประสงค์จะไปในที่ไหน ๆ ก็ออกไปได้รวดเร็ว, ส่วนพระราชาต้องได้

ตระเตรียมมาก มีการตระเตรียมช้างพระราชพาหนะเป็นต้น จึงสมควร

ฉันใด, อุปไมยนี้ พึงทราบฉันนั้น.

พวกภิกษุติเตียนพระศาสดา

ก็ในเวลาบ่ายวันนั้นเอง พระศาสดา ทรงประชุมพระสาวกที่

พระเวฬุวัน ประทานตำแหน่งพระอัครสาวกแก่พระเถระทั้งสองแล้วทรง

แสดงพระปาติโมกข์.

พวกภิกษุ ติเตียนกล่าวว่า "พระศาสดา ประทาน [ตำแหน่ง]

แก่ภิกษุทั้งหลาย โดยเห็นแก่หน้า, อันพระองค์เมื่อจะประทานตำแหน่ง

อัครสาวก ควรประทานแก่พระปัญจวัคคีย์ผู้บวชก่อน. เมื่อไม่เหลียวแล

ถึงพระปัญจวัคคีย์เหล่านั่น ก็ควรประทานแก่ภิกษุ ๕๕ รูป มีพระยส-

เถระเป็นประมุข, เมื่อไม่เหลียวแลถึงภิกษุเหล่านั่น ก็ควรประทานแก่

พระพวกภัทรวัคคีย์. เมื่อไม่เหลียวแลถึงพระพวกภัทรวัคคีย์เหล่านั่น ก็

๑. ม. ม. ๑๓/๒๖๒ เป็น ทีฆนขสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 132

ควรประทานแก่ภิกษุ ๓ พี่น้อง มีพระอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น, แต่พระ-

ศาสดา ทรงละเลยภิกษุเหล่านั้นมีประมาณถึงเพียงนี้ เมื่อจะประทาน

ตำแหน่งอัครสาวก ก็ทรงเลือกหน้าประทานแก่ผู้บวชภายหลังเขา

ทั้งหมด."

บุรพกรรมของพระอัญญาโกณฑัญญะ

พระศาสดา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไร

กัน ?" เมื่อภิกษุทั้งหลายทูลว่า "เรื่องชื่อนี้" จึงตรัสว่า "ภิกษุ

ทั้งหลาย เราหาเลือกหน้าให้ (ตำแหน่ง) แก่พวกภิกษุไม่, แต่เราให้

ตำแหน่งที่แต่ละคน ๆ ปรารถนาแล้ว ๆ นั่นแล แก่ภิกษุเหล่านี้, ก็

อัญญาโกณฑัญญะ เมื่อถวายทานเนื่องด้วยข้าวกล้าอันเลิศ ๙ ครั้ง ใน

คราวข้าวกล้าคราวหนึ่ง ก็หาได้ปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกถวายไม่ แต่

ได้ปรารถนาเพื่อแทงตลอดพระอรหัต อันเป็นธรรมเลิศก่อนสาวกทั้งหมด

แล้วถวาย." ภิกษุทั้งหลาย ทูลถามว่า "เมื่อไร ? พระเจ้าข้า."

พระศาสดาทรงย้อนถามว่า "พวกเธอจักฟังหรือ ? ภิกษุทั้งหลาย."

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับว่า "ฟัง พระเจ้าข้า." ่

พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย แต่กัลป์นี้ไปอีก ๙๑ กัลป์

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าวิปัสสี เสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก. ใน

กาลนั้น กุฎุมพี ๒ พี่น้อง คือมหากาล จุลกาล ให้หว่านนาข้าวสาลีไว้มาก.

ต่อมาวันหนึ่ง จุลกาลไปนาข้าวสาลี ฉีกข้าวสาลีกำลังท้องต้นหนึ่งแล้ว

ชิมดู. ได้มีรสอร่อยมาก. เขาปรารถนาจะถวายสาลีคัพภทานแด่พระสงฆ์

๑. ขุ. พุ. ๓๓/ ๕๑๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 133

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข จึงเข้าไปหาพี่ชายแล้วพูดว่า "พี่ ฉันจะฉีก

ข้าวกำลังท้อง ต้มให้เป็นของควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ถวาย

ทาน." พี่ชายกล่าวว่า "เจ้าพูดอะไร ? อันการฉีกข้าวสาลีกำลังท้อง

ทำทานไม่เคยมีแล้วในอดีต จักไม่มีในอนาคต, เจ้าอย่าทำข้าวกล้าให้

เสียหายเลย." เขาอ้อนวอนแล้ว ๆ เล่า ๆ. ครั้งนั้นพี่ชายจึงพูดกะเขาว่า

"ถ้ากระนั้น เจ้าต้องปันนาเป็น ๒ ส่วน อย่าแตะต้องส่วนของเรา จง

ทำส่วนที่เจ้าปรารถนาในนาอันเป็นส่วนของตน." เขารับว่า "ดีแล้ว"

แบ่งนากันแล้ว ได้ขอแรงมือกะมนุษย์เป็นอันมากฉีกข้าวสาลีท้อง ให้

เคี่ยวเป็นน้ำนมจนข้นปรุงด้วยเนยใส น้ำผึ้ง และน้ำตาลกรวด ถวายทาน

แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ในกาลเสร็จภัตกิจกราบทูลว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทานอันเลิศของข้าพระองค์นี้ จงเป็นไปเพื่อ

ความแทงตลอดธรรมอันเลิศก่อนกว่าสาวกทั้งปวง. พระศาสดาตรัสว่า

"จงเป็นอย่างนั้นเถิด" แล้วได้ทรงทำอนุโมทนา. เขาไปนาตรวจดูอยู่

เห็นนาแน่นหนาด้วยรวงข้าวสาลี เหมือนเขามัดไว้เป็นช่อ ๆ ในนาทั้งสิ้น

ได้ปีติ ๕ อย่างแล้ว คิดว่า "เป็นลาภของเราหนอ" ถึงหน้าข้าวเม่า

ได้ถวายทานเลิศด้วยข้าวเม่า, ได้ถวายทานอันเนื่องด้วยข้าวกล้าอย่างเลิศ

พร้อมกับชาวบ้านทั้งหลาย, หน้าเกี่ยวได้ถวายทานอันเลิศในการเกี่ยว,

คราวทำขะเน็ด ได้ถวายทานอันเลิศในการขะเน็ด ในคราวมัดฟ่อน

เป็นต้น ก็ได้ถวายทานอันเลิศในการมัดฟ่อน อันเลิศในลอม...อันเลิศ

ในฉาง . . . ได้ถวายทานอันเลิศรวม ๙ ครั้ง ในหน้าข้าวคราวหนึ่ง

๑. ปีติ ๕ คือ ขุททกาปีติ ปีติอย่างน้อย, ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ, โอกกันติกาปีติ ปีติเป็น

พัก ๆ. อุพเพงคาปีติ ปีติอย่างโลดโผน, ผรณาปีติ ปีติอย่างซาบซ่าน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 134

ด้วยประการอย่างนี้. ที่แห่งข้าวอันเขาถือเอาแล้ว ๆ ได้เต็มดังเดิม

ทุก ๆ ครั้งไป. ข้าวกล้าได้งอกงามสมบูรณ์ขึ้นเป็นอย่างยิ่ง, ชื่อว่าธรรมนี้

ย่อมรักษาซึ่งผู้รักษาตน. (สมดังที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ว่า)

" ธรรมแล ย่อมรักษาผู้มีปกติประพฤติธรรม

ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ นี้เป็น

อานิสงส์ในธรรมที่เขาประพฤติดี ผู้ประพฤติ

ธรรมเป็นปกติ ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ.

อัญญาโกณฑัญญะ ปรารถนาเพื่อแทงตลอดธรรมอันเลิศก่อน

[ เขา] จึงได้ถวายทานอันเลิศ ๙ ครั้ง ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

พระนามว่าวิปัสสี ด้วยประการอย่างนี้แล.

อนึ่ง แม้ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ ในหง-

สาวดีนคร ในที่สุดแสนกัลป์แต่นี้ไป เขาถวายมหาทานตลอด ๗ วันแล้ว

หมอบลงแทบบาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ตั้งปรารถนา

เพื่อแทงตลอดธรรมอันเลิศก่อน [ เขา ] เหมือนกัน. เราได้ให้ผลที่

อัญญาโกณฑัญญะนี้ปรารถนาแล้วทีเดียว ด้วยประการฉะนี้. เราหาได้

เลือกหน้าให้ไม่."

บุรพกรรมของชน ๕๕ คนมียสกุลบุตรเป็นต้น

ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า "ชน ๕๕ คน มียสกุลบุตรเป็นประมุข

ทำกรรมอะไรไว้ พระเจ้าข้า."

๑. ขุ. ชา. ๗๒/๒๙๐ ขุ. เถร. ๒๑/๓๑๔. ๒.ขุ. พุ. ๓๓/๔๖๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 135

พระศาสดา ตรัสว่า "แม้ชน ๕๕ นั้น ปรารถนาพระอรหัต

ในสำนักพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ทำกรรมที่เป็นบุญไว้มากแล้วภายหลัง

เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น, เป็นสหายกัน ทำบุญร่วมเป็นพวกกัน

เที่ยวจัดแจงศพคนไร้ที่พึ่ง. วันหนึ่ง พวกเขาพบหญิงตายทั้งกลม

ตกลงว่า "จักเผา" จึงนำไปป่าช้า ในชนเหล่านั้นพักไว้ในป่าช้า ๕ คน

ด้วยสั่งว่า "พวกท่านจงเผา" ที่เหลือเข้าไปบ้าน. นายยสเอาหลาว

แทงศพนั้น พลิกกลับไปกลับมาเผาอยู่ ได้อสุภสัญญาแล้ว. เขาแสดงแก่

สหาย ๓ คนแม้นอกนี้ว่า "ท่านผู้เจริญ พวกท่านจงดูศพนี้ มีหนังลอก

แล้วในที่นั้น ๆ ดุจรูปใดด่าง ไม่สะอาด เหม็น น่าเกลียด." ทั้ง ๔ คน

นั้นก็ได้อสุภสัญญาในศพนั้น. เขา ๕ คนไปบ้านบอกแก่สหายที่เหลือ.

ส่วนนายยสไปเรือนแล้วได้บอกแก่มารดาบิดาและภรรยา. คนทั้งหมดนั้น

ก็เจริญอสุภสัญญาแล้ว นี้เป็นบุรพกรรมของคน ๕๕ คน มียสกุลบุตรเป็น

ประมุขนั้น. เพราะฉะนั้นแล ความสำคัญในเรือนอันเกลื่อนด้วยสตรี

เป็นดุจป่าช้าจึงเกิดแก่นายยส. แลด้วยอุปนิสัยสมบัตินั้น การบรรลุคุณ

วิเศษจึงเกิดขึ้นแก่พวกเขาทั้งหมด. คนเหล่านั้นได้รับผลที่ตนปรารถนาแล้ว

เหมือนกัน ด้วยประการอย่างนี้. หาใช่เราเลือกหน้าให้ไม่."

บุรพกรรมของภัทรวัคคีย์ ๓๐ คน

ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า "ก็พระภัทรวัคคีย์ผู้เพื่อนกันได้ทำกรรม

อะไรไว้เล่า ? พระเจ้าข้า."

๑. อนาถสรีรานิ ปฏิชคฺคนฺตร. ๒. สคพฺภ อิตฺถึ กตกาล. ๓. ยสทารโก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 136

พระองค์ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย แม้พวกภัทรวัคคีย์นั่นก็ปรารถนา

พระอรหัต ในสำนักพระพุทธเจ้าในปางก่อนแล้วทำบุญ. ภายหลัง

เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่เสด็จอุบัติขึ้น, เป็นนักเลง ๓๐ คน ฟังตุณฑิโลวาท

แล้ว ได้รักษาศีล ๕ ตลอดหกหมื่นปี. แม้ภัทรวัคคีย์เหล่านี้ ก็ได้ผล

ที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ เหมือนกัน ด้วยประการอย่างนี้. หาใช่เราเลือก

หน้าให้ภิกษุทั้งหลายไม่."

บุรพกรรมของชฎิล ๓ พี่น้อง

ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็กัสสปะ ๓

พี่น้อง มีอุรุเวลกัสสปะเป็นต้น ทำกรรมอะไรไว้เล่า ?"

พระองค์ตรัสว่า "เขาปรารถนาพระอรหัตเหมือนกัน ทำบุญ

แล้ว. ก็ใน ๙๒ กัลป์แต่นี้ไป พระพุทธเจ้า ๒ พระองค์คือ พระติสสะ

พระผุสสะ เสด็จอุบัติแล้ว พระราชาพระนามว่ามหินท์ได้เป็นพระบิดา

ของพระพุทธเจ้า ทรงพระนามว่าผุสสะ ก็เมื่อพระองค์ทรงบรรลุ

พระสัมโพธิแล้ว. พระโอรสองค์เล็กของพระราชาได้เป็นพระอัครสาวก

บุตรปุโรหิตได้เป็นพระสาวกที่ ๒. พระราชาได้เสด็จไปยังสำนักพระ-

ศาสดา ทรงตรวจดูชนเหล่านั้นว่า "ราชโอรสองค์ใหญ่ของเราเป็น

พระพุทธเจ้า. ราชโอรสองค์เล็กเป็นอัครสาวก, บุตรปุโรหิตเป็นพระ-

สาวกที่ ๒" ทรงเปล่งพระอุทาน ๓ ครั้งว่า "พระพุทธเจ้าของข้าพเจ้า,

พระธรรมของข้าพเจ้า. พระสงฆ์ของข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่

๑. ขุ. พุ. ๓๓/๕๐๗. ๒. ขุ. พุ. ๓๓/๕๑๑ ก็ในที่นั้นปรากฏว่า ปุสสะ. และพระบิดา

ของพระองค์ พระนามว่า ชยเสนะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 137

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พระอรหันต์ตรัสรู้ชอบเองพระองค์นั้น" ดังนี้

แล้ว หมอบลงแทบบาทมูลของพระศาสดา ทรงรับปฏิญญาว่า "ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้เป็นดุจเวลาที่หม่อมฉันนั่งหลับ ในที่สุดอายุ

ประมาณเก้าหมื่นปี, ขอพระองค์อย่าเสด็จไปสู่ประตูเรือนของชนเหล่าอื่น

จงทรงรับปัจจัย ๔ ของหม่อมฉัน ตลอดเวลา ที่หม่อมฉันยังมีชีวิตอยู่"

ดังนี้แล้ว ทรงทำพุทธอุปัฏฐากเป็นประจำ, อนึ่ง พระราชาทรงมีพระ-

ราชโอรสอื่นอีก ๓ พระองค์. บรรดาพระราชโอรส ๓ พระองค์เหล่านั้น

พระองค์ใหญ่มีนักรบเป็นบริวาร ๕๐๐ พระองค์กลางมี ๓๐๐, พระองค์

เล็กมี ๒๐๐. พระราชโอรส ๓ พระองค์เหล่านั้น ทูลขอโอกาสกะ

พระบิดาว่า "แม้หม่อมฉันทั้งหลายจักนิมนต์พระเจ้าพี่เสวย," แม้ทูล

อ้อนวอนอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่ได้, เมื่อปัจจันตชนบทกำเริบแล้ว, ถูกส่งไป

เพื่อประโยชน์ระงับปัจจันตชนบทนั้น ปราบปัจจันตชนบทให้ราบคาบ

แล้ว มาสู่สำนักพระราชบิดา. ครั้งนั้น พระบิดาทรงสวมกอดพระโอรส

ทั้งสามเหล่านั้นแล้ว จุมพิตที่ศีรษะ ตรัสว่า "พ่อทั้งหลาย บิดาให้พร

แก่พวกเจ้า." พระโอรสทั้งสามนั้นทูลว่า "ดีละ พระเจ้าข้า," ทำพระพร

ให้เป็นอันถือเอาแล้ว, โดยกาลล่วงไปสองสามวัน พระบิดาตรัสอีกว่า

"พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าจงรับพรเสียเถิด," กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า

ความประสงค์ด้วยสิ่งไร ๆ อื่นของหม่อมฉันไม่มี. ตั้งแต่บัดนี้ หม่อมฉัน

จักนิมนต์พระเจ้าพี่เสวย, ขอพระราชทานพรนี้แก่หม่อมฉันเถิด."

ร. ให้ไม่ได้ พ่อ.

อ. เมื่อไม่พระราชทานเสมอไป ก็พระราชทานเพียง ๗ ปี.

ร. ให้ไม่ได้ พ่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 138

อ. ถ้ากระนั้น ก็พระราชทานเพียง ๖ ปี ๕ ปี ๔ ปี ๓ ปี ๒ ปี

๑ ปี ๗ เดือน ๖ เดือน ๕ เดือน ๔ เดือน ๓ เดือน.

ร. ให้ไม่ได้ พ่อ.

อ. ช่างเถิด พระเจ้าข้า. ขอทรงพระราชทานสัก ๓ เดือน แก่

ข้าพระองค์ทั้งหลาย คนละเดือน ๆ.

ร. ดีละ พ่อ, ถ้ากระนั้น เจ้าจงนิมนต์ให้เสวยได้ ๓ เดือน

ก็ขุนคลังของพระราชบุตรทั้งสามนั้นคนเดียวกัน, สมุห์บัญชีก็คน

เดียวกัน, ท่านทั้งสามพระองค์นั้น มีบุรุษ ๑๒ นหุตเป็นบริวาร.

พระราชโอรสทั้งสามรับสั่งให้เรียกบริวารเหล่านั้นมาแล้ว ตรัสว่า "เรา

ทั้งสามจักรับศีล ๑๐ นุ่งห่มผ้ากาสายะ ๒ ผืน อยู่ร่วมด้วยพระศาสดา

ตลอดไตรมาสนี้, พวกท่านพึงรับค่าใช้จ่ายมีประมาณเท่านี้ ยังของเคี้ยว

ของบริโภคทุกอย่างให้เป็นไปทั่วถึงแก่ภิกษุเก้าหมื่นรูป และนักรบของ

เราพันหนึ่ง, เพราะแต่นี้ไป พวกเราจักไม่พูดอะไร ๆ."

พระราชโอรสทั้งสามนั้น พาบุรุษบริวารพันหนึ่งสมาทานศีล ๑๐

นุ่งห่มผ้ากาสายะ อยู่แต่ในวิหาร. ขุนคลังและสมุห์บัญชี ได้ร่วมกัน

เบิกเสบียงตามวาระ ๆ จากเรือนคลังทั้งหลาย ของพระพี่น้องทั้งสาม

ถวายทานอยู่.

กินอาหารที่เขาอุทิศภิกษุสงฆ์ตายไปเป็นเปรต

ก็บุตรของพวกกรรมกร ร้องไห้ต้องการข้าวยาคูและภัตเป็นต้น.

กรรมกรเหล่านั้น เมื่อภิกษุสงฆ์ยังไม่ทันมา ก็ให้วัตถุมีข้าวยาคูและกัด

เป็นต้นแก่บุตรเหล่านั้น. ในเวลาที่ภิกษุสงฆ์ฉันเสร็จแล้วไม่เคยมีของ

อะไรเหลือเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 139

ในกาลต่อมา พวกกรรมกรเหล่านั้น พูดอ้างว่า "เราจะให้แก่

พวกเด็ก" ดังนี้แล้ว รับไปกินเสียเอง, เห็นอาหารแม้ที่ชอบใจก็ไม่

สามารถจะอดกลั้นได้. ก็พวกเขาไค้มีประมาณแปดหมื่นสี่พันคน. พวก

เขากินอาหารที่ถวายสงฆ์แล้ว เพราะกายแตกได้เกิดในเปรตวิสัยแล้ว.

ฝ่ายพระราชโอรส ๓ พี่น้อง พร้อมด้วยบุรุษพ้นหนึ่ง ทำกาละ

แล้วเกิดในเทวโลก ท่องเที่ยวจากเทวโลกสู่เทวโลก ยังกาลให้สิ้นไป

๙๒ กัลป์. พระราชโอรส ๓ พี่น้องนั้น ปรารถนาพระอรหัต ทำ

กัลยากรรมในกาลนั้น ด้วยประการอย่างนี้. ชฎิล ๓ พี่น้องนั้น ได้

รับผลที่ตนปรารถนาแล้วเหมือนกัน เราจะได้เลือกหน้าให้หามิได้.

ส่วนสมุห์บัญชีของพระราชโอรส ๓ พระองค์นั้น ในกาลนั้นได้

เป็นพระเจ้าพิมพิสาร. ขุนคลังได้เป็นวิสาขอุบาสก. กรรมกรของท่าน

ทั้ง ๓ นั้น เกิดแล้วในพวกเปรต ในกาลนั้น ท่องเที่ยวอยู่ด้วยสามารถ

แห่งสุคติและทุคติ ในกัลป์นี้ เกิดในเปตโลกนั้นแล สิ้น ๔ พุทธันดร.

พวกเปรตถามเวลาได้อาหารกะพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์

เปรตเหล่านั้น เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่ากกุสันธะผู้ทรง

พระชนมายุได้สี่หมื่นปี เสด็จอุบัติขึ้นก่อนพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ใน

กัลป์นี้ ทูลว่า "ขอพระองค์โปรดบอกกาลเป็นที่ได้อาหารแก่ข้าพระองค์

ทั้งหลาย."

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า "พวกท่านจักยังไม่ได้ในกาลของเรา

ก่อน, แต่ภายหลังแห่งเรา เมื่อมหาปฐพีงอกสูงขึ้นประมาณได้ ๑ โยชน์

พระพุทธเจ้าพระนามว่าโกนาคมนะ จักอุบัติขึ้น. พวกเจ้าพึงทูลถามพระ-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 140

องค์เถิด."

เปรตเหล่านั้น ยังกาลมีประมาณเท่านั้นให้สิ้นไปแล้ว เมื่อพระ-

พุทธเจ้าทรงพระนามว่าโกนาคมนะนั้นเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว จึงได้ทูลถาม

พระองค์ แม้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ตรัสว่า "พวกท่านจักยังไม่ได้

ในกายของเรา แต่ภายหลังแห่งเรา เมื่อมหาปฐพีงอกสูงขึ้นประมาณได้

๑ โยชน์ พระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะจักอุบัติขึ้น พวกเจ้าพึงทูลถาม

พระองค์เถิด."

เปรตเหล่านั้น ยังกาลมีประมาณเท่านั้นให้สิ้นไปแล้ว, เมื่อพระ-

พุทธเจ้าพระนามว่ากัสสปะนั้นเสด็จอุบัติขึ้นแล้ว, จึงทูลถามพระองค์. แม้

พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ก็ตรัสว่า "พวกเจ้าจักยังไม่ได้ในกาลของเรา

แต่ภายหลังแห่งเรา เมื่อมหาปฐพีงอกสูงขึ้นประมาณได้ ๑ โยชน์ พระ-

พุทธเจ้าพระนามว่า โคดม จักเสด็จอุบัติขึ้น, ในกาลนั้น ญาติของพวก

เจ้าจักเป็นพระราชาพระนามว่าพิมพิสาร พระเจ้าพิมพิสารนั้น ถวายทาน

แด่พระศาสดาแล้ว จักให้ส่วนกุศลทานถึงแก่พวกเจ้า พวกเจ้าจักได้

(อาหาร) ในคราวนั้น." พุทธันดรหนึ่ง ได้ปรากฏแก่เปรตเหล่านั้น

เหมือนวันพรุ่งนี้.

พวกเปรตพ้นทุกข์เพราะผลทาน

เปรตเหล่านั้น เมื่อพระตถาคตเสด็จอุบัติแล้ว, เมื่อพระเจ้าพิมพิ-

สารถวายทานในวันต้น. เปล่งเสียงร้องน่ากลัว แสดงตนแก่พระราชา

ในส่วนราตรีแล้ว, รุ่งขึ้น ท้าวเธอเสด็จมาสู่เวฬุวัน กราบทูลเรื่องนั้น

แด่พระตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 141

พระศาสดา ตรัสว่า "มหาบพิตร ในที่สุด ๙๒ กัลป์ แต่กัลป์

นี้ไป ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ พวกเปรตนั่นเป็นพระ-

ญาติของพระองค์ กินอาหารที่เขาถวายภิกษุสงฆ์ เกิดในเปตโลกแล้ว

ท่องเที่ยวอยู่ ได้ทูลถามพระพุทธเจ้าหลายพระองค์ที่เสด็จอุบัติขึ้น มีพระ-

กกุสันธะเป็นอาทิ อันพระพุทธเจ้าเหล่านั้นตรัสบอกคำนี้ ๆ แล้ว หวัง

เฉพาะทานของพระองค์ตลอดกาลเท่านี้. วานนี้เมื่อพระองค์ทรงถวายทาน

แล้ว ไม่ได้รับส่วนบุญ จึงได้ทำอย่างนี้." พระราชาทูลถามว่า "ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อหม่อมฉันถวายทานแม้ในบัดนี้ เปรตเหล่านั้น

จักได้รับหรือ ?"

พระศาสดา ตรัสว่า ได้ มหาบพิตร." พระราชา ทรงนิมนต์

ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ถวายมหาทานในวันรุ่งขึ้นแล้ว

ได้พระราชทานส่วนบุญว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าวน้ำอันเป็น

ทิพย์ จงสำเร็จแก่พวกเปรตเหล่านั้น แต่มหาทานนี้." ข้าวน้ำอันเป็นทิพย์

เกิดแล้วแก่เปรตเหล่านั้น เช่นนั้นเทียว. รุ่งขึ้น เปรตเหล่านั้นเปลือยกาย

แสดงตนแล้ว. พระราชาทูลว่า "วันนี้ พวกเปรตเปลือยกายแสดงตน

พระเจ้าข้า." พระศาสดาตรัสว่า "มหาบพิตร พระองค์มิได้ถวายผ้า."

รุ่งขึ้น พระราชาถวายผ้าจีวรทั้งหลาย แก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุขแล้ว ทรงให้ส่วนบุญว่า "ขอผ้าอันเป็นทิพย์ทั้งหลายจงสำเร็จ

แก่เปรตเหล่านั้น แต่จีวรทานนี้เถิด." ในขณะนั้นเอง ผ้าทิพย์เกิดขึ้นแก่

เปรตเหล่านั้นแล้ว. เปรตเหล่านั้นละอัตภาพของเปรต ดำรงอยู่โดย

อัตภาพอันเป็นทิพย์แล้ว. พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา ได้ทรง

ทำอนุโมทนาด้วยติโรกุฑฑสูตรว่า "ติโรกุฑฺเฑสุ ติฏฺนฺติ" เป็นอาทิ.

๑. ขุ. ขุ. ๒๕/๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 142

ในที่สุดอนุโมทนา ธรรมาภิสมัย ได้มีแก่สัตว์แปดหมื่นสี่พันแล้ว. พระ-

ศาสดา ครั้นตรัสเรื่องแห่งชฎิล ๓ พี่น้องแล้ว ทรงนำพระธรรมเทศนา

แม้นี้มาแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

บุรพกรรมของพระอัครสาวกทั้งสอง

ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า "ก็พระอัครสาวกทั้งสอง ได้ทำกรรมอะไร

ไว้ ? พระเจ้าข้า."

พระศาสดา ตรัสว่า "อัครสาวกทั้งสอง ทำความปรารถนาเพื่อเป็น

อัครสาวก. จริงอยู่ ในที่สุดอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์แต่กัลป์นี้ไป สารีบุตร

เกิดในสกุลพราหมณ์มหาศาล ได้มีนามว่าสรทมาณพ. โมคคัลลานะ เกิด

ในสกลคฤหบดีมหาศาล ได้มีนามว่า สิริวัฑฒกุฎุมพี. มาณพทั้งสองนั้น

ได้เป็นสหายเล่นฝุ่นร่วมกัน. สรทมาณพโดยล่วงไปแห่งบิดา ได้ครอบ

ครองทรัพย์เป็นอันมาก อันเป็นมรดกของสกุล. ในวันหนึ่ง อยู่ในที่ลับ

คิดว่า "เราย่อมรู้อัตภาพในโลกนี้เท่านั้น, หารู้อัตภาพในโลกหน้าไม่

อันธรรมดาความตายของสัตว์เกิดแล้วทั้งหลาย เป็นของเที่ยง. ควรที่เรา

บวชเป็นบรรพชิตอย่างหนึ่ง ทำการแสวงหาโมกขธรรม."

สรทมาณพนั้น เข้าไปหาสหายแล้วพูดว่า "สิริวัฑฒะผู้สหาย

ข้าพเจ้าจักบวชแสวงหาโมกขธรรม. ท่านจักอาจบวชกับเราหรือไม่อาจ."

สิริวัฑฒะตอบว่า "ข้าพเจ้าจักไม่อาจ สหาย ท่านบวชคนเดียวเถิด."

สรทมาณพนั้น คิดว่า "ธรรมดาผู้ไปสู่ปรโลก พาสหายหรือญาติมิตร

ไปด้วยไม่มี, กรรมที่คนทำแล้วย่อมเป็นของตนเอง." แต่นั้น สรทมาณพ

จึงให้เปิดเรือนคลังแก้วออก ให้มหาทานแก่คนกำพร้า คนเดินทาง วณิพก

๑. การบรรลุธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 143

และยาจกทั้งหลาย เข้าไปสู่เชิงเขา บวชเป็นฤษีแล้ว. ชนทั้งหลายบวช

ตามสรทะนั้นด้วยอาการอย่างนี้คือ ๑ คน ๒ คน ๓ คน จนมีชฏิลประ-

มาณพเจ็ดหมื่นสี่พันคน. สรทชฎิลนั้นยังอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิด

แล้ว บอกกสิณบริกรรมแก่ชฎิลเหล่านั้น. แม้ชฎิลทั้งหลายเหล่านั้น ก็

อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้เกิดขึ้นแล้ว.

โดยสมัยนั้น พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าอโนมทัสสี เสด็จอุบัติ

ขึ้นแล้วในโลก พระนครได้มีชื่อว่า จันทวดี. กษัตริย์พระนามว่ายสวันตะ

เป็นพระบิดา, พระเทวีพระนามว่าโสธรา เป็นพระมารดา. ไม้รกฟ้า

เป็นที่ตรัสรู้, พระอัครสาวกทั้งสอง ชื่อ นิสภะ ๑ ชื่อ อโนมะ ๑, อุปัฏ-

ฐากชื่อวรุณะ, อัครสาวิกาทั้งสอง นามว่า สุนทรา ๑ สุมนา ๑, พระ-

ชนมายุได้มีถึงแสนปี, พระสรีระสูงถึง ๕๘ ศอก, พระรัศมีแห่งพระสรีระ

แผ่ไปตลอด ๑๒ โยชน์. ภิกษุแสนหนึ่งเป็นบริวาร. วันหนึ่ง ในเวลา

ใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าอโนมทัสสีนั้น เสด็จออกจากมหา-

กรุณาสมาบัติ ทรงพิจารณาดูสัตว์โลกอยู่ ทอดพระเนตรเห็นสรทดาบส

แล้ว ทรงพระดำริว่า "เพราะเราไปสู่สำนักสรทดาบสในวันนี้เป็นปัจจัย

พระธรรมเทศนาจักมีคุณใหญ่ และสรทดาบสนั้น จักปรารถนาตำแหน่ง

พระอัครสาวก, สิริวัฑฒกุฎุมพีผู้สหายดาบสนั้น จักปรารถนาตำแหน่ง

อัครสาวกที่ ๒ ทั้งในกาลจบเทศนา ชฎิลเจ็ดหมื่นสี่พันบริวารของดาบสนั้น

จักบรรลุพระอรหัต; เราควรไปในที่นั้น." ดังนี้แล้ว ถือบาตรและจีวร

ของพระองค์ ไม่ตรัสเรียกใคร ๆ อื่น เสด็จไปพระองค์เดียวเหมือนพระยา

ราชสีห์ เมื่ออันเตวาสิกทั้งหลายของสรทดาบสไปแล้วเพื่อต้องการผลา-

ผล, ทรงอธิษฐานว่า ขอสรทดาบสจงทราบความที่เราเป็นพระพุทธเจ้า."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 144

เมื่อสรทดาบสเห็นอยู่นั่นเทียว เสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนบนแผ่นดิน

แล้ว.

สรทดาบส เห็นพระพุทธานุภาพและความสำเร็จแห่งพระสรีระ

สอบสวนมนต์สำหรับทำนายลักษณะ ก็ทราบได้ว่า "อันผู้ประกอบด้วย

ลักษณะเหล่านี้ เมื่ออยู่ในท่ามกลางเรือน ย่อมเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ,

เมื่อออกบวช ย่อมเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า มีกิเลสเครื่องมุงบังอันเปิด

แล้วในโลก. บุรุษผู้นี้เป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย" จึงทำการต้อน

รับ ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ได้จัดอาสนะถวายแล้ว. พระผู้มี

พระภาคเจ้า ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดไว้. แม้สรทดาบส ถืออาสนะอัน

สมควรแก่ตนแล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ในสมัยนั้น ชฎิลเจ็ดหมื่นสี่พัน

ถือผลาผลทั้งหลายที่ประณีต ๆ อันมีโอชะ มาถึงสำนักอาจารย์แล้ว แลดู

อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับและอาจารย์นั่งแล้ว จึงพูดว่า "ท่านอาจารย์

พวกกระผมเที่ยวไปด้วยเข้าใจว่า 'ในโลกนี้ผู้เป็นใหญ่กว่าท่านอาจารย์

ย่อมไม่มี, ก็บุรุษผู้นี้ เห็นจะเป็นใหญ่ว่าท่านอาจารย์ ?"

สรทดาบส ตอบว่า "พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าพูดอะไร, พวกเจ้า

ปรารถนาเพื่อทำเขาสิเนรุซึ่งสูงหกสิบแปดแสนโยชน์ ให้เสมอกับเมล็ด

พันธุ์ผักกาด ( กระนั้นหรือ) ลูกทั้งหลาย พวกเจ้าอย่าทำการเปรียบ

เทียบเรากับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเลย."

ครั้งนั้น ดาบสเหล่านั้น คิดว่า "ถ้าบุรุษผู้นี้จักได้เป็นคนเล็กน้อย

ไซร้, ท่านอาจารย์ของพวกเราคงไม่ชักสิ่งเห็นปานนี้มาอุปมา, บุรุษผู้นี้จะ

ใหญ่เพียงไรหนอ" ดังนี้แล้ว ทั้งหมดเทียว หมอบลงแทบพระบาททั้งสอง

ถวายบังคมด้วยเศียรเกล้าแล้ว . ครั้งนั้น อาจารย์กล่าวกะดาบสเหล่านั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 145

" พ่อทั้งหลาย ไทยธรรมที่สมควรแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลายของเราไม่มี,

และพระศาสดาก็เสด็จมาในที่นี้ในเวลาภิกษาจาร. พวกเราจักถวายไทย-

ธรรม ตามสัตติ ตามกำลัง พวกเจ้าจงนำผลาผลประณีตที่มีอยู่มา," ดังนี้.

ครั้นให้นำมาแล้ว ล้างมือทั้งสองแล้ว ตั้งไว้ในบาตรของพระตถาคตด้วย

ตนเอง. พอเมื่อพระศาสดาทรงรับผลาผล, เทวดาทั้งหลายก็โปรยโอชะ

อันเป็นทิพย์ลง. ดาบสนั้นได้กรองแม้ซึ่งน้ำถวายด้วยตนเองทีเดียว.

ต่อแต่นั้น เมื่อพระศาสดาประทับนั่งทำภัตกิจแล้ว, ดาบสนั้นเรียก

อันเตวาสิกทั้งสิ้นมาแล้ว นั่งกล่าวสาราณียกถานั่งที่ใกล้พระศาสดา. พระ-

ศาสดาทรงดำริว่า "ขออัครสาวกทั้งสอง จงมาพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์."

พระอัครสาวกทั้งสองนั้น ทราบพระดำริของพระศาสดาแล้ว มีพระ-

ขีณาสพแสนรูปเป็นบริวาร มาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ

ส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น สรทดาบสเรียกอันเตวาสิกทั้งหลายมาแล้ว กล่าวว่า

"พ่อทั้งหลาย แม้อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับนั่ง ต่ำ, ซ้ำอาสนะสำหรับ

สมณะตั้งแสน ก็ไม่มี, พวกเจ้า ควรจะทำพุทธสักการให้โอฬารในวันนี้

จงนำดอกไม้ทั้งหลายที่ถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่นมาแต่เชิงเขา." เวลาที่พูด

ย่อมเป็นเหมือนเนิ่นช้า, แต่วิสัยฤทธิ์ของผู้มีฤทธิ์ อันบุคคลไม่ควรคิด,

เพราะฉะนั้น โดยกาลเพียงครู่เดียวเท่านั้น ดาบสเหล่านั้นนำดอกไม้

ทั้งหลายที่ถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่นมาแล้ว ตบแต่งอาสนะดอกไม้สำหรับ

พระพุทธเจ้าทั้งหลายประมาณได้ ๑ โยชน์ สำหรับพระอัครสาวกทั้งสอง

ประมาณ ๓ คาพยุต. สำหรับภิกษุที่เหลือมีประมาณแตกต่างกัน มี

๑. คาพยุตหนึ่งยาว ๑๐๐ เส้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 146

ประมาณกึ่งโยชน์เป็นต้น, สำหรับภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์มีประมาณ ๑ อุสภะ

ใคร ๆ ไม่พึงคิดว่า "ในอาศรมบทแห่งเดียว จะตบแต่งอาสนะใหญ่โต

ถึงเพียงนั้นได้อย่างไร ?" เพราะว่า นี้เป็นวิสัยของฤทธิ์, เมื่อตบแต่ง

อาสนะเสร็จแล้วอย่างนั้น, สรทดาบส ยืนประคองอัญชลีเบื้องพระพักตร์

ของพระตถาคตแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์

เสด็จขึ้นสู่อาสนะดอกไม้นี้ เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ข้าพระองค์

ตลอดราตรีนาน."

เพราะเหตุนั้น โบราณาจารย์จึงกล่าวไว้ว่า

"สรทดาบสเอาดอกไม้ต่าง ๆ และของหอม

ธรรมด้วยกัน ตบแต่งอาสนะดอกไม้แล้ว ได้กราบ

ทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระวีระ อาสนะที่ข้าพระองค์

ตบแต่งแล้วนี้ สมควรแด่พระองค์, พระองค์

เมื่อจะยังจิตของข้าพระองค์ ให้เลื่อมใส ขอจง

ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้, พระพุทธเจ้าได้ทรง

ยังจิตของข้าพระองค์ให้เลื่อมใสแล้ว ยังโลกนี้

กับทั้งเทวโลกให้ร่าเริงแล้ว จึงประทับนั่งบนอาสนะ

ดอกไม้ตลอด ๗ คืน ๗ วัน."

เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้วอย่างนั้น, พระอัครสาวกทั้งสอง และ

ภิกษุที่เหลือก็นั่งแล้วบนอาสนะที่ถึงแล้วแก่ตน ๆ. สรทดาบสได้ถือฉัตร

ดอกไม้ใหญ่ ยืนกั้นเหนือพระเศียรของพระตถาคต. พระศาสดา ทรง

อธิษฐานว่า "ขอสักการะของพวกชฎิลนี้ จงมีผลใหญ่" ดังนี้แล้ว

๑. อุสภะหนึ่งยาว ๒๕ วา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 147

ทรงเข้านิโรธสมาบัติ. สองพระอัครสาวกก็ดี ภิกษุที่เหลือก็ดี ทราบว่า

พระศาสดาทรงเข้าสมาบัติแล้ว ก็เข้าสมาบัติ. เมื่อพระตถาคตประทับนั่ง

เข้านิโรธสมาบัติตลอด ๗ วัน, พวกอันเตวาสิก เมื่อถึงเวลาเที่ยวไป

ภิกษา, บริโภคมูลผลาผลในป่าแล้ว ยืนประคองอัญชลีแต่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลายตลอดกาลที่เหลือ. ฝ่ายสรทดาบสไม่ไปแม้สู่ที่ภิกษาจาร กั้นฉัตร

ดอกไม้อยู่เทียว ให้เวลาล่วงไปด้วยปีติและสุขตลอด ๗ วัน. พระศาสดา

เสด็จออกจากนิโรธแล้ว ตรัสเรียกพระนิสภเถระพระอัครสาวกผู้นั่งข้าง

พระปรัศว์เบื้องขวา ด้วยรับสั่งว่า "นิสภะ เธอจงทำอนุโมทนาอาสนะ

ดอกไม้แก่ดาบสทั้งหลายผู้ทำสักการะ" พระเถระมีใจยินดีประดุจแม่ทัพ

ใหญ่ประสบลาภใหญ่ จากสำนักของพระเจ้าจักรพรรดิ ตั้งอยู่ในสาวก-

บารมีญาณ เริ่มอนุโมทนาอาสนะดอกไม้แล้ว. ในที่สุดเทศนาของพระ-

นิสภเถระนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระสาวกองค์ที่ ๒ ด้วยรับสั่งว่า

" ภิกษุ แม้เธอก็จงแสดงธรรม." พระอโนมเถระพิจารณาพระพุทธ-

วจนะคือพระไตรปิฎกกล่าวธรรมแล้ว. ด้วยเทศนาของพระอัครสาวก

ทั้งสอง การตรัสรู้มิได้มีแล้วแม้แก่ดาบสรูปหนึ่ง.

ครั้งนั้น พระศาสดา ทรงดำรงอยู่ในพุทธวิสัยไม่มีปริมาณ ทรง

เริ่มพระธรรมเทศนาแล้ว. ในกาลจบเทศนา ชฎิลเจ็ดหมื่นสี่พันยกสรท-

ดาบสเสีย ทั้งหมดบรรลุพระอรหัตแล้ว. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์

ตรัสว่า "เธอทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด ." ทันใดนั้นเอง ผมและ

หนวดของชฎิลเหล่านั้นได้อันตรธานไปแล้ว. บริขาร ๘ ได้สวมกายแล้ว

เทียว.

มีคำถามสอดเข้ามาว่า "เพราะเหตุไร ? สรทดาบสจึงไม่ได้บรรลุ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 148

พระอรหัต."

แก้ว่า "เพราะความเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่าน."

ได้ยินว่า จำเดิมแต่กาลที่สรทดาบสนั้น เริ่มฟังธรรมเทศนาของ

พระอัครสาวกผู้นั่งบนอาสนะที่ ๒ แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตั้งอยู่ใน

สาวกบารมีญาณแสดงธรรมอยู่ เกิดความคิดขึ้นว่า "โอหนอ ! แม้เราพึง

ได้รับธุระที่พระสาวกรูปนี้ได้รับในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้จะบังเกิด

ในอนาคต." ด้วยปริวิตกนั้น สรทดาบสนั้นจึงไม่ได้อาจเพื่อทำการแทง

ตลอดมรรคผลได้. ก็ท่านยืนถวายบังคมพระตถาคตเจ้าแล้ว ในที่เฉพาะ

พระพักตร์ กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ภิกษุที่นั่งบนอาสนะในลำดับแห่ง

พระองค์มีชื่อว่าเป็นใคร ? ในศาสนาของพระองค์."

พระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุผู้ยังธรรมจักรอันเราให้เป็นไปแล้วให้เป็นไป

ตาม บรรลุที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ แทงตลอดปัญญา ๑๖ อย่าง ตั้งอยู่,

ผู้นี้ชื่อว่าเป็นอัครสาวกในศาสนาของเรา." ท่านได้ทำความปรารถนาว่า

"พระเจ้าข้า ด้วยผลแห่งสักการะที่ข้าพระองค์กั้นฉัตรดอกไม้ทำแล้วตลอด

๗ วันนี้ ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาความเป็นท้าวสักกะหรือความเป็น

พรหมอย่างอื่น, แต่ขอข้าพระองค์ พึงเป็นพระอัครสาวกของพระพุทธเจ้า

พระองค์หนึ่งในอนาคต เหมือนพระนิสภเถระองค์นี้."

พระศาสดา ทรงส่งพระอนาคตังสญาณไปพิจารณาว่า " ความ

ปรารถนาของบุรุษผู้นี้ จักสำเร็จหรือหนอแล ?" ได้ทรงเห็นว่าผ่าน ๑

อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์ไปแล้วจะสำเร็จ, ครั้นทรงเห็นแล้วจึงตรัส

กะสรทดาบสว่า "ความปรารถนาของท่านนี้จักไม่เปล่าประโยชน์, ก็ใน

อนาคต ล่วงไป ๑ อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์ พระพุทธเจ้าพระนาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 149

ว่าโคดม จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก. พระมารดาของพระองค์จักมีพระนาม

ว่ามหามายาเทวี. พระบิดาของพระองค์จักมีพระนามว่าสุทโธทนมหาราช,

พระโอรสจักมีพระนามว่าราหุล. พระผู้อุปัฏฐากจักมีนามว่าอานนท์, พระ-

สาวกที่ ๒ จักมีนามว่าโมคคัลลานะ, ส่วนตัวท่านจักเป็นพระอัครสาวก

ของพระองค์ นามว่าธรรมเสนาบดีสารีบุตร." ครั้นทรงพยากรณ์ดาบส

อย่างนั้นแล้ว ตรัสธรรมกถา มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเหาะไปแล้ว.

ฝ่ายสรทดาบส ไปยังสำนักพวกพระเถระผู้อันเตวาสิก แล้วส่งข่าวไป

แก่สิริวัฑฒกุฎุพีผู้สหายว่า "ท่านผู้เจริญ ขอท่านทั้งหลายจงบอกแก่

สหายของข้าพเจ้าว่า 'สรทดาบสผู้สหายของท่านได้ปรารถนาตำแหน่ง

พระอัครสาวกในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ซึ่งจะทรงอุบัติ

ขึ้นในอนาคต แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสีแล้ว,

ท่านจงปรารถนาตำแหน่งพระอัครสาวกที่ ๒." ก็แล ครั้นกล่าวอย่างนั้น

แล้ว ได้ไปโดยข้างหนึ่งก่อนกว่าพระเถระทั้งหลายเทียว ได้ยืนอยู่ริมประตู

เรือนของสิริวัฑฒะแล้ว. สิริวัฑฒะกล่าวว่า "นานหนอพระคุณเจ้าของเรา

จึงมา" ดังนี้แล้ว นิมนต์ให้นั่งบนอาสนะ. ตนนั่งบนอาสนะต่ำกว่าแล้ว

เรียนถามว่า " ( ทำไม ? ) อันเตวาสิกบริษัทของพระคุณเจ้าจึงหายไป

เจ้าข้า"

สรทะ. อย่างนั้น สหาย พระพุทธเจ้าอโนมทัสสี เสด็จมายังอาศรม

ของข้าพเจ้าทั้งหลาย. พวกข้าพเจ้าทำสักการะแด่พระองค์ตามกำลังของตน,

พระศาสดาทรงแสดงธรรมโปรดพวกข้าพเจ้าทุก ๆ คน, ในกาลจบเทศนา

เว้นข้าพเจ้าคนเดียว ที่เหลือบรรลุพระอรหัตแล้วบวช. ข้าพเจ้าเห็น

๑. ขุ. พุ. ๓๓/๕๔๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 150

พระนิสภเถระอัครสาวกของพระศาสดา จึงปรารถนาตำแหน่งพระอัคร-

สาวกในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม ผู้จะเสด็จอุบัติในอนาคต,

แม้เธอก็จงปรารถนาตำแหน่งสาวกที่ ๒ ในศาสนาของพระองค์ท่าน."

สิริวัฑฒะ. ข้าพเจ้าไม่มีความคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเลย

ขอรับ.

สรทะ. เรื่องที่จะทูลกับพระพุทธเจ้า เป็นภาระของข้าพเจ้าของ,

เธอจงจัดสักการะยิ่งใหญ่ไว้เถอะ.

สิริวัฑฒะ ฟังคำของสรทดาบสนั้นแล้ว ให้ทำสถานที่ประมาณ

๘ กรีส โดยมาตราหลวง ที่ประตูเรือนของตนให้มีพื้นเสมอแล้ว เกลี่ย

ทรายโปรยดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่ ๕ ให้ทำมณฑปมุงด้วยดอกอุบลเขียว

ตบแต่งพุทธอาสน์ จัดอาสนะแม้แก่ภิกษุเหลือ จัดสักการะและเครื่อง

ต้อนรับเป็นอันมากแล้ว ได้ให้สัญญาแก่สรทดาบสเพื่อประโยชน์นิมนต์

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

พระดาบส ได้พาภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ไปที่อยู่ของ

สิริวัฑฒกฎุมพีนั้นแล้ว.

ฝ่ายสิริวัฑฒกุฎุมพี ทำการต้อนรับ รับบาตรจากพระหัตถ์ของพระ-

ตถาคต เชิญเสด็จให้เข้าไปสู่มณฑป ถวายน้ำทักษิโณทกแก่ภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ซึ่งนั่งบนอาสนะที่แต่งไว้ อังคาสด้วยโภชนะ

อันประณีต ในเวลาเสร็จภัตกิจ นิมนต์พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น

ประมุข ครองผ้าอันมีค่ามากแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ความริเริ่มนี้มิได้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ตำแหน่งมีประมาณน้อย ขอ

๑. กรีส เป็นมาตราวัดชนิดหนึ่ง ๑ กรีส = ๑๒๕ ศอก หรือ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 151

พระองค์ทรงทำความอนุเคราะห์โดยทำนองนี้แล ตลอด ๗ วัน."

พระศาสดาทรงรับแล้ว. เขายังมหาทานให้เป็นไปโดยทำนองนั้น

นั่นแล ตลอด ๗ วัน ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนประคอง

อัญชลี กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า สรทดาบสสหายของข้าพระองค์ปรารถนา

ว่า 'เราพึงเป็นพระอัครสาวกของพระศาสดาพระองค์ใด, ข้าพระองค์

พึงเป็นพระสาวกที่ ๒ ของพระศาสดาพระองค์นั้นเหมือนกัน." พระ-

ศาสดา ทรงพิจารณาถึงอนาคตกาล ทรงเห็นภาวะคือความสำเร็จ

แห่งความปรารถนาของเขา จึงทรงพยากรณ์ว่า "แต่นี้ล่วงไป ๑ อสง-

ไขยยิ่งด้วยแสนกัลป์ แม้ท่านก็จักเป็นพระสาวกที่ ๒ ของพระพุทธเจ้า

พระนามว่าโคดม."

สิริวัฑฒะ ฟังพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ได้เป็นผู้

ร่าเริงบันเทิงแล้ว, แม้พระศาสดา ทรงทำภัตตานุโมทนาแล้ว พร้อม

ทั้งบริวารเสด็จไปยังวิหารแล. ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความปรารถนาที่บุตร

ของเราปรารถนาแล้วในครั้งนั้น. อัครสาวกทั้งสองนั้น ได้ตำแหน่งตามที่

ตนปรารถนานั่นแล, เราหาได้เลือกหน้าให้ไม่."

สองอัครสาวกทูลเรื่องปัจจุบันแด่พระศาสดา

เมื่อพระศาสดา ตรัสพระพุทธพจน์อย่างนั่นแล, สองพระอัคร-

สาวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลเล่าเรื่องอันเป็นปัจจุบัน (เกิดขึ้น

เฉพาะหน้า ) ทั้งหมดว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ (ครั้ง) ข้าพระองค์

ยังเป็นผู้ครองเรือนอยู่ไปดูมหรสพบนยอดเขา," ดังนี้เป็นต้น จนถึงการ

แทงตลอดโสดาปัตติผลจากสำนักพระอัสสชิเถระแล้วกราบทูลว่า "ข้าแต่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 152

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งสองนั้น ไปยังสำนักของท่านอาจารย์สญชัย

ประสงค์จะนำท่านมาสู่บาทมูลของพระองค์ แจ้งว่าลัทธิของท่านไม่มีสาระ

แล้ว กล่าวอานิสงส์ในการหาที่นี่. ท่านสญชัยตอบว่า 'บัดนี้ชื่อว่าการอยู่

เป็นอันเตวาสิกของเรา ย่อมเป็นเช่นกับการถึงความกะเพื่อมแห่งน้ำในตุ่ม,

เราไม่สามารถจะอยู่เป็นอันเตวาสิกได้,' เมื่อข้าพระองค์บอกว่า 'ท่าน

อาจารย์ เวลานี้ มหาชนมีมือถือวัตถุมีของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น

จักไปบูชาเฉพาะพระศาสดา ท่านจักเป็นอย่างไร ?' ตอบว่า 'ก็ในโลก

นี้ คนฉลาดมากหรือคนเขลามาก ?' เมื่อข้าพระองค์ตอบว่า ' คนเขลา

มาก,' ก็กล่าวว่า ถ้ากระนั้น พวกคนฉลาด ๆ จักไปสำนักพระสมณโคดม,

พวกคนเขลา ๆ จักมาสำนักของเรา, เธอทั้งสอง ไปเถอะ' ไม่ปรารถนา

จะมา พระเจ้าข้า.

ผู้เห็นผิดกับผู้เห็นถูกได้รับผลต่างกัน

พระศาสดาทรงสดับคำนั้นแล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สญชัย

ถือสิ่งที่ไม่มีสาระว่า 'มีสาระ' และสิ่งที่มีสาระว่า 'ไม่มีสาระ' เพราะ

ความที่ตนเป็นมิจฉาทิฏฐิ. ส่วนเธอทั้งสอง รู้สิ่งเป็นสาระโดยความเป็น

สาระ และสิ่งอันไม่เป็นสาระโดยความไม่เป็นสาระ ละสิ่งที่ไม่เป็นสาระเสีย

ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นสาระเท่านั้น เพราะความที่คนเป็นบัณฑิต" ดังนี้แล้ว

ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๘. อสาเร สารมติโน สาเร จาสารทสฺสิโน

เต สาร นาธิคจฺฉนฺติ มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา.

สารญฺจ สารโต ตฺวา อสารญฺจ อสารโต

เต สาร อธิคจฺฉนฺติ สมฺมาสงฺกปฺปโคจรา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 153

"ชนเหล่าใด มีปกติรู้ในสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็น

สาระ และเห็นในสิ่งอันเป็นสาระว่า ไม่เป็นสาระ

ชนเหล่านั้น มีความดำริผิดเป็นโคจร ย่อมไม่

ประสพสิ่งอันเป็นสาระ. ชนเหล่าใด รู้สิ่งเป็นสาระ

โดยความเป็นสาระ และสิ่งไม่เป็นสาระโดยความไม่

เป็นสาระ ชนเหล่านั้น มีความดำริชอบเป็นโคจร

ย่อมประสพสิ่งเป็นสาระ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อสาเร สารมติโน ความว่า

สภาพนี้ คือ ปัจจัย ๔ มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ธรรมเทศนาอันเป็นอุปนิสัย

แห่งมิจฉาทิฏฐินั้น ชื่อว่าเป็นอสาระ, ผู้มีปกติเห็นในสิ่งอันไม่เป็นสาระ

นั้นว่า "เป็นสาระ."

บาทพระคาถาว่า สาเร จาสารทสฺสิโน ความว่า สภาพนี้ คือ

สัมมาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ ธรรมเทศนาอันเป็นอุปนิสัยแห่งสัมมาทิฏฐินั้นชื่อว่า

เป็นสาระ, ผู้มีปกติเห็นในสิ่งที่เป็นสาระนั้นว่า "นี้ไม่เป็นสาระ."

สองบทว่า เต สาร เป็นต้น ความว่า ชนเหล่านั้น คือผู้ถือ

มิจฉาทิฏฐินั้นตั้งอยู่ เป็นผู้มีความดำริผิดเป็นโคจร ด้วยสามารถแห่งวิตก

ทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น ย่อมไม่บรรลุสีลสาระ สมาธิสาระ ปัญญาสาระ

วิมุตติสาระ วิมุตติญาณทัสสนสาระ และพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ-

สาระ.

บทว่า สารญฺจ ความว่า รู้สาระมีสีลสาระเป็นต้นนั่นนั้นแลว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 154

"นี้ชื่อว่าสาระ" และรู้สิ่งไม่เป็นสาระ มีประการดังกล่าวแล้วว่า "นี้ไม่

เป็นสาระ."

สองบทว่า เต สาร เป็นต้น ความว่า ชนเหล่านั้น คือบัณฑิต

ผู้ยึดสัมมาทัสสนะอย่างนั้นตั้งอยู่ เป็นผู้มีความดำริชอบเป็นโคจร ด้วย

สามารถแห่งความดำริทั้งหลาย มีความดำริออกจากกามเป็นต้น ย่อมบรรลุ

สิ่งอันเป็นสาระ มีประการดังกล่าวแล้วนั้น.

ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น. เทศนาได้เป็นประโยชน์แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องสญชัย จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 155

๙. เรื่องพระนันทเถระ [๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภท่านนันทะ

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ยถา อคาร ทุจฺฉนฺน" เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จกรุงกบิลพัสดุ์

ความพิสดารว่า พระศาสดา ทรงมีพระธรรมจักรบวรให้เป็นไป

แล้ว เสด็จไปสู่กรุงราชคฤห์ ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน, บรรดาทูต

๑๐ คน มีบริวารคนละพัน อันพระเจ้าสุทโธทนมหาราชทรงส่งไปด้วย

รับสั่งว่า "ท่านทั้งหลาย จงนำบุตรมาแสดงแก่เราเถิด,' พระกาฬุทายี

เถระ ไปทีหลังกว่าทูตทั้งหมด บรรลุพระอรหัตแล้ว ทราบกาลเป็นที่

เสด็จมาแล้ว พรรณนาหนทางด้วยคาถาประมาณ ๖๐ คาถา นำเสด็จ

[พระศาสดา] ผู้มีพระขีณาสพสองหมื่นแวดล้อมแล้ว ไปสู่กบิลพัสดุ์บุรี,

ทรงทำฝนโบกขรพรรษให้เป็นเหตุเกิดแห่งเรื่องแล้วตรัสมหาเวสสันดร-

ชาดกในสมาคมพระญาติ, วันรุ่งขึ้น เสด็จเข้าไปบิณฑบาต โปรด

พระบิดาให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยพระคาถาว่า "อุตฺติฏฺเ

นปฺปมชฺเชยฺย" เป็นต้น, โปรดพระนางมหาปชาบดีโคตมีให้ดำรงอยู่

ในโสดาปัตติผล และโปรดพระราชา ( พระบิดา) ให้ดำรงอยู่ในสกทา-

คามิผล ด้วยพระคาถาว่า "ธมฺมญฺจเร สุจริต" เป็นต้น. ก็ในกาล

เสร็จภัตกิจ ทรงอาศัยการพรรณนาพระคุณของราหุลมารดา ตรัสจันท-

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๓๖๕. อรรถกถา. ๑๐/๓๑๕. ขุ. ธ. ๒๕/๓๘. ๒. ขุ. ธ. ๒๕/๓๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 156

กินนรีชาดก ในวันที่ ๓ แต่วันนั้น ครั้นเมื่อวิวาหมงคลเป็นที่เชิญเสด็จ

เข้าเรือนเพื่ออภิเษกของนันทกุมาร เป็นไปอยู่. เสด็จเข้าไปบิณฑบาต

ประทานบาตรในหัตถ์ของนันทกุมาร ตรัสมงคล (อวยพร ) เสด็จลุก

จากอาสนะแล้วหลีกไป หาได้ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมารไม่.

นันทะพุทธอนุชาออกบวช

ฝ่ายนันทกุมารนั้น ด้วยความเคารพในพระตถาคต จึงมิอาจทูล

(เตือน) ว่า "ขอพระองค์รับบาตรไปเถิด พระเจ้าข้า" แต่คิดอย่างนี้

ว่า "พระศาสดา คงจักทรงรับบาตรที่หัวบันได." แม้ในที่นั้นพระ-

ศาสดาก็มิได้ทรงรับ. นันทกุมารนอกนี้ก็คิดว่า "คงจักทรงรับที่ริม

เชิงบันได." แม้ในที่นั้น พระศาสดา ก็ไม่ทรงรับ. นันทกุมารก็คิดว่า

"จักทรงรับที่พระลานหลวง" แม้ในที่นั้น พระศาสดา ก็ไม่ทรงรับ.

พระกุมารปรารถนาจะเสด็จกลับ (แต่ ) จำเสด็จไปด้วยความไม่เต็ม

พระทัย ด้วยความเคารพในพระตถาคต จึงไม่สามารถทูลว่า "ขอ

พระองค์ทรงรับบาตรเถิด" ทรงเดินนึกไปว่า "พระองค์จักทรงรับใน

ที่นี้. พระองค์จักทรงรับในที่นี้." ในขณะนั้น หญิงพวกอื่นเห็นอาการ

นั้นแล้ว จึงบอกแก่นางชนบทกัลยาณีว่า พระแม่เจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพานันทกุมารเสด็จไปแล้ว, คงจักพรากนันทกุมารจากพระแม่เจ้า."

ฝ่ายนางชนบทกัลยาณีนั้นได้ยินคำนั้นแล้ว มีหยาดน้ำยังไหลอยู่เที่ยว

มีผมอันเกล้าได้กึ่งหนึ่ง รีบไปทูลว่า "ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระองค์พึง

ด่วนเสด็จกลับ." คำของนางนั้น ประหนึ่งตกไปขวางตั้งอยู่ในหทัยของ

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๓๖๘. อรรถกถา ๖/๓๕๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 157

นันทกุมาร. แม้พระศาสดา ก็ยังไม่ทรงรับบาตรจากหัตถ์ของนันทกุมาร

นั้นเลย ทรงนำนันทกุมารนั้นไปสู่วิหารแล้วตรัสว่า "นันทะ เธออยาก

บวชไหน ?" นันทกุมารนั้น ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า จึงไม่ทูล

ว่า "จักไม่บวช" ทูลรับว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ จักบวชพระเจ้าข้า."

พระศาสดารับสั่งว่า "ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น เธอทั้งหลายจงให้นันทะ

บวชเถิด."

ราหุลกุมารทูลขอสมบัติกะพระศาสดา

พระศาสดา เสด็จไปสู่กรุงกบิลพัสดุ์บุรี ในวันที่ ๓ ทรงยัง

นันทกุมารให้บวชแล้ว, ในวันที่ ๗ พระมารดาของพระราหุลทรงตกแต่ง

พระกุมารแล้ว ทรงส่งไปสู่สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยพระดำรัส

ว่า "พ่อ พ่อจงดูพระสมณะซึ่งมีพระสมณะสองหมื่นแวดล้อมทรงมี

วรรณะประดุจสีทองคำ มีวรรณะแห่งพระรูปประดุจพรหมนั่น, พระ-

สมณะนี้เป็นพระบิดาของพ่อ, หม้อทรัพย์ใหญ่ได้มีแล้วในเวลาที่พระบิดา

ของพ่อนั่นประสูติ, ตั้งแต่เวลาพระองค์ออกบวช แม่ไม่พบเลย" พ่อ

จงไปทูลขอมรดกกะพระองค์ท่านว่า "ข้าแต่เสด็จพ่อ ข้าพระองค์เป็น

กุมาร, ถึงอภิเษกแล้ว จักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ, ข้าพระองค์ต้องการ

ด้วยทรัพย์, ขอเสด็จพ่อได้ประทานทรัพย์แก่ข้าพระองค์, เพราะบุตรย่อม

เป็นเจ้าของสมบัติของพระบิดา." พระกุมารเสด็จไปสู่สำนักของพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถวายบังคมแล้ว หวนได้ความสิเนหาในพระบิดา สำเริงยินดี

แล้วทูลว่า "ข้าแต่พระสมณะ พระฉายาของเสด็จพ่อสบาย" ได้ยืน

ทูลคำแม้อื่นเป็นอันมากที่สมควรแก่ตน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำภัตกิจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 158

แล้ว ทรงอนุโมทนาแล้วเสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. แม้พระกุมาร ก็

ทูลขอว่า "ข้าแต่พระสมณะ ขอได้ประทานมรดกแก่ข้าพระองค์เถิด,

ข้าแต่พระสมณะ ขอได้ประทานมรดกแก่ข้าพระองค์เถิด" ดังนี้แล้วเสด็จ

ติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ไม่ให้พระกุมาร

กลับ. ฝ่ายปริชนก็ไม่สามารถเพื่อจะเชิญพระกุมารผู้เสด็จไปกับพระผู้มี-

พระภาคเจ้าให้กลับได้. พระกุมารนั้นได้เสด็จไปถึงพระอารามทีเดียว

พร้อมด้วยพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยประการฉะนี้.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระดำริว่า "กุมารนี้อยากได้

ทรัพย์อันเป็นสมบัติของบิดา. ทรัพย์นั้นไปตามวัฏฏะ มีความคับแคบ;

ช่างเถิด เราจักให้อริยทรัพย์ ๗ ประการ อันเราได้เฉพาะที่ควงไม้โพธิ

แก่เธอ, จะทำเธอให้เป็นเจ้าของมรดกอันเป็นโลกุตระ."

ราหุลกุมารบรรพชา

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้หาท่านพระสารีบุตร

มาแล้วตรัสว่า "สารีบุตร ถ้ากระนั้น เธอจงให้ราหุลกุมารบวชเถิด."

พระเถระยังพระกุมารนั้นให้ผนวชแล้ว . ก็เมื่อพระกุมารผนวชแล้ว. ทุกข์

มีประมาณยิ่งได้เกิดขึ้นแก่พระราชาเพราะได้ทรงสดับข่าวนั้น.

พระราชาไม่ทรงสามารถเพื่อจะกลั้นความทุกข์นั้นไว้ได้ เสด็จไป

สู่สำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลชี้แจงแล้วขอประทานพรว่า " พระเจ้าข้า

หม่อมฉัน ขอประทานพระวโรกาส พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายไม่พึงยังบุตรที่

มารดาบิดาไม่อนุญาตให้บวช."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 159

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทานพรนั้นแด่ท้าวเธอแล้ว, รุ่งขึ้นวันหนึ่ง

เสวยพระกระยาหารเข้าในพระราชนิเวศน์แล้ว เมื่อพระราชาประทับอยู่

ณ ส่วนข้างหนึ่ง ทูลเล่าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในเวลาที่พระองค์

ทรงทำทุกรกิริยา เทวดาองค์หนึ่ง เข้ามาหาหม่อมฉันบอกว่า พระโอรส

ของพระองค์ทิวงคตแล้ว" หม่อนฉันไม่เชื่อถ้อยคำของเทวดานั้น จึง

คัดค้านเทวดานั้นว่า 'บุตรของข้าพเจ้ายังไม่บรรลุโพธิญาณ ย่อมไม่ทำ

กาละ" ดังนี้แล้ว, ตรัสว่า "มหาบพิตร บัดนี้ พระองค์จักเชื่อได้

อย่างไร ? แม้ในกาลก่อน เมื่อเขาแสดงร่างกระดูกแก่พระองค์ ทูลว่า

'บุตรของพระองค์ทิวงคตแล้ว' พระองค์ยังไม่ทรงเชื่อ" ได้ตรัสมหา-

ธรรมปาลชาดกเพราะอุบัติเหตุแห่งเรื่องนี้. ในกาลจบกถา พระราชา

ดำรงอยู่ในอนาคามิผล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดพระบิดาให้ดำรงอยู่ในผล ๓ ด้วย

ประการฉะนี้แล้ว มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จกลับไปลู่กรุงราชคฤห์อีก,

แต่นั้น ทรงรับปฏิญญาไว้กับอนาถบิณฑิกเศรษฐี เพื่อประโยชน์แก่การ

เสด็จมาสู่กรุงสาวัตถี, ครั้นเมื่อพระเชตวันมหาวิหารสำเร็จแล้ว, เสด็จ

ไปจำพรรษาในพระเชตวันมหาวิหารนั้น.

พระนันทะอยากสึก

เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันอย่างนี้นั่นแล, ท่าน

พระนันทะกระสันขึ้นแล้ว จึงบอกเนื้อความนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายว่า

"ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์, ไม่สามารถที่จะสืบต่อ

๑. ขุ. ชา. อรรถกถา. ๕/๔๑๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 160

พรหมจรรย์ไปได้, ข้าพเจ้าจักกล่าวคืนสิกขาแล้วสึก." พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสดับความเป็นไปนั้นแล้ว รับสั่งให้หาท่านพระนันทะมาเฝ้าแล้ว

ตรัสคำนี้ว่า "จริงหรือนันทะ ? ได้ยินว่า เธอบอกกล่าวแก่ภิกษุหลายรูป

อย่างนี้ว่า 'ผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์ ไม่สามารถ

จะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้, ข้าพเจ้าจักกล่าวคืนสิกขาแล้วสึกหรือ ?"

น. จริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

ภ. นันทะ ก็เธอไม่ยินดีประพฤติพรหมจรรย์. ไม่สามารถจะสืบต่อ

พรหมจรรย์ไปได้, จะกล่าวคืนสิกขาสึกไปเพื่อเหตุอะไร ?

น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ออกจากเรือน นาง

ชนบทกัลยาณีผู้ศากิยะ มีผมอันเกล้าได้กึ่งหนึ่ง ได้ร้องสั่งคำนี้กะข้า

พระองค์ว่า 'ข้าแต่พระลูกเจ้า ขอพระลูกเจ้าพึงด่วนเสด็จมา,' ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นั้นแล หวนระลึกถึงคำนั้นอยู่ จึงไม่ยินดี

ประพฤติพรหมจรรย์ ไม่สามารถจะสืบต่อพรหมจรรย์ไปได้, จักกล่าว

คืนสิกขาสึกไป."

พระศาสดาทรงทรมานพระนันทะ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจับท่านพระนันทะที่พระพาหา

แล้ว นำไปสู่ดาวดึงสเทวโลกด้วยกำลังพระฤทธิ์, ในระหว่างทางทรง

แสดงนางลิงลุ่นตัวหนึ่ง ซึ่งมีหูจมูกและหางขาด นั่งเจ่าอยู่บนปลายตอไม้

ที่ไฟไหม้ ในนาที่ไฟไหม้แห่งหนึ่งแล้ว ทรงแสดง นางอัปสร ๕๐๐

ซึ่งมีเท้าดังเท้านกพิราบผู้มาสู่ที่บำรุงของท้าวสักกเทวราชในภพดาวดึงส์.

๑. หีนายาวตฺติสฺสามิ จักเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว. ๒. บทว่า กกุฏปาทนิ ได้แก่ มีเท้า

เช่นกับเท้านกพิราบ เพราะมีสีแดง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 161

ก็แลครั้นทรงแสดงแล้ว ตรัสอย่างนี้ว่า "นันทะ เธอสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน ? ฝ่ายไหนหนอแล ? มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า

และน่าเลื่อมใสกว่ากัน, นางชนบทกัลยาณีผู้ศากิยะหรือนางอัปสร ๕๐๐

ซึ่งมีเท้าเช่นกับเท้านกพิราบนี้." พระนันทะได้สดับพระพุทธดำรัสนั้นแล้ว

ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางลิงลุ่นมีหูจมูกและหางขาดนั้น แม้

ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นางชนบทกัลยาณี ผู้ศากิยะ ก็เหมือน

กันฉันนั้น, เพราะการเปรียบเทียบกัน นางย่อมไม่ถึงการนับบ้าง ไม่ถึง

เสี้ยวหนึ่งบ้าง ไม่ถึงส่วน ( หนึ่ง ) บ้าง แห่งนางอัปสร ๕๐๐ นี้,

ที่แท้นางอัปสร ๕๐๐ นี้แล มีรูปงามกว่า น่าดูกว่า และน่าเลื่อมใสกว่า."

ภ. นันทะ เธอจงยินดี, นันทะ เธอจงยินดี, เราจะเป็นผู้

ประกันของเธอ เพื่ออันได้เฉพาะนางอัปสร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจเท้า

นกพิราบ.

น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นประกันของ

ข้าพระองค์ เพื่ออันได้เฉพาะนางอัปสร ๕๐๐ ผู้มีเท้าดุจเท้านกพิราบ

ไซร้, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินดีในพรหมจรรย์.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพาท่านนันทะไป หายวับไป

ในที่นั้น ได้ปรากฏในพระเชตวันดังเดิม.

ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วแลว่า "ข่าวว่า ท่านนันทะเป็นพระ-

ภาดาของพระผู้มีพระภาคเจ้า โอรสพระน้านาง ประพฤติพรหมจรรย์

เพราะเหตุแห่งนางอัปสรทั้งหลาย; นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็น

ผู้ประกันของพระนันทะนั้น เพื่ออันได้เฉพาะนางอัปสร ๕๐๐ ผู้มีเท้าดุจ

๑. น้องชาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 162

เท้านกพิราบ."

พระนันทะสำเร็จอรหัตผล

ครั้งนั้นแล พวกภิกษุผู้สหายของท่านพระนันทะ เรียกท่านพระ-

นันทะด้วยวาทะว่า คนรับจ้างบ้าง ด้วยวาทะว่า คนอันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงไถ่ไว้บ้าง ว่า "นัยว่า ท่านพระนันทะเป็นคนรับจ้าง, นัยว่า

ท่านพระนันทะเป็นผู้อันพระศาสดาทรงไถ่ไว้, พระนันทะประพฤติ

พรหมจรรย์ เพราะเหตุแห่งนางอัปสร ๕๐๐, ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงเป็นผู้ประกันของเธอ เพื่ออันได้เฉพาะนางอัปสร ๕๐๐ ผู้มีเท้าดุจ

เท้านกพิราบ."

ครั้งนั้นแล ท่านพระนันทะขวยเขิน ละอาย รังเกียจด้วยวาทะว่า

คนรับจ้างบ้าง ด้วยวาทะว่าคนที่พระศาสดาทรงไถ่ไว้บ้าง ของเหล่า

ภิกษุสหาย เป็นผู้ ๆ เดียว หลีกออกไปแล้วไม่ประมาท มีความเพียร

มีตนส่งไปอยู่. ต่อกาลไม่นานเลย ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อัน

ยอดเยี่ยม ซึ่งกุลบุตรทั้งหลาย (ออก) จากเรือน บวชไม่มีเรือน

โดยชอบต้องการ ด้วยความรู้ยิ่งเอง สำเร็จแล้ว อยู่ในทิฏฐธรรม รู้ชัด

ว่า "ชาติสิ้นแล้ว, พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจจำต้องทำ ๆ เสร็จแล้ว,

กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี." เป็นอันว่าท่านพระนันทะ ได้เป็น

พระอรหันต์องค์ใดองค์หนึ่ง ในบรรดาพระอรหันต์ทั้งหลาย.

ครั้งนั้น เทวดาองค์หนึ่ง ยังพระเชตวันทั้งสิ้นให้สว่าง ในส่วน

แห่งราตรีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า

๑. อีกนัยหนึ่ง:- ได้ทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม เป็นที่ต้องการแห่งกุลบุตร

ทั้งหลายผู้ (ออก) จากเรือนโดยชอบ บวชไม่มีเรือน ด้วยความรู้ยิ่งเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 163

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระนันทะ เป็นพระภาดาของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า โอรสพระน้านาง ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งเอง

สำเร็จแล้วอยู่ในทิฏฐธรรม. ญาณได้เกิดขึ้นแม้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้า

(เหมือนกัน) ว่า "นันทะ ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งเอง

สำเร็จแล้วอยู่ในทิฏฐธรรม." ท่านพระนันทะแม้นั้น โดยล่วงไปแห่ง

ราตรีนั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ได้กราบทูล

คำนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้ประกัน

ของข้าพระองค์ เพื่ออันได้เฉพาะซึ่งนางอัปสร ๕๐๐ ซึ่งมีเท้าดุจเท้า

นกพิราบ ด้วยการรับรองใด, ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เปลื้อง

พระผู้มีพระภาคเจ้าจากการรับรองนั่น." พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "นันทะ

แม้เราก็กำหนดใจของเธอด้วยใจ ( ของเรา) ทราบแล้วว่า 'นันทะ

ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นไป

แห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งเอง สำเร็จแล้วอยู่ในทิฏฐธรรม."

แม้เทวดาก็บอกเนื้อความนี้แก่เราว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านนันทะ

ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะสิ้นไปแห่ง

อาสวะทั้งหลาย ด้วยความรู้ยิ่งเอง สำเร็จแล้วอยู่ในทิฏฐธรรม." นันทะ

เมื่อใดแล จิตของเธอ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะมีความไม่

ยึดมั่น, เมื่อนั้น เราก็พ้นจากการรับรองนั้น." ครั้งนั้นแล พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

๑. พ้นจากกิเลสด้วยอำนาจใจ. ๒. พ้นจากกิเลสด้วยอำนาจปัญญา,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 164

"เปือกตมคือกามอันผู้ใดข้ามได้แล้ว, หนาม

คือกามอันผู้ใดย่ำยีได้แล้ว ผู้นั้น บรรลุความ

สิ้นไปแห่งโมหะ ย่อมไม่หวั่นไหวในเพราะ

สุขและทุกข์."

พระนันทะถูกฟ้อง

ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ถามท่านพระนันทะว่า "นันทะ

ผู้มีอายุ เมื่อก่อน ท่านกล่าวว่า 'ข้าพเจ้าเป็นผู้กระสันแล้ว' บัดนี้

จิตของท่านเป็นอย่างไร ?" พระนันทะตอบว่า "ผู้มีอายุ ความห่วงใย

ในความเป็นคฤหัสถ์ของเราไม่มี." พวกภิกษุได้ฟังคำนั้นแล้ว กล่าวกัน

ว่า "ท่านนันทะ พูดไม่จริง ย่อมพยากรณ์พระอรหัตผล, ในวันที่

แล้ว ๆ มา กล่าวว่า 'ข้าพเจ้าเป็นผู้กระสันแล้ว' ( แต่ ) บัดนี้

กล่าวว่า ความห่วงใยในความเป็นคฤหัสถ์ของเราไม่มี" ดังนี้แล้ว

ไปกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ในวันที่แล้ว ๆ มา อัตภาพของนันทะได้เป็นเช่นกับ

เรือนที่เขามุงไม่ดี, (แต่) บัดนี้เป็นเช่นกับเรือนที่เขามุงดีแล้ว เพราะ

ว่านันทะนี้ จำเดิมแต่กาลที่ตนเห็นนางเทพอัปสรแล้ว พยายามเพื่อบรรลุ

ที่สุดแห่งกิจของบรรพชิตอยู่ ได้บรรลุกิจนั้นแล้ว" ได้ทรงภาษิต

พระคาถาเหล่านี้ว่า .

๙. ยถา อคาร ทุจฺฉนฺน วุฏฺี สมติวิชฺฌติ

เอว อภาวิต จิตฺต ราโค สมติวิชฺฌติ.

ยถา อคาร สุจฺฉนฺน วุฏฺี น สมติวิชฺฌติ

เอว สุภาวิต จิตฺต ราโค น สมติวิชฺฌติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 165

"ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงไม่ดีได้ฉันใด, ราคะ

ย่อมเสียดแทงจิตที่ไม่ได้อบรมแล้วได้ฉันนั้น.

ฝนย่อมรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วไม่ได้ฉันใด, ราคะ

ก็ย่อมเสียดแทงจิตที่อบรมดีแล้วไม่ได้ฉันนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคาร คือซึ่งเรือนชนิดใดชนิดหนึ่ง.

บทว่า ทุจฺฉนฺน คือที่เขามุงห่าง ๆ มีช่องเล็กช่องน้อย.

บทว่า สมติวิชฺฌติ คือเม็ดฝนย่อมรั่วรดได้.

บทว่า อภาวิต เป็นต้น ความว่า ราคะย่อมเสียดแทงจิตที่ชื่อว่า

ไม่ได้อบรม เพราะเป็นธรรมชาติเหินห่างภาวนา ราวกะว่าฝน (รั่วรด)

เรือนนั้นได้ฉะนั้น, ใช่แต่ราคะอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, สรรพกิเลส

ทั้งหลายมีโทสะ โมหะ และมานะเป็นอาทิ ก็เสียดแทงจิตเห็นปานนั้น

เหมือนกัน.

บทว่า สุภาวิต ได้แก่ ที่อบรมดีแล้ว ด้วยสมถภาวนาและ

วิปัสสนาภาวนา; กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่อาจเสียดแทงจิต

เห็นปานนั้นได้ ราวกะว่าฝนไม่อาจรั่วรดเรือนที่มุงดีแล้วได้ฉะนั้น.

ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมากได้บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น. เทศนาได้สำเร็จประโยชน์แก่มหาชนแล้ว.

พระนันทะเคยถูกล่อด้วยมาตุคาม

ต่อมา ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาว่า "ผู้มีอายุ ชื่อว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอัจฉริยบุคคล. ท่านพระนันทะ ชื่อว่าอาศัยนาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 166

ชนบทกัลยาณีกระสันแล้ว พระศาสดาทรงทำเหล่านางเทพอัปสรให้เป็น

อามิสแนะนำได้แล้ว." พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย

บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยกถาอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลว่า "ด้วยกถาชื่อนี้" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย

ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น, แม้ในกาลก่อน นันทะนี้เราก็ได้ล่อด้วยมาตุคาม

แนะนำแล้วเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว อันภิกษุเหล่านั้นทูลอ้อนวอน จึง

ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า)

บุรพกรรมของพระนันทะ

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี

ได้มีพ่อค้าชาวเมืองพาราณสี (คนหนึ่ง ) ชื่อกัปปกะ. ลาผู้ของเขาตัว

หนึ่งนำภาระ (สิ่งของ) ไปได้กุมภะหนึ่ง, มันเดินไปได้วันละ ๗ โยชน์,

สมัยหนึ่ง เขาไปเมืองตักกสิลา ( พร้อม) ด้วยภาระที่นำไปด้วยลา

ปล่อยลาเที่ยวไปจนกว่าจำหน่ายสิ่งของหมด. ครั้งนั้น ลาของเขานั้น

เที่ยวไปบนหลังดูพบนางลาตัวหนึ่ง จึงเข้าไปหา. นางลาเมื่อจะทำ

ปฏิสันถารกับลาผู้ตัวนั้น จึงกล่าวว่า "ท่านมาแต่ไหน ?"

ลาผู้. มาแต่เมืองพาราณสี.

นางลา. ท่านมาด้วยกรรมอะไร ?

ลาผู้. ด้วยกรรมของพ่อค้า.

นางลา. ท่านนำภาระไปได้เท่าไร ?

ลาผู้. ภาระประมาณกุมภะหนึ่ง.

นางลา. ท่านเมื่อนำภาระประมาณเท่านั้นไป ไปได้กี่โยชน์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 167

ลาผู้. ได้ ๗ โยชน์.

นางลา. ในที่ซึ่งท่านไปแล้ว นางลาไรๆ ผู้ทำการนวดเท้า หรือ

ประคบประหงมให้แก่ท่านมีอยู่หรือ ?

ลาผู้. หามีไม่ นางผู้เจริญ.

นางลา. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านคงได้รับทุกข์มากนะ ?

จริงอยู่ ชื่อว่าผู้ทำกรรมมีการนวดเท้าเป็นต้น สำหรับสัตว์ดิรัจฉาน

ทั้งหลายย่อมไม่มีแม้โดยแท้ แต่นางลา กล่าวคำเห็นปานนั้นเพื่อพาดพิง

ถึงกามสังโยชน์. ลาผู้นั้นกระสันขึ้นด้วยคำของนางลานั้นแล้ว.

ฝ่ายกัปปกพาณิช ขายภัณฑะหมดแล้ว ไปยังที่ลาพำนักอยู่กล่าวว่า

"มาเถิด พ่อ เราจักไป." ลาผู้ตัวนั้นตอบว่า " ท่านจงไปเถิด,

ข้าพเจ้าจักไม่ไป," ลำดับนั้น นายกัปปกะ อ้อนวอนลานั้นแล้ว ๆ เล่าๆ

คิดว่า "เราจะยังลานั้นซึ่งไม่ปรารถนาจะไปให้กลัวแล้วจักนำไป" ดังนี้

แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า

"เราจักทำปฏักมีหนามแหลมยาว ๑๖ นิ้วแก่เจ้า,

เราจักทิ่มแทงกายของเจ้า, แน่ะเจ้าลา เจ้าจงรู้

อย่างนี้."

ลาได้ฟังคำนั้นแล้ว กล่าวตอบว่า "เมื่อเป็นเช่นนั้น, ข้าพเจ้า

จักรู้จักกิจที่ควรทำแก่ท่านบ้าง" ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ว่า

"ท่านจักทำปฏักมีหนามแหลมยาว ๑๖ นิ้ว แก่

ข้าพเจ้า, ข้าพเจ้าจักยันข้างหน้า ยกข้างหลังขึ้น

แล้ว ยังภัณฑะของท่านให้ตกไป, กัปปกะ ท่าน

จงรู้อย่างนี้."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 168

พ่อค้าได้ฟังคำนั้น จึงดำริว่า "ด้วยเหตุไฉนหนอแล ? ลานี้จึง

กล่าวอย่างนี้กะเรา" ดังนี้แล้ว เมื่อแลดูข้างโน้นข้างนี้ เห็นนางลานั้น

แล้วคิดว่า "เจ้านี่คงจะถูกนางลาตัวนี้ ให้สำเหนียกแล้วอย่างนี้, เราต้อง

ล่อมันด้วยมาตุคามว่า ' ข้าจักนำนางลาชื่อมีรูปอย่างนี้มาให้เจ้า.' แล้ว

จักนำไป" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวคาถานี้ว่า

"เราจักนำนางลาสาว มีเท้า ๔ มีหน้าดุจสังข์

มีสรรพางค์กายงาม มาเป็นภรรยาเจ้า, แน่ะลา

เจ้าจงรู้อย่างนี้."

ลาได้ฟังคำนั้น มีจิตยินดี กล่าวคาถานี้ว่า

"ท่านจักนำนางลาสาว มีเท้า ๔มีหน้าดุจสังข์

มีสรรพางค์กายงาม มาเป็นภรรยาข้าพเจ้า,ข้าแต่

กัปปกะ ท่านจงรู้อย่างนี้ ข้าพเจ้าจักไปให้เร็วขึ้น

ถึง ๑๔ ประโยชน์น่ะ กัปปกะ".

ทีนั้น นายกัปปกะจึงกล่าวกะลานั้นว่า "ถ้ากระนั้น เจ้าจงมาเถิด"

ดังนี้แล้ว ได้จูงไปสู่ที่ของตน. ลานั้น โดยกาลล่วงไปสองสามวัน จึง

กล่าวกับนายกัปปกะว่า "ท่านได้พูดกะข้าพเจ้าว่า ' จักนำภรรยามา

ให้เจ้า,' ดังนี้ มิใช่หรือ ?" นายกัปปะตอบว่า "เออ เรากล่าวแล้ว,

เราจักไม่ทำลายถ้อยคำของตน, จักนำภรรยามาให้เจ้า, แต่เราจะให้อาหาร

แก่เจ้าเฉพาะตัวเดียว, อาหารนั้นจงเพียงพอแก่เจ้า ซึ่งมีตนเป็นที่สอง

หรือไม่มีก็ตามที. เจ้าพึงรู้ตัวเองเถอะ แม้ลูกทั้งหลาย อาศัยการสังวาส

ของเจ้าทั้งสองก็จักเกิดขึ้น, อาหารนั้นจงเพียงพอแก่เจ้ากับลูกเป็นอันมาก

๑. หมายความว่า สองตัวผัวเมีย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 169

แม้เหล่านั้นหรือไม่ก็ตามที, เจ้าพึงรู้เองเถอะ." ลาเมื่อนายกัปปกะนั้น

กล่าวอยู่เช่นนั้น, ได้เป็นผู้หมดหวังแล้ว.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงยังชาดก

ให้จบลงด้วยพระดำรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย นางลาในคราวนั้นได้เป็น

นางชนบทกัลยาณี, ลาผู้ได้เป็นนันทะ, พ่อค้าได้เป็นเราเอง, แม้ใน

กาลก่อน นันทะนี้ เราก็ได้ล่อด้วยมาตุคามแนะนำแล้ว ด้วยประการ

อย่างนี้" ดังนี้แล.

เรื่องพระนันทเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 170

๑๐. เรื่องนายจุนทสูกริก [๑๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภบุรุษชื่อ

จุนทสูกริก ตรัสพรธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ"

เป็นต้น.

นายจุนทะเลี้ยงชีพด้วยการเลี้ยงสุกรขาย

ได้ยินว่า นายจุนทสูกริกนั้น ฆ่าสุกรทั้งหลายกินบ้าง ขายบ้าง

เลี้ยงชีวิตอยู่สิ้น ๕๕ ปี . ในเวลาข้าวแพง เขาเอาเกวียนบรรทุกข้าวเปลือก

ไปสู่ชนบท แลกลูกสุกรบ้าน ด้วยข้าวเปลือกประมาณ ๑ ทะนานหรือ

๒ ทะนาน บรรทุกเต็มเกวียนแล้วกลับมา ล้อมที่แห่งหนึ่งดุจดอก

ข้างหลังที่อยู่แล้วปลูกผักในที่นั้นนั่นแล เพื่อลูกสุกรเหล่านั้น, เมื่อลูก

สุกรเหล่านั้น กินกอผักต่าง ๆ บ้าง สรีรวลัญชะ (คูถ) บ้าง ก็เติบโต

ขึ้น, (เขา) มีความประสงค์จะฆ่าตัวใด ๆ ก็มัดตัวนั้น ๆ ให้แน่น ณ

ที่ฆ่าแล้ว ทุบด้วยค้อน ๔ เหลี่ยม เพื่อให้เนื้อสุกรพองหนาขึ้น รู้ว่า

เนื้อหนาขึ้นแล้ว ก็ง้างปากสอดไม้เข้าไปในระหว่างฟัน กรอกน้ำร้อน

ที่เดือดพล่าน เข้าไปในปากด้วยทะนานโลหะ. น้ำร้อนนั้น เข้าไปพล่าน

ในท้อง ขับกรีสออกมาโดยส่วนเบื้องต่ำ (ทวารหนัก) กรีสน้อยหนึ่ง

ยังมีอยู่เพียงใด ย่อมออกเป็นน้ำขุ่นเพียงนั้น เมื่อท้องสะอาดแล้ว, จึง

ออกเป็นน้ำใส ไม่ขุ่น, ทีนั้น เขาจึงราดน้ำที่ยังเหลือบนหลังสุกรนั้น.

น้ำนั้นลอกเอาหนังดำออกไป. แต่นั้นจึงลนขนด้วยคบหญ้าแล้ว ตัดศีรษะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 171

ด้วยดาบอันคม. รองโลหิตที่ไหลออกด้วยภาชนะ เคล้าเนื้อด้วยโลหิต

แล้วปิ้งนั่งรับประทานในท่ามกลางบุตรและภรรยา ขายส่วนที่เหลือ.

เมื่อเขาเลี้ยงชีวิตโดยทำนองนี้นั่นแล, เวลาได้ล่วงไป ๕๕ ปี.

เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในธุรวิหาร, การบูชาด้วยดอกไม้เพียงกำหนึ่ง

ก็ดี การถวายภิกษาเพียงทัพพีหนึ่งก็ดี ชื่อว่าบุญอื่นน้อยหนึ่งก็ดี มิได้มี

แล้วสักวันหนึ่ง.

ครั้งนั้น โรคเกิดขึ้นในสรีระของเขา, ความเร่าร้อนอเวจีมหา-

นรก ปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว.

อเวจีนรกร้อนยิ่งกว่าไฟธรรมดา

ขึ้นชื่อว่าความเร่าร้อนในอเวจี ย่อมเป็นความร้อนที่สามารถทำลาย

นัยน์ตาของผู้ยืนดูอยู่ในที่ประมาณ ๑๐๐ โยชน์ได้. สมจริงดังคำที่พระผู้มี

พระภาคเจ้า ตรัสไว้ดังนี้ว่า

"ความเร่าร้อนในอเวจี แผ่ไปตลอด ๑๐๐ โยชน์

โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ.

และเพราะเหตุที่ความเร่าร้อนในอเวจีนั้น มีประมาณยิ่งกว่าความเร่าร้อน

ของไฟโดยปกติ พระนาคเสนเถระจึงกล่าวอุปมานี้ไว้ว่า "มหาบพิตร

แม้หินประมาณเท่าเรือนยอด อันบุคคลทุ่มไปในไฟนรกย่อมถึงความย่อย

ยับได้โดยขณะเดียวฉันใด ส่วนสัตว์ที่เกิดในนรกนั้นเป็นประหนึ่งอยู่ใน

ครรภ์มารดา จะย่อยยับไปเพราะกำลังแห่งกรรมเหมือนฉันนั้น หามิได้.

๑. ม. อุ. ๑๔/๓๔๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 172

นายจุนทะเสวยผลกรรมทันตาเห็น

เมื่อความเร่าร้อนนั้น ปรากฏแก่นายจุนทสูกริกนั้นแล้ว, อาการ

อันเหมาะสมด้วยกรรมก็เกิดขึ้น. เขาร้องเสียงเหมือนหมู คลานไปใน

ท่ามกลางเรือนนั่นเอง, ไปสู่ที่ในทิศตะวันออกบ้าง สู่ที่ในทิศตะวันตกบ้าง.

ลำดับนั้น พวกคนในเรือนของเขา จับเขาไว้ให้มั่นแล้วปิดปาก.

ธรรมดาผลแห่งกรรม อันใคร ๆ ไม่สามารถจะห้ามได้. เขาเที่ยวร้องไป

ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง. คนใน ๗ หลังคาเรือนโดยรอบ ย่อมไม่ได้

หลับนอน. อนึ่ง คนในเรือนทั้งหมด เมื่อไม่สามารถจะห้ามการออก

ไปภายนอกของเขาผู้ถูกมรณภัยคุกคามแล้วได้ จึงปิดประตูเรือนล้อม

รักษาอยู่ภายนอกเรือน โดยประการที่เขาอยู่ภายใน ไม่สามารถจะเที่ยว

ไปข้างนอกได้.

เสวยผลกรรมในสัมปรายภพ

แม้นายจุนทสูกริก เที่ยวร้องไปข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง ภายใน

เรือนนั่นเอง ด้วยความเร่าร้อนในนรก. เขาเที่ยวไปอย่างนั้นตลอด

๗ วัน, ในวันที่ ๘ ทำกาละแล้ว ไปเกิดในอเวจีมหานรก. อเวจีมหานรก

ปราชญ์พึงพรรณนาตามเทวทูตสูตร.

พวกภิกษุเข้าใจว่าเขาฆ่าสุกรทำการมงคล

พวกภิกษุเดินไปทางประตูเรือนของเขา ได้ยินเสียงนั้นแล้ว เป็น

ผู้มีความสำคัญว่า "เสียงสุกร" ไปสู่วิหาร นั่งในสำนักพระศาสดาแล้ว

กราบทูลอย่างนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อสุกรทั้งหลาย อันนาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 173

จุนทสูกริก ปิดประตูเรือนฆ่าอยู่, วันนี้เป็นวันที่ ๗, มงคลกิริยาไร ๆ

ชะรอยจักมีในเรือน (ของเขา), ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมตตาจิต หรือ

ความกรุณาแม้อย่างหนึ่งของเขา ผู้ฆ่าสุกรทั้งหลายชื่อถึงเท่านี้ ย่อมไม่มี,

ก็สัตว์ผู้ร้ายกาจหยาบช้าเช่นนี้ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เคยเห็นเลย."

พระศาสดา ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เขาฆ่าสุกรตลอด ๗ วันนี้

หามิได้. อันผลที่เหมาะสมด้วยกรรมเกิดขึ้นแล้วแก่เขา, ความเร่าร้อน

ในอเวจีมหานรกปรากฏแก่เขาทั้งเป็นทีเดียว, ด้วยความเร่าร้อนนั้นเขา

ร้องเหมือนหนูเที่ยวไปภายในนิเวศน์อยู่ ตลอด ๗ วัน วันนี้ทำกาละ

แล้ว (ไป) เกิดในอเวจี," เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ เขาเศร้าโศกอย่างนี้ในโลกนี้แล้ว ยังจะไปเกิดในฐานะเป็นที่

เศร้าโศกเช่นกันอีกหรือ ?" ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า

ผู้ประมาทแล้ว เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม บรรพชิตก็ตาม ย่อมเศร้าโศกในโลก

ทั้งสองเป็นแท้" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๑๑. อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ

โส โสจติ โส วิหญฺติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺมตฺตโน

"ผู้ทำบาปเป็นปกติ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้

ละไปแล้วย่อมเศร้าโศก ย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสอง

เขาเห็นกรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศก,

เขาย่อมเดือดร้อน."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปการี เป็นต้น ความว่า บุคคล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 174

ผู้ทำบาปกรรมมีประการต่าง ๆ ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ในสมัยใกล้ตาย

โดยส่วนเดียวแท้ ด้วยคิดว่า "กรรมดีเรามิได้ทำไว้หนอ, กรรมชั่วเรา

ทำไว้แล้ว," นี้เป็นความเศร้าโศกเพราะกรรมของเขา; ก็เมื่อเขาเสวย

ผลอยู่ ชื่อว่าละไปแล้วย่อมเศร้าโศก, นี้เป็นความเศร้าโศกเพราะวิบาก

ในโลกหน้าของเขา; เขาย่อมเศร้าโศกในโลกทั้งสองอย่างนี้แล, ด้วย

เหตุนั้นแล แม้นายจุนทสูกริกนั้น ชื่อว่าย่อมเศร้าโศกทั้งเป็นทีเดียว.

บาทพระคาถาว่า ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺมตฺตโน ความว่า เขาเห็น

กรรมเศร้าหมองของตนแล้ว ย่อมเศร้าโศกบ่นเพ้อมีประการต่าง ๆ อยู่

ชื่อว่า ย่อมเดือดร้อน คือ ย่อมลำบาก.

ในกาลจบคาถา ภิกษุเป็นอันมากได้เป็นพระโสดาบันเป็นต้นแล้ว.

เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องนายจุนทสูกริก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 175

๑๑. เรื่องธัมมิกอุบาสก [๑๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภธัมมิก-

อุบาสก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ "

เป็นต้น.

อุบาสกและครอบครัวบำเพ็ญกุศลเป็นนิตย์

ได้ยินว่า ในเมืองสาวัตถี ได้มีอุบาสกผู้ปฏิบัติธรรมประมาณ

๕๐๐ คน. บรรดาอุบาสกเหล่านั้น คนหนึ่ง ๆ มีอุบาสกเป็นบริวาร

คนละ ๕๐๐. อุบาสกที่เป็นหัวหน้าแห่งอุบาสกเหล่านั้นมีบุตร ๗ คน

ธิดา ๗ คน. บรรดาบุตรและธิดาเหล่านั้น คนหนึ่ง ๆ ได้มีสลากยาคู

สลากภัต ปักขิกภัต สังฆภัต อุโปสถิกภัต อาคันตุกภัต

วัสสาวาสิกภัต อย่างละที่. ชนแม้เหล่านั้น ได้เป็นผู้ชื่อว่า อนุชาต-

บุตรด้วยกันทั้งหมดทีเดียว. (เป็นอันว่า) สลากยาคูเป็นต้น ๑ ที่ คือ

ของบุตร ๑๔ คน ของภรรยาหนึ่ง ของอุบาสกหนึ่ง ย่อมเป็นไป

ด้วยประการฉะนี้. เขาพร้อมทั้งบุตรและภรรยา ได้เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณ-

ธรรม มีความยินดีในอันจำแนกทาน ด้วยประการฉะนี้. ต่อมาในกาล

อื่น โรคเกิดขึ้นแก่เขา. อายุสังขารเสื่อมรอบแล้ว.

อุบาสกป่วยนอนฟังธรรม

เขาใคร่จะสดับธรรมจึงส่ง (คน) ไปสู่สำนักพระศาสดา ด้วย

กราบทูลว่า "ขอพระองค์ได้โปรดส่งภิกษุ ๘ รูป หรือ ๑๖ รูป ประทาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 176

แก่ข้าพระองค์เถิด."

พระศาสดา ทรงส่งภิกษุทั้งหลายไป. ภิกษุเหล่านั้น ไปแล้วนั่งบน

อาสนะที่ตบแต่งไว้ ล้อมเตียงของเขา อันเขากล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ

การเห็นพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จักเป็นของอันกระผมได้โดยยาก, กระผม

เป็นผู้ทุพพลภาพ, ขอพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย จงสาธยายพระสูตร ๆ หนึ่ง

โปรดกระผมเถิด."

จึงถามว่า "ท่านประสงค์จะฟังสูตรไหน ? อุบาสก" เมื่อเขา

เรียนว่า "สติปัฏฐานสูตร ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละแล้ว,"

จึงเริ่มสวดพระสูตรว่า "เอกายโน อย ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตาน

วิสุทฺธิยา" เป็นต้น ( ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางไปอย่างเอก เพื่อ

ความหมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลาย).

เทวดานำรถมารับอุบาสกไปเทวโลก

ขณะนั้น รถ ๖ คัน ประดับด้วยอลังการทุกอย่าง เทียมด้วย

ม้าสินธพพันตัว ใหญ่ประมาณได้ ๑๕๐ โยชน์ มาจากเทวโลก ๖ ชั้น.

เทวดายืนอยู่บนรถเหล่านั้นต่างก็เชื้อเชิญว่า " ข้าพเจ้า จักนำไปยังเทวโลก

ของข้าพเจ้า; ข้าพเจ้า จักนำไปยังเทวโลกของข้าพเจ้า, ท่านผู้เจริญ ขอ

จงเกิดในที่นี้ เพื่อความยินดีในเทวโลกของข้าพเจ้า เหมือนคนทำลาย

ภาชนะดินแล้วถือเอาภาชนะทองคำ."

อุบาสก ไม่ปรารถนาจะให้เป็นอันตรายแก่การฟังธรรม จึงกล่าว

ว่า "ท่านทั้งหลาย จงรอก่อน จงรอก่อน."

๑. ที. มหา. ๑๐/๓๒๕. ม. ม. ๑๒/๑๐๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 177

พวกภิกษุและบุตรธิดาอุบาสกเข้าใจผิด

ภิกษุ ต่างหยุดนิ่ง ด้วยเข้าใจว่า "อุบาสกพูดกับพวกเรา."

ลำดับนั้น บุตรและธิดาของเขา คิดว่า "บิดาของพวกเราแต่

ก่อน เป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการฟังธรรม, แต่บัดนี้ ให้นิมนต์ภิกษุมาให้ทำ

สาธยายแล้ว ห้ามเสียเองเทียว, ชื่อว่าสัตว์ผู้ไม่กลัวต่อมรณะไม่มี "

ดังนี้แล้ว ได้ร้องไห้.

พวกภิกษุ ปรึกษากันว่า " บัดนี้ไม่เป็นโอกาสแล้ว" จึงลุกจาก

อาสนะหลีกไป. อุบาสกยังเวลานิดหน่อยให้ล่วงไปแล้ว กลับได้สติถาม

ลูก ๆ ว่า "เพราะเหตุไร พวกเจ้าจึงคร่ำครวญกันเล่า ?"

พวกบุตรจึงบอกว่า " พ่อ พ่อให้นิมนต์ภิกษุมาแล้ว ฟังธรรมอยู่

ห้ามเสียเองเทียว, เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกผมจึงคิดว่า ' ชื่อว่าสัตว์ผู้ไม่กลัว

ต่อมรณะไม่มี ' ดังนี้ จึงคร่ำครวญ."

อุ. ก็พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ไปไหนเสีย ?

บุตร. พ่อ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ท่านพูดกันว่า ' ไม่เป็น

โอกาส ' ลุกจากอาสนะหลีกไปแล้ว.

อุ. พ่อมิได้พูดกับพระผู้เป็นเจ้า.

บุตร. ถ้าเช่นนั้น พ่อพูดกับใคร ?

เทวดาประดับรถ ๖ คัน นำมาจากเทวโลก ๖ ชั้น พักอยู่ใน

อากาศ ต่างเปล่งเสียงว่า ' ขอท่านจงยินดีในเทวโลกของข้าพเจ้า ขอท่าน

จงยินดีในเทวโลกของข้าพเจ้า,' พ่อพูดกับเทวดาเหล่านั้น [ต่างหาก].

บุตร. พ่อ รถที่ไหน ? พวกผมไม่เห็น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 178

อุ. ก็ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวงเพื่อพ่อมีไหม ?

บุตร. มี พ่อ.

อุ. เทวโลกชั้นไหน ? ควรเป็นที่รื่นรมย์.

บุตร. ภพดุสิต อันเป็นที่ประทับอยู่ของพระโพธิสัตว์ทุกพระองค์

ของพระพุทธมารดา และของพระพุทธบิดา เป็นที่รื่นรมย์ซิ พ่อ.

อุ. ถ้ากระนั้น พวกเจ้าจงเสี่ยงว่า ่ขอพวงดอกไม้ จงคล้องที่

รถมาจากภพดุสิต,' ดังนี้แล้ว เหวี่ยงพวงดอกไม้ไปเถอะ.

บุตรเหล่านั้นได้เหวี่ยงไปแล้ว. พวงดอกไม้นั้น ได้คล้องที่แอกรถ

ห้อยลงในอากาศ. มหาชนเห็นแต่พวงดอกไม้นั้น หาเห็นรถไม่. อุบาสก

พูดว่า " เจ้าทั้งหลายเห็นพวงดอกไม้นั่นไหม ?" เมื่อบุตรตอบว่า

" เห็นจ้ะ." จึงกล่าวว่า "พวงดอกไม้นั่น ห้อยที่รถซึ่งมาจากดุสิต,

เราจะไปสู่ภพดุสิต, พวกเจ้าอย่าวิตกไปเลย, พวกเจ้ามีความปรารถนาจะ

เกิดในสำนักเรา ก็จงทำบุญทั้งหลาย ตามทำนองที่เราทำแล้วเถิด" ดังนี้

แล้ว ทำกาละ ดำรงอยู่บนรถที่มาจากภพดุสิต. อัตภาพของเขาสูง

ประมาณ ๓ คาวุต ประดับด้วยอลังการหนักได้ ๖๐ เล่มเกวียน เกิดใน

ทันใดนั่นเอง, นางอัปสรพันหนึ่งแวดล้อมแล้ว. วิมานแก้วประมาณ

๒๕ โยชน์ปรากฏแล้ว.

พระศาสดา ตรัสถามภิกษุแม้เหล่านั้น ผู้มาถึงวิหารแล้วโดยลำดับ

ว่า "ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกได้ฟังธรรมเทศนาแล้วหรือ ?"

ภ. ฟังแล้ว พระเจ้าข้า แต่อุบาสก ได้ห้ามเสียในระหว่างนั่นแล

ว่า 'ขอท่านจงรอก่อน,' ลำดับนั้น บุตรและธิดาของอุบาสกนั้น

คร่ำครวญกันแล้ว, พวกข้าพระองค์ปรึกษากันว่า "บัดนี้ไม่เป็นโอกาส,'

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 179

จึงลุกจากอาสนะออกมา.

ศ. ภิกษุทั้งหลาย อุบาสกนั้นหาได้กล่าวกับพวกเธอไม่, ก็เทวดา

ประดับรถ ๖ คัน นำมาจากเทวโลก ๖ ชั้น เธอเชิญอุบาสกนั้นแล้ว,

เธอไม่ปรารถนาจะทำอันตรายแก่การแสดงธรรม จึงกล่าวกับเทวดา

เหล่านั้น.

ภ. อย่างนั้นหรือ ? พระเจ้าข้า.

ศ. อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย.

ภ. บัดนี้เขาเกิดแล้ว ณ ที่ไหน ?

ศ. ในภพดุสิต ภิกษุทั้งหลาย.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อุบาสกนั้น เที่ยวชื่นชมในท่ามกลาง

ญาติในโลกนี้แล้ว เกิดในฐานะเป็นที่ชื่นชมนั่นแลอีกหรือ ?

พระศาสดา ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย เพราะคนผู้ไม่

ประมาทแล้วทั้งหลาย เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ย่อม

บันเทิงในที่ทั้งปวงทีเดียว" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๑๒. อิธ โมทติ เปจฺจ โมทติ กตปุญฺโ อุภยตฺถ โมทติ

โส โมทติ โส ปโมทติ ทิสฺวา กมฺมวิสุทฺธิมตฺตโน.

"ผู้ทำบุญไว้แล้ว ย่อมบันเทิงในโลกนี้ ละไป

แล้ว ก็ย่อมบันเทิง ย่อมบันเทิงในโลกทั้งสอง เขา

เห็นความหมดจดแห่งกรรมของตน ย่อมบันเทิง,

เขาย่อมรื่นเริง."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 180

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กตปุญฺโ เป็นต้น ความว่า บุคคล

ผู้ทำกุศลมีประการต่าง ๆ ย่อมบันเทิง ด้วยความบันเทิงเพราะกรรม

ในโลกนี้ว่า "กรรมชั่วเราไม่ได้ทำลาย, กรรมดีเราทำแล้วหนอ," ละ

ไปแล้ว ย่อมบันเทิง ด้วยความบันเทิงเพราะวิบาก, ชื่อว่า ย่อมบันเทิง

ในโลกทั้งสองอย่างนี้.

บทว่า กมฺมวิสุทฺธึ เป็นต้น ความว่า แม้ธัมมิกอุบาสกเห็นกรรม

อันหมดจด ลือ ความถึงพร้อมแห่งบุญกรรมของตนแล้วก่อนแต่จะทำ

กาลกิริยา ย่อมบันเทิงแม้ในโลกนี้, ทำกาละแล้ว บัดนี้ก็ย่อมบันเทิง

คือย่อมบันเทิงยิ่งแท้ แม้ในโลกหน้า.

ในกาลจบคาถาชนเป็นอันมาก ได้เป็นพระอริยบุคคลพระโสดาบัน

เป็นต้น. พระธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องธัมมิกอุบาสก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 181

๑๒. เรื่องพระเทวทัต [๑๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเทวทัต

ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ ตปฺปติ เปจฺจ ตปฺปติ" เป็นต้น

เจ้าศากยะ ๖ พระองค์ทรงผนวช

เรื่องพระเทวทัต พระศาสดาตรัสชาดกทั้งหมด ที่ทรงปรารภ

พระเทวทัตให้พิสดารแล้ว ตั้งแต่เวลาผนวชถึงถูกแผ่นดินสูบ. ก็ความย่อ

ในเรื่องพระเทวทัตนี้ ดังต่อไปนี้ :-

เมื่อพระศาสดา ทรงอาศัยนิคมชื่ออนุปะยะแห่งมัลลกษัตริย์ ประทับ

อยู่.ที่อนุปิยอัมพวันนั่นแล, ในวันรับพระลักษณะแห่งพระตถาคตนั้นเทียว

ตระกูลพระญาติแปดหมื่นมอบพระโอรสแปดหมื่นให้ ด้วยคำว่า "สิทธัตถ-

กุมาร จงเป็นพระราชาก็ตาม เป็นพระพุทธเจ้าก็ตาม, จักมีกษัตริย์เป็น

บริวารเที่ยวไป," เมื่อพระโอรสเหล่านั้นผนวชแล้วโดยมาก, เหล่า

พระญาติเห็นศากยะ ๖ พระองค์นี้ คือ ภัททิยราชา อนุรุทธะ อานันทะ

ภคุ กิมพิละ เทวทัต ยังมิได้ผนวชจึงสนทนากันว่า "พวกเรายังให้ลูก ๆ

ของตนบวชได้, ศากยะทั้ง ๖ นี้ ชะรอยจะไม่ใช่พระญาติกระมัง ?

เพราะฉะนั้น จึงมิได้ทรงผนวช."

ครั้งนั้น เจ้ามหานามศากยะ เข้าไปหาเจ้าอนุรุทธะ ตรัสว่า "พ่อ

ผู้ออกบวชจากตระกูลของเรายังไม่มี, น้องจักบวช หรือว่า พี่จักบวช,"

ก็เจ้าอนุรุทธกุมารนั้น เป็นกษัตริย์ผู้สุขุมาล มีโภคะสมบูรณ์ แม้คำว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 182

"ไม่มี" พระองค์ก็ไม่เคยทรงสดับ. จริงอยู่ วันหนึ่งเมื่อกษัตริย์ ๖ พระองค์

นั้น ทรงเล่นกีฬาลูกขลุบอยู่, เจ้าอนุรุทธะทรงปราชัยด้วยขนมแล้ว ส่ง

(คน) ไปเพื่อต้องการขนม. คราวนั้น พระมารดาของท่านทรงจัดขนม

ส่งไป. กษัตริย์ทั้งหกเสวยแล้วทรงเล่นกันอีก. เจ้าอนุรุทธะนั้นแล เป็น

ฝ่ายแพ้ร่ำไป. ส่วนพระมารดา เมื่อพระองค์ส่งคนไป ๆ ก็ส่งขนมไป

ถึง ๓ ครั้ง ในวาระที่ ๔ ส่งไปว่า "ขนมไม่มี." พระกุมารทรงสำคัญ

ว่า "ขนมแม้นี้ จักเป็นขนมประหลาดชนิดหนึ่ง" เพราะไม่เคยทรงได้

ยินคำว่า "ไม่มี" จึงส่งคนไปว่า " จงนำขนมไม่มีนั่นแลมาเถอะ ."

ฝ่ายพระมารดาของท่าน เมื่อเขาทูลว่า " ข้าแต่พระแม่เจ้า ได้

ยินว่า พระองค์จงประทานขนมไม่มี," จึงทรงพระดำริว่า "ลูกของเรา

ไม่เคยได้ยินบทว่า 'ไม่มี,' แต่เราจักให้รู้ความนั่นด้วยอุบายนี้" จึงทรง

ปิดถาดทองคำเปล่าด้วยถาดทองคำอื่นแล้วส่งไป.

เหล่าเทวดาที่รักษาพระนครคิดว่า " เจ้าอนุรุทธศากยะได้ถวายภัต

อันเป็นส่วนตัวแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะ ในคราวที่ตนเป็น

นายอันนภาระ ทรงทำความปรารถนาไว้ว่า ' ขอข้าพเจ้าจงอย่าได้สดับ

คำว่า 'ไม่มี,' อย่ารู้สถานที่เกิดแห่งโภชนะ,' ถ้าว่าเจ้าอนุรุทธะนี้ จัก

ทรงเห็นถาดเปล่าไซร้, พวกเราก็จักไม่ได้เข้าไปสู่เทวสมาคม, ทั้งศีรษะ

ของพวกเราก็จะพึงแตก ๗ เสี่ยง." ทีนั้น จึงได้ทำถาดนั้นให้เต็มด้วย

ขนมทิพย์ เมื่อถาดนั้นพอเขาวางลงที่สนามเล่นขลุบแล้วเปิดขึ้น, กลิ่น

ขนมก็ตั้งตลบไปทั่วทั้งพระนคร. ชิ้นขนม แต่พอกษัตริย์ทั้งหกหยิบ

เข้าไปในพระโอฐเท่านั้น ก็แผ่ซ่านไปทั่วประสาทรับรสทั้งเจ็ดพัน.

พระกุมารนั้นทรงพระดำริว่า "เราคงจะไม่เป็นที่รักของพระมารดา,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 183

พระมารดาจึงไม่ทรงปรุงชื่อขนมไม่มีนี้ประทานเรา ตลอดเวลาถึงเพียงนี้,

ตั้งแต่นี้ไป เราจักไม่กินขนมอื่น," ดังนี้แล้ว เสด็จไปสู่ตำหนัก ทูลถาม

พระมารดาว่า "เจ้าแม่ หม่อมฉันเป็นที่รักของเจ้าแม่หรือไม่เป็นที่รัก ?"

ม. พ่อ พ่อย่อมเป็นที่รักยิ่งของแม่ เสมือนนัยน์ตาของคนมีตา

ข้างเดียว และเหมือนดวงใจ (ของแม่ ) ฉะนั้น.

อ. เมื่อเช่นนั้น เหตุไร เจ้าแม่จึงไม่ทรงปรุงขนมไม่มี ประทาน

แก่หม่อนฉันตลอดเวลาถึงเพียงนี้เล่า เจ้าแม่.

พระนางรับสั่งถามมหาดเล็กคนสนิทว่า "ขนมอะไร ๆ มีอยู่ใน

ถาดหรือ พ่อ. เขาทูลว่า " ข้าแต่พระแม่เจ้า ถาดเต็มเปี่ยมด้วยขนม,

ชื่อว่าขนมเห็นปานนี้ กระหม่อมฉันก็ยังไม่เคยเห็นแล้ว." พระนางทรง

พระดำริว่า "บุตรของเราจักเป็นผู้มีบุญ มีอภินิหารได้ทำไว้แล้ว, เทวดา

ทั้งหลายจักใส่ขนมให้เต็มถาดส่งไปแล้ว. ลำดับนั้นพระโอรสจึงทูลพระ-

มารดาว่า "เจ้าแม่ ตั้งแต่นี้ไป หม่อมฉันจักไม่เสวยขนมอื่น, ขอเจ้าแม่

พึงปรุงแต่ขนมไม่มีอย่างเดียว." ตั้งแต่นั้นมา แม้พระนาง เมื่อพระกุมาร

นั้นทูลว่า "หม่อมฉันต้องการเสวยขนม" ก็ทรงครอบถาดเปล่านั่นแล

ด้วยถาดอื่น ส่งไปประทานพระกุมารนั้น. เทวดาทั้งหลายส่งขนมทิพย์

ถวายพระกุมารนั้นตลอดเวลาที่ท่านเป็นฆราวาส.

เจ้าทั้งสองสนทนากันถึงเรื่องบวชและการงาน

พระกุมารนั้นเมื่อไม่ทรงทราบแม้คำมีประมาณเท่านี้ จักทรงทราบ

ถึงการบวชได้อย่างไร ? เพราะฉะนั้น พวกกุมารจึงทูลถามพระภาดาว่า

การบวชนี้เป็นอย่างไร ?" เมื่อเจ้ามหานามตรัสว่า "ผู้บวช ต้องโกนผม

๑. อคารมชฺเฌ วสิ. ประทับอยู่ในท่ามกลางเรือน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 184

และหนวด ต้องนุ่งห่มผ้ากาสายะ ต้องนอนบนเครื่องลาดด้วยไม้ หรือ

บนเตียงที่ถักด้วยหวาย เที่ยวบิณฑบาตอยู่, นี้ชื่อว่าการบวช." จึงทูลว่า

" เจ้าพี่ หม่อมฉันเป็นสุขุมาลชาติ, หม่อมฉันจักไม่สามารถบวชได้."

เจ้ามหานามตรัสว่า "พ่อ ถ้าอย่างนั้น พ่อจงเรียนการงานอยู่เป็น

ฆราวาสเถิด, ก็ในเราทั้งสองจะไม่บวชเลยสักคนไม่ควร ."

ขณะนั้น อนุรุทธกุมารทูลถามเจ้าพี่ว่า " ชื่อว่าการงานนี้

อย่างไร ?" กุลบุตรผู้ไม่รู้แม้สถานที่เกิดแห่งภัต จักรู้จักการงานได้

อย่างไร ?

เจ้าศากยะทั้ง ๓ สนทนากันถึงที่เกิดแห่งภัต

ก็วันหนึ่ง การสนทนาเกิดขึ้นแก่กษัตริย์ ๓ องค์ว่า " ชื่อว่าภัต

เกิดขึ้นที่ไหน ?" กิมพิลกุมาร รับสั่งว่า "เกิดขึ้นในฉาง ." ครั้งนั้น

ภัททิยกุมาร ตรัสค้านกิมพิลกุมารนั้นว่า " ท่านยังไม่ทราบที่เกิดแห่ง

ภัต, ชื่อว่าภัต ย่อมเกิดขึ้นที่หม้อข้าว." อนุรุทธะตรัสแย้งว่า "ถึง

ท่านทั้งสองก็ยังไม่ทรงทราบ, ธรรมดาภัต ย่อมเกิดขึ้นในถาดทองคำ

ประมาณศอกกำ."

ได้ยินว่า บรรดากษัตริย์ ๓ องค์นั้น วันหนึ่ง กิมพิลกุมาร ทรง

เห็นเขาขนข้าวเปลือกลงจากฉาง ก็เข้าพระทัยว่า "ข้าวเปลือกเหล่านี้

เกิดขึ้นแล้วในฉางนั่นเอง."

ฝ่ายพระภัททิยกุมาร วันหนึ่ง ทรงเห็นเขาคดภัตออกจากหม้อข้าว

ก็เข้าพระทัยว่า "ภัตเกิดขึ้นในหม้อข้าวนั่นเอง."

ส่วนอนุรุทธกุมาร ยังไม่เคยทรงเห็นคนซ้อมข้าว คนหุงข้าว หรือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 185

คนคดข้าว, ทรงเห็นแต่ข้าวที่เขาคดแล้วตั้งไว้ เฉพาะพระพักตร์เท่านั้น.

ท่านจึงทรงเข้าพระทัยว่า "ภัตเกิดในถาด ในเวลาที่ต้องการบริโภค."

กษัตริย์ทั้ง ๓ พระองค์นั้น ย่อมไม่ทรงทราบแม้ที่เกิดแห่งภัต ด้วย

ประการอย่างนี้. เพราะฉะนั้น อนุรุทธกุมารนี้จึงทูลถามว่า " ขึ้นชื่อว่า

การงานนี้เป็นอย่างไร ? ครั้นได้ทรงฟังกิจการที่ฆราวาสจะพึงทำประจำปี

มีอาทิว่า " เบื้องต้นต้องให้ไถนา," จึงตรัสว่า "เมื่อไร ที่สุดแห่ง

การงานทั้งหลายจักปรากฏ, เมื่อไร หม่อมฉันจึงจักมีความขวนขวาย

น้อย ใช้สอยโภคะได้เล่า" เมื่อเจ้ามหานามตรัสบอกความไม่มีที่สุดแห่ง

การงานทั้งหลายแล้ว ทูลว่า " ถ้าอย่างนั้นขอเจ้าพี่นั่นแล ทรงครอง

ฆราวาสเถิด หม่อมฉันหาต้องการด้วยฆราวาสนั้นไม่" ดังนี้แล้ว เข้า

เฝ้าพระมารดา กราบทูลว่า " เจ้าแม่ ขอเจ้าแม่อนุญาตหม่อมฉันเถิด,

หม่อมฉันจักบวช ." เมื่อพระนางทรงห้ามถึง ๒ ครั้ง ตรัสว่า " ถ้า

พระเจ้าภัททิยะ พระสหายของลูก จักผนวชไซร้, ลูกจงบวชพร้อมด้วย

ท้าวเธอ," จึงเข้าไปเฝ้าพระเจ้าภัททิยะนั้น ทูลว่า " สหาย การบวช

ของหม่อนฉัน เนื่องด้วยพระองค์ดังนี้แล้วได้ยังพระภัททิยะนั้นให้ทรงยิน

ยอมด้วยประการต่าง ๆ. ในวันที่ ๗ ทรงรับปฏิญญา เพื่อประโยชน์

จะผนวชกับด้วยพระองค์.

อุบาลีออกบวชพร้อมด้วยศากยะทั้งหก

แต่นั้น กษัตริย์ทั้งหกองค์นี้ คือ ภัททิยศากยราซ อนุรุทธะ

อานนท์ ภคุ กิมพิละ และเทวทัต เป็น ๗ ทั้งอุบาลีนายภูษามาลา

ทรงเสวยมหาสมบัติตลอด ๗ วัน ประดุจเทวดาเสวยทิพยสมบัติ, แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 186

เสด็จออกด้วยจตุรงคินีเสนา ประหนึ่งว่าเสด็จไปพระอุทยาน ถึงแดน

กษัตริย์พระองค์อื่นแล้ว ทรงส่งกองทัพทั้งสิ้นให้กลับด้วยพระราชอาชญา

เสด็จย่างเข้าสู่แดนกษัตริย์พระองค์อื่น. ใน ๗ คนนั้น กษัตริย์ ๖

พระองค์ทรงเปลื้องอาภรณ์ของตน ๆ ทำเป็นห่อแล้ว รับสั่งว่า "แน่ะ

นายอุบาลี เชิญเธอกลับไปเถอะ, ทรัพย์เท่านี้พอเลี้ยงชีวิตของเธอ"

ดังนี้แล้ว ประทานแก่เขา. เขากลิ้งเกลือกรำพัน แทบพระบาทของ

กษัตริย์ ๖ พระองค์นั้น เมื่อไม่อาจล่วงอาชญาของกษัตริย์เหล่านั้น จึง

ลุกขึ้น ถือห่อของนั้นกลับไป. ในกาลแห่งชนเหล่านั้นเกิดเป็น ๒ พวก

ป่าได้เป็นประหนึ่งว่าถึงซึ่งการร้องไห้, แผ่นดินได้เป็นประหนึ่งว่าถึงซึ่ง

อาการหวั่นไหว. ฝ่ายอุบาลีภูษามาลาไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับ คิดอย่างนี้ว่า

"พวกศากยะดุร้ายนัก จะพึงฆ่าเราเสียด้วยเข้าพระทัยว่า ' พระกุมาร

ทั้งหลายถูกเจ้าคนนี้ปลงพระชนม์เสียแล้ว ดังนี้ก็ได้, ก็ธรรมดาว่าศากย

กุมารเหล่านี้ทรงสละสมบัติเห็นปานนี้ ทิ้งอาภรณ์อันหาค่ามิได้เหล่านี้เสีย

ดังก้อนเขฬะแล้ว จักผนวช, ก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงเราเล่า ?" ครั้น

คิด (ดังนี้ ) แล้ว จึงแก้ห่อของออก เอาอาภรณ์เหล่านั้นแขวนไว้บน

ต้นไม้แล้ว กล่าวว่า " ผู้มีความต้องการทั้งหลายจงถือเลาเถิด" ดังนี้

แล้ว ไปสู่สำนัก ของศากยกุมารเหล่านั้น อันศากยกุมารเหล่านั้นตรัส

ถามว่า "เพราะเหตุอะไร ? เธอจึงกลับมา" ก็กราบทูลความนั้นแล้ว.

ศากยะทั้งหกบรรลุคุณพิเศษ

ลำดับนั้น ศากยกุมารเหล่านั้น ทรงพาเขาไปสู่สำนักพระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 187

ถวายบังคมพระผู้มีภาคเจ้าแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์ทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นพวกศากยะ มีความถือตัวประจำ (สันดาน),

ผู้นี้เป็นคนบำเรอของพวกข้าพระองค์ ตลอดราตรีนาน, ขอพระองค์

โปรดให้ผู้นี้บวชก่อน, ข้าพระองค์ทั้งหลาย จักทำสามีจิกรรมมีการ

อภิวาทเป็นต้นแก่เขา, ความถือตัวของข้าพระองค์ จักสร่างสิ้นไปด้วย

อาการอย่างนี้," ดังนี้แล้ว ให้อุบาลีนั้นบวชก่อน, ภายหลังตัวจึงได้ทรง

ผนวช. บรรดาศากยภิกษุ ๖ รูปนั้นท่านพระภัททิยะได้เป็นพระอรหันต์

เตวิชโช โดยระหว่างพรรษานั้นนั่นเอง. ท่านพระอนุรุทธะเป็นผู้มีจักษุ

เป็นทิพย์ ภายหลังทรงสดับมหาปุริสวิตักกสูตร ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

ท่านพระอานนท์ ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. พระภคุเถระและพระ-

กิมพิลเถระ ภายหลังเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต. พระเทวทัตได้

บรรลุฤทธิ์อันเป็นของปุถุชน.

พระเทวทัตแสดงฤทธิ์แก่อชาตสัตรูราชกุมาร

ในกาลต่อมา เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงโกสัมพี, ลาภและ

สักการะเป็นอันมาก เกิดขึ้นแด่พระตถาคตพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวก.

มนุษย์ทั้งหลายในกรุงโกสัมพีนั้น มีมือถือผ้าและเภสัชเป็นต้น เข้าไป

สู่วิหารแล้ว ถามกันว่า "พระศาสดาประทับอยู่ที่ไหน ? พระสารีบุตร-

เถระอยู่ที่ไหน ? พระมหาโมคคัลลานเถระอยู่ที่ไหน ? พระมหากัสสป-

เถระอยู่ที่ไหน ? พระภัททิยเถระอยู่ที่ไหน ? พระอนุรุทธเถระอยู่ที่

ไหน ? พระอานนทเถระอยู่ที่ไหน ? พระภคุเถระอยู่ที่ไหน ? พระ-

๑. วิชชา ๓ คือ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ๑ จุตูปปาตญาณ ๑ อาสวักขยญาณ ๑.

๒. อัง. อัฏฐก. ๒๓/ ๓๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 188

กิมพิสเถระอยู่ที่ไหน ?" ดังนี้แล้ว เที่ยวตรวจดูที่นั่งแห่งอสีติมหาสาวก.

ชื่อว่าผู้ถามว่า " พระเทวทัตเถระนั่งหรือยืนที่ไหน ?" ดังนี้ ย่อมไม่มี.

พระเทวะทัตนั้นจึงคิดว่า " เราบวชพร้อมกับด้วยศากยะเหล่านี้เหมือนกัน.

แม้ศากยะเหล่านี้ เป็นขัตติยบรรพชิต, แม้เราก็เป็นขัตติยบรรพชิต.

พวกมนุษย์มีมือถือลาภและสักการะแสวงหาท่านเหล่านี้อยู่, ผู้เอ่ยถึงชื่อ

ของเราบ้างมิได้มี, เราจะสมคบกับใครหนอแล พึงยังใครให้เลื่อมใสแล้ว

ยังลาภและสักการะให้เกิดแก่เราได้." ทีนั้น ความตกลงใจนี้มีแก่เธอว่า

" พระเจ้าพิมพิสารนี้ พร้อมกับบริวาร ๑ นหุต ทรงดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผลแล้ว ด้วยการเห็นครั้งแรกนั่นแล, เราไม่อาจจะสมคบกับพระ-

ราชานั้นได้. แม้กับพระเจ้าโกศล เราก็ไม่สามารถจะสมคบได้, ส่วนพระ-

อชาตสัตรูกุมาร พระโอรสของพระราชานี้แล ยังไม่รู้คุณเเละโทษของ

ใคร ๆ, เราจักสมคบกับกุมารนั่น." พระเทวทัตนั้นออกจากกรุงโกสัมพี

ไปสู่กรุงราชคฤห์ นฤมิตเพศเป็นกุมารน้อย พันอสรพิษ ๔ ตัวที่มือและ

เท้าทั้งสี่, ตัวหนึ่งที่คอ, ตัวหนึ่งทำเป็นเทริดบนศีรษะ, ตัวหนึ่งทำ

เฉวียงบ่า, ลงจากอากาศด้วยสังวาลงูนี้ นั่งบนพระเพลาของอชาตสัตรู-

กุมาร, เมื่อพระกุมารนั้นทรงกลัวแล้ว ตรัสว่า " ท่านเป็นใคร ?"

จึงถวายพระพรว่า " อาตมะ คือเทวทัต," เพื่อจะบรรเทาความกลัวของ

พระกุมาร จึงกลับอัตภาพนั้น เป็นภิกษุทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร

ยืนอยู่เบื้องหน้า ยังพระกุมารนั้นให้ทรงเลื่อมใส ยังลาภและสักการะให้

เกิดแล้ว.

๑. เอกโต หุตฺวา. ๒. หมายถึงพระเจ้าพิมพิสารผู้ครองมคธรัฐ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 189

พระเทวทัตพยายามฆ่าพระพุทธเจ้า

พระเทวทัตนั้น อันลาภและสักการะครอบงำแล้ว ยังความคิดอัน

ลามกให้เกิดขึ้นว่า "เราจักบริหารภิกษุสงฆ์" ดังนี้แล้ว เสื่อมจากฤทธิ์

พร้อมด้วยจิตตุปบาทแล้ว ถวายบังคมพระศาสดาซึ่งกำลังทรงแสดงธรรม

แก่บริษัทพร้อมด้วยพระราชา ในพระเวฬุวันวิหาร ลุกจากอาสนะแล้ว

ประคองอัญชลี กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า เวลานี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงชราแก่เฒ่าแล้ว, ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงเป็นผู้ขวนขวายน้อย

ประกอบเนือง ๆ ซึ่งธรรมเครื่องอยู่สบายในทิฏฐธรรมเถิด, หม่อมฉัน

จักบริหารภิกษุสงฆ์ ขอพระองค์โปรดมอบภิกษุสงฆ์ประทานแก่หม่อม

ฉันเถิด" ดังนี้แล้ว ถูกพระศาสดาทรงรุกรานด้วยเขฬาสิกวาทะ ทรง

ห้ามแล้ว, ไม่พอใจ ได้ผูกอาฆาตนี้ในพระตถาคตเป็นครั้งแรกแล้วหลีก

ไป.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่งให้ทำปกาสนียกรรมในกรุง

ราชคฤห์แก่เธอแล้ว. เธอคิดว่า "เดี๋ยวนี้เราถูกพระสมณโคดมกำจัดเสีย

แล้ว, บัดนี้ เราจักทำความพินาศแก่พระสมณโคดมนั้น" ดังนี้แล้วจึงไป

เฝ้าเจ้าอชาตสัตรูกุมาร ทูลว่า "พระกุมาร เมื่อก่อนแลมนุษย์ทั้งหลายมี

อายุยืน, บัดนี้อายุน้อย, ก็ข้อที่พระองค์พึงทิวงคตเสียตั้งแต่ยังเป็นพระ-

กุมาร นั่นเป็นฐานะมีอยู่แล, พระกุมาร ถ้ากระนั้นพระองค์จงสำเร็จ

โทษพระบิดาเป็นพระราชาเถิด, อาตมะสำเร็จโทษพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

จักเป็นพระพุทธเจ้า," ครั้นเมื่อพระกุมารนั้นดำรงอยู่ในราชสมบัติแล้ว

ได้แต่งบุรุษทั้งหลายเพื่อจะฆ่าพระตถาคต, ครั้นเมื่อบุรุษเหล่านั้นบรรลุ

๑. ด้วยวาทะว่า ผู้บริโภคปัจจัยดุจน้ำลาย. ๒. กรรมอันสงฆ์ควรประกาศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 190

โสดาปัตติผลกลับไปแล้ว, จึงขึ้นเขาคิชฌกูฏเอง กลิ้งศิลาด้วยจงใจว่า

"เราเองจักปลงพระสมณโคดมจากชีวิต" ได้ทำกรรมคือยังพระโลหิตให้

ห้อขึ้น, เมื่อไม่อาจฆ่าด้วยอุบายแม้นี้ จึงให้ปล่อยช้างนาฬาคิรีไปอีก. เมื่อ

ช้างนั้นกำลังเดินมา, พระอานนทเถระยอมสละชีวิตของตนถวายพระ-

ศาสดา ได้ยืนขวางหน้าแล้ว.

พระศาสดาทรงทรมานช้างแล้ว เสด็จออกจากพระนครมาสู่พระ-

วิหาร เสวยมหาทานที่พวกอุบาสกหลายพันนำมาแล้ว ทรงแสดงอนุ-

ปุพพีกถาโปรดชาวกรุงราชคฤห์นับได้ ๑๘ โกฏิ ซึ่งประชุมกันในวันนั้น

ธรรมาภิสมัยเกิดมีแก่สัตว์ประมาณแปดหมื่นสี่พัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับกถาพรรณนาคุณของพระเถระว่า

"โอ ท่านพระอานนท์มีคุณมาก; เมื่อพระยาช้างชื่อเห็นปานนั้นมาอยู่,

ได้ยอมสละชีวิตของตนยืนขวางหน้าพระศาสดา" ดังนี้แล้วตรัสว่า "ภิกษุ

ทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น; ถึงในครั้งก่อน อานนท์นี้ ก็ยอมสละ

ชีวิตเพื่อประโยชน์แห่งเราแล้วเหมือนกัน" อันภิกษุทั้งหลายทูลอ้อนวอน

แล้ว จึงตรัสจุลหังสชาดก มหาหังสชาดก และกักกฎกชาดก.

กรรมชั่วของพระเทวทัตปรากฏแก่มหาชน

กรรมแม้ของพระเทวทัต เพราะยังพระอชาตสัตรูกุมารให้สำเร็จ

โทษพระราชา (พระราชบิดา ) เสียก็ดี เพราะแต่งนายขมังธนูก็ดี

เพราะกลิ้งศิลาก็ดี มิได้ปรากฏเหมือนเพราะปล่อยช้างนาฬาคิรีเลย. คราว

นั้นแล มหาชนได้โจษจันกันขึ้นว่า "แม้พระราชาก็พระเทวทัตนั่นเอง

๑. ชา. ๒๘/๖๘. อรรถกถา. ๘/๒๑๑. ๒. ขุ. ชา. ๒๘/๗๗. อรรถกถา. ๘/๒๔๒.

๓. ขุ. ชา. ๒๗/๑๔๕. อรรถกถา. ๔/๓๓๕ เรื่องกักการุชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 191

เป็นผู้ให้สำเร็จโทษเสีย. แม้นายขมังธนูก็พระเทวทัตนั่นเองแต่งขึ้น, แม้

ศิลาก็พระเทวทัตเหมือนกันกลิ้งลง, และบัดนี้เธอก็ได้ปล่อยช้างนาฬาคิรี,

พระราชาทรงเที่ยวคบคนลามกเห็นปานนี้." พระราชาทรงสดับถ้อยคำ

ของมหาชนแล้ว จึงให้นำสำรับ ๕๐๐ คืนมา มิได้เสด็จไปยังที่อุปัฏฐาก

ของพระเทวทัตนั้นอีก. ถึงชาวพระนครก็มิได้ถวายแม้วัตถุมาตรว่าภิกษา

แก่เธอซึ่งเข้าไปยังสกุล.

พระเทวทัตทูลขอวัตถุ ๕ ประการ

พระเทวทัตนั้น เสื่อมจากลาภและสักการะแล้ว ประสงค์จะเลี้ยง

ชีวิตด้วยการหลอกลวง จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลขอวัตถุ ๕ ประการ

อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงห้ามว่า " อย่าเลย เทวทัต ผู้ใดปรารถนา,

ผู้นั้นก็จงเป็นผู้อยู่ป่าเถิด" ดังนี้แล้ว ทูลว่า "ผู้มีอายุ คำพูดของใคร

จะงาม ของพระตถาคตหรือของข้าพระองค์ ? ก็ข้าพระองค์กล่าวด้วย

สามารถข้อปฏิบัติอย่างอุกฤษฏ์อย่างนี้ว่า ' พระเจ้าข้า ดังข้าพระองค์ขอ

ประทานโอกาส ขอภิกษุทั้งหลายจงเป็นผู้อยู่ป่า เที่ยวบิณฑบาต ทรงผ้า

บังสุกุล อยู่โคนไม้ อย่าพึงฉันปลาและเนื้อจนตลอดชีวิต," แล้วกล่าวว่า

"ผู้ใดใคร่จะพ้นจากทุกข์, ผู้นั้นจงมากับเรา" ดังนี้แล้ว หลีกไป. ภิกษุ

บางพวกบวชใหม่ มีความรู้น้อย ได้สดับถ้อยคำของพระเทวทัตนั้นแล้ว

ชักชวนกันว่า "พระเทวทัตพูดถูก พวกเราจักเที่ยวไปกับพระเทวทัตนั้น"

ดังนี้แล้ว ได้สมคบกับเธอ.

๑. วิ. จุล. ๗/๑๙๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 192

พระเทวทัตทำลายสงฆ์

พระเทวทัตนั้น ยังชนผู้เลื่อมใสในของเศร้าหมองให้เข้าใจ ด้วย

วัตถุ ๕ ประการนั้น พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูปให้เที่ยวขอ (ปัจจัย)

ในสกุลทั้งหลายมาบริโภค พยายามเพื่อทำสายสงฆ์แล้ว. เธออันพระผู้มี

พระภาคเจ้า ตรัสถามว่า " เทวทัต ได้ยินว่า เธอพยายามเพื่อทำลาย

สงฆ์ เพื่อทำลายจักร จริงหรือ ?" ทูลว่า " จริง พระผู้มีพระภาค."

แม้พระองค์ทรงโอวาทด้วยพระพุทธพจน์มีอาทิว่า " เทวทัต การทำลาย

สงฆ์มีโทษหนักแล" ก็มิได้เชื่อถือพระวาจาของพระศาสดาหลีกไปแล้ว,

พบท่านพระอานนท์ซึ่งกำลังเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ จึงกล่าวว่า

" อานนท์ ผู้มีอายุ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้า จักทำอุโบสถ จักทำ

สังฆกรรมเว้นจากพระผู้มีพระภาคเจ้า เว้นจากภิกษุสงฆ์."

พระเถระกราบทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรง

ทราบความนั้นแล้ว เกิดธรรมสังเวช ทรงปริวิตกว่า " เทวทัตทำกรรม

เป็นเหตุให้ตนไหม้ในอเวจี อันเกี่ยวถึงความฉิบหายแก่สัตวโลกทั้งเทว-

โลก" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

"กรรมทั้งหลายที่ไม่ดีและไม่เป็นประโยชน์แก่

ตน ทำได้ง่าย กรรมใดแลเป็นประโยชน์ด้วย ดีด้วย

กรรมนั้นแลทำได้ยากอย่างยิ่ง."

ทรงเปล่งพระอุทานนี้อีกว่า

"กรรมดีคนดีทำได้ง่าย กรรมดีคนชั่วทำได้ยาก

กรรมชั่วคนชั่วทำได้ง่าย กรรมชั่วพระอริยเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 193

ทั้งหลายทำได้ยาก."

ครั้งนั้นแล พระเทวทัตนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งพร้อมด้วยบริษัทของ

ตน ในวันอุโบสถ กล่าวว่า " วัตถุ ๕ ประการเหล่านี้ ย่อมชอบใจ

แก่ผู้ใด, ผู้นั้นจงจับสลาก" เมื่อพวกภิกษุวัชชีบุตร ๕๐๐ รูป ผู้บวช

ใหม่ ยังไม่รู้จักธรรมวินัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำทั่วถึง จับสลากกัน

แล้ว, ได้ทำลายสงฆ์ พาภิกษุเหล่านั้นไปสู่คยาสีสประเทศ.

อัครสาวกทั้งสองชักจูงภิกษุกลับเข้าพวกได้

พระศาสดา ทรงสดับความที่พระเทวทัตนั้นไปแล้ว ณ ที่นั้น จึง

ทรงส่งพระอัครสาวกทั้งสองไป เพื่อประโยชน์แก่การนำภิกษุเหล่านั้นมา.

พระอัครสาวกทั้งสองนั้นไป ณ ที่นั้นแล้ว พร่ำสอนอยู่ด้วยอนุสาสนีเนื่อง

ในอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีอันเนื่องในอิทธิปาฏิหาริย์ ยังภิกษุ

เหล่านั้นให้ดื่มอมตธรรมแล้ว ได้พามาทางอากาศ.

ฝ่ายพระโกกาลิกะแล กล่าวว่า "เทวทัตผู้มีอายุ ลุกขึ้นเถิด, พระ-

สารีบุตรและพระโมคคัลลานะ นำเอาภิกษุเหล่านั้นไปหมดแล้ว, ผมบอก

ท่านแล้วไม่ใช่หรือว่า ' ผู้มีอายุ ท่านอย่าไว้ในพระสารีบุตรและพระ-

โมคคัลลานะ, ( เพราะ) พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะมีความ

ปรารถนาลามก ลุอำนาจแห่งความปรารถนาลามก" ดังนี้แล้ว เอาเข่า

กระแทกที่ทรวงอก (พระเทวทัต). โลหิตอื่นได้พลุ่งออกจากปาก

พระเทวทัตในที่นั่นเอง.

ฝ่ายพวกภิกษุเห็นท่านพระสารีบุตร มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมมาทาง

๑. วิ. จุล. ๗/๖๙๕. ขุ. อุ. ๒๕/๑๖๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 194

อากาศแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตร

ในเวลาไป มีตนเป็นที่ ๒ เท่านั้นไปแล้ว, บัดนี้มีบริวารมากมา ย่อม

งามแท้."

บุรพกรรมของพระเทวทัต

พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น. แม้

ในกาลที่เธอเกิดในกำเนิดดิรัจฉาน บุตรของเรา มาสู่สำนักของเรา

ก็ย่อมงามเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ได้ตรัสชาดกนี้ว่า

"ความจำเริญ ย่อมมีแก่ผู้มีศีลทั้งหลาย ผู้

ประพฤติปฏิสันถาร, ท่านจงดูเนื้อชื่อลักขณะ อัน

หมู่ญาติแวดล้อมมาอยู่, อนึ่ง ท่านจงดูเนื้อชื่อกาละนี้

ที่เสื่อมจากญาติทั้งหลายเทียว"

ดังนี้เป็นต้น, เมื่อพวกภิกษุกราบทูลอีกว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ได้ทราบว่า พระเทวทัต ให้พระอัครสาวก ๒ องค์นั่งที่ข้างทั้งสองแล้ว

กล่าวว่า ' เราจะแสดงธรรมด้วยพุทธลีลา' ทำกิริยาตามอย่างพระองค์

แล้ว" ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่แต่บัดนี้เท่านั้น, แม้ครั้งก่อน

เทวทัตนี้ ก็พยายามทำตามเยี่ยงอย่างของเรา แต่ไม่สามารถ" ดังนี้

แล้ว ตรัสนทีจรกากชาดกว่า

"เออก็ วีรกะ ท่านย่อมเห็นนก ชื่อสวิฏฐกะ

ซึ่งขานเพราะ มีสร้อยคอเหมือนนกยูง ซึ่งเป็นผัว

ของฉันไหม ? นกสวิฏฐกะ ทำเยี่ยงนกที่เที่ยวไป

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๔. อรรถกถา. ๑/๒๑๗. ลักขณชาดก.

๒. ขุ. ชา. ๒๗/๗๕. อรรถกถา. ๓/๑๙๘. เรื่อง วีรชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 195

ได้ทั้งในน้ำและบนบก บริโภคปลาสดเป็นนิตย์นั้น

ถูกสาหร่ายพันตายแล้ว"

ดังนี้เป็นต้น, แม้วันอื่น ๆ อีก ทรงปรารภกถาเช่นนั้นเหมือนกัน ตรัส

ชาดกทั้งหลายเป็นต้นอย่างนี้ว่า

"นกกระไนนี้ เมื่อจะเจาะซึ่งหมู่ไม้ทั้งหลาย ได้

เที่ยวไปแล้วหนอ ที่ต้นไม้มีอวัยวะเป็นไม้แห้งไม่มี

แก่น, ภายหลังมาถึงไม้ตะเคียน ที่มีแก่นเกิด

แล้ว ได้ทำลายขมองศีรษะแล้ว."

ละว่า "ไขข้อของท่าน ไหลออกแล้ว, กระหม่อม

ของท่าน อันช้างเหยียบแล้ว, ซี่โครงทุกซี่ของท่าน

อันช้างหักเสียแล้ว คราวนี้งามหน้าละซิเพื่อน."

ทรงปรารภกถาว่า "พระเทวทัต เป็นผู้อกตัญญู," จึงตรัสชาดกทั้งหลาย

มีอาทิอีกว่า

"ข้าพเจ้าได้ทำกิจให้ท่านจนสุดกำลังของข้าพเจ้า

ที่มีอยู่เทียว, ข้าแต่พระยาเนื้อ ข้าพเจ้าขอนอบน้อม

ต่อท่าน, ข้าพเจ้าน่าได้อะไร ๆ บ้างซิ, ข้อที่เจ้า

อยู่ในระหว่างฟันของเรา ผู้มีโลหิตเป็นภักษา ทำ

กรรมหยาบช้าเป็นนิตย์ ยังเป็นอยู่ได้ ก็เป็นลาภ

มากอยู่แล้ว."

ทรงปรารภความตะเกียกตะกาย เพื่อจะฆ่า (พระองค์) ของพระ-

๑.ขุ. ชา. ๒๗/๗๗. อรรถกถา. ๓/๒๑๕. กันทคลกชาดก. ๒. ขุ. ชา. ๒๗/๔๖. อรรถกถา.

๒ ๓๘๔. วิโรจนชาดก. ๓. ขุ. ชา. ๒๗/๑๓๓. อรรถกถา. ๔/๒๕๘. ชวสกุณชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 196

เทวทัตนั้นอีก ตรัสชาดกทั้งหลายเป็นต้นว่า

"ดูก่อนไม้มะลื่น ข้อที่เจ้ากลิ้งมานี้ กวางรู้

แล้ว, เราจักไปยังไม้มะลื่นต้นอื่น เพราะว่าผลของ

เจ้า เราไม่ชอบใจ"

เมื่อกถายังเป็นไปอยู่อีกว่า "พระเทวทัตเสื่อมแล้วจากผล ๒ ประการ คือ

จากลาภและสักการะประการหนึ่ง จากสามัญผลประการหนึ่ง," พระผู้มี-

พระภาคเจ้า ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น, แม้ครั้งก่อน

เทวทัตก็เสื่อมแล้วเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว ตรัสชาดกทั้งหลายเป็นต้นว่า

"ตาทั้งสองแตกแล้ว, ผ้าก็หายแล้ว, และ

เพื่อนบ้านก็บาดหมางกัน, ผัวและเมียสองคนนั้น

มีการงานเสียหายแล้วทั้งสองทาง คือ ทั้งทางน้ำ

ทั้งทางบก."

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่กรุงราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัต

ตรัสชาดกเป็นอันมาก ด้วยประการอย่างนั้นแล้ว เสด็จ ( ออก ) จากกรุง

ราชคฤห์ไปสู่เมืองสาวัตถี ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร.

พระเทวทัตให้สาวกนำไปเฝ้าพระศาสดา

ฝ่ายพระเทวทัตแล เป็นไข้ถึง ๙ เดือน, ในกาลสุดท้าย ใคร่

จะเฝ้าพระศาสดา จึงบอกพวกสาวกของตนว่า " เราใคร่จะเฝ้าพระ-

ศาสดา, ท่านทั้งหลายจงแสดงพระศาสดานั้นแก่เราเถิด," เมื่อสาวก

เหล่านั้นตอบว่า " ท่านในเวลาที่ยังสามารถ ได้ประพฤติเป็นคนมีเวร

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๗. อรรถกถา. ๑/๒๖๑. กุรุงคมิคชาดก.

๒. ขุ. ชา. ๒๗/๔๕. อรรถกถา. ๒/๒๗๔. อุภโตภัฏฐชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 197

กับพระศาสดา, ข้าพเจ้าทั้งหลายจักนำท่านไปในที่พระศาสดาประทับอยู่

ไม่ได้." จึงกล่าวว่า " ท่านทั้งหลายอย่าให้ข้าพเจ้าฉิบหายเลย ข้าพเจ้า

ทำอาฆาตในพระศาสดา, แต่สำหรับพระศาสดาหามีความอาฆาตในข้าพเจ้า

แม้ประมาณเท่าปลายผมไม่," จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ทรงมีพระทัยสม่ำเสมอในบุคคลทั่วไป คือใน

นายขมังธนู ในพระเทวทัต ในโจรองคุลิมาล ใน

ช้างธนบาล และในพระราหุล.

เพราะฉะนั้น พระเทวทัตจึงอ้อนวอนแล้ว ๆ เล่า ๆ ว่า "ขอท่าน

ทั้งหลาย จงแสดงพระผู้มีพระภาคเจ้าแก่ข้าพเจ้า." ทีนั้น สาวกเหล่านั้น

จึงพาพระเทวทัตนั้นออกไปด้วยเตียงน้อย ภิกษุทั้งหลายได้ข่าวการมา

ของพระเทวทัตนั้น จึงกราบทูลพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข่าวว่า พระเทวทัตมาเพื่อประโยชน์จะเฝ้าพระองค์. " พระศาสดาตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตนั้นจักไม่ได้เห็นเราด้วยอัตภาพนั้น." นัยว่า พวก

ภิกษุย่อมไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าอีก จำเดิมแต่กาลที่ขอวัตถุ ๕ ประการ,

ข้อนี้ย่อมเป็นธรรมดา, พวกภิกษุกราบทูลว่า " พระเทวทัตมาถึงที่โน้น

และที่โน้นแล้ว พระเจ้าข้า."

ศ. เทวทัตจงทำสิ่งที่ตนปรารถนาเถอะ, (แต่อย่างไรเสีย) เธอก็จัก

ไม่ได้เห็นเรา.

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเทวทัตมาถึงที่ประมาณโยชน์หนึ่ง

แต่ที่นี้แล้ว, (และทูลต่อ ๆ ไปอีกว่า) มาถึงกึ่งโยชน์แล้ว, คาพยุต

หนึ่งแล้ว, มาถึงที่ใกล้สระโบกขรณีแล้ว พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 198

ศ. แม้หากเทวทัตจะเข้ามาภายในพระเชตวัน, ก็จักไม่ได้เห็นเรา

เป็นแท้.

พระเทวทัตถูกธรณีสูบ

พวกสาวกพาพระเทวทัตมา วางเตียงลงริมฝั่งสระโบกขรณีใกล้

พระเชตวันแล้ว ต่างก็ลงไปเพื่อจะอาบน้ำในสระโบกขรณี.

แม้พระเทวทัตแล ลุกจากเตียงแล้วนั่งวางเท้าทั้งสองบนพื้นดิน

เท้าทั้งสองนั้นก็จมแผ่นดินลง. เธอจมลงแล้วโดยลำดับเพียงข้อเท้า,

เพียงเข่า, เพียงเอว, เพียงนม, จนถึงคอ, ในเวลาที่กระดูกคางจดถึง

พื้นดิน ได้กล่าวคาถานี้ว่า

"ข้าพระองค์ขอถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้

เป็นบุคคลเลิศ เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ เป็นสารถี

ฝึกนรชน มีพระจักษุรอบคอบ มีพระลักษณะ แต่

ละอย่าง) เกิดด้วยบุญตั้งร้อย ว่าเป็นที่พึ่ง ด้วย

กระดูกเหล่านี้พร้อมด้วยลมหายใจ."

นัยว่า "พระตถาคตเจ้าทรงเห็นฐานะนี้ จึงโปรดให้พระเทวทัต

บวช. ก็ถ้าพระเทวทัตนั้น จักไม่ได้บวชไซร้, เป็นคฤหัสถ์ จักได้

ทำกรรมหนัก, จักไม่ได้อาจทำปัจจัยแห่งภพต่อไป, ก็แลครั้นบวชแล้ว

จักทำกรรมหนักก็จริง, ( ถึงดังนั้น ) ก็จะสามารถทำปัจจัยแห่งภพต่อไป

ได้" เพราะฉะนั้น พระศาสดาจึงโปรดให้เธอบวชแล้ว.

๑. สตปุญฺญลกฺขณนฺติสเตน ปุญฺญกมฺเมน นิพฺพตฺตเอเกกลกฺขณนฺติ อตฺโถ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 199

พระเทวทัตเกิดในอเวจีถูกตรึงด้วยหลาวเหล็ก

จริงอยู่ พระเทวทัตนั้น จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่า

อัฏฐิสสระ ในที่สุดแห่งแสนกัลป์แต่กัลป์นี้ พระเทวทัตนั้นจมดินไปแล้ว

เกิดในอเวจี. และเธอเป็นผู้ไหวติงไม่ได้ ถูกไฟไหม้อยู่ เพราะเป็นผู้ผิด

ในพระพุทธเจ้าผู้ไม่หวั่นไหว. สรีระของเธอสูงประมาณ ๑๐๐ โยชน์

เกิดในก้นอเวจีซึ่งมีประมาณ ๓๐๐ โยชน์, ศีรษะสอดเข้าไปสู่แผ่นเหล็ก

ในเบื้องบน จนถึงหมวกหู, เท้าทั้งสองจมแผ่นดินเหล็กลงไปข้างล่าง

จนถึงข้อเท้า, หลาวเหล็กมีปริมาณเท่าลำตาลขนาดใหญ่ ออกจากฝา

ด้านหลัง แทงกลางหลังทะลุหน้าอก ปักฝาด้านหน้า, อีกหลาวหนึ่ง

ออกจากฝาด้านขวา แทงสีข้างเบื้องขวา ทะลุออกสีข้างเบื้องซ้าย ปักฝา

ด้านซ้าย, อีกหลาวหนึ่ง ออกจากแผ่นข้างบน แทงกระหม่อมทะลุออก

ส่วนเบื้องต่ำ ปักลงสู่แผ่นดินเหล็ก. พระเทวทัตนั้น เป็นผู้ไหวติงไม่ได้

อันไฟไหม้ในอเวจีนั้น ด้วยประการอย่างนี้.

เมื่อก่อนพระเทวทัตก็ประพฤติผิดในพระศาสดา

ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันว่า "พระเทวทัตถึงฐานะประมาณเท่านี้

ไม่ทันได้เฝ้าพระศาสดา จมลงสู่แผ่นดินแล้ว." พระศาสดาตรัสว่า

"ภิกษุทั้งหลาย เทวทัตประพฤติผิดในเรา จมดินลงไปในบัดนี้เท่านั้น

หามิได้, แม้ครั้งก่อน เธอก็จมลงแล้วเหมือนกัน," เพื่อจะทรงแสดง

ความที่บุรุษหลงทาง อันพระองค์ปลอบโยนแล้ว ยกขึ้นหลังของตนแล้ว

ให้ถึงที่อันเกษมแล้ว กลับมาตัดงาทั้งหลายอีกถึง ๓ ครั้ง อย่างนี้คือ

ที่ปลาย ที่ท่ามกลาง ที่โคน ในวาระที่ ๓ เมื่อก้าวล่วงคลองจักษุแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 200

มหาบุรุษแล้ว ก็จมแผ่นดิน ในกาลที่พระองค์เป็นพระยาช้าง จึงตรัส

ชาดกนี้เป็นต้นว่า

"หากจะให้แผ่นดินทั้งหมดแก่คนอกตัญญู

ผู้เพ่งโทษเป็นนิตย์ ก็ไม่ยังเขาให้ยินดีได้เลย.

เมื่อกถาตั้งขึ้นแล้วเช่นนั้นนั่นแลแม้อีก จึงตรัสขันติวาทิชาดก เพื่อทรง

แสดงความที่พระเทวทัตนั้น ครั้งเป็นพระเจ้ากลาพุประพฤติผิดในพระ-

องค์ ผู้เป็นขันติวาทีดาบส แล้วจมลงสู่แผ่นดิน และจุลลธรรมปาลชาดก

เพื่อทรงแสดง ความที่พระเทวทัตนั้น ครั้งเป็นพระเจ้ามหาปตาปะ

ประพฤติผิดในพระองค์ผู้เป็นจุลลธรรมปาละแล้วจมลงสู่แผ่นดิน.

ก็ครั้นเมื่อพระเทวทัตจมดินไปแล้ว, มหาชนร่าเริงยินดี ให้ยกธง

ชัยธงปฏากและต้นกล้วย ตั้งหม้อน้ำอันเต็มแล้ว เล่นมหรสพใหญ่ ด้วย

ปรารภว่า "เป็นลาภของพวกเราหนอ." พวกภิกษุกราบทูลข้อความนั้น

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย

เมื่อพระเทวทัตตายแล้ว มหาชนยินดีมิใช่แต่บัดนี้เท่านั้น, แม้ครั้งก่อน

ก็ยินดีแล้วเหมือนกัน," เพื่อจะทรงแสดงความที่มหาชนเป็นผู้ยินดี ใน

เมื่อพระราชาพระนามว่าปิงคละ ในนครพาราณสีซึ่งดุร้ายหยาบช้า ไม่

เป็นที่รักของชนทั่วไปสวรรคตแล้ว จึงตรัสปิงคลชาดกนี้เป็นต้นว่า

พระโพธิสัตว์กล่าวถามว่า

"ชนทั้งสิ้น อันพระเจ้าปิงคละเบียดเบียนแล้ว

เมื่อท้าวเธอสวรรคตแล้ว ชนทั้งหลาย ย่อมเสวย

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๒๓. อรรถกถา. ๒ ๑๒๘. สีลวนาคชาดก. ๒.ขุ. ชา. ๒๗/ ๑๓๗.

อรรถกถา. ๔/๒๗๕. ๓. ขุ. ชา. ๒๗/๑๗๐. อรรถกถา. ๔/๔๕๐. ๔. ขุ. ชา. ๒๗/๙๒.

อรรถกถา. ๓/๓๑๙.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 201

ปีติ พระเจ้าปิงคละมีพระเนตรไม่ดำ ได้เป็นที่รัก

ของเจ้าหรือ ? แน่ะ นายประตู เหตุไร ? เจ้าจึง

ร้องไห้."

นายประตูกล่าวตอบว่า

"พระราชา มีพระเนตรไม่ดำ หาได้เป็นที่รัก

ขอข้าพระองค์ไม่ ข้าพระองค์กลัวแต่การเสด็จกลับ

มาของพระราชานั้น ด้วยว่า พระราชาพระองค์นั้น

เสด็จไปจากที่นี้แล้ว พึงเบียดเบียนมัจจุราช มัจจุ-

ราชนั้นถูกเบียดเบียนแล้ว พึงนำพระองค์กลับมาที่นี้

อีก."

ผู้ทำบาปย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง

ภิกษุทั้งหลาย ทูลถามพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

บัดนี้ พระเทวทัตเกิดแล้ว ณ ที่ไหน ?" พระศาสดาตรัสว่า "ในอเวจี

มหานรก ภิกษุทั้งหลาย" ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระเทวทัตประพฤติเดือดร้อนในโลกนี้แล้ว ไปเกิดในสถานที่

เดือดร้อนนั่นแลอีกหรือ ?"

พระศาสดา ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชนทั้งหลาย

จะเป็นบรรพชิตก็ตาม เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม, มีปกติอยู่ด้วยความประมาท

ย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสองทีเดียว" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๑๒. อิธ ตปฺปติ เปจฺจ ตปฺปติ ปาปการี อุภยตฺถ ตปฺปติ

ปาป เม กตนฺติ ตปฺปติ ภิยฺโย ตปฺปติ ทุคฺคตึ คโต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 202

"ผู้มีปกติทำบาป ย่อมเดือดร้อนในโลกนี้ ละ

ไปแล้วย่อมเดือดร้อน เขาย่อมเดือดร้อนใน

โลกทั้งสอง, เขาย่อมเดือดร้อนว่า 'กรรมชั่วเรา

ทำแล้ว,' ไปสู่ทุคติ ย่อมเดือดร้อนยิ่งขึ้น ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า อิธ ตปฺปติ ความว่า ย่อมเดือด

ร้อนในโลกนี้ ด้วยเหตุเพียงโทมทัส ด้วยความเดือดร้อนเพราะกรรม.

บทว่า เปจฺจ ความว่า ส่วนในโลกหน้า ย่อมเดือดร้อนเพราะ

ทุกข์ในอบายอันร้ายแรงยิ่ง ด้วยความเดือดร้อนเพราะวิบาก.

บทว่า ปาปการี ความว่า ผู้ทำบาป มีประการต่าง ๆ.

บทว่า อุภยตฺถ ความว่า ชื่อว่า ย่อมเดือดร้อนในโลกทั้งสอง

ด้วยความเดือดร้อน มีประการดังกล่าวแล้วนี้.

สองบทว่า ปาป เม ความว่า ก็ผู้มีปกติทำบาปนั้น เมื่อเดือดร้อน

ด้วยความเดือดร้อนเพราะกรรม ชื่อว่าย่อมเดือดร้อน ด้วยคิดว่า

"กรรมชั่วเราทำแล้ว," ข้อนั้นเป็นความเดือดร้อนมีประมาณเล็กน้อย;

แต่เมื่อเดือดร้อน ด้วยความเดือดร้อนเพราะวิบาก ชื่อว่า ไปสู่ทุคติ

ย่อมเดือดร้องขึ้น คือย่อมเดือดร้อนเหลือเกิน ด้วยความเดือดร้อน

อันหยาบช้าอย่างยิ่ง.

ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้เป็นพระอริยบุคคล มีพระ-

โสดาบันเป็นต้นแล้ว. เทศนาเป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระเทวทัต จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 203

๑๓. เรื่องนางสุมนาเทวี [๑๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนาง

สุมนาเทวี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ"

เป็นต้น.

อบรมลูกหลานให้รับหน้าที่ของตน

ความพิสดารว่า ภิกษุสองพันรูป ย่อมฉันในเรือนของอนาถบิณฑิก-

เศรษฐีในกรุงสาวัตถีทุกวัน, ในเรือนของนางวิสาขามหาอุบาสิกาก็เช่นนั้น.

บุคคลใด ๆ ในกรุงสาวัตถี เป็นผู้ประสงค์จะถวายทาน, บุคคลนั้น ๆ

ต้องได้โอกาสของท่านทั้งสองนั้นก่อนแล้ว จึงทำได้.

ถามว่า "เพราะเหตุไร ?"

ตอบว่า " เพราะคนอื่น ๆ ถามว่า ' ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี

หรือนางวิสาขา มาสู่โรงทานของท่านแล้วหรือ" เมื่อเขาตอบว่า

" ไม่ได้มา," ย่อมติเตียน แม้ทานอันบุคคลสละทรัพย์ตั้งแสนแล้วทำ

ว่า "นี่ชื่อว่าทานอะไร ?" เพราะท่านทั้งสองนั้น ย่อมรู้จักความ

ชอบใจของภิกษุสงฆ์และกิจอันสมควรแก่ภิกษุสงฆ์. เมื่อท่านทั้งสองนั้น

อยู่, พวกภิกษุย่อมฉันได้ตามพอใจทีเดียว. เพราะฉะนั้น ทุก ๆ คนที่

ประสงค์จะถวายทาน จึงเชิญท่านทั้งสองนั้นไป. ท่านทั้งสองนั้นย่อม

ไม่ได้เพื่อจะอังคาสภิกษุทั้งหลายในเรือนของตนด้วยเหตุนี้ เพราะเหตุนั้น

นางวิสาขา เมื่อใคร่ครวญว่า "ใครหนอแล ? จักดำรงในหน้าที่ของเรา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 204

เลี้ยงภิกษุสงฆ์." เห็นธิดาของบุตรแล้ว จึงตั้งเขาไว้ในหน้าที่ของตน.

นางอังคาสภิกษุสงฆ์ในเรือนของนางวิสาขานั้น.

ถึงท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็ตั้งธิดาคนใหญ่ ชื่อมหาสุภัททาไว้.

ก็นางมหาสุภัททานั้น ทำการขวนขวายแก่ภิกษุทั้งหลายอยู่ (และ)

ฟังธรรมอยู่ เป็นพระโสดาบันแล้ว ได้ไปสู่สกุลแห่งสามี.

แต่นั้น ท่านอนาถบิณฑิกะ ก็ตั้งนางจุลสุภัททา (แทน). แม้

นางจุลสุภัททานั้น ก็ทำอยู่อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นพระโสดาบันแล้ว

ก็ไปสู่สกุลแห่งสามี. ลำดับนั้น ท่านอนาถบิณฑิกะ จึงตั้งธิดาคนเล็ก

นามว่าสุมนาเทวี (แทน).

นางสุมนาป่วยเรียกบิดาว่าน้องชาย

ก็นางสุมนาเทวีนั้น ฟังธรรมแล้ว บรรลุสกทาคามิผล ยังเป็น

กุมาริกา (รุ่นสาว) อยู่เทียว, กระสับกระส่ายด้วยความไม่ผาสุก

เห็นปานนั้น ตัดอาหาร มีความประสงค์จะเห็นบิดา จึงให้เชิญมา.

ท่านเศรษฐีนั้น พอได้ยินข่าวของธิดาในโรงทานแห่งหนึ่ง ก็มาหาแล้ว

พูดว่า "เป็นอะไรหรือ ? แม่สุมนา." ธิดานั้น ตอบบิดาว่า "อะไรเล่า ?

น้องชาย"

บ. เจ้าเพ้อไปหรือ ? แม่.

ธ. ไม่เพ้อ น้องชาย.

บ. เจ้ากลัวหรือ ? แม่.

ธ. ไม่กลัว น้องชาย.

น.

๑. อาหารุปจฺเฉท กตฺวา ทำการเข้าไปตัดซึ่งอาหาร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 205

แต่พอนางสุมนาเทวี กล่าวได้เพียงเท่านี้ ก็ได้ทำกาละแล้ว.

ท่านเศรษฐีผู้บิดาร้องให้ไปทูลพระศาสดา

ท่านเศรษฐีนั้น แม้เป็นพระโสดาบัน ก็ไม่สามารถจะกลั้นความ

โศกอันเกิดในธิดาได้ ให้ทำการปลงศพของธิดาเสร็จแล้ว ร้องไห้

ไปสู่สำนักพระศาสดา, เมื่อพระองค์ ตรัสว่า "คฤหบดี ทำไม ?

ท่านจึงมีทุกข์ เสียใจ มีหน้าอาบไปด้วยน้ำตา ร้องไห้ มาแล้ว " จึง

กราบทูลว่า " นางสุมนาเทวี ธิดาของข้าพระองค์ ทำกาละเสียแล้ว

พระเจ้าข้า."

ศ. เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไร ? ท่านจึงโศก, ความตาย ย่อม

เป็นไปโดยส่วนเดียวแก่สรรพสัตว์ มิใช่หรือ ?

อ. ข้าพระองค์ทราบข้อนั้น พระเจ้าข้า แต่ธิดาของข้าพระองค์

ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตตัปปะเห็นปานนี้, ในเวลาจวนตายนางไม่สามารถ

คุมสติไว้ได้เลย บ่นเพ้อตายไปแล้ว, ด้วยเหตุนั้นโทมนัสไม่น้อย จึงเกิด

แก่ข้าพระองค์.

ศ. มหาเศรษฐี ก็นางพูดอะไรเล่า ?

อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เรียกนางว่า 'เป็นอะไร

หรือ ? สุมนา' ทีนั้น นางก็กล่าวกะข้าพระองค์ว่า 'อะไร ? น้องชาย'

แต่นั้น เมื่อข้าพระองค์กล่าวว่า ' เจ้าเพ้อไปหรือ ? แม่ ' ก็ตอบว่า

' ไม่เพ้อ น้องชาย ' เมื่อข้าพระองค์ถามว่า 'เจ้ากลัวหรือ ? แม่'

ก็ตอบว่า ' ไม่กลัว น้องชาย ' พอกล่าวได้เท่านี้ก็ทำกาละแล้ว.

๑. สรีรกิจฺจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 206

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะเศรษฐีนั้นว่า "มหาเศรษฐี

ธิดาของท่าน จะได้เพ้อก็หามิได้."

อ. เมื่อเช่นนั้น เหตุไร ? นางจึงพูดอย่างนั้น.

ศ. เพราะท่านเป็นน้องนางจริง ๆ (นางจึงพูดอย่างนั้นกะท่าน),

คฤหบดี ก็ธิดาของท่านเป็นใหญ่กว่าท่านโดยมรรคและผล, เพราะท่าน

เป็นเพียงโสดาบัน. ส่วนธิดาของท่านเป็นสกทาคามินี ; เพราะนางเป็น

ใหญ่โดยมรรคและผล นางจึงกล่าวอย่างนั้นกะท่าน.

อ. อย่างนั้นหรือ พระเจ้าข้า.

ศ. อย่างนั้น คฤหบดี.

อ. เวลานี้นางเกิดที่ไหน พระเจ้าข้า.

เมื่อพระศาสดา ตรัสว่า " ในภพดุสิต คฤหบดี" ท่านเศรษฐี

จึงกราบทูลว่า " ธิดาของข้าพระองค์ เที่ยวเพลิดเพลินอยู่ในระหว่าง

หมู่ญาติในโลกนี้ แม้ไปจากโลกนี้แล้ว ก็เกิดในที่ ๆ เพลิดเพลินเหมือน

กันหรือ ? พระเจ้าข้า."

คนทำบุญย่อมเพลิดเพลินในโลกทั้งสอง

ทีนั้น พระศาสดาตรัสกะเศรษฐีนั้นว่า " อย่างนั้น คฤหบดี

ธรรมดาผู้ไม่ประมาท เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม ย่อม

เพลิดเพลินในโลกนี้และโลกหน้าแท้" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๑๓. อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ กตปุญฺโ อุภยตฺถ นนฺทติ

ปุญฺ เม กตนฺติ นนฺทติ ภิยฺโย นนฺทติ สุคตึ คโต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 207

"ผู้มีบุญอันทำไว้แล้ว ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้,

ละไปแล้ว ย่อมเพลิดเพลิน เขาย่อมเพลิดเพลิน

ในโลกทั้งสอง เขาย่อมเพลิดเพลินว่า ' เราทำบุญ

ไว้แล้ว' ไปสู่สุคติ ย่อมเพลิดเพลินยิ่งขึ้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิธ ความว่า ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้

ด้วยความเพลิดเพลินเพราะกรรม.

บทว่า เปจฺจ ความว่า ย่อมเพลิดเพลินในโลกหน้า ด้วยความ

เพลิดเพลินเพราะวิบาก.

บทว่า กตปุญฺโ คือ ผู้ทำบุญมีประการต่าง ๆ.

บทว่า อุภยตฺถ ความว่า ย่อมเพลิดเพลินในโลกนี้ ด้วยคิดว่า

" กุศลเราทำไว้แล้ว, บาปเราไม่ได้ทำ." เมื่อเสวยวิบาก ชื่อว่า ย่อม

เพลิดเพลินในโลกหน้า.

สองบทว่า ปุญฺ เม ความว่า ก็เมื่อเพลิดเพลินในโลกนี้ ชื่อว่า

ย่อมเพลิดเพลิน เหตุอาศัยความเพลิดเพลินเพราะกรรม ด้วยเหตุเพียง

โสมนัสเท่านั้นว่า "เราทำบุญไว้แล้ว."

บทว่า ภิยฺโย เป็นต้น ความว่า ก็เขาไปสู่สุคติแล้ว เมื่อเสวย

ทิพยสมบัติ ตลอด ๕๗ โกฏิปีบ้าง ๖๐ แสนปีบ้าง ย่อมชื่อว่า เพลิดเพลิน

อย่างยิ่งในดุสิตบุรี ด้วยความเพลิดเพลินเพราะวิบาก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 208

ในกาลจบคาถา คนเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีโสดาบัน

เป็นต้นแล้ว. พระธรรมเทศนา ได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องนางสุมนาเทวี จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 209

๑๔. เรื่องภิกษุ ๒ สหาย [๑๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๒

สหาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "พหุมฺปิ เจ สหิต ภาสมาโน"

เป็นต้น.

สองสหายออกบวช

ความพิสดารว่า กุลบุตร ๒ คน ชาวเมืองสาวัตถี เป็นสหาย

กัน ไปยังวิหาร ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้วละกาม

ทั้งหลาย ถวายชีวิตในพระศาสนาของพระศาสดา บวชแล้ว อยู่ใน

สำนักพระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ ตลอด ๕ ปีแล้ว เข้าไปเฝ้าพระ-

ศาสดา ทูลถามถึงธุระในพระศาสนา ได้ฟังวิปัสสนาธุระและคันถธุระ

โดยพิสดารแล้ว, รูปหนึ่ง กราบทูลก่อนว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์บวชแล้วเมื่อภายแก่ ไม่สามารถจะบำเพ็ญคันถธุระได้, แต่จะ

บำเพ็ญวิปัสสนาธุระ" ดังนี้แล้ว ทูลให้พระศาสดาตรัสบอกวิปัสสนา

จนถึงพระอรหัต พากเพียรพยายามอยู่ บรรลุพระอรหัตพร้อมกับด้วย

ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.

ฝ่ายภิกษุรูปนอกนี้ คิดว่า "เราจะบำเพ็ญคันถธุระ" ดังนี้แล้ว

เรียนพระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎกโดยลำดับ กล่าวธรรม สวดสรภัญญะ

๑. อุร ทตฺวา. ๒. เป็นประโยคกิริยาปธานนัย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 210

ในสถานที่ตนไปแล้ว ๆ. เที่ยวบอกธรรมแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป ได้เป็น

อาจารย์ของคณะใหญ่ ๑๘ คณะ.

ภิกษุทั้งหลาย เรียนพระกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดาแล้วไปสู่

ที่อยู่ของพระเถระนอกนี้ (รูปบำเพ็ญวิปัสสนา) ตั้งอยู่ในโอวาทของท่าน

บรรลุพระอรหัตแล้ว นมัสการพระเถระเรียนว่า "กระผมทั้งหลายใคร่จะ

เฝ้าพระศาสดา."

พระเถระกล่าวว่า "ไปเถิด ผู้มีอายุ, ท่านทั้งหลาย จงถวาย

บังคมพระศาสดา นมัสการพระมหาเถระทั้ง ๘๐ รูป ตามคำของเรา,

จงบอกกะพระเถระผู้สหายของเราบ้างว่า ' ท่านอาจารย์ของกระผมทั้งหลาย

นมัสการใต้เท้า" ดังนี้แล้วส่งไป. ภิกษุเหล่านั้นไปสู่วิหาร ถวายบังคม

พระศาสดาและนมัสการพระอสีติมหาเถระแล้ว ไปสู่สำนักพระคันถิกเถระ

เรียนว่า "ใต้เท้า ขอรับ ท่านอาจารย์ของพวกกระผม นมัสการถึง

ใต้เท้า." ก็เมื่อพระเถระนอกนี้ถามว่า " อาจารย์ของพวกท่านนั่นเป็น

ใคร ?" ภิกษุเหล่านั้นเรียนว่า "เป็นภิกษุผู้สหายของใต้เท้า ขอรับ."

เมื่อพระเถระ (วิปัสสกภิกษุ) ส่งข่าวเยี่ยมอย่างนี้เรื่อย ๆ อยู่,

ภิกษุนั้น (คันถิกะ) อดทนอยู่ได้สิ้นกาลเล็กน้อย ภายหลังไม่สามารถ

จะอดทนอยู่ได้, เมื่อพวกอาคันตุกภิกษุเรียนว่า "ท่านอาจารย์ของพวก

กระผมมนัสการใต้เท้า" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า "อาจารย์ของพวกท่าน

นั่นเป็นใคร," เมื่อภิกษุทั้งหลายเรียนว่า "เป็นภิกษุผู้สหายของใต้เท้า

ขอรับ" จึงกล่าวว่า " ก็อะไรเล่า ? ที่พวกท่านเรียนในสำนักของภิกษุ

นั้น บรรดานิกาย มีทีฆนิกายเป็นต้น นิกายใดนิกายหนึ่งหรือ ? หรือ

บรรดาปิฎก ๓ ปิฎกใดปิฎกหนึ่งหรือ ? ที่พวกท่านได้แล้ว" ดังนี้แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 211

คิดว่าสหายของเรา ย่อมไม่รู้จักคาถาแม้ประกอบด้วย ๔ บท, ถือบังสุกุล

เข้าป่า แต่ในคราวบวชแล้ว ยังได้อันเตวาสิกมากมายหนอ, ในกาลที่เธอมา

เราควรถามปัญหาดู."

พระเถระทั้งสองพบกัน

ในกาลต่อมา พระเถระ (วิปัสสกะ) ได้มาเฝ้าพระศาสดา,

เก็บบาตรจีวรไว้ในสำนักพระเถระผู้สหายแล้ว ไปถวายบังคมพระศาสดา

และนมัสการพระอสีติมหาเถระแล้ว ก็กลับมาที่อยู่ของพระเถระผู้สหาย.

ลำดับนั้น พระคันถิกเถระนั้น ให้ภิกษุทั้งหลายทำวัตรแก่ท่านแล้ว

ถือเอาอาสนะมีขนาดเท่ากัน นั่งแล้วด้วยตั้งใจว่า "จักถามปัญหา."

พระศาสดาถามปัญหาพระเถระทั้งสอง

ขณะนั้น พระศาสดา ทรงทราบว่า "คันถิกภิกษุนี้ พึงเบียด-

เบียนบุตรของเราผู้มีรูปเห็นปานนี้แล้วเกิดในนรก," ด้วยทรงเอ็นดูในเธอ

ทำประหนึ่งเสด็จเที่ยวจาริกไปในวิหาร เสด็จถึงสถานที่เธอทั้งสองนั่งแล้ว

ประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เธอจัดไว้. แท้จริง ภิกษุทั้งหลายเมื่อจะนั่ง

ในที่นั้น ๆ จัดอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้าก่อนแล้วจึงนั่ง. เพราะเหตุนั้น

พระศาสดา จึงประทับนั่งเหนืออาสนะที่พระคันถิกภิกษุนั้นจัดไว้โดยปกติ

นั่นแล. ก็แลครั้นประทับนั่งแล้ว จึงตรัสถามปัญหาในปฐมฌานกะคันถิก-

ภิกษุ ครั้นเมื่อเธอทูลตอบไม่ได้, จึงตรัสถามปัญหาในรูปสมาบัติและ

อรูปสมาบัติทั้งแปด ตั้งแต่ทุติยฌานเป็นต้นไป พระคันถิกเถระก็มิอาจ

ทูลตอบได้แม้ข้อเดียว. พระวิปัสสกเถระนอกนี้ ทูลตอบปัญหานั้นได้

ทั้งหมด.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 212

ทีนั้น พระศาสดา ตรัสถามปัญหาในโสดาปัตติมรรคกับเธอ.

พระคันถิกเถระก็มิสามารถทูลตอบได้. แต่นั้น จึงตรัสถามกะพระขีณาสพ-

เถระ พระเถระก็ทูลตอบได้.

พระวิปัสสกเถระได้รับสาธุการ

พระศาสดา ทรงชมเชยว่า "ดีละ ๆ" แล้วตรัสถามปัญหาแม้ใน

มรรคที่เหลือทั้งหลายโดยลำดับ. พระคันถิกเถระก็มิได้อาจทลตอบปัญหา

ได้สักข้อเดียว ส่วนพระขีณาสพ ทูลตอบปัญหาที่ตรัสถามแล้ว ๆ ได้.

พระศาสดาได้ประทานสาธุการแก่พระขีณาสพนั้นในฐานะทั้งสี่. เทวดา

ทั้งหมด ตั้งต้นแต่ภุมเทวดา จนถึงพรหมโลกและนาคครุฑ ได้ฟังสาธุการ

นั้นแล้ว ก็ได้ให้สาธุการ.

พวกอันเตวาสิกและสัทธิวิหาริกของพระคันถิกเถระ ได้สดับสาธุการ

นั้นแล้ว จึงยกโทษพระศาสดาว่า " พระศาสดาทรงทำกรรมอะไรนี่ ?

พระองค์ได้ประทานสาธุการแก่พระมหัลลกเถระ ผู้ไม่รู้อะไร ๆ ในฐานะ

ทั้งสี่, ส่วนท่านอาจารย์ของพวกเรา ผู้จำทรงพระปริยัติธรรมไว้ได้ทั้งหมด

เป็นหัวหน้าภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูป พระองค์มิได้ทรงทำแม้มาตรว่า

ความสรรเสริญ."

พูดมากแต่ไม่ปฏิบัติก็ไร้ประโยชน์

ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอกล่าวอะไรกันนี่ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว,

ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย อาจารย์ของพวกเธอ เช่นกับผู้รักษาโคทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 213

เพื่อค่าจ้างในศาสนาของเรา, ส่วยบุตรของเรา เช่นกับเจ้าของผู้บริโภค

ปัญจโครสตามชอบใจ" ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๑๔. พหุมฺปิ เจ สหิต ภาสมาโน

น ตกฺกโร โหติ นโร ปมตฺโต

โคโปว คาโว คณย ปเรส

น ภาควา สามญฺสฺส โหติ.

อปฺปมฺปิ เจ สหิต ภาสมาโน

ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี

ราคญฺจ โทสญฺจ ปหาย โมห

สมฺมปฺปชาโน สุวิมุตฺตจิตฺโต

อนุปาทิยาโน อิธ วา หุร วา

ส ภาควา สามญฺสฺส โหติ.

"หากว่า นรชนกล่าวพระพุทธพจน์อันมีประ-

โยชน์เกื้อกูลแม้มาก (แต่) เป็นผู้ประมาทแล้ว

ไม่ทำ (ตาม) พระพุทธพจน์นั้นไซร้, เขาย่อม

ไม่เป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล เหมือนคนเลี้ยงโค

นับโคทั้งหลายของชนเหล่าอื่น ย่อมเป็นผู้ไม่มี

ส่วนแห่งปัญจโครสฉะนั้น, หากว่า นรชนกล่าว

พระพุทธพจน์อันมีประโยชน์เกื้อกูล แม้น้อย

(แต่) เป็นผู้มีปกติประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม

ไซร้, เขาละราคะ โทสะ และโมหะแล้ว รู้ชอบ

๑. อันเกิดแต่โค ๕ อย่าง คือ นมสด, นมส้ม, เปรียง, เนยใส, เนยข้น. ๒. ผลคือคุณ

เครื่องเป็นสมณะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 214

มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว หมดความยึดถือในโลกนี้หรือ

ในโลกหน้า, เขาย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งสามัญผล."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สหิต นี้ เป็นชื่อแห่งพระพุทธพจน์

คือพระไตรปิฎก, นรชนเข้าไปหาอาจารย์ทั้งหลาย เล่าเรียนพระพุทธพจน์

นั้นแล้ว กล่าว คือบอก ได้แก่แสดงอยู่ ซึ่งพระพุทธพจน์แม้มาก

แก่ชนเหล่าอื่น (แต่) หาเป็นผู้ทำกิจอันการกบุคคลฟังธรรมนั้นแล้ว

จะพึงทำไม่ คือไม่ยังการทำไว้ในใจให้เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งไตรลักษณ์

มีอนิจจลักษณะเป็นต้น ชั่วขณะแม้สักว่าไก่ปรบปีก, นรชนนั้น ย่อมเป็น

ผู้มีส่วนแห่งผลสักว่าการทำวัตรปฏิวัตรจากลำนักของอันเตวาสิกทั้งหลาย

อย่างเดียว, แต่หาเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะไม่ เหมือนคน

เลี้ยงโครักษาโคทั้งหลายเพื่อค่าจ้างประจำวัน รับไปแต่เช้าตรู่ เวลาเย็น

นับมอบให้แก่เจ้าของทั้งหลายแล้ว รับเอาเพียงค่าจ้างรายวัน, แต่ไม่ได้

เพื่อบริโภคปัญจโครสตามความชอบใจ ฉะนั้นแล.

เหมือนอย่างว่า เจ้าของโคพวกเดียว ย่อมบริโภคปัญจโครสแห่งโค

ทั้งหลาย ที่นายโคบาลมอบให้แล้ว ฉันใด, การกบุคคลทั้งหลาย

ฟังธรรมอันนรชนนั้นกล่าวแล้ว ปฏิบัติตามที่นรชนนั้นพร่ำสอนแล้ว

ก็ฉันนั้น, บางพวกบรรลุปฐมฌานเป็นต้น, บางพวกเจริญวิปัสสนาแล้ว

บรรลุมรรคและผล, จัดว่าเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะ เหมือน

พวกเจ้าของโค ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งโครสฉะนั้น. พระศาสดาตรัสคาถาที่ ๑

ด้วยอำนาจแห่งภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ผู้มีสุตะมาก (แต่ ) มีปกติอยู่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 215

ด้วยความประมาท ไม่ประพฤติแล้วในการทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย

ด้วยอำนาจแห่งไตรลักษณ์ มีอนิจจลักษณะเป็นต้น, หาตรัสด้วยอำนาจ

แห่งภิกษุผู้ทุศีลไม่ ด้วยประการฉะนี้.

ส่วนคาถาที่ ๒ พระองค์ตรัสด้วยอำนาจแห่งการกบุคคลผู้แม้มีสุตะ

น้อย (แต่) ทำกรรมในการทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคายอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมฺปิ เจ ความว่า น้อย คือแม้

เพียง ๑ วรรค หรือ ๒ วรรค.

บาทพระคาถาว่า ธมฺมสฺส โหติ อนุธมฺมจารี เป็นต้น ความว่า

นรชนรู้อรรถรู้ธรรมแล้ว ประพฤติธรรมอันสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙

คือประเภทแห่งธรรม มีปาริสุทธิศีล ๔ ธุดงคคุณ และอสุภกรรมฐาน

เป็นต้น ที่นับว่าข้อปฏิบัติอันเป็นส่วนเบื้องต้น ย่อมเป็นผู้ชื่อว่ามีปกติ

ประพฤติธรรมสมควร คือหวังการแทงตลอดอยู่ว่า " เราจักแทงตลอด

ในวันนี้ เราจักแทงตลอดในวันนี้ ทีเดียว" ชื่อว่าย่อมประพฤติ. นรชน

นั้น ละราคะ โทสะ และโมหะด้วยข้อปฏิบัติชอบนี้แล้ว กำหนดรู้ธรรม

ที่ควรกำหนดรู้ โดยชอบ คือโดยเหตุ โดยนัย มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว

ด้วยอำนาจแห่งตทังควิมุตติ วิกขัมภนวิมุตติ สมุจเฉทวิมุตติ ปฏิปัส-

สัทธิวิมุตติและนิสสรณวิมุตติ. หมดความถือมั่นอยู่ในโลกนี้หรือในโลกอื่น

คือไม่เข้าไปยึดถือขันธ์อายตนะและธาตุทั้งหลาย อันนับเนื่องในโลกนี้

และโลกอื่น หรืออันเป็นภายในและภายนอก ด้วยอุปาทาน ๔ ชื่อว่า

เป็นมหาขีณาสพ ย่อมเป็นผู้มีส่วนแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะคือผล อันมา

๑. กามุปาทาน การถือมั่นกาม ๑ ทิฏฐุปาทาน การถือมั่นทิฏฐิ ๑ สีลัพพตุปาทาน การถือมั่น

ศีลพรต ๑ อัตตวาทุปาทาน การถือมั่นวาทะว่าตน ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 216

แล้วด้วยอำนาจแห่งคุณเครื่องเป็นสมณะ กล่าวคือมรรค และคุณเครื่อง

เป็นสมณะคือกองแห่งอเสขธรรม ๕.

พระศาสดาทรงรวบยอดแห่งเทศนาด้วยพระอรหัต เหมือนนายช่าง

ถือเอายอดแห่งเรือน ด้วยยอดแก้วฉะนั้น ดังนี้แล.

ในกาลจบคาถา คนเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีพระโสดาบัน

เป็นต้น. เทศนามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุ ๒ สหาย จบ.

ยมกวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑ จบ.

๑. สีลขันธ์ คุณคือศีล ๑ สมาธิขันธ์ คุณคือสมาธิ ๑ ปัญญาขันธ์ คุณคือปัญญา ๑ วิมุตติขันธ์

คุณคือวิมุตติ ๑ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ คุณคือวิมุตติญาณทัสสนะ ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 217

คาถาธรรมบท

อัปปมาทวรรค*ที่ ๒

ว่าด้วยความไม่ประมาทและความประมาท

[๑๒] ๑. ความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะ ความ

ประมาทเป็นทางแห่งมัจจุ ผู้ไม่ประมาทแล้วชื่อว่า

ย่อมไม่ตาย ผู้ประมาทแล้ว ผู้นั้นย่อมเป็นเหมือน

คนตายแล้ว บัณฑิตรู้ความนั่นโดยแปลกกันแล้ว

(ตั้งอยู่) ในความไม่ประมาท บันเทิงอยู่ในความไม่

ประมาท ยินดีในธรรมเป็นที่โคจรของพระอริยะ

ทั้งหลาย บัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น มีความเพ่ง

มีความเพียรเป็นไปติดต่อ บากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็น

นักปราชญ์ ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันเป็นแดน

เกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม.

๒. ยศย่อมเจริญโดยยิ่งแก่คนผู้มีความขยัน

มีสติ มีการงานสะอาด มีปกติใคร่ครวญแล้วจึงทำ

สำรวมแล้ว เลี้ยงชีพโดยธรรม และไม่ประมาท.

๓. ผู้มีปัญญา พึงทำเกาะ (ที่พึ่ง) ที่ห้วงน้ำ

ท่วมทับไม่ได้ ด้วยความหมั่น ด้วยความไม่ประมาท

ด้วยความระวัง และด้วยความฝึก.

*วรรคนี้มี อรรถกถา ๙ เรื่อง มีคาถาประจำเรื่องตามลำดับเลขหลังเลขข้อในวงเล็บ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 218

๔. พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบ

เนื่อง ๆ ซึ่งความประมาท ส่วนผู้มีปัญญาย่อมรักษา

ความไม่ประมาทได้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ ท่าน

ทั้งหลาย อย่าตามประกอบความประมาท อย่าตาม

ประกอบความเชยชิดด้วยความยินดีในกาม เพราะ

ว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุสุขอัน

ไพบูลย์.

๕. เมื่อใดบัณฑิตบรรเทาความประมาทด้วย

ความไม่ประมาท เมื่อนั้นบัณฑิตนั้น ขึ้นสู่ปัญญา

เพียงดังปราสาท ไม่เศร้าโศก ย่อมพิจารณาเห็น

หมู่สัตว์ผู้มีความเศร้าโศก ปราชญ์ย่อมพิจารณาเห็น

คนพาลทั้งหลายได้ เหมือนคนผู้ยืนอยู่บนยอดเขา

มองเห็นชนผู้ยืนอยู่บนพื้นดินได้ฉะนั้น.

๖. ผู้มีปัญญาดี เมื่อชนทั้งหลายประมาทแล้ว

ไม่ประมาท เมื่อชนทั้งหลายหลับแล้ว ตื่นอยู่โดย

มาก ย่อมละบุคคลผู้มีปัญญาทรามไปเสีย ดุจม้า

ตัวมีฝีเท้าเร็ว ละทิ้งม้าตัวหากำลังมิได้ไปฉะนั้น.

๗. ท้าวมฆวะถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่า

เทพยดาทั้งหลาย เพราะความไม่ประมาท บัณฑิต

ทั้งหลายย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท ความประ-

มาทอันท่านติเตียนทุกเมื่อ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 219

๘. ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท หรือมี

ปกติเห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์

ทั้งละเอียดและหยาบไป ดุจไฟเผาเชื้อมากและน้อย

ไปฉะนั้น.

๙. ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท มีปกติ

เห็นภัยในความประมาท ไม่ควรเพื่ออันเสื่อม (จาก

มรรคและผล) ตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้แห่งพระนิพพาน

ทีเดียว.

จบอัปปมาทวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 220

๒. อัปปมาทวรรควรรณนา

๑. เรื่องพระนางสามาวดี [๑๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่ออาศัยกรุงโกสัมพี ประทับอยู่ที่โฆสิตาราม ทรง

ปรารภความวอดวายคือมรณะ ของหญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็น

ประธาน และของญาติ ๕๐๐ ของพระนางมาคันทิยานั้น ซึ่งมีนางมา-

คันทิยาเป็นประธาน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปทาโท อมต

ปท" เป็นต้น ในเรื่องนั้น มีอนุปุพพีกถา ดังต่อไปนี้ :-

กษัตริย์ ๒ สหาย

ในกาลล่วงมาแล้ว พระราชา ๒ องค์ เหล่านี้ คือ " ในแคว้น

อัลลกัปปะ พระราชาทรงพระนามว่า อัลลกัปปะ, ในแคว้นเวฏฐทีปกะ

พระราชาทรงพระนามว่า เวฏฐทีปกะ" เป็นพระสหายกัน ตั้งแต่เวลา

ยังทรงพระเยาว์ ทรงศึกษาศิลปะในสำนักอาจารย์เดียวกัน โดยล่วง

ไปแห่งพระราชบิดาของตน ๆ ได้ให้ยกเศวตฉัตรขึ้นแล้ว ทรงเป็นพระ-

ราชาในแคว้น มีประมาณแคว้นละ ๑๐ โยชน์. พระราชา ๒ พระองค์

นั้น เสด็จมาประชุมกันตลอดกาลตามกาล (ตามกาลอันสมควร) ทรง

ยืน, นั่ง, บรรทม ร่วมกัน ทอดพระเนตรเห็นมหาชน ผู้เกิดอยู่และ

ตายอยู่ จึงทรงปรึกษากันว่า " ชื่อว่า ผู้ตามคนผู้ไปสู่ปรโลก ไม่มี,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 221

โดยที่สุดถึงสรีระของตน ก็ตามไปไม่ได้, ต้องละสิ่งทั้งปวงไป, ประโยชน์

อะไรด้วยการอยู่ครองเรือนของเรา, เราจักบวช" ดังนี้แล้ว ทรงมอบ

รัชสมบัติ ให้แก่พระโอรสและพระมเหสี ออกผนวชเป็นพระฤษี อยู่

ในหิมวันตประเทศ ได้ทรงปรึกษากันว่า " พวกเราไม่อาจเพื่อเป็นอยู่

จึงละราชสมบัติออกบวชก็หาไม่, เราเหล่านั้น เมื่ออยู่ในที่แห่งเดียวกัน

ก็จักเหมือนกับผู้ไม่บวชนั้นเอง, เพราะฉะนั้น เราจักแยกกันอยู่: ท่าน

จงอยู่ ที่ภูเขาลูกนั้น, เราจักอยู่ที่ภูเขาลูกนี้; แต่จักรวมกัน ในวันอุโบสถ

ทุกกึ่งเดือน." ครั้งนั้นพระดาบสทั้งสองนั้น เกิดมีความดำริขึ้นอย่างนี้ว่า

" แม้เมื่อเป็นเช่นนี้ ความคลุกคลีด้วยคณะเทียว จักมีแก่เราทั้งหลาย,

ท่านพึงจุดไฟให้โพลงขึ้นที่ภูเขาของท่าน, เราก็จักจุดไฟให้โพลงขึ้นที่

ภูเขาของเรา; ด้วยเครื่องสัญญานั้น เราทั้งหลาย ก็จักรู้ความที่เรายังมี

ชีวิตอยู่." พระดาบสทั้งสองนั้นกระทำอย่างนั้นแล้ว.

เรียนมนต์และพิณ

ต่อมาในกาลอื่น เวฏฐทีปกดาบส ทำกาละ บังเกิดเป็นเทพเจ้า

ผู้มีศักดิ์ใหญ่. แต่นั้น ครั้นถึงกึ่งเดือน อัลลกัปปดาบส พอแลไม่เห็น

ไฟ ก็ทราบได้ว่า " สหายของเรา ทำกาละเสียแล้ว." แม้เวฏฐทีปก-

ดาบส ตรวจดูทิพพสิริของตนในขณะที่เกิด ใคร่ครวญถึงกรรม เห็น

กิริยาที่ตนกระทำ จำเดิมแต่ออกบวชแล้ว คิดว่า " บัดนี้ เราจักไป

เยี่ยมสหายของเรา" ในขณะนั้น จึงละอัตภาพนั้นเสีย เป็นเหมือน

คนหลงทาง ไปยังสำนักของอัลลกัปปดาบสนั้น ไหว้แล้ว ได้ยืนอยู่ ณ

ที่สมควรแห่งหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 222

ลำดับนั้น อัลลกัปปดาบสนั้น จึงกล่าวถามบุรุษนั้นว่า

"ท่านมาจากไหน ?"

บุรุษ. ท่านผู้เจริญ ผมเป็นคนหลงทาง เดินมาจากที่ไกลเหลือเกิน,

ก็พระผู้เป็นเจ้า อยู่รูปเดียวเท่านั้น ในที่นี้ หรือ ? มีใครอื่นบ้างไหม ?

อัลละ. มีสหายของเราอยู่ผู้หนึ่ง.

บุรุษ. ผู้นั้น ไปอยู่ที่ไหนหรือ ?

อัลละ. เขาอยู่ที่ภูเขาลูกนั้น. แต่วันอุโบสถ เขาไม่จุดไฟให้โพลง,

เขาจักตายเสียแล้วเป็นแน่.

บุรุษ. เป็นอย่างนั้นหรือ ขอรับ ?

อัลละ. ผู้มีอายุ เป็นอย่างนั้น.

บุรุษ. กระผมคือผู้นั้น ขอรับ.

อัลละ. ท่านเกิดที่ไหน ?

บุรุษ กระผมเกิดเป็นเทพเจ้า ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ในเทวโลกขอรับ,

มาอีก ก็ด้วยประสงค์ว่า ' จักเยี่ยมพระผู้เป็นเจ้า' เมื่อพระผู้เป็นเจ้าอยู่

ในที่นี้ อุปัทวะอะไร มีบ้างหรือ ?

อัลละ. เออ อาวุโส, เราลำบาก เพราะอาศัยช้าง.

บุรุษ. ท่านผู้เจริญ ก็ช้างทำอะไรให้ท่านเล่า ?

อัลละ. มันถ่ายคูถลงในที่กวาด, เอาเท้าประหารคุ้ยฝุ่นขึ้น;

ข้าพเจ้านั้น คอยขนคูถช้างทิ้ง คอยเกลี่ยฝุ่นให้เสมอ ก็ย่อมลำบาก.

บุรุษ. พระผู้เป็นเจ้าปรารถนาจะไม่ให้ช้างเหล่านั้นมาไหมเล่า ?

อัลละ. เออ อาวุโส.

บุรุษ ถ้ากระนั้น กระผมจักทำไม่ให้ช้างเหล่านั้นมา ได้ถวายพิณ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 223

สำหรับให้ช้างใคร่ และสอนมนต์สำหรับให้ช้างใคร่ แก่พระดาบสแล้ว:

ก็เมื่อจะให้ ได้ชี้แจงสายพิณ ๓ สาย ให้เรียนมนต์ ๓ บท แล้วบอกว่า

" เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว, ช้างไม่อาจแม้เพื่อจะหันกลับ

แลดู ย่อมหนีไป; เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว ช้างจะกับ

เหลียวดูเบื้องหลังพลางหนีไป: เมื่อดีดสายพิณสายนี้ ร่ายมนต์บทนี้แล้ว

ช้างนายฝูง ย่อมน้อมหลังเข้ามาหา," แล้วกล่าวว่า "สิ่งใด อันท่าน

ชอบใจ, ท่านพึงทำสิ่งนั้นเถิด." ไหว้พระดาบสแล้ว ก็หลีกไป.

พระดาบส ร่ายมนต์บทสำหรับไล่ช้าง ดีดสายพิณสำหรับไล่ช้าง

ยังช้างให้หนีไปอยู่แล้ว.

พระเจ้าอุเทนกับหัสดีลิงค์

ในสมัยนั้น ในกรุงโกสัมพี ได้มีพระะราชาทรงพระนามว่าพระเจ้า

ปรันตปะ วันหนึ่ง พระเจ้าปรันตปะทรงนั่งผิงแดดอ่อนอยู่ที่กลางแจ้ง

กับพระราชเทวี ผู้ทรงครรภ์. พระราชเทวี ทรงห่มผ้ากัมพลแดงอันมี

ราคาแสนหนึ่ง ซึ่งเป็นพระภูษาทรงของพระราชา ทรงนั่งปราศรัยกับ

พระราชา ถอดพระธำมรงค์ อันมีราคาแสนหนึ่งจากพระองคุลีของ

พระราชา มาสวมใส่ที่นิ้วของพระองค์.

ในสมัยนั้น นกหัสดีลิงค์ บินมาโดยอากาศ เห็นพระราชเทวี

จึงชะลอปีกบินโผลง โดยหมายว่า " ชิ้นเนื้อ." พระราชาทรงตกพระทัย

ด้วยเสียงโผลงของนกนั้น จึงเสด็จลุกเข้าภายในพระราชิเวศน์. พระราช-

เทวีไม่อาจไปโดยเร็วได้ เพราะทรงครรภ์แก่ และเพราะเป็นผู้มีชาติแห่ง

๑. อากาสตเล ที่พื้นแห่งอากาศ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 224

คนขลาด. ครั้งนั้น นกนั้นจึงโผลง ยังพระนางนั้นให้นั่งอยู่ที่กรงเล็บ

บินไปสู่อากาศแล้ว. เขาว่า พวกนกเหล่านั้น ทรงกำลังเท่าช้าง ๕ เชือก

เพราะฉะนั้น จึงนำเหยื่อไปทางอากาศ จับ ณ ที่อันพอใจแล้ว ย่อมเคี้ยว

มังสะกิน. แม้พระนางนั้น อันนกนั้นนำไปอยู่ ทรงหวาดต่อมรณภัย

จึงทรงดำริว่า " ถ้าว่าเราจักร้อง, ธรรมดาเสียงคน เป็นที่หวาดเสียวของ

สัตว์จำพวกดิรัจฉาน มันฟังเสียงนั้นแล้ว ก็จักทิ้งเราเสีย, เมื่อเป็น

เช่นนั้น เราจักถึงความสิ้นชีพ พร้อมกับเด็กในครรภ์; แต่มันจับในที่

ใดแล้วเริ่มจะกินเรา, ในที่นั้น เราจักร้องขึ้น แล้วไล่ให้มันหนีไป.

พระนางยับยั้งไว้ได้ ก็เพราะความที่พระองค์เป็นบัณฑิต. ก็ในกาลนั้น

ที่หิมวันตประเทศ มีต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง เจริญขึ้นเล็กน้อยแล้วก็ตั้งอยู่

โดยอาการดังมณฑป. นกนั้น นำเหยื่อมีเนื้อเป็นต้นไปแล้ว ย่อมเคี้ยว

กินที่ต้นไทรนั้น; เพราะฉะนั้น นกหัสดีลิงค์ตัวนั้น นำพระราชเทวีแม้นั้น

ไปที่ต้นไทรนั้นแล วางไว้ในระหว่างค่าคบไม้ แลดูทางอันตนบินมาแล้ว.

นัยว่าการแลดูทางบินมาแล้ว เป็นธรรมดาของนกเหล่านั้น. ในขณะนั้น

พระราชเทวี ทรงดำริว่า " บัดนี้ ควรไล่นกนี้ให้หนีไป" จึงทรงยก

พระหัตถ์ทั้ง ๒ ขึ้น ทั้งปรบมือ ทั้งร้อง ให้นกนั้นหนีไปแล้ว. ครั้งนั้น

ในเวลาพระอาทิตย์อัสดงคต ลมกัมมัชวาตปั่นป่วนแล้ว ในพระครรภ์

ของพระราชเทวีนั้น. มหาเมฆคำรามร้อง ตั้งขึ้นในทุกทิศ ชื่อว่าความ

หลับ มิได้มีแล้วตลอดคืนยังรุ่ง แก่พระราชเทวี ผู้ดำรงอยู่ในความสุข

ไม่ได้แม้สักคำพูดว่า " อย่ากลัวเลย พระแม่เจ้า" อันความทุกข์

ครอบงำแล้ว แต่เมื่อราตรีสว่าง ความปลอดโปร่งจากวลาหกก็ดี, ความขึ้น

แห่งอรุณก็ดี, ความตลอดแห่งสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์ของพระนางก็ดี ได้มีแล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 225

ในขณะเดียวกันนั้นแล. พระนางได้ตั้งชื่อพระโอรสว่า " อุเทน" เพราะ

ถือเอาฤดูเมฆและฤดูอรุณขึ้นประสูติแล้ว.

อัลลกัปปดาบสเสียพิธี

ที่อยู่ แม้ของอัลลกัปปดาบส ก็อยู่ในที่ไม่ไกลจากที่นั้น. โดยปกติ

ในวันมีฝน พระดาบสนั้น ย่อมไม่ไปสู่ป่า เพื่อประโยชน์แก่ผลาผล

เพราะกลัวหนาว, ไปยังโคนไม้นั้น เก็บกระดูกเนื้อที่นกกินแล้ว ทุบต้ม

ให้มีรสแล้ว ก็ดื่มกิน; เพราะฉะนั้น แม้ในวันนั้น พระดาบสก็คิดว่า

" จักเก็บกระดูก" จึงไปที่ต้นไม้นั้น แสวงหากระดูกที่โคนไม้อยู่ ได้ยิน

เสียงเด็กข้างบน จึงแลดู เห็นพระราชเทวี จึงถามว่า " ท่านเป็นใคร ?"

พระราชเทวี. ข้าพเจ้าเป็นหญิงมนุษย์.

ดาบส. ท่านมาได้อย่างไร ? เมื่อพระนางกล่าวว่า ' นกหัสดีลิงค์

นำข้าพเจ้ามา' จึงกล่าวว่า ' ท่านจงลงมา.'

พระเทวี. ข้าพเจ้ากลัวแต่ความเจือด้วยชาติ พระผู้เป็นเจ้า.

ดาบส. ท่านเป็นใคร ?

พระราชเทวี. ข้าพเจ้าเป็นกษัตริย์.

ดาบส. แม้ข้าพเจ้าก็เป็นกษัตริย์เหมือนกัน.

พระราชเทวี. ถ้ากระนั้น ท่านจงแถลงมายากษัตริย์.

พระดาบสนั้น แถลงแล้ว.

พระราชเทวี. ถ้ากระนั้น ท่านจงขึ้นมา พาบุตรน้อยของข้าพเจ้าลง.

พระดาบสนั้น ทำทางขึ้นโดยข้างหนึ่ง ขึ้นไปแล้ว รับเด็ก, เมื่อ

พระราชเทวีกล่าวห้ามว่า "อย่าเอามือถูกต้องข้าพเจ้า," ก็ไม่ถูกพระนาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 226

เลย อุ้มเด็กลงมา. แม้พระราชเทวีก็ลงแล้ว. ครั้งนั้น พระดาบส

นำนางไปสู่อาศรมนท ไม่กระทำศีลเภทเลย บำรุงแล้ว ด้วยความ

อนุเคราะห์, นำน้ำผึ้งที่ไม่มีตัวมา นำข้าวสาลีอันเกิดเองมา ได้ต้มเป็น

ยาคูให้แล้ว. เมื่อพระดาบสนั้น กำลังบำรุงอย่างนั้น, ในกาลอื่น พระ-

นางจึงคิดว่า " เราไม่รู้จักทางมาทางไปเลย, แม้เหตุสักว่าความคุ้นเคย

ของเรากับพระดาบสแม้นี้ ก็ไม่มี; ก็ถ้าว่าพระดาบสนี้จักทอดทิ้งเราไป

ไหนเสีย, เราแม้ทั้งสองคน ก็จักถึงความตายในที่นี้นั่นเอง, ควรเราทำ

อุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำลายศีลของพระดาบสรูปนี้เสีย ทำโดยอาการ

ที่ดาบสรูปนี้จะไม่ปล่อยปละเราไปได้. ทีนั้น พระราชเทวี จึงประเล้า

ประโลมพระดาบสด้วยการแสดงผ้านุ่งผ้าห่มหลุดลุ่ย ให้ถึงความพินาศ

แห่งศีลแล้ว. ตั้งแต่วันนั้นชนทั้งสองก็อยู่สมัครสังวาสกันแล้ว.

กุมารอุเทนยักทัพช้าง

ต่อมาในกาลวันหนึ่ง พระดาบส ตรวจดูความประกอบแห่งดาว

นักษัตร เห็นความเห็นหมองแห่งดาววันกษัตรของพระเจ้าปรันตปะ จึง

ตรัสว่า " นางผู้เจริญ พระเจ้าปรันตปะในกรุงโกสัมพีสวรรคตแล้ว."

พระราชเทวี. เหตุไร พระผู้เป็นเจ้า จึงตรัสอย่างนี้ ? ท่านมี

ความอาฆาตกับพระเจ้าปรันตปะนั้นหรือ ?

ดาบส. ไม่มี นางผู้เจริญ เราเห็นความเศร้าหมองของดาวนักษัตร

ของพระเจ้าปรันตปะ จึงพูดอย่างนี้.

พระราชเทวีทรงกันแสงแล้ว.

๑. นกฺขตฺตปิฬน ความบีบคั้นแห่งนักษัตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 227

ครั้งนั้น พระดาบส จึงตรัสถามพระราชเทวีนั่นว่า "เพราะเหตุไร

หล่อนจึงร้องไห้ ?" เมื่อพระราชเทวีตรัสบอกความที่พระเจ้าปรันตปะนั้น

เป็นพระสวามีของพระองค์แล้ว, จึงตรัสว่า อย่าร้องไห้ไป นางผู้เจริญ

ธรรมดาสัตว์ผู้เกิดแล้ว ย่อมตายแน่แท้."

พระราชเทวี. หม่อมฉันทราบ พระผู้เป็นเจ้า.

ดาบส. เมื่อฉะนี้ ไฉน หล่อนจึงร้องไห้ ?

พระราชเทวี. บุตรของหม่อมฉัน เป็นผู้ควรแก่ราชสมบัติอันเป็น

ของตระกูล, ถ้าว่า เขาอยู่ที่เมืองนั้น เขาจักให้ยกเศวตฉัตรขึ้น, บัดนี้

เขาเกิดเป็นผู้เสื่อมใหญ่เสียแล้ว ด้วยความโศกถึงอย่างนี้หม่อมฉันจึงร้องไห้

พระผู้เป็นเจ้า.

ดาบส. ช่างเถอะ นางผู้เจริญ อย่าคิดไปเลย ถ้าว่า หล่อน

ปรารถนาราชสมบัติให้บุตร, ฉันจักทำอาการให้เขาได้ราชสมบัติ (สมดัง

ความปรารถนา).

ครั้งนั้น พระดาบส ได้ให้พิณและมนต์อันยังช้างให้ใคร่ แก่บุตร

ของพระนางแล้ว. ในกาลนั้น ช้างหลายแสน มาพักอยู่ที่โคนต้นไทรย้อย.

ลำดับนั้น พระดาบส จึงตรัสกะกุมารนั้นว่า "เมื่อช้างทั้งหลาย ยังไม่

มาถึงนั้นแล, เจ้าจงขึ้นต้นไม้, เมื่อช้างทั้งหลายมาถึงแล้ว, จงร่ายมนต์

บทนี้ ดีดสายพิณสายนี้; ช้างทั้งหมด ไม่อาจแม้จะหันกลับแลดู จักหนี

ไป, ทีนั้น เจ้าพึงลงมา," กุมารนั้น ทรงทำตามนั้นแล้ว กลับมาทูล

บอกความเป็นแล้ว. ครั้นถึงวันที่ ๒ พระดาบส จึงตรัสกับกุมาร

นั้นว่า "ในวันนี้ เจ้าจงร่ายมนต์บทนี้ ดีดสายพิณสายนี้; ช้างกลับ

เหลียงดูเบื้องหลังพลางหนีไป แม้ในกาลนั้น พระกุมารก็ทรงทำตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 228

นั้นแล้ว กลับมาทูลบอกความเป็นไปนั้น. ครั้งนั้น พระดาบสตรัสเรียก

พระมารดาของกุมารนั้นมาแล้ว ตรัสว่า "นางผู้เจริญ หล่อนจงให้ข่าว

สาสน์แก่บุตรของหล่อน, เขาไปจากที่นี่เทียว จักเป็นพระเจ้าแผ่นดิน."

พระราชเทวี ตรัสเรียกพระโอรสมาแล้ว ตรัสว่า " เจ้าเป็นลูกของพระเจ้า

ปรันตปะในกรุงโกสัมพี. นกหัสดีลิงค์ นำเรามาทั้งที่มีครรภ์" ดังนี้แล้ว

ตรัสบอกชื่อของเสนาบดีเป็นต้น แล้ว ตรัสว่า "เมื่อเขาพากันไม่เชื่อ

เจ้าพึงเอาผ้ากัมพลอันเป็นพระภูษาห่ม และพระธำมรงค์อันเป็นเครื่อง

ประดับของพระบิดานี้ แสดง" ดังนี้ จึงส่งไปแล้ว.

พระกุมารจึงทูลถามพระดาบสว่า "บัดนี้ หม่อมฉันจะทำอย่างไร ?"

ดาบสกล่าวว่า "เจ้าจงนั่งกิ่งข้างล่างแห่งต้นไม้ ร่ายมนต์บทนี้

ดีดสายพิณสายนี้ ช้างนายฝูงน้อมหลังเข้ามาหาเจ้า เจ้านั่งบนหลังของ

มันเทียว จงไปยึดเอาราชสมบัติ."

พระกุมารนั้น ถวายบังคมพระราชบิดาพระราชมารดาแล้ว ทรง

ทำตามนั้นแล้ว นั่งบนหลังของช้างตัวที่มาแล้ว กระซิบบอกช้างว่า

" ข้าพเจ้าเป็นบุตรของพระเจ้าปรันตปะในกรุงโกสัมพี, ขอท่านจงยึดเอา

ราชสมบัติอันเป็นของบิดาให้แก่ข้าพเจ้าเถิด นาย." ช้าง นายฝูง ฟังคำ

นั้นแล้ว จึงร้องเป็นเสียงช้างว่า "ช้างจงมาประชุมกันหลาย ๆ พัน."

ช้างหลายพัน มาประชุมกันแล้ว. ร้องอีกว่า "ช้างแก่ ๆ จงถอยไป."

ช้างแก่พากันถอยไปแล้ว. ร้องอีกว่า " ช้างตัวเล็ก ๆ จงกลับไป."

แม้ช้างเหล่านั้น ก็พากันกลับแล้ว. พระกุมารนั้น อันช้างนักรบตั้งปลาย

พันพากันแวดล้อมแล้ว ถึงบ้านปลายแดนแล้ว ประกาศว่า " เราเป็น

ลูกพระเจ้าแผ่นดิน, ผู้ที่ปรารถนาสมบัติ จงมากับเรา." ตั้งแต่นั้นไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 229

ก็ทรงทำการรวบรวมผู้คน ไปล้อมพระนครไว้แล้ว ส่งคำขาด (สาสน์)

ไปว่า " จะให้เรารบหรือจะให้ราชสมบัติ ?" ชาวเมืองทั้งหลายกล่าวว่า

" เราจักไม่ให้ทั้งสองอย่าง, แท้จริง พระราชเทวีของพวกเรามีพระครรภ์

แก่ ถูกนกหัสดีลิงค์พาไปแล้ว, เราทั้งหลาย ไม่ทราบว่า พระนางยังมี

พระชนม์อยู่ หรือว่าหาพระชนม์ไม่แล้ว ตลอดกาลที่เราไม่ทราบเรื่อง

ราวของพระนาง เราจักไม่ให้ทั้งการรบและราชสมบัติ." ได้ยินว่าความ

เป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสืบเชื้อสาย ได้มีแล้วในกาลนั้น. ลำดับนั้น

พระกุมาร จึงตรัสว่า "ฉันเป็นบุตรของพระนาง" แล้วอ้างชื่อเสนา-

บดีเป็นต้น เมื่อพวกเหล่านั้นไม่เชื่อถือแม้อย่างนั้น จึงแสดงผ้ากัมพล

แดงและพระธำมรงค์. พวกชาวเมือง จำผ้ากัมพลแดงและพระธำมรงค์

นั้นได้ หมดความกินแหนงใจ จึงเปิดประตู อภิเษกกุมารนั้นไว้ในราช-

สมบัติแล้ว.

นี้เป็นเรื่องเกิดแห่งพระเจ้าอุเทนก่อน.

สองผัวเมียเดินทางไปหาอาชีพ

ก็เมื่อทุพภิกขภัย เกิดแล้วในแคว้นอัลลกัปปะ ชายผู้หนึ่ง ชื่อว่า

โกตุหลิก ไม่อาจจะเป็นอยู่ได้ จึงพาภรรยาผู้มีบุตรอ่อน นามว่ากาลี

จัดแจงเสบียงออกไปแล้ว ด้วยมุ่งหมายว่า " จะไปหากินที่เมืองโกสัมพี."

อาจารย์บางท่านกล่าวว่า " เขาออกไปแล้ว ในเมื่อมหาชนกำลังตายกัน

ด้วยโรคอหิวาต์" บ้าง. สองสามีภรรยานั้น เดินไปอยู่ เมื่อเสบียงทาง

หมดสิ้นแล้ว ถูกความหิวครอบงำแล้ว ไม่สามารถจะนำเด็กไปได้.

ครั้งนั้น สามีจึงกล่าวกะภรรยาว่า " หล่อนเรามีชีวิตอยู่ ก็จักได้ลูกอีก,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 230

ทิ้งเขาเสียแล้วไปเถิด." ธรรมดาว่า ดวงใจของมารดาอ่อนโยน เพราะ-

ฉะนั้น นางจึงพูดว่า "ดิฉันไม่อาจทิ้งลูกที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ดอก."

สามี. เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจะทำอย่างไรกัน ?

ภรรยา. เราเปลี่ยนกันนำเขาไป. มารดายกลูกขึ้นประหนึ่งพวง

ดอกไม้ ในวาระของตน กกไว้ที่อก อุ้มไปแล้ว ก็เอาให้แก่บิดา.

เวทนามีกำลังแม้กว่าความหิว บังเกิดแก่ชายผู้เป็นสามีนั้น ในที่ซึ่งเขา

รับเด็กผู้เป็นลูกนั้นแล้ววางลง เขาก็พูดกะภรรยานั้นแล้ว ๆ เล่า ๆ ว่า

"หล่อน เรามีชีวิตอยู่ จักได้ลูก ( อีก) ทิ้งมันเสียเถิด." แม้ภรรยา

ก็ห้ามเขาไว้ตั้งหลายครั้ง แล้วก็เฉยเสีย. เด็กถูกเปลี่ยนกันตามวาระ

เหนื่อยอ่อนเลยนอนหลับอยู่ในมือของบิดา. ชายผู้เป็นสามี รู้ว่าลูกชาย

นั้นหลับ จึงปล่อยให้มารดาเดินไปข้างหน้าก่อน แล้วเอาเด็กนอนไว้บน

ใบไม้ลาด ใต้พุ่มไม้แห่งหนึ่งแล้วก็เดิน (ตามไป), มารดาเหลียวกลับ

แลดู ไม่เห็นลูก จึงถามว่า "นาย ลูกของเราไปไหน ?"

สามี. ฉันให้เขานอนอยู่ภายใต้พุ่มไม้แห่งหนึ่ง.

ภรรยา. นาย อย่ายังฉันให้ฉิบหายเลย, ฉันเว้นลูกเสียแล้ว ไม่

อาจเป็นอยู่ได้, นายนำลูกฉันมาเถิด ประหารอกคร่ำครวญแล้ว. ครั้นนั้น

ชายผู้สามี จึงกลับไปเอาเด็กนั้นมาแล้ว. แม้ลูกก็ตายเสียแล้วในระหว่าง

ทาง. นายโกตุหลิก ทิ้งบุตรในฐานะมีประมาณเท่านี้ จึงถูกเขาทอดทิ้ง

๗ วาระ ในระหว่างภพ ด้วยผลแห่งกรรมนั้น ด้วยประการฉะนี้. ชื่อว่า

บาปกรรมนี้ อันบุคคลไม่ควรดูหมิ่นว่า "น้อย," สองสามีภรรยานั้น

เดินทางไปถึงตระกูลของคนเลี้ยงโคแห่งหนึ่งแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 231

นายโกตุหลิกตายไปเกิดเป็นสุนัข

ก็ในวันนั้น มีการทำขวัญแม่โคนมของนายโคบาล. ในเรือนของ

นายโคบาล พระปัจเจกพุทธเจ้ารูปหนึ่งฉันเป็นนิตย์. นายโคบาลนั้น

นิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้าฉันเสร็จแล้ว จึงได้ทำการมงคล. ข้าวปายาสเขา

จัดแจงไว้เป็นอันมาก. นายโคบาล เห็น ๒ สามีภรรยานั้นมา จึงถามว่า

" ท่านมาจากไหน ?" ทราบเรื่องนั้นแล้ว เป็นกุลบุตรมีใจอ่อนโยน

จึงกระทำความสงเคราะห์ใน ๒ สามีภรรยานั้น ให้ ๆ ข้าวปายาสกับเนย

ใสเป็นอันมาก.

ภรรยาจึงกล่าวกะสามีว่า "นาย เมื่อท่านมีชีวิตอยู่ ฉันก็ชื่อว่า

มีชีวิตอยู่, ท่านท้องพร่องมานาน, จงบริโภคตามความต้องการ" ดังนี้

แล้ว จึงวางข้าวปายาสไว้เบื้องหน้าเขาพร้อมกับสัปปิ ตนเองบริโภคสัปปิ

เหลวแต่น้อยหนึ่งเท่านั้น. ส่วนนายโกตุหลิก บริโภคมากไป ไม่อาจตัด

ความอยากในอาหารได้ เพราะตัวหิวมาตั้ง ๗-๘ วัน นายโคบาล ครั้น

ให้ ๆ ข้าวปายาสแก่ ๒ ผัวเมียแล้ว ตนเองจึงเริ่มจะบริโภค. นายโกตุ-

หลิกนั่งแลดูเขาแล้ว เห็นก้อนข้าวปายาสที่นายโคบาลปั้นให้แก่นางสุนัข

ซึ่งนอนอยู่แล้วใต้ตั่ง จึงคิดว่า " นางสุนัขตัวนี้ มีบุญ จึงได้โภชนะ

เห็นปานนี้เนืองนิตย์." ตกกลางคืนนายโกตุหลิกนั้น ไม่สามารถจะยัง

ข้าวปายาสนั้นให้ย่อยได้ จึงทำกาละ ไปเกิดในท้องแห่งนางสุนัขนั้น.

ครั้งนั้น ภรรยาของเขาทำสรีรกิจ ( เผา) แล้ว ก็ทำการรับจ้างอยู่ใน

เรือนนั่นเอง ได้ข้าวสารทะนานหนึ่ง หุงแล้ว เอาใส่บาตรพระปัจเจก-

พุทธเจ้าแล้วกล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า ขอกุศลนี้ จงถึงแก่ทาสของท่าน

เถิด" ดังนี้ แล้วจึงคิดว่า "ควรเราจะอยู่ในที่นี้แล, พระผู้เป็นเจ้าย่อม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 232

มาในที่นี้เนืองนิตย์, ไทยธรรมจักมีหรือไม่ก็ช่างเถิด, เราไหว้อยู่ทำความ

ขวนขวายอยู่ ยังใจให้เลื่อมใสอยู่ทุกวัน จักประสพบุญมาก." (คิดดัง

นี้แล้ว) นางจึงทำการรับจ้างอยู่ในบ้านนั้นนั่นเอง.

สุนัขตายเพราะอาลัยในพระปัจเจกพุทธเจ้า

ในเดือนที่ ๖ หรือที่ ๗ นางสุนัขแม้นั้นแล ก็คลอดลูกออกมา

ตัวหนึ่ง. นายโคบาลจึงให้ ๆ น้ำนมของแม่โคนมตัวหนึ่งแก่ลูกสุนัขนั้น.

ไม่นานเท่าไรนัก ลูกสุนัขนั้นก็เติบใหญ่. ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า

เมื่อฉัน ย่อมให้ก้อนข้าวแก่ลูกสุนัขนั้นก้อนหนึ่งเป็นนิตย์. เพราะอาศัย

ก้อนข้าว สุนัขนั้นจึงได้มีความรักใคร่ในพระปัจเจกพุทธเจ้า. นายโคบาล

ย่อมไปสู่ที่บำรุงของพระปัจเจกพุทธเจ้า (วันหนึ่ง ) ๒ ครั้งเนืองนิตย์.

นายโคบาลนั้นแม้เดินไป ก็เอาไม้ตีที่พุ่มไม้แลพื้นดินในที่ซึ่งมีเนื้อร้าย

ระหว่างทาง ส่งเสียงว่า "สุ สุ" ๓ ครั้ง ยังเนื้อร้ายให้หนีไปแล้ว.

แม้สุนัขก็ไปด้วยกับนายโคบาลนั้น. ในวันหนึ่ง นายโคบาลนั้นกล่าว

กะพระปัจเจกพุทธเจ้าว่า " ท่านผู้เจริญ กาลใด ผมไม่มีโอกาสว่าง

กาลนั้นผมจักส่งสุนัขตัวนี้มา: ขอพระผู้เป็นเจ้าพึงมาด้วยเครื่องหมายแห่ง

สุนัขนี้ที่กระผมส่งมาแล้ว." ตั้งแต่นั้นมา ในวันที่ไม่มีโอกาส นายโค-

บาลนั้น ก็ส่งสุนัขไปว่า "พ่อ จงไป จงนำพระผู้เป็นเจ้ามา" ด้วยคำ

เดียวเท่านั้น สุนัขนั้นก็วิ่งไป ถึงที่ซึ่งนายตีพุ่มไม้และพื้นดินก็เห่าขึ้น

๓ ครั้ง รู้ว่าเนื้อร้ายหนีไปแล้วด้วยเสียงนั้น ไปถึงที่อยู่ของพระปัจเจก-

พุทธเจ้า ผู้กระทำสรีรปฏิบัติแต่เช้าตรู่ เข้าไปยังบรรณศาลา นั่งอยู่แล้ว

ถึงประตูบรรณศาลา จึงเห่าขึ้น ๓ ครั้ง ให้ท่านรู้ว่าตนมาแล้ว ก็นอน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 233

หมอบอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง. เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้ากำหนดเวลาออกไปแล้ว

สุนัขนั้นก็เดินเห่าไปข้างหน้า ๆ เทียว พระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อจะทดลอง

สุนัข จึง (ทำเป็น) เดินไปทางอื่นในระหว่าง ๆ ทีนั้น สุนัขจึงไป

ยืนเห่าขวางหน้าของพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นไว้ แล้วนำท่านลงทางนอกนี้.

ต่อมาในกาลวันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้าเมื่อจะทดลองสุนัขนั้น จึงเดิน

ไปสู่ทางอื่นแล้ว แม้สุนัขนั้นจะยืนขวางห้ามอยู่ข้างหน้าก็ไม่กลับ เอาเท้า

กระตุ้นสุนัขแล้วเดินไป: สุนัขรู้ว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าไม่กลับ จึงกลับไป

คาบชายผ้านุ่งฉุดมา น้ำท่านลงสู่ทางนอกนี้. สุนัขนั้นได้ยังความรักอันมี

กำลัง ให้เกิดขึ้นแล้วในพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยประการอย่างนี้.

ต่อมาในกาลอื่น จีวรของพระปัจเจกพุทธเจ้าเก่าแล้ว. ครั้งนั้น

นายโคบาล จึงได้ถวายผ้าสำหรับทำจีวรแก่ท่าน. พระปัจเจกพุทธเจ้า

จึงกล่าวกับนายโคบาลนั้นว่า " ผู้มีอายุ ชื่อว่าการทำจีวร อันบุคคล

ผู้เดียวทำได้ยาก, อาตมา ไปสู่สถานที่สบายแล้วจักกระทำ."

นายโคบาล. ท่านผู้เจริญ นิมนต์ทำที่นี่เถิด.

พระปัจเจกพุทธเจ้า. ผู้มีอายุ อาตมา ไม่อาจ.

นายโคบาล. ท่านผู้เจริญ ถ้ากระนั้น ท่านอย่าไปอยู่ภายนอก

ให้นานนัก.

สุนัขได้ยินฟังคำของคนทั้งสองนั้นอยู่เหมือนกัน.

พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวกะนายโคบาลนั้นว่า "จงหยุดเถิด

อุบาสก" ให้นายโคบาลกลับแล้ว เหาะขึ้นสู่เวหาส บ่ายหน้าต่อเขา

คันธมาทน์ หลีกไปแล้ว. สุนัขแลดูพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้เหาะไปทาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 234

อากาศ ยืนเห่าอยู่แล้ว เมื่อพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นลับคลองจักษุไป หทัย

ก็แตกทำลายลง.

สุนัขไปเกิดเป็นโฆสกเทพบุตร

ชื่อว่า สัตว์ดิรัจฉานทั้งหลายนั้น เป็นสัตว์มีชาติซื่อตรง ไม่

คดโกง; ส่วนมนุษย์ใจคิดไปอย่าง ปากพูดไปอย่าง (ไม่ตรงกัน)

เพราะเหตุนั้นแล นายเปสสะ ผู้เป็นบุตรของนายควาญช้าง จึงกล่าวว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ขันธบัญจกคือมนุษย์นี้รกชัฏ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ แท้จริง ขันธบัญจกคือสัตว์ของเลี้ยงนี้ตื้น. สุนัขนั้น

ทำกาละแล้ว ไปเกิดในดาวดึงสภพ มีนางอัปสร ๑ พันแวดล้อม ได้

เสวยสมบัติใหญ่ ก็เพราะเป็นสัตว์มีความเห็นอันตรง (และ) ไม่

คดโกงนั้น ด้วยประการฉะนี้.

เมื่อเทพบุตรนั้นกระซิบที่ใกล้หูของใคร ๆ เสียงย่อมดังไปไกลได้

๑๖ โยชน์ ส่วนเสียงพูดโดยปกติ ย่อมกลบเทพนครทั้งสิ้น ซึ่งมี

ประมาณหมื่นโยชน์. เพราะเหตุนั้นแล เทพบุตรนั้น จึงได้มีนามว่า

"โฆสกเทพบุตร." ก็นี้เป็นผลของอะไร ? เป็นผลของการเห่าด้วยความ

รักในพระปัจเจกพุทธเจ้า. โฆสกเทพบุตรนั้น ดำรงอยู่ในเทพนครนั้นไม่

นานก็เคลื่อนแล้ว.

เหตุทำให้เทพบุตรเคลื่อน ๔ อย่าง

จริงอยู่ เทพบุตรทั้งหลาย ย่อมเคลื่อนจากเทวโลก ด้วยเหตุ ๔

อย่าง คือ:-

๑. ม. ม. ๑๓/๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 235

๑. ด้วยความสิ้นอายุ

๒. ด้วยความสิ้นบุญ

๓. ด้วยความสิ้นอาหาร

๔. ด้วยความโกรธ

ในเหตุ ๔ อย่างเหล่านั้น เทพบุตรองค์ใดทำบุญกรรมไว้มาก

เทพบุตรองค์นั้นเกิดในเทวโลก ดำรงอยู่ตราบเท่าอายุแล้ว ก็เกิด

ในเทวโลกชั้นสูง ๆ ขึ้นไป, อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเคลื่อนด้วยความ

สิ้นอายุ. เทพบุตรองค์ใดทำบุญไว้น้อย; บุญนั้นของเทพบุตรนั้น

ย่อมสิ้นไปเสียในระหว่างเทียว เหมือนธัญชาติ ที่บุคคลใส่ไว้ในฉางหลวง

เพียง ๔-๕ ทะนานฉะนั้น, เทพบุตรนั้นย่อมทำกาละเสียในระหว่าง

เที่ยว, อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเคลื่อนด้วยความสิ้นบุญ. เทพบุตรบางองค์

มักบริโภคกามคุณ ไม่บริโภคอาหาร เพราะการหลงลืมสติ มีกายอัน

เหนื่อยอ่อน ทำกาละ, อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเคลื่อนด้วยการสิ้นอาหาร.

เทพบุตรบางองค์ ไม่อดทนสมบัติของผู้อื่น โกรธเคืองแล้วจึงทำกาละ,

อย่างนี้ ชื่อว่า ย่อมเคลื่อนด้วยความโกรธ.

โฆสกเทพบุตรไปเกิดในกรุงโกสัมพี

ก็โฆสกเทพบุตรนี้ มัวบริโภคกามคุณอยู่ หลงลืมสติ จึงเคลื่อน

ด้วยความสิ้นอาหาร. ก็แลเคลื่อนเสร็จแล้ว ไปถือปฏิสนธิในท้องแห่ง

หญิงงามเมืองในกรุงโกสัมพี. ในวันคลอด นางถามทาสีว่า "นี่อะไร ?"

เมื่อนางทาสีตอบว่า "ลูกชาย เจ้าค่ะ" จึงบอกให้นางทาสีเอาไปทิ้งด้วย

คำว่า "เจ้าจงเอาทารกนี้ใส่กระด้งแล้วเอาไปทิ้งที่กองหยากเยื่อ " แท้จริง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 236

หญิงงามเมืองทั้งหลาย ย่อมเลี้ยงลูกหญิง ไม่เลี้ยงลูกชาย; เพราะเชื้อสาย

ของพวกหล่อนจะสืบไปได้ ก็ด้วยลูกหญิง. กาบ้าง สุนัขบ้าง ต่างพากัน

จับกลุ่มแวดล้อมเด็กไว้. ด้วยผลแห่งการเห่า อันเกิดแต่ความรักในพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า สัตว์ตัวหนึ่งก็ไม่อาจเข้าใกล้ได้. ในขณะนั้น คนผู้หนึ่ง

ออกไปนอกบ้านเห็นการจับกลุ่มของกาและสุนัขนั้น คิดว่า "นี่มันเหตุ

อะไรกันหนอ ?" จึงเดินไปที่นั้น เห็นทารก หวนได้ความรักเหมือน

ดังลูก จึงนำไปสู่เรือนด้วยดีใจว่า " เราได้ลูกชายแล้ว."

นางกาลีนำโฆสกทารกไปให้โคเหยียบ

ในกาลครั้งนั้น เศรษฐีชาวเมืองโกสัมพี ไปสู่ราชตระกูล พบ

ปุโรหิตเดินมาแต่พระราชวัง จึงถามว่า "ท่านอาจารย์ วันนี้ท่านได้

ตรวจตราดูความประกอบของดาวนักษัตร อันเป็นเหตุเคราะห์ดีเคราะห์-

ร้ายแล้วหรือ ?"

ปุโรหิต. จ้ะ ท่านมหาเศรษฐี. กิจอะไรอื่นของพวกเราไม่มี.

เศรษฐี. อะไรจะมีแก่ชนบทหรือ ? ท่านอาจารย์.

ปุโรหิต. อย่างอื่นไม่มี, แต่เด็กที่เกิดในวันนี้ จักได้เป็นเศรษฐี

ผู้ประเสริฐในเมืองนี้.

ครั้งนั้น ภรรยาของเศรษฐีมีครรภ์แก่, เพราะฉะนั้น เศรษฐีนั้น

จึงส่งคนใช้ไปสู่เรือนโดยเร็วด้วยคำว่า " จงไป จงทราบภรรยาของเรา

นั้นว่า ตลอดแล้ว หรือยังไม่ตลอด," พอทราบว่า " ยังไม่ตลอด,"

เฝ้าพระราชาเสร็จแล้ว รีบกลับบ้าน เรียกหญิงคนใช้ชื่อกาลีมาแล้ว

๑. ติถิกรณนกฺขตฺตโยโค ความประกอบแห่งนักษัตรอันเป็นเครื่องกระทำซึ่งดิถี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 237

ให้ทรัพย์ ๑ พัน กล่าวว่า เจ้าจงไป จงตรวจดูในเมืองนี้ ให้ทรัพย์

๑ พัน พาเอาเด็กที่เกิดในวันนี้มา." นางกาลีนั้นตรวจตราดู ไปถึง

เรือนนั้น เห็นเด็กแล้ว จึงถามหญิงแม่บ้านว่า " เด็กนี้ เกิดเมื่อไร "

เมื่อหญิงนั้นตอบว่า " เกิดวันนี้," จึงพูดว่า " จงให้เด็กนี้แก่ฉัน จึง

ประมูลราคา ตั้งแต่ ๑ กหาปณะเป็นต้น จนถึงให้ทรัพย์ ๑ พันแล้ว นำเด็ก

นั้นไปแสดงแก่เศรษฐี. เศรษฐีคิดว่า " ถ้าว่าลูกของเรา จักเกิดเป็น

ลูกหญิง. เราจักให้มันอยู่ร่วมกับลูกสาวของเรานั้น แล้วทำให้มันเป็น

เจ้าของตำแหน่งเศรษฐี; ถ้าว่าลูกของเราจักเกิดเป็นลูกชาย เราก็จักฆ่า

มันเสีย " ดังนี้แล้ว จึงให้รับเด็กนั้นไว้ในเรือน. ต่อมา ภรรยาของ

เศรษฐีนั้นตลอดบุตรเป็นชาย โดยล่วงไป ๒-๓ วัน. เศรษฐีจึงคิดว่า

" เมื่อไม่มีเจ้าเด็กนี้ ลูกชายของเรา ก็จักได้ตำแหน่งเศรษฐี, บัดนี้

ควรที่เราจักฆ่ามันเสียเถิด " ดังนี้แล้ว จึงเรียกนางกาลีมาแล้ว กล่าวว่า

" แม่จงไป ในเวลาที่พวกโคออกจากคอก เจ้าจงเอาเด็กนี้ให้นอนขวาง

ไว้ที่กลางประตูคอก แม่โคทั้งหลายจักเหยียบมันให้ตาย, แต่ต้องรู้ว่า

โคเหยียบมันหรือไม่เหยียบแล้วจึงมา." นางกาลีนั้น ไปแล้ว พอนาย

โคบาลเปิดประตูคอกเท่านั้น ก็เอาเด็กนั้นให้นอนไว้ ตามนั้น (เหมือน

ที่เศรษฐีสั่ง). โคอุสภะซึ่งเป็นนายฝูง แม้ออกภายหลังโคทั้งปวงใน

เวลาอื่น (แต่) ในวันนั้น ออกไปก่อนกว่าโคอื่นทั้งหมด ได้ยืนคร่อม

ทารกไว้ในระหว่างเท้าทั้งสี่. แม่โคตั้งหลายร้อย ต่างก็พากันเบียดเสียด

ข้างทั้งสองของโคอุสภะออกไป. ถึงนายโคบาลก็คิดว่า "เจ้าโคอุสภะ

ตัวนี้ เมื่อก่อน ออกทีหลังโคทุกตัว, แต่วันนี้ ออกไปก่อนโคทั้งหมด

แล้วยืนนิ่งอยู่ที่ประตูคอกเที่ยว, นั่นจะมีเหตุอันใดหนอ ?" จึงเดินไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 238

แลเห็นเด็กนอนอยู่ภายใต้ท้องโคนั้น หวนกลับได้ความรักเสมือนบุตร

จึงนำไปสู่เรือน ด้วยคิดว่า " เราได้ลูกชายแล้ว." นางกาลี ไปแล้ว

ถูกเศรษฐีถาม จึงเล่าเรื่องนั้น อันเศรษฐีกล่าวว่า "เจ้าจงไป จงให้

ทรัพย์เขา ๑ พันแล้ว นำมันกลับมาอีก" ดังนี้แล้ว ให้ทรัพย์ ๑ พัน

แล้ว ได้นำกลับมาให้อีก.

นางกาลีนำโฆสกะไปให้เกวียนทับ

ครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกับนางกาลีว่า " แม่กาลี ในเมืองนี้มีพวก

เกวียน ๕๐๐ เล่ม ลุกขึ้นแต่เช้ามืด ย่อมไปค้าขาย, เจ้าจงเอาเด็กนี้ไป

ให้นอนไว้ที่ทางเกวียน (ทางล้อ ) พวกโคจักเหยียบมันหรือล้อเกวียน

จักตัด (ตัวมัน) พอรู้เรื่องของมันแล้ว จึงกลับมา." นางกาลีนั้น

นำเด็กนั้นไปแล้ว ให้นอนอยู่ที่ทางเกวียน. ในกาลนั้นหัวหน้าเกวียน

ได้ไปข้างหน้า. ครั้งนั้น พวกโคของเขา ถึงที่นั้นแล้ว ต่างพากันสลัด

แอกเสีย. แม้จะถูกหัวหน้ายกขึ้นแล้วขับไปตั้งหลายครั้ง ก็ไม่เดินไป

ข้างหน้า. เมื่อหัวหน้านั้น พยายามอยู่กับโคทั้งสองนั้นอย่างนี้เทียว

อรุณขึ้นแล้ว (ก็พอสว่าง). เขาจึงคิดว่า "โคทั้งสองพากันทำเหตุนี้

เพราะอะไร ? " จึงตรวจตราดูทาง เห็นทารกแล้วก็คิดว่า " กรรมของ

เขาหนักหนอ" ความยินดีว่า "เราได้ลูกชายแล้ว" จึงนำเด็กนั้นไป

สู่เรือน. นางกาลีไปแล้ว อันเศรษฐีถาม จึงบอกความเป็นไปนั้น อัน

เศรษฐีบอกว่า "เจ้าจงไปให้ทรัพย์ (เขา) ๑ พันแล้ว จงนำเด็กนั้น

กลับมาอีก" ดังนี้แล้ว ได้กระทำตามนั้นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 239

นางกาลีนำโฆสกะไปทิ้งที่ป่าช้าผีดิบ

ครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกะนางกาลีนั้นว่า "บัดนี้ เจ้าจงนำมัน

ไปยังป่าช้าผีดิบ แล้วเอานอนไว้ในระหว่างพุ่มไม้, มันจักถูกสัตว์มีสุนัข

ป่าเป็นต้นกัด หรือถูกอมนุษย์ประหารตายในที่นั้น, เจ้ารู้ว่ามันตายแล้ว

หรือไม่ตายเทียว จึงกลับมา." นางกาลีนั้นนำเด็กนั้นไป ให้นอนอยู่

ที่ป่าช้าผีดิบแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง. สุนัขบ้าง กาบ้าง อมนุษย์

บ้าง ไม่อาจเข้าใกล้เด็กนั้นได้. มีคำถามสอดเข้ามาว่า "ก็มารดาบิดา

และบรรดาพี่น้องเป็นต้น ใคร ๆ ชื่อว่าผู้รักษาของเด็กนั้น ไม่มีมิใช่

หรือ ? ใครรักษาตัวเด็กนั้นไว้ ?" แก้ว่า "กรรมสักว่าความเห่าเท่านั้น

ซึ่งเด็กให้เป็นไปแล้ว ด้วยความรักใคร่ในพระปัจเจกพุทธเจ้า ในเวลา

เป็นสุนัข รักษาเด็กไว้." ครั้งนั้น นายอชบาลผู้หนึ่ง ต้อนแม่แพะตั้ง

หลายแสนตัวไปหากิน เดินไปข้างป่าช้า. แม่แพะตัวหนึ่งเคี้ยวกินใบไม้

เป็นต้น เข้าไปสู่พุ่มไม้เห็นทารกแล้ว จึงคุกเข่าให้นมแก่ทารก. แม้

นายอชบาล จะทำเสียงว่า "เห, เห" ก็หาออกไปไม่. เขาคิดว่า

" จักเอาไม้ตีมันไล่ออก" จึงเข้าไปสู่พุ่มไม้ เห็นแม่แพะคุกเข่าให้ทารกน้อย

กินนมอยู่ จึงหวนกลับได้รับความรักในทารกเสมือนบุตร จึงพาเอาหารก

นั้นไป ด้วยคิดว่า " เราได้ลูกชายแล้ว," นางกาลี เห็นเหตุนั้นแล้ว

จึงไป ถูกเศรษฐีถามแล้ว จึงบอกความเป็นไปอันนั้น อันเศรษฐีกล่าวว่า

" เจ้าจงไป ให้ทรัพย์ (เขา) ๑ พันแล้ว นำมันกลับมาอีก" ได้

กระทำตามนั้นแล้ว.

นางกาลีเอาโฆสกะไปโยนเหว

ครั้งนั้น เศรษฐี กล่าวกะนางทาสีนั้นว่า "แม่กาลี เจ้าจงเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 240

เด็กนี้ไป ขึ้นสู่ภูเขาอันเป็นที่ทิ้งโจร จงโยนมันลงไปในเหว, มันกระทบ

ต้องภูเขา ก็จักเป็นท่อนเล็กท่อนน้อย ตกลงที่พื้น, เจ้ารู้ว่า มันตาย

แล้วหรือไม่ตาย จึงกลับมา." นางกาลีนั้น นำเด็กนั้นไปที่นั้นแล้ว

ยืนอยู่บนยอดเขา โยนลงไปแล้ว. ก็พุ่มไผ่ใหญ่ อาศัยท้องภูเขานั้นแล

เจริญโดยเทือกเขานั่นเอง. พุ่มกระพังโหมหนาทึบ ได้คลุมเบื้องบนพุ่ม

ไผ่นั้นไว้. ทารกเมื่อตก จึงตกลงบนพุ่มนั้น เหมือนตกลงบนผ้าขนสัตว์

ในวันนั้น หัวหน้าช่างสาน มีความต้องการด้วยไม้ไผ่. เขาไปกับลูกชาย

เริ่มจะตัดพุ่มไม้นั้น, เมื่อพุ่มไม้ไผ่นั้นไหวอยู่ เด็กก็ได้ร้องขึ้นแล้ว. เขา

จึงพูดว่า " เหมือนเสียงเด็ก" จึงขึ้นไปทางหนึ่ง เห็นเด็กนั้น มีใจยินดี

จึงพาไปด้วยคิดว่า " เราได้ลูกชายแล้ว. " นางกาลี ไปสู่สำนักของ

เศรษฐี ถูกเศรษฐีนั้นถามแล้ว จึงบอกเรื่องนั้น อันเศรษฐีกล่าวว่า

" เจ้าจงไป เอาทรัพย์ให้ ( เขา) ๑ พันแล้วน้ำมันกลับมาอีก" ได้ทำ

ตามนั้นแล้ว.

ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว

เมื่อเศรษฐี ทำกรรมนี้ ๆ อยู่นั่นเทียว เด็กเติบใหญ่แล้ว. เขา

ได้มีชื่อว่า " โฆสกะ." นายโฆสกะนั้น ปรากฏแก่เศรษฐีประหนึ่ง

หนามแทงตา. เศรษฐีไม่อาจเพื่อจะแลดูเขาตรง ๆ ได้. ครั้งนั้น เศรษฐี

ตรองหาอุบายจะฆ่านายโฆสกะนั้น จึงไปสู่สำนักของนายช่างหม้อผู้สหาย

ของตน แล้วถามว่า " เมื่อไร ท่านจะเผาเตา ?" เมื่อเขาตอบว่า

"พรุ่งนี้" จึงกล่าวว่า " ถ้ากระนั้น ท่านจงเอาทรัพย์ ๑ พันนี้ไว้

แล้วจงทำการงานให้ฉันสักอย่างหนึ่ง."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 241

นายช่างหม้อ. การงานอะไร ? นาย.

เศรษฐี. ฉันมีบุตรชาติชั่วอยู่คนหนึ่ง ฉันจักส่งมันมายังสำนัก

ของท่าน, เมื่อฉะนี้ ท่านจงให้มันเข้าไปสู่ห้อง เอามีดอันคมตัดให้เป็น

ท่อนน้อยท่อนใหญ่ เอาใส่ในตุ่ม แล้วเผาในเตา ทรัพย์ ๑ พันนี้

เป็นเช่นกับรางวัลของท่าน. ในภายหลัง ฉันจักทำสิ่งที่ควรทำแก่ท่านให้

ยิ่งขึ้นอีก.

นายช่างหม้อ. ได้จ้ะ.

ในวันรุ่งขึ้น เศรษฐีจึงเรียกนายโฆสกะมาแล้ว กล่าวว่า "พ่อเมื่อ

วานนี้ ฉันสั่งการงานนายช่างหม้อไว้อย่างหนึ่ง, เจ้าจงมา จงไปยังสำนัก

ของเขา แล้วพูดอย่างนี้ว่า "ได้ยินว่า ท่านจงยังการงานที่คุณพ่อของผม

สั่งไว้เมื่อวันวานนี้ให้สำเร็จเถิด" ดังนี้แล้ว ได้ส่งไปแล้ว. นายโฆสกะ

นั้น รับว่า "จ้ะ" ได้ไปแล้ว. ฝ่ายลูกชายของเศรษฐี กำลังเล่นคลี

กับพวกเด็ก เห็นนายโฆสกะนั้น เดินไปในที่นั้น จึงเรียกนายโฆสกะ

นั้นแล้ว ถามว่า " ไปไหน ? พี่" เมื่อนายโฆสกะบอกว่า " เอาข่าว

ของคุณพ่อ ไปสำนักของนายช่างหม้อ," จึงพูดว่า " ฉันจักไปในที่นั้น,

เด็กเหล่านี้ชนะฉันหลายคะแนนแล้ว, พี่จงชนะเอาคะแนนคืนให้ฉัน.

นายโฆสกะ. พี่กลัวคุณพ่อ.

ลูกเศรษฐี. อย่ากลัวพี่ ฉันจักนำข่าวนั้นไปเอง พวกเด็กหลาย

คนชนะฉันแล้ว พี่จงชิงชัยเอาคะแนนให้ฉัน จนกว่าฉันจะกลับมา. ได้

ยินว่า โฆสกะเป็นผู้ฉลาดในการเล่นคลี, เพราะฉะนั้น ลูกชายของเศรษฐี

จึงได้หน่วงเหนี่ยวนายโฆสกะนั้นไว้อย่างนั้น .

ฝ่ายโฆสกะนั้นจึงพูดกับลูกชายเศรษฐีนั้นว่า " ถ้ากระนั้นจงไป

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 242

บอกกับนายช่างหม้อว่า "ทราบว่า เมื่อวานนี้ คุณพ่อผม สั่งให้ท่าน

ทำการงานไว้อย่างหนึ่ง, ท่านจงยังการงานนั้นให้สำเร็จ" ดังนี้แล้ว

ส่งเขาไปแล้ว. ลูกชายของเศรษฐีนั้น ไปยังสำนักของนายช่างหม้อนั้น

ได้กล่าวตามสั่งนั้น. ครั้งนั้น นายช่างหม้อ ได้ฆ่าลูกชายเศรษฐีนั้น

ตามคำสั่งเศรษฐีสั่งไว้ทีเดียว แล้วโยนไปในเตา.

ฝ่ายนายโฆสกะ เล่นตลอดภาคของวัน พอตกเย็นก็กลับบ้าน,

เมื่อเศรษฐีเห็นแล้ว จึงถามว่า "ไม่ได้ไปหรือ ? พ่อ" ก็แจ้งถึงเหตุที่

ตนไม่ไปและเหตุที่น้องชายไปให้ทราบ. เศรษฐีฟังคำนั้นแล้ว จึงร้อง

ลั่นว่า "อย่าได้ฆ่าเลย" ปานประหนึ่งว่า มีโลหิตเดือดพล่านในสรีระ

ทั้งสิ้น ประคองแขนคร่ำครวญอยู่ว่า "ช่างหม้อผู้เจริญ อย่าให้เราฉิบหาย

เสียเลย อย่าให้เราฉิบหายเสียเลย" ดังนี้ ได้ไปยังสำนักของนายช่าง

หม้อนั้นแล้ว.

นายช่างหม้อ เห็นเศรษฐีนั้น มาอยู่โดยอาการอย่างนั้น จึงพูดว่า

"นาย ท่านอย่าทำเสียงดังไป, การงานของท่านสำเร็จแล้ว." เศรษฐีนั้น

อันความโศกเปรียบดังภูเขาใหญ่ท่วมทับแล้ว เสวยโทมนัส มีประมาณ

มิใช่น้อย ดังบุคคลผู้มีใจคิดร้ายต่อบุคคลผู้ไม่ประทุษร้ายฉะนั้น.

ทำร้ายผู้ไม่ทำร้ายตอบย่อมถึงฐานะ ๑๐

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

" ผู้ประทุษร้ายในท่านผู้ไม่ประทุษร้าย หา

อาชญามิได้ ด้วยอาชญา ย่อมพลันถึงฐานะ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 243

อย่างใดอย่างหนึ่งทีเดียว คือ พึงถึงเวทนาอันหยาบ,

ความเสื่อม, ความแตกแห่งสรีระ, ความเจ็บไข้

อย่างหนัก, ความฟุ้งซ่านแห่งจิต, ความขัดข้องแต่

พระราชา, ความกล่าวตู่อย่างทารุณ, ความเสื่อม

รอบแห่งหมู่ญาติ, ความย่อยยับแห่งโภคะ, อีก

ประการหนึ่ง ไฟป่าย่อมไหม้เรือนของผู้นั้น, เพราะ

ความแตกแห่งกาย เขาผู้มีปัญญาทราม ย่อมเข้า

ถึงนรก."

อุบายใหม่ของเศรษฐี

แม้เช่นนั้น เศรษฐีก็ไม่อาจแลดูนายโฆสกะนั้นตรง ๆ อีกได้

ครุ่นคิดหาอุบายว่า " อย่างไร ? จึงจะฆ่ามันเสียได้." มองเห็นอุบายว่า

"เราจักส่งมันไปยังสำนักของคนเก็บส่วย ( นายเสมียน) ใน ๑๐๐

บ้านของเรา ให้มันตายเสีย" ดังนี้แล้ว จึงเขียนหนังสือไปถึงคนเก็บ

ส่วยนั้นว่า " ผู้นี้เป็นลูกชาติชั่วของเรา, ฆ่ามันเสียแล้ว จงโยนลงไปใน

หลุมคูถ. เมื่อทำการอย่างนี้เสร็จแล้ว, ฉันจักรู้สิ่งที่จะตอบแทนแก่ท่าน

ลุงในภายหลัง" ดังนี้แล้ว จึงกล่าวว่า "พ่อโฆสกะ คนเก็บส่วยของฉัน

มีอยู่ที่บ้านส่วย ๑๐๐ บ้าน, เจ้าจงนำเอาจดหมายฉบับนี้ไปให้เขา" ดังนี้

จึงเอาจดหมายผูกไว้ที่ชายผ้าของเขา.

ก็นายโฆสกะนั้น ไม่รู้จักอักษรสมัย, เพราะตั้งแต่เขาเป็นเด็ก

เศรษฐีก็ครุ่นคิดฆ่าเขาเสมอ (แต่) ไม่อาจฆ่าได้, จักให้เขาศึกษา

อักษรสมัยได้อย่างไร ? นายโฆสกะนั้น ผูกจดหมายฆ่าตัวเองไว้ที่ชายผ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 244

ด้วยประการฉะนี้ เมื่อจะออกเดินจึงพูดว่า "คุณพ่อ ผมไม่มีเสบียงทาง."

เศรษฐี. เจ้าไม่ต้องมีกิจ (ห่วง) ด้วยเสบียงทาง. ในบ้าน

ชื่อโน้น ในระหว่างทาง เศรษฐีผู้เป็นสหายของข้ามีอยู่ เจ้าจงไปกิน

อาหารเช้าที่เรือนของเขาแล้ว จึงเดินต่อไป.

นายโฆสกะนั้น รับว่า "จ้ะ" ไหว้บิดาแล้ว ออกเดินไปถึง

บ้านนั้น ถามถึงเรือนเศรษฐี เดินไปพบภรรยาของเศรษฐี. เมื่อนาง

กล่าวว่า "เจ้ามาจากไหน ?" จึงตอบว่า " มาจากในเมือง."

ภรรยาของเศรษฐี. เจ้าเป็นลูกของใคร ?

โฆสกะ. คุณแม่ ผมเป็นลูกของเศรษฐี ผู้เป็นสหายของท่าน.

ภรรยาของเศรษฐี. เจ้าชื่อโฆสกะหรือ ?

โฆสกะ. ขอรับ คุณแม่.

พร้อมกับเวลาเห็นเท่านั้น ความรักใคร่เหมือนลูกในโฆสกะนั้น

บังเกิดแก่นางแล้ว.

ความรักเกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ ประการ

ก็เศรษฐีมีลูกสาวอยู่คนหนึ่ง, นางมีอายุราว ๑๕- ๑๖ ปี รูปร่าง

สะสวย น่าเลื่อมใส. เศรษฐีให้หญิงรับใช้ไว้คนหนึ่งเพื่อรักษานางแล้ว

ให้อยู่ที่ห้องมีสิริ (ห้องพิเศษ) ที่พื้นชั้นบนแห่งปราสาท ๗ ชั้น ใน

ขณะนั้น ลูกสาวเศรษฐีใช้หญิงคนใช้ไปตลาด. ครั้งนั้น ภรรยาของเศรษฐี

เห็นหญิงทาสีนั้นแล้ว ถึงถามว่า "จะไปไหน ?" เมื่อนางตอบว่า "ข้าแต่

แม่เจ้า ดิฉัน ไปด้วยกิจรับใช้แห่งธิดาของแม่เจ้า" จึงกล่าวว่า "เจ้าจงมา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 245

ทางนี้ก่อน งดการรับใช้ไว้. จงลาตั่ง ล้างเท้า ทาน้ำมัน ปูที่นอน ให้

บุตรของเรา จึงทำการรับใช้ภายหลัง." นางได้กระทำการตามสั่งแล้ว.

ครั้งนั้น ลูกสาวของเศรษฐี ได้ดุหญิงรับใช้นั้นผู้มาช้า. ทีนั้น หญิงคน

ใช้นั้นเรียนกะนางว่า "แม่เจ้า อย่าเพิ่งโกรธดิฉัน. บุตรเศรษฐีชื่อโฆสกะ

มาแล้ว, ดิฉันทำสิ่งนี้ ๆ แก่เขาแล้ว ไปในตลาดนั้นแล้วจึงมา." เพราะ

ฟังชื่อว่า "โฆสกะ" ผู้บุตรเศรษฐีนั้น ความรักเฉือนผิวหนังเป็นต้น

จดถึงเยื่อในกระดูก ตั้งขึ้นแก่ลูกสาวเศรษฐีแล้ว.

ลูกสาวเศรษฐีแปลงสาสน์

แท้จริง ลูกสาวเศรษฐีนั้น เป็นภรรยาของนายโฆสกะนั้นในเวลา

ที่เขาเป็นนายโกตุหลิก ได้ถวายข้าวสุกทะนานหนึ่ง แก่พระปัจเจกพุทธเจ้า

ด้วยอานุภาพแห่งผลทานนั้น นางจึงมาเกิดในตระกูลเศรษฐีนี้. ความรัก

ในปางก่อน ได้ท่วมทับยึดลูกสาวเศรษฐีนั้นไว้ ด้วยประการฉะนี้.

เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า

"ความรักนั้น ย่อมเกิดด้วยเหตุ ๒ ประการ

อย่างนี้ คือ ด้วยความอยู่ร่วมกันในกาลก่อน ๑

ด้วยการเกื้อกูลกันในกาลปัจจุบัน ๑ เหมือนอุบล

(อาศัยเปือกตมและน้ำ) เกิดในน้ำฉะนั้น."

ทีนั้น นางจึงถามหญิงสาวใช้นั้นว่า " (เดี๋ยวนี้) เขาอยู่ที่ไหน

จ๊ะ ? แม่."

หญิงสาวใช้. เขานอนหลับอยู่บนที่นอน (เจ้าค่ะ) แม่เจ้า.

ธิดาเศรษฐี. ก็ในมือของเขา มีอะไรอยู่หรือ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 246

หญิงสาวใช้. มีหนังสืออยู่ที่ชายผ้าเจ้าค่ะ แม่เจ้า.

ธิดาเศรษฐีนั้นจึงคิดว่า "นั่นจะเป็นหนังสืออะไรหนอ ?"

เมื่อนายโฆสกะนั้นกำลังหลับอยู่, เมื่อมารดาบิดาไม่แลเห็น เพราะ

มัวเอาใจส่งไปในเรื่องอื่น, ลงไปสู่สำนัก (ของเขา) แล้ว แก้เอา

หนังสือนั้น เข้าไปยังห้องของตน ปิดประตู เปิดหน้าต่าง อ่านหนังสือ

เพราะนางฉลาดในอักษรสมัย แล้วคิดว่า "ตายจริง ! คนเขลา ผูก

หนังสือสำหรับฆ่าตัวที่ชายผ้าแล้วก็เที่ยวไป. ถ้าเราไม่เห็นหนังสือแล้ว

เขาคงไม่มีชีวิตอยู่" ดังนี้ แล้ว จึงฉีกหนังสือฉบับนั้นเสีย เขียนหนังสือ

อีกฉบับหนึ่ง ตามถ้อยคำของเศรษฐีว่า " ลูกชายของข้าพเจ้านี้ ชื่อเจ้า

โฆสกะ, จงให้นำเครื่องบรรณาการมาจากบ้าน (ส่วย) ๑๐๐ บ้าน

ทำมงคลกับบุตรสาวเศรษฐีในชนบทนี้ ให้ปลูกเรือนขึ้น ๒ ชั้นในท่าม

กลางบ้านเป็นที่อยู่ของตน ทำการรักษาอย่างแข็งแรง ด้วยเครื่องล้อมคือ

กำแพงและเครื่องล้อมคือบุรุษ, และจงส่งข่าวไปให้ข้าพเจ้าว่า " การนี้

การนี้ ฉันทำเสร็จแล้ว. " เมื่อกรรมอย่างนี้ท่านทำแล้ว ฉันจักรู้สิ่งที่ควร

ทำแก่ท่านลุงในภายหลัง, ก็แลครั้นเขียนเสร็จแล้ว นางจึงพับ ลงไปผูก

ไว้ที่ชายผ้าของนายโฆสกะนั้นตามเดิม.

นายโฆสกะได้ภรรยา

นายโฆสกะนั้น นอนหลับตลอดวัน ลุกขึ้นบริโภคแล้วก็หลีกไป.

ในวันรุ่งขึ้น เขาไปสู่บ้านนั้นแต่เช้าตรู่ แลเห็นนายเสมียนทำกิจในบ้าน

อยู่ทีเดียว. นายเสมียนนั้นเห็นนายโฆสกะนั้นแล้ว จึงถามว่า " อะไร ?

พ่อ " นายโฆสกะนั้น กล่าวว่า " คุณพ่อของผม ส่งหนังสือมาถึงท่าน"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 247

นายเสมียนจึงถามว่า "หนังสือเพื่อการอะไร ? พ่อ จงบอกมา" รับเอา

หนังสือแล้ว อ่านดูก็มีความพอใจ จึงกล่าวกะคหบดีทั้งหลายว่า " ผู้เจริญ

ทั้งหลาย ขอเชิญท่านดูความรักใคร่ในเราของนายเรา. ท่านเศรษฐีส่ง

บุตรชายมายังสำนักของเรา ด้วยแจ้งว่า 'จงทำมงคลแก่บุตรคนโตของเรา'

พวกท่านจงรีบเอาไม้เป็นต้นมาเร็ว" ดังนี้แล้ว ให้ปลูกเรือนมีประการ

ดังกล่าวแล้วในท่ามกลางบ้าน ให้นำเครื่องบรรณาการมาแต่บ้าน ๑๐๐ บ้าน

นำลูกสาวของเศรษฐีในชนบทมาการทำมงคลแล้ว จึงส่งข่าวไปแก่เศรษฐี

ว่า " การนี้ การนี้ ข้าพเจ้าทำเสร็จแล้ว."

เศรษฐีเสียใจจนเกิดโรค

เพราะได้ฟังข่าวนั้น ความเสียใจอย่างใหญ่ บังเกิดแก่เศรษฐี

แล้วว่า " เราให้ทำสิ่งใด สิ่งนั้นไม่สำเร็จ, สิ่งใดมิให้ทำ สิ่งนั้นก็กลับ

สำเร็จ." ความเศร้าโศกนั้น กับความเศร้าโศกถึงบุตร เป็นอันเดียวกัน

เทียว ยังความร้อนในท้องให้เกิดขึ้น ให้เกิดโรคอติสารแล้ว. แม้ลูกสาว

ของเศรษฐี ก็บังคับพวกคนว่า " ถ้าว่าใคร ๆ มาจากสำนักของเศรษฐี,

ท่านยังไม่บอกแก่เราแล้ว อย่าบอกแก่เศรษฐีบุตรก่อน. แม้เศรษฐีเล่า

ก็คิดว่า "บัดนี้ เราจะไม่ทำบุตรชั่วชาติคนนั้นให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติ

ของเรา " ดังนี้แล้ว จึงบอกนายเสมียนคนหนึ่งว่า "ลุง ฉันปรารถนา

จะพบบุตรของฉัน, ท่านจงส่งคนรับใช้ไปคนหนึ่ง ให้เรียกบุตรของฉัน

มา." เขารับว่า " ได้จ้ะ" ให้หนังสือแล้ว ส่งคนผู้หนึ่งไป. ฝ่ายลูกสาว

ของเศรษฐี ทราบว่าบุรุษนั้นนายืนอยู่ที่ประตู ให้เรียกเขามาแล้ว ถามว่า

" อะไร ? พ่อ."

๑. โรคอันยังโลหิตให้แล่นไปยิ่ง, โรคลงแดง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 248

คนรับใช้. เศรษฐี ไม่สบาย เพื่อจะพบลูกชาย ให้เรียก (เขา)

แม่เจ้า.

เศรษฐีธิดา. พ่อ เศรษฐียังมีกำลัง หรือถอยกำลัง ?

คนรับใช้. ยังมีกำลัง บริโภคอาหารได้อยู่ก่อน แม่เจ้า.

ลูกสาวเศรษฐีนั้น ไม่ให้บุตรเศรษฐีทราบเทียวให้ๆ ที่อยู่และเสบียง

เดินทางแก่เขาแล้ว กล่าวว่า "ท่านจักไปได้ในเวลาที่ฉันส่งไป จงพักอยู่

ก่อน.

มหาเศรษฐี ได้กล่าวกะนายเสมียนอีกว่า "ลุง ท่านยังไม่ได้ส่ง

หนังสือไปยังสำนักบุตรของฉันหรือ ?"

นายเสมียน. ส่งไปแล้ว นาย คนผู้ไปแล้ว ยังไม่มาก่อน.

เศรษฐี. ถ้ากระนั้น ท่านจงส่งผู้อื่นไปอีก.

นายเสมียนนั้นส่งไปแล้ว.

ลูกสาวของเศรษฐี ปฏิบัติแม้ในบุรุษนั้น อย่างนั้นเหมือนกัน.

ในกาลนั้น โรคของเศรษฐีหนักแล้ว. ภาชนะหนึ่งเข้า, ภาชนะหนึ่ง

ออก.

เศรษฐีจึงถามนายเสมียนอีกว่า " ลุง ท่านยังไม่ได้ส่งหนังสือไปยัง

สำนักบุตรของฉันแล้วหรือ."

นายเสมียน. ส่งไปแล้ว นาย แต่คนที่ไปยังไม่กลับ.

เศรษฐี. ถ้ากระนั้น ท่านจงส่งผู้อื่นไปอีก.

นายเสมียนนั้นส่งไปแล้ว. ลูกสาวเศรษฐี ถามประพฤติเหตุนั้น

แม้กะบุรุษผู้มาในวาระที่ ๓ แล้ว. บุรุษผู้นั้นบอกว่า "ข้าแต่นาย

เศรษฐีป่วยหนัก ตัดอาหารเสียแล้ว มีความตายเป็นเบื้องหน้า, ภาชนะ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 249

หนึ่งออก ภาชนะหนึ่งเข้า." ลูกสาวของเศรษฐีจึงคิดว่า "บัดนี้เป็นเวลา

ที่เขาควรไปได้" จึงบอกแก่เศรษฐีบุตรว่า " ทราบว่า คุณพ่อของท่าน

ป่วย." เมื่อเขากล่าวว่า " พูดอะไร ? หล่อน " จึงพูดว่า " ความไม่

สำราญมีแก่บิดาของท่านนั้น นาย."

โฆสกะ. บัดนี้ ฉันควรทำอย่างไร ?

เศรษฐีธิดา. นาย เราจักถือเครื่องบรรณาการอันเกิดจากบ้านส่วย

๑๐๐ บ้าน ไปเยี่ยมท่าน.

นายโฆสกะนั้น รับว่า " จ้ะ" แล้วให้คนนำเครื่องบรรณาการมา

เอาเกวียนบรรทุก หลีกไปแล้ว.

ครั้งนั้น ลูกสาวของเศรษฐีนั้น พูดกะโฆสกะนั้นว่า "บิดา

ของท่านถอยกำลัง, เมื่อเราถือเอาเครื่องบรรณาการมีประมาณเท่านี้ไป

จักเป็นการเนิ่นช้า, ขอท่านจงให้ขนบรรณาการนี้กลับเถิด " ดังนี้แล้ว

จึงส่งบรรณาการนั้นทั้งหมดไปสู่เรือนแห่งตระกูลของตน แล้วพูดอีกว่า

"นาย ท่านพึงยืนข้างเท้าแห่งบิดาของท่าน, ฉันจักยืนข้างเหนือศีรษะ."

เมื่อเข้าไปสู่เรือนนั่นเทียว นางก็บังคับพวกคนของตนว่า "พวกท่าน

จงถือเอาการรักษาทั้งข้างหน้าเรือนทั้งข้างหลังเรือน. ก็ในเวลาที่เข้าไป

เศรษฐีบุตรได้ยืนอยู่แล้วที่ข้างเท้าของบิดา. ส่วนภรรยาได้ยืนข้างเหนือ

ศีรษะ.

เศรษฐีทำกาละ

ในขณะนั้น เศรษฐีนอนหงายแล้ว. ส่วนนายเสมียน เมื่อนวดเท้า

ของเศรษฐีนั้น จึงพูดว่า "นาย บุตรชายของท่านมาแล้ว."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 250

เศรษฐี. เขาอยู่ที่ไหน ?

นายเสมียน. เขายืนอยู่ที่ปลายเท้า.

ครั้งนั้น เศรษฐีเห็นบุตรชายนั้นแล้ว จึงให้เรียกนายเสมียน

มาแล้ว ถามว่า " ในเรือนของฉันมีทรัพย์อยู่เท่าไร ?" เมื่อนายเสมียน

เรียนว่า " นาย มีอยู่ ๔๐ โกฏิเท่านั้น, แต่เครื่องอุปโภคบริโภคและ

บ้าน นา สัตว์ ๒ เท้า ๔ เท้า ยานพาหนะ มีอยู่จำนวนเท่านี้ ๆ,"

ใคร่จะพูดว่า "ฉันไม่ให้ทรัพย์ มีประมาณเท่านี้แก่โฆสกะบุตรของฉัน,"

(กลับ) พูดว่า " ฉันให้." ลูกสาวเศรษฐีฟังคำนั้นแล้วคิดว่า " เศรษฐีนี้

เมื่อพูด พึงพูดคำอะไรอื่น" เป็นเหมือนเร่าร้อนด้วยความโศก สยายผม

ร้องไห้กล่าวว่า "คุณพ่อ พูดอะไรนี่, พวกเราฟังคำของท่าน ชื่อแม้นี้,

พวกเราไม่มีบุญหนอ" ดังนี้แล้ว จึงเอาศีรษะประหารเศรษฐีนั่นที่ท่าน-

กลางอก ล้มลงเอาศีรษะกลิ้งเกลือกอยู่ที่ท่ามกลางอกของเศรษฐีนั้น

แสดงอาการคร่ำครวญ จนเศรษฐีไม่อาจพูดได้อีก. แม้เศรษฐี ก็ได้ทำ

กาละในขณะนั้นเอง.

พระเจ้าอุเทนประทานตำแหน่งเศรษฐีแก่นายโฆสกะ

ชนทั้งหลายสดับว่า " เศรษฐีถึงอนิจกรรมแล้ว" จึงไปกราบทูล

พระเจ้าอุเทน. พระเจ้าอุเทน ทรงให้ทำฌาปนกิจสรีระของเศรษฐีนั้นแล้ว

ตรัสถามว่า " ก็ลูกชายหรือลูกหญิงของเศรษฐีนั้น มีอยู่หรือ ?"

ชนทั้งหลายกราบทูลว่า "มีอยู่ พระเจ้าข้า ลูกชายของเศรษฐีนั้น

ชื่อว่า โฆสกะ, เศรษฐีนั้น มอบหมายทรัพย์สมบัติทั้งหมดให้แก่โฆสกะ

นั้นแล้ว ก็ถึงแก่อนิจกรรม พระเจ้าข้า." พระราชาทรงให้เรียกตัวเศรษฐี-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 251

บุตรมาแล้วในกาลอื่น. ก็ในวันนั้นฝนตก, ที่พระลานหลวงมีน้ำขังอยู่

ในที่นั้น ๆ เศรษฐีบุตรไปแล้วด้วยหวังว่า " จักเฝ้าพระราชา." พระราชา

ทรงเปิดพระแกล ทอดพระเนตรดูนายโฆสกะนั้นเดินมาอยู่ ทรงเห็นเขา

โดดน้ำที่พระลานหลวงเดินมา จึงตรัสถามเขา ซึ่งมาถวายบังคมแล้วยืนอยู่

ว่า " พ่อ เจ้าชื่อโฆสกะหรือ ?" เมื่อเขาทูลว่า " ถูกแล้วพระเจ้าข้า"

ทรงปลอบเขาว่า " เจ้าอย่าเสียใจว่า ' บิดาของเราถึงอนิจกรรมแล้ว '

เราจักให้ตำแหน่งเศรษฐีอันเป็นของบิดาของเจ้าแก่เจ้านั่นเอง" ดังนี้แล้ว

ทรงส่งเขาไปว่า " จงไปเถิด พ่อ" และพระราชาได้ประทับยืนทอด

พระเนตรดูเขาซึ่งไปอยู่เทียว. เขาไม่โดดน้ำที่เขาโดดในเวลาที่มา ได้ลง

ไปค่อย ๆ.

ครั้งนั้น พระราชาตรัสสั่งให้เรียกนายโฆสกะนั้นมาจากที่นั้นแล

แล้วตรัสถามว่า " เพราะเหตุไรหนอ ? พ่อ ท่านเมื่อมาสู่สำนักของเรา

จึงโดดน้ำมาแล้ว, เมื่อไป เดี๋ยวนี้ลงไปแล้ว จึงค่อย ๆ เดินไป."

นายโฆสกะ ทูลว่า "เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้า ยังเป็นเด็ก

ในขณะนั้น, นี้ชื่อว่า เป็นเวลาเล่น. ก็ในกาลนี้ ข้าพระพุทธเจ้า ได้รับ

ทราบตำแหน่งจากพระองค์แล้ว . เพราะฉะนั้น การที่ข้าพระองค์ไม่เที่ยว

เหมือนในกาลก่อน แล้วค่อย ๆ ไป จึงควรในเดี๋ยวนี้."

พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า "ชายผู้นี้มีปัญญา,

เราจักให้ตำแหน่งเศรษฐีแก่เขาในบัดนี้ เถิด" ดังนี้แล้ว ประทานโภคะ

ที่บิดาบริโภคแล้ว ได้ประทานตำแหน่งเศรษฐี พร้อมด้วยสรรพวัตถุ

๑๐๐ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 252

นายโฆสกะรับตำแหน่งเศรษฐี

นายโฆสกะนั้นยืนอยู่บนรถ ได้การทำประทักษิณพระนครแล้ว.

ที่อันนายโฆสกะนั้นแลดูแล้ว ๆ ย่อมหวั่นไหว. แม้ลูกสาวของเศรษฐี

นั่งปรึกษากับนางกาลีสาวใช้ว่า " แม่กาลี สมบัติมีประมาณเท่านี้ สำเร็จ

แล้วแก่บุตรของท่าน ก็เพราะอาศัยเรา."

กาลี. เพราะเหตุไร ? แม่.

เศรษฐีธิดา. เพราะโฆสกะนี้ ผูกจดหมายฆ่าตัวตายไว้ที่ชายผ้า

มาสู่เรือนของพวกเรา, ครั้งนั้น ฉันฉีกจดหมายฉบับนั้นของเขา เขียน

จดหมายฉบับอื่น เพื่อให้ทำมงคลกับฉัน ทำอารักขาในเขาสิ้นกาลเท่านี้.

กาลี. แม่ ท่านรู้เห็นเพียงเท่านี้, แต่เศรษฐีมุ่งแต่จะฆ่าเขาตั้งแต่

เขาเป็นเด็ก ก็ไม่อาจเพื่อจะฆ่าได้, อาศัยนายโฆสกะนี้อย่างเดียว สิ้นทรัพย์

ไปมากมาย.

เศรษฐีธิดา. แม่ เศรษฐีทำกรรมหนักหนอ.

เศรษฐีธิดานั้นเห็นนายโฆสกะนั้น ระทำประทักษิณพระนคร เข้า

ไปสู่เรือน จึงหัวเราะ ด้วยคิดว่า " สมบัติมีประมาณเท่านี้ ๆ สำเร็จแล้ว

ก็เพราะอาศัยเรา."

ครั้งนั้น เศรษฐีบุตรเห็นอาการนั้น จึงถามว่า " ท่านหัวเราะ

ทำไม ?"

เศรษฐีธิดา. เพราะอาศัยเหตุอันหนึ่ง.

เศรษฐีบุตร. จงบอกเหตุนั้น.

เศรษฐีธิดานั้น ไม่บอกแล้ว.

เศรษฐีบุตรนั้น จึงขู่ว่า " ถ้าไม่บอก จะฟันเจ้าให้เป็น ๒ ท่อน"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 253

ดังนี้ จึงชักดาบออกแล้ว.

เศรษฐีธิดานั้นจึงบอกว่า "ดิฉันหัวเราะ ก็เพราะคิดว่า 'สมบัติ

มีประมาณเท่านี้ นี้ ท่านได้แล้ว ก็เพราะอาศัยฉัน."

เศรษฐี. ถ้าว่าคุณพ่อของฉัน มอบมรดกของตนให้แก่ฉันแล้ว

ท่านจะได้เป็นอะไรในทรัพย์นั้น . ได้ยินว่า เศรษฐี ไม่รู้เรื่องอะไร

สิ้นกาลเท่านี้. เพราะฉะนั้น จึงไม่เชื่อถ้อยคำของเศรษฐีธิดานั้น. ครั้งนั้น

เศรษฐีธิดานั้น ได้เล่าเรื่องนั้นทั้งหมด แก่เศรษฐีบุตรนั้นว่า " บิดา

ของท่าน ให้หนังสือฆ่า (ตัว) ส่งท่านมาแล้ว. ดิฉันทำกรรมอย่างนี้ ๆ

รักษาท่านไว้แล้ว." เศรษฐีบุตรไม่เชื่อ พูดว่า " ท่านพูดไม่จริง"

จึงคิดว่า " เราจักถามแม่กาลี" ดังนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า "ได้ยินว่า

อย่างนั้นหรือ ? แม่." นางกาลี จึงกล่าวว่า " พ่อ ตั้งแต่ท่านเป็นเด็ก

เศรษฐีประสงค์จะฆ่าท่าน แต่ไม่อาจเพื่อจะฆ่าได้, อาศัยท่าน สิ้นทรัพย์

ไปมากมาย. ท่านพ้นแล้วจากความตายในที่ ๗ แห่ง, บัดนี้ มาแล้ว

จากบ้านส่วย ถึงตำแหน่งเศรษฐี พร้อมกับด้วยสรรพวัตถุอย่างละ ๑๐๐."

เศรษฐีนั้นฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า " เราทำกรรมหนักหนอ เรา

พ้นแล้วจากความตายเห็นปานนี้แล แล้วเป็นอยู่ด้วยความประมาท ไม่สม-

ควร, เราจักไม่ประมาท" ดังนี้ สละทรัพย์วันละพัน เริ่มตั้งทานไว้

เพื่อคนเดินทางไกลและคนกำพร้า เป็นต้นแล้ว.

กุฏุมพี ชื่อว่ามิตตะ ได้เป็นผู้ขวนขวายในการทานของเศรษฐีนั้น

แล้ว.

ความอุบัติของโฆสกเศรษฐี เป็นดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 254

ทำลายฝาเรือนหนีย่อมพ้นอหิวาตก์

ในกาลนั้น เศรษฐี นามว่า ภัททวติยะ ในภัททวดีนคร ได้เป็น

อทิฏฐบุพพสหายของโฆสกเศรษฐีแล้ว. โฆสกเศรษฐี ได้ฟังสมบัติ

และวัยและประเทศของภัททวติยเศรษฐี ในสำนักของพวกพ่อค้า ซึ่ง

มาแล้ว จากภัททวดีนคร ปรารถนาความเป็นสหายกับเศรษฐีนั้น จึงส่ง

เครื่องบรรณาการไปแล้ว. แม้ภัททวติยเศรษฐี ได้ฟังสมบัติและวัยและ

ประเทศของโฆสกเศรษฐี ในสำนักของพวกพ่อค้า ซึ่งมาแล้ว จากกรุง

โกสัมพี ปรารถนาความเป็นสหายกับเศรษฐี จึงส่งเครื่องบรรณาการไป

แล้ว เศรษฐีทั้งสองนั้น ได้เป็นอทิฏฐบุพพสหายกันและกัน อยู่แล้ว

อย่างนี้.

ในกาลอื่น อหิวาตกโรคตกแล้ว ในเรือนของภัททวติยเศรษฐี

เมื่ออหิวาตกโรคนั้นตกแล้ว แมลงวันย่อมตายก่อน, ต่อนั้น ตั๊กแตน

หนู ไก่ สุกร สุนัข แมว โค ทาสหญิง ทาสชาย ย่อมตายไปโดย

ลำดับกันทีเดียว. มนุษย์เจ้าของเรือนย่อมตายทีหลังเขาทั้งหมด. ในชน

เหล่านั้น พวกใดทำลายฝาเรือนหนีไป พวกนั้นย่อมได้ชีวิต. แม้ใน

กาลนั้น เศรษฐี ภริยาและลูกสาว ก็หนีไปโดยวิธีนั้น ปรารถนาจะเห็น

โฆสกเศรษฐี จึงดำเนินไปสู่กรุงโกสัมพี. ๓ คนนั้น มีเสบียงหมดลง

ในระหว่างทาง มีสรีระอิดโรยด้วยลมและแดด และด้วยความหิวกระหาย

ถึงกรุงโกสัมพีด้วยความลำบาก อาบน้ำในสถานอันสบายด้วยน้ำแล้ว

ก็เข้าไปสู่ศาลาแห่งหนึ่ง ที่ประตูเมือง.

ในกาลครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกะภริยาว่า " นางผู้เจริญ ผู้มา

๑. เพื่อนที่ไม่เคยพบเห็นกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 255

โดยทำนองนี้ ย่อมไม่ถูกใจแม้ของแม่ผู้บังเกิดเกล้า, ทราบว่า สหาย

ของเราสละทรัพย์วันละพัน ให้ทานแก่คนเดินทาง คนกำพร้าเป็นต้น,

เราส่งลูกสาวไปในที่นั้น ให้นำอาหารมา บำรุงสรีระในที่นี้แล สักวัน

สองวันแล้ว จึงจักเยือนสหาย. " นางรับว่า " ดีแล้ว นาย." เขาพา

กันพักอยู่ที่ศาลานั้นแล. ในวันรุ่งขึ้น เมื่อเขาบอกเวลาแล้ว เมื่อคน

กำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น กำลังไปเพื่อต้องการอาหาร, มารดาและ

บิดาจึงส่งลูกสาวไปด้วยคำว่า " แม่ จงไปนำอาหารมาเพื่อพวกเรา."

ธิดาของตระกูลที่มีโภคะมาก ไม่ละอายเทียว เพราะความที่ตนมีความ

ละอายอันความวิบัติตัดขาดแล้ว ถือถาดไปเพื่อต้องการอาหารกับคนกำพร้า

อันมิตตกุฎุมพี ถามว่า "ท่านจักรับกี่ส่วน ? แม่ " ก็บอกว่า "๓ ส่วน."

ทีนั้น มิตตกุฎุมพี จึงให้ภัตตาหาร ๓ ส่วนแก่นาง. เมื่อนางนำภัตมา

แล้ว ทั้ง ๓ ก็นั่งเพื่อบริโภคร่วมกัน. ครั้งนั้น มารดาและลูกสาว จึง

กล่าวกะเศรษฐีว่า " นาย อันความวิบัติ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่ตระกูลใหญ่,

อย่านึกถึงพวกฉัน จงบริโภคเถิด, อย่าคิดเลย ." อ้อนวอนด้วยประการ

ต่าง ๆ ยังเศรษฐีนั้น ให้บริโภคแล้ว ด้วยประการอย่างนี้.

เศรษฐีนั้นบริโภคแล้ว ไม่สามารถจะให้อาหารย่อยได้, เมื่อ

อรุณขึ้นไปอยู่, ก็ได้ทำกาละแล้ว. มารดาและลูกสาว คร่ำครวญร่ำไห้

ด้วยประการต่าง ๆ. ในวันรุ่งขึ้น เด็กหญิง (กุมาริกา) เดินร้องไห้ไป

เพื่อต้องการอาหาร อันมิตตกุฎุมพีนั้นเห็นเขาแล้ว จึงถามว่า " ท่าน

จักรับกี่ส่วน ? แม่ จึงบอกว่า " ๒ ส่วน." มิตตกุฎุมพีนั้น จึงได้

ให้ ๒ ส่วน. นางนำมาแล้ว ก็อ้อนวอนให้มารดาบริโภค. มารดานั้น

อันธิดาของตนนั้นอ้อนวอนอยู่ บริโภคแล้ว ไม่สามารถจะให้อาหาร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 256

ย่อยได้ ในวันนั้น ก็ได้ทำกาละแล้ว. เด็กหญิงผู้เดียวเท่านั้น ร้องไห้

ร่ำไร เป็นผู้มีความทุกข์เพราะความหิว อันเกิดขึ้นแล้วอย่างหนัก เพราะ

ความเกิดขึ้นแห่งทุกข์นั้น ในวันรุ่งขึ้น เดินร้องไห้ไปเพื่อต้องการอาหาร

กับพวกยากจน อันมิตตกุฎุมพีถามว่า "ท่านจักรับกี่ส่วน ? แม่"

จึงบอกว่า "ส่วนเดียว." มิตตกุฎุมพีจำนางผู้รับภัตได้ทั้ง ๓ วัน, เพราะ

เหตุนั้น จึงกล่าวกะนางว่า " จงฉิบหายเถิด หญิงถ่อย วันนี้เจ้า

รู้จักประมาณท้องของเจ้าหรือ ?" ธิดามีตระกูลสมบูรณ์ด้วยหิริโอตตัปปะ

เหมือนต้องประหารด้วยหอกที่อก และเหมือนรดด้วยน้ำด่างที่แผล ร้องถาม

ว่า " อะไร ? นาย."

มิตตกุฎุมพี. วันก่อนเจ้ารับเอาไปแล้ว ๓ ส่วน. วันวาน ๒ ส่วน

วันนี้รับเอาส่วนเดียว, วันนี้ เจ้ารู้ประมาณท้องของตัวแล้วหรือ ?

กุลธิดา. นาย ท่านอย่าเข้าใจฉันว่า "รับไปเพื่อตนเองผู้เดียว."

มิต. เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไมจึงรับเอาไป ๓ ส่วน ? แม่.

กุล. ในวันก่อน พวกฉันมีกัน ๓ คน นาย, วานนี้ มี ๒ คน,

วันนี้ มีฉันผู้เดียวเท่านั้น.

มิตตกุฎุมพี จึงถามว่า " ด้วยเหตุไร ?" ฟังเรื่องทั้งหมด อัน

นางบอกแล้ว ตั้งแต่ต้น ไม่สามารถจะกลั้นน้ำตาไว้ได้ เกิดความเศร้าใจ

อย่างเหลือเกิน จึงบอกว่า "แม่ เมื่อมีเหตุอย่างนี้ อย่าคิดไปเลย,

ท่านเป็นธิดาของภัททวติยเศรษฐี ตั้งแต่วันนี้ไป จงเป็นธิดาของเราเถิด"

ดังนี้แล้ว จุมพิตที่ศีรษะ นำไปสู่ที่เรือน ตั้งไว้ในตำแหน่งธิดาคนโต

ของตนแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 257

เพราะทำรั้วจึงชื่อสามาวดี

เศรษฐีธิดานั้น ฟังเสียงอึงคะนึงในโรงทาน จึงถามว่า " พ่อ

ทำไม พ่อจึงไม่ทำชนนี้ให้เงียบเสียงแล้วให้ทานเล่า ?"

มิตตกุฎุมพี จึงกล่าวว่า "ไม่อาจเพื่อทำได้ แม่."

ธ. อาจ พ่อ.

ม. อย่างไร ? แม่.

ธ. พ่อ ขอท่านจงล้อมโรงทาน ติดประตูไว้ ๒ แห่ง พอประมาณ

คนผู้เดียวเข้าไปได้เท่านั้นแล้ว จงบอกว่า " พวกท่านจงเข้าประตูหนึ่ง

ออกประตูหนึ่ง" ด้วยอาการอย่างนี้ ชนทั้งหลายก็จักเงียบเสียง รับทาน.

มิตตกุฎุมพีนั้น ฟังคำนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า "อุบายเข้าที่ดี แม่"

ดังนี้ ให้กระทำดังนั้นแล้ว. แม้เศรษฐีธิดานั้น ในกาลก่อน ชื่อสามา,

แต่เพราะนางให้กระทำรั้ว จึงชื่อว่า สามาวดี, จำเดิมแต่นั้น ความ

โกลาหลในโรงทาน ก็ขาดหายไป. โฆสกเศรษฐีได้ฟังเสียงนั้น ในกาล

ก่อน ก็พอใจว่า " เสียงในโรงทานของเรา," แต่เมื่อไม่ได้ยินเสียง

๒- ๓ วัน จึงถามมิตตกุฎุมพี ผู้มาสู่ที่บำรุงของตนว่า " ทานเพื่อคน

กำพร้าและเพื่อคนเดินทางไกลเป็นต้น อันท่านยังให้อยู่หรือ ?"

มิตตกุฎุมพี. ขอรับ นาย.

โฆสกเศรษฐี. เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำไม ฉันจึงไม่ได้ยินเสียง ๒-๓

วัน ?

มิต. ฉันทำอุบาย โดยอาการที่พวกเขาจะไม่มีเสียงรับกัน.

โฆ. เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ทำในกาลก่อนเล่า ?

มิต. เพราะไม่รู้ นาย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 258

โฆ. เดี๋ยวนี้ ท่านรู้ได้อย่างไร ?

มิต. ลูกสาวของฉันบอกให้ นาย.

โฆ. อันลูกสาวของท่าน ที่ฉันไม่รู้จัก มีอยู่หรือ ?

มิตตกุฎุมพีนั้น เล่าเรื่องของภัททวติยเศรษฐีทั้งหมด จำเดิมแต่

เกิดอหิวาตกโรคแล้ว ก็บอกความที่ตนตั้งธิดาของเศรษฐีนั้นไว้ในตำแหน่ง

ลูกสาวคนโตของตน.

ครั้งนั้น เศรษฐีกล่าวกะมิตตกุฎุมพีนั้นว่า " เมื่อเป็นเช่นนี้

เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่บอกแก่ฉัน ? ธิดาแห่งสหายของฉัน ก็ชื่อว่า

ธิดาของฉัน " ดังนี้แล้ว ให้เรียกนางสามาวดีนั้นมาถามว่า " แม่ ท่าน

เป็นลูกสาวเศรษฐีหรือ ?"

สามาวดี. จ้ะ พ่อ.

โฆสกเศรษฐี กล่าวว่า " ถ้ากระนั้น เจ้าอย่าคิดไป เจ้าเป็น

ธิดาของฉัน " ดังนี้ จุมพิตนางสามาวดีนั้นที่ศีรษะ ให้หญิง ๕๐๐

แก่นางสามาวดีนั้น เพื่อประโยชน์แก่ความเป็นบริวาร ตั้งนางสามาวดี

นั้นไว้ในตำแหน่งธิดาคนโตของตนแล้ว.

พระเจ้าอุเทนได้อัครมเหสี

อยู่มา ณ กาลวันหนึ่ง ในนครนั้น ประกาศนักขัตฤกษ์แล้ว

ก็ในงานนักขัตฤกษ์นั้น แม้กุลธิดาทั้งหลาย ผู้มิได้ออกไปภายนอก

ต่างพากันเดินไปสู่แม่น้ำ อาบน้ำกับด้วยบริวารของตน ๆ. เพราะเหตุนั้น

ในวันนั้น แม้นางสามาวดี อันหญิง ๕๐๐ แวดล้อมแล้วก็ได้ไปเพื่อ

อาบน้ำ โดยทางพระลานหลวงเช่นเดียวกัน. ฝ่ายพระเจ้าอุเทน ประทับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 259

อยู่ที่สีหบัญชร ทอดพระเนตรเห็นนางสามาวดีนั้น จึงตรัสถามว่า

" พวกนี้" หญิงฟ้อนของใคร ?"

ราชบุรุษ ทูลว่า " ไม่เป็นหญิงฟ้อนของใคร พระเจ้าข้า."

อุ. เมื่อเป็นเช่นนี้ เป็นลูกสาวของใครเล่า ?

ร. เป็นลูกสาวของโฆสกเศรษฐี พระเจ้าข้า นางนั้นชื่อสามาวดี.

พระเจ้าอุเทน พอทอดพระเนตรเห็น ก็ทรงเกิดพระสิเนหา

จึงรับสั่งให้ส่งสาสน์ไปให้เศรษฐีว่า " ได้ยินว่า ขอท่านเศรษฐี จงส่ง

ธิดามาให้แก่ฉัน."

ศ. ส่งไม่ได้ พระเจ้าข้า.

อุ. ได้ยินว่า ขอท่านเศรษฐีอย่าทำอย่างนี้เลย, ขอท่านเศรษฐี

จงส่งมา จงได้.

ศ พวกข้าพระพุทธเจ้า ชื่อว่าคฤหบดี ให้ไม่ได้ ก็เพราะกลัว

ภัยคือการโบยตีคร่านางกุมาริกา พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงกริ้ว จึงรับสั่งให้ตีตราเรือน จับเศรษฐีและภริยา

ของเศรษฐีที่มือให้ทำไว้ ณ ภายนอก. นางสามาวดีอาบน้ำแล้วกลับมา

ไม่ได้โอกาสเพื่อเข้าสู่บ้านได้ จึงถามว่า "นี่อะไร ? พ่อ" บิดาตอบว่า

" แม่ ในหลวง ส่งสาสน์มา เพราะเหตุแห่งเจ้า. เมื่อพวกเรา กล่าวว่า

' ไม่ให้ ' จึงรับสั่งให้ตราเรือน แล้วรับสั่งให้ทำพวกเราไว้ ณ ภาย-

นอก." นางสามาวดีจึงกล่าวว่า " พ่อ กรรมหนักอันพ่อทำแล้ว, ธรรมดา

พระราชา เมื่อส่งสาสน์มาแล้ว ไม่ควรทูลว่า 'ไม่ให้' ควรทูลว่า

' ถ้าพระองค์จะทรงรับธิดาของข้าพระพุทธเจ้าพร้อมทั้งบริวาร ก็จะถวาย

๑. หน้าต่าง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 260

สิพ่อ." เศรษฐีกล่าวว่า "ดีละ แม่ เมื่อเจ้าพอใจ พ่อก็จักทำตาม

อย่างนั้น" ดังนี้แล้ว จึงให้ส่งสาสน์ไปถวายพระราชาตามนั้น.

พระราชา ทรงรับว่า " ดีแล้ว" ทรงนำนางสามาวดีนั้นมา

พร้อมทั้งบริวาร ทรงอภิเษก ตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสีแล้ว. หญิง

ที่เหลือ ก็ได้เป็นบริวารของนางเหมือนกัน.

นี้เป็นเรื่องของนางสามาวดี.

พระเจ้าอุเทนถูกจับ

ก็พระเจ้าอุเทน ได้มีพระราชเทวีอีกพระองค์หนึ่ง ทรงพระนาม

ว่า พระนางวาสุลทัตตา เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าจัณฑปัชโชต.

ความพิสดารว่า ในเมืองอุชเชนี มีพระราชาทรงพระนามว่า พระเจ้า

จัณฑปัชโชต. วันหนึ่ง พระองค์เสด็จมาจากพระราชอุทยาน ทอด

พระเนตรดูสมบัติของพระองค์แล้ว ตรัสว่า " สมบัติเช่นนี้ ของใคร ๆ

แม้อื่น มีไหมหนอ ?" เมื่ออำมาตย์กราบทูลว่า " นี่จะชื่อว่าสมบัติอะไร ?

สมบัติของพระเจ้าอุเทนในเมืองโกสัมพีมากยิ่งนัก" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า

" ถ้าอย่างนั้น เราจักจับพระเจ้าอุเทนนั้น."

อำมาตย์. ใคร ๆ ก็ไม่สามารถจับท้าวเธอได้ พระเจ้าข้า.

พระราชา. เราจักทำอุบายบางอย่าง จับให้ได้.

อำมาตย์. ไม่สามารถดอก พระเจ้าข้า.

พระนราชา. เพราะเหตุอะไรเล่า ?

อำมาตย์. เพราะพระเจ้าอุเทนนั้น รู้ศิลปะ ชื่อหัสดีกันต์, ทรง

ร่ายมนต์แล้วดีดพิณหัสดีกันต์อยู่ จะให้ช้างหนีไปก็ได้, จะจับเอาก็ได้,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 261

ผู้ที่พรั่งพร้อมด้วยพาหนะช้างชื่อว่าเช่นกับท้าวเธอ เป็นไม่มี.

พระราชา. เราไม่อาจที่จะจับเขาได้หรือ ?

อำมาตย์. พระเจ้าข้า หากพระองค์มีความจำนงพระทัยฉะนี้

โดยส่วนเดียวแล้ว, ถ้าเช่นนั้น ขอพระองค์จงรับสั่งให้นายช่างทำช้างไม้

ขึ้น แล้วส่งไปยังที่อยู่ของพระเจ้าอุเทนนั้น ; ท้าวเธอทรงสดับถึงพาหนะ

ช้างหรือพาหนะม้าแล้ว ย่อมเสด็จไป แม้สู่ที่ไกล, เราจักสามารถจับ

ท้าวเธอผู้เสด็จมาในที่นั้นได้.

พระราชาตรัสว่า " อุบายนี้ ใช้ได้" ดังนี้แล้ว จึงรับสั่งให้

นายช่างทำช้างยนต์สำเร็จด้วยไม้ เอาผ้าเก่าหุ้มข้างนอก แล้วทำเป็น

ลวดลาย ให้ปล่อยไปที่ริมสระแห่งหนึ่ง ในที่ใกล้แว่นแคว้นของพระเจ้า

อุเทนนั้น. บุรุษ ๖๐ คนเดินไปมาภายในท้องช้าง, พวกเขานำมูลช้างมา

ทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ. พรานป่าคนหนึ่งเห็นช้างแล้วก็คิดว่า "ช้างนี้ คู่ควร

แก่พระเจ้าแผ่นดินของเรา" ดังนี้แล้ว จึงไปกราบทูลพระเจ้าอุเทนว่า

" พระเจ้าข้า ข้าพระองค์พบช้างตัวประเสริฐซึ่งเผือกล้วน มีส่วนเปรียบ

ด้วยยอดเขาไกรลาศ คู่ควรแก่พระองค์ทีเดียว." พระเจ้าอุเทน

ให้พรานป่านั้นแลเป็นผู้นำทาง ขึ้นทรงช้างพร้อมด้วยบริวาร เสด็จออก

ไปแล้ว เหล่าจารบุรุษ ทราบการเสด็จมาของท้าวเธอ จึงไปกราบทูล

แด่พระเจ้าจัณฑปัชโชต. พระเจ้าจัณฑปัชโชตนั้นเสด็จมาแล้ว ซุ่มพล

นิกายไว้ ๒ ข้าง ปล่อยว่างไว้ตรงกลาง. พระเจ้าอุเทนไม่ทรงทราบถึง

การเสด็จมาของท้าวเธอ จึงติดตามช้างไป. มนุษย์ที่อยู่ข้างใน รีบพา

ช้างไม้หนีไปโดยเร็ว เมื่อพระราชา ทรงร่ายมนต์ดีดพิณอยู่, ช้างไม้

ทำเหมือนไม่ได้ยินเสียงแห่งสายพิณ หนีไปถ่ายเดียว. พระราชาไม่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 262

อาจทันพระยาช้างได้ จึงเสด็จขึ้นม้าติดตามไป. เมื่อท้าวเธอรีบตามไปโดย

เร็ว พลนิกายก็ล้าหลัง. พระราชาได้เป็นผู้ ( เสด็จ) พระองค์เดียว

เท่านั้น. ครั้งนั้นเหล่าบุรุษของพระเจ้าจัณฑปัชโชต ซึ่งดักซุ่มอยู่แล้ว ณ ๒

ข้าง (ทาง ) จึงจับท้าวเธอถวายพระเจ้าแผ่นดินของตน. ต่อมา พลนิกาย

ของท้าวเธอ ทราบว่า พระราชาของตนตกไปสู่อำนาจแห่งข้าศึกแล้ว

จึงตั้งค่ายอยู่ภายนอก.

พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงให้พระธิดาเรียนมนต์

ฝ่ายพระเจ้าจัณฑปัชโชต ทรงสั่งให้จับพระเจ้าอุเทนอย่างจับเป็น

แล้วขังไว้ในเรือนขังโจรหลังหนึ่ง ให้ปิดประตูเสีย ทรงดื่มน้ำชัยบาน

ตลอด ๓ วัน. ในวันที่ ๘ พระเจ้าอุเทนทรงถามพวกผู้คุมว่า

"พ่อทั้งหลาย พระเจ้าแผ่นดินของพวกเจ้าไปไหนเสีย."

พวกผู้คุม. พระเจ้าแผ่นดิน ทรงดื่มน้ำชัยบาน ด้วยทรงยินดีว่า

เราจับปัจจามิตรได้.

พระเจ้าอุเทน. พระเจ้าแผ่นดินของพวกเจ้ามีกิริยาช่างกระไร ดัง

ผู้หญิง, การจับพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นศัตรูกันได้แล้ว จะปล่อยหรือฆ่าเสีย

จึงควรมิใช่หรือ ? นี่สิ กลับให้เรานั่งทนทุกข์ แล้วไปนั่งดื่มน้ำชัยบาน

เสีย.

ผู้คุมเหล่านั้น ก็พากันไปทูลเนื้อความนั้นแด่พระราชา พระองค์

เสด็จไปตรัสถามว่า " ได้ยินว่า ท่านพูดอย่างนี้ จริงหรือ ?"

อุเทน. ถูกแล้ว ท่านมหาราชเจ้า.

จัณฑปัชโชต. ดีละ เราจักปล่อยท่าน, ทราบว่า ท่านมีมนต์

เช่นนี้, ท่านจักไหม้มนต์นั้นแก่เราไหม ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 263

อุ. ตกลง ข้าพเจ้าจักให้. ในเวลาเรียน จงไหว้ข้าพเจ้าแล้วเรียน

มนต์นั้น; ก็ท่านจักไหว้ข้าพเจ้าหรือไม่เล่า ?

จ. เราจักไหว้ท่านทำไมเล่า ?

อุ. ท่านจักไม่ไหว้หรือ ?

จ. เราจักไม่ไหว้.

อุ. แม้ข้าพเจ้า ก็จักไม่ให้.

จ. เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักลงราชอาชญาแก่ท่าน.

อุ. เชิญทำเถิด, ท่านเป็นอิสระแก่ร่างกายของข้าพเจ้า, แต่ไม่

เป็นอิสระแก่จิต.

พระราชาทรงสดับถ้อยคำอันองอาจของท้าวเธอแล้ว จึงทรงดำริ

ว่า " เราจักเรียนมนต์ของพระเจ้าอุเทนนี้ ได้อย่างไรหนอ ?" แล้วทรง

คิดได้ว่า " เราไม่อาจให้คนอื่นรู้มนต์นี้, เราจักให้ธิดาของเราเรียนใน

สำนักพระเจ้าอุเทนนี้ แล้วจึงเรียนในสำนักของนาง." ลำดับนั้น ท้าวเธอ

จึงตรัสกะพระเจ้าอุเทนนั้นว่า "ท่านจักให้แก่คนอื่นผู้ไหว้แล้วเรียนเอา

หรือ ?"

อุ. อย่างนั้น ท่านมหาราช.

จ. ถ้ากระนั้น ในเรือนของเรามีหญิงค่อมอยู่คนหนึ่ง, ท่านยืนอยู่

ภายนอกม่าน จงบอกมนต์แก่หญิงนั้น ผู้นั่งอยู่ภายในม่านเถิด.

อุ. ดีละ ท่านมหาราช นางจะเป็นคนค่อมหรือคนง่อย ก็ช่าง

เถอะ, เมื่อนางไหว้, ข้าพเจ้าจักให้.

ลำดับนั้น พระราชาเสด็จไปตรัสบอกพระนางวาสุลทัตตาราชธิดา

ว่า " ลูกหญิง ชายเป็นโรคเรื้อนน้ำเต้าคนหนึ่ง รู้มนต์หาค่ามิได้,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 264

พ่อไม่อาจที่จะให้คนอื่นรู้มนต์นั้นได้, เจ้าจงนั่งภายในม่านไหว้ชายนั้น

แล้วเรียนมนต์, ชายนั้น ยืนอยู่ภายนอกม่าน จักบอกแก่เจ้า, พ่อจัก

เรียนจากสำนักของเจ้า." พระเจ้าจัณฑปัชโชตนั้นตรัสทำให้พระราชธิดา

เป็นหญิงค่อม ฝ่ายพระเจ้าอุเทนให้เป็นชายโรคเรื้อนน้ำเต้าอย่างนี้ เพราะ

ทรงเกรงคนทั้งสองนั้นจะทำสันถวะกันและกัน. พระเจ้าอุเทนนั้นประทับ

ยืนอยู่นอกม่านเทียว ได้ตรัสบอกมนต์แก่พระนางผู้ไหว้แล้วนั่งภายใน

ม่าน.

พระอัครมเหสีองค์ที่ ๒ ของพระเจ้าอุเทน

ต่อมาวันหนึ่ง พระเจ้าอุเทนตรัสกะพระนาง ผู้แม้อันท้าวเธอ

ตรัสบอกบ่อยๆ ก็ไม่สามารถจะกล่าวบทแห่งมนต์ได้ว่า "เหวย อีหญิง

ค่อม ! ปากของมึงมีริมขอบและกระพุ้งแก้มอันหนานัก, มึงจงว่าไปอย่าง

นี้." พระนางทรงกริ้ว จึงตรัสว่า " เหวย อ้ายขี้เรื้อน ชั่วชาติ มึง

พูดอะไร ? คนเช่นกูนะหรือ ชื่อว่าหญิงค่อม ?" ดังนี้แล้ว ทรงยกมุม

ม่านขึ้น, เมื่อพระเจ้าอุเทนตรัสถามว่า " ท่านเป็นใคร ?" จึงตรัส

บอกว่า "เราชื่อ วาสุลทัตตา ธิดาของพระเจ้าแผ่นดิน."

พระเจ้าอุเทน. บิดาของท่าน เมื่อตรัสถึงท่านแก่เรา ก็ตรัสว่า

"หญิงค่อม."

วาสุลทัตตา. แม้เมื่อตรัสแก่เรา พระบิดาก็ทรงกล่าวกระทำให้ท่าน

เป็นคนโรคเรื้อนน้ำเต้า. ทั้งสององค์นั้น ทรงดำริว่า "คำนั้น ท้าวเธอ

คงจักตรัสด้วยเกรงเราจะทำสันถวะกัน" แล้วก็ทรงทำสันถวะกันในภายใน

ม่านนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 265

จำเดิมแต่นั้น การเรียนมนต์หรือการเรียนศิลปะจึงไม่มี.

ฝ่ายพระราชาทรงถามพระธิดาเป็นนิตย์ว่า " เจ้ายังเรียนศิลปะ

อยู่หรือ ? ลูก."

พระนางตรัสว่า "ข้าแต่พระบิดา กระหม่อมฉันยังเรียนอยู่ เพคะ."

ต่อมา วันหนึ่ง พระเจ้าอุเทนตรัสกะพระนางว่า "นางผู้เจริญ

ชื่อว่าหน้าที่ซึ่งสามีพึงกระทำ มารดาบิดา พี่น้องชาย และพี่น้องหญิง

ไม่สามารถจะทำได้เลย; หากเธอจักให้ชีวิตแก่เรา, เราจักให้หญิง ๕๐๐

นางเป็นบริวาร แล้วให้ตำแหน่งอัครมเหสีแก่เธอ."

พระนางตรัสว่า " ถ้าพระองค์ จักอาจเพื่อตั้งอยู่ในพระดำรัสนี้,

หม่อมฉันก็จักถวายทานนี้แด่พระองค์."

พระเจ้าอุเทนตรัสตอบว่า "พระน้องหญิง เราจักอาจ."

พระนางทรงรับพระดำรัสว่า "ตกลง เพคะ" ดังนี้แล้วก็เสด็จ

ไปสู่สำนักพระราชบิดา ถวายบังคมแล้ว ได้ยืนอยู่ข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น

ท้าวเธอตรัสถามพระนางว่า " ศิลปะสำเร็จแล้วหรือ ? ลูกหญิง."

วาสุลทัตตา. ข้าแต่พระบิดา ศิลปะยังไม่สำเร็จก่อน เพคะ.

ลำดับนั้น พระเจ้าจัณฑปัชโชต ตรัสถามพระนางว่า " ทำไมเล่า

ลูกหญิง ?"

วาสุลทัตตา. ข้าแต่พระบิดา กระหม่อมฉันควรจะได้ประตูประตู ๑

กับพาหนะตัว ๑.

จัณฑปัชโชต. นี้ เป็นอย่างไรเล่า ลูกหญิง ?

วาสุลทัตตา. ข้าแต่พระบิดา ทราบว่า มีโอสถขนานหนึ่งจะต้อง

เก็บในเวลากลางคืน ด้วยสัญญาดวงดาว เพื่อประโยชน์เป็นอุปการะแห่ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 266

มนต์, เพราะฉะนั้น ในเวลาที่หม่อมฉัน ออกไปในเวลาหรือนอกเวลา

จึงควรที่จะได้ประตูประตูหนึ่ง กับพาหนะตัวหนึ่ง.

พระราชาตรัสรับว่า "ได้."

พระเจ้าอุเทนและพระนางวาสุลทัตตานั้น ได้ทรงยืดประตูหนึ่ง

ซึ่งตนพอใจ ไว้ในเงื้อมมือแล้ว.

พาหนะ ๕ ของพระเจ้าจัณฑปัชโชต

ก็พระราชา มีพาหนะทั้ง ๕ คือ :-

นางช้างตัว ๑ ชื่อ ภัททวดี ไปได้วันละ ๕๐ โยชน์.

ทาสชื่อว่า กากะ ไปได้ ๖๐ โยชน์.

ม้า ๒ ตัว คือ ม้าเวลกังสิ และม้ามุญชเกสิ ไปได้ ๑๐๐ โยชน์

ช้างนาฬาคิรี ไปได้ ๑๒๐ โยชน์.

ประวัติที่จะได้พาหนะเหล่านั้น

ดังได้ยินมา พระราชาพระองค์นั้น ในเมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้ทรง

อุบัติขึ้น ได้เป็นคนรับใช้ของอิสรชนผู้หนึ่ง. ต่อมา วันหนึ่งเมื่ออิสรชน

ผู้นั้น ไปนอกพระนคร อาบน้ำแล้วมาอยู่, พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่ง

เข้าไปสู่พระนครเพื่อบิณฑบาต ไม่ได้ภิกษาเลยสักอย่างหนึ่ง เพราะ

ชาวเมืองทั้งสิ้นถูกมารดลใจ มีบาตรตามที่ล้างไว้แล้ว (เปล่า)

ออกไป. ลำดับนั้น มารเข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้านั้น ด้วยเพศที่ไม่มี

ใครรู้จัก แล้วถามท่านในขณะที่ท่านถึงประตูพระนครว่า "ท่านเจ้าข้า

ท่านได้อะไร ๆ บ้างไหม ?" พระปัจเจกพุทธเจ้า ตอบว่า "ก็เจ้าทำ

อาการคืออันไม่ได้แก่เราแล้วหรือมิใช่หรือ ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 267

ม. ถ้ากระนั้น ขอท่านจงกลับเข้าไปอีก, คราวนี้ ข้าพเจ้าจัก

ไม่ทำ.

ป. เราจักไม่กลับอีก.

ก็ถ้าพระปัจเจกพุทธเจ้านั้นพึงกลับไปไซร้ มารนั้นจะพึงสิงร่าง

ของชาวเมืองทั้งสิ้น แล้วปรบมือทำการหัวเราะเย้ยอีก, เมื่อพระปัจเจก-

พุทธเจ้าไม่กลับ มารก็หายไปในที่นั้นเอง. ขณะนั้นอิสรชนผู้นั้น

พอเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้มาอยู่ด้วยทั้งบาตรตามที่ล้างไว้แล้ว (เปล่า)

จึงไหว้ แล้วถามว่า "ท่านเจ้าข้า ท่านได้อะไร ๆ บ้างไหม ?" ท่าน

ตอบว่า "ผู้มีอายุ ฉันเที่ยวไปแล้ว ออกมาแล้ว." เขาคิดว่า "พระ-

ผู้เป็นเจ้า ไม่ตอบคำที่เราถาม กลับกล่าวคำอื่นเสีย, ท่านคงจักยังไม่ได้

อะไร ๆ." ในทันใดนั้น เขาแลดูบาตรของท่าน เห็นบาตรเปล่า ก็เป็น

ผู้แกล้วกล้า แต่ไม่อาจรับบาตร เพราะยังไม่รู้ว่า ภัยในเรือนของตน

เสร็จแล้วหรือยังไม่เสร็จ จึงกล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงรอหน่อย"

ดังนี้แล้ว ก็ไปสู่เรือนโดยเร็ว ถามว่า "ภัตสำหรับเราเสร็จแล้วหรือ ?"

เมื่อคนรับใช้ตอบว่า " เสร็จแล้ว" จึงกล่าวกะคนรับใช้นั้นว่า "พ่อ

คนอื่นที่มีความเร็วอันสมบูรณ์กว่าเจ้าไม่มี, ด้วยฝีเท้าอันเร็ว เจ้าจง

ไปถึงพระผู้เป็นเจ้านั้น กล่าวว่า ' ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงให้บาตร,'

แล้วรับบาตรพาโดยเร็ว." เขาวิ่งไปด้วยคำสั่งคำเดียวเท่านั้น รับบาตร

นำมาแล้ว. แม้อิสรชนทำบาตรให้เต็มด้วยโภชนะของตน แล้วกล่าวว่า

"เจ้าจงรีบไป ถวายบาตรนี้แก่พระผู้เป็นเจ้า เราจะให้ส่วนบุญ แต่ทาน

นี้ แก่เจ้า." เขารับบาตรนั้นแล้วไปด้วยฝีเท้า (เร็ว) ถวายบาตรแก่พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ แล้วกล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 268

เวลาจวนแจแล้ว, ข้าพเจ้าไปและมา ด้วยฝีเท้าอันเร็วยิ่ง, ด้วยผลแห่ง

ฝีเท้าของข้าพเจ้านี้ ขอพาหนะทั้งหลาย ๕ ซึ่งสามารถจะไปได้ ๕๐ โยชน์

๖๐ โยชน์ ๑๐๐ โยชน์ ๑๒๐ โยชน์ จงเกิดขึ้นแก่ข้าพเจ้า, อนึ่ง

ร่างกายของข้าพเจ้าผู้มาอยู่และไปอยู่ ถูกแสงแห่งดวงอาทิตย์แผดเผาแล้ว,

ด้วยผลแห่งความที่ร่างกายถูกแสงแห่งดวงอาทิตย์แผดเผานั้นของข้าพเจ้า

ขออาชญาของข้าพเจ้า จงแผ่ไปเช่นกับแสงแห่งดวงอาทิตย์ ในที่ ๆ เกิด

แล้วและเกิดแล้ว; ส่วนบุญในเพราะบิณฑบาตนี้ อันนายให้แล้วแก่

ข้าพเจ้า, ด้วยผลอันไหลออกแห่งส่วนบุญนั้น ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีส่วน

แห่งธรรมอันท่านเห็นแล้ว." พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า " ขอความ

ปรารถนาที่ท่านตั้งไว้นี้ จงสำเร็จ" แล้วได้กระทำอนุโมทนาว่า :-

"สิ่งที่ต้องการแล้ว ปรารถนาแล้ว จงพลัน

สำเร็จแก่ท่าน, ขอความดำริทั้งปวง จงเต็ม ดัง

พระจันทร์ ซึ่งมีในดิถีที่ ๑๕. สิ่งที่ต้องการแล้ว

ปรารถนาแล้ว จงพลันสำเร็จแก่ท่าน, ขอความดำริ

ทั้งปวง จงเต็ม ดังแก้วมณี ชื่อว่าโชติรส."

ได้ทราบว่า คาถา ๒ คาถานี้แล ชื่อว่า คาถาอนุโมทนาของ

พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย. รัตนะคือแก้วมณี อันให้สิ่งที่มุ่งหมายทั้งปวง

[แก้วสารพัดนึก] เรียกว่า "แก้วมณีโชติรส" ในคาถานั้น. นี้เป็น

บุรพจริตแห่งบุรุษรับใช้นั้น. เขาได้เป็นพระเจ้าจัณฑปัชโชตในบัดนี้.

และด้วยผลอันไหลออกแห่งกรรมนั้น พาหนะ ๕ เหล่านี้จึงเกิดขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 269

พระเจ้าอุเทนหนี

ต่อมาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จออก เพื่อทรงกีฬาในพระราช-

อุทยาน. พระเจ้าอุเทนทรงดำริว่า " เราควรจะหนีไป ในวันนี้ "

จึงทรงบรรจุกระสอบหนังใหญ่ ๆ ให้เต็มด้วยเงินและทอง วางเหนือหลัง

นางช้าง แล้วพาพระนางวาสุลทัตตาหนีไป. ทหารรักษาวังทั้งหลาย

เห็นพระเจ้าอุเทน กำลังหนีไป จึงกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาทรง

ส่งพลไปด้วยพระดำรัสสั่งว่า " พวกเจ้าจงไปเร็ว ." พระเจ้าอุเทน

ทรงทราบว่า พลนิกายไล่ตามแล้ว จึงทรงแก้กระสอบกหาปณะ ทำ

กหาปณะให้ตก. พวกมนุษย์เก็บกหาปณะขึ้นแล้วไล่ตามไปอีก. ฝ่าย

พระเจ้าอุเทน ก็ทรงแก้กระสอบทองแล้วทำให้ตก เมื่อมนุษย์เหล่านั้น

มัวเนิ่นช้าอยู่ เพราะความละโมบในทอง ก็เสด็จถึงค่ายของพระองค์ ซึ่ง

ตั้งอยู่ภายนอก. ขณะนั้น พลนิกายพอเห็นท้าวเธอเสด็จมา ก็แวดล้อมเชิญ

เสด็จให้เข้าไปสู่พระนครของตน. ท้าวเธอครั้นพอเสด็จไปแล้ว ก็อภิเษก

พระนางวาสุลทัตตา ตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี.

นี้เป็นเรื่องของพระนางวาสุลทัตตา.

ประวัตินางมาคันทิยา

อนึ่ง หญิงอื่นอีก ชื่อว่า นางมาคันทิยา ก็ได้ตำแหน่งแห่ง

อัครมเหสี แต่สำนักของพระราชา. ได้ยินว่า นางเป็นธิดาของพราหมณ์

ชื่อมาคันทิยะ ในแคว้นกุรุ, แม้มารดาของนางก็ชื่อว่ามาคันทิยาเหมือน

กัน. ถึงอาของนางก็ชื่อว่า มาคันทิยะด้วย นางเป็นคนมีรูปงามเปรียบ

ด้วยเทพอัปสร. ก็บิดาของนาง เมื่อไม่ได้สามีที่คู่ควร [แก่นาง] แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 270

จะถูกตระกูลใหญ่ ๆ อ้อนวอน ก็กลับตะเพิดเอาว่า " พวกท่านไม่คู่ควร

แก่ลูกสาวของฉัน " แล้วไล่ส่งไป. ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจ

ดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัยแห่งอนาคามิผล ของมาคันทิย-

พราหมณ์ พร้อมทั้งปชาบดี ทรงถือบาตรจีวรของพระองค์แล้ว ได้เสด็จ

ไปสู่สถานเป็นที่บำเรอไฟของพราหมณ์นั้น ในภายนอกนิคม. พราหมณ์

นั้นแลเห็นอัตภาพอันเลิศด้วยความงามแห่งพระรูปของพระตถาคตแล้ว ก็

คิดว่า " ชื่อว่าบุรุษอื่นผู้เช่นกับบุรุษนี้ ย่อมไม่มีในโลกนี้, บุรุษนี้เป็นผู้

คู่ควรแก่ธิดาของเรา, เราจักให้ธิดาของเราแก่บุรุษนี้ เพื่อประโยชน์จะได้

เลี้ยงดูกัน" ดังนี้แล้วจึงกล่าวว่า " ท่านสมณะ ธิดาของข้าพเจ้ามีอยู่คนหนึ่ง

ข้าพเจ้ายังไม่เห็นชายผู้คู่ควรแก่นาง ตลอดกาลมีประมาณเท่านี้, ท่านเป็น

ผู้คู่ควรแก่นาง, และนางก็เป็นผู้คู่ควรแก่ท่านแท้, ควรท่านได้นางไว้เป็น

บาทบริจาริกา และนางก็ควรได้ท่านไว้เป็นภัสดา, เราจักให้นางแก่ท่าน

ท่านจงยืนอยู่ในที่นี้แล จนกว่าข้าพเจ้าจะไป (กลับมา)." พระศาสดา

ไม่ตรัสอะไร ได้ทรงดุษณีภาพ. พราหมณ์ไปสู่เรือนโดยเร็วกล่าว

(กะนางพราหมณี) ว่า " นาง ! นาง ! เราเห็นผู้ที่สมควรแก่ลูกสาว

ของเราแล้ว, หล่อนจงแต่งตัวลูกเร็ว ๆ เข้า " ให้ธิดานั้นแต่งตัวแล้ว

พาไป พร้อมกับนางพราหมณี ได้ไปสู่สำนักของพระศาสดา. ทั่วพระนคร

กึกก้อง (แตกตื่น) ว่า " พราหมณ์นี้ไม่ให้ (ลูกสาว) แก่ใคร ๆ

ด้วยอ้างว่า "ชายผู้สมควรแก่ลูกสาวของเราไม่มี " ตลอดกาลมีประมาณ

เท่านี้. ได้ยินว่า "เขากล่าวว่า 'วันนี้ เราเห็นชายผู้สมควรแก่ลูกสาว

๑. ภรรยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 271

ของเราแล้ว,' ชายผู้นั้นจะเป็นเช่นไรหนอ ? พวกเราจักดูชายผู้นั้น."

มหาชนจึงออกไปพร้อมกับพราหมณ์นั้นด้วย. เมื่อพราหมณ์นั้นพาธิดา

มาอยู่. พระศาสดามิได้ประทับยืนในที่ที่พราหมณ์นั้นพูดไว้ ทรงแสดง

เจดีย์คือรอยพระบาทไว้ในที่นั้นแล้ว ได้เสด็จไปประทับยืนในที่อื่น.

แท้จริง เจดีย์คือรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมปรากฏในที่

ที่พระองค์ทรงอธิษฐานแล้วเหยียบไว้เท่านั้น, ย่อมไม่ปรากฏในที่อื่น;

อนึ่ง เจดีย์คือรอยพระบาท เป็นสิ่งที่ทรงอธิษฐานไว้เพื่อประสงค์แก่

บุคคลเหล่าใด, บุคคลเหล่านั้นจำพวกเดียว ย่อมแลเห็นเจดีย์คือรอย

พระบาทนั้น; ก็สัตว์มีช้างเป็นต้น จงเหยียบก็ตาม, มหาเมฆ (ห่าฝน

ใหญ่) จงตกก็ตาม, ลมบ้าหมู จงพัดก็ตาม เพื่อจะให้บุคคลเหล่านั้น

แลไม่เห็น, ใครๆ ก็ไม่สามารถเพื่อจะลบเจดีย์คือรอยพระบาทนั้นได้.

ลำดับนั้น นางพราหมณี กล่าวกะพราหมณ์ว่า "ชายนั้นอยู่ที่ไหน ?"

พราหมณ์คิดว่า " เราได้พูดกะเขาว่า ' ท่านจงยืนอยู่ในที่นี้,' เขาไปเสีย

ในที่ไหนหนอ ?" แลดูอยู่ ก็เห็นเจดีย์คือรอยพระบาท จึงกล่าวว่า

" นี้เป็นรอยเท้าของผู้นั้น." นางพราหมณีร่ายลักษณะมนต์แล้วตรวจตรา

ดูลักษณะแห่งรอยพระบาท เพราะความเป็นผู้แคล่วคล่องในเวททั้ง ๓

พร้อมทั้งมนต์สำหรับทายลักษณะ กล่าวว่า " ท่านพราหมณ์ นี้มิใช่

รอยเท้าของผู้มักเสพกามคุณ ๕" แล้วกล่าวคาถานี้ว่า

"ก็คนเจ้าราคะ พึงมีรอยเท้ากระหย่ง (เว้า

กลาง), คนเจ้าโทสะ ย่อมมีรอยเท้าอันส้นบีบ

(หนักส้น), คนเจ้าโมหะ ย่อมมีรอยเท้าจิกลง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 272

(หนักทางปลายนิ้วเท้า), คนมีกิเลสเครื่องมุงบังอัน

เปิดแล้ว มีรอยเช่นนี้ นี้."

ลำดับนั้น พราหมณ์กล่าวกะนางว่า " นาง หล่อนเป็นผู้มีปกติ

เห็นมนต์ เหมือนจระเข้ในตุ่มน้ำ เหมือนโจรอยู่ในท่ามกลางเรือน,

จงนิ่งเสียเถิด." นางพราหมณีกล่าวว่า " ท่านพราหมณ์ ท่านอยากจะ

พูดคำใด ก็จงพูดคำนั้น; รอยเท้านี้ มิใช่รอยเท้าของผู้มักเสพกามคุณ ๕."

พราหมณ์แลดูข้างโน้นข้างนี้ เห็นพระศาสดาแล้วกล่าวว่า " นี้ คือ

ชายผู้นั้น" จึงไปกล่าวว่า " ท่านสมณะ ข้าพเจ้าจะให้ธิดาเพื่อต้องการ

ได้เลี้ยงดูกัน ." พระศาสดาไม่ตรัสเลยว่า " เรามีความต้องการด้วยธิดา

ของท่านหรือไม่มี" ตรัสว่า " พราหมณ์ เราจะกล่าวเหตุอันหนึ่งแก่

ท่าน," เมื่อพราหมณ์กล่าวว่า " จงกล่าวเถิดท่านสมณะ" จึงตรัสบอก

การที่พระองค์ถูกมารติดตาม ตั้งแต่ออกผนวช จนถึงโคนต้นอชปาล-

นิโครธและการประเล้าประโลมอันธิดามารทั้งหลายผู้มาเพื่อระงับความโศก

ของมารนั้น ผู้โศกาดูรอยู่ว่า " บัดนี้ พระสมณโคดมนี้ล่วงวิสัยแห่ง

เราเสียแล้ว" ประกอบขึ้นด้วยสามารถแห่งเพศนางกุมาริกาเป็นต้น ที่

โคนต้นอชปาลนิโครธ แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า

" เรามิได้มีความพอใจในเมถุน เพราะเห็นนาง

ตัณหา นางอรดี และนางราคา, ไฉนเล่า ? จักมีความ

พอใจเพราะเห็นธิดาของท่านนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตร

และกรีส, เราไม่ปรารถนาจะถูกต้องธิดาของท่านนี้

แม้ด้วยเท้า."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 273

ในที่สุดแห่งคาถา พราหมณ์และพราหมณี ก็ตั้งอยู่ในอนาคามิผล.

ฝ่ายนางมาคันทิยาผู้เป็นธิดาแล ผูกอาฆาตในพระศาสดา ว่า " ถ้าสมณะ

นั้น ไม่มีความต้องการด้วยเรา, ก็ควรกล่าวถึงความที่ตนไม่มีความ

ต้องการ; แต่สมณะนี้ ( กลับ) ทำให้เราเป็นผู้เต็มไปด้วยมูตรและกรีส;

เอาเถอะ, เราอาศัยความถึงพร้อมด้วยชาติ, ตระกูล, ประเทศ, โภคะ

ยศและวัย ได้ภัสดาเห็นปานนั้นแล้ว จักรู้กรรมอันเราควรทำแก่สมณ-

โคดม.

ถามว่า " ก็พระศาสดา ทรงทราบความเกิดขึ้นแห่งความอาฆาต

ในพระองค์ ของนางหรือไม่ทรงทราบ ?"

ตอบว่า "ทรงทราบเหมือนกัน."

ถามว่า "เมื่อพระองค์ทรงทราบ เหตุไฉนจึงตรัสพระคาถา ?"

ตอบว่า " พระองค์ตรัสพระคาถา ด้วยสามารถแห่งพราหมณ์และ

พราหมณีทั้งสองนอกนี้."

ธรรมดา พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงคำนึงถึงความอาฆาต ย่อม

ทรงแสดงธรรม ด้วยสามารถแห่งบุคคลผู้ควรบรรลุมรรคผลเท่านั้น.

มารดาบิดา พานางมาคันทิยานั้น ไปฝากนายจูฬมาคันทิยะ ผู้เป็น

น้องชายแล้วไปสู่สำนักของพระศาสดา ทั้งสองคนบวชแล้ว ก็ได้บรรลุ

อรหัตผล.

ฝ่ายนายจูฬมาคันทิยะคิดว่า " ธิดาของเราไม่ควรแก่ผู้ต่ำช้า,

ควรแก่พระราชาผู้เดียว" จึงพานางไปสู่เมืองโกสัมพี ตบแต่งด้วยเครื่อง

ประดับทั้งปวงแล้ว ได้ถวายแด่พระเจ้าอุเทน ด้วยคำว่า " นางแก้วนี้

ควรแก่สมมติเทพ (ฝ่าละอองธุลีพระบาท). " พระเจ้าอุเทนนั้นพอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 274

ทอดพระเนตรเห็นนาง ก็เกิดสิเนหาอย่างแรงกล้า จึงประทานการอภิเษก

ทำมาตุคาม ๕๐๐ ให้เป็นบริวารของนาง ตั้งไว้ในตำแหน่งแห่งอัครมเหสี

แล้ว.

นี้เป็นเรื่องของนางมาคันทิยา.

พระเจ้าอุเทนนั้น ได้มีอัครมเหสี ๓ นาง ซึ่งมีหญิงฟ้อน ๑,๕๐๐

นางเป็นบริวาร ด้วยประการดังนี้.

สามเศรษฐีกับดาบส

ก็ในสมัยนั้นแล เมืองโกสัมพี มีเศรษฐี ๓ คน คือ โฆสก-

เศรษฐี, กุกกุฏเศรษฐี, ปาวาริกเศรษฐี, เศรษฐีเหล่านั้น เมื่อวัสสูป-

นายิกาใกล้เข้ามาแล้ว, เห็นดาบส ๕๐๐ มาจากหิมวันตประเทศ กำลัง

เที่ยวไปเพื่อภิกษาในพระนคร ก็เลื่อมใส จึงนิมนต์ให้นั่ง ให้ฉันแล้ว

รับปฏิญญาให้อยู่ในสำนักของตนตลอด ๔ เดือน ให้ปฏิญญาเพื่อต้องการ

แก่อันมาอีก ในสมัยที่ชุ่มด้วยฝน (ฤดูฝน) แล้วส่งไป. จำเดิมแต่นั้น

แม้ดาบสทั้งหลาย อยู่ในหิมวันตประเทศตลอด ๘ เดือนแล้ว จึงอยู่ใน

สำนักของเศรษฐีเหล่านั้น ตลอด ๔ เดือน. ดาบสเหล่านั้น เมื่อมาจาก

หิมวันตประเทศในเวลาอื่น เห็นต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ในแดนอรัญ จึง

นั่งที่โคนต้นไทรนั้น. บรรดาดาบสเหล่านั้น ดาบสผู้เป็นหัวหน้าคิดว่า

"เทวดาผู้สิงอยู่ในต้นไม้นี้ จักมิใช่เทวดาผู้ต่ำศักดิ์, เทวราชผู้มีศักดิ์ใหญ่

ทีเดียวพึงมีที่ต้นไทรนี้; เป็นการดีหนอ, ถ้าหากเทวราชนี้พึงให้

น้ำควรดื่มแก่หมู่ฤษี." เทวราชนั้นได้ถวายน้ำดื่มแล้ว. ดาบสคิดถึงน้ำอาบ.

เทวราชก็ได้ถวายน้ำอาบแม้นั้น. ต่อจากนั้น ดาบสผู้เป็นหัวหน้าก็คิดถึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 275

โภชนะ เทวราชก็ถวายโภชนะแม้นั้น. ลำดับนั้น ดาบสนั้นได้มีความปริ-

วิตกนี้ว่า "เทวราชนี้ให้ทุกสิ่งที่เราคิดแล้ว, เออหนอ เราพึงเห็นเทวราช

นั้น." เทวราชนั้น ชำแรกลำต้นไม้ แสดงตนแล้ว. ขณะนั้น ดาบส

ทั้งหลายถามเทวราชนั้นว่า " ท่านเทวราช ท่านมีสมบัติมาก สมบัตินี้

ท่านได้แล้ว เพราะทำกรรมอะไรหนอ ?"

เทวราช. ขออย่าซักถามเลย พระผู้เป็นเจ้า.

ดาบส. จงบอกมาเถิด ท่านเทวราช.

เทวราชนั้นละอายอยู่ เพราะกรรมที่ตนทำไว้เป็นกรรมเล็กน้อย

จึงไม่กล้าจะบอก, แต่เมื่อถูกดาบสเหล่านั้นเซ้าซี้บ่อย ๆ ก็กล่าวว่า

"ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงฟัง" ดังนี้แล้ว จึงเล่า.

ประวัติเทวดา

ได้ยินว่า เทวราชนั้นเป็นคนเข็ญใจคนหนึ่ง แสวงหาการงาน

จ้างอยู่ ได้การงานจ้างในสำนักของอนาถบิณฑิกเศรษฐีแล้ว ก็อาศัย

การงานนั้นเลี้ยงชีวิต. ต่อมา เมื่อถึงวันอุโบสถวันหนึ่ง อนาถบิณฑิก-

เศรษฐี มาจากวิหารแล้ว ถามว่า " ในวันนี้ ใคร ๆ ได้บอกความเป็น

วันอุโบสถแก่ลูกจ้างคนนั้นแล้วหรือ ?" คนในบ้านตอบว่า " ข้าแต่นาย

ยังไม่ได้บอก." อนาถบิณฑิกะกล่าวว่า " ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงหุง

หาอาหารเป็นไว้สำหรับเขา." คราวนั้น คนเหล่านั้นก็หุงข้าวสุกแห่ง

ข้าวสารกอบหนึ่งไว้เพื่อชายนั้น. ชายนั้นทำงานในป่าตลอดวันนั้น มา

ในเวลาเย็น เมื่อเขาคดข้าวให้ ก็ยังไม่บริโภคโดยพลันก่อน ด้วยคิดว่า

" เราเป็นผู้หิวแล้ว" คิดว่า "ในวันทั้งหลายอื่น ความโกลาหลใหญ่

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 276

ย่อมมีในเรือนนี้ว่า ' ขอท่านจงให้ข้าว ขอท่านจงให้แกง ขอท่านจงให้

กับ,' ในวันนี้ ทุกคนเป็นผู้เงียบเสียง นอนแล้ว, พากันคดอาหารไว้

เพื่อเราคนเดียวเท่านั้น; นี้เป็นอย่างไรหนอ ?" จึงถามว่า " คนที่เหลือ

บริโภคแล้วหรือ ?" คนทั้งหลายตอบว่า " ไม่บริโภค พ่อ."

ผู้รับจ้าง. เพราะเหตุไร ?

คนทั้งหลาย. ในเรือนนี้ เขาไม่หุงอาหารในเย็นวันอุโบสถทั้งหลาย.

คนทุกคน ย่อมเป็นผู้รักษาอุโบสถ, โดยที่สุด เด็กแม้ผู้ยังดื่มนม ท่าน

มหาเศรษฐี ก็ให้บ้วนปาก ให้ใส่ของมีรสหวาน ๔ ชนิด ลงในปาก

ทำให้เป็นผู้รักษาอุโบสถแล้ว, เมื่อประทีปซึ่งระคนด้วยน้ำหอม สว่างอยู่

เด็กเล็กและเด็กใหญ่ทั้งหลายไปสู่ที่นอนแล้ว ย่อมสาธยายอาการ ๓๒;

แต่ว่า พวกเรามิได้ทำสติไว้ เพื่อจะบอกความที่วันนี้เป็นวันอุโบสถแก่

ท่าน, เพราะเหตุนั้น พวกเราจึงหุงข้าวไว้เพื่อท่านคนเดียว, ท่านจงรับ

ประทานอาหารนั้นเถิด.

ผู้รับจ้าง. ถ้าการที่เราเป็นผู้รักษาอุโบสถในบัดนี้ ย่อมควรไซร้

แม้เราก็พึงเป็นผู้รักษาอุโบสถ.

คนทั้งหลาย. เศรษฐีย่อมรู้เรื่องนี้.

ผู้รับจ้าง. ถ้าเช่นนั้น ขอพวกท่านจงถามเศรษฐีนั้น.

คนเหล่านั้น ไปถามเศรษฐีแล้ว เศรษฐีกล่าวอย่างนี้ว่า "ชาย

นั้นไม่บริโภคในบัดนี้ บ้วนปากแล้ว อธิษฐานองค์อุโบสถทั้งหลาย จัก

ได้อุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง." ฝ่ายคนรับจ้างฟังคำนั้น ได้กระทำตามนั้นแล้ว.

เมื่อเขาหิวโหยแล้ว เพราะทำงานตลอดทั้งวัน ลมกำเริบแล้วในสรีระ, เขา

๑. คือ เนยใส เนยข้น น้ำผึ้ง น้ำอ้อย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 277

เอาเชือกผูกท้อง จับที่ปลายเชือกแล้วกลิ้งเกลือกอยู่. เศรษฐี สดับ

ประพฤติเหตุเช่นนั้น มีคนถือคบเพลิงให้คนถือเอาของมีรสหวาน ๔ ชนิด

มาสู่สำนักของชายนั้น ถามว่า " เป็นอย่างไร ? พ่อ."

ผู้รับจ้าง. นาย ลมกำเริบแก่ข้าพเจ้า.

เศรษฐี. ถ้าอย่างนั้น เจ้าจงลุกขึ้น เคี้ยวกินเภสัชนี้.

ผู้รับจ้าง. นาย แม้ท่านทั้งหลายรับประทานแล้วหรือ ?

เศรษฐี. ความไม่สบาย ของพวกเราไม่มี: เจ้าเคี้ยวกินเถิด.

เขากล่าวว่า "นาย ข้าพเจ้า เมื่อทำอุโบสถกรรม ไม่ได้อาจเพื่อ

จะทำอุโบสถกรรมทั้งสิ้นได้, แม้ในอุโบสถกรรมกึ่งหนึ่งของข้าพเจ้าอย่า

ได้เป็นของบกพร่องเลย" ดังนี้แล้ว ก็ไม่ปรารถนา ( เพื่อจะเคี้ยวกิน).

ชายนั้น แม้อันเศรษฐีกล่าวอยู่ว่า "อย่าทำอย่างนี้เลยพ่อ" ก็ไม่

ปรารถนาแล้ว, เมื่ออรุณขึ้นอยู่ ทำกาละแล้ว เหมือนดอกไม้ที่เหี่ยวแห้ง

ฉะนั้น เกิดเป็นเทวดาที่ต้นไทรนั้น. เพราะเหตุนั้น เทวดานั้น

ครั้นกล่าวเนื้อความนี้แล้ว จึงกล่าวว่า " เศรษฐีนั้นเป็นผู้นับถือพระ-

พุทธเจ้าว่าเป็นของเรา นับถือพระธรรมว่าเป็นของเรา นับถือพระสงฆ์

ว่าเป็นของเรา. สมบัตินั้นข้าพเจ้าได้แล้ว ด้วยผลอันไหลออกแห่ง

อุโบสถกรรมกึ่งหนึ่ง ซึ่งข้าพเจ้าอาศัยเศรษฐีนั้นกระทำแล้ว."

ดาบสเลื่อมใสออกบวช

ดาบส ๕๐๐ พอฟังคำว่า " พระพุทธเจ้า" ก็ลุกขึ้นประคอง

อัญชลีต่อเทวดา กล่าวว่า " ท่านพูดว่า ' พระพุทธเจ้า" ดังนี้แล้ว

ให้เทวดานั้นปฏิญญา ๓ ครั้งว่า "ข้าพเจ้าพูดว่า 'พระพุทธเจ้า," แล้ว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 278

เปล่งอุทานว่า " แม้เสียงกึกก้องนี้แล ก็หาได้ยากในโลก" แล้วกล่าวว่า

" ท่านเทวดา พวกเราเป็นผู้อันท่านให้ได้ฟังเสียง ที่ยังมิได้เคยฟังแล้ว

ในแสนกัลป์เป็นอเนก." ลำดับนั้น พวกดาบสที่เป็นอันเตวาสิก ได้

กล่าวคำนี้กะอาจารย์ว่า " ถ้าเช่นนั้น พวกเราจงพากันไปสู่สำนักของ

พระศาสดา." อาจารย์กล่าวว่า " พ่อทั้งหลาย เศรษฐี ๓ ท่านเป็น

ผู้มีอุปการะมากแก่พวกเรา, พรุ่งนี้พวกเรารับภิกษาในที่อยู่ของเศรษฐี

เหล่านั้น บอกแม้แก่เศรษฐีเหล่านั้นแล้ว จึงจักไป, พ่อทั้งหลาย

พวกพ่อ จงยับยั้งอยู่ก่อน." ดาบสเหล่านั้น ยับยั้งอยู่แล้ว, ในวันรุ่งขึ้น

พวกเศรษฐี เตรียมข้าวยาคูและภัตแล้ว ปูอาสนะไว้ รู้ว่า "วันนี้

เป็นวันมาแห่งพระผู้เป็นเจ้าของเราทั้งหลาย;" ทำการต้อนรับ ดาบส

เหล่านั้นไปสู่ที่อยู่ เชิญให้นั่ง ได้ถวายภิกษาแล้ว. ดาบสเหล่านั้น ทำ

ภัตกิจเสร็จแล้วกล่าวว่า " ท่านมหาเศรษฐีทั้งหลาย พวกเราจักไป."

เศรษฐี. ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ท่านทั้งหลายรับปฏิญญาของพวก

ข้าพเจ้า ตลอด ๔ เดือน ซึ่งมีในฤดูฝนแล้วมิใช่หรือ ? บัดนี้พวก

ท่านจักไปไหน ?

ดาบส. ได้ยินว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก, พระธรรมก็

เกิดขึ้นแล้ว, พระสงฆ์ก็เกิดขึ้นแล้ว, เพราะฉะนั้น เราทั้งหลายจักไม่สู่

สำนักของพระศาสดา.

เศรษฐี. ก็การไปสู่สำนักของพระศาสดาองค์นั้น ควรแก่ท่าน

ทั้งหลายเท่านั้นหรือ ?

ดาบส. แม้คนเหล่าอื่นก็ควร ไม่ห้าม ผู้มีอายุ.

เศรษฐี. ท่านผู้เจริญ ถ้าเช่นนั้น ขอท่านทั้งหลายจงรอก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 279

แม้พวกข้าพเจ้า ทำการตระเตรียมแล้ว ก็จะไป.

ดาบสเหล่านั้น กล่าวว่า "เมื่อท่านทั้งหลายทำการตระเตรียมอยู่,

ความเนิ่นช้าย่อมมีแก่พวกเรา, พวกเราจะไปก่อน, ท่านทั้งหลายพึงมา

ข้างหลัง" ดังนี้แล้ว ก็ไปก่อน, เฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชมเชยแล้ว

ถวายบังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสอนุปุพพีกถา แสดงธรรมแก่ดาบส

เหล่านั้น. ในที่สุดแห่งเทศนา ดาบสทั้งปวงบรรลุพระอรหัตพร้อม

ทั้งปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ทูลขอบรรพชา ได้เป็นผู้ทรงบาตรและจีวร

อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ดุจพระเถระมีพรรษาตั้ง ๑๐๐ ในลำดับแห่งพระดำรัส

ว่า "ท่านทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด ."

สามเศรษฐีสร้างวิหาร

เศรษฐีทั้งสามแม้นั้นแล จัดเกวียนคนละ ๕๐๐ เล่ม บรรทุกเครื่อง

อุปกรณ์แก่ทาน มีผ้า เครื่องนุ่งห่ม เนยใส น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้น

ไปถึงเมืองสาวัตถีแล้ว เข้าไปสู่พระเชตวัน ถวายบังคมพระศาสดา สดับ

ธรรมกถาแล้ว ในที่สุดแห่งกถา ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ถวายทานอยู่

ในสำนักของพระศาสดาประมาณกึ่งเดือนแล้ว ทูลเชิญพระศาสดา เพื่อ

ประโยชน์เสด็จไปสู่เมืองโกสัมพี, เมื่อพระศาสดาจะประทานปฏิญญา จึง

ตรัสว่า "คฤหบดีทั้งหลาย พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมยินดียิ่งในเรือน

ว่างแล" จึงทูลว่า " ข้อนั้น พวกข้าพระองค์ทราบแล้ว พระเจ้าข้า

การที่พระองค์เสด็จมาด้วยสาสน์ที่พวกข้าพระองค์ส่งไป ย่อมควร"

ดังนี้แล้ว ไปสู่เมืองโกสัมพี ให้สร้างมหาวิหาร ๓ หลังคือ โฆสกเศรษฐี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 280

ให้สร้างโฆสิตาราม, กุกกุฏเศรษฐี ให้สร้างกุกกุฏาราม, ปาวาริกเศรษฐี

ให้สร้างปาวาริการาม แล้วส่งสาสน์ไปเพื่อประโยชน์แก่อันเสด็จมาแห่ง

พระศาสดา.

พระศาสดาทรงสดับสาสน์ของเศรษฐีเหล่านั้น ก็ได้เสด็จไป

ในที่นั้นแล้ว. เศรษฐีเหล่านั้นต้อนรับ เชิญให้พระศาสดาเสด็จเข้าไปใน

วิหารแล้ว มอบถวาย ๓ ครั้งว่า "ข้าพระองค์ขอถวายวิหารนี้แก่ภิกษุ-

สงฆ์อันมาแต่ ๔ ทิศ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข" ดังนี้แล้วย่อม

ปฏิบัติตามวาระ ๆ. พระศาสดา ย่อมประทับอยู่ในวิหารหนึ่งๆ ทุก ๆ วัน,

ประทับอยู่ในวิหารของเศรษฐีคนใด, ก็ย่อมเสด็จเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต

ที่ประตูเรือนของเศรษฐีคนนั้นแล.

นายสุมนมาลาการเลี้ยงภิกษุสงฆ์

ก็เศรษฐีทั้งสามคนนั้น ได้มีนายช่างมาลาชื่อสุมนะ เป็นผู้อุปัฏฐาก.

นายสุมนมาลาการนั้น กล่าวกะเศรษฐีเหล่านั้น อย่างนี้ว่า "ข้าพเจ้า

เป็นผู้กระทำการอุปัฏฐากท่านทั้งหลายตลอดกาลนาน, เป็นผู้ใคร่เพื่อ

จะยังพระศาสดาให้เสวย: ขอท่านทั้งหลาย จงให้พระศาสดาแก่ข้าพเจ้า

วันหนึ่ง."

เศรษฐีทั้งสามนั้นกล่าวว่า "นาย ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนิมนต์

พระศาสดาเสวยในวันพรุ่งนี้เถิด." นายสุมนมาลาการนั้นรับคำว่า "ดีแล้ว

นาย " ดังนี้ จึงนิมนต์พระศาสดา ตระเตรียมเครื่องสักการะ. ในกาลนั้น

พระราชาพระราชทานกหาปณะ ๘ กหาปณะ ให้เป็นค่าดอกไม้แก่นาง

สามาวดีทุก ๆ วัน. ทาสีของนางสามาวดีนั้นชื่อนางขุชชุตตรา ไปสู่สำนัก

๑. ผลัดเปลี่ยนกันปฏิบัติ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 281

ของนายสุมนมาลาการ รับดอกไม้ทั้งหลายเนืองนิตย์. ต่อมา นายมาลาการ

กล่าวกะนางขุชชุตตรานั้น ผู้มาในวันนั้น ว่า "ข้าพเจ้านิมนต์พระศาสดา

ไว้แล้ว, วันนี้ ข้าพเจ้าจักบูชาพระศาสดาด้วยดอกไม้อันเลิศ; นางจง

รออยู่ เป็นผู้ช่วยเหลือในการเลี้ยงพระฟังธรรม ( เสียก่อน) แล้วจึง

รับดอกไม้ไป." นางรับคำว่า "ได้."

นายสุมนะ เลี้ยงภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขแล้ว ได้

รับบาตรเพื่อประโยชน์แก่การการทำอนุโมทนา. พระศาสดาทรงเริ่ม

ธรรมเทศนาเป็นเครื่องอนุโมทนาแล้ว. ฝ่ายนางขุชชุตตรา สดับธรรมกถา

ของพระศาสดาอยู่เทียว ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว. ในวันทั้งหลายอื่น

นางถือเอากหาปณะ ๔ ไว้สำหรับตน รับดอกไม้ไปด้วยกหาปณะ ๔. ใน

วันนั้น นางรับดอกไม้ไปด้วยกหาปณะทั้ง ๘ กหาปณะ.

ลำดับนั้น นางสามาวดี กล่าวกะนางขุชชุตตรานั้นว่า "แม่

พระราชาพระราชทานค่าดอกไม้แก่เราเพิ่มขึ้น ๒ เท่าหรือหนอ ?"

ขุชชุตตรา. หามิได้ พระแม่เจ้า.

สามาวดี. เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไร ดอกไม้จึงมากเล่า ?

ขุชชุตตรา. ในวันทั้งหลายอื่น หม่อมฉันถือเอากหาปณะ ๔ ไว้

สำหรับตน นำดอกไม้มาด้วยกหาปณะ ๔.

สามาวดี. เพราะเหตุไร ในวันนี้ เจ้าจึงไม่ถือเอา ?

ขุชชุตตรา. เพราะความที่หม่อมฉันฟังธรรมกถาของพระสัมมาสัม-

พุทธเจ้าแล้วบรรลุธรรม.

ลำดับนั้น นางสามาวดีมิได้คุกคามนางขุชชุตตรานั้นเลยว่า

"เหวย นางทาสีผู้ชั่วร้าย เจ้าจงให้กหาปณะที่เจ้าถือเอาแล้วตลอดกาล

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 282

มีประมาณเท่านี้ แก่เรา" กลับกล่าวว่า " แม่ เจ้าจงทำแม้เราทั้งหลาย

ให้ดื่มอมฤตรสที่เจ้าดื่มแล้ว," เมื่อนางกล่าวว่า " ถ้าอย่างนั้น ขอ

พระแม่เจ้าจงยังหม่อมฉันให้อาบน้ำ" จึงให้นางอาบน้ำ ด้วยหม้อ

น้ำหอม ๑๖ หม้อแล้ว รับสั่งให้ประทานผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง ๒ ผืน. นาง

ขุชชุตตรานั้น นุ่งผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง ให้ปูอาสนะแล้ว ให้นำพัดมา

อันหนึ่ง นั่งบนอาสนะ จับพัดอันวิจิตร เรียกมาตุคาม ๕๐๐ มาแล้ว

แสดงธรรมแก่หญิงเหล่านั้น โดยทำนองที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว

นั้นแล. หญิงแม้ทั้งปวงเหล่านั้น ฟังธรรมกถาของนางแล้ว ก็ตั้งอยู่ใน

โสดาปัตติผล. หญิงแม้ทั้งปวงเหล่านั้นไหว้นางขุชชุตตราแล้ว กล่าวว่า

" แม่ จำเดิมแต่วันนี้ ท่านอย่าทำการงานอันเศร้าหมอง (งานไพร่),

ท่านจงตั้งอยู่ในฐานะแห่งมารดาและฐานะแห่งอาจารย์ของพวกข้าพเจ้า

ไปสู่สำนักพระศาสดา ฟังธรรมที่พระศาสดาทรงแสดงแล้ว จงกล่าวแก่

พวกข้าพเจ้า." นางขุชชุตตราการทำอยู่อย่างนั้น ในกาลอื่น ก็เป็นผู้ทรง

พระไตรปิฎกแล้ว.

นางขุชชุตตราเลิศในทางแสดงธรรม

ต่อมา พระศาสดาทรงตั้งนางขุชชุตตรานั้นไว้ในเอตทัคคะว่า "ภิกษุ

ทั้งหลาย นางขุชชุตตรานี้นั้น เป็นผู้เลิศกว่าบรรดาอุบาสิกาสาวิกา

ของเรา ผู้เป็นธรรมกถิกา [แสดงธรรมกถา]. หญิง ๕๐๐ แม้เหล่า

นั้นแล กล่าวกะนางขุชชุตตรานั้นอย่างนี้ว่า "แม่ พวกข้าพเจ้าใคร่เพื่อ

จะเฝ้าพระศาสดา, ขอท่านจงแสดงพระศาสดานั้นแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย,

๑. นัยหนึ่ง แปลว่า "ภิกษุทั้งหลาย บรรดาอุบาสิกาสาวิกา ของเรา ผู้กล่าวธรรมทั้งหลาย

นางขุชชุตตรานี้ เป็นผู้เลิศ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 283

พวกข้าพเจ้าจะบูชาพระศาสดานั้น ด้วยเครื่องสักการบูชา มีของหอม

และระเบียบดอกไม้เป็นต้น."

ขุชชุตตรา. แม่เจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าราชสกุล เป็นของหนัก,

ข้าพเจ้าไม่อาจเพื่อจะพาท่านทั้งหลายไปภายนอกได้.

พวกหญิง. แม่ ท่านอย่าให้พวกข้าพเจ้าฉิบหายเสียเลย, ขอท่าน

จงแสดงพระศาสดาแก่พวกข้าพเจ้าเถิด.

ขุชชุตตรา. ถ้าอย่างนั้น การดูแล เป็นการที่ท่านอาจ [ทำได้]

ด้วยช่องมีประมาณเท่าใด, จงเจาะช่องมีประมาณเท่านั้น ที่ฝาห้องเป็น

ที่อยู่ของพวกท่าน; ให้นำของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้นมาแล้ว

ยืนอยู่ในที่นั้น ๆ จงดูแล จงเหยียดหัตถ์ทั้งสองออกถวายบังคม และจง

บูชาพระศาสดา ผู้เสด็จไปสู่เรือนของเศรษฐีทั้งสาม.

หญิงเหล่านั้นกระทำอย่างนั้นแล้ว แลดูพระศาสดาผู้เสด็จไปและ

เสด็จมาอยู่ ถวายบังคม และบูชาแล้ว.

ประวัติหน้าต่าง

ต่อมาวันหนึ่ง พระนางมาคันทิยา เสด็จออกเดินจากพื้นปราสาท

ของตนไปสู่ที่อยู่ของหญิงเหล่านั้น เห็นช่องในห้องทั้งหลายแล้ว จึงถาม

ว่า " นี้อะไรกัน ?" เมื่อหญิงเหล่านั้น ผู้ไม่รู้ความอาฆาตที่พระนางนั้น

ผูกไว้ในพระศาสดา จึงตอบว่า "พระศาสดาเสด็จมาสู่นครนี้, พวก

หม่อมฉันยืนอยู่ในที่นี้ ย่อมถวายบังคมและบูชาพระศาสดา" ดังนี้แล้ว

คิดว่า " พระสมณโคดม ชื่อว่ามาแล้วสู่นครนี้ บัดนี้เราจักกระทำ

กรรมที่ควรทำแก่พระสมณโคดมนั้น แม้หญิงเหล่านี้ ก็เป็นอุปัฏฐายิกา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 284

ของพระสมณโคดมนั้น, เราจักรู้กรรมที่พึงทำแม้แก่หญิงเหล่านี้" จึง

ไปกราบทูลแด่พระราชา ว่า " ข้าแต่มหาราช หญิง ๕๐๐ รวมทั้ง

พระนางสามาวดี มีความปรารถนาในภายนอก, พระองค์จักไม่มีพระชนม์

โดย ๒-๓ วันเป็นแน่ ." พระราชาไม่ทรงเชื่อแล้วด้วยทรงพระดำริว่า

"หญิงเหล่านั้น จักไม่ทำกรรมเห็นปานนี้." แต่เมื่อพระนางมาคันทิยา

กราบทูลอีก ก็ไม่ทรงเชื่ออยู่นั่นเอง.

ลำดับนั้น พระนางมาคันทิยาจึงกราบทูลพระราชานั้น ผู้แม้

เมื่อตนกราบทูลอย่างนี้ถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ทรงเชื่อ ว่า " ถ้าพระองค์ไม่

ทรงเชื่อ (คำ) หม่อมฉันไซร้ ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงเสด็จ

ไปสู่ที่อยู่ของหญิงเหล่านั้นแล้ว ทรงใคร่ครวญเถิด." พระราชาเสด็จไป

ทอดพระเนตรเห็นช่องในห้องทั้งหลาย จึงตรัสถามว่า "นี่อะไรกัน ?"

เมื่อหญิงเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว, ไม่ทรงพิโรธต่อหญิง

เหล่านั้น มิได้ตรัสอะไร ๆ เลย, รับสั่งให้ปิดช่องทั้งหลายเสีย แล้วให้

ทำหน้าต่างมีช่องน้อยไว้ในห้องทั้งปวง. ได้ยินว่า หน้าต่างมีช่องน้อย

ทั้งหลาย เกิดขึ้นแล้วในกาลนั้น.

พระศาสดาผจญกับการแก้แค้น

พระนางมาคันทิยา ไม่อาจเพื่อจะทำอะไร ๆ แก่หญิงเหล่านั้นได้

ก็ดำริว่า " เราจักทำกรรมที่ควรทำแก่พระสมณโคดมให้ได้" จึงให้

ค่าจ้างแก่ชาวเมืองแล้วกล่าวว่า " พวกเจ้าพร้อมด้วยพวกผู้ชายที่เป็น

ทาสและกรรมกร จงด่า บริภาษ พระสมณโคดมผู้เข้าไปสู่ภายในพระนคร

เที่ยวอยู่ ให้หนีไป." พวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่เลื่อมใสในรัตนะ ๓ ก็ติดตาม

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 285

พระศาสดาผู้เสด็จไปสู่ภายในพระนคร ด่าอยู่ บริภาษอยู่ด้วยวัตถุสำหรับ

ด่า ๑๐ อย่างว่า

๑. "เจ้าเป็นโจร

๒. เจ้าเป็นพาล

๓. เจ้าเป็นบ้า

๔. เจ้าเป็นอูฐ

๕. เจ้าเป็นวัว

๖. เจ้าเป็นลา

๗. เจ้าเป็นสัตว์นรก

๘. เจ้าเป็นสัตว์ดิรัจฉาน

๙. สุคติของเจ้าไม่มี

๑๐.เจ้าหวังได้ทุคติอย่างเดียว."

ท่านพระอานนท์ฟังคำนั้นแล้ว ได้กราบทูลคำนี้กะพระศาสดาว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชาวเมืองเหล่านี้ ย่อมด่า ย่อมบริภาษพวกเรา,

พวกเราจะไปในที่อื่นจากที่นี้."

พระศาสดาตรัสถามว่า " เราจะไปที่ไหน อานนท์."

พระอานนท์กราบทูลว่า " ไปเมืองอื่น พระเจ้าข้า."

พระศาสดา. เมื่อพวกมนุษย์ในเมืองนั้นด่าอยู่, เราจักไปในที่ไหน

กันอีกเล่า ? อานนท์.

พระอานนท์. ไปสู่เมืองอื่น แม้จากเมืองนั้น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เมื่อพวกมนุษย์ในเมืองนั้นด่าอยู่, เราจักไปในที่ไหน

กันเล่า ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 286

พระอานนท์. ไปเมืองอื่นจากเมืองนั้น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. อานนท์ การทำอย่างนี้ไม่ควร; อธิกรณ์เกิดขึ้น

ในที่ใด, เมื่ออธิกรณ์นั้นสงบระงับแล้วในที่นั้นแล จึงควรไปในที่อื่น;

อานนท์ ก็พวกเหล่านั้น ใครเล่า ? ด่า.

พระอานนท์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกเหล่านั้นทุกคนจน

กระทั่งพวกทาสและกรรมกร ด่า.

พระศาสดา ตรัสว่า " อานนท์ เราเป็นเช่นกับช้างตัวก้าวลงสู่

สงคราม, ก็การอดทนลูกศรอันมาจาก ๔ ทิศ ย่อมเป็นภาระของช้างซึ่ง

ก้าวลงสู่สงความฉันใด ชื่อว่าการอดทนต่อถ้อยคำอันคนทุศีลเป็นอันมาก

กล่าวแล้ว ก็เป็นภาระของเราฉันนั้นเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว เมื่อทรง

ปรารภพระองค์แสดงธรรมภาษิตคาถา ๓ เหล่านี้ในนาควรรคว่า

"เราจักอดกลั้นถ้อยคำล่วงเกิน ดังช้างอดทน

ลูกศร ซึ่งตกไปจากแล่งในสงคราม, เพราะคนเป็น

อันมาก เป็นผู้ทุศีล, ราชบุรุษทั้งหลาย ย่อมนำ

พาหนะที่ฝึกแล้วไปสู่ที่ประชุม, พระราชาย่อมเสด็จ

ขึ้นพาหนะที่ฝึกแล้ว; ในหมู่มนุษย์ผู้ใดอดกลั้นถ้อยคำ

ล่วงเกินได้, ผู้นั้นชื่อว่าฝึก (ตน) แล้ว เป็นผู้

ประเสริฐสุด. ม้าอัสดรที่ฝึกแล้วเป็นสัตว์ประเสริฐ,

ม้าอาชาไนย ม้าสินธพที่ฝึกแล้ว เป็นสัตว์ประเสริฐ,

พระยาช้างชาติกุญชรที่ฝึกแล้ว ก็เป็นสัตว์ประเสริฐ,

(แต่) ผู้ฝึกตนเองได้แล้ว ประเสริฐกว่านั้น."

๑. ขุ. ธ. ๒๕/๗๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 287

ธรรมกถาได้มีประโยชน์แก่มหาชนผู้ถึงพร้อมแล้ว, พระศาสดา

ครั้นทรงแสดงธรรมอย่างนั้นแล้ว ตรัสว่า " อานนท์ เธออย่าคิดแล้ว,

พวกเหล่านั้น จักด่าได้เพียง ๗ วันเท่านั้น ในวันที่ ๗ จักเป็นผู้นิ่ง;

เพราะว่า อธิกรณ์ซึ่งเกิดขึ้นแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่เกิน ๗ วัน

ไป."

พระนางมาคันทิยาหาความด้วยเรื่องไก่

พระนางมาคันทิยา ให้คนด่าพระศาสดาแล้ว (แต่) ไม่อาจให้

หนีไปได้ จึงคิดว่า " เราจักทำอย่างไรหนอ ?" ดังนี้แล้ว คิดว่า

" หญิงเหล่านี้ เป็นผู้อุปถัมภ์พระสมณโคดมนั้น, เราจักทำความฉิบหาย

ให้เเก่หญิงเหล่านั้น" วันหนึ่ง เมื่อทำการรับใช้อยู่ในที่เป็นที่เสวย

น้ำจัณฑ์แห่งพระราชา ส่งข่าวไปแก่อาว่า " โปรดทราบว่า ฉันมีความ

ต้องการด้วยไก่ทั้งหลาย, ขออาจงนำเอาไก่ตาย ๘ ตัว ไก่เป็น ๘ ตัวมา,

ก็แลครั้นมาแล้ว จงยืนอยู่ที่บันได บอกความที่ตนมาแล้ว แม้เมื่อ

รับสั่งว่า 'จงเข้ามา,' ก็อย่าเข้าไป จงส่งไก่เป็น ๘ ตัวไปก่อน ส่งไก่ตาย

นอกนี้ไปภายหลัง," และนางได้ประทานสินจ้างแก่คนใช้ด้วยสั่งว่า

"เจ้าพึงการทำตามคำของเรา."

นายมาคันทิยะมาแล้ว ให้ทูลแด่พระราชาให้ทรงทราบ, เธอรับสั่ง

ว่า "จงเข้ามา" ก็กล่าวว่า " เราจักไม่เข้าไปสู่ที่เป็นที่เสวยน้ำจัณฑ์ของ

พระราชา." ฝ่ายพระนางมาคันทิยา ส่งคนใช้ไปด้วยคำว่า "พ่อ จงไป

สู่สำนักแห่งอาของเรา." เขาไปแล้ว นำไก่เป็น ๘ ตัว ซึ่งนายมาคันทิยะ

นั้นให้แล้วมา กราบทูลว่า " ข้าแต่สมมติเทพ ท่านปุโรหิต ส่งเครื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 288

บรรณาการมาแล้ว." พระราชาตรัสว่า "ดีแท้ แกงอ่อมเกิดขึ้นแก่

พวกเราแล้ว, ใครหนอแล ? ควรแกง." พระนางมาคันทิยากราบทูล

ว่า " ข้าแต่มหาราช หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุข เป็นผู้

ไม่มีการงานเที่ยวเตร่อยู่, ขอพระองค์จงส่งไปให้แก่หญิงเหล่านั้น;

หญิงเหล่านั้นแกงแล้วจักนำมา (ถวาย)." พระราชาทรงส่งไปด้วยพระ-

ดำรัสว่า " เจ้าจงไปให้แก่หญิงเหล่านั้น, ได้ยินว่า หญิงเหล่านั้น จง

อย่าให้ในมือคนอื่น จงฆ่าแกงเองทีเดียว." คนใช้รับพระดำรัสว่า "ดีละ

พระเจ้าข้า" แล้วไปบอกอย่างนั้น เป็นผู้อันหญิงเหล่านั้น คัดค้านแล้ว

ว่า " พวกฉันไม่ทำปาณาติบาต" จึงมาทูลความนั้นแด่พระราชา. พระ-

นางมาคันทิยา กราบทูลว่า " ข้าแต่มหาราช พระองค์เห็นไหม ? บัดนี้

พระองค์จักทรงทราบการทำหรือไม่ทำปาณาติบาตแห่งหญิงเหล่านั้น, ขอ

พระองค์จงรับสั่งว่า ' หญิงเหล่านั้นจงแกงส่งไปถวายแก่พระสมณโคดม'

ดังนี้เถิด พระเจ้าข้า."

พระราชาตรัสอย่างนั้นแล้วส่งไป. คนใช้นอกนี้ ถือทำเป็นเดิน

ไปอยู่ ไปแล้ว ให้ไก่เหล่านั้นแก่ปุโรหิต รับไก่ตายไปสู่สำนักของหญิง

เหล่านั้น กล่าวว่า " ได้ยินว่า พวกท่านแกงไก่เหล่านี้แล้ว จงส่งไปสู่

สำนักพระศาสดา." หญิงเหล่านั้นกล่าวรับรองว่า " นำมาเถิด นาย

ชื่อร่าการแกงไก่ตายนี้เป็นกิจของพวกเรา" ดังนี้แล้ว ก็รับไว้. คนใช้

นั้นมาสู่สำนักของพระราชา อันพระราชาตรัสถามว่า "เป็นอย่างไร ?

พ่อ" จึงกราบทูลว่า " เมื่อข้าพระองค์เพียงกล่าวว่า ' พวกท่าน จง

แกงส่งไปถวายพระสมณโคดม ' เท่านั้น, หญิงเหล่านั้น ก็สวนทางมา

รับเอาแล้ว." พระนางมาคันทิยา กราบทูลว่า " ข้าแต่มหาราช จงดูเถิด,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 289

หญิงเหล่านั้น หาทำให้แก่บุคคลเช่นพระองค์ไม่; เมื่อหม่อมฉันทูลว่า

' หญิงเหล่านั้นมีความปรารถนาในภายนอก,' พระองค์ก็ไม่ทรงเชื่อ."

พระราชาแม้ทรงสดับคำนั้น ก็ได้ทรงอดกลั้นนิ่งไว้เช่นเดิม. พระนาง

มาคันทิยาคิดว่า " เราจะทำอย่างไรหนอแล ?"

พระนางมาคันทิยาหาความด้วยเรื่องงู

ก็ในกาลนั้น พระราชา ย่อมทรงยับยั้งอยู่ตลอด ๗ วัน ตามวาระ

กัน ณ พื้นปราสาทแห่งหญิงทั้งสามนั้น คือ พระนางสามาวดี พระนาง

วาสุลทัตตาและพระนางมาคันทิยา. ลำดับนั้น พระนางมาคันทิยารู้ว่า

" พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้ พระราชาจักเสด็จไปสู่พื้นปราสาทของพระนาง

สามาวดี" จึงส่งข่าวไปแก่อาว่า " โปรดทราบว่า ฉันมีความต้องการ

ด้วยงู, ขออาจงถอนเขี้ยวงูทั้งหลายแล้วส่งงูไปตัวหนึ่ง." นายมาคันทิยะ

กระทำอย่างนั้นแล้ว ส่งไป. พระราชาทรงถือเอาพิณหัสดีกันต์เที่ยว

เสด็จไปสู่ที่เป็นที่เสด็จไปของพระองค์. ในรางพิณนั้นมีช่อง ๆ หนึ่ง.

พระนางมาคันทิยา ปล่อยงูเข้าไปทางช่องนั้น แล้วปิดช่องเสียงด้วยกลุ่ม

ดอกไม้. งูได้อยู่ในภายในพิณนั้นเองตลอด ๒-๓ วัน. ในวันเสด็จไป

แห่งพระราชา พระนางมาคันทิยา ทูลถามว่า "ข้าแต่สมมติเทพ วันนี้

พระองค์จักเสด็จไปสู่ปราสาทของมเหสีคนไหน ?" เมื่อตรัสตอบว่า

" ของนางสามาวดี,. จึงกราบทูลว่า "ข้าแต่มหาราช วันนี้ หม่อมฉัน

เห็นสุบินไม่เป็นที่พอใจ, ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์ไม่อาจเสด็จไปใน

ที่นั้นได้ พระเจ้าข้า. " พระราชา ตรัสว่า " เราจักไปให้ได้." พระนาง

ห้ามไว้ถึง ๓ ครั้ง แล้วทูลว่า "เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้หม่อนฉันจักไปกับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 290

พระองค์ด้วย," แม้พระราชาให้กลับอยู่ก็ไม่กลับ กราบทูลว่า "หม่อม

ฉันไม่ทราบว่า ' จักมีเหตุอะไร ? พระเจ้าข้า" ดังนั้นแล้ว ก็ได้ไปกับ

พระราชาจนได้. พระราชาทรงผ้า ดอกไม้ ของหอม และเครื่อง

อาภรณ์ ซึ่งหมู่หญิงรวมด้วยพระนางสามาวดีถวาย เสวยโภชนะอันดี

วางพิณไว้เบื้องบนพระเศียร แล้วบรรทมบนที่บรรทม. พระนาง

มาคันทิยาทำเป็นเดินไปมา ได้นำกลุ่มดอกไม้ออกจากช่องพิณ. งู

อดอาหารถึง ๒-๓ วัน เลื้อยออกมาจากช่องนั้นพ่น (พิษ) แผ่พังพาน

นอนบนแท่นที่บรรทมแล้ว. พระนางมาคันทิยาเห็นงูนั้น ก็ร้องแหว

ขึ้นว่า " งู พระเจ้าข้า" เมื่อจะด่าพระราชาและหญิงเหล่านั้น จึง

กล่าวว่า " พระเจ้าแผ่นดินโง่องค์นี้ไม่มีวาสนา ไม่ฟังคำพูดของเรา

แม้อีหญิงเหล่านี้ก็เป็นคนไม่มีสิริหัวดื้อ, พวกมันไม่ได้อะไรจากสำนัก

ของพระเจ้าแผ่นดินหรือ ? พวกเจ้า เมื่อพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นี้

พอสวรรคตแล้ว จักเป็นอยู่สบายหรือหนอ ? เมื่อพระเจ้าแผ่นดินยัง

ทรงพระชนม์อยู่ พวกเจ้าเป็นอยู่ลำบากหรือ ? วันนี้เราเห็นการฝันร้าย

แล้ว, พระองค์เอ๋ย พระองค์ไม่ทรงฟังเสียงของหม่อมฉันแม้ผู้วิงวอน

อยู่ว่า ไม่ควรเสด็จไปปราสาทของพระนางสามาวดี."

พระเจ้าอุเทนลงโทษพระนางสามาวดี

พระราชาทอดพระเนตรเห็นงู ก็ทรงสะดุ้งพระหฤทัยกลัวแต่มรณะ

ได้เป็นประดุจลุกโพลงด้วยความพิโรธว่า " หญิงเหล่านี้มาทำกรรม

แม้เห็นปานนี้, ชิ ชิ เราก็ชั่วช้า ไม่เชื่อคำของนางมาคันทิยานี้ แม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 291

ผู้บอกความที่หญิงเหล่านี้เป็นคนลามก, ครั้งก่อนมันเจาะช่องไว้ในห้อง

ทั้งหลายของตนนั่งอยู่แล้ว. เมื่อเราส่งไก่ไปให้ก็ส่งคืนมาอีก, วันนี้ปล่อยงู

ไว้บนที่นอน."

ฝ่ายพระนางสามาวดี ก็ได้ให้โอวาทแก่หญิง ๕๐๐ ว่า " แม่

ทั้งหลาย ที่พึ่งอื่นของพวกเราหามีไม่, ท่านทั้งหลายจงยังเมตตาจิตอัน

สม่ำเสมอนั่นแล ให้เป็นไปในพระราชาผู้เป็นจอมแห่งนรชน ในพระเทวี

และในตน, ท่านทั้งหลายอย่าทำความโกรธต่อใคร ๆ." พระราชา

ทรงถือธนูมีสัณฐานดังงาช้าง (หรือเขาสัตว์ ) ซึ่งมีกำลัง (แห่งการ

โก่ง) ของคนพันหนึ่ง ทรงขึ้นสายแล้วพาดลูกศรอันกำซาบด้วยยาพิษ

ทำพระนางสามาวดีไว้ ณ เบื้องหน้า ให้หญิงเหล่านั้นทุกคน ยืนตาม

ลำดับกันแล้ว จึงปล่อยลูกศรไปที่พระอุระของพระนางสามาวดี. ลูกศร

นั้น หวนกลับบ่ายหน้าสู่ทางที่ตนมาเที่ยว ประดุจจะเข้าไปสู่พระหทัย

ของพระราชา ได้ตั้งอยู่แล้วด้วยเมตตานุภาพ ของพระนางสามาวดีนั้น.

พระราชาทรงพระดำริว่า " ลูกศรที่เรายิงไป ย่อมแทงทะลุไปได้แม้ซึ่ง

ศิลา, แม้ฐานะที่จะกระทบในอากาศก็ไม่มี, ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ลูกศรนี้กลับ

มุ่งหน้ามาสู่หัวใจของเรา (ทำไม?); แท้จริง แม้ลูกศรนี้ ไม่มีจิต ไม่ใช่

สัตว์ ไม่ใช่ของมีชีวิต ยังรู้จักคุณของนางสามาวดี, ตัวเรา แม้เป็น

มนุษย์ก็หารู้ (คุณ) ไม่."

พระเจ้าอุเทนประทานพรแก่พระนางสามาวดี

ท้าวเธอทิ้งธนูเสีย ทรงประคองอัญชลี นั่งกระหย่งแทบบาทมูล

ของพระนางสามาวดี ตรัสพระคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 292

"เราฟั่นเฟือน เลือนหลง, ทิศทั้งปวงย่อม

มืดตื้อแก่เรา, สามาวดีเอ๋ย เจ้าจงต้านทานเรา

ไว้, และเจ้าจงเป็นที่พึ่งของเรา."

พระนางสามาวดีสดับพระดำรัสของท้าวเธอแล้ว ก็มิได้กราบทูลว่า

" ดีแล้ว สมมติเทพ พระองค์จงถึงหย่อมฉันเป็นที่พึ่งเถิด," (แต่)

กราบทูลว่า "ข้าแต่มหาราช หม่อมฉันถึงผู้ใดว่าเป็นที่พึ่ง แม้พระองค์

ก็จงถึงผู้นั้นแล ว่าเป็นที่พึ่งเถิด."

พระนางสามาวดี ผู้เป็นสาวิกาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครั้น

กล่าวคำนี้แล้ว ก็กล่าวว่า

" พระองค์ อย่าทรงถึงหม่อมฉันเป็นที่พึ่งเลย,

หม่อมฉันถึงผู้ใดว่าเป็นที่พึ่ง, ข้าแต่มหาราช

ผู้นั้นคือพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้านั่นเป็นผู้

เยี่ยมยอด, ขอพระองค์ทรงถึงพระพุทธเจ้า

พระองค์นั้นเป็นที่พึ่งด้วย, ทรงเป็นที่พึ่งของ

หม่อมฉันด้วย."

พระราชา ทรงสดับคำของพระนางสามาวดีนั้นแล้ว จึงตรัส

" บัดนี้ เรายิ่งกลัวมากขึ้น" แล้วตรัสคาถานี้ว่า

"เรานี้เลือนหลงยิ่งขึ้น, ทิศทั้งปวงย่อมมืดตื้อ

แก่เรา, สามาวดีเอ๋ย เจ้าจงต้านทานเราไว้

และเจ้าจงเป็นที่พึ่งของเรา."

ลำดับนั้น พระนางสามาวดีนั้น ก็ทูลถามท้าวเธออีก โดยนัยก่อน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 293

นั้นแล, เมื่อท้าวเธอตรัสว่า " ถ้าเช่นนั้น เราขอถึงเจ้าและพระศาสดา

ว่าเป็นที่พึ่ง และเราจะให้พรแก่เจ้า" ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลว่า " ข้า

แต่มหาราช พรจงเป็นสิ่งอันหม่อมฉันได้รับเถิด." ท้าวเธอเสด็จเข้าไป

เฝ้าพระศาสดา ทรงถึง (พระองค์) เป็นสรณะแล้ว ทรงนิมนต์

ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์สิ้น ๗ วันแล้ว ทรงเรียกพระนางสามาวดีมา

ตรัสว่า "เจ้าจงลุกขึ้นรับพร." พระนางสามาวดีกราบทูลว่า "ข้าแต่

มหาราช หม่อมฉันไม่มีความต้องการด้วยสิ่งทั้งหลายมีเงินเป็นต้น, แต่

ขอพระองค์จงพระราชทานพรนี้แก่หม่อมฉัน : (คือ) พระศาสดาพร้อม

ทั้งภิกษุ ๕๐๐ รูป จะเสด็จมา ณ ที่นี้เนืองนิตย์ได้โดยประการใด, ขอ

พระองค์ทรงกระทำโดยประการนั้นเถิด, หม่อมฉันจักฟังธรรม." พระ-

ราชาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระองค์จงเสด็จมาในที่นี้เนืองนิตย์พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป, เหล่าหญิง

ซึ่งธรรมทั้งพระนางสามาวดีเข้าด้วย กล่าวว่า ' หม่อมฉันจักฟังธรรม."

พระศาสดา. มหาบพิตร ธรรมดาการไปในที่เดียวเนืองนิตย์ย่อม

ไม่ควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เพราะมหาชนหวังเฉพาะ (พระพุทธ-

เจ้า ) อยู่.

พระราชา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น ขอพระองค์ทรง

สั่งภิกษุไว้รูปหนึ่งเถิด.

พระศาสดาทรงสั่งพระอานนทเถระแล้ว. จำเดิมแต่นั้น พระ-

อานนทเถระนั้นก็พาภิกษุ ๕๐๐ รูปไปสู่ราชสกุลเนืองนิตย์; พระเทวีแม้

เหล่านั้น เลี้ยงพระเถระพร้อมทั้งบริวาร ฟังธรรมอยู่เนืองนิตย์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 294

พระราชาทรงถวายจีวรแก่พระอานนท์

วันหนึ่ง หญิงเหล่านั้น ฟังธรรมกถาของพระเถระแล้ว เลื่อมใส

ได้กระทำการบูชาธรรมด้วยผ้าอุตราสงค์ ๕๐๐ ผืน. อุตราสงค์ผืน

หนึ่ง ๆ ย่อมมีค่าถึง ๕๐๐. พระราชาไม่ทรงเห็นผ้าสักผืนหนึ่งของหญิง

เหล่านั้น จึงตรัสถามว่า " ผ้าอุตราสงค์อยู่ที่ไหน ?"

พวกหญิง. พวกหม่อมฉันถวายแล้วแด่พระผู้เป็นเจ้า.

พระราชา. พระผู้เป็นเจ้านั้น รับทั้งหมดหรือ ?

พวกหญิง. เพคะ รับ (ทั้งหมด).

พระราชาเสด็จเข้าไปหาพระเถระแล้ว ตรัสถามความที่หญิงเหล่านั้น

ถวายผ้าอุตราสงค์ ทรงสดับความที่ผ้าอันหญิงเหล่านั้นถวายแล้ว และ

ความที่พระเถระรับไว้แล้ว จึงตรัสถามว่า "ท่านผู้เจริญ ผ้าทั้งหลาย

มากเกินไปมิใช่หรือ ? ท่านจักทำอะไรด้วยผ้ามีประมาณเท่านี้ ?"

พระเถระ. มหาบพิตร อาตมภาพรับผ้าไว้พอแก่อาตมภาพแล้ว จัก

ถวายผ้าที่เหลือแก่ภิกษุทั้งหลายผู้มีจีวรเก่า.

พระราชา. ภิกษุทั้งหลาย จักทำจีวรเก่าของตนให้เป็นอะไร ?

พระเถระ. เธอจักให้แก่ภิกษุผู้มีจีวรเก่ากว่าทั้งหลาย.

พระราชา. ภิกษุเหล่านั้นจักทำจีวรเก่าของตนให้เป็นอะไร ?

พระเถระ. เธอจักทำให้เป็นผ้าปูนอน.

พระราชา. เธอจักทำผ้าปูนอนเก่าให้เป็นอะไร ?

พระเถระ. เธอจักทำให้เป็นผ้าปูพื้น.

พระราชา. เธอจักทำผ้าปูพื้นเก่าให้เป็นอะไร ?

พระเถระ. ขอถวายพระพร เธอจักทำให้เป็นผ้าเช็ดเท้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 295

พระราชา. เธอจักทำผ้าเช็ดเท้าเก่าให้เป็นอะไร ?

พระเถระ. เธอจักโขลกให้ละเอียดแล้ว ผสมด้วยดินเหนียวฉาบฝา.

พระราชา. ท่านผู้เจริญ ผ้าทั้งหลายที่ถวายแด่พวกพระผู้เป็นเจ้า

จักไม่เสียหาย แม้เพราะทำกรรมมีประมาณเท่านั้นหรือ ?

พระเถระ. อย่างนั้น มหาบพิตร.

พระราชาทรงเลื่อมใสแล้ว รับสั่งให้นำผ้า ๕๐๐ อื่นอีกมากให้ตั้ง

ไว้แทบบาทมูลของพระเถระแล้ว.

ได้ยินว่า พระเถระได้ผ้ามีค่าถึง ๕๐๐ ซึ่งพระราชาทรงวางไว้

แทบบาทมูลถวายโดยส่วน ๕๐๐ ถึง ๕๐๐ ครั้ง, ได้ผ้ามีค่าถึงพันหนึ่ง

ซึ่งพระราชาทรงวางไว้แทบบาทมูลถวายโดยส่วนพันหนึ่ง ถึงพันครั้ง,

ได้ผ้ามีค่าถึงแสนหนึ่ง ซึ่งพระราชาทรงวางไว้แทบบาทมูลถวายโดยส่วน

แสนหนึ่ง ถึงแสนครั้ง. ก็ชื่อว่าการนับผ้าที่พระเถระได้แล้วโดยนัย

เป็นต้นว่า ๑-๒-๓-๔-๕-๑๐ ดังนี้ ย่อมไม่มี: ได้ยินว่า เมื่อพระ-

ตถาคตปรนิพพานแล้ว, พระเถระเที่ยวไปทั่วชมพูทวีป ได้ถวายบาตร

และจีวรทั้งหลาย ซึ่งเป็นของ ๆ ตนนั่นแล แก่ภิกษุทั้งหลายในวิหาร

ทั้งปวงแล้ว.

พระนางสามาวดีถูกไฟคลอก

พระนางมาคันทิยาคิดว่า "เราทำสิ่งใด, สิ่งนั้นมิได้เป็นอย่าง

นั้น กลับเป็นอย่างอื่นไป; เราจักทำอย่างไรหนอแล ?" ดังนี้แล้วคิดว่า

" อุบายนี้ ใช้ได้" เมื่อพระราชาเสด็จไปสู่ที่ทรงกีฬาในพระราชอุทยาน

๑. ขณฺฑาขณฺฑิก แปลว่า ให้เป็นท่อนและหาท่อนมิได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 296

จึงส่งข่าวไปแก่อาว่า "ขออาจงไปปราสาทของนางสามาวดี ให้เปิด

เรือนคลังผ้าและเรือนคลังน้ำมันแล้ว ชุบผ้าในตุ่มน้ำมันแล้วพันเสา ทำ

หญิงทั้งหมดเหล่านั้นไว้โดยความเป็นอันเดียวกัน ปิดประตู ลั่นยนต์ใน

ภายนอก เอาคบไฟมีด้ามจุดไฟตำหนัก ลงแล้วจงไปเสีย." นายมาคัน-

ทิยะนั้นขึ้นสู่ปราสาท ให้เปิดเรือนคลังทั้งหลาย ชุบผ้าในตุ่มน้ำมันแล้ว

เริ่มพันเสา.

ลำดับนั้น หญิงทั้งหลายมีพระนางสามาวดีเป็นประมุข กล่าวกะ

นายมาคันทิยะอยู่ว่า "นี่อะไรกัน ? อา" เข้าไปหาแล้ว. นายมาคันทิยะ

กล่าวอย่างนี้ว่า " แม่ทั้งหลาย พระราชารับสั่งให้พันเสาเหล่านี้ด้วยผ้า

ชุบน้ำมัน เพื่อประโยชน์แก่การทำให้มั่นคง ธรรมดาในพระราชวัง

กรรมที่ประกอบดีและชั่ว เป็นของรู้ได้ยาก, อย่าอยู่ในที่ใกล้เราเลย แม่

ทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว ให้หญิงเหล่านั้นผู้มาแล้วเข้าไปในห้อง ปิดประตู

แล้ว ลั่นยนต์ในภายนอก จุดไฟ จำเดิมแต่ต้น ลงมาแล้ว.

พระนางสามาวดีได้ให้โอวาทแก่หญิงเหล่านั้นว่า " การกำหนด

อัตภาพ ซึ่งถูกไฟเผาอย่างนี้ของพวกเราผู้ท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร อันมี

ส่วนสุดไม่ปรากฏแล้ว แม้พุทธญาณก็ไม่ทำได้โดยง่าย, ท่านทั้งหลาย

จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด." หญิงเหล่านั้นเมื่อตำหนักถูกไฟไหม้อยู่, มนสิการ

ซึ่งเวทนาปริคคหกัมมัฏฐาน, บางพวกบรรลุผลที่ ๒, บางพวกบรรลุผล

ที่ ๓.

เพราะฉะนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า "ครั้งนั้นแล

ภิกษุเป็นอันมาก กลับจากบิณฑบาตในภายหลังแห่งภัต (หลังจาก

๑. กัมมัฏฐาน มีอันกำหนดเวทนาเป็นอารมณ์. ๒. ขุ. อุ. ๒๕/ ข้อ ๑๕๗ อุเทนสูตร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 297

ฉันข้าว), พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่โดยที่ใด เข้าไปเฝ้าโดยที่นั้น;

ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งแล้ว ณ ส่วนข้าง

หนึ่ง; ภิกษุเหล่านั้น ผู้นั่งแล้ว ณ ส่วนข้างหนึ่งแล ได้กราบทูลคำนี้

กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส

ภายในบุรีของพระเจ้าอุเทน ผู้เสด็จไปสู่พระราชอุทยานถูกไฟไหม้แล้ว,

หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุขทำกาละแล้ว, ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ คติของอุบาสิกาเหล่านั้นเป็นอย่างไร ? สัมปรายภพเฉพาะหน้า

เป็นอย่างไร ?" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ในอุบาสิกา

เหล่านี้ อุบาสิกาที่เป็นโสดาบันก็มี, เป็นสกทาคามีก็มี, เป็นอนาคา-

มีก็มี, อุบาสิกาทั้งหมดนั้นไม่เป็นผู้ไร้ผลทำกาละดอก ภิกษุทั้งหลาย."

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว

ทรงเปล่งพระอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า

"โลกมีโมหะเป็นเครื่องผูกพัน ย่อมปรากฏ

ดุจรูปอันสมควร, คนพาลมีอุปธิกิเลสเป็นเครื่อง

ผูกไว้ ถูกความมืดแวดล้อมแล้ว จึงปรากฏดุจมี

ความเที่ยง, ความกังวลย่อมไม่มีแก่ผู้เห็นอยู่."

ก็แลครั้นตรัสอย่างนั้นแล้ว ทรงแสดงธรรมว่า " ภิกษุทั้งหลาย

ธรรมดาสัตว์ทั้งหลาย เที่ยวไปในวัฏฏะ เป็นผู้ไม่ประมาทตลอดกาลเป็น

นิตย์กระทำบุญกรรมก็มี, เป็นผู้มีความประมาทกระทำบาปกรรมก็มี, เหตุ

นั้น สัตว์ผู้เที่ยวไปในวัฏฏะ จึงเสวยสุขบ้างทุกข์บ้าง."

๑. ขุ. อุ. ๒๕/ ข้อ ๑๕๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 298

พระเจ้าอุเทนลงโทษพระนางมาคันทิยากับพวก

พระราชา ทรงสดับว่า " ข่าวว่า ตำหนักของพระนางสามาวดี

ถูกไฟไหม้," แม้เสด็จมาโดยเร็ว ก็ไม่ได้อาจเพื่อจะทันถึงตำหนักอันไฟ

ยังไม่ไหม้ได้, ก็แลครั้นเสด็จมาแล้ว ทรงยังตำหนักให้ดับแล้ว ทรงเกิด

โทมนัสมีกำลัง แวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ประทับนั่งอนุสรณ์ถึงพระคุณ

ของพระนางสามาวดี ทรงพระดำริว่า "นี้เป็นการกระทำของใครหนอ ?"

ดังนี้แล้ว ทรงทราบว่า " กรรมนี้ จักเป็นกรรมอันนางมาคันทิยาให้

ทำแล้ว," ทรงพระดำริว่า " นางมาคันทิยานั้น อันเราทำให้หวาดกลัว

แล้วถาม ก็จักไม่บอก, เราจักค่อย ๆ ถามโดยอุบาย." จึงตรัสกะ

อำมาตย์ทั้งหลายว่า " ผู้เจริญทั้งหลาย ในกาลก่อนแต่กาลนี้ เราลุกขึ้น

เสร็จสรรพแล้ว ก็เป็นผู้ระแวงสงสัยอยู่รอบข้างทีเดียว, นางสามาวดี

แสวงหาแต่โทษเราเป็นนิตย์, นางก็ตายไปแล้ว; ก็บัดนี้ เราจักเย็นใจ

ได้ละ, เราจักได้อยู่โดยความสุข." พวกอำมาตย์ทูลว่า "ข้าแต่สมมติ-

เทพ กรรมนี้อันใครหนอแลทำแล้ว ?" พระราชาตรัสตอบว่า " จัก

เป็นกรรม อันใคร ๆ ทำแล้วด้วยความรักในเรา." พระนางมาคันทิยา

ทรงยืนเฝ้าอยู่ในที่ใกล้ ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว จึงกราบทูลว่า "ใคร ๆ

คนอื่นจักไม่อาจทำได้, พระเจ้าข้า กรรมนี้อันหม่อมฉันทำแล้ว, หม่อมฉัน

สั่งอาให้ทำ." พระราชาตรัสว่า " ชื่อว่าสัตว์ผู้มีความรักในเราอื่น ยกไว้

เสียแต่เจ้า ย่อมไม่มี, เราพอใจ, พระเทวี เราจะให้พรแก่เจ้า, เจ้าจง

ให้เรียกหมู่ญาติของตนมา." นางส่งข่าวไปแก่พวกญาติว่า "พระราชา

ทรงพอพระหฤทัย จะพระราชทานพรแก่เรา, จงมาเร็ว ."

พระราชารับสั่งให้ทำสักการะใหญ่ แก่ญาติทั้งหลายของพระนาง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 299

มาคันทิยา ซึ่งมาแล้ว ๆ แม้พวกคนผู้มิใช่ญาติของพระนางมาคันทิยา

เห็นสักการะนั้นแล้ว ก็ให้สินจ้าง กล่าวว่า " พวกเราเป็นญาติของ

พระนางมาคันทิยา" พากันมาแล้ว. พระราชารับสั่งให้จับคนเหล่านั้น

ทั้งหมดไว้ แล้วให้ขุดหลุมทั้งหลายประมาณแค่สะดือ ที่พระลานหลวง

แล้ว ให้คนเหล่านั้นนั่งลงในหลุมเหล่านั้นเอาดินร่วนกลบ ให้เกลี่ยฟาง

ไว้เบื้องบน แล้วจุดไฟ, ในเวลาที่หนังถูกไฟไหม้แล้ว, รับสั่งให้ไถ

ด้วยไถเหล็กทั้งหลาย ให้ทำให้เป็นท่อนและหาท่อนมิได้ (หรือ) เป็น

ชิ้นและหาชิ้นมิได้. พระราชารับสั่งให้เชือดเนื้อ แม้จากสรีระของพระ-

นางมาคันทิยา ตรงที่มีเนื้อล่ำ ๆ ด้วยมีดอันคมกริบแล้ว ให้ยกขึ้นสู่

เตาไฟอันเดือดด้วยน้ำมัน ให้ทอดดุจขนมแล้ว ให้เคี้ยวกินเนื้อนั้นแล.

ความตายของพระนางสามาวดีควรแก่กรรมในปางก่อน

ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า " ความ

ตายเช่นนี้ ของอุบาสิกาผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธาเห็นปานนี้ ไม่สมควรเลย

หนอ ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย."

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย

นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อพวกภิกษุนั้นกราบทูลว่า "ด้วย

เรื่องชื่อนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ความตายนั่นของหญิง

ทั้งหลาย มีพระนางสามาวดีเป็นประมุข ไม่ควรแล้วในอัตภาพนี้ แต่ว่า

ความตายอันหญิงเหล่านั้นได้แล้ว สมควรแท้แก่กรรมซึ่งเขาทำไว้ใน

กาลก่อน," อันภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนาว่า " กรรมอะไร อันหญิง

๑. ยังกถาให้ตั้งขึ้นในโรงธรรม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 300

เหล่านั้นทำไว้ในกาลก่อน พระเจ้าข้า ? ขอพระองค์จงตรัสบอกแก่

ข้าพระองค์ทั้งหลาย" ดังนี้แล้ว จึงทรงนำอดีตนิทานมา (เล่าว่า)

บุรพกรรมของพระนางสามาวดีกับบริวาร

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติอยู่ในกรุง

พาราณสี พระปัจเจกพุทธเจ้า ๘ องค์ ฉันอยู่ในพระราชวังเนืองนิตย์.

หญิง ๕๐๐ คน ย่อมบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น. ในท่านเหล่านั้น

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๗ องค์ไปสู่หิมวันตประเทศ อีกองค์หนึ่ง นั่งเข้า

ฌานอยู่ในที่รกด้วยหญ้าแห่งหนึ่งริมแม่น้ำ. ต่อมาวันหนึ่ง เมื่อพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายไปแล้ว, พระราชาทรงพาหญิงเหล่านั้นไป เพื่อ

ทรงเล่นน้ำในแม่น้ำ. ณ สถานที่นั้น หญิงเหล่านั้นเล่นน้ำตลอดส่วน

แห่งวัน ขึ้นแล้ว ถูกความหนาวบีบคั้นเทียวใคร่จะผิงไฟ กล่าวกันว่า

"ท่านทั้งหลาย พึงหาดูที่ก่อไฟของพวกเรา," เที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่

เห็นที่รกด้วยหญ้า (ชัฏหญ้า ) นั้น จึงยืนล้อมก่อไฟแล้ว ด้วยสำคัญว่า

" กองหญ้า" เมื่อหญ้าทั้งหลายไหม้แล้วก็ยุบลง, หญิงเหล่านั้นแลเห็น

พระปัจเจกพุทธเจ้า จึงกล่าวกันว่า " พวกเรา ฉิบหายแล้ว ! พวกเรา

ฉิบหายแล้ว ! พระปัจเจกพุทธเจ้าของพระราชาถูกไฟคลอก, พระราชา

ทรงทราบจักทำพวกเราให้ฉิบหาย, เราจักทำท่านให้ไหม้ทั้งหมด," ทุกคน

นำฟืนมาจากที่โน้นที่นี้ ทำให้เป็นกองในเบื้องบนแห่งพระปัจเจกพุทธ-

เจ้านั้น กองฟืนใหญ่ได้มีแล้ว. ลำดับนั้น หญิงเหล่านั้นสุมฟืนนั้น

แล้วหลีกไป ด้วยสำคัญว่า "บัดนี้ จักไหม้ละ." ครั้งก่อน พวกเขา

เป็นผู้ไม่มีความจงใจ ก็ถูกกรรมติดตามแล้วในบัดนี้. ก็คนทั้งหลายแม้

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 301

นำฟืน ๑,๐๐๐ เล่มเกวียนมาสุมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะทำพระปัจเจกพุทธเจ้า

ภายในสมาบัติ แม้ให้มีอาการสักว่าอุ่นได้. เพราะฉะนั้น พระปัจเจก-

พุทธเจ้านั้น ในวันที่ ๗ จึงได้ลุกขึ้นไปตามสบายแล้ว. หญิงเหล่านั้น

ไหม้ในนรกสิ้นหลายพันปี เพราะความที่กรรมนั้นอันทำไว้แล้ว ไหม้แล้ว

ในเรือนที่ถูกไฟไหม้อยู่ โดยทำนองนี้แล สิ้น ๑๐๐ อัตภาพ ด้วยวิบาก

อันเหลือลงแห่งกรรมนั้นแล. นี้เป็นบุรพกรรมของหญิงเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้.

บุรพกรรมของนางขุชชุตตรา

เมื่อพระศาสดาตรัสอย่างนั้นแล้ว ภิกษุทั้งหลาย จึงทูลถามพระ-

ศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็นางขุชชุตตราเล่า เพราะกรรม

อะไร ? จึงเป็นหญิงค่อม, เพราะกรรมอะไร ? จึงเป็นผู้มีปัญญามาก,

เพราะกรรมอะไร ? จึงบรรลุโสดาปัตติผล, เพราะกรรมอะไร จึงเป็น

คนรับใช้ของคนเหล่าอื่น." พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ใน

กาลที่พระราชาองค์นั้นแล ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี พระปัจเจก-

พุทธเจ้าองค์นั้นเหมือนกัน ได้เป็นผู้มีธาตุแห่งคนค่อมหน่อยหนึ่ง. ลำดับ

นั้น หญิงผู้อุปัฏฐายิกาคนหนึ่งห่มผ้ากัมพลถือขันทองคำทำเป็นคนค่อม

พุทธเจ้าของพวกเราย่อมเที่ยวไปอย่างนี้และอย่างนี้." เพราะผลอันไหล

ออกแห่งกรรมนั้นนางจึงเป็นหญิงค่อม.

อนึ่ง ในวันแรก พระราชาทรงนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า

เหล่านั้น ให้นั่งในพระราชมณเฑียรแล้วให้ราชบุรุษรับบาตร บรรจุบาตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 302

ให้เต็มด้วยข้าวปายาสแล้วรับสั่งให้ถวาย. พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

ถือบาตรอันเต็มด้วยข้าวปายาสร้อน ต้องผลัดเปลี่ยน (มือ) บ่อย ๆ.

หญิงนั้น เห็นท่านทำอยู่อย่างนั้น ก็ถวายวลัยงา ๘ วลัย ซึ่งเป็น

ของของตน กล่าวว่า " ท่านจงวางไว้บนวลัยนี้แล้วถือเอา." พระปัจเจก-

พุทธเจ้าเหล่านั้น ทำอย่างนั้นแล้ว. แลดูหญิงนั้น. นางทราบความ

ประสงค์ของท่านทั้งหลาย จึงกล่าวว่า " ท่านเจ้าข้า ดิฉันหามีความต้อง

การวลัยเหล่านี้ไม่, ดิฉันบริจาควลัยเหล่านั้นแล้วแก่ท่านทั้งหลายนั่นแล,

ขอท่านจงรับไป." พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับแล้วได้ไปยังเงื้อมเขาชื่อ

นันทมูลกะ. แม้ทุกวันนี้ วลัยเหล่านั้นก็ยังดี ๆ อยู่นั่นเอง. เพราะผล

อันไหลออกแห่งกรรมนั้น ในบัดนี้ นางจึงเป็นผู้ทรงพระไตรปิฏก มี

ปัญญามาก. เพราะผลอันไหลออกแห่งการอุปัฏฐาก ซึ่งนางทำแก่พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย นางจึงได้บรรลุโสดาปัตติผล. นี้เป็นบุรพกรรม

ในสมัยพุทธันดรของนาง.

ส่วนในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า ธิดาของเศรษฐีในกรุง

พาราณสีคนหนึ่ง จับแว่น นั่งแต่งตัวอยู่ในเวลามีเงาเจริญ ( เวลาบ่าย).

ลำดับนั้น นางภิกษุณีขีณาสพรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้คุ้นเคยของนางได้ไปเพื่อ

เยี่ยมนาง. จริงอยู่ นางภิกษุณี แม้เป็นพระขีณาสพก็เป็นผู้ปรารถนา

เพื่อจะเห็นตระกูลอุปัฏฐากในเวลาเย็น. ก็ในขณะนั้นหญิงรับใช้ไร ๆ ใน

สำนักของธิดาเศรษฐีไม่มีเลย. นางจึงกล่าวว่า "ดิฉันไหว้ เจ้าข้า

โปรดหยิบกระเช้าเครื่องประดับนั่น ให้แก่ดิฉันก่อน." พระเถรี คิดว่า

" ถ้าเรา จักไม่หยิบกระเช้าเครื่องประดับนี้ให้แก่นางไซร้ นางจักทำ

ความอาฆาตในเราแล้ว บังเกิดในนรก, แต่ว่า ถ้าเราจัก (หยิบ)

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 303

ให้, นางจักเกิดเป็นหญิงรับใช้ของคนอื่น; แต่ว่า เพียงความเป็นผู้รับ

ใช้ของคนอื่น ย่อมดีกว่าความเร่าร้อนในนรกแล." พระเถรีนั้นอาศัย

ความเอ็นดู จึงได้หยิบกระเช้าเครื่องประดับนั้นให้แก่นาง. เพราะผลอัน

ไหลออกแห่งกรรมนั้น นางจึงเป็นคนรับใช้ของคนเหล่าอื่น.

พระศาสดาเสด็จมาแสดงธรรมที่ธรรมสภา

รุ่งขึ้นวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า หญิง ๕๐๐

มีพระนางสามาวดีเป็นประมุข ถูกไฟไหม้แล้วในตำหนัก, พวกญาติของ

พระนางมาคันทิยา ถูกจุดไฟอันมีฟางเป็นเชื้อไว้เบื้องบนแล้วทำลายด้วย

ไถเหล็ก, พระนางมาคันทิยา ถูกทอดด้วยน้ำมันอันเดือดพล่าน, ในคน

เหล่านั้น ใครหนอแล ? ชื่อว่าเป็นอยู่, ใคร่ ? ชื่อว่าตายแล้ว."

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย

นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? เมื่อพวกภิกษุนั้นกราบทูลว่า " ด้วย

เรื่องชื่อนี้ " ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย คนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ประมาทแล้ว, คนเหล่านั้น แม้เป็นอยู่ตั้ง ๑๐๐ ปี ก็ชื่อว่าตายแล้วโดยแท้;

คนเหล่าใด ไม่ประมาทแล้ว, คนเหล่านั้น แม้ตายแล้ว ก็ชื่อว่ายังคง

เป็นอยู่; เพราะฉะนั้น พระนางมาคันทิยา จะเป็นอยู่ก็ตาม ตายแล้วก็ตาม

ก็ชื่อว่าตายแล้วทีเดียว หญิง ๕๐๐ มีพระนางสามาวดีเป็นประมุข แม้

ตายแล้ว ก็ชื่อว่าเป็นอยู่นั่นเทียว; ภิกษุทั้งหลาย เพราะว่าผู้ไม่ประมาท

ตายแล้ว ชื่อว่าย่อมไม่ตาย; ดังนี้แล้ว ได้ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า

๒. อปฺปมาโท อมต ปท ปมาโท มจฺจุโน ปท

อปฺปมตฺตา น มียนฺติ เย ปมตฺตา ยถา มตา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 304

เอต วิเสสโต ตฺวา อปฺปมาทมฺหิ ปณฺฑิตา

อปฺปมาเท ปโมทนฺตื อริยาน โคจเร รตา

เต ฌายิโน สาตติถา นิจฺจ ทฬฺหปรกฺกมา

ผุสนฺติ ธีรา นิพฺพาน โยคกฺเขม อนุตฺตร

"ความไม่ประมาทเป็นเครื่องถึงอมตะ ความ

ประมาทเป็นทางแห่งมัจจุ ผู้ไม่ประมาทแล้ว

ชื่อว่าย่อมไม่ตาย: ผู้ใดประมาทแล้ว ผู้นั้นย่อม

เป็นเหมือนคนตายแล้ว; บัณฑิตรู้ความนั่นโดย

แปลกกันแล้ว (ตั้งอยู่ ) ในความไม่ประมาท

บันเทิงอยู่ในความไม่ประมาท: ยินดีในธรรม

เป็นที่โคจรของพระอริยะทั้งหลาย, บัณฑิตผู้ไม่

ประมาทเหล่านั้น มีความเพ่ง มีความเพียรเป็น

ไปติดต่อ. บากบั่นมั่นเป็นนิตย์ เป็นนักปราชญ์

ย่อมถูกต้องพระนิพพาน อันเป็นแดนเกษมจาก

โยคะอันยอดเยี่ยม."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาโท ย่อมแสดงเนื้อความกว้าง

คือ ถือเอาเนื้อความกว้างตั้งอยู่. จริงอยู่ พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก

แม้ทั้งสิ้น ซึ่งอาจารย์ทั้งหลายนำมากล่าวอยู่ ย่อมหยั่งลงสู่ความไม่ประมาท

นั่นเอง, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสไว้ว่า "ภิกษุทั้งหลาย

๑. อมต ปท แปลว่า เป็นทางแห่งอมตะ ก็ได้ เป็นทางไม่ตาย ก็ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 305

รอยเท้าเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ของสัตว์ทั้งหลายผู้สัญจรไปบนแผ่นดิน, รอย

เท้าทั้งปวงนั้น ย่อมถึงความประชุมลงในรอยเท้าช้าง, รอยเท้าช้าง อัน

ชาวโลกย่อมเรียกว่าเป็นยอดแห่งรอยเท้าเหล่านั้น. เพราะรอยเท้าช้างนี้

เป็นของใหญ่ แม้ฉันใด, ภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง,

กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด มีความไม่ประมาทเป็นรากเหง้า มีความไม่

ประมาทเป็นที่ประชุมลง, ความไม่ประมาท อันเรากล่าวว่า เป็นยอด

แห่งธรรมเหล่านั้น ฉันนั้น เหมือนกันแล."

ก็ความไม่ประมาทนั้นนั่น โดยอรรถ ชื่อว่า ความไม่อยู่ปราศจาก

สติ, เพราะคำว่า " ความไม่ประมาท" นั่น เป็นชื่อของสิอันตั้งมั่น

เป็นนิตย์.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อมต ปท, พระนิพพาน พระผู้มี-

พระภาคตรัสเรียกว่า อมตะ, เพราะพระนิพพานนั้น ชื่อว่าไม่แก่ไม่ตาย

เพราะความเป็นธรรมชาติไม่เกิด, เหตุนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกพระ-

นิพพานว่า อมตะ, สัตว์ทั้งหลายย่อมถึง อธิบายว่า ย่อมบรรลุอมตะ

ด้วยความไม่ประมาทนี้ เหตุนั้น ความไม่ประมาทนี้จึงชื่อว่า เป็นเครื่อง

ถึง; (ความไม่ประมาท) ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า " เป็นอุบายเครื่อง

บรรลุซึ่งอมตะ" จึงชื่อว่า อมต ปท.

ภาวะคือความมัวเมา ชื่อว่า ความประมาท. คำว่า ความ

ประมาทนั่น เป็นชื่อของการปล่อยสติ กล่าวคือ ความมีสติหลงลืม.

บทว่า มจฺจุโน แปลว่า แห่งความตาย. บทว่า ปท คือ

เป็นอุบาย ได้แก่เป็นหนทาง. จริงอยู่ ชนผู้ประมาทแล้ว ย่อมไม่

๑. ส. มหาวาร. ๑๙/๖๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 306

เป็นไปล่วงซึ่งชาติได้, แม้เกิดแล้ว ก็ย่อมแก่ด้วย ย่อมตายด้วย เหตุนั้น

ความประมาท จึงชื่อว่าเป็นทางแห่งมัจจุ คือย่อมนำเข้าหาความตาย.

บาทพระคาถาว่า อปฺปมตฺตา น มียนฺติ ความว่า ก็ผู้ประกอบ

ด้วยสติ ชื่อว่า ผู้ไม่ประมาทแล้ว. ใคร ๆ ไม่พึงกำหนดว่า "ผู้ไม่

ประมาทแล้วย่อมไม่ตาย คือเป็นผู้ไม่แก่และไม่ตาย" ดังนี้, เพราะว่า

สัตว์ไร ๆ ชื่อว่าไม่แก่และไม่ตาย ย่อมไม่มี, แต่ชื่อว่าวัฏฏะของสัตว์

ผู้ประมาทแล้ว กำหนดไม่ได้; (วัฏฏะ) ของผู้ไม่ประมาทกำหนดได้;

เหตุนั้น สัตว์ผู้ประมาทแล้ว แม้เป็นอยู่ ก็ชื่อว่าตายแล้วโดยแท้ เพราะ

ความเป็นผู้ไม่พ้นจากทุกข์ มีชาติเป็นต้นได้, ส่วนผู้ไม่ประมาท เจริญ

อัปปมาทลักษณะแล้ว ทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลโดยฉับพลัน ย่อมไม่

เกิดในอัตภาพที่ ๒ และที่ ๓; เหตุนั้นสัตว์ผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น เป็น

อยู่ก็ตาม ตายแล้วก็ตาม ชื่อว่าย่อมไม่ตายโดยแท้.

บาทพระคาถาว่า เย ปมตฺตา ยถา มตา ความว่า ส่วนสัตว์

เหล่าใดประมาทแล้ว, สัตว์เหล่านั้น ย่อมเป็นเหมือนสัตว์ที่ตายแล้ว

ด้วยการขาดชีวิตินทรีย์ มีวิญญาณไปปราศแล้วเช่นกับท่อนฟืนฉะนั้นเทียว

เพราะความที่ตนตายแล้วด้วยความตาย คือ ความประมาท; จริงอยู่

แม้จิตดวงหนึ่งว่า " เราจักถวายทาน, เราจักรักษาศีล เราจักทำอุโบสถ

กรรม" ดังนี้ ย่อมไม่เกิดขึ้น แม้แก่เขาทั้งหลายผู้เป็นคฤหัสถ์ก่อน,

จิตดวงหนึ่งว่า "เราจักบำเพ็ญวัตรทั้งหลาย มีอาจริยวัตรและอุปัชฌาย-

วัตรเป็นต้น, เราจักสมาทานธุดงค์, เราจักเจริญภาวนา" ดังนี้ ย่อม

ไม่เกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น แม้ผู้เป็นบรรพชิต ดังจิตดวงหนึ่งไม่เกิดขึ้น

แก่สัตว์ที่ตายแล้วฉะนั้น, สัตว์ผู้ประมาทแล้วนั้น จะเป็นผู้มีอะไรเป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 307

เครื่องกระทำให้ต่างจากสัตว์ผู้ตายแล้วเล่า ? เพราะฉะนั้น ย่อมเป็นเหมือน

คนตายแล้ว."

บาทพระคาถาว่า เอต วิเสสโต ตฺวา ความว่า รู้ความนั้น

โดยแปลกกันว่า " การแล่นออกจากวัฏฏะของผู้ประมาทแล้วย่อมไม่มี,

ของผู้ไม่ประมาทแล้ว มีอยู่."

มีปุจฉาว่า "ก็ใครเล่า ย่อมรู้ความแปลกกันนั่น ?"

มีวิสัชนาว่า " บัณฑิตทั้งหลาย ตั้งอยู่ในความไม่ประมาทย่อมรู้."

อธิบายว่า บัณฑิต คือผู้มีเมธา ได้แก่ ผู้มีปัญญาเหล่าใด ตั้งอยู่

ในความไม่ประมาทของตนแล้ว เจริญความไม่ประมาทอยู่ บัณฑิตเหล่า

นั้น ย่อมรู้เหตุอันแปลกกันนั่น.

บาทพระคาถาว่า อปฺปมาเท ปโมทนฺติ ความว่า บัณฑิตเหล่านั้น

ครั้นรู้อย่างนี้แล้ว ย่อมบันเทิง คือ เป็นผู้มีหน้ายิ้มแย้ม ได้แก่ ยินดี

ร่าเริง ในความไม่ประมาทของตนนั้น.

บาทพระคาถาว่า อริยาน โคจเร รตา ความว่า บัณฑิตเหล่า

นั้น บันเทิงอยู่ในความไม่ประมาทอย่างนั้น เจริญความไม่ประมาทนั้น

แล้ว ย่อมเป็นผู้ยินดี คือ ยินดียิ่งในโพธิปักขิยธรรม ๓๗ เเยกออก

เป็นสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น และในโลกุตรธรรม ๙ ประการ อันนับ

ว่าเป็นธรรมเครื่องโคจรของพระอริยะทั้งหลาย คือ พระพุทธเจ้า พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าและสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย.

สองบทว่า เต ฌายิโน ความว่า บัณฑิตผู้ไม่ประมาทเหล่านั้น

เป็นผู้มีความเพ่งด้วยฌานทั้งสองอย่าง คือ ด้วยอารัมมณูปนิชฌาน กล่าว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 308

คือ สมาบัติ ๘, และด้วยลักขณูปนิชฌาน กล่าวคือ วิปัสสนามรรค

และผล.

บทว่า สาตติกา ความว่า เป็นผู้มีความเพียร ซึ่งเป็นไปทาง

กายและทางจิต เป็นไปแล้วติดต่อ จำเดิมแต่กาลเป็นที่ออกบวชจนถึง

การบรรลุพระอรหัต.

บาทพระคาถาว่า นิจฺจ ทฬฺหปรกฺกมา ความว่า ผู้ประกอบ

ด้วยความเพียรเห็นปานนี้ว่า "ผลนั้นใด อันบุคคลพึงบรรลุได้ด้วยเรี่ยว

แรงของบุรุษ ด้วยความเพียรของบุรุษ ด้วยความบากบั่นของบุรุษ ยัง

ไม่บรรลุผลนั้น แล้วหยุดความเพียรเสีย จักไม่มี" (เช่นนี้) ชื่อว่า

บากบั่นมั่น ชื่อว่า เป็นไปแล้วเป็นนิตย์ เหตุไม่ท้อถอยในระหว่าง.

ในคำว่า ผุสนฺติ นี้ พึงทราบวินิจฉัย ดังต่อไปนี้ :-

การถูกต้องมี ๒ คือ ญาณผุสนา (การถูกต้องด้วยญาณ),

วิปากผุสนา ( การถูกต้องด้วยวิบาก). ในผุสนา ๒ อย่างนั้น มรรค ๔

ชื่อว่า ญาณผุสนา. ผล ๔ ชื่อว่า วิปากผุสนา. ในผุสนา ๒ อย่างนั้น

วิปากผุสนา พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาในบทว่า ผุสนฺติ นี้.

บัณฑิตผู้เป็นนักปราชญ์ เมื่อทำนิพพานให้แจ้งด้วยอริยผล ชื่อว่า ย่อม

ทำนิพพานให้แจ้งด้วยวิปากผุสนา.

บาทพระคาถาว่า โยคกฺเขม อนุตฺตร ความว่า (ซึ่งนิพพาน)

๑. สมาบัติ ๘ คือปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน รวมเรียกว่า รูปสมาบัติ ๔.

อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ รวมเรียกว่า

อรูปสมาบัติ ๔.

๒. สัง. นิ. ๑๖/๓๔.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 309

อันเป็นแดนเกษม คือ ไม่มีภัย จากโยคะ ๔ อันยังมหาชนให้จมลงใน

วัฏฏะ ชื่อว่า ยอดเยี่ยม เพราะความเป็นสิ่งประเสริฐกว่าโลกิยธรรม

และโลกุตรธรรมทั้งปวง.

ในที่สุดแห่งเทศนา ชนเป็นอันมาก ได้เป็นพระอริยบุคคล มี

โสดาบันเป็นต้น. เทศนา เป็นกถามีประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระนางสามาวดี จบ.

๑. โยคะ ๔ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 310

๒. เรื่องกุมภโฆสก [๑๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภเศรษฐี

ชื่อกุมภโฆสก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อุฏฺานนโต " เป็นต้น.

กุมภโฆสกกลัวตายหนีไปอยู่ภูเขา

ความพิสดารว่า ในนครราชคฤห์ อหิวาตกโรคเกิดขึ้นในเรือน

ของราชคหเศรษฐี. เมื่ออหิวาตกโรคนั้นเกิดขึ้นแล้ว, สัตว์ดิรัจฉาน

ตั้งต้นแต่แมลงวันจนถึงโคย่อมตายก่อน, ถัดนั้นมา ก็ทาสและกรรมกร,

ภายหลังเขาทั้งหมดก็คือเจ้าของเรือน, เพราะฉะนั้น โรคนั้นจึงจับเศรษฐี

และภริยาภายหลังเขาทั้งหมด. สองสามีภริยานั้น โรคถูกต้องแล้ว แลดู

บุตรซึ่งยืนอยู่ ณ ที่ใกล้ มีนัยน์ตาทั้งสองนองด้วยน้ำตา พูดกะบุตรว่า

" พ่อเอ๋ย เขาว่า เมื่อโรคชนิดนี้เกิดขึ้น, ชนทั้งหลาย พังฝาเรือนหนี

ไปย่อมได้ชีวิต, ตัวเจ้าไม่ต้องห่วงใยเราทั้งสองพึงหนีไป ( เสียโดยด่วน)

มีชีวิตอยู่ จึงกลับมาอีก พึงขุดเอาทรัพย์ ๔๐ โกฏิ ที่เราทั้งสองฝังเก็บ

ไว้ในที่โน้นขึ้นเลี้ยงชีวิต."

เขาฟังคำของมารดาและบิดานั้นแล้ว ร้องไห้ ไหว้มารดาบิดา

กลัวต่อภัยคือความตาย ทำลายฝาเรือนหนีไปสู่ชัฏแห่งภูเขา อยู่ในที่นั้น

สิ้น ๑๒ ปีแล้ว จึงกลับมายังที่อยู่ของมารดาบิดา .

เขากลับมาบ้านเดิมไม่มีใครจำได้

ครั้งนั้น ใคร ๆ จำเขาไม่ได้ เพราะความที่ไปในกาลยังเป็นเด็ก

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 311

กลับมาในกาลมีผมและหนวดขึ้นรุงรัง.

เขาไปสู่ที่ฝังทรัพย์ ด้วยสามารถแห่งเครื่องหมายอันมารดาและบิดา

ให้ไว้ ทราบความที่ทรัพย์ไม่เสียหาย จึงคิดว่า "ใคร ๆ ย่อมจำเรา

ไม่ได้. ถ้าเราจักขุดทรัพย์ขึ้นใช้สอยไซร้, ชนทั้งหลายพึงคิดว่า ' คน

เข็ญใจผู้หนึ่งขุดทรัพย์ขึ้นแล้ว, พึงจับเราแล้ว เบียดเบียน ถ้ากระไร

เราพึงทำการรับจ้างเป็นอยู่, ทีนั้น เขานุ่งผ้าเก่าผืนหนึ่ง ( เที่ยว) ถามว่า

"ใคร ๆ มีความต้องการด้วยคนรับจ้าง มีอยู่หรือ ?" (ไป) ถึงถนน

อันเป็นที่อยู่ของคนผู้จ้างแล้ว.

กุมภโฆสกรับจ้างทำงาน

ขณะนั้น พวกผู้จ้างเห็นเขาแล้ว กล่าวว่า " ถ้าเจ้าจักทำการ

งานของพวกเราได้สักอย่างหนึ่งไซร้, พวกเราจักให้ค่าจ้างสำหรับซื้อภัต."

เขาถามว่า " ชื่อว่าการงานอะไร ? ที่พวกท่านจักให้ทำ."

พวกผู้จ้างตอบว่า " การงานคือการปลุกและการตักเตือน, ถ้า

เจ้าอาจ (ทำ) ได้ไซร้, เจ้าจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เที่ยวบอกว่า " พ่อ

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงลุกขึ้น จงตระเตรียมเกวียนทั้งหลาย, จงเทียม

โคผู้ ในเวลาที่สัตว์พาหนะต่าง ๆ มีช้างและม้าเป็นต้นไปเพื่อต้องการ

กินหญ้า, แม่ทั้งหลาย แม้พวกท่านจงลุกขึ้นต้มยาคู หุงภัต" เขา

รับว่า " ได้จ๊ะ."

ลำดับนั้น พวกผู้จ้างได้ให้เรือนหลังหนึ่งแก่เขา เพื่อประโยชน์

แก่การอยู่ ณ ที่ใกล้. เขาได้การงานนั้นทุกวัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 312

พระเจ้าพิมพิสารทรงทราบฐานะของกุมภโฆสก

อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาทรงพระนามว่า พิมพิสาร ได้ทรงสดับ

เสียงของเขาแล้ว. ก็ท้าวเธอได้เป็นผู้ทรงทราบเสียงร้องของสัตว์ทั้งปวง,

เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า "นั่นเป็นเสียงของคนผู้มีทรัพย์มาก."

ขณะนั้น นางสนมของท้าวเธอคนหนึ่ง ยืนเฝ้าอยู่ ณ ที่ใกล้คิดว่า

" ในหลวงจักไม่ตรัสเหลว ๆ ไหล ๆ, เราควรรู้จักชายนี้." จึงส่งชาย

ผู้หนึ่งไป (สืบ) ด้วยคำว่า "ไปเถิด พ่อ ท่านจงทราบบุรุษนั่น

(แล้วกลับมา )."

เขารีบไป พบกุมภโฆสกนั้นแล้ว ก็กลับมาบอกว่า "นั้นเป็น

มนุษย์กำพร้าคนหนึ่ง ซึ่งทำการรับจ้างของชนผู้จ้างหลาย."

พระราชา ทรงสดับถ้อยคำของบุรุษนั้นแล้ว ก็ทรงดุษณีภาพ,

ในวันที่ ๒ ก็ดี ในวันที่ ๓ ก็ดี ครั้นทรงสดับเสียงของกุมภโฆสกนั้นแล้ว

ก็ตรัสอย่างนั้นเหมือนกัน.

นางสนมรับอาสาพระเจ้าพิมพิสาร

นางสนมแม้นั้น ก็คิดอย่างนั้นเหมือนกัน ส่ง (บุรุษ) ไปหลาย

ครั้ง เมื่อเขาบอกว่า " เป็นมนุษย์กำพร้า" จึงคิดว่า " ในหลวง

แม้ทรงสดับคำว่า ' นั่น มนุษย์กำพร้า' ก็ไม่ทรงเชื่อ ตรัสย้ำอยู่ว่า

' นั่นเสียงบุรุษผู้มีทรัพย์มาก ' ในข้อนี้ต้องมีเหตุ; ควรที่เราจะรู้จักชาย

นั้นตามความจริง. " นางสนมนั้น จึงกราบทูลพระราชาว่า "ข้าแต่สม-

มติเทพ ข้าพระบาท เมื่อได้ทรัพย์พันหนึ่งจักพาธิดาไป (ออกอุบาย)

ให้ทรัพย์นั่นเข้าสู่ราชสกุลจงได้."

๑. นิ่งเฉย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 313

พระราชา รับสั่งให้พระราชทานทรัพย์พันหนึ่งแก่นางแล้ว. นาง

รับพระราชทานทรัพย์นั้นแล้ว ให้ธิดานุ่งผ้าค่อนข้างเก่าผืนหนึ่ง ออก

จากพระราชมณเฑียรพร้อมกับธิดานั้น เป็นดุจคนเดินทาง ไปสู่ถนน

อันเป็นที่อยู่คนรับจ้าง เข้าไปสู่เรือนหลังหนึ่ง พูดว่า " แม่จ๋า ฉันทั้งสอง

เดินทางมา (เหน็ดเหนื่อย) จักขอพักในเรือนนี้สักวันสองวันแล้ว

จักไป."

นางสนมกับธิดาพักอยู่ในเรือนกุมภโฆสก

หญิงเจ้าของเรือน พูดว่า " แม่ ผู้คนในเรือนมีมาก, แม่ไม่

อาจพักในเรือนนี้ได้, เรือนของนายกุมภโฆสกนั้นแน่ะว่าง เชิญแม่ไป

(ขอพัก) ในเรือนนั้นเถิด." นางไปที่เรือนของกุมภโฆสกนั้นแล้ว

กล่าวว่า " นายจ๋า ฉันทั้งสองเป็นคนเดินทาง จัก (ขอพัก) อยู่ใน

เรือนนี้สักวันสองวัน," แม้ถูกเขาห้ามแล้วตั้งหลายครั้ง ก็พูดอ้อนวอนว่า

" นายจ๋า ฉันทั้งสองจัก (ขอพัก) อยู่ชั่ววันนี้วันเดียว พอเช้าตรู่ก็จักไป

ดอก," ไม่ปรารถนาจะออกไปแล้ว. นางพักอยู่ในเรือนของกุมภโฆสก

นั้นนั่นแล วันรุ่งขึ้น ในเวลาเขาจะไปป่า จึงพูดว่า " นายจ๋า ขอนาย

จงมอบค่าอาหารสำหรับนายไว้แล้วจึงค่อยไป, ฉันจัก (จัดแจง) หุงต้ม

ไว้เพื่อนาย." เมื่อเขากล่าวว่า " อย่าเลย ฉันจักหุงต้มกินเองก็ได้,"

จึงรบเร้าบ่อย ๆ เข้า (จนสำเร็จ) ทำทรัพย์ที่เขาให้ ให้เป็นสักว่าอัน

คนได้รับไว้แล้วทีเดียว ให้นำโภชนะและสิ่งต่าง ๆ มีข้าวสารที่บริสุทธิ์

เป็นต้น มาแต่ร้านตลาดหุงข้าวสุกให้ละมุนละไมดี และปรุงแกงกับ

๒-๓ อย่าง ซึ่งมีรสอร่อยโดยเยี่ยงอย่างหุงต้มในราชสกุล ได้ให้แก่กุมภ-

โฆสกผู้มาจากป่า. ครั้นทราบ (ว่า) เขาบริโภคแล้ว ถึงความเป็นผู้มี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 314

จิตเบิกบาน จึงพูดว่า " นายจ๋า ฉันทั้งสองเป็นผู้เมื่อยล้า ขอพักอยู่

ในเรือนนี้แล สักวันสองวันเถอะ," เขารับรองว่า "ได้จ้ะ."

กุมภโฆสกเสียรู้นางชาววัง

ทีนั้น นางก็ปรุงภัตอย่างเอร็ดอร่อย ทั้งเวลาเย็นทั้งวันรุ่งขึ้น

แล้วได้ให้แก่เขา. และครั้นทราบความที่เขาเป็นผู้มีจิตเบิกบานแล้วก็

วิงวอน (อีก ) ว่า "นายจ๋า ฉันทั้งสองจักอยู่ในเรือนนี้แล สัก ๒-๓ วัน"

ดังนี้แล้ว อยู่ในเรือนนั้น เอาศัสตราอันคมตัดฐานเตียงของเขาภายใต้

แม่แคร่ในที่นั้น ๆ. เมื่อเขามา พอนั่งลงเท่านั้น, เตียงก็ยอบลงเบื้อง

ล่าง. เขากล่าวว่า " ทำไม เตียงนี้ จึงขาดไปอย่างนี้ ?"

นางสนม. นายจ๋า ฉันไม่อาจห้ามพวกเด็กหนุ่ม ๆ ได้ พวกเขา

มาประชุมกัน (เล่น) ที่นี้ละซิ.

กุมภโฆสก. แม่ เพราะอาศัยแก ๒ คน ทุกข์นี้ จึงเกิดแก่ฉัน,

เพราะในกาลก่อน ฉันจะไปในที่ไหน ๆ ก็ปิดประตูแล้วจึงไป.

นางสนม. จะทำอย่างไรได้ละ ? พ่อ ฉันไม่อาจห้ามได้.

นางตัด (ฐานเตียง) โดยทำนองนี้แล สิ้น ๒-๓ วัน แม้ถูกเขา

ตำหนิติเตียนว่ากล่าวอยู่ ก็คงกล่าว (แก้ตัว) อย่างนั้นแล้วตัดเชือก

ที่เหลือ เว้นเชือกเส้นเล็ก ๆ ไว้เส้น ๒ เส้น.

วันนั้น เมื่อเขาพอนั่งลงเท่านั้น, ฐาน (เตียง) ทั้งหมดตกลง

ไปที่พื้นดิน. ศีรษะ (ของเขา) ได้ (ฟุบลง ) รวมเข้ากับเข่าทั้งสอง

เขาลุกขึ้นได้ ก็พูดว่า "ฉันจะทำอะไรได้ ? บัดนี้ จักไปไหนได้ ? ฉัน

เป็นผู้ถูกพวกแกทำไม่ให้เป็นเจ้าของแห่งเตียงเป็นที่นอนเสียแล้ว."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 315

นางสนม ปลอบว่า " จักทำอย่างไรได้เล่า ? พ่อ ฉันไม่อาจ

ห้ามเด็ก ๆ ที่คุ้นเคยได้, ช่างเถอะ, อย่าวุ่นวายไปเลย, นายจักไปไหน ?

ในเวลานี้" ดังนี้แล้ว เรียกธิดามา บอกว่า " แม่หนู เจ้าจงทำโอกาส

สำหรับเป็นที่นอนแห่งพี่ชายของเจ้า."

กุมภโฆสกได้ลูกสาวของนางสนมเป็นภรรยา

ธิดานั้นนอนที่ข้างหนึ่งแล้ว พูดว่า " นายคะ เชิญนายมา

(นอน) ที่นี้." แม้นางสนมก็กล่าวกะกุมภโฆสกนั้นว่า "เชิญพ่อไป

นอนกับน้องสาวเถิด พ่อ." เขานอนบนเตียงเดียวกับธิดานางสนมนั้น

ได้นำความเชยชิดกันในวันนั้นเอง.

นางกุมาริการองไห้แล้ว. ทีนั้น มารดาจึงถามเขาว่า "เจ้าร้องไห้

ทำไมเล่า ? แม่หนู."

ธิดา. กรรมชื่อนี้เกิดแล้ว แม่.

มารดาพูดว่า "ช่างเถอะ แม่หนู เรา อาจทำอะไรได้, เจ้าได้

สามีคนหนึ่งก็ดี กุมภโฆสกนี้ได้หญิงผู้บำเรอเท้าคนหนึ่งก็ดี ย่อมสมควร"

ดังนี้แล้ว ได้ทำกุมภโฆสกนั้นให้เป็นบุตรเขยแล้ว. เขาทั้งสองอยู่ร่วม

กันแล้ว.

กุมภโฆสกต้องจ่ายทรัพย์เพราะอุบายของนางสนม

โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน นางสนมนั้น ก็ส่งข่าว (กราบทูล)

แด่พระ.ราชาว่า "ข้าแต่สมมติเทพ ขอฝ่าละอองธุลีพระบาท จงรับสั่ง

๑. ภรรยา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 316

ให้ทำการโฆษณาว่า ' ขอทวยราษฎร์จง (จัด) ทำมหรสพใน (ย่าน)

ถนนแห่งคนรับจ้างอยู่, ก็คนใด ไม่จัดทำมหรสพในเรือน, สินไหมชื่อ

ประมาณเท่านี้ ย่อมมีแก่คนนั้น."

พระราชารับสั่งให้ทำอย่างนั้น. คราวนั้น แม่ยายพูดกะเขาว่า

" พ่อเอ๋ย เราจำต้องจัดทำมหรสพในถนนแห่งคนรับจ้างตามพระราชาณัติ,

เราจะทำอย่างไร ?"

กุมภโฆสก. แม่ ฉันแม้ทำการรับจ้างอยู่ ก็แทบจะไม่สามารถเป็น

อยู่ได้ จักจัดทำมหรสพอย่างไรได้เล่า ?

แม่ยาย. พ่อเอ๋ย ธรรมดาบุคคลผู้อยู่ครองเรือนทั้งหลาย ย่อม

รับเอาแม้หนี้ไว้, พระเจ้าอยู่หัวทรงบังคับ จะไม่ทำ ( ตาม) ไม่ได้,

อันเราอาจพ้นจากหนี้ได้ด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง, ไปเถิดพ่อ จงนำ

กหาปณะ ๑ หรือ ๒ กหาปณะ แต่ที่ไหน ๆ ก็ได้.

นางสนมส่งทรัพย์ของกุมภโฆสกไปถวายพระราชา

เขาตำหนิติเตียนพลางไปนำกหาปณะมาเพียง ๑ กหาปณะ แต่ที่ฝั่ง

ทรัพย์ ๔๐ โกฏิ นางก็ส่งกหาปณะไป (ถวาย) แด่พระราชาแล้ว (จัด )

ทำมหรสพด้วยกหาปณะของตน, โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน ก็ส่งข่าวไป

(ถวาย) อย่างนั้นนั่นแลอีก.

พระราชาก็ทรงบังคับอีกว่า " ทวยราษฎร์จงจัดทำมหรสพ เมื่อ

ใครไม่ทำ มีสินไหมประมาณเท่านี้" กุมภโฆสกนั้น ถูกแม่ยายกล่าวรบเร้า

อยู่เหมือนครั้งก่อนนั่นแล จึงไปนำกหาปณะมา ๑ กหาปณะ แม้อีก

๑. การบังคับของพระพระราชา. /๒. ต้องเป็นหนี้พระราชา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 317

นางก็ส่งกหาปณะแม้เหล่านั้นไป (ถวาย) แด่พระราชา, โดยกาลล่วง

ไป ๒-๓ วัน ก็ส่งข่าวไป (ถวาย) อีกว่า ' บัดนี้ขอฝ่าละอองธุลี

พระบาท ทรงส่งบุรุษมา ' รับสั่งให้เรียกกุมภโฆสกนี้ไป (เฝ้า)."

พระราชาทรงส่งบุรุษไปแล้ว.

กุมภโฆสกถูกฉุดตัวไปเฝ้าพระเจ้าอยู่หัว

พวกบุรุษไปยังถนนที่คนรับจ้างนั้นอยู่แล้ว ถามหาว่า " คนไหน

ชื่อกุมภโฆสก" เที่ยวตามหาพบเขาแล้ว บอกว่า " มาเถิด พ่อมหา-

จำเริญ พระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้หาพ่อ (ไปเฝ้า)."

เขากลัวแล้ว พูดคำแก้ตัวเป็นต้นว่า " พระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงรู้จัก

ตัวฉัน " แล้วไม่ปรารถนาจะไป. ทีนั้น พวกบุรุษ จึงจับเขาที่อวัยวะ

ทั้งหลาย มีมือเป็นต้น ฉุดมาด้วยพลการ.

หญิงนั้น เห็นบุรุษเหล่านั้นแล้ว จึง ( ทำที) ขู่ตะคอกว่า "เฮ้ย

เจ้าพวกหัวดื้อ พวกเจ้าไม่สมควรจับลูกเขยของข้าที่อวัยวะทั้งหลายมีมือ

เป็นต้น " แล้วปลอบว่า " มาเถิด พ่อ อย่ากลัวเลย, ฉันเฝ้าพระเจ้า

อยู่หัวแล้ว จักทูลให้ตัดมือของพวกที่จับอวัยวะมีมือเป็นต้นของเจ้าทีเดียว"

แล้วพาบุตรีไปก่อน ถึงพระราชมณเฑียรแล้วเปลี่ยนเพศแต่งเครื่องประ-

ดับพร้อมสรรพ ได้ยืนเฝ้าอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายกุมภโฆสก ถูกเขา

ฉุดคร่านำมา ( ถวาย) จนได้.

พระราชาทรงซักถามกุมภโฆสก

ขณะนั้น พระราชา ตรัสกะเขาผู้ถวายบังคมแล้วยืนเฝ้าอยู่ว่า "เจ้า

๑. ทำด้วยกำลัง คือทำตามชอบใจ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 318

หรือ ? ชื่อกุมภโฆสก."

กุมภโฆสก. ข้าแต่สมมติเทพ พระเจ้าข้า.

พระราชา. เพราะเหตุไร เจ้าจึงปกปิดทรัพย์เป็นอันมากไว้ใช้สอย ?

กุมภโฆสก. ทรัพย์ของข้าพระองค์จักมีแต่ไหน ? พระเจ้าข้า

(เพราะ) ข้าพระองค์ทำการรับจ้างเลี้ยงชีวิต.

พระราชา. เจ้าอย่าทำอย่างนั้น; เจ้าลวงข้าทำไม ?

กุมภโฆสก. ข้าพระองค์มิได้ลวง พระเจ้าข้า, ทรัพย์ของข้าพระ-

องค์ไม่มี (จริง).

ทีนั้น พระราชาทรงแสดงกหาปะเหล่านั้นแก่เขาแล้ว ตรัสว่า

" กหาปณะเหล่านี้ ของใครกัน ?"

กุมภโฆสกเผยจำนวนทรัพย์

เขาจำ ( กหาปณะ) ได้ คิดว่า "ตายจริง ! เราฉิบหายแล้ว;

อย่างไรหนอ กหาปณะเหล่านี้ จึงตกมาถึงพระหัตถ์ของพระเจ้าอยู่หัว

ได้ ?" แลไปข้างโน้นข้างนี้ ก็เห็นหญิงทั้งสองคนนั้น ประดับประดา

ยืนเฝ้าอยู่ริมพระทวารห้อง จึงคิดว่า " กรรมนี้สำคัญนัก, ชะรอย

พระเจ้าอยู่หัว พึงแต่งหญิงเหล่านั้น (ไปล่อลวงแน่นอน)."

ขณะนั้น พระราชาตรัสกะเขาว่า " พูดไปเถิด ผู้เจริญ, ทำไม่ ?

เจ้าจึงทำอย่างนั้น."

กุมภโฆสก. เพราะที่พึ่งของข้าพระองค์ไม่มี พระเจ้าข้า.

พระราชา. คนเช่นเรา ไม่ควรเป็นที่พึ่ง (ของเจ้า) หรือ ?

กุมภโฆสก. ข้าแต่สมมติเทพ ถ้าสมมติเทพ ทรงเป็นที่พึ่งของ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 319

ข้าพระองค์ ก็เป็นการเหมาะดี.

พระราชา. เป็นได้ซิ ผู้เจริญ, ทรัพย์ของเจ้ามีเท่าไรล่ะ ?

กุมภโฆสก. มี ๔๐ โกฏิ พระเจ้าข้า.

พระราชา. ได้อะไร ( ขน) จึงจะควร ?

กุมภโฆสก. เกวียนหลาย ๆ เล่ม พระเจ้าข้า.

กุมภโฆสกได้รับตำแหน่งเศรษฐี

พระราชา รับสั่งให้จัดเกวียนหลายร้อยเล่มส่งไป ให้ขนทรัพย์

นั้นมา ให้ทำเป็นกองไว้ที่หน้าพระลานหลวงแล้ว รับสั่งให้ชาวกรุง

ราชคฤห์ (มา) ประชุมกันแล้ว ตรัสถามว่า "ในพระนครนี้ ใคร

มีทรัพย์ประมาณเท่านี้บ้าง ?" เมื่อทวยราษฎร์กราบทูลว่า "ไม่มี

พระเจ้าข้า " ตรัสถามว่า " ก็เราทำอะไร แก่เขาจึงควร ?" เมื่อพวก

นั้นกราบทูลว่า " ทรงทำความยกย่องแก่เขา สมควร พระเจ้าข้า" จึง

ทรงตั้งกุมภโฆสกนั้น ในตำแหน่งเศรษฐี ด้วยสักการะเป็นอันมาก

พระราชทานบุตรีของหญิงนั้นแก่เขาแล้ว เสด็จไปสู่สำนักพระศาสดา

พร้อมกับเขา ถวายบังคมแล้ว กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระองค์จงทอดพระเนตรบุรุษนี้ ชื่อว่าผู้มีปัญญาเห็นปานนี้ ไม่มี, เขา

แม้มีสมบัติถึง ๔๐ โกฏิ ก็ไม่ทำอาการเย่อหยิ่ง หรืออาการสักว่าความ

ทะนงตัว, ( ทำ) เป็นเหมือนคนกำพร้า นุ่งผ้าเก่า ๆ ทำการรับจ้าง

ที่ถนนอันเป็นที่อยู่ของคนรับจ้าง เลี้ยงชีพอยู่ หม่อมฉันรู้ได้ด้วยอุบาย

ชื่อนี้, ก็แลครั้นรู้แล้วสั่งให้เรียกมา ไล่เลียงให้รับว่ามีทรัพย์แล้ว ให้ขน

ทรัพย์นั้นมา ตั้งไว้ในตำแหน่งเศรษฐี. (ใช่แต่เท่านั้น) หม่อมฉันยัง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 320

ให้บุตรีแก่เขาด้วย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนมีปัญญาเห็นปานนี้ หม่อม

ฉันไม่เคยเห็น."

คุณธรรมเป็นเหตุเจริญแห่งยศ

พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า " มหาบพิตร ชีวิต

ของบุคคลผู้เป็นอยู่อย่างนั้น ชื่อว่า เป็นอยู่ประกอบด้วยธรรม; ก็กรรม

มีกรรมของโจรเป็นต้น ย่อมเบียดเบียนบีบคั้น (ผู้ทำ) ในโลกนี้

ทั้งในโลกหน้า ชื่อว่าความสุข อันมีกรรมนั้นเป็นเหตุ ก็ไม่มี, ก็บุรุษทำ

การรับจ้างก็ดี ทำนาก็ดี เลี้ยงชีวิตในกาลเสื่อมทรัพย์นั่นแล ชื่อว่าชีวิต

ประกอบด้วยธรรม, อันความเป็นใหญ่ย่อมเจริญขึ้นอย่างเดียว แก่คนผู้

ถึงพร้อมด้วยความเพียร บริบูรณ์ด้วยสติ มีการงานบริสุทธิ์ทางทวาร

ทั้งหลาย มีกายและวาจาเป็นต้น มีปกติใคร่ครวญด้วยปัญญาแล้วจึงทำ

ผู้สำรวมไตรทวาร มีกายทวาร เป็นต้น เลี้ยงชีวิตโดยธรรม ตั้งอยู่

ในอันไม่เหินห่างสติเห็นปานนั้น." ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๒. อุฏฺานวโต สตีมโต สุจิกมฺมสฺส นิสมฺมการิโน

สญฺตสฺส จ ธมฺมชีวิโน อปฺปมตฺตสฺส ยโสภิวฑฒติ.

" ยศย่อมเจริญโดยยิ่ง แก่คนผู้มีความขยัน

มีสติ มีการงานสะอาด มีปกติใคร่ครวญแล้วจึงทำ

สำรวมแล้ว เลี้ยงชีพโดยธรรม และไม่ประมาท."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺานวโต คือ ผู้มีความเพียงเป็น

เหตุลุกขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 321

บทว่า สตีมโต คือ สมบูรณ์ด้วยสติ.

บทว่า สุจิกมฺมสฺส คือ ประกอบด้วยการงานทั้งหลาย มีการงาน

ทางกายเป็นต้น อันหาโทษมิได้ คือหาความผิดมิได้.

บทว่า นิสมฺมการิโน ได้แก่ ใคร่ครวญ คือไตร่ตรองอย่างนี้ว่า

" ถ้าผลอย่างนี้จักมี เราจักทำอย่างนี้." หรือว่า " เมื่อการงานนี้อันเรา

ทำแล้วอย่างนี้ ผลชื่อนี้จักมี" ดังนี้แล้ว ทำการงานทั้งปวงเหมือน

แพทย์ตรวจดูต้นเหตุ (ของโรค) แล้วจึงแก้โรคฉะนั้น.

บทว่า สญฺตสฺส ได้แก่ สำรวมแล้ว คือ ไม่มีช่อง ด้วยทวาร

ทั้งหลายมีกายเป็นต้น.

บทว่า ธมฺมชีวิโน คือ ผู้เป็นคฤหัสถ์ เว้นความโกงต่าง ๆ

มีโกงด้วยตาชั่งเป็นต้น เลี้ยงชีวิตด้วยการงานอันชอบทั้งหลาย มีทำนา

และเลี้ยงโคเป็นต้น, เป็นบรรพชิต เว้นอเนสนากรรมทั้งหลาย มีเวช-

กรรมและทูตกรรมเป็นต้น เลี้ยงชีวิตด้วยภิกษาจาร โดยธรรม คือโดย

ชอบ.

บทว่า อปฺปมตฺตสฺส คือ มีสติไม่ห่างเหิน.

บทว่า ยโสภิวฑฺฒติ ความว่า ยศที่ได้แก่ความเป็นใหญ่ ความมี

โภคสมบัติและความนับถือ และที่ได้แก่ความมีเกียรติและการกล่าว

สรรเสริญ ย่อมเจริญ.

ในกาลจบพระคาถา กุมภโฆสก ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ชน

๑. กรรมคือการแสวงหา (ปัจจัย) อันไม่ควร. ๒. กรรมของหมอหรือกรรมหรือความเป็นหมอ.

๓. กรรมของคนรับใช้ หรือกรรมคือความเป็นผู้รับใช้. ๔. การเที่ยวเพื่อภิกษา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 322

แม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก ก็บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น

แล้ว. เทศนาสำเร็จประโยชน์แก่มหาชนอย่างนี้แล.

เรื่องกุมภโฆสก จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 323

๓. เรื่องพระจูฬปันถกเถระ [๑๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภพระเถระ

ชื่อว่าจูฬปันถก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อุฏุาเนนปฺปมาเทน"

เป็นต้น.

ธิดาเศรษฐีได้ทาสเป็นสามี

ดังได้สดับมา ธิดาแห่งสกุลของธนเศรษฐีในพระนครราชคฤห์

ในเวลาเขาเจริญวัย มารดาบิดารักษาไว้อย่างกวดขันที่ชั้นบนแห่ง

ปราสาท ๗ ชั้น (แต่นาง) เป็นสตรีโลเลในบุรุษ เพราะความเป็น

ผู้เมาแล้วด้วยความเมาในความเป็นสาว จึงทำสันถวะกับทาสของตนเอง

กลัวว่า " คนอื่น ๆ จะพึงรู้กรรมนี้ของเราบ้าง" จึงพูดอย่างนี้ว่า

"เราทั้งสองไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้, ถ้ามารดาบิดาของฉันทราบความเสียหาย

นี้ไซร้ จักห้ำหั่นเราให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่; เราจะไปสู่ที่ต่างถิ่นแล้ว

อยู่." ทั้งสองคนนั้น ถือเอาทรัพย์อันเป็นสาระที่จะพึงนำไปได้ด้วยมือ

ในเรือน ออกไปทางประตูด้านเหนือแล้ว ชักชวนกันว่า " เราทั้งสอง

จักต้องไปอยู่ในสถานที่แห่งใดแห่งหนึ่งที่ชนเหล่าอื่นไม่รู้จัก" ดังนี้แล้ว

ทั้งสองคนได้เดินไปแล้ว.

มีบุตรด้วยกันสองคน

เมื่อเขาทั้งสองอยู่ในที่แห่งหนึ่ง นางตั้งครรภ์แล้ว เพราะอาศัย

การอยู่ร่วมกัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 324

นางอาศัยความที่ครรภ์แก่เต็มที่ จึงปรึกษากับสามีนั้นว่า " ครรภ์

ของฉันถึงความแก่เต็มที่แล้ว, ธรรมดาการตลอดบุตรในที่ซึ่งเหินห่าง

จากญาติพวกพ้อง ย่อมเป็นเหตุนำความทุกข์มาให้แก่เราทั้งสอง, เรา

ทั้งสองไปสู่เรือนแห่งสกุลเดิมเถิด," เขาพูดผัดเพี้ยนว่า "วันนี้ จะไป,

พรุ่งนี้ จึงค่อยไปเถิด," ยังวันทั้งหลายให้ล่วงเลยไปเสีย เพราะกลัวว่า

" ถ้าเราไปที่นั้น, ชีวิตของเราย่อมไม่มี." นางคิดว่า " เจ้านี่ เขลา

ไม่อาจไปเพราะความที่ตนมีโทษมาก, ธรรมดามารดาบิดา มีความ

เกื้อกูลโดยส่วนเดียวเท่านั้น, เจ้านี่ จะไปหรือไม่ไปก็ตาม, เราจักไปละ."

ครั้นเมื่อเขาออกจากเรือนไปแล้ว นางเก็บงำเครื่องเรือน บอกความที่ตน

จะไปสู่เรือนแห่งสกุล แก่ชาวบ้านที่อยู่ถัดกันแล้ว เดินทางไป. ฝ่ายสามี

(กลับ) มาเรือน ไม่เห็นภริยา ถามผู้คุ้นเคย ทราบว่า. " ไปเรือน

แห่งสกุล" จึงรีบติดตามไปทันในระหว่างทาง. แม้ภริยาของเขานั้น

ก็ได้คลอดบุตรในระหว่างทางนั้นเอง. เขาถามว่า "นี่อะไรกัน ? น้อง"

ภริยา. พี่ ลูกชายคนที่หนึ่งคลอดแล้ว.

สามี. บัดนี้ เราจักทำอย่างไร ?

ทั้งสองคนคิดเห็นร่วมกันว่า " เราทั้งสองไปสู่เรือนแห่งสกุล เพื่อ

ประโยชน์แก่กรรมใด. กรรมนั้นสำเร็จแล้วในระหว่างทางเทียว, เรา

จักไปที่นั้นทำอะไร ? กลับกันเถิด" ดังนี้แล้ว ก็พากันกลับ.

เขาทั้งสองได้ตั้งชื่อเด็กนั้นแล ว่า "ปันถก" เพราะเกิดใน

หนทาง. ต่อกาลไม่นานนัก นางตั้งครรภ์แม้อีก. พฤติการณ์ทั้งปวง

พึงให้พิสดาร โดยนัยอันมีในก่อนนั่นแล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 325

ตั้งชื่อเด็กทั้งสอง

เพราะเด็กแม้นั้นก็เกิดในหนทาง มารดาบิดาจึงตั้งชื่อบุตรผู้เกิด

ก่อนว่า "มหาปันถก." ตั้งชื่อบุตรผู้เกิดภายหลังว่า " จูฬปันถก."

แม้สองสามีภริยานั้น ก็พาเด็กทั้งสองไปสถานที่อยู่ของตนตามเดิม.

มหาปันถกแปลกใจในเรื่องญาติของตน

เมื่อสองสามีภริยาอยู่ในที่นั้น เด็กชายมหาปันถก ได้ยินเด็กชาย

อื่น ๆ เรียก (ผู้นั้นผู้นี้ ) ว่า " อา ลุง" และว่า "ปู่ (ตา) ย่า

(ยาย) " จึงถามมารดาว่า " แม่ เด็กอื่น ๆ เรียก ( ผู้นั้น ) ว่า

ปู่ ( ตา ), เรียก ( ผู้นี้ ) ว่า ' ย่า ( ยาย ),' พวกญาติของเราไม่มี

บ้างหรือ ?"

มารดา. เออ พ่อ พวกญาติของเราในที่นี้ไม่มี, แต่ตาของพวกเจ้า

ชื่อ ธนเศรษฐี มีอยู่ในพระนครราชคฤห์, พวกญาติของเราเป็นอันมาก

มีอยู่ในพระนครนั้น.

มหาปันถก. ทำไม พวกเราจึงไม่ไปในที่นั้นเล่า ? แม่.

นางไม่บอกเหตุที่ตนมากบุตร เมื่อบุตรทั้งสองพูดรบเร้าหนักเข้า

จึงบอกแก่สามีว่า " เด็กเหล่านี้รบกวนฉันเหลือเกิน, มารดาบิดาเห็น

พวกเราแล้ว จักกินเนื้อ ( เทียว ) หรือ ? มาเถิด บัดนี้เราทั้งสอง

จักแสดงตระกูลแห่งตา ยาย แก่พวกเด็ก."

สามี. ฉัน ไม่อาจจะเข้าหน้าได้, แต่จักพาเจ้าพวกนั้นไปได้.

ภริยา. ดีละ ควรที่เด็กทั้งสองจะพบเห็นตระกูลของตาด้วยอุบาย

อย่างใดอย่างหนึ่งแท้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 326

พาบุตรทั้งสองไปหาตา

ชนทั้งสองพาเด็ก ๆ ไปถึงพระนครราชคฤห์โดยลำดับ พักอยู่ใน

ศาลาหลังหนึ่งริมประตูพระนคร. มารดาของเด็ก พาเด็กสองคนไปแล้ว

สั่งให้บอกความที่ตนมาแก่มารดาบิดา.

มารดาบิดาทั้งสองนั้น ได้ยินข่าวนั้นแล้ว กล่าวว่า " บรรดาชน

ทั้งหลายผู้ยังท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ชื่อว่า ผู้ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคย

เป็นธิดากัน ย่อมไม่มี, คนเหล่านั้นมีความผิดต่อเราเป็นข้อใหญ่

พวกเขาไม่สามารถจะตั้งอยู่ในคลองจักษุของเราได้, ชนทั้งสองจงเอา

ทรัพย์ประมาณเท่านี้ ไปสู่สถานที่ผาสุกเลี้ยงชีพเถิด, แต่จงส่งเด็ก

ทั้งสองมาในที่นี้."

สองสามีภรรยานั้น รับทรัพย์ที่ท่านทั้งสองนั้นส่งมาแล้ว มอบ

เด็กทั้งสองในมือของพวกคนใช้ที่มานั่นแล ส่งไปแล้ว, เด็กทั้งสอง

เจริญ (วัย ) อยู่ในตระกูลของตา ยาย.

มหาปันถกออกบวช

ในเด็กสองคนนั้น จูฬปักถกยังเล็กนัก, ส่วนมหาปันถกไปฟัง

ธรรมกถาของพระทศพลกับตา. เมื่อเขาไปสำนักของพระศาสดาเป็นนิตย์

จิตก็น้อมไปแล้วในบรรพชา. เขาพูดกะตาว่า "ถ้าคุณตาอนุญาตให้

กระผมไซร้ กระผมพึงบวช."

ท่านเศรษฐีกล่าวว่า "พูดอะไร พ่อ การบวชของเจ้าเป็น

ความดีแก่ตากว่าการบวชของคนทั่วทั้งโลก; ถ้าเจ้าอาจไซร้. ก็บวชเถิด"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 327

ดังนี้แล้ว นำเขาไปลู่สำนักพระศาสดา. เมื่อพระองค์ตรัส (ถาม) ว่า

"คฤหบดี ท่านได้เด็กมาหรือ ? กราบทูลว่า " พระเจ้าข้า เด็กคนนี้

เป็นหลานของข้าพระองค์ ประสงค์จะบวชในสำนักของพระองค์."

พระศาสดาตรัสสั่งภิกษุ ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรรูปใด

รูปหนึ่งว่า " เธอจงให้เด็กคนนี้บวช ." พระเถระบอกตจปัญจก-

กัมมัฏฐานแก่เธอแล้ว ให้บรรพชา.

มหาปันถกบรรลุพระอรหัต

เธอเรียนพระพุทธพจน์ได้มาก มีอายุครบ ได้อุปสมบทแล้ว ทำ

กรรมในโยนิโสมนสิการ บรรลุพระอรหัตแล้ว.

มหาปันถกปรารภถึงน้องชาย

ท่านให้เวลาล่วงไปด้วยความสุขในฌานและความสุขอันเกิดแต่ผล

คิดว่า " เราอาจให้ความสุขนี้แก่จูฬปันถกหรือหนอ ?" ภายหลังได้

ไปสู่สำนักของเศรษฐีผู้เป็นตาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านมหาเศรษฐี

ถ้าท่านอนุญาตไซร้, รูปพึงให้จูฬปันถกออกบวช ."

เศรษฐีกล่าวว่า "นิมนต์ท่านให้เขาบวชเถิด ขอรับ."

ได้ยินว่า เศรษฐีเลื่อมใสดีแล้วในพระศาสนา แต่เมื่อถูกถามว่า

" เด็กเหล่านี้เป็นบุตรของธิดาคนไหนของท่า" จะบอกว่า "ของ

ลูกสาวที่หนีไป" ก็ละอาย; เพราะฉะนั้น ท่านจึงอนุญาตการบวชแก่

หลานทั้งสองนั้นโดยง่าย.

๑. เจริญกัมมัฏฐาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 328

จูฬปันถกบวชแล้วกลายเป็นคนโง่

พระเถระให้จูฬปันถกบวชแล้ว ให้ตั้งอยู่ในศีลทั้งหลาย. แม้

จูฬปันถกนั้นพอบวชแล้ว ได้เป็นคนโง่เขลา.

พระเถระเมื่อพร่ำสอนเธอ กล่าวคาถานี้ว่า

"ดอกบัวโกกุนท มีกลิ่นหอม บานแต่เช้า

พึงมีกลิ่นไม่ไปปราศฉันใด, เธอจงเห็นพระอังคีรส

ผู้ไพโรจน์อยู่ ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงในกลางหาว

ฉันนั้น."

คาถาเดียวเท่านั้น โดย ๔ เดือน เธอก็ไม่สามารถจะเรียนได้.

บุรพกรรมของพระจูฬปันถก

ถามว่า " เพราะอะไร ?"

แก้ว่า "ได้ยินว่า เธอบวชในกาลพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า

ผู้มีปัญญา ได้ทำการหัวเราะเยาะ ในเวลาที่ภิกษุเขลารูปใดรูปหนึ่ง

เรียนอุเทศ, ภิกษุนั้นละอายเพราะการหัวเราะนั้น เลยเลิกเรียนอุเทศ ไม่

ทำการสาธยาย.

เพราะกรรมนั้น จูฬปันถกนี้ พอบวชแล้ว จึงเป็นคนโง่, บทที่

เรียนแล้ว ๆ เมื่อเธอเรียนบทต่อ ๆ ไป ก็เลือนหายไป. เมื่อเธอพยายาม

เพื่อเรียนคาถานี้แล. สี่เดือนล่วงไปแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 329

จูฬปันถกถูกพระพี่ชายประฌาน

ทีนั้น พระมหาปันถก ได้กล่าวกะเธอว่า "จูฬปันถก เธอเป็น

คนอาภัพในศาสนานี้, โดย ๔ เดือน แม้คาถาเดียวก็ไม่อาจเรียนได้,

ก็เธอจักยังกิจแห่งบรรพชิตให้ถึงที่สุดได้อย่างไร ? จงออกไปจากที่นี้

เสียเถิด." ดังนี้แล้ว ก็ขับออกจากวิหาร.

พระจูฬปันถกไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ เพราะความเยื่อใยใน

พระพุทธศาสนา.

ก็ในกาลนั้น พระมหาปันถกเป็นภัตตุเทสก์. หมอชีวกโกมารภัจ

ถือระเบียบดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอันมากไปสู่อัมพวัน บูชา

พระศาสดา สดับธรรม ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระทศพลแล้ว

เข้าไปหาพระมหาปันถก ถามว่า "ภิกษุในสำนักของพระศาสดา มี

จำนวนเท่าไร ขอรับ."

พระมหาปันถก. ภิกษุมีประมาณ ๕๐๐ รูป.

หมอชีวก. ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ ขอใต้เท้าได้พาภิกษุ ๕๐๐ รูป

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข (ไป) รับภิกษาในเรือนของกระผม.

พระมหาปันถก. อุบาสก ภิกษุโง่ (รูปหนึ่ง) ชื่อจูฬปันถก

มีธรรมไม่งอกงาม, รูปจะเว้นเธอเสีย แล้วรับนิมนต์เพื่อภิกษุทั้งหลาย

ที่เหลือ.

พระจูฬปักถกหนีไปสึกแต่สึกไม่ได้

พระจูฬปันถกฟังคำนั้นแล้ว คิดว่า " พระเถระ เมื่อรับนิมนต์

เพื่อภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านั้น ก็คัดเราไว้ภายนอกแล้วจึงรับ, จิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 330

ของพี่ชายเรา จักแยก (หมดเยื่อใย) ในเราแล้วอย่างไม่ต้องสงสัย;

บัดนี้ เราจะต้องการอะไรด้วยศาสนานี้, เราจักเป็นคฤหัสถ์ทำบุญต่าง ๆ

มีทานเป็นต้นเลี้ยงชีพละ." วันรุ่งขึ้น เธอไปเพื่อจะสึกแต่เช้าตรู่.

พระศาสดา ทรงตรวจดูโลก ( คือหมู่สัตว์) เฉพาะในเวลาใกล้รุ่ง

ทรงเห็นเหตุนี้แล้ว จึงเสด็จล่วงหน้าไปก่อน ได้ทรงหยุดจงกรมอยู่ที่ซุ้ม

ประตูใกล้ทางที่พระจูพปันถกไป. พระจูฬปันถกเมื่อเดินไปพบพระศาสดา

จึงเข้าไปเฝ้าถวายบังคม.

พระศาสดาทรงรับรองให้อยู่ต่อไป

ขณะนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า "จูฬปันถก นี่เธอจะไปไหน ?

ในเวลานี้."

จูฬปันถกทูลว่า " พระพี่ชายขับไล่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า ข้า-

พระองค์ไปเพื่อจะสึก เพราะเหตุนั้น. "

พระศาสดา ตรัสว่า จูฬปันถก เธอชื่อว่าบรรพชาในสำนัก

ของเรา, แม้ถูกพี่ชายขับไล่ ทำไม จึงไม่มาสู่สำนักของเรา ? มาเถิด,

เธอจะต้องการอะไรด้วยความเป็นคฤหัสถ์ เธอต้องอยู่ (ต่อไป ) ใน

สำนักของเรา" ดังนี้แล้ว ทรงเอาฝ่าพระหัตถ์อันมีพื้นวิจิตรไปด้วยจักร

ลูบเธอที่ศีรษะแล้ว พาไปให้นั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฎี ประทานท่อนผ้าที่

สะอาด ซึ่งทรงบันดาลขึ้นด้วยฤทธิ์ ด้วยตรัสสั่งว่า "จูฬปันถก"

เธอจงผินหน้าไปทางทิศตะวันออก ลูบท่อนผ้านี้ ด้วยบริกรรมว่า

" รโชหรณ. รโชหรณ" (ผ้าเช็ดธุลี ๆ) อยู่ที่นี้แหละ ครั้นเมื่อเขา

กราบทูลเวลาแล้ว, มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จไปเรือนของหมอชีวก

ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาตกแต่งไว้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 331

พระจูฬปันถกเจริญภาวนาบรรลุพระอรหัต

ฝ่ายพระจูฬปันถกนั่งแลดูพระอาทิตย์ พลางลูบผ้าท่อนนั้น บริกรรม

ว่า " รโชหรณ " รโชหรณ." เมื่อท่านลูบท่อนผ้านั้นอยู่, ท่อนผ้าได้

เศร้าหมองแล้ว. ลำดับนั้น จึงคิดว่า " ท่อนผ้านี้สะอาดแท้ๆ แต่อาศัย

อัตภาพนี้จึงละปกติเดิมเสีย กลายเป็นของเศร้าหมองอย่างนี้ไปได้, สังขาร

ทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ? ( ครั้นแล้ว ) เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อม

เจริญวิปัสสนา.

พระศาสดาทรงทราบว่า " จิตของพระจูฬปันถกขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว "

จึงตรัสว่า " จูฬปันถก เธออย่าทำความหมายเฉพาะท่อนผ้านั้น ว่า

' เศร้าหมองแล้ว ติดธุลี; ' ก็ธุลีทั้งหลาย มีธุลีคือราคะเป็นต้น มีอยู่ใน

ภายในของเธอ, เธอจงนำ (คือกำจัด) มันออกเสีย" ดังนี้แล้ว ทรง

เปล่งพระรัศมี เป็นผู้มีพระรูปปรากฏดุจประทับนั่งตรงหน้า ได้ทรงภาษิต

คาถาเหล่านี้ว่า

"ราคะ ชื่อว่าธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านหา

เรียกว่า (ธุลี) ไม่: คำว่า "ธุลี" นั่นเป็นชื่อ

ของราคะ; ภิกษุเหล่านั้น ละธุลีนั่นได้ขาดแล้ว

อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

โทสะ ชื่อว่าธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านหา

เรียกว่า ( ธุลี) ไม่: คำว่า "ธุลี" นั่นเป็นชื่อ

ของโทสะ; ภิกษุเหล่านั่น ละธุลีนั่นได้ขาดแล้ว

อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 332

โมหะ ชื่อว่าธุลี, แต่เรณู (ละออง) ท่านหา

เรียกว่า ( ธุลี) ไม่; คำว่า "ธุลี" นั่นเป็นชื่อ

ของโมหะ; ภิกษุเหล่านั้น ละธุลีนั่นได้ขาดแล้ว

อยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี."

ในกาลจบคาถา พระจูฬปันถกบรรลุพระอรหัต พร้อมด้วย

ปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว. ปิฎก ๓ มาถึงแก่ท่านพร้อมกับปฏิสัมภิทา

ทีเดียว.

บุรพกรรมของพระจูฬปันถก

ได้ยินว่า ครั้งดึกดำบรรพ์ ท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ทรงทำ

ประทักษิณพระนคร เมื่อพระเสโทไหลออกจากพระนลาต ทรงเอาผ้า

สะอาดเช็ดที่สุดพระนลาต. ผ้าได้เศร้าหมองแล้ว. ท้าวเธอกลับได้

อนิจจสัญญาว่า "ผ้าสะอาดเห็นปานนี้อาศัยสรีระนี้ ละปกติแปรเป็น

เศร้าหมองไปได้, สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ," เพราะเหตุนั้น ผ้า

สำหรับเช็ดธุลีนั่นแล จึงเป็นปัจจัยของท่านแล้ว.

ฝ่ายหมอชีวกโกมารภัจ ได้น้อมน้ำทักษิโณทกเข้าไปถวาย

พระทศพล, พระศาสดาทรงปิดบาตรด้วยพระหัตถ์ ตรัสว่า "ชีวก

ภิกษุในวิหาร ยังมีอยู่มิใช่หรือ ?"

พระมหาปันถกกราบทูลว่า "ในวิหาร ภิกษุไม่มีมิใช่หรือ ?

พระเจ้าข้า." พระศาสดา ตรัสว่า "มี ชีวก." หมอชีวกส่งบุรุษไป

ด้วยสั่งว่า "พนาย ถ้ากระนั้น เธอจงไป จงรู้ว่าภิกษุในวิหารมีหรือ

ไม่มี.

๑. เหงื่อ ๒. หน้าฝาก ๓. ความหวายว่าไม่เที่ยว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 333

พระจูฬปันถกนิรมิตตนเป็นภิกษุพันรูป

ในขณะนั้น พระจูฬปันถกคิดว่า "พี่ชายของเราพูดว่า 'ภิกษุ

ในวิหารไม่มี,' เราจักประกาศความที่ภิกษุในวิหารมีแก่ท่าน (พี่ชาย)

ดังนี้แล้ว จึง (นิรมิต) ให้อัมพวันทั้งสิ้นเต็มด้วยภิกษุทั้งนั้น ภิกษุ

บางพวกเย็บจีวร, บางพวกย้อมจีวร, บางพวกทำการสาธยาย; นิรมิต

ภิกษุพันรูป ไม่เหมือนกันและกันอย่างนี้.

บุรุษนั้นเห็นภิกษุเป็นอันมากในวิหาร จึงกลับมาบอกแก่หมอชีวกว่า

" คุณหมอขอรับ อัมพวันทั้งสิ้น เต็มด้วยภิกษุทั้งหลาย."

(พระธรรมสังคาหกาจารย์ กล่าวว่า)

"ฝ่ายพระเถระ ชื่อว่าจูฬปันถก นิรมิตตน

พันครั้ง (เป็นภิกษุพันรูป) ในอัมพวันนั้นแล

แล้วนั่งในอันพวันอันน่ารื่นรมย์ จนกว่าเขาจะบอก

เวลา."

ลำดับนั้น พระศาสดา ตรัสกะบุรุษนั้นว่า "เธอจงไปวิหาร

บอกว่า "พระศาสดารับสั่งหาพระชื่อจูฬปันถก."

เมื่อบุรุษนั้นไปบอกตามรับสั่งแล้ว ทั้งพันปากก็ขานว่า "ข้าพเจ้า

ชื่อจูฬปันถก, ข้าพเจ้าชื่อจูฬปันถก."

บุรุษนั้นกลับไปกราบทูลอีกว่า "พระเจ้าข้า ได้ยินว่า ภิกษุแม้

ทุกรูปชื่อจูฬปันถกทั้งนั้น ?:

พระศาสดาตรัสว่า " ถ้ากระนั้น เธอจงไป. รูปใดเอ่ยก่อนว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 334

'ข้าพเจ้าชื่อจูฬปันถก,' จงจับมือรูปนั้นไว้, รูปที่เหลือจักหายไป."

เขาได้ทำตามรับสั่ง. ภิกษุประมาณพันรูป หายไปแล้วทันที

ทีเดียว. พระเถระได้ไปกับบุรุษนั้น.

พระศาสดารับสั่งให้จูฬปันถกอนุโมทนา

ในเวลาเสร็จภัตกิจ พระศาสดาตรัสเรียกหมอชีวกมารับสั่งว่า

" ชีวก เธอจงรับบาตรของจูฬปันถกเถิด, จูฬปันถกนี้จักทำอนุโมทนา

แก่เธอ." หมอชีวกได้ทำอย่างนั้นแล้ว. พระเถระบันลือสีหนาท ดุจ

สีหะที่ขึ้นรุ่น (กำลังคะนอง) ได้ทำอนุโมทนา ยังพระไตรปิฎกให้

กระฉ่อนแล้ว.

พระศาสดาเสด็จลุกจากอาสนะ มีภิกษุสงฆ์แวดล้อมเสด็จไปสู่วิหาร,

เมื่อภิกษุทั้งหลายแสดงวัตรแล้ว. เสด็จลุกจากอาสนะ ทรงยืนที่หน้ามุข

พระคันธกุฎี ประทานสุคโตวาท ตรัสบอกกัมมัฏฐานแก่ภิกษุสงฆ์ ทรง

ส่งภิกษุสงฆ์ไปแล้ว เสด็จเข้าสู่พระคันธกุฎีที่อบด้วยกลิ่นหอมฟุ้ง ทรง

ผทมสีหไสยาโดยพระ ปรัศว์เบื้องขวา.

พวกภิกษุปรารภพระคุณของพระศาสดา

ครั้นในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลายนั่งประชุมกันข้างนี้และข้างโน้น

ดุจแวดวงด้วยม่านรัตตกัมพล ปรารภถึงเรื่องพระคุณของพระศาสดาว่า

"ท่านผู้มีอายุ พระมหาปันถกไม่ทราบอัธยาศัยของพระจูฬปันถก จึง

๑. ต หตฺเถ คณฺห จักรูปนั้นไว้ที่มือ. ๒ นอนตะแคงข้างขวา

๓.ผู้ทอด้วยขนสัตว์มีสีแดง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 335

ไม่สามารถจะให้เรียนคาถาบทเดียวโดย ๔ เดือนได้, ไล่ออกจากวิหารด้วย

เข้าใจว่า ' พระรูปนี้โง่; ' แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานพระอรหัต

กับทั้งปฏิสัมภิทา ในระหว่างฉัน (อาหาร) มื้อเดียวเท่านั้น เพราะ

พระองค์เป็นพระธรรมราชาชั้นเยี่ยม (หาผู้ทัดเทียมมิได้); พระ-

ไตรปิฎกก็มาพร้อมกับปฏิสัมภิทานั่นเทียว น่าชม ! ชื่อว่า กำลังของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีมาก."

พระศาสดาเสด็จไปที่ประชุมภิกษุสงฆ์

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเรื่องราวนี้ในโรงธรรมแล้ว

ทรงดำริว่า " วันนี้ เราไป ควรอยู่ " เสด็จลุกจากพุทธไสยา ทรง

นุ่งผ้า ๒ ชั้นที่ย้อมดีแล้ว ทรงรัดประคดเอวดุจสายฟ้า ทรงห่มจีวร

มหาบังสกุล ได้ขนาดสุคตประมาณ ปานผ้ารัตตกัมพล เสด็จออกจาก

พระคันธกุฎีอันมีกลิ่นหอมตลบ ไปยังโรงธรรม ด้วยความงามแห่ง

พระอากัปกิริยาที่ทรงย่างไปแล้ว ดุจพระยาคชสารตัวซับมันและดุจสีหะ

(และ) ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ เสด็จขึ้นบวรพุทธอาสน์ที่

บรรจงจัดไว้ในท่ามกลางแห่งโรงกลม ซึ่งประดับแล้ว ประทับนั่งที่

กลางอาสนะ ทรงเปล่งพระพุทธรังสีมีพรรณะ ๖ ประการ เปรียบปาน

เทพดาผู้วิเศษ บันดาลท้องมหาสมุทรให้กระเพื่อมอยู่ (และ) ประดุจ

สุริโยทัยทอแสงอ่อน ๆ เหนือยอดเขายุคันธรฉะนั้น. แลเมื่อพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้า พอเสด็จมาถึง ภิกษุสงฆ์ก็หยุดสนทนา นิ่งเงียบ.

๑. กถาปวตฺติ แปลว่า ความเป็นไปแห่งถ้อยคำ. ๒. กถ ปจฺฉินฺทิตฺวา ตัดขาซึ่งถ้อยคำ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 336

ทรงรำพึงถึงอาการของภิกษุบริษัท

พระศาสดาทรงพิจารณาดูบริษัท ด้วยพระหฤทัยอันอ่อนโยน

ทรงรำพึงว่า " บริษัทนี้ งามยิ่งนัก, การคะนองมือก็ดี คะนองเท้า

ก็ดี เสียงไอก็ดี เสียงจามก็ดี แม้ของภิกษุรูปหนึ่ง ย่อมไม่มี, ภิกษุ

เหล่านี้แม้ทั้งหมด มีความเคารพด้วยพุทธคารวะ อันเดชแห่งพระ-

พุทธเจ้าคุกคามแล้ว . เมื่อเรานั่ง, ( เฉยเสีย) ไม่พูดแม้ตลอดชั่วอายุ

ก็รูปไหน ๆ จักหายกเรื่องขึ้นพูดก่อนไม่, ชื่อว่าธรรมเนียมของการ

ยกเรื่องขึ้น เราควรรู้, เราเองจักพูดขึ้นก่อน" ดังนี้แล้ว ตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลาย ด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะดุจเสียงพรหม ตรัสถามว่า

"ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรเล่า ? ก็แล

เรื่องอะไรที่พวกเธอหยุดค้างไว้ในระหว่าง ?" เมื่อพวกภิกษุนั้นกราบทูล

ว่า " ด้วยเรื่องชื่อนี้," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย จูฬปันถกหาได้เป็น

ผู้โง่แต่ในบัดนี้เท่านั้นไม่, แม้ในกาลก่อน ก็เป็นผู้โง่แล้วเหมือนกัน;

อนึ่ง เราเป็นที่พำนักอาศัยของเธอเฉพาะในบัดนี้อย่างเดียวหามิได้, ถึง

ในกาลก่อน ก็ได้เป็นที่พำนักอาศัยแล้วเหมือนกัน; และในกาลก่อน

เราได้ทำจูฬปันถกนี้ให้เป็นเจ้าของแห่งโลกิยทรัพย์แล้ว, บัดนี้ ได้ทำให้

เป็นเจ้าของแห่งโลกุตรทรัพย์," อันภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่จะสดับเนื้อความนั้น

โดยพิสดาร ทูลอัญเชิญแล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (เล่าว่า)

เรื่องมาณพเรียนศิลปะในกรุงตักกสิลา

ในอดีตกาล มาณพชาวพระนครพาราณสีคนหนึ่ง ไปยังกรุง

ตักกสิลาแล้ว เป็นธัมมันเตวาสิกของอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เพื่อประสงค์

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 337

เรียนศิลปะ ได้เป็นผู้อุปการะอาจารย์อย่างยิ่ง ในระหว่างมาณพ ๕๐๐,

ทำกิจทุกอย่าง มีนวดเท้าเป็นต้น, แต่เพราะเป็นคนโง่ จึงไม่สามารถ

จะเรียนอะไร ๆ ได้, อาจารย์แม้พยายามด้วยคิดเห็นว่า "ศิษย์คนนี้

มีอุปการะแก่เรามาก, จักให้เขาศึกษาให้ได้" ก็ไม่สามารถให้ศึกษา

อะไร ๆ ได้.

เขาอยู่สิ้นกาลนาน แม้คาถาเดียวก็ไม่สามารถจะเรียน (ให้จำ) ได้

นึกระอา เลยลาอาจารย์ว่า " จักไปละ." อาจารย์คิดว่า "ศิษย์คนนี้

อุปการะเรา, เราก็หวังความเป็นบัณฑิตแก่เขาอยู่, แต่ไม่สามารถจะทำ

ความเป็นบัณฑิตนั้นได้, จำเป็นที่เราจะต้องทำอุปการะตอบแก่ศิษย์คนนี้

ให้ได้, จักผูกมนต์ให้เขาสักบทหนึ่ง," ท่านนำเขาไปสู่ป่า ผูกมนต์นี้ว่า

"ฆเฏสิ ฆเฏสิ กึการณา ฆเฏสิ ? อหปิ ต ชานามิ ชานามิ."

(ท่านเพียรไปเถิด เพียรไปเถิด, เพราะเหตุไร ? ท่านจึงเพียร, แม้เรา

ก็รู้เหตุนั้นอยู่ รู้อยู่ ) ดังนี้แล้ว ให้เขาเรียนทบทวนกลับไปกลับมาหลาย

ร้อยครั้ง แล้วถามว่า " เธอจำได้หรือ *?" เมื่อเขาตอบว่า "ผมจำได้

ขอรับ" ชี้แจงว่า " ธรรมดาศิลปะที่คนโง่ทำความพยายามทำให้คล่อง

แล้ว ย่อมไม่เลือน" แล้วให้เสบียงทาง สั่งว่า " เธอ จงไป, อาศัย

มนต์นี้เลี้ยงชีพเถิด, แต่เพื่อประโยชน์จะไม่ให้มนต์เลือนไป เธอพึงทำ

การสาธยายมนต์นั้นเป็นนิตย์" ดังนี้แล้ว ก็ส่งเขาไป.

ครั้นในเวลาเขาถึงพระนครพาราณสี มารดาได้ทำสักการะสัมมานะ

ใหญ่ ด้วยดีใจว่า " บุตรของเราศึกษาศิลปะกลับมาแล้ว."

๑. ปญฺายติ เต แปลว่า มนต์นั้นย่อมปรากฏแก่เธอ ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 338

พระเจ้าแผ่นดินตรวจความเป็นไปของราษฎร

ในกาลนั้น พระเจ้าพาราณสี ทรงพิจารณาว่า "โทษบางประการ

ในเพราะกรรมทั้งหลาย มีกายกรรมเป็นต้นของเรา มีอยู่หรือหนอ ?" ไม่

ทรงเห็นกรรมอะไร ๆ อันไม่เป็นที่พอพระทัยของพระองค์ ก็ทรงดำริว่า

" ธรรมดาโทษของตน หาปรากฏแก่ตนไม่, ย่อมปรากฏแก่คนเหล่าอื่น;

เราจักกำหนด (ความเป็นไป) ของพวกชาวเมือง" ดังนี้แล้ว จึงทรง

ปลอมเพศ เสด็จออกไปในเวลาเย็น ทรงดำริว่า " ธรรมดาการสนทนา

ปราศรัยของพวกมนุษย์ผู้นั่งบริโภคอาหารในเวลาเย็น ย่อมมีประการต่าง ๆ

กัน; ถ้าเราครองราชย์โดยอธรรม, ชนทั้งหลายคงจะพูดกันว่า ' พวกเรา

ถูกพระเจ้าแผ่นดินผู้ไม่ตั้งอยู่โดยธรรม ผู้ชั่วช้า เบียดเบียนด้วยสินไหม

และพลีเป็นต้น' ถ้าเราครองราชย์โดยธรรม, ชนทั้งหลายก็จักกล่าวคำ

เป็นต้นว่า ' ขอพระเจ้าอยู่หัวของเราทั้งหลาย จงทรงพระชนมายุยืนเถิด '

แล้วก็สรรเสริญคุณของเรา" ดังนี้แล้ว จึงเสด็จเที่ยวไปตามลำดับฝาเรือน

นั้น ๆ.

ในขณะนั้น พวกโจรผู้หากินทางขุดอุโมงค์ กำลังขุดอุโมงค์ใน

ระหว่างเรือน ๒ หลัง เพื่อต้องการเข้าเรือนทั้งสอง โดยอุโมงค์เดียวกัน.

พระราชาทอดพระเนตรเห็นพวกมันแล้ว ได้ทรงแอบซุ่มอยู่ในเงาเรือน.

ในเวลาที่พวกมันขุดอุโมงค์เข้าเรือนได้แล้วตรวจดูสิ่งของ มาณพตื่นขึ้น

แล้ว ก็สาธยายมนต์นั้น กล่าวว่า "ฆเฏสิ ฆเฏสิ, กึการณา ฆเฏสิ ?

อหปิ ต ชานามิ ชานามิ."

๑. ทณฺฑ แปลว่า อาชญาก็ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 339

โจรเหล่านั้น ได้ฟังคำนั้นแล้ว ก็ตกใจกลัวทิ้งแม้ผ้าที่คนนุ่งเสีย

หนีไปเคยซึ่ง ๆ หน้าทีเดียว ด้วยบอกกันว่า " นัยว่าเจ้าคนนี้รู้จักพวก

เรา, มันจักให้พวกเราฉิบหายเสียบัดนี้."

ทรงเห็นโจรหนีเพราะมนต์ของมาณพ

พระราชาทอดพระเนตรเห็นโจรเหล่านั้นกำลังหนีไป และได้ทรง

สดับเสียงมาณพนอกนี้สาธยายมนต์อยู่ ทรงกำหนด (ความเป็นไป)

ของพวกชาวเมืองได้แล้ว จึงเสด็จเข้าพระราชนิเวศน์; แลเมื่อราตรีสว่าง

แล้ว พอเช้าตรู่ ก็รับสั่งเรียกบุรุษคนหนึ่ง ( มาเฝ้า) ตรัสว่า " พนาย

เธอจงไป พวกโจรขุดอุโมงค์ในเรือนชื่อโน้น ในถนนโน้น, ในเรือน

หลังนั้น มีมาณพเรียนศิลปะมาแต่เมืองตักกศิลา (คนหนึ่ง) เธอจงนำ

เขามา."

เขาไปบอกว่า " พระเจ้าอยู่หัว รับสั่งหาท่าน" แล้วนำมาณพมา.

ลำดับนั้น พระราชาตรัสกะเขาว่า " พ่อ เธอเป็นมาณพผู้เรียน

ศิลปะมาจากเมืองตักกสิลาหรือ ?"

มาณพ. พระเจ้าข้า พระอาชญาไม่พ้นเกล้า.

พระราชา. ให้ศิลปะแกฉันบ้างเถิด.

มาณพ. ดีละ พระเจ้าข้า ขอพระองค์ประทับบนอาสนะที่เสมอกัน

แล้วเรียนเถิด.

ลำดับนั้น พระราชาทรงทำอย่างนั้น ทรงเรียนมนต์นั้นกะเขาแล้ว

ได้พระราชทานทรัพย์พันหนึ่ง ด้วยพระดำรัสว่า " นี้ เป็นส่วนบูชา

อาจารย์ของท่าน. "

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 340

ในกาลนั้น เสนาบดี พูดกับภูษามาลาของพระเจ้าแผ่นดินว่า

" แกจักแต่งพระมัสสุของในหลวงเมื่อไร ?"

ภูษามาลา. พรุ่งนี้ หรือมะรืนนี้แหละ.

เสนาบดีนั้น ให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่เขาแล้ว พูดว่า " ข้ามีกิจอยู่

(อย่างหนึ่ง)" เมื่อเขาถามว่า " กิจอะไร นาย ?" บอกว่า " แกต้องทำ

เป็นเหมือนจะทำการแต่งพระมัสสุของในหลวง สบัดมีดโกนให้คมกริบ,

ตัดก้านพระศอเสีย จัก (ได้) เป็นเสนาบดี, ข้าจักเป็นพระเจ้าแผ่นดิน.

เขารับว่า " ได้ " ในวันแต่งมัสสุถวายในหลวง เอาน้ำหอมสระสรงพระ-

มัสสุให้เปียก สบัดมีดโกน จับที่ชายพระนลาตคิดว่า " มีดโกนมีคมร่อย

ไปเสียหน่อย, เราควรตัดก้านพระศอโดยฉับเดียวเท่านั้น" ดังนี้แล้ว

จึงยืนส่วนข้างหนึ่ง สบัดมีดโกนอีก.

ในขณะนั้น พระราชาทรงระลึกถึงมนต์ของพระองค์ได้ เมื่อจะ

ทรงทำการสาธยาย ตรัสว่า "ฆเฏสิ ฆเฏสิ, กึการณา ฆเฏสิ ?

อหปิ ต ชานามิ ชานามิ."

เหงื่อไหลโซมจากหน้าผากของนายภูษามาลาแล้ว. เขาเข้าใจว่า "ใน

หลวงทรงทราบเรา" กลัวแล้ว จึงโยนมีดโกนเสียที่แผ่นดินแล้ว หมอบ

กราบลงแทบพระบาท.

กุสายของพระราชา

ธรรมดาพระราชาทั้งหลายย่อมเป็นผู้ฉลาด, เพราะฉะนั้น พระองค์

จึงตรัสกะเขาอย่างนี้ว่า " เฮ้ย ! อ้ายภูษามาลาใจร้าย มึงเข้าใจว่า 'พระ-

เจ้าแผ่นดินไม่รู้มึงหรือ ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 341

ภูษามาลา. ขอพระองค์ โปรดพระราชทานอภัยแก่ข้าพระองค์เถิด

พระเจ้าข้า.

พระราชา. ช่างเถอะ, อย่ากลัวเลย, บอกมาเถิด.

ภูษามาลา. พระเจ้าข้า เสนาบดีให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่ข้าพระองค์

บอกว่า " แกจงทำทีเป็นแต่งพระมัสสุของในหลวง ตัดก้านพระศอเสีย,

เมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว, ข้าจักเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ตั้งแกให้เป็น

เสนาบดี."

พระราชา ทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " เราได้ชีวิตเพราะ

อาศัยอาจารย์" ดังนี้แล้ว จึงดำรัสสั่งให้หาเสนาบดีมา (เฝ้า) ตรัสว่า

" เสนาบดีผู้เจริญ ชื่อว่าอะไรที่เธอไม่ได้แล้วจากสำนักของฉัน. บัดนี้

ฉันไม่อาจจะดูเธอได้, เธอจงออกไปจากแคว้นของฉัน" รับสั่งให้เนร-

เทศเขาออกจากแว่นแคว้นแล้ว ก็รับสั่งให้มาณพผู้อาจารย์มาเฝ้า ตรัสว่า

" ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าได้ชีวิตเพราะอาศัยท่าน" ดังนี้แล้ว ทรงทำ

สักการะใหญ่ ได้พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่อาจารย์นั้นแล้ว.

มาณพในครั้งนั้นได้เป็นจูฬปันถก, พระศาสดาเป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์.

พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน จูฬปันถกก็โง่อย่างนี้เหมือนกัน. แม้ในกาลนั้น

เราก็ได้เป็นที่พึ่งพำนักของเธอ ยังเธอให้ตั้งอยู่ในโลกิยทรัพย์แล้ว, ใน

วันรุ่งขึ้น เมื่อกถา (สนทนากัน) ตั้งขึ้นว่า " น่าสรรเสริญ พระศาสดา

ทรงเป็นที่พึ่งพำนักของพระจูฬปันถกแล้ว" ตรัสเล่าเรื่องอดีตในจูฬ-

เสฏฐิชาดกแล้ว ตรัสคาถาว่า

๑. ขุ. ชา. ๒๗/๒. อรรถกถา. ๑/๑๗๕. จุลลกเสฏฐีชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 342

"ผู้มีปรีชาเห็นประจักษ์ ย่อมตั้งตนได้ด้วย

ทุนทรัพย์แม้น้อย เหมือนคนก่อไฟกองน้อยให้ลุก

เป็นกองใหญ่ได้ฉะนั้น."

แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เราเป็นที่พึ่งพำนักของจูฬปันถกนี้เฉพาะ

แต่ในบัดนี้หามิได้. ถึงในกาลก่อน ก็ได้เป็นที่พึ่งพำนักแล้วเหมือนกัน ;

แต่ว่า ในกาลก่อน เราได้ทำจูฬปันถกนี้ให้เป็นเจ้าของโลกิยทรัพย์, บัดนี้

ทำให้เป็นเจ้าของโลกุตรทรัพย์" ดังนี้แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า จูฬกัน-

เตวาสิก แม้ในครั้งนั้น ได้เป็นจูฬปันถก (ในบัดนี้ ), ส่วนจูฬกเศรษฐี

ผู้ฉลาดเฉียบแหลม เข้าใจพยากรณ์ นักษัตร ( ในครั้งนั้น ) คือเรา

นั่นเอง."

พวกภิกษุชมพระจูฬปันถก

อีกวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในธรรมสภาว่า "ผู้มีอายุ

พระจูฬปันถก แม้ไม่สามารถจะเรียนคาถา ๔ บท โดย ๔ เดือนได้

ก็ไม่สละความเพียร ตั้งอยู่ในอรหัตแล้ว, บัดนี้ได้เป็นเจ้าของทรัพย์

คือโลกุตรธรรมแล้ว."

พระศาสดาสอนให้ทำที่พึ่งด้วยธรรม ๔ ประการ

พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " ด้วย

เรื่องชื่อนี้ ( พระเจ้าข้า)," จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในศาสนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 343

ของเรา ปรารภความเพียรแล้ว ย่อมเป็นเจ้าของแห่งโลกุตรธรรมได้เที่ยว"

ดังนี้แล้ว ตรัสคาถานี้ว่า

๓. อุฏฺาเนนปฺปมาเทน สญฺเมน ทเมน จ

ทีป กยิราถ เมธาวี ย โอโฆ นาภิกีรติ.

" ผู้มีปัญญา พึงทำเกาะ (ที่พึ่ง) ที่ห้วงน้ำ

ท่วมทับไม่ได้ ด้วยความหมั่น ด้วยความไม่

ประมาท ด้วยความระวัง และด้วยความฝึก. "

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทีป กยิราถ ความว่า ผู้มีปัญญา

ประกอบพร้อมแล้วด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม พึงทำ คือพึงกระทำ

ได้แก่อาจทำ เกาะ คืออรหัตผล อันเป็นที่พึ่งพำนักของตนในสาครคือ

สงสารอันลึกยิ่ง โดยความเป็นที่พึ่งอันได้ยากยิ่งนี้ ด้วยธรรมอันเป็นเหตุ

๔ ประการเหล่านี้ คือ; ด้วยความหมั่น กล่าวคือ ความเพียร ๑ ด้วย

ความไม่ประมาท กล่าวคือการไม่อยู่ปราศจากสติ ๑ ด้วยความระวัง กล่าว

คือปาริสุทธิศีลสี่ ๑ ด้วยความฝึกอินทรีย์ ๑.

ถามว่า "พึงทำเกาะเช่นไร ?"

แก้ว่า "พึงทำเกาะที่ห้วงน้ำท่วมทับไม่ได้." อธิบายว่า พึงทำ

เกาะที่ห้วงน้ำ คือ กิเลสทั้ง ๔ อย่าง ไม่สามารถจะท่วมพัดคือกำจัดได้;

แท้จริง พระอรหัต อันโอฆะไม่สามารถจะท่วมทับได้เลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 344

ในเวลาจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้เป็นพระอริยบุคคล มีพระ-

โสดาบันเป็นต้นแล้ว. เทศนามีประโยชน์แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว

ดังนี้แล.

เรื่องพระจูฬปันถกเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 345

๔. เรื่องพาลนักษัตร [๑๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภนักษัตร

ของคนพาล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปมาทมนุยุญฺชนฺติ" เป็นต้น.

คนพาลชาวเมืองสาวัตถีเล่นนักษัตร

ความพิสดารว่า ดังได้สดับมา ในสมัยหนึ่ง เขาป่าวประกาศชื่อ

พาลนักษัตร ในพระนครสาวัตถี. ในนักษัตรนั้น พวกชนพาลผู้มีปัญญา

ทราม เอาเถ้าและโคมัย (มูลโค) ทาร่างกาย เที่ยวกล่าววาจาของ

อสัตบุรุษไปตลอด ๗ วัน, เห็นใคร ๆ เป็นญาติก็ตาม เป็นสหายก็ตาม

เป็นบรรพชิตก็ตาม ชื่อว่าละอายอยู่ ไม่มี, ยืนกล่าววาจาของอสัตบุรุษ

อยู่ที่ประตูทุก ๆ ประตู. มนุษย์ทั้งหลายไม่อาจฟังอสัปปุริสวาทของพวก

เขาได้ จึงส่งทรัพย์ให้กึ่งบาทบ้าง บาทหนึ่งบ้าง กหาปณะหนึ่งบ้าง

ตามกำลัง, พวกเขาถือเอาทรัพย์ที่ได้แล้ว ๆ ที่ประตูเรือนของมนุษย์เหล่า

นั้น ๆ แล้วก็หลีกไป.

ก็ในกาลนั้น พระนครสาวัตถี มีอริยสาวกประมาณ ๕ โกฏิ. ท่าน

เหล่านั้นส่งข่าวไปถวายพระศาสดาว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ อย่าเสด็จเข้าไปสู่พระนคร จงประทับอยู่แต่

ในพระวิหารสิ้น ๗ วัน," ก็แลตลอด ๗ วันนั้น (ท่านเหล่านั้น) จัด

ข้าวยาคูและภัตเป็นต้น (ส่งไป) ในพระวิหารนั่นแลเพื่อภิกษุสงฆ์ แม้

ตนเองก็ไม่ออกจากเรือน.

๑. การรื่นเริงของคนพาล.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 346

ก็ครั้นเมื่อนักษัตรสุดสิ้นหลงแล้ว, ในวันที่ ๘ อริยสาวกเหล่านั้น

นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ให้เสด็จเข้าไปยังพระนคร

ถวายทานใหญ่ นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ๗ วันของพวกข้าพระองค์ล่วงไปได้โดยยากอย่างยิ่ง, เมื่อพวก

ข้าพระองค์ได้ยินวาจามิใช่ของสัตบุรุษของพวกพาล, หูทั้งสองเป็นประ-

หนึ่งว่าถึงอาการแตกทำลาย, ใคร ๆ ก็ไม่ละอายแก่ใคร ๆ, เพราะเหตุนั้น

พวกข้าพระองค์ จึงไม่ให้พระองค์เสด็จเข้าภายในพระนคร, ถึงพวก

ข้าพระองค์ก็ไม่อาจออกจากเรือน."

คนพาลกับคนฉลาดมีอาการต่างกัน

พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของอริยสาวกเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า

" กิริยาของพวกผู้มีปัญญาทราม ย่อมเป็นเช่นนี้, ส่วนผู้มีปัญญาทั้งหลาย

รักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันเป็นสาระ ย่อมบรรลุสมบัติคือ

อมตมหานิพพาน" ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

๔. ปมาทมนุยุญฺชนฺติ พาลา ทุมฺเมธิโน ชนา

อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธน เสฏฺว รกฺขติ.

มา ปมาทมนุยุญฺเชถ มา กามรติสนฺถว

อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุล สุข.

"พวกชนพาลผู้มีปัญญาทราม ย่อมประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งความประมาท, ส่วนผู้มีปัญญา

ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อัน

ประเสริฐ, ท่านทั้งหลายอย่าตามประกอบความ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 347

ประมาท, อย่าตามประกอบความเชยชิดด้วย

ความยินดีในกาม; เพราะว่าผู้ไม่ประมาทแล้ว

เพ่งพินิจอยู่ ย่อมบรรลุสุขอันไพบูลย์."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พาลา ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยความเป็น

ชนพาล คือผู้ที่ไม่รู้จักประโยชน์ในโลกนี้และโลกหน้า.

บทว่า ทุมฺเมธิโน คือไร้ปัญญา. พวกชนพาลนั้น เมื่อไม่เห็น

โทษในความประมาท ชื่อว่าย่อมประกอบเนือง ๆ ซึ่งความประมาท คือ

ว่า ย่อมให้กาลล่วงไปด้วยความประมาท.

บทว่า เมธาวี เป็นต้น ความว่า ส่วนบัณฑิตผู้ประกอบด้วย

ปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์

คือ รัตนะ ๗ ประการ อันประเสริฐ คือสูงสุด ซึ่งสืบเนืองมาแต่วงศ์

ตระกูล. อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า ชนทั้งหลายเมื่อเห็นอานิสงส์ในทรัพย์

ว่า "เราทั้งหลาย อาศัยทรัพย์อันสูงสุด จักถึงสมบัติคือกามคุณ จักทำ

ทางเป็นที่ไปสู่ปรโลกให้หมดจดได้," ย่อมรักษาทรัพย์นั้นไว้ฉันใด; แม้

บัณฑิตก็ฉันนั้น เมื่อเห็นอานิสงส์ในความไม่ประมาทว่า "ชนผู้ไม่ประ-

มาทแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งฌานทั้งหลาย มีปฐมฌานเป็นต้น ย่อมบรรลุ

โลกุตรธรรมมีมรรคและผลเป็นต้น ย่อมยังวิชชา ๓ (และ) อภิญญา ๖

ให้ถึงพร้อมได้." ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้เหมือนทรัพย์อันประเสริฐ.

๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้, ทิพโสต หูทิพย์, เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น. ปุพเพนิวา-

สานุสสติ ระลึกชาติได้, ทิพยจักขุ ตาทิพย์, อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น, รวมเป็น

อภิญญา ๖. ๓ ข้อเบื้องปลาย เรียกว่า วิชชา ๓ ก็ได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 348

บทว่า มา ปมาท ความว่า เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายอย่าตาม

ประกอบความประมาท คืออย่าให้กาลล่วงไปด้วยความประมาท.

บาทคาถาว่า มา กามรติสนฺถว ความว่า อย่าตามประกอบ คือ

อย่าคิด ได้แก่ อย่าได้เฉพาะแม้ซึ่งความเชยชิดด้วยอำนาจแห่งตัณหา กล่าว

คือ ความยินดีในวัตถุกามและกิเลสกาม.

บทว่า อปฺปมฺโต หิ เป็นต้น ความว่า เพราะว่าบุคคลผู้ไม่

ประมาทแล้ว โดยความเป็นผู้มีสติตั้งมั่น เพ่งอยู่ ย่อมบรรลุนิพพาน-

สุขอันไพบูลย์ คือโอฬาร.

ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีพระโสดาบัน

เป็นต้น. เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.

เรื่องพาลนักษัตร จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 349

๕. เรื่องพระมหากัสสปเถระ [๑๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระมหา

กัสสปเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปมาท อปฺปมาเทน" เป็นต้น.

พระเถระตรวจดูสัตวโลกด้วยทิพยจักษุ

ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระเถระอยู่ในปิปผลิคูหา เที่ยวไป

บิณฑบาต ภายหลังภัต นั่งเจริญอาโลกกสิณ ตรวจดูสัตว์ทั้งหลายผู้ประ-

มาทแล้วและไม่ประมาทแล้ว ซึ่งจุติและเกิดในทีทั้งหลาย มีน้ำ แผ่นดิน

และภูเขาเป็นต้นอยู่ ด้วยทิพยจักษุ.

พระศาสดา ประทับนั่งในพระเชตวันนั่นแล ทรงตรวจดูด้วย

ทิพยจักษุว่า "วันนี้ กัสสปผู้บุตรของเรา อยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่อะไร

หนอ ?" ทรงทราบว่า "ตรวจดูการจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลายอยู่,"

จึงตรัสว่า "ชื่อว่าการจุติและการเกิดแห่งสัตว์ทั้งหลาย แม้อันพุทธญาณ

ไม่ทรงกำหนด, ใคร ๆ ไม่สามารถจะทำการกำหนดสัตว์ทั้งหลาย ผู้ถือปฏิ-

สนธิในท้องของมารดา อันมารดาบิดายังไม่ทันรู้ก็จุติเสียแล้วได้, การรู้จุติ

และปฏิสนธิของสัตว์เหล่านั้น ไม่ใช่วิสัยของเธอ, วิสัยของเธอมีประมาณ

น้อย, ส่วนการรู้การเห็นสัตว์ทั้งหลายผู้จุติและเกิดอยู่โดยประการทั้งปวง

๑. ปิปฺผลิ แปลว่า ไม้เลียบหรือดีปลี รวมกับคูหาศัพท์ แปลว่า ถ้ำอันประกอบด้วยไม้เลียบ

หรือดีปลี อีกนัยหนึ่ง ถ้ำนี้ พระมหากัสสปเถระอาศัยอยู่มากกว่าที่อื่น นามเดิมของพระเถระ

ชื่อว่า ปิปผลิ ถ้าแปลมุ่งเอาชื่อพระเถระเป็นที่ตั้งแล้ว ก็แปลว่า ถ้ำเป็นที่อยู่ของพระปิปผลิ.

๒. อาโลกกสิณ กสิณกำหนดเอาแสงสว่างเป็นอารมณ์.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 350

เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น" ดังนี้แล้ว ทรงแผ่พระรัศมีไป

เป็นประหนึ่งว่า ประทับนั่งอยู่ในที่เฉพาะหน้า ตรัสพระคาถานี้ว่า

๕. ปมาท อปฺปมาเทน ยทา นุทติ ปณฺฑิโต

ปญฺาปาสาทมารุยฺห อโสโก โสกินึ ปช

ปพฺพตฏฺโว ภุมฺมฏฺเ ธีโร พาเล อเวกฺขติ.

"เมื่อใดบัณฑิตบรรเทาความประมาทด้วยความ

ไม่ประมาท เมื่อนั้นบัณฑิตนั้น ขึ้นสู่ปัญญา

เพียงดังปราสาท ไม่เศร้าโศก ย่อมพิจารณา

เห็นหมู่สัตว์ ผู้มีความเศร้าโศก ปราชญ์ย่อม

พิจารณาเห็นคนพาลทั้งหลายได้ เหมือนคนผู้

ยืนอยู่บนยอดเขา มองเห็นชนผู้ยืนอยู่บนพื้น

ดินได้ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นุทติ เป็นต้น ความว่า เมื่อใดบัณฑิต

พอกพูนธรรมมีความไม่ประมาทเป็นลักษณะ ไม่ให้โอกาสแก่ความ

ประมาท ชื่อว่า ย่อมบรรเทา คือย่อมขับไล่ซึ่งความประมาทนั้น ด้วย

กำลังแห่งความไม่ประมาท; เหมือนน้ำใหม่ ไหลเข้าสู่สระโบกขรณี

ยังน้ำเก่าให้กระเพื่อมแล้ว ไม่ให้โอกาสแก่น้ำเก่านั้น ย่อมรุน คือ ย่อม

ระบายน้ำเก่านั้นให้ไหลหนีไป โดยที่สุดของตนฉะนั้นนั่นแล. เมื่อนั้น

บัณฑิตนั้น มีความประมาทอันบรรเทาแล้ว บำเพ็ญปฏิปทาอันสมควร

แก่ความไม่ประมาทนั้นอยู่, ขึ้นสู่ปัญญาเพียงดังปราสาท กล่าวคือ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 351

ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ โดยอรรถว่าสูงเยี่ยม ด้วยปฏิปทานั้น ดุจบุคคล

ขึ้นสู่ปราสาททางบันไดฉะนั้น ชื่อว่าผู้ไม่เศร้าโศก เพราะความเป็นผู้ละ

ลูกศร คือความโศกเสียได้แล้ว, ย่อมพิจารณาเห็น คือย่อมมองเห็น

ประชา คือหมู่สัตว์ ผู้ชื่อว่า มีความเศร้าโศก เพราะความเป็นผู้ละลูกศร

คือความโศกยังไม่ได้ ซึ่งจุติอยู่ และเกิดอยู่ ด้วยทิพยจักษุ.

ถามว่า เหมือนอะไร ?

แก้ว่า เหมือนคนผู้ยืนบนยอดเขา ย่อมมองเห็นชนผู้ยืนอยู่บนพื้นดิน

ได้ฉะนั้น; อธิบายว่า บุคคลผู้ยืนอยู่บนยอดเขา ย่อมมองเห็นชนผู้ยืนอยู่

ที่พื้นดินได้ หรือผู้ยืนอยู่บนปราสาทชั้นบน ย่อมมองเห็นชนผู้ยืนอยู่ใน

บริเวณแห่งปราสาทได้โดยไม่ยากฉันใด; ปราชญ์คือบัณฑิต ได้แก่พระ-

มหาขีณาสพแม้นั้น ก็ย่อมพิจารณาเห็นคนพาลทั้งหลาย ผู้ยังถอนพืชคือ

วัฏฏะไม่ได้ จุติอยู่และเกิดอยู่โดยไม่ยากฉันนั้น,

ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก กระทำให้แจ้งแล้วซึ่งพระอริยผล

ทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระมหากัสสปเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 352

๒. เรื่องภิกษุ ๒ สหาย [๒๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ ๒

สหาย ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ" เป็นต้น.

ภิกษุ ๒ รูปมีปฏิปทาต่างกัน

ได้ยินว่า ภิกษุ ๒ รูปนั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระศาสดา

แล้ว เข้าไปยังวิหารอันตั้งอยู่ในป่า. ในภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่ง เก็บ

ฟืนมาต่อเวลายังวันแล้ว จัดเตาไฟแล้ว นั่งผิงไฟสนทนากับพวกภิกษุ

หนุ่มและสามเณรอยู่ตลอดปฐมยาม. รูปหนึ่งไม่ประมาท ทำสมณธรรม

อยู่ ตักเตือนรูปนอกนี้ว่า "ผู้มีอายุ ท่านอย่าทำอย่างนั้น, เพราะ

อบาย ๔ เป็นเช่นเรือนที่เป็นที่นอนแห่งชนผู้ประมาทแล้ว, ธรรมดา

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย อันบุคคลผู้โอ้อวด ไม่อาจให้ทรงยินดีได้."

ท่านไม่ฟังคำตักเตือนของภิกษุนั้น. ภิกษุนอกนี้ คิดว่า "ภิกษุนี้ไม่เชื่อ

ถ้อยคำ" จึงไม่ปรารถนา (ตักเตือน) ท่านไม่ประมาทแล้วได้ทำ

สมณธรรม. ฝ่ายพระเถระผู้เกียจคร้าน ผิงไฟในปฐมยามแล้ว ใน

เวลาที่ภิกษุนอกนี้เดินจงกรมแล้วเข้าไปสู่ห้อง จึงเข้าไป พูดว่า "ท่านผู้

เกียจคร้านมาก ท่านเข้าไปสู่ป่า เพื่อต้องการหลับนอน (หรือ):

อันบุคคลเรียนกัมมัฏฐานในสำนักพระพุทธเจ้า แล้วลุกขึ้นทำสมณธรรม

ตลอดทั้งกลางคืนกลางวัน ไม่ควรหรือ ?" ดังนี้แล้ว ก็เข้าไปยังที่อยู่

๑. อบาย ๔ คือ ๑. นิรยะ นรก ๒. ดิรัจฉานโยนิ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ๓. ปิตติวิสัย ภูมิแห่ง

เปรต ๔. อสุรกาย พวกอสุรกาย. ๒. น วจนกฺขโม ไม่อดทนต่อถ้อยคำ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 353

ของตนแล้วนอนหลับ, ฝ่ายภิกษุนอกนี้ พักผ่อนในมัชฌิมยามแล้ว

กลับลุกขึ้นทำสมณธรรมในปัจฉิมยาม. ท่านไม่ประมาทอย่างนั้น ต่อ

กาลไม่นานนัก ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. ภิกษุ

รูปเกียจคร้านนอกนี้ ให้เวลาล่วงไปด้วยความประมาทอย่างเดียว. ภิกษุ

๒ รูปนั้น ออกพรรษาแล้ว ไปสู่สำนักพระศาสดา ถวายบังคมพระศาสดา

แล้ว นั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่ง.

พระศาสดาตรัสถามภิกษุทั้งสอง

พระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถารกับภิกษุ ๒ รูปนั้นแล้ว ตรัสถาม

ว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ประมาททำสมณธรรมกันแลหรือ ?

กิจแห่งบรรพชิตของพวกเธอถึงที่สุดแล้ว แลหรือ ?" ภิกษุผู้ประมาท

กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความไม่ประมาทของภิกษุนั่น จักมี

แต่ที่ไหน ? ตั้งแต่เวลาไป เธอนอนหลับให้เวลาล่วงไปแล้ว."

พระศาสดา ตรัสถามว่า "ก็เธอเล่า ? ภิกษุ."

ภิกษุรูปเกียจคร้าน ทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

เก็บฟืนมาต่อเวลายังวัน จัดเตาไฟแล้ว นั่งผิงไฟอยู่ตลอดปฐมยามไม่หลับ

นอน ให้เวลาล่วงไปแล้ว."

ผู้ไม่ปัญญาดีย่อมละทิ้งผู้มีปัญญาทราม

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า "เธอประมาทแล้ว ปล่อย

เวลาล่วงไป ( เปล่า) ยังมาพูดว่า ' ตัวไม่ประมาท ' และทำผู้ไม่ประมาท

ให้เป็นผู้ประมาท. เธอเป็นเหมือนม้าตัวทุรพล ขาดเชาว์แล้วในสำนัก

๑. หมายความว่า ฝีเท้า.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 354

แห่งบุตรของเรา, ส่วนบุตรของเรานี่ เป็นเหมือนม้าที่มีเชาว์เร็วในสำนัก

ของเธอ" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๖. อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ สุติเตสุ พหุชาคโร

อพลสฺสว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโส.

" ผู้มีปัญญาดี เมื่อชนทั้งหลายประมาทแล้ว

ไม่ประมาท, เมื่อชนทั้งหลายหลับแล้ว ตื่นอยู่โดย

มาก ย่อมละบุคคลผู้มีปัญญาทรามไปเสีย ดุจม้า

ตัวมีฝีเท้าเร็ว ละทิ้งตัวหากำลังมิได้ไปฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺโต ความว่า ชื่อว่า ผู้ถึง

พร้อมด้วยความไม่ประมาท เพราะความเป็นผู้ถึงความไพบูลย์แห่งสติ ได้

แก่พระขีณาสพ.

บทว่า ปมตฺเตสุ ความว่า เมื่อสัตว์ทั้งหลายตั้งอยู่แล้วในการ

ปล่อยสติ. บทว่า สุตฺเตสุ คือ (เมื่อสัตว์ทั้งหลาย) ชื่อว่า ประพฤติ

หลับอยู่ทุกอิริยาบถทีเดียว เพราะไม่มีธรรมเป็นเครื่องตื่น คือ สติ.

บทว่า พหุชาคโร ได้แก่ ผู้ดำรงอยู่ในธรรมเป็นเครื่องตื่น คือความ

ไพบูลย์แห่งสติเป็นอันมาก.

บทว่า อพลสฺสว ความว่า ดุจม้าสินธพอาชาไนยตัวมีเชาวน์เร็ว

วิ่งทิ้งม้าตัวมีกำลังทราม มีเชาวน์ขาดแล้ว โดยความเป็นม้ามีเท้าด้วนไป

ฉะนั้น.

บทว่า สุเมธโส เป็นต้น ความว่า บุคคลผู้มีปัญญายอดเยี่ยม

ย่อมละบุคคลผู้เห็นปานนั้นไป ด้วยอาคมคือปริยัติบ้าง ด้วยอธิคมคือการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 355

บรรลุมรรคผลบ้าง : อธิบายว่า เมื่อคนมีปัญญาทึบพยายามเรียนพระสูตร

สูตรหนึ่งอยู่นั้นแล, ผู้มีปัญญาดีย่อมเรียนได้วรรคหนึ่ง. ย่อมละไปด้วย

อาคมคือปริยัติ อย่างนี้ก่อน : อนึ่ง เมื่อคนมีปัญญาทึบ กำลังพยายาม

ทำที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันอยู่นั่นแล และเรียนกัมมัฏฐานสาธยายอยู่

นั่นแล, แม้ในกาลเป็นส่วนเบื้องต้น บุคคลผู้มีปัญญาดี เข้าไปสู่ที่พักกลาง

คืนหรือที่พักกลางวันที่ผู้อื่นทำไว้ พิจารณากัมมัฏฐานอยู่ ยังสรรพกิเลสให้

สิ้นไป ทำโลกุตรธรรม ๙ ประการ ให้อยู่ในเงื้อมมือได้, ผู้มีปัญญาดี

ย่อมละไปได้ด้วยอธิคมคือการบรรลุมรรคผลอย่างนี้. อนึ่ง ผู้มีปัญญาดีละ

คือ ทั้งคนมีปัญญาทึบนั้นไว้ในวัฏฏะ ถอน (ตน) ออกจากวัฏฏะไป

โดยแท้แล.

ในกาลจบคาถา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุ ๒ สหาย จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 356

๗. เรื่องท้าวสักกะ [๒๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อทรงอาศัยเมืองเวสาลี ประทับอยู่ในกูฏาคารศาลา

ทรงปรารภท้าวสักกเทวราช ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมาเทน

มฆวา" เป็นต้น.

เหตุที่ท้าวสักกะได้พระนามต่าง ๆ

ความพิสดารว่า เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ อยู่ในเมืองเวสาลี.

พระองค์ทรงสดับเทศนาในสักกปัญหสูตรของพระตถาคตแล้ว ทรงดำริว่า

" พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมตรัสสมบัติของท้าวสักกะไว้มากมาย; พระ-

องค์ทรงเห็นแล้วจึงตรัส หรือไม่ทรงเห็นแล้วตรัสหนอแล ? ทรงรู้จัก

ท้าวสักกะหรือไม่หนอ ? เราจักทูลถามพระองค์."

ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีนามว่า มหาลิ เข้าไปเฝ้าถึงที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับอยู่; ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว จึงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้านั่ง ณ

ที่สมควรข้างหนึ่ง. เจ้ามหาลิ ลิจฉวี ครั้นนั่ง ณ ที่สมควรข้างหนึ่งแล้วแล

ได้กราบทูลคำนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท้าว

สักกะผู้จอมแห่งเทพทั้งหลาย พระองค์ทรงเห็นแล้วแลหรือ ?"

พระผู้มีพระภาคเจ้า. มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย

อาตมภาพเห็นแล้วแล."

๑. ศาลาดุจเรือนยอด. ๒. ที. มหา. ๑๐/๒๙๘.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 357

มหาลิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ท้าวสักกะนั้น จักเป็นท้าวสักกะ

ปลอมเป็นแน่, เพราะว่า ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย บุคคล

เห็นได้โดยยาก พระเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า. มหาลิ อาตมภาพ รู้จักทั้งตัวท้าวสักกะ ทั้ง

ธรรมที่ทำให้เป็นท้าวสักกะ ก็ท้าวสักกะถึงความเป็นท้าวสักกะ เพราะ

สมาทานธรรมเหล่าใด, อาตมภาพ ก็รู้จักธรรมเหล่านั้นแล.

มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อนเป็น

มนุษย์ ได้เป็นมาณพชื่อมฆะ, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า 'ท้าวมฆวา;'

มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อน เป็น

มนุษย์ ได้ให้ทานก่อน (เขา), เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าว

ปุรินทท;'

มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อน เป็น

มนุษย์ ได้ให้ทานโดยเคารพ. เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าว

สักกะ;'

มหาลิ ท้าวสักกะเป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ในกาลก่อน เป็น

มนุษย์ ได้ให้ที่พักอาศัย, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าววาสวะ;'

มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย ทรงดำริข้อความ

ตั้งพันได้โดยครู่เดียว, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า 'สหัสสักขะ;'

มหาลิ นางอสุรกัญญาชื่อ สุชาดา เป็นพระปชาบดีของท้าว

สักกะผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย, เพราะฉะนั้น เขาจึงเรียกว่า ' ท้าว

สุชัมบดี;'

๑. สหสฺสกฺโข แปลว่า ผู้เห็นอรรถตั้งพัน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 358

มหาลิ ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งจอมเทพทั้งหลาย เสวยราชสมบัติ

เป็นอิสริยาธิปัตย์แห่งเทพทั้งหลายชั้นดาวดึงส์, เพราะฉะนั้น เขาจึง

เรียกว่า ' เทวานมินทะ ;'

มหาลิ ท้าวสักกะถึงความเป็นท้าวสักกะแล้ว เพราะได้สมาทาน

วัตตบท ๗ ใด, วัตตบท ๗ นั้น ได้เป็นอันท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่ง

เทพทั้งหลาย ซึ่ง ( ครั้ง) เป็นมนุษย์ในกาลก่อน สมาทานให้บริบูรณ์

แล้ว; วัตตบท ๗ ประการเป็นไฉน ? คือเราพึงเป็นผู้เลี้ยงมารดาบิดา

ตลอดชีวิต; พึงเป็นผู้มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลตลอด

ชีวิต; พึงเป็นผู้พูดอ่อนหวานตลอดชีวิต; พึงเป็นผู้ไม่พูดส่อเสียดตลอด

ชีวิต; พึงมีจิตปราศจากมลทิน คือ ความตระหนี่ มีเครื่องบริจาค

อันสละแล้ว มีฝ่ามืออันล้างแล้ว ยินดีแล้วในการสละ ควรแก่การขอ

ยินดีในการจำแนกทาน พึงอยู่ครอบครองเรือนตลอดชีวิต; พึงเป็นผู้

กล่าวคำสัตย์ตลอดชีวิต; พึงเป็นผู้ไม่โกรธตลอดชีวิต; ถ้าความโกรธพึง

เกิดแก่เราไซร้ เราพึงหักห้ามมันเสียพลันทีเดียว ดังนี้, มหาลิ ท้าว

สักกะถึงความเป็นท้าวสักกะ เพราะได้สมาทานวัตตบท ๗ ใด, วัตต-

บท ๗ นั้น ได้เป็นของท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมแห่งเทพทั้งหลาย (ครั้ง)

เกิดเป็นมนุษย์ในกาลก่อน สมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ฉะนี้แล

(พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสคำไวยากรณ์นี้แล้ว, ได้ตรัสพระ-

พุทธพจน์ภายหลังว่า)

๑. หมายความว่า เตรียมหยิบสิ่งของให้ทาน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 359

" ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยง

มารดาบิดา มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ใน

ตระกูล กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ละวาจาส่อ

เสียด ประกอบในอันกำจัดความตระหนี่ มีวาจาสัตย์

ข่มความโกรธได้ นั้นแลว่า "สัปบุรุษ."

ท้าวสักกะบำเพ็ญกุศลเมื่อเป็นมฆมาณพ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า " มหาลิ กรรมนี้ท้าวสักกะทำไว้ใน

คราวเป็นมฆมาณพ " ดังนี้แล้ว อันมหาลิ ลิจฉวี ใคร่จะทรงสดับ

ข้อปฏิบัติของท้าวสักกะนั้นโดยพิสดาร จึงทูลถามอีกว่า "มฆมาณพ

ปฏิบัติอย่างไร ? พระเจ้าข้า" จึงตรัสว่า " ถ้ากระนั้น " จงฟังเถิด

มหาลิ " ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า)

เรื่องมฆมาณพ

ในอดีตกาล มาณพชื่อว่ามฆะ ในอจลคามในแคว้นมคธ ไปสู่

สถานที่ทำงานในบ้าน คุ้ยฝุ่นด้วยปลายเท้าในที่แห่งตนยืนแล้ว ได้ทำให้

เป็นรัมณียสถานแล้วพักอยู่ อีกคนหนึ่งเอาแขนผลักเขา นำออกจากที่

นั้นแล้ว ได้พักอยู่ในที่นั้นเสียเอง. เขาไม่โกรธต่อคนนั้น ได้กระทำที่

อื่นให้เป็นรัมณียสถานแล้วพักอยู่ คนอื่นก็เอาแขนผลักเขานำออกมา

จากที่นั้นแล้ว ได้พักอยู่ในที่นั้นเสียเอง. เขาไม่โกรธแม้ต่อคนนั้น ได้

กระทำที่อื่นให้เป็นรัมณียสถานแล้วก็พักอยู่. บุรุษทั้งหลายที่ออกไป

แล้ว ๆ จากเรือน ก็เอาแขนผลักเขา นำออกจากสถานที่เขาชำระแล้ว ๆ

๑. ส. ส. ๑๕/๓๓๗. ๒. ที่น่ายินดี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 360

ด้วยประการฉะนี้. เขาคิดเสียว่า " ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด เป็นผู้ได้รับ

สุขแล้ว, กรรมนี้พึงเป็นกรรมให้ความสุขแก่เรา" ดังนี้แล้ว วันรุ่งขึ้น

ได้ถือเอาจอบไปทำที่เท่ามณฑลแห่งลานให้เป็นรัมณียสถานแล้ว. ปวงชน

ได้ไปพักอยู่ในที่นั้นนั่นแล.

ครั้นในฤดูหนาว เขาได้ก่อไฟให้คนเหล่านั้น, ในฤดูร้อน ได้

ให้น้ำ. ต่อมา เขาคิดว่า " ชื่อรัมณียสถาน เป็นที่รักของคนทั้งปวง,

ชื่อว่าไม่เป็นที่รักของใคร ๆ ไม่มี, จำเดิมแต่นี้ไป เราควรเที่ยวทำหน

ทางให้ราบเรียบ" ดังนี้แล้ว จึงออกไป (จากบ้าน) แต่เช้าตรู่ทำ

หนทางให้ราบเรียบ เที่ยวตัดรานกิ่งไม้ที่ควรตัดรานเสีย.

มฆมาณพได้สหาย ๓๓ คน

ภายหลัง บุรุษอีกคนหนึ่งเห็นเขาแล้ว กล่าวว่า "ทำอะไรเล่า ?

เพื่อน."

มฆะ. ฉันทำหนทางเป็นที่ไปสวรรค์ของฉันละซิ, เพื่อน.

บุรุษ. ถ้ากระนั้น แม้ฉันก็จะเป็นเพื่อนของท่าน.

มฆะ. จงเป็นเถอะเพื่อน ธรรมดาสวรรค์ย่อมเป็นที่รักที่ชอบใจ

ของชนเป็นอันมาก

ตั้งแต่นั้นมา ก็ได้เป็น ๒ คนด้วยกัน. แม้ชายอื่นอีก เห็นเขา

ทั้งสองแล้ว ถามเหมือนอย่างนั้นนั่นแล พอทราบแล้ว ก็เป็นสหาย

ของคนทั้งสอง แม้คนอื่น ๆ อีกก็ได้ทำอย่างนั้น รวมคนทั้งหมดจึง

เป็น ๓๓ คน ด้วยประการฉะนี้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 361

สหาย ๓๓ คนถูกหาว่าเป็นโจร

ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด มีมือถือวัตถุมีจอบเป็นต้น กระทำหนทาง

ให้ราบเรียบไปถึงที่ประมาณ ๑ โยชน์ และ ๒ โยชน์.

นายบ้านเห็นชายเหล่านั้นแล้วคิดว่า " มนุษย์เหล่านี้ประกอบแล้ว

ในฐานะที่ไม่ควรประกอบ, แม้ถ้าชนเหล่านี้ พึงนำวัตถุทั้งหลายมีปลา

และเนื้อเป็นต้นมาจากป่า, หรือทำสุราแล้วดื่ม, หรือทำกรรมเช่นนั้น

อย่างอื่น, เราพึงได้ส่วนอะไร ๆ บ้าง."

ลำดับนั้น นายบ้านจึงให้เรียกพวกนั้นมาถามว่า " พวกแกเที่ยว

ทำอะไรกัน ?"

ชนเหล่านั้น. ทำทางสวรรค์ ขอรับ.

นายบ้าน. ธรรมดาผู้อยู่ครองเรือนทั้งหลาย จะทำอย่างนั้นไม่ควร,

ควรนำวัตถุทั้งหลายมีปลาและเนื้อเป็นต้นมาจากป่า ควรทำสุราแล้วดื่ม

และควรทำการงานทั้งหลายมีประการต่าง ๆ.

ชนเหล่านั้นคัดค้านคำของนายบ้านนั้นเสีย. แม้ถูกเขาว่ากล่าวซ้ำ ๆ

อยู่ ก็คงคัดค้านร่ำไป. เขาโกรธแล้ว คิดว่า "เราจักให้พวกมัน

ฉิบหาย." จึงไปยังสำนักของพระราชา กราบทูลว่า "ข้าพระองค์

เห็นพวกโจรเที่ยวไป ด้วยการคุมกันเป็นพวก พระเจ้าข้า" เมื่อพระ-

ราชาตรัสว่า " เธอจงไป, จงจับพวกมันแล้วนำมา, ได้ทำตามรับสั่ง

แล้ว แสดงแก่พระราชา.

พระราชา มิทันได้ทรงพิจารณา ทรงบังคับว่า "พวกท่านจงให้

ช้างเหยียบ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 362

ช้างไม่เหยียบเพราะอานุภาพแห่งเมตตา

มฆมาณพได้ให้โอวาทแก่ชนที่เหลือทั้งหลายว่า "สหายทั้งหลาย

เว้นเมตตาเสีย ที่พึ่งอย่างอื่นของพวกเรา ไม่มี, ท่านทั้งหลายไม่ต้อง

ทำความโกรธในใครๆ จงเป็นผู้มีจิตเสมอเทียวด้วยเมตตาจิต ในพระราชา

ในนายบ้าน ในช้างที่จะเหยียบ และในคน" ชนเหล่านั้นก็ได้ทำ

อย่างนั้น.

ลำดับนั้น ช้างไม่อาจเข้าไปใกล้ได้ เพราะอานุภาพแห่งเมตตา

ของชนเหล่านั้น. พระราชาทรงสดับความนั้นแล้ว ตรัสว่า "ช้างมัน

เห็นคนมาก จึงไม่อาจเหยียบได้, ท่านทั้งหลายจงไป, เอาเสื่อลำแพน

คลุมเสียแล้วจึงให้มันเหยียบ."

ช้างอันเขาเอาเสื่อลำแพนคลุมชนเหล่านั้นไสเข้าไปเหยียบ ก็ถอย

กลับไปเสียแต่ไกลเทียว.

พระราชา ทรงสดับประพฤติเหตุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า "ใน

เรื่องนี้ ต้องมีเหตุ." แล้วรับสั่งให้เรียกชนเหล่านั้นมาเฝ้า ตรัสถามว่า

" พ่อทั้งหลาย พวกเจ้าอาศัยเรา ไม่ได้อะไรหรือ ?"

พวกมฆะ. นี่อะไร ? พระเจ้าข้า.

พระราชา. ข่าวว่า พวกเจ้าเป็นโจรเที่ยวไปในป่า ด้วยการคุมกัน

เป็นพวก.

พวกมฆะ. ใคร กราบทูลอย่างนั้น พระเจ้าข้า ?

พระราชา. นายบ้าน, พ่อ.

พวกมฆะ. ขอเดชะ พวกข้าพระองค์ไม่ได้เป็นโจร, แต่พวก

ข้าพระองค์ ชำระหนทางไปสวรรค์ของตน ๆ จึงทำกรรมนี้เเละกรรมนี้,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 363

นายบ้านชักนำพวกข้าพระองค์ในการทำอกุศล ประสงค์จะให้พวก

ข้าพระองค์ผู้ไม่ทำตามถ้อยคำของตนฉิบหาย โกรธแล้ว จึงกราบทูล

อย่างนั้น.

ชน ๓๓ คนได้รับพระราชทาน

ทีนั้น พระราชา ทรงสดับถ้อยคำของชนเหล่านั้น เป็นผู้ถึงความ

โสมนัส ตรัสว่า " พ่อทั้งหลาย สัตว์ดิรัจฉานนี้ ยังรู้จักคุณของพวกเจ้า,

เราเป็นมนุษย์ ก็ไม่อาจรู้จัก, จงอดโทษแก่เราเถิด," ก็แล ครั้นตรัส

อย่างนั้นแล้ว ได้พระราชทานนายบ้านพร้อมทั้งบุตรและภริยาให้เป็นทาส,

ช้างตัวนั้นให้เป็นพาหนะสำหรับขี่, และบ้านนั้นให้เป็นเครื่องใช้สอยตาม

สบายแก่ชนเหล่านั้น.

มฆมาณพกับพวกสร้างศาลา

พวกเขาพูดกันว่า " พวกเราเห็นอานิสงส์แห่งบุญในปัจจุบันนี้

ทีเดียว," ต่างมีใจผ่องใสโดยประมาณยิ่ง ผลัดวาระกันขึ้นช้างนั้นไป

ปรึกษากันว่า " บัดนี้ พวกเราควรทำบุญให้ยิ่งขึ้นไป," ต่างไต่ถามกัน

ว่า " พวกเราจะทำอะไรกัน ?" ตกลงกันว่า " จักสร้างศาลาเป็นที่พัก

ของมหาชนให้ถาวร ในหนทางใหญ่ ๔ แยก." พวกเขาจึงสั่งให้หาช่าง

ไม้มาแล้วเริ่มสร้างศาลา. แต่เพราะปราศจากความพอใจในมาตุคาม จึง

ไม่ได้ให้ส่วนบุญในศาลานั้นแก่มาตุคามทั้งหลาย.

มฆมาณพมีภริยา ๔ คน

ก็ในเรือนของมฆมาณพ มีหญิง ๔ คน คือ นางสุนันทา สุจิตรา

สุธรรมา สุชาดา. บรรดาหญิง ๔ คนนั้น นางสุธรรมาคบคิดกับนาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 364

ช่างไม้ กล่าวว่า " พี่ ขอพี่จงทำฉันให้เป็นใหญ่ในศาลานี้เถิด"

ดังนี้แล้ว ได้ให้ค่าจ้าง (แก่เขา) นายช่างไม้นั้นรับคำว่า " ได้ "

แล้วตากไม้สำหรับทำช่อฟ้าให้แห้งเสียก่อนสิ่งอื่น แล้วถาก สสักทำไม้

ช่อฟ้าให้สำเร็จ แล้วสลักอักษรว่า " ศาลานี้ชื่อสุธรรมา" ดังนี้แล้วเอา

ผ้าพันเก็บไว้.

นางสุธรรมาได้ร่วมกุศลสร้างศาลาด้วย

ครั้นช่างไม้สร้างศาลาเสร็จแล้ว ในวันยกช่อฟ้า จึงกล่าวกะชน

๓๓ คนนั้นว่า " นาย ตายจริง ! ข้าพเจ้านึกกิจที่ควรทำอย่างหนึ่งไม่ได้."

พวกมฆะ. ผู้เจริญ กิจชื่ออะไร ?

ช่าง. ช่อฟ้า.

พวกมฆะ. ช่างเถิด, พวกเราจักนำช่อฟ้านั้นมาเอง,

ช่าง. ข้าพเจ้าไม่อาจทำด้วยไม้ที่ตัดเดี๋ยวนี้ได้, ต้องได้ไม้ช่อฟ้าที่

เขาตัดถากสลักแล้วเก็บไว้ในก่อนนั่นแล จึงจะใช้ได้.

พวกมฆะ. เดี๋ยวนี้ พวกเราควรทำอย่างไร ?

ช่าง. ถ้าในเรือนของใคร ๆ มีช่อฟ้าที่ทำไว้ขาย ซึ่งเขาทำเสร็จ

แล้วเก็บไว้ไซร้, ควรแสดงหาช่อฟ้านั้น.

พวกเขาแสวงหาอยู่ เห็นในเรือนของนางสุธรรมา แล้วให้ทรัพย์

พันหนึ่ง ก็ไม่ได้ด้วยทรัพย์ที่เป็นราคา, เมื่อนางสุธรรมาพูดว่า " ถ้า

"พวกท่านทำฉันให้มีส่วนบุญในศาลาด้วยไซร้, ฉันจักให้. " ตอบว่า

" พวกข้าพเจ้าไม่ให้ส่วนบุญแก่พวกมาตุคาม." ลำดับนั้น ช่างไม้กล่าว

กะคนเหล่านั้นว่า " นาย พวกท่านพูดอะไร ? เว้นพรหมโลกเสีย

สถานที่อื่น ชื่อว่า เป็นที่เว้นมาตุคาม ย่อมไม่มี, พวกท่านจงรับเอา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 365

ช่อฟ้าเถิด, เมื่อเป็นเช่นนั้น การงานของพวกเราก็จักถึงความสำเร็จ."

พวกเขา รับว่า " ดีละ" แล้วรับเอาช่อฟ้า สร้างศาลาให้สำเร็จแล้ว

แบ่งเป็น ๓ ส่วน ( คือ ) ในส่วนหนึ่ง สร้างเป็นที่สำหรับอยู่ของพวก

อิสรชน, ส่วนหนึ่ง สำหรับคนเข็ญใจ, ส่วนหนึ่ง สำหรับคนไข้.

เรื่องช้างเอราวัณ

ชน ๓๓ คน ให้ปูกระดาน ๓๓ แผ่น แล้วให้สัญญาช้างว่า

" ผู้เป็นแขก มานั่งบนแผ่นกระดานอันผู้ใดปูไว้, เจ้าจงพาแขกนั้นไป

ให้พักอยู่ที่เรือนของผู้นั้น ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ. การ

นวดเท้า การนวดหลัง ของควรเคี้ยว ควรบริโภค ที่นอน ทุกอย่าง

จักเป็นหน้าที่ของผู้นั้น ซึ่งเป็นเจ้าของแผ่นกระดานนั่นแหละ."

ช้างรับผู้ที่มาแล้ว ๆ นำไปสู่เรือนของเจ้าของกระดานนั่นเทียว.

ในวันนั้น เจ้าของกระดานนั้น ย่อมทำกิจที่ควรทำแก่ผู้ที่ช้างนำไปนั้น.

นายมฆะ ปลูกต้นทองหลางต้นหนึ่งไว้ ไม่สู้ห่างศาลา แล้วปูแผ่นศิลา

ไว้ที่โคนต้นทองหลางนั้น. พวกที่เข้าไปแล้ว ๆ สู่ศาลา แลดูช่อฟ้า

อ่านหนังสือแล้ว ย่อมพูดกันว่า "ศาลาชื่อสุธรรมา " ชื่อของชน ๓๓

คนไม่ปรากฏ. นางสุนันทา คิดว่า " พวกนี้ เมื่อทำศาลาทำพวกเรา

ไม่ให้มีส่วนบุญด้วย, แต่นางสุธรรมา ก็ทำช่อฟ้าเข้าร่วมส่วนจนได้

เพราะความที่ตนเป็นคนฉลาด. เราก็ควรจะทำอะไร ๆ บ้าง, จักทำอะไร

หนอ ?" ในทันใดนั้น นางก็ได้มีความคิดดังนี้ว่า "พวกที่มาสู่ศาลา

ควรจะได้น้ำกินและน้ำอาบ, เราจะให้เขาขุดสระโบกขรณี," นางให้เขา

สร้างสระโบกขรณีแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 366

นางสุจิตราคิดว่า " นางสุธรรมาได้ให้ช่อฟ้า, นางสุนันทา

ได้สร้างสระโบกขรณี, เราก็ควรสร้างอะไร ๆ บ้าง เราจักทำอะไร

หนอแล ? " ทีนั้น นางได้มีความคิดดังนี้ว่า " ในเวลาที่พวกชนมาสู่

ศาลา ดื่มน้ำอาบน้ำแล้วไป ควรจะประดับระเบียบดอกไม้แล้วจึงไป,

เราจักสร้างสวนดอกไม้. " นางได้ให้เขาสร้างสวนดอกไม้อันน่ารื่นรมย์

แล้ว. ผู้ที่จะออกปากว่า "โดยมากในสวนนั้น ไม่มีต้นไม้ที่เผล็ดดอก

ออกผลชื่อโน้น" ดังนี้ มิได้มี.

ฝ่ายนางสุชาดาคิดเสียว่า "เราเป็นทั้งลูกลุงของนายมฆะ เป็น

ทั้งบาทบริจาริกา (ภริยา). กรรมที่นายมฆะนั่นทำแล้ว ก็เป็นของเรา

เหมือนกัน, กรรมที่เราทำแล้ว ก็เป็นของนายมฆะนั่นเหมือนกัน "

ดังนี้แล้ว ไม่ทำอะไร ๆ มัวแต่งแต่ตัวของตนเท่านั้น ปล่อยเวลาให้

ผ่านพ้นไปแล้ว.

มฆมาณพบำเพ็ญวัตตบท ๗ ประการ

ฝ่ายนายมฆะ บำเพ็ญวัตตบท ๗ เหล่านี้ คือ บำรุงมารดา

บิดา ๑ ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้เจริญในตระกูล ๑ พูดคำสัตย์ ๑ ไม่พูด

คำหยาบ ๑ ไม่พูดส่อเสียด ๑ กำจัดความตระหนี่ ๑ ไม่โกรธ ๑

ถึงความเป็นผู้ควรสรรเสริญอย่างนี้ว่า

" ทวยเทพชั้นดาวดึงส์ เรียกนรชนผู้เลี้ยง

มารดาบิดา มีปกติประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ใน

ตระกูล กล่าวถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน ละวาจาส่อ

เสียด ประกอบในอันกำจัดความตระหนี่มีวาจาสัตย์

ข่มความโกรธได้ นั่นแลว่า "สัปบุรุษ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 367

ในเวลาสิ้นชีวิต ได้เกิดเป็นท้าวสักกเทวราชในภพดาวดึงส์. สหายของ

เขาแม้เหล่านั้น ก็เกิดในที่นั้นเหมือนกัน. ช่างไม้ เกิดเป็นวิศวกรรม

เทพบุตร.

เทวดากับอสูรทำสงครามกัน

ในกาลนั้น พวกอสูรอยู่ในภพดาวดึงส์ อสูรเหล่านั้น คิดว่า

" เทพบุตรใหม่ ๆ เกิดแล้ว" จึงเตรียม (เลี้ยง) น้ำทิพย์. ท้าวสักกะ

ได้ทรงนัดหมายแก่บริษัทของพระองค์ เพื่อประสงค์มิให้ใคร ๆ ดื่ม.

พวกอสูรดื่มน้ำทิพย์เมาทั่วกันแล้ว. ท้าวสักกะทรงดำริว่า " เราจะต้อง

การอะไร ? ด้วยความเป็นราชาอันทั่วไปด้วยเจ้าพวกนี้ " ทรงนัดหมาย

แก่บริษัทของพระองค์แล้ว ให้ช่วยกันจับอสูรเหล่านั้นที่เท้าทั้งสองให้

เหวี่ยงลงไปในมหาสมุทร. อสูรเหล่านั้นมีศีรษะปักดิ่งตกลงไปในสมุทร

แล้ว, ขณะนั้น อสูรวิมานได้เกิดที่พื้นภายใต้แห่งเขาสิเนรุ ด้วยอานุภาพ

แห่งบุญของพวกเขา. ต้นไม้ชื่อจิตตปาลิ ( ไม้แคฝอย) ก็เกิดแล้ว.

แลเมื่อสงครามระหว่างเทวดาและอสูร (ประชิดกัน), ครั้นเมื่อ

พวกอสูรปราชัยแล้ว, ชื่อว่า เทพนครในชั้นดาวดึงส์ประมาณหมื่นโยชน์

เกิดขึ้นแล้ว. และในระหว่างประตูด้านทิศตะวันออกและทิศตะวันตกแห่ง

พระนครนั้น มีเนื้อที่ประมาณหมื่นโยชน์, ระหว่างประตูด้านทิศใต้และ

ทิศเหนือ ก็เท่านั้น. อนึ่ง พระนครนั้นประกอบด้วยประตูพันหนึ่ง ประดับ

ด้วยอุทยานและสระโบกขรณี. ปราสาทนามว่า เวชยันต์ สูง ๗๐๐ โยชน์

แล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ ประดับด้วยธงทั้งหลาย สูง ๓๐๐ โยชน์

๑. แก้ว ๗ ประการ คือ แก้วมณี แก้วไพฑูรย์ แก้วประพาฬ แก้วมุกดา แก้ววิเชียร

แก้วผลึก แก้วหุง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 368

ผุดขึ้นด้วยผลแห่งศาลาในท่ามกลางพระนครนั้น, ที่คันเป็นทอง ได้มีธง

เป็นแก้วมณี, ที่คันเป็นแก้วมณี ได้มีธงเป็นทอง, ที่คันเป็นแก้วประพาฬ

ได้มีธงเป็นแก้วมุกดา, ที่คันเป็นแก้วมุกดา ได้มีธงเป็นแก้วประพาฬ,

ที่คันเป็นแก้ว ๗ ประการ ได้มีธงเป็นแก้ว ๗ ประการ. ธงที่ตั้งอยู่

กลาง ได้มีส่วนสูง ๓๐๐ โยชน์ ปราสาทสูงพันโยชน์ ล้วนแล้วด้วย

แก้ว ๗ ประการ เกิดแล้วด้วยผลแห่งศาลา ด้วยประการฉะนี้.

ต้นปาริฉัตตกะ มีปริมณฑล (แผ่ไป) ๓๐๐ โยชน์โดยรอบ

เกิดขึ้นด้วยผลแห่งการปลูกต้นทองหลาง. บัณฑุกัมพลศิลา มีสีดังดอกชัย-

พฤกษ์สีครั่งและสีบัวโรย โดยยาว ๖๐ โยชน์ โดยกว้าง ๕๐ โยชน์ หนา

๑๕ โยชน์ ที่กึ่งแห่งพระวรกายยุบลงในเวลาประทับนั่ง ฟูขึ้นเต็มที่อีก

ในเวลาเสด็จลุกขึ้น เกิดขึ้นแล้วที่โคนไม้ปาริฉัตตกะ ด้วยผลแห่งการปู

แผ่นศิลา.

เทพบุตร ๓๓ องค์นั่งบนกระพองช้างเอราวัณ

ส่วนช้างเกิดเป็นเทพบุตรชื่อเอราวัณ. แท้จริง สัตว์ดิรัจฉาน

ทั้งหลาย ย่อมไม่มีในเทวโลก; เพราะฉะนั้น ในเวลาท้าวสักกะเสด็จ

ออกเพื่อประพาสพระอุทยาน เทพบุตรนั้น จึงจำแลงตัวเป็นช้างชื่อ

เอราวัณ สูงประมาณ ๑๕๐ โยชน์. ช้างเทพบุตรนั้น นิรมิตกระพอง

๓๓ กระพอง เพื่อประโยชน์แก่ชน ๓ คน, ในกระพองเหล่านั้น

กระพองหนึ่ง ๆ โดยกลมประมาณ ๓ คาวุต โดยยาวประมาณกึ่งโยชน์.

๑. ชยสุมนะ ชื่อต้นไม้ดอกแดง เช่นต้นเซ่งและหงอนไก่เป็นต้น. ๒. ปาฏลิสีแดงเจือขาว.

แดงอ่อนชมพู เสตรตฺตมิสฺโส ปาฏโล นาม. อภิ. หน้า ๑๖๗.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 369

ช้างเทพบุตรนั้นนิรมิตกระพองชื่อสุทัศนะประมาณ ๓๐ โยชน์ ในท่ามกลาง

กระพองทั้งหมด เพื่อประโยชน์แก่ท้าวสักกะ เบื้องบนแห่งกระ-

พองนั้น มีมณฑปแก้วประมาณ ๑๒ โยชน์ ธงขลิบด้วยแก้ว ๗ ประการ

สูงโยชน์หนึ่ง ตั้งขึ้นในระหว่าง ๆ (เป็นระยะ ๆ) ในมณฑปแก้วนั้น.

ข่ายแห่งกระดิ่งที่ถูกลมอ่อน ๆ พัดแล้ว มีเสียงกังวานปานเสียงทิพย์สังคีต

ประสานด้วยเสียงดนตรีอันมีองค์ ๕ ห้อยอยู่ที่ริมโดยรอบ. บัลลังก์

แก้วมณีประมาณโยชน์หนึ่งเป็นพระแท่น ที่เขาจัดไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อ

ท้าวสักกะ ในท่ามกลางมณฑป, ท้าวสักกะย่อมประทับนั่งเหนือบัลลังก์

นั้น เทพบุตร ๓๓ องค์นั่งบนรัตนบัลลังก์ ในกระพองของตน. บรรดา

กระพอง ๓๓ กระพอง ในกระพองหนึ่ง ๆ ช้างเทพบุตรนั้นนิรมิตงา

กระพองละ ๗ งา, ในงาเหล่านั้น งาหนึ่ง ๆ ยาวประมาณ ๕๐ โยชน์,

ในงาหนึ่ง ๆ มีสระโบกขรณี (งาละ) ๗ สระ, ในสระโบกขรณีแต่ละ

สระ มีกอบัวสระละ ๗ กอ, ในกอหนึ่ง ๆ มีดอกบัวกอละ ๗ ดอก,

ในดอกหนึ่ง ๆ มีกลีบดอกละ ๗ กลีบ, ในกลีบหนึ่ง ๆ (มี) เทพธิดา

ฟ้อนอยู่ ๗ องค์: มหรสพฟ้อนย่อมมีบนงาช้าง ในที่ ๕๐ โยชน์โดยรอบ

อย่างนี้แล. ท้าวสักกเทวราชเสวยยศใหญ่เสด็จเที่ยวไป ด้วยประการฉะนี้.

ภริยาของมฆมาณพ ๓ คนก็เกิดในภพดาวดึงส์

แม้นางสุธรรมา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเถิดในภพดาวดึงส์นั้น

เหมือนกัน. เทวสภาชื่อสุธรรมา มีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ได้เกิดแล้ว

๑. กาล กตฺวา ทำกาละแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 370

แก่นาง. ได้ยินว่า ชื่อว่าสถานที่อื่น อันน่าปลื้มใจกว่านั้น ย่อมไม่มี.

ในวันอัฏฐมี (ดิถีที่ ๘) แห่งเดือน มีการฟังธรรม ในที่นั้นนั่นเอง.

จนกระทั่งทุกวันนี้ ชนทั้งหลาย เห็นสถานที่อันน่าปลื้มใจแห่งใดแห่งหนึ่ง

เข้า ก็ยังกล่าวกันอยู่ว่า "เหมือนเทวสภาชื่อสุธรรมา."

แม้นางสุนันทา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์นั้น

เหมือนกัน. สระโบกขรณีชื่อสุนันทา มีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ เกิดแล้ว

แก่นาง.

แม้นางสุจิตรา ถึงแก่กรรมแล้ว ก็ได้ไปเกิดในภพดาวดึงส์นั้น

เหมือนกัน. สวนชื่อจิตรลดา มีประมาณ ๕๐๐ โยชน์ ที่พวกเทพดา

พาเหล่าเทพบุตรผู้มีบุรพนิมิตเกิดแล้วให้หลงเที่ยวไปอยู่ เกิดแล้วแม้แก่

นาง.

ท้าวสักกะโอวาทนางสุชาดาผู้เป็นนางนกยาง

ส่วนนางสุชาดา ถึงแก่กรรมแล้ว เกิดเป็นนางนกยางในซอกเขา

แห่งหนึ่ง. ท้าวสักกะทรงตรวจดูบริจาริกาของพระองค์ ทรงทราบว่า

" นางสุธรรมาเกิดแล้วในที่นี้เหมือนกัน. นางสุนันทาและนางสุจิตรา

ก็อย่างนั้น," พลางทรงดำริ (ต่อไป) ว่า "นางสุชาดาเกิดที่ไหนหนอ ?"

เห็นนางเกิดในซอกเขานั้นแล้ว ทรงดำริว่า " นางสุชาดานี้เขลา ไม่ทำ

บุญอะไร ๆ บัดนี้เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน, แม้บัดนี้ ควรที่เราจะให้นาง

ทำบุญแล้วนำมาไว้เสียที่นี้" ดังนี้แล้ว จึงทรงจำแลงอัตภาพ เสด็จไป

ยังสำนักของนางด้วยเพศที่เขาไม่รู้จัก ตรัสถามว่า "เจ้าเที่ยวทำอะไรอยู่

ที่นี้ ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 371

นางนกยาง. นาย ก็ท่านคือใคร ?

ท้าวสักกะ. เรา คือมฆะ สามีของเจ้า.

นางนกยาง. ท่านเกิดที่ไหน ? นาย.

ท้าวสักกะ เราเกิดในดาวดึงสเทวโลก. ก็เจ้ารู้สถานที่เกิดแห่ง

หญิงสหายของเจ้าแล้วหรือ ?

นางนกยาง. ยังไม่ทราบ นาย.

ท้าวสักกะ. หญิงแม้เหล่านั้น ก็เกิดในสำนักของเราเหมือนกัน

เจ้าจักเยี่ยมหญิงสหายของเจ้าไหมเล่า ?

นางนกยาง. หม่อมฉันจักไปในที่นั้นได้อย่างไร ?

ท้าวสักกะ ตรัสว่า " เราจักนำเจ้าไปในที่นั้น" ดังนี้แล้ว นำ

ไปสู่เทวโลก ปล่อยไว้ริมฝั่งสระโบกขรณีที่ชื่อนันทา ตรัสบอกแก่

พระมเหสีทั้งสามนอกนี้ว่า " พวกหล่อนจะดูนางสุชาดาสหายของพวก

หล่อนบ้างไหม ?"

มเหสี. นางอยู่ที่ไหนเล่า ? พระเจ้าข้า.

ท้าวสักกะ. อยู่ริมฝั่งโบกขรณีชื่อนันทา.

พระมเหสีทั้งสามนั้น เสด็จไปในที่นั้น ทำการเยาะเย้ยว่า "โอ

รูปของแม่เจ้า, โอ ผลของการแต่งตัว; คราวนี้ ท่านทั้งหลายจงดู

จะงอยปาก, ดูแข้ง ดูเท้า ของแม่เจ้า, อัตภาพของแม่เจ้าช่างงามแท้ "

ดังนี้แล้ว ก็หลีกไป.

ท้าวสักกะ เสด็จไปสำนักของนางอีก ตรัส (ถาม) ว่า " เจ้า

พบหญิงสหายแล้วหรือ ?" เมื่อนางทูลว่า "พระมเหสีทั้งสามนั้น หม่อมฉัน

ได้พบแล้ว (เขาพากัน) เยาะเย้ยหม่อมฉันแล้วก็ไป, ขอพระองค์โปรด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 372

นำหม่อมฉันไปที่ซอกเขานั้นตามเดิมเถิด" ดังนี้แล้ว ก็ทรงนำนางนั้น

ไปที่ซอกเขาตามเดิม ปล่อยไว้ในนั้นแล้ว ตรัสถามว่า " เจ้าเห็นสมบัติ

ของหญิงทั้งสามนั้นแล้วหรือ ?"

นางนกยาง. หม่อมฉันเห็นแล้ว พระเจ้าข้า.

ท้าวสักกะ. แม้เจ้าก็ควรทำอุบายอันเป็นเหตุให้เกิดในที่นั้น.

นางนกยาง. จักทำอย่างไรเล่า ? พระเจ้าข้า.

ท้าวสักกะ. เจ้าจักรักษาโอวาทที่เราให้ไว้ได้ไหม ?

นางนกยาง. รักษาได้ พระเจ้าข้า.

ลำดับนั้น ท้าวสักกะก็ประทานศีล ๕ แก่นาง แล้วตรัสว่า

" เจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาท รักษาเถิด" ดังนี้แล้ว ก็เสด็จหลีกไป.

จำเดิมแต่นั้นมา นาง ( เที่ยว) หากินแต่ปลาที่ตายเองเท่านั้น.

โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน ท้าวสักกะ เสด็จไปเพื่อทรงประสงค์จะลองใจ

นาง จึงทรงจำแลงเป็นปลาตายนอนหงายอยู่หลังหาดทราย. นางเห็นปลา

นั้นแล้ว ได้คาบเอา ด้วยสำคัญว่า " ปลาตาย" ในเวลาจะกลืน

ปลากระดิกหางแล้ว. นางรู้ว่า "ปลาเป็น" จึงปล่อยเสียในน้ำ. ท้าวสักกะ

ทรงปล่อยเวลาให้ล่วงไปหน่อยหนึ่งแล้ว จึงทรงทำเป็นนอนหงายข้างหน้า

นางอีก นางก็คาบอีก ด้วยสำคัญว่า "ปลาตาย" ในเวลาจะกลืน

เห็นปลายังกระดิกหางอยู่ จึงปล่อยเสีย ด้วยรู้ว่า "ปลาเป็น." ท้าสักกะ

ทรงทดลองอย่างนี้ (ครบ) ๓ ครั้งแล้ว ตรัสว่า " เจ้ารักษาศีลได้ดี"

ให้นางทราบพระองค์แล้ว ตรัสว่า " เรามาเพื่อประสงค์จะลองใจเจ้า,

เจ้ารักษาศีลได้ดี, เมื่อรักษาได้อย่างนั้น ไม่นานเท่าไร ก็จักเกิดในสำนัก

ของเราเป็นแน่ จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด" ดังนี้แล้ว เสด็จหลีกไป.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 373

นางสุชาดาท่องเที่ยวอยู่ในภพต่าง ๆ

จำเดิมแต่นั้นมา นางได้ปลาที่ตายเองไปบ้าง ไม่ได้บ้าง, เมื่อ

ไม่ได้ โดยกาลล่วงไป ๒-๓ วันเท่านั้น ก็ซูบผอม ทำกาละแล้วเกิดเป็น

ธิดาของช่างหม้อในเมืองพาราณสี ด้วยผลแห่งศีลนั้น.

ต่อมา ในเวลาที่นางมีอายุราว ๑๕-๑๖ ปี ท้าวสักกะทรงคำนึง

ถึงว่า "นางเกิดที่ไหนหนอ ?" (ได้) เห็นแล้ว ทรงดำริว่า "บัดนี้

ควรที่เราจะไปที่นั้น" ดังนี้แล้ว จึงทรงเอาแก้ว ๗ ประการ ซึ่งปรากฏ

โดยพรรณคล้ายฟักทอง บรรทุกยานน้อย ขับเข้าไปในเมืองพาราณสี

เสด็จไปยังถนนป่าวร้องว่า " ท่านทั้งหลาย (มา) เอาฟักทองกันเถิด,"

แต่ตรัสกะผู้เอาถั่วเขียวและถั่วราชมาษเป็นต้นมาว่า "ข้าพเจ้าไม่ให้ด้วย

ราคา," เมื่อเขาทูลถามว่า " ท่านจะให้อย่างไร ?" ตรัสว่า " ข้าพเจ้า

จะให้แก่สตรีผู้รักษาศีล."

พวกพลเมือง. นาย ชื่อว่าศีลเป็นเช่นไร ? สีดำหรือสีเขียว

เป็นต้น.

ท้าวสักกะ. พวกท่านไม่รู้จักศีลว่า ' เป็นเช่นไร ' จักรักษาศีล

นั้นอย่างไรได้เล่า ? แต่เราจักให้แก่สตรีผู้รักษาศีล.

พวกพลเมือง. นาย ธิดาของช่างหม้อนั้น เที่ยวพูดอยู่ว่า 'ข้าพเจ้า

รักษาศีล,' จงให้แก่สตรีนั้นเถิด.

แม้ธิดาของช่างนั้น ก็ทูลพระองค์ว่า "ถ้ากระนั้น ก็ให้แก่

ฉันเถิด นาย."

ท้าวสักกะ. เธอ คือใคร ?

ธิดาช่างหม้อ. ฉันคือสตรีผู้ไม่ละศีล ๕.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 374

ท้าวสักกะ. ฟักทองเหล่านั้น ฉันก็นำมาให้จำเพาะเธอ.

ท้าวสักกะ ทรงขับยานน้อยไปเรือนของนางแล้ว ประทานทรัพย์

ที่เทวดาพึงให้โดยพรรณอย่างฟักทอง ทำมิให้คนพวกอื่นลักเอาไปได้

ให้รู้จักพระองค์แล้ว ตรัสว่า " นี้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีวิตของเธอ. เธอจง

รักษาศีล ๕ อย่าได้ขาด" แล้วเสด็จหลีกไป.

นางสุชาดาธิดาของอสูร

ฝ่ายธิดาของช่างหม้อนั้น จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เกิดในเรือนของ

ผู้มีเวรต่อท้าวสักกะ เป็นธิดาของอสูรผู้หัวหน้าในภพอสูร และเพราะความ

ที่นางรักษาศีลดีแล้วใน ๒ อัตภาพ นางจึงได้เป็นผู้มีรูปสวย มีพรรณ

ดุจทองคำ ประกอบด้วยรูปสิริอันไม่สาธารณ์ (ทั่วไป). จอมอสูรนามว่า

เวปจิตติ พูดแก่ผู้มาแล้ว ๆ ว่า " พวกท่านไม่สมควรแก่ธิดาของข้าพเจ้า "

แล้วก็ไม่ให้ธิดานั้นแก่ใคร ๆ คิดว่า " ธิดาของเรา จักเลือกสามีที่สมควร

แก่ตนด้วยตนเอง" ดังนี้แล้ว จึงให้พลเมืองที่เป็นอสูรประชุมกัน แล้ว

ได้ให้พวงดอกไม้ในมือของธิดานั้น ด้วยการสั่งว่า " เจ้าจงรับผู้สมควร

แก่เจ้าเป็นสามี."

ท้าวสักกะปลอมเป็นอสูรชิงนางสุชาดา

ในขณะนั้น ท้าวสักกะ ทรงตรวจดูสถานที่นางเกิด ทราบประพฤติ

เหตุนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " บัดนี้ สมควรที่เราจะไปนำเอานางมา "

ดังนี้แล้ว ได้ทรงนิรมิตเพศเป็นอสูรแก่ ไปยืนอยู่ที่ท้ายบริษัท. แม้นาง

อสุรกัญญานั้น เมื่อตรวจดูข้างโน้นและข้างนี้ พอพบท้าวสักกะนั้น ก็เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 375

ผู้มีหทัยอันความรักซึ่งเกิดขึ้นด้วยอำนาจปุพเพสันนิวาสท่วมทับแล้ว ดุจ

ห้วงน้ำใหญ่ ก็ปลงใจว่า " นั่น สามีของเรา " จึงโยนพวงดอกไม้ไป

เบื้องบนท้าวสักกะนั้น. พวกอสูรนึกละอายว่า " พระเจ้าอยู่หัวของพวกเรา

ไม่ได้ผู้ที่สมควรแก่พระธิดาตลอดกาลประมาณเท่านี้ บัดนี้ได้แล้ว, ผู้ที่

แก่กว่าปู่นี้แล สมควรแก่พระธิดาของท้าวเธอ" ดังนี้แล้ว จึงหลีกไป.

ฝ่ายท้าวสักกะ ทรงจับอสุรกัญญานั้นที่มือแล้ว ทรงประกาศว่า

" เรา คือท้าวสักกะ" แล้วทรงเหาะไปในอากาศ.

พวกอสูรรู้ว่า " พวกเราถูกสุกกะแก่ลวงเสียแล้ว" จึงพากันติดตาม

ท้าวสักกะนั้นไป. เทพบุตรผู้เป็นสารถีนามว่ามาตลี นำเวชยันตรถมาพัก

ไว้ในระหว่างทาง. ท้าวสักกะทรงอุ้มนางขึ้นในรถนั้นแล้ว บ่ายพระพักตร์

สู่เทพนคร เสด็จไปแล้ว. ครั้นในเวลาที่ท้าวสักกะนั้น เสด็จถึงสิมพลิวัน

ลูกนกครุฑได้ยินเสียงรถ (ตกใจ) กลัวร้องแล้ว. ท้าวสักกะได้ทรง

สดับเสียงสูกนกครุฑเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามมาตลีว่า " นั่นนกอะไรร้อง ?"

มาตลี. ลูกนกครุฑ พระเจ้าข้า.

ท้าวสักกะ. เพราะเหตุไร มันจึงร้อง ?

มาตลี. เพราะได้ยินเสียงรถแล้ว กลัวตาย.

ท้าวสักกะ ตรัสว่า "อาศัยเราผู้เดียว นกประมาณเท่านี้ถูกความ

เร็วของรถให้ย่อยยับไปแล้ว มันอย่าฉิบหายเสียเลย, เธอจงกลับรถเสีย

เถิด."

มาตลีเทพบุตรนั้น ให้สัญญาแก่ม้าสินธพพันหนึ่งด้วยแส้ กลับ

รถแล้ว. พวกอสูรเห็นกิริยานั้น คิดว่า " ท้าวสักกะแก่ หนีไปตั้งแต่

๑. ป่าไม้งิ้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 376

อสุรบุรี บัดนี้ กลับรถแล้ว, เธอจักได้ผู้ช่วยเหลือเป็นแน่" จึงกลับ

เข้าไปสู่อสูรบุรีตามทางที่มาแล้วนั่นแล ไม่ยกศีรษะขึ้นอีก.

ฝ่ายท้าวสักกะ ทรงนำนางสาวอสูรชื่อสุชาดาไปเทพนครแล้ว ทรง

สถาปนาไว้ในตำแหน่งหัวหน้านางอัปสร ๒ โกฏิกึ่ง. นางทูลขอพรกะ

ท้าวสักกะว่า "ขอเดชะพระมหาราชเจ้า มารดาบิดาหรือพี่ชายพี่หญิงของ

หม่อมฉัน ในเทวโลกนี้ ไม่มี; พระองค์จะเสด็จไปในที่ใด ๆ พึง

(ทรงพระกรุณา) พาหม่อมฉันไปในที่นั้น ๆ (ด้วย) ท้าวเธอได้ประ-

ทานปฏิญญาแก่นางว่า "ได้."

พวกอสูรกลัวท้าวสักกะ

ก็จำเดิมแต่นั้นมา เมื่อดอกจิตตปาตลิบาน พวกอสูรประสงค์จะรบ

กะท้าวสักกะ ขึ้นมาเพื่อหมายจะต่อยุทธ ด้วยสำคัญว่า " เป็นเวลาที่

ดอกปาริฉัตตกทิพย์ของพวกเราบาน" ท้าวสักกะได้ประทานอารักขาแก่

พวกนาคในภายใต้สมุทร. ถัดนั้น พวกครุฑ, ถัดนั้น พวกกุมภัณฑ์,

ถัดนั้น พวกยักษ์, ถัดนั้น ท้าวจตุมหาราช, ส่วนชั้นบนกว่าทุก ๆ ชั้น

ประดิษฐานรูปจำลองพระอินทร์ ซึ่งมีวชิราวุธในพระหัตถ์ไว้ที่ทวารแห่ง

เทพนคร. พวกอสูรแม้ชำนะพวกนาคเป็นต้นมาแล้ว เห็นรูปจำลอง

พระอินทร์มาแต่ไกล ก็ย่อมหนีไป ด้วยเข้าใจว่า "ท้าวสักกะเสด็จออก

มาแล้ว."

อานิสงส์ความไม่ประมาท

พระศาสดาตรัสว่า "มหาลิ มฆมาณพปฏิบัติอัปปมาทปฏิปทา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 377

อย่างนี้; ก็แล มฆมาณพนั่น ไม่ประมาทอย่างนี้ จึงถึงความเป็นใหญ่

เห็นปานนี้ ทรงเสวยราชย์ในเทวโลกทั้งสอง, ชื่อว่าความไม่ประมาทนั่น

บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น สรรเสริญแล้ว, เพราะว่า การ

บรรลุคุณวิเศษซึ่งเป็นโลกิยะและโลกุตระแม้ทั้งหมดย่อมมีได้ เพราะอาศัย

ความไม่ประมาท " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๗. อปฺปมาเทน มฆวา เทวาน เสฏฺต คโต

อปฺปมาท ปสสนฺติ ปมาโท ครหิโต สทา.

"ท้าวมฆวะ ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดา

ทั้งหลาย เพราะความไม่ประมาท; บัณฑิตทั้งหลาย

ย่อมสรรเสริญความไม่ประมาท, ความประมาท

อันท่านติเตียนทุกเมื่อ."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาเทน คือ เพราะความไม่

ประมาทที่ทำไว้ ตั้งต้นแต่แผ้วถางภูมิประเทศในอจลคาม.

บทว่า มฆวา เป็นต้น ความว่า มฆมาณพ ซึ่งปรากฏว่า

" มฆวะ" ในบัดนี้ ชื่อว่า ถึงความเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทพยดาทั้งหลาย

เพราะความเป็นราชาแห่งเทวโลกทั้งสอง.

บทว่า ปสสนฺติ ความว่า บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น

ย่อมชมเชย สรรเสริญความไม่ประมาทอย่างเดียว.

ถามว่า " เพราะเหตุไร ?"

วิสัชนาว่า " เพราะความไม่ประมาท เป็นเหตุให้ได้คุณวิเศษที่เป็น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 378

โลกิยะและโลกุตระทั้งหมด."

บาทพระคาถาว่า ปมาโท ครหิโต สทา ความว่า ส่วนความ

ประมาท อันพระอริยะเหล่านั้นติเตียน คือนินทาแล้ว เป็นนิตย์.

ถามว่า " เพราะเหตุไร ?"

วิสัชนาว่า " เพราะความประมาทเป็นต้นเค้าของความวิบัติทุกอย่าง."

จริงอยู่ ความเป็นผู้โชคร้ายในมนุษย์ก็ดี การเข้าถึงอบายก็ดี ล้วนมีความ

ประมาทเป็นมูลทั้งนั้น ดังนี้.

ในเวลาจบคาถา เจ้าลิจฉวีนามว่ามหาลิ ทรงดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผลแล้ว. แม้บริษัทผู้ประชุมกันเป็นอันมาก ก็ได้เป็นพระอริยบุคคล

มีพระโสดาบันเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องท้าวสักกะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 379

๘. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [๒๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุ

รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ"

เป็นต้น.

ภิกษุนั่งพิจารณาไฟไหม้ป่าเป็นอารมณ์

ดังได้สดับมา ภิกษุรูปนั้นเรียนกัมมัฏฐาน ตราบเท่าถึงพระอรหัต

ในสำนักพระศาสดาแล้ว เข้าป่าเพียรพยายามอยู่ ก็ไม่อาจบรรลุพระอรหัต

ได้. ท่านนึกว่า " เราจักไปทูลพระศาสดาให้ตรัสบอกกัมมัฏฐานให้วิเศษ

(ขึ้นไป) " ดังนี้แล้ว ออกจากป่านั้น กำลังเดินมายังสำนักพระศาสดา

เห็นไฟป่าตั้งขึ้น ( ลุกลาม) มากมาย ในระหว่างหนทาง รีบขึ้นยอดเขา

โล้นลูกหนึ่ง นั่งดูไฟซึ่งกำลังไหม้ป่า ยืดเอาเป็นอารมณ์ว่า " ไฟนี้

เผาเชื้อทั้งหลายมากและน้อยไป ฉันใด; แม้ไฟคืออริยมรรคญาณ ก็จัก

พึงเผาสังโยชน์ทั้งหลายมากและน้อยไป ฉันนั้น."

ปฏิปทาตัดสังโยชน์

พระศาสดา ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นแล ทรงทราบวาระจิต

ของเธอแล้ว ตรัสว่า " อย่างนั้นแล ภิกษุ สังโยชน์ทั้งหลายละเอียด

และหยาบ ซึ่งเกิดอยู่ในภายในของสัตว์เหล่านี้ ดุจเชื้อมากบ้างน้อยบ้าง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 380

ฉะนั้น, ควรเผาสังโยชน์เหล่านั้นด้วยไฟคือญาณเสียแล้ว ทำให้เป็นของ

ไม่ควรเกิดอีก" ดังนี้แล้ว ทรงเปล่งพระรัศมี ปรากฏประหนึ่งว่า

ประทับนั่ง ณ ที่จำเพาะหน้าของภิกษุนั้น ตรัสพระคาถานี้ว่า

๘. อปฺปนาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา

สญฺโชนอณุ ถูล ฑห อคฺคีว คจฺฉติ.

" ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท หรือมีปกติ

เห็นภัยในความประมาท ย่อมเผาสังโยชน์ ทั้ง

ละเอียดและหยาบไป ดุจไฟเผาเชื้อมากและน้อย

ไปฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมาทรโต ความว่า ยินดีคืออภิรมย์

แล้วในความไม่ประมาท ได้แก่ ยังกาลให้ล่วงไปด้วยความไม่ประมาท.

บาทพระคาถาว่า ปมาเท ภยทสฺสิ วา ความว่า ผู้เห็นภัยใน

ความประมาท มีการเข้าถึงนรกเป็นต้น, อีกประการหนึ่ง ชื่อว่าผู้เห็น

ความประมาทโดยความเป็นภัย เพราะความประมาทนั้นเป็นรากเหง้าแห่ง

ความอุบัติเหล่านั้น.

บทว่า สญฺโชน ความว่า สังโยชน์ ๑๐ อย่าง เป็นเครื่อง

ประกอบ เครื่องผูก ( หมู่สัตว์) ไว้กับทุกข์ในวัฏฏะ สามารถยังสัตว์

ให้จมลงในวัฏฏะได้.

๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน ๑ วิจิกิจฉา ความลังเล ไม่แน่ใจ ๑ สีลัพพต-

ปรามาส ความลูบคลำศีลและพรต ๑ กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม ๑ ปฏิฆะ

ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ๑ รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม ๑ อรูปราคะ ความติดใจในอรูป-

ธรรม ๑ มานะ ความถือตัวว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ๑ อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ๑ อวิชชา ความหลงเป็น

เหตุไม่รู้จริง ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 381

บทว่า อณุ ถูล คือมากและน้อย.

บาทพระคาถาว่า ฑห อคฺคีว คจฺฉติ ความว่า ภิกษุนั้นยินดี

แล้วในความไม่ประมาท ย่อมเผาสังโยชน์นั่นด้วยไฟคือญาณ ซึ่งตน

บรรลุแล้วด้วยความไม่ประมาท คือทำให้เป็นของไม่ควรเกิดขึ้นอีกต่อไป

ดุจไฟเผาเชื้อมากและน้อยนั้นแลไปฉะนั้น.

ในกาลจบคาถา ภิกษุนั้น นั่งอย่างเดิมเทียว เผาสังโยชน์ทั้งหมด

แล้ว บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย มาทางอากาศ

(เหาะมา) ชมเชยสรรเสริญพระสรีระของพระตถาคต ซึ่งมีพรรณะดุจ

ทองคำแล้ว ถวายบังคม หลีกไป ดังนี้แล.

เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 382

๙. เรื่องพระติสสเถระผู้มีปกติอยู่ในนิคม [๒๓]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระติสสเถระ

ผู้มีปกติอยู่ในนิคม ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อปฺปมาทรโต" เป็น

ต้น.

พระเถระเที่ยวรับบิณฑบาตแต่ในบ้านญาติ

ความพิสดารว่า กุลบุตรคนหนึ่ง เกิดเติบโตในบ้านที่ตั้งอยู่ในนิคม

แห่งหนึ่ง ซึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถี บรรพชาแล้วได้อุปสมบทในศาสนา

ของพระศาสดาแล้ว ปรากฏว่า " ชื่อว่า พระนิคมติสสเถระเป็นผู้มักน้อย

สันโดษ สงัด ปรารภความเพียร." ท่านเที่ยวบิณฑบาตเฉพาะในบ้าน

ของญาติเป็นนิตย์. เมื่อคนทั้งหลายมีอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น ทำ

มหาทานอยู่ก็ดี, เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงบำเพ็ญอสทิสทานอยู่ก็ดี,*

ก็ไม่มากรุงสาวัตถี.

พวกภิกษุจึงสนทนากันว่า " พระนิคมติสสะนี้ ลุกขึ้นเสร็จสรรพ

แล้ว ก็คลุกคลีด้วยญาติอยู่ เมื่อชนทั้งหลายมีอนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นต้น

ทำมหาทานอยู่ก็ดี, เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลทรงบำเพ็ญอสทิสทานอยู่ก็ดี,

เธอไม่มาเลย ดังนี้แล้ว จึงกราบทูลแด่พระศาสดา.

พระเถระได้รับสาธุการจากพระศาสดา

พระศาสดา รับสั่งให้เรียกท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุ

๑. ทานอันไม่มีทานอื่นเสมอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 383

ข่าวว่า เธอทำอย่างนั้น จริงหรือ ?" เมื่อท่านกราบทูลว่า " ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่มีความคลุกคลีด้วยญาติ, ข้าพระองค์

อาศัยพวกมนุษย์ที่เป็นญาติเหล่านั้น ย่อมได้อาหารที่พอจะกลืนกินได้,

ข้าพระองค์คิดว่า ' เมื่อเราได้อาหารที่เลวก็ตาม ประณีตก็ตาม ซึ่ง

พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้แล้ว, ประโยชน์อะไรด้วยการแสวงหาอาหาร

อีกเล่า ?' ดังนี้แล้ว จึงไม่มา, ก็ชื่อว่า ความคลุกคลีด้วยหมู่ญาติไม่มี

แก่ข้าพระองค์ พระเจ้าข้า" แม้ตามปกติ (พระองค์ ) ก็ทรงทราบ

อัธยาศัยของท่านอยู่ จึงประทานสาธุการว่า " ดีละ ๆ ภิกษุ" ดังนี้แล้ว

ตรัสว่า " ภิกษุ ก็ข้อที่เธอได้อาจารย์ผู้เช่นเราแล้ว ได้เป็นผู้มักน้อย

ไม่อัศจรรย์นัก, เพราะว่า ชื่อว่า ความเป็นผู้มักน้อยนี้เป็นแบบแผน

ของเรา เป็นประเพณีของเรา" ดังนี้แล้ว อันภิกษุทั้งหลายทูลอาราธนา

แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมาว่า

เรื่องนกเขาแต้ว

ในอดีตกาล นกแขกเค้าหลายพันตัว อยู่ในป่าไม้มะเดื่อแห่งหนึ่ง

ใกล้ผงแม่น้ำคงคาในป่าหิมพานต์ บรรดานกแขกเต้าเหล่านั้น พระยานก

แขกเต้าตัว หนึ่ง เมื่อผลแห่งต้นไม้ที่ตนอาศัยอยู่สิ้นแล้ว จิกกิน

หน่อใบหรือเปลือกซึ่งยังเหลืออยู่ ดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา เป็นสัตว์ที่มี

ความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง สันโดษ ไม่ไปในที่อื่น ด้วยคุณคือความ

ปรารถนาน้อยและสันโดษของพระยานกแขกเต้านั้น ภพของท้าวสักกะ

ไหวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 384

ท้าวสักกะทรงทดลองพระยานกแขกเต้า

ท้าวสักกะทรงรำพึงอยู่ ทรงเห็นเหตุนั้นแล้ว ทรง (บันดาล)

ให้ต้นไม้นั้นเหี่ยวแห้งด้วยอานุภาพของตน เพื่อจะทดลองพระยานก

แขกเต้านั้น ต้นไม้หักแล้ว เหลืออยู่สักว่าตอเท่านั้น เป็นช่องน้อย

และช่องใหญ่ (ปรุหมด). เมื่อลมโกรกมา ( กระทบ ) ได้เปล่ง

เสียงดุจถูกบุคคลเคาะ ตั้งอยู่แล้ว ขุยทั้งหลายปลิวออกจากช่องของ

ต้นไม้นั้น. พระยานกแขกเต้าจิกกินขุยเหล่านั้น แล้วดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา

ไม่ไปในที่อื่น ไม่พรั่นพรึงลมและแดด จับอยู่ที่ปลายตอมะเดื่อ. ท้าว

สักกะทรงทราบความที่พระยานกแขกเต้านั้น มีความปรารถนาน้อยอย่างยิ่ง

ทรงดำริว่า " เราจักให้พระยานกแขกเต้านั้น กล่าวคุณแห่งมิตรธรรม

แล้วให้พรแก่นกนั้น ทำ ( บันดาล) ต้นมะเดื่อให้มีผลไม่วายแล้ว"

ดังนี้แล้ว (นิรมิต ) พระองค์เป็นพระยาหงส์ตัวหนึ่ง นำนางอสุรกัญญา

นามว่าสุชาดาไว้ข้างหน้า เสด็จไปป่ามะเดื่อนั้น จับที่กิ่งแห่งต้นไม้ต้นหนึ่ง

ในที่ไม่ไกล เมื่อจะตรัสสนทนากับพระยานกแขกเต้านั้น ตรัสคาถานี้ว่า

" พฤกษามีใบสดเขียวมีอยู่, หมู่ไม้มีผลหลาก

หลาย ก็มีมาก, เหตุไรหนอ ? ใจของนกแขกเต้า

จึงยินดีแล้วในไม้แห้งที่ผุ."

สุวชาดกทั้งหมด บัณฑิตพึงให้พิสดาร ตามนัยที่มาแล้วในนวกนิบาต

นั่นและ; แต่ความเกิดขึ้นแห่งเรื่องเท่านั้น ในนวกนิบาตและในที่นี้ต่างกัน

ที่เหลือเหมือนกันทั้งนั้น.

๑. ขุ. ชา. นวก. ๒๗/๒๕๗. อรรถกถา. ๕/๓๕๕. จุลลสุวกราชชาดก.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 385

ภิกษุควรปรารถนาน้อยและสันโดษ

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า

"ท้าวสักกะ ในกาลนั้น ได้เป็นอานนท์, พระยานกแขกเต้าได้เป็น

เราเอง" ดังนี้แล้ว ตรัสว่า " อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ความ

เป็นผู้มีความปรารถนาน้อยนี่ เป็นแบบแผน เป็นประเพณีของเรา ข้อที่

ติสสะผู้มีปกติอยู่ในนิคม บุตรของเรา ได้อาจารย์เช่นเราแล้วเป็นผู้มีความ

ปรารถนาน้อย ไม่น่าอัศจรรย์; ธรรมดาภิกษุ พึงเป็นผู้มีความมักน้อย

เหมือนติสสะผู้มีปกติอยู่ในนิคม; เพราะว่า ภิกษุเห็นปานนั้น เป็นผู้ไม่

ควรเสื่อมจากมรรคและผล, ย่อมอยู่ในที่ใกล้แห่งพระนิพพานโดยแท้

ทีเดียว" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๙. อปฺปนาทรโต ภิกฺขุ ปนาเท ภยทสฺสิ วา

อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก.

"ภิกษุยินดีแล้วในความไม่ประมาท มีปกติ

เห็นภัยในความประมาท ไม่ควรเพื่ออันเสื่อม (จาก

มรรคและผล ) ตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้แห่งพระ-

นิพพานทีเดียว."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า อภพฺโพ ปริหานาย

ความว่า ภิกษุผู้เห็นปานนั้น ๆ ไม่ควรเพื่ออันเสื่อมจากธรรมคือสมถะ

และวิปัสสนา หรือจากมรรคและผล คือจะเสื่อมเสียจากคุณธรรมที่ตน

บรรลุแล้ว แม้หามิได้ จะไม่บรรลุคุณธรรมที่ตนยังไม่ได้บรรลุก็หามิได้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 386

บาทพระคาถาว่า นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก ความว่า ตั้งอยู่ใน

ที่ใกล้ทีเดียวแห่งกิเลสปรินิพพาน (การดับกิเลส ) บ้าง อนุปาทา-

ปรินิพพาน (การดับด้วยหาเชื้อมิได้) บ้าง.

ในกาลจบพระคาถา พระติสสเถระผู้มีปกติอยู่ในนิคม บรรลุ

พระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว. ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก

ได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น. เทศนามีผลมากแก่มหาชน

ดังนี้แล.

เรื่องพระติสสเถระผู้มีปกติอยู่ในนิคม จบ.

อัปปมาทวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๒ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 387

คาถาธรรมบท

จิตตวรรคที่ ๓

ว่าด้วยการฝึกจิต

[๑๓] ๑. ชนผู้มีปัญญา ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก

อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจช่างศร

ดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระโยคาวจร

ยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ ๕ แล้วซัดไปในวิปัสสนา

กัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรนดุจปลาอัน

พรานเบ็ดยกขึ้นจาก (ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไป

บนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น.

๒. การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว

มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะ

ว่า ) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.

๓. ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก

ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่

(เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้

๔. ชนเหล่าใด จักสำรวมจิตอันไปในที่ไกล เที่ยว

ไปดวงเดียวไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น

จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร.

๑. วรรคนี้ มีอรรถกถา ๙ เรื่อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 388

๕. ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้

แจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย

ภัย (ความกลัว) ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอันราคะไม่

ซึมซาบ มีใจไม่ถูกโทสะตามกระทบ ละบุญและ

บาปได้ ตื่นอยู่.

๖. (บัณฑิต) รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ

กั้นจิตอันเปรียบด้วยนคร พึงรบมารด้วยอาวุธ คือ

ปัญญา พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้

ไม่ติดอยู่.

๗. ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน กายนี้

มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว ราวกับท่อนไม้

ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น.

๘. จิตซึ่งตั้งไว้ผิดแล้ว พึงทำเขา (บุคคล) นั้น

ให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศฉิบหาย ที่โจรเห็นโจร

หรือคนจองเวรทำ (แก่กัน ) นั้น (เสียอีก).

๙. มารดาบิดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำ

เหตุนั้น (ให้ได้) แต่จิตอันตั้งไว้ชอบแล้ว พึงทำ

เขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น.

จบจิตตวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 389

๓. จิตตวรรควรรณนา

๑. เรื่องพระเมฆิยเถระ [๒๔]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ที่ภูเขาชื่อจาลิกา ทรงปรารภท่าน

พระเมฆิยะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ผนฺทน จปล จิตฺต" เป็นต้น.

พระเมฆิยะถูกวิตกครอบงำ

เมฆิยสูตรทั้งหมด บัณฑิตพึง ( แสดง) ให้พิสดาร เพื่อให้

เรื่องแห่งพระเมฆิยเถระนั้นแจ่มแจ้ง. ก็พระศาสดาตรัสเรียกพระเมฆิยเถระ

ผู้ไม่สามารถเพื่อประกอบความเพียรในอัมพวันนั้นได้ เพราะความที่ท่าน

ถูกวิตก ๓ อย่างครอบงำมาแล้ว ตรัสว่า "เมฆิยะ เธอละทิ้งเราผู้อ้อนวอน

อยู่ว่า ' เมฆิยะ เราเป็นผู้ ๆ เดียว, เธอจงรอคอย จนกว่าภิกษุบางรูป

แม้อื่นจะปรากฏ ' ดังนี้ (ไว้ให้อยู่แต่ ) ผู้เดียว ไปอยู่ (ชื่อว่า)

ทำกรรมอันหนักยิ่ง. ขึ้นชื่อว่าภิกษุ ไม่ควรเป็นธรรมชาติ (แล่นไป)

เร็ว, การยังจิตนั้นให้เป็นไปในอำนาจของตน ย่อมควร" ดังนี้แล้ว

จึงได้ทรงภาษิตพระคาถา ๒ พระคาถาเหล่านี้ว่า

ผนฺทน จปล จิตฺต ทุรกฺข ทุนฺนิวารย

อุชุ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชน

๑. ขุ. อุ. ๒๕/ ๑๒๓.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 390

วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺภโต

ปริผนฺทติท จิตฺต มารเธยฺย ปหาตเว ฯ

" ชนผู้มีปัญญาย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอก

อันบุคคลรักษาได้ยาก ห้ามได้ยาก ให้ตรง ดุจ

ช่างศรดัดลูกศรให้ตรงฉะนั้น จิตนี้ (อันพระ-

โยคาจรยกขึ้นจากอาลัย คือกามคุณ ๕ แล้ว

ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน) เพื่อละบ่วงมาร

ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันพรานเบ็ด ยกขึ้นจาก

(ที่อยู่) คือน้ำ แล้วโยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่

ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ผนฺทน คือดิ้นรนอยู่ในอารมณ์ทั้งหลาย

มีรูปเป็นต้น.

บทว่า จปล ความว่า ไม่ดำรงอยู่ในอารมณ์เดียวได้ เหมือน

ทารกในบ้านผู้ไม่นิ่งอยู่ด้วยอิริยาบถหนึ่งฉะ.นั้น จึงชื่อว่า กลับกลอก.

บทว่า จิตฺต ได้แก่ วิญญาณ. ก็วิญญาณนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกว่า "จิต" เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรด้วยภูมิ วัตถุ อารมณ์

และวิถีจิตมีกิริยาจิตเป็นต้น.

บทว่า ทุรกฺข ความว่า ชื่อว่า อันบุคคลรักษาได้ยาก เพราะ

ตั้งไว้ได้ยากในอารมณ์อันเป็นที่สบายอารมณ์หนึ่งนั่นแล เหมือนโคที่คอย

เคี้ยวกินข้าวกล้าในนา อันคับคั่งไปด้วยข้าวกล้าฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 391

บทว่า ทุนฺนิวารย ความว่า ชื่อว่า อันบุคคลห้ามได้ยาก เพราะ

เป็นธรรมชาติที่รักษาได้ยาก เพื่อจะห้าม (กัน) จิตอันไปอยู่สู่วิสภา-

คารมณ์.

สองบทว่า อุสุกาโรว เตชน ความว่า นายช่างศร นำเอาท่อน

ไม้ท่อนหนึ่งมาจากป่าแล้ว ทำไม่ให้มีเปลือก (ปอกเปลือกออก) แล้ว

ทาด้วยน้ำข้าวและน้ำมัน ลนที่กระเบื้องถ่านเพลิง ดัดที่ง่ามไม้ทำให้

หายคดคือให้ตรง ให้เป็นของควรที่จะยิงขนทรายได้. ก็แลครั้นทำแล้ว

จึงแสดงศิลปะแด่พระราชาและราชมหาอำมาตย์ ย่อมได้สักการะและความ

นับถือเป็นอันมาก ชื่อฉันใด, บุรุษผู้มีปัญญา คือผู้ฉลาด ได้แก่ผู้รู้แจ้ง

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน (คือ) ทำจิตนี้ อันมีสภาพดิ้นรนเป็นต้น ให้

หมดเปลือก คือให้ปราศจากกิเลสที่หยาบด้วยอำนาจธุดงค์ และการอยู่

ในป่า แล้วชโลมด้วยยางคือศรัทธา ลนด้วยความเพียรอันเป็นไปทางกาย

และเป็นไปทางจิต ดัดที่ง่ามคือสมถะและวิปัสสนาทำให้ตรงคือมิให้คด

ได้แก่ให้สิ้นพยศ, ก็แลครั้นทำแล้วพิจารณาสังขารทั้งหลาย ทำลาย

กองอวิชชาใหญ่ได้แล้ว ทำคุณวิเศษนี้ คือ วิชชา ๓ อภิญญา

โลกุตรธรรม ๙ ให้อยู่ในเงื้อมมือทีเดียว ย่อมได้ความเป็นทักขิไณย-

บุคคลผู้เลิศ.

๑. วิชชา ๓ คือปุพเพนิวาสานุสสติญาณ รู้จักระลึกชาติได้ ๑ จุตูปปาตญาณ รู้จักกำหนดจุติ

และเกิดของสัตว์ทั้งหลาย ๑ อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป ๑.

๒. อภิญญา ๖ คือ อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ ๑ ทิพโสต หูทิพย์ ๑ เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนด

ใจผู้อื่นได้ ๑ ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้ ๑ ทิพยจักขุ ตาทิพย์ ๑ อาสวักขยญาณ รู้จัก

ทำอาสวะให้สิ้นไป ๑. ๓. โลกุตรธรรม ๙ คือ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 392

บทว่า วาริโชว แปลว่า ดุจปลา. สองบทว่า ถเล ขิตฺโต

ได้แก่ อันพรานเบ็ดซัดไปบนบก ด้วยมือ เท้า หรือด้วยเครื่องดัก

มีตาข่ายเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง.

พึงทราบวินิจฉัยในบาทพระคาถาว่า โอกโมกตอุพฺภโต (ดังต่อ

ไปนี้ ):-

น้ำ ชื่อว่า โอกะ (ได้) ในคำนี้ว่า "ภิกษุชาวเมืองปาฐา มี

จีวรชุ่มด้วยน้ำ ได้มาสู่เมืองสาวัตถี เพื่อประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา."

อาลัย ชื่อว่า โอกะ (ได้ ) ในคำนี้ว่า "มุนีละอาลัยแล้ว ไม่ติดที่

อยู่." แม้คำทั้งสองก็ย่อมได้ในบาทพระคาถานี้. ในบทว่า โอกโมกโต

นี้ มีเนื้อความ (อย่าง) นี้ว่า " จากที่อยู่คือน้ำ คือจากอาลัยกล่าว

คือน้ำ," บทว่า อุพฺภโต แปลว่า อันพรานเบ็ดยกขึ้นแล้ว.

บาทพระคาถาว่า ปริผนฺทติท จิตฺต ความว่า จิตนี้ คือที่ยินดี

แล้วในอาลัยคือกามคุณ ๕ อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือ

กามคุณ ๕ นั้น ซัดไปในวิปัสสนากัมมัฏฐาน เผาด้วยความเพียรอัน

เป็นไปทางกายและเป็นไปทางจิต เพื่อละวัฏฏะ กล่าวคือ บ่วงมาร ย่อม

ดิ้นรน คือย่อมไม่อาจตั้งอยู่ในวิปัสสนากัมมัฏฐานนั้นได้, เหมือนอย่าง

ปลานั้นอันพรานเบ็ดยกขึ้นจากอาลัยคือน้ำแล้วโยนไปบนบก เมื่อไม่ได้น้ำ

ย่อมดิ้นในฉะนั้น. แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ บุคคลผู้มีปัญญา ไม่ทอดธุระ ย่อม

ทำจิตนั้นให้ตรง คือให้ควรแก่การงาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

อีกนัยหนึ่ง จิตนี้ คือที่ละบ่วงมารลือกิเลสวัฏไม่ได้ ตั้งอยู่ย่อม

ดิ้นรนดุจปลานั้นฉะนั้น, เพราะฉะนั้น พระโยคาวจรควรละบ่วงมารเสีย

๑. วิ. มหาวรรค. ภาค ๒. ๕/๑๓๕-๖. ๒. สัง. ขันธ. ๑๗/ ๑๒.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 393

คือควรละบ่วงมารกล่าวคือกิเลสวัฏอันเป็นเหตุดิ้นรนแห่งจิตนั้น ดังนี้แล.

ในกาลจบคาถา พระเมฆิยเถระ ได้ตั้งอยู่ในพระโสดาปัตติผล.

ชนแม้พวกอื่นเป็นอันมาก ก็ได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น

ดังนี้แล.

เรื่องพระเมฆิยเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 394

๒. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [๒๕]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุรูปใด

รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน" เป็นต้น.

อุบาสิกาจัดที่อยู่ถวายภิกษุ ๖๐ ปี

ได้ยินว่า ได้มีบ้านตำบลหนึ่ง ชื่อมาติกคาม ใกล้เชิงเขา ใน

แว่นแคว้นของพระเจ้าโกศล. ภายหลังวันหนึ่ง ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป

ทูลอาราธนาให้ตรัสบอกพระกัมมัฏฐานจนถึงพระอรหัต ในสำนักของ

พระศาสดาแล้ว ไปสู่บ้านนั้น เข้าไปเพื่อบิณฑบาต. ลำดับนั้นเจ้าของ

บ้านนั้นชื่อมาติกะใด มารดาของเจ้าของบ้านนั้น เห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว

นิมนต์ให้นั่งในเรือน จึงอังคาสด้วยข้าวยาคูและภัตอันมีรสเลิศต่าง ๆ

ถามว่า "พวกท่านประสงค์จะไป ณ ที่ไหน ? เจ้าข้า." ภิกษุเหล่านั้น

บอกว่า " พวกฉันมีความประสงค์จะไปสู่ที่ตามความผาสุก มหาอุบาสิกา."

นางทราบว่า " พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ชะรอยจะแสวงหาสถานที่สำหรับ

จำพรรษา จึงหมอบลงที่ใกล้เท้าแล้วกล่าวว่า " ถ้าพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย

จักอยู่ในที่นี้ตลอด ๓ เดือนนี้ไซร้, ดิฉันจักรับสรณะ ๓ ศีล ๕

(และ) ทำอุโบสถกรรม." ภิกษุทั้งหลายปรึกษากันว่า " เราทั้งหลาย

เมื่ออาศัยอุบาสิกานี้ ไม่มีความลำบากด้วยภิกษา จักสามารถทำการ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 395

สลัดออกจากภพได้" ดังนี้ แล้วจึงรับคำ. นางได้ชำระวิหารอันเป็น

ที่อยู่ถวายแก่ภิกษุเหล่านั้น.

ภิกษุ ๖๐ รูปทำกติกากัน

ภิกษุเหล่านั้นเมื่ออยู่ในที่นั้น วันหนึ่ง ได้ประชุมกันแล้วตักเตือน

กันและกันว่า " ผู้มีอายุ พวกเราไม่ควรประพฤติโดยความประมาท

เพราะว่ามหานรก ๘ ขุม มีประตูเปิด (คอยท่า) พวกเราเหมือน

อย่างเรือนของตนทีเดียว. ก็แลพวกเราได้เรียนพระกัมมัฏฐานในสำนัก

ของพระพุทธเจ้าผู้ยังทรงพระชนม์อยู่แล้วจึงมา. ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย อันใคร ๆ ผู้โอ้อวด แม้เที่ยวไปตามรอยพระบาทก็ไม่สามารถ

ให้ทรงโปรดปรานได้. (แต่ ) บุคคลผู้มีอัธยาศัยเป็นปกติเท่านั้น สามารถ

ให้ทรงโปรดปรานได้ ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด. พวกเรา

ไม่ควรยืน ไม่ควรนั่งในที่แห่งเดียวกัน ๒ รูป แต่ว่าในกาลเป็นที่บำรุง

พระเถระในเวลาเย็นแล และในกาลเป็นที่ภิกษาจารในเวลาเช้าเท่านั้น

พวกเราจักรวมกัน, (แต่) ในกาลที่เหลือจักไม่อยู่รวมกัน ๒ รูป.

ก็อีกอย่างหนึ่งแล เมื่อภิกษุผู้ไม่มีความผาสุกมาตีระฆังในท่ามกลางวิหาร

ขึ้นแล้ว พวกเราจึงจักมาตามสัญญาแห่งระฆังแล้ว ทำยาให้แก่ภิกษุนั้น."

ภิกษุมาประชุมกันด้วยเสียงระฆัง

เมื่อภิกษุเหล่านั้นทำกติกากันอย่างนี้อยู่, วันหนึ่งอุบาสิกานั้นให้

บุคคลถือเภสัชทั้งหลาย มีเนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น อันชนทั้งหลาย

๑. มหานรก ๘ ขุม คือ ๑. สัญชีวะ. ๒ กาลสุตะ. ๓. สังฆาฏะ. ๔. โรรุวะ. ๕. มหาโรรุวะ.

๖. ตปะ. ๗. มหาตาปะ. ๘. อเวจี.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 396

มีทาสและกรรมกรเป็นต้น แวดล้อมเดินไปสู่วิหารนั้นในเวลาเย็น ไม่เห็น

ภิกษุทั้งหลายในท่ามกลางวิหารแล้ว จึงถามพวกบุรุษว่า " พระผู้เป็นเจ้า

ทั้งหลาย ไปเสีย ณ ที่ไหนหนอแล ?" เมื่อพวกเขาบอกว่า "แม่คุณ

พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักเป็นผู้นั่งอยู่ในที่พักกลางคืน และที่พักกลางวัน

ของตน ๆ (เท่านั้น)" จึงกล่าว (ต่อไป) ว่า "ฉันทำอย่างไร

เล่าหนอ จึงจักสามารถพบ (พวกพระผู้เป็นเจ้า) ได้."

ลำดับนั้น มนุษย์ทั้งหลายที่รู้กติกวัตรของภิกษุสงฆ์ จึงบอกกะ

อุบาสิกานั้นว่า "คุณแม่ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจักประชุมกัน ในเมื่อ

บุคคลมาตีระฆัง." นางจึงให้ตีระฆัง ภิกษุทั้งหลายได้ยินเสียงระฆังแล้ว

ออกจากที่ของตน ๆ ด้วยสำคัญว่า " ภิกษุบางรูปจักไม่มีความผาสุก,"

จึงประชุมกันในท่ามกลางวิหาร. ภิกษุชื่อว่า เดินมาโดยทางเดียวกันแม้

๒ รูป ย่อมไม่มี.

อุบาสิกาเจริญสมณธรรมตามที่ภิกษุบอก

อุบาสิกาเห็นภิกษุรูปหนึ่ง ๆ เท่านั้นเดินมาจากที่แห่งหนึ่ง ๆ จึง

คิดว่า "(ชะรอย) พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเราจักทำความทะเลาะ

วิวาทแก่กันและกัน" ดังนี้แล้ว ไหว้ภิกษุสงฆ์กล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ

ท่านทั้งหลายได้ทำความทะเลาะกันหรือ ?"

ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า " พวกฉันหาได้ทำความทะเลาะวิวาทกันไม่

มหาอุบาสิกา."

อุบาสิกา. ท่านผู้เจริญ ถ้าพวกท่านไม่มีความทะเลาะวิวาทกันไซร้,

เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรพวกท่านจึงไม่มา เหมือนเมื่อมาสู่เรือนของดิฉัน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 397

มาโดยรวมกันทั้งหมด, (นี่กลับ) มาทีละองค์ ๆ จากที่แห่งหนึ่ง ๆ.

ภิกษุ. มหาอุบาสิกา พวกฉันนั่งทำสมณธรรมในที่แห่งหนึ่ง ๆ.

อุบาสิกา. พ่อคุณทั้งหลาย ชื่อว่าสมณธรรมนั้นคืออะไร ?

ภิกษุ. มหาอุบาสิกา พวกฉันทำการสาธยายอาการ ๓๒ เริ่มตั้ง

ซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพอยู่.

อุบาสิกา. ท่านเจ้าขา การทำการสาธยายอาการ ๓๒ และการเริ่ม

ตั้งความสิ้นความเสื่อมในอัตภาพ ย่อมสมควรแก่พวกท่านเท่านั้น หรือ

ย่อมสมควรแก่พวกดิฉันด้วยเล่า ?

ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ธรรมนี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงห้าม

แก่ใคร ๆ.

อุบาสิกา. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านจงให้อาการ ๓๒ และขอจง

บอกการเริ่มตั้งซึ่งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ แก่ดิฉันบ้าง.

ภิกษุ. มหาอุบาสิกา ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนเอา. แล้วให้เรียน

เอาทั้งหมด.

อุบาสิกาบรรลุมรรค ๓ ผล ๓ ก่อนภิกษุ

จำเดิมแต่นั้น อุบาสิกานั้นก็ได้ทำการสาธยายซึ่งอาการ ๓๒ (และ)

เริ่มตั้งไว้ซึ่งความสิ้นไปและความเสื่อมไปในตน ได้บรรลุมรรค ๓ ผล ๓

ก่อนกว่าภิกษุเหล่านั้นทีเดียว. ปฏิสัมภิทา ๔ และโลกิยอภิญญา ได้มา

๑. คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด

ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น

น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ถ้าเติมมัตถลุงคัง มันสมองเข้าด้วย เป็น ๓๒

ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 398

ถึงแก่อุบาสิกานั้นโดยมรรคนั่นแล. นางออกจากสุขอันเกิดแต่มรรคและ

ผลแล้ว ตรวจดูด้วยทิพยจักษุใคร่ครวญอยู่ว่า " เมื่อไรหนอแล ? พระผู้

เป็นเจ้าผู้เป็นบุตรของเราจึงจักบรรลุธรรมนี้ " แล้วรำพึง (ต่อไป ) ว่า

" พระผู้เป็นเจ้าเหล่านี้ทั้งหมด ยังมีราคะ ยังมีโทสะ ยังมีโมหะ, พระผู้

เป็นเจ้าเหล่านั้นมิได้มีคุณธรรมแม้สักว่าฌานและวิปัสสนาเลย อุปนิสัยแห่ง

พระอรหัตของพระผู้เป็นเจ้าผู้บุตรของเรา มีอยู่หรือไม่หนอ ?" เห็นว่า

"มี" ดังนี้แล้ว จึงรำพึง ( ต่อไป ) ว่า " เสนาสนะเป็นที่สบาย จะมี

หรือไม่มีหนอ ?" เห็นแม้เสนาสนะเป็นที่สบายแล้ว จึงรำพึง ( ต่อไป

อีก) ว่า "พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายของเรายังไม่ได้บุคคลเป็นที่สบายหรือ

หนอ ? เห็นแม้บุคคลเป็นที่สบายแล้ว จึงใคร่ครวญอยู่ว่า " พระผู้

เป็นเจ้าทั้งหลายยังไม่ได้อาหารเป็นที่สบายหรือหนอ ?" ก็ได้เห็นว่า

อาหารเป็นที่สบายยังไม่มีแก่พวกเธอ." จำเดิมแต่นั้นมา ก็จัดแจงข้าวยาคู

อันมีอย่างต่าง ๆ และของขบเคี้ยวเป็นอเนกประการ และโภชนะมีรส

ต่าง ๆ อันเลิศแล้ว นิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้นั่งแล้ว จึงถวายน่าทักษิโณทก

แล้ว มอบถวายด้วยคำว่า " ท่านผู้เจริญ พวกท่านชอบใจสิ่งใด ๆ

ขอจงถือเอาสิ่งนั้น ๆ ฉันเถิด."

ภิกษุเหล่านั้น รับเอาวัตถุทั้งหลายมีข้าวยาคูเป็นต้นแล้ว บริโภค

ตามความชอบใจ.

๑.แปลตามพยัญชนะว่า......ยังข้าวยาคูมีอย่างต่าง ๆ ด้วย ยังของเคี้ยวมีประการมิใช่น้อยด้วย

ยังโภชนะมีรสอันเลิศต่าง ๆ ด้วย ให้ถึงพร้อมแล้ว.

๒. แปลว่า น้ำเพื่อทักษิณา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 399

ภิกษุ ๖๐ รูปบรรลุพระอรหัต

เมื่อภิกษุเหล่านั้นได้อาหารอันเป็นที่สบาย จิตก็เป็นธรรมชาติ มี

อารมณ์เดียว ( แน่วแน่ ). พวกเธอมีจิตแน่วแน่เจริญวิปัสสนา ต่อกาล

ไม่นานนัก ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย แล้วคิดว่า

" น่าขอบคุณ ! มหาอุบาสิกาเป็นที่พึ่งของพวกเรา; ถ้าพวกเราไม่ได้

อาหารอันเป็นที่สบายแล้วไซร้, การแทงตลอดมรรคและผล คงจักไม่ได้

มีแก่พวกเรา ( เป็นแน่ ); บัดนี้ พวกเราอยู่จำพรรษาปวารณาแล้ว จัก

ไปสู่สำนักของพระศาสดา."

พวกเธออำลามหาอุบาสิกาว่า " พวกฉันใคร่จะเฝ้าพระศาสดา."

มหาอุบาสิกากล่าวว่า " ดีแล้วพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย " แล้วตามไปส่ง

ภิกษุเหล่านั้น, กล่าวคำอันเป็นที่รักเป็นอันมากว่า " ขอท่านทั้งหลาย พึง

(มา) เยี่ยมดิฉันแม้อีก" ดังนี้เป็นต้น แล้วจึงกลับ.

พระศาสดาตรัสถามสุขทุกข์กะภิกษุเหล่านั้น

ฝ่ายภิกษุเหล่านั้นแล ถึงเมืองสาวัตถีแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา

แล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง อันพระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย

(สรีรยนต์มีจักร ๔ มีทวาร ๙) พวกเธอพออดทนได้ดอกหรือ ? พวก

เธอพอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ดอกหรือ ? อนึ่ง พวกเธอไม่ลำบากด้วย

บิณฑบาตหรือ ?" จึงกราบทูลว่า " พออดทนได้พระเจ้าข้า พอยัง

อัตภาพให้เป็นไปได้ พระเจ้าข้า, อนึ่ง ข้าพระองค์ทั้งหลาย มิได้

ลำบากด้วยบิณฑบาตเลย, เพราะว่าอุบาสิกาคนหนึ่ง ชื่อมาติกมาตา

ทราบวาระจิตของพวกข้าพระองค์. เมื่อพวกข้าพระองค์คิดว่า ' ไฉนหนอ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 400

มหาอุบาสิกาจะพึงจัดแจงอาหารชื่อเห็นปานนี้เพื่อพวกเรา.' (นาง) ก็

ได้จัดแจงอาหารถวายตามที่พวกข้าพระองค์คิดแล้ว" ดังนี้แล้ว ก็กล่าว

สรรเสริญคุณของมหาอุบาสิกานั้น.

อุบาสิกาจักของถวายตามที่ภิกษุต้องการ

ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง สดับถ้อยคำสรรเสริญคุณของมหาอุบาสิกานั้น

แล้ว เป็นผู้ใคร่จะไปในที่นั้น เรียนกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดา

แล้ว ทูลลาพระศาสดาว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไปยัง

บ้านนั้น" แล้วออกจากพระเชตวัน ถึงบ้านนั้นโดยลำดับ ในวันที่ตน

เข้าไปสู่วิหาร คิดว่า " เขาเล่าลือว่า อุบาสิกานี้ ย่อมรู้ถึงเหตุอันบุคคล

อื่นคิดแล้ว ๆ. ก็เราเหน็ดเหนื่อยแล้วในหนทางจักไม่สามารถกวาดวิหาร

ได้, ไฉนหนอ อุบาสิกานี้จะพึงส่งคนผู้ชำระวิหารมาเพื่อเรา."

อุบาสิกานั่งในเรือนนั่นเองรำพึงอยู่ ทราบความนั้นแล้ว จึงส่งคน

ไป ด้วยคำว่า " เจ้าจงไป, ชำระวิหารแล้วจึงมา."

ฝ่ายภิกษุนอกนี้อยากดื่มน้ำ จึงคิดว่า " ไฉนหนอ อุบาสิกานี้

จะพึงทำน้ำดื่มละลายน้ำตาลกรวดส่งมาให้แก่เรา." อุบาสิกาก็ได้ส่งน้ำนั้น

ไปให้. เธอคิด (อีก) ว่า " ขออุบาสิกา จงส่งข้าวยาคูมีรสสนิทและ

แกงอ่อมมาเพื่อเรา ในวันพรุ่งนี้แต่เช้าตรู่เถิด." อุบาสิกาก็ได้ทำอย่างนั้น.

ภิกษุนั้นดื่มข้าวยาคูแล้ว คิดว่า " ไฉนหนอ อุบาสิกาพึงส่งของขบเคี้ยว

เห็นปานนี้มาเพื่อเรา." อุบาสิกาก็ได้ส่งของเคี้ยวแม้นั้นไปแล้ว เธอคิดว่า

" อุบาสิกานี้ส่งวัตถุที่เราคิดแล้ว ๆ ทุก ๆ สิ่งมา ; เราอยากจะพบอุบาสิกา

นั่น, ไฉนหนอ นางพึงให้คนถือโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ เพื่อเรา มาด้วย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 401

ตนเองทีเดียว." อุบาสิกาคิดว่า " ภิกษุผู้บุตรของเราประสงค์จะเห็นเรา

หวังการไปของเราอยู่," ดังนี้แล้ว จึงให้คนถือโภชนะไปสู่วิหารแล้วได้

ถวายแก่ภิกษุนั้น.

ภิกษุนั้นทำภัตกิจแล้ว ถามว่า " มหาอุบาสิกา ท่านหรือ ? ชื่อว่า

มาจิกมาตา."

อุบาสิกา. ถูกแล้ว พ่อ.

ภิกษุ. อุบาสิกา ท่านทราบจิตของคนอื่นหรือ ?

อุบาสิกา. ถามดิฉันทำไม ? พ่อ.

ภิกษุ. ท่านได้ทำวัตถุทุก ๆ สิ่งที่ฉันคิดแล้วๆ, เพราะฉะนั้น ฉัน

จึงถามท่าน.

อุบาสิกา. พ่อ ภิกษุที่รู้จิตของคนอื่น ก็มีมาก.

ภิกษุ. ฉันไม่ได้ถามถึงคนอื่น, ถาม (เฉพาะตัว) ท่านอุบาสิกา.

แม้เป็นอย่างนั้น อุบาสิกาก็มิได้บอก (ตรง ๆ) ว่า " ดิฉันรู้จิต

ของคนอื่น " (กลับ) กล่าวว่า " ลูกเอ๋ย ธรรมดาคนทั้งหลายผู้รู้จิต

ของคนอื่น ย่อมทำอย่างนั้นได้."

ภิกษุลาอุบาสิกากลับไปเฝ้าพระศาสดา

ภิกษุนั้นคิดว่า "กรรมนี้หนักหนอ, ธรรมดาปุถุชน ย่อมคิดถึง

อารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง; ถ้าเราจักคิดสิ่งอันไม่สมควรแล้วไซร้,

อุบาสิกานี้ ก็พึงยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก เหมือนจับโจรที่มวยผม

พร้อมด้วยของกลางฉะนั้น; เราควรหนีไปเสียจากที่นี้" แล้วกล่าวว่า

" อุบาสิกา ฉันจักลาไปละ."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 402

อุบาสิกา. ท่านจักไปที่ไหน ? พระผู้เป็นเจ้า.

ภิกษุ. ฉันจักไปสู่สำนักพระศาสดา อุบาสิกา.

อุบาสิกา. ขอท่านจงอยู่ในที่นี้ก่อนเถิด เจ้าข้า.

ภิกษุนั้นกล่าวว่า " ฉันจักไม่อยู่ อุบาสิกา จักต้องไปอย่างแน่นอน"

แล้วได้เดินออก ( จากที่นั้น ) ไปสู่สำนักของพระศาสดา.

พระศาสดาแนะให้รักษาจิตอย่างเดียว

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามเธอว่า " ภิกษุ เธออยู่ในที่นั้น

ไม่ได้หรือ ?"

ภิกษุ. เป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ไม่สามารถอยู่ใน

ที่นั้นได้.

พระศาสดา. เพราะเหตุไร ? ภิกษุ.

ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ( เพราะว่า) อุบาสิกานั้น ย่อม

รู้ถึงเรื่องอันคนอื่นคิดแล้ว ๆ ทุกประการ, ข้าพระองค์คิดว่า " ก็ธรรมดา

ปุถุชน ย่อมคิดอารมณ์อันงามบ้าง ไม่งามบ้าง; ถ้าเราจักคิดสิ่งบางอย่าง

อันไม่สมควรแล้วไซร้, อุบาสิกานั้น ก็จักยังเราให้ถึงซึ่งประการอันแปลก

เหมือนจับโจรที่มวยผมพร้อมทั้งของกลางฉะนั้น" ดังนี้แล้วจึงได้มา.

พระศาสดา. ภิกษุ เธอควรอยู่ในที่นั้นแหละ.

ภิกษุ. ข้าพระองค์ไม่สามารถ พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักอยู่ใน

ที่นั้นไม่ได้.

พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าอย่างนั้น เธอจักอาจรักษาสิ่งหนึ่งเท่านั้น

ได้ไหม ?

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 403

ภิกษุ. รักษาอะไร ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา ตรัสว่า " เธอจงรักษาจิตของเธอนั่นแหละ ธรรมดา

จิตนี้บุคคลรักษาได้ยาก, เธอจงข่มจิตของเธอไว้ให้ได้ อย่าคิดถึงอารมณ์

อะไร ๆ อย่างอื่น, ธรรมดาจิตอันบุคคลข่มได้ยาก" ดังนี้แล้วจึงตรัส

พระคาถานี้ว่า

๒. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโน

จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺต ทนฺต สุขาวห.

"การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมดาเร็ว

มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะ

ว่า ) จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมาให้.

แก้อรรถ

บัณฑิตพึงทราบวิเคราะห์ในพระคาถานั้น (ดังต่อไปนี้). ธรรมดา

จิตนี้ อันบุคคลย่อมข่มได้โดยยาก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทุนฺนิคฺคห.

จิตนี้ย่อมเกิดและดับเร็ว เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ลหุ ซึ่งจิต

อันข่มได้ยาก อันเกิดและดับเร็วนั้น.

บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาติโน ความว่า มักตกไปใน

อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งนั่นแล. จริงอยู่ จิตนี้ ย่อมไม่รู้จักฐานะอันตน

ควรได้ หรือฐานะอันไม่ควรได้, ฐานะอันสมควรหรือฐานะอันไม่สมควร

ย่อมไม่พิจารณาดูชาติ ไม่พิจารณาดูโคตร ไม่พิจารณาดูวัย; ย่อมตกไป

ในอารมณ์ที่ตนปรารถนาอย่างเดียว. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 404

จึงตรัสว่า " มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่."

การฝึกจิตเห็นปานนี้นั้น เป็นการดี คือความที่จิตอันบุคคลฝึกฝน

ด้วยอริยมรรค ๔ ได้แก่ ความที่จิตอันบุคคลทำแล้วโดยประการที่จิตสิ้น

พยศได้ เป็นการดี.

ถามว่า " เพราะเหตุไร ? "

แก้ว่า " เพราะว่า จิตนี้อันบุคคลฝึกแล้ว ย่อมเป็นเหตุนำสุขมา

ให้ คือว่า จิตที่บุคคลฝึกแล้ว ได้แก่ทำให้สิ้นพยศ ย่อมนำมาซึ่งความ

สุขอันเกิดแต่มรรคผล และสุขคือพระนิพพานอันเป็นปรมัตถ์."

ในกาลจบเทศนา บริษัทที่มาประชุมกันเป็นอันมาก ได้เป็นอริย-

บุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น, เทศนาสำเร็จประโยชน์แก่มหาชนแล้ว.

ภิกษุนั้นกลับไปสู่มาติกคามอีก

พระศาสดาครั้นประทานโอวาทนี้แก่ภิกษุนั้นแล้ว จึงทรงส่งไปด้วย

พระดำรัสว่า " ไปเถิด ภิกษุ เธออย่าคิดอะไรๆ อย่างอื่น จง

อยู่ในที่นั้นนั่นแหละ." ภิกษุนั้นได้พระโอวาทจากสำนักของพระศาสดา

แล้ว จึงได้ไป (อยู่ ) ในที่นั้น, ไม่ได้คิดอะไร ๆ ที่ชวนให้คิด

ภายนอกเลย.

ฝ่ายมหาอุบาสิกา เมื่อตรวจดูด้วยทิพยจักษุ ก็เห็นพระเถระแล้ว

กำหนด (รู้) ด้วยญาณของตนนั่นแลว่า " บัดนี้ ภิกษุผู้บุตรของเรา

ได้อาจารย์ให้โอวาทแล้วจึงกลับมาอีก " แล้วได้จัดแจงอาหารอันเป็นที่

สบายถวายแก่พระเถระนั้น.

๑. อริยมรรค ๔ คือ โสดาปัตติมรรค ๑ สกทาคามิมรรค ๑ อนาคามิมรรค ๑ อรหัต-

มรรค ๑

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 405

พระเถระบรรลุพระอรหัตและระลึกชาติได้

พระเถระนั้นได้โภชนะอันเป็นที่สบายแล้ว โดย ๒-๓ วันเท่านั้น

ก็ได้บรรลุพระอรหัต ยับยั้งอยู่ด้วยความสุขอันเกิดแต่มรรคและผลคิดว่า

" น่าขอบใจ มหาอุบาสิกาได้เป็นที่พึ่งของเราแล้ว เราอาศัยมหาอุบาสิกา

นี้ จึงถึงซึ่งการแล่นออกจากภพได้, แล้วใคร่ครวญอยู่ว่า มหาอุบาสิกา

นี้ได้เป็นที่พึ่งของเราในอัตภาพนี้ก่อน, ก็เมื่อเราท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร

มหาอุบาสิกานี้เคยเป็นที่พึ่งในอัตภาพแม้อื่น ๆ หรือไม่ ? แล้วจึงตาม

ระลึกไปตลอด ๙๙ อัตภาพ.

แม้มหาอุบาสิกานั้น ก็เป็นนางบาทบริจาริกา (ภริยา) ของ

พระเถระนั้นใน ๙๙ อัตภาพ เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในชายเหล่าอื่น จึงให้

ปลงพระเถระนั้นเสียจากชีวิต.

พระเถระครั้นเห็นโทษของมหาอุบาสิกานั้นเพียงเท่านี้แล้ว จึงคิดว่า

" น่าสังเวช มหาอุบาสิกานี้ได้ทำกรรมหนักมาแล้ว."

อุบาสิกาใคร่ครวญดูบรรพชิตกิจของพระเถระ

ฝ่ายมหาอุบาสิกานั่งในเรือนนั่นเอง พลางใคร่ครวญว่า " กิจแห่ง

บรรพชิตของภิกษุผู้บุตรของเรา ถึงที่สุดแล้ว หรือยังหนอ ?" ทราบว่า

พระเถระนั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว จึงใคร่ครวญยิ่งขึ้นไป ก็ทราบว่า

" ภิกษุผู้บุตรของเราบรรลุพระอรหัตแล้ว คิดว่า ' น่าปลื้มใจจริง อุบาสิกา

นี้ได้เป็นที่พึ่งของเราอย่างสำคัญ ' ดังนี้แล้วใคร่ครวญ (ต่อไปอีก) ว่า

" แม้ในกาลล่วงแล้ว อุบาสิกานี้ได้เคยเป็นที่พึ่งของเราหรือเปล่าหนอ ?"

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 406

ตามระลึกไปตลอด ๙๙ อัตภาพ; แต่เราแลได้คบคิดกับชายเหล่าอื่น ปลง

พระเถระนั้นเสียจากชีวิตใน ๙๙ อัตภาพ, พระเถระนี้แลเห็นโทษมีประมาณ

เท่านี้ของเราแล้ว คิดว่า 'น่าสังเวช อุบาสิกาได้ทำกรรมหนักแล้ว '

นางใคร่ครวญ (ต่อไป) ว่า " เราเมื่อท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร เรามิได้

เคยทำอุปการะแก่ภิกษุผู้เป็นบุตรเลยหรือหนอ ?" ได้ระลึกถึงอัตภาพที่

ครบ ๑๐๐ อันยิ่งกว่า ๙๙ อัตภาพนั้น ก็ทราบว่า "ในอัตภาพที่ครบ

๑๐๐ เราเป็นบาทบริจาริกาแห่งพระเถระนั้น ได้ให้ชีวิตทานในสถาน

เป็นที่ปลงจากชีวิตแห่งหนึ่ง. น่าดีใจ เรากระทำอุปการะมากแก่ภิกษุผู้

บุตรของเรา" นั่งอยู่ในเรือนนั่นเองกล่าวว่า " ขอท่านจงใคร่ครวญดู

ให้วิเศษยิ่งขึ้น."

พระเถระนิพพาน

พระเถระนั้น ได้สดับเสียง ( ของอุบาสิกานั้น) ด้วยโสตธาตุ

อันเป็นทิพย์แล้ว ระลึกถึงอัตภาพที่ครบ ๑๐๐ ให้วิเศษขึ้น แล้วเห็น

ความที่อุบาสิกานั้นได้ให้ชีวิตแก่ตนในอัตภาพนั้น จึงคิดว่า " น่าดีใจ

อุบาสิกานี้ได้เคยทำอุปการะแก่เรา " ดังนี้แล้ว มีใจเบิกบานกล่าวปัญหา

ในมรรค ๔ ผล ๔ แก่อุบาสิกาในที่นั้นนั่นเอง ได้ปรินิพพานแล้วด้วย

นิพพานธาตุอันเป็นอนุปาทิเสส.

เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ.

๑. อญฺเหิ สทฺธึ เอกโต หุตฺวา แปลตามพยัญชนะว่า เป็นโดยความเป็นอันเดียวกันกับบุรุษ

ทั้งหลายเหล่าอื่น.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 407

๓. เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ [๒๖]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสัน

(จะสึก ) รูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "สุทุทฺทส"

เป็นต้น.

พระเถระแนะอุบายพ้นทุกข์แก่เศรษฐีบุตร

ดังได้สดับมา เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี บุตรเศรษฐี

ผู้หนึ่ง เข้าไปหาพระเถระผู้เป็นชีต้นของตน เรียนว่า "ท่านผู้เจริญ กระผม

ใคร่จะพ้นจากทุกข์, ขอท่านโปรดบอกอาการสำหรับพ้นจากทุกข์แก่

กระผมสักอย่างหนึ่ง. "

พระเถระ กล่าวว่า "ดีละ ผู้มีอายุ ถ้าเธอใคร่จะพ้นจากทุกข์ไซร้,

เธอจงถวายสลากภัต ถวายปักขิกภัต ถวายวัสสาวาสิกภัต ถวาย

ปัจจัยทั้งหลายมีจีวรเป็นต้น, แบ่งทรัพย์สมบัติของตนให้เป็น ๓ ส่วน

ประกอบการงานด้วยทรัพย์ส่วน ๑ เลี้ยงบุตรและภรรยาด้วยทรัพย์ส่วน ๑

ถวายทรัพย์ส่วน ๑ ไว้ในพระพุทธศาสนา." เขารับว่า "ดีละ ขอรับ"

แล้วทำกิจทุกอย่าง ตามลำดับแห่งกิจที่พระเถระบอก แล้วเรียนถาม

พระเถระอีกว่า "กระผมจะทำบุญอะไรอย่างอื่น ที่ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกเล่า ?

ขอรับ."

๑. กุลุปกะ ผู้เข้าไปสู่ตระกูล ๒. ภัตที่ยายกถวายตามสลาก. ๓. ภัตที่ทายกถวายในวัน

ปักษ์. ๔. ภัตที่ทายกถวายแก่ภิกษุผู้จำพรรษา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 408

พระเถระ ตอบว่า " ผู้มีอายุ เธอจงรับไตรสรณะ (และ)

ศีล ๕." เขารับไตรสรณะและศีล ๕ แม้เหล่านั้นแล้ว จึงเรียนถามถึง

บุญกรรมที่ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น. พระเถระก็แนะว่า " ถ้ากระนั้น เธอจง

รับศีล ๑๐." เขากล่าวว่า " ดีละ ขอรับ " แล้วก็รับ (ศีล ๑๐).

เพราะเหตุที่เขาทำบุญกรรมอย่างนั้นโดยลำดับ เขาจึงมีนามว่า อนุปุพพ-

เศรษฐีบุตร. เขาเรียนถามอีกว่า " บุญอันกระผมพึงทำ แม้ยิ่งขึ้นไป

กว่านี้ ยังมีอยู่หรือ ? ขอรับ" เมื่อพระเถระกล่าวว่า " ถ้ากระนั้น เธอ

จงบวช," จึงออกบวชแล้ว. ภิกษุผู้ทรงพระอภิธรรมรูปหนึ่ง ได้เป็น

อาจารย์ของเธอ, ภิกษุผู้ทรงพระวินัยรูปหนึ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์, ใน

เวลาที่ภิกษุนั้นได้อุปสมมทแล้วมาสู่สำนักของตน (อาจารย์) อาจารย์

กล่าวปัญหาในพระอภิธรรมว่า "ชื่อว่า ในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำกิจ

นี้จึงควร, ทำกิจนี้ไม่ควร. "

ฝ่ายพระอุปัชฌาย์ ก็กล่าวปัญหาในพระวินัย ในเวลาที่ภิกษุนั้น

มาสู่สำนักของตนว่า " ชื่อว่า ในพระพุทธศาสนา ภิกษุทำสิ่งนี้ควร,

ทำสิ่งนี้ไม่ควร; สิ่งนี้เหมาะ สิ่งนี้ไม่เหมาะ."

อยากสึกจนซูบผอม

ท่านคิดว่า "โอ ! กรรมนี้หนัก; เราใคร่จะพ้นจากทุกข์ จึงบวช,

แต่ในพระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเรา ไม่ปรากฏ, เรา

ดำรงอยู่ในเรือนก็อาจพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะได้ เราควรเป็นคฤหัสถ์

(ดีกว่า)." ตั้งแต่นั้น ท่านกระสัน (จะสึก) หมดยินดี (ในพรหม-

จรรย์) ไม่ทำการสาธยายในอาการ ๓๒, ไม่เรียนอุเทศ ผอม ซูบซีด

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 409

มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น ถูกความเกียจคร้านครอบงำ เกลื่อนกล่น

แล้วด้วยหิดเปื่อย.

ลำดับนั้น พวกภิกษุหนุ่มและสามเณร ถามท่านว่า " ผู้มีอายุ

ทำไม ? ท่านจึงยืนแฉะอยู่ในที่ยืนแล้ว นั่งแฉะในที่นั่งแล้ว ถูกโรค

ผอมเหลืองครอบงำ ผอม ซูบซีด มีตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น ถูกความ

เกียจคร้านครอบงำ เกลื่อนกล่นแล้วด้วยหิดเปื่อย, ท่านทำกรรม

อะไรเล่า ?"

ภิกษุ. ผู้มีอายุ ผมเป็นผู้กระสัน.

ภิกษุหนุ่มและสามเณร. เพราะเหตุไร ?

ภิกษุนั้น บอกพฤติการณ์นั้นแล้ว, ภิกษุหนุ่มและสามเณรเหล่านั้น

บอกแก่พระอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของท่านแล้ว. พระอาจารย์และพระ-

อุปัชฌาย์ ได้พากันไปยังสำนักพระศาสดา.

รักษาจิตอย่างเดียวอาจพ้นทุกข์ได้

พระศาสดาตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาทำไมกัน ?"

อาจารย์และอุปัชฌาย์. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปนี้กระสันใน

ศาสนาของพระองค์.

พระศาสดา. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ? ภิกษุ.

ภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เพราะเหตุไร ?

ภิกษุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ( เพราะ) ข้าพระองค์ใคร่จะพ้น

จากทุกข์ จึงได้บวช, พระอาจารย์ของข้าพระองค์นั้น กล่าวอภิธรรมกถา,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 410

พระอุปัชฌาย์กล่าววินัยกถา. ข้าพระองค์นั้นได้ทำความตกลงใจว่า ' ใน

พระพุทธศาสนานี้ สถานเป็นที่เหยียดมือของเราไม่มีเลย, เราเป็นคฤหัสถ์

ก็อาจพ้นจากทุกข์ได้, เราจักเป็นคฤหัสถ์' ดังนี้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ภิกษุ ถ้าเธอจักสามารถรักษาได้เพียงสิ่งเดียวเท่านั้น,

กิจคือการรักษาสิ่งทั้งหลายที่เหลือ ย่อมไม่มี.

ภิกษุ. อะไร ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เธอจักอาจรักษาเฉพาะจิตของเธอ ได้ไหม ?

ภิกษุ. อาจรักษาได้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา ประทานพระโอวาทนี้ว่า " ถ้ากระนั้น เธอจงรักษา

เฉพาะจิตของตนไว้, เธออาจพ้นจากทุกข์ได้" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระ

คาถานี้

๓. สุทุทฺทส สุนิปุณ ยตฺถ กามนิปาติน

จิตฺต รกฺเขถ เมธาวี จิตฺต คุตฺต สุขาวห.

"ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้แสนยาก

ละเอียดยิ่งนัก มันตกไปในอารมณ์ตามความใคร่,

(เพราะว่า) จิตที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมา

ให้."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทุทฺทส ได้แก่ ยากที่จะเห็นได้

ด้วยดี. บทว่า สุนิปุณ ละเอียดที่สุด ได้แก่ ละเอียดอย่างยิ่ง.

บาทพระคาถาว่า ยตฺถ กามนิปาติน ความว่า มักไม่พิจารณา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 411

ดูฐานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้น ตกไปในอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในฐานะ

ที่พึงได้หรือไม่พึงได้ สมควรหรือไม่สมควร.

บาทพระคาถาว่า จิตฺต รกฺเขถ เมธาวี ความว่า คนอันธพาล

มีปัญญาทราม ชื่อว่า สามารถรักษาจิตของตนไว้ได้ ย่อมไม่มี. เขา

เป็นผู้เป็นไปในอำนาจจิต ย่อมถึงความพินาศฉิบหาย: ส่วนผู้มีปัญญา

คือเป็นบัณฑิตเทียว ย่อมอาจรักษาจิตไว้ได้. เพราะเหตุนั้น แม้เธอจง

คุ้มครองจิตไว้ให้ได้; เพราะว่า จิต ที่คุ้มครองไว้ได้ เป็นเหตุนำสุขมาให้

คือย่อมนำมาซึ่งสุขอันเกิดแต่มรรคผลและนิพพาน ดังนี้.

ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ชนแม้

เหล่าอื่นเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น. เทศนา

ได้สำเร็จประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องอุกกัณฐิตภิกษุ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 412

๔. เรื่องพระภาคิไนยสังฆรักขิตเถระ [๒๗]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุชื่อว่า

สังฆรักขิต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ทูรงฺคม เอกจร " เป็นต้น

พระเถระไม่รับผ้าสาฎกที่พระหลานชายถวาย

ดังได้สดับมา กุลบุตรผู้หนึ่งในกรุงสาวัตถี ฟังพระธรรมเทศนา

ของพระศาสดาแล้วออกบวช ได้อุปสมบทแล้ว มีนามว่าสังฆรักขิตเถระ

โดย ๒ - ๓ วันเท่านั้น ก็บรรลุพระอรหัตผล. น้องชายของท่าน ได้

บุตรแล้ว ก็ได้ตั้งชื่อของพระเถระ ( แก่บุตรนั้น) . เขามีนามว่า

ภาคิไนยสังฆรักขิต เจริญวัยแล้ว ได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของ

พระเถระ เข้าไปจำพรรษาในวัดใกล้บ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง ได้ผ้าวัสสา-

วาสิกสาฎก ๒ ผืน คือยาว ๗ ศอกผืนหนึ่ง ยาว ๘ ศอกผืนหนึ่ง กำหนด

ไว้ว่า " ผ้าผืนยาว ๘ ศอกจักเป็นของพระอุปัชฌาย์ของเรา" คิดว่า

" ผ้าผืนยาว ๗ ศอกจักเป็นของเรา" ออกพรรษาแล้ว ประสงค์ว่า

" จักเยี่ยมพระอุปัชฌาย์" เดินมาพลางเที่ยวบิณฑบาตในระหว่างทาง

ครั้นมา (ถึง) แล้ว เมื่อพระเถระยังไม่กลับมาสู่วิหารนั่นแล, เข้าไปสู่

วิหารแล้วปัดกวาดที่สำหรับพักกลางวันของพระเถระ จัดตั้งน้ำล้างเท้าไว้

ปูอาสนะแล้วนั่งแลดูหนทางเป็นที่มา (แห่งพระเถระ) อยู่. ครั้นทราบ

ความที่พระเถระมาถึงแล้ว กระทำการต้อนรับ รับบาตรจีวร อาราธนา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 413

พระเถระให้นั่ง ด้วยคำว่า " ขอท่านนั่งเถิด ขอรับ" ถือพัดก้านตาล

พัดแล้ว ถวายน้ำดื่ม ล้างเท้าทั้งสองแล้ว นำผ้าสาฎกนั้นมาวางไว้ ณ

ที่ใกล้เท้าเรียนว่า "ท่านขอรับ ขอท่านจงใช้สอยผ้าสาฎกผืนนี้" ดังนี้

แล้ว ได้ยืนพัดอยู่.

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะเธอว่า " สังฆรักขิต จีวรของฉัน

บริบูรณ์, เธอนั่นแล จงใช้สอย."

พระสังฆรักขิต. ท่านขอรับ ผ้าสาฏกนี้ กระผมกำหนดไว้เพื่อ

ท่านทีเดียว จำเดิมแต่เวลาที่กระผมได้แล้ว, ขอท่านจงทำการใช้สอยเถิด.

พระเถระ. ช่างเถอะ สังฆรักขิต จีวรของฉันบริบูรณ์, เธอ

นั่นแล จงใช้สอยเถิด.

พระสังฆรักขิต. ท่านขอรับ ขอท่านอย่าทำอย่างนั้นเลย (เพราะ)

เมื่อท่านใช้สอยผ้าสากฎนี้ ผลมากจักมีแก่กระผม.

พระหลานชายนึกถึงฆราวาสวิสัย

ลำดับนั้น เมื่อพระสังฆรักขิตนั้น แม้กล่าว (วิงวอน) อยู่

แล้ว ๆ เล่า ๆ, พระเถระก็ไม่ปรารถนาผ้าสาฎกผืนนั้น. เธอยืนพัดอยู่

พลางคิดอย่างนี้ว่า "ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ เราเป็นหลานของพระเถระ;

ในเวลาบวชแล้ว เราก็เป็นสัทธิวิหาริก (ของท่าน), แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น

พระอุปัชฌาย์ ก็ไม่ประสงค์ทำการใช้สอยร่วมกับเรา, เมื่อพระอุปัชฌาย์

นี้ ไม่ทำการร่วมใช้สอยกับเรา, เราจะต้องการอะไรด้วยความเป็นสมณะ,

เราจักเป็นคฤหัสถ์ (ดีกว่า)."

ขณะนั้น เธอได้มีความคิดเห็นว่า " การครองเรือน ตั้งตัวได้ยาก,

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 414

เราจักขายผ้าสาฎกผืนยาว ๘ ศอกแล้ว ซื้อแม่แพะ (มา ) ตัวหนึ่ง,

ธรรมดาแม่แพะย่อมตกลูกเร็ว เรานั้นจะขายลูกแพะที่ตกแล้ว ๆ ทำให้

เป็นต้นทุน, ครั้นรวมต้นทุนได้มากแล้ว จักนำหญิงคนหนึ่งมาเป็นภริยา,

นางจักคลอดบุตรคนหนึ่ง เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจักตั้งชื่อหลวงลุงของเรา

แก่บุตรนั้น แล้วให้นั่งในยานน้อยพาบุตรและภริยาของเรามาไหว้หลวง-

ลุง, เมื่อเดินมา จักพูดกะภริยาของเราในระหว่างทางว่า ' หล่อนจงนำ

บุตรมาแก่เราก่อน, เราจักนำ ( อุ้ม ) เขาไป.' หล่อนจักพูดว่า ' เธอ

จะต้องการอะไรด้วยบุตร, เธอจงมา จงขับยานน้อยนี้ไป,' แล้วรับเอา

บุตรไป ตั้งใจว่า ' เราจักนำเขาไป,' เมื่อไม่อาจอุ้มไปได้ จักทิ้งไว้ที่

รอยล้อ, เมื่อเป็นเช่นนั้น ล้อจักทับสรีระของเขาไป, ลำดับนั้น เราจะ

พูดกะหล่อนว่า ' หล่อนไม่ได้ให้บุตรของฉันแก่ฉันเอง. หล่อนไม่สามารถ

อุ้มบุตรนั้นไปได้, บุตรนั้นย่อมเป็นผู้อันเจ้าให้ฉิบหายเสียแล้ว, จักเอา

ด้ามปฏักตีหลัง (ภริยา)."

พระเถระถูกพระหลานชายตี

พระหลานชายนั้น คิดอยู่อย่างนั้น พลางยืนพัดอยู่เทียว เอาพัด

ก้านตาลตีศีรษะพระเถระแล้ว.

พระเถระใคร่ครวญอยู่ว่า " เพราะเหตุไรหนอแล ? เราจึงถูกสังฆ-

รักขิตตีศีรษะ," ทราบเรื่องที่พระหลานชายนั้นคิดแล้ว ๆ ทั้งหมด, จึง

พูดว่า " สังฆรักขิต เธอไม่ได้อาจจะให้ประหารมาตุคาม, ในเรื่องนี้

พระเถระผู้แก่มีโทษอะไรเล่า ?"

เธอคิดว่า " ตายจริง เราฉิบหายแล้ว, นัยว่าพระอุปัชฌาย์รู้เรื่อง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 415

ที่เราคิดแล้ว ๆ, เราจะต้องการอะไรด้วยความเป็นสมณะ" ดังนี้แล้ว

จึงทิ้งพัดก้านตาล ปรารภเพื่อจะหนีไป.

พระศาสดาตรัสถามเหตุที่เกิดขึ้น

ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย ไล่ตามจับภิกษุนั้นพา

มายังสำนักพระศาสดา. พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว

ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอมาทำไมกัน ?" พวกเธอ ได้

ภิกษุรูปหนึ่งหรือ ?"

พวกภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์พาภิกษุหนุ่ม

รูปนี้ ซึ่งกระสัน (จะสึก ) แล้วหลบหนี มายังสำนักพระองค์.

พระศาสดา. ได้ยินว่า อย่างนั้นหรือ ? ภิกษุ.

พระสังฆรักขิต. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ภิกษุ เธอทำกรรมหนักอย่างนั้น เพื่ออะไร ? เธอ

เป็นบุตรของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ผู้ปรารภความเพียร บวชใน

ศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้เช่นเรามิใช่หรือ ? ไม่ได้อาจให้เขาเรียกตนว่า

' พระโสดาบัน' ' พระสกทาคามี, ' พระอนาคามี หรือ ' พระอรหันต์;'

ได้ทำกรรมหนักอย่างนั้นเพื่ออะไร ?

พระสังฆรักขิต. ข้าพระองค์กระสัน ( จะสึก) พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. เพราะเหตุไร ? เธอจึงกระสัน (จะสึก).

พระสังฆรักขิตนั้น กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดแด่พระศาสดาจำเดิม

แต่วันที่ตนได้ผ้าวัสสาวาสิกสาฎก จนถึงเอาพัดก้านตาลตีพระเถระแล้ว

กราบทูลว่า " เพราะเหตุนี้ ข้าพระองค์จึง (คิด) หลบหนีไป

พระเจ้าข้า."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 416

สำรวมจิตเป็นเหตุให้พ้นเครื่องผูกของมาร

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " มาเถิดภิกษุ เธออย่าคิดไปเลย,

ธรรมดาจิตนี่มีหน้าที่รับอารมณ์ แม้มีอยู่ในที่ไกล, ควรที่ภิกษุจัก

พยายามเพื่อประโยชน์แก่การพ้นจากเครื่องผูกคือราคะ โทสะ โมหะ"

ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๔. ทูรงฺคม เอกจร อสรีร คุหาสย

เย จิตฺต สญฺเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา.

"ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล

เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีสรีระ มีถ้ำเป็นที่อาศัย ชน

เหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทูรงฺคม เป็นต้น (พึงทราบวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้ ) ก็ชื่อว่าการไปและการมาของจิต โดยส่วนแห่งทิศมีทิศบูรพา

เป็นต้น แม้ประมาณเท่าใยแมลงมุม ย่อมไม่มี, จิตนั้นย่อมรับอารมณ์

แม้มีอยู่ในที่ไกล เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ทูรงฺคม.

อนึ่ง จิต ๗-๘ ดวง ชื่อว่าสามารถเกิดขึ้นเนื่องเป็นช่อโดยความ

รวมกันในขณะเดียว ย่อมไม่มี, ในกาลเป็นที่เกิดขึ้น จิตย่อมเกิดขึ้น

ทีละดวง ๆ, เมื่อจิตดวงนั้นดับแล้ว, จิตดวงใหม่ก็เกิดขึ้นทีละดวงอีก

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เอกจร.

สรีรสัณฐานก็ดี ประเภทแห่งสีมีสีเขียวเป็นต้นเป็นประการก็ดี

ของจิต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อสรีร.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 417

ถ้ำคือมหาภูต ๔ ชื่อว่า คูหา, ก็จิตนี้อาศัยหทัยรูปเป็นไปอยู่

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า คุหาสย.

สองบทว่า เย จิตฺต ความว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง คือเป็น

บุรุษหรือสตรี เป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต เมื่อไม่ให้กิเลสที่ยังไม่เกิดให้

เกิดขึ้น ละกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว เพราะความฟั่นเฟือนแห่งสติ ชื่อว่า

จักสำรวมจิต คือจักทำจิตให้สงบ ได้แก่ ไม่ให้ฟุ้งซ่าน.

บาทพระคาถาว่า โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา ความว่า ชนเหล่า

นั้นทั้งหมด ชื่อว่าจักพ้นจากวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ ๓ อันนับว่าเป็น

เครื่องผูกแห่งมาร เพราะไม่มีเครื่องผูกคือกิเลส.

ในกาลจบเทศนา พระภาคิไนยสังฆรักขิตเถระ บรรลุโสดาปัตติ-

ผลแล้ว. ชนแม้เหล่าอื่นเป็นอันมาก ได้เป็นอริยบุคคลมีพระโสดาบัน

เป็นต้นแล้ว. เทศนาได้สำเร็จประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระภาคิไนยสังฆรักขิตเถระ จบ.

๑. มหาภูต ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 418

๕. เรื่องพระจิตตหัตถเถระ [๒๘]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ

ชื่อจิตตหัตถ์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "อนวฏฺิตจิตฺตสฺส"

เขาเที่ยวตามโคจนอ่อนเพลีย

ได้ยินว่า กุลบุตรชาวเมืองสาวัตถีคนหนึ่ง แสวงหาโคผู้ที่หายไปอยู่

จึงเข้าป่า พบโคผู้ในเวลาเที่ยง ปล่อยเข้าฝูงแล้วคิดว่า " เราจักได้วัตถุ

สักว่าอาหาร ในสำนักของพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายแน่แท้" ถูกความหิวกระ-

หายรบกวนแล้ว จึงเข้าไปสู่วิหาร ถึงสำนักของภิกษุทั้งหลาย ไหว้แล้ว

ได้ยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ก็ในสมัยนั้นแล ภัตอันเหลือจากภิกษุทั้งหลาย

ฉัน ยังมีอยู่ในถาดสำหรับใส่ภัตอันเป็นเดน. ภิกษุเหล่านั้นเห็นเขาถูก

ความหิวรบกวนแล้ว จึงกล่าวว่า " เชิญท่านถือเอาภัตกินเถิด," ก็ชื่อว่า

ในครั้งพุทธกาล แกงและกับมากมายย่อมเกิดขึ้น, เขารับภัตพอเยียวยา

อัตภาพจากถาดนั้นบริโภคแล้ว ดื่มน้ำ ล้างมือ ไหว้ภิกษุทั้งหลายแล้ว

ถามว่า " ท่านขอรับ วันนี้ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายได้ไปสู่ที่นิมนต์แล้ว

หรือ ?" ภิกษุทั้งหลายตอบว่า " อุบาสก วันนี้ ไม่มี, ภิกษุทั้งหลาย

ย่อมได้ (ภัตตาหาร) เนือง ๆ โดยทำนองนี้เทียว."

เขาบวชเป็นภิกษุ

เขาคิดว่า " พวกเรา ลุกขึ้นแล้ว ครั้นลุกขึ้นแล้ว แม้ทำการงาน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 419

เนือง ๆ ตลอดคืนและวัน ก็ยังไม่ได้ภัตมีกับอันอร่อยอย่างนี้, ได้ยินว่า

ภิกษุเหล่านี้ย่อมฉันเนือง ๆ, เราจะต้องการอะไรด้วยความเป็นคฤหัสถ์,

เราจักเป็นภิกษุ" ดังนี้แล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายขอบรรพชาแล้ว.

ลำดับนั้น พวกภิกษุพูดกะเขาว่า " เป็นการดี อุบาสก" ให้เขาบรรพชา

แล้ว. เขาได้อุปสมบทแล้ว ทำวัตรและปฏิวัตร ซึ่งเป็นอุปการะแก่ภิกษุ

ทั้งปวง. เธอได้มีสรีระอ้วนท้วนโดยกาลล่วงไป ๒-๓ วัน เพราะลาภ

และสักการะที่เกิดขึ้นแก่พระพุทธะทั้งหลาย.

เขาบวช ๆ สึก ๆ ถึง ๖ ครั้ง

แต่นั้น เธอคิดว่า " เราจักต้องการอะไรด้วยการเที่ยวไปเพื่อภิกษา

เลี้ยงชีพ, เราจักเป็นคฤหัสถ์." เธอสึกเข้าเรือนแล้ว. เมื่อกุลบุตร [ทิด

สึกใหม่] นั้น ทำการงานอยู่ในเรือน โดย ๒ - ๓ วัน เท่านั้น สรีระ

ก็ซูบผอม. แต่นั้นเธอคิดว่า " ประโยชน์อะไรของเราด้วยทุกข์นี้, เรา

จักเป็นสมณะ" ดังนี้แล้ว ก็กลับมาบวชใหม่. เธอยับยั้งอยู่ไม่ได้กี่วัน

กระสันขึ้นแล้วสึกอีก แต่เธอได้มีอุปการะแก่พวกภิกษุในเวลาบวช. โดย

๒ - ๓ วัน เท่านั้น เธอก็ระอาใจแม้อีก คิดว่า " ประโยชน์อะไรของ

เราด้วยความเป็นคฤหัสถ์, เราจักบวช" จึงไปไหว้ภิกษุทั้งหลาย ขอ

บรรพชาแล้ว. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลาย ให้เขาบรรพชาอีกแล้ว ด้วยอำนาจ

แห่งอุปการะ, เขาบวชแล้วก็สึกอยู่อย่างนี้ถึง ๖ ครั้ง. ภิกษุทั้งหลายคิดว่า

" ภิกษุนี่ เป็นไปในอำนาจแห่งจิตเที่ยวไปอยู่" จึงขนานนามแก่เธอว่า

"จิตตหัตถเถระ."

๑. ใช้ศัพท์ว่า พุทฺธาน ในที่นี้ น่าจะหมายถึงพระสัมพุทธะ และอนพุทธะหรือพระสาวกพุทธะ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 420

ครั้งที่ ๗ เขาเกิดธรรมสังเวชเลยบวชไม่สึก

เมื่อนายจิตตหัตถ์นั้นเที่ยวไป ๆ มา ๆ อยู่อย่างนี้เทียว ภริยาได้

มีครรภ์แล้ว. ในวาระที่ ๗ เขาแบกเครื่องไถจากป่าไปเรือน วางเครื่อง

ใช้ไว้แล้ว เข้าห้องด้วยประสงค์ว่า " จักหยิบผ้ากาสาวะของตน." ใน

ขณะนั้น ภริยาของเขากำลังนอนหลับ. ผ้าที่หล่อนนุ่งหลุดลุ่ย น้ำลาย

ไหลออกปาก, จมูกก็กรนดังครืด ๆ, ปากอ้า, กัดฟัน. หล่อนปรากฏ

แก่เขาประดุจสรีระที่พองขึ้น. เขาคิดว่า " สรีระนี้ไม่เที่ยงเป็นทุกข์. เรา

บวชตลอดกาลประมาณเท่านี้แล้ว อาศัยสรีระนี้ จึงไม่สามารถดำรงอยู่ใน

ภิกษุภาวะได้" ดังนี้แล้ว ก็ฉวยผ้ากาสาวะพันท้อง พลางออกจากเรือน.

ขณะนั้น แม่ยายของเขายืนอยู่ที่เรือนติดต่อกัน เห็นเขากำลังเดินไปด้วย

อาการอย่างนั้น สงสัยว่า " เจ้านี่กลับไปอีกแล้ว เขามาจากป่าเดี๋ยวนี้เอง

พันผ้ากาสาวะที่ท้อง ออกเดินบ่ายหน้าตรงไปวิหาร; เกิดเหตุอะไรกัน

หนอ ?" จึงเข้าเรือนเห็นลูกสาวหลับอยู่ รู้ว่า "เขาเห็นลูกสาวของเรานี้

มีความรำคาญไปเสียแล้ว" จึงตีลูกสาว กล่าวว่า " นางชั่วชาติ จงลุกขึ้น.

ผัวของเอง เห็นเองกำลังหลับ มีความรำคาญไปเสียแล้ว, ตั้งแต่นี้

เองจะไม่มีเขาละ" ลูกสาวกล่าวว่า " หลีกไป หลีกไปเถิดแม่ เขาจะไป

ข้างไหน, อีก ๒-๓ วันเท่านั้น ก็มาอีก."

แม้นายจิตตหัตถ์นั้น บ่นไปว่า " ไม่เที่ยงเป็นทุกข์ " กำลังเดิน

ไป ๆ บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. เขาไปไหว้ภิกษุทั้งหลายแล้ว ก็ขอบรรพชา.

ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า "พวกเราจักไม่อาจให้ท่านบรรพชาได้, ความเป็น

สมณะของท่านจักมีมาแต่ที่ไหน ? ศีรษะของท่านเช่นกับหินลับมีด." เขา

กล่าวว่า " ท่านขอรับ พวกท่านโปรดอนุเคราะห์ให้กระผมบวชในคราว

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 421

นี้อีกคราวหนึ่งเถิด." ภิกษุเหล่านั้นจึงให้เขาบวชแล้ว ด้วยอำนาจแห่ง

อุปการะ

บรรลุพระอรหัตแล้วถูกหาว่าพูดไม่จริง

ได้ ๒-๓ วันเท่านั้น เธอก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา

ภิกษุแม้เหล่านั้น พูดกับเธอว่า " คุณจิตตหัตถ์ คุณควรรู้สมัยที่คุณจะ

ไปโดยแท้. ทำไม ในครั้งนี้ คุณจึงชักช้าอยู่เล่า ?" เธอกล่าวว่า " พวก

ผมไปแล้วในเวลาที่มีความเกี่ยวข้องดอก ขอรับ ความเกี่ยวข้องนั้น ผม

ตัดได้แล้ว, ต่อไปนี้ พวกผมมีความไม่ไปเป็นธรรมดา." พวกภิกษุ

พากันไปสู่สำนักของพระศาสดา กราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ภิกษุนี้ ถูกพวกข้าพระองค์พูดอย่างนี้ กล่าวชื่ออย่างนี้ เธอพยากรณ์

พระอรหัต เธอพูดคำไม่จริง." พระศาสดา ตรัสว่า "อย่างนั้น ภิกษุ

ทั้งหลาย บุตรของเรา ได้ทำการไปและการมา ในเวลาไม่รู้พระสัทธรรม

ในเวลาที่ตนยังมีจิตไม่มั่นคง, บัดนี้ บุตรของเรานั่นละบุญและบาปได้

แล้ว" ได้ตรัสสองพระคาถาเหล่านี้ว่า

๕. อนวฏฺิตจิตฺตสฺส สทฺธมฺม อวิชานโต

ปริปฺลวปสาทสฺส ปญฺา น ปริปูรติ

อนวสฺสุตจิตฺตสฺส อนนฺวาหตเจตโส

ปุญฺปาปปหีนสฺส นตฺถิ ชาครโต ภย.

"ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์ แก่ผู้มีจิตไม่มั่นคง

ไม่รู้แจ้งซึ่งพระสัทธรรม มีความเลื่อมใสอันเลื่อน

๑. หมายถึง กิเลสเป็นเครื่องเกี่ยวข้อง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 422

ลอย, ภัย (ความกลัว) ย่อมไม่มีแก่ผู้มีจิตอัน

ราคะไม่ซึมซาบ มีใจไม่ถูกโทสะตามกระทบ ละบุญ

และบาปได้ ตื่นอยู่."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น ด้วยบทว่า อนวฏฺิตจิตฺตสฺส พระศาสดา

ทรงแสดงเนื้อความว่า " ชื่อว่าจิตนี้ ของใคร ๆ ไม่มีแน่นอนหรือมั่นคง;

ก็บุคคลใด ไม่ดำรงอยู่ในภาวะไหน ๆ เหมือนกับฟักเขียวที่ตั้งไว้บน

หลังม้า เหมือนกับหลักที่ปักไว้ในกองแกลบ เหมือนกับดอกกระทุ่มบน

ศีรษะล้าน, บางคราวเป็นเสวก บางครั้งเป็นอาชีวก บางคาบเป็นนิครนถ์

บางเวลาเป็นดาบส, บุคคลเห็นปานนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่มั่นคง, ปัญญาอัน

เป็นกามาพจรก็ดี อันต่างด้วยปัญญามีรูปาพจรเป็นอาทิก็ดี ย่อมไม่บริบูรณ์

แก่บุคคลนั้น ผู้มีจิตไม่มั่นคง ไม่รู้พระสัทธรรมนี้ อันต่างโดยโพธิปัก-

ขิยธรรม ๓๗ ชื่อว่ามีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย เพราะความเป็นผู้มี

ศรัทธาน้อย หรือเพราะความเป็นผู้มีศรัทธาคลอนแคลน, เมื่อปัญญาแม้

เป็นกามาพจรไม่บริบูรณ์ ปัญญาที่เป็นรูปาพจร อรูปาพจรและโลกุตระ

จักบริบูรณ์ได้แต่ที่ไหนเล่า ?

บทว่า อนวสฺสุตจิตฺตสฺส ได้แก่ ผู้มีจิตอันราคะไม่ชุ่มแล้ว.

ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความที่จิตถูก

โทสะกระทบแล้วไว้ในอาคตสถานว่า " มีจิตถูกโทสะกระทบเกิดเป็นดัง

เสาเขื่อน."

๑. มีธรรมเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้ ๓๗ เป็นประเภท.

๒. ที่แห่งบาลีประเทศอันมาแล้ว. อภิ. วิ. ๓๕/๕๑๐. ม. มู. ๑๒/๒๐๖.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 423

แต่ในบทว่า อนนฺวาหตเจตโส นี้ บัณฑิตพึงทราบเนื้อความว่า

" ผู้มีจิตอันโทสะไม่กระทบ."

บทว่า ปุญฺปาปปหีนสฺส ความว่า ผู้ละบุญและบาปได้ด้วย

มรรคที่ ๔ คือผู้สิ้นอาสวะแล้ว.

บาทพระคาถาว่า นตฺถิ ชาครโต ภย ความว่า ความไม่มีภัย

ดูเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้สำหรับท่านผู้สิ้นอาสวะ ตื่นอยู่แล, ก็

ท่านผู้สิ้นอาสวะนั้น ชื่อว่า ตื่นแล้ว เพราะประกอบด้ายธรรมเป็นเหตุตื่น

ทั้งหลาย มีศรัทธาเป็นอาทิ, เพราะฉะนั้น ท่านตื่นอยู่ (ตื่นนอน)

ก็ตาม ยังไม่ตื่น (ยังนอนหลับ) ก็ตาม ภัยคือกิเลสชื่อว่าย่อมไม่มี

เพราะกิเลสทั้งหลายไม่มีการหวนกลับมา, จริงอยู่ กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า

ย่อมไม่ติดตามท่าน เพราะกิเลสทั้งหลายที่ท่านละได้แล้วด้วยมรรคนั้น ๆ

ไม่มีการเข้าไปหา (ท่าน) อีก, เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า " กิเลสเหล่าใด อันอริยบุคคลละได้แล้วด้วยโสดาปัตติมรรค,

เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก; กิเลสเหล่าใด อันอริย-

บุคคลละได้แล้วด้วยสกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตมรรค,

เธอย่อมไม่มาหา คือไม่กลับมาสู่กิเลสเหล่านั้นอีก " ดังนี้.

เทศนาได้มีประโยชน์ มีผล แก่มหาชนแล้ว.

กิเลสทำผู้มีอุปนิสัยแห่งพระอรหัตให้เศร้าหมองได้

ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย

ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้ หยาบนัก, กุลบุตรผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระ-

อรหัตเห็นปานนี้ ยังถูกกิเลสให้มัวหมองได้ (ต้อง) เป็นคฤหัสถ์ ๗ ครั้ง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 424

บวช ๗ ครั้ง." พระศาสดาทรงสดับประวัติกถาของภิกษุเหล่านั้น จึง

เสด็จไปสู่ธรรมสภา ด้วยการไปอันสมควรแก่ขณะนั้น ประทับบนพุทธ-

อาสน์แล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมกัน ด้วยถ้อย

คำอะไรหนอ ? " เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยเรื่องชื่อนี้ " แล้ว

จึงตรัสว่า " อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหลาย

ย่อมเป็นสภาพหยาบ, ถ้ากิเลสเหล่านี้ มีรูปร่าง อันใคร ๆ พึงสามารถ

จะเก็บไว้ได้ในที่บางแห่ง, จักรวาลก็แคบเกินไป, พรหมโลกก็ต่ำ

เกินไป, โอกาสของกิเลสเหล่านั้นไม่พึงมี (บรรจุ) เลย, อันกิเลส

เหล่านี้ ย่อมทำบุรุษอาชาไนยที่ถึงพร้อมด้วยปัญญา แม้เช่นกับเราให้มัว

หมองได้ จะกล่าวอะไรในเหล่าชนที่เหลือ; จริงอยู่ เราเคยอาศัยข้าวฟ่าง

และลูกเดือยเพียงครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยน บวชสึกแล้ว ๖ ครั้ง."

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลถามว่า " ในกาลไร ? พระเจ้าข้า."

พระศาสดาตรัสว่า " จักฟังหรือ ? ภิกษุทั้งหลาย."

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า."

พระศาสดาตรัสว่า " ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง" ดังนี้แล้วทรง

นำอดีตนิทานมา (ตรัสว่า) :-

เรื่องบัณฑิตจอบเหี้ยน

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี

บุรุษผู้หนึ่ง ชื่อกุททาลบัณฑิต บวชเป็นนักบวชภายนอกอยู่ในป่าหิมวันต์

๘ เดือน เมื่อภูมิภาคชุ่มชื้น ในสมัยที่ฝนตกชุกคิดว่า " ในเรือนของเรา

๑. วสฺสารตฺตสมเย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 425

ยังมีข้าวฟ่างและลูกเดือยประมาณครึ่งทะนาน และจอบเหี้ยน (อีกอัน

หนึ่ง), พืชคือข้าวฟ่างและลูกเดือยอย่าเสียไป" จึงสึกเอาจอบเหี้ยนฟื้น

ที่แห่งหนึ่ง หว่านพืชนั้น ทำรั้วไว้ ในเวลาที่เมล็ดพืชแก่ก็เหี่ยว เก็บพืช

ไว้ประมาณทะนานหนึ่ง เคี้ยวกินพืชที่เหลือ. ท่านคิดว่า " บัดนี้ ประ-

โยชน์อะไรด้วยเรือนของเรา, เราจักบวชอีก ๘ เดือน" จึงออกบวชแล้ว.

ท่านอาศัยข้าวฟ่างและลูกเดือยเพียงหนึ่งทะนานและจอบเหี้ยน เป็นคฤหัสถ์

๗ ครั้ง บวช ๗ ครั้ง โดยทำนองนี้แล แต่ในครั้งที่ ๗ คิดว่า " เรา

อาศัยจอบเหี้ยนอันนี้ เป็นคฤหัสถ์แล้วบวชถึง ๗ ครั้ง, เราจักทิ้งมันในที่

ไหน ๆ สักแห่งหนึ่ง." ท่านไปยังฝั่งแม่น้ำคงคา คิดว่า " เราเมื่อเห็น

ที่ตก คงต้องลงงมเอา; เราจักทิ้งมัน โดยอาการที่เราจะไม่เห็นที่ซึ่ง

มันตก" จึงเอาผ้าเก่าห่อพืชประมาณทะนานหนึ่ง แล้วผูกผ้าเก่าที่แผ่นจอบ

จับจอบที่ปลายด้าม ยืนที่ฝั่งแห่งแม่น้ำ หลับตาแกว่งเวียนเหนือศีรษะ

๓ ครั้ง ขว้างไปในแม่น้ำคงคา หันไปดู ไม่เห็นที่ตกได้เปล่งเสียงว่า

" เราชนะแล้ว เราชนะแล้ว" ดังนี้ ๒ ครั้ง. ในขณะนั้น พระเจ้า

กรุงพาราณสี ทรงปราบปัจจันตชนบทให้สงบราบคาบแล้วเสด็จมา โปรด

ให้ตั้งค่ายพัก ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เสด็จลงสู่แม่น้ำ เพื่อทรงประสงค์จะสรง-

สนาน ได้ทรงสดับเสียงนั้น. ก็ธรรมดาว่า เสียงที่ว่า " เราชนะแล้ว

เราชนะแล้ว" ย่อมไม่พอพระหฤทัยของพระราชาทั้งหลาย. พระองค์จึง

เสด็จไปยังสำนักของกุททาลบัณฑิตนั้น ตรัสถามว่า " เราทำการย่ำยี

อมิตรมาเดี๋ยวนี้ ก็ด้วยคิดว่า ' เราชนะ' ส่วนเธอร้องว่า ' เราชนะแล้ว

เราชนะแล้ว,' นี้ชื่อเป็นอย่างไร ?" กุททาลบัณฑิต จึงทูลว่า "พระ-

๑. ขนฺธาวาร ประเทศเป็นที่กั้นด้วยท่อนไม้.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 426

องค์ทรงชนะพวกโจรภายนอก, ความชนะที่พระองค์ทรงชนะแล้ว ย่อม

กลับเป็นไม่ชนะอีกได้แท้; ส่วนโจรคือความโลภ ซึ่งมีในภายใน อัน

ข้าพระองค์ชนะแล้ว, โจรคือความโลภนั้น จักไม่กลับชนะข้าพระองค์อีก

ชนะโจรคือความโลภนั้นอย่างเดียวเป็นดี" ดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถานี้ว่า

"ความชนะใด กลับแพ้ได้ ความชนะนั้นมิใช่

ความชนะที่ดี, (ส่วน) ความชนะใด ไม่กลับแม้

ความชนะนั้นแลเป็นความชนะที่ดี."

ในขณะนั้นเอง ท่านแลดูแม่น้ำคงคา ยังกสิณมีน้ำเป็นอารมณ์

ให้บังเกิด บรรลุคุณพิเศษแล้ว นั่งในอากาศโดยบัลลังก์. พระราชา

ทรงสดับธรรมกถาของพระมหาบุรุษ ไหว้แล้ว ทรงขอบวช ทรงผนวช

พร้อมกับหมู่พล. ได้มีบริษัทประมาณโยชน์หนึ่งแล้ว. แม้กษัตริย์สามันต-

ราชอื่น ทรงสดับความที่พระเจ้ากรุงพาราณสีนั้นผนวชแล้วเสด็จมาด้วย

ประสงค์ว่า "เราจักยึดเอาพระราชสมบัติของพระเจ้ากรุงพาราณสีนั้น"

ทรงเห็นพระนครที่มั่งคั่งอย่างนั้นว่างเปล่า จึงทรงดำริว่า " พระราชา

เมื่อทรงทิ้งพระนครเห็นปานนี้ผนวช จักไม่ทรงผนวชในฐานะอันต่ำช้า,

ถึงเราผนวชก็ควร" ดังนี้แล้ว เสด็จไปในที่นั้น เข้าไปหาพระมหาบุรุษ

ทรงขอบวช ทรงผนวชพร้อมกับบริษัทแล้ว. พระราชา ๗ พระองค์

ทรงผนวชโดยทำนองเดียวกันนี้. ได้มีอาศรมตั้งแผ่ไปถึง ๗ โยชน์.

พระราชา ๗ พระองค์ก็ทรงทิ้งโภคะทั้งหลาย พาชนมีประมาณเท่านี้บวช

๑. ขุ. ชา. เอก. ๒๗/๒๒. อรรถกถา. ๒/๑๑๓.

๒. สามนฺตราชา พระราชาผู้อยู่ในเมืองใกล้เคียงกัน พระราชาโดยรอบ พระราชาใกล้เคียง.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 427

แล้ว. พระมหาบุรุษอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก

แล้ว.

พระศาสดา ครั้นทรงนำธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ

ทั้งหลาย กุททาลบัณฑิตในกาลนั้น ได้เป็นเรา, ขึ้นชื่อว่ากิเลสเหล่านี้

เป็นสภาพหยาบอย่างนั้น."

เรื่องพระจิตตหัตถเถระ จบ.

๑. ความอยู่ในพรหมจรรย์ ความอยู่เพื่อพรหมจรรย์. ๒. สี. ม. ยุ. อโหสึ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 428

๖. เรื่องภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา [๒๙]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพวกภิกษุ

ผู้ปรารภวิปัสสนา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "กุมฺภูปม" เป็นต้น

ภิกษุ ๕๐๐ รูปอยู่ในไพรสณฑ์

ได้ยินว่า ภิกษุ ๕๐๐ รูป ในกรุงสาวัตถี เรียนกัมมัฏฐานตราบ

เท่าพระอรหัตในสำนักพระศาสดาแล้ว คิดว่า "เราจักทำสมณธรรม"

ไปสิ้นทางประมาณ ๑๐๐ โยชน์ ได้ถึงบ้านตำบลใหญ่ตำบลหนึ่ง. ลำดับ

นั้น พวกมนุษย์เห็นภิกษุเหล่านั้น จึงนิมนต์ให้นั่งบนอาสนะที่จัดไว้

อังคาสด้วยภัตตาหารทั้งหลายมีข้าวยาคูเป็นต้นอันประณีตแล้ว เรียนถามว่า

"พวกท่านจะไปทางไหน" ขอรับ," เมื่อภิกษุเหล่านั้น กล่าวว่า " พวกเรา

จักไปสถานตามผาสุก" จึงวิงวอนว่า " นิมนต์พวกท่านอยู่ในที่นี้

ตลอด ๓ เดือนนี้เถิด ขอรับ, แม้พวกกระผมก็จักตั้งอยู่ในสรณะ รักษา

ศีลในสำนักของพวกท่าน." ทราบการรับนิมนต์ของภิกษุเหล่านั้นแล้ว

จึงเรียนว่า " ในที่ไม่ไกลมีไพรสณฑ์ใหญ่มาก, นิมนต์พวกท่านพักอยู่ที่

ไพรสณฑ์นั้นเถิดขอรับ" ดังนี้แล้ว ส่งไป. ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปสู่

ไพรสณฑ์นั้นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 429

เทวดาทำอุบายหลอนภิกษุ

พวกเทวดาผู้สิงอยู่ในไพรสณฑ์นั้น คิดว่า " พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย

มีศีล ถึงไพรสณฑ์นี้โดยลำดับแล้ว; ก็เมื่อพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายพำนักอยู่

ในที่นี้, การที่พวกเราพาบุตรและภาดาขึ้นต้นไม้ไม่ควรเลย" จึงนั่งลงบน

พื้นดิน คิดว่า " พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย อยู่ในที่นี้คืนเดียวในวันนี้ พรุ่ง

นี้จักไปเป็นแน่." ฝ่ายพวกภิกษุ เที่ยวไปบิณฑบาตในบ้าน ในวันรุ่งขึ้น

แล้วก็กลับมายังไพรสณฑ์นั้นนั่นแล พวกเทวดาคิดว่า " ใคร ๆ จักนิมนต์

ภิกษุสงฆ์ไว้ฉันพรุ่งนี้ เพราะฉะนั้น จึงกลับมา, วันนี้จักไม่ไป, พรุ่งนี้

เห็นจักไปแน่" ดังนี้แล้ว ก็พากันพักอยู่ที่พื้นดินนั้นเอง ประมาณ

ครึ่งเดือนโดยอุบายนี้. แต่นั้นมา พวกเทวดาคิดว่า " ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

เห็นจักอยู่ในที่นี้นั่นแล ตลอด ๓ เดือนนี้, ก็เมื่อท่านทั้งหลายอยู่ในที่นี้

ทีเดียวแล พวกเราแม้จะขึ้นนั่งบนต้นไม้ ก็ไม่ควร ถึงสถานที่จะพาเอา

พวกบุตรและภาดานั่งบนพื้นดินทั้ง ๓ เดือน ก็เป็นทุกข์ของพวกเรา;

พวกเราทำอะไร ๆ ให้ภิกษุเหล่านี้หนีไปได้จะเหมาะ; เทวดาเหล่านั้น

เริ่มแสดงร่างผีหัวขาด และให้ได้ยินเสียงอมนุษย์ ในที่พักกลางคืนที่พัก

กลางวัน และในที่สุดของที่จงกรมนั้น ๆ โรคทั้งหลายมีจามไอเป็นต้น

เกิดแก่พวกภิกษุแล้ว. ภิกษุเหล่านั้นถามกันและกันว่า " ผู้มีอายุ โรค

อะไรเสียดแทงคุณ ? โรคอะไรเสียดแทงคุณ ?" กล่าวว่า " โรคจาม

เสียดแทงผม, โรคไอเสียดแทงผม" ดังนี้แล้ว กล่าวว่า " ผู้มีอายุ

วันนี้ ผมได้เห็นร่างผีหัวขาดในที่สุดที่จงกรม, ผมได้เห็นร่างผีในที่พัก

กลางคืน, ผมได้ยินเสียงอมนุษย์ในที่พักกลางวัน, ที่นี้เป็นที่ควรเว้น,

ในที่นี้ ความไม่ผาสุกมีแก่พวกเรา พวกเราจักไปที่สำนักของพระศาสดา."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 430

ภิกษุเหล่านั้น ออกไปสู่สำนักของพระศาสดาโดยลำดับ ถวายบังคมแล้ว

นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.

พระศาสดาประทานอาวุธ

ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะภิกษุเหล่านั้นว่า " ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอจักไม่อาจเพื่ออยู่ในที่นั้นหรือ ?"

ภิกษุ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า อารมณ์อันน่ากลัวเห็นปานนี้ ปรากฏ

แก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้พำนักอยู่ในที่นั้น, เพราะเหตุนั้น จึงมีความ

ไม่ผาสุกเห็นปานนี้. ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงคิดว่า " ที่นี้

เป็นที่ควรเว้น." ทิ้งที่นั้นมาสู่สำนักของพระองค์แล้ว.

พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไปในที่นั้นนั่นแลสมควร.

ภิกษุ. ไม่อาจ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่เอาอาวุธไป, บัดนี้พวก

เธอจงเอาอาวุธไปเถิด.

ภิกษุ. ถือเอาอาวุธชนิดไหนไป ? พระเจ้าข้า.

พระศาสดาตรัสว่า " เราจักให้อาวุธแก่พวกเธอ. พวกเธอจงถือ

เอาอาวุธที่เราให้ไป " ดังนี้แล้ว ตรัสเมตตสูตรทั้งสิ้นว่า

"ผู้รู้สันตบท (บทอันสงบ) พึงกระทำสิกขา ๓

หมวดใด, ผู้ฉลาดในประโยชน์ ควรกระทำสิกขา ๓

หมวดนั้น ผู้ฉลาดในประโยชน์ พึงเป็นผู้องอาจ

เป็นผู้ตรง เป็นผู้ซื่อตรง เป็นผู้อ่อนโยน เป็นผู้

ไม่ทะนงตัว."

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 431

เป็นอาทิ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงสาธยาย

เมตตสูตรนี้ จำเดิมแต่ไพรสณฑ์ภายนอกวิหาร เข้าไปสู่ภายในวิหาร"

ดังนี้ ทรงส่งไปแล้ว. ภิกษุเหล่านั้น ถวายบังคมพระศาสดา ออกไปถึง

ไพรสณฑ์นั้นโดยลำดับ พากันสาธยายเป็นหมู่ในภายนอกวิหาร เข้าไปสู่

ไพรสณฑ์แล้ว

เทวดากลับได้เมตตาจิต

พวกเทวดาในไพรสณฑ์ทั้งสิ้น กลับได้เมตตาจิต ทำการต้อนรับ

ภิกษุเหล่านั้น, ถามโดยเอื้อเฟื้อถึงการรับบาตรจีวร. ถามโดยเอื้อเฟื้อ

ถึงการนวดฟั้นกาย, ทำการอารักขาให้อย่างเรียบร้อยในที่นั้นแก่พวกเธอ,

( เทวดา ) ได้เป็นผู้นั่งสงบ ดังพนมจักร. ขึ้นชื่อว่าเสียงแห่งอมนุษย์

มิได้มีแล้วในที่ไหน ๆ. จิตของภิกษุเหล่านั้น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง. พวก

เธอนั่งในที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน ยังจิตให้หยั่งลงในวิปัสสนา

เริ่มตั้งความสิ้นความเสื่อมในตนคิดว่า "ขึ้นชื่อว่าอัตภาพนี้เช่นกับภาชนะ

คืน เพราะอรรถว่าต้องแตก ไม่มั่นคง" ดังนี้ เจริญวิปัสสนาแล้ว.

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสคาถากำชับ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งในพระคันธกุฎีนั่นเอง ทรงทราบ

ว่าภิกษุเหล่านั้น เริ่มวิปัสสนาแล้ว จึงทรงเรียกภิกษุเหล่านั้น ตรัสว่า

"อย่างนั้นนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าอัตภาพนี้ ย่อมเป็นเช่นกับ

ด้วยภาชนะดินโดยแท้ เพราะอรรถว่าต้องแตก ไม่มั่นคง" ดังนี้แล้ว

ทรงฉายพระโอภาสไป แม้ประทับอยู่ในที่ ๑๐๐ โยชน์ ก็เป็นประหนึ่ง

ประทับนั่งในที่เฉพาะหน้าของภิกษุเหล่านั้น ทรงฉายพระฉัพพรรณรังสี

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 432

มีพระรูปปรากฏอยู่ ตรัสพระคาถานี้ว่า

๖. กุมฺภูปม กายมิท วิทิตฺวา

นครูปม จิตฺตมิท ถเกตฺวา

โยเธถ มาร ปญฺาวุเธน

ชิตฺจ รกฺเข อนิเวสิโน สิยา.

"[บัณฑิต] รู้จักกายนี้ อันเปรียบด้วยหม้อ , กั้นจิต

อันเปรียบด้วยนคร, พึงรบมารด้วยอาวุธคือปัญญา

พึงรักษาความชนะที่ชนะแล้ว และพึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นครูปม ความว่า รู้จักกายนี้ คือ

ที่นับว่าประชุมแห่งอาการมีผมเป็นอาทิ ซึ่งชื่อว่าเปรียบด้วยหม้อ คือ

เช่นกับภาชนะดิน เพราะอรรถว่าไม่มีกำลังและทรามกำลัง เพราะอรรถ

ว่าเป็นไปชั่วกาล ด้วยความเป็นกายไม่ยั่งยืน.

บาทพระคาถาว่า นครูปม จิตฺตมิท ถเกตฺวา เป็นต้น ความว่า

ธรรมดานคร มีคูลึก แวดล้อมด้วยกำแพง ประกอบด้วยประตูและป้อม

ย่อมชื่อว่ามั่นคงภายนอก, ถึงพร้อมด้วยถนน ๔ แพร่ง มีร้านตลาดใน

ระหว่าง ชื่อว่าจัดแจงดีภายใน, พวกโจรภายนอกมาสู่นครนั้น ด้วยคิด

ว่า "เราจักปล้น ก็ไม่อาจเข้าไปได้ ย่อมเป็นดังว่ากระทบภูเขา กระ-

ท้อนกลับไป ฉันใด, กุลบุตรผู้บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน กั้นวิปัสสนา

จิตของตน ทำให้มั่นคง คือให้เป็นเช่นกับนคร ห้ามกิเลสที่มรรคนั้น ๆ

๑. เปตฺวา. ๒. อรรถกถา ว่า อนิเวสโน.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 433

พึงฆ่า ด้วยอาวุธคือปัญญาอันสำเร็จแล้วด้วยวิปัสสนา และสำเร็จแล้วด้วย

อริยมรรค ชื่อว่าพึงรบ คือพึงประหารกิเลสมารนั้น ดุจนักรบยืนอยู่ใน

นคร รบหมู่โจรด้วยอาวุธมีประการต่าง ๆ มีอาวุธมีคมข้างเดียวเป็นต้น

ฉะนั้น."

สองบทว่า ชิตญฺจ รกฺเข ความว่า กุลบุตร เมื่อต้องเสพอาวาส

เป็นที่สบาย ฤดูเป็นที่สบาย บุคคลเป็นที่สบาย และการฟังธรรมเป็นเหตุ

สบายเป็นต้น เข้าสมาบัติในระหว่าง ๆ ออกจากสมาบัตินั้นพิจารณา

สังขารทั้งหลายด้วยจิตหมดจด ชื่อว่าพึงรักษาธรรมที่ชนะแล้ว คือวิปัสสนา

อย่างอ่อนที่ตนให้เกิดขึ้นแล้ว.

สองบทว่า อนิเวสโน สิยา ได้แก่ พึงเป็นผู้ไม่มีอาลัย.

อธิบายว่า เหมือนอย่างว่า นักรบ ทำซุ้มเป็นที่พักพลในภูมิ

ประเทศเป็นที่ประชิดแห่งสงคราม รบอยู่กับพวกอมิตร เป็นผู้หิว

หรือกระหายแล้ว เมื่อเกราะหย่อนหรือเมื่ออาวุธพลัดตก ก็เข้าไปยังซุ้ม

เป็นที่พักพล พักผ่อน กิน ดื่ม ผูกสอด ( เกราะ.) จับอาวุธแล้ว

ออกรบอีก ย่ำยีเสนาของฝ่ายอื่น ชนะปรปักษ์ที่ยังมิได้ชนะ รักษาชัยชนะ

ที่ชนะแล้ว. ก็ถ้าว่านักรบนั้น เมื่อพักผ่อนอย่างนั้นในซุ้มเป็นที่พักพล

ยินดีซุ้มเป็นที่พักพลนั้น พึงพักอยู่ ก็พึงทำรัชสมบัติให้เป็นไปในเงื้อมมือ

ของปรปักษ์ฉันใด, ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน หมั่นเข้าสมาบัติ ออกจาก

สมาบัตินั้น พิจารณาสังขารทั้งหลาย ด้วยจิตอันหมดจด ย่อมสามารถรักษา

วิปัสสนาอย่างอ่อน ที่ได้เฉพาะแล้ว ย่อมชนะกิเลสมาร ด้วยความได้

เฉพาะซึ่งมรรคอันยิ่ง, ก็ถ้าว่า ภิกษุนั้น ย่อมพอใจสมาบัติ อย่างเดียว ไม่

๑. สงฺคามสีเส ในสีสประเทศแห่งสงคราม คือในสมรภูมิหรือสนามรบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 434

หมั่น พิจารณาสังขารทั้งหลาย ด้วยจิตอันหมดจด ย่อมไม่สามารถทำการ

แทงตลอดมรรคและผลได้, เพราะเหตุนั้น ภิกษุเมื่อรักษาธรรมที่ควร

รักษา พึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่ คือพึงทำสมาบัติให้เป็นที่เข้าพักแล้วไม่ติดอยู่

ได้แก่ไม่พึงทำอาลัยในสมาบัตินั้น. พระศาสดาตรัสว่า " เธอทั้งหลาย

จงทำอย่างนั้น. " พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ด้วย

ประการฉะนี้.

ในเวลาจบเทศนา ภิกษุ ๕๐๐ รูปนั่งในที่นั่งเทียว บรรลุพระ-

อรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย สรรเสริญชมเชยทั้งถวายบังคมพระ-

สรีระอันมีวรรณะเพียงดังทองของพระตถาคต มาแล้ว ดังนี้แล

เรื่องภิกษุผู้ปรารภวิปัสสนา จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 435

๗. เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ [๓๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพระเถระ

ชื่อว่า ปูติคัตตติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อจิร วตย กาโย"

เป็นต้น.

พระเถระกายเน่า

ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังธรรมกถาในสำนัก

ของพระศาสดา ถวายชีวิตในพระศาสนา ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว

ได้ชื่อว่า พระติสสเถระ. เมื่อกาลล่วงไป ๆ โรคเกิดขึ้นในสรีระของท่าน.

ต่อมทั้งหลาย ประมาณเท่าเมล็ดผักกาดผุดขึ้น. มัน (โตขึ้น) โดยลำดับ

ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ประมาณเท่าเมล็ดถั่วดำ ประมาณเท่าเมล็ด

กระเบา ประมาณเท่าผลมะขามป้อม ประมาณเท่าผลมะตูม แตกแล้ว.

สรีระทั้งสิ้น ได้เป็นช่องเล็กช่องน้อย ชื่อของท่านเกิดขึ้นแล้วว่า พระ-

ปูติคัตตติสสเถระ (พระติสสเถระผู้มีกายเน่า). ต่อมา ในกาลเป็นส่วน

อื่น กระดูกของท่าน แตกแล้ว. ท่านได้เป็นผู้ที่ใคร ๆ ปฏิบัติไม่ได้.

ผ้านุ่งและผ้าห่มเปื้อนด้วยหนองและเลือด ได้เป็นเช่นกับขนมร่างแห.

พวกภิกษุมีสัทธิวิหาริกเป็นต้นไม่อาจจะปฏิบัติได้ (จึงพากัน) ทอดทิ้ง

แล้ว. ท่านเป็นผู้ไม่มีที่พึ่งนอน ( แซ่ว ) แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 436

พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลและทรงแสดงธรรม

ก็ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ทรงละการตรวจดูโลก

สิ้น ๒ วาระ (คือ) ในกาลใกล้รุ่ง เมื่อทรงตรวจดูโลก ทรงตรวจดูจำเดิม

แต่ขอบปากแห่งจักรวาล ทำพระญาณให้มุ่งต่อพระคันธกุฎี. เมื่อทรง

ตรวจดูเวลาเย็น ทรงตรวจดูจำเดิมแต่พระคันธกุฎี ทำพระญาณให้มุ่งต่อที่

(ออกไป ) ภายนอก. ก็ในสมัยนั้น พระปูติคัตตติสสเถระ ปรากฏแล้ว

ภายในข่ายคือพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัย

แห่งพระอรหัตของติสสภิกษุ ทรงดำริว่า "ภิกษุนี้ ถูกพวกสัทธิวิหาริก

เป็นต้น ทอดทิ้งแล้ว, บัดนี้ เธอยกเว้นเราเสีย ก็ไม่มีที่พึ่งอื่น" ดังนี้

แล้ว จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี เหมือนเสด็จเที่ยวจาริกในวิหาร เสด็จ

ไปสู่โรงไฟ ทรงล้างหม้อ ใส่น้ำ ยกตั้งบนเตา เมื่อทรงรอให้น้ำร้อน

ได้ประทับยืนในโรงไฟนั่นเอง: ทรงรู้ความที่น้ำร้อนแล้ว เสด็จไป

จับปลายเตียงที่ติสสภิกษุนอน. ในกาลนั้น พวกภิกษุ กราบทูลว่า

"ขอพระองค์ จงเสด็จหลีกไป พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์จักยก (เอง)

แล้ว ( ช่วยกัน ) ยกเตียง นำไปสู่โรงไฟ. พระศาสดาทรงให้นำรางมา

ทรงเทน้ำร้อน ( ใส่ ) แล้ว ทรงสั่งภิกษุเหล่านั้นให้ ( เปลื้อง ) เอา

ผ้าห่มของเธอ ให้ขยำด้วยน้ำร้อน แล้วให้ผึ่งแดด ลำดับนั้น พระ-

ศาสดา ประทับยืนอยู่ในที่ใกล้ของเธอ ทรงรดสรีระนั้นให้ชุ่มด้วยน้ำอุ่น

ทรงถูสรีระของเธอ ให้เธออาบแล้ว . ในที่สุดแห่งการอาบของเธอ,

ผ้าห่มนั้นแห้งแล้ว. ทีนั้น พระศาสดาทรงช่วยเธอให้นุ่งผ้าห่มนั้น ทรง

ให้ขยำผ้ากาสาวะที่เธอนุ่งด้วยน้ำ แล้วให้ผึ่งแดด. ทีนั้น เมื่อน้ำที่กายของ

๑. สำนวนภาษามคธ ใช้คหธาตุ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 437

เธอพอขาด (คือแห้ง) ผ้านุ่งนั้นก็แห้ง. เธอนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง

ห่มผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง เป็นผู้มีสรีระเบา มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนบน

เตียงแล้ว. พระศาสดาประทับยืน ณ ที่เหนือศีรษะของเธอ ตรัสว่า

" ภิกษุ กายของเธอนี้ มีวิญญาณไปปราศแล้ว หาอุปการะมิได้ จักนอน

บนแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๗. อจิร วตย กาโย ปวึ อธิเสสฺสติ

ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺาโณ นิรตฺถว กลิงคฺร.

"ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน. กายนี้

มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว, ราวกับ

ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจิร วต เป็นต้น ความว่า ภิกษุ

ต่อกาลไม่นานเลย กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน คือจักนอนเบื้องบนแห่ง

แผ่นดิน ที่สัตว์นอนแล้วด้วยการนอนปกตินี้.

ด้วยบทว่า ฉุฑฺโฑ พระศาสดา ทรงแสดงเนื้อความว่า "กาย

นี้ จักเป็นของชื่อว่าเปล่า เพราะความมีวิญญาณไปปราศ ถูกทอดทิ้ง

แล้วนอน."

เหมือนอะไร ?

เหมือนท่อนไม้ ไม่มีประโยชน์.

อธิบายว่า เหมือนท่อนไม้อันไร้อุปการะ ไม่มีประโยชน์,

จริงอยู่ พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการด้วยทัพสัมภาระ เข้าไปสู่ป่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 438

แล้ว ตัดไม้ตรงโดยสัณฐานแห่งไม้ตรง ไม้คดโดยสัณฐานแห่งไม้คด

ถือเอา (เป็น) ทัพสัมภาระ, แต่ตัดไม้เป็นโพรง ไม้ผุ ไม้ไม่มีแก่น

ไม้เกิดเป็นตะปุ่มตะป่ำที่เหลือ ทิ้งไว้ในป่านั้นนั่นเอง มนุษย์พวกอื่นผู้มี

ความต้องการด้วยทัพสัมภาระมาแล้ว ชื่อว่า หวังถือเอาชิ้นไม้ที่ถูกทิ้ง

ไว้นั้น ย่อมไม่มี, มนุษย์เหล่านั้น แลดูไม้นั้นแล้ว ย่อมถือเอาไม้ ที่

เป็นอุปการะแก่ตนเท่านั้น; ไม้นอกนี้ ย่อมเป็นไม้ถมแผ่นดินอย่างเดียว,

ก็ไม้นั้น พึงเป็นไม้แม้ที่ใคร ๆ อาจจะทำเชิงรองเตียงหรือเขียงเท้า หรือ

ว่าตั่งแผ่นกระดาน ด้วยอุบายนั้น ๆ ได้; ส่วนว่า บรรดาส่วน ๓๒ ใน

อัตภาพนี้ แม้ส่วนหนึ่ง ชื่อว่า เข้าถึงความเป็นของที่จะพึงถือเอาได้ด้วย

สามารถแห่งอุปกรณ์วัตถุ มีเชิงรองเตียงเป็นต้น หรือด้วยมุขเป็นอุปการะ

อย่างอื่น ย่อมไม่มี กายนี้มีวิญญาณไปปราศแล้ว ต่อวันเล็กน้อยเท่านั้น

ก็จักต้องนอนเหนือแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น ดังนี้แล.

พระปูติคัตตติสสเถระนิพพาน

ในเวลาจบเทศนา พระปูติคัตตติสสเถระ บรรลุพระอรหัตพร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว. แม้ชนอื่นเป็นอันมาก ก็ได้เป็นพระอริยบุคคลมี

พระโสดาบันเป็นต้น. ฝ่ายพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้วก็ปรินิพพาน.

พระศาสดาโปรดให้ทำสรีรกิจของท่าน ทรงเก็บ ( อัฐิ ) ธาตุ แล้วโปรด

ให้ทำเจดีย์ไว้.

พวกภิกษุ กราบทูลถามพระศาสดาว่า " พระเจ้าข้า พระปูติ-

คัตตติสสเถระ บังเกิดในที่ไหน ?"

๑. ปวีคต.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 439

พระศาสดา. เธอปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลาย.

พวกภิกษุ. พระเจ้าข้า กายของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่ง

พระอรหัตเห็นปานนั้น เกิดเป็นกายเน่า เพราะเหตุอะไร ? กระดูกทั้ง-

หลายแตกแล้ว เพราะเหตุอะไร ? อะไรเป็นเหตุถึงควานเป็นอุปนิสัยแห่ง

พระอรหัตของท่านเล่า ?

พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย ผลนี้ทั้งหมด เกิดแล้วแก่ติสสะนั่น

ก็เพราะกรรมที่ตัวทำไว้.

พวกภิกษุ. ก็กรรมอะไร ? ที่ท่านทำไว้ พระเจ้าข้า.

พระศาสดา ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง"

ดังนี้แล้ว ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสดังต่อไปนี้ :-)

บุรพกรรมของพระติสสะ

ติสสะนี้เป็นพรานนก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระ-

นามว่ากัสสปะ ฆ่านกเป็นอันมากบำรุงอิสรชน, ขายนกที่เหลือจากนก

ที่ให้แก่อิสรชนเหล่านั้น. คิดว่า "นกที่เหลือจากขาย อันเราฆ่าเก็บไว้

จักเน่าเสีย" จึงหักกระดูกแข้งและกระดูกปีกของนกเหล่านั้น ทำอย่าง

ที่มันไม่อาจบินหนีไปได้ แล้วกองไว้. เขาขายนกเหล่านั้นในวันรุ่งขึ้น,

ในเวลาที่ได้นกมามากมาย ก็ให้ปิ้งไว้ เพื่อประโยชน์แห่งตน. วันหนึ่ง

เมื่อโภชนะมีรสของเขาสุกแล้ว พระขีณาสพองค์หนึ่ง เที่ยวไปเพื่อบิณฑ-

บาต ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเขา เขาเห็นพระเถระแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส

คิดว่า "สัตว์มีชีวิตมากมาย ถูกเราฆ่าตาย, ก็พระผู้เป็นเจ้ายืนอยู่ที่ประตู

เรือนของเรา และโภชนะอันมีรสก็มีอยู่พร้อมภายในเรือน, เราจะถวาย

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 440

บิณฑบาตแก่ท่าน " ดังนี้แล้วจึงรับบาตรของพระขีณาสพนั้น ใส่โภชนะ

อันมีรสนั้นให้เต็มบาตรแล้ว ถวายบิณฑบาตอันมีรส แล้วไหว้พระเถระ

ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กล่าวว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงถึงที่สุด

แห่งธรรมที่ท่านเห็นเถิด." พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า "จงเป็นอย่าง

นั้น."

ประมวลผลธรรม

ภิกษุทั้งหลาย ผล (ทั้งหมด ) นั่นสำเร็จแล้วแก่ติสสะ ด้วย

อำนาจแห่งกรรมที่ติสสะทำแล้วในกาลนั้นนั่นเอง; กายของติสสะเกิดเน่า

เปื่อย, และกระดูกทั้งหลายแตก ก็ด้วยผลของการทุบกระดูกนกทั้งหลาย;

ติสสะบรรลุพระอรหัต ก็ด้วยผลของการถวายบิณฑบาตอันมีรสแก่พระ-

ขีณาสพ ดังนี้แล

เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 441

๘. เรื่องนันทโคปาลกะ [๓๑]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในโกศลชนบท ทรงปรารภนายโคบาลก์

ชื่อนันทะ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ทิโส ทิส " เป็นต้น.

นายนันทะหลบหลีกราชภัย

ดังได้สดับมา นายโคบาลก์ชื่อนันทะ ในกรุงสาวัตถี เป็นคน

มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีสมบัติมาก รักษาฝูงโคของคฤหบคีชื่ออนาถบิณฑิกะ

อยู่. นัยว่า นายนันทโคบาลก์นั้น หลบหลีกความบีบคั้นแห่งพระราชา

ด้วยความเป็นคนเลี้ยงโค อย่างชฎิลชื่อเกณิยะ หลบหลีกความบีบคั้นแห่ง

พระราชาด้วยเพศบรรพชิต รักษาขุมทรัพย์ของตนอยู่. เขาถือเอาปัญจ-

โครสตลอดกาลสมควรแก่กาล (ตามกำหนดเวลา) มาสู่สำนักของท่าน

อนาถบิณฑิกเศรษฐี พบพระศาสดา ฟังธรรมแล้ว ทูลวิงวอนพระศาสดา

เพื่อต้องการให้เสด็จมาสู่ที่อยู่ของตน.

พระศาสดาไปโปรดนายนันทะ

พระศาสดา ทรงรอความแก่กล้าแห่งญาณของเขาอยู่ ไม่เสด็จ

ไปแล้ว (ครั้น) ทรงทราบความที่เขาเป็นผู้มีญาณแก่กล้าแล้ว วันหนึ่ง

อันภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปอยู่ ทรงแวะจากหนทาง

ประทับนั่งแล้ว ที่โคนต้นไม้แห่งใดแห่งหนึ่ง ซึ่งใกล้สถานที่อยู่ของเขา

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 442

นายนันทะไปสู่สำนักของพระศาสดา ถวายบังคมกระทำปฏิสันถาร

นิมนต์พระศาสดาแล้ว ได้ถวายปัญจโครสทานอันประณีต แก่ภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประธานสิ้น ๗ วัน. ในวันที่ ๗ พระศาสดาทรงกระทำ

อนุโมทนาเสร็จแล้ว ตรัสอนุบุพพีกถาต่างโดยทานกถาเป็นต้น ในเวลา

จบกถา นายโคบาลก์ชื่อนันทะ ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล รับบาตรของพระ-

ศาสดา ตามส่งเสด็จพระศาสดาไปไกล เมื่อพระศาสดารับสั่งให้กลับ

ด้วยพระดำรัสว่า "อุบาสก จงหยุดเถิด" ถวายบังคมพระศาสดากลับแล้ว.

ลำดับนั้น นายพรานคนหนึ่งได้แทงเขาให้ตายแล้ว.

พวกภิกษุโทษพระศาสดาว่าทำให้นายนันทะถูกฆ่า

พวกภิกษุผู้มาข้างหลัง เห็นแล้ว จึงไปกราบทูลพระศาสดาว่า

" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นายโคบาลก์ชื่อนันทะ ถวายมหาทานตามส่ง

เสด็จแล้วกลับไป ถูกนายพรานฆ่าตายเสียแล้ว ก็เพราะความที่พระองค์

เสด็จมาแล้วในที่นี้. ถ้าว่าพระองค์จักมิได้เสด็จมาแล้วไซร้, ความตาย

จักไม่ได้มีแก่เขาเลย."

จิตที่ตั้งไว้ผิดทำความฉิบหายให้ยิ่งกว่าเหตุใด ๆ

พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรามาก็ตาม มิได้มา

ก็ตาม ชื่อว่า อุบายเป็นเครื่องพ้นจากความตายของนายนันทะนั้น แม้

ผู้ไปอยู่สู่ทิศใหญ่ ๔ สู่ทิศน้อย ๔ ย่อมไม่มี; ด้วยว่า จิตเท่านั้นซึ่งตั้ง

ไว้ผิดแล้ว อันเป็นไปในภายในของสัตว์เหล่านี้ ย่อมทำความพินาศ

ฉิบหาย ที่พวกโจร (หรือ) พวกคนจองเวรจะทำ (ให้) ไม่ได้ดังนี้

ตรัสพระคาถานี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 443

๘. ทิโส ทิส ยนฺต กยิรา เวรี วา ปน เวริน

มิจฺฉาปณิหติ จิตฺต ปาปิโย น ตโต กเร

"จิตซึ่งตั้งไว้ผิดแล้ว พึงทำเขา (บุคคล) นั้น

ให้เลวทรามยิ่งกว่าความพินาศฉิบหาย ที่โจรเห็นโจร

หรือคนจองเวรเห็นคนจองเวรทำ (แก่กัน) นั้น

(เสียอีก)."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทิโส ทิส แปลว่า โจรเห็นโจร.

ศัพท์ว่า ทิสฺวา เป็นพระบาลีที่เหลือ (บัณฑิตพึงเพิ่มเข้า).

สองบทว่า ยนฺต กยิรา ความว่า พึงทำซึ่งความพินาศฉิบหาย

นั้นใดแก่โจรหรือคนจองเวรนั้น. ถึงในบทที่ ๒ ก็มีนัยเช่นเดียวกัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเป็นคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า "โจรผู้มักประทุษ-

ร้ายต่อมิตรผู้หนึ่ง เมื่อผิดในบุตร ภริยา นา ไร่ วัวและควายเป็นต้น

ของโจรผู้หนึ่ง โจรผิดต่อโจรใด, เห็นโจรแม้นั้นซึ่งผิดอยู่ในตนอย่างนั้นนั่น

แหละ, ก็หรือว่าคนจองเวรเห็นชนผู้ผูกเวรกันไว้ด้วยเหตุบางอย่างนั่นแหละ

ซึ่งชื่อว่า ผู้จองเวร, ชื่อว่าพึงทำความพินาศฉิบหายอันใดแก่โจรหรือคน

ผู้จองเวรนั้น คือพึงเบียดเบียนบุตรและภริยาของโจรหรือคนจองเวรนั้น

พึงทำสิ่งของต่าง ๆ มีนาเป็นต้นของโจร หรือของคนจองเวรนั้นให้ฉิบหาย

หรือพึงปลงซึ่งโจรหรือคนจองเวรนั้นจากชีวิต เพราะความที่ตนเป็นคน

โหดร้าย คือเพราะความที่ตนเป็นคนทารุณ, จิตชื่อว่าตั้งไว้ผิด เพราะ

ความเป็นจิตตั้งไว้ผิดในอกุศลกรรมบถ ๑๐ พึงทำให้เขาเลวทรามยิ่งกว่า

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 444

ความพินาศฉิบหายนั้น คือทำบุรุษนั้นให้เป็นผู้ลามกกว่าเหตุนั้น; จริง

อยู่ โจรก็ดี คนจองเวรก็ดี มีประการดังกล่าวแล้ว พึงยังทุกข์ให้เกิด

หรือพึงทำซึ่งความสิ้นไปแห่งชีวิต แก่โจรหรือแก่คนจองเวร (ได้ ) ใน

อัตภาพนี้เท่านั้น, ส่วนจิตนี้ ซึ่งตั้งไว้ผิดในอกุศลกรรมบถทั้งหลาย ย่อมยัง

บุคคลให้ถึงความพินาศฉิบหายในทิฏฐธรรมบ้าง ซัดไปในอบาย ๔ ย่อม

ไม่ให้ยกศีรษะขึ้นได้ในพันอัตภาพบ้าง."

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-

ปัตติผลเป็นต้น, เทศนามีประโยชน์แก่มหาชนแล้ว.

ก็กรรมที่อุบาสกได้ทำไว้ในระหว่างภพ พวกภิกษุมิได้ทูลถาม,

เพราะฉะนั้น (กรรมนั้น) พระศาสดาจึงมิได้ตรัสบอก ดังนี้แล.

เรื่องนันทโคปาลกะ จบ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 445

๙. เรื่องพระโสไรยเถระ [๓๒]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดายังพระธรรมเทศนานี้ว่า "น ต มาตา ปิตา กริยา"

เป็นต้น ซึ่งตั้งขึ้นในโสไรยนคร ให้จบลงในพระนครสาวัตถี.

เศรษฐีบุตรกลับเพศเป็นหญิงแล้วหลบหนี

เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี, ลูกชาย

ของโสไรยเศรษฐี ในโสไรยนคร นั่งบนยานน้อยอันมีความสุขกับสหาย

ผู้หนึ่งออกไปจากนคร เพื่อประโยชน์จะอาบน้ำด้วยบริวารเป็นอันมาก.

ขณะนั้น พระมหากัจจายนเถระ มีความประสงค์จะเข้าไปสู่โสไรยนคร

เพื่อบิณฑบาต ห่มผ้าสังฆาฏิภายนอกพระนคร. ก็สรีระของพระเถระ

มีสีเหมือนทองคำ ลูกชายของโสไรยเศรษฐี เห็นท่านแล้ว จึงคิดว่า

" สวยจริงหนอ พระเถระรูปนี้ ควรเป็นภริยาของเรา, หรือสีแห่งสรีระ

ของภริยาของเรา พึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั้น." ในขณะ

สักว่าเขาคิดแล้วเท่านั้น เพศชายของเศรษฐีบุตรนั้น ก็หายไป, เพศหญิง

ได้ปรากฏแล้ว. เขาละอายจึงลงจากยานน้อยหนีไป. ชนใกล้เคียงจำลูก

ชายเศรษฐีนั้นไม่ได้ จึงกล่าวว่า "อะไรนั่น ๆ ?" แม้นางก็เดินไปสู่

หนทางอันไปยังเมืองตักกสิลา.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 446

พวกเพื่อนและพ่อแม่ออกติดตามแต่ไม่พบ

ฝ่ายสหายของนาง แม้เที่ยวค้นหาข้างโน้นและข้างนี้ ก็ไม่ได้พบ.

ชนทั้งปวงอาบเสร็จแล้วได้กลับไปสู่เรือน; เมื่อชนทั้งหลายกล่าวกันว่า

" เศรษฐีบุตรไปไหน ?" ชนที่ไปด้วยจึงตอบว่า " พวกผมเข้าใจว่า

" เขาจักอาบน้ำกลับมาแล้ว." ขณะนั้น มารดาและบิดาของเขาค้นดูในที่

นั้น ๆ เมื่อไม่เห็น จึงร้องไห้ รำพัน ได้ถวายภัตเพื่อผู้ตาย ด้วยความ

สำคัญว่า " ลูกชายของเรา จักตายแล้ว."

นางเดินตามพวกเกวียนไปเมืองตักกสิลา

นางเห็นพวกเกวียนไปสู่เมืองตักกสิลาหมู่หนึ่ง จึงเดินติดตามยาน-

น้อยไปข้างหลัง ๆ. ขณะนั้น พวกมนุษย์เห็นนางแล้ว กล่าวว่า "หล่อน

เดินตามข้างหลัง ๆ แห่งยานน้อยของพวกเรา (ทำไม ?) พวกเราไม่รู้จัก

หล่อนว่า ' นางนี่เป็นลูกสาวของใคร ?' นางกล่าวว่า " นาย พวกท่าน

จงขับยานน้อยของตนไปเถิด. ดิฉันจักเดินไป," เมื่อเดินไป ๆ (เมื่อยเข้า)

ได้ถอดแหวนสำหรับสวมนิ้วมือให้แล้ว ให้ทำโอกาสในยานน้อยแห่งหนึ่ง

(เพื่อตน).

ได้เป็นภริยาของลูกชายเศรษฐีในเมืองนั้น

พวกมนุษย์ คิดว่า " ภริยาของลูกชายเศรษฐีของพวกเรา ใน

กรุงตักกสิลา ยังไม่มี, เราทั้งหลายจักบอกแก่ท่าน, บรรณาการใหญ่

(รางวัลใหญ่) จักมีแก่พวกเรา." พวกเขาไปแล้ว เรียนว่า " นาย

แก้วคือหญิง พวกผมได้นำมาแล้ว เพื่อท่าน." ลูกชายเศรษฐีนั้นได้ฟัง

แล้ว ให้เรียกนางมา เห็นนางเหมาะกับวัยของตน มีรูปงามน่าพึงใจ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 447

มีความรักเกิดขึ้น จึงได้กระทำไว้ (ให้เป็นภริยา) ในเรือนของตน.

ชายอาจกลับเป็นหญิงและหญิงอาจกลับเป็นชายได้

จริงอยู่ พวกผู้ชาย ชื่อว่าไม่เคยกลับเป็นผู้หญิง หรือพวกผู้หญิง

ไม่เคยกับเป็นผู้ชาย ย่อมไม่มี. เพราะว่า พวกผู้ชายประพฤติล่วงใน

ภริยาทั้งหลายของชนอื่น ทำกาละแล้ว ไหม้ในนรกสิ้นแสนปีเป็นอันมาก

เมื่อกลับมาสู่ชาติมนุษย์ ย่อมถึงภาวะเป็นหญิง สิ้น ๑๐๐ อัตภาพ ถึง

พระอานนทเถระ ผู้เป็นอริยสาวก มีบารมีบำเพ็ญมาแล้วตั้งแสนกัลป์

ท่องเที่ยวอยู่ในสงสาร ในอัตภาพหนึ่ง ได้บังเกิดในตระกูลช่างทอง

ทำปรทารกรรมไหม้ในนรกแล้ว, ด้วยผลกรรมที่ยังเหลือ ได้กลับมาเป็น

หญิงบำเรอเท้าแห่งชายใน ๑๔ อัตภาพ, ถึงการถอนพืช (เป็นหมัน )

ใน ๗ อัตภาพ. ส่วนหญิงทั้งหลาย ทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น คลาย

ความพอใจในความเป็นหญิงก็ตั้งจิตว่า " บุญของข้าพเจ้าทั้งหลายนี้ ขอจง

เป็นไปเพื่อกลับได้อัตภาพเป็นชาย" ทำกาละแล้ว ย่อมกลับได้อัตภาพ

เป็นชาย. พวกหญิง ที่มีผัวดังเทวดา ย่อมกลับได้อัตภาพเป็นชาย แม้

ด้วยอำนาจแห่งการปรนนิบัติดีในสามีเหมือนกัน. ส่วนลูกชายเศรษฐีนี้

ยังจิตให้เกิดขึ้นในพระเถระโดยไม่แยบคาย จึงกลับได้ภาวะเป็นหญิงใน

อัตภาพนี้ทันที.

นางคลอดบุตร

ก็ครรภ์ได้ตั้งในท้องของนาง เพราะอาศัยการอยู่ร่วมกับลูกชาย

เศรษฐีในตักกสิลา. โดยกาลล่วงไป ๑๐ เดือน นางได้บุตร ในเวลาที่

บุตรของนางเดินได้ ก็ได้บุตรแม้อีกคนหนึ่ง. โดยอาการอย่างนี้ บุตร

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 448

ของนางจึงมี ๔ คน, คือบุตรผู้อยู่ในท้อง ๒ คน บุตรผู้เกิดเพราะอาศัยเธอ

(ครั้งเป็นชายอยู่ ) ในโสไรยนคร ๒ คน.

นางได้พบกับเพื่อนเก่แล้วเล่าเรื่องให้ฟัง

ในกาลนั้น ลูกชายเศรษฐีผู้เป็นสหายของนาง ( ออก) จาก

โสไรยนครไปสู่กรุงตักกสิลาด้วยเกวียน ๕๐๐ เล่ม นั่งบนยานน้อยอันมี

ความสุขเข้าไปสู่พระนคร. ขณะนั้น นางเปิดหน้าต่างบนพื้นปราสาท

ชั้นบน ยืนดูระหว่างถนนอยู่ เห็นสหายนั้น จำเขาได้แม่นยำ จึงส่ง

สาวใช้ให้ไปเชิญเขามาแล้ว ให้นั่งบนพื้นมีค่ามาก ได้ทำสักการะและ

สัมมานะอย่างใหญ่โต. ขณะนั้น สหายนั้นกล่าวกะนางว่า " แม่มหา-

จำเริญ ในกาลก่อนแต่นี้ ฉันไม่เคยเห็นนาง, ก็เมื่อเป็นเช่นนี้ ไฉนนาง

จึงทำสักการะแก่ฉันใหญ่โต, นางรู้จักหรือ ?"

นาง. จ้ะ นาย ฉันรู้จัก, ท่านเป็นชาวโสไรยนคร มิใช่หรือ ?

สหาย. ถูกละ แม่มหาจำเริญ.

นางได้ถามถึงความสุขสบายของมารดาบิดา ของภริยา ทั้งของลูก

ชายทั้งสอง สหายนอกนี้ตอบว่า " จ้ะ แม่มหาจำเริญ ชนเหล่านั้น

สบายดี" แล้วถามว่า " แม่มหาจำเริญ นางรู้จักชนเหล่านั้นหรือ ?"

นาง. จ้ะ นาย ฉันรู้จัก, ลูกชายของท่านเหล่านั้นมีคนหนึ่ง,

เขาไปไหนเล่า ?

สหาย. แม่มหาจำเริญ อย่าได้พูดถึงเขาเลย; ฉันกับเขา วันหนึ่ง

ได้นั่งในยานน้อยอันมีความสุขออกไปเพื่ออาบน้ำ ไม่ทราบที่ไปของเขาเลย.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 449

เที่ยวค้นดูข้างโน้นและข้างนี้ (ก็) ไม่พบเขา จึงได้บอกแต่มารดาและ

บิดา (ของเขา), แม้มารดาและบิดาทั้งสองนั้น ของเขา ได้ร้องไห้

คร่ำครวญ ทำกิจอันควรทำแก่คนผู้ล่วงลับไปแล้ว.

นาง. ฉัน คือเขานะ นาย.

สหาย. แม่มหาจำเริญ จงหลีกไป. นางพูดอะไร ? สหายของฉัน

ย่อมงามเหมือนลูกเทวดา, (ทั้ง) เขาเป็นผู้ชาย (ด้วย).

นาง. ช่างเถอะ นาย ฉัน คือเขา.

ขณะนั้น สหายจึงถามนางว่า " อันเรื่องนี้เป็นอย่างไร ?"

นาง. วันนั้น เธอเห็นพระมหากัจจายนเถระผู้เป็นเจ้าไหม ?

สหาย. เห็นจ้ะ.

นาง. ฉันเห็นพระมหากัจจายนะผู้เป็นเจ้าแล้ว ได้คิดว่า ' สวย

จริงหนอ พระเถระรูปนี้ควรเป็นภริยาของเรา, หรือว่าสีแห่งสรีระของ

ภริยาของเรา พึงเป็นเหมือนสีแห่งสรีระของพระเถระนั่น,' ในขณะที่

ฉันคิดแล้วนั่นเอง เพศชายได้หายไป, เพศหญิงปรากฏขึ้น เมื่อเป็น

เช่นนี้ ฉันไม่อาจบอกแก่ใครได้ ด้วยความละอาย จึงหนีไปจากที่นั้นมา

ณ ที่นี้ นาย.

สหาย. ตายจริง เธอทำกรรมหนักแล้ว, เหตุไร เธอจึงไม่บอก

แก่ฉันเล่า ? เออ ก็เธอให้พระเถระอดโทษแล้วหรือ ?

นาง. ยังไม่ให้ท่านอดโทษเลย นาย, ก็เธอรู้หรือ ? พระเถระ

อยู่ ณ ที่ไหน ?

สหาย. ท่านอาศัยนครนี้แหละอยู่.

นาง. หากว่า ท่านเที่ยวบิณฑบาต พึงมาในที่นี้ไซร้, ฉันพึง

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 450

ถวายภิกษาหารแก่พระผู้เป็นเจ้าของฉัน .

สหาย. ถ้ากระนั้น ขอเธอจงรีบทำสักการะไว้, ฉันจักยังพระ-

ผู้เป็นเจ้าของเราให้อดโทษ.

นางขอขมาพระมหากัจจายนเถระ

เธอไปสู่ที่อยู่ของพระเถระ ไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่งแล้ว

เรียนว่า " ท่านขอรับ พรุ่งนี้ นิมนต์ท่านรับภิกษาของกระผม."

พระเถระ. เศรษฐีบุตร ท่านเป็นแขกมิใช่หรือ ?

เศรษฐีบุตร. ท่านขอรับ ขอท่านอย่าได้ถามความที่กระผมเป็นแขก

เลย, พรุ่งนี้ ขอนิมนต์ท่านรับภิกษาของกระผมเถิด.

พระเถระ รับนิมนต์แล้ว. สักการะเป็นอันมาก เขาได้ตระเตรียม

ไว้แม้ในเรือนเพื่อพระเถระ. วันรุ่งขึ้น พระเถระได้ไปสู่ประตูเรือน.

ขณะนั้น เศรษฐีบุตรนิมนต์ท่านให้นั่งแล้ว อังคาส (เลี้ยงดู) ด้วยอาหาร

ประณีต พาหญิงนั้นมาแล้ว ให้หมอบลงที่ใกล้เท้าของพระเถระ เรียนว่า

" ท่านขอรับ ขอท่านจงอดโทษแก่หญิงผู้สหายของกระผม (ด้วย)."

พระเถระ. อะไรกันนี่ ?

เศรษฐีบุตร. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ในกาลก่อน คนผู้นี้ได้เป็นสหาย

ที่รักของกระผม พบท่านแล้ว ได้คิดชื่ออย่างนั้น; เมื่อเป็นเช่นนั้น

เพศชายของเขาได้หายไป, เพศหญิงได้ปรากฏแล้ว: ขอท่านจงอดโทษ

เถิด ท่านผู้เจริญ.

พระเถระ. ถ้ากระนั้น เธอจงลุกขึ้น, ฉันอดโทษให้แก่เธอ.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 451

เขากลับเพศเป็นชายแล้วบวชได้บรรลุอรหัตผล

พอพระเถระ เอ่ยปากว่า "ฉันอดโทษให้" เท่านั้น เพศหญิง

ได้หายไป, เพศชายได้ปรากฏแล้ว.

เมื่อเพศชาย พอกลับปรากฏขึ้นเท่านั้น. เศรษฐีบุตรในกรุงตักกสิลา

ได้กล่าวกะเธอว่า " สหายผู้ร่วมทุกข์ เด็กชาย ๒ คนนี้เป็นลูกของเรา

แม้ทั้งสองแท้ เพราะเป็นผู้อยู่ในท้องของเธอ (และ) เพราะเป็นผู้อาศัย

ฉันเกิด, เราทั้งสองจักอยู่ในนครนี้แหละ, เธออย่าวุ่นวายไปเลย."

โสไรยเศรษฐีบุตร พูดว่า " ผู้ร่วมทุกข์ ฉันถึงอาการอันแปลก

คือ เดิมเป็นผู้ชาย แล้วถึงความเป็นผู้หญิงอีก แล้วยังกลับเป็นผู้ชาย

ได้อีก โดยอัตภาพเดียว (เท่านั้น); ครั้งก่อน บุตร ๒ คนอาศัยฉัน

เกิดขึ้น, เดี๋ยวนี้ บุตร ๒ คนคลอดจากท้องฉัน; เธออย่าทำความสำคัญว่า

' ฉันนั้นถึงอาการอันแปลก โดยอัตภาพเดียว จักอยู่ในเรือนต่อไปอีก,

ฉันจักบวชในสำนักแห่งพระผู้เป็นเจ้าของเรา เด็ก ๒ คนนี้ จงเป็นภาระ

ของเธอ, เธออย่าเลินเล่อในเด็ก ๒ คนนี้" ดังนี้แล้ว จูบบุตรทั้ง ๒ ลูบ

(หลัง) แล้ว มอบให้แก่บิดา ออกไปบวชในสำนักพระเถระ, ฝ่าย

พระเถระ ให้เธอบรรพชาอุปสมบทเสร็จแล้ว พาเที่ยวจาริกไป ได้ไปถึง

เมืองสาวัตถีโดยลำดับ. นามของท่านได้มีว่า " โสไรยเถระ."

ชาวชนบท รู้เรื่องนั้นแล้ว พากันแตกตื่นอลหม่านเข้าไปถามว่า

"ได้ยินว่า เรื่องเป็นจริงอย่างนั้นหรือ ? พระผู้เป็นเจ้า."

พระโสไรยะ. เป็นจริง ผู้มีอายุ.

ชาวชนบท. ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าเหตุแม้เช่นนี้มีได้ (เทียวหรือ ?);

เขาลือกันว่า "บุตร ๒ คนเกิดในท้องของท่าน, บุตร ๒ คน

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 452

อาศัยท่านเกิด" บรรดาบุตร ๒ จำพวกนั้น ท่านมีความสิเนหามากใน

จำพวกไหน ?

พระโสไรยะ. ในจำพวกบุตรผู้อยู่ในท้อง ผู้มีอายุ.

ชนผู้มาแล้ว ๆ ก็ถามอยู่อย่างนั้นนั่นแหละเสมอไป. พระเถระ

บอกแล้วบอกเล่าว่า " มีความสิเนหาในจำพวกบุตรผู้อยู่ในท้องนั้นแหละ

มาก." เมื่อรำคาญใจจึงนั่งแต่คนเดียว ยืนแต่คนเดียว. ท่านเข้าถึงความ

เป็นคนเดียวอย่างนี้ เริ่มตั้งความสิ้นและความเสื่อมในอัตภาพ บรรลุ

พระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว.

ต่อมา พวกชนผู้มาแล้ว ๆ ถามท่านว่า " ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า

เหตุชื่ออย่างนี้ได้มีแล้ว จริงหรือ ?"

พระโสไรยะ. จริง ผู้มีอายุ.

พวกชน. ท่านมีความสิเนหามากในบุตรจำพวกไหน ?

พระโสไรยะ. ขึ้นชื่อว่าความสิเนหาในบุตรคนไหน ๆ ของเรา

ย่อมไม่มี.

ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลพระศาสดาว่า " ภิกษุรูปนี้พูดไม่จริง

ในวันก่อน ๆ พูดว่า ' มีความสิเนหาในบุตรผู้อยู่ในท้องมาก ' เดี๋ยวนี้

พูดว่า ' ความสิเนหาในบุตรคนไหน ๆ ของเราไม่มี,' ย่อมพยากรณ์

พระอรหัตผล พระเจ้าข้า."

จิตที่ตั้งไว้ชอบดียิ่งกว่าเหตุใด ๆ

พระศาสดา ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราพยากรณ์

อรหัตผลหามิได้, (เพราะว่า) ตั้งแต่เวลาที่บุตรของเรา เห็นมรรค-

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 453

ทัสนะด้วยจิตที่ตั้งไว้ชอบแล้ว ความสิเนหาในบุตรไหน ๆ ไม่เกิดเลย,

จิตเท่านั้น ซึ่งเป็นไปในภายในของสัตว์เหล่านี้ ย่อมให้สมบัติที่มารดาบิดา

ไม่อาจทำให้ได้" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

๙. น ต มาตา ปิตา กริยา อญฺเ วาปิ จ าตกา

สมฺมาปณิหิต จิตฺต เสยฺยโส น ตโต กเร.

"มารดาบิดา ก็หรือว่าญาติเหล่าอื่น ไม่พึงทำ

เหตุนั้น (ให้ได้), (แต่) จิตอันตั้งไว้ชอบแล้ว

พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น."

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ต ความว่า มารดาบิดา (และ)

ญาติเหล่าอื่น ไม่ทำเหตุนั้นได้เลย.

บทว่า สมฺมาปณิหิต คือ ชื่อว่า ตั้งไว้ชอบแล้ว เพราะความ

เป็นธรรมชาติตั้งไว้ชอบในกุศลกรรมบถ ๑๐.

บาทพระคาถาว่า เสยฺยโส น ตโต กเร. ความว่า พึงทำ

คือย่อมทำเขาให้ประเสริฐว่า คือเลิศกว่า ได้แก่ให้ยิ่งกว่าเหตุนั้น.

จริงอยู่ มารดาบิดา เมื่อจะให้ทรัพย์แก่บุตรทั้งหลาย ย่อมอาจให้

ทรัพย์สำหรับไม่ต้องทำการงานแล้วเลี้ยงชีพโดยสบาย ในอัตภาพเดียว

เท่านั้น, ถึงมารดาบิดาของนางวิสาขา ผู้มีทรัพย์มากมายถึงขนาด มีโภคะ

มากมาย ได้ให้ทรัพย์สำหรับเลี้ยงชีพโดยสบายแก่นาง ในอัตภาพเดียว

๑. บาลีบางแห่งว่า มตฺตสฺส ทิฏฺกาลโต แต่กาลเห็นมรรค.

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หน้าที่ 454

เท่านั้น, ก็อันธรรมดามารดาบิดา ที่จะสามารถให้สิริคือความเป็นพระเจ้า

จักรพรรดิในทวีปทั้งสี่ ย่อมไม่มีแก่บุตรทั้งหลาย. จะป่วยกล่าวไปไย

(ถึงมารดาบิดาผู้ที่สามารถให้) ทิพยสมบัติหรือสมบัติมีปฐมฌานเป็นต้น

(จักมีเล่า), ในการให้โลกุตรสมบัติ ไม่ต้องกล่าวถึงเลย. แต่ว่าจิตที่

ตั้งไว้ชอบแล้ว ย่อมอาจให้สมบัตินี่แม้ทั้งหมดได้, เพราะฉะนั้น พระผู้มี-

ภาคเจ้าจึงตรัสว่า "เสยฺยโส น ตโต กเร."

ในเวลาจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลาย มี

โสดาปัตติผลเป็นต้น. เทศนาได้เป็นประโยชน์แก่มหาชน ดังนี้แล.

เรื่องพระโสไรยเถระ จบ.

จิตตวรรควรรณนา จบ

วรรคที่ ๓ จบ