ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 1

พระสุตตันตปิฎก

อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต

เล่มที่ ๑ ภาคที่ ๑

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เอกธัมมาทิปาลิ

บาลีแห่งเอกธรรมเป็นต้น

รูปาทิวรรคที่ ๑

ว่าด้วยสิ่งที่ครอบงำจิตใจบุรุษและสตรี

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

[๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนรูปสตรีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 2

รูปสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.

[๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนเสียงสตรีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เสียงสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.

[๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนกลิ่นสตรีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กลิ่นสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.

[๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนรสสตรีเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รสสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.

[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นโผฎฐัพพะอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่เหมือนโผฎฐัพพะสตรีเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โผฎฐัพพะสตรีย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่.

[๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรูปอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนรูปบุรุษเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รูปบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.

[๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นเสียงอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนเสียงบุรุษเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เสียงบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 3

[๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นกลิ่นอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนกลิ่นบุรุษเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

กลิ่นบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.

[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นรสอื่นแม้อย่างหนึ่ง

ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนรสบุรุษเลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

รสบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.

[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นโผฎฐัพพะอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่จะครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่เหมือนโผฎฐัพพะบุรุษเลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โผฎฐัพพะของบุรุษย่อมครอบงำจิตของสตรีตั้งอยู่.

จบ รูปาทิวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 4

มโนรถปูรณี อรรถกถาอังคุตตรนิกาย

อรรถกถาเอกนิบาต

อารัมภกถา

ข้าพเจ้า (พระพุทธโฆสาจารย์) ขอไหว้

พระสุคต ผู้หลุดพ้นจากคติ ผู้มีพระทัยเยือกเย็น

ด้วยพระกรุณา ผู้มีมืดคือโมหะ อันแสงสว่าง

แห่งปัญญาขจัดแล้ว ผู้เป็นครูของชาวโลก

พร้อมทั้งมนุษย์และเทวดา

พระพุทธเจ้าทรงเจริญและทำให้แจ้งคุณ

เครื่องเป็นพระพุทธเจ้า เข้าถึงธรรมใดอัน

ปราศจากมลทิน ข้าพเจ้าขอไหว้ธรรมนั้น อัน

ยอดเยี่ยม.

ข้าพเจ้าขอไหว้ ด้วยเศียรเกล้าซึ่งพระ

อริยสงฆ์ทั้ง ๘ ผู้เป็นโอรสของพระตถาคตเจ้า

ผู้ย่ำยีเสยซึ่งกองทัพมาร.

บุญใดสำเร็จด้วยการไหว้พระรัตนตรัย ของข้าพเจ้าผู้มีจิต

เลื่อมใสดังกล่าวมาฉะนี้ ข้าพเจ้าเป็นผู้ที่อานุภาพแห่งบุญนั้น ช่วยขจัด

อันตรายแล้ว จักถอดภาษาสีหลออกจากคัมภีร์อรรถกถา ซึ่งพระ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 5

อรหันต์ผู้เชี่ยวชาญ ๕๐๐ องค์สังคายนามาแต่ต้น และสังคายนาต่อ ๆ

มา แน่ภายหลัง ท่านพระมหินทเถระนำนายังเกาะสีหล จัดทำไว้เป็น

ภาษาสีหล เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชาวเกาะ แล้วยกขึ้นสู่ภาษาที่น่า

รื่นรมย์ ควรแก่นัยแต่งพระบาลี คือทำเป็นภาษามคธ ไม่ให้ขัดแย้ง

ลัทธิสมัยซึ่งปราศจากโทษของเหล่าพระเถระประทีปแห่งเถรวงศ์ ผู้อยู่

ในมหาวิหาร ซึ่งมีวินิจฉัยละเอียดดี ละเว้นข้อความความที่ซ้ำซาก

เสียแล้ว ประกาศเนื้อความแต่งคัมภีร์อังคุตตรนิกายอันประเสริฐ อัน

ประดับด้วยเอกนิบาต ทุกนิบาต ติกนิบาต เป็นต้น เพื่อให้อรรถ

แจ่มแจ้ง สำหรับให้เกิดปฏิภาณอันวิจิตร แก่เหล่าพระธรรมกถึกที่ดี

ซึ่งข้าพเจ้าเมื่อกล่าวเนื้อความ แห่งคัมภีร์ทีฆนิกาย และคัมภีร์มัชณิม

นิกาย ภายหลังจึงพรรณนาเรื่องราวของพระนครทั้งหลาย มีกรุงสาวัตถี

เป็นต้น ให้สาธุชนยินดี และเพื่อให้พระธรรมตั้งอยู่ยั่งยืน ได้ยินว่า

เรื่องเหล่าใด ที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ทั้งสองนั้น (ทีฆ, มัชฌิม) พิสดารใน

คัมภีร์อังคุตตรนิกายนี้ ข้าพเจ้าจักไม่กล่าวเรื่องเหล่านั้นให้พิสดาร

ยิ่งขึ้นไปอีก แต่สำหรับสูตรทั้งหลาย เนื้อความเหล่าใด เว้นเรื่องราว

เสีย จะไม่แจ่มแจ้ง ข้าพเจ้าจักกล่าวเรื่องราวทั้งหลายไว้ เพื่อความ

แจ่มแจ้งแต่งเนื้อความเหล่านั้น.

พระพุทธวจนะนี้ คือ ศีลกถา ธุดงคธรรม กรรมฐานทั้งหมด

ความพิสดารของฌานและสมาบัติ ที่ประกอบด้วยวิธีปฏิบัติ อภิญญา

ทั้งหมด คำวินิจฉัยทั้งสิ้นอันเกี่ยวด้วยปัญญา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ

อินทรีย์ อริยสัจ ๔ ปัจจยาการเทศนา มีนัยอันหมดจดละเอียด ซึ่ง

ไม่พ้นจากแนวพระบาลี และวิปัสสนาภาวนา แต่เพราะเหตุที่พระ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 6

พุทธวจนะที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด ข้าพเจ้ากล่าวแล้ว ในวิสุทธิมรรค

อย่างหมดจดดี ฉะนั้นในที่นี้ข้าพเจ้าจักไม่วิจารณ์เรื่องทั้งหมดนี้ ให้ยิ่ง

ขึ้นไป เพราะปกรณ์พิเศษ ชื่อว่าวิสุทธิมรรคนี้ ที่ข้าพเจ้ารจนาไว้

แล้วนั้น ดำรงอยู่ท่ามกลางแห่งนิกายทั้ง ๔ จักประกาศข้อความตาม

ที่ได้กล่าวไว้ในนิกายทั้ง ๔ นั้น ฉะนั้นขอสาธุชนทั้งหลาย จงถือเอา

ปกรณ์วิเศษชื่อวิสุทธิมรรคนั้น พร้อมด้วยอรรถกถานี้ แล้วจักทราบ

ข้อความตามที่อ้างอิงคัมภีร์อังคุตตรนิกายแล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 7

อรรถกถารูปาทิวรรคที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๑

ในคัมภีร์เหล่านั้น คัมภีร์ ชื่อว่า อังคุตตรนิกาย มี ๑๑ นิบาต คือ

เอกนิบาต ทุกนิบาต ติกนิบาต จตุกกนิบาต ปัญจกนิบาต ฉักกนิบาต

สัตตกนิบาต อัฎฐกนิบาต นวกนิบาต ทสกนิบาต เอกาทสกนิบาต

ว่าโดยสูตร อังคุตตรนิกาย มี ๙,๕๕๗ สูตร บรรดานิบาต

แห่งอังคุตตรนิกายนั้น เอกนิบาต เป็นนิบาตต้น บรรดาสูตร จิตต-

ปริยายสูตร เป็นสูตรต้น คำนิทานแม้แห่งสูตรนั้นมีว่า เอวมฺเม สุต

เป็นต้น ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ ในกาลมหาสังคีติครั้งแรกเป็นต้น

มหาสังคีติครั้งแรกนี้นั้น กล่าวไว้พิสดารแล้วในเบื้องต้นแห่งอรรถกถา

ทีฆนิกาย ชื่อว่า สุมังคลวิลาสินี เพราะฉะนั้น มหาสังคีติ ครั้งแรกนั้น

พึงทราบโดยพิสดารในอรรถกถาทีฆนิกายนั้นนั่นแล.

ก็บทว่า เอว ในคำนิทานวจนะว่า เอวมฺเม สุต เป็นต้น เป็นบท

นิบาต บทว่า เม เป็นบทนาม บทว่า วิ ในบทว่า สาวตฺถิย วิหรติ นี้

เป็นบทอุปสรรค. บทว่า หรติ เป็นบทอาขยาต. พึงทราบการจำแนก

บทโดยนัยนี้ก่อน.

แต่เมื่อว่าโดยอรรถ ก่ออื่น เอว ศัพท์มีอรรถหลายประเภท

อาทิเช่น อุปมา เปรียบเทียบ. อุปเทส แนะนำ, สัมปหังสนะ ยกย่อง,

ครหณะ ติเตีนน, วจนสัมปฏิคคหณะ รับคำ, อาการะ อาการ,

นิทัสสนะ ตัวอย่าง, และอวธารณะ กันความอื่น, จริงอย่างนั้น เอว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 8

ศัพท์นั้น มาในอุปมาเปรียบเทียบ ในคำเป็นต้นอย่างนี้ว่า เอว ชาเตน

มจฺเจน กตฺตพฺพ กุสล พหุ สัตว์ผู้เกิดมาแล้วควรทำกุศลให้มากฉันนั้น.

มาใน อุปเทสะ แน่ะนำในคำเป็นต้นว่า เอวนฺเต อภิกฺกมิตพฺพ เอว

ปฏิกฺกมิตพฺพ ท่านพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้. มาใน

สัมปหังสนะ ยกย่อง ในคำเป็นต้นว่า เอวเมต ภควา เอวเมต สุคต

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนั้นเป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคตข้อนั้นเป็น

อย่างนั้น. มาในครหณะ ติเตียน ในคำเป็นต้นอย่างนี้ เอวเมว ปนาย

วสลี ยสฺมึ วา ตสฺมึ วา ตสฺส มุณฺฑกสฺส วณฺณ ภาสติ (ก็หญิงถ่อยนี้

ย่อมกล่าวคุณของสมณะโล้น ไม่ว่าในที่ไร ๆ อย่างนี้ทีเดียว.) มาใน

วจนสัมปฏิคคหณะ รับคำ ในคำเป็นต้นว่า เอว ภนฺเตติ โข เต ภิกฺขู ภควโต

ปจฺจสฺโสสุ ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า.

มาในอาการะอาการ ในคำเป็นต้นว่า เอว พฺยา โข อห ภนฺเต

ภควตา ธมฺม เทสิต อาชานามิ ท่านขอรับกระผมรู้ทั่งถึงธรรมที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าแสดงแล้วด้วยอาการอย่างนี้.

มาใน นิทัสสนะ ตัวอย่าง ในคำเป็นต้นว่า เอทิ ตฺว มาณวก

ฯ เป ฯ เอวญฺจ วเทหิ สาธุ กิร ภว อานนฺโท เยน สุภสฺส มาณวสฺส

โตเทยฺยปุตฺตสฺส นิเวสน เตนุปสงฺกมตุ อนุกมฺป อุปาทาย มาเถิด

มาณพ ท่านจงเข้าไปหาพระสมณะอานนท์ ถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว จงถาม

ความมีอาพาธน้อย ความมีโรคน้อย ความคล่องแคล่ว กำลังวังชา การอยู่

ผาสุก กะพระสมณะอานนท์ ตามคำของเราว่า สุภมาณพ โตเทยยบุตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 9

ถามถึงความมีอาพาธน้อย ความมีโรคน้อย ความคล่องแคล้ว กำลังวังชา

การอยู่ผาสุก ก็ท่านพระอานนท์ และจงกล่าวอย่างนี้ว่า ดีละ ขอท่าน

พระอานนท์ โปรดอาศัยความกรุณา เข้าไปยังนิเวสน์ ของสุภมาณพ

โตเทยยบุตร เถิด.

มาในอวธารณะ กันความอื่น ในคำเป็นต้นว่า ต กึ มญฺถ

กาลามา ฯเปฯ เอว โน เอตฺถ โหติ ดูก่อนชาวกาลามะทั้งหลาย

ท่านสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล หรือ

อกุศล ? เป็นอกุศล พระเจ้าข้า มีโทษ หรือไม่มีโทษ ? มีโทษ

พระเจ้าข้า วิญญูชนติเตียน หรือสรรเสริญ ? วิญญูชนติเตียน

พระเจ้าข้า. บุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เป็น

ประโยชน์ เพื่อทุกข์ หรือไม่เป็นไป หรือในข้อนั้นเป็นอย่างไร ?

พระเจ้าข้า อันบุคคลสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อไม่เป็น

ประโยชน์เพื่อทุกข์, ในข้อนี้พวกข้าพระองค์เห็นอย่างนี้.

เอว ศัพท์นี้นั้นในที่นี้พึงเห็นว่าใช้ในอรรถว่า อาการะ นิทัสสนะ

และ อวธารณะ

บรรดาอรรถ ๓ อย่างนั้น ด้วยเอวศัพท์ มีอาการะเป็นอรรถ

พระเถระแสดงถึงอรรถนี้ว่า พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ละเอียดด้วยนัยต่าง ๆ มีอัธยาศัยเป็นอันมากเป็นสมุฎฐาน สมบูรณ์

ด้วยอรรถและพยัญชนะ มีปาฏิหาริย์ต่าง ๆ ลึกโดยธรรม, อรรถ,

เทศนา, และปฏิเวธ มาปรากฏทางโสตทวารแห่งสรรพสัตว์ ตาม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 10

สมควรแก่ภาษาของตน ๆ ใครเล่า จะสามารถทราบได้โดยอาการ

ทั้งปวง แต่ข้าพเจ้าทำความอยากฟังให้เกิดขึ้นแล้วด้วยเรี่ยวแรง

ทุกอย่าง ได้ฟังมาแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือ ข้าพเจ้าเองได้ฟังมาแล้ว

ด้วยอาการอย่างหนึ่ง

ด้วย เอว ศัพท์ มีนิทัสสนะเป็นอรรถ พระเถระเมื่อจะเปลื้อง

ตนว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่พระสยัมภู พระสูตรนี้ ข้าพเจ้ามิได้ทำให้แจ้ง

จึงแสดงสูตรทั้งสิ้น ที่จะควรกล่าวในบัดนี้ว่า เอวมฺเม สุต แปลว่า

แม้ข้าพเจ้าก็ได้สดับแล้วอย่างนี้.

ด้วยเอว ศัพท์ อันมีอวธารณะ เป็นอรรถ พระเถระเมื่อจะ

แสดงกำลังแห่งความทรงจำของตน อันสมควรแก่ความเป็นผู้มีพระผู้มี

พระภาคเจ้าสรรเสริญแล้วอย่างนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวก

ผู้พหูสูต ของเรา อานนท์เป็นเลิศ บรรดาภิกษุสาวก ของเรา ผู้มี

สติ ผู้มีคติ ผู้มีธิติ ผู้อุปัฏฐาก อานนท์เป็นเลิศ และเป็นผู้ที่พระธรรม

เสนาบดีสารีบุตรสรรเสริญว่า ท่านอานนท์ เป็นผู้ฉลาดในอรรถ

ฉลาดในธรรม ฉลาดในพยัญชนะ ฉลาดในนิรุกติ ฉลาดในอนุสนธิ

เบื้องต้นและเบื้องปลาย จึงยังความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะฟังของสัตว์ทั้งหลาย

ให้เกิดว่าเราได้ฟังมาแล้วอย่างนี้ ก็สูตรนั้นแล ไม่ขาดไม่เกิน โดยอรรถ

หรือโดยพยัญชนะ พึงเห็นอย่างนี้แหละ ไม่พึงเห็นโดยประการอื่น.

เม ศัพท์ ปรากฏในอรรถ ๓ อย่าง จริงอย่างนั้น เม คัพท์นั้น

มีอรรถว่า มยา (อันเรา) ในคำเป็นต้นว่า คาถาภิคีต เม อโภชนีย

โภชนะที่ได้มาเพราะขับคำร้อยกรอง อันเราไม่ควรบริโภค. เม ศัพท์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 11

มีอรรถว่า มยฺห (แก่เรา) ในคำเป็นต้นว่า สาธุ เม ภนฺเต ภควา

สงฺขิตฺเตน ธมฺม เทเสตุ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สาธุ ! ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้า โปรดทรงแสดงธรรมโดยย่อ แก่ข้าพระองค์เถิด. เม ศัพท์

มีอรรถว่า มม (ของเรา) ในคำเป็นต้นว่า ธมฺมทายาทา เม ภิกฺขเว ภวถ

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นธรรมทายาท ของเรา. แต่ในที่นี้ ใช้

ในอรรถทั้ง ๒ คือ มยา สุต อันข้าพเจ้าฟังมาแล้ว และว่า มม สุต

การฟังของข้าพเจ้า.

ศัพท์ว่า สุต ในบทว่า สุต นี้ ทั้งที่มีอุปสรรค และทั้งที่ไม่มีอุปสรรค

มีประเภทแห่งอรรถเป็นอันมาก เช่น คมนะ ไป, วิสุตะ ปรากฏ,

กิลินนะ ชุม, อุปจิตะ สำรวม, อนุยุตฺตะ ขวนขวาย, โสตวิญเญยยะ

เสียงที่รู้ด้วยโสต, และโสตทวารานุสสารวิญญา รู้ทางโสตทวาร

เป็นต้น

จริงอย่างนั้น สุต ศัพท์นั้น มีอรรถว่า ไป ในคำเป็นต้นว่า

เสนาย ปสุโต ไปในกองทัพ. เมื่ออรรถว่าเป็นธรรมปรากฏแล้ว

ในคำเป็นต้นว่า สุตฺธมฺมสฺส ปสฺสโต ผู้มีธรรมปรากฏแล้ว เห็นอยู่.

อรรถว่า ภิกษุณีผู้ชุ่มด้วยราคะต่อบุรุษผู้ชุ่มด้วยราคะในคำเป็นต้นว่า

อวสฺสุตา อวสฺสุตสฺส ภิกษุณีผู้กำหนัดด้วยราคะ ต่อบุรุษผู้กำหนัดด้วย

ราคะ อรรถว่า สั่งสม ในคำเป็นต้นว่า ตุมฺเหหิ ปุญฺ ปสุต อนปฺปก

ท่านสั่งสมบุญไว้มิใช่น้อย. อรรถว่าขวนขวายในฌาน ในคำเป็นต้นว่า

เย ฌานปสุตา ธีรา นักปราชญ์เหล่าใด ผู้ขวนขวายในฌาน อรรถว่า

เสียงที่รู้ด้วยโสต ในคำเป็นต้นว่า ทิฏฺ สุต มุต รูปที่เห็น เสียงที่ได้ยิน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 12

อารมณ์ที่รู้, อรรถว่า ทรงความรู้ตามกระแสโสตทวาร ในคำเป็นต้นว่า

สุตธโร สุตสนฺนิจฺจโย ผู้ทรงความรู้สั่งสมความรู้. แต่ในที่นี้ สุต ศัพท์ มี

อรรถว่า อุปธาริต ทรงไว้ทางโสตทวาร หรือว่า อุปธารณ ความทรงจำ.

จริงอยู่ เมื่อ เม ศัพท์ มีอรรถว่า มยา ความว่า ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้ว

อย่างนี้ คือ เข้าไปทรงจำ ตามกระแสแห่งโสตทวารก็ถูก. เมื่อมีอรรถ

ว่า มม ความว่า การฟังของข้าพเจ้าอย่างนี้ คือ การทรงจำ ตาม

กระแสแห่งโสตทวาร ก็ถูก.

บรรดาบททั้ง ๓ นั้น ดังว่ามานี้ บทว่า เอว เป็นบทแสดงกิจ

คือหน้าที่ของวิญญาณ มีโสตวิญญาณเป็นต้น บทว่า เม เป็นบทแสดง

บุคคลที่พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณดังกล่าวแล้ว บทว่า สุต เป็นบท

แสดงถึงการถือเอา ไม่ขาด ไม่เกิน ไม่วิปริต เพราะปฏิเสธ

ภาวะที่ไม่ได้ยิน อนึ่ง บทว่า เอว เป็นบทประกาศว่าวิญญาณ-

วิถี ที่เป็นไปแล้วตามกระแสแห่งโสตทวารนั้น เป็นไปในอารมณ์

โดยประการต่าง ๆ. บทว่า เม เป็นบทประกาศตน. บทว่า สุต เป็น

บทประกาศธรรม. ก็ในที่นี้ มีความสังเขปดังนี้ว่า ข้าพเจ้าไม่กระทำ

กิจอย่างอื่น แต่กิจนี้ข้าพเจ้าทำแล้ว ธรรมนี้ ข้าพเจ้า ฟังมาแล้ว โดย

วิญญาณวิถี ที่เป็นไปในอารมณ์ โดยประการต่าง ๆ.

อนึ่ง บทว่า เอว เป็นบทประกาศอรรถที่จะพึงชี้แจง. บทว่า

เม เป็นบทประกาศบุคคล. บทว่า สุต เป็นบทประกาศกิจของบุคคล.

ท่านอธิบายไว้ว่า ข้าพเจ้าชี้แจงพระสูตรใด พระสูตรนั้น ข้าพเจ้า

ฟังมาแล้วอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 13

อนึ่ง ศัพท์ว่า เอว แสดงอาการต่าง ๆ ของจิตสันดาน ที่ถือ

เอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ เพราะจิตสันดานเป็นไปต่าง ๆ กัน

จริงอยู่ ศัพท์ว่า เอว นี้ แสดงถึงบัญญัติ คือ การรู้โดยอาการ. ศัพท์ว่า

เม แสดงถึงผู้ทำ. ศัพท์ว่า สุต แสดงอารมณ์. ด้วยคำเพียงเท่านี้

การตกลงโดยยึดเอาผู้ทำอารมณ์ ของท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยจิตสันดาน

นั้น เป็นอันกระทำแล้วด้วยจิตสันดาน อันเป็นไปโดยประการต่าง ๆ.

อีกอย่างหนึ่ง เอว ศัพท์ แสดงกิจของบุคคล สุต ศัพท์ แสดงกิจ

ของวิญญาณ เม ศัพท์ แสดงบุคคลผู้ประกอบกิจทั้ง ๒ ก็ในที่นี้

มีความสังเขปดังนี้ว่า ข้าพเจ้าเป็นบุคคลผู้พรั่งพร้อมด้วยวิญญาณ

ซึ่งมีกิจคือการฟัง ได้ฟังมาแล้ว โดยโวหารว่า กิจคือการฟังที่ได้มา

เนื่องด้วยวิญญาณ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอว และบทว่า เม เป็นอวิชชมาน-

บัญญัติ บัญญัติสิ่งที่ไม่มีอยู่ ด้วยสามารถแห่งสัจฉิกัฎฐ์ และ

ปรมัตถ จริงอยู่ในที่นี้ คำที่จะพึงได้นิเทศว่า เอว หรือว่า เม เมื่อว่า

โดยปรมัตถ จะมีอยู่ด้วยหรือ บทว่า สุต เป็นวิชชมานบัญญัติ บัญญัติ

สิ่งที่มีอยู่ คือ ในที่นี้สิ่งที่ได้มาด้วยโสตวิญญาณนั้นมีอยู่โดยปรมัตถ์.

บทว่า เอว และว่า เม เป็นปาทายบัญญัติเพราะอาศัยสิ่งที่ได้มา

ด้วยโสตะนั้น ๆ กล่าวโดยประการนั้น. บทว่า สุต เป็นอุปนิธายบัญญัติ

(บัญญัติในการตั้งไว้) เพราะเก็บเอาสิ่งที่เห็นแล้วเป็นต้นมากล่าว

อนึ่งบรรดาคำทั้ง ๒ นั้น ด้วยคำว่า เอว ท่านพระอานนท์แสดงถึงความ

ไม่หลง จริงอยู่ ผู้หลง ย่อมไม่สามารถจะเข้าใจได้โดยประการต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 14

ด้วยคำว่า สุต ท่านพระอานนท์แสดงความไม่ลืมข้อที่ฟังแล้ว. จริงอยู่

ผู้ใดฟังแล้วแต่ลืมเสีย ต่อมาผู้นั้นก็รับรองไม่ได้ว่า ข้าพเจ้าฟังมาแล้ว

ดังนั้นพระอานนท์นั้น ชื่อว่าสำเร็จด้วยปัญญา เพราะความไม่หลง

ชื่อว่าสำเร็จด้วยสติ เพราะความไม่ลืม บรรดาปัญญา และสตินั้น

ความที่สติซึ่งมีปัญญาเป็นตัวนำ สามารถจะทรงจำพยัญชนะได้

ความที่ปัญญาซึ่งมีสติเป็นตัวนำ สามารถเข้าใจอรรถได้ ชื่อว่า

สำเร็จด้วยความเป็นธรรมภัณฑาคาริก เพราะสามารถอนุรักษ์

คลังธรรม ซึ่งสมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ เพราะประกอบด้วย

ความสามารถทั้ง ๒ อย่างนั้น.

อีกนัยหนึ่ง ก็ด้วยคำว่า เอว ท่านพระอานนท์แสดงความใส่ใจ

โดยแยบคาย เพราะเมื่อใส่ใจโดยไม่แยบคาย ก็ไม่เข้าใจโดย

ประการต่าง ๆ ได้ ก็ด้วยคำว่า สุต ท่านพระอานนท์แสดงถึง

ความไม่ฟุ้งซ่าน แม้เขาจะพูดโดยถูกต้องทุกอย่าง ก็กล่าวว่า

ข้าพเจ้าไม่ได้ยิน ท่านจงกล่าวอีก ก็ด้วยการใส่ใจโดยแยบคาย

ในข้อนี้ ย่อมให้สำเร็จอัตตสัมมาปณิธิ ความตั้งตนไว้ชอบ และ

ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้มีบุญอันได้ทำไว้ในปางก่อน เพราะผู้

ที่ไม่ตั้งตนไว้ชอบ และไม่กระทำบุญไว้ในปางก่อน ก็เป็น

อย่างอื่นคือไม่มีโยนิโสมนสิการ ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ก็ให้สำเร็จ

สัทธัมมัสสวนะ การฟังพระสัทธรรม และสัปปุริสูปสังสยะ การเข้า

ไปคบหาสัตบุรุษ. เพราะผู้ที่มีจิตฟุ้งซ่านไม่อาจฟัง และเมื่อไม่เข้าไป

หาสัตบุรุษ การฟังก็ไม่มีแล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 15

อีกนัยหนึ่ง เพราะเหตุที่กล่าวมาแล้วว่า ศัพท์ว่า เอว แสดงอาการ

ต่าง ๆ ของจิตสันดาน ที่ถือเอาอรรถและพยัญชนะต่าง ๆ เพราะ

จิตตสันดานเป็นไปต่าง ๆ กัน และจิตตสันดานนั้น ก็คืออาการอันงาม

อย่างนี้ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ตั้งตนไว้ชอบ หรือแก่ผู้ไม่กระทำบุญไว้ใน

ปางก่อน ฉะนั้น ด้วยคำว่า เอว นี้ท่านพระอานนท์แสดงสมบัติ คือ

จักรธรรม ๒ ข้อหลังของตนด้วยอาการอันงาม แสดงสมบัติ คือ

จักรธรรม ๒ ข้อแรกโดยประกอบการฟังด้วยบทว่า สุต. เพราะผู้อยู่

ในประเทศอันไม่สมควร และผู้เว้นจากการเข้าไปคบหาสัตบุรุษ

การฟังก็ไม่มี ดังนั้น ท่านพระอานนท์นั้น จึงสำเร็จอาสยสุทธิ

ความหมดจดแห่งอาสยะ เพราะความสำเร็จแห่งจักรธรรม ๒ ข้อหลัง

สำเร็จปโยคสุทธิ ความหมดจดแห่งการประกอบ เพราะความสำเร็จ

แห่งจักรธรรม ๒ ข้อข้างต้น และท่านพระอานนท์ สำเร็จความ

เชี่ยวชาญในอาคม (นิกายทั้ง ๕ ) ก็เพราะอาสยสุทธิ ความหมดจด

แห่งอาสยะนั้น. สำเร็จความเชี่ยวชาญในอธิคม (มรรคผล) ก็เพราะ

ปโยคสุทธิ ความหมดจดแห่งประโยค ดังนั้น คำของพระอานนท์ ผู้

หมดจดด้วยประโยค การประกอบและ อาสยะอัธยาศัย ผู้ถึงพร้อม

ด้วยอาคมและอธิคม จึงควรจะเป็นเบื้องต้น (ตัวนำ) แห่งพระดำรัส

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เหมือนอรุณขึ้นเป็นเบื้องต้นของอาทิตย์อุทัย

และเหมือนโยนิโสมนสิการ เป็นเบื้องต้นแห่งกุศลกรรมฉะนั้น เพราะ

ฉะนั้น ท่านพระอานนท์เมื่อตั้งนิทานวจนะ คำเริ่มต้นในฐานที่ควร

จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า เอวมฺเม สุต ดังนี้.

อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์แสดงสภาวะแห่งสมบัติ คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 16

อรรถปฎิสัมภิทาและปฎิภาณปฎิสัมภิทาของตน ด้วยคำอันแสดงถึง

ความรู้แจ้งด้วยประการต่าง ๆ ด้วยคำว่า เอว นี้. แสดงสภาวะแห่ง

สมบัติคือ ธรรมปฏิสัมภิทา และนิรุตติสัมภิทา ด้วยคำอันแสดง

ความถึงความรู้แจ้งประเภทแห่งธรรมที่ควรฟังด้วยคำว่า สุต นี้.

พระเถระเมื่อกล่าวถึงคำอันแสดงโยนิโสมนสิการนี้ว่า เอว ย่อมแสดง

ว่า ธรรมเหล่านี้ เราเพ่งพินิจแล้วด้วยใจ ขบคิดดีแล้วด้วยทิฏฐิ พระ

เถระเมื่อกล่าวถึงคำอันแสดงการประกอบเนือง ๆ ซึ่งการฟังนี้ว่า

สุต ย่อมแสดงว่า ธรรมเป็นอันมาก เราฟังแล้ว ทรงจำแล้ว คล่องปาก

แล้ว แม้ด้วยคำทั้ง ๒ นั้น พระเถระเมื่อแสดงความบริบูรณ์ แห่งอรรถ

และพยัญชนะ จึงทำให้เกิดความเอื้อเฟื้อในการฟัง. จริงอยู่ บุคคล

เมื่อไม่ฟังธรรมที่บริบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ ด้วยความเอื้อเฟื้อ

ย่อมเหินห่างจากประโยชน์เกื้อกูลเป็นอันมาก เพราะฉะนั้น ควร

ทำความเอื้อเฟื้อให้เกิดแล้ว ฟังธรรมโดยความเคารพเถิด.

อนึ่งด้วยคำทั้งสิ้นว่า เอวมฺเม สุต นี้ ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่ตั้ง

ธรรมที่ตถาคตประกาศแล้วไว้กับตน ชื่อว่าก้าวล่วงภูมิอสัตบุรุษ

เมื่อปฎิญญาความเป็นพระสาวก ชื่อว่าหยั่งลงสู่ภูมิสัตบุรุษ. อนึ่ง

ทำจิตให้ออกจากอสัทธรรม ชื่อว่า ตั้งจิตไว้ในสัทธรรม. เมื่อแสดงว่า

อ้างอิงพระดำรัสของพระชินเจ้า ชื่อว่า ดำรงธรรมเนตติไว้ (เนตติ

คือ ชักนำสัตว์ในประโยชน์โลกนี้ ประโยชน์โลกหน้า และปรมัตถ-

ประโยชน์ ตามควร)

อีกนัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์เมื่อไม่ปฏิญาณว่าธรรมนั้นตนทำ

ให้เกิดขึ้น จึงไขคำเบื้องต้นว่า เอวมฺเม สุต กำจัดความไม่มีศรัทธา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 17

ทำสัทธาสมบัติให้เกิดขึ้นในธรรมนี้ แก่เทวดาและมนุษย์ทุกเหล่าว่า

พระดำรัสนี้เรารับแล้ว ในที่เฉพาะพระพักตร์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ผู้แกล้วกล้าด้วยเวสารัชชญาณ ๔ ผู้ทรงไว้ซึ่งพลญาณ

ผู้ดำรงอยู่ในฐานะอันประเสริฐ. ผู้บันลือสีหนาท ผู้สูงสุดกว่าสัตว์

ทั้งปวง ผู้เป็นใหญ่ในธรรม ผู้เป็นพระธรรมราชา เป็นธรรมาธิบดี ผู้มี

ธรรมเป็นปทีป ผู้มีธรรมเป็นที่พึง ผู้หมุนล้อคือพระสัทธรรมอัน

ประเสริฐ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ จึงไม่ควรทำความสงสัยหรือความ

เคลือบแคลงในอรรถ ธรรม บท หรือพยัญชนะ ในคำนี้ เพราะเหตุนั้น

ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

วินาสยติ อสฺสทฺธ สทฺธ วฑฺเฒติ สาสเน

เอวมฺเม สุตมิจฺเจว วท โคตมสาวโก

สาวกของพระโคดม เมื่อกล่าวอย่างนี้ว่า

เอวมฺเม สุต ชื่อว่าทำความไม่มีศรัทธาให้พินาศ

ทำศรัทธาในพระศาสนาให้เจริญ

ศัพท์ว่า เอก แสดงการกำหนดจำนวน ศัพท์ว่า สมย

แสดงกาลที่กำหนดไว้แล้ว คำว่า เอก สมย เป็นคำแสดงเวลาไม่

แน่นอน สมยศัพท์ ในคำว่า เอก สมย นั้น ใช้ในสมวายะ

พร้อมเพรียง ๑ ขณะ ๑ กาล ๑ สมุหะ ชุมนุม ๑ เหตุ ๑ ทิฏฐิ

ความเห็น ๑ ปฏิลาภะ การได้เฉพาะ ๑ ปหานะ การละ ๑ ปฏิเวธ

การแทงตลอด ๑.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 18

จริงอย่างนั้น สมย ศัพท์ มีอรรถว่า สมวายะ พร้อมเพรียง

ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า อปฺเปว นาม เสฺวปิ อุปสงฺกเมยฺยาม กาลญฺจ

สมยญฺจ อุปาทาย ถ้ากระไร แม้พรุ่งนี้ เราทั้งหลาย พึงอาศัยกาละ

และความพร้อมเพรียงกันเข้าไป.

มีอรรถว่า ขณะ ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า เอโก จ โข ภิกฺขเว

ขโณ จ สมโย จ พฺรหฺมจริยวาสาย ภิกษุทั้งหลาย ขณะ และสมัยหนึ่ง

มีเพื่ออยู่ประพฤติพรหมจรรย์แล.

มีอรรถว่า กาล ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า อุณฺหสมโย ปริฬาหสมโย

คราวร้อน คราวกระวนกระวาย.

มีอรรถว่า สมุหะ ประชุม ในคำมีอาทิอย่างนี้ มหาสมโย

ปวนสฺมึ ประชุมใหญ่ในป่าใหญ่. มีอรรถว่า เหตุ ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า

สมโย ปิ โข เต ฯ เป ฯ อปฺปฏิวิทฺโธ อโหสิ แม้เหตุแล ได้เป็นเหตุ

ที่เธอไม่รู้แจ้งว่า แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าแล เสด็จอยู่ในกรุงสาวัตถี.

แม้พระองค์จักทรงทราบเราว่า ภิกษุชื่อภัททาลิ มิใช่ผู้มีปกติทำให้

บริบูรณ์ ด้วยสิกขาในศาสนาของพระศาสดา ดูก่อนภัททาลิ เหตุ

แม้นี้แลได้เป็นเหตุที่เธอไม่รู้แจ้งแล้ว.

มีอรรถว่า ลัทธิ ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า เตน โข ปน สมเยน

ฯ เป ฯ สมยปฺปวาทเก ติณฺฑุกาจิเร เอกสาลเก มลฺลิกาย อาราเม

ปฏิวสติ ก็สมัยนั้นแล ปริพาชก ชื่ออุคคาหมานะ บุตรของสมณ

มุณฑิกา อาศัยอยู่ในอารามของพระนางมัลลิกา มีศาลาหลังเดียว

มีต้นมะพลับเรียงราย อันเป็นที่สอนลัทธิ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 19

มีอรรถว่าได้เฉพาะ ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า

ทิฏฺเ ธมฺเม จ โย อตฺโถ โย จตฺโถ สมฺ-

ปรายิโก อตฺถาภิสมายา ธีโร ปณฺฑิโตติ ปวุจฺจติ

ผู้มีปัญญาเป็นเครื่องทรงจำ เราเรียกว่าบัณฑิต

เพราะการได้เฉพาะซึ่งประโยชน์ทั้งภพนี้และ

ภพหน้า.

มีอรรถว่า ปหานะ ละ ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า สมฺมามานาภิสมยา

อนฺตมกาสิ ทุกฺขสฺส ภิกฺนี้ได้กระทำที่สุดทุกข์ เพราะละมานะ

โดยชอบ.

มีอรรถว่า ปฏิเวธ แทงตลอด ในคำมีอาทิอย่างนี้ว่า ทุกฺขสฺส

ปีฬนฏฺโ ฯลฯ วิปริณามฏฺโ อภิสมยฏฺโ ทุกข์ มีอรรถว่าบีบคั้น

ปรุงแต่ง เร่าร้อน แปรปรวน แทงตลอด.

แต่ในที่นี้ สมยศัพท์นั้น มีอรรถว่า กาล.

ด้วยคำนั้น พระเถระแสดงว่า สมัยหนึ่ง ในบรรดาสมัยทั้งหลาย

อันเป็นประเภทแห่งกาล เป็นต้นว่า ปี ฤดู เดือน กึ่งเดือน กลางคืน

กลางวัน เช้า เที่ยง เย็น ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยาม และครู่.

ในคำว่า เอก สมย นั้น บรรดาสมัย มีปีเป็นต้นเหล่านั้น พระ-

สูตรใด ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ในปี ฤดู เดือน ปักษ์ ส่วนแห่ง

ราตรี ส่วนแห่งวันไร ๆ ทั้งหมดนั้น พระเถระรู้ดีแล้ว กำหนดดีแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 20

ด้วยปัญญาแม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เมื่อพระเถระกล่าวไว้อย่างนี้ว่า

ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ว่า ในปีโน้น ฤดูโน้น เดือนโน้น ปักษ์

โน้น กาลอันเป็นส่วนแห่งราตรีโน้น ส่วนแห่งวันโน้น ใคร ๆ ก็ไม่

สามารถจะทรงจำได้หรือแสดงได้ หรือให้ผู้อื่นแสดงได้โดยง่าย

และเป็นเรื่องที่ต้องกล่าวมาก ฉะนั้นท่านจึงประมวลเนื้อความนั้น

ไว้ด้วยบทเดียวเท่านั้น แล้วกล่าวว่า เอก สมย ดังนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ท่านพระอานนท์ย่อมแสดงว่า สมัยของพระผู้

มีพระภาคเจ้า เป็นประเภทของกาลมิใช่น้อยที่เดียว ที่ปรากฏมากมาย

ในหมู่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ คือ สมัยเสด็จก้าวลง

สู่พระครรภ์ สมัยประสูติ สมัยทรงสลดพระทัย สมัยเสด็จออกผนวช

สมัยทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา สมัยทรงชนะมาร สมัยตรัสรู้ สมัย

ประทับเป็นสุขในทิฏฐธรรม สมัยตรัสเทศนา สมัยเสด็จปรินิพพาน

เหล่านี้ใด ในบรรดาสมัยเหล่านั้น สมัยหนึ่ง คือสมัยตรัสเทศนา

อนึ่ง ในบรรดาสมัยแห่งญาณกิจ และกรุณากิจ สมัยแห่ง

กรุณากิจนี้ใด ในบรรดาสมัยทรงบำเพ็ญประโยชน์พระองค์และ

ทรงบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่น สมัยทรงบำเพ็ญประโยชน์อื่นนี้ใด

ในบรรดาสมัยแห่งกรณียะทั้งหลายแก่ผู้ประชุมกัน สมัยตรัสธรรมี-

กถานี้ใด ในบรรดาสมัยแห่งเทศนาและปฏิบัติ สมัยแห่งเทศนานี้ใด

ท่านพระอานนท์กล่าวว่า สมัยหนึ่ง ดังนี้ หมายถึงสมัยใดสมัยหนึ่ง

ในบรรดาสมัยทั้งหลายแม้เหล่านั้น.

ถามว่า ก็เหตุไร ในพระสูตรนี้ท่านจึงทำนิเทศด้วยทุติยา-

วิภัตติว่า เอก สมย ไม่การทำเหมือนอย่างในพระอภิธรรม ซึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 21

ท่านได้ทำนิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติว่า ยสฺมึ สมเย กามาวจร และใน

สุตบทอื่น ๆ จากพระอภิธรรมนี้ ก็ท่านิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติว่า

ยสฺมึ สมเย ภิกฺขเว ภิกฺขุ วิวิจฺเจว กาเมทิ ส่วนในพระวินัยท่านทำ

นิเทศด้วยตติยาวิภัตติว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา ?

ตอบว่า เพราะในพระอภิธรรมและพระวินัยนั้น มีอรรถเป็น

อย่างนั้น ส่วนในพระสูตรนี้มีอรรถเป็นอย่างอื่น.. จริงอยู่ บรรดา

ปิฎกทั้ง ๓ นั้น ในพระอภิธรรมและในสุตตบทอื่นจากพระอภิธรรมนี้

ย่อมสำเร็จอรรถแห่งอธิกรณะและอรรถแห่งการกำหนดภาวะด้วย

ภาวะ. ก็อธิกรณะ. คือสมัยที่มีกาลเป็นอรรถและมีประชุมเป็นอรรถ

และภาวะแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น ท่านกำหนดด้วยภาวะแห่งสมัย

กล่าวคือขณะความพร้อมเพรียงและเหตุแห่งธรรมมีผัสสะเป็นต้น

ที่ตรัสไวในพระอภิธรรมและสุตตบทอื่นนั้น ๆ เพราะฉะนั้นเพื่อส่อง

อรรถนั้น ท่านจึงท่านิเทศด้วยสัตตมีวิภัตติในพระอภิธรรมและใน

สุตตบทอื่นนั้น. ส่วนในพระวินัย ย่อมสำเร็จอรรถแห่งเหตุแลอรรถ

แห่งกรณะ. จริงอยู่ สมัยแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบทนั้นใด แม้

พระสาวกมีพระสารีบุตรเป็นต้น ก็ยังรู้ยาก โดยสมัยนั้นอันเป็นเหตุ

และเป็นกรณะ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงบัญญัติสิกขาบททั้งหลาย

และทรงพิจารณาถึงเหตุแห่งการทรงบัญญัติสิกขาบท ได้ประทับ

อยู่ในที่นั้น ๆ เพราะฉะนั้น เพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศ

ด้วยตติยาวิภัตติในพระวินัยนั้น. ส่วนในพระสูตรนี้และพระสูตรอื่น

ที่มีกำเนิดอย่างนี้ ย่อมสำเร็จอรรถแห่งอัจจันตะสังโยคะ จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงพระสูตรนี้ หรือพระสูตรอื่น ตลอด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 22

สมัยใด เสด็จประทับอยู่ด้วยธรรมเป็นเครื่องอยู่คือกรุณา ตลอด

สมัยนั้นทีเดียว. เพราะฉะนั้นเพื่อส่องความข้อนั้น ท่านจึงทำนิเทศ

ด้วยทุติยาวิภัตติในพระสูตรนี้. เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคาถา

ประพันธ์ไว้ดังนี้ว่า

ท่านพิจารณาอรรถนั้น ๆ กล่าวสมยศัพท์

ในปิฎกอื่นด้วยสัตตมีวิภัตติและตติยาวิภัตติ แต่

ในพระสุตตันตปิฎกนี้ กล่าวสมยศัพท์นั้นด้วย

ทุติยาวิภัตติ.

ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายพรรณนาไว้ว่า นี้ต่างกันแต่เพียง

โวหารว่า ตสฺมึ สมเย บ้าง เตน สมเยน บ้าง ต สมย บ้าง ในที่

ทุกแห่ง มีอรรถเป็นสัตตมีวิภัติทั้งนั้น เพราะฉะนั้น แม้ท่านกล่าวว่า

เอก สมย ก็พึงทราบเนื้อความว่า เอกสฺมึ สมเย (ในสมัยหนึ่ง)

บทว่า ภควา เป็นคำกล่าวด้วยความเคารพ. จริงอยู่ คนทั้งหลาย

เรียกครูในโลกว่า ภควา. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ เป็นครูของสัตว์

ทั้งปวง เพราะเป็นประเสริฐพิเศษโดยคุณทั้งปวง เพราะฉะนั้น

พึงทราบพระองค์ว่า ภควา. แม้พระโบราณาจารย์ทั้งหลายก็กล่าวไว้ว่า

คำว่า ภควา เป็นคำประเสริฐ คำว่า ภควา

เป็นคำสูงสุด พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ควรแก่

ความเคารพโดยฐานครู เพราะเหตุนั้น บัณฑิต

จึงขนานพระนามว่า ภควา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 23

อีกอย่างหนึ่ง บัณฑิตพึงทราบความแห่งบทนั้น โดยพิสดาร

ด้วยอำนาจแห่งคาถานี้ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้มีโชค ทรง

หักกิเลส ทรงประกอบด้วยภคธรรม ทรงจำแนก

แจกธรรม ทรงน่าคบ และทรงคายกิเลสเป็น

เครื่องไปในภพทั้งหลายเสียได้ เพราะเหตุนั้น

ทรงพระนามว่า ภควา

เนื้อความนั้น กล่าวไว้แล้ว โดยพิสดารในพุทธานุสสตินิเทศ

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคนั้นแล.

ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ พระเถระเมื่อแสดงธรรมตามที่ฟังมา

จึงกระทำพระสรีระคือพระธรรม ของพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ประจักษ์

ด้วยคำว่า เอวมฺเม สุต ในสูตรนี้. ด้วยคำนั้น พระเถระชื่อว่า ปลอบโยน

คนผู้รันทด เพราะไม่ได้เห็นพระศาสดาว่า ปาพจน์ (ธรรม และวินัย)

นี้ ชื่อว่ามีศาสดาล่วงไปแล้วหามิได้ พระธรรมวินัยนี้ เป็นศาสดา

ของท่านทั้งหลาย. ด้วยคำว่า เอก สมย ภควา พระเถระ เมื่อจะแสดงว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มีอยู่ในสมัยนั้น ชื่อว่ายกการปรินิพพาน ทาง

รูปกายให้เห็น ด้วยคำนั้น พระเถระจึงทำผู้มัวเมา เพราะความเมา

ในชีวิตให้เกิดความสังเวช และทำให้คนนั้นเกิดความอุตสาหะ ในพระ-

สัทธรรมว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้ทรงไว้ซึ่งทศพลญาณ มีพระ

วรกายเสมอด้วยรางเพชร ผู้ทรงแสดงอริยธรรม ชื่ออย่างนี้ ยังปริ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 24

นิพพาน คนอื่นใครเล่าจะพึงให้เกิดความหวังในชีวิต และพระเถระเมื่อ

กล่าวว่า เอว ชื่อว่าชี้เทศนาสมบัติ (สมบัติคือการแสดง). กล่าวว่า

เม สุต ชื่อว่าชี้ถึงสาวกสมบัติ (สมบัติของสาวก). กล่าวว่า เอก สมย

ชื่อว่าชี้ถึงกาลสมบัติ (สมบัติคือเวลา) กล่าวว่า ภควา ชื่อว่าชี้ถึง

เทสกสมบัติ (สมบัติคือผู้แสดง).

บทว่า สาวตฺถิย ได้แก่ ใกล้นครชื่ออย่างนี้. ก็คำว่า สาวตฺถิยุ

นี้ เป็นสัตตมีวิภัติ ใช้ในอรรถว่าใกล้. บทว่า วิหรติ นี้ เป็นบทแสดง

ความพรั่งพร้อมแห่งการอยู่อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาอิริยาบถ-

วิหาร ทิพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร โดยไม่แปลกกัน. แต่

ในที่นี้แสดงการประกอบพร้อมด้วยอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่ง บรรดา

อิริยาบถ ต่างโดย ยืน เดิน นั่ง ละนอน ด้วยบทว่า วิหรติ นั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าประทับยืนก็ดี เดินก็ดี นั่งก็ดี บรรทมก็ดี บัณฑิตพึงทราบ

ว่าประทับอยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงตัดขาด

ความลำบากแห่งอิริยาบถหนึ่ง ด้วยอิริยาบถหนึ่ง ทรงนำไปคือทำ

อัตภาพให้เป็นไป ไม่ให้ทรุดโทรม เพราะเหตุนั้น ท่านพระอานนท์

จึงกล่าวว่า วิหรติ (ประทับอยู่).

บทว่า เชตวเน ได้แก่ ในสวนของพระราชกุมาร พระนามว่า

เชต สวนนั้น พระราชกุมารพระนามว่า เชต นั้น ได้ปลูกต้นไม้ให้

เจริญงอกงาม รักษาไว้อย่างดี และพระองค์ได้เป็นเจ้าของสวนนั้น

เพราะฉะนั้น สวนนั้น จึงนับว่า เชตวัน.ในพระเชตวันนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 25

บทว่า อนาถปิณฺฑิกสฺส อาราเม ความว่า อารามอันนับว่า

ของท่านอนาถบิณฑิกะ เพราะเป็นอารามที่คฤหบดีนามว่า อนาถ-

บิณฑิกะ มอบถวายแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน โดย

บริจาคทรัพย์เป็นเงิน ๕๔ โกฏิ ก็ในที่นี้ ความสังเขปมีเพียงเท่านี้.

ส่วนความพิสดาร กล่าวไว้แล้วในอรรถกถาสัพพาสวสูตร

อรรถกถามัชฌิมนิกาย ชื่อปปัญจสูทนี ในข้อนั้น หากมีคำถามสอด

เข้ามาว่า ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่กรุงสาวัตถีก่อน.

พระเถระก็ไม่ควรกล่าวว่า พระวิหารชื่อว่า เชตวัน ถ้าพระองค์

ประทับอยู่ในพระเชตวันนั้น ก็ไม่ควรกล่าวว่า ใกล้กรุงสาวัตถี.

ความจริง ใคร ๆ ไม่อาจจะอยู่ได้ในที่ ๒ แห่ง พร้อมคราวเดียวกัน

แก้ว่า ข้อนั้น ไม่พึงเห็นอย่างนั้น ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้กล่าวไว้แล้ว

มิใช่หรือว่า คำว่า สาวตฺถิย เป็นสัตตมีวิภัติ ใช้ในอรรถว่าใกล้

เพราะฉะนั้น แม้ในที่นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในพระวิหาร

ชื่อว่าเชตวัน ที่อยู่ใกล้กรุงสาวัตถี ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ประทับ

อยู่ในพระวิหารชื่อว่า เชตวัน ใกล้กรุงสาวัตถี เหมือนฝูงโคเที่ยว

หากินใกล้แม่น้ำคงคา และแม่น้ำยมุนา เป็นต้น เขาก็เรียกว่า เที่ยว

หากินใกล้แม่น้ำคงคา ใกล้แม่น้ำยมุนา ฉะนั้น. จริงอยู่ การกล่าวถึง

กรุงสาวัตถี ของท่านพระอานนท์นั้น ก็เพื่อแสดงโคจรคาม การกล่าว

ถึงสถานที่ที่เหลือ ก็เพื่อแสดงสถานที่เป็นที่อาศัย อันสมควรแก่

บรรพชิต ในคำเหล่านั้น ด้วยคำว่า สาวตฺถิย ท่านพระอานนท์ แสดง

การที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำการอนุเคราะห์แก่คฤหัสถ์.

แสดงการกระทำอนุเคราะห์แก่บรรพชิต ด้วยการระบุถึงพระเชตวัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 26

อนึ่งพระเถระแสดงการเว้นอัตตกิลมถานุโยค เพราะการรับปัจจัย

ด้วยคำต้น แสดงอุบายเป็นเครื่องเว้นกามสุขัลลิกานุโยค เพราะวัตถุ

กาม ด้วยคำหลัง. อนึ่ง แสดงการประกอบพระธรรมเทศนา ด้วย

คำต้น แสดงการน้อมไปเพื่อวิเวก ด้วยคำหลัง. แสดงการมีพระกรุณา

ด้วยคำต้น แสดงการมีพระปัญญา ด้วยคำหลัง แสดงว่าทรงน้อมไป

ในอันให้สำเร็จหิตสุขแก่เหล่าสัตว์ ด้วยคำต้น แสดงว่าไม่ทรงติด

ในการทำหิตสุขแก่ผู้อื่น ด้วยคำหลัง แสดงการที่ทรงอยู่ผาสุก ด้วย

การสละสุขที่ชอบธรรมเป็นนิมิต ด้วยคำต้น แสดงการทรงประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งธรรมอันยิ่งของมนุษย์เป็นนิมิต ด้วยคำหลัง แสดงการ

ที่ทรงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่มนุษย์ทั้งหลาย ด้วยคำต้น เสดงการ

ที่ทรงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เทวดาทั้งหลาย ด้วยคำหลัง แสดงการ

ที่เสด็จอุบัติขึ้นในโลกแล้วเจริญพร้อมในโลก ด้วยคำต้น แสดงการ

ที่ไม่ทรงเข้าไปติดในโลก ด้วยคำหลัง. แสดงทรงทำประโยชน์ที่

เสด็จอุบัติให้สำเร็จเรียบร้อย ด้วยคำต้น โดยพระบาลีว่า "ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเอก เมื่ออุบัติขึ้นในโลก ย่อมอุบัติขึ้นเพื่อเกื้อกูล

แก่ชนมาก เพื่อความสุขแก่ชนมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก เพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคล

เอกคือบุคคลชนิดไหน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า".

แสดงการที่ทรงอยู่สมควรแก่สถานที่เป็นที่อุบัติ ด้วยคำหลัง. จริงอยู่

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอุบัติในป่า ทั้งนั้น ด้วยอุบัติทั้งที่เป็น

โลกิยะและโลกุตตระ คือ ครั้งแรก ที่ลุมพินีวัน ครั้งที่ ๒ ที่โพธิ-

มัณฑสถาน เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงแสดงที่ประทับอยู่ของพระองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 27

ในป่า ทั้งนั้น. ในสูตรนี้ พึงทราบการประกอบความโดยนัยดังกล่าว

มาแล้วเป็นต้น ฉะนี้.

บทว่า ตตฺร แสดงเทสะ และกาละ. ก็บทว่า ตตฺร นั้น พระเถระ

แสดงว่า ในสมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ และในอารามที่

ประทับอยู่ หรือแสดงเทสะ และกาละ อันควรจะกล่าวถึง. จริงอยู่พระผู้มี-

พระภาคเจ้าไม่ตรัสธรรมในประเทศหรือในกาลอันไม่สมควร. ก็คำว่า

"ดูก่อนพาหิยะ นี้เป็นกาลไม่สมควรก่อน" เป็นข้อสาธกในเรื่องนี้.

ศัพท์ว่า โข เป็นอวธารณะ ใช้ในอรรถเพียงทำบทให้เต็มหรือเป็น

นิบาต ใช้ในอรรถว่า กาลเบื้องต้น. บทว่า ภควา แสดงความที่ทรง

เป็นครูของโลก.

บทว่า ภิกฺขุ เป็นคำแสดงถึงบุคคลควรฟังพระดำรัส. อีก

อย่างหนึ่ง ในบทว่า ภิกษุ นี้พึงทราบอรรถแห่งคำมีอาทิว่า ชื่อว่า

ภิกษุ เพราะเป็นผู้ขอ หรือชื่อว่า ภิกษุ เพราะเขาถึงการเที่ยวขอ.

บทว่า อามนฺเตสิ แปลว่า เรียก คือ กล่าว ได้แก่ ปลุกให้ตื่น. ในบทว่า

อามนฺเตสิ นี้มีใจความดังนี้. แต่ในที่อื่นใช้ในอรรถว่าให้รู้ก็มี. เหมือน

อย่างตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย เราขอบอกเธอทั้งหลายให้ทราบ ขอ

เตือนเธอทั้งหลาย. ใช้ในอรรถว่า เรียก ก็มี เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า

มานี่แน่ะภิกษุ เธอจงเรียกสารีบุตรมา ตามคำของเรา.

๑. ปาฐะว่า อยุตฺตเทเส วา ธมฺม ภาสติ พม่าเป็น อยุตฺเต เทเสวา กาเลวา ธมฺม ภาสติ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 28

บทว่า ภิกฺขโว แสดงอาการเรียก. ก็บทนั้น ตรัสเพราะสำเร็จ

ด้วยการประกอบด้วยคุณ คือความเป็นผู้ขอโดยปกติ. ผู้รู้สัททศาสตร์

ย่อมสำคัญว่า ก็ภิกษุผู้ประกอบด้วยคุณคือความเป็นผู้ขอเป็นปกติ

ก็มี ประกอบด้วยคุณคือความเป็นผู้ขอเป็นธรรมดาก็มี ประกอบด้วยคุณ

คือความเป็นผู้มีปกติการทำดีในการขอก็มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าจะ

ทรงประกาศความประพฤติที่ชนเลวและชนดีเสพแล้ว จึงทรงทำการ

ข่มความเป็นคนยากไร้ที่ยกขึ้น ด้วยพระดำรัสนั้น ที่สำเร็จด้วยการ

ประกอบด้วยคุณมีความเป็นผู้ขอเป็นปกติเป็นต้น ของภิกษุเหล่านั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงการทำภิกษุเหล่านั้น ให้หันหน้าตรง

พระพักตร์ของพระองค์ ด้วยพระดำรัสที่ทรงทอดพระนัยนาลง ด้วย

พระหฤทัยที่แช่มชื่น แผ่ไปด้วยพระกรุณาเป็นเบื้องหน้าว่า ภิกฺขโว

นี้ ทรงทำให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดความอยากจะฟัง ด้วยพระดำรัสอัน

แสดงพุทธประสงค์จะตรัสนั้นนั่นแหละ. และทรงชักชวนภิกษุเหล่านั้น

ไว้ แม้ในการใส่ใจฟังด้วยดี ด้วยพระดำรัสนั้นอันมีอรรถว่า ปลุกให้

ตื่นนั้นนั่นเอง. จริงอยู่ พระศาสนาจะสมบูรณ์ได้ ก็เพราะการใส่ใจ

ในการฟังด้วยดี.

หากมีคำถามว่า เมื่อเทวดาและมนุษย์แม้เหล่าอื่นก็มีอยู่

เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกเฉพาะภิกษุเหล่านั้น.

แก้ว่า เพราะภิกษุเหล่านั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุด อยู่ใกล้ชิด

และเป็นผู้อยู่ประจำ. จริงอยู่ พระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า

ย่อมทั่วไปแก่คนทั้งปวง. แต่ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าเป็นผู้เจริญที่สุด

ของบริษัท ก็เพราะเป็นผู้เกิดก่อน. และชื่อว่า เป็นผู้ประเสริฐที่สุด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 29

ก็เพราะเป็นผู้ดำเนินตามพระจรรยาของพระศาสดา ตั้งต้นแต่เป็นผู้

ไม่ครองเรือน และเพราะเป็นผู้รับพระศาสนาทั้งสิ้น ชื่อว่าเป็นผู้

ใกล้ชิด เพราะเมื่อเธอนั่งในที่นั้น ๆ ก็ใกล้พระศาสดาทั้งนั้น ชื่อว่า

อยู่ประจำ ก็เพราะขลุกง่วนอยู่แต่ในสำนักพระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง

ภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่า เป็นภาชนะรองรับพระธรรมเทศนา เพราะเกิด

ด้วยการปฏิบัติตามที่ทรงพร่ำสอน แม้เพราะเหตุนั้น พระองค์จึงตรัส

เรียกภิกษุเหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้.

ถามว่า ก็เพื่อประโยชน์อะไร พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรง

แสดงธรรม จึงตรัสเรียกภิกษุเสียก่อน ไม่ทรงแสดงธรรมเลยทีเดียว.

แก้ว่า เพื่อให้เกิดสติ. ความจริง ภิกษุทั้งหลาย คิดเรื่องอื่นอยู่ก็มี มีจิต

ฟุ้งซ่านก็มี พิจารณาธรรมอยู่ก็มี นั่งมนสิการกรรมฐานอยู่ก็มี

ภิกษุเหล่านั้น เมื่อไม่ตรัสเรียกให้รู้ (ตัว) ทรงแสดงธรรมไปเลย

ก็ไม่สามารถจะกำหนดได้ว่า เทศนานี้ มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็น

ปัจจัย พระองค์ทรงแสดง เพราะอัตถุปปัตติ (เหตุเกิดเรื่อง) อย่างไหน ?

จะพึงรับเอาได้ยาก หรือไม่พึงรับเอาเลย. เพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นเกิดสติ

ด้วยพระดำรัสนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสเรียกเสียก่อน แล้วจึง

ทรงแสดงธรรมภายหลัง.

บทว่า ภทนฺเต นี้ เป็นคำแสดงความเคารพ หรือเป็นการถวาย

คำตอบ (คือขานรับ) แด่พระศาสดา. อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้าเมื่อตรัสว่า ภิกฺขโว ชื่อว่า เรียกภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุ

ทั้งหลายเมื่อทูลว่า ภทนฺเต ชื่อว่า ขานรับพระผู้มีพระภาคเจ้าใน

ภายหลัง. อนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกว่า ภิกฺขโว. ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 30

ทั้งหลาย กราบทูลในภายหลังว่า ภทนฺเต. พระผู้มีพระภาคเจ้า รับสั่ง

ให้ภิกษุตอบ พระดำรัสที่ว่า ภิกฺขโว. ภิกษุถวายคำตอบว่า ภทนฺเต.

บทว่า เต ภิกฺขู ได้แก่ เหล่าภิกษุที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียก. บทว่า ภควโต ปจฺจสฺโสสุ ความว่า ภิกษุทั้งหลายได้ฟังเฉพาะ

พระดำรัสตรัสเรียกของพระผู้มีพระภาคเจ้า. อธิบายว่า หันหน้ามาฟัง

คือรับ ได้แก่ ประคองรับ. บทว่า ภควา เอตทโวจ ความว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้า ได้ตรัสคำนั้น คือพระสูตรทั้งสิ้นที่จะพึงกล่าวในบัดนี้.

ก็ด้วยคำเพียงเท่านี้ คำเริ่มต้นอันใด อันประกอบด้วย

กาล, ผู้แสดง, เทสะ, บริษัท และประเทศ ท่านพระอานนท์กล่าวแล้ว

เพื่อกำหนดเอาพระสูตรนี้ได้โดยสะดวก. การพรรณนาเนื้อความแห่ง

คำเริมต้นนั้นจบบริบูรณ์แล้ว แล.

บัดนี้มาถึงโอกาสพรรณนาพระสูตร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงตั้งไว้ โดยนัยเป็นต้นว่า นาห ภิกฺขเว อญฺเอวร สมนุปสฺสามิ

ดังนี้แล้ว.

ก็การพรรณนาความนี้นั้น เพราะเหตุที่กำลังกล่าววิจารณ์

เหตุตั้งแห่งพระสูตรปรากฏอยู่ ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบการวิจารณ์

เหตุตั้งแห่งพระสูตรก่อน.

จริงอยู่ เหตุตั้งแห่งพระสูตร มี ๔ อย่าง คือ เกิดเพราะ

อัธยาศัยของตน ๑ เกิดเพราะอัธยาศัยของผู้อื่น ๑ เกิดด้วยอำนาจ

คำถาม ๑ เกิดเพราะเหตุเกิดเรื่อง ๑. ในเหตุทั้ง ๔ อย่างนั้น พระสูตร

เหล่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าอันผู้อื่นมิได้อาราธนา ตรัสโดยพระ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 31

อัธยาศัยของพระองค์อย่างเดียว เช่น อากังเขยยสูตร, วัตถสูตร เป็นต้น

สูตรเหล้านั้น ชื่อว่า มีเหตุตั้งเกิดจากอัธยาศัยของพระองค์.

อนึ่ง สูตรเหล่าใดที่พระองค์ทรงสำรวจดู อัธยาศัย ความชอบใจ

ใจ บุญเก่า และความตรัสรู้ แล้วตรัสโดยอัธยาศัยของผู้อื่นอย่างนี้ว่า

ธรรมเป็นเครื่องบ่มวิมุตติของพระราหุล แก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราพึง

แนะนำในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะยิ่ง ๆ ขึ้นไปแก่พระราหุล เช่น ราหุโล-

วาทสูตร ธรรมจักกัปปวัตตนสูตรเป็นต้น สูตรเหล่านั้น ชื่อว่า มีเหตุตั้ง

เกิดจากอัธยาศัยของผู้อื่น.

ก็เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วถามปัญหา โดยประการต่าง ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกเทวดา

และมนุษย์เหล่านั้น ทูลถามแล้ว ตรัสสูตรใด มีเทวตาสังยุต และ

โพชฌังคสังยุต เป็นต้น. สูตรเหล่านั้น ชื่อว่า มีเหตุตั้งเกิดโดยอำนาจ

คำถาม.

อนึ่งสูตรเหล่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพราะอาศัยเหตุเกิด

ขึ้น เช่นธัมมทายาทสูตร และปุตตมังสูปมสูตรเป็นต้น สูตรเหล่านั้น

ชื่อว่า มีเหตุตั้งโดยเหตุเกิดเรื่องขึ้น.

ในเหตุตั้งสูตรทั้ง ๔ นี้ สูตรนี้ชื่อว่ามีเหตุตั้งเกิดจากอัธยาศัย

ของผู้อื่นอย่างนี้. จริงอยู่ สูตรนี้ตั้งขึ้นด้วยอำนาจอัธยาศัยของผู้อื่น.

ถามว่า ด้วยอัธยาศัยของคนพวกไหน ? แก้ว่า ของบุรุษ ผู้หนักในรูป.

ในบทเหล่านั้น อักษร ในคำว่า นาห ภิกฺขเว เป็นต้น มี

ปฏิเสธเป็นอรรถ. ด้วยบทว่า อห แสดงอ้างถึงพระองค์. พระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 32

พระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกฺขเว. บทว่า อญฺ ความว่า

ซึ่งรูปอื่น จากรูปหญิงที่พึงกล่าวในบัดนี้. บทว่า เอกรูปปปิ แปลว่า

รูปแม้อย่างหนึ่ง. บทว่า สมนุปสฺสามิ ความว่า สมนุปัสสนา ๒ อย่าง

คือญาณสมนุปัสสนา ๑ ทิฏฐิสมนุปัสสนา ๑. ในสองอย่างนั้น

อนุปัสสนาว่า ภิกษุเห็นโดยเป็นของไม่เที่ยง ไม่ใช่เห็นโดยเป็นของ

เที่ยง นี้ชื่อว่า ญาณสมนุปัสสนา. ส่วนอนุปัสสนามีอาทิว่า ภิกษุ

พิจารณาเห็นรูปโดยเป็นอัตตา ชื่อว่าทิฏฐิสมนุปัสสนา. ในสองอย่าง

นั้น ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาญาณสมนุปัสสนา. พึงทราบการเชื่อม

บทนี้ด้วย อักษร. ท่านกล่าวอธิบายไว้ดังนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย

เราแม้เมื่อตรวจดู ด้วยสัพพัญญุตญาณ ก็มองไม่เห็น แม้รูปอื่นสัก

อย่างหนึ่ง.

บทว่า ย เอว ปุริสสฺส จิตฺต ปริยาทาย ติฏฺติ ความว่า รูปใด

เกาะกุมทำกุศลจิตอันเป็นไปในภูมิ ๔ ของบุรุษผู้หนักในรูป

ให้สิ้นไปตั้งอยู่. จริงอยู่ การยึดถือ ชื่อว่า การยึดมั่น ได้ในคำว่า

ยึดมั่นกายหญิงทั้งหมด เป็นต้น. ชื่อว่า ให้สิ้นไป ได้ในคำมีอาทิว่า

ภิกษุทั้งหลาย อนิจจสัญญา อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำ

กามราคะทั้งปวงให้สิ้นไป. ในที่นี้ ก็ถูกทั้งสองอย่าง. ในการยึดถือและ

การให้สิ้นไปทั้งสองอย่างนั้น รูปนี้เมื่อถือเอากุศลจิตอันเป็นไปในภูมิ ๔

๑. ปาฐะว่า อิธ อิท รูป จตุภูมิก กุสลจิตฺต ภณฺหนฺต นีลุปฺปลกลาป ปุริโส วิย หตฺเถน

คณฺหาติ นาม ฯ เขปยมาน อคฺคิ วิย อ ทฺธเน อุทก สนฺตาเปตฺวา เขเปติ ฯ พม่าเป็น ตตฺถ อิท รูป

จตุภูมถกุสลจิตฺต คณฺหนฺต น นีลุปฺปลกลาป ปุริโสวิย หตฺเถ คณฺหาติ, นาปิ เขปยามาน

อคฺคิ วิย อุทธเน อุทก สนฺตาเปตฺวา เขเปติ. (แปลตามพม่า)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 33

ชื่อว่าถือเอา เหมือนบุรุษเอามือถือกำอุบลบัวขาบ ก็หามิได้ เมื่อทำให้

สิ้นไป ชื่อว่าทำให้สิ้นไป เหมือนไฟที่ทำน้ำบนเตาไฟ ให้ร้อนแล้วให้

สิ้นไป ก็หามิได้ อนึ่ง รูปที่ห้ามการเกิดขึ้นแห่งกุศลจิตนั้น นั่นแหละ

พึงทราบว่า ชื่อว่ายึดและทำกุศลจิตอันแม้ที่เป็นไปในภูมิ ๔ ให้สิ้นไป.

ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า ปุริสสฺส จิตฺต ปริยาทาย ติฏฺติ (ยึดจิตของบุรุษตั้งอยู่)

บทว่า ยถยิท ตัดเป็น ยถา อิท. บทว่า อิตฺกีรูป แปลว่า รูป

ของหญิง. ในคำว่า รูป นั้น พึงทราบอรรถแห่งคำ และสามัญลักษณะ

แห่งรูป ตามแนวแห่งสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอกล่าวรูปอะไร ?

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติใดย่อมแตกสลาย เพราะเหตุนั้นธรรมชาตินั้น

จึงเรียกว่ารูป. รูปย่อมแตกสลายไปเพราะเหตุอะไร ? ย่อมแตกสลาย

ไปเพราะเย็นบ้าง ย่อมแตกสลายไปเพราะร้อนบ้าง.

ก็ศัพท์ว่า รูป นี้ ย่อมได้ในอรรถหลายอย่าง เช่น ขันธ์, ภพ,

นิมิต, ปัจจัย, สรีระ, วัณณะ, สัณฐาน เป็นต้น. จริงอยู่ ศัพท์ว่ารูปนี้

ใช้ในอรรถว่าไปขันธ์ ในประโยคนี้ว่า รูปขันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็น

อดีต อนาคต และปัจจุบัน. ใช้ในอรรถว่ารูปภพ ในประโยคนี้ว่า เจริญ

มรรคเพื่ออุปบัติในรูปภพ. ใช้ในอรรถว่า กสิณนิมิต ในประโยคนี้ว่า

กำหนดอรูปภายใน เห็นรูปกสิณภายนอก. ใช้ในอรรถว่าปัจจัย ใน

ประโยคนี้ว่า อกุศลธรรมอันลามกทั้งที่มีรูป และไม่มีรูป ย่อมเกิดขึ้น.

๑. ปาฐะว่า อุปฺปตฺติญฺจสฺส นิวาริยมานเมว จตุภูมิก กุสลจิตฺต คณฺหาติ เจว เขเปติ จ

เวทิตพฺพ ฯ พม่าเป็น อุปฺปตฺติญฺจสฺส นิวารยมานเมว จตุภูมกมฺปิ กุสลจิตฺต คณฺหาติ เจว

เขเปฺติ จาติ เวทตพฺพ. (แปลตามพม่า)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 34

ใช้ในอรรถว่าสรีระ ในประโยคนี้ว่า อากาศที่ล้อมรอบตัวก็เรียกว่า

สรีรรูปเหมือนกัน. ใช้ในอรรถว่าวรรณะ ในประโยคนี้ว่า อาศัยจักษุ

และวรรณรูปเกิดจักขุวิญญาณ. ใช้ในอรรถว่าสัญฐาน ในประโยคนี้ว่า

ผู้ถ่อประมาณในรูปสัญฐาน เลื่อมใสในรูปสัณฐาน. พึงสงเคราะห์รูป มีอาทิ

ว่า ปิยรูป สาตรูป อรสรูโป (รูปน่ารัก รูปน่าชื่นใจ ผู้มีรูปไม่น่ายินดี)

ด้วย อาทิ ศัพท์. แต่ในที่นี้ รูปศัพท์นั้น ใช้ในอรรถว่า วรรณะ กล่าวคือ

รูปายตนะ อันมีสมุฏฐาน ๔ ของหญิง. อีกอย่างหนึ่ง วรรณะ (สี)

อย่างใดอย่างหนึ่งที่เนื่องด้วยกายของหญิง ไม่ว่าผ้าที่นุ่ง เครื่องประดับ

กลิ่นหอม และผิวพรรณเป็นต้น หรือเครื่องประดับและระเบียบดอกไม้

ย่อมสำเร็จเป็นอารมณ์แห่งจักขุวิญญาณของชาย. ทั้งหมดนั้น พึง

ทราบว่า เป็นรูปแห่งหญิง เหมือนกัน.

บทว่า อิตฺถีรูป ภิกฺขเว ปุริสสฺส จิตฺต ปริยาทาย ติฏฺติ นี้

ตรัสไว้ เพื่อทำคำที่ตรัสมาก่อนนั่นแลให้หนักแน่น. หรือคำก่อนตรัสไว้

ด้วยอำหาอุปมาอย่างนี้ว่า ยถยิท ภิกฺขเว อิตฺถีรูป (เหมือนรูปหญิง

นี้นะ ภิกษุทั้งหลาย). แต่คำนี้ตรัสด้วยอำนาจการชี้ภาวะแห่งการยึดถือ.

ในการที่รูปหญิงครอบงำนั้นมีเรื่องสาธกดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า พระราชาทรงพระนามว่า มหาทาฐิกนาค ให้สร้าง

พระสถูปใหญ่ ที่ถ้ำ อัมพัฏฐะ ใกล้เจติยคิรีวิหาร กระทำคิริภัณฑ-

วาหนบูชา (บูชาด้วยนำของที่เกิด ณ ภูเขามา) มีหมู่นางสนมแวดล้อม

เสด็จไปยังเจติยคิรีวิหาร ถวายมหาทาน แก่ภิกษุสงฆ์ ตามกาลอัน

สมควร. ธรรมดาว่า สถานที่ชนเป็นอันมากประชุมกัน ชนทั้งหมด

ไม่มีสติที่จะตั้งมั่นอยู่ได้. พระอัครมเหสีของพระราชา ทรงพระนามว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 35

ทมิฬเทวี ทรงตั้งอยู่ในวัยสาว น่าชม น่าพิศมัย. ครั้งนั้นพระเถระ

รูปหนึ่งชื่อจิตตะ ผู้บวชเมื่อแก่ แลดูโดยทำนองที่ไม่สำรวม ยึดเอานิมิต

ในรูปารมณ์ของพระอัครมเหสีนั้นเป็นดังคนบ้า. เที่ยวพูดไปในที่ ๆ

ตนยืนและนั่งว่า เชิญสิ แม่ทมิฬเทวี เชิญสิ แม่ทมิฬเทวี. ตั้งแต่นั้นมา

ภิกษุหนุ่มและสามเณร ตั้งชื่อไว้เรียกท่านว่า พระอุมมัตตกจิตตเถระ

(พระจิตบ้า). ต่อไม่นานนัก พระเทวีนั้นก็ทิวงคต. เมื่อภิกษุสงฆ์ไป

เยี่ยมในป่าช้าแล้วกลับมา ภิกษุหนุ่มและสามเณรได้ไปยังสำนักของ

ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพระจิตเถระ ขอรับ ท่านพร่ำเพ้อถึง

พระเทวีพระองค์ใด พวกผมไปเยี่ยมป่าช้าของพระเทวีพระองค์นั้น

กลับมาแล้ว ถึงภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลายจะพูดอย่างนั้น ท่าน

ก็ไม่เชื่อ ได้แต่พูดดังคนบ้าว่า พวกท่านไปเยี่ยมใคร ๆ ก็ได้ในป่าช้า

หน้าของพวกท่านจึงมีสีเหมือนควันไฟ. รูปแห่งหญิงนี้ได้ครอบงำ

จิตของพระจิตตเถระ ผู้เป็นบ้าตั้งอยู่ด้วยประการฉะนี้.

อีกเรื่องหนึ่ง เล่ากันว่า วันหนึ่งพระมหาราชา ทรงพระนามว่า

สัทธาติสสะ มีหมู่นางสนมแวดล้อมเสด็จมายังวิหาร. ภิกษุหนึ่งรูป

หนึ่ง ยืนอยู่ที่ซุ้มประตูแห่งโลหปราสาท ตั้งอยู่ในความไม่สำรวม

แลหญิงคนหนึ่ง. ฝ่ายหญิงนั้นก็หยุดดูภิกษุหนุ่มรูปนั้น. ทั้งสอง

ถูกไฟคือ ราคะ ที่ตั้งขึ้นในทรวงแผดเผาได้ตายไปด้วยกัน. รูปแห่ง

หญิงได้ครอบงำจิตของภิกษุหนุ่มตั้งอยู่ ด้วยประการอย่างนี้.

อีกเรื่องหนึ่ง เล่ากันมาว่า ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง จากกัลยาณิย-

มหาวิหาร ไปยังประตูบ้านกาฬทีฆวาปีคาม เพื่อแสดงพระปาติโมกข์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 36

เสร็จการแสดงพระปาฏิโมกข์แล้ว เมื่อไม่เธอถือคำพูดของผู้ปรารถนา

ดี คิดว่า ในที่ ๆ ไปแล้ว เราถูกภิกษุหนุ่ม และสามเณรถามแล้ว

ควรจักบอกอาการที่เราอาศัยหมู่บ้านอยู่ ดังนี้แล้ว จึงไปเที่ยว

บิณฑบาตในบ้าน ยึดเอานิมิต ในวิสภาคารมณ์ (อารมณ์ที่เป็น

ข้าศึก) แล้วไปยังที่อยู่ของตน จำผ้าที่นางนุ่งได้ พลางถามว่า ท่าน

ขอรับ ท่านได้ผ้านี้มาอย่างไร ? รู้ว่านางตายแล้ว คิดว่า หญิงชื่อเห็น

ปานนี้ตายเพราะเรา ดังนี้ ถูกไฟคือราคะที่ตั้งขึ้นแผดเผาก็สิ้นชีวิตไป.

บัณฑิตพึงทราบว่า รูปของหญิงครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ แม้ด้วย

อาการอย่างนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

สูตรที่ ๒ เป็นต้น ท่านกล่าวแล้ว ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้หนักในเสียง

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิตฺถีสทฺโท ได้แก่ เสียงพูด ขับร้อง

และประโคม อันมีจิตเป็นสมุฏฐานของหญิง. อีกอย่างหนึ่ง เสียงพิณ,

ขลุ่ย, สังข์, บัณเฑาะว์เป็นต้น ที่สำเร็จด้วยการประกอบของหญิง

ที่มีเครื่องนุ่งห่มบ้าง ที่มีเครื่องประทับบ้าง พึงทราบว่า เสียงของหญิง

ทั้งนั้น. จริงอยู่ เสียงหญิงทั้งหมดนั้น ย่อมครองงำจิตของบุรุษตั้ง

อยู่ ฉะนี้แล. ในสูตรนั้น พึงทราบเรื่องปูทอง นกยูงทอง และภิกษุ

หนุ่มเป็นต้น.

ดังได้สดับมาโขลงพระยาช้าง โขลงใหญ่ อาศัยซอกเขาอยู่.

และในที่ไม่ไกลซอกเขานั้น มีสระขนาดใหญ่สำหรับใช้สอย. ในสระ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 37

นั้น มีปูทองตัวล่ำสัน ทองนั้นเอาก้ามจับเท้าสัตว์ที่พากันมาลงสระนั้น

เหมือนจับด้วยคีมแล้วให้อยู่ในอำนาจของมันแล้วทำให้ตาย. พระยาช้าง

จ้องคอยโอกาสปูทองนั้น ตั้งช้างใหญ่เชือกหนึ่งให้เป็นหัวหน้าเที่ยวไป.

วันหนึ่ง ปูนั้นจับพระยาช้างนั้นได้. พระยาช้างผู้สมบูรณ์ด้วยกำลัง

และสติ คิดว่า ถ้าเราจักร้องเพราะกลัวไซร้ ช้างทั้งหมดจะไม่เล่น

ตามความชอบใจ จักหนีไปเสีย จึงได้ยืนนิ่งอยู่นั่นเอง ครั้นรู้ว่าช้าง

ขึ้นหมดแล้ว จึงร้องเพื่อให้ภรรยาของตนรู้ว่า ตนถูกปูทองจับไว้ จึง

กล่าวอย่างนี้ว่า

ก็ปูสีดังทอง มีตาโปน มีกระดองแทนหนัง

อาศัยอยู่ในน้ำ ไม่มีขน เราถูกมันหนีบ ร้องไหน

ขอความสงสาร เจ้าอย่าละทิ้งข้า ผู้ปานชีวิต

ภรรยาได้ฟังดังนั้น รู้ว่าสามีถูกปูหนีบ จึงเจรจากับช้างบ้าง

กับปูบ้าง เพื่อให้สามีพ้นจากภัยนั้น จึงได้กล่าวอย่างนี้ว่า

พ่อเจ้าเอ๋ย ข้าจักไม่ละเจ้าผู้เป็นกุญชรชาติ

มีอายุ ๖๐ ปี เจ้าเป็นที่รักยิ่งของข้า บนแผ่นดิน

ซึ่งมีทวีปทั้ง ๔ เป็นขอบเขต ปูเหล่าใดอยู่ใน

สมุทร ในแม่น้ำคงคา และในแม่น้ำยมุนา ท่านเป็น

สัตว์เกิดในน้ำผู้ประเสริฐสุดของปูเหล่านั้น โปรด

ปล่อยสามีของฉันผู้ซึ่งร้องไห้อยู่.

ปูคลายการหนีบให้เพลาลง พร้อมกับได้ยินเสียงของหญิง.

ลำดับนั้นพระยาช้าง คิดว่า นี้แล เป็นโอกาสช่องว่างของมัน จึงยัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 38

เท้าข้างหนึ่งไว้ โดยอาการที่ถูกหนีบอยู่นั่นแล ยกเท้าที่ ๒ ขึ้น เหยียบ

กระดองหลังปูนั้น ทำให้แหละละเอียด กระชากปูนั้นเหวี่ยงขึ้นบนฝั่ง.

ลำดับนั้น ช้างทั้งหมดชุมนุมกันทำปูนั้นให้แหลกละเอียดด้วยคิดว่า

มันเป็นไพรีของพวกเรา. เสียงของหญิง ครอบงำจิตของปูทองด้วย

ประการฉะนี้ก่อน.

ฝ่ายนกยูงทอง เข้าไปยังป่าหิมพานต์ อาศัยชัฏแห่งภูเขาใหญ่อยู่

แลดูดวงอาทิตย์ ในเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นตลอดกาลเป็นนิตย์ เมื่อจะ

กระทำการรักษาตนจึงกล่าวอย่างนี้ว่า

พระอาทิตย์ เป็นดวงตาโลก เป็นราชาเอก

มีสีเหลืองดังทอง ทำพื้นแผ่นดินให้สว่างไสว

อุทัยขึ้นมา ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้า ขอนอมน้อม

พระอาทิตย์นั่นซึ่งมีสีเหลืองดังทอง ทำพื้น

แผ่นดินให้สว่างไสว ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้

อันท่านคุ้มครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุข

ตลอดวัน พราหมณ์ทั้งหลายเหล่าใด ผู้จบเวท

ในธรรมทั้งปวง ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมพราหมณ์

เหล่านั้น และพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้น โปรด

รักษาข้าพเจ้าด้วย ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จง

มีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ความนอบน้อมของ

ข้าพเจ้า จงมีแด่พระโพธิญาณ ความนอบน้อม

ของข้าพเจ้า จงมีแด่ท่านผู้หลุดพ้นแล้ว ความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 39

นอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติ (ธรรมเครื่อง

หลุดพ้น).

นกยูงนั้น ได้กระทำปริตร อันนี้แล้ว จึงเที่ยวแสวงอาหาร.

นกยูงทองนั้น เที่ยวหากินตลอดวัน ในเวลาเย็นจึงเข้าไปที่อยู่

จึงแลดูดวงพระอาทิตย์ ซึ่งอัสดงคต ได้กล่าวชมเชยอย่างนี้ว่า

พระอาทิตย์เขนดวงตาโลก เป็นราชาเอก มีสี

เหลืองดังทอง ทำพื้นแผ่นดินให้สว่างไสว ย่อม

อัสดงคตไป ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าขอนอบน้อม

พระอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีเหลืองดังสีทอง ทำพื้น

แผ่นดินให้สว่างไสว ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นผู้อัน

ท่านคุ้มครองแล้ว ในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอด

คืน พราหมณ์เหล่าใด ผู้จบแวทในธรรมทั้งปวง

ข้าพเจ้าขอนอบน้อม พราหมณ์เหล่านั้น และ

พราหมณ์เหล่านั้น โปรดรักษาข้าพเจ้าด้วย

ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ความนอบน้อมของข้าพเจ้าจงมีแด่พระ-

โพธิญาณ ความนอบน้อมของข้าพเจ้า จงมีแด่

ท่านผู้หลุดพ้นแล้วทั้งหลาย ความนอบน้อมของ

ข้าพเจ้า จงมีแด่วิมุตติ (ธรรนเครื่องหลุดพ้น)

นกยูงนั้นได้กระทำปริตรนี้แล้วจึงสำเร็จการอยู่แล.

นกยูงนั้น ยับยั้งอยู่ตลอด ๗๐๐ ปี โดยทำนองนี้นั้นแล อยู่มาวันหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 40

ได้ยินเสียงนางนกยูง ก่อนแต่การกระทำปริตร ไม่ยอมระลึกการ

กระทำปริตร จึงติดบ่วงของนายพราน ที่พระราชาส่งไป เสียงของ

หญิง ครอบงำจิตของนกยูงทองตั้งอยู่ ด้วยประการฉะนี้แล. ได้ยินว่า

ภิกษุหนุ่มผู้อยู่ที่ฉาตกบรรพต และภิกษุหนุ่มผู้อยู่ที่สุธามุณฑกวิหาร

ได้ยินเสียงของหญิงย่อยยับไปแล้ว แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า อิตฺถิคนฺโธ ได้แก่

คันธายตนะ ของหญิงมีสมุฏฐาน ๔. กลิ่นกายของหญิงนี้นั้น ย่อมเหม็น

แต่กลิ่นเครื่องประเทืองผิวเป็นต้นภายนอก ที่ชโลมกายท่านประสงค์

เอาในที่นี้. จริงอยู่หญิงบางคนมีกลิ่นเหมือนกลิ่นม้า บางคนมีกลิ่น

เหมือนกลิ่นแพะ บางคนมีกลิ่นเหมือนเหงื่อไคล บางคนมีกลิ่นเหมือน

กลิ่นเลือด คนโง่บอดบางคน รักใคร่ในหญิงเห็นปานนั้น นั่นแล. ส่วน

กลิ่นจันทน์ ฟุ้งออกจากกาย และกลิ่นดอกอุบลฟุ้งออกจากปากของ

หญิง นางแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ์ กลิ่นนี้ไม่มีแก่หญิงทุกจำพวก

เฉพาะกลิ่นเครื่องประเทืองผิวเป็นต้นภายนอก ท่านประสงค์เอาในที่นี้

ส่วนสัตว์เดียรัจฉาน มีช้าง ม้า และโคเป็นต้น ย่อมเดินไปได้สิ้นทาง ๑

โยชน์ ๒ โยชน์ ๓ โยชน์ และ ๔ โยชน์ ตามกลิ่นระดูของสัตว์

เดียรัจฉานตัวเมีย. ไม่ว่ากลิ่นกายหญิง หรือกลิ่นเครื่องนุ่งห่มที่หญิงนุ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 41

เครื่องประเทืองผิวที่หญิงลูบไล้ เครื่องประดับและระเบียบดอกไม้.

เป็นต้น ของหญิงก็ตามที ทั้งหมด พึงทราบว่า กลิ่นหญิงทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า อิตฺถิรโส ได้แก่

รสายตนะของหญิง มีสมุฏฐาน ๔ ก็พระจูฬาภยเถระ ผู้ทรงพระไตร-

ปิฎก กล่าวว่า รสนี้ใดจะเป็นรสแห่งการฟัง หรือรสแห่งการบริโภค

ด้วยอำนาจการรับใช้เป็นต้นของหญิง รสนี้ ชื่อว่ารสของหญิง.

ก็รสน้ำลายที่เปื้อนเนื้อริมฝีปากเป็นต้นของหญิง แม้แต่รสแห่งข้าวต้ม

และข้าวสวยเป็นต้น ที่เธอให้แก่สามี ทั้งหมดนี้พึงทราบว่ารสแห่ง

หญิงเหมือนกัน. จริงอยู่ สัตว์เป็นอันมากถือเอาของอย่างใดอย่างหนึ่ง

ที่หญิงแม่บ้านให้ด้วยมือของตนเท่านั้น ว่าเป็นของอร่อย ถึงความ

พินาสไปแล้ว แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 42

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :- บทว่า อิตฺถิโผฏฺพฺโพ

ความว่า สัมผัสกายของหญิง สัมผัสแม้ของผ้า เครื่องประดับ และ

ระเบียบดอกไม้เป็นต้น ที่อยู่กับตัวหญิง พึงทราบว่าโผฏฐัพพะหญิง

ทั้งนั้น. ก็ผัสสะ ทั้งหมดนั้น ย่อมครอบงำจิตของบุรุษตั้งอยู่ เหมือน

ผัสสะที่เป็นวิสภาคารมณ์ (อารมณ์ที่เป็นข้าศึก) ของภิกษุหนุ่มผู้

กำลังสาธยายเป็นคณะอยู่ที่ลานแห่งมหาเจดีย์.

ดังนั้น พระศาสดา จึงถือเอาอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้นอย่าง

หนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งอาสยะ (อัธยาศัย) และอนุสัย (กิเลศที่นอนเนื่อง

ในสันดาน) ของสัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสว่า เรามองไม่เห็น อารมณ์อื่นเช่นนี้.

เหมือนอย่างว่า รูปหญิงย่อมเข้าถึงจิตตุปบาทของบุรุษผู้หนักในรูป

ย่อมพัวพัน ให้เมา ให้มัวเมา ให้หลง ให้ลุ่มหลง ฉันใด เสียงเป็นต้น

ที่เหลือ หาเป็นฉันนั้นไม่. อนึ่ง เสียงเป็นต้น ย่อมเข้าถึงจิตตุปบาทของ

บุรุษผู้หนักในเสียงเป็นต้น ฉันใด อารมณ์มีรูปเป็นต้นหาเป็นฉันนั้นไม่

เพราะบรรดาอารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น อารมณ์เดียวเท่านั้น ย่อม

ครอบงำจิตของบุรุษบางคน. สำหรับบุรุษบางคน ๒ อารมณ์บ้าง

๓ อารมณ์บ้าง ๔ อารมณ์บ้าง ๕ อารมณ์บ้าง ครอบงำจิต. ดังนั้น

๑. ปาฐะว่า ตถา เสสา สทฺทาทโย ฯ ยถา จ สทฺทาทิครุกาน สทฺทาทโย ตถา รูปาทีนิ

อารมฺมณหิ พม่าเป็น น ตถา เสสา สทฺทาทโย. ยถา จ สทฺทาทิครุกาน สทฺทาทโย, น ตถา

รูปาทีนิ อารมฺมณานิ. แปลตามพม่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 43

สูตรทั้ง ๕ สูตรนี้ พระองค์ตรัสแล้ว ด้วยอำนาจบุคคลผู้หนักในอารมณ์

๕ อย่าง ไม่ตรัสด้วยอำนาจปัญจครุกชาดก. ส่วนปัญจครุกชาดก ก็ควร

นำมากล่าว เพื่อเป็นพยาน. จริงอยู่ ในชาดกนั้น เมื่อพวกอมนุษย์พากัน

จัดร้านตลาดกลางทางกันดาร บรรดาสหาย ๕ คนของมหาบุรุษ

สหายผู้หนักในรูป ติดอยู่ในอารมณ์ ถึงความย่อยยับ ผู้หนักในเสียง

เป็นต้น ติดอยู่ในสัททารมณ์เป็นต้น ก็ถึงความย่อยยับ. เรื่องที่เป็น

อดีต ควรนำมากล่าวเพื่อเป็นพยาน

ก็พระสูตรทั้ง ๕ นี้ พระองค์ตรัสด้วยอำนาจบุคคลผู้หนัก

ในอารมณ์ ๕ อย่างเท่านั้น ก็เพราะเหตุที่ไม่ใช่แต่ผู้ชายอย่างเดียว

เท่านั้น เป็นผู้หนักในอารมณ์ทั้ง ๕ แม้หญิงก็เป็นผู้หนักเหมือนกัน

ฉะนั้น พระองค์จงตรัส พระสูตร ทั้ง ๕ อีก ด้วยอำนาจหญิงผู้หนัก

ในอารมณ์แม้เหล่านั้น. เนื้อความแห่งพระสูตรแม้นั้น พึงทราบโดย

นัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

แม้บรรดาเรื่องทั้งหลาย ในสูตรที่ ๑ พึงทราบเรื่องของสนม

ของมหาราชา ผู้มองดูภิกษุหนุ่ม ซึ่งยืนอยู่ที่ประตูแห่งโลหปราสาท

แล้วก็ตายไป เรื่องนั้นกล่าวไว้พิสดารแล้วตอนต้นนั่นแล.

ในสูตรที่ ๒ พึงทราบเรื่องหญิงผู้อาศัยรูปเลียงชีพในกรุง

สาวัตถี. เล่ากันมาว่า นักดีดพิณ ชื่อว่า คุตติละ ได้ส่งทรัพย์ ๑,๐๐๐

ไปให้หญิงคนหนึ่ง นางกลับเย้ยหยัน ไม่ปรารถนาจะรับ เขาคิดว่า

เราจักทำสิ่งที่ควรทำในเรื่องนี้ เวลาจวนจะเย็น จึงแต่งตัวนั่งที่ประตู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 44

แห่งหนึ่งตรงหน้าเรือนของนาง ขึ้นสายพิณเหมาะเจอะดีแล้ว จึงขับร้องคลอ

ไปกับเสียงพิณ. หญิงนั้นได้ยินเสียงเพลงขับของเขา คิดว่า เราจัก

ไปหาเขาทางหน้าต่างที่เปิดไว้ ด้วยความสำคัญว่า ประตู ก็พลัดตก

ลงไปถึงสิ้นชีวิต.

ในสูตรที่ ๓ พึงทราบ กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากพระกาย และ

กลิ่นอุบลฟุ้งออกจากพระโอษฐ์ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ เรื่องนี้ควร

นำมาแสดง ก็ในข้อนี้พึงทราบเรื่อง ดังต่อไปนี้ :-

เล่ากันมาว่า สามีของธิดาแห่งกุฏุมพีผู้หนึ่ง ในกรุงสาวัตถี

ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา คิดว่า เราเป็นคฤหัสถ์ ไม่

สามารถจะบำเพ็ญธรรมนี้ได้ จึงบวชในสำนักของพรูปิณฑปาติก

เถระ (พระเถระผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร) รูปหนึ่ง. ครั้งนั้น พระเจ้า-

ปเสนทิโกศล ทรงทราบภรรยาของเขาว่า หญิงผู้นี้ไม่มีสามี จึงโปรดให้

คนนำมาอยู่ในพระราชวัง วันหนึ่ง ทรงถือเอากำดอกอุบลบัวขาบกำหนึ่ง

เสด็จเข้าไปในพระราชวัง โปรดให้ประทานดอกอุบลแก่หญิงคนละดอก.

เมื่อแบ่งกันอยู่ ดอกอุบล ๒ ดอก ได้ถึงมือของหญิงนั้น. หญิงนั้น แสดง

อาการร่าเริง สูดมแล้วก็ร่ำไห้. พระราชาทรงเห็นอาการทั้ง ๒ ของนาง

จึงรับสั่งให้เรียกนางมาตรัสถาม. ฝ่ายนางกราบทูลเหตุที่ตนยินดี และร้องไห้

ให้ทรงทราบ. แม้เมื่อนางกราบทูลถึงครั้งที่ ๓ พระราชาไม่ทรงเชื่อ วัน

รุ่งขึ้น จึงรับสั่งให้คนขนเอาของหอม ที่มีกลิ่นอย่างดี มีระเบียบดอกไม้

และเครื่องลูบไล้เป็นต้นทุกอย่าง ในพระราชนิเวสน์ออกไป ให้ปู

อาสนะสำหรับภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ถวายมหาทาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 45

แด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ในเวลาเสร็จภัตกิจ ตรัส

ถามหญิงนั้นว่า พระเถระรูปไหน เมื่อนางกราบทูลว่า รูปนี้ ทรงทราบ

แล้วถวายบังคมพระศาสดา แล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

ภิกษุสงฆ์จงไปกับพระองค์ พระเถรรูปโน้น ของข้าพระองค์จัก

กระทำอนุโมทนา. พระศาสดาเว้นภิกษุรูปนั้นไว้ แล้วเสด็จไปยัง

พระวิหาร. พอพระเถระเริ่มกล่าวอนุโมทนา ทั่วพระราชนิเวสน์

เป็นเหมือนเต็มไปด้วยกลิ่นหอม. พระราชาทรงเลื่อมใสว่า นางพูด

จริงทีเดียว วันรุ่งขึ้นจึงถามถึงเหตุนั้นกะพระศาสดา. พระศาสดา

ตรัสบอกว่า ในอดีตกาล ภิกษุรูปนี้ฟังธรรมกถา เปล่งสาธุการว่า

สาธุ สาธุ ไม่ขาดสาย ได้ฟังโดยเคารพ ดูก่อนมหาบพิตร ภิกษุนั้น

ได้อานิสงส์นี้มีการเปล่งสาธุการนั้นเป็นมูล

ในเวลาฟังแสดงพระสัทธรรม เมื่อภิกษุนั้น

กล่าวว่า สาธุ สาธุ กลิ่นหอมเกิดจากปาก ฟุ้งไป

เหมือนกลิ่นดอกอุบล ฉะนั้น.

คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้นแล ในวรรคนี้ท่านกล่าวแต่

เรื่องทั้งนั้น. บาลีว่าด้วยรูปจบ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

จบ อรรถกถารูปาทิวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 46

นีวรณปหานวรรคที่ ๒

ว่าด้วยเหตุเกิดนิวรณ์ ๕

[๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อ

ความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งกามฉันทะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังสุภนิมิต

(นิมิตงานคืออารมณ์ชวนกำหนัด ) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

บุคคลทำในใจโดยไม่แยบคายซึ่งสุภนิมิตเข้า กามฉันทะที่ยังไม่เกิด

ย่อมเกิดขึ้นด้วย กามฉันทะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่

ขึ้นด้วย.

[๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อ

ความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งพยาบาทที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังปฏิฆนิมิต

(นิมิตกระทบใจ คืออารมณ์ชวนขัดเคือง) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

บุคคลทำในใจโดยไม่แยบคายซึ่งปฏิฆนิมิต พยาบาทที่ยังไม่เกิด

ย่อมเกิดขึ้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่

ขึ้นด้วย.

[๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อ

ความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งถีนมิทธะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังความไม่ยินดี

(ในอธิกุศล) ความคร้าน ความบิดกาย (ด้วยความเกียจคร้าน) ความ

เมาอาหาร และความหดหู่แห่งจิตนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 47

บุคคลมีจิตหดหู่แล้ว ถีนมิทธะยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นด้วย ถีนมิทธะที่

เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้นด้วย.

[๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อ

ความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดแล้วก็ลี เหมือนดัง

เจตโสอวูปสมะ (ความไม่เข้าไปสงบแห่งจิตด้วยสมถะและวิปัสสนา)

นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตไม่เข้าไปสงบแล้ว อุทธัจจกุก-

กุจจะที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็น

ไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้นด้วย.

[๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อ

ความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังอโยนิโสมนสิการ

(ความทำในใจโดยไม่แยบคาย คือคิดไม่ถูกทาง) นี้เลย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยไม่แยบคาย วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิด

ย่อมเกิดขึ้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่

ขึ้นด้วย.

ว่าด้วยเหตุไม่ให้นิวรณ์ ๕ เกิดขึ้น

[๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งกามฉันทะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหาย

ไปแห่งกามฉันทะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังอสุภนิมิต (นิมิตไม่งาม คือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 48

อสุภ ๑๐ ) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคาย

ซึ่งอสุภนิมิต กามฉันทะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย กามฉันทะ

ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมหายไปด้วย.

[๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งพยาบาทที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหาย

ไปแห่งพยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วก็ดี เหมือนดังเมตตาเจโตวิมุตติ นี้เลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคายซึ่งเมตตาเจโต-

วิมุตติอยู่ พยาบาทที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้น

แล้วย่อมเสื่อมหายไปด้วย.

[๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหาย

ไปแห่งถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วก็ดี เหมือนดังอารัมภธาตุ (ธาตุคือ

ความเพียรริเริ่ม) นิกกมธาตุ (ธาตุคือความเพียรพยายาม) ปรักกม-

ธาตุ (ธาตุคือความเพียรบากบั่น) นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อ

บุคคลมีความเพียรอันเริ่มแล้ว ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย

ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมหายไปด้วย.

[๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุ

เสื่อมหายไปแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วก็ดี เหมือนดังเจตโส-

วูปสมะ (ความเข้าไปสงบแห่งจิตด้วยสมถะและวิปัสสนา) นี้เลย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลมีจิตเข้าไปสงบแล้ว อุทธัจจกุกกุจจะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 49

ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้วย่อม

เสื่อมหายไปด้วย.

[๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง

ซึ่งเป็นเหตุไม่เกิดขึ้นแห่งวิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเสื่อมหาย

ไปแห่งวิจิกิจฉาที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังความทำในใจโดยแยบคาย

นี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลทำในใจโดยแยบคายอยู่ วิจิกิจฉา

ที่ยังไม่เกิดย่อมไม่เกิดขึ้นด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมหาย

ไปด้วย.

จบ นีวรณปหานวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 50

อรรถกถามีวรณปหานวรรคที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า เอกธมฺมปิ นี้ พึงทราบธรรมด้วยอรรถว่า มิใช่สัตว์

เหมือนในคำมีอาทิว่า ก็ในสมัยนั้นแล ธรรมทั้งหลายย่อมมี. เพราะ

ฉะนั้นในบทว่า เอกธมฺมปิ นี้ มีใจความดังนี้ว่า แม้สภาวะอันหนึ่ง

มิใช่สัตว์. ก็ วา ศัพท์ ในบทว่า อนุปฺปนฺโน วา นี้ มีสมุจจัยเป็นอรรถ

ไม่ใช่มีวิกัปเป็นอรรถ เหมือน วา ศัพท์ในประโยคอย่างนี้ว่า ภูตาน

สตฺตาน ิติยา สมฺภเวสีน วา อนุคฺคหาย ยาวตา ภิกฺขเว สตฺตา

อปทา วา ทฺวิปทา วา เพื่อดำรงอยู่แห่งสัตว์ผู้เกิดแล้วด้วย เพื่อ

อนุเคราะห์พวกสัตว์สัมภเวสีด้วย. ภิกษุทั้งหลาย เหล่าสัตว์ไม่มีเท้า

และสัตว์ ๒ เท้า มีประมาณเพียงใด ดังนี้. ก็ในข้อนี้มีใจความดังนี้ว่า

กามฉันท์ ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเป็นไป

เพื่อไพบูลย์เจริญเต็มที่ด้วยธรรมใด เรามองไม่เห็นธรรมนั้นอย่างอื่น

เหมือนศุภนิมิตเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนุปฺปนฺโน ความว่าไม่เกิด ไม่

เกิดพร้อม ไม่ปรากฏ ไม่เป็นไป. บทว่า กามฉนฺโท ได้แก่ กามฉันท-

นิวรณ์ ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว โดยนัยมีอาทิว่า ความพอใจในกาม

ความกำหนัดในกาม ความเพลิดเพลินในกาม ความอยากในกาม อันใด

๑. วรรคที่ ๒ นี้ บาลีมิได้แบ่งออกเป็นสูตร ๆ แต่อรรถกถาแบ่งไว้ ๑๐ สูตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 51

บทว่า อุปฺปชฺชติ ได้แก่บังเกิด ปรากฏ. ก็กามฉันท์นี้นั้น

พึงทราบว่า ที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น ด้วยอำนาจความฟุ้งขึ้น หรือ

ด้วยอารมณ์ที่ยังไม่ได้เสวย. จริงอยู่ เมื่อว่าโดยประการอื่น กามฉันท์

ชื่อว่าไม่เกิดขึ้นในสงสารอันไม่ปรากฏเบื้องต้นและเบื้องปลาย

ย่อมไม่มี. ในข้อนั้น กิเลสย่อมไม่ฟุ้งขึ้น แก่ภิกษุบางรูป ด้วยอำนาจ

วัตร ย่อมไม่ฟังขึ้นแก่ภิกษุบางรูป ด้วยอำนาจ คันถะ, ธุดงค์,

สมาธิ, วิปัสสนา, และงานนวกรรม ที่เธอทำแล้ว อย่างใดอย่างหนึ่ง

จริงอยู่ ภิกษุบางรูป เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยวัตร เมื่อภิกษุนั้นกระทำ

ขุททกวัตร ข้อวัตรเล็ก ๘๒ มหาวัตร ข้อวัตรใหญ่ ๑๔ เจติยังคณ-

วัตร โพธิยังคณวัตร ปานียมาฬกวัตร อุโปสถาคารวัตร อาคันตุก-

วัตร และคมิกวัตร กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส. แต่ครั้นย่อมา เมื่อเธอ

สละวัตร มีวัตรแตกแล้วเที่ยวไป อาศัยการใส่ใจโดยไม่แยบคาย

และการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น แม้เมื่อเป็นเช่นนั้น กิเลสยังไม่

เกิดขึ้นเพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ก็ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น. บางรูปเป็น

ผู้ประกอบด้วยคันถะ เรียน ๑ นิกายบ้าง ๒ นิกายบ้าง ๓ นิกายบ้าง

๔ นิกายบ้าง ๕ นิกายบ้าง เมื่อเธอเรียน ท่องบ่น บอก แสดง

ประกาศพุทธพจน์ คือปิฎก ๓ ด้วยอำนาจอรรถ ด้วยอำนาจบาลี

ด้วยอำนาจอนุสนธิ ด้วยอำนาจอักษรเบื้องต้น เบื้องปลาย กิเลสย่อม

ไม่ได้โอกาส. ต่อมาเมื่อละการเล่าเรียน เกียจคร้าน เที่ยวไปอยู่

อาศัยอโยนิโสมนสิการ สละการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น. แม้เมื่อ

เป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ก็ชื่อว่า

ย่อมเกิดขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 52

แต่บางรูปเป็นผู้ทรงธุดงค์ สมาทานธุดงคคุณ ๑๓ ประพฤติอยู่

ก็เมื่อเธอปริหาร คือรักษาธุดงคคุณอยู่ กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส.

แต่ต่อมา เมื่อเธอสละธุดงค์เวียนมาเพื่อความมักมากประพฤติอยู่

อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น. แม้

เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้นเพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ก็ชื่อว่าย่อม

เกิดขึ้น. บางรูป มีความชำนาญที่สั่งสมไว้ในสมาบัติ ๘. เมื่อเธอ

ประกอบเนือง ๆ ในปฐมฌานเป็นต้นอยู่ ด้วยอำนาจวสีมีอาวัชชวสี

ชำนาญเข้าสมาบัติเป็นต้น กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส แต่ต่อมาเมื่อเธอ

เสื่อมฌานหรือสลัดฌานเสียแล้ว ประกอบเนือง ๆ ในกิจมีชอบคุย

เป็นต้น อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น

แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดเพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ชื่อว่า

ย่อมเกิดขึ้น.

อนึ่ง บางรูป เป็นผู้เจริญวิปัสสนากระทำกิจในอนุปัสสนา ๗

และมหาวิปัสสนา ๑๘ อยู่. เมื่อเธอเป็นอยู่อย่างนี้ กิเลสย่อมไม่ได้

โอกาส แต่ต่อมา เมื่อเธอละกิจในวิปัสสนา มุ่งไปในการทำร่างกาย

ให้แข็งแรง อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการปล่อยสติ กิเลสย่อม

เกิดขึ้น แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้นเพราะยังไม่

ตั้งขึ้น ก็ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.

บางรูปเป็นผู้ประกอบงานนวกรรม ให้สร้างโรงอุโบสถ

และโรงฉันเป็นต้น เมื่อเธอกำลังคิดถึงเครื่องอุปกรณ์ ของโรงอุโบสถ

เป็นต้นเหล่านั้นอยู่ กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส ครั้นต่อมา เมื่องาน

นวกรรมของเธอเสร็จแล้ว หรือทอดทิ้งเสีย อาศัยอโยนิโสมนสิการ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 53

และการปล่อยสติ กิเลสก็เกิดขึ้น แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่

เกิดขึ้นเพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น.

อนึ่งบางรูป มาแต่พรหมโลก เป็นสัตว์บริสุทธิ์, เพราะตน

ไม่มีการส้องเสพมาก่อน กิเลสจึงไม่ได้โอกาส แต่ครั้นย่อมาได้การ

ส้องเสพ อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการปล่อยสติ กิเลสย่อมเกิดขึ้น

แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ กิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้น เพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น

ก็ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น พึงทราบความเกิดขึ้นแห่งกิเลสที่ยังไม่เกิดขึ้น

เพราะยังไม่ฟุ้งขึ้น ด้วยประการอย่างนี้ก่อน.

กิเลสที่เกิดขึ้นเพราะอารมณ์ที่ยังไม่เคยเสวยเป็นอย่างไร ?

ภิกษุบางรูป ย่อมได้อารมณ์ มีรูปารมณ์ ที่น่าชอบใจ และไม่น่า

ชอบใจเป็นต้น ที่ตนเคยได้เสวย อาศัยอโยนิโสมนสิการ และการ

ปล่อยสติไปในอารมณ์นั้น ราคะย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น เมื่อเป็นอย่างนี้

กิเลสที่ยังไม่เกิดเพราะอารมณ์ที่ยังไม่เคยเสวย ชื่อว่า ย่อมเกิดขึ้น.

บทว่า อุปฺปนฺโน ได้แก่ เกิดแล้ว เกิดพร้อมแล้ว บังเกิดแล้ว

บังเกิดยิ่งแล้ว ปรากฏแล้ว บทว่า ภิยฺโยภาวาย ได้แก่ เพื่อเกิดมีบ่อย ๆ

บทว่า เวปุลฺลาย ได้แก่ เพื่อความไพบูลย์คือ เพื่อความเป็นกอง.

ในข้อนั้น ข้อที่ว่ากามฉันท์เกิดขึ้นคราวเดียวจักไม่ดับ หรือดับไป

คราวเดียวจักไม่เกิดขึ้นอีก นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้. ก็เมือกามฉันท์

อย่างหนึ่งดับไปแล้ว กามฉันท์เมื่อเกิดสืบ ๆ ไป ในอารมณ์นั้น หรือ

อารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง ชื่อว่า ย่อมเป็นไปเพื่อมียิ่งขึ้น เพื่อ

ความไพบูลย์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 54

บทว่า สุภนิมิตฺต ได้แก่อารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งราคะ จริงอยู่

บทว่า นิมิตฺต เป็นชื่อแห่งปัจจัย ได้ในคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อกุศล

บาปธรรม ที่มีปัจจัยย่อมเกิดขึ้น ที่ไม่มีปัจจัยหาเกิดขึ้นไม่. บทว่า

นิมิตฺต เป็นชื่อแห่งเหตุ ได้ในคำนี้ว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบ

เนือง ๆ ซึ่งอธิจิต พึงมนสิการถึงเหตุทั้ง ๕ ตามกาลอันควร บทว่า

นิมิตฺต เป็นชื่อของสมาธิ ได้ในคำนี้ว่า โส ต นินิตฺต อาเสวติ ภาเวติ

ความว่า ภิกษุนั้น ย่อมเสพ ย่อมเจริญสมาธินั้น. บทว่า นิมิตฺต

เป็นชื่อแห่งวิปัสสนา ได้ในคำนี้ว่า เมื่อภิกษุอาศัยวิปัสสนาใด มนสิ-

การวิปัสสนาใด อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปเรื่อย ๆ. แต่ในที่นี้

ธรรมอันเป็นอิฎฐารมณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งราคะ. ท่านประสงค์เอา

สุภนิมิต.

บทว่า อโยนิโส มนสิกโรโต ความว่า เมื่อภิกษุใส่ใจโดยมิใช่

อุบาย ด้วยอำนาจการใส่ใจนี้ว่า บรรดาการใส่ใจเหล่านั้น การใส่ใจ

โดยไม่แยบคายเป็นไฉน ? การใส่ใจโดยไม่แยบคาย คือการใส่ใจ

ไปนอกทาง ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข

ในสิ่งที่ไม่เป็นอัตตาว่าเป็นอัตตา ในสิ่งที่ไม่งามว่างาม หรือการรำพึง

ถึง การคำนึงถึงเนือง ๆ การผูกใจ การประมวลจิต ด้วยสิ่งอันเป็น

ปฏิกูลที่ปราศจากความจริง แม้นี้เรียกว่าการใส่ใจโดยไม่แยบคายแล

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 55

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า พฺยาปาโท ได้แก่ ความวิบัติ ความละปกติแห่งจิต

เหมือนความวิบัติแห่งอาหาร (อาหารบูด). บทว่า พฺยาปาโท นี้เป็น

ชื่อแห่งพยาปาทนิวรณ์ ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว อย่างนี้ว่า ในนิวรณ์

เหล่านั้น พยาปาทนิวรณ์เป็นไฉน ? คือความอาฆาตเกิดขึ้นว่า ผู้นี้

ได้ทำความฉิบหายแก่เรา.

บทว่า ปฏิฆนิมิตฺต ได้แก่ นิมิตที่ไม่น่าปรารถนา คำว่า

ปฏิฆนิมิตฺต นี้ เป็นชื่อของปฏิฆจิต ความแค้นเคืองก็มี เป็นชื่อของอารมณ์

ที่ทำให้แค้นเคืองก็มี สมจริงดังคำที่พระอรรถกถาจารย์ กล่าวไว้ใน

อรรถกถาว่า แม้ปฏิฆจิต ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต แม้ธรรมที่เป็นอารมณ์ของ

ปฏิฆจิต ก็ชื่อว่า ปฏิฆนิมิต คำที่เหลือในที่นี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าว

ในกามฉันท์นั่นแล. ในปฏิฆนิวรณ์นี้ฉันใด แม้ในนิวรณ์อื่นจากนี้

ก็ฉันนั้น. ก็ในสูตรนั้น ๆ ข้าพเจ้าจักกล่าวเพียงข้อแปลกกันเท่านั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 56

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ถีนมิทฺธ ได้แก่ ถีนะ และมิทธะ ใน ๒ อย่างนั้น ภาวะ

ที่จิตไม่ควรแก่การงานชื่อว่า ถีนะ คำว่า ถีนะ นี้ เป็นชื่อของความเกียจ

คร้าน. ภาวะที่ขันธ์ทั้ง ๓ ไม่ควรแก่การงาน ชื่อว่า มิทธะ. คำว่า

มิทธะ นี้ เป็นชื่อของความโงกง่วง ดุจความโงกง่วงของลิง เป็น

ธรรมชาติกลับกลอก. พึงทราบความพิสดารแห่งถีนะและมิทธะ

ทั้ง ๒ นั้น โดยนัยเป็นต้นว่า ในถีนะและมิทธะทั้ง ๒ นั้น ถีนะ

เป็นไฉน ? ภาวะที่จิตไม่เหมาะไม่ควรแก่การงาน หย่อนยาน ท้อแท้

ชื่อว่า ถีนะ ในถีนะและมิทธะทั้ง ๒ นั้น มิทธะเป็นไฉน ? ภาวะที่กาย

ไม่เหมาะ ไม่ควรแก่การงาน โงกง่วง ชื่อว่า มิทธะ

บทว่า อรติ เป็นต้น พึงทราบโดยนัยที่จำแนกไว้แล้วในวิภังค์

นั่นแล สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า บรรดาธรรมเหล่านั้น อรติ

เป็นไฉน ? ความไม่ยินดี ภาวะที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง ความไม่

อภิรมย์ ความเอือมระอา ความหวาด ในเสนาสนะอันสงัด หรือ

ในอธิกุศลธรรมอย่างอื่น ๆ นี้เรียกว่า อรติ บรรดาธรรมเหล่านั้น

ตนฺทิ ความเกียจคร้านเป็นไฉน ? ความเกียจ ความคร้าน ความ

ใส่ใจในความคร้าน ความเกียจคร้าน กิริยาที่เกียจคร้าน ภาวะแห่ง

ผู้เกียจคร้าน นี้ท่านเรียกว่า ตันทิ บรรดาธรรมเหล่านั้น ความบิด-

กายเป็นไฉน ? ความบิด ความเอี้ยว ความน้อมไป ความโน้มมาค้อมไป

ค้อมมา ความบิดเบี้ยว นี้ เรียกว่า วิชัมภิกา. บรรดาธรรมเหล่านั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 57

ความเมาอาหาร เป็นไฉน ? ผู้มักบริโภค มึนในอาหาร ลำบากใน

อาหาร อ่อนเปลี้ยในกาล นี้เรียกว่า ความเมาในอาหาร. บรรดา

ธรรมเหล่านั้น ความที่จิตหดหู่เป็นไฉน ? ภาวะที่จิตไม่เหมาะ ไม่

ควรแก่การงาน ความย่อหย่อน ความย่นย่อ ความท้อแท้ ความ

ท้อถอย ภาวะท้อแท้แห่งจิตนี้ เรียกว่า ความท้อแท้แห่งจิต ก็บรรดา

ธรรมเหล่านี้ ธรรม ๔ ข้างต้น เป็นปัจจัยแก่ถีนมิทธนิวรณ์ ทั้ง

โดยสหชาตปัจจัย ทั้งโดยอุปนิสสยปัจจัย อนึ่งภาวะที่ย่อหย่อน

ย่อมไม่เป็นสหชาติปัจจัยโดยตนของตนเอง แต่ย่อมเป็นสหชาตปัจจัย

ในที่สุดแห่งอุปนิสสยปัจจัย.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุทฺธจฺจกุกฺกุจจ ได้แก่ อุทธัจจะ และกุกกุจจะ. ใน ๒

อย่างนั้น อาการที่จิตฟุ้งซ่าน ชื่อว่า อุทธัจจะ ความเดือดร้อน

ของบุคคลผู้ไม่ได้กระทำคุณความดี ทำแต่ความชั่ว เพราะข้อนั้น

เป็นปัจจัย ชื่อว่า กุกกุจจะ บทว่า เจตโส อวูปสโม นี้ เป็นชื่อของ

อุทธัจจะ และกุกกุจจะ นั่นเอง. บทว่า อวูปสนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ผู้มีจิต

ไม่สงบด้วยฌานและวิปัสสนา ก็ความไม่สงบนี้ เป็นปัจจัยแก่อุทธัจจะ

และกุกกุจจะ ในที่สุดแห่งอุปนิสสยปัจจัย.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 58

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วิจิกิจฺฉา ได้แก่ วิจิกิจฉานิวรณ์ ที่กล่าวไว้พิสดารแล้ว

โดยนัยมีอาทิว่า ย่อมสงสัยในพระศาสดา ความใส่ใจโดยไม่แยบคาย

มีลักษณะดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุปฺปนฺโนว กามฉนฺโท นุปฺปชฺชติ ความว่า กามฉันทะ

ที่ไม่เกิดขึ้นด้วยเหตุ ๒ อย่างเท่านั้นคือ ด้วยความไม่ฟุ้งขึ้น หรือด้วย

อารมณ์ที่ไม่เคยเสวย ก็ไม่เกิดขึ้น. กามฉันทะนั้น เป็นอันภิกษุข่มได้

แล้วอย่างนั้น ย่อมไม่ได้เหตุหรือปัจจัยอีก. แม้ในที่นี้บัณฑิตพึงทราบ

ความไม่ฟุ้งขึ้นด้วยอำนาจวัตรเป็นต้น. จริงอยู่ เมื่อภิกษุบางรูป

ประกอบอยู่ในวัตร กระทำวัตรอยู่นั่นเอง โดยนัยดังกล่าวแล้ว กิเลส

ย่อมไม่ได้โอกาส เพราะฉะนั้น กามฉันทะนั้น เป็นอันชื่อว่าภิกษุข่ม

ไว้ได้ด้วยอำนาจวัตร ภิกษุนั้นการทำกามฉันทะนั้นให้เป็นอันตนข่ม

ไว้ได้อย่างนั้น แล้วเว้นขาดย่อมยืดเอาพระอรหัตได้ เหมือนพระ

มาลกติสสเถระฉะนั้น.

ได้ยินว่า ท่านพระมาสกติสสะ บังเกิดในครอบครัวพรานในที่

ภิกขาจาร แห่งคเมณฑวาสีวิหาร ในโรหณชนบท เจริญวัยแล้วก็

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 59

ครองเรือน คิดว่าจักเลี้ยงบุตรและภรรยา วางงาทับเหวไว้ ๑๐๐ คัน

ดักบ่วงไว้ ๑๐๐ บ่วง ฝังหลาวไว้ ๑๐๐ แห่ง สร้างสมบาปไว้เป็น

อันมาก วันหนึ่งถือเอาไฟและเกลือจากเรือน ไปป่า ฆ่าเนื้อที่ติดบ่วง

กินเนื้อที่สุกด้วยถ่านเพลิง กระหายน้ำ ก็เข้าไปคเมณฑวาสีวิหาร

ไม่ได้ดื่มน้ำแม้เพียงบรรเทาความกระหาย ในหม้อน้ำประมาณ ๑๐

หม้อ ในโรงน้ำดื่ม เริ่มยกโทษว่า อะไรกันนี่ ในที่อยู่ภิกษุมีประมาณ

เท่านี้ ไม่มีน้ำดื่มเพียงบรรเทาความกระหาย สำหรับผู้มาเพื่อหวัง

จะดื่ม พระจูฬบิณฑปาติกติสสเถระ ฟังถ้อยคำของเขาแล้ว จึงไป

หาเขา เห็นหม้อน้ำดื่ม ประมาณ ๑๐ หม้อเต็มน้ำในโรงดื่ม คิดว่า

สัตว์นี้ชะรอยจักเป็นชีวมานเปรต จงกล่าวว่า อุบาสก ถ้าท่านกระหาย

น้ำ ก็จงดื่มเถิด ดังนี้แล้ว ยกหม้อขึ้นรดลงที่มือของเขา เพราะอาศัย

กรรมของเขา น้ำดื่มที่ดื่มแล้ว ๆ กระเหยไปเหมือนใส่ลงในกระเบื้องร้อน

เมื่อเขาดื่มน้ำในหม้อทั้งหมด ความกระหายก็ไม่หายขาด ลำดับนั้น พระ-

เถระจึงกล่าวกะเขาว่า ก่อนอุบาสก ก็ท่านทำกรรมหยาบช้า

เพียงไรไว้ ท่านจึงเกิดเป็นเปรตในปัจจุบันทีเดียว วิบากจักเป็นเช่นไร ?

เขาฟังคำของพระเถระแล้ว ได้ความสังเวช ไหว้พระเถระ

แล้วรื้อเรื่องประหารมีฟ้าทับเหวเป็นต้นเหล่านั้นเสีย รีบไปเรือน

ตรวจดูบุตรและภรรยาแล้วทำลายหอก ทิ้ง ประทีป เนื้อ และ

นกไว้ในป่า กลับไปหาพระเถระขอบรรพชา พระเถระกล่าวว่า ผู้มี

อายุ บรรพชาเป็นกิจที่ทำได้ยาก ท่านจักบวชได้อย่างไร ? เขา

กล่าวว่าท่านเจริญ กระผมเห็นเหตุแจ้งประจักษ์อย่างนี้ จักไม่บวช

ได้อย่างไร พระเถระให้ตจปัญจกกรรมฐานแล้วให้เขาบวช ท่านเริ่ม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 60

วัตรปฏิบัติ ยินดีเรียนเอาพุทธพจน์ วันหนึ่ง ได้ฟังฐานะนี้ใน

เทวทูตสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกนายนิรยบาล ย่อมใส่สัตว์ตัวผู้

เสวยกองทุกข์ มีประมาณเท่านี้ เข้าในมหานรกอีก จึงกล่าวว่า

นายนิรบาล ใส่สัตว์ผู้เสวยกองทุกข์ มีประมาณเท่านี้แล้วลงในมหานรก

อีก โอ มหานรก หนักนะขอรับ พระเถระตอบว่า เออ ผู้มี

อายุ หนัก ท่านถามว่า ผมอาจจะมองเห็นไหมขอรับ พระเถระ

กล่าวว่า ท่านไม่อาจมองเห็น (แต่) เราจักแสดงเหตุอย่างหนึ่ง เพื่อ

จะกระทำให้เหมือนกับที่มองเห็นแล้ว กล่าวว่า เธอจงชักชวนพวก

สามเณรทำกองไม้สด บนหลังแผ่นหินสิ ท่านได้กระทำเหมือนอย่างนั้น

พระเถระนั่งอยู่ตามเดิม สำแดงฤทธิ์ นำเสก็ดไฟประมาณเท่าหิ่งห้อย

จากมหานรก ใส่ลงไปที่กองฟืนของพระเถระนั้น ผู้กำลังดูอยู่นั่นแล

การที่เสก็ดไฟนรก ตกลงไปในกองฟืนนั้น แลการที่กองฟืนไหม้เป็น

เถ้า ปรากฏไม่ก่อนไม่หลังกันเลย.

ท่านเห็นเหตุนั้นแล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าธุระในพระ

ศาสนานี้มีเท่าไร ? พระเถระตอบว่า ผู้มีอายุ มี ๒ คือ วาสธุระ

(วิปัสสนาธุระ) และคันถธุระ ท่านกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ชื่อว่า

คันถะ เป็นภาระของผู้สามารถ แต่ศรัทธาของกระผมอาศัยทุกข์

เป็นเหตุ กระผมจักบำเพ็ญวาสธุระ ขอท่านจงให้กรรมฐานแก่

กระผมเถิด ไหว้แล้วก็นั่ง พระเถระตั้งอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติ ด้วยคิดว่า

ภิกษุต้องเป็นผู้สมบูรณ์อยู่ด้วยวัตร แล้วจึงบอกกรรมฐานแก่ท่าน

ท่านรับกรรมฐานแล้วกระทำกรรมในวิปัสสนา และบำเพ็ญวัตร

กระทำวัตรที่จิตตลบรรพตมหาวิหารวันหนึ่ง, ทำที่คาเมณฑ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 61

วาสีมหาวิหารวันหนึ่ง, ทำที่โคจรคามมหาวิหารวันหนึ่ง พอถีนมิทธะ

ครอบงำ จึงทำใบไม้ให้ชุ่มน้ำวางไว้บนศีรษะ นั่งเอาเท้าแช่น้ำ เพราะ

กลัววัตรจะเสื่อม วันหนึ่ง ทำวัตรตลอด ๒ ยาม ที่จิตตลบรรพตวิหาร

เมื่อเริ่มจะหลับ ในเวลาใกล้รุ่งจึงนั่งวางใบไม้สดไว้บนศีรษะ เมื่อ

สามเณร กำลังท่องบ่นอรุณวติสูตรอยู่ ณ ข้างเขาด้านตะวันออก

ได้ยินฐานะนี้ว่า

อารภถ นิกฺขมถ ยุญฺชถ พุทฺธสาสเน

ธุนาถ มจฺจุโน เสน นฬาคารว กุญฺชโร

โย อิมสฺมึ ธมฺมวินเย อปฺปมฺโต วิหริสฺสติ

ปหาย ชาติสสาร ทุกฺขสฺสนฺต กริสฺสติ.

จงพากเพียร พยายาม บากบั่น ในพระ

พุทธศาสนา จงกำจัดกองทัพ ของมฤตยู เหมือน

กุญชรกำจัดเรือนไม้อ้อฉะนั้น ผู้ใดไม่ประมาท

ในพระธรรมวินัยนี้อยู่ จักละชาติสงสาร ทำ

ที่สุดทุกข์ได้

จึงเกิดปีติขึ้นว่า คำนี้จักเป็นคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสโปรด

ภิกษุผู้ปรารภความเพียรเช่นกับเรา ดังนี้แล้วทำงานให้บังเกิด กระทำ

ฌานนั้นนั่นแล ให้เป็นบาทแล้ว ดำรงอยู่ในอนาคามิผล พยายามสืบ ๆ ไป

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา แม้ในเวลาปรินิพพาน เมื่อ

แสดงเหตุนั้นนั่นแหละ จึงกล่าวคาถาอย่างนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 62

อลฺลปลาสปุญฺชาห สิเรนาทาย จงฺกมิ

ปตฺโตสฺมิ ตติยฏาน นตฺถิ เม เอตฺถ สสโย

เราเอาศีรษะเทินฟ่อนใบไม้สดเดินจงกรม เรา

เป็นผู้ถึงฐานที่ ๓ (อนาคามิผล) เราไม่มีความ

สงสัยในเรื่องนี้.

กิเลสที่ข่มไว้ด้วยอำนาจแห่งวัตรของภิกษุเห็นปานนี้ ชื่อว่า

ย่อมเป็นอันข่มไว้อย่างนั้นเทียว เมื่อภิกษุบางรูปขวนขวายในคันถะ

(คัมภีร์พุทธวจนะ) เรียน แสดง และประกาศ คันถะ โดยนัยที่กล่าว

แล้วนั่นแล กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส เป็นอันข่มไว้ได้ด้วยอำนาจคันถะ

นั่นแล ท่านกระทำกิเลสนั้นให้เป็นอันข่มได้ อย่างนั้นนั่นแล คลาย

กำหนัดได้ แล้วก็ยืดเอาพระอรหัตไว้ได้ เหมือนพระมาลิยเทวเถระ ฉะนั้น.

ได้ยินว่า ท่านพระมาลิยเทวเถระผู้มีอายุนั้น เรียนอุเทศและ

ทำวิปัสสนากรรมฐาน ที่มณฑลารามวิหาร ในกัลลคาม ในเวลา

เป็นภิกษุได้ ๓ พรรษา ครั้นวันหนึ่ง เมื่อท่าน เที่ยวภิกษาจาร

ในกัลลคาม อุบาสิกาคนหนึ่ง ถวายข้าวยาคูกะบวยหนึ่ง เกิดความ

สิเนหาเหมือนดังบุตร ให้พระเถระนั่งภายในนิเวศน์ ถวายโภชนะอัน

ประณีตแล้ว ถามว่า ท่านเป็นชาวบ้านไหนละพ่อ ? ท่านตอบว่า

อุบาสิกา อาตมาทำกิจกรรม คือการเช่นนั้น ในมณฑลาราม

วิหาร อุบาสิกากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น พ่อจงรับภิกษาเป็นประจำ

ในที่นี้แหละ ตราบเท่าที่เรียนคันถะ ท่านรับคำนั้นแล้ว รับภิกษา

ในที่นั้นเป็นประจำ ในเวลาเสร็จภัตกิจ เมื่อจะทำอหโมทนา จึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 63

กล่าวเฉพาะ ๒ บทว่า สุข โหตุ ทุกฺขา มุจฺจตุ (ขอท่านจงเป็นสุข จงพ้น

จากทุกข์) แล้วก็ไปการทำการสงเคราะห์แก่นางนั้นนั่นแล ตลอด ๓

เดือน ภายในพรรษา การทำความยำเกรงต่อบิณฑบาต ในวันมหา-

ปวารณาก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. พระมหาเถระผู้เป็น

เจ้าถิ่น กล่าวว่า ท่านมหาเทวะ วันนี้ มหาชน จักประชุมกันในวิหาร ท่าน

จงให้ธรรมทานแก่มหาชนนั้น พระเถระก็รับคำเชิญ ภิกษุหนุ่มและสามเณร

ได้ให้สัญญาแก่อุบาสิกาว่า วันนี้ บุตรของท่านจักแสดงธรรม ท่านพึงไป

วิหารฟังธรรม อุบาสิกากล่าวว่า พ่อทั้งหลาย ชนทั้งหมดไม่รู้ธรรมกถา

บุตรของดิฉันแสดงแก่ดิฉันตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ แสดงเฉพาะ

๒ บทเท่านั้นว่า ขอท่านจงมีความสุข ขอท่านจงพ้นจากทุกข์ ท่าน

อย่าเย้ยหยันเลย ภิกษุหนุ่มและสามเณร กล่าวว่า อุบาสิกา ท่าน

จะรับรู้หรือไม่รับรู้ ก็จงไปวิหารฟังธรรมเท่านั้น อุบาสิกาถือเอา

สักการะ มีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ไปบูชาแล้วนั่งฟังธรรมอยู่

ท้ายบริษัท พระธรรมกถึกและภิกษุผู้สวดสรภัญญะตอนกลางวัน

รู้ความพอดีของตนก็ลุกกลับไป ลำดับนั้นพระมาลิยเทวเถระ นั่งบน

ธรรมาสน์ จับพัดวิชนีกล่าวบุรพกถาแล้วคิดว่า เราทำอนุโมทนา

แก่มหาอุบาสิกขา ด้วย ๒ บทมาตลอด ๓ เดือน วันนี้เราจักจับเอา

(ข้อความ) จากพระไตรปิฎกแล้วกล่าว ความหมายของบททั้ง ๒

นั้นตลอดทั้งคืน จึงเริ่มแสดงธรรมเทศนา ตลอดคืนยังรุ่ง ในเวลา

จบเทศนา อรุณขึ้น มหาอุบาสิกา ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

พระเถระอีกรูปหนึ่ง นามว่า ติสสภูตเถระ ในวิหารนั้นนั่นเอง

เรียนพระวินัย เข้าไปภายในบ้านในเวลาภิกขาจาร ได้แลเห็นวิสภา-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 64

คารมณ์ ท่านเกิดความโลภขึ้น ท่านทำเท้าที่ยืนอยู่อย่างนั้น ไม่ให้

เคลื่อนไปไหน เทข้าวยาคูในบาตรของตนลงในบาตรของภิกษุหนุ่มผู้

เป็นอุปัฎฐาก คิดว่า ความวิตกนี้ เมื่อเพิ่มมากขึ้นจักทำเรา ให้จมลง

ในอบาย ๔ จึงกลับจากที่นั้น ไปยังสำนักของอาจารย์ ไหว้แล้ว

ยืนอยู่ณะที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กล่าวว่า พยาธิอันหนึ่งเกิดขึ้น ก็ผมแล้ว

ผมไม่สามารถจะเยียวยามันได้ จึงมาหา ไม่ได้มาโดยเรื่องนอกนี้เลย

ขอท่านจงโปรดตรวจดูกระผมตั้งอุเทศกลางวันแล้วและอุเทศตอนเย็น

แต่อย่าตั้งอุเทศในเวลาใกล้รุ่งเลย ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ได้ไปยัง

สำนักของพระมัลลยวาสิมหารักขิตเถระ พระเถระกำลังทำการล้อม

รั้วบรรณศาลาของตน ไม่มองดูท่าน กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ จงเก็บงำ

บาตรและจีวรของท่านเสีย ภิกษุนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผม

มีพยาธิอยู่อย่างหนึ่ง ถ้าท่านสามารถเยียวยามันได้ไซร้ กระผมจึง

จักเก็บงำ พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ คุณมายังสำนักของท่าน ผู้

สามารถเยียวยาโรคที่เกิดขึ้นแล้ว คุณจงเก็บงำเสียเถิด ภิกษุเป็นผู้

ว่าง่าย คิดว่า อาจารย์ของพวกเรา ไม่รู้ คงไม่กล่าวอย่างนั้น แล้ววาง

บาตรและจีวรแสดงวัตรแก่พระเถระไหว้แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

พระเถระรู้ว่า ผู้นี้เป็นราคจริต จึงได้บอกอสุภกรรมฐาน ท่าน

ลุกขึ้นคล้องบาตรและจีวรไว้บนบ่า ไหว้พระเถระไหว้แล้วไหว้อีก

พระเถระถามว่า ท่านมหาภูติ ทำไม คุณจึงแสดงอาการ

เคารพนบนอบเกินไป ท่านกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ถ้ากระผมจักทำ

กิจของตนได้ไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าไม่ได้เช่นนั้น การเห็นครั้งนี้

จะเป็นการเห็นครั้งสุดท้ายของผม พระเถระกล่าวว่า ท่านมหาภูติ

ไปเถิด ฌานก็ดี วิปัสสนาก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี กุลบุตรผู้ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 65

ความเพียรเช่นนั้น ได้ไม่ยากดอก ภิกษุนั้นฟังถ้อยคำของพระเถระ

แสดงอาการนอบน้อมแล้วไปสู่โคนกอไม้มะลื่น อันร่มที่ตนกำหนด

หมายตาไว้ในตอนมา นั่งขัดสมาธิ ทำอสุภกรรมฐานให้เป็นบาท

เริ่มตั้งวิปัสสนา ดำรงอยู่ในพระอรหัต ทันแสดงปาติโมกข์ ในเวลา

ใกล้รุ่ง ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจคันถะ เป็นอันชื่อว่า

ข่มได้ด้วยประการนั้นเหมือนกัน

ก็เมื่อภิกษุบางรูป บริหารธุดงค์โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล

กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส กิเลสนั้นเป็นอันท่านข่มได้ด้วยอานาจธุดงค์

ท่านทำกิเลสนั้น ให้เป็นอันข่มได้แล้วนั่นแล คลายกำหนัดได้แล้ว ยึดพระ

อรหัตไว้ได้ เหมือนท่านพระมหาสิวเถระ ผู้อยู่ที่เงื้อมเขาใกล้บ้าน.

ได้ยินว่า พระมหาสิวเถระ อยู่ในติสสมหาวิหาร ใกล้มหาคาม

สอนพระไตรปิฎก กะภิกษุคณะใหญ่ ๑๘ คณะ ทั้งโดยอรรถ ทั้งโดย

บาลี ภิกษุ ๖๐,๐๐๐ รูป ตั้งอยู่ในโอวาทของพรเถระบรรลุพระอรหัต

แล้ว บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุรูปหนึ่งปรารภธรรมที่ตนได้แทงตลอดแล้ว

เกิดโสมนัสขึ้น คิดว่า ความสุขนี้มีแก่อาจารย์ของเราบ้างไหมหนอ ภิกษุนั้น

เมื่อคำนึงอยู่ก็รู้ว่า พระเถระยังเป็นปุถุชน คิดว่า เราจักให้ความ

สังเวชเกิดขึ้นแก่พระเถระด้วยอุบายนี้ จึงจากที่อยู่ของตนไปยังสำนัก

ของพระเถระ ไหว้แสดงวัตรแล้วนั่ง. ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะ

ภิกษุนั้นว่า ท่านปิณฑปาติกะ มาทำไม ภิกษุนั้นกล่าวว่า ท่านขอรับ

กระผมมาด้วยหวังว่า ถ้าท่านจักกระทำโอกาสแก่กระผม กระผมก็

จักเรียนธรรมบท ๆ หนึ่ง พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ ภิกษุเป็นอัน

มากเรียนกัน ท่านจักไม่มีโอกาสดอก, ภิกษุนั้นเมื่อไม่ได้โอกาส ในส่วน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 66

กลางคืนและกลางวัน จึงกล่าวว่า เมื่อโอกาสไม่มีอย่างนั้น ท่านจัก

ได้โอกาสแห่งมรณะอย่างไร ? เวลานั้นพระเถระคิดว่า ภิกษุนี้

ไม่มาเพื่อเรียนอุเทศ แต่เธอมาเพื่อทำความสังเวชให้เกิดแก่เรา

แม้ภิกษุนั้น กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ธรรมดาว่า ภิกษุ พึงเป็น

ผู้เช่นเรา ดังนี้ แล้วไหว้พระเถระ เหาะไปในอากาศอันมีสีดังแก้วมณี.

พระเถระเกิดความสังเวช ตั้งแต่เวลาที่ภิกษุนั้นไปแล้ว บอก

อุเทศตอนกลางวันและในตอนเย็น วางบาตรและจีวรไว้ใกล้หัตถบาส

ในเวลาใกล้รุ่งจึงเรียนอุเทศ ถือบาตรและจีวรลงไปกับภิกษุผู้กำลัง

ลงไปอยู่ อธิษฐานธุดงคคุณ ๑๓ ให้บริบูรณ์แล้ว ไปยังเสนาสนะที่

เงื้อมเข้าใกล้บ้าน ปัดกวาดเงื้อมเขาแล้วให้ยกเตียงและตั่งขึ้น ผูกใจว่า

เรายังไม่บรรลุพระอรหัต จักไม่เหยียดหลังบนเตียง จึงลงสู่ที่จงกรม

เมื่อท่านพยายามอยู่ด้วยหวังใจว่า เราจักบรรลุพระอรหัตในวันนี้ เราจัก

บรรลุพระอรหัตในวันนี้ วันปวารณาก็มาถึง เมื่อใกล้วันปวารณา ท่าน

คิดว่า เราจักละความเป็นปุถุชน ปวารณาเป็นวิสุทธิปวารณา ก็ลำบาก

อย่างยิ่ง ท่านเมื่อไม่สามารถจะทำมรรคหรือผลให้เกิดในวันปวารณา

นั้นได้ จึงกล่าวว่า ผู้ปรารภวิปัสสนาแม้เช่นเราก็ยังไม่ได้ พระอรหัตนี้

ช่างเป็นคุณอันได้ยากจริงหนอ จึงเป็นผู้มากไปด้วยการยืนและการเดิน

โดยทำนองนี้แล กระทำสมณธรรมตลอด ๓๐ ปี เห็นพระจันทร์เพ็ญ

ลอยเด่นอยู่ในท่ามกลางดิถีวันมหาปวารณา คิดว่า ดวงจันทร์บริสุทธิ์

หรือศีลของเราบริสุทธิ์ รำพึงว่า ในดวงจันทร์ยังปรากฏมีลักษณะ

เป็นรูปกระต่าย แต่รอยดำหรือจดด่างในศีลของเรา ตั้งแต่เราอุปสมบท

จนถึงทุกวันนี้ไม่มี เกิดโสมนัส ข่มปีติเพราะมีญาณแก่กล้า บรรลุพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 67

อรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจ

ธุดงค์ เป็นอันชื่อว่า ข่มกิเลสได้แล้ว โดยประการนั้นนั่นแล.

เพราะภิกษุบางรูป มากไปด้วยการเข้าปฐมฌานเป็นต้น โดย

นี้ยังกล่าวแล้วนั่นแล กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส เป็นอันข่มได้ด้วย

อำนาจสมาบัติ ท่านกระทำกิเลสให้เป็นอันข่มได้โดยประการนั้น

นั่นแล คลายกำหนัดได้แล้ว ย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนพระ-

มหาติสสเถระฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระมหาติสสเถระได้สมาบัติ ๘ ตั้งแต่เวลาที่มี

พรรษา ๘ ท่านกล่าวธรรมได้ใกล้เคียงอริยมรรค ด้วยอำนาจเรียน

และการสอบถาม เพราะกิเลสที่ถูกข่มไว้ด้วยสมาบัติไม่ฟุ้งขึ้น แม้

ในเวลาที่ท่านมีพรรษา ๖๐ ก็ไม่รู้ตัวว่า ยังเป็นปุถุชน ครั้นวันหนึ่ง

ภิกษุสงฆ์ จากติสสมหาวิหาร ในบ้านมหาคาม ได้ส่งข่าวแก่

พระธัมมทินนเถระ ผู้อยู่ที่หาดทรายว่า ขอพระเถระจงมากล่าวธรรมกถา

แก่พวกกระผม พระเถระรับคำแล้ว คิดว่า ภิกษุผู้แก่กว่า ไม่มีใน

สำนักของเรา แต่พระมหาติสสเถระเล่า ก็เป็นอาจารย์ผู้บอกกรรมฐาน

แก่เรา เราจะตั้งท่านให้เป็นพระสังฆเถระแล้วจักไป ท่านอันภิกษุ

สงฆ์แวดล้อมแล้ว ไปยังวิหารของพระเถระ แสดงวัตรแก่พระเถระ

ในที่พักกลางวันแล้ว นั่งณะที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระเถระกล่าวว่า

ธัมมทินนะ. ท่านมานานแล้วหรือ ? พระธัมมทินนเถระกล่าวว่า

ท่านผู้เจริญขอรับ ภิกษุสงฆ์ส่งข่าวสาสน์จาติสสมหาวิหาร

มาถึงกระผม ลำพังกระผมผู้เดียวก็จักไม่มา แต่กระผมปรารถนา

จะไปกับท่านจึงได้มา ท่านกล่าวสาราณิยกถาถ่วงเวลาให้ช้า ๆ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 68

แล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ ท่านบรรลุธรรมนี้เมื่อไร ? พระเถระกล่าวว่า

ท่านธัมมทินนะ ประมาณ ๖๐ ปี พระธัมมทินนเถระกล่าวว่า ท่าน

ผู้เจริญ ท่านใช้สมาธิหรือ พระเถระกล่าวว่าขอรับท่าน พระธัมม-

ทินนเถระกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านเนรมิตสระโปกขรณีสระหนึ่ง

ได้ไหม พระเถระกล่าวว่า ท่าน ข้อนั้นไม่หนักเลย แล้วเนรมิต

สระโปกขรณีขึ้นในที่ต่อหน้า และถูกท่านกล่าวว่า ท่านจงเนรมิต

กอปทุม กอหนึ่งในสระนี้ ก็เนรมิตกอปทุมแม้นั้น พระธัมมทินนเถระ

กล่าวว่า บัดนี้ ท่านจงสร้างดอกไม้ใหญ่ในกอปทุมนี้ พระเถระก็

แสดงดอกไม้แม้นั้น ถูกกล่าวว่า ท่านจงแสดงรูปหญิงมีอายุประมาณ

๑๖ ปี ในดอกไม้นี้ ก็แสดงรูปหญิงแม้นั้น ลำดับนั้น พระธัมมทินนะ

กล่าวกะพระเถระนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจงใส่ใจถึงรูปหญิงนั้น

บ่อย ๆ โดยความงาม พระเถระแลดูรูปหญิงที่ตนเนรมิตขึ้น เกิด

ความกำหนัดขึ้นในเวลานั้น จึงรู้ตัวว่ายังเป็นปุถุชน จึงกล่าวว่า

ท่านสัปปุรุษ ขอท่านจงเป็นที่พึ่งของผม แล้วนั่งกระโหย่งในสำนัก

ของอันเตวาสิก พระธรรมทินนะ กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ กระผมมา

เพื่อประโยชน์นี้เอง แล้วบอกกรรมฐานเบา ๆ เนื่องด้วยอสุภแก่

พระเถระ แล้วออกไปข้างนอกเพื่อให้โอกาสแก่พระเถระ พระเถระ

มีสังขารอันปริกรรมไว้ดีแล้ว พอพระธัมมทินนะนั้น ออกไปจาก

ที่พักกลางวันเท่านั้น ก็ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา

ลำดับนั้น พระธัมมทินนเถระ กระทำท่านให้เป็นพระสังฆเถระ

ไปยังมหาติสสวิหาร แสดงธรรมกถาแก่สงฆ์ กิเลสอันพระเถระเห็น

ปานนั้นข่มแล้ว ก็เป็นอันข่มแล้วโดยประการนั้นนั่นแล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 69

แต่สำหรับพระภิกษุบางรูป กระทำวิปัสสนากรรมฐาน โดยนัย

ดังกล่าวแล้วนั่นแล กิเลสย่อมไม่ได้โอกาส เป็นอันข่มกิเลสได้ด้วย

อำนาจวิปัสสนานั้นแล ภิกษุนั้นกระทำกิเลสให้เป็นอันข่มได้ ด้วย

ประการนั้น คลายกำหนัดได้แล้วย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนภิกษุ

ผู้เจริญวิปัสสนา ประมาณ ๖๐ รูปในครั้งพุทธกาล

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น รับพระกรรมฐานในสำนักพระ

ศาสดาแล้วเข้าไปป่า อันเงียบสงัด กระทำกรรมในวิปัสสนา (แต่)

ไม่กระทำความพยายามเพื่อประโยชน์แก่มรรคผล ด้วยสำคัญว่า

เราบรรลุมรรคผลแล้ว เพราะกิเลสไม่ฟุ้งขึ้น คิดว่าเราจักกราบทูล

ถึงธรรมที่เราแทงตลอดแล้วแด่พระทสพล จึงมาเถิดพระศาสดา

แต่ก่อนที่ภิกษุเหล่านั้นจะมาถึง พระศาสดาได้ตรัสกะพระอานนท-

เถระว่า อานนท์ ภิกษุผู้บำเพ็ญเพียร จะมาพบเราในวันนี้ เธออย่าให้

โอกาสแก่ภิกษุเหล่านั้นเพื่อจะพบเรา พึงส่งไปว่า พวกท่านจงไป

ป่าช้าทิ้งศพดิบ ทำภาวนาอสุภสด พระเถระบอกข่าวที่พระศาสดา

สั่งไว้แก่ภิกษุที่มาแล้วเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดว่า พระตถาคต

ไม่ทรงทราบแล้วคงไม่ตรัส ชะรอยจักมีเหตุในข้อนี้เป็นแน่ ดังนี้แล้ว

จึงไปยังป่าช้าศพดิบ ตรวจดูอสุภสดก็เกิดความกำหนัดขึ้น เกิดความ

สังเวชขึ้นว่า ข้อนี้ พระสัมมาสัมพุทธคงจักทรงเห็นแล้วเป็นแน่

จึงเริ่มกรรมฐานเท่าที่ตนได้ตั้งแต่ต้น พระศาสดาทรงทราบว่า ภิกษุ

เหล่านั้นเริ่มวิปัสสนา ประทับนั่งที่พระคันธกุฎีนั่นแล ได้ตรัสโอภาส

คาถาว่า

ยานีมานิ อปตฺถานิ อลาพูเนว สารเท

กาโปตกานิ อฏฺีนิ ตานิ ทสฺวาน กา รติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 70

จะยินดีไปใย เพราะได้เห็นกระดูกที่มีสีดังนก

พิลาปที่ใคร ๆไม่ปรารถนา เหมือนน้ำเต้าใน

สารทกาล ฉะนั้น

ในเวลาจบคาถา ภิกษุเหล่านั้น ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัตตผล

ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้แล้ว ด้วยอำนาจแห่งวิปัสสนา เป็นอัน

ชื่อว่า ข่มได้แล้วโดยประการนั้นนั่นแล

เมื่อภิกษุบางรูปกระทำนวกรรม โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล

กิเลสย่อมไม่ในโอกาส เป็นอันชื่อว่า ท่านข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจ

นวกรรม ท่านกระทำกิเลสนั้นให้เป็นอันข่มไว้แล้วอย่างนั้น คลาย

กำหนัดได้แล้วย่อมยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนพระติสสเถระ ในจิตตล-

บรรพต ฉะนั้น.

ได้ยินว่า ในเวลาที่พระติสสเถระนั้นได้ ๘ พรรษา เกิดความ

อยากสึก ท่านไม่อาจบรรเทาความอยากสึกนั้นได้ ซักย้อมจีวรปลงผม

แล้ว ไหว้พระอุปัชฌาย์ยืนอยู่ ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะท่านว่า

ท่านมหาติสสะ อาการของท่าน เหมือนไม่ยินดีหรือ ? ภิกษุนั้น

ตอบว่า ขอรับท่าน กระผมอยากสึก กระผมบรรเทามันไม่ได้ พระ

เถระตรวจอัธยาศัยของท่าน เห็นอุปนิสัยพระอรหัต จึงกล่าวโดยความ

เอ็นดูว่า ผู้มีอายุ พวกเรา เป็นคนแก่ ท่านจงสร้างสถานที่อยู่ สำหรับ

พวกเราสักหลังหนึ่ง ภิกษุไม่เคยจกใครพูดเป็นคำที่ ๒ จึงรับว่าดีละ

ขอรับ ลำดับนั้น พระเถระกล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า มีอายุเมื่อท่าน

กำลังทำนวกรรม ก็อย่าได้สละแม้แต่อุเทศ จงมนสิการพระกรรมฐาน

และจงกระทำบริกรรมกสิณตามกาลอันสมควร ภิกษุนั้น กล่าวว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 71

กระผมจักกระทำอย่างนั้นขอรับ ไหว้พระเถระแล้ว ตรวจดูที่อันเป็น

เงื้อมเห็นปานนั้น คิดว่า ตรงนี้ทำได้ จึงนำฟืนมาเผาชำระ (ที่) ให้

สะอาด แล้วก่ออิฐ ประกอบประตูและหน้าต่าง ทำที่เร้นเสร็จ พร้อม

ทั้งก่ออิฐบนพื้นที่จงกรมเป็นต้น แล้วตั้งเตียงและตั่งไว้แล้ว ไปยังสำนัก

พระเถระไหว้แล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ ที่เร้นเสร็จแล้ว โปรดจงอยู่เถิด

พระเถระกล่าวว่า ผู้มีอายุ ท่านทำงานนี้ได้โดยยาก วันนี้ท่านอยู่ในที่นี้

เสียวันหนึ่ง ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดีละขอรับ ล้างเท้าแล้ว เข้าไปยังที่เร้น

นั่งสมาธิ รำลึกถึงกรรมที่คนทำ เมื่อท่านคิดว่า การทำการขวนขวาย

ด้วยกาย้อนเป็นที่ถูกใจ เรากระทำแก่พระอุปัชฌาย์แล้ว ปีติเกิดขึ้น

ในภายใน ท่านข่มปีตินั้นได้แล้ว เจริญวิปัสสนา ก็บรรลุพระอรหัต

อันเป็นผลเลิศ ภิกษุเห็นปานนี้ ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจนวกรรม เป็นอัน

ชื่อว่า ท่านข่มได้แล้วโดยประการนั้นเหมือนกัน

ส่วนภิกษุบางรูป มาจากพรหมโลก เป็นสัตว์บริสุทธิ์ กิเลส

ไม่ฟุ้งขึ้น เพราะท่านไม่มีอาเสวนะ (คือการทำจนคุ้น) เป็นอันชื่อว่า

ท่านข่มได้ด้วยอำนาจภพ ท่านเว้นขาดกิเลสนั้น อันข่มได้แล้วโดย

ประการนั้น ยึดพระอรหัตไว้ได้ เหมือนท่านพระมหากัสสปะ ฉะนั้น

จริงอยู่ ท่านพระมหากัสสปะนั้น ไม่บริโภคกามทั้งที่อยู่

ครองเรือน ละสมบัติใหญ่ ออกบวช เห็นพระศาสดาเสด็จมา เพื่อ

ต้อนรับในระหว่างทาง วายบังคมแล้ว ได้อุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ข้อ

บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ในอรุณที่ ๘ ภิกษุเห็นปานนี้

ข่มกิเลสได้ด้วยอำนาจภพ เป็นอันชื่อว่าข่มกิเลสได้ อย่างนั้นเหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 72

อนึ่ง ภิกษุใด ได้อารมณ์มีรูปารมณ์เป็นต้น ซึ่งไม่เคยได้เสวย

เริ่มตั้งวิปัสสนา ในอารมณ์นั้นนั่นเอง คลายกำหนัดได้แล้วย่อมยึด

พระอรหัตไว้ได้ กามฉันท์ ที่ไม่เกิดขึ้น ด้วยอำนาจอารมณ์ที่ไม่เคย

เสวย ก็ชื่อว่าไม่เกิดขึ้นแก่ภิกษุเห็นปานนี้

บทว่า อุปฺปนฺโน ในคำว่า อุปฺปนฺโน วา กามจฺฉนฺโท ปหียติ

นี้ ได้แก่ เกิดแล้ว มีแล้ว ฟุ้งขึ้นแล้ว

บทว่า ปหียติ ความว่า ท่านละได้ด้วยปหานะ ๕ เหล่านี้ คือ

ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปัสสัทธิปหาน นิส-

สรณปหาน อธิบายว่า ไม่เกิดขึ้นอีก ในปหาน ๕ อย่างนั้น กิเลส

ที่ท่านละได้ด้วยวิปัสสนา ด้วยอำนาจตทังคปหาน เพราะเหตุนั้น

วิปัสสนา พึงทราบว่า ตทังคปหาน ส่วนสมาบัติย่อมข่มกิเลสได้

เพราะฉะนั้น สมาบัตินั้นพึงทราบว่า วิกขัมภนปหาน ละได้ด้วยการข่ม

มรรค ตัดกิเลสได้เด็ดขาดก็เกิดขึ้น ผลสงบระงับเกิดขึ้น พระนิพพาน

สลัดออกจากกิเลสทั้งปวง มรรคผลนิพพาน ทั้ง ๓ ดังว่ามานี้ ท่าน

เรียกว่า สมุจเฉทปหาน ปัสสัทธิปหาน และนิสสรณปหาน อธิบายว่า

กิเลส ท่านละด้วยปหาน ๕ อันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระเหล่านี้

บทว่า อสุภนิมิตฺต ได้แก่ปฐมฌานพร้อมทั้งอารมณ์เกิดขึ้น

ในอสุภ ๑๐ ด้วยเหตุนั้น พระโปราณาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า

อสุภนิมิตมีในอสุภ ธรรมทั้งหลายอันมีอสุภเป็นอารมณ์ ชื่อว่าอสุภนิมิต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 73

บทว่า โยนิโส มนสิกโรโต ความว่า ผู้ใส่ใจอยู่ด้วยอำนาจมนสิการ

โดยอุบายดังกล่าวแล้ว โดยนัยมีอาทิ ดังนี้ว่า ในธรรมเหล่านั้น

โยนิโสมนสิการเป็นไฉน ? คือ มนสิการในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง

บทว่า อนุปฺปนฺโน เจว กามจฺฉนฺโท นุปฺปชฺชติ ได้แก่ กามฉันท์

ที่ยังไม่ฟุ้งก็ไม่ฟุ้งขึ้น บทว่า อุปฺปนฺโน กามจฺฉนฺโท ปหียติ ความว่า

กามฉันทะฟุ้งขึ้นแล้ว ท่านละได้ด้วยปหานทั้ง ๕

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้ง ๖ เป็นไปเพื่อละกามฉันทะ คือ การ

เรียนอสุภนิมิต การประกอบเนือง ๆ ในอสุภภาวนา ความเป็นผู้

คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ ความ

เป็นผู้มีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำแต่ที่เป็นสัปปายะ จริงอยู่

เมื่อภิกษุเรียนเอาอสุภนิมิตทั้ง ๑๐ ก็ดี เจริญอสุภภาวนาอยู่ก็ดี

คุ้มครองในอินทรีย์ก็ดี รู้จักประมาณในโภชนะ เพราะเมื่อมีโอกาส

กลืนกินได้ ๔-๕ คำ ก็ดื่มน้ำเสียแล้ว ยังอัตภาพให้เป็นไปเป็นปกติ

ก็ดี ท่านย่อมละกามฉันทนิวรณ์ได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

จตฺตาโร ปญฺจอาโลเป อภุตฺวา อุทก ปิเว

อล ผาสุวิหาราย ปหิตฺตฺสฺส ภิกฺขุโน

ภิกษุไม่พึงบริโภคคำข้าวเสีย ๔ - ๕ คำ แล้วดื่มน้ำ

(แทน) ก็พออยู่เป็นผาสุก สำหรับภิกษุผู้มีจิตอัน

สงบ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 74

ภิกษุ คบหากัลยาณมิตร ยินดีในอสุภภาวนา เช่นกับพระ

ติสสเถระ ผู้บำเพ็ญอสุภกรรมฐาน ย่อมละกามฉันท์ได้ ด้วย

อสัปปายกถา อันอาศัยอสุภ ๑๐ ในการยืนและนั่งเป็นต้นก็ละกามฉันท์

ได้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ย่อมเป็นไปเพื่อละกามฉันท์.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ในสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เมตตาเจโตวิมุตฺติ ได้แก่ เมตตาที่แผ่ประโยชน์เกื้อกูล

ไปในสัตว์ทุกจำพวก ก็เพราะเหตุที่จิตประกอบด้วยเมตตานั้น ย่อม

หลุดพ้นจากธรรมอันเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น ฉะนั้น เมตตานั้น

ท่านจ่งเรียกว่า เจโตวิมุตติ. อีกอย่างหนึ่ง ว่าโดยพิเศษ เมตตานั้น

พึงทราบว่า ชื่อว่า เจโตวิมุตติ เพราะหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องกลุ้มรุมคือ

พยาบาททั้งหมด. ด้วยคำเพียงเท่านี้ว่า เมตตาในคำว่า เมตฺตาเจโต-

วิมุตฺติ นั้น แม้ปฏิปทาเป็นส่วนเบื้องต้นก็ใช้ได้. แต่เพราะท่านกล่าวว่า

เจโตวิมุตติ ในที่นี้ท่านประสงค์เอาเมตตา เฉพาะที่เป็นอัปปนา โดย

อำนาจติกฌานและจตุกกฌานเท่านั้น. บทว่า โยนิโส มนสิกาโร

ความว่า มนสิการอยู่ ซึ่งเมตตาเจโตวิมุตตินั้น ด้วยมนสิการ โดย

อุบายซึ่งมีลักษณะดังกล่าวแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 75

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ เป็นไปเพื่อละพยาบาท คือการ

เล่าเรียนเมตตานิมิต การประกอบเนือง ๆ ในเมตตาภาวนา การพิจารณา

ความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน ความเป็นผู้มากไปด้วยการพิจารณา ความ

เป็นผู้มีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำแต่ที่เป็นสัปปายะ. จริงอยู่

เมื่อภิกษุถือเมตตาด้วยการแผ่ไป โดยเจาะจงและไม่เจาะจง ก็ย่อม

ละพยาบาทได้ เมื่อพิจารณาถึงความที่ตนและบุคคลอื่น เป็นผู้มีกรรม

เป็นของ ๆ ตน อย่างนี้ว่า ท่านโกรธเขาแล้วจักทำอะไรเขา จักทำศีล

เป็นต้นของเขาให้พินาศได้หรือ ท่านมาด้วยกรรมของตน แล้วก็ไป

ด้วยกรรมของตนเท่านั้นมิใช่หรือ ชื่อว่า การโกรธผู้อื่น ย่อมเป็น

เหมือน จับถ่านเพลิงที่ปราศจากเปลวไฟ ซี่เหล็กที่ร้อน และคูถ

เป็นต้น แล้วประสงค์ประหารผู้อื่น คนผู้โกรธต่อท่านแม้คนนี้ จัก

กระทำอะไรได้ จักอาจทำศีลเป็นต้น ของท่านให้พินาศหรือ เขามา

ด้วยกรรมของตนแล้วจักไปด้วยกรรมของตนเท่านั้น ความโกรธนั้น

จักตกบนกระหม่อมของนั้นเท่านั้น เปรียบเหมือนห้วงน้ำใหญ่ ที่

ไม่มีอะไรปิดกั้นไว้ และเหมือนกำธุลีซัดไปทวนลมฉะนั้น ดังนี้ก็ดี

ผู้พิจารณาความที่เขาทั้ง ๒ เป็นผู้มีกรรมเป็นของ ๆ ตน แล้วตั้ง

อยู่ในการพิจารณาก็ดี คบหากัลยาณมิตร ผู้ยินดีในการเจริญภาวนา

เหมือนกับพระอัสสคุตตเถระก็ดี ย่อมละพยาบาทได้ ย่อมละพยาบาท

ได้แม้ด้วยการกล่าวถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ ที่อิงเมตา ทั้งในการยืน

และนั่ง เป็นต้น. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อม

เป็นไปเพื่อละพยาบาท. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในที่นี้

และในที่อื่นจากนี้นั่นแล. แต่ข้าพเจ้าจักกล่าวเพียงที่แปลกกันเท่านั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 76

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ความเพียรครั้งแรกชื่อว่า อารัพภธาตุ ในคำมีอาทิว่า อารพฺภ-

ธาตุ. ความเพียรมีกำลังแรงกว่านั้น เพราะออกจากความเกียจคร้าน

ได้ ชื่อว่า นิกกมธาตุ ความเพียรที่แรงกว่านั้น เพราะก้าวไปยังฐาน

ข้างหน้า ๆ ชื่อว่า ปรักกมธาตุ. แต่ในอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า

ความเพียรเริ่มแรก เพื่อบรรเทากาม ๑ การก้าวออกเพื่อกำจัดกิเลส

ดุจลิ่ม ๑ ความบากบั่น เพื่อตัดกิเลสดุจเครื่องผูก ๑ แล้วกล่าวว่า

เรากล่าวว่า ความเพียรมีประมาณยิ่งกว่าทั้ง ๓ อย่างแม้นั้น.

บทว่า อารทฺธวิริยสฺส ได้แก่ผู้มีความเพียรที่บริบูรณ์ และมี

ความเพียรที่ประคองไว้ ในสองอย่างนั้น ความเพียรที่ปราศจาก

โทษ ๔ อย่าง พึงทราบว่า ความเพียรที่เริ่มแล้ว แต่ไม่ใช่ที่ย่อหย่อน

เกินไป ไม่ใช่ที่ประคองเกินไป แต่ก็ไม่ใช่ความเพียรที่หดหู่ในภายใน

และไม่ใช่ความเพียรที่ฟุ้งซ่านไปภายนอก ความเพียรนี้นั้น มี ๒ อย่าง

คือความเพียรทางกาย ๑ ความเพียรทางใจ ๑

ในสองอย่างนั้น พึงทราบความเพียรทางกายของภิกษุ

ผู้พากเพียรพยายามทางกาย ตลอด ๕ ส่วน ของกลางคืนและ

กลางวันอย่างนี้ว่า ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ย่อมชำระจิตเสียจาก

ธรรมที่พึงกั้นจิต ด้วยการเดิน การนั่ง ตลอดวัน. พึงทราบความ

เพียงทางจิตของภิกษุผู้พากเพียรพยายามผูกใจ ด้วยการกำหนด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 77

โอกาสอย่างนี้ว่า เราจักไม่ออกไปจากที่เร้นนี้ ตราบเท่าที่จิตของเรา

ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น หรือด้วยการกำหนดอิริยาบถ

มีการนั่ง เป็นต้นอย่างนี้ว่า เราจักไม่เลิกนั่งขัดสมาธินี้ ตราบเท่าที่

จิตของเรายังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ เพราะไม่ยึดมั่น. ความเพียร

แม้ทั้ง ๒ นั้น ย่อมสมควรในที่นี้. ก็สำหรับท่านผู้ปรารภความเพียร

ด้วยความเพียรแม้ทั้ง ๒ อย่างนี้ ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด ก็ไม่เกิดขึ้น

และที่เกิดขึ้นแล้วย่อมละได้ เหมือนพระติสสเถระเผ่ามิลักขะ เหมือน

พระมหาสิวเถระ ผู้อยู่เงื้อมเขาใกล้ละแวกบ้าน เหมือนพระปีติมัลลก-

เถระ และเหมือนพระติสสเถระบุตรกุฏุมพี ฉะนั้น ก็บรรดาพระเถระ

เหล่านั้น พระเถระ ๓ รูปข้างต้น และพระเถระเหล่าอื่นเห็นปานนั้น

เป็นผู้เริ่มบำเพ็ญเพียร ด้วยความเพียรทางกาย พระติสสเถระบุตร

กุฏุมพี และพระเถระเหล่าอื่นเห็นปานนั้น เป็นผู้ปรารภความเพียร

ด้วยความเพียรทางใจ ส่วนพระมหานาคเถระ ผู้อยู่ที่อุจจวาลุกวิหาร

เป็นผู้ปรารภความเพียรทั้ง ๒ อย่าง.

ได้ยินว่า พระเถระ เดินจงกรมสัปดาห์ ๑ ยืนสัปดาห์ ๑

นั่งสัปดาห์ ๑ นอนสัปดาห์ ๑ พระมหาเถระไม่มีแม้สักอิริยาบถหนึ่ง

ที่จะได้ชื่อว่า ไม่เป็นสัปปายะ ในสัปดาห์ที่ ๔ ท่านเจริญวิปัสสนา

ก็ตั้งอยู่ในพระอรหัต.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ เป็นไปเพื่อละถีนมิทธะ คือ

การถือเอานิมิตในการบริโภคเกินไป ๑ การเปลี่ยนอิริยาบถโดย

สม่ำเสมอ ๑ มนสิการถึงอาโลกสัญญา ๑ การอยู่กลางแจ้ง ๑

ความมีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำแต่ที่เป็นสัปปายะ ๑ จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 78

เมื่อภิกษุบริโภคโภชนะ เหมือนอย่างพราหมณ์ที่ชื่อว่า อาหรหัตถกะ

พราหมณ์ที่ชื่อว่า ภุตตวัมมิตกะ พราหมณ์ที่ชื่อว่าตัตถวัฏฏกะ

พราหมณ์ที่ชื่อว่า อลังสาฏกะ และพราหมณ์ที่ชื่อว่า กากมาสกะ

เป็นต้น นั่งในที่พักกลางคืน และที่พักกลางวัน การทำสมณธรรม

อยู่ ถีนมิทธะย่อมครอบงำ เหมือนช้างใหญ่ฉะนั้น แต่เมื่อภิกษุหยุดพัก

คำข้าว ๔-๕ คำ แล้วดื่มน้ำเสีย พอทำอัตตภาพให้เป็นไปเป็นปกติ

ถีนมิทธะนั้น ก็ไม่มี แม้เมื่อภิกษุถือเอานิมิตในการบริโภคเกินไป

ดังกล่าวแล้วนี้ ย่อมละถีนมิทธะได้ ถีนมิทธะก้าวลงในอิริยาบถใด

เมื่อท่านเปลี่ยนอิริยาบถเป็นอย่างอื่น จากอิริยาบถนั้นเสียก็ดี มนสิการ

ถึงแสงสว่างแห่งดวงจันทร์ แสงสว่างแห่งประทีป แสงสว่างแห่ง

คบเพลิง ตอนกลางคืน และแสงสว่างแห่งดวงอาทิตย์ตอนกลางวันก็ดี

อยู่กลางแจ้งก็ดี คบกัลยาณมิตร ผู้ละถีนมิทธะได้แล้ว เสมือนกับ

พระมหากัสสปเถระก็ดี ย่อมละถีนมิทธะได้ แม้ด้วยการกล่าว

สัปปายกถาอันอิงธุดงคคุณ ในอิริยาบถมีการยืน และการนั่งเป็นต้น

ก็ย่อมละได้ ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อม

เป็นไปเพื่อละถีนมิทธะแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วูปสนฺตจิตฺตสฺส ได้แก่ผู้มีจิตสงบแล้วด้วยฌาน หรือ

วิปัสสนา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 79

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ เป็นไปเพื่อละอุทธัจจะ-

กุกกุจจะ คือความเป็นผู้พหูสูต ความเป็นผู้สอบถาม ความเป็นผู้

ชำนาญวินัย การเข้าหาผู้หลักผู้ใหญ่ ความมีกัลยาณมิตร การกล่าว

ถ้อยคำที่เป็นสัปปายะ จริงอยู่ เมื่อภิกษุแม้เรียนได้ ๑ นิกาย ๒ นิกาย

๓ นิกาย ๔ นิกาย หรือ ๕ นิกาย ด้วยอำนาจบาลี และด้วยอำนาจ

อรรถแห่งบาลี ย่อมละอุทธัจจะกุกกุจจะได้ แม้ด้วยความเป็นพหูสูต

เมื่อภิกษุมากด้วยการสอบถามในสิ่งที่ควรและไม่ควร ในอิริยาบถ

ยืนและนอนเป็นต้นก็ดี เป็นผู้ชำนาญ เพราะมีความช่ำชองชำนาญ

ในวินัยบัญญัติก็ดี ผู้เข้าหาพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นผู้เฒ่าก็ดี คบ

กัลยาณมิตรผู้ทรงพระวินัย เสมือนกับพระอุบาลีเถระก็ดี ย่อมละ

อุทธัจจะกุกกุจจะได้ ย่อมละได้แม้ด้วยคำอันเป็นสัปปายะ ที่อิงสิ่ง

ที่ควรและไม่ควร ในอิริยาบถยืนแลนั่งเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง

กล่าวว่า ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละอุทธัจจะกุกกุจจะ

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โยนิโส มนสิกโรโต ความว่า มนสิการอยู่ โดยอุบาย

ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ เป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา คือ

ความเป็นพหูสูต การสอบถาม ความเป็นผู้ชำนาญวินัย ความเป็นผู้

มากด้วยน้อมใจเชื่อ ความมีกัลยาณมิตร การกล่าวถ้อยคำอันเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 80

สัปปายะ เมื่อภิกษุเรียน ๑ นิกาย ๒ นิกาย ๓ นิกาย ๔ นิกาย

หรือ ๕ นิกาย ด้วยอำนาจบาลีและด้วยอำนาจอรรถ ย่อมละวิจิกิจฉา

ได้ แม้ความเป็นพหูสูต เมื่อภิกษุมากด้วยการสอบถามเกี่ยวกับ

พระรัตนตรัยก็ดี ผู้มีความช่ำชองชำนาญในพระวินัยก็ดี ผู้มากไป

ด้วยอธิโมกข์ กล่าวคือ ศรัทธาปักใจเชื่อในฐานะ ๓ ก็ดี ผู้ส้องเสพ

กัลยาณมิตร เสมือนพระวักกลิเถระผู้น้อมไปในศรัทธาก็ดี ย่อมละ

วิจิกิจฉาได้ ย่อมละได้ แม้ด้วยการกล่าวถ้อยคำอันเป็นสัปปายะ

อิงคุณพระรัตนตรัย ในอิริยาบถยืนและนั่งเป็นต้น ด้วยเหตุนั้น ท่าน

จึงกล่าวว่า ธรรม ๖ ประการย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในนีวรณปหานวรรคนี้ ท่านกล่าวไว้ทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะแล.

จบ อรรถกถาสูตรนีวรณปหานวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 81

อกัมมนิยวรรคที่ ๓

[๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมไม่ควรแก่การงาน.

[๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

จิตที่อบรมแล้ว ย่อมควรแก่การงาน.

[๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือน

จิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่

ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

อย่างใหญ่.

[๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์

อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่

ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 82

เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ปรากฏแล้ว ย่อมเป็น

ไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

[๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์

อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้

มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

[๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์มาให้ เหมือนจิต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่ไม่อบรมแล้ว ไม่ทำให้มากแล้ว ย่อมนำทุกข์

มาให้.

[๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ เหมือนจิต ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมนำสุขมาให้.

จบ อกัมมนิยวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 83

อรรถกถาอกัมมนิยวรรคที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อวิภาวิต ความว่า ไม่เจริญ คือไม่เป็นไปด้วยอำนาจ

ภาวนา บทว่า อกมฺมนิย โหติ ได้แก่ ย่อมไม่ควรแก่งาน คือไม่คู่ควร

แก่งาน.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ พึ่งทราบความโดยปริยายดังกล่าวแล้ว ก็บทว่า

จิตฺต ในสูตรที่ ๑ นั้น ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะ (ในสูตรที่ ๒

ได้เก่จิตที่เกิดด้วยอำนาจวัฏฏะ) ก็ในสองอย่างนั้น พึงทราบความ

แตกต่างกันดังนี้ คือ วัฏฏะ วัฏฏบาท วิวัฏฏะ วิวัฏฏบาท กรรมอัน

เป็นไปในภูมิ ๓ ชื่อว่า วัฏฏะ กรรมคือการกระทำเพื่อได้วัฏฏะ ชื่อว่า

วัฏฏบาท โลกุตรธรรม ๙ ชื่อว่า วิวัฏฏะ กรรมคือการปฏิบัติเพื่อได้

วิวัฏฏะ ชื่อว่า วิวัฏฏบาท ท่านกล่าววัฏฏะและวิวัฏฏะ ไว้ในสูตร

เหล่านี้ด้วยประการฉะนี้

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 84

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ พึงทราบจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะนั่นแล

บทว่า มหโต อนตฺถาย สวตฺตติ ความว่า จิตแม้ให้เทวสมบัติ มนุษย-

สมบัติ และความเป็นใหญ่ในมารและพรหม ยังให้ชาติ ชรา พยาธิ

มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเนือง ๆ และให้

วัฏฏะคือ ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปฏิจจสมุปบาท ย่อมให้แต่กองทุกข์

อย่างเดียวเท่านั้น เพราะเหตุนั้น ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์

อย่างใหญ่.

จบ อรรถสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

บทว่า จิตฺต ในสูตรที่ ๔ ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิวัฏฏะ.

จบ อรรถกถสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕ - ๖

ในสูตรที่ ๕ - ๖ มีความแปลกกันเพียงเท่านี้ว่า อภาวิต

อปาตุภูต ไม่อบรมแล้ว ไม่ปรากฏแล้ว ดังนี้ ในข้อนั้นมีอธิบายดัง

ต่อไปนี้ว่า จิตแม้เกิดด้วยอำนาจวัฎฏะ ก็ชื่อว่าไม่อบรม ไม่ปรากฏ

เพราะเหตุไร ? เพราะไม่สามารถจะแล่นไปในวิปัสสนาที่มีฌาน

เป็นบาท มรรค ผล และนิพพาน อันเป็นโลกุตตระ ส่วนจิตที่เกิดด้วย

อำนาจวิวัฏฏะ ชื่อว่าเป็นจิตอบรมแล้ว ปรากฏแล้ว เพราะเหตุไร ?

เพราะสามารถแล่นไปในธรรมเหล่านั้นได้ ส่วนท่านพระปุสสมิตต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 85

เถระ ผู้อยู่กุรุนทกวิหาร กล่าวว่า ผู้มีอายุ มรรคจิตเท่านั้น ชื่อว่า

เป็นจิตอบรมแล้ว ปรากฏแล้ว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕ - ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๘

ในสูตรที่ ๗ - ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อพหุลีกต ได้แก่ไม่กระทำบ่อย ๆ พึงทราบเฉพาะจิต

ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะ และวิวัฏฏะ ทั้ง ๒ ดวง แม้นี้แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

(จิต) ชื่อว่า นำทุกข์มาให้ เพราะชักมาคือนำมาซึ่งวัฏฏทุกข์ ที่

ตรัสไว้โดยนัยมีอาทิว่า ชาติปิ ทุกฺขา (แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์) บาลีว่า

ทุกฺขาธิวาห ดังนี้ก็มี ความแห่งบาลีนั้น พึงทราบดังต่อไปนี้ว่า จิต

ชื่อว่า ทุกขาธิวาหะ เพราะยากที่จะถูกนำส่งตรงต่ออริยธรรม

อันมีฌานที่เป็นบาทของโลกุตตระเป็นต้น แม้จิตนี้ก็คือจิตที่เกิดขึ้น

ด้วยอำนาจวัฏฏทุกข์นั่นเอง. จริงอยู่ จิตนั้น แม้จะให้เทวสมบัติ

และ มนุษย์สมบัติ มีประการดังกล่าวแล้ว ก็ชื่อว่านำทุกข์มาให้ เพราะ

นำชาติทุกข์เป็นต้นมาให้ และชื่อว่ายากที่จะนำไป เพราะส่งไปเพื่อ

บรรลุอริยธรรมได้โดยยาก.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 86

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

จิตก็คือจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวิวัฏฏะนั่นแหละ จริงอยู่ จิตชื่อว่า

สุขาธิวหะ หรือสุขาธิวาหะ เพราะอรรถว่าชักมา คือนำมาซึ่ง

ทิพยสุขอันละเอียดประณีตกว่าสุขของมนุษย์, ซึ่งฌานสุขอันละเอียด

ประณีตกว่าทิพยสุข. ซึ่งวิปัสสนาสุขอันละเอียดประณีตกว่าผลสุข.

ซึ่งมรรคสุขอันละเอียดประณีตกว่าวิปัสสนาสุข. ซึ่งผลสุขอันละเอียด

ประณีตกว่ามรรคสุข, ซึ่งนิพพานสุขอันละเอียดประณีตกว่าผลสุข,

จริงอยู่ จิตนั้น เป็นจิตสะดวกที่จะส่งตรงต่ออริยธรรม ซึ่งมีฌาน

อันเป็นบาทของโลกุตตระเป็นต้น เหมือนวชิราวุธของพระอินทร์

ที่ปล่อยไป ฉะนั้น เหตุนั้น จึงเรียกว่า สุขาธิวาหะ. ในวรรคนี้ท่าน

กล่าววัฏฏะ และวิวัฏฏะเท่านั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาอกัมมนิยวรรค ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 87

อทันตวรรคที่ ๔

ว่าด้วยจิตที่เป็นไปเพื่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

[๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ไม่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์

อย่างใหญ่.

[๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต

ก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว ย่อมเป็นประโยชน์อย่างใหญ่

[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ไม่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไป

เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่คุ้มครองแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

อย่างใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 88

[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ไม่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

มิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่รักษาแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

อย่างใหญ่.

[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือน

จิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ไม่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่

ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

อย่างใหญ่.

[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

จิตที่ไม่ฝึกแล้ว ไม่คุ้มครองแล้ว ไม่รักษาแล้ว ไม่สังวรแล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 89

[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่ฝึกแล้ว คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่ฝึกแล้ว

คุ้มครองแล้ว รักษาแล้ว สังวรแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

อย่างใหญ่.

จบ อทันตวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

อรรถกถาอทันตวรรคที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อทนฺต ได้แก่ มีการเสพผิด (คือมีพยศ) เหมือนช้าง

และม้าเป็นต้น ที่มิได้ฝึก บทว่า จิตฺต ได้แก่จิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจ

วัฏฏะ

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทนฺต ได้แก่ หมดพยศ คือเป็นเสมือนช้างและม้า

เป็นต้นที่ฝึกแล้ว ในสูตรทั้ง ๒ นี้ ท่านกล่าวเฉพาะจิตที่เกิดขึ้นด้วย

อำนาจวัฏฏะ และวิวัฏฏะ ก็ในสูตรนี้ฉันใด แม้ในสูตรอื่น ๆ จากสูตรนี้

ก็ฉันนั้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 91

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อคุตฺต ได้แก่ ไม่คุ้มครอง คือเว้นจากสติสังวร เป็น

เสมือนช้างและม้าที่ไม่คุ้มครอง (คือไม่มีคนเลี้ยง) ฉะนั้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า คุตฺต ได้แก่ คุ้มครองแล้ว คือไม่ปล่อยสติสังวร เป็น

เสมือนช้างและม้าเป็นต้น ที่ได้คุ้มครองแล้ว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถสูตรที่ ๕ - ๖

ในสูตรที่ ๕ - ๖ ท่านกล่าวตามอัธยาศัยของสัตว์ผู้จะตรัสรู้

ด้วยอำนาจบทว่า อรกฺขิต ก็อรรถในบทนี้ เหมือนบทก่อนนั่นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕ - ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 92

อรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๘

แม้ในสูตรที่ ๗ - ๘ ก็นัยนี้เหมือนกัน แต่ในข้อนี้พึงทราบ

อุปมาด้วยประตูเรือนเป็นต้นที่ไม่ระวัง.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗ - ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙ - ๑๐

ในสูตรที่ ๙ - ๑๐ ท่านเอาบท ๔ บทมาประกอบแล้วกล่าว

ในวรรคนี้ ท่านกล่าวเฉพาะ วัฏฏะ และวิวัฏฏะ เท่านั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙ - ๑๐

จบ อรรถกถาอทันตวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 93

ปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕

ว่าด้วยผลแห่งจิตที่ตั้งไว้ผิดเป็นต้น

[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหางแหลมของเมล็ด

ข้าวสาลีหรือหางแหลมของเมล็ดข้าวเหนียว ที่บุคคลตั้งไว้ผิด มือ

หรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือว่าจักให้ห้อเลือด

ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะหางแหลมของ

เมล็ดข้าวอันบุคคลตั้งไว้ผิด ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน

จักทำลายอวิชชา จักยังวิชชาให้เกิด จักท่านิพพานให้แจ้ง ด้วยจิต

ที่ตั้งไว้ผิด ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะจิต

ตั้งไว้ผิด.

[๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนหางแหลมของ

เมล็ดข้าวสาลีหรือหางแหลมของเมล็ดข้าวเหนียว ที่บุคคลตั้งไว้ถูก

มือหรือเท้าย่ำเหยียบแล้ว จักทำลายมือหรือเท้า หรือจักให้ห้อเลือด

ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเดือยข้าวอันบุคคล

ตั้งไว้ถูก ฉันใด ภิกษุนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักทำลายอวิชชา จักยัง

วิชชาให้เกิด จำทำนิพพานให้แจ้ง ด้วยจิตที่ตั้งไว้ถูก ข้อนี้เป็นฐานะ

ที่มีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตตั้งไว้ถูก.

[๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว

ย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตอันโทษประทุษร้ายแล้วว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 94

ถ้าบุคคลนี้พึงทำกาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่ในนรกเหมือนถูกนำมาขัง

ไว้ฉะนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขาอันโทษประทุษร้าย

แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แหละเพราะเหตุที่จิตอันโทษประทุษร้าย สัตว์

บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก.

[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากำหนดใจด้วยใจอย่างนี้แล้ว

ย่อมรู้ชัดบุคคลบางคนในโลกนี้ ผู้มีจิตผ่องใสว่า ถ้าบุคคลนี้พึงทำ

กาละในสมัยนี้ พึงตั้งอยู่ในสวรรค์เหมือนที่เขานำมาเชิดไว้ฉะนั้น

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตของเขาผ่องใส ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ก็แหละเพราะเหตุที่จิตผ่องใส สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อตายไป

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

[๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำขุ่นมัว

เป็นตม บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง ไม่พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบ

บ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง

ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำขุ่น ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง จักรู้ประโยชน์

ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ

คือ อุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่าง

สามารถ ได้ด้วยจิตที่ขุ่นมัว ข้อนี้ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะจิตขุ่นมัว.

[๔๗] ก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนห้วงน้ำใสแจ๋ว

ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนฝั่ง พึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 95

บ้าง ก้อนกรวดและกระเบื้องถ้วยบ้าง ฝูงปลาบ้าง ซึ่งเที่ยวไปบ้าง

ตั้งอยู่บ้าง ในห้วงน้ำนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะน้ำไม่ขุ่น ฉันใด

ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน จักรู้ประโยชน์ตนบ้าง จักรู้ประโยชน์

ผู้อื่นบ้าง จักรู้ประโยชน์ทั้งสองบ้าง จักกระทำให้แจ้งซึ่งคุณวิเศษ

คือ อุตตริมนุสสธรรม อันเป็นความรู้ความเห็นอย่างประเสริฐ อย่าง

สามารถ ได้ด้วยจิตที่ไม่ขุ่นมัว ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะ

เหตุไร เพราะจิตไม่ขุ่นมัว.

[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้จันทน์ บัณฑิตกล่าวว่าเลิศ

กว่ารุกขชาติทุกชนิด เพราะเป็นของอ่อน และควรแก่การงาน ฉันใด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่

อบรมแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่

การงาน เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตที่อบรมแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว ย่อมเป็นธรรมชาติอ่อนและควรแก่การงาน ฉันนั้น

เหมือนกัน.

[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เปลี่ยนแปลงได้เร็ว เหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

จิตเปลี่ยนแปลงได้เร็วเท่าใดนั้น แม้จะอุปมาก็กระทำได้มิใช่ง่าย.

[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล

เศร้าหมอง ด้วยอุปกิเลสที่จรมา.

[๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้น

วิเศษแล้ว จากอุปกิเลสที่จรมา.

จบ ปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 96

อรรถกถาปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ศัพท์ว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถว่า อุปมา. ในอรรถ

ที่ว่าด้วยอุปมานั้น บางแห่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงเอาข้อความ

ประกอบอุปมาเหมือนในวัตถสูตร และในปริฉัตตโกปมสูตรและ

อัคคิขันโธปมสูตร ในที่บางแห่งทรงแสดงเอาอุปมาประกอบข้อความ

เหมือนในโลณัมพิลสูตร และเหมือนในสุวัณณการสูตร และ สุริโยปม-

สูตรเป็นต้น แต่ในสาลิสูโกปมสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรง

เอาอุปมาประกอบข้อความจึงตรัสคำมีอาทิว่า เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว

ดังนี้ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาลิสูก แปลว่า เดือยแห่งเมล็ดข้าว

สาลี แม้ในเดือยแห่งข้าวเหนียวก็นัยนี้เหมือนกัน วา ศัพท์ มีอรรถว่า

วิกัปป์ ไม่แน่นอน. บทว่า มิจฺฉาปณิหิต แปลว่าตั้งไว้ผิด อธิบายว่า

ไม่ตั้งให้ปลายขึ้นโดยประการที่อาจจะทิ่มเอาได้ บทว่า ภิชฺชิสฺสติ

ความว่า จักทำลาย คือจักเฉือนผิว.

บทว่า มิจฺฉาปณิหิเตน จิตฺเตน แปลว่า ด้วยจิตที่ตั้งไว้ผิด

คำนี้ท่านกล่าวหมายเอาจิตที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจวัฏฏะ บทว่า อวิชฺช

ได้แก่ ความไม่รู้อย่างใหญ่ มากด้วยความทึบ เป็นความไม่รู้ใน

ฐานะ ๘. บทว่า วิชฺช ในคำว่า วิชฺช อุปฺปาเทสฺสติ นี้ ได้แก่ ญาณอัน

สัมปยุตด้วยอรหัตตมรรค. บทว่า นิพฺพาน ได้แก่ อมตะ คุณชาติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 97

ที่ไม่ตายที่ท่านกล่าวไว้อย่างนั้น ก็โดยเป็นคุณชาตออกจากกิเลส

เครื่องร้อยรัดคือตัณหา. บทว่า สจฺฉิกริสฺสติ ได้แก่ กระทำให้

ประจักษ์.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺมาปณิหิต ความว่า ตั้งไว้ดี เพราะกระทำให้ปลาย

ขึ้นโดยที่สามารถจะทิ่มได้. ในบทว่า อกฺกนฺต (เหยียบ) นี้ย่อม

ชื่อว่าเหยียบด้วยเท้าเท่านั้น (ถ้าเป็นมือก็ต้อง)เอามือบีบ. แต่ที่กล่าวว่า

"เหยียบ" เหมือนกันก็เนื่องด้วยเป็นศัพท์ที่ใช้กันจนชิน. ก็ในสูตรนี้

มีอริยโวหารเพียงเท่านี้.

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ท่านจึงไม่ถือเอาสิ่งอื่น ๆ ที่ใหญ่

มีหนามไม้มะรื่นเป็นต้น ถือเอาแต่เดือยข้าวสาลี เดือยข้าวเหนียว

เท่านั้น ซึ่งเป็นของอ่อน ไม่แข็ง. แก้ว่า เพื่อแสดงว่า อกุศลกรรม

แม้มีจำนวนน้อยก็สามารถฆ่ากุศลกรรมได้. เหมือนอย่างว่า เดือย

ข้าวสาลี หรือเดือยข้าวเหนียว ที่อ่อนไม่แข็ง หรือหนามของไม้มะรื่น

และหนามของไม้มีหนามเป็นต้น อันใหญ่ ๆ ก็ตามที ในบรรดา

หนามเหล่านั้น หนามชนิดใดชนิดหนึ่ง ที่ตั้งไว้ผิด ไม่สามารถที่จะ

ตำมือหรือเท้า หรือทำให้ห้อเลือด แต่ที่ตั้งไว้ถูกทาง ย่อมสามารถ

ฉันใด กุศลมีจำนวนน้อย ไม่ว่าจะเป็นการให้ใบไม้ประมาณกำมือ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 98

หนึ่ง หรือกุศลใหญ่ ๆ เช่นการให้ของเวลามพราหมณ์เป็นต้น ก็ตาม

เถิด ถ้าปรารถนาวัฏฏสมบัติ จิต ชื่อว่าตั้งไว้ผิด ด้วยอำนาจอิง

วัฏฏะ สามารถนำวัฏฏะเท่านั้นมาให้ หาสามารถนำวิวัฏฏะมาให้ไม่

ฉันนั้นเหมือนกัน. แต่เมื่อบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะอย่างนี้ว่า ขอทาน

ของเรานี้ จงนำมาซึ่งความสิ้นอาสวะ ชื่อว่าตั้งไว้ชอบด้วยอำนาจ

วิวัฏฏะ ย่อมสามารถให้ทั้งพระอรหัตทั้งปัจเจกโพธิฌาณทีเดียว.

สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ปฏิสมฺภิทา วิโมกฺขา จ ยา จ สาวกปารมี

ปจฺเจกโพิ พุทฺธภูมิ สพฺพเมเตน ลพฺภติ.

ปฏิสัมภิทา ๑ วิโมกข์ ๑ สาวกปารมี ๑ ปัจเจก-

โพธิ ๑ พุทธภูมิ ๑ ทั้งหมดนั้น บุคคลย่อมได้

ด้วยจิตที่ตั้งไว้ชอบนั้น.

ก็ในสูตรทั้งสองนี้ ท่านกล่าวทั้งวัฏฏะ และวิวัฏฏะ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปทุฏฺจิตฺต ได้แก่จิตอันโทสประทุษร้ายแล้ว. บทว่า

เจตสา เจโต ปริจฺจ ความว่า กำหนดจิตของเขา ด้วยจิตของตน.

บทว่า ยถาภต นิกฺขิตฺโต ความว่า พึงเห็นว่า ตั้งอยู่ในนรกนั่นแล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 99

เหมือนถูกนำมาทิ้งไว้ คือวางไว้. บทว่า อปาย เป็นต้นทั้งหมด เป็นคำ

ไวพจน์ของนรก. จริงอยู่ นรกปราศจากความสุข คือความเจริญ

จึงชื่อว่าอบาย. ภูมิเป็นที่ไป คือเป็นที่แล่นไปแห่งทุกข์ เพราะฉะนั้น

จึงชื่อว่าทุคคติ. ชื่อว่า วินิบาต เพราะเป็นที่ที่บุคคลผู้มักทำชั่วตกไป

ไร้อำนาจ. ชื่อว่า นรก เพราะอรรถว่าไม่มีดุจที่น่ายินดี.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปสนฺน ได้แก่ ผ่องใสโดยความผ่องใสด้วยศรัทธา.

บทว่า สุคตึ ได้แก่ภูมิเป็นที่ไปแห่งสุข. บทว่า สคฺค โลก ได้แก่

โลกอันเลอเลิศด้วยสมบัติมีรูปสมบัติเป็นต้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อุทกรหโท แปลว่า ห้วงน้ำ. บทว่า อาวิโล ได้แก่

ไม่ใส่. บทว่า ลุฬิโต ได้แก่ไม่สะอาด. บทว่า กลลีภูโต แปลว่า

มีเปือกตม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 100

พึงทราบวินิจฉัย ในคำว่า สิปฺปิสมฺพุก เป็นต้นดังต่อไปนี้ :-

หอยโข่งและหอยกาบ ชื่อว่าสิปปิสัมพุกะ ก้อนกรวด และกระเบื้อง

ชื่อว่า สักขรกถละ. ฝูงคือกลุ่มแห่งปลาทั้งหลาย เหตุนั้นจึงชื่อว่า

มัจฉคุมพะ ฝูงปลา. บทว่า จรนฺตมฺปิ ติฏฺมฺปิ นี้มีอธิบายว่า ก้อน

กรวดและกระเบื้องหยุดอยู่อย่างเดียว นอกนี้ หยุดอยู่ก็มี ว่ายไปก็มี

เหมือนอย่างว่า ระหว่างแม่โค ที่ยืนอยู่ก็ดี หยุดอยู่ก็ดี นอนอยู่ก็ดี

โคนอกนั้น ก็ถูกเรียกว่าเที่ยวไป เพราะอาศัยโคตัวที่กำลังเที่ยวไปว่า

โคเหล่านี้เที่ยวไปอยู่ฉันใด ก้อนกรวดและกระเบื้องทั้งสองแม้นอกนี้

เขาเรียกว่า หยุด เพราะอาศัยก้อนกรวดและกระเบื้องที่หยุด แม้

ก้อนกรวดและกระเบื้องที่เขาเรียกว่าว่ายไป ก็เพราะอาศัยฝูงปลา

ซึ่งกำลังว่ายไปฉันนั้น. บทว่า อาวิเลน ได้แก่ ถูกนิวรณ์ ๕ หุ้มห่อ

ไว้. ประโยชน์ของตนอันคละกันทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ. อัน

เป็นไปในปัจจุบัน ชื่อว่า ประโยชน์ของตน ในคำมีอาทิว่า อตฺตตฺถ

วา ประโยชน์ของตน ที่คละกันทั้งที่เป็นโลกิยะและโลกุตตระ. ใน

สัมปรายภพ ชื่อว่า ประโยชน์ภายหน้า แม้ประโยชน์ภายหน้า ชื่อว่า

ปรัตถะ เพราะประกอบด้วยประโยชน์ของบุคคลอื่น. ประโยชน์

ทั้ง ๒ นั้น ชื่อว่า อุภยัตถะประโยชน์ทั้ง ๒. อีกอย่างหนึ่ง ประโยชน์

ส่วนโลกิยะและโลกุตตระ ที่เป็นไปในปัจจุบัน และสัมปรายภพ

ของตน ชื่อว่าประโยชน์ตน. ประโยชน์เช่นนั้นนั่นแลของผู้อื่น ชื่อว่า

ประโยชน์ของผู้อื่น. แม้ประโยชน์ทั้ง ๒ นั้น ก็ชื่อว่า อุภยัตถะ

ประโยชน์ทั้ง ๒.

บทว่า อุตฺตรึ วา มนุสฺสธมฺมา ได้แก่ อันยิ่งกว่าธรรมของ

มนุษย์ กล่าวคือ กุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ. จริงอยู่ ธรรม ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 101

ประการนี้ แม้ไม่มีคนอื่นชักชวน ท่านก็เรียกว่ามนุษยธรรม เพราะ

เป็นธรรมที่มนุษย์ ผู้เกิดความสังเวช มาทานด้วยตนเองในท้าย

แห่งสันถันตรกัปป์ (กัปป์ที่ฆ่าฟันกันด้วยศาตราวุธ). แต่ฌานและ

วิปัสสนา มรรคและผล พึงทราบว่า ยิ่งไปกว่ามนุษยธรรมนั้น.

บทว่า อลมริยญาณทสสฺนวิเสส ความว่า คุณวิเสสกล่าวคือ

ญาณทัสสนะ อันควรแก่พระอริยะทั้งหลาย หรือที่สามารถทำให้

เป็นอริยะ. จริงอยู่ ญาณนั่นแล พึงทราบว่า ญาณเพราะอรรถว่า

รู้ ว่าทัสสนะ เพราะอรรถว่า เห็น. คำว่าอลมริยญาณทสฺสนวิเสส

นี้เป็นชื่อของทิพพจักขุญาณ วิปัสสนาญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

และปัจจเวกขณญาณ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อจฺโฉ แปลว่า ไม่มีมลทิน. บาลีว่า ปสนฺโน (ใส)

ดังนี้ก็ควร. บทว่า วิปฺปสนฺโน แปลว่าใสดี. บทว่า อนาวิโล แปลว่า

ไม่ขุ่นมัว อธิบายว่า บริสุทธิ์. ท่านอธิบายไว้ว่า เว้นจากฟองน้ำ

สาหร่าย และจอกแหน. บทว่า อนาวิเลน ได้แก่ ปราศจากนิวรณ์ ๕.

คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในสูตรที่ ๔ นั่นแล. ในสูตรทั้ง ๒ นี้

ท่านกล่าวทั้งวัฏฏะ ทั้งวิวัฏฏะนั่นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 102

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ในสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า รุกฺขชาตาน เป็นฉัฏฐีวิภัติ ใช้ในอรรถ ปฐมาวิภัติ

อธิบายว่า รุกฺขชาตานิ ต้นไม้ทั้งหลาย. บทว่า รุกฺขชาตานิ นี้เป็น

ชื่อของต้นไม้ทั้งหลาย. บทว่า ยทิท เป็นเพียงนิบาต. บทว่า มุทุตาย

ได้แก่ เพราะเป็นไม้อ่อน. ทรงสั่งว่าต้นไม้บางชนิด เลิศแม้ด้วยสี

บางชนิดเลิศด้วยกลิ่น บางชนิดเลิศด้วยรส บางชนิดเลิศด้วยเป็น

ของแข็ง. ส่วนไม้จันทน์ เป็นเลิศคือประเสริฐ เพราะเป็นไม้อ่อน

และเหมาะแก่การงาน.

ในคำว่า จิตฺต ภิกฺขเว ภาวิต พหุลีกต นี้ท่านประสงค์เอาจิต

ที่อบรมและกระทำบ่อย ๆ ด้วยอำนาจสมถะและวิปัสสนา. ส่วน

ท่านกุรุนทกวาสีปุสสมิตตเถระกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ จิตในจุตตถฌาน

อันเป็นบาทของอภิญญาเท่านั้น ชื่อว่า จิตอ่อนโยนและเหมาะแก่

การงานโดยส่วนเดียว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอว ลหุปริวตฺต ความว่า เกิดเร็วดับเร็วด้วยอาการ

อย่างนี้ ศัพท์ว่า ยาวฺจ เป็นนิบาตใช้ในอรรถเท่ากับอธิมัตตะ มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 103

ประมาณยิ่ง. อธิบายว่า มิใช่ทำได้อย่างง่ายนัก. บทว่า อิท เป็น

เพียงนิบาต. ในบทว่า จิตฺต ก่อนอื่น อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

เป็นภวังคจิต. แต่ท่านปฏิเสธคำนั้นแล้วกล่าวว่า จิตดวงใดดวงหนึ่ง

โดยที่สุดแม้จักขุวิญญาณ ก็ประสงค์เอาว่าจิตในที่นี้.

แต่ในที่นี้ พระเจ้ามิลินท์ ตรัสถามพระนาคเสนเถระ ผู้เป็น

พระธรรมกถึกว่า ท่านพระนาคเสน จิตตสังขารที่เป็นไปชั่วขณะ

ลัดนิ้วมือเดียว ถ้าเป็นรูปร่างจะเป็นกองใหญ่เท่าไร ? พระนาคเสน

ตอบว่า มหาบพิตร ข้าวเปลือกร้อยวาหะ หย่อนครึ่งวาหะ ๗ อัมพนะ

และ ๒ ตุมพะ ย่อมไม่ถึงแม้การนับ ย่อมไม่ถึงแม้การคำนวน ย่อม

ไม่ถึงแม้ส่วนของการคำนวนแห่งจิตที่เป็นไปชั่วขณะลัดนิ้วมือเดียว.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจง

ตรัสว่า แม้ข้ออุปมา ก็ทำได้มิใช่ง่าย. แก้ว่า ก็แม้ท่านปฏิเสธอุปมา

ด้วยข้าวเปลือกก็ได้กระทำอุปมา ความยาวของกัปป์ โดยเปรียบเทียบ

กับภูเขาโยชน์หนึ่ง กับพระนครเต็มไปด้วยเมล็ดพันธ์ผักกาดยาว

โยชน์หนึ่ง เปรียบทุกข์ของสัตว์นรกโดยเปรียบด้วยจกแทงด้วยหอก

๑๐๐ เล่ม เปรียบความสุขในสวรรค์ โดยเปรียบเทียบกับสมบัติ

พระเจ้าจักรพรรดิ์ฉันใด แม้ในที่นี้ก็พึงกระทำอุปมาฉันนั้น. ใน

มิลินทปัญหานั้น ท่านกระทำอุปมา ด้วยอำนาจคำถามอย่างนี้ว่า

ท่านเจ้าข้าทำอุปมาได้ไหม ? ในสูตรนี้ ท่านไม่กระทำอุปมาไว้

เพราะไม่มีการถาม. จริงอยู่ พระสูตรนี้ ท่านกล่าวไว้ในตอนจบ

พระธรรมเทศนา. ในพระสูตรนี้ท่านเรียกชื่อว่า จิตตราสี ( กองจิต )

ด้วยระการฉะนี้.

จบ อรรรถกถาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 104

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปภสฺสร ได้แก่ ขาวคือ บริสุทธิ์. บทว่า จิตฺต ได้แก่

ภวังคจิต. ถามว่า ก็ชื่อว่าสีของจิตมีหรือ ? แก้ว่าไม่มี. จริงอยู่

จิตจะมีสีอย่างหนึ่งมีสีเขียวเป็นต้น หรือจะเป็นสีทองก็ตาม จะอย่างใด

อย่างหนึ่งท่านก็เรียกว่าปภัสสร เพราะเป็นจิตบริสุทธิ์. แม้จิตนี้

ชื่อว่า บริสุทธิ์ เพราะปราศจากจปกิเลส เหตุนั้น จึงชื่อว่า ปภัสสร.

บทว่า ตญฺจ โข ได้แก่ ภวังคจิต นั้น. บทว่า อาคนฺตุเกหิ ได้แก่

อุปกิเลส ที่ไม่เกิดร่วมกัน หากเกิด ในขณะแห่งชวนจิตในภายหลัง.

บทว่า อุปกิเลเสติ ความว่า ภวังคจิตนั้น ท่านเรียกว่า ชื่อว่า

เศร้าหมองแล้ว เพราะเศร้าหมองแล้วด้วยกิเลสมีราคะเป็นต้น.

เศร้าหมองอย่างไร ? เหมือนอย่างว่า บิดามารดา หรืออุปัชฌาย์

อาจารย์มีสมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ไม่ดุว่า ไม่ให้ศึกษา

ไม่สอน ไม่พร่ำสอน บุตร หรืออันเตวาสิก และสัทธิวิหาริกของตน

เพราะเหตุที่บุตร และ สัทธิวิหาริกอันเตวาสิก เป็นผู้ทุศีล มีความ

ประพฤติไม่ ไม่สมบูรณ์ด้วยวัตรปฏิบัติ ย่อมได้รับการติเตียน

เสียชื่อเสียงฉันใด พึงทราบข้ออุปไมยนี้ฉันนั้น. พึงเห็นภวังคจิต

เหมือนบิดามารดา และอุปัชฌาย์ อาจารย์ ผู้สมบูรณ์ด้วยความ

ประพฤติ. ภวังคจิต แม้จะบริสุทธิ์ตามปกติ ก็ชื่อว่าเศร้าหมอง

เพราะอุปกิเลสที่จรมา อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจที่เกิดพร้อมด้วยโลภะ

โทสูและโมหะ ซึ่งมีความกำหนัดขัดเคือง และความหลงเป็นสภาวะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 105

ในขณะแห่งชวนจิต เหมือนบิดามารดาเป็นต้นเหล่านั้น ได้ความเสีย

ชื่อเสียง เหตุเพราะบุตรเป็นต้น ฉะนั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

แม้ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

จิต ก็คือภวังคจิตนั่นเอง. บทว่า วิปฺปมุตฺต ความว่า ภวังคจิต

นั้น ไม่กำหนัด ไม่ขัดเคือง ไม่หลง ในขณะแห่งชวนจิต เกิดขึ้นด้วย

อำนาจกุศลจิตที่เป็นญาณสัมปยุตประกอบด้วยไตรเหตุเป็นต้น

ย่อมชื่อว่า หลุดพ้นจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา. แม้ในที่นี้ ภวังคจิต

นี้ท่านเรียกว่าหลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลสทั้งหลายที่จรมา ด้วยอานาจ

กุศลจิตที่เกิดขึ้นในขณะแห่งชวนจิต เหมือนมารดาเป็นต้น ได้รับ

ความสรรเสริญและชื่อเสียงว่า พวกเขาช่างดีแท้ ยังบุตรเป็นต้น

ให้ศึกษา โอวาท อนุสาสน์ อยู่ดังนี้ เหตุเพราะบุตรเป็นต้น เป็น

มีศีล สมบูรณ์ด้วยความประพฤติ ฉะนั้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาปณิหิตอัจฉวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 106

อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖

ว่าด้วยเหตุให้จิตเศร้าหมองและผุดผ่องเป็นต้น

[๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง แต่ว่าจิตนั้นแล

เศร้าหมองแล้วด้วยอุปกิเลสที่จรมา ปุถุชนผู้มีได้สดับ ย่อมจะไม่

ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่า ปุถุชนผู้มีได้

สดับ ย่อมไม่มีการอบรมจิต.

[๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตนี้ผุดผ่อง และจิตนั้นแล พ้น

วิเศษแล้วจากอุปกิเลสที่จรมา พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ย่อม

ทราบจิตนั้นตามความเป็นจริง ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า พระอริยสาวก

ผู้ได้สดับ ย่อมมีการอบรมจิต.

[๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุซ่องเสพเมตตาจิต แม้ชั่ว

กาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่าง

จากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉัน

บิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิต

นั้นให้มากเล่า.

[๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญเมตตาจิต แม้ชั่ว

กาลเพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่าง

จากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 107

บิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิต

นั้นให้มากเล่า.

[๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุใส่ใจเมตตาจิต แม้ชั่วกาล

เพียงลัดนิ้วมือเดียวเท่านั้น ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจาก

ฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉัน

บิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า ก็จะกล่าวไยถึงผู้ทำเมตตาจิต

นั้นให้มากเล่า.

[๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนอกุศล

ที่เป็นไปในฝักฝ่ายอกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรม

เหล่านั้น อกุศลธรรมเกิดหลังเทียว.

[๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลธรรมที่เป็นไปในส่วนบุคคล

ที่เป็นไปในฝักฝ่ายกุศลทั้งหมด มีใจเป็นหัวหน้า ใจเกิดก่อนธรรม

เหล่านั้น กุศลธรรมเกิดหลังเทียว.

[๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไปเหมือนความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อบุคคลประมาทแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และ

กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไปเหมือนความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 108

เมื่อบุคคลไม่ประมาทแล้ว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และ

อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไปเหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อบุคคลเกียจคร้านแล้ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อม

เกิดขึ้น และกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

จบ อัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 109

อรรถกถาอัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๖ สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ต อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ความว่า ปุถุชน เว้นแล้วจาก

การศึกษาภวังคจิตนั้น. ในบทว่า ต อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน นั้น ชื่อว่า

ไม่ได้ศึกษาไญยธรรมเพราะไม่มีอาคมนิกายที่จะเรียน และอธิคม

มรรคผลที่จะบรรลุ. จริงอยู่บุคคลใดสอบสวนพระสูตรนี้ โดยเนื้อ

ความตั้งแต่ต้น ยังไม่รู้ด้วยอำนาจนิกาย คือคัมภีร์ที่มาของสูตรนี้

โดยเนื้อความตั้งแต่ต้น ยังไม่รู้ด้วยอำนาจนิกาย คือคัมภีร์ที่มา

ของสูตรนี้ และด้วยอำนาจมรรคผล อันผู้ปฏิบัติพึงบรรลุว่า ชื่อว่า

ภวังคจิตนี้ แม้บริสุทธิ์ตามปกติ ก็เศร้าหมอง เพราะอุปกิเลสมี

โลภะเป็นต้น ที่เกิดขึ้นแล้ว ในขณะแห่งชวนจิต. อนึ่งผู้ใดไม่มีนิกาย

เป็นที่มา อันจะขบธรรมให้เข้าใจตามความเป็นจริง เพราะเว้นการ

เรียนสละการสอบถามในขันธ์ ธาตุ อายตนะ ปัจจยาการและ

สติฐานเป็นต้น และไม่มีอธิคม เพราะไม่ได้บรรลุมรรคผล ที่

จะพึงบรรลุด้วยการปฏิบัติ ผู้นั้นชื่อว่า ไม่ศึกษาไญยธรรม เพราะ

ไม่มีอาคมและอธิคม.

ปุถูน ชนนาทีหิ การเณหิ ปุถุชฺชโน

ปุถุชฺชนนฺโตคธตฺตา ปุถุ วาย ชโน อิติ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 110

ชนนี้ ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลาย มีทำ

กิเลสเป็นอันมากให้เกิดเป็นต้น หรือว่าชื่อว่า

ปุถุชน เพราะหยั่งลงภายในแห่งชนผู้มีกิเลสหนา.

จริงอยู่ ชนนั้น ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเหตุทั้งหลาย มีการทำ

ให้เกิดกิเลสมีประการต่าง ๆ เป็นอันมาก เหมือนอย่างที่ท่านกล่าว

ไว้ว่า ชื่อว่า ปุถุชน เพราะทำให้เกิดกิเลสเป็นอันมาก. ชื่อว่า

ปุถุชน เพราะมีสักกายทิฏฐิอันยังไม่ละเว้นเป็นอันมาก. ชื่อว่า

ปุถุชน เพราะปรุงแต่งด้วยอภิสังขารต่าง ๆ มาก. ชื่อว่า ปุถุชน

เพราะถูกโอฆะกิเลสดุจห้วงน้ำต่าง ๆ เป็นอันมากพัดพาไป. ชื่อว่า

ปุถุชน เพราะเดือดร้อนด้วยเครื่องเดือดร้อนเป็นอันมาก. ชื่อว่า

ปุถุชน เพราะยินดี กำหนัด ละโมภ สยบ หมกมุ่น ติด ข้อง

พัวพัน ในกามคุณทั้ง ๕ มาก. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะถูกนิวรณ์ ๕

ครอบคลุม. คล้องปิด กั้น กำบังไว้มาก. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ปุถุชน

เพราะหยั่งลงภายในแห่งชนผู้มีกิเลสหนา เป็นไปล่วงการนับ

ผู้หันหลังให้อริยธรรม ผู้ประพฤติธรรมที่ต่ำดังนี้ก็มี. ก็ปุถุชนนี้

นับว่าเป็นคนละพวกกันทีเดียว. ชื่อว่า ปุถุชน เพราะเป็นผู้ไม่เกี่ยว

ข้องกับพระอริยเจ้า ผู้ประกอบด้วยคุณมีศีลและสุตะเป็นต้น. ด้วย

สองบทว่า อสฺสุตวา ปุถุชฺชโน ดังพรรณนามาอย่างนี้ ท่านกล่าว

ปุถุชนเหล่าใดไว้ ๒ จำพวกว่า

ทุเว ปุถุชฺชนา วุตฺตา พุทฺเธนาทิจฺจพนฺธุนา

อนฺโธ ปุถุชฺชนโน เอโก กลิยาณโก ปุถุชฺชโน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 111

พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธ์แห่งพระอาทิตย์ ตรัส

ปุถุชนไว้ ๒ พวก คือ อันธปุถุชน ๑ กัลยาณ-

ปุถุชน ๑.

บรรดาปุถุชนที่กล่าวไว้แล้วทั้ง ๒ จำพวกนั้น อันธปุถุชน

พึงทราบว่า เป็นอันกล่าวไว้แล้ว. บทว่า ยถาภูต นปฺปชานาติ ความว่า

ปุจชน ผู้ไม่ได้สดับ ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า ภวังคจิตนี้ ชื่อว่า

เศร้าหมองเพราะอุปกิเลสทั้งหลายอันจรมาอย่างนี้ ชื่อว่า หลุดพ้น

แล้วอย่างนี้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่ไม่รู้. บทว่า

จิตฺตภาวนา นตฺถิ ได้แก่ ความตั้งมั่นแห่งจิต การกำหนดจิตไม่มี.

ด้วยภาวะที่ไม่มีนั่นแลทรงแสดงว่า เรากล่าวว่าไม่มีดังนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สุตวา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการศึกษา. ก็ในบทว่า

สุตวา นี้ เมื่อว่าโดยพิสดาร พึงทราบความโดยตรงกันข้ามกับ

บทว่า อสฺสุตวา.

บทว่า อริยสาวโก ได้แก่ พระอริยะที่ไม่เป็นพระสาวกก็มี

เช่นพระพุทธเจ้า และพระปัจเจกพุทธเจ้า. พระสาวกที่ไม่เป็น

พระอริยะก็มี เช่นคฤหัสถ์ผู้ยังไม่บรรลุผล. ไม่เป็นทั้งพระอริยะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 112

ไม่เป็นทั้งพระสาวกก็มี เช่นพวกเดียรถีย์เป็นอันมาก. เป็นทั้งพระ

อริยะ. เป็นทั้งพระสาวกก็มี เช่นพระสมณะศากบุตร ผู้บรรลุผล

รู้แจ้งคำสั่งสอนแล้ว. แต่ในที่นี้จะเป็นคฤหัสถ์ หรือบรรพชิตก็ตาม

คนใดคนหนึ่ง ผู้สมบูรณ์ด้วยการศึกษา ด้วยอำนาจแห่งเนื้อความ

ที่กล่าวไว้แล้ว พึงทราบว่า ผู้นี้เป็นพระอริยสาวก ในบทว่า สุตวา นี้.

บทว่า ยถาภูต ปชานาติ พระอริยสาวก ผู้ได้สดับแล้ว ย่อม

รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ภวังคจิตนี้ หลุดพ้นแล้วจากอุปกิเลส

ทั้งหลาย อันจรมาด้วยอาการอย่างนี้ เศร้าหมองแล้วด้วยอาการ

อย่างนี้. บทว่า จิตฺตภาวนา อตฺถิ ความว่า ความตั้งมั่นแห่งจิต

ความกำหนดจิตมีอยู่ ด้วยภาวะที่จิตมีอยู่นั่นเอง ทรงแสดงว่ามีอยู่.

ในสูตรนี้ ท่านกล่าวถึงวิปัสสนาที่แก่กล้า. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า

เป็นวิปัสสนาที่ยังอ่อนกำลัง.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๓

สูตรที่ ๓ กล่าวไว้แล้วในเหตุเกิดเรื่อง. กล่าวไว้ในเหตุเกิด

เรื่องไหน ? ในเหตุเกิดเรื่อง อัคคิขันโธปมสูตร.

ได้ยินว่า สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า อาศัยประทับอยู่ ณะ

เชตวันมพาวิหาร กรุงสาวัตถี. จริงอยู่ พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรง

อาศัยอยู่ในที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ก็มิได้ทรงละกิจ ๕ อย่างเลย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 113

ชื่อว่า พุทธกิจ ๕ อย่าง คือ ปุเรภัตตกิจ ๑ ปัจฉาภัตตกิจ ๑

ปุริมยามกิจ ๑ มัชฌิมยามกิจ ๑ ปัจฉิมยามกิจ ๑

ในพุทธกิจ ๕ นั้น ปุเรภัตตกิจ กิจก่อนเสวยอาหารมีดังต่อไปนี้

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จลุกขึ้นแต่เช้า ทรงการทำปริกรรม

พระสรีระ มีล้างพระพักตร์เป็นต้น เพื่ออนุเคราะห์อุปัฏฐาก และ

เพื่อความผาสุกแห่งพระสรีระ ทรงยับยั้งอยู่เหนืออาสนะอันสงัด

จนถึงเวลาภิกขาจาร พอได้เวลาภิกขาจาร ก็ทรงนุ่งอันตรวาสก

ทรงคาดประคดเอว ห่มจีวร ถือบาตร บางครั้งก็พระองค์เดียว

บางครั้งก็แวดล้อมไปด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังบ้าน

หรือนิคม. บางคราวเสด็จเข้าไปตามปกติ บางคราวเสด็จไปด้วย

ปาฏิหาริย์เป็นอันมาก. คือเมื่อพระโลกนาถเสด็จเที่ยวบิณฑบาต

ลมอ่อน ๆ ก็พัดไปข้างหน้าเป่าแผ่นดินให้สะอาด เมฆหลั่งเมล็ดฝน

ดับฝุ่นละอองบนหนทาง กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบน. ลมอีก

พวกหนึ่งก็นำดอกไม้เข้าไปโปรยลงบนหนทาง ภูมิประเทศที่ดอน

ก็ยุบลง. ภูมิประเทศที่ลุ่มก็หนุนตัวขึ้น เวลาที่ทรงย่างพระบาท

ภูมิภาคย่อมมีพื้นราบเรียบ หรือดอกปทุมมีสัมผัสอันอ่อนละมุน คอย

รับพระบาท. เมื่อพอทรงวางพระบาทเบื้องขวา ไว้ในภายในเสา

เขื่อน. ฉัพพัณณรังสี พระรัศมีมีพรรณ ๒ ประการ เปล่งออกจาก

พระสรีระพวยพุ่งไปรอบด้าน กระทำปราสาทและเรือนยอดเป็นต้น

ให้เป็นดุจสีเหลืองเหมือนทองคำ และให้เป็นดุจแวดวงด้วยผ้าอัน

วิจิตร. สัตว์ทั้งหลายมีช้างม้าและนกเป็นต้น ที่อยู่ในที่ของตน ๆ

ก็เปล่งเสียงไพเราะ. ดนตรีมีกองและบัณเฑาะว์ เป็นต้น กับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 114

เครื่องอาภรณ์ที่สรวมใส่อยู่ในกายของพวกมนุษย์ ก็เหมือนกัน คือ

เปล่งเสียงไพเราะ ด้วยสัญญาณนั้น พวกมนุษย์ย่อมรู้ว่าวันนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปบิณฑบาตในที่นี้. มนุษย์เหล่านั้นนุ่งห่ม

เรียบร้อย ถือเครื่องสักการะมีของหอมและดอกไม้เป็นต้น ออกจาก

เรือนดำเนินไปตามท้องถนน บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยของหอม

และดอกไม้เป็นต้นโดยเคารพถวายบังคมแล้ว ทูลขอว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์โปรดประทานภิกษุแก่พวกข้าพระองค์

๑๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๒๐ รูป แก่พวกข้าพระองค์ ๑๐๐ รูป

แล้วรับบาตรของพระผู้มีพระภาคเจ้า อาสนะน้อมถวายบิณฑบาต

โดยเคารพ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยพระกระยาหารเสร็จแล้ว

ทรงตรวจดูสันดานของมนุษย์เหล่านั้นแล้วทรงแสดงธรรม. บางพวก

จะตั้งอยู่ในสรณคมน์ บางพวกจะตั้งอยู่ในศีล ๕ บางพวกจะตั้งอยู่

ในโสดาปัตติผล สกทาคามิผล และอนาคามิผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

บางพวกจะบวชแล้ว ดำรงอยู่ในพระอรหัตอันเป็นผลเลิศ ด้วย

ประการใด ก็ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยประการนั้น เสด็จลุกจาก

อาสนะ เสด็จกลับไปพระวิหาร. เสด็จไปที่พระวิหารนั้นแล้วประทับ

นั่ง บนบวรพุทธอาสน์ที่เขาตกแต่งไว้ ณะศาลากลมประกอบด้วย

ของหอม. ในเวลาเสร็จภัตตกิจของภิกษุทั้งหลาย อุปัฏฐากก็จะ

กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ทรงทราบ. ต่อนั้น พระผู้มีพระภาค

เจ้า จึงจะเสด็จเข้าพระคันธกุฏี ปุเรภัตตกิจ กิจก่อนเสวยอาหาร

มีเท่านี้ก่อน.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำกิจก่อนเสวยอาหารอย่างนี้

แล้ว ก็ประทับนั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฏี ทรงล้างพระบาท

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 115

ทรงโอวาทภิกษุสงฆ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงยังกิจให้ถึงพร้อม

ด้วยความไม่ประมาทเถิด การอุบัติขึ้นของพระพุทธเจ้าหาได้ยาก

กาลได้อัตภาพเป็นมนุษย์หาได้ยาก การถึงพร้อมด้วยศรัทธาหา

ได้ยาก การบรรพชาหาได้ยาก การฟังธรรมหาได้ยากในโลก

บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุบางรูปทูลถามกรรมฐาน กะพระผู้มี

พระภาคเจ้า. พระองค์ก็ประทานกรรมฐาน อันเหมาะแก่ความ

ประพฤติของภิกษุเหล่านั้น แต่นั้นภิกษุแม้ทั้งหมดถวายบังคมพระผู้มี

พระภาคเจ้า แล้วไปยังที่พักกลางคืนและที่พักกลางวันของตน ๆ.

บางพวกไปป่า บางพวกอยู่โคนไม้ บางพวกไปภูเขาเป็นต้น แห่งใด

แห่งหนึ่ง บางพวกไปภพของท้าวจาตุมหาราช บางพวกไปภพของ

ท้าววสวัสดี. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเข้าไปยังพระ

คันธกุฏี ถ้าทรงจำนงก็ทรงมีสติ สัมปชัญญะ บรรทมตะแคงขวา

ครู่หนึ่ง ครั้นมีพระวรกายกระปรี้กระเปร่า เสด็จลุกขึ้นตรวจดู

สัตว์โลก ในภาคที่ ๒. ในภาคที่ ๓ มหาชนในคามหรือนิคม ที่

พระองค์เสด็จเข้าไปอาศัยประทับอยู่ ถวายทานก่อนอาหาร ครั้น

เวลาหลังอาหาร นุ่งห่มเรียบร้อยแล้วถือเอาสักการะมีของหอม

และดอกไม้เป็นต้น ประชุมกันในพระวิหาร. ลำดับนั้นพระผู้มี

พระภาคเจ้า เสด็จไปโดยปาฏิหาริย์อันเหมาะสมแก่บริษัทที่ประชุม

กัน ประทับนั่งแสดงธรรม บนบวรพุทธอาสน์ ที่ตกแต่งไว้ในโรง

ธรรม ให้เหมาะแก่กาล เหมาะแก่สมัย. ครั้นถึงเวลาอันควรแล้ว

จึงส่งบริษัทกลับไป. พวกมนุษย์ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วก็หลีกไป. ปัจฉาภัตตกิจ กิจภายหลังอาหาร มีดังกล่าวนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 116

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำปัจฉาภัตตกิจให้เสร็จ

อย่างนั้นแล้ว ถ้าทรงประสงค์จะทรงสนานพระกาย ก็เสด็จ

ลุกขึ้นจากพุทธอาสน์ เสด็จเข้าสู่ซุ้มสำหรับสรงสนาน ทรงรด

พระกายด้วยน้ำอันอุปัฏฐากจัดถวาย. แม้พระอุปัฏฐากก็นำเอา

พุทธอาสน์มาลาดถวายในบริเวณพระคันธกุฏี พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงนุ่งอันตรวาสก ๒ ชั้น ที่ย้อมดีแล้ว ทรงคาดประคดเอว ทรง

ครองอุตตราสงฆ์แล้วเสด็จมาประทับ ณ พุทธอาสน์นั้น ทรงเร้น

อยู่ครู่หนึ่งลำพังพระองค์ ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายมาจากที่นั้น

ไปยังที่เฝ้าพระศาสดา บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกถามปัญหา

บางพวกขอกรรมฐาน บางพวกของธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงจัดให้สมประสงค์ของภิกษุเหล่านั้น ทรงยับยั้ง แม้ตลอดยามต้น.

ปุริมยามกิจ กิจในยามต้นมีดังกล่าวนี้.

เวลาเสร็จกิจในยามต้น เมื่อภิกษุทั้งหลายถวายบังคมพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้วหลีกไป เทวดาทั่วหมื่นโลกธาตุ เมื่อได้โอกาส

จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถามปัญหา ชั้นที่สุดแม้อักษร

๔ ตัวตามที่แต่งมา พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงวิสัชนาปัญหา

แก่เทวดาเหล่านั้น ทรงยับยั้งอยู่ตลอดมัชฌิมยาม มัชฌิมยามกิจ

กิจในมัชฌิมยาม มีดังกล่าวนี้.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแบ่งปัจฉิมยามเป็น ๓ ส่วน แล้ว

ทรงยับยั้งส่วนหนึ่งด้วยการเดินจงกรม เพื่อทรงปลดเปลื้องความ

เมื่อยพระวรกายที่ประทับนั่งมาก ตั้งแต่เวลาก่อนเสวยอาหาร ใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 117

ส่วนที่ ๒ เสด็จเข้าไปพระคันธกุฏี ทรงมีพระสติและสัมปชัญญะ

บรรทมตะแคงข้างขวา ในส่วนที่ ๓ เสด็จลุกขึ้นประทับนั่ง ตรวจดู

สัตว์โลกด้วยพุทธจักษุ เพื่อทอดพระเนตรบุคคลผู้ได้กระทำบุญญา-

ธิการไว้ด้วยทาน และศีลเป็นต้น ในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ในปางก่อน ปัจฉิมยามกิจ กิจในปัจฉิมยาม มีดังกล่าวนี้.

วันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำรงอยู่ในกิจนี้นี่แหละ

ทรงตรวจดูสัตว์โลก ก็ได้ทรงเห็นเหตุนี้ว่า เมื่อเราจาริกไปในมหา-

โกสลรัฐ แสดงสูตรหนึ่งเปรียบเทียบด้วยกองเพลิง ภิกษุ ๖๐ รูป

จักบรรลุพระอรหัต ภิกษุประมาณ ๖๐ รูปจักรากเลือด ภิกษุ

ประมาณ ๖๐ รูปจักสึกเป็นคฤหัสถ์. บรรดาภิกษุเหล่านั้น พวก

ภิกษุผู้จักบรรลุพระอรหัตได้ฟังพระธรรมเทศนาอย่างใดอย่าง

หนึ่ง จักบรรลุได้ทีเดียว. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์

จะเสด็จจาริกไปเพื่อสงเคราะห์ภิกษุนอกจากนี้ จึงตรัสว่า อานนท์

เธอจงบอกแก่ภิกษุทั้งหลาย.

พระเถระไปตามบริเวณแล้วกล่าวว่า ผู้มีอายุ พระศาสดา

มีพระประสงค์จะเสด็จจาริก เพื่อเคราะห์มหาชน ผู้ประสงค์

จะไปตามเสด็จ ก็จงพากันมาเถิด. ภิกษุทั้งหลาย มีใจยินดีเหมือน

ได้ลาภใหญ่ คิดว่า เราจักได้ชมพระสรีระมีวรรณเพียงดังทองคำ

ได้ฟังธรรมกถาอันไพเราะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้แสดงธรรม

แก่มหาชน ผู้ที่มีผมขึ้นยาวก็ปลงผม มีบาตรถูกสนิมจับก็ระบม

บาตร มีจีวรหมอง ก็ซักจีวร ต่างเตรียมจะตามเสด็จ. พระศาสดา

แวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์ที่กำหนดจำนวนไม่ได้ ออกจาริกไปยัง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 118

โกศลรัฐ วันหนึ่ง ๆ เสด็จจาริกไป ๑ คาวุต ๒ คาวุต ๓ คาวุต และ

โยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ตามลำดับแห่งคามและนิคม ทอดพระเนตร

เห็นต้นไม้มีโพรงต้นใหญ่แห่งหนึ่ง ถูกไฟไหม้ลุกโพลง ทรงดำริว่า

เราจะทำต้นไม้นี้แล ให้เป็นวัตถุเหตุตั้งเรื่อง แสดงธรรมกถาประคับ

ด้วยองค์ ๗ จึงงดการเสด็จ เสด็จเข้าไปยังโคนไม้ต้นหนึ่ง ทรง

แสดงอาการจะประทับนั่ง. พระอานนทเถระทราบพระประสงค์

ของพระศาสดา คิดว่า ชรอยว่าจักมีเหตุแน่นอน พระตถาคตไม่

เสด็จต่อไปแล้วจะหยุดประทับนั่งเสียโดยเหตุอันไม่สมควรหามิได้

จึงปูลาดสังฆาฏิ ๔ ชั้น.

พระศาสดา ประทับนั่งแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา

ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงดูกองไฟใหญ่โน้น แล้วทรงแสดง

อัคคิขันโธปมสูตร. ก็เมื่อตรัสไวยากรณ์นี้อยู่ ภิกษุประมาณ ๖๐

รูปรากเลือด. ภิกษุประมาณ ๖๐ ลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์. ภิกษุ

ประมาณ ๖๐ รูปมีจิตไม่ยึดมั่นก็หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย. ก็

เพราะได้ฟังไวยากรณ์นั้น นามกายของภิกษุประมาณ ๖๐ รูป

ก็กลัดกลุ้ม เมื่อนามกายกลัดกลุ้ม กรัชกายก็รุ่มร้อน เมื่อกรัชกาย

รุ่มร้อน โลหิตอุ่นที่คั่งก็พุ่งออกจากปาก. ภิกษุ (อีก) ประมาณ ๖๐

รูป คิดว่าการประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ตลอดชีวิต

ในพระพุทธศาสนา ทำได้ยากหนอ แล้วพากันลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์

ภิกษุประมาณ ๖๐ รูป ส่งญาณมุ่งตรงต่อเทศนาของพระศาสดา

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา. บรรดาภิกษุเหล่านั้น

ภิกษุเหล่าใด รากเลือด ภิกษุเหล่านั้นต้องอาบัติปาราชิก ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 119

เหล่าใดสึกเป็นคฤหัสถ์ ภิกษุเหล่านั้นพากันย่ำยีสิกขาบทเล็กน้อย.

ภิกษุเหล่าใดบรรลุพระอรหัต ภิกษุเหล่านั้น เป็นผู้มีศีล บริสุทธิ์แล.

พระธรรมเทศนาของพระศาสดา เกิดมีผลแม้แก่ภิกษุ ๓ จำพวก

ดังกล่าวนี้.

ถามว่า พระธรรมเทศนาเกิดมีผลแก่ภิกษุผู้บรรลุพระอรหัต

ยกไว้ก่อน อย่างไรจึงเกิดผลแก่ภิกษุนอกนี้. ? ก็ว่า ก็ภิกษุ

แม้เหล่านั้น ถ้าไม่ได้ฟังธรรมเทศนากัณฑ์นี้ไซร้ เป็นผู้ประมาท

ไม่พึงอาจละฐานะได้ แต่นั้นบาปของภิกษุเหล่านั้น กำเริบขึ้น จะ

พึงทำเธอให้จมลงในอบายถ่ายเดียว แต่ฟังเทศนากัณฑ์นี้แล้ว เกิด

ความสังเวช ละฐานะ. ตั้งอยู่ในภูมิแห่งสามเณร บำเพ็ญศีล ๑๐

ประกอบขวนขวายในโยนิโสมนสิการ บางพวกเป็นพระโสดาบัน

บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็นอนาคามี บางพวกบังเกิด

ในเทวโลก. พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุผู้ต้องอาบัติปาราชิก

ด้วยอาการอย่างนี้. ฝ่ายภิกษุนอกนี้ ถ้าไม่พึงได้ฟังพระธรรมเทศนา

กัณฑ์นี้ไซร้ เมื่อกาลล่วงไป ๆ ก็จะพึงต้องอาบัติสังฆาฑิเสสบ้าง

ปาราชิกบ้าง ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนากัณฑ์นี้แล้ว คิดว่า พระ

พุทธศาสนา ช่างขัดเกลาจริงหนอ พวกเราไม่สามารถจะบำเพ็ญ

ข้อปฏิบัตินี้ตลอดชีวิตได้ จำเราจักลาสิกขา บำเพ็ญอุบาสกธรรม

จักพ้นจากทุกข์ได้ ดังนี้แล้ว จึงพากันสึกไปเป็นคฤหัสถ์. ชนเหล่านั้น

ตั้งอยู่ในสรณะ ๓ รักษาศีล ๕ บำเพ็ญอุบาสกธรรม บางพวก

เป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นสกทาคามี บางพวกเป็นอนาคามี

บางพวกบังเกิดในเทวโลกแล. พระธรรมเทศนาได้มีผลแม้แก่ภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 120

เหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้. อนึ่งหมู่เทพได้ฟังพระธรรมเทศนา

กัณฑ์นี้แล้ว ได้เที่ยวไปบอกแก่ภิกษุทั้งหลายผู้ไม่ได้ฟังทุกรูป

ทีเดียว. ภิกษุทั้งหลายฟังแล้วคิดว่า ท่านผู้เจริญ การประพฤติ

พรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ตลอดชีวิต ในพระพุทธศาสนา

ทำได้ยาก. ภิกษุ ๑๐ รูปบ้าง ๒๐ รูปบ้าง ๖๐ รูปบ้าง ๑๐๐ รูปบ้าง

บอกลาสิกขาเป็นคฤหัสถ์ไปทันที.

พระศาสดา เสด็จจาริกไปตามพอพระหฤทัย ไม่เสด็จกลับ

ไปพระเชตวันอีก จึงทรงเรียกภิกษุมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคต

เมื่อเที่ยวจาริกไปอยู่คลุกคลีมานาน ภิกษุทั้งหลายเราปรารถนา

จะเร้นอยู่สักกึ่งเดือน ใคร ๆ ไม่ต้องเข้าไปหาเรา เว้นแต่ภิกษุ

ผู้นำบิณฑบาตรูปเดียวดังนี้ ทรงยับยั้งลำพังพระองค์เดียวกึ่งเดือน

เสด็จออกจากที่เร้น พร้อมด้วยพระอานนทเถระ เสด็จจาริกกลับไป

พระวิหาร ทรงเห็นภิกษุเบาบาง ในที่ ๆ ทรงตรวจดูแล้วตรวจดูอีก

ถึงทรงทราบอยู่ ก็ตรัสถามพระอานนท์เถระว่า อานนท์ ในเวลาอื่น ๆ

เมื่อตถาคตเที่ยวจาริกกลับมายังเชตวัน ทั่ววิหารรุ่งเรื่องไปด้วย

ผ้ากาสาวพัสตร์ คลาคล่ำไปด้วยผู้แสวงคุณ แต่มาบัดนี้ ปรากฏว่า

ภิกษุสงฆ์เบาบางลง และโดยมากภิกษุเกิดโรคผอมเหลืองขึ้น นี่เหตุ

อะไรกันหนอ. พระเถระกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ

ทั้งหลายเกิดความวังเวชจำเดิมแต่เวลาที่พระองค์แสดงพระธรรม-

เทศนา อัคคิขันโธปมสูตร คิดว่า พวกเรา ไม่สามารถจะปรนนิบัติ

ธรรมนั้น โดยอาการทั้งปวงได้ และการที่ภิกษุผู้ประพฤติไม่ชอบ

บริโภคไทยธรรม ที่เขาให้ด้วยศรัทธาของชน ไม่ควรเลย จึงครุ่น

คิดจะสึกเป็นคฤหัสถ์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 121

ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเกิดธรรมสังเวช. ลำดับ

นั้น จึงตรัสกะพระเถระว่า เมื่อเรายับยั้งอยู่ในที่หลีกเร้น ใคร ๆ

ไม่บอกฐานะอันเป็นที่เบาใจอย่างหนึ่ง แก่เหล่าบุตรของเราเลย เหตุอัน

เป็นที่เนาใจในศาสนานี้มีมาก เหมือนท่าเป็นที่ลงสู่สาครทะเลฉะนั้น

ไปเถิด อานนท์ จงจัดพุทธอาสน์ ในบริเวณคันธกุฏี จงให้ภิกษุ

สงฆ์ประชุมกัน. พระเถระได้กระทำอย่างนั้น. พระศาสดา เสด็จ

สู่บวรพุทธอาสน์ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย

นั่นเป็นส่วนเบื้องต้นทั้งหมดแห่งเมตตา ไม่ใช่อัปปนา ไม่ใช่อุเบกขา

เป็นเพียงแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์ทั้งหลายเท่านั้น. จึงทรงแสดง

อัจฉราสังฆาตสูตรนี้ เพื่อเป็นอัตถุปปัตติเหตุนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจฺฉราสงฺฆาตมตฺต ความว่า

เพียงการดีดนิ้วมือ. อธิบายว่า เพียงเอา ๒ นิ้วดีดให้มีเสียง. บทว่า

เมตฺตจิตฺต ได้แก่จิตที่คิดแผ่ประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์.

บทว่า อาเสวติ ถามว่า ย่อมเสพอย่างไร ? แก้ว่า นึกถึง

อยู่เสพ เห็นอยู่เสพ พิจารณาอยู่เสพ ประคองความเพียรอยู่เสพ

น้อมใจเชื่อเสพ เข้าไปตั้งสติเสพ ตั้งจิตเสพ รู้ชัดด้วยปัญญาเสพ

รู้ยิ่งสิ่งที่ควรรู้ยิ่งเสพ กำหนดรู้สิ่งที่ควรกำหนดรู้เสพ ละสิ่งที่ควร

ละเสพ เจริญสิ่งที่ควรเจริญเสพ กระทำให้แจ้งสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง

เสพ. แต่ในที่นี้พึงทราบว่า เสพด้วยเหตุสักว่าเป็นไปโดยการแผ่

ประโยชน์เกื้อกูลในส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา.

บทว่า อริตฺตชฺฌาโน ได้แก่ ผู้มีฌานไม่ว่าง หรือไม่ละทิ้ง

ฌาน. บทว่า วิหรติ ความว่า ผลัดเปลี่ยนเป็นไปรักษาเป็นไปเอง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 122

ให้เป็นไป เที่ยวไป อยู่ ด้วยเหตุนั้นท่านจึงเรียกว่า วิหรติ ด้วยบทนี้

ท่านจึงกล่าวการอยู่ด้วยอิริยาบถ ของภิกษุผู้เสพเมตตา.

บทว่า สตฺถุ สาสนกโร ได้แก่ ผู้กระทำตามอนุสาสนี ของ

พระศาสดา บทว่า โอวาทปฏิกโร ได้เก่ผู้กระทำตามโอวาท.

ก็ในเรื่องนี้ การกล่าวคราวเดียว ชื่อว่าโอวาท การกล่าวบ่อย ๆ

ชื่อว่า อนุสาสนี. แม้การกล่าวต่อหน้า ก็ชื่อว่า โอวาท การส่ง

(ข่าว) ไปกล่าวลับหลัง ชื่อว่า อนุสาสนี. การกล่าวในเมื่อเรื่อง

เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่า โอวาท. ส่วนการกล่าวในเมื่อเรื่องเกิดขึ้นหรือ

ยังไม่เกิดขึ้น ชื่อว่า อนุสาสนี. พึงทราบความแปลกกันอย่างนี้. แต่

เมื่อว่าโดยปรมัตถ์ คำว่า โอวาท หรืออนุสาสนีนั้น เป็นอันเดียวกัน

มีอรรถอันเดียวกัน เสมอกัน เข้ากันได้ เกิดร่วมกันนั้นนั่นแล.

ก็ในที่นี้ คำว่าภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุเสพเมตตาจิต แม้เพียงลัดนิ้ว

มือเดียว นี้แล เป็นคำสอนและเป็นโอวาทของพระศาสนา พึงทราบ

ว่า ภิกษุนั้น ชื่อว่า ผู้ทำตามคำสอน และผู้สนองโอวาท เพราะปฏิบัติ

คำสอนและโอวาทนั้น.

บทว่า อโมฆ แปลว่า ไม่เปล่า. บทว่า รฏฺบปิณฺฑ ความว่า

บิณฑบาต (อาหาร) นั่นแล ท่านเรียกว่า รัฏฐบิณฑะ (ก้อนข้าวของ

ชาวแคว้น) เพราะอาหารนั้น ภิกษุผู้สละเครือญาติ อาศัยชาวแว่น

แคว้น บวชแล้วได้จากเรือนของคนอื่น.

บทว่า ปริภุญฺชติ ความว่า บริโภค มี ๔ อย่าง คือ เถยย-

บริโภค อิณบริโภค ทายัชชบริโภค สามิบริโภค. ในบริโภค ๔

อย่างนั้น การบริโภคของผู้ทุศีล ชื่อว่า เถยยบริโภค. การบริโภค

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 123

ปัจจัยที่ไม่ได้พิจารณาของผู้มีศีล ชื่อว่า อิณบริโภค. การบริโภค

ของพระเสขบุคคล ๗ จำพวก ชื่อว่า ทายัชชบริโภค. การบริโภค

ของพระขีณาสพ ชื่อว่า สามิบริโภค. ใน ๔ อย่างนั้น การบริโภค

ก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นนี้ ของภิกษุนี้ ย่อมไม่เสียเปล่าด้วย

เหตุ ๒ ประการ. ภิกษุผู้เสพเมตตาจิตแม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว ชื่อว่า

เป็นเจ้าของก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นบริโภค แม้เพราะเหตุนั้นการ

บริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้นของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่เสียเปล่า.

ทานที่เขาให้แก่ภิกษุผู้เสพเมตตาแม้เพียงลัดนิ้วมือเดียว ย่อมมี

ความสำเร็จมาก มีผลมาก มีอานิสงส์มาก มีความรุ่งเรื่องมาก

มีความกว้างขวางมาก เพราะเหตุนั้น การบริโภคข้าวของชาวแคว้น

ของภิกษุนั้น ไม่เป็นโมฆะ ไม่เสียเปล่า บทว่า โก ปน วาโท เย

น พหุลีกโรนฺติ ความว่า ควรกล่าวได้แท้ในข้อนี้ว่า ภิกษุเหล่าใด

ส้องเสพ เจริญให้มาก ทำบ่อย ๆ ซึ่งเมตตาจิตนี้ ภิกษุเหล่านั้น

ย่อมบริโภคก้อนข้าวของชาวแว่นแคว้น ไม่เสียเปล่า เพราะภิกษุ

เห็นปานนี้ ย่อมเป็นเจ้าของก้อนข้าวชาวแว่นแคว้น ไม่เป็นหนี้ เป็น

ทายาทบริโภค.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภาเวติ ได้แก่ ให้เกิดขึ้น คือ ให้เจริญ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 124

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มนสิกโรติ แปลว่า กระทำไว้ในใจ. คำที่เหลือ แม้

ในสูตรทั้งสองนี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวในสูตรที่ ๓. ก็ภิกษุใด

ย่อมเสพ ภิกษุนี้แหละชื่อว่า ย่อมเจริญ ภิกษุนี้ชื่อว่ากระทำในใจ.

ภิกษุย่อมเสพด้วยจิตใด ชื่อว่าย่อมเจริญด้วยจิตนั้นนั่นแล ชื่อว่า

ย่อมทำไว้ในใจด้วยจิตนั้น. ก็พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าเป็นผู้

สมบูรณ์ด้วยลีลาแห่งเทศนา เพราะทรงแทงตลอดธรรมธาตุใด

ทรงอาศัยลีลาแห่งเทศนา ๑ ความเป็นใหญ่ในธรรม ๑ ความฉลาด

ในประเภทแห่งปฏิสัมภิทา ๑ พระสัพพัญญุตญาณอันไม่ติดขัด ๑

ของพระองค์ เพราะทรงเป็นผู้แทงตลอดธรรมธาตุนั้น จึงทรงจำแนก

แสดงจิตดวงเดียว ซึ่งเกิดขึ้นในขณะเดียวเท่านั้น โดยส่วนทั้ง ๓.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เยเกจิ เป็นคำกำหนดไม่แน่นอน. บทว่า อกุสลา

เป็นคำกำหนดแน่นอนแห่งอกุศลเหล่านั้น. ด้วยคำเพียงเท่านี้

อกุศลธรรมทั้งหมด เป็นอันกำหนดเอาโดยไม่เหลือ คำว่า อกุสล-

ภาคิยา อกุสลปกฺขิกา นี้ เป็นชื่อแห่งอกุศลธรรมทั้งนั้น. จริงอยู่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 125

อกุศลนั่นแล บางพวกเป็นอกุศลจิต ด้วยอำนาจเป็นสหชาตธรรม

(เกิดร่วมกัน) บางพวกเข้ากันได้ด้วยอำนาจอุปนิสสยปัจจัย และ

เป็นฝักฝ่ายของอกุศลธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า

เป็นส่วนแห่งอกุศล เป็นฝักฝ่ายแห่งอกุศล.

บทว่า สพฺเพเต มโนปุพฺพงฺคมา ความว่า ใจเป็นหัวหน้า

คือถึงก่อนแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะฉะนั้น ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า

มีใจเป็นหัวหน้า. จริงอยู่ธรรมเหล่านั้น เกิดพร้อมกัน มีวัตถุอันเดียว

กัน ดับพร้อมกัน และมีอารมณ์เป็นอันเดียวกันกับใจก็จริง ถึง

กระนั้น เพราะเหตุที่ใจยังธรรมเหล่านั้นให้เกิดขึ้น ให้กระทำให้เกิด

ให้ตั้งขึ้น ให้บังเกิด ฉะนั้นธรรมเหล่านั้น จึงชื่อว่า มีใจเป็นหัวหน้า.

บทว่า ปม อุปฺปชฺชติ ความว่า เมื่อเขากล่าวว่า พระราชา

เสด็จออกไปแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะพึงกล่าวว่า ทัพพระราชาที่เหลือ

ออกไปแล้วหรือยังไม่ออกไป เขาย่อมรู้กันทั่วว่า ทัพพระราชา

ออกไปหมดแล้ว ฉันใด ใจก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไม่มีเหตุที่จะพึง

กล่าวว่า จำเดิมแต่เวลาที่เขากล่าวว่าเกิดขึ้นแล้ว ธรรมที่เหลือ

เกิดร่วมกัน ระคนกัน ประกอบกัน เกิดขึ้นแล้ว หรือยังไม่เกิดขึ้น

ธรรมทั้งหมดนั้น ย่อมปรากฏว่า เกิดขึ้นแล้วทั้งนั้น อาศัยอำนาจ

แห่งประโยชน์นี้ ใจที่ระคน ที่ประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น แม้จะเกิด

พร้อมกัน และดับพร้อมกัน ท่านก็เรียกว่าเกิดก่อนธรรมเหล่านั้น.

บทว่า อนฺวเทว แปลว่า ตามกัน ร่วมกัน อธิบายว่า พร้อม

กันทีเดียว. แต่ครั้นถือเอาเค้าแห่งพยัญชนะ ไม่ควรถือว่า จิตเกิด

ก่อน เจตสิกเกิดทีหลัง. จริงอยู่ อรรถคือความเป็นที่อาศัยของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 126

พยัญชนะทั้งหลาย แม้ในคาถาว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺา

มโนมยา ก็นัยนี้เหมือนกัน.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ในสูตรที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

กุศลธรรมแม้เป็นไปในภูมิ ๔ ท่านกล่าวว่า กุศล. คำที่เหลือ

พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสูตรที่ ๖ นั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ภิกฺขเว ในคำว่า ยถยิท ภิกฺขเว ปมาโท นี้ เป็นอาลปนะ

ความว่า ยถา อย ปมาโท เหมือนความประมาทนี้. บทว่า ปมาโท

ได้แก่ อาการคือ ความประมาท. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ในธรรมเหล่านั้น ความประมาทเป็นไฉน ? ความปล่อยจิต การ

สนับสนุนความปล่อยจิตในกามคุณ ๕ ด้วยกายทุจจริต ด้วยวจี

ทุจจริต หรือด้วยมโนทุจจริต หรือการการทำโดยไม่เคารพ ความ

กระทำไม่ติดต่อ ความทำอันหาประโยชน์มิได้ ความประพฤติ

ย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพ ความ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 127

ไม่อบรม ความไม่ทำให้มาก ซึ่งการอบรมกุศลธรรมทั้งหลาย.

ความประมาท กิริยาที่ประมาท ภาวะที่ประมาทเห็นปานนี้ใด

นี้เรียกว่าความประมาท.

บทว่า อุปฺปนฺนา จ กุสลา ธมฺมา ปริหายนฺติ (กุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้วย่อมเสื่อมไปด้วย) นี้ ท่านกล่าวเนื่องด้วยฌานและ

วิปัสสนา. แต่มรรคผลที่เกิดขึ้นแล้วครั้งเดียว ไม่เสื่อมอีกต่อไป.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ความไม่ประมาท พึงทราบโดยพิสดาร โดยตรงกันข้ามกับ

ความประมาท.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ความเป็นผู้เกียจคร้าน ชื่อว่า โกสัชชะ. คำที่เหลือมีนัย

ดังกล่าวแล้วแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาอัจฉราสังฆาตวรรคที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 128

วิริยารัมภาทิวรรคที่ ๗

ว่าด้วยเหตุเกิดขึ้นและเสื่อมไปแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรม

[๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนการปรารภความเพียร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้ปรารภความเพียร กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้มีความมักมาก ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นคนมักมาก อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิด

ขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้มีความมักน้อย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อบุคคลเป็นผู้มักน้อย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้ไม่สันโดษ ดูก่อนภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 129

ทั้งหลาย เมื่อบุคคลไม่สันโดษ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความสันโดษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อบุคคลสันโดษ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยไม่แยบคาย อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยแยบคาย กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อม

เกิดขึ้น และอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อบุคคลไม่รู้สึกตัว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น

และกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 130

[๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อบุคคลรู้สึกตัว กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศล-

ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อบุคคลมีมิตรชั่ว อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศล-

ธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

จบ วิริยารัมภาทิวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 131

อรรถกถาวิริยารัมภาทิวรรคที่ ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๑

ในสูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า วีริยารมฺโภ ได้แก่ ความริเริ่มความเพียร คือสัมมัปปธาน

ซึ่งมีกิจ อธิบายว่า ความเป็นผู้มีความเพียรอันประคองไว้บริบูรณ์.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มหิจฺฉตา ได้แก่ ความโลภมาก ซึ่งท่านหมายกล่าว

ไว้ว่า ในธรรมเหล่านั้น ความมักมากเป็นไฉน ? ความปรารถนา

ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แห่งภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวรบิณฑบาต เสนาสนะ

คิลานปัจจัย อันเป็นเภสัชชปริกขาร ยิ่งขึ้น ๆ หรือด้วยกามคุณ ๕

ความปรารถนา ความเป็นแห่งความปรารถนา ความมักมาก

ความกำหนัด ความกำหนัดมาก แห่งจิตเห็นปานนี้ใด นี้เรียกว่า

มหิจฉตา ความมักมาก.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 132

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อปฺปิจฺฉตา ได้แก่ ความไม่โลภ. บทว่า อปฺปิจฺฉสฺส

ได้แก่ผู้ไม่ปรารถนา ก็ในที่นี้ พยัญชนะ ดูเหมือนยังมีส่วนเหลือ

คือยังมีปรารถนาอยู่บ้าง ส่วนอรรถไม่มีส่วนเหลือ คือไม่ปรารถนา

เลย. จริงอยู่ บุคคลนั้นท่านเรียกว่า ผู้มีความปรารถนาน้อย เพราะ

ภาวะที่มีความปรารถนามีประมาณน้อยก็หามิได้ แต่ท่านเรียกว่า

มีความปรารถนาน้อย (มักน้อย) เพราะไม่มีความปรารถนา คือ

ภาวะ ที่ไม่มีความโลภ ที่เขาส้องเสพบ่อย ๆ นั่นแล.

อีกอย่างหนึ่ง ในที่นี้ พึงทราบความต่างกันดังนี้ว่า อตฺริจฺฉตา

ความปรารถนาเกิน ปาปิจฺฉตา ความปรารถนาลามก มหิจฺฉตา

ความมักมาก. ใน ๓ อย่างนั้น ความไม่อิ่มในลาภของตนยังปรารถนา

ในลาภของผู้อื่น ชื่อว่า ความปรารถนาเกิน. สำหรับผู้ประกอบ

ด้วยความปรารถนาเกิดนั้น แม้ขนมสุกในภาชนะหนึ่ง เขาใส่ไว้ใน

ภาชนะของตน ย่อมปรากฏ เหมือนขนมที่สุกไม่ดี และเหมือนมีน้อย

ขนมนั้นนั่นแล เขาใส่ในภาชนะของคนอื่น ปรากฏเหมือนสุกดี

และเหมือนมีมาก. ความประกาศคุณที่ไม่มีอยู่ และความไม่รู้จัก

ประมาณในการรับ ชื่อว่า ความปรารถนาลามก. ความปรารถนา

ลามกแม้นั้น มาแล้วในอภิธรรม โดยนัยมีอาทิว่า คนบางคนในโลกนี้

เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จักเราว่า เป็นผู้

มีศรัทธา. บุคคลผู้ประกอบด้วยความปรารถนาลามกนั้น ย่อม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 133

ตั้งอยู่ในความหลอกลวง. ส่วนความประกาศคุณที่มีอยู่ และความ

เป็นผู้ไม่รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่าเป็นผู้มีความมักมาก. ความ

มักมากแม้นั้นก็มาแล้วโดยนัยนี้เหมือนกันแหละว่า คนบางคนใน

โลกนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จักเราว่า เป็น

ผู้มีศรัทธา. บางคนเป็นผู้มีศีล ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จัก

เราว่าเป็นผู้มีศีล. บุคคลผู้ประกอบด้วยความมักมากนั้น เป็นผู้อิ่ม

ได้ยาก. แม้มารดาผู้บังเกิดเกล้า ก็ไม่สามารถจะยึดจิตใจเขาได้.

ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวคำนี้ไว้ว่า

อคฺคิกฺขนฺโธ สนุทฺโทจ มหิจฺโฉ จาปิ ปุคฺคโล

สกเฏน ปจฺจดย เทนฺตุ ตโยเปเต อตปฺปิยา.

กองไฟ ๑ สมุทร ๑ คนมักมาก ๑ ให้ปัจจัยตั้ง

เล่มเกวียน ทั้ง ๓ ประเภทนั้น ไม่รู้จักอื่น.

ส่วนการซ่อนคุณที่มีอยู่ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการรับ ชื่อว่า

ความเป็นผู้มักน้อย. บุคคลผู้ประกอบด้วยความเป็นผู้มักน้อยนั้น

ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จักเราว่าเป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้มีศีล ชอบ

สงัด เป็นพหุสูต ผู้ปรารภความเพียร ถึงพร้อมด้วยสมาธิ เป็นผู้มี

ปัญญา เป็นขีณาสพ ย่อมไม่ปรารถนาว่า ขอชนจงรู้จักเราว่า

เป็นพระขีณาสพ เหมือนพระมัชฌันติกเถระ ฉะนั้น.

ได้ยินว่า พระเถระ ได้เป็นพระขีณาสพผู้ใหญ่. แต่บาตร

และจีวรของท่าน มีราคาเพียงบาทเดียวเท่านั้น. ท่านได้เป็นพระ

สังฆเถระ ในวันฉลองวิหาร ของพระเจ้าธรรมาโศกราช. ครั้งนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 134

มนุษย์ทั้งหลายเห็นว่า ท่านเป็นผู้ปอนนัก จึงกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า

ขอท่านจงอยู่ภายนอกสักครู่เถิด. พระเถระคิดว่า เมื่อพระขีณาสพ

เช่นเรา ไม่กระทำการสงเคราะห์พระราชา คนอื่นใครเล่าจักทำได้

ดังนี้แล้วจึงดำลงในแผ่นดิน แล้วผุดขึ้นรับก้อนข้าวที่เขายกขึ้นเพื่อ

พระสังฆเถระได้พอดี. ท่านเป็นพระขีณาสพ ย่อมไม่ปรารถนาว่า

ขอคนจงรู้จักเราว่าเป็นพระขีณาสพ ด้วยประการอย่างนี้.

ก็แล ภิกษุผู้มักน้อยอย่างนี้ ย่อมทำลาภที่ยังไม่เกิด ให้เกิด

ขึ้น หรือย่อมทำลาภที่เกิดขึ้นแล้วให้มั่นคง ย่อมทำจิตของทายก

ให้ยินดี. ภิกษุนั้นย่อมถือเอาแต่น้อย เพราะความที่ตนเป็นผู้มักน้อย

โดยประการใด ๆ มนุษย์ทั้งหลายเลื่อมใสในวัตรของท่าน โดย

ประการนั้น ๆ ย่อมถวายเป็นอันมาก.

ความมักน้อยแม้อีกอย่าง มี ๔ ประการคือ มักน้อยในปัจจัย ๑

มักน้อยในธุดงค์ ๑ มักน้อยในปริยัติ ๑ มักน้อยในอธิคม ๑ บรรดา

ความมักน้อย ๔ อย่างนั้น ความมักน้อยในปัจจัย ๔ ชื่อว่า มักน้อย

ในปัจจัย. ภิกษุนั้น ย่อมรู้กำลังของทายก ย่อมรู้กำลังของไทยธรรม

ย่อมรู้กำลังของตน ถ้าไทยธรรมมีมาก ทายกประสงค์จะถวายน้อย

ย่อมรับแต่น้อย ด้วยอำนาจทายก, ไทยธรรมมีน้อย ทายกประสงค์

จะถวายมาก ย่อมรับแต่น้อย ด้วยอำนาจไทยธรรม แม้ไทยธรรม

มีมาก ทั้งทายกก็ประสงค์จะถวายมาก ย่อมรู้จักกำลังของตนแล้ว

รับแต่พอประมาณ. ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะให้คนอื่นรู้การสมาทาน

ธุดงค์แจ่มแจ้ง พึงทราบเรื่องเหล่านี้ เป็นอุทาหรณ์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 135

เล่ากันมาว่า พระมหากุมารกัสสปเถระผู้ถือโสสานิกังคธุดงค์

อยู่ในป่าช้ามาตลอด ๖๐ ปี. ภิกษุอื่นแม้แต่รูปเดียวก็ไม่รู้ ด้วยเหตุ

นั้นแล ท่านจึงกล่าวว่า

เราอยู่ในป่าช้ามาตลอด ๖๐ ปีรวด ภิกษุผู้เป็น

เพื่อน ก็ไม่รู้เรา โอเราเป็นยอดของผู้ถือการอยู่

ป่าช้าเป็นวัตร.

พระเถระสองรูปพี่น้องกันอยู่ที่เจติยบรรพต. น้องชายถือเอาท่อน

อ้อยที่อุปัฏฐากส่งไปถวาย ไปสู่สำนักของพี่ชายกล่าวว่า ท่านขอรับ

นิมนต์ท่านฉันเถิด. เวลาที่พูดเป็นเวลาที่พระเถระกระทำภัตตกิจ

เสร็จแล้วบ้วนปาก. พระเถระกล่าว่า อย่าเลยคุณ. น้องชายกล่าวว่า

ท่านถือเอกาสนิกังคธุดงค์หรือขอรับ. พระเถระกล่าวว่า เอามาเถอะ

คุณ ท่อนอ้อย แม้ถือเอกาสนิกังคธุดงค์ถึง ๕๐ ก็ยังปกปิดธุดงค์

ไว้ กระทำการฉันแล้ว บ้วนปาก อิธิษฐานธุดงค์ใหม่แล้วไป. ก็

ภิกษุใด เป็นเหมือนพระสาเกตติสสเถระ ไม่ปรารถนาจะให้ผู้อื่น

รู้ว่าตนเป็นพหุสูต ภิกษุ ชื่อว่า เป็นผู้มักน้อยในปริยัติ.

ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า เวลาไม่มีจึงไม่กระทำโอกาสใน

อุเทศ (เรียน) และปริปุจฉา (สอบถาม) ถูกทักท้วงว่า ท่านขอรับ

เมื่อไรท่านจักได้มรณขณะ (เวลาตาย) จึงสละหมู่ ไปยังกณิการวาลิก

สมุทรวิหาร. ในที่นั้น ท่านได้มีอุปการะแก่พระเถระ พระนวกะ

และพระมัชฌิมะ ตลอดภายในพรรษา ในปวารณาในวันอุโบสถ.

ให้ชาวชนบทแตกตื่นด้วยธรรมมีกถาแล้วก็ไป.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 136

ส่วนภิกษุใดเป็นพระอริยะชั้นใดชั้นหนึ่งมีพระโสดาบันเป็นต้น

ไม่ปรารถนาให้ผู้อื่นรู้ว่าตนเป็นพระโสดาบันเป็นต้น ภิกษุนี้ ชื่อว่า

ผู้มีความปรารถนาน้อยในอธิคม เหมือนกุลบุตร ๓ คน แลเหมือน

ช่างหม้อ ชื่อฆฏีการะ. ก็ในอรรถนี้ แม้ปุถุชนผู้ศึกษาประกอบด้วย

ความไม่โลภมีกำลังกล้า ได้อาเสวนะแล้ว ก็พึงทราบว่าเป็นผู้มักน้อย.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสนฺตุฏฺิตา ได้แก่ ความโลภกล่าวคือความไม่สันโดษ

อันเกิดแก่บุคคลผู้เสพคบหา เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลผู้ไม่สันโดษ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สนฺตุฏฺิตา ได้แก่ ความสันโดษกล่าวคือความไม่โลภ

อันเกิดแก่บุคคลผู้เสพคบหา เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลผู้สันโดษ.

บทว่า สนฺตุฏฺสฺส ได้แก่ผู้ประกอบด้วยความสันโดษในปัจจัย

ตามมีตามได้ ความสันโดษนั้นมี ๑๒ อย่าง คือ ความสันโดษในจีวร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 137

๓ อย่าง คือ ยถาลาภสันโดษ ๑ ยถาพลสันโดษ ๑ ยถาสารุปป

สันโดษ ๑. ในบิณฑบาตเป็นต้นก็เหมือนกัน. สันโดษนั้นมีการ

พรรณนาตามประเภทดังต่อไปนี้ ภิกษุในพระศาสนานี้ ได้จีวรดีหรือ

ไม่ดีก็ตาม เธอยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรนั่นแล ไม่ปรารถนา

จีวรอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในจีวรของภิกษุนั้น.

ฝ่ายภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็นผู้มีกำลังทุรพลตามปกติ หรือถูกอาพาธ

และชราครอบงำ ห่มจีวรหนัก ย่อมลำบาก เธอเปลี่ยนจีวรนั้นกับ

ภิกษุผู้ชอบพอกัน ถึงจะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยจีวรเบา ก็เป็นผู้

สันโดษ. นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในจีวรของภิกษุนั้น. ภิกษุอีกรูป

หนึ่ง เป็นผู้ได้ปัจจัยที่ประณีต ได้จีวรแผ่นผ้าที่นำมาแต่เมืองโสมาร

เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งที่มีราคา ก็หรือว่า ได้จีวรเป็นอันมาก

ให้ไปด้วยคิดว่า จีวรนี้สมควรแก่พระเถระผู้บวชนาน นี้สมควรแก่

ภิกษุ ผู้เป็นพหูสูต นี้สมควรแก่ภิกษุผู้เป็นไข้ นี้สมควรแก่ภิกษุ

ผู้มีลาภน้อย แล้วจึงเลือกเอาจีวรเก่าของภิกษุเหล่านั้น หรือผ้า

เปรอะเปื้อนจากกองขยะ เป็นต้น (หรือผ้าตกตามร้านตลาด) กระทำ

เป็นสังฆาฏิด้วยผ้าเหล่านั้น แม้ครองเองก็เป็นผู้สันโดษทีเดียว นี้

ชื่อว่ายถาสารุปปสันโดษ ของภิกษุนั้น. อนึ่ง ภิกษุในศาสนานี้ได้

บิณฑบาตอันเศร้าหมองหรือประณีต เธอย่อมยังอัตภาพให้เป็นไป

ด้วยบิณฑบาตนั้นนั่นแล ไม่ปรารถนาบิณฑบาตอื่น ถึงได้ก็ไม่รับ

นี้ชื่อว่ายถาลาภสันโดษของภิกษุนั้น อนึ่ง ภิกษุใดบิณฑบาตที่แสลง

ต่อปกติของตน หรือแสลงแก่ความป่วยไข้ บริโภคแล้วไม่ผาสุก เธอ

ให้บิณฑบาตนั้นแก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน แล้วฉันโภชนะอันเป็นสัปปายะ

จากมือของภิกษุนั้น แม้กระทำสมณธรรมอยู่ ก็เป็นผู้สันโดษแท้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 138

นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษ ในบิณฑบาตของภิกษุนั้น. ภิกษุอีกรูปหนึ่ง

ได้บิณฑบาตอันประณีตเป็นอันมาก เธอถวายบิณฑบาตนั้น แก่

พระเถระผู้บวชนาน ผู้เป็นพหูสูต ผู้มีลาภน้อย และผู้เป็นไข้ เหมือน

จีวร แม้ฉันอาหารจากสำนักของภิกษุเหล่านั้น หรืออาหารที่ระคนกัน

เพราะเที่ยวบิณฑบาตมา ก็ชื่อว่า เป็นผู้สันโดษแท้. นี้ชื่อว่า ยถาสารุปป-

สันโดษในบิณฑบาตของภิกษุนั้น.

อนึ่งภิกษุในพระศาสนานี้ ได้เสนาสนะที่น่าชอบใจ. หรือ

ไม่น่าชอบใจ. เธอไม่ให้ความดีใจเกิดขึ้น ไม่ให้ความขุ่นใจเกิดขึ้น

ย่อมยินดีด้วยเสนาสนะ ตามที่ได้เท่านั้น โดยที่สุดแม้เครื่องลาดทำ

ด้วยหญ้า. นี้ชื่อว่า ยถาลาภสันโดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น.

อนึ่ง ภิกษุได้เสนาสนะ. แสลงแก่ปกติของตน หรือแสลงแก่

ความเป็นไข้ของตน ซึ่งเธออยู่ ไม่มีความผาสุก เธอให้เสนาสนะนั้น

แก่ภิกษุผู้ชอบพอกัน แม้จะอยู่ในเสนาสนะอันเป็นสัปปายะ ก็เป็น

ผู้สันโดษแท้ นี้ชื่อว่า ยถาพลสันโดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น.

ภิกษุอีกรูปหนึ่งมีบุญมาก ได้เสนาสนะอันประณีต เป็นอันมาก

มีถ้ำมณฑป และเรือนยอดเป็นต้น เธอถวายเสนาสนะแม้เหล่านั้น

แก่พระเถระผู้บวชนาน ผู้พหุสูต ผู้มีลาภน้อย และผู้เป็นไข้เหมือน

ดังจีวร ถึงจะอยู่ในที่ใดที่หนึ่ง ก็เป็นผู้สันโดษแท้ นี้ ชื่อว่า ยถาสารุปป-

สันโดษในเสนาสนะของภิกษุนั้น. แม้ภิกษุใด พิจารณาว่า ธรรมดา

ว่าเสนาสนะ. อันดีที่สุด เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ถีนมิทธะ ย่อม

ครอบงำสำหรับผู้นั่งในที่นั้น สำหรับผู้นอนหลับแล้วตื่นขึ้น วิตก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 139

อันลามกย่อมปรากฏ เธอไม่รับเสนาสนะเช่นนั้น แม้ที่มาถึงแล้ว

เธอปฏิเสธเสนาสนะนั้น ถึงจะอยู่ในกลางแจ้ง มีอยู่โคนไม้เป็นต้น

ก็เป็นผู้สันโดษแท้ นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในเสนาสนะของ

ภิกษุนั้น.

อนึ่งภิกษุในพระศาสนานี้ ได้เภสัชอันเศร้าหมอง หรือประณีต

เธอย่อมยินดีด้วยเภสัชที่ตนได้นั้นนั่นแล ไม่ปรารถนาเภสัชอื่น

ถึงจะได้ก็ไม่รับ นี้ชื่อว่ายถาลาภสันโดษ ในคิลาปัจจัยของภิกษุนั้น.

อนึ่งภิกษุใด ต้องการน้ำมันกลับได้น้ำอ้อย แม้เธอถวายน้ำอ้อยนั้นแก่

ภิกษุผู้ชอบพอกัน ถือเอาน้ำมันจากมือของภิกษุผู้ชอบกันนั้น หรือ

แสวงหาน้ำมันอื่น กระทำเภสัช ก็เป็นผู้สันโดษแท้ นี้ชื่อว่า

ยถาพลสันโดษในคิลานปัจจัย ของภิกษุนั้น ภิกษุอีกรูปหนึ่ง มี

บุญมาก ได้เภสัชอันประณีต มีน้ำมันและน้ำอ้อยเป็นต้นเป็นอันมาก

เธอถวายเภสัชนั้นแก่พระเถระผู้บวชนาน ผู้พหูสูต ผู้มีลาภน้อย

และผู้เป็นไข้ เหมือนจีวร แม้จะยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยเภสัชอย่าง

ใดอย่างหนึ่ง อันเขานำมาแล้วเพื่อภิกษุเหล่านั้น ก็เป็นผู้สันโดษแท้.

อนึ่งภิกษุใดเมื่อเขาใส่สมอดองน้ำมูตรลงในภาชนะหนึ่ง วางวัตถุมีรส

อร่อย ๔ ลงในภาชนะหนึ่ง แล้วพูดว่าท่านขอรับ ท่านต้องการ

สิ่งใด จงถือเอาสิ่งนั้นไปเถิด ถ้าโรคของเธอสงบไป แม้ด้วยเภสัช

ทั้งสอง ชนิดใดชนิดหนึ่งไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น ชื่อว่า สมอดองน้ำมูตร

บัณฑิตทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว จึงปฏิเสธ

ของมีรสอร่อย ๔ อย่าง แม้กระทำเภสัชด้วยสมอดองน้ำมูตรก็เป็น

ผู้สันโดษอย่างยิ่ง นี้ชื่อว่า ยถาสารุปปสันโดษในคิลานปัจจัย ของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 140

ภิกษุนั้น. ก็บรรดาสันโดษ ๓ ในปัจจัยเฉพาะอย่างหนึ่ง ๆ นี้ ยถา-

สารุปปสันโดษเป็นเลิศ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖ - ๗

ในสูตรที่ ๖ - ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

อโยนิโสมนสิการ และโยนิโสมนสิการ มีลักษณะดังกล่าว

แล้วในหนหลัง และคำที่เหลือในสูตรนี้มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖ - ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ในสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อสมฺปชญฺ ได้แก่ ความไม่รู้ตัว. คำว่า

อสมฺปชญฺ นี้ เป็นชื่อของโมหะ. บทว่า อสฺปชานสฺส ได้แก่ ผู้ไม่

รู้ตัว คือผู้หลง.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 141

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ในสูตรที่ ๙ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมฺปชญฺ ได้แก่ ความรู้ตัว. บทว่า สมฺปชญฺ นี้เป็น

ชื่อแห่งปัญญา. บทว่า สมฺปชานสฺส ได้แก่ผู้รู้ตัวอยู่.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ในสูตรที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปาปมิตฺตตา ความว่า มิตรชั่ว คือลามก มีอยู่แก่ผู้ใด

ผู้นั้นชื่อว่ามีมิตรชั่ว. ความมีมิตรชั่ว ชื่อว่า ปาปมิตตตา

ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว. คำว่า ปาปมิตตตา นี้ เป็นชื่อของขันธ์ ๔

ที่เป็นไปโดยอาการนั้น. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ในบรรดา

ธรรมเหล่านั้น ความเป็นผู้มีมิตรชั่วเป็นไฉน ? บุคคลเหล่าใด เป็น

ผู้ไม่มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีสุขน้อย เป็นผู้ตระหนี่ เป็นผู้มี

ปัญญาทราม การเสพ การอาศัยเสพ การส้องเสพ การคบหา

การสมคบ ความภักดี ความจงรัก บุคคลเหล่านั้น ความมีบุคคลเหล่านั้น

เป็นเพื่อนนี้ เรียกว่า ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาวิริยาภัมภาทิวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 142

กัลยาณมิตตตาทิวรรคที่ ๘

ว่าด้วยความมีมิตรดีเป็นเหตุให้กุศลธรรมเกิดขึ้นเป็นต้น

[๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อบุคคลมีมิตรดี กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และอกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ

ไม่ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะการ

ประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ เพราะการไม่ประกอบกุศลธรรม

เนือง ๆ อกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น และกุศลธรรมที่เกิด

ขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรืออกุศลธรรม

ที่เกิดขึ้นแล้ว เสื่อมไป เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ

การไม่ประกอบอกุศลเนือง ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะการ

ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ เพราะการไม่ประกอบอกุศลธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 143

เนือง ๆ กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้น อกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

แล้ว ย่อมเสื่อมไป.

[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ไม่เกิดขึ้น หรือโพชฌงค์ที่เกิด

ขึ้นแล้ว ย่อมไม่ถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนการใส่ใจโดยไม่

แยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยไม่แยบคาย

โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด ย่อมไม่เกิดขึ้น และโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว

ย่อมไม่ถึงความเจริญบริบูรณ์.

[๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นเหตุให้โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น หรือโพชฌงค์ที่เกิด

ขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์ เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลใส่ใจโดยแยบคาย โพชฌงค์ที่ยังไม่เกิด

ย่อมเกิดขึ้น ละโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์

[๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมญาติมีประมาณน้อย

ความเสื่อมปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้งหลาย.

[๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยญาติมีประมาณ

น้อย ความเจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงสำเนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจัก

เจริญด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเนียก

อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 144

[๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมแห่งโภคะมีประมาณ

น้อย ความเสื่อมแห่งปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าควานเสื่อมทั้งหลาย.

[๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยโภคะมีประมาณ

น้อย ความเจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะฉะนั้น

เธอทั้งหลายพึงสำเนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเจริญโดยความ

เจริญปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงสำเนียกอย่างนี้แล.

[๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมยศมีประมาณน้อย

ความเสื่อมปัญญาชั่วร้ายที่สุดกว่าความเสื่อมทั้งหลาย.

จบ กัลยาณมิตตตาทิวรรคที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 145

อรรถกถากัลยาณมิตตตาทิวรรคที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๑

สูตรที่ ๑ แห่งวรรคที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กลฺยาณมิตฺตตา ความว่า ชื่อว่ากัลยาณมิตร เพราะมี

มิตรดี ภาวะแห่งความเป็นผู้มีกัลยาณมิตรนั้น ชื่อว่า กัลยาณมิตตตา

ความเป็นผู้มีมิตรดี. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยที่ตรงกันข้ามกับคำ

ดังกล่าวนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อนุโยโค ได้แก่ การประกอบ การประกอบทั่ว. บทว่า

อนนุโยโค ได้แก่ การไม่ประกอบ การไม่ประกอบทั่ว. บทว่า

อนุโยคา แปลว่า เพราะการประกอบเนือง ๆ. บทว่า อนนุโยคา

แปลว่า เพราะไม่ประกอบเนือง ๆ. บทว่า กุสลาน ธมฺมาน ได้แก่

กุศลธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 146

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า โพชฺฌงฺคา ได้แก่ ธรรม ๗ ประการ อันเป็นองค์คุณ

ของสัตว์ผู้ตรัสรู้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า โพชฌงค์เพราะเป็นองค์แห่ง

ธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้อันเป็นเหตุออกจากวัฏฏะ หรือทำให้แจ้ง

สัจจะ ๔ ของสัตว์ผู้ตรัสรู้นั้น. บทว่า โพชฺฌงฺคา ความว่า ชื่อว่า

โพชฌงค์ ด้วยอรรถว่ากระไร ? ที่ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์

แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะองค์แห่ง

ธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้ตาม. ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะเป็นองค์

แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้เฉพาะ. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็น

องค์แห่งธรรมสามัคคีเครื่องตรัสรู้พร้อม. ชื่อว่า โพชฌงค์ เพราะเป็น

ไปพร้อม ด้วยปัญญาเครื่องตรัสรู้. ก็บท (ว่าโพชฌงค์) นี้ ท่านจำแนก

ไว้แล้วด้วยประการฉะนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ด้วยบทนี้ว่า ภาวนาปาริปูรึ คจฺฉนฺติ ย่อมถึงความเจริญ

เต็มที่ ดังนี้ ท่านกล่าวถึงภูมิพร้อมด้วยกิจ ตามความเป็นจริง แห่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 147

โพชฌงค์. ก็ภูมินี้นั้นมี ๔ อย่าง คือวิปัสสนา ๑ ฌานที่เป็นบาท

แห่งวิปัสสนา ๑ มรรค ผล ๑ ใน ๔ อย่างนั้น ในเวลาที่เกิดใน

วิปัสสนา โพชฌงค์ จัดเป็นกามวจร. ในเวลาที่เกิดในฌานอันเป็น

บาทของวิปัสสนา โพชฌงค์ เป็นรูปาวจร และอรูปาวจร. ในเวลา

ที่เกิดในมรรคและผล โพชฌงค์เป็นโลกุตตระ. ดังนั้น ในสูตรนี้

ท่านจึงกล่าวโพชฌงค์ว่า เป็นไปในภูมิทั้ง ๔.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ในสูตรที่ ๖ มีความย่อเหตุที่เกิดเรื่อง ก็ในเหตุที่เกิดเรื่อง

ท่านตั้งเรื่องไว้ดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุมากรูปนั่งประชุมกันในโรงธรรม ท่านเกิดสนทนาปรารภ

พันธุลมัลลเสนาบดีขึ้นในระหว่าง ดังนี้ว่า อาวุโส ตระกูลชื่อโน้น

เมื่อก่อน ได้มีหมู่ญาติเป็นอันมาก มีสมัครพรรคพวกมาก บัดนี้

มีญาติน้อย มีสมัครพรรคพวกน้อย. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบวาระจิต ของภิกษุเหล่านั้น ทรงทราบว่า เมื่อเราไป

(ที่นั้น) จักมีเทศน์กัณฑ์ใหญ่จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ประทับ

นั่งบนบวรพุทธอาสน์ ที่เขาตกแต่งไว้ในโรงธรรม แล้วตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมด้วยเรื่องอะไรกัน. พวก

ภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เรื่องคามนิคมเป็นต้น

อย่างอื่นย่อมไม่มี แต่ตระกูลชื่อโน้น เมื่อก่อนมีญาติมาก มีสมัคร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 148

พรรคพวกมาก บัดนี้ มีญาติน้อย มีสมัครพรรคพวกน้อย พวก

ข้าพระองค์ นั่งประชุมสนทนากันดังนี้. พระศาสดาทรงปรารภ

สูตรนี้ว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเสื่อมนี้มีประมาณน้อย ดังนี้

ในเมื่อเกิดเรื่องนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺติกา ได้แก่น้อย คือ มี

ประมาณน้อย. จริงอยู่ ด้วยความเสื่อมนี้ ท่านกล่าวคำมีอาทิว่า

ความเสื่อมจากสวรรค์ หรือจากมรรคย่อมไม่มี นั้นเป็นเพียงความ

เสื่อมในปัจจุบันเท่านั้น. บทว่า เอต ปติกิฏฺ ความว่า นี้เป็นของ

ที่เลวร้าย นี้เป็นของต่ำทราม. บทว่า ยทิท ปญฺาปริหานิ ความว่า

ความเสื่อมแห่งกัมมัสสกตปัญญา ฌานปัญญา วิปัสสนาปัญญา

มรรคปัญญา และ ผลปัญญา ในศาสนาของเรา เป็นความเสื่อม

ที่เลวร้าย เป็นความเสื่อมที่ต่ำทราม เป็นความเสื่อมที่ควรละทิ้งเสีย.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ในสูตรที่ ๗ ท่านกล่าวไว้แล้ว ในเหตุเกิดเรื่องเหมือนกัน.

ได้ยินว่า บรรดา ภิกษุสงฆ์ ผู้นั่งประชุมกันในโรงธรรม บางพวก

กล่าวอย่างนี้ว่า ตระกูลชื่อโน้น เมื่อก่อนมีญาติน้อย พวกน้อย บัดนี้

ตระกูลนั้น มีญาติมาก มีพวกมาก หมายเอาตระกูลนั้น จึงกล่าว

อย่างนี้แล. คือ หมายถึงนางวิสาขาอุบาสิกา และเจ้าลิจฉวีใน

กรุงเวสาลี. พระศาสดา ทรงทราบวาระจิตของภิกษุเหล่านั้น จึง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 149

เสด็จมาโดยนัยก่อนนั่นแล ประทับนั่งบนธรรมาสน์ ตรัสถามว่า

ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? ภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลให้ทรงทราบตามความเป็นจริงแล้ว. พระศาสดาทรงเริ่ม

พระสูตรนี้เพื่อเหตุเกิดเรื่องนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺติกา ความว่า ชื่อว่าน้อย

เพราะไม่มีผู้อาศัยสมบัตินั้นแล้ว ถึงสวรรค์หรือมรรคได้. บทว่า

ยทิท ปญฺาวุฑฺฒิ ได้แก่ความเจริญแห่งกัมมัสสกตปัญญาเป็นต้น.

บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะชื่อว่าความเจริญแห่งญาติเป็นเพียง

ปัจจุบันเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่สามารถให้ถึงสวรรค์ หรือมรรคได้.

บทว่า ปญฺญาวุฑฺฒิยา ได้แก่ ด้วยความเจริญแห่งปัญญา มีกัมมัสสกต-

ปัญญาเป็นต้น.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗

อรรถกถาสูตรที่ ๘

สูตรที่ ๘ ท่านกล่าวไว้ในเหตุเกิดเรื่องเหมือนกัน. ได้ยินว่า

ภิกษุมากรูป นั่งประชุมกันในโรงธรรม ปรารภบุตรของเศรษฐี

ผู้มีทรัพย์มากกล่าวว่า ตระกูลชื่อโน้น เมื่อก่อนมีโภคะมาก มีเงิน

และทองมาก บัดนี้ตระกูลนั้นกลับมีโภคะน้อย. พระศาสดาเสด็จ

มาโดยนัยก่อนนั่นแหละ ทรงสดับคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว จึงทรง

เริ่มพระสูตรนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 150

อรรถกถาสูตรที่ ๙

แม้ใน สูตรที่ ๙ ท่านก็กล่าวไว้ ในเหตุเกิดเรื่องเหมือนกัน

ได้ยินว่า พวกภิกษุนั่งประชุมกันในโรงธรรม ปรารภกากวลิย

เศรษฐีและปุณณเศรษฐี กล่าวว่า ตระกูลชื่อโน้น เมื่อก่อนมีโภคะ

น้อย บัดนี้ตระกูลเหล่านั้นมีโภคะมาก. พระศาสดาเสด็จมาโดยนัย

ก่อนนั่นแล ทรงสดับของภิกษุเหล่านั้น จึงเริ่มพระสูตรนี้. คำที่

เหลือ ในสูตรทั้ง ๒ นี้ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวในหนหลังนั่นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

แม้สูตรที่ ๑๐ ท่านกล่าวไว้แล้วในเหตุเกิดเรื่องเหมือนกัน.

ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายในโรงธรรมปรารภพระเจ้าโกศลมหาราช

กล่าวว่า ตระกูลชื่อโน้น เมื่อก่อนมียศมาก มีบริวารมาก บัดนี้

มียศน้อย มีบริวารน้อย พระศาสดาเสด็จมาโดยนัยก่อนนั่นแล ทรง

สดับคำของภิกษุเหล่านั้น จึงเริ่มเทศนานี้. คำที่เหลือพึงทราบ

โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถากัลยาณมิตตตาทิวรรคที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 151

ปมาทาทิวรรคที่ ๙

ว่าด้วยธรรมที่เลิศและเป็นไปเพื่อประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

[๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเจริญด้วยยศมีประมาณน้อย

ความเจริญด้วยปัญญาเลิศกว่าความเจริญทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ

เธอทั้งหลายพึงสำเนียกอย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเจริญโดยความ

เจริญด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล.

[๘๓] ดูก่อภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความประมาท

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์

อย่างใหญ่.

[๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความไม่ประมาท

ก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

อย่างใหญ่.

[๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้

เกียจคร้าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็น

ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 152

[๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้ปรารภ

ความเพียร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ปรารภความเพียร

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

[๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เพื่อนความเป็นผู้

มักมาก ก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อ

มิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มักน้อย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

อย่างใหญ่.

[๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้

ไม่สันโดษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นไป

เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้สันโดษ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

อย่างใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 153

[๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดย

ไม่แยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็น

ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยแยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

อย่างใหญ่.

[๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้

ไม่รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไป

เพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

อย่างใหญ่.

[๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มี

มิตรชั่ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไปเพื่อ

มิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 154

[๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์

อย่างใหญ่

[๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบ

อกุศลธรรมเนือง ๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อม

เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้อย่าง

หนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่ เหมือนการประกอบกุศล-

ธรรมเนือง ๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ย่อม

เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

จบ ปมาทาทิวรรคที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 155

อรรถกถาปมาทาทิวรรคที่ ๙

อรรถกถาสูตรที่ ๑

วรรคที่ ๙ สูตรที่ ๑ ท่านกล่าวไว้แล้ว ในเหตุเกิดเรื่องนั่นแล.

ได้ยินว่า ภิกษุมากรูป นั่งประชุมกันในโรงธรรม ปรารภถึงกุมภ-

โลกกล่าวว่า ตระกูลชื่อโน้น เมื่อก่อนมียศน้อย มีบริวารน้อย

บัดนี้มียศมากมีบริวารมาก. พระศาสดาเสด็จมาโดยนัยก่อนนั่นแล

ได้ทรงสดับคำของภิกษุเหล่านั้น จึงเริ่มพระสูตรนี้ ใจความแห่ง

พระสูตรนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มหโต อนตฺถาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่ความพินาศ

อย่างใหญ่ คำที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

จบ อรรถกถาปมาทาทิวรรคที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 156

วรรคที่ ๑๐

ว่าด้วยธรรมที่ก่อให้เกิดประโยชน์และมิใช่ประโยชน์

[๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประมาทย่อมเป็น

ไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนความไม่ประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาท

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้

เกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนการปรารภความเพียร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การปรารภ

ความเพียร ย่อมเป็นเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 157

[๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนความเป็นผู้มักมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักมาก

ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจ้งถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนความเป็นผู้มักน้อย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อย

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอันแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนความเป็นผู้ไม่สันโดษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่

สันโดษย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจ

โดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 158

[๑๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดย

แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้ไม่

รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรชั่ว

ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหจุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี

ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 159

[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนื่อง ๆ การไม่ประกอบกุศลธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ การไม่

ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์อย่างใหญ่.

[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะชี้แจงถึงเหตุภายใน เรา

ไม่เล็งเห็นเหตุอื่นแม้อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่

เหมือนการประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ การไม่ประกอบ

อกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์อย่างใหญ่.

ว่าด้วยธรรมเป็นเหตุให้พระสัทธรรมเสื่อมและมั่นคง

[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง เป็นไปเพื่อความที่เสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่ง

สัทธรรม เหมือนความประมาท ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความประมาท

ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่งสัทธรรม.

[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อ

ความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความไม่ประมาท ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความไม่ประมาท ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น

เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 160

[๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่ง

สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้เกียจคร้าน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

เป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธาน

แห่งสัทธรรม.

[๑๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อ

ความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการปรารภความเพียร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การปรารภความเพียร ย่อมเป็นไปเพื่อความ

ดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.

[๑๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่ง

สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มักมาก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

เป็นผู้มักมาก ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธาน

แห่งสัทธรรม.

[๑๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อ

ความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มักน้อย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มักน้อย ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น

เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 161

[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อควานเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่ง

สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้ไม่สันโดษ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

เป็นผู้ไม่สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธาน

แห่งสัทธรรม.

[๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อ

ความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้สันโดษ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้สันโดษ ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น

เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.

[๑๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อ

สัทธรรม เหมือนการใส่ใจโดยไม่แยบคาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การใส่ใจโดยไม่แยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความ

อันตรธานแห่งสัทธรรม.

[๑๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อ

ความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการใส่ใจโดยแยบคาย ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย การใส่ใจโดยแยบคาย ย่อมเป็นไปเพื่อดำรงมั่น เพื่อ

ความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 162

[๑๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่ง

สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

เป็นผู้ไม่รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธาน

แห่งสัทธรรม.

[๑๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อ

ความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้รู้สึกตัว ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้สึกตัว ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น

เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.

[๑๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่ง

สัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ

เป็นผู้มีมิตรชั่ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธาน

แห่งสัทธรรม.

[๑๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อ

ความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนความเป็นผู้มีมิตรดี ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ความเป็นผู้มีมิตรดี ย่อมเป็นไปเพื่อความดำรงมั่น

เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 163

[๑๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความอันตรธานแห่ง

สัทธรรม เหมือนการประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ การไม่ประกอบ

กุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การประกอบอกุศลธรรมเนือง ๆ

การไม่ประกอบกุศลธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความเสื่อมสูญ เพื่อความ

อันตรธานแห่งสัทธรรม.

[๑๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้

อย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อ

ความไม่อันตรธานแห่งสัทธรรม เหมือนการประกอบกุศลธรรม

เนือง ๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การ

ประกอบกุศลธรรมเนือง ๆ การไม่ประกอบอกุศลธรรม ย่อมเป็น

ไปเพื่อความดำรงมั่น เพื่อความไม่เสื่อมสูญ เพื่อความไม่อันตรธาน

แห่งสัทธรรม.

จบ วรรคที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 164

อรรถกถาวรรคที่ ๑๐

วรรคที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อชฺฌตฺติก ได้แก่ สิ่งที่เป็นไปภายใน ด้วยอำนาจเกิด

เฉพาะภายในตน. บทว่า องฺค แปลว่า เหตุ. บทว่า อิติ กริตฺวา แปลว่า

กระทำอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอธิบาย ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เรากระทำสิ่งที่เป็นไปทับตน คือเฉพาะตน อันตั้งขึ้นใน

สันดานของตน ว่าเป็นเหตุแล้ว ย่อมไม่เห็นเหตุอื่นสักอย่างหนึ่ง

ดังนี้.

บทว่า พาหิร ได้แก่ สิ่งที่เป็นภายนอกจากสันดานภายในตน.

บทว่า ธมฺมสฺส ได้แก่ พระสัทธรรม อธิบายว่าพระศาสนา. บทว่า

สมฺโมสาย ได้แก่ เพื่อความพินาศ. บทว่า อนฺตรธานาย ได้แก่ เพื่อ

ความไม่ปรากฏ. บทว่า ิติยา ได้แก่ เพื่อความตั้งอยู่ตลอดกาลนาน.

บทว่า อสมฺโมสาย อนนฺตรธานาย พึงทราบโดยนัยตรงกันข้าม

จากที่กล่าวแล้วนั่นแล. คำที่เหลือในสูตรนี้มีนัยดังกล่าวแล้วในธรรม

ที่มี ๔ เงื่อนนั่นแล.

ในคำว่า อธมฺม หโมติ ทีเปนฺติ เป็นต้น เบื้องหน้าต่อจากนี้

พึงทราบความโดยปริยายแห่งพระสูตรก่อน. กุศลกรรมบถ ๑๐

ชื่อว่า ธรรม. อกุศลกรรมบถ ๑๐ ชื่อว่า อธรรม. อนึ่ง โพธิปักขิยธรรม

๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 165

๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรค มีองค์ ๘ ชื่อว่า ธรรม. ธรรมนี้ คือ

สติปัฏฐาน ๓ สัมมัปปธาน ๓ อิทธิบาท ๓ อินทรีย์ ๖ พละ โพชฌงค์

๘ มรรคมีองค์ ๙ และ อุปาทาน ๔ นิวรณ์ ๕ อนุสัย ๗ มิจฉัตตะ ๘

ชื่อว่า อธรรม. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธมฺโม ความว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อถือเอาส่วนแห่งอธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว แสดงว่า

เราจักทำอธรรมนี้ ให้เป็นธรรม กุศลจิตของอาจารย์ของพวกเรา

จักเป็นนิยยานิกธรรมเครื่องนำออก และพวกเราจักปรากฏในโลก

ด้วยอาการอย่างนี้ จึงกล่าวอธรรมนี้ ว่านี้เป็นธรรม ชื่อว่า แสดง

ธรรม ว่าเป็นธรรม. เมื่อถือเอาส่วนหนึ่ง ในส่วนแห่งธรรม เช่นนั้น

เหมือนกัน แล้วแสดงว่า นี้เป็นอธรรม ชื่อว่า แสดงธรรม ว่าเป็น

อธรรม. แต่เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระวินัย กรรมที่โจทย์ ด้วย

เรื่องที่เป็นจริงให้ระลึกได้แล้วปรับอาบัติตามปฏิญญา ชื่อว่าธรรม.

กรรม ที่ไม่ได้โจทย์ไม่ให้ระลึกได้ ด้วยเรื่องอันไม่เป็นจริง แล้ว

ปรับอาบัติ โดยที่ไม่ได้ปฏิญญาไว้ ชื่อว่า อธรรม.

เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร ธรรมนี้คือ การกำจัดราคะ

การกำจัดโทสะ การกำจัดโมหะ การสังวร การละ การพิจารณา

ชื่อว่าวินัย การไม่กำจัดราคะเป็นต้น การไม่สังวร การไม่ละ

และการไม่พิจารณา ชื่อว่า อวินัย. เมื่อว่าโดยปริยายพระวินัย

ธรรมนี้คือ วัตถุสมบัติ ญัตติสมบัติ อนุสาวนาสมบัติ สีมาสมบัติ

ปริสสมบัติ ชื่อว่า วินัย. วัตถุวิบัติ ปริสวิบัติ นี้ชื่อว่า อวินัย.

เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร คำนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปป-

ธาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘ พระตถาคตทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้. คำนี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 166

สติปัฏฐาน ๓ สัมมัปปธาน ๓ อิทธิบาท ๓ อินทรีย์ ๖ พละ. สัม-

โพชฌงค์ ๘ มรรคมีองค์ ๙ พระตถาคต มิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้.

เมื่อว่าโดยปริยายพระวินัย คำนี้ว่า ปาราชิก ๔ สังฆาฑิเสส ๑๓

อนิยต ๒ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๐ พระตถาคต ทรงภาษิตไว้ ตรัสไว้.

คำนี้ว่า ปาราชิก ๓ สังฆาฑิเสส ๑๔ อนิยต ๓ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๑

พระตถาคตมิได้ทรงภาษิตไว้ มิได้ตรัสไว้.

เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร กิจนี้คือ การเข้าผลสมาบัติ

การเข้ามหากรุณาสมาบัติ ทรงตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ทรงแสดง

พระสูตรเนื่องด้วยเหตุที่เกิดเรื่องขึ้น การตรัสชาดก ทุกวัน ๆ พระ

ตถาคตเคยประพฤติมา. กิจนี้คือ การไม่เข้าผลสมาบัติ ฯลฯ การ

ไม่ตรัสชาดก ทุกวัน ๆ พระตถาคตไม่เคยประพฤติมา. เมื่อว่า

โดยปริยายแห่งพระวินัย กิจนี้คือ เมื่อถูกนิมนต์ อยู่จำพรรษาแล้ว

ต้องบอกลาจึงหลีกไปสู่ที่จาริก ปวารณาแล้วจึงหลีกไปสู่ที่จาริก

การกระทำปฏิสันถารก่อนกับด้วยภิกษุผู้อาคันตุกะ พระตถาคตเจ้า

เคยประพฤติมา. การไม่กระทำกิจที่พระตถาคตเคยประพฤติมานั้น

นั่นแล ชื่อว่า ไม่เคยประพฤติแล้ว.

เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระสูตร สติปัฏฐาน ๔ อริยมรรคมีองค์

๘ นี้ชื่อว่า พระตถาคตทรงบัญญัติ. สติปัฏฐาน ๓ มรรคมีองค์

นี้ชื่อว่า ตถาคตไม่ทรงบัญญัติไว้. เมื่อว่าโดยปริยายแห่งพระวินัย

ปาราชิก ๔ นิสสัคคียปาจิตตีย์ ๓๐ นี้ชื่อว่า ตถาคตทรงบัญญัติ.

ปาราชิก ๓ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ ๓๑ นี้ชื่อว่า ตถาคตไม่ทรงบัญญัติไว้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 167

ก็ในคำที่ตรัสไว้ในที่สุดแห่งสูตรทั้งปวงว่า ก็ภิกษุเหล่านั้น

ย่อมยังธรรมนี้ให้อันตธานไปนั้น ชื่อว่า อันตรธานมี ๕ ย่างคือ

อธิคมอันตรธาน อันตรธานเห่งการบรรลุ ๑ ปฏิปัตติอันตรธาน

อันตรธานแห่งการปฏิบัติ ๑ ปริยัตติอันตรธาน อันตรธานแห่ง

ปริยัติ ๑ ลิงคอันตรธาน อันตรธานแห่งเพศ ๑ ธาตุอันตรธาน อันตร-

ธานแห่งธาตุ ๑. ใน ๕ อย่างนั้น มรรค ๔ ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔

วิชชา ๓ อภิญญา ๖ ชื่อว่า อธิคม. อธิคมนั้น เมื่อเสื่อมย่อมเสื่อมไป

ตั้งแต่ปฏิสัมภิทา. จริงอยู่ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐๐

ปีเท่านั้น ภิกษุไม่สามารถจะให้ปฏิสัมภิทาบังเกิดได้ ต่อแต่นั้นก็

อภิญญา ๖. แต่นั้นเมื่อไม่สามารถทำอภิญญาให้บังเกิดได้ ย่อมทำ

วิชชา ๓ ให้บังเกิด. ครั้นกาลล่วงไป ๆ เมื่อไม่สามารถจะทำวิชชา

๓ ให้บังเกิด ก็เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก โดยอุบายนี้เอง ก็เป็น

พระอนาคามี พระสกทาคามี และพระโสดาบัน. เมื่อท่านเหล่านั้น

ยังทรงชีพอยู่ อธิคมชื่อว่ายังไม่เสื่อม อธิคมชื่อว่า ย่อมเสื่อมไป

เพราะความสิ้นไปแห่งชีวิต ของพระอริยบุคคลผู้โสดาบันชั้นต่ำสุด

ดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งอธิคม.

ภิกษุไม่สามารถจะให้ฌาน วิปัสสนา มรรค และผล บังเกิด

ได้ รักษาเพียงจาตุปาริสุทธิศีล ชื่อว่าอันตรธานแห่งข้อปฏิบัติ.

เมื่อกาลล่วงไป ๆ ภิกษุทั้งหลายคิดว่า เราจะรักษาศีลให้บริบูรณ์

และจะประกอบความเพียรเนือง ๆ แต่เราก็ไม่สามารถจะทำให้แจ้ง

มรรคหรือผลได้ บัดนี้ไม่มีการแทงตลอดอริยธรรม จึงท้อใจ มาก

ไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่ตักเตือนกันและกัน ไม่รังเกียจกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 168

(ในการทำชั่ว) ตั้งแต่นั้นก็พากันย่ำยี สิกขาบทเล็กน้อย. เมื่อกาล

ล่วงไป ๆ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ถุลลัจจัย ต่อแต่นั้นต้องครุกาบัติ.

เพียงอาบัติปาราชิกเท่านั้นยังคงอยู่. เมื่อภิกษุ ๑๐๐ รูปบ้าง ๑๐๐๐

รูปบ้างผู้รักษาอาบัติปาราชิก ยังทรงชีพอยู่ การปฏิบัติชื่อว่ายังไม่

อันตรธาน จะอันตรธานไป เพราะภิกษุรูปสุดท้ายทำลายศีล หรือ

สิ้นชีวิต ดังกล่าวมานี้ ชื่อว่า อันตรายแห่งการปฏิบัติ.

บทว่า ปริยตฺติ ได้แก่ บาลีพร้อมทั้งอรรถกถาในพุทธพจน์

คือ พระไตรปิฎก บาลีนั้นยังคงอยู่เพียงใด ปริยัติก็ชื่อว่ายัง

บริบูรณ์อยู่เพียงนั้น. เมื่อกาลล่วงไป ๆ พระราชาและพระยุพราช

ในกุลียุค ไม่ตั้งอยู่ในธรรม เมื่อพระราชาและยุพราชเหล่านั้น ไม่

ตั้งอยู่ในธรรม ราชอมาตย์เป็นต้น ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม แต่นั้นชาว

แคว้นและชาวชนบท ก็ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ฝนย่อมไม่ตกต้องตาม

ฤดูกาล เพราะคนเหล่านั้นไม่ตั้งอยู่ในธรรม. ข้าวกล้าย่อมไม่บริบูรณ์

เมื่อข้าวกล้าเหล่านั้นไม่บริบูรณ์ ทายกผู้ถวายปัจจัย ก็ไม่สามารถ

จะถวายปัจจัยแก่ภิกษุสงฆ์ได้ ภิกษุทั้งหลายลำบากด้วยปัจจัย

ก็ไม่สามารถสงเคราะห์พวกอันเตวาสิก. เมื่อเวลาล่วงไป ๆ ปริยัติ

ย่อมเสื่อม ภิกษุทั้งหลายไม่สามารถจะทรงจำอรรถไว้ได้ ทรงจำ

ไว้ได้แต่พระบาลีเท่านั้น. แต่นั้นเมื่อกาลล่วงไป ก็ไม่สามารถจะ

ทรงบาลีไว้ได้ทั้งสิ้น. อภิธรรมปิฎกย่อมเสื่อมก่อน. เมื่อเสื่อม ก็เสื่อม

ตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่ ปัฏฐานมหาปกรณ์ย่อมเสื่อมก่อนทีเดียว เมื่อ

ปัฏฐานมหาปกรณ์เสื่อม ยมก กถาวัตถุ บุคคลบัญญัติ ธาตุกถา

ธัมมสังคณี ก็เสื่อม เมื่ออภิธรรมปิฎก เสื่อมไปอย่างนี้ สุตตันตปิฎก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

ก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา อังคุตตรนิกายเสื่อมก่อน เมื่ออังคุตตรนิกาย

เสื่อม เอกาทสกนิบาตเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ทสกนิบาต ฯลฯ ต่อนั้น

เอกนิบาต เมื่ออังคุตตรนิกายเสื่อมไปอย่างนี้ สังยุตตนิกาย ก็เสื่อม

ตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่มหาวรรค เสื่อมก่อนแต่นั้นสฬายตนวรรค

ขันธกวรรค นิทานวรรค สคาถวรรค เมื่อสังยุตตินิกายเสื่อมไป

อย่างนี้ มัชฌิมนิกายย่อมเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา จริงอยู่ อุปริปัณณาสก์

เสื่อมก่อน ต่อนั้น มัชฌิมปัณณาสก์ ต่อนั้นมูลปัณณาสก์. เมื่อ

มัชฌิมนิกายเสื่อมอย่างนี้ ทีฆนิกายเสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. จริงอยู่

ปาฏิยวรรคเสื่อมก่อน แต่นั้นมหาวรรค แต่นั้นสีลขันธวรรค เมื่อ

ทีฆนิกายเสื่อมอย่างนี้ พระสุตตันตปิฎกชื่อว่าย่อมเสื่อม. ทรงไว้

เฉพาะชาดกกับวินัยปิฎกเท่านั้น. ภิกษุผู้เป็นลัชชีเท่านั้นทรงพระ

วินัยปิฎก. ส่วนภิกษุผู้หวังในลาภ คิดว่า แม้เมื่อกล่าวแต่พระสูตร

ก็ไม่มีผู้จะกำหนดได้ จึงทรงไว้เฉพาะชาดกเท่านั้น. เมื่อเวลาล่วงไป ๆ

แม้แค้ชาดกก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้. ครั้งนั้น บรรดาชาดกเหล่านั้น

เวสสันตรชาดกเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ปุณณกชาดก มหานารทชาดก

เสื่อมไปโดยย้อนลำดับ ในที่สุดอปัณณกชาดกก็เสื่อม. เมื่อชาดก

เสื่อมไปอย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายย่อมทรงไว้เฉพาะพระวินัยปิฎกเท่านั้น.

เมื่อกาลล่วงไป ๆ ก็ไม่สามารถจะทรงไว้ได้แม้แต่พระวินัยปิฎก

แต่นั้นก็เสื่อมตั้งแต่ท้ายมา. คัมภีร์บริวารเสื่อมก่อน ต่อแต่นั้น ขันธกะ

ภิกษุณีวิภังค์ ก็เสื่อม แต่นั้น ก็ทรงไว้เพียงอุโปสถขันธกเท่านั้น

ตามลำดับ. แม้ในกาลนั้น ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่เสื่อม ก็คาถา ๔ บาท

ยังหมุนเวียนอยู่ในหมู่มนุษย์เพียงใด ปริยัตติก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

เพียงนั้น. ในกาลใด พระราชาผู้มีศรัทธาเลื่อมใสทรงให้ใส่ถุงทรัพย์

หนึ่งแสนลงในผอบทองตั้งบนคอช้างแล้วให้ตีกลองร้องประกาศไป

ในพระนครว่า ชนผู้รู้คาถา ๔ บท ที่พระพุทธเจ้าตรัสแล้ว จงถือ

เอาทรัพย์หนึ่งแสนนี้ไป ก็ไม่ได้คนที่จะรับเอาไป แม้ด้วยการให้เที่ยว

ตีกลองประกาศคราวเดียว ย่อมมีผู้ได้ยินบ้าง ไม่ได้ยินบ้าง จึงให้

เที่ยวตีกลองประกาศไปถึง ๓ ครั้ง ก็ไม่ได้ผู้ที่จะรับเอาไป. ราชบุรุษ

ทั้งหลาย จึงให้ขนถุงทรัพย์ ๑๐๐,๐๐๐ นั้น กลับสู่ราชตระกูลตามเดิม.

ในกาลนั้น ปริยัตติ ชื่อว่า ย่อมเสื่อมไป ดังว่านี้ ชื่อว่า การอันตรธาน

แห่งพระปริยัตติ.

เมื่อกาลล่วงไป ๆ การรับจีวร การรับบาตร การคู้ การ

เหยียด การดูแล การเหลียวดู ไม่เป็นที่นำมาซึ่งความเลื่อมใส.

ภิกษุทั้งหลายวางบาตรไว้ปลายแขนถือเที่ยวไป เหมือนสมณนิครนถ์

ถือบาตรน้ำเต้าเที่ยวไป. แม้ด้วยอาการเพียงเท่านี้ เพศก็ชื่อว่ายัง

ไม่อันตรธาน. เมื่อกาลล่วงไป ๆ เอาบาตรลงจากปลายแขนหิ้วไป

ด้วยมือหรือด้วยสาแหรกเที่ยวไป แม้จีวรก็ไม่ทำการย้อมให้ถูกต้อง

กระทำให้มีสีแดงใช้. เมื่อกาลล่วงไป การย้อมจีวรก็ดี การตัด

ชายผ้าก็ดี การเจาะรังดุมก็ดี ย่อมไม่มี ทำเพียงเครื่องหมายแล้ว

ใช้สอย ต่อมากลับเลิกรังดุม ไม่ทำเครื่องหมาย ต่อมา ไม่การทำ

ทั้ง ๒ อย่าง ตัดชายผ้าเที่ยวไปเหมือนพวกปริพาชก เมื่อกาลล่วงไป

ก็คิดว่า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยการกระทำเช่นนี้ จึงผูกผ้า

กาสายะชิ้นเล็ก ๆ เข้าที่มือหรือที่คอ หรือขอดไว้ที่ผม กระทำการ

เลี้ยงภรรยา เที่ยวไถ่หว่านเลี้ยงชีพ. ในกาลนั้น ชนเมื่อให้ทักขิณา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

ย่อมให้แก่ชนเหล่านั้นอุทิศสงฆ์ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมาย

เอาข้อนี้ จึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ในอนาคตกาล จักมีโคตรภูบุคคล

ผู้มีผ้ากาสายพันคอ เป็นผู้ทุศีล เป็นผู้มีธรรมอันลามก ชนทั้งหลาย

ให้ทาน ในคนผู้ทุศีล ผู้มีธรรมอันลามกเหล่านั้น อุทิศสงฆ์ อานนท์

ในกาลนั้น เรากล่าวว่า ทักษิณาไปแล้วในสงฆ์ มีผลนับไม่ได้

ประมาณไม่ได้. แต่นั้น เมื่อกาลล่วงไป ๆ ชนเหล่านั้นคิดว่า นี้ชื่อว่า

เป็นธรรมเครื่องเนิ่นช้า พวกเราจะต้องการอะไร ด้วยธรรมเครื่อง

เนิ่นช้านี้ จึงทิ้งท่อนผ้าโยนไปเสียในงา. ในกาลนั้น เพศชื่อว่าหายไป.

ได้ยินว่า การห่มผ้าชาวเที่ยวไปเป็นจารีตของคนเหล่านั้น มาแต่

ครั้งพระกัสสปทศพล ดังว่านี้ ชื่อว่า การอันตรธานไปแห่งเพศ.

ชื่อว่า อันตรธานไปแห่งธาตุ พึงทราบอย่างนี้ :- ปรินิพพานมี

๓ คือกิเลสปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งกิเลส, ขันธปรินิพพาน

การปรินิพพานแห่งขันธ์, ธาตุปรินิพพาน การปรินิพพานแห่งธาตุ

บรรดาปรินิพพาน ๓ อย่างนั้น กิเลสปรินิพพาน ได้มีที่โพธิบัลลังก์.

ขันธปรินิพพาน ได้มีที่กรุงกุสินารา ธาตุปรินิพพาน จักมีในอนาคต.

จักมีอย่างไร ? คือครั้งนั้น ธาตุทั้งหลายที่ไม่ได้รับสักการะ และ

สัมมานะในที่นั้น ๆ ก็ไปสู่ที่ ๆ มีสักการะ และสัมมานะ ด้วยกำลัง

อธิษฐานของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. เมื่อกาลล่วงไป สักการะและ

สัมมานะก็ไม่มีในที่ทั้งปวง. เวลาพระศาสนาเสื่อมลง พระธาตุ

ทั้งหลายในตามพปัณณิทวีปนี้ จักประชุมกันแล้วไปสู่มหาเจดีย์

จากมหาเจดีย์ ไปสู่นาคเจดีย์ แต่นั้นจักไปสู่โพธิบัลลังก์. พระธาตุ

ทั้งหลายจากนาคพิภพบ้าง จากเทวโลกบ้าง จากพรหมโลกบ้าง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 172

จักไปสู่โพธิบัลลังก์แห่งเดียว. พระธาตุแม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์

ผักกาดจักไม่หายไปในระหว่าง. พระธาตุทั้งหมดจักประชุมกันที่

มหาโพธิมัณฑสถานแล้ว รวมเป็นพระพุทธรูป แสดงพุทธสรีระ

ประทับนั่งขัดสมาธิ ณ โพธิมัณฑสถาน. มหาปุริสลักษณะ ๓๒

อนุพยัญชนะ ๘๐ พระรัศมีประมาณวาหนึ่ง ทั้งหมดครบบริบูรณ์

ทีเดียว. แต่นั้นจักการทำปาฏิหาริย์แสดง เหมือนในวันแสดงยมก

ปาฏิหาริย์. ในกาลนั้น ชื่อว่า สัตว์ผู้เป็นมนุษย์ ไม่มีไปในที่นั้น.

ก็เทวดาในหมื่นจักรวาฬ ประชุมกันทั้งหมด พากันครวญคร่ำรำพัน

ว่า วันนี้พระทสพลจะปรินิพพาน จำเดิมแต่บัดนี้ไป จักมีแต่ความมืด.

ลำดับนั้น เตโชธาตุลุกโพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ ทำให้พระสรีระนั้น

ถึงความหาบัญญัติมิได้. เปลวไฟที่โพลงขึ้นจากพระสรีรธาตุ พลุ่ง

ขึ้นจนถึงพรหมโลก เมื่อพระธาตุแม้สักเท่าเมล็ดพรรณผักกาดยัง

มีอยู่ ก็จักมีเปลวเพลิงอยู่เปลวหนึ่งเท่านั้น เมื่อพระธาตุหมดสิ้นไป

เปลวเพลิงก็จักขายหายไป. พระธาตุทั้งหลายแสดงอานุภาพใหญ่

อย่างนี้แล้ว ก็อันตรธานไป. ในกาลนั้น หมู่เทพกระทำสักการะ

ด้วยของหอม ดอกไม้และดนตรีทิพย์เป็นต้น เหมือนในวันที่พระ

พุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน กระทำปทักษิณ ๓ ครั้ง ถวายบังคม

แล้ว กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์ จัก

ได้เห็นพระพุทธเจ้าผู้เสด็จอุบัติขึ้นในอนาคต ดังนี้แล้วก็กลับไปที่

อยู่ของตน ๆ นี้ ชื่อว่า อันตรธานแต่งพระธาตุ.

การอันตรธานแห่งปริยัตินั่นแล เป็นมูลแห่งอันตรธาน ๕

อย่างนี้ จริงอยู่เมื่อพระปริยัตติอันตรธานไป ปฏิบัติก็ย่อมอันตรธาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 173

เมื่อปริยัตติคงอยู่ ปฏิบัติก็คงอยู่. เพราะเหตุนั้นแหละ ในคราวมีภัย

ใหญ่ครั้งพระเจ้าจัณฑาลติสสะในทวีปนี้ ท้าวสักกะเทวราช นิรมิต

แพใหญ่แล้วแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ภัยใหญ่จักมี ฝนจักไม่ตกต้อง

ตามฤดูกาล ภิกษุทั้งหลายพากันลำบากด้วยปัจจัย ๔ จักไม่สามารถ

เพื่อจะทรงพระปริยัติไว้ได้. ควรที่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายจะไปยัง

ฝั่งโน้นรักษาชีวิตไว้ โปรดขึ้นแพใหญ่นี้ไปเถิด เจ้าข้า ที่นั่งบนแพนี้

ไม่เพียงพอแก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้น จงเกาะขอนไม่ไปเถิด

ภัยจักไม่มีแก่ภิกษุทั้งปวง. ในกาลนั้น ภิกษุ ๖๐ รูปไปถึงฝั่งสมุทร

แล้วกระทำกติกากันไว้ว่า ไม่มีกิจที่พวกเราจะไปในที่นั้น พวกเรา

จักอยู่ในที่นี้แล จักรักษาพระไตรปิฎก ดังนี้แล้ว จึงกลับจากที่นั้น

ไปสู่ทักขิณมลยะชนบท เลี้ยงชีวิตอยู่ด้วยรากเหง้า และใบไม้. เมื่อ

ร่างกายยังเป็นไปอยู่ก็พากันนั่งกระทำการสาธยาย เมื่อร่างกาย

เป็นไปไม่ได้ ย่อมพูนทรายขึ้นล้อมรอบศีรษะไว้ในที่เดียวกันพิจารณา

พระปริยัติ. โดยทำนองนี้ ภิกษุทั้งหลาย ทรงพระไตรปิฎก พร้อม

ทั้งอรรถกถาให้บริบูรณ์อยู่ได้ถึง ๑๒ ปี.

เมื่อภัยสงบ ภิกษุ ๗๐๐ รูป ไม่ทำแม้อักขระตัวหนึ่ง แม้

พยัญชนะตัวหนึ่ง ในพระไตรปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถาจากสถานที่ ๆ

ในรูปแล้ว ให้เสียหาย มาถึงเกาะนี้แหละ เข้าไปสู่มณฑลาราม

วิหาร ในกัลลคามชนบท. ภิกษุ ๖๐ รูป ผู้ยังเหลืออยู่ในเกาะนี้ ได้

ฟังเรื่องการมาของพระเถระทั้งหลาย คิดว่า จักเยี่ยมพระเถระ

ทั้งหลาย จึงไปสอบทานพระไตรปิฎกกับพระเถระทั้งหลาย ไม่พบ

แม้อักขระตัวหนึ่ง แม้พยัญชนะตัวหนึ่ง ชื่อว่าไม่เหมาะสมกัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 174

พระเถระทั้งหลายเกิดสนทนากันขึ้นในที่นั้นว่า ปริยัติเป็นมูล

แห่งพระศาสนา หรือปฏิบัติเป็นมูล. พระเถระผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็น

วัตร กล่าวว่า ปฏิบัติเป็นมูลแห่งพระศาสนา. ฝ่ายพระธรรมกถึก

ทั้งหลาย กล่าวว่า พระปริยัติเป็นมูล. ลำดับนั้น พระเถระเหล่านั้น

กล่าวว่า เราจะไม่เชื่อโดยเพียงคำของท่านทั้งสองฝ่ายเท่านั้น ขอ

พวกท่านจงอ้างพระสูตรที่พระชินเจ้าทรงภาษิตไว้. พระเถระ ๒

พวกนั้นกล่าวว่า การนำพระสูตรมาอ้าง ไม่หนักเลย พระเถระ

ฝ่ายผู้ทรงผ้าบังสุกุล จึงอ้างพระสูตรว่า ดูก่อนสุภัททะ. ก็ภิกษุ

ทั้งหลายในพระศาสนานี้ พึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์

ทั้งหลาย. ดูก่อนมหาบพิตร พระศาสนาของพระศาสดา มีปฏิบัติ

เป็นมูล มีการปฏิบัติเป็นสาระ เมื่อทรงอยู่ในการปฏิบัติ ก็ชื่อว่า

ยังคงอยู่. ฝ่ายเหล่าพระธรรมกถึกได้ฟังพระสูตรนั้นแล้ว เพื่อจะ

รับรองวาทะของตน จึงอ้างพระสูตรนี้ว่า

พระสูตรยังดำรงอยู่ตราบใด พระวินัยยังรุ่งเรือง

อยู่ตราบใด ภิกษุทั้งหลายย่อมเห็นแสงสว่าง

เหมือนพระอาทิตย์อุทัย อยู่ตราบนั่น เมื่อพระ

สูตรไม่มีและแม้พระวินัยก็หลงเลือนไป ในโลก

ก็จักมีแต่ความมืด เหมือนพระอาทิตย์อัสดงคต

เมื่อภิกษุยังรักษาพระสูตรอยู่ ย่อมเป็นอันรักษา

ปฏิบัติไว้ด้วย นักปราชญ์ดำรงอยู่ในการปฏิบัติ

ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ ดังนี้

เมื่อพระธรรมกถึก นำพระสูตรนี้มาอ้าง พระเถระผู้ทรงผ้าบังสุกุล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 175

ทั้งหลายก็นิ่ง. คำของพระเถระผู้เป็นธรรมกถึกนั้นแล เชื่อถือได้.

เหมือนอย่างว่า ในระหว่างโคผู้ ๑๐๐ ตัว หรือ ๑๐๐๐ ตัว เมื่อไม่มี

แม่โคผู้จะรักษาเชื้อสายเลย วงศ์เชื้อสาย ก็ไม่สืบต่อกัน ฉันใด

เมื่อภิกษุเริ่มวิปัสสนา ตั้ง ๑๐๐ ตั้ง ๑๐๐๐ รูป มีอยู่ แต่ปริยัติไม่มี

ชื่อว่าการแทงคลอดอริยมรรคก็ไม่มี ฉันนั้นนั่นแล. อนึ่งเมื่อเขาจารึก

อักษรไว้หลังแผ่นหิน เพื่อจะให้รู้ขุมทรัพย์ อักษรยังทรงอยู่เพียงใด

ขุมทรัพย์ทั้งหลาย ชื่อว่ายังไม่เสื่อมหายไปเพียงนั้น ฉันใด เมื่อ

ปริยัติ ยังทรงอยู่ พระศาสนา ก็ชื่อว่ายังไม่อันตรธาน ไป ฉันนั้น

เหมือนกันแล.

จบ อรรถกถาวรรคที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

อธรรมวรรคที่ ๑๑

ว่าด้วยผู้ทำให้พระสัทธรรมเสื่อมและมั่นคง

[๑๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าธรรม

ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชงเกื้อกูล ไม่เป็น

ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชน

เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ

บาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมจะยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน.

[๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า อธรรม

ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ

ที่แสดงคำพูดอันตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้กล่าวไว้ว่าตถาคตภาษิตไว้

กล่าวไว้ ฯลฯ ที่แสดงคำพูดอันตถาคตได้ภาษิตไว้ กล่าวไว้ว่า ตถาคต

มิได้ภาษิตไว้ มิได้กล่าวไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันตถาคตมิได้สั่งสมว่า

ตถาคตสั่งสม ฯลฯ ที่แสดงกรรมอันตถาคตได้สั่งสมไว้ว่า ตถาคตมิได้

สั่งสมไว้ ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตมิได้บัญญัติไว้

ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เป็น

ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะเพื่อมิใช่ประโยชน์กื้อกูล ชน

เป็นอันมาก เพื่อทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ

บาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมยังสัทธรรมนี้ให้อันตรธาน.

[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอธรรมว่าอธรรม

ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 177

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก

เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็น

อันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น.

[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงธรรมว่า ธรรม

ฯลฯ ที่แสดงสิ่งที่มิใช่วินัยว่า มิใช่วินัย ฯลฯ ที่แสดงวินัยว่า วินัย ฯลฯ

ที่แสดงคำพูดอันตถาคตมิได้ภาษิตไว้ มิได้กล่าวไว้ว่าตถาคตมิได้ภาษิต

ไว้ มิได้กล่าวไว้ ฯลฯ ที่แสดงคำพูดอันตถาคตได้ภาษิตไว้ ได้กล่าวไว้ว่า

ตถาคตได้ภาษิตไว้ได้กล่าวไว้ ฯลฯ ที่แสดงกรรมที่ตถาคตมิได้สั่งสมว่า

ตถาคตมิได้สั่งสม ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันตถาคตมิได้บัญญัติว่า ตถาคตมิได้

บัญญัติ ฯลฯ ที่แสดงสิ่งอันตถาคตบัญญัติว่า ตถาคตบัญญัติ ภิกษุ

เหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชน

เป็นอันมาก เพื่ออัตถะ เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ

ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก

และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น.

จบ อธรรมวรรคที่ ๑๑

อรรถกถาอธรรมวรรคที่ ๑๑

ในอธรรมวรรคที่ ๑๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

คำว่า อธมฺม อธมฺโม เป็นต้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว

นั่นแล. คำที่เหลือในที่นี้ มีอรรถง่ายทั้งนั้น แล.

จบ อรรถกถาอธรรมวรรคที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 178

อนาปัตติวรรคที่ ๑๒

ว่าด้วยผู้ทำให้พระสัทธรรมอันตรธาน

[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอนาบัติว่า เป็นอาบัติ

ฯลฯ ที่แสดงอาบัติว่า เป็นอนาบัติ ฯลฯ ที่แสดงลหุกาบัติว่า เป็นครุกาบัติ

ฯลฯ ที่แสดงครุกาบัติว่า เป็นลหุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติชั่วหยาบว่า

เป็นอาบัติ ไม่ชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า เป็นอาบัติชั่วหยาบ

ฯลฯ ที่แสดงอาบัติ มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดง

อาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วนเหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืน

ได้ว่า เป็นอาบัติทำคืนไม่ได้ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืนไม่ได้ว่า เป็นอาบัติ

ทำคืนได้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อไม่เป็นประโยชน์เกื้อกู

เพื่อไม่เป็นสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนัตถะเพื่อมิใช่ประโยชน์

เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความทุกข์แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ทั้งย่อมประสบบาปใช่บุญเป็นอันมาก และย่อมทำให้สัทธรรมนี้

อันตรธาน.

[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอนาบัติว่า

เป็นอนาบัติ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ

ความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็น

อันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบ

บุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น.

[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงอาบัติว่า เป็นอาบัติ

ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 179

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อ

ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก

และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น.

[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกที่แสดงลหุกาบัติว่า

เป็นลหุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดงครุกาบัติว่า เป็นครุกาบัติ ฯลฯ ที่แสดง

อาบัติชั่วหยาบว่า อาบัติชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่ชั่วหยาบว่า

เป็นอาบัติไม่ชั่วหยาบ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติที่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติมีส่วน

เหลือ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติไม่มีส่วนเหลือว่า เป็นอาบัติไม่มีส่วนเหลือ ฯลฯ

ที่แสดงอาบัติทำคืนได้ว่า เป็นอาบัติทำคืนได้ ฯลฯ ที่แสดงอาบัติทำคืน

ไม่ได้ว่า เป็นอาบัติทำคืนไม่ได้ ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อ

ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ทั้งย่อมประสบบุญเป็นอันมาก และย่อมดำรงสัทธรรมนี้ไว้มั่น.

จบ อนาปัตติวรรคที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 180

อรรถกถาอนาปัตติวรรคที่ ๑๒

ก็ในอนาปัตติวรรคที่ ๑๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในคำว่า อนาปตฺตึ อาปตฺติ เป็นต้น อนาบัติที่ท่านกล่าวไว้

ในที่นั้น ๆ ว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ไม่รู้อยู่ ไม่มีไถยจิต ไม่ประสงค์

จะให้ตาย ไม่ประสงค์จะอวด ไม่ประสงค์จะปล่อย (สุกกะ) ดังนี้

ชื่อว่าอนาบัติ. อาบัติที่ท่านกล่าวไว้โดยนัยมีอาทิว่า เป็นอาบัติแก่

ภิกษุ ผู้รู้อยู่ ผู้มีไถยจิต ดังนี้ ชื่อว่า อาบัติ. อาบัติ ๕ กอง ชื่อว่า

ลหุกาบัติ (อาบัติเบา) อาบัติ ๒ กอง ชื่อว่า ครุกาบัติ (อาบัติหนัก)

อาบัติ ๒ กอง ชื่อทุฎฐุลลลาบัติ (อาบัติชั่วหยาบ) อาบัติ ๕ กอง ชื่อว่า

อทุฏฐุลลาบ (อาบัติไม่ชั่วหยาบ) อาบัติ ๖ กอง ชื่อว่า สาวเสสาบัติ

(อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ) อาบัติปาราชิก ๑ กอง ชื่อว่า อนาวเสสาบัติ

(อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือ) อาบัติที่มีส่วนเหลือนั่นแหละ ชื่อว่า อาบัติ

ที่ทำคืนได้ อาบัติที่ไม่มีส่วนเหลือนั่นแหละ ชื่อว่าอาบัติที่ทำคืนไม่ได้.

คำที่เหลือ ในที่ทั้งปวง มีอรรถง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาอนาปัตติวรรคที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 181

เอกปุคคลบาลี

เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓

ว่าด้วยบุคคลผู้เป็นเอก

[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก

ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก

เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อ

เกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชน

เป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่ออัตถะเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ

ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เอกหา

ได้ยากในโลก บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏแห่งบุคคลผู้เอกนี้แล

หาได้ยากในโลก.

[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก

ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์ บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อ

เกิดขึ้นในโลก ย่อมเกิดขึ้นเป็นอัจฉริยมนุษย์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 182

[๑๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคลผู้เอก เป็น

เหตุเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กาลกิริยาของบุคคล

ผู้เอกนี้แล เป็นเหตุเดือดร้อนแก่ชนเป็นอันมาก.

[๑๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลก

ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่สองใคร. ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ

ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใคร

เสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าคน

ทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลก

ย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่สองใคร ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบ

ไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ

เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย.

[๑๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอก

เป็นความปรากฏแห่งจักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่

แห่งอนุตตริยะ ๖ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการ

แทงตลอดธาตุเป็นอันมาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่าง ๆ เป็นการ

กระทำให้แจ้งซึ่งผล คือ วิชชาและวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้ง

ซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล บุคคลผู้

เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ความปรากฏขึ้นแห่งบุคคลผู้เอกนี้แล เป็นความปรากฏแห่ง

จักษุใหญ่ แห่งแสงสว่างใหญ่ แห่งโอภาสใหญ่ แห่งอนุตตริยะ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 183

เป็นการทำให้แจ้งซึ่งปฏิสัมภิทา ๔ เป็นการแทงตลอดธาตุเป็นอัน

มาก เป็นการแทงตลอดธาตุต่าง ๆ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งผล

คือ วิชชาและวิมุตติ เป็นการกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทา-

คามิผล อนาคามิผล อรหัตตผล.

[๑๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นบุคคลอื่นแม้

คนเดียว ผู้ยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยมอันตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็น

ไปตามโดยชอบ เหมือนสารีบุตรนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตร

ย่อมยังธรรมจักรที่ยอดเยี่ยม อันตถาคตให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไป

ตามโดยชอบทีเดียว.

จบ เอกปุคคลวรรคที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 184

อรรถกถาเอกปุคคลวรรคที่ ๑๓

อรรถกถาสูตรที่ ๑

เอกปุคคลวรรค สูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอกปุคฺคโล แปลว่า บุคคลคนเดียว. บทว่า เอโก ใน

คำว่า เอกปุคฺคโล นี้ เป็นการกำหนดจำนวน ซึ่งมีใจความปฏิเสธ

คนที่ ๒ เป็นต้น. บทว่า ปุคฺคโล เป็นคำพูดโดยสมมติ ไม่ใช่คำพูด

โดยปรมัตถ์.

จริงอยู่เทศนาของพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า มี ๒ อย่าง คือ

สมมติเทศนา ๑ ปรมัตถเทศนา ๑ ใน ๒ อย่างนั้น เทศนาทำนองนี้ว่า

บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา มาร ชื่อว่า

สมมติเทศนา เทศนาทำนองนี้ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน ชื่อว่า ปรมัตถเทศนา. ในเทศนา ๒

อย่างนั้น ชนเหล่าใดฟังเทศนาเนื่องด้วยสมมติ สามารถเข้าใจเนื้อ

ความละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดง

สมมติเทศนาแก่ชนเหล่านั้น. ส่วนชนเหล่าใด ฟังเทศนาเนื่องด้วย

ปรมัตถ์ แล้วสามารถเข้าใจเนื้อความ ละโมหะ บรรลุคุณพิเศษได้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงปรมัตถเทศนาแก่ชนเหล่านั้น.

ในข้อนั้น พึงทราบอุปมาดังต่อไปนี้ :-

เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น ผู้บรรยาย

เนื้อความแห่งเวททั้ง ๓ ชนเหล่าใด เมื่อพูดด้วยภาษาทมิฬ ย่อมรู้ใจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 185

ความได้ ก็จะสอนชนเหล่านั้น ด้วยภาษาทมิฬ ชนเหล่าใดเมื่อพูด

ด้วยภาษาใดภาษาหนึ่งในบรรดาภาษาของชาวอันธะเป็นต้น ย่อมรู้

ใจความได้ ก็จะสอนด้วยภาษานั้น ๆ แก่ชนเหล่านั้น เมื่อเป็นดังนั้น

มาณพเหล่านั้น อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด เฉียบแหลม ย่อมเรียนศีลปะ

ได้โดยฉับพลันทีเดียว. ในอุปมานั้นพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาค

พุทธเจ้า เปรียบเหมือนอาจารย์. ปิฎก ๓ ตั้งอยู่ในภาวะที่จะต้อง

บอกกล่าว เปรียบเหมือนเวท ๓ ความเป็นผู้ฉลาดในสมมติและ

ปรมัตถ์ เหมือนความเป็นผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น เวไนยสัตว์ผู้

สามารถเข้าใจความได้ ด้วยอำนาจแห่งสมมติและปรมัตถ์เหมือน

มาณพ ผู้รู้ภาษาท้องถิ่นต่าง ๆ กัน เทศนาด้วยอำนาจสมมติและ

ปรมัตถ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปรียบเหมือนการสอนด้วยภาษา

มีภาษาทมิฬเป็นต้นของอาจารย์. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ในที่นี้ว่า

พระสัมพุทธเจ้า เป็นยอดของผู้กล่าวสอน

ทั้งหลาย ได้ตรัสสัจจะ ๒ อย่าง คือ สมมติ

สัจจะ และปรมัตถสัจจะ ไม่ตรัสสัจจะที่ ๓

คำที่ชาวโลกหมายรู้กันก็เป็นสัจจะ เพราะมี

โลกสมมติเป็นเหตุ คำที่ระบุถึงสิ่งที่เป็นปรมัตถ์

ก็เป็นสัจจะ เพราะมีความจริงของธรรมทั้งหลาย

เป็นเหตุ เพราะฉะนั้น มุสาวาท จึงไม่เกิดแก่

พระโลกนาถผู้ศาสดา ผู้ฉลาดในโวหาร ผู้ตรัส

ตามสมมติ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 186

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสปุคคลกถา ว่าด้วย

บุคคล ด้วยเหตุ ๘ ประการ คือ เพื่อทรงแสดงหิริ ความละอาย

และโอตัปปะ ความเกรงกลัว ๑ เพื่อทรงแสดง กัมมัสสกตา (ความ

ที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน) ๑ เพื่อทรงแสดงบุคคลผู้กระทำเฉพาะตน ๑

เพื่อทรงแสดงถึงอนันตริยกรรม (กรรมก่อนกรรมอื่น ๆ ที่ให้ผล) ๑

เพื่อทรงแสดงถึงพรหมวิหารธรรม (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเปกขา) ๑

เพื่อทรงแสดงถึงปุพเพนิวาสญาณ (ระลึกชาติก่อนไว้) ๑ เพื่อทรง

แสดงถึงทักขิณาวิสุทธิ (ความบริสุทธิ์แห่งทักขิณา) ๑ และเพื่อไม่ทรง

ละโลกสมมติ ๑. เมื่อพระองค์ตรัสว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลาย

ย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัวดังนี้ มหาชนย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย

กลับเป็นศัตรู(โต้แย้ง)ว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมละอาย ย่อม

เกรงกลัว. แต่เมื่อตรัสว่า หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทพ และมาร

ย่อมละอาย ย่อมเกรงกลัว มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย ไม่กลับ

เป็นศัตรู(ไม่โต้แย้ง). เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสบุคคล

กถา (กถาว่าด้วยบุคคล) ก็เพื่อทรงแสดงหิริและโอตตัปปะ.

แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ทั้งหลาย ธาตุทั้งหลาย อายตนะ

ทั้งหลาย มีกรรมเป็นของตน ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. เพราะเหตุนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงความที่สัตว์มีกรรม

เป็นของตน. แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า มหาวิหารทั้งหลาย มีเวฬุวันเป็นต้น

อัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สร้างแล้ว ก็นัยนี้เหมือนกัน. เพราะฉะนั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงถึงบุคคลผู้กระทำ

เฉพาะตน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 187

แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมปลงชีวิต

บิดา มารดา พระอรหันต์ กระทำกรรมคือยังพระโลหิตให้ห้อ และ

กระทำสังฆเภท ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงอนันตริยกรรม.

แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมมีเมตตา

ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงแสดง

บุคคลกถา เพื่อทรงแสดงพรหมวิหารธรรม.

แม้ในคำที่กล่าวไว้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมระลึกถึง

ปุพเพนิวาสญาณ ก็นัยนี้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงปุพเพนิวาสญาณ.

แม้เมื่อกล่าวว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะ ย่อมรับทาน มหาชน

ย่อมไม่เข้าใจ ย่อมงงงวย กลับเป็นศัตรูว่า นี้อะไรกัน ขันธ์ ธาตุ อายตนะ

ย่อมรับทาน. แต่เมื่อกล่าวว่า บุคคลผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมเป็นต้น

มหาชนย่อมเข้าใจ ย่อมไม่งงงวย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงทรงแสดงบุคคลกถา เพื่อทรงแสดงความหมดจดแห่งทักษิณา.

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมไม่ละโลกสมมติ

ตั้งอยู่ในชื่อของชาวโลก ในภาษาของชาวโลก ในคำพูดจากันของ

ชาวโลกนั่นแลแสดงธรรม. เพราะฉะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรง

แสดงบุคคลกถา แม้เพื่อไม่ละโลกสมมติ.

ดังนั้น จึงชื่อว่าบุคคลเอก เพราะบุคคลนั้นด้วย เป็นเอกด้วย.

ที่ชื่อว่าบุคคลเอก เพราะอรรถว่ากระไร ? เพราะอรรถว่า ไม่มี

ผู้อื่นเหมือน เพราะอรรถว่าพิเศษโดยคุณ เพราะอรรถว่าเสมอกับ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 188

พระพุทธเจ้าผู้ไม่มีบุคคลเสมอ. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ไม่เหมือนกับมหาชนทั่วไป โดยคุณคือโพธิสมภารนับตั้งแต่ทรงรำพึง

ถึงบารมี ๑๐ ตามลำดับและโดยพระพุทธคุณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

บุคคลเอก เพราะอรรถว่าไม่มีใครเหมือนบ้าง.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงมีคุณพิเศษกว่าคุณของ

เหล่าสัตว์ผู้มีคุณทั่วไป เพราะเหตุนั้น จึงชื่อบุคคลเอก เพราะอรรถ

ว่า มีความพิเศษโดยคุณ. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก่อน ๆ ไม่เสมอ

ด้วยสัตว์ทุกจำพวก แต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ พระองค์เดียวเท่านั้น

เป็นผู้เสมอกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น โดยพระคุณคือรูปกาย

และพระคุณคือนามกาย เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า บุคคลเอก เพราะ

อรรถว่า เสมอกับพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีผู้เสมอ.

บทว่า โลเก ได้แก่ โลก ๓ คือ สัตวโลก โอกาสโลก สังขาร-

โลก. กถาว่าด้วยความพิสดารแห่งโลกทั้ง ๓ นั้น ท่านได้กล่าวไว้แล้ว

ในวิสุทธิมรรค. บรรดาโลก ๓ นั้น สัตวโลกท่านประสงค์เอาในที่นี้.

จริงอยู่ พระตถาคตนั้น แม้เมื่อเกิดในสัตวโลก หาได้เกิดในเทวโลก และ

ในพรหมโลกไม่ ย่อมเกิดเฉพาะในมนุษยโลกเท่านั้น. แม้ในมนุษย-

โลกเล่า ก็หาได้เกิดในจักรวาลอื่นไม่ ย่อมเกิดเฉพาะในจักรวาลนี้

เท่านั้น แม้ในจักรวาลนั้น ก็หาเกิดในที่ทุกแห่งไปไม่.

ในทิศบูรพา มีนิคม ชื่อว่า กชังคละ ถัดจากกชังคละนิคม

นั้นไป มีนครชื่อว่า มหาสาละ ถัดจากมหาสาละนั้นไป เป็น

ปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท. ในทิศอาคเนย์ มีแม่น้ำ

ชื่อว่า สัลลวดี ถัดจากแม่น้ำสัลลวดีนั้นไป เป็นปัจจันตชนบท ร่วมใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 189

เป็นมัชฌิมชนบท. ในทิศทักษิณ มีนิคนชื่อว่าเสตกัณณิกะ ถัดจาก

เสตกัณณิกนิคมนั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท

ในทิศประจิม มีบ้านพราหมณ์ ชื่อว่าถูนะ ถัดจากบ้านพราหมณ์นั้นไป

เป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็นมัชฌิมชนบท ในทิศอุดร มีภูเขา

ชื่อว่า อุสีรธชะ ถัดจากเขานั้นไปเป็นปัจจันตชนบท ร่วมในเป็น

มัชฌิมชนบท. พระตถาคตย่อมอุบัติ ในมัชฌิมประเทศ ที่ท่านกำหนด

ดังกล่าวมาแล้วนั้น โดยส่วนยาว วัดได้ ๓๐๐ โยชน์ โดยส่วนกว้าง

วัดได้ ๑๕๐ โยชน์ วัดโดยรอบได้ ๙๐๐ โยชน์. อนึ่งพระตถาคต

หาได้อุบัติแต่ลำพังพระองค์อย่างเฉียวไม่ พระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

พระอัครสาวก พระอสีติมหาเถระ แม้ท่านผู้มีบุญอื่น ๆ ก็ย่อมเกิด

ขึ้น. พระพุทธมารดา พระพุทธบิดา พระเจ้าจักรพรรดิ์ และ

พราหมณ์คฤหบดี ผู้เป็นบุคคลสำคัญเหล่าอื่น ก็ย่อมเกิดในมัชฌิม-

ประเทศนี้เหมือนกัน.

ก็บทว่า อุปฺปชฺชมาโน อุปฺปชฺชติ ทั้งสองนี้ เป็นคำกล่าว

ค้างไว้เท่านั้น. ก็ในคำนี้พึงทราบความอย่างนี้ว่า พระตถาคตเมื่อ

อุบัติ ย่อมอุบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก หาอุบัติ

ด้วยเหตุอื่นไม่. ก็ในอธิการนี้ ลักษณะเห็นปานนี้ ใคร ๆ หาอาจ

คัดค้านคำทั้งสองนั่นโดยลักษณะศัพท์อื่นไม่.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความต่างกันในคำนี้ ดังนี้ว่า อุปฺปชฺ-

ชมาโน นาม (ชื่อว่าเมื่อจะอุบัติ ) อุปฺปชฺชติ นาม (ชื่อว่ากำลังอุบัติ)

อุปฺปนฺโน นาม (ชื่อว่าอุบัติแล้ว.) จริงอยู่ พระพุทธองค์ได้รับคำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 190

พยากรณ์ แต่บาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร เมื่อ

แสวงหาพุทธการกธรรม (ธรรมเครื่องทำความเป็นพระพุทธเจ้า)

ทรงเห็นบารมี ๑๐ จึงทรงตกลงพระทัยว่า เราควรบำเพ็ญธรรม

เหล่านี้ แม้กำลังบำเพ็ญทานบารมีอยู่ ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ. แม้

เมื่อทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ เหล่านี้คือ ศีลบารมี ฯลฯ อุเปกขาบารมี

ก็ดี ทรงบำเพ็ญอุปบารมี ๑๐ อยู่ก็ดี ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ. แม้เมื่อ

ทรงบำเพ็ญปรมัตถบารมี ๑๐ อยู่ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ เมื่อบริจาค

ซึ่งมหาบริจาค ๕ ประการ ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ แม้เมื่อทรงบำเพ็ญ

ญาตัตถจริยา โลกัตถจริยา และพุทธัตถจะริยา ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ.

แม้เมื่อทรงบำเพ็ญพุทธการกธรรม ให้ถึงที่สุด สิ้น ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป

ก็ชื่อว่าเมื่อจะอุบัติ. แม้เมื่อทรงละอัตภาพพระเวสสันดร ถือปฏิสนธิใน

ดุสิตบุรี ดำรงอยู่ตลอด ๕๗ โกฏิปี กับอีก ๖๐,๐๐๐ ปี ก็ชื่อว่าเมื่อจะ

อุบัติ. พระองค์อันเทวดาทูลอาราธนาแล้ว ทรงตรวจดู มหาวิโลกิตะ

๕ ประการ ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระเทวี ทรงพระนาม

ว่ามหามายาก็ดี ทรงอยู่ในพระครรภ์ ๑๐. เดือนถ้วนก็ดี ก็ชื่อว่า

เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. แม้ทรงดำรงอยู่ในการครองเรือน ๒๙ พรรษา

ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. แม้เมื่อทรงเห็นโทษในกามทั้งหลาย

เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม มีนายฉันนะเป็นสหาย ทรงม้า

กัณฐกะตัวประเสริฐ เสด็จออกผนวชในวันที่พระราหุลภัตทะประสูติ

ก็ชื่อว่าเมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. เสด็จผ่านพ้นราชอาณาจักรทั้ง ๓ แห่งไป

ทรงผนวชที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานทีก็ดี ก็ชื่อว่าเมื่อจะอุบัติเหมือนกัน แม้.

ทรงท่านหาปธานความเพียร ๖ พรรษา ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน.

เมื่อพระญาณแก่กล้าแล้วเสวยกระยาหารหยาบก็ดี ก็ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 191

เหมือนกัน. แม้เมื่อขึ้นสู่มหาโพธิมัณฑสถานในวันวิสาขบุรณมี

ในเวลาเย็น ทรงกำจัดมารและพลแห่งมาร ทรงระลึกถึงปุพเพ-

นิวาสญาณในปฐมยาม ทรงชำระทิพพจักขุในมัชฌิมยาม ทรง

พิจารณาปฏิจจสมุปบาท ๑๒ องค์ โดยอนุโลม และปฏิโลมในเวลา

ติดต่อกับปัจฉิมยาม แล้วแทงตลอดโสดาปัตติมรรคก็ดี ชื่อว่า เมื่อจะ

อุบัติเหมือนกัน. ในขณะแห่งโสดาปัตติผลก็ดี ในขณะแห่งสกทาคา

มิมรรคก็ดี ในขณะแห่งสกทาคามิผลก็ดี ในขณะแห่งอนาคามิมรรค

ก็ดี ในขณะแห่งอนาคามิผลก็ดี ชื่อว่า เมื่อจะอุบัติเหมือนกัน. ส่วน

ในขณะแห่งอรหัตตมรรค ชื่อว่า กำลังอุบัติ. ในขณะแห่งอรหัตตผล

ชื่อว่า อุบัติแล้ว. จริงอยู่ อิทธิวิธญาณเป็นต้น ของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ย่อมไม่เกิดขึ้นตามลำดับ เหมือนของพระสาวกทั้งหลาย.

ก็กองแห่งคุณมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น แม้ทั้งสิ้น ชื่อว่าย่อม

มาพร้อมกันทีเดียวกับพระอรหัตตมรรค. เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้น

ชื่อว่าอุบัติแล้วในขณะแห่งอรหัตตผล เพราะมีกิจทั้งปวงอันสำเร็จ

แล้ว. ในสูตรนี้ พึง ราบว่า กำลังอุบัติ หมายเอาขณะแห่งอรหัตตผล

นั่นแล. ความจริงในคำว่า อุปฺปชฺชติ นี้ มีใจความดังนี้ว่า อุปฺปนฺโน

โหติ (ย่อมเป็นผู้อุบัติ).

บทว่า พหุชนหิตาย ความว่า ย่อมเสด็จอุบัติเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก. บทว่า พหุโน ชนสฺส สุขาย ความว่า ย่อมเสด็จ

อุบัติเพื่อประโยชน์สุขแก่ชนหมู่มาก. บทว่า โลกานุกมฺปาย ความว่า

เสด็จอุบัติเพราะอาศัยความเอ็นดูแก่สัตวโลก. ถามว่า แก่สัตว์โลก

ไหน ? แก้ว่า เพื่อประโยชน์แก่สัตวโลกผู้สดับพระธรรมเทศนา

ของพระตถาคตได้ดื่มน้ำอมฤตแล้วตรัสรู้ธรรม. เมื่อพระผู้มีพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 192

ภาคเจ้า ยับยั้งอยู่ ๗ สัปดาห์ ณ โพธิมัณฑสถาน แล้วเสด็จจาก

โพธิมัณฑสถานมายังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แล้วทรงแสดงธรรม

จักกัปปวัตตนสูตรว่า ภิกษุทั้งหลาย ที่สุด ๒ อย่างนี้ บรรพชิต

ไม่ควรเสพ เป็นต้น พรหมนับได้ ๑๘ โกฏิ พร้อมด้วยท่านพระ-

อัญญาโกณฑัญญเถระ ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. พระองค์เสด็จอุบัติ

เพื่อความอนุเคราะห์แก่สัตวโลกนี้. ในวันที่ ๕ ในเวลาจบ อนัตต-

ลักขณสูตร พระปัญจวัคคีย์เถระ ดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว. พระองค์

เสด็จอุบัติเพื่อความอนุเคราะห์แก่สัตวโลกแม้นี้. ลำดับนั้น ทรง

ให้บุรุษ ๕๕ คน มียสกุลบุตรเป็นหัวหน้า ดำรงอยู่ในพระอรหัต.

แต่นั้นทรงให้ภัททวัคคีย์กุมาร ๓๐ คน ณ ไพรสณฑ์ป่าฝ้าย ได้

บรรลุ มรรค ๓ และผล ๓. พระองค์เสด็จอุบัติเพื่อความอนุเคราะห์

แก่สัตวโลกนี้. ในเวลาจบอาทิตตปริยายสูตร ให้ชฎิล ๑,๐๐๐ คน

ดำรงอยู่ในพระอรหัต ณ คยาสีสประเทศ. อนึ่ง พราหมณ์และ

คฤหบดี ๑๑ นหุต มีพระเจ้าพิมพิสารเป็นประมุข ณ สวนตาลหนุ่ม

ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

อีก ๑ นหุต ตั้งอยู่ในสรณะ ในเวลาจบอนุโมทนาด้วยติโรกุฑฑสูตร

สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ในสมาคมแห่งนายสุมนมาลาการ

สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ในสมาคมแห่งช้างธนบาล สัตว์

๑๐,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ในสมาคมแห่งขทิรังคารชาดก สัตว์

๘๔,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ในสมาคมแห่งชัมพุกาชีวก สัตว์

๘๔,๐๐๐ ดื่มน้ำอมฤต. ในสมาคมแห่งอานันทเศรษฐี สัตว์ ๘๔,๐๐๐

ดื่มน้ำอมฤต. ในวันแสดงปารายนสูตร ณ ปาสาณกเจดีย์ สัตว์

๑๔ โกฏิ ดื่มน้ำอมฤตแล้ว. ในวันแสดงยมกปาฏิหาริย์ สัตว์ ๒๐ โกฏิ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 193

ดื่มน้ำอมฤต. เมื่อพระศาสดาประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์

ณ ภพดาวดึงส์ ทรงกระทำพระมารดาให้เป็นกายสักขี แสดง

พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ สัตว์ ๘๐ โกฏิ ดื่มน้ำอมฤต. ในวันเสด็จลงจากเทวโลก

สัตว์ ๓๐ โกฏิ ดื่มน้ำอมฤต ในสักกปัญหสูตร เทวดา ๘๐,๐๐๐ ได้ดื่มน้ำอมฤต

แล้ว. ในฐานะทั้ง ๔ เหล่านี้ คือ ในมหาสมัยสูตร ในมงคลสูตร

ในจุลลราหุโลวาทสูตร ในสมจิตตปฏิปทาสูตร สัตว์ผู้ได้ตรัสรู้ธรรม

กำหนดไม่ได้. พระองค์เสด็จอุบัติเพื่อความอนุเคราะห์แก่สัตวโลก

แม้นี้แล. เบื้องหน้าแต่นี้จากวันนี้ไป (และ) ในอนาคตกาล พึงทราบ

เนื้อความในอธิการนี้ดังกล่าวมานี้ แม้ด้วยอำนาจแห่งเหล่าสัตว์ผู้

อาศัยพระศาสนาแล้วดำรงอยู่ในทางสวรรค์และพระนิพพาน.

บทว่า เทวมนุสฺสาน ความว่า พระองค์เสด็จอุบัติ เพื่อประโยชน์

เพื่อเกื้อกูล และเพื่อความสุข แก่เทวดาแสะมนุษย์อย่างเดียวเท่านั้น

ก็หาไม่ (แต่) เสด็จอุบัติ เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล และเพื่อความสุข

แก่สัตว์ที่เหลือ มีนาคและครุฑเป็นต้นด้วย. ก็เพื่อจะแสดงบุคคล

ผู้ถือปฏิสนธิเป็นสเหตุกะ ผู้สมควรทำให้แจ้งมรรคและผล จึงกล่าว

อย่างนั้น. เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า พระองค์เสด็จอุบัติ เพื่อประโยชน์

เพื่อเกื้อกูลและเพื่อความสุขเท่านั้น แม้แก่สัตว์เหล่านั้น.

บทว่า กตโม เอกปุคฺคโล มีปุจฉาดังต่อไปนี้ :-

ชื่อว่า ปุจฉานี้ มี ๕ อย่าง คือ อทิฏฐโชตนาปุจฉา (คำถาม

เพื่อให้กระจ่างในสิ่งที่ตนยังไม่เห็น) ๑ ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา (คำถาม

เพื่อเทียบกับสิ่งที่ตนเห็นแล้ว) ๑ วิมติเฉทนาปุจฉา (คำถามเพื่อ

ตัดความสงสัย) ๑ อนุมิปุจฉา (คำถามเพื่อรับอนุมัติ ) ๑ กเถตุ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 194

กัมยตาปุจฉา (คำถามโดยใคร่จะกล่าวเสียเอง ๑ ปุจฉาทั้ง ๕ นั้น

มีความค้างกันดังต่อไปนี้ :-

อทิฎฐโชตนาปุจฉา เป็นไฉน ? ลักษณะตามปกติ เป็นสิ่ง

ยังไม่รู้ ยังไม่เห็น ยังชั่งไม่ได้ ยังไม่ได้ไตร่ตรอง ยังไม่ปรากฏ

ชัด ยังไม่แจ่มแจ้ง บุคคลย่อมถามปัญหาเพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อชั่ง

เพื่อไตร่ตรอง เพื่อต้องการให้ปรากฏชัด เพื่อต้องการความแจ่ม

แจ้ง แห่งลักษณะนั้น นี้ชื่อว่า อทิฏฐโชตนาปุจฉา.

ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา เป็นไฉน ? ลักษณะตามปกติ เป็นอันรู้

แล้ว เห็น ชั่ง ไตร่ตรอง ปรากฏชัด และแจ่มแจ้งแล้ว บุคคลย่อมถาม

ปัญหา เพื่อเทียบเคียงกับบัณฑิตเหล่าอื่น นี้ชื่อว่า ทิฏฐสังสันทนา-

ปุจฉา.

วิมติเฉทนาปุจฉา เป็นไฉน ? ตามปกติ บุคคลย่อมแล่นไป

สู่ความสงสัย เกิดความลังเลใจขึ้นว่า เป็นอย่างนี้หรือหนอ มิใช่

หรือหนอ เป็นอะไรหนอ เป็นอย่างไรหนอ เขาจึงถามปัญหา เพื่อ

ต้องการตัดความสงสัย นี้ชื่อว่า วิมติเฉทนาปุจฉา.

อนุมติปุจฉา เป็นไฉน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถาม

ปัญหา ตามความเห็นชอบของภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย

พวกเธอสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ? รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง. ไม่

เที่ยงพระเจ้าข้า. ก็รูปใดไม่เที่ยง รูปนั้น เป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

เป็นทุกข์พระเจ้าข้า. ก็รูปใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์ มีความแปรปรวน

ไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นรูปนั่นว่า นั่นเป็นของเรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 195

เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. ก็ข้อนั้นไม่เป็นอย่างนั้นพระเจ้าข้า.

นี้ชื่อว่า อนุมติปุจฉา.

กเถตุกัมยตาปุจฉา เป็นไฉน ? พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสถาม

ปัญหาโดยที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะตรัสตอบเสียเอง แก่

ภิกษุทั้งหลาย ว่า ภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔

เป็นไฉน ? นี้ชื่อว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.

ในปุจฉาทั้ง ๕ เหล่านั้น ปุจฉา ๓ ข้างต้น ไม่มีแก่พระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย. เพราะเหตุไร ? เพราะว่าสิ่งไร ๆ ในกาลอันยืดยาวทั้ง ๓

กาล ที่ปัจจัยปรุงแต่ง หรือพ้นจากกาลอันยืดยาว ที่ปัจจัยปรุงแต่ง

ไม่ได้ ชื่อว่าไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ทรงชั่ง ไม่ทรงไตร่ตรอง

ไม่ปรากฏชัด ไม่แจ่มแจ้ง ย่อมไม่มีแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้น อทิฏฐโชตนาปุจฉา จึงไม่มีแก่พระพุทธเจ้าเหล่านั้น. ก็สิ่ง

ใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้แล้วด้วยพระญาณของพระองค์

กิจคือการเทียบเคียงสิ่งนั้น กับด้วยผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นสมณะ พราหมณ์

เทวดา มาร หรือพรหม ย่อมไม่มี ด้วยเหตุนั้น ทิฏฐสังสันทนาปุจฉา

ย่อมไม่มีแก่พระองค์. ก็เพราะเหตุที่พระองค์ไม่มีความสงสัย. เป็น

เหตุให้กล่าวว่าอย่างไร เป็นผู้ข้ามพ้นความเคลือบแคลงเสียได้

ขจัดความสงสัยในธรรมทั้งปวงได้แล้ว ด้วยเหตุนั้น วิมติเฉทนาปุจฉา

จึงไม่มีแก่พระองค์. ส่วนปุจฉา ๒ ข้อนอกนี้ย่อมมีแก่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า. ในปุจฉาเหล่านั้น ปุจฉานี้ พึงทราบว่า กเถตุกัมยตาปุจฉา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 196

บัดนี้พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงชี้บุคคลเอก ที่เขาถาม

ด้วยคำถามนั้น ให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสว่า พระตถาคตอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถาคโต ความว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเหตุ ๘ ประการ

คือ ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาอย่างนั้น. ทรงพระ

นามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น ทรงพระนามว่า ตถาคต

เพราะเสด็จมาสู่ลักษณะที่แท้. ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรม

ที่แท้จริง ตามที่เป็นจริง. ทรงพระนามว่า พระตถาคต เพราะทรงเห็น

อารมณ์ที่แท้จริง.ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง.

ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะทรงกระทำเองและให้ผู้อื่นกระทำ.

ทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะอรรถว่าทรงครอบงำได้ (คือเป็นใหญ่).

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จ

มาอย่างนั้นเป็นอย่างไร ?

เหมือนอย่างพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ ทรงขวนขวาย

เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่โลกทั้งปวงเสด็จมาแล้ว เหมือนอย่างพระผู้มี

พระภาคพระวิปัสสีเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระสิขีเสด็จมา

เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระเวสสภูเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มี

พระภาคพระกกุสันธะเสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระ-

โกนาคมน์เสด็จมา เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จมา

ข้อนี้มีอธิบายอย่างไร ? มีอธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น

เสด็จมาด้วยอภินิหารใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็

เสด็จมาด้วยอภินิหารนั้นเหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 197

อีกอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ฯลฯ พระผู้มีพระภาค

พระกัสสปะ ทรงบำเพ็ญทานบารมี ทรงบำเพ็ญศีลบารมี เนกขัมมบารมี

ปัญญาบารมีวิริยบารมี ขันติบารมี สัจจบารมี อธิษฐานบารมี เมตตา

บารมีและอุเบกขาบารมี ทรงบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศเหล่านี้ คือ บารมี

๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ทรงบริจาคมหาบริจาค ๕ ประการ

คือ บริจาคอวัยวะ. บริจาคทรัพย์ บริจาคลูก บริจาคเมีย บริจาคชีวิต

ทรงบำเพ็ญบุพประโยค บุพจริยา การแสดงธรรม และญาตัตถจริยา

เป็นต้น ทรงถึงที่สุดแห่งาพุทธจริยา เสด็จมาแล้วอย่างใด พระผู้มี

พระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น

อีกนัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคพระวิปัสสีเป็นต้น ฯล พระผู้มีพระภาค

พระกัสสปะ ทรงเจริญเพิ่มพูนสติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท

๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์ ๘ เสด็จมาแล้ว

อย่างใด พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ของเราทั้งหลาย ก็เสด็จมาเหมือน

อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า คถาคต เพราะเสด็จมา

อย่างนั้น เป็นอย่างนี้

พระมนุทั้งหลายมีพระวิปัสสีเป็นต้น เสด็จมา

สู่ความเป็นพระสัพพัญญูในโลกอย่างใด แม้

พระศากยมุนีนี้ ก็เสด็จมาเหมือนอย่างนั้น ด้วย

เหตุนั้น พระผู้มีจักษุจึงทรงพระนามว่า ตถาคต

ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จมา

อย่างนั้น เป็นอย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 198

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป

อย่างนั้น เป็นอย่างไร ?

เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสี ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้น

ก็เสด็จไป ฯลฯ เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระกัสสปะ ประสูติใน

บัดเดี๋ยวนั้นก็เสด็จไป ก็พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเสด็จไปอย่างไร ?

จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง ประทับยืน

บนปฐพีด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร

เสด็จไปโดยอย่างพระบาท ๗ ก้าว ดังพระบาลีที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์

พระโพธิสัตว์ประสูติบัดเดี๋ยวนั้น ก็ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอัน

เสมอกัน บ่ายพระพักตร์ไปเบื้องทิศอุดร เสด็จไปโดยย่างพระบาท ๗ ก้าว

เมื่อท้าวมหาพรหมกั้นพระเศวตฉัตร ทรงเหลียวดูทั่วทิศ ทรงเปล่ง

อาสภิวาจาว่า เราเป็นผู้เลิศในโลก เราเป็นผู้เจริญที่สุดในโลก เราเป็น

ผู้ประเสริฐที่สุดในโลก การเกิดครั้งนี้เป็นการเกิดครั้งสุดท้าย บัดนี้

ภพใหม่ไม่มีต่อไป ดังนี้. และการเสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น

ก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่แปรผัน ด้วยความเป็นบุพนิมิตแห่งการบรรลุ

คุณวิเศษหลายประการ คือ ข้อที่พระองค์ประสูติในบัดเดี๋ยวนั้นเอง

ก็ได้ประทับยืนด้วยพระยุคลบาทอันเสมอกัน นี้เป็นบุพนิมิตแห่งการได้

อิทธิบาท ๔ ของพระองค์. อนึ่ง ความที่พระองค์บ่ายพระพักตร์ไปเบื้อง

ทิศอุดร เป็นบุพนิมิตแห่งความเป็นโลกุตตรธรรมทั้งปวง. การย่าง

พระบาท ๗ ก้าวเป็นนพนิมิตแห่งการได้รัตนะ คือ โพชฌงค์ ๗ ประการ

การกั้นพระเศวตฉัตร เป็นบุพนิมิตแห่งการได้เศวตฉัตรอันบริสุทธิ์

ประเสริฐ. คือพระอรหัตตผลวิมุตติธรรม. การทอดพระเนตรเหลียวดู

ทั่วทิศ เป็นนพนิมิตแห่งการได้พระอนาวรณญาณ คือความเป็นพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 199

สัพพัญญู. การเปล่งอาสภิวาจา เป็นบุพนิมิตแห่งการประกาศ

พระธรรมจักรอันประเสริฐ อันใคร ๆ เปลี่ยนแปลงไม่ได้. แม้พระผู้มี

พระภาคเจ้าพระองค์นี้ ก็เสด็จไปเหมือนอย่างนั้น ละการเสด็จไปของ

พระองค์นั้น ก็ได้เป็นอาการอันแท้ ไม่เปรผัน ด้วยความเป็นบุพนิมิต

แห่งการบรรลุคุณวิเศษเหล่านั้นแล.

ด้วยเหตุนั้นพระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

พระควัมบดีโคดมนั้นประสูติแล้วในบัดเดี๋ยวนั้น

ก็ทรงสัมผัสพื้นดินด้วยพระยุคลบาทสม่ำเสมอ

เสด็จย่างพระบาทไปได้ ๗ ก้าว และฝูงเทพยดา

เจ้าก็กางกั้นเศวตฉัตร พระโคดมนั้นครั้นเสด็จ

ไปได้ ๗ ก้าว ก็ทอดพระเนตรไปรอบทิศเสมอกัน

ทรงเปล่งพระสุรเสียงประกอบด้วยองค์ ๘ ประ

การ ปานดังราชสีห์ยืนอยู่บนยอดบรรพตฉะนั้น

ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป

อย่างนั้น เป็นอย่างนี้.

อีกนัยหนึ่ง เหมือนอย่างพระผู้มีพระภาคพระวิปัสสีเสด็จไปแล้ว

ฯลฯ พระผู้มีพระภาคพระกัสสปะเสด็จไปแล้วฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นี้ก็เหมือนฉันนั้นทีเดียว ทรงละกามฉันทะด้วยเนกขัมมะ

เสด็จไปแล้ว ทรงละพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ทรงละถีนมิทธะ

ด้วยอาโลกสัญญา ทรงละอุทธัจจกุกกุจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 200

ทรงละวิจิกิจฉาด้วยการกำหนดธรรม เสด็จไปแล้ว ทรงทำลายอวิชชา

ด้วยพระปรีชาญาณ ทรงบรรเทาความไม่ยินดีด้วยความปราโมทย์

ทรงเปิดบานประตูคือนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ทรงสงบวิตกวิจารด้วย

ทุติยฌาน ทรงหน่ายปีติด้วยตติยฌาน ทรงละสุขทุกข์ด้วยจตุตถฌาน

ทรงก้าวล่วงรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา และนานัตตสัญญา ด้วยอากาสา-

นัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากาสานัญจายตนสัญญาด้วยวิญญา-

ณัญจายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญ-

จัญญายตนสมาบัติ ทรงก้าวล่วงอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนว-

สัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เสด็จไปแล้ว.

ทรงละนิจจสัญญาด้วยอนิจจานุปัสสนา ทรงละสุขสัญญา

ด้วยทุกขานุปัสสนา ทรงละอัตตสัญญาด้วยอนัตตานุปัสสนา ทรงละ

นันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วยนิพพิทานุปัสสนา ทรงละราคะด้วย

วิราคานุปัสสนา ทรงละสมุทัยด้วยนิโรธานุปัสสนา ละความยึดมั่น

ด้วยอุปสมานุปัสสนา ทรงละฆนสัญญา (สำคัญว่าเป็นก้อน) ด้วย

ขยานุปัสสนา ทรงละอายูหนา (การประมวลมา) ด้วยวยานุปัสสนา

ทรงละธุวสัญญา (สำคัญว่ายั่งยืน) ด้วยวิปริณามานุปัสสนา ทรงละ

นิมิตตสัญญาด้วยอนิมิตตานุปัสสนา ทรงละการตั้งมั่นแห่งกิเลสด้วย

อัปปณิหิตานุปัสสนา ทรงละอภินิเวส (ยึดมั่น) ด้วยสุญญุตานุปัสสนา

ทรงละสาราทานาภินิเวสะ (ยึดมั่นด้วยยึดถือว่าเป็นสาระ) ด้วยอธิ

ปัญญาธรรมวิปัสสนา (การเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง) ทรงละ

สัมโมหาภินิเวส (ยึดมั่นด้วยความลุ่มหลง) ด้วยยถาภูตญาณทัสสนะ

ทรงละอาลยาภินิเวส (ยึดมั่นในอาลัย) ด้วยอาทีนวานุปัสสนา ละอัป-

ปฏิสังขา (ไม่พิจารณา) ด้วยปฏิสังขานุปัสสนา ละสังโยคาภินิเวสะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 201

(ยึดมั่นในการประกอบกิเลส) ด้วยวิวัฏฏานุปัสสนา ทรงละกิเลสอัน

ตั้งอยู่ในฐานเดียวกับทิฏฐิ ด้วยโสดาปัตติมรรค ทรงละกิเลสหยาบ

ด้วยสกทาคามิมรรค ทรงถอนกิเลสอย่างละเอียดด้วยอนาคามิมรรค

ทรงตัดกิเลสทั้งปวงได้เด็ดขาดด้วยอรหัตตมรรค เสด็จไปแล้ว. พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปอย่างนั้น เป็น

อย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนาม ตถาคต เพราะเสด็จมาถึง

ลักษณะที่แท้เป็นอย่างไร ? ปฐวีธาตุมีลักษณะแข้นแข็ง เป็นลักษณะแท้

ไม่แปรผัน อาโปธาตุ มีลักษณะไหลเอิบอาบ เตโชธาตุ มีลักษณะร้อน

วาโยธาตุมีลักษณะเคลื่อนไปมา อากาศธาตุมีลักษณะที่สัมผัสถูกต้อง

ไม่ได้ วิญญาณธาตุมีลักษณะรู้แจ้ง รูปมีลักษณะสลาย เวทนามี

ลักษณะเสวยอารมณ์ สัญญามีลักษณะจำอารมณ์ สังขารมีลักษณะ

ปรุงแต่งอารมณ์ วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ วิตกมีลักษณะยกจิต

ขึ้นสู่อารมณ์ วิจารมีลักษณะตามเคล้าอารมณ์ ปีติมีลักษณะแผ่ไป

สุขมีลักษณะสำราญ เอกัคคตาจิตมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ผัสสะมีลักษณะ

ถูกต้องอารมณ์ สัทธินทรีย์มีลักษณะน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์มีลักษณะ

ประคองไว้ สตินทรีย์มีลักษณะบำรุง สมาธินทรีย์มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน

ปัญญินทรีย์มีลักษณะรู้ชัด สัทธาพละมีลักษณะไม่หวั่นไหวในความเชื่อ

วิริยพละ มีลักษณะไม่หวั่นไหวในความเกียจคร้าน สติพละมีลักษณะ

ไม่หวั่นไหว ในความเป็นผู้มีสติหลงลืม สมาธิพละมีลักษณะไม่หวั่นไหว

ในความฟุ้งซ่าน ปัญญาพละ มีลักษณะไม่หวั่นไหวในอวิชชา สติ-

สัมโพชฌงค์มีลักษณะบำรุง ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีลักษณะเลือกเฟ้น

วิริยสัมโพชฌงค์มีลักษณะประคอง ปีติสัมโพชฌงค์มีลักษณะแผ่ไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 202

ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะเข้าไปสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์มีลักษณะ

ไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์มีลักษณะพิจารณา สัมมาทิฏฐิ. มี

ลักษณะเห็น สัมมาสังกัปปะ มีลักษณะยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ สัมมาวาจา

มีลักษณะกำหนดถือเอา สัมมากัมมันตะมีลักษณะลุกขึ้นพร้อม สัมมา-

อาชีวะมีลักษณะผ่องแผ้ว สัมมาวายามะมีลักษณะประคอง สัมมาสติ

มีลักษณะบำรุง สัมมาสมาธิ มีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน อวิชชามีลักษณะ

ไม่รู้ สังขารมีลักษณะคิดนึก วิญญาณมีลักษณะรู้อารมณ์ นามมี

ลักษณะน้อมไป รูปมีลักษณะสลาย สฬายตนะมีลักษณะต่อกัน ผัสสะ

มีลักษณะถูกต้องอารมณ์ เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ตัณหามี

ลักษณะเป็นเหตุ อุปาทานมีลักษณะยึดถือ ภพมีลักษณะประมวลมา

ชาติมีลักษณะบังเกิด ชรามีลักษณะทรุดโทรม มรณะมีลักษณะจิตไป

ธาตุมีลักษณะว่าง อายตนะมีลักษณะต่อกัน สติปัฏฐาน มีลักษณะ

บำรุง สัมมัปปธาน มีลักษณะเริ่มตั้ง อิทธิบาทมีลักษณะสำเร็จ

อินทรีย์มีลักษณะเป็นใหญ่ พละมีลักษณะไม่หวั่นไหว โพชฌงค์มี

ลักษณะนำออกจากทุกข์ มรรคมีลักษณะเป็นตัวเหตุ สัจจะมีลักษณะ

เป็นของแท้ สมถะมีลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนามีลักษณะตามเห็น

สมถและวิปัสสนามีลักษณะแห่งกิจอันเดียวกัน ธรรมที่ขนานคู่กัน

มีลักษณะไม่กลับกลาย สีลวิสุทธิมีลักษณะสำรวม จิตตวิสุทธิมี

ลักษณะไม่ฟุ้งซ่าน ทิฏฐิวิสุทธิมีลักษณะเห็น ขยญาณ (ความรู้ใน

ความสิ้นไป) มีลักษณะตัดขาด อนุปปาทญาณ (ความรู้ในความไม่

เกิดขึ้น) มีลักษณะระงับ ฉันทะมีลักษณะเป็นมูลเค้า มนสิการมีลักษณะ

เป็นสมุฏฐานที่เกิดขึ้น ผัสสะมีลักษณะเป็นที่ร่วมกัน เวทนามีลักษณะ

ประชุมลง สมาธิมีลักษณะเป็นประมุข สติมีลักษณะเป็นอธิปไตย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 203

ปัญญามีลักษณะยิ่งยวดกว่านั้น วิมุตติมีลักษณะเป็นสาระ นิพพาน

ที่หยั่งลงสู่อมตะ มีลักษณะเป็นที่สุดสิ้น เป็นของแท่ ไม่แปรผัน

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จมาถึงลักษณะที่แท้ด้วยญาณคติ คือบรรลุ

ไม่ผิดพลาด ด้วยประการอย่างนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า

ตถาคต เพราะเสด็จมาถึงลักษณะที่แท้ เป็นอย่างนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรม

ที่แท้จริง ตามความเป็นจริงอย่างไร ?

ชื่อว่าธรรมที่แท้จริง ได้แก่ อริยสัจ ๔. อย่างที่ตรัสไว้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ เป็นของแท้ไม่ผิด ไม่กลายเป็นอย่างอื่น

อริยสัจ ๔ อะไรบ้าง ? ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ว่า นี้ทุกข์ นั่นเป็นของแท้

นั่นไม่ผิด นั่นไม่กลายเป็นอย่างอื่น. พึงทราบความพิสดารต่อไป.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ยิ่งเอง ซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านั้น เพราะฉะนั้น

จึงได้รับพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ธรรมที่แท้ ก็ คต ศัพท์ในที่นี้

มีตรัสรูยิ่งเองเป็นอรรถ.

อีกอย่างหนึ่ง ภาวะชราสละมรณะอันเกิดและประชุมขึ้น

เพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นความแท้ไม่แปรฝัน ไม่เป็นอย่างอื่น ฯลฯ

สภาวะสังขารทั้งหลายเกิดและประชุมขึ้นเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย

เป็นความแท้ไม่แปรผันไม่เป็นอย่างอื่น. สภาวะอวิชชาเป็นปัจจัย

แก่สังขารทั้งหลายก็เหมือนกัน สภาวะสังขารเป็นปัจจัยแก่วิญญาณ

ฯลฯ สภาวะชาติเป็นปัจจัยแก่ ชราและมรณะ, เป็นความแท้นั้นไม่แปรผัน

ไม่เป็นอย่างอื่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ธรรมที่แท้นั้นทั้งหมด

แม้เพราะเหตุนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้ยิ่งเอง ซึ่งธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 204

อันถ่องแท้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ตถาคต เพราะตรัสรู้

ธรรมอันถ่องแท้ตามความเป็นจริง เป็นอย่างนี้.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง เป็นอย่างไร ?

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ทรงเห็นรูปารมณ์ โดยอาการทุกอย่าง

ที่มาปรากฏทางจักขุทวาร ของเหล่าสัตว์หาประมาณมิได้ ในโลกธาตุ

อันหาประมาณมิได้ ในโลกพร้อมด้วยเทวโลก ในหมู่สัตว์พร้อมด้วย

เทวดาและมนุษย์.

รูปารมณ์นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงรู้เห็นอย่างนี้ ทรงจำแนก

ด้วยอำนาจอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์เป็นต้นก็ดี ด้วยอำนาจร่องรอย,

ที่ได้ในการเห็น ไดยิน ทราบ และรู้แจ้งก็ดี โดยชื่อมิใช่น้อย โดย

วาระ ๑๓ โดยนัย ๕๒ ตามนัยมีอาทิว่า รูปใด เพราะอาศัยมหาภูตรูป

๔ มีสีและแสง เห็นได้ กระทบได้ เป็นสีเขียว สีเหลือง รูปนั้น คือ

รูปายตนะ เป็นไฉน ดังนี้ เป็นของแท้ทั้งนั้น ไม่แท้ไม่มี. แม้ใน

สัททารมณ์เป็นต้น ที่มาปรากฏ แม้ในโสตทวารเป็นต้นก็นัยนี้.

สมจริงดังคำ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุทั้งหลาย อารมณ์

ใด อันชาวโลกพร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ อันหมู่สัตว์ พร้อมด้วยเทวดา

และมนุษย์ เห็นแล้ว ได้ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว

แสวงหาแล้ว พิจารณาแล้ว ย่อมรู้อารมณ์นั้น เรารู้ยิ่งอารมณ์นั้น

แล้วด้วยใจ อารมณ์นั้น ตถาคตรู้แจ้งแล้ว อารมณ์นั้น ปรากฏแก่

ตถาคตแล้ว. ชื่อว่า ตถาคต เพราะทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริงด้วยประการ

ฉะนี้. พึงทราบการเกิดแห่งบทว่า ตถาคต (ผู้ทรงเห็นอารมณ์ที่แท้จริง)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 205

ชื่อว่า ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริงเป็นอย่างไร ?

ราตรีใด พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับนั่งอปราชิตบัลลังก์

ณ โพธิมัณฑสถาน ทรงย่ำยีกระหม่อมของมารทั้ง ๓ ตรัสรู้ยิ่งเอง

ซึ่งพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ และราตรีใด เสด็จปรินิพพาน

ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ระหว่างต้นสาละทั้งคู่ ในระหว่าง

ราตรีนั้น ในเวลาที่พระองค์มีพรรษาประมาณ ๔๕ พรรษา พระผู้

มีพระภาคเจ้า ตรัสพุทธพจน์อันใด ในปฐมโพธิกาลบ้าง มัชฌิม

โพธิกาลบ้าง ปัจฉิมโพธิกาลบ้าง คือสุตตะ เคยยะ ฯลฯ เวทัลละ

พระพุทธพจน์ ทั้งหมดนั้น ใคร ๆ ตำหนิไม่ได้ ทั้งโดยอรรถและโดย

พยัญชนะ ไม่ขาดไม่เกิน บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง เป็นเครื่องย่ำยี

ราคะ ในพระพุทธพจน์นั้น ไม่มีความผิดพลาดแม้เพียงปลายขนทราย

พระพุทธพจน์ทั้งหมดนั้น เหมือนประทับไว้ด้วยตราอันเดียวกัน

เหมือนตวงด้วยทะนานเดียวกัน และเหมือนชั่งด้วยตาชังอันเดียวกัน

จึงเป็นของแท้แน่นอนทั้งนั้น ไม่มีที่ไม่แท้.้ ด้วยเหตุนั้น พระองค์จึงตรัสว่า

ดูก่อนจุนทะ ตถาคตตรัสรู้ยิ่งเองซึ่งอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในราตรีใด

และปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในราตรีใด ระหว่าง

ราตรีนั้น ได้ภาษิต ได้กล่าว ชี้แจง คำพูดอันใด อันนั้น เป็นของแท้

อย่างเดียว ไม่กลายเป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า ตถาคต.

จริงอยู่ คตศัพท์ ในบทว่า ตถาคโต นี้ มีคทเป็นอรรถ. ชื่อว่า

ตถาคต เพราะมีพระวาจาที่แท้จริง ด้วยประการอย่างนี้.

อีกอย่างหนึ่ง การพูด อธิบายว่า การกล่าว ชื่อว่า อาคทะ. การตรัส

ของพระองค์เป็นจริง ไม่วิปริต เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ตถาคต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 206

เพราะแปลง เป็น ต. พึงทราบการเชื่อมบทในอรรถนั้น ด้วยประการ

ฉะนี้แล.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเป็นผู้มีปกติกระทำอย่างที่ตรัสนั้น

เป็นอย่างไร ?

เพราะว่า พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมอนุโลม

แก่พระวาจา แม้พระวาจาก็อนุโลมแก่พระกาย เพราะเหตุนั้น

พระองค์ตรัสอย่างใด ก็ทรงกระทำอย่างนั้น และทรงกระทำอย่างใด

ก็ตรัสอย่างนั้น. ก็พระวาจาของพระองค์ผู้เป็นอย่างนั้น ตรัสอย่างใด

แม้พระกายก็ไปอย่างนั้น อธิบายว่า ดำเนินไป อย่างนั้น. อนึ่ง พระกาย

ทรงกระทำอย่างใด แม้พระวาจา ก็ตรัสอย่างนั้น เพราะเหตุนั้น จึง

ชื่อว่า ตถาคต. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า

ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตพูดอย่างใด กระทำอย่างนั้น กระทำอย่างใด

ก็พูดอย่างนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. ชื่อว่า ตถาคต

เพราะเป็นผู้มีปกติกระทำอย่างที่ตรัสนั้น ด้วยประการฉะนี้.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะอรรถครอบงำได้ เป็นอย่างไร ?

เพราะพระองค์ทรงครอบงำ สัตว์ทั้งปวงในโลกธาตุหา

ประมาณมิได้ เบื้องบนถึงภวัคคพรหม เบื้องต่ำ ถึงอเวจีมหานรก

เบื้องขวางกำหนดที่สุดรอบ ๆ ด้วยศีลบ้าง สมาธิบ้าง ปัญญาบ้าง

วิมุตติบ้าง พระองค์ไม่มีการชั่งหรือการนับ พระองค์ชั่งไม่ได้

นับไม่ได้ เป็นผู้ยอดเยี่ยมเป็นพระราชาแห่งพระราชา เป็นเทพ

แห่งเทพ เป็นสักกะยอดแห่งเหล่าสักกะ เป็นพรหมยอดแห่งเหล่า

พรหม ด้วยเหตุนั้น พระองค์จงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 207

ครอบงำ หมู่สัตว์ในโลก พร้อมด้วยเทวโลก ฯลฯ พร้อมด้วยเทวดา

และมนุษย์ อันใคร ๆ ครอบงำมิได้ เป็นผู้เห็นโดยแท้ ทำให้ผู้อื่นอยู่

ในอำนาจ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. พึงทราบบทสนธิ ใน

คำว่า ตถาคโต นั้น อย่างนี้ :-

การตรัส (พึงเห็น) เหมือนยาอันประเสริฐ. ก็การตรัสนั้น

คืออะไร ? คือความงดงามแห่งเทศนา และความพอกพูนขึ้นแห่งบุญ.

เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงทรงครอบงำคนผู้เป็นปรัปปวาท

ทั้งหมด และสัตวโลกพร้อมด้วยเทวโลก เหมือนหมอผู้มีอำนาจ

มากครอบงำงูทั้งหลายด้วยยาทิพย์ ฉะนั้น. ดังนั้น พระองค์มีการตรัส

คือความงดงามแห่งเทศนา และความพอกพูนขึ้นแห่งบุญ อันเป็นจริง

ไม่วิปริต เพราะทรงครอบงำสัตวโลกได้ เพราะเหตุนั้น พึงทราบว่า

ตถาคต เพราะแปลง ท. อักษร เป็น ต. อักษร. ชื่อว่า ตถาคต

เพราะอรรถว่า ทรงครอบงำด้วยประการฉะนี้.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไปด้วยความจริง.

เพราะทรงถึงซึ่ง ความจริง ดังนี้ก็มี. อธิบายว่า ตรัสรู้ ทรงล่วงแล้ว

ทรงบรรลุ ทรงดำเนินไป. ในบรรดาคำเหล่านั้น ชื่อว่า ตถาคต

เพราะเสด็จไป คือ ตรัสรู้โลกทั้งสิ้นด้วยความจริง คือ ตีรณปริญญา.

ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป คือ ทรงล่วงโลกสมุทัย ด้วยความจริง

คือ ปหานปริญญา. ชื่อว่า ตถาคต เพราะเสด็จไป คือ บรรลุการดับ

สนิทแห่งโลก ด้วยความจริง คือ สัจฉิกิริยา. ชื่อว่า ตถาคต เพราะ

เสด็จไปคือดำเนินไปสู่ความจริง คือ ปฏิปทาอันยังสัตว์ให้ถึงความ

ดับโลก. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกอันตถาคต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 208

ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ตถาคตไม่ประกอบแล้วในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โลกสมุทัย ตถาคต ตรัสรู้ยิ่งแล้ว โลกสมุทัย อันตถาคต ละได้แล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกนิโรธ อันตถาคตตรัสรู้ยิ่งแล้ว โลกนิโรธ

อันตถาคตกระทำให้แจ้งแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกนิโรธคามินี-

ปฏิปทา อันตถาคตตรัสรู้ยิ่งแล้ว เจริญแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

สัจจะใดแห่งโลก พร้อมทั้งเทวโลก ฯลฯ สัจจะทั้งหมด อันตถาคต

ตรัสรู้ยิ่งแล้ว เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า ตถาคต. อรรถแห่งคำว่า

ตถาคตนั้น บัณฑิตพึงทราบแม้ด้วยประการอย่างนี้. แม้คำนี้ก็เป็น

เพียงแนวทางในการแสดงความที่ตถาคตเป็นตถาคต. พระตถาคต

เท่านั้น จึงจะพรรณนา ความที่ตถาคตเป็นตถาคตได้ ครบถ้วน

ทุกประการ.

ก็ใน ๒ บทว่า อรห สมฺมาสมฺพุทโธ อันดับแรก พึงทราบว่า

อรห ด้วยเหตุเหล่านี้คือ เพราะเป็นผู้ไกลข้าศึกคือกิเลส เพราะ

เป็นผู้หักกำกงแห่งสังสารจักรเสียได้ เพราะควรแก่สักการะมี

ปัจจัยเป็นต้น และเพราะไม่มีความลับในการทำชั่ว. ส่วนที่ชื่อว่า

สัมมาสัมพุทธะ เพราะตรัสรู้ธรรมทั้งปวง โดยชอบและด้วยพระองค์

เอง. ความสังเขปในข้อนี้มีเท่านี้. ทั้ง ๒ บทนี้ กล่าวไว้โดยพิสดาร

ในการพรรณนาพุทธานุสสติ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 209

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ปาตุภาโว ได้แก่ การเกิดขึ้น คือ การสำเร็จ. บทว่า ทุลฺลโภ

โลกสฺมึ ได้แก่ หาได้ยาก คือ หาได้โดยยากยิ่ง ในสัตวโลกนี้. ที่ชื่อว่า

หาได้ยาก เพราะเหตุไร ? เพราะพระองค์ไม่อาจบำเพ็ญทานบารมี

คราวเดียวแล้วได้เป็นพระพุทธเจ้า. อนึ่งพระองค์ไม่ทรงสามารถ

บำเพ็ญทานบารมี ๒ ครั้ง ๑๐ ครั้ง ๒๐ ครั้ง ๕๐ ครั้ง ๑๐๐ ครั้ง

๑,๐๐๐ ครั้ง โกฏิครั้ง แสนโกฏิครั้ง ไม่ทรงสามารถบำเพ็ญทาน

บารมีได้ ๑ วัน ๒ วัน ๑๐ วัน ๒๐ วัน ๕๐ วัน ๑๐๐ วัน ๑,๐๐๐ วัน

๑๐๐,๐๐๐ วัน แสนโกฏิวัน ฯลฯ ๑ เดือน ๑ ปี ๒ ปี ฯลฯ แสนโกฏิปี

๑ กัป ๒ กัป ฯลฯ แสนโกฏิกัป พระองค์ไม่สามารถบำเพ็ญทาน

บารมี ๑ อสงไขย ๒ อสงไขย ๓ อสงไขย แห่งกัป แล้วเป็นพระ

พุทธเจ้าได้ แม้ในศีลบารมี เนกขัมมบารมี ฯลฯ อุเบกขาบารมี

ก็นัยนี้เหมือนกัน. แต่ครั้งสุดท้าย พระองค์ทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ สิ้น ๔

อสงไขยกำไรแสนกัป แล้วจึงสามารถเป็นพระพุทธเจ้าได้ ด้วยเหตุ

ดังกล่าวมานี้ พระองค์จึงชื่อ ว่าหาได้ยาก.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 210

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ในสูตรที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อจฺฉริยมนุสฺโส แปลว่า มนุษย์อัศจรรย์.

บทว่า อจฺฉริโย ความว่า ไม่มีเป็นนิตย์ เหมือนตาบอดขึ้น

ภูเขา. นัยแห่งศัพท์เท่านี้ก่อน แต่นัยแห่งอรรถกถาดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า อัจฉริยะ เพราะควรแก่การปรบมือ. อธิบายว่า ควรปรบมือ

แล้วมอง.

อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า มนุษย์อัศจรรย์ แม้เพราะประกอบ

ด้วยธรรมอันไม่เคยมี น่าอัศจรรย์หลายประการ มีอาทิอย่างนี้ว่า

ภิกษุทั้งหลาย ธรรมอันไม่เคยมีน่าอัศจรรย์ ๔ ประการ ย่อมมี

ปรากฏ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าปรากฏ. ชื่อว่า

อัจฉริยมนุษย์ เพราะเป็นมนุษย์ที่เคยสั่งสมมาก็มี.

จริงอยู่ การที่พระองค์ทรงประชุมธรรม ๘ ประการ อันจะ

ทำให้อภินีหารเพียบพร้อม แล้วทรงผูกพระมันสประทับนั่ง ณ

มหาโพธิมัณฑสถาน ต่อพระพักตร์ ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง

ใคร ๆ อื่น มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์พระองค์เดียว

เท่านั้นสั่งสมมา. อนึ่งแม้การที่พระองค์ ได้รับพยากรณ์ในสำนัก

พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นผู้ไม่หวนกลับหลัง อธิษฐานความเพียร

แล้วบำเพ็ญพุทธการกธรรม ใคร ๆ อื่น มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระ-

สัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้น เคยสั่งสมมา. อนึ่งพระองค์ทรงบำเพ็ญ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 211

พระบารมีให้แก่กล้า (ยังพระบารมีให้ถือเอาห้อง) ดำรงอยู่ในอัตภาพ

เช่นเสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดร บำเพ็ญสัตตสตกมหาทาน (ของ

๗ สิ่ง สิ่งละ ๗๐๐) มีอาทิอย่างนี้ คือ ช้าง ๗๐๐ ม้า ๗๐๐ ประดับด้วย

เครื่องอลังการพร้อมสรรพ มอบพระโอรสเช่นพระชาลีกุมาร พระธิดา

เช่น กัณหาชินา และพระเทวี เช่นพระนางมัทรี ไว้ในมุขแห่งทาน ดำรง

อยู่ตลอดอายุในอัตภาพที่ ๒ ทรงถือปฏิสนธิในภพชั้นดุสิต ซึ่งใคร ๆ อื่น

มิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้นเคยสั่งสมนา. แม้การ

ที่พระองค์ทรงดำรงอยู่ในภพชั้นดุสิตตลอดอายุ ทรงรับการเชิญของ

เทวดาทั้งหลาย ทรงตรวจดูมหาวิโลกิตะ ๕ อย่าง ทรงมีพระสติ

และสัมปชัญญะ จุติจากดุสิต ถือปฏิสนธิในตระกูลที่มีโภคะมาก

ซึ่งใคร ๆ อื่นมิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูโพธิสัตว์เท่านั้นเคยสั่งสม

มา อนึ่งหมื่นโลกธาตุไหวในวันถือปฏิสนธิก็ดี การที่พระองค์ทรงมี

พระสติสัมปชัญญะอยู่ในพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี การที่หมื่น

โลกธาตุไหว แม้ในวันที่พระองค์ทรงมีพระสติสัมปชัญญะเสด็จออก

จากพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี การที่พระองค์ประสูติในเดี๋ยวนี้

แล้วเสด็จย่างพระบาทได้ ๗ ก้าวก็ดี การกางกั้นเศวตฉัตรอันเป็นทิพย์

ก็ดี การโบกพัดด้วยวาลวีชนีอันเป็นทิพย์ก็ดี การที่พระองค์ทรงเหลียวดู

อย่างสีหะไปใน ๔ ทิศ ไม่ทรงเห็นสัตว์ไร ๆ ที่จะเสมอเหมือนพระองค์

แล้วทรงบันลือสีหนาทอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้เลิศของโลกก็ดี การที่

หมื่นโลกธาตุไหว ในขณะที่พระองค์ทรงละราชสมบัติ เมื่อพระญาณ

แก่กล้า แล้วเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ก็ดี การที่พระองค์ประทับ

นั่งสมาธิ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน ทรงชนะมารเป็นต้นไปแล้ว

ทรงชำระปุพเพนิวาสานุสสติญาณ และทิพจักขุญาณ ทรงทำ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 212

หมื่นโลกธาตุให้ไหว ขณะทรงแทงตลอดกองคุณคือพระสัพพัญญุตญาณ

ในเวลาใกล้รุ่งก็ดี ประกาศพระธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ซึ่งมี

วนรอบ ๓ รอบ ด้วยปฐมเทศนาก็ดี ความอัศจรรย์ทั้งหมดดังกล่าว

มาอย่างนี้เป็นต้น ใคร ๆ อื่นมิได้เคยสั่งสมมาเลย พระสัพพัญญูพุทธเจ้า

เท่านั้นเคยสั่งสมขมา. ชื่อว่า มนุษย์อัศจรรย์ เพราะเป็นมนุษย์เคย

สั่งสมมาดังนี้บ้าง ด้วยประการอย่างนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ในสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า กาลกิริยา ความว่า ชื่อว่า กาลกิริยา เพราะกิริยาที่

ปรากฏในกาลครั้งหนึ่ง. จริงอยู่ พระตถาคต ทรงดำรงอยู่ ๔๕ พรรษา

ทรงประกาศ ปิฎก ๓ นิกาย ๕ สัตถุศาสน์มีองค์ ๙ พระธรรมขันธ์

๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ทรงกระทำมหาชน ให้น้อมไปในพระนิพพาน

โอนไปในพระนิพพาน บรรทมระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ตรัสเรียกภิกษุ

สงฆ์มา ทรงโอวาทด้วยความไม่ประมาท ทรงมีพระสติสัมปชัญญะ

เสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ, กาลกิริยานี้ของพระ-

ตถาคตนั้นปรากฏมาจนกระทั่งกาลวันนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า

กาลกิริยา เพราะเป็นกิริยาที่ปรากฏในเวลาหนึ่ง. บทว่า อนุตปฺปา

โหติ แปลว่า กระทำความเดือดร้อนตาม (ภายหลัง). ในข้อนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 213

กาลกิริยาของพระเจ้าจักรพรรดิ การทำความเดือดร้อนตามแก่

เทวดาและมนุษย์ในหนึ่งจักรวาล. กาลกิริยาของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

กระทำความเดือดร้อนตามแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายในหมื่นจักรวาล

ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า กระทำความเดือดร้อนตามแก่ขนมาก ดังนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า อทุติโย ความว่า ที่ชื่อว่า อทุติโย เพราะไม่มีพระพุทธเจ้า

องค์ที่ ๒. จริงอยู่พระพุทธะ. มี ๔ คือ สุตพุทธะ จตุสัจจพุทธะ

ปัจเจกพุทธะ สัพพัญญูพุทธะ. ในพุทธะ ๔ นั้น ภิกษุผู้เป็นพหูสูต

(มีพุทธพจน์อันสดับแล้วมาก) ชื่อว่า สุตพุทธะ. ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ

(นี้อาสวะสิ้นแล้ว) ชื่อว่า จตุสัจจพุทธะ. พระองค์ผู้บำเพ็ญบารมี

สองอสงไขย กำไรแสนกัป แล้วแทงตลอดปัจเจกพุทธญาณ ชื่อว่า

ปัจเจกพุทธะ. พระองค์ผู้บำเพ็ญบารมี ๔-๘-๑๖ อสงไขย กำไร

แสนกัป แล้วย่ำยีกระหม่อมแห่งมารทั้ง ๓ แทงตลอดพระสัพพัญญุต-

ญาณ ชื่อว่า สัพพัญญูพุทธะ. ในพุทธะ ๔ เหล่านี้ พระสัพพัญญูพุทธะ

ชื่อว่า ไม่มีพระองค์ที่ ๒ ธรรมดาว่าพระสัพพัญญูพุทธะพระองค์อื่น

จะเสด็จอุบัติร่วมกับพระสัพพัญญูพุทธะพระองค์นั้นก็หาไม่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 214

บทว่า อสหาโย ความว่า ชื่อว่าไม่มีสหาย เพราะท่านไม่มี

สหายผู้เช่นกับด้วยอัตภาพ หรือด้วยธรรมที่ทรงแทงตลอดแล้ว.

ก็พระเสขะและพระอเสขะ ชื่อว่า เป็นสหายขอพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

โดยปริยายนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงได้เสกขปฎิปทา และ

อเสกขปฏิปทาเป็นสหายแล.

บทว่า อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพเรียกว่า

รูปเปรียบ. ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพ

ของท่านไม่มี. อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใด

ล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่า

ผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทรายให้เหมือนอัตภาพของ

พระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดย

ประการทั้งปวง. บทว่า อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่า

ไม่มีผู้เทียบ เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต

นั้นไม่มี.

บทว่า อปฺปฏิภาโค (ไม่มีผู้เทียม) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียม

เพราะธรรมเหล่าใดอันพระตถาคตทรงแสดงไว้โดยนัยมีอาทิว่า

สติปัฏฐานมี ๔ ขึ้นชื่อว่าผู้สามารถเพื่อจะทำเทียมในธรรมเหล่านั้น

โดยนัยมีอาทิว่า น จตฺตาโร สติปฏฺานา ตโย วา ปญฺจ วา (สติปัฏฐาน

ไม่ใช่ ๔ สติปัฏฐานมี ๓ หรือ ๕.) บทว่า อปฺปฏิปุคฺคโล (ไม่มีบุคคล

ผู้แข็ง) ความว่า ชื่อว่าไม่มีบุคคลผู้แข่ง เพราะไม่มีบุคคลอื่นไร ๆ

ชื่อว่าสามารถเพื่อให้ปฏิญญาอย่างนี้ว่า เราเป็นพระพุทธเจ้า ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 215

บทว่า อสโม (ไม่มีผู้เสมอ) ความว่า ชื่อว่า ผู้ไม่เสมอด้วย

สัตว์ทั้งปวง เพราะไม่มีบุคคลเทียมนั่นเอง. บทว่า อสมสโม (ผู้เสมอ

กันบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ) ความว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย

ที่เป็นอดีตและอนาคต ท่านเรียกว่า ไม่มีผู้เสมอ ผู้เสมอด้วยพระ

สัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้ไม่มีใคร ๆ เสมอเหล่านั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า

ผู้เสมอกับบุคคลผู้ไม่มีใครเสมอ.

บทว่า ทฺวิปทาน อคฺโค ความว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็น

ยอดของเหล่าสัตว์ผู้ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า มี ๔ เท้า มีเท้ามาก สัตว์ผู้มีรูป

ไม่มีรูป ผู้มีสัญญา ไม่มีสัญญา มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่.

เพราะเหตุไร ในที่นี้ ท่านจึงกล่าวว่า เป็นยอดของเหล่าสัตว์ ๒ เท้า ?

เพราะเนื่องด้วยพระองค์เป็นผู้ประเสริฐกว่า. จริงอยู่ ธรรมดาว่า

ท่านผู้ประเสริฐ เมื่อจะอุบัติในโลกนี้ หาอุบัติในสัตว์ไม่มีเท้า มี ๔ เท้า

และมีเท้ามากไม่ ย่อมอุบัติเฉพาะในสัตว์ ๒ เท้าเท่านั้น. ในสัตว์ ๒ เท้า

ชนิดไหน ? ในมนุษย์ และเทวดาทั้งหลาย. ก็เมื่อเสด็จอุบัติในหมู่

มนุษย์ ย่อมอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า ผู้สามารถเพื่อทำสามพันโลกธาตุ

และหลายพันโลกธาตุ ให้อยู่ในอำนาจได้. เมื่ออุบัติในหมู่เทวดา

ย่อมอุบัติเป็นท้าวมหาพรหม ผู้ทำหมื่นโลกธาตุให้อยู่ในอำนาจได้

ท้าวมหาพรหมนั้น พร้อมที่จะเป็นกัปปิยการก หรือเป็นอารามิก

ของพระองค์ ดังนั้น ท่านจึงเรียกว่าเป็นยอดของสัตว์ ๒ เท้า ด้วย

อำนาจเป็นผู้ประเสริฐกว่ามนุษย์และเทวดาแม้นั้นทีเดียว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 216

อรรถกถาสูตรที่ ๖ เป็นต้น

ในสูตรที่ ๖ เป็นต้นวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า เอกปุคฺคลสฺส ภิกฺขเว ปาตุภาวา มหโต จกฺขุสฺส

ปาตุภาโว โหติ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุใหญ่ย่อมปรากฏ

เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นบุคคลเอกปรากฏ.

เมื่อบุคคลนั้นปรากฏแล้ว แม้จักขุก็ย่อมปรากฏเหมือนกัน เพราะเว้น

บุคคลปรากฏเสีย จักขุก็ปรากฏไม่ได้. บทว่า ปาตุภาโว ได้แก่ การอุบัติ

คือ ความสำเร็จ. จักษุชนิดไหน ? จักษุคือปัญญา. เสมือนเช่นไร ? เสมือน

วิปัสสนาปัญญา ของพระสารีบุตรเถระ เสมือนสมาธิปัญญา ของ

พระมหาโมคคัลลานเถระ. แม้ในอาโลกะ (การเห็น) เป็นต้น ก็นัยนี้

เหมือนกัน. จริงอยู่ ในการมองเห็นเป็นต้นนี้ ท่านประสงค์เอาการ

มองเห็นเช่นการมองเห็นด้วยปัญญา และแสงสว่าง เช่นแสงสว่าง

แห่งปัญญาของพระอัครสาวกทั้งสอง. บทแม้ทั้ง ๓ นี้ คือ แห่ง

ดวงตาอันใหญ่ แห่งการมองเห็นอันใหญ่ แห่งแสงสว่างอันใหญ่

พึงทราบว่า ตรัสเจือกันทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.

บทว่า ฉนฺน อนุตฺติยาน ได้แก่ ธรรมอันสูงสุด ๖ อย่าง

ที่ไม่มีธรรมอื่นยิ่งขึ้นไปกว่า ในคำนั้นมีอธิบายว่า อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้

คือ ทัสสนานุตตริยะ สวนานุตตริยะ ลาภานุตตริยะ สิกขานุตตริยะ

ปาริจริยานุตตริยะ อนุสสตานุตตริยะ. ความปรากฏเกิดขึ้นแห่ง

อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ จึงมี.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 217

จริงอยู่ท่านพระอานนทเถระ ย่อมได้เห็นพระตถาคตด้วย

จักขุวิญญาณทั้งเช้าทั้งเย็น นี้ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ. แม้คนอื่น

ไม่ว่าจะเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี ก็ย่อมได้เห็น

พระตถาคตเหมือนพระอานนทเถระ แม้นี้ ก็ชื่อว่า ทัสสนานุตตริยะ.

อนึ่ง บุคคลอื่นอีกผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ก็ได้เห็นพระทศพลเหมือน

พระอานนทเถระ ทำการเห็นนั้นให้เจริญ ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค

นี้ก็ชื่อว่า ทัสสนะ เหมือนกัน ส่วนการเห็นเดิม ชื่อว่าทัสสนานุตตริยะ.

จริงอยู่ บุคคลย่อมได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลเนือง ๆ

ด้วยโสตวิญญาณ เหมือนพระอานนท์เถระ นี้ชื่อสวนานุตตริยะ.

แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมได้ฟังพระ

ดำรัส ของพระตถาคตเจ้า เหมือนพระอานนท์เถระ แม้นี้ก็ชื่อว่า

สวนานุตตริยะ. ส่วนบุคคลอื่นอีก ผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ได้ฟังพระ

ดำรัสของพระตถาคตเจ้า เหมือนพระอานนท์เถระ เจริญสวนะนั้น

ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ก็ชื่อว่า สวนะเหมือนกัน ส่วนการฟัง

เดิม ชื่อว่า สวนานุตตริยะ.

บุคคลย่อมได้เฉพาะศรัทธาในพระทศพล เหมือนพระอานนท-

เถระนี้ ก็ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ. แม้บุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบัน

เป็นต้น ได้ลาภเฉพาะคือศรัทธาในพระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระ

ย่อมได้ลาภเฉพาะ แม้นี้ก็ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีก เป็น

กัลยาณปุถุชน ได้ลาภเฉพาะคือศรัทธาในพระทศพล เหมือนพระ

อานนทเถระ เจริญลาภนั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่า

การได้เหมือนกัน ส่วนการได้อันเดิม ชื่อว่า ลาภานุตตริยะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 218

อนึ่ง บุคคลศึกษาสิกขา ๓ ในพระศาสนาของพระทศพล

เหมือนพระอานนท์เถระ นี้ชื่อว่า สิกขานุตตริยะ. แม้พระอริย

บุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ย่อมศึกษาสิกขา ๓ ในพระ

ศาสนาของพระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระแม้นี้ ก็ชื่อว่า

สิกขานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีก ผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ศึกษาสิกขา ๓

ในพระศาสนาของพระทสพลเหมือนพระอานนท์เถระ เจริญสิกขา ๓

นั้น ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่า การศึกษาเหมือนกัน ส่วน

การศึกษาอันเดิม ชื่อว่า สิกขานุตตริยะ

อนึ่ง บุคคลปรนนิบัติพระทศพลเนือง ๆ เหมือนพระอานนท์

เถระ นี้ชื่อว่า ปาริจริยานุตตริยะ. แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่น มี

พระโสดาบันเป็นต้น ย่อมปรนนิบัติพระทศพลเนือง ๆ แม้นี้ ก็ชื่อว่า

ปาริจริจริยานุตตริยะ. ส่วนคนอื่น ๆ ผู้เป็นกัลยาณปุถุชน ปรนนิบัติ

พระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระ เจริญการปรนนิบัตินั้น ย่อม

บรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่า การปรนนิบัติเหมือนกัน ส่วนการ

ปรนนิบัติอันเดิม ชื่อว่าปาริจริยานุตตริยะ.

บุคคลระลึกถึงเนือง ๆ ถึงคุณอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ

ของพระทศพล เหมือนพระอานนท์เถระ. นี้ชื่อว่า อนุสสตานุตตริยะ.

แม้พระอริยบุคคลเหล่าอื่น มีพระโสดาบันเป็นต้น ระลึกเนือง ๆ ถึง

คุณอันเป็นโลกิยะ และโลกุตตระ ของพระทศพล เหมือนพระอานนท-

เถระ แม้นี้ก็ชื่อว่า อนุสสตานุตตริยะ. ส่วนคนอื่นอีก เป็นกัลยาณ-

ปุถุชน ระลึกเนือง ๆ ถึงคุณอันเป็นโลกิยะ. และโลกุตตระ ของ

พระทศพล เหมือนพระอานนทเถระ เจริญการระลึกเนือง ๆ นั้น

ย่อมบรรลุโสดาปัตติมรรค นี้ชื่อว่า อนุสสติ เหมือนกัน ส่วนอนุสสติ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 219

เดิม ชื่อว่าอนุสสตานุตตริยะ ดังพรรณนามานี้ คืออนุตตริยะ ๖.

อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ย่อมปรากฏ อนุตตริยะ ๖ เหล่านี้ พึงทราบว่า

ท่านกล่าวเจือปนกันทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.

บทว่า จตุนฺน ปฏิสมฺภิทาน สจฺฉิกิริยา โหติ ความว่า ก็ปฏิสัม-

ภิทา ๔ คือ อรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา

ปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ในปฏิสัมภิทา ๔ นั้น ความรู้ในอรรถ ชื่อว่า

อรรถปฏิสัมภิทา. ความรู้ในธรรมชื่อว่า ธรรมปฏิสัมภิทา. ความรู้

ในการกล่าวภาษาที่เป็นอรรถและธรรม ชื่อว่า นิรุตติปฏิสัมภิทา.

ความรู้ในญาณทั้งหลาย ชื่อว่าปฏิภาณปฏิสัมภิทา. ความสังเขป

ในที่นี้ มีเพียงเท่านี้. ส่วนความพิสดารแห่งปฏิสัมภิทาเหล่านั้น

มาแล้วในอภิธรรมนั่นแล. อธิบายว่า การกระทำให้แจ้งประจักษ์

ปฏิสัมภิทาทั้ง ๔ นี้ ย่อมมีในพุทธุปบาทกาล. การการทำให้แจ้ง

ปฏิสัมภิทาเหล่านั้น เว้นพุทธุปบาทกาลเสีย ย่อมไม่มี. ปฏิสัมภิทา

แม้เหล่านี้ พึงทราบว่า ท่านกล่าวว่า เป็นได้ทั้งโลกิยะ และโลกุตตระ.

บทว่า อเนกธาตุปฏิเวโธ ความว่า การแทงตลอดธาตุ ๑๘

มีคำว่า จักขุธาตุ รูปธาตุ ดังนี้เป็นต้น ย่อมมีในพุทธุปบาทกาล

เท่านั้น เว้นพุทธุปบาทกาล ย่อมไม่มี. ในคำว่า นานาธาตุปฏิเวโธ

โหติ การแทงตลอดธาตุต่าง ๆ จึงมีนี้ ธาตุ ๑๘ นี้แหละ พึงทราบว่า

นานาธาตุ เพราะมีสภาวะต่าง ๆ. ก็การแทงตลอดอันใด ซึ่งธาตุ

เหล่านั้น โดยเหตุต่าง ๆ อย่างนี้ว่า ธาตุเหล่านี้ มีสภาวะต่างกัน

ในข้อนี้ นี้ชื่อว่า การแทงตลอดธาตุต่าง ๆ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 220

บทว่า วิชฺชา ในบทว่า วิชฺชาวิมุตฺติผลสจฺฉิกิริยา นี้ ได้แก่

ผลญาณ. บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ธรรมที่สัมปยุตด้วยโสดาปัตติผล

นอกจากวิชชานั้น. บทว่า โสดาปตฺติผลสจฺฉิกิริยา ความว่า ปฐมมรรค

ชื่อว่า โสตะ. ชื่อว่า โสดาปัตติผล เพราะเป็นผลอันบุคคลพึงบรรลุ

ด้วยโสตะนั้น. สกทาคามิผลเป็นตันปรากฏชัดแล้วแล.

บทว่า อนุตฺตร แปลว่า ยอดเยี่ยม. บทว่า ธมฺมจกฺก ได้แก่

จักรอันประเสริฐ. จริงอยู่ จักก ศัพท์นี้ มาในอรรถว่าอุรจักร (คือ

จักรประหารชีวิต ) ในคาถานี้ว่า

ท่านได้ประสบนางเวมานิกเปรต ๔ นาง จาก

๔ นาง เป็น ๘ นาง จาก ๘ นาง เป็น ๑๖ นาง ถึง

จะได้ประสบนางเวมานิกเปรต จาก ๑๖ นาง เป็น

๓๒ นาง ก็ยังปรารถนายิ่งไปกว่านั่น จึงได้

ประสบจักรนี้ จักรกรดย่อมผัดผันบนกระหม่อม

ของคนผู้ถูกความอยากครอบงำแล้ว.

ลงในอรรถว่าจักร คืออิริยาบถ ในประโยคนี้ว่า ชาวชนบทเปลี่ยน

อิริยาบถ เดินไปรอบ ๆ. ลงในอรรถว่าจักรคือไม่ในประโยคนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ช่างรถหมุนจักรคือไม้ยนต์ ที่ทำ

๗ เดือนเสร็จ. ลงในอรรถว่าจักรคือลักษณะ. ในประโยคนี้ว่า โทณ-

พราหมณ์ ได้เห็นจักรคือลายลักษณะอันเกิดที่พระบาทของพระผู้

มีพระภาคเจ้า ซึ่งมีกำพันซี่. ลงในอรรถว่าจักรคือสมบัติ ในประโยค

นี้ว่า สมบัติ ๔ ย่อมเป็นไปแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ผู้ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 221

ด้วยสมบัติเหล่าใด สมบัติเหล่านี้ มี ๔ ประการ. ลงในอรรถว่าจักรคือ

รัตนะในประโยคนี้ว่า จักรคือรัตนะอันเป็นทิพย์ ปรากฏอยู่. แต่ในที่นี้

ลงในอรรถว่าจักรคือธรรม.

ในบทว่า ปวตฺติต นี้พึงทราบประเภทดังนี้ว่า ชื่อว่ากำลัง

ปรารถนาอย่างจริงจังซึ่งพระธรรมจักร ธรรมจักรชื่อว่าปรารถนา

อย่างจริงจังแล้ว ชื่อว่า กำลังทำพระธรรมจักรให้เกิดขึ้น ธรรมจักร

ชื่อว่าทรงทำให้เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่ากำลังประกาศพระธรรมจักร

ธรรมจักรชื่อว่าทรงประกาศแล้ว.

ชื่อว่ากำลังปรารถนาอย่างจริงจังซึ่งพระธรรมจักรตั้งแต่

ครั้งไหน ? ครั้งที่พระองค์เป็นสุเมธพราหมณ์ เห็นโทษในกาม

ทั้งหลาย และอานิสงส์ในเนกขัมมะ ถวายสัตตสดกมหาทานแล้วบวช

เป็นฤาษี ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด ตั้งแต่นั้นมา ชื่อว่า

กำลังปรารถนาอย่างจริงจัง ซึ่งพระธรรมจักร.

ชื่อว่าปรารถนาอย่างจริงจังแล้ว ตั้งแต่ครั้งไหน ? ครั้งพระองค์

ประชุมธรรม ๘ ประการ แล้วทรงผูกพระมนัส เพื่อประโยชน์แก่

การทำพระมหาโพธิญาณให้ผ่องแผ้ว ณ บาทมลแห่งพระพุทธเจ้า

พระนามว่าทีปังกร ทรงอธิษฐานพระวิริยะว่า เราไม่ได้รับ

พยากรณ์ จักไม่ลุกขึ้นแล้วจึงนอนลง ได้รับพยากรณ์จากสำนัก

พระทศพลแล้ว ตั้งแต่นั้นมา ธรรมจักรชื่อว่าปรารถนาอย่างจริงจัง

แล้ว.

ชื่อว่า กำลังให้ธรรมจักรเกิดขึ้น ตั้งแต่ครั้งไหน ? ครั้งแม้

เมื่อพระองค์ทรงบำเพ็ญทานบารมี ชื่อว่ากำลังยังธรรมจักรให้เกิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 222

ขึ้น. เมื่อทรงบำเพ็ญสีลบารมีก็ดี ฯลฯ ทรงบำเพ็ญอุปบารมีก็ดี

ชื่อว่า กำลังยังธรรมจักรให้เกิดขึ้น เมื่อทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐

อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ ก็ดี เมื่อทรงบำเพ็ญมหาบริจาค ๕

ก็ดี ทรงบำเพ็ญญาตัดถจริยาก็ดี ชื่อว่าทรงยังธรรมจักรให้เกิด

ขึ้น. ทรงอยู่ในภาวะเป็นพระเวสสันดร ทรงถวายสัตตสดกมหาทาน

ทรงมอบบุตรและภรรยา ในมุขคือทาน ทรงถือเอายอดพระบารมี

ทรงบังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทรงดำรงอยู่ในดุสิตนั้น ตลอดพระชน-

มายุ อันเทวดาทูลอาราธนาแล้วให้ปฏิญญา แม้ทรงพิจารณาดู

มหาวิโลกนะ ๕ ชื่อว่ากำลังยังธรรมจักรให้เกิดขึ้นเหมือนกัน. เมื่อ

ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระมารดาก็ดี เมื่อทรงทำหมื่น

จักรวาลให้ไหว ในขณะปฏิสนธิก็ดี เมื่อทรงทำโลกให้ไหว เหมือน

อย่างนั้นนั่นแล ในวันเสด็จออกจากพระครรภ์ของมารดาก็ดี เมื่อ

ประสูติในเดียวนั้นแล้วเสด็จย่างพระบาทไป ๗ ก้าว ทรงบันลือ

สีหน้าทว่าเราเป็นผู้เลิศก็ดี เมื่อเสด็จอยู่ครองเรือน ตลอด ๒๙

พรรษาก็ดี เสด็จออกเพื่อคุณอันยิ่งใหญ่ก็ดี ทรงบรรพชาที่ริมฝั่ง

แม่น้ำอโนมานทีก็ดี ทรงกระทำมหาปธานความเพียร ๖ พรรษาก็ดี

เสวยข้าวมธุปายาส ที่นางสุชาดาถวาย แล้วทรงลอยถาดทองในแม่น้ำ

แล้วเสด็จไปโพธิมัณฑสถานอันประเสริฐ. ในเวลาเย็น ประทับนั่ง

ตรวจโลกธาตุด้านทิศบุรพา ทรงกำจัดมารและพลของมาร ในเมื่อ

ดวงอาทิตย์ยังทรงอยู่นั่นแล ทรงระลึกถึงปุพเพนิวาสญาณในปฐมยาม

ก็ดี ทรงชำระทิพยจักษุในมัชฌิมยามก็ดี ทรงพิจารณาปัจจยาการ

ในเวลาต่อเนื่องกับเวลาใกล้รุ่ง แล้วแทงตลอดโสดาปัตติมรรคก็ดี

ทรงทำให้แจ้งโสดาปัตติผลก็ดี ทรงทำให้แจ้ง สกทาคามิมรรค

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 223

สกทาคามิผล อนาคานิมรรค อนาคามิผลก็ดี เมื่อทรงแทงตลอด

อรหัตตมรรคก็ดี ก็ชื่อว่า ทรงกำลังกระทำธรรมจักรให้เกิดขึ้น

เหมือนกัน.

ก็ธรรมจักร ชื่อว่า อันพระองค์ให้เกิดขึ้นแล้ว ในขณะแห่ง

พระอรหัตตผล. จริงอยู่คุณราสี กองแห่งคุณ ทั้งสิ้นของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ย่อมสำเร็จพร้อมกับอรหัตตผลนั่นแล. เพราะฉะนั้น ธรรมจักร

นั้น เป็นอันชื่อว่าอันพระองค์ให้เกิดขึ้นแล้วในขณะนั้น.

พระองค์ทรงประกาศธรรมจักรเมื่อไร ? เมื่อพระองค์ทรงยับยั้ง

อยู่ ๗ สัปดาห์ ณ โพธิมัณฑสถาน ทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตตน-

สูตร กระทำพระอัญญาโกณฑัญญเถระให้เป็นกายสักขี ที่ป่า

อิสิปตนมฤคทายวัน ชื่อว่าทรงประกาศพระธรรมจักร.

ก็ในกาลใดพระอัญญาโกณฑัญญเถระ ได้การฟังที่บังเกิด

ด้วยอานุภาพแห่งเทศนาญาณของพระทศพล แล้วบรรลุธรรมก่อน

เขาทั้งหมด จำเดิมแต่กาลนั้นมา พึงทราบว่าธรรมจักร เป็นอัน

ชื่อว่า ทรงประกาศแล้ว.

จริงอยู่ คำว่า ธรรมจักร นี้เป็นชื่อแห่งเทศนาญาณบ้าง

แห่งปฏิเวธญาณบ้าง. ใน ๒ อย่างนั้น เทศนาญาณเป็นโลกิยะ

ปฏิเวธญาณเป็นโลกุตตระ. ถามว่า เทศนาญาณ ปฏิเวธญาณ

เป็นของใคร ? แก้ว่า ไม่ใช่ของใครอื่น พึงทราบว่าเทศนาญาณ

และปฏิเวธญาณ เป็นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น.

บทว่า สมฺมเทว ได้แก่ โดยเหตุ คือ โดยนัย โดยการณ์ นั้นเอง.

บทว่า อนุปฺวตฺตนฺติ ความว่า พระเถระชื่อว่าย่อมประกาศตาม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 224

ธรรมจักร ที่พระศาสดาทรงประกาศไว้ก่อนแล้ว เหมือนเมื่อพระ

ศาสดาเสด็จไปข้างหน้า พระเถระเดินไปข้างหลัง ชื่อว่าเดินตาม

พระศาสดานั้นฉะนั้น. ถามว่า ประกาศตามอย่างไร ? ตอบว่า ก็

พระศาสดาเมื่อทรงแสดงว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔

เหล่านี้ สติปัฏฐาน ๔ อะไรบ้าง ชื่อว่าทรงประกาศธรรมจักร.

พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระนั่นแล เมื่อแสดงว่า ดูก่อนผู้มีอายุ

สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ ชื่อว่า ย่อมประกาศตามซึ่งธรรมจักร. แม้ใน

สัมมัปปธานเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. มิใช่แต่ในโพธิปักขิยธรรม

อย่างเดียว.

แม้ในคำว่า ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยวงศ์ ๔

เหล่านี้ เป็นต้น ก็พึงทราบนัยนี้เหมือนกัน. ด้วยประการดังกล่าวนี้

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าทรงประกาศธรรมจักร พระเถระ

ชื่อว่า ประกาศตามพระธรรมจักรที่พระทศพลทรงประกาศแล้ว.

ก็พระธรรมอันพระเถระผู้ประกาศตามธรรมจักรอย่างนี้

แสดงแล้วก็ดี ประกาศแล้วก็ดี ย่อมชื่อว่า เป็นอันพระศาสดาทรง

แสดงแล้วประกาศแล้วทีเดียว. ผู้ใดผู้หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี

ก็ตาม อุบาสก อุบาสิกา ก็ตาม เป็นเทพ หรือเป็นท้าวสักกะก็ตาม

เป็นมารหรือเป็นพรหมก็ตาม แสดงธรรมไว้ ธรรมทั้งหมดนั้น

เป็นอันชื่อว่าพระศาสดาทรงแสดงแล้ว ทรงประกาศแล้ว. ส่วนชน

นอกนั้น ชื่อว่าตั้งอยู่ในฝ่ายของผู้ที่ดำเนินตามรอย. อย่างไร ? เหมือน

อย่างว่า ชนทั้งหลายอ่านลายพระราชหัตถ์ ที่พระราชาทรงประทาน

แล้วกระทำงานใด ๆ งานนั้น ๆ อันผู้ใดผู้หนึ่ง การทำเองก็ดี ให้

คนอื่นกระทำก็ดี เขาเรียกว่า พระราชาใช้ให้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 225

ความจริง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เหมือนพระราชาผู้ใหญ่. พุทธพจน์

คือปิฎก ๓ เหมือนลายพระราชหัตถ์ การให้โดยมุขคือนัยในพระ

ไตรปิฎก เหมือนการทรงประทานลายพระราชหัตถ์. การให้บริษัท ๔

เรียนพุทธพจน์ ตามกำลังของตนแล้วแสดง ประกาศแก่ชนเหล่าอื่น

เหมือนอ่านลายพระราชหัตถ์แล้วทำการงาน. ในธรรมเหล่านั้น

ธรรมที่ผู้ใดผู้หนึ่งแสดงก็ดี ประกาศก็ดี พึงทราบว่า ชื่อว่า ธรรม

อันพระศาสดาแสดงแล้ว ประกาศแล้ว เหมือนผู้ใดผู้หนึ่ง อ่านลาย

พระราชหัตถ์ ทำงานใด ๆ ด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้ผู้อื่นทำก็ดี งานนั้น ๆ

ชื่อว่า อันพระราชาใช้ให้ทำแล้วเหมือนกัน. คำที่เหลือในบททั้งปวง

มีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖

จบ อรรถกถาเอกปุคคลวรรคที่ ๑๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 226

เอตทัคคบาลี

วรรคที่ ๑

ว่าด้วยภิกษุผู้มีตำแหน่งเลิศ ๑ ท่าน

[๑๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอัญญาโกณฑัญญะ เลิศกว่า

พวกภิกษุสาวกของเราผู้รู้ราตรีนาน.

พระสารีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษสาวกของเราผู้มีปัญญามาก.

พระมหาโมคคัลลานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์.

พระมหากัสสป เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้ทรงธุดงค์

และสรรเสริญคุณแห่งธุดงค์.

พระอนุรุทธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีทิพยจักษุ.

พระภัตทิยกาฬิโคธาบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เกิด

ในตระกูลสูง.

พระลกุณฏกภัททิยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีเสียง

ไพเราะ.

พระปิณโฑลภารทวาชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้

บันลือสีหนาท.

พระปุณณมันตานีบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็น

ธรรมกถึก.

พระมหากัจจานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จำแนก

อรรถแห่งภาษิตโดยย่อให้พิสดาร.

จบวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 227

เอตทัคควรรคที่ ๔

๑. วรรคที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๑

ในสูตรที่ ๑ ของวรรคที่ ๑ ในเอตทัคควรรค พึงทราบวินิจฉัย

ดังต่อไปนี้.

บทว่า เอตทคฺค ตัดบทเป็น เอต อคฺค. ก็อัคคศัพท์นี้ ในบทว่า

เอตทคฺค นั้น ปรากฏในอรรถว่าเบื้องต้น ในประโยค มีอาทิว่า

ที่สุด. อัคคศัพท์ ปรากฏในอรรถว่าเบื้องต้น ในประโยค มีอาทิว่า

ดูก่อนนายประตูผู้สหาย ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เราเปิดประตู สำหรับ

พวกนิครนถ์ชายหญิง. มาในอรรถว่า ปลาย ในประโยคมีอาทิว่า

บุคคลพึงเอาปลายนิ้วมือนั้นนั่นแล แตะต้องปลายนิ้วมือนั้น ปลายอ้อย

ปลายไม้ไผ่. มาในอรรถว่า ส่วน ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย

เราอนุญาตแบ่งส่วนเปรี้ยว ส่วนอร่อย หรือส่วนขม, ตาม

ส่วนแห่งวิหาร หรือตามส่วนแห่งบริเวณ. มาในอรรถว่า ประเสริฐ

สุด ในประโยคมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลาย มีประมาณ

เท่าใด ไม่มีเท้าก็ตาม ฯลฯ พระตถาคตปรากฏว่าประเสริฐ ุ

กว่าสัตว์เหล่านั้น. ในที่นี้ อัคคศัพท์นี้ ย่อมใช้ได้ ทั้งในอรรถว่าปลาย

ทั้งในอรรถว่าประเสริฐสุด. จริงอยู่ พระเถระเหล่านั้น ชื่อว่าอัคคะ

เพราะเป็นที่สุดบ้าง เพราะประเสริฐสุดบ้าง ในตำแหน่งอันประเสริฐ

สุดของตน เพราะฉะนั้น อรรถในบทว่า เอตทคฺค นี้ มีดังนี้ว่า

นี้เป็นที่สุด นี้ประเสริฐสุด. แม้ในสูตรทั้งปวงก็นัยนี้เหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 228

ก็ธรรมดาการแต่งตั้งในตำแหน่ง เอตทัคคะ นี้ ย่อมได้โดย

เหตุ ๔ ประการคือ โดยเหตุเกิดเรื่อง โดยการมาก่อน โดยเป็นผู้

ช่ำชองชำนาญ โดยเป็นผู้ยิ่งด้วยคุณ ในเหตุ ๔ อย่างนั้น พระเถระ

บางรูป ย่อมได้ตำแหน่งเอตทัคคะ โดยเหตุอย่างเดียว บางรูปได้

โดยเหตุ ๒ อย่าง บางรูปได้โดยเหตุ ๓ อย่าง บางรูปได้ด้วยเหตุ

ทั้ง ๔ อย่างหมดทีเดียว เหมือนท่านพระสารีบุตรเถระ. จริงอยู่

ท่านพระสารีบุตรเถระนั้น ได้ตำแหน่งเอตทัคคะ เพราะเป็นผู้มีปัญญา

มาก โดยเหตุเกิดเรื่องบ้าง โดยเหตุการณ์มาก่อนบ้าง. อย่างไร ?

สมัยหนึ่ง พระศาสดาประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน ทรงแสดง

ยมกปาฏิหาริย์ ปราบพวกเดียรถีย์ ณ โคนต้นคัณฑามพฤกษ์

ไม้มะม่วงหอม ทรงดำริว่า พระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลาย ทรงกระทำ

ยมกปาฏิหาริย์แล้ว เข้าจำพรรษา ณ ที่ไหนหนอ ทรงทราบว่า

ณ ภพดาวดึงส์ ทรงแสดงรอยพระบาทไว้ ๒ รอย รอยที่ ๓ ประทับไว้

ณ ดาวดึงส์ ท้าวสักกเทวราช ทอดพระเนตรเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

ลุกจากบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ เสด็จไปต้อนรับ พร้อมด้วยหมู่เทพดา.

เทวดาทั้งหลายคิดกันว่า ท้าวสักกเทวราช แวดล้อมไปด้วยหมู่เทพ

ประทับนั่งบนบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ยาว ๖๐ โยชน์ เสวยมหาสมบัติ.

จำเดิมแต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายประทับนั่งแล้ว คนอื่นไม่สามารถ

จะวางแม้แต่มือลง ณ พระแท่นนี้ได้ ฝ่ายพระศาสดา ประทับนั่ง

ณ ที่นั้นแล้ว ทรงทราบวาระจิต ของทวยเทพเหล่านั้นแล้ว ประทับนั่ง

ล้นบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์หมดเลย เหมือนท่านผู้ทรงผ้าบังสุกุลผืนใหญ่

นั่งล้นตั่งน้อยฉะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 229

แต่ใคร ๆ ไม่ควรกำหนดว่า พระศาสดาเมื่อประทับนั่งอย่างนี้

ทรงนิรมิตพระสรีระของพระองค์ให้ใหญ่ หรือทรงทำบัณฑุกัมพล

ศิลาอาสน์ให้เล็ก. ด้วยว่าพุทธวิสัย เป็นอจินไตย (ใคร ๆ ไม่ควรคิด) ก็

พระองค์ประทับนั่งอย่างนี้แล้ว การทำพระมารดาให้เป็นกายสักขีประจักษ์

พยาน เริมทรงแสดงอภิธรรมปิฎก มีอาทิว่า กุศลธรรม อกุศลธรรม

โปรดทวยเทพในหมื่นจักรวาล

แม้ในที่ทรงทำยมกปฏิหาริย์ บริษัททั้งหมดประมาณ ๒ โยชน์

เข้าไปหาพระอนุรุทธะ ถามว่า ท่านผู้เจริญ พระทสพลประทับอยู่

ณ ที่ไหน ? พระอนุรุทธะตอบว่า พระทสพลเข้าจำพรรษา ณ บัณฑุ-

กัมพลศิลาอาสน์ ในภพดาวดึงส์ เริ่มแสดงอภิธรรมปิฎก บริษัท

ถามว่า ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้า ไม่เห็นพระศาสดาก็จักไม่กลับไป

ท่านทั้งหลายจงรู้เวลาที่พระศาสดาเสด็จมาว่า เมื่อไรพระศาสดา

จักเสด็จมา พระอนุรุทธะ กล่าวว่า พวกท่านจงไว้หน้าที่แก่พระ-

มหาโมคคัลลานเถระเถิด ท่านไปเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว จักนำข่าว

มา. บริษัทถามว่า ก็กำลังของพระเถระที่จะไปในที่นั้นไม่มี

หรือ ? พระอนุรุทธะกล่าวอย่างนี้ว่า มีอยู่. แต่ขอบริษัทจงดูคุณ

วิเศษเถิด. มหาชนเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานเถระ อ้อนวอนขอให้

ท่านรับข่าวของพระศาสดาเสด็จมา. เมื่อมหาชนกำลังเห็นอยู่นั่นแหละ.

พระเถระก็ดำลงในมหาปฐพีไปภายในเขาสิเนรุ ถวายบังคมพระ

ศาสดาทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาชนประสงค์จะเฝ้าพระองค์

อยากจะทราบวันที่พระองค์จะเสด็จมา. พระศาสดาตรัสว่า ถ้า

อย่างนั้น เธอจงบอกว่า ท่านทั้งหลาย จะเห็นที่ประตูเมืองสังกัสสะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 230

ฝ่ายพระศาสดาทรงแสดงธรรม ๗ คัมภีร์ แล้วทรงแสดง

อาการเพื่อเสด็จกลับมนุษยโลก. ท้าวสักกเทวราช ตรัสเรียกวิสส-

กัมมเทพบุตรมา มีเทวโองการสั่ง ให้นิรมิตบันได เพื่อพระตถาคต

เสด็จลง วิสสุกัมมเทพบุตร เนรมิตบันไดทองข้างหนึ่ง บันไดเงิน

ข้างหนึ่ง แล้วเนรมิตบันไดแก้วมณีไว้ตรงกลาง. พระศาสดาประทับ

ยืนบนบันไดแก้วมณี ทรงอธิษฐานว่า ขอมหาชนจงเห็นเรา ทรง

อธิษฐานด้วยอานุภาพของพระองค์ว่า ขอมหาชนจงเห็นอเวจีมหานรก

และทรงทราบว่า มหาชนเกิดความสลดใจ เพราะเห็นนรก จึงทรง

แสดงเทวโลก. ลำดับนั้น เมื่อพระองค์เสด็จลง ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร

ท้าวสักกเทวราชทรงรับบาตร. ท้าวสุยามเทวราชพัดด้วย วาลวีชนีอัน

เป็นทิพย์. ปัญจสิขคันธัพพเทพบุตร บรรเลงพิณสีเหลือง ดังผลมะตูม

ให้เคลิบเคลิ้มด้วยมุจฉนาเสียงประสาน ๕๐ ถ้วน ลงนำเสด็จ. ใน

เวลาที่พระพุทธเจ้า ประทับยืนบนแผ่นดิน มหาชนอธิษฐานว่า

ข้าฯ จักถวายบังคมก่อน ๆ พร้อมด้วยการเหยียบมหาปฐพีของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทั้งมหาชน ทั้งพระอสีติมหาสาวก ไม่ทันได้

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าก่อน. พระธรรมเสนาบดี สารีบุตร

เถระเท่านั้น ทันถวายบังคม.

ตั้งแต่นี้ล่วงไป ๓ เดือน. พระเถระ นำข่าวของพระผู้มีพระภาคเจ้า

มาบอกแก่มหาชน. มหาชนตั้งค่ายอยู่ในที่นั้นนั่นเอง ๓ เดือน ท่าน

จุลลอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ได้ถวายข้าวยาคูและภัต แก่บริษัทประมาณ

๑๒ โยชน์ ตลอด ๓ เดือน.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 231

ลำดับนั้น พระศาสดา ทรงเริ่มปุถุชนปัญจกปัญหา (ปัญหา

มีปุถุชนเป็นที่ ๕) ในระหว่างบริษัท ๑๒ โยชน์ ด้วยพระพุทธประสงค์ว่า

มหาชนจงรู้อานุภาพปัญญาของพระเถระ. ครั้งแรกตรัสถามปุถุชน

ด้วยพุทธประสงค์ว่า โลกิยมหาชน จักกำหนดได้. ชนเหล่าใด ๆ

กำหนดได้ ขนเหล่านั้น ๆ ก็ตอบได้. ครั้งที่ ๒ ตรัสถามปัญหาใน

โสดาปัตติมรรค ล่วงวิสัยปุถุชน. ปุถุชนทั้งหลายก็นิ่ง. พระโสดาบัน

เท่านั้นตอบได้. ลำดับนั้นจึงตรัสถามปัญหาในสกทาคามิมรรค

ล่วงวิสัยพระโสดาบัน. พระโสดาบันก็นิ่ง. พระสกทาคามิบุคคล

เท่านั้นตอบได้. ตรัสถามปัญหาในอนาคามิมรรค ล่วงวิสัยแม้ของ

พระสกทาคามิบุคคลเหล่านั้น พระสกทาคามิบุคคลก็นิ่ง. พระอนาคามิ-

บุคคลเท่านั้นตอบได้. ตรัสถามปัญหาในอรหัตมรรค ล่วงวิสัย ของ

พระอนาคามิบุคคล แม้เหล่านั้น. พระอนาคามีก็นิ่ง. พระอรหันต์

เท่านั้นตอบได้. ตั้งแต่เงื่อนปัญหาเบื้องต่ำกว่านั้น ตรัสถามพระสาวก

ผู้รู้ยิ่ง. พระสาวกเหล่านั้นตั้งอยู่ในวิสัยแห่งปฏิสัมภิทาของตน ๆ

ก็ตอบได้. ลำดับนั้นจึงตรัสถามพระมหาโมคคัลลานเถระ. พระสาวก

นอกนั้นก็นิ่งเสีย. พระเถระเท่านั้นตอบได้. ทรงล่วงวิสัยของพระเถระ

แม้นั้น ตรัสถามปัญหาในวิสัยของพระสารีบุตร พระมหาโมคคัลลานะ

ก็นิ่งเสีย. พระสารีบุตรเถระเท่านั้นตอบได้. ทรงล่วงวิสัยแม้ของ

พระเถระ ตรัสถามปัญหาในพุทธวิสัย พระธรรมเสนาบดีแม้นึกอยู่

ก็ไม่สามารถจะเห็น มองดูไปรอบ ๆ คือ ทิศใหญ่ ๔ คือทิศตะวันออก

ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศน้อยทั้ง ๔ ก็ไม่สามารถจะ

กำหนดฐานที่เกิดปัญหาได้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 232

พระศาสดาทรงทราบว่า พระเถระลำบากใจ จึงทรงดำริว่า

พระสารีบุตรลำบากใจ จำเราจักแสดงแนวทางแก่เธอ จึงตรัสว่า เธอ

จงรอก่อนสารีบุตร แล้วตรัสบอกว่าปัญหานั้นเป็นวิสัยของพระพุทธเจ้า

ด้วยพระดำรัสว่า ปัญหานี้มิใช่วิสัยของเธอ เป็นวิสัยของพระสัพพัญญู

พุทธเจ้าผู้มียศ แล้วตรัสว่า สารีบุตรเธอจงเห็นภูตกายนี้. พระเถระ

รู้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสบอกการกำหนดกายอันประกอบด้วย

มหาภูตรูป ๔ แล้วทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์รู้แล้ว

ข้าแต่พระสุคตเจ้า ข้าพระองค์รู้แล้ว. เกิดการสนทนากันขึ้นในที่นี้

ดังนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ชื่อว่าพระสารีบุตร มีปัญญามากหนอ ตอบ

ปัญหาที่คนทั้งปวงไม่รู้ และตั้งอยู่ในนัยที่พระพุทธเจ้าประทานแล้ว

ตอบปัญหาในพุทธวิสัยได้ ดังนั้น ปัญญานุภาพของพระเถระจึงขจร

ไปท่วมฐานะทั้งปวง เท่าที่กิตติศัพท์ของพระพุทธเจ้าขจรไป. พระ

เถระได้ตำแห่ง เอตทัคคะ เพราะมีปัญญามาก โดยอัตถุปปัตติ

(เหตุเกิดเรื่อง) ด้วยประการฉะนี้ก่อน.

ได้ตำแหน่ง เอตทัคคะ โดยการมาก่อนอย่างไร ? โดยนัย

แห่งอัตถุปปัตตินี้นี่แหละ พระศาสดา ตรัสว่า สารีบุตร เป็นผู้มี

ปัญญาแต่ในปัจจุบันนี้เท่านั้นหามิได้ ในอดีตกาล แม้เธอบวชเป็น

ฤษี ๕๐๐ ชาติ ก็ได้เป็นผู้มีปัญญามากเหมือนกัน.

สาวกรูปใด ละกามที่น่ารื่นรมย์ใจแล้ว

บวชถึง ๕๐๐ ชาติ ท่านทั้งหลายจงไหว้สาวก

รูปนั้น ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว

ผู้ดับสนิทแล้ว คือสารีบุตร.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 233

ท่านเพิ่มพูนการบวชอย่างนี้ สมัยหนึ่ง บังเกิดในตระกูลพราหมณ์

ณ กรุงพาราณสี เรียนไตรเพท ไม่เห็นสาระในไตรเพทนั้น จึงเกิด

ความคิดขึ้นว่า ควรที่เราจะบวชแสวงหาโมกขธรรมสักอย่างหนึ่ง.

สมัยนั้น แม้พระโพธิสัตว์ ก็บังเกิดในตระกูลอุทิจจพราหมณ์ ผู้

มหาศาลเจริญวัยแล้ว เรียนศิลปะ เห็นโทษในกามทั้งหลายและ

อานิสงส์ในเนกขัมมะ ละการครองเรือน เข้าป่าหิมพานต์ กระทำ

บริกรรมกสิณ ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด มีผลหมาก

รากไม่ในป่าเป็นอาหาร ใกล้หิมวันตประเทศ แม้มาณพนั้นก็บวช

แล้วในสำนักของพระโพธิสัตว์นั้นนั่นแล. ท่านมีปริวารมาก มีฤาษี

ประมาณ ๕๐๐ เป็นปริวาร. ลำดับนั้นหัวหน้าอันเตวาสิกของท่าน

ได้พาบริษัทส่วนหนึ่ง ไปยังถิ่นมนุษย์เพื่อเสพรสเค็มและรสเปรี้ยว.

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ได้ทำกาละ (ตาย) ณ หิมวันตประเทศ

นั้นนั่นเอง. ในเวลาจะทำกาละ อันเตวาสิกทั้งหลาย ประชุมกัน

ถามว่า คุณวิเศษอะไร ที่ท่านบรรลุมีอยู่หรือ. พระโพธิสัตว์ตอบว่า

อะไร ๆ ไม่มี เป็นผู้ไม่เสื่อมฌานบังเกิดในพรหมโลกชั้นอาภัสสร.

ท่านได้อากิญจัญญายตนสมาบัติก็จริง แต่ถึงอย่างนั้น ธรรมดาว่า

พระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ไม่ปฏิสนธิในอรูปาวจรภูมิ. เพราะเหตุไร ?

เพราะเป็นฐานะอันไม่ควร. ดังนั้น ท่านถึงแม้ได้อรูปสมาบัติก็

บังเกิดในรูปาวจรภูมิ. ฝ่ายอันเตวาสิกของท่าน ไม่กระทำสักการะ

และสัมมานะอะไร ๆ ด้วยคิดว่า อาจารย์กล่าวว่า อะไร ๆ ไม่มีการ

กระทำกาลกิริยาของท่านเป็นโมฆะเปล่าคุณ. ลำดับนั้นหัวหน้า

อันเตวาสิกรูปนั้น เมื่อล่วงพรรษาแล้ว จึงกลับมาแล้วถามว่า อาจารย์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 234

ไปไหน ? อันเตวาสิกทั้งหลายตอบว่า ทำกาละเสียแล้ว. ท่านถามว่า

พวกท่านถามถึงคุณที่อาจารย์ได้บ้างหรือ ? อันเตวาสิกตอบว่า

ขอรับ พวกกระผมถามแล้ว. หัวหน้าอันเตวาสิกถามว่า ท่านพูดว่า

กระไร ? พวกอันเตวาสิก ตอบว่า อาจารย์กล่าวว่า อะไร ๆ ไม่มี

แม้พวกกระผมก็คิดว่า ชื่อว่าคุณที่อาจารย์ได้แล้ว ย่อมไม่มี จึงไม่

กระทำสักการะและสัมมานะแก่ท่าน. หัวหน้าอันเตวาสิก กล่าวว่า

พวกท่านไม่รู้ความของภาษิต ท่านอาจารย์ได้อากิญจัญญายตน-

สมาบัติ. อันเตวาสิกเหล่านั้น ก็ไม่เชื่อคำของหัวหน้าอันเตวาสิก.

หัวหน้าอันเตวาสิกแม้พูดอยู่บ่อย ๆ ก็ไม่อาจให้พวกอันเตวาสิกเชื่อได้.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์รำพึงถึงอยู่คิดว่า มหาชนผู้บอดเขลา ย่อม

ไม่เชื่อคำของหัวหน้าอันเตวาสิกของเรา จำเราจักกระทำเหตุนี้ให้

ปรากฏ ดังนี้แล้วลงจากพรหมโลก ยืนอยู่ท้ายอาศรมทั้งที่อยู่ในอากาศ

นั่นแล พรรณนาอานุภาพแห่งปัญญา ของหัวหน้าอันเตวาสิก ได้

กล่าวคาถานี้ว่า

ปโรสหสฺสปิ สมาคตาน

กนฺเทยฺยุ เต วสฺสสต อปญฺา

เอโกว เสยฺโย ปุริโส สปญฺโ

โย ภาสิตสฺส วิชานามิ อตฺก

คนแม้เกิน ๑๐๐๐ คน ประชุมกัน ผู้ที่ไม่มี

ปัญญาพึงคร่ำครวญอยู่ตลอด ๑๐๐ ปี บุคคลผู้รู้แจ้ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 235

ความหมายของภาษิต เป็นผู้มีปัญญา คนเดียว

เท่านั้น ประเสริฐกว่า (คนตั้ง ๑๐๐ คน).

พระโพธิสัตว์ทำให้หมู่ฤาษีเข้าใจอย่างนี้แล้ว กลับไปพรหมโลก.

แม้หมู่ฤาษีที่เหลือ ไม่เสื่อมฌานทำกาลแล้ว มีพรหมโลกเป็นที่ไป

ในเบื้องหน้า ในบรรดาบบุคคลเหล่านั้น พระโพธิสัตว์บรรลุพระ

สัพพัญญุตญาณ. หัวหน้าอันเตวาสิก เป็นพระสารีบุตร. ฤาษีที่เหลือ

เป็นพุทธบริษัท แม้ในอดีตกาล ก็พึงทราบว่าพระสารีบุตรมีปัญญา

มาก สามารถรู้อรรถของภาษิตที่ตรัสไว้อย่างสังเขป โดยพิสดาร

ได้ ด้วยประการฉะนี้.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำ ปุถุชนปัญจกปัญหา

ให้เป็นเหตุเกิดเรื่องแล้ว ตรัสชาดกนี้ว่า

ถ้าแม้คนเกิน ๑๐๐ คน ประชุมกัน คนเหล่านั้น

ไม่ปัญญา พึงเพ่งพินิจอยู่ถึง ๑๐๐ ปี ผู้รู้อรรถ

ของภาษิต ผู้มีปัญญาคนเดียวเท่านั้นประเสริฐกว่า

เนื้อความของชาดกนั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วในชาดก

ก่อนนั่นแล. ทรงกระทำปุถุชนปัญจกปัญหานี้แล อีกข้อหนึ่ง ให้เป็น

เหตุเกิดเรื่องแล้ว ทรงแสดงอนังคณชาดกนี้ว่า

ทั้งคนมีสัญญาก็ ทุคคตะ ทั้งคนไม่มีสัญญา

ก็ทุคคตะ สุขในสมาบัตินั่น ไม่มีเครื่องยียวน

ย่อมมีได้แก่เหล่าชนเว้นคน ๒ พวกนั้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 236

ก็ในชาดกนี้ อาจารย์เมื่อจะทำกาละ ถูกอันเตวาสิกทั้งหลาย

ถาม จึงกล่าวว่า เนวสัญญีนาสัญญี (ผู้มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็

ไม่ใช่). คำที่เหลือ พึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ทรงกระทำ

ปุถุชนปัญจกปัญหาอื่นอีก ให้เป็นอัตถุปัตติแล้ว ตรัสจันทาภชาดก

นี้ว่า.

ในชาดกนี้ อาจารย์เมื่อจะทำกาละ ถูกอันเตวาสิกถาม จึงกล่าว

ว่า จนฺทาภ สุริยาภ หมายเอาว่า ผู้ใดหยั่งลง เข้าไป แล่นไปสู่กสิณ

ทั้ง ๒ นั้นคือ โอทาตกสิน ชื่อว่า จันทาภะ ปิตกสิณ ชื่อว่าสุริยาภะ

แม้ผู้นั้นก็เข้าถึง อาภัสสรพรหมด้วยททุติยฌาน อันไม่มีวิตก เราก็

เป็นเช่นนั้น. คำที่เหลือพึงทราบโดยนัยก่อนนั่นแล. ทรงกระทำ

ปุถุชชนปัญจกปัญหานี้แล ให้เป็นอัตถุปัตติ จึงตรัสสรภชาดกใน

เตรสนิบาตนี้ว่า

เป็นบุรุษพึงหวังอยู่ร่ำไป เป็นบัณฑิตไม่พึง

เหนื่อยหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า ปรารถนาอย่างใด

ก็ได้เป็นอย่างนั้น เป็นบุรุษพึงพยายามร่ำไป

เป็นบัณฑิตไม่พึงเหนื่อยหน่าย เราเห็นตนอยู่ว่า

ได้รับความช่วยเหลือให้ขึ้นจากน้ำสู่บกได้ นรชน

ผู้มีปัญญา แม้ประสบทุกข์ ก็ไม่ควรตัดความหวัง

ในอันจะมาสู่ความสุข ด้วยว่าผัสสะทั้งที่ไม่

เกื้อกูลและเกื้อกูลมีมาก คนที่ไม่ใฝ่ฝันถึง ก็ต้อง

เข้าทางแต่งความตาย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 237

แม้สิ่งที่ไม่ได้ไว้ ก็มีได้ แม้สิ่งที่คิดไว้ก็หาย

ไปได้ โภคะทั้งหลายของสตรีหรือบุรุษ สำเร็จได้

ด้วยความคิดนึกหามีไม่ เมื่อก่อนพระองค์เสด็จ

ติดตามกวางตัวใด ไปติดที่ซอกเขา พระองค์

ทรงพระชนม์สืบมาได้ด้วยอาศัยความบากบั่น

ของกวางตัวนั้น ผู้มีจิตไม่ท้อแท้.

กวางตัวใดพยายามเอาหินถนเหว ช่วยพระ-

องค์ขึ้นจากเหวลึกที่ขึ้นได้ยาก ปลดเปลื้องพระองค์ผู้

เข้าถึงทุกข์ออกจากปากมฤตยู พระองค์กำลัง

ตรัสถึงกวางตัวนั้นผู้มีจิตไม่ท้อแท้.

ดูก่อนพราหมณ์ คราวนั้น ท่านอยู่ที่นั้นด้วย

หรือ หรือว่าใครบอกเรื่องนี้แก่ท่าน ท่านเป็นผู้เปิดเผย

ข้อที่เคลือบคุม เห็นเรื่องทั้งหมดละสิหนอ

ความรู้ของท่าน แก่กล้าหรือหนอ.

ข้าแต่พระธีรราช ผู้เป็นจอมชน คราวนั้น

ข้าพระองค์หาได้อยู่ในที่นั้นไม่ และใครก็มิได้บอก

แก่ข้าพระองค์ แต่ว่านักปราชญ์ทั้งหลาย ย่อมนำ

เนื้อความแต่งบทคาถาที่พระองค์ทรงภาษิตไว้

ดีแล้ว มาใคร่ครวญดู.

ก็ชาดกทั้ง ๕ นี้ พระศาสดาตรัสไว้ เพื่อประกาศอานุภาพ

แห่งปัญญาของพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระเท่านั้นว่า แม้ใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 238

อดีต บุตรของเรา ก็รู้อรรถแห่งธรรมที่เรากล่าวแต่สังเขปโดยพิสดาร

ได้ เพราะฉะนั้น พระเถระได้ตำแหน่งเอตทัคคะ เพราะความที่ตนมี

ปัญญามาก แม้โดยการมาก่อน ด้วยประการอย่างนี้.

โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญอย่างไร ? ได้ยินว่าข้อนั้นเป็นความ

ช่ำชอง ของพระเถระ. พระเถระเมื่อแสดงธรรมท่ามกลางบริษัท ๔

ย่อมแสดงไม่พ้นสัจจะ ๔ เพราะฉะนั้นพระเถระได้เอตทัคคะ เพราะ

เป็นผู้มีปัญญามาก แม้โดยเป็นผู้ช่ำชองชำนาญ ด้วยประการฉะนี้.

โดยยิ่งด้วยคุณอย่างไร ? จริงอยู่ เว้นพระทสพลเสีย คนอื่น

ใครเล่าแม้เป็นสาวกเอก ที่จะเสมอเหมือนพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร

ย่อมไม่มี เพราะท่านเป็นผู้มีปัญญามาก เพราะฉะนั้น พระเถระได้

ตำแหน่งเอตทัคคะ เพราะมีปัญญามาก แม้โดยยิ่งด้วยคุณ ด้วย

ประการฉะนี้.

ก็แม้พระมหาโมคคัลลานะก็เหมือนพระสารีบุตรเถระ ได้

ตำแหน่งเอตทัคคะด้วยเหตุแม้ ๔ ประการนี้ทั้งหมด ได้อย่างไร ?

ก็พระเถระมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ทรมานนาคราช เช่นนันโทปนันท-

นาคราช เพราะฉะนั้น พระเถระย่อมได้โดยอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง

อย่างนี้ เป็นอันดับแรก. ก็พระเถระนี้มิใช่เป็นผู้มีฤทธิ์มาก แต่ใน

ปัจจุบันเท่านั้น ถึงในอดีต แม้ท่านบวชเป็นฤาษี ก็เป็นผู้มีฤทธิ์มาก

มีอานุภาพมากถึง ๕๐๐ ชาติแล.

สาวกใด ละกามทั้งหลาย อันเป็นที่รื่นรมย์ใจ

บวช ๕๐๐ ชาติ ท่านทั้งหลายจงไหว้พระสาวก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 239

นั้น ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีอินทรีย์ตั้งมั่นแล้ว ดับ

สนิทแล้ว คือโมคคัลลานะ แล.

ก็ท่านได้แม้โดยการมาก่อนอย่างนี้. ก็ข้อนี้เป็นความช่ำชองของ

พระเถระ. พระเถระไปนรก อธิษฐานความเย็น เพื่อให้เกิดความ

เบาใจ แก่สัตว์ทั้งหลายในนรก ด้วยกำลังฤทธิ์ของตนแล้ว เนรมิต

ดอกปทุมขนาดเท่าล้อ นั่ง ณ กลีบปทุม แสดงธรรมกถา. ท่านไป

เทวโลก ทำทวยเทพให้รู้คติแห่งกรรม แล้วแสดงสัจจกถา. เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงได้ โดยเป็นผู้ช่ำของชำนาญอย่างนี้.

ได้โดยยิ่งด้วยคุณอย่างไร ? เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว

พระสาวกอื่น ใครเล่า ย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น พระเถระได้ตำแหน่ง

เอตทัคคะ โดยยิ่งด้วยคุณอย่างนี้.

แม้พระมหากัสสปเถระ ก็ได้ตำแหน่งเอตทัคคะ โดยเหตุ

ทั้งหมดนี้ เหมือนพระมหาโมคคัลลานะนี้. ได้อย่างไร ? ความจริง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงการทำการต้อนรับพระเถระสิ้นระยะทาง

ประมาณ ๓ คาวุต ทรงให้อุปสมบทด้วยโอวาท ๓ ทรงเปลี่ยนจีวร

ประทานให้. ในสมัยนั้น มหาปฐพี ไหวถึงน้ำรองแผ่นดิน. เกียรติคุณ

ของพระเถระ ก็ขจรท่วมไประหว่างมหาชน. ท่านได้โดยอัตถุปปัตติ

สาวกใด ละกามทั้งหลาย อันน่ารื่นรมย์ใจ

บวช ๕๐๐ ชาติ ของท่านทั้งหลายจงไหว้สาวกนั้น

ผู้ปราศจากราคะ ผู้มีอินทรีย์ตั้งมั่นดีแล้ว ผู้ดับ

สนิท คือ กัสสปะแล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 240

ท่านได้โดยการมาอย่างนี้. ความจริงข้อนั้น เป็นความช่ำชอง

ของพระเถระ. ท่านอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔ เมื่อแสดงธรรม ย่อมแสดง

ไม่ละเว้นกถาวัตถุ ๑๐ เลย เพราะฉะนั้น พระเถระได้โดยเป็นผู้

ช่ำชองอย่างนี้. เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสีย สาวกอื่น ใครเล่า

ผู้เสมอเหมือนพระมหากัสสปะ ด้วยธุดงคคุณ ๑๓ ไม่มี เพราะฉะนั้น

พระเถระได้โดยยิ่งด้วยคุณอย่างนี้.

ควรประกาศคุณของพระเถระทั้งหลายนั้น ๆ ตามที่ได้โดย

ทำนองนี้. จริงอยู่ เมื่อว่าด้วยอำนาจคุณนั่นแล พระเจ้าจักรพรรดิ์

ทรงเสวยสิริราชสมบัติ ในห้องจักรวาล ด้วยอานภาพแห่งจักรรัตนะ

หาได้ทรงขวนขวายน้อยว่า สิ่งที่ควรบรรลุเราก็บรรลุแล้ว บัดนี้

จะต้องการอะไร ด้วยมหาชนที่เราแลอยู่แล้ว จึงเสวยแต่เฉพาะ

สิริราชสมบัติเท่านั้นไม่ แต่ทรงประทับนั่งในโรงศาลาตามกาลอัน

สมควร ทรงข่มบุคคลที่ควรข่ม ทรงยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง

ทรงตั้งไว้ในฐานันดรทั้งหลาย เฉพาะฐานันดรที่ควรแต่งตั้งเท่านั้น

ฉันใด พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ฉันนั้นเหมือนกัน แม้เป็นพระธรรมราชา

ผู้บรรลุความเป็นพระราชาเพราะธรรมโดยลำดับ ด้วยอานุภาพแห่ง

พระสัพพัญญุตญาณ ที่พระองค์ทรงบรรลุ ณ มหาโพธิมัณฑสถาน

ไม่ทรงขวนขวายน้อยว่า บัดนี้จะต้องการอะไร ด้วยชาวโลก ที่เรา

จะต้องตรวจดู เราจักเสวยสุขในผลสมาบัติ อันยอดเยี่ยม ยังประทับ

นั่งบนบวรพุทธอาสน์ ที่เขาบรรจงจัดไว้ ท่ามกลางบริษัท ๔. ทรง

เปล่งพระสุรเสียงดังเสียงพรหม อันประกอบด้วยองค์ ๘ แล้วทรง

แสดงธรรม ทรงข่มบุคคล ผู้มีธรรมฝ่ายดำ ผู้ควรข่มด้วยการขู่

ด้วยภัยในอบาย เหมือนทรงโยนไปในเหวแห่งขุนเขาสิเนรุ ทรง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 241

ยกย่องบุคคลผู้มีธรรมอันดี ผู้ควรยกย่อง เหมือนยกขึ้นให้นั่งใน

ภวัคคพรหม ทรงตั้งพระสาวกมีพระอัญญาโกณฑัญญเถระ เป็นต้น

ผู้ควรตั้งไว้ในฐานันดรทั้งหลาย ให้ดำรงในฐานันดรทั้งหลาย ด้วย

อำนาจคุณ พร้อมด้วยกิจคือหน้าที่ตามความเป็นจริงนั่นแล จึงตรัส

คำมีอาทิว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุสาวกของเราผู้รัตตัญญู

รู้ราตรีนาน อัญญาโกณฑัญญะ เป็นเลิศ ดังนี้.

เรื่องพระอัญญาโกณฑัญญเถระ

บทว่า เอตทคฺค ในบาลีนั้น มีอรรถได้กล่าวไว้แล้วทั้งนั้น.

บทว่า รตฺตญฺญูน แปลว่า ผู้รู้ราตรี. จริงอยู่ เว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เสีย สาวกอื่น ชื่อว่า ผู้บวชก่อนท่านพระอัญญาโกณฑัญญเถระ. ไม่มี

เพราะเหตุนั้น พระเถระย่อมรู้ราตรีตลอดกาลนาน จำเดิมตั้งแต่บวช

เหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นรัตตัญญู. เพราะท่านแทงตลอดธรรม

ก่อนใครทั้งหมด ท่านรู้ราตรีที่แจ้งธรรมนั้นมานาน แม้เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า รัตตัญญู. อีกอย่างหนึ่ง การกำหนดคืนและ

วันของท่านผู้สิ้นอาสวะทั้งหลายเป็นของปรากฏชัด. และพระอัญญา-

โกณฑัญญเถระนี้ เป็นผู้สิ้นอาสวะก่อน เพราะเหตุนั้น พระอัญญา-

โกณฑัญญะนี้แล เป็นผู้เลิศ เป็นยอดคนแรก เป็นผู้ประเสริฐสุด

แห่งเหล่าสาวกผู้รัตตัญญู แม้ด้วยประการอย่างนี้ เพราะเหตุนั้น

จึงตรัสว่า รตฺตญฺญูน ยทิท อญฺาโกณฺฑญฺโ ดังนี้.

ก็ศัพท์ ยทิท ในบาลีนี้ เป็นนิบาต (ถ้า) เพ่งเอาพระเถระนั้น

มีอรรถว่า โย เอโส เพ่งอัคคศัพท์ มีอรรถว่า ย เอต. บทว่า อญฺา-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 242

โกณฺฑญฺโ แปลว่า โกณฑัญญะ รู้ทั่วแล้ว โกณฑัญญะแทงตลอด

แล้ว. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า อญฺาสิ

วต โภ โกณฺฑญฺโ อญฺาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโ อิติ หิท อายสฺมโต

โกณฺฑญฺสฺส อญฺาโกณฺฑญฺโเตฺวว นาม อโสสิ โกณฑัญญะ

รู้ทั่วแล้วหนอ โกณฑัญญะรู้ทั่วแล้วหนอ เพราะเหตุนั้นแล ท่าน

พระโกณฑัญญะ จึงได้มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้.

พึงทราบปัญหากรรม (กรรมที่ตั้งปรารถนาไว้ครั้งแรกในอดีต)

ในพระสาวกเอตทัคคะทุกรูป โดยนัยนี้ว่า ก็พระเถระนี้ ได้การทำ

ความปรารถนาครั้งก่อนให้เป็นความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ในครั้งพระ-

พุทธเจ้า พระองค์ไหน ? ท่านบวชเมื่อไร ? ท่านบรรลุธรรมครั้งแรก

เมื่อไร ? ได้รับสถาปนาในตำแหน่งเมื่อไร ? บรรดาพระเถระเอตทัคคะ

เหล่านั้น ก่อนอื่นในปัญหากรรมของพระเถระนี้ มีเรื่องที่จะกล่าวตาม

ลำดับดังต่อไปนี้ :-

พึงทราบปัญหากรรมในพระสาวกผู้เอตทัคคะทุกรูป โดยนัย

นี้ว่า ก็พระเถระนี้ ได้กระทำความปรารถนาครั้งก่อนให้เป็นความ

ปรารถนาอันยิ่งใหญ่ในครั้งพระพุทธเจ้า พระองค์ไหน ? ท่าน

บวชเมื่อไร ? ท่านบรรลุธรรมครั้งแรกเมื่อไร ? ได้รับสถาปนา

ในตำแหน่งเมื่อไร ? บรรดาพระเถระเอตทัคคะเหล่านั้น ก่อนอื่น

ในปัญหากรรมของพระเถระนี้ มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้ :-

ปลายแสนกัปแต่ภัตรกัปนี้ พระพุทธ เจ้าทรงพระนามว่า

ปทุมุตตระอุบัติขึ้นในโลก เมื่อพระองค์ตรัสรู้พระสัพพัญญุตญาณ

เสด็จลุกจากมหาโพธิบัลลังก์ พอยกพระบาทขึ้นเพื่อวางบนมหาปฐพี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 243

ดอกปทุมขนาดใหญ่ผุดขึ้นรับพระบาท. ดอกปทุมนั้นกลีบยาว ๙๐

ศอก เกษร ๓๐ ศอก ช่อ ๑๒ ศอก ที่ประดิษฐานพระบาท ๑๑ ศอก.

ก็พระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นสูง ๕๙ ศอก เมื่อพระบาท

ขวาของพระองค์ประดิษฐานอยู่บนช่อปทุม ละอองเกษรประมาณ

ทะนานใหญ่พลุ่งขึ้นโปรยรดพระสรีระ. แม้ในเวลาวางพระบาทซ้าย

ดอกปทุมเห็นปานนั้นนั่นแล ผุดขึ้นรับพระบาท. ละอองมีขนาด

ดังกล่าวแล้วนั่นแล พลุ่งขึ้นจากนั้น โปรยรดพระสรีระของพระผู้

มีพระภาคเจ้านั้น. ก็รัศมีพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า เปล่ง

ออกปกคลุมละอองนั้น กระทำที่ประมาณ ๑๒ โยชน์โดยรอบ ให้มี

แสงสว่างเป็นอันเดียวกัน เหมือนสายน้ำทองที่พุ่งออกทนานยนต์.

ในเวลาย่างพระบาทครั้งที่ ดอกปทุมที่ผุดขึ้นก่อนก็หายไป. ปทุม

ดอกใหม่อื่น ก็ผุดขึ้นรับพระบาท. โดยทำนองนี้แล พระองค์ประสงค์

จะเสด็จไปในที่ใด ๆ ปทุมดอกใหญ่ก็ผุดขึ้นในที่นั้น ๆ ทุกย่าง

พระบาท. ด้วยเหตุนั้นนั่นแล พระองค์จึงมีพระนามว่า ปทุมุตตร-

สัมมาสัมพุทธเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นทรงอุบัติขึ้นในโลกอย่างนี้ มีภิกษุ

แสนรูป เป็นบริวาร เสด็จเที่ยวภิกษาในคามนิคมและราชธานี

เพื่อสงเคราะห์มหาชน เสด็จถึงกรุงหังสวดี มหาราชาผู้เป็นพระพุทธ-

บิดา ทรงทราบข่าวว่า พระศาสดานั้นเสด็จมา จึงได้เสด็จออกไป

ต้อนรับ. พระศาสดาได้ตรัสธรรมกถา แด่พระพุทธบิดา. จบเทศนา

บางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี บางพวกเป็น

พระอนาคามี บางพวกบรรลุพระอรหัต. พระราชาทรงนิมนต์

พระทศพล เพื่อเสวยภัตตาหารในวันพรุ่งนี้ ในวันรุ่งขึ้น ทรงให้แจ้ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 244

เวลา (ภัตตาหาร) ได้ถวายมหาทาน ในพระราชนิเวศน์ของพระองค์

แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร. พระศาสดา

ทรงกระทำภัตตานุโมทนาแล้วเสด็จไปพระวิหารตามเดิม. โดย

ทำนองนั้นนั่นแล ได้ถวายทานตลอดกาลยืดยาวนาน คือ วันรุ่งขึ้น

ชาวเมืองถวาย วันรุ่งขึ้น(ต่อไป) พระราชาถวาย.

ครั้งนั้น พระเถระนี้ บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาล

กรุงหังสวดี. วันหนึ่ง ในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรม

เห็นชาวกรุงหังสวดี ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ผู้น้อมไป

โอนไป เงื้อมไป ทางพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ แล้ว

ได้ไปยังที่แสดงธรรม พร้อมกับมหาชนนั้นนั่นแล. สมัยนั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงสถาปนาภิกษุ

รูปหนึ่ง ผู้แทงตลอดธรรมก่อนในพระศาสนาของพระองค์ ไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะ. กุลบุตรนั้น ได้สดับเหตุนั้นแล้ว คิดว่า ภิกษุนี้

เป็นผู้ใหญ่หนอ ได้ยินว่า เว้นพระพุทธเจ้าเสีย ผู้อื่นชื่อว่าผู้แทง

ตลอดธรรมก่อนกว่าภิกษุนี้ ย่อมไม่มี แม้เราพึงเป็นผู้สามารถ

แทงตลอดธรรมก่อน ในศาสนาของพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่งใน

อนาคต ในเวลาจบเทศนา จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นิมนต์ว่า

พรุ่งนี้ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษาของข้าพระองค์. พระศาสดา

ทรงรับนิมนต์แล้ว กุลบุตรนั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

กระทำประทักษิณแล้วไปยังที่อยู่ของตน ประทับที่ประทับนั่ง

สำหรับพระพุทธเจ้า ด้วยของหอมและพวงมาลัยเป็นต้น ให้จับของ

ควรเคี้ยวและควรบริโภค อันประณีต ตลอดคืนยังรุ่ง. ล่วงราตรีนั้น

ได้ถวายข้าวสาลีหอมมีแกงและกับข้าวต่าง ๆ รส มีข้าวยาคูและ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 245

ของเคี้ยวอันวิจิตรเป็นบริวาร แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีภิกษุ

๑๐๐,๐๐๐ รูปเป็นบริวาร ในที่อยู่ของตน ในเวลาเสร็จภัตกิจ

ได้วางผ้าคู่พอทำจีวรได้สามผืน ใกล้พระบาทของพระตถาคต คิดว่า

เราไม่ได้ขอเพื่อประโยชน์แก่ตำแหน่งเล็กน้อย เราปรารถนาตำแหน่ง

ใหญ่จึงขอ แต่เราไม่อาจให้ทานเพียงวันเดียวเท่านั้นแล้วปรารถนา

ตำแหน่งนั้น จึงคิด (อีก)ว่า จักถวายทานตลอด ๗ วัน ติดต่อกัน

ไป แล้วจึงจักปรารถนา. โดยทำนองนั้นนั่นเอง เขาจึงถวายมหา-

ทาน ๗ วัน ในเวลาเสร็จภัตกิจ ได้ให้เปิดคลังผ้าวางผ้าเนื้อ

ละเอียดอย่างดีเยี่ยม ไว้ใกล้พระบาทแห่งพระพุทธเจ้า ให้ภิกษุ

๑๐๐,๐๐๐ รูป ครองไตรจีวร แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ท้าย ๗ วันแต่วันนี้ ข้าพระองค์

พึงเป็นผู้สามารถบวชในศาสนาของพระพุทธเจ้า ผู้จะอุบัติใน

อนาคตแล้วรู้แจ้งได้ก่อนเหมือนภิกษุนี้ แล้วหมอบศีรษะลงใกล้

พระบาทของพระศาสดา. พระศาสดา ทรงสดับคำนั้นแล้ว ทรงส่ง

อนาคตังสญาณไปตรวจดูว่า กุลบุตรนี้ได้กระทำบุญญาธิการไว้มาก

ความปรารถนาของเธอจักสำเร็จไหมหนอ เมื่อทรงรำลึกก็ทรงเห็น

ความสำเร็จ. จริงอยู่ เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ทรงรำพึงถึง

อดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ย่อมไม่มีอะไรขัดขวางเลย. เหตุที่เป็น

อดีตหรือเหตุที่เป็นอนาคต ที่เป็นไปในภายในระหว่างแสนโกฏิกัป

เป็นอันมากก็ดี ปัจจุบันระหว่างแสนจักรวาลก็ดี ย่อมเนื่องด้วย

การนึก เนื่องด้วยมนสิการทั้งนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ ได้ทรงเห็นเหตุนี้ ด้วยญาณที่ไม่มี

ใคร ๆ ให้เป็นไปได้ว่า ในอนาคต ในที่สุดแสนกัป พระพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 246

ทรงพระนามว่า โคตมะ จักอุบัติขึ้นในโลก ครั้งนั้นความปรารถนา

ของกุลบุตรนี้ จักสำเร็จ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะ

กุลบุตรสิ้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนกุลบุตรผู้เจริญ ในอนาคต ในที่สุด

แสนกัป พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคตมะ จักอุบัติขึ้นในโลก

ท่านจักดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล อันถึงพร้อมด้วยนัยพันนัย พร้อม

ด้วยพรหม ๑๘ โกฏิ เวลาจบพระธรรมจักกัปปวัตตนสูตรอันมี

วนรอบ ๓ ด้วยการแสดงธรรมครั้งแรกของพระโคดมพุทธเจ้านั้น.

พระศาสดาครั้นทรงพยากรณ์กุลบุตรนั้นดังนี้แล้ว ทรงแสดง

ธรรม ๘๔,๐๐ พระธรรมขันธ์ แล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส-

นิพพานธาตุ, สรีระของพระองค์ผู้ปรินิพพานแล้ว ได้เป็นแท่งอัน

เดียวกัน เหมือนก้อนทองฉะนั้น. ก็ชนทั้งหลายได้สร้างเจดีย์บรรจุ

พระสรีระของพระองค์ สูง ๗ โยชน์ อิฐทั้งหลายล้วนแล้วด้วยทองคำ

ชนทั้งหลายใช้หรดาลและมโนสิลาแทนดินเหนียว ใช้นำมันงาแทนนำ.

ในเวลาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ยังทรงพระชนม์อยู่ รัศมีแห่งพระ

สรีระแผ่ไป ๑๒ โยชน์. ก็เมื่อพระพุทธเจ้าทั้งหลายปรินิพพาน

แล้ว รัศมีนั้น สร้านออกปกคลุมที่ร้อยโยชน์โดยรอบ. เศรษฐีนั้น

ให้สร้างของควรค่าเท่ารัตนะพันดวง ล้อมเจดีย์บรรจุพระสรีระ

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ในวันประดิษฐานพระเจดีย์ ให้สร้าง

เรือนแก้วภายในเจดีย์. เศรษฐีนั้นกระทำกัลยาณกรรม ล้วนแล้ว

ด้วยทานใหญ่โตถึงแสนปี เคลื่อนจากอัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดใน

สวรรค์. เมื่อเศรษฐีนั้นท่องเที่ยวอยู่ในเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย

นั่นเอง ล่วงไป ๙๙,๙๐๙ กัป เมื่อกาลล่วงไปเท่านี้ ในท้ายกัปที่ ๙๑

จากภัตรกัปนี้ กุลบุตรนี้บังเกิดในเรือนแห่งกุฏุมพี ในรามคาม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 247

ใกล้ประตูกรุงพันธุมดี ได้นามว่า มหากาล ส่วนน้องชายของท่าน

นามว่า จุลกาล.

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์พระนามว่า วิปัสสี จุติจากดุสิตบุรี

บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสี ของพระเจ้าพันธุมะ กรุง

พันธุมดี บรรลุพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ อันท้าวมหาพรหม

อาราธนา เพื่อประโยชน์แก่การแสดงธรรม จึงดำริว่า เราจักแสดง

ธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงเห็นพระราชกุมารทรงพระนามว่าขัณฑะ

ผู้เป็นพระกนิฏฐาของพระองค์ และบุตรปุโรหิต ชื่อติสสะ ว่าเป็น

ผู้สามารถตรัสรู้ธรรมก่อน จึงทรงดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่

ชนทั้งสองนั้น และจักสงเคราะห์พระพุทธบิดา จึงเสด็จเหาะมาจาก

โพธิมัณฑสถาน ลงที่เขมมิคทายวัน รับสั่งให้เรียกคนทั้ง ๒ นั้นมา

แล้วแสดงธรรม. ในเวลาจบเทศนา ชนทั้งสองดำรงอยู่ในพระอรหัตผล

พร้อมกับสัตวโลก ๘๔,๐๐๐ คน อีกพวกหนึ่ง ผู้บวชตามในเวลา

พระองค์เป็นพระโพธิสัตว์ ฟังเรื่องนั้นแล้ว ก็มาเฝ้าพระศาสดา

ฟังธรรมเทศนา ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล. ณ ที่นั้นเอง พระศาสดา

ทรงสถาปนาพระขัณฑเถระไว้ ในตำแหน่งพระอัครสาวกรูปที่ ๑

ทรงสถาปนาพระติสสเถระไว้ในตำแหน่งอัครสาวกรูปที่ ๒.

ฝ่ายพระราชา ทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ทรงพระดำริว่า จัก

เยี่ยมบุตรจึงเสด็จไปพระราชอุทยาน ทรงสดับพระธรรมเทศนา

ดำรงอยู่ในรัตนะ ๓ นิมนต์พระศาสดาเพื่อเสวยภัตตาหาร ถวาย

บังคมแล้ว กระทำประทักษิณแล้วเสด็จกลับ พระองค์ขึ้นสู่ปราสาท

อันประเสริฐแล้วประทับนั่ง ทรงดำริว่า บุตรคนโตของเรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 248

ออกบวชเป็นพระพุทธเจ้า บุตรคนที่ ๒ ของเรา ก็เป็นอัครสาวก

บุตรปุโรหิตเป็นสาวกที่ ๒ และภิกษุที่เหลือเหล่านี้ ในเวลาเป็น

คฤหัสถ์ เที่ยวแวดล้อมบุตรของเราเท่านั้น ภิกษุเหล่านี้ ทั้งเมื่อก่อน

ทั้งบัดนี้เป็นภาระของเราผู้เดียว เราเท่านั้นจักบำรุงภิกษุเหล่านั้น

ด้วยปัจจัย ๔ จักไม่ให้โอกาสแก่คนเหล่าอื่น จึงให้สร้างรั้วไม้ตะเคียน

สองข้าง ตั้งแต่ซุ้มประตูพระวิหารจนถึงทวารพระดำหนักพระ-

ราชนิเวศน์ ให้ปิดด้วยผ้า ให้สร้างเพดานพวงดอกไม้ต่าง ๆ แม้

ขนาดต้นตาล วิจิตรด้วยดาวทองห้อยเป็นระย้า ให้ลาดพื้นล่างด้วย

เครื่องลาดอันวิจิตร ให้ตั้งหม้อน้ำเต็ม ไว้ใกล้กอมาลัยและของหอม

ทั้งสองข้าง วางดอกไม้ไว้ระหว่างของหอม และวางของหอมไว้ใน

ระหว่างดอกไม้ เพื่อให้กลิ่นตลบตลอดทาง แล้วกราบทูลเวลาแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าอันหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้ว

เสด็จไปสู่พระราชมณเฑียร กระทำภัตกิจแล้ว กลับมายังวิหาร

ภายในม่านนั่นแหละ. ใคร ๆ อื่น แม้จะดูก็ยังไม่ได้ แล้วไฉนจะได้

ถวายภิกษาหารและการบูชาเล่า.

ชาวพระนคร คิดว่าเมื่อพระศาสดาเสด็จอุบัติขึ้นในโลก

เป็นเวลา ๗ ปี ๗ เดือน ในวันนี้ พวกเราก็ยังไม่ได้เฝ้า จะป่วย

กล่าวไปไย ที่จะได้ถวายภิกษา กระทำการบูชา หรือฟังธรรมเล่า

พระราชายึดถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นของเรา พระสงฆ์เป็นของเรา

จึงทรงบำรุงด้วยพระองค์เองผู้เดียว พระศาสดา เมื่อเสด็จอุบัติ

ก็อุบัติเพื่อประโยชน์แก่โลกพร้อมด้วยเทวโลก หาอุบัติเพื่อประโยชน์

แก่พระราชาเท่านั้นไม่ นรกเป็นของร้อนสำหรับพระราชาพระองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 249

เดียว สำหรับชนเหล่าอื่นเป็นเหมือนดอกอุบลเขียว ก็หาไม่ เพราะ

ฉะนั้น เราจะกราบทูลพระราชาอย่างนี้ว่า ถ้าพระราชาจะประทาน

พระศาสดาแก่พวกเราไซร้ ข้อนั้นเป็นการดี ถ้าไม่ให้ พวกเรา

จะรบกับพระราชาแล้วรับสงฆ์ไปกระทำบุญมีทานเป็นต้น ก็แล

ชาวพระนครล้วน ๆ ไม่อาจทำอย่างนี้ได้ พวกเราจะยึดเอาแม้คน

ผู้เป็นหัวหน้าไว้คนหนึ่ง ดังนี้แล้วจึงเข้าไปหาเสนาบดี บอกความ

นั้นแก่ท่าน แล้วกล่าวว่า นาย ท่านเป็นฝ่ายของเรา หรือฝ่ายพระราชา

เสนาบดีกล่าวว่า เราจะเป็นฝ่ายท่าน ก็แต่ว่า พวกท่านต้องให้เรา

วันแรก. ชาวพระนครก็รับคำ. เสนาบดีเข้าไปเฝ้าพระราชากราบทูล

ว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชาวพระนครโกรธพระองค์. พระราชาถามว่า

โกรธเรื่องไรละพ่อ. เสนาบดีกราบทูลว่า ได้ยินว่า พระองค์เท่านั้น

บำรุงพระศาสดา พวกเราไม่ได้ แล้วทูลว่า ถ้าพวกอื่นได้ เขา

ไม่โกรธ เมื่อไม่ได้ ประสงค์จะรบกับพระองค์พระเจ้าข้า. พระราชา

ตรัสว่า รบก็รบซิพ่อ เราไม่ให้ภิกษุสงฆ์ละ เสนาบดีทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้สมมติเทพ พวกทาสของพระองค์ พูดว่าจะรบกับพระองค์

แล้วพระองค์จักเอาใครรบ พระราชาตรัสว่า ท่านเป็นเสนาบดี

มิใช่หรือ ? เสนาบดีทูลว่า เว้นชาวพระนครเสีย ข้าพระองค์ไม่

สามารถพระเจ้าข้า. ลำดับนั้นพระราชาทราบว่า ชาวพระนครมี

กำลัง ทั้งเสนาบดีก็เป็นฝ่ายของชาวพระนครเหล่านั้นเหมือนกัน

จึงตรัสว่า. ชาวพระนครจงให้ภิกษุสงฆ์แก่เราอีก ๗ ปี ๗ เดือน. ชาว

พระนครไม่รับ พระราชา ทรงให้ลดลงอย่างนี้คือ ๖ ปี ๕ ปี จึงขออีก

๗ วัน. ชาวพระนครอนุญาตด้วยเห็นว่า การที่เรากระทำกรรมอัน

หยาบช้า กับพระราชาในบัดนี้ ไม่สมควร. พระราชาทรงจัดทานมุข

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 250

(ทานที่เป็นประธาน) ที่จัดไว้สำหรับ ๗ ปี ๗ เดือน เพื่อ ๗ วันเท่านั้น เมื่อ

ใคร ๆ ไม่เห็นอยู่เลย ให้ทานอยู่ ๖ วันในวันที่ ๗ จึงให้เรียกชาวพระนคร

มาตรัสว่า ดูก่อน พ่อทั้งหลาย พวกท่านจักอาจให้ทานเห็นปานนี้หรือ.

ชาวพระนครแม้เหล่านั้น กราบทูลว่า ทานนั้น เกิดขึ้นแก่พระองค์

เพราะอาศัยพวกข้าพระองค์เท่านั้นมิใช่หรือ ? เพราะฉะนั้นพวก

ข้าพระองค์จักอาจถวายทานได้. พระราชาทรงเอาหลังพระหัตถ์

เช็ดน้ำพระเนตร ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์คิดว่า จักทำภิกษุ ๖,๘๐๐,๐๐๐ รูป

ให้เป็นภาระของตนอื่นแล้วบำรุงด้วยปัจจัย ๔ ตลอดชีวิต บัดนี้

ข้าพระองค์ อนุญาตให้ชาวพระนครแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ชาวพระนครเขาโกรธว่า พวกเขาไม่ได้ถวายทาน ตั้งแต่พรุ่งนี้ไป

โปรดทรงอนุเคราะห์แก่ชาวพระนครเหล่านั้นเถิด. ครั้นในวันที่ ๒

เสนาบดีได้ถวายมหาทาน. ต่อแต่นั้น ชาวพระนคร กระทำสักการะ

และสัมมานะ ให้ยิ่งกว่าสักการะที่พระราชาทรงกระทำแล้ว ได้

ถวายทาน. โดยทำนองนั้นนั่นแหละ เมื่อถึงลำดับของชาวพระนคร

ทั่ว ๆ ไป ชาวบ้านที่อยู่ใกล้ประตูได้ตระเตรียมสักการะสัมมานะ

แล้ว.

กุฏุมพีมหากาล กล่าวกะกุฏุมพีพลกาลว่า สักการะและ

สัมมานะของพระทศพล ถึงแก่เราวันพรุ่งนี้ เราจะทำสักการะ

อย่างไร ? จุลกาลกล่าวว่า ดูก่อนพี่ท่าน ท่านเท่านั้น จงรู้. มหากาล

กล่าวว่า ถ้าท่านทำตามชอบใจของเรา ข้าวสาลีที่ตั้งท้องแล้ว ๆ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 251

มีอยู่ในนา ประมาณ ๑๖ กรีสของเรา เราจักให้ฉีกท้องข้าวสาลี

ถือเอามาหุงให้สมควรแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จุลกาลกล่าวว่า

เมื่อทำอย่างนี้ ย่อมไม่เป็นอุปการะแก่ใคร ๆ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า

จึงไม่พอใจข้อนั้น. มหากาลกล่าวว่า ถ้าท่านกล่าวอย่างนี้ ข้าก็จะ

ทำตามความชอบใจของข้า แล้วจึงแบ่งนา ๑๖ กรีส ผ่ากลางเป็น

๒ ส่วนเท่า ๆ กัน ปักเขตในที่ ๘ กรีส ผ่าท้องข้าวสาลีเอาไปเคี่ยว

ด้วยน้ำนมไม่ผสม ใส่ของอร่อย ๔ ชนิด แล้วถวายแก่ภิกษุสงฆ์ มี

พระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ที่ที่ฉีกท้องข้าวสาลีแม้นั้นแล้วถือเอา ๆ

ก็กลับเต็มอีก. ในเวลาข้าวเม่า ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวเม่า ได้ถวาย

ข้าวกล้าอย่างเลิศ พร้อมกับชาวบ้าน ในเวลาเกี่ยว ถวายส่วนเลิศใน

ข้าวเกี่ยว ในเวลาทำเขน็ด ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวเขน็ด ในเวลามัดเป็น

ฟ่อนเป็นต้น ก็ถวายส่วนเลิศในข้าวฟ่อน ได้ถวายส่วนเลิศในข้าวในลาน

ในเวลานวดก็ถวายส่วนเลิศในข้าวนวด ในเวลาข้าวขึ้นยุ้งก็ถวายส่วน

เลิศในข้าวขึ้นยุ้ง ได้ถวายทานตามคราว ๙ ครั้ง สำหรับข้าวกล้าอย่าง

เดียวเท่านั้น ดังกล่าวมาฉะนี้ ข้าวกล้าแม้นั้นก็คงยังตั้งขึ้นเหลือเฟือ.

ท่านกระทำกรรมงามตามทำนองนั้นแลตราบเท่าที่พระพุทธเจ้า

ยังทรงพระชนม์อยู่ และตราบเท่าที่พระสงฆ์ยังมีอยู่ (ครั้น) จุติจาก

อัตภาพนั้นแล้ว บังเกิดในเทวโลก. ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและ

มนุษย์ เสวยสมบัติตลอด ๙๑ กัป ในเวลาที่พระศาสดาของเรา

ทรงอุบัติขึ้นในโลก ก็บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล ในบ้าน

พราหมณ์โทณวัตถุ ไม่ไกลกรุงกบิลพัสดุ. ในวันขนานนาม พวก

ญาติขนานนามท่านว่า โกณฑัญญมาณพ. ท่านเจริญวัยแล้ว เรียน

ไตเพทจบ ลักษณ์มนต์ทั้งหลาย. (ตำราทายลักษณะ)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 252

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเราทั้งหลายจุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต

บังเกิดในกรุงกบิลพัสดุ์ ในวันถวายพระนามของพระองค์ พระ

ประยูรญาติ ได้เชิญพราหมณ์ ๑๐๘ คน ครองผ้าใหม่ ให้ดื่มข้าว

มธุปายาสมีน้ำน้อย เลือกพราหมณ์ ๘ คน ในระหว่างพราหมณ์

๑๐๘ นั้น ให้นั่งบนพื้นใหญ่ ให้พระโพธิสัตว์ผู้ประดับตกแต่งแล้ว

นอนบนเบาะผ้าที่ทำด้วยผ้าเนื้อละเอียด นำมายังสำนักของพราหมณ์

เหล่านั้น เพื่อตรวจพระลักษณะ. พราหมณ์ผู้นั่งบนอาสนะใหญ่

ตรวจดูสมบัติแห่งพระสรีระของพระมหาบุรุษแล้วยกขึ้น ๒ นิ้ว.

๗ คนยกขึ้น ตามลำดับอย่างนี้. ก็บรรดาพราหมณ์ ๘ คนนั้น

โกณฑัญญมาณพผู้หนุ่มกว่าเขาหมด ตรวจดูลักษณะอันประเสริฐ.

ยกนิ้วขึ้นนิ้วเดียวเท่านั้นว่า ไม่มีเหตุที่พระองค์จะทรงดำรงอยู่

ท่ามกลางเรือน พระกุมารนี้จักเป็นพระพุทธเจ้ามีกิเลส ดังหลังคา

อันเปิดแล้ว โดยส่วนเดียว ฝ่ายคนทั้ง ๗ นี้ เห็นคติเป็น ๒ ว่า ถ้าอยู่

ครองเรือนจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าบวช จักเป็นพระพุทธเจ้า

จึงยกขึ้น ๒ นิ้ว. ก็พระอัญญาโกณฑัญญะนี้ ได้สร้างบุญญาธิการ

ไว้ เป็นสัตว์เกิดในภพสุดท้าย เหนือคนทั้ง ๗ นอกนี้ด้วยปัญญา

ได้เห็นคติเพียงอย่างเดียวว่า ชื่อว่าท่านผู้ประกอบด้วยลักษณะ

เหล่านี้ ไม่ดำรงอยู่ท่ามกลางเรือน จักเป็นพระพุทธเจ้าอย่างไม่ต้อง

สงสัย เพราะฉะนั้น จึงยกนิ้วเดียว. ลำดับนั้น พราหมณ์เหล่านั้น

ไปสู่เรือนของตน ๆ ปรึกษากับบุตรทั้งหลายว่า ลูกเอย พ่อแก่แล้ว

จะได้ชมเชยหรือไม่ได้ชมเชยพระโอรส ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช

ผู้บรรลุ พระสัพพัญญุตญาณ พวกเจ้าเมื่อพระกุมารบรรลุพระ

สัพพัญญุตญาณแล้ว พึงบวชในพระศาสนาของพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 253

ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงจัดการบริหาร เช่นแต่งตั้ง

แม่นมเป็นต้น สำหรับพระโพธิสัตว์ทรงเลี้ยงดู พระโพธิสัตว์ให้

เติบโต ฝ่ายพระโพธิสัตว์ทรงเจริญวัยแล้ว เสวยสมบัติเหมือน

เทพเจ้า เมื่อพระญาณแก่กล้าแล้ว ทรงเห็นโทษในกาม เห็นอานิสงส์

ในการออกจากกาม จึงในวันที่พระราหุลกุมารประสูติ มีนายฉันนะ

เป็นพระสหาย ทรงขึ้นม้ากัณฐกะเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทาง

ประตูที่เทวดาเปิดให้ เสด็จเลยไป ๓ ราชอาณาเขต โดยตอนกลางคืน

นั้นนั่นเอง ทรงบรรพชาที่ฝั่งแม่น้ำอโนมานที พอทรงรับธงชัย

แห่งพระอรหันต์ ที่ท้าวฆฏิการมหาพรหมนำมาถวายเท่านั้น เป็น

เหมือนพระเถระ ๑๐๐ พรรษา เสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ด้วยพระ

อิริยาบถอันน่าเลื่อมใส เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์นั้น

เสวยบิณฑบาตที่ร่มเงาแห่งภูเขา ชื่อว่าปัณฑวะ ถูกพระเจ้ามคธ

ทรงเชื้อเชิญให้ครองราชสมบัติ ก็ทรงปฏิเสธ เสด็จถึงอุรุเวลา-

ประเทศ โดยลำดับ ทรงเกิดพระดำริมุ่งหน้าต่อความเพียรขึ้นว่า

ภูมิภาคนี้ น่ารื่นรมย์หนอ ที่นี้เหมาะจะทำความเพียรของกุลบุตรที่

ต้องการจะทำความเพียรหนอ ดังนี้แล้วจึงเสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น.

สมัยนั้น พราหมณ์อีก ๗ คน ได้ไปตามกรรม. ส่วนโกณฑัญญ-

นาณพ ผู้ตรวจพระลักษณะ หนุ่มกว่าเขาทั้งหมด เป็นผู้ปราศจาก

ป่วยไข้. ท่านทราบว่า พระมหาบุรุษทรงผนวชแล้ว จึงเข้าไปหา

พวกบุตรพราหมณ์เหล่านั้น กล่าวอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า พระสิทธัตถ

ราชกุมารทรงผนวชแล้ว ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้า โดยไม่ต้องสงสัย

ถ้าบิดาของพวกท่านไม่ป่วยไข้สบายดี วันนี้ก็พึงออกบวช ถ้าแม้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 254

ท่านทั้งหลายปรารถนาไซร้ มาเถิด พวกเราจะบวชตามเสด็จพระ

มหาบุรุษนั้น บุตรพราหมณ์เหล่านั้น ก็ไม่อาจจะมีฉันทเป็นอันเดียว

กันได้หมดทุกคน. ๓ คนไม่บวช. อีก ๔ คน มีโกณฑัญญพราหมณ์

เป็นหัวหน้าบวชแล้ว. บรรพชิตทั้ง ๕ นี้ เที่ยวภิกษาในคามนิคม

และราชธานีได้ไปยังสำนักพระโพธิสัตว์. บรรพชิตเหล่านั้น เมื่อ

พระโพธิสัตว์เริ่มตั้งความเพียรใหญ่ตลอด ๖ ปี คิดว่า บัดนี้พระ

โพธิสัตว์จักเป็นพระพุทธเจ้า บัดนี้พระโพธิสัตว์จักเป็นพระพุทธเจ้า

จึงบำรุงพระมหาสัตว์ได้เป็นผู้เที่ยวไป เที่ยวมาในสำนักพระโพธิสัตว์

นั้น. ก็เมื่อใด พระโพธิสัตว์ แม้ทรงยับยั้งอยู่ด้วยงาและข้าวสาร

เมล็ดเดียวเป็นต้น ทรงรู้ว่า จะไม่แทงตลอดอริยธรรมด้วย ทุก-

กรกิริยา จึงเสวยพระกระยาหารหยาบ เมื่อนั้น บรรพชิตเหล่านั้น

ก็หลบไปอยู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน.

ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์ เสวยพระกระยาหารหยาบ ทำพระ

ฉวีวรรณ พระมังสะและพระโลหิตให้บริบูรณ์แล้ว ในวันวิสาข-

บุรณมี ทรงเสวยโภชนะอย่างดีที่นางสุชาดาถวาย ทรงลอยถาด

ทองไป ทวนกระแสแม่น้ำจึงตกดงพระทัยว่า เราจักเป็นพระพุทธเจ้า

ในวันนี้ เราจักเป็นพระพุทธเจ้าในวันนี้. ในเวลาเย็น พญากาล-

นาคราช ชมเชยด้วยการชมเชยหลายร้อย ทรงขึ้นสู่มหาโพธิมัณฑ-

สถาน บ่ายพระพักตร์ไปสู่โลกธาตุด้านตะวันออก นั่งขัดสมาธิ

ในที่อันไม่หวั่นไหว อธิษฐานความเพียร ประกอบด้วยองค์ ๔

เมื่อพระอาทิตย์ยังโคจรอยู่นั่นแล ทรงกำจัดมารและพลมาร ปฐมยาม

ทรงรำลึกปุพเพนิวาสญาณ มัชฌิมยามทรงชำระทิพจักษุญาณ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 255

ในเวลาต่อเนื่องกันแห่งปัจจุสสมัย ทรงหยั่งพระญาณลงในปฏิจจ-

สมุปบาท พิจารณาปัจจยาการทั้งอนุโลมและปฏิโลม ตรัสรู้เฉพาะ

พระพัพพัญญุตญาณ อันเป็นอสาธารณญา (ญาณที่ไม่มีทั่วไปแก่

สาวกอื่น) ที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ทรงแทงตลอดแล้ว ทรงยับยั้ง

ในโพธิมัณฑสถานนั้นนั่นแล ๗ วัน ด้วยผลสมาบัติอันมีพระนิพพาน

เป็นอารมณ์.

ด้วยอุบายนั้นนั่นแล ทรงประทับอยู่ ณ โพธิมัณฑสถาน ๗

สัปดาห์ เสวยข้าวสัตตุก้อน ที่โคนต้นไม้เกต แล้วเสด็จกลับมาที่

โคนต้นอชปาลนิโครธอีก ประทับนั่ง ณ ที่นั้น ทรงพิจารณาความ

ที่ธรรมอันลึกซึ้ง เมื่อพระทัยน้อมไปในความเป็นผู้ขวนขวายน้อย

อันท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาแล้ว ทรงตรวจดูสัตวโลกด้วยพุทธ-

จักษุ ทรงเห็นสัตว์ทั้งหลายต่างด้วยสัตว์มีอินทรีย์กล้าและมีอินทรีย์

อ่อนเป็นต้น จึงประทานปฏิญญาแด่ท้าวมหาพรหมเพื่อแสดงธรรม

ทรงพระดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่ใครก่อนหนอ ทรงทราบว่า

อาฬารดาบสและอุททกดาบสทำกาละแล้ว เมื่อทรงดำริต่อไป ก็

เกิดพระดำริขึ้นว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ผู้บำรุงเราตอนเราตั้ง ความเพียร

นับว่าเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เรา ถ้ากระไร เราจะพึงแสดงธรรม.

๑. ญาณนี้มี ๕ คือ ๑ อินทริยปโรปริยัตติญาณ ปรีชากำหนดรู้ความยิ่ง และความหย่อนแห่ง

อินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย ๒. อาสยานุสสยญาณ ปรีชากำหนดรู้อัธยาศัยและกิเลสที่นอนเนื่อง

ในสันดาน ๓. ยมกปาฏิหิรญาณ ญาณในยมกปาฏิหาริย์ ๔.มหากรุณาสมาบัติญาณ ญาณใน

มหากรุณาสมาบัติ ๕. สัพพัญญุตญาณ ญาณในความเป็นพระสัพพัญญู ๖. อนาวรญาณ ญาณที่

ไม่มีอะไรขัดขวางได้. ขุ.ป. เล่ม ๓๑/๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 256

แก่อภิกษุปัญจวัคคีย์ก่อน. ก็ข้อนี้ทั้งหมดเทียวเป็นเพียงพระปริวิตก

ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเท่านั้น. ก็เว้นโกณฑัญญพราหมณ์เสีย

คนอื่นใครเล่า ชื่อว่าเป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมก่อนไม่มี. จริงอยู่

โกณฑัญญพราหมณ์นั้นได้กระทำกรรมคือ บุญญาธิการไว้ ๑๐๐,๐๐๐

กัป เพื่อประโยชน์นี้เอง จึงได้ถวายทานในเพราะข้าวกล้าอันเลิศ

๙ ครั้ง แก่สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน.

ลำดับนั้น พระศาสดา ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปป่า

อิสิปตนมฤคทายวัน โดยลำดับ เสด็จไปหาภิกษุปัญจวัคคีย์ พระ

ปัญจวัคคีย์เหล่านั้นเห็นพระตถาคตเสด็จมา ไม่อาจดำรงอยู่ใน

กติกาของพวกตน (ที่ตกลงกันไว้) องค์หนึ่งล้างพระบาท องค์หนึ่ง

จับพัดใบตาลยืนถวายงานพัด. เมื่อพระปัญจวัคคีย์เหล่านั้น แสดง

วัตรอย่างนี้แล้วนั่ง ณ ที่ใกล้ พระศาสดาทรงการทำพระโกณฑัญญ

เถระให้เป็นกายสักขีพยานแล้ว ทรงเริ่มธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

มีวนรอบ ๓ อันยอดเยี่ยม.

มนุษยบริษัท ก็คือชนทั้ง ๕ (ปัญจวัคคีย์) เท่านั้น เทวบริษัท

พระศาสดาทรงการทำพระโกณฑัญญะ ก็ดำรงอยู่ในโสดา-

ปัตติผล พร้อมกับท้าวมหาพรหม ๑๘ โกฎิ. ครั้งนั้น พระศาสดาทรง

ดำริว่า โกณฑัญญะรู้ทั่วธรรมที่เราได้ ได้มาด้วยการทำความเพียร

อย่างหนัก ก่อนผู้อื่นทั้งนั้น เมื่อทรงเรียกพระเถระว่าภิกษุนี้ชื่ออัญญา-

โกณฑัญญะ จึงตรัสว่า อญฺาสิ วค โภ โกณฺฑญฺโ อญฺาสิ วต โภ

โกณฺฑญฺโ โกณฑัญญะ รู้ทั่วแล้วหนอ โกณทัญญะ รู้ทั่วแล้วหนอ ดังนี้.

คำนั้นนั่นแลจึงเป็นชื่อของท่าน. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า อิติ หิท

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 257

อายสฺมโต โกณฺฑญฺสฺส อญฺาโกณฺฑญฺโ เตฺวว นาม อโหสิ

ดังนั้น คำนี้ว่าอัญญาโกฑัญญะ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะ

ดังนั้น พระเถระจึงดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ในวันอาสาฬหปุรณมี

เพ็ญกลางเดือน ๘ วันแรม ๑ ค่ำ พระภัททิยเถระ วันแรม ๒ ค่ำ

พระวัปปเถระ วันแรม ๓ ค่ำ พระมหานามเถระ. วันแรม ๔ ค่ำ

พระอัสสชิเถระ ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. ส่วนวันแรม ๕ ค่ำ

จบอนัตตลักขณสูตร ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัตหมดทุกรูป. สมัยนั้น

แล จึงมีพระอรหันต์ในโลก ๖ องค์

ตั้งแต่นั้นมา พระศาสดาทรงให้มหาชนหยั่งลงสู่อริยภูมิ

อย่างนี้คือ บุรุษ ๕๕ คนมียสกุลบุตรเป็นหัวหน้า ภัททวัคคิยกุมาร

จำนวน ๓๐ คน ที่ป่าฝ้าย ปุราณชฏิล จำนวน ๑,๐๐๐ รูป ที่หลังแผ่นหิน

คยาสีสประเทศ ทรงให้ราชบริพาร ๑๑ นหุต มีพระเจ้าพิมพิสาร

เป็นประมุข ให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ๑ นหุต ให้ดำรงอยู่ใน

ไตรสรณะ ทรงทำพระศาสนาให้ผลิตดอกออกผล บนพื้นชมพู

ทวีป ทรงทำทั่วมณฑลชมพูทวีปให้รุ่งเรื่องด้วยกาสาวพัสตร คลาคล่ำ

ไปด้วยนักแสวงบุญสมัยหนึ่ง เสด็จถึงพระเชตวันมหาวิหาร สถิต

อยู่ ณ ที่นั้น ประทับบนพระพุทธอาสน์อย่างดีที่เขาจัดไว้แล้ว ทรง

แสดงธรรมท่ามกลางภิกษุสงฆ์ เพื่อทรงแสดงว่า โกณฑัญญะ บุตร

เรา เป็นยอด ระหว่างเหล่าภิกษุผู้แทงตลอดธรรม ก่อนใคร จึงทรง

สถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ.

แม้พระเถระเห็นพระอัครสาวกทั้งสองกระทำความเคารพ

นบนอบตน ประสงค์จะหลีกไปเสียจากสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 258

เห็นว่า ปุณณมานพบวชแล้วจักเป็นยอดธรรมกถึกในพระศาสนา

จึงกลับไปตำบลบ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุ (ชาติภูมิของท่าน) ให้

ปุณณมานพหลานชายบรรพชาแล้ว คิดว่า ปุณณมาณพนี้ จักอยู่ใน

สำนักของพระพุทธเจ้า จึงได้ปุณณมานพนั้นอยู่ในสำนักของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ท่านเองก็เข้าไปเฝ้าพระทศพล ขออนุญาต

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสนาสนะใกล้

บ้านไม่เป็นสัปปายะสำหรับข้าพระองค์ ข้าพระองค์ไม่อาจอยู่

เกลื่อนกล่น จำจักไปอยู่สระฉัททันต์ พระเจ้าข้า ลุกจากอาสนะ

ถวายบังคมแล้วไปยังสระฉัททันต์ อาศัยโขลงช้างสกุลฉัททันต์

ยับยั้งอยู่ ๑๒ ปี ปรินิพพาน ด้วยอนุปานิเสสนิพพานธาตุ ณ ที่นั้นเอง

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒ - ๓

ประวัติพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถระ

สูตรที่ ๒-๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า มหาปญฺาน ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยปัญญาอย่างมากมาย

บทว่า อิทฺธิมนฺตาน ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์. คำว่า สารีบุตร โมคคัล-

ลานะ เป็นชื่อของพระเถระทั้งสองนั้น. ในปัญหากรรมของพระเถระ

ทั้ง ๒ นี้ มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 259

ในที่สุดอสงไขยกัปยิ่งด้วยแสนกัป นับแต่กัปนี้ ท่านพระสารีบุตร

บังเกิดในครอบครัวพราหมณมหาศาล ชื่อสรทมาณพ. ท่านพระ

โมคคัลลานะบังเกิดในครอบครัวคฤหบดีมหาศาล ชื่อสิริวัฑฒกุฏมพี.

ทั้ง ๒ คนเป็นเพื่อนเล่นฝุ่นด้วยกันมา เมื่อบิดาล่วงลับไปสรทมาณพ

ก็ได้ทรัพย์เป็นอันมาก ซึ่งเป็นสมบัติของสกุล วันหนึ่ง อยู่ในที่ลับ

คิดว่า เราไม่รู้อัตภาพในโลกนี้ ไม่รู้อัตภาพในโลกอื่น ขึ้นชื่อว่า

ความตายเป็นของแน่ สำหรับเหล่าสัตว์ที่เกิดมาแล้ว. ควรที่เรา

จะถือบวชสักอย่างหนึ่ง แสวงหาโมกขธรรม. สรทมาณพนั้นไปหาสหาย

กล่าวว่า เพื่อนสิริวัฑฒ์ เราจักบวชแสวงหาโมกขธรรม เจ้าจักบวช

พร้อมกันเราได้ไหม. สิริวัฑฒกุฏมพีตอบว่า ไม่ได้ดอกเพื่อน เจ้าบวช

คนเดียวเถิด. สรทมาณพคิดว่า คนเมื่อไปปรโลก จะพาสหายหรือ

ญาติมิตรไปด้วยหามีไม่ กรรมที่ตนทำก็เป็นของตนผู้เดียว ต่อนั้น

ก็สั่งให้เปิดเรือนคลังรัตนะให้มหาทานแก่คนกำพร้า คนเดินทาง

ไกล วณิพกและยาจกทั้งหลาย แล้วบวชเป็นฤษี. มีคนบวชตาม

สรทมาณพนั้น อย่างนี้คือ คน ๑ ๒ คน ๓ คน กลายเป็นชฏิลจำนวน

ประมาณ ๗๔,๐๐๐ รูป สรทฤษีนั้น ทำอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้

บังเกิดแล้ว ก็สอนกสิณบริกรรมแก่ชฏิลเหล่านั้น. ชฎิลเหล่านั้น

ก็ทำอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้บังเกิดทุกรูป.

สมัยนั้น พระพุทธเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสีทรงอุบัติขึ้น

ในโลก. พระนครชื่อว่า จันทวดี. พระพุทธบิดาเป็นกษัตริย์พระนามว่า

ยศวันตะ. พระพุทธมารดา เป็นพระเทวีพระนามว่า ยโสธรา. ต้นไม้

ที่ตรัสรู้ ชื่อว่าอัชชุนพฤกษ์ ต้นกุ่ม (ต้นรกฟ้าขาวก็ว่า). พระอัครสาวก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 260

ทั้ง ๒ ชื่อว่า พระนิสภเถระ และพระอโนมเถระ. พระพุทธอุปฐาก

ชื่อพระวรุณเถระ พระอัครสาวิกาทั้ง ๒ ชื่อ สุนทรา และ สุมนา.

ทรงมีพระชนมายุ ๑๐,๐๐๐ พรรษา. พระวรกายสูง ๕๘ ศอก.

รัศมีพระวรกายแผ่ไป ๑๒ โยชน์. มีภิกษุเป็นบริวาร ๑๐๐,๐๐๐ รูป.

ต่อมาวันหนึ่ง พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า เสด็จออกจากพระมหากรุณา

สมาบัติ ทรงตรวจดูโลก เวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นสรทดาบส ทรงพระ

ดำริว่า วันนี้ เพราะเราไปหาสรทดาบสเป็นปัจจัย จักมีธรรมเทศนา

กัณฑ์ใหญ่ และสรทดาบสนั้น จักปรารถนาตำแหน่งอัครสาวก

สิริวัฑฒกุฏุมพีสหายของเขา จักปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกที่ ๒

จบเทศนาชฏิล ๗๔,๐๐๐ รูป บริวารของเขา จักบรรลุพระอรหัต

ควรที่เราจะไปที่นั้น. ดังนี้แล้ว ทรงถือบาตรสละจีวรของพระองค์

ไม่เรียกใครอื่น เสด็จลำพังพระองค์เหมือนราชสีห์ เมื่อเหล่าอันเต-

วาสิก ศิษย์ของสรทดาบส ออกไปแสวงหาผลาผล ทรงอธิษฐานว่า

ขอสรทดาบสจงรู้ว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อสรทดาบสกำลังดู

อยู่นั่นเอง ก็เสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนบนพื้นดิน.

สรทดาบส เห็นพระพุทธานุภาพและพระสรีรสมบัติของพระองค์

จึงพิจารณาลักษณมนต์ ก็รู้ว่า ธรรมดาผู้ประกอบด้วยลักษณะ

เหล่านี้ เมื่ออยู่ครองเรือน ก็ต้องเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ เมื่อบวช

ก็ต้องเป็นพระสัพพัญญูพุทธะ ผู้ทรงเปิดกิเลสดุจหลังคาเสียแล้ว

ในโลก มหาบุรุษผู้นี้ต้องเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย จึง

ออกไปต้อนรับ ถวายบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ ปูอาสนะถวาย

พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ประทับนั่งเหนืออาสนะที่ปูแล้ว. แม้สรทดาบส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 261

ก็ถือเอาอาสนะที่สมควรแก่ตน นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง. สมัยนั้น

ชฏิล ๗๔,๐๐๐ รูป ก็ถือผลาผลมีโอชะอันประณีต ๆ มาถึงสำนัก

ของอาจารย์ มองดูอาสนะที่พระพุทธเจ้า และอาจารย์นั่งแล้วกล่าวว่า

ท่านอาจารย์ พวกเราเที่ยวไปด้วยเข้าใจว่า ไม่มีใครเป็นใหญ่กว่า

ท่านในโลกนี้ แต่บุรุษผู้นี้เห็นทีจะใหญ่กว่าท่านแน่. สรทดาบส

กล่าวว่า พ่อเอ๋ย พูดอะไร พวกเจ้าประสงค์จะเปรียบขุนเขาสิเนรุ

ซึ่งสูง ๖,๐๐๐,๐๐๐ โยชน์ ทำให้เท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาด. ลูกเอ๋ย

พวกเจ้าอย่าเปรียบเรากับพระสัพพัญญูพุทธะเลย. ครั้งนั้น ชฏิล

เหล่านั้นคิดว่า ถ้าบุรุษผู้นี้ จักเป็นสัตว์ต่ำช้าแล้วไซร้ อาจารย์

ของเราคงไม่นำมาเปรียบเช่นนี้ ที่แท้บุรุษผู้นี้ต้องเป็นใหญ่หนอ

ทุกรูปจึงหมอบแทบเบื้องพระยุคลบาท ไหว้ด้วยเศียรเกล้า. ลำดับนั้น

อาจารย์จึงกล่าวกะชฏิลเหล่านั้นว่า พ่อเอ๋ย ไทยธรรมของเราที่คู่ควร

แก่พระพุทธเจ้าไม่มีเลย. ในเวลาภิกษาจาร พระศาสดา

ก็เสด็จมาแล้วในที่นี้ พวกเราจักถวายไทยธรรมตามกำลัง พวกเจ้า

จงนำผลาผลของเราที่ประณีต ๆ มา แล้วให้นำมา ล้างมือแล้ว

ก็วางไว้ในบาตรของพระตถาคตด้วยตนเอง. พอพระศาสดาทรง

รับผลาผล เทวดาทั้งหลายก็ใส่ทิพโอชะลง. ดาบสก็กรองน้ำถวาย

ด้วยตนเอง. ลำดับนั้น เมื่อพระศาสดาประทับนั่งเสวยเสร็จแล้ว

ดาบสก็เรียกอันเตวาสิกมาทุกคน นั่งพูดแต่ถ้อยคำที่เป็นสาราณียกถา

(ถ้อยคำให้หวนระลึกถึงกัน) ในสำนักพระศาสดา.

พระศาสดาทรงดำริว่า พระอัครสาวกทั้งสอง จงมา

พร้อมกับภิกษุสงฆ์ พระอัครสาวกเหล่านั้นรู้พระดำริของพระศาสดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 262

มีพระขีณาสพแสนองค์เป็นบริวาร มาถวายบังคมพระศาสดาแล้วยืน

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ลำดับนั้น สรทดาบสเรียกพวกอันเตวาสิกมาพูดว่า พ่อทั้งหลาย

อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งก็ต่ำ อาสนะที่พระสมณะแสนองค์

นั่งก็ไม่มี วันนี้ ควรที่ท่านทั้งหลายจะกระทำพุทธสักการะให้โอฬาร

ท่านทั้งหลายจงนำดอกไม้ที่สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นจากเชิงเขามา

เวลาที่กล่าวย่อมเป็นเหมือนเนิ่นนาน แต่วิสัยของผู้มีฤทธิ์เป็นอจินไตย

เพราะเหตุนั้น ดาบสเหล่านั้นจึงนำดอกไม้ที่สมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่น

มา โดยกาลชั่วครู่เดียวเท่านั้น ตกแต่งอาสนะดอกไม้ประมาณโยชน์

หนึ่งสำหรับพระพุทธเจ้า สำหรับพระอัครสาวกทั้งหลาย

๓ คาวุต สำหรับภิกษุที่เหลือต่างกันกึ่งโยชน์ เป็นต้น สำหรับ

ภิกษุผู้ใหม่ในสงฆ์ประมาณอุสภะเดียว. เมื่อตกแต่งอาสนะเสร็จ

เรียบร้อยแล้ว สรทดาบสยืนประคองอัญชลีตรงพระพักตร์พระตถาคต

แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอจงเสด็จขึ้นอาสนะดอกไม้

นี้ เพื่อประโยชน์และความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด

(ครั้นกล่าวแล้ว จึงได้กล่าวเป็นยาถาประพันธ์ดังนี้ว่า)

นานาปุบฺผ จ คนฺธญฺจ สมฺปาเทตฺวาน เอกโต

ปุบฺผาสน ปญฺาเปตฺวา อิท วจนมพฺธรวึ

ฯลฯ

ข้าพระองค์ร่วมกันรวบรวมดอกไม้ต่าง ๆ

และของหอมมาตกแต่งอาสนะดอกไม้ ได้กราบ

ทูลคำนี้ว่า ข้าแต่พระผู้กล้าหาญ อาสนะนี้ตกแต่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 263

ไว้เพื่อพระองค์ เหมาะสมแก่พระองค์ ขอ

พระองค์จงยังจิตของข้าพระองค์ให้ผ่องใส

ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้เถิด. พระพุทธเจ้า

ได้ประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ตลอดเจ็ดวันเจ็ด

คืน ทำจิตของเราให้ผ่องใส ทำโลกพร้อมทั้งเทวดา

ให้ร่าเริง.

เมื่อพระศาสดาประทับนั่งอย่างนี้แล้ว พระอัครสาวกทั้งสอง

กับเหล่าภิกษุที่เหลือ ก็นั่งบนอาสนะอันถึงแล้วแก่ตน ๆ. สรทดาบส

ถือฉัตรดอกไม้ใหญ่ยืนกั้นเหนือพระเศียรพระตถาคต. พระศาสดา

ทรงเข้านิโรธสมาบัติด้วยพระดำริว่า สักการะนี้ จงมีผลมากแก่

ชฏิลทั้งหลาย. พระอัครสาวกทั้งสองก็ดี ภิกษุที่เหลือก็ดี รู้ว่าพระ

ศาสดาทรงเข้าสมาบัติ ก็พากันเข้าสมาบัติ. เมื่อพระตถาคตนั่งเข้า

นิโรธสมาบัติตลอด. ๗ วัน พวกอันเตวาสิก เมื่อถึงเวลาภิกขาจาร

ก็บริโภคมูลผลาหารของป่า ในเวลาที่เหลือก็ยืนประคองอัญชลีแด่

พระพุทธเจ้า. ส่วนสรทดาบส แม้ภิกขาจารก็ไม่ไป ยับยั้งอยู่ด้วย

ปีติและสุขทั้ง ๗ วัน โดยทำนองที่ถือฉัตรดอกไม้อยู่นั่นแหละ.

พระศาสดาทรงออกจากนิโรธสมาบัติแล้วตรัสเรียกพระ

นิสภเถระอัครสาวกผู้นั่งอยู่ ณ เบื้องขวาว่า นิสภะเธอจงทำบุบผา-

สนานุโมทนาแก่ดาบทั้งหลายผู้การทำสักการะ. พระเถระดีใจ

เหมือนทหารใหญ่ได้ลาภมากจากสำนักของพระเจ้าจักรพรรดิ

ตั้งอยู่ในสาวกบารมีญาณเริ่มอนุโมทนาเกี่ยวกับการถวายอาสนะ

ดอกไม้. ในเวลาจบเทศนาของพระอัครสาวกนั้น จงตรัสเรียกทุติย-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 264

สาวกว่า ภิกษุ แม้เธอก็จงแสดงธรรม. ฝ่ายพระอโนมเถระพิจารณา

พระไตรปิฎกพุทธวจนะมากล่าวธรรมกถา. ด้วยเทศนาของพระ

อัครสาวกทั้งสอง แม้ชฎิลสักรูปหนึ่งไม่ได้ตรัสรู้. ลำดับนั้น พระ

ศาสดาทรงดำรงอยู่ในพุทธวิสัยอันหาประมาณไม่ได้ ทรงเริ่มพระ-

ธรรมเทศนา. ในเวลาจบเทศนา เว้นสรทดาบส ชฏิลแม้ทั้งหมดจำนวน

๗๔,๐๐๐ รูป บรรลุพระอรหัต. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์

ตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด. ในขณะนั้นเอง ผมและหนวดของชฏิล

เหล่านั้นก็หายไป บริขาร ๘ ก็ได้สรวมสอดเข้าในกายทันที.

ถามว่า เพราะเหตุไร สรทดาบสจึงไม่บรรลุพระอรหัต.

ตอบว่า เพราะมีจิตฟุ้งซ่าน. ได้ยินว่า. จำเดิมตั้งแต่เริ่มฟังเทศนา

ของพระอัครสาวกผู้นั่งบนอาสนะที่สองของพระพุทธเจ้า ผู้ตั้งอยู่

ในสาวกบารมีญาณแสดงธรรมอยู่ สรทดาบสนั้นเกิดความคิดขึ้นว่า

โอหนอ แม้เราก็ควรได้หน้าที่ที่พระสาวกนี้ได้ ในศาสนาของพระ

พุทธเจ้าผู้จะเสด็จอุบัติขึ้นในอนาคต. สรทดาบสนั้นไม่อาจทำให้

แจ้งมรรคผล ก็เพราะความปริวิตกนั้น จึงถวายบังคมพระตถาคต

แล้วยืนตรงพระพักตร์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ

ผู้นั่งบนอาสนะติดกับพระองค์ชื่อไร. ในศาสนาของพระองค์. พระ

ศาสดาตรัสว่า ภิกษุนี้ผู้ประกาศตามพระธรรมจักรที่เราประกาศ

แล้ว ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ แทงตลอดโสฬสปัญหา ชื่อว่า

นิสภเถระอัครสาวกในศาสนาของเรา. สรทดาบส (ได้ฟังแล้ว)

จึงได้ทำความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์กั้นฉัตร

ดอกไม้ตลอด ๗ วัน การทำสักการะนี้ใด ด้วยผลของสักการะนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 265

นั้น ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาเป็นท้าวสักกะหรือเป็นพรหมสัก

อย่างหนึ่ง แต่ในอนาคต ขอให้ข้าพระองค์พึงเป็นพระอัครสาวกของ

พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เหมือนพระนิสภเถระนี้.

พระศาสดาทรงส่งอนาคตังสญาณไปตรวจดูว่า ความปรารถนา

ของดาบสนี้ จักสำเร็จไหมหนอ ก็ได้ทรงเห็นว่าล่วงไปหนึ่งอสงไขย

ยิ่งด้วยแสนกัปจะสำเร็จ ก็แหละครั้นทรงเห็นแล้วจึงตรัสกะสรทดาบส

ว่า ความปรารถนาอันนี้ของท่านจักไม่เป็นของเปล่า แต่ในอนาคต

ล่วงไปหนึ่งอสังไขยยิ่งด้วยแสนกัป พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า

โคดม จักอุบัติขึ้นในโลก จักมีพระพุทธมารดานามว่า มหามายาเทวี

จักมีพระพุทธบิดานามว่า สุทโธทนมหาราช จักมีพระโอรสนามว่า

ราหุล จักมีพระอุปัฏฐากนามว่า อานนท์ จักมีพระทุติยสาวกนามว่า

โมคคัลลานะ ส่วนตัวท่านจักเป็นพระอัครสาวกของพระโคดมนั้น

นามว่าพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ครั้นทรงพยากรณ์ดาบสนั้น

อย่างนี้แล้วตรัสธรรมกถา มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวารเสด็จเหาะไป

ทางอากาศ.

ฝ่ายสรทดาบสไปยังสำนักของพระเถระผู้เคยเป็นอันเตวาสิก

แล้วให้ส่งข่าวแก่สิริวัฑฒกุฏุมพีผู้เป็นสหายว่า ท่านผู้เจริญ ท่าน

จงบอกสหายของข้าพเจ้าว่า สรทดาบสผู้สหายของท่าน ปรารถนา

ตำแหน่งอัครสาวกในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า ผู้จะเสด็จอุบัติ

ในอนาคต ณ ที่ใกล้บาทมูลของพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า ส่วนท่าน

จงปรารถนาตำแหน่งทุติยสาวกเถิด ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว

ก็ไปโดยครู่เดียวก่อนหน้าพระเถระทั้งหลาย ได้ยินอยู่ที่ประตูนิเวศน์

ของสิริวัฑฒกุฎุมพี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 266

สิริวัฑฒกุฏุมพีปราศัยว่า นานหนอ พระผู้เป็นเจ้าจะได้มา

แล้วให้นั่งบนอาสนะ ส่วนตนนั่งบนอาสนะตัวที่ต่ำกว่าถามว่า ก็

อันเตวาสิกบริษัทของท่านไม่ปรากฏหรือขอรับ สรทดาบสกล่าวว่า

เจริญพร สหาย พระอโนมทัสสีพุทธเจ้าเสด็จมาในอาศรมของ

พวกอาตมภาพ ๆได้กระทำสักการะแด่พระองค์ท่านตามกำลังของตน ๆ

พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่ดาบสทั้งหมด ในเวลาจบเทศนา

ดาบสที่เหลือบรรลุพระอรหัต เว้นอาตมภาพ. สิริวัฑฒกุฏุมพีถามว่า

เพราะเหตุไรท่านจึงไม่บวช. สรทดาบสกล่าวว่า อาตมภาพเห็นพระ-

นิสภเถระอัครสาวกของพระศาสดาแล้ว จึงได้ปรารถนาตำแหน่งอัคร-

สาวกในศาสนาของพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าโคดม ผู้จะเสด็จอุบัติใน

อนาคต. แม้ตัวท่านก็จงปรารถนาตำแหน่งทุติยสาวกในศาสนาของ

พระโคดมพุทธเจ้าพระองค์นั้นเถิด. สิริวัฑฒกุฏุมพีกล่าวว่า ท่าน

ขอรับกระผมไม่มีความคุ้นเคยกับพระพุทธเจ้า. สรทดาบสกล่าวว่า

การกราบทูลกับพระพุทธเจ้า จงเป็นภาระของอาตมภาพ ท่านจง

ตระเตรียมอธิการ (สักการะอันยิ่งยวด) ไว้เถิด. สิริวัฑฒกุฏุมพี ฟังคำ

ของสรทดาบสแล้ว จึงให้ปรับสถานที่ประมาณ ๘ กรีส ด้วยไม้วัดหลวง

ให้มีพื้นที่เสมอกัน ณ สถานที่ในนิเวศน์ของตนแล้วให้เกลี่ยทราย โปรย

ดอกไม้มีข้าวตอกเป็นที่ ๕ ให้สร้างมณฑปมุงด้วยดอกอุบลขาบ ตกแต่ง

พุทธอาสน์ จัดอาสนะตำหรับพระภิกษุแม้ที่เหลือ เตรียมเครื่องสักการะ

สัมมานะใหญ่โต แล้วให้สัญญาณแก่สรทดาบสเพื่อทูลนิมนต์พระพุทธเจ้า.

ดาบสได้ฟังคำของสิริวัฑฒกุฏุมพีนั้นแล้ว จึงพาภิกษุสงฆ์มีพระ

พุทธเจ้าเป็นประมุข ไปยังนิเวศน์ของสิริวัฑฒกุฏุมพีนั้น. สิริวัฑฒ-

กุฏุมพีกระทำการรับเสด็จ รับบาตรจากพระหัตถ์ของพระตถาคต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 267

นิมนต์ให้เสด็จเข้าไปยังมณฑป ถวายน้ำทักษิโณทกแด่ภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ผู้นั่ง ณ อาสนะที่ตกแต่งไว้แล้ว เลี้ยง

ดูด้วยโภชนะอันประณีต ในเวลาเสร็จภัตกิจ ให้ภิกษุสงฆ์มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุขครองผ้าอันควรค่ามากแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ความริเริ่มนี้ เพื่อต้องการฐานะอันมีประมาณ

เล็กน้อยก็หามิได้ ขอพระองค์ทรงกระทำความอนุเคราะห์ตลอด

๗ วัน โดยทำนองนี้แหละ. พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว. สิริวัฑฒ

กุฎุมพีนั้นยังมหาทานให้เป็นไปไม่ขาดสายตลอด ๗ วัน โดยทำนอง

นั้นนั่นแหละ. แล้วถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้ายืนประคองอัญชลี

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญสรทดาบสสหาย ของข้าพระองค์

ปรารถนาว่า ขอให้เป็นอัครสาวกของพระศาสดาองค์ใด ข้าพระองค์

ขอเป็นทุติยสาวกของพระศาสดาองค์นั้นเหมือนกัน. พระศาสดา

ทรงตรวจดูอนาคตทรงเห็นว่า ความปรารถนาของเขาสำเร็จ จึง

ทรงพยากรณ์ว่า ล่วงไปหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปจากภัตรกัป

นี้ไป ท่านจักเป็นทุติยสาวกของพระโคดมพุทธเจ้า. สิริวัฑฒกุฏุมพี

ได้ฟังคำพยากรณ์ของพระพุทธเจ้าแล้ว เป็นผู้ยินดีร่าเริง. ฝ่าย

พระศาสดาทรงทำภัตตานุโมทนาแล้ว พร้อมทั้งบริวารเสด็จกลับ

ไปยังพระวิหาร. จำเดิมแต่นั้นมา สิริวัฑฒกุฏุมพีกระทำกรรมงาม

ตลอดชีวิตแล้วบังเกิดในเทวโลกชั้นกามาวจร ในวารจิตที่สอง.

สรทดาบสเจริญพรหมวิหาร ๔ ได้บังเกิดในพรหมโลก. จำเดิม

แต่นั้นมา ท่านไม่พูดถึงกรรมในระหว่างแม้ของท่านทั้งสองนี้.

ก็ก่อนแต่การเสด็จบังเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย

นั่นแล สรทดาบสถือปฏิสนธิในครรภ์ของสารีพราหมณีในบ้าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 268

อุปติสสคาม ไม่ไกลกรุงราชคฤห์. ก็ในวันนั้นแหละ แม้สหายของ

สรทดาบสนั้นก็ถือปฏิสนธิในครรภ์ของโมคคัลลีพราหมณี ในบ้าน

โกลิตคาม อันไม่ไกลกรุงราชคฤห์เหมือนกัน. ได้ยินว่าตระกูล

แม้ทั้งสองนั้นได้เป็นสหายเกี่ยวเนื่องกันมา ๗ ชั่วตระกูลทีเดียว.

ญาติทั้งหลายได้ให้การบริหารครรภ์แก่คนแม้ทั้งสองนั้นในวัน

เดียวกัน ได้นำแม่นม ๖๖ คนเข้าไปให้แก่คนทั้งสองนั้น แม้ผู้ซึ่ง

เกิดแล้ว เมื่อล่วงไป ๑๐ เดือน. ในวันตั้งชื่อ ญาติทั้งหลายได้ตั้งชื่อ

บุตรของสารีพราหมณีว่าอุปติสสะ เพราะเป็นบุตรของหัวหน้า

ตระกูลในบ้านอุปติสสคาม ตั้งชื่อบุตรนอกนี้ว่า โกลิตะ เพราะ

เป็นบุตรของหัวหน้าตระกูลในบ้านโกลิตคาม. คนแม้ทั้งสองนั้น

เจริญวัยขึ้นก็สำเร็จศิลปศาสตร์ทุกอย่าง.

ในเวลาไปยังแม่น้ำหรืออุทยานเพื่อจะเล่น อุปติสสมาณพ

มีวอทอง ๕๐๐ วอเป็นเครื่องแห่แหน โกลิตมาณพมีรถเทียมม้า

อาชาไนย ๕๐๐ คันเป็นเครื่องแห่แหน ชนแม้ทั้งสองมีมาณพคนละ

๕๐๐ เป็นบริวาร. ก็ในกรุงราชคฤห์ มีมหรสพบนยอดเขาเป็น

ประจำปี. ชนทั้งหลายผูกเตียงไว้ในที่เดียวกัน สำหรับมาณพแม้

ทั้งสองนั้น แม้มาณพทั้งสองก็นั่งรวมกันดูมหรสพ ร่าเริงในฐานะ

ที่ควรร่าเริง สังเวชในฐานะที่ควรสังเวช ตกรางวัลในฐานะที่ควร

ตกรางวัล. วันหนึ่ง เมื่อชนทั้งสองนั้นดูมหรสพโดยทำนองนี้แหละ

มิได้มีความร่าเริงในฐานะที่ควรร่าเริง สังเวชในฐานะที่ควรสังเวช

หรือตกรางวัลในฐานะที่ควรตกรางวัล เพราะญาณแก่กล้าแล้ว. ก็

ชนแม้ทั้งสองต่างคิดอย่างนี้ว่า มีอะไรที่เราจะควรดูในมหรสพนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 269

คนเหล่านี้แม้ทั้งหมด ยังไม่ถึง ๑๐๐ ปี ต่างก็จะล้มหายตายจาก

กันไป ก็เราทั้งหลายควรแสวงหาโมกขธรรมสักอย่างหนึ่ง ดังนี้

แล้วนั่งนึกเอาเป็นอารมณ์อยู่ ลำดับนั้น โกลิตะกล่าวกะอุปติสสะว่า

เพื่อนอุปติสสะ ท่านไม่สนุกร่าเริงเหมือนวันก่อน ๆ ใจลอย ท่านคิด

อะไรหรือ อุปติสสะกล่าวว่า เพื่อนโกลิตะ เรานั่งคิดถึงเรื่องนี้อยู่ว่า

ในการดูของคนเหล่านี้ ไม่มีแก่นสารเลย การดูนี้ไม่มีประโยชน์

ควรแสวงหาธรรมเครื่องหลุดพ้นสำหรับตน ก็ท่านเล่า เพราะเหตุไร

จึงใจลอย แม้โกลิตะนั้นก็กล่าวอย่างนั้นเหมือนกัน. ครั้นอุปติสสะ

รู้ว่าโกลิตะนั้นมีอัชฌาศัยอย่างเดียวกับตน จึงกล่าวอย่างนี้ว่า สิ่ง

ที่เราแม้ทั้งสองคิดเป็นการคิดที่ดี เมื่อจะแสวงหาโมกขธรรม ควรจะ

ได้การบวชสักอย่างหนึ่งดังนั้น พวกเราจักบวชในสำนักใคร.

ก็สมัยนั้น สัญชัยปริพาชกอาศัยอยู่ในกรุงราชคฤห์ พร้อม

กับปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ มาณพทั้งสองนั้นตกลงว่า จักบวช

ในสำนักของสัญชัยปริพาชกนั้น จึงบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชก

พร้อมกับมาณพ ๕๐๐ คน. จำเดิมแต่กาลที่มาณพทั้งสองนั้นบวช

แล้ว สัญชัยปริพาชกได้ลาภได้ยศเหลือหลาย. มาณพทั้งสองนั้น

เรียนจบลัทธิของสัญชัยปริพาชกทั้งหมด โดย ๒ - ๓ วันเท่านั้น

แล้วถามว่า ท่านอาจารย์ ลัทธิอันเป็นความรู้ของท่านมีเท่านี้ หรือ

มียิ่งขึ้นไปอีก. สัญชัยปริพาชกกล่าวว่า มีเท่านี้แหละ พวกท่าน

รู้หมดแล้ว. มาณพเหล่านั้นฟังถ้อยคำ ของสัญชัยปริพาชกนั้น

แล้ว คิดกันว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ การอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก

ของสัญชัยปริพาชกนี้ก็ไม่มีประโยชน์ พวกเราออกบวชก็เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 270

แสวงหาโมกขธรรม พวกเราไม่อาจให้เกิดขึ้นในสำนักของสัญชัย-

ปริพาชกนี้ ก็ชมพูทวีปใหญ่โต พวกเราเที่ยวไปยังคาม นิคม และ

ราชธานี จักได้อาจารย์สักท่านหนึ่งผู้แสวงโมกขธรรมได้เป็นแน่

จำเดิมแต่นั้น มาณพทั้งสองนั้นได้ฟังว่า สมณพราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิต

มีอยู่ ณ ที่ใด ๆ ก็ไป ณ ที่นั้น ๆ กระทำการสนทนาปัญหา. ปัญหา

ที่มาณพทั้งนั้นถามแล้ว คนอื่น ๆ ไม่มีความสามารถที่จะแก้ได้. แต่

มาณพทั้งสองนั้น แก้ปัญหาของคนเหล่านั้นได้. มาณพทั้งสองนั้น

เที่ยวสอบไปทั่วชมพูทวีป ด้วยอาการอย่างนี้ แล้วกลับมาที่อยู่เดิม

ของตน ได้ทำกติกากันว่า เพื่อนโกลิตะ ผู้ใดบรรลุอมตะก่อน ผู้นั้น

จงบอกแก่กัน.

ก็สมัยนั้น พระศาสดาของเราทั้งหลายบรรลุพระปรมาภิ-

สัมโพธิญาณแล้วประกาศพระธรรมจักรอันบวร เสด็จถึงกรุง

ราชคฤห์โดยลำดับ. ครั้งนั้น พระอัสสชิเถระในจำนวนภิกษุปัญจ-

วัคคีย์ ในระหว่างภิกษุทั้งหลายที่ทรงส่งไปประกาศคุณของพระ

รัตนตรัยว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปเพื่อประโยชน์

เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก ดังนี้ ในสมัยที่กล่าวว่า พระอรหันต์ ๖๑

องค์ อุบัติขึ้นแล้วในโลก ดังนี้ ท่านหวนกลับมายังกรุงราชคฤห์ ใน

วันรุ่งขึ้น ถือบาตรสละจีวรเข้าไปบิณฑบาตรยังกรุงราชคฤห์แต่

เช้าตรู่. สมัยนั้น อุปติสสปริพาชกทำภัตกิจแต่เช้ามืดแล้วเดินไป

อารามปริพาชก ได้เห็นพระเถระจึงคิดว่า ชื่อว่าบรรพชิตเห็นปานนี้

เราไม่เคยเห็นเลย ภิกษุนี้คงจะเป็นภิกษุรูปใดรูปหนึ่งในบรรดา

ภิกษุผู้เป็นอรหันต์หรือผู้บรรลุอรหัตตมรรคในโลก ถ้ากระไร เรา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 271

ควรเข้าไปหาภิกษุนี้แล้วถามปัญหาว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านบวชจำเพาะ

ใคร หรือใครเป็นศาสดาของท่าน หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร.

ลำดับนั้น เขาได้มีความคิดว่า มิใช่กาลที่จะถามปัญหากะภิกษุนี้ ๆ

เข้าไปยังละแวกบ้านเที่ยวบิณฑบาตอยู่ ไฉนหนอเราพึงติดตาม

ภิกษุนี้ไปข้างหลัง ๆ เพราะการติดตามภิกษุนี้ไปนั้น เป็นทางที่

ผู้ต้องการเข้าไปรู้แล้ว. อุปติสสปริพาชกเห็นพระเถระได้บิณฑบาต

แล้วไปยังโอกาสแห่งหนึ่ง และรู้ว่าพระเถระนั้นต้องการจะนั่ง จึง

ได้ลาดตั่งปริพาชกของตนถวาย แม้ในเวลาเสร็จภัตกิจ ก็ได้ถวาย

น้ำในคณโฑน้ำของตนแก่พระเถระนั้น กระทำอาจริยวัตรอย่างนี้แล้ว

กระทำปฏิสันถารอ่อนหวาน กับพระเถระผู้กระทำภัตกิจเสร็จ

แล้วถามว่า ท่านผู้มีอายุ อินทรีย์ทั้งหลายของท่านผ่องใสนักแล

ฉวีวรรณบริสุทธิ์ผุดผ่อง ผู้มีอายุ ท่านบวชจำเพาะใคร หรือใครเป็น

ศาสดาของท่าน หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร. พระเถระกล่าวว่า

ผู้มีอายุ พระมหาสมณะศากยบุตร ออกบวชจากศากยตระกูลมีอยู่

เราบวชจำเพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นศาสดาของเรา เราชอบใจธรรมของพระผู้

มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. ลำดับนั้น อุปติสสปริพาชกจึงถาม

พระเถระนั้นว่า ก็พระศาสดาของท่านผู้มีอายุมีวาทะอย่างไร กล่าว

อย่างไร. พระเถระคิดว่า ธรรมดาปริพาชกทั้งหลายนี้ เป็นปฏิปักษ์

ต่อพระศาสนา เราจักแสดงความลึกซึ้งในพระศาสนาแก่ปริพาชกนี้

เมื่อจะถ่อมตนว่าเรายังเป็นผู้ใหม่จึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ เราแลเป็น

ผู้ใหม่บวชยังไม่นาน เพิ่งมาสู่มาสู่พระวินัยนี้ เราไม่อาจแสดงธรรม

โดยพิสดารได้ก่อน. ปริพาชกคิดว่า เราชื่อว่าอุปติสสะ ท่านจง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 272

กล่าวน้อยหรือมากตามความสามารถ การแทงตลอดธรรมนั่น

ด้วยร้อยนับพันนัย เป็นภาระของเรา จึงกล่าวว่า

อปฺป วา พหุ วา ภาสสฺสุ อตฺถเยว เม พฺรูหิ

อตฺเถเนว เม อตฺโถ กึ กาหสิ พฺยญฺชน พหุ

ท่านจงกล่าวเถิด น้อยก็ตามมากก็ตาม จงกล่าว

เฉพาะแต่ใจความแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าต้องการ

ใจความเท่านั้น. ท่านจะทำพยัญชนะให้มากไป

ทำไม.

เมื่อกล่าวอย่างนี้แล้ว พระเถระจึงกล่าวคาถาว่า เย ธมฺมา

เหตุปฺปภวา (ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด) ดังนี้เป็นต้น. ปริพาชก

ฟังเฉพาะ. ๒ บทแรกเท่านั้น ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรคอันสมบูรณ์

ด้วยนัยพันหนึ่ง. ทำ ๒ บทหลังให้จบลงในเวลาเป็นพระโสดาบันแล้ว.

ปริพาชกนั้นได้เป็นพระโสดาบันแล้ว เมื่อคุณวิเศษชั้นสูงยังไม่เกิด

จึงกำหนดว่า เหตุในคำสอนนี้จักมี จึงกล่าวกะพระเถระว่า ท่าน

ผู้เจริญ ท่านอย่าขยายธรรมเทศนาให้สูงไป คำมีประมาณเท่านี้แหละ

พอแล้ว พระศาสดาของเราทั้งหลายประทับอยู่ที่ไหน. พระเถระ

บอกว่า ประทับอยู่ในพระเวฬุวัน. ปริพาชกกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า

ขอท่านจงล่วงหน้าไปก่อน กระผมมีสหายอยู่คนหนึ่ง และได้ทำกติกา

กันไว้ว่า ผู้ใดบรรลุอมตะก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่กัน กระผมจักเปลื้อง

ปฏิญญาข้อนั้น แล้วพาสหายไปยังสำนักของพระศาสดา ตามทาง

ที่ท่านไปนั่นแหละ แล้วหมอบลงแทบเท้าพระเถระด้วยเบญจางค-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 273

ประดิษฐ์ กระทำประทักษิณ ๓ ครั้งแล้วส่งพระเถระไป ส่วนตน

ก็เดินมุ่งตรงไปยังอารามของปริพาชก โกลิตปริพาชกเห็นอุปติสส-

ปริพาชกเดินมาแต่ไกล คิดว่า วันนี้หายเรามีสีหน้าไม่เหมือนวันก่อน ๆ

เขาจักได้บรรลุอมตะแน่แท้ จึงถามถึงการบรรลุอมตะ. แม้อุปติสส-

ปริพาชกนั้นก็ได้ปฏิญญาแก่โกลิตปริพาชกนั้นว่า ผู้มีอายุ เราบรรลุ

อมตะแล้ว จึงได้กล่าวคาถานั้นนั่นแหละ. ในเวลาจบคาถา โกลิตะ

ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้วกล่าวว่า สหาย ได้ยินว่าพระศาสดาประทับ

อยู่ที่ไหน. อุปติสสะกล่าวว่า สหาย นัยว่าพระศาสดาประทับอยู่

ในพระเวฬุวัน. พระอัสสชิเถระอาจารย์ของพวกเราบอกอย่างนี้

ด้วยประการฉะนี้. โกลิตะกล่าวว่า สหาย ถ้าอย่างนั้น มาเถิด พวก

เราจักเฝ้าพระศาสดา. ธรรมดาว่าพระสารีบุตรเถระนี้ เป็นผู้บูชา

อาจารย์แม้ในกาลทุกเมื่อ เพราะฉะนั้น จึงกล่าวกะโกลิตมาณพ

ผู้สหายอย่างนี้ว่า สหาย เราจักบอกอมตะที่เราบรรลุ แม้แก่สัญชัย-

ปริพาชกอาจารย์ของเรา ท่านรู้อยู่ก็จักแทงตลอด เมื่อไม่แทงตลอด

เชื่อพวกเราก็จักไปยังสำนักของพระศาสดา ฟังธรรมเทศนาของ

พระพุทธเจ้าแล้วจักกระทำการแทงตลอดมรรคผล. แต่นั้น ชนแม้

ทั้งสองไปยังสำนักของสัญชัยกล่าวว่า อาจารย์ขอรับ ท่านจักทำ

อย่างไร พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก พระธรรมอันพระพุทธเจ้า

ตรัสดีแล้ว พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว มาเถิด พวกเราจักเฝ้า

พระทศพล. สัญชัยปริพาชกกล่าวว่า พูดอะไร พ่อ แล้วห้ามชน

ทั้งสองแม้นั้น แสดงแต่การได้ลาภอันเลิศและ. อันเลิศเท่านั้น

แก่ชนทั้งสองนั้น. ชนทั้งสองนั้นกล่าวว่า การอยู่เป็นอันเตวาสิก

เห็นปานนี้ของข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นประจำไปทีเดียว จงยกเสียเถิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 274

แต่ท่านจงรู้ตัวท่านว่าจะไปหรือไม่ไป. สัญชัยปริพาชกรู้ว่า ชน

เหล่านี้รู้ความต้องการมีประมาณเท่านี้แล้ว จักไม่เชื่อถือคำพูด

ของเรา จึงกล่าวว่า ไปเถิดพ่อทั้งหลาย เราไม่อาจอยู่เป็นอันเตวาสิก

(ของตนอื่น) ในคราวเป็นคนแก่. ชนทั้งสองนั้นไม่อาจให้สัญชัย-

ปริพาชกนั้นเข้าใจด้วยเหตุแม้เป็นอันมาก จึงได้พาชนผู้ประพฤติ

ตามโอวาทของตนไปยังพระเวฬุวัน. ครั้งนั้น ในบรรดาอันเตวาสิก

๕๐๐ คนของชนทั้งสองนั้น ๒๕๐ คนกลับ อีก ๒๕๐ คนได้ไปกับ

ชนทั้งสองนั้น.

พระศาสดากำลังทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัท ๔

ทรงเห็นชนเหล่านั้นแต่ไกล จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ภิกษุ

ทั้งหลาย สหาย ๒ คนนั้น คือไกลิตะและอุปติสสะกำลังเดินมา คู่สาวก

นี้แหละจักเป็นคู่สาวกที่เลิศที่เจริญ ครั้นแล้วทรงขยายพระธรรม-

เทศนา เนื่องด้วยจริยาแห่งบริษัทของ ๒ สหายนั้น. เว้นพระอัครสาวก

ทั้งสอง ปริพาชก ๒๕๐ คนแม้ทั้งหมดนั้น บรรลุพระอรหัต พระ-

ศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า จงเป็นภิกษุมาเถิด. ผมและ

หนวดของปริพาชกเหล่านั้นหายไป บาตรและจีวรอันล้วนแล้วด้วย

ฤทธิ์ก็ได้มีมาแม้แก่พระอัครสาวกทั้งสองด้วย แต่กิจด้วยมรรคทั้ง

๓ เบื้องสูง ยังไม่สำเร็จ. เพราะเหตุไร ? เพราะสาวกบารมีญาณ

เป็นของใหญ่. ครั้นในวันที่ ๗ ตั้งแต่วันบวช ท่านพระมหาโมคคัลลานะ

เข้าไปอาศัยบ้านกัลลวาลคามแคว้นมคธ กระทำสมณธรรมอยู่

เมื่อถูกถีนมิทธะครอบงำ พระศาสดาทรงทำให้สังเวชใจ บรรเทา

ถีนมิทธะเสียได้ กำลังฟังธาตุกรรมฐานที่พระตถาคตประทาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 275

อยู่ทีเดียว ทำกิจแห่งมรรค ๓ เบื้องสูงให้สำเร็จถึงที่สุดแห่งสาวก-

บารมีญาณ. แม้พระสารีบุตรเถระล่วงเลยเวลาไปครึ่งเดือนตั้งแต่

วันบวช เข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์นั้นนั่นแหละอยู่ในถ้ำสุกรขาตา

กับพระศาสดา เมื่อพระศาสดาทรงแสดงเวทนาปริคหสูตรแก่

ทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลานของตน ได้ส่งญาณไปตามกระแสพระสูตร

ก็ได้บรรลุถึงที่สุดสาวกบารมีญาณ เหมือนบริโภคข้าวที่คดไว้

เพื่อคนอื่น ส่วนหลานของท่านาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล ในเวลาจบ

เทศนา. ดังนั้น เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์นั่นแล

กิจแห่งสาวกบารมีญาณของพระอัครสาวกแม้ทั้งสองได้ถึงที่สุด

แล้ว. ก็ในเวลาต่อมาอีก พระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวัน ได้

ทรงสถาปนาพระมหาสาวกแม้ทั้งสองไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า

สารีบุตรเป็นยอดของภิกษุสาวกของเราผู้มีปัญญามาก มหาโมคคัล-

ลานะเป็นยอดของภิกษุสาวกของเราผู้มีฤทธิ์มาก ดังนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒ - ๓

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ประวัติพระมหากัสสปเถระ

ในสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ในบทว่า ธุตวาทาน นี้ พึงทราบธุตบุคคล (บุคคลผู้กำจัดกิเลส)

ธุตวาทะ (การสอนเรื่องการกำจัดกิเลส) ธุตธรรม (ธรรมเครื่อง

กำจัดกิเลส) ธุดงค์ (องค์ของผู้กำจัดกิเลส).

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 276

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธุโต ได้แก่ บุคคลกำจัดกิเลส

หรือธรรมอันกำจัดกิเลส.

ก็ในบทว่า ธุตวาโท นี้(พึงทราบว่า) มีบุคคลผู้กำจัดกิเลส

ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ไม่กำจัดกิเลสแต่มีการ

สอนเรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ไม่กำจัดกิเลส ทั้งไม่มีการสอน

เรื่องกำจัดกิเลส ๑ มีบุคคลผู้ทั้งกำจัดกิเลสและมีการสอนเรื่อง

กำจัดกิเลส ๑. ในบรรดาบุคคลเหล่านั้น บุคคลได้กำจัดกิเลสของ

ตนด้วยธุดงค์ แต่ไม่โอวาทไม่อนุศาสน์คนอื่นด้วยธุดงค์เหมือน

พระพักกุลเถระ บุคคลนี้ชื่อว่าผู้กำจัดกิเลสแต่ไม่มีการสอนเรื่อง

กำจัดกิเลส เหมือนดังท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระพักกุละเป็นผู้กำจัด

กิเลส แต่ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส. แก่บุคคลใดไม่กำจัดกิเลส

ของตนด้วยธุดงค์ แต่โอวาทอนุศาสน์ คนอื่นด้วยธุดงค์อย่างเดียว

เหมือนพระอุปนันทเถระ ก็บุคคลนี้ชื่อว่าไม่เป็นผู้กำจัดกิเลส แต่มี

การสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนดังท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระ

อุปนันทะ ศากยบุตร ไม่เป็นกำจัดกิเลส แต่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส.

ก็บุคคลใดไม่กำจัดกิเลสของตนด้วยธุดงค์ ไม่โอวาท ไม่อนุศาสน์

คนอื่นด้วยธุดงค์ เหมือนพระโลลุทายีเถระ ก็บุคคลนี้ชื่อว่าไม่เป็น

ผู้กำจัดกิเลส (และ) ไม่มีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนดังท่าน

กล่าวว่า คือ ท่านพระมหาโลลุทายีไม่เป็นผู้กำจัดกิเลส ไม่มีการ

สอนเรื่องกำจัดกิเลส. ส่วนบุคคลใดสมบูรณ์ด้วยการกำจัดกิเลส

และมีการสอนเรื่องกำจัดกิเลส เหมือนพระมหากัสสปเถระ บุคคลนี้

ชื่อว่าเป็นผู้กำจัดกิเลสและมีการสอนเรื่องกำจัดกิเลสเหมือนดัง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 277

ท่านกล่าวว่า คือ ท่านพระมหากัสสปะเป็นผู้กำจัดกิเลพและมีการ

สอนเรื่องกำจัดกิเลส ดังนี้.

บทว่า ธุตธมฺมา เวทิตพฺพา ความว่า ธรรม ๕ ประการ

อันเป็นบริวารของธุดงคเจตนาเหล่านี้ คือ ความเป็นผู้มักน้อย ๑

ความเป็นผู้สันโดษ ๑ ความเป็นผู้ขัดเกลา ๑ ความเป็นผู้สงัด ๑

ความเป็นผู้มีสิ่งนี้ ๑ ชื่อว่าธรรมเครื่องกำจัดกิเลส เพราะพระบาลี

ว่า อปฺปิจฺฉเยว นิสฺสาย (อาศัยความมักน้อยเท่านั้น) ดังนี้

เป็นต้น. ในธรรม ๕ ประการนั้น ความมักน้อยและความสันโดษ

เป็นอโลภะ. ความขัดเกลาและความวิเวกจัดเข้าในธรรม ๒ ประการ

คือ อโลภะและอโมหะ. ความเป็นผู้มีสิ่งนี้คือ ญาณนั่นเอง. บรรดา

อโลภะและอโมหะเหล่านั้น กำจัดความโลภในวัตถุที่ต้องห้ามด้วย

อโลภะ กำจัดโมหะอันปกปิดโทษในวัตถุที่ต้องห้ามเหล่านั้นแหละ

ด้วยอโมหะ อนึ่งกำจัดกามสุขัลลิกานุโยคอันเป็นไปโดยมุข คือ

การส้องเสพสิ่งที่ทรงอนุญาต ด้วยอโลภะ กำจัดอัตตกิลมถานุโยค

อันเป็นไปโดยมุขคือ การขัดเกลายิ่งในธุดงค์ทั้งหลาย ด้วยอโมหะ

เพราะฉะนั้นธรรมเหล่านี้ พึงทราบว่าธรรมเครื่องกำจัดกิเลส.

บทว่า ธุตงฺคานิ เวทิตพฺพานิ ความว่า พึงทราบธุดงค์ ๑๓

คือ ปังสุกูลิกังคะ (องค์ของภิกษุผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร) ฯลฯ

เนสัชชิกังคะ (องค์ของภิกษุผู้ถือการนั่งเป็นวัตร).

บทว่า ธุตวาทาน ยทิท มหากสฺสโป ความว่า ทรงสถาปนา

ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะในระหว่างภิกษุผู้สอนธุดงค์ว่า มหากัสสป-

เถระนี้เป็นยอด. บทว่า มหากสฺสโป ความว่า ท่านกล่าวว่า ท่าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 278

พระมหากัสสปะองค์นี้ เพราะเทียบกับพระเถระเล็กน้อยเหล่านี้

คือ พระอุรุเวลกัสสปะ พระนทีกัสสปะ พระคยากัสสปะ พระกุมาร-

กัสสปะ. ในปัญหากรรม แม้ของพระมหากัสสปะนี้มีเรื่องที่กล่าว

ตามลำดับดังต่อไป

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ปลายแสนกัป พระศาสนาพระนามว่า

ปทุมุตตระ อุบัติขึ้นในโลก เมื่อพระองค์เสด็จเข้าไปอาศัยกรุงหงสวดี

ประทับอยู่ในเขมมฤคทายวัน กุฎุมพีนามว่า เวเทหะ มีทรัพย์สมบัติ

๘๐ โกฎิ บริโภคอาหารดีแต่เช้าตรู่ อธิษฐานองค์อุโบสถ ถือของหอม

และดอกไม้เป็นต้นไปพระวิหารบูชาพระศาสดา ไหว้แล้วนั่ง ณ ที่

ควรส่วนข้างหนึ่ง. ขณะนั้น พระศาสดาทรงสถาปนาสาวกองค์ที่ ๓

นามว่ามหานิสภเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

นิสภะเป็นยอดของภิกษุสาวกของเราผู้สอนธุดงค์. อุบาสกฟัง

พระดำรัสนั้นแล้วเลื่อมใสเวลาจบธรรมกถา มหาชนลุกไปแล้ว

จึงถวายบังคมพระศาสดากราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระองค์ทรงรับภิกษาของข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้. พระศาสดา

ตรัสว่า อุบาสก ภิกษุสงฆ์มากนะ อุบาสกทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้

มีพระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์มีประมาณเท่าไร ? พระศาสดาตรัสว่า

มีประมาณหกล้านแปดแสนองค์ อุบาสกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ขอพระองค์จงรับภิกษา แม้แต่สามเณรรูปเดียวก็อย่าเหลือ

ไว้ในวิหาร. พระศาสดาทรงรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ. อุบาสก

รู้ว่าพระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว จึงไปเรือนตระเตรียมมหาทาน

ในวันรุ่งขึ้น ส่งให้คนไปกราบทูลเวลา (ภัตตาหาร) สู่พระศาสดา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 279

พระศาสดาทรงถือบาตรและจีวร มีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อมไปยังเรือน

ของอุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาแต่งไว้ถวาย. เวลาเสร็จ

หลั่งน้ำทักษิโณทก ทรงรับข้าวต้มเป็นต้น ได้ทรงสละข้าวสวย.

แม้อุบาสกก็นั่งอยู่ที่ใกล้พระศาสดา.

ระหว่างนั้น พระมหานิสภเถระกำลังเที่ยวบิณฑบาต เดิน

ไปยังถนนนั้นนั่นแหละ อุบาสกเห็นจึงลุกขึ้นไปไหว้พระเถระแล้ว

กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงให้บาตร พระเถระได้ให้บาตร.

อุบาสกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอนิมนต์เข้าไปในเรือนนี้แหละ แม้

พระศาสดาก็ประทับนั่งอยู่ในเรือน. พระเถระกล่าวว่า ไม่ควรนะ

อุบาสก. อุบาสกรับบาตรของพระเถระใส่บิณฑบาตเต็มแล้ว ได้

นำออกไปถวาย. จากนั้น ได้เดินส่งพระเถระไปแล้วกลับมานั่งใน

ที่ใกล้พระศาสดา กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระ

มหานิสภเถระแม้ข้าพระองค์กล่าวว่า พระศาสดาประทับอยู่ในเรือน

ก็ไม่ปรารถนาจะเข้ามา พระมหานิสภเถระนั่น มีคุณยิ่งกว่าพระองค์

หรือหนอ อันธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ย่อมไม่มีวรรณมัจ-

ฉริยะ. (ตระหนี่คุณความดีของคนอื่น). ลำดับนั้น พระศาสดาตรัส

อย่างนี้ว่า ดูก่อนอุบาสก เรานั่งคอยภิกษาอยู่ในเรือน แต่ภิกษุนั้น

ไม่นั่งคอยภิกษาในเรือนอย่างนี้ เราอยู่ในเสนาสนะชายบ้าน ภิกษุ

นั้นอยู่ในป่าเท่านั้น เราอยู่ในที่มุงบัง ภิกษุนั้นอยู่กลางแจ้งเท่านั้น

ดังนั้น ภิกษุนั้นมีคุณนี้ ๆ ตรัสประหนึ่งทำมหาสมุทรให้เต็มฉะนั้น.

อุบาสกแม้ตามปกติเป็นผู้เลื่อมใสดียิ่งอยู่แล้ว จึงเป็นประหนึ่งประทีป

ที่ลุกโพรงอยู่ (ซ้ำ) ถูกราดด้วยน้ำมันฉะนั้น คิดว่า ต้องการอะไรด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 280

สมบัติอื่นสำหรับเรา เราจักการทำความปรารถนา เพื่อต้องการความ

เป็นยอด ของภิกษุทั้งหลายเป็นธุตวาทะในสำนักของพระพุทธเจ้า

พระองค์หนึ่งในอนาคต.

อุบาสกแม้นั้นจึงนิมนต์พระศาสดาอีก ถวายมหาทานทำนอง

นั้นนั่นแหละถึง ๗ วัน วันที่ ๗ ถวายไตรจีวรแก่ภิกษุสงฆ์มีพระ-

พุทธเจ้าเป็นประมุข. แล้วหมอบกราบพระบาทของพระศาสดา กราบ

ทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเมตตากายกรรม เมตตา

วจีกรรม เมตตามโนกรรม ของข้าพระองค์ผู้ถวายมหาทาน ๗ วัน

ข้าพระองค์จะปรารถนาสมบัติของเทวดา หรือสมบัติของท้าวสุกกะ

มาร และพรหม สักอย่างหนึ่งก็หาไม่ ก็กรรมของข้าพระองค์นี้

จงเป็นปัจจัยแก่ความเป็นยอดของภิกษุผู้ทรงธุดงค์ ๓ เพื่อต้องการ

ถึงตำแหน่งที่พระมหานิสภเถระถึงแล้ว ในสำนักของพระพุทธเจ้า

พระองค์หนึ่ง ในอนาคต. พระศาสดาทรงตรวจว่า ที่อุบาสกนี้

ปรารถนาตำแหน่งใหญ่ จักสำเร็จหรือไม่หนอ ทรงเห็นว่าสำเร็จ

จึงตรัสว่า ท่านปรารถนาอัครฐานอันใหญ่โต พระพุทธเจ้าพระนาม

ว่าโคดม จักอุบัติขึ้นในที่สุดแสนกัปในอนาคต ท่านจักเป็นพระสาวก

ที่ ๓ ของพระโคดมพุทธเจ้านั้น ชื่อว่ามหากัสสปเถระ. อุบาสก

ได้ฟังพุทธพยากรณ์นั้นแล้ว คิดว่า ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ย่อมไม่ตรัสเป็นคำ ๒ จึงได้สำคัญสมบัตินั้นเหมือนดังจะได้ใน

วันพรุ่งนี้. อุบาสกนั้นดำรงอยู่ชั่วอายุ ถวายทานมีประการต่าง ๆ

รักษาศีลกระทำกุศลกรรมนานัปประการ ตายไปในอัตภาพนั้น

แล้วบังเกิดในสวรรค์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 281

จำเดิมแต่นั้น เขาเสวยสมบัติทั้งในเทวดาและมนุษย์ ในกัป

ที่ ๙๑ แต่ภัตรกัปนี้ เมื่อพระวิงสสีสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาศัย

กรุงพันธุมดี ประทับอยู่ในมฤคทายวันอันเกษม ก็จิตุจากเทวโลกไปเกิด

ในตระกูลพราหมณ์เก่าแก่ตระกูลหนึ่ง.

ก็ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามวิปัสสี ตรัสพระ-

ธรรมเทศนาทุก ๆ ปีที่ ๗ ได้มีควานโกลาหลใหญ่หลวง. เทวดา

ทั้งหลายทั่วชมพูทวีป ได้บอกพราหมณ์นั้นว่า พระศาสดาจักทรง

แสดงธรรม. พราหมณ์ได้สดับข่าวนั้น. พราหมณ์นั้น มีผ้านุ่ง

อยู่ผืนเดียว นางพราหมณีก็เหมือนกัน แต่ทั้งสองคนมีผ้าห่มอยู่

ผืนเดียวเท่านั้น จึงปรากฏไปทั่วพระนครว่า เอกสาฎกพราหมณ์.

เมื่อพวกพราหมณ์ประชุมกัน ด้วยกิจบางอย่าง ต้องให้นางพราหมณี

อยู่บ้าน ตนเองไป เมื่อ(ถึงคราว ) พวกพราหมณีประชุมกัน ตนเอง

ต้องอยู่บ้าน นางพราหมณีห่มผ้านั้นไป (ประชุม) ก็ในวันนั้นพราหมณ์

พูดกะพราหมณีว่า แม่มหาจำเริญ เธอจักฟังธรรมกลางคืนหรือ

กลางวัน. พราหมณีพูดว่า พวกฉันชื่อว่าเป็นหญิงแม่บ้าน ไม่อาจ

ฟังกลางคืนได้ขอฟังกลางวันเถิด แล้วให้พราหมณ์อยู่เฝ้าบ้าน

(ตนเอง) ห่มผ้านั้นไปตอนกลางวันพร้อมกับพวกอุบาสิกา ถวาย

บังคมพระศาสดาแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฟังธรรมแล้ว กลับ

มาพร้อมกับพวกอุบาสิกา ทีนั้นพราหมณ์ ได้ให้พราหมณีอยู่บ้าน

(ตนเอง) ห่มผ้านั้นไปวิหาร. สมัยนั้น พระบรมศาสดาประทับนั่ง

บนธรรมาสน์ที่เขาตกแต่งไว้ท่ามกลางบริษัท ทรงจับพัดอันวิจิตร

ตรัสธรรมกถาประหนึ่งทำสัตว์ให้ข้ามอากาศคงคา และประหนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 282

ทรงกระทำเขาสิเนรุให้เป็นโม่กวนสาคร ฉะนั้น. เมื่อพราหมณ์

นั่งฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท ปีติ ๕ ประการเกิดขึ้นเต็มทั่วสรีระ

ในปฐมยามนั่นเอง พราหมณ์นั้นดึงผ้าที่ตนห่มออกมาคิดว่า จักถวาย

พระทศพล. ครั้งนั้น ความตระหนี่ชี้โทษถึงพันประการเกิดขึ้น

แก่พราหมณ์นั้นว่า พราหมณีกับเรามีผ้าห่มผืนเดียวเท่านั้น ผ้าห่ม

ผืนอื่นไร ๆ ไม่มี ก็ธรรมดาว่าไม่ห่มผ้าก็ออกไปข้างนอกไม่ได้

จึงตกลงใจไม่ต้องการถวายโดยประการทั้งปวง ครั้นเมื่อปฐมยาม

ล่วงไป ปีติเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละเกิดขึ้นแก่พราหมณ์นั้น แม้ใน

มัชฌิมยาม พราหมณ์คิดเหมือนอย่างนั้นแล้วไม่ได้ถวายเหมือน

เช่นนั้น. ครั้นเมื่อมัชฌิมยามล่วงไป ปีติเหมือนอย่างนั้นนั่นแหละ

เกิดขึ้นแก่พราหมณ์นั้นแม้ในปัจฉิมยาม. พราหมณ์นั้นคิดว่า เป็นไร

เป็นกัน ค่อยรู้กันทีหลัง ดังนี้แล้วดึงผ้ามาวางแทบพระบาทพระ-

บรมศาสดา. ต่อแต่นั้นก็งอมือซ้ายเอามือขวาตบลง ๓ ครั้งแล้ว

บันลือขึ้น ๓ วาระว่า ชิต เม ชิต เม ชิต เม ( เราชนะแล้ว ๆ).

สมัยนั้น พระเจ้าพันธุมราชประทับนั่งสดับธรรมอยู่ภายใน

ม่านหลังธรรมาสน์ อันธรรมดาพระราชาไม่ทรงโปรดเสียงว่า

ชิต เม ชิต เม จึงส่งราชบุรุษไปด้วย พระดำรัสว่า เธอจงไปถาม

พราหมณ์นั้นว่า เขาพูดทำไม. พราหมณ์นั้นถูกราชบุรุษไปถาม

จึงกล่าวว่า คนอื่นนอกจากข้าพเจ้า ขึ้นยานคือช้างเป็นต้น ถือดาบ

และโล่หนังเป็นต้น จึงได้ชัยชนะกองทัพข้าศึก ชัยชนะนั้น

ไม่น่าอัศจรรย์ ส่วนเราได้ย่ำยีจิตตระหนี่แล้ว ถวายผ้าที่ห่มอยู่

แด่พระทศพล เหมือนคนเอาฆ้อนทุบตัวโคโกงที่ตามมาข้างหลัง

ทำให้มันหนีไป ชัยชนะของเรานั้นจึงน่าอัศจรรย์. ราชบุรุษจึงไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 283

กราบทูลเรื่องราวนั้นแด่พระราชา. พระราชารับสั่งว่า พนาย พวกเรา

ไม่รู้สิ่งที่สมควรแก่พระทศพล พราหมณ์รู้ จึงให้ส่งผ้าคู่หนึ่ง (ผ้านุ่ง

กับผ้าห่ม) ไปพระราชทาน พราหมณ์เห็นผ้าคู่นั้นแล้วคิดว่า พระ-

ราชานี้ไม่พระราชทานอะไรเป็นครั้งแรกแก่เราผู้นั่งนิ่ง ๆ เมื่อ

เรากล่าวคุณทั้งหลายของพระบรมศาสดาจึงได้พระราชทาน จะมี

ประโยชน์อะไรแก่เรากับผ้าคู่ที่อาศัยพระคุณของพระบรมศาสดา

เกิดขึ้น จึงได้ถวายผ้าคู่แม้คู่นั้นแด่พระทศพลเสียเลย. พระราชา

ตรัสถามว่า พราหมณ์ทำอย่างไร ทรงสดับว่า พราหมณ์ถวายผ้าคู่

แม้นี้แด่พระตถาคตเท่านั้น จึงรับสั่งให้ส่งผ้าคู่ ๒ ชุดแม้อื่นไป

พระราชทาน. พราหมณ์นั้นได้ถวายผ้าคู่ ๒ ชุดแม้นั้น. พระราชา

ทรงส่งผ้าคู่ ๔ ชุดแม้อื่นไปพระราชทาน ทรงส่งไปพระราชทาน

ถึง ๓๒ คู่ ด้วยประการอย่างนี้. ลำดับนั้น พราหมณ์คิดว่า การทำ

ดังนี้ เป็นเหมือนให้เพิ่มขึ้นแล้วจึงจะรับเอา จึงถือเอาผ้า ๒ คู่ คือ

เพื่อประโยชน์แก่ตนคู่ ๑ เพื่อนางพราหมณีคู่ ๑ แล้วถวายเฉพาะ

พระทศพล ๓๐ คู่. จำเดิมแต่นั้น พราหมณ์ก็ได้เป็นผู้สนิทสนมกับ

พระบรมศาสดา. ครั้นวันหนึ่งพระราชาทรงสดับธรรมในสำนักของ

พระบรมศาสดาในฤดูหนาว ได้พระราชทานผ้ากัมพลแดงสำหรับห่ม

ส่วนพระองค์มีมูลค่าพันหนึ่งกะพราหมณ์ แล้วรับสั่งว่า จำเดิม

แต่นี้ไป ท่านจงห่มผ้ากัมพลแดงผืนนี้ฟังธรรม พราหมณ์นั้นคิดว่า

เราจะประโยชน์อะไรกับผ้ากัมพลแดงนี้ ที่จะน้อมนำเข้าไปในกาย

อันเปื่อยเน่านี้ จึงได้ทำเป็นเพดานเหนือเตียงของพระตถาคตใน

ภายในพระคันธกุฏีแล้วก็ไป. อยู่มาวันหนึ่ง พระราชาเสด็จไป

พระวิหารแต่เช้าตรู่ ประทับนั่งในที่ใกล้พระบรมศาสดาในพระคันธกุฏี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 284

ก็ในขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีพรรณ ๖ ประการ กระทบที่ผ้ากัมพล

ผ้ากัมพลก็บรรเจิดจ้าขึ้น พระราชาทอดพระเนตรเห็นก็จำได้จึง

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผ้ากัมพลผืนนี้ของข้าพระองค์ ๆ

ให้เอกสาฎกพราหมณ์. มหาบพิตร พระองค์บูชาพราหมณ์ พราหมณ์

บูชาอาตมภาพ. พระราชาทรงเลื่อมใสว่า พราหมณ์รู้สิ่งที่เหมาะที่ควร

เราไม่รู้ จึงพระราชทานสิ่งที่เป็นของเกื้อกูลแก่มนุษย์ทุกอย่าง ๆ

ละ ๘ ชนิด ๘ ครั้ง ให้เป็นของประทานชื่อว่า สัพพัฏฐกทานแล้ว

ทรงตั้งให้เป็นปุโรหิต. พราหมณ์นั้นคิดว่า ชื่อว่าของ ๘ ชนิด ๘ ครั้ง

ก็เป็น ๖๔ ชนิด จึงสลากภัต ๖๔ ที่ ให้ทานรักษาศีลตลอดชีวิต

จุติจากชาตินั้นไปเกิดในสวรรค์ จุติจากสวรรค์กลับมาเกิดในเรือน

ของกุฏุมพี ในกรุงพาราณสี ในระหว่างกาลของพระพุทธเจ้า ๒

พระองค์ คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าโกนาคมน์ และพระกัสสปทศพล

ในกัปนี้. เขาเจริญวัยก็แต่งงานมีเหย้าเรือน วันหนึ่ง เดินเที่ยวพักผ่อน

ไปในป่า.

ก็สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้ากระทำจีวรกรรม (คือการ

เย็บจีวร) อยู่ที่ริมแม่น้ำ ผ้าอหวาต (ผ้าแผ่นบาง ๆ ที่ทาบไป

ตามชายสบงจีวรและสังฆาฏิ) ไม่พอจึงเริ่มจะพับเก็บ เขาเห็น

เข้าจึงกล่าวถามว่า เพราะอะไรจึงจะพับเก็บเสียเล่า เจ้าข้า. พระ

ปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า ผ้าอนุวาตไม่พอ. กุฏุมพีกล่าวว่า โปรด

เอาผ้าสาฎกนี้ทำเถิดเจ้าข้า. เขาถวายผ้าวาฎกแล้ว ตั้งความปรารถนา

ว่า ในที่ที่ข้าพเจ้าเกิดแล้ว ๆ ความเลื่อมไส ๆ ขอจงอย่าได้มี.

ครั้งนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้า เข้าไปบิณฑบาตแม้ในเรือนของเขา

ในเมื่อภรรยากับน้องสาวกำลังทะเลาะกัน. ทีนั้น น้องสาวของเขา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 285

ถวายบิณฑบาตแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว กล่าวอย่างนี้มุ่งถึงภรรยา

ของเขา ตั้งความปรารถนาว่า ขอให้เราห่างไกลหญิงพาลเห็นปานนี้

ร้อยโยชน์. ภรรยาของเขายืนอยู่ที่ลานบ้านได้ยินจึงคิดว่า พระรูป

นี้จงอย่าได้ฉันอาหารที่นางคนนี้ถวาย จึงจับบาตรมาเทบิณฑบาตทิ้ง

แล้วเอาเปือกตมมาใส่จนเต็ม. นางเห็นจึงกล่าวว่า หญิงพาลเจ้าจง

ด่าจงบริภาษเราก่อนเถิด การเทภัตตาหารจากบาตรข้องท่านผู้ได้

บำเพ็ญบารมีมา ๒ อสงไขยเห็นปานนี้แล้ว ใส่เปือกตมให้ไม่สมควร

เลย. ครั้งนั้น ภรรยาของเขาเกิดความสำนึกขึ้นได้จึงกล่าวว่า โปรด

หยุดก่อนเจ้าข้า แล้วเทเปือกตมออกล้างบาตรชะโลมด้วยผงเครื่อง

หอมแล้วได้ใส่ของมีรสอร่อย ๔ อย่างเต็มบาตรแล้ววางถวายบาตร

อันผุดผ่องด้วยเนยใส มีสีเหมือนกลีบปทุมอันลาดรดลงข้างบน

ในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า ตั้งความปรารถนาว่า สรีระของ

เราจงผุดผ่องเหมือนบิณฑบาตอันผุดผ่องนี้เถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้า

อนุโมทนาแล้วเหาะขึ้นสู่อากาศ.

ผัวเมียแม้ทั้งสองนั้นดำรงอยู่ชั่วอายุแล้วไปเกิดบนสวรรค์

จุติจากสวรรค์นั้นอีกครั้ง อุบาสกเกิดเป็นบุตรเศรษฐีมีสมบัติ

๘๐ โกฏิในกรุงพาราณสี ในครั้งพระกัสสปทศพลสัมมาสัมพุทธเจ้า

ฝ่ายภรรยาเกิดเป็นธิดาของเศรษฐีเหมือนกัน เมื่อเขาเจริญวัย

พวกญาติก็นำธิดาของเศรษฐีคนนั้นแหละมา. ด้วยอานุภาพของ

กรรมซึ่งมีวิบากอันไม่น่าปรารถนาในชาติก่อน พอนาง (ถูกส่งตัว)

เข้าไปยังตระกูลของสามี ทั่วทั้งสรีระเกิดกลิ่นเหม็นเหมือนส้วม

ที่เขาเปิดไว้ (ตั้งแต่ย่างเข้าไป) ภายในธรณีประตู. เศรษฐีกุมาร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 286

ถามว่า นี้กลิ่นของใคร ได้ฟังว่า ของลูกสาวเศรษฐี จึงกล่าวว่า

นำออกไป ๆ แล้วส่งกลับไปเรือนตระกูล โดยทำนองที่มา นางถูก

ส่งกลับมาถึง ๗ แห่งโดยทำนองนี้นั่นแล.

ก็สมัยนั้น พระกัสสปทศพลเสด็จปรินิพพานแล้ว พุทธศาสนิก-

ชนเริ่มก่อพระเจดีย์สูงโยชน์หนึ่งด้วยอิฐทองสีแดง ทั้งหนาทั้งแน่น

มีราคาก้อนละหนึ่งแสน. เมื่อเขากำลังสร้างพระเจดีย์กันอยู่ เศรษฐี

ธิดาคนนั้นคิดว่า เราต้องถูกส่งกลับถึง ๗ แห่งแล้ว จะประโยชน์

อะไรกับชีวิตของเรา จึงให้ยุบสิ่งของเครื่องประดับตัว ทำอิฐทอง

ยาวดอก กว้างคืบ สูง ๔ นิ้ว ต่อแต่นั้นถือก้อนหรดาลและมโนสิลา

เก็บเอาดอกบัว ๘ กำ ไปยังสถานที่ที่สร้างพระเจดีย์. ขณะนั้น๑เเถว

ก้อนอิฐแถวหนึ่งก่อมาต่อกันขาดอิฐแผ่นต่อเชื่อม นางจึงพูดกับช่างว่า

ท่านจงวางอิฐก้อนนี้ตรงนี้. นายช่างกล่าวว่า นางผู้เจริญ ท่านมาได้

เวลา จงวางเองเถิด. นางจึงขึ้นไปเอาน้ำมันผสมกับหรดาลและ

มโนสิลาวางอิฐติดอยู่ได้ด้วยเครื่องยึดนั้น แล้วบูชาด้วยดอกอุบล

๘ กำมือ ข้างบน (อิฐ) ไหว้แล้วตั้งความปรารถนาว่า ในที่ที่เราเกิด

กลิ่นจันทน์จงฟุ้งออกจากตัว กลิ่นอุบลจงฟุ้งออกจากปาก แล้วไหว้

พระเจดีย์ ทำประทักษิณแล้วกลับไป. ครั้นแล้วในขณะนั้นเอง

เศรษฐีบุตรก็เกิดสติปรารภถึงเศรษฐีธิดาที่เขานำมาเรือนครั้งแรก.

แม้ในพระนครก็มีนักขัตฤกษ์เสียงกึกก้อง เขาจึงพูดกับคนรับใช้ว่า

คราวนั้น เขานำเศรษฐีธิดามาในที่นี้ นางอยู่ที่ไหน. คนรับใช้กล่าวว่า

อยู่ที่เรือนตระกูลขอรับ นายท่านเศรษฐีบุตรกล่าวว่า พวกท่านจง

๑. ปาฐะว่า อิฏฺกา สนฺธึ ปริกฺขิปิตฺวา พม่าเป็น อิฏฺกาปนฺติ ปริกฺขิปิตฺวา แปลตามพม่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 287

พามา เราจักเล่นนักขัตฤกษ์กับนาง. พวกคนรับใช้ไปไหว้นางแล้ว

ยืนอยู่ถูกนางถามว่า พ่อทั้งหลายมาทำไมกัน จึงบอกเรื่องราวที่มา

นั้น นางกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย เราเอาเครื่องอาภรณ์บูชาพระเจดีย์

เสียแล้ว เราไม่มีเครื่องอาภรณ์ คนรับใช้เหล่านั้นจึงไปบอกแก่บุตร

เศรษฐี ๆ กล่าวว่า จงนำมาเถอะ นางจักได้เครื่องประดับนั้น พวกเขา

จึงไปนำนางมา กลิ่นจันทน์และกลิ่นอุบลขาบฟุ้งไปทั่วเรือน พร้อม

กับที่นางเข้าไปในเรือน. บุตรเศรษฐีจึงถามนางว่า ครั้งแรก กลิ่น

เหม็นฟุ้งออกจากตัวก่อน แต่บัดนี้ กลิ่นจันทน์ฟุ้งออกจากตัว กลิ่น

อุบลฟุ้งออกจากปากของเธอ นี่อะไรกัน. ธิดาเศรษฐีจึงบอกกรรม

ที่ตนกระทำตั้งแต่ต้น. บุตรเศรษฐีเลื่อมใสว่า คำสอนของพระพุทธเจ้า

ทั้งหลายเป็นนิยยานิกธรรมหนอ จึงเอาเครื่องปกคลุมที่ทำด้วยผ้ากัมพล

หุ้มพระเจดีย์ทองมีประมาณโยชน์หนึ่ง แล้วเอาดอกประทุมทองขนาด

เท่าล้อรถประดับที่พระเจดีย์ทองนั้น. ดอกประทุมทองที่แขวนห้อยไว้

มีขนาด ๑๒ ศอก. บุตรเศรษฐีนั้นดำรงอยู่ชั่วอายุในมนุษยโลก

นั้นแล้วเกิดในสวรรค์ จุติจากสวรรค์นั้น บังเกิดในตระกูลอำมาตย์

ตระกูลหนึ่ง (ซึ่งพำนักอยู่) ในที่ประมาณโยชน์หนึ่งจากกรุงพราณสี

ฝ่ายลูกสาวเศรษฐีจุติจากเทวโลกเกิดเป็นพระราชธิดาองค์ใหญ่

ในราชตระกูล.

เมื่อคนทั้งสองนั้นเจริญวัย เขาป่าวร้องงานนักขัตฤกษ์ใน

หมู่บ้านที่กุมารอยู่. กุมารนั้นกล่าวกะมารดาว่า แม่จ๋า แม่จงให้ผ้า

สาฎกฉัน ฉันจะเล่นนักขัตฤกษ์ มารดาได้นำผ้าที่ใช้แล้วมาให้.

เขาปฏิเสธว่า ผ้านี้หยาบจ้ะแม่. นางก็นำผืนอื่นมาให้ แม้ผ้าผืนนั้น

เขาก็ปฏิเสธ. ทีนั้น มารดาจึงกล่าวกะเขาว่า พ่อ เราเกิดในเรือน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 288

เช่นนี้ พวกเราไม่มีบุญที่จะได้ผ้าเนื้อละเอียดกว่านี้. เขากล่าวว่า

แม่จ๋า ถ้าอย่างนั้น ฉันจะไปยังที่ที่จะได้. มารดากล่าวว่า ลูกเอ๋ย

แม่ปรารถนาให้เจ้าได้ราชสมบัติในกรุงพาราณสีวันนี้ทีเดียวน่ะ.

เขาไหว้มารดาแล้วกล่าวว่า ฉันไปละแม่. มารดาว่า ไปเถอะพ่อ

นัยว่ามารดาของเขามีความคิดอย่างนี้ว่า มันจะไปไหน คงจักนั่งที่นี่

ที่นั่นอยู่ในเรือนหลังนี้แหละ. ก็กุมารนั้นออกไปตามกำหนดของบุญ

ไปถึงกรุงพาราณสี นอนคลุมศีรษะอยู่บนแผ่นมงคลสิลาอาสน์

ในพระราชอุทยาน. ก็พระเจ้าพาราณสีนั้น สวรรคตแล้วเป็นวันที่

๗. อำมาตย์ทั้งหลายทำการถวายพระเพลิงแล้วนั่งปรึกษาอยู่ที่

พระลานหลวงว่า พระราชามีแต่พระธิดา ไม่มีพระราชโอรส

ราชสมบัติไม่มีพระราชา ไม่สมควร ใครจะเป็นพระราชา ต่าง

พูดกันว่า ท่านเป็น ท่านเป็น. ปุโรหิตกล่าวว่า ไม่ควรเลือกมาก

เอาเถอะ พวกเราจักเชิญเทวดาแล้วเสี่ยงบุษยรถ (รถเสี่ยงปล่อยไป

เพื่อหาผู้ที่สมควรจะครองราชย์ เมื่อพระราชาองค์ก่อนสวรรคตแล้ว

ไม่มีรัชทายาท) ไป. อำมาตย์เหล่านั้นเทียมม้าสินธพ ๔ ตัว มีสีดังดอกโกมุท

แล้วตั้งเครื่องราชกกุธภัณฑ์ ๕ อย่าง กับเศวตรฉัตรไว้บนรถนั่นแหละ

ปล่อยบุษยรถนั้นไปให้ประโคมดนตรีไปข้างหลัง. รถออกทางประตูด้าน

ทิศปราจีน บ่ายหน้าไปทางพระราชอุทยาน. อำมาตย์บางพวกกล่าวว่า

รถบ่ายหน้าไปทางพระราชอุทยาน เพราะความคุ้นเคย พวกท่านจงให้

กลับมา ปุโรหิตกล่าวว่า อย่าให้กลับ. รถทำประทักษิณกุมาร

แล้ว ได้หยุดเตรียมพร้อมที่จะให้ขึ้น ปุโรหิตเลิกชายผ้าห่มตรวจ

พื้นเท้ากล่าวว่า ทวีปนี้จงยกไว้ ผู้นี้สมควรครองราชย์ในทวีปทั้ง ๔

มีทวีปสองพันเป็นบริวาร แล้วสั่งให้ประโคมดนตรีขึ้น ๓ ครั้ง ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 289

พวกท่านจงประโคมดนตรีขึ้นอีก.

ครั้งนั้น กุมารเปิดหน้ามองดูแล้วพูดว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่าน

มาด้วยกิจกรรมอะไรกัน. พวกอำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ

ราชสมบัติถึงแก่พระองค์. กุมาร พระราชาไปไหน. อำมาตย์-

ทิวงคตแล้ว นาย. กุมาร ล่วงไปกี่วันแล้ว. อำมาตย์ วันนี้เป็นวันที่ ๗.

กุมาร พระราชโอรสหรือพระราชธิดาไม่มีหรือ ? อำมาตย์ ข้าแต่

สมมติเทพ พระราชธิดามี พระราชโอรสไม่มี. กุมาร เราจัก

ครองราชย์. อำมาตย์เหล่านั้นสร้างมณฑปสำหรับอภิเษกในขณะนั้น

ทันที ประดับพระราชธิดาด้วยเครื่องอลังการทุกอย่างนำมายัง

พระราชอุทยานทำการอภิเษกกับกุมาร.

ครั้งนั้นเมื่อพระกุมารทำการอภิเษกแล้ว ประชาชนนำผ้ามี

ราคาแสนหนึ่งมาถวาย. พระกุมารกล่าวว่า นี้อะไรพ่อ. พวกอำมาตย์

ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ผ้านุ่งพระเจ้าข้า, พระกุมาร เนื้อหยาบมิใช่

หรือ พ่อ. ผ้าอื่นที่เนื้อละเอียดกว่านี้ไม่มีหรือ ? อำมาตย์ ข้าแต่

สมมติเทพ ในบรรดาผ้าที่มนุษย์ทั้งหลายใช้สอย ผ้าที่เนื้อละเอียด

กว่านี้ไม่มี พระเจ้าข้า. พระกุมาร พระราชาของพวกท่านทรง

นุ่งผ้าเห็นปานนี้หรือ ? อำมาตย์ พระเจ้าข้า ข้าแต่สมมติเทพ.

พระกุมาร พระราชาของพวกท่านคงจะไม่มีบุญ พวกท่านจงนำ

พระเต้าทองมา เราจักได้ผ้า. อำมาตย์เหล่านั้นนำพระเต้าทองมาถวาย.

พระกุมารนั้นลุกขึ้นล้างพระหัตถ์บ้วนพระโอฐ. เอาพระหัตถ์วักนำ

สาดไปทางทิศตะวันออก. ในขณะนั้นเอง ต้นกัลปพฤกษ์ก็ชำแรก

แผ่นดินทึบผุดขึ้นมา ๘ ต้น ทรงวักน้ำสาดไปอีกทั่วทิศ ๓ ทิศอย่างนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 290

คือ ทิศใต้ ทิศตะวันตก ทิศเหนือ. ต้นกัลปพฤกษ์ผุดขึ้นในทิศทั้ง ๔

ทิศละ ๘ ต้น รวมเป็น ๓๒ ต้น. พระกุมารนั้นทรงนุ่งผ้าทิพผืนหนึ่ง

ทรงห่มผืนหนึ่ง แล้วรับสั่งว่า พวกท่านจงเที่ยวตีกลองป่าวร้อง

อย่างนี้ว่า ในแว่นแคว้นของพระเจ้านันทราช พวกสตรีที่ทำหน้าที่

กรอด้าย อย่ากรอด้าย ดังนี้แล้วให้ยกฉัตรขึ้นทรงประดับตกแต่ง

พระองค์ ทรงขึ้นช้างตัวประเสริฐเสด็จเข้าพระนคร ขึ้นสู่ปราสาท

เสวยมหาสมบัติ.

ครั้นกาลเวลาล่วงไปด้วยอาการอย่างนี้ วันหนึ่งพระเทวีเห็น

มหาสมบัติของพระราชาแล้ว ทรงแสดงอาการของความกรุณา

ว่าโอ ท่านผู้มีตปะ ถูกพระราชาตรัสถามว่า นี่อะไรกันนะ เทวี

จึงทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ สมบัติของพระองค์ยิ่งใหญ่ ในอดีตกาล

พระองค์ได้ทรงเชื่อต่อพระพุทธะทั้งหลายได้ทำกรรมดีไว้ เดี๋ยวนี้

ยังไม่ทรงกระทำกุศลอันจะเป็นปัจจัยแก่อนาคต พระราชาตรัสว่า

เราจักให้แก่ใคร ผู้มีศีลไม่มี. พระเทวีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ชมพู-

ทวีปไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลายดอก พระองค์โปรดทรงตระ

เตรียมทานไว้เท่านั้น หม่อมฉันจะขอพระอรหันต์ในวันรุ่งขึ้น พระ-

ราชารับสั่งให้ตระเตรียมทานไว้ที่ประตูด้านทิศปราจีน. พระเทวี

ทรงอธิษฐานองค์อุโบสถแต่เช้าตรู่บ่ายหน้าไปทางทิศตะวันออก

หมอบลงบนปราสาทชั้นบนแล้วกล่าวว่า ถ้าพระอรหันต์มิอยู่ในทิศนี้

พรุ่งนี้ขอนิมนต์มารับภิกษาหารของข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด. ในทิศ

นั้นไม่มีพระอรหันต์ก็ได้ให้สักการะที่เตรียมไว้นั้น แก่คนกำพร้า

และยากาจน ในวันรุ่งขึ้นตระเตรียมทานไว้ทางประตูทิศใต้แล้วได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 291

กระทำเหมือนอย่างนั้น ในวันรุ่งขึ้นทางประตูทิศตะวันตกก็ได้

กระทำเหมือนอย่างนั้น. ก็ในวันที่ทรงตระเตรียมไว้ทางประตู

ทิศเหนือ พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นพี่ชายของพระปัจเจก-

พุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ ผู้เป็นโอรสของพระนางปทุมวดี อยู่ในป่าหิมวันต์

เรียกพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้เป็นน้องชายซึ่งถูกพระเทวีนิมนต์อย่างนั้น

มาว่า ท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พระเจ้านันทราชนิมนต์ท่านทั้งหลาย

จงรับนิมนต์ของท้าวเธอเถิด. พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นรับนิมนต์

แล้ว ในวันรุ่งขึ้นล้างหน้าที่สระอโนดาดแล้วเหาะไปลงที่ประตู

ทิศเหนือ.

พวกมนุษย์มากราบทูลแก่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ

พระปัจเจกพุทธเจ้า ๕๐๐ องค์ มาแล้วพระเจ้าข้า. พระราชาเสด็จ

ไปพร้อมกับพระเทวี ไหว้แล้วรับบาตรนิมนต์พระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลายขึ้นสู่ปราสาท ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น

บนปราสาทนั้น ในเวลาเสร็จภัตตกิจ พระราชาหมอบที่ใกล้เท้า

พระสังฆเถระ พระเทวีหมอบที่ใกล้เท้าพระสังฆนวกะ แล้วกล่าวว่า

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจักไม่ลำบากด้วยเรื่อง

ปัจจัย และข้าพเจ้าทั้งหลายก็จักไม่ทำบุญให้เสื่อม ขอท่านทั้งหลาย

จงให้ปฏิญญาเพื่ออยู่ในที่นี้ ตลอดอายุของข้าพเจ้าทั้งหลายเถิด

ครั้นให้ท่านรับปฏิญญาแล้วจึงให้ตกแต่งสถานที่สำหรับ. อยู่อาศัย

แก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้นในพระอุทยาน โดยอาการทั้งปวง

คือ บรรณศาลา ๕๐๐ พลัง ที่จงกรม ๕๐๐ ที่ แล้วให้ท่านอยู่ใน

ที่นั้นนั่นแล. ครั้นกาลเวลาล่วงไปด้วยประการอย่างนั้น เมืองชายแดน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 292

ของพระราชาก่อการกำเริบขึ้น. พระองค์ทรงโอวาทพระเทวีว่า

พี่จะไประงับเมืองชายแดน เธออย่าละเลยพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย

แล้วเสด็จออกไปจากพระนคร เมื่อพระองค์ยังไม่เสด็จกลับ พระ

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายก็สิ้นอายุสังขาร.

พระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า เล่นฌานตลอดราตรีทั้ง ๓ ย่าม

ในเวลาอรุณขึ้น ยืนเหนี่ยวแผ่นกระดานสำหรับยืดปรินิพพานด้วย

อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แม้พระปัจเจกพุทธเจ้าที่เหลือทั้งหมด

ทีเดียว ก็ปรินิพพานแล้วโดยวิธีนั้น. ในวันรุ่งขึ้น พระเทวีให้กระทำ

ที่นั่งของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ให้ชะอุ่มด้วยของสดเขียว

โปรยดอกไม้ จุดเครื่องหอม นั่งคอยพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายมา

เมื่อไม่เห็นมาจึงส่งราชบุรุษไปว่า พ่อจงไป จงรู้ว่า พระผู้เป็นเจ้า

ทั้งหลายไม่มีความผาสุกอย่างไร ? ราชบุรุษนั้นไปแล้วเปิดประตู

บรรณศาลาของพระมหาปทุมปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อไม่พบในบรรณศาลา

นั้น จึงไปยังที่จงกรม เห็นท่านยืนพิงแผ่นกระดานสำหรับยึดจึงไหว้

แล้วกล่าวว่า ได้เวลาแล้วเจ้าข้า. สรีระของท่านผู้ปรินิพานแล้ว

จักพูดได้อย่างไร. ราชบุรุษนั้นคิดว่าเห็นจะหลับ จึงเดินไปเอามือ

ลูบที่หลังเท้า รู้ว่าปรินิพพานแล้ว เพราะเท้าทั้งสองเย็นและแข็ง

จึงไปยังสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้าองค์ที่ ๒ เมื่อรู้ว่าองค์ที่ ๒

ปรินิพพานแล้วอย่างนั้น ก็ไปยังสำนักของพระปัจเจกพุทธเจ้า

องค์ที่ ๓ รู้ว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทุกองค์ปรินิพพานแล้วด้วยประการ

ดังนี้ จึงไปยังราชสกุล พระเทวีตรัสถามว่า พระปัจเจกพุทธเจ้า

ทั้งหลายไปไหนพ่อ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี พระปัจเจกพุทธเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 293

ทั้งหลาย ปรินิพพานแล้ว. พระเทวีทรงกรรแสงคร่ำครวญเสด็จ

ออกไปที่บรรณศาลานั้นพร้อมกับชาวเมือง รับสั่งให้เล่นสาธุกีฬา

(การเล่นที่เกี่ยวกับเรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) กระทำฌาปนกิจ

สรีระของพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วเก็บธาตุสร้างพระเจดีย์

ไว้. พระราชาทรงปราบเมืองชายแดนให้สงบแล้วเสด็จกลับมา

รับสั่งถามพระเทวีผู้เสด็จมาต้อนรับว่า แม่มหาจำเริญ เธอไม่

ประมาท (คือไม่ละเลย) ในพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายหรือ ?

พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายสบายดีหรือ ? พระเทวีทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ

พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลายปรินิพพานเสียแล้ว. พระราชาทรงพระดำริ

ว่า มรณะยังเกิดแก่บัณฑิตทั้งหลายเห็นปานนี้ พวกเราจะพ้นไป

แต่ไหน พระองค์ไม่เสด็จไปพระนคร เสด็จเข้าไปยังพระราชอุทยาน

เลยทีเดียว รับสั่งให้เรียกพระโอรสองค์ใหญ่มาแล้วมอบราชสมบัติ

แก่พระโอรสนั้นแล้วโอวาท. ส่วนพระองค์ทรงผนวชเป็นสมณะ

ประเภทหนึ่ง. ฝ่ายพระเทวีเมื่อพระราชาทรงผนวชแล้วทรงดำริว่า

เราจะทำอะไร จึงทรงผนวชอยู่ในพระราชอุทยานนั้นเอง พระราชา

และพระเทวีแม้ทั้งสองนั้น บำเพ็ญฌานได้จุติจากอัตตภาพนั้นไป

บังเกิดในพรหมโลก.

เมื่อคนทั้งสองนั้นอยู่ในพรหมโลกนั้นนั่นแหละ พระศาสดา

ของเราทั้งหลายอุบัติขึ้นในโลกประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ

เสด็จเข้าไปยังกรุงราชคฤห์โดยลำดับ. เมื่อพระศาสดาประทับ

อยู่ในกรุงราชคฤห์นั้น ปิบผลิมาณพนี้ บังเกิดในท้องภรรยาหลวง

ของกบิลพราหมณ์ในพราหมณคามชื่อมหาติตถะ ในมคธรัฐ นาง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 294

ภัททา กาปิลานี นี้บังเกิดในท้องของภรรยาหลวงของพราหมณ์

โกลิยโคตรในสาคลนครในมคธรัฐ. เมื่อชนทั้งสองนั้นเติบโตขึ้น

โดยลำดับ เมื่อนางภัตทามีอายุถึงปีที่ ๑๖ ในปีที่ ๒๐ ของปิบผลิ-

มาณพ บิดามารดามองดูบุตรแล้วแค่นได้อย่างหนักว่า พ่อ เจ้า

ก็เติบโตแล้วธรรมดาว่าตระกูลวงศ์ จำต้องให้ดำรงอยู่. มาณพ

กล่าวว่า ท่านทั้งสองอย่าได้กล่าวถ้อยคำเห็นปานนี้เข้าหูลูกเลย

ลูกจะปฏิบัติตราบเท่าที่ท่านทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ ต่อเมื่อท่านทั้งสอง

ล่วงลับไปแล้ว ลูกจักบวช. บิดามารดาให้เวลาล่วงเลยไป ๒ - ๓ วัน

ก็กล่าวอีก แม้มาณพนั้นก็ปฏิเสธเหมือนเดิมนั้นแหละ ตั้งแต่นั้น

มารดาได้กล่าว (ถึงการแต่งงาน) อยู่เรื่อย ๆ ทีเดียว.

มาณพคิดว่า เราจะยังมารดาให้ยินยอม จึงเอาทองคำสี

สุกปลั่งพันลิ่ม ให้ช่างทองทำรูปหญิงคนหนึ่ง ในเวลาเสร็จงานมี

การขัดและบุบเป็นต้นซึ่งรูปหญิงนั้น จึงให้รูปหญิงนั้นนุ่งผ้าแดง

ประดับด้วยดอกไม้อันสมบูรณ์ด้วยสี และเครื่องประดับต่าง ๆ

แล้วให้เรียกมารดามาพูดว่า คุณแม่ เมื่อลูกได้อารมณ์เห็นปานนี้

จึงจะแต่งงาน ถ้าไม่ได้จักไม่แต่ง. นางพราหมณีเป็นคนมีปัญญา

จึงคิดว่า บุตรของเราเป็นผู้มีบุญ ให้ทานไว้แล้ว สร้างอภินิหาร

ไว้แล้ว เมื่อจะกระทำบุญคงจะไม่ทำคนเดียว หญิงผู้ทำบุญร่วมกับ

บุตรของเรานี้ จักมีส่วนเปรียบด้วยทองคำแน่แท้ จึงให้เรียกพราหมณ์

๘ คนมา เลี้ยงดูให้อิ่มหนำด้วยสิ่งที่ต้องการทุกอย่าง ให้ยกรูปทองคำ

ขึ้นตั้งบนรถแล้วส่งไปว่า พ่อทั้งหลายจงพากันไป พบเห็นทาริกา

เห็นปาน (ดังรูปทอง) นี้ ในตระกูลที่เสมอกันกับเราโดยชาติ โคตร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 295

และโภคทรัพย์ ในที่ใด จงให้รูปทองนี้แหละให้เป็นบรรณการ ใน

ที่นั้น.

พราหมณ์เหล่านั้นพากันออกไปด้วยตระหนักว่า นี้เป็น

กิจกรรมชื่อว่าของพวกเรา จึงคิดว่าจะไปที่ไหน ตกลงกันว่า ธรรมดา

มัททรัฐเป็นบ่อเกิดแห่งสตรี พวกเราจักไปมัททรัฐ ดังนี้แล้ว จึงได้

ไปยังสาคลนครในมัททรัฐ. ครั้งนั้น แม่นมของนางภัตทา ให้นาง-

ภัททาอาบน้ำแล้วแต่งตัวให้นั่งในห้องอันโอ่อ่าแล้ว (ตนเอง) จะไป

อาบน้ำ เห็นรูปนั้นจึงขู่ด้วยเข้าใจว่า ธิดาแห่งแม่เจ้าของเรามาที่นี้

กล่าวว่า แน่ะแม่หัวดื้อ มาที่นี่ทำไม แล้วเงื้อฝ่ามือ ที่ข้างแก้ม (พร้อม

กับ) พูดว่า จงรีบไป. มือสะท้อนเหมือนติหิน. แม่นมนั้นรู้ว่าเป็น

ของแข็งด้วยอาการอย่างนี้จึงเลี่ยงไปพูดว่า เราเห็นรูปทองเข้าก็

เกิดความเข้าใจว่าธิดาแห่งแม่เจ้าของเรา ก็นางนี้ แม้จะเป็นผู้รับ

ผ้านุ่งของธิดาแห่งแม่เจ้าของเรา ก็ยังไม่เหมาะสม. ทีนั้น พวกมนุษย์

เหล่านั้นพากันห้อมล้อมนางแล้วถามว่า ธิดาแห่งเจ้านายของท่าน

เห็นปานนี้ไหม ? หญิงแม่นมพูดว่า นางนี่น่ะหรือ ธิดาแห่งแม่เจ้า

ของเรางามยิ่งกว่านางนี้ร้อยเท่า พันเท่า เมื่อเธอนั่งอยู่ในห้อง

ประมาณ ๑๒ ศอก กิจด้วยดวงประทีปไม่มี เธอขจัดความมืดด้วย

แสงสว่างจากสรีระนั่นแหละ. พวกมนุษย์เหล่านั้นกล่าวว่า ถ้า

อย่างนั้น จงมากันเถอะ แล้วถือเครื่องบูชา ยกรูปทองคำขึ้นบนรถ

แล้วหยุดอยู่ที่ประตูบ้านของพราหมณ์โกสิยโคตร แจ้งให้ทราบ

ถึงการมา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 296

พราหมณ์ทำปฏิสันถารแล้วถามว่า พวกท่านมาจากไหน ?

ชนเหล่านั้นตอบว่า มาจากเรือนของกบิลพราหมณ์ ในมหาติดถคาม

ในมคธรัฐ. พราหมณ์ถาม มาเพราะเหตุไร ? ชนเหล่านั้นตอบ

เพราะเหตุชื่อนี้ พราหมณ์กล่าวว่า งามละพ่อทั้งหลาย พราหมณ์

ของพวกเรามีชาติ โคตร และทรัพย์สมบัติเสมอกัน เราจักให้ทาริกา

(ลูกสาว) ดังนี้แล้วก็รับเครื่องบรรณาการ. ชนเหล่านั้นส่งข่าวแก่

กบิลพราหมณ์ว่า ได้ทาริกาแล้ว ท่านจงทำสิ่งที่จะต้องทำ. กบิล-

พราหมณ์ได้สดับข่าวนั้นแล้วจึงบอกแก่ปิบผลิมาณพว่า เขาว่าได้

ทาริกาแล้ว. มาณพคิดว่า เราคิดว่าจักไม่ได้ คนเหล่านี้พูดว่า ได้แล้ว

เราไม่มีความต้องการ จักส่งหนังสือไป (ให้รู้) แล้วไฟในที่ลับ

เขียนหนังสือว่า แม่ภัททาจงได้คู่ครองเรือนอันสมควรแก่ชาติ โคตร

และทรัพย์สมบัติของตน เราจักออกบวช จะได้ไม่เดือดร้อนใน

ภายหลัง. แม้นางภัททาได้ฟังว่า เขาใคร่จะให้เราแก่คนโน้น จึงไป

ในที่ลับเขียนหนังสือว่า ลูกเจ้าจงได้คู่ครองเรือนอันสมควรแก่ชาติ

โคตร และทรัพย์สมบัติของตน เราจักออกบวช จะได้ไม่เดือดร้อน

ในภายหลัง. หนังสือทั้งสองฉบับมาประจวบกันในระหว่างทาง.

ชนเหล่านั้น เมื่อถูกฝ่ายนางภัททาถามว่า นี้หนังสือของใคร. ก็

กล่าวว่าปิบผลิมาณพส่งให้นางภัตทา และเมื่อถูกฝ่ายปิบผลิมาณพ

ถามว่า นี้ของใคร ก็กล่าวว่า นางภัททาส่งให้ปิบผลิมาณพ จึงพากัน

อ่านหนังสือ แม้ทั้งสองฉบับแล้วกล่าวว่า ท่านทั้งหลายจงดูการ

กระทำของเด็ก ๆ แล้วฉีกทิ้งไปในป่า เขียนหนังสืออันมีข้อความ

เสมอกันส่งไปให้คนทั้งสองนั้น ทั้งฝ่ายนี้และฝ่ายโน้น ดังนั้น คน

ทั้งสองนั้นไม่ปรารถนาเลย ก็ได้มา (อยู่) รวมกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 297

ในวันนี้แล แม้มาณพก็เอาพวงดอกไม้พวงหนึ่งวางไว้ แม้

นางภัททากาลาปิลานี้ก็เอาพวงดอกไม้พวงหนึ่งวางไว้. คนแม้ทั้งสอง

บริโภคอาหารเย็นแล้ว วางพวงดอกไม้เหล่านั้นไว้กลางที่นอน

มาพร้อมกันด้วยหวังใจว่าจักขึ้นที่นอน มาณพขึ้นที่นอนทางด้านขวา

นางภัททาขึ้นที่นอนทางด้านซ้ายแล้วกล่าวว่า ดอกไม้ในด้านของ

คนใดเหี่ยว พวกเราจักรู้ได้ว่า ราคจิตเกิดขึ้นแล้วแก่ผู้นั้น เพราะ

เหตุนั้น พวงดอกไม้นี้เราจึงไม่แตะต้อง. ก็คนทั้งสองนั้นนอนไม่หลับ

ตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม เพราะกลัวจะถูกตัวของกันและกัน จนราตรี

ล่วงไป อนึ่ง ในเวลากลางวันก็ไม่มีแม้สักว่าการยิ้มหวัว. คนทั้งสอง

นั้นไม่เกี่ยวข้องด้วยเรื่องโลกามิส ไม่จัดการทรัพย์สมบัติตราบเท่า

ที่บิดามารดายังมีชีวิตอยู่ เมื่อบิดามารดากระทำกาลกิริยาไปแล้ว

จึงจัดการ. ปิบผลิมาณพมีสมบัติ (คิดเป็นเงิน) ๘๗ โกฏิ เฉพาะผง

ทองคำที่ใช้ขัดสรีระแล้วทิ้งไปวันหนึ่ง ๆ ควรได้ประมาณ ๑๒

ทะนาน โดยทะนานมคธ มีเหมืองน้ำประมาณ ๖๐ แห่ง ติดเครื่อง

ยนต์ มีการงานที่ทำ (กินเนื้อที่) ประมาณ ๑๒ โยชน์ มีหมู่บ้านทาส

(๑๔ บ้าน) ขนาดเท่าเมืองอนุราธบุรี มีหัตถานึกถือกองช้าง ๑๔ กอง

มีอัสสานึกคือกองม้า ๑๔ กอง มีรถานึกดือกองรถ ๑๔ กอง.

วันหนึ่ง ปิบผลิมาณพนั้นขึ้นม้าที่ประดับตกแต่งแล้ว แวดล้อม

ด้วยมหาชนไปยังที่ทำงาน ยืนอยู่ปลายนา เห็นพวกนกมีกาเป็นต้น

คุ้ยเขี่ยสัตว์มีไส้เดือนเป็นต้น จากรอยไถเอามากิน จึงถามว่า พ่อ

ทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้กินอะไร ? มหาชนตอบว่า นายท่าน มันกิน

ไส้เดือน. มาณพถามว่า บาปที่สัตว์เหล่านี้ทำเป็นของใคร ? มหาชน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 298

ตอบว่า นายท่าน บาปเป็นของท่าน. มาณพคิดว่า ถ้าบาปที่สัตว์เหล่านี้

กระทำตกเป็นของเราไซร้ ทรัพย์ ๘๗ โกฏิ จักทำอะไรแก่เรา

การงาน ๑๒ โยชน์ เหมืองน้ำติดเครื่องยนต์ ๖๐ แห่ง หมู่บ้านทาส

(๑๔ แห่ง) จักทำอะไรแก่เรา เราจะมอบทรัพย์สมบัติทั้งหมดนี้

แก่ภัตทากาปิลานี แล้วออกบวช.

ขณะนั้น นางภัตทากาปิลานี ให้หว่านเมล็ดงา ๓ หม้อ ลง

ในระหว่างไร่ พวกแม่นมห้อมล้อมนั่งอยู่เห็นพวกกากินสัตว์ใน

เมล็ดงาจึงถามว่า แม่ทั้งหลาย สัตว์เหล่านี้กินอะไร ? พวกแม่นม

ตอบว่า แม่เจ้า พวกมันกินสัตว์. นางถามว่า อกุศลจะเป็นของใคร ?

พวกแม่นมตอบว่า เป็นของแม่เจ้า จ๊ะ. นางคิดว่า เราได้ผ้า ๔ ศอก

และข้าวสุกประมาณหนึ่งทะนานก็ควร ก็ถ้าอกุศลนี้อันชนมีประมาณ

เท่านี้กระทำจะเป็นของเราไซร้ เราไม่อาจยกหัวขึ้นจากวัฏฏะ

ตั้ง ๑,๐๐๐ ภพ เมื่อลูกเจ้าพอมาถึง เราจะมอบทรัพย์สมบัติทั้งหมด

แก่ลูกเจ้านั้นแล้วออกบวช.

มาณพมาแล้วอาบน้ำขึ้นปราสาทนั่งบนแท่นอันควรค่ามาก.

ครั้งนั้น พวกพ่อครัวจัดแจงโภชนะอันสมควรแก่พระเจ้าจักรพรรดิ.

ชนแม้ทั้งสองบริโภคแล้ว เมื่อปริวารชนออกไปแล้ว ก็ไปในที่รโหฐาน

นั่งในที่ที่มีความผาสุก. ลำดับนั้น มาณพกล่าวกะนางภัททาว่า

แม่ภัททา เธอเมื่อจะมาเรือนนี้ นำเอาทรัพย์มาเท่าไร. นางภัททา

กล่าวว่า พ่อเจ้า นำมาห้าหมื่นห้าพันเล่มเกวียน. มาณพกล่าวว่า

ทรัพย์ทั้งหมดนั่น กับทรัพย์ ๘๗ โกฏิ ในเรือนนี้ และสมบัติอันต่าง

ด้วยเหมือง ๖๐ เหมืองเป็นต้นที่ติดเครื่องยนต์. ทั้งหมด เราขอมอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 299

แก่เธอเท่านั้น. นางภัททากล่าวว่า พ่อเจ้า ก็ท่านเล่า จะไปไหน

มาณพ เราจักบวช นางภัททา แม้เราก็นั่งคอยการมาของท่านอยู่

แม้เราก็จักบวช. ภพทั้งสามปรากฏแก่คนทั้งสองนั้นเหมือนกุฎี

ใบไม้ถูกไฟไหม้ฉะนั้น. คนทั้งสองนั้นให้นำผ้ากาสายะ และบาตรดิน

มาจากตลาด ต่างปลงผมให้กันและกัน กล่าวว่า การบวชของเรา

ทั้งสองอุทิศพระอรหันต์ในโลก แล้วสอดบาตรลงในถุงคล้องที่ไหล่

ลงจากปราสาท. บรรดาทาสหรือกรรมกรทั้งหลายในเรือน ใคร ๆ

จำไม่ได้.

ครั้งนั้น ชนหมู่บ้านทาส จำคนทั้งสองนั้นซึ่งออกจากบ้าน

พราหมณ์กำลังเดินไปทางประตูบ้านทาสได้ ด้วยอากัปกิริยา

ท่าทาง ชนเหล่านั้นร้องไห้หมอบลงที่เท้ากล่าวว่า นายท่าน ท่าน

จะทำให้พวกข้าพเจ้าไร้ที่พึ่งหรือ. คนทั้งสองกล่าวว่า แน่ะพนาย

เราทั้งหลายเห็นว่า ภพทั้งสามเหมือนบรรณศาลาถูกไฟไหม้จึง

ได้บวช ถ้าเราจะการทำบรรดาพวกท่านคนหนึ่ง ๆ ให้เป็นไท

แม้ ๑๐๐ ปี ก็ไม่พอ พวกท่านเท่านั้น จงล้างศีรษะของท่านเป็นไท

เลี้ยงชีวิตอยู่เถิด เมื่อชาวบ้านทาสเหล่านั้นคร่ำครวญอยู่นั่นแหละ

ก็หลีกไปแล้ว. พระเถระเดินไปข้างหน้าหันกลับมาแลดูพลางคิดว่า

ภัททากาปิลานี นี้ เป็นหญิงมีค่าควรแก่ชมพูทวีปทั้งสิ้น เดินมาข้าง

หลังเรา มีฐานะอยู่ที่ใคร ๆ จะพึงคิดว่า ชนเหล่านี้ แม้บวชแล้ว

ก็ไม่อาจแยกกัน กระทำไม่สมควรดังนี้ เกิดความคิดว่า ใคร ๆ

ทำใจให้ประทุษร้ายในเราทั้งหลาย จะพึงเต็มในอบาย ควรที่เรา

จะละนางไปเสีย.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 300

พระเถระเดินไปข้างหน้าเห็นทาง ๒ แพร่ง ได้หยุดอยู่

ที่หัวทางนั้น. ฝ่ายนางภัททามาแล้วไหว้ยืนอยู่. ครั้งนั้น พระเถระ

กล่าวกะนางภัททาว่า แม่นางเอย มหาชนเห็นสตรีเช่นเจ้าเดินมา

ข้างหลังเราจะคิดว่า ชนเหล่านี้แม้บวชแล้วก็ไม่อาจแยกกัน แล้วมี

จิตประทุษร้ายในพวกเรา จะพึงเป็นผู้เต็มอยู่ในอบาย พวกเรา

ยืนอยู่แล้วในทาง ๒ แพร่งนี้ ท่านจงถือเอาทางสายหนึ่ง ฉันจะไป

ทางอีกสายหนึ่ง. นางภัททากล่าวว่า จริงสิ พ่อเจ้า ธรรมดามาตุคาม

เป็นมลทินของบรรพชิตทั้งหลาย ชนทั้งหลายจักแสดงโทษของ

พวกเราว่า คนเหล่านี้แม้บวชแล้วก็ยังไม่แยกกัน ท่านจงถือเอาทาง

สายหนึ่ง ฉันจะถือเอาสายหนึ่ง พวกเราจักแยกกัน ดังนี้แล้วทำ

ประทักษิณ ๓ ครั้ง ไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ในที่ทั้ง ๔ แห่ง

(คือ ข้างหน้า ข้างหลัง ข้างซ้าย ข้างขวา) ประคองอัญชลีอันงดงาม

ด้วยรวมนิ้วทั้งสิบ แล้วกล่าวว่า ความสนิทสนมฐานมิตร ซึ่งได้

ทำไว้ตลอดกาลนานประมาณแสนกัป จำแตกในวันนี้ แล้วกล่าวว่า

ท่านมีชาติเบื้องขวา ทางขวาสมควรแก่ท่าน ฉันชื่อว่าเป็นมาตุคาม

มีชาติเบื้องซ้าย ทางซ้ายสมควรแก่ฉัน ดังนี้ ไหว้แล้วเดินทางไป.

ในเวลาที่ท่านทั้งสองนั้นแยกทางกัน มหาปฐพีนี้ได้สะเทือนเลื่อนลั่น

เหมือนจะพูดว่า เราสามารถรองรับเขาจักรวาล และเขาสิเนรุได้

แต่ไม่อาจรองรับคุณทั้งสองของพวกท่านได้. ในอากาศมีเสียงเหมือน

ฟ้าผ่า ภูเขาจักรวาลก็โอนโน้มลง

แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับนั่งในพระคันธกุฎี ณ

พระเวฬุวันมหาวิหาร ได้สดับเสียงแผ่นดินไหวจึงทรงพระรำพึงว่า

แผ่นดินไหวเพื่อใครหนอ ทรงทราบว่า ปิบผลิมาณพ และนางภัททา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 301

กาปิลานี ละสมบัติอันนับไม่ได้แล้วบวชอุทิศเรา แผ่นดินไหวนี้

เกิดด้วยกำลังแห่งคุณของตนแม้ทั้งสอง ในตอนที่คนทั้งสองนั้นแยก

ทางกัน แม้เราก็ควรทำการสงเคราะห์คนทั้งสองนี้ จึงเสด็จออกจาก

พระคันธกุฎี ลำพังพระองค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร ไม่ตรัส

เรียกใคร ๆ ในบรรดาพระมหาสาวก ๘๐ องค์ เสด็จไปต้อนรับ

สิ้นทาง ๓ คาวุต ประทับนั่งขัดสมาธิที่โคนต้นพหุปุตตกนิโครธ

ระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา. ก็เมื่อประทับนั่ง มิได้ประทับ

นั่งเหมือนพระผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรรูปหนึ่ง ทรงถือเพศเป็นพระ-

พุทธเจ้า ประทับนั่งเปล่งพระรัศมีทึบประมาณ ๘๐ ศอก. ดังนั้น.

ในขณะนั้น พระพุทธรัศมีมีประมาณเท่าร่มใบไม้ ล้อรถ แลเรือนยอด

เป็นต้น วิ่งฉวัดเฉวียนไปรอบด้าน ทำให้เหมือนเวลาพระจันทร์

และพระอาทิตย์ขึ้นเป็นพัน ๆ ดวง ได้ทำชายป่านั้นให้มีแสงสว่าง

เป็นอันเดียวกัน. พื้นท้องฟ้าประหนึ่งระยิบระยับด้วยหมู่ดาว เรือง-

รองด้วยพระสิริแห่งพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ชายป่า

รุ่งโรจน์ดุจน้ำที่มีดอกบัวบานสะพรั่ง. ธรรมดาต้นนิโครธมีมีลำต้น

ขาว มีใบเขียว ผลสุกแดง. แต่วันนั้น ต้นนิโครธกลับมีกิ่งขาว มี

สีเหมือนทอง.

พระมหากัสสปเถระคิดว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระศาสดาของเรา

เราบวชอุทิศพระศาสดาพระองค์นี้ ดังนี้ จำเดิมแต่ที่ที่มองเห็น

ได้น้อมกายเดินไป ไหว้ในที่ ๓ แห่ง แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์

เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นศาสดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 302

ของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสกะพระมหากัสสปเถระว่า ดูก่อนกัสสป ถ้าเธอจะพึงทำการ

นบนอบนี้ไว้ในมหาปฐพีไซร้ แม้มหาปฐพีนั้นก็ไม่อาจรองรับเอาไว้ได้

การนบนอบที่เธอกระทำ ย่อมไม่อาจทำแม้ขนของเราให้สั่น เพราะ

ตถาคตมีคุณใหญ่หลวงอย่างนี้ นั่งลงเถอะกัสสป เราจะให้ทรัพย์

อันเป็นมรดกแก่เธอ. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ประทาน

อุปสมบทแก่พระมหากัสสปเถระด้วยโอวาท ๓ ประการ ครั้น

ประทานแล้วก็เสด็จออกจากโคนต้นพหุปุตตกนิโครธเสด็จเดินทาง

มีพระเถระเป็นปัจฉาสมณะ. พระสรีระของพระศาสดาตระการ

ตาด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ สรีระของพระมหา-

กัสสปประดับด้วยมหาปุริสลักษณะ ๗ ประการ. พระมหากัสสป

นั้นเดินตามเสด็จพระศาสดา เหมือนเรือพ่วงไปตามเรือใหญ่สีทอง

ฉะนั้น พระศาสดาเสด็จเดินทางไปหน่อยหนึ่งแล้วแวะลง (ข้างทาง)

แสดงอาการจะประทับนั่งที่โคนไม้แห่งหนึ่ง พระเถระระว่า พระ-

ศาสดามีพระประสงค์จะประทับนั่ง จึงกระทำสังฆาฏิอันเป็นผ้า

เก่าที่ตนห่มให้เป็น ๔ ชั้น ปูลาดถวาย.

พระศาสดาประทับนั่งบนผ้าสังฆาฏินั้นแล้ว เอาพระหัตถ์

ลูบคลำเนื้อผ้าตรัสว่า กัสสป สังฆาฏิอันทำด้วยผ้าเก่าผืนนี้ของเธอ

นุ่มดี. พระเถระระว่า พระศาสดาตรัสถึงสังฆาฏิของเรานุ่ม คงจัก

ประสงค์จะห่ม จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงห่มสังฆาฏิเถิด. พระศาสดาตรัสว่า กัสสป เธอจะ

ห่มอะไร ? พระเถระกราบทูลว่า ข้าพระองค์ได้ผ้านุ่งของพระองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 303

จึงจักห่ม. พระศาสดาตรัสว่า กัสสป ก็เธอจักอาจทรงผ้าบังสุกุล

ที่ใช้จนเก่าผืนนี้อย่างนี้ได้หรือ ด้วยว่ามหาปฐพีได้ไหวจนถึงน้ำรอง

แผ่นดิน ในวันที่เราซักผ้าบังสุกุลผืนนี้. ธรรมดาว่าจีวรที่เก่าเพราะ

ใช้ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ ถึงเก่าแล้วคนที่มีคุณนิดหน่อยไม่

อาจครองได้ จีวรเก่าดังกล่าวนี้ อันบุคคลผู้อาจสามารถในการ

บำเพ็ญข้อปฏิบัติ ผู้ถือผ้าบังสุกุลมาแต่เดิมจึงจะควรรับเอา แล้ว

ทรงเปลี่ยนจีวรกับพระเถระ.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปลี่ยนจีวรอย่างนี้แล้ว ทรงห่ม

จีวรที่พระเถระห่มแล้ว พระเถระห่มจีวรของพระศาสดา. ในสมัยนั้น

มหาปฐพีนี้แม้ไม่มีจิตใจก็ไหวจนถึงน้ำรองแผ่นดินเหมือนจะกล่าวว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงทำสิ่งที่ทำได้ยาก จีวรที่พระองค์

ห่มแล้ว ชื่อว่าเคยได้ประทานแก่พระสาวกไม่มี (คือไม่เคยมีการ

ประทานจีวรที่ทรงห่มแล้วแก่สาวก) ข้าพระองค์ไม่อาจรองรับคุณ

ของพระองค์ได้. แม้พระเถระก็มิได้กระทำเหย่อหยิ่งว่า เดี๋ยวนี้

เราได้จีวรสำหรับใช้สอยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สิ่งที่เราจะพึง

ทำให้ยิ่งขึ้นไปในบัดนี้ยังจะมีอยู่หรือ จึงได้สมาทานธุดงค์คุณ ๑๓

ข้อในสำนักของพระพุทธเจ้านั่นแหละ เป็นปุถุชนเพียง ๗ วัน

ในอรุณที่ ๘ ได้บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยสูตรทั้งหลายมีอาทิ

อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กัสสปเปรียบเหมือนพระจันทร์

เข้าไปสู่ตระกูลทั้งหลาย หลีกกาย หลีกใจจากอกุศลธรรมทั้งหลาย

เป็นผู้ใหม่อยู่เสมอ ไม่คนองในตระกูลทั้งหลาย. ครั้นมาภายหลัง

ทรงกระทำกัสสปสังยุตนี้แหละให้เป็นเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนา

พระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะด้วยพระดำรัสว่า มหากัสสปเป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 304

ยอดของภิกษุทั้งหลายผู้ถือธุดงค์และสอนเรื่องธุดงค์ ในศาสนาของเรา

ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ประวัติพระอนุรุทธเถระ

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

บทว่า ทิพฺพจกฺขุกาน ยทิท อนุรุทฺโธ ความว่า ตรัสว่าพระ-

อนุรุทธเถระเป็นยอดของภิกษุทั้งหลายผู้มีจักษุทิพย์ พึงทราบว่า

พระอนุรุทธเถระนั้นเป็นผู้เลิศ เพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสั่งสม

ไว้แล้ว. ได้ยินว่าพระเถระเว้นแต่ชั่วเวลาฉันเท่านั้น ตลอดเวลา

ที่เหลือ เจริญอาโลกกสิณตรวจดูเหล่าสัตว์ด้วยทิพยจักษุอย่าง

เดียวอยู่ ดังนั้น พระเถระนี้จึงชื่อว่าเป็นยอดของภิกษุทั้งหลาย

ผู้มีทิพยจักษุ เพราะเป็นผู้มีความชำนาญอันสะสมไว้ตลอดวัน

และคืน. อีกอย่างหนึ่งเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุที่เหลือ เพราะ

ปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป ก็ในเรื่องบุรพกรรมของท่านในข้อนั้น

มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไป

ความพิสดารว่า ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุ-

มุตตรนั่นแล กุลบุตรแม้นี้ได้ไปกับมหาชนผู้ไปยังวิหารเพื่อฟังธรรม

ภายหลังภัตตาหาร. ก็ครั้งนั้น กุลบุตรผู้นี้ได้เป็นกุฎุมพีผู้ยิ่งใหญ่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 305

ไม่ปรากฏชื่อคนหนึ่ง. เขาถวายบังคมพระทศพลแล้วยืนอยู่ท้าย

บริษัทฟังธรรมกถา. พระศาสดาทรงสืบต่อพระธรรมเทศนาตาม

อนุสนธิแล้วทรงสถาปนาภิกษุผู้มีทิพยจักษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ. ลำดับนั้น กุฎุมพีได้มีดำริดังนี้ว่า ภิกษุนี้ใหญ่หนอ พระ-

ศาสดาทรงตั้งไว้ในความเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุเอง ด้วย

ประการอย่างนี้ โอหนอ แม้เราก็พึงเป็นยอดของภิกษุผู้มีจักษุทิพย์

ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้จะอุบัติในอนาคต ดังนี้แล้วเกิด

ความคิดดังนี้ขึ้น เดินเข้าไประหว่างบริษัท ทูลนิมนต์พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ากับพระภิกษุแสนหนึ่ง เพื่อเสวยวันวันพรุ่งนี้ ในวันรุ่งขึ้น

ถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข คิดว่า เรา

ปรารถนาตำแหน่งใหญ่ จึงทูลนิมนต์ในวันนี้ เพื่อเสวยวันพรุ่งนี้

แล้วทำมหาทานให้เป็นไปถึง ๗ วัน โดยทำนองนั้นนั่นแล ถวาย

ผ้าอย่างดีเยี่ยมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมทั้งบริวารแล้วทำความ

ปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ทำสักการะนี้

เพื่อประโยชน์แก่ทิพยสมบัติหรือมนุษยสมบัติก็หามิได้ ก็พระองค์

ทรงตั้งภิกษุใดไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุใน

๗ วันที่แล้วมาจากวันนี้ แม้ข้าพระพุทธเจ้าก็พึงเป็นยอดของภิกษุ

ผู้มีทิพยจักษุเหมือนภิกษุองค์นั้น ในพระศาสนาของพระพุทธเจ้า

พระองค์หนึ่งในอนาคตกาลดังนี้แล้ว หมอบลงแทบพระบาทของ

พระศาสดา. พระศาสดาทรงตรวจดูในอนาคต ทรงทราบว่าความ

ปรารถนาของเขาสำเร็จ จึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ

ในที่สุดแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม จักอุบัติ

ขึ้น ท่านจักมีชื่อว่าอนุรุทธะเป็นยอดของภิกษุผู้มีทิพยจักษุ ใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 306

พระศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้านั้น ก็แหละครั้นตรัสอย่างนี้แล้ว

ทรงกระทำภัตตานุโมทนาเสด็จกลับไปพระวิหาร.

ฝ่ายกุฎุมพีทำกรรมงามไม่ขาดเลย ตราบที่พระพุทธเจ้า

ยังทรงพระชนม์อยู่ เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว เมื่อสร้างเจดีย์

ทองประมาณ ๗ โยชน์สำเร็จแล้ว จึงเข้าไปหาภิกษุสงฆ์ถามว่า

อะไรเป็นบริกรรมของทิพยจักษุขอรับ. ภิกษุสงฆ์บอกว่าควรให้

ประทีปนะอุบาสก. อุบาสกกล่าวว่า ดีละขอรับผมจักทำ จึงให้

สร้างต้นประทีปพันต้นเท่ากับประทีปพันดวงก่อน ถัดจากนั้น

สร้างให้ย่อมกว่านั้น ถัดจากนั้นสร้างให้ย่อมกว่านั้น รวมความว่า

ได้สร้างต้นประทีปหลายพันต้น. ส่วนประทีปที่เหลือประมาณไม่ได้

เขาทำกัลยาณกรรม อย่างนี้ตลอดชีวิต ท่องเที่ยวไปในเทวดาและ

มนุษย์ทั้งหลาย ล่วงไปแสนกัป ในกาลแห่งพระกัสสปสัมมาสัม-

พุทธเจ้า บังเกิดในเรือนกุฎุมพีใกล้กรุงพาราณสี เมื่อพระศาสดา

ปรินิพพาน เมื่อสร้างเจดีย์ประมาณ ๑ โยชน์สำเร็จแล้ว ให้สร้าง

ภาชนะสำริดเป็นอันมาก บรรจุเนยใสจนเต็ม ให้วางไส้ตะเกียง

เว้นระยะองคุลี ๑ ๆ ในท่ามกลาง ให้จุดไฟขึ้นให้ล้อมพระเจดีย์

ให้ขอบปากต่อขอบปากจดกัน ให้สร้างภาชนะสำริดใหญ่กว่าเขา

ทั้งหมดสำหรับตนใส่เนยใสเต็ม จุดใส้ตะเกียงพันดวงรอบ ๆ ขอบ

ปากภาชนะสำริดนั้น เอาผ้าเก่าที่เป็นจอมหุ้มไว้ตรงกลาง ให้จุดไฟ

เทินภาชนะสำริด เดินเวียนเจดีย์ประมาณ ๑ โยชน์ ตลอดคืนยังรุ่ง.

เขาทำกัลยาณกรรมตลอดชีวิต ด้วยอัตตภาพแม้นั้น ด้วยอาการ

อย่างนี้ แล้วบังเกิดในเทวโลก. เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่อุบัติขึ้น.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 307

เขาถือปฏิสนธิในเรือนของตระกูลเข็ญใจ ในนครนั้นนั่นแลอีก เป็น

คนหาบหญ้า อาศัยสุมนเศรษฐีอยู่ เขาได้มีชื่อว่า อันนภาระ. ฝ่าย

สุมนเศรษฐีนั้น ให้มหาทานที่ประตูบ้าน แก่คนกำพร้า คนเดินทาง

วณิพกและยาจก. ทุกวัน ๆ

ภายหลัง ณ วันหนึ่ง พระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าอุปริฏฐะ

เข้านิโรธสมาบัติ ที่ภูเขาคันธมาทน์ ออกจากสมาบัตินั้นแล้ว พิ-

จารณาว่า วันนี้ ควรจะทำการอนุเคราะห์ใคร. ก็ธรรมดาพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นผู้อนุเคราะห์คนเข็ญใจ ท่านคิดว่า

วันนี้เราควรทำการอนุเคราะห์ นายอันนภาระ ทราบว่า นายอันน-

ภาระจักออกจากดงมายังบ้านตน จึงถือบาตรและจีวรจากภูเขา

คันธมาทน์ เหาะขึ้นสู่เวหาสมาปรากฏเฉพาะหน้านายอันนภาระ

ที่ประตูบ้านนั่นเอง. นายอันนภาระ เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า ถือ

บาตรเปล่าจึงอภิวาทพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วถามว่า ท่านได้ภิกษา

บ้างไหมขอรับ. พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า จักได้ผู้มีบุญมาก.

เขากล่าวว่า โปรดรออยู่ที่นี้ก่อนเถิดขอรับ แล้วรีบไป ถามแม่บ้าน

ในเรือนของตนว่า นางผู้เจริญ ภัตอันเป็นส่วนเก็บไว้เพื่อเรา มีหรือไม่.

นางตอบว่า มี จ้ะนาย. เขาไปจากที่นั้นรับบาตรจากมือพระปัจเจก-

พุทธเจ้ามากล่าวว่า นางผู้เจริญ เพราะค่าที่ไม่ได้ทำกัลยาณกรรม

ไว้ในชาติก่อน เราทั้ง ๒ จึงหวังได้อยู่แต่การรับจ้าง เมื่อความ

ปรารถนาจะให้ของพวกเรามีอยู่ แต่ไทยธรรมไม่มี เมื่อไทยธรรมมี

ก็ไม่ได้ปฏิคาหก วันนี้เราพบพระอุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้าเข้าพอดี

และภัตอันเป็นส่วนแบ่งก็มีอยู่ เจ้าจงใส่ภัตที่เป็นส่วนของฉันลง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 308

ในบาตรนี้. หญิงผู้ฉลาดคิดว่า เมื่อใดสามีของเราให้ภัตซึ่งเป็น

ส่วนแบ่ง เมื่อนั้นแม้เราก็พึงมีส่วนในทานนี้ จึงวางแม้ภัตอันเป็น

ส่วนของตนลงในบาตรถวายแก่อุปริฏฐปัจเจกพุทธเจ้า. นายอันน-

ภาระ นำบาตรอันบรรจุภัตมาวางในมือของพระปัจเจกพุทธเจ้า

แล้วกล่าวว่า ขอให้พวกข้าพเจ้าพ้นจากความอยู่อย่างลำบากเห็น

ปานนี้เถิดขอรับ. พระปัจเจกพุทธเจ้า อนุโมทนาว่า จงสำเร็จ

อย่างนั้นเถิดผู้มีบุญมาก. เขาลาดผ้าห่มของตนลง ณ ที่ส่วนหนึ่งแล้ว

กล่าวว่า ขอจงนั่งฉันที่นี้เถิด ขอรับ. พระปัจเจกพุทธเจ้านั่ง ณ

อาสนะนั้นแล้ว พิจารณาความเป็นของปฏิกูล ๙ อย่าง แล้วจึงฉัน

เมื่อฉันเสร็จแล้ว นายอันนภาระจึงถวายน้ำสำหรับล้างบาตร พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า เสร็จภัตกิจแล้วกระทำอนุโมทนาว่า

สิ่งที่ท่านต้องการแล้ว ปรารภนาแล้ว จงสำเร็จ

พลันเทียว ความดำริจงเต็มหมดเหมือนพระ-

จันทร์เพ็ญ ๑๕ ค่ำ ฉะนั้น สิ่งที่ท่านต้องการแล้ว

ปรารถนาแล้ว จงสำเร็จพลันเทียว ความดำริจง

เต็มหมด เหมือนมณีมีประกายโชติช่วง ฉะนั้น.

แล้วออกเดินทางไป.

เทวดาที่สิงอยู่ที่ฉัตรของสุมนเศรษฐีกล่าวว่า น่าอัศจรรย์

ทานที่ตั้งไว้ดีแล้วในพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่า อุปริฏฐะเป็นทาน

อย่างยิ่งถึง ๓ ครั้ง แล้วได้ให้สาธุการ สุมนเศรษฐีกล่าวว่า ท่าน

ไม่เห็นเราให้ทานอยู่ตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ดอกหรือ เทวดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 309

กล่าวว่า เราไม่ให้สาธุการในทานของท่าน เราเลื่อมใสในบิณฑบาต

ที่นายอันนภาระถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะ จึง

ให้สาธุการ สุมนเศรษฐีดำริว่า เรื่องนี้น่าอัศจรรย์หนอ เราให้

ทานตลอดเวลามีประมาณเท่านี้ ก็ไม่อาจทำให้เทวดาให้สาธุการ นาย-

อันนภาระนี้อาศัยเราอยู่ ด้วยการถวายบิณฑบาตครั้งเดียวเท่านั้น

ทำให้เทวดาให้สาธุการได้ เพราะได้บุคคลผู้เป็นปฏิคาหกที่สมควร

เราให้สิ่งที่สมควรแก่นายอันนภาระนั้น แล้วทำบิณฑบาตนั้นให้

เป็นของของเราจึงจะควร ดังนี้ เรียกนายอันนภาระมาแล้วถามว่า

วันนี้เจ้าให้ทานอะไร ๆ แก่ใครหรือ ขอรับนายท่าน ข้าพเจ้าถวาย

ภัตรที่เป็นส่วนของข้าพเจ้าแก่พระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะ

เศรษฐีกล่าวว่า เอาเถอะเจ้า เธอจงรับกหาปณะไปแล้วให้บิณฑบาต

นั้นแก่เราเถอะ ให้ไม่ได้หรอกนายท่าน เศรษฐีเพิ่มทรัพย์ขึ้นจนถึง

พันกหาปณะ นายอันนภาระก็ยังกล่าวว่า แม้ถึงพันกหาปณะก็ยัง

ให้ไม่ได้ เศรษฐีกล่าวว่า ช่างเถอะเจ้า หากเจ้าไม่ให้บิณฑบาต

ก็จงรับทรัพย์พันกหาปณะไปแล้วจึงให้ส่วนบุญแก่ฉันเถอะ นายอันภาระ

กล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าแม้ส่วนบุญนั้นควรให้หรือไม่ควรให้

แต่ข้าพเจ้าจะถามพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะดู ถ้าควร

ให้ก็จักให้ ถ้าไม่ควรให้ก็จักไม่ให้ นายอันนภาระเดินไปทันพระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า ถามว่า ท่านเจ้าข้า สุมนเศรษฐีให้ทรัพย์แก่ข้าพเจ้า

พันหนึ่ง ขอส่วนบุญในบิณฑบาตที่ถวายแก่ท่าน ข้าพเจ้าควรจะ

ให้หรือไม่ให้ พระปัจเจกพุทธเจ้ากล่าวว่า บัณฑิต เราจักทำอุปมา

แก่ท่าน เหมือนอย่างว่า ในบ้านตำบลนี้มีร้อยตระกูล เราจุดประทีป

ไว้ในเรือนหลังหนึ่งเท่านั้น ตระกูลพวกนี้เอาน้ำมันเติมให้ใส้ตะเกียง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 310

ชุ่มแล้วมาต่อไฟถือไป แสงของประทีปดวงเดิมยังมีอยู่หรือหาไม่

นายอันนภาระกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า แสงประทีปก็สว่างขึ้นไปอีก

เจ้าข้า ข้อนี้อุปมาฉันใด ดูก่อนบัณฑิต ข้าวยาคูกระบวยหนึ่ง หรือ

ข้าวสวยทัพพีหนึ่งจงยกไว้ เมื่อท่านให้ส่วนบุญแก่คนเหล่าอื่นใน

บิณฑบาตของตน พันคนหรือแสนคนก็ตาม ให้แก่คนเท่าใด บุญก็

เพิ่มขึ้นแก่ตนมีประมาณเท่านั้น เมื่อท่านให้ก็ให้บิณฑบาตอันเดียว

นั่นแหละ ต่อเมื่อให้ส่วนบุญแก่สุมนเศรษฐีอีกเล่า บิณฑบาตก็

ขยายไปเป็น ๒ คือของท่านส่วนหนึ่ง ของเศรษฐีส่วนหนึ่ง ดังนี้

นายอันนภาระกราบพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วกลับไปยังสำนักของ

สุมนเศรษฐีกล่าวว่า ขอท่านจงรับส่วนบุญในบิณฑบาตทานเถิด

นายท่าน เศรษฐีกล่าวว่า เชิญท่านรับทรัพย์พันกหาปณะไปเถิด

นายอันนภาระกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ได้ขายบิณฑบาตทาน แต่ข้าพเจ้า

ให้ส่วนบุญแก่ท่านด้วยศรัทธา เศรษฐีกล่าวว่า พ่ออันนภาระ พ่อให้

ส่วนบุญแก่เราด้วยศรัทธา แต่เราบูชาคุณของพ่อ ฉันให้พันกหาปณะ

นี้ จงรับไปเถอะพ่ออันนภาระ นายอันนภาระกล่าวว่า จงเป็นอย่างนั้น

จึงถือเอาทรัพย์พันกหาปณะไป เศรษฐีกล่าวว่า พ่ออันนภาระ

ตั้งแต่พอได้ทรัพย์พันกหาปณะแล้ว ไม่ต้องทำกิจเกี่ยวแก่กรรมกร

ด้วยมือของตน จงปลูกเรือนอยู่ใกล้ถนนเถิด ถ้าพ่อต้องการสิ่งใด

ฉันจะมอบสิ่งนั้นให้ พ่อจงมานำเอาไปเถอะ

ธรรมดาบิณฑบาตที่บุคคลถวายแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้

ออกจากนิโรธสมาบัติ ย่อมให้ผลในวันนั้นนั่นเอง เพราะฉะนั้น

สุมนเศรษฐีในวันอื่นแม้ไปสู่ราชตระกูล ไม่เคยชวนนายอันนภาระ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 311

ไปด้วย แต่ในวันนั้นได้ชวนไปด้วย เพราะอาศัยบุญของนายอีนน-

ภาระ พระราชาไม่มองดูเศรษฐีเลย ทรงมองแต่นายอันนภาระ

เท่านั้น เศรษฐีจึงทูลถามวา เทวข้าแต่สมมติเทพ เหตุไฉนพระองค์

จึงทรงมองดูแต่บุรุษผู้นี้ยิ่งนักพระเจ้าค่ะ พระราชาตรัสว่า เรา

มองดูเพราะไม่เคยเฝ้าในวันอื่น ๆ เศรษฐีทูลว่า เทวเขาสมควร

มองดูอย่างไร คุณที่ควรมองดูของเขาคืออะไร เพราะวันนี้เขา

ไม่บริโภคภัตรที่เป็นส่วนของตนด้วยตนเอง แต่ถวายแด่พระปัจเจก

พุทธเจ้านามว่าอุปริฏฐะ เขาได้ทรัพย์พันกหาปณะจากมือของข้าพระองค์

พระเจ้าข้า พระราชาตรัสถามว่า เขาชื่อไร ชื่อนายอันภาระพระเจ้าข้า

เพราะได้จากมือของท่าน ก็ควรจะได้จากมือของเราบ้าง เราเองก็จักทำการ

บูชาเขา จึงพระราชทานทรัพย์พันกหาปณะแล้วตรัสว่า พนาย จงสำรวจดู

เรือนที่คนนี้จะอยู่ได้ ราชบุรุษทูลว่า พระเจ้าข้า ราชบุรุษทั้งหลาย

จัดแจงแผ้วถางที่สำหรับเรือนนั้นได้พบขุมทรัพย์ชื่อปิงคละ ในที่ ๆ

จอบกระทบแล้ว ๆ ตั้งเรียงกัน จึงมากราบทูลพระราชาให้ทรงทราบ

พระราชาตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นจงไปขุดขึ้นมา เมื่อราชบุรุษเหล่านั้น

ขุดอยู่ ขุมทรัพย์ก็จมลงไป ราชบุรุษเหล่านั้นไปกราบทูลพระราชา

อีก พระราชาตรัสว่า จงไปขุดตามคำของนายอันนภาระ ราชบุรุษ

ก็ไปขุดตามคำสั่ง ขุมทรัพย์เหมือนดอกเห็ดตูม ๆ ผุดขึ้นในที่ ๆ

จอบกระทบแล้ว ราชบุรุษเหล่านั้นขนทรัพย์มากองไว้ในพระราช-

สำนัก พระราชาประชุมอำมาตย์ทั้งหลายแล้วตรัสถามว่า ในเมืองนี้

ใครมีทรัพย์มีประมาณถึงเท่านี้ไหม อำมาตย์ทูลว่า ไม่มีของใคร

พระเจ้าข้า ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้น นายอันนภาระนี้จงชื่อว่า ธนเศรษฐี

ในพระนครนี้ เขาได้ฉัตรประจำตำแหน่งเศรษฐีในวันนั้นนั่นเอง.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 312

ตั้งแต่วันนั้น เขากระทำแต่กรรมอันดีงามจนตลอดชีวิต

จุติจากภพนั้นไปเกิดในเทวโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์

เป็นเวลานาน ครั้งที่พระศาสดาของพวกเราทรงอุบัติ ก็มาถือ

ปฏิสนธิในนิเวศน์เจ้าศากยะพระนามว่า อมิโตทนะ กรุงกบิลพัสดุ์

ในวันขนานนาม ผู้คนทั้งหลายตั้งชื่อเขาว่า เจ้าอนุรุทธ เป็นกนิษฐ-

ภาคาของเจ้าศากยะพระนามที่ มหานามะ เป็นโอรสของพระเจ้า

อาของพระศาสดา เป็นสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง เป็นผู้มีบุญมาก ภัตร

เกิดขึ้นในถาดทองแก่เขาทีเดียว ภายหลังพระมารดาของเขาคิดว่า

จักให้ลูกของเรารู้จักบทว่า "ไม่มี" เอาถาดทองปิดถาดทองอีก

ใบหนึ่ง แล้วส่งใบแต่ถาดเปล่า ๆ ในระหว่างทาง เทวดาทำให้เต็ม

ด้วยขนมทิพย์ เขามีบุญมากถึงเพียงนี้ อันเหล่านางฟ้อนที่ประดับ

ตกแต่งแล้วแวดล้อมเสวยสมบัติบนปราสาท ๓ หลัง เหมาะแก่ฤดู

ทั้ง ๓ เหมือนเทวดา.

ส่วนพระโพธิสัตว์ของเราจุติจากดุสิตในสมัยนั้น มาถือ

ปฏิสนธิในครรภ์ของอัครมเหสีของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรง

เจริญวัยโดยลำดับ ทรงครองเรือนอยู่ ๒๙ ปี แล้วทรงเสด็จออก

มหาภิเนษกรมณ์ ทรงแทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณโดยลำดับ ทรง

ยับยั้งที่โพธิมัณฑสถาน ๗ สัปดาห์ ประกาศพระธรรมจักร ณ

ป่าอิสิปตนมิคทายวัน ทรงกระทำการอนุเคราะห์โลก ทรงให้

อำมาตย์ ๑๐ คน พร้อมทั้งบริวารคนละพัน ที่พระราชบิดาทรง

สดับข่าวว่า บุตรของเรามายังกรุงราชคฤห์แล้วตรัสว่า ไปเถิด

พนาย พวกเจ้าจงนำบุตรของเรามา ดังนี้ ให้บวชด้วยเอหิภิกขุ

บรรพชาแล้ว อันพระกาฬุทายีเถระทูลวิงวอนให้เสด็จจาริกจึงมี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 313

ภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร เสด็จออกจากรุงราชคฤห์ไปยังกรุง-

กบิลพัสดุ์ ทรงทำพระธรรมเทศนาอันวิจิตรมีปาฏิหาริย์ด้วยอิทธิ-

ปาฏิหาริย์เป็นอันมาก ในสมาคมแห่งพระญาติ ยังมหาชนให้ดื่ม

น้ำอมฤตแล้ว ครั้นวันที่ ๒ ทรงถือบาตรและจีวรไปประทับยืน

ที่ทวารพระนคร ทรงรำพึงว่า พระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย

ทรงประพฤติการเสด็จกลับยังพระนครแห่งสกุลอย่างไรหนอ ดังนี้

ทราบว่า ทรงประพฤติเที่ยวบิณฑบาตตามลำดับตรอก จึงทรง

เสด็จเพื่อบิณฑบาตตามลำดับตรอก ทรงตรัสธรรมถวายพระราชา

ผู้ทรงสดับข่าวว่า บุตรของเราเที่ยวบิณฑบาตเสด็จมคธแล้ว ผู้มีสักการะ

สัมมานะที่พระราชบิดาทูลเชิญให้เสด็จมาแล้ว ทูลเชิญให้เสด็จเข้านิเวศน์

ของพระองค์ทรงกระทำแล้ว ทรงอนุเคราะห์พระญาติที่พึงทรงกระทำในที่นั้น

ทรงกระทำแล้ว ทรงอนุเคราะห์พระญาติที่พึงทรงกระทำในที่นั้น

แล้วให้ราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ไม่นานนัก ก็เสด็จจากกรุงกบิลพัสดุ์

ไปจาริกในมัลลรัฐแล้วเสด็จกลับมายังอนุปิยอัมพวัน

สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงประชุมศากยะสกุล

ทั้งหลายตรัสว่า ถ้าบุตรของเราจักครองเรือน จักเป็นพระเจ้า

จักรพรรดิ์ ประกอบด้วยรัตนะ ๗ แม้ราหุลกุมารนัดดาของเรา

จักแวดล้อมพระเจ้าจักรพรรดิ์นั้นเที่ยวไปกับหมู่กษัตริย์ อนึ่ง

ขอให้พวกท่านทั้งหลายจงทราบความข้อนี้ไว้เถิดว่า แต่บัดนี้ บุตร

ของเราทรงเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขัตติยกุมารจงเป็นบริวารของ

พระองค์เถิด พวกท่านจงให้ทารกคนหนึ่ง จากตระกูลหนึ่ง ๆ ครั้น

พระเจ้าสุทโธทนตรัสอย่างนี้แล้ว ขัตติยกุมารถึงพันองค์จึงออก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 314

ผนวชโดยพระดำรัสครั้งเดียวเท่านั้น สมัยนั้นเจ้ามหานาม

เป็นเจ้าแห่งกุฎุมพี จึงเข้าไปหาเจ้าศากยะพระนามว่า อนุรุทธะ

ได้กล่าวคำนี้ว่า พ่ออนุรุทธะ บัดนี้ ศากยะกุมารที่มีชื่อเสียงออก

ผนวชตามพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงผนวชแล้ว ไม่มีใคร ๆ ออก

ผนวชจากสกุลของเราเลย ถ้ากระนั้นเจ้าจงบวช หรือว่าพี่จักบวช

เจ้าอนุรุทธได้ฟังดำรัสของเจ้าพี่แล้วไม้ยินดีในการครองเรือน

ได้ออกผนวชเป็นพระองค์ที่ ๗ ลำดับแห่งการผนวชของเจ้าอนุรุทธ

นั้นมาแล้วในคัมภีร์สังฆเภทขันธกะ เจ้าอนุรุทธเสด็จไปยังอนุปิย-

อัมพวัน บวชแล้วด้วยประการฉะนี้ บรรดาเจ้าศากยะกุมารเหล่านั้น

พระภัททิยเถระบรรลุพระอรหัตภายในพรรษานั่นเอง พระอนุรุทธ-

เถระทำทิพยจักขุให้บังเกิด พระเทวทัตทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด

พระอานนทเถระตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระภัคคุเถระและพระกิมภิละ-

เถระได้บรรลุอรหัตในภายหลัง ก็อภินิหารแห่งความปรารถนา

แต่ปางก่อนของพระเถระทุกรูปนั้น จักมาถึงในเรื่องของแต่ละคน

ก็พระอนุรุทธเถระนี้เรียนกรรมฐานในสำนักของพระธรรม

เสนาบดีแล้วไปบำเพ็ญสมณธรรมปาจีนวังสทายวัน แคว้นเจติยะ

ก็ตรึกแล้วถึงมหาปริวิตก ๗ ประการ ลำบากในวิตกที่ ๘ พระ

ศาสดาทรงทราบว่า พระอนุรุทธลำบากในมหาปุริสวิตกที่ ๘

ทรงพระดำริว่า เราจักทำความดำริของเธอให้เต็มจึงเสด็จไปใน

ที่นั้น ประทับนั่งบนพุทธอาสน์อันประเสริฐที่เขาปูลาดไว้ ทรงทำ

มหาปุริสวิตกที่ ๘ ให้เติมแล้วตรัสมหาอริยวงสปฏิปทา ประดับ

ไปด้วยความสันโดษด้วยปัจจัย ๔ และมีภาวนาเป็นที่มายินดีแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 315

เสด็จเหาะไปถึงเภสกฬาวันเทียว พอพระตถาคตเสด็จไปแล้วเท่านั้น

พระเถระมีวิชา ๓ เป็นพระมหาขีณาสพใหญ่ คิดว่า พระศาสดา

รู้ใจของเรา เสด็จมาประทานมหาปุริสวิตกที่ ๘ ให้เต็ม อนึ่ง มโนรถ

ของเรานั้นถึงที่สุดแล้ว ปรารภธรรมเทศนาอันไพเราะของพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย และธรรมที่ตนแทงตลอดแล้วได้ภาษิตอุทาน

คาถาเหล่านี้ว่า

พระศาสดาผู้ยอดเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว

เสด็จมาหาเราด้วยมโนมยิทธิทางกาย เมื่อใดความดำริได้มีแก่เรา

เมื่อนั้นพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมให้สูงขึ้น พระพุทธเจ้าผู้ทรง

ยินดีในธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า ได้ทรงแสดงธรรมเครื่องไม่เนิ่นช้า

เรารู้ทั่วถึงธรรมของพระองค์แล้ว เป็นผู้ยินดีในพระศาสนาอยู่

วิชา ๓ เราก็บรรลุโดยลำดับแล้ว คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

เราก็ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ต่อมาภายหลัง พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหา-

วิหาร ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า อนุรุทธะเป็น

ยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้มีทิพยจักขุในศาสนาของเรา.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 316

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ประวัติพระภัททิยกาฬิโคธาบุตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อุจฺจากุลิกาน ความว่า ผู้เกิดในตระกูลสูง. บทว่า

ภทฺทิโย ได้แก่เจ้าศากยะผู้เป็นพระราชาออกผนวชพร้อมกับ

พระอนุรุทธเถระ. บทว่า กาฬิโคธายปุตฺโต ความว่า พระเทวีนั้น

เป็นผู้มีผิวดำ. ส่วนคำว่า โคธา เป็นนามของพระเทวีนั้น เพราะฉะนั้น

เขาจึงเรียกว่า นางกาฬิโคธา อธิบายว่า เป็นบุตรของนางกาฬิโคธา-

เทวีนั้น ถามว่า ก็พระเถระนี้ ท่านกล่าวว่าเป็นยอดของภิกษุสาวก

ผู้มีตระกูลสูง เพราะเหตุไร ผู้ที่มีตระกูลสูงกว่าพระภัททิยะนั้น

ไม่มีหรือ. ตอบว่า ไม่มี จริงอยู่ พระมารดาของท่านเป็นใหญ่ที่สุด

ของเจ้าทั้งหมดโดยวัย ในระหว่างเจ้าสากิยานีทั้งหลาย ท่านสละ

ราชสมบัติที่มาถึงในสากิยสกุลอย่างนั้นออกผนวช เพราะฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวว่า เป็นยอดของภิกษุผู้มีตระกูลสูงทั้งหลาย. อีกประการ

หนึ่ง พระภัททิยะนี้ ด้วยอานุภาพแห่งความปรารถนาในปางก่อน

บังเกิดในราชตระกูลแล้วครองราชสมบัติถึง ๕๐๐ ชาติติดต่อกัน

มาโดยลำดับ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงกล่าวว่า พระภัททิยะนั้น เป็นยอด

ของภิกษุผู้มีตระกูลสูง ก็ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าว

ตามลำดับต่อไปนี้ :-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 317

ความพิสดารว่า ในอดีตกาล แม้พระภัททิยะนี้ ครั้งพระ-

พุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ บังเกิดในสกุลมีโภคสมบัติมาก

ไปฟังพระธรรมตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล ในวันนั้นได้เห็นพระ-

ศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่า

ภิกษุผู้มีตระกูลสูง จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็นยอดของเหล่าภิกษุ

ผู้มีตระกูลสูงในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต

ดังนี้ จึงนิมนต์พระตถาคตถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้า

เป็นประมุข ๗ วัน หมอบแทบบาทมูล ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์มิได้หวังสมบัติอย่างอื่นด้วยผลแห่งทาน

นี้ แต่ในอนาคตกาล ข้อข้าพระองค์พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มี

ตระกูลสูง ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งเถิด พระศาสดา

ทรงตรวจดูอนาคตเล็งเห็นความสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่า กรรม

นี้ของท่านจักสำเร็จในที่สุดแห่งแสนกัปแต่กัปนี้ไป พระพุทธเจ้า

พระนามว่าโคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุ

ผู้มีตระกูลสูงในศาสนาของพระองค์ ดังนี้แล้ว ทรงกระทำอนุโมทนา

ภัตแล้ว เสด็จกลับวิหาร ครั้นท่านได้ฟังพยากรณ์แล้วจึงทูลถาม

กรรมที่จะให้เป็นไปสำหรับภิกษุผู้เกิดในตระกูลสูง ได้กระทำ

กรรมอันดีงามมากหลายจนตลอดชีวิตอย่างนี้คือ สร้างธรรมาสน์

ปูลาดเครื่องลาดบนธรรมาสน์นั้น พัดสำหรับผู้แสดงธรรม รายจ่าย

สำหรับพระธรรมกถึก โรงอุโบสถ กระทำกาละในอัตภาพนั้นแล้ว

เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในระหว่างพระทศพล

พระนามว่า กัสสป และพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา มาบังเกิดในเรือน

ของกุฏุมพีในกรุงพาราณสี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 318

สมัยนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าหลายองค์มาแต่ภูเขาคันธมาทน์

นั่งฉันบิณฑบาตในที่ ๆ สะดวกสบาย ใกล้ฝั่งแม่น้าคงคา เขตกรุง-

พาราณสี กุฎุมพีนั้นทราบว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น กระทำ

การแบ่งปันภัตรนั้นในที่ตรงนั้นเป็นประจำทีเดียว จึงลาดแผ่นหิน

ไว้ ๘ แผ่น บำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลายอยู่จนตลอดชีพ

ตอนนั้น ท่านเวียนว่ายไปในเทวดาและมนุษย์ถึงพุทธันดรหนึ่ง

ครั้นในพุทธุปบาทกาลนี้ จึงมาบังเกิดในขัตติยสกุลในกรุงกบิลพัสดุ์

และในวันขนานนาม พวกญาติทั้งหลายขนานนามของท่านว่า

ภัททิยกุมาร ภัททิยกุมารนั้นอาศัยบุญเป็นกษัตริย์องค์หนึ่งในระหว่าง

กษัตริย์ ๖ พระองค์ ตามนัยที่กล่าวไว้ในอนุรุทธสูตร ในหนหลัง

เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน ทรงผนวชในสำนัก

ของพระศาสดาแล้วได้บรรลุพระอรหัต ต่อมาภายหลัง พระศาสดา

เมื่อประทับอยู่ในเชตวันมหาวิหาร ได้ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะว่า ภัตทิยะโอรสของพระนางกาฬิโคธา เป็นยอดของ

เหล่าภิกษุผู้มีตระกูลสูงในศาสนาของเรา.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 319

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ประวัติพระลกุณฏกภัททิยเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้

บทว่า มญฺชุสฺสราน แปลว่า มีเสียงหวาน. บทว่า ลกุณฺฎก-

ภทฺทิโย ความว่า ท่านว่าโดยส่วนสูง เป็นคนเตี้ย โดยชื่อชื่อว่า

ภัททิยะ. ในปัญหากรรม แม้ของพระภัททิยะนั้น มีเรื่องที่จะกล่าว

ตามลำดับ ต่อไปนี้ :-

กล่าวโดยพิสดาร ท่านพระเถระแม้นี้ บังเกิดในตระกูลที่มี

โภคะมาก ในกรุงหงสวดี ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ

ไปพระวิหารฟังธรรมตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล สมัยนั้น ท่านเห็น

พระภิกษุผู้มีเสียงไพเราะรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะ เกิดจิตคิดว่า อัศจรรย์หนอ ต่อไปในอนาคต

เราพึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีเสียงไพเราะในศาสนาของพระ-

พุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เหมือนภิกษุนี้ จึงนิมนต์พระศาสดาถวายมหาทานแด่

ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๗ วัน แล้วหมอบลงแทบพระบาทของ

พระศาสดา ตั้งความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยผลแห่ง

ทานนี้ ข้าพระองค์มิได้หวังสมบัติอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์

พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีเสียงไพเราะในศาสนาของพระพุทธเจ้า

พระองค์หนึ่งเถิด พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตก็ทรงเห็นความ

สำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่า กรรมของท่านนี้จักสำเร็จในที่สุดแห่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 320

แสนกัปแต่กัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมจักทรงอุบัติขึ้น

ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีเสียงไพเราะในศาสนาของพระองค์

ดังนี้แล้วเสด็จกลับพระวิหาร แม้ท่านได้พยากรณ์นั้นแล้ว กระทำ

กรรมดีงามอยู่ตลอดชีวิต ทำกาละในอัตภาพนั้นแล้ว เวียนว่าย

อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนาม

ว่า วิปัสสี บังเกิดเป็นนกดุเหว่ามีขนปีกอันสวยงาม อยู่ในเขมมิค-

ทายวัน. วันหนึ่งไปยังหิมวันตประเทศ เอาปากคาบผลมะม่วงหวาน

มา เห็นพระศาสดามีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ถวายบังคมแล้วคิดว่า

ในวันอื่น ๆ เรามีตัวเปล่าพบพระตถาคต แต่วันนี้เรานำมะม่วง

สุกผลนี้มาเพื่อฝากบุตรของเรา แต่สำหรับบุตรนั้นเราไปเอาผล

อื่นมาให้ก็ได้ แต่ผลนี้เราควรถวายพระทศพลดังนี้ จึงคงบินอยู่

ในอากาศ. พระศาสดาทรงทราบใจของนกจึงแลดูพระอุปัฏฐาก

นามว่า อโสกเถระ พระเถระจึงนำบาตรถวายพระศาสดา นกดุเหว่า

จึงเอาผลมะม่วงสุกวางไว้ในบาตรของพระทศพล. พระศาสดา

ประทับนั่งเสวยในที่นั้นนั่นแหละ. นกดุเหว่ามีจิตเลื่อมใสนึกถึง

พระคุณของพระทศพลเนือง ๆ ถวายบังคมพระทศพลแล้วไปรัง

ของตน ยับยั้งอยู่ด้วยสุขปีติ ๗ วัน. ในอัตภาพนั้น เธอทำกัลยาณ-

กรรมไว้มีประมาณเท่านี้ ด้วยกรรมนี้ เธอจึงมีเสียงไพเราะ.

แต่ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสป เมื่อชน

ทั้งหลายปรารภเริ่มสร้างเจดีย์ ต่างพูดกันว่า เราจะสร้างขนาด

เท่าไร เราสร้างขนาด ๗ โยชน์ก็จะใหญ่เกินไป ถ้าอย่างนั้นก็

สร้างขนาด ๖ โยชน์ แม้ ๖ โยชน์นี้ก็ใหญ่เกินไป เราจะสร้าง ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 321

โยชน์ เราจะสร้าง ๔ โยชน์... ๓ โยชน์... ๒ โยชน์ ดังนี้. ท่าน

ภัททิยะนี้ ครั้งนั้น เป็นนายช่างใหญ่พูดว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย

การสร้างก็ควรนึกถึงการบำรุงได้ง่ายในอนาคตกาลบ้าง แล้ว

กล่าวว่า มุขแต่ละมุขขนาดคาวุตหนึ่ง เจดีย์ส่วนกลมโยชน์หนึ่ง

ส่วนสูงโยชน์หนึ่ง ดังนี้ ชนเหล่านั้นก็เชื่อ ท่านได้กระทำแต่พอ

ประมาณแต่พระพุทธเจ้าผู้หาประมาณมิได้ ด้วยกรรมนั้นดังกล่าว

มานี้ จึงเป็นผู้มีขนาดต่ำกว่าชนเหล่าอื่นในที่ที่ตนเกิดแล้ว ด้วย

ประการยังนี้.

ครั้งพระศาสดาของเรา ท่านมาบังเกิดในตระกูลที่มีโภคะ

สมบัติมากในกรุงสาวัตถี พวกญาติขนานนามของท่านว่า ภัททิยะ

ท่านเจริญวัยแล้ว เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในเชตวันมหาวิหาร

จึงไปพระวิหารฟังพระธรรมเทศนา ได้ศรัทธาแล้วรับกรรมฐาน

ในสำนักของพระศาสดา เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว ต่อ

มาภายหลัง พระศาสดาประทับนั่งท่ามกลางพระอริยสงฆ์ทรง

สถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งผู้ยอดของเหล่าภิกษุผู้มีเสียงไพเราะ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 322

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ประวัติพระปิณโฑลภารทวาชะ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สีหนาทิกาน ความว่า ผู้บันลือสีหนาท คือพระ-

บิณโฑลภารทวาชะเป็นยอด ได้ยินมาว่า ในวันบรรลุพระอรหัต

ท่านถือเอาผ้ารองนั่งออกจากวิหารนี้ไปวิหารโน้น ออกจากบริเวณ

นี้ไปบริเวณโน้น เที่ยวบันลือสีหนาทว่า ท่านผู้ใด มีความสงสัย

ในมรรคหรือผล ท่านผู้นั้นจงถามเราดังนี้ ท่านยืนต่อพระพักตร

พระพุทธทั้งหลายบันลือสีหนาทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิจที่

ควรกระทำในศาสนานี้ถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้น ชื่อว่าผู้ยอดของเหล่า

ภิกษุผู้บันลือสีหนาท ก็ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าว

ตามลำดับต่อไปนี้

ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระ-

ปิณโฑลภารทวาชะนี้ บังเกิดในกำเนิดสีหะ ณ เชิงบรรพต พระ-

ศาสดาทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นเหตุสมบัติของท่าน (ความถึงพร้อม

แห่งเหตุ) จึงเสร็จทรงบาตรในกรุงสาวัตถี ภายหลังเสวยภัตตาหาร

แล้ว ในเวลาใกล้รุ่ง เมื่อสีหะออกไปหาเหยื่อ จึงทรงเข้าไปยังถ้ำ

ที่อยู่ของสีหะนั้น ประทับนั่งขัดสมาธิในอากาศเข้านิโรธสมาบัติ

พระยาสีหะได้เหยื่อแล้ว กลับมาหยุดอยู่ที่ประตูถ้ำ เห็นพระทศพล

ประทับนั่งภายในถ้ำ ดำริว่า ไม่มีสัตว์อื่นที่ชื่อว่าสามารถจะมา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 323

นั่งยังที่อยู่ของเรา บุรุษนี้ใหญ่แท้หนอ มานั่งขัดสมาธิภายในถ้ำ

ได้ แม้รัศมีสรีระของท่านก็แผ่ไปโดยรอบ เราไม่เคยเห็นสิ่งที่น่า

อัศจรรย์ถึงเพียงนี้ บุรุษนี้ จักเป็นยอดของปูชนียบุคคลในโลกนี้

แม้เราควรกระทำสักการะตามสติกำลังถวายพระองค์ จึงไปนำ

ดอกไม้ต่าง ๆ ทั้งที่เกิดในป่า ทั้งที่เกิดบนบกลาดเป็นอาสนะดอกไม้

ตั้งแต่พื้นจนถึงที่นั่งขัดสมาธิ ยืนนมัสการพระตถาคตในที่ตรง

พระพักตรตลอดคืนยังรุ่ง รุ่งขึ้นวันใหม่ก็นำดอกไม้เก่าออก เอา

ดอกไม้ใหม่ลาดอาสนะโดยทำนองนี้ เที่ยวตกแต่งปุบผาสนะถึง ๗ วัน

บังเกิดปีติโสมนัสอย่างแรง ยืนเฝ้าอยู่ที่ประตูถ้ำ ในวันที่ ๗ พระ-

ศาสดาออกจากนิโรธ ประทับยืนที่ประตูถ้ำ พระยาสีหะราชา

แห่งมฤคกระทำประทักษิณพระตถาคต ๓ ครั้ง ไหว้ในที่ทั้ง ๔

แล้วถอดออกไปยืนอยู่ พระศาสดาทรงดำริว่า เท่านี้จักพอเป็น

อุปนิสัยแก่เธอ เหาะกลับไปพระวิหารตามเดิม ฝ่ายพระยาสีหะนั้น

เป็นทุกข์เพราะพลัดพรากพระพุทธองค์กระทำกาละแล้วถือปฏิสนธิ

ในตระกูลมหาศาลในกรุงหงสวดี เจริญวัยแล้ว วันหนึ่งไปพระวิหาร

กับชาวกรุง ฟังพระธรรมเทศนา บำเพ็ญมหาทาน ๗ วัน โดยนัย

ที่กล่าวแล้วแต่หลัง กระทำกาละในภพนั้น เวียนว่ายอยู่ในเทวดา

และมนุษย์ทั้งหลาย มาบังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาลใน

กรุงราชคฤห์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ โดยชื่อมีชื่อว่า ภารทวาชะ

ท่านเจริญวัยแล้ว ศึกษาไตรเพทเที่ยวสอนมนต์แก่มาณพ ๕๐๐ คน

ท่านรับภิกษาของมาณพทุกคนด้วยตนเองเที่ยวในที่ที่เขาเชื้อเชิญ

เพราะตนเป็นหัวหน้า เขาว่าท่านภารทวาชะนี้เป็นคนมักโลเล

อยู่นิดหน่อย คือเที่ยวแสวงหาข้าวต้มข้าวสวยและของเคี้ยวไม่ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 324

ในที่ไหน ๆ กับมาณพเหล่านั้น ในที่ที่ท่านไปแล้วไปอีกก็ต้อนรับ

เพียงข้าวถ้วยเดียวเท่านั้น ดังนั้น จึงปรากฏชื่อว่า ปิณโฑลภาระ-

ทวาชะ วันหนึ่งเมื่อพระศาสดาเสด็จถึงกรุงราชคฤห์ ท่านได้ฟัง

ธรรมกถา ได้ศรัทธาแล้ว บวชบำเพ็ญวิปัสสนา ได้บรรลุพระ-

อรหัตแล้ว ในเวลาที่ท่านบรรลุพระอรหัตนั่นเอง ท่านถือเอาผ้า

ปูนั่งออกจากวิหารนี้ไปวิหารโน้น ออกจากบริเวณนี้ไปบริเวณโน้น

เที่ยวบันลือสีหนาทว่า ท่านผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล ขอท่าน

ผู้นั้นจงถามเราเถิด

วันหนึ่ง เศรษฐีในกรุงราชคฤห์เอาไม่ไผ่ต่อ ๆ กันขึ้นไป

แขวนบาตรไม้แก่นจันทน์ มีสีดังดอกชัยพฤกษ์ไว้ในอากาศ ท่าน

เหาะไปถือเอาด้วยฤทธิ์ เป็นผู้ที่มหาชนให้สาธุการแวดล้อมไป

พระวิหาร วางไว้ในพระหัตถ์ของพระตถาคตแล้ว พระศาสดา

ทรงทราบอยู่สอบถามว่า ภารทวาชะ เธอได้บาตรนี้มาแต่ไหน

ท่านจึงเล่าเหตุการณ์ที่ได้มาถวาย พระศาสดาตรัสว่า เธอแสดง

อุตตริมนุสสธรรมเห็นปานนี้แก่มหาชน เธอกระทำกรรมสิ่งที่ไม่ควร

ทำแล้ว ทรงตำหนิโดยปริยายเป็นอันมากแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทว่า

"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ควรแสดงอุตตริมนุสสธรรมอันเป็น

อิทธิปาฏิหาริย์แก่พวกคฤหัสถ์ทั้งหลาย ผู้ใดขืนแสดงต้องอาบัติ

ทุกกฎ" ดังนี้ ทีนั้นเกิดพูดกันในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ว่า พระเถระ

ที่บันลือสีหนาทในวันที่ตนบรรลุพระอรหัต บอกในท่ามกลางภิกษุ-

สงฆ์ว่า ผู้ใดมีความสงสัยในมรรคหรือผล ผู้นั้นจงถามเรา ดังนี้

ในที่ต่อพระพักตรพระพุทธเจ้า ก็ทูลถึงการบรรลุพระอรหัตของตน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 325

พระสาวกเหล่าอื่นก็นิ่ง โดยความที่ตนชอบบันลือสีหนาทนั่นเอง

แม้จะทำมหาชนให้เกิดความเลื่อมใสเหาะไปรับบาตรไม้แก่นจันทน์

ภิกษุเหล่านั้นกระทำคุณทั้ง ๓ เหล่านี้เป็นอันเดียวกัน กราบทูล

แก่พระศาสดาแล้ว ก็ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมทรง

ติเตียนผู้ที่ควรติเตียน ย่อมทรงสรรเสริญ ผู้ที่ควรสรรเสริญ ใน

ฐานะนี้ พระศาสดาทรงถือว่า ความเป็นยอดของพระเถระที่สมควร

สรรเสริญนั้นแหละ แล้วสรรเสริญพระเถระว่า ก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะอินทรีย์ ๓ นั่นแล เธอเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ภารทวาช-

ภิกษุได้พยากรณ์พระอรหัตแลว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราอยู่

จบแล้ว กิจที่ควรทำ เราทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็น

อย่างนี้ อินทรีย์ ๓ เป็นไฉน คือ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอินทรีย์ ๓ เหล่านี้แล เธอเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ภารทวาชภิกษุ พยากรณ์แล้วซึ่งพระอรหัตตผล

ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราอยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ

ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ ดังนี้ จึงทรงสถาปนา

ไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุบันลือสีหนาทแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 326

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ประวัติพระปุณณมันตานีบุตรเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

คำว่า ปุณณมันตานีบุตร คือพระเถระชื่อว่า ปุณณะ โดยชื่อ

แต่ท่านเป็นบุตรของนางมันตานีพราหมณี (จึงชื่อว่า ปุณณมันตานี-

บุตร) ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า ก่อนที่พระทศพลพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงอุบัติ

ท่านปุณณะบังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล กรุงหงสวดี ใน

วันขนานนามท่าน พวกญาติขนานนามว่า โคตมะ ท่านเจริญวัย

แล้วเรียนไตรเพท เป็นผู้ฉลาดในศิลปศาสตร์ทั้งปวง มีมาณพ ๕๐๐

เป็นบริวาร เที่ยวไป จึงพิจารณาไตรเพทดูก็ไม่เห็นโมกขธรรม

เครื่องพ้น คิดว่า ธรรมดาไตรเพทนี้เหมือนต้นกล้วย ข้างนอกเกลี้ยงเกลา

ข้างในหาสาระมิได้ การถือไตรเพทนี้เที่ยวไป ก็เหมือนบริโภคแกลบ

เราจะต้องการอะไรด้วยศิลปะนี้ จึงออกบวชเป็นฤาษีทำพรหมวิหาร

ให้บังเกิด เป็นผู้มีฌานไม่เสื่อมก็จักเข้าถึงพรหมโลก ดังนี้ จึงพร้อม

กับมาณพ ๕๐๐ ไปยังเชิงเขาบวชเป็นฤาษีแล้ว ท่านมีชฏิล ๑๘,๐๐๐

เป็นบริวาร ท่านทำอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้บังเกิดแล้ว บอก

กสิณบริกรรมแก่ชฏิลเหล่านั้นด้วย ชฏิลเหล่านั้นตั้งอยู่ในโอวาท

ของท่าน บำเพ็ญจนได้อภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ทุกรูป.

เมื่อกาลเป็นเวลานานไกลล่วงไป ในเวลาที่โคตมดาบส

นั้นเป็นคนแก่ พระปทุมุตตระทศพลก็ทรงบรรลุปรมาภิสัมโพธิญาณ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 327

ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร

ทรงอาศัยกรุงหงสวดีประทับอยู่ วันหนึ่งพระทศพลนั้นทรงตรวจ

ดูสัตวโลกในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอรหัตตูปนิสัยของบริษัทโคตม-

ดาบส และความปรารถนาของโคตมดาบส (ที่ปรารถนาว่า ขอเรา

พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก ในศาสนาของพระ-

พุทธเจ้าผู้จะทรงบังเกิดในกาลภายหน้าเถิด) จึงชำระสรีระแต่

เช้าตรู่ ถือบาตรและจีวรด้วยพระองค์เอง เสด็จไปโดยเพศที่ใคร ๆ

ไม่รู้จัก ในเมื่ออันเตวาสิกของโคตมดาบสไปเพื่อแสวงหาผลหมาก

รากไม้ในป่า ไปประทับยืนที่ประตูบรรณศาลาของโคตมดาบส

ฝ่ายโคตมดาบสแม้ไม่ทราบว่า พระพุทธเจ้าทรงอุบัติแล้ว เห็น

พระทศพลมาแต่ไกลเทียวก็ทราบได้ว่า บุรุษผู้นี้ปรากฏ น่าจะ

เป็นคนพ้นโลกแล้ว เหมือนความสำเร็จแห่งสรีระของพระองค์

ซึ่งประกอบด้วยจักกลักษณะ หากครองเรือนก็จักเป็นพระเจ้า-

จักรพรรดิ์ หากออกบวชก็จักเป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้า ผู้มีกิเลส

ดุจหลังคาเปิดแล้ว ดังนี้ จึงถวายอภิวาทพระทศพล โดยการพบ

ครั้งแรกเท่านั้น ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดมาประทับ

ทางนี้ ปูนลาดอาสนะถวายแล้ว พระตถาคตประทับนั่งแสดงธรรม

แก่โคตมดาบส ขณะนั้นพวกชฏิลเหล่านั้นมาด้วยหมายว่า จักให้

ผลหมากรากไม้ในป่าที่ประณีต ๆ แก่อาจารย์ ส่วนที่เหลือจัก

บริโภคเอง ดังนี้ เห็นพระทศพลประทับนั่งบนอาสนะสูง แต่อาจารย์

นั่งบนอาสนะต่ำ ต่างสนทนากันว่า พวกเราคิดกันว่า ในโลกนี้

ไม่มีใครที่ยิ่งกว่าอาจารย์ของเรา แต่บัดนี้ปรากฏว่า บุรุษนี้ผู้เดียว

ให้อาจารย์ของเรานั่งบนอาสนะต่ำ ตนเองนั่งบนอาสนะสูง มนุษย์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 328

นี้ทีจะเป็นใหญ่หนอ ดังนี้ ต่างถือตะกร้าพากันมา โคตมดาบส

เกรงว่า ชฏิลเหล่านี้จะพึงไหว้เราในสำนักพระทศพล จึงกล่าวว่า

พ่อทั้งหลายอย่าไหว้เรา บุคคลผู้เลิศในโลกพร้อมทั้งเทวโลกเป็นผู้

ควรที่ท่านทุกคนพึงไหว้ได้ ท่านทั้งหลายจงไหว้บุรุษผู้นี้ ดาบส

ทั้งหลายคิดว่า อาจารย์ไม่รู้คงไม่พูด จึงถวายบังคมพระบาทแห่ง

พระตถาคตเจ้าหมดทุกองค์ โคตมดาบสกล่าวว่า พ่อทั้งหลาย เรา

ไม่มีโภชนะอย่างอื่นที่สมควรถวายแด่พระทศพล เราจักถวาย

ผลหมากรากไม้ในป่านี้ จึงเลือกผลาผลที่ประณีต ๆ บรรจงวางไว้

ในบาตรของพระพุทธเจ้า ถวายแล้ว พระศาสดาเสวยผลหมาก-

รากไม้ในป่าแล้ว ต่อจากนั้น แม้ดาบสเองกับอันเตวาสิกจึงฉัน

พระศาสดาเสวยเสร็จแล้วทรงพระดำริว่า พระอัครสาวกทั้ง ๒

จงพาภิกษุแสนรูปมา ในขณะนั้น พระมหาวิมลเถระอัครสาวกรำลึกว่า

พระศาสดาเสด็จไปที่ไหนหนอ ก็ทราบว่า พระศาสดาทรงประสงค์

ให้เราไปจึงพาภิกษุแสนรูปไปเฝ้าถวายบังคมอยู่ พระดาบสกล่าวกะ

อันเตวาสิกว่า พ่อทั้งหลาย พวกเราไม่มีสักการะอื่น (ทั้ง) ภิกษุสงฆ์

ก็ยืนอยู่ลำบาก เราจักปูลาดบุปผาสนะถวายภิกษุสงฆ์มีพระพุทธ-

องค์เจ้าเป็นประธาน ท่านทั้งหลายจงไปนำเอาดอกไม้ที่เกิดทั้งบนบก

ทั้งในน้ำมาเถิด ในทันใดนั้นเอง ดาบสเหล่านั้น จึงนำเอาดอกไม้

อันสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมาจากเชิงเขาด้วยอิทธิฤทธิ์ ปูลาด

อาสนะทั้งหลายโดยนัยที่กล่าวไว้ในเรื่องของพระสารีบุตรเถระ

นั่นแล การเข้านิโรธสมาบัติก็ดี การกั้นฉัตรก็ดี ทุกเรื่อง พึงทราบ

โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 329

ในวันที่ ๗ พระศาสดาทรงออกจากนิโรธสมาบัติ ทรง

เห็นดาบสทั้งหลายยืนล้อมอยู่ จึงตรัสเรียกพระสาวกผู้บรรลุ

เอตทัคคะในความเป็นพระธรรมกถึกตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หมู่

ฤาษีนี้ ได้กระทำสักการะใหญ่ เธอจงกระทำอนุโมทนาบุปผาสนะ

แก่หมู่ฤาษีเหล่านี้ ภิกษุนั้นรับพระพุทธดำรัสแล้วพิจารณา

พระไตรปิฎกกระทำอนุโมทนา เวลาจบเทศนาของภิกษุนั้น

พระศาสดาทรงเปล่งพระสุระเสียงดุจเสียงพรหมแสดงธรรม

ด้วยพระองค์เอง เมื่อจบเทศนา (เว้น) โคตมดาบสเสีย ชฏิล

๑๘,๐๐๐ รูปที่เหลือได้บรรลุพระอรหัต ส่วนโคตมดาบสไม่อาจ

ทำการแทงตลอดโดยอัตภาพนั้น จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า

ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุผู้ที่แสดงธรรมก่อนนี้ ชื่อว่า

อย่างไร ในศาสนาของพระองค์ พ.ตรัสว่า โคตมดาบส ภิกษุ

นี้เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึกในศาสนาของเรา

โคตมดาบสหมอบแทบบาทมูล กระทำความปรารถนาว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ด้วยผลแห่งบุญกุศลที่ข้าพระองค์ทำมา ๗

วันนี้ ข้าพระองค์พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก

ในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต เหมือนดัง

ภิกษุรูปนี้ พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาล ก็ทรงทราบว่า

ความปรารถนาของโคดมดาบสนั้นสำเร็จโดยหาอันตรายมิได้

แล้วทรงพยากรณ์ว่า ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคตกาลพระ-

พุทธเจ้าพระนามว่า โคตม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นยอด

ของเหล่าภิกษุผู้เป็นธรรมกถึกในศาสนาของพระองค์แล้วตรัส

กะดาบสผู้บรรลุพระอรหัตว่า เอถ ภิกฺขโว จงเป็นภิกษุมาเถิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 330

ดังนี้ ดาบสทุกรูปมีผมและหนวดอันตรธานไป ทรงบาตรและ

จีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ ได้เป็นเช่นกับพระเถระ ๑๐๐ พรรษา

พระศาสดาทรงพาภิกษุสงฆ์เสด็จกลับพระวิหาร ฝ่ายโคตม-

ดาบสก็บำรุงพระตถาคตจนตลอดชีวิต บำเพ็ญแต่กัลยาณกรรม

ตามกำลัง เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายแสนกัป

ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา จึงมาเกิดในตระกูลพราหมณ์

มหาศาล ในหมู่บ้านพราหมณ์ชื่อโทณวัตถุไม่ไกลกรุงกบิลพัสดุ์

ในวันขนานนามของท่าน พวกญาติขนานนามท่านว่า ปุณณมาณพ

ครั้งเมื่อพระศาสดาทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณ ทรงประกาศ

ธรรมจักรอันประเสริฐ เสด็จดำเนินมาโดยลำดับ เข้าอาศัยอยู่

ยังกรุงราชคฤห์ พระอัญญาโกณฑัญญเถระ มายังกรุงกบิลพัสดุ์

ให้ปุณณมาณพหลานชายของตนบวชแล้ว รุ่งขึ้นจึงมาเฝ้าพระทศพล

ถวายบังคมแล้วก็ทูลลาไปยังฉัททันตสระ เพื่อพักผ่อนกลางวัน

ฝ่ายพระปุณณมันตานีบุตรมาเฝ้าพระทศพลพร้อมกับพระอัญญา-

โกณฑัญญเถระผู้ลุง คิดว่า เราจักทำกิจแห่งบรรพชิตของเรา

ให้ถึงที่สุดแล้ว จึงจักไปเฝ้าพระทศพล ดังนี้ จึงถูกละไว้ในกรุง-

กบิลพัสดุ์นั่นเอง กระทำโยนิโสมนสิการกรรมฐาน ไม่นานนัก

ก็บรรลุพระอรหัต มีกุลบุตรออกบวชในสำนักของท่านถึง ๕๐๐ รูป

พระเถระเองได้กถาวัตถุ ๑๐ จึงสอนแม้แก่บรรพชิตเหล่านั้นด้วย

กถาวัตถุ ๑๐ บรรพชิตเหล่านั้นดำรงอยู่ในโอวาทของท่านก็ได้

บรรลุพระอรหัตทุกรูปเทียว ภิกษุเหล่านั้นรู้ว่า กิจแห่งบรรพชิต

ของตนถึงที่สุดแล้ว จึงเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 331

กิจของพวกกระผมและผู้ได้มหากถาวัตถุ ๑๐ ถึงที่สุดแล้ว เป็น

สมัยที่พวกกระผมจะเฝ้าพระทศพล พระเถระฟังถ้อยคำของภิกษุ

เหล่านั้นแล้วจึงคิดว่า พระศาสดาทรงทราบว่า เราได้กถาวัตถุ ๑๐

เมื่อเราแสดงธรรมก็แสดงไม่พ้นกถาวัตถุ ๑๐ เมื่อเราไปภิกษุ

ทั้งหมดนี้ก็จะแวดล้อมไป ก็การไปด้วยคลุกคลีด้วยหมู่คณะอย่างนี้

เข้าเฝ้าพระทศพลของเราก็ไม่ควร ภิกษุ เหล่านี้จงไปเฝ้าก่อน ดังนี้

จึงกล่าวกะภิกษุเหล่านั้นว่า อาวุโส ท่านทั้งหลายจงเดินล่วงหน้า

ไปเฝ้าพระตถาคต และจงกราบพระบาทของพระองค์ตามคำของเรา

แม้เราก็จักไปตามทางที่ท่านไปแล้ว ดังนี้ ภิกษุเหล่านั้นทุกรูป

ล้วนอยู่ในรัฐที่เป็นชาติภูมิเดียวกับพระทศพล ทั้งหมดเป็นพระ-

ขีณาสพ ได้กถาวัตถุ ๑๐ หมดทุกรูป ยินดียิ่งซึ่งโอวาทของอุปัชฌาย์

ของตน ไหว้พระเถระแล้วเที่ยวจาริกไปโดยลำดับ ล่วงหนทางถึง

๖๐ โยชน์จนถึงพระเชตวันมหาวิหารในกรุงราชคฤห์ ถวายบังคม

พระบาทของพระทศพลแล้วพากันนั่งอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง

ก็นี่เป็นอาจิณณวัตรของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายที่จะ

ทรงชื่นชอบตอบกับอาคันตุกะภิกษุทั้งหลาย ดังนั้น พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าจึงทรงกระทำปฏิสันถารด้วยมธุรวาจากับภิกษุเหล่านั้น

โดยนัยมีอาทิว่า กจฺจิ ภิกฺขเว ขมนีย พอทนได้หรือภิกษุทั้งหลาย

แล้วตรัสถามว่า พวกเธอมาแต่ไหน เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลตอบว่า

จากชาติภูมิแล้ว จึงตรัสถามภิกษุผู้ได้กถาวัตถุ ๑๐ ว่าดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกภิกษุผู้เป็นเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิกันได้

สรรเสริญใครหนอแลอย่างนี้ว่า ตนเองก็ปรารถนาน้อยด้วย สอน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 332

ภิกษุทั้งหลายเรื่องปรารถนาน้อยด้วย ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ว่า พระเจ้าข้า ท่านชื่อว่า ท่านปุณณมันตานีบุตร พระเจ้าข้า ท่าน

พระสารีบุตรได้ฟังถ้อยคำนั้น จึงเป็นผู้ใคร่เพื่อจะพบพระเถระ

ครั้งนั้น พระศาสดาได้เสด็จออกจากกรุงราชคฤห์ไปสู่กรุงสาวัตถี

พระปุณณเถระได้ยินว่า พระทศพลเสด็จมากรุงสาวัตถี จึงคิดว่า

เราจักเฝ้าพระศาสดา จึงออกเดินไปจนทันเฝ้าพระตถาคต ที่ภายใน

พระคันธกุฎีทีเดียว พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่ท่าน พระเถระ

สดับธรรมแล้ว ถวายบังคมพระทศพลแล้วไปยังป่าอันธวันเพื่อ

หลีกเร้นจึงนั่งพักกลางวันที่โคนไม้ต้นหนึ่ง แม้พระสารีบุตรเถระ

ทราบว่าท่านมา มองหาทิศทางแล้วเดินไปกำหนดโอกาสเข้าไป

ยังโคนไม้นั้นแล้วสนทนากับพระเถระ ถามถึงลำดับแห่งวิสุทธิ ๗

แม้พระเถระก็พยากรณ์ที่ท่านถามแล้วถามเล่าถวายท่าน พระเถระ

ทั้งสองนั้น ต่างอนุโมทนาสุภาษิตของกันและกัน ต่อมาภายหลัง

พระศาสดาทรงประทับนั่งท่ามกลางภิกษุสงฆ์ทรงสถาปนาพระ-

เถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุเป็นธรรมกถึกแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 333

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ประวัติพระมหากัจจายนเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

บทว่า สงฺขิตฺเตน ภาสิตสฺส ความว่า ของธรรมที่ตรัสไว้

โดยย่อ. บทว่า วิตฺถาเรน อตฺถ วิภชนฺตาน ความว่า จำแนกอรรถ

ออกทำเทศนานั้นให้พิสดาร. นัยว่าพวกภิกษุเหล่าอื่นไม่อาจทำ

พระดำรัสโดยย่อของพระตถาคตให้บริบูรณ์ ทั้งโดยอรรถทั้งโดย

พยัญชนะได้ แต่พระเถระนี้อาจทำให้บริบูรณ์ได้แม้โดยทั้ง ๒ อย่าง

เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่าเป็นยอด. ก็แม้ความปรารถนาแต่ปาง

ก่อนของพระเถระนั้น ก็เป็นอย่างนี้. อนึ่ง ในปัญหากรรมของ

พระเถระนั้น มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ

พระเถระนั้นบังเกิดในสกุลคฤหบดีผู้มหาศาล เจริญวัยแล้ว วันหนึ่ง

ไปวิหารตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท เห็น

ภิกษุรูปหนึ่งที่พระศาสดาทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเป็นยอด

ของเหล่าภิกษุผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัสที่พระองค์ตรัสโดยย่อ

ให้พิสดาร จึงคิดว่า ภิกษุซึ่งพระศาสดาทรงชมเชยอย่างนี้เป็นใหญ่

หนอ แม้ในอนาคตกาล เราก็ควรเป็นอย่างภิกษุนี้ในศาสนาของ

พระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งดังนี้. จึงนิมนต์พระศาสดาถวายมหาทาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 334

๗ วัน ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล. หมอบลงแทบบาทมูลของพระ-

ศาสดา การทำความปรารถนาว่าพระเจ้าข้า ด้วยผลแห่งสักการะนี้

ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอื่น แต่ในอนาคตกาล ขอข้าพระองค์

พึงได้ตำแหน่งนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง เหมือน

ภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง ในวันสุดท้าย ๗ วัน

นับแต่วันนี้ พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตกาล ทรงเห็นว่า ความ

ปรารถนาของกุลบุตรนี้จักสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์ว่า กุลบุตร

ผู้เจริญ ในที่สุดแห่งแสนกัปในอนาคต พระพุทธเจ้าพระนามว่า

โคดม จักทรงอุบัติขึ้น ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จำแนก

อรรถแห่งคำที่ตรัสโดยสังเขปให้พิสดาร ในศาสนาของพระองค์

ดังนี้ทรงกระทำอนุโมทนาแล้วเสด็จกลับไป.

ฝ่ายกุลบุตรนั้นบำเพ็ญกุศลตลอดชีพแล้วเวียนว่ายในเทวดา

และมนุษย์ทั้งหลายแสนกัป ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าก็มาถือปฏิสนธิ

ในครอบครัวกรุงพาราณสี เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ก็ไป

ยังสถานที่สร้างเจดีย์ทอง จึงเอาอิฐทองมีค่าแสนหนึ่งบูชา ตั้งความ

ปรารถนาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า สรีระของข้าพระองค์

จงมีวรรณเพียงดังทองในที่ ๆ เกิดแล้วเถิด. ต่อแต่นั้น ก็การทำ

กุศลกรรมตราบเท่าชีวิต เวียนว่ายในเทวดาและมนุษย์พุทธันดร

หนึ่ง ครั้งพระทศพลของเราอุบัติ มาบังเกิดในเรือนแห่งปุโรหิต

ในกรุงอุชเชนี ในวันขนานนามท่าน มารดาบิดาปรึกษากันว่า

บุตรของเรามีสรีระมีผิวดังทอง คงจะถือเอาชื่อของตนมาแล้ว จึง

ขนานนามท่านว่า กาญจนมาณพ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 335

พอท่านโตขึ้นแล้วก็ศึกษาไตรเพท เมื่อบิดาวายชนม์แล้ว

ก็ได้ตำแหน่งปุโรหิตแทน โดยโคตรชื่อว่ากัจจายนะ พระเจ้าจัณฑ-

ปัชโชตทรงประชุมอำมาตย์แล้วมีพระราชดำรัสว่า พระพุทธเจ้า

ทรงบังเกิดขึ้นในโลกแล้ว พวกเจ้าเป็นผู้สามารถจะทูลนำพระองค์

มาได้ ก็จงนำพระองค์มานะพ่อนะ อำมาตย์ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ

คนอื่นชื่อว่าเป็นผู้สามารถจะนำพระทศพลมาไม่มี อาจารย์กาญจน-

พราหมณ์เท่านั้นสามารถ ขอจงทรงส่งท่านไปเถิดพระเจ้าข้า

พระราชาตรัสเรียกให้กัจจายนะมาตรัสสั่งว่า พ่อจงไปยังสำนัก

ของพระทศพลเจ้า อ.ทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า เมื่อข้าพระองค์

ไปแล้วได้บวชก็จักไป พระราชาตรัสว่า เจ้าจะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

แล้วก็น่าพระตถาคตมาซิพ่อ. กัจจายนอำมาตย์นั้นคิดว่า สำหรับ

ผู้ไปสำนักของพระพุทธเจ้าไม่จำต้องทำด้วยคนจำนวนมาก ๆ

จึงไปเพียง ๘ คน. ครั้งนั้นพระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่อำมาตย์

นั้น จบเทศนาท่านได้บรรลุพระอรหัตพร้อมทั้งปฏิสัมภิทากับ

ชนทั้ง ๗ คน พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า เอถ ภิกฺขโว

(ท่านทั้งหลายจงเป็นภิกษุเถิด) ในขณะนั้นนั่นเทียว ทุก ๆ คนก็มี

ผมและหนวดหายไป ทรงบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ เป็น

ประดุจพระเถระ ๑๐๐ พรรษาฉะนั้น. พระเถระเมื่อกิจของตน

ถึงที่สุดแล้วไม่นั่งนิ่ง กล่าวสรรเสริญการเสด็จไปกรุงอุชเชนี

ถวายพระศาสดาเหมือนพระกาฬุทายีเถระ พระศาสดาสดับคำ

ของท่านแล้วทรงทราบว่า พระกัจจายนะย่อมหวังการไปของเรา

ในชาติภูมิของตน แต่ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงอาศัยเหตุ

อันหนึ่ง จึงไม่เสด็จไปสู่ที่ที่ไม่สมควรเสด็จ. เพราะฉะนั้นจึงตรัสกะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 336

พระเถระว่า ภิกษุ ท่านนั่นแหละจงไป เมื่อท่านไปแล้ว พระราชา

จักทรงเลื่อมใส พระเถระคิดว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ตรัสเป็น

คำสอง ดังนี้จึงถวายบังคมพระตถาคต ไปกรุงอุชเชนีพร้อมกับ

ภิกษุทั้ง ๗ รูปที่มาพร้อมกับตนนั่นแหละ ในระหว่างทางภิกษุ

เหล่านั้นได้เที่ยวบิณฑบาตในนิคมชื่อว่า นาลินิคม.

ในนิคมแม้นั้น มีธิดาเศรษฐี ๒ คน คนหนึ่งเกิดในตระกูล

เก่าแก่เข็ญใจ เมื่อมารดาบิดาล่วงไปแล้ว ก็อาศัยเป็นนางนมเลี้ยง

ชีพ. แต่อัตภาพของเธอบึกบึน ผมยาวเกินคนอื่น ๆ, ในนิคมนั้น

นั่นแหละ ยังมีธิดาของตระกูลอิศรเศรษฐีอีกคนหนึ่ง เป็นคนไม่มีผม

เมื่อก่อนนั้นมาแม้นางจะกล่าวว่า ขอให้นาง (ผมดก) ส่งไปให้

ฉันจักให้ทรัพย์ ๑๐๐ หนึ่ง หรือ ๑,๐๐๐ หนึ่งแก่เธอ ก็ให้เขานำ

ผมมาไม่ได้ ก็ในวันนั้น ธิดาเศรษฐีนั้นเห็นพระมหากัจจายนเถระ

มีภิกษุ ๗ รูปเป็นบริวาร เดินมามีบาตรเปล่า คิดว่าภิกษุผู้เป็น

เผ่าพันธุ์พราหมณ์รูปหนึ่ง มีผิวดังทองรูปนี้เดินไปบาตรเปล่า

ทรัพย์อย่างอื่นของเราก็ไม่มี แต่ว่าธิดาเศรษฐีบ้านโน้น (เคย)

ส่ง (คน) มาเพื่อต้องการผมนี้ ตอนนี้เราอาจถวายไทยธรรมแก่

พระเถระได้ด้วยทรัพย์ที่เกิดจากที่ได้ค่าผมนี้ ดังนี้จึงส่งสาวใช้

ไปนิมนต์พระเถระทั้งหลายให้นั่งภายในเรือน พอพระเถระนั่งแล้ว

(นาง) ก็เข้าห้องตัดผมของตน กล่าวว่า แน่แม่ จงเอาผมเหล่านี้

ให้แก่ธิดาเศรษฐีบ้านโน้น แล้วเอาของที่นางให้มา เราจะถวาย

บิณฑบาตแก่พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย. สาวใช้เอาหลังมือเช็ดน้ำตา

เอามือข้างหนึ่งกุมเนื้อตรงหัวใจปกปิดไว้ในสำนักพระเถระทั้งหลาย

ถือผมนั้นไปยังสำนักของธิดาเศรษฐี. ธรรมดาขึ้นชื่อว่าของที่จะขาย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 337

แม้มีสาระ (ราคา) เจ้าของนำไปให้เอง ก็ไม่ทำให้เกิดความเกรงใจ.

ฉะนั้น ธิดาเศรษฐีจึงคิดว่า เมื่อก่อนเราไม่อาจจะให้นำผมเหล่านี้

มาได้ด้วยทรัพย์เป็นอันมาก แต่บัดนี้ตั้งแต่เวลาตัดออกแล้ว ก็ไม่ได้

ตามราคาเดิม จึงกล่าวกะสาวใช้ว่า เมื่อก่อนฉันไม่อาจให้นำผมไป

แม้ด้วยทรัพย์เป็นอันมาก แต่ผมนี้นำไปที่ไหน ๆ ก็ได้ ไม่ใช่ผมของ

คนเป็น มีราคาแค่ ๘ กหาปณะ จึงให้ไป ๘ กหาปณะเท่านั้น สาวใช้

นำกหาปณะไปมอบให้แก่ธิดาเศรษฐี. ธิดาเศรษฐีก็จัดบิณฑบาต

แต่ละที่ ให้มีค่าที่ละกหาปณะหนึ่ง ๆ ให้ถวายแด่พระเถระทั้งหลาย

แล้ว. พระเถระรำพึงแล้ว เห็นอุปนิสัยของธิดาเศรษฐี จึงถามว่า

ธิดาเศรษฐีไปไหนะ สาวใช้ตอบว่า อยู่ในห้องเจ้าค่ะ พระเถระว่า

จงไปเรียกนางมาซิ. พระเถระพูดครั้งเดียวนางมาด้วยความเคารพ

ในพระเถระ ไหว้พระเถระแล้วเกิดศรัทธาอย่างแรง บิณฑบาต

ที่ตั้งไว้ในเขตอันบริสุทธิ์ ย่อมให้วิบากในปัจจุบันชาติทีเดียว เพราะ

ฉะนั้น พร้อมกับการไหว้พระเถระ ผมทั้งหลายจึงกลับมาตั้งอยู่เป็น

ปกติ.

ฝ่ายพระเถระทั้งหลายถือเอาบิณฑบาตนั้นเหาะขึ้นไปทั้งที่

ธิดาเศรษฐีเห็น ก็ลงพระราชอุทยานชื่ออุทธยานกัญจนะ คนเฝ้า

พระราชอุทยานเห็นพระเถระนั้นแล้วจึงไปเข้าเฝ้าพระราชา กราบ

ทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระคุณเจ้าภัจจายนะปุโรหิตของเราบวช

แล้วกลับมายังอุทยานแล้วพระเจ้าข้า พระเจ้าจัณฑปัชโชตจึงเสด็จ

ไปยังอุทยาน ไหว้พระเถระผู้กระทำภัตกิจแล้วด้วยเบญจางคประดิษฐ์

แล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง ตรัสถามว่า ท่านเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่ไหนล่ะ พระเถระทูลว่า พระองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 338

มิได้เสด็จมาเอง ทรงส่งอาตมะมา มหาบพิตร พระราชาตรัสถามว่า

ท่านผู้เจริญ วันนี้พระคุณเจ้าได้ภิกษา ณ ที่ไหน พระเถระทูล

บอกเรื่องที่กระทำได้โดยยากที่ธิดาเศรษฐีกระทำทุกอย่างให้

พระราชาทรงทราบ ตามถ้อยคำควรแก่ที่ตรัสถาม พระราชา

ตรัสให้จัดแจงที่อยู่แก่พระเถระแล้วนิมนต์พระเถระไปยังนิเวศน์

แล้วรับสั่งให้ไปนำธิดาเศรษฐีมาตั้งไว้ในตำแหน่งอัครมเหษีแล้ว

ก็การได้ยศในปัจจุบันชาติได้มีแล้วแก่หญิงนี้ จำเดิมแต่นั้นพระราชา

ทรงกระทำสักการะใหญ่แก่พระเถระ มหาชนเลื่อมใสในธรรมกถา

ของพระเถระ บวชในสำนักของพระเถระ จำเดิมแต่กาลนั้น ทั่ว

พระนครก็รุ่งเรื่องด้วยผ้ากาสาวพัตรเป็นอันเดียวกัน คลาคล่ำ

ไปด้วยหมู่ฤาษี ฝ่ายพระเทวีนั้นทรงครรภ์ พอล่วงทศมาสก็ประสูติ

พระโอรส ในวันถวายพระนามโอรสนั้น พระญาติทั้งหลายถวาย

พระนามของเศรษฐีผู้เป็นตาว่า โคปาลกุมาร. พระมารดาก็มี

พระนามว่า โคปาลมารดาเทวี ตามชื่อของพระโอรส พระนาง

ทรงเลื่อมใสในพระเถระอย่างยิ่ง ขอพระราชานุญาตสร้างวิหาร

ถวายพระเถระในกัญจนราชอุทยาน. พระเถระยังชาวอุชเชนี

ให้เลื่อมใสแล้ว ไปเฝ้าพระศาสดาอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาภายหลัง

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ทรงการทำพระสูตร

๓ สูตร เหล่านี้คือ มธุบิณฑิกสูตร, กัจจายนเปยยาลสูตร, ปรายน-

สูตร ให้เป็นอรรถุปบัติเหตุ แล้วทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่ง

เป็นยอดของเหล่าภิกษุ ผู้จำแนกอรรถแห่งพระดำรัสที่ทรงตรัส

โดยย่อให้พิสดารแล้ว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 339

วรรคที่ ๒

อรรถกถาสูตรที่ ๑-๒

ประวัติพระจุลลปัณฐกเถระ และพระมหาปัณฐกเถระ

วรรคที่ ๒ สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า มโนมย ความว่า กายที่บังเกิดขึ้นด้วยใจ ในอาคตสถาน

ที่ตรัสไว้ว่า "เข้าไปหาแล้วด้วยมโนมยิทธิทางกาย" ชื่อว่ากาย-

มโนมัย. กายที่บังเกิดขึ้นด้วยใจในอาคตสถานที่กล่าวไว้ว่า ย่อม

เข้าถึงกาย้อนสำเร็จด้วยใจอย่างใดอย่างหนึ่ง" ก็ชื่อว่ากายมโนมัย.

ในที่นี้ ประสงค์เอากายมโนมัยนี้.

ในกายทั้ง ๒ อย่างนี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่าอื่น เมื่อทำมโนมัย-

กายให้เกิดขึ้น ก็ทำให้เกิดขึ้น ๓ บ้าง ๔ บ้าง แต่ทำคนมากให้

บังเกิดเป็นเหมือนคนเดียวกันไม่ได้, ชื่อว่ากระทำกรรมได้อย่าง

เดียวเท่านั้น. ส่วนพระเถระชื่อว่าจุลลปัณฐก นิรมิตพระ ๑,๐๐๐ รูป

ได้ด้วยอาวัชชนะเดียว แต่กระทำแก่ ๒ คนให้เสมือนเป็นคน ๆ เดียว

กันไม่ได้ ชื่อว่ากระทำกรรมอย่างเดียวไม่ได้. เพราะฉะนั้น ท่าน

ชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้นิรมิตมโนมัยกาย. พระจุลลปัณฐก

นับว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุ คือภิกษุผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏะ. ส่วน

พระมหาปัณฐกเถระท่านกล่าวว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาด

ในปัญญาวิวัฏฏะ. บรรดาทั้งสองรูปนั้น พระจุลลปัณฐกเถระท่าน

กล่าวว่าเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏะ เพราะได้รูปาวจรฌาน ๔.

พระมหาปัณฐกเถระท่านกล่าวว่า เป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 340

เพราะเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ. พระมหาปัณฐก ชื่อว่า ผู้ฉลาดใน

ปัญญาวิวัฏฏะ เพราะเป็นผู้ฉลาดในวิปัสสนา อนึ่ง ในภิกษุ ๒ รูปนี้

รูปหนึ่งฉลาดในลักขณะสมาธิ รูปหนึ่งฉลาดในลักขณะแห่งวิปัสสนา

อนึ่ง รูปหนึ่งฉลาดในการหยั่งลงสมาธิ รูปหนึ่งฉลาดในการหยั่ง

ลงสู่วิปัสสนา อีกนัยหนึ่ง ใน ๒ รูปนี้ รูปหนึ่งฉลาดในการย่อองค์

รูปหนึ่งฉลาดในการย่ออารมณ์ อีกนัยหนึ่ง องค์หนึ่งฉลาดในการ

กำหนดองค์ องค์หนึ่งฉลาดในการกำหนดอารมณ์ พึงการทำการ

ประกอบความในภิกษุ ๒ รูปนี้ ด้วยประการยังกล่าวมานี้ อีก

อย่างหนึ่ง พระจุลลปัณฐกเถระ เป็นผู้ได้รูปาวจรฌาน ออกจาก

องค์ฌานแล้วบรรลุพระอรหัต ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในเจโต-

วิวัฎฏะ พระมหาปัณถกเป็นผู้ได้อรูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌาน

แล้วบรรลุพระอรหัต ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะ

พระเถระทั้ง ๒ รูปที่มีชื่อว่า ปัณฐกะ เพราะท่านเกิดที่หนทาง

ทั้งสองรูปนั้น รูปที่เกิดก่อนชื่อว่า มหาปัณฐกะ อีกรูปหนึ่งชื่อว่า

จุลลปัณฐกะ ก็ในปัญหากรรมของพระเถระทั้ง ๒ รูปนี้ มีเรื่อง

ที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้

ก็ในอดีตกาลครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ มีกุฏุมพี

๒ พี่น้อง เป็นชาวเมืองหงสวดี เลื่อมใสในพระศาสนาไปฟังธรรม

สำนักพระศาสดาเป็นนิตย์. ในกุฏุมพี ๒ พี่น้องนั้น วันหนึ่งน้องชาย

เห็นพระศาสดาสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ ไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะว่า ภิกษุรูปนี้เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เนรมิต-

กายมโนมัย และเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏะในศาสนาของเรา จึง

คิดว่า น่าอัศจรรย์หนอ ภิกษุนี้เป็นคนเดียวทำ ๒ องค์ให้บริบูรณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 341

เที่ยวไปได้ แม้เราก็ควรเป็นผู้บำเพ็ญมีองค์ ๒ เที่ยวไปในศาสนา.

ของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต ดังนี้ เขาจึงนิมนต์พระศาสดา

ถวายมหาทานโดยนัยก่อนนั่นแล แล้วทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ภิกษุที่พระองค์สถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า เป็น

ยอดในศาสนาของพระองค์ ด้วยองค์มโนมัย และด้วยความเป็น

ผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏะ ในที่สุดแห่งวัน ๗ แต่นี้ แม้ข้าพระองค์ก็

พึงเป็นผู้บำเพ็ญองค์ ๒ บริบูรณ์เหมือนภิกษุนั้น ด้วยผลแห่งกรรม

อันเป็นอธิการนี้เถิด พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตก็ทรงเห็นว่า

ความปรารถนาท่านจะสำเร็จโดยหาอันตรายมิได้ ทรงพยากรณ์ว่า

ในอนาคตในที่สุดแห่งแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ

จักทรงอุบัติขึ้น พระองค์จักสถาปนาเธอไว้ในฐานะ ๒ นี้ ดังนี้

ทรงกระทำอนุโมทนา แล้วเสด็จกลับไป.

แม้พี่ชายของท่านในวันหนึ่ง เห็นพระศาสดาทรงสถาปนา

ภิกษุผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะก็กระทำ

บุญกุศลเหมือนอย่างนั้น การทำความปรารถนาแล้ว แม้พระ-

ศาสดาก็ทรงพยากรณ์ท่านแล้ว. ทั้ง ๒ พี่น้องนั้นเมื่อพระศาสดา

ยังทรงพระชนม์อยู่กระทำกุศลกรรมแล้ว เมื่อเวลาพระศาสดา

ปรินิพพานแล้ว ได้บูชาด้วยทองที่พระเจดีย์บรรจุพระสรีระ จุติ

จากภพนั้นแล้วไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อ ๒ พี่น้องเวียนว่ายอยู่ใน

เทวดาและมนุษย์ล่วงไปถึงแสนกัป ในชนทั้ง ๒ นั้น ข้าพเจ้าจะไม่

กล่าวกัลยาณกรรมที่มหาปัณฐกะกระทำไว้ในระหว่าง ๆ ส่วน

จุลลปัณฐกะออกบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

กัสสป เจริญโอทาตกสิณล่วงไป ๒๐,๐๐๐ ปี ไปบังเกิดในสวรรค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 342

ครั้นภายหลังพระศาสดาของเราทรงบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณ

ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐแล้วทรงอาศัยกรุงราชคฤห์

ประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร ควรจะกล่าวถึงความบังเกิดของ

ชนทั้ง ๒ นั้น.

ได้ยินว่า กุลธิดาของธนเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ การทำการ

ลักลอบกับทาสของตนเอง แล้วคิดว่า หากคนอื่น ๆ รู้กรรมนี้

ของเราก็กลัวกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ ถ้าหากว่า

มารดาบิดาของเรารู้ความผิดอันนี้ จักกระทำเราให้เป็นชิ้นเล็ก

ชิ้นน้อย จำเราจะไปอยู่ต่างถิ่นกันเถิด จัดถือเอาแต่ของสำคัญติดมือ

ไปได้แล้วพากันออกทางประตูใหญ่ ไปอยู่ยังที่ ๆ ไม่มีคนอื่นรู้จัก

เถิด คนทั้ง ๒ ก็พากันออกไป เมื่อชนทั้ง ๒ นั้นอยู่ในที่แห่งหนึ่ง

อาศัยความอยู่ร่วมกัน นางก็ตั้งครรภ์แล้ว พอครรภ์แก่จัดนางจึง

ปรึกษากับสามีว่า ครรภ์เราแก่มากแล้ว ธรรมดาการคลอดใน

ที่ที่ไม่มีญาติเผ่าพันธ์เป็นความลำบากแก่เราทั้งสองแท้จริง เราไป

เรือนสกุลกันเถอะ สามีพูดผลัดว่า วันนี้จะไป พรุ่งนี้ค่อยไป จน

ล่วงไปหลายวัน นางจึงคิดว่า ผู้นี้เป็นคนโง่ไม่กล้าไปหรือไม่ไป

ก็ช่าง เราควรไป เมื่อสามีออกจากบ้านไปก็เก็บข้าวของไว้ใน

เรือน บอกแก่คนอยู่บ้านติดกันว่า ในรูปเรือนสกุลแล้วก็ออกเดิน

ทาง ทีนั้น บุรุษนั้นกลับมาเรือนไม่เห็นนาง ถามคนคุ้นเคยกันทราบ

ว่า ไปเรือนสกุลจึงรีบติดตามไปทันกันในระหว่างทาง นางก็คลอด

บุตรในที่นั้นนั่นเอง บุรุษนั้นถามว่า นี้อะไรนางผู้เจริญ นางตอบว่า

นายลูกเกิดคนหนึ่งแล้ว บุรุษนั้นถามว่าบัดนี้เราจะทำอย่างไร

นางกล่าวว่า เราจะไปเรือนสกุลเพื่อประโยชน์แก่การใด การนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 343

สำเร็จแล้วในระหว่าง เราไปที่นั้นแล้วจะทำอะไรได้ กลับกันเถิด

สองสามีภรรยานั้นมีใจตรงกันจึงกลับ ก็สองสามีภรรยาตั้งชื่อ

บุตรว่า ปัณฐกะ เพราะทารกนั้นเกิดที่หนทาง อีกไม่นานนัก นาง

ก็ตั้งครรภ์บุตรอีกคนหนึ่ง เรื่องทั้งหมดพึงกล่าวให้พิสดารโดยนัย

ก่อนนั่นเทียว. เขาตั้งชื่อบุตรที่เกิดก่อนว่า มหาปัณฐก บุตรที่เกิด

ทีหลังว่า จุลลปัณฐก เพราะทารกทั้งสองนั้นเกิดที่หนทาง ชนทั้งสอง

นั้นพาทารกทั้งสองไปยังที่อยู่ของตนตามเดิม.

เมื่อชนเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น เด็กมหาปัณฐกะได้ยินเด็กอื่น ๆ

เรียก อา ลุง ปู่ ย่า จึงถามมารดาว่า แม่จ๋า เด็กอื่น ๆ เรียกปู่

เรียกย่า ก็ญาติของพวกเราในที่นี้ไม่มีบ้างหรือ นางตอบว่า จริงสิ

ลูก ญาติของเราในที่นี้ไม่มีดอก แต่ในกรุงราชคฤห์ตาของเจ้าชื่อ

ธนเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์นั้นมีญาติของเจ้าเป็นอันมาก เพราะ

เหตุไรเราจึงไม่ไปกันในกรุงราชคฤห์นั้นละแม่ นางมิได้เล่าเหตุ

ที่ตนมาแก่บุตร เมื่อบุตรพูดบ่อย ๆ จึงบอกสามีว่า เด็ก ๆ เหล่านี้

รบเร้าเหลือเกิน พ่อแม่ของเราเห็นแล้วจักกินเนื้อหรือ มาเถอะ

เราจะไปชี้สกุลตายายแก่เด็ก ๆ สามีกล่าวว่า ฉันไม่อาจเผชิญ

หน้าได้ แต่ว่าจักพาไปได้ นางกล่าวว่า ดีละนาย เราควรให้เด็ก ๆ

เห็นตระกูลตาด้วยอุบายอย่างหนึ่ง จึงควร ทั้งสองคนจึงพาทารก

ไปจนถึงกรุงราชคฤห์โดยลำดับ พักที่ศาลาแห่งหนึ่งใกล้ประตู

บุตร มารดาเด็กส่งข่าวไปบอกแก่มารดาบิดาว่า พาเด็ก ๒ คนมา

สัตว์ที่เวียนว่ายอยู่ในสงสารวัฎชื่อว่าจะไม่เป็นบุตรจะไม่เป็นธิดา

กันไม่มี มารดาบิดานั้นได้ฟังข่าวแล้วส่งคำตอบไปว่า คนทั้งสองมี

ความผิดต่อเรามาก ไม่อาจอยู่ในสายตาของเราได้ ทั้ง ๒ คน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 344

จงถือเอาทรัพย์มีประมาณเท่านี้ไปอยู่ยังสถานที่ที่เป็นผาสุกเถิด

แต่จงส่งเด็ก ๆ มาให้เรา ธิดาเศรษฐีรับเอาทรัพย์ที่มารดาบิดา

ส่งไปแล้วมอบเด็กทั้ง ๒ ไว้ในมือทูตที่มาแล้วนั้นแล เด็กทั้ง ๒

นั้นเติบโตอยู่ในตระกูลของตา

ในพี่น้องทั้งสองนั้น จุลลปัณฐกะยังเด็กเกินไป ส่วนมหาปัณฐกะ

ไปฟังธรรมกถาของพระทศพลพร้อมกับตา เมื่อเขาฟังธรรมต่อ

พระพักตร์พระศาสดาอยู่เป็นประจำ จิตก็น้อมไปในบรรพชา

เขาพูดกับตาว่า ถ้าตาอนุญาต หลานจะออกบวช ตากล่าวว่า

อะไรพ่อ การบรรพชาของเจ้าผู้ออกบวชแล้ว เป็นควานเจริญ

ทั้งแก่เราแลทั้งแก่โลกทั้งสิ้น ถ้าเจ้าสามารถก็จงบวชเถิดพ่อ ดังนี้

รับคำแล้วพากันไปยังสำนักพระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า มหา-

เศรษฐี. ท่านได้ทารกแล้วหรือ ศ.พระเจ้าข้า ทารกผู้นี้เป็นหลาน

ของข้าพระองค์ เขาบอกว่าจะบวชในสำนักของพระองค์ พระศาสดา

จึงตรัสมอบภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งว่า เธอจงให้ทารก

นี้บวชเถิด พระเถระบอกตจปัญจกกัมมัฏฐานแก่ทารกนั้นแล้ว

ให้บรรพชาแล้ว ท่านเรียนพระพุทธวจนะได้มาก มีพรรษาครบ

แล้วก็อุปสมบท ครั้นอุปสมบทแล้วก็กระทำกิจกรรมในความใส่ใจ

โดยอุบายอันแยบคาย จนได้อรูปาวจรฌาน ๔ ออกจากองค์ฌาน

แล้วได้บรรลุพระอรหัต ดังนั้น ท่านจึงเป็นยอดของบรรดาภิกษุ

ผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฎะ.

ท่านยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน ความสุขในมรรค ความสุข

ในนิพพาน จึงคิดว่า เราอาจให้ความสุขชนิดนี้แก่จุลลปัณฐกะได้ไหม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 345

หนอ แต่นั้นจึงไปยังสำนักของเศรษฐีผู้เป็นตา กล่าวว่า ท่านมหา-

เศรษฐี ถ้าโยมอนุญาต อาตมะจะให้จุลลปัณฐกะบวช เศรษฐีกล่าวว่า

จงให้บวชเถิดท่าน พระเถระให้จุลลปัณฐกะบวชแล้วให้ตั้งอยู่ในศีล

๑๐ สามเณรจุลลปัณฐกะเรียนคาถาในสำนักของพระพี่ชายว่าดังนี้..

ปทฺทม ยถา โกกนุท สุคนฺธ

ปาโต สิยา ผุลฺลมวีตคนฺธ

องฺคีรส ปสฺส วิโรจมาน

ตปนฺตมาทิจฺจมิวนฺตลิกฺเข.

เชิญท่านดูพระอังคีรส ผู้รุ่งเรื่องอยู่

ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ในอากาศ

เหมือนดอกปทุมวิเศษชื่อโกกนุทะ

มีกลิ่นหอมบานอยู่แต่เช้าไม่ปราศจากกลิ่นฉะนั้น.

บทที่ท่านเรียน ๆ ไว้แล้ว ก็หายไปเมื่อมาเรียนบทที่สูง ๆ

ขึ้นไป ท่านพยายามเรียนคาถานี้อย่างเดียวเวลาก็ล่วงไปถึง ๔ เดือน

คราวนั้น พระมหาปัณฐกะกล่าวกะท่านว่า ปัณฐกะเธอเป็นอภัพพ

ในศาสนานี้ เธอจำคาถาแม้บทเดียวก็ไม่ได้เป็นเวลาถึง ๔ เดือน

เธอจะทำกิจของบรรพชิตให้สำเร็จได้อย่างไร เธอจงออกไปจาก

ที่นี้เสีย ท่านถูกพระเถระขับไล่จึงไปยืนร้องไห้อยู่ ณ ท้ายพระวิหาร.

สมัยนั้น พระศาสดาทรงเข้าอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับ

อยู่ในชีวกัมพวันสวนมะม่วงของหมอชีวก ขณะนั้นหมอชีวกใช้

บุรุษไปทูลนิมนต์พระศาสดากับภิกษุ ๕๐๐ รูป และสมัยนั้น พระ-

มหาปัณฐกะเป็นเจ้าหน้าที่แจกอาหาร เมื่อบุรุษนั้นกล่าวนิมนต์ว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 346

ท่านขอรับ ขอนิมนต์พระภิกษุ ๕๐๐ รูป ท่านก็กล่าวว่า ฉันรับ

สำหรับภิกษุที่เหลือเว้นพระจุลลปัณฐกะ พระจุลลปัณฐกะได้ฟัง

คำนั้นก็โทมนัสเหลือประมาณ พระศาสดาทรงเห็นพระจุลลปัณถกะ

ร้องไห้อยู่ ทรงดำริว่า จุลลปัณฐกะเมื่อเราไปจักตรัสรู้ จึงเสด็จ

ไปแสดงพระองค์ในที่ที่ไม่ไกลแล้วตรัสว่า ปัณฐกะ เธอร้องไห้

ทำไม

ป.พี่ชายขับไล่ข้าพระองค์พระเจ้าข้า

พ.ปัณฐกะ พี่ชายของเธอไม่มีอาสยานุสยญาณสำหรับ

บุคคลอื่น เธอชื่อว่าพุทธเวไนยบุคคล ดังนี้ ทรงบรรดาลฤทธิ์มอบผ้า

ชิ้นเล็ก ๆ ที่สะอาดผืนหนึ่งประทานตรัสว่า ปัณฐกะ เธอจงเอา

ผ้าผืนนี้ภาวนาว่า รโชหรณ รโชหรณ ดังนี้.

ท่านนั่งเอามือคลำผ้าท่อนเล็กที่พระศาสดาประทานนั้น

ภาวนาว่า รโชหรณ รโชหรณ เมื่อท่านลบคลำอยู่ (เช่นนั้น) ผ้าผืน

นั้นก็เศร้าหมอง เมื่อท่านลูบคลำอยู่บ่อย ๆ ก็กลายเป็นเหมือนผ้า

เช็ดหม้อข้าว ท่านอาศัยความแก่กล้าแห่งญาณ เริ่มตั้งความสิ้นไป

และความเสื่อมไปในผ้านั้น คิดว่า ท่อนผ้านี้โดยปกติสะอาดบริสุทธิ์

เพราะอาศัยอุปาทินนกสรีระ จึงเศร้าหมอง แม้จิตนี้ก็มีคติเป็น

อย่างนี้เหมือนกัน แล้วเจริญสมาธิกระทำรูปาวจรฌาน ๔ ให้ปรากฏ

บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว ท่านเป็นผู้ได้ฌานด้วย

มโนมยิทธินั่นเอง สามารถทำคนคนเดียวเป็นหลายคนได้ หลายคน

ก็สามารถทำให้เป็นคนเดียวได้ ก็พระไตรปิฎกและอภิญญา ๖

มาถึงท่านพร้อมกับพระอรหัตมรรคนั่นแหละ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 347

วันรุ่งขึ้น พระศาสดาเสด็จไปพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ ประทับ

นั่งในนิเวศน์ของหมอชีวก ส่วนพระจุลลปัณฐกะไม่ได้ไปเพราะตน

ไม่ได้รับนิมนต์นั่นเอง ชีวกเริ่มถวายข้าวยา พระศาสดาทรงเอา

พระหัตถ์ปิดบาตร หมอชีวกทูลถามว่า เพราะเหตุไร พระองค์

จึงไม่ทรงรับพระเจ้าข้า ตรัสว่า ยังมีภิกษุอีกรูปหนึ่งในวิหาร ชีวก

หมอชีวกจึงส่งบุรุษไปว่า พนาย จงไปนิมนต์พระคุณเจ้าที่อยู่ในวิหาร

มาที แม้พระจุลลปัณฐกเถระเนรมิตภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปในเวลาใกล้

ที่บุรุษนั้นมาถึง ทำไม่ให้เหมือนกันแม้สักองค์เดียว องค์หนึ่ง ๆ

กระทำกิจของสมณะเป็นต้นว่า กะจีวรไม่เหมือนกับองค์อื่น ๆ บุรุษ

นั้น เห็นภิกษุมีมากในวิหารจึงกลับไปบอกหมอชีวกว่า นายท่าน

ภิกษุในวิหารนี้มีมากผมไม่รู้จักพระคุณท่านที่จะพึงนิมนต์มาจาก

วิหารนั้น หมอชีวกจึงทูลถามพระศาสดาว่า ภิกษุอยู่ในวิหาร

ชื่อไร พระเจ้าข้า

พ.ชื่อจุลลปัณฐกะ ชีวก

หมอชีวกกล่าวกะบุรุษนั้นว่า ไปเถิดพนาย จงไปถามว่า

องค์ไหนชื่อจุลลปัณถกะ แล้วนำมา

บุรุษนั้นกลับมายังวิหาร ถามว่า องค์ไหนชื่อจุลลปัณฐกะ

ขอรับ กล่าวว่า เราชื่อจุลลปัณฐกะ เราชื่อจุลลปัณถกะ ทั้ง ๑,๐๐๐

รูป. บุรุษนั้นกลับไปบอกหมอชีวกอีกว่า ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป

ทุกองค์บอกว่า เราชื่อจุลลปัณฐกะ เราชื่อจุลลปัณฐกะ ข้าพเจ้า

ไม่ทราบว่า จุลลปัณฐกะองค์ไหนที่ท่านให้นิมนต์ หมอชีวกทราบได้

โดยนัยว่า ภิกษุมีฤทธิ์เพราะแทงตลอดสัจจะแล้วจึงกล่าวว่า เจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 348

จงจับที่ชายจีวรภิกษุองค์ที่กล่าวก่อน บุรุษนั้นไปวิหารกระทำ

อย่างนั้นแล้ว ในทันใดนั้น ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ก็อันตรธาน

ไป บุรุษนั้นพาพระเถระมาแล้ว พระศาสดาจึงทรงรับข้าวยาคู

ในขณะนั้น.

เมื่อพระทศพลการทำภัตกิจเสร็จแล้ว เสด็จกลับพระวิหาร

เกิดการสนทนากันขึ้นในธรรมสภาว่า ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

ใหญ่ถึงเพียงนั้นหนอ ทรงกระทำภิกษุผู้ไม่อาจจำคาถาคาถาหนึ่ง

ได้ตลอด ๔ เดือนให้เป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ได้ พระศาสดาทรง

ทราบวารจิตของภิกษุเหล่านั้น ประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัด

ไว้แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอพูดอะไรกัน

ภิ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์มิได้กล่าว

เรื่องอะไร ๆ อื่น กล่าวแต่คุณของพระองค์เท่านั้นว่า พระจุลลปัณฐกะ

ได้ลาภใหม่แต่สำนักของพระองค์ ดังนี้

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จุลลปัณฐกะนี้ทำตามโอวาทของเรา

แล้วได้ความเป็นทายาททางโลกุตตระ ในบัดนี้ยังไม่น่าอัศจรรย์

แม้ในอดีตเธอกระทำตามโอวาทของเราผู้ตั้งอยู่ในญาณยังไม่แก่กล้า

ก็ได้ความเป็นทายาททางโลกิยะแล้ว

ภิกษุทั้งหลายจึงทูลวิงวอนว่า เมื่อไรพระเจ้าข้า พระศาสดา

ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาลพระราชาพระนามว่า

พรหมทัต ครองราชสมบัติในกรุงพาราณสี, สมัยนั้นบัณฑิตชื่อ

จูฬกเศรษฐีเป็นคนฉลาดรู้นิมิตทั้งปวง วันหนึ่งกำลังเดินไปเฝ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 349

พระราชา เห็นหนูตาย (ตัวหนึ่ง) ในระหว่างทาง จึงกำหนดนักษัตร

ในขณะนั้นแล้วกล่าวคำนี้ว่า กุลบุตรผู้มีดวงตามีปัญญาสามารถ

เอาหนูนี้ไปเลี้ยงภรรยาและจัดการงานได้ กุลบุตรเข็ญใจคนหนึ่ง

ฟังคำเศรษฐีนั้นแล้วคิดว่า ผู้นี้ไม่รู้คงไม่ ดังนี้จึงเอาหนูไปให้

ที่ร้านตลาดแห่งหนึ่ง เพื่อเลี้ยงแมว ได้ทรัพย์กากณิกหนึ่ง แล้วซื้อ

น้ำอ้อยด้วยทรัพย์กากณิกหนึ่งนั้น เอาหม้อใบหนึ่งใส่น้ำดื่มไป เห็น

ช่างจัดดอกไม้เดินมาแต่ป่าก็ให้ชิ้นน้ำอ้อยหน่อยหนึ่งแล้วเอากะบวย

ตักน้ำดื่มให้ ช่างดอกไม้เหล่านั้นให้ดอกไม้แก่บุรุษนั้นคนละกำ

แม้ในวันรุ่งขึ้นเขาเอาค่าดอกไม้นั้นไปซื้อน้ำอ้อยและหม้อน้ำดื่ม

แล้วไปยังสวนดอกไม้นั่นแหละ วันนั้น ช่างดอกไม้ก็ให้กอดอกไม้

ที่ตนเก็บไปครึ่งหนึ่งแล้วแก่เขาแล้วก็ไป ล่วงไปไม่นานนักเขาได้

ทรัพย์นับได้ถึง ๘ กหาปณะโดยอุบายนี้ ในวันที่มีลมและฝน

(ตกหนัก) วันหนึ่ง เขากระทำไม้ที่ล้มแล้วให้เป็นกอง จึงได้ทรัพย์

อีก ๑๖ กหาปณะจากนายช่างหม้อหลวง เขาเมื่อได้ทรัพย์เกิดขึ้น

ถึง ๒๔ กหาปณะแล้วคิดว่า อุบายนี้มีประโยชน์แก่เรา จึงตั้งหม้อ

น้ำดื่มไว้หม้อหนึ่งในที่ไม่ไกลแต่ประตูเมือง เอาน้ำดื่มเลี้ยงคนตัดหญ้า

๕๐๐ คน คนตัดหญ้าเหล่านั้นพูดกันว่า สหาย ท่านมีอุปการะมาก

แก่พวกเรา พวกเราจะทำอะไรแก่ท่านได้บ้าง บุรุษนั้นตอบว่า

เมื่อมีกิจเกิดขึ้นจึงกระทำแก่ข้าพเจ้าเถิด เที่ยวไปทางโน้นทางนี้

กระทำการผูกมิตรกับคนทำงานทางบกและคนทำงานทางน้ำ คน

ทำงานทางบกบอกแก่เขาว่า พรุ่งนี้พ่อค้าม้าจะนำม้า ๕๐๐ ตัว

มายังเมืองนี้ เขาได้ฟังคำนั้นแล้วให้สัญญาแก่คนตัดหญ้าให้การทำ

ฟ่อนหญ้าแต่ละฟ่อน ๆ ให้เป็น ๒ เท่าแล้วนำมา ครั้นเวลาม้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 350

ทั้งหลายมาพักในเมืองแล้ว (เขา) ก็มานั่งทำฟ่อนหญ้า ๑,๐๐๐ ฟ่อน

กองไว้ใกล้ประตูด้านใน พ่อค้าม้าหาหญ้าสดให้ม้าทั่วเมืองไม่ได้

ต้องให้ทรัพย์พันหนึ่งแก่บุรุษนั้นซื้อหญ้านั้นไป จากนั้นล่วงไป

๒ - ๓ วันสหายที่ทำงานทางทะเลมาบอกว่าจะมีเรือใหญ่เข้าจอดท่า

บุรุษนั้นคิดว่า อุบายนี้มี จึงเอาทรัพย์ ๘ กหาปณะเช่ารถที่พร้อม

ด้วยเครื่องใช้ทุกชนิดไปยังท้าจอดเรือ ทำสัญญากับนายท่า ประทับ

นิ้วมือไว้ที่เรือแล้วให้กั้นม่านไว้ในที่ไม่ไกลนั่งอยู่ในภายในม่านนั้น

สั่งบุรุษ คนใช้ ไว้ว่า เมื่อพ่อค้าจากภายนอกมาถึงจงมาบอกทาง

ประตูด่านที่ ๓ ครั้นคนใช้เหล่านั้นทราบว่า เรือมาถึงแล้วจึงบอกว่า

มีพ่อค้าประมาณ ๑๐๐ คนจากกรุงพาราณสีมาซื้อสินค้า นาย

ประตูที่ ๓ กล่าวว่า พวกท่านจะไม่ได้สินค้า (เพราะ) นายพานิช

ใหญ่ในที่โน้นท่านทำสัญญาไว้แล้ว พ่อค้าเหล่านั้นฟังคำของบุรุษ

เหล่านั้นแล้วจึงพากันไปยังสำนักของพ่อค้าใหญ่นั้น ฝ่ายบุรุษคนสนิท

แจ้งข่าวว่า พ่อค้าเหล่านั้นมาทางประตูด่านที่ ๓ ตามสัญญาฉบับ

ก่อน พ่อค้าทั้งร้อยคนนั้น ต้องให้ทรัพย์คนละพันแล้วจึงเดินทาง

ไปเรือกับบุรุษนั้นแล้วจ่ายทรัพย์อีกคนละพัน ๆ แล้วให้สละมัดจำ

แล้วจึงจะทำสินค้าให้เป็นของ ๆ ตนได้ บุรุษนั้นถือเอาทรัพย์ ๒

แสนกลับมายังกรุงพาราณสี คิดว่า เราควรจะเป็นคนกตัญญู จึงถือ

เอาทรัพย์แสนหนึ่งไปสงสำนักแห่งจูฬกเศรษฐี

ครั้งนั้น เศรษฐีถามบุรุษนั้นว่า พ่อทำอย่างไรจึงได้ทรัพย์

นี้มา บุรุษนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าตั้งอยู่ในอุบายที่ท่านกล่าวแล้วจึง

ได้ทรัพย์มาภายใน ๔ เดือนเท่านั้น เศรษฐีได้ฟังคำของบุรุษนั้น

จึงมาคิดว่า บัดนี้เราไม่ควรทำเด็กเห็นปานนี้ให้เป็นสมบัติของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 351

คนอื่น จึงยกธิดาที่เจริญวัยให้ทำให้เป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติทั้งสิ้น

กุลบุตรแม้นั้น เมื่อเศรษฐีล่วงไปแล้วจึงรับตำแหน่งเศรษฐีแทนใน

พระนครนั้น ดำรงอยู่จนตลอดอายุแล้วไปตามยถากรรม.

พระศาสดาตรัสเรื่องทั้ง ๒ นี้แล้วทรงสืบต่ออนุสนธิเทศนา

ในขณะที่ตรัสรู้อนุตตรสัมโพธิญาณแล้ว ตรัสพระคาถาว่าดังนี้

อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ

สมุฏฺาเปติ อตฺตาน อณุ อคฺคึว สนฺธมนฺติ.

บุคคลผู้มีปัญญา มีปัญญาเห็นประจักษ์ ย่อม

ตั้งตนได้ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุนแม้เล็กน้อย

ดุจบุคคลก่อไฟอันน้อย ให้โพลงขึ้นได้ ฉะนั้น.

พระศาสดาทรงแสดงเหตุนี้แก่บรรดาภิกษุผู้นั่งประชุม

กันในธรรมสภาด้วยประการดังนี้ นี้เป็นเรื่องราวที่มีมาตามลำดับ

จำเดิมแต่การตั้งความปรารถนาไว้ในตอนแรกของพระมหาสาวก

ทั้งสอง ก็ต่อมา พระศาสดามีหมู่พระอริยแวดล้อมแล้วประทับนั่ง

เหนือธรรมาสน์ ทรงสถาปนาพระจุลลปัณฐกเถระไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาดในเจโตวิวัฏฏะ ผู้เนรมิต

กายมโนมัยได้ ทรงสถาปนาพระมหาปัณฐกเถระไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฏฏะ ด้วยประการ

ฉะนี้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑ - ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 352

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ประวัติพระสุภูติเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในพระสูตรที่ ๓ ต่อไปนี้.

บทว่า อรณวิหารีน ได้แก่ผู้มีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้ จริงอยู่

กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นท่านเรียกว่า รณะ ชื่อว่าผู้มีปกติอยู่

โดยหากิเลสมิได้ เพราะไม่มีกิเลสที่ชื่อว่ารณะ นั้น, ชื่อว่า ผู้มีปกติ

อยู่โดยหากิเลสมิได้ อรณวิหารนั้นมีอยู่แก่ภิกษุเหล่าใด ภิกษุเหล่านั้น

ชื่อว่า ผู้มีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้ พระสุภูติเถระเป็นยอดของเหล่า

ภิกษุผู้มีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้เหล่านั้น จริงอยู่พระขีณาสพ

แม้เหล่าอื่น ก็ชื่อว่า อรณวิหารี ก็จริง ถึงอย่างนั้นพระเถระก็ได้

ชื่ออย่างนั้น ด้วยพระธรรมเทศนา ภิกษุเหล่าอื่น เมื่อแสดงธรรม

ย่อมกระทำเจาะจงกล่าวคุณบ้าง โทษบ้าง ส่วนพระเถระเมื่อแสดง

ธรรมก็แสดงไม่ออกจากข้อกำหนดที่พระศาสดาแสดงแล้ว. เพราะ

ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุมีปกติอยู่โดยหากิเลสมิได้.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 353

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ประวัติพระสุภูติเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ทกฺขิเณยฺยาน แปลว่า ผู้ควรแก่ทักษิณา พระขีณาสพ

ทั้งหลายเหล่าอื่นก็ชื่อว่า พระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศ ในบทว่า

ทกฺขิเณยฺยาน นั้นก็จริง ถึงอย่างนั้น พระเถระกำลังบิณฑบาต

ก็เข้าฌานมีเมตตาเป็นอารมณ์ ออกจากสมาบัติแล้ว จึงรับภิกษา

ในเรือนทุกหลัง ด้วยทายกผู้ถวายภิกษาจักมีผลมาก เพราะฉะนั้น

ท่านจึงเรียกว่า ผู้ควรแก่ทักขิณา อัตภาพของท่านงามดี รุ่งเรื่อง

อย่างยิ่งดุจซุ้มประตูที่เขาประดับแล้วและเหมือนแผ่นผ้าวิจิตร

ฉะนั้นจึงเรียกว่า สุภูติ ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าว

ตามลำดับดังต่อไปนี้ :-

เล่ากันว่า ท่านสุภูตินี้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระ ยังไม่ทรงอุบัติขึ้น ได้บังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล

ในกงหงสวดี ญาติทั้งหลายขนานนามท่านว่า นันทมาณพ ท่าน

เจริญวัยแล้วเรียนไตรเพท ไม่เห็นสาระในไตรเพทนั้น พร้อมด้วย

บริวารของตนมีมาณพประมาณ ๔๔,๐๐๐ คนออกบวชเป็นฤาษี

อยู่ ณ เชิงบรรพต ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดแล้ว

ได้กระทำแม้อันเตวาสิกทั้งหลายให้ได้ฌานแล้ว. ในสมัยนั้น พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระทรงบังเกิดในโลก ทรงอาศัย

กรุงหงสวดีประทับอยู่ วันหนึ่ง ในเวลาใกล้รุ่งทรงตรวจดูสัตวโลก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 354

ทรงเห็นอรหัตตุปนิสัยของเหล่าชฏิลอันเตวาสิก ของนันทดาบส และ

ความปรารถนาตำแหน่งสาวกผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ ของนันทดาบส

จึงทรงปฏิบัติพระสรีระแต่เช้า ทรงถือบาตรและจีวรในเวลาเช้า

เสด็จไปยังอาศรมของนันทดาบสโดยนัยที่ได้กล่าวแล้วในเรื่องของ

พระสารีบุตรเถระ ในที่นั้น พึงทราบการถวายผลไม้น้อยใหญ่

ก็ดีการตกแต่งปุปผาสนะก็ดี การเข้านิโรธสมาบัติก็ดี โดยนัยที่

กล่าวแล้ว.

ก็พระศาสดา ออกจากนิโรธสมาบัติ ทรงส่งพระสาวก

องค์หนึ่งผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ คือ อรณวิหารองค์ ๑ ทักขิไณย

องค์ ๑ ว่า เธอจงการทำอนุโมทนาปุปผาสนะแก่คณะฤาษี ดังนี้

พระเถระนั้น อยู่ในวิสัยของตนพิจารณาพระไตรปิฎกกระทำอนุ-

โมทนา เมื่อจบเทศนาของท่านแล้ว พระศาสดาจึงทรงแสดง (ธรรม)

ด้วยพระองค์เอง เมื่อจบเทศนา ดาบสทั้ง ๔๔,๐๐๐ ได้บรรลุ

พระอรหัตทุกรูป ส่วนนันทดาบส ถือเอานิมิตแห่งภิกษุผู้อนุโมทนา

ไม่อาจส่งญาณไปตามแนวแห่งเทศนาของพระศาสดาได้ พระศาสดา

ทรงเหยียดพระหัตถ์ไปยังภิกษุที่เหลือว่า เอถ ภิกฺขโว (จงเป็นภิกษุ

มาเถิด) ภิกษุทั้งหมดมีผมและหนวดอันตรธานแล้ว ครองบริขาร

อันสำเร็จด้วยฤทธิ์ปรากฏดุจพระเถระ ๑๐๐ พรรษา

นันทดาบสถวายบังคมพระตถาคตแล้วยืนเฉพาะพระพักตร์

กราบทูลว่า พระเจ้าข้า ภิกษุผู้กระทำอนุโมทนาปุปผาสนะแก่

คณะฤาษีมีนามว่าอะไรในศาสนาของพระองค์ ตรัสว่า ภิกษุนี้

เป็นเอตทัคคะด้วยองค์คือความมีปกติอยู่โดยไม่มีกิเลส ๑ ด้วยองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 355

ของภิกษุผู้ควรทักษิณา ๑ นันทดาบสได้ตั้งความปรารถนาว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยกรรมคือกุศลอันยิ่งที่ได้ทำมา ๗ วันนี้

ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาสมบัติอื่น แต่ข้าพระองค์พึงเป็นผู้ประกอบ

ด้วยองค์ ๒ เหมือนอย่างพระเถระนี้ในศาสนาของพระทศพลองค์หนึ่ง

ในอนาคต. พระศาสดา ทรงเห็นความไม่มีอันตรายจึงทรงพยากรณ์

แล้วเสด็จกลับไป. ฝ่ายนันทดาบสฟังธรรมในสำนักพระทศพล

ตามสมควรแก่กาล ไม่เสื่อมจากฌานแล้วไปบังเกิดในพรหมโลก.

อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์มิได้กล่าวถึงกัลยาณกรรมของดาบสนี้

ในระหว่างไว้. ล่วงไปแสนกัปท่านมาบังเกิดในเรือนแห่งสุมน

เศรษฐีในกรุงสาวัตถี พวกญาติได้ขนานนามท่านว่า สุภูติ

ต่อมา พระศาสดาของพวกเราทรงบังเกิดในโลกอาศัย

กรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกเศรษฐีนำสินค้า

ที่ผลิตในกรุงสาวัตถีไปยังเรือนของราชคฤห์เศรษฐีสหายของตน

ทราบว่าพระศาสดาทรงอุบัติแล้วจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดาซึ่งประทับ

อยู่ ณ สีตวัน ด้วยการเฝ้าครั้งแรกนั่นเอง ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล

แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาให้เสด็จมายังกรุงสาวัตถี ให้สร้าง

วิหารด้วยการบริจาคทรัพย์แสนหนึ่ง ๆ ทุก ๆ โยชน์ตลอดทาง

๔๕ โยชน์ซื้อที่อุทยานของพระราชกุมารนามว่าเชต ประมาณ ๑๘

กรีสด้วยเครื่องนับของหลวงในกรุงสาวัตถี โดยเรียงทรัพย์โกฏิหนึ่ง

สร้างวิหารในที่ที่ซื้อนั้น ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ในวัน

ฉลองวิหาร สุภูติกุฏุมพีก็ได้ไปฟังธรรมกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี

ได้ศรัทธาจึงบวชท่านอุปสมบทแล้วกระทำมาติกา ๒ บทให้แคล่ว-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 356

คล่อง ให้บอกกัมมัฏฐานให้ บำเพ็ญสมณธรรมในป่าเจริญวิปัสสนา

กระทำเมตตาฌานให้เป็นบาท บรรลุอรหัตแล้ว เมื่อแสดงธรรมก็

กล่าวธรรมโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล เมื่อเที่ยวบิณฑบาต ออกจาก

เมตตาฌานแล้วจึงรับภิกษาโดยนัยที่กล่าวแล้วเช่นกัน ครั้งนั้น

พระศาสดาทรงอาศัยเหตุ ๒ อย่างนี้ จึงสถาปนาท่านไว้ในภิกษุ

ผู้ควรแก่ทักษิณา แลตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุ

ผู้มีปกติอยู่โดยไม่มีกิเลส.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 357

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ประวัติพระเรวตเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อารญฺกาน ได้แก่ ผู้มีปกติอยู่ป่าเป็นวัตร บทว่า

เรวโต ขทิรวนิโย ได้แก่ น้องชายคนเล็กของพระธรรมเสนาบดีเถระ

ท่านมิได้อยู่เหมือนอย่างพระเถระเหล่าอื่น เมื่อจะอยู่ในป่าก็ต้อง

เลือกป่า น้ำ และที่ภิกขาจารที่ถูกใจจึงอยู่ในป่า แต่ท่านไม่ยึดถือ

ของที่ถูกใจเหล่านี้ อาศัยอยู่ในป่าตะเคียนที่ขระขระด้วยก้อนกรวด

และก้อนหินบนที่ดอน ฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุ

ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ

ดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาลครั้งพระปทุมุตตระพุทธเจ้า พระเรวตะ

นี้บังเกิดในหงสวดี อาศัยกระทำการงานทางเรือ ที่ท่าปยาคประดิษ-

ฐานในแม่น้ำคงคา สมัยนั้น พระศาสดามีภิกษุแสนหนึ่งเป็นบริวาร

เสด็จจาริกไปจนถึงท่าปยาคประดิษฐาน เขาเห็นพระทศพลแล้ว

คิดว่า เราไม่ได้เห็นพระพุทธเจ้าเป็นครั้งคราว ขณะนี้เป็นขณะที่

เราจะได้ขวนขวายกัลยาณกรรมไว้ จึงให้ผูกเรือขนานต่อกัน ดาด

เพดานผ้าข้างบน ห้อยพวงมาลาของหอมเป็นต้น ลาดเครื่องลาดอัน

วิจิตรประกอบด้วยผ้าเปลือกไม้ นิมนต์พระศาสดาพร้อมทั้งบริวาร

เสด็จข้ามฟาก ในสมัยนั้น พระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุผู้อยู่ป่า

เป็นวัตรองค์หนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ นายเรือนั้นเห็นภิกษุนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 358

จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรใน

ศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตดังนี้เหมือนกัน

จึงนิมนต์พระศาสดาถวายมหาทาน ๗ วัน หมอบ ณ แทบบาทมูล

ของพระศาสดา กระทำความปรารถนาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

แม้ข้าพระองค์พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรในศาสนา

ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตเหมือนอย่างภิกษุที่พระองค์

ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเถิด พระศาสดาทรงเห็นว่า

หาอันตรายมิได้ ทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตท่านจักเป็นผู้ยอด

ในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้า แล้วเสด็จกลับไป แต่มิได้กล่าว

ถึงกรรมในระหว่างไว้.

ท่านกระทำกัลยาณกรรมจนตลอดชีพ เวียนว่ายอยู่ใน

เทวโลกและมนุษย์ในพุทธุปบาทกาลนี้ จึงมาถือปฏิสนธิในท้อง

แห่งนางสารีพราหมณี ในตำบลบ้านพราหมณ์ชื่อ นาลกะ เขตมคธ

เกิดเป็นน้องสุดท้องของพี่ชาย ๓ คน พี่สาว ๓ คน มารดาบิดา

ชื่อว่า เรวตะ คราวนั้นมารดาบิดาของท่านคิดว่า เมื่อลูกของเรา

เจริญโตแล้ว เหล่าพระสมณศากยะบุตรก็มานำเอาไปบวชเสีย

เราจักผูกเรวตะลูกคนเล็กของเราไว้ด้วยเครื่องผูกคือเรือน ดังนี้

แล้วนำนางทาริกาจากสกุลที่เสมอกันมาให้ไหว้ย่าของเรวตะแล้ว

กล่าวว่า แน่ะแม่ เจ้าจงเป็นคนแก่ยิ่งกว่าย่าของเจ้า เรวตะฟังถ้อย

คำของตนเหล่านั้นแล้วคิดว่า นางทาริกานี้ยังอยู่ในปฐมวัย เขาว่า

รูปมีอย่างนี้ของนางทาริกานี้จักเป็นเหมือนรูปย่าของเรา เราจัก

ถามความประสงค์ของคนเหล่านั้นก่อน แล้วจึงกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย

จะกระทำอย่างไร มารดาบิดาตอบว่า "เราบอกว่า พ่อเอ๋ย หญิงนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 359

จะถึงความชราเหมือนอย่างย่าของเจ้า". เรวตะนั้นถามว่า รูปของ

หญิงนี้จักเป็นเหมือนอย่างนี้หรือ. มารดาบิดาตอบว่า พ่อเอ๋ย เจ้า

พูดอะไร ผู้มีบุญมากก็จะเป็นอย่างนี้ เรวตะนั้นคิดว่า ได้ยินว่า รูปนี้

ก็จักมีหนังเหี่ยวโดยทำนองนี้ จักมีผมหงอก ฟันหักโดยทำนองนี้

เรายินดีในรูปเช่นนี้จะทำอะไรได้ เราจักไปตามทางที่พี่ชายของเรา

ไปแล้วนั่นแหละ. จึงทำเป็นเหมือนยืนพูดกะเด็กหนุ่ม ๆ รุ่น ๆ กันว่า

มาเถอะพวกเรา เราไปวิ่งกันแล้วออกไปเสีย มารดาบิดากล่าวว่า

พ่อในวันมงคล เจ้าอย่าไปข้างนอกเลย.

เรวตะนั้นทำเป็นเหมือนเล่นกับเด็กทั้งหลายอยู่ พอถึงวาระ

ตนวิ่งก็ไปหน่อยหนึ่งแล้วกลับเดินกลับช้า ๆ พอถึงวาระอีกก็ไป

ให้เหมือนไกลกว่านั้นแล้วกลับมา ครั้งถึงวาระที่สามก็รู้ว่า คราวนี้

เป็นเวลาของเราจะหนีไปในที่ต่อหน้านั่นเอง ไปจนถึงป่าซึ่งเป็นที่

อยู่ของภิกษุผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตร อภิวาทพระเถระแล้วขอบรรพชา

พระเถระกล่าวว่า สัปบุรุษ เราไม่รู้จักเธอ เธอเป็นลูกของใคร

และเธอก็มาโดยทั้งที่แต่งตัวอยู่เช่นนี้ ใครจะสามารถให้เธอบวชได้

เล่า เขายกแขนทั้ง ๒ ขึ้นร้องเสียงดังว่า เขาปล้นฉัน เขาปล้นฉัน

ดังนี้ พวกภิกษุก็มามุงทั้งข้างโน้นข้างนี้กล่าวว่า สัปบุรุษ ในที่นี้

ไม่มีใครที่ชื่อว่าปล้นผ้าหรือเครื่องประดับของเธอเลย เธอจะพูดว่า

เขาปล้นอย่างไร เรวตะกล่าวว่า ท่านผู้เจริญผมมิได้กล่าวหมายถึง

ผ้าและเครื่องประดับ แต่กล่าวหมายถึงพวกท่านยังปล้นสมบัติข้างใน

ไม่ต้องบวชผมก่อนโปรดบอกให้พี่ชายของข้าพเจ้าทราบก่อน

ภิกษุถามว่า ก็พี่ชายของเธอชื่อไร ร.ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ชื่ออุปติสสะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 360

แต่ในเวลานี้คนทั้งหลายเรียกว่าสารีบุตร ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า

อาวุโส เมื่อเป็นอย่างนั้น กุลบุตรผู้นี้ก็เป็นน้องชายคนเล็กของพวกเรา

พระธรรมเสนาบดีพี่ชายใหญ่ของเราพูดไว้ก่อนเทียวว่า พวกญาติ

ของเราล้วนเป็นมิจฉาทิฏฐิ ญาติของเราคนใดคนหนึ่งมาก็จงให้เขา

บวชด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด ดังนั้น จึงกล่าวว่า กุลบุตรนี้

เป็นน้องตัวของพระเถระ ท่านทั้งหลายจงให้เธอบวชเถิด ดังนี้แล้ว

บอกตจปัญจกกัมมัฏฐานแล้ว พระเถระเรียนกัมมัฏฐานแล้วเข้า

ไปสู่ป่าไม้ตะเคียนซึ่งมีประการดังกล่าวไว้ในที่ไม่ไกลอุปัชฌาย์

อาจารย์บำเพ็ญสมณธรรม เมื่อท่านเพียรพยายามอยู่ด้วยตั้งใจว่า

เรายังไม่บรรลุพระอรหัต ก็จักไม่ไปเฝ้าพระทศพลหรือพระเถระ

พี่ชาย ล่วงไป ๓ เดือนเป็นสัตว์ผู้สุขุมาลชาติบริโภคโภชนะอันปอน

จิตต์ก็ไม่ประณีตไม่มุ่งหน้าอยู่ในพระกัมมัฏฐาน โดยล่วงไป ๓ เดือน

ปวารณาออกพรรษาแล้วจึงบำเพ็ญสมณธรรมในที่นั้นนั่นแหละ

เมื่อท่านบำเพ็ญสมณธรรมอยู่จิตต์ก็มีอารมณ์เป็นอันเดียวแล้ว

ท่านเจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต

ครั้งนี้ ท่านพระสารีบุตรทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ได้ยินว่าเรวตะน้องคนเล็กของข้าพระองค์ออกบวช เธอ

จะยินดีหรือไม่ยินดี ข้าพระองค์จักไปเยี่ยมเธอ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงทราบว่า พระเรวตะเริ่มวิปัสสนาแล้ว จึงทรงห้ามเสีย ๒ ครั้ง

ในครั้งที่ ๓ ท่านทูลวิงวอนอีก ทรงทราบว่าบรรลุพระอรหัตแล้ว

จึงตรัสว่า สารีบุตร แม้เราก็จักไปด้วย เธอจงบอกภิกษุทั้งหลาย

เถิด พระเถระประชุมภิกษุสงฆ์แล้วแจ้งแก่พระภิกษุทั้งปวงว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 361

อาวุโส พระศาสดามีพระประสงค์จะเสด็จจาริก รูปใดประสงค์

จะไปด้วยก็จงมาเถิด ในเวลาที่พระทศพลเสด็จจาริก ชื่อว่าภิกษุ

ผู้ล้าหลังอยู่มีน้อย โดยมากภิกษุเป็นอันมากประสงค์จะไปเพราะ

คิดว่าจะเห็นพระสรีระของพระศาสดาที่มีวรรณะเพียงดังทอง

หรือจักฟังธรรมกถาอันไพเราะด้วยประการฉะนี้ พระศาสดา

มีภิกษุหมู่ใหญ่เป็นบริวาร เสด็จออกไปด้วยหมายจะเยือนพระ-

เรวตะ พระอานนทเถระ ถึงทาง ๒ แพร่งในที่แห่งหนึ่งครั้งนั้น

จึงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ตรงนี้ทางเป็น ๒ แพร่ง ภิกษุสงฆ์

จะไปทางไหน พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า อานนท์

ทางไหนละเป็นทางตรง พระเถระทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ทางตรงมีระยะทาง ๓๐ โยชน์ เป็นทางของอมนุษย์ (เดิน) ส่วน

ทางอ้อมมีระยะทาง ๖๐ โยชน์เป็นทางปลอดภัยหาภิกษาได้ง่าย

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ พระสีวลีมากับเราแล้วหรือ

พระเถระ มาด้วยพระเจ้าข้า ศ.ถ้าอย่างนั้นพระสงฆ์จงไปทางตรง

เราจักทดลองบุญของพระสีวลี พระศาสดา มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร

เสด็จทางดง เพื่อทดลองบุญของพระสีวลีเถระ ตั้งต้นแต่ที่พระศาสดา

เสด็จดำเนินขึ้นทางหมู่เทพเนรมิตนครในที่ทุก ๆ โยชน์ ตกแต่ง

วิหารเพื่อเป็นที่อยู่ถวายภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เหล่า

เทวบุตร เป็นเหมือนพวกรรมกรที่พระราชาส่งไป ถือข้าวยาคูและ

ของเคี้ยวเป็นต้นไปถามว่า พระคุณเจ้าสีวลีอยู่ไหน พระคุณเจ้า

สีวลีอยู่ไหน พระเถระให้รับเครื่องสักการะสัมมานะไปยังสำนัก

พระศาสดา พระศาสดาพร้อมกับภิกษุสงฆ์ทรงชื่นชมเครื่องสักการะ

และสัมมานะ โดยทำนองนี้แหละเสด็จดำเนินไปสิ้นระยะทางวันละ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 362

โยชน์เป็นอย่างยิ่ง ล่วงทางกันดารถึง ๓๐ โยชน์ จนถึงที่พักอาศัย

ของพระขทิรวนิยเถระ.

พระเถระทราบว่า พระศาสดาเสด็จมา จึงเนรมิตวิหาร

สถานที่อยู่ของตนให้พอแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

และพระคันธกุฏีที่พักกลางคืนที่พักกลางวันเป็นต้นถวายพระทศพล

ด้วยฤทธิ์ ออกไปรับเสด็จพระตถาคตแล้ว พระศาสดาเสด็จเข้าสู่

วิหารโดยทางที่ประดับแล้ว ตกแต่งแล้ว. คราวนั้น เมื่อพระตถาคต

เสด็จเข้าพระคันธกุฏี ภิกษุทั้งหลายก็เข้าไปสู่เสนาสนะที่ถึงแล้ว

โดยควรแก่พรรษา เทวดาคิดว่า เวลานี้มิใช่เวลาอาหาร จึงนำ

นำอัฏฐบานมาถวาย พระศาสดาทรงดื่มน้ำอัฏฐบานพร้อมกับพระ-

ภิกษุสงฆ์ โดยทำนองนี้ เมื่อพระตถาคตทรงชื่นชมสักการะสัมมานะ

ล่วงไปกึ่งเดือน. ครั้งนั้น ภิกษุที่กระสันขึ้นบางพวกนั่งอยู่ในที่เดียวกัน

สนทนากันขึ้นว่า พระศาสดาผู้ทศพลตรัสว่า ก็น้องชายคนเล็ก

ของพระอัครสาวกของเรา" เสด็จมาเยือนภิกษุผู้นวกัมมิกะผู้ก่อสร้าง

เห็นปานนี้ คิดว่าเชตวันมหาวิหารหรือเวฬุวันมหาวิหารเป็นต้น

จักทำอะไรในสำนักแห่งวิหารนี้ได้ ภิกษุแม้นี้เป็นผู้กระทำนวกรรม

เห็นปานนี้ จักกระทำสมณธรรมชื่ออะไรได้ ดังนี้.

ครั้งนั้น พระศาสดาทรงดำริว่า เมื่อเราอยู่นานไป ที่นี้ก็จัก

เกลื่อนกล่น ธรรมดาภิกษุผู้อยู่ป่าเป็นวัตรย่อมมีความต้องการ

ความสงัด เรวตะจักอยู่ไม่ผาสุก แต่นั้นจึงเสด็จไปยังที่พักกลางวัน

ของพระเรวตะ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 363

พระเถระนั่งบนแผ่นหินพิงแผ่นกระดานที่ห้อยลงไป ณ ท้าย

ที่จงกรมแต่ลำพังองค์เดียว เห็นพระศาสดาเสด็จมาแต่ที่ไกล จึง

ต้อนรับถวายบังคม, ที่นั้น พระศาสดาตรัสถามท่านว่า เรวตะ ที่นี้

เป็นที่ประกอบด้วยพาลมฤค (สัตว์ร้าย) เธอได้ยินเสียงช้างและม้า

เป็นต้นที่ดุร้าย ทำอย่างไรกะเสียงนั้น. พระเรวตะทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ได้ยินเสียงของสัตว์เหล่านั้น ย่อม

เกิดความปีติอยู่ในป่า พระศาสดาตรัสพระดำรัสชื่ออรัญญปัสสกถา

ด้วยคาถา ๕๐๐ คาถาแด่พระเรวตะเถระ. วันรุ่งขึ้นเสด็จไปเพื่อ

บิณฑบาต ในที่ไม่ไกลแล้วเรียกพระเรวตะมาทรงกระทำให้พวก

ภิกษุที่กล่าวิติเตียนพระเถระให้หลงลืมไม้เท้า รองเท้า ทะนานน้ำมัน

และร่มไว้ ภิกษุเหล่านั้นต้องกลับมาเพื่อเอาบริขารของตน เดินไป

ตามทางที่ตนมาแล้วนั่นเองก็กำหนดสถานที่ที่ตนวางไว้ไม่ได้.

ก็ทีแรกภิกษุเหล่านั้นเดินไปตามทางที่เขาประดับแล้ว แต่งแล้ว

แต่ในวันนั้น กลับเดินไปตามทางขรุขระ ต้องนั่งกระหย่ง ต้องเดิน

ไปด้วยเข่าในที่นั้น ๆ ภิกษุเหล่านั้นต่างเหยียบย่ำพุ่มไม้ กอไม้

และหนามไปถึงที่ ๆ ต้องอัธยาศัยที่ตนเคยอยู่ ก็พบร่มของตนบน

ตอไม้ตะเคียนนั้น ๆ ได้ จำรองเท้า ไม้เท้าและทะนานน้ำมันได้

ในตอนนั้น พวกเธอจึงรู้ว่า ภิกษุนี้เป็นผู้มีฤทธิ์ ครั้นถือเอาบริขาร

ของตน ๆ แล้วพูดว่า ชื่อว่าสักการะที่ตกแต่งถวายพระทศพลย่อม

เป็นถึงเพียงนี้ พากันไปแล้ว.

นางวิสาขามหาอุบาสิกา ถามพวกภิกษุที่ไปข้างหน้าใน

เวลาที่ท่านนั่งในเรือนของตนว่า ท่านผู้เจริญ ที่อยู่ของพระเรวตเถระ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 364

น่าพอใจหรือไม่ล่ะ ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า น่าพอใจอุบาสิกา เสนาสนะ

นั้นเปรียบด้วยสวนนันทวันและสวนจิตลดาเป็นต้น ทีนั้น จึงถาม

ภิกษุที่มาถึงภายหลังสุดของภิกษุเหล่านั้นว่า พระคุณเจ้าที่อยู่ของ

พระเรวตเถระน่าพอใจไหม ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า อย่าถามเลย

อุบาสิกา ที่นั้น เป็นที่ ๆ ไม่สมควรจะพูดถึง ที่ดอน มีก้อนกรวด

ก้อนหินป่าไม้ตะเคียนอย่างนี้ ภิกษุนั้นยังอยู่ในที่นั้นได้ มหาอุบาสิกา

วิสาขาฟังถ้อยคำของภิกษุที่มาก่อนและที่มาทีหลังแล้วคิดว่า ถ้อย

คำของภิกษุพวกไหนหนอเป็นคำจริง ภายหลังภัตรถือเอาของหอม

และดอกไม้ไปกระทำบำรุงพระทศพล ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่

สมควรส่วนข้างหนึ่ง จึงทูลถามพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระคุณเจ้าบางพวกสรรเสริญที่อยู่ของพระเรวตเถระ บางพวกติ

ข้อนี้เป็นอย่างไรพระเจ้าข้า พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนวิสาขา

มหาอุบาสิกา ที่ของพระอริยะจะเป็นที่น่ารื่นรมย์หรือไม่เป็นที่น่า

รื่นรมย์จงยกไว้ จิตของพระอริยะย่อมยินดีทั้งนั้น ที่นั้น ชื่อว่าเป็น

ที่น่ารื่นรมย์แท้จริง ดังนี้แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า.

คาเม วา ยทิ วารญฺเญ นินฺเน วา ยทิ วา ถเล

ยตฺถ อรหนฺโต วิหรนฺติ ต ภูมิรามเณยฺยกนฺติ.

พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด ไม่ว่าเป็นบ้าน

ป่า ที่ลุ่มหรือที่ดอนก็ตาม ที่นั้น เป็นภูมิภาคที่

น่ารื่นรมย์ทั้งนั้น ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 365

ต่อมาในภายหลัง พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางหมู่

พระอริยะในเชตวันมหาวิหาร ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่ง

เป็นยอดของเหล่าภิกษุทั้งหลายผู้มีปกติอยู่ในป่าเป็นวัตรแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ประวัติพระกังขาเรวตเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๖ ดังต่อไปนี้.

บทว่า ฌายีน ได้แก่ ผู้ได้ฌาน คือผู้ยินดียิ่งในฌาน ได้ยินว่า

พระเถระนั้นชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน เว้นไว้น้อย

กว่าที่พระทศพลทรงเข้าสมาบัติ เข้าสมาบัติเป็นส่วนมาก เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เข้าฌาน ท่านเรียกว่า

กังขาเรวตะ เพราะเป็นผู้มักสงสัย ความรำคาญ อธิบายว่า กุกฺกุจฺจกา

เป็นผู้มีความรำคาญ ชื่อว่า สงสัย. ถามว่า ก็ภิกษุรูปอื่น ที่มีความ

รำคาญ ไม่มีหรือ ? ตอบว่า มี แต่พระเถระนี้ แม้ในสิ่งที่สมควร

ก็เกิดรำคาญ เพราะฉะนั้น ความที่พระเถระนั้นเป็นผู้มีความรำคาญ

เป็นปกติ ปรากฏชัดแจ้งแล้ว เพราะเหตุนั้น จึงนับว่า กังขาเรวตะ

ผู้มักสงสัย ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ

ดังต่อไปนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 366

ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ พระเถระ

นี้ไปวิหารกับมหาชน โดยนัยข้างต้นนั่นแล ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท

เห็นพระศาสดา ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ยินดีในฌาน จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็น

เหมือนอย่างนั้นในอนาคต จบเทศนา จึงนิมนต์พระศาสดา ถวาย

เครื่องสักการะใหญ่ ๗ วัน โดยนัยก่อนนั่นแล กราบทูลพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์มิได้ปรารถนาสมบัติอื่น

ด้วยกรรม คือการทำกุศลอันยิ่งนี้ แต่ว่าข้าพระองค์พึงเป็นยอด

ของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌานในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งใน

อนาคต เหมือนอย่างภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน ในวันที่สุด ๗ วัน

แต่วันนี้ไป ท่านได้กระทำความปรารถนาดังกล่าวมานี้ พระศาสดา

ทรงตรวจดูอนาคต ทรงเห็นความสำเร็จจึงทรงพยากรณ์ว่า ใน

อนาคต ในที่สุดแห่งแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ จัก

ทรงอุบัติ ท่านจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน ในศาสนาของ

พระองค์ ดังนี้แล้วเสด็จกลับ

ท่านกระทำกรรมอันงามตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดา

และมนุษย์แสนกัป ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา มาบังเกิดใน

ตระกูลที่มีโภคสมบัติมาก ในกรุงสาวัตถี ไปวิหารกับมหาชนที่

กำลังเดินไปฟังธรรมในภายหลังอาหาร ยืนฟังธรรมกถาของพระ-

ทศพลท้ายบริษัท ได้ศรัทธา บรรพชาอุปสมบทแล้ว ให้พระผู้มี

พระภาคตรัสบอกกัมมัฏฐานแล้ว กระทำบริกรรมในฌานอยู่

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 367

เป็นผู้ได้ฌาน การทำฌานนั้นแหละให้เป็นบาท บรรลุพระอรหัตตผล

ท่านพักน้อยกว่าสมาบัติที่พระทศพลเข้า เข้าสมาบัติเป็นส่วนมาก

จึงมีความชำนาญอันสั่งสมไว้ในฌานทั้งหลาย ทั้งกลางวันทั้งกลางคืน

ต่อมาภายหลังพระศาสดาทรงถือเอาคุณอันนี้ สถาปนาท่านไว้ใน

ตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ได้ฌาน ก็ท่านชื่อว่า กังขาเรวตะ

เพราะมีความกังขา กล่าวคือความรำคาญ ที่มีความรังเกียจบังเกิด

ขึ้นในวัตถุทั้งหลายที่เป็นกัปปิยะนั่นแลอย่างนี้ว่า อาวุโส น้ำอ้อยงบ

เป็นอกัปปิยะ มูตรเป็นอกัปปิยะ

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ประวัติพระโสณโกฬวิสเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

บทว่า อารทฺธวิริยาน ความว่า ผู้ตั้งความเพียรแล้ว ผู้มีความ

เพียรบริบูรณ์แล้ว. คำว่า โสโณ โกฬวิโส เป็นชื่อของพระเถระนั้น.

คำว่า โกฬวิโส เป็นโคตร. อีกอย่างหนึ่ง ความว่า ชื่อว่า โกฬเวโส

อธิบายว่า เด็กแห่งตระกูลแพศย์ ผู้ถึงที่สุดด้วยความมีอิสสระ ก็

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 368

เพราะเหตุที่ ธรรมดาว่า ความเพียรของภิกษุเหล่าอื่น ย่อมต้อง

ทำให้เจริญ แต่ของพระเถระ พึงอบรมเท่านั้น เพราะฉะนั้น

พระเถระนี้ ชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภ

แล้ว ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะพึงกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ

พระเถระนี้บังเกิดในตระกูลเศรษฐี พวกญาติขนานนามของท่าน

ว่า สิริวัฑฒกุมาร ท่านเจริญวัยแล้วไปวิหารโดยนัยก่อนนั้นแล

ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท เห็นพระศาสดา ทรงสถาปนาภิกษุ

รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีความ

เพียรอันปรารภแล้ว จึงคิดว่า แม่เราก็ควรเป็นอย่างภิกษุนี้ใน

อนาคต จบเทศนา จึงนิมนต์พระทศพล ถวายมหาทาน ๗ วัน ได้

กระทำความปรารถนา โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล พระศาสดาทรง

เห็นว่า ความปรารถนาของท่านสำเร็จ จึงทรงพยากรณ์โดยนัย

ก่อนนั่นแล เสด็จกลับพระวิหาร ฝ่ายสิริวัฑฒเศรษฐีนั้น กระทำ

กุศลตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ล่วงไปแสนกัป

เมื่อพระกัสสปทศพลปรินิพพานแล้วในกัปนี้ ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ของเรายังไม่ทรงบังเกิด ก็มาถือปฏิสนธิในครอบครัวกรุงพาราณี

ท่านไปเล่นน้ำในแม่น้ำคงคา พร้อมกับหมู่สหายของตน ครั้งนั้น

พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งมีจีวรเก่า เข้าอาศัยกรุงพาราณสี

สร้างบรรณศาลาอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ตั้งใจว่าจะเข้าจำพรรษา

จึงไปดึงท่อนไม้และเถาวัลย์ที่จักนำพัดมาติดอยู่ออก กุมารนี้กับ

สหายเดินไปยืนอภิวาทอยู่ถามว่า ทำอะไรเจ้าข้า ป. พ่อเด็กจวน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 369

เข้าพรรษาแล้ว ธรรมดาบรรพชิตควรได้ที่อยู่ กุมารกล่าวว่า

ท่านเจ้าข้า วันนี้ ขอพระคุณเจ้ารอสักวันหนึ่งก่อน, พรุ่งนี้ ข้าพเจ้า

จะกระทำที่อยู่ถวายพระคุณเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้ายับยั้งอยู่ เพราะ

เป็นผู้มาแล้วด้วยตั้งใจว่า จักกระทำความสงเคราะห์กุมารนี้เหมือน

กัน กุมารนั้นทราบว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ารับนิมนต์แล้ว วันรุ่งขึ้น

จึงจัดแจงเครื่องสักการะสัมมานะไปยืนคอยพระปัจเจกพุทธเจ้ามา

ฝ่ายพระปัจเจกพุทธเจ้าทรงรำลึกว่า วันนี้เราจักเที่ยวหาอาหาร

ที่ไหนหนอ จึงไปยังประตูเรือนของกุมารนั้น กุมารเห็นพระปัจเจก-

พุทธเจ้าแล้วก็นึกรัก รับบาตรถวายอาหาร นิมนต์ว่า ตลอดภายใน

พรรษานี้ ขอได้โปรดมายังประตูเรือนของข้าพเจ้าเท่านั้น พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้ารับคำฉันเสร็จแล้วก็หลีกไป, จึงไปกับสหายของ

ตนช่วยกันสร้างบรรณศาลาที่อยู่ ที่จงกรม และที่พักกลางวันและ

กลางคืน ถวายพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้วเสร็จในวันเดียว กุมารนั้น

คิดว่า เวลาพระปัจเจกพุทธเจ้าเข้าบรรณศาลา เปือกตมบนพื้นดิน

ที่ฉาบด้วยของเขียวสด อย่าได้ติดที่เท้า จึงลาดผ้ากัมพลแดงมีค่า

พันหนึ่งอันเป็นผ้าห่มของตนปิดพื้น เห็นรัศมีมีสรีระของพระปัจเจก-

พุทธเจ้า เป็นเช่นเดียวกับสีของผ้ากัมพล ก็เลื่อมใสอย่างยิ่ง กล่าวว่า

จำเดิมแต่เวลาที่พระคุณเจ้าเหยียบแล้ว ประกายแห่งผ้ากัมพลนี้

แวววาวอย่างยิ่งฉันใด แม้วรรณะแห่งมือและเท้าของข้าพเจ้าก็จงมี

สีเหมือนดอกหงอนไก่ ในที่ที่ข้าพเจ้าเกิดแล้วเกิดอีก ฉะนั้น ขอให้

ผัสสะจงเป็นเช่นกับผัสสะแห่งผ้าฝ้ายที่เขายีแล้วถึง ๗ ครั้งเทียว

กุมารนั้นบำรุงพระปัจเจกพุทธเจ้าตลอดไตรมาส ได้ถวายไตรจีวรเมื่อ

เวลาปวารณาแล้ว พระปัจเจกพุทธเจ้ามีบาตรและจีวรบริบูรณ์แล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 370

จึงไปยังภูเขาคันธมาทน์ตามเดิม

ฝ่ายกุลบุตรนั้น เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์มาถือปฏิสนธิ

ในเรือนของอุสภเศรษฐี ในเมืองกาลจัมปาก ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้า

ของเรา ตั้งแต่เวลาที่กุลบุตรนั้นถือปฏิสนธิ เครื่องบรรณาการ

หลายพันมาในสกุลเศรษฐี ในวันที่เกิดนั่นเอง ทั่วพระนครได้มี

เครื่องสักการะสัมมานะเป็นอันเดียวกัน ย่อมาในวันตั้งชื่อกุมารนั้น

มารดาบิดาคิดว่า บุตรของเรารับชื่อของตนมาแล้ว รัศมีสรีระ

ของเขาเหมือนรดด้วยทองมีสุกแดง เพราะฉะนั้น จึงตั้งชื่อของ

กุมารนั้นว่า โสณกุมาร ครั้งนั้น เศรษฐีให้พี่เลี้ยงนางนมบำรุงบุตร

นั้นให้เจริญด้วยความสุขประหนึ่งเทพกุมาร การจัดแจงอาหาร

สำหรับกุมารนั้นได้มีแล้วอย่างนี้ หว่านข้าวลงยังที่มีประมาณ ๖๐

กรีส เลี้ยงด้วยน้ำ ๓ อย่าง เอาตุ่มใส่น้ำนมและน้ำหอมหลายพันตุ่ม

รดลงในเหมืองน้ำที่ไหลเข้าไปในนาดอน เวลารวงข้าวสาลีเป็นน้ำนม

ก็ฝังหลักล้อมรอบ ๆ และในระหว่าง ๆ เพื่อป้องกันสัตว์ทั้งหลาย

มีนกแก้วเป็นต้น กระทำเป็นเดน และเพื่อจะให้รวงข้าวมีความ

นุ่มนวล ลาดผ้าเนื้อละเอียดไว้บนหลัก เอาไม้พาดข้างบน ด้วย

เสื่อลำแพน กั้นม่านโดยรอบ จัดอารักขาไว้ในที่รอบ ๆ ทุกส่วน

เมื่อข้าวสุกขึ้นฉางก็ประพรมด้วยคันธชาติ ๔ อย่าง อบด้วยของหอม

อย่างดีเลิศไว้ข้างบน หมู่คนหลายแสนลงแขกเกี่ยวขั้วรวงข้าวสาลี

ทำเป็นกำ ๆ มัดด้วยเชือก ตากให้แห้ง ต่อนั้น ลาดของหอมที่พื้น

ล่างฉาง แผ่รวงข้าวไว้ข้างบน แผ่ไปให้มีระหว่างช่อง อย่างนี้จน

เต็มฉางจึงปิดประตู เมื่อครบ ๓ ปี จึงค่อยเปิดฉางข้าว เวลาเปิด

ก็มีกลิ่นอบอวลไปทั่วพระนคร เมื่อฟาดข้าวสาลี พวกนักเลงก็พา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 371

กันมาซื้อแกลบเอาไป ส่วนรำ จุลลปัฏฐากได้ไป เวลาซ้อมด้วยสาก

ก็มาเลือกเก็บเอาข้าวสารไป คนเหล่านั้นใส่ข้าวนั้นไว้ในกระเช้า

แฝกทอง จุ่มลงครั้งเดียวในชาติรส ใส่ข้าวไว้ในกระเช้าที่สาน

ด้วยแฝกทอง ใส่ชาติรสน้ำผลจันทน์ที่ยังร้อน ซึ่งกรอง ๗ ครั้ง

เอามาครั้งเดียวแล้วก็ยกขึ้น น้ำผลจันทน์ที่เดือดแล้วซึ่งเขากรอง

๗ ครั้ง แล้วยกขึ้นตรองข้าวสาลีที่ยกขึ้นพ้นน้ำแล้ว ก็เหมือนดอก

มะลิ ชนทั้งหลายจึงใส่โภชนะนั้นไว้ในถาดทอง เอาไว้บนถาดเงิน

ที่เต็มด้วยข้าวมธุปายาสมีน้ำน้อยที่ยังร้อนอยู่ ถือไปวางไว้ข้างหน้า

บุตรเศรษฐี. เศรษฐีบุตรนั้นบริโภคพอยังอัตภาพให้เป็นไปสำหรับตน

แล้วล้างปากด้วยน้ำที่อบด้วยของหอม แล้วล้างมือและเท้า ตอนนั้น

จึงนำเครื่องอบปากมีประการต่าง ๆ มาให้แก่เศรษฐีบุตรนั้นซึ่ง

ได้ล้างมือและเท้าแล้ว ลาดเครื่องลาดอันวิจิตรด้วยผ้าเปลือกไม้

อย่างดี ในที่ที่เศรษฐีบุตรนั้นเหยียบ ฝ่ามือและฝ่าเท้าของเศรษฐีบุตร

นั้นมีสีดุจสีดอกหงอนไก่ โลมาซึ่งมีวรรณะดุจสีแก้วมณีและแก้ว

กุณฑล เกิดที่ฝ่าเท้า ดุจสัมผัสของผ้าฝ้ายที่เขายีแล้วถึง ๗ ครั้ง

เศรษฐีบุตรนั้นโกรธใคร ๆ จะพูดว่า จงรู้ไว้ ฉันจะเหยียบพื้นดิน

เมื่อเธอเจริญวัยแล้วให้สร้างปราสาท ๓ หลัง ที่เหมาะแก่ฤดู ๓

แล้วให้นางงอนบำรุงบำเรอเศรษฐีบุตรนั้นเสวยมหาสมบัติอาศัย

อยู่ปานเทพเจ้า.

ต่อมาเมื่อพระศาสดาของเราทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ

ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐแล้ว อาศัยกรุงราชคฤห์

ประทับอยู่ เศรษฐีบุตรนั้นอันพระเจ้ามคธตรัสเรียกมาเพื่อจะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 372

ทอดพระเนตรขนที่เท้าแล้วส่งไปเฝ้าพระศาสดาพร้อมกับชาวบ้าน

๘๐,๐๐๐ ฟังพระธรรมเทศนาได้ศรัทธา จึงขอบรรพชากะพระ-

ศาสดา ครั้งนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามเขาว่า มารดาบิดา

อนุญาตแล้วหรือ ทรงสดับว่า ยังมิได้อนุญาต จงทรงห้ามว่า โสณะ

ตถาคตไม่ให้กุลบุตรที่มารดาบิดาไม่อนุญาตบวชได้ เศรษฐีบุตร

นั้นรับพระดำรัสของพระตถาคตด้วยเศียรเกล้าว่า ดีละพระเจ้าข้า

จึงไปหามารดาบิดาให้ท่านอนุญาตแล้ว จึงกลับมาเฝ้าพระตถาคต

ได้บวชในสำนักของภิกษุรูปหนึ่ง นี้เป็นความย่อในเรื่องนี้, โดย

พิสดาร พิธีบรรพชาของท่านมาแล้วในพระบาลีนั่นแล.

เมื่อท่านได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว อยู่ในกรุงราชคฤห์ หมู่

ญาติและสายโลหิตเป็นอันมาก และเพื่อเห็นเพื่อนเป็นอันมาก ต่าง

นำสักการะและสัมมานะมา กล่าวสรรเสริญความสำเร็จแห่งรูป

แม้คนเหล่าอื่นก็พากันมาดู พระเถระคิดว่า คนเป็นอันมากมายัง

สำนักของเรา เราจักทำกิจกรรมในกัมมัฏฐาน หรือในวิปัสสนา

ได้อย่างไร ถ้ากะไร เราพึงเรียนกัมมัฎฐานในสำนักของพระ-

ศาสดาแล้วไปสุสานสีตวัน บำเพ็ญสมณธรรม เพราะคนเป็นอันมาก

เกลียดสุสานสัตว์นั้น จักไม่ไป เมื่อเป็นอย่างนี้ กิจของเราจักถึง

ที่สุดได้ จึงรับกัมมัฏฐานในสำนักของพระศาสดาแล้วไปยังสีตวัน

เริ่มบำเพ็ญสมณธรรม ท่านคิดว่า สรีระของเราละเอียดอย่างยิ่ง

แต่ไม่อาจจะให้ถึงความสุขโดยความสะดวกนั่นเอง แม้ถึงจะลำบาก

กายก็ควรบำเพ็ญสมณธรรม แต่นั้นจึงอธิษฐานการยืนและการ

จงกรมมีแต่โลหิตอย่างเดียว เมื่อเท้าเดินไม่ได้ ก็พยายามจงกรมด้วย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 373

เข่าบ้าง ด้วยมือบ้าง แม้ถึงกระทำความเพียรอย่างมั่นคงถึงเพียงนี้

ก็ไม่อาจทำคุณแม้เพียงโอภาสให้บังเกิด จึงคิดว่า แม้หากว่าคนอื่น

พึงปรารภความเพียรพึงเป็นเช่นกับเราไซร้ แต่เราพยายามอยู่

อย่างนี้ ก็ไม่อาจทำมรรคหรือผลให้เกิดขึ้นได้ เราไม่ใช่อุคฆฏิตัญญู

บุคคล หรือไม่ใช่วิปจิตัญญูบุคคล ไม่ไช่ไนยบุคคล เราพึงเป็น

ปทปรมบุคคลแน่แท้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยบรรพชา เราจะสึก

ออกไปบริโภคโภคะและกระทำบุญ สมัยนั้น พระศาสดาทรงทราบ

ความปริวิตกของพระเถระ เวลาเย็นทรงมีหมู่ภิกษุแวดล้อมไปใน

สุสานสีตวันนั้น ทอดพระเนตรเห็นที่จงกรมเปื้อนเลือด ทรงโอวาท

พระเถระโดยโอวาทเทียบดังพิณ ตรัสบอกกัมมัฏฐานแก่พระเถระ

เพื่อให้ประกอบความเพียรเพลา ๆ ลงบ้าง แล้วเสด็จไปยังภูเขา

คิชฌกูฎ ฝ่ายพระโสณเถระได้พระโอวาทในที่ต่อพระพักตร์ของ

พระทศพล ไม่นานนักก็ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล. ต่อมาภายหลัง

พระศาสดา มีหมู่ภิกษุแวดล้อมทรงแสดงธรรมในพระเชตวันวิหาร

ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ปรารภ

ความเพียร.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 374

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ประวัติพระโสณกุฏิกัณณเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๘ ดังต่อไปนี้.

ถ้อยคำท่านเรียกว่า วากฺกรณ ในบทว่า กลฺยาณวากฺกรณาน.

อธิบายว่า ถ้อยคำอันงามคือถ้อยคำอันไพเราะ จริงอยู่ พระเถระนี้

กล่าวธรรมกถาด้วยเสียงอันไพเราะ แด่พระตถาคตในพระคันธกุฏี

เดียวกันกับพระทศพล. ครั้งนั้น พระศาสดาได้ประทานสาธุการ

แก่ท่าน เพราะฉะนั้น พระเถระนั้นจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุ

ผู้มีวาจาไพเราะ คำว่า โสณะ เป็นชื่อของท่าน แต่ท่านทรงเครื่อง

ประดับหู (ตุ้มหู) มีค่าถึงโกฏิหนึ่ง เพราะฉะนั้นเขาพึงเรียกว่า

กุฏิกัณณะ หมายความว่าพระโสณะผู้มีตุ้มหูราคาโกฏิหนึ่ง ในปัญหา

กรรมของท่านมีสิ่งที่จะพึงกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้ :-

แม้พระเถระนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ. ไป

วิหารกับมหาชนโดยนัยก่อนนั้นแล ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท

เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งผู้เป็นยอด

ของเหล่าภิกษุผู้มีวาจาไพเราะ จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็นยอดของ

เหล่าภิกษุผู้มีวาจาไพเราะในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง

ในอนาคต จึงนิมนต์พระทศพลถวายทาน ๗ วัน ได้กระทำความ

ปรารถนาว่า พระเจ้าข้า พระองค์ทรงตั้งภิกษุใจไวในตำแหน่ง

ภิกษุผู้มีวาจาไพเราะ วันสุดท้ายใน ๗ วันนับแต่วันนี้ แม้ข้าพระองค์

พึงเป็นเหมือนอย่างภิกษุนั้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 375

ในอนาคต ด้วยผลแห่งกุศลกรรมนี้ พระศาสดาทรงเห็นว่าไม่มี

อันตรายสำหรับเธอ จึงทรงพยากรณ์ว่า ท่านจักเป็นยอดของเหล่า

ภิกษุผู้มีวาจาไพเราะในศาสนาของพระโคดมพุทธเจ้าในอนาคตกาล

แล้วเสร็จกลับไป. ฝ่ายท่านก็กระทำกุศลกรรมจนตลอดชีวิต เวียน

ว่ายในเทวดาและมนุษย์แสนกัป จุติจากเทวโลกมาถือปฏิสนธิในท้อง

แห่งอุบาสิกาผู้เป็นแม่บ้านของครอบครัวชื่อว่า กาฬี ก่อนพระทศพล

ของเราทรงอุบัติ นางมีครรภ์ครบแล้วมายังนิเวศน์แห่งครอบครัว

ของตนในกรุงราชคฤห์.

สมัยนั้น พระศาสดาของเราทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ

แล้วทรงประกาศธรรมจักรในราวป่าอิสิปตนะแล้ว เทวดาในหมื่น

จักรวาลมาประชุมกันแล้ว ในที่ประชุมนั้น ยักษ์ตนหนึ่งชื่อว่า

สาตาคิรยักษ์ ในระหว่างยักษ์เสนาบดี (แม่ทัพยักษ์) ๒๘ ตน

ฟังธรรมกถาของพระทศพลตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ดำริว่า

ธรรมกถาอันไพเราะนี้ เหมวตยักษ์สหายของเราได้ฟังหรือมิได้ฟัง

หนอ ยักษ์นั้นมองหาในระหว่างหมู่เทพก็ไม่เห็นยักษ์นั้น จึงคิดว่า

สหายของเราไม่ทราบว่ารัตนะทั้ง ๓ เกิดขึ้นแล้วแน่แท้ จำเราจักไป

กล่าวคุณแห่งพระทศพลแก่เขาและจะบอกถึงธรรมที่เราบรรลุ

แก่เขาด้วย จึงไปหาเหมวตยักษ์นั้น โดยทางเบื้องบนแห่งกรุงราชคฤห์

กับบริษัทของตน

ฝ่ายเหมวตยักษ์เห็นป่าหิมพานต์อันกว้างยาวถึง ๓ พันโยชน์

มีดอกไม้บานในเวลามิใช่ฤดู คิดว่าเราจักเล่นการละเล่นในป่า

หิมพานต์กับสหายของเรา จึงไปกับบริษัทของตนโดยเบื้องบน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 376

กรุงราชคฤห์เหมืนกัน แม้ยักษ์เหล่านั้นก็มาพบกันเบื้องบนนิเวศน์

ของอุบาสิกาในขณะนั้น ต่างก็ถามกันว่า พวกท่านเป็นบริษัท

ของใคร พวกเราเป็นบริษัทของสาตาคิรยักษ์ พวกท่านล่ะเป็น

บริษัทของใคร พวกเราเป็นบริษัทของเหมวตยักษ์ดังนี้ พวกยักษ์

เหล่านั้นต่างยินดีแล้วรำเริงแล้ว ไปแจ้งแก่ยักษ์เสนาบดีเหล่านั้น

สาตาคิรยักษ์กล่าวกะเหมวตยักษ์ว่า สหาย ท่านจะไปไหน ?

เหมวตยักษ์ตอบว่า สหาย เราจะไปสำนักท่าน สา. เพราะเหตุไร

เห. เราเห็นป่าหิมพานต์มีดอกไม้สะพรั่ง เราจักไปเล่นในป่าหิมพานต์

นั้นกับท่าน สา. สหาย ก็ท่านจะไปได้อย่างไร ? ท่านรู้ว่าป่าหิมพานต์

มีดอกไม้บานสะพรั่งด้วยเหตุไร เห. ไม่รู้สหาย สา. สิทธัตถกุมาร

โอรสพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ยังหมื่นโลกธาตุให้ไหวแล้วทรง

บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ทรงประกาศธรรมจักรอันยอดเยี่ยม

ในท่ามกลางเทวดาในหมื่นจักรวาล ท่านไม่รู้ว่าพระธรรมจักรนั้น

พระองค์ทรงประกาศแล้วหรือ. เห. ไม่รู้ดอกสหาย สา. ท่านสำคัญ

ว่าที่มีประมาณเท่านั้นนั่นเทียวมีดอกไม้บานสะพรั่ง แต่ทั่วหมื่น

จักรวาลเป็นเสมือนดอกไม้กลุ่มเดียวกันในวันนี้ เพื่อสักการะบุรุษ

นั้นนะสหาย. เห. ดอกไม้บานอยู่ก่อน พระศาสดานั้นท่านเห็นเต็ม

นัยตาแล้วหรือ สา. เออ สหายเหมวตะ เราเห็นพระศาสดาแล้ว

เราฟังธรรมแล้ว เราดื่มอมตะแล้ว เราจักทำท่านให้รู้อมตธรรม

นั้นบ้าง เราจึงมายังสำนักของท่านสหาย. เมื่อยักษ์เหล่านั้นกำลัง

เจรจากันอยู่นั่นแล อุบาสิกาลุกขึ้นจากที่นอนอันมีสิริ นั่งฟังการ

เจรจาปราศรัยนั้น ถือเอานิมิตในเสียงกำหนดว่า เสียงนี้เป็นเสียง

ในเบื้องบน ไม่ใช่ในภายใต้ เป็นเสียงอมนุษย์พูด มิใช่เสียงมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 377

พูด เงี่ยโสตประคองใจ. แต่นั้นสาคาคิรยักษ์พูดว่า

อชฺช ปณฺณรโส อุโปสโถ (อิติ สาตาคิโร ยกฺโข)

ทิพฺพา รตฺติ อุปฏฺิต

อโนนนาม สตฺถาร

หนฺท ปสฺสาม โคตมนฺติ.

วันนี้เป็นวันอุโบสถ ๑๕ ค่ำ ราตรีอันเป็นทิพย์

ปรากฏแล้ว มาเราทั้งสองจงไปเฝ้าพระโคดม

มีพระนามอันไม่ทรามเถิด

สาตาคิรยักษ์กล่าวดังนี้แล้ว เหมวตยักษ์กล่าวว่า

กจฺจิ มโน สุปณิหิโต (อิติ เหมวโต ยกฺโข)

สพฺพภูเตสุ ตาทิโน

กาจฺจิ อิฏฺเ อนิฏเ จ

สงฺกปฺปสฺส วสีคตาติ.

พระโคดมผู้คงที่ ทรงตั้งพระทัยไว้ดีแล้วใน

สัตว์ทั้งปวงหรือ พระโคดมทรงกระทำความดำริ

ในอิฏฐารมณ์แลอนิฏฐารมณ์ให้อยู่ในอำนาจแล

หรือ.

เหมวตยักษ์ถามถึงกายมาจาร อาชีพ และมโนสมาจาร

ของพระศาสดาอย่างนี้แล้ว สาตาคิรยักษ์ วิสัชชนาข้อที่เหมวตยักษ์

ถามแล้ว ๆ เมื่อจบเหมวตสูตรแล้วตามความชอบใจด้วยการกล่าว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 378

คุณแห่งสรีรวรรณะของพระศาสดาอย่างนี้แล้ว เหมวตยักษ์

ส่งญาณไปตามกระแสแห่งพระธรรมเทศนาของสหาย ตั้งอยู่ใน

โสดาปัตติผลแล้ว. คราวนั้น นางกาฬีอุบาสิกา ยังไม่เคยเห็นพระ-

ตถาคตเลยก็เกิดความเลื่อมใสที่ได้ฟังในธรรมที่เขาแสดงแก่บุคคล

อื่น ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว ประดุจบริโภคโภชนะที่เขาจัดสำหรับ

คนอื่นฉะนั้น, อุบาสิกานั้น เป็นพระโสดาบันคนแรกในระหว่าง

หญิงทั้งหมดและเป็นหัวหน้าหญิงทั้งหมด. ในคืนนั้น นางก็คลอด

บุตรพร้อมกับการบรรลุโสดาปัตติผล ในวันขนานนามทารกที่ได้

มาแล้ว ตั้งชื่อว่า โสณะ. อุบาสิกานั้นอยู่ในเรือนแห่งครอบครัว

ตามความพอใจแล้วได้ไปยังกุลฆรนคร

สมัยนั้น พระมหากัจจายนเถระ อาศัยเมืองนั้น อยู่ที่ภูเขา

อุปวัตตะ อุบาสิกาอุปัฏฐากพระเถระ พระเถระไปนิเวศน์ของนาง

เป็นประจำ แม้เด็กโสณก็เที่ยวเล่นในสำนักของพระเถระเป็นประจำ

จึงคุ้นเคยกัน ต่อมาเด็กนั้นบรรพชาในสำนักของพระเถระ พระเถระ

ประสงค์จะให้ท่านอุปสมบท แสวงหาภิกษุอยู่ ๓ ปีครบคณะจึงให้

อุปสมบทได้ ท่านอุปสมบทแล้วให้พระเถระบอกกัมมัฏฐานเจริญ

วิปัสสนา บรรลุพระอรหัตแล้ว เรียนคัมภีร์สุตตนิบาตในสำนัก

ของพระเถระ ออกพรรษาปวารณาแล้ว ประสงค์จะเฝ้าพระศาสดา

จึงลาพระอุปัชฌาย์ พระเถระกล่าวว่า โสณะเมื่อท่านไปแล้ว พระ-

ศาสดาจะให้ท่านอยู่ในพระคันธกุฏีเดียวกัน จักเชิญให้ท่านกล่าว

ธรรม พระศาสดาจะทรงเลื่อมใสในธรรมกถาของท่าน จักประทาน

พรแก่ท่าน เมื่อท่านจะรับพร จงรับเอาพรอย่างนี้ จงไหว้พระบาท

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 379

ของพระทศพลตามคำของเรา พระโสณะนั้นอันพระอุปัชฌาย์

อนุญาตแล้วจึงไปบอกแก่โยมอุบาสิกา แม้อุบาสิกานั้นก็กล่าวว่า

ดีละพ่อ ท่านเมื่อไปเฝ้าพระทศพล จงเอาผ้ากัมพลผืนนี้ไป จงลาด

กระทำให้เป็นผ้ารองพื้นในพระคันธกุฏีที่ประทับของพระศาสดา

แล้วถวายผ้ากัมพลผืนใหญ่ไป พระโสณเถระรับผ้านั้นไปแล้ว เก็บ

งำเสนาสนะไปถึงที่ประทับของพระศาสดาโดยลำดับ เข้าไปเฝ้า

ในเวลาที่พระทศพลประทับนั่งบนพุทธอาสน์ ถวายบังคมแล้ว ได้ยืน

อยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

พระศาสดาทรงกระทำปฏิสัณฐารกับพระเถระนั้นแล้ว ตรัส

เรียกพระอานนทเถระมาตรัสว่า อานนท์ จงจัดเสนาสนะสำหรับ

ภิกษุรูปนี้ พระเถระทราบพระประสงค์ของพระศาสดา ได้ลาดผ้า

แล้วประดุจยกผ้าลาดพื้นไว้ตรงกลางในภายในพระคันธกุฏี ครั้งนั้น

แล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยับยั้งกลางแจ้งตลอดราตรีเป็นอันมาก

จึงเสด็จเข้าพระวิหาร แม้ท่านพระโสณะก็ยับยั้งกลางแจ้งตลอดราตรี

เป็นอันมากเหมือนกัน จึงเข้าพระวิหาร พระศาสดาเสด็จสีหยาสน์

ในมัชฌิมยาม เสด็จลุกขึ้นประทับนั่งในสมัยใกล้รุ่ง ทรงทราบว่า

ความลำบากกายของพระโสณะจักสงบระงับด้วยเหตุเพียงเท่านี้

แล้วเชื้อเชิญให้กล่าวธรรม พระโสณเถระได้กล่าวพระสูตรที่เนื่อง

ด้วยอัฏฐกวัคค์ พยัญชนะตัวหนึ่งก็ไม่เสียด้วยเสียงอันไพเราะ

เมื่อจบคาถา พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานสาธุการ ประกาศ

ถึงความเลื่อมใสว่า ภิกษุ ธรรมเธอเรียนไว้ดีแล้ว เทศนาในเวลา

ที่เราแสดงแล้วก็ดีในวันนี้ก็ดี เป็นอย่างเดียวกันเทียว ไม่ขาดไม่เกิน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 380

เลย. ฝ่ายพระโสณกำหนดว่านี้เป็นโอกาส แล้วถวายบังคมพระทศพล

ตามคำของพระอุปัชฌาย์ ทูลขอพรทุกอย่างตั้งต้นแต่การอุปสมบท

ด้วยคณะมีพระวินัยธรครบ ๕ พระศาสดาทรงประท่านแล้ว ต่อมา

พระเถระถวายบังคมตามคำของอุบาสิกามารดาว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ อุบาสิกาส่งผ้ากัมพลผืนนี้มาเพื่อปูลาดพื้นในพระคันธกุฏี

ที่ประทับของพระองค์ แล้วถวายผ้ากัมพล ลุกขึ้นจากอาสนะถวาย

บังคมพระศาสดากระทำปทักษิณหลีกไปแล้ว. ในเรื่องนี้มีความ

สังเขปเท่านี้. แต่โดยพิสดารเรื่องตั้งแต่การบรรพชาของพระเถระ

เป็นต้นทั้งหมด มาในพระสูตรแล้ว.

ดังกล่าวมานี้ พระเถระได้พร ๘ ประการจากสำนักพระ-

ศาสดาแล้วกับไปยังสำนักพระอุปัชฌาย์ เล่าประพฤติเหตุทั้งปวง

นั้นแล้ว. วันรุ่งขึ้นไปยังประนิเวศน์ของโยมอุบาสิกา ยืนคอยอาหาร

อุบาสิกาฟังข่าวว่า บุตรของเรามายืนที่ประตู จึงรีบมาอภิวาทแล้ว

รับบาตรจากมือ นิมนต์ให้นั่งในนิเวศน์ของตน ถวายโภชนะแล้ว.

ทีนั้นเมื่อฉันเสร็จ อุบาสิกากล่าวกะท่านว่า พ่อท่านได้พบพระทศพล

แล้วหรือ. พบแล้ว อุบาสิกา. อุ.ท่านได้ไหว้ตามคำของโยมแล้วหรือ

ส.จ๊ะ ไหว้แล้ว และผ้ากัมพลของเรานั้น ได้ลาดไว้ให้เป็นผ้าลาดพื้น

ในที่ประทับของพระตถาคตแล้ว อุ.พ่อ ได้ยินว่า ท่านกล่าวธรรมกถา

ถวายพระศาสดาและพระศาสดาได้ทรงประทานสาธุการแก่ท่านหรือ.

พระย้อนถามว่า โยมทราบได้อย่างไร อุบาสิกา. อุบาสิกากล่าวว่า

พ่อเทวดาที่สถิตอยู่ในเรือนของโยมบอกว่า เทวดาในหมื่นจักรวาล

ได้ถวายสาธุการเมื่อพระศาสดาประทานสาธุการแก่ท่าน แล้ว

กล่าวว่า พ่อ โยมหวังว่า ท่านควรกล่าวธรรมเหมือนอย่างที่ท่าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 381

กล่าวแล้วแก่โยมบ้าง โดยทำนองที่ได้กล่าวแด่พระพุทธเจ้า พระเถระ

รับคำของโยมแล้ว. นางทราบว่าพระเถระรับคำแล้ว จึงให้ทำมณฑป

ใกล้ประตู นิมนต์ให้กล่าวธรรมแก่ตนโดยทำนองที่กล่าวแก่พระทศพล

แล้ว. เรื่องตั้งขึ้นแล้วในที่นี้. ต่อมาพระศาสดาประทับนั่ง ณ ท่ามกลาง

หมู่พระอริยะ ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่า

ภิกษุผู้มีวาจาไพเราะแล้ว.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ประวัติพระสีวลีเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๙ ดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ลาภีน ยทิท สีวลี ทรงแสดงว่า เว้นพระตถาคต

พระสีวลีเถระเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีลาภ ในปัญหากรรมของท่าน

มีเรื่องที่จะกล่าวโดยลำดับดังต่อไปนี้

แม้พระเถระนี้ ในอดีตครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ

ไปพระวิหาร ยืนฟังธรรมอยู่ท้ายบริษัท โดยนัยที่กล่าวแล้วนั้นเทียว

เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของ

เหล่าภิกษุมีลาภ คิดว่า แม้เราก็ควรเป็นผู้มีอย่างนั้นเป็นรูปในอนาคต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 382

จึงนิมนต์พระทศพลถวายมหาทาน ๗ วัน กระทำความปรารถนาว่า

ด้วยการกระทำกุศลนี้ แม้ข้าพระองค์ไม่ปรารถนาสมบัติอย่างอื่น

แต่ข้าพระองค์พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีลาภเหมือนอย่างภิกษุ

ที่พระองค์ทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ ในศาสนาของพระ-

พุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาล พระศาสดาทรงเห็นว่าไม่มี

อันตรายสำหรับเธอ จึงทรงพยากรณ์ว่า ความปรารถนาของท่านนี้จัก

สำเร็จในสำนักของพระพุทธเจ้าพระนามว่าโคตมะในอนาคตแล้ว

เสด็จกลับไป กุลบุตรนั้น การทำกุศลตลอดชีพแล้วเวียนว่ายอยู่ใน

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ครั้งพระวิปัสสีพุทธเจ้า กุลบุตรนั้น

บำเพ็ญกุศลจนตลอดชีพ ท่องเที่ยวอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย

ครั้งพระวิปัสสีพุทธเจ้ามาถือปฏิสนธิในบ้านตำบลหนึ่ง ไม่ไกล

กรุงพันธุมดี สมัยนั้น ชาวเมืองพันธุมดี สั่งสนทนากับพระราชา

ถวายทานแด่พระทศพล วันหนึ่ง คนเหล่านั้น ร่วมกันเป็นอันเดียว

ทั้งหมดถวายทาน คิดว่า ในมุขคือทานของพวกเรา ไม่มีอะไรบ้าง

หนอ ดังนี้ ไม่ได้เห็นน้ำผึ้งแลเนยแข็งแล้ว คนเหล่านั้นจึงวางบุรุษ

ไว้ดักในทางจากชนบทเข้าไปเมืองด้วยตั้งใจว่าจักนำของ ๒ อย่าง

นั้นจากข้างโน้นบ้างข้างนี้บ้างมา ในครั้งนั้น กุลบุตรนี้ ถือเอา

กระบอกเนยแข็งมาจากบ้านของตนคิดว่า จักนำมาหน่อหนึ่งเท่านั้น

เมื่อไปถึงพระนครก็มองหาที่ที่สบายด้วยตั้งใจว่าจะล้างปาก ล้าง

มือและเท้าแล้วจึงเข้าไป เห็นรวงผึ้งที่ไม่มีตัวเท่ากับงอนไถ คิดว่า

สิ่งนี้เกิดขึ้นด้วยบุญของเรา จึงถือเอาแล้วเข้าไปสู่นคร บุรุษที่

ชาวเมืองวางดักไว้ เห็นกุลบุตรนั้น จึงถามว่า พ่อมหาจำเริญ ท่าน

นำน้ำผึ้งมาให้ใคร เขาตอบว่า ไม่ได้นำมาให้ใครดอกนายท่าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 383

ก็น้ำผึ้งที่ท่านนำมานี้ขายให้แก่เราเถอะ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถือ

เอากหาปณะนี้ไปแล้วจงให้น้ำผึ้งและเนยแข็งนั้นเถอะ กุลบุตรนั้น

คิดว่า ของนี้ใช่ว่ามีราคามากและบุรุษนี้จะให้มากก็คราวเดียว

เท่านั้น ควรจะลองดู บุรุษนั้น กล่าวว่า เราไม่ให้ด้วยกหาปณะเดียว

แล้วกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงรับเอา ๒ กหาปณะแล้วจงให้

กุลบุตรนั้นตอบว่า ๒ กหาปณะก็ให้ไม่ให้ บุรุษนั้นจึงเพิ่มโดย

อุบายนี้และเรื่อย ๆ จนถึงพันกหาปณะ กุลบุตรนั้นจึงคิดว่า เรา

ไม่ควรจะลวงเขา ช่างก่อนเถิด เราจ่าจะถามกิจที่จะพึงทำของบุรุษ

นี้ ทีนั้น เขาจึงกล่าวกะบุรุษนั้นว่า ของนี้ไม่มีค่ามาก แต่ท่านให้มาก

ท่านจะเอาสิ่งนี้ไปด้วยกิจกรรมอะไร บุรุษนั้นกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ

ชาวเมืองในเมืองนี้ขัดแย้งกับพระราชาถวายทานแด่พระวิปัสสี-

ทศพล เมื่อไม่เห็นของ ๒ สิ่งนี้ในบุญคือทาน จึงพากันแสวงหา

ถ้าไม่ได้สิ่งนี้ชาวเมืองก็จักพ่ายแพ้ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าให้พันหนึ่ง

แล้วจงรับเอา เขากล่าวว่า ของสิ่งนี้ ควรให้แก่ชาวเมืองเท่านั้น

หรือควรให้แก่ชนเหล่าอื่น ท่านจะให้ของที่ท่านนำมานี้แก่คนใด

คนหนึ่งหรือ

กุ. ก็มีใครให้ทรัพย์พันหนึ่งในวันเดียวในทานของชาวเมือง

ล่ะ.

บุ. ไม่มีดอกสหาย

กุ. ก็ท่านรู้ว่าของ ๒ สิ่งนี้มีค่าพันหนึ่งหรือ.

บุ. จ้ะฉันรู้

กุ. ถ้าอย่างนั้น ท่านจงไปบอกแก่ชาวเมืองเถิดว่า บุรุษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 384

คนหนึ่งไม่ให้ของ ๒ สิ่งนี้ด้วยราคา (แต่) ประสงค์จะให้ด้วยมือ

ของตนเอง พวกท่านอย่าวิตกเพราะเหตุแห่งของ ๒ สิ่งนี้เลย.

บุ. ก็ท่านจงเป็นกายสักขีประจักษ์พยานแห่งความเป็น

หัวหน้ามุขคือทานของเราเถิด.

บุรุษนั้น เอามาสกที่ตนเก็บไว้เพื่อใช้สอยที่บ้านซื้อของ

เผ็ดร้อน ๕ อย่าง บดจนละเอียด กรองคั้นเอาน้ำส้มจากนมส้ม

แล้วคั้นรวงผึ้งลงในนั้น ปรุงกับผงเครื่องเผ็ดร้อน ๕ อย่างแล้ว

ใส่ไว้ในใบบัวใบหนึ่ง จัดห่อนั้นแล้วถือมานั่ง ณ ที่ไม่ไกลพระทศพล

คอยดูวาระที่ถึงตนในระหว่างเครื่องสักการะที่มหาชนนำมา ทราบ

โอกาสแล้วจึงไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

นี้เป็นทุคคตปัณณาการของข้าพระองค์ ขอพระองค์โปรดกรุณารับของ

สิ่งนี้ของข้าพระองค์เถิด พระศาสดาทรงอาศัยความเอ็นแก่บุรุษนั้น

ทรงรับปัณณาการนั้นด้วยบาตรหินที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถวายแล้ว ทรง

อธิษฐานโดยอาการที่เครื่องปัณณาการนั้นถวายแก่ภิกษุถึง ๖๘,๐๐๐ องค์

ก็ไม่สิ้นเปลืองไป กุลบุตรแม้นั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

ซึ่งเสวยเสร็จแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง กราบทูลว่า "ข้า-

พระองค์พบพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว วันนี้ชาวเมืองพันธุมดีนำ

สักการะมาถวายพระองค์ แม้ข้าพระองค์พึงเป็นผู้ถึงความเป็น

ยอดทางลาภและเป็นยอดทางยศในภพที่เกิดแล้วด้วยผลแห่งธรรมนี้.

พระศาสดาตรัสว่า ความปรารถนาจงสำเร็จอย่างนั้นเถิดกุลบุตร,

แล้วทรงกระทำอนุโมทนาภัตรแก่กุลบุตรนั้นและแก่ชาวเมืองแล้ว

เสด็จกลับไป.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 385

ฝ่ายกุลบุตรนั้นกระทำกุศลจนตลอดชีพแล้ว เวียนว่ายอยู่ใน

เทวดาและมนุษย์ มาถือปฏิสนธิในพระครรภ์ของพระราชธิดา

พระนามว่า สุปปวาสา ในพุทธุบาทกาลนี้ ตั้งแต่เวลาถือปฏิสนธิ

พระนางสุปปวาสารับเครื่องบรรณาการถึง ๕๐๐ ทั้งเช้าทั้งเย็น

ครั้งนั้นพวกพระญาติต้องการจะทดลองบุญ จึงให้พระนางนั้นเอา

พระหัตถ์ถูกต้องกระเช้าพืช หน่อออกมาจากพืชชนิดหนึ่ง ๆ ร้อยหนึ่ง

บ้าง พันหนึ่งบ้าง ข้าวเกิดขึ้นจากนากรีสหนึ่ง ๕๐ เกวียนบ้าง

๖๐ เกวียนบ้าง แม้เวลาจะทำยุ้งฉางให้เต็ม ก็ทรงเอาพระหัตถ์

ถูกต้องประตูยุ้งฉาง ที่ตรงที่พระราชธิดาจับแล้วจับอีก ก็กลับ

เต็มอีกเพราะบุญ เมื่อคนทั้งหลายกล่าวว่า "บุญของพระราชธิดา"

แล้วคดจากหม้อที่มีข้าวสวยเต็มให้แก่คนใดคนหนึ่ง ยังไม่ยกพระหัตถ์

ออกเพียงใด ข้าวสวยก็ไม่สิ้นเปลืองไปเพียงนั้น.

เมื่อทารกอยู่ในครรภ์นั่นเอง เวลาล่วงไปถึง ๗ ปีแต่เมื่อ

ครรภ์แก่ นางเสวยทุกข์ใหญ่อยู่ถึง ๗ วัน นางปรึกษาสามีว่า

ก่อนแต่จะตาย ฉันจะถวายทานทั้งที่มีชีวิตอยู่เทียว จึงส่งสามีไปเฝ้า

พระศาสดา ด้วยกล่าวว่า ท่านจงไปกราบทูลเรื่องนี้แด่พระศาสดา

แล้วนิมนต์พระศาสดา อนึ่งพระศาสดาตรัสคำใด ท่านจงตั้งใจ

กำหนดคำนั้นให้ดี แล้วกลับมาบอกฉัน สามีไปแล้วกราบทูลข่าวแด่

พระศาสดา พระศาสดาตรัสว่า พระนางสุปปวาสาโกฬิยธิดาจงมี

ความสุข จงมีความสบาย ไม่มีโรค จงคลอดบุตรที่หาโรคมิได้เถิด

พระราชาทรงสดับข่าวนั้นจึงถวายบังคมพระศาสดา ทรงมุ่งหน้า

เสด็จกลับพระราชนิเวศน์ พระกุมารก็คลอดจากพระครรภ์ของ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 386

พระนางสุปปวาสาง่ายเหมือนน้ำออกจากที่กรงน้ำฉะนั้น คนที่นั่ง

ล้อมอยู่เริ่มหัวเราะ ทั้งที่หน้านองด้วยน้ำตา มหาชนยินดีแล้ว ร่าเริง

แล้ว ได้ไปกราบทูลข่าวที่น่ายินดีแด่พระราชา พระราชาทรงเห็น

อาการของชนเหล่านั้นทรงดำริว่า พระดำรัสที่พระทศพลตรัสแล้ว

เห็นจะเป็นผลแล้ว พระองค์เสด็จมากราบทูลข่าวของพระราชธิดา

แด่พระทศพล พระราชธิดาตรัสว่า อาหารสำหรับคนเป็นที่พระองค์

นิมนต์ไว้จักเป็นอาหารที่เป็นมงคล ขอพระองค์จงไปนิมนต์พระทศพล

๗ วันเถิดเพคะ. พระราชาทรงกระทำดังนั้น ถวายทานแด่พระภิกษุ

สงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ๗ วัน ทารกดับจิตที่เร่าร้อน

ของพระประยูรญาติทั้งหมด เพราะฉะนั้น พระประยูรญาติจึงเฉลิม

พระนามของกุมารนั้นว่า "สีวลีทารก" สีวลีทารกนั้นเป็นผู้ทนกรรม

ทุกอย่างตั้งแต่เกิด เพราะอยู่ในพระครรภ์ถึง ๗ ปี พระธรรม-

เสนาบดีสารีบุตรได้สนทนาปราศรัยกับสีวลีนั้น ในวันที่ ๗ แม้พระ-

ศาสดาได้ทรงภาณิตถาคาในธรรมบทว่า

โย อิม ปลิปถ ทุคฺค สสาร โมหมจฺจคา

ติณฺโณ ปารคโต ฌายี อเนญฺโช อกถกถี

อนุปาทาย นิพฺพุต ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ

ผู้ใดข้ามทางอันตรายคือสงสารอันข้ามได้

ยากนี้ ถึงฝั่งแล้ว เป็นผู้มีอันเพ่งฌาน ก้าวล่วง

โอฆะ ไม่หวั่นไหว ไม่มีความสงสัย เราเรียก

นั้นว่า เป็นพราหมณ์ ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 387

คราวนั้น พระเถระกล่าวกะสีวลีทารกนั้นอย่างนี้ว่า ก็เธอ

ได้เสวยกองทุกข์เห็นปานนี้ แล้วบวชเสียไม่สมควรหรือ สีวลี. ตอบว่า

ผมเมื่อได้ก็พึงบวช ท่านผู้เจริญ พระนางสุปปวาสาเห็นทารกนั้น

พูดอยู่กับพระเถระ คิดว่า บุตรของเราพูดอะไรหนอกับพระธรรม-

เสนาบดี จึงเข้าไปหาพระเถระถามว่า บุตรของดิฉันพูดอะไรกับ

พระคุณเจ้า เจ้าค๊ะ พระเถระกล่าวว่า บุตรของท่าน ถึงความทุกข์

ที่อยู่ในครรภ์ที่ตนเสวยแล้วกล่าวว่า ท่านอนุญาตแล้วจักบวช พระ

นางสุปปวาสาตรัสว่า ดีละเจ้าข้า โปรดให้เขาบรรพชาเถิด พระเถระ

นำทารกนั้นไปวิหาร ให้ตจปัญจกกัมมัฏฐาน เมื่อจะให้บรรพชา

กล่าวว่า สีวลี เราไม่จำต้องให้โอวาทดอก เธอจงพิจารณาทุกข์

ที่เธอเสวยมาถึง ๗ ปีนั่นแหละ สีวลีกล่าวว่า การให้บวชเท่านั้น

เป็นหน้าที่ของท่าน ส่วนผมจักรู้กิจที่ผมทำได้. สีวลีนั้น ตั้งอยู่ใน

โสดาปัตติผลในขณะที่โกนผมปอยแรกที่เขาโกนแล้วนั่นเอง ขณะ

โกนปอยที่ ๒ ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล ในขณะโกนผมปอยที่ ๓

ตั้งอยู่ในอนาคามิผล ก็การโกนผมหมด และการกระทำให้แจ้ง

พระอรหัตได้มีไม่ก่อนไม่หลังกัน ตั้งแต่วันที่ท่านบวชแล้ว ปัจจัย ๔

เกิดขึ้นแก่ภิกษุสงฆ์พอแก่ความต้องการ. เรื่องตั้งขึ้นในที่นี้ด้วย

ประการนี้.

ต่อมา พระศาสดาได้เสด็จไปยังกรุงสาวัตถี พระเถระถวาย

บังคมพระศาสดาแล้วทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักทดลองบุญ

ของข้าพระองค์ โปรดประทานภิกษุ ๕๐๐ รูปแก่ข้าพระองค์.

ตรัสว่า รับไปเถอะสีวลี. เทวดาที่สิงอยู่ ณ ต้นนิโครธได้เห็นทีแรก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 388

ได้ถวายทานแด่พระเถระนั้นถึง ๗ วัน

ดังนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

นิโคฺรชฺปม ปสฺสิ ทุตฺย ปณฺฑวปพฺพต

ตติย อจิรวติย จตุตฺถ วรสาคร

ปญฺจม หิมวนฺต โส อฏ ฉทฺทนฺตุปาคมิ

สตฺตม คนฺธมาทน อฏฺม อถ เรวต

เห็นครั้งแรก ที่ต้นนิโครธ เห็นครั้งที่สอง ภูเขาปัณฑวะ

ครั้งที่สาม แม่น้ำอจิรวดี ครั้งที่สี่ ทะเล

ครั้งที่ ๕ ป่าหิมพานต์ ครั้งที่ ๖ สระฉันทันต์

ครั้งที่ ๗ ภูเขาคันธมาทน์ ครั้งที่ ๘ ไปอยู่ที่พระเรวตะ

ในที่ทุกแห่ง เทวดาได้ถวายทานแห่งละ ๗ วัน ๆ ก็ที่ภูเขาคันธมาทน์

ท้าวเทวราชชื่อนาคทัต ใน ๗ วัน ได้ถวายบิณฑบาตเจือด้วยน้ำนม

วันหนึ่ง, ได้ถวายบิณฑบาตเจือด้วยเนยใส วันหนึ่ง, ภิกษุสงฆ์กล่าวว่า

ผู้มีอายุ แม้โคนมของเทวราชนี้ไม่ปรากฏที่เขารีดน้ำนม การคั้นเนยใส

ก็ไม่มี. ข้าแต่เทวราช ผดอันนี้เกิดขึ้นแก่พระองค์มาได้อย่างไร.

ท้าวเทวราชกล่าวว่า ท่านเจ้าข้า นี้เป็นผลแห่งการถวายสลากภัตร

เจือน้ำนมแด่พระทศพล ครั้งพระทศพลกัสสปพุทธเจ้า ภายหลังพระ

ศาสดาทรงกระทำการที่เทวดากระทำการต้อนรับพระเถระนั้น

ผู้อยู่ในป่าไม้ตะเคียน ให้เป็นอัตถุบัติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนา

พระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ถึงความมีลาภ

อย่างเลิศในศาสนาของพระองค์.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 389

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ประวัติพระวักกลิเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า สทฺธาธิมุตฺตาน ทรงแสดงว่า พระวักกลิเถระ

เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา มีศรัทธาแรง จริงอยู่

ศรัทธาของคนอื่น ๆ มีแต่ทำให้เจริญ ส่วนของพระเถระต้องลดลง

เพราะฉะนั้นพระเถระนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เป็นยอด

ของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา. คำว่า วักกลิ เป็นชื่อของ

พระเถระนั้น. ในปัญหากรรมของพระเถระนั้น มีเรื่องที่จะกล่าว

ตามลำดับต่อไปนี้ :-

ดังจะกล่าวโดยย่อ ในอดีตกาล ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

พระเถระนี้ไปวิหารยืนฟังธรรมท้ายบริษัทโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.

เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นยอด

ของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา จึงคิดว่า แม้เราก็ควรเป็น

เช่นนี้ในอนาคตกาล จึงนิมนต์พระศาสดาโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล

ถวายมหาทาน ๗ วัน ถวายบังคมพระทศพลแล้วกระทำความ

ปรารถนาว่า พระเจ้าข้า ด้วยกุศลกรรมอันนี้ ขอข้าพระองค์พึง

เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา ในศาสนาของพระ-

พุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตเหมือนภิกษุที่พระองค์ทรงสถาปนา

ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 390

พระศาสดาทรงเห็นว่า ท่านไม่มีอันตรายจึงทรงพยากรณ์แล้ว

เสด็จกลับไป.

ฝ่ายท่านกระทำกุศลตลอดชีพแล้วเวียนว่ายอยู่ในเทวดา

และมนุษย์ ถือเอาปฏิสนธิในตระกูลพราหมณ์กรุงสาวัตถี ครั้ง

พระศาสดาของเรา ญาติทั้งหลายได้ขนานนามของท่านว่า วักกลิ

ท่านเจริญวัยแล้ว เรียนไตรเพท เห็นพระทศพลมีภิกษุสงฆ์แวดล้อม

เสด็จจาริกในกรุงสาวัตถี ตรวจดูสรีรสมบัติของพระศาสดา

ไม่อิ่มด้วยการเห็นสรีรสมบัติ จึงเที่ยวไปพร้อมกับพระทศพล

นั้นด้วย เสด็จไปวิหารก็ไปกับพระทศพล ยืนมองความสำเร็จแห่ง

พระสรีรสมบัติอยู่เทียว ยืนฟังธรรมในที่เฉพาะพระพักตร์แห่ง

พระศาสดาผู้ประทับนั่งตรัสธรรมในธรรมสภา ท่านได้ศรัทธา

แล้วคิดว่า เราอยู่ครองเรือนไม่ได้เห็นพระทศพลเป็นนิตย์ จึงทูล

ขอบรรพชา บวชแล้วในสำนักของพระศาสดา ตั้งแต่นั้น เว้นเวลา

กระทำอาหาร ในเวลาที่เหลือยืนอยู่ในที่ที่ยืนเห็นพระทศพล จึงละ

โยนิโสมนสิการเสีย อยู่พระทศพลอย่างเดียว พระศาสดาทรงรอ

ให้ญาณของท่านสุกเสียก่อน เมื่อท่านเที่ยวไปดูรูปในที่นั้น ๆ เป็น

เวลายาวนานก็ไม่ตรัสอะไร ทรงทราบว่า บัดนี้ญาณของท่าน

แก่กล้าแล้ว ท่านอาจตรัสรู้ได้ จึงตรัสอย่างนี้ว่า วักกลิ ท่านจะ

ประโยชน์อะไรด้วยมองรูปกายอันเปื่อยเน่านี้ที่ท่านเห็น วักกลิ

ผู้ใดแลเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม

วักกลิ เห็นธรรมจึงจะชื่อว่าเห็นเรา. เมื่อพระศาสดาแม้ทรงโอวาท

อยู่อย่างนี้ พระเถระก็ไม่อาจละการดูพระทศพลแล้วไปในที่อื่น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 391

แต่นั้นพระศาสดาทรงดำริว่า ภิกษุนี้ไม่ได้ความสังเวชจักไม่ตรัสรู้

เมื่อใกล้เข้าพรรษา ทรงประกาศขับไล่พระเถระนั้นว่า วักกลิ

จงหลีกไป ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงมีพระดำรัสที่พึงยึดถือ

เพราะฉะนั้น พระเถระจึงยืนโต้ตอบพระศาสดาไม่ได้ ไม่บังอาจมา

เฉพาะพระพักตร์พระทศพล คิดว่า บัดนี้เราจะทำอย่างไรได้ เราถูก

พระตถาคตประฌามเสียแล้ว เราก็ไม่ได้อยู่ต่อหน้าพระองค์ ประโยชน์

อะไรด้วยชีวิตของเรา จึงขึ้นสู่ที่เขาขาดที่เขาคิชฌกูฏ พระศาสดา

ทรงทราบว่า พระเถระนั้นมีความลำบาก ทรงดำริว่า ภิกษุนี้เมื่อ

ไม่ได้ความปลอบใจจากเรา ก็จะพึงทำลายอุปนิสัยแห่งมรรคผลเสีย

จึงทรงเปล่งรัศมีไปแสดงพระองค์ ครั้งนั้น ตั้งแต่พระวักกลินั้น

เห็นพระศาสดาก็ละความโศกศัลย์อย่างใหญ่ ด้วยประการฉะนี้.

พระศาสดาเพื่อจะให้พระวักกลิเถระเกิดปีติโสมนัสสรงขึ้น เหมือน

หลั่งกระแสน้ำลงในสระที่แห้ง จึงตรัสพระคาถาในพระธรรมบทว่า

ปาโมชฺชพหุโล ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน

อธิคจฺเฉ ปท สนฺต สงฺขารุปสม สุขนฺติ.

ภิกษุผู้มากด้วยความปราโมทย์ เลื่อมใสใน

พระพุทธศาสนา จะพึงบรรลุบทอันสงบที่ระงับ

สังขาร เป็นความสุขดังนี้.

อนึ่ง พระศาสดาทรงเหยียบพระหัตถ์ประทานแก่พระวักกลิ-

เถระว่า มาเถิดวักกลิ. พระเถระบังเกิดปีติอย่างแรงว่า เราเห็น

พระทศพลแล้ว ได้รับพระดำรัสตรัสเรียกว่า มาเถิดวักกลิ ทั้งไม่รู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 392

การไปของตนว่าจะไปทางไหน จึงโลดแล่นไปในอากาศต่อพระพักตร์

พระทศพล แล้วทั้งเท้าแรกเหยียบบนภูเขา นึกถึงพระดำรัสที่

พระศาสดาตรัสแล้ว ข่มปีติในอากาศนั่นเอง บรรลุพระอรหัตพร้อม

ด้วยปฏิสัมภิทา ลงมาถวายบังคมพระตถาคต. ภายหลังพระศาสดา

ประทับนั่งท่ามกลางหมู่พระอริยะ ทรงสถาปนาพระเถระไว้ใน

ตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้น้อมใจไปด้วยศรัทธา.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบ วรรคที่ ๒.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 393

วรรคที่ ๓

ว่าด้วยภิกษุผู้มีตำแหน่งเลิศ ๑ ท่าน

[๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระราหุล เลิศกว่าพวกภิกษุ

สาวกของเราผู้ใคร่ต่อการศึกษา.

พระรัฐปาละ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้บวชด้วยศรัทธา.

พระกุณฑธานะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้รับสลากก่อน.

พระวังคีสะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปฏิภาณ.

พระอุปเสนวังคันตบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้นำ

ความเลื่อมใสมาโดยรอบ.

พระทัพพมัลลบุตร เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้จัดแจง

เสนาสนะ.

พระปิลินทวัจฉะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นที่รัก

เป็นที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย.

พระพาหิยทารุจีริยะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ตรัสรู้

ได้เร็วพลัน.

พระกุมารกัสสปะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้แสดงธรรม

ได้วิจิตร.

พระมหาโกฏฐิตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเรา ผู้บรรลุ

ปฏิสัมภิทา.

จบ วรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 394

อรรถกถาสูตรที่ ๑

ประวัติพระราหุลเถระ

วรรคที่ ๓ สูตรที่ ๑ (เรื่องพระราหุล) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สิกฺขากามาน ความว่า ผู้ใคร่ หมายความว่า ผู้รักศึกษา

ซึ่งสิกขา ๓. พระศาสดาทรงแสดงพระราหุลผู้เป็นโอรสของพระองค์

ว่า "ราหุโล" ได้ยินว่า พระเถระลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ตั้งแต่วันที่บวชแล้ว

กอบทรายขึ้นเต็มมือปรารถนาว่า อัศจรรย์หนอ เราจะพึงได้โอวาท

และพระอนุสาสนีมีประมาณเท่านี้จากพระทศพลและพระอุปัชฌาย์

อาจารย์ทั้งหลายในวันนี้ เพราะฉะนั้นท่านจึงชื่อว่าเป็น ยอดของเหล่า

ภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษา.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ประวัติพระรัฐปาลเถระ

ในสูตรที่ ๒ (เรื่องพระรัฐปาละ) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า สทฺธาปพฺพชิตาน แปลว่า ผู้บวชด้วยศรัทธา. บทว่า

รฏฺปาโล ได้แก่ผู้ถึงการนับว่า รัฐบาล แม้เพราะอรรถว่า เป็นผู้

สามารถรักษารัฐไว้ได้ หรือผู้เกิดในตระกูลที่สามารถสมานรัฐ

ที่แตกร้าวกันไว้ได้. จริงอยู่ ภิกษุรัฐปาละนั้น ฟังธรรมเทศนาของ

พระศาสดา ได้ศรัทธากระทำการอดข้าวถึง ๔ วัน จึงให้มารดา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 395

บิดาอนุญาตให้บวชได้ จึงบวชแล้ว เพราะฉะนั้น ท่านจึงเป็นยอด

ของเหล่าภิกษุผู้บวชด้วยศรัทธา.

ประวัติพระราหุลเถระ และพระรัฐปาลเถระ

ก็ในปัญหากรรมของพระเถระทั้งสองรูปนี้ มีเรื่องที่จะกล่าว

ตามลำดับดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินมาว่า ในอดีตกาล ครั้งพระปทุมุตตรพระพุทธเจ้า

พระเถระทั้ง ๒ นี้ บังเกิดในครอบครัวคฤหบดีมหาศาลในกรุง-

หงสวดี ในเวลาที่ท่านยังเป็นเด็กไม่มีใครพูดถึงชื่อและโคตร แต่

พอท่านเจริญวัยแล้ว ดำรงอยู่ในฆราวาส เมื่อบิดาของแต่ละคนล่วง

ไปแล้ว ท่านทั้ง ๒ จึงเรียกคนจัดการคลังรัตนะของตน ๆ มาแล้ว

เห็นทรัพย์หาประมาณมิได้ คิดว่าชนทั้งหลายมีปู่และปู่ทวดเป็นต้น

พาเอากองทรัพย์มีประมาณเท่านี้ไปกับตนไม่ได้ บัดนี้ เราควร

จะถือเอาทรัพย์นี้ไปโดยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้คนทั้ง ๒

นั้นจึงเริ่มให้มหาทานแก่คนกำพร้าและคนเดินทางเป็นต้น ในสถานที่

๔ แห่ง คนหนึ่งสอบถามคนที่มาแล้วมาอีกในโรงทานของตน ผู้ใด

ชอบใจสิ่งใดเป็นต้นว่า ข้าวยาคูและของเคี้ยวก็ให้สิ่งนั้นแก่ผู้นั้น

เพราะเหตุนั้นแล เขาจึงมีชื่อว่า ผู้กล่าวกะผู้ที่มาแล้ว อีกคนหนึ่ง

ไม่ถามเลย เอาภาชนะที่เขาถือมาแล้ว ๆ ใส่ให้เต็ม ๆ แล้วจึงให้

ด้วยเหตุนั้นแหละ เขาจึงมีชื่อว่า ไม่กล่าวกะผู้ที่มาแล้ว อธิบายว่า

ถามด้วยความไม่ประมาท วันหนึ่งชนทั้ง ๒ นั้นออกไปนอกบ้าน

เพื่อล้างปากแต่เช้าตรู่.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 396

สมัยนั้น ดาบสผู้มีฤทธิ์มาก ๒ รูป เหาะมาแต่ป่าหิมพานต์

เพื่อภิกขาจาร ลงไม่ไกลสหายทั้ง ๒ นั้น ยืนในที่ข้างหนึ่งด้วยคิดว่า

"ชนทั้ง ๒ นั้น เมื่อดาบสทั้ง ๒ นั้น จัดแจงบริขารมีภาชนะน้ำเต้า

เป็นต้น เดินมุ่งไปภายในบ้าน จึงมาไหว้ใกล้ๆ ครั้งนั้นดาบสกล่าวกะ

ชนทั้ง ๒ นั้นว่า ท่านผู้มีบุญใหญ่ ท่านมาในเวลาไร ชนทั้ง ๒ นั้น

ตอบว่า มาเดี๋ยวนี้ขอรับ แล้วรับภาชนะน้ำเต้าจากมือของดาบส

ทั้ง ๒ นั้น นำไปเรือนของตน ๆ ในเวลาเสร็จภัตรกิจจึงขอให้รับ

ปากว่า จะมารับภิกษาเป็นประจำ.

ในดาบสทั้งสองนั้น รูปหนึ่งเป็นคนมักร้อน จึงแหวกน้ำ

ในมหาสมุทรออกเป็น ๒ ส่วนด้วยอานุภาพของตน แล้วไปยังภพ

ของปฐวินทรนาคราชนั่งพักกลางวัน. ดาบสถือเอาฤดูพอสบายแล้ว

จึงกลับมา เมื่อจะกระทำอนุโมทนาภัตรในเรือนแห่งอุปัฎฐากของ

ตน ก็กล่าวว่า ขอจงสำเร็จเหมือนดังภพปฐวินทรนาคราช. ย่อมา

วันหนึ่ง อุปัฏฐากถามดาบสนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านกระทำอนุโมทนา

ว่า จงสำเร็จเหมือนภพปฐวินทรนาคราช โปรดบอกข้อความ พวก

ข้าพเจ้าไม่ทราบความที่ท่านกล่าวนี้ว่า คำนี้ท่านหมายความว่า

อะไร, ดาบสกล่าวว่า จริงซิ กุฏุมพี เรากล่าวว่าสมบัติของท่าน

จงเป็นเหมือนสมบัติของพระยานาคชื่อว่า ปฐวินทร, ตั้งแต่นั้นมา

กุฏุมพีก็ตั้งจิตไว้ในภพของพระยานาคชื่อว่า ปฐวินทร.

ดาบสอีกรูปหนึ่งไปยังภพดาวดึงส์ กระทำการพักกลางวัน

ในเสริสกวิมานที่ว่างเปล่า ดาบสนั้นเที่ยวไปเที่ยวมาเห็นสมบัติ

ของท้าวสักกเทวราช เมื่อจะการทำอนุโมทนาแก่อุปัฏฐากของตน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 397

ก็กล่าวว่าสมบัติของท่านจงเป็นเหมือนสักกวิมาน. ครั้งนั้น กุฎุมพี

ก็แม้นั้นก็ถามดาบสนั้นเหมือนอย่างสหายอีกคนหนึ่งถามดาบสนั้น

กุฏุมพีก็ฟังคำของดาบสนั้นจึงตั้งจิตไว้ในภพของท้าวสักกะ. ชน

ทั้งสองนั้นจึงบังเกิดในที่ที่ตนปรารถนาแล้วนั้นแล.

ผู้ที่เกิดในภพของปฐวินทรนาคราช ก็มีชื่อว่า ปฐวินทรนาค-

ราชา พระราชานั้นในขณะที่ตนเกิดแล้ว เห็นอัตภาพของตนมีความ

ร้อนใจว่า ดาบสผู้เข้าสู่สกุลสรรเสริญคุณแห่งฐานะของเราไม่น่า

พอใจหนอ ที่นี้เป็นที่ต้องเลื้อยไปด้วยท้อง ดาบสนั้นไม่รู้ที่อื่น ๆ แน่แท้

ในขณะนั้นนั่นแล เหล่านาคผู้ฟ้อนรำแต่งตัวแล้วได้ประคองเครื่อง

ดนตรีในทุกทิศแก่พระยานาคนั้น ในขณะนั้นนั่นแหละพระยานาค

นั้นก็ละอัตภาพนั้นกลายเพศเป็นมาณพน้อย ท้าวมหาราชทั้ง ๔

เข้าเฝ้าท้าวสักกะทุกกึ่งเดือน เพราะฉะนั้นแม้พระยานาคนั้นก็ต้อง

ไปเฝ้าท้าวสักกะพร้อมกับพระยานาคชื่อวิรูปักษ์ด้วย ท้าวสักกะ

เห็นพระยานาคนั้นมาแต่ไกลก็จำได้ ทีนั้นท้าวสักกะจึงถามพระยา-

นาคนั้นในเวลายืนอยู่ในที่ใกล้ว่า สหาย ท่านไปเกิดที่ไหน พระยานาค

กล่าวว่า ท่านมหาราช อย่างถามเลย ข้าพเจ้าไปเกิดในที่ที่ต้อง

เลื้อยไปด้วยท้อง ส่วนท่านได้มิตรที่ดีแล้ว ท่านสักกะตรัสว่า สหาย

ท่านอย่าวิตกเลยว่าเกิดในที่ไม่สมควร พระทศพลพระนามว่า

ปทุมุตตระทรงบังเกิดในโลกแล้ว ท่านจงพระทำกุศลกรรมแด่

พระองค์นั้นแล้วปรารถนาฐานะนี้เถิด เราทั้ง ๒ จักอยู่ร่วมกัน

เป็นสุข. พระยานาคนั้นกล่าวว่า เทวะ ข้าพเจ้า การทำอย่างนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 398

ไปนิมนต์พระปทุมุตตระทศพล จัดแจงเครื่องสักการะสัมมานะ

ตลอดคืนยันรุ่ง กับนาคบริษัทในภพนาคของตน

วันรุ่งขึ้น เมื่อรุ่งอรุณ พระศาสดาตรัสเรียกพระสุมนเถระ

ผู้อุปัฏฐากของพระองค์ว่า สุมนะ วันนี้ตถาคตจักไปภิกษาจาร ณ

ที่ไกล ภิกษุปถุชนจงอย่ามา, จงมาแต่พระผู้บรรลุปฏิสัมภิทาผู้ทรง

พระไตรปิฎก ผู้มีอภิญญ ๖ เท่านั้น พระเถระสดับพระดำรัสของ

พระศาสดาแล้ว แจ้งแก่ภิกษุทั้งปวง ภิกษุประมาณแสนหนึ่งเหาะ

ไปพร้อมกับพระศาสดา พระยานาคปฐวินทรกับนาคบริษัทมารับ

เสด็จพระทศพลแลดูพระภิกษุสงฆ์ที่ล้อมพระศาสดาซึ่งกำลังเหยียบ

คลื่นซึ่งมีสีดังแก้วมณีบนยอดคลื่น แลเห็นพระศาสดาอยู่เบื้องต้น

พระสงฆ์นวกะจนถึงสามเณรชื่ออุปเรวตะผู้เป็นโอรสของพระตถาคต

อยู่ท้าย จึงเกิดปีติปราโมทย์ว่า พุทธานุภาพเห็นปานนี้ ของพระสาวก

ที่เหลือไม่น่าอัศจรรย์ แต่พระพุทธานุภาพแห่งทารกเล็กนี้ช่างน่า

อัศจรรย์เหลือเกินดังนี้.

ครั้งนั้น เมื่อพระทศพลประทับนั่งที่ภพของพระยานาคนั้น

แล้ว เมื่อภิกษุนอกนี้นั่งจำเดิมแต่ที่สุดจนมาถึงอาสนะของสามเณร

อุปเรวตะในที่เฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดา พระยานาคเมื่อ

ถวายข้าวยาคูก็ดี เมื่อถวายของเคี้ยวก็ดี พระดูพระทศพลทีหนึ่ง

ดูสามเณรอุปเรวตะทีหนึ่ง นับว่ามหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ

ในสรีระของสามเณรนั้นย่อมปรากฏเสมือนพระพุทธเจ้า เป็นอะไร

กันหนอ ดังนี้จึงถามภิกษุรูปหนึ่งผู้นั่งไม่ไกลว่า ท่านเจ้าข้า สามเณร

รูปนี้เป็นอะไรกับพระทศพล ภิกษุนั้นตอบว่า เป็นโอรสมหาบพิธ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 399

พระองค์จึงดำริว่า ภิกษุรูปนี้ใหญ่หนอ จึงได้ความเป็นโอรสของ

พระตถาคตผู้สง่างามเห็นปานนี้ แม้สรีระของท่านก็ปรากฏเสมือน

พระสรีระของพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว แม้ตัวเราก็ควรเป็น

อย่างนี้ในอนาคตกาล จึงถวายมหาทาน ๗ วัน แล้วกระทำความ

ปรารถนาว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์พึงเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า

พระองค์หนึ่งในอนาคตเหมือนอุปเรวตะสามเณรนี้ ด้วยอานุภาพ

แห่งกุศลกรรมนี้ พระศาสดาทรงเห็นว่า หาอันตรายมิได้ จึงทรง

พยากรณ์ว่า ในอนาคตมหาบพิตรจักเป็นโอรสแห่งพระพุทธเจ้า

พระนามว่าโคตมะ ดังนี้แล้วเสด็จกลับไป.

ส่วนปฐวินทรนาคราช เมื่อถึงกึ่งเดือนอีกครั้งหนึ่งก็ไปเฝ้า

ท้าวสักกะกับพระยานาคชื่อวิรูปักษ์ คราวนั้นท้าวสักกะตรัสถาม

พระยานาคนั้นผู้มายืนอยู่ในที่ใกล้ว่า สหาย ท่านปรารถนาเทวโลก

นี้แล้วหรือ ร. ข้าพเจ้ามิได้ปรารถนาดอกเพื่อน ส. ท่านเห็นโทษอะไร

เล่า ? ร. โทษไม่มีมหาราช, แต่ข้าพเจ้าเห็นสามเณรอุปเรวตะโอรส

ของพระทศพล ตั้งแต่ข้าพเจ้าได้เห็นสามเณรนั้นก็มิได้น้อมจิตไป

ในที่อื่น ข้าพเจ้านั้นกระทำความปรารถนาว่าในอนาคตกาล ขอ

ข้าพเจ้าพึงเป็นโอรสเห็นปานนี้ของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง ข้า

แต่มหาราช แม้พระองค์ก็จงการทำความปรารถนาอย่างหนึ่งเถิด

เราทั้ง ๒ จักไม่พรากกันในที่ ๆ เกิดแล้ว ท้าวสักกะรับคำของ

พระยานานั้นแล้วเห็นภิกษุผู้มีอานุภาพมากรูปหนึ่ง จึงนึกว่า

กุลบุตรนี้ออกบวชจากสกุลไหนหนอดังนี้ ทราบว่ากุลบุตรผู้นี้เป็น

บุตรของสกุลผู้สามารถสมานรัฐที่แตกแยกกันแล้ว กระทำการอด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 400

อาหารถึง ๑๔ วัน ให้มารดาบิดาอนุญาตให้บรรพชาแล้วบวช

แล้ว ก็แลครั้นทราบแล้วจึงเป็นเหมือนไม่ทราบ ทูลถามพระทศพล

แล้วกระทำมหาสักการะ ๗ วัน กระทำความปรารถนาว่า พระเจ้าข้า

ด้วยผลแห่งกัลยาณกรรมนี้ ข้าพระองค์พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุ

ผู้บวชด้วยศรัทธาในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคต

เหมือนอย่างกุลบุตรผู้นี้ในศาสนาของพระองค์เถิด. พระศาสดา

ทรงเห็นความปรารถนาหาอันตรายมิได้ จึงพยากรณ์ว่า มหาบพิตร

พระองค์จักเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้บวชด้วยศรัทธาในศาสนาของ

พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ ในอนาคตแล้วเสด็จกลับไป ฝ่าย

ท้าวสักกะก็เสด็จกลับไปยังเทพบุรีของพระองค์ตามเดิม.

ชนทั้งสองนั้นจุติที่ที่ตนเกิดแล้วเวียนว่ายอยู่ในเทวดา

และมนุษย์ล่วงไปหลายพันกัป ในที่สุดกัปที่ ๙๒ แต่กัปนี้ พระพุทธเจ้า

พระนามว่า ผุสสะ ทรงอุบัติขึ้นในโลก พระพุทธบิดาของพระองค์

เป็นพระราชาพระนามว่า มหินทะ มีน้องชายต่างมารดากัน ๓ องค์

พระราชาทรงยึดถือว่า พระพุทธเจ้าเป็นของเราเท่านั้น พระธรรม

เป็นของเรา พระสงฆ์เป็นของเรา ทุก ๆ วันทรงให้พระทศพล

เสวยโภชนะด้วยพระองค์เองเป็นประจำ

ต่อมาภายหลัง วันหนึ่งเมื่อชายแดนของพระองค์กำเริบ

พระองค์ตรัสเรียกโอรสมาสั่งว่า ลูกเอ๋ย ชายแดนกำเริบ พวก

เจ้าหรือเราควรไป ถ้าเราไปเจ้าจะต้องปรนนิบัติพระทศพลโดย

ท่านองนี้ พระราชโอรสทั้ง ๓ นั้น ทูลเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้าแต่

พระชนก พระองค์ไม่จำต้องเสด็จไป พวกข้าพระองค์จักช่วยกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 401

ปราบโจรดังนี้ จึงถวายบังคมพระชนกแล้วเสด็จไปยังปัจจันตชนบท

ปราบโจรแล้วมีชัยชนะแก่ข้าศึกแล้วเสด็จกลับ พระราชกุมาร

เหล่านั้นปรึกษากับเหล่าผู้ใกล้ชิดในระหว่างทางว่า พ่อเอ๋ยในเวลา

ที่เรามาเฝ้าพระชนกจักประทานพร เราจะรับพรอะไร พวกข้าบาท

มูลิกาทูลว่า พระลูกเจ้า เมื่อพระชนกของพระองค์ล่วงลับไป ไม่มี

อะไรที่ชื่อว่าได้ยาก แต่พระองค์โปรดรับพรคือการปรนนิบัติ

พระผุสสพุทธเจ้า ซึ่งเป็นพระเชฏฐภาดาของพระองค์เถิด พระราช-

กุมารเหล่านั้นกล่าวว่า พวกท่านพูดดีจึงพร้อมใจกันทุก ๆ องค์

ไปเฝ้าพระชนก ในกาลนั้น พระชนกทรงเลื่อมใสพระราชกุมาร

เหล่านั้น แล้วทรงประทานพร พระราชกุมารเหล่านั้นทูลขอพรว่า

พวกข้าพระองค์จักปรนนิบัติพระตถาคตตลอดไตรมาส พระราชา

ตรัสว่า พรนี้เราให้ไม่ได้ จงขอพรอย่างอื่นเถิด พระราชกุมาร

กราบทูลว่า ข้าแต่พระชนก พวกเข้าพระองค์ก็ไม่ต้องการพรอย่างอื่น

ถ้าหากพระองค์ประสงค์จะพระราชทาน ขอจงพระราชทานพรนั้น

นั่นแหละแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระราชาเมื่อพระราชโอรส

เหล่านั้นทูลขออยู่บ่อย ๆ ทรงดำริว่า เราไม่ให้ไม่ได้ เพราะเราได้

ปฏิญญาไว้แล้วจึงตรัสว่า พ่อเอ๋ย เราให้พรแก่พวกเจ้า ก็แต่ว่า

ธรรมดาพระพุทธเจ้าเป็นผู้อันใคร ๆ เข้าเฝ้าได้ยาก เป็นผู้มีปกติ

เที่ยวไปพระองค์เดียวดุจสีหะ พวกเจ้าจงเป็นผู้ไม่ประมาทปรนนิบัติ

พระทศพลเถิด.

พระราชกุมารเหล่านั้นดำริว่า เมื่อพวกเราจะปรนนิบัติ

พระตถาคต ก็ควรจะปรนนิบัติให้สมควร จึงพร้อมใจกันสมาทานศีล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 402

๑๐ เป็นผู้ไม่มีกลิ่นคาว ตั้งบุรุษไว้ ๓ คนให้ดูแลโรงทานสำหรับ

พระศาสดา บรรดาบุรุษ คนนั้น คนหนึ่งเป็นผู้จัดแจงการเงิน

และข้าวปลาอาหาร. คนหนึ่งมีหน้าที่ตวงข้าว คนหนึ่งมีหน้าที่จัดทาน.

ในบุรุษ ๓ คนนั้น คนจัดแจงการเงินและข้าวมาเถิดเป็นพระเจ้า

พิมพิสารมหาราชในปัจจุบัน คนตวงข้าวมาเกิดเป็นวิสาขอุบาสก,

คนจัดทานมาเกิดเป็นรัฐปาลเถระแล. กุลบุตรนั้นบำเพ็ญกุศลในภพ

นั้นตลอดชีพแล้วบังเกิดในเทวโลก. ส่วนพระยานาคนี้เกิดเป็น

พระเชฏฐโอรสของพระเจ้ากิกิ ครั้งพระที่พลพระนามว่ากัสสป

ชื่อว่าราหุลเถระ พระญาติทั้งหลายขนานนามพระองค์ว่า ปฐวินทร-

กุมาร พระองค์มีภคินี ๗ พระองค์ พระภคินีเหล่านั้นสร้างบริเวณ

ถวายพระทศพลถึง ๗ แห่ง พระปฐวินทรกุมารทรงได้ตำแหน่ง

อุปราช พระองค์ตรัสกะภคินีเหล่านั้นว่า ในบรรดาบริเวณที่พระนาง

ได้สร้างไว้นั้น ขอจงประทานให้หม่อมฉันแห่งหนึ่ง พระภคินีเหล่านั้น

ทูลว่า พระพี่เจ้า พระองค์ดำรงอยู่ในฐานะเป็นอุปราช พระองค์

พึงประทานแก่หม่อมฉันต่างหาก พระองค์โปรดสร้างบริเวณอื่นเถิด

พระราชกุมารนั้นได้สดับคำของพระภคินีเหล่านั้นแล้ว จึงให้สร้าง

วิหารถึง ๕๐๐ แห่ง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บริเวณ ๕๐๐ แห่ง

ก็มี พระราชกุมารนั้นทรงบำเพ็ญกุศลตลอดชีพในอัตภาพนั้นไป

บังเกิดในเทวโลก ในพุทธุบาทกาลนี้ ปฐวินทรกุมารถือปฏิสนธิ

ในพระครรภ์แห่งพระอัครมเหษีแห่งพระโพธิสัตว์ของเรา สหาย

ของท่านบังเกิดในเรือนแห่งรัฐปาลเศรษฐี ในถุลลโกฏฐิตนิคม

แคว้นกุรุ.

ครั้งนั้น พระทศพลของเราทรงบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้ว

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 403

ทรงประกาศธรรมจักรอันประเสริฐแล้วเสด็จมายังกรุงกบิลพัสดุ์

โดยลำดับ ทรงให้ราหุลกุมารบรรพชาแล้ว. วิธีบรรพชาราหุลกุมาร

นั้น มาแล้วในพระบาลี. ก็พระศาสดาได้ตรัสราหุโลวาทสูตร เป็น

โอวาทเนือง ๆ แก่พระราหุลนั้นผู้บรรพชาแล้วอย่างนี้ แม้พระ-

ราหุลลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ เอามือกอบทรายขึ้นกล่าวว่า วันนี้เราพึง

ได้โอวาทมีประมาณเท่านี้จากพระทศพล และอุปัชฌาย์อาจารย์

ทั้งหลาย เกิดการสนทนากันในท่ามกลางสงฆ์ว่า ราหุลสามเณร

ทนต่อพระโอวาทหนอ เป็นโอรสที่คู่ควรแก่พระชนก" พระศาสดา

ทรงจิตวาระแห่งภิกษุทั้งหลาย ทรงพระดำริว่า เมื่อเราไปแล้ว

ธรรมเทศนาอย่างหนึ่งจักขยาย และคุณของราหุลจักปรากฏ จึง

เสด็จไปประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ในธรรมสภา ตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งประชุมสนทนากัน

ด้วยเรื่องอะไรหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาค

เจ้า พวกข้าพระองค์สนทนากันถึงความที่ราหุลสามเณรเป็น

ผู้อดทนต่อโอวาทพระเจ้าข้า พระศาสดาทรงดำรงอยู่ในฐานะ

นี้เพื่อทรงแสดงถึงคุณของราหุลสามเณร จึงทรงนำมิคชาดก

มาตรัสว่า.-

"มิคนฺคิปลฺลตฺถมเนกมาย

อฏฺกฺขร อฑฺฒรตฺตาวปายึ

เอเกน โสเตน ฉมาสฺสสนฺโต

ฉทิ กลาหีติ โภ ภาคิเนยฺโย" ติ

ฉันยังเนื้อหลานชายผู้มี ๘ กีบ นอนโดยอาการ

๓ ท่า มีมารยาหลายอย่าง ดื่มกินน้ำในเวลา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 404

เที่ยงคืน ให้เล่าเรียนมายาของเนื้อดีแล้ว ดูก่อน

น้องหญิง เนื้อหลานชายกลั้นลมหายใจไว้ได้ โดย

ช่องโสตข้างหนึ่ง แนบติดอยู่กับพื้น จะทำกลลวง

นายพรานด้วยอุบาย ๖ ประการ.

ต่อมา ในเวลาที่สามเณรมีอายุ ๗ พรรษา ทรงแสดง

อัมพลัฏฐิยราหุโลวาทแก่ราหุลสามเณรนั้นว่า ราหุลอย่ากล่าว

สัมปชานมุสา แม้เพื่อจะเล่นโดยความเป็นเด็กเลย ดังนี้เป็นต้น

ในเวลาที่สามเณรมีอายุ ๑๘ พรรษา ตรัสมหาราหุโลวาทสูตร

โดยนัยว่า "ราหุล รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง" ดังนี้เป็นต้น แก่ราหุล

ผู้เข้าไปบิณฑบาตตามหลังของพระตถาคต มองดูรูปสมบัติของ

พระศาสดาและของตน ตรึกวิตกที่เนื่องด้วยครอบครัว ส่วนราหุโลวาท

ในสังยุตก็ดี ราหุโลวาทในอังคุตตรนิกายก็ดี เป็นอาจารย์แห่ง

วิปัสสนาของพระเถระทั้งนั้น.

ภายหลังพระศาสดาทรงทราบว่าญาณของท่านแก่กล้า

ในเวลาที่ราหุลเป็นภิกษุยังไม่มีพรรษาประทับนั่งที่อันธวันตรัส

จุลลราหุโลวาทสูตรแล้ว เวลาจบเทศนา พระราหุลเถระบรรลุ

พระอรหัตพร้อมกับเทวดาแสนพันโกฏิ เทวดาที่เป็นพระโสดาบัน

พระสกทาคามีและพระอนาคามีนับไม่ถ้วน. ย่อมาภายหลังพระ-

ศาสดาทรงประทับนั่งท่ามกลางพระอริยสงฆ์ ทรงสถาปนาพระเถระ

ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ใคร่ต่อการศึกษาในศาสนานี้.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 405

ก็เมื่อพระศาสดาทรงเสด็จออกจาริกไปในกุรุรัฐ ทรงบรรลุ

ถึงถุลลโกฏฐิตนิคมโดยลำดับ กุลบุตรชื่อรัฐปาลฟังพระธรรมเทศนา

ของพระศาสดา ได้ศรัทธาให้มารดาบิดาอนุญาตแล้ว เข้าเฝ้า

พระทศพล บวชแล้วในสำนักของพระเถระรูปหนึ่ง ตามพระบัญชา

ของพระศาสดาตั้งแต่วันที่ท่านบวชแล้ว เศรษฐีคหบดีเห็นภิกษุ

ทั้งหลายไปยังที่ประตูนิเวศน์ของตนย่อมด่าบริภาษาว่า มีงานอะไร

ของท่านในเรือนนี้ (เรา) มีบุตรน้อยคนเดียวเท่านั้น พวกท่านก็

มานำเขาไปเสีย บัดนี้จะทำอะไรอีกล่ะ. พระศาสดาประทับอยู่ที่

ถุลลโกฏฐิคามกึ่งเดือนแล้วเสด็จมายังกรุงสาวัตถีอีก. ครั้งนั้น

พระรัฐปาลกระทำกิจในโยนิโสมนสิการ เจริญวิปัสสนาบรรลุ

พระอรหัตแล้ว ท่านทูลขออนุญาตพระศาสดาแล้วไปยังถุลลโกฏฐิต-

นิคมเพื่อเยี่ยมบิดามารดา เที่ยวบิณฑบาตไปตามลำดับตรอกใน

นิคมนั้น ได้ขนมกุมมาสบูดที่ค้างคืนในนิเวศน์ของบิดา เกิดอสุภ-

สัญญาในเหล่าหญิงที่แต่งตัวแล้วจึงยืนขึ้นแสดงธรรม เหาะไปแล้ว

ประดุจศรเพลิงที่พ้นแล้วจากแล่ง ไปยังมิคาจิรอุทยานของพระเจ้า

โกรพย ลงนั่งแผ่นศิลาอันเป็นมงคล แสดงธรรมอันประดับแล้ว

ด้วยความเลื่อมใส ๔ ประการแด่พระราชาผู้เสด็จมาเยี่ยม จาริก

ไปโดยลำดับกลับมาเฝ้าพระศาสดาอีก. เรื่องนี้ตั้งขึ้นแล้วด้วย

อาการอย่างนี้. ต่อมาภายหลังพระศาสดาประทับนั่งท่ามกลาง

พระอริยสงฆ์ ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่า

กุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธาในศาสนานี้แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 406

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ประวัติพระโกณฑธานเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๓ (เรื่องพระโกณฑธานะ) ดังต่อ

ไปนี้.

ด้วยบทว่า ปฐมสลาก คณฺหนฺตาน พระศาสดาทรงแสดงว่า

พระโกณฑธานเถระ. เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จับสลากได้ก่อน

ภิกษุอื่นทั้งหมด

ได้ยินมาว่า พระเถระนั้นเมื่อพระตถาคตเสด็จไปอุคคนคร

ในวันที่นางมหาสุภัททานิมนต์ เมื่อภิกษุบอกกล่าวว่า วันนี้พระ-

ศาสดาจักเสด็จภิกขาจารไกล ภิกษุปุถุชนอย่าจับสลาก พระขีณาสพ

๕๐๐ รูปจงจับ, ก็บันลือสีหนาทจับสลากได้ที่ ๑ ทีเดียว เมื่อพระ-

ตถาคตเสด็จไปเมืองสาเกตในวันที่นางจุลลสุภัททานิมนต์ ก็จับ

สลากได้เป็นที่ ๑ เหมือนกัน ในระหว่างภิกษุ ๕๐๐ รูป, แม้ใน

คราวเสด็จไปยังชนบทสุนาปรันตปะก็เหมือนกัน ด้วยเหตุเหล่านี้

พระเถระจึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จับสลากได้ที่ ๑ อนึ่ง

คำว่ากุณฑธาน เป็นชื่อขอท่าน ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่อง

ที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้ :-

ได้ยินว่า ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระเถระนี้บังเกิดใน

เรือนของครอบครัวกรุงหงสวดี ไปวิหารฟังธรรมโดยนัยดังกล่าว

แล้วนั่นแหละ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 407

เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้จักสลากได้ที่ ๑ จึงการทำกุศลกรรมแด่

พระพุทธเจ้าปรารถนาตำแหน่งนั้น ผู้อันพระศาสดาทรงเห็นว่าหา

อันตรายมิได้จึงพยากรณ์แล้วบำเพ็ญกุศลตลอดชีพ เวียนว่ายอยู่ใน

เทวดาและมนุษย์ ครั้งพระกัสสปพุทธเจ้าก็บังเกิดเป็นภุมมเทวดา.

ก็ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าผู้มีพระชนมายุยืน มิได้ทำอุโบสถ

ทุกกึ่งเดือน. คือพระวิปัสสีทศพลในระหว่าง ๖ ปี จึงมีอุโบสถ

ครั้งหนึ่ง ส่วนพระกัสสปทศพลทรงให้สวดพระปาฏิโมกข์ทุก ๆ

๖ เดือน ในวันสวดปาฏิโมกข์นั้น ภิกษุ ๒ รูปผู้อยู่ในทิศมาด้วย

จงใจว่า จะกระทำอุโบสถ. ภุมมเทวดานี้คิดว่าความมีไมตรีของ

ภิกษุ ๒ รูปนี้มั่นคงเหลือเกิน เมื่อมีคนทำให้แตกแยกกัน ท่าน

จะแตกกันหรือไม่แตกกันหนอ จึงคอยหาโอกาสของภิกษุทั้งสองนั้น

เดินไปใกล้ ๆ ภิกษุทั้งสองนั้น. ครั้งนั้นพระเถระรูปหนึ่งฝากบาตร

และจีวรไว้กับพระเถระอีกรูปหนึ่ง ไปยังที่ มีความผาสุกด้วยน้ำ

เพื่อชำระล้างสรีระ ครั้งล้างมือล้างเท้าแล้วก็ออกมาจากร่มไม้

ที่ถูกใจ. ภุมมเทวดาแปลงเป็นหญิงมีรูปร่างงามอยู่ข้างหลังพระเถระ

นั้น จึงทำให้เสมือนผมยุ่งแล้วจัดผมเสียใหม่ ทำเป็นปัดฝุ่นข้างหลัง

แล้วจัดผ้านุ่งเสียใหม่ เดินสกดรอยพระเถระออกจากพุ่มไม้มายืนอยู่

ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง, พระเถระผู้เป็นสหายเห็นเหตุการณ์นี้จึงเกิด

ความโทมนัสคิดว่า ความเยื่อใยที่ติดตามกันมาเป็นเวลานานกับภิกษุนี้

ของเรามาฉิบหายเสียแล้วในบัดนี้ ถ้าหากเรารู้เช่นเห็นชาติอย่างนี้

เราจะไม่ทำความคุ้นเคยกับภิกษุนี้ให้เนิ่นนานถึงเพียงนี้. พอพระเถระ

นั้นมาถึงเท่านั้นก็พูดว่า เชิญเถอะอาวุโส นี่บาตรจีวรของท่าน

เราไม่เดินทางเดียวกันกับสหายเช่นท่าน. ครั้นได้ฟังถ้อยคำนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 408

หทัยของภิกษุผู้มีความละอายนั้น เหมือนกับถูกหอกคมทิ่มแทงเอา

แล้วฉะนั้น แต่นั้นท่านจึงกล่าวกะพระเถระนั้นว่า อาวุโส ท่านพูด

อะไรอย่างนี้ ผมไม่รู้อาบัติแม้เพียงทุกกฏมาตลอดกาลเพียงนี้ ก็

ท่านพูดว่าข้าพเจ้าเป็นคนชั่วในวันนี้ ท่านเห็นอะไรหรือ ? พระเถระ

นั้นกล่าวว่า จะประโยชน์อะไรด้วยกรรมอื่นที่เราเห็นแล้ว ท่าน

ออกมาอยู่ในที่เดียวกับผู้หญิงที่แต่งตัวอย่างนี้ ๆ เพราะเหตุไร.

พระเถระนั้นจึงตอบว่า อาวุโส กรรมนั้นของข้าพเจ้าไม่มี, ข้าพเจ้า

มิได้เห็นผู้หญิงเห็นปานนี้ แม้ท่านจะกล่าวอยู่ถึง ๓ ครั้ง. พระเถระ

อีกรูปหนึ่งก็มิได้เชื่อถ้อยคำ ถือเอาเหตุที่ตนเห็นแล้วเท่านั้นเป็น

สำคัญ ไม่เดินทางเดียวกับพระเถระนั้น ไปเฝ้าพระศาสดาโดยทางอื่น.

แม้ภิกษุอีกรูปหนึ่งก็ไปเฝ้าพระศาสดาโดยทางอื่นเหมือนกัน.

แต่นั้นเวลาภิกษุสงฆ์ลงอุโบสถ ภิกษุนั้นจำภิกษุนั้นได้ใน

โรงอุโบสถจึงกล่าวว่า ในโรงอุโบสถนี้มีภิกษุลามกชื่อนี้ เราไม่

กระทำอุโบสถร่วมกับภิกษุนั้น จึงออกไปยืนอยู่ข้างนอก. ภุมมเทวดา

คิดว่าเราทำกรรมหนักแล้ว จึงแปลงเป็นอุบาสกแก่ไปหาภิกษุนั้น

กล่าวว่า เหตุไรเจ้ากูจึงมายืนอยู่ในที่นี้. พระเถระกล่าวว่า อุบาสก

ก็ภิกษุลามกเข้ามายังโรงอุโบสถนี้ อาตมาจะไม่ทำอุโบสถร่วมกับ

ภิกษุลามกนั้นจึงออกมายืนอยู่ข้างนอก. อุบาสกแก่นั้นกล่าวว่า

ท่านเจ้าข้า อย่าถืออย่างนั้นเลย ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ผมคือ

ผู้หญิงที่ท่านเห็นนั้น ผมแลเห็นความดีความละอายและความไม่

ละอายกระทำกรรมแล้วด้วยคิดว่า ความไมตรีของพระเถระนี้มั่นคง

หรือไม่มั่นคง ก็เพื่อทดลองท่านทั้งหลายดู ภิกษุนั้นถามว่า สัปบุรุษ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 409

ก็ท่านเป็นใคร อุบาสกแก่ตอบว่า ผมเป็นภุมมเทวดาเจ้าค่ะ. เทวบุตร

ทั้งที่ยืนกล่าวอยู่ด้วยอานุภาพอันเป็นทิพย์หมอบลงแทบเท้าของ

พระเถระกล่าวว่า ขอจงอดโทษนั้นแก่ข้าพเจ้า พระเถระไม่รู้เรื่อง

โปรดทำอุโบสถเถิด วิงวอนให้พระเถระเข้าไปสู่โรงอุโบสถแล้ว

พระเถระนั้นกระทำอุโบสถในที่เดียวกันก่อน แล้วก็อยู่ในที่เดียวกัน

กับพระเถระนั้น ด้วยอำนาจแห่งการผูกไมตรีอีกด้วยแล. กรรม

ของพระเถระนี้ท่านมิได้กล่าวไว้ ส่วนภิกษุผู้ถูกโจทย์บำเพ็ญ

วิปัสสนาต่อ ๆ มาได้บรรลุพระอรหัตแล้ว.

ภุมมเทวดาก็ไม่พ้นภัยในอบายตลอดพุทธันดรหนึ่ง เพราะ

ผลของกรรมนั้น แต่ถ้ามาเกิดเป็นมนุษย์ตามสมควรแต่กาล โทษ

ที่คนอื่นจะเป็นผู้ใดก็ตามกระทำ ก็ตกอยู่แก่เขาเท่านั้น ท่านบังเกิด

ในครอบครัวพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี ครั้งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา

พวกของท่านตั้งชื่อท่านว่า ธานมาณพ, ธานมาณพนั้นเจริญวัยแล้ว

เรียนไตรเพท ในเวลาแก่ฟังธรรมของพระศาสดาได้ศรัทธาแล้ว

บวช ตั้งแต่วันที่ท่านบวชแล้ว หญิงผู้แต่งตัวคนหนึ่ง เมื่อท่านเข้า

บ้าน ก็เข้าไปกับท่านด้วย เมื่อออกก็ออกด้วย แม้เมื่อเข้าวิหาร

ก็เข้าด้วย แม้เมื่อยืนก็ยืนอยู่ด้วยดังนั้นย่อมปรากฏว่า ติดพันอยู่

เป็นนิตย์อย่างนี้ พระเถระก็ไม่เห็น แต่ด้วยผลของกรรมเก่าของ

พระเถระนั้น หญิงนั้นจึงปรากฏแก่คนอื่น ๆ หญิงทั้งหลายที่ถวาย

ข้าวยาคู และภิกษาในบ้านก็ทำการเย้ยหยันว่า ท่านเจ้าขา ข้าวยาคู

กระบวยหนึ่งนี้ สำหรับท่าน อีกกระบวยหนึ่งนี้ สำหรับเพื่อนหญิง

ของท่าน พระเถระจึงมีความเดือดร้อนรำคาญอย่างใหญ่ สามเณร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 410

และภิกษุหนุ่ม ต่างแวดล้อมท่าน แม้ไปวิหารก็ทำการหัวเราะเยาะ

ว่า พระธานะเป็นคนชั่ว. (ธาโน โกณฺโฑ ชาโต)

ภายหลังท่านมีชื่อว่า โกณฑธานเถระ เพราะเหตุนั้นนั่นแล

พระเถระพยายามแล้วพยายามเล่า เมื่อไม่อาจอดกลั้นความเย้ยหยัน

ที่พวกสามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้นกระทำได้ ก็เกิดความบุ่มบ่าม

ขึ้นกล่าวว่า อุปัชฌาย์ของท่านซิชั่ว อาจารย์ของท่านซิชั่ว ครั้งนั้น

ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระศาสดาว่า พระกุณฑธานะ

กล่าวหยาบอย่างนี้ ๆ กับภิกษุหนุ่มและสามเณรทั้งหลาย พระ-

ศาสดาให้เรียกภิกษุนั้นมา ตรัสถามว่า "จริงหรือ ภิกษุ" เมื่อทูล

ว่าจริง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เหตุไรท่านจึงกล่าวอย่างนั้น

พระเถระทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ก็ไม่อาจอดกลั้นการเสียดสี

อยู่เป็นประจำ จึงกล่าวอย่างนั้น พระศาสดาตรัสว่า ตัวท่านไม่อาจ

ใช้กรรมที่ทำไว้ในปางก่อนให้หมดไป จนถึงทุกวันนี้ ต่อไปนี้ท่าน

อย่ากล่าวคำหยาบ เห็นปานนั้นน่ะภิกษุ ดังนี้แล้ว ตรัสว่า

มโวจ ผรุส กญฺจิ วุตฺตา ปฏิวเทยฺยุ ต

ทุกฺขา หิ สารมฺกถา ปฏิทณฺฑา ผุเสยฺยุ ต

สเจ น เทสิ อตฺตาน กาส อุปหโต ยถา

เอส ปตฺโตสิ นิพฺพาน สารมฺโภเต น วิชฺชตีติ

ท่านอย่ากล่าวคำหยาบกะใคร ๆ

ผู้ที่ท่านกล่าวแล้ว ก็จะโต้ตอบท่าน

ด้วยว่า ถ้อยคำที่แข็งดีกัน นำทุกข์มาให้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 411

ผู้ทำตอบ ก็พึงประสบทุกข์นั้น

ท่านไม่ยังตนให้หวั่นไหว ดุจกังสดาล

ถูกเลาะขอบอกแล้ว ท่านนั้นก็จะ

เป็นผู้ถึงพระนิพพาน ความแข็งดีก็จะ

ไม่มีแก่ท่าน ดังนี้.

ก็และบุคคลทั้งหลาย กราบทูลความที่พระเถระสนเที่ยวไป

กับมาตุคามนี้ แด่พระเจ้าโกศล พระราชาส่งอำมาตย์ไปว่า พนาย

จงไปสืบสวนดู แม้พระองค์เองก็เสด็จไปยังที่อยู่ ของพระเถระนั้น

พร้อมด้วยราชบริพารเป็นอันมาก ประทับยืนดูอยู่ ณ ที่สมควร

ข้างหนึ่ง ขณะนั้นพระเถระกำลังนั่งเย็บผ้าอยู่ หญิงแม้นั้น ก็ปรากฏ

เหมือนยืนอยู่ในที่ไม่ไกลพระเถระนั้น พระราชาเห็นแล้วทรงดำริว่า

มีเหตุนี้หรือจึงเสด็จไปยังที่ ๆ หญิงนั้นยืนอยู่แล้ว เมื่อพระราชา

มาถึง หญิงนั้นก็เป็นเหมือนเข้าไปยังบรรณศาลาอันเป็นที่อยู่ของ

พระเถระ แม้พระราชาก็เสด็จเข้าไปบรรณศาลาพร้อมกับหญิง

นั้นทีเดียว ตรวจดูทุกแห่งก็ไม่เห็น จึงทำความเข้าพระทัยว่า นี้มิใช่

มาตุคาม เป็นวิบากกรรมอย่างหนึ่งของพระเถระ ที่แรกแม้มาถึง

ใกล้พระเถระ ก็ไม่ทรงไหว้พระเถระ ครั้นทรงทราบว่า เหตุนั้น

ไม่เป็นจริง จึงเสด็จมาไหว้พระเถระ ประทับนั่ง ณ ที่สมควรส่วน

หนึ่งตรัสถามว่า พระคุณเจ้า ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาตบ้างหรือ

พระเถระทูลว่า เป็นไปได้ ขอถวายพระพร พระราชาตรัสว่า

ท่านผู้เจริญ โยมรู้เรื่องราวของพระคุณเจ้า เมื่อพระคุณเจ้าเที่ยว

ไปกับสิ่งที่ทำให้เศร้าหมองเห็นปานนี้ ชื่อว่าใครเล่าจักเลื่อมใส

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 412

ตั้งแต่นี้ไป พระคุณเจ้าไม่จำต้องไปในที่ไหน ๆ โยมจักบำรุงด้วย

ปัจจัย ๔ พระคุณเจ้าอย่าประมาทด้วยโยนิโสมนสิการะเถิด แล้ว

ส่งภิกษาไปถวายเป็นประจำ พระเถระได้พระราชูปถัมภ์ เป็นผู้มี

จิตมีอารมณ์เดียว เพราะมีโภชนะสบาย เจริญวิปัสสนาบรรลุ

พระอรหัตตผลแล้ว ตั้งแต่นั้นไป หญิงนั้นก็หายไป.

นางมหาสุภัททา อยู่ในครอบครัวมิจฉาทิฏฐิในอุคคนคร

คิดว่า พระศาสดาจงทรงอนุเคราะห์เราจึงอธิษฐานุโบสถ เป็นผู้

ไม่มีกลิ่นคาว อยู่ปราสาทชั้นบน กระทำสัจจกิริยาว่าดอกไม้เหล่านี้

จงอย่าอยู่ในระหว่างทางเสีย จงกางกั้นเป็นเพดานในเบื้องบนแห่ง

พระทศพลเถิด ขอพระทศพลจงรับภิกษา ของเราพร้อมกับภิกษุ

๕๐๐ รูป ด้วยสัญญานี้เถิด แล้วโยนดอกไม้ ๘ กำไป ดอกไม้ก็ไป

กางกั้นเป็นเพดานอยู่เบื้องบนของพระศาสดาในเวลาแสดงธรรม

พระศาสดาทอดพระเนตรเห็น เพดานดอกมะลินั้น ทรงรับภิกษา

ของนางสุภัททาด้วยจิตนั้นแหละ วันรุ่งขึ้นเมื่ออรุณขึ้น จึงตรัสสั่ง

พระอานนท์ว่า อานนท์ วันนี้เราจะไปภิกษาจาร ณ ที่ไกล จงอย่า

ให้สลากแก่พระปุถุชน จงให้แก่พระอริยะเท่านั้น พระเถระบอกแก่

ภิกษุทั้งหลายว่า ผู้มีอายุ วันนี้พระศาสดาจักเสด็จภิกษาจาร ณ

ที่ไกล พระภิกษุปุถุชนจงอย่าจับสลาก พระอริยะเท่านั้นจงจับ

พระโกณฑธานเถระ กล่าวว่าผู้มีอายุ จงนำสลากมา แล้วเหยียด

มือออกไปก่อน เมื่อพระอานนทเถระกล่าวว่า ท่านพระศาสดาไม่ให้

ประทานสลากแก่ภิกษุเช่นท่าน สั่งให้ประทานเฉพาะภิกษุผู้เป็น

อริยะเท่านั้น เกิดความวิตกขึ้นจึงไปกราบทูลพระศาสดา พระ-

ศาสดาตรัสว่า เธอจงไปให้สลากแก่ภิกษุผู้บอกให้นำสลากมาเถิด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 413

พระเถระจึงคิดว่า ถ้าไม่ควรให้สลากแก่พระกุณฑธานะ พระ-

ศาสดาจะพึงห้ามเธอ จักมีเหตุอย่างหนึ่งเป็นแท้ จึงรีบนำมาด้วย

คิดว่า จักให้สลากแก่พระกุณฑธานะ พระกุณฑธานะเถระ ก่อนที่

พระอานนทเถระมา เข้าจตุตถฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ยืนอยู่

ในอากาด้วยฤทธิ์กล่าวว่า ท่านอานนท์ จงนำสลากมา พระศาสดา

ทรงรู้จักเรา พระศาสดาไม่ตรัสห้ามภิกษุเช่นเราผู้จับสลากได้ก่อน

แล้วเหยียดมือไปจับสลากแล้ว.

พระศาสดาทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอรรถอุบัติเหตุเกิดเรื่อง

จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุ

ผู้จับสลากได้ที่ ๑ ในศาสนาแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 414

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ประวัติพระวังคีสเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๔ (เรื่องพระวังคีสะ) ดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ปฏิภาณวนฺตาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า

พระวังคีสะเถระเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีปฏิภาณสมบูรณ์ ได้

ยินว่า พระเถระนี้เมื่อเข้าไปเฝ้าพระทศพลตั้งแต่คลองแห่งจักษุ

ก็กล่าวสรรเสริญคุณพระศาสดาอุปมากับพระจันทร์ อุปมากับ

พระอาทิตย์ กับอากาศ กับมหาสมุทร กับพระยาช้าง กับพระยา

มฤคสีหะ หลายร้อยหลายพันบท จึงเข้าเฝ้า เพราะฉะนั้น ท่านจึง

เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีปฏิภาณ. ในปัญหากรรมของท่าน มี

เรื่องที่จะกล่าวความตามลำดับดังต่อไปนี้.

ได้ยินว่า ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ พระเถระ

แม้รูปนี้ ถือปฏิสนธิในครอบครัวที่มีโภคสมบัติมาก ในกรุงหงสวดี

ไปวิหารฟังธรรมโดยนัยก่อนนั่นแล เห็นพระศาสดาทรงสถาปนา

ภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีปฏิภาณ จึง

กระทำกุศลกรรมแด่พระศาสดา กระทำความปรารถนาว่า ใน

อนาคตกาล แม้ข้าพระองค์พึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีปฏิภาณ

เป็นผู้อันพระศาสดาทรงพยากรณ์แล้ว กระทำกุศลจนตลอดชีพ

เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็มาบังเกิด

ในครอบครัวพราหมณ์ กรุงสาวัตถี ญาติทั้งหลายขนานนามว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 415

วังคีสมาณพ. ท่านเจริญวัยแล้วเรียนไตรเพท ทำให้อาจารย์ชอบใจ

แล้ว ศึกษามนต์ชื่อว่า ฉวสีสมนต์ มนต์รู้ศีรษะคน เอาเล็บเคาะหัว

ศพแล้วก็รู้ว่า สัตว์นี้บังเกิดในกำเนิดชื่อโน้น ๆ พราหมณ์ทั้งหลาย

ทราบว่ามนต์นี้เป็นทางสำหรับเราเลี้ยงชีพ จึงให้วังคีสมาณพนั่ง

ในรถที่ปกปิดแล้วไปยังคามนิคม และราชธานีทั้งหลาย หยุดที่ประตู

เมือง หรือประตูนิคม ทราบว่ามหาชนมาชุมกันแล้วแล้วก็พูดว่า

ผู้ใดเห็นวังคีสะผู้นั้นจะได้ทรัพย์ หรือได้ยศ หรือได้ไปสวรรค์ ดังนี้

ชนเป็นอันมากฟังถ้อยคำของพราหมณ์เหล่านั้นแล้วให้สินจ้าง

ต้องการจะดู พระราชาและอำมาตย์ของพระราชาไปยังสำนักของ

พราหมณ์เหล่านั้นถามว่า คุณวิเศษ คือการรู้ของอาจารย์เป็น

อย่างไร ท่านทั้งหลายไม่รู้หรือ ชื่อว่าบัณฑิตอื่นที่จะเหมือนกับ

อาจารย์ของพวกเราไม่มีในชมพูทวีปทั้งสิ้น ให้บุคคลนำศีรษะของ

คนแม้ตายไปแล้ว ๓ ปี เอาเล็บเคาะก็รู้ว่า สัตว์นี้ไปเกิดในที่โน้น

ฝ่ายวังคีสะเพื่อจะตัดความสงสัยของมหาชนจึงให้นำชนเหล่านั้น

มาแล้วให้บอกคติของตน ๆ อาศัยเหตุนั้นได้ทรัพย์จากมือของมหาชน

ร้อยหนึ่งบ้าง พันหนึ่งบ้าง.

พวกพราหมณ์พาวังคีสะมาณพเที่ยวไปตามชอบใจแล้วก็

มาถึงกรุงสาวัตถีอีก วังคีสะอยู่ในที่ไม่ไกลเชตวันมหาวิหาร คิดว่า

คนทั้งหลายพูดกันว่า พระสมณะโคดมเป็นบัณฑิต ก็แต่ว่าเราไม่

ควรจะเทียวไปกระทำ ตามดำของพราหมณ์เหล่านี้อย่างเดียวทุก

เวลา เราควรไปสำนักของบัณฑิตทั้งหลายบ้าง วังคีสมาณพนั้น

กล่าวกะพราหมณ์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงไปเถิด เราจะไม่ไป

เฝ้าพระสมณะโคดมกับใครเป็นอันมาก พราหมณ์เหล่านั้นบอกว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 416

วังคีสะท่านอย่าชอบใจเฝ้าพระสมณะโคดมเลย เพราะคนใดเห็น

พระสมณะนั้น พระสมณะนั้นก็จะกลับใจบุคคลนั้นด้วยมายากล

วังคีสะไม่เชื่อถือถ้อยคำของพราหมณ์เหล่านั้น ไปเฝ้าพระศาสดา

การทำปฏิสัณฐานด้วยคำอันไพเราะ นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง.

ครั้งนั้นพระศาสดาถามเธอว่า วังคีสะ เธอรู้ศิลปอะไร

วังคีสะทูลตอบว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์รู้ฉวสีสมนต์ พระศาสดา

ตรัสถามว่า มนต์นั้นทำอะไร วังคีสะทูลว่า ร่ายมนต์นั้นแล้วเอาเล็บ

เคาะศีรษะของตนแม้ตายไปแล้วถึง ๓ ปี ก็รู้ที่เขาเกิดพระเจ้าข้า

พระศาสดาทรงแสดงศีรษะของคนที่เกิดในนรกศีรษะหนึ่งแก่

วังคีสะนั้น ของคนเกิดในมนุษย์ศีรษะหนึ่ง ของคนเกิดในเทวโลก

ศีรษะหนึ่ง แสดงศีรษะของผู้ปรินิพพานแล้วศีรษะหนึ่ง วังคีสะนั้น

เคาะศีรษะแรกกราบทูลว่าท่านพระโคดม สัตว์นี้ไปสู่นรก พระ-

ศาสดาตรัสตอบว่า สาธุ สาธุ ท่านเห็นดีแล้ว แล้วตรัสถามว่า

สัตว์นี้ไปไหน วังคีสะ ไปสู่มนุษยโลก ท่านพระโคดม สัตว์นี้ละไปไหน

วังคีสะทูลว่า สัตว์นี้ไปเทวโลก พระเจ้าคะ เขากราบทูลถึงสถานที่ไป

ของคนทั้ง ๓ พวก ด้วยประการฉะนี้ แต่เมื่อเอาเล็บเคาะศีรษะ ของ

ผู้ปรินิพพาน ก็ไม่เห็นทั้งปลายทั้งต้น. ทีนั้นพระศาสดาจึงตรัสถาม

วังคีสะนั้นว่า ท่านไม่อาจเห็นหรือวังคสะ วังคีสะมาณพทูลว่า เห็นซิ

ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ของสอบสวนดูก่อน แล้วพลิกกลับไปกลับมา

วังคีสะจักรู้คติของพระขีณาสพด้วยมนต์ของลัทธิภายนอกได้อย่างไร

เมื่อเป็นเช่นนั้น เหงื่อก็ผุดออกจากหน้าผากของเขา เขาละอายแล้วยืนนิ่ง

ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสกะเขาว่า ลำบากหรือวังคีสะ วังคีสะมูลว่า

พระเจ้าข้า ท่านโคดมข้าพระองค์ไม่รู้ที่ไปของสัตว์นี้ ถ้าพระองค์ทราบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 417

ขอจงตรัสบอกเถิด พระศาสดาตรัสว่า วังคีสะ เรารู้แม้ศีรษะนี้ แม้ยิ่ง

กว่านี้ก็รู้ ดังนี้แล้วได้ภาษิตพระคาถา ๒ คาถา นี้ในพระธรรมบทว่า

จุตึ โย เวทิ สตฺตาน อุปปตฺตึ จ สพฺพโส

อสตฺตึ สุคต พุทฺธ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ

ยสฺส คตึ น ชานนฺติ เทวา คนฺธพฺพมานุสา

ขีณาสว อรหนฺต ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณนฺติ.

ผู้ใดรู้จุติและอุปบัติ ของสัตว์ทั้งหลายโดยประ

การทั้งปวง เราเรียกผู้นั้น ผู้ไม่ข้องอยู่แล้ว ไปดี

แล้ว รู้แล้วว่าเป็นพราหมณ์.

เทพคนธรรพ์และมนุษย์ ไม่ทราบคติของผู้ใด

เราเรียกผู้นั้น ผู้มีอาสวะสิ้นแล้ว ผู้เป็นพระ-

อรหันต์ ว่าเป็นพราหมณ์ ดังนี้.

แต่นั้น วังคีสะทูลว่า ท่านโคดม ผู้แลกวิชากับวิชาไม่มีความ

เสื่อม ข้าพระองค์จักถวายมนต์ที่ข้าพระองค์รู้แด่พระองค์ พระองค์

ได้โปรดตรัสบอกมนต์นั้นแก่ข้าพระองค์ พระศาสดาตรัสว่า วังคีสะ

เราจะไม่แลกมนต์ด้วยมนต์ เราจะให้อย่างเดียวเท่านั้น วังคีสะทูลว่า

ดีละท่านโคดม ขอจงโปรดประทานแก่ข้าพระองค์เถิด แล้วแสดง

ความนอบน้อมนั่งกระทำประณมมือแล้ว พระศาสดาตรัสว่า วังคีสะ

เมื่อสมัยท่านเรียนมนต์อันมีค่ามาก หรือมนต์อะไร ๆ ไม่ต้องมีการ

อยู่อบรมหรือ วังคีสะ ไม่มีดอกท่านโคดม พระศาสดาตรัสว่า

ท่านจะสำคัญว่า มนต์ของเราไม่มีการอบรมหรือ ขึ้นชื่อว่า พราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 418

ทั้งหลายย่อมเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยมนต์ เพราะฉะนั้นวังคีสะนั้นจึงกราบทูล

พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ท่านพระโคดมข้าพระองค์ก็จักกระทำข้อ

กำหนัดที่พระองค์ตรัสไว้ พระศาสดาตรัสว่า วังคีสะ เราเมื่อจะ

ให้มนต์นี้ ย่อมให้แก่ผู้ที่มีเพศเสมอกันกับเรา วังคีสะกล่าวกะ

พราหมณ์ทั้งหลายว่า ข้าพเจ้าควรกระทำกิจอย่างใด อย่างหนึ่ง

แล้วไปเรียนมนต์นี้ วังคีสะกล่าวว่า ท่านทั้งหลาย เมื่อข้าพเจ้าบวช

แล้ว ก็อย่าคิดเลย ข้าพเจ้าเรียนมนต์แล้วจักเป็นผู้ยิ่งใหญ่ทั่วชมพู-

ทวีป เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้ท่านทั้งหลายก็จักมีความเจริญด้วย จึง

บวชในสำนักพระศาสดาเพื่อเรียนมนต์.

พระศาสดาตรัสว่า ท่านจงอยู่อบรมเพื่อเรียนมนต์ก่อน

แล้วตรัสบอกอาการ ๓๒ สัตว์ผู้มีปัญญาเมื่อสาธยายอาการ ๓๒

อยู่ก็เริ่มตั้งความสิ้นไปและความเสื่อมไปในอาการ ๓๒ นั้น เจริญ

วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต เมื่อท่านบรรลุพระอรหัตแล้ว พวก

พราหมณ์ทั้งหลายในสำนักของท่านด้วยคิดว่า วังคีสะจะเป็นอย่างไร

หนอเราจักไปเยือนเธอถามว่า ท่านวังคีสะ ท่านเรียนศิลปะในสำนัก

ของพระสมณโคดมแล้วหรือ ว. เออเราเรียนแล้ว พ. ถ้าอย่างนั้น

มาเถอะ เราจะไปกัน ว. ท่านจงไปกันเถอะ กิจที่จะไปกับท่าน

เราทำเสร็จแล้ว พราหมณ์ทั้งหลายกล่าวว่า พวกเราบอกท่าน

ไว้ก่อนแล้วเทียวว่า พระสมณะโคดม จะทำคนผู้ที่มาหาตนให้กลับ

ใจด้วยมายากล บัดนี้ตัวท่านอยู่ในอำนาจของพระสมณะโคดมแล้ว

พวกเราจักทำอะไรในสำนักของท่าน ต่างพากันหลีกไปแล้วตาม

ทางที่มานั้นแหละ ฝ่ายพระวังคีสะเถระไปเฝ้าพระทศพลเวลาใด ๆ

ก็ไปกระทำความสดุดีอย่างหนึ่งในเวลานั้น ๆ ด้วยเหตุนั้นพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 419

ศาสดาประทับนั่ง ณ ท่ามกลางพระสงฆ์ทรงสถาปนาท่านไว้ใน

ตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีปฏิภาณ.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 420

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ประวัติพระอุปเสนวังคันตบุตรเถระ

ในสูตรที่ ๕ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า สมนฺตปาสาทิกาน ได้แก่ ผู้นำความเลื่อมใสมาแก่ชน

ทั้งปวง. คำว่า อุปเสน เป็นชื่อของพระเถระนั้น. ก็พระเถระนั้นเป็น

บุตรพราหมณ์วังคันตะ ฉะนั้น จึงเรียกกันว่า วังคันตบุตร. ก็พระเถระ

นี้มิใช่เป็นผู้นำความเลื่อมใสมาด้วยตนเองอย่างเดียวเท่านั้น แม้บริษัท

ของท่านก็เป็นผู้นำความเลื่อมใสมา ดังนั้นท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของ

ภิกษุผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ ด้วยสามารถแห่งชื่อที่ได้เพราะ

อาศัยบริษัท ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ

ต่อไปนี้

ก็พระเถระแม้นี้บังเกิดในเรือนตระกูลในนครหงสวดี ในกาล

แห่งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า เจริญวัยแล้ว ไปเฝ้าพระศาสดาฟังพระ-

ธรรมอยู่โดยนัยก่อนนั่นแล เห็นพระศาสดาทรงตั้งภิกษุรูปหนึ่งใน

ตำแหน่งยอดเยี่ยมของภิกษุผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ กระทำ

กุศลธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปต่อพระศาสดา ปรารถนาตำแหน่งนั้นกระทำ

กุศลตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาท

กาลนี้ ได้ถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางสารีพราหมณี พวกญาติตั้งชื่อ

ให้ท่านว่า อุปเสนทารก. อุปเสนทารกเจริญวัยแล้วเรียนไตรเพท

ฟังพระธรรมในสำนักของพระทศพล ได้ศรัทธาบวชแล้ว. ท่านอุป-

สมบทได้พรรษาเดียว คิดว่าเราจะขยายอาณาจักรพระอริยะ จึงให้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 421

กุลบุตรคนหนึ่งบรรพชาอุปสมบทในสำนักของตน. ครั้นออกพรรษา

ปวารณาแล้ว ในเวลาที่สัทธิวิหาริกมีพรรษาเดียว ตนเองสองพรรษา

ท่านคิดว่า พระทศพลทรงเห็นเราแล้วจักยินดี จึงพาสัทธิวิหาริกมา

เฝ้าพระทศพล. พระศาสดาตรัสถามท่านซึ่งถวายบังคมแล้วนั่งในที่

แห่งหนึ่งว่า เธอมีพรรษาเท่าไร ภิกษุ" "สองพรรษา พระเจ้าข้า"

"ภิกษุนี้มีพรรษาเท่าไร" "พรรษาเดียว พระเจ้าข้า ภิกษุนี้เป็น

อะไรของเธอ "เป็นสัทธิวิหาริของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า"

ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสว่า เร็วไป โมฆบุรุษ เธอเวียนมา

เพื่อความเป็นผู้มักมาก แล้วทรงติเตียนท่านโดยอเนกปริยาย. พระ

เถระถูกตำหนิแต่สำนักพระศาสดา ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

ท่านมีใบหน้าผ่องใสเสมือนดวงจันทร์ในวันเพ็ญ คิดว่า เราจักให้

พระศาสดาประทานสาธุกาการเพราะอาศัยบริษัทนี่แหละ ดังนี้แล้ว

ไปยังที่แห่งหนึ่งในวันนั่งเอง เจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานัก

บรรลุพระอรหัต.

ลำดับนั้น เพราะพระเถระออกบวชจากระกูลใหญ่ และเป็น

พระธรรมกถึกผู้ฉลาดในการกล่าวสอน ฉะนั้นจึงมีทารกของ ระกล

เป็นจำนวนมาก เลื่อมใสธรรมกถาของท่านและออกจากตระกูลมิตร

อำมาตย์และญาติผู้ใหญ่ พากันไปบรรพชายังสำนักของพระเถระ.

ท่านกล่าวว่า เราเป็นผู้อยู่ป่าเป็นวัตร แม้พวกท่านก็จงสามารถเป็น

ผู้อยู่ป่าเป็นวัตร บรรพชาเถิด ดังนี้แล้วบอกธุดงค์ ๑๓. ให้เขาเหล่านั้น

ผู้กล่าวว่า พวกกระผมจักศึกษา ขอรับ ดังนี้บรรพชา. ท่านเหล่านั้น

อธิฎฐานธุดงค์นั้น ๆ ตามกำลังของตน. แม้พระเถระ ในเวลาที่ตนมี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 422

พรรษา ๑๐ ศึกษาวินัยคล่องแคล่วแล้วให้สามเณรทั้งหมดอุปสมบท.

ภิกษุประมาณ ๕๐๐ รูปที่อุปสมบทแล้ว ได้เป็นบริวารของท่าน

ด้วยประการฉะนี้.

สมัยนั้น พระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร

ตรัสบอกภิกษุสงฆ์ว่า ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตปรารถนาจะหลีกเร้น

สักครึ่งเดือน แล้วประทับอยู่พระองค์เดียว. แม้ภิกษุสงฆ์ก็ได้ทำ

กติกากันว่า รูปใดเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ต้องให้รูปนั้นแสดง

อาบัติปาจิตตีย์. คราวนั้น พระอุปเสนเถระคิดว่าจักเฝ้าพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า จึงพร้อมด้วยบริษัทของตนไปพระวิหารเชตวัน เข้าเฝ้า

พระศาสดาถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรแห่งหนึ่ง. เพื่อเริ่มการ

สนทนา พระศาสดาตรัสเรียกสัทธิวิหาริกของพระเถระรูปหนึ่งว่า

ภิกษุ เธอชอบใจบังสุกุลจีวรหรือ. สัทธิวิหาริกรูปนั้นกราบทูลว่า

ข้าพระองค์ไม่ชอบใจบังสุกุลจีวรเลย พระเจ้าข้า แล้วกราบทูลแด่

พระศาสดาถึงเรื่องที่พวกตนครองบังสกุลจีวร ก็ด้วยความเคารพ

พระอุปัชฌาย์. ในฐานะนี้ พระศาสดาได้ประทานสาธุการแก่พระเถระ

ว่า สาธุ สาธุ อุปเสนะ แล้วตรัสกถาพรรณนาคุณโดยอเนกปริยาย.

ความย่อในเรื่องนี้ ดังนี้. แต่ความพิสดาร เรื่องนี้มาแล้วในพระบาลี

นั่นแล.

ในกาลต่อมา พระศาสดาประทับนั่งท่ามกลางหมู่พระอริยะ

ทรงตั้งพระ(อุปเสนวังคันตบุตร) เถระไว้ในตำแหน่งยอดเยี่ยมของ

เหล่าภิกษุผู้นำความเลื่อมใสมาโดยรอบ ในพระศาสนานี้แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 423

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ประวัติพระทัพพมัลลบุตร

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๖ (พระทัพพมัลลบุตร) ดังต่อไปนี้.

บทว่า เสนาสนปญฺาปกาน ความว่า ภิกษุผู้เจ้าหน้าที่จัด

เสนาสนะ. ได้ยินว่าในเวลาพระเถระจัดเสนาสนะในบรรดามหาวิหาร

ทั้ง ๑๘ แห่ง มิได้มีบริเวณที่ยังมิได้กวาดให้เรียบร้อย เสนาสนะ

ที่มิได้ปฏิบัติบำรุง เตียงตั่งที่ยังมิได้ชำระให้สะอาด น้ำดื่ม น้ำใช้

ที่ยังมิได้ตั้งไว้ เพราะฉะนั้นท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุ

ผู้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะ คำว่า ทัพพะ เป็นชื่อของท่าน แต่

เพราะท่านเกิดในตระกูลของเจ้ามัลละจึงชื่อว่า มัลลบุตร ในปัญหา

กรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าวไปตามลำดับดังต่อไปนี้ .

จะกล่าวโดยย่อ ครั้งพระปทุมุตตระพุทธเจ้า พระเถระนี้

เกิดในครอบครัวในกรุงหงสวดี เจริญวัยแล้วไปวิหารฟังธรรม

โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุ

ไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้มีหน้าที่จัดเสนาสนะ กระทำ

กุศลกรรมปรารถนาตำแหน่งนั้น พระศาสดาทรงพยากรณ์แล้ว

กระทำกุศลจนตลอดชีพ เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ เมื่อครั้ง

ศาสนาของพระกัสสปทศพล เสื่อมแล้ว จึงบวชแล้ว ครั้งนั้น คนอื่น

อีก ๖ คน กับภิกษุนั้นรวมเป็นภิกษุ ๗ รูป มีจิตเป็นอันเดียวกัน

เห็นบุคคลเหล่าอื่น ๆ นั้น ไม่กระทำความเคารพในพระศาสดา

จึงปรึกษากันว่า ในครั้งนี้เราจะทำอย่างไร กระทำบำเพ็ญสมณ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 424

ธรรมในที่สมควรส่วนหนึ่ง จักการทำที่สุดทุกข์ได้ จึงผูกบันได

ขึ้นยอดภูเขาสูง กล่าวว่า ผู้ที่รู้กำลังจิตของตน จงผลักบันไดให้

ตกไป ผู้ที่ยังมีความเดือดร้อนในภายหลังอยู่เถิด จึงพร้อมใจกัน

ผลักบันไดให้ตกไป กล่าวสอนซึ่งกันและกันว่า อาวุโสท่านจงเป็น

ผู้ไม่ประมาทเถิด นั่งในที่ที่ชอบใจ เริ่มบำเพ็ญสมณธรรม บรรดา

ภิกษุทั้ง ๗ นั้น พระเถระรูปหนึ่ง บรรลุพระอรหัตในวันที่ ๕ คิดว่า

กิจของเราเสร็จแล้ว เราจักทำอะไรในที่นี้ จึงไปนำบิณฑบาต

มาแต่อุตตรกุรุทวีปด้วยอิทธิฤทธิ์ กล่าวว่า อาวุโสท่านทั้งหลาย

จงฉันบิณฑบาตนี้ หน้าที่ภิกษาจารเป็นของข้าพเจ้า ท่านทั้งหลาย

จงบำเพ็ญสมณธรรมเถิด อาวุโส พวกเราผลักบันไดให้ตกไปได้

พูดกันอย่างนี้มิใช่หรือว่า พูดกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมก่อน ผู้นั้น

จงไปนำภิกษามา ภิกษุนอกนี้ฉันภิกษาที่ท่านนำมาแล้วจักกระทำ

สมณธรรม ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส ไม่ต้อง พระเถระกล่าวว่า

ท่านทั้งหลายได้แล้วด้วยเหตุอันมีในก่อนแห่งตน แม้กระผมทั้งหลาย

สามารถอยู่ก็จักกระทำที่สุดแห่งวัฏฏะได้ นิมนต์ไปเถิดท่าน พระ-

เถระเมื่อไม่อาจยังภิกษุเหล่านั้นให้เข้าใจกันได้ ฉันบิณฑบาตใน

ที่ที่เป็นผาสุกแล้วก็ไป ในวันที่ ๗ พระเถระอีกองค์หนึ่งบรรลุ

อนาคามิผล จุติจากอัตภาพนั้นไปบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส.

ฝ่ายพระเถระนอกนี้ จุติจากอัตภาพนั้น ก็เวียนว่ายอยู่ใน

เทวดาและมนุษย์สิ้นพุทธันดรหนึ่ง บังเกิดในตระกูลนั้น ๆ องค์หนึ่ง

บังเกิดในพระราชนิเวศน์ในกรุงตักกศิลาแคว้นคันธาระ องค์หนึ่ง

เกิดในท้องนางปริพาชิกาในปัพพไตยรัฐ องค์หนึ่งเกิดในเรือนกุฏุมพี

ในพาหิยรัฐ องค์หนึ่งเกิดในเรือนแห่งกุฎุมพีกรุงราชคฤห์ ส่วน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 425

พระทัพพมัสละนี้ถือปฏิสนธิในนิเวศน์ของเจ้ามัสละพระองค์หนึ่ง

ในอนุปิยนค ร มัลลรัฐ ในเวลาใกล้ตลอด มารดาของท่านก็ทำกาละ

ญาติทั้งหลายนำสรีระของตนตายไปยังป่าช้าแล้วยกขึ้นสู่เชิงตะกอน

ไม้แล้วจุดไฟ. พอไฟสงบลงพื้นท้องของนางนั้นก็แยกออกเป็น ๒

ส่วน มีทารกกระเด็นขึ้นไปตกที่เสาไม้ต้นหนึ่งด้วยกำลังบุญของตน

คนทั้งหลายอุ้มทารกนั้นไปให้แก่ย่าแล้ว ย่านั้นเมื่อจะตั้งชื่อทารกนั้น

จึงตั้งชื่อของท่านว่า ทัพพะ เพราะท่านกระเด็นไปที่เสาไม้จึงรอด

ชีวิต.

เมื่อท่านมีอายุ ๗ ขวบ พระศาสดามีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร

เสด็จจาริกไปในมัลลรัฐ ลุถึงอนุปิยนิคมประทับอยู่ ณ อนุปิยอัมพวัน

ทัพพกุมารเห็นพระศาสดาก็เลื่อมใสในพุทธศาสนาทีเดียว ก็อยาก

จะบวชจึงลาย่าว่า "หลานจักบวชในสำนักพระทศพล" ย่ากล่าวว่า

ดีละพ่อ พาทัพพกุมารไปเฝ้าพระศาสดากราบทูลว่าท่านเจ้าข้า

ขอจงให้กุมารนี้บวชเถิด พระศาสดาทรงประทานสัญญาแก่ภิกษุ

รูปหนึ่งว่า ภิกษุ เธอจงให้ทารกนี้บวชเถิด พระเถระนั้นรับพระ-

พุทธดำรัสแล้วก็ให้ทัพพกุมารบรรพชา บอกตจปัญจกกัมมัฎฐาน

สัตว์ผู้สมบูรณ์ด้วยบุรพเหตุ ได้บำเพ็ญบารมีไว้แล้วในขณะที่ปลงผม

ปอยแรก ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลเมื่อปลงผมปอยที่ ๒ ตั้งอยู่ใน

สกทาคามิผลปอยที่ ๓ ตั้งอยู่ในอนาคามิผล ก็การปลงผมเสร็จ

และการทำให้แจ้งอรหัตตผล ก็เกิดไม่ก่อนไม่หลังคือพร้อมกัน.

พระศาสดาประทับอยู่ในมัลลรัฐตามพระพุทธอัธยาศัยแล้ว

เสด็จไปยังกรุงราชคฤห์ สำราญพระอิริยาบถอยู่ในพระเวฬุวัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 426

วิหาร ในที่นั้น ท่านพระทัพพมัลลบุตรอยู่ในที่ลับ ตรวจดูความ

สำเร็จกิจของตน ประสงค์จะประกอบกายในการกระทำความ

ขวนขวายแก่พระสงฆ์คิดว่าถ้ากะไร เราจะพึงจัดแจงเสนาสนะ

และจัดอาหารถวายสงฆ์ ท่านจึงเข้าเฝ้าพระศาสดากราบทูลถึง

ความปริวิตกของตน พระศาสดาทรงประทานสาธุการแก่ท่าน

แล้วทรงมอบหน้าที่จัดเสนาสนะและหน้าที่จัดอาหาร ครั้งนั้นพระ-

ศาสดาทรงดำริว่าพระทัพพนี้ ยังเด็กอยู่ แต่ดำรงอยู่ในตำแหน่งใหญ่

จึงทรงให้ท่านอุปสมบทแล้ว ในเวลาที่ท่านมีพรรษา ๗ เท่านั้น

ตั้งแต่เวลาที่ท่านอุปสมบทแล้ว พระเถระจัดเสนาสนะและจัดอาหาร

ถวายภิกษุทุกรูปที่อาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ ความที่ท่านมีหน้าที่

จัดเสนาสนะได้ปรากฏไปในทิศทั้งปวงว่า ได้ยินว่าพระทัพพมัลล-

บุตร ย่อมเข้าใจจัดเสนาสนะในที่เดียวกันสำหรับภิกษุผู้ถูกอัธยาศัย

กัน ย่อมจัดแจงเสนาสนะแม้ในที่ไกล พวกภิกษุที่ไม่อาจจะไปได้ ท่าน

นำไปด้วยฤทธิ์.

ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลาย สั่งให้ท่านจัดแจงเสนาสนะอย่างนี้ว่า

อาวุโส จงจัดเสนาสนะแก่พวกเราในชีวกัมพวัน จงจัดเสนาสนะ

ให้แก่พวกเราในมัททกุจฉิมิคทายวัน แล้วเห็นฤทธิ์ของท่านก็ไป

ในกาลบ้างในวิกาลบ้าง แม้พระทัพพนั้นก็บันดาลกายมโนมัย

ด้วยฤทธิ์เนรมิตเป็นภิกษุให้เหมือนกับตนสำหรับพระเถระองค์

ละรูป ๆ ถือไฟไปข้างหน้าบอกว่า นี่เตียง นี่ตั่ง เป็นต้น จัดเสนาสนะ

แล้วจึงกลับมายังที่อยู่ของตนอีก นี้เป็นความสังเขปในเรื่องนี้. แต่

โดยพิสดารเรื่องนี้มาในพระบาลีแล้วเหมือนกัน พระศาสดาทรง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 427

กระทำเหตุนี้นั่นแหละให้เป็นอัตถุปบัติเหตุเกิดเรื่อง เหมือนกับ

นั่งท่ามกลางหมู่พระอริยะ. ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่ง

เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เป็นเจ้าหน้าที่จัดเสนาสนะแล.

จบอรรถกถาสูตรที่ ๖

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ประวัติพระปิลินทวัจฉเถระ

พึงทราบวินิจฉัยในสูตรที่ ๗ ดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า เทวาน ปิยมนาปาน ทรงแสดงว่า พระปิลันทวัจฉ-

เถระเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เป็นที่รักและเป็นที่ชอบใจของเทวดา

ทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่ทรงอุบัติ พระเถระนั้น

เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์ ทรงให้มหาชนตั้งอยู่ในศีลห้า ได้ทรงกระทำ

กุศลที่มุ่งผลข้างหน้าคือ สวรรค์ โดยมากเหล่าเทวดาที่บังเกิดใน

ฉกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ได้โอวาทของพระองค์นั่นแลตรวจดู

สมบัติของตนในสถานที่ที่บังเกิดแล้ว นึกอยู่ว่า เราได้สวรรค์สมบัติ

นี้เพราะอาศัยใครหนอ ก็รู้ว่า เราได้สมบัติเพราะอาศัยพระเถระ

จึงนมัสการพระเถระทั้งเวลาเช้าเวลาเย็น เพราะฉะนั้น ท่านจึงเป็น

ยอดของเหล่าภิกษุผู้เป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลายก็คำว่า

ปิลินท เป็นชื่อของท่าน, คำว่าวัจฉะ เป็นโคตรของท่าน รวมคำทั้ง ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 428

นั้นเข้าด้วยจึงเรียกว่า "ปิลินทวัจฉะ" ในปัญหากรรมของท่าน

มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปนี้.

ได้ยินมาว่า ครั้งพระปทุมุตตรพุทธเจ้า พระเถระนี้ เกิด

ในครอบครัวของผู้ที่มีโภคสมบัติมากในกรุงหงสวดี ฟังธรรมเทศนา

ของพระศาสดา โดยนัยมีในก่อนนั่นแล เห็นพระศาสดาทรงสถาปนา

ภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของเทวดาทั้งหลาย

ปรารถนาตำแหน่งนั้น กระทำกุศลจนตลอดชีพ เวียนว่ายอยู่ใน

เทวดาและมนุษย์ ในพุทธุปบาทกาลนี้มาบังเกิดในครอบครัวพราหมณ์

ในกรุงสาวัตถี ญาติทั้งหลายขนานนามท่านว่า ปิลินทวัจฉะ สมัย

อื่นต่อมา ท่านฟังธรรมเทศนาของพระศาสดาได้ศรัทธา บรรพชา

อุปสมบทแล้วเจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัตแล้ว ท่านเมื่อพูด

กับคฤหัสถ์ก็ดี ภิกษุก็ดี ใช้โวหารว่าถ่อย ทุกคำว่า "มาซิเจ้าถ่อย,

ไปซิเจ้าถ่อย, นำไปซิเจ้าถ่อย, ถือเอาซิเจ้าถ่อย" ภิกษุทั้งหลาย

ฟังเรื่องนั้นแล้วก็นำไปทูลถามพระตถาคตว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า ธรรมดาพระอริยะ ย่อมไม่กล่าวคำหยาบ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่า พระอริยะทั้งหลาย

ไม่กล่าวผรุสวาจา ข่มผู้อื่น ก็แต่ว่า ผรุสวาจานั้นพึงมีได้โดยที่เคย

ตัวในภพอื่น" ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า พระปิลินทวัจฉ-

เถระพยายามแล้วพยายามเล่าเมื่อกล่าวกับคฤหัสถ์ก็ดี กับภิกษุ

ทั้งหลายก็ดี ก็พูดว่า "เจ้าถ่อย เจ้าถ่อย" ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ในเรื่องนี้มีเหตุเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย การกล่าวเช่นนั้น แห่งบุตรของเราประพฤติจน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 429

เคยชินในปัจจุบันเท่านั้นก็หามิได้ แต่ในอดีตกาล บุตรของเรานี้

บังเกิดในครอบครัวแห่งพราหมณ์ผู้มักกล่าวว่า ถ่อย ถึง ๕๐๐ ชาติ

ดังนั้นบุตรของเรานี้จึงกล่าวเพราะความเคยชินมิได้กล่าวด้วย

เจตนาหยาบ จริงอยู่โวหารแห่งพระอริยะทั้งหลายแม้จะหยาบ

อยู่บ้าง ก็ชื่อว่าบริสุทธิ์แท้เพราะเจตนาไม่หยาบไม่เป็นบาปแม้มี

ประมาณเล็กน้อยในเพราะการกล่าวนี้. ดังนี้แล้ว จึงตรัสคาถานี้

ในพระธรรมบทว่า

อกกฺกส วิญฺาปนึ คิร สจฺจ อุทีรเย

ยาย นาภิสเช กิญฺจิ ตมห พฺรูมิ พฺราหฺมณ

พึงกล่าวแต่ถ้อยคำที่ไม่หยาบ ที่เข้าใจกันได้ ที่

ควรกล่าว ที่เป็นคำจริง ซึ่งไม่กระทบใคร ๆ เรา

เรียกผู้นั้นว่า พราหมณ์.

อยู่ย่อมาวันหนึ่ง พระเถระเข้าไปบิณฑบาตกรุงราชคฤห์

พบผู้ชายผู้หนึ่งถือดีปลีมาเต็มถาด กำลังเข้าไปในกรุง จึงถามว่า

เจ้าถ่อย ในภาชนะของแกมีอะไร ชายผู้นั้น คิดว่า สมณะรูปนี้

กล่าวคำหยาบกับเราแต่เช้าเทียว เราก็ควรกล่าวคำเหมาะแก่

สมณะรูปนี้เหมือนกัน จึงตอบว่า ในภาชนะของข้ามีขี้หนูซิท่าน.

พระเถระพูดว่า เจ้าถ่อย มันจักต้องเป็นอย่างว่านั้น. เมื่อพระเถระ

คล้อยหลังไป ดีปลีกกลายเป็นขี้หนูไปหมด เขาคิดว่า ดีปลีเหล่านี้

ปรากฏเสมือนขี้หนู จะเป็นจริงหรือไม่หนอ ลองเอามือบี้ดู ทีนั้น

เขาก็รู้ว่าเป็นขี้หนูจริง ๆ ก็เกิดความเสียใจอย่างยิ่ง. เขาคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 430

เป็นเฉพาะดีปลีเหล่านี้เท่านั้นหรือ หรือในเกวียนก็เป็นอย่างนี้ด้วย

จึงเดินไปตรวจดู ก็พบว่าดีปลีทั้งหมดก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เอา

มือกุมอกแล้วคิดว่า นี้ไม่ใช่การกระทำของคนอื่น ต้องเป็นการ

กระทำของภิกษุที่เราพบตอนเช้านั่นเอง พระเถระจักรู้มายากล

อย่างหนึ่งเป็นแน่ จำเราจะตามหาสถานที่ ๆ ภิกษุนั้นเดินไป จึง

จักรู้เหตุ ดังนี้แล้วจึงเดินไปตามทางที่พระเถระเดินไป ลำดับนั้น

บุรุษผู้หนึ่งพบชายผู้นั้นกำลังเดินเครียด จึงถามว่า พ่อมหาจำเริญ

เดินเครียดจริง ท่านกำลังเดินไปทำธุระอะไร. เขาจึงบอกเรื่องนั้น

แก่บุรุษผู้นั้น. บุรุษผู้นั้นฟังเรื่องราวของเขาแล้ว ก็พูดอย่างนี้ว่า

พ่อมหาจำเริญ อย่าคิดเลย จักเป็นด้วยท่านพระปิลินทวัจฉะ พระ-

ผู้เป็นเจ้าของข้าเอง ท่านจงถือดีปลีนั้นเต็มภาชนะ ไปยืนข้างหน้า

พระเถระ แม้เวลาที่พระเถระกล่าวว่า นั่นอะไรล่ะ เจ้าถ่อย ก็จง

กล่าวว่าดีปลีท่านขอรับ. พระเถระจักกล่าวว่า จักเป็นอย่างนั้น

เจ้าถ่อย. มันก็จะกลายเป็นดีปลีไปหมด ชายผู้นั้นก็ได้กระทำอย่างนั้น

แต่ต่อมาภายหลัง พระศาสดา ทรงทำเรื่องที่พระเถระเป็นที่รัก

ที่พอใจของเหล่าเทวดาเป็นเหตุ จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของภิกษุสาวกผู้เป็นที่รักที่พอใจของ

เทวดาแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 431

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ประวัติพระพาหิยทารุจิริยะ

ในสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ขิปฺปาภิญฺาน ท่านแสดงว่า พระทารุจิริยเถระ

เป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ตรัสรู้เร็ว จริงอยู่ พระเถระนี้ บรรลุ

พระอรหัตเมื่อจบพระธรรมเทศนาอย่างย่อ ไม่มีกิจที่จะต้องบริกรรม

มรรคผลทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของภิกษุ

สาวกผู้ตรัสรู้เร็ว. คนทั้งหลายตั้งชื่อท่านว่าพาหิยะ เพราะท่าน

เกิดในพาหิยรัฐ. ต่อมาภายหลังท่านนุ่งผ้าทำด้วยไม้ เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่าทารุจิริยะ ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องเล่าตามลำดับ

ดังนี้ :-

แท้จริง แม้ท่านพาหิยทารุจิริยะนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนาม

ว่า ปทุมุตตระ เกิดในเรือนสกุลในกรุงหงสวดี กำลังฟังธรรมของ

พระทศพล เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งในตำแหน่ง

เอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ตรัสรู้เร็ว จึงกระทำกุศล

ให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น กระทำกุศลกรรมจนตลอด

ชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเหล่าเทวดาและมนุษย์ เวลาศาสนาของพระ-

กัสสปทศพลเสื่อมลง ก็กระทำสมณธรรมร่วมกับเหล่าภิกษุ ที่กล่าว

ไว้แต่หนหลัง เป็นผู้มีศีลบริบูรณ์ สิ้นชีพแล้วก็บังเกิดในเทวโลก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 432

ท่านอยู่ในเทวโลก สิ้นพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธกาลนี้ ก็บังเกิด

ในเรือนสกุลในพาหิยรัฐ เจริญวัยก็ครองเรือน ดำริว่าจะทำการ

ค้าขาย จึงขึ้นเรือที่จะพาไปสุวรรณภูมิ ไม่ทันไปถึงถิ่นที่ปรารถนา

เรือก็อัปปางลงกลางสมุทร. มหาชน (ผู้โดยสาร) ก็กลายเป็นเหยื่อ

ของเต่าและปลา ส่วนพาหิยผู้นี้เกาะขอนไม้ขอนหนึ่งไว้ ๗ วัน

จึงขึ้นท่าเรือชื่อสุปปารกะได้รู้ว่าเป็นถิ่นที่อยู่ของมนุษย์ คิดว่า

จะเข้าไปหามนุษย์โดยแบบไม่มีผ้าติดตัว (เปลือย) ไม่สมควร จึง

ยึดเอาสาหร่ายที่หนองน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ไกลเอามาพันตัว ถือ

เอาภาชนะใบหนึ่ง ซึ่งตกอยู่แถว ๆ เทวสถาน เขาไปขอภิกษา

(อาหาร) ผู้คนทั้งหลายเห็นเขาแล้วพากันคิดว่า ถ้าในโลกนี้ ยังมี

พระอรหันต์อยู่จริง พึงมีด้วยวิธีอย่างนี้ พระผู้เป็นเจ้าไม่รับผ้า

เพราะถืออย่างอุตกฤษฐ์หรือหนอ หรือจะรับผ้าที่เขาให้ ดังนี้จึง

ทดลองให้ผ้าทั้งหลาย จากทิศต่าง ๆ เขาคิดว่า ถ้าไม่มาโดยแบบนี้

คนเหล่านี้ก็ไม่พึงเลื่อมใสเรา จำเราจะพูดอย่างใดอย่างหนึ่งหลอกลวง

คนเหล่านี้ ทำอุบายเลี้ยงชีพก็สมควร จึงไม่ยอมรับผ้าทั้งหลาย

พวกผู้คนก็เลื่อมใสยิ่ง ๆ ขึ้นไป. แม้เขาจะกินอาหารก็ต้องไปเทว-

สถานที่ไม่ไกล มหาชนก็เดินไปกับเขา บำรุงเทวสถานให้ทาน.

เขาคิดว่า คนเหล่านี้เลื่อมใสเพียงการนุ่งสาหร่ายของเรา กระทำ

สักการะอย่างนี้ เราจะเป็นผู้ทำอุตกฤษฐ์ขึ้นไป ก็ควรแก่คนเหล่านี้

ดังนี้แล้ว ก็ถือแผ่นกระดานไม้ที่เบา ๆ ถากเสีย คลุมเปลือกไม้

ทำเป็นผ้านุ่งห่มเลียงชีวิตอยู่.

ครั้งนั้น บรรดาชน ๗ คนที่ทำสมณธรรมครั้งพระพุทธเจ้า

พระนามว่ากัสสป ชนคนหนึ่งเป็นภิกษุบังเกิดในพรหมโลกชั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 433

สุทธาวาส สำรวจดูสมบัติพรหมของตน ระลึกถึงสถานที่ชน ๗ คน

มา ก็เห็นสถานที่ชน ๗ คนขึ้นเขากระทำสมณธรรม ระลึกถึง

สถานที่ชน ๖ คนไปบังเกิด ก็รู้ว่าคนหนึ่งปรินิพพานแล้ว อีก ๕ คน

ไปบังเกิดในเทวโลกชั้นกามาวจร ยังระลึกถึงชนทั้ง ๕ คน เป็นครั้ง

คราว เมื่อระลึกว่า ในเวลานี้เขาอยู่กันที่ไหนหนอ ก็เห็นทารุจิริยะ

อาศัยท่าเรือสุปปารกะเลี้ยงชีพด้วยการหลอกลวง คิดว่า ฉิบหาย

แล้วหนอ ทารุจิริยะนี้โง่ กระทำสมณธรรมมาแต่กาลก่อน ไม่ยอม

ฉันบิณฑบาตที่แม้พระอรหันต์นำมา เพราะเป็นผู้ถือกติกาอุตกฤษฐ์

ยิ่งนัก มาบัดนี้ ไม่เป็นอรหันต์ก็ปฏิญญาว่าเป็นอรหันต์เที่ยวลวงโลก

เพราะเห็นแก่ท้อง ทั้งไม่รู้ว่าพระทศพลบังเกิดแล้ว จำเราจะไป

ทำเขาให้สลดใจแล้วให้เขารู้ว่าพระทศพลบังเกิดแล้ว ในทันใด

นั่นเอง ก็ออกจากพรหมโลก ไปปรากฏตัวต่อหน้าทารุจิริยะ ต่อ

จากเวลาเที่ยงคืน ทีท่าเรือสุปปารกะ. เขาเห็นโอภาสสว่างในที่อยู่

ของตน จึงออกมาข้างนอก เห็นองค์มหาพรหมประคองอัญชลี

ประนมมือถามว่า ท่านเป็นใคร. มหาพรหมตอบว่า เราเป็นสหาย

เก่าของท่าน บรรลุอนาคามิผลบังเกิดในพรหมโลก. แต่ผู้เจริญ

ที่สุดหมดหัวหน้าของพวกเราบรรลุพระอรหัตปรินิพพานแล้ว

พวกท่าน ๕ คน บังเกิดในเทวโลก เรานั้นเห็นท่านเลี้ยงชีพด้วย

การหลอกลวงเขาในที่นี้ จึงมาเพื่อทรมาน แล้วจึงกล่าวเหตุนี้ว่า

พาหิยะ ท่านยังไม่เป็นอรหันต์ ยังไม่ปฏิบัติถึงอรหัตตมรรค ท่าน

ก็ไม่มีปฏิปทา ที่จะเป็นอรหันต์ หรือปฏิบัติถึงอรหัตตมรรค. ลำดับ

นั้น มหาพรหมบอกเขาว่า พระศาสดาอุบัติแล้ว และประทับอยู่ ณ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 434

กรุงสาวัตถี ท่านจงไปยังสำนักพระศาสดา แล้วส่งเขาไป ตนเอง

ก็กลับพรหมโลก.

แม้ทารุจิริยะ ถูกมหาพรหมทำให้สลดใจแล้ว ก็คิดจักแสวงหา

ทางพ้น จึงเดินทาง ๑๒๐ โยชน์โดยพักคืนเดียว ประจวบพระศาสดา

เสด็จเข้าไปบิณฑบาต ณ ละแวกบ้าน หมอบลงแทบมหายุคลบาท

พระศาสดา ทูลอ้อนวอนถึง ๓ ครั้งว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงธรรมโปรดข้าพระบาทเถิด พระเจ้าข้า ขอพระสุคตทรง

แสดงธรรมโปรดข้าพระบาทเถิด พระเจ้าข้า. พระศาสดาทรง

ทราบว่า ญาณของพาหิยะแก่กล้าแล้ว ด้วยเหตุเท่านี้ จึงทรงสอน

ด้วยพระโอวาทนี้ว่า เพราะเหตุนี้แล พาหิยะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้

ว่ารูปที่เห็นแล้ว จักเป็นเพียงเห็นแล้ว ดังนี้เป็นต้น. เมื่อจบเทศนา

แม้พาหิยะนั้น ทั้งที่อยู่ระหว่างถนนส่งญาณไปตามกระแสเทศนา

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย พาหิยะนั้น ถึง

ที่สุดกิจของตนแล้ว ทูลขอบรรพชากะพระผู้มีพระภาคเจ้า แสวง

หาบาตรจีวร เพราะยังมีบาตรจีวรไม่ครบ กำลังดึงชิ้นผ้าทั้งหลาย

จากกองขยะ ลำดับนั้น อมนุษย์ผู้มีเวรกันมาแต่ก่อน เข้าสิงร่าง

ของแม่โคลูกอ่อนตัวหนึ่ง ทำท่านให้เสียชีวิต พระศาสดาเสด็จออก

จากกรุงสาวัตถี ทอดพระเนตรเห็นพาหิยะล้มอยู่ที่กองขยะระหว่าง

ทาง ตรัสบอกเหล่าภิกษุว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงช่วย

กันยกร่างพาหิยะ แล้วให้นำไปทำฌาปนกิจ โปรดให้สร้างเจดีย์

ไว้ ณ ทางใหญ่ ๔ แพร่ง จากนั้น เกิดพูดกันกลางสงฆ์ว่า พระ-

ตถาคต รับสั่งให้ภิกษุสงฆ์ทำฌาปนกิจร่างของพาหิยะ เก็บธาตุ

มาแล้ว โปรดให้สร้างเจดีย์ไว้ พาหิยะนั้นกระทำให้แจ้งมรรค

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 435

อะไรหนอ เขาเป็นสามเณรหรือหนอ ภิกษุทั้งหลายเกิดจิตคิดกัน

ดังนี้. พระศาสดาทรงปรารภถ้อยคำนั้น ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ

เกิดเรื่อง แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาหิยะเป็นบัณฑิต

ทรงขยายพระธรรมเทศนาไว้ แล้วทรงประกาศว่า พาหิยะนั้น

ปรินิพพานแล้ว. เรื่องที่พูดกันนั้น เกิดขึ้นกลางสงฆ์อีกว่า พระ-

ศาสดามิได้ทรงแสดงธรรมมากเลย ตรัสว่า พาหิยะบรรลุพระ-

อรหัต นี่เรื่องอะไรกัน. พระศาสดาตรัสว่า ธรรมน้อยหรือมาก

ไม่ใช่เหตุ ธรรมนั้นก็เหมือนยาแก้คนที่ดื่มยาพิษ แล้วตรัสคาถา

ในพระธรรมบทว่า

สหสฺสมปิ เจ คาถา อนตฺถปทสญฺหิตา

เอก คาถาปท เสยฺโย ย สุตฺวา อุปสมฺมติ

ถ้าคาถา ถึงพันคาถา ที่ประกอบด้วยบท

อันไม่เป็นประโยชน์ ก็ประเสริฐสู้คาถาบทเดียว

ไม่ได้ ที่ฟังแล้วสงบระงับ.

จบเทศนา สัตว์แปดหมื่นสี่พัน ก็พากันดื่มน้ำอมฤต. ก็แต่ว่า เรื่อง

ของพระพาหิยะนี้ ไม่จำต้องกล่าวไว้พิสดาร เพราะมาในพระสูตร

แล้ว. แต่ต่อมาภายหลังพระศาสดาประทับนั่งกลางสงฆ์ ทรง

สถาปนาท่านพาหิยเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ. เป็นยอดของ

ภิกษุสาวกผู้ตรัสรู้เร็วแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 436

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ประวัติพระกุมารกัสสปเถระ

ในสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า จิตฺตกถิกาน ได้แก่ผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร. จริงอยู่

พระเถระเมื่อจะกล่าวธรรมแก่คนคนเดียวก็ดี สองคนก็ดี ก็ประดับ

ด้วยอุปมาและเหตุเป็นอันมากให้เขารู้ จึงกล่าวว่า เพราะเหตุนั้น

พระเถระจึงเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร ปัญหา

กรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.

แท้จริง ท่านพระกุมารกัสสปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในเรือนสกุล ในกรุงหงสวดี เจริญวัย กำลัง

ฟังธรรมกถาของพระทศพล เห็นพระศาสดา ทรงสถาปนาภิกษุ

รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้

กล่าวธรรมได้วิจิตร จึงกระทำกุศลกรรมให้ยิ่งยอดขึ้นไป ปรารถนา

ตำแหน่งนั้นเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ครั้งศาสนาของ

พระกัสสปพุทธเจ้าเสื่อมลง เป็นภิกษุรูปหนึ่งระหว่างภิกษุ ๗ รูป

กระทำสมณธรรมบนยอดเขา มีศีลไม่เสื่อม จุติจากภพนั้นแล้ว

บังเกิดในเทวโลก เสวยสมบัติอยู่พุทธันดรหนึ่ง ครั้งพระศาสดา

ของพวกเรา ก็เกิดในครรภ์ของหญิงสาวแห่งสกุลคนหนึ่ง ในกรุง-

ราชคฤห์ ก็หญิงสาวแห่งสกุลนั้น อ้อนวอนบิดามารดาก่อนแต่ไม่ได้

บรรพชา ครั้นไปอยู่เรือนแห่งสกุล (มีสามี) ก็ตั้งครรภ์ แต่ตัวเอง

ไม่รู้ จึงบอกกล่าวสามี (ขอบรรพชา) สามีอนุญาตแล้ว ก็บรรพชา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 437

ในสำนักภิกษุณี. เหล่าภิกษุณีเห็นครรภ์นางเติบโตขึ้นมา จึงพากัน

ไปถาระเทวทัต. พระเทวทัตนั้นก็กล่าวว่า นางไม่เป็นสมณะ

เหล่าภิกษุณีจึงพากันไปทูลถามพระทศพล. พระศาสดาก็ทรง

มอบเรื่องให้พระอุบาลีเถระ. พระเถระให้เชิญเหล่าสกุลชาวกรุง-

สาวัตถี และนางวิสาขาอุบาสิกามาช่วยตรวจชำระ ก็กล่าวว่า

นางมีครรภ์มาก่อน (บวช) บรรพชาของนางจึงไม่เสีย. พระศาสดา

ได้ประทานสาธุการรับรองแก่พระเถระว่า อธิกรณ์อุบาลีวินิจฉัย

ชอบแล้ว. ภิกษุณีนั้นคลอดบุตรประพิมประพายคล้ายรูปทองของ

พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงรับเด็กนั้น โปรดให้ชุบเลี้ยง พระราชทาน

นามว่า กัสสป ต่อมา ทรงชุบเลี้ยงเติบโตแล้ว ก็พาไปฝากยังสำนัก

พระศาสดา โปรดให้บรรพชา. แต่เพราะท่านบวชเวลายังเป็นเด็กรุ่น

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พวกเธอจงเรียกกัสสปมา จงให้

ผลไม้หรือของขบฉันอันนี้แก่กัสสป พวกภิกษุสงสัยก็ทูลถามว่า

กัสสปองค์ไหน พระเจ้าข้า. ตรัสว่ากุมารกัสสป กัสสปองค์เด็ก

นะสิ. เพราะได้รับขนานนามอย่างนี้ ตั้งแต่นั้นมา ท่านก็ถูกเรียกว่า

กุมารกัสสป แม้ในเวลาที่ท่านแก่เฒ่าแล้ว. อีกนัยหนึ่ง คนทั้งหลาย

จำหมายท่านว่ากุมารกัสสป เพราะเหตุที่เป็นบุตรชุบเลี้ยงของ

พระราชาก็มี. ตั้งแต่บวชแล้ว ท่านทำงานเจริญวิปัสสนา และ

เล่าเรียนพระพุทธวจนะ.

ครั้งนั้น ท่านมหาพรหม ผู้กระทำสมณธรรมบนยอดเขา

กับพระเถระนั้น บรรลุอนาคามิผล บังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส

นั้น ระลึกถึงในสมัยนั้น เห็นพระกุมารกัสสป คิดว่า สหายของเรา

กำลังลำบากในการเจริญวิปัสสนา จำเราจักไปแสดงทางแห่ง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 438

วิปัสสนาแก่เธอ กระทำอุบายให้บรรลุมรรคผล ดังนี้แล้ว ดำรง

อยู่ในพรหมโลกนั่นแล แต่งปัญหา ๑๕ ข้อ แล้วไปปรากฏในสถาน

ที่อยู่ของพระกุมารกัสสปเถระ ต่อจากเวลาเที่ยงคืน พระเถระ

เห็นแสงสว่าง จึงถามว่า ใครอยู่ที่นั่น. มหาพรหมตอบว่า เราคือ

พรหม ผู้การทำสมณธรรมกับท่านมาแต่ก่อน บรรลุอนาคามิผล

แล้วบังเกิดในพรหมโลกชั้นสุทธาวาส พระเถระถามว่า ท่านมา

ด้วยการงานอะไรเล่า. มหาพรหมบอกปัญหาเหล่านั้น เพื่อแสดง

เหตุที่ตนมา แล้วกล่าวว่า ท่านจงเล่าเรียนปัญหาเหล่านี้ เมื่ออรุณขึ้น

ก็จงเข้าไปเฝ้าพระตถาคต ถวายบังคมแล้วทูลถาม. ด้วยว่าเว้น

พระตถาคตเสียผู้อื่นที่สามารถกล่าวแก้ปัญหาเหล่านี้ ไม่มีดอก

แล้วก็กลับพรหมโลกตามเดิม. วันรุ่งขึ้น แม้พระเถระก็เข้าไปเฝ้า

พระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทูลถามปัญหา โดยทำนองที่มหาพรหม

กล่าวไว้. พระศาสดาทรงตอบปัญหาให้พระกุมารกัสสปเถระ บรรลุ

พระอรหัต. พระเถระเล่าเรียนโดยทำนองที่พระศาสดาตรัสไว้

ไปป่าอันธวันเจริญวิปัสสนาแก่กล้า (สำนวนท่านว่าให้วิปัสสนา

ตั้งท้อง) ก็บรรลุพระอรหัต. ตั้งแต่นั้นมา ท่านเมื่อจะกล่าวธรรมกถา

แก่บริษัท ๔ มากก็ดี ไม่มากก็ดี ประดับด้วยอุปมาและเหตุทั้งหลาย

จึงกล่าวเสียอย่างวิจิตรทีเดียว. ครั้งนั้น เมื่อท่านแสดงสูตรประดับ

ประดาด้วยปัญหา ๑๕ ข้อ แก่พระยาปายาสิ พระศาสดาทรงทำ

พระสูตรนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติต้นเรื่อง จึงทรงสถาปนาท่านไว้

ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดเหล่าภิกษุสาวกผู้กล่าวธรรมได้วิจิตร

ในพระศาสนานี้แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 439

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ประวัติพระมหาโกฏฐิตเถระ

ในสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ปฏิสมฺภิทปฺปตฺตาน ทรงแสดงว่า พระมหาโกฏฐิต-

เถระ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔. จริงอยู่

พระเถระแม้รูปนี้ เมื่อเข้าไปหาพระมหาสาวก ผู้มีชื่อเสียงถาม

ปัญหาก็ดี เมื่อเข้าไปเฝ้าพระทศพลทูลถามปัญหาก็ดี ย่อมถาม

ปัญหาในเรื่องปฏิสัมภิทาทั้งหลายเท่านั้น เพราะตนเป็นผู้ช่ำชอง

ชำนาญในปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ดังนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของ

เหล่าภิกษุสาวกผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ด้วยอำนาจความเป็นผู้ช่ำชอง

นี้. ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

ความจริง พระเถระแม้รูปนี้ บังเกิดในสกุลที่มีโภคสมบัติ

มาก ในกรุงหงสวดี ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ.

สมัยต่อ ๆ มา กำลังธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดา

ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอดของ

เหล่าภิกษุสาวกผู้บรรลุปฏิสัมภิทา จึงกระทำกุศลกรรมให้ยิ่งยวด

ขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. กระทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่าย

อยู่ในเทวดาและมนุษย์ บังเกิดในสกุลพราหมณ์ กรุงสาวัตถี ใน

พุทธุปปาทกาลนี้. เหล่าญาติได้ขนานนามเขาว่า โกฏฐิตมาณพ.

เขาเจริญวัย ก็เรียนเวททั้งสาม วันหนึ่ง ฟังธรรมกถาของพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 440

ศาสดา ได้ศรัทธาแล้วก็บวช. ตั้งแต่บวชแล้ว ท่านทำงานในวิปัสสนา

ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย เป็นผู้ช่ำชอง

ชำนาญ ในปฏิสัมภิทาทั้งหลายเท่านั้น ตลอดกาลเป็นนิตย์ เมื่อ

ถามปัญหา ก็ถามในปฏิสันภิทาทั้งหลายเท่านั้น. ต่อมาภายหลัง

พระศาสดาทรงทำมหาเวทัลลสูตรให้เป็นอัตถุปปัตติต้นเรื่อง จึง

ทรงสถาปนาท่านไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุ

สาวกผู้บรรลุปฏิสัมภิทา แล

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบ อรรถกถาวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 441

วรรคที่ ๔

ว่าด้วยภิกษุผู้มีตำแหน่งเลิส ๑๒ ท่าน

[๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของ

เราผู้เป็นพหูสูต.

พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีสติ.

พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีสติ.

พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีความเพียร.

พระอานนท์ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้เป็นปัฏฐาก.

พระอุรุเวลกัสสปะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีบริษัท

มาก.

พระกาฬุทายี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ทำสกุลให้

เลื่อมใส.

พระพักกุละ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีอาพาธน้อย.

พระโสภิตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ระลึกชาติก่อนได้.

พระอุบาลี เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ทรงวินัย.

พระนันทกะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวสอนนาง

ภิกษุณี.

พระนันทะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้คุ้มครองทวาร

ในอินทรีย์ทั้งหลาย.

พระมหากัปปินะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้กล่าวสอน

ภิกษุ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 442

พระสาคตะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ฉลาดในเตโชธาตุ.

พระราธะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้มีปฏิภาณแจ่มแจ้ง.

พระโมฆราชะ เลิศกว่าพวกภิกษุสาวกของเราผู้ทรงจีวร

เศร้าหมอง.

จบ วรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 443

วรรคที่ ๔

อรรถกถาสูตรที่ ๑

ประวัติพระอานนทเถระ

วรรคที่ ๔ สูตรที่ ๑ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า พหุสฺสุตาน เป็นต้นดังนี้. แม้พระเถระ

รูปอื่น ๆ ที่เป็นพหูสูต มีธิติทรงจำและเป็นอุปัฏฐากก็มีอยู่ ส่วนท่าน

พระอานนท์นี้ เล่าเรียนพระพุทธวจนะ ก็ยึดยืนหยัดอยู่ในปริยัติดุจ

ผู้รักษาเรือนคลัง ในศาสนาของพระทศพล เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

ชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้เป็นพหูสูต. อนึ่ง สติที่เล่าเรียน

พระพุทธวจนะแล้วทรงจำไว้ของพระเถระนี้เท่านั้นก็มีกำลังกว่า

พระเถระรูปอื่น ๆ เพราะเหตุนั้น ท่านจ่งชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุ

สาวกผู้มีสติทรงจำ. อนึ่ง ท่านพระอานนท์นี้นี่แล ยืนหยัดยึดอยู่

บทเดียวก็ถือเนื้อความได้ถึงหกหมื่นบท จำได้ทุกบทโดยทำนองที่

พระศาสดาตรัสไว้นั่นแล เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของ

เหล่าภิกษุสาวกผู้มีคติ. อนึ่ง ความเพียรเล่าเรียน ความเพียรท่องบ่น

ความเพียรทรงจำ และความเพียรอุปัฏฐากพระศาสดา ของท่านพระ-

อานนท์รูปนั้นเท่านั้น ที่ภิกษุอื่นๆ เทียบไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

ชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้มีธิติ. หนึ่ง ท่านพระอานนท์รูปนี้

เมื่ออุปัฏฐากพระตถาคต ก็ไม่อุปัฏฐากด้วยอาการอุปัฏฐากของเหล่าภิกษุ

ผู้อุปัฏฐากรูปอื่น ๆ ด้วยว่าเหล่าภิกษุผู้อุปัฏฐากรูปอื่น ๆ เมื่ออุปัฏฐาก

พระตถาคต อุปัฏฐากอยู่ไม่ได้นาน ทั้งอุปัฏฐากยึดพระหฤทัยของพระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 444

พุทธะทั้งหลายไว้ไม่ได้. ส่วนพระเถระ นับแต่วันที่ได้ตำแหน่งพระ-

อุปัฏฐาก ก็เป็นผู้ปรารภความเพียร อุปัฏฐากยึดพระหฤทัยของพระ-

ตถาคตไว้ได้ เพราะเหตุนี้ ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก

ผู้อุปัฏฐาก. ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังนี้

ได้ยินว่า ในกัปสุดท้ายเจ็ดแสนกัปแต่กัปนี้ไป พระศาสดา

พระนามว่าปทุมุตตระ อุบัติในโลก พระองค์มีพระนครชื่อว่า หงสวดี

มีพระราชบิดาพระนามว่า นันทะ พระราชมารดาผู้เป็นพระเทวี

พระนามว่า สุเมธา มีพระโพธิสัตว์ พระนามว่า อุตตรกุมาร. พระองค์

ออกอภิเนษกรมณ์ทรงผนวชในวันพระราชโอรสประสูติ ทรงประกอบความ

เพียรเนือง ๆ แล้วทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณตามลำดับ

ทรงเปล่งพระพุทธอุทานว่า อเนกชาติสสาร เป็นต้น ประทับ ณ

โพธิบัลลังก์ล่วงเวลาไป ๗ วัน ทรงยื่นพระบาทออกด้วยหมายจักทรง

วางไว้ที่แผ่นดิน ครั้งนั้น ดอกปทุมมีขนาดที่กล่าวไว้แล้วแต่หนหลัง

ชำแรกแผ่นดินชูขึ้นรองรับ เพราะหมายถึงดอกปทุมนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าจึงปรากฏพระนามว่า ปทุมุตตระนั่นแล. พระองค์มี

พระอัครสาวก นามว่า เทวิละองค์หนึ่ง จุลชาตะองค์หนึ่ง มีหมู่พระ-

อัครสาวิกา นามว่า อมิตา องค์หนึ่ง อสมา องค์หนึ่ง ทรงมีพระอุปัฏฐาก

นามว่า สุมนะ. พระปทุมุตตรผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงสงเคราะห์

พระพุทธบิดา มีภิกษุแสนรูปเป็นบริวาร ประทับอยู่ ณ กรุงหงสวดี

ราชธานี. ส่วนพระกนิษฐภาดาของพระองค์ พระนามว่า สุมนกุมาร.

พระราชาพระราชทานบ้านส่วยสองพันโยชน์นับแต่กรุงหงสวดีแด่

สุมนราชกุมารนั้น. สุมนราชกุมารนั้นเสด็จมาเฝ้าพระราชบิดาและ

พระศาสดา เป็นครั้งคราว.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 445

ต่อมาวันหนึ่ง ชนบทชายแดนก่อกบฏ สุมนราชกุมาร จึงส่งข่าว

ถวายพระราชา พระราชาทรงให้ตอบไปว่า พ่อตั้งเจ้าไว้ในตำแหน่ง

นั้นเพราะเหตุไร สุมนราชกุมารนั้นปราบกบฏสงบแล้ว ส่งข่าวไป

กราบทูลพระราชาว่า เทวะ ชนบทสงบราบคาบแล้ว พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงยินดีตรัสว่า ลูกพ่อจงรีบมา. สุมนราชกุมารนั้น มีอมาตย์

ประมาณพันคน ทรงปรึกษากับอมาตย์เหล่านั้นในระหว่างทางว่า

พระราชบิดาของเราทรงยินดี ถ้าจะพระราชทานพรแก่เรา เราจัก

รับอะไร. ลำดับนั้น อมาตย์บางพวกทูลพระราชกุมารว่า โปรด

รับช้าง รับม้า รับชนบท รับรตนะ ๗ อีกพวกหนึ่งทูลว่า พระองค์

เป็นราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดิน ทรัพย์พระองค์ได้ไม่ยาก แต่ทรัพย์

นั้นแม้ได้แล้ว ก็จำต้องละไปทั้งหมด บุญต่างหากที่พระองค์จะพา

ไปได้ เพราะฉะนั้น เมื่อสมมติเทพพระราชทานพร ขอพระองค์

โปรดรับพร คือการอุปัฏฐากพระปทุมุตตรผู้มีพระภาคเจ้า ตลอด

ไตรมาสเถิดพระเจ้าข้า. พระราชกุมารนั้นรับสั่งว่า พวกท่านเป็น

กัลยาณมิตรของเรา พวกท่านทำจิตคิดอยู่นี้ให้เกิดแก่เรา เรา

จักทำอย่างนั้น แล้วเสด็จไปถวายบังคมพระราชบิดา ถูกพระ-

ราชบิดาสวมกอดจุมพิตที่กระหม่อม แล้วตรัสว่า ลูกเอ๋ย พ่อจะ

ให้พรแก่เจ้าดังนี้ จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า กระหม่อม

ฉันปรารถนาจะเป็นผู้อุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยปัจจัย

๔ ตลอดไตรมาส เพื่อทำชีวิตไม่ให้เป็นหมัน พระพุทธบิดาตรัส

ว่า พ่อไม่อาจให้พรข้อนี้แก่ลูกได้ดอก พ่อจะให้พรอย่างอื่น

นะลูก. พระราชกุมารกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ธรรมดาว่ากษัตริย์

ไม่ตรัสคำสองนะ พระเจ้าข้า ขอโปรดพระราชทานพรนี้แก่กระหม่อม-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 446

ฉันเถิด พรอย่างอื่นกระหม่อมฉันไม่ต้องการ พระเจ้าข้า. พระพุทธ-

บิดาตรัสว่า ธรรมดาว่าพระหฤทัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย รู้กัน

ได้ยาก หากพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงประสงค์ เมื่อพ่อให้พรเจ้าแล้ว

จักมีอะไร. พระราชกุมารกราบทูลว่า ดีละ เทวะ กระหม่อมฉันจักทราบ

พระหฤทัยของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล้วเสด็จไปยังพระวิหาร

สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จแล้วเสด็จเข้าพระคันธกุฎี

พระราชกุมารจึงเสด็จไปยังสำนักภิกษุทั้งหลายที่ประชุมกัน ณ ศาลา

ทรงกลม. ภิกษุเหล่านั้นทูลถามพระราชกุมารว่า ถวายพระพร พระ-

ราชบุตร พระองค์เสด็จมาเพราะเหตุอะไร. พระราชกุมารตรัสว่า เพื่อ

จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดชี้บอกพระผู้มีพระภาคเจ้าแก่ข้าพเจ้า

ทีเถิด เหล่าภิกษุทูลว่า พระราชบุตร พวกอาตมภาพเข้าเฝ้าพระศาสดา

ในเวลาที่มุ่งมาดปรารถนาไม่ได้ดอก ตรัสถามว่า ใครเล่าถึงจะเฝ้าได้

เจ้าข้า. มูลตอบว่า ถวายพระพร พระราชบุตรพระนามว่าสุมนเถระ.

พระราชกุมารตรัสถามถึงที่นั่งของพระเถระว่า พระเถระนั้นอยู่ไหนเล่า

ท่านเจ้าข้า. แล้วเสด็จไปตรัสว่า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าประสงค์จะเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้า โปรดชี้บอกพระผู้มีพระภาคเจ้าแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด เมื่อ

พระราชกุมารกำลังทอดพระเนตรเห็นอยู่นั่นแล พระเถระก็เข้าอาโป-

กสิณฌาน อธิษฐานแผ่นดินใหญ่ให้เป็นน้ำ ดำลงในแผ่นดินไปปรากฏที่

พระคันธกุฎีของพระศาสดา ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะพระ-

สุมนเถระว่า สุมนะ เหตุไร เธอจึงมา ท่านทูลว่า พระราชบุตรเสด็จมา

ประสงค์จะเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเจ้าข้า. ตรัสว่า แน่ะภิกษุ ถ้า

อย่างนั้น เธอจงจัดอาสนะสิ เมื่อพระราชกุมารกำลังทอดพระเนตรเห็น

อยู่นั่นแล พระเถระก็ถือเอาพุทธอาสนะ ดำลงในพระคันธกุฎี ไปปรากฏ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 447

นอกบริเวณ จัดอาสนะไว้ที่บริเวณ พระราชกุมาร ทรงเห็นเหตุน่าอัศจรรย์

ทั้งสองนี้แล้ว ทรงดำริว่า ภิกษุรูปนี้ใหญ่หนอ. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า

ก็เสด็จออกจากพระคันธกุฎีแล้วประทับนั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้ เมื่อตรัส

ถามว่า ก่อนราชบุตร พระองค์เสด็จมาเมื่อไร พระราชกุมารทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพระองค์เสด็จเข้าพระคันธกุฎี แต่ภิกษุทั้งหลาย

บอกว่า ท่านเข้าเฝ้าไม่ได้ในขณะที่มุ่งมาดปรารถนา จึงส่งข้าพระองค์

ไปยังสำนักของพระเถระ ส่วนเพระเถระแสดงด้วยถ้อยคำ ๆ เดียว พระ-

เถระนี้เป็นที่สนิทสนมในพระศาสนาของพระองค์หรือพระเจ้าข้า ตรัสว่า

ใช่แล้ว พระราชกุมาร ภิกษุรูปนี้เป็นที่สนิทสนมในศาสนาของเรา.

ทูลว่า ภิกษุรูปนี้ทำอะไร จึงเป็นที่สนิทสนมในพระศาสนาของพระ-

พุทธเจ้าทั้งหลาย พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ถวายทาน

รักษาศีล ทำอุโปสถกรรมนะสิ พระราชกุมาร พระราชกุมารที่ว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ประสงค์จะเป็นผู้สนิทสนมใน

พระพุทธศาสนาเหมือนพระเถระ พรุ่งนี้ ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษา

ของข้าพระองค์นะพระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับโดยดุษณีภาพ

พระราชกุมารเสด็จไปยังที่ประทับของพระองค์ จัดสักการะอย่างใหญ่

ตลอดคืนยังรุ่ง ได้ถวายขันธวารภัตร (อาหารที่ถวายพระระหว่างตั้ง

ค่ายพักแรม) วันที่ ๗ ถวายบังคมพระศาสดาทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้รับพร คือการอุปัฏฐากพระองค์ตลอดไตรมาส

ภายในพรรษา จากสำนักพระราชบิดา ขอพระองค์ทรงโปรดรับอยู่จำ

พรรษาตลอดไตรมาส เพื่อข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงตรวจดูว่าอรรถประโยชน์ด้วยข้อนั้น มีไหมหนอ ก็ทรงเห็น

ว่ามีอยู่ จึงตรัสว่า ดูก่อนราชกุมาร พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมอภิรมย์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 448

ยินดีในเรือนว่างแล พระราชกุมารตรัสว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ข้าพระองค์รู้แล้ว ข้าแต่พระสุคต ข้าพระองค์รู้แล้ว แล้วทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์จะล่วงหน้าไปก่อน จะให้เขาสร้างพระวิหาร

เมื่อข้าพระองค์ส่งคนไปทูล ขอพระองค์โปรดเสด็จมาพร้อมด้วยภิกษุ

แสนรูป ทรงถือปฏิญาณแล้วเสด็จไปยังสำนักพระราชบิดา กราบทูลว่า

เทวะ พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทานปฏิญาณแก่กระหม่อมฉันแล้ว เมื่อ

กระหม่อมฉันส่งคนมากราบทูล ขอพระองค์พึงโปรดส่งพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าด้วย พระเจ้าข้า ถวายบังคมพระราชบิดาแล้วเสด็จออกไป ทรง

สร้างวิหารทุกระยะทางโยชน์หนึ่ง เสด็จไปสิ้นทางไกลสองพันโยชน์

ครั้นเสด็จถึงแล้ว ทรงเลือกที่ตั้งพระวิหารในนครของพระองค์ ทรงเห็น

อุทยานของกุฎุมพี (เศรษฐี) ชื่อ โสภะ ทรงซื้อด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง

สละพระราชทรัพย์แสนหนึ่ง โปรดให้สร้างพระวิหาร ณ พระวิหารนั้น

โปรดให้สร้างพระคันธกุฎีสำหรับพระผู้มีพระภาคเจ้า และกุฎีที่เร้นและ

มณฑปเป็นที่พักกลางคืนและกลางวัน สำหรับเหล่าภิกษุนอกนั้น จัด

สร้างกำแพงล้อมและซุ้มประตู แล้วทรงส่งคนไปยังสำนักพระราชบิดา

กราบทูลว่ากิจของกระหม่อมฉันสำเร็จแล้ว ขอได้โปรดส่งพระศาสดา

ไปเถิด พระราชบิดา ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้วทูลว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า กิจของสุมนสำเร็จแล้ว เขาหวังการเสด็จไปของ

พระองค์ พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า มีภิกษุแสนรูปแวดล้อม

ประทับอยู่ ณ วิหารทั้งหลาย ทุกระยะโยชน์หนึ่งได้เสด็จไป พระ-

ราชกุมาร ทรงทราบว่า พระศาสดากำลังเสด็จมา ก็เสด็จออกไป

ต้อนรับสิ้นระยะทางโยชน์หนึ่ง ทรงบูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น

ส่งเสด็จเข้าไปยังพระวิหาร ทรงมอบถวายพระวิหารว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 449

สตสหสฺเสน เม กีต สตสหสฺเสน มาปิต

โสภน นาม อุยฺยาน ปฏิคฺคณฺห มหามุนิ

ข้าแต่พระมหามุนี ของพระองค์โปรดทรงรับ

อุทยาน ชื่อ โสภนะ ซึ่งข้าพระองค์ซื้อมาด้วย

ทรัพย์แสนหนึ่ง สร้างวิหารด้วยทรัพย์แสนหนึ่ง

ด้วยเถิด

พระราชกุมารนั้น ในวันเข้าพรรษา ถวายทานแล้ว เรียกบุตรภริยา

ของตนและเหล่าอมาตย์มาแล้วสั่งว่า พระศาสดาเสด็จมายังสำนักของ

พวกเราเป็นทางไกล ก็พระพุทธเจ้าทั้งหลายของเรา ทรงหนักในธรรม

ไม่เห็นแก่อามิส เพราะฉะนั้น เราจักนุ่งผ้าสองผืนตลอดไตรมาสนี้

สมาทานศีลสิบ อยู่เสียในที่นี่นี้แหละพวกท่านพึงถวายทานตลอดไตรมาส

โดยทำนองนี้แด่พระขีณาสพแสนรูป สุมนราชกุมารนั้น ประทับอยู่

ในฐานะที่ถูกกันกันสถานที่อยู่ของพระสุมนเถระ เห็นกิจกรรมทุกอย่าง

ที่พระเถระกระทำวัตรแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ดำริว่า พระเถระนี้เป็น

ที่สนิทสนมในพระตถาคต เราควรปรารถนาตำแหน่งของพระเถระนั้น

เมื่อใกล้วันปวารณาออกพรรษา จึงเสด็จเข้าไปยังหมู่บ้าน ถวายมหาทาน

๗ วัน วันที่ครบ ๗ วัน ทรงวางไตรจีวรแทบเท้าภิกษุแสนรูป ถวายบังคม

พระศาสดาแล้วหมอบบังคมด้วยเบญจางคประดิษฐ์ทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ บุญนั้นใดที่ข้าพระองค์กระทำมาตั้งแต่ถวายทานระหว่างที่พัก

กลางทางมา ๗ วัน บุญอันนั้น ข้าพระองค์มิได้ประสงค์สวรรคสมบัติ

มิได้ประสงค์พรหมสมบัติ แต่ข้าพระองค์ปรารถนาเป็นอุปัฏฐากของ

พระพุทธเจ้าจึงกระทำ อนึ่งเล่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ข้าพระองค์

ก็จะเป็นอุปัฏฐากเหมือนพระสุมนเถระในอนาคตกาล พระศาสดาทรง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 450

เห็นไม่มีอันตรายสำหรับพระราชกุมารนั้น จึงทรงพยากรณ์แล้วเสด็จ

กลับไป พระราชกุมารทรงสดับแล้วทรงดำริว่า ก็ธรรมดาพระพุทธเจ้า

ทั้งหลาย ไม่ตรัสเป็นคำสอง ในวันที่สอง ก็ได้เป็นเหมือนถือบาตรจีวร

ของพระโคดมพุทธเจ้า ตามเสด็จไปเบื้องพระปฤษฎางค์

พระราชกุมารนั้น ในพุทธุปบาทกาลนั้น ถวายทานแล้วบังเกิด

ในสวรรค์แสนปี ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป ได้ถวายผ้าห่ม

เพื่อรองรับบาตรแก่พระเถระผู้เที่ยวไปบิณฑบาต ได้ทำการบูชา

บังเกิดในสวรรค์อีก จุติจากภพนั้น เป็นพระเจ้าพาราณสี เสด็จขึ้นชั้น

บนปราสาทอันประเสริฐ ทอดพระเนตรเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า องค์

ซึ่งมาแต่เขาคันธมาทน์ ให้นิมนต์มาแล้วให้ฉันโปรดให้สร้างบรรณศาลา

๘ หลัง สำหรับพระปัจเจกพุทธเจ้าเหล่านั้น ในมงคลอุทยานของพระองค์

ทรงตกแต่งตั่งทำด้วยรตนะล้วน เตียงทำด้วยแก้วมณีอย่างละ ๘ และ

เชิงรองแก้วมณี ได้ทำการอุปัฏฐากถึงหมื่นปี. เหล่านี้เป็นฐานะที่ปรากฏ

แล้ว ก็ท่านถวายทานอยู่ถึงแสนกัป บังเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต กับพระ-

โพธิสัตว์ของเรา จุติจากชั้นดุสิตนั้นแล้ว ก็บังเกิดในเรือนของเจ้า-

อมิโตทนศากยะ ลำดับนั้น ท่านเกิดแล้วทำพระญาติทั้งมวลของท่าน

ให้ร่าเริงบันเทิงใจ เพราะฉะนั้น พระประยูรญาติจึงขนานพระนาม

แก่ท่านว่าอานันทะ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกอภิเนษกรมณ์

ตามลำดับ บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว เสด็จมากรุงกบิลพัศดุ

เป็นการเสด็จครั้งแรก กำลังเสด็จออกจากกรุงกบิลพัศดุนั้น เมื่อเหล่า

พระราชกุมารบรรพชาเพื่อเป็นบริวารของพระผู้มีพระภาคเจ้า ท่าน

ก็ออกบวชในสำนักพระศาสดาพร้อมกับเหล่าเจ้าศากยะมีเจ้าภัททิยะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 451

เป็นต้น ไม่นานนัก ได้ฟังธรรมกถาของท่านพระปุณณมันตานีบุตร

ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

ก็สมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีอุปัฏฐากไม่ประจำถึง

๒๐ ปีในปฐมโพธิกาล บางคราวท่านพระนาคสมาล ถือบาตรจีวรตาม

เสด็จ บางคราว ท่านพระนาคิตะ บางคราว ท่านพระอุปวานะ บางคราว

ท่านพระสุนัขกขัตตะ บางคราว ท่านจนทะ สมณุทเทส บางคราว ท่าน

พระสาคตะ บางคราว ท่านพระราธะ บางคราวท่านพระเมฆิยะ

บรรดาพระอุปัฏฐากไม่ประจำเหล่านั้น ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จเดินทางไกลกับพระนาคสมาลเถระ ถึงทางสองแพร่ง พระเถระ

ลงจากทางทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์จะไปทางนี้

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านว่า มาเถิดภิกษุ เราจะไปกัน

ทางนี้ พระเถระทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอพระองค์ทรงถือ

ทางพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะไปทางนี้ แล้วเริ่มจะวางบาตรจีวรลง

ที่พื้นดิน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า เอามาสิภิกษุ ทรงรับบาตรจีวร

แล้วเสด็จดำเนินไป เมื่อภิกษุรูปนั้นเดินทางไปตามลำพัง พวกโจรก็ชิง

บาตรจีวรและตีศีรษะแตก ท่านคิดว่า บัดนี้ก็มีแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นที่พึ่งของเราได้ ไม่มีผู้อื่นเลย แล้วมายังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทั้งที่โลหิตไหล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า นี่อะไรกันล่ะภิกษุ

ก็ทูลเรื่องราวถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสปลอบว่า อย่าคิดเลย ภิกษุ

เราห้ามเธอ ก็เพราะเหตุอันนั้นนั่นแหละ อนึ่ง ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาค-

เจ้าเสด็จไปยังบ้านชันตุคาม ใกล้ปาจีนวังสมฤคทายวัน กับพระเมฆิย-

เถระ แม้ในที่นั้น พระเมฆิยะเที่ยวบิณฑบาตไปในชันตุคาม พบสวน

มะม่วงน่าเลื่อมใส ริมฝั่งแม่น้ำ ก็ทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 452

ขอพระองค์โปรดรับบาตรจีวรของพระองค์เถิด ข้าพระองค์จะทำ

สมณธรรม ที่ป่ามะม่วงนั้น แม้ถูกพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามสามครั้ง

ก็ยังไป ถูกอกุศลวิตกเข้าครอบงำ ก็กลับมาทูลเรื่องราวถวาย พระผู้-

มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านว่า เรากำหนดถึงเหตุของเธออันนี้แหละ

จึงห้าม แล้วเสด็จดำเนินไปยังกรุงสาวัตถีตามลำดับ

ณ กรุงสาวัตถีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์

อันประเสริฐที่เขาจัดไว้บริเวณพระคันธกุฎี อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว

เรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราแก่ลง

ภิกษุบางพวกกล่าวว่า ข้าพระองค์จะไปทางนี้แล้วก็ไปเสียอีกทางหนึ่ง

บางพวกก็วางบาตรจีวรของเราไว้บนพื้นดิน พวกเธอจงช่วยกันเลือก

ภิกษุอุปัฏฐากประจำให้แก่เราเถิด. ภิกษุทั้งหลายเกิดธรรมสังเวช.

ครั้งนั้นท่านพระสารีบุตร ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เมื่อปรารถนาพระองค์ พระองค์

เดียว จึงบำเพ็ญบารมีทั้งหลาย สิ้นอสงไขยกำไรแสนกัป ผู้มีปัญญา

มาก เช่นข้าพระองค์ ชื่อว่า เป็นอุปัฏฐาก ก็ควรมิใช่หรือ ข้าพระองค์จะ

อุปัฏฐากละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามท่านว่า อย่าเลย สารีบุตร

เราอยู่ทิศใด ทิศนั้นก็ไม่ว่างเลย โอวาทของท่านก็เหมือนโอวาทของ

พระพุทธเจ้าทั้งหลาย กิจที่ท่านจะอุปัฏฐากเรา ไม่มีดอก พระอสีติมหา-

สาวก ตั้งต้นแต่ท่านพระโมคคัลลานะ ก็ลุกขึ้นโดยอุบายนั้นเหมือนกัน

พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงห้ามเสียสิ้น. ส่วนพระอานนท์เถระนั่งนิ่งเลย.

ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ ภิกษุ-

สงฆ์ทลขอตำแหน่งอุปัฏฐากกัน แม้ท่านก็จงทูลขอสิ. ท่านพระอานนท-

เถระ กล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ ธรรมดาว่าตำแหน่งที่ทูลขอได้แล้ว เป็น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 453

เช่นไรเล่า พระศาสดาไม่ทรงเห็นกระผมหรือ ถ้าพระศาสดาจักทรง

ชอบพระทัย ก็จักตรัสว่า อานนท์จงอุปัฏฐากเราดังนี้. ลำดับนั้น พระผู้

มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์ไม่ต้องมีผู้อื่นชวน

ให้อุตสาหะดอก จักรู้ตัวเองแหละแล้วอุปัฏฐากเรา. ต่อนั้น ภิกษุทั้งหลาย

กล่าวว่า ลุกขึ้นสิอานนท์ ทูลขอตำแหน่งอุปัฏฐากกะพระทศพล.

พระเถระลุกขึ้นแล้วทูลขอพร ๘ ประการ คือ ส่วนที่ขอห้าม ๔

ส่วนที่ขอร้อง ๔ พระเถระทูลว่า ชื่อว่าพรส่วนที่ขอห้าม ๔ คือ ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ประทานจีวรจักไม่

ประทานบิณฑบาต อันประณีตที่พระองค์ทรงได้มาแล้วแก่ข้าพระองค์

จักไม่ประทานให้ข้าพระองค์อยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระองค์

จักไม่ทรงพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์ อย่างนี้ ข้าพระองค์จักอุปัฏฐาก

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสถามว่า อานนท์ เธอเห็นโทษอะไรในข้อนี้

จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าข้าพระองค์จักได้วัตถุประสงค์

เหล่านี้ไซร้ จักมีผู้กล่าวได้ว่า อานนท์บริโภคจีวร บริโภคบิณฑบาต

อันประณีต อยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกัน ไปสู่ที่นิมนต์เดียวกันกับพระ-

ทศพล เมื่อได้ลาภนี้จึงอุปัฏฐากพระตถาคต หน้าที่ของผู้อุปัฏฐากอย่างนี้

จะมีอะไร เพราะฉะนั้น ท่านจึงทูลขอพรส่วนที่ขอห้าม ๔ ประการ

เหล่านี้ พระเถระทูลว่า พรส่วนที่ขอร้อง ๔ คือ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ที่ข้าพระองค์รับไว้ ถ้าข้า-

พระองค์จะพาคนที่มาแต่รัฐภายนอก ชนบทภายนอก เข้าเฝ้าได้ใน

ขณะที่เขามาแล้ว ขณะใด ข้าพระองค์เกิดความสงสัย ขณะนั้น ข้า-

พระองค์เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ธรรมใดลับหลังข้าพระองค์ จักเสด็จมาตรัสธรรมนั้นแก่ข้าพระองค์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 454

อย่างนี้ ข้าพระองค์จึงจักอุปัฏฐากพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสถามว่า

อานนท์ ในข้อนี้ เธอเห็นอานิสงส์อะไร จึงทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

เหล่ากุลบุตรผู้มีศรัทธาในโลกนี้ เมื่อไม่ได้โอกาสของพระผู้มีพระภาค-

เจ้า จึงกล่าวกะข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท่านอานนท์ พรุ่งนี้ ขอท่านกับ

พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดรับภิกษาในเรือนของกระผม ถ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าไม่เสด็จไปในที่นั้น ข้าพระองค์ไม่ได้โอกาสหาคนเข้าเฝ้า

ในขณะที่เขาประสงค์ และบรรเทาความสงสัย พวกเขาก็จักกล่าวได้ว่า

อานนท์ อุปัฏฐากพระทศพลทำไม พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงอนุเคราะห์

ท่าน แม้อย่างนี้ และพวกเขาจักถามข้าพระองค์ลับหลังพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า ท่านอานนท์ คาถานี้ พระสูตรนี้ ชาดกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดง ณ ที่ไหน ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้พรข้อนั้น พวกเขาก็จักกล่าว

ได้ว่า ท่านไม่รู้พระดำรัสแม้เท่านี้ เหตุไร ท่านจึงเที่ยวอยู่ได้ตั้งนาน

ไม่ละพระผู้มีพระภาคเจ้าเลยเหมือนกับเงา ด้วยข้อนั้น ข้าพระองค์

ต้องการจะกล่าวธรรมที่แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดงลับหลังอีก เพราะ

ฉะนั้น ท่านจึงทูลขอพรส่วนที่ขอร้อง ๔ ประการเหล่านี้ แม้พระผู้มี

พระภาคเจ้าก็ได้ประทานพรแก่ท่าน. ท่านรับพร ๘ ประการอย่างนี้

จึงได้เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ.

ผลแห่งบารมีทั้งหลายทีบำเพ็ญมาตลอดแสนกัป ก็มาถึงท่าน

ผู้ปรารถนาตำแหน่งพุทธอุปัฏฐากประจำนั้นนั่นแล. ตั้งแต่วันที่ได้ตำแหน่ง

พุทธอุปัฏฐากแล้ว ท่านอุปัฏฐากพระทศพล ด้วยกิจทั้งหลาย เป็นต้นอย่างนี้

คือ ด้วยน้ำ ๒ อย่าง ด้วยไม้สีฟัน ๓ อย่าง ด้วยการนวดพระหัตถ์และ

พระบาท ด้วยการนวดพระปฤษฎางค์ ด้วยการกวาดบริเวณพระคันธกุฎี

คิดว่า พระศาสดาควรได้กิจนี้ ในเวลานี้ แล้วถือประทีปด้ามขนาด

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 455

ใหญ่ไว้ ต่อจากเวลาเที่ยงคืนเดินตรวจรอบ ๆ บริเวณพระคันธกุฎี

ราตรีหนึ่ง ๙ ครั้ง อนึ่งท่านมีความดำริอย่างนี้ว่า ถ้าเราจะพึงง่วงนอน

ไซร้ เราก็ไม่อาจขานรับเมื่อพระทศพลตรัสเรียก. เพราะฉะนั้น ท่าน

จึงไม่ปล่อยประทีปด้ามหลุดจากมือตลอดคืนยังรุ่ง ในข้อนี้ มีวัตถุนิทาน

ดังกล่าวนี้ แต่ภายหลัง พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร

ทรงสรรเสริญท่านพระอานนทเถระ ผู้รักษาเรือนคลังธรรม โดย

ปริยายเป็นอันมาก จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้เป็นพหูสูต มีสติ มีสติ มีธิติ และพุทธ-

อุปัฏฐาก ในพระศาสนานี้ แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 456

อรรถกถาสูตรที่ ๒

ประวัติพระอุรุเวลกัสสปเถระ

ในสูตรที่ ๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า มหาปริสาน ท่านแสดงว่า ท่านพระอุรุเวลกัสสป

เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้มีบริวารมาก จริงอยู่ พระเถระอื่น ๆ

บางกาล ก็มีปริวารมาก บางกาลก็มีปริวารน้อย ส่วนพระเถระนี้กับ

น้องชายทั้งสอง มีปริวารประจำ เป็นสมณะถึงหนึ่งพันรูป บรรดาภิกษุ

ชฎิลสามรูปนั้น เมื่อแต่ละรูปให้บรรพชาครั้งละรูป ก็จะเป็นสมณะ

สองพันรูป เมื่อให้บรรพชาครั้งละสองรูป ก็จะเป็นสมณะสามพันรูป

เพราะฉะนั้น ท่านอุรุเวลกัสสป จึงเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้มี

บริวารมาก. ก็คำว่ากัสสป เป็นโคตรของท่าน. ปรากฏชื่อว่า อุรุเวล-

กัสสป เพราะท่านบวชในอุรุเวลาเสนานิคม. ในปัญหากรรมของท่าน

มีเรื่องจะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.

ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ แม้ท่านอุรุเวลกัสสปนี้

ก็ถือปฏิสนธิในเรือนสกุล ณ กรุงหงสวดี เจริญวัยแล้ว ฟังธรรมกถา

ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้มีบริษัทมาก คิดว่าแม้เราก็ควร

จะเป็นเช่นภิกษุรูปนี้ในอนาคตกาล จึงถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์ มี

พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๗ วัน ให้ครองไตรจีวร ถวายบังคมพระศาสดา

แล้วได้กระทำความปรารถนา ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่า

ภิกษุสาวกผู้มีบริษัท พระศาสดาทรงเห็นไม่มีอันตราย จึงทรงพยากรณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 457

ว่า เขาจักเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้มีบริษัทมาก ในศาสนาของ

พระโคดมพุทธเจ้า ในอนาคตกาล แล้วเสด็จกลับไป กุลบุตรแม้นั้น

กระทำกัลยาณกรรมตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ใน

ที่สุดกัปที่ ๙๒ ก็บังเกิดเป็นกนิษฐภาดาต่างมารดา ของพระพุทธเจ้า

พระนามว่า ปุสสะ พระราชบิดา พระนามว่ามหินทรราชา. ท่านยังมี

พี่น้องอื่น ๆ อีกสององค์. พี่น้องทั้งสามองค์นั้นได้ตำแหน่งองค์ละแผนก

อย่างนี้ ทรงปราบปรามชนบทชายแดนที่ก่อกบฏ โดยนัยที่กล่าวแล้วใน

หนหลัง ทรงได้พรจากสำนักพระราชบิดา ทรงรับพรว่า พวกข้า

พระองค์จักบำรุงพระทศพลตลอดไตรมาส ครั้งนั้น พี่น้องทั้งสาม

พระองค์ทรงดำริว่า พวกเราบำรุงพระทศพลกระทำให้เหมาะ จึงควร

จึงแต่งตั้งอมาตย์ผู้หนึ่งไว้ในตำแหน่งเป็นผู้หารายได้ แต่งตั้งอมาตย์

ผู้หนึ่งเป็นผู้รับจ่าย แต่งตั้งอมาตย์ผู้หนึ่งในตำแหน่งเป็นผู้เลี้ยงภิกษุสงฆ์

มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข สมาทานศีลสิบสำหรับพระองค์ รักษาสิกขาบท

ทั้งหลายตลอดไตรมาส อมาตย์ทั้งสามคนนั้น บังเกิดเป็นพิมพิสาระ

วิสาขะและรัฐปาละ ในพุทธุปบาทกาลนี้ โดยนัยที่กล่าวมาแล้วใน

หนหลัง ส่วนพระราชกุมารเหล่านั้น เมื่อพระทศพลอยู่จำพรรษาแล้ว

ทรงบูชาด้วยปัจจัย ด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง กระทำกัลยาณกรรม

ตลอดชีวิต บังเกิดในสกุลพราหมณ์ ก่อนพระทศพลของเราทรงอุบัติ

มีนามว่า กัสสป ทั้งสามคนตามโคตรของตน คนทั้งสามนั้นเจริญวัย

แล้วเรียนไตรเพท คนใหญ่ มีบริวารมาณพ ๕๐๐ คน คนกลาง ๓๐๐ คน

คนเล็ก ๒๐๐ คน. ทั้งสามพี่น้อง ตรวจดูสาระในคัมภีร์ (ไตรเพท) เห็น

แต่ประโยชน์ส่วนปัจจุบันเท่านั้น ไม่เห็นประโยชน์ส่วนภายภาคหน้า

พี่ชายคนใหญ่ ไปยังตำบลอุรุเวลาบวชเป็นฤษีพร้อมกับบริวารของตน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 458

ชื่อว่าอุรุเวลกัสสป. คนกลางไปบวชที่คุ้งมหาคงคานที ชื่อว่านทีกัสสป.

คนเล็กไปบวชที่คยาสีสประเทศ ชื่อว่าคยากัสสป.

เมื่อกัสสปพี่น้องบวชเป็นฤษีอยู่ ณ ทีนั้น ล่วงวันไปเป็นอันมาก

พระโพธิสัตว์ของเรา เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงได้พระสัพพัญ-

ญุตญาณ ประกาศพระธรรมจักรตามลำดับ ทรงสถาปนาพระปัญจ-

วัคคียเถระไว้ในพระอรหัต ทรงแนะนำสหาย ๕๕ คน มียศกุลบุตร

เป็นหัวหน้า ทรงส่งพระอรหันต์ ๖๐ องค์ให้จาริกไปเพื่อประโยชน์แก่

ชนเป็นอันมาก ด้วยพระดำรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจง

จาริกไปดังนี้เป็นต้น ทรงแนะนำพวกภัททวัคคีย์ แล้วทรงเห็นเหตุแห่ง

อุรุเวลกัสสป ก็ทรงทราบว่าเมื่อเราไป สามพี่น้องพร้อมบริวารจัก

บรรลุพระอรหัต ลำพังพระองค์เดียวไม่มีเพื่อน เสด็จถึงที่อยู่ของอุรุ-

เวลกัสสป ทรงขอเรือนไฟเพื่อประทับอยู่ ทรงแนะนำอุรุเวลกัสสป

พร้อมด้วยบริวาร ตั้งต้นแต่ทรงทรมานงู ซึ่งอยู่ในเรือนไฟนั้น ด้วย

ปาฏิหาริย์ทั้งหลาย เป็นจำนวนถึง ๓๕๐๐ อย่างแล้วทรงให้บวช น้องชาย

อีกสองคนรู้ว่าพี่ชายบวช ก็มาบวชพร้อมด้วยบริวาร เหล่าชฎิลทั้งหมด

เป็นเอหิภิกขุ ทรงบาตรและจีวรสำเร็จมาแต่ฤทธิ. พระศาสดาทรงพา

สมณะ ๑๐๐๐ รูปนั้นไปยังคยาสีสประเทศ ประทับนั่งบนหลังแผ่นหิน

ทรงตรวจดูว่า คนเหล่านี้บวชบำเรอไฟ ควรจะแสดงภพทั้งสาม ให้เป็น

เสมือนเรือนไฟไหม้แก่คนเหล่านี้ จึงทรงแสดงอาทิตตปริยายสูตร. จบ

เทศนา ก็บรรลุพระอรหัตหมดทุกรูป. พระศาสดามีภิกษุชฎิลเหล่านั้น

แวดล้อม ทรงทราบถึงปฏิญญาที่ถวายไว้แด่พระเจ้าพิมพิสารตามลำดับ

เสด็จถึงพระราชอุทยานลัฏฐิวัน กรุงราชคฤหถ์ พระราชาทรงทราบว่า

พระทศพลเสด็จมาถึงแล้ว ก็พร้อมด้วยพราหมณ์และคฤหบดีสิบสองนหุต

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 459

เสด็จเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคับแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่สมควร

ข้างหนึ่ง พระศาสดาทรงตรวจดูบริษัททั้งหมด ทรงเห็นมหาชนทำ

ความนอบน้อมอุรุเวลกัสสป ทรงพระดำริว่าคนเหล่านี้ไม่รู้ว่าเราหรือ

กัสสปเป็นใหญ่ ขึ้นชื่อว่าเหล่าชนที่มีวิตก ไม่อาจรับเทศนาได้ จึงได้

ประทานสัญญา(ณ) แก่พระเถระว่า กัสสป เธอจงตัดความวิตกของ

เหล่าอุปัฏฐากของเธอเสีย. พระเถระรับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว

ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระศาสดาด้วยเบญจางคประดิษฐ์ เหาะขึ้น

สู่อากาศประมาณชั่วต้นตาล แสดงฤทธิต่าง ๆ ประกาศว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นศาสดาของข้าพระองค์

ข้าพระองค์เป็นสาวก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เป็นศาสดาของข้าพระองค์ ข้าพระองค์เป็นสาวก แล้วลงมาถวาย

บังคมพระยุคลบาทพระทศพล โดยอุบายนั้น ครั้งที่ ๗ เหาะขึ้นสู่อากาศ

๗ ชั่วต้นตาลแล้วถวายบังคมพระยุคลบาทของพระทศพล นั่ง ณ ที่

สมควรข้างหนึ่ง. เวลานั้นมหาชนหมดวิตกในพระศาสดาว่า ท่านผู้นี้

เป็นมหาสมณะในโลก. ลำดับนั้นพระศาสดาจึงทรงแสดงธรรมโปรด.

จบเทศนา พระราชาพร้อมด้วยพราหมณ์และคฤหบดีสิบเอ็ดนหุต ดำรง

อยู่ในพระโสดาปัตติผล นหุตหนึ่งประกาศตนเป็นอุบาสก. ภิกษุจำนวน

พันรูป บริวารของอุรุเวลกัสสปเหล่านั้น คิดด้วยความคุ้นเคยของตนว่า

กิจบรรพชิตของพวกเราถึงที่สุดแล้ว พวกเราจักไปภายนอกทำอะไร.

จึงเที่ยวห้อมล้อมท่านพระอุรุเวลกัสสปอย่างเดียว บรรดาภิกษุชฎิล

ทั้งสามนั้น เมื่อภิกษุชฎิลแต่ละองค์รับนิสสิตก์ได้ครั้งละองค์ ก็เป็น

สองพัน เมื่อรับได้ครั้งละสององค์ ก็เป็นสามพัน. ตั้งแต่นั้นมานิสสิตก์

ของภิกษุชฎิลเหล่านั้นมีเท่าใด จะกล่าวถึงนิสสิตก์เท่านั้น ก็ควรแล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 460

ในข้อนั้น มีวัตถุนิทาน ดังนี้. แต่ต่อมา พระศาสดาประทับอยู่ ณ พระ-

เชตวันวิหาร ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอด

ของเหล่าภิกษุสาวกผู้มีบริษัทมาก ดังนี้แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 461

อรรถกถาสูตรที่ ๓

ประวัติพระกาฬุทายีเถระ

ในสูตรที่ ๓ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า กุลปฺปสทกาน ได้แก่ผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส. แท้จริง พระ-

เถระนี้ ทำราชนิเวศน์ของพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ผู้ยังไม่พบพระ-

พุทธเจ้าเท่านั้นให้เลื่อมใส เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเป็นยอดของภิกษุ

สาวกผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าว

ตามลำดับ ดังนี้.

ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ พระเถระนี้บังเกิดใน

เรือนสกุล ณ กรุงหงสวดี กำลังฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็น

พระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอด

ของภิกษุสาวกผู้ทำสกุลให้เลื่อมใส จึงการทำกุศลกรรมให้ยิ่งยวดขึ้น

ไปแล้ว ปรารถนาตำแหน่งนั้น ท่านการทำกุศลตลอดชีวิต เวียนว่าย

อยู่ในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ถือปฏิสนธิในเรือนของอมาตย์ ณ กรุง-

กบิลพัสดุ ในวันที่พระโพธิสัตว์ของเราทรงถือปฏิสนธิในครรภ์ของ

พระมารดา ในวันเกิดก็เกิดพร้อมกับพระโพธิสัตว์แล ในวันนั้น ญาติ

ทั้งหลายก็ให้นอนบนเครื่องรองรับคือผ้าแล้วนำไปถวายตัวเพื่อรับใช้

พระโพธิสัตว์.

ต้นโพธิพฤกษ์ พระมารดาของพระราหุล ขุมทรัพย์ทั้ง ๔ ช้าง

ทรง ม้ากัณฐกะ นายฉันนะ อมาตย์กาฬุทายี รวมเป็น ๗ นี้ ชื่อว่า

สัตตสหชาต เพราะเกิดวันเดียวกับพระโพธิสัตว์.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 462

ในวันขนานนามทารกนั้น เหล่าญาติตั้งชื่อว่าอุทายี เพราะเกิด

ในวันที่ชาวนครทั่วไปมีจิตใจฟูขึ้น (สูง). แต่เพราะเขาเป็นคนดำนิด

หน่อย จึงเกิดชื่อว่า กาฬุทายี กาฬุทายีนั้นเล่นของเล่นสำหรับเด็กชาย

กับพระโพธิสัตว์จนเจริญวัย ย่อมาพระโพธิสัตว์เสด็จออกมหาภิเนษ-

กรมณ์ บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ ตามลำดับ ทรงประกาศธรรมจักร

อันประเสริฐ. ทรงกระทำการอนุเคราะห์โลก ทรงอาศัยกรุงราชคฤห์

ประทับอยู่. สมัยนั้น พระเจ้าสุทโธทนมหาราช ทรงสดับว่า สิทธัตถ

กุมารบรรลุอภิสัมโพธิญาณ อาศัยกรุงราชคฤห์ประทับอยู่ ณ พระ-

เวฬุวันวิหาร จึงทรงส่งอำมาตย์ผู้หนึ่ง มีบุรุษพันคนเป็นบริวารไปด้วย

พระดำรัสสั่งว่า เจ้าจงนำโอรสของเรามาในที่นี้. อำมาตย์นั้นเดินไป

๖๐ โยชน์เข้าไปยังพระวิหาร ในเวลาที่พระทศพลประทับนั่งกลาง

บริษัท ๔ ทรงแสดงธรรม อำมาตย์นั้นคิดว่า ข่าวสาส์นที่พระราชา

ทรงส่งไปพักไว้ก่อน แล้วยืนท้ายบริษัทฟังพระธรรมเทศนาของพระ-

ศาสดา ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมกับบุรุษพันคน ตรงที่ยืนอยู่นั่นแหละ

ครั้งพระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์แก่อำมาตย์และบุรุษนั้นคนนั้น

ด้วยพระดำรัสว่า พวกเธอจงเป็นภิกษุเถิด ทันใดนั้นเอง ทุกคนก็

ทรงบาตรและจีวรสำเร็จมาแต่ฤทธิ์ ได้เป็นเหมือนพระเถระร้อยพรรษา

นับแต่เวลาบรรลุพระอรหัตกันแล้ว ธรรมดาว่าพระอริยะทั้งหลาย

ย่อมเป็นผู้วางเฉย เพราะฉะนั้น อำมาตย์นั้นจึงไม่ได้ทูลข่าวสาส์นที่

พระราชาทรงส่งไปแด่พระทศพล พระราชาทรงพระดำริว่า อำมาตย์

ยังไม่กลับ มาจากที่นั้น ข่าวคราวก็ไม่ได้ยิน จึงทรงส่งอำมาตย์คนอื่น ๆ

ไปโดยทำนองนั้นนั่นแล อำมาตย์แม้นั้นไปแล้วก็บรรลุพระอรหัตพร้อม

กับบริษัทโดยนัยก่อนนั่นแหละ แล้วก็นิ่งเสีย ทรงส่งบุรุษเก้าพันคน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

พร้อมกับอำมาตย์เก้าคน ด้วยประการฉะนี้ ทุก ๆคนสำเร็จกิจของตน

แล้วก็นิ่งเสีย

ครั้งนั้น พระราชาทรงพระดำริว่า คนมีจำนวนเท่านี้ ไม่บอก

อะไรแก่พระทศพล เพื่อเสด็จมาในที่นี้เพราะเขาไม่รักเรา คนอื่น ๆ

แม้ไปก็คงจักไม่สามารถนำพระทศพลมาได้ แต่อุทายีบุตรของเรา

ปีเดียวกับพระทศพล โดยเล่นฝุ่นด้วยกันมา เขาคงรักเราบ้าง จึงโปรด

ให้เรียกตัวมาแล้วตรัสสั่งว่า ลูกเอ๋ย เจ้ามีบุรุษพันคนเป็นบริวาร จงไป

นำพระทศพลมา กาฬุทายีกราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระบาท ได้

บรรพชาเหมือนพวกบุรุษที่ไปกันครั้งแรก จึงจัดนำมา พระเจ้าข้า.

รับสั่งว่าเจ้าทำกิจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจงนำลูกของเรามาก็แล้วกัน

กาฬุทายีรับราชโองการว่า ดีละพระเจ้าข้า แล้วถือสาส์นของพระราชา

ไปกรุงราชคฤห์ ยืนฟังธรรมท้ายบริษัท ในเวลาพระศาสดาทรงแสดง

ธรรมแล้วบรรลุพระอรหัต ดำรงอยู่โดยเป็นเอหิภิกขุ พร้อมทั้งบริวาร

ต่อนั้น ก็ดำริว่า ยังไม่เป็นกาละเทศะที่พระทศพลจะเสด็จไปยังนคร

แห่งสกุล ต่อสมัยวสันตฤดู (ฤดูใบไม้ผลิ) เมื่อไพรสณฑ์มีดอกไม้บาน

สะพรั่ง แผ่นดินคลุมด้วยหญ้าสด จึงจักเป็นกาละเทศะ จึงรอเวลาอยู่

รู้ว่ากาละเทศะมาถึงแล้ว จึงทูลพรรณนาหนทาง เพื่อพระทศพลเสร็จ

ดำเนินไปยังนครแห่งสกุล ด้วยคาถาประมาณ ๖๐ คาถาเป็นต้นว่า

นาติสีต นาติอุณฺห นาติทุพฺภิกฺขฉาตก

สทฺทสา หริตา ภูมิ เอส กาโล มหามุนิ

ข้าแต่พระมทามุนี สถานที่ไม่เย็นจัด ไม้ร้อนจัด ใช่

สถานที่หาอาหารยากและอดอยาก พื้นแผ่นดินเขียวขจี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 464

ชอุ่มด้วยหญ้า นี่เป็นกาลสมควร.

พระศาสดาทรงทราบว่า อุทายีกล่าวสรรเสริญการเดินไปว่าเป็นกาละ

เทศะ ที่จะเสด็จดำเนินไปยังกรุงกบิลพัสดุ มีภิกษุสองหมื่นรูปเป็นบริวาร

เสด็จออกจาริกด้วยการทรงดำเนินไปแบบไม่รีบด่วน พระอุทายีเถระ

ทราบว่า พระศาสดาเสด็จออกไปแล้ว คิดว่าควรจะถวายความเข้า

พระหฤทัย แต่พระมหาราชเจ้าพุทธบิดา จึงเหาะไปปรากฏ ณ พระ-

ราชนิเวศน์ของพระราชา พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระเถระ ก็มี

พระหฤทัยยินดี นิมนต์ให้นั่งบนบัลลังก์(แท่น) ที่สมควรใหญ่ บรรจุ

บาตรให้เต็มด้วยโภชนะรสเลิศต่าง ๆ แล้วถวาย พระเถระลุกขึ้นแสดง

อากัปปกิริยาว่าจะไป ท้าวเธอจึงตรัสว่า นิมนต์นั่งฉันสิลูกเอ๋ย ท่านทูล

ว่ามหาบพิตรอาตมภาพจักไปฉัน ณ สำนักพระศาสดา ตรัสถามว่า ก็

พระศาสดาอยู่ไหนล่ะพ่อเอ๋ย ท่านทูลว่ามหาบพิตร พระศาสดามีภิกษุ

สองหมื่นเป็นบริวาร เสด็จออกจาริกเพื่อเยือนมหาบพิตรแล้ว ตรัสว่า

ลูกฉันบิณฑบาตนี้แล้ว โปรดนำบิณฑบาตนอกจากนี้ไปถวาย จนกว่า

ลูกของโยมจะมาถึงนครนี้ พระเถระรับอาหารที่จะพึงนำไปถวายพระ-

ทศพล แล้วกล่าวธรรมกถา ทำพระราชนิเวศน์ทั้งสิ้นให้ได้ศรัทธา โดย

ยังไม่ทันเห็นพระทศพลเลย เมื่อทุกคนเห็นอยู่นั่นแล ก็โยนบาตรขึ้นไป

ในอากาศ แม้ตนเองก็เหาะไปนำบิณฑบาตไปวางไว้ที่พระหัตถ์ของพระ-

ศาสดา พระศาสดาก็เสวยบิณฑบาตนั้น ทุก ๆวัน พระเถระนำอาหารจาก

พระราชนิเวศน์มาถวายแต่พระศาสดา ซึ่งกำลังเสด็จดำเนินทาง ๖๐

โยชน์ ตลอดทางโยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง พึงทราบเรื่องดังกล่าวมาฉะนี้

ต่อมาภายหลัง พระศาสดาทรงดำริว่า อุทายี ทำพระราชนิเวศน์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 465

ทั้งสิ้นของพระมหาราชบิดาของเราให้เลื่อมใสแล้ว จึงทรงสถาปนา

พระเถระไว้ตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ทำสกุล

ให้เลื่อมใสแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 466

อรรถกถาสูตรที่ ๔

ประวัติพระพกกุลเถระ

ในสูตรที่ ๔ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า อปฺปาพาธาน ได้แก่ผู้ไม่มีอาพาธ. บทว่า พากุโล ได้แก่

พระเถระได้ชื่ออย่างนี้ เพราะเจริญเติบโตมาในสกุลทั้งสอง ในปัญหา

กรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้.

ดังได้ยินมา ในอดีตกาล พระเถระนี้ถือปฏิสนธิในสกุลพราหมณ์

ก่อนแต่พระทศพลพระนามว่าอโนมทัสสี ปลายอสงไขยกำไรแสนกัป

นับแต่กัปนี้ เจริญวัย ก็เรียนพระเวท มองไม่เห็นสาระในคัมภีร์ไตรเพท

คิดว่าจักแสวงหาประโยชน์ที่เป็นไปภายภาคหน้า จึงบวชเป็นฤษี ได้

อภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ทำเวลาให้ล่วงไป ด้วยการเล่นฌาน สมัย

นั้น พระอโนมทัสสีโพธิสัตว์ บรรลุพระสัพัญญุตญาณ มีหมู่พระอริยะ

แวดล้อมแล้ว เสด็จจาริกไป ดาบสฟังว่าพระรัตนะสาม เกิดขึ้นแล้ว

จึงไปสำนักพระศาสดาฟังธรรม จบเทศนา ก็ตั้งอยู่ในสรณะ แต่ไม่

อาจละฐานะ(เพศ) ของตนได้ ท่านไปเฝ้าพระศาสดาและฟังธรรม

เป็นครั้งคราว ต่อมา สมัยหนึ่ง พระตถาคตเกิดโรคลมในพระอุทร.

ดาบสมาเพื่อเฝ้าพระศาสดา ทราบว่า พระศาสดาประชวร

จึงถามว่า ท่านเจ้าข้า ประชวรเป็นโรคอะไร เมื่อภิกษุ

ทั้งหลายกล่าวว่าเป็นโรคลมในพระอุทร จึงคิดว่า นี้เป็นเวลาทำบุญ

ของเรา จึงไปยังเชิงเขา รวบรวมยาชนิดต่าง ๆ แล้วถวายพระเถระ

ผู้อุปัฏฐาก ด้วยกล่าวว่า โปรดน้อมถวายยานี้แต่พระศาสดา โรคลมใน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

พระอุทรก็สงบ พร้อมกับการใช้ยา ดาบสนั้นไปเฝ้าในเวลาที่พระ-

ศาสดาทรงผาสุก ทูลอย่างนี้ว่า ความผาสุกเกิดแก่พระตถาคต เพราะ

ยาของข้าพระองค์นี้อันใด ด้วยผลแห่งการถวายยาของข้าพระองค์นั้น

ขอความเจ็บไข้ทางร่างกายแม้แต่เพียงถอนผม ก็จงอย่ามีในภพที่ข้า-

พระองค์เกิดแล้วเกิดเล่า. นี้เป็นกัลยาณกรรมในอัตตภาพนั้นของท่าน

ท่านจุติจากภพนั้น บังเกิดในพรหมโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดามนุษย์

สิ้นอสงไขยหนึ่ง ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิ

ในครอบครัว ณ กรุงหงสวดี เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง

ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้มีอาพาธน้อย

กระทำกุศลกรรมยิ่งยวดขึ้นไป ก็ปรารถนาตำแหน่งนั้น.

ท่านกระทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์

บังเกิดในครอบครัวพราหมณ์ ณ กรุงพันธุมวดี ก่อนพระทศพลพระ-

นามว่าวิปัสสีบังเกิด บวชเป็นฤษีโดยนัยก่อนนั่นแล เป็นผู้ได้ฌาน

อาศัยอยู่เชิงเขา พระวิปัสสีโพธิสัตว์บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ มี

ภิกษุหกล้านแปดแสนเป็นบริวาร ทรงอาศัยกรุงพันธุมวดี ทรงทำการ

สงเคราะห์พระมหาราชเจ้าผู้พุทธบิดาแล้วประทับอยู่ ณ มิคทายวัน

อันเกษม ครั้งนั้น ดาบสนี้ทราบว่าพระทศพลบังเกิดในโลก จึงมาฟัง

ธรรมกถาของพระศาสดาตั้งอยู่ในสรณะ ไม่อาจละบรรพชาของตน

แต่ก็มาอุปัฏฐากพระศาสดาเป็นครั้งคราว สมัยหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย

เว้นพระศาสดาและพระอัครสาวกเกิดโรคที่ศีรษะ เพราะถูกลมของ

ต้นไม้มีพิษ ที่ออกดอกสพรั่งในป่าหิมพานต์. ดาบสมาที่เฝ้าพระศาสดา

พบภิกษุนั่งคลุมศีรษะจึงถามว่า ท่านเจ้าข้า ภิกษุสงฆ์เป็นอะไร ภิกษุ

ทั้งหลายตอบว่า ผู้มีอายุ เหล่าภิกษุเป็นโรคดอกไม้พิษ ดาบสคิดว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 468

นี้เป็นเวลาที่จะทำการขวนขวายทางกายแก่ภิกษุสงฆ์ ให้บุญบังเกิด

แก่เรา จึงเก็บยาชนิดต่าง ๆ ด้วยอำนาจของตนแล้วเอาประกอบเป็นยา

ถวาย โรคของภิกษุทุกรูปก็สงบไปทันที ดาบสนั้น ดำรงอยู่ชั่วอายุ ก็

บังเกิดในพรหมโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ เก้าสิบเอ็ดกัป

ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่ากัสสป บังเกิดในกรุงพาราณสี ครองเรือน

อยู่คิดว่า เรือนที่อยู่ของเรา ทรุดโทรม จำจักต้องไปชายแดนนำทัพพ-

สัมภาระมาสร้างเรือน จึงไปกับพวกช่างไม้พบวิหารใหญ่ใหญ่คร่ำคร่า-

ในระหว่างทาง ก็คิดว่า การสร้างเรือนของเรายกไว้ก่อน การสร้าง

เรือนนั้น จักไม่ไปกับเรา แต่การไปด้วยกันช่วยกันทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

ก่อน ควรอยู่ เขาให้พวกช่างไม้เหล่านั้นถือทัพพสัมภาระ ให้สร้าง

โรงอุโบสถในวิหารนั้น ให้สร้างโรงฉัน โรงไฟ (ที่จงกรม) เรือนไฟ

กัปปิยกุฏิ (โรงพยาบาล) ที่พักกลางคืนและที่พักกลางวัน วัจจกุฏิ

(ส้วม) จัดตั้งยาใช้และฉันสำหรับภิกษุสงฆ์ไว้ทุกอย่าง.

เขากระทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์

พุทธันดรหนึ่ง ถือปฏิสนธิในเรือนเศรษฐีกรุงโกสัมพี ก่อนพระทศพล

ของเราบังเกิด ตั้งแต่วันที่เขาถือปฏิสนธิ สกุลเศรษฐีนั้นก็ประสบลาภ

อันเลิศ ยศอันเลิศ ครั้งนั้น มารดาของเขาคลอดบุตรแล้วคิดว่าเด็ก

คนนี้มีบุญ กระทำบุญไว้แต่ก่อน เป็นผู้ไม่มีโรค อายุยืน ยังดำรงอยู่

ตลอดกาลเท่าใด ก็จักเป็นผู้ให้สมบัติแก่เราตลอดกาลเพียงนั้น ก็เด็ก

ทั้งหลายที่อาบน้ำในแม่น้ำยมุนา ในวันเกิดนั่นแล ย่อมเป็นผู้ไม่มีโรค

จึงส่งเด็กนั้นไปอาบน้ำ ท่านอาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์มัชฌิมนิกายกล่าวว่า

นางให้อาบศีรษะในวันที่ ๕ แล้วส่งเด็กนั้นไปเล่นน้ำ ณ ที่นั้น เมื่อ

พี่เลี้ยงนางนมกำลังให้เด็กเล่นดำลงโผล่ขึ้น ปลาตัวหนึ่งเห็นเด็กนั้น

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 469

สำคัญว่าเหยื่อ ก็อ้าปากคาบเอาไป พี่เลี้ยงนางนม (ตกใจ) ก็ทิ้งเด็ก

หนีไป ปลาก็กลืนเด็กนั้น สัตว์มีบุญ ไม่ประสบทุกข์ ก็เหมือนเข้าห้องนอน

แล้วนอน ด้วยเดชะบุญของเด็ก ปลาก็เหมือนกลืนภาชนะที่ร้อนก็

เร่าร้อน ก็ว่ายไปโดยเร็วถึง ๓๐ โยชน์ เข้าไปติดอวนของประมง

ชาวกรุงพาราณสี ธรรมดาปลาใหญ่ติดอวนย่อมตาย แต่เดชะบุญของ

เด็ก ปลาตัวนี้พอเขาปลดจากอวนจึงตาย ประมงทั้งหลายได้ปลาตาย

ย่อมชำแหละขาย ใช้คานหามไปทั้งตัว เที่ยวตระเวนไปในกรุง บอกว่า

เอาทรัพย์มาพันหนึ่ง และให้ปลาตัวนี้ ใคร ๆ ก็ไม่ซื้อ.

ในกรุงนั้น มีสกุลเศรษฐีมีสมบัติ ๘๐ โกฏิ พวกประมงถึงใกล้

ประตูเรือนสกุลเศรษฐีนั้น ถูกเศรษฐีถามว่า พวกท่านเอาอะไร จึงจะ

ให้ จึงตอบว่า เอากหาปณะ พวกเขาให้กหาปณะแล้วรับเอาปลาไป

ภริยาเศรษฐี เล่นกับปลาในวันอื่น ๆ แต่วันนั้น วางปลาไว้บนเขียง

ชำแหละด้วยตนเอง ธรรมดาคนทั้งหลาย ย่อมชำระปลาทางท้อง

แต่ภริยาเศรษฐีนั้น ชำแหละทางข้างหลัง เห็นเด็กมีผิวดังทองในท้อง

ปลา ก็ส่งเสียงลั่นว่า เราได้บุตรในท้องปลา จึงพาเด็กไปหาสามีใน

ทันทีนั้นเอง เศรษฐีก็ให้ตีกลองป่าวร้อง แล้วพาเด็กไปสำนักพระราชา

กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ ข้าพระบาทได้เด็กในท้องปลา ข้าพระบาท

จะทำอย่างไร พระราชารับสั่งว่าเด็กนี้มีบุญ อยู่ในท้องปลาก็ไม่มีโรค

ท่านจงเลี้ยงไว้ สกุลอีกสกุลหนึ่งได้ยินว่า เขาว่า สกุลเศรษฐีสกุล

หนึ่งในกรุงพาราณสีได้เด็กในท้องปลา เศรษฐีสามีภริยานั้นก็ไปกรุง

พาราณสี ลำดับนั้น มารดาของเด็กนั้น เห็นเด็กแต่งตัวเล่นหัวอยู่ ก็

ถามว่า เด็กคนนี้ถูกใจจริงหนอ จึงบอกเรื่องนั้น มารดาอีกคนหนึ่ง

กล่าวว่า บุตรของเราน่ะ ถามว่า ท่านได้บุตรที่ไหน ตอบว่า ในท้องปลา

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 470

มารดาเดิมบอกว่า ก็ไม่ใช่บุตรของท่าน เป็นบุตรของเรา ถามว่า

ท่านได้มาอย่างไร ตอบว่า เราอุ้มท้องมาถึง ๑๐ เดือน ครั้งนั้น เด็ก

กำลังเล่นน้ำในแม่น้ำ ปลาก็ฮุบเด็กไป มารดาอีกคนหนึ่งบอกว่า บุตร

ของท่าน คงจักเป็นปลาตัวอื่นฮุบเอาไป ส่วนเด็กคนนี้ เราได้ในท้องปลา

แม่ทั้งสองฝ่ายก็พากันไปยังราชสกุล. พระราชาตัดสินว่า หญิงผู้นี้

ไม่เป็นมารดามิอาจจะทำได้ เพราะอุ้มท้องมาถึง ๑๐ เดือน พวกประมง

ถึงจับปลาได้ ชื่อว่าจับได้แต่ภายนอก มีดับไตเป็นต้นก็ไม่มี แม้หญิง

ผู้นี้ไม่เป็นมารดา ก็ไม่อาจทำได้เพราะได้เด็กในท้องปลา เพราะฉะนั้น

เด็กจงเป็นทายาทของทั้งสองสกุล นับแต่นั้นมา สกุลทั้งสองก็ประสบ

ลาภอันเลิศยศอันเลิศอย่างยิ่ง จึงพากันขนานนามท่านว่า พากุลกุมาร

เพราะสกุลทั้งสองเลี้ยงให้เติบโต เมื่อท่านรู้ความแล้ว สกุลทั้งสอง

ก็สร้างปราสาท ๓ หลังไว้ในนครทั้งสอง จัดนาฏกะ นักฟ้อนรำไว้

ท่านอยู่ ๒ เดือนในนครหนึ่ง ๆ อยู่ครบ ๔ เดือนแล้ว เขาสร้างมณฑป

ไว้บนเรือขนาน ให้ท่านกับเหล่านาฏกะลงไปอยู่ในมณฑปนั้น ท่าน

เสวยสมบัติอยู่ก็ไปยังอีกนครหนึ่ง ๔ เดือน เหล่านาฏกะชาวนคร

ออกไป ต้อนรับท่านด้วยคิดว่าท่านจักมาครึ่งทาง ๒ เดือน แล้วห้อมล้อม

ท่านนำไปยังนครของตนอีก ๒ เดือน เหล่านาฏกะอีกพวกหนึ่ง ก็

กลับไปนครของตน ท่านอยู่ในนครนั้น ๒ เดือนแล้วก็ไปยังอีกนครหนึ่ง

โดยทำนองนั้นนั่นแล ท่านเสวยสมบัติอย่างนี้ ๘๐ ปีบริบูรณ์

สมัยนั้น พระโพธิสัตว์ของเรา ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ

ประกาศธรรมจักรอันประเสริฐ. เสด็จจาริกมาโดยลำดับ ถึงกรุง

โกสัมพี พระมัชฌิมภาณกาจารย์ว่า กรุงพาราณสี แม้พากุลเศรษฐี

สดับข่าวว่า พระทศพลเสด็จมาแล้ว จึงถือเอาของหอมและมาลัยไป

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 471

สำนักพระศาสดาฟังธรรม ได้ศรัทธาก็บวช ท่านเป็นปุถุชนอยู่ ๗ วัน

อรุณวันที่ ๗ ก็บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ครั้งนั้น พวกหญิง

แม่บ้านที่ท่านสร้างสมไว้ครั้งเป็นคฤหัสถ์ในนครทั้งสอง ก็กลับไป

เรือนสกุลของตน อยู่ในเรือนสกุลนั้นนั่นแหละ ทำจีวรส่งไปถวาย

พระเถระใช้สอยจีวรผืนหนึ่ง ที่ชาวกรุงโกสัมพีส่งไปถวาย ครึ่งเดือน

จีวรผืนหนึ่ง ที่ชาวกรุงพาราณสีส่งไปถวาย ครึ่งเดือน โดยทำนองนี่

นี่แล ชาวนครก็นำจีวรแต่ชนิดสุดยอด ในนครทั้งสองมาถวายแต่

พระเถระรูปเดียว พระเถระครองเรือน ๘๐ ปี อาพาธเจ็บป่วยไร ๆ

ก็มิได้มีตลอดกาล แม้เพียงใช้ ๒ นิ้วจับก้อนของหอมสูดดม ในปีที่

๘๐ ก็เช้าบรรพชาโดยสะดวกดาย ท่านแม้บวชแล้ว อาพาธแม้เล็กน้อย

หรือความขาดแคลนด้วยปัจจัย ๔ มิได้มีเลย แม้สมัยปรินิพพาน ใน

ปัจฉิมกาล ท่านก็กล่าวพากุลสูตรทั้งสิ้น โดยแสลงสุขที่เป็นทางกาย

และทางใจของตน แก่อเจลกัสสปะ สหายเก่าครั้งเป็นคฤหัสถ์ แล้วก็

ปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ อัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ตั้ง

ขึ้นดังกล่าวมาฉะนี้ ส่วนพระศาสดาสถาปนาพระเถระทั้งหลายไว้ใน

ตำแหน่งต่าง ๆ ตามลำดับ ก็ทรงสถาปนาท่านพระพากุลเถระไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้มีอาพาธน้อย ในพระ-

ศาสนานี้ ครั้งพระเถระยังมีชีวิตอยู่แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 472

อรรถกถาสูตรที่ ๕

ประวัติพระโสภิตเถระ

ในสูตรที่ ๕ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ปุพฺเพนิวาส อนุสฺสรนฺตาน ท่านแสดงว่า ท่านพระ-

โสภิตเถระเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้สามารถระลึกถึงขันธสันดาน

ความสืบต่อแห่งขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน ๆ ได้ ได้ยินว่า พระเถระนั้น

เมื่อระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยในชาติก่อน ๆ ไปตามลำดับ ก็ถือเอาโดยนัย

คือคาดถึงอจิตตกปฏิสนธิในอสัญญีภพ ๕๐๐ กัป เหมือนแสดงรอยเท้า

ในอากาศ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ระลึก

ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน ๆ ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่

จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

ได้ยินว่า ท่านพระโสภิตะนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า

ปทุมุตตระ ถือปฏิสนธิในครอบครัว ณ กรุงหงสวดี เจริญวัย กำลัง

ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุ

รูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้ได้ปุพเพ-

นิวาสญาณ กระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่าน

ทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ในพุทธุปบาทกาล

นี้ ก็บังเกิดในครอบครัวพราหมณ์ ณ กรุง สาวัตถี บิดามารดาจึง

ขนานนามท่านว่า โสภิตะ สมัยต่อมา ท่านฟังพระธรรมเทศนาของ

พระศาสดา ได้ศรัทธา ก็บวชเจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัต เป็นผู้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 473

ช่ำของชำนาญ ในปุพเพนิวาสญาณ. ท่านระลึกถึงสถานที่ตนบังเกิด

ไปตามลำดับ ได้เห็นปฏิสนธิเพียงเท่าอจิตตกปฏิสนธิในอสัญญีภพ

ในลำดับต่อจากนั้น ก็ไม่เห็นประวัติ ๕๐๐ ชาติ เห็นจุติในภพสุดท้าย

ระลึกว่า นี่อะไรกัน ก็ยุติได้ว่าอสัญญีภพมีได้โดยนัยคือคาดคะเน

พระศาสดาทรงทำเหตุนี้ให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่องแล้ว ทรง

สถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของภิกษุสาวก

ผู้ระลึกถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในชาติก่อน แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 474

อรรถกถาสูตรที่ ๖

ประวัติพระอุบาลีเถระ

ในสูตรที่ ๖ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า วินยธราน ยทิท อุปาลิ ท่านแสดงว่า ท่านพระอุบาลี

เถระเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ทรงวินัย ได้ยินว่า พระเถระรับกรรม-

ฐานในสำนักพระตถาคตพระองค์เดียว เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุ

พระอรหัตเรียนพระวินัยปิฎกในสำนักพระตถาคตพระองค์เดียว

กล่าวเรื่องทั้ง ๓ เหล่านี้คือ เรื่องพระทารุกัจฉกะ เรื่องพระอัชชุกะ

และเรื่องท่านพระกุมารกัสสป เทียบเคียงกับพระสัพพัญญุตญาณ

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของภิกษุสาวกผู้ทรงวินัย ในปัญหา

กรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังนี้.

ได้ยินว่า พระเถระนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ

บังเกิดในครอบครัว ณ กรุงหงสวดี กำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา

วันหนึ่งเห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอต-

ทัคคะเป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้ทรงวินัย กระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป

ปรารถนาตำแหน่งนั้น ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดา

และมนุษย์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในเรือนกัลบก บิดามารดา

ตั้งชื่อท่านว่า อุบาลีกุมาร ท่านเป็นพนักงานแต่งพระองค์กษัตริย์

คือเจ้า ๖ พระองค์ เมื่อพระตถาคตประทับอยู่ที่อนุปิยอัมพวัน ออก

บวชพร้อมกับเจ้า ๖ พระองค์ ซึ่งกำลังออกทรงผนวช วิธีบรรพชา

ของท่านมาแล้วในพระบาลี ท่านบรรพชาอุปสมบทแล้วขอให้พระ-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 475

ศาสดาตรัสสอนกรรมฐาน กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้เจริญ ขอได้โปรด

ทรงอนุญาตให้ข้าพระองค์อยู่ป่าเถิด พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

เมื่อเธออยู่ป่า ก็จักเจริญแต่ธุระอย่างเดียว แต่เมื่อเธออยู่ในสำนักเรา

วาสธุระคือการอบรม คันถุธุระ คือการเล่าเรียนก็จักบริบูรณ์ พระ

เถระรับพระดำรัสของพระศาสดาแล้ว การทำการในวิปัสสนา ไม่นาน

ก็บรรลุพระอรหัต ครั้งนั้น พระศาสดา ทรงให้ท่านเรียนพระวินัย

ปิฎกทั้งสิ้นด้วยพระองค์เอง ต่อมาท่านวินิจฉัยเรื่อง ๓ เรื่อง ที่กล่าว

ไว้แล้วในหนหลัง พระศาสดาประทานสาธุการรับรองในเรื่องแต่ละ

เรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้ว ทรงกระทำเรื่องทั้ง ๓ เรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้ว

ให้เป็นอัตถุปปัตติ เหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะเป็นยอดของภิกษุสาวก ผู้ทรงวินัยแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 476

อรรถกถาสูตรที่ ๗

ประวัติพระคันทกเถระ

ในสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า ภิกฺขุโนวาทกาน ได้แก่เป็นผู้โอวาทกล่าวสอนภิกษุณี

แท้จริง พระเถระนี้ เมื่อกล่าวธรรมกถา ก็ทำภิกษุณี ๕๐๐ รูปบรรลุ

พระอรหัต ในการประชุมคราวเดียว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของ

ภิกษุสาวกผู้สอนภิกษุณี ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าว

ตามลำดับดังนี้

พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระบังเกิด

ในครอบครัว กรุงหงสวดี กำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็น

พระศาสดาสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอด

ของภิกษุสาวกผู้โอวาทสอนภิกษุณี จึงกระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป

ปรารถนาตำแหน่งนั้น ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดา

และมนุษย์ ครั้งพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในครอบครัว ณ กรุง-

สาวัตถี เจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาได้ศรัทธา

ก็บวชในสำนักพระศาสดา เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต เป็นผู้

ช่ำชองชำนาญในบุพเพนิวาสญาณ เมื่อบริษัท ๔ มาถึงแล้ว ท่าน

สามารถจับใจของบริษัทได้หมดแล้วกล่าวธรรมกถา เพราะฉะนั้น

ท่านจึงชื่อว่า พระนันทกะธรรมกถึก แม้พระตถาคตแล เมื่อเจ้าหนุ่ม

สากิยะ ๕๐๐ องค์ ออกบวชจากครอบครัวเพราะเทริด เกิดกระสันจะ

ลาสิกขา ก็ทรงพาภิกษุเจ้าสากิยะเหล่านั้นไปยังสระกุณาละ ทรง

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 477

ทราบว่าภิกษุเหล่านั้นสลดใจ เพราะตรัสเรื่องกุณาลชาดก จึงตรัสกถา

ว่าด้วย สัจจะ ๔ ให้เธอดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ต่อมา ตรัสมหาสมย-

สูตร ให้เธอบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันเลิศ ภริยาของพระเถระ

เหล่านั้นมีจิตใจอย่างเดียวกันหมดว่าบัดนี้เราจะทำอะไรในที่นี้ จึงพากัน

เข้าไปหาพระมหาปชาบดีเถรี ขอบรรพชา ภริยาทั้ง ๕๐๐ ได้บรรพชา

อุปสมบทในสำนักพระเถรีแล้ว แต่ในชาติต่อจากอดีต ภริยาทั้งหมด

ได้เป็นบาทบริจาริกาของท่านพระนันทกะเถระ เมื่อดำรงอยู่ในอัตต-

ภาพเป็นพระราชา สมัยนั้น พระศาสดาตรัสสั่งว่าพวกภิกษุจงสอน

พวกภิกษุณี พระเถระ เมื่อถึงวาระ (เวน) ก็รู้ว่าภิกษุณีเหล่านั้นเป็น

บาทบริจาริกาของตนในภพก่อน จึงคิดว่า ภิกษุผู้ได้บุพเพนิวาสญาณ

เห็นเรากำลังนั่งกลางภิกษุณีสงฆ์ ชักอุปมาละเหตุเป็นต้นมากล่าว

ธรรม ตรวจดูเหตุอันนี้แล้ว จะพึงพูดเคาะว่า ท่านนันทกะไม่ยอมสละ

เหล่าสนมจนทุกวันนี้ ท่านมีเหล่าสนมห้อมล้อม ช่างสง่างาม เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงไม่ไปเอง ส่งภิกษุรูปอื่นไปแทน แต่ภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ รูป

นั้น จำนงหวังเฉพาะโอวาทของพระเถระ ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวาระของท่าน

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงส่งภิกษุรูปอื่นไปแทน ตรัสกะพระ

ว่าเธอจงไปเอง สอนภิกษุณีสงฆ์ ท่านไม่อาจคัดค้านพระดำรัสของ

พระศาสดาได้ เมื่อถึงวาระของตน จึงให้โอวาทภิกษุณีสงฆ์วัน ๑๔ ค่ำ

ให้ภิกษุณีเหล่านั้นทุกรูป ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยธรรมเทศนา

อันประดับด้วย สฬายตนะ (อายตนะ ๖) ภิกษุณีเหล่านั้น ชื่นใจต่อ

ธรรมเทศนาของพระเถระ พากันไปสำนักพระศาสดา ทูลบอกคุณที่

ตนได้ พระศาสดาทรงนึกว่า ใครหนอแสดงธรรม ภิกษุณีเหล่านี้จึงจะ

พึงบรรลุมรรคผลชั้นสูง ๆ ทรงเห็นว่า ภิกษุณีทั้ง ๕๐๐ นั้น ฟังธรรม

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 478

เทศนาของนันทกะอีก ก็จักบรรลุพระอรหัต วันรุ่งขึ้น จึงทรงส่งภิกษุณี

เหล่านั้นไป เพื่อฟังธรรมเทศนาในสำนักพระเถระผู้เดียว วันรุ่งขึ้น

ภิกษุณีเหล่านั้นฟังธรรมแล้วก็บรรลุพระอรหัตทั้งหมด วันนั้น เวลา

ที่ภิกษุณีเหล่านั้นมาเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ธรรมเทศนา

มีผล จึงตรัสว่า เมื่อวันวาน ธรรมเทศนาของนันทกะ เป็นเสมือน

พระจันทร์ ๑๔ ค่ำ วันนี้เป็นเสมือนพระจันทร์ ๑๕ ค่ำ แล้วทรงทำเหตุ

นั้นนั่นแล ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาพระเถระ

ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้โอวาทสอน

ภิกษุณีแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 479

อรรถกถาสูตรที่ ๘

ประวัติพระนันทเถระ

ในสูตรที่ ๘ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาราน ท่านแสดงว่า ท่านพระ-

นันทเถระ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ ๖.

ความจริง พระสาวกทั้งหลายของพระศาสดา ชื่อว่าไม่คุ้มครองทวาร

ไม่มีก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านพระนันทเถระ ต้องการจะมองทิศใด ๆ

ในทิศทั้ง ๑๐ ก็มิใช่มองทิศนั้น ๆ อย่างปราศจากสติสัมปชัญญะ

เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้คุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่กล่าวตาม

ลำดับ ดังนี้

พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ถือ

ปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหงสวดี เจริญวัยแล้ว กำลังฟังธรรมในสำนัก

พระศาสดา เห็นพระศาสดาสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จึง

กระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านทำกุศลจน

ตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ถือปฏิสนธิในพระครรภ์

ของพระมหาปชาบดีโคตมี กรุงกบิลพัศดุ. ครั้งนั้น ในวันรับพระนาม

ท่านทำหมู่พระประยูรญาติให้ร่าเริงยินดี เพราะเหตุนั้น เหล่าพระ-

ประยูรญาติ จึงขนานพระนามของท่านว่า นันทกุมาร. แม้พระมหา-

สัตว์ ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วประกาศพระธรรมจักร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

อันประเสริฐ. ทรงอนุเคราะห์โลก เสด็จจากกรุงราชคฤห์ไปสู่กรุง-

กบิลพัศดุ ทรงทำพระพุทธบิดาให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล โดยทรง

เฝ้าครั้งแรกเท่านั้น วันรุ่งขึ้น เสด็จไปพระราชนิเวศน์ของพระพุทธบิดา

ประทานโอวาทแก่พระมารดาของพระราหุล ตรัสธรรมแก่ชนนอกนั้น

วันรุ่งขึ้น เมื่องานอาวาหมงคลอัญเชิญนันทกุมารเข้าเรือนอภิเศก

กำลังดำเนินไป พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จไปนิเวศน์ของนันทกุมารนั้น

ทรงให้นันทกุมารถือบาตรเสด็จบ่ายพระพักตรไปพระวิหาร เพื่อให้

เขาบรรพชา งานมงคลอภิเศก ก็กีดกันนันทกุมารอย่างนั้นไม่ได้ เวลา

นันทกุมารถือบาตรตามเสด็จ ชนบทกัลยาณีเจ้าสาวก็ขึ้นปราสาท

ชั้นบน เผยสีหบัญชร ร้องสั่งว่า พระลูกเจ้าโปรดกลับมาเร็ว ๆ นันท-

กุมารนั้น ได้ยินเสียงนาง ก็ได้แต่แลดูด้วยใจรัญจวน ไม่อาจทำนิมิต

หมายตอบได้ตามชอบใจ เพราะเคารพในพระศาสดา. ด้วยเหตุนั้น

นันทกุมารนั้น จึงร้อนใจ. ขณะนั้น นันทกุมารก็คิดอย่างเดียวว่า พระ-

ศาสดาจักให้กลับตรงนี้ พระศาสดาจักให้กลับตรงนี้ พระศาสดา

ก็ทรงนำไปพระวิหารให้บรรพชา. นันทกุมารแม้บรรพชาแล้ว ก็ขัด

ไม่ได้ ได้แต่นิ่งเสีย นับแต่วันบรรพชาแล้ว ก็ยังคงระลึกถึงคำพูดของ

นางชนบทกัลยาณีอยู่นั่นเอง ขณะนั้น เหมือนกับนางชนบทกัลยาณีนั้น

มายืนอยู่ไม่ไกล นันทกุมารนั้น ถูกความกระสัน อยากลาสิกขา บีบ

คั้นหนัก ๆ เข้า ก็เดินไปหน่อยหนึ่ง เมื่อเดินผ่านพุ่มไม้หรือกอไม้ ก็

เหมือนกับพระทศพลมาประทับยืนอยู่เบื้องหน้า ท่านเป็นเหมือนขนไก่

ที่เอาใส่กองไฟ จึงกลับเข้าไปที่อยู่ของตน

พระศาสดาทรงพระดำริว่า นันทะอยู่อย่างประมาทเหลือเกิน

ไม่อาจระงับความกระสันสึกได้ จึงควรทำการดับความร้อนจิตของเธอ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 481

เสีย แต่นั้นก็ตรัสกะท่านนันทะว่า มานี่นันทะ เราจักไปจาริกเทวโลก

ด้วยกัน พระนันทะทูลถามว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์

จักไปสถานที่ที่เหล่าท่านผู้มีฤทธิ์ไปกันได้อย่างไร ตรัสตอบว่า เธอจง

ทำจิตคิดจะไปอย่างเดียว ไปแล้วก็จักเห็น. ท่านพระนันทะนั้น ตามเสด็จ

จาริกไปเทวโลกกับพระตถาคต โดยอานุภาพของพระทศพล แลดู

เทวนิเวศน์ของท้าวสักกเทวราช ก็เห็นเทพอัปสร ๕๐๐ นาง พระ-

ศาสดาทรงเห็นท่านพระนันทเถระแลดูโดยศุภนิมิต จึงตรัสถามว่า

นันทะ เทพอัปสรเหล่านี้หรือนางชนบทกัลยาณีเป็นที่น่าพอใจ. ทูลว่า ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ นางชนบทกัลยาณี เทียบเทพอัปสรเหล่านี้แล้ว

จะปรากฏเหมือนกับนางวานรที่หูจมูกแหว่ง พระเจ้าข้า. ตรัสว่า นันทะ

เทพอัปสรอย่างนี้ ได้ไม่ยากเลย สำหรับผู้ทำสมณธรรม. ทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับประกันแก่ข้าพระองค์

ข้าพระองค์ก็จักทำสมณธรรม. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นันทะ

เธอจงวางใจได้ เธอจงทำสมณธรรมไปเถิด ถ้าเธอจักทำกาละ (ตาย)

อย่างสัตว์มีปฏิสนธิ เราก็รับประกันว่าจะได้นางเทพอัปสรเหล่านั้น.

ดังนั้น พระศาสดาเสด็จจาริกไปเทวโลก ตามพุทธอัธยาศัยแล้ว

จึงเสด็จกลับมาพระเชตวันอย่างเดิม. ตั้งแต่นั้นมา ท่านพระนันทเถระ

ก็กระทำสมณธรรมทั้งกลางคืนทั้งกลางวัน เพราะเหตุอยากได้นางเทพ-

อัปสร. พระศาสดาทรงสั่งภิกษุทั้งหลายว่า ในสถานที่อยู่ของนันทะ

พวกเธอจงเที่ยวพูดในที่นั้น ๆ ว่า เขาว่าภิกษุรูปหนึ่ง ให้พระทศพล

รับประกันแล้วจึงทำสมณธรรม เพราะเหตุอยากได้นางเทพอัปสรทั้งหลาย.

ภิกษุเหล่านั้นรับพระพุทธดำรัสแล้ว ก็เที่ยวพูดว่า เขาว่า ท่านนันทะ

เป็นลูกจ้าง เขาว่า ท่านนันทะถูกซื้อมา ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 482

เหตุอยากได้นางเทพอัปสรทั้งหลาย เขาว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับ

ประกันท่านนันทะนั้น ที่จะได้นางเทพอัปสร ๕๐๐ นาง ซึ่งมีเท้าเหมือนไก่

ภิกษุเหล่านั้น ยืนในที่ใกล้ ๆ นันทะ พอจะเห็นพอจะได้ยิน เที่ยวพูดไป

ท่านพระนันทเถระได้ยินเรื่องนั้น คิดว่า ภิกษุพวกนี้ ไม่พูดถึงผู้อื่น

พูดปรารภถึงเรา การกระทำของเราไม่ถูกแน่แล้ว ก็คิดทบทวนแล้ว

เจริญวิปัสสนา ก็บรรลุพระอรหัต. ขณะที่ท่านบรรลุพระอรหัตนั่นแล

เทวดาองค์หนึ่ง ก็ทูลเรื่องนั้นแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า. แม้พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าก็ได้ทรงทราบด้วยพระองค์เอง. วันรุ่งขึ้น ท่านพระนันทเถระเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับประกันข้าพระองค์ เพื่อจะได้นางเทพอัปสร

๕๐๐ นาง ซึ่งมีเท้าเหมือนไก่อันใด ข้าพระองค์ขอเปลื้องพระผู้มีพระภาคเจ้า

จากปฏิสสวะการรับคำนั้น พระเจ้าข้า. เรื่องเกิดขึ้นอย่างว่ามานี้. ต่อมา

ภายหลังพระศาสดา ประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงสถาปนา

พระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้คุ้มครอง

ทวารในอินทรีย์ทั้งหลายแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๘

๑. ปาฐะว่า กุกฺกุฏปาทาน พม่าเป็น กกุปาทีน แปลว่า มีเท้าเหมือนนกพิราบ ซึ่งในที่อื่นมีใช้ว่า

กาโปตก ซึ่งแปลว่านกพิราบ เหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 483

อรรถกถาสูตรที่ ๙

ประวัติพระมหากัปปินเถระ

ในสูตรที่ ๙ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบท ภิกขุโอวาทกาน ท่านแสดงว่า ท่านพระมหากัปปินเถระ

เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้โอวาทภิกษุ. ได้ยินว่าพระเถระนี้ กล่าว

ธรรมกถา ในการประชุมคราวเดียวเท่านั้น ก็ทำภิกษุ ๑,๐๐๐ รูปให้

บรรลุพระอรหัต เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุ

สาวกผู้โอวาทภิกษุ. ในปัญหากรรมของท่านมีเรื่องที่จะกล่าวตาม

ลำดับ ดังนี้

แท้จริง พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนานว่า ปทุมุตตระ

บังเกิดในครอบครัว ในกรุงหงสวดี ต่อมา กำลังฟังธรรมกถาของ

พระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้โอวาทภิกษุ ทำกุลให้ยิ่ง

ยวดขึ้นไป จึงปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียน

ว่ายอยู่ในเทวดาแลมนุษย์ ครั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า

กัสสป ถือปฏิสนธิในครอบครัวในกรุงพาราณสี เป็นหัวหน้าคณะของ

บุรุษ ๑,๐๐๐ คน สร้างบริเวณใหญ่ประดับด้วยห้อง ๑,๐๐๐ ห้อง. คนแม้

ทั้งหมดนั้น กระทำกุศลจนตลอดชีวิต ยกกัปปินอุบาสกให้เป็น

หัวหน้า พร้อมด้วยบุตรภริยาบังเกิดในเทวโลก เวียนว่ายอยู่ในเทวดา

และมนุษย์ตลอดพุทธันดรหนึ่ง. ครั้งนั้น ก่อนพระศาสดาของเราบังเกิด

กัปปินะนี้ถือปฏิสนธิในราชนิเวศน์ ในนครกุกกุฎวดี ในปัจจันตประเทศ.

บริษัทนอกนั้นบังเกิดในสกุลอำมาตย์ ในนครนั้นนั่นแหละ. บรรดาคน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 484

เหล่านั้น กัปปินกุมาร ครั้นพระราชบิดาล่วงลับไป ก็เถลิงเศวตฉัตรเป็น

พระราชาพระนามว่า กัปปินะ. สตรีผู้เป็นแม่เรือนของพระองค์ ครั้ง

สร้างกัลยาณกรรมในชาติก่อน ก็บังเกิดในราชสกุลที่มีชาติและโภค-

สมบัติทัดเทียมกัน เป็นพระอัครมเหษีของพระเจ้ามหากัปปินะ. แต่

เพราะพระนางมีพระฉวีวรรณเสมือนดอกอังกาบ จึงมีพระนามว่า

อโนชาเทวี. แม้พระเจ้ามหากัปปินะก็ทรงสนพระหฤทัยในสุตะ

(การศึกษา) ตื่นบรรทมแต่เช้าตรู่ทรงส่งทูตเร็วออกทางพระทวาร

ทั้ง ๔ ด้วยพระดำรัสสั่งว่า พวกท่านพบเหล่าท่านพหูสูต ทรงสุตะ

ในที่ใด กลับจากที่นั้นแล้ว จงมาบอกเรา ดังนี้.

สมัยนั้น พระศาสดาของเราบังเกิดในโลกแล้ว ทรงอาศัยกรุง

สาวัตถีประทับอยู่. เวลานั้นพวกพ่อค้าชาวกรุงสาวัตถี รับสินค้าที่

เกิดขึ้นในกรุงสาวัตถีไปยังนครนั้น เก็บงำสินค้าไว้แล้ว ก็ถือบรรณา-

การหมายจะเฝ้าพระราชา ไปถึงประตูพระราชนิเวศน์ทราบว่า พระ-

ราชาเสด็จไปพระราชอุทยาน จึงไปที่พระราชอุทยาน ยืนใกล้ ๆ

ประตูบอกคนเฝ้าประตูพระราชอุทยาน. ครั้งเขาทูลให้ทรงทราบแล้ว พระ-

ราชารับสั่งให้เข้าเฝ้า พวกเขามอบถวายบรรณาการแล้วยืนถวาย

บังคม ตรัสถามว่า พ่อเอ๋ย พวกท่านพากันมาจากที่ไหน. กราบทูลว่า

จากกรุงสาวัตถี พระเจ้าข้า ตรัสถามว่า แว่นแคว้นเหล่านั้นมีอาหาร

หาง่ายหรือ พระราชาทรงธรรมอยู่หรือ กราบทูลว่า เป็นอย่างนั้น

พระเจ้าข้า ตรัสถามว่า ก็ในบ้านเมืองของท่านมีข่าวคราวอะไรบ้าง

เล่า. กราบทูลว่า มีอยู่พระเจ้าข้า แต่ไม่อาจกราบทูลได้ด้วยทั้งปาก

ที่ยังไม่สะอาด. พระราชาจึงให้พระราชทานน้ำด้วยพระเต้าทอง. พ่อค้า

เหล่านั้น บ้วนปากแล้วหันหน้าไปทางพระทศพล ประคองอัญชลี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 485

กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ ในบ้านเมืองของข้าพระบาท พระพุทธรัตนะ

เกิดขึ้นแล้ว พระเจ้าข้า. พอสดับค่ำว่า พุทฺโธ เท่านั้น พระราชาก็ทรง

เกิดปีติซาบซ่านทั่วพระวรกาย. แต่นั้นตรัสว่า พ่อเอ๋ย พวกท่านพูดว่า

พุทฺโธหรือ. กราบทูลว่า พวกข้าพระบาทพูดว่า พุทฺโธ พระเจ้าข้า.

ทรงให้พวกพ่อค้ากล่าวอย่างนั้น ๓ หน บทว่า พุทฺโธ หาประมาณมิได้

ใคร ๆ ไม่อาจทำให้มีประมาณได้เลย. พระราชาทรงเลื่อมใสในบทว่า พระ-

พุทธรตนะเกิดขึ้นแล้วนั้น ก็พระราชทานทรัพย์แสนหนึ่ง แล้วตรัสถามว่า

มีข่าวอื่นอีกไหม กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระธรรมรตนะเกิดขึ้นแล้ว

พระเจ้าข้า. ทรงสดับข่าวนั้นแล้ว ทรงถือปฏิญาณอย่างนั้นเหมือนกัน

พระราชทานทรัพย์อีกแสนหนึ่ง แล้วตรัสถามว่า มีข่าวอื่น ๆ อีกไหม

กราบทูลว่า ข้าแต่เทวะ พระสังฆรตนะเกิดขึ้นแล้ว พระเจ้าข้า ทรง

สดับข่าวนั้นแล้ว ทรงถือปฏิญาณอย่างนั้นเหมือนกัน พระราชทาน

ทรัพย์อีกแสนหนึ่ง ทรงเขียนบอกข้อที่พระราชทานทรัพย์ลงในหนังสือ

ส่งไปด้วยพระดำรัสสั่งว่า พ่อเอ๋ยพวกท่านจงไปสำนักพระราชเทวีเถิด.

เมื่อพวกพ่อค้าไปกันแล้ว ตรัสถามเหล่าอำมาตย์ว่า พ่อเอ๋ย พระ-

พุทธเจ้าเกิดขึ้นในโลกแล้ว พวกท่านจักทำอย่างไรกัน. เหล่าอำมาตย์

ทูลย้อนถามว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์จะทรงทำอย่างไร. ตรัสว่า เราก็

จักบวช เหล่าอำมาตย์กราบทูลว่า เหล่าข้าพระบาทก็จักบวชทั้งหมด.

ต่างก็ไม่เยื่อใยเหย้าเรือนหรือทรัพย์สมบัติ พากันขึ้นม้าควบขับออกไป

เหล่าพ่อค้าไปเฝ้าพระนางอโนชาเทวี แสดงหนังสือถวาย. พระ-

นางทรงอ่านหนังสือนั้นแล้วตรัสถามว่า พ่อเอ๋ย พระราชาพระราชทาน

กหาปณะเป็นอันมากแก่พวกท่าน พวกท่านทำอะไร. กราบทูลว่า

ข้าแต่พระเทวี พวกข้าพระบาทนำข่าวที่น่ารักมาถวาย พระเจ้าข้า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 486

ตรัสถามว่า พ่อเอ๋ย พวกท่านอาจให้เราฟังข่าวนั้นได้ไหม. กราบทูลว่า

ข้าแต่พระเทวี ก็อาจจะได้ แต่พวกข้าพระบาทไม่อาจกราบทูลด้วย

ทั้งปากที่ไม่สะอาด พระเจ้าข้า. พระนางจึงให้พระราชทานน้ำด้วย

พระเต้าทอง. พ่อค้าเหล่านั้น บ้วนปากแล้ว ก็กราบทูลทำนองที่กราบ

ทูลพระราชามาแล้ว. แม้พระนางก็ทรงเกิดความปราโมทย์ ให้พวก

พ่อค้ารับปฏิญา ๓ หนแต่ละบท โดยนัยนั้นเหมือนกัน พระราชทาน

ทรัพย์บทละสามแสน ๓ บท รวมเป็นทรัพย์เก้าแสน. เหล่าพ่อค้าได้

ทรัพย์รวมทั้งหมดถึงล้านสองแสน. ครั้งนั้น พระนางตรัสถามเหล่า

พ่อค้าว่า พระราชาเสด็จไปไหน. เหล่าพ่อค้ากราบทูลว่า ข้าแต่พระเทวี

พระราชาเสด็จออกไปหมายจะทรงผนวช พระเจ้าข้า. พระนางทรงส่ง

พวกพ่อค้าไปด้วยพระดำรัสว่า พ่อเอ๋ย ถ้ากระนั้น พวกท่านจงกลับ

ไปเสีย แล้วรับสั่งให้เรียกเหล่าแม่บ้านของเหล่าอำมาตย์ที่ไปกับพระ-

ราชามาแล้วตรัสถามว่า แม่เอ๋ย พวกเธอรู้สถานที่ ๆ พวกสามีเธอ

ไปไหม. กราบทูลว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า ไม่ทราบเพคะ พวกสามีข้า-

พระบาทไปเล่นสวนกับพระราชานี่เพคะ ตรัสว่า เออ แม่เอ๋ย เขาไป

กันแล้ว แต่ไปในสวนนั้นแล้ว ฟังข่าวว่า พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้ว

พระธรรมเกิดขึ้นแล้ว พระสงฆ์เกิดขึ้นแล้ว ก็ไปกันหมายจะบวช

ในสำนักพระทศพล พวกเธอจะทำอย่างไร. กราบทูลย้อนถามว่า ข้าแต่

พระแม่เจ้า ก็พระองค์ประสงค์จะทรงทำอย่างไร. ตรัสตอบว่า เราก็

จักบวช กราบทูลว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น พวกเข้าพระบาทก็จักบวช. ทั้งหมด

ต่างให้เทียมรถพากันออกไป.

ฝ่ายพระราชาเสด็จถึงฝั่งแม่น้ำคงคา พร้อมกับอำมาตย์พันคน.

ขณะนั้น แม่น้ำคงคาเปี่ยมน้ำ เห็นแม่น้ำคงคานั้นแล้ว ต่างก็ดำริและ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 487

อธิฐานว่า แม่น้ำคงคาเปี่ยมน้ำ. เกลื่อนด้วยปลาร้าย ไม่มีทาสหรือ

มนุษย์ที่มากับพวกเรา ซึ่งจะพึงให้เรือหรือแพแก่พวกเราในที่นั้น

แต่ธรรมดาว่า พระคุณทั้งหลายของพระศาสดาแผ่ไปเบื้องล่างแต่

อเวจีมหานรกจนถึงภวัคคพรหม ก็ถ้าพระศาสดาทรงเป็นพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าไซร้ ขอหลังกีบม้าเหล่านี้จงอย่าเปียกน้ำเลย แล้วก็ควบขับม้า

ไปทางหลังน้ำ. แม้เพียงกีบม้าแต่ละตัว ก็มิได้เปียกน้ำเลย. พึงฝั่งโน้ม

เหมือนไปโดยราชบรรดา แต่แล้วก็ถึงมหานทีอื่น ๆ ข้างหน้า. ตรัส

ถามว่า แม่น้ำแห่งที่สอง ชื่ออะไร. กราบทูลว่า ชื่อว่า นีลวาหินี

มีประมาณครึ่งโยชน์ทั้งส่วนลึก ทั้งสองกว้าง พระเจ้าข้า. ในแม่น้ำนั้น

ไม่มีสัจจกิริยาอย่างอื่น พากันข้ามแม่น้ำที่กว้างถึงครึ่งโยชน์

ด้วยสัจจกิริยาแม้นั้น ทั้งถึงมหานทีที่สามชื่อว่า จันทรภาคา ก็พากัน

ข้ามด้วยสัจจกิริยานั้นนั่นเอง.

ในวันนั้น แม้พระศาสดา ทรงออกจากมหากรุณาสมาบัติตรวจดู

สัตวโลก เวลาใกล้รุ่ง ก็ทรงเห็นว่า วันนี้พระเจ้ามหากัปปินะ ทรง

สละราชสมบัติมีอำนาตย์เป็นบริวาร จักเสด็จมาตลอดระยะทาง ๓๐๐

โยชน์ เพื่อทรงผนวชในสำนักเรา ทรงดำริว่า ควรที่เราจะไปทำการ

ต้อนรับพวกเขา จึงทรงปฏิบัติสรีรกิจแต่เช้าตรู่ มีภิกษุสงฆ์เป็นบริวาร

เสด็จบิณฑบาต ณ กรุงสาวัตถี ภายหลังเสวยแล้วเสด็จกลับจาก

บิณฑบาต ลำพังพระองค์เอง เสด็จเหาะไปประทับนั่งสมาธิ ณ ต้นไทร

ใหญ่ ซึ่งมีอยู่ตรงท่าที่คนเหล่านั้นจะข้าม ริมฝั่งแม่น้ำจันทรภาคา

ทรงดำรงพระสติเฉพาะหน้า เปล่งพระพุทธฉัพพัณณรังสี. คนเหล่านั้น

ข้ามทางท่านั้น เห็นพระพุทธรัศมี แล่นไปมา พบพระพักตรของพระ-

ทศพล มีพระสิริเหมือนเพ็ญจันทร์ ก็ตกลงใจโดยการเห็นเท่านั้นว่า

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 488

พวกเราบวชเจาะจงพระศาสดาพระองค์ใด พระศาสดาพระองค์นั้น

เป็นพระองค์นี้แน่แท้ ก็น้อมกายถวายบังคมตั้งแต่สถานที่พบ

มาถวายบังคมพระศาสดา พระราชาจับที่ข้อพระบาทพระศาสดา

ถวายบังคมแล้วประทันนั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง พร้อมกับอำมาตย์

พันหนึ่ง พระศาสดาตรัสธรรมกถาโปรดคนเหล่านั้น จบเทศนา ทุกคน

ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัต ขอบรรพชา. พระศาสดาทรงทราบว่า เพราะ

คนเหล่านี้ถวายจีวรทานไว้ในชาติก่อน จึงมารับบาตรจีวรของตน

แล้วทรงเหยียดพระหัตถ์มีวรรณะดั่งทอง ตรัสว่า จงเป็นภิกษุหมาเถิด

ธรรมเรากล่าวดีแล้ว พวกเธอจงประพฤติพรหมจรรย์เพื่อทำที่สุดทุกข์

โดยชอบเถิด. ก็เป็นอันท่านเหล่านั้นบรรพชาและอุปสมบทแล้ว พากัน

แวดล้อมพระศาสดา เหมือนพระเถระร้อยพรรษา

ฝ่ายพระนางอโนชาเทวี มีรถพันคันเป็นบริวาร เสด็จถึงฝั่งแม่น้ำ

คงคา ไม่เห็นหรือหรือแพ ที่จะพาข้ามไป แต่เพราะทรงเป็นคนฉลาด

จึงทรงดำริว่า พระราชาก็คงจักทรงทำสัจจกิริยาเสด็จไป ก็พระ-

ศาสดานั้น มิใช่ทรงบังเกิดมาเพื่อคนพวกนั้นอย่างเฉียว ถ้าพระองค์

ทรงเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า รถทั้งหลายของพวกเราก็อย่าจมน้ำ

จึงทรงขับควบรถไปทางผิวน้ำ. แม้เพียงดุมและล้อของรถทั้งหลาย

ก็มิได้เปียกน้ำ. ทั้งแม่น้ำที่สอง ที่สาม ก็ทรงข้ามไปได้ด้วยกระทำ

สัจจะนั้นนั่นแล เมื่อทรงข้ามไปได้นั่นเอง ทรงเห็นพระศาสดาที่โคนต้นไทร.

แม้พระศาสดา ก็ทรงดำริว่า สตรีเหล่านี้เห็นสามีของตน เกิดฉันทราคะ

๑. ปาฐะว่า ยสตฺถาร อุทฺทิสฺส มย ปพฺพชิตา สตฺถา โน เอโสติ พม่าเป็น ย

สตฺถาร อุทฺทิสฺส มย ปพฺพชิตา, อทฺธา โส เจโสติ แปลตามพม่า.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

ก็จะพึงทำอันตรายต่อมรรคผล ทั้งไม่อาจฟังธรรมได้ จึงทรงกระทำโดยวิธี

การที่พวกเขาจะไม่เห็นกันและกันได้ สตรีเหล่านั้นทั้งหมดขึ้นจากท่าน้ำ

แล้ว ซึ่งถวายบังคมพระทศพลแล้วนั่ง พระศาสดาตรัสธรรมกถาโปรด

สตรีเหล่านั้น. จบเทศนา สตรีทุกคนก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล จึงเห็น

ซึ่งกันและกัน พระศาสดาทรงดำริว่า อุบลวรรณาจงมา

พระเถรีก็มาให้สตรีทุกคนบรรพชา แล้วพาไปสำนักภิกษุณี พระ-

ศาสดาทรงพาภิกษุพันรูปเสด็จไปพระเชตวันทางอากาศ. ครั้งนั้น

ท่านพระมหากัปปินะเถระ รู้ว่ากิจตนถึงที่สุดแล้ว ก็เป็นผู้ขวนขวาย

น้อย ทำเวลาให้ล่วงไปด้วยสุขในผลสมาบัติ อยู่ป่าก็ดี อยู่โคนไม้ก็ดี

อยู่เรือนว่างก็ดี ก็เปล่งอุทานเนือง ๆ ว่า อโห สุข อโห สุข (โอ สุขจริง

โอ สุขจริง). ภิกษุทั้งหลายเกิดพูดกันขึ้นว่า ท่านพระกัปปินเถระ.

ระลึกถึงสุขในราชสมบัติ จึงเปล่งอุทาน พากันไปกราบทูลพระตถาคต.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุตรเราปรารภสุขในมรรค สุขในผล

จึงเปล่งอุทาน แล้วตรัสพระคาถาในพระธรรมบท ดังนี้ว่า

ธมฺมปีติ สุข เสติ วิปฺปสนฺเนน เจตสา

อริยปฺปเวทิเต ธมฺเม สทา รมติ ปณฺฑิโต

บัณฑิตมีใจผ่องใสแล้วมีปีติในธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

ยินดีในธรรมที่พระอริยประกาศแล้วทุกเมื่อ

ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาทรงเรียกภิกษุพันรูปอันเตวาสิก

ของท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอาจารย์ของเธอ

แสดงธรรมบ้างไหม กราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อาจารย์

ของข้าพระองค์มิได้แสดงธรรมเลย ท่านเป็นผู้ขวนขวายน้อย ประกอบ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 490

เนือง ๆ แต่สุขวิหารธรรมในปัจจุบันอยู่ ไม่ให้แม้แต่เพียงโอวาทแก่

ใคร ๆ. พระศาสดารับสั่งให้เรียกท่านมาแล้วตรัสถามว่า กัปปินะ

เขาว่าเธอไม่ให้แม้แต่เพียงโอวาทแก่อันเตวาสิกทั้งหลาย จริงหรือ.

ท่านกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า จริงพระเจ้าข้า. ตรัสว่า

ดูก่อนพราหมณ์ เธออย่าทำอย่างนี้ ตั้งแต่วันนี้ไป เธอจงแสดงธรรม

แก่อันเตวาสิกทั้งหลาย. ท่านรับพระพุทธดำรัสด้วยเศียรเกล้าว่า ดีละ

พระเจ้าข้า แล้วแสดงธรรมสอนสมณะพันรูป ในการประชุมคราวเดียว

เท่านั้น ให้เธอบรรลุพระอรหัตหมดทุกรูป. ย่อมาพระศาสดาประทับ

กลางสงฆ์ กำลังทรงสถาปนาพระเถระทั้งหลายในตำแหน่งต่าง ๆ

ตามลำดับ จึงทรงสถาปนาท่านพระมหากัปปินเถระไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้โอวาทภิกษุแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 491

อรรถกถาสูตรที่ ๑๐

ประวัติพระสาคตเถระ

ในสูตรที่ ๑๐ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า เตโชธาตุกุสสาน ท่านแสดงว่า ท่านพระสาคตเถระ

เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ฉลาดเข้าเตโชธาตุ ความจริง พระเถระนี้

ใช้เดชครอบงำเดชของนาคชื่ออัมพติตถะ ได้ทำให้หายพยศ เพราะ

เหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ฉลาดเข้าเตโชธาตุ

ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

ก็พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตตระ

ถือปฏิสนธิในครอบครัว ในกรุงหงสวดี ต่อมา กำลังฟังพระธรรมเทศนา

ของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ใน

ตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ฉลาดเข้าเตโชธาตุ

จึงทำกุศลกรรมอย่างใหญ่ ปรารถนาตำแหน่งนั้น. เขาทำกุศลตลอดชีวิต

เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในครอบครัว

พราหมณ์ ในกรุงสาวัตถี. บิดามารดาจึงตั้งชื่อท่านว่า สาคตมาณพ.

ต่อมา สาคตมาณพนั้น ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาได้ศรัทธา

จึงบวชทำสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดแล้ว บรรลุความเป็นผู้ชำนาญในสมาบัติ

นั้น. ต่อมาวันหนึ่ง พระศาสดาเสด็จจาริกไป ได้เสด็จถึงที่ใกล้

กรุงโกสัมพี. สมัยนั้น คนที่มาที่ไปมากด้วยกันเป็นศัตรูของนายเรือ

เก่าที่ท่าน้ำ ตีนายเรือนั้นตาย นายเรือนั้น ตั้งความปรารถนาด้วยทั้งจิต

ที่ขุ่นแค้น บังเกิดเป็นนาคราชมีอานุภาพมากที่ท่าเรือนั้นนั่นแหละ

เพราะมีจิตขุ่นแค้น เขาจึงทำให้ฝนตกในเวลาที่มิใช่หน้าฝน ไม่ให้ฝนตก

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 492

ในเวลาหน้าฝน. ข้าวกล้า ก็ไม่สมบูรณ์. ชาวแว่นแคว้นทั้งสิ้น ทำการ

เส้นสังเวยทุกปี เพื่อให้นาคราชนั้นสงบ สร้างเรือนหลังหนึ่งให้นาคราช

นั้นอยู่. แม้พระศาสดาก็เสด็จข้ามทางท่านั้น มีภิกษุสงฆ์แวดล้อม ได้

เสด็จไป ทรงมีพระประสงค์จะประทับอยู่คืนหนึ่ง ณ ที่นั้น. ครั้งนั้น

พระเถระนี้ทราบว่า เขาว่ามีนาคราชดุอยู่ที่นั้น จึงคิดว่า ควรจะทรมาน

นาคราชนี้ให้หายพยศแล้วจัดแจงที่ประทับอยู่สำหรับพระศาสดา

ดังนี้แล้ว เข้าไปยังที่อยู่ของนาคนั่งขัดสมาธิ. นาคโกรธว่า สมณะโล้นนี้

ชื่อไร จึงบังอาจเข้าไปนั่งยังที่อยู่ของเรา แล้วจึงบังหวนควันขึ้น. พระเถระ

ก็ทำบังหวนควันยิ่งกว่า. พระยานาคทำไฟลุกโพลง. พระเถระก็ทำไฟ

ลุกโพลงยิ่งกว่า ครอบงำเดชของนาคนั้น. นาคคิดว่าภิกษุรูปนี้ใหญ่จริง

หนอ จึงหมอบกราบลงแทบเท้าพระเถระกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพระเจ้า

ขอถึงท่านเป็นสรณะ. พระเถระบอกว่า กิจด้วยสรณะสำหรับเราไม่มี

ดอก ท่านจงถึงพระทศพลเป็นสรณะเถิด. นาคนั้นรับคำว่า ดีละ แล้ว

เป็นผู้ถึงสรณะ.

*(นาคนั้นได้ถึงพระทศพล ผู้มีพระเศียรคือสัพพัญญุตญาณอัน

ประเสริฐ ผู้มีพระเกล้างามคือนิพพานารมณ์อันประเสริฐ ผู้มีพระนลาต

คือจตุตถญาณอันประเสริฐ ผู้มีรัศมีพระอุณณาโลมคือ สมาปัตติญาณ

ดั่งวชิระอันประเสริฐ ผู้มีพระโขนงทั้งคู่อันประเสริฐเกินความงาม

๑. ปาฐะว่า โส สาธูติ สรณ คโตฯ โส อคจฺฉิ ต สรณ ฯเปฯ สพฺพญฺญุตปิ สคโต ฯ หุตฺวา อิโต

ปฏฺาย น กิญฺจ วิเหเมิ เทวปิ สมฺมา วสฺสาเปมีติฯ พม่าเป็น โส สาธูติ สรณคโต หุตฺวา ตโต

ปฏฺาย น กญฺจิ วิเหเติ, เทวมฺปิ สมฺมา วสฺสาเปติ, แปลตามพม่า

* ที่วงเล็บไว้ฉบับพม่าสีหลไม่มี

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 493

แห่งนีลกสิณ ผู้มีคู่พระจักษุคือ ทิพยจักษุ ปัญญาจักษุ และสมันตจักษุ

อันประเสริฐ ผู้มีคู่พระโสต คือทิพยโสตญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระ-

นาสิกโด่งคือ โคตรภูญาณอันประเสริฐ ผู้มีคู่พระปราง (แก้ม) คือ

มรรคผลญาณและวิมุตติผลญาณอันประเสริฐ ผู้มีคู่พระโอษฐ์ คือ

โลกิยญาณและโลกุตตรญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระทนต์งาม คือสัตตตึส-

โพธิปักขิยญาณอันประเสริฐ. ผู้มีพระเขี้ยว ๔ คือ จตุมรรคญาณอัน

ประเสริฐ ผู้มีพระชิวหาคือ จตุสัจจญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระหณุ

(คาง) คืออัปปฏิหตญาณ (พระญาณที่ไม่มีอะไรขัดขวาง) อันประเสริฐ.

ผู้มีพระศอคือญาณเครื่องบรรลุวิโมกข์อันยอดเยี่ยมอันประเสริฐ ผู้มี

พระพาหา (แขน) คือจตุเวสารัชชญาณอันประเสริฐ ผู้มีพระองคุลี

(นิ้ว) กลมงามคือ ทสานุสสติญาณอันประเสริฐ ผู้มีแผ่นพระอุระ (อก)

เต็มคือสัตตโพชฌงค์ ผู้มีคู่พระถัน (นม) คือ อาสยานุสยญาณอัน

ประเสริฐ ผู้มีพระวรกายท่อนกลางคือ ทศพลญาณอันประเสริฐ ผู้มี

พระชงม์ (แข้ง) คือ ปัญจินทรีย์และปัญจพละอันประเสริฐ ผู้มีคู่พระอูรุ

(ขา) คือทสกุศลกัมมปถอันประเสริฐ ผู้มีสังฆาฏิ คือศีลสมาธิปัญญา

อันประเสริฐ ผู้มีบังสุกุลจีวรเครื่องปกปิดพระวรกาย คือหิริโอตตัปปะ

อันประเสริฐ. ผู้มีพระอันตรวาสก (สะบง) คืออัฏฐังคิกมรรคญาณอัน

ประเสริฐ. ผู้มีประคตเอวคือจตุสิปัฏฐานอันประเสริฐ เป็นสรณะ

พระพุทธเจ้าท่านให้แจ่มแจ้งแล้วดังกล่าวมานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงบรรลุแม้พระสัพพัญญุตญาณแล้ว) ตั้งแต่นั้น นาคก็ไม่เบียดเบียน

ใคร ๆ ทำฟ้าฝนให้ตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าทั้งหลายก็สมบูรณ์

พูนผล.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 494

พวกชาวกรุงโกสัมพี ฟังข่าวว่า เขาว่าพระผู้เป็นเจ้าสาคตะ

ทรมานอัมพติตถนาคได้แล้ว ต่างคอยการเสด็จมาข้องพระศาสดา

จัดแจงสักการะเป็นอันมาก ถวายพระทศพล ชาวเมืองเหล่านั้น ครั้น

ถวายสักการะอย่างมากแด่พระทศพลแล้ว ก็ตกแต่งน้ำใสสีขาว

(ประเภทสุรา ?) ไว้ในเรือนทุกหลัง ตามคำแนะนำของเหล่าภิกษุ

ฉัพพัคคีย์ (ภิกษุ ๖ รูป) วันรุ่งขึ้น เมื่อพระสาคตเถระเที่ยวบิณฑบาต

ก็พากันถวายน้ำนั้น บ้านละหน่อย ๆ พระเถระถูกผู้คนทั้งหลาย

ขะยั้นขะยอ เพราะยังไม่ได้ทรงบัญญัติสิกขาบท ก็ดื่มทุกเรือนหลังละ

หน่อย ๆ เดินไปไม่ไกลนักก็สิ้นสติล้มลงที่กองขยะ เพราะไม่มีอาหาร

รองท้อง. พระศาสดาเสวยเสร็จแล้ว เสด็จออกไปเห็นท่านพระสาคตะ-

เถระนั้น ก็โปรดให้พาตัวไปพระวิหาร ทรงดำหนิแล้วทรงบัญญัติ

สิกขาบท. วันรุ่งขึ้น ท่านได้สติ ฟังเขาเล่าถึงเหตุที่ตนทำแล้ว ก็แสดง

โทษที่ล่วงเกิน ขอให้พระทศพลงดโทษแล้ว เกิดความสสดใจ เจริญ

วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต. เรื่องปรากฏในพระวินัย ดังกล่าวมานี้.

พึงทราบเรื่องพิสดารตามนัยที่มาแล้วในวินัยนั้นนั่นแล ภายหลัง พระ-

ศาสดาประทับนั่งในพระเชตวันมหาวิหาร กำลังทรงสถาปนาพระเถระ

ทั้งหลายไว้ในตำแหน่งทั้งหลายตามลำดับ จึงทรงสถาปนาท่านพระ-

สาคตเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้

ฉลาดเข้าเตโชธาตุแล.

จบ อรรถกถาพระสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 495

อรรถกถาสูตรที่ ๑๑

ประวัติพระราธเถระ

ในสูตรที่ ๑๑ พึงทราบวินัจฉัยดังต่อไปนี้.

ปฎิภาเณยฺยกาน ได้แก่ ผู้ให้ปฏิภาณเกิดขึ้นได้อันนับเป็น

เหตุให้ท่านแสดงซ้ำซึ่งพระธรรมเทศนาของพระศาสดาได้ทันที

ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

ก็พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ บังเกิด

ในเรือนสกุล ในเมืองหงสวดี ภายหลัง กำลังฟังพระธรรมเทศนาของ

พระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่ง

เอตทัคคะ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก ผู้มีปฏิภาณ จึงทำ

กุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านปรนนิบัติพระตถาคต

จนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ครั้งพุทธุปบาทกาลนี้

ก็ถือปฏิสนธิในสกุลพราหมณ์ กรุงราชคฤห์ บิดามารดาจึงขนานนาม

ว่าราธมาณพ เวลาแก่เฒ่า เขาคิดว่าเราเป็นผู้ที่บุตรภริยาของตน

ไม่ต้องการจักบวชให้เวลาล่วงไปเสีย จึงไปพระวิหารขอบรรพชา

กะพระเถระทั้งหลาย. พระเถระบางพวกไม่ประสงค์ให้บวช ด้วยเห็นว่า

เป็นคนแก่ เป็นพราหมณ์แก่เฒ่า. ต่อมาวันหนึ่ง พราหมณ์ไปสำนักของ

พระศาสดา ทำการปฏิสัณฐารแล้ว นั่ง ณ ที่สมควรส่วนหนึ่ง พระ-

ศาสดาทรงเห็นอุปนิสสยสมบัติความถึงพร้อมด้วยอุปนิสสัย ทรงมี

๑. บางแห่งเป็น ปฏิภานกภิกฺขูน แปลว่า ภิกษุผู้มีปฏิภาน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 496

พระประสงค์จะยกเรื่องขึ้นจึงตรัสถามว่า พราหมณ์บุตรภริยา ยัง

ปรนนิบัติอยู่หรือ กราบทูลว่า ท่านพระโคดม ปรนนิบัติแต่ที่ไหนเล่า

พวกบุตรภริยาให้ข้าพระองค์ออกไปจากบ้าน ด้วยเขาคิดว่าข้าพระองค์

แก่แล้ว ตรัสถามว่า ท่านบวชเสียไม่ควรหรือพราหมณ์ กราบทูลว่า

ท่านพระโคดม ใครเล่าจะให้ข้าพระองค์บวช ใคร ๆ เขาไม่ต้องการ

ข้าพระองค์ดอก เพราะเป็นคนแก่แล้ว พระศาสดาได้ประทานสัญญา

นัดหมายแก่ท่านพระสารีบุตรเถระ พระเถระรับพระพุทธดำรัสด้วย

เศียรเกล้า ให้ราธพราหมณ์บวช ท่านคิดว่า พระศาสดาทรงให้

พราหมณ์ผู้นี้บวชด้วยความเอื้อเฟื้อ ไม่สมควรดูแลพราหมณ์ผู้นี้ด้วย

ความไม่เอื้อเฟื้อ จึงพาพระราธเถระไปที่อยู่ใกล้บ้าน ณ ที่นั้น ท่านมี

ลาภที่ค่อนข้างหาได้ยาก เพราะยังบวชใหม่ พระเถระจึงให้ที่อยู่ที่ถึง

แก่ตนแม้เป็นที่ดีเลิศ ให้บิณฑบาตอันประณีตที่ถึงแก่ตน แก่พระ-

ราธเถระนั้น เที่ยวไปบิณฑบาตเอง ท่านพระราธเถระได้เสนาสนะอัน

สบาย และโภชนะอันสบาย รับกรรมฐานในสำนักท่านพระสารีบุตร-

เถระ ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเถระ

ก็พาท่านไปเฝ้าพระทศพล พระศาสดาก็ทรงทราบ จึงตรัสถามว่า

สารีบุตร นิสสิตที่เรามอบหมายแก่เธอไปเป็นเช่นไร ไม่อยากสึกหรือ

ท่านพระสารีบุตรเถระทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมดาภิกษุ

ผู้อภิรมย์ยินดียิ่งในพระศาสนา พึงเป็นเช่นนี้พระเจ้าข้า ครั้งนั้นเกิด

พูดกันกลางสงฆ์ว่า ท่านพระสารีบุตรเถระเป็นผู้กตัญญูกตเวที พระ-

ศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้วทรงเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความที่สารีบุตรเป็นผู้กตัญญูกตเวทีในชาตินี้

ยังไม่อัศจรรย์ ในชาติก่อนเธอแม้บังเกิดในปฏิสนธิของอเหตุกสัตว์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 497

ก็ได้เป็นผู้กตัญญูกตเวทีแล้วเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลายทูลถามว่า ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ในกาลไหนพระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล ช่างไม้ประมาณ ๕๐๐ คน

เข้าไปป่าใหญ่เชิงเขา ตัดทัพพสัมภาระได้แล้วผูกแพใหญ่ล่องลงแม่น้ำ

มีพระยาช้างเชือกหนึ่ง นัยว่า เอางวงจับกิ่งไม้ในที่ไม่เรียบร้อยแห่ง

หนึ่ง ไม่อาจจะธารกิ่งไม้หักได้ ก็เอาเท้าเหยียบลงตรงตอแหลม เท้า

ถูกตอแทง เกิดทุกขเวทนา ไม่สามารถออกไปเดินได้ ก็นอนลงที่นั้น

นั่นแหละ ล่วงไป ๒-๓ วัน พระยาช้างนั้นแลเห็นพวกช่างไม้ เดินมา

ใกล้ตัว ก็คิดว่า เราอาศัยช่างไม้เหล่านี้คงจักรอดชีวิตแน่ จึงได้เดิน

ไปตามรอยช่างไม้เหล่านั้น พวกเขาเหลียวกลับมาเห็นช้าง ก็กลัวจึงหนี

ไป พระยาช้างนั้นรู้ว่าเขาหนีก็หยุด ติดตามไปอีกเมื่อเวลาเขาหยุด

หัวหน้าช่างไม้คิดว่า ช้างเชือกนี้ เมื่อเราหยุดก็ตาม เมื่อเราหนีก็หยุด

คงจักต้องมีเหตุในที่นั้นแน่ ทุกตนจึงพากันปีนขึ้นต้นไม้ นั่งคอยช้างมา

พระยาช้างนั้นเดินมาใกล้ช่างไม้เหล่านั้น ก็นอนกลิ้งแสดงเท้าของตน

เวลานั้น ช่างไม้ก็เกิดความเข้าใจ โดยกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ช้างนั่น

มาเพราะเจ็บป่วย ไม่ใช่มาเพราะเหตุอย่างอื่น จึงพากันเข้าไปใกล้

พระยาช้างนั้น เห็นตอตำเข้าไปในเท้า ก็รู้ว่า เพราะเหตุนี้เอง มันจึงมา

จึงเอามีดที่คม ขวั้นที่ปลายตอแล้วเอาเชือกผูกให้แน่น ช่วยกันดึงออก

มาได้ บีบปากแผลของมันนำเอาหนองและเลือดออก ล้างด้วยน้ำฝาด

ใส่ยาที่ตนรู้จัก ไม่นานนัก ก็ทำให้มันสบาย พระยาช้างหายป่วยแล้ว

คิดว่า ช่างไม้เหล่านี้มีอุปการะแก่เรามาก เราอาศัยช่างไม้เหล่านี้

จึงรอดชีวิต เราควรจะกตัญญูกตเวทีต่อพวกเขา จึงกลับไปที่อยู่ของตน

แล้วนำเอาลูกช้างตระกูลคันธะมา พวกช่างไม้เห็นลูกช้าง ก็ปลื้มใจ

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 498

อย่างยิ่งว่า ช้างของเราพาลูกมา พระยาช้างคิดว่า เมื่อเรายืนอยู่

ทำไมหนอ ลูกช้างนี้จึงยังมา มันคงจักไม่รู้เหตุที่เรามา จึงผละออกไป

จากที่ ๆ ยืน ลูกช้างก็ยังคงเดินตามต้อย ๆ ไปข้างหลังพ่อ พระยาช้าง

รู้ว่าลูกตามมา จึงส่งเสียงสัญญาให้กลับไป ลูกช้างได้ยินเสียงพ่อ ก็

กลับไปหาพวกช่างไม้ พวกช่างไม้รู้ว่า ช้างนี่คงจักมาเพื่อให้ลูกช้าง

เชือกนี้แก่เรา จึงกล่าวว่า เราไม่มีกิจที่จะให้เจ้าทำในสำนักเราดอก

จงไปหาพ่อของเจ้าเถิด แล้วก็ส่งลูกช้างกลับไป พระยาช้าง ก็ส่งลูก

ซึ่งมาหาตนถึง ๓ ครั้งไปอยู่ใกล้พวกช่างไม้อีก ตั้งแต่นั้นมา พวก

ช่างไม้ก็ช่วยกันบำรุงเลี้ยงลูกช้างไว้ในสำนักของตน เวลากิน ต่างให้

ก้อนข้าวคนละก้อน เพียงพอแก่ความต้องการของลูกช้างนั้น. ครั้งนั้น

ลูกช้างนั้นก็ขนทัพสัมภาระที่พวกช่างไม้ตัดไว้ในป่า มาทำเป็นกองไว้

ที่ลาน ลูกช้างก็กระทำอุปการะแม้อย่างอื่น โดยทำนองนี้นี่แล

พระศาสดาทรงชักเหตุนี่มาแสดงแม้ในชาติก่อน พระ.สารี-

บุตร ก็เป็นผู้กตัญญูกตเวที ครั้งนั้น พระสารีบุตรเถระ ได้เป็นช้างใหญ่.

ภิกษุผู้หย่อนความเพียรที่มาในอัตถุปปัตติ (เหตุเกิดเรื่อง) ได้เป็นลูกช้าง

แต่ถึงคัมภีร์สังยุตตนิกาย ควรกล่าวราธสังยุตทั้งสิ้น และคาถาใน

พระธรรมบทว่า

๑. ปาฐะว่า หตฺถินาโค จินฺเตสิ มยิ ติฏฺนฺเต กึนุโข อย อาคโตติ มม อาคตการณ ชานิสฺสตีติ

ิตฏฺษนโต อปกฺกมิ. พม่าเป็น หตฺถินาโค จินฺเตสิ สยิ ติฏนฺเต "กึนุโข อาคโต" ติ มม

อาคตการณ ชานิสฺสนฺตี" ติ ิตฏานโต ปกฺกามิ. (แปลตามพม่า)

๒. ปาฐะว่า อถ โส วฑฺฒกีหิ อตฺตโน คณณโกฏียก ทพฺ พสมฺภาร...พม่าเป็น โส วฑฺฒกีหิ

อพฺโตคณเณ โกฏฏิต ทพฺเพสมฺภาร (แปลตามพม่า)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 499

นิธีนว ปวตฺตาร ย ปสาเส วชฺชทสฺสิน

นิคฺคยฺหวาทึ เมธาวึ ตาทิส ปณฺฑิต ภเช

ตาทิส เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.

พึงเห็นบัณฑิตผู้ กล่าวสอน ชี้โทษ

พูดข่มไว้ มีปัญญากว้างขวาง เหมือนชี้บอก

ขุมทรัพย์ให้ พึงคบบัณฑิตเช่นนั้น เมื่อคบบัณฑิต

เช่นนั้น ก็มีแต่ดี ไม่เสียเลย ดังนี้

ชื่อว่า ธรรมเทศนาของพระเถระ แต่ต่อมา พระศาสดากำลังทรง

สถาปนาพระเถระทั้งหลายไว้ในตำแหน่งทั้งหลายตามลำดับ จึงทรง

สถาปนาท่านพระราธเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่า

ภิกษุสาวกผู้ประกอบด้วยปฏิภาณ แล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ ๑๑

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 500

อรรถกถาสูตรที่ ๑๒

ประวัติพระโมฆราชเถระ

ในสูตรที่ ๑๒ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

ด้วยบทว่า ลูขจีวรธราน ท่านแสดงว่า ท่านพระโมฆราช เป็น

ยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ทรงจีวรปอน จริงอยู่ พระเถระองค์นี้ทรงผ้า

บังสกุลจีวร ที่ประกอบด้วยความปอน ๓ อย่าง คือ ปอนด้วยผ้า ปอน

ด้วยด้าย ปอนด้วยเครื่องย้อม เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็น

ยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ทรงจีวรปอน. นปัญหากรรมของท่าน มีเรื่อง

ที่จะกล่าวตามลำดับ ดังนี้

ก็ท่านพระโมฆราชนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ

ถือปฏิสนธิบังเกิดในครอบครัว กรุงหงสวดี หลังจากนั้น กำลังฟัง

ธรรมกถาของพระศาสดา เห็นพระศาสดาทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง

ไว้ในตำแหน่งเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้ทรงจีวรปอน ก็ทำ

กุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านทำกุศลจนตลอด

ชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ถือปฏิสนธิในเรือนอำมาตย์

ในนครกัฏฐวาหนะ ก่อนแต่พระทศพลพระนามว่ากัสสปเสด็จอุบัติขึ้น ต่อมา

เจริญวัย เฝ้าบำรุงพระเจ้ากัฏฐวาหนะ. ก็ได้ตำแหน่งอำมาตย์. สมัยนั้น

พระกัสสปทศพล เสด็จอุบัติในโลกแล้ว พระเจ้ากัฏฐวาหนะทรงสดับว่า

พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก รับสั่งเรียกอำมาตย์นั้นมาตรัสว่า

พ่อเอ๋ย พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นแล้วในโลก ใคร ๆ ไม่อาจท่านครปัจจันต-

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 501

ประเทศนี้ให้ว่างจากเราทั้งสองพร้อม ๆ กันได้ ก่อนอื่น ท่านจงไปยัง

มัชฌิมประเทศ รู้ว่าพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้ว จงพาพระทศพลนำมายัง

บุตรปัจจันตประเทศนี้ แล้วทรงส่งไปพร้อมด้วยบุรุษ ๑๐๐๐ คน.

อำมาตย์นั้น ไปยังยังสำนักพระศาสดาฟังธรรมกถาได้ศรัทธาแล้ว

ก็บวชในที่นั้นตามลำดับ ได้กระทำสมณธรรมอยู่ถึง ๒๐,๐๐๐ ปี. ส่วน

บุรุษที่ไปกับอำมาตย์นั้นกลับมาสำนักพระราชาหมด. พระเถระนี้

มีศีลบริบูรณ์กระทำกาละ (มรณะ) แล้วเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและ

มนุษย์พุทธันดรหนึ่ง ถือปฏิสนธิในครอบครัวพราหมณ์ในกรุงสาวัตถี

ก่อนพระทศพลของเราบังเกิด บิดามารดาได้ตั้งชื่อว่า โมฆราชมาณพ

แม้พระเจ้ากัฏฐวาหนะ ก็ทรงทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไปแด่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้ากัสสปะ พร้อมด้วยบริวารเวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์

พุทธันดรหนึ่ง ถือปฏิสนธิในครอบครัวปุโรหิต กรุงสาวัตถีก่อนพระ-

พระทศพลของเราเสด็จอุบัติขึ้น บิดามารดาตั้งชื่อว่า พาวรีมาณพ. สมัยต่อมา

พาวรีมาณพเรียนไตรเพทแล้วเที่ยวสอนศิลปแก่พวกมาณพ ๑๖,๐๐๐ คน.

ครั้งนั้น พาวรีมาณพก็ได้รับตำแหน่งปุโรหิตแทน เมื่อบิดาล่วงลับไป

ในสมัยที่พระเจ้าปเสนทิโกศลประสูติ. แม้โมฆราชมาณพนี้ ก็เรียน

ศิลปะในสำนักพาวรีพราหมณ์

อยู่มาวันหนึ่ง พาวรีพราหมณ์อยู่ในที่ลับก็สำรวจดูสาระใน

ศิลปะ ก็ไม่เห็นสาระที่เป็นไปในภายหน้า คิดว่า เราจักบวชอย่างหนึ่ง

เสาะหาสาระที่เป็นไปในภายหน้า แล้วก็เข้าเฝ้าพระเจ้าโกศล (มหาโกศล)

ให้ทรงอนุญาตการบวชแก่ตน. พาวรีพราหมณ์นั้นได้รับราชานุญาติแล้ว

มีมาณพ ๑๖,๐๐๐ คนแวดล้อม ก็ออกไปเพื่อต้องการบวช. แม้พระเจ้าโกศล

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 502

ก็ทรงส่งพระราชทรัพย์ ๑๐๐๐ กหาปณะไปพร้อมกับพาวรีพราหมณ์

นั้น ด้วยดำรัสสั่งว่า อาจารย์บวชอยู่ในที่ใด พวกท่านจงไปที่อยู่ของ

อาจารย์ แล้วให้ทรัพย์ในที่นั้น. พาวรีพราหมณ์ประสงค์จะสำรวจ

สถานที่อันผาพุก ก็ออกไปจากมัชฌิมประเทศ ให้สร้างสถานที่อยู่

ของตน ตรงคุ้งแม่น้ำโคธาวรี ระหว่างเขตแดนของพระเจ้าอัสสกะและ

เจ้ามัลละ. ครั้งนั้น บุรุษผู้หนึ่งเดินไปเพื่อต้องการจะดูชฎิลทั้งหลาย

เมื่อชฎิลเหล่านั้นอนุญาตแล้ว ก็สร้างสถานที่อยู่ของตน บนที่ดินที่เป็น

ของชฎิลเหล่านั้น. เขาเห็นกิจกรรมที่พาวรีพรมหมณ์ทำแล้ว ก็ให้สร้าง

ครอบครัว ๑๐๐ ครอบครัว เรือน ๑๐๐ หลังอีก. คนทั้งหมดประชุมกัน

ปรึกษากันว่า พวกเราจะอยู่ในที่ดินอันเป็นของผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย การ

อยู่เปล่า ๆ หาใช่เหตุอันควรไม่ พวกเราจักให้พวกท่านอยู่เป็นสุข. แต่ละคน

จึงวางกหาปณะคนละกหาปณะไว้ในสถานที่อยู่ของพาวรีพราหมณ์

กหาปณะที่พวกเขาแม้ทั้งหมดนำมาวางไว้ ก็ตกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐

กหาปณะ. พาวรีพราหมณ์ถามว่า กหาปณะเหล่านี้พวกท่านนำมาเพื่อ

ต้องการอะไร. พวกเขาตอบว่า เพื่อต้องการให้พวกท่านอยู่กันเป็นสุข

เจ้าข้า. พาวรีพราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเราต้องการเงินทอง ก็ไม่พึงละ

๑. ปาฐะว่า เตส สนิติเก ภูมิฏาเน เตหิ อนุญฺาเต อตฺตโน วสนฏาน อกาสิ พม่าเป็น เตส

สนฺตเก ภูมิฏฺาเน เตหิ อนุญฺาโต อตฺตโน วสนฏาน อกาสิ. (แปลตามพม่า)

๒. ปาฐะว่า มย อยฺยาน สนฺติเก ภูมิภาเค วสนฺตา สุข วสิตุ น สกฺโกม กหาปณ สุขสวาส เต

ทสฺสามาติ พม่าเป็น "มย อยฺยาน สนฺตเก ภูมิภาเค วสาม, มุธา วสิต น การณ, สุขวาส โว

ทสฺสามา" ติ (แปลตามพม่า)

๓. ปาฐะว่า สพฺเพหิ อาคตกหาปณา พม่าเป็น สพฺเพหิปิ อาภตกหาปณา (แปลตามพม่า)

๔. ปาฐะว่า กิมตฺก เอเต อาคตาติ อาหฯ สุขวา สนตฺถาย ภนฺเตติฯ พม่าเป็น ภิมตฺถ เอเต อาภตาติ

อาห. สุขวาสทานตฺถาย ภนฺเตติ. (แปลตามพม่า)

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 503

กองทรัพย์ขนาดใหญ่ออกบวช พวกท่านรับเอากหาปณะของพวกท่าน

ไปเสีย. พวกเขาบอกว่า พวกเราจะไม่ยอมรับทรัพย์ที่พวกเราบริจาค

แล้วอีก แต่พวกเราจักนำมาทำนองนี้ทุก ๆ ปี ขอพระเป็นเจ้าจงรับ

กหาปณะเหล่านี้ไว้ให้ทานก็แล้วกัน. พราหมณ์จึงยอมรับ มอบไว้ในงบ

ให้ทานแก่ผู้กำพร้า คนเดินทางไกล วณิพกและยาจก ภาวะที่พาวรี-

พราหมณ์นั้นเป็นทายกสืบ ๆ กันมา ปรากฏไปทั่วชมพูทวีป

ครั้งนั้น พราหมณี (ภริยา) ของพราหมณ์ผู้เกิดมาในวงศ์ของ

ชูชกพราหมณ์ ในหมู่บ้านทุนนวิตถะ ในแคว้นกลิงคะ ลุกขึ้นเตือนพราหมณ์

(สามี) ว่า เขาว่าพาวรีกำลังให้ทาน ท่านจงไปนำเงินทองมาจากที่นั้น.

พราหมณ์นั้นถูกพราหมณีเตือนก็ไม่อาจทนอยู่ได้ เมื่อจะไปยังสำนักพาวรี

ก็ไปเมื่อพาวรีให้ทานวันวานแล้วเข้าบรรณศาลากำลังนอนนึกถึงทาน

และครั้งเข้าไปถึงก็พูดว่า ท่านพราหมณ์โปรดให้ทานแก่ข้าเถิด ท่าน

พราหมณ์โปรดให้ทานแก่ข้าเถิด. พาวรีพราหมณ์กล่าวว่าท่านพราหมณ์

ท่านมาไม่ถูกเวลา เราให้ทานแก่พวกยาจกที่มาถึงไปแล้ว บัดนี้ไม่มี

กหาปณะดอก. พราหมณ์พูดว่า ท่านพราหมณ์ ข้าไม่ต้องการกหาปณะ

มากมายเลย เมื่อท่านให้ทานถึงเท่านี้ ข้าก็ไม่อาจงดเว้นกหาปณะได้

๕๐๐ กหาปณะก็ไม่มี ถึงเวลาให้ทานแล้ว ท่านจึงจักได้อีก. พราหมณ์

ท่านพราหมณ์ ๕๐๐ กหาปณะก็ไม่มีถึงเวลาแล้ว จึงจักได้อีก พราหมณ์

พูดว่า ก็เวลาท่านให้ทาน ข้าจักมาได้อย่างไร แล้วจึงก่อทรายเป็น

สถูปใกล้ประตูบรรณศาลา โรยดอกไม้สีแดงไปรอบ ๆ ทำปากขมุบ

ขมิบเหมือนบ่นมนต์แล้วพูดว่า ศีรษะจงแตก ๗ เสี่ยง. พาวรีพราหมณ์

คิดว่า พราหมณ์ผู้นี้มีเดชมาก ถือการประพฤติตปะเป็นจรณกพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 504

พูดว่า ท้าย ๗ วัน ศีรษะของเราจงแตก ๗ เสี่ยง ๕๐๐ กหาปณะที่เรา

จะพึงให้แก่พราหมณ์นี้ก็ไม่มี พราหมณ์ผู้นี้จักฆ่าเราถ่ายเดียว

เมื่อพาวรีพราหมณ์นั้น นอนเต็มแปร้ด้วยความเหี่ยวแห้งอย่างนั้น

ในตอนราตรี มารดาของพาวรีพราหมณ์ในอัตตภาพติดต่อกันมา บังเกิด

เป็นเทวดา. นางเห็นบุตรเต็มแปร้ด้วยความเหี่ยวแห้งใจ จึงมากล่าวว่า

ลูกเอ๋ย ตาพราหมณ์นั่นก็ไม่รู้ว่าศีรษะจะแตกหรือไม่แตก เจ้าไม่รู้

หรือว่าพระพุทธะทั้งหลายอุบัติขึ้นแล้วในโลก ถ้าเจ้ายังมีความสงสัย

ก็จงไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถาม พระศาสดาจักตรัสบอกเหตุนั้นแก่

เจ้าก็ได้นะ. พาวรีพราหมณ์ ตั้งแต่ได้ยินเสียงเทวดากล่าว ก็โล่งใจ

รุ่งขึ้น พอได้อรุณก็เรียกศิษย์ทุกคนมาแล้ว กล่าวว่า พ่อเอ๋ย เขาว่า

พระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นแล้วในโลก ถึงพวกท่านก็จงรีบไป รู้ว่าเป็น

พระพุทธเจ้าหรือไม่ใช่ แล้วจงกลับมาบอกเรา เราก็จักไปเฝ้าพระ-

ศาสดา ก็แต่ว่าอันตรายแห่งชีวิตรู้กันยาก เพราะเราแก่เฒ่าแล้ว พวก

ท่านไปเฝ้าพระศาสดา จงทูลถามปัญหาโดยทำนองอย่างนี้ อย่างนี้กะ

พระองค์ จึงแต่งปัญหาชื่อสมองแตกให้ไป ต่อนั้น พาวรีพราหมณ์

คิดว่าพวกมาณพเหล่านี้ทุกคน เป็นบัณฑิต ฟังธรรมกถาของพระ-

ศาสดาแล้ว เมื่อกิจของตนถึงที่สุดแล้ว จะพึงกลับมาหาเราหรือไม่หนอ

ทีนี้ จึงให้สัญญาแก่อชิตมาณพ หลานชายของตนว่าเจ้าควรกลับมา

ถ่ายเดียว มาบอกคุณที่ตนได้แก่เรา ลำดับนั้น เหล่าชฎิล ๑๖,๐๐๐

ยกอชิตมาณพเป็นหัวหน้า จึงออกจาริกไปพร้อมกับอันเตวาสิกหัวหน้า

๑๖ คน ด้วยหมายใจว่า จักทูลถามปัญหากะพระศาสดา ในที่ ๆ ไป ๆ

ถูกถามว่า พระผู้เป็นเจ้าจะไปไหน ก็ตอบว่า พวกเราจะไปเฝ้าพระ-

ทศพลถามปัญหา เมื่อจะชักตั้งแต่ปลายมาตลอดบริษัทก็เดินทางได้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 505

หลายร้อยโยชน์

พระศาสดาทรงดำริว่า ในวันที่มาณพเหล่านั้น ๆ มา โอกาสจัก

ไม่มีแก่ผู้อื่น ที่นี่จึงเป็นที่ไม่ควรสำหรับบริษัทนี้ จึงเสด็จไปประทับนั่ง

ณ หลังแผ่นหิน ที่ปาสาณเจดีย์ แม้อชิตมาณพนั้นกับบริษัทก็ขึ้น

หลังแผ่นหินนั้น เห็นสมบัติแห่งพระสรีระของพระศาสดา ก็คิดว่า

บุรุษผู้นี้คงจักเป็นพระพุทธเจ้าผู้มีหลังคาอันเปิดแล้วในโลกนี้

จึงไปเอาใจถามปัญหาที่อาจารย์ส่งมอบแก่ตนมา. วันนั้น บริษัท

ที่มาถึงนั้น ประมาณ ๑๒ โยชน์ ในระหว่างศิษย์ ๑๖ คนนั้น

โมฆราชมาณพ ถือตัวว่าเป็นบัณฑิตกว่าทุกคน เขาจึงดำริว่า อชิต-

มาณพนี้เป็นหัวหน้าของศิษย์ทุกคน ไม่ควรถามปัญหาก่อน เขาละอาย

ต่ออชิตมาณพนั้น จึงไม่ถามก่อน. เมื่ออชิตมาณพนั้นถามปัญหาแล้ว

จึงถามปัญหากะพระศาสดาเป็นคนที่สอง. พระศาสดาทรงดำริว่า

โมฆราชมาณพเป็นคนถือตัว ทั้งญาณของเขาก็ยังไม่แก่เต็มที่ ควรจะนำ

ความถือตัวของเขาออกไป จึงตรัสว่า โมฆราชเธอจงพักไว้ คนอื่น ๆ

ถามปัญหาก่อน. โมฆราชมาณพนั้นได้ความรุกรานจากสำนักพระ-

ศาสดา คิดว่า เราเที่ยวไปตลอดกาลเท่านี้ด้วยเข้าใจว่า ไม่มีคนที่จะ

เป็นบัณฑิตเกินกว่าเรา ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่ทรงทราบ

ความในใจ ย่อมไม่ตรัส พระศาสดาคงจักทรงเห็นโทษในการถาม

ของเรา จึงนิ่งเสีย. โมฆราชมาณพนั้น เมื่อมาณพคนที่ ๘. ถาม

ปัญหาไปตามลำดับ ก็อดกลั้นไว้ไม่ได้ ลุกขึ้นอีกเป็นคนที่ ๙

พระศาสดาก็ทรงรุกรานเขาอีก. โมฆราชมาณพนั้น ก็ต้อง

นิ่ง คิดว่า บัดนี้ เราไม่อาจจะเป็นนวกะ ผู้ใหม่ในสงฆ์ได้แล้ว จึงทูลถาม

ปัญหาเป็นคนที่ ๑๕. ลำดับนั้น พระศาสดาทรงทราบว่า ญาณของท่าน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 506

แก่เต็มที่แล้ว จึงทรงตอบปัญหา. จบเทศนา ท่านก็บรรลุพระอรหัต

พร้อมกับชฎิล ๑๐๐๐ คน บริวารของตน. โดยทำนองนี้นี่แล ชฏิล

๑๕,๐๐๐ คนที่เหลือก็บรรลุพระอรหัต แม้ทั้งหมด ก็ได้เป็นเอหิภิกขุ

ทรงบาตรจีวรสำเร็จมาแต่ฤทธิ์. แต่ชนที่เหลือท่านไม่กล่าวถึง. ท่าน

พระโมฆราชเถระนี้ ก็ทรงจีวรประกอบด้วยความปอน ๓ อย่างมา

ตั้งแต่นั้น. ก็เรื่องตั้งขึ้นในปารายนวรรคอย่างนี้. แต่ภายหลังพระ-

ศาสดาประทับนั่ง ณ พระเชตวัน กำลังทรงสถาปนาพระเถระทั้งหลาย

ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะตามลำดับ เมื่อจะทรงสถาปนาท่านพระ-

โมฆราชเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวก

ผู้ทรงจีวรปอน จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆราชเป็นยอดของ

เหล่าภิกษุสาวกของเราผู้ทรงจีวรปอน.

จบ อรรถกถาวรรคที่ ๔

จบอรรถกถาเถรบาลีมีประมาณ ๔๑ สูตร

จบประวัติพระภิกษุสาวกเอตทัคคะ (รวม ๔๑ ท่าน)