ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต

เล่มที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ปฐมปัณณาสก์

ภัณฑคามวรรคที่ ๑

๑. อนุพุทธสูตร

ว่าด้วยอริยธรรม ๔

[๑] ข้าพเจ้า (พระอานนท์) ได้สดับมาอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ บ้านภัณฑคามในแคว้น

วัชชี ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้นด้วยพระพุทธพจน์ ว่า ภิกฺขโว (ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย). ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลขานรับด้วยคำว่า ภทนฺเต (พระพุทธ-

เจ้าข้า) แล้วตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้ไม่แจ้งซึ้งธรรม ๔ ประการ เราท่าน

ทั้งหลายจึงได้เวียนว่ายตายเกิดอยู่สิ้นกาลนาน ธรรม ๔ ธรรม คืออะไรบ้าง

คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุตติ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 2

ภิกษุทั้งหลาย อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุตติ นี้นั้น

เราท่านได้รู้แล้วได้แจ้งแล้ว ความทะเยอทะยานในภพ เป็นอันเราท่านถอน

ได้แล้ว สายโยงไปสู่ภพขาดสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้พระสุคตศาสดา ได้ตรัสพระธรรมเทศนา

ไวยากรณภาษิตนี้แล้ว ครั้นแล้วจึงตรัสนิคมคาถาประพันธ์นี้อีกว่า

สีลสมาธิปญฺา จ วิมุตฺติ จ อนุตฺตรา

อนุพุทฺธา อิเม ธมฺมา โคตเมน ยสสฺสินา

ธรรมเหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

และวิมุตติ อันยอดเยี่ยม พระโคดมผู้

ทรงเกียรติ ได้ตรัสรู้แล้ว.

อิติ พุทฺโธ อภิญฺาย ธมฺมมกฺขาสิ ภิกฺขุน

ทุกฺขสฺสนฺตกโร สตฺถา จกฺขุมา ปรินิพฺพุโต

พระพุทธเจ้า ครั้นทรงรู้จริงอย่างนี้

แล้ว ทรงบอกพระธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย

พระองค์ผู้พระศาสดามีจักษุ ทรงกระทำ

ที่สุดทุกข์ ดับสนิทแล้ว.

จบอนุพุทธสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 3

อรรถกถาอังคุตตรนิกาย ชื่อ มโนรถปูรณี

จตุกนิบาตวรรณนา

ปฐมปัณณาสก์

ภัณฑคามวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาอนุพุทธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุพุทธสูตรที่ ๑ แห่งจตุกนิบาต ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนนุโพธา ได้แก่ เพราะไม่รู้ เพราะไม่ทราบ บทว่า

อปฺปฏิเวธา ได้แก่ เพราะไม่แทงตลอด คือ เพราะไม่ทำให้ประจักษ์ บทว่า

ทีฆมทฺธาน แปลว่า สิ้นกาลนาน. บทว่า สนฺธาวิต ได้แก่ แล่นไป

โดยไปจากภพสู่ภพ. บทว่า สสริต ได้แก่ ท่องเที่ยวไป โดยไปมาบ่อย ๆ.

บทว่า มมญฺเจว ตุมฺหากญฺจ แปลว่า อันเราและอันท่านทั้งหลาย. อีก

อย่างหนึ่ง ในบทว่า สนฺธาวิต สสริต นี้ พึงทราบเนื้อความอย่างนี้ว่า

การแล่นไป การท่องเที่ยวไป ได้มีแล้วทั้งแก่เราทั้งแก่ท่านทั้งหลาย บทว่า

อริยสฺส ได้แก่ไม่มีโทษ. ก็ธรรม ๓ เหล่านี้ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา พึง

ทาบว่า สัมปยุตตด้วยมรรคและผลแล. ผลเท่านั้น ท่านแสดงโดยชื่อว่า วิมุตติ.

บทว่า ภวตณฺหา ได้แก่ ตัณหาในภพทั้งหลาย. บทว่า ภวเนตฺติ ได้แก่

ตัณหา ดุจเชือกผูกสัตว์ไว้ในภพ. บทนั้นเป็นชื่อของตัณหานั่นแล จริงอยู่

ตัณหานั้นนำสัตว์ทั้งหลายไปสู่ภพนั้น ๆ เหมือนผูกคอโค เพราะฉะนั้น ตัณหา

นั้น ท่านจึงเรียกว่า ภวเนตฺติ. บทว่า อนุตฺตรา ได้แก่ โลกุตระ บทว่า

ทุกฺขสฺสนฺตกโร ได้แก่ ทรงทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์. บทว่า จกฺขุมา ได้แก่

ทรงมีจักษุด้วยจักษุทั้ง ๕. บทว่า ปรินิพฺพุโต ได้แก่ ปรินิพพานแล้วด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 4

กิเลสปรินิพพาน (คือดับกิเลส). ทรงจบเทศนาตามลำดับอนุสนธิว่า นี้เป็นการ

ปรินิพพานครั้งแรกของพระศาสดานั้น ณ โพธิมัณฑสถาน. แต่ภายหลังพระองค์

ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุดับขนธ์ ณ ระหว่างไม่สาละคู่ดังนี้.

อรรถกถาอนุพุทธสูตรที่ ๑

๒. ปปติตสูตร

ว่าด้วยผู้ตกจากพระธรรมวินัย

[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม . ประการ

เรียกว่า ผู้ตกจากพระธรรมวินัยนี้ ธรรม ๘ ประการ คืออะไรบ้าง คือ

อริยศีล อริยสมาธิ อริยปัญญา อริยวิมุตติ บุคคลผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม

ประการนี้แล เรียกว่า ผู้ตกจากพระธรรมวินัยนี้.

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้ เรียกว่า ผู้ไม่ตกจากพระ-

ธรรมวินัยนี้ ธรรม ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ อริยศีล อริยสมาธิ อริย-

ปัญญา อริยวิมุตติ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เรียกว่า

ผู้ไม่ตกจากพระธรรมวินัยนี้.

(นิคมคาถา)

บุคคลผู้เคลื่อนไป (จากคุณมีอริยศีล

เป็นต้น) ชื่อว่า ตก (จากพระธรรมวินัย)

ผู้ตกแล้ว และยังกำหนัดยินดี ก็ต้องมา

(เกิด) อีก ความสุขย่อมมาถึง ผู้ทำกิจที่

ควรทำแล้ว ยินดีคุณที่ควรยินดีแล้ว โดย

สะดวกสบาย.

จบปปติตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 5

อรรถกถาปปติตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยให้ปปติตสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ปปติโต ได้แก่ ผู้เคลื่อนไป. บทว่า อปฺปปติโต ได้แก่

ผู้ตั้งอยู่แล้ว. บรรดาบุคคลเหล่านั้น โลกิยมหาชนชื่อว่า ตกไปทั้งนั้น. พระ

อิริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น ชื่อว่า ตกไปในขณะเกิดกิเลส. พระขีณาสพ

ชื่อว่า ตั้งอยู่แล้วโดยส่วนเดียว. บทว่า จุตา ปตนฺติ ความว่า ชนเหล่าใด

เคลื่อนไป ชนเหล่านั้น ชื่อว่าตก. บทว่า ปติตา ความว่า ชนเหล่าใด

ตกไป ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเคลื่อนไป. อธิบายว่า ชื่อว่าตกเพราะเคลื่อนไป

ชื่อว่าเคลื่อนไป เพราะตกดังนี้. บทว่า คิทฺธา ได้แก่บุคคลผู้กำหนัดเพราะ

ราคะ. บทว่า ปุนราคตา ความว่า ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มาสู่ชาติ ชรา พยาธิ

มรณะอีก. บทว่า กตกิจฺจ ความว่า ทำกิจที่ควรทำด้วยมรรค ๔. บทว่า

รต รมฺม ความว่า ยินดีแล้วในคุณชาติที่ควรยินดี. บทว่า สุเขนานฺวาคต

สุข ความว่า จากสุขมาตามคือถึงพร้อมซึ่งสุข อธิบายว่า จากสุขของมนุษย์

มาถึงคือบรรลุสุขทิพย์ จากสุขในฌานมาถึงสุขในวิปัสสนา จากสุขในวิปัสสนา

มาถึงสุขในมรรค จากสุขในมรรคมาถึงสุขในผล จากสุขในผล ก็มาถึงสุขใน

นิพพาน.

จบอรรถกถาปปติตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 6

๓.ปฐมขตสูตร

ว่าด้วยธรรม ๔ ประการ ของคนพาลและบัณฑิต

[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เป็นคนพาล เป็นคนโง่เขลา เป็นอสัตบุรุษ ครองตนอันถูกขุด (รากคือ

ความดี) เสียแล้ว ถูกขจัดไปครึ่งหนึ่งแล้ว เป็นคนประกอบด้วยโทษ ผู้รู้

เคียน และได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

บุคคลไม่ใคร่ครวญไม่สอบสวนแล้ว ชมคนที่ควรติ ๑ ติคนที่ควรชม ๑

ปลูกความเลื่อมใสในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส ๑ แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะ

อันควรเลื่อมใส ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ

และได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิต

เป็นคนฉลาด เป็นสัตบุรุษ ครองตนอันไม่ถูกขุด ไม่ถูกขจัดไปครึ่งหนึ่ง

เป็นผู้หาโทษมิได้ ผู้รู้สรรเสริญ และได้บุญมากด้วย ธรรม ๔ ประการ

เป็นไฉน คือบุคคลใคร่ครวญสอบสวนแล้ว ติคนที่ควรติ ชมคนที่ควรชม ๑

แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส ๑ ปลูกความเลื่อมใสในฐานะ

อันควรเลื่อมใส ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นบัณฑิตฯลฯ

และได้บุญมากด้วย

(นิคมคาถา)

ผู้ใดชมคนที่ควรติ หรือ ติคนที่

ควรชม ผู้นั้น ชื่อว่าก่อ (กลี) ความร้าย

ด้วยปาก เพราะความร้ายนั้น เขาก็ไม่ได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 7

ความสุข นี่ ร้ายไม่มาก คือการเสียทรัพย์

ในการพนัน แม้จนสิ้นเนื้อประดาตัว สิ่ง

นี้สิ ร้ายมากกว่า คือทำใจร้าย ในท่านผู้

ดำเนินดีแล้วทั้งหลาย คนที่ตั้งใจและใช้

วาจาลามก ติเตียนท่านผู้เป็นอริยะ ย่อม

ตกนรกตลอดเวลา สิ้นแสนสามสิบหก

นิรัพพุทะ กับอีกห้าอัพพุทะ.

จบปฐมขตสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมขตสูตร

ปฐมขตสูตรที่ ๓ กล่าวไว้ในอรรถกถาทุกนิบาตแล้ว. ส่วนในคาถา

พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ บทว่า นินฺทิย ได้แก่ผู้ ควรนินทา. บทว่า นินฺทติ

ได้แก่ ย่อมติเตียน. บทว่า ปสสิโย ได้แก่ ผู้ควรสรรเสริญ. บทว่า

วิจินาติ มุเขน โส กลึ ความว่า ผู้นั้นประพฤติอย่างนี้แล้ว ชื่อว่า

ย่อมเฟ้นโทษด้วยปากนั้น. บทว่า กลินา เตน สุข น วินฺทติ ความว่า

เขาย่อมไม่ได้ความสุขเพราะโทษนั้น. บทว่า สพฺพสฺสาปิ สหาปิ อตฺตนา

ความว่า การแพ้พนัน เสียทั้งทรัพย์ของตนทุกสิ่ง กับทั้งตัวเอง (สิ้นเนื้อ-

ประดาตัว) ชื่อว่าเป็นโทษประมาณน้อยนัก. บทว่า โย สุคเตสุ ความว่า

ส่วนผู้ใดพึงทำจิตคิดประทุษร้ายในบุคคลทั้งหลาย ผู้ดำเนินไปโดยชอบแล้ว

ความมีจิตคิดประทุษร้ายของผู้นั้นนี้แล มีโทษมากกว่าโทษนั้น. บัดนี้ เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 8

ทรงแสดงความที่มีจิตคิดประทุษร้ายนั้นมีโทษมากกว่า จึงตรัสคำว่า สต

สหสฺสาน เป็นอาทิ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สต สหสฺสาน ได้แก่

สิ้นแสน โดยการนับตามนิรัพพุทะ. บทว่า ฉตฺตึสติ ได้แก่ อีกสามสิบหก

นิรัพุพุทะ. บทว่า ปญฺจ จ คือห้าอัพพุทโดยการนับตามอัพพุทะ. บทว่า

ยมริย ครหิ ความว่า บุคคลเมื่อติเตียนพระอริยะทั้งหลาย ย่อมเข้าถึงนรกใด

ในนรกนั้น ประมาณอายุมีเท่านี้ .

จบอรรถกถาปฐมขตสูตรที่ ๓

๔. ทุติยขตสูตร

ว่าด้วยพาลและบัณฑิต

[๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติผิดในสถาน ๔ เป็นคนพาล

ฯลฯ และได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย ในสถาน ๔ คืออะไร คือ ในมารดา

ในบิดา ให้พระตถาคต ในสาวกของพระตถาคต บุคคลปฏิบัติผิดในสถาน ๔

นี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ และได้สิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ปฏิบัติชอบในสถาน ๔ เป็นบัณฑิต ฯลฯ และ

ได้บุญมากด้วย ในสถาน คืออะไร คือ ในมารดา ในบิดา ในพระตถาคต

ในสาวกของพระตถาคต บุคคลปฏิบัติชอบในสถาน ๔ นี้แล เป็นบัณฑิต ฯลฯ

และได้บุญมากด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 9

(นิคมคาถา)

คนใดปฏิบัติผิด ในมารดา และใน

บิดา ในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า และใน

สาวกของพระตถาคต คนเช่นนั้น ย่อมได้

สิ่งอันไม่เป็นบุญมาก เพราะความ

ประพฤติไม่เป็นธรรมในมารดาบิดาเป็นต้น

นั้น ในโลกนี้ บัณฑิตทั้งหลายก็ติเตียนเขา

เขาตายไปแล้วยังไปอบายด้วย.

คนใดปฏิบัติชอบ ในมารดา ในบิดา

ในพระตถาคตสัมพุทธเจ้า และในสาวก

ของพระตถาคต คนเช่นนั้นย่อมได้บุญ

มากแท้ เพราะความประพฤติเป็นธรรมใน

มารดาบิดาเป็นต้นนั้น ในโลกนี้ บัณฑิต

ทั้งหลายก็สรรเสริญเขา เขาละโลกนี้แล้ว

ยังบันเทิงในสวรรค์.

จบทุติยขตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 10

อรรถกถาทุติยขตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยขตสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า มาตริ ปิตริ จ เป็นอาทิ นายมิตตวินทุกะ ชื่อว่าปฏิบัติผิด

ในมารดา. พระเจ้าอชาตศัตรู ชื่อว่าปฏิบัติผิดในบิดา. เทวทัต ชื่อว่าปฏิบัติ

ผิดในพระตถาคต. โกกาลิกะ ชื่อว่าปฏิบัติผิดในพระสาวกของพระตถาคต.

บทว่า พหุญฺจ แปลว่า มาก. บทว่า ปสวติ แปลว่า ย่อมได้. บทว่า

ตาย ความว่า ด้วยความพระพฤติอธรรมกล่าวคือความปฏิบัติผิดนั้น. บทว่า

เปจฺจ คือไปจากโลกนี้. บทว่า อปายญฺจ คจฺฉติ คือเขาจะต้องบังเกิดใน

นรกเป็นต้นแห่งใดแห่งหนึ่ง. ส่วนในสุกกปักข์ (ธรรมฝ่ายดี) ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาทุติยขตสูตรที่ ๔

๕. อนุโสตสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ ปรากฏในโลก

[๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ นี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล ๔

คือใคร คือบุคคลไปตามกระแส ๑ บุคคลไปทวนกระแส ๑ บุคคลตั้งตัว

ได้แล้ว (ไม่ตามและไม่ทวนกระแส) ๑ บุคคลข้ามถึงฝั่งขึ้นอยู่บนบกเป็น

พราหมณ์ ๑

บุคคลไปตามกระแส เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้เสพกาม

ด้วย ทำบาปกรรมด้วย นี้เรียกว่า บุคคลไปตามกระแส.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 11

บุคคลไปทวนกระแส เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เสพ

กาม และไม่ทำบาปกรรม แม้ทั้งทุกข์กายทั้งทุกข์ใจ กระทั่งร้องไห้ น้ำตา

นองหน้า ก็ยังประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์บริสุทธิ์อยู่ได้ นี้เรียกว่า บุคคล

ไปทวนกระแส.

บุคคลตั้งตัวได้แล้ว เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะ

สิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกที่เกิดนั้น มีอัน

ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา นี้เรียกว่า บุคคลตั้งตัวได้แล้ว.

บุคคลข้ามถึงฝั่งขึ้นบนบกเป็นพราหมณ์ เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคน

ในโลกนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้ นี้เรียก

ว่า บุคคลข้ามถึงฝั่งขึ้นอยู่บนบกเป็นพราหมณ์.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก.

(นิคมคาถา)

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่สำรวมใน

กาม ยังไม่สิ้นราคะ เป็นกามโภคี ใน

โลกนี้ ชนเหล่านั้น ชื่อว่า ผู้ไปตามกระแส

ถูกตัณหาครอบงำไว้ ต้องเกิดและแก่

บ่อย ๆ เพราะฉะนั้นแหละ ผู้เป็นปราชญ์

ในโลกนี้ ตั้งสติ ไม่เสพกามและไม่ทำบาป

แม้ทั้งทุกข์กายใจ ก็ละกามและบาปได้

ท่านเรียกบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 12

คนใดละกิเลส ๕ ประการ (คือ

สังโยชน์เบื้องต่ำ) ได้แล้ว เป็นพระเสขะ

บริบูรณ์ มีอันไม่เสื่อมคลายเป็นธรรมดา

ได้วสีทางใจ มีอินทรีย์อันมั่นคง คนนั้น

ท่านเรียกว่า ผู้ตั้งตัวได้แล้ว เพราะได้

ตรัสรู้แล้ว ธรรมทั้งหลายทั้งยิ่งและหย่อน

ของบุคคลใด สิ้นไปดับไป ไม่มีอยู่

บุคคลนั้น เป็นผู้บรรลุซึ่งยอดความรู้

สำเร็จพรหมจรรย์ ถึงที่สุดโลก เรียกว่าผู้

ถึงฝั่งแล้ว.

จบอนุโสตสูตรที่ ๕

อรรถกถาอนุโสตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอนุโสตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บุคคลชื่อว่า อนุโสตคามี เพราะไปตามกระแส. ชื่อว่าปฏิโสต

คามี เพราะไปทวนกระแสของกระแสคือกิเลส โดยการปฏิบัติที่เป็นข้าศึก.

บทว่า ิตตฺโต คือมีภาวะตั้งตนได้แล้ว. บทว่า ติณฺโณ ได้แก่ ข้ามโอฆะ

ตั้งอยู่แล้ว. บทว่า ปารคโต ได้แก่ ถึงฝั่งอื่น. บทว่า ถเล ติฏฺติ ได้แก่

อยู่บนบก คือนิพพาน. บทว่า พฺราหฺมโณ ได้แก่ เป็นผู้ประเสริฐ หาโทษ

มิได้. บทว่า อิธ แปลว่า ในโลกนี้. บทว่า กาเม จ ปฏิเสวติ ได้แก่

ส้องเสพวัตถุกามด้วยกิเลสกาม. บทว่า ปาปญฺจ กมฺม กโรติ ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 13

ย่อมทำกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น อันเป็นบาปะ บทว่า ปาปญฺจ กมฺม น

กโรติ ได้แก่ ไม่ทำกรรมคือเวร ๕. บทว่า อย วุจฺจติ ภิกฺขเว ิตตฺโต

ความว่า อนาคามีบุคคลนี้ ชื่อว่า ตั้งตนได้แล้ว ด้วยอำนาจการไม่กลับมา

จากโลกนั้น โดยถือปฏิสนธิอีก.

บทว่า ตณฺหาธิปนฺนา ความว่า เหล่าชนที่ถูกตัณหางำ คือครอบไว้

หรือเข้าถึง คือหยั่งลงสู่ตัณหา. บทว่า ปริปุณฺณเสกฺโข ได้แก่ ตั้งอยู่ใน

ความบริบูรณ์ด้วยสิกขา. บทว่า อปริหานธมฺโม ได้แก่ มีอันไม่เสื่อมเป็น

สภาวะ. บทว่า เจโตวสิปฺปตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ชำนาญทางจิต. บุคคลเห็น

ปานนี้ ย่อมเป็นพระขีณาสพ. แต่ในข้อนี้ ตรัสแต่อนาคามีบุคคล. บทว่า

สมาหิตินฺทฺริโย ได้แก่ ผู้มีอินทรีย์หกมั่นคงแล้ว. บทว่า ปโรปรา ได้แก่

ธรรมอย่างสูงและอย่างเลว อธิบายว่า กุศลธรรมและอกุศลธรรม. บทว่า

สเมจฺจ ได้แก่ มาพร้อมกันด้วยญาณ. บทว่า วิธูปิตา ได้แก่ อันท่าน

กำจัดหรือเผาเสียแล้ว. บทว่า วุสิตพฺรหฺมจริโย ความว่า อยู่จบมรรค

พรหมจรรย์. บทว่า โลกนฺตคู ความว่า ถึงที่สุดแห่งโลกทั้งสาม. บทว่า

ปารคโต ความว่า ผู้ถึงฝั่งด้วยอาการ ๖. ในข้อนี้ตรัสแต่พระขีณาสพเท่านั้น

แต่วัฏฏะและวิวัฏฏะ (โลกิยะและโลกุตระ) ตรัสไว้ทั้งในพระสูตร ทั้งในคาถา

ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาอนุโสตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 14

๖. อัปปสุตสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะ ๔ จำพวก

[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก

บุคคล ๔ คือใคร คือ บุคคลผู้สดับน้อย (เรียนน้อย) ทั้งไม่ได้ประโยชน์

เพราะการสดับ ๑ บุคคลผู้สดับน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ ๑ บุคคล

ผู้สดับมาก (เรียนมาก) แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ บุคคลผู้สดับ

มาก ทั้งได้ประโยชน์เพราะการสดับ

บุคคลผู้สดับน้อย ทั้งไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร ?

(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ) สุตตะ เคยยะ

เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ

บุคคลบางตนในโลกนี้ได้สดับน้อย ทั้งเขาหารู้อรรถ (คือเนื้อความ) รู้ธรรม

(คือบาลี) แห่งคำสอนอันน้อยที่ได้สดับนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ไม่ บุคคลผู้สดับน้อย ทั้งไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล.

บุคคลผู้สดับน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร ?

(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ) สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ

บุคคลบางตนในโลกนี้ได้สดับน้อย แต่เขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งคำสอนอันน้อย

ที่ได้สดับนั้นแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้สดับน้อย แต่ได้

ประโยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล.

บุคคลผู้สดับมาก แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร ?

(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ) สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ

บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สดับมาก แต่เขาหารู้อรรถรู้ธรรมแห่งคำสอนเป็นอัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 15

มากที่ได้สดับนั้นแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้สดับมาก แต่

ไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล

บุคคลผู้สดับมาก ทั้งได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร

(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ) สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ

บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สดับมาก ทั้งเขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งคำสอนเป็นอันมาก

ที่ได้สดับนั้นแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้สดับมาก ทั้งได้

ประโยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก.

บุคคลใด ถ้าเป็นคนสดับน้อย ทั้งไม่

ตั้งอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียน

บุคคลนั้นทั้ง ๒ ทาง คือทั้งทางศีล ทั้ง

ทางสดับ.

บุคคลใด ถ้าแม้เป็นคนสดับน้อย

แต่ตั้งมั่นอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อม

สรรเสริญบุคคลนั้นทางศีล แต่การสดับ

ของเขาบกพร่อง.

บุคคลใด ถ้าแม้เป็นคนสดับมา

แต่ไม่ตั้งมั่นอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อม

ติเตียนบุคคลนั้นทางศีล แต่การสดับของ

เขาพอการ.

บุคคลใด ถ้าเป็นคนสดับมาก ทั้ง

ตั้งมั่นอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อม

สรรเสริญบุคคลนั้นทั้ง ๒ ทาง คือทั้งทาง

ศีล ทั้งทางการสดับ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 16

ใครจะควรติบุคคลผู้ได้สดับมาก

ทั้งเป็นผู้ทรงธรรม ตอบด้วยปัญญา เป็น

สาวกพระพุทธเจ้า ราวกะแต่งทองชมพูนท

นั้นเล่า แม่เหล่าเทวดาดีย่อมชม ถึงพรหม

สรรเสริญ.

จบอัปปสุตสูตรที่ ๖

อรรถกถาอัปปสุตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัปปสุตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อนุปปนฺโน แปลว่า ไม่เข้าถึง. ในบทมีอาทิว่า สุตฺต นี้

อุภโตวิภังค์ นิทเทส ขันธกปริวาร สุตตนิบาต มงคลสูตร รตนสูตร

นาลกสูตร ตุวฏกสูตร พระดำรัสของพระตถาคตแม้อื่นมี ชื่อว่าสูตร พึง

ทราบว่า สูตร. พระสูตรที่มีคาถาแม้ทั้งหมด พึงทราบว่า เคยยะ. โดยเฉพาะ

อย่างยิ่งในสังยุตตนิกาย สคาถวรรคแม้ทั้งหมด อภิธรรมปิฎกแม้ทั้งสิ้น สูตรที่

ไม่มีคาถา พระพุทธพจน์แม้อื่นที่ไม่สงเคราะห์เข้ากับองค์ ๘ เหล่าอื่น พึง

ทราบว่า เวยยากรณะ. ธรรมบท เถรคาถา เถรีคาถา และคาถาล้วนไม่มี

ชื่อพระสูตรในสุตตนิบาต พึงทราบว่า คาถา. พระสูตร ๘๒ สูตร ที่ประกอบ

ด้วยคาถาอันสำเร็จมาแต่โสมนัสญาณ พึงทราบว่าอุทาน. พระสูตร ๑๑๐ สูตร

อันเป็นไปโดยนัยเป็นอาทิว่า วุตฺตมิท ภควตา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้

ดังนี้ พึงทราบว่า อิติวุตตกะ. ชาดก ๕๕๐ ชาดก. มีอปัณณกชาดกเป็นต้น

พึงทราบว่า ชาดก. พระสูตรที่ประกอบด้วยธรรมที่น่าอัศจรรย์ไม่เคยมี แม้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 17

ทั้งหมด อันเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัจฉริยอัพภูตธรรม

๔ ของเรามีอยู่ พึงทราบว่า อัพภูตธรรม. พระสูตรแม้ทั้งปวง ที่ถามแล้ว

ได้ความรู้ และความยินดี มีจูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร สัมมาทิฏฐิสูตร

สักกปัญหสูตร สังขารภาชนิยสูตร มหาปุณณมสูจรเป็นต้น พึงทราบว่า

เวทัลละ.

บทว่า น อตฺถมญฺาย ธมฺมมญฺาย ความว่า ไม่รู้อรรถกถา

และบาลี. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน ความว่า ย่อมไม่ปฏิบัติธรรม

สมควรแก่โลกุตรธรรม ๙ คือข้อปฏิบัติเบื้องหน้า พร้อมทั้งศีล. พึงทราบ

เนื้อความในทุกวาระโดยอุบายนี้. ส่วนวาระที่หนึ่ง ในพระสูตรนี้ ตรัสถึง

บุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่ทุศีล ในวาระที่สอง ตรัสถึงบุคคลผู้มีสุตะน้อยแต่เป็น

พระขีณาสพ ในวาระที่สาม ตรัสถึงบุคคลผู้มีสุตะมากแต่ทุศีล ในวาระที่สี่

ตรัสถึงบุคคลผู้มีสุตะมากทั้งเป็นพระขีณาสพ. บทว่า สีเลสุ อสมาหิโต

ความว่า ไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย. บทว่า สีลโต จ สุเตน จ

ความว่า นักปราชญ์ทั้งหลายย่อมติเตียนผู้นั้น ทั้งโดยส่วนศีล ทั้งโดยส่วนสุตะ

อย่างนี้ว่า คนนี้ทุศีล มีสุตะน้อย. บทว่า ตสฺส สมฺปชฺชเต สุต ความว่า

สุตะของบุคคลนั้น ชื่อว่าสมบูรณ์ เพราะเหตุที่กิจคือสุตะอันเขาทำแล้วด้วย

สุตะนั้น. บทว่า นาสฺส สมฺปชฺชเต ได้แก่ ความว่า สุตกิจ ชื่อว่าไม่สมบูรณ์

เพราะกิจคือสุตะอันเขามิได้ทำ. บทว่า ธมฺมธร ได้แก่ เป็นผู้ทรงจำธรรม

ที่ฟังแล้วไว้ได้. บทว่า สปฺปญฺ ได้แก่ มีปัญญาดี. บทว่า เนกฺข

ชมฺโพนทสฺเสว ความว่า ทองคำธรรมชาติ เขาเรียกว่า ชมพูนุท ดุจแท่งทอง

ชมพูนุทนั้น คือ ดุจลิ่มทองเนื้อ ๕.

จบอรรถกถาอัปปสุตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 18

๗. สังฆโสภณสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้ทำหมู่ให้งาม ๔ จำพวก

[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ ที่ฉลาด มีวินัย

กล้าหาญ สดับมาก ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมยังหมู่

ให้งาม บุคคล ๔ จาพวกเหล่านี้คือใคร คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา

บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้แล ที่ฉลาด มีวินัย กล้าหาญ สดับมาก ทรงธรรม

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมยังหมู่ให้งาม

บุคคลใด เป็นผู้ฉลาดและกล้าหาญ

เป็นผู้สดับมาก และทรงจำธรรม เป็นผู้

ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลเช่น

นั้นนั่น เรียกว่าผู่ยังหมู่ให้งามภิกษุ ภิกษุณี

อุบาสก และอุบาสิกา เป็นผู้มีศรัทธา

สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นพหูสูต บุคคลเหล่านี้

แลยังหมู่ให้งาม บุคคลเหล่านี้เป็นสังฆ-

โสภณ (ผู้ยังหมู่ให้งาม) แท้จริง.

จบสังฆโสภณสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 19

อรรถกถาสังฆโสภณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังฆโสภณสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิยตฺตา ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญาสามารถ. บทว่า

วินีตา ความว่า ผู้เข้าถึงวินัย อันท่านแนะนำดี. บทว่า วิสารทา ความว่า

ผู้ประกอบด้วยความกล้าหาญ คือญาณสหรคตด้วยโสมนัส. บทว่า ธมฺมธรา

คือ ทรงจำธรรมที่ฟังมาแล้วไว้ได้. บทว่า ภิกฺขุ จ สีลสมฺปนฺโน ความว่า

ในคาถาตรัสคุณแต่ละอย่าง แต่ละบุคคลไว้ก็จริง ถึงอย่างนั้น คุณธรรมทั้งปวง

ก็ย่อมควรแก่ท่านเหล่านั้นแม้ทั้งหมด

จบอรรถกถาสังฆโสภณสูตรที่ ๗

๘. เวสารัชชสูตร

ว่าด้วยเวสารัชชญาณของตถาคต

[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เวสารัชชญาณ (ญาณเป็นเหาตุให้กล้าหาญ)

ของตถาคต ๔ นี้ ตถาคตประกอบด้วยเวสารัชชญาณเหล่าไรเล่า จึงปฏิญญา

ฐานผู้เป็นโจก เปล่งสิงหนาทในบริษัททั้งหลาย ประกาศพรหมจักร เวสา-

รัชชญาณคืออะไรบ้าง คือเราไม่เห็นนิมิตนี้ว่า สมณะ หรือพราหมณ์ หรือ

เทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใคร ๆ ในโลก จักทักท้วงเราได้โดยชอบ

แก่เหตุ ในข้อว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 20

๑. ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ แต่ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่

รู้แล้ว

๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ แต่อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น

แล้ว

๓. ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่อาจทำ

อันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง

๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่

เป็นทางสิ้นทุกข์โดยชอบแห่งบุคคลผู้ทำตาม

เมื่อไม่เห็นนิมิตอันนี้เสียเลย เราจึงโปร่งใจ จึงไม่ครั้นคร้าม จึง

กล้าหาญ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล เวสารัชชญาณของตถาคต ตถาคตประกอบ

ด้วยเวสารัชชญาณเหล่าไรเล่า จึงปฏิญญาฐานผู้เป็นโจก เปล่งสิงหนาทใน

บริษัททั้งหลาย ประกาศพรหมจักร

ถ้อยความ ที่ผูกแต่งขึ้นเป็นอันมาก

ทุกชนิด และสมณพราหมณ์ทั้งหลายอาศัย

วาทะใด วาทะนั้น มาถึงตถาคตผู้แกล้วกล้า

ผู้ย่ำยีเสียซึ่งวาทะแล้ว ย่อมพ่ายไป ท่านผู้

ใดครอบงำเสียซึ่งวาทะและสมณพราหมณ์

ทั้งสิ้น มีความเอ็นดูในสรรพสัตว์ ประกาศ

ธรรมจักร สัตว์ทั้งหลายย่อมกราบไหว้

ท่านผู้เช่นนั้น ผู้ประเสริฐแห่งเทวดา

และมนุษย์ ผู้ถึงฝั่งแห่งภพ.

จบเวสารัชชสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 21

อรรถกถาเวสารัชชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเวสารัชชสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า เวสารชฺชานิ นี้ ธรรมอัน เป็นปฏิปักษ์ต่อความขลาด

ชื่อว่า เวสารัชชะ ญาณเป็นเหตุให้กล้าหาญ. เวสารัชชะนี้ เป็นชื่อของ

โสมนัสญาณที่เกิดขึ้นแก่ตถาคต ผู้พิจารณาเห็นความไม่มีความขลาดใน

ฐานะ ๔. บทว่า อาสภณฺาน ความว่า ฐานะอันประเสริฐ คือฐานะสูงสุด.

หรือพระพุทธเจ้าในปางก่อนทั้งหลายเป็นผู้องอาจ ฐานะของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายเหล่านั้น . อีกนัยหนึ่ง โคจ่าฝูงของโคร้อยตัว ชื่อว่า อุสภะ โคจ่าฝูง

ของโคหนึ่งพันตัว ชื่อว่าวสภะ หรือโคอุสภะ เป็นหัวโจกโคร้อยคอก โค

วสภะเป็นหัวโจกโคพันคอก โคนิสภะ ประเสริฐสุดแห่งใดทั้งหมด อดทน

ต่ออันตรายทุกอย่าง เผือก น่ารัก ขนภาระไปได้มาก ทั้งไม่หวั่นไหวด้วย

เสียงฟ้าร้องร้อยครั้ง พันครั้ง โคนิสภะนั้น ท่านประสงค์ว่า โคอุสภะในที่นี้

นี้เป็นคำเรียกโคอุสภะนั้น โดยปริยาย. ที่ชื่อว่าอาสภะ เพราะฐานะนี้เป็นของ

โคอุสภะ. บทว่า าน ได้แก่ การเอาเท้าทั้ง ๔ ตะกุยแผ่นดินยืนหยัด. ก็

ฐานะนี้ ชื่อว่าอาสภะ เพราะเหมือนการยืนหยัดของโคอุสภะ. โคอุสภะที่นับ

ว่า โคนิสภะ เอาเท้า ๔ เท้าตะกุยแผ่นดินแล้ว ยืนหยัดโดยยืนไม่หวั่นไหว

ฉันใด ตถาคตก็ตะกุยแผ่นดินคือบริษัท ๘ ด้วยพระบาทคือเวสารัชชญาณ ๔

ไม่หวั่นไหวด้วยข้าศึกปัจจามิตรไร ๆ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก ยืนหยัดโดย

ยืนไม่หวั่นไหวก็ฉันนั้น. ตถาคตเมื่อยืนหยัดอยู่อย่างนี้ จึงปฏิญญาฐานของผู้

องอาจ เข้าถึง ไม่บอกคืน กลับยกขึ้นไว้ในพระองค์ ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

อาสภณฺาน ปฏิชานาติ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 22

บทว่า ปริสาสุ ได้แก่ ในบริษัททั้ง ๘. บทว่า สีหนาท นทติ

ความว่า เปล่งเสียงแสดงอำนาจอันประเสริฐสุด เสียงแสดงอำนาจของราชสีห์

หรือบันลือเสียงแสดงอำนาจเสมือนการแผดเสียงของราชสีห์. ความข้อนี้พึง

แสดงด้วยสีหนาทสูตร. ราชสีห์ เขาเรียกว่า สีหะ เพราะอดทน และเพราะ

ล่าเหยื่อ แม้ฉันใด ตถาคตก็ฉันนั้น เขาเรียกว่า สีหะ เพราะทรงอดทน

โลกธรรมทั้งหลาย และเพราะทรงกำจัดลัทธิอื่น. การบันลือของสีหะที่ท่าน

กล่าวอย่างนี้ เรียกว่า สีหนาท. ในสีหนาทนั้น ราชสีห์ประกอบด้วยกำลัง

ของราชสีกล้าหาญในที่ทั้งปวง ปราศจากขนชูชัน บันลือสีหนาทฉันใด สีหะ

คือ ตถาคตก็ฉันนั้น ประกอบด้วยกำลังของตถาคต เป็นผู้กล้าหาญในบริษัท

ทั้ง ๘ ปราศจากขนพอง ย่อมบันลือสีหนาท อันประกอบด้วยความงดงาม

แห่งเทศนามีอย่างต่าง ๆโดยนัยเป็นอาทิว่า อย่างนี้รูป. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า

ปริสาสุ สีหนาท นทติ ดังนี้ .

บทว่า พฺรหฺม ในบทว่า พฺรหฺมจกฺก ปวตฺเตติ นี้ ได้แก่ จักร

อันประเสริฐสูงสุดหมดจด. ก็จักกศัพท์นี้

ย่อมใช้ในอรรถว่าสมบัติ ลักษณะ

ส่วนแห่งรถ อิริยาบถ ทาน รตนจักร

ธรรมจักร และอุรจักรเป็นต้น ในที่นี้

รู้กัน ว่า ใช้ในอรรถว่า ธรรมจักร พึงทำ

ธรรมจักรให้ชัดแจ้ง แบ่งเป็นสองประการ.

จริงอยู่ จักกศัพท์นี้ย่อมใช้ในอรรถว่า สมบัติ ได้ในบาลีเป็นต้นว่า

จตฺตาริมานิ ภิกฺขเว จกฺกานิ เยหิ สมนฺนาคตาน เทวมนุสฺสาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมบัติ ๔ ที่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายประกอบพร้อมแล้ว

ดังนี้. ใช้ในอรรถว่า ลักษณะ ได้ในบาลีนี้ว่า ปาทตเลสุ จกฺกานิ ชาตานิ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 23

ลักษณะเกิดบนฝ่าพระบาท ดังนี้. ใช้ในอรรถว่า อิริยาบถ ได้ในบาลีนี้ว่า

จตุจกฺก นวทฺวาร มีอิริยาบถ ๔ มีทวาร ๙ ดังนี้. ใช้ในอรรถว่า ทาน

ได้ในบาลีนี้ ทท ภุญฺช จ มา จ ปมาโท จกฺก วตฺตย สพฺพปาณีน

ท่านจงให้ จงบริโภค และจงอย่าประมาท จงให้ทานเป็นไปแก่สรรพสัตว์

ดังนี้. ใช้ในอรรถว่า รตนจักร ได้ในบาลีนี้ว่า ทิพฺพ รตนจกฺก ปาตุรโหสิ

จักรรัตน์ที่เป็นทิพย์ได้ปรากฏแล้ว ดังนี้. ใช้ในอรรถว่า ธรรมจักร ได้ใน

บาลีนี้ว่า มยา ปวตฺติต จกฺก ธรรมจักรอันเราให้เป็นไปแล้วดังนี้ . ใช้ใน

อรรถว่า อุรจักร ได้ในบาลีนี้ว่า อุรจักร กงจักรหมุนอยู่บนกระหม่อมของ

คนผู้ถูกความอยากครองงำ ดังนี้. ใช้ในอรรถว่า ปหรณจักร เครื่องประหาร

ได้ในบาลีนี้ว่า ขุรปริยนฺเตน เจปิ จกฺเกน. ถ้าประหารด้วยจักรมีคมรอบ ๆ

ดังนี้. ใช้ในอรรถว่า อสนิมัณฑละ คือ วงกลมแห่งสายฟ้า ได้ในบาลีนี้ว่า

อสนิจกฺก วงกลมแห่งสายฟ้าดังนี้. แต่จักกศัพท์นี้ ในที่นี้รู้กันว่า ใช้ใน

อรรถว่า ธรรมจักร.

ก็ธรรมจักรนี้นั้นมี ๒ คือ ปฏิเวธญาณ ๑ เทศนาญาณ ๑. บรรดา

ธรรมจักร ๒ นั้น ญาณที่ปัญญาอบรม นำอริยผลมาให้ตนเอง ชื่อว่า

ปฏิเวธญาณ. ญาณที่กรุณาอบรม นำอริยผลมาให้สาวกทั้งหลาย ชื่อว่า

เทศนาญาณ. บรรดาญาณ ๒ อย่างนั้น ปฏิเวธญาณมี ๒ คือ ที่กำลัง

เกิดขึ้น ที่เกิดขึ้นแล้ว. ก็ปฏิเวธญาณนั้น ชื่อว่ากำลังเกิดขึ้นนับแต่ทรงออก

ผนวชจนถึงอรหัตมรรค ชื่อว่าเกิดขึ้นแล้วในขณะแห่งอรหัตผล. อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่ากำลังเกิดขึ้นนับแต่ภพชั้นดุสิต จนถึงอรหัตมรรค ณ มหาโพธิบัลลังก์

ชื่อว่าเกิดขึ้นแล้วในขณะแห่งอรหัตผล. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่ากำลังเกิดขึ้น

นับแต่ครั้งพระที่ปังกรพุทธเจ้า จนถึงอรหัตมรรค ณ โพธิบัลลังก์ ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 24

เกิดขึ้นแล้วในขณะแห่งอรหัตผล. เทศนาญาณก็มี ๒ คือที่กำลังเป็นไป

ที่เป็นไปแล้ว. ก็เทศนาญาณนั้น ชื่อว่ากำลังเป็นไปจนถึงโสดาปัตติมรรค

ของท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ชื่อว่าเป็นไปแล้วในขณะแห่งโสดาปัตติผล.

บรรดาญาณทั้ง ๒ นั้น ปฏิเวธญาณ เป็นโลกุตระ เทศนาญาณเป็นโลกิยะ.

ก็ญาณทั้งสองนั้น ไม่ทั่วไปกับสาวกเหล่าอื่นเป็นโอรสญาณทำให้เกิดโอรสคือ

สาวก สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น.

บทว่า สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส เต ปฏิชานโต ความว่า ท่าน

ปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเราได้ตรัสรู้

แล้วดังนี้ . บทว่า อนภิสมฺพุทฺธา ความว่า ธรรมทั้งหลาย ชื่อเหล่านี้

ท่านยังไม่รู้แล้ว. บทว่า ตตฺร วต คือในธรรมที่ท่านแสดงเหล่านั้นอย่างนี้ว่า

อนภิสมฺพุทฺธา. บทว่า สหธมฺเมน ได้แก่ด้วยถ้อยคำพร้อมด้วยเหตุ

ด้วยการณ์. บุคคลก็ดี ธรรมก็ดี ท่านประสงค์ว่านิมิตในบทว่า นิมิตฺตเมต นี้.

ในข้อนี้มีใจความดังนี้ว่า บุคคลใดจะทักท้วงเรา เราก็ยังไม่เป็นบุคคลนั้น

บุคคลแสดงธรรมใดแล้ว จักทักท้วงเราว่า ธรรมชื่อนี้ ท่านยังไม่รู้แล้วดังนี้

เราก็ยังไม่เห็นธรรมนั้น . บทว่า เขมปฺปตฺโต ได้แก่ถึงความเกษม. สองบท

ที่เหลือ ก็เป็นไวพจน์ของบทนี้นั้นเอง. คำนั้นทั้งหมดตรัสมุ่งถึงเวสารัชชญาณ

อย่างเดียว. ด้วยว่าพระทศพลเมื่อไม่ทรงเห็นบุคคลที่ทักท้วง หรือธรรมที่ยัง

ไม่รู้ ที่เป็นเหตุทักท้วงว่า ธรรมข้อนี้ ท่านยังไม่รู้แล้วดังนี้ พิจารณาเห็นว่า

เราตรัสรู้ตามความเป็นจริงแล้ว จึงกล่าวว่าเราเป็นพุทธะดังนี้ จึงเกิดโสมนัส

ที่มีกำลังกว่า ญาณที่ประกอบด้วยโสมนัสนั้นชื่อว่าเวสารัชชะ. ทรงหมายถึง

เวสารัชชญาณนั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า เขมปฺปตฺโต ดังนี้. ในบททุกบท

พึงทราบเนื้อความอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 25

ในบทว่า อนฺตรายิกา ธมฺมา นี้ ชื่อว่าอันตรายิกธรรม เพราะ

ทำอันตราย. อันตรายิกธรรมเหล่านั้น โดยใจความก็ได้แก่อาบัติ ๗ กอง ที่

จงใจล่วงละเมิด. ความจริงโทษที่จงใจล่วงละเมิด โดยที่สุดแม้อาบัติทุกกฏ

และทุพภาสิต ก็ย่อมทำอันตรายแก่มรรคและผลได้. แต่ในที่นี้ ประสงค์เอา

เมถุนธรรม ด้วยว่าเมื่อภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเสพเมถุนธรรม ย่อมเป็นอันตราย

ต่อมรรคและผลถ่ายเดียว. บทว่า ยสฺส โข ปน เต อตฺถาย ความว่า

เพื่อประโยชน์แก่ธรรมอันใดในบรรดาธรรมเป็นที่สิ้นราคะเป็นต้น. บทว่า

ธมฺโม เทสิโต ความว่า ท่านกล่าวธรรนมีอสุภภาวนาเป็นต้น . บทว่า

ตตฺร วต ม คือในธรรมที่ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์นั้น. บทที่เหลือ พึงทราบ

โดยนัยอันกล่าวไว้ในวินัย.

บทว่า วาทปถา คือ วาทะทั้งหลายนั่นเอง. บทว่า ปุถุ แปลว่า

มาก บทว่า สิตา คือที่ผูกแต่งเป็นปัญหาขึ้น. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า

ปุถุสฺสิตา ได้แก่ วาทะที้เตรียมคือจัดไว้มาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุสฺสิตา

เพราะสมณพราหมณ์เป็นอันมากผูกไว้. บทว่า ย นิสฺสิตา ความว่า

แม้บัดนี้สมณพราหมณ์อาศัยคลองวาทะใด. บทว่า น เต ภวนฺติ

ความว่า คลองวาทะเหล่านั้นย่อมไม่มี คือแตกพินาศไป. บทว่า ธมฺมจกฺก

นั้น เป็นชื่อของเทศนาญาณก็มี ปฏิเวธญาณก็มี. บรรดาญาณทั้งสองนั้น

เทศนาญาณเป็นโลกิยะ ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตระ. บทว่า เกวลี ได้แก่

ทรงถึงพร้อมด้วยโลกุตระสิ้นเชิง. บทว่า ตาทิส คือท่านผู้เป็นอย่างนั้น.

จบอรรถกถาเวสารัชชสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 26

๙. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยที่เกิดตัณหา ๔ อย่าง

[๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่เกิดตัณหา ๔ อย่างนี้ ที่เกิดตัณหา ๔

อย่าง คืออะไร คือ ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดเพราะจีวรบ้าง

เพราะบิณฑบาตบ้าง เพราะเสนาสนะบ้าง เพราะความมีน้อยมีมากอย่างนั้น

อย่างนี้บ้าง นี้แล ที่เกิดตัณหา ๔ อย่าง

คนมีตัณหาเป็นเพื่อน เวียนว่ายไป

เป็นอย่างนี้อย่างนั้นสิ้นกาลนาน ไม่ล่วง-

พ้นสงสารไปได้ ภิกษุรู้โทษอันนี้แล้ว รู้ว่า

ตัณหาเป็นเหตุเกิดทุกข์ ก็จะพึงเป็นผู้มีสติ

สิ้นตัณหา ไม่มีความยึดถือไป.

จบตัณหาสูตรที่ ๙

อรรถกถาตัณหาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตัณหาสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า อุปปาทะ เพราะเป็นที่เกิดขึ้นแห่งตัณหาเหล่านั้น. ถามว่า

อะไรเกิด. ตอบว่า ตัณหา. ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ชื่อว่า ตัณหุปปาทะ

อธิบายว่า วัตถุแห่งตัณหา เหตุแห่งตัณหา. บทว่า จีวรเหตุ ความว่า

ตัณหาย่อมเกิดเพราะมีจีวรเป็นเหตุ ว่าเราจักได้จีวรที่น่าชอบใจ ในที่ไหน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 27

ศัพท์ว่า อิติ ในบทว่า อิติภวาภวเหตุ นี้เป็นนิบาตลงในอรรถว่าตัวอย่าง

อธิบายว่า ตัณหาย่อมเกิดขึ้นเพราะความมีน้อยมีมากเป็นเหตุ เหมือนที่เกิดขึ้น

เพราะมีจีวรเป็นต้น เป็นเหตุ ส่วนในบทว่า ภวาภโว นี้ประสงค์เอาเนยใส

และเนยข้นเป็นต้นที่ประณีตและประณีตกว่ากัน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่าภพ

ที่ประณีตกว่าและประณีตที่สุดในสัมปัตติภพดังนี้ก็มี.

บทว่า ตณฺหาทุติโย ความว่า ก็สัตว์นี้ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ

ที่ตัวสัตว์เองไม่รู้จุดจบ มิใช่ท่องเที่ยวไปแต่ลำพังเท่านั้น ยิ่งได้ตัณหาเป็น

เพื่อนท่องเที่ยวไปด้วย ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ตณฺหาทุติโย ดังนี้ . ในบทว่า

อิตฺถภาวญฺถาภาว นี้ได้แก่อัตภาพนี้ ชื่อว่า อิตถภาวะเป็นอย่างนี้ อัตภาพ

ในอนาคต ชื่อว่าอัญญถาภาวะเป็นอย่างอื่น อีกอย่างหนึ่ง อัตภาพแม้อื่นที่

เป็นอย่างนี้ ชื่อว่า อิตถภาวะเป็นอย่างนี้ ที่มิใช่เป็นอย่างนี้ ชื่อว่าอัญญถาภาวะ

เป็นอย่างอื่น. ซึ่งเป็นอย่างนี้และอย่างอื่น. บทว่า สสาร ได้แก่ลำดับขันธ์

ธาตุ อายตนะ. บทว่า นาติวตฺตติ แปลว่า ไม่ล่วงพ้นไป. บทว่า เอตมาทีนว

ตฺวา ความว่า ภิกษุรู้ถึงโทษในขันธ์ที่เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบันอย่างนี้

แล้ว. บทว่า ตณฺห ทุกฺขสฺส สมฺภว ความว่า รู้ถึงตัณหาอย่างนี้ว่า

ตัณหานี้ เป็นเหตุเกิด เป็นแดงเกิด เป็นเหตุแห่งวัฏทุกข์. ความที่ภิกษุนี้

เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต ทรงแสดงด้วยเหตุประมาณเท่านี้ . บัดนี้

เมื่อทรงยกย่องภิกษุขีณาสพนั้น จึงตรัสว่า วิตฺตณฺโห เป็นอาทิ. บรรดาบท

เหล่านั้น บทว่า อนาทาโน ได้แก่ ไม่ถือมั่น. บทว่า สโต ภิกฺขุ

ปริพฺพเช ความว่า ภิกษุผู้ขีณาสพถึงความไพบูลย์ด้วยสติสัมปชัญญะ พึงมี

สติสัมปชัญญะเที่ยวไปอยู่. ดังนั้น ในสูตรตรัสถึงวัฏฏะ ในคาถา ตรัสทั้งวัฏฏะ

ทั้งวิวัฏฏะ (โลกิยะและโลกุตระ) ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 28

๑๐. โยคสูตร

ว่าด้วยโยคะ ๔ อย่าง

[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โยคะ (เครื่องผูก) ๔ นี้ โยคะ ๔

คืออะไร คือ กามโยคะ (เครื่องผูกคือกาม) ภวโยคะ (เครื่องผูกคือภพ)

ทิฏฐิโยคะ (เครื่องผูกคือทิฏฐิ) อวิชชาโยคะ (เครื่องผูกคืออวิชชา)

กามโยคะเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิด ความดับ

ความชุ่มชื่น ความขมขื่น และความออกไป แห่งกามทั้งหลายตามจริง เมื่อ

ไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งกามทั้งหลายตามจริง ความยินดีในกาม

ความเพลิดเพลินในกาม ความเยื่อใยในกาม ความสยบในกาม ความกระหาย

ในกาม ความกลัดกลุ้มในกาม ความหมกมุ่นในกาม ความดิ้นรนในกาม

ย่อมติดแนบใจ. นี่เรียกว่า กามโยคะ. กามโยคะเป็นดังนี้

ก็ภวโยคะเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิดฯลฯ

ความออกไปแห่งภพทั้งหลายตามจริง เมื่อไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไป

แห่งภพทั้งหลายตามจริง ความยินดีในภพ ฯลฯ ความดิ้นรนในภพ ย่อมติด

แนบใจ นี่เรียกว่า ภวโยคะ. กามโยคะ ภวโยคะ เป็นดังนี้

ก็ทิฏฐิโยคะเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิด

ฯลฯ ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง เมื่อไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ

ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง ความยินดีในทิฏฐิ ฯลฯ ความดิ้นรน

ในทิฏฐิ ย่อมติดแนบใจ นี่เรียกว่า ทิฏฐิโยคะ. กามโยคะ ภวโยคะ

ทิฏฐิโยคะ เป็นดังนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 29

ก็อวิชชาโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่รู้ถึงความเกิด

ฯลฯ ความออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามจริง เมื่อไม่รู้ถึงความเกิด ฯลฯ

ความออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามจริง ความไม่รู้แจ้ง ความเขลา ใน

ผัสสายตนะ ๖ ย่อมติดแนบใจ นี่เรียกว่า อวิชชาโยคะ. กามโยคะ ภวโยคะ

ทิฏฐิโยคะ อวิชชาโยคะ เป็นดังนี้

บุคคล (ผู้ยังละโยคะไม่ได้) นุงนังด้วยธรรมทั้งหลายอันเป็นบาป

อกุศล เป็นสังกิเลส เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความเร่าร้อน

มีทุกข์เป็นผล ทำให้มีชาติชรามรณะต่อไป เพราะเหตุนั้น เราเรียกบุคคล

นั้นว่า (อโยคกฺเขมี) ผู้ไม่ปลอดจากโยคะ

นี้แล โยคะ ๔

ภิกษุทั้งหลาย วิสังโยคะ (ความปลอดโปร่ง) ๔ นี้ วิสังโยคะ ๔

คืออะไร คือ กามโยควิสังโยคะ (ความปลอดโปร่งจากกามโยคะ) ภวโยค-

วิสังโยคะ (ความปลอดโปร่งจากภวโยคะ) ทิฏฐิโยควิสังโยคะ (ความปลอด-

โปร่งจากทิฏฐิโยคะ) อวิชชาโยควิสังโยคะ (ความปลอดโปร่งจากอวิชชาโยคะ)

กามโยควิสังโยคะเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ถึงความเกิดฯลฯ

ความออกไปแห่งกามทั้งหลายตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความออกไป

แห่งกามทั้งหลายตามจริง ความยินดีในกาม ฯลฯ ความดิ้นรนในกาม ย่อม

ไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า กามโยควิสังโยคะ. กามโยควิสังโยคะ เป็นดังนี้

ก็ภวโยควิสังโยคะเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนโนโลกนี้รู้ถึงความเกิด

ฯลฯ ความออกไปแห่งภพทั้งหลายตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด ฯลฯ ความ

ออกไปแห่งภพทั้งหลายตามจริง ความยินดีในภพ ฯลฯ ความดิ้นรนในภพ

ย่อมไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า ภวโยควิสังโยคะ. กามโยควิสังโยคะ ภวโยค-

วิสังโยคะ เป็นดังนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 30

ก็ทิฏฐิโยควิสังโยคะเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ถึงความ

เกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด ฯลฯ

ความออกไปแห่งทิฏฐิทั้งหลายตามจริง ความยินดีในทิฏฐิ ฯลฯ ความดิ้นรน.

ในทิฏฐิ ย่อมไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า ทิฏฐิโยควิสังโยคะ. กามโยควิสังโยคะ

ภวโยควิสังโยคะ ทิฏฐิโยควิสังโยคะ เป็นดังนี้

ก็อวิชชาโยควิสังโยคะเป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้รู้ถึง

ความเกิด ฯลฯ ความออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามจริง เมื่อรู้ถึงความเกิด

ฯลฯ ความออกไปแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามจริง ความไม่รู้แจ้ง ความเขลา

ในผัสสายตนะ ๖ ย่อมไม่ติดแนบใจ นี่เรียกว่า อวิชชาโยควิสังโยคะ.

กามโยควิสังโยคะ ภวโยควิสังโยคะ ทิฏฐิโยควิสังโยคะ อวิชชาโยควิสังโยคะ

เป็นดังนี้

บุคคล (ผู้ละโยคะได้แล้ว) ปลอดโปร่งจากธรรมทั้งหลายอันเป็นบาป

อกุศล เป็นสังกิเลส เป็นเหตุให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความเร่าร้อน

มีทุกข์เป็นผล ทำให้มีชาติชรามรณะต่อไป เพราะเหตุนั้น เราเรียกบุคคล

นั้นว่า (โยคกฺเขมี) ผู้ปลอดจากโยคะ นี้แล วิสังโยคะ ๔

สัตว์ทั้งหลาย อันกามโยคะผู้ไว้

แล้ว ซ้ำภวโยคะและทิฏฐิโยคะผูกเข้าอีก

อวิชชารุมรัดเข่าด้วย ย่อมเวียนเกิดเวียน

ตายไป.

ส่วนสัตว์เหล่าใดกำหนดรู้กาม และ

ภวโยคะ ด้วยประการทั้งปวง ตัดถอน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 31

ทิฏฐิโยคะ และทำลายอวิชชาเสียได้

สัตว์เหล่านั้นก็เป็นผู้ปลอดโปร่งจากโยคะ

ทั้งปวง เป็นมุนีผู้ข้ามพ้นเครื่องผูกแล.

จบโยคสูตรที่ ๑๐

จบภัณฑคามวรรคที่ ๑

อรรถกถาโยคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโยคสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

กิเลสชื่อว่า โยคะ เพราะผูกสัตว์ไว้ในวัฏฏะ. ในบทว่า กามโยโค

เป็นอาทิ ความกำหนัดประกอบด้วยกามคุณ ๕ ชื่อว่า กามโยคะ. ความ

กำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูปภพและอรูปภพ ชื่อว่า ภวโยคะ. ความ

ติดใจในฌานก็อย่างนั้น. ราคะประกอบด้วยสัสสตทิฏฐิ และทิฏฐิ ๖๒ ชื่อว่า

ทิฏฐิโยคะ. ความไม่รู้ในสัจจะ ๔ ชื่อว่า อวิชชาโยคะ อีกอย่างหนึ่ง

ชื่อว่า กามโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในกามะ ชื่อว่า ภวโยคะ เพราะ

ประกอบสัตว์ไว้ในภพ. ชื่อว่า ทิฏฐิโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในทิฏฐิ.

ชื่อว่า อวิชชาโยคะ เพราะประกอบสัตว์ไว้ในอวิชชา คำดังกล่าวมานี้ เป็นชื่อ

ของธรรมที่กล่าวไว้แล้วในหนหลัง. บัดนี้ เมื่อทรงแสดง ขยายธรรมเหล่านั้น

ให้พิสดาร จึงตรัสว่า กตโม จ ภิกฺขเว เป็นอาทิ. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า สมุทย คือความเกิด. บทว่า อตฺถงฺคม คือความดับ. บทว่า

อสฺสาท คือ ความชุ่มชื่น. บทว่า อาทีนว คือ โทษที่มิใช่ความชุ่มชื่น.

บทว่า นิสฺสรณ คือความออกไป.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 32

บทว่า กาเมสุ คือ ในวัตถุกาม. บทว่า กามราโค คือราคะ

เกิดเพราะปรารภกาม. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. บทว่า อนุเสติ คือ

บังเกิด. พึงทราบเนื้อความในบททุกบทอย่างนี้ว่า บทว่า อย วุจฺจติ

ภิกฺขเว กามโยโค ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า เหตุแห่งการ

ประกอบเครื่องผูกสัตว์ไว้ในกาม. บทว่า ผสฺสายตนาน ได้แก่ เหตุมีจักขุ-

สัมผัสเป็นต้น สำหรับอายตนะทั้งหลายมีจักษุเป็นต้น. บทว่า อวิชฺชา

อญฺาน ความว่า อวิชชาคือความไม่รู้ เพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อความรู้

อิติศัพท์ ในบทนี้ว่า อิติกามโยโค พึงประกอบกับโยคะแม้ทั้ง ๔ ว่า

กามโยคะดังนี้ ภวโยคะ ดังนี้เป็นต้น

บทว่า สมฺปยุตตฺโต ได้แก่ ผู้ห้อมล้อมแล้ว. บทว่า ปาปเกหิ

ได้แก่ ที่ลามก. บทว่า อกุสเลหิ ได้แก่ เกิดแต่ความไม่ฉลาด. บทว่า

สงฺกิเลสิเกหิ คือมีความเศร้าหมอง อธิบายว่า ประทุษร้ายความผ่องใส

แห่งจิตที่ผ่องใสแล้ว. บทว่า โปโนพฺภวิเกหิ ได้แก่ เป็นเหตุให้เกิดใน

ภพใหม่. บทว่า สทเรหิ ได้แก่ มีความเร่าร้อน. บทว่า ทุกฺขวิปาเกหิ

ได้แก่ ให้ทุกข์เกิดขึ้นในเวลาให้ผล. บทว่า อายตึชาติชรามรณิเกหิ ได้แก่

ให้เกิดชาติ ชรา มรณะในอนาคตบ่อย ๆ. บทว่า ตสฺมา อโยคกฺเขมีติ

วุจฺจติ ความว่า ก็เพราะเหตุที่บุคคลผู้ละโยคะยังไม่ได้ ย่อมเป็นผู้ประกอบ

ด้วยธรรมเหล่านั้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่า อโยคักเขมี ไม่เกษมจากโยคะเพราะ

เขายังไม่บรรลุพระนิพพานอันเกษมจากโยคะ ๔ เหล่านั้น.

บทว่า วิสโยคา คือเหตุแห่งความคลายโยคะกิเลสเครื่องผูก. บทว่า

กามโยควิสโยโค คือเหตุแห่งความคลายกามโยคะ. แม้ในบทที่เหลือก็มี

นัยนี้แล. บรรดาบทเหล่านั้น การเพ่งอสุภกัมมัฏฐาน เป็นการคลายกามโยคะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 33

อนาคามิมรรคทำอสุภฌานนั้นให้เป็นบาทแล้วบรรลุ ชื่อว่า คลายกามโยคะ

โดยส่วนเดียวแท้. อรหัตมรรค ชื่อว่า คลายภวโยคะ โสดาปัตติมรรค ชื่อว่า

คลายทิฏฐิโยคะ อรหัตมรรค ชื่อว่า คลายอวิชชาโยคะ. บัดนี้ เมื่อทรงแสดง

ขยายวิสังโยคธรรมเหล่านั้นให้พิสดาร จึงตรัสว่า กตโม จ ภิกฺขเว เป็นอาทิ.

ความแห่งพระดำรัสนั้น พึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้ว. บทว่า ภวโยเคน

จูภย ความว่า ผูกไว้ด้วยภวโยคะ และผูกไว้ด้วยภวโยคะทิฏฐิโยคะแม้ทั้ง-

สองยิ่งขึ้นอีก คือประกอบด้วยโยคะอย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า ปุรกฺขตา ได้แก่

ถูกนำไว้ข้างหน้า หรือถูกแวดล้อม. บทว่า กาเม ปริญฺาย ได้แก่ กำหนด

รู้กามแม้ทั้งสองอย่าง. บทว่า ภวโยคญฺจ สพฺพโส ได้แก่ กำหนดรู้ภวโยคะ

ทั้งหมดนั่นแล. บทว่า สมูหจฺจ ได้แก่ ถอนหมดแล้ว. บทว่า วิราชย

ได้แก่ กำลังคลายหรือคลายแล้ว. ก็เมื่อกล่าวว่า วิราเชนฺโต ก็เป็นอัน

กล่าวถึงมรรค เมื่อกล่าวว่า วิราเชตฺวา ก็เป็นอันกล่าวถึงผล. บทว่า มุนิ

ได้แก่ พระมุนีคือพระขีณาสพ. ดังนั้น ในสูตรนี้ก็ดี ในคาถาก็ดี จึงตรัส

ทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะ (โลกิยะและโลกุตระ) แล.

จบอรรถกถาโยคสูตรที่ ๑๐

จบภัณฑคามวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในภัณฑคามวรรคนี้ คือ

๑. อนุพุทธสูตร ๒. ปปติตสูตร ๓. ปฐมขตสูตร ๔. ทุติยขต-

สูตร ๕. อนุโสตสูตร ๖. อัปปสุตสูตร ๗. สังฆโสภณสูตร ๘. เวสา-

รัชชสูตร ๙. ตัณหาสูตร ๑๐. โยคสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 34

จรวรรคที่ ๒

๑. จารสูตร

ว่าด้วยภิกษุไม่ละวิตก ๓ อย่าง

[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่

ก็ดี นอนอยู่ไม่หลับก็ดี กามวิตก หรือ พยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้น

และภิกษุรับเอาวิตกนั้นไว้ ไม่ละ ไม่ถ่ายถอน ไม่ทำให้สิ้นให้หายไปเสีย

ภิกษุเดินอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี ยืนอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นั่งอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นอนอยู่

ไม่หลับเป็นอย่างนี้ก็ดี เราเรียกว่า ผู้ไม่มีอาตาปะ (ความเพียรอันแรงกล้า)

ไม่มีโอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวบาป) เป็นคนเกียจคร้าน มีความเพียร

อันทรามอยู่เนืองนิตย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี

นอนอยู่ไม่หลับก็ดี กามวิตกหรือพยาบาทวิตก หรือวิหิงสาวิตกเกิดขึ้น แต่

ภิกษุไม่รับเอาวิตกนั้นไว้ ละเสียถ่ายถอนเสีย ทำให้สิ้นให้หายไปเสีย ภิกษุ

เดินอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี ยืนอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นั่งอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นอนอยู่

ไม่หลับเป็นอย่างนี้ก็ดี เราเรียกว่า ผู้มีอาตาปะ มีโอตตัปปะ มีความเพียร

อันทำแล้ว ตั้งใจมั่นคงเป็นเนืองนิตย์

ภิกษุใดเดินอยู่ หรือยืนอยู่ นั่งอยู่

หรือนอนอยู่ (ไม่หลับ) ตรึกวิตกอันเป็น

บาป อันเกี่ยวด้วยเรือน (คือกาม) ภิกษุ

นั้นชื่อว่าดำเนินทางผิด สยบอยู่ในอารมณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 35

อันเป็นที่ตั้งแห่งความหลง ภิกษุเช่นนั้น

ไม่ควรเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม.

ภิกษุใดเดินอยู่หรือยืนอยู่ นั่งอยู่

หรือนอนอยู่ รำงับวิตก (อันเป็นบาป)

ขึ้นดีในทางรำงับวิตกแล้ว ภิกษุเช่นนั้น

ย่อมอาจเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณอันอุดม.

จบจารสูตรที่ ๑

จรวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาจารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจารสูตรที่ ๑ แห่งจรวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อธิวาเสติ ได้แก่ ยกขึ้นไว้ให้อยู่ในจิต (คือพักไว้). บทว่า

น ปชหติ ได้แก่ ไม่สละ. บทว่า น วิโนเทติ ได้แก่ ไม่นำออก.

บทว่า น พฺยนฺตีกโรติ ได้แก่ ไม่ทำให้สิ้นสุด คือตัดหนทาง. บทว่า

น อนภาว คเมติ ได้แก่ ไม่ทำให้ถึงความไม่มีไม่เจริญ คือ ย่อยยับไป.

บทว่า จรมฺปิ คือ แม้เดินอยู่. บทว่า อนาตาปิ คือ ไม่มีความเพียร.

บทว่า อโนตฺตาปิ คือ เว้น จากความกลัวการตำหนิติเตียน. บทว่า สตต

คือ เป็นนิตย์. บทว่า สมิต คือ ไม่มีระหว่าง. ผู้ศึกษาทราบความในทุกบท

อย่างนั้นแล้ว พึงทราบความตามปริยายที่กล่าวไว้แล้วในสุกกปักษ์ฝ่ายธรรมขาว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 36

ในคาถา พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า เคหนิสฺสิต ได้แก่

อาศัยกิเลส. บทว่า โมหเนยฺเยสุ ได้แก่ ในอารมณ์ที่ให้เกิดความหลง.

บทว่า อภพฺโพ ได้แก่ไม่เป็นดังภาชนะที่รองรับ. บทว่า ผุฏฺ สมฺโพธิ

มุตฺตม ได้แก่ เพื่อสัมผัสอุดมญาณกล่าวคือ พระอรหัต.

จบอรรถกถาจารสูตรที่ ๑

๒. สีลสูตร

ว่าด้วยปริสุทธิศีล ๔

[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้มีศีลถึงพร้อมมี

ปาฏิโมกข์ถึงพร้อมอยู่เถิด จงสำรวมในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและ

โคจร มีปรกติเห็นภัยในโทษมาตรว่าน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลายเถิด เมื่อท่านทั้งหลายมีศีลถึงพร้อมมีปาฏิโมกข์ถึงพร้อมอยู่ สำรวม

ในปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปรกติเห็นภัยให้โทษมาตรว่า

น้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายอยู่. อะไรเป็นกิจที่จะพึงทำต่อไป ?

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อภิกษุเดินอยู่ก็ดี ยืนอยู่ก็ดี นั่งอยู่ก็ดี

นอนอยู่ไม่หลับก็ดี อภิชฌาปราศไป พยาบาทปราศไป ถีนมิทธะ อุทธัจจะ

กุกกุจจะ วิจิกิจฉา ภิกษุก็ละได้ ความเพียรทำไม่ย่อหย่อน สติตั้งมั่นไม่

ฟั่นเฟือน กายรำงับไม่กระสับกระส่าย จิตเป็นสมาธิแน่วแน่ ภิกษุเดินอยู่

เป็นอย่างนี้ก็ดี ยืนอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นั่งอยู่เป็นอย่างนี้ก็ดี นอนอยู่ไม่หลับ

เป็นอย่างนี้ก็ดี เราเรียกว่า ผู้มีอาตาปะ มีโอตตัปปะ มีความเพียรอัน

ทำแล้ว มีใจเด็ดเดี่ยวเนืองนิตย์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 37

ภิกษุพึงเป็นสำรวม ยินสำรวม นั่ง

สำรวม นอนสำรวม คู้อวัยวะเข้าก็สำรวม

เหยียดอวัยวะออกก็สำรวม พิจารณาดู

ความเกิดขึ้นความเสื่อมไปแห่งธรรมและ

ขันธ์ทั้งหลาย ในเบืองบน ท่ามกกลาง

เบื้องล่าง ทุกภูมิโลก บัณฑิตทั้งหลาย

กล่าวภิกษุผู้ศึกษา ปฏิปทาอันสมควรแก่

ความสงบใจ มีสติทุกเมื่อเข้ารุ

ใจเด็ดเดี่ยวเนืองนิตย์.

จบสีลสูตรที่ ๒

อรรถกถาสีลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสีลสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺปนฺนสีลา ได้แก่ เธอทั้งหลายมีศีลบริบูรณ์. บทว่า

สมฺปนฺนปาติโมกฺขา ได้แก่มีปาติโมกข์บริบูรณ์. บทว่า ปาติโมกฺขสวร-

สวุตา ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้สำรวมปิดประกอบด้วยปาติโมกขสังวร-

ศีลอยู่เถิด. บทว่า อาจารโคจรสมฺปนฺนา ความว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้

ถึงพร้อม คือประกอบด้วยอาจาระและโคจรเถิด . บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ

ได้แก่ ในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย. บทว่า ภยทสฺสาวิโน ความว่า

เป็นผู้มีปรกติเห็นโทษที่มีประมาณน้อยเหล่านั้นโดยเป็นภัย. บทว่า สมาทาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 38

สิกฺขถ สิกฺขาปเทสุ ความว่า เธอทั้งหลายจงสมาทานยึดถือสิกขาบทที่ควร

สมาทานนั้น ๆ ในส่วนแห่งสิกขาทั้งหมดศึกษาอยู่. ครั้นทรงชักชวนและตรัส

สรรเสริญในคุณที่ได้แล้ว ด้วยการตรัสธรรมประมาณเท่านี้ว่า สมฺปนฺนสีลาน

ฯเปฯ สิกฺขาปเทสุ บัดนี้ เมื่อทรงแสดงประโยชน์อันจะพึงทำให้ยิ่งขึ้นไป

จึงตรัสว่า กิมสฺส ดังนี้เป็นต้น. ในบทนั้น บทว่า กิมสฺส แปลว่า

จะพึงมีอะไรเล่า.

บทว่า ยต จเร ความว่า ภิกษุพึงเดินอย่างที่เดินสำรวมระวัง.

ในบททั้งปวงก็มีนัยนี้. บทว่า อจฺเฉ แปลว่า พึงนั่ง. บทว่า ยตเมต ปสารเย

ความว่า พึงเหยียดอวัยวะน้อยใหญ่อย่างสำรวมคือเรียบร้อย. บทว่า อุทฺธ

แปลว่า เบื้องบน. บทว่า ติริย แปลว่า เบื้องกลาง ( วาง) บทว่า อปาจีน

แปลว่า เบื้องล่าง. เบญจขันธ์ ทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตรัสด้วย

เหตุประมาณเท่านี้. คำว่า ยาวตา เป็นคำที่แสดงความกำหนด. บทว่า

ชคโต คติ ได้แก่ ความสำเร็จแห่งโลก. บทว่า สมเวกฺขิตา จ ธมฺมาน

ขนธาน อุทยพฺพย ความว่า พิจารณาดูความเกิดขึ้น ความเสื่อมไปแห่ง

ธรรม คือ เบญจขันธ์ที่ต่างด้วยอดีตเป็นต้นเหล่านั้น ในโลกทั้งปวง คือได้

พิจารณาเห็นโดยชอบด้วยลักษณะ ๕๐ ถ้วนที่ท่านกล่าวว่า เมื่อเห็นความเกิด

แห่งเบญจขันธ์ก็พิจารณาเห็นลักษณะ ๒๕ ได้. เมื่อเห็นความเสื่อมก็พิจารณา

เห็นลักษณะ ๒๕ ได้. บทว่า เจโตสมถสามีจึ ได้แก่ ข้อปฏิบัติที่สมควร

แก่ความสงบจิต. บทว่า สิกฺขมาน ความว่า เมื่อปฏิบัติ คือ บำเพ็ญอยู่.

บทว่า ปหิตตฺโต ได้แก่ มีใจเด็ดเดี่ยว. บทว่า อาหุ แปลว่า กล่าวอยู่.

บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น. ก็ในสูตรนี้ตรัสคละกันกับศีล ในคาถาตรัสถึง

ภิกษุผู้ขีณาสพ.

จบอรรถกถาสีลสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 39

๓. ปธานสูตร

ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน (ความเพียรชอบ) ๔ นี้

สัมมัปปธาน ๔ คืออะไร คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ

ยังอกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น

๒. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ

ละอกุศลบาปธรรมที่เกิดแล้ว

๓. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ

ยังกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

๔. ยังฉันทะให้เกิดพยายามทำความเพียร ประคองจิตตั้งใจมั่นเพื่อ

ให้กุศลธรรมที่เกิดแล้วคงอยู่ไม่เลือนหายไป ให้ภิยโยภาพไพบูลเจริญเต็มที่

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สัมมัปปธาน ๔.

ภิกษุเหล่านั้นมีความเพียรชอบย่อม

ครอบงำเสียได้ซึ่งแดนมาร ภิกษุเหล่านั้น

เป็นผู้อันกิเลสไม่อาศัย แล้วพ้นภัย คือ เกิด

ตายแล้ว ถึงฝั่ง (คือพระนิพพาน) ภิกษุ

เหล่านั้นสบายใจ ชนะมารกับทั้งพล-

พาหนะมารแล้ว ภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้ไม่

หวั่นไหว ล่วงเสียซึ่งมารและพลมาร

ทั้งปวง ถึงซึ่งความสุข.

จบปธานสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 40

อรรถกถาปธานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปธานสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺมปฺปธานานิ ได้แก่ ความเพียรดี คือความเพียรสูงสุด.

บทว่า สมฺมปฺปธานา ได้แก่ พระขีณาสพผู้มีความเพียรบริบูรณ์. บทว่า

มารเธยฺยาภิภูตา ความว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ครอบงำข้ามแดนมาร คือ

เตภูมิกวัฎ. บทว่า เต อสิตา ได้แก่ พระขีณาสพทั้งหลายเป็นผู้อันกิเลส

ไม่อาศัยแล้ว. บทว่า ชาติมรณภยสฺส ได้แก่ ภัยที่เกิดขึ้นเพราะอาศัย

ความเกิดและความตาย หรือภัยกล่าวคือความเกิดและความตาย. บทว่า ปารคู

แปลว่า ถึงฝั่ง. บทว่า เต ตุสิตา ความว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่า

ยินดีแล้ว. บทว่า เชตฺวา มาร สวาหน ได้แก่ ชนะมารกับทั้งกองทัพ

อยู่แล้ว. บทว่า เต อเนชา ความว่า พระขีณาสพเหล่านั้น ไม่หวาดหวั่น

ด้วยความหวาดหวั่นคือตัณหา ชื่อว่า ไม่หวั่นไหว. บทว่า นมุจิพล แปลว่า

พลของมาร. บทว่า อุปาติวตฺตา แปลว่า ก้าวล่วง. บทว่า เต สุขิตา

ได้แก่ พระขีณาสพเหล่านั้น ชื่อว่าความสุขด้วยโลกุตรสุข. ด้วยเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า

พระอรหันตทั้งหลายสุขจริงหนอ

ท่านไม่มีตัณหา ถอนอัสมิมานะได้เด็ดขาด

แล้ว ทำลายข่ายคือโมหะเสียแล้ว ดังนี้.

จบอรรถกถาปธานสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 41

๔. สังวรสูตร

ว่าด้วยความเพียร ๔

[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) ๔ นี้ ปธาน ๔

คืออะไร คือ สังวรปธาน (เพียรระวัง) ปหานปธาน (เพียรละ) ภาวนาปธาน

(เพียรบำเพ็ญ) อนุรักขนาปธาน (เพียรตามรักษาไว้)

สังวรปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้ว

ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะ

ด้วยกายแล้ว รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอา

โดยอนุพยัญชนะ อภิชฌาโทมนัส ธรรมทั้งหลายที่เป็นบาปเป็นอกุศล จะพึง

ไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเหตุ

ความไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้น

เสียซึ่งอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันนั้น รักษาอินทรีย์ คือ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถึงความสำรวมในอินทรีย์ คือตา หู จมูก ลิ้น

กาย ใจ นี้เรียกว่า สังวรปธาน.

ปหานปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่รับเอากามวิตก

พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นไว้ ละเสีย ถ่ายถอนเสีย ทำให้สิ้นไป

ให้หายไปเสีย นี้เรียกว่า ปหานปธาน.

ภาวนาปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เจริญสัมโพชฌงค์

คือ สติ ธรรมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา อันอิงวิเวก

อิงวิราคะ อิงนิโรธ น้อมไปในทางสละ นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 42

อนุรักขนาปธานเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ตามรักษา

สมาธินิมิตอันงามที่เกิดขึ้นแล้ว คือ อัฏฐิกสัญญา (ความสำคัญในศพที่เหลือ

แต่กระดูก) ปุฬุวกสัญญา (ความสำคัญในศพที่มีหนอนคลาคล่ำ) วินีลกสัญญา

(ความสำคัญในศพที่มีสีเขียวคล้ำ) วิปุพพกสัญญา (ความสำคัญในศพที่มี

น้ำเหลืองไหล) วิจฉิททกสัญญา (ความสำคัญในศพที่ฉีกขาด) อุทธุมาตก-

สัญญา (ความสำคัญในศพที่ขึ้นพอง) นี้เรียกว่า อนุรักขนาปธาน.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปธาน ๔

สังวรปธาน ๑ ปหานปธาน ๑ ภาวนา-

ปธาน ๑ อนุรักขนาปธาน ๑ ปธาน ๔ นี้

พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ทรง

แสดงไว้เป็นเครื่องให้ภิกษุผู้มีความเพียร

ในพระศาสนานี้บรรลุถึงความสิ้นทุกข์.

จบสังวรสูตรที่ ๔

อรรถกถาสังวรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังวรสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

ความเพียร ชื่อ ปธาน. ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้สำรวมจักษุเป็นต้น

ชื่อสังวรปธาน. ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้ละกามวิตกเป็นต้น ชื่อปหานปธาน.

ความเพียรที่เกิดขึ้นแก่ผู้เจริญสัมโพชฌงค์ ชื่อภาวนาปธาน. ความเพียรที่

เกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ตามรักษาสมาธินิมิต ชื่ออนุรักขนาปธาน. ในบทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 43

วิเวกนิสฺสิต เป็นอาทิ มีวินิจฉัยดังนี้ แม้บททั้ง ๓ คือ วิเวก วิราคะ นิโรธ

เป็นชื่อของนิพพาน. แท้จริงนิพพาน ชื่อวิเวก เพราะสงัดจากอุปธิ ชื่อ

วิราคะ เพราะราคะเป็นต้นอาศัยนิพพานนั้น จึงคลายไป. ชื่อนิโรธ เพราะ

ราคะเป็นต้นอาศัยนิพพานนั้น ก็ดับไป เพราะฉะนั้น ในบทว่า วิเวกนิสฺสิต

เป็นอาทิ จึงมีความว่า อาศัยนิพพานโดยเป็นอารมณ์บ้าง โดยเป็นธรรมที่พึง

บรรลุบ้าง.

ในบทว่า โวสฺสคฺคปริณามึ นี้ โวสสัคคะมี ๒ คือ ปริจจาค-

โวสสัคคะ ๑ ปักขันทนโวสสัคคะ ๑. ในสองอย่างนั้น วิปัสสนาชื่อ

ปริจจาคโวสสัคคะ เพราะสละราคะในกิเลสและขันธ์ ด้วยอำนาจตทังค-

ปหาน มรรค ชื่อปักขันทนโวสสัคคะ เพราะแล่นไปสู่นิพพานด้วยอำนาจ

อารมณ์. เพราะฉะนั้น ในบทว่า โวสฺสคฺคปริณามึ นี้ จึงมีเนื้อความดังนี้ว่า

สติสัมโพชฌงค์ ที่ภิกษุเจริญอยู่โดยประการใด ย่อมน้อมไปเพื่อสละ ย่อมถึง

วิปัสสนาภาวนา และมัคคภาวนา ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์นั้น โดย

ประการ นั้น แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. บทว่า ภทฺทก ได้แก่ ที่ได้แล้ว.

สมาธิที่ได้แล้ว ด้วยอำนาจอัฏฐิกสัญญาเป็นต้น เรียกว่า สมาธินิมิต. บทว่า

อนุรกฺขติ ได้แก่ ทำราคะ โทสะ โมหะ ซึ่งเป็นธรรมอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ

ให้เหือดแห้งไปรักษาไว้. ก็สัญญา ๕ มีอัฏฐิกสัญญาเป็นต้น ตรัสไว้ในข้อนี้

แต่ในที่นี้ พึงกล่าวอสุภสัญญา ๑๐ ให้พิสดารด้วย. ความพิสดารของอสุภสัญญา

นั้น กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค.

ในคาถา ท่านกล่าวความเพียรอย่างเดียวที่ให้สำเร็จสังวรเป็นต้น

โดยชื่อว่า สังวร. บทว่า ขย ทุกฺขสฺส ปาปุเณ คือพึงบรรลุพระอรหัต

กล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นทุกข์.

จบอรรถกถาสังวรสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 44

๕. บัญญัตติสูตร

ว่าด้วยอัครบัญญัติ ๔

[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัครบัญญัติ (บัญญัติกันว่าเยี่ยมยอด)

๔ นี้ อัครบัญญัติ ๔ คืออะไร คือ ที่เยี่ยมยอดทางอัตภาพ (ตัวใหญ่ที่สุด)

ได้แก่อสุรินทราหู ที่เยี่ยมยอดทางบริโภคกาม ได้แก่พระเจ้ามันธาตุ ที่เยี่ยม

ยอดทางเป็นเจ้าเป็นใหญ่ ได้แก่มารผู้มีบาป พระตถาคตอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ปราชญ์กล่าวว่าเยี่ยมยอด ในโลกทั้งเทวโลกทั้งมารโลกทั้งพรหมโลก

ในหมู่สัตว์ทั้งเทวดามนุษย์ รวมทั้งสมณพราหมณ์ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล

อัครบัญญัติ ๔.

ราหูเป็นเยี่ยมทางอัตภาพ พระเจ้า

มันธาตุเป็นเยี่ยมทางบริโภคกาม มารผู้

รุ่งเรื่องด้วยฤทธิ์ด้วยยศ เป็นเยี่ยมในทาง

เป็นใหญ่ พระพุทธเจ้า ปราชญ์กล่าวว่า

เป็นเยี่ยมยอดแห่งสัตว์โลกทั้งเทวดา ทั้ง

เบื้องสูง ท่ามกลาง เบื้องต่ำ ทุกภูมิโลก.

จบบัญญัตติสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 45

อรรถกถาบัญญัตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัญญัติสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อคฺคปญฺตฺติโย ได้แก่ การบัญญัติสูงสุด. บทว่า อตฺต-

ภาวีน ได้แก่ มีอัตภาพทั้งหลาย. บทว่า ยทิท ราหุ อสุรินฺโท ได้แก่

อสุรินทราหูนี้ ชื่อว่าเป็นยอด. ได้ยินว่า ในข้อนี้ อสุรินทราหูสูง ๔,๘๐๐

โยชน์. ที่ระหว่างแขนของเขา ๑,๒๐๐ โยชน์. ฝ่ามือและฝ่าเท้าหนา ๓๐๐ โยชน์.

ข้อนิ้วมือ ๕๐ โยชน์. ที่ระหว่างคิ้วของเขา ๕๐ โยชน์. หน้าผาก ๓๐๐ โยชน์

ศีรษะ ๙๐๐ โยชน์.

บทว่า กามโภคีน ยทิท ราชา มนฺธาตา ความว่า พระเจ้า

มันธาตุนี้ ชื่อว่าเป็นยอดของสัตว์ผู้บริโภคกามทั้งที่เป็นของทิพย์ทั้งที่เป็นของ

มนุษย์ จริงอยู่ พระเจ้ามันธาตุนั้น เกิดในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีอายุอสงไขยหนึ่ง

บันดาลให้ฝนตกเป็นเงิน ในขณะที่ปรารถนา ๆ บริโภคกามที่เป็นของหมู่มนุษย์

เป็นเวลาช้านาน ส่วนในเทวโลก ก็บริโภคกามอันประณีต ตลอดอายุ

พระอินทร์ ๓๖ พระองค์ เพราะฉะนั้น ท้าวเธอจึงชื่อว่า เป็นยอดของผู้

บริโภคกามทั้งหลาย. บทว่า อาธิปเตยฺยาน ความว่า แห่งบรรดาผู้ครอง

ตำแหน่งอธิบดี ตำแหน่งหัวหน้า. บทว่า ตถาคโต อคฺคมกฺขายติ ความว่า

ปราชญ์เรียกตถาคตว่าเลิศประเสริฐสูงสุด โดยคุณทีเป็นโลกิยะและโลกุตระ.

บทว่า อิทฺธิยา ยสสา ชล ความว่า ผู้รุ่งเรื่องด้วยความสำเร็จ

แห่งทิพยสมบัติ และด้วยยศกล่าวคือบริวาร. บทว่า อุทฺธ ติริย อปาจีน

ได้แก่ ในเบื้องบน เบื้องกลาง เบื้องต่ำ. บทว่า ยาวตา ชคโต คติ ได้แก่

ภูมิสำเร็จแห่งโลกเพียงใด.

จบอรรถกถาบัญญัตติสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 46

๖. โสขุมมสูตร

ว่าด้วยญาณเป็นเครื่องแทงตลอดลักษณะอันละเอียด ๔ ประการ

[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ญาณเป็นเครื่องแทงตลอดลักษณะอัน-

ละเอียด ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้ประกอบด้วยญาณอันกำหนดรู้ลักษณะอันละเอียดในรูป

อย่างยิ่ง ย่อมไม่พิจารณาเห็นญาณอันกำหนดรู้ลักษณะอันละเอียดในรูปอื่น

ซึ่งยิ่งกว่าหรือประณีตกว่าญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปนั้น

และไม่ปรารถนาญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปอื่น อันยิ่งกว่า

หรือประณีตกว่าญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดในรูปนั้น.

๒. เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดใน

เวทนา...

๓. เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดใน

สัญญา...

๔. เป็นผู้ประกอบด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียดใน

สังขาร...

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ญาณเป็นเครื่องกำหนดลักษณะอันละเอียด ๔

ประการนี้แล.

ภิกษุใดรู้ความสุขุมในรูปขันธ์ และ

รู้ความเกิดแห่งเวทนาทั้งหลาย รู้ความเกิด

และความดับแห่งสัญญา รู้สังขารทั้งหลาย

โดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์และ

โดยความไม่ใช่ตน ภิกษุนั้นชื่อว่า ผู้เห็น

ชอบ ผู้สงบแล้ว ยินดีแล้วในสันติบท

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 47

ทรงไว้ซึ่งร่างกายอันมีในที่สุด ชนะมาร

กับทั้งพลพาหนะมารแล้ว.

จบโสขุมมสูตรที่ ๖

อรรถกถาโสขุมมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโสขุมมสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โสขุมฺมานิ ได้แก่ ญาณที่เป็นเครื่องแทงสุขุมลักษณะได้

ตลอด. บทว่า รูปโสขุมฺเมน สมนฺนาคโต โหติ ได้แก่ เป็นผู้ประกอบ-

ด้วยญาณที่กำหนดรู้ลักษณะสุขุมอันละเอียดในรูป. บทว่า ปรเมน ได้แก่

สูงสุด. บทว่า เตน จ รูปโสขุมฺเมน ความว่า ด้วยญาณที่กำหนดรู้

สุขุมลักษณะจนถึงอนุโลมญาณนั้น. บทว่า น สมนุปสฺสติ ได้แก่

ไม่พิจารณาเห็นโดยความไม่มี. บทว่า น ปฏิเติ ได้แก่ ไม่ปรารถนา

โดยความไม่มี. แม้ในเวทนาที่สุขุมเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า รูปโสขุมฺมต ตฺวา ความว่า ภิกษุรู้ความที่รูปขันธ์เป็น

ของสุขุมด้วยญาณเป็นเครื่องกำหนดสุขุมลักษณะที่ละเอียด. บทว่า เวทนา-

นญฺวิ สมฺภว ความว่า รู้ถึงแดนเกิดแห่งเวทนาขันธ์. บทว่า สญฺา

ยโต สมุเทติ ความว่า รู้เหตุที่สัญญาขันธ์เกิดคือบังเกิด. บทว่า อตฺถ-

คจฺฉติ ยตฺถ จ ความว่า รู้ถึงที่สัญญาขันธ์ดับ. บทว่า สงฺขาเร ปรโต

ตฺวา ความว่า รู้ถึงสังขารขันธ์แปรเป็นอย่างอื่น โดยสภาพชำรุด เพราะ

เป็นของไม่เที่ยง. ก็อนิจจานุปัสสนาตรัสด้วยบทนี้. ตรัสทุกขานุปัสสนา และ

อนัตตานุปัสสนาด้วยบทนี้ว่า ทุกฺขโต โน จ อตฺตโต. บทว่า สนฺโต

ความว่า ชื่อว่าสงบ เพราะกิเลสสงบ. บทว่า สนฺติปเท รโต ได้แก่

ยินดีในนิพพาน. ในสูตรนี้ ตรัสวิปัสสนาในฐานะ ๔ เท่านั้น ในคาถาตรัส

โลกุตรธรรมด้วยแล.

จบอรรถกถาโสขุมมสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 48

๗. ปฐมอคติสูตร

ว่าด้วยความลำเอียง ๔

[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความลำเอียง ๔ ประการนี้ ความลำเอียง

๔ คืออะไร คือลำเอียงเพราะชอบกัน ลำเอียงเพราะชังกัน ลำเอียงเพราะเขลา

ลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุทั้งหลาย นี้แลความลำเอียง ๔ ประการ

บุคคลใดประพฤติล่วงธรรม เพราะ

ความชอบกัน เพราะความชังกัน เพราะ

ความกลัว เพราะความเขลา ยศของบุคคล

นั้นย่อมเสื่อม เหมือนดวงจันทร์ข้างแรม

ฉะนั้น.

จบปฐมอคติสูตรที่ ๗

อรรถกาปฐมอคติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอคติสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อคติคมนานิ ได้แก่ ความลำเอียง. บทว่า ฉนฺทาคตึ

คจฺฉติ ความว่า บุคคลลำเอียงเพราะชอบกัน คือทำสิ่งที่ไม่ควรทำ. แม้ใน

บทที่เหลือก็นัยนี้แล.

บทว่า ฉนฺทา โทสา ภยา โมหา ความว่า บุคคลลำเอียง

เพราะชอบกัน เพราะชังกัน เพราะกลัว เพราะเขลา. บทว่า อติวตฺตติ

ได้แก่ ละเมิดธรรม.

จบอรรถกถาปฐมอคติสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 49

๘. ทุติยอคติสูตร

ว่าด้วยความลำเอียง ๔

[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่ลำเอียง ๔ ประการนี้ ความ

ไม่ลำเอียง ๔ คืออะไร คือไม่ลำเอียงเพราะชอบกัน ไม่ลำเอียงเพราะชังกัน

ไม่ลำเอียงเพราะเขลา ไม่ลำเอียงเพราะกลัว ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ความไม่ลำเอียง

๔ ประการ.

บุคคลใดไม่ประพฤติล่วงธรรม

เพราะความชอบกัน เพราะความชังกัน

เพราะความกลัว เพราะความเขลา ยศของ

บุคคลนั้นย่อมเพิ่มพูน เหมือนดวงจันทร์

ข้างขึ้น ฉะนั้น.

จบทุติยอคติสูตรที่ ๘

ทุติยอคติสูตรที่ ๘ ง่ายทั้งนั้น.

๙. ตติยอดติสูตร

ว่าด้วยความลำเอียงและความไม่ลำเอียง

[๑๙] สูตรนี้ นำเอาสูตร ๑๗, ๑๘ มารวมเข้าเป็นสูตรเดียว

ความเหมือน ๒ สูตรนั้นทุกประการ.

จบตติยอคติสูตรที่ ๙

ตติยอคติสูตรที่ ๙ ตรัสด้วยนัยทั้งสองด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้ตรัสรู้

เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 50

๑๐. ภัตตุเทสกสูตร

ว่าด้วยพระภัตตุเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๔

[๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสก์ ประกอบด้วยธรรม

ประการ ย่อมอุบัติในนรก เหมือนเขานำตัวไปขังไว้ฉะนั้น ธรรม ๔ ประการ

คืออะไร คือ ลำเอียงเพราะชอบกัน ลำเอียงเพราะชังกัน ลำเอียงเพราะเขลา

ลำเอียงเพราะกลัว พระภัตตุทเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อม

อุบัติในนรก เหมือนเขานำตัวไปขังไว้ฉะนั้น

ภิกษุทั้งหลาย พระภัตตุทเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม

อุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น ธรรม ๔ ประการ

คืออะไร คือ ไม่ลำเอียงเพราะชอบกัน ไม่ลำเอียงเพราะชังกัน ไม่ลำเอียง

เพราะเขลา ไม่ลำเอียงเพราะกลัว พระภัตตุทเทสก์ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

นี้แล ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น

ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ไม่สำรวมใน

กามทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ประกอบด้วยธรรม

ไม่เคารพธรรม ลำเอียงเพราะชอบกัน

เพราะชังกัน และเพราะกลัว นั่นเราเรียกว่า

ผู้เป็นหยากเยื่อในบริษัทพระสมณะผู้รู้ตรัส

ไว้อย่างนี้แล.

เพราะเหตุนั้น ชนเหล่าใดตั้งอยู่ใน

ธรรม ไม่ทำความชั่ว ไม่ลำเอียงเพราะ

ชอบกัน ซึ่งกัน และไม่ลำเอียงเพราะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 51

ความกลัว ชนเหล่านั้น เป็นสัตบุรุษ

ควรสรรเสริญ นั่นเราเรียกว่า เป็นผู้ผุด-

ผ่องในบริษัท พระสมณะผู้รู้ตรัสไว้อย่าง

นี้แล.

จบภัตตุเทสกสูตรที่ ๑๐

จบจรวรรคที่ ๒

อรรถกถาภัตตุเทสกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภัตตุเทสกสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภตฺตุทฺเทสโก ได้แก่ ภิกษุผู้แจกสลากภัตเป็นต้น . บทว่า

กาเมสุ อสญฺตา ความว่า เหล่าชนผู้มีกิเลสกามไม่สำรวมในวัตถุกาม

ทั้งหลาย. บทว่า ปริสกสาโว จ ปเนส วุจฺจติ ความว่า บริษัทเห็น

ปานนี้ เรียกชื่อว่า หยากเยื่อในบริษัท. บทว่า สมเณน ได้แก่ พระ-

พุทธสมณะผู้รู้. บทว่า ปริสาย มณฺโฑ จ ปเนส วุจฺจติ ความว่า

บริษัทเห็นปานนี้ เรียกว่า เป็นผู้ผ่องใสในบริษัท เพราะความผ่องใส.

จบอรรถกถาภัตตุเทสกสูตรที่ ๑๐

จบจรวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จารสูตร ๒. สีลสูตร ๓. ปธานสูตร ๔. สังวรสูตร

๕. ปัญญัตติสูตร ๖. โสขุมมสูตร ๗. ปฐมอคติสูตร ๘. ทุติยอคติสูตร

๙. ตติยอคติสูตร ๑๐. ภัตตุเทสกสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 52

อุรุเรลวรรคที่ ๓

๑. ปฐมอุรุเวลสูตร

ว่าด้วยคนไม่มีที่เคารพไม่มีที่ยำเกรงอยู่เป็นทุกข์

[๒๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อครั้งแรกตรัสรู้ เราพักอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ แทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา

ตำบลอุรุเวลา เมื่อเราเร้นอยู่ในที่สงัด เกิดปริวิตกขึ้นว่า คนไม่มีที่เคารพ

ไม่มีที่ยำเกรงอยู่เป็นทุกข์ เราจะพึงสักการะ เคารพ พึ่งพิงสมณะหรือ

พราหมณ์ผู้ใดอยู่เล่าหนอ เราตรองเห็นว่า เราจะพึงสักการะเคารพพึ่งพิงสมณะ

หรือพราหมณ์อื่นอยู่ ก็เพื่อทำสีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์

ของเราที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ ก็แต่ว่าเราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์อื่น

ที่ถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติยิ่งกว่าตนในโลกทั้งเทวโลก ทั้งมาร-

โลก ทั้งพรหมโลก ในหมู่สัตว์ทั้งเทวดามนุษย์ ทั้งสมณพราหมณ์ ซึ่งเรา

จะพึงสักการะเคารพพึ่งพิงอยู่ได้ดังนี้แล้ว เราตกลงใจว่า อย่ากระนั้นเลย ธรรม

ใดที่เราตรัสรู้นี้ เราพึงสักการะเคารพพึ่งพิงธรรมนั้นอยู่เถิด.

ภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นสหัมบดีพรหมรู้ความปริวิตกของเราด้วยใจ

(ของตน) แล้ว หายไปจากพรหมโลกมาปรากฏตัวต่อหน้าเรา (รวดเร็ว)

ประดุจบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เยียด ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 53

ครั้นแล้วสหัมบดีพรหมทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง คุกเข่าข้างขวาลงที่พื้นดิน

ประคองอัญชลีตรงมาทางเรา กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อที่

พระองค์ทรงตกลงพระหฤทัยนั้นถูกแล้ว ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้อที่พระองค์

ทรงตกลงพระหฤทัยนั้นชอบแล้ว พระอรหันตสัมมาสัมพุทธะแม้เหล่าใดที่มีมา

แล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เหล่านั้น ก็ได้ทรงสักการะเคารพ

พึ่งพิงพระธรรมอยู่เหมือนกัน พระอรหันตสัมมาสมพุทธะแม้เหล่าใดที่จักมีใน

อนาคตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เหล่านั้น ก็จักทรงสักการะเคารพพึ่งพิง

พระธรรมนั่นแลอยู่ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธะในกาลบัดนี้

ก็ขอจงทรงสักการะเคารพพึ่งพิงพระธรรมนั้นอยู่เถิด สหัมบดีพรพมได้กล่าว

คำนี้แล้ว จึงกล่าวคำประพันธ์นี้ อีกว่า

พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใดที่ล่วงไป

แล้วก็ดี พระพุทธเจ่าเหล่าใดที่ยังไม่มาถึง

ก็ดี พระสัมพุธเจ้าพระองค์ใดผู้ยังความ

โศกของชนเป็นอันมากให้เสื่อมหายใน

ปัจจุบันนี้ก็ดี พระพุทะเจ้าทั้งปวงนั้นเป็น

ผู้ทรงเคารพพระสัทธรรมแล้ว ทรงเคารพ

พระสัทธรรมอยู่ และจักทรงเคารพพระ-

สัทธรรม นี่เป็นธรรมดาของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย.

เพราะเหตุนั้นแล ผู้รักตน จำนง

ความเป็นใหญ่ ระลึกถึงคำสั่งสอนของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึงเคารพพระสัท-

ธรรมเถิด.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 54

ภิกษุทั้งหลาย สหัมบเพรหมกล่าวคำประพันธ์นี้แล้วอภิวาทเราทำ

ประทักษิณแล้วหายไปในที่นั้นแล

ครั้งนั้น เราแจ้งว่า พรหมวิงวอนและรู้ภาวะอันสมควรแก่ตนแล้ว

ธรรมใดที่เราได้ตรัสรู้แล้ว เราก็สักการะเคารพพึ่งพิงธรรมนั้นอยู่มา ก็แต่ว่า

เมื่อใด แม้สงฆ์ถึงพร้อมด้วยความใหญ่แล้ว เมื่อนั้นเราจะเคารพในสงฆ์ด้วย.

จมปฐมอุรุเวลสูตรที่ ๑

อรุเวลวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาอุรุเวลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุรุเวลสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุรุเวลา ในบทว่า อุรุเวลาย นี้ ได้แก่เขตทรายกองใหญ่

อธิบายว่า ทรายกองใหญ่. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้อย่างนี้ว่า

ทราบเรียกว่าอุรุ เขตแดนเรียกว่าเวลา. ทรายที่เขาขนมาเพราะละเมิดกติกา

เป็นเหตุ ชื่อว่าอุรุเวลา. ได้ยินว่า ในอดีตกาล เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ

กุลบุตรหมื่นคนบวชเป็นดาบสอยู่ในประเทศนั้น ในวันหนึ่ง ประชุมพร้อม

กันแล้งได้ตั้งกติกากันว่า ชื่อว่ากายกรรม วจีกรรม ย่อมปรากฏแก่ชนเหล่าอื่น

ได้ ส่วนมโนกรรมไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น บุคคลใดตรึกถึงกามวิตก พยาบาท-

วิตก หรือวิหิงสาวิตก. บุคคลอื่นชื่อว่า จะตักเตือนบุคคลนั้นไม่มี บุคคลนั้น

ตักเตือนตนด้วยตนเองแล้ว เอาใบไม้ห่อทรายนำมาเกลี่ยลงในที่นี้. นี้จัดเป็น

ทัณฑกรรมของบุคคลนั้น. ตั้งแต่นั้นมา ผู้ใดตรึกวิตกเช่นนั้น ผู้นั้นเอาใบไม้

ห่อทรายมารเกลี่ยลงในที่นั้น จึงเกิดเป็นกองทรายใหญ่ โดยลำดับในที่นั้น

ด้วยประการฉะนี้ ต่อมา หมู่คนที่เกิดในภายหลัง จึงล้อมกองทรายใหญ่นั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 55

ทำให้เป็นเจติยสถาน ท่านหมายถึงเจติยสถานนั้น จึงกล่าวว่า อุรุเวลาติ

มหาเวลา มหาวาลิการาสีติ อตฺโถ ดังนี้ ท่านหมายถึงข้อนั้นเอง จึง

กล่าวไว้ อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้อย่างนี้ว่า ทรายเรียกว่า อุรุ

เขตแดนเรียกว่าเวลา ทรายที่เขานำมาเพราะเหตุละเมิดกติกาเป็นเหตุ ชื่อ

อุรุเวลา.

ด้วยบทว่า นชฺชา เนรญฺชราย ตีเร ทรงแสดงว่า เราอาศัย

อุรุเวลคามพักอยู่ แทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา. บทว่า อชปาลนิโคฺรเธ ความว่า

พวกคนเลี้ยงแพะนั่งบ้าง ยืนบ้าง ในร่มเงาของต้นนิโครธนั้น เพราะเหตุนั้น

ต้นนิโครธนั้น จึงเรียกว่า อชปาลนิโครธ. อธิบายว่า ภายใต้ต้นอชปาล-

นิโครธนั้น.

บทว่า ปมาภิสมฺพุทฺโธ ความว่า เป็นผู้ตรัสรู้ครั้งแรก. บทว่า

อุทปาทิ ความว่า วิตกนี้เกิดในสัปดาห์ที่ ๕ ถามว่า เพราะเหตุไร จึงเกิดขึ้น.

ตอบว่า เพราะเป็นอาจิณปฏิบัติ และอาเสวนปัจจัยชาติก่อน ของพระพุทธเจ้า

ทุกพระองค์ ในเหตุข้อนั้น พึงนำติดติรชาดกมาแสดงเพื่อประกาศอาเสวนะ

การส้องเสพในชาติก่อน ได้ยินว่า นกกระทา ลิง และช้าง เมื่ออยู่ในประเทศ

แห่งหนึ่ง จึงแสดงต้นไทรว่า บรรดาพวกเรา ผู้ใดเป็นผู้แก่ เราทั้งหลายจัก

เคารพในผู้นั้นอยู่. ทบทวนกันอยู่ว่า บรรดาพวกเราใครหนอเป็นผู้แก่. รู้ว่า

นกกระทาเป็นผู้แก่ จึงทำความอ่อนน้อมต่อนกกระทำนั้น เป็นผู้พร้อมเพรียง

ยินดีกะกันและกันอยู่. ก็ได้มีสวรรค์เป็นเบื้องหน้า. เทวดาผู้สถิตอยู่ ณ ต้นไม้

ทราบเหตุนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า.

เย วุฑฺฒมปจายนฺต นรา ธมฺมสฺส โกวิทา

ทิฏฺเ ธมฺเม จ ปาสสา สมฺปราเย จ สุคฺคติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 56

นรชนเหล่าใด ฉลาดในธรรม ย่อม

อ่อนน้อมผู้ใหญ่ นรชนเหล่านั้นได้รับ

สรรเสริญในโลกนี้ และในสัมปรายภพ

ก็มีสุคติ ดังนี้.

พระตถาคตแม้เกิดในกำเนิดอเหตุกดิรัจฉานอย่างนี้ ยังทรงชอบ

พระทัยการอยู่อย่างมีความเคารพ บัดนี้ เหตุไรจักไม่ทรงชอบพระทัยเล่า.

บทว่า อคารโว คือเว้น ความเคารพในบุคคลอื่น. อธิบายว่า ไม่ตั้งใครไว้

ในฐานะควรเคารพ. บทว่า อปฺปติสฺโส คือเว้น ความยำเกรง อธิบายว่า

ไม่ทั้งใครไว้ในฐานะผู้ใหญ่. ในบทว่า สมณ วา พฺรหฺมณ วา นี้ ท่าน

ประสงค์เอาสมณะและพราหมณ์ผู้สงบบาป และผู้ลอยบาปแล้วเท่านั้น.

บทว่า สกฺกตฺวา ครุกตฺวา ความว่า ทำสักการะและเข้าไปตั้ง

ความเคารพ. ในบทว่า สเทวเก โลเก เป็นอาทิ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้

สเทวกะ แปลว่า พร้อมกับเทวดาทั้งหลาย ก็บรรดามารและพรหมทั้งหลาย

ที่ทรงถือเอาด้วยเทวศัพท์ในบทนี้ ชื่อว่า มาร ผู้มีอำนาจย่อมใช้อำนาจเหนือ

สัตว์ทั้งปวง ชื่อว่า ท้าวมหาพรหมผู้มีอานุภาพใหญ่ ย่อมแผ่แสงสว่างไปใน

หนึ่งจักรวาลด้วยนิ้วหนึ่ง ในสองจักรวาลด้วยสองนิ้ว ย่อมแผ่แสงสว่างไปใน

หมื่นจักรวาลด้วยนิ้วทั้ง ๑๐ จึงแยกตรัสว่า สมารเก สพฺรหฺมเก ด้วย

ดำริว่า ชนทั้งหลาย อย่าได้กล่าวว่าผู้นั้นเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์กว่าด้วยศีลนี้.

ชื่อว่า สมณะทั้งหลายก็เหมือนกันเป็นพหูสูต ด้วยอำนาจนิกายหนึ่งเป็นต้น

มีศีลเป็นบัณฑิต. แม้พราหมณ์ทั้งหลาย เป็นพหูสูต ด้วยอำนาจวิชารู้พื้นที่

เป็นต้น เป็นบัณฑิต จึงตรัสว่า สสฺสมณพฺราหฺมณิยา ปชาย ด้วยทรง

ดำริว่า ชนทั้งหลาย อย่าได้กล่าวว่าสมณะและพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้มีศีล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 57

สมบูรณ์กว่า ด้วยศีลนี้. ส่วนบทว่า สเทวมนุสฺสาย นี้ทรงถือเอาเพื่อทรง

แสดงโดยสิ้นเชิง ครั้นทรงถือเอาแล้วจึงตรัส อนึ่ง ในคำนี้ สามบทแรกตรัส

ด้วยอำนาจโลก สองบทหลังตรัสด้วยอำนาจหมู่สัตว์. บทว่า สีลสมฺปนฺนตร

ความว่า ผู้สมบูรณ์กว่า คือผู้ยิ่งกว่าด้วยศีล. ก็ในข้อนี้ ธรรม ๔ มีศีลเป็นต้น

ตรัสทั้งโลกิยะทั้งโลกุตระ.

วิมุตติญาณทัสสนะ และปัจจเวกขณญาณ เป็นโลกิยะอย่างเดียว.

บทว่า ปาตุรโหสิ ความว่า สหัมบดีพรหม คิดว่า พระศาสดานี้ เมื่อไม่

ทรงเห็นผู้ที่ยิ่งกว่าพระองค์ด้วยศีลเป็นต้น ตั้งแต่อเวจีจนถึงภวัคคพรหม ทรง

ดำริว่า เราจักทำสักการะโลกุตรธรรม ๙ ที่เราแทงตลอดแล้วเข้าอาศัยอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริถึงเหตุ ทรงดำริถึงประโยชน์ คุณวุฒิพิเศษ

จำเราจักไป ทำอุตสาหะให้เกิดแด่พระองค์ ดังนี้ จึงได้ปรากฏ ณ เบื้อง

พระพักตร์. อธิบายว่า ได้ยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์. ในบทว่า วิหสุ วิหรนฺติ จ

นี้พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ผู้ใดพึงกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นอันมาก

แม้ในปัจจุบัน เพราะพระบาลีว่า วิหรนฺติ ดังนี้ ผู้นั้นพึงถูกคัดค้าน ด้วย

บาลีนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงเป็นพระ-

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ดังนี้. พึงแสดงความไม่มีพระพุทธะทั้งหลาย

อื่นแก่ผู้นั้นด้วยสูตรทั้งหลายเป็นอาทิว่า

น เม อาจริโย อตฺถิ สทิโส เม น วิชฺชติ

สเทวกสฺมึ โลกสฺมึ นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล

เราไม่มีอาจารย์ ไม่มีคนเสมือนเรา

คนที่จะเทียบเราไม่มีในโลก ทั้งเทวโลก.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าทุกพระองค์จึงทรงเคารพ

พระสัทธรรม บทว่า มหตฺตมภิกงฺขตา ความว่า ปรารถนาความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 58

เป็นใหญ่. บทว่า สร พุทฺธาน สาสน ความว่า เมื่อมาระลึกถึงศำสอน

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทว่า ยโต แปลว่า ในกาลใด. บทว่า มหตฺเตน

สมนฺนาคโต ความว่า แม้สงฆ์ประกอบด้วยความเป็นใหญ่ ๔ อย่างนี้ คือ

ความเป็นใหญ่โดยเป็นรัตตัญญู รู้ราตรีนาน ๑ ความเป็นใหญ่โดยความ

ไพบูลย์ ๑ ความเป็นใหญ่โดยพรหมจรรย์ ๑ ความเป็นใหญ่โดยความเป็นผู้

เลิศด้วยลาภ ๑. บทว่า อถ เม สงฺเฆปิ คารโว ความว่า เมื่อนั้นเราก็เกิด

ความเคารพแม้ในสงฆ์. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำความเคารพใน

สงฆ์ในเวลาไร ตอบว่า ในเวลาพระนางประชาบดีถวายผ้าคู่ จริงอยู่ ในเวลา

นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสถึงผ้าคู่ ที่พระนางมหาปชาบดีน้อมเข้าไป

ถวายแด่พระองค์ว่า โคตมี พระนางจงถวายในสงฆ์เถิด เมื่อพระนางถวายในสงฆ์

แล้ว ทั้งเราทั้งสงฆ์ก็จักเป็นอันพระนางบูชาแล้ว ชื่อว่าทรงทำความเคารพในสงฆ์.

จบอรรถกถาอุรุเวลสูตรที่ ๑

๒. ทุติยอุรุเวลสูตร

ว่าด้วยเถรกรณธรรม ๔

[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อครั้งแรกตรัสรู้ เราพักอยู่ที่ต้น

อชปาลนิโครธ แทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้นพราหมณ์

หลายคน แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงมัชฌิมวัยถึงปัจฉิมวัยแล้ว เข้าไปหาเราครั้น

ไปถึงแล้วแสดงความชื่นชมกับเรา กล่าวถ้อยคำอันทำให้เกิดความยินดีต่อกัน

เป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง พากันกล่าวกะเราว่า ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระเจ้าทั้งหลายได้ยินมาอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมไม่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 59

ไหว้บ้าง ไม่ลุกรับบ้าง ไม่เชื้อเชิญด้วยอาสนะบ้าง ซึ่งพราหมณ์ทั้งหลาย

ผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงมัชฌิมวัยถึงปัจฉิมวัยแล้ว ดังนี้ ความข้อนี้ก็เป็นอย่าง

เขาว่า พระโคดมผู้เจริญ ไม่ไหว้ด้วย ไม่ลุกรับด้วย ไม่เชื้อเชิญมาด้วยอาสนะ

ด้วย ซึ่งพราหมณ์ทั้งหลายผู้แก่เฒ่าเป็นผู้ใหญ่ล่วงมัชฌิมวัยถึงปัจฉิมวัยแล้ว

จริง ๆ ข้อนี้เป็นความบกพร่องแท้เทียว พระโคดมผู้เจริญ.

ภิกษุทั้งหลาย เราเห็นว่าท่านเหล่านี้ไม่รู้จักเถระ (คือผู้หลักผู้ใหญ่)

หรือเถรกรณธรรม (ธรรมอันทำให้เป็นเถระ) บุคคลแม้หากเป็นผู้เฒ่าอายุถึง

๘ ปี หรือ ๙๐ ปี หรือ ๑๐๐ ปีก็ตาม แต่เป็นอกาลวาที (พูดไม่ถูกกาละ)

อภูตวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นจริง) อนัตถวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์)

อธัมมวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นธรรม) อวินยวาที (พูดสิ่งที่ไม่เป็นวินัย) กล่าว

ถ้อยคำอันไม่น่าจดจำ พร่ำเพรื่อ เหลวแหลก ไม่มีขอบเขต ประกอบ

ด้วยเรื่องอัน ไม่ต้องการ บุคคลนั้นนับว่า เถระพาล (ผู้ใหญ่โง่) แท้แล

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลแม้หากเป็นเด็กรุ่นหนุ่มผมยังดำ อยู่ในวัยอัน

เจริญคือปฐมวัย แต่ว่าเป็นกาลวาที (พูดถูกกาละ) ภูตวาที (พูดสิ่งที่เป็นจริง)

อัตถวาที (พูดเป็นประโยชน์) ธัมมวาที (พูดเป็นธรรม) วินยวาที (พูด

เป็นวินัย) กล่าวถ้อยคำน่าจดจำ ไม่พร่ำเพรื่อ มีที่อ้างอิง มีขอบเขต

ประกอบด้วยคุณที่ต้องการ บุคคลนั้นนับได้ว่า เถระบัณฑิต (ผู้ใหญ่ฉลาด)

โดยแท้.

ภิกษุทั้งหลาย เถรกรณธรรม ๔ นี้ เถรกรณธรรม ๔ คืออะไร

บ้าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาท

และโคจร เห็นภัยในโทษมาตรว่าน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

๒. เป็นพหูสูต ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว สะสมธรรมที่ได้ฟัง

แล้วไว้ ธรรมเหล่าใดงามในเบื้องต้นงามในท่ามกลางงามในที่สุด แสดง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 60

พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะบริบูรณ์สิ้นเชิง บริสุทธิ์สิ้นเชิง

ธรรมเห็นปานนั้น อันเธอได้สดับแล้วมาก ทรงจำไว้ กล่าวได้คล่อง เพ่ง

ด้วยใจ เห็นเนื้อความปรุโปร่ง

๓. เป็นผู้ได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔

อันเป็นธรรมเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องพักผ่อนอยู่สบายในอัตภาพ

ปัจจุบัน

๔. เธอกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย เถรกรณธรรม ๔

ผู้ใดมีจิตฟุ้งซ่าน พูดมากหาประ-

โยชน์มิได้ มีความดำริไม่มั่นคง ปรากฏ

ว่ายินดีในอสัทธรรม ผู้นั้นห่างไกลจาก

ความเป็นเถระ มีความเห็นลามกไม่อาทร.

ส่วนผู้ใดถึงพร้อมด้วยศีล ประกอบ

ด้วยสุตะ มีปฏิภาณ ประกอบพร้อมใน

ธรรมอันทำความมั่นคง เห็นแจ้งซึ่งเนื้อ

ความของธรรมด้วยปัญญา ถึงฝั่งแห่งธรรม

ทั้งปวง ไม่มีกิเลสดุจตาปูตรึงจิต มีปรีชา

ละชาติและมรณะได้ จบพรหมจรรย์ เรา

กล่าวผู้นั้นว่า เถระ ซึ่งเป็นผู้หาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะสิ้นไป ภิกษุนั้นจึงได้ชื่อว่า

เถระ.

จบทุติยอุรุเวลสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 61

อรรถกถาทุติยอุรุเวลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอุรุเวลสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺพหุลา คือ พวกพราหมณ์เป็นอันมาก. บทว่า พฺราหฺมณา

ความว่า พวกพราหมณ์มาแล้วพร้อมกันกับพราหมณ์ผู้พูดคำหยาบ. บทว่า

ชิณฺณา วุฑฺฒา ได้แก่ ผู้คร่ำคร่าด้วยชรา เจริญด้วยวัย. บทว่า มหลฺลกา

ได้แก่ แก่โดยชาติ. บทว่า อทฺธคตา ได้แก่ ล่วงกาลผ่านวัยทั้งสามไปแล้ว.

บทว่า สุต เมต ได้แก่ ข้อนี้พวกเราฟังมาแล้ว. บทว่า ตยิท โภ โคตม

ตเถว ความว่า ท่านพระโคดม ข้อนี้พวกเราฟังมาแล้ว การณ์ก็เป็นจริง

อย่างนั้น. บทว่า ตยิท โภ โคตม น สมฺปนฺนเมว ความว่า การไม่ทำ

อภิวาทเป็นต้นนี้นั้น ไม่สมควรเลย.

ในบทเป็นต้นว่า อกาลวาที มีวินิจฉัยดังนี้. ชื่อว่า อกาลวาที

เพราะพูดไม่รู้จักกาล (พร่ำเพรื่อ). ชื่อว่า อภูตวาที เพราะพูดแต่เรื่อง

ที่ไม่จริง. ชื่อว่า อนัตถวาที เพราะพูดแต่เรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่พูด

เรื่องที่เป็นประโยชน์. ชื่อว่า อธัมมวาที เพราะพูดไม่เป็นธรรม ไม่พูด

เป็นธรรม. ชื่อว่า อวินยวาที เพราะพูดไม่เป็นวินัย ไม่พูดเป็นวินัย.

บทว่า อนิธานวตึ วาจ ภาสิตา ได้แก่ ไม่กล่าววาจาที่ควรจดจำไว้ใน

หทัย. บทว่า อกาเลน ได้แก่ โดยกาลไม่ควรจะพูด. บทว่า อนปเทส

ได้แก่ พูดขาดที่อ้างอิง ไม่พูดให้มีที่อ้างอิงมีเหตุ. บทว่า อปริยนฺตวตึ

ได้แก่ ไม่รู้จักจบ ไม่พูดมีกำหนด (จบ). บทว่า อนตฺถสญฺหิต ได้แก่

ไม่แสดงให้อาศัยประโยชน์อันเป็นโลกิยะและโลกุตระ. บทว่า พาโล เถโร

เตฺวว สขฺย คจฺฉติ ความว่า นับได้ว่าเป็นเถระอันธพาล (ผู้โง่บอด).

บทเป็นต้นว่า กาลวาที พึงทราบด้วยสามารถแห่งธรรมที่ตรงกันข้ามกับที่

กล่าวมาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 62

บทว่า ปณฺฑิโต เถโรเตฺวว สงฺขฺย คจฺฉติ ความว่า นับได้ว่า

บัณฑิต เพราะประกอบด้วยความฉลาด ว่าเถระเพราะถึงความเป็นผู้มั่นคง.

บทว่า พหุสฺสุโต โหติ ความว่า ภิกษุนั้นมีสุตะมาก อธิบายว่า นวังค-

สัตถุศาสน์ เป็นอันภิกษุนั้นเรียนแล้ว ด้วยสามารถเบื้องต้น และเบื้องปลาย

แห่งบาลีและอนุสนธิ. บทว่า สุตธโร ได้แก่ เป็นผู้รองรับสุตะไว้ได้.

จริงอยู่ พระพุทธวจนะอันภิกษุใดเรียนแต่บาลีประเทศนี้ เลือนหายไปจากบาลี

ประเทศนี้ ไม่คงอยู่ ดุจน้ำในหม้อทะลุ เธอไม่สามารถจะกล่าวหรือบอกสูตร

หรือชาดกอย่างหนึ่ง ในท่ามกลางบริษัทได้ ภิกษุนี้หาชื่อว่า ผู้ทรงสุตะไม่.

ส่วนพระพุทธวจนะ อันภิกษุใดเรียนแล้ว ย่อมเป็นอย่างเวลาที่ตนเรียนมาแล้ว

นั่นแหละ เมื่อเธอไม่ทำการสาธยาย ตั้ง ๑๐ ปี ๒๐ ปี ก็ไม่เลือนหาย

ภิกษุนี้ ชื่อว่า ผู้ทรงสุตะ. บทว่า สุตสนฺนิจโย ได้แก่ ผู้สั่งสมสุตะ.

ก็สุตะอันภิกษุใดสั่งสมไว้ในตู้คือหทัย ย่อมคงอยู่ดุจรอยจารึกที่ศิลา และดุจ

มันเหลวราชสีห์ที่เขาใส่ไว้ในหม้อทองคำ ภิกษุนี้ ชื่อว่า สั่งสมสุตะ. บทว่า

ธตา คือ ทรงจำได้ได้คล่องแคล่ว. จริงอยู่ พระพุทธวจนะอันภิกษุบางรูป

เรียนแล้วไม่ทรงจำให้คล่องแคล่ว ไม่หนักแน่น เมื่อถูกเขาพูดว่า ท่านโปรด

กล่าวสูตรหรือชาดกโน้นดังนี้ เธอก็กล่าวว่า เราจักสาธยายเทียบเคียง สอบสวน

ก่อนแล้ว จึงค่อยรู้ พระพุทธวจนะที่ภิกษุบางรูปทรงจำคล่องแคล่วเป็นเสมือน

ภวังคโสต. เมื่อถูกเขาพูดว่า ท่านโปรดกล่าวสูตรหรือชาดกโน้น ดังนี้ เธอจะ

ยกขึ้นกล่าวสูตรหรือชาดกนั้นได้ทันที. ตรัสว่าธตาทรงหมายถึงข้อนั้น. บทว่า

วจสา ปริจิตา ได้แก่ สาธยายด้วยวาจาได้สูตร ๑๐ หมวด วรรค ๑๐ หมวด

๕๐ หมวด. บทว่า มนสานุเปกฺขิตา ได้แก่ เพ่งด้วยจิต. พระพุทธวจนะ

ที่ภิกษุใดสาธยายแล้วด้วยวาจา ปรากฏชัดในที่นั้น ๆ แก่เธอผู้คิดอยู่ด้วยใจ

เหมือนรูปปรากฏชัด แก่บุคคลผู้ยืนตามประทีปดวงใหญ่ ฉะนั้น. ทรงหมาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 63

เอาพุทธวจนะของภิกษุนั้นจึงตรัสคำนี้. บทว่า ทิฏฺิยา สุปฺปฏิวิทฺธา ได้แก่

ใช้ปัญญาขบทะลุปรุโปร่ง ทั้งเหตุทั้งผล.

บทว่า อาภิเจตสิกาน ความว่า จิตที่บริสุทธิ์ น่าใคร่ หรือ

อธิจิตท่านเรียกว่า อภิเจตะ ฌาน ๔ เกิดในอภิจิต ชื่อ อาภิเจตสิก อีกนัยหนึ่ง

ฌาน ๔ อาศัยอภิเจตะ เหตุนั้น จึงชื่อว่า อาภิเจตสิกะ. บทว่า ทิฏฺธมฺมสุข-

วิหาราน ได้แก่อันเป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน. อัตภาพที่ประจักษ์

ท่านเรียกว่า ทิฏฐธรรม. อธิบายว่าเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมนั้น

คำนี้เป็นชื่อของรูปาวจรฌานทั้งหลาย จริงอยู่ ผู้ได้ฌานนั่งเข้าฌานเหล่านั้น

ย่อมได้เนกขัมมสุข อันไม่เศร้าหมอง ในอัตภาพนี้นี่แหละ. เพราะฉะนั้น

จึงตรัสว่า ทิฏิธมฺมสุขวิหาราน ดังนี้ . บทว่า นิกามลาภี ได้แก่

ได้ตามต้องการ ได้ตามอำนาจ ความปรารถนาของตน ท่านอธิบายว่า

สามารถจะเข้าฌานได้ในขณะที่ปรารถนาแล้ว. บทว่า อกิจฺฉลาภี ท่านอธิบาย

ว่า สามารถข่มธรรมที่เป็นข้าศึกแล้วเข้าฌานได้โดยสะดวก. บทว่า อกสิรลาภี

ได้แก่ ได้ความไม่ลำบากคือคล่อง ท่านอธิบายว่า สามารถออกจากฌานได้ตาม

กำหนด. จริงอยู่ บางคนได้ฌานเท่านั้น ไม่สามารถจะเข้าได้ในขณะที่ปรารถนา.

บางคนสามารถเข้าอย่างนั้นได้ แต่ก็ข่มธรรมที่ทำอันตรายได้โดยยาก. บางคน

เข้าได้อย่างนั้น ทั้งข่มธรรมที่ทำอันตรายได้ โดยไม่ยากเลย แต่ก็ไม่สามารถ

ออกจากฌานได้ตามกำหนด เหมือนนาฬิกายนต์. ก็สัมปทา ๓ อย่างนี้

มีแก่ผู้ใด ผู้นั้น ท่านเรียกว่าอกสิรลาภีได้คล่อง ดังนี้.

บทเป็นต้นว่า อาสวาน ขยา มีเนื้อความอันกล่าวมาแล้วทั้งนั้น.

ในที่นี้แม้ศีล ก็ดีตรัสถึงศีลของพระขีณาสพเท่านั้น แม้พาหุสัจจะก็ตรัสพาหุสัจจะ

ของพระขีณาสพเท่านั้น แม้ฌานก็ตรัสฌานที่ใช้สำหรับพระขีณาสพเท่านั้น. ส่วน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 64

พระอรหัต ตรัสด้วยบทเป็นต้นว่า อาสวาน ขยา ดังนี้. แต่กิจของมรรค

ในที่นี้ พึงทราบว่า ทรงประกาศด้วยผล (อรหัตผล).

บทว่า อุทฺธเตน ได้แก่ ประกอบด้วยอุทธัจจะ บทว่า สมฺผญฺจ

ได้แก่ คำเพ้อเจ้อ. บทว่า อสมาหิตสงฺกปฺโป ได้แก่ มีความดำริไม่ตั้งมั่น.

บทว่า มิโค ได้แก่ เสมือนมฤค. บทว่า อารา แปลว่า ในที่ไกล. บทว่า

ถาวเรยฺยมฺหา ได้แก่ จากความมั่นคง. บทว่า ปาปทิฏฺิ ได้แก่

ควานเห็นลามก. บทว่า อนาทโร ได้แก่ เว้นจากความเอื้อเฟื้อ. บทว่า

สุตวา ได้แก่ เข้าถึงโดยสูตร. บทว่า ปฏิภาณวา ความว่า ผู้ประกอบ

ด้วยปฏิภาณสองอย่าง. บทว่า ปญฺายตฺถ วิปสฺสติ ความว่า ย่อมเห็น

ปรุโปร่ง ซึ่งอรรถแห่งสัจจะ ๔ ด้วยมรรคปัญญาพร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า

ปารคู สพฺพธมฺมาน ความว่า ถึงฝั่งแห่งธรรมมีขันธ์เป็นต้นทั้งปวง

เป็นผู้ถึงฝั่งคือที่สุดแห่งธรรมทั้งปวง ด้วยการถึงฝั่ง ๖ อย่าง อย่างนี้คือ

ถึงฝั่งแห่งอภิญญา ๑ ถึงฝั่งแห่งปริญญา ๑ ถึงฝั่งแห่งภาวนา ๑ ถึงฝั่งแห่ง

ปหานะ ๑ ถึงฝั่งแห่งสัจฉิกิริยา ๑ ถึงฝั่งแห่งสมาบัติ ๑. บทว่า อขิโล

ได้แก่ เว้นจากตะปู คือราคะเป็นต้น . บทว่า ปฏิภาณวา ได้แก่ ประกอบ

ด้วยปฏิภาณ ๒ อย่าง. บทว่า พฺรหฺมจริยสฺส เกวลี ได้แก่ อยู่จบ

พรหมจรรย์. คำที่เหลือในสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาทุติยอุรุเวลสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 65

๓. โลกสูตร

ว่าด้วยตถาคตรู้โลกและอารมณ์ ๖

[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลก ตถาคตรู้ประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว

ตถาคตจึงออกจากโลกได้ โลกสมุทัย ตถาคตก็รู้ประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว

ตถาคตจึงละโลกสมุทัยได้ โลกนิโรธ ตถาคตก็รู้ประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว

โลกนิโรธตถาคตจึงทำให้แจ้งแล้ว โลกนิโรธคามินีปฏิปทา ตถาคตก็รู้ประจักษ์

ด้วยตนเองแล้ว โลกนิโรธคามินีปฏิปทา ตถาคตจึงทำให้มีแล้ว

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่โลกทั้งเทวโลกทั้งมารโลกทั้งพรหมโลกหมู่สัตว์

ทั้งเทวดามนุษย์ทั้งสมณพราหมณ์ ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบแล้ว

ได้รู้สึกแล้ว ได้ประสบแล้ว ได้แสวงหาแล้ว ได้คิดค้นแล้ว สิ่งนั้น

ตถาคตได้รู้ยิ่งโดยชอบแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงได้ชื่อว่า ตถาคต.

ข้อที่ตถาคตได้ตรัสรู้ในเวลาราตรี และปรินิพพานในเวลาราตรี

ตถาคตกล่าวแสดงชี้แจงข้อคำอันใดในระหว่างนั้น ข้อคำทั้งปวงนั้นย่อมเป็น

อย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่นไป เพราะเหตุนั้น จึงได้ชื่อว่า ตถาคต.

ตถาคตพูดอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใดพูดอย่างนั้น เพราะตถาคต

(ยถาวาที ตถาการี) พูดอย่างใดทำอย่างนั้น (ยถาการี ตถาวาที) ทำอย่างใด

พูดอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึงได้ชื่อว่า ตถาคต.

ในโลกทั้งเทวโลกทั้งมารโลกทั้งพรหมโลกในหมู่สัตว์ทั้งเทวดามนุษย์

ทั้งสมณพราหมณ์ ตถาคตเป็นผู้ยิ่งใหญ่ (โดยอริยสีลาทิคุณ) ไม่มีใคร

ครอบงำได้ เป็นผู้เห็นถ่องแท้ เป็นผู้ครองอำนาจ เพราะเหตุนั้น จึงได้ชื่อว่า

ตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 66

ท่านผู้ใดรู้ด้วยปัญญาอันยิ่งซึ่งโลก

ทั้งปวง รู้อารมณ์ตามที่เป็นจริงอยู่อย่างไร

ในโลกทั้งปวง เป็นผู้ไม่ติดอยู่ในโลก

เป็นผู้ไม่มีตัณหา ทิฏฐิ และริษยาในโลก

ทั้งปวง ท่านผู้นั้นแล เป็นปราชญ์ใหญ่

ยิ่งกว่าสรรพสัตว์ ปลดเปลื้องเครื่องผูกมัด

เสียวสิ้น ได้บรมสันติ คือ พระนิพพาน

อันไม่มีภัยแต่ที่ไหน ๆ นั่นคือ พระ-

ขีณาสพพุทธเจ้า ผู้ไม่มีทุกข์ ผู้ตัดความ

สงสัยแล้ว ผู้ถึงแล้วซึ่งความสิ้นกรรม

ทั้งปวง ผู้หลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นอุปธิ.

เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

นั้น จึงเป็นพระพุทธเป็นสีหะประเสริฐ

(ในหมู่มนุษย์) ทรงประกาศพรหมจักรแก่

ชาวโลกกับทั้งเทวดา.

เพราะรู้พระคุณเช่นนี้ เทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลายที่ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ

จึงพากันมานมัสการพระองค์ ผู้เป็น

มหาบุรุษผู้ปราศจากความครั่นคร้าม.

พระองค์ทรงฝึกพระองค์แล้ว ประ-

เสริฐกว่าผู้ฝึกทั้งหลาย พระองค์เป็น

พระฤษีผู้สงบแล้ว ประเสริฐกว่าผู้สงบ

ทั้งหลาย พระองค์ทรงพ้นแล้ว เลิศกว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 67

ผู้พ้นทั้งหลาย พระองค์ทรงข้าม (โอฆะ)

แล้ว ประเสริฐกว่าผู้ข้ามทั้งหลาย.

ด้วยเหตุนี้ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

จึงนมัสการพระองค์ผู้เป็นมหาบุรุษ ผู้

ปราศจากความครั่นคร้าม บุคคลเปรียบปาน

พระองค์ไม่มีในโลกมนุษย์กับทั้งโลก

เทวดา.

จบโลกสูตรที่ ๓

อรรถกถาโลกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโลกสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โลโก ได้แก่ทุกขสัจ. บทว่า อภิสมฺพุทฺโธ ได้แก่ ทำให้

ประจักษ์แล้วด้วยญาณ. บทว่า โลกสฺมา ได้แก่ จากทุกขสัจ. บทว่า ปหีโน

ได้แก่ ละได้แล้ว ด้วยอรหัตมรรคญาณ ที่มหาโพธิมัณฑสถาน (โคนโพธิ).

บทว่า ตถาคตสฺส ภาวิตา แปลว่า อันตถาคตทำให้มีแล้ว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสความที่พระองค์เป็นพุทธะด้วยสัจจะ ๔

โดยฐานะมีประมาณเท่านี้ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า ย ภิกฺขเว

เพื่อตรัสความที่พระองค์เป็นตถาคต. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺ ได้แก่

รูปายตนะ อายตนะคือรูป. บทว่า สุต ได้แก่ สัททายตนะ อายตนะคือเสียง

บทว่า มุต ได้แก่ อายตนะคือ กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เพราะเป็นอารมณ์

ที่มาถึงแล้วรับไว้. บทว่า วิญฺาต ได้แก่ ธรรมารมณ์ อารมณ์คือธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 68

มีสุขและทุกข์เป็นต้น. บทว่า ปตฺต ได้แก่ แสวงหาหรือไม่แสวงหาก็มาถึง

แล้ว. บทว่า ปริเยสิต ความว่า มาถึงหรือยังไม่มาถึง ก็แสวงหาแล้ว.

บทว่า อนุวิจริต มนสา ได้แก่ คิดค้นด้วยจิต. ด้วยบทว่า ตถาคเตน

อภิสมฺพุทฺธ นี้ ทรงแสดงข้อนี้ว่า รูปารมณ์เป็นต้นว่า สีเขียว สีเหลือง

อันใดปรากฏในจักขุทวารของโลกพร้อมทั้งเทวโลกนี้ ในโลกธาตุ อันหา

ประมาณมิได้ ตถาคตตรัสรู้รูปารมณ์อันนั้นทั้งหมดอย่างนี้ว่า สัตว์นี้เห็น

รูปารมณ์ ชื่อนี้ ในขณะนี้แล้ว เกิดดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เป็นกลางบ้าง ดังนี้.

อนึ่ง สัททารมณ์เเป็นต้นว่า เสียงกลอง ปรากฏในโสตทวารของโลกพร้อมทั้ง

เทวโลกนี้ ในโลกธาตุอันหาประมาณมิได้ก็เหมือนกัน คันธารมณ์เป็นต้นว่า

กลิ่นที่ราก กลิ่นที่เปลือก ปรากฏในฆานทวาร รสารมณ์เป็นต้นว่า รสที่ราก

รสที่ลำต้น ปรากฏในชิวหาทวาร โผฏฐัพพารมณ์ต่างด้วยธาตุดิน ธาตุไฟ

ธาตุลม เป็นต้นว่า แข็ง อ่อน ปรากฏในกายทวาร ตถาคตตรัสรู้โผฏฐัพ-

พารมณ์นั้นทั้งหมดอย่างนี้ว่า สัตว์มีถูกต้องโผฏฐัพพารมณ์ ชื่อนี้ ในขณะนี้

แล้ว เกิดดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เป็นกลางบ้างดังนี้. อนึ่ง ธรรมารมณ์ต่างด้วย

สุขและทุกข์เป็นต้น ปรากฏในมโนทวารของโลกพร้อมทั้งเทวโลกนี้ ในโลกธาตุ

ที่หาประมาณมิได้ ตถาคตตรัสรู้ธรรมารมณ์นั้นทั้งหมดอย่างนี้ว่า สัตว์นี้รู้

ธรรมารมณ์ ชื่อนี้ ในขณะนี้แล้ว เกิดดีใจบ้าง เสียใจบ้าง เป็นกลางบ้าง ดังนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อารมณ์อันใดอันสรรพสัตว์เหล่านี้ เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว

ทราบแล้ว รู้สึกแล้ว ในอารมณ์อันนั้น ตถาคตไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ทราบ

หรือไม่รู้ ก็หามิได้ ส่วนอารมณ์ที่มหาชนนี้แสวงหาแล้ว แต่ไม่ถึงก็มี

ไม่แสวงหาแล้วไม่ถึงก็มี แสวงหาแล้วจึงถึงก็มี ไม่แสวงหาแล้วแต่ถึงก็มี

อารมณ์แม้ทั้งหมด ชื่อว่าไม่ถึงแก่ตถาคต ตถาคตไม่ทำให้แจ้งด้วยญาณหามีไม่.

บทว่า ตสฺมา ตถาคโตติ วุจฺจติ ความว่า เรียกว่าตถาคต เพราะโลก

ไปอย่างใด. ตถาคตก็ไปอย่างนั้นแหละ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 69

ส่วนในบาลีท่านกล่าวว่า อภิสมฺพุทฺธ บทนั้นก็มีอรรถอย่างเดียว

กับตถาคตศัพท์. พึงทราบเนื้อความแห่งคำนิคมลงท้ายว่า ตถาคโต ในทุก-

วาระโดยนัยนี้. ยุติความถูกต้องแห่งตถาคตศัพท์นั้น กล่าวไว้โดยพิสดารแห่ง

ตถาคตศัพท์ในอรรถกถาที่ว่าด้วยเอกบุคคล อนึ่ง ในข้อนี้ ศัพท์ว่า อญฺทตฺถุ

เป็นนิบาตลงในอรรถว่าส่วนเดียว. ชื่อว่า ทสะ เพราะเห็น. ชื่อว่า วสวัตติ

เพราะใช้อำนาจ.

บทว่า สพฺพโลก อภิญฺาย ความว่า รู้ซึ่งโลกสันนิวาสที่เป็น

ไตรธาตุ ธาตุสาม. บทว่า สพฺพโลเก ยถาตถ ความว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง

พึงรู้ได้ในโลกสันนิวาสที่เป็นธาตุสามนั้น ทรงรู้สิ่งนั้นทั้งหมดตามเป็นจริง ไม่

วิปริต. บทว่า วิสยุตฺโต ความว่า ปราศจากโยคะเพราะทรงละโยคะ ๔ ได้.

บทว่า อนุสฺสโย ความว่า เว้นขาดจากตัณหา ทิฏฐิ และอุสสยา (ความ

ริษยา). บทว่า สพฺพาภิภู ความว่า ผู้ครอบงำอารมณ์ทั้งปวงมีรูปเป็นต้น

ได้แล้ว. บทว่า ธีโร คือผู้ถึงพร้อมด้วยธิติปัญญา. บทว่า สพฺพคนฺถปฺป-

โมจโน ความว่า ปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัด ๔ ได้หมด. บทว่า ผุฏฺสฺส

ตัดบทเป็น ผุฏฺา อสฺส. และบทนี้เป็นฉัฏฐีรีวิภัติลงในอรรถแห่งตติยาวิภัติ.

บทว่า ปรมา สนฺติ ได้แก่นิพพาน. จริงอยู่ นิพพานนั้น อันธีรชนถูกต้อง

แล้วด้วยความถูกต้อง ด้วยญานนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า นิพฺพาน

อกุโตภย ดังนี้ . อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปรมา สนฺติ ได้แก่ อุดมสันติ.

ถามว่า อุดมสันตินั้นคืออะไร. ตอบว่า ก็บรมสันตินั้นแหละ คือ นิพพาน.

จริงอยู่ ก็เพราะเหตุที่ในนิพพานไม่มีภัยแม้แต่ที่ไหน ฉะนั้น นิพพานนั้น ท่าน

จึงเรียกว่าไม่มีภัยแต่ที่ไหน. บทว่า วิมุตฺโต อุปธิสขเย ความว่า หลุดพ้น

แล้ว เพราะนิพพานกล่าวคือธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ ด้วยผลวิมุตติที่มีนิพพานนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 70

เป็นอารมณ์. บทว่า สีโห อนุตฺตโร ความว่า ตถาคต ชื่อว่า สีหะ

ผู้ยอดเยี่ยม เพราะอรรถว่า ทรงอดกลั้นอันตรายทั้งหลาย และเพราะอรรถว่า

กำจัดกิเลสทั้งหลาย. บทว่า พฺรหฺม แปลว่า ประเสริฐ. บทว่า อิติ ความว่า

รู้คุณของตถาคตอย่างนี้. บทว่า สงฺคมฺม ได้แก่ มาประชุมกันแล้ว. บทว่า

น คือพระตถาคต. บทว่า นมสฺสนฺติ ความว่า เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น

ถึงพระตถาคตนั้นเป็นสรณะแล้ว นอบน้อมอยู่. บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึง

ท่านผู้ที่เทวดาและมนุษย์นอบน้อมกล่าวถึงอยู่ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ทนฺโต

ดังนี้ . คำนั้น มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโลกสูตรที่ ๓

๔. กาฬกสูตร

ว่าด้วยอารมณ์ ๖

[๒๔] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ วัดกาฬการาม

นครสาเกต ฯลฯ ตรัสพระธรรมเทศนาว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่โลกกับทั้งเทวโลกมารโลกพรหมโลก

หมู่สัตว์ทั้งเทวดามนุษย์ทั้งสมณพราหมณ์ ได้เห็นแล้ว ได้ยินแล้ว ได้ทราบ

แล้ว ได้รู้แล้ว ได้ประสบแล้ว ได้แสวงหาแล้ว ได้คิดค้นแล้ว เราก็รู้

สิ่งนั้น สิ่งใดที่โลก ฯลฯ ทั้งสมณพราหมณ์ได้เห็นแล้ว ฯลฯ ได้คิดค้นแล้ว

เรารู้ด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วซึ่งสิ่งนั้น สิ่งนั้นปรากฏแก่ตถาคต แต่สิ่งนั้นไม่

ปรากฏในตถาคต (คือตถาคตไม่ติดพัวพันสิ่งนั้น)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 71

ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดที่โลก ฯลฯ ทั้งสมณพราหมณ์ได้เห็นแล้ว ฯลฯ

ได้คิดค้นแล้ว เราจะพึงกล่าวว่า เราไม่รู้สิ่งนั้น คำนั้นจะพึงเป็นคำมุสา

ของเรา . . .หากเราจะพึงกล่าวว่า เรารู้บ้าง ไม่รู้บ้าง คำนั้นต้องเป็นคำมุสา

. . . คำกลีของเรา หากเราจะพึงกล่าวว่า เรารู้ก็มิใช่ ไม่รู้ก็มิใช่ แม้คำนั้น

ก็ต้องเป็นคำมุสา. . . คำเป็นโทษของเราเช่นเดียวกัน

อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเห็นสิ่งพึงเห็นได้. แต่ไม่สำคัญว่า

ได้เห็น ไม่สำคัญว่าไม่ได้เห็น ไม่สำคัญว่าต้องเห็น ไม่สำคัญต่อบรรดาสิ่ง

ที่เห็นแล้ว ได้ยินสิ่งที่พึงได้ยินได้ แต่ไม่สำคัญว่าได้ยิน ไม่สำคัญว่าไม่ได้ยิน

ไม่สำคัญว่าต้องได้ยิน ไม่สำคัญต่อบรรดาสิ่งที่ได้ยินแล้ว ได้ทราบสิ่งที่

พึงทราบได้ แต่ไม่สำคัญว่าได้ทราบ ไม่สำคัญว่าไม่ได้ทราบ ไม่สำคัญว่า

ต้องทราบ ไม่สำคัญต่อบรรดาสิ่งที่ได้ทราบแล้ว รู้สิ่งที่พึงรู้ได้ แต่ไม่

สำคัญว่าได้รู้ ไม่สำคัญว่าไม่ได้รู้ ไม่สำคัญว่าต้องรู้ ไม่สำคัญต่อ

บรรดาสิ่งที่รู้แล้ว

อย่างนี้แล ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้คงที่อยู่เช่นนั้นในธรรม

ทั้งหลาย อันพึงได้เห็นได้ยินได้ทราบได้รู้ และเรากล่าวว่าผู้คงที่อื่นที่ยิ่งกว่า

หรือประณีตกว่าตถาคตผู้คงที่นั้น ไม่มี

สิ่งที่ได้เห็นได้ยิน และได้ทราบ

ทุกอย่าง ที่คนเหล่าอื่นหลงติดใจ สำคัญ

คิดไปว่าจริงจัง ตถาคตเป็นผู้คงที่ในสิ่ง

เหล่านั้นอันพระองค์สำรวมอยู่ดีแล้วไม่พึง

เชื่อคำคนอื่นทั้งจริงทั้งเท็จ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 72

เราเห็นลูกศรอันนี้มาแต่แรกแล้ว

ประชาชนติดใจข้องอยู่ในสิ่งใด เรารู้เห็น

สิ่งนั้นอย่างนั้นเหมือนกัน แต่ความติดใจ

ไม่มีแก่ตถาคตทั้งหลาย.

จบกาฬกสูตรที่ ๔

อรรถกถากาฬกสูตร

กาฬกสูตรที่ ๔ ตั้งขึ้นเพราะอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ถามว่า เหตุเกิด

เรื่องอะไร ตอบว่า เรื่องพระคุณของพระทศพล.

ได้ยินว่า นางจูฬสุภัททา ธิดาของอนาถบิณฑิกะหมายใจ จัดไปเป็น

แม่เรือนของบุตรกาฬกเศรษฐี ณ นครสาเกต จึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักไปมีสามี ณ ตระกูลของคนมิจฉาทิฏฐิ

ถ้าข้าพระองค์จักได้รับนับถือในตระกูลนั้น เมื่อจะส่งบุรุษคนหนึ่งมา ก็จัก

เนินช้า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์โปรดนึกถึงข้าพระองค์บ้าง

ดังนี้ ได้รับการรับรองแล้วก็ไป ท่านกาฬกเศรษฐีคิดว่า ลูกสะใภ้ของเรามา

แล้ว เมื่อทำงานมงคลจึงได้จัดของกินและของบริโภคเป็นอันมาก ได้เชิญ

ชีเปลือย ๕๐๐ มา. เมื่อชีเปลือยเหล่านั้น นั่งแล้ว. ท่านเศรษฐี จึงส่ง

คนไปบอกนางจูฬสุภัททาว่า ลูกสาวของพ่อจงมาไหว้พระอรหันต์. อริยสาวิกา

ผู้บรรลุผลแล้ว พอเขาพูดว่า พระอรหันต์เท่านั้นก็ลุกขึ้นไปด้วยคิดว่า ลาภ

ของเราหนอ. พอได้เห็นชีเปลือยซึ่งแสดงว่าไม่มีศักดิ์ศรีเหล่านั้น จึงพูดว่า

คุณพ่อขา ธรรมดาสมณะทั้งหลาย ไม่ใช่ไม่มีหิริภายใน ไม่ใช่ไม่มีโอตตัปปะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 73

ภายนอกนี่ค่ะ คิดว่า พวกนี้มิใช่สมณะ จึงถ่มน้ำลายเดินกลับไปยังสถานที่

อยู่ของตน.

ครั้งนั้น พวกชีเปลือยพูดว่า ท่านมหาเศรษฐี หญิงกาลกรรณี

เช่นนี้ ท่านได้มาแต่ไหน ทั่วชมพูทวีป ไม่มีหญิงสาวอื่นหรือ แล้วก็พากัน

บริภาษเศรษฐี. ท่านเศรษฐีจึงขอร้องว่า ท่านอาจารย์ กรรมอันข้าพเจ้ารู้

หรือไม่รู้ ก็ได้ทำลงไปแล้วละ. ข้าพเจ้าจักรู้เรื่องนั้น ดังนี้ ส่งพวกชีเปลือย

ไปแล้ว ก็ไปหานางสุภัททาถามว่า แม่หนู เหตุไร เจ้าจึงได้ทำอย่างนี้ เหตุไร

เจ้าจึงทำให้พระอรหันต์อับอาย. นางตอบว่า คุณพ่อขา ธรรมดาว่าพระอรหันต์

ไม่เป็นอย่างนี้. ครั้งนั้นท่านเศรษฐี จึงพูดกะนางว่า

สมณะของเจ้าเป็นอย่างไร เจ้าจึง

สรรเสริญท่านักหนา สมณะของเจ้ามีศีล

อย่างไร มีมรรยาทอย่างไร เจ้าถูกถาม

แล้ว จงบอกความข้อนั้นแก่พ่อ.

นางจึงตอบว่า

ท่านผู้มีอันทรีย์สงบ ใจสงบ ตั้งอยู่

ในมรรคมีคุณอันสงบ มีจักษุทอดลง

พูดพอประมาณ สมณะของลูกเป็นเช่นนี้

เจ้าค่ะ สมณะเหล่านั้นตัดเครื่องผูก เข้าป่า

อยู่แต่ลำพัง ไม่มีเพื่อน เหมือนช้างตัด

เครื่องผูก สมณะของลูกเป็นเช่นนี้เจ้าค่ะ.

ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงยืนกล่าวพระคุณของพระรัตนตรัยต่อหน้า

เศรษฐี. เศรษฐี ฟังคำของนางแล้ว จึงกล่าวว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น เราจะนำ

สมณะของเจ้ามาทำมงคลดังนี้ . นางถามว่า คุณพ่อจะทำเมื่อไร. เศรษฐีคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 74

เมื่อเราบอกว่า ๒-๓ วัน นางก็จะพึงส่งทูตไปให้เรียกมาดังนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น

จึงได้กล่าวกะนางว่า พรุ่งนี้สิ แม่หนู. ในเวลาเย็น นางขึ้นปราสาทชั้นบน ถือ

ภาชนะดอกไม้ขนาดใหญ่ ระลึกถึงพระคุณของพระศาสดาแล้วจึงซัดกำดอกไม้

๘ กำ ไปเพื่อพระทศพลแล้วประคองอัญชลี ยืนนอบน้อมอยู่. นางได้

กล่าวอย่านี้ว่า พรุ่งนี้ ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษาของข้าพระองค์พร้อมด้วย

ภิกษุสงฆ์ ๕๐๐ รูป. ดอกไม้เหล่านั้นไปประดิษฐานเป็นเพดานเบื้องบนพระ-

ทศพล. พระศาสดา เมื่อทรงนึกถึงก็ได้ทรงเห็นเหตุนั้น ในเวลาจบพระธรรม

เทศนา อนาถบิณฑิกมหาเศรษฐี นมัสการพระทศพลแล้วทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ วันพรุ่งนี้ ขอพระองค์จงรับภิกษาในเรือนของข้าพระองค์

พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป. พระศาสดาตรัสว่า ท่านเศรษฐี เรารับนิมนต์

นางจูฬสุภัททาไว้แล้ว. ท่านเศรษฐีทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

ไม่เห็นใครมา. พระศาสดาตรัสว่า ถูกละท่านเศรษฐี แต่อุบาสิกาผู้เป็น

สัตบุรุษอยู่แต่ไกลแม้สุดพันโยชน์ก็ย่อมปรากฏได้ เหมือนภูเขาหิมวันต์ จึง

ตรัสพระคาถานี้ว่า

เหล่าสัตบุรุษปรากฏชัดในที่ไกล

เหมือนหิมวันตบรรพต ส่วนเหล่าอสัต-

บุรุษ อยู่ที่นั่นเองก็ไม่มีใครเห็น เหมือน

ลูกศรที่ยิ่งไปเวลากลางคืน.

อนาถบิณฑิกะทูลว่า ขอพระองค์โปรดทรงสงเคราะห์ธิดาของข้าพระองค์เถิด

พระเจ้าข้าดังนี้ ถวายบังคมแล้วก็กลับไป.

พระศาสดาตรัสกะพระอานนท์ว่า อานนท์ เราจักไปนครสาเกต

เธอจงให้สลากแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูป แต่เมื่อจะให้เธอพึงให้แก่พวกภิกษุผู้บรรลุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 75

อภิญญา ๖ เท่านั้น. พระเถระก็ได้ทำอย่างนั้น. ในตอนดึกแห่งราตรี นาง

จูฬสุภัททา คิดว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงมีกิจมาก ทรงมีกรณีย-

มาก จะทรงกำหนด หรือไม่ทรงกำหนด (ก็ไม่รู้) เราจักทำอย่างไรหนอ.

ขณะนั้น ท้าวเวสสุวรรณมหาราชได้กล่าวกับนางจูฬสุภัททาว่า แม่นางสุภัททา

เธออย่าใจเขว อย่าใจเสียไปเลย พระผู้มีพระภาคเจ้ากับภิกษุสงฆ์ทรงรับนิมนต์

เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ไว้แล้ว นางก็ยินดีร่าเริงตระเตรียมทานอย่าง

เดียว แม้ท้าวสักกเทวราช ทรงเรียกวิสสุกรรมมาสั่งว่า พ่อเอย พระทศพล

จักเสด็จไปยังสำนักของนางจูฬสุภัททา นครสาเกต ท่านจงสร้างเรือนยอด ๕๐๐

หลัง. วิสสุกรรมเทพบุตรนั้น ก็ได้ทำตามเทวโองการ. พระศาสดาอันภิกษุ

ผู้ได้อภิญญา ๖ จำนวน ๕๐๐ รูป แวดล้อมแล้ว ได้เสด็จไปยังนครสาเกต

ด้วยกูฏาคารยานมีเรือนยอดประหนึ่งรอยขีดอากาศที่มีสีดังแก้วมณี.

นางจูฬสุภัททาถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์มีองค์พระพุทธเจ้าเป็นประมุข

ถวายบังคมพระศาสดาทูลว่า ฝ่ายพ่อผัวของข้าพระองค์เป็นมิจฉาทิฏฐิ สาธุ

ขอพระองค์จงโปรดตรัสธรรมอันสมควรแก่ชนเหล่านั้นด้วยเถิด พระเจ้าข้า.

พระศาสดาทรงแสดงธรรมแล้ว. ท่านกาฬกเศรษฐีเป็นโสดาบันได้ถวายอุทยาน

ของตนแด่พระทศพล. พวกชีเปลือยไม่ปรารถนาที่จะออกไปด้วยคิดว่า ท่าน

เศรษฐีให้แก่พวกเราก่อนดังนี้. ท่านเศรษฐีสั่งให้นำชีเปลือยทั้งหมดออกไปด้วย

กล่าวว่า พวกท่านจงไป นำพวกชีเปลือยเหล่านั้นไปโดยวิธีการที่จะพึงนำออกไป

เสียดังนี้แล้ว จึงให้สร้างวิหารลงในที่ตรงนั้นนั่นเอง แล้วหลั่งน้ำทำให้เป็น

พรหมไทยอุทิศถวาย วิหารนั้นจึงชื่อว่า กาฬการาม เพราะกาฬกเศรษฐีให้

สร้างไว้. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ กาฬการามนั้น. ด้วย

เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า สาเกเต วิหรติ กาฬการาเม ดังนี้ .

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 76

บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียก

ภิกษุ ๕๐๐ รูปมา. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้นเป็นกุลบุตรชาวนครสาเกต ฟัง

พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว บวชในสำนักของพระศาสดา นั่งอยู่ ณ

ศาลาที่เฝ้ากล่าวคุณของพระทศพลว่า โอ ! ชื่อว่า คุณของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ใหญ่จริง พระศาสดาทรงเปลื้องกาฬกเศรษฐีผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ เห็นปานนี้

ออกจากมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดได้ ให้บรรลุโสดาปัตติผล ทรงทำทั่วทั้งนคร

ให้เป็นเสมือนเทวโลก. พระศาสดาทรงพินิจพิจารณาถึงจิตของภิกษุผู้กล่าว

สรรเสริญเหล่านั้น จึงทรงดำริว่า เมื่อเราไป เทศนากัณฑ์ใหญ่จักตั้งขึ้น เวลา

จบเทศนา ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ จักตั้งอยู่ในพระอรหัต แผ่นดินใหญ่จักไหว

ถึงน้ำรองแผ่นดิน ดังนี้ เสด็จยังธรรมสภา ประทับบนบวรพุทธาสนะที่เขา

จัดถวาย ทรงทำภิกษุเหล่านั้นให้เป็นเบื้องต้นแล้ว จึงทรงเริ่มเทศนานี้ว่า ย

ภิกฺขเว สเทวกสฺส โลกสฺส ดังนี้. พระสูตรนี้ พึงทราบว่า ตั้งขึ้นเพราะ

เรื่องพระคุณ ด้วยประการฉะนี้. เวลาจบเทศนา แผ่นดินใหญ่ได้ไหวถึง

น้ำรองแผ่นดินแล้ว.

บทว่า อพฺภญฺาสึ ได้แก่ ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่ง อธิบายว่า

ตรัสรู้แล้ว. บทว่า วิทิต ได้แก่ รู้แล้วทำให้ปรากฏได้. ด้วยบทนี้ ทรงแสดง

ความข้อนี้ว่า ชนเหล่าอื่นรู้อย่างเดียว แต่เรารู้แล้วทำให้ปรากฏด้วย. ชื่อว่าภูมิ

แห่งพระสัพพัญญุตญาณ ตรัสด้วยสามบทเหล่านี้. บทว่า ต ตถาคเตน

น อุปฏฺาสิ ความว่า อารมณ์อันเป็นไปในทวารหกนั้น ไม่ปรากฏคือไม่

เข้าไปถึงตถาคต ด้วยตัณหาหรือด้วยทิฏฐิ. ก็จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นี้ ทรงเห็นรูปด้วยจักษุ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงมีฉันทราคะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงฟังเสียงด้วยโสตะ ทรงดมกลิ่นด้วยฆานะ ทรงลิ้มรสด้วยชิวหา ทรงถูก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 77

ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ทรงรู้สึกธรรมด้วยมนัส พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ทรงมี

ฉันทราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น ทรงมีจิตหลุดพ้นดีแล้ว ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ต ตถาคเตน น

อุปฏฺาสิ ดังนี้ . ก็แล ภูมิแห่งพระขีณาสพ พึงทราบว่า ตรัสด้วยบทนี้.

บทว่า ต มมสฺส มุสา ความว่า คำนั้นแล พึงชื่อว่า มุสาวาท.

บทว่า ตปิสฺส ตาทิสเมว ความว่า คำแม้นั้นก็พึงเป็นมุสาวาท. บทว่า

ต มมสฺส กลิ ความว่า คำนั้นก็พึงเป็นโทษแก่เรา. ชื่อว่า สัจจภูมิ

พึงทราบว่า ตรัสด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ .

บทว่า ทิฏฺา ทิฏฺพฺพ ได้แก่เห็นรูปที่เห็นแล้วควรเห็น. บทว่า

ทิฏฺ น มญฺติ ความว่า ย่อมไม่สำคัญอายตนะคือรูปที่เห็นแล้วนั้น

ด้วยตัณหามานะทิฏฐิว่า เราก็เห็นรูปที่มหาชนเห็นแล้วเหมือนกัน. บทว่า

อทิฏฺ น มญฺติ ความว่า ย่อมไม่สำคัญด้วยตัณหาเป็นต้น แม้อย่างนี้ว่า

เราเห็นรูปนั้นที่มหาชนยังไม่เห็น. บทว่า ทิฏฺพฺพ น มญฺติ ความว่า

ย่อมไม่สำคัญ ด้วยความสำคัญเหล่านั้น แม้อย่างนี้ว่า เราก็เห็นรูปที่มหาชน

เห็นแล้วดังนี้. ความจริง รูปที่ควรเห็นก็เป็นรูปที่มหาชนเห็นแล้วนั่นเอง.

ก็คำเห็นปานนั้น. ผู้ศึกษาย่อมหาได้แม้ในสามกาล. เนื้อความของคำเหล่านั้น

ตรัสแล้วด้วยบทนั้น. บทว่า ทิฏฺาร น มญฺติ ความว่า ย่อมไม่สำคัญ

ผู้เห็นนี้ชื่อว่าสัตว์ผู้หนึ่ง ด้วยความสำคัญเหล่านั้น . แม้ในฐานะที่เหลือ ก็พึง

ทราบเนื้อความโดยนัยนี้นี่แล. ชื่อว่าสุญญตาภูมิ ภูมิคือความว่างเปล่า ก็ตรัส

ด้วยฐานะประมาณเท่านี้ .

บทว่า อิติ โข ภิกฺขเว แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล.

บทว่า ตาทิโสว ตาที ความว่า ความเป็นเหมือนหนึ่ง ชื่อว่า ความคงที่.

๑. บาลี ทิฏฺาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 78

จริงอยู่ พระตถาคตเป็นเช่นใด ในอิฏฐารมณ์มีลาภเป็นต้น ในอนิฏฐารมณ์

มีเสื่อมลาภเป็นต้น ก็เป็นเช่นนี้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตถาคตเป็น

ผู้คงที่ทั้งในลาภ ทั้งในความเสื่อมลาภ เป็นผู้คงที่ทั้งในยศ ทั้งในความเสื่อม

ยศ เป็นผู้คงที่ทั้งในนินทา ทั้งในสรรเสริญ เป็นผู้คงที่ทั้งในสุข ทั้งในทุกข์

ดังนี้. ตถาคตชื่อว่าตาที เช่นนั้นก็เพราะความเป็นผู้คงที่นี้. บทว่า ตมฺหา

จ ปน ตาทิมฺหา ความว่า ชื่อว่าภูมิแห่งผู้คงที่ ตรัสด้วยคำประมาณเท่านี้ว่า

ไม่มีผู้คงที่อื่นที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่าความคงที่ของตถาคตนั้นดังนี้. เมื่อ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยักย้ายเทศนาด้วยภูมิ ๕ เหล่านี้ มหาปฐพีก็ได้ไหว

เป็นพยาน. ในฐานะ ๕. เวลาจบเทศนา สัตว์คือเทวดาและมนุษย์จำนวน ๘๔,๐๐๐

ผู้มาถึงที่นั้น รวมทั้งกุลบุตร ๕๐๐ ซึ่งบวชใหม่เหล่านั้นเป็นต้น ก็พากันดื่มน้ำ

ปานะคืออมฤตธรรมแล้ว.

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจบพระสูตรลงแล้ว เมื่อจะทรงถือยอด-

ธรรมด้วยคาถาทั้งหลาย จึงตรัสคำว่า ยงฺกิญฺจิ เป็นต้น . ในบทเหล่านั้น

บทว่า อชฺโฌสิต สจฺจมุต ปเรส ความว่า สิ่งที่ได้เห็นเป็นต้น ที่คน

เหล่าอื่นสำคัญว่า จริง แล้วติดใจด้วยความเชื่อที่ดำเนินตามคนอื่น คือกลืน

เอาไว้เสร็จสรรพ. บทว่า สยสวุเตสุ ความว่า ในการถือสิ่งที่ตนระวังอยู่เอง

คือพระพฤติถือแล้ว อธิบายว่า ในคนที่มีทิฏฐิเป็นคติ. ด้วยว่า พวกคนที่มี

ทิฏฐิเป็นคติ เขาก็เรียกกันว่า สยสวุเตสุ (อันตนระวังอยู่เอง). บทว่า สจฺจ

มุสา วาปิ ปร ทเหยฺย ความว่า ตถาคตเป็นผู้คงที่ ในคนที่มีทิฏฐิเป็นคติ

กล่าวคืออันตนระวังอยู่เองเหล่านั้น ไม่พึงถือ ไม่พึงเชื่อ ไม่พึงประพฤติตามคำ

แม้คำหนึ่งของตนเหล่านั้นว่า จริงหรือไม่จริงให้บอกไปคือให้สูงสุด อย่างนี้ว่า

นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง ดังนี้. บทว่า เอตญฺจ สลฺล คือเราเห็น

ลูกศรคือทิฏฐิอันนี้. บทว่า ปฏิกจฺจ ทิสฺวา ความว่า เราเห็นมาก่อน ณ

โคนโพธิพฤกษ์. บทว่า วิสตฺตา ความว่า ประชาชนคิด ข้อง พัวพันอยู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 79

ในบทว่า ชานามิ ปสฺสามิ ตเถว เอต นี้ ความว่า หมู่สัตว์นี้ติดใจ

กลืนเสร็จสรรพ ก็ติดก็ข้องก็พัวพัน แม้เราก็ได้รู้เห็นสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็เหมือน

ที่หมู่สัตว์นี้ยึดถือกันไว้ แต่ตถาคตทั้งหลายไม่ติดใจอย่างนั้น.

จบอรรถกถากาฬกสูตรที่ ๔

๕. พรหมจริยสูตร

ว่าด้วยเหตุประพฤติพรหมจรรย์

[๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้เราประพฤติมิใช่เพื่อ

หลอกลวงคน มิใช่เพื่อเรียกร้องคน (ให้มานับถือ) มิใช่เพื่ออานิสงส์ ลาภ

สักการะ และความสรรเสริญ มิใช่เพื่ออานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิและแก้ลัทธิอย่าง

นั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้คนรู้จักตัวว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์นี้

เราประพฤติเพื่อสังวร เพื่อปหานะ (ความละ) เพื่อวิราคะ (ความหายกำหนัด

ยินดี) เพื่อนิโรธะ (ความดับทุกข์)

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นได้ทรงแสดง

พรหมจรรย์ อันเป็นการละเว้นสิ่งที่กล่าว

ตามกันมา เป็นทางหยั่งลงสู่พระนิพพาน

เพื่อสังวร เพื่อปหานะ.

ทางนั้น มหาบุรุษทั้งหลายผู้แสวง

หาคุณอันใหญ่ได้ดำเนินแล้ว ชนเหล่าใด

ดำเนินตามทางที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้

้ แล้วนั้น ชนเหล่านั้นชื่อว่าทำตามคำสอน

ของพระศาสดา จักกระทำที่สุดทุกข์ได้.

จบพรหมจริยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 80

อรรถกถาพรหมจริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในพรหมจริยสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชนกุหนตฺถ ความว่า เพื่อความหลอกลวงคน ด้วยเรื่อง

กุหนวัตถุ ๓ อย่าง. บทว่า น ชนลปนตฺถ ได้แก่ มิใช่เพื่อเรียกร้องคน.

บทว่า น ลาภสกฺการสิโลกานิสสตฺถ ได้แก่ มิใช่เพื่อลาภสักการะมีจีวร

เป็นต้น และคำสรรเสริญ. บทว่า น อิติวาทปฺปโมกฺขานิสสตฺถ ได้แก่

มิใช่เพื่ออานิสงค์เป็นเจ้าลัทธิ ด้วยเหตุนั้น ๆ มิใช่เพื่ออานิสงส์จะเปลื้องลัทธิ.

บทว่า น อิติ ม ชโน ชานาตุ ได้แก่ มิใช่เพื่อให้คนรู้จักว่า ได้ยินว่า

ภิกษุนั้น เป็นอย่างนี้. บทว่า สวรตฺถ ได้แก่ เพื่อความสำรวมด้วยสังวร ๕.

บทว่า ปหานตฺถ ได้แก่ เพื่อละด้วยปหานะ ๓. บทว่า วิราคตฺถ ได้แก่

เพื่อคลายกิเลสมีราคะเป็นต้น. บทว่า นิโรธตฺถ ได้แก่ เพื่อดับกิเลสเหล่า

นั้นเอง. บทว่า อนีติห ได้แก่ งดเว้นอิติหาสที่ว่าตามกันมาตามประเพณี

ไม่ดำเนินตามผู้อื่น. บทว่า นิพฺพาโนคธคามิน ความว่า เป็นทางหยั่งลง

ภายในนิพพาน. ความจริง มรรคพรหมจรรย์ ทำนิพพานให้เป็นอารมณ์

ย่อมเป็นไปคือดำเนินไปภายในนิพพานนั่นเอง. บทว่า ปฏิปชฺชนฺติ ได้แก่

ดำเนินตามทางแม้ทั้งสองอย่าง. ในพระสูตรนี้ ตรัสทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะ ใน

คาถาตรัสวิวัฏฏะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาพรหมจริยสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 81

๖. กุหสูตร

ว่าด้วยภิกษุผู้นับถือและไม่นับถือตลอด

[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดหลอกลวง ดื้อรั้น พล่ามเพ้อ

ไว้ตัว เย่อหยิ่ง ใจไม่มั่น ภิกษุเหล่านั้นนับว่าไม่นับถือเรา และชื่อว่าออกไป

นอกพระธรรมวินัยนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์

ให้พระธรรมวินัยนี้.

ส่วนภิกษุเหล่าใดไม่หลอกลวง ไม่พล่ามเพ้อ ฉลาด ไม่ดื้อรั้น

ใจมั่นคงดี ภิกษุเหล่านั้นนับว่านับถือเรา และไม่ออกไปนอกพระธรรมวินัยนี้

ภิกษุเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้

ภิกษุเหล่าใดหลอกลวง ดื้อรั้น

พล่ามเพ้อ ไว้ตัว เย่อหยิ่ง และใจไม่มั่น

ภิกษุเหล่านั้น ย่อมไม่งก งามในพระธรรม

ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าสมบัติ

ภิกษุเหล่าใดไม่หลอกลวง ไม่

พล่ามเพ้อ ฉลาด ไม่ดิ้นรน ใจมั่นคงดี

ภิกษุเหล่านั้นแล ย่อนงอกงามในพระ.

ธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

แล้ว.

จบกุหสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 82

อรรถกถากุหสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุหสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กุหา แปลว่า ผู้หลอกลวง. บทว่า ถทฺธา ได้แก่ ดื้อรั้น

ด้วยความโกรธ และมานะ. บทว่า ลปา ได้แก่ พูดพล่าม. บทว่า สิงฺคี

ความว่า ผู้ประกอบด้วยกิเลสที่ปรากฏเสมือนเขาสัตว์ ที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า

บรรดากิเลสเหล่านั้น การไว้ตัวเป็นไฉน ? คือ การไว้ตัว ภาวะคือการไว้ตัว

ภาวะคือการไว้ในตัวในอิริยาบถ ๔ กิริยาวางท่าในอิริยาบถ ๔ ภาวะคือความ

มีคนแวดล้อม กิริยาวางท่ากับคนแวดล้อม. บทว่า อุนฺนฬา ความว่า เป็น

ดุจไม้อ้อที่ชูขึ้น คือยกมานะเปล่า ๆ ขึ้นตั้ง. บทว่า อสมาหิตา ความว่า

ไม่ได้แม้เพียงเอกัคคตาจิต. บทว่า น เม เต ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา

ความว่า ภิกษุเหล่านั้นของเรา ไม่ใช่เป็นสมบัติของเรา. ก็บทนี้ว่า เต มยฺห

ตรัสเพราะบวชอุทิศพระศาสดา. บทว่า เต โข เม ภิกฺขเว ภิกฺขู มามกา

ความว่า ก็ตรัสเพราะบวชอุทิศตนในศาสนาแม้นี้ แต่ตรัสว่า มามกา เพราะ

เป็นผู้ปฏิบัติชอบ. บทว่า วุฑฺฒึ วิรุฬฺหึ เวปุลฺล อาปชฺชนฺติ ความว่า

ภิกษุเหล่านั้น ย่อมถึงความเจริญ เพราะเจริญด้วยศีลาทิคุณ ความงอกงาม

เพราะไม่หวั่นไหว ความไพบูลย์ เพราะแผ่ไปในที่ทุกสถาน. ก็ภิกษุเหล่านี้นั้น

ย่อมงอกงามจนถึงอรหัตมรรค เมื่อบรรลุพระอรหัตผลแล้ว ชื่อว่า งอกงาม.

ทั้งในพระสูตรนี้ ทั้งในคาถา ตรัสทั้งวัฏฏะทั้งวิวัฏฏะ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถากุหสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 83

๗. สันตุฏฐิสูตร

ว่าด้วยสันโดษด้วยปัจจัย ๔

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัจจัย ๔ อย่างนี้เป็นของเล็กน้อยด้วย

หาง่ายด้วย ไม่มีโทษด้วย ปัจจัย ๔ อย่างคืออะไร คือ ผ้าบังสุกุล อาหาร

ที่ได้มาโดยเที่ยวบิณฑบาต เสนาสนะโคนไม้ ยาน้ำมูตรเน่า นี้แล

ปัจจัย ๔ อย่าง เป็นของเล็กน้อยด้วย หาง่ายด้วย ไม่มีโทษด้วย เมื่อภิกษุ

เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยเล็กน้อยและหาง่าย เรากล่าวความสันโดษของเธอนี้ว่า

เป็นองค์แห่งความเป็นสมณะอย่างหนึ่ง.

ภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัยอันหาโทษ

มิได้ เล็กน้อยและหาง่าย ย่อมไม่มีความ

ทุกข์ใจเพราะเรื่องเสนาสนะ จีวร ข้าว น้ำ

จะไปทิศใดก็ไม่เดือดร้อน.

ธรรมเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ สมควรแก่ความเป็นสมณะ ธรรม

เหล่านั้นเป็นอันภิกษุผู้สันโดษ ผู้ไม่ประ-

มาทนั้นกำหนดไว้ได้แล้ว.

จบสันตุฏฐิสูตรที่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 84

อรรถกถาสันตุฏฐิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสันตุฏฐิสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺปานิ แปลว่า ของเล็กน้อย. บทว่า สุลภานิ แปลว่า

พึงได้โดยง่าย คือใครก็สามารถจะได้ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง. บทว่า อนวชฺชานิ

แปลว่า ไม่มีโทษ. บทว่า ปิณฺฑิยาโลปโภชน ได้แก่ อาหารที่เที่ยวไป

ด้วยกำลังปลีแข้งได้นาสักว่าเป็นคำข้าว. บทว่า ปูติมุตฺต ได้แก่ น้ำมูตรอย่างใด

อย่างหนึ่ง. กายแม้มีผิวดังทอง เขาก็เรียกว่ากายเน่าฉันใด แม้น้ำมูตรที่

ใหม่เอี่ยม เขาก็เรียกว่าน้ำมูตรเน่าฉันนั้น. บทว่า วิฆาโต ได้แก่ ความ

คับแค้น อธิบายว่า จิตไม่มีทุกข์. บทว่า ทิสา น ปฏิหญฺติ ความว่า

ภิกษุใดเกิดความคิดขึ้นว่า เราไปที่ชื่อโน้น จักได้จีวรเป็นต้น จิตของภิกษุนั้น

ชื่อว่า ย่อมเดือดร้อนตลอดทิศ. ภิกษุใด ย่อมไม่เกิดความคิดอย่างนั้น จิต

ของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่เดือดร้อนตลอดทิศ. บทว่า ธมฺมา คือปฏิบัติติธรรม.

บทว่า สามญฺสฺสานุโลมิกา ได้แก่ สมควรแก่สมณธรรม. บทว่า

อธิคฺคหิตา ความว่า ธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอันภิกษุผู้มีจิตสันโดษ

กำหนดไว้ อยู่แต่ภายใน ไม่ไปภายนอก.

จบอรรถกถาสันตุฏฐิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 85

๘. อริยวังสสูตร

ว่าด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการ

[๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ ประการนี้ ปรากฏว่าเป็น

ธรรมอันเลิศ ยั่งยืนเป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคย

ถูกทอดทิ้งเลย (ในอดีตกาล) ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ (ในปัจจุบันกาล) จักไม่ถูก

ทอดทิ้ง (ในอนาคตกาล) สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว

อริยวงศ์ ๔ ประการ คืออะไรบ้าง คือ

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ และ

เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ ไม่ทำอเนสนาการแสวงหา

ไม่สมควร เพราะจีวรเป็นเหตุ ไม่ได้จีวรก็ไม่ทุรนทุราย ได้จีวรแล้วก็ไม่

ติดใจสยบพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษ ฉลาดในอุบายที่จะถอนตัวออก บริโภค

(จีวรนั้น) อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความสันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้

นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาดไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่นในความสันโดษ

ด้วยจีวรตามมีตามได้นั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏ

ว่าเป็นธรรมเลิศมาเก่าก่อน.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ และ

เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้ ไม่ทำอเนสนาการ

แสวงหาไม่สมควรเพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ ไม่ได้บิณฑบาตก็ไม่ทุรนทุราย

ได้บิณฑบาตแล้วก็ไม่ติดใจสยบพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษ ฉลาดในอุบายที่

จะถอนตัวออก บริโภค (บิณฑบาตนั้น) อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะ.

ความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาดไม่เกียจร้าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 86

สัมปชัญญะ มีสติมั่นในความสันโดษด้วยบิณฑบาตตามมีตามได้นั้น ภิกษุนี้

เราเรียกว่า ผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ และ

เป็นผู้สรรเสริญความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้ ไม่ทำอเนสนาการ

แสวงหาไม่สมควรเพราะเสนาสนะเป็นเหตุ ไม่ได้เสนาสนะก็ไม่ทุรนทุราย

ได้เสนาสนะแล้วก็ไม่ติดใจสยบพัวพัน เห็นส่วนที่เป็นโทษ ฉลาดในอุบายที่

จะถอนตัวออกบริโภค (เสนาสนะนั้น ) อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะความ

สันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาดไม่เกียจคร้าน มี

สัมปชัญญะ มีสติมั่นในความสันโดษด้วยเสนาสนะตามมีตามได้นั้น ภิกษุนี้

เราเรียกว่าผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์ อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.

อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีภาวนา (การบำเพ็ญกุศล) เป็นที่ยินดี

ยินดีแล้วในภาวนา เป็นผู้มีปหานะ (การละอกุศล) เป็นที่ยินดี ยินดีแล้ว

ในปหานะ อนึ่ง ไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่นเพราะความเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดี

เพราะความยินดีในภาวนา เพราะความเป็นผู้มีปหานะเป็นที่ยินดี เพราะความ

ยินดีในปหานะนั้น ก็ภิกษุใดเป็นผู้ฉลาดไม่เกียจคร้าน มีสัมปชัญญะ มีสติมั่น

ในความยินดีในภาวนาและปหานะนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่าผู้สถิตอยู่ในอริยวงศ์

อันปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศมาแต่เก่าก่อน.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลอริยวงศ์ ๔ ประการ ที่ปรากฏว่าเป็นธรรมเลิศ

ยั่งยืน เป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลย

(ในอดีตกาล) ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ (ในปัจจุบันกาล) จักไม่ถูกทอดทิ้ง (ใน

อนาคตกาล) สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.

ภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุผู้ประกอบพร้อมด้วยอริยวงศ์ ๔ ประการนี้

แม้หากอยู่ในทิศตะวันออก...ทิศตะวันตก...ทิศเหนือ...ทิศใต้ เธอย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 87

ย่ำยีความไม่ยินดีเสียได้ ความไม่ยินดีหาย่ำยีเธอได้ไม่ ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเหตุ

อะไร เพราะเหตุว่าภิกษุผู้มีปัญญาย่อมเป็นผู้ข่นได้ทั้งความไม่ยินดีทั้งความ

ยินดี.

ความไม่ยินดีหาย่ำยีภิกษุผู้มีปัญญา

ได้ไม่ ความไม่ยินดีหาครอบงำภิกษุผู้มี

ปัญญาได้ไม่ แต่ภิกษุผู้มีปัญญาย่ำยีความ

ไม่ยินดีได้ เพราะภิกษุผู้มีปัญญาเป็นผู้ข่ม

ความไม่ยินดีได้.

ใครจะมาขัดขวางภิกษุผู้ละกรรม

ทั้งปวง ผู้ถ่ายถอน (กิเลส) แล้วไว้ (มิให้

บรรลุวิมุตติ) ได้ ใครจะควรติภิกษุ (ผู้

บริสุทธิ์) ดุจแท่งทองชมพูนุทนั้นเล่า แม้

เหล่าเทวดาก็ย่อมชมถึงพรหมก็สรรเสริญ.

จบอริยวังสสูตรที่ ๘

อรรถกถาอริยวังสสูตร

อริยวังสสูตรที่ ๘ ตั้งขึ้นมีอัธยาศัยของพระองค์เป็นอัตถุปปัตติเหตุ

เกิดเรื่อง ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งเหนือบวรพุทธาสน์ที่เขา

จัดถวาย ณ ธรรมสภา พระเชตวันมหาวิหาร ตรัสเรียกภิกษุสี่หมิ่นรูป ผู้นั่ง

แวดล้อมว่า ภิกฺขเว ดังนี้แล้ว จึงทรงเริ่มมหาอริยวังสสูตรนี้ว่า จตฺตาโรเม

ภิกฺขเว อริยวสา เป็นต้น ด้วยอำนาจอัธยาศัยของพระองค์บ้าง ของบุคคล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 88

อื่นบ้าง. ในบทเหล่านั้น บทว่า อริยวสา คือ วงศ์ของพระอริยะทั้งหลาย.

อริยวงศ์ที่แปดแม้นี้ เป็นสายของพระอริยะ ชื่อว่าเป็นประเพณีเชื้อสายของ

พระอริยะ เหมือนขัตติยวงศ์ พราหมณวงศ์ เวสสวงศ์ สุททวงศ์ สมณวงศ์

กุลวงศ์ ราชวงศ์ฉะนั้น . ก็วงศ์นี้นั้นท่านกล่าวว่าเป็นยอดของวงศ์เหล่านี้

เหมือนกลิ่นกระลำพักเป็นต้น เป็นยอดของไม้มีกลิ่นเกิดที่รากเป็นต้น.

ถามว่า ก็คนเหล่าไหน คืออริยะ วงศ์ของอริยะ. ตอบว่า พระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย และสาวกของพระตถาคต

ทั้งหลาย ท่านเรียกว่า พระอริยะ วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้นจึงรวมเรียกว่า

อริยวงศ์. ก่อนแต่กาลนี้ไป ในที่สุดสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เกิดพระพุทธเจ้า

ขึ้น ๔ พระองค์ คือ พระตัณหังกระ ๑ พระเมธังกระ ๑ พระสร-

ณังกระ ๑ พระทีปังกระ ๑ ดังนี้ วงศ์ของพระอริยะเหล่านั้นรวมชื่อว่า

อริยวงศ์. ภายหลังแต่ปรินิพพานของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น ล่วงไปหนึ่ง

อสงไขยเกิดพระพุทธเจ้าพระนามว่า โกณฑัญญะ ฯลฯ ในกัปนี้เกิดพระ-

พุทธเจ้าขึ้น ๔ พระองค์ คือ พระกกุสันธะ ๑ พระโกนาคมนะ ๑

พระกัสสปะ ๑ พระผู้มีพระภาคเจ้าโคตมะของพวกเรา ๑ ดังนี้ วงศ์

ของพระอริยะเหล่านั้น รวมชื่อว่า อริยวงศ์. อีกอย่างหนึ่ง วงศ์ของพระ-

อริยะทั้งหลาย คือ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ปัจเจกพุทธเจ้าและพุทธสาวก

ทั้งอดีต อนาคต และปัจจุบันรวมชื่อว่า อริยวงศ์.

ก็แลวงศ์แห่งพระอริยะเหล่านี้นั้น ชื่อว่า อคฺคญฺา ได้แก่ พึงรู้ว่า

ล้ำเลิศ. ชื่อว่า รตฺตญฺา ได้แก่ พึงรู้ว่าประพฤติมานานแล้ว. ชื่อว่า

วสญฺา ได้แก่ พึงรู้ว่าเป็นวงศ์ คือ เชื้อสาย. ชื่อว่า โปราณา ได้แก่

มิใช่เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้. ชื่อว่า อสกิณฺณา ได้แก่ มิใช่กระจัดกระจาย มิใช่ถูก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 89

ทอดทิ้ง. บทว่า อสกิณฺณปุพฺพา ได้แก่ ไม่เคยกระจัดกระจาย พระพุทธเจ้า

ในอดีตไม่เคยทอดทิ้งด้วยเข้าใจว่า ประโยชน์อะไรด้วยอริยวงศ์เหล่านี้. บทว่า

น สกิยนฺติ ได้แก่แม้บัดนี้ ท่านเหล่านั้นก็ไม่ทอดทิ้ง. บทว่า น สกิยิสฺสนฺติ

ได้แก่ แม้พระพุทธเจ้าในอนาคต ก็จักไม่ทอดทิ้ง. สมณพราหมณ์เหล่าใด

ที่เป็นผู้รู้ในโลก อริยวงศ์เหล่านี้อันสมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่คัดค้านแล้ว

คือ สมณพราหมณ์ผู้รู้ไม่ตำหนิ ไม่ติเตียนแล้ว.

บทว่า สนฺตุฏโ โหติ ความว่า เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยสันโดษ.

บทว่า อิตริตเรน ความว่า เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัย หยาบ ละเอียด

เศร้าหมอง ประณีต ถาวรและเก่า อย่างใดอย่างหนึ่ง. โดยที่แท้ ภิกษุย่อม

เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามที่ได้แล้วเป็นต้น ตามมีตามได้ คืออย่างใดอย่างหนึ่ง

ก็ในจีวรสันโดษมีสามคือ ยถาลาภสันโดษ ยินดีตามที่ได้ ยถาพลสันโดษ

ยินดีตามกำลัง ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร. แม้ในบิณฑบาต

เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. เรื่องพิสดารแห่งสันโดษเหล่านั้น พึงทราบ

โดยนัยที่ท่านกล่าวแล้วในพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมที่ยัง

ไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้สันโดษดังนี้เป็นต้น.

ดังนั้น ท่านหมายถึงสันโดษสามเหล่านี้ จึงกล่าวว่า ภิกษุเป็น

ผู้สันโดษด้วยจีวรตามมีตามได้ คือ เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรตามที่ได้แล้วเป็นต้น

อย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้. ก็ในจีวรสันโดษนี้ ภิกษุพึงรู้จักจีวร พึงรู้จักเขตจีวร

พึงรู้จักบังสุกุลจีวร พึงรู้จักสันโดษด้วยจีวร พึงรู้จักธุดงค์ที่เกี่ยวกับจีวร.

ในข้อเหล่านั้น ข้อว่า พึงรู้จักจีวร ได้แก่ พึงรู้จักกับปิยจีวร ๑๒ ชนิด

เหล่านี้คือ จีวร ๖ ที่ทำด้วยเปลือกไม้เป็นต้น และจีวรอันอนุโลม ๖ ที่ทำ

ด้วยผ้าเนื้อดีเป็นต้น และพึงรู้จักอกัปปิยจีวรเป็นต้นอย่างนี้คือ จีวรที่ทำด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 90

เปลือกไม้กรอง จีวรทำด้วยปอ จีวรทำด้วยแผ่นไม้กรอง ผ้ากัมพลทำด้วยผมคน

ผ้าใบลาน หนังเสือ ปีกนกเค้า ผ้าทำด้วยต้นไม้ ผ้าทำด้วยเถาวัลย์ ผ้าทำ

ด้วยตะไคร้น้ำ ผ้าทำด้วยต้นกล้วย ผ้าทำด้วยไม้ไผ่.

ข้อว่าพึงรู้จักเขตจีวร ได้แก่ พึงรู้จักเขต ๖ โดยการเกิดขึ้นอย่างนี้

คือ เกิดโดยสงฆ์บ้าง คณะบ้าง ญาติบ้าง มิตรบ้าง ทรัพย์ของตนบ้าง

บังสุกุลบ้าง และพึงรู้จักเขต ๘ ด้วยมาติกา ๘.

ข้อว่าพึงรู้จักบังสุกุลจีวร ได้แก่ พึงทราบผ้าบังสุกุล ๒๓ อย่างคือ

๑. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า

๒. ผ้าที่เขาทิ้งในตลาด

๓. ผ้าที่เขาทิ้งตามทางรถ

๔. ผ้าที่เขาทิ้งในกองขยะ

๕. ผ้าเช็คครรภ์มลทินของหญิงตลอดบุตร

๖. ผ้าอาบน้ำ

๗. ผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามท่าอาบน้ำหรือท่าข้าม

๘. ผ้าที่เขาห่อคนตายไปป่าช้าแล้ว นำกลับมา

๙. ผ้าถูกไฟไหม้แล้วเขาทิ้ง

๑๐. ผ้าที่โคเคี้ยวแล้วเขาทิ้ง

๑๑. ผ้าปลวกกัดแล้วเขาทิ้ง

๑๒. ผ้าหนูกัดแล้วเขาทิ้ง

๑๓. ผ้าริมขาดแล้วเขาทิ้ง

๑๔. ผ้าขาดชายแล้วเขาทิ้ง

๑๕. ผ้าที่เขาทำเป็นธง

๑๖. ผ้าที่เขาบูชาไว้ที่จอมปลวก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 91

๑๗. ผ้าของภิกษุด้วยกัน

๑๘. ผ้าที่คลื่นทะเลซัดขึ้นฝั่ง

๑๙. ผ้าที่เขาทิ้ง ๆ ไว้ในที่ราชาภิเษก

๒๐. ผ้าที่ตกอยู่ในหนทาง

๒๑. ผ้าที่ถูกลมหอบไป

๒๒. ผ้าสำเร็จด้วยฤทธิ์

๒๓. ผ้าที่เทวดาถวาย.

ก็ในเรื่องผ้านี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า โสตฺถิย คือ

ผ้าที่เขาห่อครรภ์มลทินไปทิ้ง. บทว่า คตปจฺจาคต ความว่า ผ้าที่เขาห่อ

คนตายนำไปป่าช้าแล้วนำกลับมา. บทว่า ธชาหฏ คือผ้าที่เขาให้ยกเป็นธง

ขึ้นแล้ว นำกลับมาจากที่นั้น. บทว่า ถูป คือ ผ้าที่เขาบูชาไว้ที่จอมปลวก

บทว่า สามุทฺทิย คือ ผ้าที่คลื่นทะเลซัดขึ้นฝั่ง. บทว่า ปถิก คือ ผ้า

พวกคนเดินทาง ทุบด้วยแผ่นหินห่มไปเพราะกลัวโจร. บทว่า อิทฺธิมย คือ

จีวรของเอหิภิกษุ. บทที่เหลือ ชัดแจ้งแล้วแล.

ข้อว่า พึงรู้จักจีวรสันโดษ ความว่า จีวรสันโดษในจีวรมี ๒๐ คือ

๑. สันโดษด้วยการตรึก

๒. สันโดษด้วยการเดินทาง

๓. สันโดษด้วยการแสวงหา

๔. สันโดษด้วยการได้

๕. สันโดษด้วยการรับพอประมาณ

๖. สันโดษด้วยการเว้นจากความโลเล

๗. สันโดษตามได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 92

๘. สันโดษตามกำลัง

๙. สันโดษตามสมควร

๑๐. สันโดษด้วยน้ำ

๑๑. สันโดษด้วยการซัก

๑๒. สันโดษด้วยการทำ

๑๓. สันโดษด้วยการกะประมาณ

๑๔. สันโดษด้วยด้าย

๑๕. สันโดษด้วยการเย็บ

๑๖. สันโดษด้วยการย้อม

๑๗. สันโดษด้วยการทำกัปปะ

๑๘. สันโดษด้วยการใช้สอย

๑๙. สันโดษด้วยการเว้นจากการสะสม

๒๐. สันโดษด้วยการสละ.

ในสันโดษ ๒๐ เหล่านั้น อันภิกษุผู้ยินดี อยู่จำพรรษาตลอดไตรมาส

แล้ว ตรึกเพียงหนึ่งเดือนก็ควร. ด้วยว่าเธอปวารณาแล้ว ย่อมทำจีวรในเดือน

ที่เกิดจีวร. ภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ย่อมทำได้โดยกึ่งเดือนเท่านั้น.

การตรึกสิ้นกาลหนึ่งเดือนหรือกึ่งเดือนด้วยประการดังนี้ ชื่อว่า วิตักกสันโดษ.

ก็อันภิกษุผู้ยินดีด้วยวิตักกสันโดษ พึงเป็นเช่นกับพระเถระผู้ถือผ้าบังสุกุล

เป็นวัตร ผู้อยู่ที่ปาจีนขัณฑราชีวิหาร.

ได้ยินว่า พระเถระ มาด้วยหวังว่า จักไหว้พระเจดีย์ ในเจติยบรรพต-

วิหาร ไหว้พระเจดีย์แล้วคิดว่า จีวรของเราเก่า เราจักได้ในที่อยู่ของภิกษุ

มากรูป ท่านไปยังมหาวิหาร พบพระสังฆเถระแล้วจึงถามถึงที่พัก แล้วอยู่

ในวิหารนั้น ในวันรุ่งขึ้นจึงถือเอาจีวรมาไหว้พระเถระ พระเถระกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 93

อะไร ผู้มีอายุ. ท่านตอบว่า ท่านผู้เจริญ กระผมจักไปยังประตูบ้าน พระ-

เถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ แม้เราก็จักไป. ท่านรับว่า ดีละขอรับ แล้วจึงเดินไป

ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูแห่งมหาโพธิ คิดว่า เราจักได้จีวรที่ชอบใจ ในที่อยู่ของคน

ผู้มีบุญทั้งหลาย แล้วคิดว่า ความตรึกของเราไม่บริสุทธิ์ จึงกลับเสียจาก

ที่นั่นเอง ในวันรุ่งขึ้น ไปสู่ที่ใกล้เนิน ชื่อเปนนัมพนะ ในวันรุ่งขึ้น

กลับจากประตูด้านทิศเหนือแห่งมหาเจดีย์อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในวันที่ ๔

ก็ได้ไปยิ่งสำนักพระเถระ. พระเถระคิดว่า การตรึกของภิกษุนี้ จักไม่บริสุทธิ์

ดังนี้แล้ว ถือเอาจีวร ถามปัญหา เข้าไปสู่บ้านกับภิกษุนั้นนั่นเอง. ก็ใน

ราตรีนั้น มนุษย์คนหนึ่ง ปวดอุจจาระแล้วถ่ายอุจจาระรดผ้าจึงผ้านั้นไว้ใน

กองขยะ พระเถระผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เห็นผ้านั้นที่หมู่แมลงวันหัวเขียว

ไต่ตอม จึงประคองอัญชลี. พระมหาเถระถามว่า ผู้มีอายุ ทำไมท่านจึง

ประคองอัญชลีแก่กองขยะ. พระเถระนั้นตอบว่า ท่านผู้เจริญ กระผมมิได้

ประคองอัญชลีแก่กองขยะ กระผมประคองแก่พระทศพล พระบิดาของกระผม

พระทศพลผู้ทรงถือเอาผ้าที่เขาคลุมร่างนางปุณณทาสีทิ้งแล้วเป็นผ้าบังสกุลทรง

สลัดสัตว์เล็ก ๆ ประมาณตุมพะหนึ่ง แล้วทรงถือเอาจากป่าช้า ทรงทำกิจที่ทำได้

ยากแล้ว. พระมหาเถระ คิดว่า ความตรึกของพระเถระผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร

บริสุทธิ์แล้ว แม้พระเถระผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตร ก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้นนั่นเอง

เจริญวิปัสสนา บรรลุผลทั้งสามแล้ว ถือเอาผ้าผืนนั้นกระทำเป็นจีวรห่มแล้ว

ไปสู่ปาจีนขัณฑราชีวิหาร ได้บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลเลิศแล้ว.

ก็การที่ภิกษุ เมื่อจะไปเพื่อต้องการจีวร ไม่คิดว่า เราจักได้ในที่ไหน

ไปโดยมีกัมมัฏฐานเป็นใหญ่เท่านั้น ชื่อว่า คมนสันโดษ (สันโดษ

ด้วยการไป). ก็การที่ภิกษุเมื่อจะแสวงหาจีวร ไม่แสวงหากับภิกษุธรรมดา

พาภิกษุผู้มีความละอายน่ารักไปแสวง ซึ่งว่า ปริเยสนสันโดษ สันโดษด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 94

การแสวงหา. การที่ภิกษุแสวงหาอยู่อย่างนี้ เห็นจีวรที่ทายกนำมาแต่ไกล ไม่

ตรึกอย่างนี้ว่า จีวรนั้นจักน่าชอบใจ จีวรนั้นจักน่าพอใจ แล้วยินดีด้วยจีวร

ที่หยาบหรือละเอียดเป็นต้น ตามที่ตนได้แล้วเท่านั้น ชื่อว่า ปฎิลาภสันโดษ

สันโดษด้วยการได้. การที่ภิกษุแม้เมื่อถือเอาจีวรที่คนได้แล้วอย่างนี้ ยินดีด้วย

จีวรสักว่าเพียงพอแก่ตนเองว่า ผ้าเท่านี้ จักเป็นจีวร ๒ ชั้น ผ้าเท่านี้ จักเป็น

จีวรชั้นเดียว ดังนี้เท่านั้น ชื่อว่า มัตตปฏิคคหณสันโดษ สันโดษด้วยการ

รับเอาแต่พอดี. อนึ่ง การที่ภิกษุแสวงหาจีวรอยู่ ไม่คิดว่า เราจักได้จีวรที่น่า

พอใจ ที่ประตูเรือนของคนโน้น แล้วเที่ยวไปตามลำดับประตู ชื่อว่า โลลุปป-

วิวัชชนสันโดษ สันโดษด้วยการเว้นความโลเลเสีย.

การที่ภิกษุอาจยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยจีวรที่เศร้าหมอง หรือประณีต

อย่างใดอย่างหนึ่ง ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรอันตนได้แล้วอย่างนั่นแล

ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษ สันโดษด้วยปัจจัยตามได้. การรู้จักกำลังของตนแล้ว

ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรที่สามารถจะให้เป็นไปได้ ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ

สันโดษด้วยปัจจัยตามกำลัง. การที่ภิกษุถวายจีวรที่ชอบใจแก่ภิกษุอื่นแล้ว ยัง

อัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรอย่างใดอย่างหนึ่งของตน ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษ

สันโดษด้วยปัจจัยตามสมควร

การไม่เลือกว่า น้ำในที่ไหนชอบใจ ในที่ไหนไม่ชอบใจ ดังนี้แล้ว

ซักจีวรด้วยน้ำที่สมควรซักได้อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อุทกสันโดษ สันโดษ

ด้วยน้ำ. ภิกษุควรเว้นน้ำที่ขุ่นด้วยดินเหลือง ยางไม้และใบไม้เน่า. อันการที่

ภิกษุผู้จะซักจีวร ไม่ทุบด้วยไม้ค้อนเป็นต้น ขยำด้วยมือซัก ชื่อว่า โธวน-

สันโดษ สันโดษด้วยการซัก. อนึ่ง จะซักจีวรที่ไม่สะอาด แม้ด้วยน้ำที่ใส่

ใบไม้ต้มให้ร้อนก็ควร การที่ภิกษุซักทำอยู่อย่างนี้ ไม่ยังจิตให้กำเริบว่า จีวร

นี้หยาบ จีวรนี้ละเอียดดังนี้แล้ว กระทำโดยวิธีที่ให้เพียงพอเท่านั้น ชื่อว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 95

กรณสันโดษ สันโดษด้วยการทำ. การทำจีวรพอปิดมณฑลสามเท่านั้น ชื่อว่า

ปริมาณสันโดษ สันโดษด้วยประมาณ. อนึ่ง การที่ไม่เที่ยวไปโดยคิดว่า

เราจักแสวงหาด้ายที่ชอบใจ เพื่อทำจีวรแล้วถือด้ายชนิดใดชนิดหนึ่งนั่นแล

ที่บุคคลนำมาวางไว้ที่ถนนเป็นต้น หรือที่เทวสถาน หรือที่เขานำมาวางไว้

แทบเท้าแล้วทำ ชื่อว่า สุตตสันโดษ สันโดษด้วยด้าย.

ในเวลาติดผ้ากุสิ พึงสอยเย็บ ๗ ครั้งในที่มีประมาณหนึ่งนิ้ว. ด้วยว่า

เมื่อเธอทำอยู่อย่างนี้ ภิกษุใดไม่เป็นสหาย แม้ภิกษุนั้นก็ไม่เสียธรรมเนียม.

แต่ในที่ประมาณสามนิ้ว ก็ควรสอยเย็บ ๗ ครั้ง. เมื่อเธอทำอยู่อย่างนี้ แม้ภิกษุ

ผู้เดินทาง ก็พึงเป็นสหายแท้. ภิกษุใดไม่เป็นสหาย ภิกษุนั้น ก็ย่อมเสีย

ธรรมเนียม นี้ชื่อว่า สิพพนสันโดษ สันโดษด้วยการเย็บ. ก็ภิกษุผู้จะย้อม

จีวร ไม่ควรเที่ยวแสวงหาน้ำย้อมไทรดำเป็นต้น เธอได้น้ำย้อมมีน้ำย้อมไม้

พะยอมขาวเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็พึงย้อมด้วยน้ำย้อมนั้น. เมื่อไม่ได้

อย่างนั้น พึงถือเอาน้ำย้อมที่พวกชาวบ้านถือเอาปอแล้วทิ้งไว้ในป่า หรือกาก

น้ำย้อมที่พวกภิกษุต้มทิ้งไว้ แล้วจึงย้อม นี้ชื่อว่า รชนสันโดษ สันโดษด้วย

การย้อม. การที่ภิกษุถือเอาสีเขียว สีเปือกตม สีดำ สีคล้ำ อย่างใดอย่างหนึ่ง

ทำกัปปะ (พินทุ) อันปรากฏชัดแก่คนผู้นั่งอยู่บนหลังช้าง ชื่อว่า กัปปสันโดษ

สันโดษด้วยกัปปะ.

การใช้สอยพอปกปิดอวัยวะที่ทำควานละอายให้กำเริบเท่านั้น ชื่อว่า

ปริโภคสันโดษ สันโดษด้วยการใช้สอย. พระมหาสิวเถระกล่าวว่า ก็ภิกษุ

ได้ผ้าแล้ว แต่ยังไม่ได้ด้ายหรือเข็มหรือผู้ทำ จะเก็บไว้ก็ควร แต่เมื่อได้เข็ม

เป็นต้น จะเก็บไว้ไม่ควร แม้จีวรที่ทำแล้ว ถ้าเธอประสงค์จะให้แก่สหธรรมิก

มีอันเตวาสิกเป็นต้น แต่อันเตวาสิกเหล่านั้นยังอยู่ไม่พร้อมกัน จะเก็บไว้จน

กว่าจะมาก็ควร เมื่ออันเตวาสิกเป็นต้น พอมาถึงแล้วควรให้ทีเดียว เมื่อไม่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 96

อาจจะให้ ควรอธิษฐานไว้ เมื่อไตรจีวรอื่นมีอยู่ จะอธิษฐานแม้เป็นผ้าปูนอน

ก็ควร ด้วยว่าจีวรที่ไม่อธิษฐานนั่นแล ย่อมเป็นสันนิธิแท้ จีวรที่อธิษฐานแล้ว

ไม่เป็นสันนิธิ นี้ชื่อว่า สันนิธิปริวัชชนสันโดษ สันโดษด้วยการเว้นการ

สะสม. อนึ่ง อันภิกษุเมื่อจะสละไม่ควรให้เพราะเห็นแก่หน้า พึงตั้งอยู่ใน

สาราณียธรรม แล้วสละให้ดังนี้ นี้ชื่อว่า วิสัชชนสันโดษ สันโดษด้วยการ

สละ. ข้อว่า พึงรู้จักธุดงค์ทั้งหลายที่เกี่ยวด้วยจีวร ได้แก่ปังสุกุลิกังคะ องค์

แห่งภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และเตจีวรกังคะองค์แห่งภิกษุผู้ทรงไตรจีวร

เป็นวัตร. พึงทราบเรื่องพิสดารแห่งธุดงค์เหล่านั้น ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

ภิกษุเมื่อบำเพ็ญมหาอริยวงศ์เกี่ยวด้วยจีวรสันโดษ ชื่อว่า ย่อมรักษาธุดงค์สอง

เหล่านี้ไว้ได้ เมื่อรักษาธุดงค์เหล่านั้น ย่อมเป็นผู้สันโดษด้วยมหาอริยวงศ์

คือจีวรสันโดษ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า วณฺณวาที ความว่า ภิกษุรูปหนึ่ง เป็นผู้สันโดษ แต่

ไม่กล่าวสรรเสริญสันโดษ. รูปหนึ่งไม่สันโดษ แต่กล่าวสรรเสริญสันโดษ.

รูปหนึ่ง ทั้งไม่สันโดษ ทั้งไม่กล่าวสรรเสริญสันโดษ. รูปหนึ่งย่อมเป็นผู้สันโดษ

ด้วย กล่าวสรรเสริญสันโดษด้วย. เพื่อทรงแสดงสันโดษนั้น จึงตรัสว่า

อิตริตรจีวรลนฺตุฏฺิยา จ วณฺณวาที ดังนี้.

บทว่า อเนสน ความว่า ไม่ทำการแสวงหาอันไม่สมควรนานา-

ประการต่างโดยเป็นทูตการรับใช้ส่งข่าว. บทว่า อปฺปฏิรูป แปลว่า ไม่สมควร

บทว่า อลทฺธา จ แปลว่า ไม่ได้แล้ว. ภิกษุบางรูปคิดว่า เราจักได้จีวร

อย่างไรหนอ อยู่รวมกับพวกภิกษุผู้มีบุญทั้งหลาย ทำการหลอกลวงย่อมหวาด

สะดุ้ง อย่างใด ภิกษุผู้สันโดษไม่ได้จีวร ย่อมไม่หวาดสะดุ้ง อย่างนั้น

บทว่า ลทฺธา จ ความว่า ได้โดยธรรม โดยสม่ำเสมอ. บทว่า อคธิโต

คือ ปราศจากเครื่องร้อยคือโลภะ. บทว่า อมุจฺฉิโต ความว่า ไม่ถึงความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 97

สยบด้วยตัณหามีประมาณยิ่ง. บทว่า อนชฺฌาปนฺโน ความว่า ผู้อันตัณหา

ไม่ครอบงำ ไม่รัดรึงไว้. บทว่า อาทีนวทสฺสาวี ความว่า เห็นโทษใน

อาบัติที่เนื่องด้วยอเนสนาและในการบริโภค ลาภที่หมกมุ่น. บทว่า นิสฺสรณ-

ปญฺโ ความว่า รู้ชัดถึงอุบายที่จะถอนตนออกซึ่งที่ท่านกล่าวว่า เพียงเพื่อ

บำบัดความหมายเท่านั้น.

บทว่า อิตริตรจีวรสนฺตุฏฺิยา ความว่า เพราะสันโดษด้วยจีวร

อย่างใดอย่างหนึ่ง. บทว่า เนวตฺตานุกฺกเสติ ความว่า ย่อมไม่ยกตนว่า

เราทรงผ้าบังสุกุลเป็นปกติ เราถือวงศ์ของภิกษุผู้ทรงผ้าบังสุกุลเป็นปกติใน

โรงอุปสมบท ใครเล่าจะเสมอเราดังนี้. บทว่า โน ปร วมฺเภติ ความว่า

ไม่ข่มคนอื่นอย่างนี้ว่า ส่วนภิกษุอื่นๆ เหล่านั้น ไม่ทรงบังสุกลิกะ หรือว่าภิกษุ

เหล่านั้นไม่มีแม้เพียงทรงผ้าบังสุกุล. บทว่า โย หิ ตตฺถ ทกฺโข ความว่า

ภิกษุใดมีทักษะ คือฉลาดสามารถในภาวะกล่าวสรรเสริญเป็นต้นในจีวรสันโดษ

นั้น . บทว่า อนลโส ความว่า เว้นความเกียจคร้านโดยการทำติดต่อกัน .

บทว่า สมฺปชาโน ปติสฺสโต ความว่า ประกอบด้วยปัญญาคือสัมปชัญญะ

และสติ. บทว่า อริยวเส ิโต ได้แก่ ตั้งมั่นแล้วในอริยวงศ์.

บทว่า อิตริตเรน ปิณฺฑปาเตน คือ ด้วยบิณฑบาตอย่างใดอย่างหนึ่ง.

ก็ในบิณฑบาตสันโดษนี้ ภิกษุพึงรู้จักบิณฑบาต พึงรู้จักเขตของบิณฑบาต

พึงรู้จักสันโดษด้วยบิณฑบาต พึงรู้จักธุดงค์ที่เกี่ยวด้วยบิณฑบาต. ในข้อ

เหล่านั้น ข้อว่าบิณฑบาตได้แก่ บิณฑบาต ๑๖ คือ ข้าวสุก ขนมสด ข้าว-

สัตตุ ปลา เนื้อ น้ำนม นมส้ม เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย

ข้าวยาคู ของควรเคี้ยว ของควรลิ้ม ของควรเลีย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 98

ข้อว่า เขตของบิณฑบาต ได้แก่ เขตของบิณฑบาต ๑๕ คือ

๑. สังฆภัต

๒. อุทเทสภัต

๓. นิมันตนภัต

๔. สลากภัต

๕. ปักขิกภัต

๖. อุโปสถิกภัต

๗. ปาฏิปทิกภัต

๘. อาคันตุกภัต

๙. คมิกภัต

๑๐. คิลานภัต

๑๑. คิลานุปัฏฐากภัต

๑๒. ธุรภัต

๑๓. กุฏิภัต

๑๔. วิหารภัต.

ข้อว่าบิณฑบาตสันโดษ ได้แก่ สันโดษในบิณฑบาต ๑๕ คือ

๑. วิตักกสันโดษ

๒. คมนสันโดษ

๓. ปริเยสนสันโดษ

๔. ปฏิลาภสันโดษ

๕. ปฏิคคหณสันโดษ

๖. มัตตปฏิคคหณสันโดษ

๗. โลลุปปวิวัชชนสันโดษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 99

๘. ยถาลาภสันโดษ

๙. ยถาพลสันโดษ

๑๐. ยถาสารุปปสันโดษ

๑๑. อุปการสันโดษ

๑๒. ปริมาณสันโดษ

๑๓. ปริโภคสันโดษ

๑๔. สันนิธิปริวัชชนสันโดษ

๑๕. วิสัชชนสันโดษ.

ในสันโดษเหล่านั้น ภิกษุผู้ยินดีล้างหน้าเสร็จแล้วจึงตรึก. ส่วนปิณ-

ฑปาติกภิกษุไปพร้อมกับคณะในเวลาบำรุงพระเถระตอนเย็นคิดเท่านี้ว่า พรุ่งนี้

จักเที่ยวบิณฑบาตในที่ไหน ในบ้านโน้น เจ้าข้า ดังนี้แล้ว ไม่พึงตรึกต่อจากนั้น.

อัน ภิกษุผู้เที่ยวไปรูปเดียว พึงยืนตรึกในโรงวิตก. เมื่อเธอตรึกต่อจากนั้น

ย่อมชื่อว่า เคลื่อนห่างไกลจากอริยวงศ์ นี้ชื่อว่า วิตักกสันโดษ สันโดษ

ด้วยการตรึก.

เมื่อเข้าไปเพื่อบิณฑบาต ก็ไม่คิดว่าเราจักได้ในที่ไหน พึงไปโดยมุ่ง

กัมมัฏฐานเป็นใหญ่ นี้ชื่อว่า คมนสันโดษ สันโดษด้วยการไป. เมื่อแสวงหา

ก็ไม่พาภิกษุธรรมดาไป พึงพาภิกษุผู้ละอายน่ารักเท่านั้นไปแสวง นี้ ชื่อว่า

ปริเยสนสันโดษ สันโดษด้วยการแสวงหา. เธอเห็นบิณฑบาตที่เขานำมา

แต่ไกล ไม่พึงเกิดจิตคิดว่า นั่นของชอบใจ ไม่ชอบใจดังนี้ นี้ ชื่อว่า

ปฏิลาภสันโดษ สันโดษด้วยการได้. เธอไม่คิดว่า เราจักรับสิ่งนี้ที่ชอบใจ

จักไม่รับสิ่งนี้ที่ไม่ชอบใจดังนี้ แล้วพึงรับอย่างใดอย่างหนึ่งที่พอยังอัตภาพให้

เป็นไปเท่านั้น นี้ ชื่อว่า ปฏิคคหณสันโดษ สันโดษด้วยการรับ. ก็ใน

ปฏิคคหณสันโดษปัจจัยนี้ ไทยธรรมมีมาก ทายกประสงค์จะถวายน้อย เธอ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 100

พึงรับแต่น้อย. ไทยธรรมมีมาก ทั้งทายกประสงค์จะถวายมาก. เธอพึงรับ

แต่พอประมาณเท่านั้น. ไทยธรรมมีไม่มากทั้งทายกประสงค์จะถวายน้อย เธอ

พึงรับแต่น้อย. ไทยธรรมมีไม่มาก ส่วนทายกประสงค์จะถวายมาก เธอพึงรับ

โดยประมาณ. ด้วยว่าภิกษุผู้ไม่รู้จักประมาณในการรับ ย่อมทำลายความเสื่อมใส

ของพวกมนุษย์ยังศรัทธาไทยให้ตก ไม่ทำตามคำสอน ย่อมไม่สามารถจะ

ยึดเหนี่ยวจิตแม้ของมารดาผู้บังเกิดเกล้าไว้ได้. เธอรู้จักประมาณแล้ว พึงรับ

ด้วยอาการอย่างนี้แล นี้ ชื่อว่า มัตตปฏิคคหณสันโดษ สันโดษด้วยการ

รับพอประมาณ. การที่ภิกษุไม่ไปเฉพาะตระกูลมั่งคั่งเท่านั้น เดินไปตามลำดับ

ประตู นี้ชื่อว่า โลลุปปวิวัชชนสันโดษ สันโดษด้วยการเว้นจากความโลเล.

ยถาลาภสันโดษเป็นต้น มีนัยอันกล่าวไว้ในจีวรแล้ว.

การบริโภคบิณฑบาตแล้วรู้อุปการะอย่างนี้ว่า เราจักรักษาสมณธรรม

ดังนี้ บริโภค ชื่อว่า อุปการสันโดษ สันโดษด้วยอุปการะ. เธอไม่พึงรับ

บาตรที่เขาบรรจุเต็มมาถวาย เมื่ออนุปสัมบันมี พึงให้อนุปสัมบันนั้นรับ เมื่อ

ไม่มี เธอให้เขานำออกเสียบ้าง รับแต่พอรับได้ นี้ชื่อ ปริมาณสันโดษ สันโดษ

ด้วยประมาณ. การบริโภคด้วยคิดอย่างนี้ว่า เป็นการบรรเทาความหิว นี้เป็น

อุบายถ่ายถอนในความหิวนี้ นี้ชื่อว่า ปริโภคสันโดษ สันโดษด้วยการบริโภค.

เธอไม่พึงเก็บไว้บริโภค นี้ชื่อว่า สันนิธิปริวัชชนสันโดษ สันโดษด้วยการ

เว้นจากสะสม. เธอไม่เห็นแก่หน้า ตั้งอยู่ในสาราณียธรรม พึงสละ นี้ชื่อว่า

วิสัชชนสันโดษ สันโดษด้วยการสละ. ส่วนธุดงค์ ๕ ที่เกี่ยวด้วยปิณฑบาต

คือ ปิณฑปาติกังคะ สปทานจาริกังคะ เอกาสนิกังคะ ปัตตปิณฑิ-

กังคะ ขลูปัจฉาภัตติกังคะ. ธุดงค์เหล่านั้นมีเรื่องพิสดาร อันกล่าวไว้แล้ว

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ภิกษุผู้บำเพ็ญมหาอริยวงศ์เกี่ยวด้วยปิณฑบาตสันโดษ

ย่อมรักษาธุดงค์ ๕ เหล่านี้ เมื่อรักษาธุดงค์ ๕ เหล่านี้ ชื่อว่าเป็นผู้สันโดษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 101

ด้วยอริยวงศ์ เกี่ยวด้วยปิณฑบาตสันโดษ. บทเป็นต้นว่า วณฺณวาที ดังนี้

พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว.

ในบทว่า เสนาสเนน นี้ พึงรู้จักเสนาสนะ พึงรู้จักเขตเสนาสนะ

พึงรู้จักสันโดษด้วยเสนาสนะ พึงรู้จักธุดงค์ที่เกี่ยวด้วยเสนาสนะ. ในข้อ

เหล่านั้น ข้อว่า เสนาสนะ ได้แก่ เสนาสนะ ๑๕ เหล่านี้ คือ

๑. เตียง

๒. ตั่ง

๓. ฟูก

๔. หมอน

๕. วิหาร

๖. เรือนมุงด้านเดียว

๗. ปราสาท

๘. ปราสาทโล้น

๙. ถ้ำ

๑๐. ที่เร้น

๑๑. ป้อม

๑๒. เรือนโถง

๑๓. พุ่มไผ่

๑๔. โคนต้นไม้

๑๕. หรือที่ ๆ พวกภิกษุหลีกออกไป.

ข้อว่าเขตแห่งเสนาสนะ ได้แก่ เขต ๖ คือ โดยสงฆ์บ้าง คณะ

บ้าง ญาติบ้าง มิตรบ้าง ทรัพย์ของตนบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง.

ข้อว่า เสนาสนสันโดษ ได้แก่ สันโดษในเสนาสนะ ๑๕ มีวิตักก-

สันโดษเป็นต้น. สันโดษเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในบิณฑบาต.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 102

ส่วนธุดงค์ ๕ ที่เกี่ยวด้วยเสนาสนะ คือ อารัญญิกังคะ รุกขมูลิกังคะ

อัพโภกาสิกังคะ โสสานิกังคะ ยถาสันถติกังคะ. เรื่องพิสดารของธุดงค์

เหล่านั้น กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. ภิกษุผู้บำเพ็ญมหาอริยวงศ์เกี่ยว

ด้วยเสนาสนะสันโดษ ย่อมรักษาธุดงค์ ๕ เหล่านั้นไว้ได้ เมื่อรักษาธุดงค์เหล่านี้

ย่อมชื่อว่า เป็นผู้สันโดษด้วยมหาอริยวงศ์เกี่ยวด้วยเสนาสนะสันโดษ

ส่วนคิลานปัจจัยก็อยู่ในบิณฑบาตนั่นเอง. ภิกษุพึงยินดีในคิลานปัจจัยนั้นด้วย

ยถาลาภสันโดษ ยถาพลสันโดษ ยถาสารุปปสันโดษเท่านั้น. เนสัชชิ-

กังคะ ย่อมจัดเข้าอริยวงศ์ข้อยินดีในภาวนา ด้วยประการฉะนี้. สมดังคำที่ท่าน

กล่าวว่า

ปญฺจ เสนาสเน วุตฺตา ปญฺจ อาหารนิสฺสิตา

เอโก วิริยสญฺญุตฺโต เทฺว จ จีวรนิสฺสิตา

ธุดงค์ ๕ อย่าง ท่านกล่าวไว้ใน

เสนาสนะ ๕ อย่าง อาศัยอาหาร อย่างหนึ่ง

ประกอบด้วยความเพียร และ ๒ อย่าง

อาศัยจีวร ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสอริยวงศ์คือจีวรสันโดษเป็นข้อแรก เหมือน

ทรงปูลาดแผ่นดิน เหมือนทรงทำท้องทะเลให้เต็ม และเหมือนทรงขยายอากาศให้

กว้างออกแล้ว จึงตรัสปิณฑปาตสันโดษเป็นข้อที่สอง เหมือนทรงให้พระจันทร์

อุทัยขึ้น และเหมือนทรงทำพระอาทิตย์ให้โลดขึ้น ตรัสอริยวงศ์คือเสนาสนะ-

สันโดษเป็นข้อที่สาม เหมือนทรงยกภูเขาสิเนรุ บัดนี้ เพื่อตรัสอริยวงศ์

คือยินดีในภาวนาเป็นข้อที่สี่ ที่ประดับด้วยนัยพันหนึ่ง ทรงเริ่มเทศนาว่า ปุน

จ ปร ภิกฺขเว ภิกฺขุ ภาวนาราโม โหติ เป็นต้น.

ในบทว่า ภาวนาราโมนั้น ความยินดี ชื่อว่าอารามะ อธิบายว่า

ความยินดียิ่ง. ชื่อว่าภาวนารามะ เพราะภิกษุนั้น ยินดีในภาวนาการเจริญ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 103

ชื่อว่าภาวนารตะ เพราะยินดีแล้วในภาวนา. ชื่อว่าปหานารามะ เพราะยินดีใน

ปหานะการละ ๕ อย่าง อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าภาวนารามะ เพราะเจริญอยู่จึงยินดี

ชื่อว่าปหานารามะ เพราะละอยู่จึงยินดี. ในภาวนาและปหานะนี้ พึงทราบความ

อย่างนี้. จริงอยู่ ภิกษุนี้เจริญสติปัฏฐาน ๔ อยู่ย่อมยินดี อธิบายว่า ย่อมได้

ความยินดี. เจริญสัมมัปปธาน ๔ อยู่ก็เหมือนกัน เมื่อเจริญอิทธิบาท ๔

อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อนุปัสสนา ๗ มหาวิปัสสนา ๑๘ โพธิ-

ปักขิยธรรม ๓๗ เจริญการแจกอารมณ์ ๓๘ อยู่ย่อมยินดี ย่อมได้ความยินดี.

อนึ่ง ละกิเลสมีกามฉันทะเป็นต้นอยู่ ก็ยินดีได้ความยินดี. ส่วนในอริยวงศ์

๔ เหล่านี้ วินัยปิฎกทั้งสิ้นเป็นอันตรัสด้วยธุดงค์ ๑๓ และความสันโดษด้วย

ปัจจัย ๔ ด้วยอริยวงศ์สามข้อแรกก่อน. สองปิฎกที่เหลือ ตรัสด้วยอริยวงศ์

ข้อยินดีในภาวนา. ก็ภิกษุเมื่อกล่าวอริยวงศ์ข้อยินดีในภาวนานี้ พึงกล่าวโดย

เนกขัมมบาลีในปฏิสัมภิทามรรค พึงกล่าวโดยปริยายแห่งทสุตตรสูตรใน

ทีฆนิกาย พึงกล่าวโดยปริยายแห่งสติปัฏฐานสูตรในมัชฌิมนิกาย พึงกล่าว

โดยปริยายแห่งนิทเทสในอภิธรรม.

บรรดาคำเหล่านั้น คำว่า ปฏิสมฺภิทามคฺเค เนกฺขมฺมปาลิยา

ได้แก่ พึงกล่าวตามเนกขัมมบาลีในปฏิสัมภิทามรรคอย่างนี้ว่า เธอเมื่อเจริญ

เนกขัมมะ ก็ยินดี ละกามฉันทะ ก็ยินดี เมื่อเจริญอัพยาบาท ก็ยินดี ละพยาบาท

ก็ยินดี เมื่อเจริญอาโลกสัญญา ก็ยินดี ละถีนมิทธะ ก็ยินดี เมื่อเจริญอวิกเขปะ

ความไม่ฟุ้งซ่าน ก็ยินดี ละอุทธัจจะ ก็ยินดี เมื่อเจริญธัมมวิวัฏฐานะการกำหนด

ธรรม ก็ยินดี ละ วิจิกิจฉา ก็ยินดี เมื่อเจริญญาณ ก็ยินดี ละอวิชชา ก็ยินดี

เมื่อเจริญปราโมทย์ ก็ยินดี ละอรติความริษยา ก็ยินดี เมื่อเจริญปฐมฌาน

ก็ยินดี ละนิวรณ์ ๕ ก็ยินดี เมื่อเจริญทุติยฌาน ก็ยินดี ละวิตกวิจาร ก็ยินดี

เมื่อเจริญตติยฌานก็ยินดี ละปีติ ก็ยินดี เมื่อเจริญจตุตถฌานก็ยินดี ละสุข

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 104

ทุกข์ ก็ยินดี เมื่อเจริญอากาสานัญจายตนสมาบัติก็ยินดี ละรูปสัญญา ปฏิฆ-

สัญญา นานัตตสัญญา ก็ยินดี เมื่อเจริญวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ

เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ก็ยินดี ละอากิญจัญญายตนสัญญาก็ยินดี.

เมื่อเจริญอนิจจานุปัสสนา ก็ยินดี ละนิจจสัญญาก็ยินดี เมื่อเจริญ

ทุกขานุปัสสนา ก็ยินดี ละสุขสัญญาก็ยินดี เมื่อเจริญอนัตตานุปัสสนา ก็ยินดี

ละอัตตสัญญาก็ยินดี เมื่อเจริญนิพพิทานุปัสสนา ก็ยินดี ละนันทิก็ยินดี

เมื่อเจริญวิราคานุปัสสนา ก็ยินดี ละราคะก็ยินดี เมื่อเจริญนิโรธานุปัสสนา

ก็ยินดี ละสมุทัยก็ยินดี เมื่อเจริญปฏินิสสัคคานุปัสสนา ก็ยินดี ละอาทานะ

ก็ยินดี เมื่อเจริญขยานุปัสสนา ก็ยินดี ละฆนสัญญาก็ยินดี เมื่อเจริญวยา-

นุปัสสนา ก็ยินดี ละอายุหนะเห็นว่าเจริญขึ้นก็ยินดี เมื่อเจริญวิปริณามา-

นุปัสสนา ก็ยินดี ละธุวสัญญาก็ยินดี เมื่อเจริญอนิมิตตานุปัสสนา ก็ยินดี

ละนิมิตก็ยินดี เมื่อเจริญอัปปณิหิตานุปัสสนา ก็ยินดี ละปณิธิก็ยินดี เมื่อเจริญ

สุญญตานุปัสสนา ก็ยินดี ละอภินิเวสก็ยินดี เมื่อเจริญอธิปัญญาธรรมวิปัสสนา

ก็ยินดี ละสาราทานาภินิเวสก็ยินดี เมื่อเจริญยถาภูตญาณทัสสนะ ก็ยินดี

ละสัมโมหาภินิเวสก็ยินดี เมื่อเจริญอาทีนวานุปัสสนา ก็ยินดี ละอาลยาภินิเวส

ก็ยินดี เมื่อเจริญปฏิสังขานุปัสสนา ก็ยินดี ละอัปปฎิสังขะก็ยินดี เมื่อเจริญ

วิวัฎฎานุปัสสนา ก็ยินดี ละสังโยคาภินิเวสก็ยินดี เมื่อเจริญโสดาปัตติมรรค

ก็ยินดี ละกิเลสที่ตั้งอยู่แห่งเดียวอันมรรคเห็นแล้วก็ยินดี เมื่อเจริญสกทา

คามิมรรค ก็ยินดี ละกิเลสอย่างหยาบก็ยินดี เมื่อเจริญอนาคามิมรรค ก็ยินดี

ละกิเลสที่ร่วมด้วยอนุสัยก็ยินดี เมื่อเจริญอรหัตมรรค ก็ยินดี ละสรรพกิเลส

ก็ยินดี ดังนี้.

คำว่า ทีฆนิกาเย ทสุตฺตรสุตฺตนฺตปริยาเยน ได้แก่ พึงกล่าว

โดยปริยายแห่งทสุตตรสูตรในทีฆนิกายอย่างนี้ว่า เมื่อเจริญธรรมอย่างหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 105

ก็ยินดี ละธรรมอย่างหนึ่งก็ยินดี ฯลฯ เมื่อเจริญธรรม ๑๐ ก็ยินดี ละธรรม

๑๐ ก็ยินดี เมื่อเจริญธรรมอย่างหนึ่ง ก็ยินดีเป็นไฉน ? คือ กายคตาสติที่

ประกอบด้วยความแช่มชื่น ชื่อว่าเจริญธรรมอย่างหนึ่งก็ยินดี เมื่อละธรรม

อย่างหนึ่งก็ยินดีเป็นไฉน ? คือ อัสมิมานะ ชื่อว่าละธรรมอย่างหนึ่งนี้ก็ยินดี

เมื่อเจริญธรรม ๒ ก็ยินดีเป็นไฉน ? ฯลฯ เมื่อเจริญธรรม ๑๐ ก็ยินดีเป็นไฉน

คือ กสิณายตนะ ๑๐. ชื่อว่าเจริญธรรม ๑๐ เหล่านี้ก็ยินดี. เมื่อละธรรม ๑๐

ก็ยินดีเป็นไฉน ? คือ มิจฉัตตะ ๑๐ ชื่อว่าละธรรม ๑๐ เหล่านี้ก็ยินดี ภิกษุ

เป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดีอย่างนี้แล.

คำว่า มชฺฌิมนิกาเย สติปฏฺานสุตฺตนฺตปริยาเยน ได้แก่

พึงกล่าวโดยปริยายแห่งสติปัฏฐานสูตร ในมัชณิมนิกายอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย หนทางนี้เป็นหนทางไปอันเอก ฯลฯ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอ

แต่เพียงสักว่าญาณ แต่เพียงสักว่าความอาศัยระลึก. เธอย่อมมีสันดานอัน

ตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่ และไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในภาวนาอย่างนี้แล. เป็นผู้มีปหานะ

เป็นที่ยินดี ยินดีแล้วในปหานะ. อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดินก็รู้ชัดว่า เรา

กำลังเดิน. ฯลฯ อีกข้อหนึ่ง เหมือนอย่างว่าภิกษุพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้แล้ว

ในป่าช้า ฯลฯ เป็นของผุ เป็นจุณ. เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้แลว่า ถึง

ร่างกายนี้ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดาเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้.

อย่างนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายในบ้าง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดีอย่างนี้แล.

คำว่า อภิธมฺเม นิทฺเทสปริยาเยน บัณฑิตพึงกล่าวโดยปริยาย

แห่งนิทเทสอย่างนี้ว่า เธอเมื่อเห็นสังขตธรรมแม้ทั้งปวง โดยความเป็นของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 106

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นผี โดยความเป็นสังกิเลส เศร้าหมอง

ย่อมยินดี. ภิกษุเป็นผู้มีภาวนาเป็นที่ยินดีอย่างนี้แล.

บทว่า เนวตฺตานุกฺกเสติ ความว่า ภิกษุย่อมไม่ทำการยกตนอย่าง

นี้ว่า เมื่อเราทำกรรมในวิปัสสนาว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตามาตลอด

๖๐ ปี ๗๐ ปี ถึงปัจจุบันนี้ ใครเล่าจะเป็นผู้เสมอเราดังนี้. บทว่า โน ปร

วมฺเภติ ความว่า ย่อมไม่ทำการข่มคนอื่นอย่างนี้ว่า แม้เพียงวิปัสสนาว่า

ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ดังนี้ ก็ไม่มี ทำไมพวกเหล่านี้จึงละเลยกัมมัฏฐานเที่ยวไป

ดังนี้. บทที่เหลือมีนัยอันกล่าวแล้วทั้งนั้น.

บทว่า อิเม โข ภิกฺขเว จตฺตาโร อริยวสา ความว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงยักเยื้องพระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยวงศ์ ๔ เหล่านี้

เป็นวงศ์ของพระอริยะ เป็นเชื้อสายของพระอริยะ เป็นทางของพระอริยะ เป็น

หนทางไปของพระอริยะ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อทรงแสดงอิสระโดยภิกษุผู้บำเพ็ญ

มหาอริยวงศ์ จึงตรัสว่า อิเมหิ จ ปน ภิกฺขเว เป็นต้น . ในบทเหล่านั้น

บทว่า เสฺวว อรตึ สหติ ความว่า เธอเท่านั้น ย่อมย่ำยีครอบงำความ

ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง ความเอือมระอาเสียได้. บทว่า น ต อรติ สหติ

ความว่า ชื่อว่าความไม่ยินดี ในการเจริญอธิกุศล ในเสนาสนะที่สงัดนั้นใด

ความไม่ยินดีนั้น ย่อมไม่สามารถจะย่ำยีครอบงำภิกษุนั้นได้. บทว่า อรติร-

ติสโห ความว่า ภิกษุผู้มีปัญญาย่อมย่ำยี สามารถครอบงำความไม่ยินดี

และความยินดีในกามคุณ ๕.

บัดนี้ เมื่อทรงถือเอายอดธรรมด้วยคาถาทั้งหลาย จึงตรัสคำว่า นารตี

เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ธีร คือผู้มีความเพียร. บทว่า นารตี

ธีรสหติ นี้เป็นคำกล่าวเหตุแห่งบทแรก. เพราะเหตุที่ความไม่ยินดี ไม่ย่ำยี

ภิกษุผู้มีปัญญา คือ ย่อมไม่สามารถจะย่ำยี คือ ครอบงำภิกษุผู้มีปัญญาได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 107

ฉะนั้น ความไม่ยินดีจึงหาย่ำยีภิกษุผู้มีปัญญาได้ไม่. บทว่า ธีโร หิ อรตึสโห

ความว่า เพราะเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ข่มความไม่ยินดีได้ ชื่อว่า ผู้มีปัญญา เพราะ

ข่มความไม่ยินดีได้ ฉะนั้น เธอจึงข่มความไม่ยินดีได้. บทว่า สพฺพกมฺม-

วิหายิน ความว่า ภิกษุผู้สละกรรมเป็นไปในภูมิสามทั้งปวงแล้ว คือ ตัดขาด

ทางรอบด้านแล้ว . บทว่า ปนุณฺณ โก นิวารเย ความว่า ราคะก็ดี

โทสะก็ดี อะไรเล่าจะมาขัดขวางผู้บรรเทากิเลสทั้งหลายได้แล้ว. บทว่า เนกฺข

ชมฺโพนทสฺเสว โก น นินฺทิตุมรหติ ความว่า ใครเล่าจะติบุคคลนั้น

ผู้หลุดพ้นจากโทษที่จะพึงติ ดุจแท่งทองคำธรรมชาติที่เรียกว่า ชมพูนุท.

บทว่า พฺรหฺมุนาปิ ปสสิโต ความว่า ถึงพรหมก็สรรเสริญบุคคลนั้น.

เวลาจบเทศนา ภิกษุสี่หมื่นรูปก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต.

จบอรรถกถาอริยวังสสูตรที่ ๘

๙. ธัมมปทสูตร

ว่าด้วยธรรมบทที่บัณฑิตสรรเสริญ ๔

[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมบท (ข้อธรรม) ๔ ข้อนี้ปรากฏ

ว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ ยั่งยืนเป็นแบบแผนมาแต่เก่าก่อน ไม่ถูกทอดทิ้งแล้ว

ไม่เคยถูกทอดทิ้งเลย (ในอดีตกาล) ไม่ถูกทอดทิ้งอยู่ (ในปัจจุบันกาล)

จักไม่ถูกทอดทิ้ง (ในอนาคตกาล) สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้าน

แล้ว ธรรมบท ๔ ข้อ คืออะไรบ้าง คือ อนภิชฌา อพยาบาท สัมมาสติ

สัมมาสมาธิ นี้แลธรรมบท ๔ ข้อ ที่ปรากฏว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ ฯลฯ

สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 108

พึงเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา มีใจไม่พยา

บาท มีสติ มีจิตแน่วแน่ มั่นอยู่ในภายใน.

จบธัมมปทสูตรที่ ๙

อรรถกถาธัมมปทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในธรรมปทสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ธมฺมปทานิ คือส่วนแห่งธรรม. ในบทว่า อนภิชฺฌา

เป็นต้น พึงทราบอนภิชฌา โดยเป็นข้าศึกของอภิชฌา. อัพยาบาทโดยเป็น

ข้าศึกของพยาบาท สัมมาสติโดยเป็นข้าศึกของมิจฉาสติ พึงทราบสัมมาสมาธิ

โดยเป็นข้าศึกของมิจฉาสมาธิ.

บทว่า อนภิชฺฌาลุ คือไม่มีตัณหา. บทว่า อพฺยาปนฺเนน เจตสา

ความว่า มีจิตไม่ละปกติภาพตลอดกาลทั้งปวง. บทว่า สโต เอกคฺคจิตฺตสฺส

ความว่า ผู้ประกอบด้วยสติมีจิตแน่วแน่ในอารมณ์เดียว. บทว่า อชฺฌตฺต

สุสมาหิโต ความว่า ผู้มีจิตตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในภายในแน่นอน. ตรัสวัฏฏะ

และวิวัฏฏะไว้ทั้งในพระสูตร ทั้งในคาถา.

จบอรรถกถาธัมมปทสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 109

๑๐. ปริพาชกสูตร

ว่าด้วยตรัสธรรม ๔ แก่ปริพาชก

[๓๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ

กรุงราชคฤห์ สมัยนั้น ปริพาชกผู้มีชื่อเสียงปรากฏหลายคนอยู่ที่อารามปริพาชก

แทบฝั่งแม่น้ำสัปปินี คือปริพาชกชื่ออันนภาระ ชื่อวธระ ชื่อสกุลุทายิและ

ปริพาชกมีชื่อเสียงปรากฏอื่นอีก ครั้งนั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

ออกจากที่เร้นแล้วเสด็จไปอารามปริพาชกนั้น ครั้นเสด็จถึงแล้วประทับนั่ง ณ

อาสนะที่เขาจัดไว้แล้ว จึงตรัสกะปริพาชกทั้งหลายว่า

ปริพาชกทั้งหลาย ธรรมบท ๔ ข้อนี้ ปรากฏว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ

ฯลฯ สมณพราหมณ์ทั้งหลายที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว ธรรมบท ๔ ข้อคือ

อะไรบ้าง คือ อนภิชฌา อพยาบาท สัมมาสติ สัมมาสมาธิ นี้แล

ธรรมบท ๔ ข้อที่ปรากฏว่าเป็นข้อธรรมอันเลิศ ฯลฯ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ที่เป็นผู้รู้ไม่คัดค้านแล้ว.

ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักเลิกถอนธรรมบท

คืออนภิชฌาเสียแล้ว บัญญัติ (แต่งตั้ง ยกย่อง) สมณะหรือพราหมณ์ผู้มี

อภิชฌาผู้กำหนัดกล้าในกามทั้งหลาย (ว่าเป็นคนดี) ดังนี้ ในชื่อนี้เราจะว่า

กะผู้นั้นว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด เราจะคอยดูอานุภาพ ปริพาชกทั้งหลาย

ข้อที่ผู้นั้นนะ จักเลิกถอนธรรมบทคืออนภิชฌาเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือ

พราหมณ์ผู้มีอภิชฌาผู้มีความกำหนัดกล้าในกามทั้งหลาย (ว่าเป็นคนดี นั่น

เป็นไปไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 110

ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักเลิกถอนธรรมบท

คืออพยาบาทเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาทมีน้ำใจดุร้าย

(ว่าเป็นคนดี) ดังนี้ ในข้อนี้เราจะว่ากะผู้นั้นว่า จงมา จงกล่าว จงสำแดง เรา

จะคอยดูอานุภาพ ปริพาชกทั้งหลาย ข้อที่ผู้นั้นนะ จักเลิกถอนธรรมบทคือ

อพยาบาทเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้มีจิตพยาบาทมีน้ำใจดุร้าย (ว่า

เป็นคนดี) นั่นเป็นไปไม่ได้

ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักเลิกถอนธรรมบท

คือสัมมาสติเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้หลงลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ

(ว่าเป็นคนดี) ดังนี้ ในข้อนี้เราจะว่ากะผู้นั้นว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด

เราจะคอยดูอานุภาพ ปริพาชกทั้งหลาย ข้อที่ผู้นั้นนะ จักเลิกถอนธรรมบท

คือสัมมาสติเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้หลงลืมสติไม่มีสัมปชัญญะ

(ว่าเป็นคนดี) นั่นเป็นไปไม่ได้.

ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดจะพึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าจักเลิกถอนธรรมบท

คือสัมมาสมาธิเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด

(ว่าเป็นคนดี) ดังนี้ ในข้อนี้เรากะว่ากะผู้นั้นว่า จงมา จงกล่าว จงพูดเถิด

เราจะคอยดูอานุภาพ ปริพาชกทั้งหลาย ข้อที่ผู้นั้นนะ จักเลิกถอนธรรมบท

คือสัมมาสมาธิเสียแล้ว บัญญัติสมณะหรือพราหมณ์ผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตหมุน

ไปผิด (ว่าเป็นคนดี) นั่นเป็นไปไม่ได้.

ปริพาชกทั้งหลาย ผู้ใดมาสำคัญเห็นธรรมบท ๔ ข้อนี้ว่าเป็นข้อ

ควรติควรคัดค้าน ผู้นั้นย่อมได้รับคำติฉินอันสมแก่เหตุ ตกอยู่ในฐานะอันน่า

ติเตียน ๔ ประการในปัจจุบันนี้ ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 111

ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคืออนภิชฌาไซร้ สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใด เป็นผู้มีอภิชฌามีความกำหนัดกล้าในกามทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้นก็ต้องเป็นที่บูชา... เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น

ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคืออพยาบาทไซร้ สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใด เป็นผู้มีจิตพยาบาทมีใจดุร้าย สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ต้องเป็น

ที่บูชา . . . เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น

ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคือสัมมาสติไซร้ สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเป็นผู้หลงลืมสติไม่มีสัมปชัญญะ สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นก็ต้อง

เป็นที่บูชา. . . เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น

ถ้าผู้นั้นติเตียนคัดค้านธรรมบทคือสัมมาสมาธิไซร้ สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเป็นผู้ไม่มีสมาธิ มีจิตหมุนไปผิด สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้นก็ต้องเป็นที่บูชา. . . เป็นที่ยกย่องของผู้นั้น

ผู้ใดมาสำคัญเห็นธรรมบท ๔ ข้อนี้ว่าเป็นข้อควรติควรคัดค้าน ผู้นั้น

ย่อมได้รับคำติฉินอันสมแก่เหตุ ตกอยู่ในฐานะที่น่าติเตียน ๔ ประการนี้ ใน

ปัจจุบันนี่แล

ปริพาชกทั้งหลาย แม้แต่ปริพาชกชื่อวัสสะและภัญญะ ชาวชนบท

อุกกละ ผู้เป็นอเหตุกวาทะ อกิริยวาทะ นัตถิกวาทะ ยังไม่สำคัญเห็นธรรมบท

๔ ข้อนี้ว่าเป็นข้อควรติควรคัดค้าน นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะกลัวถูกนินทา

ว่าร้ายและเกลียดชัง

ผู้ไม่พยาบาท มีสติทุกเมื่อ มีใจ

ตั้งมั่นในกายใน ศึกษาในอันกำจัดอภิชฌา

เรียกว่าผู้ไม่ประมาท.

จบปริพาชกสูตรที่ ๑๐

จบอุรุเวลวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 112

อรรถกถาปริพาชกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปริพาชกสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิญฺาตา ได้แก่ ผู้มีชื่อที่รู้จักกันคือปรากฏ. บทว่า

อนฺนภาโร เป็นต้น เป็นชื่อของปริพาชกเหล่านั้น. บทว่า ปฏิสลฺลานา

วุฏฺิโต ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จออกจากผลสมาบัติ. ก็ผลสมาบัตินั้น

ท่านประสงค์ว่าที่เร้นในที่นี้. บทว่า ปจฺจกฺขาย คือคัดค้าน. บทว่า

อภิชฺฌาลุ คือผู้มีตัณหา. บทว่า กาเมสุ ติพฺพสาราค ความว่า ผู้มีราคะ

ความกำหนัดมากในวัตถุกาม. บทว่า ตมห ตตฺถ เอว วเทยฺย ความว่า

เมื่อเขากล่าวคำนั้น เราจะกล่าวอย่างนี้ในเหตุนั้น . บทว่า ปฏิกฺโกสิตพฺพ

มญฺเยฺย ความว่า ผู้ใดมาสำคัญว่าควรคัดค้าน คือว่าควรห้าม. บทว่า

สหธมฺมิกา ได้แก่พร้อมกับเหตุ บทว่า วาทานุปาตา ความว่า ก็เบียดเบียน

วาทะที่ประกอบด้วยธรรม ก็ตกไปตามวาทะที่ไม่ประกอบด้วยธรรม อธิบายว่า

ประพฤติตามวาทะ. บทว่า คารยฺหา านา คือปัจจัยอันควรติเตียน. บทว่า

อาคจฺฉนฺติ คือย่อมเข้าถึง.

บทว่า อุกฺกลา คือชาวชนบทอุกกละ. บทว่า วสฺสภญฺา คือ

ปริพาชก ๒ คน ชื่อวัสสะ และภัญญะ. บทว่า อเหตุกวาทา ความว่า

ทั้ง ๒ คนเป็นผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เพื่อความ

หมดจดแห่งสัตว์ทั้งหลายดังนี้. บทว่า อกิริยวาทา ความว่า ผู้มีวาทะปฏิเสธ

กิริยวาทะอย่างนี้ว่า เมื่อบุคคลทำอยู่ บาปไม่ชื่อว่าอันบุคคลทำดังนี้. บทว่า

นตฺถิกวาทา ความว่า ผู้มีวาทะเป็นต้นอย่างนี้ว่า ทานที่ทายกให้แล้วไม่มีผล

ดังนี้ . คนทั้ง ๒ เหล่านั้น เป็นผู้ดิ่งลงในทัสนะทั้ง ๓ เหล่านี้. ถามว่า ก็ใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 113

คนเหล่านั้น กำหนดได้อย่างไร ? ตอบว่า ก็ผู้ใดถือลัทธิเห็นปานนี้ นั่ง

สาธยายพิจารณาอยู่ในสถานที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน มิจฉาสติของผู้นั้น

ย่อมตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์นั้นว่า เหตุไม่มี ปัจจัยไม่มี เมื่อบุคคลทำอยู่ บาป

ย่อมไม่ชื่อว่าอันบุคคลทำ ฯลฯ ทานที่ทายกให้แล้วไม่มีผล ฯลฯ เพราะกายแตก

ย่อมขาดสูญ ดังนี้ จิตย่อมแน่วแน่ ชวนจิตทั้งหลายย่อมแล่นไป ในชวนจิต

ที่หนึ่ง ผู้นั้น ยังเป็นผู้แก้ไขได้ ในชวนจิตที่สองเป็นต้น ก็อย่างนั้น ในชวนจิต

ที่เจ็ด ผู้นั้นแม้พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็แก้ไขไม่ได้ไม่กลับมา ย่อมเป็นเช่น

เดียวกับอริฏฐภิกษุและกัณฏกสามเณร. บรรดาทัสนะ ๓ อย่างนั้น บางคน

หยั่งสู่ทัสนะเดียว บางคน ๒ ทัสนะ บางคน ๓ ทัสนะ เขาย่อมชื่อว่า

นิยตมิจฉาทิฏฐิกะทั้งนั้น เขาต้องห้ามทางสวรรค์ และต้องห้ามทางพระนิพพาน

ไม่ควรจะไปสู่สวรรค์ ในลำดับแห่งอัตภาพนั้น จะต้องกล่าวไปไย ถึงพระ-

นิพพานเล่า. อธิบายว่า สัตว์ผู้นี้เป็นผู้เฝ้าแผ่นดิน ชื่อว่าเป็นตอในวัฏฏะ.

โดยมากสัตว์เห็นปานนี้ไม่ออกจากภพ. ถึงวัสสะ และภัญญะปริพาชกก็เป็น

เช่นนี้. บทว่า นินฺทาพฺยาโรสนาอุปารมฺภภยา ความว่า เพราะตนกลัว

นินทา กลัวเกลียดชัง และกลัวเขาว่าร้ายดังนี้ .

บทว่า อภิชฺฌาวินเย สิกฺข ความว่า พระอรหัต เรียกว่าธรรมเครื่อง

กำจัดอภิชฌา ผู้ศึกษาในพระอรหัตอยู่ เรียกว่าผู้ไม่ประมาทดังนี้. ตรัสทั้ง

วัฏฏะทั้งวิวัฏฏะไว้ในพระสูตรแล้ว จึงตรัสผลสมาบัติไว้ในพระคาถา ด้วย

ประการฉะนี้.

จบอรรถกถาปริพาชกสูตรที่ ๑๐

จบอุรุเวลวรรควรรณนาที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 114

รวมพระสูตรที่มีในอุรุเวลวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอุรุเวลสูตร ๒. ทุติยอุรุเวลสูตร ๓. โลกสูตร ๔ กาฬก-

สูตร ๕. พรหมจริยสูตร ๖. กุหสูตร ๗. สันตุฏฐิสูตร ๘. อริยวังสสูตร

๙. ธัมมปทสูตร ๑๐. ปริพาชกสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 115

จักกวรรคที่ ๔

๑. จักกสูตร

ว่าด้วยจักร ๔

[๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักร (คือธรรมดุจล้อรถ) ๔ ประการนี้

เป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบพร้อมแล้วได้จักร (ที่จะหมุน

นำไปสู่ความเจริญ) ๔ ประการ เป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบ

พร้อมแล้ว ถึงความใหญ่ความไพบูลย์ในโภคทรัพย์ทั้งหลายไม่นานเลย จักร

๔ ประการ คืออะไร คือ ปฏิรูปเทสวาสะ (ความอยู่ในถิ่นที่เหมาะ) ๑

สัปปุริสูปัสสยะ (ความพึ่งพิงสัตบุรุษ) ๑ อัตตสัมมาปณิธิ (ความตั้งตน

ไว้ชอบ) ๑ ปุพเพกตปุญญตา (ความเป็นผู้มีความดีอันได้ทำไว้ก่อน) ๑

นี้แลจักร ๔ ซึ่งเป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบพร้อมแล้วได้

จักร ๔ ประการ เป็นเหตุให้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ประกอบพร้อมแล้ว

ถึงความใหญ่ความไพบูลย์ในโภคทรัพย์ทั้งหลายไม่นานเลย

นรชนพึงอยู่ในถิ่นที่เหมาะ พึงทำ

อารยชนให้เป็นมิตร ถึงพร้อมด้วยความ

ตั้งตนไว้ชอบ มีความดีอันได้ทำไว้ก่อน

ข้าวเปลือก ทรัพย์ ยศ เกียรติ และความ

สุข ย่อมพรั่งพรูมาสู่นรชนผู้นั้น.

จบจักกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 116

จักรวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาจักกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจักกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า จกฺกานิ คือ สมบัติ. บทว่า จตุจกฺก วตฺตติ ความว่า

จักรคือสมบัติ ๔ ย่อมหมุนสืบต่อกัน ไป. บริษัท ๔ ย่อมปรากฏพร้อมในถิ่นใด

ความอยู่ในถิ่นอันสมควรเห็นปานนั้น ชื่อว่า ปฏิรูปเทสวาสะ ความอยู่ใน

ถิ่นที่เหมาะ. ความพึ่งพิงคบหาสัตบุรุษมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ชื่อว่า สัปปุริสู-

ปัสสยะ ความพึ่งพิงสัตบุรุษ. การตั้งตนไว้ชอบ คือ ถ้าเป็นคนประกอบ

ด้วยความไม่มีสัทธาเป็นต้นมาก่อน การละความไม่มีสัทธาเหล่านั้นเสียแล้ว

ตั้งอยู่ในสัทธาเป็นต้น ชื่อว่า อัตตสัมมาปณิธิ ความตั้งคนไว้ชอบ. ความ

เป็นผู้มีกุศลอันสั่งสมไว้ในกาลก่อน ชื่อว่า ปุพฺเพ จ กตปฺญฺตา ความเป็น

ผู้ทำบุญมาก่อน. ข้อนี้แหละถือเอาเป็นประมาณในจักร ๔ นี้. เพราะว่า กุศล-

กรรมเท่านั้นอัน คนใดด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยญาณอันใด กุศลจิตนั้น แหละย่อม

นำคนนั้นเข้าไปอยู่ในถิ่นที่เหมาะ ให้เขาคบหาสัตบุรุษ. ก็บุคคลนั้น ชื่อว่าตั้ง

คนไว้ชอบด้วยอาการอย่างนี้. บทว่า ปุญฺกโต แปลว่า ได้ทำบุญไว้แล้ว.

บทว่า สุขฺเจต อธิวตฺตติ ความว่า และความสุข ย่อมพรั่งพรู คือ แผ่

ลงมาสู่บุคคลนั้นดังนี้.

อรรถกถาจักรสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 117

๒. สังคหสูตร

ว่าด้วยสังคหวัตถุ ๔ ประการ

[๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ (ธรรมเป็นเครื่องสงเคราะห์)

๔ ประการนี้ สังคหวัตถุ ๔ ประการ คืออะไร คือ ทาน (การให้ปัน) ๑

เปยยวัชชะ (เจรจาไพเราะ) ๑ อัตถจริยา (บำเพ็ญประโยชน์ต่อกัน ) ๑

สมานัตตตา (ความวางตนสม่ำเสมอ) ๑ นี้แล ภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ ๔

ประการ.

การให้ปัน ๑ เจรจาไพเราะ ๑

บำเพ็ญประโยชน์ ๑ ความวางตนสม่ำเสมอ

ในธรรมนั้น ๆ ตามควร ๑ เหล่านี้แลเป็น

ธรรมเครื่องสงเคราะห์ในโลก เหมือนสลัก

(ที่หัวเพลา) คุมรลที่แล่นไปอยู่ฉะนั้น ถ้า

ธรรมเครื่องสงเคราะห์เหล่านี้ไม่มีไซร้

มารดาหรือบิดาก็จะไม่พึงได้รับความ

นับถือหรือบูชา เพราะเหตุบุตร ก็เพราะ

เหตุที่บัณฑิตทั้งหลายยังเหลียวแลธรรม-

เครื่องสงเคราะห์เหล่านี้อยู่ เพราะเหตุนั้น

บัณฑิตเหล่านั้น จึงได้ถึงความเป็นใหญ่

และเป็นที่น่าสรรเสริญ.

จบสังคหสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 118

อรรถกถาสังคหสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังคหสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สงฺคหวตฺถูนิ คือเหตุแห่งการสงเคราะห์กัน. ในบทว่า

ทานญฺจ เป็นอาทิ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. ก็บุคคลบางต้นควรรับสงเคราะห์

ด้วยทานอย่างเดียว ก็พึงให้ทานอย่างเดียวแก่เขา. บทว่า เปยฺยวชฺช คือ

พูดคำน่ารัก. จริงอยู่ บุคคลบางคนพูดว่า ผู้นี้ให้สิ่งที่ควรให้ แต่ด้วยคำ ๆ

เดียว เขาก็พูดลบหลู่หมดทำให้เสียหาย เขาให้ทำไม ดังนี้. บางคนพูดว่า ผู้นี้

ไม่ให้ทานก็จริง ถึงดังนั้น เขาก็พูดได้ระรื่นเหมือนเอาน้ำมันทา. ผู้เช่นนั้น

จะให้ก็ตามไม่ให้ก็ตาม แต่ถ้อยคำของเขา ย่อมมีค่านับพัน. บุคคลเห็นปานนี้

ย่อมไม่หวังการให้ ย่อมหวังแต่ถ้อยคำที่น่ารักอย่างเดียว ควรกล่าวแต่คำที่

น่ารักแก่เขาเท่านั้น. บทว่า อตฺถจริยา คือพูดแต่เรื่องที่เป็นประโยชน์และ

ทำความเจริญ. จริงอยู่ บางคนมิใช่หวังแต่ทานการให้ มิใช่หวังแต่ปิยวาจา

ถ้อยคำที่น่ารัก หากหวังแต่การพูดที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลการพูดที่ทำความ

เจริญแก่ตนถ่ายเดียว. พึงกล่าวแต่เรื่องบำเพ็ญประโยชน์แก่บุคคลผู้เห็นปานนั้น

อย่างนี้ว่า ท่านควรทำกิจนี้ ไม่ควรทำกิจนี้ บุคคลเช่นนี้ควรคบ เช่นนี้ไม่

ควรคบ. บทว่า สมานตฺตตา คือความเป็นผู้มีสุขมีทุกข์เสมอกัน. จริงอยู่

บุคคลบางคน ย่อมไม่หวังสังคหวัตถุมีทานเป็นต้น แม้แต่อย่างหนึ่ง หากหวัง

ความร่วมสุขร่วมทุกข์อย่างนี้ คือนั่งบนอาสนะเดียวกัน นอนบนเตียงเดียวกัน

บริโภคร่วมกัน. ถ้าเขาเป็นคฤหัสถ์ย่อมเสมอกันโดยชาติ บรรพชิตย่อมเสมอ

กันโดยศีล ความวางตนสม่ำเสมอนี้ ควรทำแก่บุคคลนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 119

บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ยถารห ความว่า ความวางตนสม่ำเสมอใน

ธรรมนั้น ๆ ตามสมควร. บทว่า รถสฺสาณีว ยายโต ความว่า สังคหธรรม

เหล่านี้ ย่อมยึดเหนี่ยวโลกไว้ได้ เหมือนสลัก (ที่หัวเพลา) ย่อมยึดรถที่แล่น

ไปอยู่ คือย่อมยึดยาน (คือรถ) ไว้ได้ฉะนั้น. บทว่า น มาตา ปุตฺตการณา

ความว่า ถ้ามารดาไม่พึงทำการสงเคราะห์เหล่านั้นแก่บุตรไซร้ ท่านก็ไม่พึง

ได้รับความนับถีอ หรือบูชา เพราะบุตรเป็นเหตุ. บทว่า สงฺคหา เอเต

เป็นปฐมาวิภัติใช้ในอรรถทุติยาวิภัติ อนึ่ง ปาฐะว่า สงฺคเห เอเต ก็มี.

บทว่า สมเวกฺขนฺติ คือ ย่อมพิจารณาเห็นโดยชอบ. บทว่า ปาสสา จ

ภวนฺติ คือ ย่อมเป็นผู้ควรสรรเสริญ.

จบอรรถกถาสังคหสูตรที่ ๒

๓. สีหสูตร

ว่าด้วยพระตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มาก

[๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราชสีห์ออกจากที่อาศัยในเวลาเย็น สลัด-

กายแล้ว มองไปรอบทั้ง ๔ ทิศ แผดเสียงขึ้น ๓ ครั้ง แล้ว จึงออกไปหาเหยื่อ

ฝ่ายเหล่าสัตว์เดียรัจฉานได้ยินเสียงแผดของราชสีห์ โดยมากย่อมบังเกิดความ

กลัว สยอง หวาดสะดุ้ง จำพวก (พิลาสัย) อยู่ในปล่องในโพรง ก็เข้าปล่อง

เข้าโพรง จำพวก (อุทกาสัย) อยู่ในน้ำ ก็ลงน้ำ จำพวก (วนาสัย) อยู่ใน

ป่าในรก ก็เข้าป่าเข้ารก จำพวก (ปักษี) มีปีกก็บินขึ้นอากาศ แม้แต่

ช้างหลวงที่เขาผูกไว้ด้วยเชือกหนังอันเหนียวแน่น ในคามนิคมและราชธานี

ทั้งหลาย ก็กระชากเครื่องผูกยับเยิน กลัวจนมูตรคูถไหล วิ่งเตลิดไปไม่รู้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 120

ทางไหนต่อทางไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ราชสีห์มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ

ยิ่งใหญ่มากกว่าบรรดาสัตว์เดียรัจฉานอย่างนี้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันเดียวกันนั่นแหละ เมื่อตถาคตเกิดขึ้นในโลก

เป็นพระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ฯลฯ แสดงธรรมว่า สักกายะเป็นอย่างนี้

สักกายสมุทัยเป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธเป็นอย่างนี้ สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา

เป็นอย่างนี้ แม้แต่เทวดาทั้งหลายที่อายุยืน ผิวพรรณงาม มีความสุขมาก

สถิตอยู่ตลอดกาลนานในวิมานอันสูง ได้ฟังธรรมเทศนาของตถาคตแล้ว

โดยมากย่อมบังเกิดความพรั่นใจ ความสังเวชใจ ความสะดุ้ง ได้สำนึกว่า

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า ชาวเรานี่ไม่เที่ยงแท้หนอ อย่าได้สำคัญตัวว่าเป็น

ผู้เที่ยงแท้ พวกเราไม่คงทนหนอ อย่าได้สำคัญตนว่าเป็นผู้คงทน พวกเรา

ไม่ยั่งยืนหนอ อย่าได้สำคัญตัวว่าเป็นผู้ยั่งยืน ผู้เจริญทั้งหลาย ท่านว่าชาวเรา

นี่ไม่เที่ยงแท้ ไม่คงทน ไม่ยั่งยืน (ที่แท้ก็) นับเนื่องอยู่ในสักกายะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้แล เป็นผู้มี

อานุภาพยิ่งใหญ่กว่าชาวโลกกับทั้งเทวโลก ด้วยประการอย่างนี้แล

เมื่อพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระศาสดาหา

บุคคลเปรียบมิได้ ทรงประกาศพระธรรม

จักร คือ สักกายะ เหตุเกิดแห่งสักกายะ

สักกายนิโรธและอริยมรรคมีองค์ ๘ อันเป็น

ทางแห่งความสงบทุกข์ แก่ชาวโลกกับทั้ง

เทวโลก แม้แต่ทวยเทพผู้อายุยืน ผิวพรรณ

งาม มียศ ไม่ฟังคำของพระองค์ผู้เป็นพระ-

อรหันต์ ผู้พ้นอย่างวิเศษแล้ว ผู้คงที่แล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 121

ก็พรั่นใจ บังเกิดความสะดุ้ง ว่าชาวเรานี่

ไม่เที่ยงแท้ ไม่ก้าวล่วงสักกายะ ดุจฝูง

มฤคสามัญได้ยินเสียงแผดแห่งสีหะแล้ว

สะดุ้งตื่นกลัว ฉะนั้น.

จบสีหสูตรที่ ๓

อรรถกถาสีหสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสีหสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สีโห ได้แก่ราชสีห์ ๔ ประเภทคือ ติณราชสีห์ ๑ กาฬ-

ราชสีห์ ๑ ปัณฑุราชสีห์ ๑ ไกรสรราชสีห์ ๑. ในราชสีห์เหล่านั้น

ติณราชสีห์กินหญ้าเช่นกับแม่โคสีนกพิราบ. กาฬราชสีห์กินหญ้าเช่นกับแม่โค

ดำ. ปัณฑุราชสีห์กินเนื้อเช่นกับแม่โคมีสีใบไม้เหลือง. ไกรสรราชสีห์ประกอบ

ด้วยหน้า ปลายหาง และปลายเท้าทั้ง ๔ ที่ธรรมชาติตกแต่งด้วยครั่ง ตั้งแต่

ศีรษะของไกรสรราชสีห์นั้น รอย ๓ รอยคล้ายเขาเขียนไว้ด้วยพู่กันครั่งไปตรง

กลางหลัง เป็นขวัญอยู่ในระหว่างโคนขา. ส่วนที่คอของมันมีสร้อยคอคล้ายกับ

แวดวงไว้ด้วยผ้ากัมพลแดงมีค่านับแสน. ส่วนอวัยวะที่เหลือได้มีสีตัวดังก้อน

ข้าวสาลีล้วน หรือดังก้อนจุณแห่งหอยสังข์ ในราชสีห์ ๔ เหล่านี้ ท่านประสงค์

เอาไกรสรราชสีห์นี้ในที่นี้.

บทว่า มิคราชา ได้แก่ เป็นราชาแห่งฝูงเนื้อทั้งหมด. บทว่า

อาสยา ได้แก่ ออกจากสถานที่อยู่. ท่านอธิบายว่า ย่อมออกจากถ้ำทอง

หรือถ้ำเงิน ถ้ำแก้วมณี ถ้าแก้วผลึก หรือถ้ำมโนศิลา. ก็เมื่อจะออก ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 122

ออกด้วยเหตุ ๔ คือ ถูกความมืดบีบคั้น ออกเพื่อแสงสว่าง ๑ ปวดอุจจาระ

ปัสสาวะ ออกเพื่อถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ๑ ถูกความหิวบีบคั้น ออกเพื่อหาเหยื่อ

๑ ถูกความสืบพันธุ์บีบคั้น ออกเพื่อสมสู่กัน ๑. แต่ในที่นี้ท่านหมายเอาออก

เพื่อหาเหยื่อ.

บทว่า วิชมฺภติ ความว่า ราชสีห์วางเท้าหลังทั้งสองให้เสมอกัน

บนพื้นถ้ำทอง หรือบนพื้นถ้ำเงิน ถ้าแก้วมณี ถ้าแก้วผลึก หรือถ้ำมโนศิลา

อย่างใดอย่างหนึ่ง เหยียดเท้าหน้าไว้ตรงหน้า ชักส่วนหลังของตัว กระเถิบ

ส่วนหน้า โน้มหลังลง ชูคอขึ้นสลัดธุลีที่ติดอยู่ที่ตัวสะบัดประหนึ่งเสียงฟ้าผ่า.

ส่วนธุลีย่อมปลิววนกันอยู่บนพื้นที่สลัดเหมือนลูกโครุ่น ส่วนธุลีนั้นที่ปลิวอยู่

ปรากฏคล้ายลูกไฟที่หมุนอยู่ในความมืด. บทว่า อนุวิโลเกติ ถามว่า เพราะ

เหตุไร ราชสีห์จึงเหลียวดู. ตอบว่า เพราะความเอ็นดูสัตว์อื่น. ได้ยินว่า

เมื่อมันแผดเสียง สัตว์ทั้งหลายมีช้าง วัว ควายเป็นต้น เที่ยวอยู่ใกล้เหว

และบ่อ ก็ตกไปในเหวบ้าง ในบ่อบ้าง มันจึงเหลียวดูก็เพราะความเอ็นดูสัตว์

เหล่านั้น. ถามว่า ก็ราชสีห์ตัวดุร้ายที่กินเนื้อของสัตว์อื่นนั้น ยังมีความ

เอ็นดูอยู่หรือ. ตอบว่า มีอยู่. จริงอย่างนั้น มันย่อมไม่จับสัตว์เล็กๆ เพื่อเป็น

อาหารของตน ด้วยคิดว่า ประโยชน์อะไรของเราด้วยสัตว์เป็นอันมากที่ถูกฆ่า

ดังนี้. มันทำความเอ็นดูด้วยอาการอย่างนี้. ก็ข้อนั้นสมจริงดังท่านกล่าวว่า

เราอย่าฆ่าสัตว์ตัวเล็กตัวน้อยที่อยู่ในที่ไม่เรียบเสียเลย.

บทว่า สีหนาท นทติ ความว่า ครั้งแรก แผดเสียงที่สัตว์กลัว

ขึ้น ๓ ครั้ง. ก็แลเมื่อมันยืนอยู่บนพื้นที่สะบัด แผดเสียงออก เสียงย่อมกึกก้อง

เป็นอย่างเดียวกันโดยรอบตลอดเนื้อที่ ๓ โยชน์ ฝูงสัตว์ ๒ เท้า และ ๔ เท้า

ที่อยู่ภายในสามโยชน์ ได้ยินเสียงกึกก้องของมันเข้า ย่อมยืนอยู่ในที่เดิมไม่ได้.

บทว่า โคจราย ปกฺกมติ ได้แก่ ย่อมออกไปเพื่อหาเหยื่อ. ถามว่าอย่างไร ?

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 123

ตอบว่า มันยืนบนพื้นที่สะบัด กระโดดไปข้างขวาที ข้างซ้ายที ข้างหลังที

ย่อมวิ่งไปตลอดเนื้อที่ประมาณอุสภะหนึ่ง เมื่อกระโดดสูง กระโดดได้ ๔

อสภะบ้าง ๘ อสภะบ้าง เมื่อวิ่งตรงไปในที่เรียบ ก็วิ่งไปได้ตลอดเนื้อที่

ประมาณ ๑๖ อุสภะบ้าง ๒๐ อุสภะบ้าง. เมื่อวิ่งลงจากที่ดอนหรือภูเขา ก็วิ่ง

ได้ตลอดเนื้อที่ประมาณ. ๖๐ อุสภะบ้าง ๘๐ อุสภะบ้าง เห็นต้นไม้หรือภูเขา

ในระหว่างทาง ก็เลี่ยงต้นไม้หรือภูเขานั้น หลีกไปที่สูงประมาณหนึ่งอุสภะ

ทางขวาบ้าง ทางซ้ายบ้าง. ก็ราชสีห์แผดเสียงครั้งที่ ๓ ย่อมปรากฏตัวในที่

สามโยชน์พร้อมกับเสียงนั้น มันไปได้สามโยชน์ กลับมายืนยังได้ยินเสียง

กึกก้องของตนอยู่. ราชสีห์ ย่อมหลีกไปด้วยฝีเท้าอันเร็วอย่างนี้.

บทว่า เยภุยฺเยน แปลว่า โดยมาก. บทว่า ภย สนฺตาส สเวค

ทุกบท เป็นชื่อของความสะดุ้งแห่งจิตเหมือนกัน แท้จริงสัตว์และคน ได้ยิน

เสียงของราชสีห์ ส่วนมากกลัว ส่วนน้อยไม่กลัว ถามว่า ก็สัตว์และคน

ส่วนน้อยเหล่านั้นคือใคร ? ตอบว่า คือ ราชสีห์ที่เสมอกัน ช้างอาชาไนย

ม้าอาชาไนย โคอุสภอาชาไนย บุรุษอาชาไนย พระขีณาสพ. ถามว่า

ก็เพราะเหตุไร สัตว์และคนเหล่านั้นจึงไม่กลัว. ตอบว่า อันดับแรกราชสีห์ที่

เสมอกัน ย่อมไม่กลัวเพราะคิดว่า เราเสมอกันด้วยชาติ โคตรตระกูล และ

ความกล้า. ช้างอาชาไนยเป็นต้น ไม่กลัวเพราะว่าตนมีสักกายทิฏฐิเป็นกำลัง

พระขีณาสพ ไม่กลัว เพราะละสักกายทิฏฐิได้แล้ว บทว่า พลาสยา ได้แก่

สัตว์ที่นอนอยู่ในรู อยู่ในโพรง มีงู พังพอน และเหี้ยเป็นต้น. บทว่า

อุทกาสยา ได้แก่ สัตว์อยู่ในน้ำมีปลาและเต่าเป็นต้น. บทว่า วนาสยา

ได้แก่ สัตว์อยู่ในป่ามีช้าง ม้า วัว เนื้อเป็นต้น บทว่า ปวิสนฺติ ความว่า

สัตว์ทั้งหลายมองดูทางด้วยคิดว่า บัดนี้ ใครจักมาจับดังนี้ จึงเข้าไป. บทว่า

ทฬฺเหหิ คือ อันเหนียวแน่น. บทว่า วรตฺเตหิ คือ ด้วยเชือกหนัง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 124

ในบทว่า มหิทฺธิโก เป็นต้น พึงทราบว่า ความที่ราชสีห์มีฤทธิมากด้วยอำนาจ

ยืนอยู่ที่พื้นที่สะบัดตัวกระโดดได้อุสภะหนึ่งทางข้างขวาเป็นต้น กระโดดตรงได้

ประมาณ ๒๐ อุสภะเป็นต้น. พึงทราบความเป็นสัตว์มีศักดิ์ใหญ่ เพราะเป็นเจ้า

เป็นใหญ่กว่ามฤคที่เหลือ. พึงทราบความที่ราชสีห์มีอานุภาพมาก ด้วยสามารถ

แห่งสัตว์ทั้งหลาย ได้ยินเสียงในที่สามโยชน์โดยรอบแล้ว ต้องพากันหนีไป.

บทว่า เอวเมวโข ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเล่าถึงพระองค์

ไว้ในพระสูตรนั้น ๆ โดยประการนั้น ๆ ตรัสถึงพระองค์เปรียบด้วยราชสีห์ใน

พระสูตรนี้ก่อนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำว่า สีโห นั้นเป็นชื่อของตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าดังนี้ . เปรียบด้วยนายแพทย์ ในพระสูตรนี้ว่า ดูก่อน

สุนักขัตตะ คำว่า ภิสกฺโก สลฺลกนฺโต นั่นเป็นชื่อของตถาคต ดังนี้.

เปรียบด้วยพราหมณ์ในพระสูตรนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บทว่า พฺราหฺมโณ

นั่นเป็นชื่อของตถาคตดังนี้. เปรียบด้วยคนผู้นำทางในพระสูตรนี้ว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ก็บทว่า ปุริโส มคฺคกุสโล นั่นเป็นชื่อของตถาคตดังนี้.

เปรียบด้วยพระราชาในพระสูตรนี้ว่า ราชาหรสฺมิ เสลา ดังนี้. ส่วนใน

พระสูตรนี้ ตรัสพระองค์เปรียบด้วยราชสีห์ จึงตรัสอย่างนั้น.

ในข้อนี้ มีการเปรียบดังนี้ เวลาที่พระตถาคตบำเพ็ญอภินิหารใกล้

บาทมูลของพระพุทธเจ้าทีปังกร ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย ตลอดเวลากำหนด

นับไม่ได้ ทำหมื่นโลกธาตุให้หวั่นไหว ด้วยการปฏิสนธิ และด้วยการประสูติ

จากครรภ์ของมารดา ในภพสุดท้าย ทรงเจริญวัยแล้ว เสวยสมบัติเช่นทิพยสมบัติ

ประทับอยู่ในปราสาทสามหลัง พึงทราบเหมือนเวลาราชสีห์อยู่ในกาญจนคูหา

ถ้ำทองเป็นต้น. เวลาที่ตถาคตทรงม้ากันถกะ มีนายฉันนะเป็นสหาย เสด็จ

ออกทางพระทวารเปิด ในเวลามีพระชนมายุ ๒๙ พรรษา ก้าวล่วงราชสมบัติ

ทั้งสาม (ราชา ราชาธิราช จักรพรรดิราชา) เสียแล้ว ทรงครองผ้ากาสายะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 125

อันพรหมถวาย ณ ฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงผนวชแล้ว ก็เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์

ในวันที่ ๗ เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์นั้น ทรงทำภัตกิจ ณ เงื้อมภูเขา

ปัณฑวะ จนทรงถวายปฏิญญาแก่พระเจ้าพิมพิสารว่า ทรงบรรลุพระสัมมา-

สัมโพธิญาณแล้ว จะเสด็จมาแคว้นมคธก่อนแห่งอื่น พึงทราบเหมือนเวลา

ราชสีห์ออกจากกาญจนคูหาเป็นต้น.

เวลาพระตถาคต ทรงถวายปฏิญญาแล้ว เสด็จเข้าไปหาอาฬารดาบส

กาลามโคตรเป็นต้น ไปจนเสวยก้อนข้าวปายาส ๔๙ ก้อน อันนางสุชาดาถวาย

พึงทราบเหมือน. เวลาราชสีห์สะบัดตัว.

การที่พระตถาคตทรงรับหญ้า (คา) ๘ กำ ที่พราหมณ์ชื่อโสตถิยะถวาย

ในเวลาเย็น เทวดาในหมื่นจักรวาลชมเชยบูชาด้วยของหอมเป็นต้น ทรงทำ

ประทักษิณโพธิพฤกษ์ ๓ ครั้ง แล้วเสด็จขึ้นโพธิมัณฑสถาน ทรงลาดเครื่อง

ลาดคือหญ้าคา ณ ที่สูง ๑๔ ศอก ประทับนั่งอธิษฐาน ความเพียรมีองค์ ๔

ทรงกำจัดมารและพลมารในขณะนั้นนั่นเอง ทรงชำระวิชชา ๓ ในยามทั้ง ๓

ทรงกวนมหาสมุทร คือปฏิจจสมุปบาท ทั้งอนุโลมทั้งปฏิโลม ด้วยเครื่องกวน

คือยมกญาณ พระญาณคู่ เมื่อทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว หมื่นโลกธาตุ

ก็ไหว ด้วยอานุภาพพระสัพพัญญุตญาณนั้น พึงทราบเหมือนการกำจัดธุลีในตัว

ของราชสีห์.

การที่พระตถาคตทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ประทับอยู่ ณ โพธิ-

มัณฑสถาม ๗ สัปดาห์ เสวยข้าวมธุปายาสเป็นพระกระยาหาร ทรงรับ

อาราธนาแสดงธรรมของท้าวมหาพรหม ณ โคนอชปาลนิโครธ ประทับอยู่

ณ ที่นั้น ในวันที่ ๑ ทรงระลึกว่า พรุ่งนี้ ก็จักเป็นวันอาสาฬหปุรณมี ใน

เวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจดูว่า เราจะพึงแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงทราบว่า

อาฬารดาบสและอุททกดาบสสิ้นชีพเสียแล้ว ก็ทรงเห็นภิกษุปัญจวัคคีย์สมควร

รับพระธรรมเทศนาก่อน พึงเห็นเหมือนการเหลียวดู ๔ ทิศของราชสีห์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 126

เวลาที่พระตถาคตทรงถือบาตรและจีวรของพระองค์ เสด็จลุก

จากต้นอชปาลนิโครธ เสด็จไปสิ้นทาง ๑๘ โยชน์ ภายหลังเสวยพระกระยาหาร

ด้วยหมายพระหฤทัยจักประกาศธรรมจักรแก่ภิกษุปัญจวัคคีย์ พึงเห็นเหมือน

เวลาราชสีห์ออกหาเหยื่อไปได้สามโยชน์.

เวลาพระตถาคตเสด็จไปสิ้นทาง ๑๘ โยชน์ ทรงทำภิกษุปัญจวัคคีย์

ให้เข้าใจแล้ว ประทับนั่งเหนืออจลบัลลังก์ขัดสมาธิ อันหมู่เทพได้ประชุม

พร้อมกัน หมื่นจักรวาลห้อมล้อมแล้วจึงประกาศพระธรรมจักร โดยนัยเป็น

อาทิว่า อันตะส่วนสุด ๒ นี้ อันนักบวชไม่ควรเสพดังนี้ พึงทราบเหมือน

เวลาราชสีห์แผดสีหนาท. ก็แลเมื่อตถาคตทรงแสดงพระธรรมจักรนี้ เสียง

อุโฆษแห่งธรรมของราชสีห์คือพระตถาคต ก็ปกคลุมหมื่นโลกธาตุเบื้องต่ำ

ถึงอเวจีเบื้องบนจดภวัคคพรหม. เวลาเมื่อพระตถาคตแสดงลักษณะ ๓ ตรัส

ธรรมจำแนกสัจจะ ๔ พร้อมด้วยอาการ ๑๖ จนถึงพันนัย พวกเทวดาที่มีอายุ-

ยืนก็เกิดสะดุ้งด้วยญาณ พึงทราบเหมือนเวลาพวกสัตว์เล็ก ๆ สะดุ้ง เพราะ

เสียงของราชสีห์.

อีกนัยหนึ่ง พระตถาคตทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณก็เหมือนราชสีห์

เวลาที่เสด็จออกจากพระคันธกุฏี ก็เหมือนราชสีห์ออกจากถ้ำทองที่อยู่อาศัย

เวลาเสด็จเข้าไปธรรมสภา ก็เหมือนราชสีห์สะบัดตัว การที่ทรงเหลียวดูบริษัท

ก็เหมือนการเหลียวดูทิศ เวลาทรงแสดงธรรม ก็เหมือนการแผดสีหนาท การ

เสด็จไปบำราบลัทธิอื่น ก็เหมือนการออกหาเหยื่อ.

อีกนัยหนึ่ง พระตถาคตก็เหมือนราชสีห์ การออกจากผลสมาบัติที่

อาศัยนิพพานโดยอารมณ์ ก็เหมือนการออกจากกาญจนคูหาที่อาศัยหิมวันต

บรรพต ปัจจเวกขณญาณ ก็เหมือนการสะบัดตัว การตรวจดูเวไนยสัตว์ ก็

เหมือนการเหลียวดูทิศ การแสดงธรรมแก่บริษัทที่มาถึงแล้ว ก็เหมือนการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 127

แผดสีหนาท การเสด็จเข้าไปหาเวไนยสัตว์ที่ยังมาไม่ถึง พึงทราบเหมือนการ

ออกไปหาเหยื่อ.

บทว่า ยทา แปลว่า ในกาลใด. บทว่า ตถาคโต ได้แก่ ชื่อว่า

ตถาคต ด้วยเหตุ ๘ ที่กล่าวแล้วในหนหลัง. บทว่า โลเก คือในสัตวโลก.

บทว่า อุปฺปชฺชติ ความว่า ตถาคตชื่อว่ากำลังเกิดขึ้น ตั้งแต่อภินิหารบำเพ็ญ

พระบารมีจนถึงโพธิบัลลังก์ หรืออรหัตมัคคญาณ แต่เมื่อบรรลุอรหัตผล

ชื่อว่าเกิดขึ้นแล้ว. บทว่า อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ เป็นอาทิ ท่านขยายไว้

พิสดารแล้ว ในนิทเทสว่าด้วยพุทธานุสติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

บทว่า อิติ สกฺกาโย ความว่า นี้เป็นสักกายะ คือประมาณเท่านี้

เป็นสักกายะยิ่งกว่านี้ไม่มี อุปาทานขันธ์ ๕ แม้ทั้งปวงเป็นอันท่านแสดงแล้ว

โดยสภาวะ โดยกิจ โดยที่สุด โดยกำหนด โดยรอบทาง ด้วยเหตุประมาณ

เท่านี้ . บทว่า อิติ สกฺกายสฺส สมุทโย ได้แก่ นี้ชื่อสักกายสมุทัย. บท

เป็นอาทิว่า เพราะอาหารเกิด รูปจึงเกิดดังนี้ ก็เป็นอันท่านแสดงแล้วด้วยเหตุ

ประมาณเท่านี้. บทว่า อิติ สกฺกายสฺส อตฺถงฺคโม ความว่า นี้เป็น

สักกายนิโรธ ดับสักกายะ. บทเป็นอาทิว่า เพราะอาหารดับ รูปจึงดับดังนี้

ทั้งหมดเป็นอันท่านแสดงแล้ว ด้วยบทแม้นี้. บทว่า วณฺณวนฺโต ได้แก่

ผู้มีวรรณะงาม ด้วยวรรณะแห่งสรีระ. บทว่า ธมฺมเทสน สุตฺวา ความว่า

เทวดาเหล่านั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระตถาคต ที่ประดับด้วยลักษณะ

๕๐ ในเบญจขันธ์. บทว่า เยภุยฺเยน ความว่า ถามว่า เว้นเทวดาเหล่าไหน

ในที่นี้ ? ตอบว่า เว้นเทวดาผู้เป็นอริยสาวก. ก็เพราะเทวดาผู้เป็นอริยสาวก

เหล่านั้น ไม่เกิดแม้เพียงความกลัวด้วยความหวาดสะดุ้งแห่งจิต เพราะท่าน

สิ้นอาสวะแล้ว ความสังเวชด้วยญาณ ย่อมเกิดขึ้นแก่ท่านผู้สังเวชแล้ว เพราะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 128

ท่านบรรลุธรรมที่พึงบรรลุ ด้วยความเพียรโดยแยบคายก็มี ความกลัวด้วย

ความหวาดสะดุ้งแห่งจิต ย่อมเกิดขึ้นแก่พวกเทวดาพวกนี้ ผู้กระทำไว้ในใจ

ถึงความไม่เที่ยงก็มี ความกลัวด้วยญาณ ย่อมเกิดขึ้นในเวลาวิปัสสนามีกำลัง

ก็มี. บทว่า โภ นั่นเป็นเพียงคำเรียกโดยธรรม. บทว่า สกฺกายปริปนฺนา

ได้แก่ นับเนื่องอยู่ในขันธ์ ๕. ดังนั้น เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง

โทษในวัฏฏะแล้ว ทรงแสดงธรรมนำไตรลักษณ์มา เทวะเหล่านั้นก็เกิดหวาด

กลัวด้วยญาณ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า อภิญฺาย คือทรงรู้แล้ว. บทว่า ธมฺมจกฺก ได้แก่

ปฏิเวธญาณบ้าง เทสนาญาณบ้าง. พระพุทธเจ้า ประทับนั่ง ณ โพธิบัลลังก์

ทรงแทงตลอดสัจจะ ๔ พร้อมด้วยอาการ ๑๖ จนถึงพันนัย ด้วยพระญาณใด

พระญาณนั้น ชื่อว่า ปฏิเวธญาณ. ทรงประกาศพระธรรมจักรมีปริวัฏ ๓

อาการ ๑๒ ด้วยพระญาณใด พระญาณนั้น ซึ่งว่า เทสนาญาณ. ญาณทั้ง ๒

อย่างนั้น เป็นญาณที่เกิดในคราวแรกแก่พระทศพล. ในญาณ ๒ เหล่านั้น

ควรถือเอาธรรมเทศนาญาณ ก็ธรรมเทศนาญาณนั่นนั้น ชื่อว่า ย่อมเป็นไปอยู่

ตราบเท่าที่โสดาปัตติผลยังไม่เกิดขึ้นแก่พระอัญญาโกณฑัญญเถระ พร้อมด้วย

พรหม ๑๘ โกฎิ เมื่อโสดาปัตติผลนั้นเกิดขึ้นแล้ว พึงทราบว่าธรรมเทศนาญาณ

ชื่อว่าเป็นไปแล้ว ดังนี้ . บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล คือเว้นบุคคลที่จะเทียมทัน.

บทว่า ยสสฺสิโน คือถึงพร้อมด้วยบริวาร. บทว่า ตาทิโน คือผู้เป็น

เสมือนหนึ่ง (คงที่) กับโลกธรรมมีลาภเป็นต้น.

จบอรรถกถาสีหสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 129

๔. ปสาทสูตร

ว่าด้วยความเลื่อมใสในวัตถุเลิศ ๔ ประการ

[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ ๔ ประการนี้

ความเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

๑. สัตว์ทั้งหลาย เป็นอบท (ไม่มีเท้า) ก็ดี ทวิบท (๒ เท้า) ก็ดี

จตุรบท (เท้า) ก็ดี พหุบท (เท้ามาก) ก็ดี เป็นผู้มีรูปก็ดี ไม่มีรูปก็ดี

เป็นผู้มีสัญญาก็ดี ไม่มีสัญญาก็ดี เป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ก็ดี

ประมาณเท่าใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ปราชญ์กล่าวว่าเป็น

ยอดแห่งสัตว์ทั้งปวงนั้น สัตว์เหล่าใดเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า สัตว์เหล่านั้น

จึงชื่อว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ เมื่อเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ ก็ย่อมได้ผลอันเลิศ.

๒. ธรรมทั้งหลาย ที่เป็นสังขตะมีประมาณเท่าใด อริยมรรคมี

องค์ ๘ ปราชญ์กล่าวว่าเป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวงนั้น สัตว์เหล่าใดเลื่อมใสใน

อริยมรรคมีองค์ ๘ สัตว์เหล่านั้นจึงชื่อว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ เมื่อเลื่อมใส

ในวัตถุอันเลิศ ก็ย่อมได้ผลอันเลิศ.

๓. ธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นสังขตะ ทั้งที่เป็นอสังขตะ มีประมาณ

เท่าใด วิราคะ ปราชญ์กล่าวว่าเป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวงนั้น วิราคะ คืออะไร

คือ ธรรมเป็นที่ยังความเมาให้สร่าง เป็นที่รำงับเสียสิ้นซึ่งความกระหาย เป็นที่

ถอนขึ้นหมดซึ่งอาลัย เป็นที่เข้าไปตัดเสียซึ่งวัฏฏะ เป็นที่สิ้นตัณหา เป็นที่

ปราศจากกำหนัด เป็นที่ดับทุกข์ คือ นิพพาน สัตว์เหล่าใดเลื่อมใสในวิราค-

ธรรม สัตว์เหล่านั้น จึงชื่อว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ เมื่อเลื่อมใสในวัตถุ

อันเลิศ ก็ย่อมได้ผลอันเลิศ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 130

๔. สงฆ์ทั้งหลายก็ดี คณะทั้งหลายก็ดี มีประมาณเท่าใด สงฆ์สาวก

ของตถาคต ปราชญ์กล่าวว่าเป็นยอดแห่งสงฆ์แห่งคณะทั้งปวงนั้น สงฆ์สาวก

ของตถาคตคือใคร คือคู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่สงฆ์สาวกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ควรของคำนับ ผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรของทำบุญ

ผู้ควรทำอัญชลี ผู้เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า สัตว์เหล่าใดเลื่อมใส

ในพระสงฆ์ สัตว์เหล่านั้น จึงชื่อว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ เมื่อเลื่อมใสใน

วัตถุอันเลิศ ก็ย่อมได้ผลอันเลิศ.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลความเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ ๔ ประการ.

เมื่อบุคคลเลื่อมใสโดยความเป็นวัตถุ

เลิศ รู้ซึ่งธรรมอันเลิศ เลื่อมใสในพระ-

พุทธเจ้าผู้เลิศ ผู้เป็นทักษิไณย ไม่มีใคร

ยิ่งกว่า เลื่อมใสในพระธรรมอันเลิศอัน

เป็นที่สิ้นราคะเป็นที่สงบเป็นสุข เลื่อมใส

ในพระสงฆ์ผู้เลิศ ผู้เป็นนาบุญไม่มีนาบุญ

อื่นยิ่งกว่า ให้ทานในท่านผู้เลิศ บุญอันเลิศ

ย่อมเจริญมาก อายุ วรรณะ ยศ เกียรติ สุข

และพละอันเลิศก็ย่อมเจริญมาก ผู้มีปัญญา

เป็นผู้ให้ของที่เลิศ มั่นคงอยู่ในธรรมอัน

เลิศแล้ว ผู้นั้นจะเป็นเทวดาหรือเป็น

มนุษย์ก็ย่อมได้รับฐานะอันเลิศบันเทิงใจ.

จบปสาทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 131

อรรถกถาปสาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปสาทสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

ชื่ออัคคัปปสาทะเพราะอรรถว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ หรือความ

เลื่อมใสอันเลิศ. บทว่า ยาวตา คือ ประมาณเท่าใด. บทว่า อปทา ได้แก่

พวกสัตว์ไม่มีเท้ามีงูและปลาเป็นต้น. บทว่า ทฺวิปทา ได้แก่ พวกสัตว์ ๒

เท้ามีมนุษย์และนกเป็นต้น. บทว่า จตุปฺปทา ได้แก่ สัตว์ ๔ เท้ามีช้าง

และม้าเป็นต้น. บทว่า พหุปฺปทา ได้แก่ พวกสัตว์เท้ามากมีตะขาบเป็นต้น.

บทว่า เนวสญฺีนาสญฺิโน ได้แก่พวกสัตว์ที่เกิดในภวัคคพรหม. บทว่า

อคฺคมกฺขายติ ความว่า พระตถาคตปราชญ์กล่าวว่า เป็นยอด คือประเสริฐ

สูงสุด โดยคุณทั้งหลาย. บทว่า อสงฺขตา ความว่า ท่านกล่าวถือเอา

พระนิพพานเท่านั้น. บทเป็นอาทิว่า วิราโค เป็นชื่อของพระนิพพานแท้.

เพราะว่า มาถึงพระนิพพานนั้นแล้ว กิเลสทั้งหลายก็คลายไปหมด ความเมา

ทั้งหลาย มีความเมาเพราะราคะเป็นต้น ก็หายเมาไปหมด คือ ไม่มี ความ

กระหายทั้งหลายก็หายไปหมด อาลัยทั้งหลายก็เพิกถอนไปหมด วัฏฏะทั้งหลาย

ก็ขาด ตัณหาก็สิ้น วัฏฏทุกข์ก็ดับ ความเร่าร้อนทั้งปวง ก็ดับไป เพราะ-

ฉะนั้น นิพพาน จึงได้ชื่อเหล่านั้น. บทที่เหลือในสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปสาทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 132

๕. วัสสการสูตร

ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ เป็นมหาบุรุษ

[๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารเวฬุวัน

กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อวัสสการะ เป็น

อำมาตย์ผู้ใหญ่แห่งประเทศมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นไปถึงแล้ว

ก็ชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวถ้อยคำที่ทำให้เกิดความยินดีต่อกัน เป็น

ที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายบัญญัติบุคคลที่ประกอบพร้อม

ด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นมหาปราชญ์ มหาบุรุษ ธรรม ๔ ประการ

คืออะไร คือ

๑. บุคคลเป็นพหูสูต (ได้สดับมาก คือเรียนมาก)

๒. รู้ความแห่งข้อที่ได้ฟังแล้วนั้น ๆ แห่งภาษิตนั้น ๆ ว่า นี่เป็น

ความแห่งภาษิตนี้ นี่เป็นความแห่งภาษิตนี้

๓. เป็นผู้มีสติ ระลึกสืบสาวการที่ทำคำที่พูดแล้วแม้นาน ๆ ได้

๔. กิจการเหล่าใดเป็นของคฤหัสถ์จะต้องจัดต้องทำ เป็นผู้ฉลาด

ไม่เกียจคร้านในกิจการเหล่านั้น ประกอบด้วยปัญญาพิจารณาสอบสวน อันเป็น

อุบาย (คือวิธีที่จะให้กิจการอันนั้นสำเร็จด้วยดี) สามารถที่จะทำเอง สามารถ

ที่จะจัดการ ในกิจการเหล่านั้น

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายบัญญัติบุคคลที่

ประกอบพร้อมด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แลว่า เป็นมหาปราชญ์ มหาบุรุษ

ถ้าควรทรงอนุโมทนา ก็ขอจงทรงอนุโมทนา ถ้าควรทรงคัดค้าน ก็ขอจงทรง

คัดค้านเถิด.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 133

พ. ตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราไม่อนุโมทนา เราไม่คัดค้าน เรา

บัญญัติบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการว่า เป็นมหาปราชญ์ มหาบุรุษ

ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ

๑. บุคคลเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก เพื่อความสุขของ

คนมาก ยังประชุมชนเป็นอันมากให้ตั้งอยู่ในญายธรรมอันประเสริฐคือกัลยาณ-

ธัมมตา (ความมีธรรมอันงาม) กุสลธัมมตา (ความมีธรรมเป็นกุศล)

๒. บุคคลนั้นจำนงจะตรึกเรื่องใด ก็ตรึกเรื่องนั้นได้ ไม่จำนงจะ

ตรึกเรื่องใด ก็ไม่ตรึกเรื่องนั้นได้ จำนงจะดำริข้อใด ก็ดำริข้อนั้นได้ ไม่จำนง

จะดำริข้อใด ก็ไม่ดำริข้อนั้นได้ เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ได้เจโตวสี (ความมี

อำนาจทางใจ) ในทางแห่งความตรึกทั้งหลาย

๓. เป็นผู้ได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔

อันเป็นธรรมเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องพักผ่อนอยู่สบายในอัตภาพ

ปัจจุบันนี่

๔. บุคคลกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ใน

ปัจจุบันนี่

พราหมณ์ เราไม่อนุโมทนา เราไม่คัดค้านภาษิตของท่าน เราบัญญัติ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แลว่า เป็นมหาปราชญ์ มหาบุรุษ.

ว. น่าอัศจรรย์ พระโคดมผู้เจริญ ไม่เคยมี พระโคดมผู้เจริญ ตามที่

พระองค์ตรัสนี้ ข้าพระพุทธเจ้าจะจำไว้ว่า พระองค์ประกอบพร้อมด้วยธรรม

๔ ประการนี้ (๑) พระองค์เป็นผู้ทรงปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก เพื่อความสุข

ของคนมาก ยังประชุมชนเป็นอันมากให้ตั้งอยู่ในญายธรรมอันประเสริฐ คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 134

กัลยาณธัมมตา (ความมีธรรมอันงาม) กุสลธัมมตา (ความมีธรรมเป็นกุศล)

(๒) พระองค์ทรงจำนงจะตรึกเรื่องใด ก็ทรงตรึกเรื่องนั้นได้ ไม่ทรงจำนง

จะตรึกเรื่องใด ก็ไม่ทรงตรึกเรื่องนั้นได้ ทรงจำนงจะดำริข้อใด ก็ทรงดำริ

ข้อนั้นได้ ไม่ทรงจำนงจะดำริข้อใด ก็ไม่ทรงดำริข้อนั้นได้ เพราะพระองค์

ทรงมีเจโตวสีในทางแห่งความตรึกทั้งหลาย (๓) พระองค์ทรงได้ตามต้องการ

ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อันเป็นธรรมเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็น

ธรรมเครื่องพักผ่อนอยู่สบายในอัตภาพปัจจุบัน (๔) พระองค์ทรงกระทำให้

แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วย

พระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่.

พ. พราหมณ์ ถ้อยคำพาดพิงถึงเรา ท่านกล่าวถูกต้องแล้ว เออ เราจัก

พยากรณ์แก่ท่านเสียทีเดียวว่า เราแหละ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก

เพื่อความสุขของคนมาก ฯลฯ สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่.

ท่านผู้ใดรู้ทางรอดพ้นจากบ่วงมฤตยู

แห่งสัตว์ทั้งปวง ปฏิบัติเกื้อกูลแก่เทวดา

มนุษย์ทั้งหลาย ประกาศไญยธรรม อนึ่ง

คนจำนวนมากเห็นท่านผู้ใด และได้ฟัง

ธรรมของท่านผู้ใดแล้ว เกิดความเลื่อมใส

ท่านผู้นั้นได้ชื่อว่า "มหาบุรุษ" ซึ่งเป็นผู้

ฉลาดในธรรมอันเป็นทางและธรรมที่มิใช่

ทาง เป็นผู้เสร็จกิจแล้ว ไม่มีอาสวะ เป็น

พระพุทธะ มีสรีระเป็นครั้งที่สุด.

จบวัสสการสูตรที่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 135

อรรถกถาวัสสการสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวัสสการสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุสฺสริตา ได้แก่ ตามระลึกถึง. อธิบายว่า เป็นผู้สามารถ

ระลึกถึงเรื่องสืบ ๆ ต่อกันมาได้. บทว่า ทกฺโข คือเป็นผู้ฉลาด. บทว่า

ตตฺรุปายาย ความว่า ผู้ประกอบด้วยปัญญา อันเป็นอุบายในกิจนั้น ๆ ได้

อย่างนี้ว่า ในเวลานี้ควรทำกิจนี้ ดังนี้ . บทว่า อนุโมทิตพฺพ ได้แก่ควร

ทรงยินดี. บทว่า ปฏิกฺโกสิตพฺพ ได้แก่ ควรคัดค้าน. บทว่า เนว โข

ตฺยาห ได้แก่ เราไม่อนุโมทนาแก่ท่าน. ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงไม่ทรงยินดี ไม่ทรงคัดค้านข้อนั้น. ตอบว่า พระองค์ไม่ทรง

ยินดี เพราะเป็นโลกิยะ ไม่ทรงคัดค้าน เพราะยึดเอาแต่ประโยชน์ที่เป็นโลกิยะ.

บทว่า พหุสฺส ชนตา ตัดบทเป็น พหุ อสฺส ชนตา แปลว่า ประชุมชน

เป็นอันมาก. ก็บทนี้ พึงทราบว่าเป็นฉัฏฐีวิภัติใช้ในอรรถตติยาวิภัติ. บทว่า

อริเย าเย คือในมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า กลฺยาณธมฺมตา

กุสลธมฺมตา เป็นชื่อของมรรคนั้นทั้งนั้น. บทว่า ย วิตกฺก ความว่า

ตรึกบรรดาเนกขัมมวิตกเป็นต้นอย่างหนึ่ง. บทว่า น ต วิตกฺก วิตกฺเกติ

ความว่า ไม่ตรึกบรรดากามวิตกเป็นต้น แม้แต่วิตกเดียว บทนอกนี้เป็น

ไวพจน์ของบทว่า วิตกฺก นั้นเอง. วิตกในบทว่า วิตกฺกปเถสุ นี้ ได้แก่

ทางวิตก. ในบทเป็นอาทิว่า อห หิ พฺราหฺมณ พึงทราบว่า โดยนัยที่หนึ่ง

ท่านกล่าวถึงศีลและพาหุสัจจะของพระขีณาสพ โดยนัยที่สองและที่สาม ท่าน

กล่าวถึงกิริยวิตก วิตกที่เป็นแต่กิริยา และกิริยฌาน ฌานที่เป็นแต่กิริยาของ

พระขีณาสพ โดยนัยที่สี่ ท่านกล่าว ถึงความเป็นพระขีณาสพ ดังนี้ .

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 136

บทว่า มจฺจุปาสา ปโมจน คือทางเป็นที่รอดพ้นจากบ่วงแห่งมัจจุ.

บทว่า าย ธมฺม คือมรรคพร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า ทิสฺวา จ สุตฺวา จ

ความว่า ได้เห็นและได้ฟังแล้วด้วยญาณนั้นเอง. บทที่เหลือในสูตรนี้ง่าย

ทั้งนั้น.

จบอรรถกถาวัสสการสูตรที่ ๕

๖. โทณสูตร

ว่าด้วยโทณพราหมณ์ทูลถามปัญหา

[๓๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จพระพุทธดำเนินทางไกล

อยู่ในระหว่างเมืองอุกกัฏฐะกับเมืองเสตัพยะ แม้โทณพราหมณ์ก็เดิน-

ทางไกล อยู่ในระหว่างเมืองอุกกัฏฐะกับเมืองเสตัพยะ โทณพราหมณ์ได้เห็น

รูปจักรในรอยพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า ประกอบด้วยซี่กำนับ ๑,๐๐๐

มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยลักษณาการพร้อมสรรพ เห็นประหลาดไม่เคยมี

ชะรอยจักไม่ใช่รอยเท้ามนุษย์

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จแวะไปประทับอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง

ทรงคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ดำรงพระสติไว้จำเพาะหน้า.

โทณพราหมณ์เดินตามรอยพระบาทไป พบพระองค์ ดูผุดผ่อง

น่าเลื่อมใส อินทรีย์สงบ มีพระทัยอันสงบ ได้รับการฝึกฝนและความสงบ

อย่างยอดเยี่ยม มีตนฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว มีอินทรีย์อันรักษาแล้ว เป็นผู้

ประเสริฐ ครั้นแล้ว จึงเข้าไปใกล้แล้วทูลถามว่า ท่านผู้เจริญเป็นเทวดาหรือ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 137

พ. จรัสตอบว่า เราไม่เป็นเทวดา พราหมณ์.

โทณ. เป็นคนธรรพ์หรือ.

พ. ไม่เป็น.

โทณ. เป็นยักษ์กระมัง.

พ. ไม่เป็น.

โทณ. เป็นมนุษย์สิ.

พ. ไม่เป็น.

โทณ. ข้าพเจ้าถามว่า ท่านเป็นเทวดา...เป็นคนธรรพ์...เป็นยักษ์

เป็นมนุษย์หรือ ท่านก็ตอบว่า ไม่เป็น ๆ ถ้าเช่นนั้นท่านเป็นใครกัน.

พ. พราหมณ์ เราจะพึงเป็นเทวดา...เป็นคนธรรพ์...เป็นยักษ์...

เป็นมนุษย์ เพราะอาสวะเหล่าใดที่เราละไม่ได้ อาสวะเหล่านั้นเราละได้แล้ว

มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้ไม่มีในภายหลังแล้ว

มีอัน ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา นี่แน่ะพราหมณ์ ดอกอุบลก็ดี ดอก

ปทุมก็ดี ดอกบุณฑริกก็ดี เกิดในน้ำ เจริญในน้ำ แต่ขึ้นมาตั้งอยู่พ้นน้ำ

น้ำไม่กำซาบเข้าไปได้ ฉันใด เราก็ฉันนั้น เกิดในโลก เติบใหญ่มาในโลก

แต่เราอยู่เหนือโลก โลกไม่เข้ามากำซาบ (ใจเรา) ได้ แน่ะพราหมณ์ ท่าน

จงจำเราไว้ว่า เป็นพุทธะ

เราจะพึงได้กำเนิดเป็นเทวดา หรือ

ว่าเป็นคนธรรพ์ผู้เหาะเหินได้ เพราะ

อาสวะใด เราจะพึงได้อัตภาพยักษ์ และ

อัตภาพมนุษย์ เพราะอาสวะใด อาสวะ

เหล่านั้นของเราสิ้นไปแล้ว เราทำลาย ทำ

ให้ขาดสายแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 138

แน่ะพราหมณ์ ดอกบัวย่อมขึ้นมา

อยู่พ้นน้ำ น้ำไม่กำซาบเข้าไปได้ ฉันใด

เราก็ฉันนั้น โลกไม่เข้ามากำซาบใจเราได้

เพราะฉะนั้น เราจึงเป็น พุทธะ.

จบโทณสูตรที่ ๖

อรรถกถาโทณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโทณสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า อนฺตรา จ อุกฺกฏฺ อนฺตรา จ เสตพย นี้ บทว่า

อุกฺกฏฺา ได้แก่ นครที่เรียกกันอย่างนี้ เพราะเขาตามคบเพลิงสร้างแล้ว

บทว่า เสตพฺย ได้แก่ นครถิ่นเกิดของพระกัสสปสัมมาสัมมุทธเจ้าครั้งอดีต.

ส่วนอันตราศัพท์ใช้ในอรรถว่าเหตุ ขณะ จิต ท่ามกลาง และระหว่าง ใช้ใน

อรรถว่าเหตุ ได้ในบาลีเป็นอาทิว่า ตทนนฺตร โก ชาเนยฺย อญฺตร

ตถาคตา ใครเล่าจะพึงรู้เหตุนั้น นอกจากพระตถาคตประชุมและว่า ชนา สงฺคมฺม

มนฺเตนฺติ มญฺจ ตญฺจ กิมนฺตร พวกชนประชุมปรึกษาเราและท่านถึง

เหตุอะไร ดังนี้. ใช้ในอรรถว่าขณะ ได้ในบาลีเป็นอาทิว่า อทฺทสา ม ภนฺเต

อญฺตรา อิตฺถี วิชฺชนฺตริกาย ภาชน โธวนฺติ ท่านขอรับ หญิงคนหนึ่ง

กำลังล้างภาชนะอยู่ ขณะฟ้าแลบ ก็เห็นเรา ดังนี้. ใช้ในอรรถว่าจิต ได้ใน

บาลีเป็นอาทิว่า ยสฺสนฺตรโต น สนฺติ โกปา ความแค้นเคืองย่อมไม่มี

แต่จิตของผู้ใดดังนี้. ใช้ในอรรถว่าท่ามกลาง ได้ในบาลีเป็นอาทิว่า อนฺตรา

โวสานมาปาทิ ถึงการจบลงในท่ามกลาง ดังนี้. ใช้ในอรรถว่าระหว่าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 139

ได้ในบาลีเป็นอาทิว่า อปิจาย ตโปทา ทฺวินฺน มหานิรยาน อนฺตริกาย

อาคจฺฉติ อนึ่ง สระน้ำ โปทานี้ ย่อมไหลมาจากระหว่างมหานรกทั้งสอง

ดังนี้. อันตราศัพท์นี้นั้น ในที่นี้ใช้ในอรรถว่าระหว่าง เพราะฉะนั้น พึงเห็น

เนื้อความในคำนี้อย่างนี้ว่า ในระหว่างนครอุกกัฏฐะกับนครเสตัพยะ ดังนี้.

ท่านทำเป็นทุติยาวิภัติ เพราะประกอบด้วยอันตราศัพท์. ฝ่ายพวกอาจารย์ผู้คิด

อักขระในฐานะเช่นนี้ ย่อมประกอบอันตรายศัพท์อย่างหนึ่งในคำนี้อย่างนี้ว่า

อนฺตรา คามญฺจ นทิญฺจ ยาติ บุคคลเดินไปในระหว่างบ้านและแม่น้ำ

ดังนี้. อันตรายศัพท์นั้น พึงประกอบแม้ด้วยบทที่สอง เมื่อไม่ประกอบก็ไม่

เป็นรูปทุติยาวิภัติ แต่ในที่นี้ท่านประกอบแล้ว จึงกล่าวไว้อย่างนี้.

บทว่า อทฺธานมคฺคปฏิปนฺโน โหติ คือ ทรงเดินทางไกล

อธิบายว่า ทางยาว. ถามว่า ทรงเดินทางไกล เพราะเหตุไร. ตอบว่า ได้ยินว่า

ในวันนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า เมื่อเราเดินไปทางนั้น โทณ-

พราหมณ์เห็นเจดีย์คือรอยเท้าของเรา ก็จะแกะรอยตามมาถึงที่เรานั่งแล้วถาม

ปัญหา เมื่อเป็นดังนั้น เราจักแสดงสัจธรรมแก่เขาอย่างนี้ พราหมณ์จักแทงตลอด

สามัญญผลสามได้แล้ว จักพรรณนาคุณ ชื่อโทณคัชชิตะ หนึ่งหมื่นสองพันบท

เมื่อเราปรินิพพานแล้ว จักระงับการทะเลาะอย่างใหญ่ ที่เกิดขึ้นทั่วชมพูทวีป

แล้ว จึงจักแบ่งพระธาตุทั้งหลายกัน ดังนี้ จึงทรงเดินทางด้วยเหตุนี้.

บทว่า โทโณปิ สุท พฺราหฺมโณ ความว่า แม้โทณพราหมณ์

ชำนาญไตรเพท เมื่อสอนศิลปะกะพวกมาณพ ๕๐๐ คนในวันนั้น ลุกขึ้นแต่

เช้าตรู่ ทำกิจส่วนตัวเสร็จแล้ว นุ่งผ้าค่านับ ๑๐๐ ใช้ของมีค่าราคา ๕๐๐ คล้อง

ด้ายยัญ สวมรองเท้าสายแดง มีมาณพ ๕๐๐ ห้อมล้อม ได้เดินไปทางนั้น

เหมือนกัน คำนี้ท่านกล่าวหมายถึงข้อนั้น. บทว่า ปาเทสุ ได้แก่ ในรอย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 140

ที่ทรงเหยียบด้วยพระบาท. บทว่า จกฺกานิ ได้แก่ จักกลักษณะ (รูปจักร).

ถามว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำเนินอยู่ รอยพระบาทปรากฏในที่ที่

ทรงเหยียบไว้หรือ. ตอบว่า ไม่ปรากฏดอก. เพราะอะไร. เพราะรอยพระบาท

ละเอียด มีกำลังมาก และเพราะจะอนุเคราะห์มหาชน.

จริงอยู่ เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีพระฉวีละเอียด สถานที่

ทรงเหยียบ เป็นเหมือนสถานที่ปุ่ยนุ่นตั้งอยู่ รอยพระบาทจึงไม่ปรากฏ. รอย

ที่ตถาคตทรงเหยียบ ก็เป็นสักแต่ว่าเหยียบเท่านั้น รอยพระบาทจึงไม่ปรากฏ

ในที่นั้น เพราะพระองค์เป็นผู้มีกำลังมาก เหมือนรอยเท้าของม้าสินธพมีฝีเท้า

เร็วดุจลม มีกำลังเหยียบแม้บนใบของกอประทุม ก็สักว่าเหยียบเท่านั้น ฉะนั้น.

ส่วนหมู่มหาชน เดินตามรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไป เมื่อมหาชน

นั้น เห็นรอยพระบาทของพระศาสดาก็ไม่อาจจะเดินเหยียบทับ พึงเดินเลี่ยง

ไปเสีย. เพราะฉะนั้น รอยพระบาทแม้ใดพึงมีในที่ทรงเหยียบแล้ว รอยพระบาท

นั้นก็หายไปทันที. ฝ่ายโทณพราหมณ์เห็นได้ด้วยอำนาจอธิษฐานของพระตถาคต

แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์จะแสดงเจดีย์คือพระบาทแก่ผู้ใด ปรารภ

ถึงผู้นั้น ทรงอธิษฐานว่า คนชื่อโน้นจงเห็นดังนี้ เพราะฉะนั้น แม้พราหมณ์นี้

ได้เห็นก็ด้วยอำนาจอธิษฐานของพระตถาคตเหมือนมาคัณฑิยพราหมณ์.

บทว่า ปาสาทิก คือให้เกิดความเลื่อมใส. บทนอกนี้ก็เป็นไวพจน์

ของบทว่า ปาสาทิก นั้นเอง. ในบทว่า อุตฺตมทมถสมถมนุปฺปตฺต นี้

พึงทราบดังนี้ อรหัตมรรค ชื่อว่าการฝึกฝนอย่างสูงสุด อรหัตมรรคสมาธิ

ชื่อว่า ความสงบอย่างสูงสุด อธิบายว่า ทรงบรรลุทั้งสองอย่างนั้น. บทว่า

ทนฺต คือ หมดพยศ. บทว่า คุตฺต คือ คุ้มครอง. บทว่า ยตินฺทฺริย

คือ รักษาอินทรีย์. บทว่า นาค ความว่า ชื่อว่า นาคะ เพราะเหตุ ๔ คือ

เพราะไม่ถึงอคติมีฉันทาคติเป็นต้น ๑ เพราะไม่กลับมาสู่กิเลสที่ละได้แล้วอีก ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 141

เพราะไม่ทำบาป ๑ เพราะอรรถว่ามีกำลัง ๑. ในบทว่า เทโว โน ภว

ภวิสฺสติ นี้ ก็การถามพึงจบลงด้วยคำประมาณเท่านี้ว่า ท่านผู้เจริญเป็นเทวดา

หรือดังนี้ แต่พราหมณ์ผู้นี้ เมื่อถามโดยอนาคตกาลว่า ท่านจักเป็นเทวราช

องค์หนึ่ง ผู้มีศักดิ์ใหญ่ ในอนาคตกาลกระมังดังนี้ จึงกล่าวอย่างนั้น. แม้

พระผู้มีพระภาคเจ้า เนื้อตรัสโดยชอบด้วยคำถามของพราหมณ์นั้น จึงตรัสว่า

เราไม่ใช่เป็นเทวดาดอก พราหมณ์. ในบททุกบทก็นัยนี้. บทว่า อาสวาน

ได้แก่ อาสวะ ๔ มีกามาสวะเป็นต้น. บทว่า ปหีนา ความว่า อาสวะเหล่านั้นเรา

ละได้แล้ว ด้วยการบรรลุสัพพัญญุตญาณ ณ โพธิบัลลังก์. บทว่า อนูปลิตฺโต

โลเกน ความว่า โลกคือสังขารโลกเข้ามากำซาบใจเราไม่ได้ เพราะเราละ

เครื่องลูบไล้คือตัณหาและทิฏฐิเสียแล้ว. บทว่า พุทฺโธ ความว่า ท่านจง

จำเราไว้ว่า เป็นพุทธะ เพราะตรัสรู้สัจจะ ๔ ดังนี้.

บทว่า เยน คือ เพราะอาสวะใด. บทว่า เทวูปปตฺยสฺส ความว่า

เราจะพึงได้กำเนิดเป็นเทวดา. บทว่า วิหงฺคโม ได้แก่ เทพจำพวกคนธรรพ์

ผู้เหาะเหินได้. บทว่า วิทฺธสฺตา แปลว่า ทำลายแล้ว. บทว่า วินฬีกตา

ได้แก่ทำให้ปราศจากประสานคือปราศจากเครื่องผูก. บทว่า โตเยน นุปลิปฺปติ

ความว่า ดอกบัวขาวที่ชูโผล่ขึ้นพ้นน้ำ ราวศอกหนึ่งซึ่งทำให้สระงาม ทำฝูง

ภมรให้ร่าเริง น้ำซึมซาบไม่ได้. บทว่า ตสฺมา พุทฺโธสฺมิ พฺราหฺมณ

ความว่า เวลาจบเทศนา พราหมณ์ บรรลุผลสามแล้วจึงกล่าวคุณ ชื่อว่า

โทณคัชชิตะ (เสียงกระหึมของโทณพราหมณ์ ) ด้วยคาถา ๑๒,๐๐๐ บท ก็เมื่อ

พระตถาคต ปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ระงับความทะเลาะอย่างใหญ่ที่

เกิดขึ้นทั่วพื้นชมพูทวีปแล้ว จึงได้แบ่งซึ่งพระธาตุทั้งหลายแก่กัน ดังพรรณนา

มานี้.

จบอรรถกถาโทณสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 142

๗. อปริหานิสูตร

ว่าด้วยอปริหานิธรรม ๔

[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมเป็นผู้ไม่พอที่จะเสื่อม เป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว ธรรม ๔

ประการคืออะไรบ้าง คือ ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็น

ผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ

เป็นผู้หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่นอน

ก็ภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจรเห็นภัย

ในโทษมาตรว่าน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ภิกษุผู้ถึงพร้อม

ด้วยศีลเป็นอย่างนี้แล

ก็ภิกษุผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลายเป็นอย่างไร ? ภิกษุ

ในพระธรรมวินัยนี้เห็นรูปด้วยตาแล้ว ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ดมกลิ่นด้วยจมูก

แล้ว ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ

แล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ อภิชฌาโทมนัส อกุศล

บาปธรรมทั้งหลายจะพึงไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือตา หู จมูก ลิ้น

กาย ใจ เพราะเหตุความไม่สำรวมอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย

ใจอันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งอินทรีย์คือจา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันนั้น

รักษาอินทรีย์คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือ

ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ภิกษุเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์

ทั้งหลายเป็นอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 143

ก็ภิกษุเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว จึงกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อเมา

มิใช่เพื่อตกแต่ง มิใช่เพื่อประเทืองผิว เพียงเพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้

เพื่อยังชีวิตให้เป็นไป เพื่อหายหิว เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ คิดว่า ด้วย

การกินอาหารนี้ เราจักระงับเวทนาเก่าเสียได้ด้วย จักไม่ยังเวทนาใหม่ให้เกิด

ขึ้นด้วย ความเป็นไปได้ ความไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา ภิกษุ

เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะเป็นอย่างนี้แล

ก็ภิกษุเป็นผู้หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่นอนอย่างไร ? ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้ เวลากลางวัน ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม

ด้วยการนั่ง เวลากลางคืน ตอนยามต้น ก็ชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการ

จงกรม ด้วยการนั่ง ตอนยามกลาง สำเร็จสีหไสยา โดยข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้า

ให้เหลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ ทำอุฏฐานสัญญา ไว้ในใจ ตอนยามปลาย

กลับ ลุกขึ้นชำระจิตจากอาวรณิยธรรม ด้วยการจงกรม ด้วยการนั่ง ภิกษุ

เป็นผู้หมั่นประกอบความไม่เห็นแก่นอนเป็นอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหล่านี้แล

ย่อมเป็นผู้ไม่พอที่จะเสื่อม เป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว.

ภิกษุผู้ตั้งอยู่ในศีล สำรวมในอินทรีย์

ทั้งหลาย รู้จักประมาณในโภชนะ และ

หมั่นประกอบความไม่เห็นแน่นอน เป็น

ผู้มีความเพียร ไม่เกียจคร้านทั้งวันทั้งดิน

เจริญกุศลธรรมเพื่อบรรลุคุณอันเกษมจาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 144

โยคะอยู่อย่างนี้ ชื่อว่าเป็นภิกษุยินดีใน

อัปปมาทธรรม หรือเห็นภัยในความประ-

มาทโดยปกติ ย่อมเป็นผู้ไม่พอที่จะเสื่อม

เป็นผู้ปฏิบัติใกล้พระนิพพานทีเดียว.

จบอปริหานิสูตรที่

อรรถกถาอปริหานิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอปริหานิสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก ความว่า ภิกษุประพฤติอยู่ใน

ที่ใกล้พระนิพพานทีเดียว. บทว่า สีเล ปติฏฺิโต ได้แก่ ภิกษุตั้งอยู่ใน

ปาฏิโมกขศีล. บทว่า เอววิหารี แปลว่า เมื่ออยู่อย่างนี้. บทว่า อาตาปี

คือ ผู้ประกอบด้วยความเพียร. บทว่า โยคกฺเขมสฺส ความว่า เพื่อบรรลุ

คุณอันเกษมจากโยคะ ๔ คือพระนิพพาน. บทว่า ปมาเท ภยทสฺสิ วา

ได้แก่ เห็นความประมาทโดยเป็นภัย.

จบอรรถกถาอปริหานิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 145

๘. ปฏิลีนสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเครื่องหลีกเร้น

[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ถ่ายถอนปัจเจกสัจจะ (ความเห็น

ว่าจริงไปคนละทาง) แล้ว ผู้ละเลิกการแสวงหาสิ้นแล้ว ผู้มีกายสังขารอัน

ระงับแล้ว เราเรียกว่า ผู้มีการหลีกออกแล้ว.

ก็ภิกษุผู้ถ่ายถอนปัจเจกสัจจะแล้วเป็นอย่างไร ? ปัจเจกสัจจะมาก

อย่างแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลายมาก คือเห็นว่าโลกเที่ยงบ้าง ว่าโลกไม่เที่ยง

บ้าง ว่าโลกมีที่สุดบ้าง ว่าโลกไม่มีที่สุดบ้าง ว่าชีพกับสรีระเป็นอัน เดียวกันบ้าง

ว่าชีพกับสรีระต่างกันบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วเกิดอีกบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วไม่เกิด

อีกบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วเกิดอีกก็มี ไม่เกิดอีกก็มีบ้าง ว่าสัตว์ตายแล้วเกิดอีกก็

มิใช่ ไม่เกิดอีกก็มิใช่บ้าง ปัจเจกสัจจะทั้งปวงนั้น อันภิกษุในพระธรรมวินัย

นี้ถ่ายถอนแล้ว สละแล้ว คายแล้ว ปล่อยแล้วละแล้วทิ้งเสียแล้ว ภิกษุผู้

ถ่ายถอนปัจเจกสัจจะเป็นอย่างนี้แล

ก็ภิกษุผู้ละเลิกการแสวงหาสิ้นแล้วเป็นอย่างไร ? (กาเมสนา) การ

แสวงหากาม ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ละได้แล้ว (ภเวสนา) การแสวงหาภพ

ก็ละได้แล้ว (พฺรหฺมจริเยสนา) การแสวงพรหมจรรย์รำงับไปแล้ว ภิกษุผู้ละ

เลิกการแสวงหาสิ้นแล้วเป็นอย่างนี้แล

ก็ภิกษุผู้มีกายสังขารอันระงับแล้วเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ได้

จตุตถฌานอันไม่ทุกข์ไม่สุข มีความบริสุทธิ์ด้วยอุเบกขาและสติอยู่. ภิกษุผู้มี

กายสังขารอันระงับแล้วเป็นอย่างนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 146

ก็ภิกษุผู้หลีกออกเร้นแล้วเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรนวินัยนี้ละ

อัสมิมานะได้แล้ว มีมูลรากอันขาดแล้ว ถูกทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว

ทำไม่ให้มีในภายหลังแล้ว มีอัน ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุผู้หลีก

ออกเร้นแล้วเป็นอย่างนี้แล

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าผู้ถ่ายถอนปัจเจกสัจจะแล้ว ผู้ละเลิกการ

แสวงหาสิ้นแล้ว ผู้มีกายสังขารอันระงับแล้ว ผู้หลีกออกเร้นแล้วอย่างนี้แล.

ภิกษุผู้คลายความกำหนัดแล้ว ได้

วิมุตติเพราะสิ้นตัณหา สละภารแสวงหา

คือการแสวงหากาม การแสวงหาภพ ทั้ง

การแสวงหาพรหมจรรย์ ถอนความถือว่า

จริงอย่างนั้นอย่างนี้ เพิกร่างกายอันเป็นที่

ตั้งแห่งทิฏฐิเสียได้ ภิกษุนั้นเป็นผู้มีสติ

สงบรำงับแล้ว อันใคร ๆ ทำให้พ่ายแพ้

ไม่ได้แล้ว ได้ตรัสรู้แล้ว เพราะละมานะ

ได้ เรียกว่าผู้หลีกออกแล้ว.

จบปฏิลีนสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 147

อรรถกถาปฏิลีนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฏิลีนสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปนุณฺณปจฺเจกสจฺโจ ได้แก่ ภิกษุชื่อว่า ผู้มีปัจเจกสัจจะ

อันถ่ายถอนได้แล้ว เพราะว่า ทิฏฐิสัจจะกล่าวคือความเห็นแต่ละอย่าง เพราะ

ยึดถือความเห็นแต่ละอย่าง อย่างนี้ว่า ความเห็นนี้เท่านั้นจริง นี้เท่านั้นจริง

เธอถ่ายถอนคือกำจัดละได้แล้ว. ในบทว่า สมวยสฏฺเสโน นี้ บทว่า สมวย

แปลว่า ไม่บกพร่อง. บทว่า สฏฺา แปลว่า สละแล้ว ชื่อว่าสมวย-

สฏฺเสโน เพราะละเลิกการแสวงหาโดยสิ้นเชิง อธิบายว่า ผู้ละเลิกการ

แสวงหาหมดทุกอย่างโดยชอบ. บทว่า ปฏิลีโน แปลว่า ผู้หลีกเร้น คืออยู่

ผู้เดียว. บทว่า ปุถุสมณพฺราหฺมณาน ได้แก่ สมณะเเละพราหมณ์เป็น

อันมาก. ในคำว่า สมณพฺราหฺมณาน นี้ ก็คนที่เข้าไปบวช ชื่อสมณะ

คนที่กล่าวว่า โภผู้เจริญ ชื่อว่าพราหมณ์.

บทว่า ปุถุปจฺเจกสจฺจานิ ได้แก่ สัจจะแต่ละอย่างเป็นอันมาก.

บทว่า นุณฺณานิ แปลว่า นำออกแล้ว. บทว่า ปนุณฺณานิ แปลว่า นำออก

ดีแล้ว. บทว่า จตฺตานิ แปลว่า สลัดแล้ว. บทว่า วนฺตานิ แปลว่า

คายออกแล้ว. บทว่า มุตฺตานิ คือ ทำเครื่องผูกให้ขาดแล้ว. บทว่า ปหีนานิ

แปลว่า ละได้แล้ว. บทว่า ปฏินิสฺสฏฺานิ แปลว่า สละทิ้งไปแล้ว โดย

ที่จะไม่งอกขึ้นที่ใจอีก. บทเหล่านี้ทุกบท เป็นคำใช้แทนความเสียสละ ซึ่งความ

ยึดถือที่ยึดถือไว้แล้ว. บทว่า กาเมสนา ปหีนา โหติ ได้แก่ การแสวงหากาม

เป็นอันละได้แล้วด้วยอนาคามิมรรค. ส่วนการแสวงหาภพ เป็นอันกำลังละด้วย

อรหัตมรรค แม้การแสวงหาพรหมจรรย์ คือ อัธยาศัยที่เป็นไปแล้ว อย่างนี้ว่า

เราจักเสาะแสวงพรหมจรรย์ดังนี้ ก็สงบระงับไปด้วยอรหัตมรรคนั่นเอง. ส่วน

การแสวงหาทิฏฐิพรหมจรรย์ ก็พึงพูดได้ว่า ย่อมระงับไปด้วยโสดาปัตติมรรค

อย่างเดียว. บทว่า เอว โข ภิกฺขเว ความว่า กายสังขารระงับแล้วด้วยจตุตถ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 148

ฌาน อย่างนี้ ก็ชื่อว่าลมอัสสาสะปัสสาสะสงบแล้ว . บทว่า อสฺมิมาโน ได้แก่

มานะ ๘ อย่างที่เกิดขึ้นว่า เราเป็น.

คาถาทั้งหลาย พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ การแสวงหานี้มี ๒ คือ การ

แสวงหากาม การแสวงหาภพ. บทว่า พฺรหฺมจริเยสนา สห ความว่า

การแสวงหานั่นเป็น ๓ คือ การแสวงหาพรหมจรรย์ รวมทั้งการแสวงหา ๒

นั้น พึงยืนหลักไว้ในที่นี้ แล้วประกอบความกับบทนี้ว่า เอสนา ปฏินิสฺสฏฺา

ละเลิกการแสวงหา. บทว่า อิติ สจฺจปรามาโส ทิฏฺิฏฺานา สมุสฺสยา

ความว่า ความยึดถือว่า ดังนี้จริง ดังนี้จริง และที่ตั้งแห่งทิฏฐิ กล่าวคือ

ทิฏฐินั้นเอง ที่เรียกว่า สมุสสยะ เพราะกายถูกธาตุ ๔ สร้างขึ้น คือยกขึ้น

ตั้งไว้ แม้หมดทุกอย่าง. พึงยืนหลักไว้ในที่นี้แล้วประกอบความกับบทนี้ว่า

ทิฏฺิฏฺานา สมูหตา เพิกถอนกายที่ตั้งแห่งทิฏฐิ. ถามว่า ใครละเลิกการ

แสวงหาเหล่านั้น และใครเพิกถอนที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านั้นได้แล้ว . ตอบว่า

ภิกษุผู้คลายความกำหนัด ทั้งปวงแล้ว ได้วิมุตติเพราะสิ้นตัณหา ด้วยว่า ภิกษุใด

คลายความกำหนัดแล้วจากราคะทั้งปวง เป็นผู้ประกอบด้วยอรหัตผลวิมุตติที่

เป็นไปเพราะสิ้นตัณหา คือเพราะดับสนิท ภิกษุนั้นละเลิกการแสวงหาได้แล้ว

และเพิกถอนกายที่ตั้งแห่งทิฏฐิได้แล้ว. บทว่า ส เว สนฺโต ความว่า ภิกษุนั้น

คือเห็นปานนี้ ชื่อว่าสงบ เพราะกิเลสสงบ. บทว่า ปสฺสทฺโธ ได้แก่

ระงับแล้ว ด้วยกายปัสสัทธิ และจิตตปัสสัทธิทั้งสอง. บทว่า

อปราชิโต ความว่า ชื่อว่าอันใคร ๆ ทำให้พ่ายแพ้ไม่ได้ เพราะชนะสรรพ-

กิเลสเสร็จแล้ว. บทว่า มานาภิสมยา คือเพราะละมานะได้. บทว่า พุทฺโธ

ความว่า เป็นผู้ตรัสรู้สัจจะทั้ง ๔ ตั้งอยู่. ด้วยเหตุนั้น ทั้งในพระสูตรนี้ ทั้ง

ในพระคาถา จึงตรัสแต่ท่านผู้สิ้นอาสวะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาปฏิลีนสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 149

๙. อุชชยสูตร

ว่าด้วยอุชชยพราหมณ์ทูลถามปัญหา

[๓๙] ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่ออุชชยะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ฯลฯ กราบทูลถามว่า พระโคดมผู้เจริญ สรรเสริญยัญ บ้างหรือไม่.

พ. ตรัสตอบว่า พราหมณ์ เราไม่สรรเสริญยัญไปเสียทั้งนั้น และ

มิใช่ติเตียนยัญไปทั้งหมด ในยัญอย่างใด มีโค แพะ ไก่ และสุกรทั้งหลาย

ถูกฆ่า สัตว์หลายหลากชนิดถึงซึ่งความมอดม้วย เราไม่สรรเสริญยัญอย่างนั้น

อันมีการที่จะต้องเป็นธุระริเริ่มมาก เพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่าพระอรหันต์

ทั้งหลายก็ดี ท่านผู้ดำเนินตามทางพระอรหันต์ก็ดี ไม่ข้องแวะยัญอันมีการ

ที่จะต้องเป็นธุระมากอย่างนี้เลย ส่วนว่าในยัญอย่างใด มีโค แพะ ไก่และ

สุกรทั้งหลายไม่ถูกฆ่า สัตว์ต่าง ๆ ชนิดไม่ถึงซึ่งความมอดม้วย เราสรรเสริญ

ยัญอย่างนั้น อันไม่มีการที่จะต้องเป็นธุระริเริ่มมาก ยัญอย่างนั้นคืออะไร คือ

นิจทาน (ทานที่ให้เป็นนิตย์) อันเป็นอนุกุลยัญ (ยัญคือทานที่ให้ตามสกุล

คือตามอย่างบุรพบุรุษกระทำมา) ที่เราสรรเสริญนั้นเพราะเหตุอะไร เพราะ

เหตุว่าพระอรหันต์ทั้งหลายก็ดี ท่านผู้ดำเนินตามทางพระอรหันต์ก็ดี ย่อม

เกี่ยวข้องยัญอันไม่มีการที่จะต้องเป็นธุระริเริ่มมากอย่างนี้.

มหายัญทั้งหลายที่มีการจะต้องเป็น

ธุระริเริ่มมาก คือ อัสสเมธะ ปุริสเมธะ

สัมมาปาสะ นิรัคคฬะ มหายัญเหล่านั้น

หามีผลมากไม่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 150

ในยัญใด มีแพะ โค และสัตว์

ต่างชนิดถูกปลิดชีพ ท่านผู้ดำเนินทาง

ชอบ ท่านผู้มหาฤษี ไม่ข้องแวะยัญนั้น.

ส่วนยัญเหล่าใดไม่มีการอันจะต้อง

เป็นธุระริเริ่มมาก ที่บูชาตามสกุลเป็นนิตย์

ซึ่งเป็นยัญที่ แพะ ใด และสัตว์ต่างชนิด

ไม่ถูกปลิดชีพ ท่านผู้ดำเนินทางชอบ

ท่านผู้เป็นมหาฤษีย่อมสรรเสริญยัญนั้น.

ผู้มีปัญญาพึงบูชายัญอย่างนี้ ยัญนี้มี

ผลมาก เพราะเมื่อบุคคลบูชายัญอย่างนี้

ย่อมมีแต่ความดีไม่มีบาป ยัญก็มีผล

ไพบูลย์ ทั้งเทวดาก็เลื่อมใส.

จบอุชชยสูตรที่ ๙

อรรถกถาอุชชยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุชชยสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สฆาต อาปชฺชนฺติ ความว่า สัตว์ทั้งหลายย่อมถูกฆ่า

คือ ตาย. บทว่า นิจฺจทาน ได้แก่ สลากภัต. บทว่า อนุกุลยญฺ

ความว่า ยัญคือทานอันบุคคลพึงบูชา คือ พึงให้ ด้วยอำนาจสืบทอดกันมา

ตามตระกูลอย่างนี้ เพราะพ่อปู่บรรพบุรุษของเราทั้งหลายให้กันมาแล้ว .

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 151

ในบทว่า อสฺสเมธ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ ยัญชื่อว่า

อัสสเมธ เพราะในยัญนี้เขาฆ่าม้า คำนั้นเป็นชื่อของยัญ ที่จะอำนวยให้สมบัติ

ทุกอย่างไม่เหลือ ยกเว้นแผ่นดินและคนทั้งหลาย ซึ่งมีหลักบูชา ๒๑ หลัก

ที่พึงบูชาด้วยปริยัญสอง. ยัญชื่อว่า ปุริสเมธ เพราะในยัญนี้เขาฆ่าคน คำนั้น

เป็นชื่อของยัญที่จะอำนวยให้สมบัติที่กล่าวแล้ว ในอัสสเมธพร้อมด้วยแผ่นดิน

ซึ่งพึงบูชาด้วยปริยัญสี่. ชื่อว่า สัมมาปาสะ เพราะในยัญนี้เขาโยนบ่วง

แอกไป คำนั้นเป็นชื่อของยัญทั้งหมดที่เขาทำแท่นบูชาโยนบ่วง ตรงโอกาสที่

บ่วงแอกนั้นตก แล้วเดินถอยกลับตั้งแต่โอกาสที่ดำลงในแม่น้ำสรัสวดี พึงบูชา

ด้วยหลักเป็นต้นที่ยกไปได้ทุก ๆ วัน. ชื่อว่า วาชเปยยะ เพราะในบัดนี้

เขาดื่มวาชะ คำนั้นเป็นชื่อของยัญที่อำนวยให้สมบัติ ๑๗ หมวด ซึ่งมีหลัก

บูชาทำด้วยไม้มะตูม ที่พึงบูชาด้วยสัตว์เลี้ยง ๑๗ ชนิด ด้วยปริยัญหนึ่ง.

ชื่อว่า นิรัคคฬะ เพราะในยัญนี้ไม่มีลิ่มสลัก คำนั้น เป็นชื่อของยัญอันกำหนด

ไว้ในอัสสเมธ เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สรรพเมธ ซึ่งอำนวยให้สมบัติที่กล่าว

แล้วในอัสสเมธพร้อมด้วย แผ่นดินและด้วยคนทั้งหลาย ที่พึงบูชาด้วยปริยัญเก้า.

บทว่า มหารมฺภา ได้แก่ มีกิจมาก มีกรณียะมาก อนึ่ง ชื่อว่า

มีการริเริ่มใหญ่ ก็เพราะการริเริ่มด้วยปาณาติบาตมาก. ในบทว่า น เต

โหนฺติ มหปฺผลา นี้ ท่านสรุปผลของยัญที่มีส่วนเหลือไว้ ในความหมายว่า

ไม่มีส่วนเหลือ เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ว่าด้วยผลที่น่าปรารถนา ก็ไม่มี

ผลเลย. ก็ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายถึงการริเริ่มด้วยปาณาติบาตนั้นเอง. ส่วน

ทานใดที่เขาให้ในระหว่างในยัญนั้น ทานนั้น ย่อมมีผลไม่มาก เพราะถูกการ

ริเริ่มนี้ เข้าไปกำจัดเสียแล้ว อธิบายว่า มีผลน้อย. บทว่า หญฺเร คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 152

ย่อมฆ่า. บทว่า ยชนฺติ อนุกุล สทา ความว่า ชนเหล่าใดย่อมบูชายัญ

ตามตระกูล แม้พวกคนเหล่านั้นเกิดในภายหลัง ก็ยังบูชาตาม เพราะบรรพบุรุษ

ทั้งหลายได้บูชากันมาแล้ว. บทว่า เสยฺโย โหติ แปลว่า ย่อมวิเศษ

แน่แท้. บทว่า น ปาปิโย ได้แก่ ไม่เลวทรามอะไรเลย.

จบอรรถกถาอุชชยสูตรที่ ๙

๑๐. อุทายิสูตร

ว่าด้วยอุทายิพราหมณ์ทูลถามปัญหา

[๔๐] ความเหมือนสูตรก่อน ต่างแต่สูตรนี้พราหมณ์ชื่ออุทายิมาเฝ้า

และมีนิคมคาถาดังนี้

พรหมจารีทั้งหลาย ผู้สำรวนแล้ว

ย่อมสรรเสริญยัญ (คือทาน) ที่ไม่มีการ

อันจะต้องเป็นธุระริเริ่มมา จัดทำให้เป็น

กัปปิยะ (คือให้เป็นของควร ปราศจาก

การเบียดเบียนสัตว์) ตามกาล เช่นนั้น.

อนึ่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้มีหลังคา

(คือกิเลส) อันเปิดแล้ว ผู้ก้าวล่วงแล้วซึ่ง

ตระกูลและคติ ผู้ฉลาดในเรื่องบุญ ทรง

สรรเสริญยัญอันนั้น

ในยัญ (คือการบริจาคทานปกติ)

ก็ดี ในศราทธะ (คือทำบุญอุทิศผู้ตาย)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 153

ก็ดี ทาผู้มีจิตเลื่อมใสจัดไทยธรรมให้

เป็นของควรบูชาตามสมควรแล้ว บริจาค

ในท่านผู้ประพฤติพรหมจรรย์ทั้งหลายซึ่ง

เป็นเนื้อนาดี การบูชา การบริจาคที่

กระทำในท่านเหล่านั้น ผู้เป็นทักษิไณย-

บุคคล ย่อมเป็นการบูชาอย่างดี เป็นการ

บริจาคอย่างดีพร้อมมูล ยัญย่อมมีผล

ไพบูลย์ และเทวดา เลื่อมใส.

ปราชญ์ผู้ศรัทธา มีใจปลอดโปร่ง

(จากความตระหนี่) ครั้นบูชายัญอย่างนี้

แล้ว ย่อมเป็นบัณฑิตเข้าถึงโลกอันไม่มี

ความเบียดเบียนเป็นสุข.

จบอุทายิสูตรที่ ๑๐

จบจักกวรรคที่ ๔

อรรถกถาอุทายิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุทายิสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิสงฺขต คือทำให้เป็นกอง. บทว่า นิรารมฺภ คือ

เว้นความปรารภสัตว์. บทว่า ยญฺ คือ ไทยธรรม. ที่จริงไทยธรรมนั้น

เขาเรียกว่า ยัญ เพราะเขาพึงบูชา. บทว่า กาเลน คือ ตามกาลอันควร

คือเหมาะ. บทว่า อุปสยนฺติ คือย่อมเข้าไปถึง. บทว่า กุล คตึ ความว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 154

ผู้ก้าวล่วงแล้วซึ่งตระกูลในวัฏฏะ และคติในวัฏฏะ. บทว่า ปุญฺสฺส โกวิทา

ความว่า ความฉลาดในบุญที่เป็นไปในภูมิ ๔. บทว่า ยญฺเ คือในทาน

ตามปกติ. บทว่า สทฺเธ คือ ในทานอุทิศเพื่อผู้ตาย. บทว่า หุญฺ กตฺวา

ความว่า จัดไทยธรรมให้เป็นของควรบูชา. บทว่า สุกฺเขตฺเต พฺรหฺมจาริสุ

ความว่า ในเนื้อนาที่ดี กล่าวคือผู้ประพฤติพรหมจรรย์. บทว่า สมฺปตฺต

คือถึงดีแล้ว. บทว่า ทกฺขิเณยฺเยสุ ย กต ความว่า ยัญที่สำเร็จใน

ทักษิไณยบุคคลผู้สมควร เป็นอันบุคคลบูชา เช่นสรวงถึงดีแล้ว. บทว่า สทฺโธ

ความว่า ชื่อว่า ผู้มีศรัทธา เพราะเธอในคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและ

พระสงฆ์. บทว่า มุตฺเตน เจตสา ได้แก่ มีใจสละแล้ว. ท่านแสดงการ

บริจาคด้วยน้ำใจเสียสละด้วยบทนี้แล.

จบอรรถกถาอุทายิสูตรที่ ๑๐

จบจักกวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรในจักกวรรคนี้ คือ

๑. จักกสูตร ๒. สังคหสูตร ๓. สีหสูตร ๔. ปสาทสูตร ๕.

วัสสการสูตร ๖. โทณสูตร ๗. อปริหานิสูตร ๘. ปฏิลีนสูตร ๙. อุช-

ชยสูตร ๑๐. อุทายิสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 155

โรหิตัสสวรรคที่ ๕

๑๐. สมาธิสูตร

ว่าด้วยสมาธิภาวนา ๔

[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิภาวนา ๔ ประการนี้ สมาธิภาวนา

๔ ประการคืออะไร คือสมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มาก. แล้วย่อมเป็นไป

เพื่อ (ทิฏฐธรรมสุขวิหาร) ความพักผ่อนอยู่สำราญในอัตภาพปัจจุบันก็มี

สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็นไปเพื่อ (ญาณทัสนปฏิลาภ)

ความได้ญาณทัสนะก็มี สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อมเป็น

ไปเพื่อสติสัมปชัญญะก็มี สมาธิภาวนาที่บุคคลเจริญกระทำให้มากแล้วย่อม

เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะก็มี

ก็สมาธิภาวนาที่เจริญการทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อความพักผ่อน อยู่

สำราญในอัตภาพปัจจุบันเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้สงัดจากกาม

สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌานอันประกอบด้วยวิตก ประกอบด้วย

วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่

เพราะวิตกวิจารสงบไป เธอได้ทุติยฌานอันเป็นเครื่องผ่องใสใน

ภายใน ประกอบด้วยความที่ใจเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติ

และสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

เพราะปีติคลายไปด้วย ภิกษุเพ่งอยู่ด้วย มีสติสัมปชัญญะด้วย เสวยสุข

ทางกายด้วย ได้ตติยฌาน ซึ่งพระอริยะกล่าว (ผู้ที่ได้ตติยฌานนี้) ว่า ผู้มี

สติเพ่งอยู่เป็นสุข

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 156

เพราะละสุข (กาย) และทุกข์ (กาย) ได้ เพราะโสมนัส (สุขใจ)

และโทมนัส (ทุกข์ใจ) ดับไปก่อน ได้จตุตถฌานอันไม่ทุกข์ไม่สุข มีความ

บริสุทธิ์ด้วยอุเบกขาและสติอยู่

นี้ สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความพักผ่อน

อยู่สำราญในอัตภาพปัจจุบัน

ก็สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อความได้ญาณทัสนะ

เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ทำในใจซึ่งอาโลกสัญญา (ความสำคัญใน

แสงสว่าง) อธิฏฐานทิวาสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นเวลากลางวัน ) ให้เหมือน

กันหมดทั้งกลางวันและกลางคืน มีใจสงบสงัดไม่มีอะไรหุ้มห่อ ยังจิตอัน

ประกอบด้วยความสว่างไสวให้เกิดขึ้นด้วยอาการอย่างนี้ นี้ สมาธิภาวนาที่

เจริญการทำให้มากแล้วเป็นไปเพื่อฌาณทัสนะ

ก็สมาธิภาวนาที่เจริญการทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เวทนาเกิดขึ้นก็รู้ เวทนาตั้งอยู่ก็รู้ เวทนา

ดับไปก็รู้ สัญญาเกิดขึ้นก็รู้ สัญญาตั้งอยู่ก็รู้ สัญญาดับไปก็รู้ วิตกเกิดขึ้นก็รู้

วิตกตั้งอยู่ก็รู้ วิตกดับไปก็รู้ นี้ สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้วเป็น

ไปเพื่อสติสัมปชัญญะ

ก็สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้ว เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

เป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาดูเนือง ๆ ซึ่งความเกิดและ

ความเสื่อมในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่ารูปเป็นอย่างนี้ ความเกิดขึ้นแห่งรูปเป็นอย่างนี้

ความดับไปแห่งรูปเป็นอย่างนี้ เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณเป็นอย่างนี้ ความ

เกิดขึ้นแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณเป็นอย่างนี้ นี้ สมาธิภาวนาที่เจริญกระทำให้มากแล้ว

เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 157

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สมาธิภาวนา ๔.

ก็แล คำที่เรากล่าวในปุณณกปัญหาในปารายนวรรคว่า

ความหวั่นไหวในโลกไหน ๆ ของ

ผู้ใดไม่มี เพราะพิจารณารู้อารมณ์อันยิ่ง

และหย่อนในโลก ผู้นั้นเป็นคนสงบไม่มี

โทษดุจควัน ไม่มีทุกข์ใจ ไม่มีความหวัง

เรากล่าวว่า ข้ามชาติและชราได้แล้ว

ดังนี้นี่ หมายเอาความที่กล่าวมานี้.

จบสมาธิสูตรที่ ๑

โรหิตัสสวรรคที่ ๕

อรรถกถาสมาธิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสมาธิสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า าณทสฺสนปฏิลาภาย ความว่า เพื่อได้ญาณทัสนะคือ

ทิพยจักษุ. บทว่า ทิวา สญฺ อธิฏฺาติ ความว่า ย่อมตั้งความกำหนด-

หมายอย่างนี้ว่า กลางวัน ดังนี้. บทว่า ยถา ทิวา ตถา รตฺตึ ความว่า

ทำในใจถึงอาโลกสัญญาความกำหนดหมายว่าแสงสว่างในเวลากลางวัน ฉันใด

ย่อมทำในใจถึงอาโลกสัญญานั้น แม้ในกลางคืนก็ฉันนั้นนั่นแหละ. แม้ในบท

ที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า สปฺปภาส ได้แก่ มีแสงสว่างคือทิพยจักษุ-

ญาณ แม้ทำจิตให้เป็นเสมือนแสงสว่างได้แล้วก็จริง ถึงกระนั้น บัณฑิตก็พึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 158

กำหนดเนื้อความอย่างนี้. แต่ในที่นี้ท่านประสงค์แสงสว่างคือทิพยจักษุญาณ.

บทว่า วิทิตา ได้แก่ปรากฏแล้ว . ถามว่า อย่างไร เวทนาที่รู้แล้ว ชื่อว่า

เกิดขึ้น ที่รู้แล้ว ชื่อว่าดับไป. ตอบว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมกำหนดวัตถุ

ย่อมกำหนดอารมณ์ เพราะภิกษุนั้นกำหนดวัตถุและอารมณ์แล้ว เวทนาที่รู้

อย่างนี้ว่า เวทนาเกิดขึ้นอย่างนี้ ตั้งอยู่อย่างนี้ ดับไปอย่างนี้ ชื่อว่าเกิดขึ้น

ที่รู้แล้ว ชื่อว่าตั้งอยู่ ที่รู้แล้ว ชื่อว่าดับไป. แม้ในสัญญาและวิตกก็นัยนี้

เหมือนกัน. บทว่า อุทยพฺพยานุปสฺสี แปลว่า พิจารณาเห็นความเกิดและ

ความเสื่อม. บทว่า อิติ รูป ความว่า รูปเป็นอย่างนี้ รูปมีเท่านี้ รูปอื่น

นอกนี้ไม่มี. บทว่า อิติ รูปสฺส สมุทโย ความว่า ความเกิดขึ้นแห่งรูป

เป็นอย่างนี้. ส่วนบทว่า อตฺถงฺคโม ท่านหมายถึงความแตกดับ. แม้ใน

เวทนาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า อิทญฺจ ปน เม ต ภิกฺขเว สนฺธาย ภาสิต ความว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำเป็นต้นว่า สงฺขาย โลกสฺมิ ใด เรากล่าวแล้ว

ในปุณณกปัญหา (โสฬสปัญหา) คำนั้นเรากล่าวหมายถึงผลสมาบัตินี้ . ในบท

เหล่านั้น บทว่า สงฺขาย ได้แก่ รู้ด้วยญาณ. บทว่า โลกสฺมิ ได้แก่

ในโลกคือหมู่สัตว์. บทว่า ปโรปรานิ ได้แก่ ความยิ่งและหย่อน คือสูง

และต่ำ. บทว่า อิชิต ได้แก่ ความหวั่นไหว. บทว่า นตฺถิ กุหิฺจิ

โลเก ความว่า ความหวั่นไหวของผู้ใด ในที่ไหน ๆ ไม่ว่าจะในขันธ์หนึ่งก็ดี

อายตนะหนึ่งก็ดี ธาตุหนึ่งก็ดี อารมณ์หนึ่งก็ดี ย่อมไม่มีในโลก. บทว่า

สนฺโต ความว่า ผู้นั้นเป็นคนสงบ เพราะสงบกิเลสที่เป็นข้าศึก. บทว่า

วิธูโม ความว่า เป็นผู้ปราศจากกิเลสดุจควัน เพราะควันคือความโกรธ.

ในพระสูตรนี้ ตรัสถึงเอกัคคตาในมรรค ในคาถาตรัสผลสมาบัติอย่างเดียว

ด้วยประการฉะนี้แล.

จบอรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 159

๒. ปัญหาสูตร

ว่าด้วยปัญหาพยากรณ์ ๔

[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปัญหาพยากรณ์ (การกล่าวแก้ปัญหา)

๔ อย่างนี้ ปัญหาพยากรณ์ ๔ คืออะไรบ้าง คือปัญหาเป็นเอกังสพยากรณียะ

(ต้องแก้โดยส่วนเดียว) ๑ ปัญหาเป็นวิภัชชพยากรณียะ (ต้องจำแนกแก้) ๑

ปัญหาเป็นปฏิปุจฉาพยากรณียะ (ต้องย้อนถามแล้วจึงแก้) ๑ ปัญหาเป็นฐปนียะ

(ต้องงดแก้) ๑ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปัญหาพยากรณ์ ๔ อย่าง

ปัญหาพยากรณ์อย่างหนึ่งพึงแก้โดย

ส่วนเดียว อีกอย่างหนึ่งพึงจำแนกแก้

อย่างที่ ๓ พึงย้อนถาม ส่วนที่ ๔ พึง

งดแก้.

ก็ภิกษุใดรู้การที่จะกล่าวแก้ปัญหา

เหล่านั้นในฐานะนั้น ๆ ท่านเรียกภิกษุเช่น

นั้นว่า ผู้ฉลาดในปัญหา ๔.

บัณฑิตผู้มั่นคง ยากที่ใครจะเทียบ

ยากที่ใครจะข่มเป็นผู้ลึกซึ้ง ยากที่ใครจะ

ทำลาย อนึ่งเป็นผู้ฉลาดในทางเจริญทาง

เสื่อมและในประโยชน์ ๒ ฝ่าย เว้นทาง

เสื่อมทางที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือเอาทาง

เจริญทางที่เป็นประโยชน์ เพราะได้

ประโยชน์ จึงได้ชื่อว่า บัณฑิต.

จบปัญหาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 160

อรรถกาปัญหาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัญหาสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โย จ เนส ตตฺถ ตตฺถ ชานาติ อนุธมฺมต ความว่า

ภิกษุใดรู้การกล่าวแก้ปัญหาเหล่านั้น ในฐานะนั้น ๆ. บทว่า จตุปญฺหสฺส

กุสโล อาหุ ภิกฺขุ ติถาวิธ ความว่า ท่านเรียกภิกษุผู้เช่นนั้น อย่างนี้ว่า

ผู้ฉลาดในปัญหาทั้ง ๔. บทว่า ทุราสโท ทุปฺปสโห ความว่า อันใครๆ

ไม่อาจจะกระทบหรือข่มเอาได้. บทว่า คมฺภีโร ความว่า เป็นผู้ลึกซึ้ง

เหมือนมหาสมุทรสีทันดร ๗ สมุทร. บทว่า ทุปฺปธสิโย ได้แก่ ผู้ที่ใครๆ

เปลื้องได้ยาก อธิบายว่า ใคร ๆ ไม่อาจจะให้เขาปล่อยการยึดถือข้อที่เขาถือ

แล้วได้. บทว่า อตฺเถ อนตฺเถ จ ได้แก่ ในความเจริญและในความเสื่อม.

บทว่า อตฺถาภิสมยา ได้แก่ เพราะรวมเอาความเจริญไว้ได้. บทว่า

ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ ความว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา เขาเรียกกัน

อย่างนี้ว่า ผู้นี้ เป็นบัณฑิต ดังนี้.

จบอรรถกถาปัญหาสูตรที่ ๒

๓. ปฐมโกธสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

บุคคล ๔ จำพวกคือใคร คือ บุคคลหนักในความโกรธ ไม่หนักในพระ-

สัทธรรม ๑ บุคคลหนักในความลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 161

บุคคลหนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ บุคคลหนักในสักการะ ไม่

หนักในพระสัทธรรม ๑ นี้แล บุคคล ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคล

๔ จำพวกคือใคร คือ บุคคลหนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ ๑

บุคคลหนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน ๑ บุคคลหนักใน

พระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ ๑ บุคคลหนักในพระสัทธรรม ไม่หนักใน

สักการะ ๑

ภิกษุผู้หนักในความโกรธและความ

ลบหลู่ท่าน หนักในลาภและสักการะ

ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่งอกงามในพระธรรม

ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

ส่วนภิกษุเหล่าใดหนักในพระสัท-

ธรรมแล้ว และกำลังหนักในพระสัทธรรม

อยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมงอกงามในพระธรรม

ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว.

จบปฐมโกธสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 162

อรรถกถาปฐมโกธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโกธสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โกธครุ น สทฺธมฺมครุ ความว่า บุคคลถือความโกรธ

เป็นสำคัญ ไม่ถือพระสัทธรรม ย่อมถือพระสัทธรรม แต่ทำให้ไม่สำคัญ. แม้

ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า วิรูหนฺติ ได้แก่ ย่อมเจริญ หรือ

ย่อมตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ด้วยศรัทธาที่เป็นมูลเกิดพร้อมแล้ว.

จบอรรถกถาปฐมโกธสูตรที่ ๓

๔.ทุติยโกธสูตร

ว่าด้วยอสัทธรรม ๔

[๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัทธรรม ๔ ประเภทนี้ อสัทธรรม

๔ ประเภทคืออะไร คือ ความเป็นผู้หนักในความโกรธ ไม่หนักในพระ-

สัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑

ความเป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ ความเป็นผู้หนักในสักการะ

ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ นี้แล อสัทธรรม ๔ ประเภท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระสัทธรรม ๔ ประเภทนี้ พระสัทธรรม ๔

ประเภทคืออะไร คือ ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความ

โกรธ ๑ ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในความลบหลู่ท่าน ๑

ความเป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ ๑ ความเป็นผู้หนักใน

พระสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ ๑. นี้แล พระสัทธรรม ๔ ประเภท.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 163

ภิกษุผู้หนักในความโกรธและความ

ลบหลู่ท่าน หนักในลาภและสักการะ ย่อม

ไม่งอกงามในพระสัทธรรม ดุจพืชที่หว่าน

ในนาเลวฉะนั้น.

ส่วนภิกษุเหล่าใดหนักในพระสัท-

ธรรมแล้ว และกำลังหนักในพระสัทธรรม

อยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมงอกงามในธรรม

ดุจสมุนไพรได้ปุ๋ยฉะนั้น.

จบทุติยโกธสูตรที่ ๔

ในทุติยโกธสูตรที่ ๔ บทว่า โกธครุตา แปลว่า ความเป็นผู้หนัก

อยู่ในความโกรธ. ในบททั้งปวงก็นัยนี้นี่แล.

๕. ปฐมโรหิตัสสสูตร

ว่าด้วยโรหิตัสสเทวบุตรทูลถามปัญหา

[๔๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชต-

วัน อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น เมื่อราตรีล่วง

(ปฐมยาม) แล้ว เทวบุตรชื่อโรหิตัสสะ มีฉวีวรรณงดงาม (ฉายรัศมี)

ยังพระเชตวันให้สว่างไปทั่ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงแล้ว

ถวายอภิวาทแล้วยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง แล้วกราบทูลถามพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในที่สุดโลกใด สัตว์ไม่เกิดไม่แก่ไม่ตาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 164

ไม่จุติไม่อุปบัติ บุคคลอาจรู้หรือเห็นหรือไปถึงซึ่งที่สุดนั้นด้วยการเดินทางไป

ได้หรือ.

พ. ตรัสตอบว่า อาวุโส ในที่สุดโลกใดแล สัตว์ไม่เกิดไม่แก่ไม่ตาย

ไม่จุติ ไม่อุปบัติ เรากล่าวว่าที่สุดโลกนั้น บุคคลไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นไม่พึงไป

ถึงได้ด้วยการเดินทางไป.

โร. น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้าข้า ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

ถูกต้องตามที่ตรัส ว่า ในที่สุดโลกใดแล สัตว์ไม่เกิดไม่แก่ไม่ตายไม่จุติ

ไม่อุปบัติ เรากล่าวว่าที่สุดโลกนั้น บุคคลไม่พึงรู้ไม่พึงเห็นไม่พึงไป ถึงได้

ด้วยการเดินทางไป ดังนี้ เมื่อก่อนข้าพระพุทธเจ้าเป็นฤษีชื่อโรหิตัสสะ เป็น

บุตรนายบ้าน มีฤทธิ์ไปในอากาศได้ ความเร็วของข้าพระพุทธเจ้านั้นเปรียบ

ได้กับนายขมังธนูผู้กำยำ ได้ฝึกหัดธนูศิลป์แล้วอย่างดีจนชำนิชำนาญสำเร็จ

การยิงแล้ว และยิงลูกธนูอันเบาอันมีการปะทะน้อย ให้ผ่านเงาต้นตาลทาง

ขวางไปฉะนั้น การย่างเท้าก้าวหนึ่งของข้าพระพุทธเจ้าระยะเท่ากับจากสมุทร

เบื้องตะวันออกถึงสมุทรเบื้องตะวันตก ข้าพระพุทธเจ้าผู้มีความเร็วและก้าวเท้า

เห็นปานนี้ มีความปรารถนาเกิดขึ้นว่าจักไปให้ถึงที่สุดโลก เว้นการกิน ดื่ม

เคี้ยว ลิ้ม ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นอนและหยุดพักเหนื่อย ข้าพระพุทธเจ้า

มีอายุ ๑๐๐ ปี ดำรงชีวิตอยู่ตลอด ๑๐๐ ปี เดินทางไปจนสิ้น ๑๐๐ ปี ก็หา

ถึงที่สุดโลกไม่ ตายเสียในระหว่างนั้นเอง น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธเจ้าข้า

ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถูกต้องดังที่ตรัสว่า ในที่สุดโลกใด สัตว์ไม่เกิด

ไม่แก่ไม่ตายไม่จุติไม่อุปบัติ เรากล่าวว่าที่สุดโลกนั้น บุคคลไม่พึงรู้ไม่พึงเห็น

ไม่พึงไปถึงได้ด้วยการเดินทางไป ดังนี้.

พ. ตรัสย้ำความและไขความว่า อาวุโส ในที่สุดโลกใดแล ไม่เกิด

ไม่แก่ไม่ตายไม่จุติไม่อุปบัติ เรากล่าวว่าที่สุดโลกนั้น บุคคลไม่พึงจะไม่พึงเห็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 165

ไม่พึงไปถึงได้ด้วยการเดินทางไป แต่เราก็ไม่กล่าวว่า เมื่อยังไม่ถึงที่สุดโลก

แล้วจะทำที่สุดทุกข์ได้ เออ นี่แน่ะอาวุโส เราบัญญัติโลก และโลกสมุทัย

โลกนิโรธ โลกนิโรธคามินีปฏิปทา ในกเลวระ (ร่างกาย) อันยาวประมาณ

๑ วา ซึ่งมีสัญญาและมีใจ.

ที่สุดโลก บุคคลไม่พึงถึงได้ด้วย

การเดินทางไป แต่ไหน ๆ มา แต่ว่ายัง

ไม่ถึงที่สุดโลกแล้วจะพ้นทุกข์ได้เป็นไม่มี

เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญาดีรู้จักโลก ถึงที่

สุดโลก อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว รู้ที่สุดโลก

สงบบาปแล้ว ย่อมไม่ปรารถนาทั้งโลกนี้

ทั้งโลกอื่น.

จบปฐมโรหิตัสสสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมโรหิตัสสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมโรหิตัสสสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยตฺถ ความว่า แผ่นดินให้โอกาสแห่งหนึ่งของโลกในจักรวาล.

บทว่า น จวติ น อุปปชฺชติ นี้ ทรงถือแล้วด้วยอำนาจจุติติและปฏิสนธิ

สืบๆกัน ไป. บทว่า คมเนน คือด้วยการใช้เท้าเดินไป. บทว่า โลกสฺส อนฺต

ความว่า พระศาสดาตรัสหมายถึงที่สุดของสังขารโลก. ในบทว่า าเตยฺย

เป็นต้น ความว่า อันบุคคลพึงรู้ พึงเห็น พึงถึง. ด้วยเหตุนั้น เทพบุตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 166

ทูลถามที่สุดของโลกในจักรวาล พระศาสดาก็ตรัสตอบที่สุดของสังขารโลก.

ฝ่ายเทพบุตรนั้นร่าเริงในปัญหาว่า การกล่าวแก้ของพระศาสดาสมกับปัญหา

ของตน ดังนี้ จึงทูลว่า อจฺฉริย ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า ทฬฺหธมฺโม ได้แก่ ผู้สอดธนูไว้มั่น คือประกอบด้วยธนู

มีขนาดเยี่ยม. บทว่า ธนุคฺคโห ได้แก่อาจารย์ผู้ฝึกหัดธนู. บทว่า สุสิกฺขิโต

คือ ผู้ได้ศึกษาธนูศิลป์มา ๑๒ ปี. บทว่า กตหตฺโถ ความว่า มีฝีมือ

ชำนาญแล้ว โดยสามารถยิงปลายขนเนื้อทราย ในระยะประมาณอุสภะหนึ่งได้.

บทว่า กตูปาสโน ได้แก่ ยิงธนูชำนาญได้แสดง (ประลอง) ศิลปธนูมาแล้ว.

บทว่า อสเนน คือลูกธนู. บทว่า อติปาเตยฺย คือผ่านไป. เทพบุตร

แสดงสมบัติ คือความเร็วของตนว่า เราจักผ่านจักรวาลหนึ่งไปเท่ากับลูกธนู

นั้น ผ่านเงาตาลไป.

บทว่า ปุรตฺถิมา สมุทฺทา ปจฺฉิโม ความว่า เทวบุตรกล่าวว่า การ

ย่างเท้าก้าวหนึ่งไปได้ในที่ไกล เหมือนสมุทรเบื้องตะวันตกไกลจากสมุทรเบื้อง

ตะวันออกฉะนั้น . ได้ยินว่า ฤษีนั้น ยืนอยู่ที่ขอบปากแห่งจักรวาลเบื้อง

ตะวันออก เหยียดเท้าผ่านขอบปากแห่งจักรวาลเบื้องตะวันตก เหยียดเท้า

ที่สองไปอีก ก็ผ่านขอบปากจักรวาลอื่น. บทว่า อิจฺฉาคต แปลว่า ความ

ปรารถนานั้นเอง. บทว่า อญฺตฺเรว คือ ท่านแสดงความไม่ชักช้า. ได้ยินว่า

ในเวลาภิกขาจาร ฤษีนั้นสีไม้สีฟันนาคลดา ล้างหน้าในสระอโนดาต เมื่อได้

เวลาก็เที่ยวบิณฑบาตในอุตตรกุรุทวีป นั่งที่ขอบปากจักรวาล ทำภัตกิจ. หยุด

พัก ณ ที่นั้นครู่หนึ่ง ก็โลดแล่นไปอีก. บทว่า วสฺสตายุโภ ความว่า ยุคนั้น

เป็นสมัยที่คนมีอายุยืน. ส่วนฤษีนี้เริ่มเดินเมื่ออายุเหลือ ๑๐๐ ปี. บทว่า

วสฺสสตชีวี ความว่า เขามีชีวิตอยู่ ๑๐๐ ปี โดยไม่มีอันตราย. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 167

อนฺตราเยว กาลกโต ความว่า ยังไม่ถึงที่สุดแห่งโลกในจักรวาล. ก็ตาย

เสียก่อนในระหว่าง. แต่เขาทำกาละในที่นั้นแล้ว จึงมาเกิดในจักรวาลนี้.

บทว่า อปฺปตฺวา ความว่า ยังไม่ถึงที่สุดแห่งสังขารโลก. บทว่า

ทุกฺขสฺส คือ วัฏฏทุกข์. บทว่า อนฺตกิริย คือ ทำที่สุด. บทว่า กเฬวเร

คือในอัตภาพ. บทว่า สสญฺมฺหิ สมนเก คือ มีสัญญามีใจ. บทว่า

โลก คือ ทุกขสัจ. บทว่า โลกสมุทย คือ สมุทยสัจ. บทว่า โลกนิโรธ

คือ นิโรธสัจ. บทว่า ปฏิปท คือ มรรคสัจ. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

แสดงว่า ผู้มีอายุ เราย่อมไม่บัญญัติสัจจะ ๔ เหล่านี้ลงในหญ้าและไม้เป็นต้น

แต่เราย่อมบัญญัติลงในกายนี้ที่มีมหาภูต ๔ เท่านั้น. บทว่า สมิตาวี ได้แก่

ผู้มีบาปสงบแล้ว . บทว่า นาสึสติ คือ ย่อมไม่ปรารถนา.

จบอรถกถาปฐมโรหิตัสสสูตรที่ ๕

๖. ทุติยโรหิตัสสสูตร

ว่าด้วยโรหิตัสสเทวบุตรทูลถามปัญหา

[๔๖] สูตรนี้เนื้อความเหมือนสูตรก่อนทุกอย่าง ต่างแต่ว่าสูตรนี้

เป็นคำที่พระองค์ตรัสเล่าให้ภิกษุทั้งหลายพึงว่า เมื่อคืนนี้มีเทวบุตรชื่อนั้นมา

เฝ้าแล้ว กราบทูลถามอย่างนั้น ๆ นิคมคาถาก็อย่างเดียวกัน .

จบทุติยโรหิตัสสสูตรที่ ๖

ทุติยโรหิตัสสสูตรที่ ๖ ง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 168

๗. สุวิทูรสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ไกลแสนไกล ๔

[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไกลแสนไกล ๔ อย่างนี้ ๔ อย่าง

คืออะไร คือ

๑. ฟ้ากับดิน

๒. ฝั่งในกับฝั่งนอกแห่งสมุทร

๓. ที่ ๆ ดวงอาทิตย์อุทัยกับที่ ๆ ดวงอาทิตย์อัสดง

๔. ธรรมของสัตบุรุษกับธรรมของอสัตบุรุษ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล สิ่งที่ไกลแสนไกล ๔ อย่าง.

ฟ้ากับดิน ไกลกัน ฝั่งสมุทร ก็ว่า

ไกลกัน ที่ ๆ ดวงอาทิตย์อุทัย กับที่ ๆ

ดวงอาทิตย์อัสดง (ก็ไกลกัน) ธรรมของ

สัตบุรุษกับธรรมของสัตบุรุษ ปราชญ์

กล่าวว่าไกลกันยิ่งกว่านั้น

การสมาคมแต่งสัตบุรุษย่อมไม่เสื่อม

คลาย จะนานเท่าใด ๆ ก็คงที่อยู่เช่นนั้น

ส่วนสมาคมแห่งอสัตบุรุษย่อมพลันเสื่อม

เพราะฉะนั้น ธรรมของสัตบุรุษจึงไกลจาก

อสัตบุรุษ.

จบสุวิทูรสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 169

อรรถกถาสุวิทูรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุวิทูรสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุวิทูรวิทูรานิ ความว่า ไม่ใกล้กันโดยปริยายไร ๆ คือ

ไกลแสนไกลนั่นเอง. บทว่า นภญฺจ ภิกฺขเว ปวี จ ได้แก่ อากาศกับ

แผ่นดินใหญ่. ในสองอย่างนั้น ชื่อว่าอากาศไม่ไกลจากแผ่นดิน แม้ประมาณ

๒ นิ่วก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านก็ยังกล่าวว่าไกลแสนไกลเพราะไม่คิดกันและกัน

บทว่า เวโรจโน คือดวงอาทิตย์. บทว่า สตญฺจ ภิกขเว ธมฺโม

ความว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ อันต่างด้วยสติปัโฐาน ๔ เป็นต้น . บทว่า

อสตญฺจ ธมโม ความว่า อสัทธรรมอันต่างด้วยทิฏฐิ ๖๒. บทว่า ปภงฺกโร

คือดวงอาทิตย์. บทว่า อพฺยายิโก โหติ ได้แก่ ไม่จางไปเป็นสภาพ.

บทว่า สต สมาคโม ความว่า การสมาคมของบัณฑิตด้วยสามารถกระชับมิตร.

บทว่า ยาวมฺปิ ติฏฺเยฺย ความว่า จะพึงตั้งอยู่นานเท่าใด. บทว่า ตเถว

โหติ ความว่า ก็คงที่อยู่เช่นนั้น. ไม่ละปกติ. บทว่า ขิปฺปฺหิ เวติ คือ

ย่อมจางเร็ว.

จบอรรถกถาสุวิทูรสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 170

๘. วิสาขสูตร

ว่าด้วยวิสาขาปัญจาลิบุตรแสดงธรรมมิกถา

[๔๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารพระเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี คราวนั้นท่านวิสาขะ ปัญจาลิบุตร

แสดงธรรมิกถาให้ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งให้สมาทานให้อาจหาญให้ร่าเริงอยู่

ในอุปัฏฐานศาลา ด้วยถ้อยคำของชาวเมือง สละสลวยปราศจากโทษ ทำให้

เข้าใจความได้ชัดเจน นับเนื่องในนิพพานไม่อิงวัฏฏะ

ครั้งนั้น เวลาเย็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่ประทับหลีกเร้น

ไปอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่ง ณ อาสนะที่จัดไว้แล้ว ตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า

ใครหนอแสดงธรรมิกถาให้ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งให้สมาทานให้อาจหาญ

ให้ร่าเริง ด้วยคำของชาวเมือง สละสลวย ปราศจากโทษ ทำให้เข้าใจความ

ได้ชัดเจน นับเนื่องในนิพพานไม่อิงวัฏฏะ.

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ท่านวิสาขะ ปัญจาลิบุตร พระพุทธเจ้าข้า...

พ. จึงตรัสประทานสาธุการกะท่านวิสาขะว่า สาธุ สาธุ วิสาขะ เธอ

แสดงธรรมิกถาให้ภิกษุทั้งหลายให้เห็นแจ้งให้สมาทานให้อาจหาญให้ร่าเริง

ด้วยถ้อยคำของชาวเมือง สละสลวย ปราศจากโทษ ทำให้เข้าใจความได้ชัดเจน

นับเนื่องในนิพพานไม่อิงวัฏฏะ ดีนักแล.

คนฉลาดปนกับหมู่คนเขลา เมื่อไม่

พูดออกมา ก็ไม่มีใครรู้จัก ต่อเมื่อพูด

แสดงอมตบท คนทั้งหลายจงรู้ บุคคล

พึงส่องธรรมให้สว่าง พึงยกธงของฤษีไว้

ฤษีทั้งหลายมีสุภาษิตเป็นธง แท้จริง ธรรม

เป็นธงของพวกฤษี.

จบวิสาขสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 171

อรรถกถาวิสาขสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิสาขสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปญฺจาลิปุตฺโต คือเป็นบุตรของนางพราหมณี ชื่อปัญจาลี.

บทว่า โปริยา วาจาย คือ ด้วยวาจาที่บริบูรณ์. บทว่า วิสฺสฏฺาย คือ

ลิ้นไม่พัน. บทว่า อเนฬคลาย ความว่า ไม่มีโทษ ไม่ตุกุกตะกัก พยัญชนะ

ไม่เพี้ยน. บทว่า ปริยาปนฺนาย คือ ที่นับเนื่องในวิวัฏฏะ. บทว่า อนิสฺสิ-

ตาย คือ ไม่อาศัยวัฏฏะ. อธิบายว่า กล่าวถ้อยคำให้อาศัยวิวัฏฏะเท่านั้น

ไม่กล่าวถ้อยคำให้อาศัยวัฏฏ.

บทว่า นาภาสมาน คือเมื่อไม่พูดก็ไม่มีใครรู้จัก บทว่า อมต ปท

ได้แก่ บทคือพระนิพพาน. บทว่า ภาสเย ได้แก่ พึงทำให้กระจ่าง (พูด).

บทว่า โชตเย เป็นไวพจน์ของบทว่า ภาสเย นั้นเอง. บทว่า ปคฺคณฺเห

อิสีน ธช ความว่า โลกุตรธรรม ๙ อย่าง เรียกชื่อว่า ธงของพวกฤษี เพราะ

อรรถว่า ฟุ้งขจรไป. อธิบายว่า พึงยกย่องโลกุตรธรรมนั้น คือ พึงกล่าว

ยกให้สูง. พวกฤษี ชื่อว่ามีสุภาษิตเป็นธง เพราะอรรถว่า มีสุภาษิตที่แสดง

โลกุตรธรรม ๙ เป็นธง. บทว่า อิสิโย ได้แก่ พระอริยะทั้งหลาย มี

พระพุทธเจ้าเป็นต้น . บทว่า ธมฺโม หิ อิสีน ธโช ความว่า โลกุตรธรรม

ชื่อว่า เป็นธงของพวกฤษี โดยนัยอันกล่าวแล้วในหนหลังแล.

จบอรรถกถาวิสาขสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 172

๙. วิปัลลาสสูตร

ว่าด้วยวิปลาสในธรรม ๔ ประการ

[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส

(ความสำคัญ คิด เห็นคลาดเคลื่อน) มี ๔ ประการนี้ ๔ ประการคืออะไรบ้าง

คือ สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ๑ ในสิ่งที่

เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ๑ ในสิ่งที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตา ๑ ในสิ่งที่ไม่งาม

ว่างาม ๑ นี้แล สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการ

ภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ นี้

๔ คืออะไรบ้าง คือ สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิไม่วิปลาส ว่าไม่เที่ยง

ในสิ่งที่ไม่เที่ยง... ว่าทุกข์ในสิ่งที่เป็นทุกข์... ว่าเป็นอนัตตาในสิ่งที่เป็น

อนัตตา... ว่าไม่งามในสิ่งที่ไม่งาม นี้แล สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส

ทิฏฐิไม่วิปลาส ๔ ประการ.

สัตว์เหล่าใดสำคัญว่าเที่ยงในสิ่งที่

ไม่เที่ยง สำคัญว่าสุขในสิ่งที่เป็นทุกข์

สำคัญว่าเป็นอัตตาในสิ่งที่เป็นอนัตตา

และสำคัญว่างานในสิ่งที่ไม่งาม ถูกความ

เป็นผิดชักนำไปแล้ว ความคิดซัดส่ายไป

มีความสำคัญ (คิดเห็น) วิปลาส สัตว์

เหล่านั้นชื่อว่า ถูกเครื่องผูกของมารผูกไว้

แล้ว เป็นคนไม่เกษมจากโยคะ ย่อม

เวียนเกิดเวียนตายไป.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 173

เมื่อใดพระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ประดุจ

ดวงอาทิตย์บังเกิดขึ้นในโลก ทรงประกาศ

ธรรมอันนี้ ซึ่งเป็นทางให้ถึงความสงบ

ทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์เหล่านั้น ผู้ที่มีปัญญา

ได้ฟังธรรมของท่านแล้ว จึงกลับได้คิด

เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

และไม่งาม ตามความเป็นจริง เพราะมา

ถือเอาทางความเห็นชอบ ก็ล่วงพ้นทุกข์

ทั้งปวงได้.

จบวิปัลลาสสูตรที่ ๙

อรรถกถาวิปัลลาสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิปัลลาสสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สญฺาวิปลฺลาสา ความว่า มีสัญญาความสำคัญคลาดเคลื่อน

อธิบายว่า มีสัญญา ๔ วิปริต ความสำคัญที่ตรงกันข้าม. แม้ในสองบทที่เหลือ

ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อนิจฺเจ ภิกฺขเว นิจฺจนฺติ สญฺาวิปลฺลาโส

ความว่า เกิดความสำคัญ ยึดถืออย่างนี้ว่าเที่ยงในสิ่งที่ไม่เที่ยง ชื่อว่าสัญญา

วิปัลลาส. บัณฑิตพึงทราบความในบททุกบท โดยนัยนี้ .

บทว่า อนตฺตนิ จ อตฺตา ความว่า ผู้มีความสำคัญอย่างนี้ว่า

เป็นอัตตาให้สิ่งที่เป็นอนัตตา. บทว่า มิจฺฉาทิฏฺิหตา ความว่า สัตว์จะ

สำคัญอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ ยังถูกแม้มิจฉาทิฏฐิความเห็นผิดที่กำลัง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 174

เกิดขึ้นชักนำไปแล้ว เหมือนสัญญาวิปัลลาส. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา ความว่า

ผู้ประกอบด้วยจิตซัดส่ายที่กำลังเกิดขึ้นเหมือนสัญญาวิปัลลาสและทิฏฐิวิปัลลาส.

บทว่า วิสญฺิโน นั่นเป็นเพียงเทศนา. อธิบายว่า เป็นสัญญาจิตและทิฏฐิ

อันวิปริต. บทว่า เต โยคยุตฺตา มารสฺส ความว่า สัตว์เหล่านั้นชื่อว่า

ประกอบอยู่ในเครื่องผูกของมาร. บทว่า อโยคกฺเขมิโน ความว่า เป็นคน

ไม่ถึงความเกษมจากโยคะ คือพระนิพพาน. บทว่า สตฺตา คือบุคคล

ทั้งหลาย. บทว่า พุทฺธา คือผู้ตรัสรู้สัจจะ ๔. บทว่า อิม ธมฺม คือ

สัจจธรรม ๔. บทว่า สจิตฺต ปจฺจลทฺธา ได้แก่ กลับได้ความคิดของ

ตนเอง. บทว่า อนิจฺจโต ทกฺขุ ได้แก่ ได้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง

จริง. บทว่า อสุภตทฺทส ได้แก่ ได้เห็นโดยความเป็นของไม่งามจริง.

บทว่า สมฺมาทิฏฺิสมาทานา ได้แก่ ผู้ยึดถือสัมมาทัสสนะ. บทว่า สพฺพ

ทุกฺข อุปจฺจคุ ความว่า ล่วงพ้นวัฏฏทุกข์ทั้งสิ้นได้.

จบอรรถกถาวิปัลลาสสูตรที่ ๙

๑๐. อุปกิเลสสูตร

ว่าด้วยเครื่องเศร้าหมอง ๔ อย่าง

[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลส (เครื่องมัวหมอง) แห่ง

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่างนี้ ซึ่งเป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่

สว่างไสวไพโรจน์ อุปกิเลสแห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่างคืออะไรบ้าง

คือ เมฆ ๑ หมอก ๑ ควันและผงคลี ๑ อสุรินทราหู ๑ นี้แล อุปกิเลส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 175

แห่งดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ๔ อย่าง ซึ่งเป็นเหตุให้ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่

สว่างไสวไพโรจน์

ภิกษุทั้งหลาย ฉันเดียวกันนั้นแล อุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ก็มี ๔ ประการ ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ทั้งหลายไม่งามสง่า สุกใส

รุ่งเรื่อง อุปกิเลสของสมณพราหมณ์ ๔ ประการ คืออะไรบ้าง คือ

มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าดื่มสุราเมรัย ไม่งดเว้นจากการดื่ม

สุราเมรัย การดื่มสุราเมรัยเป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ข้อ ๑ ซึ่งเป็นเหตุ

ให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง

มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าเสพเมถุนธรรม ไม่งดเว้นจากเมถุน-

ธรรม การเสพเมถุนธรรมนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ข้อ ๒ ซึ่งเป็นเหตุ

ให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง.

มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่ายินดีทองและเงิน ไม่งดเว้นจากการ

รับทองและเงิน ความยินดีรับทองและเงินนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์

ข้อ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง

มีอยู่ สมณพราหมณ์บางเหล่าเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาอาชีวะ ไม่งดเว้น

จากมิจฉาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตโดยมิจฉาอาชีวะนี้เป็นอุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์

ข้อ ๔ ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล อุปกิเลสแห่งสมณพราหมณ์ ๔ ประการ ซึ่ง

เป็นเหตุให้สมณพราหมณ์ไม่งามสง่าสุกใสรุ่งเรือง.

สมณพราหมณ์บางเหล่าผู้มีราคะโท-

สะปกคลุมแล้ว เป็นคนอันอวิชชาปกปิด

แล้ว เพลินยินดีในปิยรูป (สิ่งที่รัก) ดื่ม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 176

สุราเมรัย บางเหล่าเสพเมถุน บางเหล่า

โฉดเขลา ยินดีเงินและทอง บางเหล่า

เลี้ยงชีพโดยมิจฉาอาชีวะ.

บาปธรรมเหล่านั้น พระพุทธเจ้า

เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์ ตรัสว่าเป็นอุปกิเลส

ซึ่งเป็นเหตุให้สมณพราหมณ์เหล่านั้นปรา-

กฏว่าเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ มีราคี ไม่งามสง่า

สุกใส.

สมณพราหมณ์เหล่านั้นอันความมืด

(คืออวิชชา) หุ้มห่อแล้ว ตกเป็นทาสตัณหา

ถูกตัณหาจูงไป บำรุงเลี้ยงอัตภาพร้ายเข้า

ไว้ต้องไปเกิดอีก.

จบอุปกิเลสสูตรที่ ๑๐

จบโรหิตัสสวรรคที่ ๕

อรรถกถาอุปกิเลสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปกิเลสสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปกฺกิเลสา ความว่า ชื่อว่าอุปกิเลส (เครื่องเศร้าหมอง)

เพราะทำความมัวหมอง ไม่ให้ผ่องใส. บทว่า มหิยา คือ หมอก. บทว่า

ธูมรโช ได้แก่ ควันและผงคลี. บทว่า ราหุ ความว่า หมอก ควัน และ

ผงคลี ทั้งสามข้างต้น เป็นอุปกิเลสที่ไม่ถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ส่วนราหู

พึงทราบว่า ท่านกล่าวด้วยสามารถอุปกิเลสที่ถึงดวงจันทร์ดวงอาทิตย์. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 177

สมณพฺราหฺมณา น ตปนฺติ น ภาสนฺติ น วิโรจนฺติ ความว่า

ย่อมไม่งาม ด้วยความงามโดยคุณ ไม่สุกใสด้วยความสุกใสโดยคุณ ย่อมไม่

ไพโรจน์ด้วยความไพโรจน์โดยคุณ. บทว่า สุราเมรยปานา อปฺปฏิวิรตา

ความว่า ไม่เว้นจากการดื่มสุรา ๕ อย่าง และเมรัย ๔ อย่าง.

บทว่า อวิชฺชานิวุตา ความว่า เป็นคนถูกอวิชชาหุ้มห่อแล้ว คือ

ปกปิดไว้แล้ว. บทว่า ปิยรูปาภินนฺทิโน ความว่า เพลิดเพลิน ยินดี ปิยรูป

(สิ่งที่รัก) สิ่งเป็นที่ยินดี. บทว่า สาทิยนฺติ คือ ย่อมรับ. บทว่า อวิทฺทสุ

คือ อันธพาล. บทว่า สเนตฺติกา ความว่า นำไปด้วยเชือกคือตัณหา.

บทว่า กฏสึ คือ อัตภาพ. บทว่า โฆร คือ ร้าย. ทั้งในพระสูตรนี้ทั้งใน

คาถา ตรัสแต่วัฏฏะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาอุปกิเลสสูตรที่ ๑๐

จบโรหิตัสสวรรควรรณนาที่ ๕

จบปฐมปัณณาสก์

รวมพระสูตรในวรรคนี้ คือ

๑. สมาธิสูตร ๒. ปัญหาสูตร ๓. ปฐมโกธสูตร ๔. ทุติยโกธ-

สูตร ๕. ปฐมโรหิตัสสสูตร ๖. ทุติยโรหิตัสสสูตร ๗. สุวิทูรสูตร ๘.

วิสาขสูตร ๙. วิปัลลาสสูตร ๑๐. อุปกิเลสสูตร และอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 178

ทุติยปัณณาสก์

ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑

๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร

ว่าด้วยท่อธารบุญกุศล ๔ ประการ

[๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย (บุญญาภิสันท์) ท่อธารบุญ (กุสลา-

ภิสันท์) ท่อธารกุศล ๔ ประการนี้ นำมาซึ่งความสุข ให้ซึ่งผลอันดีเลิศ มี

ความสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ เป็นไปเพื่อผลที่ปรารถนาที่รักใคร่ ที่

ชอบใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ท่อธารบุญกุศล ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ

ภิกษุบริโภคจีวรของทายกใด เจ้าเจโตสมาธิอันเป็นธรรมหาประมาณ

มิได้ ท่อธารบุญกุศลของทายกนั้นย่อมนับประมาณมิได้ นำนาซึ่งความสุข

ให้ซึ่งผลอันดีเลิศ มีความสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ เป็นไปเพื่อผลที่

ปรารถนาที่รักใคร่ที่ชอบใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข

ภิกษุบริโภคบิณฑบาต. .. เสนาสนะ... คิลานปัจจัยของทายกใด เข้า

เจโตสมาธิอันเป็นธรรมหาประมาณมิได้ ท่อธารบุญกุศลของทายกนั้น ย่อม

นับประมาณมิได้ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ

นี้แล ท่อธารบุญ ท่อธารกุศล ๔ ประการ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ

ก็แลการที่จะนับประมาณบุญของอริยสาวก ผู้ประกอบพร้อมด้วยท่อ-

ธารบุญกุศลนี้ว่า ท่อธารบุญกุศลประมาณเท่านี้ ๆ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ

ดังนี้มิใช่ง่าย อันที่แท้ท่อธารบุญกุศลนั้นนับว่าเป็นอสงไขย (ไม่สิ้นสุดด้วย

การนับ) เป็นอัประไมย (นับประมาณไม่ได้) เป็นมหาบุญขันธ์ (กองบุญใหญ่)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 179

ทีเดียว เปรียบเหมือนจะนับประมาณน้ำในมหาสมุทร ว่ามีน้ำอยู่เท่านี้อาฬหก

เท่านี้ร้อยอาฬหก เท่านี้พันอาฬหก หรือเท่านี้แสนอาฬหก ดังนี้มิใช่ง่าย

อันที่แท้น้ำในมหาสมุทรนั้นนับว่าเป็นอสงไขย เป็นอัประไมย เป็นมหาอุทก-

ขันธ์ (ห้วงน้ำใหญ่) ทีเดียวฉันใด การที่จะนับประมาณบุญของอริยสาวกผู้

ประกอบพร้อมด้วยท่อธารบุญกุศล ๔ ประการนี้ว่า ท่อธารบุญกุศลเท่านี้ ๆ

นำมาซึ่ง ความสุข ให้ซึ่งผลอันเลิศ มีสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ เป็นไป

เพื่อผลที่ปรารถนา ที่รักใคร่ ที่ชอบใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ดังนี้มิใช่ง่าย

อันที่แท้ท่อธารบุญกุศลนั้นนับว่าเป็นอสงไขย เป็นอัประไมย เป็นมหาบุญ-

ขันธ์ทีเดียว ฉันนั้นนั่นแล

แม่น้ำมากหลาก อันเป็นที่ฝูงปลา

อาศัยอยู่ ย่อมไหลไปสู่ทะเล อันเป็นที่รับ

น้ำใหญ่ เป็นที่ขังน้ำใหญ่ สุดที่จะประมาณ

เป็นที่ประกอบด้วยสิ่งที่น่ากลัวมา เป็นที่

กำเนิดแห่งรตนะต่าง ๆ ฉันใด ท่อธารบุญ

ย่อมหลั่งไปสู่บัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ และ

ให้ผ้า ให้เครื่องที่นอน ที่นั่ง และเครื่อง

ปูลาดเป็นทาน ดุจแม่น้ำทั้งหลายไหลไปสู่

ทะเลฉะนั้น.

จบปฐมปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 180

ทุติยปัณณาสก์

ปุญญาภิสันทวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาปฐมปุญญาภิสันทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปุญฺาภิสนฺทา ได้แก่ ความหลั่งไหลมาแห่งบุญ อธิบายว่า

ความเกิดขึ้นแห่งบุญ. บทว่า กุสลาภิสนฺทา นั่นเป็นไวพจน์ของบทว่า

ปุญฺาภิสนฺทา นั้นเอง. ชื่อสุขัสสาหาร ก็เพราะว่าความหลั่งไหลมาแห่ง

บุญเหล่านี้นั้น นำซึ่งความสุขมาให้. ชื่อโสวัคคิกา เพราะว่า ให้อารมณ์มีรูป

เป็นต้นด้วยดี. ชื่อสุขวิปากาเพราะบุญเหล่านั้นมีความสุขเป็นวิบาก. ชื่อสัคค-

สังวัตตนิกา เพราะเป็นไปเพื่อเกิดในสวรรค์.

บทว่า จีวร ปริภุญฺชมาโน ความว่า ภิกษุได้ผ้าเพื่อทำจีวร

เพราะเข็มและด้ายเป็นต้นไม่มี จึงเก็บ ไว้เองบ้าง ทำเองบ้าง ให้คนอื่นทำบ้าง

ห่มเองบ้าง ซึ่งผ้านั้น ในเวลาผ้าเก่าทำเป็นผ้าปูนอนบ้าง ไม่อาจทำเป็นผ้า

ปูนอนได้ ก็ทำเป็นผ้าถูพื้นเสียบ้าง ฉีกผ้าที่ไม่เหมาะจะถูพื้นออกทำเป็นผ้า

เช็ดเท้าบ้าง ก็เรียกว่าบริโภคอยู่. แต่เมื่อใดคิดว่า ผ้านี้ใครไม่อาจทำเป็น

ผ้าเช็ดเท้าได้ก็กวาดทิ้งไป เมื่อนั้น ชื่อว่า ไม่บริโภค. บทว่า อปฺปมาณ

เจโตสมาธึ คือ อรหัตผลสมาธิ. ด้วยบทว่า อปฺปมาโณ ตสฺส

ปุญฺาภิสนฺโท นี้ ตรัสถึงบุญเจตนาของทายก นับประมาณมิได้ ด้วยว่า

บุญเจตนาของทายกนั้น ที่เป็นไปแล้วด้วยอำนาจการระลึกถึงบ่อย ๆ ว่า ภิกษุ

ผู้เป็นขีณาสพ บริโภคจีวรของเราดังนี้ ชื่อว่านับประมาณมิได้ คำนี้ตรัส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 181

หมายถึงข้อนั้น. ส่วนในบิณฑบาตเป็นต้น ภิกษุใด บริโภคบิณฑบาต ดำรง

ชีพอยู่ด้วยบิณฑบาตนั้นและได้แม้ ๗ วัน ไม่บริโภคบิณฑบาตอื่น. ภิกษุนั้น

ชื่อว่าบริโภคอยู่ซึ่งบิณฑบาตนั้นแล อยู่ได้แม้ ๗ วัน. ก็ในเสนาสนะแห่งหนึ่ง

ภิกษุจงกรมอยู่บ้าง นั่งอยู่บ้าง ในสถานที่อยู่กลางคืนและพักกลางวันเป็นต้น

ชื่อว่าบริโภคอยู่ตราบเท่าที่เธอยังไม่ละทิ้งเสนาสนะที่ได้แล้วไปถือเสนาสนะอื่น.

ก็เมื่อความเจ็บไข้ สงบระงับด้วยยานานหนึ่ง เธอชื่อว่าบริโภคอยู่ตราบเท่า

ที่เธอยังไม่บริโภคยาขนานอื่น.

บทว่า พหุเภรว ได้แก่ ประกอบด้วยอารมณ์อันน่ากลัวมาก. บทว่า

รตนคณาน ได้แก่ แห่งรตนะที่ประเสริฐ ๗ อย่าง. บทว่า อาลย ได้แก่

สถานที่อยู่อาศัย. บทว่า ปุถู สวนฺติ ได้แก่ แม่น้ำเป็นอันมากไหลไป.

บทที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น .

จบอรรถกถาปฐมปุญญาภิสันทสูตรที่ ๑

๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร

ว่าด้วยท่อธารบุญกุศล ๔

[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่อธารบุญท่อทรงกุศล ๔ ประการนี้

นำมาซึ่งความสุข ให้ซึ่งผลอันดีเลิศ มีความสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์

เป็นไปเพื่อผลที่ปรารถนาที่รักใคร่ที่ชอบใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ท่อธาร

บุญกุศล ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 182

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่

หวั่นไหว ในพระพุทธเจ้าว่า อิติปิ โส ภควา ฯลฯ พุทฺโธ ภควา

ดังนี้ นี้เป็นท่อธารบุญกุศลข้อ ๑ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า สฺวากฺขาโต ภควาตา ธมฺโม ฯลฯ

วิญฺญูหิ ดังนี้ นี่เป็นท่อธารบุญกุศลข้อ ๒ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้ประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ

ฯลฯ ปุฺกฺเขตฺต โลกสฺส ดังนี้ นี่เป็นท่อธารบุญกุศลข้อ ๓ นำมา

ซึ่งความสุข ฯลฯ

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ประกอบด้วยอริย-

กันตศีล (ศีลที่พระอริยะพอใจ) อันไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ต่าง ไม่พร้อย

เป็นไท ผู้รู้สรรเสริญ ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิถูกต้อง เป็นสมาธิ นี่เป็นท่อธาร

บุญกุศลข้อ ๔ นำมาซึ่งความสุข ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ท่อธารบุญท่อธารกุศล ๔ นำมาซึ่งความสุข

ให้ซึ่งผลอันดีเลิศ มีสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ เป็นไปเพื่อผลที่ปรารถนา

ที่รักใคร่ที่ชอบใจ เพื่อประโยชน์ เพื่อสุข

ความเชื่อในพระตถาคต ของผู้ใด

ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว ศีลของผู้ใดเป็นศีลงาม

เป็นศีลที่พระอริยะพลใจสรรเสริญ ความ

เลื่อมใสในพระสงฆ์ของผู้ใด มีอยู่และ

ความเห็นของผู้ใดเป็นความเห็นตรง บัณ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 183

ฑิตทั้งหลายกล่าวผู้นั้นว่า ผู้ไม่ยากจน

ชีวิตของผู้นั้นไม่เป็นโมฆะ (คือไม่เปล่า

จากแก่นสาร)

เพราะเหตุนั้น ผู้มีปัญญารำลึกถึง

พระศาสนาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย พึง

ประกอบไว้เสมอซึ่งความเชื่อ (ในพระ-

ตถาคต) ซึ่งศีล ซึ่งความเลื่อมใส (ใน

พระสงฆ์) และความเห็นธรรม.

จบทุติยปุญญาภิสันทสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยปุญญาภิสันทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปุญุญาภิสันทสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อริยกนฺเตหิ คือด้วยศีลสัมปยุตด้วยมรรคและผล. ก็ศีล

เหล่านั้น น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ของพระอริยะทั้งหลาย. คำที่จะพึงกล่าว

ในพระสูตรก่อน ก็กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

ในคาถาพึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ บทว่า สทฺธา ความว่าท่านประสงค์

ศรัทธาของโสดาบันบุคคล. แม้ศีล ก็เป็นศีลของโสดาบันบุคคลนั่นเอง. บทว่า

อุชุภูตญฺจ ทสฺสน ความว่า ความเห็นของท่านผู้สิ้นอาสวะ ชื่อว่าเป็น

ความเห็นตรง เพราะท่านไม่มีคดทางกายเป็นต้น . บทว่า อาหุ แปลว่า กล่าว.

บทว่า ปสาท คือซึ่งความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

บทว่า ธมฺมทสฺสน คือเห็นสัจธรรม.

จบอรรถกถาทุติยปุญญาภิสันทสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 184

๓. ปฐมสังวาสสูตร

ว่าด้วยความอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยา ๔

[๕๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จพระพุทธดำเนินทางไกล

อยู่ในระหว่างเมืองมธุรากับเมืองเวรัญชา ฝ่ายคฤหบดีและคฤหปตานี

จำนวนมากก็เดินทางไกลอยู่ในระหว่างนั้นด้วย คราวนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จแวะไปประทับพักอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง คฤหบดีและคฤหปตานีเหล่านั้น

ได้เห็นพระองค์ประทับอยู่ ก็พากันไปเฝ้า ถวายอภิวาทแล้ว ต่างนั่งลง ณ

ที่สมควรส่วนหนึ่ง พระองค์จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า

คฤหบดีและคฤหปตานีทั้งหลาย สังวาส (ความอยู่ร่วมเป็นสามีภริยา

กัน) ๔ ประเภทนี้ สังวาส ๔ ประเภทคืออะไรบ้าง คือ ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี

ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี ชายเทวดาอยู่ร่วมกับ

หญิงเทวดา.

ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผีเป็นอย่างไร ? สามีเป็นคนทำปาณาติบาต

อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร พูดมุสา ดื่มสุราเมรัย เป็นคนทุศีลมีธรรมลามก

มีใจกลุ้มไปด้วยมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มักด่าว่าสมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ฝ่ายภริยาก็เป็นอย่างนั้นเหมือนกัน อย่างนี้ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี.

ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาเป็นอย่างไร ? สามีเป็นคนทำปาณา-

ติบาต ฯลฯ มักด่าว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฝ่ายภริยาเป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต

เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท เว้นจากการ

ดื่มสุราเมรัย เป็นคนมีศีลมีธรรมงาม มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่

ครองเรือน ไม่ด่าว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย อย่างนี้ ชายผีอยู่ร่วมกับหญิง

เทวดา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 185

ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผีเป็นอย่างไร ? สามีเป็นผู้เว้นจากปาณา-

ติบาต ฯลฯ ไม่ด่าว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฝ่ายภริยาเป็นผู้ทำปาณาติบาต ฯลฯ

คำว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย อย่างนี้ ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี.

ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาเป็นอย่างไร ? สามีเป็นผู้เว้นจาก

ปาณาติบาต ฯลฯ ไม่ดำว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ฝ่ายภริยาก็เป็นอย่างนั้น

เหมือนกัน อย่างนี้ ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา.

คฤหบดีและคฤหปตานีทั้งหลาย นี้แล สังวาส ๔ ประเภท

ทั้งคู่เป็นคนทุศีล ตระหนี่ และด่า

ว่าสมณพราหมณ์ หญิงชายคู่นั้นเป็นภริยา

และสามีผีอยู่ร่วมกัน.

สามีเป็นคนทุศีล ตระหนี่และด่าว่า

สมณพราหมณ์ ภริยาเป็นคนมีศีล ใจบุญ

ไม่ตระหนี่ นางนั้นเป็นหญิงเทวดา อยู่

ร่วมกับสามีผี.

สามีเป็นคนมีศีล ใจบุญ ไม่ตระหนี่

ภริยาเป็นคนทุศีล ตระหนี่และด่าว่าสมณ-

พราหมณ์ นางนั้นเป็นหญิงผี อยู่ร่วมกับ

สามีเทวดา.

ทั้งคู่เป็นผู้มีศรัทธา รู้ความประสงค์

ของผู้ขอ สำรวมในศีล เลี้ยงชีพโดยชอบ

หญิงชายคู่นั้นเป็นภริยาสามีพูดคำอ่อน

หวานต่อกัน ย่อมบังเกิดความเจริญมาก อยู่

ด้วยกันเป็นผู้มีความผาสุก พวกศัตรูของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 186

คู่ภริยาสามีที่มีความประพฤติดีสมกัน ย่อม

เสียใจ กามกามี (ผู้ยังมีความใคร่ใน

กาม) ทั้งคู่ ผู้มีศีลและพรตเสมอดัน ครั้น

ประพฤติชอบในโลกนี้แล้ว (ละโลกนี้ไป)

ย่อมยินดีบันเทิงใจในเทวโลก.

จบปฐมสังวาสสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมสังวาสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสังวาสสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺพหุลาปิ โข คหปตี จ คหปตานิโย จ ความว่า

คฤหบดีและคฤหปตานีเป็นอันมาก เมื่อไปทำอาวาหมงคลหรือวิวาหมงคล

ก็ได้เดินไปทางนั้นเหมือนกัน. บทว่า สวาสา ความว่า การอยู่ร่วมกันการ

อยู่ร่วมเป็นอันเดียวกัน. บทว่า ฉโว ฉวาย ความว่า ชื่อว่าชายผี เพราะ

ตายด้วยความตายแห่งคุณอยู่ร่วมกับหญิงผี เพราะตายด้วยความตายแห่งคุณ

เหมือนกัน. บทว่า เทวิยา สทฺธึ ความว่า ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา

โดยคุณทั้งหลาย. บทว่า ทุสฺสีโล คือสามีเป็นคนไม่มีศีล. บทว่า ปาปธมฺโม

คือมีธรรมลามก. บทว่า อกฺโกสกปริภาสโก ความว่า ด่าด้วยเรื่องสำหรับ

ด่า ๑๐ ด่าว่าด้วยแสดงภัยคุกคาม. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในบททั้งปวง

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 187

บทว่า กทริยา ได้แก่ ตระหนี่เหนียวแน่น. บทว่า ชานิปตโย

แปลว่า ภริยาสามี. บทว่า วทญฺญู ได้แก่ รู้อยู่ซึ่งความหมายคำของยาจก.

บทว่า สญฺตา ได้แก่ประกอบด้วยความสำรวมในศีล. บทว่า ธมฺมชีวิโน

ได้แก่ ชื่อว่าธรรมชีวี เพราะตั้งอยู่ในธรรมเลี้ยงชีพ. บทว่า อตฺถา สมฺปจุรา

โหนฺติ ความว่า พวกคนเหล่านั้น ย่อมได้ประโยชน์กล่าวคือความเจริญเป็น

อันมาก. บทว่า ผาสุก อุปชายติ ความว่า เกิดอยู่ด้วยกันอย่างผาสุก

บทว่า กามกามิโน ได้แก่ ผู้ยังมีความใคร่ในกามอยู่.

จบอรรถกถาปฐมสังวาสสูตรที่ ๓

๔. ทุติยสังวาสสูตร

ว่าด้วยความอยู่ร่วมเป็นสามีภรรยา ๔

[๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังวาส ๔ ประเภทนี้ สังวาส ๔ ประเภท

คืออะไรบ้าง คือ ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผี ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา ชาย

เทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผี ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา

ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงผีเป็นอย่างไร ? สามีเป็นผู้ทำปาณาติบาต

อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร พูดมุสา พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดสำราก

มีความเห็นแก่ได้ มีใจพยาบาท มีความเห็นผิด เป็นคนทุศีลมีธรรมลามก

มีใจกลุ้มไปด้วยมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มักด่าว่าสมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ภริยาเล่าก็เป็นเช่นเดียวกัน อย่างนี้ ชายผู้อยู่ร่วมกับหญิงผี.

ก็ชายผีอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาเป็นอย่างไร ? สามีเป็นผู้ทำปาณาติบาต

ฯลฯ มีความเห็นผิด เป็นคนทุศีล ฯลฯ มักด่าว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 188

ฝ่ายภริยาเป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร เว้นจาก

พูดมุสา พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดสำราก ไม่มีความเห็นแก่ได้ ไม่มี

ใจพยาบาท มีความเห็นชอบ เป็นหญิงมีศีลมีธรรมงาม มีใจปราศจากมลทิน

คือความตระหนี่อยู่ครองเรือน ไม่ด่าว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย อย่างนี้ ชายผี

อยู่ร่วมกับหญิงเทวดา.

ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงผีเป็นอย่างไร ? สามีเป็นผู้เว้นจากปาณา

ติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ เป็นคนมีศีล ฯลฯ ไม่ด่าว่าสมณพราหมณ์

ทั้งหลาย ฝ่ายภริยาเป็นคนทำปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นผิด เป็นคน

ทุศีล ฯลฯ คำว่าสมณพราหมณ์ทั้งหลาย อย่างนี้ ชายเทวดาอยู่ร่วมกับ

หญิงผี.

ก็ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดาเป็นอย่างไร สามีเป็นผู้เว้นจาก

ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ ไม่ด่าว่าสมณพราหมณ์

ทั้งหลาย แม้ภริยาก็เช่นเดียวกัน อย่างนี้ ชายเทวดาอยู่ร่วมกับหญิงเทวดา.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล สังวาส ๔ ประเภท.

จบทุติยสังวาสสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยสังวาสสูตร

ทุติยสังวาสสูตรที่ ๔ ตรัสกำหนดเทศนาด้วยสามารถกรรมบถ. บทที่

เหลือก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน . ก็ในพระสูตรแม้ทั้งสองเหล่านี้ ตรัสข้อปฏิบัติ

สำหรับผู้อยู่ครองเรือน ทั้งควรแม้แก่คฤหัสถ์ผู้เป็นโสดาบันและสกทาคามี

ด้วย.

จบอรรถกถาทุติยสังวาสสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 189

๕. ปฐมสมชีวิตสูตร

ว่าด้วยคฤหบดีและคฤหปตานีทูลเรื่องความประพฤติ

[๕๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ป่าเภสกฬา

มฤคทายวัน เมืองสุงสุมารคีระ ในภัคคชนบท ครั้งนั้น เวลาเช้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองสบงแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จพระพุทธ-

ดำเนินไปนิเวศน์ของคฤหบดีนกุลบิดา ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย

คฤหบดีนกุลบิดาและคฤหปตานีนกุลมารดา เข้าเฝ้า ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ

ที่สมควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้วคฤหบดีนกุลบิดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ จำเดิมแต่ข้าพระพุทธเจ้าได้กับนนกุลมารดาตั้งแต่เป็นหนุ่มเป็นสาวด้วย

กันมา ข้าพระพุทธเจ้าไม่รู้สึกว่าได้ประพฤตินอกใจนกุลมารดาแม้แต่นึกคิด

ไม่ต้องกล่าวถึงกระทำ ข้าพระพุทธเจ้าทั้ง ๒ ปรารถนาจะได้พบกันทั้งในชาตินี้

และชาติหน้า แม้คฤหปตานีนกุลมารดาก็กราบทูลความอย่างเดียวกัน

พ. ตรัสสั่งสอนว่า ท่านคฤหบดีและท่านคฤหปตานี ถ้าภริยาสามีหวัง

ที่จะได้พบกันทั้งในชาตินี้และชาติหน้าไซร้ ทั้งคู่พึงเป็นผู้มีศรัทธาเสมอกัน

มีศีลเสมอกัน มีจาคะเสมอกัน มีปัญญาเสมอกันเถิด ก็จะได้พบกัน

ทั้งในชาตินี้และชาติหน้า.

(นิคมคาถาเหมือนสูตรก่อนตอนท้ายที่ขึ้นต้นว่า อุโภ สทฺธา วทญฺญู

จ ฯเปฯ โมทนฺติ กามกามิโน).

จบปฐมสมชีวิสูตรที่ ๕

โปรดดูคาถาที่ ๔ ในปฐมสังวาสสูตรที่ ๓ หน้า ๑๘๕ - ๑๘๖ (ทั้งคู่เป็นผู้มีศรัทธา ฯลฯ

ย่อมยินดีบันเทิงใจในเทวโลก)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 190

อรรถกถาปฐมสมชีวิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสมชีวิตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เตนุปสงฺกมิ ความว่า ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จ

เข้าไปหาเพื่ออะไร ? ตอบว่า เพื่อทรงอนุเคราะห์. แท้จริง พระตถาคต

เมื่อเสด็จไปแว่นแคว้นนั้น ย่อมเสด็จไปเพื่อทรงสงเคราะห์คนทั้งสองนี้เท่านั้น.

ได้ยินว่า นกุลบิดา ได้เป็นบิดาของพระตถาคตมาแล้ว ๕๐๐ ชาติ เป็นปู่

๕๐๐ ชาติ เป็นอา ๕๐๐ ชาติ. แม้นกุลมารดา ก็ได้เป็นมารดามา ๕๐๐ ชาติ

เป็นย่า ๕๐๐ ชาติ เป็นน้า ๕๐๐ ชาติ คนเหล่านั้นได้ความรักเพียงดังบุตร

จำเดิมแต่เวลาตนเห็นพระศาสดา จึงเข้าไปหาแล้วเกิดเป็นโสดาบันด้วยปฐม-

ทัสนะ (การเห็นครั้งแรก) เหมือนแม่โคเห็นลูกโคแล้วติดในลูกโค ร้องอยู่ว่า

หนฺตาต หนฺตาต ดังนี้. ในนิเวศน์เขาจึงได้จัดอาสนะไว้ถวาย แก่ภิกษุ

๕๐๐ รูปเป็นประจำ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเสด็จเข้าไปหาเพื่ออนุเคราะห์

คนเหล่านั้นด้วยประการฉะนี้. บทว่า อติจริตา ได้แก่ พระพฤตินอกใจ.

บทว่า อภิสมฺปรายญฺจ ได้แก่ และในโลกหน้า. บทว่า สมสทฺธา ได้แก่

เป็นผู้เสมอ เป็นเช่นเดียวกันด้วยศรัทธา. แม้ในศีลเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาปฐมสมชีวิสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 191

๖. ทุติยสมชีวิสูตร

ว่าด้วยภริยา-สามี-หวังพบกัน

[๕๖] สูตรนี้ตรัสแก่ภิกษุ ความเหมือนสูตรก่อน ตอนที่ตรัสสอนว่า

ถ้าภริยาสามีหวังที่จะได้พบกัน ฯลฯ นิคมคาถาก็เหมือนกัน

จบทุติยสมชีวิสูตรที่ ๖

ทุติยสมชีวิสูตรที่ ๖ ทรงแสดงแก่พวกภิกษุอย่างเดียว. บทที่เหลือ

ในบททั้งปวงก็เป็นเช่นนั้น.

๗. สุปปวาสสูตร

ว่าด้วยนางสุปปวาสาอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๕๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของชาวโกลิยะ

ชื่อปัชชเนลนิคม ในโกลิยชนบท ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงครองสบงแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จพระพุทธดำเนินไปนิเวศน์

ของนางสุปปวาสา ธิดาของเจ้าโกลิยะ ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย

นางสุปปวาสาอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้า บริบูรณ์พอเพียงด้วยขาทนียโภชนี-

ยาหารด้วยตนเอง ครั้นพระองค์เสวยเสร็จ นำพระหัตถ์จากบาตรแล้ว นั่ง

เฝ้าอยู่ในที่สมควรส่วนหนึ่ง

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนสุปปวาสา อริยสาวิกา

เมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่าให้สถาน ๙ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย ให้สถาน

๔ คืออะไรบ้าง คือ ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ ครั้นให้อายุ

แล้วย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ ) อายุอันเป็นของทิพย์บ้าง ของมนุษย์บ้าง

ครั้นให้วรรณะ...สุขะ...พละแล้ว ย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ) วรรณะ...

สุขะ...พละ อันเป็นของทิพย์บ้าง ของมนุษย์บ้าง ดูก่อนสุปปวาสา อริย-

สาวิกาเมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่าให้สถาน ๔ นี้ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 192

บุคคลให้โภชนาหารอันปรุงแต่ง

แล้วอันสะอาด ประณีต มีรส (แก่ปฏิ-

คาหก) ทักษิณาทานนั้นที่บุคคลให้ในท่าน

ผู้ดำเนินตรง ผู้ประกอบด้วยจรณะ ผู้ถึง

ความเป็นใหญ่ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรง-

สรรเสริญว่าเป็นทักษิณาที่รวบรวมบุญด้วย

บุญ มีผลมาก.

บุคคลเหล่าใด ระลึกถึงทักษิณาทาน

เช่นนั้น เกิดความยินดี ขจัดเสียซึ่งมลทิน

คือควานตระหนี่ พร้อมทั้งมูลราก ในโลก

ย่อมเป็นผู้ไม่ต้องตำหนิ ย่อมเข้าถึงฐานะ

อันเป็นสวรรค์.

จบสุปปวาสสูตรที่ ๗

อรรถกถาสุปปวาสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุปปวาสสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

คำว่า ปัชชเนละ เป็นชื่อนิคมของใคร. บทว่า โกลิยาน ได้แก่

ของโกลราชตระกูล. บทว่า อายุ โข ปน ทตฺวา ได้แก่ ครั้นให้อายุ-

ทานแล้ว. บทว่า อายุสฺส ภาคินี โหติ ได้แก่ เป็นหญิงได้ลาภคืออายุ

หรือเป็นผู้เกิดมีอายุ อธิบายว่า เป็นผู้ได้อายุ. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้

เหมือนกัน .

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 193

บทว่า รสสา อุเปต ได้แก่ โภชนาหารประกอบด้วยรส คือ

ถึงพร้อมด้วยรส. บทว่า อุชุคเตสุ ความว่า ในพระขีณาสพผู้ดำเนินตรง

เพราะเว้นคดกายเป็นต้นแล้ว. บทว่า จรณูปปนฺเนสุ ความว่า ผู้ประกอบด้วย

จรณธรรม ๑๕. บทว่า มหคฺคเตสุ คือผู้ถึงภูมิธรรมสูง. บทนั้นเป็นชื่อ

ของพระขีณาสพ. บทว่า ปุญฺเน ปุญฺ สสนฺทมานา แปลว่า การสืบต่อ

บุญด้วยบุญ. บทว่า มหปฺผลา โลกวิทูน วณฺณิตา ความว่า ทักษิณา

กล่าวคือทานเห็นปานนี้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ทรงรู้แจ้งโลก ตรัสยกย่องแล้ว

อธิบายว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงสรรเสริญแล้ว เพราะทรงทำโลก ๓ อย่าง

ให้แจ้งแล้ว. บทว่า ยญฺมนุสฺสรนฺตา ได้แก่ ระลึกถึงยัญคือทาน. บทว่า

เวทชาตา แปลว่า เกิดความยินดีแล้ว.

จบอรรถกถาสุปปวาสสูตรที่ ๗

๘. สุทัตตสูตร

ว่าด้วยฐานะ ๔ ประการ

[๕๘] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรม

เทศนานี้ว่า คฤหบดี อริยสาวกเมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่าให้สถาน ๔

ประการ แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย ให้สถาน ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ ให้อายุ

ให้วรรณะ ให้สุขะ ให้พละ ครั้นให้อายุแล้วย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ )

อายุอันเป็นของทิพย์บ้าง ของมนุษย์บ้าง ครั้นให้วรรณะ สุขะ และพละแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 194

ย่อมเป็นผู้มีส่วน (ได้รับ) วรรณะ สุขะ และพละ อันเป็นของทิพย์บ้าง

ของมนุษย์บ้าง ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกเมื่อให้โภชนาหารเป็นทาน ชื่อว่า

ให้สถาน ๔ ประการนี้แก่ปฏิคาหกทั้งหลาย

บุคคลใดให้โภชนาหาร แก่ปฏิคาหก

ผู้มีศีล ผู้บริโภคของที่คนอื่นให้ โดย

เคารพตามกาลอันควร บุคคลนั้นชื่อว่าให้

สถาน ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ

พละ นรชนผู้ให้อายุ ให้วรรณะ ให้สุขะ

ให้พละ เกิดในภพใด ๆ ย่อมเป็นผู้อายุยืน

มียศ ในภพนั้น ๆ.

จบสุทัตตสูตรที่ ๘

อรรถกถาสุทัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุทัตตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สญฺตาน ได้แก่ ปฏิคคาหกผู้สำรวมทางกายและวาจา.

บทว่า ปรทตฺตโภชิน ความว่า ผู้บริโภคของที่บุคคลอื่นให้แล้ว จึงยัง

อัตภาพให้เป็นไปอยู่. บทว่า กาเลน ได้แก่ ตามกาลอันควร. บทว่า

สกฺกจฺจ ททาติ ความว่า ทำสักการะแล้วให้ด้วยมือของตน. บทว่า

จตฺตาริ านานิ อนุปฺปเวจฺฉติ ความว่า ย่อมหลั่ง คือให้อยู่ซึ่งเหตุ ๔.

บทว่า ยสวา โหติ ได้แก่ มีบริวารมาก.

จบอรรถกถาสุทัตตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 195

๙. โภชนสูตร

ว่าด้วยฐานะ ๔ ประการอีก

[๕๙] สูตรนี้เหมือนสูตรก่อนทุกอย่าง ต่างแต่สูตรนี้ตรัสแก่ภิกษุ

และเปลี่ยนคำว่า "อริยสาวก" เป็น "ทายก" เท่านั้น.

จบโภชนสูตรที่ ๙

โภชนสูตรที่ ๙ ตรัสแก่พวกภิกษุอย่างเดียว. บทที่เหลือในพระสูตรนี้

ก็เป็นเช่นนั้น.

๑๐. คิหิสามิจิสูตร

ว่าด้วยธรรม ๔ ประการ

[๖๐] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ ตรัสพระธรรม

เทศนาว่า คฤหบดี อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้

ปฏิบัติปฏิปทาสมควรแก่คฤหัสถ์ อันเป็นทางให้ได้ยศ เป็นทางสวรรค์ ธรรม

๔ ประการคืออะไร คือ อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้บำรุงภิกษุสงฆ์ด้วยจีวร

. . . ด้วยบิณฑบาต . . . ด้วยเสนาสนะ. . . ด้วยคิลานปัจจัย ดูก่อนคฤหบดี

อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่าปฏิบัติปฏิปทาสมควรแก่

คฤหัสถ์ อันเป็นทางให้ได้ยศ เป็นทางสวรรค์

บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมปฏิบัติปฏิปทา

สมควรแก่คฤหัสถ์ คือบำรุงภิกษุผู้มีศีล

ผู้ดำเนินชอบ ด้วยจีวร ด้วยบิณฑบาต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 196

เสนาสนะ และคิลานปัจจัย บุญย่อมเจริญ

มากแก่บัณฑิตเหล่านั้นทั้งกลางวัน ทั้ง

กลางคืน บัณฑิตเหล่านั้นครั้นทำกรรม

อันเจริญแล้ว ย่อมไปสู่สถานสวรรค์.

จบคิหิสามีจิสูตรที่ ๑๐

จบปุญญาภิสันทวรรคที่ ๑

อรรถกถาคิหิสามิจิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในคิหิสามีจิสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า คิหิสามีจิปฏิปท ได้แก่ ซึ่งข้อปฏิบัติอันสมควรแก่คฤหัสถ์.

บทว่า ปจฺจุปฏฺิโต โหติ ความว่า ตั้งสติไว้มั่น เพราะท่านประสงค์จะ

นำไปถวาย อธิบายว่า เข้าไปถวายจีวรแก่ภิกษุสงฆ์.

บทว่า อุปฏฺิตา แปลว่า ผู้บำรุง. บทว่า เตส ทิวา จ รตฺโต จ

ความว่า ก็บัณฑิตเหล่าใด ย่อมบำรุงด้วยปัจจัย ๔ อย่างนี้ บุญย่อมเจริญ

แก่บัณฑิตเหล่านั้น ทุกเมื่อทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน ด้วยอำนาจการบริจาค

และด้วยการระลึกถึง. บทว่า สคฺคญฺจ กมติฏฺาน ความว่า บัณฑิต

ผู้เป็นเช่นนั้น ครั้นทำกรรมอันเจริญแล้ว ย่อมไปสู่สัคคสถานะ ในพระสูตร

ทั้ง ๔ เหล่านี้ ตรัสข้อปฏิบัติสำหรับผู้อยู่ครองเรือน ย่อมควรแก่คฤหัสถ์ผู้เป็น

โสดาบันและสกทาคามีด้วย.

จบอรรถกถาคิหิสามีจิสูตรที่ ๑๐

จบปุญญาภิสันทวรรควรรณนาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 197

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมปุญญาภิสันทสูตร ๒. ทุติยปุญญาภิสันทสูตร ๓. ปฐม-

สังวาสสูตร ๔. ทุติยสังวาสสูตร ๕. ปฐมสมชีวิสูตร ๖. ทุติยสมชีวิสูตร

๗. สุปปวาสสูตร ๘. สุทัตตสูตร ๙. โภชนสูตร ๑๐. คิหิสามีจิสูตร

และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 198

ปัตตกัมมวรรคที่ ๒

๑. ปัตตกัมมสูตร

ว่าด้วยธรรม ๔ ประการ

[๖๑] ครั้งนั้นอนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้เป็นที่

ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ

ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางที่ชอบ นี่เป็นธรรมประการที่ ๑

อัน เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก

ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ขอยศจงมีแก่เราพร้อมกับญาติ

พร้อมกับพวกพ้อง นี้เป็นธรรมประการที่ ๒ อัน เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ

หาได้โดยยากในโลก

ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ได้ยศพร้อมกับญาติพร้อมกับ

พวกพ้องแล้ว ขอเราจงเป็นอยู่นาน รักษาอายุอยู่ได้ยั่งยืน นี้เป็นธรรม

ประการที่ ๓ อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก

ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ได้ยศพร้อมกับญาติพร้อมกับ

พวกพ้องแล้ว เป็นอยู่นาน รักษาอายุอยู่ได้ยั่งยืนแล้ว เมื่อกายแตกตายไป

ขอเราจงไปสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ อันเป็นที่ปรารถนา

รักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก

ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ

หาได้โดยยากในโลก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 199

ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๔ อย่างเป็นทางให้ได้ธรรม ๔ ประการ อัน

เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก (ดังกล่าวแล้ว) นี้ ธรรม

๔ อย่างคืออะไร คือ สัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) สีล-

สัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) จาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการ

บริจาค) ปัญญาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

ก็สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไร อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มี

ศรัทธา เชื่อพระโพธิญาณของพระตถาคต ฯลฯ นี้เรียกว่า สัทธาสัมปทา.

ก็สีลสัมปทาเป็นอย่างไร ? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้น

จากปาณาติบาต เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท

เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า

สีลสัมปทา.

ก็จาคสัมปทาเป็นอย่างไร ? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีใจ

ปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีการบริจาคปล่อยแล้ว มีมือ

อันล้างไว้ ยินดีในการสละ ควรแก่การเธอ พอใจในการให้และการแบ่งปัน

นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.

ก็ปัญญาสัมปทาเป็นอย่างไร ? บุคคลมีใจอันอภิชฌาวิสมโลภครอบงำ

แล้ว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำการที่ไม่ควรทำ

ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ก็ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข บุคคลมีใจอันพยาบาท

ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉาครอบงำแล้ว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำ

ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ก็ย่อม

เสื่อมทกยศและความสุข

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภเป็นอุปกิเลส

แห่งจิต ดังนี้แล้ว ละอภิชฌาวิสมโลภอัน เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย ทราบว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 200

พยาบาท. ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ดังนี้

แล้ว ละพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธจัจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา อันเป็นอุปกิเลส

แห่งจิตเสีย เมื่อใดอริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภ พยาบาท ถีนมิทธะ

อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาเป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว ละอภิชฌาวิสมโลภ

พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้

แล้ว เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าผู้มีปัญญาใหญ่ ผู้มีปัญญามาก ผู้เห็น

คลอง ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า ปัญญาสัมปทา.

ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๔ อย่างนี้แล เป็นทางให้ได้ธรรม ๔ ประการ

อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลกนั้น

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ทำกรรมที่สมควร ๔ ประการ

ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้อง

ทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม กรรมที่สมควร ๔

ประการคืออะไรบ้าง คือ

อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เลี้ยงตน เลี้ยงมารดาบิดา บุตร ภริยา

บ่าว ไพร่ คนอาศัย เพื่อนฝูง ให้เป็นสุขเอิบอิ่มสำราญดีด้วยโภคทรัพย์ที่ได้

มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล

ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม นี้กรรมที่สมควรข้อที่ ๑ ของอริยสาวกนั้น

เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์)

โดยทางที่ควรใช้แล้ว

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมบำบัดอันตรายทั้งหลาย ที่เกิดแต่ไฟก็ดี เกิด

แต่น้ำก็ดี เกิดแต่พระราชาก็ดี เกิดแต่โจรก็ดี เกิดแต่ทายาทผู้เกลียดชังกันก็ดี

ย่อมทำตนให้สวัสดี (จากอันตรายเหล่านั้น) ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 201

หมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้กรรมที่สมควรข้อที่ ๒ ของอริยสาวกนั้น

เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์)

โดยทางที่ควรใช้แล้ว

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมเป็นผู้ทำพลี ๕ คือญาติพลี (สงเคราะห์ญาติ)

อติถิพลี (ต้อนรับแขก) ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย) ราชพลี

(ช่วยราชการ) เทวตาพลี (ทำบุญอุทิศให้เทวดา) ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มา

ด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้เป็นกรรมที่สมควรข้อที่ ๓

ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้

(โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว

อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมตั้ง (บริจาค) ทักษิณาทานอย่างสูง ที่จะ

อำนวยผลดีเลิศ มีสุขเป็นวิบาก เป็นทางสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย

ผู้เว้นไกลจากความมัวเมาประมาท มั่นคงอยู่ในขันติโสรัจจะ ฝึกฝนตนอยู่

ผู้เดียว รำงับตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสตนอยู่ผู้เดียว ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วย

ความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้เป็นกรรมที่สมควรข้อที่ ๔ ของ

อริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้

(โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ทำกรรมที่สมควร ๔ นี้ ด้วย

โภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงาน

จนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม

ดูก่อนคฤหบดี โภคทรัพย์ทั้งหลายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถึงความ

หมดเปลืองไป เว้นเสียจากกรรมที่สมควร ๔ ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้

เรียกว่าหมดไปโดยไม่ชอบแก่เหตุ หมดไปโดยไม่สมควร ใช้ไปโดยทางที่ไม่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 202

ควรใช้ โภคทรัพย์ทั้งหลาย ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถึงความหมดเปลือง

ไปด้วยกรรมที่สมควร ๔ ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้เรียกว่าเปลืองไปโดย

ชอบแก่เหตุ เปลืองไปโดยสมควร ใช้ไปโดยทางที่ควรใช้

สิ่งที่ควรบริโภคใช้สอยทั้งหลาย เรา

ได้บริโภคใช้สอยแล้ว บุคคลที่ควรเลี้ยง

ทั้งหลาย เราได้เลี้ยงแล้ว อันตราย

ทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นแล้ว ทักษิณาทาน

อย่างสูง เราได้ให้แล้ว อนึ่ง พลี ๕ เราได้

ทำแล้ว สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีล

ผู้สำรวม ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้

บำรุงแล้ว บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนพึง

ปรารถนาโภคทรัพย์เพื่อประโยชน์อันใด

ประโยชน์อันนั้น เราได้บรรลุโดยลำดับ

แล้ว กิจการอันจะไม่ทำให้เดือดร้อนใน

ภายหลัง เราได้ทำแล้ว นรชนผู้มีอันจะ

ต้องตายเป็นสภาพ ระลึกถึงความดีที่ตน

ได้ทำแล้วนี้ ย่อมตั้งอยู่ในอริยธรรม ใน

ปัจจุบันนี้เอง บัณฑิตทั้งหลายย่อม

สรรเสริญนรชนนั้น นรชนนั้นละโลกนี้

ไปแล้ว ยังบันเทิงใจในสวรรค์.

จบปัตตกัมมสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 203

ปัตตกัมมวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาปัตตกัมมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปัตตกัมมสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า น่าปรารถนา เพราะปฏิเสธคัดค้านธรรมที่ไม่น่าปรารถนา.

ชื่อว่า รักใคร่ เพราะก้าวเข้าไปอยู่ในใจ ชื่อว่า ชอบใจ เพราะทำใจให้

เอิบอาบซาบซ่านให้เจริญ. บทว่า ทุลฺลภา ได้แก่ ได้โดยยากอย่างยิ่ง. บทว่า

โภคา ได้แก่ อารมณ์มีรูปเป็นต้น ที่บุคคลพึงบริโภค. บทว่า สห ธมฺเมน

ความว่า ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นโดยธรรม อย่าเข้าไปกำจัดธรรมแล้วเกิดขึ้น

โดยอธรรมเลย. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า สห ธมฺเมน แปลว่า มีเหตุ อธิบายว่า

โภคสมบัติจงเกิดขึ้นกับด้วยการณ์ คือ ตำแหน่ง มีตำแหน่งเสนาบดีและ

เศรษฐีเป็นต้นนั้น ๆ. บทว่า ยโส ได้แก่ บริวารสมบัติ. บทว่า สห าติภิ

ได้แก่ พร้อมกับญาติ. บทว่า สห อุปชฺฌาเยหิ ได้แก่ พร้อมกับเพื่อนเคย

เห็นและเพื่อนคบ ที่เรียกว่าอุปัชฌาย์ เพื่อช่วยดูแลในเรื่องสุขและทุกข์.

บทว่า อกิจฺจ กโรติ ความว่า ทำการที่ไม่ควรทำ. บทว่า กิจฺจ อปราเธติ

ความว่า เมื่อไม่ทำกิจที่ควรทำ ชื่อว่าละเลยกิจนั้น . บทว่า ธสติ ได้แก่

ย่อมตกไปคือย่อมเสื่อม.

บทว่า อภิชฺฌาวิสมโลภ ได้แก่ อภิชฌาวิสมโลภะ. บทว่า ปชหติ

ได้แก่ บรรเทาคือนำออกไป.

บทว่า มหาปญฺโ ได้แก่ ผู้มีปัญญามาก. บทว่า ปุถุปญฺโ

ได้แก่ ผู้มีปัญญาหนา. บทว่า อาปาถทโส ความว่า เขาเห็นอรรถนั้น ๆ

ตั้งอยู่ในคลองธรรม ย่อมมาสู่คลองที่เป็นอรรถอันสุขุมของธรรมนั้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 204

อุฏฺานกิริยาธิคเตหิ ได้แก่ ที่ได้มาด้วยความเพียร กล่าวคือความขยัน.

บทว่า พาหาพลปริจิเตหิ ได้แก่ ที่สะสมให้มากขึ้นด้วยกำลังแขน. บทว่า

เสทาวกฺขิตฺเตหิ คือเหงื่อไหล. อธิบายว่า ด้วยความพยายามทำงานจน

เหงื่อไหล. บทว่า ธมฺมิเกหิ ได้แก่ ประกอบด้วยธรรม. บทว่า ธมฺม-

ลทฺเธหิ คือ ไม่ละเมิดกุศลกรรมบถธรรม ๑๐ ได้แล้ว. บทว่า ปตฺตกมฺมานิ

ได้แก่ กรรมที่เหมาะ กรรมอันสมควร. บทว่า สุเขติ ได้แก่ ทำเขาให้มี

ความสุข. บทว่า ปิเณติ ได้แก่ ย่อมทำให้เอิบอิ่มสมบูรณ์ด้วยกำลัง.

บทว่า าน คต โหติ ได้แก่เป็นเหตุ ถามว่า เหตุนั้น เป็นอย่างไร.

ตอบว่า การงานที่พึงทำด้วยโภคะทั้งหลาย เป็นธรรมอย่างหนึ่งในปัตตกรรม

๔ เป็นฐานที่เกิดแต่โภคทรัพย์นั่นแล. บทว่า ปตฺตคต ได้แก่ เป็นฐานะ

ที่ควรที่ถึงแล้ว. บทว่า อายตนโส ปริภุตฺต ได้แก่ บริโภคแล้วโดยเหตุ

นั่นแล ก็เกิดแต่โภคทรัพย์. บทว่า ปริโยธาย วตฺตติ ได้แก่ ย่อมปิดไว้.

อริยสาวกบริจาคทรัพย์เพื่อประโยชน์แก่การดับไฟที่ไหนเรือนเป็นต้น ย่อม

ปิดกั้นทางแห่งอันตรายเหล่านั้นเหมือนอย่างเมื่อคราวอันตรายทั้งหลายเกิดขึ้น

แต่ไฟเป็นต้นฉะนั้น. บทว่า โสตฺถึ อตฺตาน กโรติ ความว่า ย่อมทำตน

ให้ปลอดภัยไม่มีอันตราย. บทว่า าติพลึ คือ สงเคราะห์ญาติ. บทว่า

อติถิพลึ คือต้อนรับแขก. บทว่า ปุพฺพเปตพลึ คือทำบุญอุทิศให้ญาติ

ผู้ตาย. บทว่า ราชพลึ คือส่วนที่ความแด่พระราชา. บทว่า เทวตาพลึ

คือทำบุญอุทิศให้เทวดา. บทว่า าติพลึ เป็นต้นนั้นทั้งหมด เป็นชื่อของ

ทานที่พึงให้ตามสมควรแก่บุคคลนั้น ๆ.

บทว่า ขนฺติโสรจฺเจ นิวิฏฺา ความว่า ตั้งมั่นอยู่ในอธิวาสนขันติ

และในความเป็นผู้มีศีลอันดี. บทว่า เอกมตฺตาน ทเมนฺติ ความว่า ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 205

ฝึกอัตภาพของตนอย่างเดียว ด้วยการฝึกอินทรีย์. บทว่า สเมนฺติ ความว่า

ย่อมสงบจิตของตนด้วยความสงบกิเลส. บทว่า ปรินิพฺพาเปนฺติ ความว่า

ย่อมดับด้วยการดับกิเลส. ในบทว่า อุทฺธคฺคิก เป็นต้น ทักษิณาชื่อว่า

อุทธัคคิกา เพราะมีผลในเบื้องบนด้วยสามารถให้ผลในภูมิสูง ๆ ขึ้นรูป.

ทักษิณาเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่สวรรค์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า โสวัคคิกา

เพราะให้เกิดอุปบัติในสวรรค์นั้น ชื่อว่า สุขวิปากา เพราะมีสุขเป็นวิบากในที่เกิด

แล้ว. ชื่อว่า สัคคสังวัตตนิกา เพราะทำอารมณ์อันดีคือของวิเศษ ๑๐

มีวรรณทิพย์เป็นต้นให้เกิด อธิบายว่า ย่อมตั้งทักษิณาเช่นนั้นไว้.

บทว่า อริยธมฺเม ิโต คือตั้งอยู่ในเบญจศีลเบญจธรรม. บทว่า

เปจฺจ สคฺเค ปโมทติ ความว่า นรชนนั้น ไปปรโลกถือปฏิสนธิแล้ว

ย่อมบันเทิงในสวรรค์. คฤหัสถ์ไม่ว่าจะเป็นโสดาบันและสกทาคามี หรือ

อนาคามีก็ตาม ปฏิปทานี้ย่อมได้เหมือนกันทุกคนแล.

จบอรรถกถาปัตตกัมมสูตรที่ ๑

๒. อันนนาถสูตร

ว่าด้วยสุข ๔ ประการ

[๖๒] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคฤหบดีเข้าไปเฝ้า ฯลฯ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้ อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม

ควรได้รับตามกาลสมัย สุข ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ

อตฺถิสุข สุขเกิดแก่ความมีทรัพย์

โภคสุข สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 206

อนณสุข สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้

อนวชฺชสุข สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

ในโลกนี้ ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขนที่ต้องทำงาน

จนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม มีอยู่ กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่า

โภคทรัพย์ทั้งหลายของเราที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม

มีอยู่ ดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์.

ก็สุขเกิดแต่จ่ายทรัพย์บริโภคเป็นไฉน ? กุลบุตรในโลกนี้บริโภค

ใช้สอยโภคทรัพย์บ้าง ทำบุญบ้าง ด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาด้วยความ

หมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่า เราได้บริโภค

ใช้สอยโภคทรัพย์บ้าง ได้ทำบุญบ้าง ด้วยโภคทรัพย์ทั้งหลายที่ได้มาด้วยความ

หมั่นขยัน ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม ดังนี้ ย่อมได้สุขโสมนัส นี้เรียกกว่า

สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค.

ก็สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้เป็นไฉน ? กุลบุตรในโลกนี้ไม่กู้ยืม

ทรัพย์อะไร ๆ ของใคร ๆ น้อยหรือมากก็ตาม กุลบุตรนั้นคำนึงเห็นว่า

เราไม่ได้กู้ยืมทรัพย์อะไร ของใคร ๆ น้อยหรือมากก็ตาม ดังนี้ ย่อมได้สุข

โสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้.

ก็สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษเป็นไฉน ? อริยสาวกใน

ศาสนานี้ เป็นผู้ประกอบด้วยกายกรรม (การงานทางกาย) ที่ไม่มีโทษ ประกอบ

ด้วยวจีกรรม (การงานทางวาจา) ที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยมโนกรรม

(การงานทางใจ) ที่ไม่มีโทษ อริยสาวกนั้นคำนึงเห็นว่า เราเป็นผู้ประกอบ

ด้วยกายกรรม...วจีกรรม...มโนกรรมอันหาโทษมิได้ ดังนี้ ย่อมได้สุข

โสมนัส นี้เรียกว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 207

ดูก่อนคฤหบดี สุข ๔ ประการนี้แล อันคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามควรจะ

ได้รับตามกาลตามสมัย

บุคคลผู้มีปัญญาดีรู้ว่าความไม่เป็น

หนี้เป็นสุข และระลึกรู้ว่าความมีทรัพย์ก็

เป็นสุข เมื่อได้จ่ายทรัพย์บริโภคก็รู้ว่าการ

จ่ายทรัพย์บริโภคเป็นสุข อนึ่ง ย่อมพิ-

จารณาเห็น (สุขที่ยิ่งหย่อนกว่ากัน) ด้วย

ปัญญา เมื่อพิจารณาดู ก็ทราบว่าสุข ๔

นี้เป็น ๒ ภาค สุขทั้ง ๓ ประการข้างต้น

นั้นไม่ถึงส่วนที่ ๑๖ แห่งสุขเกิดแต่

ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ.

จบอันนนาถสูตรที่ ๒

อรรถกถาอันนนาถสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอันนนาถสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อธิคมนียานิ คือ พึงถึง. บทว่า กามโภคินา คือ

ผู้บริโภควัตถุกาม และกิเลสกาม. บรรดาสุขมีอัตถิสุขเป็นต้น สุขที่เกิดขึ้นว่า

โภคทรัพย์มีอยู่ ชื่อว่าอัตถิสุข สุขเกิดแต่ความมีทรัพย์. สุขที่เกิดขึ้นแก่บุคคล

ผู้ใช้จ่ายโภคทรัพย์ ชื่อว่าโภคสุข สุขเกิดแต่การจ่ายทรัพย์บริโภค. สุขที่เกิดขึ้น

ว่าเราไม่เป็นหนี้ ชื่อว่าอันณสุข สุขเกิดแต่ความไม่ต้องเป็นหนี้. สุขที่เกิดขึ้น

ว่าเราปราศจากโทษ ไม่เป็นโทษ ชื่อว่าอนวัชชสุข สุขเกิดแต่การประกอบการ

งานที่ไม่มีโทษ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 208

บทว่า ภุญฺช แปลว่า เมื่อบริโภค. บทว่า ปญฺา วิปสฺสติ

แปลว่า ย่อมพิจารณาเห็นด้วยปัญญา. บทว่า อุโภ ภาเค แปลว่า สองส่วน

อธิบายว่า พิจารณาเห็นด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า ความสุขสามข้างต้น จัดเป็น

ส่วนหนึ่ง. สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ไม่มีโทษ จัดเป็นส่วนหนึ่ง ชื่อว่า

รู้สองส่วน. บทว่า อนวชฺชสุขสฺเสต ความว่า สุขแม้สามอย่างนั้น ย่อม

ไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งสุขที่เกิดแต่ประกอบการงานไม่มีโทษ ดังนี้.

จบอรรถกถาอันนนาถสูตรที่ ๒

๓. สพรหมสูตร

ว่าด้วยมารดาบิดาเป็นพรหมของบุตร

[๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มารดาบิดา อันบุตรแห่งตระกูลทั้งหลาย

ใดบูชาอยู่ในเรือนของตน ตระกูลทั้งหลายนั้นชื่อว่ามีพรหม...มีบุรพาจารย์

... มีบุรพเทวดา...มีอาหุไนย ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหม นี้เป็นคำเรียก

มารดาบิดาทั้งหลาย คำว่า บุรพาจารย์...บุรพเทวดา...อาหุไนย นี้ก็เป็น

คำเรียกมารดาบิดาทั้งหลาย ที่เรียกเช่นนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่ามารดาบิดา

ทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะมาก เป็นผู้ฟูมฟักเลี้ยงดู เป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร

ทั้งหลาย

มารดาบิดาทั้งหลาย ผู้เอ็นดูประชา

ชื่อว่าเป็นพรหม เป็นบุรพาจารย์ และเป็น

อาหุไนยของบุตรทั้งหลาย เพราะเหตุ

นั่นแหละ บุตรผู้มีปัญญาพึงนอบน้อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 209

สักการะท่าน ด้วยข้าว ด้วยน้ำ ด้วยผ้า

ด้วยเครื่องที่นอน ด้วยเครื่องอบ ด้วย

การสนานกาย และด้วยการล้างเท้า เพราะ

การบำรุงมารดาบิดานั้น ในโลกนี้บัณฑิต

ทั้งหลายก็สรรเสริญบุตรนั้น บุตรนั้นละ

โลกนี้ไปแล้ว ยังบันเทิงใจในสวรรค์.

จบสพรหมสูตรที่ ๓

สพรหมสูตรที่ ๓ พรรณนาไว้แล้วในติกนิบาต. เพียงบทว่า สุปุพฺพ-

เทวตานิ บทเดียวที่แปลกในสูตรนี้..

๔. นิรยสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปเก็บไว้ฉะนั้น ธรรม ๔ ประการคืออะไร

คือ บุคคลเป็นผู้ทำปาณาติบาตโดยปกติ ทำอทินนาทานโดยปกติ ทำกาเม-

สุมิจฉาจารโดยปกติ พูดมุสาวาทโดยปกติ ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปเก็บไว้ฉะนั้น

บัณฑิตทั้งหลายไม่สรรเสริญธรรม

๔ ประการ คือ ปาณาติบาต อทินนาทาน

พูดมุสาวาท และประพฤติผิดในกาม.

จบนิรยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 210

นิรยสูตรที่ ๔ ง่ายทุกบท.

๕. รูปสูตร

ว่าด้วยบุคคลเลื่อมใส ๔ จำพวก

[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

บุคคล ๔ จำพวกคือใคร คือ

รูปปฺปมาโณ รูปปฺปสนฺโน บุคคลถือรูปเป็นประมาณ เลื่อมใสในรูป

โฆสปฺปมาโณ โฆสปฺปสนฺโน บุคคลถือเสียงกึกก้องเป็นประมาณเลื่อมใส

ในเสียงกึกก้อง

ลูขปฺปมาโณ ลูขปฺปสนฺโน บุคคลถือความเศร้าหมองเป็นประมาณ

เลื่อมใสในความเศร้าหมอง

ธมฺมปฺปมาโณ ธมฺมปฺปสนฺโน บุคคลถือธรรมเป็นประมาณ เลื่อมใสใน

ธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ ในโลก.

บุคคลเหล่าใดถือรูปเป็นประมาณก็ดี

บุคคลเหล่าใดคล้อยไปตามเสียงกึกก้องก็ดี

บุคคลเหล่านั้น อยู่ในอำนาจความพอใจ

รักใคร่แล้ว ย่อมไม่รู้จักชนผู้นั้น.

คนโง่ย่อมไม่รู้ (คุณธรรม) ภายใน

ทั้งไม่เห็น (ข้อปฏิบัติ) ภายนอ (ของ

ชนผู้นั้น) ถูกรูปและเสียงปิดบัง (ปัญญา)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 211

เสียจนรอบ คนโง่นั้นจึงถูกเสียงกึกก้อง

พัดพาไปได้.

บุคคลใดไม่รู้ภายใน แต่เห็นภาย-

นอก เห็นแต่ผล (คือลาภสักการที่ผู้นั้นได้)

ในภายนอก แม้บุคคลนั้นก็ยังจะถูกเสียง

กึกก้องพัดพาไปได้.

บุคคลใดทั้งรู้ภายในทั้งเห็นภายนอก

เห็นแจ้งไม่มีอะไรเป็นเครื่องปิดบัง บุคคล

นั้นย่อมไม่ถูกเสียงกึกก้องพัดพาไป.

จบรูปสูตรที่ ๕

อรรถกถารูปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในรูปสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บุคคลถือประมาณในรูปแล้วเลื่อมใส ชื่อรูปัปปมาณ. บทว่ารูปปฺป-

สนฺโน เป็นไวพจน์ความของบท รูปปฺปมาโณ นั้น. บุคคลถือประมาณ

ในเสียงกึกก้องแล้วเลื่อมใส ชื่อโฆสัปปมาณ. บุคคลถือประมาณในความ

ปรากฏของจีวรและบาตรแล้วเลื่อมใส ชื่อลูขัปปมาณ. บุคคลถือประมาณ

ในธรรมแล้ว เลื่อมใส ชื่อธัมมัปปมาณ. บทนอกจากนี้ เป็นไวพจน์ความ

ของบทเหล่านั้นนั่นแล เพราะแบ่งสรรพสัตว์ออกเป็นสามส่วน สองส่วน

ถือรูปเป็นประมาณ. ส่วนหนึ่ง ไม่ถือรูปเป็นประมาณ. เพราะแบ่งสรรพสัตว์

ออกเป็นห้าส่วน สี่ส่วน ถือเสียงกึกก้องเป็นประมาณ ส่วนหนึ่งไม่ถือเสียง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 212

กึกก้องเป็นประมาณ. เพราะแบ่งสรรพสัตว์ออกเป็น ๑๐ ส่วน เก้าส่วน ถือ

ความปอนเป็นประมาณ ส่วนหนึ่งไม่ถือความปอนเป็นประมาณ. แต่เมื่อแบ่ง

สรรพสัตว์ออกเป็นแสนส่วน ส่วนเดียวเท่านั้น ถือธรรมเป็นประมาณ ที่เหลือ

พึงทราบว่า ไม่ถือธรรมเป็นประมาณ ดังนี้.

บทว่า รูเปน ปามึสุ ความว่า บุคคลเหล่าใดเห็นรูปแล้วเลื่อมใส

บุคคลเหล่านั้น ชื่อว่าถือรูปเป็นประมาณ อธิบายว่า นับถือแล้ว. บทว่า

โฆเสน อนฺวคู ความว่า บุคคลเหล่าใดไหลไปตามเสียงกึกก้อง อธิบายว่า

บุคคลเหล่านั้นถือเสียงกึกก้องเป็นประมาณแล้วจึงเลื่อมใส. บทว่า ฉนฺทรา-

ควสูเปตา ได้แก่ ตกอยู่ในอำนาจความพอใจ และรักใคร่เสียแล้ว . บทว่า

อชฺฌตฺตญฺจ น ชานาติ ความว่า คนโง่ ย่อมไม่รู้จักคุณข้างในของเขา.

บทว่า พหิทฺธา จ น ปสฺสติ ความว่า ย่อมไม่เห็นข้อปฏิบัติข้างนอก

ของเขา. บทว่า สมนฺตาวรโณ ได้แก่ ถูกเสียงปิดบังเสียจนรอบ. อีก-

อย่างหนึ่ง ชื่อว่า สมันตาวรณะ เพราะเสียงกั้นไว้รอบ. บทว่า โฆเสน วุยฺหติ

ความว่า คนโง่นั้น จึงถูกเสียงกึกก้องชักนำไป หาใช่ถูกคุณนำไปไม่. บทว่า

อชฺฌตฺตญฺจ น ชานาติ พหิทฺธา จ วิปสฺสติ ความว่า บุคคลไม่รู้

คุณข้างใน แต่เห็นการปฏิบัติข้างนอกของเขา. บทว่า พหิทฺธา ผลทสฺสาวี

ความว่า เห็นผลสักการะข้างนอกที่บุคคลอื่นทำแก่เขา. บทว่า วินีวรณทสฺสาวี

ความว่า เห็นอย่างไม่มีอะไรปิดบัง. บทว่า น โส โฆเสน วุยฺหติ

ความว่า บุคคลนั้นจึงไม่ถูกเสียงกึกก้องชักนำไป.

จบอรรถกถารูปสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 213

๖. สราคสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

บุคคล ๔ จำพวกคือใคร คือ

สราโค บุคคลมีราคะ

สโทโส บุคคลมีโทสะ

สโมโห บุคคลมีโมหะ

สมาโน บุคคลมีมาน

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก

บุคคลผู้กำหนัดเหล้าในอารมณ์ที่ชวน

กำหนัดทั้งหลาย เพลิดเพลินยินดีในปิยรูป

(สิ่งที่น่ารักใคร่) เป็นคนทราม ลูกโมหะ

ผูกไว้แล้ว ยิ่งเพิ่มเครื่องผูกพัน (อื่น ๆ)

ขึ้น.

คนเขลาทำอกุศลกรรมที่เกิดเพราะ

ราคะบ้าง เกิดเพราะโทสะบ้าง เกิดเพราะ

โมหะบ้าง อันเป็นกรรม มีความคับแค้น

มีผลเป็นทุกข์ คนเขลาเหล่านั้นเป็นคน

อันอวิชชาปิดบังแล้ว เป็นคนบอดมือ

ไม่มีจักษุ (คือปัญญา) ธรรม ๓ มีอยู่

อย่างใด เขาก็เป็นอยู่เหมือนอย่างนั้น ไม่

รู้สึกตัวว่าเป็นอย่างนั้นเสียด้วย.

จบสราคสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 214

อรรถกถาสราคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสราคสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โมหช วาปิ อวิทฺทสุ ความว่า คนเขลาคือมิใช่บัณฑิต

ทำอกุศลกรรมที่เกิดเพราะโมหะบ้าง. บทว่า สวิฆาต คือเป็นไปกับทุกข์.

บทว่า ทุกฺขุทฺรย คือเพิ่มทุกข์ให้ต่อไป. บทว่า อจกฺขุกา คือเว้นจาก

ปัญญาจักษุ. บทว่า ยถา ธมฺมา ตถา สนฺตา ความว่า ธรรมมีราคะ

เป็นต้น ตั้งอยู่อย่างใด คนเขลาเหล่านั้น ก็มีสภาพเป็นอย่างนั้น . บทว่า

ตสฺเสวนฺติ มญฺเร ความว่า เขาย่อมไม่สำคัญ ย่อมไม่รู้สึกว่าเราเป็น

อย่างนั้น มีสภาพอย่างนั้นเสียด้วย. ทั้งในพระสูตรนี้ ทั้งในพระคาถา ตรัส

วัฏฏะอย่างเดียว.

จบอรรถกถาสราคสูตรที่ ๖

๗. อหิสูตร

ว่าด้วยแผ่เมตตาจิตไปถึงตระกูลพระยางู

[๖๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ วิหารพระเชตวัน

อารามของอนาถบิณฑิกคฤหบดี กรุงสาวัตถี ก็แลสมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง

ถูกงูกัดตายในกรุงสาวัตถี ลำดับนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปถึงแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่งลงใน

ที่สมควรส่วนหนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นนั่งในที่สมควรส่วนหนึ่งแล้ว กราบทูลพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 215

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งถูกงูกัดทำกาละ

แล้วในกรุงสาวัตถี พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปนั้น ไม่ได้

แผ่เมตตาจิตไปถึงตระกูลพระยางูทั้ง ๔ เป็นแน่ เพราะถ้าภิกษุนั้น พึงแผ่เมตตา

ถึงตระกูลพระยางูทั้ง ๔ ไซร้ ภิกษุนั้นก็ไม่พึงถูกงูกัดตายเลย ตระกูลพระยางู

ทั้ง ๔ คืออะไรบ้าง คือ ตระกูลพระยางูชื่อวิรูปักขะ ตระกูลพระยางูชื่อ

เอราปถะ ตระกูลพระยางูชื่อฉัพยาปุตตะ ตระกูลพระยางูชื่อกัณหา

โคตมกะ ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น ไม่ได้แผ่เมตตาจิตไปถึงตระกูลพระยางูทั้ง ๔

นี้เป็นแน่ เพราะถ้าภิกษุนั้นพึงแผ่เมตตาจิตไปถึงตระกูลพระยางูทั้ง ๔ นี้ไซร้

ภิกษุนั้น ก็ไม่พึงถูกงูกัดตายเลย ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุแผ่เมตตาจิต

ไปถึงตระกูลพระยางูทั้ง ๔ นี้ เพื่อคุ้มตน เพื่อรักษาตน เพื่อป้องกันตน

ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับงู

ตระกูลวิรูปักขะทั้งหลาย ความเป็นมิตร

ของเรา จงมีกับงูตระกูลเอราปถะทั้งหลาย

ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับงูตระกูล

ฉัพยาปุตตะทั้งหลาย ความเป็นมิตรของ

เรา จงมีกับงูตระกูลกัณหาโคตมกะทั้งหลาย

ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ไม่มี

เท้าทั้งหลาย ความเป็นมิตรของเรา จงมี

กับสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย ความเป็นมิตร

ของเรา จงมีกับสัตว์ ๔ เท้าทั้งหลาย

ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์มีเท้า

มากทั้งหลาย ขอสัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียด-

เบียนเรา สัตว์ ๒ เท้าก็อย่าเบียดเบียนเรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 216

สัตว์ ๔ เท้าก็อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์มีเท้า

มากก็อย่าเบียดเบียนเรา ขอสัตว์ทั้งปวง

ผู้มีลมหายใจทั้งสิ้น และผู้เกิดแล้วทั้งหมด

สิ้นเชิง จงประสบแต่ความเจริญทุกผู้เถิด

อย่าได้รับโทษลามกอะไร ๆ เลย.

พระพุทธเจ้าทรงพระคุณสุดที่จะประมาณ พระธรรมทรงพระคุณสุด

ที่จะประมาณ พระสงฆ์ทรงพระคุณสุดที่จะประมาณ สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย

มีประมาณ คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก หนู การรักษาเรา

ได้ทำแล้ว การป้องกันเราได้ทำแล้ว ขอสัตว์ทั้งหลายจงหลีกไป ข้า ฯ

นอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า นอบน้อมแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์.

จบอหิสูตรที่ ๗

อรรถกถาอหิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอหิสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อิมานิ จตฺตาริ อหิราชกุลานิ นี้ ตรัสหมายถึงพิษที่ถูก

งูกัด พิษที่ถูกงูกัดเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พิษเหล่านั้นทั้งหมด อยู่ภายในตระกูล

พระยางูทั้ง ๔ เหล่านี้ . บทว่า อตฺตคุตฺติยา คือเพื่อคุ้มตน. บทว่า อตฺต-

รกฺขาย คือเพื่อรักษาตน. บทว่า อตฺตปริตฺตาย คือเพื่อป้องกันตน.

อธิบายว่า เราจึงอนุญาตปริตไว้ดังนี้.

บัดนี้ ภิกษุพึงทำปริตนั้นโดยวิธีใด เมื่อทรงแสดงวิธีนั้น จึงตรัสว่า

วิรูปกฺเขหิ เม เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า วิรูปกฺเขหิ ได้แก่มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 217

เมตตาจิตกับงูตระกูลวิรูปักขะ. แม้ในตระกูลงูที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า

อปาทเกหิ ได้แก่ มีเมตตาจิตกับสัตว์ไม่มีเท้าทั้งหลาย. แม้ในสัตว์ที่เหลือ

ก็มีนัยนี้เหมือนกัน . บทว่า สพฺเพ สตฺตา ความว่า ก่อนแต่นี้ ภิกษุกล่าว

เมตตาเจาะจงด้วยฐานะประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ จึงเริ่มคำนี้ เพื่อกล่าวเมตตา

ไม่เจาะจง. ในบทเหล่านั้น คำว่า สัตว์ ปาณะ ภูต เหล่านี้

ทั้งหมดเป็นคำกล่าวถึงบุคคลเท่านั้น. บทว่า ภทฺรานิ ปสฺสนฺตุ ความว่า

จงเห็นแต่อารมณ์ที่เจริญใจเถิด. บทว่า มา กญฺจิ ปาปนาคมา ความว่า

สัตว์อะไร ๆ อย่าประสบสิ่งอันเป็นบาปลามกเลย. ในบทว่า อปฺปมาโณ

พุทฺโธ นี้พึงทราบพุทธคุณว่า พุทฺโธ แท้จริง พุทธคุณเหล่านั้น

ชื่อว่า สุดที่จะประมาณได้. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้แล. บทว่า ปมาณ-

วนฺตานิ ได้แก่ ประกอบแล้วด้วยประมาณแห่งพระคุณ. บทว่า อุณฺณานาภี

ได้เเก่ แมลงมุมมีขนที่ท้อง. บทว่า สรพู ได้แก่ ตุ๊กแกในเรือน. บทว่า กตา

เม รกฺขา กตา เม ปริตฺตา ความว่า การรักษา และการป้องกัน ข้าพเจ้า

ได้ทำแล้ว แก่ชนประมาณเท่านี้. บทว่า ปฏิกฺกมนฺตุ ภูตานิ ความว่า

สัตว์ทั้งหลายแม้ทั้งหมด อันข้าพเจ้าทำการป้องกันแล้ว จงหลีกไปเสีย อธิบาย

ว่า อย่าเบียดเบียนข้าพเจ้าเลย ดังนี้.

จบอรรถกถาอหิสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 218

๘. เทวทัตตสูตร

ว่าด้วยเรื่องพระเทวทัต

[๖๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ

พระนครราชคฤห์ เมื่อพระเทวทัตหลีกไปแล้วไม่ช้า ก็ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

ในที่นั้นมา มีพระพุทธดำรัสถึงพระเทวทัตว่า ภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ

และความสรรเสริญเกิดมีแก่เทวทัต เพื่อทำลายล้างตน ลาภสักการะและความ

สรรเสริญเกิดมีแก่เทวทัต เพื่อความพินาศของตนเอง เปรียบเหมือนต้นกล้วย

ออกผลมากสำหรับฆ่าตัวเอง ออกผลมาก็เพื่อความพินาศของตัวเองฉันใด

ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดมีแก่เทวทัตก็เพื่อทำลายล้างตน ลาภสักการะ

และความสรรเสริญเกิดมีแก่เทวทัตก็เพื่อความพินาศ (ของตัวเอง) ฉันนั้น

เหมือนกัน เปรียบเหมือนต้นไผ่ออกขุยมาก็สำหรับฆ่าตัวเอง ออกขุยมาก็เพื่อ

ความพินาศของตัวเองฉันใด...ต้นอ้อออกขุยมาก็สำหรับฆ่าตัวเอง ออกขุยมา

ก็เพื่อความพินาศของตัวเองฉันใด... แม่ม้าอัสดรตั้งครรภ์ก็สำหรับฆ่าตัวเอง

ตั้งครรภ์ก็เพื่อความพินาศ (ของตัวเอง) ฉันใด ลาภสักการะและความสรรเสริญ

เกิดมีแก่เทวทัตก็เพื่อทำลายล้างตน ลาภสักการะและความสรรเสริญเกิดมีแก่

เทวทัตแก่เพื่อความพินาศ (ของตัวเอง) ฉันนั้นเหมือนกัน

ผลกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่ฆ่าต้น

ไผ่ ขุยอ้อฆ่าต้นอ้อ ลูกม้าอัสดรฆ่าแม่น้ำ

อัสดรฉันใด สักการะก็ทำลายล้างคนชั่ว

เสียฉันนั้น.

จบเทวทัตตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 219

อรรถกถาเทวทัตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเทวทัตตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อจิรปกฺกนฺเต เทวทตฺเต ความว่า เมื่อเทวทัตทำสังฆเภท

แล้ว หลีกไปไม่นาน. บทว่า ปราภวาย ได้แก่ เพื่อความเสื่อม เพื่อความ

พินาศ. บทว่า อสฺสตรี ความว่า ม้าอัสดร เกิดในท้องของแม่ฬา. บทว่า

อตฺตวธาย คพฺภ คณฺหาติ ความว่า คนทั้งหลายผสมแม่ฬานั้นกับพ่อม้า

แม่ม้าอัสดรนั้น ตั้งท้องแล้ว เมื่อถึงเวลาก็ออกลูกไม่ได้ ยืนเอาเท้าทั้ง ๒

ตะกุยแผ่นดิน เมื่อเป็นเช่นนั้น เขาจึงผูกเท้าทั้ง ๔ ของมันไว้ที่หลัก ๔ หลัก

ผ่าท้องนำลูกออก มันจึงตาย ณ ที่นั้นเอง ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสถึงแม่ม้าอัสดรนั้น.

จบอรรถกถาเทวทัตตสูตรที่ ๘

๙. ปธานสูตร

ว่าด้วยความเพียร ๔

[๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปธาน (ความเพียร) ๔ ประการนี้

ปธาน ๔ คืออะไรบ้าง คือ สังวรปธาน (เพียรระวัง) ปหานปธาน

(เพียรละ) ภาวนาปธาน (เพียรบำเพ็ญ) อนุรักขนาปธาน (เพียรตาม

รักษาไว้)

ก็สังวรปธานเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้

เกิด พยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อยังอกุศลบาปธรรมที่

ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า สังวรปขาน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 220

ปหานปธานเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้

เกิด พยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อละอกุศลบาปธรรม

ที่เกิดแล้ว นี้เรียกว่า ปหานปธาน.

ภาวนาปธานเป็นไฉน. ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้

เกิด พยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อยังกุศลธรรมที่ยัง

ไม่เกิดให้เกิดขึ้น นี้เรียกว่า ภาวนาปธาน.

อนุรักขนาปธานเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะ

ให้เกิด พยายาม ทำความเพียร ประคองจิต ตั้งใจไว้ เพื่อให้กุศลธรรมที่

เกิดแล้วคงอยู่ ไม่เลือนหายไป ให้ภิยโยภาพไพบูลย์เจริญเต็มที่ นี้เรียกว่า

อนุรักขนาปธาน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปธาน ๔ ประการ

เพียรระวัง ๑ เพียรละ ๑ เพียรบำเพ็ญ

๑ เพียรตามรักษาไว้ ๑ ปธาน ๔ ประการ

นี้ พระพุทธเจ้าผู้เผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์

ทรงแสดงไว้ เป็นเครื่องให้ภิกษุผู้มีความ

เพียร ในพระศาสนานี้บรรลุถึงความสิ้น

ทุกข์.

จบปธานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 221

อรรถกถาปธานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปธานสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ความเพียร เพื่อระวังกิเลส คือ เพื่อปิดทางเข้าของกิเลสชื่อสังวรปธาน

(เพียรระวัง) เพียรเพื่อละชื่อปหานปธาน (เพียรละ) เพียรเพื่อเจริญกุศลธรรม

ชื่อภาวนาปธาน (เพียรบำเพ็ญ) เพียรเพื่อตามรักษากุศลธรรมเหล่านั้น ชื่อ

อนุรักขนาปธาน (เพียรตามรักษาไว้).

จบอรรถกถาปธานสูตรที่ ๙

๑๐. ธัมมิกสูตร

ว่าด้วยพระราชาประพฤติไม่เป็นธรรมและเป็นธรรม

[๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระราชาทั้งหลายประพฤติ

ไม่เป็นธรรม ในสมัยนั้น แม้ข้าราชการทั้งหลาย ก็พลอยประพฤติไม่เป็นธรรม

เมื่อข้าราชการประพฤติไม่เป็นธรรม พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็ประพฤติ

ไม่เป็นธรรมบ้าง เมื่อพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายประพฤติไม่เป็นธรรม

ชาวบ้านชาวเมืองก็ประพฤติไม่เป็นธรรมไปตามกัน ครั้นชาวบ้านชาวเมือง

ประพฤติไม่เป็นธรรม ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ก็โคจรไม่สม่ำเสมอ ครั้น

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ โคจรไม่สม่ำเสมอ ดาวนักษัตรทั้งหลายก็เดินไม่เที่ยงตรง

ครั้นดาวนักษัตรทั้งหลายเดินไม่เที่ยงตรง คืนและวันก็เคลื่อนไป ครั้นคืนและ

วันเคลื่อนไป เดือนและปักษ์ก็คลาดไป ครั้นเดือนและปักษ์คลาดไป ฤดูและ

ปีก็เคลื่อนไป ครั้นฤดูและปีเคลื่อนไป ลมก็พัดผันแปรไป ครั้นลมพัด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 222

ผันแปรไป ลนนอกทางก็พัดผิดทาง ครั้นลมนอกทางพัดผิดทาง เทวดา

ทั้งหลายก็ปั่นป่วน ครั้นเทวดาทั้งหลายปั่นป่วน ฝนก็ไม่ตกตามฤดูกาล ครั้น

ฝนไม่ตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกไม่ดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์

ทั้งหลายบริโภคข้าวที่สุกไม่ดี ย่อมอายุสั้น ผิวพรรณก็ไม่งาม กำลังก็ลดถอย

และมีอาพาธมาก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลา ในสมัยใด พระราชาทั้งหลายประพฤติเป็นธรรม

ในสมัยนั้น แม้ข้าราชการทั้งหลายก็ประพฤติเป็นธรรมไปด้วย เนื้อข้าราชการ

ทั้งหลายประพฤติเป็นธรรม พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายก็ประพฤติเป็นธรรม

บ้าง เมื่อพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายประพฤติเป็นธรรม ชาวบ้านชาวเมือง

ก็ประพฤติเป็นธรรมไปตามกัน ครั้นชาวบ้านชาวเมืองประพฤติเป็นธรรม

ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็โดยจรสม่ำเสมอ ครั้นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์โคจรสม่ำเสมอ

ดาวนักษัตรทั้งหลายก็เดินสม่ำเสมอ ครั้นดาวนักษัตรทั้งหลายเดินสม่ำเสมอ

คืนและวันก็ตรง ครั้นคืนและวันตรง เดือนและปักษ์ก็ตรง ครั้นเดือนและ

ปักษ์ตรง ฤดูและปีก็สม่ำเสมอ ครั้นฤดูและปีสม่ำเสมอ ลมก็พัดเป็นปกติ

ครั้นลมพัดเป็นปกติ ลมในทางก็พัดไปถูกทาง ครั้นลมในทางพัดไปถูกทาง

เทวดาทั้งหลายก็ไม่ปั่นป่วน ครันเทวดาทั้งหลายไม่ปั่นป่วน ฝนก็ตกตาม

ฤดูกาล ครั้นฝนตกดามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สุกได้ที่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

มนุษย์ทั้งหลายได้บริโภคข้าวที่สุกได้ที่ ย่อมมีอายุยืน ผิวพรรณงาม มีกำลัง

และมีอาพาธน้อย

เมื่อฝูงโคข้ามฟากอยู่ ถ้าโคโจกตัว

นำฝูงไปคด โคนอกนั้นไปคดตามกัน

ในหมู่มนุษย์เหมือนกัน ถ้าท่านผู้ได้รับ

สมมติให้เป็นใหญ่ ประพฤติไม่เป็นธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 223

ไซร้ ประชาชนนอกนี้ ก็จะประพฤติไม่

เป็นธรรมด้วย ถ้าพระราชาไม่ตั้งอยู่ใน

ธรรม รัฐทั้งปวงก็ยากเข็ญ.

เนื้อฝูงโคข้ามฟากอยู่ ถ้าโคโจกตัว

นำฝูงไปตรง โคนอกนั้นก็ไปตรงตามกัน

ในหมู่มนุษย์ก็เหมือนกัน ถ้าท่านผู้ได้รับ

สมมติให้เป็นใหญ่ ประพฤติเป็นธรรมไซร้

ประชาชนนอกนี้ ย่อมประพฤติเป็นธรรม

ด้วย ถ้าพระราชาเป็นผู้ตั้งอยู่ในธรรม รัฐ

ทั้งปวงก็อยู่เป็นสุข.

จบธัมมิกสูตรที่ ๑๐

จบปัตตกัมมวรรคที่ ๒

อรรถกถาธัมมิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในธัมมิกสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อธมฺมิกา โหนฺติ ความว่า พระราชาทั้งหลายประพฤติ

ไม่เป็นธรรมโดยไม่เก็บส่วย ๑๐ ส่วน และไม่ลงโทษ ตามสมควรแก่ความผิด

ซึ่งพระราชาเก่าก่อนทรงตั้งไว้แล้ว เก็บส่วยเกินพิกัด และลงโทษเกินกำหนด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 224

บทว่า ราชยุตฺตา ได้แก่ พนักงานเจ้าหน้าที่ ผู้ทำราชการอยู่ในชนบทของ

พระราชา. บทว่า พฺราหฺมณคหปติกา ได้แก่ พราหมณ์และคฤหบดี

ทั้งหลายผู้อยู่ภายในเมือง. บทว่า เนคมชานปทา ได้แก่ ชาวนิคม และ

ชาวชนบท. บทว่า วิสม ความว่า ลมก็ผันแปรไป ไม่ถูกตามฤดู. บทว่า

วิสมา ความว่า ลมพัดไม่สม่ำเสมอ พัดแรงเกินไปบ้าง พัดอ่อนเกินไปบ้าง.

บทว่า อปญฺชสา ได้แก่ ลมนอกทาง พัดออกนอกทางไป. บทว่า เทวดา

ปริกุปฺปิตา ภวนฺติ ความว่า ด้วยว่าเมื่อลมนอกทางพัดไม่สม่ำเสมอ ต้นไม้

ทั้งหลายก็หัก วิมานก็พังทะลาย เพราะฉะนั้น พวกเทวดาก็ปั่นป่วน. เทวดา

เหล่านั้นจึงไม่ยอมให้ฝนตกตามฤดูกาล. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ฝนก็ไม่ตก

ตามฤดูกาล. บทว่า วิสมปากีนิ สสฺสานิ ภวนฺติ ความว่า ข้าวกล้า

ทั้งหลายก็สุกไม่เสมอกันอย่างนี้คือ ในที่แห่งหนึ่งตั้งท้อง ในที่แห่งหนึ่ง

เกิดน้ำนม แต่ที่แห่งหนึ่งแก่ ดังนี้.

บทว่า สม นกฺขตฺตานิ ตารกรูปานิ ปริวตฺตนฺติ ความว่า

ดาวนักษัตรทั้งหลายย่อมหมุนเวียนสม่ำเสมอเหมือนวันเพ็ญนั้น ได้นักษัตร

นั้น ๆในเดือนนั้นอย่างนี้ว่า วันเพ็ญเดือน ๑๒ ได้นักษัตรในเดือน ๑๒ เท่านั้น

วันเพ็ญเดือนอ้าย ได้นักษัตรในเดือนอ้ายเท่านั้นฉะนั้น. บทว่า สม วาตา

วายนฺติ ความว่า ลมทั้งหลายมิใช่พัดไม่สม่ำเสมอพัดในฤดูกาลเท่านั้น ย่อม

พัดในฤดูอันเหมาะแก่ชนบทเหล่านั้น ๆ อย่างนี้ คือ ลมเหนือพัด ๖ เดือน

ลมใต้พัด ๖ เดือน. บทว่า สมา ความว่า ลมพัดต่ำเสมอ ไม่แรงเกินไป

ไม่อ่อนเกินไป. บทว่า ปฺชสา ได้แก่ ลมที่พัดในทาง ย่อมพัดตามทาง

นั่นเอง หาใช่พัดโดยมิใช่ทางไม่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 225

บทว่า ชิมฺห คจฺฉติ แปลว่า เดินไปคด คือ ย่อมถือเอาแต่ที่

มิใช่ท่า. บทว่า เนตฺเต ชิมฺห คเต สติ ได้แก่ โคชื่อว่าเนตตา เพราะ

นำไป. อธิบายว่า เมื่อโคตัวนำเดินไปคด ถือเอาแต่ที่มิใช่ท่า โคแม้นอกนี้

ย่อมถือเอาแต่ที่มิใช่ท่าตามกัน ไป. ปาฐะว่า เนนฺเต ดังนี้ก็มี. บทว่า ทุกฺข

เสติ แปลว่า ย่อมนอนเป็นทุกข์ อธิบายว่า ประสบทุกข์แล้ว.

จบอรรถกาธัมมิกสูตรที่ ๑๐

จบปัตตกัมวรรควรรณนาที่ ๒

พระสูตรปนกับคาถา จบบริบูรณ์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปัตตกัมมสูตร ๒. อันนนาถสูตร ๓. สพรหมสูตร ๔. นิรย-

สูตร ๕. รูปสูตร ๖. สราคสูตร ๗. อหิสูตร ๘. เทวทัตตสูตร ๙.

ปธานสูตร ๑๐. ธัมมิกสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 226

อปัณณกวรรคที่ ๓

๑๐. ปธานสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุสิ้นอาสวะ ๔ ประการ

[๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ชื่อว่า อปัณณกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติไม่ผิด) และ เหตุแห่งความสิ้นอาสวะ

ชื่อว่าภิกษุนั้นได้เริ่มแล้ว ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือภิกษุในพระธรรม-

วินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ๑ เป็นพหูสูต ๑ เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้ว

๑ เป็นผู้มีปัญญา ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่า

อปัณณกปฏิปทา และ เหตุแห่งความสิ้นอาสวะ ชื่อว่าภิกษุนั้นได้เริ่มแล้ว.

จบปธานสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 227

อปัณณกวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาปธานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปธานสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปณฺณกปฏิปท คือข้อปฏิบัติไม่ผิด. บทว่า โยนิ จสฺส

อารทฺธา โหติ ความว่า ก็เหตุแห่งความสิ้นอาสวะของภิกษุนั้นเป็นอันบริบูรณ์

แล้ว. บทว่า อาสวาน ขยาย ได้แก่ เพื่อพระอรหัต.

จบอรรถกถาปธานสูตรที่ ๑

๒. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุสิ้นอาสวะ ๔ ประการ

[๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ชื่อว่า อปัณณกปฏิปทา และ เหตุแห่งความสิ้นอาสวะ ชื่อว่าเป็นอันภิกษุนั้น

ได้เริ่มแล้ว ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ เนกขัมมวิตก (ความตรึก

ในอันออกจากกาม) อพยาบาทวิตก (ความตรึกในอันไม่พยาบาท) อวิ-

หิงสาวิตก (ความตรึกในอันไม่เบียดเบียน) สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ)

ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ชื่อว่า อปัณณกปฏิปทา และ

เหตุแห่งความสิ้นอาสวะ ชื่อว่าภิกษุนั้นได้เริ่มแล้ว.

จบทิฏฐิสูตรที่ ๒

ทิฏฐิสูตรที่ ๒ ง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 228

๓. สัปปุริสสูตร

ว่าด้วยธรรม ๔ ประการของอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

พึงทราบว่าเป็นอสัตบุรุษ ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ

อสัตบุรุษในโลกนี้ เรื่องใดเป็นข้อเสียหายของผู้อื่น แม้ไม่มีใครถาม

ก็เผยเรื่องนั้น จะกล่าวอะไรถึงถูกถาม มีใครซักถามเข้าก็เล่าเรื่องอันเป็นข้อ

เสียหายของผู้อื่นเสียอย่างพิสดารเต็มที่ ไม่ให้บกพร่อง ไม่หน่วงเหนี่ยวทีเดียว

นี่พึงทราบเถิดว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษ เรื่องใดเป็นเกียรติคุณของผู้อื่น แม้

ถูกถาม ก็ไม่เผยเรื่องนั้น จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถาม ถูกซักถามจังหน้าเช้า

(ไม่มีทางหลีก) ก็เล่าเกียรติคุณของผู้อื่นอย่างอ้อมแอ้มไม่เต็มปาก อ้อมค้อม

หน่วงเหนี่ยว นี่พึงทราบเถิดว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษ เรื่องใดเป็นข้อเสียหายของตน แม้ถูกถาม

ก็ไม่เผยเรื่องนั้น จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถาม ถูกซักถามจังหน้าเข้า ก็เล่าข้อ

เสียหายของตน อย่างอ้อมแอ้มไม่เต็มปาก อ้อมค้อม หน่วงเหนี่ยว นี่พึงทราบ

เถิดว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

อีกประการหนึ่ง อสัตบุรุษ เรื่องใดเป็นเกียรติคุณของตน แม้ไม่มี

ใครถามก็เผยเรื่องนั้นขึ้นเอง จะกล่าวอะไรถึงมีคนถาม มีใครซักถามเข้าก็เล่า

เรื่องที่เป็นเกียรติคุณของตนอย่างพิสดารเต็มที่ไม่ให้บกพร่อง ไม่หน่วงเหนี่ยว

ทีเดียว นี่พึงทราบเถิดว่า ผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล พึงทราบว่าเป็นอสัตบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 229

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ พึง

ทราบว่าเป็นสัตบุรุษ ธรรม ๔ ประการ คือ

สัตบุรุษในโลกนี้ เรื่องใดเป็นข้อเสียหายของผู้อื่น แม้ถูกถามก็ไม่

เผยเรื่องนั้น จะกล่าวอะไรถึงไม่ถูกถาม ถูกซักถามจังหน้าเข้าก็เล่าเรื่องอัน

เป็นข้อเสียหายของผู้อื่นอย่างลัดไม่เต็มที่ นี่พึงทราบเถิดว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ

อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษ เรื่องใดเป็นเกียรติคุณของผู้อื่น แม้ไม่มี

ใครถามก็เผยเรื่องนั้น จะกล่าวอะไรถึงมีใครถาม มีใครซักถามเข้าก็เล่าเรื่อง

เกียรติคุณของผู้อื่นอย่างถี่ถ้วนเต็มที่ไม่มีหน่วงเหนี่ยว นี่พึงทราบเถิดว่า ผู้นี้

เป็นสัตบุรุษ

อีกประการหนึ่ง สัตบุรุษ เรื่องใดเป็นข้อเสียหายของตน แม้ไม่มี

ใครถามก็เผยเรื่องนั้น จะกล่าวอะไรถึงมีใครถาม มีใครซักถามเข้าย่อมเล่า

เรื่องเสียหายของตนอย่างถี่ถ้วนเต็มที่ไม่มีหน่วงเหนี่ยว นี่พึงทราบเถิดว่า ผู้นี้

เป็นสัตบุรุษ

อีกประการหนึ่ง. สัตบุรุษ เรื่องใดเป็นเกียรติคุณของตน แม้มีใคร

ถามก็ไม่เผยเรื่องนั้น แต่เมื่อถูกซักถามจังหน้าเข้าก็เล่าเรื่องเกียรติคุณของตน

อย่างลัดไม่เต็มปาก นี่พึงทราบเถิดว่า ผู้นี้เป็นสัตบุรุษ

ภิกษุทั้งหลาย หญิงสาว ในคืนหรือวันที่เขารับตัวมาอยู่. (เป็นสะใภ้)

ย่อมมีความละอายกลัวเกรงมาก ทั้งในแม่ผัวทั้งในพ่อผัวทั้งในผัว โดยที่สุด

ในบ่าวและคนงานคนอาศัย ต่อมาพอคุ้นกันเข้า หญิงนั้นตะเพิดเอาแม่ผัวบ้าง

พ่อผัวบ้าง ผัวบ้างก็ได้ว่า ไป รู้จักอะไร ดังนี้ฉันใด ภิกษุบางรูปในพระ-

ธรรมวินัยนี้ ในคืนหรือวันที่ออกจากเรือนมาบวช ย่อมมีหิริโอตตัปปะมาก

ในภิกษุทั้งหลาย ในภิกษุณีทั้งหลาย ในอุบาสกทั้งหลาย ในอุบาสิกาทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 230

โดยที่สุดในอารามิกะและสมณุทเทส ต่อมาพอคุ้นกันเข้า ภิกษุนั้นตะเพิดเอา

อาจารย์บ้าง อุปัชฌาย์บ้างก็ได้ว่า ไป รู้จักอะไร ดังนี้ฉันนั้นเหมือนกัน

เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกว่า เราทั้งหลายจักมีใจเสมอ

ด้วยสะใภ้ใหม่ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

จบสัปปุริสสูตรที่ ๓

อรรถกถาสัปปุริสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัปปุริสสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อวณฺโณ ได้แก่ มิใช่คุณ. บทว่า ปาตุกโรติ ได้แก่

บอกทำให้ปรากฏ. บทว่า ปญฺหาภินีโต ได้แก่ ถูกนำมาซักถาม. บทว่า

อหาเปตฺวา อลมฺเพตฺวา ได้แก่ ทำไม่ให้ลด ไม่ให้หย่อนทีเดียว. อนึ่ง

ในข้อนี้ อสัตบุรุษ ย่อมปกปิดความเสียหายของตน เพราะเป็นผู้ปรารถนา

ลามก สัตบุรุษ ย่อมปกปิดเกียรติคุณของตน เพราะเป็นผู้ละอาย. เพราะเหตุที่

อสัตบุรุษขาดหิริโอตัปปะ อยู่ร่วมกันก็ดูหมิ่น ส่วนสัตบุรุษประกอบด้วย

หิริโอตตัปปะ อยู่ร่วมกันก็ไม่ดูหมิ่น ฉะนั้น บัดนี้ เพื่อทรงแสดงสาธก

ความเป็นสัตบุรุษ เปรียบด้วยสะใภ้ใหม่ จึงตรัสว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว

วธุกา เป็นต้น . ในบทเหล่านั้น บทว่า วธุกา ได้แก่ สะใภ้. บทว่า

ติพฺพ คือมาก. บทที่เหลือในสูตรนี้ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสัปปุริสสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 231

๔. ปฐมอัคคสูตร

ว่าด้วยวัตถุเลิศ ๔ ประการ

[๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วัตถุอันเลิศ ๔ อย่างนี้ วัตถุอันเลิศ

๔ อย่างคืออะไร คือ ศีลเลิศ สมาธิเลิศ ปัญญาเลิศ วิมุตติเลิศ นี้แลวัตถุ

อันเลิศ ๔ อย่าง.

จบปฐมอัคคสูตรที่ ๔

อรรถกถาปฐมอัคคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอัคคสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สีลคฺค คือ ศีลเลิศคือสูงสุด. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

จบอรรถกถาปฐมอัคคสูตรที่ ๔

๕. ทุติยอัคคสูตร

ว่าด้วยวัตถุเลิศ ๔ อย่าง

[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วัตถุอันเลิศ ๔ อย่างนี้ วัตถุอันเลิศ

๔ อย่างคืออะไร คือ รูปเลิศ เวทนาเลิศ สัญญาเลิศ ภพเลิศ นี้แลวัตถุ

อันเลิศ ๔ อย่าง.

จบทุติยอัคคสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 232

อรรถกถาทุติยอัคคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอัคคสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า รูปคฺค ความว่า บุคคลพิจารณารูปใดแล้ว ย่อมบรรลุพระ

อรหัต รูปนี้ชื่อว่า รูปอันเลิศ แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล. ส่วนในบทว่า ภวคฺค

นี้ บุคคลดำรงอยู่ในอัตภาพใด ย่อมบรรลุพระอรหัตในอัตภาพนั้น ชื่อว่า

ภพอันเลิศและ

จบอรรถกถาทุติยอัคคสูตรที่ ๕

๖. กุสินาราสูตร

ว่าด้วยความสงสัยในพระรัตนตรัย

[๗๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับในระหว่างต้นสาละคู่

ตรงท่ามกลางวงโค้งแห่งแถวต้นสาละ ในป่าไม่สาละของคณะเจ้ามัลละ กรุง

กุสินารา คราวจะเสด็จปรินิพพาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย

ในที่นั้น ภิกษุทั้งหลายรับสนองพระพุทธดำรัสแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธเจ้าก็ดี ในพระธรรมก็ดี ใน

พระสงฆ์ก็ดี ในมรรคก็ดี ในปฏิปทาก็ดี จะพึงมีแก่ภิกษุสักรูปหนึ่ง ท่าน

ทั้งหลายจงถามเถิด อย่าต้องมีความเสียใจในภายหลังว่า พระศาสดาเสด็จอยู่

ต่อหน้าเรา เราไม่อาจกราบทูลถามในที่เฉพาะพระพักตร์ได้ ดังนี้เลย เมื่อ

ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นก็นิ่งอยู่ ตรัสอย่างนั้นอีก ๒ ครั้ง ภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 233

ก็คงนิ่งอยู่ จึงตรัสเตือนอีกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่ถาม

เพราะความเคารพในพระศาสดาก็เป็นได้ แม้ภิกษุที่เป็นสหายก็จงบอกแก่สหาย

ต่อ ๆ ไปเถิด ตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายก็คงนิ่งอยู่

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลว่า น่าอัศจรรย์จริง พระพุทธ-

เจ้าข้า ข้าพระพุทธเจ้าเลื่อมใสในหมู่ภิกษุนี้ว่า ความสงสัยหรือความเคลือบ

แคลงในพระพุทธเจ้าก็ดี ในพระธรรมก็ดี ในพระสงฆ์ก็ดี ในมรรคก็ดี ใน

ปฏิปทาก็ดี ไม่มีแก่ภิกษุแม้รูปเดียวในหมู่ภิกษุนี้.

พ. ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอกล่าวตามความเลื่อมใส ตถาคตหยั่งรู้

ทีเดียวในข้อนี้ว่า ความสงสัยหรือความเคลือบแคลงในพระพุทธเจ้าก็ดี ใน

พระธรรมก็ดี ในพระสงฆ์ก็ดี ในมรรคก็ดี ในปฏิปทาก็ดี ไม่มีแก่ภิกษุแม้

รูปเดียวในหมู่ภิกษุนี้ เพราะบรรดาภิกษุประมาณ ๕๐๐ นี้ ภิกษุผู้มีคุณธรรม

ที่สุดก็เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ที่จะได้

ตรัสรู้ในข้างหน้า.

จบกุสินาราสูตรที่ ๖

อรรถกถากุสินาราสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุสินาราสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปวตฺตเน ได้แก่ ในที่ท่ามกลางแถวต้นสาละที่อยู่ทิศ

ตะวันออก ยืนต้นเรียงเลี้ยวโค้งไปทางทิศเหนือ. บทว่า อนฺตเร ยมกสาลาน

ได้แก่ ในระหว่างต้นสาละสองต้น. บทว่า กงฺขา ได้แก่ ความเคลือบแคลง.

บทว่า วิมติ คือ ไม่สามารถจะตัดสินได้. ความย่อในข้อนี้มีดังนี้ว่า ภิกษุรูปใด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 234

พึงเกิดความสงสัยว่า พระพุทธเจ้าหรือมิใช่พระพุทธเจ้า พระธรรมหรือมิใช่

พระธรรม พระสงฆ์หรือมิใช่พระสงฆ์ มรรคหรือมิใช่มรรค ปฏิปทาหรือ

มิใช่ปฏิปทา ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงถามเถิด เราจะบอก

ความข้อนั้น แก่ภิกษุรูปนั้น ดังนี้

บทว่า สตฺถุคารเวนปิ น ปุจฺเฉยฺยาถ ความว่า ถ้าพวกเธอไม่

ถามเพราะความเคารพในพระศาสดาอย่างนี้ว่า พวกเราบวชในสำนักของพระ-

ศาสดา แม้ปัจจัย ๔ เป็นของพระศาสดาของพวกเรา พวกเราเหล่านั้นไม่สงสัย

มาตลอดกาลเท่านี้แล้ว ก็ไม่ควรจะทำความสงสัยในวันนี้ ซึ่งเป็นปัจฉิมกาล.

ด้วยบทว่า สหายโกปิ ภิกฺขเว สหายกสฺส อาโรเจตุ ทรงแสดงว่า

บรรดาพวกเธอ ภิกษุใดเป็นเพื่อนเห็นเพื่อนคบของภิกษุใด ภิกษุนั้นจงบอก

แก่ภิกษุนั้น เราจักบอกแก่ภิกษุรูปหนึ่ง พวกเธอฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว ก็จะ

พากันหายสงสัยไปสิ้น. บทว่า เอว ปสนฺโน ความว่า ข้าพระองค์เธออย่างนี้.

บทว่า าณเมว ความว่า ญาณที่ทำให้ประจักษ์ถึงภาวะที่ภิกษุไม่มีความสงสัย

มิใช่เพียงความเธอของตถาคตในข้อนี้. บทว่า อิเมส หิ อานนฺท ความว่า

บรรดาภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ที่นั่งอยู่ภายในม่าน. บทว่า โย ปจฺฉิมโก

ความว่า ตรัสถึงพระอานนทเถระ ซึ่งเป็นภิกษุผู้มีคุณต่ำที่สุด.

จบอรรถกถากุสินาราสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 235

๗. อจินติตสูตร

ว่าด้วยอจินไตย ๔

[๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อจินไตย ๔ อย่างนี้ไม่ควรคิด ผู้ที่คิด

ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า อจินไตย ๔ คือ

อะไรบ้าง คือ

๑. พุทธวิสัยแห่งพระพุทธทั้งหลาย เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด

ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

๒. ฌานวิสัยแห่งผู้ได้ฌาน เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะ

พึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำปากเปล่า

๓. วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วน

แห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

๔. โลกจินดา (ความคิดในเรื่องของโลก) เป็นอจินไตยไม่ควรคิด

ผู้ที่คิด ก็จะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล อจินไตย ๔ ไม่ควรคิด ผู้ที่คิด ก็จะพึง

มีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากเปล่า.

จบอจินติตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 236

อรรถกถาอจินติตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอจินติตสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อจินฺเตยฺยานิ ได้แก่ไม่ควรคิด. บทว่า น จินฺเตตพฺพานิ

ความว่า บุคคลไม่ควรคิด เพราะเป็นอจินไตยนั่นเอง. บทว่า ยานิ จินฺเตนฺโต

คือ คิดสิ่งที่ไม่มีเหตุเหล่าใด. บทว่า อุมฺมาทสฺส ได้แก่ ความเป็นคนบ้า.

บทว่า วิฆาตสฺส คือ เป็นทุกข์. บทว่า พุทฺธวิสโย แปลว่า วิสัยของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือ ความเป็นไปและอานุภาพของพระพุทธคุณมีพระ-

สัพพัญญุตญาณเป็นต้น. บทว่า ฌานวิสโย ได้แก่ ฌานวิสัยในอภิญญา.

บทว่า กมฺมวิปาโก ได้แก่ วิบากของกรรมมีกรรมที่จะพึงเสวยผลในปัจจุบัน

เป็นต้น. บทว่า โลกจินฺตา ความว่า โลกจินดา ความคิดเรื่องโลกเช่นว่า

ใครหนอสร้างดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ใครสร้างแผ่นดินใหญ่ ใครสร้าง

มหาสมุทร ใครสร้างสัตว์ให้เกิด ใครสร้างภูเขา ใครสร้างต้นมะม่วงต้นตาล

และต้นมะพร้าวเป็นต้น ดังนี้.

จบอรรถกถาจินติตสูตรที่ ๗

๘. ทักขิณาสูตร

ว่าด้วยทักขิณาวิสุทธิ ๔ ประการ

[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทักขิณาวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์แห่ง

ทักษิณา) ๔ ประการนี้ ทักขิณาวิสุทธิ ๔ ประการคืออะไร คือ ทักษิณา

บริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกก็มี ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก

ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายกก็มี ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหกก็มี

ทักษิณาบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหกก็มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 237

ก็ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหกเป็นอย่างไร ?

ทายกเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ปฏิคาหกเป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม อย่างนี้

ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายทายก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก

ทักษิณาบริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก เป็นอย่างไร ?

ทายกเป็นผู้ทุศีลมีบาปกรรม ปฏิคาหกเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม อย่างนี้ทักษิณา

บริสุทธิ์ฝ่ายปฏิคาหก ไม่บริสุทธิ์ฝ่ายทายก

ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร ?

ทายกเป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม ปฏิคาหกเล่าก็เป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม อย่างนี้

ทักษิณาบริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก

ทักษิณาบริสุทธิ์ ทั้งฝ่ายทายก ทั้งฝ่ายปฏิคาหก เป็นอย่างไร ?

ทายกเป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม แม้ปฏิคาหกก็เป็นผู้มีศีลมีกัลยาณธรรมอย่างนี้

ทักษิณาไม่บริสุทธิ์ทั้งฝ่ายทายกทั้งฝ่ายปฏิคาหก

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ทักษิณาวิสุทธิ ๔.

จบทักขิณาสูตรที่ ๘

อรรถกถาทักขิณาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทักขิณาสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทกฺขิณาวิสุทฺธิโย ได้แก่ เหตุทั้งหลายแห่งความบริสุทธิ์

ของทักษิณา คือ ทาน. บทว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ ความว่า ย่อมบริสุทธิ์

โดยความมีผลมาก. บทว่า กฺลยาณธมฺโม คือ เป็นผู้มีธรรมอันสะอาด.

บทว่า ปาปธมฺโม คือ เป็นผู้มีธรรมลามก. ในบทว่า ทายกโต วิสุชฺฌติ

นี้ ควรกล่าวถึงเวสสันดรมหาราช. ได้ยินว่า เวสสันดรมหาราชนั้น ให้ทารก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 238

แก่พราหมณ์ชื่อชูชก ท่านหาปฐพีให้ไหวแล้ว. ในบทว่า ปฏิคฺคาหกโต

วิสุชฺฌติ นี้ ควรกล่าวถึงชาวประมง ผู้อยู่ที่ประตูปากแน่น้ำกัลยาณี. ได้ยินว่า

ชาวประมงนั้น ได้ถวายบิณฑบาตสามครั้งแก่พระทีฆสุมนเถระ นอนบทเตียง

มรณะกล่าวว่า บิณฑบาตที่ได้ถวายแก่พระเป็นเจ้าทีฆสุมนเถระยกเราขึ้นได้.

ในบทว่า เนว ทายกโต นี้ ควรกล่าวถึงนายพรานผู้อยู่บ้านวัฒมานะ ได้ยินว่า

นายพรานนั้นเมื่อทำบุญอุทิศเพื่อคนที่ตายแล้ว จึงได้ให้แก่ปฏิคาหกผู้ทุศีล

คนเดียวสามครั้ง. ในครั้งที่สาม อมนุษย์ (ผู้ตายไปเกิดเป็นเปรต) ร้องว่า

ปฏิคคาหกทุศีลปล้นเราดังนี้. ทักษิณาถึงผู้ตายนั้นในเวลาที่ทักษิณาอันเขา

ถวายแก่ภิกษุผู้มีศีลรูปหนึ่งแล้ว. ในบทว่า ทายกโต เจว ปฏิคฺคา-

หกโต จ วิสุชฺฌติ นี้ บัณฑิตควรกล่าวอสทิสทานแล.

จบอรรถกถาทักขิณาสูตรที่ ๘

๙. วิณิชชสูตร

ว่าด้วยการค้าขาย

[๗๙] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ

ได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้การค้าขาย

อย่างเดียวกัน พ่อค้าบางคนประกอบแล้วขาดทุน ...บางคนประกอบแล้วได้

กำไรไม่เท่าที่ประสงค์ ...บางคนประกอบแล้วได้กำไรตามที่ประสงค์ ...

บางคนประกอบแล้วได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์

พ. ตรัสตอบว่า ดูก่อนสารีบุตร บุคคลบางคนในโลกนี้เข้าไปหา

สมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ปวารณาสมณะหรือพราหมณ์นั้นให้บอกขอปัจจัยได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 239

บุคคลนั้นปวารณาด้วยปัจจัยใด ไม่ให้ปัจจัยนั้น (แก่สมณพราหมณ์นั้น)

บุคคลนั้นถ้าตายจากอัตภาพนั้นมาสู่อัตภาพนี้ หากประกอบการค้าขายอันใด

การค้าขายอันนั้นย่อมขาดทุน

ส่วนบุคคลบางคน เข้าไปหาสมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ปวารณาสมณะ

หรือพราหมณ์นั้นให้บอกขอปัจจัยได้ บุคคลนั้นปวารณาด้วยปัจจัยใด ให้ปัจจัย

นั้นไม่เท่าที่ (สมณพราหมณ์นั้น ) ประสงค์ บุคคลนั้นถ้าตายจากอัตภาพนั้น

มาสู่อัตภาพนี้ หากประกอบการค้าขายอันใด การค้าขายนั้นย่อมได้กำไรไม่

เท่าที่ประสงค์

ส่วนบุคคลบางคน เข้าไปหาสมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ปวารณาสมณะ

หรือพราหมณ์นั้นให้บอกขอปัจจัยได้ บุคคลนั้นปวารณาด้วยปัจจัยใด ให้

ปัจจัยนั้นตามที่ (สมณพราหมณ์นั้น ) ประสงค์ บุคคลนั้นถ้าตายจากอัตภาพ

นั้นมาสู่อัตภาพนี้ หากประกอบการค้าขายอันใด การค้าขายอันนั้นย่อมได้

กำไรตามที่ประสงค์.

ส่วนบุคคลบางคน เข้าไปหาสมณะก็ดี พราหมณ์ก็ดี ปวารณาสมณะ

หรือพราหมณ์นั้นให้บอกขอปัจจัยได้ บุคคลนั้นปวารณาด้วยปัจจัยใด ให้ปัจจัย

นั้นยิ่งกว่าที่ (สมณพราหมณ์นั้น) ประสงค์ บุคคลนั้นถ้าตายจากอัตภาพนั้น

มาสู่อัตภาพนี้ หากประกอบการค้าขายอันใด การค้าขายอันนั้นย่อมได้กำไร

ยิ่งกว่าที่ประสงค์

ดูก่อนสารีบุตร นี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้การค้าขายอันเดียวกัน

พ่อค้าบางคนประกอบแล้วขาดทุน ...บางคนประกอบแล้วไม่ได้กำไรเท่าที่

ประสงค์ ...บางคนประกอบแล้วได้กำไรตามที่ประสงค์ ... บางคนประกอบ

แล้วได้กำไรยิ่งกว่าที่ประสงค์.

จบวณิชชสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 240

อรรถกถาวณิชชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวณิชชสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตาทิสาว ความว่า การค้าขายเช่นเดียวกันนั้น คือ คล้าย

กันนั้น. บทว่า เฉทคามินี โหติ คือขาดทุน. อธิบายว่า ผลกำไรที่

ปรารถนาสูญเสียหมด. บทว่า น ยถาธิปฺปายา โหติ ความว่า ได้ผลกำไร

ไม่เท่าที่มุ่งหมาย. บทว่า ปราธิปฺปายา โหติ ความว่า ได้ผลกำไรเกิน

คือ เกินกว่าที่ตนประสงค์. ในบทว่า สมณ วา พฺราหฺมณ วา นี้

พึงทราบว่าเป็นสมณะหรือพราหมณ์เพราะมีบาปสงบแล้ว มีบาปอันลอยแล้ว.

บทว่า วท ภนฺเต ปจฺจเยน ความว่า ย่อมปวารณา คือนิมนต์อย่างนี้ว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่านพึงขอปัจจัย ๔ อย่างมีจีวรเป็นต้นได้. บทว่า เยน

ปวาเรติ ความว่า เขาย่อมปวารณากำหนดไว้ด้วยปัจจัยใด. บทว่า ต น

เทติ ความว่า เขาไม่ถวายปัจจัยนั้นทุกประการ. บทว่า ต น ยถาธิปฺปาย

เทติ ความว่า เขาย่อมไม่สามารถจะถวายปัจจัยนั้นตามที่สมณพราหมณ์นั้น

ประสงค์ คือ ถวายลดน้อยลง. บทว่า ยถาธิปฺปาย เทติ ความว่า

สมณพราหมณ์นั้น ย่อมปรารถนาปัจจัยเท่าใด เขาก็ถวายปัจจัยเท่านั้น. บทว่า

ปราธิปฺปาย เทติ ความว่า เขาปวารณาปัจจัยไว้น้อยแต่ถวายมากกว่า.

จบอรรถกถาวณิชชสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 241

๑๐. กัมโมชสูตร

ว่าด้วยมาตุคาม

[๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ โฆสิตาราม

กรุงโกสัมพี ครั้งนั้นท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ได้ทูล

ถามว่า อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัย พระพุทธเจ้าข้า มาตุคามจึงไม่นั่งใน

สภา ไม่ประกอบการงานใหญ่ ไม่ได้ไปนอกเมือง

พ. ตรัสตอบว่า อานนท์ มาตุคามเป็นผู้มักโกรธ มาตุคามเป็นผู้

มักริษยา มาตุคามเป็นผู้มักตระหนี่ มาตุคามเป็นผู้ทรามปัญญา อานนท์

นี้แล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ให้มาตุคามไม่นั่งในสภา ไม่ประกอบการงานใหญ่

ไม่ได้ไปนอกเมือง.

จบกัมโมชสูตรที่ ๑๐

จบอปัณณกวรรคที่ ๓

อรรถกถากัมโมชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัมโมชสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เนว สภาย นิสีทติ ความว่า มาตุคามย่อมไม่นั่งในสภา-

วินิจฉัย เพื่อทำการวินิจฉัย. บทว่า น กมฺมนฺต ปโยเชติ ความว่า ไม่

ประกอบการงานใหญ่มีกสิกรรมและพาณิชยกรรมเป็นต้น . บทว่า น กมฺโพช

คจฺฉติ ความว่า ไม่ไปสู่แคว้นกัมโพชเพื่อรวบรวมโภคทรัพย์. ก็คำนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 242

เป็นเพียงหัวข้อเท่านั้น. อธิบายว่า ไม่ไปภายนอกแว่นแคว้นแห่งใดแห่งหนึ่ง.

ในบทเป็นต้นว่า โกธโน ความว่า มาตุคามถูกความโกรธกลุ้มรุมแล้ว ชื่อว่า

ไม่รู้จักประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เพราะความโกรธ. ชื่อว่า ไม่อดทนสมบัติ

คนอื่น เพราะมักริษยา. ชื่อว่า ไม่สามารถจะให้ทรัพย์ไปทำกิจที่ควรทำได้

เพราะมักตระหนี่. ชื่อว่า ไม่สามารถจะจัดทำกิจที่ควรทำได้ เพราะไม่มีปัญญา.

เพราะฉะนั้น มาตุคาม จึงไม่ทำการนั่งในสภาเป็นต้นเหล่านี้แล.

จบอรรถกถากัมโมชสูตรที่ ๑๐

จบอปัณณกวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปธานสูตร ๒. ทิฏฐิสูตร ๓. สัปปุริสสูตร ๔. ปฐมอัคคสูตร

๕. ทุติยอัคคสูตร ๖. กุสินาราสูตร ๗. อจินติตสูตร ๘. ทักขิณาสูตร

๙. วณิชชสูตร ๑๐. กัมโมชสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 243

มจลวรรคที่ ๔

๑. ปาณาติปาตสูตร

ว่าด้วยธรรมให้เกิดในนรก - สวรรค์

[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปโยนทิ้งฉะนั้น ธรรม ๔ ประการคืออะไร

คือ บุคคลเป็นผู้ทำปาณาติบาตโดยปกติ ทำอทินนาทานโดยปกติ ทำกาเม-

สุมิจฉาจารโดยปกติ พูดมุสาวาทโดยปกติ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

นี้แล ย่อมอุบัติในนรก เหมือนถูกนำตัวไปโยนทิ้งฉะนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมอุบัติ

ในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น ธรรม ๔ ประการคือ

อะไร คือ บุคคลเป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้เว้นจากอทินนาทาน เป็น

ผู้เว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้เว้นจากมุสาวาท บุคคลประกอบด้วยธรรม

๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้

ฉะนั้น.

จบปาณาติปาตสูตรที่ ๑

สูตรที่ ๑ - ๔ แห่งวรรคที่ ๔ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 244

๒. มุสาสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เกิดในนรก - สวรรค์

[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ ธรรม ประการคืออะไร คือบุคคลเป็นผู้พูดมุสาวาท

โดยปกติ พูดส่อเสียดโดยปกติ พูดคำหยาบโดยปกติ พูดสำรากโดยปกติ

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม

อุบัติในสวรรค์ ฯลฯ ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือบุคคลเป็นผู้เว้นจาก

มุสาวาท เป็นผู้เว้นจากพูดส่อเสียด เป็นผู้เว้นจากพูดคำหยาบ เป็นผู้เว้นจาก

พูดสำราก บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในสวรรค์

เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น.

จบมุสาสูตรที่ ๒

๓. วัณณสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เกิดในนรก - สวรรค์

[๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ บุคคลไม่ใคร่ครวญ

ไม่สอบสวนแล้ว ชมคนที่ควรติ ๑ ติคนที่ควรชม ๑ ปลูกความเลื่อมใสใน

ฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส ๑ แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะอันควรเลื่อมใส ๑

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 245

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ประการ ย่อมอุบัติ

ในสวรรค์ ฯลฯ ธรรม ประการคืออะไร คือบุคคลใคร่ครวญสอบสวนแล้ว

ติคนที่ควรติ ๑ ชมคนที่ควรชม ๑ แสดงความไม่เลื่อมใสในฐานะอันไม่ควร

เลื่อมใส ๑ ปลูกความเลื่อมใสในฐานะอันควรเลื่อมใส ๑ บุคคลประกอบด้วย

ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐาน

ไว้ฉะนั้น.

จบวัณณสูตรที่ ๓

๔. โกธสูตร

ว่าด้วยธรรมทำให้เกิดในนรก - สวรรค์

[๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือบุคคลเป็นผู้หนักใน

ความโกรธ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ เป็นผู้หนักในความลบหลู่ท่าน ไม่

หนักให้พระสัทธรรม ๑ เป็นผู้หนักในลาภ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ เป็น

ผู้หนักในสักการะ ไม่หนักในพระสัทธรรม ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔

ประการนี้แล ย่อมอุบัติในนรก ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม

อุบัติในสวรรค์ ฯลฯ ธรรม ๔ ประการคืออะไร คือ บุคคลเป็นผู้หนักใน

พระสัทธรรม ไม่หนักในความโกรธ ๑ เป็นหนักในพระสัทธรรม ไม่หนัก

ในความลบหลู่ท่าน ๑ เป็นผู้หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในลาภ ๑ เป็นผู้

หนักในพระสัทธรรม ไม่หนักในสักการะ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔

ประการนี้แล ย่อมอุบัติในสวรรค์ เหมือนเขาเชิญตัวไปประดิษฐานไว้ฉะนั้น.

จบโกธสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 246

๕. ตมสูตร

ว่าด้วยบุคคลในโลก ๔ จำพวก

[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

บุคคล ๔ จำพวกคือใคร คือ

ตโม ตมปรายโน บุคคลมืดมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

ตโม โชติปรายโน บุคคลมืดมาแล้ว มีสว่างไปภายหน้า

โชติ ตมปรายโน บุคคลสว่างมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

โชติ โชติปรายโน บุคคลสว่างมาแล้ว มีสว่างไปภายหน้า

ก็บุคคลมืดมาแล้ว มีมืดไปภายหน้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้ เกิดในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาลก็ดี ตระกูลช่างสานก็ดี ตระกูล

พรานก็ดี ตระกูลช่างหนังก็ดี ตระกูลคนรับจ้างเทขยะก็ดี ทั้งยากจนขัดสน

ข้าวน้ำของกิน เป็นอยู่อย่างแร้นแค้น หาอาหารและเครื่องนุ่งห่มได้โดย

ฝืดเคือง ซ้ำเป็นคนขี้ริ้วขี้เหร่ เตี้ยแคระ มากไปด้วยโรค ตาบอดบ้าง

เป็นง่อยบ้าง กระจอกบ้าง เปลี้ยบ้าง ไม่ใคร่ได้ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน

ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป บุคคลนั้น

ยังประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ

แล้ว กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล บุคคล

มืดมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

บุคคลมืดแล้ว มีสว่างไปภายหน้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้

เกิดในตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาลก็ดี ฯลฯ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป

บุคคลนั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 247

ใจแล้ว กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคลมืดมา

แล้ว มีสว่างไปภายหน้า

บุคคลสว่างมาแล้ว มีมืดไปภายหน้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือตระกูลกษัตริยมหาสาลก็ดี ตระกูลพราหมณมหาสาล

ก็ดี ตระกูลคฤหบดีมหาสาลก็ดี มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีเงินทอง

มีข้าวของเครื่องใช้ มีทรัพย์ธัญชาติเป็นอันมาก ทั้งมีรูปร่างสะสวยเจริญตา

เจริญใจ ประกอบด้วยผิวพรรณงดงามยิ่งนัก เป็นผู้มีปกติได้ข้าวน้ำ ผ้า ยวดยาน

ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่ และเครื่องประทีป บุคคลนั้น

ประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว

กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล บุคคล

สว่างมาแล้ว มีมืดไปภายหน้า

บุคคลสว่างมาแล้ว มีสว่างไปภายหน้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้เกิดในตระกูลสูง คือตระกูลกษัตริยมหาสาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติ

สุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ครั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว กาย

แตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคลสว่างมาแล้วมีสว่าง

ไปภายหน้า

ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบตมสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 248

อรรถกถาตมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตมสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บุคคลผู้ประกอบด้วยความมืดมีคำเป็นต้นว่า นีจกุเล ปจฺจาชาโต

เกิดในตระกูลต่ำ ดังนี้ ชื่อว่าตมะ มืดมา. บุคคลชื่อว่ามีมืดไปภายหน้า เพราะ

เข้าถึงความมืดคือนรกอีก ด้วยกายทุจริตเป็นต้น แม้ด้วยบททั้งสองดังกล่าว

เป็นอันตรัสถึงความมืดแห่งขันธ์เท่านั้น. บุคคลชื่อสว่างมา เพราะประกอบ

ด้วยความสว่างมีคำเป็นต้นว่า อฑฺฒกุเล ปจฺจาชาโต (เกิดในตระกูลมั่งคั่ง)

ท่านอธิบายว่า เป็นผู้สว่างไสวดังนี้. บุคคลชื่อว่ามีสว่างไปภายหน้า เพราะ

เข้าถึงความสว่างด้วยการเข้าถึงสวรรค์อีก ด้วยกายสุจริตเป็นต้น พึงทราบ

สองบทแม้นอกนี้ โดยนัยนี้.

บทว่า เวนกุเล ได้แก่ ในตระกูลช่างสาน. บทว่า เนสาทกุเล

ได้แก่ในตระกูลพรานล่าเนื้อเป็นต้น . บทว่า รถการกุเล ได้แก่ ในตระกูล

ช่างหนัง. บทว่า ปุกฺกุสกุเล ได้แก่ ในตระกูลคนรับจ้างเทขยะ. พระผู้มี

พระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงตระกูลวิบัติ ด้วยเหตุประมาณเท่านี้แล้ว เพราะ

เหตุที่บุคคลบางคนถึงจะเกิดในตระกูลคนรับจ้างเทขยะ ก็มั่งคั่งมีทรัพย์มากได้

แต่บุคคลผู้นี้หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ฉะนั้น บัดนี้ เพื่อทรงแสดงโภควิบัติของ

บุคคลนั้น จึงตรัสว่า ทลิทฺเท เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทลิทฺเท

ได้แก่ ประกอบด้วยความจน มีข้าวน้ำและของกินน้อย. บทว่า กสิรวุตฺติเก

ได้แก่ เป็นอยู่ด้วยความทุกข์. อธิบายว่า ให้เขาถึงตระกูลที่คนทั้งหลายให้เขา

ยินดีด้วยความพยาม. บทว่า ยตฺถ กสิเรน ฆาสจฺฉาโท ลพฺภติ ความว่า

เขาได้ข้าวต้มข้าวสวยและอาหาร หรือเครื่องนุ่งห่มพอปิดอวัยวะ ด้วยความ

ลำบากในตระกูลใด.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 249

เพราะเหตุที่บุคคลแม้เกิดในตระกูลนี้ เป็นผู้พร้อมด้วยอุปธิสมบัติ

ตั้งอยู่ในความสำเร็จแห่งอัตภาพ แต่บุคคลผู้นี้หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ฉะนั้น

บัดนี้ เพื่อทรงแสดงวิบัติทางร่างกายของเขา จึงตรัสว่า โส จ โหติ

ทุพฺพณฺโณ เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺโณ ความว่า เป็น

คนมีผิวดุจตอไฟไหม้ เหมือนปีศาจคลุกฝุ่น. บทว่า ทุทฺทสิโก ความว่า

แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้าเห็นเข้าก็ไม่พอใจ. บทว่า โอโกฏิมโก ได้แก่ เป็น

คนเตี้ย. บทว่า กาโณ ได้แก่ ตาบอดข้างเดียวบ้าง ตาบอดสองข้างบ้าง.

บทว่า กุณี ได้แก่ มีมือพิการข้างเดียวบ้าง มีมือพิการทั้งสองข้างบ้าง. บทว่า

ขญฺโช ได้แก่ มีขาเขยกข้างเดียวบ้าง มีขาเขยกทั้งสองข้างบ้าง บทว่า

ปกฺขหโต ได้แก่ เป็นอัมพาตไปแถบหนึ่ง.

บทว่า ปทีเปยฺยสฺส ได้แก่ เครื่องอุปกรณ์ของประทีปมีน้ำมัน และ

ตัวภาชนะเป็นต้น. ในบทว่า เอว โข ภิกฺขเว นี้ บุคคลคนหนึ่ง ยังไม่

ทันเห็นแสงสว่างในภายนอก ตายในครรภ์ของมารดาแล้ว บังเกิดในอบาย

เวียนว่ายอยู่สิ้นทั้งกัป แม้บุคคลนั้น ก็ชื่อว่ามืดมาแล้วมืดไปภายหน้า. ก็เขา

พึงเป็นบุคคลหลอกลวง. ท่านอธิบายว่า ด้วยว่าคนหลอกลวงได้รับผลสำเร็จ

เห็นปานนี้ดังนี้. ในบทเหล่านี้ ทรงแสดงถึงการมาวิบัติ และปัจจัยในปัจจุบัน

วิบัติ ด้วยบทว่า นีเจ กุเล เป็นต้น. ทรงแสดงปัจจัยที่เป็นไปแล้ววิบัติ

ด้วยบทว่า ทลิทฺเท เป็นต้น. ทรงแสดงอุบายเลี้ยงชีพวิบัติ ด้วยบทว่า

กสิรวุตฺติเก เป็นต้น. ทรงแสดงอัตภาพวิบัติ ด้วยบทว่า ทุพฺพณฺโณ เป็นต้น.

ทรงแสดงเหตุแห่งทุกข์ที่มาประจวบเข้า ด้วยบทว่า พหฺวาพาโธ เป็นต้น.

ทรงแสดงเหตุแห่งสุขวิบัติ และเครื่องอุปโภควิบัติ ด้วยบทว่า น ลาภี

เป็นต้น. ทรงแสดงเหตุแห่งความเป็นผู้มืดไปภายหน้ามาประจวบเข้า ด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 250

บทว่า กาเยน ทุจฺจริต เป็นต้น. ทรงแสดงการเข้าถึงความมืดในสัมปรายภพ

ด้วยบทว่า กายสฺส เภทา เป็นต้น. สุกกปักข์ (ฝ่ายดี) พึงทราบโดยนัย

ตรงกัน ข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว.

จบอรรถกถาตมสูตรที่ ๕

๖. โอณตสูตร

ว่าด้วยบุคคลในโลก ๔ จำพวก

[๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ

โอณโตณโต บุคคลต่ำมาแล้ว ต่ำไป

โอณตุณฺณโต บุคคลต่ำมาแล้ว สูงไป

อุณฺณโตณโต บุคคลสูงมาแล้ว ต่ำไป

อุณฺณตุณฺณโต บุคคลสูงมาแล้ว สูงไป

ก็บุคคลต่ำมาแล้ว ต่ำไปเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดใน

ตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ฯลฯ บุคคลนั้นยังประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา

ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล

บุคคลต่ำมาแล้ว ต่ำไป

บุคคลต่ำมาแล้ว สูงไปเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดใน

ตระกูลต่ำ คือตระกูลจัณฑาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา

ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคลต่ำมา

แล้ว สูงไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 251

บุคคลสูงมาแล้ว ต่ำไปเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดใน

ตระกูลสูงคือ ตระกูลกษัตริยมหาศาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย

วาจา ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก อย่างนี้แล

บุคคลสูงมาแล้ว ต่ำไป

บุคคลสูงมาแล้ว สูงไปเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เกิดใน

ตระกูลสูง คือตระกูลกษัตริยมหาศาล ฯลฯ บุคคลนั้นประพฤติสุจริตด้วยกาย

วาจา ใจ ฯลฯ กายแตกตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อย่างนี้แล บุคคล

สูงมาแล้ว สูงไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบโอณตสูตรที่ ๖

อรรถกถาโอณตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโอณตสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โอณโตณโต ความว่า บุคคลต่ำมาในปัจจุบัน ก็จักต่ำไป

ในอนาคต. บทว่า โอณตุณฺณโต ความว่า บุคคลต่ำมาปัจจุบัน จักสูงไป

ในอนาคต. บทว่า อุณฺณโตณโต ความว่า บุคคลสูงมาในปัจจุบัน ก็จัก

ต่ำไปในอนาคต. บทว่า อุณฺณตุณฺณโต ความว่า บุคคลสูงมาในปัจจุบัน

ก็จักสูงไปในอนาคต. ก็ความพิสดารแห่งความเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยอัน

กล่าวไว้ก่อนแล้ว.

จบอรรถถาโอณตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 252

๗. ปุตตสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จำพวก

[๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก ฯลฯ คือ

สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก

สมณปทุโม สมณะปทุม

สมเณสุ สมณสุขุมมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ก็สมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็น

พระเสขะ เป็นผู้ยังต้องปฏิบัติ ปรารถนาอยู่ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะอย่าง

เยี่ยมยอด เปรียบเหมือนพระโอรสองค์ใหญ่ของพระราชา ผู้เป็นกษัตริย์มุรธา-

ภิเษก เป็นผู้ควรแก่การอภิเษก แต่ยังมิได้รับอภิเษก ดำรงอยู่ในตำแหน่ง

พระยุพราช ฉันใด ภิกษุเป็นพระเสขะเป็นผู้ยังต้องปฏิบัติอยู่ ปรารถนาอยู่

ซึ่งธรรมอันเกษมจากโยคะอย่างเยี่ยมยอดฉันนั้นเหมือนกัน อย่างนี้แล บุคคล

เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทำให้แจ้วซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ แต่ว่าไม่ได้ถูกต้อง

วิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กาย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ ทั้งได้ถูกต้องวิโมกข์

๘ ด้วย (นาม) กายด้วย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 253

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ บริโภคจีวร โดยนากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดยไม่มีใคร

วิงวอน (ให้บริโภค) มีน้อย บริโภคบิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัย

โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดยไม่มีใครวิงวอน (ให้บริโภค)

มีน้อย อนึ่ง ภิกษุนั้น อยู่กับ เพื่อนสพรหมจารีเหล่าใด เพื่อนสพรหมจารีเหล่านั้น

ย่อมประพฤติต่อภิกษุนั้นด้วยกายกรรมที่น่าเจริญใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าเจริญ

ใจเป็นส่วนน้อย ประพฤติต่อภิกษุนั้นด้วยวจีกรรม ...มโนกรรมที่น่าเจริญใจ

เป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าเจริญใจเป็นส่วนน้อย เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายย่อม

แสดงความยกย่องนับถืออย่างน่าเจริญใจทั้งนั้น ที่ทำอย่างไม่น่าเจริญใจมีเป็น

ส่วนน้อย อนึ่ง ทุกขเวทนาทั้งหลาย ที่มีน้ำดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็น

สมุฏฐานก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี ที่มีน้ำดีเป็นสันนิปาติกะ (คือเกิดแต่ดี เสมหะ

และลมรวมกันเป็นสมุฏฐาน ซึ่งเรียกว่าสันนิบาต) ก็ดี ที่เกิดแต่ความเปลี่ยน-

แปลงแห่งฤดูก็ดี เกิดแต่การบริหาร (ร่างกาย) ไม่สม่ำเสมอ (คือเปลี่ยน

อิริยาบถไม่เสมอ) ก็ดี เกิดเพราะถูกทำร้าย (เช่นถูกดี) ก็ดี เกิดด้วยอำนาจ

วิบากของกรรมก็ดี ทุกขเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดมีแก่ภิกษุนั้นมากเลย เธอเป็น

ผู้มีอาพาธน้อย เธอได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔

อันเป็นธรรมเป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องพักผ่อนอยู่สบายในอัตภาพ

ปัจจุบัน เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย เธอกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ อย่าง

นี้แล บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อจะเรียกโดยชอบ จะพึงเรียกบุคคลใดว่าเป็น

สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ ก็พึงเรียกเรานี้แหละว่าเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่

สมณะแท้จริง เราบริโภคจีวร โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 254

ไม่มีใครวิงวอน (ให้บริโภค) มีน้อย เราบริโภคบิณฑบาตเสนาสนะคิลานปัจจัย

โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดยไม่มีใครวิงวอน (ให้บริโภค)

มีน้อย อนึ่ง เราอยู่กับภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้นย่อมพระพฤติต่อเราด้วย

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่น่าเจริญใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าเจริญใจ

เป็นส่วนน้อย ภิกษุทั้งหลายย่อมแสดงความยกย่องนับถือเราอย่างน่าเจริญใจ

ทั้งนั้น ที่ทำอย่างไม่น่าเจริญใจมีเป็นส่วนน้อย อนึ่ง ทุกขเวทนาทั้งหลาย

ที่มีน้ำดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐานก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี

ที่เป็นสันนิปาติกะก็ดี ที่เกิดแต่ความเปลี่ยนแปลงแห่งฤดูก็ดี เกิดแต่การบริหาร

(ร่างกาย) ไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะถูกทำร้ายก็ดี เกิดด้วยอำนาจวิบากของ

กรรมก็ดี ทุกขเวทนาเหล่านั้นไม่เกิดมีแก่เรามากเลย เราเป็นผู้มีอาพาธน้อย

อนึ่ง เราได้ตามต้องการ ได้ไม่ยาก ได้ไม่ลำบาก ซึ่งฌาน ๔ อัน เป็นธรรม

เป็นไปในจิตอันยิ่ง เป็นธรรมเครื่องพักผ่อนอยู่สบายในอัตภาพปัจจุบัน เพราะ

สิ้นอาสวะทั้งหลาย เราทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

จะเรียกโดยชอบ จะพึงเรียกบุคคลใดว่าเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ ก็พึง

เรียกเรานี้แหละโดยชอบว่าเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

นี้แล ภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบปุตตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 255

อรรถกถาปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปุตตสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมณมจโล ได้แก่ สมณะไม่หวั่นไหว. อักษรทำบท-

สนธิต่อบท. อธิบายว่า นิจจลสมณะ. ทรงแสดงพระเสขะแม้ ๗ จำพวกด้วย

บทนี้. พระเสขะนั้น ชื่อว่าไม่หวั่นไหว เพราะท่านตั้งมั่นด้วยศรัทธาอันเป็น

มูลในพระศาสนา. บทว่า สมณปุณฺฑริโก ได้เเก่ สมณะดังบัวขาว. ธรรมดา

บัวขาวเกิดในสระมีใบ ๙๙ ใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพสุกวิปัสสกผู้บำเพ็ญ

วิปัสสนาล้วนด้วยบทนี้. ด้วยว่าพระขีณาสพสุกขวิปัสสกนั้น ชื่อว่าสมณะดัง

บัวขาว เพราะท่านมีคุณยังไม่บริบูรณ์ โดยที่ฌานและอภิญญาไม่มี. บทว่า

สมณปทุโม ได้แก่ สมณะดังบัวหลวง. ธรรมดาบัวหลวง เกิดในสระมี

ใบครบร้อยใบ. ทรงแสดงพระขีณาสพผู้เป็นอุภโตภาควิมุตด้วยบทนี้. ด้วยว่า

พระขีณาสพอุภโตภาควิมุตนั้น ชื่อว่าสมณะดังบัวหลวง เพราะท่านมีคุณ

บริบูรณ์โดยที่มีฌานและอภิญญา. บทว่า สมเณสุ สมณสุขุมาโล ความว่า

บรรดาสมณะเหล่านั้นแม้ทั้งหมด สมณะสุขุมาลเป็นผู้มีกายและจิตอ่อนโยน

เว้นความทุกข์ทางกายและทางจิต เป็นผู้มีสุขโดยส่วนเดียว. ทรงแสดงพระองค์

และสมณะสุขุมาลเช่นกับพระองค์ ด้วยบทว่า สุขุมาลสมโณ นั้น.

ครั้นทรงตั้งมาติกาหัวข้ออย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงจำแนกไปตาม

ลำดับ จึงตรัสว่า กถญฺจ ภิกฺขเว เป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า เสกฺโข

ได้แก่ พระเสขะ ๗ จำพวก. บทว่า ปฏิปโท ได้แก่ เป็นผู้ยังต้องปฏิบัติ.

บทว่า อนุตฺตร โยคกฺเขม ปฏฺยมาโน วิหรติ ความว่า กำลังปรารถนา

พระอรหัต. บทว่า มุทฺธาภิสิตฺตสฺส ความว่า เป็นผู้ได้รับน้ำรดบนพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 256

เศียรคือกษัตริย์มูรธาภิเษกอธิบายว่าได้ทรงมุรธาภิเษกแล้ว. บทว่า อาภิเสโก

ได้แก่ เป็นผู้ควรทำการอภิเษก. บทว่า อนภิสิตฺโต ได้แก่ เป็นผู้ยังไม่ได้

อภิเษกก่อน. บทว่า มจลปฺปตฺโต ได้แก่ ถึงภาวะดุจตำแหน่งพระยุพราช

มีความปรารถนามั่นคง (ไม่คลอนแคลน) เพื่อประโยชน์แก่การอภิเษกเพราะ

เป็นพระโอรสของพระราชา ผู้เป็นกษัตริย์มุรธาภิเษก เพราะเป็นเชษฐโอรส

บรรดาพระโอรสทั้งหลาย และเพราะยังไม่ได้อภิเษกก่อน. อักษรเป็นเพียง

นิบาต.

บทว่า กาเยน ผุสิตฺวา ความว่า ถูกต้องแล้วด้วยนามกาย. บทว่า

ยาจิโตว พหุล จีวร ปริภุญฺชติ ความว่า สมณสุขุมาลโดยมากบริโภค

จีวรที่ทายกน้อมเข้าไปถวายด้วยร้องขออย่างนี้ว่าท่านเจ้าข้า โปรดบริโภคจีวรนี้

ดังนี้แล้ว เฉพาะจีวรที่เขาไม่ร้องขอก็น้อยเหมือนท่านพระพักกุลเถระ เฉพาะ

บิณฑบาต (อาหาร) ก็เหมือนท่านพระสิวลีเถระในทางไปป่าไม้ตะเคียน.

เฉพาะเสนาสนะก็เหมือนท่านพระอานนทเถระในอัฏฐกนาครสูตร เฉพาะคิลาน-

ปัจจัย ก็เหมือนท่านพระปิลินทวัจฉเถระ. บทว่า ตฺยสฺส ตัดบทเป็น เต

อสฺส. บทว่า มนาเปเนว ได้แก่อัน เป็นที่ต้องใจ. บทว่า สมุทาจรนฺติ

ความว่า ทำหรือประพฤติกิจที่ควรทำ. บทว่า อุปหาร อุปหรนฺติ ความว่า

เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ย่อมนำเข้าไป คือน้อมเข้าไปซึ่งสิ่งที่พอใจทั้งทางกาย

และทางจิต. บทว่า สนฺนิปาติกานิ ความว่า อันเกิดเพราะการประชุมกัน

แห่งสมุฏฐานทั้งสาม. บทว่า อุตุปริณามชานิ ความว่า เกิดแต่ความ

เปลี่ยนแปลงแห่งฤดูคือแต่ฤดูที่หนาวเกินไปหรือร้อนเกินไป. บทว่า

วิสมปริหารชานิ ความว่า เกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ โดยมีนั่งนานหรือ

ยืนนานเป็นต้น. บทว่า โอปกฺกมิกานิ ความว่า เกิดเพราะถูกทำร้าย

มีการฆ่าและการจองจำเป็นต้น. บทว่า กมฺมวิปากชานิ ความว่า เกิดด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 257

สามารถแห่งวิบากของกรรมที่ทำแล้วในกาลก่อนอย่างเดียว แม้เว้นจากเหตุ

เหล่านี้. ในบทว่า จตุนฺน ฌานาน นี้ท่านประสงค์กิริยาฌานเท่านั้น ทั้ง

ของพระขีณาสพทั้งของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. บทที่เหลือมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปุตตสูตรที่ ๗

๘. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จำพวก

[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ

สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก

สมณปทุโม สมณะปทุม

สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เป็นพระโสดาบันมีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง-

แท้ที่จะได้ตรัสรู้ในข้างหน้า อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ เพราะราคะโทสะโมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคามี มาสู่

โลกนี้อีกคราวเดียว จักทำที่สุดทุกข์ได้ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เพราะ

สิ้นสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกที่เกิดนั้น มีอันไม่

กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 258

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรม

วินัยนี้ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย การทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ อย่างนี้แล

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบสังโยชนสูตรที่ ๘

อรรถกถาสังโยชนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชนสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

พระโสดาบัน เรียกว่า สมณะผู้ไม่หวั่นไหว เพราะท่านได้ศรัทธา

ตั้งมั่นแล้วในพระศาสนา. พระสกทาคามี เรียกว่า สมณะดังบัวขาว ดุจบัวขาว

เกิดในสระมีใบไม่มาก เพราะท่านเป็นผู้มีคุณยังไม่มากนัก. พระอนาคามี

เรียกว่า สมณะดังบัวหลวง ดุจบัวหลวงมีร้อยใบเกิดในสระ เพราะท่านมีคุณ

มากกว่านั้น. พระขีณาสพผู้ถึงความอ่อนโยน เรียกว่า สมณะสุขุมาล เพราะ

กิเลสที่ทำความกระด้างท่านถอนได้แล้วโดยประการทั้งปวง.

จบอรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๘

๙. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จำพวก

[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ

สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 259

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก

สมณปทุโม สมณะปทุม

สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัย

นี้เป็นผู้มีความเห็นชอบ มีความดำริชอบ มีวาจาชอบ มีการงานชอบ มี

อาชีพชอบ มีความพยายามชอบ มีสติชอบ มีสมาธิชอบ อย่างนี้แล บุคคล

เป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีสมาธิชอบ มีญาณชอบ มีวิมุตติชอบ แต่ไม่

ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กาย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มี

ความเห็นชอบ ฯลฯ มีวิมุตติชอบ ทั้งได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กายด้วย

อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระ-

ธรรมวินัยนี้ บริโภคจีวร โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดย

ไม่มีผุ้วิงวอน (ให้บริโภค) มีน้อย ฯลฯ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะ

สุขุมาลในหมู่สมณะ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก.

จบทิฏฐิสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 260

อรรถกถาทิฏฐิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทิฏฐิสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ด้วยบทเป็นต้นว่า สมฺมาทิฏฺิโก ทรงหมายถึงพระเสขะ ๗ จำพวก

เหมือนในสูตรแรก ด้วยอำนาจมรรคมีองค์ ๘. วาระที่สอง ตรัสพระ-

ขีณาสพสุกขวิปัสสกผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน พร้อมด้วยอรหัตผลญาณ และ

อรหัตผลวิมุตติ ด้วยอำนาจแห่งมรรคมีองค์ ๑๐ หรือด้วยอำนาจแห่งมรรค

มีองค์ ๘. ในวาระที่สาม ตรัสพระขีณาสพผู้เป็นอุภโตภาควิมุต. วาระที่สี่

ตรัสถึงพระตถาคต และพระขีณาสพเช่นกับพระตถาคตอย่างนี้. ดังนั้น

พระสูตรนี้ ตรัสด้วยอำนาจบุคคลที่กล่าวในสูตรแรก แต่ในพระสูตรนี้ต่างกัน

เพียงเทศนาเท่านั้น.

อรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ ๙

๑๐. ขันธสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔ จำพวก

[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ

สมณมจโล สมณะผู้ไม่หวั่นไหว

สมณปุณฺฑรีโก สมณะบุณฑริก

สมณปทุโม สมณะปทุม

สมเณสุ สมณสุขุมาโล สมณะสุขุมาลในหมู่สมณะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 261

ก็บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหวเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัย

นี้เป็นพระเสขะ ยังไม่สำเร็จมโนรถ ยังปรารถนาธรรมอันเกษมจากโยคะอย่าง

ยอดเยี่ยมอยู่ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริกเป็นอย่างไร ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็น

ผู้เล็งเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมดับไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่าอย่างนี้รูป

อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป อย่างนี้ความดับไปแห่งรูป อย่างนี้เวทนา. . .

สัญญา...สังขาร. . .วิญญาณ ฯลฯ อย่างนี้ ความดับไปแห่งเวทนา. . .สัญญา

. . . สังขาร. . .วิญญาณ แต่ไม่ได้ถูกต้องวิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กาย อย่างนี้แล

บุคคลเป็นสมณะบุณฑริก

บุคคลเป็นสมณะปทุมเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้

เล็งเห็นความเกิดขึ้นและความดับไปในอุปาทานขันธ์ ๕ ว่า อย่างนี้รูป ฯลฯ

อย่างนี้ความดับไปแห่งเวทนา. . .สัญญา. . .สังขาร. . .วิญญาณ ทั้งได้ถูกต้อง

วิโมกข์ ๘ ด้วย (นาม) กายด้วย อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะปทุม

บุคคลเป็นสมณะสุขุมาลในหมู่สมณะเป็นอย่างไร ? ภิกษุในพระ-

ธรรมวินัยนี้ บริโภคจีวร โดยมากมีผู้วิงวอน (ให้บริโภค) ที่บริโภคโดยไม่มี

ผู้วิงวอน (ให้บริโภค) มีน้อย ฯลฯ อย่างนี้แล บุคคลเป็นสมณะสุขุมาล

ในหมู่สมณะ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบขันธสูตรที่ ๑๐

จบมจลวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 262

อรรถกถาขันธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในขันธสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

วาระที่ ๑ ตรัสพระเสขบุคคล ผู้ยังไม่เริ่มความเพียรเพื่อพระอรหัต

ยังดำรงอยู่ด้วยความประมาท. วาระที่ ๒ ตรัสพระเสขบุคคล ผู้ยังไม่ได้ฌาน

แต่เริ่มวิปัสสนาอยู่ด้วยความไม่ประมาท. วาระที่ ๓ ตรัสพระเสขบุคคล ผู้เริ่ม

วิปัสสนาอยู่ด้วยความไม่ประมาท ได้วิโมกข์ ๘. วาระที่ ๔ ตรัสพระขีณาสพ

ผู้เป็นสุขุมาลเป็นอย่างยิ่งแล.

จบอรรถกถาขันธสูตรที่ ๑๐

จบมจลวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. มุสาสูตร ๓. วัณณสูตร ๔. โกธสูตร

๕. ตมสูตร ๖. โอณตสูตร ๗. ปุตตสูตร ๘. สังโยชนสูตร ๙. ทิฏฐิสูตร

๑๐. ขันธสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 263

อสุรวรรคที่ ๕

๑. อสุรสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล จำพวกนี้ ฯลฯ คือ

อสุโร อสุรปริวาโร คนอสูร มีอสูรเป็นบริวาร

อสุโร เทวปริวาโร คนอสูร มีเทวดาเป็นบริวาร

เทโว อสุรปริวาโร คนเทวดา มีอสูรเป็นบริวาร

เทโว เทวปริวาโร คนเทวดา มีเทวดาเป็นบริวาร

ก็บุคคลเป็นอสูร มีอสูรเป็นบริวารเป็นอย่างไร บุคคลบางคน

ในโลกนี้เป็นคนทุศีลมีธรรมอันลามก แม้บริษัทของเขาก็เป็นคนทุศีล มีธรรม

อันลามกเหมือนกัน อย่างนี้แล บุคคลเป็นอสูร มีอสูรเป็นบริวาร

บุคคลเป็นอสูร มีเทวดาเป็นบริวารเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคน

ในโลกนี้เป็นคนทุศีลมีธรรมสันลามก แต่บริษัทของเขาเป็นคนมีศีล มีธรรม

อันงาม อย่างนี้แล บุคคลเป็นอสูร มีเทวดาเป็นบริวาร

บุคคลเป็นเทวดา มีอสูรเป็นบริวารเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคน

ในโลกนี้เป็นคนมีศีลมีธรรมอันงาม แต่บริษัทของเขาเป็นคนทุศีล มีธรรม

อันลามก อย่างนี้แล บุคคลเป็นเทวดา มีอสูรเป็นบริวาร

บุคคลเป็นเทวดา มีเทวดาเป็นบริวารเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคน

ในโลกนี้เป็นคนมีศีลมีธรรมอันงาม แม้บริษัทของเขาก็เป็นคนมีศีล มีธรรม

อันงามด้วย อย่างนี้แล บุคคลเป็นเทวดา มีเทวดาเป็นบริวาร

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบอสุรสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 264

อสุรวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาอสุรสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอสุรสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสุโร ได้แก่คนน่าเกลียด เช่นเดียวกับอสูร. บทว่า เทโว

ได้แก่ คนงามโดยคุณ กับที่ทำให้เกิดความผ่องใส เช่นเดียวกับเทวดา.

จบอรรถกถาอสุรสูตรที่ ๑

๒. ปฐมสมาธิสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๑

[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือบุคคล

บางคนในโลกนี้เป็นผู้ได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและธัมม-

วิปัสสนาพวก ๑ บางคนได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้ความสงบใจ

ในภายในพวก ๑ บางคนไม่ได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งไม่ได้อธิปัญญาและ

ธัมมวิปัสสนาพวก ๑ บางคนได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมม-

วิปัสสนาพวก ๑ ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบปฐมสมาธิสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 265

อรรถกถาปฐมสมาธิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสมาธิสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อชฺฌตฺต เจโตสมถสฺส ได้แก่ อัปปนาจิตตสมาธิในภายใน

ของตน. บทว่า อธิปญฺาธมฺมวิปสฺสนาย ความว่า วิปัสสนาญาณที่

กำหนดสังขารเป็นอารมณ์. ที่แท้วิปัสสนาญาณนั้น นับว่าเป็นอธิปัญญา และ

เป็นวิปัสสนาในธรรมทั้งหลายกล่าวคือปัญจขันธ์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า

อธิปัญญาธัมมวิปัสสนา.

จบอรรถกถาปฐมสมาธิสูตรที่ ๒

๓. ทุติยสมาธิสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๒

[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือบุคคล

บางคนในโลกนี้เป็นผู้ได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและธัมม-

วิปัสสนา ฯลฯ บางคนได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมม-

วิปัสสนา

ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดที่ได้ความสงบใจในภายใน แต่

ไม่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา บุคคลนั้นควรตั้งอยู่ในความสงบใจในภายใน

แล้วทำการประกอบความเพียรในอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนาต่อไป บุคคลนั้น

ก็ย่อมจะได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 266

บุคคลใดที่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้ความสงบใจใน

ภายใน บุคคลนั้นควรตั้งอยู่ในอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนาแล้วทำการประกอบ

ความเพียรในความสงบใจในภายใน ต่อไป บุคคลนั้นก็ย่อมจะได้ทั้งอธิปัญญา

และธัมมวิปัสสนา ทั้งความสงบใจในภายใน

บุคคลใดที่ไม่ได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมม-

วิปัสสนา บุคคลนั้นควรกระทำฉันทะ พยายาม อุตสาหะ พากเพียรอย่าง

แข็งขัน ไม่ท้อถอย และทำสติสัมปชัญญะอันยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรมทั้ง ๒

นั้นจงได้ เปรียบเหมือนคนที่ไฟไหม้ผ้าก็ดี ไหม้ศีรษะก็ดี พึงกระทำฉันทะ

พยายาม อุตสาหะ พากเพียร ไม่เฉื่อยเฉย และตั้งสติสัมปชัญญะอันยิ่ง

เพื่อจะดับเสียซึ่งผ้าหรือศีรษะ (ที่ไหม้อยู่นั้น) ฉันใด บุคคลนั้นก็ควรกระทำ

ฉันทะ พยายาม อุตสาหะ พากเพียร อย่างแข็งขัน ไม่ท้อถอย และทำสติ

สัมปชัญญะอันยิ่ง เพื่อให้ได้กุศลธรรมทั้ง ๒ นั้นจงได้ฉันนั้น ต่อไป บุคคล

นั้นก็ย่อมจะได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

บุคคลใดที่ได้ทั้งความสงบใจในภายในทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

บุคคลนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้ง ๒ นั้น แล้วทำการประกอบความเพียร

เพื่อความสิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบทุติยสมาธิสูตรที่ ๓

อรรถกถาทุติยสมาธิสูตร

พึงทราบ วินิจฉัยในทุติยสมาธิสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โยโค กรณีโย ความว่า พึงทำความประกอบขวนขวาย.

บทว่า ฉนฺโท คือกัตตุกัมยตาฉันทะ ความพอใจใคร่จะทำ. บทว่า วายาโม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 267

คือความเพียร. บทว่า อุสฺสาโห คือความเพียรยิ่งกว่าวายามะนั้น บทว่า

อุสฺโสฬฺหี ความว่า ความเพียรมาก เสมือนยกเกวียนที่ติดหล่ม. บทว่า

อปฺปฏิวานี ได้แก่ ไม่ถอยกลับ.

จบอรรถกถาทุติยสมาธิสูตรที่ ๓

๔. ตติยสมาธิสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๓

[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือบุคคล

บางคนในโลกนี้เป็นผู้ได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและ

ธัมมวิปัสสนา ฯลฯ บางคนได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและ

ธัมมวิปัสสนา

ในบุคคล ๔ จำพวกนั้น บุคคลใดที่ได้ความสงบใจในภายใน แต่

ไม่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา บุคคลนั้นควรเข้าไปหาบุคคลผู้ได้อธิปัญญา

และธัมมวิปัสสนาแล้วได้ถามว่า สังขารทั้งหลาย จะพึงเห็นอย่างไร จะพึง

กำหนดอย่างไร จะพึงเห็นแจ้งอย่างไร บุคคลผู้ได้อธิปัญญาและธัมม-

วิปัสสนา ย่อมจะกล่าวแก้แก่บุคคลนั้นตามที่ตนเห็นตามที่ตนรู้ว่า สังขาร

ทั้งหลายพึงเห็นอย่างนี้ พึงกำหนดเอาอย่างนี้ พึงเห็นแจ้งอย่างนี้ ต่อไป

บุคคลนั้น ก็ย่อมจะได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

บุคคลใดที่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้ความสงบใจใน

ภายใน บุคคลนั้นควรเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบใจในภายใน แล้วได้ถาม

ว่าจิตจะพึงดำรงไว้อย่างไร พึงน้อมไปอย่างไร พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียวอย่างไร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 268

พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างไร บุคคลผู้ได้ความสงบใจภายใน ย่อมจะกล่าวแก้

แก่บุคคลนั้นตามที่คนเห็นตามที่ตนรู้ว่า จิตพึงดำรงไว้อย่างนี้ พึงน้อมไปอย่างนี้

พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียวอย่างนี้ พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างนี้ ต่อไป บุคคลนั้น

ก็ย่อมจะได้ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา ทั้งความสงบใจในภายใน

บุคคลใดที่ไม่ได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมม-

วิปัสสนา บุคคลนั้นควรเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ธรรมทั้ง ๒ อย่างนั้น แล้วไต่ถาม

ว่าจิตจะพึงดำรงไว้อย่างไร พึงน้อมไปอย่างไร พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียว

อย่างไร พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างไร สังขารทั้งหลายจะพึงเห็นอย่างไร พึง

กำหนดเอาอย่างไร พึงเห็นแจ้งอย่างไร บุคคลผู้ได้ธรรมทั้ง ๒ อย่างนั้น

ย่อมจะกล่าวแก้แก่บุคคลนั้นตามที่ตนเห็นตามที่ตนรู้ว่า จิตพึงดำรงไว้อย่างนี้

พึงน้อมไปอย่างนี้ พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียวอย่างนี้ พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างนี้

สังขารทั้งหลายพึงเห็นอย่างนี้ พึงกำหนดอย่างนี้ พึงเห็นแจ้งอย่างนี้ ต่อไป

บุคคลนั้น ก็ย่อมจะได้ความสงบใจภายในทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

บุคคลใดที่ได้ทั้งความสงบใจภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา

บุคคลนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้ง ๒ นั้น แล้วทำการประกอบความเพียร

เพื่อความสิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบตติยสมาธิสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 269

อรรถกถาตติยสมาธิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยสมาธิสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า เอว โข อาวุโส สงฺขารา ทฏฺพฺพา เป็นต้น

พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมดาว่าสังขารทั้งหลาย

พึงพิจารณาโดยความเป็นของไม่เทียง พึงกำหนดโดยความไม่เที่ยง พึงเห็น

แจ้งโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาก็อย่างนั้น

ดังนี้. แม้ในบทว่า เอว โข อาวุโส จิตฺต สณฺเปตพฺพ เป็นต้น

พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วย

อำนาจปฐมฌาน พึงน้อมใจไปด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงทำอารมณ์ให้เป็นหนึ่งด้วย

อำนาจปฐมฌาน พึงให้เป็นสมาธิด้วยปฐมฌาน จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจ

ทุติยฌานเป็นต้น ก็อย่างนั้นดังนี้. ในพระสูตร ๓ สูตรเหล่านี้ ตรัสสมถะ

และวิปัสสนาเป็นโลกิยะและโลกุตระอย่างเดียว.

จบอรรถกถาตติยสมาธิสูตรที่ ๔

๕. ฉวาลาตสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๔

[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือบุคคล

ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑ บุคคลปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนพวก ๑ บุคคลปฏิบัติเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 270

ประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑ บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อ

ประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดุ้นฟืนเผาศพ ที่ไฟไหม้ปลาย ๒ ข้าง ตรงกลาง

ก็เปื้อนคูถ ย่อมไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม้ในบ้านในป่า ฉันใด

เรากล่าวบุคคลผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นนี้ว่า

มีอุปมาฉันนั้น

ในบุคคล ๒ พวก (ข้างต้น) บุคคล (ที่ ๒) ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์

ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ดีกว่าประณีตกว่า

ในบุคคล ๓ พวก (ข้างต้น) บุคคล (ที่ ๓) ผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ดีกว่าประณีตกว่า

ในบุคคลทั้ง ๔ พวก บุคคล (ที่ ๔) ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน

ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุด เป็นประธาน เป็นผู้

อุดม เป็นผู้สูงสุด

เปรียบเหมือนน้ำนมโค นมส้มดีกว่าน้ำนม เนยข้น ดีกว่านมส้ม

เนยใส ดีกว่าเนยข้น ยอดเนยใส (สัปปิมัณฑะ) ดีกว่า เนยใส ทั้งหมดนั้น

ยอดเนยใส (สัปปิมัณฑะ) นับว่าเป็นเลิศฉันใด ในบุคคลทั้ง ๔ จำพวก

บุคคลจำพวกที่ ผู้ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

เป็นเลิศ เป็นประธาน เป็นผู้อุดม เป็นผู้สูงสุด ฉันนั้นเหมือนกัน

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบฉวาลาตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 271

อรรถกถาฉวาลาตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฉวาลาตสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ฉวาลาต ได้แก่ ดุ้นฟืนเผาศพในป่าช้า. บทว่า มชฺเฌ

คูถคต ได้แก่ ตรงกลางก็เปื้อนคูถ. บทว่า เนว คาเม กฏตฺถ ผรติ

ความว่า ไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม่ในบ้าน เพราะไม่ควรนำ

เข้าไปเพื่อประโยชน์แก่ทัพสัมภาระมี อกไก่ ไม้กลอนหลังคา เสา และบันได

เป็นต้น ไม่สำเร็จประโยชน์ที่จะใช้เป็นเครื่องไม้ในป่า เพราะไม่ควรนำเข้าไป

ทำขาค้ำกระท่อมในนา หรือขาเตียง เมื่อจับที่ปลายทั้งสองก็ย่อมไหม้มือ

เมื่อจับที่ตรงกลาง ก็เปื้อนคูถ. บทว่า ตถูปม ความว่า บุคคลนั้นก็

เหมาะสมกัน. บทว่า อภิกฺกนฺตตโร คือดีกว่า. บทว่า ปณีตตโร คือ

สูงุสุดกว่า. บทว่า ควา ขีร ได้แก่ น้ำมันแต่แม่โค. ในบทว่า ขีรมฺหา

ทธิ เป็นต้น ความว่า แต่ละอย่างเป็นของเลิศกว่าก่อน ๆ. ส่วนสัปปิมัณฑะ

หัวเนยใสเป็นยอดเยี่ยมในน้ำมันเป็นต้นเหล่านั้น แม้ทั้งปวง. ในบทว่า อคฺโค

เป็นต้น พึงทราบว่าเป็นผู้เลิศประเสริฐเป็นประมุขสูงสุดและล้ำเลิศ ด้วยคุณ

ทั้งหลาย. บุคคลผู้ทุศีลตรัสเปรียบด้วยดุ้นฟืนเผาศพ แต่พึงทราบว่าตรัสบุคคล

ผู้มีสุตะน้อย ผู้ละเลยการงานเปรียบด้วยโคดังนี้.

จบอรรถกถาฉวาลาตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 272

๖. ราคสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวกที่ ๕

[๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือบุคคล

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑ บุคคลปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนพวก ๑ บุคคลไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อ

ประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑ บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์คน

ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก ๑

ก็บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็น

อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ

ด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ อย่างนี้แล

บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน เป็น

อย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ

ด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่นกำจัดราคะ โทสะ โมหะ อย่างนี้แล บุคคลปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

บุคคลไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็น

อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ

ด้วยตนเอง ทั้งไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะ อย่างนี้แล

บุคคลไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็น

อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ปฏิบัติเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะด้วย

ตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อกำจัดราคะ โทสะ โมหะด้วย อย่างนี้แล บุคคล

ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบราคสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 273

บททั้งปวงในราคสูตรที่ ๖ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

๗. นิสันติสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๖

[๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ บุคคล

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑ บุคคลปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนจำพวก ๑ บุคคลไม่ปฏิบัติ

ทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑ บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อ

ประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑

ก็แลบุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้รู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย

ทั้งเป็นผู้มีอุปนิสัย ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความ

แห่งธรรมที่ทรงจำไว้ เป็นผู้รู้อรรถทั่วถึงแล้ว รู้ธรรมทั่วถึงแล้วปฏิบัติธรรม

สมควรแก่ธรรม แต่ไม่เป็นผู้มีวาจาไพเราะ ไม่เป็นผู้มีถ้อยคำอ่อนหวาน

ไม่ประกอบด้วยถ้อยคำของชาวเมือง ถ้อยคำที่สละสลวย ไม่มีโทษ ทำให้รู้

เนื้อความง่าย และไม่แสดง (ธรรม) ให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ให้สมาทาน

ให้อาจหาญร่าเริง อย่างนี้แล บุคคลเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน เป็น

อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้รู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้ง

ไม่เป็นผู้มีอุปนิสัยทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ไม่เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความแห่ง

ธรรมที่ทรงจำไว้ได้ และหารู้อรรถรู้ธรรมทั่วถึงแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 274

ธรรมไม่ แต่เป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีถ้อยคำอ่อนหวาน ประกอบด้วยถ้อยคำ

ของชาวเมือง ถ้อยคำที่สละสลวย ไม่มีโทษ ทำให้รู้เนื้อความง่ายและแสดง

(ธรรม) ให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง อย่างนี้แล

บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

บุคคลไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็น

อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่เป็นผู้รู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้ง

ไม่เป็นผู้มีอุปนิสัยทรงจำธรรมที่ฟังแล้ว ไม่เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรม

ที่ทรงจำไว้ได้ และหารู้อรรถรู้ธรรมทั่วถึงแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่

ซ้ำไม่เป็นผู้มีวาจาไพเราะ ไม่เป็นผู้มีถ้อยคำอ่อนหวานไม่ประกอบด้วย

ถ้อยคำของชาวเมือง ถ้อยคำที่สละสลวย หาโทษมิได้ ทำให้รู้เนื้อความง่าย

และไม่แสดง (ธรรม) ให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญ

ร่าเริง อย่างนี้แล บุคคลไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อ

ประโยชน์ผู้อื่น

บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นอย่างไร?

บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้รู้ได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ทั้งเป็นผู้มีอุปนิสัย

ทรงจำธรรมที่ฟังแล้วไว้ได้ เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำไว้

แล้ว เป็นผู้รู้อรรถทั่วถึงแล้ว รู้ธรรมทั่วถึงแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

เป็นผู้มีวาจาไพเราะ มีถ้อยคำอ่อนหวาน ประกอบด้วยถ้อยคำของชาวเมือง

ถ้อยคำสละสลวย ปราศจากโทษ ทำให้รู้เนื้อความง่าย และเป็นผู้แสดง

(ธรรม) ให้เพื่อนพรหมจารีเห็นชัด ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริงด้วย

อย่างนี้แล บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบนิสันติสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 275

อรรถกถานิสันติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิสันติสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ขิปฺปนิสนฺติ ความว่า บุคคลตั้งใจฟังสามารถรู้ได้เร็ว.

บทว่า ธตานญฺจ ธมฺมาน ความว่า ธรรมที่เป็นบาลีแบบอย่าง ทรงจำ

ได้คล่องแคล่ว. บทว่า อตฺถุปปริกฺขิ ความว่า เป็นผู้ไตร่ตรองเนื้อความ

บทว่า อตฺถมญฺาย ธมฺมมญฺาย ความว่า รู้ถึงอรรถกถาและบาลี.

บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทา

อันเป็นส่วนเบื้องต้น พร้อมทั้งศีล. เป็นธรรมอันสมควรแก่โลกุตรธรรม ๙.

บทว่า โน จ กลฺยาณวาโจ โหติ ความว่า แต่เป็นคนพูดไม่ดี. บทว่า

น กลฺยาณวากฺกรโณ ความว่า เป็นคนมีเสียงไม่ไพเราะ. โน อักษร

ควรประกอบกับบทว่า โปริยา เป็นต้น . ความว่า ไม่เป็นผู้ประกอบด้วยวาจา

ซึ่งสามารถชี้แจงให้เขาเข้าใจเนื้อความด้วยบทและพยัญชนะอันมิได้อยู่ในคอ

เต็มด้วยคุณ ไม่ตะกุกตะกัก ไม่มีโทษ. ในบททั้งปวง ก็พึงทราบเนื้อความ

โดยอุบายนี้.

จบอรรถกถานิสันติสูตรที่ ๗

๘. อัตตหิตสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก ที่ ๗

[๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล จำพวกนี้ ฯลฯ คือ บุคคล

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑ บุคคลปฏิบัติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 276

เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนจำพวก ๑ บุคคลไม่ปฏิบัติ

ทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑ บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อ

ประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบอัตตหิตสูตรที่ ๘

อัตตหิตสูตรที่ ๘ ตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยแห่งบุคคลบ้าง ด้วยความ

งามแห่งเทศนาญาณของพระทศพลบ้าง.

๙. สิกขาสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวกที่ ๘

[๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ คือ บุคคล

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑ บุคคลปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ผู้อื่น ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนจำพวก ๑ บุคคลไม่ปฏิบัติ

ทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑ บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อ

ประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่นจำพวก ๑

ก็บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็น

อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ละเว้นจากปาณาติบาตด้วยตนเอง แต่

ไม่ชักชวนผู้อื่น เพื่อละเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้ละเว้นจากอทินนาทาน

กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวน

ผู้อื่นเพื่อละเว้นจากอทินนาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท สุราเมรยมัชช-

ปมาทัฏฐาน อย่างนี้แล บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน แต่ไม่ปฏิบัติ

เพื่อประโยชน์ผู้อื่น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 277

บุคคลปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน เป็น

อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองไม่ละเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน แต่ชักชวนผู้อื่นเพื่อละเว้น จากปาณาติบาต ฯลฯ สุรา

เมรยมัชชปมาทัฏฐาน อย่างนี้แล บุคคลปฏิบัติเพราะโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่

ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตน

บุคคลไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็น

อย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองก็ไม่ละเว้นจากปาณาติบาติ ฯลฯ

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ทั้งไม่ชักชวนผู้อื่นเพื่อละเว้น จากปาณาติบาต ฯลฯ

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน อย่างนี้แล บุคคลไม่ปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์

ตน ทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น

บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตนทั้งเพื่อประโยชน์ผู้อื่น เป็นอย่างไร ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ทั้งเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน

ด้วยตนเอง ทั้งชักชวนผู้อื่นเพื่อละเว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ สุราเมรยมัชช-

ปมาทัฏฐาน อย่างนี้แล บุคคลปฏิบัติทั้งเพื่อประโยชน์ตน ทั้งเพื่อ

ประโยชน์ผู้อื่น

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ ในโลก.

จบสิกขาสูตรที่ ๙

สิกขาสูตรที่ ๙ ตรัสด้วยอำนาจแห่งเวร ๕

๑๐. โปตลิยสูตร

ว่าด้วยโปตลิยปริพาชก

[๑๐๐] ครั้งนั้น ปริพาชกชื่อโปตลิยะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า โปตลิยะ บุคคล จำพวกนี้ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 278

คือบุคคลจำพวกหนึ่งกล่าวติคนที่ควรติ ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร

แต่ไม่กล่าวชมคนที่ควรชม ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก ๑

บุคคลจำพวกหนึ่งกล่าวชมคนที่ควรชม ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร

แต่ไม่กล่าวที่คนที่ควรติ ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคล

จำพวกหนึ่ง ทั้งไม่กล่าวติคนที่ควรติ ทั้งไม่กล่าวชมคนที่ควรชม ตามเรื่อง

ที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก ๑ บุคคลจำพวกหนึ่งกล่าวติคนที่ควรติบ้าง

กล่าวชมคนที่ควรชมบ้าง ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควรจำพวก ๑ นี้แล

บุคคล จำพวก มีปรากฏอยู่ ในโลก โปตลิยะ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้

บุคคลจำพวกไหนชอบใจท่านว่าดีกว่าประณีตกว่า

โปตลิยปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคล ๔ จำพวกนี้

ฯลฯ บรรดาบุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลจำพวกที่ทั้งไม่กล่าวติคนที่ควรติ

ทั้งไม่กล่าวชมคนที่ควรชม นี้ชอบใจข้าพระพุทธเจ้าว่าดีกว่าสูงกว่า

เพราะเหตุไร เพราะเหตุว่าอุเบกขา (ความวางเฉย) นั่นเป็นการดี

พ. ตรัสค้านว่า โปตลิยะ บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ บรรดาบุคคล

๔ จำพวกนี้ บุคคลจำพวกที่กล่าวติคนที่ควรติบ้าง กล่าวชมคนที่ควร

ชมบ้าง ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร นี้ชอบใจเราว่าดีกว่า

ประณีตกว่า เพราะเหตุอะไร เพราะความเป็นผู้รู้จักกาลในสถานนั้น ๆ นั่น

เป็นการดี

โปตลิยปริพาชกกราบทูลเห็นด้วยตามพระพุทธดำรัส และประกาศ

คนเป็นอุบาสกว่า ข้าแต่พระโคคมผู้เจริญ บุคคล ๔ จำพวกนี้ ฯลฯ บรรดา

บุคคล ๔ จำพวกนี้ บุคคลจำพวกที่กล่าวติคนที่ควรติบ้าง กล่าวชมคนที่

ควรชมบ้าง ตามเรื่องที่จริงที่แท้ตามกาลอันควร นี้ชอบใจข้าพระพุทธเจ้าว่า

ดีกว่าประณีตกว่า นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะเหตุว่า ความเป็นผู้รู้จักกาล

ในสถานนั้น ๆ นั่นเป็นการดี ดีจริง ๆ พระโคดมผู้เจริญ พระโคดมผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 279

ประกาศธรรมหลายปริยาย เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดเผยของที่ปิด บอกทาง

แก่คนหลงทางหรือส่องตะเกียงในเวลามืดให้คนมีตาดีได้เห็นรูปต่าง ๆ ฉะนั้น

ข้าพระพุทธเจ้าขอถึงพระโคดมผู้เจริญกับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ

ขอพะระโคดมผู้เจริญทรงจำข้าพระพุทธเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกถึงสรณะตลอดชีวิต

ตั้งแต่วันนี้ไป.

จบโปตลิยสูตรที่ ๑๐

จบอสุรวรรคที่ ๕

จบทุติยปัณณาสก์

อรรถกถาโปตลิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโปตลิยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาเลน ความว่า ตามกาลอันควรอันเหมาะ. บทว่า ขมติ

คือชอบใจ บทว่า ยทิท ตตฺร ตตฺร กาลญฺญุตา ความว่า การรู้จัก

กาลในสถานที่นั้น ๆ ท่านแสดงว่า การรู้กาลนั้น ๆ แล้วกล่าวติคนที่ควรติ

และกล่าวชมคนที่ควรชม เป็นปกติของบัณฑิตทั้งหลาย.

จบอรรถกถาโปตลิยสูตรที่ ๑๐

จบอสุวรรควรรณนาที่ ๕

จบทุติยปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อสุรสูตร ๒. ปฐมสมาธิสูตร ๓. ทุติยสมาธิสูตร ๔. ตติย-

สมาธิสูตร ๕. ฉวาลาตสูตร ๖. ราคสูตร ๗. นิสันติสูตร ๘. อัตตหิต-

สูตร ๙. สิกขาสูตร ๑๐. โปตลิยสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 280

ตติยปัณณาสก์

วลาหกวรรคที่ ๑

๑๐. ปฐมวลาหกสูตร

ว่าด้วยบุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔

[๑๐๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้น

ทูลรับดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์

นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วลาหก (คือเมฆฝน) ๔ ประเภทนี้ วลาหก ๔

ประเภทคืออะไร คือ

คชฺชิตา โน วสฺสิตา วลาหกคำราม แต่ไม่ตก

วสฺสิตา โน คชฺชิตา วลาหกตก แต่ไม่คำราม

เนว คชฺชิตา โน วสฺสิตา วลาหกไม่คำราม ไม่ตก

คชฺชิตา จ วสฺสิตา จ วลาหกทั้งคำราม ทั้งตก

นี้แล วลาหก ๔ ประเภท

ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ จำพวก

นี้มีปรากฏอยู่ในโลก บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ จำพวก คืออะไร คือ

บุคคลดุจวลาหกคำราม แต่ไม่ตก ๑ บุคคลดุจวลาหกตก แต่ไม่คำราม ๑

บุคคลดุจวลาหกไม่คำราม ไม่ตก ๑ บุคคลดุจวลาหกทั้งคำรามทั้งตก ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 281

ก็บุคคลดุจวลาหกคำราม แต่ไม่ตกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้เป็นคนชอบพูด แต่ไม่ทำ อย่างนี้แล บุคคลดุจวลาหกคำราม แต่ไม่ตก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วลาหกคำราม แต่ไม่ตกนั้นฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามี

อุปมาฉันนั้น

บุคคลดุจวลาหกตก แต่ไม่คำราม เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้เป็นคนชอบทำ ไม่ชอบพูด อย่างนี้แล บุคคลดุจวลาหก แต่ไม่คำราม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วลาหกตก แต่ไม่คำราม นั้นฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามี

อุปนาฉันนั้น

บุคคลดุจวลาหกไม่คำราม ไม่ตก เป็นอย่างไร ? บุคคลบางตนใน

โลกนี้เป็นคนไม่พูด ไม่ทำเสียเลย อย่างนี้แล บุคคลดุจวลาหกไม่คำราม

ไม่ตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วลาหกไม่คำราม ไม่ตก นั้นฉันใด เรากล่าวบุคคล

นี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น

บุคคลดุจวลาหกทั้งคำรามทั้งตก เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้เป็นคนชอบพูดด้วยชอบทำด้วย อย่างนี้แล บุคคลดุจวลาหกทั้งคำราม

ทั้งตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วลาหกคำรามด้วย ตกด้วยนั้นฉันใด เรากล่าว

บุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ จำพวก มี

ปรากฏอยู่ในโลก.

จบปฐมวลาหกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 282

ตติยปัณณาสก์

วลาหกวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาปฐมวลาหกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมวลาหกสูตรที่ ๑ แห่งตติยปัณณาสก์ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วลาหกา คือ เมฆ. บทว่า ภาสิตา โหติ โน กตฺตา

ความว่า บุคุคลบางคนพูดอย่างเดียวว่า เราจักทำสิ่งนี้ ๆ แต่ไม่ทำ. บทว่า

กตฺตา โหติ โน ภาสิตา ความว่า บุคคลบางคนไม่พูด แต่ทำด้วยคิดว่า

ควรที่เราจะทำสิ่งนี้ ๆ ดังนี้. พึงทราบเนื้อความในบททั้งปวงอย่างนี้

จบอรรถกถาปฐมวลาหกสูตรที่

๒. ทุติยวลาหกสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วลาหก ๔ ประเภทนี้ ฯลฯ คือ

คชฺชิตา โน วสฺสิตา วลาหกคำราม แต่ไม่ตก

วสฺสิตา โน คชฺชิตา วลาหกตก แต่ไม่คำราม

เนว คชฺชิตา โน วสฺสิตา วลาหกไม่คำราม ไม่ตก

คชฺชิตา จ วสฺสิตา จ วลาหกทั้งคำราม ทั้งไม่ตก

นี้แล วลาหก ๔ ประเภท

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 283

ฉันเดียวกันนั่นแล บุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่

ฯลฯ คือบุคคลดุจวลาหกคำราม แต่ไม่ตก ๑ บุคคลดุจวลาหกตก แต่ไม่คำราม ๑

บุคคลดุจวลาหกไม่คำราม ไม่ตก ๑ บุคคลดุจวลาหกทั้งคำราม ทั้งตก ๑

บุคคลดุจวลาหกคำราม แต่ไม่ตก เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติ-

วุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ แต่เขาไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี่ทุกขนิโรธ นีทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้แล

บุคคลดุจวลาหกคำราม แต่ไม่ตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วลาหกคำราม

แต่ไม่ตกนั้นฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ว่านีอุปมาฉันนั้น

บุคคลดุจวลาหกตก แต่ไม่คำราม เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้หาได้เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ ไม่เลย แต่เขารู้ตาม

ความเป็นจริงว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคล

ดุจวลาหกตก แต่ไม่คำราม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วลาหกตกแต่ไม่คำรามนั้น

ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น

บุคคลดุจวลาหกไม่คำราม ไม่ตก เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้ ไม่ได้เรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ ทั้งไม่รู้ตามความเป็นจริง

ว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ ที่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลดุจวลาหก

ไม่คำราม ไม่ตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วลาหกไม่คำราม ไม่ตกนั้นฉันใด

เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น

บุคคลดุจวลาหกทั้งคำราม ทั้งตก เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนใน

โลกนี้ ได้เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ ทั้งรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลดุจวลาหกทั้งคำราม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 284

ทั้งตก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วลาหกคำรามด้วยตกด้วยนั้นฉันใด เรากล่าว

บุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคลเปรียบด้วยวลาหก ๔ จำพวก มี

ปรากฏอยู่ในโลก.

จบทุติยวลาหกสูตรที่ ๒

ทุติยวลาหกสูตรที่ ๒ มีความง่ายทั้งนั้น.

๓. กุมภสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หม้อ ๔ ประเภทนี้ หม้อ ๔ ประเภท

เป็นไฉน คือ

ตุจฺโฉ ปิหิโต หม้อเปล่า ปิด

ปูโร วิวโฏ หม้อเต็ม เปิด

ตุจฺโฉ วิวโฏ หม้อเปล่า เปิด

ปูโร ปิหิโต หม้อเต็ม ปิด

นี้แล หม้อ ๔ ประเภท

ฉันเดียวกันนั่นแล บุคคลเปรียบด้วยหม้อ ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ ฯลฯ

คือ บุคคลดุจหม้อเปล่า ปิด ๑ บุคคลดุจหม้อเต็ม เปิด ๑ บุคคลดุจหม้อเปล่า

เปิด ๑ บุคคลดุจหม้อเต็ม ปิด ๑

บุคคลดุจหม้อเปล่า ปิด เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ (มี

กิริยาอาการ) ก้าว ถอย แล เหลียว คู้ เหยียด ทรงสังฆาฏิและบาตรจีวร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 285

เป็นที่น่าเลื่อมใส แต่บุคคลนั้นไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่

ทุกขหิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลดุจหม้อเปล่าปิด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย หม้อเปล่า เขาปิดไว้นั้นฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น

บุคคลดุจหม้อเต็ม เปิด เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ (มี

กิริยาอาการ) ก้าว ถอย แล เหลียว คู้ เหยียด ทรงสังฆาฏิและบาตรจีวรไม่

เป็นที่น่าเลื่อมใส แต่บุคคลนั้นรู้ตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกข์

นิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลดุจหม้อเต็ม เปิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

หม้อเต็ม เขาเปิดไว้นั้นฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น

บุคคลดุจหม้อเปล่า เปิด เป็นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ (มี

กิริยาอาการ) ก้าว ถอย แล เหลียว คู้ เหยียด ทรงสังฆาฏิและบาตรจีวร

ไม่เป็นที่น่าเลื่อมใส ทั้งไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธ-

คามินีปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลดุจหม้อเปล่าเปิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

หม้อเปล่าเขาเปิดไว้นั้นฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น

บุคคลดุจหม้อเต็ม ปิด เป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ (มี

กิริยาอาการ) ก้าว ถอย แล เหลียว คู้ เหยียด ทรงสังฆาฏิและบาตรจีวร

เป็นที่น่าเลื่อมใส ทั้งรู้ตามความเป็นจริงว่า นี่ทุกข์ ฯลฯ นี่ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลดุจหม้อเต็ม ปิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หม้อเต็ม

ทั้งเขาปิดไว้นั้นฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้ว่ามีอุปมาฉันนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคลเปรียบด้วยหม้อ ๔ จำพวก มีปรากฏ

อยู่ในโลก.

จบกุมภสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 286

อรรถกถากุมภสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุมภสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กุมฺภา คือหม้อ. บทว่า ตุจฺโฉ ปิหิโต ได้แก่หม้อเปล่า

ปิดปาก. บทว่า ปูโร วิวโฏ ได้แก่ หม้อเต็มน้ำ เปิดปาก. แม้ในสองบท

ที่เหลือ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถากุมภสูตรที่ ๓

๔. อุทกรหทสูตร

ว่าด้วยบุคคลเปรียบด้วยห้วงน้ำ ๔ จำพวก

[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำ ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน

คือ ห้วงน้ำตื้นเงาลึกอย่าง ๑ ห้วงน้ำลึกเงาตื้นอย่าง ๑ ห้วงน้ำตื้นเงาตื้น

อย่าง ๑ ห้วงน้ำลึกเงาลึกอย่าง ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำ ๔ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลเปรียบด้วยห้วงน้ำ ๔

จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลดุจห้วงน้ำตื้นเงา

ลึกจำพวก ๑ บุคคลดุจห้วงน้ำลึกเงาตื้นจำพวก ๑ บุคคลดุจห้วงน้ำตื้นเงาตื้น

จำพวก ๑ บุคคลดุจห้วงน้ำลึกเงาลึกจำพวก ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจห้วงน้ำตื้นเงาลึกอย่างไร การก้าว

การถอย การเหลียว การแล การคู้ การเหยียด การทรงสังฆาฏิบาตร

และจีวร ของบุคคลบางคนในโลกนี้ ล้วนน่าเลื่อมใส แต่เขาไม่ทราบชัด

ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจห้วงน้ำตื้นเงาลึก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ห้วงน้ำตื้นเงาลึก แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 287

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจห้วงน้ำลึกเงาตื้นอย่างไร การก้าว

ฯลฯ การทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ของบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่น่าเลื่อมใส

แต่เขาทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจห้วงน้ำลึกเงาตื้น ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย ห้วงน้ำลึกเงาตื้นแม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจห้วงน้ำตื้นเงาตื้นอย่างไร การก้าว

ฯลฯ การทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวรของบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่น่าเลื่อมใส

ทั้งเขาไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจห่วงน้ำตื้นเงาตื้น ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ห้วงน้ำตื้นเงาตื้นแม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจห้วงน้ำลึกเงาลึกอย่างไร การก้าว

ฯลฯ การทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ของบุคคลบางคนในโลกนี้ ล้วนน่าเลื่อมใส

ทั้งเขาทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข -

นิโรธคานินีปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจห้วงน้ำลึกเงาลึก ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ห้วงน้ำลึกเงาลึกแม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยห้วงน้ำ ๔ จำพวกนี้แล มี

ปรากฏอยู่ในโลก.

จบอุทกรหทสูตรที่ ๔

อรรถกถาอุทกรหทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุทกรหทสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า อุตฺตาโน คมฺภีโรภาโส เป็นต้น ความว่า ห้วงน้ำดำ

มีสีเจือด้วยน้ำใบไม้เก่า ๆ ชื่อว่ามีเงาลึก. ห้วงน้ำมีสีใสสะอาดดังแก้วมณี

ชื่อว่ามีเงาตื้น.

จบอรรถกถาอุทกหทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 288

๕. อัมพสูตร

ว่าด้วยบุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ จำพวก

[๑๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มะม่วง ๔ อย่าง ๔ อย่างเป็นไฉน

คือ มะม่วงดิบผิวสุกอย่าง ๑ มะม่วงสุกผิวดิบอย่าง ๑ มะม่วงดิบผิวดิบอย่าง ๑

มะม่วงสุกผิวสุกอย่าง ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มะม่วง อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔

จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลดุจมะม่วงดิบผิว

สุกจำพวก ๑ บุคคลดุจมะม่วงสุกผิวดิบจำพวก ๑ บุคคลดุจมะม่วงดิบผิวดิบ

อย่าง ๑ บุคคลดุจมะม่วงสุกผิวสุกจำพวก ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจมะม่วงดิบผิวสุกอย่างไร การก้าว

การถอย การเหลียว การแล การคู้ การเหยียด การทรงสังฆาฏิบาตรและ

จีวร ของบุคคลบางคนในโลกนี้ ล้วนน่าเลื่อมใส แต่เขาไม่ทราบชัดตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกข์สมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจมะม่วงดิบผิวสุก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มะม่วงดิบ

ผิวสุก แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจมะม่วงสุกผิวดิบอย่างไร การก้าว

ฯลฯ การทรงสังฆาฎิ บาตรและจีวร ของบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่น่าเลื่อมใส

แต่เขาทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจมะม่วงสุกผิวดิบ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มะม่วงสุกผิวดิบ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจมะม่วงดิบผิวดิบอย่างไร การก้าว

ฯลฯ การทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวรของบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่น่าเลื่อมใส

ทั้งเขาไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 289

นี้ทุกขนิโรธคานินีปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจมะม่วงดิบผิวดิบ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มะม่วงดิบผิวดิบ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจมะม่วงสุกผิวสุกอย่างไร การก้าว

ฯลฯ การทรงสังฆาฏิ บาตรและจีวร ของบุคคลบางคนในโลกนี้ น่าเลื่อมใส

ทั้งเขาทราบชัดตานความเป็นจริงว่า นี้ทุก ์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจมะม่วงสุกผิวสุก ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย มะม่วงสุกผิวสุก แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยมะม่วง ๔ จำพวกนี้แล มี

ปรากฏอยู่ในโลกนี้.

จบอัมพสูตรที่ ๕

อรรถกถาอัมพสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัมพสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาม ปกฺกวณฺณี ความว่า เมื่อตรวจดู เป็นมะม่วงดิบ

แต่ปรากฏเหมือนสุก. บททั้งปวงพึงเห็นอย่างนี้.

จบอรรถกถาอัมพสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 290

๗. มูสิกาสูตร

ว่าด้วยบุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวก

[๑๐๖] * [๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนู ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวก

เป็นไฉน คือ หนูขุดรูแต่ไม่อยู่จำพวก ๑ หนูอยู่แต่ไม่ขุดรูจำพวก ๑ หนูไม่ขุดรู

ไม่อยู่จำพวก ๑ หนูขุดรูด้วยอยู่ด้วยจำพวก ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนู ๔ จำพวกนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวก

นี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลดุจหนูขุดรูแต่ไม่อยู่

จำพวก ๑ บุคคลดุจหนูอยู่แต่ไม่ขุดรูจำพวก ๑. บุคคลดุจหนูไม่ขุดรูไม่อยู่

จำพวก ๑ บุคคลดุจหนูขุดรูด้วยอยู่ด้วยจำพวก ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูขุดรูแต่ไม่อยู่อย่างไร บุคคล

บางคนในโลกนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะไวยากรณ์ คาถา อุทาน

อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ แต่เขาไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อย่างนี้แล

บุคคลเป็นดุจหนูขุดรูแต่ไม่อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนูขุดรูแต่ไม่อยู่ แม้

ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูอยู่แต่ไม่ขุดรูอย่างไร บุคคล

บางคนในโลกนี้ ไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตะ ฯลฯ เวทัลละ แต่เขาทราบชัด

ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจหนูอยู่แต่ไม่ขุดรู

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนูอยู่แต่ไม่ขุดรู แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

* สูตรนี้ปรากฏว่าขาดหายไป ในอรรถกถาแก้สูตรที่ ๕ (คือเรื่องมะม่วง) แล้วกล่าวว่า สูตร

ทั้ง ๖ เนื้อความตื้น แล้วก็แก้สูตรที่ ๗ (คือเรื่องหนู) ต่อไป ท่านผู้ชำระพระบาลีฉบับนี้ทำ

เชิงอรรถบอกไว้ว่า สูตรที่ ๖ นี้ แม้ในพระไตรปิฎกฉบับประเทศอื่น ๆ ก็ปรากฏว่าขาดหาย

ไปเหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 291

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูไม่ขุดรูไม่อยู่อย่างไร บุคคล

บางคนในโลกนี้ ไม่เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ เขาไม่ทราบชัด

ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจหนูไม่ขุดรูไม่อยู่

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หนูไม่ขุดรูไม่อยู่ แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบ

ฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจหนูขุดรูด้วยอยู่ด้วยอย่างไร บุคคล

บางคนในโลกนี้ เล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ ทั้งทราบชัด

ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทา อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจหนูขุดรูด้วยอยู่ด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

หนูขุดรูด้วยอยู่ด้วย แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยหนู ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏ

อยู่ในโลก.

จบมูสิกาสูตรที่ ๗

อรรถกถามูสิกาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมุสิกาสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

ที่อยู่เรียกว่า รู หนูจำพวกใด ย่อมขุดรู แต่ไม่อยู่ในรูนั้น หนูจำพวกนั้น

เรียกกันว่า ขุดรู แต่ไม่อยู่. บาลีว่า ขนฺตา ดังนี้ก็มี. บททั้งปวงพึงทราบ

โดยนัยนี้.

จบอรรถกถามูสิกาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 292

๘. พลิพัททสูตร

ว่าด้วยบุคคลเปรียบด้วยโคพลิพัท ๔ จำพวก

[๑๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โคพลิพัท ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวก

เป็นไฉน คือ โคพลิพัทข่มเหงโคฝูงตน ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่นจำพวก ๑ โคพลิพัท

ข่มเหงโคฝูงอื่น ไม่ข่มเหงโคฝูงคนจำพวก ๑ โคพลิพัทข่มเหงโคฝูงตนด้วย

ข่มเหงโคฝูงอื่นด้วยจำพวก ๑ โคพลิพัทไม่ข่มเหงโคฝูงตนด้วย ไม่ข่มเหงโค

ฝูงอื่นด้วยจำพวก ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โคพลิพัท ๔ จำพวกนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลเปรียบด้วยโคพลิพัท

๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลดุจโคพลิพัท

ข่มเหงโคฝูงตน ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่นจำพวก ๑ บุคคลดุจโคพลิพัทข่มเหงโคฝูง

อื่น ไม่ข่มเหงโคฝูงตนจำพวก ๑ บุคคลดุจโคพลิพัทข่มเหงโคฝูงตนด้วย ข่ม

เหงโคฝูงอื่นด้วยจำพวก ๑ บุคคลดุจโคพลิพัทไม่ข่มเหงโคฝูงตนด้วย ไม่ข่มเหง

โคฝูงอื่นด้วยจำพวก ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจโคพลิพัทข่มเหงโคฝูงตน ไม่ข่ม

เหงโคฝูงอื่นอย่างไรบุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยังบริษัทของตนให้หวาดเสียว

ไม่ยังบริษัทของบุคคลคนอื่นให้หวาดเสียว อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจโคพลิ-

พัทข่มเหงโคฝูงตน ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โคพลิพัท

ข่มเหงโคฝูงตน ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจโคพลิพัทข่มเหงโคฝูงอื่น ไม่ข่ม

เหงโคฝูงตนอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังบริษัทอื่นให้หวาดเสียว ไม่ยัง

บริษัทของตนให้หวาดเสียว อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจโคพลิพัทข่มเหงโค

ฝูงอื่น ไม่ข่มเหงโคฝูงตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โคพลิพัทข่มเหงโคฝูงอื่น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 293

ไม่ข่มเหงโคฝูงตน แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจโคพลิพัท ข่มเหงโคฝูงตนด้วย

ข่มเหงโคฝูงอื่นด้วยอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังบริษัทของตนและ

บริษัทของบุคคลอื่นให้หวาดเสียว อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจโคพลิพัท ข่ม

เหงโคฝูงตนด้วย ข่มเหงโคฝูงอื่นด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โคพลิพัท

ข่มเหงโคฝูงตนด้วย ข่มเหงโคฝูงอื่นด้วย แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบ

ฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจโคพลิพัทไม่ข่มเหงโคฝูงตน ไม่

ข่มเหงโคฝูงอื่นอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ยังบริษัทของตนและบริษัท

ของบุคคลอื่นให้หวาดเสียว อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจโคพลิพัทไม่ข่มเหง

โคฝูงตน ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โคพลิพัทไม่ข่มเหงโค

ฝูงตน ไม่ข่มเหงโคฝูงอื่น แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยโคพลิพัท ๔ จำพวกนี้แล มี

ปรากฏอยู่ในโลก.

จบพลิพัททสูตรที่ ๘

อรรถกถาพลิพัททสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในพลิพัททสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

โคพลิพัทใด ย่อมย่ำยีฝูงโคของตน ไม่ย่ำยีฝูงโคของฝูงอื่น โคพลิพัท

นี้ชื่อว่า ดุแต่ในโคฝูงของตน ไม่ดุในโคฝูงอื่น. บททั้งปวงพึงทราบอย่างนี้.

บทว่า อุพฺเพเชตา โหติ ได้แก่ กระทบ คือ เสียดแทงทำให้เกิดความ

หวาดหวั่น.

จบอรรถกถาพลิพัททสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 294

๙. รุกขสูตร

ว่าด้วยบุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ ๔ จำพวก

[๑๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ ๔ ชนิดนี้ ๔ ชนิดเป็นไฉน

คือ ต้นไม้กะพี้มีไม้กะพี้เป็นบริวารชนิด ๑ ต้นไม้กะพี้มีไม้แก่นเป็นบริวาร

ชนิด ๑ ต้นไม้แก่นมีไม้กะพี้เป็นบริวารชนิด ๑ ต้นไม้แก่นมีไม้แก่นเป็น

บริวารชนิด ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ ๔ ชนิดนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ ๔

จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลดุจไม้กะพี้มีไม้

กะพี้เป็นบริวารจำพวก ๑ บุคคลดุจไม้กะพี้มีไม้แก่นเป็นบริวารจำพวก ๑

บุคคลดุจไม้แก่นมีไม้กะพี้เป็นบริวารจำพวก ๑ บุคคลดุจไม้แก่นมีไม้แก่นเป็น

บริวารจำพวก ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจไม้กะพี้มีไม้กะพี้เป็นบริวารอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม แม้บริษัทของเขาก็เป็นคน

ทุศีล มีบาปธรรม อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจไม้กะพี้มีไม้กะพี้เป็นบริวาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้กะพี้มีไม้กะพี้เป็นบริวาร แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคล

นี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็บุคคลเป็นดุจไม้กะพี้มีไม้แก่นเป็นบริวารอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนทุศีล มีบาปธรรม แต่บริษัทของเขาเป็นคนมีศีล

มีกัลยาณธรรม อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจไม้กะพี้มีไม้แก่นเป็นบริวาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้กะพี้มีไม้แก่นเป็นบริวาร แม้ฉันใด เรากล่าว

บุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจไม้แก่นมีไม้กะพี้เป็นบริวารอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แต่บริวารของเขาเป็นคน

ทุศีล มีบาปธรรม อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจไม้แก่นมีไม้กะพี้เป็นบริวาร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 295

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้แก่นมีไม้กะพี้เป็นบริวาร แม้ฉันใด เรากล่าวบุคคล

นี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจไม้แก่นมีไม้แก่นเป็นบริวารอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม แม้บริษัทของเขาก็เป็นคน

มีศีล มีกัลยาณธรรม อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจไม้แก่นมีไม้แก่นเป็นบริวาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้แก่นมีไม้แก่นเป็นบริวาร แม้ฉันใด เรากล่าว

บุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยต้นไม้ ๔ จำพวกนี้แล มี

ปรากฏอยู่ในโลก.

จบรุกขสูตรที่ ๙

อรรถกถารุกขสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในรุกขสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เผคฺคุ เผคฺคุปริวาโร ความว่า ต้นไม้กะพี้ไม่มีแก่นมีต้นไม้

กะพี้ด้วยกันห้อมล้อม. บทว่า สารปริวาโร ความว่า ต้นไม้มีแก่นมีไม้

ตะเคียนเป็นต้นห้อมล้อม. ในบททั้งปวงก็นัยนี้.

จบอรรถกถารุกขสูตรที่ ๙

๑๐. อาสิวิสสูตร

ว่าด้วยบุคคลเปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จำพวก

[๑๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสรพิษ ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวก เป็นไฉน

คือ อสรพิษมีพิษแล่นพิษไม่ร้ายจำพวก ๑ อสรพิษมีพิษร้ายพิษไม่แล่น

จำพวก ๑ อสรพิษมีพิษแล่นด้วยพิษร้ายด้วยจำพวก ๑ อสรพิษมีพิษไม่แล่นพิษ

ไม่ร้ายจำพวก ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 296

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสรพิษ ๔ จำพวกนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน บุคคลเปรียบด้วยอสรพิษ

จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลดุจอสรพิษมีพิษ

แล่นพิษไม่ร้ายจำพวก ๔ บุคคลดุจอสรพิษมีพิษร้ายพิษไม่แล่นจำพวก ๑ บุคคล

ดุจอสรพิษมีพิษแล่นด้วยพิษร้ายด้วยจำพวก ๑ บุคคลดุจอสรพิษมีพิษไม่แล่น

พิษไม่ร้ายจำพวก ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจอสรพิษมีพิษแล่นพิษไม่ร้าย

อย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนือง ๆ แต่ความโกรธของเขานั้น

ไม่นอนเนื่องอยู่นาน อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจอสรพิษ มีพิษแล่นพิษไม่

ร้าย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสรพิษมีพิษแล่นพิษไม่ร้าย แม้ฉันใด เรากล่าว

บุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจอสรพิษมีพิษร้ายพิษไม่แล่นอย่างไร

บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่โกรธเนือง ๆ ทีเดียว แต่ความโกรธของเขานั้นนอน

เนืองอยู่นาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจอสรพิษมีพิษ

ร้ายพิษไม่แล่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสรพิษมีพิษร้ายพิษไม่แล่น แม้ฉันใด

เรากล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจอสรพิษมีพิษแล่นด้วยมีพิษร้าย

ด้วยอย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมโกรธเนือง ๆ และความโกรธของเขา

นั้นนอนเนื่องอยู่นาน อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจอสรพิษมีพิษแล่นด้วยพิษ

ร้าย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสรพิษมีพิษแล่นด้วยพิษร้ายด้วย แม้ฉันใด เรา

กล่าวบุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นดุจอสรพิษมีพิษไม่แล่นพิษไม่ร้าย

อย่างไร บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่โกรธเนืองๆ ทั้งความโกรธของเขานั้นก็ไม่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 297

นอนเนื่องอยู่นาน อย่างนี้แล บุคคลเป็นดุจอสรพิษไม่แล่นพิษไม่ร้าย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสรพิษมีพิษไม่แล่นพิษไม่ร้าย แม้ฉันใด เรากล่าว

บุคคลนี้เปรียบฉันนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเปรียบด้วยอสรพิษ ๔ จำพวกนี้แล มี

ปรากฏอยู่ในโลก.

จบอาสีวิสสูตรที่ ๑๐

จบวลาหกวรรคที่ ๑

อรรถกถาอาสีวิสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาสีวิสสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาคตวิโส น โฆรวิโส ความว่า พิษของอสรพิษแล่น

แต่ไม่ร้าย ไม่เบียดเบียนตลอดกาลนาน. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล.

จบอรรถกถาอาสีวิสสูตรที่ ๑๐

จบวลาหกวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวลาหกสูตร ๒. ทุติยวลาหกสูตร ๓. กุมภสูตร ๔. อุทก-

รหทสูตร ๕. อัมพสูตร (สูตรที่ ๖ ขาดไป) ๗. มุสิกาสูตร ๘. พลิพัทท-

สูตร ๙. รุกขสูตร ๑๐. อาสีวิสสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 298

เกสีวรรคที่ ๒

๑. เกสีสูตร

ว่าด้วยเรื่องนายเกสีผู้ฝึกม้า

[๑๑๑] ครั้งนั้นแล สารถีผู้ฝึกม้าชื่อเกสี เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า ดูก่อนเกสี ท่านอันใคร ๆ ก็รู้

กันดีแล้วว่าเป็นสารถีผู้ฝึกม้า ก็ท่านฝึกหัดม้าที่ควรฝึกอย่างไร สารถีผู้ฝึกม้า

ชื่อเกสีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ฝึกหัดม้าที่ควรฝึกด้วย

วีธีละม่อมบ้าง รุนแรงบ้าง ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง.

พ. ดูก่อนเกสี ถ้าม้าที่ควรฝึกของท่านไม่เข้าถึงการฝึกหัดด้วยวิธี

ละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ท่านจะทำอย่างไรกะมัน ?

เกสี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าม้าที่ควรฝึกของข้าพระองค์ ไม่เข้าถึง

การฝึกหัดด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง ก็ฆ่า

มันเสียเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะคิดว่าโทษมิใช่คุณอย่าได้มีแก่สกุล

อาจารย์ของเราเลย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสารถีฝึก

บุรุษชั้นเยี่ยม ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงฝึกบุรุษที่ควรฝีกอย่างไร.

พ. ดูก่อนเกสี เราแล ย่อมฝึกบุรุษที่ควรฝึกด้วยวิธีละม่อมบ้าง

รุนแรงบ้าง ทั้งละม่อมทั้งรุนแรงบ้าง ดูก่อนเกสี ในวิธีทั้ง ๓ นั้น การฝึก

ดังต่อไปนี้ เป็นวิธีละม่อม คือ กายสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็น

ดังนี้ วจีสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นดังนี้ มโนสุจริตเป็นดังนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 299

วิบากแห่งมุโนสุจริตเป็นดังนี้ เทวดาเป็นดังนี้ มนุษย์เป็นดังนี้ การฝึกดังต่อ

ไปนี้เป็นวิธีรุนแรง คือกายทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกายทุจริตเป็นดังนี้

วจีทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นดังนี้ มโนทุจริตเป็นดังนี้ วิบาก

แห่งมโนทุจริตเป็นดังนี้ นรกเป็นดังนี้ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเป็นดังนี้ ปิตติวิสัย

เป็นดังนี้ การฝึกดังต่อไปนี้ เป็นวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง คือ กายสุจริต

เป็นดังนี้ วิบากแห่งกายสุจริตเป็นดังนี้ กายทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งกาย

ทุจริตเป็นดังนี้ วจีสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีสุจริตเป็นดังนี้ วจีทุจริต

เป็นดังนี้ วิบากแห่งวจีทุจริตเป็นดังนี้ มโนสุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโน-

สุจริตเป็นดังนี้ มโนทุจริตเป็นดังนี้ วิบากแห่งมโนทุจริตเป็นดังนี้ เทวดา

เป็นดังนี้ มนุษย์เป็นดังนี้ นรกเป็นดังนี้ กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานเป็นดังนี้

ปิตติวิสัยเป็นดังนี้.

เกสี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของพระองค์ไม่เข้าถึง

การฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง พระผู้มี

พระภาคเจ้าจะทำอย่างไรกะเขา ?

พ. ดูก่อนเกสี ถ้าบุรุษที่ควรฝึกของเราไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม

ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อมทั้งรุนแรง เราก็ฆ่าเขาเสียเลย

เกสี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปาณาติบาตไม่สมควรแก่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าเลย ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ไฉนพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า ฆ่า-

เขาเสีย ?

พ. จริง เกสี ปาณาติบาตไม่สมควรแก่ตถาคต ก็แต่ว่าบุรุษที่ควร

ฝึกใด ย่อมไม่เข้าถึงการฝึกด้วยวิธีละม่อม ด้วยวิธีรุนแรง ด้วยวิธีทั้งละม่อม

ทั้งรุนแรง ตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกนั้นว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 300

แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนก็ย่อมไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน

ดูก่อนเกสี ข้อที่ตถาคต ไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝีกว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน

แม้สพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลายก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน

นี้เป็นการฆ่าอย่างดี ในวินัยของพระอริย.

เกสี. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระตถาคตไม่สำคัญบุรุษที่ควรฝึกว่า

ควรว่ากล่าว ควรสั่งสอน แม้สพรหมจารีผู้วิญญูชนก็ไม่สำคัญว่า ควรว่ากล่าว

ควรสั่งสอน นั่นเป็นการฆ่าอย่างดีแน่นอน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงาย

ของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด

ด้วยหวังว่า คนมีจักษุจักเห็นรูปฉะนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์นี้

ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้ากับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบเกสีสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 301

เกสีวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาเกสีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเกสีสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เกสี เป็นชื่อของนายสารถีผู้ฝึกม้า. ชื่อว่า สารถีผู้ฝึกม้า

เพราะทำม้าที่ควรฝึกให้เข้าใจจึงฝึก. ในบทว่า สณฺเหนปิ ทเมติ เป็นต้น

นายสารถีทำสักการะพอสมควรแก่ม้านั้น คือ ให้กินโภชนะอย่างดี ให้ดื่มน้ำ

อร่อย พูดด้วยถ้อยคำนิ่มนวลแล้วจึงฝึก ชื่อว่าฝึกด้วยวิธีละมุนละม่อม. เมื่อ

ฝึกด้วยผูกเข่าผูกปากเป็นต้น และแทงด้วยปฏัก เฆี่ยนด้วยแส้ พูดคำหยาบ

ชื่อว่าฝึกด้วยวิธีรุนแรง. ต้องทำทั้งสองวิธีนั้น ตามกาลอันควร ชื่อว่าฝึกทั้ง

วิธีละมุนละม่อมทั้งวิธีรุนแรง.

จบอรรกถาเกสีสูตรที่ ๑

๒. ชวสูตร

ว่าด้วยสมบัติ ๔ ของม้าอาชาไนยกับของภิกษุสงฆ์

[๑๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา

ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น ย่อม

ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ชื่อตรงประการ ๑

ว่องไวประการ ๑ อดทนประการ ๑ สงบเสงี่ยมประการ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๔ ประการนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 302

ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา เป็นม้าต้น ย่อมถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้ควร

ของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญ

ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ฉันนั้นเหมือนกันแล ธรรม ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ ซื่อตรงประการ ๑ ว่องไวประการ ๑ อดทนประการ ๑

สงบเสงี่ยมประการ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรแก่ทักษิณา

ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.

จบชวสูตรที่ ๒

อรรถกถาชวสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในชวสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาชฺชเวน คือซื่อตรง. บทว่า ชเวน คือฝีเท้าเร็ว. บทว่า

ขนฺติยา ได้แก่มีความอดทน คือ อดกลั้น. บทว่า โสรจฺเจน คือมีความ

แช่มชื่นเป็นปกติ. ในองค์แห่งคุณของบุคคล บทว่า ชเวน ได้แก่ด้วยกำลัง

เร็วแห่งญาณ. บทที่เหลือในสูตรนี้ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาชวสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 303

๓. ปโตทสูตร

ม้าอาชาไนยและบุรุษอาชาไนย ๔ จำพวก

[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ ๔ จำพวกนี้ มี

ปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวกเป็นไฉน คือ ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวใน

โลกนี้ พอเห็นเงาปฏักเข้าก็ย่อมสลด ถึงความสังเวชว่า วันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้า

จักให้เราทำเหตุอะไรหนอ เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นม้าอาชาไนย

ตัวเจริญที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลกนี้.

อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เห็นเงาปฏัก

แล้ว ย่อมไม่สลด ไม่ถึงความสังเวชเลยทีเดียว แต่เมือถูกแทงด้วยปฏักที่

ขุมขนจึงสลด ถึงความสังเวชว่า วันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไร-

หนอ เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญ

บางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๒ มีปรากฏ

อยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เห็นเงาปฏัก

แล้วย่อมไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช แม้ถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนก็ไม่สลด

ไม่ถึงความสังเวช แต่เมื่อถูกแทงด้วยปฏักถึงผิวหนังจึงสลด ถึงความสังเวช

ว่าวันนี้นายสารถีผู้ฝึกม้าจักให้เราทำเหตุอะไรหนอ เราจักตอบแทนแก่เขา

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็น

ปานนี้ก็มี นี้เป็นม้าอาชาไนยตัวเจริญที่ ๓ มีปรากฏอยู่ในโลก.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 304

อีกประการหนึ่ง ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ เห็นเงาปฏัก

ก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช แม้ถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนก็ไม่สลด ไม่ถึง

ความสังเวช แม้ถูกแทงด้วยปฏักถึงผิวหนังก็ไม่สลด ไม่ถึงความสังเวช

แต่เมื่อถูกแทงด้วยปฏักถึงกระดูก จึงสังเวช ถึงความสลดว่า วันนี้นายสารถี

ผู้ฝึกม้าจักให้เราเหตุอะไรหนอ เราจักตอบแทนแก่เขาอย่างไร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญบางตัวในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นม้า

อาชาไนยตัวเจริญที่ ๔ มีปรากฏอยู่ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย

ตัวเจริญ ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่

ในโลก ฉันนั้นเหมือนกัน ๔ จำพวกเป็นไฉน ? คือ บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ

บางคนในโลกนี้ได้ฟังว่า ในบ้านหรือในนิคมโน้นมีหญิงหรือชายถึงความทุกข์

หรือทำกาลกิริยา เขาย่อมสลด ถึงความสังเวชเพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว

เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้วซึ่งปรม-

สัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ม้าอาชาไนยตัวเจริญ

พอเห็นเงาปฏักย่อมสลดถึงความสังเวช แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนย

ผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนใน

โลกนี้ แม้เห็นปานั้นก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๑ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ฟังว่า

ในบ้านหรือในนิคมโน้น มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา แต่

เขาเห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเอง เขาจึงสลด ถึง

ความสังเวช เพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย

มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้ง

แทงตลอดด้วยปัญญา ม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกแทงด้วยปฏักที่ขุมขนย่อมสลด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 305

ถึงความสังเวช แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี

นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๒ มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ฟังว่า

ในบ้านหรือในนิคมโน้น มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา และ

ไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเอง แต่ญาติหรือ

สาโลหิตของเขาถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา เขาจึงสลด ถึงความสังเวช

เพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว

ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา

ม้าอาชาไนยตัวเจริญถกแทงผิวหนังจึงสลด ถึงความสังเวช แม้ฉันใด เรา

กล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนย

ผู้เจริญบางคนในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๓

มีปรากฏอยู่ในโลก.

อีกประการหนึ่ง บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ฟังว่า

ในบ้านหรือในนิคมโน้น. มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา และ

ไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเอง ทั้งญาติหรือ

ลาโลหิตของเขาก็ไม่ถึงทุกข์ หรือทำกาลกิริยา แต่เขาเองทีเดียว อันทุกข-

เวทนาเป็นไปทางสรีระ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบ

จะนำชีวิตไปเสีย ถูกต้องแล้ว เขาจึงสลด ถึงความสังเวชเพราะเหตุนั้น เป็น

ผู้สลดแล้วเริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้ง

ซึ่งปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ม้าอาชาไนย

ตัวเจริญถูกแทงด้วยปฏักถึงกระดูก จึงสลด ถึงความสังเวช แม้ฉันใด เรา

กล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 306

ผู้เจริญบางคนในโลกนี้ แม้เห็นปานนี้ก็มี นี้เป็นบุรุษอาชาไนยผู้เจริญที่ ๔

มีปรากฏอยู่ในโลก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษอาชาไนยผู้เจริญ ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏ

อยู่ในโลก.

จบปโตทสูตรที่ ๓

อรรถกถาปโตทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปโตทสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปโตทจฺฉาย ความว่า เงาแห่งปฏักที่ยกขึ้นเพื่อจะแทง.

บทว่า สวิชติ ความว่า สะดุ้งด้วยกำหนดว่าเราต้องเร่งฝีเท้า. บทว่า สเวค

อาปชฺชติ ความว่า แทงให้สะดุ้ง. บทว่า โลมเวธวิทฺโธ ความว่า พอ

ถูกปฏักแทงจ่อที่ขุมขน. บทว่า จมฺมเวธวิทฺโธ ความว่า เอาปฏักแทง

ตัดผิวหนัง. บทว่า อฏฺิเวธวิทฺโธ ความว่า เอาปฏักแทงทะลุถึงกระดูก.

บทว่า กาเยน คือด้วยนามกาย. บทว่า ปรมสจฺจ คือนิพพาน. บทว่า

สจฺฉิกโรติ คือถูกต้อง. บทว่า ปญฺาย คือมรรคปัญญาพร้อมด้วยวิปัสสนา.

จบอรรถกถาปโตทสูตรที่ ๓

๔. นาคสูตร

ว่าด้วยคุณสมบัติ ๔ ของช้างต้นกับของภิกษุสงฆ์

[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ประกอบ

ด้วยองค์ ๔ ย่อมเป็นช้างควรแก่พระราชา เป็นช้างต้น ย่อมถึงการนับว่าเป็น

ราชพาหนะ องค์ ๔ เป็นไฉน คือ ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 307

เป็นสัตว์สำเหนียก (การเอาใจใส่) ๑ กำจัด ๑ อดทน ไปได้เร็ว ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์สำเหนียกอย่างไร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ ย่อมเอาใจใส่

มนสิการถึงเหตุการณ์ที่นายควาญช้างจะให้กระทำ ที่ตนเคยทำก็ตาม ไม่เคยทำ

ก็ตาม ประมวลเหตุการณ์ทั้งหมดไว้ด้วยใจ คอยเงี่ยโสตสดับอยู่ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์สำเหนียกอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์กำจัด

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ เข้าสู่

สงครามแล้ว ย่อมกำจัดช้างบ้าง พลช้างบ้าง ม้าบ้าง พลม้าบ้าง รถบ้าง

พลรถบ้าง พลเดินเท้าบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา

เป็นสัตว์กำจัดอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์อดทน

อย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ เข้าสู่

สงครามแล้ว เป็นสัตว์อดทนต่อการประหารด้วยหอก ต่อการประหารด้วยดาบ

ต่อการประหารด้วยหลาว ต่อเสียงระเบงเซ็งแซ่แห่งกลองบัณเฑาะว์สังข์และ

มโหระทึก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์อดทน

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์ไปได้

เร็วอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาในโลกนี้

นายควาญช้างจะใช้ไปสู่ทิศใด ตนจะเคยไปหรือไม่เคยไปก็ตาม ย่อมเป็นสัตว์

ไปสู่ทิศนั้นเร็วพลันทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา

เป็นสัตว์ไปได้เร็วอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๔

นี้แล ย่อมเป็นสัตว์ควรแก่พระราชา เป็นช้างต้น ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 308

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ก็ฉันนั้น

เหมือนกันแล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควร

แก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า

ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็น

ผู้สำเหนียก ๑ กำจัด ๑ อดทน ๑ ไปได้เร็ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุ

เป็นผู้สำเหนียกอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จดจำ กระทำธรรมวินัยนี้อัน

พระตถาคตประกาศแล้ว ทรงแสดงอยู่ไว้ในใจ ประมวลธรรมวินัยทั้งปวงไว้

ด้วยใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สำเหนียก

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้กำจัดอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมให้ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี

ซึ่งกามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อม

กระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันบังเถิดขึ้นแล้ว ย่อมให้

ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมละ. ย่อมบรรเทา ย่อมกระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ซึ่ง

วิหิงสาวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้ตั้งอยู่ไม่ได้ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อม

กระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศล อันบังเกิดขึ้นแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้กำจัดอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย สัมผัสแห่ง

เหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื่อยคลาน เป็นผู้มีปกติอดทนต่อคำกล่าว

อันหยาบคาย ร้ายกาจ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ต่อทุกขเวทนาเป็นไปทางสรีระ

กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะนำชีวิตไปเสีย ดูก่อน-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 309

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไปได้เร็วอย่างไร ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ทิศใดที่ตนไม่เคยไป โดยกาลนานนี้ คือ ความระงับสังขารทั้งปวง

ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับ

นิพพาน เป็นผู้ไปสู่ทิศนั้นได้เร็ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไปได้เร็ว

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล

ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็น

ผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.

จบนาคสูตรที่ ๔

อรรถกถานาคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนาคสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อฏฺิกตฺวา คือ เป็นประโยชน์. มโหระทึก ชื่อว่า ติณวะ

ในคำนี้ ว่า ติณวนินฺนาทสทฺทาน. บทว่า นินฺนาทสทฺโท ได้แก่

เสียงดังผสมผสานเป็นอันเดียวกัน แม้ของเครื่องตีเป่าทุกอย่าง. ในบทว่า

ฑสา เป็นต้น บทว่า ฑสา ได้แก่ เหลือบ. บทว่า มกสา ได้แก่ ยุง.

บทว่า ขิปฺปญฺเว คนฺตา โหติ ความว่า ภิกษุบำเพ็ญศีล สมาธิปัญญา

วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะแล้วไปเร็วพลัน.

จบอรรถกถานาคสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 310

๕. ฐานสูตร

เหตุแห่งความเสื่อมและความเจริญ ๔ ประการ

[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๔ ประการนี้ ประการเป็นไฉน ?

คือ เหตุเพื่อ ทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อความ

ฉิบหาย ๑ เหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์ ๑ เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความฉิบหาย ๑ เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเหตุ ๔ ประการนั้น เหตุเพื่อทำสิ่งที่

ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหายนี้ บัณฑิตย่อม

สำคัญว่าไม่ควรทำโดยส่วนทั้งสองทีเดียว คือ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ไม่-

ควรทำแม้โดยเหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ ย่อมสำคัญว่า ไม่ควรทำแม้โดยเหตุที่

เมื่อทำเข้าย่อมเป็น. ไปเพื่อความฉิบหาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุนี้ บัณฑิต

ย่อมสำคัญว่าไม่ควรทำโดยส่วนทั้งสองทีเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเหตุเพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อ

ทำเข้า ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ พึงทราบคนพาลและบัณฑิตได้ ในเพราะ

กำลังของบุรุษ ในเพราะความเพียรของบุรุษ ในเพราะความบากบั่นของบุรุษ

คนพาลย่อมไม่สำเหนียกดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น

เหตุนี้เมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ ดังนี้ เขาย่อมไม่กระทำเหตุนั้น

เหตุนั้นอันเขาไม่การทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อม

สำเหนียกดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่ไม่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น เหตุนี้เมื่อทำ

เข้าย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ดังนี้ เขาย่อมกระทำเหตุนั้น เหตุนั้นอันเขา

กระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 311

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในเหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อ

ทำเข้าย่อมเป็นไป เพื่อความฉิบหาย พึงทราบคนพาลและบัณฑิต ในเพราะ

กำลังของบุรุษ ในเพราะความเพียรของบุรุษ ในเพราะความบากบั่นของบุรุษ

คน พาลย่อมไม่สำเหนียกดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น

เหตุนี้เมื่อทำเข้าย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ดังนี้ เขาย่อมกระทำเหตุนั้น

เหตุนั้นอันเขากระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อความฉิบหาย ส่วนบัณฑิตย่อมสำเหนียก

ดังนี้ว่า เหตุนี้เพื่อทำสิ่งที่พอใจก็จริง ถึงอย่างนั้น เหตุนี้เมื่อทำเข้า ย่อม

เป็นไปเพื่อความฉิบหาย ดังนี้ เขาย่อมไม่กระทำเหตุนั้น เหตุนั้นอันเขา

ไม่กระทำอยู่ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และเหตุนั้นเมื่อทำเข้า

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยส่วนทั้ง ๒ ทีเดียว

คือ ย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยเหตุเพื่อทำสิ่งที่พอใจ และโดยเหตุที่เมื่อทำเข้า

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เหตุนี้ บัณฑิตย่อมสำคัญว่า ควรทำโดยส่วนทั้ง ๒

ทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุ ๔ ประการนี้แล.

จบฐานสูตรที่ ๕

อรรถกถาฐานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า านานิ ได้แก่ เหตุ. บทว่า อนตฺถาย สวตฺตติ ความว่า

ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อมิใช่ความเจริญ. ก็ในคำนี้ พึงทราบ

กุศลกรรมที่สัมปยุตด้วยโสมนัส ในบทเป็นต้นอย่างนี้ว่า บาปกรรมมีทุกข์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 312

มีความคับแค้นซึ่งต่างโดยขุดบ่อจับปลาตัดช่องของเขาเป็นต้น พึงทราบว่า

เป็นฐานะที่ ๑ การงานมีการทิ้งขยะดอกไม้เป็นต้น และการงานมีการโบก

ปูนขาว มุงเรือนและกวาดสถานที่ไม่สะอาดเป็นต้น สำหรับคฤหัสถ์ผู้เลี้ยงชีพ

โดยชอบ พึงทราบว่าเป็นฐานะที่ ๒ กรรมมีการดื่มสุราลูบไล้ของหอมและการ

ประดับดอกไม้เป็นต้น และกรรมมีปาณาติบาตเป็นต้น ที่เป็นไปแล้วด้วย

อำนาจความยินดี พึงทราบว่า เป็นฐานะที่ ๓ กุศลกรรมที่ประกอบด้วย

โสมนัสในกิจกรรมเป็นต้นอย่างนี้ คือ การนุ่งห่มผ้าสะอาด ถือเอาดอกไม้

และของหอมเป็นต้นไปในเวลาไปฟังธรรม การไหว้พระเจดีย์ การไหว้ต้นโพธิ์

การฟังธรรมกถาอันไพเราะ การสมาทานศีล ๕ พึงทราบว่า เป็นฐานะที่ ๔.

บทว่า ปุริสถาเม ความว่า ในเรี่ยวแรงคือญาณของบุรุษ. แม้ในบทที่เหลือ

ก็นัยนี้แล.

จบอรรถกถาฐานสูตรที่ ๕

๖. อัปปมาทสูตร

ว่าด้วยความไม่ประมาทโดยฐานะ ๔ ประการ

[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ควรทำความไม่ประมาทโดยฐานะ ๔

ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละกาย-

ทุจริต จงเจริญกายสุจริต และอย่าประมาทในการละกายทุจริตและการเจริญ

กายสุจริตนั้น จงละวจีทุจริต จงเจริญวจีสุจริต และอย่าประมาทในการละ

วจีทุจิตและการเจริญวจีสุจริตนั้น จงละมโนทุจริต จงเจริญมโนสุจริต และ

อย่าประมาทในการละมโนทุจริตและการเจริญมโนสุจริตนั้น จงละมิจฉาทิฏฐิ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 313

จงเจริญสัมมาทิฏฐิ และอย่าประมาทในการละมิจฉาทิฏฐิ และการเจริญสัมมา

ทิฏฐินั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุละกายทุจริต เจริญกายสุจริต

ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต เจริญมโนสุจริต ละมิจฉาทิฏฐิ

เจริญสัมมาทิฏฐิได้แล้ว ในกาลนั้น เธอย่อมไม่กลัวต่อความตาย อันจะมีใน

ภายหน้า.

จบอัปปมาทสูตรที่ ๖

อรรถกถาอัปปมาทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัปปมาทสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยโต โข คือ เมื่อใดแล. บทว่า สมฺปรายิกสฺส นั้น

เป็นเพียงเทศนา. แต่พระขีณาสพไม่กลัวต่อความตายอันจะมีมาในกาลภายหน้า

ทั้งไม่กลัวต่อความตายอันจะมีในปัจจุบัน. ก็พระขีณาสพนั้นท่านประสงค์ในที่นี้

แต่อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ท่านประสงค์เอาพระอริยะทั้งหลายแม้ทั้งปวงตั้งต้น

แต่พระโสดาบัน เพราะพระบาลีว่า สมฺมาทิฏิ ภาวิตา เจริญสัมมาทิฏฐิ

แล้ว .

จบอรรถกถาอัปปมาทสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 314

๗. อารักขสูตร

ว่าด้วยความไม่ประมาทในฐานะ ๔ ประการ

[๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงกระทำความไม่ประมาท คือ

มีสติเครื่องรักษาใจโดยสมควรแก่ตน ในฐานะ ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน

คือ ภิกษุพึงกระทำความไม่ประมาท คือ มีสติเครื่องรักษาใจโดยสมควรแก่

ตนว่า จิตของเราอยู่กำหนัดในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ๑ จิตของเรา

อย่าขัดเคืองในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ๑ จิตของเราอย่าหลงในธรรม

เป็นที่ตั้งแห่งความหลง ๑ จิตของเราอย่ามัวเมาในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความ

มัวเมา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล จิตของภิกษุไม่กำหนัดในธรรม

เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เพราะปราศจากความกำหนัด จิตของภิกษุไม่

ขัดเคืองในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง เพราะปราศจากความขัดเคือง

จิตของภิกษุไม่หลงในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง เพราะปราศจากความหลง

จิตของภิกษุไม่มัวเมาในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา เพราะปราศจากความ

มัวเมา ในกาลนั้น เธอย่อมไม่หวาดเสียว ไม่หวั่น ไม่ไหว ไม่ถึงความสะดุ้ง

และย่อมไม่ไปแม้เพราะเหตุแห่งถ้อยคำของสมณะ.

จบอารักขสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 315

อรรถกถาอารักขสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอารักขสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺตรูเปน ได้แก่ ตามอนุรูปคือตามควรแก่ตน อธิบายว่า

ตามความใคร่ประโยชน์เกื้อกูล. บทว่า รชนีเยสุ ความว่า ในธรรมเป็น

ปัจจัยแห่งราคะ. บทว่า ธมฺเมสุ ความว่า ในสภาวะ คือ อารมณ์ที่น่า

ปรารถนา. นัยในบททั้งปวง พึงทราบอย่างนี้. บทว่า นจฺฉมฺภติ ความว่า

ย่อมไม่หวาดเสียวด้วยอำนาจทิฏฐิ. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้. บทว่า น จ ปน

สมณวจนเหตุปิ คจฺฉติ ความว่า ย่อมไม่เขวไปแม้เพราะเหตุแห่งถ้อยคำ

ของสมณะผู้กล่าววาทะที่เป็นปรปักษ์ คือไม่ละทิฏฐิของตนเขวไปด้วยอำนาจทิฏฐิ

ของสมณะเหล่านั้น. แม้ในที่นี้ก็ประสงค์เอาพระขีณาสพเท่านั้น.

จบอรรถกถาอารักขสูตรที่ ๗

๘. สังเวชนียสูตร

ว่าด้วยสังเวชนียสถาน ๔ แห่ง

[๑๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่ควรเห็น ควรให้เกิดความสังเวช

แห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา ๔ แห่งนี้ ๔ แห่งเป็นไฉน ? คือ สถานที่ควรเห็น

ควรให้เกิดความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธาว่า พระตถาคตประสูติ ณ ที่นี้ ๑

พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ที่นี้ ๑ พระตถาคตทรง

ประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ ที่นี้ ๑ พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิ-

เสสนิพพานธาตุ ณ ที่นี้ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สถานที่ควรเห็น ควรให้เกิด

ความสังเวชแห่งกุลบุตรผู้มีศรัทธา ๔ แห่งนี้แล.

จบสังเวชนียสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 316

อรรถกถาสังเวชนียสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังเวชนียสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทสฺสนียานิ แปลว่า ที่ควรเห็น. บทว่า สเวชนียานิ

ได้แก่ สถานที่ให้เกิดความสังเวช.

จบอรรถกถาสังเวชนียสูตรที่ ๘

๙. ปฐมภยสูตร

ว่าด้วยภัย ๔ ประการ

[๑๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย (สิ่งที่น่ากลัว) ๔ ประการนี้ ภัย ๔

ประการเป็นไฉน คือ ชาติภัย ๑ ชราภัย ๑ พยาธิภัย ๑ มรณภัย ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล ภัย ๔ ประการ.

จบปฐมภยสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฐมภยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมภยสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ภัยที่ปรารภชาติเกิดขึ้น ชื่อว่า ชาติภัย. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล.

จบอรรถกถาปฐมภยสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 317

๑๐. ทุติยภยสูตร

ว่าด้วยภัย ๔ ประการ

[๑๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ ภัย ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ อัคคีภัย ๑ อุทกภัย ๑ ราชภัย ๑ โจรภัย ๑ นี้แลภัย

๔ ประการ.

จบทุติยภยสูตรที่ ๑๐

จบเกสีวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เกสีสูตร ๒. ชวสูตร ๓. ปโตทสูตร ๔ . นาคสูตร ๕. ฐาน-

สูตร ๖. อัปปมาทสูตร ๗ อารักขสูตร ๘. สังเวชนียสูตร ๙. ปฐมภย-

สูตร ๑๐. ทุติยภยสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 318

ภยวรรคที่ ๓

๑. ปฐมภยสูตร

ว่าด้วยภัย ๔ ประการ

[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ ๔ ประการ

เป็นไฉน? คือ อัตตานุวาทภัย ภัยเกิดแต่การติเตียนตนเอง ๑ ปรานุวาทภัย

ภัยเกิดแต่ผู้อื่นติเตียน ๑ ทัณฑภัย ภัยเกิดแต่อาญา ๑ ทุคติภัย ภัยเกิดแต่

ทุคติ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อัตตานุวาทภัย เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็เราแล พึงประพฤติทุจริต

ด้วยกาย พึงประพฤติทุจริตด้วยวาจา พึงประพฤติทุจริตด้วยใจ ไฉนตัวเรา

จะไม่พึงติเตียนเราโดยศีลได้เล่าดังนี้ เขากลัวต่อภัยเกิดแต่การติเตียนตัวเรา

จึงละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต

บำเพ็ญมโนสุจริต ย่อมรักษาตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่าอัตตานุวาทภัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปรานุวาทภัยเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ก็เราแล พึงประพฤติทุจริต

ด้วยกาย พึงประพฤติทุจริตด้วยวาจา พึงประพฤติทุจริตด้วยใจ ไฉนคนอื่น

จะไม่พึงติเตียนเราโดยศีลได้เล่า ดังนี้ เขากลัวต่อภัยเกิดแต่คนอื่นติเตียน จึง

ละกายทุจริต บำเพ็ญกายสุจริต ละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ละมโนทุจริต

บำเพ็ญมโนสุจริต ย่อมรักษาตนให้บริสุทธิ์ นี้เรียกว่าปรานุวาทภัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทัณฑภัยเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล

บางคนในโลกนี้ เห็นเจ้านายจับโจรผู้ประพฤติชั่วช้ามาลงกรรมกรณ์ต่าง ๆ

คือโบยด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยตะบองสั้นบ้าง ตัดมือบ้าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 319

ตัดเท้าบ้าง ตัดทั้งมือทั้งเท้าบ้าง ตัดหูบ้าง ตัดจมูกบ้าง ตัดทั้งหูทั้งจมูกบ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธีหม้อเคี่ยวน้ำส้มบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีขอดสังข์ บ้างลงกรรมกรณ์

วิธีปากราหูบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีมาลัยไฟบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีคบมือบ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธีริ้วส่ายบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีนุ่งเปลือกไม้บ้าง ลงกรรมกรณ์

วิธียืนกวางบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีเหยื่อเกี่ยวเบ็ดบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีเหรียญ-

กษาปณ์บ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีแปรงแสบบ้าง ลงกรรมกรณ์วิธีกางเกวียนบ้าง

ลงกรรมกรณ์วิธีตั่งฟางบ้าง ราดด้วยน้ำมันกำลังเดือดบ้างให้สุนัขกัดบ้างให้นอน

หงายบนหลาวทั้งเป็นบ้าง ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง บุคคลนั้นจึงมีความปริวิตก

อย่างนี้ว่า เจ้านายจับโจรผู้ประพฤติชั่วช้ามาลงกรรมกรณ์ต่าง ๆ คือ โบยด้วย

แส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง เพราะเหตุแห่งกรรมอันลามกเห็นปานใด

ถ้าเราพึงจะทำกรรมอันลามกเห็นปานนั้นบ้าง เจ้านายจะพึงจับเราไปลงกรรม

กรณ์ต่าง ๆ เห็นปานนั้น คือ โบยด้วยแส้บ้าง ฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง

เขากลัวต่อภัยคืออาญา ไม่กล้าชกชิงทรัพย์ของผู้อื่น นี้เรียกว่าทัณฑภัย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุคติภัยเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล

บางคนในโลกนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า วิบากของกายทุจริต ในภายหน้า

ชั่วร้าย วิบากของวจีทุจริตในภายหน้า ชั่วร้าย วิบากของมโนทุจริตในภายหน้า

ชั่วร้าย ก็เราแล พึงประพฤติทุจริตด้วยกาย พึงประพฤติทุจริตด้วยวาจา พึง

ประพฤติทุจริตด้วยใจ ข้อนั้นจะมีอะไรเล่า เมื่อกายแตกตายไป เราจะพึง

เข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เขากลัวต่อทุคติภัย ย่อมละกายทุจริต

บำเพ็ญกายสุจริต ย่อมละวจีทุจริต บำเพ็ญวจีสุจริต ย่อมละมโนทุจริต

บำเพ็ญมโนสุจริต ย่อมบริหารคนให้หมดจดได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

ทุคติภัย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล.

จบปฐมภยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 320

ภยวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาปฐมภยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมภยสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺตานุวาทภย ได้แก่ ภัยเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้ติเตียนตน.

บทว่า ปรานุวาทภย ได้แก่ ภัยเกิดจากการติของผู้อื่น. บทว่า ทณฺทภย

ได้แก่ ภัยเกิดเพราะอาศัยกรรมกรณ์ ๓๒. บทว่า ทุคฺคติภย ได้แก่ ภัย

เกิดเพราะอาศัยอบาย ๔. ในคำเป็นต้นว่า อิท วุจฺจติ ภิกฺขเว อตฺตานุ-

วาทภย ก่อนอื่นหิริภายในย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาเห็นอัตตานุวาทภัย หิริ

นั้นย่อมยังความสำรวมให้เกิดในไตรทวารของเขา ความสำรวมในไตรทวาร

จัดเป็นจตุปาชิสุทธิศีล เธอตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนาย่อม

ตั้งอยู่ในผลอันเลิศ. ส่วนโอตตัปปะภายนอก ย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาเห็น

ปรานุวาทภัย และทัณฑภัย โอตตัปปะนั้น ย่อมยังความสำรวมให้เกิดใน

ไตรทวารของเขา. ความสำรวมในไตรทวาร จัดเป็นจตุปาริสุทธิศีล. เธอ

ตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนาย่อมตั้งอยู่ในผลอันเลิศ. หิริ

ภายในย่อมเกิดขึ้นแก่ผู้พิจารณาเห็นทุตติภัย หิรินั้นย่อมยังความสำรวมให้เกิด

ในไตรทวารของเขา. ความสำรวมในไตรทวาร จัดเป็นจตุปาริสุทธิศีล.

เธอตั้งอยู่ในจตุปาริสุทธิศีลนั้นแล้ว เจริญวิปัสสนาย่อมตั้งอยู่ในผลอันเลิศ.

จบอรรถกถาปฐมภยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 321

๒. ทุติยภยสูตร

ว่าด้วยภัย ๔ ประการ

[๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ คนผู้ลงน้ำจะพึง

หวังได้ ๔ ประการเป็นไฉน ? คือ ภัยคือคลื่น ๑ ภัยคือจระเข้ ๑ ภัยคือ

น้ำวน ๑ ภัยคือปลาฉลาม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล คน

ผู้ลงน้ำพึงหวังได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้ กุลบุตรบางคนใน

โลกนี้ ผู้ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ในธรรมวินัยนี้พึงหวังได้ ฉันนั้น

เหมือนกันแล ประการเป็นไฉน คือ ภัยคือคลื่น ๑ ภัยคือจระเข้ ๑ ภัย

คือน้ำวน ๑ ภัยคือปลาฉลาม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือคลื่นเป็นไฉน

กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เรา

ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ

ชื่อว่าตนอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉนการกระทำที่สุดแห่ง

กองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ เธอบวชอย่างนั้นแล้ว เพื่อนสพรหมจารี

ตักเตือน สั่งสอนว่า ท่านพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ พึงแลดูอย่างนี้

พึงเหลียวดูอย่างนี้ พึงคู้เข้าอย่างนี้ พึงเหยียดออกอย่างนี้ พึงทรงสังฆาฏิ

บาตรและจีวรอย่างนี้ เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์มีแต่จะ

ควรตัดเตือนสั่งสอนผู้อื่น ก็ภิกษุเหล่านี้คราวลูกคราวหลานของเรา สำคัญเราว่า

ควรตักเตือนสั่งสอน เธอโกรธเคืองแค้นใจ บอกคืนสิกขาลาเพศ ภิกษุนี้เรียกว่า

เป็นผู้กลัวต่อภัยคือคลื่น บอกคืนสิกขาลาเพศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัย

คือคลื่นนี้ เป็นชื่อแต่งความโกรธและความแค้นใจ นี้เรียกว่า ภัยคือคลื่น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 322

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือจระเข้เป็นไฉน กุลบุตรบางคนในโลกนี้

ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ

ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ ชื่อว่าตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์

เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉน การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ

เธอบวชอย่างนั้นแล้ว เพื่อนสพรหมจารีตักเตือนสั่งสอนว่า สิ่งนี้เธอควรเคี้ยว

สิ่งนี้ไม่ควรเคี้ยว สิ่งนี้ควรบริโภค สิ่งนี้ไม่ควรบริโภค สิ่งนี้ควรลิ้ม สิ่งนี้

ไม่ควรลิ้ม สิ่งนี้ควรดื่ม สิ่งนี้ไม่ควรดื่ม ของเป็นกัปปิยะเธอควรเคี้ยว ของ

เป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรเคี้ยว ของเป็นกัปปิยะเธอควรบริโภค ของเป็น

อกัปปิยะเธอไม่ควรบริโภค ของเป็นกัปปิยะเธอควรลิ้ม ของเป็นอกัปปิยะ

เธอไม่ควรลิ้ม ของเป็นกัปปิยะเธอควรดื่ม ของเป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรดื่ม

เธอควรเคี้ยวในกาล เธอไม่ควรเคี้ยวในวิกาล เธอควรบริโภคในกาล เธอ

ไม่ควรบริโภคในวิกาล เธอควรลิ้มในกาล เธอไม่ควรลิ้มในวิกาล เธอควร

ดื่มในกาล เธอไม่ควรดื่มในวิกาล เธอย่อมคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็น

คฤหัสถ์ ปรารถนาสิ่งใดก็เคี้ยวสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่เคี้ยวสิ่งนั้น

ปรารถนาสิ่งใดก็บริโภคสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่บริโภคสิ่งนั้น ปรารถนา

สิ่งใดก็ล้มสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่ลิ้มสิ่งนั้น ปรารถนาสิ่งใดก็ดื่มสิ่งนั้น

ไม่ปรารถนาสิ่งใดก็ไม่ดื่มสิ่งนั้น ย่อมเคี้ยวสิ่งที่เป็นกัปปิยะบ้าง สิ่งที่เป็น

อกัปปิยะบ้าง ย่อมบริโภคสิ่งที่เป็นกัปปิยยะบ้าง สิ่งที่ไม่เป็นอกัปปิยะบ้าง

ย่อมลิ้มสิ่งที่เป็นกัปปิยะบ้าง สิ่งที่เป็นอกัปปิยะบ้าง ย่อมดื่มสิ่งที่เป็นกัปปิยะบ้าง

สิ่งที่เป็นอกัปปิยะบ้าง ย่อมเคี้ยวในกา ในวิกาลบ้าง ย่อมดื่มในกาลบ้าง

ในวิกาลบ้าง คฤหบดีผู้มีศรัทธาบ้าง ในวิกาลบ้าง ย่อมบริโภคในกาล

บ้าง ในวิกาลบ้าง ย่อมลิ้มในกาลบ้างาย่อมถวายของควรเคี้ยว หรือของควรบริโภค

แม้ใด อันประณีต ในกลางวัน ในเวลาวิกาลแก่เราทั้งหลาย ภิกษุเหล่านี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 323

ย่อมกระทำเสมือนหนึ่งปิดปากแม้ในของเหล่านั้น เธอโกรธเคืองแค้นใจ

บอกคืนสิกขาลาเพศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัยคือจระเข้นี้แล เป็น

ชื่อแห่งความเป็นผู้เห็นแก่ท้อง นี้เรียกว่า ภัยคือจระเข้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือน้ำวนเป็นไฉน ? กุลบุตรบางคนใน

โลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราถูกชาติ ชรา มรณะ

โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ ชื่อว่าตกอยู่ในกองทุกข์

มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉน การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึง

ปรากฏ เธอบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งแล้วถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาต

ยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย วาจา ใจ ไม่ตั้งสติ ไม่สำรวมอินทรีย์

เธอเห็นคฤหบดีในบ้านหรือในนิคมนั้น เพียบพร้อมบำเรอคนอยู่ด้วยกามคุณ

๕ เธอคิดอย่างนี้ว่า เมื่อก่อนเราเป็นคฤหัสถ์เพรียบพร้อม บำเรอคนอยู่ด้วย

กามคุณ ๕ ก็โภคสมบัติในสกุลของเรามีพร้อม เราอาจเพื่อจะบริโภคโภคะ

ทั้งหลายและทำบุญได้ ถ้ากระไร เราพึงบอกคืนสิกขาลาเพศ แล้วบริโภค

โภคะทั้งหลายและทำบุญเถิด เธอย่อมบอกคืนสิกขาลาเพศ ภิกษุนี้เรียกว่า

กลัวต่อภัยคือน้ำวน บอกคืนสิกขาลาเพศ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า ภัยคือ

น้ำวนนี้ เป็นชื่อของกามคุณ ๕ นี้เรียกว่า ภัยคือน้ำวน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภัยคือปลาฉลามเป็นไฉน ? กุลบุตรบางคน

ในโลกนี้ ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า เราถูกชาติ ชรา

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำ ชื่อว่าตกอยู่ใน

กองทุกข์ มีทุกข์เป็นเบื้องหน้า แม้ไฉน การกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้

จะพึงปรากฏ เธอบวชแล้วอย่างนี้ เวลาเช้านุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไป

บิณฑบาตยังบ้านหรือนิคม ไม่รักษากาย วาจา ใจ ไม่ตั้งสติ ไม่สำรวม

อินทรีย์ เธอเห็นมาตุคามในบ้านหรือในนิคมนั้น นุ่งไม่เรียบร้อย หรือห่ม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 324

ไม่เรียบร้อย ราคะย่อมรบกวนจิตของเธอ เพราะเห็นมาตุคามนุ่งไม่เรียบร้อย

หรือห่มไม่เรียบร้อย เธอมีจิตอันราคะรบกวน ย่อมบอกคืนสิกขาลาเพศ

ภิกษุนี้เรียกว่า กลัวต่อภัยคือปลาฉลาม บอกคืนสิกขาลาเพศ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย คำว่า ภัยคือปลาฉลามนี้เป็นชื่อของมาตุคาม นี้เรียกว่า ภัยคือ

ปลาฉลาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัย ๔ ประการนี้แล กุลบุตรบางคนในโลกนี้

ออกบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา ในธรรมวินัยนี้ จะพึงหวังได้.

จบทุติยภยสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยภยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยภยสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุทโกโรหนฺตสฺส คือคนผู้ลงสู่น้ำ. บทว่า ปาฏิกงฺขิ-

ตพฺพานิ ได้แก่ พึงปรารถนา. บทว่า สุสุกาภย ได้แก่ภัยคือปลาร้าย.

บทว่า มุขาวรณ มญฺเ กโรนุติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ย่อมทำเหมือน

ปิดปาก. บทว่า โอทริกตฺตสฺส แปลว่า ของคนกินจุ เพราะมีต้องใหญ่.

ในบทว่า อรกฺขิเตเนว กาเยน เป็นต้น พึงทราบความดังนี้ เธอมีกาย

ไม่รักษาแล้ว เพราะไม่มีการสำรวม ๓ อย่างในกายทวาร มีวาจาไม่รักษาแล้ว

เพราะไม่มีการสำรวม อย่างในวจีทวาร.

จบอรรถกถาทุติยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 325

๓. ปฐมฌานสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก

[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ใน

โลก ๔ จำพวกเป็นไฉน ? คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัด

จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจปฐมฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยปฐมฌานนั้น

ตั้งอยู่ในปฐมฌานนั้น น้อมใจไปในปฐมฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยปฐมฌานนั้น

ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา

ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุ

ทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดเดรัจฉาน

บ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นพรหม

นั้นตราบเท่าสิ้นอายุ ยังประมาณอายุของเทวดาเหล่านั้นทั้งหมดให้สิ้นไปแล้ว

ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี่เป็นความผิดแผกแตกต่าง

กัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติ

มีอยู่.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน มีความ

ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดาขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ

วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจ

ทุติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยทุติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในทุติยฌานนั้น

น้อมใจไปในทุติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยทุติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 326

กาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาพวกอาภัสสระ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๒ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระ

ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว

ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณ

อายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่าง

อริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือในเมื่อคติ อุบัติ มีอยู่.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ

เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยทั้งหลาย

สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บุคคลนั้นพอใจ

ชอบใจตติยฌานนั้น และถึงความปลื้มใจด้วยตติยฌานนั้น ตั้งอยู่ในตติยฌาน

นั้น น้อมใจไปในตติยฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยตติยฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อ

กระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ๔ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ปุถุชนดำรงอยู่ใน

ชั้นสุภกิณหะนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้น

ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วน

สาวกของพระมีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ

ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานใน

ภพนั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษ ผิดแผกแตกต่างกัน

ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติ มีอยู่.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 327

เป็นเหตุ ให้สติบริสุทธิ์อยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจจตุตถฌานนั้น และถึง

ความปลื้มใจด้วยจตุตถฌานนั้น ตั้งอยู่ในจตุตถฌานนั้น น้อมใจไปในจตุตถ-

ฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตตุถฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้า

ถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัป

เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น

ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว

ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณ

อายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริย-

สาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก นี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบปฐมฌานสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมฌานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมฌานสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตทสฺสาเทติ ความว่า ย่อมติดใจฌานนั้นด้วยติดใจสุข.

บทว่า นิกาเมติ แปลว่า ยังปรารถนา. บทว่า วิตฺตึ อาปชฺชติ คือ

ถึงความยินดี. บทว่า ตทธิมุตฺโต คือ ปักใจในฌานนั้น หรือน้อมใจไปสู่

ฌานนั้น. บทว่า ตพฺพหุลวิหารี ได้แก่ อยู่มากด้วยฌานนั้น. บทว่า

สหพฺยต อุปปชฺชติ ความว่า ย่อมไปอยู่ร่วมกัน คือ ย่อมเกิดในในเทวดา

เหล่าเวหัปผละนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 328

ในบทว่า กปฺโป อายุปฺปมาณ นี้ ปฐมฌาณมีอย่างต่ำ มีปานกลาง

และประณีต. ในปฐมฌานนั้น ส่วนที่สามแห่งกัปเป็นประมาณอายุของเทวดา

ผู้เกิดขึ้นด้วยปฐมฌานอย่างต่ำ ครึ่งกัปของเทวดาผู้เกิดขึ้นด้วยปฐมฌาน

ปานกลาง หนึ่งกัปของเทวดาผู้เกิดขึ้นด้วยปฐมฌานประณีต. ท่านกล่าวคำนี้

หมายถึงข้อนั้น. บทว่า นิรยปิ คจฺฉติ ความว่า ผู้ที่ยังเป็นปุถุชน ย่อม

วนเวียนอยู่ เพราะกรรมที่จะต้องไปนรกเขายังละไม่ได้ แต่จะไม่ใช่ต่อเนื่องกัน.

บทว่า ตสฺมึเยว ภเว ปรินิพฺพายติ ความว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

อยู่ในรูปภพนั้นแล้ว ย่อมปรินิพพาน จะไม่ลงไปเบื้องต่ำ บทว่า ยทิท

คติยา อุปปตฺติยา สติ ความว่า เมื่อคติอุปบัติมีอยู่. อธิบายว่า อริยสาวก

ผู้เป็นพระเสขะไม่ตกต่ำด้วยอำนาจปฏิสนธิ ปรินิพพานในรูปภพนั้นนั่นแหละ

คือในพรหมโลกชั้นสูงขึ้นไป เพราะทุติยฌานเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วน

ปุถุชนย่อมไปนรกเป็นต้นได้ นี้เป็นเหตุต่างกัน.

แม้ในบทว่า เทฺว กปฺปา นี้ ทุติยฌานก็มีสามอย่าง โดยนัยที่

กล่าวแล้วนั่นเอง. ในทุติยฌานนั้น ๘ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาผู้บังเกิด

ด้วยทุติยฌานประณีต ๔ กัปด้วยทุติยฌานปานกลาง ๒ กัปด้วยทุติยฌาน

อย่างต่ำ ท่านกล่าวคำนี้หมายถึงข้อนั้น. ในบทว่า จตฺตาโร กปฺปา นี้

พึงนำคำที่กล่าวไว้ในหนหลังว่า กปฺโป เทฺว กปฺปา ดังนี้ มาอธิบายก็จะ

ทราบได้. บทว่า กปฺโป เป็นชื่อแม้ของการคูณ ๔ ครั้ง เพราะฉะนั้น

พึงเห็นเนื้อความในข้อนี้ดังนี้ว่า หนึ่งกัป สองกัป สี่กัป. ท่านอธิบายว่า

กัปใดที่ท่านกล่าวแล้วเป็นครั้งแรก นับกัปนั้น ๒ ครั้ง เอาหนึ่งคูณเป็น ๒ กัป

เอาสองคูณเป็นสี่กัป. อีกสี่กัปเหล่านั้นคูณ ๒ คูณเป็น ๔ คูณกัปเหล่านั้น

เพราะฉะนั้น เอา ๔ คูณเป็นแปดกัป เอาสองคูณเป็น ๑๖ เป็น ๓๒ เป็น ๖๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 329

พึงทราบว่า ๖๔ กัป ท่านถือเอาด้วยอำนาจประณีตฌานในที่นี้อย่างนี้.

บทนี้ว่า ปญฺจ กปฺปสตานิ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแห่งอุปปัตติฌานที่ประณีต

เท่านั้น อนึ่ง ประมาณอายุเท่านี้ในเวหัปผละ เพราะพรหมโลกชั้นละสาม

ไม่มีเหมือนในปฐมฌานภูมิเป็นต้น เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้.

จบอรรถกถาปฐมฌานสูตรที่ ๓

๔. ทุติยฌานสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้เจริญฌาน ๔ จำพวก

[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศล

ธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ รูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณา

เห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง

หัวผี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง

เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อ

ตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปถึงปุถุชน.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุ

ตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และ

ดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ รูป เวทนา

สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น บุคคลนั้นย่อมพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 330

เห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง

หัวผี เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่

เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคล

นั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปถึงปุถุชน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

จบทุติยฌานสูตรที่ ๔

อรรถกถาทุติยฌานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยฌานสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

รูปนั้นแหละ ชื่อว่า รูป. แม้ในบทที่เหลือ ก็นัยนี้แล ในบท

เป็นต้นว่า อนิจฺจโต มีวินิจฉัยว่า บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยอรรถว่ามีแล้วไม่มี. เป็นดังโรคด้วยอรรถว่า

ป่วยไข้ เป็นดังหัวฝีด้วยอรรถว่าประทุษร้ายภายใน เป็นดังลูกศรด้วยอรรถว่า

แทงเข้าไป เป็นความลามก ด้วยอรรถว่ามีความทนทุกข์ เป็นอาพาธด้วยอรรถว่า

บีบคั้น เป็นอื่นด้วยอรรถว่า ว่าไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไปด้วยอรรถว่า

ย่อยยับ เป็นของว่างเปล่าด้วยอรรถว่า มิใช่สัตว์ เป็นของมิใช่ตนด้วยอรรถว่า

ไม่อยู่ในอำนาจ. ก็ในข้อนี้พึงทราบว่า ท่านกล่าวอนิจจลักษณะด้วยสองบทว่า

อนิจฺจโต ปโลกโต. ท่านกล่าวอนัตตลักขณะด้วยสอง บทว่า สุญฺโต

อนตฺถโต. ท่านกล่าวทุกขลักขณะด้วยบทที่เหลือ. บทว่า สมนุปสฺสติ คือ

พิจารณาเห็นด้วยฌาน. บุคคลเมื่อยกเบญจขันธ์ขึ้นสู่ไตรลักษณ์ พิจารณาเห็นอยู่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 331

ย่อมทำให้เเจ้งซึ่งมรรคสาม ผลสาม. บทว่า สุทฺธาวาสาน เทวาน สหพฺยต

อุปปชฺชติ ความว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในชั้นสุทธาวาสนั้น ต้องเจริญจตุตถฌาน

แล้ว จึงจะเกิดขึ้น.

จบอรรถกถาทุติยฌานสูตรที่ ๔

๕. ปฐมเมตตาสูตร

ว่าด้วยผู้เจริญอัปปมัญญา ๔ จำพวก

[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจ

ประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน

ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์

ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่

หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจ

เมตตาฌานและถึงความปลื้มใจด้วยเมตตาฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในเมตตาฌานนั้น

น้อมใจไปในเมตตาฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยเมตตาฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อ

กระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย กัปหนึ่งเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าพรหมกายิกา ปุถุชน

ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายิกานั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมด

ของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง

เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นพรหมกายีกา

นั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 332

ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผก

แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อ

คติอุบัติมีอยู่.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยกรุณาแผ่ไป

ตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน

เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลกทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจ

ประกอบด้วยกรุณาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร

ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจกรุณาฌานนั้น และถึง

ความปลื้มใจด้วยกรุณาฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในกรุณาฌานนั้น น้อมใจไปใน

กรุณาฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยกรุณาฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อการทำกาละ ย่อม

เข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าอาภัสสระ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๒ กัปเป็น

ประมาณอายุของเทวดาเหล่าอาภัสสระ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้น

ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว

ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นอาภัสสระนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุ

ทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูก่อน.

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ

กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยมุทิตา

แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง

เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่

ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยมุทิตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณ

มิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจมุทิตาฌาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 333

นั้น และถึงความปลื้มใจด้วยมุทิตาฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในมุติตาฌานนั้น น้อมใจ

ไปในมุทิตคาฌานนั้นอยู่จนคุ้นด้วยมุทิตาฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ๔ กัป

เป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าสุภกิณหะ ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น

ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว

ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นสุภกิณหะนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณ

อายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวก

ผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยอุเบกขา

แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน

เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน

ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอัน ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้

ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ บุคคลนั้นพอใจ ชอบใจอุเบกขาฌานนั้น

และถึงความปลื้มใจด้วยอุเบกขาฌานนั้น ยับยั้งอยู่ในอุเบกขาฌานนั้น น้อมใจ

ไปในอุเบกขาฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยอุเบกขาฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำ

กาละ ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาชั้นเวหัปผละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ปุถุชนดำรงอยู่ในเวหัปผละ

นั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว

ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้นตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 334

อายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความพิเศษผิดแผกแตกต่างกันระหว่างอริยสาวกผู้

ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายบุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏในโลก.

จบปฐมเมตตาสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมเมตตาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมเมตตาสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

เมตตาทรงแสดงด้วยอำนาจปฐมฌาน กรุณาเป็นต้น ทรงแสดงด้วย

อำนาจทุติยฌานเป็นต้น.

จบอรรถกถาปฐมเมตตาสูตรที่ ๕

๖. ทุติยเมตตาสูตร

ว่าด้วยผู้เจริญอัปปมัญญา ๔ จำพวก

[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจ

ประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน

ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า

ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หา

ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ อันใด มีอยู่ในเมตตาฌานนั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 335

เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้อง

ทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้น เมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยกรุณา...

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยมุทิตา...

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ มีใจประกอบด้วยอุเบกขา

แผ่ไปตลอดทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้ง

เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่

ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หา

ประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร

วิญญาณ อันใด มีอยู่ในอุเบกขาฌานนั้น บุคคลนั้น พิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น

โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร

เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้อง

ทำลายไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อม

เข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่าสุทธาวาส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

อุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบทุติยเมตตาสูตรที่ ๖

ทุติยเมตตาสูตรที่ ๖ พึงทราบโดยนัยอันกล่าวแล้วในสูตรที่ ๔.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 336

๗. ปฐมอัจฉริยสูตร

ว่าด้วยความอัศจรรย์ ๔ ในพระตถาคตเจ้า

[๑๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการย่อม

ปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔ ประการ

เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด พระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต มีสติ

สัมปชัญญะ เสด็จลงสู่ครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แสงสว่างอันโอฬารหา

ประมาณมิได้ ย่อมปรากฏในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก

ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์เทวดาและมนุษย์ ล่วงเทวานุภาพของ

เทวดาทั้งหลาย แม้ในโลกันตริกนรกอันโล่งโถง ไม่มีอะไรปิดบัง มืดมิด

มองไม่เห็นอะไร ซึ่งแสงสว่างแห่งพระจันทร์และพระอาทิตย์ที่มีฤทธิ์มีอานุภาพ

มากอย่างนั้นส่องไม่ถึง แต่แสงสว่างอันยิ่ง หาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏแม้

ในโลกันตริกนรกนั้น ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย แม้พวกสัตว์ที่เกิด

ในนรกนั้น ย่อมจำกันและกันได้ด้วยแสงสว่างนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า

แม้สัตว์เหล่าอื่นผู้เกิดในที่นี้ก็มี (ไม่ใช่มีแต่เรา) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

ความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๑ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจาก

ครรภ์พระมารดา ฯลฯ ดูก่อนพระภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมี

ข้อที่ ๒ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 337

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๓ ย่อมปรากฏ

เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตประกาศอนุตรธรรมจักร เมื่อนั้น

แสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ย่อมปรากฏในโลกพร้อมทั้งเทวโลก

มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์

ล่วงเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย แม้ในโลกันตริกนรกอันโล่งโถง ไม่มี

อะไรปิดบัง มืดมิดมองไม่เห็นอะไร ซึ่งแสงสว่างแห่งพระจันทร์และพระ

อาทิตย์ที่มีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นส่องไม่ถึง แต่แสงสว่างอย่างยิ่ง หา

ประมาณมิได้ ย่อมปรากฏแม้ในโลกันตริกนรกนั้น ล่วงเทวานุภาพของเทวดา

ทั้งหลาย แม้พวกสัตว์ที่เกิดในนรกนั้น ย่อมจำกันและกันได้ด้วยแสงสว่าง

นั้นว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า แม้สัตว์เหล่าอื่นผู้เกิดในที่นี้ก็มี (ไม่ใช่มีแต่เรา)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๔ ย่อมปรากฏ เพราะ

ความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการนี้ ย่อม

ปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

จบปฐมอัจฉริยสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมอัจฉริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอัจฉริยสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปาตุภาวา คือเพราะปรากฏขึ้น. ในบทว่า กุจฺฉึ โอกฺกมตึ

นี้ ความว่า เป็นผู้ลงสู่ครรภ์แล้ว. ความจริง เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นลงแล้ว

แสงสว่างก็เป็นอย่างนั้น เมื่อกำลังหยั่งลง แสงสว่างก็เป็นอย่างนั้น. บทว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 338

อปฺปมาโณ ได้แก่ มีประมาณเพิ่มขึ้น คือไพบูลย์กว้างขวาง. บทว่า อุฬาโร

เป็นไวพจน์ของบทว่า อปฺปมาโณ นั้นเอง ในบทว่า เทวาน เทวานุ

ภาว นี้ ได้แก่ อานุภาพอันหาประมาณมิได้ของเหล่าเทวดา รัศมีของผ้าที่นุ่ง

แผ่ไปได้ตลอด ๑๒ โยชน์ ของสรีระก็อย่างนั้น ของวิมานก็อย่างนั้น อธิบายว่า

ล่วงเทวานุภาพแห่งเทวดานั้น. บทว่า โลกนฺตริกา ความว่า ที่ว่างใน

ระหว่างสามจักรวาล จะมีโลกันตริกนรกอยู่แห่งหนึ่ง เหมือนระหว่างล้อเกวียน

ทั้งสามล้อ ที่ถึงกันแล้วหรือตั้งจดติดกันและกัน ก็มีที่ว่างตรงกลาง. ก็โลกัน-

ตริกนรกนั้น ว่าโดยประมาณได้แปดพันโยชน์. บทว่า อฆา คือเปิดเป็นนิตย์.

บทว่า อสวุตา คือไม่มีฐานที่ตั้งแม้ภายใต้. บทว่า อนฺธการา คือมืด.

บทว่า อนฺธการติมิสา ความว่า ประกอบด้วย ความมืด ทำให้เป็นเหมือน

ตาบอดเพราะห้ามการเกิดขึ้นแห่งจักษุวิญญาณ ได้ยินว่า จักษุวิญญาณไม่เกิด

ในโลกันตริกนรกนั้น. บทว่า เอวมหิทฺธิกาน ความว่า ได้ยินว่า ดวงจันทร์

และดวงอาทิตย์ปรากฏในทวีปทั้งสาม พร้อมคราวเดียวกัน จึงมีฤทธิ์มากอย่างนี้

ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ส่องแสงสว่าง กำจัดมืดได้เก้าแสนโยชน์ ในทิศแต่

ละทิศจึงมีอานุภาพมากอย่างนี้. บทว่า อาภา นานุโภนฺติ คือแสงสว่าง

ไม่พอ. ได้ยินว่า ดวงจันท์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น โคจรไปท่ามกลาง

จักรวาลบรรพต ล่วงเลยจักรวาลบรรพตไปก็เป็นโลกันตริกนรก เพราะฉะนั้น

แสงสว่างแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์เหล่านั้น จึงส่องไปไม่ถึงในที่นั้น.

บทว่า เยปิ ตตฺถ สตฺตา ความว่า สัตว์แม้เหล่าใดเกิดแล้วใน

โลกันตรมหานรกนั้น ถามว่า สัตว์เหล่านั้น ทำกรรมอะไร จึงเกิดในโลกัน-

ตริกนรกนั้น. ตอบว่า สัตว์ผู้ทำกรรมหนัก ทารุณต่อมารดาบิดาและความผิด

ร้ายแรงต่อสมณพราหมณ์ผู้ทรงธรรม และทำกรรมสาหัสอื่นมีฆ่าสัตว์ทุก ๆ วัน

เป็นต้น จึงไปเกิดดุจอภัยโจรและนาคโจรเป็นต้น ในตามพปัณณิทวีป (ลังกา)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 339

สัตว์เหล่านั้นมีอัตภาพขนาด ๓ คาวุต มีเล็บยาวเหมือนค้างคาว เอาเล็บเกาะ

ห้อยอยู่ที่เชิงเขาจักรวาล คล้ายค้างคาวเกาะห้อยอยู่ที่ต้นไม้ฉะนั้น เมื่อมือ

เปะปะไปถูกกันและกันเข้า ต่างก็สำคัญว่าเราได้เหยื่อแล้ว ดังนี้ แล่นไล่

หมุนไปรอบ ๆ ก็พลัดตกไปในน้ำรองโลก คล้ายผลมะซางเมื่อถูกลมประหาร

อยู่ก็ขาดตกไปในน้ำ พอตกลงไปถึงก็เปื่อยย่อยไปในน้ำกรด ราวกะ

แป้งตกน้ำละลายไปฉะนั้น . บทว่า อญฺเปิ กิร โภ สนฺติ สตฺตา

ความว่า สัตว์เหล่านั้นเห็นกันในวันนั้น จึงได้รู้ว่า ได้ยินว่า สัตว์เหล่าอื่น

มาเกิดในที่นี้ เพื่อเสวยทุกข์นี้ เหมือนเราทั้งหลายเสวยทุกข์ใหญ่อยู่ฉะนั้น.

แต่แสงสว่างนี้จะสว่างอยู่แม้เพียงดื่มยาคูอีกหนึ่งก็หามิได้ สว่างอยู่ชั่วเวลาที่สัตว์

หลับแล้วตื่นขึ้นอารมณ์แจ่มใสฉะนั้น . ส่วนพระทีฆภาณกาจารย์ กล่าวว่า

แสงสว่างนั้น ส่องเพียงพอสัตว์พูดว่านี้อะไร ก็หายไป คล้ายแสงสว่างฟ้าแลบ

ชั่วลัดนิ้วมือเท่านั้น.

จบอรรถกถาปฐมอัจฉริยสูตรที่ ๗

๘. ทุติยอัจฉริยสูตร

ว่าด้วยความอัศจรรย์ ๔ ในพระตถาคตเจ้า

[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการ

ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๔

ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ผู้มีอาลัย (คือกามคุณ)

เป็นที่รื่นรมย์ ยินดีในอาลัย บันเทิงในอาลัย เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมอัน

หาความอาลัยมิได้อยู่ หมู่สัตว์นั้นย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 340

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๑ ย่อมปรากฏ เพราะ

ความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ผู้มีมานะ (ความถือตัว) เป็นที่รื่นรมย์

ยินดีในมานะ บันเทิงในนานะ เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมอันเป็นเครื่อง

ปราบปรามมานะอยู่ หมู่สัตว์นั้นย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๒ ย่อมปรากฏ เพราะ

ความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ผู้มีความไม่สงบเป็นที่รื่นรมย์ ยินดีแล้ว

ในความไม่สงบ บันเทิงในความไม่สงบ เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมอันกระทำ

ความสงบอยู่. หมู่สัตว์นั้นย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เลยมีข้อที่ ๓ ย่อมปรากฏ เพราะ

ความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หมู่สัตว์ผู้ตกอยู่ในอวิชชา เป็นผู้มืด ถูกอวิชชา

รัดรึงไว้ เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมอัน เป็นเครื่องปราบปรามอวิชชาอยู่ หมู่

สัตว์นั้นย่อมฟังด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นี้เป็นความอัศจรรย์ไม่เคยมีข้อที่ ๔ ย่อมปรากฏ เพราะความปรากฏแห่งพระ

ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการนี้ ย่อมปรากฏ

เพราะความปรากฏแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

จบทุติยอัจฉริยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 341

อรรถกถาทุติยอัจฉริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยอัจฉริยสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

เบญจกามคุณหรือวัฏฏะทั้งสิ้น ชื่อว่า อาลัย เพราะอรรถว่า

พึงถูกตัณหาและทิฏฐิยึดไว้. ชื่อว่า อารามะ เพราะเป็นที่ยินดี. อาลัยเป็นที่

ยินดีของหมู่สัตว์นี้ เหตุนั้น หมู่สัตว์นี้จึงชื่ออาลยารามะมีอาลัยเป็นที่ยินดี.ชื่อว่า

อาลยรตะเพราะยินดีแล้วในอาลัย. ชื่อว่าอาลยสัมมุทิตะ เพราะบันเทิงแล้วใน

อาลัย. บทว่า อนาลเย ธมฺเม ความว่า อริยธรรมอาศัยวิวัฏฏนิพพานที่ตรงกัน

ข้ามกับอาลัย. บทว่า สุสฺสุสติ คือเป็นผู้ใคร่จะฟัง. บทว่า โสต โอทหติ

แปลว่า เงี่ยโสต. บทว่า อญฺาจิตฺต อุปฏฺเปติ ความว่า เข้าไปตั้งจิต

เพื่อจะรู้ทั่วถึงธรรม. บทว่า มาโน คือ ความสำคัญ หรือวัฏฏะทั้งสิ้นนั้นแล

ชื่อว่ามานะ เพราะอรรถว่าหมู่สัตว์พึงสำคัญ. บทว่า มานวินเย ธมฺเม คือ

ธรรมที่เป็นเครื่องกำจัดเสียซึ่งมานะ. ธรรมที่ตรงกันข้ามกับความสงบ ชื่อว่า

อนุปสมณะหรือวัฏฏะนั่นเอง ชื่อว่าอนุปสมะ เพราะอรรถว่าไม่สงบแล้ว. บทว่า

โอปสมิเก ได้แก่ ธรรมที่ทำความสงบคืออาศัยวิวัฏฏะคือนิพพาน. ชื่อว่า

อวิชชาคตะ เพราะไปคือประกอบด้วยอวิชชา. ชื่อว่าอันธภูตะ เพราะเป็น

ดุจคนตาบอด เพราะถูกกองมืดคืออวิชชาปกคลุมไว้. ชื่อว่าปรโยนัทธา เพราะ

หุ้มไว้รอบด้าน. ในบทว่า อวิชฺชาวินเย พระอรหัตเรียกว่าธรรมเป็นเครื่อง

กำจัดอวิชชา เมื่อธรรมที่อาศัยธรรมเป็นเครื่องกำจัดอวิชชานั้น อันพระตถาคต

แสดงอยู่. ในสูตรนี้ตรัสวัฏฏะไว้ ๔ ฐานะ ตรัสวิวัฏฏะไว้ ๔ ฐานะ ด้วย-

ประการฉะนี้.

จบอรรถกถาทุติยอัจฉริยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 342

๙. ตติยอัจฉริยสูตร

ว่าด้วยความอัศจรรย์ ๔ ในพระอานนท์

[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการนี้

ในพระอานนท์ ๔ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุ-

บริษัทเข้าไปเพื่อเห็นอานนท์ ภิกษุบริษัทนั้นย่อมมีใจยินดีแม้ด้วยการเห็น

ถ้าอานนท์กล่าวธรรมในบริษัทนั้น ภิกษุบริษัทนั้น ย่อมมีใจยินดีแม้ด้วยคำที่

กล่าวนั้น ภิกษุบริษัทนั้นเป็นผู้ไม่อิ่มเลย ถ้าอานนท์เป็นผู้นิ่ง.

ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าไปเพื่อเห็นอานนท์...

ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าไปเพื่อเห็นอานนท์...

ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าไปเพื่อเห็นอานนท์ อุบาสิกาบริษัทนั้นย่อมมีใจ

ยินดี แม้ด้วยการเห็น ถ้าอานนท์กล่าวธรรมในบริษัทนั้น อุบาสิกาบริษัทนั้น

ย่อมมีใจยินดีแม้ด้วยคำที่กล่าวนั้น อุบาสิกาบริษัทนั้นเป็นผู้ไม่อิ่มเลย ถ้าอานนท์

เป็นผู้นิ่ง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการนี้แล ใน

พระอานนท์.

จบตติยอัจฉริยสูตรที่ ๙

อรรถกถาตติยอัจฉริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตติยอัจฉริยสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภิกฺขุปริสา อานนฺท ทสฺสนาย ความว่า ภิกษุเหล่าใด

ประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เข้าไปหาพระเถระ หรือภิกษุเหล่าใด

ได้ฟังคุณความดีของพระเถระว่า ได้ยินว่า ท่านพระอานนท์น่าเลื่อมใสรอบด้าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 343

งานน่าชม เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ผู้ทำหมู่ให้งามดังนี้ จึงพากันมา ทรง-

หมายถึงภิกษุเหล่านั้น จึงตรัสว่า ภิกษุบริษัทไปเยี่ยมอานนท์ ดังนี้ . ในบท

ทุกบทก็นัยนี้. บทว่า อตฺตมนา ความว่า ภิกษุบริษัทนั้นมีใจชื่นชม คือ

มีจิตยินดีว่า การเห็นของเราสมกับการฟังมา. บทว่า ธมฺม ความว่า ท่าน

กล่าวธรรมต้อนรับเห็นปานนี้ว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สบายดีหรือ พอยังชีพ

เป็นไปได้อยู่หรือ ท่านทั้งหลาย ยังทำกิจกรรมในโยนิโสมนสิการอยู่หรือ

ท่านยังบำเพ็ญอาจริยวัตรและอุปัชฌายวัตรอยู่หรือดังนี้. บรรดาบุคคลเหล่านั้น

ในภิกษุณีก็จะกล่าวปฏิสันถารต่างกันดังนี้ว่า น้องหญิงทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย

ยังสมาทานครุธรรม ๘ ประพฤติอยู่หรือดังนี้. ในอุบาสกทั้งหลาย ท่านจะไม่

ทำปฏิสันการอย่างนี้ ด้วยคำว่า อุบาสกมาดีแล้ว ท่านไม่ปวดศีรษะ หรือ

อวัยวะบ้างหรือ บุตรพี่น้องชายของท่านไม่มีโรคภัยหรือดังนี้ แต่ท่านจะทำ

ปฏิสันถารอย่างนี้ว่า อุบาสกเป็นอย่างไร จงรักษาสรณะ ๓ ศีล ๕ จงทำ

อุโบสถเดือนละ ๘ ครั้งไว้เถิด จงเลี้ยงดูมารดาบิดา จงบำรุงสมณพราหมณ์

ผู้ทรงธรรมเถิดดังนี้. แม้ในอุบาสิกาทั้งหลายก็นัยนี้แล.

จบอรรถกถาตติยอัจฉริยสูตรที่ ๙

๑๐. จตุตถอัจฉริยสูตร

ว่าด้วยความอัศจรรย์ ๔ ในพระเจ้าจักรพรรดิ

[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการนี้

ในพระเจ้าจักรพรรดิ ๔ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าขัตติยบริษัทเข้าไปเฝ้าเยี่ยมพระเจ้าจักรพรรดิ ขัตติยบริษัทนั้นย่อมมีพระทัย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 344

ยินดีแม้ด้วยการเฝ้าเยี่ยมนั้น ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิดำรัสในที่ประชุมนั้น ขัตติย-

บริษัทนั้นย่อมมีพระทัยยินดี แม้ด้วยพระดำรัส ขัตติยบริษัทย่อมเป็นผู้ไม่อิ่มเลย

ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่งเสีย.

ถ้าพราหมณ์บริษัทเข้าไปเฝ้าเยี่ยมพระเจ้าจักรพรรดิ...

ถ้าคฤหบดีบริษัทเข้าไปเฝ้าเยี่ยมพระเจ้าจักรพรรดิ...

ถ้าสมณบริษัทเข้าไปเยี่ยมพระเจ้าจักรพรรดิ สมณบริษัทนั้นย่อมมีใจ

ยินดีแม้ด้วยการเฝ้าเยี่ยมนั้น ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิดำรัสในที่ประชุมนั้น สมณ-

บริษัทนั้นย่อมมีใจยินดีแม้ด้วยพระดำรัส สมณบริษัทนั้นย่อมเป็นผู้ไม่อิ่มเลย

ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิทรงนิ่งเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี

๔ ประการนี้แล ในพระเจ้าจักรพรรดิ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการ ใน

พระอานนท์ฉันนั้นเหมือนกันแล ๔ ประการเป็นไฉน คือ ถ้าภิกษุบริษัท

เข้าไปเพื่อเห็นอานนท์ ภิกษุบริษัทนั้น ย่อมมีใจยินดีแม้ด้วยการเห็น ถ้าอานนท์

กล่าวธรรมในที่ประชุมนั้น ภิกษุบริษัทย่อมมีใจยินดีแม้ด้วยคำที่กล่าว ภิกษุ

บริษัทย่อมเป็นผู้ไม่อิ่มเลย ถ้าอานนท์นิ่งอยู่.

ถ้าภิกษุณีบริษัทเข้าไปเพื่อเห็นอานนท์...

ถ้าอุบาสกบริษัทเข้าไปเพื่อเห็นอานนท์...

ถ้าอุบาสิกาบริษัทเข้าไปเพื่อเห็นอานนท์ อุบาสิกาบริษัทนั้นย่อมมีใจ

ยินดี ยินดีแม้ด้วยคำที่กล่าว อุบาสิกาบริษัทย่อมเป็นผู้ไม่อิ่มเลย ถ้าอานนท์

นิ่งอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความอัศจรรย์ไม่เคยมี ๔ ประการนี้ ใน

พระอานนท์ .

จบจตุตถอัจฉริยสูตรที่ ๑๐

จบภยวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 345

อรรถกถาจตุตถอัจฉริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในจตุตถอัจฉริยสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ขตฺติยปริสา ได้แก่เหล่าขัตติยะ ที่อภิเษกและที่ยังไม่อภิเษก.

ได้ยินว่า ขัตติยะเหล่านั้น ได้ฟังคำกล่าวพระคุณของพระเจ้าจักรพรรดินั้นว่า

ธรรมดาว่าพระเจ้าจักรพรรดิ งามน่าเลื่อมใส เที่ยวไปทางอากาศได้ปกครอง

ราชสมบัติ ทรงธรรมเป็นธรรมราชาดังนี้ เมื่อเห็นสมกับที่ได้ฟังมาก็ชื่นชม.

บทว่า ภาสติ ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิได้ทำปฏิสันถารว่า พ่อคุณแม่คุณ

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายยิ่งบำเพ็ญราชธรรม รักษาประเพณีอยู่หรือ. ส่วนใน

พราหมณ์ทั้งหลายก็จะทรงทำปฏิสันถารอย่างนี้ว่า ท่านอาจารย์ทั้งหลาย ท่าน-

ทั้งหลาย สอนมนต์อยู่หรือ ศิษย์ทั้งหลายยังเรียนมนต์อยู่หรือ ท่านย่อมได้

ทักขิณาบ้าง ผ้าบ้าง โคแดงบ้างหรือ. ในคฤหบดีทั้งหลาย จะทรงทำปฏิสันถาร

อย่างนี้ว่า พ่อเอ๋ย ท่าน ไม่ถูกเบียดเบียน ด้วยค่าปรับสินไหม หรือด้วยเครื่อง

จองจำจากราชกูลบ้างหรือ ฝนยังตกต้องตามฤดูกาลอยู่หรือ ข้าวกล้าทั้งหลายได้ผล

สมบูรณ์หรือ. ในสมณะทั้งหลาย จะทรงทำปฏิสันถารอย่างนี้ว่า อย่างไร ท่านผู้-

เจริญ บริขารของบรรพชิตหาได้ง่ายหรือ ขอท่านทั้งหลายอย่าละเลยสมณธรรม

นี้แล.

จบอรรถกถาจตุตถอัจฉริยสูตรที่ ๑๐

จบภยวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมภยสูตร ๒. ทุติยภยสูตร ๓. ปฐมฌานสูตร ๔. ทุติย-

ฌานสูตร ๕. ปฐมเมตตาสูตร ๖. ทุติยเมตตาสูตร ๗. ปฐมอัจฉริยสูตร

๘. ทุติยอจัฉริยสูตร ๙. ตติยอัจฉริยสูตร ๑๐. จตุตถอัจฉริยสูตร และ

อรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 346

ปุคคลวรรคที่ ๔

๑๐. สังโยชนสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังละ

โอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้ ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้

ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้.

อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ แต่ยังละ

สังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้ ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้-

ได้ภพไม่ได้.

อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์

อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้ แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพ

ไม่ได้.

อนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์

อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้ สะสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลจำพวกไหน ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์

ไม่ได้ ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ไค้อุบัติไม่ได้ ยังละสังโยชน์อันเป็น

ปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้ คือ พระสกทาคามี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล

ยังละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้ ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้

ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 347

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ แต่

ยังละสังโยชน์อัน เป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้ ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัย เพื่อ

ให้ได้ภพไม่ได้ คือ พระอนาคามีผู้มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่อกนิฏฐภพ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ แต่ยังละสังโยชน์

อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติไม่ได้ ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพ

ไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้

ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้ แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อ

ให้ได้ภพไม่ได้ คือ พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลนี้แล ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติ

ได้ แต่ยังละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้ภพไม่ได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลจำพวกไหน ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้

ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้ ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้

ภพได้ คือ พระอรหันตขีณาสพ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้แล ละโอรัม-

ภาคิยสังโยชน์ได้ ละสังโยชน์อันเป็นปัจจัยเพื่อให้ได้อุบัติได้ ละสังโยชน์อันเป็น

ปัจจัยเพื่อให้ได้ภพได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก

จบสังโยชนสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 348

ปุคคลวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาสังโยชนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังโยชนสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บุคคลบางคนได้อุปบัติได้ภพ ในระหว่างด้วยสังโยชน์เหล่าใด

สังโยชน์เหล่านั้น ชื่อว่าเป็นปัจจัยให้ได้อุปบัติ. บทว่า ภวปฏิลาภิยานิ

ได้แก่ เป็นปัจจัยแก่การได้อุปบัติภพ. บทว่า สกทาคามิสฺส นี้ ท่านถือ

โดยส่วนสูงสุดในพระอริยะทั้งหลาย ที่ยังละสังโยชน์ไม่ได้ ก็เพราะเหตุนี้

อันตราอุปบัติ (การเกิดในระหว่าง) ของพระอริยบุคคลผู้เป็นอันตรา-

ปรินิพพายีไม่มี แต่ท่านเข้าฌานใดในที่นั้น ฌานนั้นนับว่าเป็นปัจจัยแก่

อุปบัติภพ เพราะฌานเป็นฝ่ายกุศลธรรม ฉะนั้น จึงตรัสสำหรับพระอริยบุคคล

ผู้เป็นอันตราปรินิพพายีนั้นว่า ละอุปบัติปฏิลาภิยสังโยชน์ได้ (สังโยชน์ที่เป็น

เหตุให้มีความเกิด) แต่ละภวปฎิลาภิยสังโยชน์ (สังโยชน์ที่เป็นเหตุให้มีภพ)

ไม่ได้. หมายถึงสังโยชน์ส่วนที่ยังละไม่ได้ในโอรัมภาคิยสังโยชน์ทั้งหลาย จึง

ตรัสว่า ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ไม่ได้ดังนี้ โดยความไม่ต่างกันแห่งสกทาคามี

บุคคล. บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาสังโยชนสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 349

๒. ปฏิภาณสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากกอยู่ในโลก ๔

จำพวก เป็นไฉน คือ

ยุตฺตปฏิภาโณ น มุตฺตปฏิภาโณ บุคคลฉลาดผูก ไม่ฉลาดแก้

มุตฺตปฏิภาโณ น ยุตฺตปฏิภาโณ บุคคลฉลาดแก้ ไม่ฉลาดผู้

ยุตฺตปฏิภาโณ จ มุตฺตปฏิภาโณ จ บุคคลฉลาดทั้งผูกทั้งแก้

เนว ยุตฺตปฏิภาโณ น มุตฺตปฏิภาโณ บุคคลไม่ฉลาดทั้งผูกทั้งแก้

นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบปฏิภาณสูตรที่ ๒

อรรถกถาปฏิภาณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฏิภาณสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ยุตฺตปฏิภาโณ โน มุตฺตปฏิภาโณ ความว่า บุคคล

เมื่อแก้ปัญหาก็แก้แต่ปัญหาที่ผูกเท่านั้น แต่แก้ได้ไม่เร็ว คือค่อย ๆ แก้. บท

ทั้งปวง พึงทราบโดยนัยนี้.

จบอรรถกถาปฏิภาณสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 350

๓. อุคฆฏิตัญญุสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

อุคฆปฏิตัญญูบุคคล

วิปจิตัญญูบุคคล

เนยยบุคคล

ปทปรมบุคคล

นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓

อรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุคฆฏิตัญญุสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

พึงทราบความต่างกันแห่งบุคคลแม้ ๔ จำพวก ด้วยสูตรนี้ ดังนี้

อุคฆฎิตัญญูบุคคลเป็นไฉน ? บุคคลตรัสรู้ธรรมขณะที่ท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง

เรียกว่า อุคฆฏิตัญญูบุคคล. วิปจิตัญญูบุคคลเป็นไฉน ? บุคคลตรัสรู้ธรรม

ต่อเมื่อท่านแจกแจงความโดยพิสดาร เรียกว่า วิปจิตัญญูบุคคล. เนยยบุคคล

เป็นไฉน ? บุคคลต้องเรียน ต้องสอบถาม ต้องใส่ใจโดยแยบคาย ต้องคบหา

อยู่ใกล้กัลยาณมิตร จึงตรัสรู้ธรรมตามลำดับขั้นตอน เรียกว่า เนยยบุคคล.

ปทปรมบุคคลเป็นไฉน ? บุคคลฟังมากก็ดี พูดมากก็ดี ทรงจำมากก็ดี

สอนมากก็ดี ยังไม่ตรัสรู้ธรรมในชาตินั้น เรียกว่า ปทปรมบุคคล.

จบอรรถกถาอุคฆฏิตัญญุสูตรที่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 351

๔. อุฏฐานสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

อุฏฺานผลุปชีวี น กมฺมผลุปชีวี บุคคลจำพวกหนึ่งดำรงชีพอยู่ด้วย

ผลของความหมั่น มิใช่ดำรงชีพอยู่

ด้วยผลของกรรม

กมฺมผลุปชีวี น อุฏฺานผลุปชีวี บุคคลจำพวกหนึ่งดำรงชีพอยู่ด้วยผล

ของกรรม มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผล

ของความหมั่น

อุฏฺานผลุปชีวี เจว กมฺมผลุปชีวี จ บุคคลจำพวกหนึ่งดำรงชีพอยู่ด้วยผล

ของความหมั่นบ้าง ด้วยผลของ

กรรมบ้าง

เนว อุฏฺานผลุปชีวี น กมฺมผลุปชีวี บุคคลจำพวกหนึ่งดำรงชีพอยู่ด้วยผล

ของความหมั่นก็มิใช่ ด้วยผลของ

กรรมก็มิใช่.

นี้แล บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบอุฏฐานสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 352

อรรถกถาอุฏฐานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุฏฐานสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บุคคลจำพวกหนึ่ง ใช้วันเวลาให้ล่วงไป ด้วยความเพียรคือความหมั่น

เท่านั้น ได้อะไรมาเพียงเป็นผลของความเพียรนั้น ที่หลั่งออกมาเลี้ยงชีวิต

เขาอาศัยแต่ความหมั่นนั้น ไม่ได้ผลบุญอะไร บุคคลจำพวกนี้ ชื่อว่าดำรงชีพ

อยู่ด้วยผลของความหมั่น มิใช่ดำรงอยู่ด้วยผลของกรรม.ส่วนเหล่าเทวดา

แม้ทั้งหมด ตั้งแต่เทวดาชั้นจาตุมมหาราชเป็นต้นไป เพราะเข้าไปอาศัยผลบุญ

ดำรงชีพ เว้นความเพียรคือความหมั่น ชื่อว่าดำรงชีพอยู่ด้วยผลของกรรม

มิใช่ดำรงชีพอยู่ด้วยผลของความหมั่น. อิสระชนมีพระราชามหาอำมาตย์

ของพระราชาเป็นต้น ชื่อว่าดำรงชีพอยู่ด้วยผลของความหมั่น และดำรง

ชีพอยู่ด้วยผลของกรรม. พวกสัตว์นรกดำรงชีพอยู่ด้วยผลของความหมั่น

ก็มิใช่ ด้วยผลของกรรมก็มิใช่. ผลบุญนั่นแล ท่านประสงค์ว่าผลของกรรม

ในสูตรนี้ ผลบุญนั้นไม่มีแก่พวกสัตว์นรกเหล่านั้น.

จบอรรถกถาอุฏฐานสูตรที่ ๔

๕. สาวัชชสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

สาวชฺโช บุคคลมีโทษ

วชฺชพหุโล บุคคลมีโทษมาก

อปฺปวชฺโช บุคคลมีโทษน้อย

อนวชฺโช บุคคลไม่มีโทษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 353

บุคคลมีโทษเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วยกาย-

กรรมอันมีโทษ วจีกรรมอันมีโทษ มโนกรรมอันมีโทษ อย่างนี้แล บุคคล

มีโทษ

บุคคลมีโทษมากเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วย

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันมีโทษเป็นส่วนมาก ที่ไม่มีโทษเป็น

ส่วนน้อย อย่างนี้แล บุคคลมีโทษมาก

บุคคลมีโทษน้อยเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วย

กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันไม่มีโทษเป็นส่วนมาก ที่มีโทษเป็น

ส่วนน้อย อย่างนี้แล บุคคลมีโทษน้อย

บุคคลไม่มีโทษเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนในโลกนี้ประกอบด้วย

กายกรรมอันไม่มีโทษ วจีกรรมอันไม่มีโทษ มโนกรรมอันไม่มีโทษ อย่าง

นี้แล บุคคลไม่มีโทษ.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบสาวัชชสูตรที่ ๕

อรรถกถาสาวัชชสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสาวัชชสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

คนจำพวกที่หนึ่ง ได้แก่ ปุถุชนคนโง่เขลา จำพวกที่สอง ได้แก่

โลกิยปุถุชนผู้บำเพ็ญกุศลในระหว่าง ๆ จำพวกที่สาม ได้แก่ พระโสดาบัน ถึง

พระสกทาคามีและอนาคามี ก็รวมกับคนจำพวกที่สามนั้นเหมือนกัน จำพวก

ที่สี่ ได้แก่พระขีณาสพ จริงอยู่ พระขีณาสพนั้น หาโทษมิได้โดยส่วนเดียว.

จบอรรถกถาสาวัชชสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 354

๖. ปฐมสีลสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์ในศีล ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา ๑

บุคคลบางคนเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล แต่ไม่ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา ๑

บุคคลบางคนเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ แต่

ไม่ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา ๑

บุคคลบางคนเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ

ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา ๑

นี้แล บุคคล ๑ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบปฐมสีลสูตรที่ ๖

อรรถกถาปฐมสีลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมสีลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

คนจำพวกที่หนึ่ง ได้แก่โลกิยมหาชน จำพวกที่สอง ได้แก่พระ-

โสดาบันและพระสกทาคามี ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน จำพวกที่สาม ได้แก่

พระอนาคามี จริงอยู่ พระอนาคามีนั้น เพราะเหตุที่ได้ฌานที่ทำอุปบัติให้เกิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 355

แม้ขณะนั้น ฉะนั้น ท่านแม้บำเพ็ญวิปัสสนาล้วน ก็ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ

โดยแท้ จำพวกที่สี่ ได้แก่พระขีณาสพเท่านั้น จริงอยู่ พระขีณาสพนั้น

ชื่อว่าทำให้บริบูรณ์ในศีลสมาธิและปัญญาทั้งหมด เพราะท่านละธรรมที่เป็น

ข้าศึกต่อศีลเป็นต้นทั้งหมดได้แล้ว.

จบอรรถกถาปฐมสีลสูตรที่ ๗

๗. ทุติยสีลสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่หนักในศีล สมาธิ ปัญญา ไม่มีศีล สมาธิ

ปัญญาเป็นอธิปไตย ๑

บุคคลบางคนเป็นผู้หนักในศีล มีศีลเป็นอธิปไตย แต่ไม่หนักใน

สมาธิ ปัญญา ไม่มีสมาธิ ปัญญาเป็นอธิปไตย ๑

บุคคลบางคนเป็นผู้หนักในศีล สมาธิ มีศีล สมาธิ เป็นอธิปไตย

แต่ไม่หนักในปัญญา ไม่มีปัญญาเป็นอธิปไตย ๑

บุคคลบางคนเป็นผู้หนักในศีล สมาธิ ปัญญา มีศีล สมาธิ ปัญญา

เป็นอธิปไตย ๑

นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบทุติยสีลสูตรที่ ๗

แม้ในทุติยสีลสูตรที่ ๗ พึงทราบการกำหนดบุคคล โดยนัยอันกล่าว

แล้วในปฐมสีลสูตรที่ ๖.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 356

๘. นิกกัฏฐสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน คือ

นิกฺกฏฺากาโย อนิกฺกฏฺจิตฺโต บุคคลมีกายออก แต่จิตไม่ออก

อนิกฺกฏฺกาโย นิกฺกฏฺจิตฺโต บุคคลมีกายไม่ออก แต่จิตออก

อนิกฺกฏฺกาโย จ อนิกฺกฏฺจิตฺโต จ บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก

นิกฺกฏฺกาโย จ นิกฺกฏฺจิตฺโต จ บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออก

บุคคลมีกายออก แต่จิตไม่ออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนเสพ

เสนาสนะป่าเงียบสงัด แต่บุคคลนั้นตรึกกามตกบ้าง พยาบาทวิตกบ้าง

วิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะป่าเงียบสงัดนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายออก

แต่จิตไม่ออก

บุคคลมีกายไม่ออก แต่จิตออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนมิได้

เสพเสนาสนะป่าเงียบสงัดเลย แต่บุคคลนั้นตรึกเนกขัมมวิตกบ้าง อพยาบาท-

วิตกบ้าง อวิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายไม่ออก

แต่จิตออก

บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนมิได้

เสพเสนาสนะป่าเงียบสงัด ทั้งตรึกกามวิตกบ้าง พยาบาทวิตกบ้าง วิหิงสา-

วิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายก็ไม่ออก จิตก็ไม่ออก

บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออกเป็นอย่างไร ? บุคคลบางคนเสพ

เสนาสนะป่าเงียบสงัด ทั้งตรึกเนกขัมมวิตกบ้าง ตรึกอพยาบาทวิตกบ้าง ตรึก

อวิหิงสาวิตกบ้าง ในเสนาสนะนั้น อย่างนี้แล บุคคลมีกายก็ออก จิตก็ออก

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบนิกกัฏฐสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 357

อรรถกถานิกกัฏฐสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิกกัฏฐสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นิกฺกฏฺกาโย แปลว่า มีกายออกไป. บทว่า อนิกฺกฏฺจิตฺโต

แปลว่า มีจิตไม่ออก. ท่านอธิบายว่า คนมีกายเท่านั้นออกจากบ้าน แม้อยู่ใน

ป่า ก็ยังเอาจิตเข้าบ้านอยู่นั่นเอง. เนื้อความในบททุกบท พึงทราบโดยนัยนี้.

จบอรรถกถานิกกัฏฐสูตรที่ ๘

๙. ธัมมกถิกสูตร

ว่าด้วยธรรมกถึก ๔ จำพวก

[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมกถึก ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวก

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ กล่าวธรรมน้อย

และไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็เป็นผู้ไม่ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่

ประโยชน์ ธรรมกถึกเห็นปานนี้ ย่อมถึงการนับว่า เป็นธรรมกถึกสำหรับ

บริษัทเห็นปานนั้น ๑ อนึ่ง ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวธรรมน้อย

และประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็เป็นผู้ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่ประ-

โยชน์ ธรรมกถึกเห็นปานนี้ ย่อมถึงการนับว่า เป็นธรรมกถึกสำหรับบริษัท

เป็นปานนั้น ๑ อนึ่ง ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวธรรมมาก แต่

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็เป็นผู้ไม่ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่

ประโยชน์ ธรรมกถึกเห็นปานนี้ ย่อมถึงการนับว่า เป็นธรรมกถึกสำหรับ

บริษัทเห็นปานนั้น ๑ อนึ่ง ธรรมกถึกบางคนในโลกนี้ ย่อมกล่าวธรรมมาก

และประกอบด้วยประโยชน์ ทั้งบริษัทก็เป็นผู้ฉลาดต่อประโยชน์และมิใช่

ประโยชน์ ธรรมกถึกเห็นปานนี้ ย่อมถึงการนับว่า เป็นธรรมกถึกสำหรับ

บริษัทเห็นปานนั้น ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมกถึก ๔ จำพวกนี้แล.

จบธัมมกถิกสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 358

อรรถกถาธัมมกถิกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในธัมมกถิกสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสหิต คือ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์. บทว่า น กุสลา

โหติ คือ เป็นผู้ฉลาด. บทว่า สหิตาสหิตสฺส ความว่า ต่อสิ่งที่

ประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์. เนื้อความในบท

ทั้งปวงพึงทราบอย่างนี้.

จบอรรถกถาธัมมกถิกสูตรที่ ๙

๑๐. วาทีสูตร

ว่าด้วยนักพูด ๔ จำพวก

[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักพูด ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวกเป็นไฉน ?

นักพูดย่อมจำนนโดยอรรถ แต่ไม่จำนนโดยพยัญชนะก็มี นักพูดจำนนโดย

พยัญชนะแต่ไม่จำนนโดยอรรถก็มี นักพูดจำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะ

ก็มี นักพูดไม่จำนนทั้งโดยอรรถทั้งโดยพยัญชนะก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นักพูด ๔ จำพวกนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุผู้ประกอบด้วยปฏิสัม-

ภิทา ๔ พึงถึงความจำนนโดยอรรถหรือโดยพยัญชนะ นี้ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่

โอกาส.

จบวาทีสูตรที่ ๑๐

จบปุคคลวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 359

อรรถกถาวาทีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวาทีสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺถโต ปริยาทาน คจฺฉติ ความว่า นักพูดถูกถามถึง

คำอรรถก็ยอมจำนนสิ้นท่าไม่สามารถจะตอบโต้. บทว่า โน พฺยญฺชนโต

ความว่า แต่พยัญชนะของเขายังไปได้ ก็ไม่ยอมจำนน. ในบททุกบทก็นัยนี้แล.

จบอรรถกถาวาทีสูตรที่ ๑๐

จบปุคคลวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังโยชนสูตร ๒. ปฏิภาณสูตร ๓. อุคฆฏิตัญญุสูตร ๔. อุฏ-

ฐานสูตร ๕. สาวัชชสูตร ๖. ปฐมสีลสูตร ๗. ทุติยสีลสูตร ๘. นิกกัฏฐ-

สูตร ๙. ธัมมกถิกสูตร ๑๐. วาทีสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 360

อาภาวรรคที่ ๕

๑. อาภาสูตร

ว่าด้วยแสงสว่าง ๔

[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสงสว่าง ๔ นี้ ฯลฯ คือ

จนฺทาภา แสงสว่างแห่งดวงจันทร์

สุริยาภา แสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์

อคฺคาภา แสงสว่างแห่งไฟ

ปญฺาภา แสงสว่างแห่งปัญญา

นี้แล แสงสว่าง ๔ ภิกษุทั้งหลาย บรรดาแสงสว่าง ๔ นี้ แสงสว่าง

แห่งปัญญาเป็นเลิศ.

จบอาภาสูตรที่ ๑

อาภาวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาอาภาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาภาสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

ดวงจันทร์นั้นแล ชื่อว่าจันทาภา ด้วยอำนาจส่องรัศมี. แม้ในบท

ที่เหลือก็นัยนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 361

แม้ในสูตรที่สองเป็นต้น ดวงจันทร์ ชื่อว่าจันทาภา ด้วยอำนาจ

ส่องแสง. ดวงจันทร์ ชื่อว่าจันทาโลก ด้วยอำนาจส่องสว่าง. ดวงจันทร์

ชื่อว่าจันโทภาส ด้วยอำนาจเปล่งแสง. ดวงจันทร์ ชื่อว่าจันทัปปัชโชต ด้วย

อำนาจส่องโชติช่วง. เนื้อความในบททั้งปวงพึงทราบอย่างนี้.

จบอรรถกถาอาภาสูตรที่ ๑

๒. ปภาสูตร

ว่าด้วยแสง ๔ ประการ

[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แสง ๔ นี้ ฯลฯ คือ

จนฺทปฺปภา แสงดวงจันทร์

สุริยปฺปภา แสงดวงอาทิตย์

อคฺคิปฺปภา แสงไฟ

ปญฺาปภา แสงปัญญา

นี้แล แสง ๔ ประการ ภิกษุทั้งหลาย บรรดาแสง ๔ นี้ แสงปัญญา

เป็นเลิศ.

จบปภาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 362

๓. อาโลกสูตร

ว่าด้วยความสว่าง ๔

[๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสว่าง ๔ นี้ ฯลฯ คือ

จนฺทาโลโก ความสว่างแห่งดวงจันทร์

สุริยาโลโก ความสว่างแห่งดวงอาทิตย์

อคฺคาโลโก ความสว่างแห่งไฟ

ปญฺาโลโก ความสว่างแห่งปัญญา

นี้แล ความสว่าง ๔ ภิกษุทั้งหลาย บรรดาความสว่าง ๔ นี้

ความสว่างแห่งปัญญาเป็นเลิศ.

จบอาโลกสูตรที่ ๓

๔. โอภาสสูตร

ว่าด้วยโอภาส ๔

[๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โอภาส ๔ นี้ ฯลฯ คือ

จนฺโทภาโส โอภาสแห่งดวงจันทร์

สุริโยภาโส โอภาสแห่งดวงอาทิตย์

อคฺคภาโส โอภาสแห่งไฟ

ปญฺโภาโส โอภาสแห่งปัญญา

นี้แล โอภาส ๔ ภิกษุทั้งหลาย บรรดาโอภาส ๔ นี้ โอภาสแห่งปัญญา

เป็นเลิศ.

จบโอภาสสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 363

๕. ปัชโชตสูตร

ว่าด้วยความโพลง ๔

[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความโพลง ๔ นี้ ฯลฯ คือ

จนฺทปฺปชฺโชโต ความโพลงแห่งดวงจันทร์

สุริยปฺปชฺโชโต ความโพลงแห่งดวงอาทิตย์

อคฺคิปฺปชฺโชโต ความโพลงแห่งไฟ

ปญฺาปชฺโชโต ความโพลงแห่งปัญญา

นี้แล ความโพลง ๔ ภิกษุทั้งหลาย บรรดาความโพลง ๔ นี้

ความโพลงแห่งปัญญาเป็นเลิศ.

จบปัชโชตสูตรที่ ๕

๖. ปฐมกาลสูตร

ว่าด้วยกาล ๔

[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ นี้ ฯลฯ คือ

กาเลน ธมฺมสฺสวน การฟังธรรมตามกาล

กาเลน ธมฺมสากจฺฉา การสนทนาธรรมตามกาล

กาเลน สมโถ การทำสมถะตามกาล

กาเลน วิปสฺสนา การทำวิปัสสนาตามกาล

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล กาล ๔.

จบปฐมกาลสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 364

อรรถกถาปฐมกาลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมกาลสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาลา คือกาลที่เหมาะที่ควร. บทว่า กาเลน ธมฺมสฺสวน

ได้แก่ การฟังธรรมในเวลาที่เหมาะที่ควร. บทว่า ธมฺมสากจฺฉา ความว่า

การสนทนาที่เป็นไปด้วยอำนาจการถามและการตอบปัญหา.

จบอรรถกถาปฐมกาลสูตรที่ ๖

๗. ทุติยกาลสูตร

ว่าด้วยกาล ๔

[๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาล ๔ นี้ อันบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ

เปลี่ยนแปลงโดยชอบอยู่ ย่อมจะยังบุคคลให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับ กาล

๔ คืออะไร คือ ฟังธรรมตามกาล ๑ สนทนาธรรมตามกาล ๑ ทำ

สมถะตามกาล ๑ ทำวิปัสสนาตามกาล ๑ นี้แลกาล ๔ บุคคลบำเพ็ญ

โดยชอบ เปลี่ยนแปลงโดยชอบอยู่ ย่อมจะยังบุคคลให้ถึงความสิ้นอาสวะโดย

ลำดับ

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดหนาตกบนภูเขา น้ำไหลไป

ตามที่ลุ่ม ยังซอกเขาและลำรางทางน้ำให้เต็ม ซอกเขาและลำรางทางน้ำเต็ม

แล้ว ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้ว ย่อมยังบึงให้เต็ม บึงเต็มแล้ว

ย่อมยังคลองให้เต็ม คลองเต็มแล้ว ย่อมยังแม่น้ำให้เต็ม แม่น้ำเต็มแล้ว

ย่อมยังทะเลให้เต็ม ฉันใด กาล ๔ นี้ เมื่อบุคคลบำเพ็ญโดยชอบ เปลี่ยนแปลง

โดยชอบอยู่ ย่อมยังบุคคลให้ถึงความสิ้นอาสวะโดยลำดับฉันนั้นแล.

จบทุติยกาลสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 365

อรรถกถาทุติยกาลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยกาลสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาลา นั่นเป็นชื่อแห่งกุศลธรรมที่เป็นไปด้วยอำนาจการฟัง

ธรรมเป็นต้นในกาลนั้น ๆ กาลเหล่านั้น จักแจ่มชัด และจักเป็นไป. บทว่า

อาสวาน ขย ได้แก่ พระอรหัต.

จบอรรถกถาทุติยกาลสูตรที่ ๗

๘. ปฐมจริตสูตร

ว่าด้วยวจีทุจริต ๔

[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ นี้ ฯลฯ คือ

มุสาวาโท พูดเท็จ

ปิสุณา วาจา พูดส่อเสียด

ผรุสา วาจา พูดคำหยาบ

สมฺผปฺปลาโป พูดเหลวไหล

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล วจีทุจริต ๔.

จบปฐมจริตสูตรที่ ๘

ปฐมจริตสูตรที่ ๘ ง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 366

๙. ทุติยจริตสูตร

ว่าด้วยวจีสุจริต ๔

[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ นี้ ฯลฯ คือ

สจฺจวาจา พูดจริง

อปิสุณวาจา ไม่พูดส่อเสียด

สณฺหวาจา พูดสุภาพ

มนฺตาภาสา พูดด้วยปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล วจีสุจริต ๔.

จบทุติยจริตสูตรที่ ๙

อรรถกถาทุติยจริตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยจริตสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สณฺหวาจา ได้แก่ วาจาอ่อนโยน. บทว่า มนฺตาภาสา

ได้แก่ เรื่องที่กำหนดด้วยปัญญา ที่เรียกว่ามันตาแล้ว จึงกล่าว.

จบอรรถกถาทุติยจริตสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 367

๑๐. สารสูตร

ว่าด้วยสาระ ๔ ประการ

[๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สาระ ๔ นี้ ฯลฯ คือ สีลสาระ

สมาธิสาระ ปัญญาสาระ วิมุตติสาระ นี้แล สาระ ๔ ประการ.

จบสารสูตรที่ ๑๐

จบอาภาวรรคที่ ๕

จบตติยปัณณาสก์

อรรถกถาสารสูตร

สารสูตรที่ ๑๐ บทว่า สีลสาโร คือศีลที่ให้ถึงสาระ. แม้ในบทที่เหลือ

ก็นัยนี้แล.

จบอรรถกถาสารสูตรที่ ๑๐

จบอาภาวรรควรรณนาที่ ๕

จบตติยปัณณาสก์

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ลาภาสูตร ๒. ปภาสูตร ๓. อาโลกสูตร ๔.โอภาสสูตร

๕. ปัชโชตสูตร ๖. ปฐมกาลสูตร ๗. ทุติยกาลสูตร ๘. ปฐมจริตสูตร

๙. ทุติยจริตสูตร ๑๐. สารสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 368

จตุตถปัณณาสก์

อินทริยวรรคที่ ๑

๑. อินทริยสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๔ ประการ

[๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๔ ประการนี้ ฯลฯ คือ

สทฺธินฺทฺริย อินทรีย์คือศรัทธา

วิริยินฺทฺริย อินทรีย์คือวิริยะ

สมาธินฺทฺริย อินทรีย์คือสมาธิ

ปญฺินฺทฺริย อินทรีย์คือปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล อินทรีย์ ๔.

จบอินทริยสูตรที่ ๑

จตุตถปัณณาสก์

อินทริยวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาอินทริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอินทริยสูตรที่ ๑ แห่งปัณณาสก์ที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า สัทธินทรีย์ เพราะทำความเป็นใหญ่ในสัทธาธุระ. แม้

ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล.

จบอรรถกถาอินทริยสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 369

๒. ปฐมพลสูตร

ว่าด้วยพละ ๔

[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ นี้ ฯลฯ คือ

สทฺธาพล พละคือศรัทธา

วิริยพล พละคือวิริยะ

สมาธิพล พละคือสมาธิ

ปญฺาพล พละคือปัญญา

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล พละ ๔.

จบปฐมพลสูตรที่ ๒

ปฐมพลสูตรที่ ๒ ชื่อว่า สัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวใน

อัสสัทธิยะ (ความไม่เชื่อ). เเม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้แล.

๓. ทุติยพลสูตร

ว่าด้วยพละ ๔

[๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ นี้ ฯลฯ คือ

ปญฺาพล พละคือปัญญา

วิริยพล พละคือวิริยะ

อนวชฺชพล พละคือกรรมอันไม่มีโทษ

สงฺคาหกพล พละคือการสงเคราะห์คนที่ควร

สงเคราะห์

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล พละ ๔.

จบทุติยพลสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 370

อรรถกถาทุติยพลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทุติยพลสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนวชฺชพล คือ พละคือกรรมที่ไม่มีโทษ. บทว่า สงฺคา-

หกพล ได้แก่ พละคือการสงเคราะห์คนที่ควรสงเคราะห์.

จบอรรถกถาทุติยพลสูตรที่ ๓

๔. ตติยพลสูตร

ว่าด้วยพละ ๔

[๑๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ นี้ ฯลฯ คือ

สติพล พละคือสติ

สมาธิพล พละคือสมาธิ

อนวชฺชพล พละคือกรรมไม่มีโทษ

สงฺคาหกพล พละคือการสงเคราะห์คนที่ควร

สงเคราะห์

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล พละ ๔.

จบตติยพลสูตรที่ ๔

ตติยพลสูตรที่ ๔ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 371

๕. จตุตถพลสูตร

ว่าด้วยพละ ๔

[๑๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๔ นี้ ฯลฯ คือ

ปฏิสงฺขานพล พละคือการพิจารณา

ภาวนาพล พละคือการทำกุศล

อนวชฺชพล พละคือกรรมไม่มีโทษ

สงฺคาหกพล พละคือการสงเคราะห์คนที่ควร

สงเคราะห์

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล พละ ๔.

จบจตุตถพลสูตรที่ ๕

จตุตถพลสูตรที่ ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

๖. กัปปสูตร

ว่าด้วยอสงไขย ๔ แห่งกัป

[๑๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสงไขย (คือระยะกาลที่นานนับไม่ได้)

แห่งกัป ๔ นี้ อสงไขย ๔ เป็นไฉน คือ

๑. สังวัฏกัป คือระยะกาลเมื่อกัปเสื่อม ยากที่จะนับว่าเท่านั้นปี

เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี หรือเท่านั้นแสนปี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 372

๒. สังกัฏฏัฏฐายีกัป คือระยะกาลเมื่อกัปอยู่ในระหว่างพินาศ ก็ยาก

ที่จะนับว่าเท่านั้นปี เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี หรือเท่านั้นแสนปี

๓. วิวัฏกัป คือระยะกาลเมื่อกัปกลับเจริญ ก็ยากที่จะนับว่าเท่านั้น ปี

เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี หรือเท่านั้นแสนปี

๔. วิวัฏฏัฏฐายีกัป คือระยะกาลเมื่อกัปอยู่ในระหว่างเจริญ ก็ยากที่

จะนับว่าเท่านั้นปี เท่านั้นร้อยปี เท่านั้นพันปี หรือเท่านั้นแสนปี

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล อสงไขย ๔ แห่งกัป.

จบกัปปสูตรที่ ๖

อรรถกถากัปปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกัปปสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า สวฏฺโฏ นี้ ความเสื่อม ๓ คือ ความเสื่อมด้วยน้ำ ๑

ความเสื่อมด้วยไฟ ๑ ความเสื่อมด้วยลม ๑. เขตความเสื่อมมี ๓ คือ

อาภัสสรพรหม สุภกิณหพรหม เวหัปผลพรหม. ในคราวที่กัปเสื่อม

ด้วยไฟ ไฟย่อมไหม้ภายใต้แต่อาภัสสรพรหม. ในคราวที่เสื่อมด้วยน้ำ น้ำย่อม

ละลายแต่ภายใต้สุภกิณหพรหม. ในคราวทรามเสื่อมด้วยลม ลมย่อมทำลายภายใต้

แต่เวหัปผลพรหม. แต่เมื่อกล่าวโดยพิสดาร พุทธเขตแห่งหนึ่งย่อมพินาศ

ได้ทุกเมื่อ. นี้เป็นความสังเขปในที่นี้. ส่วนเรื่องพิสดาร ผู้ศึกษาพึงทราบได้

โดยนัยอันกล่าวไว้แล้ว ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

จบอรรถกถากัปปสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 373

๗. โรคสูตร

ว่าด้วยโรค ๒ อย่าง

[๑๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรค ๒ อย่างนี้ โรค ๒ อย่างเป็นไฉน

คือ โรคกาย ๑ โรคใจ ๑ ปรากฏอยู่ว่าสัตว์ทั้งหลายผู้ยืนยันว่าไม่มีโรค

ทางกายตลอดเวลา ๑ ปีก็มี ยืนยันว่าไม่มีโรคทางกายตลอดเวลา ๒ ปีก็มี

๓ ปีก็มี ๔ ปีก็มี ๕ ปีก็มี ๑๐ ปีก็มี ๒๐ ปีก็มี ๓๐ ปีก็มี ๔๐ ปีก็มี ๕๐ ปีก็มี

๑๐๐ ปีก็มี ยิ่งกว่า ๑๐๐ ปีก็มี แต่ว่าผู้ที่จะยืนยันว่าไม่มีโรคทางใจแม้เพียง

เวลาครู่เดียวนั้นหาได้ยากในโลก เว้นแต่พระขีณาสพ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โรคของบรรพชิต ๔ อย่างนี้ โรคของบรรพชิต

๔ อย่างเป็นไฉน คือ

๑. ภิกษุเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ ไม่สันโดษด้วยจีวร

บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยทามมีตามได้

๒. ภิกษุนั้นเมื่อเป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจอยู่เสมอ ไม่สันโดษ

ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยตามมีตามได้แล้ว ย่อมตั้งความ

ปรารถนาลามก เพื่อจะได้ความยกย่องเพื่อจะได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ

๓. ภิกษุนั้นวิ่งเต้นขวนขวายพยายาม เพื่อจะได้ความยกย่องเพื่อจะ

ได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ

๔. ภิกษุนั้น เข้าสู่ตระกูลเพื่อให้เขานับถือ นั่งอยู่ (ในตระกูล) เพื่อ

ให้เขานับถือ กล่าวธรรม (ในตระกูล) เพื่อให้เขานับถือ กลั้นอุจจาระ

ปัสสาวะอยู่ (ในตระกูล) ก็เพื่อให้เขานับถือ

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล โรคของบรรพชิต ๔ อย่าง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 374

เพราะเหตุนั้น ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจัก

ไม่เป็นผู้มักมาก มีความร้อนใจ ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัยตามมีตามได้ จักไม่ตั้งความปรารถนาลามกเพื่อจะได้ความยกย่อง

เพื่อจะได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ จักไม่วิ่งเต้นขวนขวายพยายามเพื่อ

ให้ได้ความยกย่อง เพื่อให้ได้ลาภสักการะและความสรรเสริญ จักเป็นผู้อดทน

ต่อ หนาว ร้อน หิว ระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ

สัตว์เสือกคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำอันหยาบคายร้ายแรงต่าง ๆ เป็นผู้อดกลั้น

ต่อเวทนาที่เกิดในกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขึ้น ไม่เจริญใจพอจะ

ปล้นชีวิตเสียได้ ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายพึงสำเหนียกอย่างนี้แล.

จบโรคสูตรที่ ๗

อรรถกถาโรคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโรคสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิฆาตวา ได้แก่ ประกอบด้วยความร้อนใจคือทุกข์ มีความ

มักมากเป็นปัจจัย. บทว่า อสนฺตุฏโ ได้แก่ เป็นผู้ไม่สันโดษ ด้วยสันโดษ

๓ ในปัจจัย ๔. บทว่า อนวญฺปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ความยกย่อง

จากผู้อื่น. บทว่า ลาภสกฺการสิโลกปฏิลาภาย ได้แก่ เพื่อได้ลาภสักการะ

อันได้แก่ปัจจัย ๔ ที่เขาจัดไว้เป็นอย่างดี และความสรรเสริญ อันได้แก่การ

กล่าวยกย่อง. บทว่า สงฺขาย กุลานิ อุปสงฺกมติ ได้แก่ เข้าไปสู่ตระกูล

เพื่อรู้ว่า ชนเหล่านี้รู้จักเราไหม. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาโรคสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 375

๘. ปริหานิสูตร

ว่าด้วยพิจารณาเห็นธรรม ๔

[๑๕๘] พระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายมา ฯลฯ แสดงธรรมว่า

อาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็น

ธรรม ๔ ประการมีอยู่ในตน ผู้นั้นพึงสันนิษฐานได้ว่าตนเสื่อมจากกุศลธรรม

ทั้งหลาย เพราะการที่มีธรรม ๔ ประการอยู่ในคนนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่าเป็นความเสื่อม ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความมีราคะ

หนาแน่น ๑ ความมีโทสะหนาแน่น ๑ ความมีโมหะหนาแน่น ๑

ไม่มีปัญญาจักษุก้าวไปในฐานะและอฐานะอันลึก ๑ ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็น

ภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม ๔ ประการนี้มีอยู่ในตน พึง

สันนิษฐานได้ว่าตนเสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการที่มีธรรม ๔ ประการ

นี้อยู่ในตนนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นความเสื่อม

อาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พิจารณา

เห็นธรรม ๔ ประการนี้มีอยู่ในตน พึงสันนิษฐานได้ว่าคนไม่เสื่อมจากกุศล-

ธรรมทั้งหลาย เพราะการที่มีธรรม ๔ ประการนั้นอยู่ในตนนั่น พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ความ

มีราคะเบาบาง ๑ ความมีโทสะเบาบาง ๑ ความมีโมหะเบาบาง ๑

มีปัญญาจักษุก้าวไปในฐานะและอฐานะอันลึก ๑ ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุ

ก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พิจารณาเห็นธรรม ๔ ประการที่มีอยู่ในตน พึงสัน-

นิษฐานได้ว่าตนไม่เสื่อมจากกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะการที่มีธรรม ๔ ประการ

นี้อยู่ในตนนั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าเป็นความไม่เสื่อม.

จบปริหานิสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 376

อรรถกถาปริหานิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปริหานิสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า คมฺภีเรสุ ได้แก่ ลึกโดยอรรถ. บทว่า านาาเนสุ

ได้แก่ ในเหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า น กมติ ได้แก่ ไม่นำไปคือไม่เป็นไป.

ในบทว่า ปญฺาจกฺขุ นี้ แม้ปัญญาเกิดจากการเรียน การสอบถามก็ควร

แม้ปัญญาเกิดจากการพิจารณา การแท้งตลอดก็ควร.

จบอรรถกถาปริหานิสูตรที่ ๘

๙. ภิกขุนีสูตร

ว่าด้วยภิกษุณีส่งบุรุษไปหาพระอานนท์

[๑๕๙] สมัยหนึ่ง พระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี

ครั้งนั้น ภิกษุณีรูปหนึ่งเรียกบุรุษผู้หนึ่งมาสั่งว่า มานีแน่ะท่าน ขอท่านจงไป

หาพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ ไปถึงแล้วจงกราบเท้าพระผู้เป็นเจ้าอานนท์ตามคำ

ของข้าพเจ้าว่า ภิกษุณีชื่อนี้อาพาธเสวยทุกขเวทนาเป็นไข้หนัก เธอกราบเท้า

พระผู้เป็นเจ้าอานนท์ ดังนี้แล้วจงกราบเรียนว่า สาธุ ขอพระผู้เป็นเจ้าอานนท์

จงได้กรุณาไปเยี่ยมภิกษุณีนั้น ณ สำนักภิกษุณีด้วยเถิด

บุรุษนั้นรับคำแล้ว ไปหาพระอานนท์ ไปถึง อภิวาทแล้วนั่งลง

ข้างหนึ่ง จึงกราบเรียนตามที่ภิกษุณีนั้นสั่งมา พระอานนท์รับโดยดุษณีภาพ

ครั้งนั้น เวลาเช้า พระอานนท์ครองสบงแล้วถือบาตรและจีวรไป

สำนักภิกษุณี ภิกษุณีรูปนั้นเห็นท่านแต่ไกล (แสร้ง) นอนคลุมโปงอยู่บนเตียง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 377

ท่านเข้าไปถึงที่ภิกษุณีนั้นแล้ว นั่ง ณ อาสนะที่เขาจัดไว้ ครั้นนั่งแล้วจึงกล่าว

กะภิกษุณีนั้นว่า

ดูก่อนน้องหญิง ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยอาหาร เธอพึงอาศัยอาหาร

ละอาหารเสีย

ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยตัณหา เธอพึงอาศัยตัณหาละตัณหาเสีย

ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยนานะ เธอพึงอาศัยมานะละมานะเสีย

ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยเมถุน ควรละเมถุนนั้นเสีย เมถุนนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนให้ชักสะพานเสีย

ดูก่อนน้องหญิง ก็ข้อที่เรากล่าวว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยอาหาร

เธอพึงอาศัยอาหารละอาหารเสีย ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้วน้องหญิง

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วจึงกลืนกินอาหาร มิใช่

บริโภคเพื่อเล่น มิใช่เพื่อเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อประเทืองผิว เพียง

เพื่อความตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้ เพื่อยังชีวิตให้เป็นไป เพื่อระงับความกระหายหิว

เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่า ด้วยการกินอาหารนี้ เราจักระงับ

เวทนาเก่าด้วย จักไม่ยังเวทนาใหม่ให้เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไปได้ ความ

ไม่มีโทษ และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เรา ต่อมา ภิกษุนั้นก็อาศัยอาหารละอาหาร

เสีย ดูก่อนน้องหญิง ข้อที่เรากล่าวว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยอาหาร

เธอพึงอาศัยอาหารละอาหารเสีย ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้แลกล่าวแล้ว

ก็ข้อที่ว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยตัณหา เธอพึงอาศัยตัณหาละตัณหา

เสีย นี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้ยินข่าวว่า

ภิกษุชื่อนั้น เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ เธอมี

ความปรารถนาว่า เมื่อไรนะ เราจักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 378

สำเร็จอยู่ในปัจจุบันบ้าง ต่อมาเธอก็อาศัยตัณหาละตัณหาเสีย น้องหญิง

ข้อที่ว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยตัณหา เธอพึงอาศัยตัณหาละตัณหาเสีย นี้

เราอาศัยข้อนี้แลกล่าวแล้ว

ข้อที่ว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยมานะ บุคคลพึงอาศัยมานะละมานะ

เสีย นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้ยินข่าวว่า

ภิกษุชื่อนั้น เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

ฯลฯ สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ เธอคิด (เปรียบเทียบ) ว่า ที่ท่านผู้นั้นยังทำให้

แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ฯลฯ สำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี้ได้ ก็เราเป็น

ไรเล่า ต่อมา เธอก็อาศัยมานะละมานะได้ น้องหญิง ข้อที่ว่า ร่างกายนี้เกิด

เป็นมาด้วยมานะ บุคคลพึงอาศัยมานะละมานะเสีย นั้น เราอาศัยข้อนี้แล

กล่าวแล้ว

ดูก่อนน้องหญิง ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยเมถุน ต้องละเมถุนนั้น

เมถุนนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนให้ชักสะพานเสีย

พอพระอานนท์กล่าวจบความนี้ลง ภิกษุณีรูปนั้นลุกขึ้นลงจากเตียง

ห่มผ้าเฉวียงบ่า หมอบลงแทบเท้าพระอานนท์ กล่าวคำขอขมาว่า ข้าแต่พระ

ผู้เป็นเจ้าผู้เจริญ ความผิด (ฐานอคารวะ) ได้เกิดแก่ข้าพเจ้าแล้ว โดยที่เขลา

โดยที่หลง โดยที่ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพเจ้าได้การทำอย่างนี้ ขอพระผู้เป็นเจ้า

อานนท์จงยกโทษ เพื่อข้าพเจ้าจะสังวรต่อไป

พระอานนท์กล่าวว่า เอาเถอะ น้องหญิง ความผิดเกิดแก่เธอแล้ว

โดยที่เขลา โดยที่หลง โดยที่ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้กระทำอย่างนี้ เมื่อเธอเห็น

ความผิดแล้วทำคืนตามวิธีที่ชอบ เราย่อมยกโทษให้ อันการที่เห็นความ

ผิดแล้วทำคืนตามวิธีที่ชอบ ถึงความสังวรต่อไป นั่นเป็นความเจริญในวินัย

ของพระอริยะ.

จบภิกขุนีสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 379

อรรถกถาภิกขุนีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภิกขุนีสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอหิ ตฺว ได้แก่ ภิกษุณีมีจิตปฏิพัทธ์ในพระเถระ จึงกล่าว

อย่างนี้ เพื่อส่งบุรุษนั้นไป. บทว่า สสีส ปารุปิตฺวา ได้แก่ คลุมกาย

ตลอดศีรษะ. บทว่า มญฺจเก นิปชฺชิ ได้แก่ ภิกษุณีรีบลาดเตียงแล้วนอน

บนเตียงนั้น. บทว่า เอตทโวจ ความว่า พระอานนท์สังเกตอาการของ

ภิกษุณีนั้น. จึงได้กล่าวกะภิกษุณีนั้น เพื่อแสดงอสุภกถาโดยนิ่มนวล เพื่อให้

ภิกษุณีละความโลภ.

บทว่า อาหารสมฺภูโต ได้แก่ ร่างกายนี้เกิดเป็นมาเพราะอาหาร

คือเจริญขึ้นเพราะอาศัยอาหาร. บทว่า อาหาร นิสฺสาย อาหาร ปชหติ

ความว่า บุคคลอาศัยกวฬีการาหารอันเป็นปัจจุบัน เสพอาหารนั้นโดยแยบคาย

อย่างนี้ ย่อมละอาหารกล่าวคือกรรมเก่า พึงละตัณหา อันเป็นความใคร่ใน

กวฬีการาหารแม้อันเป็นปัจจุบัน. บทว่า ตณฺห ปชหติ ความว่า บุคคล

อาศัยตัณหาอันเป็นปัจจุบันที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ ในบัดนี้ ย่อมละบุพตัณหา

อันมีวัฏฏะเป็นมูล. ถามว่า ก็ตัณหาอันเป็นปัจจุบันนี้เป็นกุศลหรืออกุศล.

ตอบว่า เป็นอกุศล. ถามว่า ควรเสพหรือไม่ควรเสพ. ตอบว่า ควรเสพ.

ถามว่า จะชักปฏิสนธิมาหรือไม่ชักมา. ตอบว่า ไม่ชักมา. แต่ควรละความใคร่

ในตัณหาที่ควรเสพ อันเป็นปัจจุบันแม้นี้เสียทีเดียว. บทว่า กิมงฺค ปน

ในบทว่า โส หิ นาม อายสฺมา อาสวาน ขยา ฯเปฯ อุปสมฺปชฺช

วิหริสฺสติ กิมงฺค ปนาห นี้ นั่นเป็นความปริวิตกถึงเหตุ. ท่าน

อธิบายข้อนี้ไว้ว่า ภิกษุนั้นจักทำอรหัตผลให้แจ้งอยู่ ด้วยเหตุไรเราจึงจักไม่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 380

ทำให้แจ้งอยู่เล่า แม้ภิกษุนั้น ก็เป็นบุตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้เราก็

เป็นบุตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนกัน อรหัตผลนั้น จักเกิดแก่เราบ้าง.

บทว่า มาน นิสฺสาย ได้แก่อาศัยมานะที่ควรเสพอันเกิดขึ้นแล้วอย่างนี้.

บทว่า มาน ปชหติ ได้แก่บุคคลละบุพมานะอันมีวัฏฏะเป็นมูล. อธิบายว่า

ก็บุคคลนั้น อาศัยมานะใดละมานะนั้นได้ แม้มานะนั้นก็เป็น อกุศล ควรเสพ

และไม่ชักปฏิสนธิมาดุจตัณหา แต่ควรละความใคร่แม้ในมานะนั้นเสีย. บทว่า

เสตุฆาโต วุตฺโต ภควตา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพุทธะ

ตรัสสอนให้ทำลายทาง คือ ทำลายปัจจัยเสีย. เมื่อพระเถระยักเยื้องเทศนาด้วย

องค์ ๔ เหล่านี้แล้ว ฉันทราคะ อันปรารภพระเถระเกิดขึ้นแก่ภิกษุณีนั้นได้หมด

ไปแล้ว. แม้ภิกษุณีนั้นก็ขอโทษที่ล่วงเกิน เพื่อให้พระเถระยกโทษให้. แม้

พระเถระก็รู้โทษที่ล่วงเกินของภิกษุณีนั้น. เพื่อแสดงถึงข้อนั้นท่านจึงกล่าว

คำเป็นอาทิว่า อถโข สา ภิกฺขุนี ดังนี้.

จบอรรถกถาภิกขุนีสูตรที่ ๙

๑๐. สุคตสูตร

ว่าด้วยแบบแผนคำสั่งสอนของพระสุคต

[๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระสุคตก็ดี วินัยพระสุคตก็ดี ยัง

ประดิษฐานอยู่ในโลก อันนั้นเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก เพื่อความสุขของ

คนมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เป็นความเจริญ เป็นผลดี เป็นความสุขแก่

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 381

ก็พระสุคตเป็นไฉน ? คือ ตถาคตเกิดขึ้นในโลกนี้ (อรห) เป็น

พระอรหันต์ (สมฺมาสมฺพุทฺโธ) เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ (วิชฺชาจรณ-

สมฺปนฺโน) เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ (สุคโต) เป็นผู้ไปดี

(โลกวิทู) เป็นผู้รู้แจ้งโลก (อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ) เป็นสารถีฝึก

คนไม่มีใครยิ่งกว่า (สตฺถา เทวมนุสฺสาน) เป็นผู้สอนเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย (พุทฺโธ) เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้เบิกบานแล้ว (ภควา) เป็นผู้

จำแนกธรรม นี้คือ พระสุคต

วินัยพระสุคตเป็นไฉน ? คือพระสุคตนั้นแสดงธรรมงามในเบื้องต้น

งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้ง

พยัญชนะ บริบูรณ์บริสุทธิ์สิ้นเชิง (ธรรมที่พระสุคตแสดง พรหมจรรย์

ที่พระสุคตประกาศ) นี้คือ วินัยพระสุคต

ภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระสุคตก็ดี วินัยพระสุคตก็ดี นี้ยังประดิษฐาน

อยู่ในโลก อันนั้นเป็นไปเพื่อเกื้อกูลแก่คนมาก เพื่อความสุขของคนมาก เพื่อ

อนุเคราะห์โลก เป็นความเจริญ เป็นผลดี เป็นความสุขแก่เทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้เป็นเหตุให้พระสัทธรรม

เลอะเลือนอันตรธานไป ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุทั้งหลายในพระวินัยนี้ เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาผิดด้วยบท

พยัญชนะที่ใช้ผิด เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ใช้ผิด ย่อมมีนัยอันผิดไปด้วย

นี้ธรรมประการที่ ๑ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่ายาก ประกอบด้วยธรรมอัน

ทำความว่ายาก ไม่อดทน ไม่รับคำสั่งสอนโดยเบื้องขวา นี้ธรรมประการที่ ๒

เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 382

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม

ทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุเหล่านั้นไม่เอาใจใส่บอกสอนแก่ผู้อื่น เมื่อภิกษุ

เหล่านั้นล่วงไป สูตรก็ขาดผู้เป็นมูล (อาจารย์) ไม่มีที่อาศัยสืบไป นี้ธรรม

ประการที่ ๓ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธานไป

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ใหญ่ ๆ เป็นผู้สะสมบริขาร ปฏิบัติย่อหย่อน

มุ่งไปทางจะลาสิกขา ทอดธุระในปวิเวก ไม่ทำความเพียร เพื่อถึงธรรมที่ยัง

ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง

ปัจฉิมชนตา (ประชุมชนผู้เกิดภายหลัง คือสัทธิวิหาริกและอันเตวาสิกเป็นต้น )

ได้เยี่ยงอย่างภิกษุผู้ใหญ่เหล่านั้น ก็พลอยเป็นผู้สะสมบริขาร ปฏิบัติย่อหย่อน

มุ่งไปทางจะลาสิกขา ทอดธุระในปวิเวก ไม่ทำความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยัง

ไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง

ไปตามกัน นี้ธรรมประการที่ ๔ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมเลอะเลือนอันตรธาน

ไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลธรรม ๔ ประการ เป็นเหตุให้พระสัทธรรม

เลอะเลือนอันตรธาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้เป็นเหตุให้พระสัทธรรม

ตั้งอยู่ ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ภิกษุทั้งหลายในพระวินัยนี้เล่าเรียนสูตรอันถือกันมาด้วยบทพยัญชนะ

ที่ใช้ถูกต้อง เนื้อความแห่งบทพยัญชนะที่ใช้ถูกต้องย่อมมีนัยอันถูกต้องเช่นกัน

นี้ธรรมประการที่ ๑ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป

อีกประการหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายเป็นผู้ว่าง่าย ประกอบด้วยธรรมอัน

ทำความว่าง่าย เป็นผู้อดทน รับคำสั่งสอนโดยเบื้องขวา นี้ธรรมประการที่ ๒

เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 383

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเหล่าใดเป็นพหูสูต เล่าเรียนนิกาย ทรงธรรม

ทรงวินัย ทรงมาติกา ภิกษุเหล่านั้นเลาใจใส่บอกสอนสูตรแก่ผู้อื่น เมื่อภิกษุ

เหล่านั้นล่วงไป สูตรก็ไม่ขาดมูล (อาจารย์) มีที่อาศัยสืบกันไป นี้ธรรม

ประการที่ ๓ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ใหญ่ ๆ ไม่เป็นผู้สะสมบริขาร ไม่ปฏิบัติ

ย่อหย่อน เป็นผู้ทอดธุระในการลาสิกขา มุ่งหน้าไปทางปวิเวก ทำความเพียร

เพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรมที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรม

ที่ยังมิได้ทำให้แจ้ง หมู่ชนผู้เกิดมาภายหลัง ได้เยี่ยงอย่างภิกษุผู้ใหญ่เหล่านั้น

ก็พากันเป็นผู้ไม่สะสมบริขาร ไม่ปฏิบัติย่อหย่อน เป็นผู้ทอดธุระในการลาสิกขา

มุ่งหน้าไปทางปวิเวก ทำความเพียรเพื่อถึงธรรมที่ยังไม่ถึง เพื่อบรรลุธรรม

ที่ยังไม่บรรลุ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ยังมิได้ทำให้แจ้งไปตามกัน นี้ธรรม

ประการที่ ๔ เป็นเหตุให้พระสัทธรรมตั้งอยู่ไม่เลอะเลือนอันตรธานไป

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แลธรรม ๔ ประการ เป็นเหตุให้พระสัทธรรม

ตั้งอยู่ ไม่เลอะเลือนอันตรธาน.

จบสุคตสูตรที่ ๑๐

จบอินทริยวรรคที่ ๑

อรรถกถาสุคตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุคตสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทุคฺคหิต ได้แก่ ถือกันมานอกลำดับ. บทว่า ปริยาปุณนฺติ

ได้แก่ ถ่ายทอดมาคือกล่าว. ก็ในบทว่า ปทพฺยญฺชเนหิ นี้ ท่านกล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 384

บทของความนั่นแหละเป็นพยัญชนะโดยพยัญชนะ. บทว่า ทุนฺนิกฺขิตฺตสฺส

ได้แก่ใช้ผิด คือตั้งไว้นอกลำดับ. บทว่า อตฺโถปิ ทุนฺนโย โหติ ได้แก่

ไม่อาจจะนำอรรถกถาออกมากล่าวได้. บทว่า ฉินฺนมูลโก ได้แก่ ชื่อว่า

ฉินฺนมูลก เพราะขาดภิกษุผู้เป็นมูล (อาจารย์). บทว่า อปฺปฏิสรโณ คือ

ไม่มีที่พึ่ง. บทว่า พาหุลฺลิกา ได้แก่ ปฏิบัติเพื่อสะสมปัจจัย. บทว่า สาถลิกา

ได้แก่ ถือไตรสิกขาย่อหย่อน. บทว่า โอกฺกมเน ปุพฺพงฺคมา ได้แก่

นิวรณ์ ๕ ท่านเรียกว่า โอกกมนะ เพราะเดินลงต่ำ (เสื่อม) อธิบายว่า

มุ่งไปในโอกกมนะนั้น (มุ่งไปในทางจะลาสิกขา). บทว่า ปวิเวเก ได้แก่

วิเวก ๓. บทว่า นิกฺขิตฺตธุรา ได้แก่ ไม่มีความเพียร. พึงทราบความใน

ที่ทั้งปวงในสูตรนี้ .

จบอรรถกถาสุคตสูตรที่ ๑๐

จบอินทริยวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อินทริยสูตร ๒. ปฐมพลสูตร ๓. ทุติยพลสูตร ๔. ตติยพล-

สูตร ๕. จตุตถพลสูตร ๖. กัปปสูตร ๗. โรคสูตร ๘. ปริหานิสูตร

๙. ภิกขุนีสูตร ๑๐. สุคตสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 385

ปฏิปทาวรรคที่ ๒

๑. สังขิตตสูตร

ว่าด้วยปฏิปทา ๔

[๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ นี้ ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน

คือ

ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า

ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว

สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า

สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิฺา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปฏิปทา ๔.

จบสังขิตตสูตรที่ ๑

อรรถกถาสังขิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังขิตตสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า ปฏิบัติลำบาก เพราะปฏิเสธการปฏิบัติสะดวก ชื่อว่าปฏิปทา

เพราะควรปฏิบัติ. ชื่อว่า ทันธาภิญญา เพราะมีความรู้ได้ช้า โดยความเป็น

ของหนัก เพราะปฏิบัติได้ไม่เร็ว. พึงทราบความแม้ในบททั้งปวงโดยนัยนี้.

จบอรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 386

๒. วิตถารสูตร

ว่าด้วยปฏิปทา ๔

[๑๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ นี้ ฯลฯ คือ

ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า

ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปปาภิญฺา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว

สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า

สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนโดยปกติเป็นคน

มีราคะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะเนือง ๆ บ้าง โดยปกติเป็นคน

มีโทสะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะเนือง ๆ บ้าง โดยปกติเป็นคน

มีโมหะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิด เพราะโมหะเนือง ๆ บ้าง อินทรีย์ ๕

คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเขาก็อ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ นี้อ่อน

เขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก

ทั้งรู้ได้ช้า

ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็วเป็นไฉน บุคคลบางคนโดยปกติเป็นคน

มีราคะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะเนือง ๆ บ้าง โดยปกติเป็นคน

มีโทสะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะเนือง ๆ บ้าง โดยปกติเป็นคน

มีโมหะกล้า ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโมหะเนือง ๆ บ้าง แต่อินทรีย์ ๕

คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเขาแก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕ นี้

แก่กล้า เขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว นี้เรียกว่า

ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 387

ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้าเป็นไฉน ? บุคคลบางคนโดยปกติ มิใช่

เป็นคนมีราคะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะ มิใช่เป็นคนมี

โทสะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะ อนึ่ง โดยปกติมิใช่

เป็นคนมีโมหะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโมหะ แต่อินทรีย์ ๕

คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเขาอ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ นี้อ่อน

เขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า นี้เรียกว่า ปฏิบัติ

สะดวก แต่รู้ได้ช้า

ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็วเป็นไฉน ๆ บุคคลบางคนโดยปกติ มิใช่

เป็นคนมีราคะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะราคะ โดยปกติมิใช่

เป็นคนมีโทสะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโทสะ อนึ่ง โดยปกติ

มิใช่เป็นคนมีโมหะกล้า มิใคร่ได้รับทุกขโทมนัสที่เกิดเพราะโมหะ ทั้งอินทรีย์

๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเขาก็แก่กล้า เพราะอินทรีย์

๕ นี้แก่กล้า เขาย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว นี้เรียกว่า

ปฏิบัติสะดวก ทั้งได้รู้เร็ว

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทา ๔.

จบวิตถารสูตรที่ ๒

อรรถกถาวิตถารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิตถารสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิกฺขณ แปลว่าเนือง ๆ. บทว่า อนนฺตริย ได้แก่

มรรคสมาธิอันให้ผลเป็นอนันตริยคุณ. บทว่า อาสวาน ขยา ได้แก่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 388

เพื่ออรหัตผล. บทว่า ปญฺจินฺทฺริยานิ ได้แก่ อินทรีย์ ๕ อันมีวิปัสสนา

เป็นที่ ๕. ก็ในบทว่า ปญฺินฺทฺริย นี้ ท่านประสงค์เอาวิปัสสนาปัญญา

เท่านั้นว่า ปัญญินทรีย์. คำที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นโดยอำนาจ ที่ตรัส

ไว้แล้ว ในบาลี.

ก็กถาจำแนกปฏิปทาเหล่านี้มีดังนี้ . ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่เคยทำการ

ยึดถือมาเบื้องต้น ย่อมลำบากในการกำหนดรูป ย่อมลำบากในการกำหนดอรูป

ย่อมลำบากในการกำหนดปัจจัย ย่อมลำบากในกาลทั้งสาม ย่อมลำบากใน

มัคคามัคคะทางและมิใช่ทาง เมื่อลำบากในฐานะ ๕ อย่างนี้ ย่อมบรรลุวิปัสสนา

ครั้นบรรลุวิปัสสนาแล้ว ก็ลำบากในวิปัสสนาญาณ ๙ เหล่านั้นคือ ในอุทยัพ-

พยานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นทั้งความเกิดและความดับ) ๑ ในภัง-

คานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงเห็นความดับ) ๑ ในภยตุปัฏฐานญาณ

(ปรีชาคำนึงเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว) ๑ ในอาทีนวานุปัสสนาญาณ

(ปรีชาคำนึงเห็นโทษ) ๑ ในนิพพิทานุปัสสนาญาณ (ปรีชาคำนึงถึงความ

เบื่อหน่าย) ๑ ในมุญจิตุกามยตาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไป) ๑ ใน

สังขารุเบกขาญาณ (ปรีชาคำนึงด้วยความเฉยในสังขาร) ๑ ในอนุโลมญาณ

(ปรีชาคำนึงโดยสมควรแก่กำหนดรู้อริยสัจ) ๑ ในโคตรภูญาณ (ปรีชากำหนด

ญาณอันเป็นลำดับอริยมรรค) ๑ แล้วจึงบรรลุโลกุตรมรรค โลกุตรมรรคนั้น

ของภิกษุนั้น ชื่อว่าปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ลำบาก เพราะทำให้แจ้งโดยความ

หนักไปด้วยทุกข์อย่างนี้ ก็ภิกษุใดเบื้องต้นลำบากในญาณ ๕ แต่เบื้องปลาย

ไม่ลำบากในวิปัสสนาญาณ ๙ ย่อมทำให้แจ้งซึ่งมรรค มรรคนั้นของภิกษุนั้น

ชื่อว่าปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว เพราะทำให้แจ้งโดยไม่หนักด้วยทุกข์

อย่างนี้. อีกสองปฏิปทาก็พึงทราบโดยอุบายนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 389

อนึ่ง ปฏิปทาเหล่านี้จะพึงแจ่มแจ้วก็ด้วยข้ออุปมาเปรียบด้วยคนหาโค.

โค ๔ ตัวของชายคนหนึ่งหนีเข้าไปในดง. เขาหาโคเหล่านั้นในป่าซึ่งมีหนาม

หนาทึบ ทางที่ไปก็ไปด้วยความยากลำบาก โคซ่อนอยู่ในที่อันหนาทึบเช่นนั้น

ก็เห็นด้วยความยากลำบาก. ชายคนหนึ่งไปด้วยความลำบาก โคยืนอยู่ในที่แจ้ง

ก็เห็นได้ฉับพลันทันที. อีกคนหนึ่งไปทางโล่งไม่หนาทึบ โคซ่อนอยู่เสียในที่

หนาทึบก็เห็นด้วยความยากลำบาก. อีกคนหนึ่งไปสะดวกตามทางโล่ง โคยืนอยู่

ในที่โล่งก็เห็นได้ฉับพลัน. ในข้ออุปมานั้น อริยมรรค ๔ พึงเห็นดุจโค ๔ ตัว

พระโยคาวจรดุจชายหาโค การปฏิบัติลำบากในเบื้องต้นของภิกษุผู้ลำบากในญาณ

๕ ดุจไปทางหนาทึบด้วยความยากลำบาก การเห็นอริยมรรคในเบื้องปลาย

ของผู้เหนื่อยหน่ายในญาณ ๙ ดุจการเห็นโคที่ซ่อนอยู่ในที่หนาทึบด้วยความยาก.

พึงประกอบแม้ข้ออุปมาที่เหลือโดยอุบายนี้.

จบอรรถกถาวิตถารสูตรที่ ๒

๓. อสุภสูตร

ว่าด้วยปฏิปทา ๔

[๑๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ นี้ ฯลฯ คือ

ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า

ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว

สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า

สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 390

ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้าเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

พิจารณาเห็นความไม่งาม ในร่างกาย มีความสำคัญความปฏิกูล ในอาหาร

มีความสำคัญไม่น่าเพลิดเพลินยินดี ในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง

ในสังขารทั้งปวง อนึ่ง ตั้งมรณสัญญา (กำหนดความตาย) ไว้อย่างดีในภายใน

ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ (ธรรมอันเป็นกำลังของพระเสขะ) ๕ ประการนี้ คือ

สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ

สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ นี้อ่อน เธอย่อมบรรลุ

อนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า.

ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็วเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

พิจารณาเห็นความไม่งาม ในร่างกาย มีความสำคัญความปฏิกูล ในอาหาร

มีความสำคัญ ความไม่น่าเพลิดเพลินยินดี ในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความ

ไม่เที่ยง ในสังขารทั้งปวง อนึ่ง ตั้งมรณสัญญา (กำหนดความตาย) ไว้อย่างดี

ในภายใน ภิกษุอันอาศัยเสขพละ ๕ ประการ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ

วิริยะ ปัญญา อยู่ อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

ของเธอแก่กล้าเพราะอินทรีย์ ๕ นี้แก่กล้า เธอย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อ

ความสิ้นอาสวะได้เร็ว นี้เรียกว่า ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว.

ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้าเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ ได้ทุติยฌาน

ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ ๕

ประการคือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา นี้อยู่ แต่อินทรีย์ ๕ คือ

สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะอินทรีย์ ๕ นี้อ่อน

เธอย่อมบรรลุอนันตริยคุณ เพื่อความสิ้นอาสวะได้ช้า นี้เรียกว่า ปฏิบัติ

สะดวก แต่รู้ได้ช้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 391

ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็วเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ ได้ทุติยฌาน

ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ ๕

ประการ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา นี้อยู่ ทั้งอินทรีย์ ๕

คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธอก็แก่กล้า เพราะอินทรีย์ ๕

นี้แก่กล้า เธอย่อมบรรลุอนันตริยคุณเพื่อความสิ้นอาสวะได้เร็ว นี้เรียกว่า

ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทา ๔.

จบอสุภสูตรที่ ๓

อรรถกถาอสุภสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอสุภสูตร ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสุภานุปสฺสี กาเย วิหรติ ความว่า ภิกษุพิจารณาเห็น

ในกรชกายของตนว่าไม่งาม ด้วยการเข้าไปเปรียบเทียบกับอสุภะ ๑๐ ที่ตน

เห็นแล้วในภายนอกโดยนัยนี้ว่า นั่นฉันใด นี้ก็ฉันนั้น อธิบายว่า เห็นกาย

ของตนด้วยญาณ โดยเป็นสิ่งไม่งาม โดยเป็นสิ่งปฏิกูล. บทว่า อาหาเร

ปฏิกฺกุลสญฺี ความว่า มีความสำคัญในกวฬีการาหาร ว่าเป็นปฏิกูลด้วย

อำนาจปฏิกูล ๙. บทว่า สพฺพโลเก อนภิรตสญฺี ความว่า ประกอบ

ด้วยความไม่น่ายินดี คือด้วยสัญญาว่าน่าเอือมระอา ในโลกสันนิวาสอันเป็น

ไตรธาตุ แม้ทั้งหมด. บทว่า สพฺพสขาเรสุ อนิจฺจานุปสฺสี ความว่า

พิจารณาเห็นสังขารอันเป็นไปในภูมิ ๓ แม้ทั้งหมด โดยความเป็นของไม่เที่ยง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 392

บทว่า มรณสญฺา ได้แก่ สัญญาอันเกิดขึ้นเพราะปรารภความตาย. บทว่า

อชฺฌตฺต สุปฏฺิตา โหติ ได้แก่ เข้าไปตั้งไว้ด้วยดีในภายในกายของตน.

ท่านกล่าววิปัสสนาอันมีกำลังด้วยเหตุเพียงเท่านี้ . บทว่า เสกฺขพลานิ ได้แก่

กำลังของพระผู้ยังต้องศึกษา. คำที่เหลือในบทนี้ง่ายทั้งนั้นโดยอำนาจบาลี.

ก็บทว่า อสุภานุปสฺสี เป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงถึงปฏิปทาลำบาก

ปฐมฌานเป็นต้น ท่านกล่าวเพื่อแสดงปฏิปทาสะดวก. ด้วยว่าอสุภะเป็นต้น

มีปฏิกูลเป็นอารมณ์. ก็ตามปกติจิตที่ใฝ่รักย่อมคิดอยู่ในอารมณ์เหล่านั้น

เพราะฉะนั้น เมื่อจะเจริญอสุภะเป็นต้นเหล่านั้น ชื่อว่า ปฏิบัติปฏิปทาลำบาก.

ปฐมฌานเป็นต้น เป็นสุขประณีต เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติปฐมฌานเป็นต้น

เหล่านั้นชื่อว่า ปฏิบัติปฏิปทาสะดวก.

ในข้อนี้มีอุปมาอันเป็นสาธารณะดังต่อไปนี้ จริงอยู่ บุรุษผู้เข้าสงคราม

ทำซุ้มแผ่นกระดานแล้วสอดอาวุธ ๕ เข้าสู่สงความ เขาประสงค์จะพักในระหว่าง

จึงเข้าไปยังซุ้มแผ่นกระดานพักผ่อน และดื่มน่าบริโภคอาหารเป็นต้น จากนั้น

เขาก็เข้าสู่สงความทำการรบต่อไป. ในข้ออุปมานั้นพึงเห็นว่า การสงคราม

กับกิเลสดุจเข้าสงคราม กำลังเป็นที่อาศัย ๕ ดุจซุ้มแผ่นกระดาน พระโยคาวจร

ดุจบุรุษเข้าสู่สงความ อินทรีย์ มีวิปัสสนาเป็นที่ ๕ ดุจเครื่องสอดอาวุธ ๕

เวลาเจริญวิปัสสนาดุจเวลาเข้าสงความ เวลาที่พระโยคาวจรเจริญวิปัสสนา

ขณะจิตตุปบาทไม่มีความยินดี ก็อาศัยพละ ๕ ปลอบจิตให้ร่าเริง ดุจเวลาที่

นักรบประสงค์จะพัก ก็เข้าไปซุ้มแผ่นกระดาน เวลาที่พระโยคาวจรครั้นปลอบ

จิตให้ร่าเริงด้วยพละ ๕ แล้วเจริญวิปัสสนาอีก ก็หันกลับมายึดพระอรหัตไว้ได้

พึงทราบเหมือนเวลาที่นักรบพักผ่อนกินดื่มแล้ว กลับเข้าสู่สงความต่อไป. ก็

ในสูตรนี้ตรัสพละ และอินทรีย์คละกัน

จบอรรถกถาอสุภสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 393

๔. ปฐมขมสูตร

ว่าด้วยปฏิปทา ๔

[๑๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ นี้ ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน คือ

อกฺขมา ปฏิปทา ปฏิบัติไม่อดทน

ขมา ปฏิปทา ปฏิบัติอดทน

ทมา ปฏิปทา ปฏิบัติข่มใจ

สมา ปฏิปทา ปฏิบัติรำงับ

ปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน ? บุคคลบางคนเขาด่า ย่อมด่าตอบ เขา

โกรธ ย่อมโกรธตอบ เขาวิวาท ย่อมวิวาทตอบ นี้เรียกว่า ปฏิบัติไม่อดทน.

ปฏิบัติอดทนเป็นไฉน ? บุคคลบางคน เขาด่า ไม่ด่าตอบ เขาโกรธ

ไม่โกรธตอบ เขาวิวาท ไม่วิวาทตอบ นี้เรียกว่า ปฏิบัติอดทน.

ปฏิบัติข่มเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัย เห็นรูปด้วยตาแล้ว

เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ อภิชฌา โทมนัส อกุศลบาป-

ธรรมทั้งหลาย จะพึงไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือตา เพราะเห ตุ

ความไม่สำรวมอินทรีย์คือตาอันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งอินทรีย์คือตา

อันนั้น รักษาอินทรีย์คือตา ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือตา ฟังเสียงด้วยหู

แล้ว ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ลิ้มรสด้วยลิ่นแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว

รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ.

อภิชฌาโทมนัสอกุศลบาปธรรมทั้งหลายจะพึงไหลไปตามภิกษุ ผู้ไม่สำรวม

อินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะเหตุความไม่สำรวมอินทรีย์ คือ

หู จมูก ลิ้น กาย ใจอันใด ปฏิบัติเพื่อปิดกั้นเสียซึ่งอินทรีย์ คือ หู จมูก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 394

ลิ้น กาย ใจอันนั้น รักษาอินทรีย์ คือ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า

ปฏิบัติข่มใจ

ปฏิบัติรำงับเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่รับเอากาม-

วิตกที่เกิดขึ้น ย่อมละเสีย ถ่ายถอนเสีย รำงับเสีย ทำให้หายสิ้นไปเสีย

ทำให้ไม่มีในภายหลังอีก ไม่รับเอาพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ...วิหิงสา-

วิตก ที่เกิดขึ้นแล้ว ...อกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่เกิด ๆ ขึ้นแล้วไว้ ละเสีย

ถ่ายถอนเสีย รำงับเสีย ทำให้หายสิ้นไปเสีย ทำให้ไม่มีในภายหลังอีก นี้เรียก

ว่า ปฏิบัติรำงับ.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แล ปฏิปทา ๔.

จบปฐมขมสูตรที่ ๔

อรรถกถาปฐมขมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมขมสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อกฺขมา ได้แก่ ปฏิปทาของผู้ไม่อดทน. บทว่า ขมา ได้แก่

ปฏิปทาของผู้อดทน. บทว่า ทมา ได้แก่ ปฏิปทาของผู้ฝึกอินทรีย์. บทว่า

สมา ได้แก่ ปฏิปทาของผู้สงบอกุศลวิตก. บทว่า โรสนฺต ปฏิโรสติ

ได้แก่ เขากระทบ ย่อมกระทบตอบ. บทว่า ภณฺฑนฺต ปฏิภณฺฑติ ได้แก่

เขาประหาร ย่อมประหารตอบ.

จบอรรถกถาปฐมขมสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 395

๕. ทุติยขมสูตร

ว่าด้วยปฏิปทา ๔

[๑๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ นี้ ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน คือ

อกฺขมา ปฏิปทา ปฏิบัติไม่อดทน

ขมา ปฏิปทา ปฏิบัติอดทน

ทมา ปฏิปทา ปฏิบัติข่มใจ

สมา ปฏิปทา ปฏิบัติรำงับ

ปฏิบัติไม่อดทนเป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้ไม่ทนทานต่อ

หนาว ร้อน หิว ระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์

เสือกคลานทั้งหลาย ต่อถ้อยคำหยาบคายร้ายแรง ไม่อดกลั้นต่อเวทนาที่เกิด

ในร่างกาย อันเป็นทุกข์กล้าแข็งเผ็ดร้อนขมขื่นไม่ชื่นใจ พอที่จะปล้นชีวิต

เสียได้ นี้เรียกว่า ปฏิบัติไม่อดทน.

ปฏิบัติอดทนเป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้ทนทานต่อหนาว ร้อน

ฯลฯ ต่อถ้อยคำอันหยาบคายร้ายแรง อดกลั้นต่อเวทนาที่เกิดในร่างกาย ฯลฯ

พอที่จะปล้นชีวิตเสียได้ นี้เรียกว่า ปฏิบัติอดทน

ปฏิบัติข่มใจเป็นไฉน ? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยตาแล้ว

ฟังเสียงด้วยหูแล้ว ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ถูกต้องโผฏฐัพพะ

ด้วยกายแล้ว รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ฯลฯ ถึงความสำรวมในอินทรีย์คือตา

หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เรียกว่า ปฏิบัติข่มใจ

ปฏิบัติรำงับเป็นไฉน ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ไม่รับเอากาม-

วิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก อกุศลบาปธรรมที่เกิด ๆ ขึ้นไว้ ฯลฯ ทำให้

ไม่มีในภายหลังอีก นี้เรียกว่า ปฏิบัติรำงับ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 396

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทา ๔.

จบทุติยขมสูตรที่

ทุติยขมสูตรที่ ๕ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

๖. อุภยสูตร

ว่าด้วยปฏิปทา ๔

[๑๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทา ๔ นี้ ปฏิปทา ๔ เป็นไฉน คือ

ทุกฺขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า

ทุกฺขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว

สุขา ปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ปฏิบัติสะดวก แต่รู้ได้ช้า

สุขา ปฏิปทา ขิปฺปาภิฺา ปฏิบัติสะดวก ทั้งรู้ได้เร็ว

ในปฏิปทา ๔ นั้น ปฏิปทาที่ลำบากทั้งรู้ได้ช้า จัดว่าเลวทั้งสองสถาน

คือเลวทั้งโดยที่ลำบาก ทั้งโดยที่ช้า ปฏิปทาที่ลำบากแต่รู้ได้เร็ว จัดว่าเลว

โดยที่ลำบาก ปฏิปทาที่สะดวกแต่รู้ได้ช้า จัดว่าเลวโดยที่ช้า ปฏิปทาที่สะดวก

ทั้งรู้ได้เร็ว จัดว่าดีทั้งสองสถาน คือ ดีทั้งโดยที่สะดวก ทั้งโดยที่เร็ว.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลปฏิปทา ๔.

จบอุภยสูตรที่ ๖

อุภยสูตรที่ ๖ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 397

๗. โมคคัลลานสูตร

ว่าด้วยพระสารีบุตรไปหาพระมหาโมคคัลลานะ

[๑๖๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรไปหาท่านพระมหาโมคคัล-

ลานะถึงทีอยู่ ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระมหาโมคคัลลานะ ครั้นกล่าวถ้อยคำ

ที่ทำให้เกิดความยินดีต่อกันเป็นที่ระลึกถึงกันแล้ว นั่งลง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง

ได้ถามพระมหาโมคคัลลานะว่า อาวุโส โมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ นี้ คือ

ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา จิตของ

ท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัยปฏิปทาอย่างไหน

ในปฏิปทา ๔ นี้

พระมหาโมคคัลลานะตอบว่า อาวุโสสารีบุตร ปฏิปทา ๔ นี้ คือ

ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา จิตของ

ข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย ทุกฺขา-

ปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา

จบโมคคัลลานสูตรที่ ๗

อรรถกถาโมคคัลลานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโมคคัลลานสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

มรรค ๓ เบื้องต่ำ ของพระมหาโมคคัลลานเถระได้เป็น สุขาปฏิปทา

ทนฺธาภิญฺา (ปฏิบัติง่ายรู้ได้ช้า) อรหัตมรรค เป็นทุกฺขาปฏิปทา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 398

ขิปฺปาภิญฺา (ปฏิบัติยากรู้ได้เร็ว). เพราะฉะนั้น ท่านมหาโมคคัลลานะ

จึงกล่าวอย่างนี้ว่า ยาย ปฏิปทา ทุกฺขา ขิปฺปาภิญฺา อิม เม ปฏิปท

อาคมฺม อนุปาทาย อาสเวหิ จิตฺต วิมุตฺต (จิตของผมหลุดพ้นแล้ว

จากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน เพราะอาศัย ทุกฺขาปฏิปทา

ขิปฺปาภิญฺา (ปฏิบัติลำบาก รู้ได้เร็ว) ดังนี้.

จบอรรถกถามหาโมคคัลลานสูตรที่ ๗

๘. สารีปุตตสูตร

ว่าด้วยพระมหาโมคคัลลานะไปหาพระสารีบุตร

[๑๖๘] ครั้งนั้น พระมหาโมคคัลลานะ ไปหาพระสารีบุตร

ได้ปราศรัยชื่นชมกับพระสารีบุตร ฯลฯ ได้ถามพระสารีบุตรว่า อาวุโส

สารีบุตรูปฏิปทา ๔ นี้ คือ ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ฯลฯ สุขาปฏิปทา

ขิปฺปาภิญฺา จิตของท่านสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะ

อาศัยปฏิปทาอย่างไหนในปฎิปทา ๔ นี้

พระสารีบุตรตอบว่า อาวุโสโมคคัลลานะ ปฎิปทา ๔ นี้ คือ

ทุกฺขาปฏิปทา ทนฺธาภิญฺา ฯลฯ สุขาปฏิปทา ขิปฺปาภิญฺา จิตของ

ข้าพเจ้าสิ้นความยึดถือ หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะอาศัย สุขาปฏิปทา

ขิปฺปาภิญฺา.

จบสารีบุตตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 399

อรรถกถาสารีปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสารีปุตตสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

มรรค ๓ เบื้องต่ำ ของพระธรรมเสนาบดีเถระได้เป็น สุขาปฏิปทา

ทนฺธาภิญฺา (ปฏิบัติง่าย รู้ช้า) อรหัตมรรคเป็น สุขาปฏิปทา

ขิปฺปาภิญฺา (ปฏิบัติง่าย รู้เร็ว) เพราะฉะนั้น ท่านพระสารีบุตรเถระ

จึงกล่าวว่า ยาย ปฏิปทา สุขา ขิปฺปาภิญฺา ดังนี้ เป็นอาทิ. ก็ในสองสูตร

เหล่านี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวปฏิปทาคละกัน .

จบอรรถกถาสารีปุตตสูตรที่ ๘

๙. สสังขารสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน บุคคลบางคนเป็นสสังขรปรินิพพายีในภพปัจจุบัน ๑

บุคคลบางคนเป็นสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป ๑ บุคคลบางคนเป็นอสัง-

ขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน ๑ บุคคลบางคนเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกาย

แตกไป ๑

บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้พิจารณาเป็นความไม่งามในร่างกาย มีความสำคัญปฏิกูลใน

อาหาร มีความสำคัญไม่น่าเพลิดเพลินดีในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 400

ไม่เที่ยงในสังขารทั้งหมด อนึ่ง ตั้งความกำหนดความตายไว้อย่างดีในภายใน

ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ ๕ นี้ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่

อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธอแก่กล้า เพราะ

อินทรีย์ ๕ นี้แก่กล้า เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันนี้เอง

อย่างนี้แล บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพานยีในภพปัจจุบัน

บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไปเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้พิจารณาเห็นความไม่งามในร่างกาย มีความสำคัญปฏิกูลใน

อาหาร มีความสำคัญไม่น่าเพลิดเพลินยินดีในโลกทั้งปวง พิจารณาเห็นความไม่

เที่ยงในสังขารทั้งหมด อนึ่ง ตั้งความกำหนดความตายไว้อย่างดีในภายใน

ภิกษุนั้นอาศัยเสขพละ ๕ นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่

แต่อินทรีย์ ๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะ

อินทรีย์ ๕ นี้อ่อน เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป อย่างนี้แล

บุคคเป็นสสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป

บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบันเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ

ได้ทุติยฌาน ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัย

เสขพละ ๕ นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ ทั้งอินทรีย์

๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธอก็แก่กล้า เพราะอินทรีย์

๕ นี้แก่กล้า เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน อย่างนี้แล บุคคล

เป็นอสังขารปรินิพพายีในภพปัจจุบัน

บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไปเป็นอย่างไร ? ภิกษุใน

พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย ได้ปฐมฌาน ฯลฯ

ได้ทุติยฌาน ฯลฯ ได้ตติยฌาน ฯลฯ ได้จตุตถฌาน ฯลฯ ภิกษุนั้นอาศัย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 401

เสขพละ ๕ นี้คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา อยู่ แต่อินทรีย์

๕ คือ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา ของเธออ่อน เพราะอินทรีย์ ๕

นี้อ่อน เธอย่อมเป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป อย่างนี้แล บุคคล

เป็นอสังขารปรินิพพายีเพราะกายแตกไป

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวกมีอยู่ในโลก.

จบสสังขารสูตรที่ ๙

อรรถกถาสสังขารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสสังขารสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บุคคลที่ ๑ ที่ ๒ เป็นสุกขวิปัสสก ยังสังขารนิมิตให้ปรากฏด้วย

ความเพียรเรี่ยวแรง. ในบุคคลเหล่านั้น คนหนึ่ง ย่อมปรินิพพานด้วยกิเลส

ปรินิพพานในอัตภาพนี้ เพราะอินทรีย์คือวิปัสสนามีกำลัง คนหนึ่งปรินิพาน

ไม่ได้ในอัตภาพนี้ เพราะอินทรีย์ไม่มีกำลัง ต่อได้มูลกรรมฐานนั้นเท่านั้นใน

อัตภาพลำดับไป ยังสังขารนิมิตให้ปรากฏด้วยความเพียรเรี่ยวแรงแล้วจึง

ปรินิพพานด้วยกิเลสปรินิพพาน บุคคลที่ ๓ ที่ ๔ เป็นสมถยานิก (สมถะนำไป).

บรรดาบุคคลเหล่านั้น พึงทราบว่า คนหนึ่งทำกิเลสให้สิ้นไปในอัตภาพนี้

เพราะอินทรีย์มีกำลังด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง คนหนึ่งทำกิเลสให้

สิ้นไปไม่ได้อัตภาพในโลกนี้ เพราะอินทรีย์ไม่มีกำลัง ต่อได้มูลกรรมฐานนั้น

เท่านั้น ในอัตภาพลำดับไปทำกิเลสให้สิ้นไปด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรง

ดังนี้.

จบอรรถกถาสสังขารสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 402

๑๐. ยุคนัทธสูตร

ว่าด้วยมรรค ๔ ประการ

[๑๗๐] สมัยหนึ่ง พระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม กรุงโกสัมพี

ท่านเรียกภิกษุทั้งหลายในที่นั้นมา ฯลฯ แสดงธรรมว่า อาวุโสทั้งหลาย

สหธรรมิกผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม พยากรณ์ การบรรลุ

พระอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรือว่าด้วย

มรรคใดมรรคหนึ่งในมรรค ๔ นั้น มรรค ๘ เป็นไฉน

ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าเมื่อเธอ

บำเพ็ญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้าอยู่ มรรคย่อมบังเกิดขึ้น เธอส้องเสพ

เจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำให้มากซึ่งมรรค

นั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็น

เบื้องหน้า เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้าอยู่ มรรคย่อมบังเกิด

ขึ้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญการทำ

ให้มากซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้บำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่

กันไป เมื่อเธอบำเพ็ญสมถะและวิปัสสนาเป็นคู่กันไปอยู่ มรรคย่อมบังเกิดขึ้น

เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเมื่อเธอส้องเสพเจริญกระทำให้มาก

ซึ่งมรรคนั้นอยู่ ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

อีกอย่างหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรมแล้ว สมัยนั้น

จิตนั้นย่อมตั้งมั่น หยุดนิ่งอยู่ภายในเป็นหนึ่งแน่วแน่เป็นสมาธิ มรรคย่อมเกิดแก่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 403

ภิกษุนั้น เธอส้องเสพเจริญกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอส้องเสพเจริญ

กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยก็ย่อมสิ้นไป

อาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุก็ตาม ภิกษุณีก็ตาม มา

พยากรณ์การบรรลุพระอรหัตในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ นี้ โดยประการ

ทั้งปวง หรือด้วยมรรคใดมรรคหนึ่งใน ๔ มรรคนั้น.

จบยุคนันธสูตรที่ ๑๐

จบปฏิปทาวรรคที่ ๒

อรรถกถายุคนัทธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในยุคนัทธสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมถปุพฺพงฺคม ได้แก่ ทำสมถะไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็น

ปุเรจาริก. บทว่า มคฺโค สญฺชายติ ได้แก่ โลกุตรมรรคที่ ๑ ย่อมเกิดขึ้น.

บทว่า โส ต มคฺค. ความว่า ชื่อว่าอาเสวนะเป็นต้น ไม่มีแก่มรรคอัน

เป็นไปในขณะจิตเดียว. แต่เมือยังมรรคที่ ๒ ให้เกิดขึ้น ท่านกล่าวว่า เธอ

ส้องเสพเจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นนั่นแล. บทว่า วิปสฺสนา ปุพฺพงฺคม

ได้แก่ทำวิปัสสนาไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็นปุเรจาริก บทว่า สมถ ภาเวติ

ความว่า โดยปกติผู้ได้วิปัสสนาตั้งอยู่ในวิปัสสนา ย่อมยังสมาธิให้เกิดขึ้น.

บทว่า ยุคนทฺธ ภเวติ ได้แก่ เจริญทำให้เป็นคู่ติดกันไป. ใน

ข้อนั้น ภิกษุไม่สามารถจะใช้จิตดวงนั้นเข้าสมาบัติ แล้วใช้จิตดวงนั้นนั่นแล

พิจารณาสังขารได้. แต่ภิกษุนี้เข้าสมาบัติเพียงใด ย่อมพิจารณาสังขาร

เพียงนั้น พิจารณาสังขารเพียงใด ย่อมเข้าสมาบัติเพียงนั้น. ถามว่า อย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 404

ตอบว่า ภิกษุเข้าปฐมฌาน ครั้นออกจากปฐมฌานแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย

ครั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว เข้าทุติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตน-

สมาบัติ ครั้นออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขาร-

ทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนี้ชื่อว่าเจริญปฐมวิปัสสนาให้เป็นคู่ติดกันไป.

บทว่า ธมฺมุทฺธจฺจวิคฺคหิต ความว่า อันอุทธัจจะได้แก่วิปัสสนูปกิเลส ๑๐

ในธรรมคือสมถะและวิปัสสนาจับแล้ว คือ จับดีแล้ว . ด้วยบทว่า โหติ โส

อาวุโส สมโย นี้ท่านกล่าวถึงกาลที่ได้สัปปายะ ๗. บทว่า ยนฺต จิตฺต

ได้แก่ จิตที่ก้าวลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนาในสมัยใดเป็นไปแล้ว. บทว่า อชฺฌตฺต-

เยว สนฺติฏติ ความว่า จิตก้าวลงสู่วิถีแห่งวิปัสสนาแล้วหยุดอยู่ในอารมณ์

อันได้แก่ อารมณ์ภายในนั้นนั่นเอง. บทว่า สนฺนิสีทติ ได้แก่ นิ่งโดยชอบ

ด้วยอำนาจของอารมณ์. บทว่า เอโกทิ โหติ ได้แก่ จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง.

บทว่า สมาธิยติ ได้แก่จิตตั้งไว้โดยชอบ คือตั้งไว้ดีแล้ว. คำที่เหลือในสูตรนี้

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถายุคนัทธสูตรที่ ๑๐

จบปฏิปทาวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถารสูตร ๓. อสุภสูตร ๔. ปฐมขมสูตร

๕. ทุติยขมสูตร ๖. อุภยสูตร ๗. โมคคัลลานสูตร ๘. สารีปุตตสูตร

๙. สสังขารสูตร ๑๐. ยุคนัทธสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 405

สัญเจตนิยวรรคที่ ๓

๑๐. เจตนาสูตร

ว่าด้วยความได้อัตภาพ ๔ ประการ

[๑๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อกายมีอยู่ สุขทุกข์ที่เป็นภายใน

(เกิดขึ้นแก่ตน) ย่อมเกิดขึ้นเพราะกายสัญเจตนา (ความจงใจทำทางกาย)

เป็นเหตุ หรือเมื่อวาจามีอยู่ สุขทุกข์ที่เป็นภายในย่อมเกิดขึ้น เพราะวจีสัญ-

เจตนา (ความจงใจทำทางวาจา) เป็นเหตุ หรือเมื่อใจมีอยู่ สุขทุกข์ที่เป็น

ภายในก็ย่อมเกิดขึ้น เพราะมโนสัญเจตนา (ความจงใจทำทางใจ) เป็นเหตุ

อีกอย่างหนึ่ง เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย บุคคลย่อมปรุงแต่งกายสังขาร

วจีสังขาร มโนสังขาร อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในนั้นเกิดขึ้นด้วยตนเอง

บ้าง คนอื่นปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารของบุคคลนั้น

อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้นบ้าง บุคคลนั้นรู้อยู่

ปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขารนั้น อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน

เกิดขึ้นบ้าง บุคคลนั้นไม่รู้ ปรุงแต่งกายสังขาร วจีสังขาร มโนสังขาร

นั้นอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในเกิดขึ้นบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อวิชชา

ย่อมติดตามไปในธรรมเหล่านี้

เพราะอวิชชาดับสิ้นไปไม่เหลือ กาย วาจา ใจ ย่อมไม่เป็นปัจจัย

ให้สุขทุกข์ภายในนั้นเกิดขึ้นแก่บุคคลนั้น เขตอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายใน

นั้นเกิดขึ้นย่อมไม่มี วัตถุ อายตนะ อธิกรณะ อันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์

ภายในนั้นเกิดขึ้น ก็ย่อมไม่มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 406

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความได้อัตภาพ ๔ นี้ ความได้อัตภาพ ๔ คือ

อะไรบ้าง คือ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนนำไป มิใช่สัญเจตนาของ

ผู้อื่นนำไปก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นนำไป มิใช่สัญเจตนาของ

คนนำไปก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของคนนำไปบ้าง สัญเจตนาของ

ผู้อื่นนำไปบ้างก็มี ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนนำไปก็มิใช่ สัญเจตนา

ของผู้อื่นนำไปก็มิใช่ก็มี ภิกษุทั้งหลาย นี้แลความได้อัตภาพ ๔

เนื้อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระสารีบุตรกราบทูลขึ้นว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโดยย่อนี้ ข้าพระพุทธเจ้า

ทราบเนื้อความกว้างออกไปอย่างนี้คือ ในความได้อัตภาพ ๔ นั้น ความได้

อัตภาพที่สัญเจตนาของตนนำไป มิใช่สัญเจตนาของผู้อื่นนำไปนี้ การจุติจาก

อัตภาพนั้นแห่งเหล่าสัตว์ (ผู้ได้อัตภาพนั้น) ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตน

เป็นเหตุ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของผู้อื่นนำไป. มิใช่สัญเจตนาของตน

นำไปนี้ การจุติจากอัตภาพนั้นแห่งเหล่าสัตว์ (ผู้ได้อัตภาพนั้น) ย่อมมีเพราะ

สัญเจตนาของผู้อื่นเป็นเหตุ ความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนนำไปบ้าง

สัญเจตนาของผู้อื่นนำไปบ้างนี้ การจุติจากอัตภาพนั้นแห่งเหล่าสัตว์ (ผู้ได้

อัตภาพนั้น) ย่อมมีเพราะสัญเจตนาของตนบ้าง สัญเจตนาของผู้อื่นบ้างเป็นเหตุ

ส่วนความได้อัตภาพที่สัญเจตนาของตนนำไปก็มิใช่ สัญเจตนาของผู้อื่นนำไป

ก็มิใช่นี้ เหล่าสัตว์ (ผู้ได้อัตภาพนั้น) ได้แก่เทวดาจำพวกไหน.

พ. ตรัสตอบว่า ได้แก่เทวดาเหล่าเนวสัตานาสัญญายตนะ.

พระสารีบุตรกราบทูลถามต่อไปว่า อะไรหนอเป็นเหตุ เป็นปัจจัย

พระพุทธเจ้าข้า ที่ทำให้เหล่าสัตว์บางพวกผู้จุติจากอัตภาพ (เนวสัญญานา-

สัญญายตนะ) นั้นแล้ว เป็นอาคามี มาสู่อัตภาพอย่างนี้อีก อนึ่ง อะไรหนอ

เป็นเหตุเป็นปัจจัย ที่ทำให้เหล่าสัตว์บางพวกผู้จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว เป็น

อนาคามี ไม่มาสู่อัตภาพอย่างนี้อีก.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 407

พ. ตรัสตอบว่า บุคคลละสังโยชน์เบื้องต่ำยังไม่ได้ แต่ได้เนว-

สัญญานาสัญญายตนะในปัจจุบันนี้ บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มเปรมด้วย

เนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ยับยั้งอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ปักใจ

ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ช่ำอยู่ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น

ไม่เสื่อม จนทำกาลกิริยา ย่อมไปเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าเนวสัญญานาสัญ-

ญายตนะ บุคคลนั้นจุติจากอัตภาพนั้นย่อมเป็นอาคามี มาสู่อัตภาพอย่างนี้อีก

ส่วนบุคคลบางคนละสังโยชน์เบื้องต่ำได้แล้ว ได้เนวสัญญานาสัญญายตนะใน

ปัจจุบันนี้ บุคคลนั้นติดใจยินดีปลื้มใจด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ฯลฯ

ไม่เสื่อม จนทำกาลกิริยา ย่อมไปบังเกิดอยู่ร่วมกับเทวดาเหล่าเนวสัญญานา

สัญญายตนะ บุคคลนั้นจุติจากอัตภาพนั้นย่อมเป็น อนาคามี ไม่มาสู่อัตภาพ

อย่างนี้อีก ดูก่อนสารีบุตร นี่แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยที่ทำให้เหล่าสัตว์บางพวก

จุติจากอัตภาพนั้นแล้วเป็นอาคามี มาสู่อัตภาพอย่างนี้อีก บางพวกจุติจาก

อัตภาพนั้นแล้วเป็นอนาคามี ไม่มาสู่อัตภาพอย่างนี้อีก.

จบเจตนาสูตรที่ ๑

สัญเจตนิยวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาเจตนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเจตนาสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาเย ได้แก่ เมื่อกายทวาร อธิบายว่า เมื่อความเคลื่อนไหว

ทางกายมีอยู่. ในบทว่า กายสญฺเจตนาเหตุ เป็นต้น ความสำเร็จแห่งเจตนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 408

ในกายทวารชื่อว่า กายสัญเจตนา (ความจงใจทำทางกาย) กายสัญเจตนานั้น

มี ๒๐ อย่าง คือ กามาวจรกุศล ๘ อย่าง อกุศล ๑๒ อย่าง. วจีสัญเจตนา

(ความจงใจทำทางวาจา) ก็เหมือนกัน มโนสัญญเจตนา (ความจงใจทำ

ทางใจ) ก็เหมือนกัน. อนึ่ง แม้มหัคคตเจตนา ๙ ก็ได้ในบทนี้. บทว่า

กายสญฺเจตนาเหตุ ได้แก่ เพราะกายสัญเจตนาเป็นปัจจัย. บทว่า อุปฺปชฺชติ

อชฺฌตฺต สุขทุกฺข ได้แก่ สุขเกิดขึ้นภายในตนเพราะกุศลกรรม ๘ เป็น

ปัจจัย ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอกุศลกรรม ๑๒ เป็นปัจจัย. แม้ในทวารที่เหลือก็มี

นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อวิชฺชาปจฺจยา วา ได้แก่ เพราะอวิชชาเป็นเหตุ.

จริงอยู่ ถ้าว่าอวิชชาที่ถูกปกปิดไว้เป็นปัจจัย เมื่อเป็นเช่นนั้น เจตนาอันเป็น

ปัจจัยแห่งสุขและทุกข์ในทวาร ๓ ย่อมเกิดขึ้น. นี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจปัจจัย

อันเป็นมูล ด้วยประการฉะนี้.

ในบทว่า อวิชฺชาปจฺจยา วา สาม วา เป็นต้น บุคคลอันคนอื่น

ไม่ได้ใช้ เมื่อปรุงแต่งด้วยตนเอง ชื่อว่า ปรุงแต่งกายสังขารเอง. ชักชวน

คนอื่นให้ปรุงกายสังขารใด คนอื่น ชื่อว่า ปรุงกายสังขารนั้นของเขา.

ก็บุคคลใดรู้กุศลว่าเป็นกุศล รู้อกุศลว่าเป็นอกุศล รู้กุศลวิบากว่าเป็นกุศลวิบาก

รู้อกุศลวิบากว่าเป็นอกุศลวิบาก ย่อมปรุงสังขาร ๒๐ อย่างในกายทวารบุคคลนี้

ชื่อว่า รู้ปรุงสังขาร บุคคลใดไม่รู้อย่างนี้ปรุงสังขาร บุคคลนี้ ชื่อว่า ไม่รู้

ปรุงสังขาร. แม้ในทวารที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

ในข้อนั้นพึงทราบการการทำโดยไม่รู้ตัวดังนี้. พวกเด็กรุ่น คิดว่า

เราจะทำกิจที่มารดาบิดาทำไว้ จึงไหว้เจดีย์ บูชาด้วยดอกไม้ ไหว้หมู่ภิกษุสงฆ์

แม้ทั้งที่เขาไม่รู้ว่าเป็นกุศล การกระทำนั้นก็เป็นกุศลทั้งนั้น. สัตว์เดียรัจฉาน

มีเนื้อและนกเป็นต้นก็เหมือนกัน ฟังธรรม ไหว้สงฆ์ ไหว้เจดีย์ ทั้งที่มันรู้บ้าง

ไม่รู้บ้าง กระทำนั้นก็เป็นกุศลเหมือนกัน. แต่พวกเด็กรุ่น เอามือและเท้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 409

เตะดีมารดาบิดา ยกมือขู่ตะคอกขว้างก้อนดินด่า. แม่โคไล่ตามหมู่ภิกษุ. เหล่า

สุนัขไล่ตามกัด. สีหะและพยัคฆ์เป็นต้น ไล่ตามฆ่า. ทั้งที่มันรู้บ้างไม่รู้บ้าง

พึงทราบว่าเป็นอกุศลกรรม.

บัดนี้ พึงรวบรวมเจตนาอันประมวลลงในทวารแม้ทั้ง ๓. ถามว่า

อย่างไร. ตอบว่า ในกายทวาร เจตนาที่ทำด้วยตนเองเป็นมูล ๒๐ ที่คนอื่นใช้

เป็นมูล ๒๐ ที่รู้ตัวเป็นมูล ๒๐ ที่ไม่รู้ตัวอยู่เป็นมูล ๒๐ รวมเป็นเจตนา ๘๐.

ในวจีทวารก็เหมือนกัน. แต่ในมโนทวาร วิกัปหนึ่ง ๆ วิกัปละ ๒๙ (๔ วิกัป)

รวมเป็น ๑๑๖. ดังนั้น เจตนาแม้ทั้งหมดในทวาร ๓ มีสองร้อยเจ็ดสิบหก

(๒๗๖) เจตนาแม้ทั้งหมดนั้น ย่อมนับได้ว่า เป็นสังขารขันธ์ทั้งนั้น การเสวย

อารมณ์สัมปยุตด้วยสังขารนั้นเป็นเวทนาขันธ์ อาการรู้จำเป็นสัญญา จิต

เป็นวิญญาณขันธ์ กายเป็นอุปาทารูป ธาตุ ๔ ที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทารมณ์

เป็นภูตรูป ๔ ขันธ์ ๕ ดังกล่าวมาเหล่านี้ ชื่อว่าทุกขสัจ. บทว่า อิเมสุ

ภิกฺขเว ธมฺเมสุ อวิชฺชานุปติตา ความว่า อวิชชาตกไปแล้วในเจตนา-

ธรรมมีประเภทดังกล่าวแล้วเหล่านี้ ด้วยอำนาจสหชาตปัจจัย และอุปนิสสย-

ปัจจัย. เป็นอันท่านแสดงถึงวัฏฏะและอวิชชา ที่เป็นมูลแห่งวัฏฏะ ด้วยอาการ

อย่างนี้.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงสรรเสริญพระขีณาสพผู้เจริญ

วิปัสสนาด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล้วบรรลุพระอรหัต จึงตรัสว่า อวิชฺชายเตฺวว

อเสสวิราคนิโรธา ดังนี้เป็นอาทิ. ในบทเหล่านั้น บทว่า อเสสวิราค-

นิโรธา ได้แก่ สำรอกโดยไม่เหลือ และดับโดยไม่เหลือ. บทว่า โส กาโย

น โหติ ความว่า การกระทำทางกายของพระขีณาสพ ย่อมปรากฏเป็นต้น

อย่างนี้ คือ การกวาดลานเจดีย์ การกวาดลานโพธิ์ การก้าวไปและการ

ถอยกลับ การทำวัตรปฏิบัติ. แต่ในกายทวาร เจตนา ๒๐ ของพระขีณาสพนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 410

ย่อมถึงความเป็นกิจไม่มีวิบากเป็นธรรมดา. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า โส

กาโย น โหติ ยมฺปจฺจยาสฺส ต อุปฺปชฺชติ อชฺฌตฺต สุขทุกฺข

(กายอันเป็นปัจจัยให้สุขทุกข์ภายในของพระขีณาสพนั้นเกิดไม่มี) เจตนาอัน

เป็นไปในกายทวาร ท่านประสงค์ว่า กายในที่นี้. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้

เหมือนกัน. แม้บทมีอาทิว่า เขตฺต ดังนี้ ก็เป็นชื่อของกรรมทั้งที่เป็นกุศล

และอกุศลนั่นแล. จริงอยู่ สุขและทุกข์นั้นท่านกล่าวว่าชื่อว่าเขต เพราะ

อรรถกถาว่า เป็นที่งอกแห่งวิบาก ชื่อว่าวัตถุ เพราะอรรถว่า เป็นพื้นที่ตั้ง

ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถวาเป็นเหตุ ชื่อว่า อธิกรณะ เพราะอรรถว่า

เป็นเรื่องราว.

พระศาสดา ครั้นทรงแสดงกรรมอันประมวลลงด้วยทวาร ๓ โดยฐานะ

ประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงฐานะอันเป็นผลของกรรมนั้น

จึงตรัสว่า จตฺตาโรเม ภิกฺขเว ดังนี้ เป็นอาทิ. ในบทนั้น บทว่า อตฺตภาว-

ปฏิลาภา ได้แก่ อัตภาพที่ทนได้แล้ว. บทว่า อตฺตสญฺเจตนา กมติ

ได้แก่ เจตนาที่ตนดำริไว้ย่อมนำไป คือ ย่อมเป็นไป. ในบทมีอาทิว่า

อตฺตสญฺเจตนาเหตุ เตส สตฺตาน ตมฺหา กายา จุติ โหติ (การจุติ

จากกายนั้นของสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้นย่อมมี เพราะสัญเจตนาของคนเป็นเหตุ)

ได้แก่ พวกเทพผู้เป็นขิฑฑาปโทสิกะ (มุ่งแต่จะเล่น. ) ย่อมจุติเพราะสัญเจตนา

ของตนเป็นเหตุ. ด้วยว่า เมื่อทวยเทพเหล่านั้นดื่มด่ำอยู่ในความพอใจของทิพย์

ในสวนนันทวัน จิตรลดาวันและปารุสกวันเป็นต้น เหนื่อยอ่อน ลืมดื่มและ

บริโภค. เขาย่อมแห้งไปเพราะขาดอาหาร เหมือนดอกไม้ที่เหวี่ยงไปในแดด.

มโนปโทสิกา (ทวยเทพผู้ทำร้ายทางใจ) ย่อมจุติเพราะสัญเจตนา

ของผู้อื่นเป็นเหตุ ได้แก่ ทวยเทพชั้นจาตุมมหาราชิกา ได้ยินว่า บรรดา

ทวยเทพเหล่านั้น เทพบุตรองค์หนึ่ง หมายจักเล่นนักขัตฤกษ์ จึงพร้อมด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 411

บริวาร ขึ้นรถไปตามทาง ที่นั้นเทพบุตรอีกองค์หนึ่ง ออกไปเห็นเทพบุตรนั้น

กำลังไปข้างหน้า จึงโกรธว่า อะไรกันพ่อเอ้ย คนขอทานผู้เห็นเทพบุตร

องค์หนึ่งทำเหมือนไม่เคยเห็นแล้วเห่อผยองราวกระบวนแห่ไปตามถนน. เทพ-

บุตรผู้เดินไปข้างหน้าเหลียวดูเห็นเทพบุตรนั้นโกรธ คิดว่า ขึ้นชื่อว่า คนโกรธ

รู้ได้ง่าย ครั้นรู้ว่าเทพบุตรนั้นโกรธจริง จึงโกรธตอบว่าท่านโกรธจักทำอะไร

เราได้ เราได้สมบัตินี้มาด้วยอำนาจทานและศีลเป็นต้น ไม่ใช่ได้มาด้วยอำนาจ

ของท่าน ก็เมื่อเทพบุตรองค์หนึ่งโกรธ อีกองค์หนึ่งไม่โกรธยังรักษาไว้ได้

แต่เมื่อทั้งสองโกรธ ความโกรธของเทพบุตรองค์หนึ่งเป็นปัจจัยของอีกองค์หนึ่ง

ความโกรธของเทพบุตรองค์นั้นก็เป็นปัจจัยของเทพบุตรอีกองค์หนึ่ง เพราะ

ฉะนั้น เทพบุตรทั้งสองย่อมจุติทั้งที่สนมเทพอัปสรคร่ำครวญอยู่.

มนุษย์ทั้งหลายย่อมจุติเพราะสัญเจตนาของตนและสัญเจตนาของผู้อื่น

เป็นเหตุ อธิบายว่า มนุษย์ทั้งหลายย่อมจุติ เพราะเหตุแห่งสัญเจตนาของตน

และแห่งสัญเจตนาของผู้อื่น. จริงอยู่ มนุษย์ทั้งหลายครั้นโกรธแล้วก็เอามือบ้าง

เท้าบ้าง ทุบตีตนด้วยตนเอง ผูกด้วยเครื่องผูกคือเชือกเป็นต้นบ้าง ตัดศีรษะ

ด้วยดาบบ้าง กินยาพิษบ้าง ย่อมกระโดดเหวบ้าง กระโดดน้ำบ้าง เข้ากองไฟ

บ้าง เอาท่อนไม้ศัสตราประหาร แม้คนอื่นให้ตายบ้าง. สัญเจตนาของตนก็ดี

สัญเจตนาของผู้อื่นก็ดี ย่อมเป็นไปในมนุษย์เหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้.

บทว่า กตเม เตน เทวา ทฏฺพฺพา ความว่า จะพึงเห็นทวยเทพ

เหล่านั้นเป็นไฉน หรือความว่าจะพึงเห็นทวยเทพด้วยอัตภาพนั้นเป็นไฉน

ดังนี้บ้าง. ถามว่า เพราะเหตุไร พระเถระจึงถามปัญหานี้ การกล่าวด้วยตนเอง

ยังไม่พอหรือ. ตอบว่า ยังไม่พอ. ก็บทนี้เป็นปัญหาพุทธวิสัยโดยสภาวะของ

ปัญหา เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงไม่กล่าว. บทว่า เตน ทฏฺพฺพา ได้แก่

พึงเห็นด้วยอัตภาพนั้น. ก็ปัญหานี้ย่อมได้ในกามาวจรบ้าง รูปาวจรบ้าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 412

ในเบื้องต่ำ แต่ตรัสกำหนดด้วยภวัคคพรหม เป็นอันตรัสโดยสิ้นเชิง เพราะ

เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า อาคนฺตาโร อิตฺถตฺต

ได้แก่ เป็นผู้กลับมาสู่ความเป็นอย่างนี้ คือ สู่ความเป็นกามาวจรและเบญจ-

ขันธ์นั่นเอง หาได้เกิดในภพนั้นไม่ มิได้เกิดในภพเบื้องบน. บทว่า อนาคนฺ-

ตาโร อิตฺถตฺต ได้แก่ เป็นผู้ไม่กลับมาสู่ขันธบัญจกนี้คือเป็นผู้ไม่เกิดใน

เบื้องต่ำ อธิบายว่า เป็นผู้เกิดในภพนั้นบ้าง เป็นผู้เกิดในเบื้องบนบ้าง เป็นผู้

ปรินิพพานในภพนั้นนั่นเองบ้าง. ในบทนี้พึงทราบสัตว์ผู้เกิดในเบื้องบน แม้

ด้วยอำนาจสัตว์ทั้งหลายผู้เกิดแล้วในภพชั้นต่ำ. ก็ขันธบัญจกนี้ไม่มีในภวัคค-

พรหม. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาเจตนาสูตรที่ ๑

๒. วิภัตติสูตร

ว่าด้วยพระสารีบุตรปฏิญญาว่าได้ปฏิสัมภิทา ๔

[๑๗๒] พระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมา ฯลฯ กล่าวว่า อาวุโส

ทั้งหลาย ข้าพเจ้าอุปสมบทได้กึ่งเดือนก็ได้ทำให้แจ้งอัตถปฏิสัมภิทา ธัมมปฏิ-

สัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา โดยเป็นส่วน โดยพยัญชนะ

ข้าพเจ้าบอก แสดง แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนกทำให้ตื้น ซึ่งอัตถปฏิสัมภิทา

ธัมมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทานั้นได้โดยอเนกปริยาย

ผู้ใดมีความสงสัยหรือเคลือบแคลง เชิญถามข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักกล่าแก้

พระศาสดาผู้ทรงฉลาดเลิศในธรรมทั้งหลาย ก็ประทับอยู่ต่อหน้าเราทั้งหลาย.

จบวิภัตติสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 413

อรรถกถาวิภัตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิภัตติสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อตฺถปฏิสมฺภิทา ได้แก่ ญาณอันถึงความแตกฉานในอรรถ

ทั้งหลาย ๕. บทว่า โอธิโส คือโดยเหตุ. บทว่า พฺยญฺชนโส คือ โดยอักษร.

บทว่า อเนกปริยาเยน คือ โดยเหตุหลายอย่าง. บทว่า อาจิกฺขามิ แปลว่า

บอก บทว่า เทเสมิ คือ บอกกล่าวทำให้ปรากฏ. บทว่า ปญฺาเปมิ คือ

ให้เขารู้. บทว่า ปฏฺเปมิ คือ กล่าวยกขึ้นให้เป็นไปแล้ว บทว่า วิวรามิ

คือ บอกแบบเปิดเผย. บทว่า วิภชามิ คือ บอกแบบจำแนก. บทว่า

อุตฺตานีกโรมิ คือ บอกทำข้อที่ลึกซึ้งให้ตื้น. บทว่า โส ม ปญฺเหน

ได้แก่ ผู้นั้นจงเข้าไปถามปัญหาเรา. บทว่า อห เวยฺยากรเณน ความว่า

ข้าพเจ้าจักยังจิตของผู้นั้นให้ยินดีด้วยการแก้ปัญหา. บทว่า โย โน ธมฺมาน

สุกุสโล ความว่า พระศาสดาผู้ทรงฉลาดเลิศในธรรมที่เราบรรลุแล้ว พระองค์

ประทับอยู่ต่อหน้าเรา ตรัสว่า ผิว่า อัตถปฏิสัมภิทา เรายังไม่ทำให้เจ้า

ดูก่อนสารีบุตร เธอจงทำให้แจ้งก่อนแล้ว จักทรงห้ามเสีย. เพราะเหตุนั้น

พระสารีบุตรชื่อว่านั่งต่อพระพักตรพระศาสดา บันลือสีหนาท. พึงทราบความ

ในบททั้งหมดด้วยอุบายนี้. ก็และในปฏิสัมภิทาเหล่านี้ ปฏิสัมภิทา ๓ เป็น

โลกิยะ อัตถปฏิสัมภิทา เป็นทั้งโลกิยะและโลกุตระ ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวิภัตติสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 414

๓. โกฏฐิตสูตร

ว่าด้วยผัสสายตนะ ๖ ดับไม่เหลือ

[๑๗๓] ครั้งนั้นพระมหาโกฏฐิตะไปหาพระสารีบุตร ฯลฯ ถาม

พระสารีบุตรว่า อาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไร ๆ อื่น

ยังมีหรือ.

พระสารีบุตรตอบว่า ไม่ใช่อย่างนั้น อาวุโส.

มหา. เพราะผัสสาตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไร ๆ อื่นไม่มีหรือ.

สา. ไม่ใช่อย่างนั้น.

มหา. เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไร ๆ อื่นยังมีก็มิใช่

ไม่มีบ้างหรือ.

สา. ไม่ใช่อย่างนั้น.

มหา. เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไร ๆ อื่นยังมีก็มิใช่

ไม่มีก่มิใช่หรือ.

สา. ไม่ใช่อย่างนั้น.

มหา. เมื่อข้าพเจ้าถามว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว

อะไรอื่นยังมีหรือ ท่านก็ตอบว่าไม่ใช่อย่างนั้น...ไม่มีหรือ ก็ว่าไม่ใช่...

มีบ้างไม่มีบ้างหรือ ก็ว่าไม่ใช่...มีก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่หรือ ก็ว่าไม่ใช่ ก็ความ

แห่งคำที่กล่าวนี้จะพึงเข้าใจได้อย่างไร.

สา. ดูก่อนอาวุโส เมื่อกล่าวว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือ

แล้ว อะไรอื่นยังมีอีก ดังนี้ ชื่อว่าทำเรื่องไม่เป็นไม่เนิ่นช้าให้เนิ่นช้า เมื่อกล่าวว่า

เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว อะไร ๆ อื่นไม่มี ... มีบ้างไม่มีบ้าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 415

... มีก็มิใช่ไม่มีก็มิใช่ ดังนี้ ๆ ก็ชื่อว่าทำเรื่องที่ไม่เนิ่นช้าให้เนิ่นช้า นี่แน่ะ

อาวุโส ผัสสายตนะ ๖ ยังเป็นไปอยู่เพียงใด ปปัญจธรรม (ธรรมอันทำให้

เนิ่นช้า) ก็ยังเป็นไปอยู่เพียงนั้น ปปัญจธรรมยังเป็นไปอยู่เพียงใด ผัสสาย-

ตนะ ๖ ก็ยังเป็นไปอยู่อย่างนั้น ผัสสายตนะ ๖ ดับไปไม่เหลือแล้ว ปปัญจ-

ธรรมก็ดับรำงับไป.

จบโกฏฐิตสูตรที่ ๓

อรรถกถาโกฏฐิตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโกฏฐิตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้:-

บทว่า ผสฺสายตนาน ได้แก่ บ่อเกิดแห่งผัสสะ. อธิบายว่า ที่ที่

เกิดแห่งผัสสะ. บทว่า อตฺถญฺ กิญฺจิ ความว่า ท่านมหาโกฏฐิตะถามว่า

เมื่อผัสสายตนะเหล่านั้นดับ โดยไม่เหลือ กิเลสไรๆ นอกจากนั้นแม้จำนวน

น้อยยังมีอยู่หรือ. แม้ในบทว่า นตฺถญฺ กิญฺจิ ท่านมหาโกฏฐิตะก็ถามว่า

กิเลสแม้จำนวนน้อยก็ไม่มีหรือ. แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ท่าน-

มหาโกฎฐิตะถามปัญหาแม้ ๔ ข้อเหล่านี้ด้วยอำนาจสัสสตทิฏฐิ อุจเฉททิฏฐิ

เอกัจจสัสสตทิฏฐิ (ความเห็นว่าเทียงเป็นบางอย่าง) และอมราวิกเขปทิฏฐิ

(ความเห็นดิ้นได้ไม่ตายตัว). ด้วยเหตุนั้น พระเถระ (พระสารีบุตร) เมื่อจะ

คัดค้านปัญหาที่ท่านมหาโกฏฐิตะถามแล้วถามอีก จึงกล่าวว่า มาเหว ดังนี้.

คำว่า หิ ในคำนี้ (มาเหว) เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ท่านอย่าพูดอย่างนี้.

ท่านมหาโกฏฐิตะถามโดยอาการมีสัสสตทิฏฐิเป็นต้นว่า สิ่งใด ๆ อื่นด้วยอำนาจ

การเข้าไปถือว่ามีอัตตามีอยู่หรือ คือชื่อว่า อิตตาไร ๆ อื่นมีอยู่หรือ. ถามว่า

ก็พระเถระ (พระมหาโกฏฐิตะ) นี้เป็นอัตตูปลัทธิถือลัทธิว่ามีอัตตา หรือ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 416

ตอบว่า ไม่ใช่อัตตูปลัทธิ แต่ภิกษุรูปหนึ่งซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้นมีลัทธิอย่างนี้ ภิกษุ

นั้นไม่อาจถามได้. ท่านมหาโกฏฐิตะถามอย่างนี้เพื่อจะให้พระสารีบุตรแก้ ลัทธิ

ในที่นั้น. พระมหาโกฏฐิตะ คิดว่า พระมหาสาวกทั้งหลายแก้ปัญหานี้ แม้ใน

พุทธกาลแก่ผู้ที่จักมีลัทธิอย่างนี้ในอนาคตกาล จึงถามเพื่อตัดโอกาสที่จะพูดกัน .

บทว่า อปฺปมญฺจ ปปญฺเจติ ได้แก่ ไม่ทำความเนิ่นช้าในที่อัน

ควรทำให้เนิ่นช้า คือหน่วงทางอันไม่ควรหน่วง. บทว่า ตาวตา ปญฺจสฺส-

คติ ความว่า คติแห่งผัสสายตนะ ๖ ยังมีอยู่เพียงใด คติแห่งปปัญจธรรม

(ธรรมอันทำให้เนิ่นช้า) อันต่างด้วย ตัณหา ทิฏฐิ มานะก็ยังมีอยู่เพียงนั้น

บทว่า ฉนฺน อาวุโส ผสฺสายตนาน อเสสวิราคนิโรธา ปปญฺจนิโรโธ

ปปญฺจวูปสโม (ดูก่อนผู้อาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับด้วยสำรอกโดย

ไม่เหลือ ปปัญจธรรมก็ดับ ปปัญจธรรมก็ระงับไป) ความว่า เมื่ออายตนะ ๖

เหล่านี้ ดับโดยประการทั้งปวง แม้ปปัญจธรรมก็เป็นอันดับไป เป็นอัน

ระงับไป แต่ในอรูปภพ ผัสสายตนะ ๕ ของเทวดาผู้เป็นปุถุชนดับไปก็จริง

ถึงดังนั้น เพราะผัสสายตนะที่ ๖ ยังไม่ดับ ปปัญจธรรมแม้ ๓ ก็ชื่อว่า ยังละ

ไม่ได้. ก็และท่านกล่าวปัญหานี้ ด้วยสามารถปัญจโวหารภพ ของสัตว์ที่มี

ขันธ์ ๕ เท่านั้น.

จบอรรถกถาโกฏฐิตสูตรที่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 417

๔. อานนทสูตร

ว่าด้วยอายตนะดับไม่เหลือ

[๑๗๔] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระมหาโกฏฐิตะ

ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหาโกฏฐิตะ ครั้น ผ่านการปราศรัยพอให้

ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระ-

มหาโกฏฐิตะว่า ดูก่อนอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอก

ไม่เหลือ อะไร ๆ อื่นมีอยู่หรือ ? ท่านพระมหาโกฏฐิตะกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส

อย่าได้กล่าวอย่างนั้น.

อา. ดูก่อนอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ

อะไร ๆ อื่นไม่มีอยู่หรือ

มหา. ดูก่อนอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น.

อา. ดูก่อนอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ

อะไรอื่น ๆ มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ?

มหา. ดูก่อนอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น.

อา. ดูก่อนอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ

อะไร ๆ อื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ?

มหา. ดูก่อนอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น.

อา. ผมถามว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ

อะไร ๆ อื่นมีอยู่หรือ ท่านกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น

ผมถามว่า ดูก่อนอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ

อะไร ๆ อื่นไม่มีหรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส อย่าได้กล่าวอยู่นั้น

ผมถามว่า ดูก่อนอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 418

อะไร ๆ อื่นมีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส อย่าได้

กล่าวอย่างนั้น ผมถามว่า ดูก่อนอาวุโส เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดย

สำรอกไม่เหลือ อะไร ๆ อื่นมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ท่านก็กล่าวว่า

ดูก่อนอาวุโส อย่าได้กล่าวอย่างนั้น ดูก่อนอาวุโส ก็เนื้อความแห่งคำตามที่

ท่านกล่าวแล้วนี้ จะพึงเห็นได้อย่างไร ?

มหา. อาวุโส เมื่อกล่าวว่า เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอก

ไม่เหลือ อะไร ๆ อื่นมีอยู่หรือ...ไม่มีอยู่หรือ...มีอยู่ด้วย ไม่มีอยู่ด้วยหรือ

... มีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่หรือ ดังนี้ ชื่อว่าทำความไม่เนิ่นช้าให้เนิ่นช้า

ผัสสายตนะ ๖ ยังดำเนินไปเพียงใด ปปัญจธรรมก็ดำเนินไปเพียงนั้น ปปัญจ-

ธรรมยังดำเนินไปเพียงใด ผัสสายตนะ ๖ ก็ดำเนินไปเพียงนั้น ดูก่อนอาวุโส

เพราะผัสสายตนะ ๖ ดับสนิทโดยสำรอกไม่เหลือ ปปัญจธรรมก็ดับสนิท

สงบระงับ.

จบอนนทสูตรที่ ๔*

๕. อุปวานสูตร

ว่าด้วยการกระทำที่สุดทุกข์

[๑๗๕] ครั้งนั้นแล ท่านพระอุปวานเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง

ที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

ดูก่อนอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยวิชชาหรือหนอ ? ท่านพระ-

สารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น.

* สูตรที่ไม่มีอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 419

อุ. ดูก่อนอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยจรณะหรือ ?

สา. ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น.

อุ. ดูก่อนอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยวิชชาและจรณะ

หรือ ?

สา. ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น.

อุ. ดูก่อนอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์อื่นจากวิชชาและจรณะ

หรือ ?

สา. ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น.

ผมถามว่า ดูก่อนอาวุโส บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ด้วยวิชชาหรือ

ท่านกล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น ผมถามว่า ดูก่อนอาวุโส บุคคล

กระทำที่สุดแห่งทุกข์ด้วยจรณะหรือ... ด้วยวิชชาและจรณะหรือ... อื่นจาก

วิชชาและจรณะหรือ ท่านก็กล่าวว่า ดูก่อนอาวุโส ไม่ใช่อย่างนั้น ดูก่อน

อาวุโส ก็บุคคลกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้อย่างไรเล่า ?

สา. ดูก่อนอาวุโส ถ้าบุคคลจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชา

แล้วไซร้ ก็จักเป็นผู้มีอุปาทานเทียวกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ถ้าบุคคลจักกระทำ

ที่สุดได้ด้วยจรณะแล้วไซร้ ก็จักเป็นผู้มีอุปาทานเทียวกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ถ้าบุคคลจักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ด้วยวิชชาและจรณะไซร้ ก็จักเป็นผู้มี

อุปาทานเทียวกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ถ้าบุคคลจักการทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

นอกจากวิชชาและจรณะไซร้ ปุถุชนก็จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะปุถุชน

เว้น จากวิชชาและจรณะ ดูก่อนอาวุโส บุคคลผู้มีจรณะสมบูรณ์จึงรู้จึงเห็น

ตามความเป็นจริง ย่อมกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้.

จบอุปวานสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 420

อรรถกถาอุปวานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปวานสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิชฺชายนฺตกโร โหติ ความว่า บุคคลทำที่สุดวัฏทุกข์ได้

ด้วยวิชชา คือทำทางวัฏทุกข์ทั้งสิ้นให้ขาดเสียสิ้นตั้งอยู่. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้

เหมือนกัน. บทว่า สอุปาทาโน แปลว่า เป็นผู้ยังมีความยึดถืออยู่. บทว่า

อนฺตกโร อภวิสฺส คือบุคคลจักทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์อยู่ได้. บทว่า จรณ-

สมฺปนฺโน คือถึงพร้อมแล้วด้วยจรณธรรม ๑๕ ประเภท. บทว่า ยถาภูต

ชาน ปสฺส อนฺตกโร โหติ ความว่า บุคคลรู้เห็นด้วยมรรคปัญญาตาม

ความเป็นจริงแล้ว ชื่อว่า เป็นผู้ทำที่สุดแห่งวัฏทุกข์ตั้งอยู่ เพราะฉะนั้น

พระสารีบุตรเถระ จึงให้ปัญหาจบลงด้วยอดธรรมคือพระอรหัต.

จบอรรถกถาอุปวานสูตรที่ ๕

๖. อายาจนสูตร

ว่าด้วยบริษัท ๔ ปรารถนา

[๑๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนาโดยชอบ

พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ

เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรและโมคคัลลานะนี้เป็นตราชู เป็นประมาณ

แห่งภิกษุทั้งหลายผู้สาวกของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่อ

ปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระเขมาภิกษุณี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 421

และพระอุบลวรรณาภิกษุณีเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขมาภิกษุณีและอุบล-

วรรณาภิกษุณีนี้เป็นตราชู เป็นประมาณแห่งภิกษุณีทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนา

อย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้เป็นตราชู

เป็นประมาณแห่งอุบาสกทั้งหลายผู้เป็นสาวกของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อุบาสิกาผู้มีศรัทธาเมื่อปรารถนาโดยชอบ พึงปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็น

เช่นนางขุชชุตราอุบาสิกา และนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดาเถิด ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นางขุชชุตราอุบาสิกา และนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดานี้เป็นตราชู

เป็นประมาทของอุบาสิกาทั้งหลายผู้สาวิกาของเรา.

จบอายาจนสูตรที่ ๖

อายาจนสูตรที่ ๖ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในอรรถกถาเอกนิบาต

ในหนหลัง.

๗. ราหุลสูตร

ว่าด้วยตรัสสอนพระราหุลให้มนสิการธาตุกรรมฐาน

[๑๗๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระราหุลเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระราหุลว่า ดูก่อนราหุล

ปฐวีธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี ปฐวีธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าปฐวีธาตุ

เท่านั้น พึงเห็นปฐวีธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 422

นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วย

ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อม

คลายกำหนัดในปฐวีธาตุ ดูก่อนราหุล อาโปธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอก

ก็ดี อาโปธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าอาโปธาตุเท่านั้น พึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วย

ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา

นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

อย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในอาโปธาตุ

ดูก่อนราหุล เตโชธาตุที่เป็นภายในก็ดี เป็นภายนอกก็ดี เตโชธาตุนั้นก็เป็น

แต่สักว่าเตโชธาตุเท่านั้น พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความ

เป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา

เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายใน

เตโชธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในเตโชธาตุ ดูก่อนราหุล วาโยธาตุที่เป็นภายใน

ก็ดี เป็นภายนอกก็ดี วาโยธาตุนั้นก็เป็นแต่สักว่าวาโยธาตุเท่านั้น พึงเห็น

วาโยธาตุนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา

นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เพราะเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความ

เป็นจริงอย่างนั้น จิตย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ ย่อมคลายกำหนัดในวาโยธาตุ

ดูก่อนราหุล เพราะเหตุที่ภิกษุพิจารณาเห็นว่ามิใช่ตัวตน ไม่เนื่องในตน

ในธาตุ ๔ นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ตัดตัณหาได้แล้ว รื้อถอนสังโยชน์เสียได้

กระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้วเพราะละมานะได้โดยชอบ.

จบราหุลสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 423

อรรถกถาราหุลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในราหุลสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อชฺฌตฺติกา ได้แก่ ปฐวีธาตุใน ๒๐ ส่วน มีผมเป็นต้น

มีลักษณะแข็ง. บทว่า พาหิรา ได้แก่ พึงทราบปฐวีธาตุในแผ่นหินและ

ภูเขาเป็นต้น อันไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ เป็นภายนอกมีลักษณะแข็ง. พึงทราบ

ธาตุแม้ที่เหลือโดยนัยนี้. บทว่า เนต มม เนโสหมสฺมิ น เม โส อตฺตา

(นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เป็นเรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา) นี้ ท่านกล่าว

ด้วยอำนาจการปฏิเสธความยึดถือ. ด้วยตัณหามานะและทิฏฐิ. บทว่า สมฺ-

มปฺปญฺาย ทฏฺพฺพ ได้แก่ พึงเห็นด้วยมรรคปัญญาโดยเหตุโดยการณ์.

บทว่า ทิสฺวา ได้แก่ เห็นด้วยมรรคปัญญา พร้อมด้วยวิปัสสนา.

บทว่า อจฺเฉชฺชิ ตณฺห ได้แก่ ตัดตัณหาที่พึงฆ่าด้วยมรรคพร้อมด้วยมูล.

บทว่า วิวฏฺฏยิ สญฺโชน ได้แก่รื้อ คือเพิกถอนละสังโยชน์ ๑๐ อย่าง.

บทว่า สมฺมามานาภิสมยา ได้แก่ เพราะละมานะ ๙ อย่าง โดยเหตุโดยการณ์.

บทว่า อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ได้แก่ กระทำวัฏทุกข์ให้ขาดทาง อธิบายว่า

กระทำแล้วยังตั้งอยู่ พระศาสดาตรัสวิปัสสนาไว้ในราหุลวาทสูตรในสังยุตตนิกาย

ด้วยประการฉะนี้. แม้ในจูฬราหุโลวาทสูตรก็ตรัสวิปัสสนาไว้. ตรัสการเว้น

จากมุสาวาทของภิกษุหนุ่มไว้ในราหุโลวาทสูตร ณ อัมพลัฏฐิการาม. ตรัส

วิปัสสนาเท่านั้นในมหาราหุโลวาทสูตร. ตรัสจตุโกฏิกสุญญตาไว้ในอังคุคตร-

นิกายนี้.

จบอรรถกถาราหุลสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 424

๘. ชัมพาลีสูตร

ว่าด้วยบุคคล ๔ จำพวก

[๑๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุ

เจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นมนสิการสักกายนิโรธ

(ความดับสักกายะ คือ วัฏฏะอัน เป็นไปในภูมิ ๓) เมื่อเธอมนสิการสักกาย-

นิโรธอยู่ จิตของเธอย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปใน

สักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้สักกายนิโรธ บุรุษมี

มือเปื้อนยางเหนียวจับกิ่งไม้ มือของเขานั้นพึงจับติดกิ่งไม้อยู่ แม้ฉันใด

ภิกษุบรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล

เธอย่อมมนสิการสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธอยู่ จิตย่อมไม่

แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายนิโรธอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้

ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้สักกายนิโรธ.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่าง

หนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นย่อมมนสิการสักกายนิโรธ เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธอยู่

จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อ

เป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลพึงหวังได้สักกายนิโรธ บุรุษมีมือหมดจดจับกิ่งไม้ มือ

ของเขานั้นไม่พึงจับติดอยู่ที่กิ่งไม้ แม้ฉันใด ภิกษุบรรลุเจโตวิมุตติอันสงบ

อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล เธอย่อมมนสิการสักกายนิโรธ

เมื่อเธอมนสิการสักกายนิโรธ จิตย่อมแล่นไปย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อม

น้อมไปในสักกายนิโรธ เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลพึงหวังได้สักกายนิโรธ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 425

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง

อยู่ ภิกษุนั้นย่อมมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อเธอมนสิการถึงการทำลาย

อวิชชาอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในการทำลาย

อวิชชา เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้การทำลายอวิชชา บ่อน้ำใหญ่

นับได้หลายปี คนพึงปิดทางไหลเข้าของบ่อน้ำนั้นเสีย และเปิดทางไหลออกไว้

ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มเดิมตามฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้ บ่อน้ำใหญ่นั้นก็ไม่พึงหวัง

ที่จะมีน้ำล้นขอบออกไปได้ แม้ฉันใด ภิกษุบรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใด

อย่างหนึ่งอยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เธอย่อมมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อ

เธอมนสิการถึงการทำลายอวิชชาอยู่ จิตย่อมไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่

ไม่น้อมไปในการทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลไม่พึงหวังได้การ

ทำลายอวิชชา อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใด

อย่างหนึ่งอยู่ ภิกษุนั้นมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เนื้อเธอมนสิการถึงการ

ทำลายอวิชชาอยู่ จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อมน้อมไปในการ

ทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นพึงหวังได้การทำลายอวิชชา บ่อน้ำใหญ่

นับได้หลายปี คนพึงเปิดทางไหลเข้าของบ่อน้ำนั้น ไว้ และปิดทางไหลออกเสีย

ทั้งฝนก็ตกเพิ่มเติมตามฤดูกาล เมื่อเป็นอย่างนี้ บ่อน้ำใหญ่นั้นก็พึงหวังที่จะมี

น้ำล้นขอบออกไปได้ แม้ฉันใด ภิกษุบรรลุเจโตวิมุตติอันสงบอย่างใดอย่างหนึ่ง

อยู่ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนั้นย่อมมนสิการถึงการทำลายอวิชชา เมื่อเธอ

มนสิการถึงการทำลายอวิชชาอยู่ จิตย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ ย่อม

น้อมไปในการทำลายอวิชชา เมื่อเป็นเช่นนี้ ภิกษุนั้นแลพึงหวังได้การทำลาย

อวิชชา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบชัมพาลีสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 426

อรรถกถาชัมพาลีสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในชัมพาลีสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สนฺต เจโตวิมุตฺตึ ได้แก่ สมาบัติ ๘ อย่างใดอย่างหนึ่ง

บทว่า สกฺกายนิโรธ ได้แก่ ดับสักกายะอันได้แก่วัฏฏะที่เป็นไปในภูมิ ๓

อธิบายว่า นิพพาน. บทว่า น ปกฺขนฺทติ ได้แก่ ไม่แล่นไปด้วยอำนาจ

อารมณ์. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน บทว่า น ปาฏิกงฺโข ได้แก่

ไม่พึงหวังได้. บทว่า ลปคเตน ได้แก่ เปื้อนยางเหนียว.

ก็และในความนี้ ควรนำมาเปรียบด้วยบุรุษผู้ประสงค์จะข้ามไปฝั่งโน้น.

เขาว่าบุรุษผู้หนึ่งประสงค์จะข้ามไปฝั่งโน้นของแม่น้ำ ซึ่งมีกระแสเชี่ยวจัดมาก

เต็มไปด้วยปลาร้าย คิดว่า ฝั่งในน่ารังเกียจ มีภัยเฉพาะหน้า ฝั่งนอกเป็นที่เกษม

ปลอดภัย เราจะทำอย่างไรดีหนอ จึงจักข้ามไปฝั่งโน้นได้ เห็นต้นกุ่ม ๘ ต้น

ตั้งอยู่เรียงกัน จึงแน่ใจว่าเราน่าจะไปตามลำดับของต้นไม้นี้ได้ ขึ้นชื่อว่า

ต้นกุ่มมีกิ่งเกลี้ยง มือจะจับกิ่งยึดไว้ไม่ได้ จึงเอายางของต้นไทรและต้นเลียบ

เป็นต้น ต้นใดต้นหนึ่งทามือและเท้า เอามือขวาจับกิ่งหนึ่งไว้. มือก็ติดที่กิ่ง

นั้นเอง. เอามือซ้าย เท้าขวา เท้าซ้าย จับเกาะก็ติดอีก เพราะเหตุนั้น มือ

และเท้าแม้ทั้ง ๔ ก็ติดอยู่ที่กิ่งนั้นนั่นเอง. เขาห้อยหัวลง เมื่อฝนตกลงบน

แม่น้ำ เขาก็จมลงในกระแสแม่น้ำที่เต็ม กลายเป็นเหยื่อจระเข้เป็นต้น . ในข้อ

นั้น กระแสแห่งสงสารพึงเห็นดุจกระแสน้ำ. พระโยคาวจรดุจบุรุษประสงค์จะ

ข้ามฝั่งกระแสน้ำ สักกายะดุจฝั่งใน นิพพานดุจฝั่งนอก สมาบัติ ๘ ดุจต้นกุ่ม

๘ ต้นที่ตั้งเรียงอยู่ การไม่ชำระธรรมที่เป็นอันตรายต่อฌานและวิปัสสนาให้

หมดจดแล้ว เข้าสมาบัติดุจเอามือที่เปื้อนยางเหนียวจับกิ่งไม้ เวลาที่ถูกความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 427

ติดใจคล้องไว้ในปฐมฌาน ดุจเอามือและเท้าเกี่ยวติดไว้ที่กิ่งไม้ห้อยหัวลง

เวลาที่กิเลสเกิดในทวาร ๖ ดุจฝนตกกระแสน้ำ เวลาที่ผู้จมอยู่ในกระแส

สงสาร เสวยทุกข์ในอบาย ๔ ดุจเวลาที่ผู้จมลงในกระแสแม่น้ำที่เต็ม เป็น

เหยื่อของจระเข้เป็นต้น.

บทว่า สุทฺเธน หตฺเถน ได้แก่ ด้วยมือที่ล้างสะอาดดีแล้ว. แม้ใน

ความข้อนี้ก็พึงเปรียบเทียบเช่นนั้นเหมือนกัน. บุรุษผู้ประสงค์จะข้ามฝั่ง คิดว่า

ขึ้นชื่อว่าต้นกุ่มกิ่งเกลี้ยง ผู้ที่จับ ด้วยมือที่สกปรกมือก็พึงคิด จึงล้างมือและเท้า

ให้สะอาด แล้วจับกิ่งหนึ่งขึ้นต้นที่ ๑ ลงจากต้นที่ ๑ ขึ้นต้นที่ ๒ ฯลฯ ลง

จากต้นที่ ๗ ขึ้นต้นที่ ๘ ลงจากต้นที่ ๘ แล้วก็ถึงพื้นที่ปลอดภัย ณ ฝั่งโน้น .

ในข้อนั้น เวลาที่พระโยคีคิดว่า เราจักเข้าสมาบัติ ๘ ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว

จักยึดเอาพระอรหัตให้ได้ดังนี้ พึงทราบดุจเวลาที่บุรุษนั้นคิดว่า เราจักข้ามไป

ฝั่งโน้นด้วยต้นไม้เหล่านี้ การชำระธรรมอันเป็นอันตรายต่อฌานและวิปัสสนา

แล้วเข้าสมาบัติ ดุจการยึดกิ่งไม้ด้วยมือสะอาด เวลาเข้าปฐมฌาน ดุจเวลา

ขึ้นต้นไม้ต้นที่ ๑ ในต้นไม้เหล่านั้น เวลาที่ไม่ถูกความติดใจผูกไว้ในปฐมฌาน

ออกจากปฐมฌานนั้นแล้วเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ดุจเวลาลงจากต้นไม้ต้นที่ ๑ แล้ว

ขึ้นต้นที่ ๒ ฯลฯ เวลาที่ไม่ถูกความติดใจผูกไว้ในอากิญจัญญายตนสมสมาบัติ

ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัตินั้นแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ

ดุจลงจากต้นไม้ต้นที่ ๗ แล้วขึ้นต้นที่ ๘ เวลาที่ไม่ถูกความติดใจผูกไว้ใน

เนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารบรรลุพระ-

อรหัต ดุจเวลาที่บุรุษลงจากต้นไม้ต้นที่ ๘ แล้วก็ไปถึงฝั่งโน้นอันเป็นพื้นที่

มีความปลอดภัย.

บทว่า อวิชฺชาปฺปเภท มนสิกโรติ ได้แก่ภิกษุมนสิการพระอรหัต

กล่าวคือธรรมเครื่องทำลายอวิชชาใหญ่หนาทึบ อันเป็นความไม่รู้ในฐานะ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 428

อวิชชา ๘. บทว่า น ปกฺขนฺทติ ได้แก่ ไม่แล่นไปโดยอารมณ์. บทว่า

ชมฺพาลี ได้แก่ บ่อน้ำขนาดใหญ่เป็นที่ขังน้ำซึ่งไหลออกจากหมู่บ้าน. บทว่า

อเนกวสฺสคณิกา ได้แก่ บ่อน้ำชื่อว่า อเนกวสฺสคณิกา เพราะมีบ่อน้ำ

เกิดขึ้นนับได้หลายปี เพราะบ่อน้ำนั้นเกิดขึ้นในเวลาที่หมู่บ้านหรือนครเกิดขึ้น.

บทว่า อายมุขานิ ได้แก่ ลำรางไหลเข้า ๔ แห่ง. บทว่า อปายมุขานิ

ได้แก่ ช่องไหลออก.

บทว่า น ปาลิปฺปเภโท ปาฏิกงฺโข ได้แก่ ไม่พึงหวังที่จะมีน้ำ

ล้นขอบออกไปได้ เพราะว่า น้ำที่เอ่อขึ้นจากนั้น หาทำลายขอบแล้วพัดเอา

หยากเยื่อไปลงสู่มหาสมุทรได้ไม่ เพื่อไขความนี้ให้แจ่มแจ้ง ควรนำเรื่องคน

แสวงหาสวนมาเปรียบ. มีเรื่องเล่าว่า กุลบุตรชาวเมืองคนหนึ่ง แสวงหาสวน

ได้เห็นบ่อใหญ่ไม่ไกลไม่ใกล้จากเมืองนัก. เขาเข้าใจว่า ณ ที่นี้จักเป็นสวน

น่ารื่นรมย์ จึงถือเอาจอบปิดทาง ๔ ด้านแล้ว เปิดช่องให้น้ำไหล. ฝนไม่

ตกเพิ่ม. น้ำที่เหลือก็ไหลไปตามช่องน้ำไหล ชิ้นหนังและผ้าขี้ริ้วเป็นต้น ก็

เกิดเน่าในที่นั้นเอง. ชนทั้งหลายก็หยุดอยู่รอบ ๆ ไม่ยอมเข้าไป. แม้ที่

เข้าไปก็ต้องปิดจมูกเดินหลีกไป. ล่วงไป ๒-๓ วัน เขามาถอยไปฝืนแลดู

ไม่อาจเข้าไปได้แล้ว ก็หลีกไป. ในข้ออุปมานั้น โยคาวจรพึงเห็นดุจกุลบุตร

ชาวเมือง. กายคือมหาภูตรูป ๔ ดุจเวลาที่กุลบุตรผู้แสวงหาสวนเห็นบ่อน้ำใหญ่

ใกล้ประตูบ้าน เวลาที่ตนไม่ได้น้ำคือการฟังธรรม ดุจเวลาที่ปิดทางน้ำไหลเข้า

เวลาที่สละความสำรวมในทวาร ๖ ดุจเวลาที่เปิดทางน้ำไหลออก เวลาที่ไม่ได้

กรรมฐานเป็นที่สบาย ดุจเวลาที่ฝนไม่ตกถูกต้องตามฤดูกาล เวลาที่คุณภายใน

เสื่อม ดุจเวลาที่น้ำที่เหลือไหลไปทางน้ำไหลออก เวลาที่ไม่สามารถทำลายขอบ

คันคืออวิชชาได้ด้วยอรหัตมรรคแล้ว กำจัดกองกิเลสเสียทำพระนิพพานให้แจ้ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 429

ดุจเวลาที่น้ำเอ่อ แล้วไม่สามารถทำลายขอบคันพัดพาหยากเยื่อลงไปมหาสมุทร

ได้ เวลาที่เต็มไปด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้นในภายใน ดุจชิ้นหนังและผ้าขี้ริ้ว

เป็นต้น เน่าอยู่ในบ่อน้ำนั่นเอง เวลาที่บุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงในวัฏฏะ

เพลิดเพลินในวัฏฏะ ดุจเวลาที่เขามาเห็น (บ่อน้ำ) แล้วมีความร้อนใจกลับไป.

บทว่า ปาลิปฺปเภโท ปาฏิกงฺโข ได้แก่ พึงหวังน้ำล้นขอบบ่อ

ไปได้. อธิบายว่า จริงอยู่ น้ำที่เอ่อจากนั้นจักสามารถทำลายขอบบ่อแล้วพัด

หยากเยื่อลงไปสูมหาสมุทรได้. แม้ในข้อนี้ก็พึงนำข้อเปรียบเทียบนั้นมาได้.

เวลาที่ได้ฟังธรรมเป็นที่สบาย พึงทราบดุจเวลาที่เปิดทางน้ำไหลออกในบ่อน้ำ

นั้น เวลาสำรวมในทวาร ๖ ตั้งมั่นแล้ว ดุจเวลาที่ปิดทางไหลออก เวลาที่คน

ได้กรรมฐานเป็นที่สบาย ดุจเวลาที่ฝนตกต้องตามฤดูกาล เวลาคนทำลาย

อวิชชาเสียได้ด้วยอรหัตมรรคแล้วกำจัดกองกิเลส ทำนิพพานให้แจ้ง ดุจเวลา

น้ำไหลเอ่อขึ้นทำลายขอบคันพัดเอาหยากเยื่อลงไปสู่มหาสมุทร เวลาที่เต็มเปี่ยม

ด้วยโลกุตรธรรมในภายใน ดุจเวลาที่สระเต็มเปี่ยมด้วยน้ำที่เข้าไปทางน้ำ

ไหลเข้า เวลาที่ขึ้นสู่ธรรมปราสาท นั่งเอิบอิ่มผลสมาบัติมีนิพพานเป็นอารมณ์

ดุจการที่บุคคลสร้างรั้วไว้โดยรอบ แล้วปลูกต้นไม้ สร้างปราสาทในท่ามกลาง

สวน หานักฟ้อนมาบำรุงบำเรอแล้วนั่งบริโภคอาหารที่ดี. คำที่เหลือในบทนี้

มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. ก็เทศนาตรัสคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.

จบอรรถกถาชัมพาลีสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 430

๙. นิพพานสูตร

ว่าด้วยสัญญา ๔

[๑๗๙] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึง

ที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้งผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า

ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวกใน

โลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน ? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนอาวุโส

อานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า นี้หาน-

ภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายเสื่อม) นี้ฐิติภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายดำรงอยู่)

นี้วิเสสภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่ายวิเศษ) นี้นิพเพธภาคิยสัญญา (สัญญาฝ่าย

ชำแรกกิเลส) ดูก่อนอาวุโสอานนท์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์บางพวก

ในโลกนี้ ไม่ปรินิพพานในปัจจุบัน

อา. ดูก่อนอาวุโสสารีบุตร ก็อะไรเล่าเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์

บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน ?

สา. ดูก่อนอาวุโสอานนท์ สัตว์ทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมทราบชัดตาม

ความเป็นจริงว่า นี้หานภาคิยสัญญา นี้ฐิติภาคิยสัญญา นี้วิเสสภาคิยสัญญา.

นี้นิพเพธภาคิยสัญญา ดูก่อนอาวุโสอานนท์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สัตว์

บางพวกในโลกนี้ ปรินิพพานในปัจจุบัน.

จบนิพพานสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 431

อรรถกถานิพพานสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในนิพพานสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

ในบททั้งหลายมีอาทิว่า หานภาคิยา สญฺา พึงทราบความโดยนัย

ที่ท่านกล่าวไว้แล้วในอภิธรรมนั่นแล อย่างนี้ว่า การมนสิการด้วยสัญญาอัน

สหรคตด้วยกาม ย่อมทำผู้ได้ปฐมฌานให้ฟุ้งซ่าน สัญญาก็ชื่อ หานภาคินี

(สัญญาฝ่ายเสื่อม). บทว่า ยถาภูติ นปฺปชานาติ ได้แก่ ไม่รู้ด้วยมรรค-

ญาณตามความเป็นจริง.

จบอรรถกถานิพพานสูตรที่ ๙

๑๐. มหาปเทสสูตร

ว่าด้วยมหาประเทศ ๔

[๑๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์

ใกล้โภคนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาประเทศ ๔ นี้ เธอทั้งหลาย

จงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มหาประเทศ ๔ เป็น

ไฉน ? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้

สดับมาได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 432

นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี

ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้น

ให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร พึงสอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียง

ในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกัน

ไม่ได้ในพระสูตร สอบสวนกันไม่ได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐาน

ได้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ ภิกษุ

นี้รับมาผิดแล้ว เธอทั้งหลายพึงทิ้งคำนี้เสียทีเดียว อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะ

พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอน

ของพระศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้าน

คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้ว

เทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร

สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันได้ในพระสูตร

สอบสวนกันได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำของพระ-

ผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ และภิกษุนี้รับมาดีแล้ว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๑ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์อยู่ในอาราส

ชื่อโน้น พร้อมทั้งพระเถระพร้อมทั้งท่านที่เป็นประธาน ข้าพเจ้าได้สดับมา

ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของ

พระศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าว

ของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วเทียบเคียง

ในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนใน

พระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้น เทียบเคียงกันไม่ได้ในพระสูตร สอบสวน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 433

กันไม่ได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้มิใช่คำของพระผู้มี

พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ และสงฆ์นั้นรับมาผิดแล้ว เธอ

ทั้งหลายพึงทิ้งคำนี้เสียทีเดียว อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า

สงฆ์อยู่ในอาวาสชื่อโน้น พร้อมทั้งพระเถระพร้อมทั้งท่านที่เป็นประธาน

ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย

นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี

ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้วพึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้น

ให้ดี แล้วเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเมื่อเทียบเคียงใน

พระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้นเทียบเคียงกันได้ใน

พระสูตร สอบสวนกันได้ในพระวินัย ข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็นคำ

ของพระผู้มีพระภาคอรหัตสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่แท้ และสงฆ์นั้นรับมาดีแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๒ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นพระเถระ

มากด้วยกันอยู่ในอาวาสชื่อโน้น เป็นพหูสูต ชำนาญในนิกาย ทรงธรรม

ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา รับนาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้น

... ข้าพเจ้าได้สดับมารับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็น

วินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึง

ยินดี ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะ

เหล่านั้นให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย ถ้าเนื้อ

เทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้นเทียบ

เคียงกันได้ในพระสูตร สอบสวนกันได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐาน

ได้ว่า นี้เป็นคำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่แท้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 434

และพระเถระเหล่านั้นรับมาดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อ

ที่ ๓ เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้.

อนึ่ง ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระรูปหนึ่ง

อยู่ในอาวาสชื่อโน้น เป็นพหูสูต ชำนาญในนิกาย ทรงธรรม ทรงวินัย

ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้น... ข้าพเจ้า

ได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระรูปนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย

นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายไม่พึงยินดี

ไม่พึงคัดค้านคำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้น

ให้ดี แล้วพึงเทียบเคียงในพระสูตร สอบสวนในพระวินัยถ้าเมื่อเทียบเคียง

ในพระสูตร สอบสวนในพระวินัย บทและพยัญชนะเหล่านั้นเทียบเคียงกันได้

ในพระสูตร สอบสวนกันได้ในพระวินัย ในข้อนี้พึงลงสันนิษฐานได้ว่า นี้เป็น

คำของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นแน่แท้ และพระ-

เถระรูปนั้นรับมาดีแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นมหาประเทศข้อที่ ๔ เธอ

ทั้งหลายพึงทรงจำไว้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาประเทศ ๔ นี้แล.

จบมหาปเทสสูตรที่ ๑๐

จบสัญเจตนิยวรรคที่ ๓

อรรถกถามหาปเทสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมหาปเทสสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โภคนคเร วิหรติ ได้แก่ ในปรินิพพานสมัย พระผู้มี

พระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปนครนั้นแล้ว ประทับอยู่. บทว่า อานนฺทเจติเย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 435

ได้แก่ ในวิหารอันตั้งอยู่ตรงสถานที่เป็นภพของอานันทยักษ์. บทว่า มหาป-

เทเส แปลว่า โอกาสใหญ่หรือข้ออ้างใหญ่ อธิบายว่า เหตุใหญ่ ที่กล่าวอ้าง

คนใหญ่ ๆ มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น . บทว่า เนว อภินนฺทิตพฺพ ความว่า

ภาษิตนั้น อันเธอทั้งหลายผู้ร่าเริงยินดี ให้สาธุการแล้วไม่พึงฟังก่อนอย่าเพิ่ง

เชื่อ เพราะเมื่อมีผู้กระทำอย่างนี้ ภิกษุนั้นแม้จะถูกต่อว่าในภายหลังว่า คำนี้

ไม่สม ก็ยังกล่าวว่า เมื่อก่อนนี้เป็นธรรม บัดนี้ ไม่ใช่ธรรมเสียแล้วหรือ ดังนี้

แล้วไม่ย่อมสละลัทธิ. บทว่า นปฺปฏิกฺโกสิตพฺพ ได้แก่ไม่พึงกล่าวก่อนว่า

คนโง่นี้พูดอะไร. เพราะเมื่อกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นจักไม่กล่าวถึงแม้ข้อที่

ถูกและไม่ถูก. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อนภินนฺทิตฺวา

อปฺปฏิกฺโกสิตฺวา ดังนี้.

บทว่า ปทพฺยญฺชนานิ ได้แก่ พยัญชนะกล่าวคือบท. บทว่า

สาธุก อุคฺคเหตฺวา ได้แก่ เรียนด้วยดีว่า ท่านกล่าวบาลีไว้ในที่นี้ กล่าว

ความไว้ในที่นี้ กล่าวอนุสนธิไว้ในที่นี้ กล่าวคำต้นคำปลายไว้ในที่นี้ ดังนี้.

บทว่า สุตฺเต โอตาเรตพฺพานิ ได้แก่ พึงเทียบเคียงกันใน

พระสูตร. บทว่า วินเย สนฺทสฺเสตพฺพานิ ได้แก่พึงสอบสวนในพระวินัย.

ในที่นี้ท่านกล่าววินัยว่าเป็นสูตร ดังที่ท่านกล่าวไว้ในสุตตวิภังค์ว่า คัดค้านไว้

ในที่ไหน คัดค้านไว้ในกรุงสาวัตถี. ขันธกะท่านเรียกว่าวินัย ดังที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า โกสมฺพิย วินยาติสาเร ดังนี้. ไม่ยึดถือเอาแม้วินัยปิฎกอย่างนี้ แต่

ถือเอาวินัยปิฎกอย่างนี้ว่า อุภโตวิภังค์เป็นพระสูตร ขันธกะแลปริวารเป็น

พระวินัยดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ถือเอาปิฎกสองอย่างนี้คือ สุตตันตปิฎกเป็น

พระสูตร วินัยปิฎกเป็นพระวินัย. หรือว่าไม่ถือเอาปิฎกสามอย่างนี้ก่อน คือ

สุตตันตปิฎก และอภิธัมมปิฎกเป็นพระสูตร วินัยปิฎกเป็นพระวินัย จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 436

ชื่อว่า พุทธพจน์ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรมีอยู่ คือ ชาดก ปฏิสัมภิทา นิเทศ

สุตตนิบาต ธรรมบท อุทาน อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา

เถรีคาถา อปทาน แต่พระสุทินนเถระคัดค้านพุทธพจน์นั้นทั้งหมดว่า

พุทธพจน์ที่ไม่มีชื่อว่าสูตรนั้นไม่มีดังนี้ แล้วกล่าวว่าปิฎก ๓ เป็นพระสูตร

แต่วินัยเป็นการณะ. เมื่อจะแสดงถึงการณะต่อจากนั้น จึงกล่าวสูตรนี้ว่า

ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้ธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านี้ย่อมเป็นไปเพื่อประกอบ

ด้วยราคะ ไม่เป็นไปเพื่ออปราศจากราคะ ย่อมเป็นไปเพื่อสังโยชน์ ไม่เป็นไป

เพื่อปราศจากสังโยชน์ ย่อมเป็นไปเพื่อความยึดมั่น ไม่เป็นไปเพื่อความไม่

ยึดมั่น ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักมาก ไม่เป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย

ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ไม่เป็นไปเพื่อความสันโดษ ย่อมเป็นไป

เพื่อความเกียจคร้าน ไม่เป็นไปเพื่อปรารภความเพียร ย่อมเป็นไปเพื่อความ

คลุกคลี ไม่เป็นไปเพื่อความวิเวก ย่อมเป็นไปเพื่อความสะสม ไม่เป็นไป

เพื่อความไม่สะสม ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นี้ไม่ใช่ธรรม

นี้ไม่ใช่วินัย นี้ไม่ใช่คำสอนของพระศาสดา ดังนี้ ดูก่อนโคตมี ท่านพึงรู้

ธรรมเหล่าใด ธรรมเหล่านี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความปราศจากราคะ ไม่เป็นไป

เพื่อความมีราคะ ย่อมเป็นไปเพื่อปราศจากสังโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อสังโยชน์

ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่ยึดมั่น ไม่เป็นไปเพื่อความยึดมั่น ย่อมเป็นไปเพื่อ

ความมักน้อย ไม่เป็นไปเพื่อความมักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อความสันโดษ ไม่

เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อความปรารภความเพียร ไม่เป็น

ไปเพื่อความเกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อวิเวก ไม่เป็นไปเพื่อความคลุกคลี

ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่สะสม ไม่เป็นไปเพื่อความสะสม ดูก่อนโคตมี ท่าน

พึงรู้โดยส่วนเดียวว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา.

เพราะฉะนั้น ความในข้อนี้จึงมีดังนี้ว่า บทว่า สุตฺเต ได้แก่ พึงเทียบเคียง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 437

ในพุทธพจน์คือปิฎก ๓. บทว่า วินเย นี้ ได้แก่ พึงสอบสวนในเหตุแห่งการ

กำจัดกิเลส มีราคะเป็นต้น อย่างหนึ่ง.

บทว่า น เจว สุตฺเต โอตรนฺติ ความว่า บทพยัญชนะทั้งหลาย

ไม่มาในที่ไหน ๆ ตามลำดับ ในพระสูตร ยกเปลือกขึ้นแล้ว ปรากฏชัดว่ามา

จากคัมภีร์ คุฬหเวสสันตระ คุฬหอุมมัคคะ คุฬหวินัยและเวทัลลปิฎกอย่างใด

อย่างหนึ่ง (เป็นคัมภีร์ปายมหายาน). ก็บทพยัญชนะที่มาแล้วอย่างนี้ และไม่

ปรากฏในการนำกิเลสมีราคะเป็นต้นออกไป ก็พึงทิ้งเสีย. ด้วยเหตุนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อิติ หิท ภิกฺขเว ฉฑฺเฑยฺยาถ ดังนี้. พึงทราบ

ความในบททุกบท โดยอุบายนี้. บทว่า อิท ภิกฺขเว จตุตฺถ มหาปเทส

ธาเรยฺยาถ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงทรงจำไว้ ซึ่ง

โอกาสเป็นที่ประดิษฐานธรรมข้อที่ ๔ นี้ไว้.

จบอรรถกถามหาปเทสสูตรที่ ๑๐

จบสัญเจตนิยวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เจตนาสูตร ๒. วิภัตติสูตร ๓. โกฏฐิตสูตร ๔. อานนทสูตร

๕. อุปวานสูตร ๖. อายจนสูตร ๗. ราหุลสูตร ๘. ชัมพาลีสูตร ๙.

นิพพานสูตร ๑๐. มหาปเทสสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 438

โยธาชีววรรคที่ ๔

๑. โยธสูตร

ว่าด้วยองค์ ๔ ของนักรบและของพระภิกษุ

[๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบประกอบด้วยองค์ ๔ จึงเป็นผู้

ควรแก่พระราชา เป็นผู้ควรที่พระราชาใช้สอย ย่อมถึงซึ่งการนับ ว่าเป็นองคา-

พยพของพระราชาทีเดียว องค์ ๔ เป็นไฉน ? คือ นักรบในโลกนี้เป็นผู้ฉลาด

ในฐานะ ๑ เป็นผู้ยิงได้ไกล ๑ เป็นผู้ยิงได้เร็ว ๑ ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นักรบประกอบด้วยองค์ ๔ เหล่านี้แล ย่อมเป็นผู้ควรแก่

พระราชา เป็นผู้ควรที่พระราชาใช้สอย ย่อมถึงการนับว่าเป็นองคาพยพของ

พระราชาทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็น

ผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่น

ยิ่งกว่าธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ? คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ฉลาด

ในฐานะ ๑ เป็นผู้ยิงได้ไกล ๑ เป็นผู้ยิงได้เร็ว ๑ ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะอย่างไร ? ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในฐานะอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ยิงได้ไกลอย่างไร ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปอย่างใด

อย่างหนึ่งทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบันเป็นภายในหรือภายนอก หยาบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 439

หรือละเอียด เลวหรือประณีต ทั้งไกลและใกล้ รูปทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา

ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็น

จริงอย่างนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง.. .สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง. . . สังขาร

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต

และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต

ทั้งไกลและใกล้ วิญญาณทั้งหมดนั้นไม่ใช่ของเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตน

ของเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ยิงได้ไกล อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ยิงได้เร็วอย่างไร ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์

นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ยิงได้เร็ว

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ อย่างไร ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมทำลายกองอวิชชาใหญ่เสียได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเป็นผู้ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อม

เป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้

ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

จบโยธสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 440

โยธาชีววรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาโยธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโยธสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า านกุสโล ได้แก่ เป็นผู้ฉลาดในฐานะที่ตนยืนอยู่สามารถ

ยิงไม่ผิด. บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล

จบอรรถกถาโยธสูตรที่ ๑

๒. ปาฏิโภคสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ไม่มีใครรับประกันได้ ๔

[๑๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันธรรม ๔

อย่างได้ ไม่มี จะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือ

พรหม หรือใคร ๆ ก็ตามในโลก ธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน คือ

๑. ใครๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันว่า สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา

อย่าแก่ ดังนี้ไม่มีเลย จะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร

หรือพรหม หรือใคร ๆ ก็ตามในโลก

๒. ใคร ๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันว่า สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็น

ธรรมดา อย่าเจ็บไข้ ดังนี้ไม่มีเลย จะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา

หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ ก็ตามในโลก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 441

๓. ใครๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันว่าสิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา

อย่าตาย ดังนี้ไม่มีเลย จะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร

หรือพรหม หรือใคร ๆ ก็ตามในโลก

๔. ใคร ๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันว่าบาปกรรมเหล่าใดอันประกอบ

ด้วยสังกิเลส ทำให้มีภพใหม่ เป็นไปกับด้วยความเร่าร้อน มีทุกข์เป็นวิบาก

อำนวยให้มีชาติชรามรณะต่อไป วิบากของกรรมเหล่านั้นอย่าเกิดขึ้นดังนี้

ไม่มีเลย จะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม

หรือใคร ๆ ก็ตามในโลก

ภิกษุทั้งหลาย ใครๆ ซึ่งจะเป็นผู้รับประกันธรรม ๔ อย่างนี้แล ไม่มี

จะเป็นสมณะ หรือพราหมณ์ หรือเทวดา หรือมาร หรือพรหม หรือใครๆ

ก็ตามในโลก.

จบปาฏิโภคสูตรที่ ๒

อรรถกถาปาฏิโภคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปาฏิโภคสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นตฺถิ โกจิ ปาฏิโภโค ความว่า ชื่อว่าผู้สามารถจะเป็น

ผู้รับประกันอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้รับประกันในธรรมนี้ดังนี้ ย่อมไม่มี. บทว่า

ชราธมฺม ได้แก่ ภาวะที่มีความแก่. ในบททั้งหมดก็นัยนี้เหมือนกัน .

จบอรรถกถาปาฏิโภคสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 442

๓. สุตสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่ควรกล่าวและไม่ควรกล่าว

[๑๘๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-

เวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล วัสสการ-

พราหมณ์ผู้เป็นมหาอำมาตย์ในแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึก

ถึงกันแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใด

ผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนเห็นว่า เราเห็นอย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้นไม่มี ผู้ใด

ผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนได้ฟังมาว่า เราได้ฟังมาอย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้น

ไม่มี ผู้ใดผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนทราบ (ทางจมูก ลิ้น กาย) ว่า เราทราบ

อย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้นไม่มี ผู้ใดผู้หนึ่งย่อมกล่าวสิ่งที่ตนรู้แจ้ง (ทางใจ)

ว่า เรารู้แจ้งอย่างนี้ โทษแต่การพูดนั้นไม่มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่กล่าวสิ่งที่เห็น

ทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่เห็นทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว เราไม่

กล่าวสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่ได้ฟังทั้งหมดว่า ไม่

ควรกล่าว เราไม่กล่าวสิ่งที่ทราบทั้งหมดว่า ควรกล่าว และไม่กล่าวสิ่งที่

ทราบทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว เราไม่กล่าวสิ่งที่รู้แจ้งทั้งหมดว่า ควรกล่าว

และไม่กล่าวสิ่งที่รู้แจ้งทั้งหมดว่า ไม่ควรกล่าว ดูก่อนพราหมณ์ แท้จริง

เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใด ทำให้อกุศลธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรม

เสื่อมไป เรากล่าวสิ่งที่ได้เห็น เห็นปานนั้นว่า ไม่ควรกล่าว แต่เมื่อบุคคล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 443

กล่าวสิ่งที่ได้เห็นอันใด ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรา

กล่าวสิ่งที่ได้เห็น เห็นปานนั้นว่า ควรกล่าว ดูก่อนพราหมณ์ เมื่อบุคคลกล่าว

สิ่งที่ได้ฟังมาอันใด... สิ่งที่ได้ทราบอันใด ... สิ่งที่รู้แจ้งมาอันใดทำให้อกุศล

ธรรมเจริญขึ้น กุศลธรรมเสื่อมไป เรากล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาเห็นปานนั้น ...

สิ่งที่ได้ทราบมาเห็นปานนั้น . . . สิ่งที่รู้แจ้งเห็นปานนั้นว่า ไม่ควรกล่าว แต่

เมื่อบุคคลกล่าวสิ่งที่ได้ฟังมาอันใด... สิ่งที่ได้ทราบมาอันใด. . . สิ่งที่รู้แจ้ง

อันใด ทำให้อกุศลธรรมเสื่อมไป กุศลธรรมเจริญขึ้น เรากล่าวสิ่งที่ได้ฟังมา

เห็นปานนั้น ... สิ่งที่ได้ทราบมาเห็นปานนั้น . . . สิ่งที่รู้แจ้งเห็นปานนั้นว่า

ควรกล่าว. ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ มหาอำมาตย์ในแคว้นมคธ ชื่นชม

อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.

จบสุตสูตรที่ ๓

อรรถกถาสุตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสุตสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า นตฺถิ ตโต โทโส ความว่า ชื่อว่า โทษในการพูดนั้น

ไม่มี.

จบอรรถกถาสุตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 444

๔. อภยสูตร

ว่าด้วยบุคคลที่กลัวและไม่กลัวตาย ๔ จำพวก

[๑๘๔] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อชานุโสณีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัย

พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิ

อย่างนี้ว่า สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อ

ความตาย ไม่มี.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ สัตว์ผู้มีความตายเป็น

ธรรมดา ย่อมกลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตาย มีอยู่ สัตว์ผู้มีความตายเป็น

ธรรมดา ไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย มีอยู่ ดูก่อนพราหมณ์ ก็

สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมกลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตายเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัด ยังไม่ปราศจาก

ความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจากความกระหาย ยังไม่

ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากควานทะยานอยากในกามทั้งหลาย มี

โรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูก

ต้องแล้ว ย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า กามอันเป็นที่รักจักละเราไปเสียละหนอ

และเราก็จะต้องละกามอันเป็นที่รักไป เขาย่อมเศร้าโศก ย่อมลำบากใจ ย่อม

ร่ำไร ทุบอกคร่ำครวญถึงความหลงใหล ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลนี้แล ผู้มี

ความตายเป็นธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 445

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ยังไม่ปราศจากความ

กำหนัด ยังไม่ปราศจากความพอใจ ยังไม่ปราศจากความรัก ยังไม่ปราศจาก

ความกระหาย ยังไม่ปราศจากความเร่าร้อน ยังไม่ปราศจากความทะยานอยาก

ในกาย มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนักอย่างใด

อย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า กายอันเป็นที่รักอย่างใด

ไปละหนอ และเราก็จักละกายอันเป็นที่รักไป เขาย่อมเศร้าโศก... ดูก่อน-

พราหมณ์ แม้บุคคลนี้แล ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึงความ

สุดุ้งต่อความตาย.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้ทำความดีไว้

ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำความป้องกันความกลัวไว้ ทำแต่บาป ทำแต่กรรม

ที่หยาบช้า ทำแต่กรรมที่เศร้าหมอง มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา

เมื่อเขามีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า

เราไม่ได้ทำความดีไว้ ไม่ได้ทำกุศลไว้ ไม่ได้ทำความป้องกัน ความกลัวไว้

ทำแต่บาป ทำแต่กรรมที่หยาบช้า ทำแต่กรรมที่เศร้าหมอง ดูก่อนพราหมณ์

คติของคนไม่ได้ทำความดี ไม่ได้ทำกุศล ไม่ได้ทำความป้องกันความกลัว

ทำแต่บาป ทำแต่กรรมที่หยาบช้า ทำแต่กรรมที่เศร้าหมอง มีประมาณเท่าใด

เราละไปแล้วย่อมไปสู่คตินั้น เขาย่อมเศร้าโศก...ดูก่อนพราหมณ์ แม้บุคคล

นี้แล ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มีความสงสัย

เคลือบแคลง ไม่ถึงความตกลงใจในพระสัทธรรม มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่ง

ถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความปริวิตก

อย่างนี้ว่า เรามีความสงสัยเคลือบแคลง ไม่ถึงความตกลงใจในพระสัทธรรม

เขาย่อมเศร้าโศก...ดูก่อนพราหมณ์ แม้บุคคลนี้แล มีความเป็นธรรมดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 446

ย่อมกลัว ย่อมถึงความสะดุ้งต่อความตาย ดูก่อนพราหมณ์ บุคคล ๔ จำพวกนี้

มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมกลัว ถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลมีความตายเป็นธรรมดา ย่อมไม่กลัว ไม่ถึง

ความสะดุ้งต่อความตาย เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปราศจาก

ความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความ

กระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากควานทะยานอยากในกามทั้งหลาย

มีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่ง

ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่มีความปริวิตกอย่างนี้ว่า กามทั้งหลายอันเป็นที่รักจักละ

เราไปเสียละหนอ และเราก็จักละกามอันเป็นที่รักไป เขาย่อมไม่เศร้าโศก

ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล ดูก่อนพราหมณ์

บุคคลนี้แล ผู้มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมไม่กลัว ไม่ถึงความสะดุ้งต่อ

ความตาย.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด

ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจาก

ความเร่าร้อน ปราศจากความทะยานอยากในกาย มีโรคหนักอย่างหนึ่งถูก

ต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนักย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมไม่มีปริวิตก

อย่างนี้ว่า กายอันเป็นที่รักจักละเราไปละหนอ และเราก็จักละกายอันเป็นที่รัก

นี้ไป เขาย่อมไม่เศร้าโศก...ดูก่อนพราหมณ์ บุคคลแม้นี้แล มีความตาย

เป็นธรรมดา ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่ได้กระทำบาป

ไม่ได้ทำกรรมที่หยาบช้า ไม่ได้ทำกรรมที่เศร้าหมอง เป็นผู้ทำความดีไว้

ทำกุศลไว้ ทำธรรมเครื่องป้องกันความกลัวไว้ มีโรคอย่างใดอย่างหนึ่งถูก

ต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมีความปริวิตก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 447

อย่างนี้ว่า เราไม่ได้ทำกรรมอันเป็นบาป ไม่ได้ทำกรรมหยาบช้า ไม่ได้ทำ

กรรมที่เศร้าหมอง เป็นผู้ทำกรรมดีไว้ ทำกุศลไว้ ทำกรรมเครื่องป้องกัน

ความกลัวไว้ คติของบุคคลผู้ไม่ได้ทำบาปไว้ ไม่ได้ทำกรรมหยาบช้า ไม่ได้

ทำกรรมที่เศร้าหมอง ทำกรรมดีไว้ ทำกุศลไว้ ทำกรรมเครื่องป้องกันความ

กลัวไว้เพียงใด เราละไปแล้ว จักไปสู่คตินั้น เขาย่อมไม่เศร้าโศก...ดูก่อน

พราหมณ์ แม้บุคคลนั้นแล มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่ถึง

ความสะดุ้งต่อความตาย.

อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีความสงสัย ไม่มี

ความเคลือบแคลง ถึงความตกลงใจในพระสัทธรรม มีโรคหนักอย่างใด

อย่างหนึ่งถูกต้องเขา เมื่อเขามีโรคหนักอย่างใดอย่างหนึ่งถูกต้องแล้ว ย่อมมี

ความปริวิตกอย่างนี้ว่า เราไม่มีความสงสัย ไม่มีความเคลือบแคลง ถึงความ

ตกลงใจในพระสัทธรรม เขาย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่

ทุบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความหลงใหล ดูก่อนพราหมณ์ แม้บุคคลนี้แล

มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมไม่กลัว ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย

ดูก่อนพราหมณ์ บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีความตายเป็นธรรมดา ย่อมไม่กลัว

ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งต่อความตาย.

พราหมณ์ชานุโสณีได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิต-

ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ ขอท่านพระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่า

เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบอภยสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 448

อรรถกถาอภยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอภยสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

โรคนั่นแหละ ชื่อว่า โรคาตัวกะ เพราะอรรถว่า เป็นเหตุทำชีวิตให้

ลำบาก. บทว่า ผุฏสฺส ได้แก่ประกอบด้วยโรคาตังกะนั้น . บทว่า อุรตฺตาฬี

กนฺทติ ได้แก่ ทุบตีอกค่ำไห้. บุญกรรมท่านเรียกว่า กัลยาณะ ในบทมี

อาทิว่า อกตกลฺยาโณ ดังนี้. ชื่อว่า อกตกลฺยาโณ เพราะเขาไม่ได้ทำ

บุญกรรมนั้นไว้. แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ บุญกรรมนั่นแล

ชื่อว่า กุศล เพราะเกิดจากความฉลาด. กุศลท่านเรียกว่า ภีรุตตาณะ เพราะ

เป็นเครื่องป้องกันสำหรับคนกลัว. อกุศลกรรมอันลามก ท่านเรียกว่า บาป

ในบทมีอาทิว่า กตปาโป ดังนี้. บทว่า ลุทฺท ได้แก่ กรรมหยาบช้า. บทว่า

กิพฺพิส ได้แก่ กรรมไม่บริสุทธิ์มีมลทิน. บทว่า กงฺขี โหติ ได้แก่

เป็นผู้ประกอบด้วยความสงสัยในฐานะทั้ง ๘ คือ ในพุทธคุณ ธรรมคุณ และ

สังฆคุณ ในสิกขา ในอดีต ในอนาคต ทั้งในอดีตและอนาคต และใน

ปฏิจจสมุปบาท. บทว่า วิจิกิจฺฉี ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วยความลังเลใจ

คือไม่ถึงความตกลงใจในพระสัทธรรมคำสั่งสอน ไม่สามารตกลงใจด้วยการ

เรียนและการสอบถาม. พึงทราบความในบททั้งหมดโดยนัยนี้ .

จบอรรถกถาอภยสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 449

๕. พราหมณสัจจสูตร

ว่าด้วยสัจจะของพราหมณ์ในธรรมวินัย ๔ อย่าง

[๑๘๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฎ

ใกล้พระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล ปริพาชกผู้มีชื่อเสียงมากด้วยกัน คือ

ปริพาชกชื่ออันนภาระ ชื่อวธระ ชื่อสกุลุทายี และปริพาชกผู้มีชื่อเสียงเหล่าอื่น

อาศัยอยู่ในปริพาชการามฝั่งแม่น้ำสัปปินี ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จออกจากที่เร้นในเวลาเย็น แล้วเสด็จเข้าไปทางปริพาชการามริมฝั่งแม่น้ำ

สัปปินี สมัยนั้นแล ปริพาชกอัญญเดียรถีย์เหล่านั้น กำลังประชุมสนทนา

กันอยู่ว่า สัจจะของพราหมณ์แม้อย่างนี้ ๆ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ

เข้าไปหาปริพาชกเหล่านั้น ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้

ตรัสถามปริพาชกเหล่านั้นว่า ดูก่อนปริพรชกทั้งหลาย บัดนี้ท่านทั้งหลายนั่ง

ประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ และท่านทั้งหลายกำลังนั่งสนทนาอะไร

กันค้างอยู่ ? ปริพาชกเหล่านั้นกราบทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์

ทั้งหลายกำลังนั่งประชุมสนทนากันอยู่ว่า สัจจะของพราหมณ์ แม้อย่างนี้ ๆ.

ว่าด้วยสัจจะของพราหมณ์ ๔ ประการ

พ. ดูก่อนปริพาชกทั้งหลาย สัจจะของพราหมณ์ ๔ ประการนี้ อัน

เรากระทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้ว ๔ ประการเป็นไฉน ? คือ

พราหมณ์บางคนในโลกนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า สัตว์ทั้งปวงไม่ควรฆ่า เมื่อพราหมณ์

กล่าวดังนี้ ชื่อว่ากล่าวจริง มิใช่กล่าวเท็จ และด้วยการกล่าวจริงนั้น เขาไม่

สำคัญตัวว่า เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราเป็นผู้ประเสริฐกว่าเขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 450

เราเป็นผู้เสมอกับเขา เราเป็นผู้เลวกว่าเขา อนึ่ง เขารู้ยิ่งสัจจะในความปฏิบัติ

นั้นแล้วเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อเอ็นดูอนุเคราะห์เหล่าสัตว์นั่นแหละ.

อีกประการหนึ่ง พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า กามทั้งปวงไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เมื่อพราหมณ์กล่าวดังนี้ ชื่อว่า

กล่าวจริง มิใช่กล่าวเท็จ และด้วยการกล่าวจริงนั้น เขาย่อมไม่สำคัญตัวว่า

เราเป็นสมณะ... อนึ่ง เขารู้ยิ่งสัจจะในความปฏิบัตินั้นแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติ

เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับกามทั้งหลายนั่นแหละ.

อีกประการหนึ่ง พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า ภพทั้งปวงไม่เที่ยง

เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เมื่อพราหมณ์กล่าวดังนี้ ชื่อว่า

กล่าวจริง มิใช่กล่าวเท็จ และด้วยการกล่าวจริงนั้น เขาย่อมไม่สำคัญตัวว่า

เราเป็นสมณะ... อนึ่ง เขารู้ยิ่งสัจจะในความปฏิบัตินั้นแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติ

เพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับภพทั้งหลายนั่นแหละ...

อีกประการหนึ่ง พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า เราย่อมไม่มีในอะไร ๆ

เราย่อมไม่มีในความเป็นอะไร ๆ ของใคร ๆ อนึ่ง ใคร ๆ ย่อมไม่มีในอะไร ๆ

ความเป็นอะไร ๆ ของใคร ๆ ย่อมไม่มีในความเป็นอะไร ๆ ของเรา เมื่อ

เขากล่าวดังนี้ ชื่อว่ากล่าวจริง มิใช่กล่าวเท็จ และด้วยการกล่าวจริงนั้น

เขาย่อมไม่สำคัญตัวว่า เราเป็นสมณะ เราเป็นพราหมณ์ เราเป็นผู้ประเสริฐ

กว่าเขา เราเป็นผู้เสมอเขา เราเป็นผู้เลวกว่าเขา อนึ่ง เขารู้ยิ่งสัจจะในความ

ปฏิบัตินั้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ดำเนินปฏิปทาอันหาความกังวลมิได้ทีเดียว ดูก่อน

ปริพาชกทั้งหลาย สัจจะของพราหมณ์ ๔ ประการนี้แล อันเราทำให้แจ้งด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง ประกาศแล้ว.

จบพราหมณสัจจสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 451

อรรถกถาพราหมณสัจจสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในพราหมณสัจจสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พฺราหฺมณสจฺจานิ แปลว่า สัจจะของพราหมณ์ทั้งหลาย.

บทว่า โส เตน น สมโณติ มญฺติ ความว่า โดยสัจจะนั้น พระ-

ขีณาสพนั้น ย่อมไม่สำคัญด้วยตัณหา มานะ ทิฏฐิ ว่าเราเป็นสมณะ ดังนี้

แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน . บทว่า ยเทว ตตฺถ สจฺจ ตทภิญฺาย

ความว่า สัจจะใดเป็นความจริงแท้ ไม่แปรผันในการปฏิบัตินั้นว่า สัตว์ทั้งปวง

ไม่ควรฆ่า ดังนี้. ด้วยบทนี้ ทรงทำวจีสัจไว้ในภายใน แสดงนิพพานเป็น

ปรมัตถสัจ. บทว่า ตทภิญฺาย ได้แก่ รู้สัจจะทั้งสองนั้น ด้วยปัญญาอัน

วิเศษยิ่ง. บทว่า อนุทยาย อนุกมฺปาย ปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้

ปฏิบัติปฏิปทาเพื่อความเอ็นดู และเพื่อความอนุเคราะห์ อธิบายว่า เป็นผู้

บำเพ็ญเต็มที่. บทว่า สพฺเพ กามา ได้แก่ วัตถุก้านทั้งหมด กิเลสกาม

ทั้งหมด. แม้ในปฏิปทาที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อิติ วท พฺราหฺมโณ

สจฺจ อาห ได้แก่ พราหมณ์ผู้เป็นขีณาสพ แม้กล่าวอยู่อย่างนี้ ก็ชื่อว่า

กล่าวจริงทั้งนั้น. บทว่า สพฺเพ ภวา ได้แก่ ภพ ๓ มีกามภพเป็นต้น.

ก็ในบทว่า นาห กวฺจินิ นี้ ตรัสสุญญตาความสูญไว้ ๔ เงื่อน

จริงอยู่ พระขีณาสพนี้ไม่เห็นตนในที่ไหน ๆ ว่าเราย่อมไม่มีในอะไร ๆ. บทว่า

กสฺสจิ กิญฺจนตสฺมึ ความว่าไม่เห็นตนของตน ที่พึงนำเข้าไปในความกังวล

สำหรับใครอื่น อธิบายว่าไม่เห็นว่าพี่ชายควรสำคัญนำเข้าไปในฐานะพี่ชายสหาย

ในฐานะสหายหรือบริขารในฐานะบริขาร ดังนี้ . ในบทว่า น จ มม กวฺจินิ นี้

เว้นมมศัพท์ไว้ก่อน มีความดังนี้ว่า พระขีณาสพไม่เห็นตนว่ามีกังวลอยู่ในสิ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 452

ไหน ๆ ของใคร และความกังวลในสิ่งไหน ๆ ในใคร บัดนี้ นำมมศัพท์มา

มีความว่า ความกังวลในสิ่งไร ๆ ไม่มีแก่เรา เพราะเหตุนั้น ผู้ใดไม่เห็นว่า

ตนของคนอื่นย่อมมีแก่เราในความกังวลในสิ่งไหน ๆ ผู้นั้นชื่อว่า ไม่เห็นตน

ของคนอื่นควรนำเข้ามาด้วยความกังวลนี้ ไม่ว่าในฐานะไร ๆ คือ พี่ชายใน

ฐานะเป็นพี่ชายของตน สหายในฐานะเป็นสหาย บริขารในฐานะเป็นบริขาร

ดังนี้. เพราะเหตุที่พราหมณ์นี้เป็นอย่างนี้ ฉะนั้นจึงไม่เห็นตนในที่ไหน ๆ

ไม่เห็นตน ที่ควรนำเข้าไปในความกังวลของคนอื่น ไม่เห็นตนของคน

อื่นที่ควรนำเข้าไปในความกังวลของตน. บทว่า อิติ วท พฺรหฺมโณ พึง

ทราบความว่า พราหมณ์ผู้เป็นขีณาสพ แม้กล่าวสุญญตาความสูญทั้ง ๔ เงื่อน

ชื่อว่ากล่าวความจริงทั้งนั้น เพราะรู้แจ้งโดยชอบปฏิปทานั้นแล้ว มิได้กล่าว

เท็จเลย ทั้งไม่สำคัญ เพราะตนละความสำคัญทั้งหลายในทุกวาระได้แล้ว.

บทว่า อากิญฺจญฺเยว ปฏิปท ได้แก่ ปฏิปทาอันเว้นจากความ

กังวล ไม่มีห่วงใย ไม่ยึดถือนั้นเอง. บทว่า ปฏิปนฺโน โหติ ได้แก่

บำเพ็ญเต็มที่. บทว่า อิมานิ โข ปริพฺพาชกา ฯเปฯ ปเวทิตานิ

ความว่า เรารู้สัจจะ ๔ เหล่านี้ของพราหมณ์ผู้มีบาปอันลอยแล้ว นอกไปจาก

สัจจะของท่านพราหมณ์ ที่ท่านกล่าวด้วยมรรค ๔ กิจ ๑๖ อย่าง แล้วจึง

ประกาศแสดงอย่างชัดแจ้ง ในสูตรนี้ตรัสวจีสัจอย่างเดียวสำหรับพระขีณาสพ

ในฐานะแม้ ๔ แล.

จบอรรถกถาพราหมณสัจจสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 453

๖. อุมมังคสูตร

พระพุทธองค์ทรงตอบปัญหาของพระภิกษุ

[๑๘๖] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกอันอะไร

หนอแลนำไป โลกอันอะไรชักมา และบุคคลย่อมลุอำนาจของอะไรที่บังเกิด

ขึ้นแล้ว ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาของเธอ

หลักแหลม ปฏิภาณของเธอดีจริง ปริปุจฉาของเธอเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า

โลกอันอะไรหนอแลนำไป โลกอันอะไรชักมา และบุคคลย่อมลุอำนาจของ

อะไรที่บังเกิดขึ้นแล้ว ดังนี้หรือ ?

ภิก. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ โลกอันจิตแลนำไป อันจิตชักมา และบุคคลย่อมลุ

อำนาจของจิตที่บังเกิดขึ้นแล้ว.

ภิกษุนั้นชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้ว

พระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า

บุคคลเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ดังนี้ ?

ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ?

พ. ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาของเธอหลักแหลม ปฏิภาณของเธอ

ดีจริง ปริปุจฉาของเธอเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ที่เรียกว่า บุคคลเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม

ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงไรหนอแล บุคคลจึงเป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม

ดังนี้หรือ ?

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 454

ภิก. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ เราแสดงธรรมเป็นอันมาก คือ สุตตะ.. .เวทัลละ

ถ้าแม้ภิกษุรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งคาถา ๔ บาทแล้ว เป็นผู้ปฏิบัติ

ธรรมสมควรแก่ธรรมไซร้ ก็ควรเรียกว่า เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม.

ภิกษุนั้นชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้ว

พระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า

บุคคลผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส ผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส ดังนี้ ด้วยเหตุ

เพียงเท่าไรหนอแลบุคคลจึงเป็นผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส

พ. ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาของเธอหลักแหลม ปฏิภาณของเธอ

ดีจริง ปริปุจฉาของเธอเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผ้เจริญ

ที่เรียกว่า บุคคลผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส ผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส ดังนี้

ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลส ดังนี้

หรือ ?

ภิก. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ได้สดับว่า นี้ทุกข์ และเห็นแจ้ง

แทงตลอดเนื้อความ. แห่งคำที่สดับนั้นด้วยปัญญา ได้สดับว่า นี้ทุกขสมุทัย

และได้เห็นแจ้งแทงตลอดเนื้อความแห่งคำที่สดับนั้นด้วยปัญญา ได้สดับว่า

นี้ทุกขนิโรธ และเห็นแจ้งแทงตลอดเนื้อความแห่งคำที่สดับนั้นด้วยปัญญา

ได้สดับว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา และเห็นแจ้งแทงตลอดเนื้อความแห่งคำ

ที่สดับนั้นด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุ บุคคลเป็นผู้สดับมีปัญญาชำแรกกิเลสอย่าง

นี้แล.

ภิกษุนั้นชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดีแล้ว

พระเจ้าข้า แล้วได้ทูลถามปัญหายิ่งขึ้นไปว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 455

บุคคลผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ดังนี้ ด้วยเหตุ

เพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ?

พ. ดีละ ดีละ ภิกษุ ปัญญาของเธอหลักแหลม ปฏิภาณของเธอ

ดีจริง ปริปุจฉาของเธอเข้าที เธอถามอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ที่เรียกว่าบุคคลผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก บุคคลผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามาก

ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล บุคคลจึงเป็นบัณฑิตมีปัญญามาก ดังนี้หรือ ?

ภิก. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภิกษุ บุคคลผู้เป็นบัณฑิตมีปัญญามากในธรรมวินัยนี้

ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตน ย่อมไม่คิดเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ย่อมไม่คิดเพื่อ

เบียดเบียนคนและผู้อื่น เมื่อคิด ย่อมคิดเพื่อเกื้อกูลแก่ตน เกื้อกูลแก่ผู้อื่น

เกื้อกูลแก่ตนและผู้อื่น และเกื้อกูลแก่โลกทั้งหมดทีเดียว ดูก่อนภิกษุ บุคคล

เป็นบัณฑิตมีปัญญามากอย่างนี้แล.

จบอุมมังคสูตรที่ ๖

อรรถกถาอุมมังคสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุมมังคสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปริกสฺสติ ได้แก่ อันสิ่งอะไรคร่ามา. บทว่า อุมฺมงฺโค

ได้แก่ ผุดขึ้น อธิบายว่า ไปด้วยปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง ปัญญานั่นเอง

เรียกว่าอุมมังคะ เพราะอรรถกถาว่า ผุดขึ้น อุมมังคปัญญานั้น ชื่อว่าปฏิภาณ

เพราะอรรถว่า แจ่มแจ้งทันที. บทว่า จิตฺตสฺส อุปฺปนฺนสฺส วส คจฺฉติ

ความว่า บุคคลเหล่าใด ย่อมตกอยู่ในอำนาจจิต พึงทราบการยึดถือของบุคคล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 456

เหล่านั้นในเพราะอำนาจจิตนี้. บทว่า อตฺถมญฺาย ธมฺมมญฺาย ได้แก่

รู้อรรถและบาลี. บทว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน โหติ ความว่า เป็นผู้

ปฏิบัติธรรม คือ ปฏิปทาอันเป็นส่วนเบื้องต้น พร้อมด้วยศีลที่สมควรแก่

โลกุตรธรรม. บทว่า นิพฺเพธิกปญฺโ ได้แก่ ปัญญาเป็นเครื่องชำแรก.

บทว่า อิท ทุกฺข ท่านอธิบายว่า ขันธ์ห้าเป็นไปในภูมิสามที่เหลือ เว้น

ตัณหาเป็นทุกข์. บทว่า ปญฺาย คือด้วยมรรคปัญญา. บทว่า อย ทุกฺข-

สมุทโย ท่านอธิบายว่า ตัณหาเป็นมูลของวัฏฏะ เป็นเหตุเกิดทุกข์นั้น. แม้

ในสองบทที่เหลือ พึงทราบเนื้อความโดยอุบายนี้. อรหัตผล พึงทราบว่า

ตรัสด้วยการตอบปัญหาข้อที่ ๔.

จบอรรถกถาอุมมังคสูตรที่ ๖

๗. วัสสการสูตร

พระพุทธองค์ทรงตอบปัญหาวัสสการพราหมณ์

[๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร-

เวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ใกล้พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น แล วัสสการ-

พราหมณ์มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อสัตบุรุษจะพึงรู้อสัตบุรุษด้วยกันได้หรือหนอว่า

ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ? พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 457

ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้อสัตบุรุษด้วยกันว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ดังนี้ ไม่ใช่

ฐานะ ไม่ใช่โอกาสที่จะเป็นได้เลย.

วัส. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อสัตบุรุษจะพึงรู้สัตบุรุษได้หรือหนอว่า

ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ แม้ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้สัตบุรุษว่า ท่านผู้นี้

เป็นสัตบุรุษ ดังนี้ ก็ไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสจะพึงเป็นได้.

วัส. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตบุรุษพึงรู้สัตบุรุษด้วยกันได้หรือ

หนอแลว่า ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ข้อที่สัตบุรุษพึงรู้สัตบุรุษด้วยกันว่า ท่านผู้นี้

เป็นสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นฐานะเป็นโอกาสที่มีได้.

วัส. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สัตบุรุษพึงรู้อสัตบุรุษได้หรือหนอว่า

ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ แม้ข้อที่สัตบุรุษพึงรู้อสัตบุรุษว่า ท่านผู้นี้เป็น

อสัตบุรุษ ดังนี้ ก็เป็นฐานะเป็นโอกาสที่มีได้.

วัส. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้าแต่

พระโคดมผู้เจริญ ข้อที่พระโคดมตรัส ชอบแล้วว่า ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้

อสัตบุรุษด้วยกันว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ดังนี้ ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาส

ที่จะเป็นได้ ข้อที่อสัตบุรุษจะพึงรู้สัตบุรุษว่า ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ ดังนี้

ก็ไม่ใช่ฐานะไม่ใช่โอกาสที่จะเป็นได้ ข้อที่สัตบุรุษจะพึงรู้สัตบุรุษด้วยกันว่า

ท่านผู้นี้เป็นสัตบุรุษ ดังนี้ เป็นฐานะเป็นโอกาสที่มีได้ และข้อที่สัตบุรุษ

จะพึงรู้อสัตบุรุษว่า ท่านผู้นี้เป็นอสัตบุรุษ ดังนี้ ก็เป็นฐานะเป็นโอกาสที่มีได้

ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมัยหนึ่ง ในบริษัทของโตเทยยพราหมณ์ พวกบริษัท

กล่าวติเตียนผู้อื่นว่า พระเจ้าเอเฬายยะผู้ทรงเลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 458

เป็นพาล ทรงการทำความเคารพอย่างยิ่งเห็นปานนี้ คือ ทรงอภิวาท ทรง

ลุกรับ ทรงกระทำอัญชลีกรรม และสามีจิกรรมในสมณรามบุตร แม้ข้าราช-

บริพารของพระเจ้าเอเฬยยะเหล่านี้ คือ ยมกะ โมคคัลละ อุคคะ นาวินากี

คันธัพพะ และอัคคิเวสสะ ผู้เลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตร ก็เป็นพาล และ

กระทำความเคารพอย่างยิ่งเห็นปานนี้ คือ อภิวาท ลุกรับ อัญชลีกรรม

และสามีจิกรรม ในสมณรามบุตร ส่วนโตเทยยพราหมณ์แนะนำบริษัทเหล่านั้น

โดยนัยนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย จะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน พระเจ้า

เอเฬยยะเป็นบัณฑิต ทรงสามารถเล็งเห็นประโยชน์ยิ่งกว่าผู้สามารถเล็งเห็น

ประโยชน์ ในกิจที่ควรทำและกิจที่ควรทำอันยิ่ง ในคำที่ควรพูดและคำที่

ควรพูดอันยิ่ง ? พวกบริวารรับว่า เป็นอย่างนั้น ท่านผู้เจริญ โตเทยย-

พราหมณ์กล่าวต่อไปว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เพราะเหตุที่สมณรามบุตรเป็น

ผู้ฉลาดกว่าพระเจ้าเอเฬยยะ เป็นผู้สามารถเล็งเห็นประโยชน์ยิ่งกว่า ฉะนั้น

พระเจ้าเอเฬยยะจึงทรงเลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตร และทรงกระทำความ

เคารพอย่างยิ่งเห็นปานนี้ คือ ทรงอภิวาท ทรงลุกรับ ทรงทำอัญชลีกรรม

และสามีจิกรรมในสมณรามบุตร ท่านผู้เจริญทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน ข้าราชบริพารของพระเจ้าเอเฬยยะ คือ ยมกะ โมคคัลละ อุคคะ

นาวินากี คันธัพพะ อัคคิเวสสะ เป็นผู้ฉลาดสามารถเล็งเห็นประโยชน์ยิ่งกว่า

ผู้สามารถเล็งเห็นประโยชน์ ในกิจที่ควรทำและกิจที่ควรทำอันยิ่ง ในคำที่

ควรพูดและคำที่ควรพูดอันยิ่ง ? พวกบริวารรับว่าเป็นอย่างนั้นท่านผู้เจริญ

โตเทยยพราหมณ์กล่าวต่อไปว่า เพราะเหตุที่สมณรามบุตร เป็นบัณฑิตยิ่งกว่า

ข้าราชบริพารผู้เป็นบัณฑิตของพระเจ้าเอเฬยยะ เป็นผู้สามารถเล็งเห็นประโยชน์

ยิ่งกว่าผู้สามารถเล็งเห็นประโยชน์ ในกิจที่ควรทำและกิจที่ควรทำอันยิ่ง ในคำ

ที่ควรพูดและคำพูดที่ควรพูดอันยิ่ง ฉะนั้น พวกข้าราชบริพารของพระเจ้า-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 459

เอเฬยยะ จึงเลื่อมใสยิ่งนักในสมณรามบุตร และกระทำความเคารพ อย่างยิ่ง

เห็นปานนี้ คือ อภิวาท ลุกรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรม ในสมณ-

รามบุตร ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้อที่พระ-

โคดมผู้เจริญตรัสนั้นชอบแล้ว ...ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บัดนี้ ข้าพระองค์

ทั้งหลายขอทูลลาไป ข้าพระองค์ทั้งหลายมีกิจมาก มีกรณียะมาก

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจงรู้กาลอันควรในบัดนี้เถิด.

ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์มหาอำมาตย์ของแคว้นมคธ ชื่นชม

อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป.

จบวัสสการสูตรที่ ๗

อรรถกถาวัสสการสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวัสสการสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โตเทยฺยสฺส คือพราหมณ์ชาวตุทิคาม. บทว่า ปริสติ

ได้แก่ ในบริษัทผู้ประชุมพร้อมกันแล้ว. บทว่า ปรูปารมฺภ วตฺเตนฺติ

ความว่า ประพฤติแล้วติเตียนผู้อื่น. บทว่า พาโล อย ราชา เป็นอาทิ

ท่านกล่าวเพื่อแสดงคำติเตียน ซึ่งชนเหล่านั้นประพฤติกัน. บทว่า สมเณ

รามปุตฺเต ได้แก่ อุททกดาบสรามบุตร. บทว่า อภิปฺปสนฺโน ได้แก่

เลื่อมใสเหลือเกิน. บทว่า ปรมนิปจฺจการ ได้แก่ กิริยาที่อ่อนน้อมอย่าง

ยิ่งยวด คือประพฤติถ่อมตน. บทว่า ปริหารกา ได้แก่ บริวาร. บท

เป็นต้น ว่า ยมโก เป็นชื่อของบริวารชนเหล่านั้น จริงอยู่ บรรดาบริวารชน

เหล่านั้น คนหนึ่งชื่อยมกะ คนหนึ่งชื่อโมคคัลละ คนหนึ่งชื่ออุคคะ คนหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 460

ชื่อนาวินากี คนหนึ่งชื่อคันธัพพะ คนหนึ่งชื่ออัคคิเวสสะ. บทว่า อสฺสุท

ในบทว่า ตฺยาสฺสุท นี้ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ซึ่งบริวารชนเหล่านั้น

ผู้นั่งในบริษัทของตน. บทว่า อิมินา นเยน เนติ ความว่า โตเทยย-

พราหมณ์กลับแนะนำ คือ ให้เขารู้ด้วยเหตุนี้.

บทว่า กรณียาธิกรณีเยสุ ความว่า ในกิจอันบัณฑิตควรทำ และ

กิจที่ควรทำอันยิ่ง. บทว่า วจนียาธิวจนีเยสุ ความว่า ในถ้อยคำ

ควรกล่าว และถ้อยคำควรกล่าวอันยิ่ง. ในบทว่า อลมตฺถทสตเรหิ

นี้ ความว่า ผู้สามารถเห็นประโยชน์ทั้งหลาย ชื่อว่า อลมัตถวาส ผู้สามารถ

เห็นประโยชน์เกินบริวารชนเหล่านั้น ชื่อว่าอลมัตถทัสตระกว่าชนเหล่านั้น

ผู้สามารถเห็นประโยชน์. บทว่า อลมตฺถทสตโร ความว่า พระเจ้าเอเฬยยะ

เป็นผู้ยิ่งกว่า เพราะสามารถเห็นประโยชน์. โตเทยยพราหมณ์ เมื่อถามว่า

สมณรามบุตรเป็นผู้ฉลาดกว่าผู้ฉลาดทั้งหลาย เป็นบัณฑิตกว่าบัณฑิตทั้งหลาย

จึงกล่าวอย่างนี้. เมื่อเป็นเช่นนั้น บริวารเหล่านั้น เมื่อจะย้อนถาม จึงกล่าว

คำเป็นต้นว่า เอว โภ แต่โตเทยยพราหมณ์นั้น . ดังนั้น พราหมณ์สรรเสริญ

พระเจ้าเอเฬยยะบ้าง บริวารของพระเจ้าเอเฬยยะนั้นบ้าง อุททกดาบสรามบุตร

บ้าง เพราะคนเป็นสัตบุรุษ. อสัตบุรุษเป็นเหมือนคนบอด สัตบุรุษเป็นเหมือน

คนมีจักษุ. คนบอดย่อมมองไม่เห็นทั้งคนไม่บอด ทั้งคนบอดด้วยกัน ฉันใด

อสัตบุรุษย่อมไม่รู้จักทั้งสัตบุรุษ ทั้งอสัตบุรุษฉันนั้น. คนมีจักษุ ย่อมเห็น

ทั้งคนบอด ทั้งคนไม่บอดฉันใด สัตบุรุษ ย่อมรู้จักทั้งสัตบุรุษ ทั้งอสัตบุรุษ

ฉันนั้น. พราหมณ์ได้อาศัยอำนาจประโยชน์นี้ว่า แม้โตเทยยพราหมณ์

ได้รู้แล้วซึ่งอสัตบุรุษทั้งหลาย เพราะเป็นสัตบุรุษ ดังนี้ จึงมีใจยินดีกล่าวคำ

เป็นอาทิว่า อจฺฉริย โภ โคตม ดังนี้ อนุโมทนาภาษิตของพระตถาคตแล้ว

ทำสักการะก็กลับไป.

จบอรรถกถาวัสสการสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 461

๘. อุปกสูตร

พระพุทธองค์ทรงโต้วาทะกับอุปกมัณฑิกาบุตร

[๑๘๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ

ใกล้กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตรเข้าไฝเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามี

วาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่งกล่าวติเตียนผู้อื่น ผู้นั้นทั้งหมดย่อม

ไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้

ถูกครหาติเตียน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุปกะ ถ้าบุคคล. กล่าว

ติเตียนผู้อื่น เมื่อเขากล่าวติเตียนผู้อื่นอยู่ ย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้

เมื่อไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียนไซร้ ดูก่อนอุปกะ

ท่านนั่นแหละกล่าวติเตียนผู้อื่นย่อมไม่อาจให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจ

ให้กุศลกรรมเกิดขึ้นได้ ย่อมเป็นผู้ถูกครหาติเตียน.

อุป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุคคลพึงจับปลาที่พอผุดขึ้นเท่านั้น

ด้วยแหใหญ่ แม้ฉันใด ข้าพระองค์ก็ฉันนั้น เหมือนกัน พอเอ่ยขึ้นเท่านั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงจับด้วยบ่วงคือวาทะอันใหญ่.

พ. ดูก่อนอุปกะ เราบัญญัติแล้วว่า นี้เป็นอกุศลแล บท พยัญชนะ

ธรรมเทศนาของตถาคตในข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า นี้เป็นอกุศลแม้เพราะ

เหตุนี้ อนึ่ง เราบัญญัติว่า อกุศลนี้นั้นแล ควรละเสีย บท พยัญชนะ

ธรรมเทศนา ของตถาคตในข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้

อกุศลนี้ควรละเสีย อนึ่ง เราบัญญัติไว้แล้วว่า นี้เป็นกุศลแล บทพยัญชนะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 462

ธรรมเทศนาของตถาคตในข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า นี้เป็นกุศลแม้เพราะ

เหตุนี้ อนึ่ง เราบัญญัติว่า กุศลนี้นั้นแลควรบำเพ็ญ บท พยัญชนะ ธรรม-

เทศนาของตถาคตในข้อนั้น หาประมาณมิได้ว่า กุศลนี้ควรบำเพ็ญแม้เพราะ

เหตุนี้.

ลำดับนั้นแล อุปกมัณฑิกาบุตรชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท การทำประทักษิณแล้ว เข้าไปเฝ้า

พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร ครั้นแล้วได้กราบทูล

การสนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหมดนั้น แก่พระเจ้าแผ่นดิน

มคธพระนามว่าอาชาตศัตรูเวเทหิบุตร เมื่ออุปกุมัณฑิกาบุตรกราบทูลอย่างนี้

แล้ว พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่า อชาตศัตรูเวเทหิบุตรทรงกริ้ว ไม่ทรง

พอพระทัย ได้ตรัสกะอุปกมัณฑิกาบุตรว่า เจ้าเด็กลูกชาวนาเกลือนี่อวดดี

ปากกล้า บังอาจ จักสำคัญพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์

นั้นว่าควรรุกราน เจ้าอุปก็จงหลีกไป จงพินาศ ฉันอย่าได้เห็นเจ้าเลย.

จบอุปกสูตรที่ ๘

อรรถกถาอุปกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุปกสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปโก เป็นชื่อของมัณฑิกาบุตรนั้น. บทว่า มณฺฑิกาปุตฺโต

แปลว่า บุตรของนางมัณฑิกา. บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า ได้ยินว่า อุปก-

มัณฑิกาบุตรนั้น เป็นอุปัฏฐากของเทวทัต จึงเข้าไปเฝ้า เพื่อกำหนดว่า

เมื่อเราเข้าไปเฝ้า พระศาสดาจักตรัสยกย่องหรือตรัสตำหนิหนอ อาจารย์

บางพวกกล่าวดังนี้ก็มี ว่าเข้าไปเฝ้าประสงค์จะฟังคำว่า เทวทัตตกนรก ดำรง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 463

อยู่ชั่วกัป ใครก็แก้ไขมิได้ดังนี้ แล้วจะได้เสียดสีพระศาสดา. บทว่า ปรูปารมฺภ

วตฺเตติ ได้แก่ กล่าวติเตียนผู้อื่น บทว่า สพฺโพ โส น อุปฺปาเทติ

ความว่า ผู้นั้นทั้งหมด ไม่ทำกุศลธรรมให้เกิดขึ้น หรือไม่อาจเพื่อจะทำคำ

ของตนให้สมควรได้เลย. บทว่า อนุปฺปาเทนฺโต คารยฺโห โหติ ความว่า

เมื่อไม่อาจให้กุศลธรรมเกิดขึ้นได้ เมื่อไม่อาจทำคำของตนให้สมควรได้ ก็ย่อม

เป็นผู้ถูกติเตียน. บทว่า อุปวชฺโช ความว่า ย่อมเป็นผู้ถูกติถูกว่าเหมือนกัน

หรือเป็นผู้ประกอบด้วยโทษ อธิบายว่า มีโทษ.

ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงจับวาทะของอุปกะนั้นแล้ว เมื่อจะ

ทรงสวมคอของอุปกะนั้นแล จึงตรัสว่า ปรูปารมฺภ เป็นอาทิ. บทว่า

อุมฺมุชฺชมานกเยว ได้แก่ พอยกหัวขึ้นจากน้ำเท่านั้น. ในบทว่า ตตฺถ

อปริมาณา ปทา เป็นอาทิ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้. บทก็ดี อักขระก็ดี

ธรรมเทศนาก็ดี นับไม่ได้ในการบัญญัติว่า อกุศลนั้น. บทว่า อิติปีท

อกุสล ความว่า แม้บททั้งหลายที่มาแล้วในอกุศลบัญญัติอย่างนี้ว่า แม้นี้

ก็อกุศล แม้เพราะเหตุนี้ ๆ ก่อกุศลดังนี้ก็นับไม่ได้. แม้เมื่อเป็นดังนั้น พระ-

ตถาคต พึงทรงแสดงธรรมนั้น ด้วยอาการอย่างหนึ่ง เทศนาของพระองค์

อย่างนี้ ก็พึงนับไม่ได้. เหมือนที่ท่านกล่าวว่าธรรมเทศนาของพระตถาคตนั้น

กำหนดถือเอาไม่ได้ บทพยัญชนะแห่งธรรมก็กำหนดถือเอาไม่ได้ เนื้อความ

ในทุกวาระพึงทราบด้วยอุบายนี้.

บทว่า ยาวธสี วตาย คือ เจ้าเด็กนี้ช่างลบล้างคุณ. โลณการ-

กทารโก คือ เด็กในหมู่บ้านชาวนาเกลือ. คำว่า ยตฺร หิ นาม แก้บทเป็น

โย หิ นาม แปลว่า ชื่อใด. บทว่า อปสาเทตพฺพ มญฺิสฺสติ คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 464

จักสำคัญพระพุทธเจ้าว่าควรระราน. บทว่า อเปหิ ความว่า เจ้าจงหลีกไป

อย่ามายืนต่อหน้าข้านะ ก็พระเจ้าอชาตศัตรู ตรัสอย่างนี้แล้ว โปรดให้บริวาร

จับคอคร่าออกไปแล.

จบอรรถกถาอุปกสูตรที่ ๘

๙. สัจฉิกิริยสูตร

ว่าด้วยธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๔ ประการ

[๑๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ๔ ประการนี้

๔ ประการเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วย

กายก็มี ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยสติก็มี ที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุก็มี ที่

ควรกระทำให้แจ้งด้วยปัญญาก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกระทำ

ให้แจ้งด้วยกายเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิโมกข์ ๘ ควรกระทำให้แจ้ง

ด้วยกาย. ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยสติเป็นไฉน ? ปุพเพนิวาสควร

กระทำให้แจ้งด้วยสติ. ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุเป็นไฉน การจุติ

และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย ควรกระทำให้แจ้งด้วยจักษุ. ก็ธรรมที่ควรกระทำ

ให้แจ้งด้วยปัญญาเป็นไฉน ? ความสิ้นอาสวะทั้งหลาย ควรกระทำให้แจ้งด้วย

ปัญญา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกระทำให้แจ้ง ๔ ประการนี้แล.

จบสัจฉิกิริยสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 465

อรรถกถาสัจฉิกิริยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัจฉิกิริยสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาเยน ได้แก่ ด้วยนามกาย. บทว่า สจฺฉิกรณียา ได้แก่

พึงทำให้ประจักษ์. บทว่า สติยา ได้แก่ ด้วยปุพเพนิวาสานุสติ. บทว่า

จกฺขุนา คือด้วยทิพจักษุ. บทว่า ปญฺาย ความว่า วิปัสสนาปัญญา

พึงทำให้แจ้งด้วยฌานปัญญา มรรคปัญญา พึงทำให้แจ้งด้วยวิปัสสนาปัญญา

ผลปัญญา พึงทำให้แจ้งด้วยมรรคปัญญา ปัจจเวกขณปัญญา พึงทำให้แจ้ง

ด้วยผลปัญญา. อธิบายว่า พึงบรรลุ. ส่วนพระอรหัตกล่าวคือความสิ้นอาสวะ

ชื่อว่า พึงทำให้แจ้งด้วยปัจจเวกขณปัญญา.

จบอรรถกถาสัจฉิกิริยสูตรที่ ๙

๑๐. อุโปสถสูตร

พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญภิกษุบริษัท

[๑๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บุพพาราม-

ประสาทของมิคารมารดา ใกล้พระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มี-

พระภาคเจ้าแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ประทับนั่งในวันอุโบสถ ครั้งนั้นแล

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูภิกษุสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นิ่งเงียบแล้ว ตรัสกะภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เงียบ ปราศจากเสียงสนทนา

บริสุทธิ์ ตั้งอยู่ในสาระ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัท

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 466

เช่นใดที่บุคคลหาได้ยาก แม้เพื่อจะเห็นในโลก ภิกษุสงฆ์นี้เป็นเช่นนั้น

บริษัทนี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทเช่นใดเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของ

ต้อนรับ เป็นผู้ควรของทำบุญ เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มี

นาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ภิกษุสงฆ์นี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทนี้ก็เป็นเช่นนั้น แม้

ของน้อยที่เขาให้ในบริษัทเช่นใด ย่อมเป็นของมาก ของมากที่เขาให้ในบริษัท

เช่นใด ย่อมเป็นของมากยิ่งกว่า ภิกษุสงฆ์นี้ก็เป็นเช่นนั้น บริษัทนี้ก็เป็น

เช่นนั้น การไปเพื่อจะดูบริษัทเช่นใด แม้จะนับด้วยโยชน์ ถึงจะต้องเอา

เสบียงทางไปก็ควร ภิกษุสงฆ์นี้ก็เป็นเช่นนั้น ภิกษุสงฆ์นี้เห็นปานนั้น คือ

ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายที่ถึงความเป็นเทพก็มี ภิกษุทั้งหลายที่ถึงความ

เป็นพรหมก็มี ภิกษุทั้งหลายที่ถึงชั้นอาเนญชาก็มี ภิกษุทั้งหลายที่ถึงความเป็น

อริยะก็มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นเทพ ? ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ

บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

ภิกษุชื่อว่าถึงความเป็นเทพ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นพรหม

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีใจประกอบด้วยเมตตาแผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่. ทิศที่สอง

ทิศที่สาม ทิศที่สี่ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ

เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบ

ด้วยเมตตาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี

ความเบียดเบียนอยู่ มีใจประกอบด้วยกรุณา ... มีใจประกอบด้วยมุทิตา ...

มีใจประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปสู่ทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่สอง ทิศที่สาม ทิศที่สี่

ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง แผ่ไปตลอดโลก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 467

ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน ด้วยใจประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึง

ความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นพรหม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรภิกษุจึงชื่อว่าถึงชั้นอาเนญชา ? ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะดับสิ้นปฏิฆ-

สัญญา เพราะไม่มนสิการถึงนานัตตสัญญา บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน

ด้วยบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สุด เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้ง

ปวง บรรลุวิญญาจายตนฌาน ด้วยบริกรรมว่า วิญญาณไม่มีที่สุด เพราะ

ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วย

บริกรรมว่า อะไร ๆ ไม่มี เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง

บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึง

ชื่อว่าถึงชั้นอาเนญชา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุจึงชื่อว่าถึงความเป็นอริยะ ?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้

ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แลภิกษุ

จึงชื่อว่าถึงความเป็นอริยะ.

จบอุโปสถสูตรที่ ๑๐

จบโยธาชีวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 468

อรรถกถาอุโปสถสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอุโปสถสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ตุณฺหีภูต ตุณฺหีภูต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เหลียวดูทางทิศใด ๆ ทางทิศนั้น ๆ ภิกษุสงฆ์นิ่งเงียบอยู่. บทว่า ภิกฺขู

อามนฺเตสิ ความว่า ทรงเหลียวดูด้วยพระจักษุอันเลื่อมใสแล้ว เกิดปราโมทย์

ในธรรม จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลาย ผู้ถึงพร้อมด้วยข้อปฏิบัติ เพราะทรงประสงค์

จะยกย่องธรรม. บทว่1 อปฺปลาปา ได้แก่ บริษัทเว้นการสนทนา. บท

นอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า อปฺปลาปา นั้นนั่นเอง. บทว่า สุทฺธา คือ

หมดมลทิน. บทว่า สาเร ปติฏฺิตา ได้แก่ ตั้งอยู่ในธรรมสาระมีศีลสาระ

เป็นต้น. บทว่า อล แปลว่า ควร. บทว่า โยชนคณนานิ ความว่า

ระยะทางโยชน์หนึ่ง แม้ ๑๐ โยชน์ มากกว่านั้น ก็เรียกว่านับเป็นโยชน์. แต่ใน

ที่นี้ประสงค์เอาร้อยโยชน์บ้าง พันโยชน์บ้าง. บทว่า ปุโฏเสนาปิ ได้แก่

เสบียงทาง เรียก ปุโฏส อธิบายว่า แม้จะต้องถือเอาเสบียงทางเข้าไปหา

ก็ควรแท้. บาลีว่า ปุฏเสน ดังนี้ก็มี. เนื้อความของบทนั้นว่า ห่อของมีอยู่

ที่บ่าของบุคคลนั้น เหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า มีห่ออยู่ที่บ่าด้วย ห่ออยู่ที่บ่านั้น.

มีอธิบายว่า สะพายเสบียงไปดังนี้.

บัดนี้ ตรัสว่า สนฺติ ภิกฺขเว เป็นอาทิ เพื่อทรงแสดงว่า ภิกษุทั้งหลาย

ผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายที่เห็นปานนี้ มีอยู่ในที่นี้. บรรดาบทเหล่านั้น

บทว่า เทวปฺปตฺตา ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ถึงชั้นทิพวิหารที่เป็นเหตุเกิด

เป็นอุปปัตติเทพ และชั้นพระอรหัตด้วยทิพวิหาร. บทว่า พฺรหมปฺปตฺตา

ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ถึงชั้นพรหมวิหารเหตุสำเร็จเป็นพรหม ด้วยอรรถ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 469

ว่าไม่มีโทษ และชั้นพระอรหัตด้วยพรหมวิหาร. บทว่า อาเนญฺชปฺปตฺตา

ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ถึงชั้นอาเนญชาเหตุสำเร็จเป็นความไม่หวั่นไหว และ

ชั้นพระอรหัตด้วยอาเนญชา. บทว่า อริยปฺปตฺตา ความว่า ล่วงภาวะปุถุชน

ถึงภาวะพระอริยะ.

ในบทว่า เอว โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ เทวปฺปตฺโต โหติ เป็นอาทิ

มีวินิจฉัยดังนี้ ภิกษุตั้งอยู่ในจตุตถฌานที่เป็นรูปาพจร อย่างนี้แล้ว จึงกลับจิต

ไปบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าเป็นผู้ถึงชั้นเทพ. ภิกษุตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔

กลับจิตไปบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าเป็นผู้ถึงชั้นพรหม. ตั้งอยู่ในอรูปฌาน ๔

กลับจิตไปบรรลุพระอรหัต ชื่อว่าเป็นผู้ถึงชั้นอาเนญชา. มรรค ๔ และผล ๓

ตรัสด้วยสัจจะ มีบทว่า อิท ทุกฺข ดังนี้ เป็นอาทิ เพราะฉะนั้น ภิกษุ

ผู้บรรลุอริยธรรมนี้ จึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ถึงชั้นอริยะ.

จบอรรถกถาอุโปสถสูตรที่ ๑๐

จบโยธาชีวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โยธสูตร ๒. ปาฏิโภคสูตร ๓. สุตสูตร ๔. อภยสูตร

๕. พราหมณสัจจสูตร ๖. อุมมังคสูตร ๗. วัสสการสูตร ๘. อุปกสูตร

๙. สัจฉิกิริยสูตร ๑๐. อุโปสถสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 470

มหาวรรคที่ ๕

๑. โสตานุคตสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์การฟังธรรม ๔ ประการ

[๑๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการแห่งธรรมทั้งหลาย

ที่บุคคลฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคล

พึงหวังได้ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ ธรรมเหล่านั้นเป็น

ธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ

เธอมีสติ หลงลืม เมื่อการทำกาละ ย่อมเขาถึงเทพนิกายหมู่ใดหมู่หนึ่ง

บทแห่งธรรมทั้งหลาย ย่อมปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขในภพนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า

แต่สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น

อานิสงส์ประการที่ ๑ แห่งธรรมทั้งหลายที่บุคคลฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ

แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...เวทัลละ

ธรรมเหล่านั้นเป็นธรรมอันภิกษุนั้นฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอด

ด้วยดีด้วยทิฏฐิ เธอมีสติหลงลืม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงเทพนิกาย

หมู่ใดหมู่ หนึ่ง บทแห่งธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏแก่เธอ ผู้มีความสุขอยู่ใน

ภพนั้นเลย แก่ภิกษุผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต แสดงธรรมแก่เทพบริษัท

เธอมีความปริวิตกอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติพรหมจรรย์ในธรรม-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 471

วินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้น สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมบรรลุคุณวิเศษ

เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาดต่อเสียงกลอง เขาเดินทางไกล

ฟังได้ยินเสียงกลอง เขาไม่พึงมีความสงสัย หรือเคลือบแคลงว่า เสียงกลอง

หรือไม่ใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงกลองทีเดียว ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ

เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๒ แห่งธรรมทั้งหลาย

ที่ภิกษุฟังเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคล

พึงหวังได้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือสุตตะ...บทแห่งธรรม

ทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย ทั้งภิกษุผู้มีฤทธิ์

ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรย่อม

แสดงธรรมในเทพบริษัท เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ในกาลก่อนเราได้ประพฤติ

พรหมจรรย์ในธรรมวินัยใด นี้คือธรรมวินัยนั้นเอง สติบังเกิดขึ้นช้า แต่ว่า

สัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้ฉลาด

ต่อเสียงสังข์เขาเดินทางไกล พึงได้ฟังเสียงสังข์เข้า เขาไม่พึงมีความสงสัยหรือ

เคลือบแคลงว่า เสียงสังข์หรือมิใช่หนอ ที่แท้เขาพึงถึงความตกลงใจว่า เสียงสังข์

ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ ฯลฯ ย่อม

เป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๓

แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนืองๆคล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ

อันบุคคลพึงหวังได้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ...บทแห่ง

ธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่ปรากฏแก่เธอผู้มีความสุขอยู่ในภพนั้นเลย แม้ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 472

ผู้มีฤทธิ์ ถึงความชำนาญแห่งจิต ก็มิได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แม้เทพบุตร

ก็ไม่ได้แสดงธรรมในเทพบริษัท แต่เทพบุตรผู้เกิดก่อนเตือนเทพบุตรผู้เกิด

ทีหลังว่า ท่านผู้นฤทุกข์ย่อมระลึกได้หรือว่า เราได้ประพฤติพรหมจรรย์ใน

กาลก่อน เธอกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ท่านผู้นฤทุกข์ ๆ สติบังเกิดขึ้นช้า

แต่ว่าสัตว์นั้นย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สหาย

ของคนเล่นฝุ่นด้วยกัน เขามาพบกัน บางครั้งบางคราว ในที่บางแห่ง สหาย

คนหนึ่ง พึงกล่าวกะสหายคนนั้นอย่างนี้ว่า สหาย ท่านระลึกกรรมแม้นี้ได้หรือ

เขาพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราระลึกได้ เราละลึกได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ย่อมเล่าเรียนธรรม ฯลฯ ย่อมเป็นผู้บรรลุคุณวิเศษ เร็วพลัน ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย นี้เป็นอานิสงส์ประการที่ ๔ แห่งธรรมทั้งหลายที่ภิกษุฟังเนือง ๆ

คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคลพึงหวังได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานิสงส์ ๔ ประการนี้ แห่งธรรมทั้งหลายที่

ภิกษุฟังแล้วเนือง ๆ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิ อันบุคคล

พึงหวังได้.

จบโสตานุคตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 473

มหาวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาโสตานุคตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโสตานุคตสูตรที่ ๑ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โสตานุคตาน ความว่า ธรรมที่บุคคลเงี่ยโสตประสาทฟัง

แล้วกำหนดด้วยโสตญาณ. บทว่า จตฺตาโร อานิสสา ปาฏิกงฺขา ความว่า

คุณานิสงส์ ๔ ประการ พึงหวังได้. ก็สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปรารภ

ด้วยอำนาจอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง. ถามว่า ด้วยอำนาจเหตุเกิดเรื่องอะไร.

ตอบว่า ด้วยอำนาจเหตุเกิดเรื่อง คือ การที่ภิกษุทั้งหลายไม่เข้าไปฟังธรรม.

ได้ยินว่า พวกพราหมณ์ ๕๐๐ บวชแล้ว ไม่ไปฟังธรรมด้วยคิดว่า พระ-

สัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อตรัสแต่ลิงค์ วจนะ วิภัติ บท และพยัญชนะเป็นต้น

จักตรัสแต่ข้อที่พวกเรารู้แล้วทั้งนั้น ข้อที่เรายังไม่รู้ จักตรัสอะไรได้ ดังนี้ .

พระศาสดาได้สดับเรื่องนั้นแล้ว จึงให้เรียกพราหมณ์ที่บวชเหล่านั้นมาแล้ว

ตรัสว่า เพราะอะไร พวกเธอจึงทำอย่างนี้ พวกเธอจงฟังธรรมโดยความเคารพ

เมื่อฟังธรรมโดยความเคารพ และสาธยายธรรม อานิสงส์เหล่านี้ เท่านี้เป็น

หวังได้ดังนี้ เมื่อทรงแสดงจึงเริ่มเทศนานี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺม ปริยาปุณาติ ความว่า ภิกษุ

ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ บาลี ซึ่งเป็นนวังคสัตถุศาสน์คำสอนของพระศาสดา

มีองค์ ๙ มีสุตตะ เคยยะเป็นอาทิ. บทว่า โสตานุคตา โหนฺติ ความว่า

ธรรมเหล่านั้นก็ย่อมตามไปเข้าโสตเนือง ๆ. บทว่า มนสานุเปกฺขิตา

ได้แก่ ตรวจดูด้วยจิต. บทว่า ทิฏฺิยา สุปฺปฏิวิทฺธา ความว่า รู้ทะลุ

ปรุโปร่งดี คือทำให้แจ่มแจ้งด้วยปัญญาทั้งโดยผล ทั้งโดยเหตุ. พระพุทธพจน์

บทว่า มุฏฺสฺสติ กาล กุรุมาโน นี้ มิใช่ตรัส เพราะไม่มีสติระลึกถึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 474

แต่ตรัสหมายถึง การตายของปุถุชน. จริงอยู่ ปุถุชนชื่อว่าหลงลืมสติตาย.

บทว่า อุปปชฺชติ ความว่า ภิกษุตั้งอยู่ในศีลอันบริสุทธิ์แล้ว ย่อมเกิดขึ้น

เทวโลก. บทว่า ธมฺมปทา ปิลปนฺติ ความว่า ธรรมคือพระพุทธวจนะ

ที่คล่องปาก อันมีการสาธยายเป็นมูลมาแต่ก่อนทั้งหมด ย่อมลอยเด่นปรากฏรู้

ได้ชัด แก่ภิกษุผู้มีสุข ซึ่งเกิดในระหว่างภพ เหมือนเงาในกระจกใส. บทว่า

ทนฺโธ ภิกฺขเว สตุปฺปาโท ความว่า การระลึกถึงพระพุทธพจน์เกิดขึ้นช้า

คือ หนัก. บทว่า อล โส สตฺโร ขิปฺปเมว วิเสสคามี โหติ ความว่า

ย่อมบรรลุนิพพาน. บทว่า อิทฺธิมา เจโตวสิปฺปตฺโต ได้แก่ พระขีณาสพ

ผู้ถึงพร้อมด้วยฤทธิ์ถึงความเชี่ยวชาญแห่งจิต. ในบทว่า อย วา โส ธมฺม-

วินโย นี้ วา ศัพท์มีอรรถว่า กระจ่างแจ้ง.

บทว่า ยตฺถ คือ ในธรรมวินัยใด. บทว่า พฺรหฺมจริย อจรึ

ได้แก่ เราได้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์. บทนั้น ตรัสด้วยอำนาจการะลึกถึง

พระพุทธพจน์ว่า ชื่อว่าพระพุทธพจน์แม้นี้ เราก็ได้เล่าเรียนมาแล้วแต่ก่อน.

บทว่า เทวปุตฺโต ได้แก่ เทวบุตรผู้เป็นธรรมกถึกองค์หนึ่ง ดุจปัญจาล-

จัณฑเทวบุตร ดุจหัตถกมหาพรหมและดุจสนังกุมารพรหม. บทว่า โอปปา-

ติโก โอปปาติก สาเรติ ความว่า เทวบุตรผู้เกิดก่อนให้เทวบุตรผู้เกิด

ภายหลังระลึก ทรงแสดงความที่สหายเหล่านั้นสนิทสนมกันมานาน ด้วยบทว่า

สหปสุกีฬกานั้น. บทว่า สมาคจฺเฉยฺยุ ความว่า สหายเหล่านั้น พึงไป

พร้อมหน้ากันที่ศาลาบ้าง ที่โคนต้นไม้บ้าง. บทว่า เอว วเทยฺย ความว่า

สหายผู้นั่งก่อนที่ศาลาบ้าง ที่โคนต้นไม้บ้าง พึงกล่าวอย่างนี้กะสหายผู้มา

ภายหลัง. บทที่เหลือทุกแห่ง พึงทราบโดยนัยที่กล่าวมาแล้วแล.

จบอรรถกถาโสตานุคตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 475

๒. ฐานสูตร

ว่าด้วยฐานะ ๔ ที่พึงรู้ด้วยฐานะ ๔

[๑๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้ พึงรู้ด้วยฐานะ ๔

ฐานะ ๔ เป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน

และศีลนั้น พึงรู้ได้ด้วยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการอยู่จึงจะรู้ ไม่มนสิการ

อยู่หารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ความสะอาดพึงรู้ได้

ด้วยถ้อยคำ และความสะอาดนั้นพึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการ

อยู่จึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่

กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย และกำลังใจนั้นแล พึงรู้ได้โดยกาลนาน ไม้ใช่

เล็กน้อย มนสิการจึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่ คนมีปัญญาจึงจะรู้ คนมีปัญญา-

ทรามหารู้ไม่ ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา และปัญญานั้นแลพึงรู้ได้โดย

กาลนาน ไม่ใช่เล็กน้อย มนสิการจึงจะรู้ ไม่มนสิการหารู้ไม่ คนมีปัญญา

จึงจะรู้ คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า ศีลพึงรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน

... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ? บุคคล

ในโลกนี้ เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้มักทำศีลให้ขาด

มักทำให้ทะลุ มักทำให้ด่าง มักทำให้พร้อย ตลอดกาลนานแล ไม่กระทำ

ติดต่อไป ไม่ประพฤติติดต่อในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้เป็นคนทุศีล หาใช่

เป็นคนมีศีลไม่ อนึ่ง บุคคลในโลกนี้ เมื่ออยู่ร่วมกับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า

ท่านผู้นี้มีปกติไม่ทำศีลให้ขาด ไม่ทำให้ทะลุ ไม่ทำให้ด่าง ไม่ทำให้พร้อย

ตลอดกาลนาน มีปกติทำติดต่อไป ประพฤติต่อในศีลทั้งหลาย ท่านผู้นี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 476

เป็นผู้มีศีล หาใช่เป็นผู้ทุศีลไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า ศีลพึงรู้

ได้ด้วยการอยู่ร่วมกัน...คนปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะ

อาศัยข้อนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วย

ถ้อยคำ...คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร

บุคคลในโลกนี้ สนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้พูดกันตัวต่อตัว

เป็นอย่างหนึ่ง พูดกันสองต่อสองเป็นอย่างหนึ่ง พูดกันสามคนเป็นอย่างหนึ่ง

พูดกันมากคนเป็นอย่างหนึ่ง ท่านผู้นี้พูดคำหลังผิดแผกไปจากคำก่อน ท่านผู้นี้

มีถ้อยคำไม่บริสุทธิ์ ท่านผู้นี้หามีถ้อยคำบริสุทธิ์ไม่ อนึ่ง บุคคลในโลกนี้

เมื่อสนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้พูดกันตัวต่อตัวเป็นอย่างไร

พูดกันสองคน สามคน มากคน ก็อย่างนั้น ท่านผู้นี้พูดคำหลังไม่ผิดแผกจาก

คำก่อ มีถ้อยคำบริสุทธิ์ ท่านผู้นี้หามีถ้อยคำไม่บริสุทธิ์ไม่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คำที่เรากล่าวว่า ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ ... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่

ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย

... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร ? บุคคล

บางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือ

กระทบความเสื่อมเพราะโรค ย่อมไม่พิจารณาอย่างนี้ว่า โลกสันนิวาสนี้เป็น

อย่างนั้นเอง การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้น ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว

ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑

ยศ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ ย่อมหมุนเวียน

ไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม ๘ ดังนี้ บุคคลนั้นกระทบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 477

ความเสื่อมญาติ กระทมความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะ

โรค ย่อมเศร้าโศก ลำบากใจ ร่ำไร ทุนบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหล

ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ กระทบความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภค-

ทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราโรค ย่อมพิจารณาอย่างนี้ว่าโลกสันนิวาส

นี้เป็นอย่างนั้นเอง การได้อัตภาพเป็นอย่างนั้น ในโลกสันนิวาสตามที่เป็นแล้ว

ในการได้อัตภาพตามที่เป็นแล้ว โลกธรรม ๘ คือ ลาภ ๑ ความเสื่อมลาภ ๑

ยศ ๑ ความเสื่อมยศ ๑ นินทา ๑ สรรเสริญ ๑ สุข ๑ ทุกข์ ๑ หมุนเวียน

ไปตามโลก และโลกย่อมหมุนเวียนตามโลกธรรม ๘ ดังนี้ บุคคลนั้นกระทบ

ความเสื่อมญาติ กระทบความเสื่อมโภคทรัพย์ หรือกระทบความเสื่อมเพราะ

โรค ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่ร่ำไร ไม่ทุบบอกคร่ำครวญ ไม่ถึงความ

หลงใหล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่เรากล่าวว่า กำลังใจพึงรู้ได้ในอันตราย...

คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็คำทำเรากล่าวว่า ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา

... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่ ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยอะไร บุคคล

บางคนในโลกนี้ สนทนากับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ้งของท่านผู้นี้

เพียงไร อภินิหารของท่านผู้นี้เพียงไร และการถามปัญหาของท่านผู้นี้เพียงไร

ท่านผู้นี้ปัญญาทราม ท่านผู้นี้ไม่มีปัญญา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะท่านผู้นี้

ไม่อ้างบทความอันลึกซึ้ง อันสงบ ประณีต ที่สามัญชนคาดไม่ถึง ละเอียด

อันบัณฑิตพึงรู้ได้ อนึ่ง ท่านผู้นี้กล่าวธรรมอันใด ท่านผู้นี้ไม่สามารถจะบอก

แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื้น ซึ่งเนื้อความแห่ง

ธรรมเป็นได้ โดยย่อหรือโดยพิสดาร ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม ท่านผู้นี้ไม่มี

ปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งห้วงน้ำ พึงเห็นปลาเล็ก ๆ

ผุดอยู่ เขาพึงทราบได้ว่า กิริยาผุดของปลาตัวนี้เป็นอย่างไร ทำให้เกิดคลื่น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 478

เพียงไหน และมีความเร็วเพียงไร ปลาตัวนี้เล็ก ไม่ใช่ปลาตัวใหญ่ ดังนี้

ฉันใด บุคคลเมื่อสนทนากับบุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความ

ลึกซึ้งของท่านผู้นี้เพียงไร ฯลฯ ท่านผู้นี้มีปัญญาทราม ท่านผู้นี้ไม่มีปัญญา

ดังนี้ ส่วนบุคคลในโลกนี้ สนทนาอยู่กับบุคคลย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ้ง

ของท่านผู้นี้เพียงไร อภินิหารของท่านผู้นี้เพียงไร การถามปัญหาของท่าน

ผู้นี้เพียงไร ท่านผู้นี้มีปัญญา ท่านผู้นี้ไม่ใช่ทรามปัญญา ข้อนั้นเพราะเหตุ

อะไร เพราะท่านผู้นี้ย่อมอ้างบทความลึกซึ้ง สงบ ประณีต สามัญชนคาด-

ไม่ถึง ละเอียด อันบัณฑิตพึงรู้ได้ และท่านผู้นี้ย่อมกล่าวธรรมใด ท่านผู้นี้

เป็นผู้สามารถเพื่อจะบอก เพื่อแสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

กระทำให้ตื้น ซึ่งเนื้อความแห่งธรรมนั้น ทั้งโดยย่อหรือพิสดารได้ ท่านผู้นี้

เป็นผู้มีปัญญา ท่านผู้นี้หาใช่เป็นผู้มีปัญญาทรามไม่ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งห้วงน้ำ พึงเห็นปลาตัวใหญ่กำลังผุด เขาพึงรู้อย่างนี้ว่า

กิริยาผุดของปลาตัวนี้เป็นอย่างไร ทำให้เกิดคลื่นได้เพียงไหน มีความเร็ว

เพียงไร ปลาตัวนี้ใหญ่ หาใช่ปลาตัวเล็กไม่ ดังนี้ ฉันใด บุคคลสนทนาอยู่

กับบุคคลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมรู้อย่างนี้ว่า ความลึกซึ่งของท่านผู้นี้เพียงไร

ฯลฯ ท่านผู้นี้มีปัญญา หาใช่เป็นผู้มีปัญญาทรามไม่ ดังนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

คำที่เรากล่าวว่า ปัญญาพึงรู้ได้ด้วยการสนทนา... คนมีปัญญาทรามหารู้ไม่

ดังนี้ นี้เรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฐานะ ๔ ประการนี้แล อันบุคคลพึงรู้ได้ด้วย

ฐานะ ๔ นี้.

จบฐานสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 479

อรรถกถาฐานสูตร 1

พึงทราบวินิจฉัยในฐานสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า านานิ คือเหตุทั้งหลาย. บทว่า าเนหิ คือด้วยเหตุ

ทั้งหลาย. ความสะอาดชื่อ โสเจยฺย. บทว่า สวสมาโน แปลว่า เมื่ออยู่

ร่วมกัน. บทว่า น สตตการี น สตตวุตฺตี สีเลสุ ความว่า ท่านผู้นี้

จะมีชีวิตเป็นอยู่ด้วยศีลอยู่เนืองนิตย์ทุกเวลา ก็หามิได้. บทว่า สโวหรมาโน

คือเมื่อพูด. บทว่า เอเกน เอโก โวหรติ ความว่า ท่านผู้นี้พูดกันตัว

ต่อตัว. บทว่า โวกฺกมติ คือพูด. บทว่า ปุริมโวหารา ปจฺฉิมโวหาร คือ

ท่านผู้นี้พูดคำหลับผิดแผกไปจากคำก่อน. อธิบายว่า คำหลังกับคำก่อน และ

คำก่อนกับคำหลังไม่สมกัน. ในบทเป็นต้นว่า าติพฺยสเนน คือเสื่อมญาติ

อธิบายว่า เสียญาติ. แม้ในบทที่สอง ก็นัยนี้แล. ส่วนในการเกิดโรค โรค

นั้นแล ชื่อว่าเสีย เพราะทำความไม่มีโรคให้เสียไป.

บทว่า อนุปริวตฺตนฺติ คือติดตาม. ในบทว่า ลาโภ จ เป็นอาทิ

พึงนำนัยไปอย่างนี้ว่า ลาภย่อมหมุนไปตามอัตภาพหนึ่ง ความเสื่อมลาภ

ย่อมหมุนไปตามอัตภาพหนึ่ง. บทว่า สากจฺฉายมาโน ความว่า เมื่อทำ

การสนทนาด้วยอำนาจการถามและการตอบปัญหา. บทว่า ยถา แปลว่า

โดยอาการใด. อุมมงค์แห่งปัญญา ชื่อ อุมมังคะ. อภินิหารแห่งจิตด้วยอำนาจ

การแต่งปัญหา ชื่อ อภินิหาร. การถามปัญหา ชื่อ สมุทาหาร. บทว่า

สนฺต ความว่า ไม่กล่าวให้สงบ เพราะข้าศึกสงบ. บทว่า ปณีต ได้แก่

ถึงความล้ำเลิศ. บทว่า อตกฺกาวจร ความว่า ท่านผู้นี้ไม่กล่าวโดยประการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 480

ที่อาจถือเอาได้ด้วยการเดา ด้วยการคาดคะเน. บทว่า นิปุณ แปลว่า

ละเอียด. บทว่า ปณฺฑิตเวทนีย แปลว่า อันพวกบัณฑิตพึงรู้ได้. บท

ที่เหลือในที่ทุกแห่ง พึงทราบโดยทำนองที่กล่าวแล้วนั้นแล.

จบอรรถกถาฐานสูตรที่ ๒

๓. ภัททิยสูตร

ว่าด้วยไม่ควรเชื่อถือโดยอาการ ๑๐ อย่าง

[๑๙๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา

ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล ภัททิยลิจฉวีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้สดับมา

ดังนี้ว่า พระสมณโคดมทรงมีมายา ย่อมทรงรู้มายาเครื่องกลับใจสาวกของ

พวกอัญญเดียรถีย์ให้มานับถือ พวกเขาเหล่านั้นพากันกล่าวอย่างนี้ว่า พระ-

สมณโคดมทรงมีมายา ย่อมทรงรู้มายาเครื่องกลับใจสาวกของพวกอัญญเดียรถีย์

ให้มานับถือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คนเหล่านั้นเป็นอันกล่าวตามที่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าตรัสแลหรือ ไม่ได้กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำไม่เป็นจริง

ย่อมพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม และการคล้อยตามวาทะอันชอบแก่เหตุ

ไร ๆ ย่อมไม่มาถึงฐานะอันควรติเตียนแลหรือ แท้จริง ข้าพระองค์ไม่ประสงค์

จะกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลย.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภัททิยะ ท่านจงมาเถิด ท่านทั้ง

หลายอย่าได้ถือโดยฟังตามกันมา อย่าได้ถือโดยสืบต่อกันมา อย่าได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 481

ถือโดยตื่นข่าว อย่าได้ถือโดยอ้างตำรา อย่าได้ถือโดยนึกเดาเอาเอง

อย่าได้ถือโดยคาดคะเน อย่าได้ถือโดยตรึกตามอาการ อย่าได้ถือ

โดยชอบใจว่าถูกกับลัทธิของตน อย่าได้ถือโดยเห็นว่าผู้พูดเป็นคน

ควรเชื่อได้ อย่าได้ถือโดยเชื่อว่าสมณะเป็นครูของเรา ดูก่อนภัททิยะ

เมื่อใด ท่านพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มี

โทษ ธรรมเหล่านี้อันวิญญูชนติเตียน ธรรมเหล่านี้อันบุคคลสมาทานให้

บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลเพื่อทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้ง

หลายพึงละเสียเถิด ดูก่อนภัททิยะ ท่านจะพึงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ความโลภเมื่อเกิดขึ้นภายในบุคคล ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ หรือเพื่อมิใช่

ประโยชน์ ?

ภัท. เพื่อมิใช่ประโยชน์ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภัททิยะ ก็บุคคลผู้โลภมาก ถูกความโลภครอบงำย่ำยีจิต

ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ ย่อมชักชวนผู้อื่น

เพื่อความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์

ตลอดกาลนานหรือ ?

ภัต. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภัททิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน โทสะ...

โมหะ...การแข็งดี เมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์

หรือเพื่อมิใช่ประโยชน์

ภัต. เพื่อมิใช่ประโยชน์ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภัททิยะ บุคคลผู้แข่งดี ถูกความแข็งดีครอบงำย่ำยีจิต

ย่อมฆ่าสัตว์ก็ได้ ลักทรัพย์ก็ได้ คบชู้ก็ได้ พูดเท็จก็ได้ ชักชวนผู้อื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนั้นก็ได้ ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอด

กาลนานหรือ ?

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 482

ภัท. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภัททิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้

เป็นกุศลหรือเป็นอกุศล ?

ภัต. เป็นอกุศล พระเจ้าข้า.

พ. มีโทษหรือไม่มีโทษ ?

ภัท. มีโทษ พระเจ้าข้า.

พ. วิญญูชนติเตียนหรือวิญญูชนสรรเสริญ ?

ภัต วิญญูชนติเตียน พระเจ้าข้า.

พ. บุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อ

ทุกข์ หรือมิใช่ หรือว่าท่านมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้.

ภัท. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเหล่านี้ บุคคลสมาทานให้บริบูรณ์

แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์ เพื่อทุกข์ ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้

ในข้อนี้พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภัททิยะ เราได้กล่าวคำใดกะท่านว่า ท่านทั้งหลายอย่าถือ

โดยฟังตามกันมา... เมื่อใด ท่านพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่าธรรมเหล่านี้เป็น

อกุศล... ท่านทั้งหลายควรละเสียเถิด ดังนี้ คำนั้นเรากล่าวเพราะอาศัยข้อนี้

ดูก่อนภัททิยะ ท่านทั้งหลายอย่าได้ถือโดยฟังตามกันมา.... เมื่อใด ท่าน

ทั้งหลายพึงรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ

ธรรมเหล่านี้วิญญูชนสรรเสริญ ธรรมเหล่านี้บุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายพึงเข้าถึงธรรม

เหล่านั้นอยู่เถิด ดูก่อนภัททิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่

โลภเมื่อเกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์หรือเพื่อมิใช่

ประโยชน์ ?

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 483

ภัท. เพื่อประโยชน์ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภัททิยะ ก็บุคคลผู้ไม่โลภนี้ ไม่ถูกความโลภครอบงำ

ย่ำยีจิต ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ และชักชวนผู้อื่น

เพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอด

กาลนานหรือ ?

ภัท. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภัททิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ความไม่

โกรธ...ความไม่หลง. ..ความไม่แข่งดี เกิดขึ้นในภายในของบุรุษ ย่อม

เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล ?

ภัท. เพื่อประโยชน์เกื้อกูล พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภัททิยะ ก็บุคคลผู้ไม่แข่งดีนี้ ไม่ถูกความแข็งดีครอบงำ

ย่ำยีจิต ย่อมไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่คบชู้ ไม่พูดเท็จ และชักชวนผู้อื่น

เพื่อความเป็นอย่างนั้น ข้อนี้ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขตลอด

กาลนานหรือ ?

ภัท. อย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภัททิยะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน ธรรมเหล่านี้

เป็นกุศล หรือเป็นอกุศล ?

ภัท. เป็นกุศล พระเจ้าข้า.

พ. มีโทษหรือหาโทษมิได้ ?

ภัท. หาโทษมิได้ พระเจ้าข้า.

พ. วิญญูชนติเตียนหรือสรรเสริญ ?

ภัท. วิญญูชนสรรเสริญ พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 484

พ. ธรรมเหล่านี้อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขหรือมิใช่ หรือท่านมีความเห็นอย่างไรในข้อนี้.

ภัท. ธรรมเหล่านี้อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ข้าพระองค์มีความเห็นอย่างนี้ในข้อนี้ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนภัททิยะ เราได้กล่าวคำใดกะท่านว่า ท่านทั้งหลายจงมาเถิด

ท่านทั้งหลายอย่าได้ถือฟังตามกันมา . .. ท่านทั้งหลายพึงเข้าถึงธรรมเหล่านั้น

อยู่เถิด ดังนี้ คำนั้นเรากล่าวแล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ดูก่อนภัททิยะ คนเหล่าใด

เป็นคนสงบเป็นสัตบุรุษ คนเหล่านั้นย่อมชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญ

ท่านจงมา จงปราบปรามความโลภเสียเถิด เมื่อปราบปรามความโลภได้ จัก-

ไม่กระทำกรรมอันเกิดแต่ความโลภด้วยกายวาจาใจ จงปราบปรามความโกรธ

เสียเถิด เมื่อท่านปราบปรามความโกรธได้ จักไม่กระทำกรรมอันเกิดแต่

ความโกรธด้วยกาย วาจา ใจ จงปราบปรามความหลงเสียเถิด เมื่อปราบปราม

ความหลงได้ จักไม่กระทำกรรมอันเกิดแต่ความหลงด้วยกาย วาจา ใจ

จงปราบปรามความแข่งดีเสียเถิด เมื่อปราบปรามความแข่งดีได้ จักไม่กระทำ

กรรมอันเกิดแต่ความแข็งดีด้วยกาย วาจา ใจ.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภัททิยลิจฉวีได้กราบทูลพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ฯลฯ

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสระตลอด

ชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

พ. ดูก่อนภัททิยะ ก็เราได้กล่าวชักชวนทานอย่างนี้ว่า ดูก่อนภัททิยะ

ขอท่านจงมาเป็นสาวกของเราเถิด เราจักเป็นศาสดาของท่าน ดังนี้ หรือ ?

ภัต. มิใช่เช่นนั้น พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 485

พ. ดูก่อนภัททิยะ สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวตู่เราผู้มีปกติกล่าว

อย่างนี้ มีปกติบอกอย่างนี้ ด้วยคำอันไม่แน่นอน เป็นคำเปล่า คำเท็จ

คำไม่จริง ว่าพระสมณโคดมมีมายา รู้จักมายาเครื่องกลับใจสาวกของพวก

อัญญเดียรถีย์ให้นานับถือ.

ภัต. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มายาเครื่องกลับใจนี้ดีนัก งามนัก ถ้า

ญาติสาโลหิตอันเป็นที่รักของข้าพระองค์ พึงกลับใจมาด้วยมายาเป็นเครื่องกลับ

ใจชนิดนี้ ข้อนั้นจะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่บรรดาญาติ

สาโลหิตอันเป็นที่รักของข้าพระองค์ ตลอดกาลนาน ถ้าแม้กษัตริย์ทั้งปวงจะพึง

กลับใจมาด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจชนิดนี้ ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อสุข แก่กษัตริย์ทั้งปวงตลอดกาลนาน ถ้าพราหมณ์ทั้งปวง...

แพศย์...ศูทรทั้งปวงจะพึงกลับใจมาด้วยมายาเป็นเครื่องกลับใจชนิดนี้ ข้อนั้น

ก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่ศูทรแม้ทั้งปวงตลอดกาลนาน.

ดูก่อนภัททิยะ คำที่ท่านกล่าวนี้เป็นอย่างนั้น ๆ ถ้าแม้กษัตริย์ทั้งปวง

พึงทรงกลับใจมาเพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้นก็จะพึงเป็นไป

เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่กษัตริย์ทั้งปวงตลอดกาลนาน ถ้าแม้พราหมณ์

...แพศย์...ศูทรพึงกลับใจมาเพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้น

ก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข แก่ศูทรทั้งปวง ตลอดกาลนาน

ถ้าแม้โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ พึงกลับใจมาเพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้น

ก็พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุขแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก

พรหมโลก แก่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตลอดกาลนาน

ดูก่อนภัททิยะถ้าแม้พวกมหาศาลเหล่านี้ จะพึงกลับใจมาด้วยมายาเครื่องกลับใจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 486

นี้ เพื่อละอกุศลธรรม บำเพ็ญกุศลธรรม ข้อนั้น ก็จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์

เกื้อกูล เพื่อสุข แก่พวกมหาศาลเหล่านี้ตลอดกาลนาน ถ้ามหาศาลเหล่านี้

พึงตั้งใจ จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้ที่เป็นมนุษย์เล่า.

จบภัททิยสูตรที่ ๓

อรรถกถาภัททิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในภัททิยสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุปสงฺกมิ ความว่า เจ้าภัททิยลิจฉวี ผู้บริโภคอาหารเช้า

เสร็จแล้ว ถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้ เข้าไปเฝ้าด้วยคิดว่า เราจัก

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้. ในบทว่า มา อนุสฺลเวน เป็นอาทิ

พึงทราบเนื้อความโดยนัยนี้ว่า ท่านทั้งหลายอย่าถือคำของเราด้วยอำนาจการฟัง

ตามกันมา. บทว่า สารมฺโภ ได้แก่ ความคิดแข่งดีกันเป็นลักษณะแข่งกัน

เกินกว่าเหตุ. ธรรมมีอโลภะเป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามกับความโลภ

เป็นต้น . บทว่า กุสลธมฺมูปสมฺปทาย ได้แก่ เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรมให้

ถึงพร้อม ท่านอธิบายว่า เพื่อให้ได้กุศลธรรม. บทว่า อิเม เจปิ ภทฺทิย

มหาสาลา ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงต้นสาละที่ยืนต้นอยู่

ข้างหน้า จึงตรัสอย่างนี้ . บทที่เหลือในสูตรนี้ พึงรู้ได้ง่ายเพราะมีนัยอันกล่าว

แล้วในหนหลัง และเพราะมีอรรถง่าย. แต่เมื่อพระศาสดาทรงยักเยื้องเทศนา

เจ้าภัททิยะก็เป็นโสดาบันบุคคลแล.

จบอรรถกถาภัททิยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 487

๔. สามุคิยสูตร

องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔

[๑๙๔] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์ อยู่ที่นิคมของพวกโกฬิยะ ชื่อ

สาปุคะ ในแคว้นโกฬิยะ ครั้งนั้นแล โกฬิยบุตรชาวนิคมสาปุคะมาก

ด้วยกัน เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะโกฬิยบุตรชาวสาปุคนิคมว่า ดูก่อนพยัคฆ-

ปัชชะทั้งหลาย องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ ๔ ประการนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศก

และความร่ำไร เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม

เพื่อทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน องค์ ๔ ประการเป็นไฉน คือองค์เป็นที่ตั้งแห่ง

ความเพียรเพื่อความบริสุทธิ์ คือ ศีล ๑ จิต ๑ ทิฏฐิ ๑ วิมุตติ ๑ ดูก่อน

พยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร เพื่อความบริสุทธิ์ คือ

ศีลเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท

ทั้งหลาย นี้เรียกว่า สีลปาริสุทธิ ความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ

ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะในสีลปาริสุทธินั้นว่า

เราจักยังสีลปาริสุทธิเห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญา

ประคับประคองสีลปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น ๆ นี้เรียกว่าองค์เป็น

ที่ตั้งแห่งความเพียร คือ สีลปาริสุทธิ.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ

จิตตปาริสุทธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 488

...ทุติยฌาน...ตติยฌาน...จตุตถฌานอยู่ นี้เรียกว่าจิตตปาริสุทธิ ความ.

พอใจ ...สติและสัมปชัญญะในจิตตปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังจิตตปาริสุทธิ

เห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประดับประคองจิตต-

ปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น ๆ นี้เรียกว่าองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร

คือ จิตตปาริสุทธิ.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ

ทิฏฐิปาริสุทธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า

ทิฏฐิปาริสุทธิ ความพอใจ... สติและสัมปชัญญะในทิฏฐิปาริสุทธินั้นว่า เรา

จักยังทิฏฐิปาริสุทธิ เห็นปานนั้นอันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญา

ประดับประคองทิฏฐิปาริสุทธิอันบริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น ๆ นี้เรียกว่าองค์เป็น

ที่ตั้งแห่งความเพียร คือ ทิฏฐิปาริสุทธิ.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะทั้งหลาย ก็องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ

วิมุตติปาริสุทธิเป็นไฉน อริยสาวกนี้แล เป็นผู้ประกอบด้วยองค์เป็นที่ตั้งแห่ง

ความเพียร คือ สีลปาริลุทธิ...จิตตปาริสุทธิ...ทิฏฐิปาริสุทธิแล้ว ย่อม

คลายจิตในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ย่อมเปลื้องในธรรมที่ควรเปลื้อง

ครั้นแล้วย่อมถูกต้องสัมมาวิมุตติ นี้เรียกว่า วิมุตติปาริสุทธิ ความพอใจ...

สติและสัมปชัญญะในวิมุตติปาริสุทธินั้นว่า เราจักยังวิมุตติปาริสุทธิเห็นปานนี้

อันยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ จักใช้ปัญญาประดับประคองวิมุตติปาริสุทธิอัน

บริบูรณ์ไว้ในฐานะนั้น ๆ นี้เรียกว่า องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร คือ

วิมุตติปาริสุทธิ.

ดูก่อนพยัคฆปัชชะทั้งหลาย องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อความ

บริสุทธิ์ ๔ ประการนี้แล อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้รู้ ผู้เห็น เป็นพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 489

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบแล้ว เพื่อความหมดจดของ

สัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและการคร่ำครวญ เพื่อความดับสูญแห่ง

ทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน.

จบสามุคิยสูตรที่ ๔

อรรถกถาสามุคิยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสามุคิยสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สาปุคิยา ได้แก่ กุลบุตรชาวนิคมสาปุคะ. บทว่า พยคฺฆปชฺช

ความว่า พระอานนท์ เมื่อเรียกโกฬิยบุตรเหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้ โกฬนคร

มีสองชื่อ คือ นครโกฬะ เพราะเขานำไม้กระเบามาสร้าง ๑ ชื่อว่า พยัคฆปัช-

ชะ เพราะเขาสร้างในทางเสือผ่าน ๑. บรรพบุรุษของชาวโกฬิยะเหล่านั้น อาศัย

อยู่ในพยัคฆปัชชนครนั้น เพราะฉะนั้น ท่านเรียกว่า พยัคฆปัชชะ เพราะ

อาศัยอยู่ในพยัคฆปัชชนคร. ด้วยเหตุนั้น พระอานนท์เมื่อเรียกชาวโกฬิยะ

เหล่านั้น จึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า ปาริสุทฺธิปธานิยงฺคานิ ได้แก่องค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียร

เพื่อความบริสุทธิ์ อธิบายว่า องค์คือส่วนแห่งความเพียรที่ควรตั้งไว้. บทว่า

สีลปาริสุทฺธิปธานิยงฺค นี้เป็นชื่อของความเพียรอันยังศีลให้บริสุทธิ์. จริงอยู่

ปาริสุทฺธิปธานิยงฺค นี้เป็นองค์เป็นที่ตั้งแห่งความเพียรเพื่อให้ความบริสุทธิ์

แห่งศีลเต็มบริบูรณ์ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สีลปาริสุทธิปธานิยังคะ. แม้ใน

บทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน .

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 490

บทว่า ตตฺถ ตตฺถ ปญฺาย อนุคฺคเหสฺสามิ ความว่า เราจัก

ประคับประคองด้วยวิปัสสนาปัญญาไว้ในที่นั้น ๆ. ในบทว่า โย ตตฺถ ฉนฺโท

เป็นต้น พึงทราบความโดยนัยนี้ว่า กัตตุกัมมยตาฉันทะความพอใจ คือ ความ

ใคร่ทำในการประคับประคองนั้นอันใด. ก็ สติ สัมปชัญญะ ท่านกล่าวใน

ที่นี้เพื่อภิกษุเข้าไปตั้งสติไว้แล้วกำหนดด้วยญาณ ยังความเพียรให้ดำเนินไป

บทว่า รชฺชนีเยสุ ธมฺเมสุ จิตฺต วิราเชติ ความว่า ย่อมทำโดยอาการ

ที่จิตคลายกำหนดในอิฏฐารมณ์อันเป็นปัจจัยแห่งราคะ. บทว่า วิโมจนีเยสุ

ธมฺเมสุ จิตฺต วิโมเจติ ความว่า ย่อมทำโดยอาการที่จิตเปลื้องไปจากอารมณ์

ซึ่งจิตควรจะเปลื้อง. ในบทว่า วิราเชตฺวา นี้ชื่อว่า คลายกำหนัดในขณะ

แห่งมรรค ชื่อว่า คลายกำหนัดแล้วในขณะแห่งผล. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้

เหมือนกัน . บทว่า สมฺมาวิมุตตึ ผุสติ ได้แก่ ถูกต้องอรหัตผลวิมุตติ

ตามเหตุตามนัยด้วยญาณผัสสะ.

จบอรรถกถาสามุคิยสูตรที่ ๔

๕. วัปปสูตร

ว่าด้วยเจ้าวัปปะเสด็จเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ

[๑๙๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในนิโครธาราม

เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เจ้าศากยะพระนามว่าวัปปะ เป็น

สาวกของนิครนถ์ เสด็จเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะถึงที่อยู่ ทรงอภิวาท

แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะ

ได้กล่าวว่า ดูก่อนวัปปะ บุคคลในโลกนี้ พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 491

ด้วยวาจา สำรวมด้วยใจ เพราะวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะ

ที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพ

หรือไม่ วัปปศากยราชตรัสว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น

บุคคลกระทำบาปกรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอัน

เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพอันมีบาปกรรมนั้น

เป็นเหตุ ท่านพระมหาโมคคัลลานะสนทนากันวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์

ค้างอยู่เพียงนี้เท่านั้น ครั้งนั้นแล เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจาก

ที่เร้น เสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดไว้ ครั้นแล้ว

ได้ตรัสถามท่านพระมหาโมคคลัลานะว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ บัดนี้ เธอ

ทั้งหลายประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร และเธอทั้งหลายพูดอะไรค้างกัน ไว้

ในระหว่าง.

ท่านพระมหาโมคคัลลานะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

ประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์ได้กล่าวกะวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ว่า

ดูก่อนวัปปะ บุคคลในโลก พึงเป็นผู้สำรวมด้วยกาย สำรวมด้วยวาจา

สำรวมด้วยใจ เพราะอวิชชาดับไป วิชชาเกิดขึ้น ท่านเห็นฐานะที่เป็นเหตุ

ให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาไปตามบุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่

เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ ได้กล่าวกะ

ข้าพระองค์ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นฐานะนั้น บุคคลกระทำบาป-

กรรมไว้ในปางก่อนซึ่งยังให้ผลไม่หมด อาสวะทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่ง

ทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ อันมีบาปกรรมนั้นเป็นเหตุ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สนทนากับวัปปศากยราชสาวกของนิครนถ์ค้างอยู่

เพียงนี้แล ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เสด็จมาถึง.

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกับวัปปศากยราชสาวกของ

นิครนถ์ว่า ดูก่อนวัปปะ ถ้าท่านจะพึงยินยอมข้อที่ควรยินยอม และคัดค้าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 492

ข้อที่ควรคัดค้านต่อเรา และท่านไม่รู้ความแห่งภาษิตของเราข้อใด ท่านพึง

ซักถามในข้อนั้นยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร

ดังนี้ไซร้ เราพึงสนทนากันในเรื่องนี้ได้ วัปปศากยราชกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จักยินยอมข้อที่ควรยินยอม และจักคัดค้านข้อที่

ควรคัดค้านต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า อนึ่ง ข้าพระองค์ไม่รู้ความแห่งภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าข้อใด ข้าพระองค์จักซักถามพระผู้มีพระภาคเจ้าในข้อนั้น

ยิ่งขึ้นไปว่า ข้อนี้อย่างไร ความแห่งภาษิตข้อนี้อย่างไร ขอเราจงสนทนากัน

ในเรื่องนี้เถิด พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใด

ก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางกายเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล

งดเว้นจากการกระทำทางกายแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือนร้อน

ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ ผู้ปฏิบัติพึงเห็นได้เอง ไม่ประกอบด้วยกาล

ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนวัปปะ ท่าน

ย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตาม

บุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่.

วัป. ไม่เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใด

ก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการกระทำทางวาจาเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล

งดเว้นจากการกระทำทางวาจาแล้ว อาสวะเหล่านั้นที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน

ย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย

นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลสให้พินาศ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนวัปปะ ท่าน

ย่อมเห็นฐานะที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไปตาม

บุคคลในสัมปรายภพนั้นหรือไม่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 493

วัป. ไม่เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใด

ก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะการการทำทางใจเป็นปัจจัย เมื่อบุคคล

งดเว้นจากการกระทำทางใจแล้ว อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน ย่อมไม่มีแก่เขา

เขาไม่ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทา

เผากิเลสให้พินาศ...วิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะ

ที่เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ

นั้นหรือไม่.

วัป. ไม่เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนวัปปะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อาสวะเหล่าใด

ก่อทุกข์ เดือดร้อน เกิดขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เพราะอวิชชาดับไป

วิชชาเกิดขึ้น อาสวะที่ก่อทุกข์ เดือดร้อน เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่เขา เขาไม่

ทำกรรมใหม่ด้วย รับผลกรรมเก่าแล้วทำให้สิ้นไปด้วย นี้เป็นปฏิปทาเผากิเลส

ให้พินาศ...อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ดูก่อนวัปปะ ท่านย่อมเห็นฐานะที่

เป็นเหตุให้อาสวะอันเป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนาพึงไปตามบุคคลในสัมปรายภพ

นั้นหรือไม่.

วัป. ไม่เห็น พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนวัปปะ เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อม

บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ๖ ประการ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่ดีใจ

ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู....สูดกลิ่นด้วยจมูก...

ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้วไม่

ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็น

ที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 494

ที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อกายแตก

สิ้นชีวิตไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็นของเย็น

ดูก่อนวัปปะ เงาปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้ ครั้งนั้น บุรุษพึงถือจอบและ

ตะกร้ามา เขาตัดต้นไม้นั้นที่โคน ครั้นแล้ว ขุดคุ้ยเอารากขึ้น โดยที่สุดแม้

เท่าต้นแฝกก็ไม่ให้เหลือ เขาตัดผ่าต้นไม้นั้นให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย กระทำให้

เป็นซีก ๆ แล้วผึ่งลมและแดด ครั้นผึ่งลมและแดดแห้งแล้วเผาไฟ กระทำ

ให้เป็นขี้เถ้า โปรยในที่มีลมพัดจัดหรือลอยในกระแสน้ำอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อ

เป็นเช่นนั้น เงาที่ปรากฏเพราะอาศัยต้นไม้นั้น มีรากขาดสูญ ประดุจตาล

ยอดด้วน ทำให้ไม่มี ไม่ให้เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้ฉันใด ดูก่อนวัปปะ

ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อภิกษุมีจิตหลุดพ้นโดยชอบอย่างนี้แล้ว ย่อมได้

บรรลุธรรมเป็นเครื่องอยู่เนืองนิตย์ ๖ ประการ เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่

ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู... สูดกลิ่น

ด้วยจมูก... ลิ้มรสด้วยลิ้น... ถูกต้องโผฎฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์

ด้วยใจแล้วไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ เธอเมื่อเสวย

เวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวนเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวย

เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เราเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า

เมื่อกายแตกสิ้นชีวิตไป เวทนาทั้งปวงอันไม่น่าเพลิดเพลินในโลกนี้ จักเป็น

ของเย็น.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วัปปศากยราชสาวกของ

นิครนถ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษต้อง

การกำไร เลี้ยงลูกม้าไว้ขาย (ถ้าลูกม้าตายหมด) เขาพึงขาดทุน ซ้ำยังต้อง

เหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป แม้ฉันใด ข้าพระองค์หวังกำไรเข้าคบหา

นิครนถ์ผู้โง่ ต้องขาดทุน ทั้งต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากใจยิ่งขึ้นไป ก็ฉันนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 495

เหมือนกัน ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ข้าพระองค์นี้จัก

โปรยความเลื่อมใสในพวกนิครนถ์ผู้โง่เขลาเสียในที่ลมพัดจัด หรือลอยเสียใน

แม่น้ำ อันมีกระแสเชี่ยว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด

บอกทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืดด้วยหวังว่า คนผู้มีจักษุ

จักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า กับทั้งพระธรรม

และพระภิกษุสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำข้าพระองค์

ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบวัปปสูตรที่ ๕

อรรถกถาวัปปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวัปปสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วปฺโป ได้แก่ เจ้าศากยะผู้เป็นพระเจ้าอาของพระทศพล

บทว่า นิคณฺสาวโก ได้แก่ เป็นอุปฐากของนิคัณฐนาฏบุตร ดุจสีหเสนาบดี

ในกรุงเวสาลี และดุจอุปาลิคฤหบดีในเมืองนาฬันทา. บทว่า กาเยน สวุโต

ความว่า ชื่อว่า สำรวมด้วยกาย เพราะสำรวมคือปิดกายทวาร. แม้ในสองบท

ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน . บทว่า อวิชฺชาวิราคา ได้แก่ เพราะอวิชชาคลาย

สิ้นไป. บทว่า วิชฺชุปฺปาทา ได้แก่ เพราะมรรควิชชาเกิดขึ้น. บทว่า ต

าน แปลว่าเหตุนั้น . บทว่า อวิปกฺกวิปาก ได้แก่ ยังไม่ถึงวาระได้รับผล.

บทว่า ตโตนิทาน ได้แก่ มีกรรมนั้นเป็นเหตุ มีบาปกรรมนั้นเป็นปัจจัย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 496

บทว่า ทุกฺขเวทนิยา อาสวา อสฺสเวยฺยุ ความว่า กิเลสทั้งหลายอันเป็น

ปัจจัยแห่งทุกขเวทนา พึงไหลไปตาม คือพึงเข้าไปตาม อธิบายว่า กิเลส

ทั้งหลายพึงเกิดขึ้นแก่บุรุษนั้น. บทว่า อภิสมฺปราย ได้แก่ ในอัตภาพที่สอง

นั้นแล. บทว่า กายสมารมฺภปจฺจยา แปลว่า เพราะกายกรรมเป็นปัจจัย.

บทว่า อาสวา ได้แก่ กิเลสทั้งหลาย. ในบทว่า วิฆาตปริฬาหา นี้ ทุกข์

ชื่อว่าวิฆาคะ ความเร่าร้อนทางกายและทางจิต ซึ่งว่าปริฬาหะ. บทว่า ผุสฺส

ผุสฺสพฺยนฺตีกโรติ ความว่า กรรมที่ญาณจะพึงฆ่า พอกระทบญาณสัมผัส

ก็สิ้นไป กรรมที่วิบากจะพึงฆ่า พอกระทบวิบากสัมผัส ก็สิ้นไป. บทว่า

นิชฺชรา ได้แก่ ปฏิปทาที่ทำกิเลสให้โซมไป. แม้ในวาระที่เหลือก็นัยนี้

เหมือนกัน.

ภิกษุนี้ดำรงอยู่ในปฏิปทาน ควรเป็นพระขีณาสพ. ควรนำมหาภูต-

รูป ๔ ออกแล้วแสดงการกำหนดด้วยอริยสัจ ๔ แล้วพึงบอกกรรมฐาน จนถึง

อรหัตผล. ก็บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงสตตวิหารธรรม

ธรรมเครื่องอยู่ประจำของพระขีณาสพนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า เอว สมฺมา-

วิมุตฺตจิตฺตสฺส ดังนี้ . ในบทเหล่านั้น บทว่า สมฺมาวิมุตฺตสฺส ได้แก่

พ้นแล้วโดยชอบ โดยเหตุการณ์ โดยนัย. บทว่า สตตวิหารา ได้แก่

ธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิจ ธรรมเป็นเครื่องอยู่ประจำ. บทว่า เนว สุมโน

โหติ ได้แก่ เป็นผู้ไม่เกิดโสมนัสด้วยอำนาจความกำหนัดในอิฏฐารมณ์. บทว่า

น ทุมฺมโน ได้แก่ไม่เป็นผู้เกิดโทนนัสด้วยอำนาจความขุ่นใจในอนิฏฐารมณ์.

บทว่า อุเปกฺขโก วิหรติ สโต สมฺปชาโน ได้แก่ เป็นผู้มีอุเบกขา

มีความเป็นกลางในอารมณ์เหล่านั้น ด้วยอุเบกขา มีอาการคือความเป็นกลาง

เป็นลักษณะกำหนดถือเอา ด้วยสติสัมปชัญญะอยู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 497

บทว่า กายปริยนฺติก ได้แก่ เวทนามีกายเป็นที่สุด คือกำหนด

ด้วยกาย อธิบายว่า เวทนาเป็นไปในทวาร ๕ ยังเป็นไปอยู่ตราบเท่าที่กาย คือ

ทวาร ๕ ยังเป็นไปอยู่. บทว่า ชีวิตปริยนฺติก ได้แก่เวทนามีชีวิตเป็นที่สุด

คือ กำหนดด้วยชีวิต อธิบายว่า เวทนาอันเป็นไปในมโนทวาร ยังเป็นไปอยู่

ตราบเท่าที่ชีวิตยังเป็นไปอยู่. ในเวทนาเหล่านั้น เวทนาอันเป็นไปในทวาร ๕

เกิดทีหลังแต่ดับก่อน. เวทนาอันเป็นไปในมโนทวารเกิดก่อนแต่ดับทีหลัง

เพราะเวทนานั้นตั้งอยู่ในวัตถุรูปในขณะปฏิสนธิ. เวทนาอันเป็นไปในทวาร ๕

ยังเป็นไปอยู่ด้วยอำนาจปัญจทวารในปัจจุบัน คราวมีอายุ ๒๐ ปี ในปฐมวัย

ยังมีกำลังแข็งแรงด้วยอำนาจความรัก ความโกรธและความหลง คราวมีอายุ

๕๐ ปี ยังคงที่อยู่ จะลดลงตั้งแต่อายุ ๖๐ ปี คราวอายุ ๘๐ - ๙๐ ปี ก็น้อย

เต็มที. ด้วยว่าในครั้งนั้นสัตว์ทั้งหลาย แม้เมื่อมีผู้กล่าวว่า พวกเรานั่งนอน

ร่วมกันมานานแล้ว ก็พูดว่า เราไม่รู้ดังนี้ก็มี พูดว่า เราไม่เห็นอารมณ์มีรูป

เป็นต้น แม้มีประมาณมาก เราไม่ได้ยิน เราไม่รู้กลิ่นหอม กลิ่นเหม็น รสอร่อย

รสไม่อร่อย หรือแข็งอ่อน ดังนี้ก็มี. เวทนาเป็นไปในทวาร ๕ ของสัตว์

เหล่านั้น ถึงจะดับไป . แต่เวทนาเป็นไปในมโนทวาร ก็ยังเป็นไปอยู่ด้วย

ประการฉะนี้. เวทนานั้นเสื่อมไปโดยลำดับ ในเวลาใกล้ตายอาศัยส่วนของ

หทยวัตถุเท่านั้นยังเป็นไปอยู่ได้. ก็เวทนานั้นยังเป็นไปอยู่ได้เพียงใด ท่าน

กล่าวว่าสัตว์ยังมีชีวิตอยู่ได้เพียงนั้น. เมื่อใดเวทนาเป็นไปไม่ได้ เมื่อนั้น

ท่านกล่าวว่า สัตว์ตายแล้ว ดับแล้ว ดังนี้. พึงเปรียบความข้อนี้นั้นด้วยหนองน้ำ.

เหมือนอย่างว่า บุรุษพึงทำหนองน้ำให้มีทางน้ำ ๕ ทาง เมื่อฝนตก

ครั้งแรก พึงให้น้ำเข้าไปโดยทางน้ำทั้ง ๕ แล้วขังน้ำไว้ในบ่อ ภายในหนองน้ำ

ให้เต็ม เมื่อฝนตกบ่อย ๆ น้ำเต็มในทางของน้ำ แล้วท่วมล้นออกไปประมาณ

คาวุตหนึ่งหรือกึ่งโยชน์ น้ำยังขังอยู่ น้ำเมื่อไหลออกจากนั้น เมื่อชาวนาเปิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 498

คันกั้นน้ำ ทำงานในนา น้ำไหลออก คราวข้าวกล้าแก่น้ำก็ไหลออก น้ำงวดไป

ชาวนาก็พูดว่า เราจะจับปลา จากนั้นล่วงไป ๒-๓ วัน น้ำก็ขังอยู่แต่ในบ่อ

เท่านั้น ก็ตราบใดน้ำนั้นยังมีในบ่อ ตราบนั้นก็นับได้ว่า น้ำยังมีในหนองน้ำ

แต่เมื่อใด น้ำในบ่อนั้นขาด เมื่อนั้น ก็เรียกได้ว่า น้ำไม่มีในหนองน้ำ ฉันใด

ข้ออุปไมยพึงทราบฉันนั้น.

เวลาที่เวทนาอันเป็นไปในมโนทวาร ตั้งอยู่ในวัตถุรูปในขณะปฏิสนธิ

ครั้งแรก เหมือนเวลาที่เมื่อฝนตกครั้งแรก เมื่อน้ำไหลเข้าไปโดยทางทั้ง ๕

บ่อก็เต็ม เมื่อวัตถุรูปยังเป็นไปอยู่ เวทนาอันเป็นไปในทวาร ๕ ก็เป็นไปอยู่ได้

เหมือนเวลาที่เมื่อฝนตกบ่อย ๆ น้ำเต็มทางทั้ง ๕ ความที่เวทนานั้นมีกำลังมาก

ยิ่งด้วยอำนาจความรักเป็นต้น คราวที่มีอายุ ๒๐ ปี ในปฐมวัยเหมือนการที่

น้ำท่วมล้นไปประมาณคาวุตหนึ่งแสะกึ่งโยชน์ เวลาที่เวทนานั้นยังคงที่อยู่

คราวที่มีอายุ ๕๐ ปี เหมือนเวลาที่น้ำยังขังอยู่เต็มในหนองน้ำ ตราบเท่าที่น้ำ

ยังไม่ไหลออกจากหนองน้ำนั้น เวทนาเสื่อมตั้งแต่เวลาที่มีอายุ ๖๐ ปี เหมือน

เวลาที่เมื่อเปิดคันกั้นน้ำ เมื่อทำงานน้ำก็ไหลออก เวลาที่เวทนาอันเป็นไป

ในทวาร ๕ อ่อนลง เมื่อมีอายุ ๘๐ - ๙0 ปี เหมือนเวทนาที่เมื่อน้ำงวด ยังมี

น้ำเหลืออยู่นิดหน่อยที่ทางน้ำ เวลาที่เวทนาในมโนทวารยังเป็นไปอยู่ได้

เพราะอาศัยส่วนแห่งหทัยวัตถุ เหมือนเวลาที่น้ำยังขังอยู่ในบ่อนั่นเอง ตราบใด

ที่เวทนานั้น ยังเป็นไปอยู่ได้ ตราบนั้นก็เรียกได้ว่า สัตว์ยังมีชีวิตอยู่ เหมือน

เวลาที่ควรจะพูดได้ว่า เมื่อในบ่อมีน้ำแม้นิดหน่อย น้ำในหนองน้ำก็ยังมีอยู่.

ก็เมื่อน้ำในบ่อขาด ก็เรียกได้ว่า ไม่มีน้ำในหนองน้ำ ฉันใด เมื่อเวทนาเป็น

ไปในมโนทวารเป็นไปไม่ได้ ก็เรียก ได้ว่า สัตว์ตายฉันนั้น. บทว่า ชีวิต-

ปรียนฺติก เวทน เวทิยมาโน ท่านกล่าวหมายถึงเวทนานี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 499

บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่ กายแตก. บทว่า อุทฺธ ชีวิตปริยา-

ทานา ได้แก่ เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิตไป. บทว่า อิเธว ได้แก่ ในโลกนี้เท่านั้น

ไม่ไปข้างหน้า ด้วยอำนาจปฏิสนธิ. บทว่า สีติ ภวิสฺสนฺติ ได้แก่ เวทนา

ทั้งปวง เว้นจากความเป็นไป ความดิ้นรนและความกระวนกระวายก็จักเป็น

ของเย็น มีอันไม่เป็นไปเป็นธรรมดา .

บทว่า ถูณ ปฏิจฺจ ได้แก่ อาศัยต้นไม้. บทว่า กุทฺทาลปิฏก

อาทาย ความว่า ถือจอบ เสียม และตะกร้า แต่เทศนาท่านมุ่งแต่จอบเท่านั้น.

บทว่า มูเล ฉินฺเทยฺย ได้แก่ พึงเอาจอบตัดที่โคน. บทว่า ปลิขเณยฺย

ได้แก่ เอาเสียมขุดโดยรอบ. ในข้อว่า เอวเมว โข นี้ เทียบด้วยอุปมา ดังนี้.

อัตภาพพึงเห็นเหมือนต้นไม้ กุศลกรรมและอกุศลกรรมเหมือนเงาอาศัย

ต้นไม้ พระโยคาวจรเหมือนบุรุษผู้ประสงค์จะทำเงาไม่ให้เป็นไป ปัญญา

เหมือนจอบ สมาธิเหมือนตะกร้า วิปัสสนาเหมือนเสียม เวลาที่ตัดอวิชชา

ด้วยอรหัตมรรค เหมือนเวลาที่เอาเสียมขุดราก เวลาที่เห็นเป็นกอง เหมือน

เวลาที่ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เวลาที่เห็นเป็นอายตนะเหมือนเวลาที่ผ่าออก

เวลาที่เห็นเป็นธาตุเหมือนเวลาที่ทำให้เป็นผง เวลาที่ทำความเพียรทางกาย

ทางจิต เหมือนเวลาที่ตากให้เเห้งที่ลมและแดด เวลาที่เผากิเลสด้วยญาณ

เหมือนเวลาที่เอาไฟเผา เวลาที่ขันธ์ ๕ ยังทรงอยู่ เหมือนเวลาที่ทำเป็นเขม่า

การดับขันธ์ ๕ ที่มีรากตัดขาดแล้วโดยไม่มีปฏิสนธิ เหมือนเวลาที่โปรยไปใน

พายุใหญ่ เหมือนเวลาที่ลอยไปในกระแสน้ำ ความที่ไม่มีบัญญัติ เพราะ

วิบากขันธ์ไม่เกิดในภพใหม่ พึงทราบเหมือนการเข้าไปสู่ความไม่มีบัญญัติ

โดยโปรยไปและลอยไป.

บทว่า ภควนฺต เอตทโวจ ความว่า เมื่อพระศาสดาทรงยักเยื้อง

เทศนาอยู่ วัปปศากยราชบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว ได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 500

เสยฺยถาปิ ภนฺเต ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า อุทฺรยตฺถิโก คือเป็น

ผู้มีความต้องการกำไร. บทว่า อสฺสปณิย โปเสยฺย ความว่า พึงเลี้ยง ด้วย

คิดว่า เราจักซื้อลูกม้า ๕๐๐ ตัว แล้วจึงขายในภายหลัง. ต้องใช้เครื่องอุปกรณ์

ประมาณ ๕๐๐ เป็นค่าเลี้ยงดูม้าที่มีราคาพันหนึ่ง โดยเป็นของหอมและดอกไม้

เป็นต้น . ต่อมาม้าเหล่านั้นของเขาเกิดโรควันเดียวเท่านั้นก็ตายหมด เพราะ

เหตุนั้น เขากล่าวอย่างนี้ ด้วยความประสงค์นี้. บทว่า อุทฺรยญฺเจว นาธิ-

คจฺเฉยฺย ได้แก่ ไม่ได้ทั้งกำไร ทั้งทุนที่ลงไป. บทว่า ปยิรูปาสึ ได้แก่

บำรุงด้วยปัจจัย ๔. บทว่า โสห อุทฺรยญฺเจว นาธิคจฺฉึ ความว่า ข้า-

พระองค์ไม่ได้กำไร ทั้งขาดทุนอีกด้วย. ท่านแสดงว่า เราชื่อว่าเป็นคนบำรุง

ม้าไว้ขาย. คำที่เหลือในบทนี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาวัปปสูตรที่ ๕

๖. สาตถสูตร

ว่าด้วยตรัสองค์แห่งสมณธรรม

[๑๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฎาคาร ศาลา

ป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลี ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีพระนามว่าสาฬหะและอภัย

เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาทแล้ว ประทับ

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว เจ้าสาฬหลิจฉวีได้ทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีสมณพราหมณ์พวกหนึ่งบัญญัติการ

รื้อถอนโอฆะ เพราะเหตุ ๒ อย่าง คือ เพราะเหตุสีลวิสุทธิ ๑ เพราะเหตุ

เกลียดตบะ ๑ ส่วนในธรรมวินัยนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างไร พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 501

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนสาฬหะ เรากล่าวสีลวิสุทธิ

เเลว่า เป็นองค์แห่งสมณธรรมอย่างหนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด มีวาทะ

ยกย่องการเกลียดตบะ ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ติดอยู่ในการเกลียดตบะ

สมณพราหมณ์เหล่านั้นไม่ควร เพื่อจะรื้อถอนโอฆะออกได้ อนึ่ง สมณ-

พราหมณ์เหล่าใดมีความประพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจา

ไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางใจไม่บริสุทธิ์ มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ สมณพราหมณ์

เหล่านั้นไม่ควรเพื่อญาณทัศนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม ดูก่อนสาฬหะ

เปรียบเหมือนบุรุษใคร่จะข้ามแม่น้ำ พึงถือผึ่งอันคมเข้าไปสู่ป่า เขาพบต้น

รังใหญ่ในป่านั้น ลำต้นตรง ยังหนุ่ม ไม่มีที่น่ารังเกียจ เขาพึงตัดที่โคน

ตัดที่ปลาย ริดกิ่งและใบเรียบร้อยดีแล้ว ถากด้วยผึ่ง แล้วเกลาด้วยมีด ขีดลง

พอเป็นรอย ขัดด้วยลูกหินแล้วปล่อยลงแม่น้ำ ดูก่อนสาฬหะ ท่านจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นควรจะข้ามแม่น้ำนั้นได้หรือ.

สาฬหะ. ข้อนั้นเป็นไม่ได้ พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร.

สาฬหะ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะต้นรังนั้นเขาแต่งเกลี้ยงเกลา

ในภายนอกไม่เรียมร้อยในภายใน บุรุษนั้น พึงหวังข้อนี้ได้ว่า ไม้รังจะต้องจม

และบุรุษนั้นจักถึงความพินาศ พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสาฬหะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณพราหมณ์เหล่าใดมี

วาทะยกย่องการเกลียดตบะ ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ติดอยู่ในการเกลียด

ตบะ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ไม่ควรเพื่อรื้อถอนโอฆะออก อนึ่ง สมณพราหมณ์

เหล่าใดมีความพระพฤติทางกายไม่บริสุทธิ์ มีความประพฤติทางวาจาไม่บริสุทธิ์

มีความประพฤติทางใจไม่บริสุทธิ์ มีอาชีพไม่บริสุทธิ์ สมณพราหมณ์เหล่านั้น

ไม่ควรเพื่อญาณทัศนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าใด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 502

ไม่เป็นผู้มีวาทะยกย่องการเกลียดตบะ ไม่ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ไม่ติด

อยู่ในการเกลียดตบะ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรเพื่อรื้อถอนโอฆะออกได้

อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใดมีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติ

ทางวาจาบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางใจบริสุทธิ์ มีอาชีพบริสุทธิ์ สมณ-

พราหมณ์เหล่านั้นควรเพื่อญาณทัศนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม เปรียบเหมือน

บุรุษใคร่จะข้ามแม่น้ำ ถือเอาผึ่งอันคมเข้าไปสู่ป่า เขาเห็นต้นรังใหญ่ในป่านั้น

ลำต้นตรง ยังหนุ่ม ไม่มีที่น่ารังเกียจ เขาพึงตัดมันที่โคน แล้วตัดปลาย

ริดกิ่งและใบเรียบร้อยดีแล้ว ถากด้วยผึง เกลาด้วยมีด ขัดแต่งด้วยสิ่ว ทำ

ภายในให้เรียบร้อย ขุดเป็นร่อง แล้วขัดด้วยลูกหิน กระทำให้เป็นเรือ ติด

กรรเชียงและหางเสือ แล้วปล่อยลงแม่น้ำ ดูก่อนสาฬหะ ท่านจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นควรข้ามแม่น้ำได้หรือไม่.

สาฬหะ. ได้ พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้น เพราะเหตุไร.

สาฬหะ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะต้นรังนั้นเขาแต่งเกลี้ยงเกลาดี

ในภายนอก เรียบร้อยในภายใน ทำเป็นเรือ ติดกรรเชียงและหางเสือ บุรุษ

นั้นพึงหวังข้อนี้ได้ว่า เรือจักไม่จม บุรุษจักถึงฝังได้โดยสวัสดี พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนสาฬหะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณพราหมณ์เหล่าใด

ไม่มีวาทะยกย่องการเกลียดตบะ ไม่ถือการเกลียดตบะเป็นสาระ ไม่ติดอยู่ใน

การเกลียดตบะ สมณพราหมณ์เหล่านั้นควรเพื่อรื้อถอนโอฆะออกได้ อนึ่ง

สมณพราหมณ์เหล่าใด มีความประพฤติทางกายบริสุทธิ์ มีความประพฤติทาง

วาจาบริสุทธิ์ มีความประพฤติทางใจบริสุทธิ์ มีอาชีพบริสุทธิ์ สมณพราหมณ์

เหล่านั้นควรเพื่อญาณทัศนะ เพื่อความตรัสรู้ชั้นเยี่ยม ดูก่อนสาพหะ เปรียบ

เหมือนนักรบ ถึงแม้จะรู้กระบวนลูกศรเป็นอันมาก ถึงกระนั้น เขาจะได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 503

ชื่อว่าเป็นนักรบคู่ควรแก่พระราชา เป็นผู้ควรที่พระราชาใช้สอย ย่อมถึงการนับ

ว่าเป็นองค์ของพระราชาทีเดียว ก็ด้วยสถาน ๓ ประการ ๓ ประการเป็นไฉน คือ

เป็นผู้ยิ่งได้ไกล ๑ ยิ่งได้ไว ๑ ทำลายข้าศึกหมู่ใหญ่ได้ ๑ ดูก่อนสาฬหะ

นักรบผู้ยิงได้ไกล แม้ฉันใด อริยสาวกผู้มีสัมมาสมาธิ ก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้

มีสัมมาสมาธิ ย่อมเห็นด้วยปัญญาอัน ชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูปอย่าง

ใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบ

หรือละเอียด เลวหรือประณีต ใกล้หรือไกล รูปทั้งหมดนี้ ไม่ใช่ของเรา

ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ย่อมเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง

อย่างนี้ว่า เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง. .. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง.. . สังขาร

อย่างใดอย่างหนึ่ง...วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต ปัจจุบัน

เป็นภายในหรือภายนอน หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต ใกล้หรือไกล

วิญญาณทั้งหมดนี้ไม่ใช่ชองเรา ไม่เป็นเรา ไม่ใช่ตัวตนของเรา ดังนี้

ดูก่อนสาฬหะ นักรบผู้ยิ่งได้ไวฉันใด อริยสาวกผู้มีสัมมาทิฏฐิก็ฉันนั้น อริย-

สาวกผู้มีสัมมาทิฏฐิย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้

ทุกขนิโรธ นี้ทุกชนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อนสาฬหะ นักรบผู้ทำลายข้าศึก

หมู่ใหญ่ได้ ฉันใด อริยสาวกผู้มีสัมมาวิมุตติก็ฉันนั้น อริยสาวกผู้มีสัมมา-

วิมุตติย่อมทำลายกองอวิชชาอันใหญ่เสียได้.

จบสาตถสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 504

อรรถกถาสาตถสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสาตถสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทฺวเยน คือ เพราะส่วนสอง. บทว่า โอฆสฺส นิตฺถรณ

ได้แก่ การรื้อถอนโอฆะ ๔. บทว่า ตโปชิคุจฺฉาเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุ

เกลียดบาปด้วยตบะ กล่าวคือการทำทุกรกิริยา. บทว่า อญฺตร สามญฺงฺค

ได้แก่ ส่วนแห่งสมณธรรมอย่างหนึ่ง. ในบทมีอาทิว่า อปริสุทฺธกายสมา-

จารา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถึงศีล ความประพฤติทางกาย วาจา และ

ใจไม่บริสุทธิ์ ด้วยสามบทนี้ แล้วจึงทรงแสดงถึงความเป็นผู้มีอาชีวะไม่

บริสุทธิ์ด้วยบทหลัง. บทว่า าณทสฺสนาย ได้แก่ ทัสสนะอันได้แก่

มรรคญาณ. บทว่า อนุตฺตราย สมฺโพธาย ได้แก่พระอรหัต. ท่านอธิบาย

ว่า ไม่ควรเพื่อสัมผัสด้วยญาณผัสสะ คือ อรหัต.

บทว่า สาลลฏฺึ ได้แก่ ต้นสาละ. บทว่า นว คือ หนุ่ม. บทว่า

อกุกฺกุจฺจกชาต คือ ไม่เกิดความรังเกียจว่า ควรหรือไม่ควร. บทว่า

เลขณิยา ลิเขยฺย ได้แก่ ขีดพอเป็นรอย. บทว่า โธเปยฺย ได้แก่ ขัด.

บทว่า อนฺโตอวิสุทฺธา ได้แก่ ไม่เรียบในภายใน คือ ไม่เอาแก่นออก.

ในบทว่า เอวเมว โข นี้ เทียบด้วยอุปมาดังนี้. จริงอยู่ อัตภาพพึงเห็น

เหมือนต้นสาละ กระแสสงสารเหมือนกระแสน้ำ คนยึดถือทิฏฐิ ๖๒ เหมือน

คนที่ต้องการจะไปฝั่งโน้น เวลาที่ยึดมั่นในอารมณ์ภายนอก เหมือนเวลาที่ทำ

ต้นสาละให้เรียบดีในภายนอก เวลาที่ศีลในภายในไม่บริสุทธิ์ เหมือนเวลาที่

ไม่ทำข้างในของต้นสาละให้เรียบ การที่คนถือทิฏฐิจมลงไปในกระแสสงสารวัฏ

พึงทราบเหมือนการที่ต้นสาละจมลงไปข้างล่าง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 505

บทว่า ชิยาริตฺต พนฺเธยฺย ได้แก่ ติดกรรเชียงและหางเสือ. บทว่า

เอวเมว โข เทียบด้วยอุปมาดังนี้ อัตภาพเหมือนต้น สาละหนุ่ม. กระแส

สงสารวัฏเหมือนกระแสน้ำ พระโยคาวจร เหมือนคนผู้ประสงค์จะไปฝั่งโน้น

เวลาที่ความสำรวมตั้งมั่นในทวาร ๖ เหมือนเวลาที่ทำภายนอกให้เรียบศีลอาจาระ

บริสุทธิ์ในภายใน เหมือนความที่ทำภายในให้เรียบ การทำความเพียรทางกาย

และใจ เหมือนการติดกรรเชียงและหางเสือ การบำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา

โดยลำดับ แล้วถึงนิพพาน พึงเห็นเหมือนการไปถึงฝั่งโน้นได้โดยสวัสดี.

บทว่า กณฺฑจิตฺตกานิ ได้แก่ กระบวนการที่ควรทำด้วยลูกศร

มีไม่น้อย เป็นต้นว่า คันศร เชือกศร รางศร ฉากศร สายศร ดอกศร.

บทว่า อถโข โส ตีหิ าเนหิ ความว่า เขาแม้รู้กระบวนการลูกศรมาก

อย่างนี้ ก็ไม่คู่ควรแก่พระราชา แต่จะดู่ควรโดยฐานะ ๓ เท่านั้น.

บทว่า สมฺมาสมาธิ โหติ ในบทนี้มีความว่า เป็นผู้ตั้งมั่นแล้ว

ด้วยมรรคสมาธิ และผลสมาธิ. บทว่า สมฺมาทิฏฺิ ได้แก่ ประกอบแล้ว

ด้วยมรรคสัมมาทิฏฐิ. ท่านกล่าวมรรค ๔ ผล ๓ ด้วยสัจจะ ๔ มีอาทิว่า อิท

ทุกข ดังนี้. พึงทราบความว่า ก็ผู้ประกอบด้วยสัมมาทิฏฐินี้ พึงทราบว่า

ชื่อว่า ยิงไม่พลาดด้วยมรรคเท่านั้น. บทว่า สมฺมาวิมุตฺติ ได้แก่ ประกอบ

แล้วด้วยวิมุตติ คือ อรหัตผล. บทว่า อวิชฺชากฺขนฺธ ปทาเลติ ความว่า

ผู้ประกอบด้วยสัมมาวิมุตติ ท่านกล่าวว่า ชื่อว่าทำลายกองอวิชชาด้วยอรหัต-

มรรค. จริงอยู่ กองอวิชชาถูกทำลายด้วยอรหัตมรรคนี้ในภายหลัง แต่ในที่นี้

ควรกล่าวว่า ย่อมทำลายอาศัยกองอวิชชาที่ถูกทำลายแล้ว.

จบอรรถกถาสาตถสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 506

๗. มัลลิกสูตร

ตรัสเหตุที่ทำให้มาตุคามมีรูปงาม - ทราม

[๑๙๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล พระ-

นางมัลลิกาเทวีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาณเจ้งถึงที่ประทับ ทรงถวายอภิวาท

แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนใน

โลกนี้ มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู ยากจนขัดสนทรัพย์สมบัติและต่ำศักดิ์

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้

มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติ

มากและสูงศักดิ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคาม

บางคนในโลกนี้ มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณ

อันงามยิ่งนัก แต่เป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์สมบัติ และต่ำศักดิ? ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้ มี

รูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้ง

เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคน

ในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง

ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธความขัดเคือง

และความไม่พอใจให้ปรากฏ เป็นผู้ไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ยวดยาน

ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 507

แก่สมณะหรือพราหมณ์ และเป็นผู้มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ

ความนับถือ การไหว้และการบูชาของผู้อื่น เกียดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา

ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใด ๆ

ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู ทั้งเป็นคนยากจน ขัดสนทรัพย์

สมบัติและต่ำศักดิ์.

ดูก่อนพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักโกรธ

มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่าแม้เล็กน้อยก็ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัด

กระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธความขัดเคือง และความไม่

พอใจให้ปรากฏ แต่เขาเป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ

ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ แก่สมณะ

หรือพราหมณ์ และไม่เป็นผู้มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความ

นับถือ การไหว้และบูชาของผู้อื่น ไม่เกียดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา

ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดในชาติใด ๆ

ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก

มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์.

ดูก่อนพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธ

ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่-

กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธความขัดเคืองและ

ความไม่พอใจให้ปรากฏ แต่เป็นผู้ไม่ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน

ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีปโคมไฟ

แก่สมณะหรือพราหมณ์ และเป็นผู้มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ

ความนับถือ การไหว้และการบูชาของผู้อื่น เกียดกัน ตัดรอน ผูกความริษยา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 508

ถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้ กลับมาเกิดใน

ชาติใด ๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มี

ผิวพรรณงามยิ่งนัก แต่เป็นคนเข็ญใจ ยากจน ขัดสนและต่ำศักดิ์.

ดูก่อนพระนางมัลลิกา มาตุคามบางคนในโลกนี้ ไม่เป็นผู้มักโกรธ

ไม่มากไปด้วยความคับแค้นใจ ถูกว่าแม้มากก็ไม่ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่

กระพูดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดงความโกรธความขัดเคืองและ

ความไม่พอใจให้ปรากฏ เป็นผู้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ

ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป โคมไฟ แก่สมณะ

หรือพราหมณ์ แล้วถ้ามาตุคามนั้นจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้

กลับมาเกิดในชาติใด ๆ ย่อมเป็นผู้มีรูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความ

เป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้งเป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก

และสูงศักดิ์.

ดูก่อนพระนางมัลลิกา นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนใน

โลกนี้ มีผิวพรรณทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู ทั้งเป็นคนเข็ญใจ ยากจนขัดสน

และต่ำศักดิ์ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีผิวพรรณ

ทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและ

สูงศักดิ์ นี้แลเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มีรูปงาม น่าดู

น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก แต่เป็นคนเข็ญใจ ยากจน

ขัดสนและต่ำศักดิ์ อนึ่ง นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มาตุคามบางคนในโลกนี้มี

รูปงาม น่าดู น่าชม ประกอบด้วยความเป็นผู้มีผิวพรรณงามยิ่งนัก ทั้งเป็น

ผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมากและสูงศักดิ์.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พระนางมัลลิกาเทวีได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติอื่นชรอย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 509

หม่อมฉันจะเป็นผู้มักโกรธ มากไปด้วยความแค้นใจ ถูกว่าแม้เล็กน้อยก็

ขัดเคือง ฉุนเฉียว กระฟัดกระเฟียด กระด้างกระเดื่อง แสดงความโกรธ

ความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ ในบัดนี้ หม่อมฉันจึงมีผิวพรรณ

ทราม รูปชั่ว ไม่น่าดู แต่ในชาติอื่น หม่อมฉันคงได้ให้ทาน คือ ข้าว น้ำ

ยวดยาน ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป

โคมไฟ บัดนี้ หม่อมฉันจึงเป็นคนมั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคสมบัติมาก

ในชาติอื่น หม่อมฉันคงจะไม่มีใจริษยาในลาภ สักการะ ความเคารพ ความ

นับถือ การไหว้และการบูชาของผู้อื่น ไม่เกียดกัน ไม่ตัดรอน ไม่ผูกความ

ริษยา ในบัดนี้ หม่อมฉันจึงมีศักดิ์สูง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญก็นางกษัตริย์บ้าง

นางพราหมณีบ้าง นางคฤหบดีบ้าง มีอยู่ในราชสกุลนี้ หม่อมฉันได้ดำรง

ความเป็นใหญ่ยิ่งกว่าหญิงเหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตั้งแต่วันต้นไป

หม่อมฉันจักไม่โกรธ ไม่มากไปด้วยความแค้นใจ ถึงถูกว่ากล่าวมากก็จักไม่

ขัดเคือง ไม่ฉุนเฉียว ไม่กระฟัดกระเฟียด ไม่กระด้างกระเดื่อง ไม่แสดง

ความโกรธความขัดเคืองและความไม่พอใจให้ปรากฏ จักให้ทาน คือ ข้าว

น้ำ ผ้า ยวดยาน ระเบียบ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย

และประทีปโคมไฟ แก่สมณพราหมณ์ จักไม่มีใจริษยาในลาภ สักการะ

ความเคารพ ความนับถือ การไหว้ และบูชาของผู้อื่น จักไม่เกียดกัน ไม่

ตัดรอน ไม่ผูกความริษยา ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้ง

นัก ฯลฯ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นอุบาสิกา ผู้ถึง

สรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบมัลลิกสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 510

อรรถกถามัลลิกสูตร n

พึงทราบวินิจฉัยในมัลลิกสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มลฺลิกา เทวี ได้แก่ พระเทวีของพระเจ้าปเสนทิโกศล.

บทว่า เยน มิเธกจฺโจ มาตุคาโม ได้แก่ หญิงบางคนในโลกนี้. บทว่า

ทุพฺพณฺโณ ได้แก่ มีผิวน่าเกลียด. บทว่า ทุรูโป ได้แก่มีทรวดทรงไม่ดี.

บทว่า สุปาปิโก ได้แก่ แสนชั่ว แสนทราม. บทว่า ทสฺสนาย แปลว่า

เพื่อเห็น. บทว่า ทลิทฺโท ได้แก่ จนทรัพย์. บทว่า อปฺปสฺสโก ได้แก่

เว้น จากทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นของตนเอง บทว่า อปฺปโภโค ได้แก่

เว้นจากเครื่องใช้สอย. บทว่า อปฺเปสกฺโข ได้แก่ มีบริวารน้อย. บทว่า

อุทฺโธ ได้แก่ เป็นอิสระ. บทว่า มหทฺธโน ได้แก่ มีทรัพย์มาก โดย

ทรัพย์สำหรับใช้สอย. บทว่า มหาโภโค คือ มีโภคะมาก ด้วยโภคะเครื่อง

อุปโภคบริโภค (ของใช้ ของกิน). บทว่า มเหสกฺโข คือ มีบริวารมาก.

บทว่า อภิรูโป คือ มีรูปงาม. บทว่า ทสฺสนีโย คือ ควรดู. บทว่า ปาสาทิโก

คือ มีใจเลื่อมใสด้วยการชม. บทว่า วณฺณโปกฺขรตาย คือ ด้วยผิวพรรณ

และทรวดทรงแห่งเรือนร่าง.

บทว่า อภิสชฺชติ แปลว่า ขัดข้อง. บทว่า พฺยาปชฺชติ ได้แก่

ละปกติ. บทว่า ปฏิตฺถียติ ได้แก่ ถึงความเป็นผู้หดหู่และกระด้าง ด้วย

ความโกรธ. บทว่า น ทาตา โหติ คือ เป็นหญิงไม่ให้. ในบทว่า เสยฺยา-

วสถปทีเปยฺย นี้ ที่นอน คือ เตียงและแผ่นกระดานเป็นต้น ชื่อว่าที่นอน.

เรือน ที่อยู่อาศัย ชื่อว่า ที่อยู่. เครื่องประกอบประทีปมีไส้และน้ำมันเป็นต้น

ท่านเรียกว่า ปทีเปยฺย. บทว่า อิสฺสามนิโก ได้แก่ มีจิตประกอบด้วยความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 511

ริษยา. พึงทราบความในบททั้งหมดโดยนัยนี้. บทว่า โกธนา อโหสึ คือ

เป็นหญิงมักโกรธ. บทว่า อนิสฺสามนิกา อโหสึ คือ ได้เป็นหญิงมีจิต

เว้นจากความริษยา. คำที่เหลือในสูตรนี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถามัลลิกสูตรที่ ๗

๘. อัตตันตปสูตร

บุคคลที่ทำตนหรือผู้อื่นให้เดือดร้อน ๔ จำพวก

[๑๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน

ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ๑ บางคนเป็นผู้ทำผู้อื่นให้

เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ๑ บางคน

ทำคนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน และ

ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ๑

บางคนไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำคนให้

เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำ

ให้ผู้อื่นเดือดร้อน ผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็น

ผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุข มีตนอันประเสริฐ อยู่ในปัจจุบันเทียว ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน

ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นชีเปลือย ไร้มารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษาก็ไม่มา เขาเชิญ

ให้หยุดก็ไม่หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาเฉพาะ ไม่ยินดีภิกษุที่เขาทำเฉพาะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 512

ไม่ยินดีการเชิญ ไม่รับภิกษาที่เขาแบ่งไว้ก่อน ไม่รับภิกษาจากปากหม้อข้าว

ไม่รับภิกษาที่คนยืนคร่อมธรณีประตูให้ ไม่รับภิกษาที่คนยืนคร่อมท่อนไม้ให้

ไม่รับภิกษาที่คนยืนคร่อมสากให้ ไม่รับภิกษาของคนสองคนผู้กำลังบริโภคอยู่

ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กำลังให้ลูกดูดนม ไม่รับ

ภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันไว้ ไม่รับภิกษาใน

ที่ซึ่งสุนัขได้รับเลี้ยงดู ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่กินปลา

ไม่กินเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียว

เยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคำเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือนสองหลัง เยียวยาอัตภาพ

ด้วยข้าวสองคำบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คำ

บ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๗ ใบบ้าง

กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความ

ขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมาตั้งกึ่งเดือนเช่นนี้บ้าง ชีเปลือยนั้น เป็นผู้

มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง

มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มียางเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำ

เป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็น

ภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภค

ผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพ ชีเปลือยนั้นทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้า-

ห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บ

บ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพล

ทำด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทำด้วยขนสัตว์บ้าง ผ้าทำด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง

เป็นผู้ถอนผมและหนวด ประกอบด้วยความขวนขวนในการถอนผมและหนวด

บ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระโหย่ง ประกอบควานขวนขวาย

ในการกระโหย่งบ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สำเร็จการนอนบนหนามบ้าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 513

เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง คือ ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เขา

เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการทำกายให้เดือดร้อน ให้เร่าร้อนมีอย่าง

ต่าง ๆ เห็นปานนี้อยู่ ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ทำคนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้

เดือดร้อน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นผู้ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร เป็นนายพรานนก เป็นนายพรานเนื้อ เป็นผู้หยาบช้า

เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นผู้ฆ่าโจร เป็นนักโทษ หรือเป็นผู้ทำกรรมอัน

หยาบช้าชนิดใดชนิดหนึ่งก็ตาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่า

เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้

เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลบ้างคน

ในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์ได้มูรธาภิเษก หรือว่าเป็นพราหมณ์.

มหาศาล บุคคลนั้นให้สร้างสัณฐาคารใหม่ทางทิศตะวันออกแห่งพระนคร แล้ว

ปลงผมและหนวด นุ่งหนังสัตว์มีเล็บ ชโลมกายด้วยเนยและน้ำมัน เกาหลัง

ด้วยเขามฤค เข้าไปสู่สัณฐาคารพร้อมด้วยมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บุคคล

นั้นสำเร็จการนอนบนพื้น อันปราศจากการปูลาด ไล้ด้วยมูลโคสด น้ำนมใด

มีอยู่ในนมเต้าหนึ่งของแม่โคลูกอ่อนตัวหนึ่ง พระราชาย่อมยังพระชนม์ให้เป็น

ไปด้วยน้ำนมเต้านั้น น้ำนมใดมีอยู่ในนมเต้าที่ ๒ พระมเหสีย่อมยังพระชนม์

ให้เป็นไปด้วยน้ำนมเต้านั้น น้ำนมใดมีอยู่ในนมเต้าที่ ๓ พราหมณ์ปุโรหิต

ย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมเต้านั้น น้ำนมใดมีอยู่ในนมเต้าที่ ๔ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 514

บูชาไฟด้วยน้ำนมเต้านั้น ลูกโคย่อมยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยน้ำนมที่เหลือ

พระราชานั้นตรัสอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงฆ่าโคเท่านี้เพื่อบูชายัญ จงฆ่า

ลูกโคผู้เท่านี้เพื่อบูชายัญ จงฆ่าลูกโคเมียเท่านี้เพื่อบูชายัญ จงฆ่าแพะเท่านี้

เพื่อบูชายัญ จงฆ่าแกะเท่านี้เพื่อบูชายัญ จงตัดต้นไม้เท่านี้เพื่อทำหลัก จง

เกี่ยวหญ้าคาเท่านี้เพื่อบังและลาด แม้ชนเหล่าใดที่เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้

ก็ดี เป็นคนงานก็ดี ของพระราชานั้น แม้ชนเหล่านั้นก็สะดุ้งต่ออาญา สะดุ้ง

ต่อภัย มีหน้านองด้วยน้ำตาร้องไห้ทำการงานอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่าง

นี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้ทำคนให้เดือดร้อน ประกอบด้วยความขวนขวายใน

การทำคนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความ

ขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร บุคคลชื่อว่าไม่ทำทนให้เดือดร้อน

ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้

เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้น

เป็นผู้ไม่ทำคนให้เดือดร้อน และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่มีความหิว

ดับร้อน เย็นใจ เสวยสุข มีตนอื่นประเสริฐอยู่ในปัจจุบันเทียว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติขึ้นในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง

โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็น

สารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระตถาคตพระองค์นั้น

ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระ-

ปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์

เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งานใน

ท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 515

พยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง คฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดี หรือบุคคล

ผู้เกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง ย่อมฟังธรรมนั้น เขาฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อม

ได้ศรัทธาในพระตถาคต เขาประกอบด้วยการได้ซึ่งศรัทธานั้น ย่อมเห็น

ตระหนักชัดดังนี้ว่า ฆราวาสดับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง

ปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์โดย

ส่วนเดียว ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร

เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิตเถิด สมัย-

ต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด

นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อเขาบวชแล้วอย่างนี้ ถึงความ

เป็นผู้มีสิกขาและสาชีพ เสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย ละปาณาติบาต งดเว้นจาก

ปาณาติบาท วางอาชญา วางศาสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู อนุเคราะห์

เกื้อกูลสรรพสัตว์อยู่เสมอ ละอทินนาทาน งดเว้นจากอทินนาทาน ถือเอา

แต่ของที่เขาให้ จำนงแต่ของที่เขาให้ มีตนไม่เป็นขโมย สะอาดอยู่เสมอ

ละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล

เว้น จากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน ละมุสาวาท งดเว้น จากมุสาวาท พูดแต่

คำจริง ดำรงคำสัตย์ พูดเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก ละคำ

ส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อ

ให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คน

หมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียง

กันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน

เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้พร้อมเพรียงกัน ละ

วาจาหยาบ เว้นขาดจากวาจาหยาบ กล่าวแต่คำที่ปราศจากโทษ เสนาะโสต

ชวนให้รัก จับใจ สุภาพ คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 516

จากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม

พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์

โดยกาลอันควร เธอเว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม ฉันหนเดียว

เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล เว้นขาดจากการฟ้อนรำ

ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล เว้นขาดจากการ

ทัดทรง ประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม และเครื่อง

ประเทืองผิว อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่ง

ที่นอนอันสูงใหญ่ เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เว้นขาดจากการรับธัญชาติ

ดิบ เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เว้นขาด

จากการรับทาสีและทาส เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เว้นขาดจากการรับ

ไก่และสุกร เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้าและฬา เว้นขาดจากการรับไร่นา

และที่ดิน เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เว้นขาดจากการ

ซื้อขาย เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง โกงด้วยของปลอมและโกงด้วยเครื่อง

ตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวงและการตลบแตลง เว้นขาด

จากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้นและกรรโชก เธอเป็นผู้

สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง

เธอจะไปทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใด ๆ

ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วย

จีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไป

ทางทิศาภาคใด ๆ ก็ถือไปได้เอง เธอเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะ

เช่นนี้แล้ว ย่อมเสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว

ไม่ถือนิมิตร ไม่ถืออนุพยัญชนะ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่

สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 517

ครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ ฟังเสียง

ด้วยหู...ดมกลิ่นด้วยจมูก.. .ลิ้มรสด้วยลิ้น...ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...

รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติ

เพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก

คือ อภิชฌาและโสมนสัครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ถึงความสำรวม

ในมนินทรีย์ เธอประกอบด้วยอินทรียสังวรอันเป็นอริยะ เช่นนี้ ย่อมได้

เสวยสุขอัน บริสุทธิ์ไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน เธอย่อมทำความรู้สึกตัวในการ

ก้าวไป ในการถอยกลับ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการแล ในการเหลียว ย่อม

ทำความรู้สึกตัวในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ย่อมทำความรู้สึกตัวในการ

ทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ย่อมทำความรู้สึกตัวในการฉัน การดื่มการเคี้ยว

การลิ้ม ย่อมทำความรู้สึกตัวในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว

ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น ความนิ่ง เธอประกอบด้วย

ศีลขันธ์ อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมเสพ-

เสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ

ที่แจ้ง ลอมฟาง เธอกลับจากบิณฑบาตภายหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้ง

กายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความโลภในโลก มีใจปราศจากความ

โลภอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความโลภ ละความประทุษร้าย คือพยาบาท

ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์เกื้อกูล แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อม

ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือ พยาบาท ละถีนมิทธะแล้ว มี

ความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์

จากถีนมิทธะ ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายใน

ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะ ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้าม

วิจิกิจฉา ไม่มีความสงสัยในกุศลธรรมทั้งหลาย ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 518

วิจิกิจฉา เธอละนิวรณ์เหล่านี้อันเป็นอุปกิเลสของใจ เป็นเครื่องทำปัญญาให้

ทุรพลแล้ว สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ

บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน

ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสติญาณ

เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติ

บ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบ

ชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติ

บ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอด

สังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้นเรามีชื่อออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น

มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนด

อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้วได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น

เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น

เสวยสุขและทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว

ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ

พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์

ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น

ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติ และอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย

เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี

มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต

วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำ

ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 519

พระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตาย

ไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ

เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุ

อันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรม

ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส

ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้

ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์

นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคานินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุ

ให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเธอรู้

เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จาก

อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อ

ความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล บุคคลชื่อว่าเป็นผู้

ไม่ทำคนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน

และไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้

เดือดร้อนและบุคคลนั้นเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

เป็นผู้ไม่มีความหิว เป็นผู้ดับ เย็นใจ เสวยสุข มีตนอันประเสริฐ อยู่ใน

ปัจจุบัน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.

จบอัตตันตปสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 520

อรรถกถาอัตตันตปสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอัตตันตปสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้ :-

บรรดาบทว่า อตฺตนฺตโป เป็นต้น ชื่อว่า ทำตนให้เดือดร้อน

เพราะเผาตน คือ ทำตนให้ถึงทุกข์. การประกอบความเพียรทำตนเองให้

เดือดร้อน ชื่อว่าความขวนขวายในการทำตนให้เดือดร้อน ชื่อว่า ทำผู้อื่น

ให้เดือดร้อน เพราะเผาผู้อื่น. การประกอบความเพียรทำผู้อื่นให้เดือดร้อน

ชื่อว่า ความขวนขวายในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม

ได้แก่ ในอัตภาพนี้แหละ. ในบทว่า นิจฺฉาโต ตัณหา ท่านเรียกว่า ฉาตะ

ชื่อว่า นิจฉาตะ เพราะไม่มีตัณหา. ชื่อว่า นิพพุตะ เพราะกิเลสทั้ง

หมดดับ ชื่อว่า สีติภูตะ เพราะเป็นผู้เย็น เหตุที่ไม่มีกิเลสเผาในภายใน

ชื่อว่า สุขปฏิสเวที เพราะเสวยสุขใน ฌาน มรรค ผล และนิพพาน. บทว่า

พฺรหฺมภูเตน อตฺตนา ได้แก่ มีตนประเสริฐ. บทมีอาทิว่า อเจลโก

มีเนื้อความดังกล่าวไว้แล้ว.

ในบทมี การฆ่าแพะ เป็นต้น แพะ ท่านเรียก อุรพฺภา ชื่อว่า โอรัพ

ภิกะเพราะฆ่าแพะ. แม้ในคำว่า สูกริกะ คนฆ่าสุกรเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน .

บทว่า ลุทฺโท คือ ทารุณ หยาบช้า. บทว่า มจฺฉฆาตโก ได้แก่ คนล่าปลา

คือ คนจับปลาชาวประมง. บทว่า พนฺธนาคาริโก ได้แก่ ผู้คุมเรือนจำ.

บทว่า กูรูรกมฺมนฺตา ได้แก่ ผู้มีการงานหยาบช้า.

บทว่า มุทฺธาภิสิตฺโต ได้แก่ พระราชาผู้อันเขารดน้ำบนพระเศียร

โดยอภิเษกเป็นกษัตริย์. บทว่า ปุรตฺถิเมน นครสฺส ได้แก่ ทางทิศ

ตะวันออกจากนคร. บทว่า สณฺาคาร ได้แก่โรงบูชายัญ. บทว่า ขราชิน

นิวาเสตฺวา ได้แก่ นุ่งหนังเสือมีเล็บติด. บทว่า สปฺปิเตเลน ได้แก่ ด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 521

เนยใสและน้ำมัน. เว้นเนยใสนอกนั้นของมียางที่เหลือ ท่านก็เรียกว่า น้ำมัน.

บทว่า กณฺฑุวมาโน ได้แก่ เพราะตัดเล็บหมด คราวจะต้องเกาก็เกาด้วย

เขาสัตว์นั้น.

บทว่า อนตฺถรหิตาย ได้แก่ ไม่มีเครื่องปูลาด. บทว่า สรูป-

วจฺฉาย ได้แก่ ลูกโคมีสีเหมือนกัน. อธิบายว่า หากแม่โคมีสีขาว แม้ลูกโค

ก็มีสีขาว หากแม่โคมีสีดำแดงหรือสีแดง แม้ลูกโคก็มีสีเช่นนั้นเหมือนกัน

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า แม่โคมีลูกที่มีสีเหมือนกัน. บทว่า โส เอวมาห

คือ พระราชานั้นตรัสอย่างนี้. บทว่า วจฺฉตรา ได้แก่ โคมีกำลัง (โคงาน)

เคยเป็นโคหนุ่มแล้ว แม้ในโคสาวก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า พริหิสตฺถาย

ได้แก่ เพื่อล้อมและเพื่อลาด ณ พื้นที่บูชายัญ.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อทรงแสดงถึงบุคคลที่ ๔ ตั้งแต่พระพุทธเจ้า

ทรงอุบัติ จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า อิธ ภิกฺขเว ตถาคโต ดังนี้. ในบทเหล่านั้น

บทว่า ตถาคโต เป็นต้น มีเนื้อความได้กล่าวไว้แล้ว. บทว่า ต ธมฺม

ได้แก่ธรรมอันสมบูรณ์โดยประการ ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วนั้น. บทว่า สุณาติ

คหปติวา ถามว่า เพราะเหตุไรจึงทรงชี้คฤหบดีก่อน. ตอบว่า เพราะคฤหบดี

กำจัดมานะแล้ว และเพราะมีจำนวนมาก จริงอยู่ โดยมากผู้ที่บวชจากตระกูล

กษัตริย์ ทำมานะถือตัวเพราะอาศัยชาติ. ผู้ที่บวชจากตระกูลพราหมณ์ ทำมานะ

เพราะอาศัยมนต์. ผู้ที่บวชจากตระกูลที่มีชาติต่ำ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้ เพราะ

ค่าที่ตนมีชาติต่ำ. ก็พวกทารกของคหบดี มีเหงื่อไหลจากรักแร้ ขี้เกลือ

เต็มหลัง ไถพื้นที่เป็นผู้หมดมานะและหยิ่ง เพราะไม่มีมานะเช่นนั้น. ทารก

พวกนั้นครั้นบวชแล้วก็ไม่ทำมานะหรือหยิ่ง เรียนพุทธวจนะตามกำลัง บำเพ็ญ

วิปัสสนากัมมัฏฐาน สามารถดำรงอยู่ในพระอรหัตได้. ส่วนผู้ที่ออกบวชจาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 522

ตระกูลนอกนี้มีไม่มาก ผู้เป็นคหบดีออกบวชมีมาก. เพราะเหตุนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้า จึงทรงชี้คหบดีก่อนเพราะจะกำจัดมานะ และเพราะมีจำนวนมาก

แล. บทว่า อญฺตรสฺมึ วา ได้แก่ ตระกูลนอกนี้ ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง.

บทว่า ปจฺฉาชาโต ได้แก่ เกิดในภายหลัง.

บทว่า ตถาคเต สทฺธ ปฏิลภติ ความว่า เขาได้ฟังธรรมอัน

บริสุทธิ์แล้ว ย่อมได้ศรัทธาในพระตถาคตผู้เป็นธรรมสามีเจ้าของธรรมว่า

พระผู้มีพระภาคเข้าพระองค์นั้น เป็นพระสัมมาสัมพุทธะหนอ. บทว่า อิติ

ปฏิสญฺจิกฺขติ แปลว่า พิจารณาอย่างนี้. บทว่า สมฺพาโธ ฆราวาโส

ความว่า ถึงแม้ว่าคู่สามีภรรยาจะอยู่ในเรือนขนาด ๖๐ ศอก หรือระหว่าง

ร้อยโยชน์ก็ตาม การอยู่ครองเรือนก็ชื่อว่า คับแคบทั้งนั้น เพราะคู่สามีภรรยา

ยังมีความกังวลและความห่วงใย. บทว่า รชาปโถ ท่านกล่าวไว้ในมหา

อรรถกถาว่าเป็นที่เกิดของธุลีมีราคะเป็นต้น . จะกล่าวว่า อาคมนปโถ เป็น

ทางมาดังนี้บ้างก็ควร. ชื่อว่า อัพโภกาส เพราะเป็นดุจที่แจ้งด้วยอรรถว่า

ไม่มีที่เกี่ยวข้อง จริงอยู่ บรรพชิตผู้บวชแล้ว แม้อยู่ในกูฎาคาร รัตนปราสาท

เทพวิมานเป็นต้น ที่มีประตูและหน้าต่างปิดสนิทเป็นที่กำบัง ก็ไม่เกี่ยวไม่ข้อง

ไม่คิด. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า บรรพชาเป็นที่แจ้งดังนี้. อีกอย่างหนึ่ง ฆราวาส

เป็นที่คับแคบ เพราะไม่มีโอกาสจะทำกุศลความดีได้ตามสบาย. ชื่อว่า เป็นทาง

มาแห่งธุลี เพราะเป็นที่รวมของธุลี คือ กิเลส ดุจกองหยากเยื่อที่ไม่ได้ปิดไว้.

บรรพชาชื่อว่า เป็นที่แจ้ง เพราะมีโอกาสทำกุศลความดีได้ตามสบาย.

ในคำว่า นยิท สุกร ฯเปฯ ปพฺพเชยฺย นี้ กล่าวโดยย่อดังนี้.

พรหมจรรย์คือสิกขา ๓ นี้ได้ชื่อว่าบริบูรณ์โดยส่วนเดียว เพราะผู้บวชทำไม่ให้

ขาดแม้วันเดียว แล้วก็พึงให้บรรลุจริมกจิตได้. และชื่อว่า บริสุทธิ์ โดย

ส่วนเดียว เพราะผู้บวชทำไม่ให้มีมลทิน ด้วยมลทินคือกิเลสแม้วันเดียว ก็พึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 523

ให้บรรลุจริมกจิตได้. บทว่า สงฺขลิขิต ได้แก่ พึงประพฤติให้เป็นเสมือน

สังข์ขัด คือเทียบด้วยสังข์ที่ขัดแล้ว. อันผู้อยู่ครองเรือนอยู่ท่ามกลางเรือน จะ

ประพฤติพรหมจรรย์คือสิกขา ๓ นี้ ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ไม่ทำ

ได้ง่ายเลย ถ้ากระไรเราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าอันสมควรแก่ผู้ประพฤติ

พรหมจรรย์ ชื่อว่าผ้ากาสายะ เพราะย้อมด้วยน้ำฝาด ออกจากเรือนบวชไม่มี

เรือนเกิด. ก็เพราะเหตุที่กสิกรรม พาณิชกรรมเป็นต้น เป็นประโยชน์เกื้อกูล

แก่เรือน ท่านจึงเรียกว่า อคาริย ก็ อคาริยกิจนั้นไม่มีในการบรรพชา ฉะนั้น

บรรพชาพึงทราบว่าเป็น อนคาริยะ ไม่มีเรือน ในข้อนี้ ไม่มีเรือนนั้น. บท

ว่า ปพฺพเชยฺย ได้แก่ พึงปฏิบัติ.

บทว่า อปฺป วา ได้แก่ กองโภคะต่ำกว่าพัน ชื่อว่า น้อย ตั้งแต่พัน

ขึ้นไป ชื่อว่า มาก. ญาตินั่นแล ชื่อว่า ญาติปริวัฏ เครือญาติ เพราะอรรถ

ว่าเกี่ยวพันกัน เครือญาติต่ำกว่า ๒๐ ชื่อว่าน้อย ตั้งแต่ ๒๐ ขึ้นไปชื่อว่ามาก.

บทว่า ภิกฺขูน สิกฺขาสาชีวสมาปนฺโน ความว่า สิกขาอันใดอันได้แก่

อธิสีล ของภิกษุทั้งหลาย และภิกษุเหล่านั้นอยู่ร่วมกัน เป็นอยู่เป็นอันเดียวกัน

มีความประพฤติเสมอกัน ในสิกขาใด บรรพชิตเข้าถึงสิกขานั้น และสาชีพแก่

สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้วนั้น เพราะเหตุนั้น บรรพชิต

นั้นชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยสิกขาและความอยู่ร่วมกันของภิกษุทั้งหลาย.

บทว่า สมาปนฺโน ความว่า บรรพชิตบำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์ และไม่

ละเมิดสาชีพความอยู่ร่วมกัน อธิบายว่า เข้าถึงสิกขาและสาชีพทั้งสองนั้น.

บทว่า ปาณาติปาต ปหาย เป็นต้น มีเนื้อความดังที่กล่าวแล้ว

นั้นแล. บทว่า อิเมส เภทาย ได้แก่ เพื่อให้ผู้ที่ตนฟังมาข้างนี้ แตกกัน.

บทว่า ภินฺนาน วา สนฺธาตา ความว่า เมื่อมิตรสองคน หรือผู้ร่วม

อุปัชฌาย์กันแตกกัน ด้วยเหตุไร ๆ บรรพชิตเข้าไปหาแต่ละคน แล้วกล่าวคำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 524

เป็นต้นว่า นี้ไม่สมควรแก่ท่าน ผู้เกิดในตระกูลเช่นนี้ ผู้คงแก่เรียนอย่างนี้

ดังนี้ ชื่อว่า ทำความสมานกัน. บทว่า อนุปฺปาทาตา ความว่า ส่งเสริม

คนที่สมานกัน อธิบายว่า บรรพชิตเห็นคนสองคนสมัครสมานกัน แล้วกล่าว

คำเป็นต้นว่า นี้สมควรแก่พวกท่าน ผู้เกิดในตระกูลเห็นปานนี้ ผู้ประกอบ

ด้วยคุณเห็นปานนี้ ดังนี้ และทำให้มั่นคงขึ้น. ชื่อว่า สมัคคาราม เพราะ

ว่ามีความสามัคคีเป็นที่มายินดี อธิบายว่า ไม่ปรารถนาแม้แต่จะอยู่ในที่ที่ไม่มี

ความสามัคคีกัน ดังนี้. บาลีว่า สมคฺคราโม ดังนี้ก็มี ความก็อย่างเดียวกันนี้.

บทว่า สมคฺครโต แปลว่า ยินดีแล้วในผู้ที่สามัคคีกัน อธิบายว่า ไม่ปรารถนา

แม้ละผู้ทีสามัคคีเหล่านั้นแล้วไปที่อื่น. ชื่อว่า สมคฺคนนฺที เพราะเห็นก็ดี

ได้ยินก็ดี ซึ่งคนสามัคคีกันก็ชื่นชม. บทว่า สมตฺถกรณี วาจ ภาสิตา

ความว่า วาจาใดทำให้คนสามัคคีกัน ย่อมกล่าววาจานั้นอันแสดงถึงคุณของ

สามัคคีเท่านั้น ไม่กล่าวนอกเหนือไปจากนี้.

ในบทว่า เนลา โทษท่านเรียกว่า เอละ. ชื่อว่า เนลา เพราะ

ไม่มีโทษ อธิบายว่า หาโทษมิได้. ดุจ เนล ศัพท์ที่ท่านกล่าวไว้ในบทนี้ว่า

เนลงฺโค เสตปจฺฉาโท รถมีเครื่องประกอบไม่มีโทษ หลังคาขาว ดังนี้.

บทว่า กณฺณสุขา ได้แก่ เป็นที่สบายหู เพราะไพเราะด้วยพยัญชนะ ไม่

เกิดเป็นดังหอกที่มหู ดุจแทงด้วยเข็ม. ชื่อว่า ชวนให้รัก เพราะไม่เกิดความ

เคืองในสกลกาย เกิดแต่ความรัก เพราะไพเราะด้วยอรรถ. ชื่อว่า จับใจ เพราะ

จับถึงใจไม่กระทบกระทั่งเข้าไปถึงใจโดยสะดวก. ชื่อว่า โปรี (สุภาพ) เพราะ

เป็นคำชาวเมือง เพราะบริบูรณ์ด้วยคุณ. ชื่อว่า โปรี เพราะละเอียดอ่อน

ดุจนารีผู้เจริญในเมืองดังนี้ก็มี. ชื่อว่า โปรี เพราะเป็นคำของชาวเมืองดังนี้

ก็มี อธิบายว่า คำว่า ปุรสฺส เอสา ได้แก่ คำพูดของชาวเมือง จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 525

ชาวเมืองย่อมกล่าวคำที่สมควร เรียกคนปูนพ่อว่า พ่อ คนปูนพี่ว่า พี่ ดังนี้.

ชื่อว่า พหุชนกนฺตา เพราะคำพูดเห็นปานนี้ เป็นที่รักใคร่ของชนเป็นอัน

มาก. ชื่อว่า พหุชนมนาปา เพราะเป็นที่พอใจ คือทำความเจริญจิตของ

ชนเป็นอันมาก โดยเป็นคำน่ารักใคร่.

ชื่อว่า กาลวาที เพราะพูดถูกกาละ อธิบายว่า กำหนดกาลอันควร

พูดแล้วจึงพูด. ชื่อว่า ภูตวาที เพราะพูดแต่เรื่องที่จริงแท้ที่มีอยู่เท่านั้น.

ชื่อว่า อตฺถวาที เพราะพูดอิงประโยชน์ปัจจุบัน และประโยชน์ในภพหน้า.

ชื่อว่า ธมฺมวาที เพราะพูดอิงนวโลกุตรธรรม. ชื่อว่า วินยวาที เพราะพูด

อิงสังวรวินัยและปหานวินัย. โอกาสเป็นที่ตั้งไว้ ชื่อว่า นิธาน ก็นิธานคือหลัก

ที่ตั้งของวาจานั้นมีอยู่ เหตุนั้น วาจานั้น ชื่อว่า นิธานวตี มีหลักที่ตั้ง อธิบาย

ว่า เป็นผู้กล่าวถ้อยคำควรฝังไว้ในใจ. บทว่า กาเลน ได้แก่ แม้เมื่อกล่าว

วาจาเห็นปานนี้ ก็คิดว่า เราจักกล่าววาจาที่น่าจดจำดังนี้ ไม่กล่าวพร่ำเพรื่อ

อธิบายว่า พิจารณาถึงกาลที่ควรก่อนแล้วจึงกล่าว ดังนี้ . บทว่า สาปเทส

ได้แก่ มีข้ออุปมา อธิบายว่า มีเหตุผล. บทว่า ปริยนฺตวตึ ได้แก่ แสดง

หัวข้อ อธิบายว่า กล่าวโดยอาการที่วาจานั้นปรากฏหัวข้อ. บทว่า อตฺถ-

สญฺหิต ได้แก่ มีผู้จำแนกไว้แม้มากนัยก็ไม่อาจกำหนดเอาได้ ชื่อว่า ถึงพร้อม

ด้วยอรรถ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านอธิบายไว้ว่า ย่อมกล่าววาจาที่ประกอบด้วย

ประโยชน์ เพราะวาจานั้นประกอบด้วยประโยชน์ ที่ผู้กล่าวอาศัยประโยชน์

มุ่งกล่าว หาใช่ยกเรื่องหนึ่งขึ้นแล้วกล่าวเรื่องอื่นเสียใหม่.

บทว่า พีชคามภูตคามสมารมฺภา ความว่า เป็นผู้เว้นจากกำจัด

คือ การทำลายโดยการตัดและการเผาซึ่งพีชคาม ๕ อย่าง คือ พืชเกิดแต่ราก ๑

พืชเกิดแต่ลำต้น ๑ พืชเกิดแต่ข้อ ๑ พืชเกิดแต่ยอด ๑ พืชเกิดแต่เมล็ด ๑

และซึ่งพืชคามมีหญ้าสีเขียว และต้นไม้เป็นต้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 526

บทว่า เอกภตฺติโก ได้แก่ ภัตร (อาหาร) ๒ อย่าง คือ ภัตรใน

เวลาเช้า ๑ ภัตรในเวลาเย็น ๑ ในภัตร ๒ อย่างนั้น ภัตรในเวลาเช้ากำหนด

ไว้ภายในเที่ยง ภัตรในเวลาเย็นกำหนดไว้หลังเที่ยงวันไป เพราะฉะนั้น

แม้จะบริโภคสัก ๑๐ ครั้ง ภายในเที่ยง ก็ชื่อว่า เป็นเอกภัตติกะ (บริโภค

มื้อเดียว) ท่านหมายถึง เอกภัตติกะนั้นจึงกล่าวว่า เอกภตฺติโก ดังนี้.

การบริโภคในกลางคืน ชื่อว่า รตฺติ ชื่อว่า รตฺตูปรตฺโต เพราะเว้นจากการ

บริโภคในกลางคืน. เมื่อเลยเที่ยงไปแล้วบริโภคจนถึงพระอาทิตย์ตก ชื่อว่า

บริโภคผิดเวลา เพราะเว้นจากบริโภคผิดเวลานั้นชื่อว่า วิรโต วิกาลโภชนา

งดเว้นการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล.

บทว่า ชาตรูป ได้แก่ ทอง. บทว่า รชต ได้แก่เงินที่ชาวโลก

เขาเรียกกันว่า กหาปณะ โลหมาสก ชตุมาสก (มาสกยางไม้) ทารมาสก

(มาสกไม้) เว้นจากการรับ ทองและเงิน แม้ทั้งสองนั้น อธิบายว่า ไม่รับ

เอง ไม่ให้ผู้อื่นรับ ไม่ยินดี ของที่เขาเก็บไว้.

บทว่า อามกธญฺปฏิคฺคหณา ได้แก่เว้น จากการรับข้าวดิบ ๗ อย่าง

กล่าวคือ ข้าวสาลี ๑ ข้าวเปลือกจ้าว ๑ ข้าวเหนียว ๑ ข้าวละมาน ๑ ข้าว

ฟ่าง ๑ ข้าวลูกเดือย ๑ หญ้ากับแก้ ๑. ไม่ใช่แต่รับข้าวเหล่านั้นอย่างเดียว

เท่านั้นไม่ควร แม้ลูบคลำก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายโดยแท้. ในบทว่า อามกมส

ปฏิคฺคหณา นี้ การรับเนื้อและปลาสดก็ไม่ควรลูบคลำก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลาย

เว้นแต่ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้โดยเฉพาะ.

ในบทว่า อิตฺถีกุมาริกา ปฏคฺคหณา นี้ หญิงที่อยู่กับชาย ชื่อว่า

อิตถี(นาง) หญิงนอกนั้นชื่อว่า กุมาริกา (นางสาว) การรับก็ดี การลูบคลำก็ดี

ซึ่งหญิงเหล่านั้น เป็นอกัปปิยยะ (ไม่ควร). ในบทว่า ทาสีทาสปฏิคฺคหณา นี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 527

การรับคนเป็นทาสหญิง ทาสชาย ไม่ควร ก็แต่ว่าเมื่อยู่อย่างนี้ว่า เราถวาย

เป็นกัปปิยการก เราถวายเป็นคนวัด ดังนี้ ก็ควร.

แม้ในแพะและแกะเป็นต้น มีนาและสวนเป็นที่สุด ควรตรวจสอบ

ที่เป็นกัปปิยะและอกัปปิยะโดยทางวินัย. ในข้อนั้น ปุบพัณณชาติ (ข้าว)

งอกขึ้นในที่ใด ที่นั้นชื่อว่า นา อปรพัณณชาติ (ถั่วงา) งอกขึ้นในที่ใด

ที่นั้นชื่อว่า สวน. อีกอย่างหนึ่ง ทั้งสองอย่าง งอกขึ้นในที่ใดที่นั้นชื่อว่า นา.

พื้นที่ที่ยังมิได้ทำเพื่อประโยชน์แก่นานั้น ชื่อว่า ที่สวน. แม้บึงและหนอง

เป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์เข้าในบทนี้ ด้วยหัวข้อว่าพาและสวน.

บทว่า กยวิกฺกยา ได้แก่ การซื้อและการขาย ทูตกรรมการทำ

เป็นทูต ได้แก่ การรับหนังสือ หรือข่าวของพวกคฤหัสถ์แล้วไปในที่นั้น ๆ

ท่านเรียกว่า ทูเตยยะ (ความเป็นทูต) การที่ภิกษุถกคฤหัสถ์ส่งจากเรือนหลัง

หนึ่งสู่เรือนหลังหนึ่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ท่านเรียกว่า ปหิณคมนะ (รับใช้). ทำทั้ง

สองอย่างนั้นชื่อว่า อนุโยคะ (ประกอบเนืองๆ) เพราะฉะนั้น พึงทราบความ

ในบทนี้อย่างนี้ว่า เว้นจากประกอบเนือง ๆ ซึ่งการเป็นทูตและรับ ใช้คฤหัสถ์.

พึงทราบวินิจฉัยการโกงตาชั่งเป็นต้น การหลอกลวง ชื่อว่า โกง.

ในการโกงนั้น การโกงตาชั่งมี ๔ อย่าง คือ โกงด้วยฟู ๑ โกงด้วยอวัยวะ

๑ โกงด้วยการจับ ๑ โกงด้วยการกำบัง ๑. ในการโกง ๔ อย่างนั้น เขาทำ

ตาชั่งสองอันมีรูปเท่า ๆ กัน เมื่อรับก็รับด้วยตาซึ่งอันใหญ่ เมื่อให้ก็ให้ด้วย

ตาชั่งอันเล็ก ชื่อว่า โกงด้วยรูป. เมื่อรับก็ใช้มือกดตาชั่งข้างหลังไว้ เมื่อให้

ก็ใช้มือกดคาชั่งข้างหน้าไว้ ชื่อว่าโกงด้วยอวัยวะ. เมื่อรับก็จับเชือกไว้ที่โคน

ตาชั่ง เมื่อให้ก็จับเชือกไว้ที่ปลายตาชั่ง ชื่อว่าโกงด้วยการจับ. ทำตราชั่ง

ให้กลวง ใส่ผงเหล็กไว้ภายใน เมื่อรับก็เลื่อนผงเหล็กนั้นไปปลายตาชั่ง เมื่อให้

ก็เลื่อนผงเล็กนั้นไว้หัวตาชั่ง ชื่อว่าโกงด้วยการกำบัง ถาดทองท่านเรียกว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 528

กังสะ การหลอกลวงด้วยถาดทองนั้น ชื่อว่า กังสกูฏะ โกงด้วยสำริด. ถาม

ว่าโกงอย่างไร. ตอบว่า ทำถาดทองไว้ใบหนึ่ง แล้วทำถาดโลหะอื่น ๒-๓ ใบ

ให้มีสีเหมือนทอง จากนั้นเขาก็ไปสู่ชนบท เข้าไปสู่ตระกูลที่มั่งคั่งตระกูลหนึ่ง

แล้วพูดว่า ท่านได้โปรดซื้อภาชนะทองเถิด เมื่อถามถึงราคา ประสงค์จะ

ให้ราคาเท่า ๆ กัน เมื่อผู้ซื้อถามว่า จะรู้ได้อย่างไรว่าถาดเหล่านี้เป็นทอง

ผู้หลอกลวงกล่าวว่าทดลองแล้วค่อยรับไป แล้วขูดถาดทองลงที่หิน ขายถาด

ทั้งหมดแล้วก็ไป.

การโกงด้วยเครื่องวัดมี ๓ อย่างคือ หทยเภท ทำลายด้วยรู ๑ สิขาเภท

ทำลายยอด ๑ รัชชุเภท ทำลายด้วยเชือก ๑. ใน ๓ อย่างนั้น หทยเภทได้ใน

เวลาตวงเนยใสและน้ำมันเป็นต้น ด้วยว่า เมื่อรับของเหล่านั้น ใช้เครื่องวัด

อันมีรูข้างล่าง บอกว่าให้ค่อย ๆ เท แล้วให้ไหลลงในภาชนะของตนมาก ๆ

แล้วรับเอาไป เมื่อให้ก็ปิดรูรับทำให้เต็มแล้วให้. สิขาเภทได้ในเวลาตวงงาและ

ข้าวสารเป็นต้น ด้วยว่าเมื่อรับของเหล่านั้นค่อย ๆ ทำยอดให้สูง รับเอาไป

เมื่อให้รีบทำให้เต็มแล้วปาดยอดเสียจึงให้. รัชชุเภทได้ในเวลาวัดนาและที่ดิน

เป็นต้น ด้วยว่าเมื่อไม่ได้สินบน แม้นาไม่ใหญ่ ก็วัดให้ใหญ่ได้. พึงทราบ

วินิจฉัยในการฉ้อโกงเป็นต้น บทว่า ฉ้อโกง ได้แก่ รับสินบนเพื่อทำเจ้าของ

ไม่ให้เป็นเจ้าของ. บทว่า วญฺจน ได้แก่การหลอกลวงผู้อื่นด้วยอุบายนั้น ๆ.

ในบททั้งสองนั้นมีเรื่องหนึ่งเป็นตัวอย่างดังนี้

ได้ยินว่า พรานคนหนึ่ง จันเนื้อและลูกเนื้อเดินมา. นักเลงคนหนึ่ง

พูดกะพรานนั้นว่า พ่อพราน เนื้อราคาเท่าไร ลูกเนื้อราคาเท่าไร. เมื่อพราน

บอกว่า พ่อเนื้อสองกหาปณะ ลูกเนื้อหนึ่งกหาปณะ. นักเลงจึงให้กหาปณะ

หนึ่งแล้วเอาลูกเนื้อไป ครั้นไปได้หน่อยหนึ่งก็กลับมาอีก พูดว่า พ่อพราน

เราไม่ต้องการลูกเนื้อ จงให้พ่อเนื้อแก่เรา. พรานพูดว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 529

ให้เราสองกหาปณะ. นักเลงนั้น พูดว่า พ่อพราน. เราให้ไปหนึ่งกหาปณะ

ก่อนแล้วมิใช่หรือ. พรานบอกว่า จริงท่านให้หนึ่งกหาปณะแล้ว. นักเลงพูดว่า

นั่นกหาปณะหนึ่ง และลูกเนื้อนี้ก็มีราคาหนึ่งกหาปณะ เพราะฉะนั้นจึงรวมเป็น

สองกหาปณะ. พรานเข้าใจว่า นักเลงพูดด้วยเหตุผล จึงรับลูกเนื้อคืนมา

แล้วให้เนื้อไป.

บทว่า นิกติ ได้แก่หลอกลวงด้วยของเทียม คือ ทำสิ่งที่มิใช่สังวาล

ให้เป็นสังวาล ทำสิ่งที่มิใช่แก้วมณี ให้เป็นแก้วมณี ทำสิ่งที่มิใช่ทอง ให้เป็น

ทอง โดยประกอบขึ้นหรือด้วยกลลวง. บทว่า สาวิโยโค ได้แก่ วิธีโกง

คำนี้เป็นชื่อของการฉ้อโกงเป็นต้นเหล่านั้นแล. เพราะฉะนั้น พึงทราบความ

ในบทนี้อย่างนี้ว่า วิธีโกงด้วยการฉ้อโกง การหลอกลวง วิธีโกงด้วยการทำ

ของเทียม ดังนี้ . อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การแสดงของอย่างหนึ่งแล้วเปลี่ยน

เป็นของอีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วิธีโกง. ก็บทนั้นสงเคราะห์ด้วยการหลอกลวง

นั้นเอง.

พึงทราบวินิจฉัยในการตัดเป็นต้น. บทว่า เฉทน ได้แก่ การตัดมือ

เป็นต้น . บทว่า วโธ ได้แก่ ทำให้ตาย. บทว่า พนฺโธ ได้แก่มัดด้วยเครื่อง

มัดคือเชือกเป็นต้น. บทว่า วิปราโมโส ได้แก่ การตีชิง สองอย่าง คือ

หิมวิปราโมสะ บังหิมะตีชิง ๑ คุมพวิปราโมสะ บังพุ่มไม้ตีชิง ๑ ในคราว

หิมะตก โจรทั้งหลายเอาหิมะกำบังตีชิงชนเดินทาง ชื่อว่า หิมวิปราโมสะ โจร

ทั้งหลายเอาพุ่มไม้เป็นต้นกำบังแล้วตีชิง ชื่อคุมพวิปราโมสะ วิธีโกงด้วยการปล้น

ชาวบ้านและชาวนิคมเป็นต้น ท่านเรียกว่า อาโลปะ (ปล้น ). บทว่า สหสา-

กาโร ได้แก่การทำอย่างรุนแรง. คือ การเข้าไปเรือนเอาศัสตราจ่ออกของ

พวกมนุษย์แล้วเก็บของที่คนต้องการ. เพราะฉะนั้น ภิกษุนั้นเป็นผู้เว้นขาด

จากการทำรุนแรง คือ ฟันแทง ฆ่า มัด ตีชิง ปล้น ด้วยประการฉะนี้แล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 530

บทว่า โส สนฺตุฏฺโ โหติ ได้แก่ ภิกษุนี้นั้นเป็นผู้ประกอบ

ด้วยความสันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ๑๒ อย่างในปัจจัย ๔ ที่กล่าวไว้แล้ว

ในหนหลัง. บริขาร ๘ คือ ไตรจีวร บาตร มีดเหลาไม้สีฟัน เข็ม ๑ เล่ม

รัดประคต เครื่องกรองน้ำ ย่อมสมควรแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยสันโดษความ

ยินดีด้วยปัจจัยตามมีตามได้ ๑๒ อย่างนี้ ดังที่ท่านกล่าวไว้ ว่า

ติจีวรญฺจ ปตฺโต จ วาสิ สูจิ จ พนฺธน

ปริสฺสาวเนน อฏฺเเต ยุตฺตโยคสฺส ภิกฺขุโน.

บริขาร ๘ เหล่านี้ คือ ไตรจีวร

บาตร มีด เข็ม รัดประคต เครื่องกรองน้ำ

สำหรับภิกษุผู้ประกอบความเพียร.

บริขารเหล่านั้นทั้งหมด เป็นเครื่องบริหารกายบ้าง บริหารท้องบ้าง.

ถามว่า บริหารอย่างไร. ตอบว่า ก่อนอื่นไตรจีวรย่อมบริหารรักษากายใน

เวลาภิกษุนั่งและห่มแล้วจาริกไป เพราะฉะนั้น จึงเป็นเครื่องบริหารกาย.

ไตรจีวรย่อมบริหารหล่อเลี้ยงต้องในเวลาเอาชายจีวรกรองน้ำดื่ม และในเวลา

ห่อของควรเคี้ยวและผลไม้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นเครื่องบริหารท้อง. แม้บาตร

ก็เป็นเครื่องบริหารกาย ในเวลาเอาบาตรนั้นตักน้ำอาบ และในเวลาทำความ

สะอาดกุฎิ เป็นเครื่องบริหารต้องในเวลารับอาหารบริโภค. แม้มีดก็เป็น

เครื่องบริหารกายในเวลาเอามีดนั้นเหลาไม้สีฟัน และในเวลาตกแต่งส่วนแห่ง

เท้าของเตียงและตั่ง และคันกลด เป็นเครื่องบริหารท้องในเวลาควั่นอ้อย และ

ปอกมะพร้าวเป็นต้น. เข็มเป็นเครื่องบริหารกายในเวลาเย็บจีวร เป็นเครื่อง

บริหารท้องในเวลาจิ้มขนมหรือผลไม้เคี้ยวกิน. รัดประคตเป็นเครื่องบริหาร

กายในเวลารัดกายเที่ยวไป เป็นเครื่องบริหารท้องในเวลามัดอ้อยเป็นต้น

แล้วหิ้วไป. เครื่องกรองน้ำ เป็นเครื่องบริหารกายในเวลาเอาเครื่องกรองน้ำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 531

นั้นกรองน้ำอาบ และในเวลาทำความสะอาดเสนาสนะ เป็นเครื่องบริหารท้อง

ในเวลากรองน้ำดื่ม และในเวลาเถือเอางา ข้าวสาร และข้าวเม่าเป็นต้น ด้วย

เครื่องกรองน้ำนั้นเคี้ยวกิน. นี้เป็นเพียงบริขารของภิกษุผู้มีบริขาร ๘ เท่านั้น.

แต่สำหรับภิกษุผู้มีบริขาร ๙ ผู้เข้าไปยังที่นอน เครื่องลาดอันตั้งอยู่บนที่นอน

นั้นหรือกุญแจ ย่อมควร. สำหรับภิกษุผู้มีบริขาร ๑๐ ที่นั่งหรือแผ่นหนัง

ย่อมควร. สำหรับภิกษุผู้มีบริขาร ๑๑ ไม้เท้า หรือขวดน้ำมัน ย่อมควร.

สำหรับ ภิกษุผู้มีบริขาร ๑๒ ร่ม หรือรองเท้า ย่อมควร. บรรดาภิกษุผู้มีบริขาร

เหล่านี้ ภิกษุผู้มีบริขาร ๘ เท่านั้นเป็นผู้สันโดษ. ไม่ควรว่า ภิกษุนอกนั้นว่า

เป็นผู้ไม่สันโดษ เป็นผู้มักมากอยากใหญ่. แม้ภิกษุเหล่านี้ ก็เป็นผู้มักน้อย

สันโดษ เลี้ยงง่าย มีความประพฤติเบา. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ตรัส

พระสูตรนี้ โดยหมายเอาภิกษุเหล่านั้น. ตรัสโดยหมายเอาภิกษุผู้มีบริขาร ๘.

จริงอยู่ ภิกษุผู้มีบริขาร ๘ นั้น ใส่มีดเล็กและเข็มลงในหม้อกรองน้ำแล้ววาง

ไว้ในบาตร คล้องบาตรที่บ่า กระทำจีวรให้กระชับกาย หลีกไปหาความสุข

ตามปรารถนา. ชื่อว่า ภิกษุนั้นจะกลับมาถือเอาอะไรอีกเป็นไม่มี ดังนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีความประพฤติเบา จึง

ตรัสว่า สนฺตุฏฺโ โหติ กายปริหารเกน จีวเรน ภิกษุเป็นผู้สันโดษ

ด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกายเป็นต้น .

ในบทเหล่านั้น บทว่า กายปริหาริเกน ได้แก่ เป็นเพียงเครื่อง

บริหารกาย. บทว่า กุจฺฉิปริหาริเกน ได้แก่ เป็นเพียงเครื่องบริหารท้อง.

บทว่า สมาทาเยว ปกฺกมติ ความว่า ภิกษุถือเอาบริขารนั้นทั้งหมดเพียง

๘ อย่าง ติดไปกับกาย. ภิกษุนั้นมิได้มีความเกี่ยวข้องผูกพันว่า วิหารของเรา

บริเวณของเรา อุปฐากของเรา ดังนี้ . ภิกษุนั้น ใช้สอยเสนาสนะ ไพรสณฑ์

โคนไม้ ป่า เงื้อมภูเขา ที่ตนปรารถนาแล้ว ๆ ดุจลูกศรพ้นจากสายธนู ดุจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 532

ช้างซับมันหลีกออกจากโขลง ฉะนั้น ยืนรูปเดียว นั่งรูปเดียว รูปเดียวทุก

อิริยาบถไม่มีเพื่อน ถึงความเป็นดุจนอแรด ที่ท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า

ภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตามได้

เที่ยวไปทั้ง ๔ ทิศ ไม่กระทบกระทั่ง

อดทนต่ออันตราย ไม่หวั่นสะดุ้ง เที่ยวไป

ผู้เดียว เช่นกับนอแรด

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงสาธกเนื้อความนั้น ด้วยข้ออุปมา

จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เสยฺยถาปิ ดังนี้. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปกฺขี สกุโณ

ได้แก่ นกมีปีก. บทว่า เฑติ แปลว่า บินไป. ความย่อในเรื่องนี้มีดังนี้

ธรรมดานกทั้งหลาย รู้ว่าถิ่นโน้นมีต้นไม้ มีผลสุก จึงพากันมาจากทิศต่าง ๆ

เอาเล็บ ปีก และจะงอยปากเป็นต้น แทง จิก กิน ผลไม้ของต้นไม้นั้น

นกเหล่านั้นมิได้คิดว่า ผลไม้นี้สำหรับวันนี้ ผลนี้สำหรับพรุ่งนี้ ก็เมื่อผลไม้

หมด นกทั้งหลายมิได้วางการป้องกันรักษาต้นไม้ มิได้วางปีก ขน เล็บ หรือ

จะงอยปากไว้ที่ต้นไม้นั้น ไม่ห่วงใยต้นไม้นั้น ปรารถนาจะไปทิศใด ก็มีภาระ

คือปีกเท่านั้น บินไปทางทิศนั้น ภิกษุนี้ก็เหมือนกัน หมดความข้อง หมด

ความห่วงใย หลีกไป คือ ถือเอาเพียงบริวาร ๘ แล้วก็หลีกไป.

บทว่า อริเยน ได้แก่ ไม่มีโทษ. บทว่า อชฺฌตฺต ได้แก่ ใน

อัตภาพของตน. บทว่า อนวชฺชสุข ได้แก่ ความสุขอันไม่มีโทษ. บทว่า

โส จกฺขุนา รูป ทิสฺวา ความว่า ภิกษุนั้นผู้ประกอบแล้วด้วยสีลขันธ์อันเป็น

อริยะนี้ เพราะเห็นรูปด้วยจักขุวิญญาณ. แม้ในบทที่เหลือคำที่ควรกล่าว ก็ได้

กล่าวไว้หมดแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค. บทว่า อพฺยาเสกสุข ได้แก่ ความสุข

ที่ไม่ชุ่มด้วยกิเลส. ท่านกล่าวว่า อวิกิณฺณสุข ดังนี้บ้าง. ด้วยว่า สุขเกิดจาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 533

อินทรีสังวร ชื่อว่า เป็นความสุขที่ไม่วุ่นวาย เพราะเป็นไปเพียงสักว่าเห็น

เป็นต้น ในอารมณ์มีรูปที่ตนเห็นเป็นอาทิเท่านั้น.

บทว่า โส อภิกฺกนฺเต ปฏิกฺกนฺเต ความว่า ภิกษุผู้ประกอบ

ด้วยความสำรวมอินทรีย์ อันมีใจเป็นที่หก ย่อมเป็นผู้ทำความรู้ตัวด้วยสติ-

สัมปชัญญะในฐานะ ๗ มีก้าวไป และถอยกลับเป็นต้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า

อภิกฺกนฺต ได้แก่ เดินไปข้างหน้า. บทว่า ปฏิกฺกนฺต ได้แก่ ถอยกลับ

บทว่า สมฺปชานการี โหติ ความว่า ภิกษุเข้าไปตั้งสติไว้ด้วยสามารถ

สัมปชัญญะ อันสัมปยุตด้วยสติ ๔ เหล่านี้ คือ สาตถกสัมปชัญญะ (ความ

รู้ตัวในกิจที่เป็นประโยชน์แก่ตน) สัปปายสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวในปัจจัย

ที่สบาย) โคจรสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวในธรรมเป็นโคจร) อสัมโมห-

สัมปชัญญะ (ความรู้ตัวในความไม่หลงงมงาย) แล้วกำหนดด้วยญาณ กระทำ

การก้าวไปและถอยกลับเหล่านั้น แม้ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. นี้เป็น

ความย่อในที่นี้ ส่วนความพิสดารผู้ปรารถนาพึงดูได้จากอรรถกถาสามัญญผล-

สูตรในทีฆนิกาย หรือจากอรรถกถาสติปัฏฐานสูตร ในมัชฌิมนิกาย.

ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอะไรด้วยบทเป็นอาทิว่า โส

อิมินา จ ดังนี้. ตอบว่า ทรงแสดงถึงปัจจัยสมบัติของภิกษุผู้อยู่ป่า. ด้วยว่า

ปัจจัย ๔ เหล่านี้ ไม่มีแก่ภิกษุใด การอยู่ป่าของภิกษุนั้นย่อมไม่สำเร็จ ภิกษุ

นั้นน่าจะต้องถูกกล่าวด้วยสัตว์เดียรัจฉาน หรือพวกพราน. เทวดาที่สิงอยู่ในป่า

จะพากันส่งเสียงอันน่ากลัวว่า ประโยชน์อะไรด้วยการอยู่ในป่าของภิกษุลามก

เห็นปานนี้ ดังนี้ แล้วเขกศีรษะไล่ให้หนีไป. ความไม่มีเกียรติยศก็จะแพร่

ออกไปว่า ภิกษุรูปโน้นเข้าไปป่า ได้กระทำกรรมอันลามกอย่างนี้ ๆ.

ก็ปัจจัย ๔ เหล่านี้มีอยู่แก่ภิกษุใด การอยู่ป่าของภิกษุนั้นย่อมสำเร็จ.

ด้วยว่าภิกษุนั้นพิจารณาศีลของคนเมื่อไม่เห็นจุดดำ หรือตกกระไร ๆ เกิดปีติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 534

เมื่อเห็นปีตินั้นโดยความสิ้น โดยความเสื่อม ย่อมหยั่งลงสู่อริยภูมิ. เหล่าเทวดา

ที่สิงอยู่ในป่ามีใจเป็นของตนก็พากันสรรเสริญ เกียรติยศของภิกษุนั้น ย่อม

แพร่ออกไปดุจหยาดน้ำมันที่เขาใส่ลงในน้ำ ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า วิวิตฺต ได้แก่ป่ามีเสียงน้อย. อธิบายว่า มีเสียงอึกทึกน้อย.

ในวิภังค์หมายถึง เสียงอึกทึกน้อยนั้น จึงกล่าวไว้ว่า บทว่า วิวิตฺต ความว่า

แม้หากว่าเสนาสนะอยู่ใกล้กัน แต่เสนาสนะนั้นไม่วุ่นวายด้วยคฤหัสถ์บรรพชิต

ด้วยเหตุนั้น เสนาสนะนั้นจึงชื่อว่าสงัด. ชื่อเสนาสนะเพราะเป็นที่นอนและ

ที่นั่ง. คำนี้เป็นชื่อของเตียงและตั่งเป็นต้น. ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า บทว่า

เสนาสน ได้แก่ เตียงบ้าง ที่นอนที่นั่งบ้าง ตั่งบ้าง ฟูกบ้าง หมอนบ้าง

วิหารบ้าง เรือนมุงด้านเดียวบ้าง ปราสาทบ้าง ปราสาทโล้นบ้าง ถ้าบ้าง

ป้อมบ้าง เรือนยอดบ้าง ปราสาทบ้าง ปราสาทโล้นบ้าง ถ้ำบ้าง

ก็หรือว่าภิกษุทั้งหลายหลีกออกไปในที่ใด ที่ทั้งหมดนั้นชื่อว่า เสนาสนะ. อีก

อย่างหนึ่ง เสนาสนะนี้คือ วิหาร เรือนมุงด้านเดียว ปราสาท ปราสาทโล้น ถ้ำ

ชื่อเสนาสนะคือวิหาร. เสนาสนะนี้คือ เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ชื่อว่าเสนาสนะ

คือเตียงตั่ง. เสนาสนะนี้ คือ แผ่นหนังทำปลอกหมอน เครื่องลาดด้วยหญ้า

เครื่องลาดด้วยใบไม้ ชื่อว่า เสนาสนะคือสันถัต . บทว่า ยตฺถ วา ปน ภิกฺขู

ปฏิกฺกมนฺติ ก็หรือว่า ภิกษุทั้งหลายหลีกออกไปในที่ใด นี้ ชื่อว่า เสนาสนะ

คือโอกาส เสนาสนะมี ๔ อย่าง ด้วยประการฉะนี้. แม้เสนาสนะนั้น ท่าน

ใช้ศัพท์ว่า เสนาสนะเหมือนกันหมด.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงถึงเสนาสนะอันสมควรแก่ภิกษุ

ผู้จาริกไปในทิศทั้ง ๔ เช่นกับนกนี้ จึงตรัส ว่า อรญฺ รุกฺขมูล เป็นอาทิ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อรฺ ได้แก่ ที่ๆ ออกไปภายนอกเสาเขื่อนทั้งหมด.

บทว่า อรญฺ นี้จัดว่าป่าที่มาเพราะอำนาจภิกษุณี. (บทบัญญัติของภิกษุณี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 535

ห้ามไม่ให้อยู่ป่า) ชื่อว่าเสนาสนะป่า ได้แก่ เสนาสนะที่กำหนดไว้ ชั่ว ๕๐๐

ลูกธนู. เพราะฉะนั้น เสนาสนะนี้จึงสมควรแก่ภิกษุนี้. ลักษณะของเสนาสนะ

นั้น กล่าวไว้แล้วในธุตังคนิเทศคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

บทว่า รุกฺขมูล ได้แก่ โคนไม้ที่สงัดมีเงาทึบแห่งใดแห่งหนึ่ง

บทว่า ปพฺพต ได้แก่ ภูเขาศิลา. จริงอยู่ในที่นั้น ภิกษุอาบน้ำที่แอ่งน้ำ

แล้วนั่งใต้เงาไม้อันเย็นเมื่อทิศต่าง ๆ ปรากฏอยู่ ถูกลมเย็นโชยมา จิตก็มี

อารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า กนฺทร ความว่า น้ำ ท่านเรียกว่า ก เอกเทศ

แห่งภูเขาที่ถูกน้ำเซาะพังเพราะน้ำ ที่เขาเรียกว่านิตัมพะไหล่เขาบ้าง นทีกุญชะ

ท้องเขาบ้าง. ก็ในที่นั้นมีทรายสีคล้ายแผ่นเงิน. น้ำคล้ายก้อนแก้วมณีไหลไป

เบื้องบนป่าชัฏ เหมือนเพดานแก้วมณี ภิกษุลงไปสู่แอ่งน้ำ เห็นปานนี้ ดื่มน้ำ

เอาน้ำลูบตัวให้เย็น พูนทรายขึ้นแล้วปูผ้าบังสุกุลจีวร นั่งบำเพ็ญสมณธรรม

จิตก็มีอารมณ์เป็นหนึ่ง. บทว่า คิริคุห ได้แก่ ระหว่างภูเขาสองลูก หรือ

ช่องใหญ่คล้ายอุโมงค์ในภูเขาลูกหนึ่ง ลักษณะป่าช้า กล่าวไว้แล้วในคัมภีร์

วิสุทธิมรรค. บทว่า วนปตฺถ ได้แก่ ที่อันเลยอุปจาระของพวกมนุษย์ ซึ่ง

เขาไม่ไถ ไม่หว่าน. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวคำเป็นอาทิว่า คำว่า

วนปตฺถ นี้เป็นชื่อของเสนาสนะที่อยู่ไกล. บทว่า อพฺโภกาส ได้แก่

ที่ไม่ได้มุงบังไว้. ก็ภิกษุเมื่อหวังก็ทำกลดในที่นี้แล้วอยู่ได้. บทว่า ปลาลปุญฺช

ได้แก่ ลอมฟาง. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายชักฟางมาจากลอมฟางใหญ่แล้วทำให้

เป็นที่อยู่คล้ายที่เร้นในเงื้อมเขา ใส่ฟางไว้ข้างบนกอไม้ พุ่มไม้เป็นต้น แล้ว

นั่งภายใต้บำเพ็ญสมณธรรม. ท่านกล่าวคำนี้หมายถึงลอมฟางนั้น.

บทว่า ปจฺฉาภตฺต ได้แก่ ภายหลังภัตร (อาหาร). บทว่า

ปิณฺฑปาตปฏิกฺกนฺโต ได้แก่ กลับจากการแสวงหาบิณฑบาต. บทว่า

ปลฺลงฺก ได้แก่ นั่งขดขาโดยรอบ (นั่งขัดสมาธิ). บทว่า อาภุชิตฺวา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 536

ได้แก่ ขด. บทว่า อุชุ กาย ปณิธาย ได้แก่ ตั้งสรีระเบื้องบนให้ตรง

ให้ปลายกับปลายกระดูกสันหลัง ๑๘ ข้อจดเรียงกัน เมื่อนั่งอย่างนี้หนังเนื้อ

และเอ็นก็ไม่ค้อม เมื่อเป็นเช่นนั้น เวทนาเหล่าใดอันมีความค้อมเป็นปัจจัย

จึงเกิดขึ้นทุกขณะแก่ภิกษุเหล่านั้น เวทนานั้นก็จะไม่เกิดขึ้น เมื่อเวทนา

เหล่านั้นไม่เกิด จิตก็ย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่ง กรรมฐานก็ไม่ตก มีแต่เจริญ

งอกงาม.

บทว่า ปริมุข สติ อุปฏเปตฺวา ความว่า ตั้งสติอันมีหน้าเฉพาะ

ต่อกรรมฐาน หรือกระทำไว้ใกล้หน้า. ด้วยเหตุนั้นแล ท่านจึงกล่าวไว้ใน

วิภังค์ว่า สตินี้เป็นอันเข้าไปทั้งไว้แล้ว เข้าไปตั้งไว้แล้วด้วยดี ที่ปลายจมูกหรือ

ที่มุขนิมิตใกล้หน้า ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปริมุข สตึ อุปฏเปตฺวา

(เข้าไปจั้งสติไว้เฉพาะหน้า) ดังนี้. อีกนัยหนึ่ง ศัพท์ ปริ มีอรรถว่า กำหนด.

ศัพท์ว่า มุข มีอรรถว่า นำออกไป. บทว่า สติ มีอรรถว่า เข้าไปตั้งไว้.

ด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปริมุข สตึ ดังนี้ พึงทราบความในบทนี้โดย

นัยที่กล่าวไว้แล้วในปฏิสัมภิทา ด้วยประการฉะนี้. ความย่อในปฏิสัมภิทานั้นว่า

การทำสติอันกำหนดไว้และนำออกไป.

ในบทว่า อภิชฺฌ โลเก นี้ อุปาทานขันธ์ ๕ ชื่อว่าโลก เพราะ

อรรถว่าชำรุดทรุดโทรมไป. เพราะฉะนั้น พึงเห็นความในบทนี้อย่างนี้ว่า

ละราคะ ข่มกามฉันทะในอุปาทานขันธ์ ๕ ดังนี้ . บทว่า วิคตาภิชฺเฌน

ความว่า มีใจ ชื่อว่าปราศจากอภิชฌา เพราะละได้ด้วยการข่มไว้มิใช่มีใจ

เช่นกับจักขุวิญญาณ. บทว่า อภิชฺฌาย จิตฺต ปริโสเธติ ได้แก่ ชำระ

จิตให้หมดจดจากอภิชฌา. อธิบายว่า ภิกษุกระทำโดยประการทำอภิชฌาปล่อย

จิตนั้นแล้วจะไม่กลับมาเกาะจิตอีก. แม้ในบทว่า พฺยาปาทปฺปโทส ปหาย

เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน . ชื่อว่า พยาบาทเพราะเบียดเบียน คือจิต ต้องละ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 537

ปกติที่เคยมีมาในก่อนด้วยพยาบาทนี้ดุจขนมบูดเป็นต้น . ชื่อโทสะ เพราะย่อม

ประทุษร้ายเอง หรือให้ผู้อื่นประทุษร้าย คือให้พินาศโดยให้ถึงความพิการ.

ทั้งสองนี้เป็นชื่อของความโกรธนั้นแล.

ความป่วยทางจิต ชื่อว่า ถีนะ ความป่วยทางเจตสิกชื่อว่า มิทธะ

ถีนะความง่วงเหงาและมิทธะความหาวนอน ชื่อว่า ถีนมิทธะ. บทว่า

อาโลกสญฺี ความว่า ภิกษุประกอบด้วยสัญญาอันบริสุทธิ์ปราศจากนิวรณ์

สามารถจำหมายแสงสว่างที่เห็นทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน . บทว่า สโต สมฺป-

ชาโน ได้แก่ ประกอบด้วยสติและญาณ. ท่านกล่าวไว้ทั้งสองนี้ก็เพราะเป็น

ธรรมอุปการะแก่อาโลกสัญญา. ความฟุ้งซ่าน และความรำคาญ ชื่อว่า

อุทธัจจกุกกุจจะ.

บทว่า ติณฺณวิจิกิจฺโฉ ได้แก่ ข้าม คือล่วงวิจิกิจฉาได้. ชื่อว่า

อกถกถี (ไม่มีความสงสัย) เพราะไม่มีความสำคัญ หมายว่านี้อย่างไร. บทว่า

กุสเลสุ ธมฺเมสุ ได้แก่ ในธรรมอันไม่มีโทษ. อธิบายว่า ไม่สงสัย คือ

ไม่แคลงใจอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้เป็นกุศลอย่างไร.

นี้เป็นความสังเขปในบทนี้. ก็ในนิวรณ์เหล่านี้ คำที่ควรกล่าวโดยต่างแห่ง

ถ้อยคำ ความ และลักษณะเป็นต้น ก็กล่าวไว้หมดแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

บทว่า ปญฺาย ทุพฺพลีกรเณ ความว่า เพราะเหตุที่นิวรณ์ ๕

เหล่านี้เมื่อเกิด ย่อมไม่ให้เกิดปัญญาอันเป็นโลกิยะและโลกุตระซึ่งยังไม่เกิดขึ้น

แม้เกิดขึ้นแล้วก็กำจัดสมาบัติ ๘ หรืออภิญญา ๕ ให้ตกไป ฉะนั้น จึงตรัสว่า

ปญฺาย ทุพฺพลีกรณา (ทำปัญญาให้หมกกำลัง) ดังนี้. บททั้งหลายมี

อาทิว่า วิวิจฺเจว กเมหิ กล่าวไว้พิสดารแล้วในคัมภีร์วิสุทธิมรรค.

บทเป็นต้นว่า อิเม อาสวา ตรัสเพื่อประกาศสัจจะสี่โดยปริยาย

อื่นอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงความที่ลัทธิภายนอกไม่มีผล ด้วยองค์ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 538

ในภายหลังแล้ว ทรงประกาศความที่คำสอนของพระองค์ลึกซึ้งด้วยองค์ที่ ๔

ทรงจบเทศนาด้วยอดธรรมคือพระอรหัต ด้วยบทเพียงเท่านี้ว่า นาปร

อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ ดังนี้ บัดนี้ เมื่อจะทรงกระชับพระเทศนาให้

หนักแน่น จึงตรัสคำเป็นอาทิว่า เอว โข ภิกฺขเว ดังนี้

จบอรรถกถาอัตตันตปสูตรที่ ๘

๙. ตัณหาสูตร

ว่าด้วยตัณหาเป็นดังข่าย

[๑๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยว

ไป แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์

โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเป็นเหมือนหญ้าปล้อง

ไม่ไห้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้ เธอทั้งหลายจงพึง

จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตัณหาเช่นดังข่าย ท่องเที่ยวไป

แผ่ซ่านไป เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่าง ๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้

ซึ่งนุงเหมือนกลุ่มด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่าย

และหญ้าปล้อง ไม่ให้ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสงสารไปได้นั้น

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้ อาศัยขันธบัญจก

ภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการนี้ อาศัยขันธบัญจกภายนอก ตัณหาวิจริต

๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายในเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมี

ความถือว่า เรามี ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 539

เราเป็นอย่างอื่น เราไม่เป็นอยู่ เราพึงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น เรา

พึงเป็นอย่างอื่น แม้ไฉนเราพึงเป็น แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้ แม้ไฉนเรา

พึงเป็นอย่างนั้น แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่น เราจักเป็น เราจักเป็นอย่างนี้

เราจักเป็นอย่างนั้น เราจักเป็นอย่างอื่น ตัณหาวิจริต ๘ ประการนี้อาศัย

ขันธบัญจกภายใน. ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอันอาศัยขันธบัญจกภายนอก

เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีความถือว่า เรามีด้วยขันธบัญจกนี้

ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้ เราเป็นอย่างนั้นด้วย

ขันธบัญจกนี้ เราเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ เราเป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้

เราไม่เป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างนี้

ด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างอื่น

ด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึง

เป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้

เราจักเป็นด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็น

อย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ ตัณหาวิจริต

๑๘ ประการนี้อาศัยขันธบัญจกภายนอก ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธ-

บัญจกภายใน ตัณหาวิจริต ๑๘ ประการอาศัยขันธบัญจกภายนอก ด้วยประการ

ฉะนี้ รวมเรียกว่า ตัณหาวิจริตเห็นปานนี้ ที่เป็นอดีต ๓๖ อนาคต ๓๖ เป็น

ปัจจุบัน ๓๖ รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ ด้วยประการฉะนี้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหานี้นั้นแล เช่นดังข่ายท่องเที่ยวไปแผ่ซ่านไป

เกาะเกี่ยวอยู่ในอารมณ์ต่างๆ เป็นเครื่องปกคลุมหุ้มห่อสัตว์โลกนี้ ซึ่งนุงเหมือน

ด้ายอันยุ่งเหยิง ขอดเป็นปมเป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ไม่ให้

ล่วงพ้นอบาย ทุคติวินิบาต และสงสารไปได้.

จบตัณหาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 540

อรรถกถาตัณหาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในตัณหาสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ชาลินึ คือ เสมือนตาข่าย. อธิบายว่า ขึ้นชื่อว่าตาข่ายที

เขาถักไว้ยุ่งเหยิงโดยรอบ ฉันใด แม้ตัณหาก็ฉันนั้น ท่านเรียกว่า ชาลินี

เพราะเป็นเสมือนตาข่าย. ตัณหาชื่อว่า ชาลินี เพราะตัณหานี้ครอบงำภพ

๓ อยู่ มีตาข่ายอันเป็นส่วนของตนในภพนั้น ๆ ดังนี้ก็มี. บทว่า สสริต คือ

ท่องไปในภพนั้น ๆ อยู่. บทว่า วิสฏ ได้แก่ แผ่ไป คือ ซ่านไป. บทว่า

วิสตฺติก ได้แก่ ข้องติดอยู่ในภพนั้น ๆ. อีกอย่างหนึ่ง พึงเห็นความโดยนัย

เป็นต้นว่า ตัณหาชื่อวิสัตติกา มีรากเป็นพิษ ตัณหาชื่อวิสัตติกา มีผลเป็นพิษ

ดังนี้. บทว่า อุทฺธสฺโต ได้แก่ ปกคลุมเบื้องบน. บทว่า ปริโยนทฺโธ

ได้แก่ หุ้มรัดไว้โดยรอบ

บทว่า ตนฺตากุลกชาโต คือ ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง. อธิบายว่า

ด้ายของช่างหูก เก็บไว้ไม่ดี ถูกหนูกัด ย่อมยุ่งเหยิงในที่นั้น ๆ ยากที่จะกำหนด

ปลายกับปลาย หรือโคนกับโคน ว่านี้ปลาย นี้โคนดังนี้ ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย

ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถูกตัณหานี้รึงรัด วุ่นวายยุ่งเหยิง ไม่สามารถจะทำทาง

เล่นออกแห่งตัณหาของตนให้ตรงได้. บทว่า คุลาคุณฺฑิกชาโต ได้แก่

ด้ายที่ชุบน้ำข้าวของช่างหูก ท่านเรียกว่า คุลาคุณฑิกะ (ด้ายชุบน้ำข้าว)

อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า รังของนางนกชื่อว่า คุลา ดังนี้ก็มี พึงประกอบ

ความโดยนัยก่อนว่า แม้ทั้งสองนั้น ก็ยุ่งยากที่จะกำหนดปลายกับปลาย หรือ

โคนกับโคน ฉันใด.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 541

บทว่า มุญฺชปพฺพชภูโต ได้แก่ เกิดเป็นดุจหญ้ามุงกระต่าย และ

หญ้าปล้อง คือ โลกเกิดเป็นเช่นนั้น. การที่จะถือเอาเชือกที่เขาทุบหญ้าเหล่านั้น ๆ

ทำแล้วตกไปในที่ไหนๆในเวลาที่มันเก่าแล้ว ก็ยากที่จะเก็บกำหนดปลายหรือ

โคนของหญ้าเหล่านั้นได้ว่า นี้ปลาย นี้โคน ดังนี้ ผู้ที่ตั้งอยู่ในความพยายาม

เฉพาะตัวจึงสามารถทำเชือกแม้นั้นให้ตรงได้ เว้นพระโพธิสัตว์เสีย สัตว์อื่นก็

ไม่สามารถจะทำลายตาข่าย คือตัณหา โดยธรรมดาของตนแล้ว ทำทางแล่นออก

จากทุกข์ของตนให้ตรงได้ ฉันใด โลกนี้ก็ฉันนั้น ถูกตาข่ายคือตัณหาหุ้มรัดไว้

ย่อมไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต วัฏสงสารไปได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อปาโย ได้แก่ นรก กำเนิดเดียรัจฉาน

เปตติวิสัยและอสุรกาย. แม้ทั้งหมดเหล่านั้นท่านเรียกว่า อบาย เพราะไม่มี

ความเจริญ กล่าวคือ ความงอกงาม. อนึ่ง ชื่อว่าทุคติเพราะความเป็นทาง

ไปแห่งทุกข์. ชื่อวินิบาต เพราะตกไปจากกายที่เป็นสุข. ส่วนนอกนี้ มีอธิบายว่า

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็น

ไปอยู่ไม่ขายสาย ท่านเรียกว่า สงสาร.

โลกไม่ล่วงไม่พ้นทั้งหมดนั้น โดยที่แท้โลกถือเอาจุติและปฏิสนธิ

บ่อย ๆ อย่างนี้ คือ ต่อจากจุติถือเอาปฏิสนธิ ต่อจากปฏิสนธิถือเอาจุติ ย่อมหมุน

เวียนไปในภพ ๓ กำเนิด ๔ คติ ๕ วิญญาณฐิติ ๗ สัตตาวาส ๙ ดุจเรือถูก

ลมซัดไปในมหาสมุทร ดุจโคที่เทียมยนต์.

บทว่า อชฺฌตฺติกสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยขันธบัญจกภายใน.

บทว่า อชฺฌตฺติกสฺส นี้เป็นฉัฏฐิวิภัตติลงในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. บทว่า

พาหริสฺส อุปาทาย แปลว่า อาศัยขันธบัญจกภายนอก. บทว่า อสฺมีติ-

ภิกฺขเว สติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การรวมถือเอาด้วยอำนาจตัณหา

มานะทิฏฐิ อาศัยขันธบัญจกภายในนี้ใด ย่อมมีความนึกว่าเราเป็นย่อมมี คือ

ความนึกในขันธบัญจกนั้น. ก็ในบททั้งหลายมีอาทิว่า อิตฺถสฺมีติ โหติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 542

ดังนี้ เมื่อมีการยึดถือโดยรวบรัดอย่างนี้ว่า เป็นเรา ย่อมเป็นอันยึดถือโดย

ส่วนสอง คือ ไม่เทียบและเทียบ ในบทเหล่านั้นบทว่า อนุปนิธาย ความว่า

ไม่เทียบเหตุอื่น คือ ความนึกว่าเราเป็นอย่างนี้ ย่อมมี เพราะทำให้เป็น

อารมณ์ในธรรม คือความลามกตามภาวะของตน อธิบายว่า ความนึกว่าใน

บรรดากษัตริย์เป็นต้น เราเป็นอย่างนี้ ย่อมมีด้วยอำนาจตัณหามานะและทิฏฐิ

อย่างนี้. นี้คือการไม่เทียบยึดถือ. ส่วนการเทียบยึดถือมีสองอย่าง คือ โดย

เสมอกัน โดยไม่เสมอกัน เพื่อทรงแสดงข้อนั้น จึงตรัสว่า เราเป็นอย่างนี้

และเราเป็นอย่างอื่น. ในบทเหล่านั้นบทว่า เอวสฺมิ นี้ได้แก่ เทียบยึดถือ

โดยเสมอกันว่า เราเป็นเหมือนกษัตริย์องค์นี้ เป็นเหมือนพราหมณ์ผู้นี้. บทว่า

อญฺถาสฺมิ ความว่า ก็ยึดถือโดยไม่เสมอกันดังนี้ว่า เราเป็นคนเลว หรือ

เป็นคนดีกว่า นอกจากกษัตริย์องค์นี้ พราหมณ์ผู้นี้. พึงทราบตัณหาวิจริต

(ความคิดนึกด้วยอำนาจตัณหา) ๔ อย่าง เหล่านี้โดยอำนาจปัจจุบันกาลก่อน.

ก็ตัณหาวิจริตสองเหล่านี้คือ อสสฺมีติ สตสฺมีติ พึงทราบว่า เพราะเหตุที่

บทว่า อสสฺมิ นี้เป็นชื่อของความเที่ยงของสิ่งที่ไม่เที่ยง บทว่า สตสฺมิ

เป็นชื่อของความไม่เที่ยงของสิ่งที่เที่ยง ฉะนั้นจึงตรัสด้วยอำนาจสัสสตทิฏฐิ

และอุจเฉททิฏฐิ. ตัณหาวิจริต ๔ มีคำว่าสันติเป็นต้น ต่อจากนี้ตรัสด้วยอำนาจ

ความสงสัยและความปริวิตก. ในตัณหาวิจริตทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า สนฺติ

โหติ พึงทราบความอย่างนี้ว่า ความนึกว่า เราพึงเป็นย่อมมี. ส่วนอธิบาย

ในบทนี้พึงถือเอาโดยนัยที่กล่าวแล้วในหมวด ๔ ก่อน ๆ อีกอย่างหนึ่ง ตัณหา

วิจริต ๔ มีคำว่าสันติเป็นอาทิ ตรัสด้วยอำนาจความปรารถนา และความตั้งใจ

อย่างนี้ว่า ไฉนเราจะพึงเป็นดังนี้ . ตัณหาวิจริตแม้เหล่านั้นพึงทราบโดยนัยที่

กล่าวแล้วในหมวด ๔ ก่อนๆ ก็ตัณหาวิจริต ๔ มีคำว่า ภวิสฺสนฺติ เป็นอาทิ

ตรัสด้วยอำนาจอนาคตกาล. พึงทราบเนื้อความแห่งตัณหาวิจริตเหล่านั้น โดย

นัยที่กล่าวแล้วในหมวด ๔ ก่อน ๆ นั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 543

บัณฑิตพึงทกให้แจ้งตัณหาวิจริต ๑๘

เหล่านี้ คือ ทิฏฐิสีสะ ๒ สุทธสีสะ ๔

สีสมูลกะ ๑๒.

ก็ในคุณหาวิจริตเหล่านั้น ๒ หัวข้อเหล่านี้คือ อสฺมีติ ความนึกว่า

เราเป็น ๑ อิตฺถสฺมีติ ความนึกว่าเราเป็นอย่างนี้ ๑ ชื่อว่า ทิฏิสีสะ.

๔ หัวข้อเหล่านั้นคือ เอวสฺมีติ ความนึกว่าเราเป็นอย่างนั้น ๑ อญฺาถาสฺมีติ

ความนึกว่าเราเป็นอย่างอื่น ๑ อสสฺมีติ ความนึกว่าเราเป็นคนไม่ดี ๑ สตสฺมีติ

ความนึกว่า เราเป็นคนดี ๑ ชื่อสุทธสีสะ. ๑๒ หัวข้อ คือ ตัณหาวิจริต ๓

มีอาทิว่า อิตฺถสฺมีติ ชื่อว่าสีสมูลกะ พึงทราบธรรมคือตัณหาวิจริต ๑๘

เหล่านี้คือ ทิฏฐสีสะ ๒ สุทธสีสะ ๔ สีสมูลกะ ๑๒ ดังกล่าวมาฉะนี้. พึงทราบ

ตัณหาวิจริต ๑๘ อาศัยขันธปัญจกภายในเหล่านี้ก่อน. ส่วนในตัณหาวิจริตอาศัย

ขันธปัญจกภายนอกก็นัยนี้เหมือนกัน . บทว่า อิมินา พึงทราบความต่างกันนี้

คือ ด้วยรูปนี้หรือ ฯลฯ ด้วยวิญญาณนี้. บทที่เหลือเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน.

บทว่า อิติ เอวรูปานิ อตีตานิ ฉตฺตึส ได้แก่ตัณหาวิจริต ๓๖ ในกาลเป็น

อดีตของบุคคลแต่ละคน. บทว่า อนาคตานิ ฉตฺตึส ได้แก่ตัณหาวิจริต ๓๖

ในอนาคตกาล ของบุคคลแต่ละคน. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺนานิ ฉตฺตึส ได้แก่

ตัณหาวิจริต ๓๖ ในปัจจุบันกาลของบุคคลคนหนึ่ง หรือมากคนตามเหตุที่เป็น

จริง. ตัณหาวิจริตในอดีตกาล ๓๖ ในอนาคตกาล ๓๖ ในปัจจุบันกาล ๓๖

โดยทำนองนี้แหละของสัตว์ทั้งหมด. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายอันต่างกันด้วย

ตัณหามานะทิฏฐิ หาประมาณมิได้ ไม่มีที่สุด. ก็ในบทว่า อฏฺตณฺหา

วิจริตสต โหติ นี้ พึงเห็นความอย่างนี้ว่า ตัณหาวิจริตรวมเป็น ๑๐๘ ดังนี้.

จบอรรถกถาตัณหาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 544

๑๐. เปมสูตร

ว่าด้วยธรรมชาติ ๔ ประการ

[๒๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้ย่อมเกิด ๔

ประการเป็นไฉน คือ ความรักย่อมเกิดเพราะความรัก ๑ โทสะย่อมเกิด

เพราะความรัก ๑ ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะ ๑ โทสะย่อมเกิดเพราะ

โทสะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร บุคคล

ในโลกนี้เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นๆมาพระพฤติต่อ

บุคคลที่รักนั้น ด้วยอาการที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมมีความคิด

อย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของเรา

ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เขาย่อมเกิดความรักในคน

เหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะความรักอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะความรักอย่างไร บุคคล

ในโลกนี้เป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจของบุคคล คนอื่นมาประพฤติ

ต่อบุคคลนั้นด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ บุคคล

นั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่นมาประพฤติต่อบุคคลที่น่าปรารถนา น่าใคร่

น่าพอใจของเราด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เขาย่อม

เกิดโทสะในคนเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะความรัก

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคล

ในโลกนี้ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่น ๆ

มาประพฤติต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 545

บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่น ๆ มาประพฤติต่อบุคคลที่ไม่น่า

ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันไม่น่าปรารถนา

ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ เขาย่อมเกิดความรักใคร่ในคนเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุ-

ทั้งหลาย ความรักย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทสะย่อมเกิดเพราะโทสะอย่างไร บุคคลใน

โลกนี้ไม่เป็นที่น่าปรารถนา ไม่น่ารักใคร่ ไม่น่าพอใจของบุคคล คนอื่น ๆ

มาประพฤติต่อบุคคลนั้น ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

บุคคลนั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้ว่า คนอื่น ๆ มาประพฤติต่อคนที่ไม่น่าปรารถนา

ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจของเรา ด้วยอาการอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ

เขาย่อมเกิดโทสะในบุคคลเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทสะย่อมเกิดเพราะ

โทสะอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติ ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุสงัดจากกาม ฯลฯ เข้าปฐมฌานอยู่

สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้โทสะ

ที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ ย่อม

ไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ดูก่อน-

ภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุเข้าทุติยฌาน ฯลฯ ตติยฌาน ฯลฯ จตุตถฌาน

สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้โทสะที่

บังเกิดเพราะความรัก ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ

ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ สมัยนั้น แม้ความรักที่เกิดเพราะ

ความรัก เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็น

เหมือนตาลยอดด้วยทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา แม้โทสะที่เกิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 546

เพราะความรัก.. . แม้ความรักที่เกิดเพราะโทสะ . . . แม้โทสะที่เกิดเพราะโทสะ

เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นละได้แล้ว ตัดรากขาดแล้วทำให้เป็นเหมือนตาล

ยอดด้วน ทำให้ไม่ให้มี ไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุนี้เราเรียกว่า

ไม่ยึดถือ ไม่โต้ตอบ ไม่บังหวนควัน ไม่ลุกโพลง ไม่ถูกไฟไหม้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่ายึดถืออย่างไร ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีรูป เห็นรูปในตนหรือเห็นตนในรูป

ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีเวทนา เห็นเวทนาในตนหรือเห็น

ตนในเวทนา ย่อมเห็นสัญญาโดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีสัญญา เห็นสัญญา

ในตน หรือเห็นตนในสัญญา ย่อมเห็นสังขารทั้งหลาย โดยความเป็นตน

เห็นตนว่ามีสังขาร เห็นสังขารในตน หรือเห็นตนในสังขาร ย่อมเห็นวิญญาณ

โดยความเป็นตน เห็นตนว่ามีวิญญาณ เห็นวิญญาณในตน หรือเห็นตนใน

วิญญาณ ภิกษุ ชื่อว่า ยึดถือ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุชื่อว่าไม่ยึดถืออย่างไร ภิกษุในธรรมวินัย

นี้ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ไม่เห็นตนว่ามีรูป ไม่เห็นรูปในตน หรือ

ไม่เห็นตนในรูป ไม่เห็นเวทนา... ไม่เห็นสัญญา... ไม่เห็นสังขาร... ไม่เห็น

วิญญาณโดยความเป็นตน ไม่เห็นตนว่ามีวิญญาณ ไม่เห็นวิญญาณในตน

หรือไม่เห็นตนในวิญญาณ ภิกษุ ชื่อว่า ไม่ยึดถือ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าย่อมโต้ตอบอย่างไร ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ย่อมด่าตอบผู้ด่าตน ย่อมโกรธตอบผู้โกรธตน ย่อมไม่โต้เถียงตอบผู้โต้เถียง

คน ภิกษุ ชื้อว่า ย่อมโต้ตอบ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าย่อมไม่โต้ตอบอย่างไร ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ย่อมไม่ด่า อบผู้ด่าคน ย่อมไม่โกรธตอบผู้โกรธ น ย่อมไม่โต้เถียงตอบ

ผู้โต้เถียงตน ภิกษุ ชื่อว่า ไม่โต้ตอบ อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 547

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมบังหวนควันอย่างไร เมื่อมีความถือว่า

เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างอื่น เราเป็นอยู่ เราไม่เป็นอยู่

เราพึงเป็น เราพึงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น เราพึงเป็นอย่างอื่น แม้ไฉน

เราพึงเป็น แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นอย่างนั้น แม้ไฉน

เราพึงเป็นอย่างอื่น เราจักเป็น เราจัก เป็นอย่างนี้ เราจักเป็นอย่างนั้น

เราจักเป็นอย่างอื่น ภิกษุ ชื่อว่า ย่อมบังหวนควัน อย่างนั้นแล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมไม่บังหวนควันอย่างไร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายเมื่อไม่มีความถือว่า เรามีอยู่ ก็ย่อมไม่มีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้

...เราจักเป็นอย่างอื่น ภิกษุ ชื่อว่า ย่อมไม่บังหวนควัน อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุลุกโพลงอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อมีความถือว่า เรามีขันธบัญจกนี้ ก็ย่อมมีความถือว่า เราเป็นอย่างนี้ด้วย

ขันธบัญจกนี้ เราเป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้ เราไม่เป็นอยู่ด้วยขันธบัญจกนี้

เราพึงเป็นขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราพึงเป็นอย่าง

อื่นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็นด้วยขันธบัญจกนี้ แม้ไฉนเราพึงเป็น

อย่างนั้นด้วยขันธบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่างนี้ด้วยขันบัญจกนี้ เราจักเป็นอย่าง

อื่นด้วยขันธบัญจกนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ชื่อว่า ลุกโพลง อย่างนี้แล

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ลุกโพลงอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อไม่มีความถือว่า เรามีด้วยขันธบัญจกนี้ ก็ย่อมไม่มีความถือว่า เราเป็นอย่าง

นี้ด้วยขันธบัญจกนี้...เราจักเป็นอย่างอื่นด้วยขันธบัญจกนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุ ชื่อว่า ไม่ลุกโพลงอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุถูกไฟไหม้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ยังละอิสมิมานะ ตัดรากขาด ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน ทำไม่ให้มี

ไม่ให้เกิดอีกต่อไปเป็นธรรมดาไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ชื่อว่า

ถูกไฟไหม้อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 548

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ถูกไฟไหม้อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เป็นผู้ละอัสมิมานะได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว ทำให้เป็นเหมือนตาลยอดด้วน

ทำไม่ให้มี ไม่ให้เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ชื่อว่า

ไม่ถูกไฟไหม้อย่างนี้แล.

จบเปมสูตรที่ ๑๐

จบมหาวรรคที่ ๕

จบจตุตถปัณณาสก์

อรรถกถาเปมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเปมสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า น อุสฺเสเนติ ได้แก่ ไม่ยกขึ้นด้วยอำนาจทิฏฐิ. บทว่า

ปฏิสฺเสเนติ ได้แก่ มีผู้โกรธก็ไม่ถือเป็นเหตุทะเลาะบาดหมาง. บทว่า

ธูปายติ ได้แก่ ไม่บังหวนควัน (ไม่ครุ่นคิด) ด้วยอำนาจตัณหาวิจริตอาศัย

ขันธบัญจกภายใน. บทว่า น ปชฺชลติ ได้แก่ ไม่ลุกเป็นเปลวด้วยอำนาจ

ตัณหาวิจริตอาศัยขันธบัญจกภายนอก. บทว่า น ปชฺฌายติ ได้แก่ ไม่ไหม้

ด้วยอำนาจอัสมิมานะ (การถือเราถือเขา). บทที่เหลือพึงทราบโดยนัยแห่งบาลี

นั่นแล วัฏฏะวิวัฏฏะตรัสไว้แล้วในสูตรนี้.

จบอรรถกถาเปมสูตรที่ ๑๐

จบมหาวรรควรรณนาที่ ๕

จตุตถปัณณาสก์ จบบริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 549

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โสตานุคตสูตร ๒. ฐานสูตร ๓. ภัททิยสูตร ๔. สามุคิย-

สูตร ๕. วัปปสูตร ๖. สาตถสูตร ๗. มัลลิกสูตร ๘. อัตตันตปสูตร

๙. ตัณหาสูตร ๑๐. เปมสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 550

วรรคที่ไม่สงเคราะห์เป็นปัณณาสก์

สัปปุริสวรรคที่ ๑

๑. สิกขาปทสูตร

ทรงแสดงอสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ

[๒๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่ง

กว่าอสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจงพึง จงเอาใจใส่ให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มี.

พระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นคนฆ่าสัตว์ประพฤติ

ผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาท

บุคคลนี้เรียกว่า อสัปบุรุษ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ เป็นคนฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์

อีกด้วย ลักทรัพย์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์อีกด้วย

ประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม

อีกด้วย พูดเท็จด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จอีกด้วย ดื่มน้ำเมา

คือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาทด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นใน

การดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาทอีกด้วย บุคคลนี้

เราเรียกว่า อสัปบุรุษยิ่งกว่าอสัปบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 551

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็น

ผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิด

ในกาม งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอัน

เป็นฐานแห่งความประมาท บุคคลนี้เราเรียกว่า สัปบุรุษ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษผู้ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้น จากการฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้

งดเว้นจากการฆ่าสัตว์อีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากการลักทรัพย์ด้วยตนเอง และ

ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์อีกด้วย เป็นผู้งดเว้น จากการพระพฤติ

ผิดในกามด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้น จากการพระพฤติผิดในกาม

อีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้น

จากการพูดเท็จอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็น

ฐานแห่งความประมาทด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา

คือ สุราและเมรัยอันเป็นฐานแห่งความประมาทอีกด้วย บุคคลนี้เราเรียกว่า

สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ.

จบสิกขาปทสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 552

สัปปุริสวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาสิกขาปทสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสิกขาปทสูตรที่ ๑ แห่งปัณณาสก์ที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสปฺปุริส ได้แก่ บุรุษลามก บุรุษเปล่า บุรุษหลง

บุรุษผู้ถูกทำให้บอดหนาด้วยอวิชชา. บทว่า อสปฺปุริสตร ได้แก่เกินอสัตบุรุษ

(อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ) พึงทราบสัตบุรุษทั้งสองนอกนี้ โดยตรงกันข้าม

กับที่กล่าวแล้ว. คำที่เหลือในบทนี้ ง่ายทั้งนั้น.

จบสิกขาบทสูตรที่ ๑

ใน ๕ สูตรต่อจากนี้ก็เหมือนในสูตรนี้ จริงอยู่ในสูตรเหล่านั้นสูตรที่

๑ ตรัสด้วยเวร ๕ สูตรที่ ๒ ตรัสด้วยอสัทธรรม สูตรที่ ๓ ตรัสด้วยกาย-

ทวารวจีทวาร สูตรที่ ตรัสด้วยมโนทวาร สูตรที่ ๕ ตรัสด้วยมิจฉัตตะ ๘

สูตรที่ ๖ ตรัสด้วยมิจฉัตตะ ๑๐.

๒. อัสสัทธสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ

ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ กับอสัตบุรุษ และสัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ ท่านทั้งหลายจงฟัง

ทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 553

ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ไม่มี

ศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีการสดับน้อย เกียจคร้านหลงลืมสติ

ไม่มีปัญญา นี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.

อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเอง

เป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีการสดับน้อย เกียจคร้าน

หลงลืมสติ ไม่มีปัญญา ยังชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า

อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.

สัตบุรุษ เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีศรัทธา มีหิริ

มีโอตตัปปะ มีการสดับมาก มีความเพียร มีสติ มีปัญญา นี้เรียกว่า

สัตบุรุษ.

สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเอง

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา มีหิริ มีโอตตัปปะ มีการสดับมาก มีความเพียร

มีสติ มีปัญญา ยังชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า สัตบุรุษ

ยิ่งกว่าสัตบุรุษ.

จบอัสสัทธสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 554

๓. สัตตกัมมสูตร

ว่าด้วยอสัปบุรุษและอสัปบุรุษยิ่งกว่าอสัปบุรุษ

[๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัปบุรุษ อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่า

อสัปบุรุษ สัปบุรุษ และสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงพึง ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้

เป็นคนนักฆ่าสัตว์ มักลักทรัพย์ มักประพฤติผิดในกาม มักพูดเท็จ มักพูด

คำส่อเสียด มักพูดคำหยาบ มักพูดคำเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้

เราเรียกว่า อสัปบุรุษ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ เป็นผู้มักฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์

อีกด้วย เป็นผู้มักลักทรัพย์ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ลักทรัพย์อีกด้วย

เป็นผู้มักประพฤติผิดในกามด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้ประพฤติผิดในกาม

อีกด้วย เป็นผู้มักกล่าวเท็จด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้กล่าวเท็จอีกด้วย

เป็นผู้มักกล่าวคำส่อเสียดด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้กล่าวคำส่อเสียดอีกด้วย

เป็นผู้มักกล่าวคำหยาบด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้กล่าวคำหยาบอีกด้วย

เป็นผู้มักกล่าวคำเพ้อเจ้อด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้กล่าวคำเพ้อเจ้ออีกด้วย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า อสัปบุรุษที่ยิ่งกว่าอสัปบุรุษ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้

งดเว้นจากปาณาติบาต งดเว้นจากอทินนาทาน งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

งดเว้นจากมุสาวาท งดเว้นจากปิสุณวาจา งดเว้นจากผรุสวาจา งดเว้นจาก

สัมผัปปลาปะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เราเรียกว่า สัปบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 555

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัปบุรุษที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษเป็นไฉน บุคคล

บางคนในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้

งดเว้นจากปาณาติบาตอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากอทินนาทานด้วยตนเอง และ

ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากอทินนาทานอีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร

ด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารอีกด้วย เป็นผู้งดเว้น

จากมุสาวาทด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากมุสาวาทอีกด้วย เป็นผู้

งดเว้นจากปิสุณวาจาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากปิสุณวาจาอีกด้วย

เป็นผู้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากผรุสวาจา

อีกด้วย เป็นผู้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นให้งดเว้น

จากสัมผัปปลาปะอีกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เราเรียกว่าสัปบุรุษ

ที่ยิ่งกว่าสัปบุรุษ.

จบสัตตกัมมสูตรที่

๔. ทสกัมมสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ

ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ กับสัตบุรุษ และสัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ ท่านทั้งหลายจงพึง

ทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำปาณาติบาต

ทำอทินนาทาน ทำกาเมสุมิจฉาจาร พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 556

พูดเพ้อเจ้อ มีอภิชฌา มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด นี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.

อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษเป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้ทำปาณาติบาต

ฯลฯ มีความเห็นผิดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า

อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.

สัตบุรุษ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เว้นจาก

อทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด

เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ ไม่มีอภิชฌา ไม่มีจิตพยาบาท

มีความเห็นชอบ นี้เรียกว่า สัตบุรุษ.

สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษเป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้เว้นจาก

ปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็น

อย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ.

จบทสกัมมสูตรที่ ๔

๕. อักฐังคิกสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๒๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจะแสดงอสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ

ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ กับสัตบุรุษและสัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ ท่านทั้งหลายจงพึง

ทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

อสัตบุรุษเป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด

เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด เพียรผิด ตั้งสติผิด ทำสมาธิผิด

นี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 557

อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความ

เห็นผิด ฯลฯ ทำสมาธิผิด ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย

นี้เรียกว่า อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.

สัตบุรุษเป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ

ทำสมาธิชอบ นี้เรียกว่า สัตบุรุษ.

สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็น

ชอบ ฯลฯ ทำสมาธิชอบ ด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย

นี้เรียกว่า สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ.

จบอัฏฐังคิกสูตรที่ ๕

๖. ทสมัคคสูตร

ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ

[๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอสัตบุรุษ และอสัตบุรุษ

ยิ่งกว่าอสัตบุรุษ กับสัตบุรุษ และสัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ ท่านทั้งหลายจงพึง

ทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าอสัต-

บุรุษเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด เจรจา

ผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด เพียรผิด ตั้งสติผิด ทำสมาธิผิด มีญาณผิด

มีวิมุตติผิด นี้เรียกว่า อสัตบุรุษ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 558

อสัตบุรุษยิ่งกว่าอัสตบุรุษ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความ

เห็นผิด ฯลฯ มีวิมุตติผิดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย

นี้เรียกว่า อสัตบุรุษยิ่งกว่าอสัตบุรุษ.

สัตบุรุษ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ

มีวิมุตติชอบ นี้เรียกว่า สัตบุรุษ.

สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็น

ชอบ มีวิมุตติชอบด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วยนี้เรียกว่า

สัตบุรุษยิ่งกว่าสัตบุรุษ.

จบทสมัคคสูตรที่ ๖

๗. ปฐมปาปธัมมสูตร

ว่าด้วยคนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว

[๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่ว และคนชั่วยิ่งกว่า

คนชั่ว กับคนดี และคนดียีงกว่าคนดี ท่านทั้งหลายจงพึง ทำในใจให้ดี

เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คนชั่ว

เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุ-

มิจฉาจาร พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีอภิชฌา มีจิต-

พยาบาท มีความเห็นผิด นี้เรียกว่า คนชั่ว.

คนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้ทำปาณาติบาต

ฯลฯ มีความเห็นผิดด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียก

ว่า คนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 559

คนดีเป็นไฉน บุคคลบางคนเป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความ

เห็นชอบ นี้เรียกว่า คนดี.

คนดียิ่งกว่าคนดี เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้เว้น จากปาณาติบาต

ฯลฯ มีความเห็นชอบด้วยตนเองด้วย ชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้

เรียกว่า คนดียิ่งกว่าคนดี.

จบปฐมปาปธัมมสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมปาปธัมมสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมปาปธัมมสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปาป ได้แก่ คนลามก คือบุคคลเศร้าหมอง. บทว่า กลฺยาณ

ได้แก่ คนเจริญ คือบุคคลไม่มีโทษ. คำที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาปฐมปาปธัมมสูตรที่ ๗

๘. ทุติยปาปธัมมสูตร

ว่าด้วยคนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว

[๒๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนชั่ว และคนชั่วยิ่งกว่า

คนชั่ว กับคนดี และคนดียิ่งกว่าคนดี ท่านทั้งหลายจงพึง ทำในใจให้ดี

เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

คนชั่ว เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ความเห็นผิด ดำริผิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 560

เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีพผิด เพียรผิด ตั้งสติผิด ทำสมาธิผิด

มีญาณผิด มีวิมุตติผิด นี้เรียกว่า คนชั่ว.

คนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว เป็นไฉน ? บุคคลบางคน ตนเองเป็นผู้มีความ

เห็นผิด ฯลฯ มีวิมุตติผิด ยังชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า

คนชั่วยิ่งกว่าคนชั่ว

คนดี เป็นไฉน? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มี

วิมุตติชอบ นี้เรียกว่า คนดี.

คนดียิ่งกว่าคนดี เป็นไฉน ? บุคคลบางคน ตนเองเป็นผู้มีความ

เห็นชอบ ฯลฯ มีวิมุตติชอบ ยังชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย นี้เรียกว่า

คนดียิ่งกว่าคนดี.

จบทุติยปาปธัมมสูตรที่ ๘

แม้ในทุติยปาปธรรมสูตรที่ ๘ ก็นัยนี้เหมือนกัน

๙. ตติยปาปธัมมสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้มีธรรมลามก

[๒๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนมีธรรมชั่วและคนมี

ธรรมชั่วยิ่งกว่าคนมีธรรมชั่ว กับคนมีธรรมดี และคนมีธรรมดียิ่งกว่าคนมี

ธรรมดี ท่านทั้งหลายจงฟัง ทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คนมี

ธรรมชั่วเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้ทำปาณาติบาต อทินนาทาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 561

กาเมสุมิจฉาจาร พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ มีอภิชฌา

มีจิตพยาบาท มีความเห็นผิด นี้เรียกว่า คนมีธรรมชั่ว.

คนมีธรรมชั่วยิ่งกว่าคนมีธรรมชั่วเป็นไฉน ? บุคคลบางคนตนเอง

เป็นผู้ทำปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นผิด ยังชักชวนผู้อื่นให้ทำอย่างนั้นด้วย

นี้เรียกว่า คนมีธรรมชั่วยิ่งกว่าคนมีธรรมชั่ว.

คนมีธรรมดีเป็นไฉน บุคคลบางคนเป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ

มีความเห็นชอบ นี้เรียกว่า คนมีธรรมดี.

คนมีธรรมดียิ่งกว่าคนมีธรรมดี เป็นไฉน ? บุคคลบางคนตนเอง

เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต ฯลฯ มีความเห็นชอบ ยังชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่าง

นั้นด้วย นี้เรียกว่า คนมีธรรมดียิ่งกว่าคนมีธรรมดี.

จบตติยปาปธัมมสูตรที่ ๙

อรรถกถาตติยปาปธัมมสูตร

พึงทรามวินิจฉัยในตติยปาปธัมมสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปาปธมฺม ได้แก่ ธรรมลามก. บทว่า กลฺยาณธมฺม ได้แก่

ธรรมอัน ไม่มีโทษ. คำที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถาตติยปาปธัมมสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 562

๑๐. จตุตถปาปธัมมสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้มีธรรมลามก

[๒๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงคนมีธรรมชั่วและคนมี

ธรรมชั่วยิ่งกว่าคนมีธรรมชั่ว กับคนมีธรรมดี และคนมีธรรมดียิ่งกว่าคนมี

ธรรมดี ท่านทั้งหลายจงพึง ทำในใจให้ดี เราจักกล่าว

ภิกษุทั้งหลายรับพระพุทธพจน์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า คนมี

ธรรมชั่ว เป็นไฉน ? บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นผู้มีความเห็นผิด ดำริผิด

เจรจาผิด ทำการงานผิด เลี้ยงชีวิตผิด เพียรผิด ตั้งสติผิด ทำสมาธิผิด

มีญาณผิด มีวิมุตติผิด นี้เรียกว่า คนมีธรรมชั่ว.

คนมีธรรมชั่วยิ่งกว่าคนมีธรรมชั่ว เป็นไฉน ? บุคคลบางคนตนเอง

เป็นผู้มีความเห็นผิด ฯลฯ มีวิมุตติผิด ยังชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย

นี้เรียกว่า คนมีธรรมชั่วยิ่งกว่าคนมีธรรมชั่ว.

คนมีธรรมดี เป็นไฉน ? บุคคลบางคนเป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ

มีวิมุตติชอบ นี้เรียกว่า คนมีธรรมดี.

คนมีธรรมดียิ่งกว่าคนมีธรรมดี เป็นไฉน ? บุคคลบางคนตนเอง

เป็นผู้มีความเห็นชอบ ฯลฯ มีวิมุตติชอบ ยังชักชวนผู้อื่นให้เป็นอย่างนั้นด้วย

นี้เรียกว่า คนมีธรรมดียิ่งกว่าคนมีธรรมดี.

จบจตุตถปาปธัมมสูตรที่ ๑๐

จบสัปปุริสวรรคที่ ๑

แม้ในอรรกถาจตุตถปาปธัมมสูตรที่ ๑๐ ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ใน

วรรคนี้ ท่านกล่าวถึงปฏิปทาของผู้ครองเรือนในสูตรแม้ทั้ง ๑๐. หากคฤหัสถ์

เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี ย่อมควรเหมือนกัน.

จบสัปปุริสวรรควรรณนาที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 563

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สิกขาปทสูตร ๒. อัสสัทธสูตร ๓. สัตตกัมมสูตร ๕. ทส-

กัมมสูตร ๕. อัฏฐังคิกสูตร ๖. ทสมัคคสูตร ๗. ปฐมปาปธัมมสูตร

๘. ทุติยปาปธัมมสูตร ๙. ตติยปาปธัมมสูตร ๑๐. จตุตถปาปธัมมสูตร

และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 564

โสภนวรรคที่ ๒

๑. ปริสาสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้ประทุษร้ายบริษัท ๔ จำพวก

[๒๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประทุษร้ายบริษัท ๔ จำพวกนี้

๔ จำพวกเป็นไฉน คือ ภิกษุผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ชื่อว่าประทุษร้าย

บริษัท ๑ ภิกษุณีผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ชื่อว่า ประทุษร้ายบริษัท ๑

อุบาสกผู้ทุศีล มีธรรมอันลามก ชื่อว่า ประทุษร้ายบริษัท ๑ อุบาสิกาผู้ทุศีล

มีธรรมอันลามก ชื่อว่า ประทุษร้ายบริษัท ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล

๔ จำพวกนี้แล เป็นผู้ประทุษร้ายบริษัท.

บุคคลผู้ทำบริษัทให้งาม ๔ จำพวก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทำบริษัทให้งาม ๔ จำพวกนี้ ๔ จำพวก

เป็นไฉน คือ ภิกษุผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ชื่อว่า ผู้ทำบริษัทให้งาม ๑

ภิกษุณีผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ชื่อว่า ผู้ทำบริษัทให้งาม ๑ อุบาสกผู้มีศีล

มีธรรมอันงาม ชื่อว่า ผู้ทำบริษัทให้งาม ๑ อุบาสิกาผู้มีศีล มีธรรมอันงาม

ชื่อว่า ผู้ทำบริษัทให้งาม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ทำบริษัทให้งาม ๔

จำพวกนี้แล.

จบปริสาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 565

โสภนวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาปริสาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปริสาสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า ปริสทูสนะ เพราะประทุษร้ายบริษัท. ชื่อว่า ปริสโสภนะ

เพราะยังบริษัทให้งาม.

จบอรรถกถาปริสาสูตรที่ ๑

๒. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๒๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑

วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือน

ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑

วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ สัมมาทิฏฐิ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ใน

สวรรค์.

จบทิฏฐิสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 566

อรรถกถาทิฏฐิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในทิฏฐิสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

มิจฉาทิฏฐิ แม้นับเนื่องอยู่ในมโนทุจริต ท่านกล่าวไว้ต่างหากก็เพราะ

มีโทษมาก ส่วนสัมมาทิฏฐิท่านกล่าวด้วยเป็นปฏิปักษ์ต่อมิจฉาทิฏฐินั้น.

จบอรรถกถาทิฏฐิสูตรที่ ๒

๓. อกตัญญตาสูตร

ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๒๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑

วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือน

ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑

วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ความเป็นคนกตัญญูกตเวที ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐาน

ไว้ในสวรรค์.

จบอกตัญญุตาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 567

อรรถกถาอกตัญญูตาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอกตัญญุตาสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อกตญฺญุตา อกตเวทิตา ได้แก่ ด้วยความไม่รู้คุณท่าน

ด้วยความไม่ตอบแทนคุณท่าน. แม้ทั้งสองบทนั้น โดยเนื้อความก็อย่างเดียวกัน

นั้นเอง. แม้ในสุกปักษ์ (ธรรมฝ่ายดี) ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาอกตัญญุตาที่ ๓

๔. ปาณาติปาตสูตร

ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๒๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้ทำปาณาติบาต อทิน-

นาทาน กาเมสุมิจฉาจาร มุสาวาท บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

นี้แล เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือน

ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ คือบุคคลเป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต เว้น

จากอทินนาทาน เว้นจากกาเทสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท บุคคลประกอบ

ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์.

จบปาณาติปาตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 568

ปาณาติปาตสูตรที่ ๔ ท่านกล่าวด้วยกรรมกิเลส ๔ และธรรมเป็น

ปฏิปักษ์ต่อกรรมกิเลสนั้น.

๕. ปฐมมัคคสูตร

ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด มีความ

ดำริผิด เจรจาผิด ทำการงานผิด บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

นี้แล เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือน

ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ

มีความดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔

ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์.

จบปฐมมัคคสูตรที่ ๕

ปฐมมัคคสูตรที่ ๕ ท่านกล่าวด้วยมิจฉัตตะ ๔ เบื้องต้นแห่งสุกปักษ์

(สัมมัตตะ)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 569

๖. ทุติยมัคคสูตร

ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้เลี้ยงชีพผิด เพียรผิด

ตั้งสติผิด ทำสมาธิผิด บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือน

ถูกนำมาโยนลงในนรก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือน

ถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์ ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ

ตั้งสติชอบ ทำสมาธิชอบ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูก

เชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์.

จบทุติยมัคคสูตรที่ ๖

ทุติยมัคคสูตรที่ ๖ ท่านกล่าวด้วยมิจฉัตตะ ๔ ที่เหลือ.

๗. ปฐมโวหารปถสูตร

ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๒๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้กล่าวว่าเห็นในสิ่งที่ไม่

ได้เห็น ๑ กล่าวว่าได้ยินในสิ่งที่ไม่ได้ยิน ๑ กล่าวว่าได้ทราบในสิ่งที่ไม่ทราบ ๑

กล่าวว่ารู้ในสิ่งที่ไม่รู้ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 570

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐาน

ไว้ในสวรรค์ ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้กล่าวว่าไม่เห็นในสิ่งที่ไม่ได้เห็น ๑

กล่าวว่าไม่ได้ยินในสิ่งที่ไม่ได้ยิน ๑ กล่าวว่าไม่ทราบในสิ่งที่ไม่ทราบ ๑

กล่าวว่าไม่รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล

เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐานไว้ในสวรรค์.

จบปฐมโวหารปถสูตรที่ ๗

ปฐมโวหารปถสูตรที่ ๗ ท่านกล่าวอนริยโวหารและอริยโวหาร

๘. ทุติยโวหารปถสูตร

ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๒๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้กล่าวว่าไม่เห็นในสิ่งที่

ได้เห็น ๑ กล่าวว่าไม่ได้ยินในสิ่งที่ได้ยิน ๑ กล่าวว่าไม่ทราบในสิ่งที่ได้ทราบ ๑

กล่าวว่าไม่รู้ในสิ่งที่รู้ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือน

ถูกนำมาโยนลงในนรก ฯลฯ

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐาน

ไว้ในสวรรค์ ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้กล่าวว่าเห็นในสิ่งที่ได้เห็น ๑ กล่าวว่า

ได้ยินในสิ่งที่ได้ยิน ๑ กล่าวว่าทราบในสิ่งที่ได้ทราบ ๑ กล่าวว่ารู้ในสิ่งที่ได้

รู้ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมาประ-

ดิษฐานไว้ในสวรรค์.

จบทุติยโวหารปถสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 571

๙. อหิริกสูตร

ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ทุศีล ๑

ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ฯลฯ

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐาน

ไว้ในสวรรค์ ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ มีหิริ ๑ มีโอต-

ตัปปะ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมา

ประดิษฐานไว้ในสวรรค์.

จบอหิริกสูตรที่ ๙

๑๐. ทุปัญญาสูตร

ว่าด้วยบุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๒๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ทุศีล ๑

เกียจคร้าน ๑ ไม่มีปัญญา ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล

เหมือนถูกนำมาโยนลงในนรก ฯลฯ

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหมือนถูกเชิญมาประดิษฐาน

ไว้ในสวรรค์ ฯลฯ คือ บุคคลเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑ ทำความเพียร ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 572

มีปัญญา ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เหมือนถูกเชิญมา

ประดิษฐานไว้ในสวรรค์

จบทุปัญญาสูตรที่ ๑๐

จบโสภนวรรคที่ ๒

ในสูตรที่ ๘-๙-๑๐ ท่านกล่าวด้วยอสัทธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อสุกก-

ธรรมนั้น. ก็ธรรมเป็นสุกกปักษ์ ท่านกล่าวคละทั้งโลกิยะและโลกุตระในสูตร

ทั้งปวง. ใน ๙ สูตรท่านกล่าวในมรรค ดังนี้ก็จริง ถึงดังนั้นก็ย่อมได้มรรค ๓

และผล ๓.

จบโสภนวรรควรรณนาที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปริสาสูตร ๒. ทิฏฐิสูตร ๓. อกตัญญูสูตร ๔. ปาณาติปาต-

สูตร ๕. ปฐมมัคคสูตร ๖. ทุติยมัคคสูตร ๗. ปฐมโวหารปถสูตร

๘. ทุติยโวหารปถสูตร ๙. อหิริกสูตร ๑๐. ทุปัญญาสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 573

ทุจริตวรรคที่ ๓

๑. ทุจริตสูตร

ว่าด้วยวจีทุจริต และสุจริต

[๒๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วจีทุจริต ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน

คือ คำเท็จ ๑ คำส่อเสียด ๑ คำหยาบ ๑ คำเพ้อเจ้อ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

วจีทุจริต ๔ อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างเป็นไฉน คือ

คำจริง ๑ คำไม่ส่อเสียด ๑ คำอ่อนหวาน ๑ คำพอประมาณ ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย วจีสุจริต ๔ อย่างนี้.

จบทุจริตสูตรที่ ๑

๒. ทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๒๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เป็นผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัดถูกทำลาย เป็นคน

มีโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม

๔ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ มิจฉาทิฏฐิ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้

ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย เป็นคนมีโทษ

วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 574

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ประการ เป็น

ผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารคนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ

วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมได้ประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ สัมมาทิฏฐิ ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นผู้ฉลาด

เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารคนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ วิญญูชน

ไม่ติเตียน และย่อมได้ประสบบุญเป็นอันมาก.

จบทิฏฐิสูตรที่ ๒

๓. อกตัญญูสูตร

ว่าด้วยคนพาล และบัณฑิต

[๒๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เป็นผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย เป็นผู้

มีโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก ธรรม

๔ ประการเป็นไฉน คือ กายทุจริต ๑ วจีทุจริต ๑ มโนทุจริต ๑ ความ

เป็นคนอกตัญญูอกตเวที ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ประกอบด้วยธรรม

๔ ประการนี้แล เป็นผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด

ถูกทำลาย เป็นผู้มีโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็น

อันมาก.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็น

คนฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 575

วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

คือ กายสุจริต ๑ วจีสุจริต ๑ มโนสุจริต ๑ ความเป็นคนกตัญญูกตเวที ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคน

ฉลาด เป็นสัปบุรุษ ย่อมบริหารคนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่มีโทษ

วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก.

จบอกตัญญูสูตรที่ ๓

๔. ปาณาติปาตสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๒๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เป็นคนพาล ฯลฯ และย่อมประสบกรรมอันไม่เป็นบุญมาก ธรรม ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ทำปาณาติบาต อทินนาทาน กาเมสุ-

มิจฉาจาร มุสาวาท บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็น

คนพาล ฯลฯ และย่อมประสบกรรมอันไม่เป็นบุญมาก

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้บุญ

มากด้วย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้เว้นจากปาณา-

ติบาต ฯลฯ เว้นจากมุสาวาท บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล

เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้บุญมาก.

จบปาณาติบาตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 576

๕. ปฐมมัคคสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๒๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นคน

พาล ฯลฯ และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมากด้วย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

คือ บุคคลเป็นผู้มีความเห็นผิด ๑ ดำริผิด ๑ เจรจาผิด ๑ ทำการ

งานผิด ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ

และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมาก

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้บุญ

มากด้วย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้มีความเห็นชอบ ๑

ดำริชอบ เจรจาชอบ ทำการงานชอบ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม

๔ ประการนี้แล เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้บุญมาก.

จบปฐมมัคคสูตรที่ ๕

๖. ทุติยมัคคสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๒๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เป็นคนพาล ฯลฯ และได้ประสบสิ่งอัน ไม่เป็นบุญมาก ธรรม ๔ ประการเป็น

ไฉน คือ บุคคลเป็นผู้เลี้ยงชีพผิด ๑ เพียรผิด ๑ ตั้งสติผิด ๑ ทำ

สมาธิผิด ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ

และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมาก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 577

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้บุญ

มากด้วย ธรรม ๔ ประกอบคืออะไร ? คือ บุคคลเป็นผู้เลี้ยงชีพชอบ ๑

เพียรตอบ ๑ ตั้งสติชอบ ๑ ทำสมาธิชอบ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม

๔ ประการนี้แล เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้บุญมาก.

จบทุติยมัคคสูตรที่ ๖

๗. ปฐมโวหารปถสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๒๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เป็นคนพาล ฯลฯ และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมาก ธรรม ๔ ประการเป็น

ไฉน คือ บุคคลเป็นผู้กล่าวว่าเห็นในสิ่งที่ไม่เห็น ๑ กล่าวว่าได้ยิน

ในสิ่งที่ไม่ได้ยิน ๑ กล่าวว่าทราบในสิ่งที่ไม่ทราบ ๑ กล่าวว่ารู้ใน

สิ่งที่ไม่รู้ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ

และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมาก.

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้บุญ

มากด้วย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลกล่าวว่าไม่ได้เห็นในสิ่ง

ที่ไม่ได้เห็น ๑ กล่าวว่าไม่ได้ยินในสิ่งที่ไม่ได้ยิน ๑ กล่าวว่าไม่

ทราบในสิ่งที่ไม่ทราบ ๑ กล่าวว่าไม่รู้ในสิ่งที่ไม่รู้ ๑ บุคคลประกอบ

ด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้บุญมาก.

จบปฐมโวหารปถสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 578

๘. ทุติยโวหารปถสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๒๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เป็นคนพาล ฯลฯ และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมาก ธรรม ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้กล่าวว่าไม่เห็นในสิ่งที่ได้เห็น ๑ กล่าวว่า

ไม่ได้ยินในสิ่งที่ได้ยิน ๑ กล่าวว่าไม่ทราบในสิ่งที่ได้ทราบ ๑ กล่าวว่า

ไม่รู้ในสิ่งที่รู้ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล

ฯลฯ และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมาก.

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้บุญ

มากด้วย ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลกล่าวว่าเห็นในสิ่งที่ได้

เห็น ๑ กล่าวว่าได้ยินในสิ่งที่ได้ยิน ๑ กล่าวว่าทราบในสิ่งที่

ได้ทราบ ๑ กล่าวว่ารู้ในสิ่งที่รู้ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

นี้แล เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้บุญมาก.

จบทุติยโวหารปถสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 579

๙. อหิริกสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๒๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เป็นคนพาล ฯลฯ และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมาก ธรรม ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ทุศีล ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มี

โอตตัปปะ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ

และได้ประสบสิ่งอัน ไม่เป็นบุญมาก.

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้

บุญมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑

มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็น

บัณฑิต ฯลฯ และได้บุญมาก.

จบอหิริกสูตรที่ ๙

๑๐. ทุปัญญสูตร

ว่าด้วยคนพาลและบัณฑิต

[๒๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เป็นคนพาล ฯลฯ และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมาก ธรรม ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ทุศีล ๒ เกียจคร้าน ๑

ปัญญาทราม ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นคนพาล ฯลฯ

และได้ประสบสิ่งอันไม่เป็นบุญมาก.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 580

บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้

บุญมาก ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลเป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีศีล ๑

มีความเพียร ๑ มีปัญญา ๑ บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล

เป็นบัณฑิต ฯลฯ และได้บุญมาก.

จบทุปัญญสูตรที่ ๑๐

๑๑. กวีสูตร

ว่าด้วยกวี ๔ จำพวก

[๒๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กวี ๔ จำพวกเหล่านี้ กวี ๔ เป็นไฉน

คือ

จินฺตากวิ ผู้แต่งโดยความคิด

สุตกวิ ผู้แต่งโดยได้ฟังมา

อตฺถกวิ ผู้แต่งตามเนื้อความ

ปฏิภาณกวิ ผู้แต่งโดยปฏิภาณ

จบกวีสูตรที่ ๑๑

จบทุจริตวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 581

ทุจริตวรรควรรณนาที่ ๓

ทุจริตสูตรที่ ๑ เป็นต้นแห่งวรรคที่ ๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. ใน

กวีสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ ผู้ที่คิดแล้วจึงแต่งบทกวี ชื่อว่า

จินตากวี. ผู้ที่ฟังแล้วจึงแต่งบทกวี ชื่อว่า สุตกวี. ผู้ที่อาศัยความแล้วแต่งบท

กวี ชื่อว่า อัตถกวี. ผู้ที่แต่งโดยปฏิภาณของตนในขณะนั้นเอง ดุจพระวัง-

คีสเถระ ชื่อว่า ปฏิภาณกวี.

จบทุจริตวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ทุจริตสูตร ๒. ทิฏฐิสูตร ๓. อกตัญญูสูตร ๔. ปาณาติปาต-

สูตร ๕. ปฐมมัคคสูตร ๖. ทุติยมัคคสูตร ๗. ปฐมโวหารปถสูตร

๘. ทุติยโวหารปถสูตร ๙. อหิริกสูตร ๑๐. ทุปัญญสูตร ๑๑. กวีสูตร

และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 582

กรรมวรรคที่ ๔

๑. สังขิตตสูตร

ว่าด้วยกรรม ๔ ประเภท

[๒๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประเภทนี้ เราทำให้แจ้งด้วย

ปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประเภทเป็นไฉน

คือ กรรมดำ มีวิบากดำก็มี กรรมขาว มีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำ

ทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำ

ไม่ขาว เป็นไปเพื่อสิ้นกรรมก็มี นี้แล กรรม ๔ ประเภท เราทำให้แจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว จึงประกาศให้ทราบ.

จบสังขิตตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 583

กรรมวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาสังขิตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังขิตตสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๔ ตั้งต่อไปนี้ :-

บทว่า กณฺห ได้แก่ กรรมดำ คือ อกุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า

กณฺหวิปาก ได้แก่ มีวิบากดำ เพราะให้เกิดในอบาย. บทว่า สุกฺก ได้แก่

กรรมขาว คือ กุศลกรรมบถ ๑๐. บทว่า สุกฺกวิปาก ได้แก่ มีวิบากขาว

เพราะให้เกิดในสวรรค์. บทว่า กณฺห สุกฺก ได้แก่ กรรมคละกัน. บทว่า

กณฺหสุกฺกวิปาก ได้แก่ มีวิบากทั้งสุขและทุกข์. จริงอยู่ บุคคลทำกรรม

คละกันแล้ว เกิดในกำเนิดเดียรัจฉานด้วยอกุศลในฐานะเป็นมงคลหัตถีเป็นต้น

เสวยสุขในปัจจุบันด้วยกุศล. บุคคลเกิดแม้ในราชตระกูลด้วยกุศล ย้อมเสวย-

ทุกข์ในปัจจุบันด้วยอกุศล. บทว่า อกณฺห อสุกฺก ท่านประสงค์เอามรรค-

ญาณ ๔ อันทำกรรมให้สิ้นไป. จริงอยู่ กรรมนั้นผิว่าเป็นกรรมดำ ก็พึงให้

วิบากดำ ผิว่าเป็นกรรมขาว พึงให้วิบากขาว แต่ที่ไม่ดำ ไม่ขาว เพราะไม่ให้

วิบากทั้งสอง ดังกล่าวมานี้เป็นใจความในข้อนี้.

จบอรรถกถาสังขิตตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 584

๒. วิตถารสูตร

ว่าด้วยกรรม ๔ ประการ

[๒๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ กรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

กรรมดำ มีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบาก

ทั้งดำทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความ

สิ้นกรรมก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนใน

โลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งวจีสังขาร

อันมีความเบียดเบียน ย่อมปรุงแต่งมโนสังขารอันมีความเบียดเบียน ครั้นแล้ว

ย่อมเข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันมีความเบียดเบียนย่อมถูกต้อง

บุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความเบียดเบียน เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียน

ถูกต้องนั้น ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว

เปรียบเหมือนสัตว์นรก นี้เราเรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคน

ในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร. . . วจีสังขาร . ..มโนสังขารอันไม่มีความ

เบียดเบียน ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน ผัสสะอันไม่มี

ความเบียดเบียนย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่ไม่มีความเบียดเบียน

เขาอันผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันไม่มีความ

เบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เปรียบเหมือนเทพชั้นสุภกิณหะ นี้เราเรียกว่า

กรรมขาวมีวิบากขาว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 585

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร. . . วจีสังขาร . . . มโนสังขาร

อันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ครั้นแล้วย่อมเข้าถึงโลก

ที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ผัสสะอันมีความเบียดเบียน

บ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ย่อมถูกต้องบุคคลนั้น ผู้เข้าถึงโลกที่มีความ

เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนบ้าง

ไม่มีความเบียดเบียนบ้างถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความเบียดเบียน

บ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน เปรียบเหมือน

มนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำ

ทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ต่ำไม่ขาวย่อมเป็น

ไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำในบรรดา

กรรมเหล่านั้นก็ดี เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาวก็ดี เจตนาใดเพื่อ

ละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบาก ทั้งดำทั้งขาวก็ดี นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว

มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ.

จบวิตถารสูตรที่ ๒

อรรถกถาวิตถารสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในวิตถารสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สพฺยาปชฺฌ คือ มีโทษ. บทว่า กายสงฺขาร ได้แก่

เจตนาในกายทวาร. บทว่า อภิสงฺขโรติ ได้แก่พอกพูน คือประมวลมา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 586

แม้ในสองบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน . บทว่า สพฺยาปชฺฌ โลก ได้แก่

โลกมีทุกข์. บทว่า สพฺยาปชฺฌา ผสฺสา ได้แก่ ผัสสะเป็นวิบากมีทุกข์.

บทว่า สพฺยาปชฺฌ เวทน เวทิยติ ได้แก่ เสวยเวทนามีวิบาก เป็นไป

กับด้วยความเบียดเบียน. บทว่า เอกนฺตทุกฺข ได้แก่ เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว

เท่านั้น คือไม่เจือด้วยสุข.

บทว่า เสยฺยถาปิ ในบทนี้ว่า เสยฺยถาปิ สตฺตา เนรยิกา พึง

เห็นว่าเป็นนิบาตลงในอรรถว่าตัวอย่าง. ด้วยบทนั้นทรงแสดงถึงสัตว์นรก

อย่างเดียว ก็สัตว์อื่นชื่อว่าจะเห็นคล้ายกับสัตว์นรกนั้นไม่มี. พึงทราบความ

ในบททั้งปวงโดยวิธีอุบายนี้.

ก็ในบทมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ มนุสฺสา จะว่าถึงมนุษย์ก่อน สุขเวทนา

ย่อมเกิดตามเวลา ทุกขเวทนาก็เกิดตามเวลา. ส่วนในบทนี้ว่า เอกจฺเจ จ

เทวา พึงเห็นว่าเทวดาชั้นกามาวจร จริงอยู่ เทวดาเห็นเทวดาผู้มีศักดิ์ยิ่งกว่า

กามาวจรเทพเหล่านั้น ย่อมถึงทุกข์ตามเวลาด้วยกิจ มีอาทิว่า ต้องลุกจากที่นั่ง

ต้องลดผ้าห่มทำผ้าเฉวียงบ่า ต้องประคองอัญชลี. เมื่อเสวยทิพยสมบัติ ย่อม

ถึงสุขตามเวลา. ในบทว่า เอกจฺเจ จ วินิปาติกา พึงเห็นว่าเวมานิกเปรต

บางจำพวก. เวมานิกเปรตเหล่านั้น เสวยสุขในเวลาหนึ่ง ทุกข์ในเวลาหนึ่ง

ชั่วนิรันดร ก็สัตว์ทั้งหลายมี นาค ครุฑ ช้าง และม้าเป็นต้น ย่อมมีทั้งสุข

และทุกข์ เกลื่อนกล่นเหมือนมนุษย์. ในบทว่า ปหานาย ยา เจตนา นี้

พึงทราบมรรคเจตนาอันให้ถึงวัฏฏะและวิวัฏฏะ. จริงอยู่ มรรคเจตนานั้น

ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

จบอรรถกถาวิตถารสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 587

๓. โสณกายนสูตร

ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม

[๒๓๔] ครั้งนั้นแล พราหมณ์ชื่อสิขาโมคคัลลานะ เข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับ พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ หลายวันมาแล้ว

โสณกายนมาณพไปหาข้าพระองค์ ครั้นแล้วได้กล่าวว่า พระสมณโคดมย่อม

ทรงบัญญัติการไม่กระทำกรรมทั้งปวง ก็แลเมื่อบัญญัติการไม่กระทำกรรม

ทั้งปวง ชื่อว่ากล่าวความขาดสูญแห่งโลก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ โลกนี้

มีกรรมเป็นสภาพ ดำรงอยู่ด้วยการก่อกรรมมิใช่หรือ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ เราไม่รู้สึกว่าได้เห็นโสณกายนมาณพเลย ที่ไหนจะ

ได้ปราศัยเห็นปานนี้กันเล่า ดูก่อนพราหมณ์ กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำ

ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

กรรมดำมีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำ

ทั้งขาวก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความ

สิ้นกรรมก็มี.

ดูก่อนพราหมณ์ ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้

ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร... วจีสังขาร. . . มโนสังขารอันมีความเบียดเบียน...

เขาอันผัสสะที่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนาอันมีความ

เบียดเบียนเป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เหมือนสัตว์นรก นี้เราเรียกว่า กรรมดำ

มีวิบากดำ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 588

ดูก่อนพราหมณ์ ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคนใน

โลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขาร. . . วจีสังขาร. . . มโนสังขาร อันไม่มีความ

เบียดเบียน ... เขาอันผัสสะที่ไม่มีความเบียดเบียนถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวย

เวทนาอันไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เหมือนพวกเทพ-

สุภกิณหะ นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

ดูก่อนพราหมณ์ ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ปรุงแต่งกายสังขาร. . .วจีสังขาร. . . มโนสังขารอันมี

ความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง. . . เขาอันผัสสะอันมีความ

เบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ถูกต้องแล้ว ย่อมได้เสวยเวทนา

อันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทุกข์ระคนกัน

เหมือนมนุษย์ เทพบางพวก และวินิปาติกสัตว์บางพวก นี้เราเรียกว่า กรรม

ทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว.

ดูก่อนพราหมณ์ ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม

เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เป็นไฉน เจตนาใดเพื่อละกรรมดำมีวิบากดำใน

บรรดากรรมเหล่านั้นก็ดี... นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่

ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ดูก่อนพราหมณ์ กรรม ๔ ประการ นี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา

อันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ.

จบโสณกายนสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 589

อรรถกถาโสณกายนสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในโสณกายนสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สิขาโมคฺคลฺลาโน ได้แก่ พราหมณ์โมคคัลลานโคตร

มีแหยมใหญ่ตั้งอยู่กลางศีรษะ. บทว่า ปุริมานิ ได้แก่ วันก่อน ตั้งแต่วันที่

ล่วงไปแล้ว. พึงทราบวันยิ่งกว่าวันก่อน จำเดิมแต่วันที่สองเป็นต้น. บทว่า

โสณกายโน ได้แก่ อันเตวาสิกของพราหมณ์นั้นนั่นเอง. บทว่า กมฺมสจฺจาย

โภ โลโก ได้แก่ โลกนี้มีกรรมเป็นสภาพ. บทว่า กมฺมสมารมฺภฏฺายี

ความว่า โลกนี้ดำรงอยู่ด้วยการก่อกรรม คือ เพิ่มพูนกรรมตั้งอยู่ มิใช่ไม่

เพิ่มพูน. บทว่า อุจฺฉิชฺชติ คือแสดง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วใน

หนหลังนั่นแล.

จบอรรถกถาโสณกายนสูตรที่ ๓

๔. สิกขาบทสูตร

ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม

[๒๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำ

มีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งคำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว

ก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 590

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนใน

โลกนี้ เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมาคือ

สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เราเรียกว่า กรรมดำมีวิบากดำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมชาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคน

ในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิด

ในกาม จากการพูดเท็จ จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้ง

แห่งความประมาท นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งคำทั้งขาวเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี

ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำ

ทั้งขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม

เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เจตนาใดเพื่อละ

กรรมดำ อันมีวิบากดำในบรรดากรรมเหล่านั้นก็ดี ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรม

ไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ.

จบสิกขาปทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 591

สิกขาปทสูตรที่ ๔ เป็นต้นมีความง่ายทั้งนั้น. ก็ในองค์มรรคทั้งหลาย

ท่านกล่าวว่า เพราะพระโยคาวจรเข้าไปตั้งสติไว้แล้วกำหนดด้วยปัญญา ฉะนั้น

ทั้งสองนั่นแหละเป็นกรรม ที่เหลือเป็นองค์เท่านั้นไม่ใช่กรรม. แม้ในโพชฌงค์

ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนในอภิธรรมท่านพรรณนากรรมทั้งหมดนั้นว่า เป็น

กรรมอันสัมปยุตด้วยเจตนา โดยไม่แปลกกัน.

๕. อริยมัคคสูตร

ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม

[๒๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำ

มีวิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว

ก็มี กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนใน

โลกนี้ เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระ-

ตถาคต ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน นี้เราเรียกว่า กรรมดำ

มีวิบากดำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคน

ในโลกนี้ เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิด

ในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการ

พูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็ง มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ

นี้เราเรียกว่า กรรมขาวมีวิบากขาว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 592

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันมีความเบียดเบียนบ้าง

ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบาก

ทั้งดำทั้งขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม

เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำใน

บรรดากรรมเหล่านั้นก็ดี ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรมไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็น

ไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เรากระทำให้แจ้งด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ.

จบอริยมัคคสูตรที่ ๕

๖. โพชฌังคสูตร

ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม

[๒๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้ว ประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือกรรมดำมี

วิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี

กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมดำมีวิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนใน

โลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรม

ดำมีวิบากดำ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 593

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคน

ในโลกนี้ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอัน ไม่มีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เราเรียกว่า

กรรมขาวมีวิบากขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำทั้งขาวเป็น

ไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง

ไม่มีความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้ง

ดำทั้งขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม

เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เราเรียก

ว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว กรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็น

ไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้แล เราทำให้แจ้งด้วยปัญญา

อันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ.

จบโพชฌังคสูตรที่ ๖

๗. สาวัชชสูตร

ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม

[๒๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการนี้ เรากระทำให้แจ้ง

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ ๔ ประการเป็นไฉน คือ กรรมดำมี

วิบากดำก็มี กรรมขาวมีวิบากขาวก็มี กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาวก็มี

กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมก็มี.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 594

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมคำนี้วิบากดำเป็นไฉน บุคคลบางคนใน

โลกนี้ย่อมปรุงแต่งกายสังขาร อันมีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เราเรียกว่า

กรรมดำมีวิบากดำ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมขาวมีวิบากขาวเป็นไฉน บุคคลบางคน

ในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันไม่มีความเบียดเบียน ฯลฯ นี้เราเรียกว่า

กรรมขาวมีวิบากขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมทั้งคำทั้งขาว มีวิบากทั้งคำทั้งขาวเป็นไฉน

บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกายสังขารอันมีความเบียดเบียนบ้าง ไม่มี

ความเบียดเบียนบ้าง ฯลฯ นี้เราเรียกว่า กรรมทั้งดำทั้งขาว มีวิบากทั้งดำ

ทั้งขาว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กรรมไม่ดำม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว ย่อม

เป็นไปเพื่อความสิ้นกรรมเป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์

วิริยสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์

อุเบกขาสัมโพชฌงค์ นี้เราเรียกว่ากรรมไม่ดำไม่ขาว มีวิบากไม่ดำไม่ขาว

ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กรรม ๔ ประการ นี้แล เราทำให้แจ้งด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองแล้วประกาศให้ทราบ.

จบสาวัชชสูตรที่ ๗

๘. อัพยาปัชฌสูตร

ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม

[๒๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมเกิดในนรก เหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กาย-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 595

กรรมอันมีโทษ ๑ วจีกรรมอันมีโทษ ๑ มโนกรรมอันมีโทษ ๑ ทิฏฐิอันมี

โทษ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือน

ถูกนำมาทิ้งลง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิด

ในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กาย-

กรรมอันไม่มีโทษ ๑ วจีกรรมอันไม่มีโทษ ๑ มโนกรรมอันไม่มีโทษ

ทิฏฐิอันไม่มีโทษ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดใน

สวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้

จบอัพยาปัชฌสูตรที่ ๘

๙. สัปปุริสสูตร

ว่าด้วยกรรมและวิบากของกรรม

[๒๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทั้งลงธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรม

อันมีความเบียดเบียน ๑ วจีกรรมอันมีความเบียดเบียน ๑ มโนกรรมอันมี

ความเบียดเบียน ๑ ทิฏฐิอันมีความเบียดเบียน ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม

๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิด

ในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กาย

กรรมอัน ไม่มีความเบียดเบียน ๑ วจีกรรมอันไม่มีความเบียดเบียน ๑ มโน-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 596

กรรมอันไม่มีความเบียดเบียน ๑ ทิฏฐิอัน ไม่มีความเบียดเบียน ๑ บุคคลผู้

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษ

ฐานไว้.

จบสัปปุริสสูตรที่ ๙

๑๐. สมณสูตร

ว่าด้วยสมณะ ๔

[๒๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะ

ที่ ๒ มีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๓ มีในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๔ มีในธรรม

วินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลายจงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่าง

นี้เถิด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เพราะสิ้น

สังโยชน์ ๓ เป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัส-

รู้ในเบื้องหน้า นี้สมณะ ที่ ๑.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๒ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เพราะสิ้นสังโยชน์ ๓ และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง เป็นพระสกทาคา-

มี มาสู่โลกนี้คราวเดียวท่านั้นแล้วกระทำที่สุดทุกข์ได้ นี้สมณะที่ ๒.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๓ เป็นไฉน คือภิกษุในธรรมวินัยนี้

เพราะโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ สิ้นไป เป็นอุปปาติกะ (เป็นพระอนาคามี) จัก

ปรินิพพานในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา นี้สมณะที่ ๓.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 597

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะที่ ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้

กระทำให้เเจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะ

ทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ นี้สมณะที่ ๔.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะ ที่ ๑ มีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒

ที่ ๓ ที่ ๔ มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง ๔ เธอทั้งหลาย

จงบันลือสีหนาทโดยชอบอย่างนี้เถิด.

จบสมณสูตรที่ ๑๐

อรรถกถาสมณสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสมณสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อิเธว คือในศาสนานี้เท่านั้น. ก็ความไม่แน่นอนนี้พึงทราบ

แม้ในบทที่เหลือ. จริงอยู่ แม้สมณะที่ ๒ เป็นต้น ก็มีอยู่ในศาสนานี้เท่านั้น

ไม่มีในศาสนาอื่น. บทว่า สุญฺา แปลว่า ว่างเปล่า. บทว่า ปรปฺปวาทา

ได้แก่ ทิฏฐิ ๖๒ อันมาแล้วในพรหมชาลสูตร แม้ทั้งหมดเหล่านี้ คือ

สัสสตวาทะ เอกัจจสัสสติกะ ๔ อันตานันติกะ ๔ อมราวิกเขปิกะ ๔

อธิจจสมุปปันนิกะ ๒ สัญญีวาทะ ๑๖ อสัญญีวาทะ ๘ เนวสัญญีนาสัญญีวาทะ ๘

อุจเฉทวาทะ ๗ ทิฏฐธัมมนิพพานวาทะ ๕ วาทะของผู้อื่นนอกจากธรรม -

วินัยนี้ ชื่อ ปรัปปวาทะ. วาทะแม้ทั้งหมดเหล่านั้น ว่างเปล่าจากสมณะ

ผู้ตั้งอยู่ในผล ๔ เหล่านี้ ทั้งวาทะเหล่านั้นก็ไม่มีอยู่ในธรรมวินัยนี้. อนึ่ง

วาทะเหล่านั้นมิใช่ว่างเปล่าจากสมณะเหล่านี้อย่างเดียวเท่านั้นทั้งยังว่างจากสมณะ

แม้ ๑๒ คือ สมณะผู้ตั้งอยู่ในมรรค บ้างสมณะผู้ปรารภวิปัสสนาเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 598

ประโยชน์แก่มรรค ๔ บ้าง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายความนี้ จึงตรัสไว้

ในมหาปรินิพพานสูตรว่า

ดูก่อนสุภัททะ เรามีวัย ๒๙ แสวงหาว่า

อะไรเป็นกุศล จึงออกบวช ตั้งแต่เราบวช

แล้วนับได้ ๕๑ ปี แม้สมณะเป็นไปใน

ประเทศแห่งธรรมเป็นเครื่องรู้ ไม่มีใน

ภายนอกแต่ธรรมวินัยนี้.

แม้สมณะที่ ๒ ก็ไม่มี แม้สมณะที่ ๓ ก็ไม่มี แม้สมณะที่ ๔ ก็ไม่มี

ลัทธิอื่นว่างเปล่าจากสมณะผู้รู้.

จริงอยู่ ผู้ปรารภวิปัสสนาท่านประสงค์เอาในบทว่า ปเทสวตฺติ นี้.

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำสมณะแม้ ๓ จำพวก คือ สมณะ

ผู้ปรารภวิปัสสนาเพื่อโสดาปัตติมรรค ๑ สมณะผู้ตั้งอยู่ในมรรค ๑ สมณะผู้

ตั้งอยู่ในผล ๑ รวมกันจึงตรัสว่า แม้สมณะก็ไม่มี ดังนี้. ทรงกระทำสมณะ

แม้ ๓ จำพวก คือ สมณะผู้ปรารภวิปัสสนาเพื่อสกทาคามิมรรค ๑ สมณะ

ผู้ตั้งอยู่ในมรรค สมณะผู้ตั้งอยู่ในผล ๑ รวมกันจึงตรัสว่า แม้สมณะที่ ๒

ก็ไม่มีดังนี้. แม้ในสมณะสองพวกนอกนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาสมณสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 599

๑๑. อานิสังสสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์ ๔ ประการ

[๒๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัยสัปบุรุษแล้ว พึงหวังได้

อานิสงส์ ๔ ประการ อานิสงส์ ๔ ประการเป็นไฉน คือ ย่อมเจริญด้วยศีล

ที่เป็นอริยะ ๑ ย่อมเจริญด้วยสมาธิที่เป็นอริยะ ๑ ย่อมเจริญด้วยปัญญาที่เป็น

อริยะ ๑ ย่อมเจริญด้วยวิมุตติที่เป็นอริยะ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลอาศัย

สัปบุรุษแล้ว พึงหวังได้อานิสงส์ ๔ ประการนี้.

จบอานิสังสสูตรที่ ๑๑

จบกรรมวรรคที่ ๔

อานิสังสสูตรที่ ๑๑ ง่ายทั้งนั้นแล.

จบกรรมวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังขิตตสูตร ๒. วิตถารสูตร ๓. โสณกายนสูตร ๔. สิกขาบทสูตร

๕. อริยมัคคสูตร ๖.โพชฌังคสูตร ๗. สาวัชชสูตร ๘. อัพยาปัชฌสูตร

๙. สัปปุริสสูตร ๑๐. สมณสูตร ๑๑.อานิสังสสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 600

อาปัตติภยวรรคที่ ๕

๑. สังฆเภทกสูตร

ภิกษุทำลายสงฆ์ด้วยอำนาจประโยชน์ ๔ ประการ

[๒๔๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม

ใกล้เมืองโกสัมพี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มี-

พระภาคเจ้าได้ตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ อธิกรณ์นั้นระงับแล้วหรือ ท่าน

พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อธิกรณ์นั้นจักระงับแต่ที่ไหน

สัทธิวิหาริกของท่านพระอนุรุทธะชื่อว่าพาหิยะ ตั้งอยู่ในการทำลายสงฆ์ถ่ายเดียว

เมื่อพระพาหิยะตั้งอยู่อย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุรุทธะก็ไม่สำคัญที่จะพึงว่ากล่าว

แม้สักคำเดียว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เมื่อไร อนุรุทธะ

จะจัดการชำระอธิกรณ์ในท่ามกลางสงฆ์ อธิกรณ์ชนิดใดก็ตามที่บังเกิดขึ้น

เธอทั้งหลายกับสารีบุตรและโมคคัลลานะต้องระงับอธิภรณ์ทั้งหมดนั้นมิใช่หรือ

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้ ย่อมยินดี

ด้วยการทำลายสงฆ์ อำนาจประโยชน์ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนอานนท์

ภิกษุผู้ลามกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม มีความประพฤติไม่สะอาด

น่ารังเกียจ มีการงานอันปกปิด มิใช่สมณะปฏิญาณว่าเป็นสมณะ ไม่ประพฤติ

พรหมจรรย์ปฏิญาณว่าประพฤติพรหมจรรย์ เป็นคนเน่าใน ชุ่มด้วยกิเลส

รุงรังด้วยโทษ เธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้จักเราว่า เป็นคน

ทุศีล มีบาปธรรม. . .รุงรังด้วยโทษ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันนาสนะเราเสีย

แต่ภิกษุผู้เป็นพรรคพวกจักไม่นาสนะเรา ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็น

อำนาจประโยชน์ที่ ๑ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 601

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก มีความเห็นผิด ประกอบด้วยอันตคา-

หิกทิฏฐิ เธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่ามีความเห็นผิด

ประกอบด้วยอันตคาหิกทิฏฐิ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันนาสนะเราเสีย แต่ภิกษุ

ผู้เป็นพรรคพวกจักไม่นาสนะเรา ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจ

ประโยชน์ข้อที่ ๒ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก มีอาชีพผิด เลี้ยงชีวิตด้วยมิจฉาชีพ

เธอย่อมปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่ามีอาชีพผิดเลี้ยงชีวิตด้วย

มิจฉาชีพ จักเป็นผู้พร้อมเพรียงกันนาสนะเราเสีย แต่ภิกษุเป็นพรรคพวกจัก

ไม่นาสนะเรา ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ข้อที่ ๓ นี้

ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้ลามก ปรารถนาลาภ สักการะและความยกย่อง

เธอปริวิตกอย่างนี้ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลายจักรู้เราว่าปรารถนาลาภ สักการะและ

ความยกย่อง จักพร้อมเพรียงกัน ไม่สักการะเคารพนับถือบูชาเรา แต่ภิกษุ

ผู้เป็นพรรคพวกจักสักการะเคารพนับถือบูชาเรา ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก

เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ข้อที่ ๔ นี้ ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.

ดูก่อนอานนท์ ภิกษุผู้ลามก เล็งเห็นอำนาจประโยชน์ ๔ ประการนี้แล

ย่อมยินดีด้วยการทำลายสงฆ์.

จบสังฆเภทกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 602

อาปัตติภยวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาสังฆเภทกสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสังฆเภทกสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปิ นุต อานนฺท อธิกรณ ความว่า บรรดาอธิกรณ์

๔ มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น อธิกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดขึ้นแล้ว แก่ภิกษุสงฆ์.

พระศาสดาเมื่อจะถามถึงเรื่องอธิกรณ์นั้นสงบแล้วจึงตรัสอย่างนี้. บทว่า กุโต

ต ภนฺเต ความว่า พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอธิกรณ์

นั้นจะระงับแต่ที่ไหนได้ คือ อธิกรณ์นั้นจักระงับได้ด้วยเหตุไร. บทว่า

เกวลกปฺป ได้แก่ ถ่ายเดียว. บุทว่า สงฺฆเภทาย ิโต ได้แก่ พระ-

พาหิยะยังยืนกรานกล่าวโต้วาทะกับด้วยสงฆ์. บทว่า ตตฺถายสฺมา ความว่า

เมื่อพระพาหิยะนั้นยืนกรานอยู่อย่างนี้ ท่านพระอนุรุทธะ. บทว่า น เอกวา-

จิกปิ กถิตพฺพ มญฺติ ความว่า ท่านพระอนุรุทธะไม่เอาธุระที่จะกล่าวว่า

ดูก่อนผู้มีอาย ท่านอย่าพูดอย่างนี้กับสงฆ์ซิ ดังนี้. บทว่า โวยุญฺชติ ได้แก่

ขวนขวาย คือ ตั้งหน้าพยายาม. บทว่า อตฺถวเส แปลว่า อำนาจแห่งเหตุ.

บทว่า นาเสสฺสนฺติ ได้แก่ ภิกษุทั้งหลาย จักไม่ให้เราเข้าไป จักคร่าเรา

ออกไปเสียจากอุโบสถและปวารณา. บทที่เหลือพึงทราบตามบาลีนั่นแล.

จบอรรถกถาสังฆเภทกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 603

๒. อาปัตติสูตร

ว่าด้วยความกลัวต่ออาบัติ ๔ ประการ

[๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกลัวต่ออาบัติ ๔ ประการนี้ ๔

ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนราชบุรุษจับโจรผู้ประพฤติ

หยาบช้าได้แล้ว แสดงแก่พระราชา ด้วยกราบทูลว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็นผู้

ประพฤติหยาบช้าต่อพระองค์ ขอพระองค์จงทรงลงอาญาแก่เขา พระราชาจึง

ตรัสอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงไป จงมัดบุรุษนี้เอาแขนไพล่หลัง

ให้มั่นคงด้วยเชือกอันเหนียว โกนผมแล้วนำตระเวนไปตามถนนและตรอกด้วย

บัณเฑาะว์มีเสียงหยาบ ออกทางประตูด้านใต้ แล้วจงตัดศีรษะทางด้านใต้

แห่งนคร พวกราชบุรุษนั้นเอาแขนไพล่หลังให้มั่นคงด้วยเชือกอันเหนียวแล้ว

โกนผม นำตระเวนไปตามถนนและตรอกด้วยบัณเฑาะว์มีเสียงหยาบ แล้วนำ

ออกทางประตูด้านใต้ ตัดศีรษะเสียทางด้านใต้แห่งนคร ในที่นั้น มีบุรุษผู้

ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ บุรุษนี้กระทำกรรมอัน

หยาบช้าอันน่าติเตียนถึงถูกตัดศีรษะ ราชบุรุษทั้งหลายจึงจับมัดแขนไพล่หลัง

ให้มั่นคงด้วยเชือกอันเหนียว โกนศีรษะด้วยมีดโกนนำตระเวนไปตามถนนและ

ตรอก ด้วยบัณเฑาะว์มีเสียงหยาบ แล้วนำออกทางประตูด้านใต้ ตัดศีรษะ

ทางด้านใต้แห่งนคร เขาไม่ควรทำกรรมอันหยาบช้าเห็นปานนี้จนถูกตัดศีรษะ

เลยหนอ ดังนี้ แม้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือ

ภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญาคือความกลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ใน

ธรรม คือ ปาราชิกทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นอันหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม

คือ ปาราชิกจักไม่ต้อง หรือผู้ที่ต้องแล้วจักกระทำคือตามธรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 604

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนุ่งผ้าดำ สยายผมห้อย

สากไว้ที่คอ เข้าไปหาหมู่มหาชนแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

ข้าพเจ้าได้ทำกรรมลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก ท่านทั้งหลายพอใจ

ให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น ในที่นั้น มีบุรุษยืนอยู่

ณ ที่ส่วนหนึ่ง กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุรุษนี้ได้กระทำกรรม

อันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก เขานุ่งผ้าดำ สยายผม ห้อยสาก

ไว้ที่คอเข้าไปหาหมู่มหาชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้า

กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก ท่านทั้งหลายพอใจ

ให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น ดังนี้เขาไม่ควรกระทำกรรม

อันเป็นบาป น่าติเตียน ควรแก่การห้อยสาก เห็นปานนั้นเลยหนอ แม้ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้ง

สัญญาคือความกลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ สังฆาทิเสส

ทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นอันหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม คือ สังฆาทิเสส

จักไม่ต้อง หรือผู้ที่ต้องแล้วจักกระทำคืนตามธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนุ่งผ้าดำ สยายผมห้อยห่อ

ขี้เถ้าไว้ที่คอ เข้าไปหาหมู่มหาชน แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้า ท่าน

ทั้งหลายพอใจจะให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น ในที่นั้น

มีบุรุษยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุรุษนี้ได้

กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้า เขานุ่งผ้าดำ

สยายผมห้อยห่อขี้เถ้า เข้าไปหาหมู่มหาชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้า

ท่านทั้งหลายพอใจจะให้ข้าพเจ้าทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะทำสิ่งนั้น เขาไม่ควรกระทำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 605

กรรมอันลามก ควรแก่การห้อยห่อขี้เถ้าเห็นปานนี้เลยหนอ แม้ฉันใด ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้งสัญญา

คือความกลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ ปาจิตตีย์ทั้งหลาย

ข้อนี้เป็นอันหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม คือ ปาจิตตีย์ จักไม่ต้อง หรือ

ผู้ที่ต้องแล้ว จักกระทำคืนตามธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษนุ่งผ้าดำ สยายผมเข้าไปหา

หมู่มหาชน แล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กระทำ

กรรมอันลามก น่าติเตียน ควรตำหนิ ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้าการทำ

สิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น ณ ที่นั้น มีบุรุษยืนอยู่ ณ ที่ส่วนหนึ่งกล่าว

อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย บุรุษผู้นี้ได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน

ควรตำหนิ เขานุ่งผ้าดำ สยายผม เข้าไปหาหมู่มหาชนแล้วกล่าวอย่างนี้ว่า

ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าได้กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรตำหนิ

ท่านทั้งหลายพอใจให้ข้าพเจ้ากระทำสิ่งใด ข้าพเจ้าจะกระทำสิ่งนั้น เขาไม่ควร

กระทำกรรมอันลามก น่าติเตียน ควรตำหนิ เห็นปานนั้นเลยหนอ แม้ฉันใด

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป เข้าไปตั้ง

สัญญาคือความกลัวอันแรงกล้าอย่างนั้นไว้ในธรรม คือ ปาฏิเทสนียะ

ทั้งหลาย ข้อนั้นพึงหวังได้ว่า ผู้ที่ยังไม่ต้องธรรม คือ ปาฏิเทสนียะ จักไม่

ต้อง ผู้ที่ต้องแล้วจักกระทำคืนตามธรรม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความกลัวต่ออาบัติ ๔ ประการ นี้แล.

จบอาปัตติสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 606

อรรถกถาอาปัตติสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอาปัตติสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ขุรมุณฺฑ กริตฺวา ได้แก่โกนผมเหลือไว้ ๕ แหยม. บทว่า

ขรสฺเรน คือ เสียงกร้าว. บทว่า ปณเวน คือ กลองประหาร. บทว่า

ถลฏฺสฺส คือ บุรุษผู้ยืนอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่ง. บทว่า สีสจฺเฉชฺช คือ ควร

แก่การตัดหัว. บทว่า ยตฺร หิ นาม คือ ย นาม. บทว่า โส วตสฺส

ความว่า เรานั้นหนอไม่ควรทำบาปเห็นปานนี้เลย. บทว่า ยถาธมฺม ปฎิ-

กริสฺสติ คือ จักกระทำคืนสมควรแก่ธรรม. อธิบายว่า จักตั้งอยู่ในสามเณร-

ภูมิ. บทว่า กาฬก วตฺถ ปริธาย ได้แก่ นุ่งผ้าเก่าสีดำ. บทว่า โมสลฺล

แปลว่า ควรแบกสาก.

บทว่า ยถาธมฺม ความว่า ออกจากอาบัติในธรรมวินัยนี้ แล้วดำรง

อยู่ในความบริสุทธิ์ ชื่อว่า ย่อมทำคืนตามธรรม. บทว่า อสฺสปุฏ ได้แก่

ห่อขี้เถ้า. บทว่า คารยฺห อสฺสปุฏ ได้แก่ ควรเทินห่อขี้เถ้า น่าติเตียน.

บทว่า ยถาธมฺม ได้แก่ แสดงอาบัติในธรรมวินัยนี้ ชื่อว่า ย่อมทำคืน

ตามธรรม. บทว่า อุปวชฺช ได้แก่ ควรตำหนิ. บทว่า ปาฏิเทสนีเยสุ

คือควรแสดงคืน. อาบัติที่เหลือแม้ทั้งหมดท่านสงเคราะห์ด้วยบทนี้. บทว่า

อิมานิ โข ภิกฺขเว จตฺตาริ อาปตฺติภยานิ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อาบัติภัย (ความกลัวอาบัติ) ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า ภัยอาศัยอาบัติเกิดขึ้น.

จบอรรถกถาอาปัตติสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 607

๓. สิกขานิสังสสูตร

ว่าด้วยอานิสงส์การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์

[๒๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมอยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้

อันมีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด วิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็น

อธิปไตย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสิกขาเป็นอานิสงส์อย่างไร

สิกขา คือ อภิสมาจาร เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย ในธรรมวินัยนี้ เพื่อ

ความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว

สิกขา คือ อภิสมาจารเราบัญญัติแล้วแก่สาวกเพื่อความเลื่อมใสของผู้ที่ยังไม่

เลื่อมใส เพื่อความเลื่อมใสยิ่งขึ้นของผู้ที่เลื่อมใสแล้ว ด้วยประการใด ๆ สาวก

นั้น เป็นผู้มีปกติไม่ทำสิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ต่าง ไม่ให้พร้อย ย่อม

สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลายด้วยประการนั้น ๆ.

อีกประการหนึ่ง สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์เราบัญญัติ

แก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง สิกขาอัน

เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ เราบัญญัติแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์

โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใด ๆ สาวกนั้นเป็นผู้มีปกติไม่ทำ

สิกขานั้นให้ขาด ไม่ให้ทะลุ ไม่ให้ด่าง ไม่ให้พร้อย สมาทานศึกษาอยู่ใน

สิกขาบททั้งหลาย ด้วยประการนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสิกขา

เป็นอานิสงส์อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างไร ธรรม

ทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์

โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเราแสดงแล้วแก่สาวกทั้งหลาย

เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใด ๆ ธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 608

ทั้งหมดนั้นอันสาวกพิจารณาด้วยปัญญา ด้วยประการนั้น ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พรหมจรรย์มีปัญญาเป็นยอดอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่นอย่างไร ธรรม

ทั้งหลายเราแสดงแก่สาวกทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ

โดยประการทั้งปวง ธรรมทั้งหลายเราแสดงแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อความสิ้นทุกข์

โดยชอบ โดยประการทั้งปวง ด้วยประการใด ๆ ธรรมทั้งหมดนั้นเป็นธรรม

อันวิมุตติถูกต้องแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีวิมุตติเป็นแก่น

อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิปไตยอย่างไร สติอัน

ภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักบำเพ็ญอภิสมาจาริกสิกขาที่ยังไม่

บริบูรณ์ให้บริบูรณ์ หรือว่า จักอนุเคราะห์อภิสมาจาริกสิกขาอันบริบูรณ์แล้วไว้

ด้วยปัญญาในฐานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า

เราจักบำเพ็ญสิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่ยังไม่บริบูรณ์ให้บริบูรณ์

หรือว่าจักอนุเคราะห์สิกขาอันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ที่บริบูรณ์แล้วไว้

ด้วยปัญญาในฐานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า

เราจักพิจารณาธรรมที่เราไม่ได้พิจารณาแล้วด้วยปัญญาในฐานะนั้น ๆ หรือว่า

จักอนุเคราะห์ธรรมที่เราพิจารณาแล้วได้ด้วยปัญญาในฐานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง

สติอันภิกษุตั้งไว้ดีแล้วในภายในทีเดียวว่า เราจักถูกต้องธรรมที่เราไม่ได้ถูก

ต้องด้วยวิมุตติ หรือว่า จักอนุเคราะห์ธรรมที่เราถูกต้องแล้วด้วยปัญญาใน

ฐานะนั้น ๆ ดังนี้บ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์มีสติเป็นอธิป-

ไตยอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่เรากล่าวว่า เราอยู่พระพฤติพรหมจรรย์อัน

มีสิกขาเป็นอานิสงส์ มีปัญญาเป็นยอด มีวิมุตติเป็นแก่น มีสติเป็นอธิปไตย

ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว.

จบสิกขานิสังสสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 609

อรรถกถาสิกขานิสังสสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสิกขานิสังสสูตรที่ ๓ ดังต่อไปนี้ :-

พรหมจรรย์ ซึ่ง สิกขานิสังสะ เพราะมีสิกขาเป็นอานิสงส์. ชื่อ

ปัญญุตตระ เพราะมีปัญญาเป็นยอด. ชื่อ วิมุตติสาระ เพราะมีวิมุตติ

เป็นแก่น. ชื่อ สตาธิปเตยยะ เพราะมีสติเป็นใหญ่. ท่านอธิบายไว้ว่า

พรหมจรรย์ที่อยู่ประพฤติเพื่อประโยชน์แก่อานิสงส์เป็นต้น อันได้แก่สิกขา

เป็นต้นแม้เหล่านั้น. บทว่า อภิสมาจาริกา ได้แก่ สิกขาเนื่องด้วยอภิสมาจาร

อันสูงสุด. บทนี้เป็นชื่อของศีลที่ทรงบัญญัติไว้ด้วยเป็นข้อวัตรปฏิบัติ. บทว่า

ตถา ตถา โส ตสฺสา สิกฺขาย ความว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ใคร่ศึกษาใน

สิกขาบทนั้น อย่างนั้น ๆ. บทว่า อาทิพฺรหฺมจริยกา นี้ เป็นชื่อแห่ง

มหาศีล ๔ อันเป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์. บทว่า สพฺพโส แปลว่า โดย

อาการทั้งปวง.

บทว่า ธมฺมา ได้แก่ สัจจธรรม ๔. บทว่า ปญฺาย สมเวกฺขิตา

โหนฺติ ความว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอันสาวกพิจารณาเห็นด้วยดี ด้วยมรรค

ปัญญากับสมาธิและวิปัสสนา. บทว่า วิมุตฺติยา ผุสิตา โหนฺติ ได้แก่

ธรรมทั้งหลายอันสาวกถูกต้อง (บรรลุ) ด้วยผัสสะ คือญาณแห่งวิมุตติ คือ

อรหัตผล. บทว่า อชฺฌตฺตเยว สติ สุปฏฺิตา โหติ ความว่า สติอันสาวก

เข้าไปตั้งไว้ด้วยดีในภายในตนนั้นเอง. บทว่า ปญฺาย อนุคฺคเหสฺสามิ

ความว่า เราจักประคบ ประคองด้วยวิปัสสนาปัญญา. แม้ใน บทว่า ปญฺาย

สมเวกฺขิสฺสามิ นี้ ท่านก็ประสงค์เอาแม้วิปัสสนาปัญญา แต่ในบทนี้ว่า ผุสิต

วา ธมฺม ตตฺถ ตตฺถ ปญฺาย อนุคฺคเหสฺสามิ (เราจักประดับประคอง

ธรรมที่ได้ถูกต้องแล้วด้วยปัญญาในที่นั้น ๆ) ท่านประสงค์เอามรรคปัญญา

อย่างเดียว.

จบอรรถกถาสิกขานิสังสสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 610

๔. เสยยสูตร

ว่าด้วยการนอน ๔ อย่าง

[๒๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไสยา (การนอน) ๔ อย่างนี้ ๔ อย่าง

เป็นไฉน คือ เปตไสยา (นอนอย่างคนตาย) ๑ กามโภคีไสยา (นอนอย่าง

คนบริโภคกาม) ๑ สีหไสยา (นอนอย่างราชสีห์) ๑ ตถาคตไสยา (นอนอย่าง

ตถาคต) ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เปตไสยาเป็นไฉน คนตายโดยมากนอน-

หงาย นี้เราเรียกว่า เปตไสยา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กามโภคีไสยาเป็นไฉน คนบริโภคกามโดยมาก

นอนตะแคงข้างซ้าย เราเรียกว่า กามโภคีไสยา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สีหไสยาเป็นไฉน สีหมฤคราชย่อมสำเร็จการ

นอนข้างเบื้องขวา ซ้อนเท้าเลื่อมเท้า สอดหางเข้าในระหว่างโคนขา มันตื่น

ขึ้นแล้ว ยืดกายเบื้องหน้าแล้ว เหลียวดูกายเบื้องหลัง ถ้ามันเห็นความผิดแปลก

หรือความละปกติแห่งกาย มันย่อมเสียใจด้วยเหตุนั้น ถ้ามันไม่เห็นอะไรผิด

ปกติ มันย่อมดีใจด้วยเหตุนั้น นี้เราเรียกว่า สีหไสยา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ตถาคตไสยาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้

สลัดจากกาม ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน นี้เราเรียกว่า ตถาคตไสยา.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไสยา (การนอน) ๔ อย่างนี้แล.

จบเสยยสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 611

อรรถกถาเสยยสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในเสยยสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

คนตายแล้ว ท่านเรียกว่า เปตะคนตาย. บทว่า อุตฺตานา เสนฺติ

ได้แก่ คนตายเหล่านั้นโดยมากนอนหงาย. อีกอย่างหนึ่ง สัตว์ที่เกิดในปิตติวิสัย

ชื่อว่า เปรต. เปรตเหล่านั้น เพราะมีเนื้อและเลือดน้อย มีกระดูกขึ้นระเกะระกะ

ไม่สามารถจะนอนตะแคงได้ จึงได้แต่นอนหงายท่าเดียว.

บทว่า อนตฺตมโน โหติ ความว่า ก็สีหมิคราช เพราะเป็นสัตว์

มีอำนาจมาก วางสองเท้าหน้าไว้ที่เท้าหลังแห่งหนึ่ง สอดหางไว้ในระหว่างขา

กำหนดโอกาสที่เท้าหน้า เท้าหลัง และหางวางอยู่ ทอดศีรษะลงบนเท้าหน้า

ทั้งสองแล้วนอนตลอดวัน เมื่อนอนหลับตื่นขึ้นก็ไม่สะดุ้งตื่น แต่ผงกศีรษะขึ้น

สังเกตโอกาสที่เท้าหน้าเป็นต้นวางอยู่ หากเคลื่อนที่ไร ๆ ไป (ไม่อยู่อย่างเดิม)

ก็ไม่พอใจว่า นี้ไม่สมควรแก่ชาติตระกูลของเจ้าไม่สมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญ

ดังนี้ จึงนอนในที่นั้นต่อไม่ออกไปแสวงหาอาหาร. บทว่า อนตฺตมโน โหติ

ท่านกล่าวหมายเอาข้อนี้. แต่เมื่ออะไร ๆ ไม่เคลื่อนที่ไป สีหมิคราชจึง

ยินดีว่า นี้สมควรแก่ชาติตระกูลของเจ้า และสมควรแก่ความเป็นผู้กล้าหาญ

ของเจ้า แล้วลุกจากที่นั้นบิดกายสลัดสร้อยคอ บันลือสีหนาท ๓ ครั้งแล้วจึง

ออกหาอาหาร. บทว่า อตฺตมโน โหติ ท่านกล่าวด้วยข้อนั้น .

จบอรรถกถาเสยยสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 612

๕. ถูปารหสูตร

ว่าด้วยถูปารหบุคคล ๔

[๒๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถูปารหะ (บุคคลผู้ควรนำอัฐิธาตุ

บรรจุสถูปไว้บูชา) ๔ จำพวกนี้ ถูปารหะ ๔ เป็นไฉน คือ

ตถาคโต อรห สมฺมาสมฺพุทฺโธ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้า

ปจฺเจกพุทฺโธ พระปัจเจกพุทธะ

ตถาคตสาวโก พระสาวกของพระตถาคต

ราชา จกฺกวตฺตี พระเจ้าจักรพรรดิ

นี้แล ถูปารหะ ๔.

จบถูปารหสูตรที่ ๕

อรรถกถาถูปารหสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในถูปารหสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า ราชา จกฺกวตฺตี นี้ถามว่า เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงอนุญาตการก่อทำสถูปแด่พระเจ้าจักรพรรดิซึ่งสวรรคตแล้ว ไม่ทรง

อนุญาตให้ทำแก่ภิกษุผู้เป็นปุถุชนผู้มีศีล. ตอบว่า เพราะความเป็นอัจฉริยะ.

ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตสถูปทั้งหลายแก่ภิกษุผู้เป็นปุถุชน ก็จะ

ไม่พึงมีช่องว่างแก่บ้านและท่าเรือในตัมพปัณณิทวีปเลย ในฐานะอื่นก็อย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 613

เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงอนุญาตด้วยทรงเห็นว่า ภิกษุเหล่านั้นจักไม่เป็นอัจฉ-

ริยะ. พระเจ้าจักรพรรดิทรงอุบัติพระองค์เดียวเท่านั้น ด้วยเหตุนั้นสถูปของ

พระเจ้าจักรพรรดิจึงเป็นอัจฉริยะ. แต่ควรทำสักการะแม้ใหญ่แก่ภิกษุปุถุชน

ผู้มีศีลดุจภิกษุผู้ปรินิพพานแล้วฉะนั้นโดยแท้.

จบอรรถกถาถูปารหสูตรที่ ๕

๖. ปัญญาวุฑฒิสูตร

ว่าด้วยความเจริญปัญญา

[๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ เป็นไปเพื่อ

ความเจริญปัญญา ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

สปฺปุริสสเสโว คบสัตบุรุษ

สทฺธมฺมสฺสวน ฟังพระสัทธรรม

โยนิโสมนสิกาโร ทำในใจโดยแยบคาย

ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

นี้แล ธรรม ๔ ประการ เป็นไปเพื่อความเจริญปัญญา.

จบปัญญาวุฑฒิสูตรที่ ๖

ปัญญาวุฑฒิสูตรที่ ๖ และพหุการสูตรที่ ๗ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 614

๗. พหุการสูตร

ว่าด้วยธรรมมีอุปการะมากแก่มนุษย์

[๒๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ เป็นธรรมมี

อุปการะมากแก่มนุษย์ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

สปฺปุริสสเสโว คบสัตบุรุษ

สทฺธมฺมสฺสวน ฟังพระสัทธรรม

โยนิโสมนสิกาโร ทำในใจโดยแยบคาย

ธมฺมานุธมฺมปฏิปตฺติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

นี้แล ธรรม ๔ ประการ เป็นธรรมมีอุปการะมากแก่มนุษย์.

จบพหุการสูตรที่ ๗

๘. ปฐมโวหารสูตร

ว่าด้วยอนริยโวหาร ๔

[๒๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร (การพูดไม่ใช่อย่างอริยะ)

๔ นี้ อนริยโวหาร ๔ เป็นไฉน คือ

อทิฏเ ทิฏฺวาทิตา ไม่เห็น กล่าวว่าเห็น

อสฺสุเต สุตวาทิตา ไม่ได้ยิน กล่าวว่าได้ยิน

อมุเต มุตวาทิตา ไม่ทราบ กล่าวว่าทราบ

อวิญฺาเต วิญฺาตวาทิตา ไม่รู้ กล่าวว่ารู้

นี้แล อนริยโวหาร ๔.

จบปฐมโวหารสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 615

ในปฐมโวหารสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนริยโวหารา ได้แก่ การพูด ของผู้ไม่เป็นอริยะ. แม้

ในบทที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาปฐมโวหารสูตรที่ ๘

จบอาปัตติภยวรรควรรณนาที่ ๕

๙. ทุติยโวหารสูตร

ว่าด้วยอริยโวหาร

[๒๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้ อริยโวหาร

๔ เป็นไฉน คือ

อทิฏฺเ อทิฏฺวาทิตา ไม่เห็น กล่าวว่าไม่เห็น

อสฺสุเต อสฺสุตวาทิตา ไม่ได้ยิน กล่าวว่าไม่ได้ยิน

อมุเต อมุตวาทิตา ไม่ทราบ กล่าวว่าไม่ทราบ

อวิญฺาเต อวิญฺาตวาทิตา ไม่รู้ กล่าวว่าไม่รู้

นี้แล อริยโวหาร ๔.

จบทุติยโวหารสูตรที่ ๙

๑๐. ตติยโวหารสูตร

ว่าด้วยอนริยโวหาร ๔

[๒๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยโวหาร ๔ ประการนี้ อนริยโวหาร

๔ เป็นไฉน คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 616

ทิฏฺเ อทิฏฺวาทิตา เห็น กล่าวว่าไม่เห็น

สุเต อสฺสุตวาทิตา ได้ยิน กล่าวว่าไม่ได้ยิน

มุเต อมุตวาทิตา ทราบ กล่าวว่าไม่ทราบ

วิญฺาเต อวิญฺาตวาทิตา รู้ กล่าวว่าไม่รู้

นี้แล อนริยโวหาร ๔.

จบตติยโวหารสูตรที่ ๑๐

๑๑. จตุตถโวหารสูตร

ว่าด้วยอริยโวหาร ๔

[๒๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยโวหาร ๔ ประการนี้ อริยโวหาร ๔

เป็นไฉน คือ

ทิฏฺเ ทิฏฺวาทิตา เห็น กล่าวว่าเห็น

สุเต สุตวาทิตา ได้ยิน กล่าวว่าได้ยิน

มุเต มุตวาทิตา ทราบ กล่าวว่าทราบ

วิญฺาเต วิญฺาตวาทิตา รู้ กล่าวว่ารู้

นี้แล อริยโวหาร ๔.

จบจตุตถโวหารสูตรที่ ๑๑

จบอาปัตติภยวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สังฆเภทกสูตร ๒. อาปัตติสูตร ๓. สิกขานิสังสสูตร ๔. เสยย-

สูตร ๕. ถูปารหสูตร ๖. ปัญญาวุฑฒิสูตร ๗. พหุการสูตร ๘. ปฐม-

โวหารสูตร ๙. ทุติยโวหารสูตร ๑๐. ตติยโวหารสูตร ๑๑. จตุตถโวหารสูตร

และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 617

อภิญญาวรรคที่ ๖

๑. อภิญญาสูตร

ว่าด้วยธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา ๔

[๒๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้ก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วย

ปัญญาแล้วพึงละเสียก็มี ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญก็มี ธรรมที่

รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้งก็มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้เป็นไฉน

คือ อุปาทานขันธ์ ๕ นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสียเป็นไฉน คือ อวิชชา และภวตัณหา

นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสีย ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญา

แล้ว พึงให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะและวิปัสสนา นี้เราเรียกว่า ธรรมที่

รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญ ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้ง

เป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้ว

พึงกระทำให้แจ้ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล.

จบอภิญญาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 618

อภิญญาวรรควรรณนาที่ ๖

อรรถกถาอภิญญาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในอภิญญาสูตรที่ ๑ วรรคที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อภิญฺา ได้แก่ รู้ยิ่งด้วยปัญญา. บทว่า สมโถ จ

วิปสฺสนา จ ได้แก่ ความเป็นผู้มีจิต มีอารมณ์เป็นหนึ่ง และวิปัสสนาญาณ

กำหนดรู้สังขาร. บทว่า วิชฺชา จ วิมุตฺติ จ ได้แก่ วิชชาอันเป็น

มรรคญาณ และสัมปยุตธรรมที่เหลือ.

จบอรรถกถาอภิญญาสูตรที่ ๑

๒. ปริเยสนาสูตร

ว่าด้วยการแสวงหาอันไม่ประเสริฐ ๔

[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา การแสวงหาอันไม่

ประเสริฐ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้

ตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีชราเป็นธรรมดานั่นเอง ๑

ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีพยาธิเป็นธรรมดานั่นเอง ๑

ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดา

นั่นเอง ๑ ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาสิ่งที่มี

ความเศร้าหมองเป็นธรรมดานั่นเอง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนริยปริเยสนา

๔ ประการนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 619

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยปริเยสนา การแสวงหาอย่างประเสริฐ

ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ตนเองเป็นผู้มี

ชราเป็นธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีชราเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพาน

อันไม่มีชรา เป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็น

ธรรมดา รู้โทษในสิ่งที่มีพยาธิเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่มี

พยาธิ เป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา

รู้โทษในสิ่งที่มีมรณะเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่ตาย เป็น

แดนเกษมจากโยคะอย่างเยี่ยม ๑ ตนเองเป็นผู้มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา

รู้โทษในสิ่งที่มีความเศร้าหมองเป็นธรรมดาแล้ว ย่อมแสวงหานิพพานอันไม่

เศร้าหมอง เป็นแดนเกษมจากโยคะอย่างเยี่ยม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริย-

ปริเยสนา ๔ ประการนี้แล.

จบปริเยสนาสูตรที่ ๒

อรรถกถาปริเยสนาสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปริเยสนาสูตรที่ ๒ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนริยปริเยสนา ได้แก่ การแสวงหา คือ เสาะหา ของ

ผู้ไม่ใช่อริยะ. บทว่า ชราธมฺม ได้แก่ สิ่งที่มีความแก่เป็นสภาพ. แม้ในบท

ที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบอรรถกถาปริเยสนาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 620

๓. สังคหสูตร

ว่าด้วยธรรมเครื่องยึดน้ำใจกัน

[๒๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ ทาน การให้ ๑ เปยยวัชชะ เจรจาถ้อยคำน่ารัก ๑ อรรถจริยา

ประพฤติประโยชน์ ๑ สมานัตตตา ความมีตนเสมอ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สังคหวัตถุ ๔ ประการนี้แล.

จบสังคหสูตรที่ ๓

๔. มาลุงกยปุตตสูตร

ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตรเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

[๒๕๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ซึ่งข้าพระองค์

ได้ฟังแล้ว พึงหลีกออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร

มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาลุงกยบุตร ทีนี้เรา

จักกล่าวกะพวกภิกษุหนุ่มอย่างไรเล่า ในเมื่อท่านเป็นคนแก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่

ขอโอวาทของตถาคตโดยย่อ พระมาลุงกยบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์-

ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์ ขอ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 621

พระสุคตโปรดทรงแสดงธรรมโดยย่อ แม้ไฉน ข้าพระองค์จะพึงรู้ถึงเนื้อความ

แห่งภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ไฉน ข้าพระองค์พึงเป็นทายาทแห่ง

ภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาลุงกยบุตร

เหตุเกิดตัณหา ซึ่งเป็นที่ที่ตัณหา เมื่อเกิด ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ๔ ประการนี้

๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนนาลุงกยบุตร ตัณหาเมื่อเกิดแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้น

เพราะจีวรเป็นเหตุ ๑ เพราะบิณฑบาตเป็นเหตุ ๑ เพราะเสนาสนะเป็นเหตุ ๑

เพราะความเป็นและความไม่เป็นอย่างนั้น อย่างนี้เป็นเหตุ ๑ ดูก่อนมาลุงกย-

บุตร เหตุเกิดตัณหาซึ่งเป็นที่ที่ตัณหา เมื่อเกิดย่อมเกิดแก่ภิกษุ ๔ ประการ

นี้แล เมื่อใดแล ภิกษุละตัณหาได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจ

ตาลยอดด้วน ให้ถึงความไม่มีไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุนี้ เราเรียกว่า

ตัดตัณหาได้เด็ดขาด รื้อสังโยชน์ได้แล้ว ได้กระทำที่สุดทุกข์ได้แล้ว เพราะ

ละมานะโดยชอบ.

ลำดับนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตร อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

โอวาทด้วยพระโอวาทนี้แล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

การทำประทักษิณแล้วหลีกไป ลำดับนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตรเป็นผู้หลีก

ออกจากหมู่ อยู่ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดียวอยู่ ได้กระทำ

ให้แจ้งซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็น

บรรพชิตโดยชอบต้องการนั้น ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ต่อกาลไม่นานเลยได้รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก ก็แลท่านพระมาลุงกยบุตร

เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งในจำนวนพระอรหันต์ทั้งหลาย

จบมาลุงกยปุตตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 622

อรรถกถามาลุงกยปุตตสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในมาลุงกยปุตตสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มาลุงกฺยปุตฺโต ได้แก่ บุตรของมาลุงกยพราหมณ์. บทว่า

เอตฺถ ได้แก่ ในการอ้อนวอนขอโอวาทของท่านนี้. ด้วยบทนี้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ทรงข่มบ้าง ทรงยกย่องบ้าง ซึ่งพระเถระ. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า

ได้ยินว่า เมื่อหนุ่มพระนาลุงกยบุตรนี้ ติดอยู่ในปัจจัยลาภ ต่อมาแก่ตัวลง

ปรารถนาจะอยู่ป่า จึงอ้อนวอนขอกรรมฐาน. พึงประกอบความว่า ลำดับนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสโดยพระประสงค์ว่า ทีนี้เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่ม ๆ

อย่างไรเล่า แม้พวกเธอก็เหมือนมาลุงกยบุตรในเวลาหนุ่มติดในปัจจัย แก่ตัว

ลงก็เข้าป่าบำเพ็ญสมณธรรม ดังนี้ ชื่อว่า ทรงข่มพระเถระ. ก็เพราะเหตุที่

พระเถระในเวลาแก่ตัวลงเข้าป่าประสงค์จะทำสมณธรรม ฉะนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสโดยพระประสงค์ว่า ทีนี้เราจักกล่าวกะภิกษุหนุ่ม ๆ อย่างไรเล่า

มาลุงกยบุตรของพวกเธอนี้ แม้เวลาแก่ตัวลงก็เข้าป่า ประสงค์จะบำเพ็ญสมณ-

ธรรม จึงอ้อนวอนขอกรรมฐาน พวกเธอแม้เวลาเป็นหนุ่มก็ยังไม่ทำความเพียร

ก่อน ดังนี้ ชื่อว่า ทรงยกย่องพระเถระ ดังนี้.

จบอรรถกถามาลุงกยปุตตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 623

๕. กุลสูตร

ว่าด้วยเหตุให้ตระกูลตั้งอยู่ไม่ได้นาน

[๒๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่

ในโภคทรัพย์แล้ว ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้นานเพราะสถาน ๔ หรือสถานใดสถานหนึ่ง

บรรดาสถาน ๔ นั้น สถาน ๔ เป็นไฉน คือ ไม่เสวงหาพัสดุที่หายแล้ว ๑

ไม่ซ่อมแซมพัสดุที่คร่ำคร่า ๑ ไม่รู้จักประมาณในการบริโภค ๑ ตั้งสตรีหรือ

บุรุษทุศีลให้เป็นพ่อบ้านแม่เรือน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตระกูลใดตระกูลหนึ่ง

ถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้ว ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้นานเพราะสถาน ๔ นี้

หรือสถานใดสถานหนึ่งบรรดาสถาน ๔ นั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่งถึงความเป็นใหญ่ใน

โภคทรัพย์แล้ว ย่อมตั้งอยู่ได้นานเพราะสถาน ๔ หรือสถานใดสถานหนึ่ง

บรรดาสถาน ๔ นั้น สถาน ๔ เป็นไฉน คือ แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว ๑

ซ่อมแซมพัสดุที่คร่ำคร่า ๑ รู้จักประมาณในการบริโภค ๑ ตั้งสตรีหรือบุรุษ

ผู้มีศีลให้เป็นพ่อบ้านแม่เรือน ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตระกูลใดตระกูลหนึ่ง

ถึงความเป็นใหญ่ในโภคทรัพย์แล้ว ย่อมตั้งอยู่ได้นานเพราะสถาน ๔ นี้ หรือ

สถานใดสถานหนึ่งบรรดาสถาน ๔ นั้น .

จบกุลสูตรที่ ๕

อรรถกถากุลสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในกุลสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อาธิปจฺเจ เปนฺติ ได้แก่ ตั้งไว้ในตำแหน่งผู้รักษาเรือนคลัง.

จบอรรถกถากุลสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 624

๖. ปฐมอาชานียสูตร

ว่าด้วยองค์ ๔ ของม้าต้น

[๒๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา

ประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าทรง ย่อมถึง

การนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ ๔ เป็นไฉน คือ ม้าอาชาไนยตัวเจริญของ

พระราชาในโลกนี้ สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๑ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑ สมบูรณ์

ด้วยความเร็ว ๑ สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนย

ตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้แล เป็นม้าควรแก่พระราชา

ควรเป็นม้าทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ

อื่นยิ่งกว่า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สมบูรณ์

ด้วยวรรณะ ๑ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ๑ สมบูรณ์ด้วย

ทรวดทรง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างไร ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรม

เป็นผู้มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุ

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 625

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์อย่างไร ภิกษุ

ในธรรนวินัยนี้ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาว์อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงอย่างไร ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชบริขาร

อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงอย่างนี้แลดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของ

คำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.

จบปฐมอาชานียสูตรที่ ๖

อรรถกถาปฐมอาชานียสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในปฐมอาชานียสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วณฺณสมฺปนฺโน ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยผิวกาย. บทว่า

พลสมฺปนฺโน ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยกำลังกาย. บทว่า ภิกฺขุ วณฺณสมฺปนฺโน

ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยวรรณะ คือคุณ. บทว่า พลสมฺปนฺโน ได้แก่ ถึงพร้อม

ด้วยกำลังคือความเพียร. บทว่า ชวสมฺปนฺโน ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยฝีเท้า

คือญาณ.

จบอรรถกถาปฐมอาชานียสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 626

๗. ทุติยอาชานียสูตร

ว่าด้วยม้าอาชาไนยของพระราชา

[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าอาชาไนยตัวเจริญของพระราชา

ประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ ย่อมเป็นม้าควรแก่พระราชา ควรเป็นม้าทรง

ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะทีเดียว องค์ ๔ เป็นไฉน คือ ม้าอาชาไนยตัว-

เจริญของพระราชาในโลกนี้ เป็นม้าสมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๑ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑

สมบูรณ์ด้วยความเร็ว ๑ สมบูรณ์ด้วยทรวดทรง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้า-

อาชาไนยตัวเจริญของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๔ นี้แล เป็นม้าควรแก่

พระราชา ควรเป็นม้าทรง ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะทีเดียว.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ฉันนั้น

เหมือนกัน ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญ

อื่นยิ่งไปกว่า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้

สมบูรณ์ด้วยวรรณะ ๑ สมบูรณ์ด้วยกำลัง ๑ สมบูรณ์ด้วยเชาวน์ ๑ สมบูรณ์

ด้วยทรวดทรง ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะอย่างไร

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล ฯลฯ สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย

ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวรรณะอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างไร ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อบำเพ็ญกุศลธรรม

เป็นผู้มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้

สมบูรณ์ด้วยกำลังอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 627

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาวน์อย่างไร ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ภิกษุ

เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยเชาน์อย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงอย่างไร ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปกติได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและเภสัชบริขาร

อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้ ภิกษุเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็น

ผู้ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.

จบทุติยอาชานียสูตรที่ ๗

แม้ในทุติยอาชานียสูตรที่ ๗ ก็นัยนี้เหมือนกัน. บทที่เหลือในสูตรนี้

ง่ายทั้งนั้น.

จบอภิญญาวรรควรรณนาที่

๘. พลสูตร

ว่าด้วยกำลัง ๔ ประการ

[๒๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน

คือ กำลังคือความเพียร ๑ กำลังคือสติ ๑ กำลังคือสมาธิ ๑ กำลังคือปัญญา ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กำลัง ๔ ประการนี้แล.

จบพลสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 628

๙. อรัญญสูตร

ว่าด้วยภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ไม่ควรอยู่ป่า

[๒๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ไม่ควรเสพเสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

เป็นผู้มีปัญญาทราม เพราะกามวิตก ๑ พยาบาทวิตก ๑ วิหิงสาวิตก ๑ และเป็น

ผู้โง่เขลาบ้าน้ำลาย ๑ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ไม่ควร

เสพเสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ควรเสพ

เสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า ๔ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ เป็นผู้มี

ปัญญา เพราะเนกขัมมวิตก ๑ อพยาบาทวิตก ๑ อวิหิงสาวิตก ๑ และเป็นผู้ไม่

โง่เขลาไม่บ้าน้ำลาย ๑ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ควรเสพ-

เสนาสนะสงัดอันตั้งอยู่ในราวป่า.

จบอรัญญสูตรที่ ๙

๑๐. กัมมปถสูตร

ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบริหารตน ๔

[๒๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนพาลผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย เป็นผู้

ประกอบด้วยโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญเป็นอันมาก

ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอันมีโทษ ๑ วจีกรรมอันมีโทษ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 629

มโนกรรมอันมีโทษ ๑ ทิฏฐิอันมีโทษ ๑ คนพาลผู้ไม่ฉลาด เป็นอสัปบุรุษ

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมบริหารคนให้ถูกขจัด ถูกทำลาย

เป็นผู้ประกอบด้วยโทษ วิญญูชนติเตียน และย่อมประสบกรรมมิใช่บุญ

เป็นอันมาก

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิตผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ ผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๔ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย ไม่ประกอบ

ด้วยโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมได้ประสบบุญเป็นอันมาก ธรรม ๔

ประการเป็นไฉน คือ กายกรรมอันไม่มีโทษ ๑ วจีกรรมอันไม่มีโทษ ๑

มโนกรรมอันไม่มีโทษ ๑ ทิฏฐิอันไม่มีโทษ ๑ บัณฑิตผู้ฉลาด เป็นสัปบุรุษ

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกขจัด ไม่ให้ถูกทำลาย

ไม่มีโทษ วิญญูชนไม่ติเตียน และย่อมประสบบุญเป็นอันมาก ดังนี้แล.

จบกัมมปถสูตรที่ ๑๐

จบอภิญญาวรรคที่ ๖

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อภิญญาสูตร ๒. ปริเยสนาสูตร ๓. สังคหสูตร ๔. มาลุง-

กยปุตตสูตร ๕. กุลสูตร ๖. ปฐมอาชานียสูตร ๗. ทุติยอาชานียสูตร

๘. พลสูตร ๙. อรัญญสูตร ๑๐. กัมมปถสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 630

กรรมปถวรรคที่ ๗

ธรรมที่นำให้เกิดในนรก - สวรรค์ ๔

[๒๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ตนเอง

เป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑ พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑ กล่าว

สรรเสริญคุณการฆ่าสัตว์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล

ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิด

ในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑

พอใจในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการ

ฆ่าสัตว์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์

เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.

[๒๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ ตนเอง

เป็นผู้ลักทรัพย์ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑ พอใจในการลักทรัพย์ ๑

กล่าวสรรเสริญคุณการลักทรัพย์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล

ย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อม

เกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 631

พอใจในการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจาก

การลักทรัพย์ ๑ บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดใน

สวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้.

[๒๖๖] ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๑ ชักชวนผู้อื่นในการ

ประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญคุณ

การประพฤติผิดในกาม ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้น จากการประพฤติผิดใน

กาม ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ พอใจในการ

งดเว้น จากการประพฤติผิดในกาม ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการ

ประพฤติผิดในกาม ฯลฯ

[๒๖๗] ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑ พอใจ

ในการพูดเท็จ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเท็จ ๑ ฯลฯ ตนเองเป็นผู้งดเว้น

จากการพูดเท็จ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ พอใจในการ

งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ ฯลฯ

[๒๖๘] ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑

พอใจในการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการพูดส่อเสียด ๑ ฯลฯ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการ

พูดส่อเสียด ๑ พอใจในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ กล่าวสรรเสริญคุณ

การงดเว้นจากพูดส่อเสียด ๑ ฯลฯ

[๒๖๙] ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๑ ชักซวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑

พอใจในการพูดคำหยาบ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณในการพูดคำหยาบ ๑ ฯลฯ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการ

พูดคำหยาบ ๑ พอใจในการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณ

การงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 632

[๒๗๐] ตนเองเป็นผู้พูดคำเพ้อเจ้อ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ

๑ พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ฯลฯ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการ

พูดเพ้อเจ้อ ๑ พอใจในการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณ

การงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ฯลฯ

[๒๗๑] ตนเองเป็นผู้มากไปด้วยความโลภ ๑ ชักชวนผู้อื่นในความ

โลภ ๑ พอใจในความโลภ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความโลภ ๑ ฯลฯ ตนเอง

เป็นผู้ไม่มากไปด้วยความโลภ ๑ ชักชวนผู้อื่นในความไม่โลภ ๑ พอใจใน

ความไม่โลภ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความไม่โลภ ๑ ฯลฯ

[๒๗๒] ตนเองเป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท ๑ ชักชวนผู้อื่นในความ

พยาบาท ๑ พอใจในความพยาบาท ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความพยาบาท ๑

ฯลฯ ตนเองเป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท ชักชวนผู้อื่นความไม่พยาบาท ๑

พอใจในความไม่พยาบาท ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความไม่พยาบาท ฯลฯ

[๒๗๓] ตนเองเป็นผู้มีความเห็นผิด ๑ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ๑

พอใจในความเห็นผิด ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นผิด ๑ ฯลฯ ตนเอง

เป็นผู้มีความเห็นชอบ ๑ ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ๑ พอใจในความ

เห็นชอบ ๑ กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นชอบ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมา

ประดิษฐานไว้.

จบกรรมปถวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 633

กรรมปถวรรควรรณนาที่ ๗

พึงทราบวินิจฉัยในกรรมปถวรรค ดังต่อไปนี้ :-

กรรมบถแม้ ๑๐ ท่านกล่าวคละกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ ราคเปยยาล

ท่านกล่าวให้บรรลุถึงพระอรหัต. คำที่เหลือในที่ทั้งปวงง่ายทั้งนั้น.

จบอรรถกถากรรมปถาวรรควรรณนาที่ ๗

จบอรรถกถาจตุกนิบาตแห่งอังคุตตรนิกาย ชื่อมโนรถปูรณี

พระสูตรที่ไม่นับเป็นปัณณาสก์

ธรรมเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ๔ ประการ

[๒๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการควรเจริญ เพื่อ

ความรู้ยิงซึ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา... ๑ ย่อม

พิจารณาเห็นจิตในจิต... ๑ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ธรรม ๔

ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ

ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต

ตั้งจิตไว้เพื่อไม่ให้อกุศลบาปธรรมที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑ ... เพื่อละอกุศลบาป-

ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑ ย่อมยังฉันทะให้เกิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 634

พยายามปรารภความเพียร ประคองจิต ทั้งจิตไว้ เพื่อความตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน

เพื่อความมียิ่ง เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่ง

กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่งซึ่งราคะ ๔

ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท

อันประกอบด้วยฉันทสมาธิ และปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยวิริยสมาธิ... ๑ จิตตสมาธิ ... ๑ วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ๑ ธรรม

๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อความรู้ยิ่งซึ่งราคะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔

ประการควรเจริญเพื่อกำหนดรู้ราคะ ฯลฯ ธรรม ๔ ประการนี้ ควรเจริญ

เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้น เพื่อความเสื่อม เพื่อคลายกำหนัด

เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืน ซึ่งราคะ ๔ ประการนี้ ควรเจริญเพื่อรู้ยิ่ง

เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไปรอบ เพื่อละ เพื่อความสิ้น เพื่อความเสื่อม

เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสละ เพื่อสละคืน ซึ่งโทสะ โมหะ โกธะ

อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจจฉริยะ มายา สาเฐยยะ ถัมภะ สารัมภะ

มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ ดังนี้แล.

จบจตุกนิบาต