ไปหน้าแรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 1

พระสุตันตปิฎก

สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค

เล่มที่ ๕ ภาคที่ ๒

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อินทริยสังยุ

สุทธิกวรรคที่ ๑

๑. สุทธิกสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๘๔๓] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระ-

พุทธพจน์นี้ ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน

คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบสุทธิกสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 2

อินทริยสังยุตตวรรณนา

สุทธิกวรรคที่ ๑

อรรถกถาสุทธิสูตร

อินทริยสังยุต สุทธิกสูตรที่ ๑.อินทรีย์ ๓ อย่างนี้ คือ สัทธิน-

ทรีย์ สตินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ย่อมได้ ทั้งในกุศลและวิบากที่เป็นไปในภูมิ

๔ ทั้งในกิริยา. วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ ย่อมได้ในจิตทุกดวงคือ ในกุศล

ที่เป็นไปในภูมิ ๔ ในอกุศลวิบาก ในกิริยา. พึงทราบว่า พระสูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสด้วยอำนาจการกำหนดธรรม ที่รวมเข้าไว้ทั้งสี่ภูมิ.

จบอรรถกถาสุทธิกสูตรที่ ๑

๒. ปฐมโสตาสูตร*

รู้คุณโทษของอินทรีย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน

[๘๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญ-

ญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่ง (ความเกิด ความดับ) คุณ โทษ

และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น

เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็น

ผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบปฐมโสตาสูตรที่ ๒

*ตั้งแต่สูตรที่ ๒-๖ ไม่มีอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 3

๓. ทุติยโสตาสูตร

รู้ความเกิดดับของอินทรย์ ๕ เป็นพระโสดาบัน

[๘๔๕ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน. ฯลฯเมื่อใดแล อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ

อุบายเครื่องสลัดออก... เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็น

ผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบทุติยโสตาสูตรที่ ๓

๔. ปฐมอรหัตสูตร

รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์

[๘๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญ-

ญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล. ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ

อุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็น

ผู้หลุดพ้นเพราะไม่ยึดมั่น เมื่อนั้น เราเรียกภิกษุนั้นว่า เป็นพระอรหันต-

ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุ

ประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้

โดยชอบก่อน.

จบปฐมอรหันตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 4

๕.ทุติยอรหันตสูตร

รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์

[๘๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญ-

ญินทรีย์ ๑ เมื่อใดแล ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และ

อุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริงแล้ว เป็น

ผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น เราเรียกภิกษุนั้นว่า พระอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์

ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ.

จบทุติยอรหันตสูตรที่ ๕

๖. ปฐมสมณพราหมณสูตร

ผู้ไม่รู้ความเกิดดับของอินทรีย์ ๕ ไม่นับว่าสมณะหรือพราหมณ์.

[๘๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญ-

ญินทรีย์ ๑ ก็สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด

ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตาม

ความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์พวกนั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในพวก

สมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 5

ให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๘๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพรหมณ์เหล่าใดรู้ชัด

ซึ่ง ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์

๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็น

สมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่า

นั้นกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและของความเป็นพราหมณ์

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบปฐมสมณพราหมณ์สูตรที่ ๖

๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ผู้รู้ชัดถึงความเกิดของอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์

[๘๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ไม่รู้ชัดซึ่งสัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์

และปฏิปทา อันให้ถึงความดับแห่งสัทธินทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์ ฯลฯ

สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ไม่รู้ชัดซึ่งปัญญินทรีย์ ความดับแห่งปัญ-

ญินทรีย์ ปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์เหล่า

นั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์ในพวกพราหมณ์

เพราะท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะหรือ

ของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 6

[๘๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งรู้ชัดซึ่งสัทธินทรีย์ ความเกิดแห่งสัทธินทรีย์ ความดับแห่งสัทธินทรีย์

และปฏิปทาอันให้ถึงความดับแห่งสัทธินทรีย์ รู้ชัดซึ่งวิริยินทรีย์... สติน-

ทรีย์... สมาธินทรีย์... รู้ชัดซึ่งปัญญินทรีย์ ความเกิดแห่งปัญญินทรีย์

ความดับแห่งปัญญินทรีย์ และปฏิปทาให้ถึงความดับแห่งปัญญินทรีย์ สมณะ

หรือพราหมณ์พวกนั้น เรานับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือเป็นพราหมณ์

ในพวกพราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็น

สมณะและของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๗

อรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตร

สูตรที่ ๗. คำว่า ไม่รู้ชัดซึ่งสัทธินทรีย์ คือไม่เข้าใจด้วยอำนาจ

แห่งทุกขสัจ. คำว่า ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิดขึ้นแห่งสัทธินทรีย์ คือไม่เข้า

ใจชัดด้วยอำนาจสมุทัยสัจ ไม่เข้าใจชัดนิโรธด้วยสามารถแห่งนิโรธสัจ ไม่เข้า

ใจชัดทางปฏิบัติ ด้วยอำนาจมรรคสัจ อย่างนี้แล. แม้ในคำที่เหลือก็นัย

นี้แหละ.

ส่วนในฝ่ายขาว การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสัทธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการ

เกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจอธิโมกข์ (การน้อมใจเชื่อ). การ

เกิดขึ้นพร้อมแห่งวิริยินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณา

ด้วยอำนาจการประคับประคองจิตไว้ การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสตินทรีย์ ย่อมมีได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 7

ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจการเข้าไปตั้งจิตใจ (การ

ปรากฏ) การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสมาธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อม

แห่งการพิจารณาด้วยอำนาจความไม่ซัดส่าย (ไม่ฟุ้งซ่าน) การเกิดขึ้นพร้อม

แห่งปัญญินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจ

ทรรศนะ (ความเห็น).

อีกอย่างหนึ่ง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งสัทธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการ

เกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจฉันทะ (ความพอใจ). การเกิดขึ้น

พร้อมแห่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์ ย่อมมีได้

ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจฉันทะ. การเกิดขึ้นพร้อม

แห่งสัทธินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจ

มนสิการ (การใส่ใจ). การเกิดขึ้นพร้อมแห่งวิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

และปัญญินทรีย์ ย่อมมีได้ด้วยการเกิดขึ้นพร้อมแห่งการพิจารณาด้วยอำนาจ

มนสิการ. พึงทราบใจความแม้ด้วยประการฉะนี้. ใน ๖ สูตรตามลำดับเหล่านี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงแสดงเกี่ยวกับสัจจะสี่ประการนั่นเอง.

จบอรรถกถาทุติยสมรพรหมณสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 8

๘. ทัฏฐัพพสูตร

ว่าด้วยการเห็นอินทรีย์ ๕ ในธรรมต่าง ๆ

[๘๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมไหนเล่า.

ในโสตาปัตติยังคะ ๔ พึงเห็นสัทธินทรีย์ในธรรมนี้.

[๘๕๔] ก็จะพึงเห็นวิริยินทรีย์ในธรรมไหนเล่า. ในสัมมัปปธาน ๔

พึงเห็นวิริยินทรีย์ในธรรมนี้.

[๘๕๕] ก็จะพึงเห็นสตินทรีย์ในธรรมไหนเล่า. ในสติปัฏฐาน ๔

พึงเห็นสตินทรีย์ในธรรมนี้.

[๘๕๖] ก็จะพึงเห็นสมาธินทรีย์ในธรรมไหนเล่า. ในฌาน ๔ พึงเห็น

สมาธินทรีย์ในธรรมนี้.

[๘๕๗] ก็จะพึงเห็นปัญญินทรีย์ในธรรมไหนเล่า. ในอริยสัจ ๔ พึง

เห็นปัญญินทรีย์ในธรรมนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบทัฏฐัพสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 9

อรรถกถาทัฏฐัพพสูตร

สูตรที่ ๘. คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็จะพึงเห็นสัทธินทรีย์

ในธรรมไหนเล่า ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำเป็นต้น ว่า ใน

โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ เพื่อทรงชี้ความที่อินทรีย์เหล่านี้สำคัญที่สุดใน

วิสัย (อารมณ์) ของตน.

เหมือนอย่างว่า ลูกชายเศรษฐี ๔ คน ในเมื่อกลุ่มเพื่อนซึ่งมีพระราชา

ธิราชเป็นที่ ๕ หยั่งลงสู่ถนน ด้วยคิดว่า พวกเราจะเล่นงานนักษัตรฤกษ์ เวลา

ไปถึงเรือนลูกชายเศรษฐีคนหนึ่ง นอกนี้ ๔ คนก็นั่งนิ่ง. เจ้าของเรือนเท่านั้น

ที่ได้เที่ยวสั่งงานในเรือนว่า จงให้ของเคี้ยว ของกิน แก่ท่านเหล่านี้ จงให้

เครื่องแต่งตัวมีของหอมและพวงมาลัยเป็นต้นแก่ท่านเหล่านี้. ครั้นเวลาไปถึง

เรือนคนที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔ อีก คนนอกนี้ ก็นั่งนิ่ง. เจ้าของเรือนเท่านั้น

ที่ได้เที่ยวสั่งงานในเรือนว่า จงให้ของเคี้ยว ของกินแก่ท่านเหล่านี้ จงให้

เครื่องแต่งตัวมีของหอมและพวงมาลัยเป็นต้นแก่ท่านเหล่านี้ ฉันใด ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน แม้เมื่ออินทรีย์ที่มีศรัทธาเป็นที่ ๕ ซึ่งเกิดขึ้นในอารมณ์อัน

เดียวกันเหมือนเมื่อพวกเพื่อนเหล่านั้น หยั่งลงสู่ถนนไปด้วยกัน เมื่อไปถึง

โสดาปัตติยังคะ (ส่วนประกอบแห่งการถึงกระแส) สัทธินทรีย์ซึ่งมีการน้อมลง

เชื่อเป็นลักษณะเท่านั้น ย่อมเป็นใหญ่ เป็นหัวหน้า อินทรีย์ที่เหลือต่างก็

คล้อยไปตามสัทธินทรีย์นั้น เหมือนในเรือนของคนแรก อีก ๔ คน นั่งนิ่ง

เจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวสั่งงาน ฉะนั้น เมื่อมาถึงความเพียรชอบ

วิริยินทรีย์ซึ่งมีความประคับประคองเป็นลักษณะเท่านั้น ที่มาเป็นใหญ่ เป็น

หัวหน้า อินทรีย์ที่เหลือต่างก็คล้อยไปตามวิริยินทรีย์นั้น เหมือนในเรือนคน

ที่ ๒ อีก ๔ คนนั่งนิ่ง ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวสั่งงาน ฉะนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 10

ครั้นมาถึงสติปัฏฐาน สตินทรีย์ซึ่งมีการเข้าไปปรากฎเป็นลักษณะเท่านั้น

ที่เป็นใหญ่ เป็นหัวหน้าอินทรีย์ที่เหลือต่างก็คล้อยไปตามสตินทรีย์นั้นเหมือน

ในเรือนคนที่ ๓ อีก ๔ คนนั่งนิ่ง ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวสั่งงาน

ฉะนั้น. ครั้นถึงเรื่องฌาน และวิโมกข์ สมาธินทรีย์ที่มีลักษณะไม่ซัดส่ายเท่านั้น

เป็นใหญ่เป็นหัวหน้าอินทรีย์ที่เหลือต่างก็คล้อยไปตามสมาธินทรีย์นั้น เหมือน

ในเรือนคนที่ ๔ อีก ๔ คนนั่งนิ่ง ปล่อยให้เจ้าของเรือนเท่านั้นเที่ยวสั่งงาน

ฉะนั้น. แต่ท้ายสุดเมื่อถึงอริยสัจ ปัญญินทรีย์ที่มีลักษณะรู้ชัดเท่านั้น ย่อมเป็น

ใหญ่เป็นหัวหน้าอินทรีย์ที่เหลือต่างก็คล้อยไปตามปัญญินทรีย์นั้น เหมือนเวลา

ไปถึงพระราชวัง ๔ คนนอกนี้ นั่งนิ่ง พระราชาเท่านั้น ย่อมทรงเที่ยวสั่งงาน

ในพระตำหนัก ฉะนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาทัฏฐัพพสูตรที่ ๘

๙. ปฐมวิภังคสูตร

ว่าด้วยความหมายของอินทรีย์

[๘๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของ

พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น

พระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 11

ดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็น

ศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงเบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม

นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.

[๘๖๐] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่ง

กุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดทิ้งธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

[๘๖๑] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้

ตามระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำที่พูดแม้นานได้ นี้เรียกว่า สตินทรีย์.

[๘๖๒] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้ กระทำซึ่งนิพพานให้เป็นอารมณ์ แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต

นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.

[๘๖๓] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิด

ความดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า

ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบปฐมวิภังค์สูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 12

อรรถกถาปฐมวิภังคสูตร

สูตรที่ ๙. ในบทว่า สติเนปกฺเกน นี้ หมายถึง ความเป็น คือ

ปัญญาเครื่องรักษาตัว. คำว่า ปัญญาเครื่องรักษาตัว นี้ เป็นชื่อของปัญญา.

ถามว่า ทำไมพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเรียกปัญญา ในภาชนะ (ที่รองรับ) แห่ง

สติเล่า. ตอบว่า เพื่อทรงแสดงถึงสติที่มีกำลัง จริงอย่างนั้น ในที่นี้ พระองค์

ทรงหมายเอาแต่สติที่มีกำลังเท่านั้น. ก็เมื่อจะทรงแสดงถึงสติที่ประกอบด้วย

ปัญญาว่า สติที่ประกอบด้วยปัญญานั้น เป็นสติที่มีกำลัง ที่ไม่ประกอบด้วย

ปัญญาย่อมไม่มีกำลัง จึงได้ตรัสอย่างนี้. คำว่า จิรกต คือ ทาน ศีล

หรืออุโบสถกรรมที่ได้ทำมาสิ้นกาลนานแล้ว. คำว่า จิรภาสิต ความว่า ใน

ที่โน้น ได้พูดคำชื่อโน้นเท่านั้น. คำพูดอันบุคคลพึงพูดในเวลาที่นานอย่างนี้.

คำว่า โวสฺสคฺคารมฺมณ กริตฺ วา คือ ทำนิพพานเป็นอารมณ์. คำว่า

อุทยตฺถคามินิยา คือ ถึงความเกิดขึ้น และความดับไป หมายความว่า

ที่กำหนดถือเอาทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมไป. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแต่โลกุตระที่ให้เกิดสัทธินทรีย์ สตินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อันเป็น

ส่วนเบื้องต้น สมาธินทรีย์ที่เจือกับวิริยินทรีย์ไว้เท่านั้น.

จบปฐมวิภังคสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 13

๑๐. ทุติยวิภังคสูตร

ว่าด้วยหน้าที่ของอินทรีย์ ๕

[๘๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของ

พระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็น

พระอรหันต์... เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.

[๘๖๖] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้ ปรารภความเพียร เพื่อละอกุศลธรรม เพื่อความถึงพร้อมแห่ง

กุศลธรรม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย

อริยสาวกนั้นยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้

ตั้งจิตไว้มั่น เพื่อความไม่บังเกิดขึ้นแห่งอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่บังเกิดขึ้น

เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว เพื่อความบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรม

ที่ยังไม่บังเกิดขึ้น เพื่อความถึงพร้อม เพื่อความไม่หลงลืม เพื่อเจริญยิ่งขึ้น

เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่บังเกิด

ขึ้นแล้ว นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

[๘๖๗] ก็สตินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกในธรรม

วินัยนี้ เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเครื่องรักษาตัวอย่างยิ่ง ระลึกได้ ตาม

ระลึกได้ ซึ่งกิจที่กระทำและคำพูดแม้นานได้ อริยสาวกนั้นย่อม

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 14

และโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณา

เห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย นี้เรียกว่า สตินทรีย์.

[๘๖๘] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้ กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต

อริยสาวกนั้น สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก

มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดเเต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตใน

ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป

มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วย

นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ

ว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มี

ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์และดับโทมนัสโสมนัสก่อน ๆ ได้ มี

อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ นี้เรียกว่าสมาธินทรีย์.

[๘๖๙] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดความ

ดับ อันประเสริฐ ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อริยสาวกนั้น

ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบทุติยวิภังคสูตรที่ ๑๐

จบสุทธิกวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 15

แม้ในพระสูตรที่ ๑๐ มีการกำหนดธรรมนี้เหมือนกัน

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุทธิกสูตร ๒. ปฐมโสตาสูตร ๓. ทุติยโสตาสูตร ๔. ปฐม

อรหันตสูตร ๕. ทุติยอรหันตสูตร ๖. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๗.

ทุติยสมณพราหมณสูตร ๘. ทัฏฐัพพสูตร ๙. ปฐมวิภังคสูตร ๑๐. ทุติย-

วิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 16

มุทุตรวรรคที่ ๒

๑. ปฏิลาภสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๘๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัทธินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกใน

ธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้

เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์... เป็น

ผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เรียกว่า สัทธินทรีย์.

[๘๗๒] ก็วิริยินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกปรารภสัมมัปธาน ๔ ย่อม

ได้ความเพียร นี้เรียกว่า วิริยินทรีย์.

[๘๗๓] ก็สินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกปรารภสติปัฏฐาน ๘ ย่อมได้

สติ นี้เรียกว่า สตินทรีย์.

[๘๗๔] ก็สมาธินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ยึดหน่วง

นิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า สมาธินทรีย์.

[๘๗๕] ก็ปัญญินทรีย์เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มี

ปัญญา ประกอบด้วยปัญญาเครื่องกำหนดความเกิดและความดับ อันประเสริฐ

ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เรียกว่า ปัญญินทรีย์ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบปฏิลาภสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 17

มุทุตรวรรคที่ ๒

อรรถกถาปฎิลาภสูตร

ปฏิลาภสูตรที่ ๑. คำว่า ปรารภสัมมัปปธาน คือ อาศัยความ

เพียรชอบ หมายความว่า เจริญความเพียรชอบ. แม้ในสตินทรีย์ก็ทำนอง

เดียวกันนี้แหละ.

จบอรรถกถาปฏิลาภสูตรที่ ๑

๒. ปฐมสังขิตตสูตร

ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่าง ๆ

[๘๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ แล.

[๘๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์เพราะอินทรีย์

๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า

อินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า

อินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรี ๕ ยังอ่อนกว่า

อินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕

ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะ

อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี.

จบปฐมสังขิตตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 18

อรรถกถาปฐมสังขิตตสูตร

ปฐมสังขิตตสูตรที่ ๒. คำว่า ตโต คือ พึงทราบความคละ

ปนกันด้วยอำนาจวิปัสสนา มรรค และผล. จริงอยู่ ปัญญินทรีย์ ที่สมบูรณ์

เต็มที่แล้ว ย่อมชื่อว่าเป็นวิปัสสนินทรีย์ของอรหัตมรรค. คำว่า ตโต

มุทุตเรหิ คือ ที่อ่อนกว่าวิปัสสนินทรีย์ของอรหัตมรรคเหล่านั้น ชื่อว่าเป็น

วิปัสสนินทรีย์ของอนาคามิมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของสกทาคามิมรรค.

ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นวิปัสสนินทรีย์ของโสดาปัตติมรรค. อ่อนกว่า

นั้น ก็เป็นของธัมมานุสาริมรรค ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นวิปัสสนินทรีย์

ของสัทธานุสาริมรรค. ปัญญินทรีย์ที่สมบูรณ์เต็มที่อย่างนั้น ชื่อว่า เป็น

อินทรีย์ของอรหัตมรรคและอรหัตผล. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์

ของอนาคามิมรรค สกทาคามิมรรคและโสดาปัตติมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ก็

เป็นของธัมมานุสาริมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของสัทธา-

นุสาริมรรค. อินทรีย์ทั้งห้า ที่สมบูรณ์เต็มที่ ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของ

อรหัตผล. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของอนาคามิผล. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของ

สกทาคามิผล. ที่อ่อนกว่านั้น ชื่อว่า เป็นอินทรีย์ของโสดาปัตติผล.

ส่วนธัมมานุสารีและสัทธานุสารี แม้ทั้งสอง ก็คือบุคคลผู้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติ

มรรค ด้วยอำนาจแห่งบุคคลผู้ดำรงอยู่ในมรรคแล้ว จะทราบความแตกต่าง

ของบุคคลทั้งสองนั้น ไม่ได้ เพราะด้วยการบรรลุบ้าง ด้วยมรรคบ้าง สัทธานุ

สารีบุคคล ที่กำลังให้เรียนอุเทศ สอบถามอยู่ ย่อมจะบรรลุมรรคโดยลำดับ.

ธัมมานุสารีบุคคล ย่อมบรรลุมรรคด้วยการฟังเพียงครั้งเดียว หรือสองครั้ง

เท่านั้น พึงเข้าใจความแตกต่างในการบรรลุของธัมมานุสารีบุคคลและสัทธานุ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 19

สารีบุคคลเหล่านั้น อย่างนี้ก่อน. สำหรับของธัมมานุสารีบุคคล มรรคเป็น

ของกล้าแข็ง ย่อมนำไปสู่ญาณที่แกล้วกล้า ย่อมตัดกิเลส ด้วยไม่ต้องมีใคร

มากระตุ้น ไม่ต้องใช้ความเพียร เหมือนใช้คมดาบที่คมกริบ ตัดต้นกล้วย

ฉะนั้น. ส่วนมรรคของสัทธานุสารีบุคคลไม่กล้าแข็งเหมือนธัมมานุสารีบุคคล

ไม่นำไปสู่ญาณที่แกล้วกล้า ย่อมตัดกิเลสโดยไม่ต้องให้ใครมากระตุ้นไม่ต้องใช้

ความเพียร เหมือนใช้ดาบที่ทื่อตัดต้นกล้วยฉะนั้น. แต่ในเรื่องการสิ้นกิเลสแล้ว

ท่านเหล่านั้น ไม่มีความแตกต่างกันเลย. และเหล่ากิเลสที่เหลือ ก็ย่อมจะสิ้นไป

(เหมือนกัน).

จบอรรถกถาปฐมสังขิตตสูตร

๓. ทุติยสังขิตตสูตร

ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์

[๘๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์

๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า

อินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า

อินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า

อินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕

ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะ

อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดังพรรณนามา

ฉะนี้ ความต่างแห่งผลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ความต่างแห่ง

บุคคลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งผล.

จบทุติยสังขิตตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 20

อรรถกถาทุติยสังขิตตสูตร

สูตรที่ ๓. คำว่า ตโต คือ พึงทราบความคละปนกันด้วยอำนาจ

ผล. จริงอยู่ อินทรีย์ทั้งห้าที่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ก็ย่อมชื่อว่าเป็นอินทรีย์ของ

อรหัตผล. บุคคลที่ประกอบด้วยอรหัตผล ก็เป็นพระอรหันต์ ที่อ่อนกว่านั้น

ก็ย่อมชื่อว่าเป็นอินทรีย์ของอนาคามิผล ฯลฯ ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นอินทรีย์

ของโสดาปัตติผล. บุคคลที่ประกอบด้วยโสดาปัตติผล ก็เป็นพระโสดาบัน

ความเป็นต่าง ๆ ของผล ย่อมมีเพราะความเป็นต่าง ๆ ของอินทรีย์. ความ

แตกต่างของบุคคล ย่อมมีเพราะความแตกต่างของอินทรีย์ เพราะความ

แตกต่างกันของผล.

จบอรรถกถาทุติยสังขิตตสูตรที่ ๓

๔. ตติยสังขิตตสูตร

อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน

[๘๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๘๑ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะ

อินทรีย์ ๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อน

กว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์....เห็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕

ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดังพรรณนามาฉะนี้แล

บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมอรหัตผล บุคคลผู้บำเพ็ญ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 21

มรรค ๓ ที่เหลือให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมผลทั้ง ๓ เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ว่าไม่

เป็นหมันเลย.

จบตติยสังขิตตสูตรที่ ๔

อรรถกถาตติยสังขิตตสูตร

สูตรที่ ๔. คำว่า ปริปูร ปริปูรการี อาราเธติ คือ ผู้กระทำ

อรหัตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมสำเร็จอรหัตผล. คำว่า ปเทส ปเทสการี

คือ ผู้กระทำมรรคบางส่วน ที่เหลืออีกสาม ก็ย่อมสำเร็จผลสามเป็นบางส่วน

เท่านั้น.

ใน ๔ สูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอินทรีย์คละกันไป ด้วย

ประการฉะนี้.

จบอรรถกถาตติยสังขิตตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 22

๕. ปฐมวิตถารสูตร

ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่าง ๆ

[๘๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

[๘๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์

๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์

๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี

เป็นพระอนาคามีผู้มีอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์

ของพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็น

อนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยัง

อ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นพระโสดาบัน

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระโสดาบันผู้

ธัมมานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน เป็น

พระโสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระ-

โสดาบันผู้ธัมมานุสารี.

จบปฐมวิตถารสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 23

อรรถกถาปฐมวิตถารสูตร

สูตรที่ ๕. คำว่า ตโต มุทุตเรหิ คือ พึงทราบความเจือกันด้วย

อำนาจวิปัสสนา จริงอยู่ อินทรีย์ทั้งห้าที่เต็มที่แล้ว ย่อมเป็นวิปัสสนินทรีย์

ของอรหัตมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น เป็นวิปัสสนินทรีย์ของอันตราปรินิพพายี

ที่อ่อนกว่านั้นก็เป็นของอุปหัจจปรินิพพายี ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของอสังขาร

ปรินิพพายี ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของสสังขารปรินิพพายี. ที่อ่อนกว่านั้น

ก็ย่อมชื่อว่า เป็นวิปัสสนินทรีย์ของอุทธังโสตอกนิฏฐคามี. สำหรับในฐานะนี้

พึงชักเอาแต่ความเจือปนกันทั้งห้าอย่างที่ตั้งอยู่ในอรหัตมรรคเท่านั้นออกมา.

คือว่า วิปัสสนินทรีย์ของอันตราปรินิพพายี อันแรก อ่อนกว่าวิปัสสนินทรีย์

ของอรหัตมรรค ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของอันตราปรินิพพายีอันที่สอง ที่อ่อน

กว่านั้น ก็เป็นของอันตราปรินิพพายีชนิดที่สาม ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของ

อุปหัจจปรินิพพายี ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นวิปัสสนินทรีย์ของอุทธังโสตอกนิฏฐ

คามี ของอสังขารปรินิพพายี และของสสังขารปรินิพพายี ชน ๕ พวก

เหล่านี้แหละ. ส่วนความเจือปนอีก ๓ อย่าง เป็นอินทรีย์ของสกทาคามิมรรค.

จบอรรถกถาปฐมวิตถารสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 24

๖.ทุติยวิตถารสูตร

ความต่างแห่งผลเพราะความต่างแห่งอินทรีย์

[๘๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์

๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์

๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี ดัง

พรรณนามาฉะนี้ ความต่างแห่งผลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งอินทรีย์ ความ

ต่างแห่งบุคคลย่อมมีได้เพราะความต่างแห่งผล.

จบทุติยวิตถารสูตรที่ ๖

สูตรที่ ๖ และที่ ๗ นี้นัยอันท่านกล่าวไว้เสร็จแล้ว. แต่ใน ๓ สูตรนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแสดงวิปัสสนินทรีย์ อันเป็นส่วนเบื้องต้นไว้เลย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 25

๗. ตติยวิตถารสูตร

อินทรีย์ ๕ ไม่เป็นหมัน

[๘๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์

๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์

ทั้ง ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์... เป็นพระโสดาบันผู้สัทธานุสารี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าพระโสดาบันผู้ธัมนานุสารี ดังพรรณนามาฉะนี้แล

บุคคลผู้บำเพ็ญอรหัตมรรคให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมอรหัตผล บุคคลผู้บำเพ็ญ

มรรค ๓ ที่เหลือให้บริบูรณ์ ย่อมได้ชมผลทั้ง ๓ เรากล่าวอินทรีย์ ๕ ว่าไม่

เป็นหมันเลย.

จบตติยวิตถารสูตรที่ ๗

๘. ปฏิปันนสูตร

ผู้ปฏิบัติอินทรีย์ ๕

[๘๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์

๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 26

๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นอนาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยัง

อ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอรหัตผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยัง

อ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามี เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยัง

อ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำอนาคามิผลให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำ

สกทาคามิผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี

เป็นพระโสดาบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของผู้ปฏิบัติเพื่อทำ

สกทาคามิผลให้แจ้ง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อทำโสดาปัตติผลให้แจ้ง เพราะอินทรีย์

๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕

ประการนี้ ไม่มีแก่ผู้ใดเสียเลยโดยประการทั้งปวง เราเรียกผู้นั้นว่า เป็นคน

ภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน.

จบปฏิปันนสูตรที่ ๘

อรรถกถาปฏิปันนสูตร

สูตรที่ ๘. คำว่า ตโต มุทุตเรหิ คือ พึงทราบความคละปะปนกัน

ด้วยอำนาจมรรคและผลนั่นเอง. ความคละปะปนกันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสไว้ในบาลีเสร็จแล้ว. คำว่า ภายนอก คือ เป็นคนที่นอกจากบุคคล

ทั้ง ๘ เหล่านี้. คำว่า ตั้งอยู่ในฝ่ายเป็นปุถุชน คือ ดำรงอยู่ในส่วนของ

คนกิเลสหนา. ในสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแต่อินทรีย์ที่เป็น

โลกุตระเท่านั้น.

จบอรรถกถาปฏิปันนสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 27

๙. อุปสมสูตร

ว่าด้วยผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ ๕

[๘๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า ผู้ถึง

พร้อมด้วยอินทรีย์อื่น ๆ ดังนี้ ด้วยเหตุเพียงเท่าใดหนอ ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้

ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์.

[๘๙๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ อัน

ให้ความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ดูก่อนภิกษุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะ

ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์.

จบอุปสมสูตรที่ ๙

อรรถกถาอุปสมสูตร

สูตรที่ ๙. คำว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ คือ ผู้มีอินทรีย์เต็มที่.

จบอรรถกถาอุปสมสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

๑๐. อาสวักขยสูตร

ผลของการปฏิบัติอินทรีย์ ๕

[๘๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๘๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้า

ถึงอยู่.

จบอาสวักขยสูตรที่ ๑๐

จบมุทุตรวรรคที่ ๒

อรรถกถาอาสวักขยสูตร

สูตรที่ ๑๐ ตื้นทั้งนั้นแล. ใน ๒ สูตรนี้ (สูตรที่ ๙-๑๐) พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอินทรีย์เจือกัน.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฏิลาภสูตร ๒. ปฐมสังขิตตสูตร ๓. ทุติยสังขิตตสูตร ๔. ตติย-

สังขิตตสูตร ๕. ปฐมวิตถารสูตร ๖. ทุติยวิตถารสูตร ๗. ตติยวิตถารสูตร

๘. ปฏิปันนสูตร ๙. อุปสมสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร และอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 29

ฉฬินทริยวรรคที่ ๓

๑. ปุนัพภวสูตร*

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๘๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์.

[๘๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ

คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความเป็น

จริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

[๘๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความ

ดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ตามความ

เป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แลญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า

วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติมีในที่สุด บัดนี้ ความเกิดอีกไม่มี.

จบปุนัพภวสูตรที่ ๑

* ปุนัพภวสูตรที่ ๑ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 30

๒. ชีวิตินทริยสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๓

[๘๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการ

เป็นไฉน คือ อิตถินทรีย์ ๑ ปุริสินทรีย์ ๑ ชีวิตินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๓

ประการนี้แล.

จบชีวิตินทริยสูตรที่ ๒

ฉฬินทริยวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาชีวิตินทริยสูตร

สูตรที่ ๒. ในคำเป็นต้นว่า อิตถินทรีย์ พึงทราบวิเคราะห์ดัง

ต่อไปนี้. ที่ชื่อว่า อิตถินทรีย์ เพราะย่อมกระทำอรรถว่าใหญ่ในความเป็น

หญิง. ที่ชื่อว่า ปุริสินทรีย์ เพราะย่อมกระทำอรรถว่าใหญ่ในความเป็นชาย.

ที่ชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ เพราะย่อมกระทำอรรถว่าใหญ่ในความเป็นอยู่. เล่ากัน

มาว่า พระสูตรนี้มีเหตุเกิดแห่งเนื้อความว่า ก็แลในท่ามกลางสงฆ์ เกิดถ้อยคำ

ว่า อินทรีย์ที่เป็นวัฏฏะมีเท่าไรหนอแล. ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

เห็นอินทรีย์ที่เป็นวัฏฏะอยู่จึงตรัสคำเป็นต้นว่าภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์สามเหล่านี้.

จบอรรถกถาชีวิตินทริยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 31

๓. อัญญาตาวินทริยสูตร

อินทรีย์ ๓ อีกอย่างหนึ่ง

[๘๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการเป็น

ไฉน คือ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ๑ อัญญินทรีย์ ๑ อัญญาตาวินทรีย์ ๑

อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล.

จบอัญญาตาวินทริยสูตรที่ ๓

อรรถกถาอัญญาตาวินทริยสูตร

สูตรที่ ๓. อินทรีย์ที่เกิดขึ้นในขณะแห่งโสดาปัตติมรรคของผู้

ปฏิบัติ ที่คิดว่า เราจักรู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ในสงสารที่มีที่สุดเบื้องต้นอันไม่มีใครรู้

ได้ ชื่อว่า อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์. อินทรีย์ที่เกิดขึ้นในฐานะทั้ง ๖

มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ด้วยอาการคือรู้สิ่งที่รู้ทั่วถึงแล้วเหล่านั้นแหละ ชื่อว่า

อัญญินทรีย์. ที่ชื่อว่า อัญญาตาวินทรีย์ ได้แก่ อินทรีย์ที่เกิดขึ้นใน

ธรรมทั้งหลาย ในอรหัตผล ที่รู้ทั่วถึงแล้วเป็นต้น. คำว่า อินทรีย์ นี้

เป็นชื่อของญาณที่เกิดขึ้นด้วยอาการนั้น ๆ ในมรรคผลนั้น ๆ แม้สูตรนี้ ก็มี

เหตุเกิดขึ้นแห่งเนื้อความเหมือนกัน คือในท่ามกลางสงฆ์เกิดถ้อยคำขึ้นว่า

อินทรีย์ที่เป็นโลกุตระ มีเท่าไรหนอแล. ลำดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าจะ

ทรงแสดงอินทรีย์เหล่านั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๓

อย่างเหล่านี้ ดังนี้.

จบอรรถกถาอัญญาตาวินทริยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 32

๔. เอกาภิญญาสูตร

ความเป็นพระอริยบุคคลระดับต่าง ๆ

[๘๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

[๙๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นพระอรหันต์ เพราะอินทรีย์

๕ ประการนี้เต็มบริบูรณ์ เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เพราะอินทรีย์

๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอรหันต์ เป็นพระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี

เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี เป็น

พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ

พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี เป็นพระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เพราะ

อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี เป็นพระ-

อนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของ

พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี เป็นพระสกทาคามี เพราะอินทรีย์ ๕ ยัง

อ่อนกว่าอินทรีย์ของพระอนาคามีผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี เป็นพระโสดาบันผู้

เอกพีชี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระสกทาคามี เป็นพระ-

โสดาบันผู้โกลังโกละ เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน

ผู้เอกพีชี เป็นพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่า

อินทรีย์ของพระโสดาบันผู้โกลังโกละ เป็นพระโสดาบันผู้ธัมมานุสารี เพราะ

อินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบันผู้สัตตักขัตตุปรมะ เป็นพระ-

โสดาบันผู้สัทธานุสารี เพราะอินทรีย์ ๕ ยังอ่อนกว่าอินทรีย์ของพระโสดาบัน

ผู้ธัมมานุสารี.

จบเอกาภิญญาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 33

อรรถกถาเอกาภิญญาสูตร

สูตรที่ ๔. พึงทราบความคละปนกันโดยวิปัสสนาด้วยคำว่า ตโต

มุทุตเรหิ. คือ อินทรีย์ทั้ง ๕ อย่างที่สมบูรณ์แล้ว ก็ย่อมชื่อว่าวิปัสสนินทรีย์

ของอรหัตมรรค. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นของอันตราปรินิพพายี ฯลฯ ชื่อว่า

เป็นวิปัสสนินทรีย์ ของอุทธังโสโตอกนิฏฐคามี. แม้ในฐานะนี้ ก็พึงชักเอาแต่

ความเจือปนกันทั้งห้าอย่างที่ตั้งอยู่ในอรหัตมรรคออกตามนัยก่อนเหมือนกัน.

และในที่นี้ต้องชักเอาความเจือปนห้าอย่างออกมาเหมือนที่ตั้งอยู่ในสกทาคามิ

มรรค ต้องชักเอาความเจือปนสามอย่างออกมาตามนัยก่อนนั่นแหละ. ก็วิปัส-

สนินทรีย์แห่งโสดาปัตติมรรคอ่อนกว่าวิปัสสนินทรีย์ของสกทาคามิมรรค และ

วิปัสสนินทรีย์ของมรรคของเอกพีชีเป็นต้น ก็อ่อนกว่าวิปัสสนินทรีย์เหล่านั้น

ของโสดาปัตติมรรค. และก็พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า เอกพีชี มีพืชเดียว

นี้ต่อไป บุคคลใดได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ละเพียงอัตภาพเดียวเท่านั้น แล้ว

สำเร็จเป็นพระอรหันต์ บุคคลนี้ ชื่อ เอกพีชี. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสไว้ว่า

ก็แล เอกพีชีบุคคล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะ

สังโยชน์ ๓ หมดไปอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นพระโสดาบัน ซึ่งไม่มีความตกต่ำ

เป็นธรรมดา เที่ยงแท้ มุ่งหน้าแต่จะตรัสรู้ ท่องเที่ยวไปสู่ภพมนุษย์อีกครั้งเดียว

เท่านั้นแล้ว ก็จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า เอกพีชี.

ส่วนบุคคลใด ท่องเที่ยวไปสองสามภพแล้ว จึงจะทำที่สุดทุกข์ได้

บุคคลนี้ ชื่อโกลังโกละ ผู้ออกจากตระกูลไปสู่ตระกูล. สมดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 34

ก็แล โกลังโกลบุคคล เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้

เพราะสังโยชน์ ๓ หมดไปอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นพระโสดาบัน ซึ่งไม่มี

ความตกต่ำเป็นธรรมดา แน่นอนมุ่งหน้าแต่จะตรัสรู้ เขาเที่ยววิ่งไป

อีกสองหรือสามตระกูลแล้ว จึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้

เรียกว่า โกลังโกละ.

พึงทราบว่า ตระกูล ในพระพุทธดำรัสนั้น ได้แก่ ภพ. และคำว่า

สองหรือสาม นี้ สักว่าเป็นการแสดงในที่นี้เท่านั้น เพราะผู้ท่องเที่ยวไป

จนถึงภพที่ ๖ ก็ยังเป็นโกลังโกละอยู่นั่นเอง.

ผู้ที่เกิดขึ้นอีกอย่างมากก็แค่เจ็ดครั้ง ไม่ถือเอาภพที่แปด นี้ชื่อ

สัตตักขัตตุปรมะ มีเจ็ดครั้งเป็นอย่างยิ่ง สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า

ก็แล สัตตักขัตตุปรมบุคคล เป็นไฉน บุคคลบางคนใน

โลกนี้ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไปอย่างสิ้นเชิง จึงเป็นพระโสดาบัน

ที่ไม่มีความตกต่ำเป็นธรรมดาเป็นผู้แน่นอน มุ่งหน้าแต่จะตรัสรู้ เขา

ท่องเที่ยวไปสู่เทพและมนุษย์ อีก ๗ ครั้งแล้ว จึงจะทำที่สุดแห่งทุกข์

ได้ บุคคลนี้เรียกว่า สัตตักขัตตุปรมะ.

ก็แล ฐานะของท่านเหล่านั้น ย่อมมีได้ด้วยอำนาจชื่อที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงถือเอาแล้ว คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาชื่อของท่านเหล่านี้

ว่า ผู้ถึงฐานะเท่านี้ เป็นเอกพีชี เท่านี้เป็นโกลังโกละ เท่านี้เป็นสัตตัก-

ขัตตุปรมะ ส่วนที่กำหนดตายตัวลงไปว่า นี้เป็นเอกพีชี นี้เป็นโกลังโกละ

นี้เป็นสัตตักขัตตุปรมะ ไม่มี.

ถามว่า ก็ใครกำหนดประเภทเท่านั้นเท่านี้ของท่านเหล่านั้น

ลงไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 35

ตอบว่า ก็พระเถระบางท่านกล่าวว่า บุรพเหตุ กำหนดลงไป บ้าง

ก็ว่า ปฐมมรรค บ้างก็ว่า มรรค ๓ ข้างบน บ้างก็ว่า วิปัสสนาแห่งมรรค

ทั้ง ๓ กำหนดลงไป ในวาทะที่ว่า บุรพเหตุ กำหนดลงไปนั้น อุปนิสัยแห่ง

ปฐมมรรค ย่อมชื่อเป็นอันท่านได้กระทำไว้แล้ว ย่อมพ้องกับคำว่า มรรค ๓

ข้างบน ก็เป็นอุปนิสัยที่เกิดแล้ว. ในวาทะที่ว่า ปฐมมรรค กำหนดลงไป

ก็จะไปติดกับข้อที่ว่ามรรค ๓ ข้างบนหาประโยชน์อะไรไม่ได้. ในวาทะที่ว่า

มรรค ๓ ข้างบน กำหนดลงไป ก็จะไปพ้องกับข้อว่า เมื่อปฐมมรรคยังไม่

เกิดขึ้นเลย มรรค ๔ ข้างบนก็เกิดขึ้นแล้ว. ส่วนวาทะที่ว่า วิปัสสนาแห่ง

มรรคทั้งสาม ย่อมกำหนดลงไป ถูก. เพราะว่า หากวิปัสสนาแห่งสามมรรค

ข้างบนมีกำลังพอ ก็ย่อมชื่อว่าเป็นเอกพีชี. ที่อ่อนกว่านั้น ก็เป็นโกลังโกละ.

ที่อ่อนกว่านั้นอีก ก็เป็นสัตตักขัตตุปรมะ ด้วยประการฉะนี้. จริงอยู่

พระโสดาบันบางท่านยังมีอัธยาศัยในวัฏฏะ ชอบวัฏฏะจึงท่องเที่ยวอยู่ในวัฏฏะ

นั่นแหละอยู่ร่ำไป. อนาถปิณฑิกเศรษฐี วิสาขาอุบาสิกา จุลลรถเทพบุตร

มหารถเทพบุตร อเนกวรรณเทพบุตร ท้าวสักกเทวราช นาคทัตตเทพบุตร

ท่านเหล่านี้เท่านี้แหละ. ยังมีอัธยาศัยในวัฏฏะ ชอบวัฏฏะ ต้องชำระเทวโลก

หกชั้นตั้งแต่ต้น แล้วดำรงอยู่ในชั้นอกนิฏฐพรหมโลก จึงจะปรินิพพาน

ท่านเหล่านี้ ไม่ถือเอาในกรณีนี้. ไม่ใช่แต่ท่านเหล่านี้เท่านั้น ผู้ที่ท่องเที่ยว

อยู่ในมนุษย์เท่านั้น ครบเจ็ดครั้งแล้ว จึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ดี ผู้ที่เกิด

ในเทวโลกแล้วเที่ยวไปเที่ยวมาแต่ในเทวโลกเท่านั้นจนครบเจ็ดครั้ง แล้วจึง

จะสำเร็จเป็นพระอรหันต์ก็ดี แม้ท่านพวกนี้ ก็ไม่ถือเอาในที่นี้ แต่ในที่นี้ถือ

เอาแต่ผู้ที่บางทีก็ท่องเที่ยวไปในมนุษย์ บางทีก็ในเทวดาแล้วสำเร็จเป็นพระ-

อรหันต์เท่านั้น เพราะฉะนั้น คำว่า สัตตักขัตตุปรมะ นี้ พึงทราบว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 36

ในที่นี้ทรงแสดงชื่อของพระโสดาบันประเภทสุกขวิปัสสกที่ปะปนอยู่ในพระอริย

บุคคลทั้ง ๘ หมวด.

สำหรับในบทว่า ธมฺมานุสารี ผู้ไปตามธรรม สทฺธานุสารี

ผู้ไปตามความเชื่อถือ นี้ หมายความว่า ในศาสนานี้ มีธุระสองอย่างคือ

ศรัทธาธุระ ปัญญาธุระ มีความตั้งมั่นสองอย่างคือ ตั้งมั่นในศรัทธา ตั้งมั่น

ในปัญญา สำหรับผู้ที่จะให้โลกุตรธรรมเกิดขึ้น. ในธุระและความตั้งมั่น

เหล่านั้น ภิกษุใด ถ้าอาจให้เกิดขึ้นด้วยศรัทธาได้ แล้วทำศรัทธาธุระว่า

เราจะให้โลกุตรธรรมเกิดขึ้น แล้วยังโสดาปัตติมรรคให้เกิดขึ้นมาได้ ภิกษุนั้น

ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า สัทธานุสารี ผู้ไปตามความเชื่อถือในขณะแห่งมรรค. ส่วน

ในขณะแห่งผลก็ชื่อว่า สัทธาวิมุต เป็นผู้หลุดพ้นด้วยความเชื่อถือ แบ่ง

เป็นสามพวกคือ เอกพีชี เป็นผู้มีพืช (การเกิด) ครั้งเดียว โกลังโกละ

ผู้จากตระกูลสู่ตระกูล สัตตักขัตตุปรมะ ผู้อย่างมากก็เจ็ดครั้ง. ในบุคคล

เหล่านี้ บุคคลแต่ละคนย่อมถึงสี่พวกด้วยอำนาจแห่งทุกขาปฏิปทาเป็นต้น ฉะนั้น

ด้วยศรัทธาธุระจึงมีอยู่ ๑๒ พวก. ส่วนภิกษุใด ถ้าอาจให้เกิดด้วยปัญญาได้

แล้วทำปัญญาธุระว่า เราจะให้โลกุตรธรรมเกิดขึ้น แล้วยังโสดาปัตติมรรค

ให้เกิดขึ้นมาได้ ภิกษุนั้น ในขณะแห่งมรรค ย่อมเป็นผู้ชื่อว่า ธัมมานุสารี

ผู้ไปตามธรรม. ส่วนในขณะแห่งผล ก็ชื่อว่า ปัญญาวิมุต เป็นผู้หลุดพ้น

ด้วยความรู้แจ่มชัด ซึ่งแบ่งเป็น ๑๒ พวกต่างด้วยพระอริยบุคคลมีเอกพีชีเป็นต้น

ด้วยประการฉะนี้ พระโสดาบันที่ดำรงอยู่ในมรรค ๒ ก็รวมเป็น ๒๔ พวก

ไปในขณะแห่งผล.

เล่ากันมาว่า พระติสสเถระผู้ชำนาญพระไตรปิฏก คิดว่า เราจะ

ชำระปิฏกทั้งสาม จึงไปสู่ฝั่งอื่น. มีกุฏุมพีคนหนึ่ง บำรุงท่านด้วยปัจจัย ๔

พระเถระกล่าวว่า อุบาสก เราจะไปในเวลามา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 37

กุฎุมพี. ที่ไหนครับ.

เถระ. สำนักอาจารย์และอุปัชฌาย์ ของอาตมา.

กุฏุมพี. กระผมไปด้วยไม่ได้หรอกครับ ก็แล กระผมรู้คุณพระศาสนา

ได้ ก็เพราะอาศัยพระคุณท่าน ลับหลังท่านแล้วกระผมจะเข้าไปหาภิกษุแบบ

ไหนได้เล่า.

ลำดับนั้น พระเถระได้บอกเขาว่า ภิกษุใดที่สามารถเพื่อจะชี้พระ-

โสดาบัน ๒๔ พวก พระสกทาคามี ๑๒ พวก พระอนาคามี ๔๘ พวก พระ

อรหันต์ ๑๒ พวก แล้วแสดงธรรมได้ ท่านควรบำรุงภิกษุเห็นปานนั้นเถิด

ดังที่กล่าวมานี้ จึงเป็นอันว่าในพระสูตรนี้ พระองค์ได้ทรงแสดงวิปัสสนาไว้

ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาเอกาภิญญาสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 38

๕. สุทธกสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๖

[๙๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการ

เป็นไฉน. คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑

กายินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๖ ประการนี้แล.

จบสุทธกสูตรที่ ๕

อรรถกถาสุทธกสูตรที่ ๕ เป็นต้น

สูตรที่ ๕ จักษุและธรรมที่ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะอรรถว่าใหญ่ คือ

เป็นอธิบดีของธรรมทั้งหลายที่เกิดในจักขุทวารนั้นชื่อว่า จักขุนทรีย์. แม้ใน

โสตินทรีย์เป็นต้น ก็เป็นนัยเดียวกันนี้แหละ. คำที่เหลือทุกแห่งตื้นทั้งนั้น. สูตร

ทั้ง ๖ สูตร คือสูตรที่ ๑ ในวรรคนี้ และอีก ๕ สูตร มีสูตรที่ ๖ เป็นต้น

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรงแสดงด้วยอำนาจสัจจะ ๔ แล้วแล.

จบอรรถกถาสุทธกสูตรที่ ๕ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 39

๖. โสตาปันนสูตร

การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระโสดาบัน

[๙๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการ

เป็นไฉน. คือ จักขุนทรีย์.. .มนินทรีย์.

[๙๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด

ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้

ตามความเป็นจริง เมื่อนั้น เราเรียกอริยสาวกนี้ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่

ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

จบโสตาปันนสูตรที่ ๖

๗. ปฐมอรหันตสูตร

การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระอรหันต์

[๙๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการ

เป็นไฉน คือ จักขุนทรีย์...มนินทรีย์.

[๙๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความ

ดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความ

เป็นจริงแล้ว เป็นผู้หลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เราเรียกว่า

เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลง

ภาระลงแล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้น

แล้วเพราะรู้โดยชอบ.

จบปฐมอรหันตสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 40

๘. ทุติยอรหันตสูตร

การรู้อินทรีย์ ๖ ของพระพุทธเจ้า

[๙๐๖ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการ

เป็นไฉน คือ จักขุนทรีย์...มนินทรีย์.

[๙๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ

คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ตามความเป็น

จริง เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิ-

ญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น.

[๙๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด เรารู้ทั่วถึงความเกิด ความดับ

คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความ

เป็นจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ

ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลn ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณ-

พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แหละญาณทัสสนะได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติ

ของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติมีในที่สุด บัดนี้ ความเกิดอีกไม่มี.

จบทุติยอรหันตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 41

๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์

[๙๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็น

ไฉน คือ จักขุนทรีย์...มนินทรีย์.

[๙๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกเเห่ง

อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรา

ไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะ

ท่านเหล่านั้นไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะหรือของความ

เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๙๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง

อินทรีย์ ๖ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรา

นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะ

ท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและของความเป็น

พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 42

๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร

ว่าด้วยการรู้อินทรีย์ ๖

[๙๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ไม่รู้ชัดซึ่งจักขุนทรีย์ ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์ และ

ปฎิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งจักขุนทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งโสตินทรีย์... ฆานินทรีย์

. . .ชิวหินทรีย์ ...กายินทรีย์ ....มนินทรีย์ ความเกิดแห่งมนินทรีย์ ความดับ

แห่งมนินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์

ในหมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็น

สมณะ หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๙๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งรู้ชัดซึ่งจักขุนทรีย์ ความเกิดแห่งจักขุนทรีย์ ความดับแห่งจักขุนทรีย์

และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งจักขุนทรีย์ รู้ชัดซึ่งโสตินทรีย์. . . ฆานิน-

ทรีย์...ชิวหินทรีย์..กายินทรีย์..มนินทรีย์ ความเกิดแห่งมนินทรีย์ ความ

ดับแห่งมนินทรีย์ แสะปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งมนินทรีย์ สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ใน

หมู่พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็น

สมณะและของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๑๐

จบฉฬินทริยวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 43

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุนัพภวสูตร ๒. ชีวิตินทริยสูตร ๓. อัญญาตาวินทริยสูตร

๔. เอกาภิญญาสูตร ๕. สุทธกสูตร ๖. โสตาปันนสูตร ๗. ปฐมอรหันตสูตร

๘. ทุติยอรหันตสูตร ๙. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๑๐. ทุติยสมณพราหมณสูตร

และอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 44

สุขินทริยวรรคที่ ๔

๑. สุทธกสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๙๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์ ๑ ทุกขินทรีย์ ๑ โสมนัสสินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑

อุเบกขินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

จบสุทธกสูตรที่ ๑

สุขินทริยวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาสุทธกสูตร

สุขินทริยวรรคที่ ๔ สุทธกสูตรที่ ๑. ความเป็นสุขและเป็นอินทรีย์

เพราะอรรถว่าใหญ่ กล่าวคือ เป็นอธิบดีแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกันนั้น

เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า สุขินทรีย์. แม้ในทุกขินทรีย์เป็นต้นก็นัยนี้แหละ.

และในอินทรีย์เหล่านั้น สุขินทรีย์ ทุกขินทรีย์ และโทมนัสสินทรีย์เป็นกามาวจร

อย่างเดียว อรูปาวจร* รูปาวจร เว้นโสมนัสสินทรีย์ที่เหลือ เป็นไปในสามภูมิ

อุเปกขินทรีย์เป็นไปในสี่ภูมิ.

จบอรรถกถาสุทธกสูตรที่ ๑

๑. อรูปาวจรฌานและรูปาวจรฌาน (เฉพาะจตุตถฌาน) ไม่ประกอบด้วย โสมนัสสินทรีย์

รูปาวจรฌานที่เหลือ ประกอบด้วยโสมนัสสินทรีย์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 45

๒. โสตาปันนสูตร

รู้การเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นโสดาบัน

[๙๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์....อุเบกขินทรีย์.

[๙๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวกรู้ชัดซึ่งความเกิด

ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้

ตามความเป็นจริง อริยสาวกนี้เรียกว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น

ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า

จบโสตาปันนสูตรที่ ๒

อรรถกถาโสตาปันนสูตรที่ ๒ เป็นต้น

สูตร ๔ สูตรมี สูตรที่ ๒ เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

ด้วยอำนาจสัจจะ ๔ อย่างเดียว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 46

๓. อรหันตสูตร

รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นพระอรหันต์

[๙๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์. ..อุเบกขินทรีย์.

[๙๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ

คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความ

เป็นจริง เป็นผู้หลุดพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น เมื่อนั้น ภิกษุนี้เรียกว่า เป็น

พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลง

แล้ว บรรลุประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพ หลุดพ้นแล้ว

เพราะรู้โดยชอบ.

จบอรหันตสูตรที่ ๓

๔. ปฐมสมณพราหมณสูตร

รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ นับว่าเป็นสมณพราหมณ์

[๙๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สุขินทรีย์...อุเบกขินทรีย์.

[๙๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ไม่รู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 47

ไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะ

ท่านเหล่านั้นไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ หรือของความ

เป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

[๙๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งรู้ชัดซึ่งความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบายเครื่องสลัดออกแห่ง

อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เรา

นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ เพราะ

ท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะและของความเป็น

พราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๔

๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร

รู้ความเกิดดับแห่งอินทรีย์ ๕ เป็นสมณพราหมณ์

[๙๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สุขินทรีย์...อุเบกขินทรีย์.

[๙๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ไม่รู้ชัดซึ่งสุขินทรีย์ ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และปฏิปทา

ที่จะให้ถึงความดับแห่งสุขินทรีย์ ไม่รู้ชัดซึ่งทุกขินทรีย์...โสมนัสสินทรีย์...

โทมนัสสินทรีย์...อุเบกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเบกขินทรีย์ความดับแห่งอุเบก-

ขินทรีย์และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งอุเบกขินทรีย์ สมณะหรือพราหมณ์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 48

เหล่านั้น เราไม่นับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ หรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่

พราหมณ์เพราะท่านเหล่านั้น ไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ

หรือของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

[๙๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งรู้ชัดซึ่งสุขินทรีย์ ความเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และ

ปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งสุขินทรีย์ รู้ชัดซึ่งทุกขินทรีย์...โสมนัสสินทรีย์

.... โทมนัสสินทรีย์... อุเบกขินทรีย์ ความเกิดแห่งอุเบกขินทรีย์ ความดับ

แห่งอุเบกขินทรีย์ และปฏิปทาที่จะให้ถึงความดับแห่งอุเบกขินทรีย์ สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้น เรานับว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะ และว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่

พราหมณ์ เพราะท่านเหล่านั้น กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์ของความเป็นสมณะ

และของความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๕

๖. ปฐมวิภังคสูตร

ว่าด้วยการจำแนกอินทรีย์

[๙๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็น

ไฉน คือ สุขินทรีย์... อุเบกขินทรีย์.

[๙๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทางกาย

ความสำราญทางกาย เวทนาอันเป็นสุขสำราญเกิดแต่กายสัมผัส นี้เรียกว่า

สุขินทรีย์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 49

[๙๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์ทาง

กาย ความไม่สำราญทางกาย เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่กายสัมผัส

นี้ เรียกว่า ทุกขินทรีย์.

[๙๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความสุข

ทางใจ ความสำราญทางใจ เวทนาอันเป็นสุขสำราญเกิดแต่มโนสัมผัส นี้ เรียก

ว่า โสมนัสสินทรีย์.

[๙๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์

ทางใจ ความไม่สำราญทางใจ เวทนาอันเป็นทุกข์ไม่สำราญ เกิดแต่มโนสัมผัส

นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

[๙๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอัน

สำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้ เรียกว่า

อุเบกขินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบปฐมวิภังคสูตรที่ ๖

อรรถกถาปฐมวิภังคสูตร

ปฐมวิภังคสูตรที่ ๖. คำว่า กายิก ทางฺกาย ได้แก่ สุขที่มีกาย

ประสาทเป็นที่ตั้ง นี้เป็น คำแสดงสรุปของสุขนั้น ด้วยประการฉะนี้. คำว่า

สาตะ (ความสำราญ) ก็เป็นคำใช้แทนคำว่าสุขนั้นเอง. นี้อธิบายว่าอร่อย.

คำว่า กายสมฺผสฺสช เกิดแต่กายสัมผัส ก็มีทำนองที่กล่าวแล้วว่า ความสุข

ความสำราญที่เกิดจากกายสัมผัส. คำว่า เวทยิต นี้เป็นคำแสดงสภาวะที่วิเศษ

ของธรรมข้ออื่นจากเวทนาที่ทั่วไปทั้งหมดของสุขนั้น. แม้ในข้อที่เหลือทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 50

ก็พึงทราบใจความตามนี้. ส่วนในคำว่า ทางกาย หรือทางใจ นี้ ท่าน

กล่าวว่าทางกายด้วยอำนาจการเกิดขึ้น เพราะทำกายประสาททั้ง ๔ มีตาเป็นต้น

ให้เป็นที่ตั้ง. ส่วนที่ชื่อว่าอทุกขมสุขที่มีกายประสาทเป็นที่ตั้ง ไม่มี.

จบอรรถกถาปฐมวิภังคสูตร

๗.ทุติยวิภังคสูตร*

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ เป็นสุขทุกข์และอทุกขมสุข

[๙๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์... อุเบกขินทรีย์.

[๙๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทาง

กาย ...นี้ เรียกว่า สุขินทรีย์.

[๙๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์

ทางกาย. . .นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.

[๙๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความสุข

ทางใจ ...นี้ เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.

[๙๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์

ทางใจ ...นี้ เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

[๙๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอัน

สำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า

อุเบกขินทรีย์.

* สูตรที่ ๗-๙ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 51

[๙๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์

และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา.

[๙๓๘] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์

พึงเห็นเป็นทุกขเวทนา.

[๙๓๙] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเบกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็น

อทุกขมสุขเวทนา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล.

จบทุติยวิภังคสูตรที่ ๗

๘. ตติยวิภังคสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ ย่นเข้าเป็น ๓

[๙๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์.. อุเบกขินทรีย์.

[๙๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สุขินทรีย์เป็นไฉน ความสุขทาง

กาย . . .นี้เรียกว่า สุขินทรีย์.

[๙๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์

ทางกาย...นี้เรียกว่า ทุกขินทรีย์.

[๙๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โสมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความสุข

ทางใจ...นี้เรียกว่า โสมนัสสินทรีย์.

[๙๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทมนัสสินทรีย์เป็นไฉน ความทุกข์

ทางใจ ... นี้เรียกว่า โทมนัสสินทรีย์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 52

[ ๙๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุเบกขินทรีย์เป็นไฉน เวทนาอัน

สำราญก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ความสำราญก็ไม่ใช่ ทางกายหรือทางใจ นี้เรียกว่า

อุเบกขินทรีย์.

[๙๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น สุขินทรีย์

และโสมนัสสินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็นสุขเวทนา.

[๙๔๗] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น ทุกขินทรีย์และโทมนัสสินทรีย์

พึงเห็นว่าเป็นทุกขเวทนา.

[๙๔๘] ในอินทรีย์ ๕ ประการนั้น อุเบกขินทรีย์ พึงเห็นว่าเป็น

อทุกขมสุขเวทนา อินทรีย์มี ๕ ประการนี้ เป็น ๕ แล้วย่นเข้าเป็น ๓ เป็น ๓

แล้ว ขยายออกเป็น ๕ ก็ได้ โดยปริยายด้วยประการดังนี้แล.

จบตติยวิภังคสูตรที่ ๘

๙. อรหันตสูตร

อินทรีย์ ๕ อาศัยผัสสะเกิดเวทนา

[๙๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการนี้

เป็นไฉน คือ สุขินทรีย์... อุเบกขินทรีย์.

[๙๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง

แห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่าสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า

เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น

คือ สุขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป

สงบไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 53

[๙๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง

แห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นไม่สบายกาย ก็รู้ชัดว่าเราไม่สบายกาย ย่อม

รู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป เวทนาซึ่ง

เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ทุกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา

เกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอัน เป็น

ที่ตั้งแห่งโสมนัสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายใจ ก็รู้ชัดว่าเราสบายใจ ย่อม

รู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัสสเวทนานั้นแหละดับไป เวทนา

ซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โสมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส-

เวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็น

ที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุไม่สบายใจ ก็รู้ชัดว่า เราไม่สบายใจ

ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัสสเวทนานั้น แหละดับไป

เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ โทมนัสสินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง

โทมนัสเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุเบกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็น

ที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สืกเฉย ๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉย ๆ

ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแหละดับไป เวทนา

ซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเบกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

เวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป.

[๙๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ ๒ อันเสียดสีกันจึง

เกิดความร้อน เกิดไฟขึ้น เพราะแยกไม้ ๒ อันนั่นเองให้ออกจากกันเสีย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 54

ความร้อนที่เกิดเพราะความเสียดสี ย่อมดับสงบไป ฉันใด สุขินทรีย์ย่อม

อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นสบายกาย ก็รู้ชัดว่า

เราสบายกาย ย่อมรู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแหละ

ดับไป เวทนาซึ่งเกิดแต่ผัสสะ คือ สุขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่ง

สุขเวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป ทุกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็น

ที่ตั้งแห่งทุกขเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โสมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง

แห่งโสมนัสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ โทมนัสสินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง

แห่งโทมนัสเวทนาเกิดขึ้น ฯลฯ อุเบกขินทรีย์ย่อมอาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้ง

แห่งอุเบกขาเวทนาเกิดขึ้น ภิกษุนั้นรู้สึกเฉย ๆ ก็รู้ชัดว่า เรารู้สึกเฉย ๆ ย่อม

รู้ชัดว่า เพราะผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขาเวทนานั้นแหละดับไป เวทนา

ซึ่งเกิดแต่ผัสสะนั้น คือ อุเบกขินทรีย์ที่อาศัยผัสสะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา

เวทนาเกิดขึ้นนั้น ย่อมดับไป สงบไป ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบอรหันตสูตรที่ ๙

อรรถกถาอรหันตสูตร

อรหันตสูตรที่ ๙. คำว่า ทฺวินน กฏฺาน ได้แก่ แห่งไม้สีไฟ

๒ อัน. คำว่า สฆฏนสโมธานา ได้แก่ ด้วยการเสียดสีและด้วยการ

ประชุมเข้าด้วยกัน. คำว่า อุสมฺา คือ บ่อเกิดความอุ่น. คำว่า เตโช

คือควันไฟ. และในคำว่า เตโช นี้ พึงเห็นว่า อารมณ์ที่เป็นไปเหมือน

ไม้สีไฟอันล่าง ผัสสะเหมือนไม้สีไฟอันบน การเสียดสีของผัสสะเหมือนความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 55

ร้อนระอุ เวทนาเหมือนไฟ. หรือพึงเห็นว่า อารมณ์ที่เป็นไป เหมือนไม้

สีไฟอันบน ผัสสะเหมือนไม้สีไฟอันล่าง.

จบอรรถกถาอรหันตสูตรที่ ๙

๑๐. อุปปฏิกสูตร

อินทรีย์ ๕ มีนิมิต มีเหตุ มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย

[๙๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ ประการนี้ ๕ ประการ

เป็นไฉน คือ ทุกขินทรีย์ ๑ โทมนัสสินทรีย์ ๑ สุขินทรีย์ ๑ โสมนัส-

สินทรีย์ ๑ อุเบกขินทรีย์ ๑.

[๙๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท

มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ทุกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า

ทุกขินทรีย์นี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และทุกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่อง

ปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า ทุกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ

ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้

เธอย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งทุกขินทรีย์ ความดับทุกขินทรีย์ และ

ข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็ทุกขินทรีย์ที่

เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร

มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือ

ในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งทุกขินทรีย์ และน้อมจิต

เข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 56

[๙๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท

มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า

โทมนัสสินทรีย์เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และโทมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มี

เครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า โทมนัสสินทรีย์นั้นไม่ต้องมี

นิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่

ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโทมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโทมนัสสินทรีย์

ความดับแห่งโทมนัสสินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งโทมนัส

สินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โทมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือ

ในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าทุติยฌาน อันมี

ความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร

เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ โทมนัสสินทรีย์ที่เกิด

ขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความ

ดับแห่งโทมนัสสินทรีย์และน้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

[๙๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท

มีความเพียร มีความเด็ดเดี่ยว สุขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า

สุขินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และสุขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มีเครื่อง

ปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า สุขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ

ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได้

เธอย่อมรู้ชัดสุขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งสุขินทรีย์ ความดับแห่งสุขินทรีย์ และ

ข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งสุขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็สุขินทรีย์ที่เกิด

ขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ

สิ้นไป เข้าตติยฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 57

อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข สุขินทรีย์เกิดขึ้นเเล้ว ย่อมดับไปไม่เหลือในที่นี้

ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งสุขินทรีย์ และน้อมจิตเข้าไปเพื่อ

ความเป็นอย่างนั้น.

[๙๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท

มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว โสมนัสสินทรีย์เกิดขึ้น เธอรู้ชัดอย่างนี้ว่า

โสมนัสสินทรีย์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และโสมนัสสินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ

มีเครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า โสมนัสสินทรีย์นั้นไม่

ต้องมีนิมิต ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้

มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดโสมนัสสินทรีย์ เหตุเกิดแห่งโสมนัสสินทรีย์

ความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งโสมนัส-

สินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ก็โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือใน

ที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าจตุตถฌานไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข และละทุกข์ละสุขและดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น

เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ โสมนัสสินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่

นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งโสมนัสสินทรีย์ และน้อมจิต

เข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

[๙๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่ประมาท

มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว อุเบกขินทรีย์เกิดขึ้น เธอย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า

อุเบกขินทรีย์ นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา และอุเบกขินทรีย์นั้นมีนิมิต มีเหตุ มี

เครื่องปรุงแต่ง มีปัจจัย แต่จะอนุมานเอาว่า อุเบกขินทรีย์นั้นไม่ต้องมีนิมิต

ไม่มีเหตุ ไม่มีเครื่องปรุงแต่ง ไม่มีปัจจัย จักเกิดขึ้นได้ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่

จะมีได้ เธอย่อมรู้ชัดอุเบกขินทรีย์ เหตุเกิดแห่งอุเบกขินทรีย์ ความดับแห่ง

อุเบกขินทรีย์ และข้อปฏิบัติเป็นที่ดับโดยไม่เหลือแห่งอุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 58

แล้ว ก็อุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่มีเหลือในที่ไหน ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนโดยประการทั้งปวง

แล้ว เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ อุเบกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไปไม่

เหลือในที่นี้ ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ได้รู้แล้วซึ่งความดับแห่งอุเบกขินทรีย์ และ

น้อมจิตเข้าไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น.

จบสูตรที่ ๑๐

จบสุขินทริยวรรคที่ ๔

อรรถกถาอุปปฏิกสูตร

อุปปฏิกสูตรที่ ๑๐. ยถาธรรมเทศนาที่ไม่จำเป็นต้องแสดงพึงทราบ

ว่า ชื่อว่าเป็นสูตรที่นอกเหนือไปจากลำดับ (ไม่เข้าลำดับ) เหมือนอย่างสูตร

ที่เหลือในอินทริยวิภังค์แม้ที่กล่าวแล้วตามลำดับนี้.

ในสูตรที่ ๑๐ นั้น คำทั้งหมดเป็นต้น ว่า นิมิต เป็นคำใช้แทนปัจจัย

นั่นเอง. คำว่า และย่อมรู้ชัดทุกขินทรีย์ คือ ย่อมรู้ด้วยอำนาจทุกขสัจนั่น

เอง. คำว่า ทุกฺขินฺ ทริยสมุทย คือวิญาณที่สหรคตด้วยทุกข์ ย่อม

เกิดขึ้นแก่ผู้ที่ถูกหนามตำเอา ถูกเรือดกัด หรือถูกรอยย่นที่ปูนอนกระทบ

ย่อมรู้ชัดสิ่งนั้นว่าเป็นเหตุให้เกิดขึ้นพร้อมของทุกขินทรีย์นั้น. พึงทราบสมุทัย

ด้วยอำนาจเหตุแห่งอินทรีย์เหล่านั้นแม้ในบทเป็นต้นว่า โทมนสฺสินทริย-

สมุทย ข้างหน้า. โทมนัสสินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นด้วยอำนาจความฉิบหาย

แห่งสังขารข้างนอกมีบาตรและจีวรเป็นต้น หรือแห่งเหล่าสัตว์มีสัทธิวิหาริก

เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ ย่อมรู้ชัดความฉิบหายแห่งสังขารและสัตว์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 59

เหล่านั้นว่าเป็นสมุทัยแห่งโทมนัสสินทรีย์นั้น. ผู้ที่กินอาหารอย่างดีแล้ว

นอนบนที่นอนอย่างประเสริฐ ย่อมเกิดสุขินทรีย์ขึ้นด้วยการสัมผัสมีการ

นวดมือและเท้าและลมที่เกิดจากพัดใบตาลเป็นต้น ย่อมรู้ชัดผัสสะนั้นว่าเป็น

เหตุของสุขินทรีย์นั้น. ส่วนโสมนัสสินทรีย์อันเกิดขึ้นด้วยอำนาจการได้เฉพาะ

สัตว์และสังขารที่น่าชื่นใจมีประการที่กล่าวมาแล้ว ย่อมรู้ชัดการได้เฉพาะนั้น

ว่าเป็นเหตุแห่งโสมนัสสินทรีย์นั้น. ส่วนอุเบกขินทรีย์ย่อมเกิดขึ้นด้วยอาการที่

เป็นกลาง ๆ ย่อมรู้ชัดอาการที่เป็นกลาง ๆ ในสัตว์และสังขารนั้นว่าเป็นเหตุ

แห่งอุเบกขินทรีย์นั้น. ก็แหละคำชี้ขาดไปพร้อม ๆ กันในคำว่า ทุกขินทรีย์ที่

เกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับสิ้นไปโดยไม่มีเหลือในที่ใด ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลายเป็นต้น ดังต่อไปนี้ แท้จริง ทุกขินทรีย์

ย่อมดับสิ้นไปในขณะอุปจาระแห่งฌานที่ ๑ ทีเดียว ทุกขินทรีย์ย่อมเป็นอันละ

ได้แล้ว. โทมนัสเป็นต้น ย่อมดับสิ้นไปในอุปจารขณะแห่งฌานที่ ๒ เป็นต้น

แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ความดับสิ้นไปในฌานทั้งหลายนั่นเองนี้แล (ก็ย่อมมี)

เพราะความที่โทมนัสเป็นต้นเหล่านั้นดับสิ้นไปเป็นอย่างยิ่ง จริงอยู่ ความดับ

สิ้นไปเป็นอย่างยิ่งแห่งโทมนัสเป็นต้นเหล่านั้น ก็คือความดับสิ้นไปในฌานที่

๑ เป็นต้นนั่นเอง ก็แหละความดับสิ้นไปนั่นเอง ก็คือความดับสิ้นไปอย่างยิ่ง

ด้วยอุปจารขณะ. จริงอย่างนั้น ความเกิดขึ้นแห่งทุกขินทรีย์แม้ที่ดับสิ้นไปแล้ว

ในอุปจาระแห่งฌานที่ ๑ ซึ่งมีอาวัชชนจิตต่าง ๆ ด้วยสัมผัสแห่งเหลือบยุง

และลมเป็นต้น ด้วยความอบอ้าวที่ไม่คงที่ หรือด้วยมีดพร้า หรือว่าทุกขินทรีย์

ที่ดับสิ้นไปแล้วในอุปจาระในภายในอัปปนาก็ไม่ใช่ และทุกขินทรีย์นั้นก็ไม่

ใช่ดับหมดไปอย่างดีด้วย. แต่กายย่อมเป็นสุข น่าใคร่อย่างทั่วถึงด้วยการแผ่

ปีติไปภายในอัปปนา เพราะไม่ถูกสิ่งที่เป็นฝ่ายตรงกันข้ามกำจัดได้ ชื่อว่าเป็น

สุขแม้เพราะความเป็นของที่น่าใคร่ ทุกขินทรีย์ จึงชื่อว่าย่อมดับลงไปอย่างดี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 60

เพราะถูกฝ่ายตรงกันข้ามกำจัดไป. และเพราะเมื่อโทมนัสสินทรีย์ถูกละในอุป-

จาระแห่งฌานที่ ๒ ซึ่งมีอาวัชชนจิตแตกต่างกันนั่นแหละ ฉะนั้น โทมนัส

สินทรีย์นั้น เมื่อมีความลำบากกาย และใจถูกเบียดเบียนเพราะความตรึกตรอง

เป็นปัจจัย ก็เกิดขึ้น เพราะไม่มีความตรึกตรองนั่นแหละสุขินทรีย์จึงเกิดขึ้น

ก็และเกิดขึ้นในที่ใด ในที่นั้น ก็เป็นอัปปนาเพราะไม่มีความตรึกตรอง. ก็

ความตรึกตรองย่อมเกิดขึ้นในอุปจาระแห่งฌานที่ ๒ อย่างนี้. หากจะพึง

มีการเกิดขึ้นแห่งสุขินทรีย์นั้นในอุปจาระแห่งฌานที่ ๒ ก็ไม่ใช่เกิดในฌานที่สอง

เลยเพราะละปัจจัยได้แล้ว แม้เมื่อสุขินทรีย์ถูกละในอุปจาระแห่งฌานที่ ๓ ก็

อย่างนั้น พึงมีการเกิดขึ้นแห่งกายที่รูปอันประณีตซึ่งมีปีติเป็นสมุฎฐานถูกต้อง

แล้ว แต่หาใช่เกิดขึ้นในฌานที่ ๓ ไม่. เพราะปีติอันเป็นปัจจัยแห่งสุขดับไป

หมดแล้วด้วยฌานที่สาม ในอุปจาระแห่งฌานที่ ๔ ก็เหมือนกัน เพราะยังไม่มี

อุเบกขาที่ถึงอัปปนา เหตุว่าอยู่ใกล้โสมนัสสินทรีย์ที่แม้จะละได้แล้ว ก็อาจจะมี

การเกิดขึ้นได้ เพราะยังก้าวล่วงไม่ได้อย่างถูกต้อง แต่ก็ไม่ใช่เกิดขึ้นในฌาน

ที่ ๔ เลย เพราะฉะนั้น ในฌานที่ ๔ นี้ ทุกขินทรีย์ที่เกิดขึ้นแล้วจึงดับไปโดย

ไม่เหลือ การถือเอาโดยไม่เหลือในฌานนั้น ๆ ท่านได้ทำแล้ว ดังที่ว่ามานี้. ก็คำ

ใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในที่นี้ว่า ย่อมน้อมจิตไปเพื่อความเป็นอย่างนั้น

ในคำนั้นพึงทราบใจความอย่างนี้ว่า บุคคลเป็นผู้ที่ยังไม่ได้ ย่อมน้อมจิตไป

เพื่อประโยชน์การเกิดขึ้น ฉะนั้น บุคคลเป็นผู้ได้ ก็ย่อมน้อมจิตไปเพื่อ

ประโยชน์การเข้าถึง. ก็แลวาระการพิจารณาในสองสูตรนี้ พระองค์ได้ตรัสไว้

ดังที่กล่าวมานี้.

จบอรรถกถาอุปปฏิกสูตรที่ ๑๐

จบสุขินทริยวรรควรรณนาที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 61

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สุทธกสูตร ๒. โสตาปันนสูตร ๓. อรหันตสูตร ๔. ปฐมสมณ-

พราหมณสูตร ๕. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๖. ปฐมวิภังคสูตร ๗. ทุติย

วิภังคสูตร ๘. ตติยวิภังคสูตร ๙. อรหันตสูตร ๑๐. อุปปฏิกสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 62

ชราวรรคที่ ๕

๑. ชราสูตร

ว่าด้วยความแก่

[๙๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขา-

มิคารมารดา ในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จออกจากที่หลีกเร้นในเวลาเย็น แล้วประทับนั่งผินพระปฤษฎางค์ผิงแดด

ในที่มีแสงแดดส่องมาจากทิศประจิมอยู่ ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว บีบนวด

พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยฝ่ามือพลางกราบทูลว่า.

[๙๖๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว เวลานี้

พระฉวีวรรณของพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน พระ-

สรีระก็หย่อนย่นเป็นเกลียว พระกายก็ค้อมไปข้างหน้า และความแปรปรวน

ของอินทรีย์ คือ พระจักษุ พระโสตะ พระฆานะ พระชิวหา พระกาย ก็

ปรากฏอยู่.

[๙๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ข้อนี้เป็นอย่าง

นั้น ชราธรรมย่อมมีในความเป็นหนุ่มสาว พยาธิธรรมย่อมมีในความไม่มีโรค

มรณธรรมย่อมมีในชีวิต ผิวพรรณไม่บริสุทธิ์ผุดผ่องเหมือนเมื่อก่อน สรีระ

ก็หย่อนย่นเป็นเกลียวกาย ก็ค้อมไปข้างหน้า และความแปรปรวนแห่งอินทรีย์

คือ จักษุ โสตะ ฆานะ ชิวหา กาย ก็ปรากฏอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 63

[๙๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้

จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

ถึงท่านจะติความแก่อันเลวทราม ถึง

ท่านจะติความแก่อันทำให้ผิวพรรณทราม

ไป รูปอันน่าพึงใจก็คงถูกความแก่ย่ำยีอยู่

นั่นเอง แม้ผู้ใดพึงมีชีวิตอยู่ได้ร้อยปี (ผู้

นั่นเองก็ไม่พ้นความตายไปได้) สัตว์ทั้งปวงมี

ความตายเป็นเบื้องหน้า ความตายย่อมไม่

ละเว้นอะไร ๆ ย่อมย่ำยีทั้งหมดทีเดียว.

จบชราสูตรที่ ๑

ชราวรรคที่ ๕

อรรถกถาชราสูตร

ชราวรรคที่ ๕ สูตรที่ ๑. คำว่า ปจฺฉาตปเก (มีแดดอยู่ทาง

หลัง) คือมีแดดอยู่ทางทิศตะวันตกเเห่งปราสาท เพราะเงาปราสาทบังทิศ-

ตะวันออก อธิบายว่า เสด็จประทับนั่งบนพระบวรพุทธอาสน์ที่ปูไว้ในที่นั้น.

คำว่า ผินพระปฤษฎางค์ผิงแดด ความว่า เพราะในพระสรีระที่เป็น

อุปาทินนกสังขารแท้ของพระสัมพุทธเจ้า ในเวลาร้อนก็ร้อน ในเวลาเย็นก็

เย็น ก็สมัยนี้เป็นสมัยหนาวมีน้ำค้างตก ฉะนั้น ในเวลานั้นจึงทรงเอา

มหาจีวรออกแล้ว เสด็จประทับนั่งหันพระปฤษฎางค์ผิงแดด. ถามว่า แสงแดด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 64

สามารถข่มรัศมีพระพุทธเจ้าเข้าไปภายในได้หรือ. ตอบว่าไม่ได้. เมื่อเป็นเช่นนี้

อะไรส่องให้ร้อน. เดชแห่งรัศมีส่องให้ร้อน เหมือนอย่างว่า แสงแดดถูกต้องตัว

คนที่นั่งโคนไม้ใต้ร่มที่เป็นปริมณฑลในเวลาเที่ยงไม่ได้ก็จริงอยู่ ถึงอย่างนั้น

ความร้อนก็ยังแผ่ไปทุกทิศ เหมือนเอาเปลวไฟมาล้อมรอบ ฉันใด ฉันนั้น

เหมือนกัน เมื่อแสงแดดไม่สามารถข่มรัศมีพระพุทธเจ้าแล้วแทรกเข้าไปข้าง

ในได้ ก็พึงทราบว่าพระศาสดาประทับนั่งรับความร้อนอยู่. คำว่า บีบนวด

คือทรงลูบขยำด้วยอำนาจทำการผิงพระปฤษฎางค์. คำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

น่าอัศจรรย์ คือ พระเถระปลดมหาจีวรออกจากพระปฤษฎางค์ของพระผู้มี

พระภาคเจ้า ได้เห็นรอยหย่อนยานเท่าปลายผม เหมือน ขดทองคำในระหว่าง

ปลายพระอังสะ (บ่า) ทั้งสองข้างของพระองค์ผู้ประทับนั่งเกิดความสังเวช

เมื่อจะตำหนิความแก่ว่า แม้แต่ในพระสรีระขนาดนี้ ก็ยังปรากฏมีความแก่จน

ได้ จึงกล่าวอย่างนั้น. นัยว่า นี้ชื่อว่าเป็นของอัศจรรย์สำหรับช่างติ. เมื่อแสดง

ว่าพระฉวีวรรณที่หมดจดโดยปกติ ไม่อย่างนั้นเสียแล้ว จึงทูลอย่างนี้ว่า

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า หาได้หมดจดเหมือนเมื่อก่อนไม่ พระเจ้าข้า. จริง

เมื่อเวลาที่พระตถาคตเจ้า ยังทรงหนุ่มอยู่ พระวรกายไม่มีรอยย่น เหมือน

หนังโคที่เขาเอาขอตั้งร้อยเล่ม มาดึงขึงให้เท่ากัน ด้วยประการฉะนี้. ฝุ่น-

ละอองที่มาตั้งไว้ในพระหัตถ์นั้น ก็ตกหล่นไป ค้างอยู่ไม่ได้เลย เหมือนถึง

อาการเช็ดด้วยน้ำมัน แต่ในยามแก่เฒ่า (สำหรับคนทั่วไป) เปลวที่ศีรษะ

ก็เหี่ยวห่อไป แม้แต่ข้อต่อก็ห่างกันออกไป เนื้อก็ไม่เกาะกระดูกสนิท ถึง

ความหย่อนยานห้อยย้อยไปในที่นั้น ๆ. แต่ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย หาเป็น

อย่างนั้นไม่ อาการดังที่มานี้ หาได้ปรากฏแก่คนเหล่าอื่นไม่ ปรากฏแต่แก่

พระอานนทเถระเท่านั้น เพราะท่านอยู่ใกล้ชิด ฉะนั้น ท่านจึงทูลอย่างนั้น.

คำว่า พระสรีระหย่อนย่น คือ เกลียวย่นปรากฏในที่นั้น ๆ คือ ที่หน้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 65

ที่ระหว่างจะงอยบ่า ของคนเหล่าอื่น แต่สิ่งนั้นหามีแก่พระศาสดาไม่ แต่พระ

เถระมองเห็นขดรอยย่นระหว่างปลายพระอังสะทั้งสองข้าง จึงได้ทูลอย่างนั้น.

แม้คำว่า สัณฐานเกิดเป็นเกลียวนี้ ท่านก็กล่าวด้วยอำนาจที่ปรากฎแก่ตน

เท่านั้น. แต่รอยย่นเหมือนของคนเหล่าอื่นหามีแก่พระศาสดาไม่. คำว่า

พระวรกายก็ค้อมไปข้างหน้า คือ พระศาสดาทรงมีพระกายตรงเหมือนกาย

พรหม คือ พระกายของพระองค์สูงตรงขึ้นไป เหมือนเสาหลักทองคำที่ปัก

ไว้ในเทพนคร แต่เมื่อทรงพระชราแล้ว พระกายก็ค้อมไปข้างหน้า และท่าน

ว่า พระกายที่ค้อมไปข้างหน้านี้ หาปรากฏแก่คนเหล่าอื่นไม่

ปรากฏแต่แก่พระเถระเท่านั้น เพราะท่านอยู่ใกล้ชิด ฉะนั้น

ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น. คำว่า และความแปรปรวนแห่งอินทรีย์ทั้งหลายก็

ปรากฏ คือ ที่ชื่อว่าอินทรีย์ทั้งหลาย หาใช่อินทรีย์ที่ต้องรู้แจ้งด้วยตาไม่ เพราะ

โดยปกติ พระฉวีวรรณก็หมดจดอยู่แล้ว แต่บัดนี้หาได้หมดจดอย่างนั้นไม่

รอยย่นปรากฏที่ระหว่างปลายพระอังสะ พระกายที่ตรงเหมือนกายพรหม ก็

โกงไปข้างหน้า ด้วยเหตุนี้แล ท่านจึงกล่าวอย่างนี้ด้วยการถือเอานัยว่า ก็แล

ความที่อินทรีย์มีตาเป็นต้นแปรปรวนไปต้องมี.

คำว่า ธิ ต ชมฺมีชเร อตฺถุ ความว่า โธ่ ความแก่ลามก จงมีกะเจ้า

คือแก่เจ้า. ธิ อักษรคือ ความติเตียนจงถูกต้องเจ้า. อัตภาพ ชื่อว่า พิมพ์.

จบอรรถกถาชราสูตรที่ ๑

* พม่าเป็น สพฺพานิ ฉบับอรรถกถาไทยเป็น สณฺานิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 66

๒. อุณณาภพราหมณสูตร

อินทรีย์ ๕ มีอารมณ์ต่างกัน

[๙๖๖] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์เข้าไปเฝ้าพระผู้-

มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการ

ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

[๙๖๗] ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ มีอารมณ์

ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน อินทรีย์ ๕

ประการเป็นไฉน คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑

กายินทรีย์ ๑ อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ซึ่งมีอารมณ์

ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของกันและกัน และอะไร

ย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้.

[๙๖๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ อินทรีย์ ๕

ประการนี้ มีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจร

ของกันและกัน อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑

ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ ใจเป็นที่ยึดเหนี่ยวของอินทรีย์ ๕

ประการนี้ ซึ่งมีอารมณ์ต่างกัน มีโคจรต่างกัน ไม่เสวยอารมณ์อันเป็นโคจร

ของกันและกัน และใจย่อมเสวยอารมณ์อันเป็นโคจรของอินทรีย์ ๕ ประการนี้.

[๙๖๙] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจเล่า.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ สติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งใจ.

[๙๗๐] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติเล่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 67

พ. ดูก่อนพราหมณ์ วิมุตติเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งสติ.

[๙๗๑] อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่ง

วิมุตติเล่า.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ นิพพานเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งวิมุตติ.

อุ. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวแห่งนิพพานเล่า.

พ. ดูก่อนพราหมณ์ ท่านล่วงเลยปัญหาไปเสียแล้ว ไม่อาจถือเอาที่

สุดแห่งปัญญาได้ ด้วยว่าพรหมจรรย์ที่บุคคลอยู่จบแล้ว มีนิพพานเป็นที่หยั่ง

ลง มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า มีนิพพานเป็นที่สุด.

[๙๗๒] ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์ชื่นชมอนุโมทนาพระภาษิตของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ

ประทักษิณแล้วหลีกไป.

[๙๗๓] ครั้นอุณณาภพราหมณ์หลีกไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาค-

เจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า

[๙๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรือนยอดหรือศาลาคล้ายเรือนยอด มี

หน้าต่างในทิศเหนือหรือทิศตะวันออก เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นไปแสงส่องเข้าไป

ทางหน้าต่างตั้งอยู่ที่ฝาด้านไหน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ตั้งอยู่ที่ฝาด้าน

ตะวันตก พระเจ้าข้า.

พ. อย่างนั้น เหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ศรัทธาในพระตถาคตของ

อุณณาภพราหมณ์มั่นคงแล้ว มีรากเกิดแล้ว ตั้งอยู่มั่นแล้ว อันสมณพราหมณ์

เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ ในโลกจะพึงชักนำไปไม่ได้ ถ้าอุณณาภ-

พราหมณ์ พึงทำกาละในสมัยนี้ไซร้ ย่อมไม่มีสังโยชน์ซึ่งเป็นเครื่องประกอบ

ให้อุณณาภพราหมณ์ต้องมายังโลกนี้อีก.

จบอุณณาภพราหมณสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 68

อรรถกถาอุณณาภพราหมสูตร

อุณณาภพราหมณสูตรที่ ๒. คำว่า โคจรวิสย ได้แก่อารมณ์

อันเป็นที่เที่ยวไป (ของจิต). คำว่า ของกันและกัน คือ อินทรีย์อย่างหนึ่ง

ย่อมไม่เสวยอารมณ์อีกอย่างหนึ่ง เช่นตาจะเสวยอารมณ์แทนหูไม่ได้ หรือหู

จะเสวยอารมณ์แทนตา (ก็ไม่ได้) จริงอยู่ หากจะเอาอารมณ์คือรูปที่แตกต่าง

กันด้วยสีเขียวเป็นต้น มารวมกันแล้วก็ป้อนเข้าไปให้โสตินทรีย์ว่า เอาสิ

แกลองชี้แจงมันมาให้แจ่มแจ้งทีว่า นี่มันชื่ออารมณ์อะไรกัน ? จักษุวิญญาณ

แม้จะยกเอาปากออกแล้ว ก็จะต้องพูดโดยธรรมดาของตนอย่างนี้ว่า เฮ้ย !

ไอ้บอดโง่ ต่อให้แกวิ่งวุ่นตั้งร้อยปี พันปีก็ตาม นอกจากข้าแล้ว แกจะได้

ผู้รู้อารมณ์นี้ที่ไหน แกลองนำเอามันมาป้อนเข้าไปที่จักษุประสาทสิ ข้าจะ

รู้จักอารมณ์ ไม่ว่ามันเป็นสีเขียวหรือสีแดง เพราะนี่มันมิใช่วิสัยของผู้อื่น

แต่มันเป็นวิสัยของข้าเองเท่านั้น . แม้ในทวารที่เหลือก็ทำนองนี้แหละ อินทรีย์

เหล่านี้ ชื่อว่าไม่เสวยอารมณ์ของกันและกันดังที่ว่ามานี้.

คำว่า กึ ปฏิสรณ คือ ท่านถามว่า อะไรเป็นที่พึ่งอาศัยของ

อินทรีย์เหล่านี้ คืออินทรีย์เหล่านี้พึ่งอะไร. คำว่า มโน ปฏิสรณ คือใจ

ที่เป็นชวนะ (แล่นไปเสพอารมณ์) เป็นที่พึ่งอาศัย. คำว่า มโน จ เนส

ความว่า ใจนั่นแล ที่แล่นไปตามมโนทวารนั่นแหละ ย่อมเสวยอารมณ์ของ

อินทรีย์เหล่านั้น ด้วยอำนาจความรักเป็นต้น. จริงอยู่ จักษุวิญญาณ เห็น

แต่รูปเท่านั้นเอง ความรักความโกรธหรือความหลงในความรู้แจ้งทางตานี้

หามีอยู่ไม่ แต่ชวนะในทวารหนึ่ง ย่อมรัก โกรธ หรือหลง. แม้ใน

โสตวิญญาณเป็นต้น ก็นัยนี้แหละ. ในเรื่องนั้นมีข้อเปรียบเทียบดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 69

เล่ากันว่า มีกำนันทุรพล ๕ คน ด้วยความยากลำบาก คบพระราชา

ได้ส่วยเล็กน้อยในหมู่บ้าน ๕ ตระกูลแห่งหนึ่ง ในหมู่บ้านนั้น พวกเขาได้

รับของเพียงเท่านี้เองคือ ส่วนปลา ส่วนเนื้อ กหาปณะพอซื้อเชือกได้

กหาปณะกึ่งเดียว กหาปณะมีค่าหนึ่งมาสก กหาปณะแปดเหรียญ กหาปณะ

๑๖ เหรียญ กหาปณะ ๖๘ เหรียญ และการปรับ (หรือลงโทษสถานเบา ๆ).

พระราชาเท่านั้น ทรงรับเอาส่วยใหญ่โต มีวัตถุตั้งร้อยอย่าง ห้าร้อยอย่าง พัน

อย่าง. ในเรื่องเปรียบเทียบนั้น พึงเห็นประสาททั้ง ๕ เหมือนหมู่บ้านของ ๕

ตระกูล วิญญาณทั้ง ๕ เหมือนกำนันทุรพล ๕ คน ชวนะเหมือนพระราชา

หน้าที่สักว่า เห็นรูปเป็นต้นของจักขุวิญญาณเป็นต้น เหมือนการรับส่วย

เล็กน้อยของพวกกำนันทุรพล แต่ความกำหนัดเป็นต้นไม่มีในจักษุวิญญาณ

เป็นต้น นี้ พึงทราบว่าความกำหนัดเป็นต้นเป็นเรื่องของชวนะในทวารเหล่านั้น

เหมือนการทรงรับเอาส่วยใหญ่โตของพระราชา. ชวนะทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล

ท่านเรียกว่าใจ ในที่นี้ ดังที่ว่ามานี้. คำว่า สติ ปฏิสรณ ได้แก่ ความ

ระลึกในมรรค เป็นที่พึ่งอาศัย. จริงอยู่ ใจที่เป็นชวนะ ย่อมพึ่งอาศัยความ

ระลึกในมรรค. คำว่า วิมุตฺติ คือ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจผล. คำว่า

นิพพาน คือนิพพานเป็นที่พึ่งอาศัยของความหลุดพ้นด้วยอำนาจผล เพราะ

ความหลุดพ้นนั้นย่อมอาศัยนิพพานนั้น. คำว่า ไม่อาจถือเอาที่สุดของ

ปัญหาได้ คือ ไม่สามารถถือเอาประมาณอันเป็นขั้นตอนของปัญหาได้

ท่านถามสิ่งซึ่งหาที่พึ่งพาอาศัยมิได้ว่า มีที่พึ่งพาอาศัย ธรรมดาว่านิพพานนี้

ไม่เป็นที่พึ่งพาอาศัย คือ ไม่พึ่งพาอาศัยอะไร ๆ ด้วยประการฉะนี้. คำว่า

นิพฺพาโนคธ คือ หยั่งลงไปภายในนิพพาน เข้าไปตามนิพพาน. คำว่า

พรหมจรรย์ หมายถึงมรรคพรหมจรรย์. คำว่า มีนิพพานเป็นเบื้องหน้า

คือนิพพานเป็นที่ไปข้างหน้า คือเป็นคติเบื้องหน้าของพรหมจรรย์นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 70

หมายความว่า นอกจากนิพพานนั้น พรหมจรรย์นั้นไม่ไปที่อื่น (อีกแล้ว).

ที่ชื่อว่า มีนิพพานเป็นที่สุด ก็เพราะนิพพานเป็นที่ลงท้ายคือเป็นที่สุดของ

พรหมจรรย์นั้น.

ท่านเรียกความเชื่อที่มาด้วยกันกับมรรคว่า รากตั้งมั่นแล้ว พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาอะไร จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย หากในสมัยนี้

ทรงหมายเอาความเป็นอนาคามีที่ประกอบด้วยฌาน. จริงอย่างนั้น ในสมัยนั้น

จิตที่เป็นอกุศลทั้ง ๕ ดวงเป็นสภาพที่พราหมณ์ละได้แล้ว ด้วยมรรคแรก

นิวรณ์ทั้ง ๕ ก็ละได้แล้วด้วยฌานที่ ๑ เพราะฉะนั้น พราหมณ์นั้นตั้งอยู่ใน

ตำแหน่งอนาคามีที่ประกอบด้วยฌาน ไม่เสื่อมจากฌาน ตายไปก็ต้อง

ปรินิพพานในที่นั้นนั่นแหละ แต่ถ้าเมื่อพราหมณ์ปกครองลูกเมีย จัดการจัด

งานอยู่ ฌานหายไป เมื่อฌานหายไปแล้ว คติก็ไม่เกี่ยวเนื่องกัน แต่เมื่อฌาน

ไม่หาย คติจึงจะเกี่ยวเนื่องกัน เพราะฉะนั้น จึงตรัสหมายเอาความเป็น

อนาคามีที่ประกอบด้วยฌานนี้ อย่างนี้.

จบอรรถกถาอุณณาภพราหมณสูตรที่ ๒

๓. สาเกตสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕ พละ ๕

[๙๗๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอัญชนมิคทายวัน

ใกล้เมืองสาเกต ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็น

พละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว ย่อมเป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่หรือหนอ ภิกษุทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 71

กราบทูลว่า ๔ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มี

พระภาคเจ้าเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแบบอย่าง มีพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นที่พึ่ง ขอประทานวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะพระผู้มี

พระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้วจักทรงจำไว้.

[๙๗๖] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่อินทรีย์ ๕ อาศัยแล้ว

เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ มีอยู่ ปริยายที่อินทรีย์ ๕

อาศัยแล้ว เป็นพละ ๕ ที่พละ ๕ อาศัยแล้ว เป็นอินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ?

[๙๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็น

สัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็นวิริยินทรีย์

สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์ สิ่งใดเป็น

สตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์ สิ่งใด

เป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็น

สมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญา

พละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

[๙๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำ ซึ่งไหลไปทาง

ทิศตะวันออก หลั่งไปทางทิศตะวันออก บ่าไปทางทิศตะวันออก ที่ตรงกลาง

แม่น้ำนั้นมีเกาะ ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความ

นับว่ากระแสเดียวมีอยู่ อนึ่ง ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว ย่อมถึง

ซึ่งความนับว่า สองกระแสที่มีอยู่.

[๙๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัย

แล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียวเป็นไฉน คือ น้ำในที่สุดด้านตะวันออก

และในที่สุดด้านตะวันตกแห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น

อาศัยแล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่ากระแสเดียว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 72

[๙๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้น อาศัย

แล้ว ย่อมถึงซึ่งความนับว่าสองกระแสเป็นไฉน คือ น้ำในที่สุดด้านเหนือ

และในที่สุดด้านใต้แห่งเกาะนั้น ปริยายนี้แล ที่กระแสแห่งแม่น้ำนั้นอาศัยแล้ว

ย่อมถึงซึ่งความนับว่า สองกระแสฉันใด.

[๙๘๑] ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์

สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ สิ่งใดเป็นสัทธาพละ สิ่งนั้นเป็นสัทธินทรีย์ สิ่งใดเป็น

วิริยินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นวิริยพละ สิ่งใดเป็นวิริยพละ สิ่งนั้นเป็นวิริยินทรีย์

สิ่งใดเป็นสตินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสติพละ สิ่งใดเป็นสติพละ สิ่งนั้นเป็นสตินทรีย์

สิ่งใดเป็นสมาธินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นสมาธิพละ สิ่งใดเป็นสมาธิพละ สิ่งนั้นเป็น

สมาธินทรีย์ สิ่งใดเป็นปัญญินทรีย์ สิ่งนั้นเป็นปัญญาพละ สิ่งใดเป็นปัญญา

พละ สิ่งนั้นเป็นปัญญินทรีย์.

[๙๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ อันตน

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ

อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน

ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบสาเกตสูตรที่ ๓

อรรถกถาสาเกตสูตร

สาเกตสูตรที่ ๓. คำว่า ในป่าอัญชัน คือในป่าที่ปลูกต้นไม้

มีดอกสีเหมือนดอกอัญชัน. คำว่า ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดเป็นสัทธินทรีย์

สิ่งนั้นเป็นสัทธาพละ คือ ก็ที่ชื่อว่า สัทธินทรีย์ เพราะอรรถว่าใหญ่ ในสิ่ง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 73

ที่มีความน้อมเชื่อไปเป็นลักษณะ ชื่อว่าเป็นสัทธาพละ เพราะไม่หวั่นไหวใน

อินทรีย์ที่ไม่พึงเชื่อ ความที่คุณธรรมนอกนี้เป็นอินทรีย์ ก็เพราะอรรถว่า

ใหญ่ในลักษณะคือความประคับประคอง ความปรากฏ ความไม่ฟุ้งซ่านและ

ความรู้ชัด. พึงทราบความเป็นพละเพราะไม่หวั่นไหวในเพราะความเกียจคร้าน

ความลืมสติ ความซัดส่ายและความไม่รู้. พึงทราบเหตุที่ทำให้อินทรีย์และ

พละเหล่านั้น ไม่แตกต่างกันด้วยอำนาจ สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา

เหมือนกระแสน้ำสายหนึ่งของแม่น้ำนั้น ด้วยคำว่า เอวเมว โข. พึงทราบ

เหตุที่ทำให้แตกต่างกัน ด้วยอำนาจอินทรีย์และพละ ด้วยอรรถว่าใหญ่และไม่

หวั่นไหวเหมือนกระแสน้ำสองสาย ฉะนั้น.

จบอรรถกถาสาเกตสูตรที่ ๓

๕. ปุพพโกฏฐกสูตร

พระสารีบุตรไม่เชื่อพระพุทธเจ้า

[๙๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปุพพโกฎฐกะ ใกล้

กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระสารีบุตรมาแล้ว

ตรัสว่า

[๙๘๔] ดูก่อนสารีบุตร เธอเชื่อหรือว่า สัทธินทรีย์ที่บุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะ

เป็นที่สุด วิริยินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ที่บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มาก

แล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 74

[๙๘๕] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใน

เรื่องนี้ ข้าพระองค์ไม่ถึงความเชื่อต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ

ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมจิตหยั่งสู่อมตะ

มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้

ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น

พึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่นในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหลั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น

เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้เเล้ว เห็นแล้ว

ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชนเหล่านั้น

หมดความเคลือบแคลงสงสัยในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหลั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น

เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อมตะนั้น ข้าพระองค์

รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา

ข้าพระองค์จึงหมดความเคลือบแคลงสงสัยในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ

ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหลั่งลงสู่อมตะ

มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

[๙๘๖] พ. ดีละ ๆ สารีบุตร ด้วยว่าอมตะนั้น ชนเหล่าใดยังไม่รู้

ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่กระทำให้แจ้ง ไม่พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา ชน-

เหล่านั้นพึงถึงความเชื่อต่อชนเหล่าอื่นในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ

ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหลั่งลงสู่อมตะ

มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ก็แลอมตะนั้น ชนเหล่าใดรู้แล้ว

เห็นแล้ว ทราบแล้ว กระทำให้แจ้งแล้ว พิจารณาเห็นแล้วด้วยปัญญา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 75

ชนเหล่านั้นหมดความเคลือบแคลงสงสัยในอมตะนั้นว่า สัทธินทรีย์ ฯลฯ

ปัญญินทรีย์ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ

มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

จบปุพพโกฏฐกสูตรที่ ๔

อรรถกถาปุพพโกฏฐกสูตร

ปุพพโกฏฐกสูตรที่ ๔. คำว่า หยั่งลงสู่อมตะ คือสู่ภายในอมฤต.

คำว่า มีอมตะเป็นเบื้องหน้า คือ ที่เกิดจากอมตะสำเร็จจากอมตะ. คำว่า

มีอมตะเป็นที่สุด คือสิ้นสุดที่อมตะ. คำว่า สาธุ สาธุ ดีละ ๆ คือ เมื่อ

จะทรงสรรเสริญคำพยากรณ์ของพระเถระ ก็ประทานสาธุการ.

จบอรรถกถาปุพพโกฏฐกสูตรที่ ๔

๕. ปฐมปุพพารามสูตร

ว่าด้วยปัญญินทรีย์เป็นใหญ่

[๙๘๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทของนางวิสาขา

มิคารมารดา ในปุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 76

ที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ

ย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว

กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุทั้งหลาย

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มี

พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแบบอย่าง ฯลฯ

[๙๘๘] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ประการหนึ่ง

อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผล

ได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว . . . กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี อินทรีย์

อย่างหนึ่งเป็นไฉน คือปัญญินทรีย์.

[๙๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตาม

ปัญญาของพระอริยสาวกผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น.

[๙๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ประการหนึ่งนี้แล

อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผล

ได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว . . .กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบปฐมปุพพารามสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 77

อรรถกถาปฐมปุพพารามสูตร

ปฐมปุพพารามสูตรที่ ๕. คำว่า ตทนฺวยา คือไปตามปัญญานั้น

หมายความว่า หมุนไปตาม (ปัญญานั้น ). พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำส่วน

เบื้องต้นให้เป็นต้นแล้ว ตรัสแต่อินทรีย์ในผลเท่านั้น ใน ๖ สูตรตามลำดับ.

จบอรรถกถาปฐมปุพพารามสูตรที่ ๕

๖. ทุติยปุพพารามสูตร*

ว่าด้วยอินทรีย์ ๒

[๙๙๑] นิทานนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้น

แล้ว...กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นแบบอย่าง ฯลฯ

[๙๙๒] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๒ ประการ

อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผล

ได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว...กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

* สูตรที่ ๖-๗-๘ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 78

[๙๙๓] อินทรีย์ ๒ ประการเป็นไฉน. คือ ปัญญาอันเป็นอริยะ ๑

วิมุตติอันเป็นอริยะ ๑ ก็ปัญญาอันเป็นอริยะของภิกษุนั้น เป็นปัญญินทรีย์

วิมุตติอันเป็นอริยะของภิกษุนั้น เป็นสมาธินทรีย์.

[๙๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๒ ประการนี้แล

อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผล

ได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว . .. กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบทุติยปุพพารามสูตรที่ ๖

๗. ตติยปุพพารามสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๔

[๙๙๕] นิทานนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว ....กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นแบบอย่าง ฯลฯ

[๙๙๖] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๔ ประการ

อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผล

ได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว.... กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๙๙๗] อินทรีย์ ๔ ประการเป็นไฉน คือ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑

สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 79

[๙๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๔ ประการนี้แล

อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผล

ได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว .. .กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบตติยปุพพรามสูตรที่ ๗

๘. จตุตถปุพพารามสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๕

[๙๙๙] นิทานนั้นเหมือนกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์เท่าไรหนอ อันตนเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว...กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นแบบอย่าง ฯลฯ

[๑๐๐๐] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ ประการ

อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพย่อมพยากรณ์อรหัตผล

ได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว ...กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๑] อินทรีย์ ๕ ประการเป็นไฉน. คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริ-

ยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑

[๑๐๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ ประการนี้แล

อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุผู้ขีณาสพ ย่อมพยากรณ์อรหัตผล

ได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว . .. กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบจตตุถปุพพารามสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 80

๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๓

[๑๐๐๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุง

โกสัมพี ก็สมัยนั้น ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะ ได้พยากรณ์อรหัตผลว่า

เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว....กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๔ ] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระบิณโฑล-

ภารทวาชะพยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว . . . กิจอื่นเพื่อความ

เป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระบิณโฑลภารทวาชะเห็น

อำนาจประโยชน์อะไรหนอ จึงพยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้น

แล้ว . . กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

ความที่อินทรีย์ ๓ ประการ อันตนเจริญเเล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุ

บิณโฑลภารทวาชะ จึงพยากรณ์อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว....

กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๗] อินทรีย์ ๓ ประการเป็นไฉน คือ สตินทรีย์ ๑ สมาธิน-

ทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 81

[๑๐๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๓ ประการนี้แล

อันตนเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ภิกษุบิณโฑลภารทวาชะจึงพยากรณ์

อรหัตผลได้ว่า เรารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว.. .กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

[๑๐๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อินทรีย์ ๓ ประการนี้ มีอะไรเป็น

ที่สุด มีความสิ้นเป็นที่สุด มีความสิ้นแห่งอะไรเป็นที่สุด มีความสิ้นแห่งชาติ

ชราและมรณะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบิณโฑลภารทวาชะเห็นว่า

ความสิ้นแห่งชาติ ชราและมรณะดังนี้แล จึงพยากรณ์อรหัตผลว่า เรารู้ชัดว่า

ชาติสิ้นแล้ว . . .กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบปิณโฑลภรทวาชสูตรที่ ๙

๑๐. สัทธาสูตร

ว่าด้วยศรัทธาของพระอริยสาวก

[๑๐๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวอังคะชื่อ

อาปณะ ในแคว้นอังคะ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่าน

พระสารีบุตรมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร อริยสาวกผู้ใดมีศรัทธามั่น เลื่อม

ใสยิ่งในพระตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัยในตถาคตหรือ

ในศาสนาของตถาคต.

[๑๐๑๑] พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวก

ใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใสยิ่งในพระตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 82

หรือสงสัยในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มี

ศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม

เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มีกำลัง มีความบากบั่น มั่นคง ไม่ทอดธุระใน

กุศลธรรมทั้งหลาย.

[๑๐๑๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ริยะของอริยสาวกนั้นเป็นวิริยิน-

ทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า

จักเป็นผู้มีสติ. ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึง ตาม

ระลึกถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้.

[๑๐๑๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์

ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา เราปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวัง

ข้อนี้ได้ว่า จักยึดหน่วงนิพพานให้เป็นอารมณ์ ได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๑๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็สมาธิของอริยสาวกนั้นเป็นสมา-

ธินทรีย์ ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ มีจิต

ตั้งมั่นโดยชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า. จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้น

อันบุคคลรู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าผู้มีอวิชชาเครื่องกั้น มี

ตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับด้วยการ

สำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืดคืออวิชชา นั้นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบท

อันประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความ

สิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน.

[๑๐๑๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้นเป็น

ปัญญินทรีย์ อริยสาวกนั้นแลพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้

ครั้นระลึกแล้ว ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 83

ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้ว่า ธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้วนั่นเอง

เหตุนั้น บัดนี้ เราถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.

[๑๐๑๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ศรัทธาของสาวกเป็นสัทธินทรีย์ดัง

นี้แล.

[๑๐๑๗] พ. ดีละ ๆ สารีบุตร อริยสาวกใดมีศรัทธามั่น เลื่อมใส

ในตถาคต อริยสาวกนั้นไม่พึงเคลือบแคลงหรือสงสัยในพระตถาคตหรือใน

ศาสนาของพระตถาคต ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จัก

เป็นผู้ปรารภความเพียรเพื่อละอกุศลธรรม เพื่อยังกุศลธรรมให้ถึงพร้อม มี

กำลัง มีความบากบั่นมั่นคง ไม่ทอดธุระในกุศลธรรมทั้งหลาย.

[๑๐๑๘] ดูก่อนสารีบุตร ก็วิริยะของอริยสาวกนั้น เป็นวิริยินทรีย์

ด้วยว่าอริยสาวก ผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียรแล้ว พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จัก

เป็นผู้มีสติ ประกอบด้วยสติเป็นเครื่องรักษาตนอย่างยิ่ง จักระลึกถึงตามระลึก

ถึงกิจที่ทำและคำที่พูดแม้นานได้.

[๑๐๑๙] ดูก่อนสารีบุตร ก็สติของอริยสาวกนั้น เป็นสตินทรีย์ ด้วย

ว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้แล้ว พึงหวังข้อนี้

ได้ว่า ซึ่งทำความสละอารมณ์แล้ว ก็ได้สมาธิ จักได้เอกัคคตาจิต.

[๑๐๒๐] ดูก่อนสารีบุตร ก็สมาธิของอริยสาวกนั้น เป็นสมาธินทรีย์

ด้วยว่าอริยสาวกผู้มีศรัทธา ปรารภความเพียร เข้าไปตั้งสติไว้ ที่จิตตั้งมั่นโดย

ชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ชัดอย่างนี้ว่า สงสารมีที่สุดและเบื้องต้นอันบุคคล

รู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้น ที่สุดไม่ปรากฏแก่เหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องกั้น มี

ตัณหาเป็นเครื่องผูกไว้ ผู้แล่นไปแล้ว ท่องเที่ยวไปแล้ว ก็ความดับด้วยการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 84

สำรอกโดยไม่เหลือแห่งกองมืดคืออวิชชา นั่นเป็นบทอันสงบ นั่นเป็นบทอัน

ประณีต คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้น

ตัณหา ความสิ้นกำหนัด ความดับ นิพพาน.

[๑๐๒๑] ดูก่อนสารีบุตร ก็ปัญญาของอริยสาวกนั้น เป็นปัญญินทรีย์

อริยสาวกนั้นแลพยายามอย่างนี้ ครั้นพยายามแล้ว ระลึกอย่างนี้ ครั้นระลึกแล้ว

ตั้งมั่นอย่างนี้ ครั้นตั้งมั่นแล้ว รู้ชัดอย่างนี้ ครั้นรู้ชัดแล้ว ย่อมเชื่อมั่นอย่างนี้

ว่าธรรมเหล่านี้ ก็คือธรรมที่เราเคยได้ฟังมาแล้วนั่นเอง เหตุนั้น บัดนี้ เรา

ถูกต้องด้วยนามกายอยู่ และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา.

[๑๐๒๒] ดูก่อนสารีบุตร สิ่งใดเป็นศรัทธาของอริยสาวกนั้น สิ่งนั้น

เป็นสัทธินทรีย์ของอริยสาวกนั้น ดังนี้แล.

จบสัทธาสูตรที่ ๑๐

จบชราวรรคที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 85

อรรถกถาสัทธาสูตร

สัทธาสูตรที่ ๑๐. คำว่า อิเม โข เต ธมฺมา ได้แก่มรรค ๓

เบื้องบนที่พร้อมกับวิปัสสนา. คำว่า ธรรมเหล่าใดที่ข้าพเจ้าฟังมาก่อน

แล้วเที่ยว ได้แก่ ธรรมเหล่าใด ของพวกท่านที่กำลังกล่าวอยู่ว่า อินทรีย์

แห่งอรหัตผล มีอยู่ทีเดียว เป็นธรรมที่ข้าพเจ้าได้ฟังมาก่อนแล้ว. คำว่า

และถูกต้องด้วยกาย คือ และถูกต้อง คือได้เฉพาะด้วยนามกาย. คำว่า

และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา คือ และเห็นแจ้งแทงตลอดอย่างยิ่ง

ด้วยปัญญาเครื่องพิจารณา. คำว่า พระเจ้าข้า ก็ศรัทธาอันใดของเขา คือ

ศรัทธาอันไหนนี้ คือ ศรัทธาที่ประกอบด้วยอินทรีย์ทั้ง ๔ อย่างที่ตรัสไว้ใน

หนหลังแล้ว. ก็แหละ ศรัทธา เป็นศรัทธาสำหรับพิจารณา จริงอยู่ สัมปยุตต-

ศรัทธา เป็นศรัทธาที่เจือกัน. ปัจจเวกขณศรัทธาเป็นโลกิยะอย่างเดียว. คำ

ที่เหลือทุกบท ตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสัทธาสูตรที่ ๑๐

จบชราวรรควรรณนาที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ชราสูตร ๒. อุณณาภพราหมณสูตร ๓. สาเกตสูตร ๔. ปุพพ-

โกฏฐกสูตร ๕. ปฐมปุพพารามสูตร ๖. ทุติยปุพพารามสูตร ๗. ตติยปุพพา

รามสูตร ๘. จตุตถปุพพารามสูตร ๙. ปิณโฑลภารทวาชสูตร ๑๐. สัทธา

สูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 86

สูกรขาตวรรคที่ ๖

๑. โกสลสูตร*

ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม

[๑๐๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โกสลพราหมณคาม

ในแคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว

ตรัสว่า

[๑๐๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก

สีหมฤคราชโลกกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มี

ความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า

เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้น

เหมือนกัน.

[๑๐๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน คือ

สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์

สตินทรีย์... สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไป

เพื่อความตรัสรู้.

[๑๐๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก

สีหมฤคราชโลกกล่าวว่าเป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความ

กล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอด

แห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือน

กัน.

จบโกสลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 87

สูกรขาตวรรควรรณนาที่ ๖

อรรถกถาโกสลสูตร

สูกรขาตวรรคที่ ๖ โกสลสูตรที่ ๑. คำว่า ด้วยความกล้า

คือด้วยความเป็นผู้กล้าหาญ. คำว่า เพื่อความรู้ คือประโยชน์แก่ความรู้.

จบอรรถกถาโกสลสูตรที่ ๑

๒. มัลลกสูตร

ว่าด้วยอินทรีย์ ๔

[๑๐๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละ

ชื่ออุรุเวลกัปปะ ในแคว้นมัลละ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

เรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า

[๑๐๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยญาณยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวก

เพียงใด อินทรีย์ ๔ ก็ยังไม่ตั้งลงมั่นเพียงนั้น เมื่อใดอริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่

อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ ก็ตั้งลงมั่น.

[๑๐๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอด เมื่อเขายัง

ไม่ได้ยกยอดขึ้นเพียงใด กลอนเรือนก็ยังไม่ชื่อว่า ตั้งอยู่มั่นคง เพียงนั้น เมื่อ

ใด เขายกยอดขึ้นแล้ว เมื่อนั้นกลอนเรือนจึงเรียกว่า ตั้งอยู่มั่นคง ฉันใด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 88

อริยญาณยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ก็ยังไม่ตั้งลงมั่นเพียงนั้น

เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ ก็ตั้งลงมั่น

ฉันนั้นเหมือนกัน อินทรีย์ ๔ เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑

สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑.

[๑๐๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิอันไปตาม

ปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น.

จบมัลลกสูตรที่ ๒

อรรถกถามัลลกสูตร

มัลลกสูตรที่ ๒. คำว่า ในแคว้นมัลละ คือ ในชนบทที่มีชื่อ

อย่างนั้น ในสูตรนี้ อินทรีย์ทั้ง ๔ เจือกัน อริยญาณเป็นโลกุตระ. แหละก็

อริยญาณแม้นั้น ก็ควรจำแนกว่า ทำให้อาศัยอินทรีย์ทั้ง* ๔ เป็นของเจือกัน.

จบอรรถกถามัลละสูตรที่ ๒

๓. เสขสูตร

ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ

[๑๐๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับนาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุง-

โกสัมพี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึง

รู้ว่า เราเป็นพระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิพึงรู้ว่า

เราเป็นพระอเสขะ มีอยู่หรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

* พม่าเป็นอาศัยอินทรีย์ที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 89

ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแบบอย่าง ฯลฯ

[๑๐๓๒] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัย

แล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว

ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะมีอยู่.

[๑๐๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้ง

อยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ เป็นไฉน ภิกษุผู้เป็นเสขะใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็น

เสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระเสขะ.

[๑๐๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะ ย่อม

พิจารณาเห็นดังนี้ ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดง

ธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่หรือ พระเสขะนั้นย่อม

รู้ชัดอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรม

ที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยาย

แม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูนิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระ-

เสขะ.

[๑๐๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อม

รู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑

ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นั้น มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่ง

ใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย

แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุ

เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 90

[๑๐๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว

ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ เป็นไฉน ภิกษุผู้เป็นอเสขะ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์... ปัญญินทรีย์

อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด

อริยสาวกผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วย

ปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัย และ

ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ.

[๑๐๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะ

ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหิน-

ทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ อริยสาวกผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดว่า อินทรีย์

๖ เหล่านี้จักดับไปหมดสิ้นโดยประการทั้งปวง ไม่มีเหลือ และอินทรีย์ ๖

เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพไหน ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่

ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระอเสขะ. 9 เ ส. ่ร ๓

จบเสขสูตรที่ ๓

อรรถกถาเสขสูตร

เสขสูตรที่ ๓. คำว่า น เหวโข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ได้แก่

ย่อมไม่ถูกต้อง คือได้เฉพาะด้วยนามกายแล้วแลอยู่ อธิบายว่า ย่อมไม่อาจถูก

ต้องคือไ่ด้เฉพาะ. คำว่า แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา คือ ก็แล

ย่อมรู้ชัดด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาว่า ชื่อว่าอินทรีย์ คือ อรหัตผลเบื้อง

บน ยังมีอยู่. ในภูมิของอเสขะ คำว่า ถูกต้องแล้วอยู่ คือได้เฉพาะ

แล้วแลอยู่. คำว่า ด้วยปัญญา คือ ย่อมรู้ชัดด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 91

ชื่อว่าอินทรีย์คืออรหัตผล ยังมีอยู่. แม้คำทั้งสองว่า น กุหิญฺจิ กิสฺมิญฺจ

ก็เป็นคำที่ใช้แทนกันและกัน. อธิบายว่า จะไม่เกิดขึ้นในภพไรๆ. ในสูตรนี้

อินทรีย์ทั้งห้าเป็นโลกุตระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรีย์ ๖ ที่เป็นโลกิยะ

อาศัยวัฏฏะเท่านั้น. ่

จบอรรถกถาเสขสูตรที่ ๓

๕. ปทสูตร

บทธรรมที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้

[๑๐๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่น

ดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอย

เท้าช้าง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้

ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ บท คือ

ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งบทธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความ

ตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บทแห่งธรรมทั้งหลายเป็นไฉน ย่อม

เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ได้แก่บทแห่งธรรม คือ สัทธินทรีย์ . . .วิริยินทรีย์ .....

สตินทรีย์...สมาธินทรีย์ ..ปัญญินทรีย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

จบปทสูตรที่ ๔

อรรถกถาปทสูตร

ปทสูตรที่ ๔. คำว่า บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็น

ไปเพื่อความตรัสรู้ คือ บทธรรมบทใดบทหนึ่ง ได้แก่ส่วนธรรมส่วนใด

ส่วนหนึ่งย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

จบอรรถกถาปทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 92

๕. สารสูตร

ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งบทธรรม

[๑๐๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่น

ดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง

รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่

แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ บท

คือ ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดของบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็น

ไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง

จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่า

นั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน คือ

สัทธินทรีย์... วิริยินทรีย์... สตินทรีย์... สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์

เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

[๑๐๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง

จันทน์แดง โลกกล่าวว่าเป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่า

นั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบสารสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 93

สารสูตรที่ ๕ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

๖. ปติฏฐิตสูตร

ว่าด้วยธรรมอันเอก

[๑๐๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน

ธรรมอันเอกเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว ธรรมอันเอกเป็นไฉน คือ ความไม่

ประมาท.

[๑๐๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไม่ประมาทเป็นไฉน ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมรักษาจิตไว้ในอาสวะและธรรมที่มีอาสวะ เมื่อเธอรักษาจิตไว้

ในอาสวะและธรรมที่มีอาสวะ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

แม้ปัญญินทรีย์ ก็ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์.

[๑๐๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เป็นอันภิกษุผู้ตั้งอยู่ใน

ธรรมอันเอกเจริญแล้ว เจริญดีแล้ว แม้ด้วยประการฉะนั้นแล.

จบปติฏิฐิตสูตรที่ ๖

อรรถกถาปติฏฐิสูตร

ปติฏฐิตสูตรที่ ๖. คำว่า ย่อมรักษาจิตไว้ในอาสวะและธรรม

ที่มีอาสวะ คือ ผู้ปรารภธรรมที่เป็นไปในสามภูมิแล้วห้ามการเกิดขึ้นแห่ง

อาสวะ ชื่อว่าย่อมรักษาในสิ่งที่เป็นอาสวะและที่ประกอบด้วยอาสวะ.

จบอรรถกถาปติฏฐิตสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 94

๗. พรหมสูตร

ว่าด้วยท้าวสหัมบดีพรหม

[๑๐๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าแรกตรัสรู้ ประทับอยู่ ณ ควงไม้

อชปาลนิโครธ แทบฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลา ครั้งนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ทรงเกิดความปริวิตกแห่งพระ-

หฤทัยอย่างนี้ว่า อินทรีย์ ๕ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่

อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน คือ

สัทธินทรีย์ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น

เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ ปัญญินทรีย์ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด อินทรีย์ ๕

เหล่านี้ ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น

เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

[๑๐๔๘] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมทราบความปริวิตกแห่งพระ-

หฤทัยด้วยใจแล้ว จึงหายตัวจากพรหมโลกมาปรากฏเบื้องของพระพักตร์พระผู้มี

พระภาคเจ้า เหมือนบุรุษผู้มีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

[๑๐๘๙] ครั้งนั้น ท้าวสหัมบดีพรหมกระทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง

ประณมอัญชลีไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อินทรีย์ ๕

ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า

มีอมตะเป็นที่สุด อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ที่เจริญแล้ว กระทำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 95

ให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด ฯลฯ

ปัญญินทรีย์ที่เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็น

เบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ ที่เจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า มีอมตะเป็นที่สุด.

[๑๐๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์ได้

ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่า กัสสปะ แม้

ในเวลานั้น เขารู้จักข้าพระองค์อย่างนี้ว่า สหกะภิกษุ ๆ เพราะความที่อินทรีย์

๕ เหล่านี้ อันข้าพระองค์เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ข้าพระองค์จึงคลาย

กามฉันท์ในกามทั้งหลายเสียได้ เมื่อตายไป ได้เข้าถึงสุคติพรหมโลก แม้ใน

พรหมโลกนั้น เขาก็รู้จักข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ท้าวสหัมบดีพรหม ๆ.

[๑๐๕๑] ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าแต่พระสุคต

ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ข้าพระองค์รู้ ข้าพระองค์เห็น ข้อที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ที่

บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นเบื้องหน้า

มีอมตะเป็นที่สุด.

จบพรหมสูตรที่ ๗

พรหมสูตรที่ ๗ มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 96

๘. สูกรขาตาสูตร

ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะ

[๑๐๕๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ถ้ำสูกรขาตา

เขาคิชฌกูฎ ใกล้กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น พระองค์ตรัสเรียกท่านพระสารีบุตร

แล้วตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นอำนาจประโยชน์อะไรหนอ

จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือในศาสนาของตถาคต.

[๑๐๕๓] ท่านสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้

ขีณาสพเห็นธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม จึงประพฤตินอบน้อม

อย่างยิ่งในพระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต.

[๑๐๕๔] พ. ถูกละ ๆ สารีบุตร ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นธรรมเป็น

แดนเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยม จึงประพฤตินอบน้อมในตถาคตหรือในศาสนา

ของตถาคต.

[๑๐๕๕] ดูก่อนสารีบุตร ก็ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน

ยอดเยี่ยม ที่ภิกษุขีณาสพเห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งในตถาคตหรือ

ในศาสนาของตถาคตนั้น เป็นไฉน.

[๑๐๕๖] สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ขีณาสพในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ อันให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้ ย่อมเจริญ

วิริยินทรีย์.. สตินทรีย์... สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์ อันให้ถึงความสงบ

ให้ถึงความตรัสรู้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน

ยอดเยี่ยมนี้แล ที่ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งใน

พระตถาคต หรือในศาสนาของพระตถาคต.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 97

[๑๐๕๗] พ. ถูกละ ๆ สารีบุตร ธรรมเป็นแดนเกษมจากโยคะอัน

ยอดเยี่ยมนี้แล ที่ภิกษุผู้ขีณาสพเห็นอยู่ จึงประพฤตินอบน้อมอย่างยิ่งใน

ตถาคตหรือในศาสนาของตถาคต.

[๑๐๕๘] ดูก่อนสารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่ง ที่ภิกษุผู้ขีณาสพ

พระพฤติในตถาคตหรือในศาสนาของตถาคต เป็นไฉน.

[๑๐๕๙] สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ขีณาสพในธรรมวินัยนี้

มีความเคารพยำเกรงในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในการศึกษา

ในสมาธิ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การนอบน้อมอย่างยิ่งนี้แล ที่ภิกษุผู้ขีณาสพ

ประพฤติในพระตถาคตหรือในศาสนาของตถาคต.

[๑๐๖๐] พ. ถูกละ ๆ สารีบุตร การนอบน้อมอย่างยิ่งนี้แล ที่ภิกษุ

ผู้ขีณาสพประพฤติในตถาคตหรือในศาสนาของตถาคต.

จบสูกรขาตาสูตรที่ ๘

อรรถกถาสูกรขาตาสูตร

สูตรที่ ๘. คำว่า สูกรขาตาย คือในที่เร้นที่หมูขุดไว้. เล่ากันว่า

ในเวลาพระกัสสปพุทธเจ้า ถ้ำนั้น เมื่อแผ่นดินงอกขึ้นมาในพุทธันดรหนึ่ง

ก็จมอยู่ในแผ่นดิน. วันหนึ่ง หมูตัวหนึ่ง ขุดคุ้ยดินในที่ใกล้ รอบ ๆ หลังคา

ถ้ำนั้น. เมื่อฝนตกมา ดินก็ถูกชะ จึงปรากฏรอบ ๆ เป็นหลังคา พรานป่า

คนหนึ่งมาพบเข้า จึงคิดว่า แต่ก่อนต้องเป็นที่ที่ท่านผู้มีศีลทั้งหลายเคยใช้

สอยมาแล้วเป็นแน่ เราจะปรับปรุงมัน จึงขนเอาดินโดยรอบออกไป ทำถ้ำ

ให้สะอาด ล้อมรั้วรอบกระท่อม ติดประตูหน้าต่าง โบกปูนขาววาดภาพ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 98

จิตรกรรมจนสำเร็จเป็นอย่างดี แล้วเอาทรายที่เหมือนแผ่นเงินมาเกลี่ยจนทั่ว

บริเวณ ตั้งเตียงและตั้งไว้แล้ว ได้ถวายเพื่อประโยชน์เป็นที่ประทับของพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าเป็นของลึก เป็นของที่พึงขึ้นลงได้ คำนั้น พระอานนท์

หมายเอาถ้ำนั้นจึงกล่าวแล้ว. คำว่า การนอบน้อมอย่างยิ่ง เป็นคำ

นปุงสกลิงค์แสดงถึงภาวะ มีคำที่ท่านอธิบายไว้ว่า เป็นผู้ทำความอ่อนน้อม

เป็นอย่างยิ่งแล้ว กำลังเป็นไปอยู่ ย่อมเป็นไป. คำว่า เกษมจากโยคะอัน

ยอดเยี่ยม ได้แก่ ความเป็นพระอรหันต์. คำว่า ผู้มีความเคารพยำเกรง คือ

ผู้มีความเจริญที่สุด คำที่เหลือทุกแห่งมีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาสูกรขาตาสูตรที่ ๘

จบสูกรขาตาวรรควรรณนาที่ ๖

๙. ปฐมอุปาทสูตร

อินทรีย์ ๕ ไม่เกิดนอกพุทธกาล

[๑๐๖๑] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจาก

ความอุบัติแห่งพระตถาคตอรหันตสัมนาสัมพุทธเจ้า หาเกิดไม่. อินทรีย์ ๕

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์... ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์

๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น

นอกจากความอุบัติแห่งพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หาเกิดไม่.

จบปฐมอุปาทสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 99

๑๐. ทุติยอุปาทสูตร

อินทรีย์ ๕ ไม่เกิดนอกวินัยพระสุคต

[๑๐๖๒] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากวินัย

ของพระสุคต หาเกิดไม่. อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์... ปัญญินทรีย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว ที่ยังไม่เกิด จะเกิดขึ้น นอกจากวินัยของพระสุคต หาเกิดไม่.

จบทุติยอุปาทสูตรที่ ๑๐

จบสูกรขาตาวรรคที่ ๖

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. โกสลสูตร ๒. มัลลกสูตร ๓. เสขสูตร ๔. ปทสูตร ๕.

สารสูตร ๖. ปติฏฐิตสูตร ๗. พรหมสูตร ๘. สูกรขาตาสูตร ๙. ปฐม-

อุปาทสูตร ๑๐. ทุติยอุปาทสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 100

โพธิปักขิยวรรคที่ ๗

๑. สัญโญชนสูตร

เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อละสังโยชน์

[๑๐๖๓] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อม

เป็นไปเพื่อละสังโยชน์. อินทรีย์๕ เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ฯลฯ ปัญญินทรีย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์.

จบสัญโญชน์สูตรที่ ๑

๒ . อนุสยสูตร

เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อถอนอนุสัย

[๑๐๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากเเล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย. อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน

คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย.

จบอนุสยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 101

๓. ปริญญาสูตร

เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ

[๑๐๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ (ทางไกล).

อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไป

เพื่อกำหนดรู้อัทธานะ.

จบปริญญาสูตรที่ ๓

๔. อาสวักขยสูตร

เจริญอินทรีย์ ๕ เพื่อความสิ้นอาสวะ

[๑๐๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ. อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน

คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล

อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ.

[๑๐๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ เพื่อถอนอนุสัย เพื่อ

กำหนดรู้อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน คือสัทธินทรีย์ ฯลฯ

ปัญญินทรีย์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์ เพื่อถอนอนุสัย เพื่อกำหนดรู้

อัทธานะ เพื่อความสิ้นอาสวะ.

จบอาสวักขยสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 102

๕. ปฐมผลสูตร

เจริญอินทรีย์ ๕ หวังผลได้ ๒ อย่าง

[๑๐๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้. อินทรีย์ ๕

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯล ฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว พึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลใน

ปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.

จบปฐมผลสูตรที่ ๕

๖. ทุติยผลสูตร

เจริญอินทรีย์ ๕ ได้อานิสงส์ ๗ ประการ

[๑๐๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้. อินทรีย์ ๕

เป็นไฉน คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว พึงหวังผลานิสงส์ได้ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗ ประการ

เป็นไฉน คือ จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้ชมอรหัตผลใน

ปัจจุบันก่อน จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑ ถ้าปัจจุบันก็ไม่ได้ชม ในเวลาใกล้ตาย

ก็ไม่ได้ชมไซร้ ทีนั้นจะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจ-

ปรินิพพายี ๑ ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้อุทธังโส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 103

โตอกนิฏฐคามี ๑ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว พึงหวังผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.

จบทุติยผลสูตรที่ ๖

๗. ปฐมรุกขสูตร

ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม

[๑๐๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง

ต้นหว้า โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม

เหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน คือ

สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

[๑๐๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ในชมพูทวีปชนิดใดชนิดหนึ่ง

ต้นหว้า โลกกล่าวว่าเป็นยอดแห่งต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรม

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม

เหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบปฐมรุกขสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 104

๘. ทุติยรุกขสูตร

ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม

[๑๐๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ชนิดใด

ชนิดหนึ่ง ต้นปาริฉัตตกะ โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด

โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่ง

โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน คือ

สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

[๑๐๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของเทวดาชั้นดาวดึงส์ชนิดใด

ชนิดหนึ่ง ต้นปาริฉัตตกะ โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด

โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่ง

โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบทุติยรุกขสูตรที่ ๘

๙. ตติยรุกขสูตร

ปัญญินทรีย์เป็นยอดเเห่งโพธิปักขิยธรรม

[๑๐๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้พวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง

ต้นจิตตปาฏลี โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิ-

ปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่ง

โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 105

[๑๐๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน คือ

สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

[๑๐๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกอสูรชนิดใดชนิดหนึ่ง

ต้นจิตตปาฏลี โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้เหล่านี้ แม้ฉันใด โพธิปักขิย-

ธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่งโพธิปักขิย-

ธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบตติยรุกขสูตรที่ ๙

๑๐. จตุตถรุกขสูตร

ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม

[๑๐๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง

ต้นโกฏสิมพลี (ไม้งิ้วป่า) โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด

โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่ง

โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน คือ

สัทธินทรีย์เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฯลฯ ปัญญินทรีย์

เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้.

[๑๐๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต้นไม้ของพวกครุฑชนิดใดชนิดหนึ่ง

ต้นโกฏสิมพลี โลกกล่าวว่าเป็นยอดของต้นไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 106

ปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ บัณฑิตกล่าวว่าเป็นยอดแห่ง

โพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน

จบจตุตถรุกขสูตรที่ ๑๐

จบโพธิปักขิยวรรคที่ ๗

อรรถกถาโพธิปักขิยวรรคที่ ๗

ในโพธิปักขิยวรรคที่ ๗. ผล ๗ อย่าง เป็นส่วนเบื้องต้น บรรดา

ผลทั้ง ๗ อย่างนั้น ผล ๒ อย่างในหนหลัง ทำให้เป็นต้นแล้ว ก็เป็นของ

เจือกัน. คำที่เหลือในพระสูตรนี้ และคำทั้งหมดนอกจากนี้ ล้วนแต่ตื้น

ทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโพธิปักขิยวรรคที่ ๗

จบอรรถกถาอินทริยสังยุตที่ ๔

อินทริยสังยุต คังคาทิเปยยาลที่ ๘*

อานิสงส์แห่งการเจริญอินทรีย์ ๕

[๑๐๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง

ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำ

ให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป

นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

* คังคาทิเปยยาลที่ ๘ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 107

[๑๐๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มาก

ซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัท-

ธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อม

เจริญวิริยินทรีย์... สตินทรีย์.. สมาธินทรีย์... ปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก

อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญ

อินทรีย์ ๕ กระทำให้มากซึ่งอินทรีย์๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน

โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

[๑๐๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้

สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต้น ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ

อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.

[๑๐๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง

เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้

แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญสัทธินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ

สละ ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ

เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้อง

บน ๕ นี้แล (อินทรีย์ที่อาศัยวิเวกเป็นต้น พึงขยายความออกไปเหมือนมรรค

สังยุต ).

[๑๐๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง

ลงสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 108

ให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่

นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้มาก

ซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์ มีอันกำจัดราคะ

เป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ฯลฯ ย่อม

เจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอัน

กำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญอินทรีย์ ๕ กระทำให้

มากซึ่งอินทรีย์ ๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน.

[๑๐๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่า

นี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ

อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕

เหล่านี้แล.

[๑๐๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง

เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน

๕ เหล่านี้แล อินทรีย์ ๕ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธินทรีย์

มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

ฯลฯ ย่อมเจริญปัญญินทรีย์ มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่

สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านี้ อัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 109

ภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์

อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล (อินทรียสังยุตมีส่วนเหมือนในมรรคสังยุต ).

จบคังคาทิเปยยาลที่ ๘

จบอินทรียสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สัญโญชนสูตร ๒. อนุสยสูตร ๓. ปริญญาสูตร ๔. อาสวัก-

ขยสู ร ๕. ปฐมผลสูตร ๖. ทุติยผลสูตร ๗. ปฐมรุกขสูตร ๘. ทุติย

รุกขสู ร ๙. ตติยรุกขสูตร ๑๐. จตุตถรุกขสูตรและอรรถกถา

สัมมัปปธานสังยุต

ว่าด้วยสัมมัปปธาน ๔

[๑๐๙๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุ

ทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้. สัมมัปปธาน

๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด

พยายาม ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรม

ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรม

ที่ยังไม่เกิดเกิดขึ้น ๑ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมี

ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์แห่งกุศล

ธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 110

[๑๐๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง

ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำ

ให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน

ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้

มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่

นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม

ปรารภความเพียรประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศธรรมที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น ๑ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น ๑ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์

เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่าง

นี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

ปาจีนนินนสูตร ๖ สูตร สมุททนินนสูตร ๖ สูตร ๒ อย่างเหล่านั้น

อย่างละ ๖ สูตร รวมเป็น ๑๒ สูตร เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่าวรรค (พึงขยาย

ความคังคาเปยยาลแห่งสัมมัปปธานสังยุต ด้วยสามารถสัมมัปปธาน).

จบวรรคที่ ๑

๑. ตถาคตสูตร ๒. ปทสูตร ๓. กูฏสูตร ๔. มูลสูตร ๕. สารสูตร

๖. วัสสิกสูตร ๗. ราชสูตร ๘. จันทิมสูตร ๙. สุริยสูตร ๑๐. วัตถสูตร

(พึงขยายความอัปปมาทวรรคทั้ง ๑๐ สูตรด้วยสามารถสัมมัปปธาน)

จบวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 111

[๑๐๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังอย่างใด

อย่างหนึ่ง อันบุคคลทำอยู่ การงานที่จะพึงทำด้วยกำลังทั้งหมดนั้น อันบุคคล

อาศัยแผ่นดิน ดำรงอยู่บนแผ่นดิน จึงทำได้อย่างนั้น แม้ฉันใด ภิกษุอาศัย

ศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔

ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๐๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึง

เจริญสัมมัปปธาน ๔ กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างไรเล่า ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้

ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑ เพื่อ

ละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑ เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ๑

เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อความ

ไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว จึงเจริญสัมมัปปธาน ๔

กระทำให้มากซึ่งสัมมัปปธาน ๔ อย่างนี้แล (พึงขยายความพลกรณียวรรคด้วย

สามารถสัมมัปปธานอย่างนี้)

จบวรรคที่ ๓

[๑๐๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้ ๓ อย่างเป็น

ไฉน คือ การแสวงหากาม ๑ การแสวงหาภพ ๑ การแสวงหาพรหมจรรย์ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๑๐๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ

เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อความละซึ่งการแสวงหา ๓ อย่างนี้

สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมยังฉันทะให้เกิด พยายาม

ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 112

เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่ง ๆ ขึ้นไป

เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้น

แล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อ

ความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละการแสวงหา ๓ อย่างนี้แล.

[๑๐๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้

สังโยชน์เป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ

อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ นี้แล.

[๑๐๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน ๔ อันภิกษุพึงเจริญ

เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์ อันเป็นส่วน

เบื้องบน ๕ เหล่านี้แล สัมมัปปธาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

ยังฉันทะให้เกิด พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อ

ไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิดขึ้น ฯลฯ เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่

เลือนหาย เพื่อความมียิ่ง ๆ ในรูป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อ

ความบริบูรณ์ แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมัปปธาน

๔ เหล่านี้ อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อสิ้นความไป เพื่อ

ละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

(พึงขยายความออกไป เหมือนเอสนาวรรค)

จบสัมมัปปธานสังยุต

แม้ในสัมมัปปธานสังยุตทั้งสิ้น พระองค์ก็ตรัสแต่วิปัสสนาที่เป็นส่วน

เบื้องต้นทั้งนั้นแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 113

พลสังยุต

ว่าด้วยพละ ๕

[๑๐๙๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ประการนี้. ๕ ประการเป็นไฉน

คือ สัทธาพละ ๑ วิริยพละ ๑ สติพละ ๑ สมาธิพละ ๑ ปัญญาพละ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล.

[๑๑๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง

ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้

มากซึ่งพละ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่

นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๑๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่ง

พละ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป

สู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญวิริยพละ... สติพละ...

สมาธิพละ... ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม

ไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่งพละ

๕ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

[๑๑๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕

เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ

มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน

๕ เหล่านี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 114

[๑๑๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อันภิกษุพึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง

เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่า

นี้แล พละ ๕ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละ....

วิริยพละ.. สติพละ... สมาธิพละ..4 ปัญญาพละ อันอาศัยวิเวก อาศัย

วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ เหล่านี้

อันภิกษุพึงเจริญ. เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์

อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

[๑๑๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง

ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้

มากซึ่งพละ ๕ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่

นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๑๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ กระทำให้มากซึ่ง

พละ ๕ อย่างไรเล่า ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไป

สู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละมีอันจำกัดราคะเป็นที่สุด

มีอันจำกัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ... ย่อมเจริญปัญญาพละ

มีอันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญพละ ๕ การทำให้มากซึ่งพละ ๕ อย่างนี้แล

ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

[๑๑๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕

เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ

มานะ อุทธัจจะ อวิชชา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน

เหล่านี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 115

[๑๑๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ อัน ภิกษุพึงเจริญ เพื่อรู้ยิ่ง

เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕

เหล่านี้แล พละ ๕ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสัทธาพละมี

อันกำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด

ย่อมเจริญปัญญาพละมีอัน กำจัดราคะเป็นที่สุด มีอันกำจัดโทสะเป็นที่สุด

มีอันกำจัดโมหะเป็นที่สุด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ เหล่านี้แล อันภิกษุ

พึงเจริญเพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละซึ่งสังโยชน์อันเป็น

ส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

จบพลสังยุต

อรรถกถาพลสังยุต

พละทั้งหลายที่ตรัสไว้ใน พลสังยุต ก็เป็นของเจือกันเหมือนกัน.

คำที่เหลือทุกแห่งตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาพลสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 116

อิทธิบาทสังยุต

ปาวาลวรรคที่ ๑

๑. อปารสูตร

ว่าด้วยอิทธิบาท ๔

[๑๑๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่งจากที่มิใช่ฝั่ง. อิทธิบาท ๔

เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ

และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาท

อันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท

๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อถึงฝั่ง

จากที่มิใช่ฝั่ง.

จบอปารสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 117

อรรถกถาอิทธิปาทสังยุต

ปาวาลวรรควรรณนาที่ ๑

อรรถกถาอปารสูตร

อิทธิปาทสังยุต อปารสูตรที่ ๑. สมาธิที่อาศัยฉันทะเป็นไป ชื่อว่า

ฉันทสมาธิ พวกสังขารที่เป็นประธาน ชื่อว่า ปธานสังขาร. คำว่า

สมนฺนาคต คือ เข้าถึงด้วยธรรมเหล่านั้น. ชื่อว่า อิทธิบาท เพราะ

เป็นบาทของฤทธิ์ หรือบาทที่เป็นฤทธิ์. แม้ในพวกคำที่เหลือก็ท่านองนี้แหละ.

นี้เป็นความสังเขปในอิทธิปาทสังยุตนี้. ส่วนความพิสดารมาเสร็จแล้วใน

อิทธิปาทวิภังค์ ส่วนใจความของอิทธิปาทสังยุตนั้น ท่านก็ได้แสดงไว้แล้วใน

วิสุทธิมรรค. ในมรรคสังยุต โพชฌงคสังยุค สติปัฏฐานสังยุต และอิทธิปาท

สังยุตนี้ ก็อย่างนั้น คือเป็นปริจเฉทอย่างเดียวกันโดยแท้.

จบอรรถกถาอปารสูตรที่ ๑

๒. วิรัทธสูตร

ผู้ปรารภอิทธิบาทชื่อว่าปรารภอริยมรรค

[๑๑๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

เบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นก็ชื่อว่าเบื่ออริยมรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ

อิทธิบาท ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าปรารภ

อริยมรรคเครื่องให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ดูก่อน

* พม่า จาปาลวรรค

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 118

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิ

และปธานสังขาร . . . วิริยสมาธิ . . . จิตตสมาธิ . . . วิมังสาสมาธิและปธาน

สังขาร อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น

ก็ชื่อว่าเบื่ออริยมรรคที่ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท ๔ เหล่านี้

อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่ให้

ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

จบวิรัทธสูตรที่ ๒

๓. อริยสูตร

เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อความสิ้นทุกข์

[๑๑๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นอริยะ นำออกจากทุกข์ ย่อมนำผู้บำเพ็ญ

อิทธิบาทนั้นไป เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร...

วิริยสมาธิ.... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

เป็นอริยะ นำออกจากทุกข์ ย่อมนำผู้บำเพ็ญอิทธิบาทนั้นไปเพื่อความสิ้นทุกข์

โดยชอบ.

จบอริยสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 119

๔. นิพพุตสูตร

เจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อความหน่าย

[๑๑๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อ

คลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบ เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย

ฉันทสมาธิและปธานสังขาร .... วิริยสมาธิ .... จิตตสมาธิ .... วิมังสาสมาธิ

และปธานสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล อันบุคคล

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว....

เพื่อนิพพาน.

จบนิพพุตสูตรที่ ๔

๕. ปเทสสูตร

ผู้ทำฤทธิ์ได้เพราะเจริญอิทธิบาท

[๑๑๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งในอดีตกาล ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมด

นั้น ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้

สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 120

เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมด

นั้น ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญ

อิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ .... จิตตสมาธิ .... วิมังสาสมาธิและปธาน

สังขาร.

[๑๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งในอดีตกาล ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จแล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมด

นั้น ยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท

๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักยัง

ส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังส่วนแห่งฤทธิ์

ให้สำเร็จได้ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จ

สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยังส่วนแห่งฤทธิ์ให้สำเร็จได้ ก็เพราะ

เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

จบปเทสสูตรที่ ๕

อิทธิปเทสสูตร

อิทธิปเทสสูตรที่ ๕. มรรค ๓ เเละผล ๓ ชื่อว่า อิทธิปาทปเทส

จบอรรถกถาอิทธิปเทสสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 121

๖. สัมมัตตสูตร

ทำฤทธิ์ให้บริบูรณ์ได้เพราะเจริญอิทธิบาท

[๑๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งในอดีตกาล ยังฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมด

นั้นยังฤทธิ์ให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักยังฤทธิ์ ให้สำเร็จ

บริบูรณ์ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมยังฤทธิ์ให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ก็

เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งในปัจจุบัน ย่อมยังฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น

ย่อมยังฤทธิ์ให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔.

อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท

ประกอบด้วยวิริยสมาธิ . . . จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.

[๑๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งในอดีตกาล ยังฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์แล้ว สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมด

นั้น ยังฤทธิ์ให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔

เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักยังฤทธิ์

ให้สำเร็จบริบูรณ์ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์

ก็เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน ย่อมยังฤทธิ์ให้สำเร็จบริบูรณ์ สมณะหรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 122

พราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักยังฤทธิ์ให้สำเร็จได้บริบูรณ์ ก็เพราะเจริญ กระทำ

ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

จบสัมมัตตสูตรที่ ๖

อรรถกถาสัมมัตตสูตร

สัมมัตตสูตรที่ ๖. คำว่า สมตฺต อิทฺธึ คือ อรหัตผลนั่นเอง.

ก็แหละใน ๙ สูตรตั้งแต่ต้นมา พระองค์ได้ตรัสแต่อิทธิบาทที่มีวิวัฏฏะเป็นบาท

เท่านั้น.

จบอรรถกถาสัมมัตตสูตรที่ ๖

๗. ภิกขุสูตร*

ได้เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติเพราะเจริญอิทธิบาท

[๑๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้ง

หลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุทั้งหมดนั้น

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้ง

หลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะเจริญ กระทำ

ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักทำให้แจ้งซึ่ง

* สูตรที่ ๗-๘-๙ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 123

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุทั้งหมดนั้น กระทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท

๔ เหล่านี้แล ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ภิกษุทั้งหมดนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔

อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

อิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบ

ด้วยวิริยสมาธิ . . . จิตตสมาธิ. . . วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.

[๑๑๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีตกาล

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะ

อาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ภิกษุทั้งหมดนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

มิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันรู้ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้า

ถึงอยู่ เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล ภิกษุเหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ ภิกษุทั้งหมดนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 124

หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล ภิกษุเหล่า

ใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ ภิกษุทั้งหมดนั้น กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อัน

หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ เพราะเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

จบภิกขุสูตรที่ ๗

๘. พุทธสูตร

เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธะเพราะเจริญอิทธิบาท

[๑๑๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔

เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและ

ปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ . . . จิตตสมาธิ . .

วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล

เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล เขาจึงเรียกตถาคต

ว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

จบพุทธสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 125

๙. ญาณสูตร

พระพุทธเจ้าเจริญอิทธิบาท ๔

[๑๑๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสง

สว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นอิทธิ-

บาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร.. อิทธิบาทอันประกอบด้วย

ฉันทสมาธิและปธานสังขารนี้นั้นแล อันเราควรเจริญ . . . อิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารนั้นนี้แล อันเราเจริญแล้ว .

[๑๑๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสง

สว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นอิทธิบาท

อันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร. . . อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริย

สมาธิและปธานสังขารนี้นั้นแล อันเราควรเจริญ . . . อิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขารนี้นั้นแล อันเราเจริญแล้ว.

[๑๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสง

สว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นอิทธิบาท

อันประกอบด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขาร. .. อิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตต

สมาธิและปธานสังขารนี้นั้นแล อันเราควรเจริญ ... อิทธิบาทอันประกอบ

ด้วยจิตตสมาธิและปธานสังขารนี้นั้นแล อันเราเจริญแล้ว.

[๑๑๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสง

สว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นอิทธิบาท

อันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขาร. . . อิทธิบาทอันประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 126

วิมังสาสมาธิและปธานสังขารนี้นั้นแล อันเราควรเจริญ . . . อิทธิบาทอัน

ประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและปธานสังขารนี้นั้นแล อันเราเจริญแล้ว.

จบญาณสูตรที่ ๙

๑๐. เจติยสูตร

เจริญอิทธิบาท ๔ ทำให้อายุยืน

[๑๑๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน

ใกล้กรุงเวสาลี ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือ

บาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงเวสาลี ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาต

แล้ว เวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์

มาตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงถือเอาผ้านิสีทนะ เราจะเข้าไปยังปาวาลเจดีย์

เพื่อพักผ่อนในตอนกลางวัน ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว ถือผ้านิสีทนะตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปทางเบื้องพระปฤษฏางค์.

[๑๑๒๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังปาวาลเจดีย์

ประทับนั่งบนอาสนะที่ท่านพระอานนท์ปูถวาย ส่วนท่านพระอานนท์ถวายบังคม

พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

กะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ กรุงเวสาลีเป็นที่น่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็

เป็นที่น่ารื่นรมย์ โคตมกเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์

พหุปุตตกเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ สารันททเจดีย์ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์

ก็เป็นที่น่ารื่นรมย์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 127

กระทำให้เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภ

ดีแล้ว ผู้นั้น เมื่อจำนงอยู่พึงดำรงอยู่ได้กัปหนึ่ง หรือเกินกว่ากัปหนึ่ง ดูก่อน

อานนท์ อิทธิบาท ๔ อัน ตถาคตเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว กระทำให้

เป็นดุจยาน กระทำให้เป็นที่ตั้ง ให้คล่องแคล่วแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว

ตถาคตนั้น เมื่อจำนงอยู่ พึงดำรงอยู่ได้กัปหนึ่งหรือเกินกว่ากัปหนึ่ง.

[๑๑๒๕] แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำนิมิตอันโอฬาร กระ-

ทำโอภาสอันโอฬารอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ก็มิอาจรู้ทัน จึงมิได้ทูลวิงวอนพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงดำรง

อยู่ตลอดกัปหนึ่ง ขอพระสุคตจงทรงดำรงอยู่ตลอดกัปหนึ่ง เพื่อประโยชน์สุข

แก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่

เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้ เพราะถูกมารเข้าดลใจ.

[๑๑๒๖] แม้ครั้งที่ ๒ แม้ครั้งที่ ๓ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสกะ

ท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เมืองเวสาลีเป็นที่น่ารื่นรมย์. .. ตถาคต

นั้น เมื่อจำนงอยู่พึงดำรงอยู่ได้กัปหนึ่งหรือเกินกว่ากัปหนึ่ง.

[๑๑๒๗] แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำนิมิตอันโอฬาร กระทำ

โอภาสอันโอฬารอย่างนี้ ท่านพระอานนท์ก็มิอาจรู้ทัน จึงมิได้ทูลวิงวอนพระ

ผู้มีพระภาคเจ้า. . . เพราะถูกมารเข้าดลใจ.

[๑๑๒๘] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ ว่า

เธอจงไปเถิด อานนท์ เธอรู้กาลอันควรในบัดนี้เถิด ท่านพระอานนท์ทูลรับ

พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้า กระทำประทักษิณแล้ว ไปนั่ง ณ โคนไม้แห่งหนึ่งในที่ไม่ไกล.

[๑๑๒๙] ครั้งนั้น มารผู้มีบาป เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปแล้ว

ไม่นาน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ แล้วยืน ณ ที่ควรส่วน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 128

ข้างหนึ่ง ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจง

ปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็น

เวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัส

นี้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุสาวกของเราจักยังไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับ

แนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควร

แก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ตนแล้ว

ยังบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายไม่ได้

ยังแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรม

ไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ก็บัดนี้ ภิกษุสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้เฉียบแหลมแล้ว ได้รับแนะนำ

แล้ว แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ

ประพฤติตามธรรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง

เปิดเผย จำแนก กระทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปปวาทที่

บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด

บัดนี้ เป็นในเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๑๑๓๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระ-

ดำรัสนี้ไว้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุณีสาวิกาของเราจักยังไม่เฉียบแหลม . . .

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น

ผู้เฉียบแหลมแล้ว. . . แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปปวาทที่บังเกิดขึ้นให้

เรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจง

ทรงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงทรงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้

เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 129

[๑๑๓๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระ-

ดำรัสนี้ไว้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป อุบาสก ฯลฯ อุบาสิกาสาวิกาของเราจักยัง

ไม่เฉียบแหลม ไม่ได้รับแนะนำ ไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม

ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติธรรม ไม่ประพฤติธรรม เรียน

กับอาจารย์ของตนแล้ว ยังบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

กระทำให้ง่ายไม่ได้ ยังแสดงธรรมมีปาฏิหารย์ข่มขี่ปรัปปวาทที่บังเกิดขึ้นให้

เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น ดังนี้

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ อุบาสิกาสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้

เฉียบแหลมแล้ว ได้รับแนะนำแล้ว แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรม

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับ

อาจารย์ของตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จำแนก

กระทำให้ง่ายได้ แสดงธรรมมีปฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปปวาทที่บังเกิดขึ้นให้เรียบร้อย

โดยสหธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน

ในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพาน

ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๑๑๓๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระ-

ดำรัสนี้ไว้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป พรหมจรรย์ของเรานี้ จักยังไม่สมบูรณ์

แพร่หลาย กว้างขวาง รู้กันโดยมาก แน่นหนา (มั่นคง) จนกระทั่งพวก

เทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์แล้ว

แพร่หลาย กว้างขวาง รู้กันโดยมาก แน่นหนา (มั่นคง) จนกระทั่งพวก

เทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 130

จงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้ เถิด บัดนี้ เป็น

เวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๑๑๓๓] เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัส

ตอบว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด การปรินิพพาน

แห่งตถาคตจักมีในไม่ช้า แต่นี้ล่วงไปอีก ๓ เดือนตถาคตจักปรินิพพาน.

[๑๑๓๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสติสัมปชัญญะ

ทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์ และเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลง

อายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ และเกิดขนพองสยองเกล้าน่าพึงกลัว

ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น.

[๑๑๓๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว

ทรงเปล่งพระอุทานนี้ในเวลานั้น ความว่า

มุนี เมื่อเทียบเคียงนิพพาน และภพ

ได้ปลงเสียแล้วซึ่งธรรมอันปรุงแต่งภพ

ยินดีแล้วในภายใน มีจิตตั้งมั่นแล้ว ได้

ทำลายแล้วซึ่งข่าย คือกิเลสอันเกิดในตน

เปรียบดังเกราะ.

จบเจติยสูตรที่ ๑๐

จบปาวาลวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 131

อรรถกถาเจติยสูตร

สูตรที่ ๑๐. คำว่า นิสีทน คือ หมายเอาท่อนหนัง. ท่านเรียกวัด

ที่สร้างไว้ที่เจดีย์สถานของอุเทนยักษ์ว่า อุเทนเจดีย์. แม้ใน โคตมกเจดีย์

เป็นต้นก็นัยเดียวกันนี้เอง. คำว่า ภาวิตา คือ อันเจริญแล้ว . คำว่า

พหุลีกตา คือ ที่กระทำเรื่อย ๆ ไป. คำว่า ทำให้เป็นดุจยาน คือ

ทำให้เหมือนยานที่เทียม (โคไว้ที่แอก) แล้ว. คำว่า ทำให้เป็นที่ตั้ง คือ

ทำให้เหมือนเป็นวัตถุ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง. คำว่า ให้คล่องแคล่วแล้ว

คืออันมั่นคงยิ่ง. คำว่า อันสั่งสมแล้ว ได้แก่ สั่งสมไว้โดยทุกด้าน คือ

อันเจริญดีแล้ว. คำว่า อันปรารภดีแล้ว คือ ที่เริ่มไว้แล้วเป็นอย่างดี.

ครั้นตรัสโดยไม่ชี้ชัดลงไปอย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงชี้ชัดลงไป

อีกครั้ง จึงตรัสคำว่า ตถาคตสฺส โข ดังนี้เป็นต้น. และในคำเหล่านี้

คำว่า กัป หมายเอาอายุกัป (กำหนดอายุ). ในกาลนั้น อันใดเป็นประมาณ

อายุของพวกมนุษย์ บุคคลพึงทำประมาณอายุนั้นให้บริบูรณ์ดำรงอยู่. คำว่า

กปฺปาวเสส คือ หรือเกินร้อยปีที่ตรัสว่า กัปหรือเกิน. ฝ่ายท่านพระมหาสิว

เถระ กล่าวว่า สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมไม่มีการคุกคามในสิ่ง

ที่เป็นไปไม่ได้ ก็เหมือนเมื่อทรงข่มเวทนาปางที่แทบจะสิ้นพระชนม์ที่เกิดขึ้น

ในหมู่บ้าน เวฬุวะ (เวฬุวคาม) ตั้งสิบเดือน นั่นแหละ ฉันใด ก็ฉันนั้น

เมื่อทรงเข้าสมาบัตินั้นบ่อยๆ พึงข่มไว้ได้เป็นสิบเดือน ก็จะพึงทรงดำรงอยู่ได้

ตลอดภัทรกัปนี้ทีเดียว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 132

ถามว่า ก็ทำไมจึงไม่ทรงดำรงอยู่เล่า. ตอบว่า ขึ้นชื่อว่า พระสรีระ

ที่เป็นผลของกรรมที่ถูกกิเลสเข้าไปยึดครองแล้ว ถูกชราทั้งหลายมีพระทนต์

หักเป็นต้น จะครอบงำ ธรรมดาว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ยังไม่ถึง

ความเป็นผู้มีพระทนต์หักเป็นต้นเลย ก็ย่อมปรินิพพานในส่วนพระชนมายุ

ที่ ๕ ในเวลาที่ยังทรงเป็นที่รักที่ชื่นใจของคนจำนวนมากนั่นเอง แต่เมื่อเหล่า

พระมหาสาวกผู้เป็นพุทธานุพุทธปรินิพพานแล้ว ก็ย่อมเป็นสรีระที่ต้องตั้งอยู่

โดดเดี่ยว เหมือนตอไม้. หรือมีภิกษุหนุ่มและสามเณรห้อมล้อมบ้าง แต่นั้น

ก็จะต้องถึงความเป็นผู้ที่พึงถูกเยาะเย้ยเหยียดหยามว่า โอ้ บริษัทของพวกพุทธ์

เพราะฉะนั้น พระองค์จึงไม่ดำรงอยู่. แต่เมื่อตรัสคำเช่นนี้แล้ว มารนั้น

ก็ชอบใจ. คำว่า อายุกัป นี้แหละ ท่านได้ชี้ชัดลงไปในอรรถกถาแล้ว.

คำว่า ต นั้น ในคำว่า ยถา ต มาเรน ปริยฏฺิตจิตฺโต

เป็นเพียงคำลงมาแทรกเข้าไว้. อธิบายว่า ปุถุชนแม้อื่นใด ๆ ที่ถูกมารดลใจ

คือ ถูกมารท่วมทับใจแล้ว ไม่พึงอาจเพื่อแทงตลอดได้ฉันใด พระเถระ

ก็ไม่สามารถแทงตลอดฉันนั้น เหมือนกัน. จริงอยู่ มารย่อมดลจิตผู้ที่ยังละ

วิปลาส ๑๒ อย่างไม่ได้หมด. ส่วนพระเถระ ยังละวิปลาส ๔ อย่างไม่ได้

เพราะฉะนั้น มารจึงยังดลใจของท่านได้. ถามว่า ก็แล เมื่อมารนั้นจะทำการ

ดลใจ ย่อมทำอะไร. ตอบว่า ย่อมแสดงรูปารมณ์ที่น่ากลัวบ้าง ให้ยินอารมณ์

คือเสียงบ้าง จากนั้น สัตว์ทั้งหลายได้เห็นรูปนั้น หรือได้ยินเสียงนั้นแล้ว

ก็ทิ้งสติ เกิดเวียนหน้าขึ้นมา มันสอดมือเข้าปากแล้วบีบหัวใจสัตว์เหล่านั้น

สัตว์เหล่านั้นก็ยืนสลบไสล. ก็มารนี้สามารถสอดมือเข้าไปในปากของพระเถระ

เจียวหรือ ก็มันแสดงอารมณ์ที่น่ากลัว พระเถระได้เห็นอารมณ์นั้น ก็

แทงตลอดแสงแห่งนิมิตไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 133

สามครั้ง เพื่ออะไร. เพื่อทรงทำให้เพลาโศก ด้วยการยกความผิดขึ้นว่า นี่

เป็นความกระทำไม่ดีของเธอเอง นี่เป็นความผิดของเธอเอง เมื่อพระเถระทูล

อ้อนวอนภายหลังว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงดำรงอยู่เถิด พระพุทธเจ้าข้า.

ในคำว่า มารผู้มีบาป นี้ ชื่อว่า มาร เพราะประกอบสัตว์ไว้ใน

ความฉิบหายให้ตาย. คำว่า ผู้มีบาป เป็นคำใช้แทนมารนั้นเอง. ก็มารนั้น

เพราะประกอบด้วยบาปธรรม จึงเรียกว่า ผู้มีบาป. ถึงคำว่า กัณห์ (ดำ) อันตกะ

(ผู้ทำที่สุด) นมุจิ เผ่าพันธ์ผู้ประมาท ก็ล้วนแต่เป็นชื่อของมารนั้นเอง. คำว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ คือในสัปดาห์ที่ ๘ แห่งการบรรลุ

ความตรัสรู้พร้อมของพระผู้มีพระภาคเจ้า มารนี้แล ได้มาที่โคนโพธิ์ทีเดียว ทูล

ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระบารมีมาเพื่อประโยชน์

อันใดพระองค์ก็ทรงได้บรรลุประโยชน์อันนั้นแล้ว ทรงแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ

แล้ว พระองค์ท่องเที่ยวไปในโลกหาประโยชน์อะไรกัน แล้วได้อ้อนวอน

เหมือนในวันนี้แหละว่า พระเจ้าข้า บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน

เถิด ขอพระสุคตเจ้าจงปรินิพพานเถิด. และพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสปฏิเสธ

ไปกะมารนั้นเป็นต้น ว่า น ตาวห. มารหมายเอาพระดำรัสนั้น จึงกล่าวคำว่า

พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระดำรัสนี้ไว้แล้วแล ดังนี้เป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น คำว่า ผู้เฉียบแหลม หมายถึงผู้ฉลาดด้วยอำนาจ

มรรค. ผู้ได้รับการแนะนำ และผู้แกล้วกล้า ก็อย่างนั้นนั่นแล. คำว่า

เป็นพหูสูต คือ ชื่อว่า เป็นพหูสูต เพราะเขาได้ฟังด้วยอำนาจปิฎกสาม

มามาก. ชื่อว่า ผู้ทรงธรรม ก็เพราะจำทรงธรรมนั้นแหละ. อีกอย่างหนึ่ง

พึงเห็นใจความในคำว่า ผู้ทรงธรรม นี้อย่างนี้ว่า เป็นพหูสูตทางปริยัติ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 134

และเป็นพหูสูตทางปฏิเวธ จึงชื่อว่า เป็นผู้ทรงธรรม เพราะจำทรงธรรมคือ

ปริยัติและปฏิเวธนั่นเอง. คำว่า ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺนา คือ เป็นผู้ปฏิบัติ

ธรรม คือวิปัสสนาอันเป็นธรรมที่ไปตามธรรมของพระอริยเจ้า. คำว่าสามี-

จิปฏิปนฺนา คือ เป็นผู้ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่สมควร. คำว่า อนุธมฺมจาริโน

คือ เป็นผู้ประพฤติตามธรรมเป็นปกติ. คำว่า สก อาจริยก คือ วาทะ

อาจารย์ของตน. คำทั้งหมดเป็นต้นว่า จักบอก เป็นคำสำหรับใช้แทนกัน

และกันนั่นเอง. คำว่า โดยสหธรรม คือ ด้วยถ้อยคำที่มีเหตุ มีการณ์.

คำว่า มีปาฏิหารย์ คือ จะแสดงธรรมทำให้ออกจากทุกข์ได้.

คำว่า พรหมจรรย์ ได้แก่ศาสนพรหมจรรย์ทั้งสิ้น ที่สงเคราะห์ด้วย

ไตรสิกขา. คำว่า อิทฺธ ได้แก่สำเร็จพร้อมแล้วด้วยความยินดีในฌานเป็นต้น.

คำว่า ผีต ได้แก่ ถึงความเจริญ ด้วยอำนาจการถึงพร้อมแห่งอภิญญา

เหมือนดอกไม้บานสะพรั่ง. คำว่า วิตฺถาริต ได้แก่ แผ่ไปด้วยอำนาจตั้งมั่น

ในส่วนแห่งทิศนั้น ๆ. คำว่า รู้กันโดยมาก ได้แก่ที่คนหมู่มากรู้คือแทงตลอด

ด้วยอำนาจการตรัสรู้ของมหาชน. คำว่า หนาแน่น ได้แก่ถึงความเป็นของ

หนาแน่น ด้วยอาการทุกอย่าง. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า จนกระทั่งพวก

เทวดาและมนุษย์ประกาศดีแล้ว หมายความว่า อันพวกเทวดาและมนุษย์

ที่ประกอบด้วยชาติแห่งผู้รู้ทั้งหมด ประกาศดีแล้ว.

คำว่า มีความขวนขวายน้อย คือ หมดอาลัย. พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัส ว่า มารผู้มีบาป เจ้าแล ตั้งแต่สัปดาห์ที่แปดมาได้เที่ยวโวยวายว่า พระเจ้าข้า

บัดนี้ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพานเถิด ขอพระสุคตเจ้า จงปรินิพพาน

เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บัดนี้ตั้งแต่วันนี้ เจ้าจงเลิกความอุตสาหะได้

แล้ว จงอย่าทำความพยายามเพื่อการปรินิพพานของเราเลย.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 135

คำว่า ทรงมีพระสติสัมปชัญญะทรงปลงอายุสังขาร คือ

ทรงตั้งพระสติไว้เป็นอย่างดี ทรงใช้พระญาณกำหนดแล้วจึงทรงปลง คือ

ทรงสละอายุสังขาร. ในกรณีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงปลงอายุสังขาร

อย่างใช้พระหัตถ์โยนก้อนดินทิ้ง แต่ทรงเกิดความคิดว่า เราจะเข้าผลสมาบัติ

ตลอดเวลาประมาณสามเดือนเทียว ต่อจากนั้นจักไม่เข้าสมาบัติอื่น พระอานนท์

หมายเอาอาการอย่างนั้น จึงได้กล่าวว่า ทรงปลงแล้ว. ปาฐะว่า อฺสฺสชฺชิ

ดังนี้ก็มี.

คำว่า มหาภูมิจาโล คือ การไหวของแผ่นดินอย่างใหญ่. เล่ากัน

ว่า ครั้งนั้น หมื่นโลกธาตุได้หวั่นไหวแล้ว . คำว่า น่าสะพรึงกลัว คือ

ทำให้เกิดความกลัว. คำว่า กลองทิพย์ ก็บันลือลั่น คือ กลองของเทวดา

ก็ดังก้อง. ฝนก็คำรามแสนคำราม. สายฟ้าที่มิใช่เวลาก็แปลบปลาบ มีคำที่

ท่านอธิบายว่า ฝนก็ตกชั่วขณะ.

ถามว่า คำว่า ทรงเปล่งอุทาน นี้ ทรงเปล่งทำไม อาจมีบางคน

พูดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกมารที่ติดตามข้างพระปฤษฎางค์ รบกวนว่า

ปรินิพพานเถิด พระเจ้าข้า ปรินิพพานเถิด พระเจ้าข้า จึงทรงปลงอายุสังขาร

เพราะความกลัว. ตอบว่า โอกาสของมารนั้นจงอย่ามี สำหรับผู้กลัวหาได้

มีอุทานไม่ เพราะฉะนั้นจึงทรงเปล่งอุทานชนิดที่ปล่อยออกมาเพราะแรงปีติ.

ในพระอุทานั้น ชื่อว่า สิ่งที่เทียบเคียง เพราะถูกเทียบถูกกำหนด

แล้ว โดยความเป็นสิ่งประจักษ์แม้แก่สุนัขและจิ้งจอกเป็นต้นทั้งหมด. สิ่งเทียบ

นั้นคืออะไร. คือ กามาวจรกรรม. ที่ชื่อว่า ไม่มีสิ่งเทียบ เพราะไม่ใช่

สิ่งที่เทียบได้ หรือสิ่งที่เทียบได้ คือสิ่งที่เหมือนกัน ของสิ่งนั้นได้แก่โลกิย-

กรรม อย่างอื่นไม่มี. สิ่งที่ไม่มีอะไรเทียบได้นั้นคืออะไร คือ มหัคคตกรรม.

อีกอย่างหนึ่ง สิ่งที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร เป็นสิ่งที่เทียบได้ สิ่งที่เป็น

อรูปาวจรเป็นสิ่งที่เทียบไม่ได้ สิ่งที่มีวิบากน้อยเป็นสิ่งที่เทียบได้ สิ่งที่มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 136

วิบากมาก เป็นสิ่งที่เทียบไม่ได้. คำว่า สมฺภว คือ เป็นเหตุแห่งการเกิด

ของสัตว์เหล่านั้น อธิบายว่า ทำให้เป็นก้อน ทำให้เป็นกอง. คำว่า

ภวสขาร คือ เครื่องปรุงแห่งการเป็นขึ้นอีก. คำว่า ได้ปลงเสียแล้ว คือ

ปล่อยแล้ว. คำว่า มุนี คือ มุนีผู้เป็นพุทธะ. คำว่า ยินดีแล้วในภายใน

คือ ผู้ยินดีภายในอย่างแน่นแฟ้น. คำว่า มีจิตตั้งมั่น คือ ผู้ตั้งมั่นด้วยอำนาจ

อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ. คำว่า ได้ทำลายแล้ว เหมือนเกราะ

คือได้ทำลายเหมือนผู้ทำลายเกราะ. คำว่า เกิดในตน คือ กิเลสที่เกิดในตน.

ข้อนี้มีคำอธิบายว่า ทรงปลงสิ่งที่ได้ ชื่อว่า สมภพ เพราะอรรถว่า มีวิบาก.

ชื่อว่า ภวสังขาร เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องปรุงแต่งภพ และชื่อว่าทรงปลง

โลกิยกรรมกล่าวคือสิ่งที่เทียบได้และเทียบไม่ได้ ทรงได้ทำลายกิเลสที่เกิด

ในตนเหมือนนักรบผู้ยิ่งใหญ่ในสงความทำลายเกราะ และทรงเป็นผู้ยินดีใน

ภายใน ทรงเป็นผู้ (มีพระหฤทัย) ตั้งมั่นแล้ว.

อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ตุล (แปลว่า ชั่งก็ได้) ได้แก่ทรงชั่งอยู่ คือ

ทรงพิจารณาอยู่. คำว่า สิ่งที่ชั่งไม่ได้ และ ความเกิดพร้อม ได้แก่

นิพพานและภพ. คำว่า ธรรมอันปรุงแต่งภพ ได้แก่ กรรมที่ให้ถึงภพ.

คำว่า พระมุนีได้ทรงปลงแล้ว คือพระพุทธมุนีได้ทรงชั่งโดยนัยเป็นต้นว่า

ขันธ์ ๕ ไม่เที่ยง ความดับขันธ์ ๕ ได้สนิทเป็นนิพพาน เป็นของเที่ยง ทรง

เห็นโทษในภพ และเห็นอานิสงส์ในพระนิพพานแล้วได้ทรงปลงตัวปรุงแต่งภพ

อันเป็นรากเง่าของขันธ์ ๕ เสียด้วยอริยมรรคอันทำความสิ้นกรรม ที่ตรัสไว้อย่าง

นี้ว่า เป็นไปเพื่อสิ้นกรรม คือ ภวสังขาร อย่างไร ทรงยินดีภายในมีพระ-

หฤทัยตั้งมั่น ได้ทรงทำลายแล้วซึ่งข่าย คือ กิเลสอันเกิดในตน เหมือนนักรบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 137

ผู้ยิ่งใหญ่ทำลายเกราะฉะนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้ทรง

ทำลายกิเลสทั้งหมดซึ่งรวบรัดมัดอัตภาพตั้งอยู่ เหมือนทหารผู้ยิ่งใหญ่ทำลาย

เกราะ ด้วยกำลังสมถะและวิปัสสนา เริ่มตั้งแต่ส่วนเบื้องต้นอย่างนี้คือ ทรงยินดี

ในภายในด้วยอำนาจวิปัสสนา ทรงเป็นผู้มั่นคงด้วยอำนาจสมถะ (และได้ทรง

ทำลายกิเลส) ที่ได้ชื่อว่า สร้างตัวตน เพราะสร้างให้เกิดภายในตน และเพราะ

ไม่มีกิเลส จึงชื่อว่าทรงละกรรม ด้วยการละกิเลสอย่างนี้คือ กรรม ชื่อว่าเป็น

อันถูกปลงลงแล้ว เพราะไม่ทรงทำให้สืบเนื่อง สำหรับผู้ที่ละกิเลสได้แล้ว

ขึ้นชื่อว่า ความกลัวไม่มี ฉะนั้น จึงทรงเป็นผู้ไม่กลัวเลย ทรงปลงอายุ

สังขารแล้ว และพึงทราบว่า ทรงเปล่งพระอุทานเพื่อทรงให้รู้ความเป็นผู้ไม่

กลัวด้วย ดังนี้.

จบอรรถกถาเจติยสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาปาวาลวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อปารสูตร ๒. วิรัทธสูตร ๓. อริยสูตร ๔. นิพพุตสูตร

๕. ปเทสสูตร ๖. สัมมัตตสูตร ๗. ภิกษุสูตร ๘. พุทธสูตร ๙. ญาณสูตร

๑๐. เจติยสูตร และอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 138

ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒

๑. ปุพพสูตร

วิธีเจริญอิทธบาท ๔

[๑๑๓๖] ในกรุงสาวัตถี. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้งเราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มี

ความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอเป็นเหตุเป็นปัจจัยของการเจริญอิทธิบาท.

[๑๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร

ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่

ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและ

เบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด

เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด

เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด

กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

[๑๑๓๘] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธาน

สังขาร ดังนี้ว่า วิริยะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป....

ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

[๑๑๓๙] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิและ

ปธานสังขาร ดังนี้ว่า จิตของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคอง

เกินไป...ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 139

[๑๑๔๐] ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิมังสาสมาธิและ

ปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคอง

เกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก และเธอมีความสำคัญใน

เบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลัง

ฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบน

ฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด

กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่.

[๑๑๔๑] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้

ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็น

คนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฎก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง ภูเขา

ไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำ

ก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือน

นกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้ด้วย

ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

[๑๑๔๒] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้

ย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด คือ เสียงทิพย์และเสียงมนุษย์ ทั้งอยู่ไกลและใกล้

ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ล่วงโสตของมนุษย์.

[๑๑๔๓] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ย่อม

กำหนดรู้ใจของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ

หรือจิตปราศจากราคะก็รู้ว่า จิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่า จิตมีโทสะ

หรือจิตปราศจากโทสะก็รู้ว่า จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่า จิตมีโมหะ

หรือจิตปราศจากโมหะก็รู้ว่า จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่า จิตหดหู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 140

หรือจิตฟุ้งซ่านก็รู้ว่า จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่า จิตเป็นมหรคต

หรือจิตไม่เป็นมหรคตก็รู้ว่า จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า

จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่าก็รู้ว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิต

ตั้งมั่นก็รู้ว่า จิตตั้งมั่น หรือจิตไม่ตั้งมั่นก็รู้ว่า จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้นก็รู้ว่า

จิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้นก็รู้ว่า จิตไม่หลุดพ้น .

[๑๑๔๔] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้

ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง

สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบ

ชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง

ตลอดสังวัฏฏะกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏฏะ-

วิวัฏฏะกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น

มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนด

อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น

เราก็ได้มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น

เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว

ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ

พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.

[๑๑๔๕] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้

ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี ผิวพรรณทราม

ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพย์จักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์

ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต

ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดมั่นการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ

เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 141

กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ

ยึดมั่นการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป ย่อมเช้าถึงสุคติโลกสวรรค์

เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี

มีผิวพรรณทราม ได้ดีตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์

ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

[๑๑๔๖] ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อม

กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้เพราะอาสวะทั้ง

หลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

จบปุพพสูตรที่ ๑

ปาสาทกัมปนวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาปุพพสูตร

ปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒ ปุพพสูตรที่ ๑. คำเป็นต้นว่า อติลีโน

(แปลว่า ไม่ย่อหย่อนเกินไป) จะแจ่มแจ้งข้างหน้า. ในสูตรนี้ ทรงแสดงอิทธิบาท

ซึ่งมีอภิญญา ๖ เป็นบาท.

จบอรรถกถาปุพพสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 142

๒. มหัปผลสูตร

อานิสงส์ของการเจริญอิทธิบาท

[๑๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญ

กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท อันภิกษุเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ดัง

นี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ใน

ภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังเบื้องหน้า

อยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉัน

นั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น

กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมี

จิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน

ประกอบด้วยวิริยสมาธิ.. . จิตตสมาธิ. . . วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้

ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ใน

ภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้อง

หน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้า

ก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉัน

นั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น

เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อิทธิบาท ๔ อัน ภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผล

มาก มีอานิสงส์มาก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 143

[๑๑๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคน

ก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

[๑๑๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ อย่างนี้ ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่ .

จบมหัปผลสูตรที่ ๒

มหัปผลสูตรที่ ๒ ก็เหมือนอย่างนั้น. (คือเหมือนสูตรที่ ๑).

๓. ฉันทสูตร

ว่าด้วยอิทธิบาท กับ ปธานสังขาร

[๑๑๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะแล้ว ได้สมาธิ

ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า ฉันทสมาธิ. เธอยังฉันทะใหัเกิด พยายาม ปรารภ

ความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด

เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลธรรมที่ยังไม่เกิด เกิด

ขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป เพื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 144

ความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้

เรียกว่า ปธานสังขาร. ฉันทะนี้ด้วย ฉันทสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้

ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธาน

สังขาร.

[๑๑๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะแล้ว ได้สมาธิ

ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า วิริยสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความ

เจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร วิริยะ

นี้ด้วย วิริยสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า

อิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิและปธานสังขาร.

[๑๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยจิตแล้ว ได้สมาธิ ได้

เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า จิตตสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด ฯลฯ เพื่อความเจริญ

บริบูรณ์แห่งกุศธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เหล่านี้เรียกว่า ปธานสังขาร จิตนี้ด้วย

จิตตสมาธินี้ด้วย และปธานสังขารเหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า

อิทธิบาทประกอบด้วยจิต สมาธิ และปธานสังขาร.

[๑๑๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาแล้ว ได้สมาธิ

ได้เอกัคคตาจิต นี้เรียกว่า วิมังสาสมาธิ เธอยังฉันทะให้เกิด พยายาม

ปรารภความเพียร ประคองจิตไว้ ตั้งจิตไว้ เพื่อไม่ให้บาปอกุศลธรรมที่ยัง

ไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อให้กุศลกรรมที่ยัง

ไม่เกิด เกิดขึ้น เพื่อความตั้งอยู่ เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความเจริญยิ่งๆ

ขึ้นไป เพื่อความไพบูลย์ เพื่อความเจริญบริบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 145

เหล่านี้เรียก ปธานสังขาร วิมังสานี้ด้วย วิมังสาสมาธินี้ด้วย และปธานสังขาร

เหล่านี้ด้วย ดังพรรณนามานี้ นี้เรียกว่า อิทธิบาทประกอบด้วยวิมังสาสมาธิ

และปธานสังขาร.

จบฉันทสูตรที่ ๓

อรรถกถาฉันทสูตร

ฉันทสูตรที่ ๓. ความพอใจคือความเป็นผู้ใคร่จะทำ ชื่อว่า ฉันทะ

คำว่า อาศัยแล้ว ได้แก่ทำให้เป็นที่พึงพาอาศัย หมายความว่าทำให้ยิ่งใหญ่

เครื่องปรุงที่เป็นความเพียร ชื่อว่า ปธานสังขาร คำนี้ เป็นชื่อของความ

เพียรที่เรียกชื่อว่า ความเพียรชอบที่ทำหน้าที่สี่อย่างให้สำเร็จ. ความพอใจใน

คำเป็นต้นว่า อิติ อย จ ฉนฺโท เป็นฉันทสมาธิประกอบด้วยฉันทะและปธาน

สังขาร แม้ปธานสังขารก็ประกอบด้วยฉันทะและสมาธิ เพราะฉะนั้น พระองค์

จึงทรงรวมธรรมทั้งหมดนั้นเข้าด้วยกัน แล้วตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า

อิทธิบาทที่ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร. ส่วนในอิทธิบาทวิภังค์

ตรัสถึงธรรมที่หารูปมิได้ที่เหลือซึ่งประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ด้วยนัยเป็นต้นว่า

เวทนาขันธ์ของผู้เช่นนั้นใด ว่าเป็นอิทธิบาท.

อีกอย่างหนึ่ง ธรรมทั้งสามอย่าง เป็นทั้งฤทธิ์ เป็นทั้งทางให้ถึงฤทธิ์.

อย่างไร. จริงอยู่ เมื่อเจริญฉันทะ ฉันทะก็ย่อมชื่อว่าเป็นฤทธิ์. สมาธิและ

ปธานสังขาร ก็ย่อมชื่อว่าเป็นทางให้ถึงฤทธิ์. เมื่อเจริญสมาธิ สมาธิก็ย่อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 146

ชื่อว่าเป็นฤทธิ์ ฉันทะและปธานสังขาร ก็ย่อมกลายเป็นทางให้ถึงฤทธิ์แห่ง

สมาธิ เมื่อเจริญปธานสังขาร ปธานสังขารก็กลายเป็นฤทธิ์. ฉันทะและ

สมาธิ ก็จะกลายเป็นทางให้ถึงฤทธิ์แห่งปธานสังขาร เพราะเมื่อธรรมที่

ประกอบพร้อมกันสำเร็จในธรรมอย่างหนึ่ง แม้ธรรมที่เหลือ ก็ย่อมสำเร็จ

เหมือนกัน.

อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความที่ธรรมเหล่านี้เป็นอิทธิบาท แม้ด้วย

อำนาจความเป็นส่วนเบื้องต้นของธรรมนั้น ๆ. จริงอยู่ ฌานที่ ๑ ชื่อว่าเป็น

ฤทธิ์ ฉันทะเป็นต้นที่ประกอบพร้อมกับการตระเตรียมอันเป็นส่วนเบื้องต้นของ

ฌานที่ ๑ ก็ชื่อว่าเป็นทางให้ถึงฤทธิ์. ตามนัยนี้ไปจนถึงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนะ เริ่มแต่การแสดงฤทธิ์ไปจนถึงอภิญญาคือตาทิพย์ แล้วนำเอานัยนี้ไป

ใช้ได้ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคกระทั่งถึงอรหัตมรรค. แม้ในอิทธิบาทที่เหลือก็

ทำนองนี้.

แต่สำหรับบางท่านกล่าวว่า ฉันทะที่ยังไม่สำเร็จ* เป็นอิทธิบาท. ใน

กรณีนี้ เพื่อเป็นการย่ำยีวาทะของท่านเหล่านั้น เรามีถ้อยคำชื่อว่า อุตตรจูฬวาร

ที่มาในอภิธรรมว่า

อิทธิบาทมี ๔ อย่าง คือ ฉันทิทธิบาท วิริยิทธิบาท จิตติทธิบาท

วีมังสิทธิบาท. ในอิทธิบาท ๔ นั้น ฉันทิทธิบาท เป็นไฉน. ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ สมัยใด เจริญโลกุตรฌาน ที่นำออกจากทุกข์ ที่ให้ถึงความสิ้นไป

แห่งทุกข์ สงัดจากกามทั้งหลายได้แล้ว เพื่อบรรลุชั้นที่ ๑ สำหรับละความเห็นผิด

ฯลฯ แล้วเข้าถึงฌานที่ ๑ ซึ่งปฏิบัติยาก รู้ได้ช้าแล้วอยู่ ในสมัยนั้น ความพอใจ

ความเป็นผู้พอใจ ความอยากทำ ความฉลาดเฉลียว ความใคร่ธรรม

* พม่า-ยังไม่เกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 147

อันนี้ เราเรียกว่า อิทธิบาทคือความพอใจ. ธรรมที่เหลือ ประกอบเข้ากับ

อิทธิบาทคือความพอใจ แต่อิทธิบาทเหล่านี้ มาแล้ว ด้วยอำนาจโลกุตระ

เท่านั้น.

ในอิทธิบาท ๔ นั้น พระรัฐปาลเถระ ทำความพอใจให้เป็นธุระ

แล้วจึงยังโลกุตรธรรมให้เกิดได้. พระโสณเถระทำความเพียรให้เป็นธุระ

พระสัมภูตเถระ ทำความเอาใจใส่ให้เป็นธุระ พระโมฆราชผู้มีอายุ ทำความ

พิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลให้เป็นธุระ ด้วยประการฉะนี้. ในอิทธิบาท ๔

นั้น เหมือนเมื่อลูกอำมาตย์ ๔ คน ปรารถนาตำแหน่ง เข้าไปอาศัยพระราชา

อยู่ คนหนึ่งเกิดความพอใจในการรับใช้ รู้พระราชอัธยาศัย และความพอ

พระราชหฤทัยของพระราชา จึงรับใช้ทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้พระราชา

โปรดปรานแล้ว ก็ได้รับตำแหน่งฉันใด พึงทราบผู้ให้โลกุตรธรรมเกิดได้

ด้วยฉันทธุระ ฉันนั้น.

แต่อีกคนหนึ่ง ไม่อาจรับใช้ทุกๆ วันได้ จึงคิดว่าเมื่อเกิดความจำเป็น

ขึ้น เราจะรับใช้จนสุดสามารถ เมื่อชายแดนกำเริบ ถูกพระราชาส่งไปแล้วก็

ปราบข้าศึกจนสุดสามารถ ได้รับตำแหน่ง. คนนั้น ฉันใด พึงทราบผู้ที่ให้

โลกุตรธรรมเกิดได้ ด้วยวิริยธุระ ฉันนั้น.

อีกคนคิดว่า การรับใช้ทุกๆ วันก็ดี การเอาทรวงอกรับหอกและลูกศร

ก็ดี เป็นภาระโดยแท้ เราจะรับใช้ด้วยกำลังมนต์ แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตา

ฝึกหัดความรู้เกี่ยวกับเพลงอาวุธ ทำให้พระราชาโปรดปรานด้วยการจัดแจง

มนต์ (ความรู้) จนได้รับตำแหน่ง. บุคคลนั้นฉันใด พึงทราบผู้ที่ให้โลกุตรธรรม

เกิดได้ด้วยจิตตธุระ (การเอาใจใส่) ฉันนั้น.

อีกคนหนึ่งคิดว่า การรับใช้เป็นต้น จะมีประโยชน์อะไร ธรรมดา

พวกพระราชา ย่อมประทานตำแหน่งแก่ผู้สมบูรณ์ด้วยชาติ (ลูกผู้ดี) เมื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 148

ประทานแก่ผู้เช่นนั้น ก็จะประทานแก่เรา อาศัยความถึงพร้อมด้วยชาติ

เท่านั้น ก็ได้รับฐานันดร. เขาฉันใด พึงทราบผู้ที่อาศัยความพินิจพิจารณา

ไตร่ตรองหาเหตุผลล้วน ๆ แล้วทำให้เกิดโลกุตรธรรมด้วยวีมังสาธุระ ฉันนั้น.

ในสูตรนี้ ทรงแสดงอิทธิที่มีวิวัฏฏะเป็นบาท ดังที่ว่ามานี้.

จบอรถกถาฉันทสูตรที่ ๓

๔. โมคคัลลานสูตร

พระโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์

[๑๑๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทของมิคารมารดา

ในบุพพาราม ใกล้กรุงสาวัตถี สมัยนั้น ภิกษุมากรูปที่อยู่ภายใต้ปราสาทของ

มิคารมารดา เป็นผู้ฟุ้งซ่าน อวดตัว มีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้า พูดจาอื้อฉาว

ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวมอินทรีย์.

[๑๑๕๕] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระมหาโมค-

คัลลานะมาตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ สพรหมจารีเหล่านี้ ที่อาศัยอยู่ภายใต้

ปราสาทของมิคารมารดา เป็นผู้ฟุ้งซ่าน อวดตัว มีจิตกวัดแกว่ง ปากกล้า

พูดจาอื้อฉาว ลืมสติ ไม่มีสัมปชัญญะ มีจิตไม่ตั้งมั่น คิดจะสึก ไม่สำรวม

อินทรีย์ ไปเถิดโมคคัลลานะ เธอจงยังภิกษุเหล่านั้นให้สังเวช. ท่านพระ-

มหาโมคคัลลานะทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว แสดงอิทธาภิ

สังขาร ให้ปราสาทของมิคารมารดาสะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 149

[๑๑๕๖] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเกิดความสลดใจ ขนพองสยองเกล้า

ได้ไปยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วพูดกันว่า น่าอัศจรรย์หนอท่าน ไม่เคยมี

มาแล้ว ลมก็ไม่มี ทั้งปราสาทของมิคารมารดานี้ ก็มีรากลึก ฝังไว้ดีแล้ว

จะโยกคลอนไม่ได้ ก็แหละเมื่อเป็นเช่นนี้ อะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ปราสาท

นี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว.

[๑๑๕๗] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังที่ซึ่งภิกษุ

เหล่านั้นยืนอยู่แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเกิดความสลดใจ

ขนพองสยองเกล้า ไปยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เพราะเหตุอะไร ภิกษุเหล่านั้น

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ลมก็ไม่มี

ทั้งปราสาทของมิคารมารดานี้ ก็มีรากลึก ฝังไว้ดีแล้ว จะโยกคลอนไม่ได้

ก็แหละเมื่อเป็นเช่นนั้น อะไรสักอย่างหนึ่งที่ทำให้ปราสาทนี้สะเทือนสะท้าน

หวั่นไหว.

[๑๑๕๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ

โมคคัลลานะประสงค์จะให้เธอทั้งหลายสังเวช จึงทำปราสาทของมิคารมารดา

ให้สะเทือนสะท้านหวั่นไหวด้วยนิ้วหัวแม่เท้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ

มากอย่างนี้ เพราะได้เจริญธรรมเหล่าไหน เพราะได้กระทำให้มากซึ่งธรรม

เหล่าไหน.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มี

พระภาคเจ้าเป็นรากฐาน มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้นำ มีพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นที่พึ่ง ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อความแห่งภาษิตนี้จงแจ่มแจ้งกะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด ภิกษุทั้งหลายได้ฟังแล้ว จักทรงจำไว้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 150

[๑๑๕๙] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจง

ฟังเถิด ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ

ได้เจริญ ได้การทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ภิกษุ

โมคคัลลานะย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร. . .

วิริยสมาธิ.. . จิตตสมาธิ. . . วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสา

ของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน

ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า

เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น

เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวัน

ฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย

ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากอย่างนี้

มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่า

นี้แล.

[๑๑๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ ภิกษุโมคคัลลานะย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง ฯลฯ ใช้

อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

[๑๑๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ ภิกษุโมคคัลลานะย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา

วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.

จบโมคคัลลานสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

อรรถกถาโมคคัลลานสูตร

โมคคัลลานสูตรที่ ๔. ผู้ฟุ้งเป็นปกติ คือผู้มีจิตหวั่นไหว ชื่อว่าเป็น

ผู้ฟุ้งซ่าน. จริงอยู่ จิตย่อมหวั่นไหวในอารมณ์อย่างหนึ่งด้วยอุทธัจจะเหมือน

ชายธงถูกลมพัดฉะนั้น. คำว่า อวดตัว คือลำพอง. มีคำอธิบายว่า มักถือ

ตัวอันหาสารมิได้. คำว่า มีจิตกวัดแกว่ง คือประกอบด้วยความกวัดแกว่งใน

บาตรจีวรและเครื่องประดับเป็นต้น. คำว่า ปากกล้า คือปากจัด มีคำอธิบายว่า

มีคำพูดกล้าแข็ง. คำว่า พูดจาอื้อฉาว คือไม่ยั้งปากคอ ได้แก่พูดตลอดวัน

บ้าง พูดคำที่ไร้ประโยชน์บ้าง. คำว่า ลืมสติ คือลืมความระลึกได้. คำว่า

ไม่มีสัมปชัญญะ คือ เว้นจากปัญญา. คำว่า มีจิตไม่ตั้งมั่น คือเว้นจาก

อุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ. คำว่า วิพฺภนฺตจิตฺตา คือมีจิตหมุนผิดด้วย

ความฟุ้งซ่านที่ได้โอกาสเพราะเว้นจากสมาธิ. คำว่า ปากตินฺทฺริยา คือ ไม่

สำรวมอินทรีย์. คำว่า แสดงฤทธิ์ คือเข้าอาโปกสิณออกแล้ว อธิษฐานส่วน

แห่งแผ่นดินที่ตั้งปราสาทว่าจงเป็นน้ำ เหาะขึ้นฟ้าซึ่งมีปราสาทตั้งอยู่บนหลังน้ำ

แล้วเอานิ้วฟาดลงไป. คำว่า มีรากลึก คือหลุมลึก. หมายความว่า ฝังเข้าไป

สู่ส่วนแผ่นดินที่ลึก. คำว่า ฝังไว้ดีแล้ว คือที่ฝังมิดลงไปอย่างดี คือตอกเข็ม

ตั้งไว้อย่างดี. ในสูตรนี้ ทรงแสดงฤทธิ์ที่มีอภิญญาเป็นบาท.

จบอรรถกถาโมคคัลลานสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 152

๕. พราหมณสูตร

ว่าด้วยปฏิปทาเพื่อละฉันทะ

[๑๑๖๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี

ครั้งนั้น อุณณาภพราหมณ์เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับ

ท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

[๑๑๖๓] ดูก่อนท่านอานนท์ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณ

โคดมเพื่อประโยชน์อะไร ท่านพระอานนท์ตอบว่า ดูก่อนพราหมณ์ เรา

ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อละฉันทะ.

[๑๑๖๔] อุณ. ดูก่อนท่านอานนท์ ก็มรรคา ปฏิปทา เพื่อละฉันทะ

นั้น มีอยู่หรือ.

อา. มีอยู่ พราหมณ์.

[๑๑๖๕] อุณ. ดูก่อนท่านอานนท์ ก็บรรดาเป็นไฉน ปฏิปทา

เป็นไฉน.

อ. ดูก่อนพราหมณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาท อัน

ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วย

วิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้แลเป็นมรรคา

เป็นปฏิปทาเพื่อละฉันทะนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 153

[๑๑๖๖] อุณ. ดูก่อนท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ฉันทะนั้นยัง

มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี บุคคลจักละฉันทะด้วยฉันทะนั่นเอง ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะ

มีได้.

อา. ดูก่อนพราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น เราจะย้อนถามท่านในเรื่องนี้ ท่าน

เห็นควรอย่างไร พึงแก้อย่างนั้นเถิด.

[๑๑๖๗] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใน

เบื้องต้น ท่านได้มีความพอใจว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไปถึงอารามแล้ว ความ

พอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ.

อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.

อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความเพียรว่า จักไปอาราม เมื่อท่าน

ไปถึงอารามแล้ว ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้น ก็ระงับไปมิใช่หรือ.

อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.

อา. ในเบื้องต้น ท่านได้มีความคิดว่า จักไปอาราม เมื่อท่านไป

ถึงอารามแล้ว ความคิดที่เกิดขึ้นนั้น ก็ระงับไปมิใช่หรือ.

อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.

อา. ในเบื้องต้น ท่านได้ตริตรองพิจารณาว่า จักไปอาราม เมื่อ

ท่านไปถึงอารามแล้ว ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไปมิใช่หรือ.

อุณ. อย่างนั้น ท่านผู้เจริญ.

[๑๑๖๘] อา. ดูก่อนพราหมณ์ อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุใดเป็น

พระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระ

ลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนถึงแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว

หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้น ในเบื้องต้น ก็มีความพอใจเพื่อบรรลุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 154

อรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความพอใจที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มี

ความเพียรเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความเพียรที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป

ในเบื้องต้นก็มีความคิดเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุแล้ว ความคิดที่เกิดขึ้นนั้น

ก็ระงับไป ในเบื้องต้นก็มีความตริตรองพิจารณาเพื่อบรรลุอรหัต เมื่อบรรลุ

แล้ว ความตริตรองพิจารณาที่เกิดขึ้นนั้นก็ระงับไป.

[๑๑๖๙] ดูก่อนพราหมณ์ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อ

เป็นเช่นนั้น ความพอใจนั้นยังมีอยู่หรือว่าไม่มี.

อุณ. ข้าแต่ท่านอานนท์ เมื่อเป็นเช่นนั้น ความพอใจก็มีอยู่โดยแท้

ไม่มีหามิได้ ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่าน

พระอานนท์ ภาษิตของท่านแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระอานนท์ ท่านประกาศ

ธรรมโดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทาง

แก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยหวังว่าผู้มีจักษุจักเห็นรูป ฉะนั้น

ข้าพเจ้านี้ขอถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอ

ท่านพระอานนท์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิต ตั้งแต่

วันนี้ เป็นต้นไป.

จบพราหมณสูตรที่ ๕

อรรถกถาพราหมณสูตร

พราหมณสูตรที่ ๕. คำว่า เพื่อละฉันทะ คือ เพื่อละความ

พอใจอันได้แก่ตัณหา. แม้ในสูตรนี้ ก็แสดงอิทธิที่มีวิวัฏฏะเป็นบาท.

จบอรรถกถาพราหมณสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 155

๖. ปฐมสมณพราหมณสูตร

ผู้มีฤทธิ์มาก เพราะเจริญอิทธิบาท ๔

[๑๑๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ในอดีตกาล เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมด

นั้น เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล จักมีฤทธิ์

มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มี

อานุภาพมาก เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก

สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะเป็น

ผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและ

ปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ . .. จิตตสมาธิ . . .

วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร.

[๑๑๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ในอดีตกาล เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น

เป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล

จักเป็นผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น จักเป็น

ผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ก็เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔

เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน ย่อมเป็นผู้มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 156

ฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น ย่อมเป็นผู้มีฤทธิ์มาก

มีอานุภาพมาก เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

จบปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๖

๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร

แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างเพราะเจริญอิทธิบาท ๔

[๑๑๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งในอดีตกาล แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้

ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น

แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างเช่นนั้น เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล. . . สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็น

หลายคนก็ได้... ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ สมณะหรือ

พราหมณ์ทั้งหมดนั้น แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างเช่นนั้น ก็เพราะเป็นผู้เจริญ

กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร

ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิ

และปธานสังขาร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 157

[๑๑๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งในอดีตกาล แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้...

ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น

แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่างเช่นนั้น ก็เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท

๔ เหล่านี้แล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอนาคตกาล...

สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในปัจจุบัน แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง

คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้... ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้

สมณะหรือพราหมณ์ทั้งหมดนั้น แสดงฤทธิ์หลายอย่างเช่นนั้น ก็เพราะเป็นผู้

เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

จบทุติยพราหมณสูตรที่ ๗

๘. อภิญญาสูตร

ได้เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเพราะเจริญอิทธิบาท ๔

[๑๑๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่ง

เอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะเป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔

อิทธบาท ๔ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน

ประกอบด้วยวิริยสมาธิ ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 158

มิได้เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะ

เป็นผู้เจริญ กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

จบอภิญญาสูตรที่ ๘

๙. เทสนาสูตร

แสดงปฏิปทาเข้าถึงอิทธิบาทภาวนา

[๑๑๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอิทธิ อิทธิบาท อิทธิ

บาทภาวนาและปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลาย

จงฟัง ก็อิทธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง

คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทาง

กายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ.

[๑๑๗๖] ก็อิทธิบาทเป็นไฉน บรรดาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อม

เป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท.

[๑๑๗๗] ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท

อันประกอบด้วยวิริยสมาธิ. . จิตตสมาธิ. . วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.

[๑๑๗๘] ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน อริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทา

ที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.

จบเทสนาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 159

อรรถกถาเทสนาสูตร

เทสนาสูตรที่ ๙. คำว่า ภิกษุทั้งหลาย บรรดาอันใด หมาย

เอาฌานที่ ๔ ที่มีอภิญญาเป็นบาท.

จบอรรถกาเทสนาสูตรที่ ๙

๑๐. วิภังคสูตร

วิธีเจริญอิทธิบาท ๔

[๑๑๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อันภิกษุเจริญ

แล้ว กระทำให้มาnแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ก็อิทธิบาท ๔ อันภิกษุ

เจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธาน

สังขาร ดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป

ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้อง

หลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด

เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้อง

ล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็

ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ย่อม

เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและ

ปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคอง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 160

เกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญ

ในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้อง

หลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบน

ฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด

กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่

[๑๑๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน

ฉันทะที่ระกอบด้วยความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า

ฉันทะที่ย่อหย่อนเกินไป.

[๑๑๘๑] ก็ฉันทะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน ฉันทะที่ประกอบ

ด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๑๘๒] ก็ฉันทะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน ฉันทะที่ประกอบด้วย

ถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า ฉันทะที่หดหู่ในภายใน.

[๑๑๘๓] ก็ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไป

พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า ฉันทะที่ฟุ้งซ่านไปใน

ภายนอก

[๑๑๘๔] ภิกษุมีความสำคัญในเบื้องหลัง และเบื้องหน้าอยู่ว่า

เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น

อย่างไร ความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้า อันภิกษุในธรรมวินัยนี้ ยึดไว้

ดีแล้ว กระทำไว้ในใจดีแล้ว ทรงไว้ดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว ด้วยปัญญา

ภิกษุชื่อว่ามีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด

เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

[๑๑๘๕] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็

ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 161

ย่อมพิจารณากายนี้ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นมา เบื้องล่างแต่ปลายผมลงไป มี

หนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ ว่า ในกายนี้

มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ

ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด

หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร

ภิกษุชื่อว่า มีความสำคัญอยู่ว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบน

ฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

[๑๑๘๖] ก็ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น

กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญ

อิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการ

เหล่าใด ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาทอัน

ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่านั้น

ด้วยเพศเหล่านั้น ด้วยนิมิตเหล่านั้น อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญอิทธิบาท

อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางคืน ด้วยอาการเหล่าใด

ด้วยเพศเหล่าใด ด้วยนิมิตเหล่าใด เธอย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย

ฉันทสมาธิและปธานสังขารในกลางวัน ด้วยอาการเหล่านั้น ด้วยเพศเหล่านั้น

ด้วยนิมิตเหล่านั้น ภิกษุมีความสำคัญอยู่ว่า กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น

กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น อย่างนี้แล.

[๑๑๘๗] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่

อย่างไร อาโลกสัญญา (ความสำคัญว่าแสงสว่าง) อันภิกษุในธรรมวินัยนี้

ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า กลางวัน ตั้งมั่น ดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มี

อะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่อย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 162

[๑๑๘๘] ก็วิริยะที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน วิริยะที่ประกอบด้วย

ความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่าวิริยะที่ย่อหย่อน

เกินไป.

[๑๑๘๙] ก็วิริยะที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน วิริยะที่ประกอบด้วย

อุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิริยะที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๑๙๐] ก็วิริยะที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน วิริยะที่ประกอบด้วย

ถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิริยะหดหู่ในภายใน.

[๑๑๙๑] ก็วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน วิริยะที่ฟุ้งซ่านไป

พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิริยะที่ฟุ้งซ่านไปใน

ภายนอก ฯลฯ

[๑๑๙๒] ก็ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่

อย่างไร อาโลกสัญญา อันภิกษุในธรรนวินัยนี้ยึดไว้ดีแล้ว ความสำคัญว่า

กลางวัน ตั้งมั่น ดีแล้ว ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่

อย่างนี้แล.

[๑๑๙๓] ก็จิตที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน จิตที่ประกอบด้วยความ

เกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า จิตที่ย่อหย่อนเกินไป

[๑๑๙๔] ก็จิตที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน จิตที่ประกอบด้วย

อุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า จิตที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๑๙๕] ก็จิตที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน จิตที่ประกอบด้วยถีนมิทธะ

สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า จิตที่หดหู่ในภายใน.

[๑๑๙๖] ก็จิตที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน จิตที่ฟุ้งซ่านไป

พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า จิตที่ฟุ้งซ่านไปใน

ภายนอก ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 163

[๑๑๙๗] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่

อย่างนี้แล.

[๑๑๙๘] ก็วิมังสาที่ย่อหย่อนเกินไปเป็นไฉน วิมังสาที่ประกอบด้วย

ความเกียจคร้าน สัมปยุตด้วยความเกียจคร้าน นี้เรียกว่า วิมังสาที่ย่อหย่อน

เกินไป.

[๑๑๙๙] ก็วิมังสาที่ต้องประคองเกินไปเป็นไฉน วิมังสาที่ประกอบ

ด้วยอุทธัจจะ สัมปยุตด้วยอุทธัจจะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่ต้องประคองเกินไป.

[๑๒๐๐] ก็วิมังสาที่หดหู่ในภายในเป็นไฉน วิมังสาที่ประกอบด้วย

ถีนมิทธะ สัมปยุตด้วยถีนมิทธะ นี้เรียกว่า วิมังสาที่หดหู่ในภายใน.

[๑๒๐๑] ก็วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไปในภายนอกเป็นไฉน วิมังสาที่ฟุ้งซ่าน

ไป พล่านไป ปรารภกามคุณ ๕ ในภายนอก นี้เรียกว่า วิมังสาที่ฟุ้งซ่านไป

ในภายนอก ฯลฯ

[๑๒๐๒] ภิกษุมีจิตเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่

อย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้

กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๒๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ การทำให้มาก ซึ่ง

อิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็น

หลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดถึง

พรหมโลกก็ได้.

[๑๒๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญ การทำให้มาก ซึ่ง

อิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมการทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 164

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่.

(พึงขยายอภิญญาแม้ทั้งหกให้พิสดาร)

จบวิภังคสูตรที่ ๑๐

จบปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒

อรรถกถาวิภังคสูตร

วิภังคสูตรที่ ๑๐. ในคำว่า ประกอบด้วยความเกียจคร้าน นี้

ภิกษุเมื่อปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นแล้วนั่งเอาใจใส่กัมมัฏฐานอยู่ ที่นั้น เธอมี

อาการย่อท้อหยั่งลงในจิต เธอรู้ว่า อาการย่อท้อหยั่งลงในจิตเรา ก็เอาภัยใน

อบายมาข่มจิต ทำให้เกิดความพอใจขึ้นมาอีก แล้วตั้งจิตตั้งใจทำกัมมัฏฐาน.

ที่นั้น เธอเกิดมีอาการย่อท้อหยั่งลงในใจอีก เธอก็ยกเอาภัยในอบายมาข่มจิตอีก

ปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นแล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทำกัมมัฏฐานดังว่ามานี้ ความ

พอใจของเธอชื่อว่าย่อมประกอบด้วยความเกียจคร้าน เพราะความที่เธอถูก

ความเกียจคร้านครอบงำ ด้วยประการฉะนี้. คำว่า สัมปยุตด้วยความเกียจ

คร้าน เป็นคำที่ใช้แทน คำว่า ประกอบด้วยความเกียจคร้าน นั้นเอง.

ในคำว่า ประกอบด้วยอุทธัจจะ นี้ ภิกษุเมื่อทำความพอใจให้

เกิดขึ้นแล้ว ก็นั่งตั้งใจทำกัมมัฏฐานอยู่. ทีนั้น จิตเธอตกไปในความฟุ้งซ่าน

เธอก็มารำพึงถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ทำใจให้ร่าเริง

ให้ยินดี ทำให้ควรแก่การงาน แล้วยังความพอใจให้เกิดขึ้นใหม่อีก แล้วก็

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 165

พิจารณากัมมัฏฐาน. คราวนี้จิตของเธอก็ตกไปในความฟุ้งซ่านอีก เธอก็มา

รำพึงถึงคุณพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์อีก ทำใจให้ร่าเริง ให้ยินดี

ปลูกฝังความพอใจให้เกิดขึ้นใหม่ แล้วก็พิจารณากัมมัฏฐาน เพราะเหตุนี้

ความพอใจของเธอ ก็ย่อมชื่อว่าประกอบด้วยความฟุ้งซ่าน เพราะถูกความ

ฟุ้งซ่านครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.

ในคำว่า ประกอบด้วยถีนมิทธะ นี้ ภิกษุทำความพอใจให้เกิด

ขึ้นแล้ว ก็นั่งตั้งใจทำกัมมัฏฐานอยู่ ทีนั้น ความง่วงเหงาหาวนอน ก็เกิดขึ้น

แก่เธอ เธอทราบได้ว่า ถีนมิทธะ เกิดขึ้นแก่เราแล้ว ก็เอาน้ำมาล้างหน้า

ดึงใบหูท่องธรรมที่คล่อง (ด้วยเสียงดัง) หรือสนใจความสำคัญว่าแสงสว่างที่

ถือเอาไว้ เมื่อตอนกลางวัน บรรเทาถีนมิทธะออกไป แล้ว ยังความพอใจให้

เกิดขึ้นอีก พิจารณา กัมมัฏฐานอยู่. ทีนั้น ถีนมิทธะเกิดขึ้นแก่เธออีก เธอก็

บรรเทาถีนมิทธะออกไปอีกตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ทำความพอใจให้เกิด

ขึ้นใหม่ แล้วพิจารณากัมมัฏฐานอยู่ เพราะเหตุนี้ ความพอใจของเธอจึงชื่อว่า

ประกอบด้วยถีนมิทธะ เพราะถูกถีนมิทธะครอบงำ ด้วยประการฉะนี้.

ในคำว่า ฟุ้งซ่าน นี้ ภิกษุเมื่อทำความพอใจให้เกิดขึ้นแล้ว ก็นั่ง

พิจารณากัมมัฏฐานอยู่. ทีนั้น จิตของเธอก็ซัดส่ายไปในอารมณ์ คือกามคุณ

เธอรู้ได้ว่า จิตเราซัดส่ายไปข้างนอกแล้ว ก็มาคำนึงถึงอนมตัคคสูตร เทวทูต

สูตร เวลามสูตร และอนาคตภยสูตรเป็นต้น เอาพระสูตรมาเป็นเครื่องข่มจิต

ทำให้ควรแก่การงาน ปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นมาอีกแล้ว ก็เอาใจใส่กัมมัฏฐาน

อยู่. ทีนั้น จิตของเธอก็ซัดส่ายไปอีก เธอก็ข่มจิตด้วยอาชญา คือ พระสูตรทำ

ให้ควรแก่การงาน ปลูกความพอใจให้เกิดขึ้นมาอีก แล้วก็พิจารณากัมมัฏฐาน

อยู่ เพราะเหตุนี้ ความพอใจของเธอจึงย่อมชื่อว่า ปรารภกามคุณ ๕ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 166

ในภายนอก แล้วเป็นของซัดส่ายไปตาม ซ่านไปตาม เพราะระคนปนเจือไป

ด้วยความตรึกไปในกาม ด้วยประการฉะนี้.

ในคำว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น พึงทราบเบื้องหน้า

และเบื้องหลัง ด้วยอำนาจกัมมัฏฐานบ้าง ด้วยอำนาจเทศนาบ้าง อย่างไร

ในเรื่องกัมมัฏฐานก่อน การตั้งมั่นแห่งกัมมัฏฐาน ชื่อว่า เบื้องหน้า อรหัต

ชื่อว่า เบื้องหลัง ในเรื่องนั้น ภิกษุใดยึดเอามูลกัมมัฏฐานไว้มั่นแล้ว

เกียดกันความย่อหย่อนของจิต ในฐานะทั้ง ๔ อย่าง มีความย่อหย่อนเกินไป

เป็นต้น ไม่ติดขัดในฐานะทั้ง ๔ แม้แต่แห่งเดียว เหมือนเทียมโคพยศใช้งาน

จนไค้ หรือเหมือนดอกไม้ ๔ เหลี่ยมแทรกเข้าไป พิจารณาสังขารทั้งหลายย่อม

บรรลุพระอรหัต. ภิกษุแม้นี้ ก็ย่อมชื่อว่า เบื้องหน้าฉัน ใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น

นี้เป็นเบื้องหน้าและเบื้องหลังด้วยอำนาจกัมมัฏฐาน ส่วนที่ว่าด้วยอำนาจเทศนา

ผมชื่อว่าเบื้องหน้า มันสมอง ชื่อว่าเบื้องหลัง.

ในเรื่องเกี่ยวกับเทศนา (การแสดง) นั้น ภิกษุใดยึดมั่นในผมทั้งหลาย

แล้ว กำหนดผมเป็นต้น ด้วยอำนาจสีและสัณฐานเป็นต้น ไม่ติดขัดในฐานะ

ทั้ง ๔ อย่าง ยังภาวนาให้ถึงจนถึงมันสมอง. แม้ภิกษุนี้ ก็ย่อมชื่อว่า เบื้องหน้า

ฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้นอยู่. พึงทราบความเป็นเบื้องหน้าและเบื้องหลัง ด้วย

อำนาจเทศนาดังที่ว่ามานี้. คำว่า เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น

นี้เป็นคำที่ใช้แทนกันของนัยก่อนนั่นเอง.

คำว่า เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น นี้พึงทราบด้วย

อำนาจสรีระ. เพราะเหตุนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ข้างบนแต่

ฝ่าเท้าขึ้นนา ข้างล่างแต่ปลายผมลงไป ดังนี้ ในกรณีนั้น ภิกษุใดยังภาวนา

ให้ถึงด้วยอำนาจอาการ ๓๒ ประการ ตั้งแต่ฝ่าเท้าในรูปจนถึงปลายผม หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 167

ด้วยอำนาจกระดูก แต่กระดูกข้อต่ออันปลายสุดของนิ้วเท้าขึ้นไปจนถึงกระโหลก

ศีรษะ แต่กระดูกกระโหลกศีรษะลงไปจนถึงกระดูกข้อต่ออันปลายสุดของนิ้วเท้า

ไม่มีข้องขัดในฐานะทั้ง ๔ แม้แต่แห่งเดียว ภิกษุนี้ ย่อมชื่อว่า เบื้องบนฉันใด

เบื้องล่างก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้นอยู่.

คำว่า ด้วยอาการเหล่าใด คือด้วยส่วนเหล่าใด. คำว่า ด้วยเพศ

เหล่าใด คือด้วยทรวดทรงเหล่าใด. คำว่า ด้วยนิมิตเหล่าใด คือ ด้วย

ลักษณะที่ปรากฏเหล่าใด. คำว่า อาโลกสญฺา สุคฺคหิตา โหติ ความว่า

ภิกษุใดนั่งที่ลานแล้วมาเอาใจใส่ต่ออาโลกสัญญา หลับตาลงเป็นบางครั้ง บาง

ครั้งก็ลืมตาขึ้น ขณะที่เธอแม้จะหลับตาอยู่ รูปก็ย่อมปรากฏเป็นอย่างเดียวกัน

ทีเดียว เหมือนเมื่อเธอกำลังลืมตาแลดูอยู่ นั้นชื่อว่า ความสำคัญว่าแสงสว่าง

ย่อมเป็นอันได้เกิดแล้ว. แม้คำว่า ทิวาสสญฺา ก็เป็นชื่อของความสำคัญว่า

แสงสว่างนั้นเหมือนกัน. ก็แต่ว่า ความสำคัญว่าแสงสว่างที่เกิดขึ้นอยู่ในตอน

กลางคืน ย่อมชื่อว่าเป็นอันถือเอาดีแล้ว . แม้คำว่า เป็นอันตั้งมั่นดีแล้ว

ก็เป็นชื่อสำหรับใช้แทนบทนั้นเหมือนกัน . คำว่า อันตั้งมั่นดีแล้ว ได้แก่ตั้ง

มั่นได้เป็นอย่างดีคือ เรียกว่าชื่อว่าตั้งไว้โดยดี. ความสำคัญว่าแสงสว่างนั้น โดย

เนื้อความก็คือความสำคัญชนิดที่ถือเอาไว้แล้วอย่างดีนั่นเอง. อีกอย่างหนึ่ง

ภิกษุใดบรรเทาถีนมิทธะได้ด้วยแสงสว่าง สร้างความพอใจไห้เกิดขึ้นแล้ว

เอาใจใส่ทำกัมมัฏฐานอยู่ ความสำคัญว่าแสงสว่างแม้ในกลางวันของภิกษุนั้น

ก็ชื่อว่า เป็นอันถือเอาไว้ดีแล้ว เป็นอันตั้งขึ้นไว้ดีแล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลางคืน

หรือกลางวันก็ตาม ภิกษุใช้แสงสว่างใดบรรเทาถีนมิทธะได้แล้วมาตั้งอกตั้งใจ

ทำกัมมัฏฐานอยู่ ความสำคัญที่เกิดขึ้นในแสงสว่างซึ่งใช้เป็นเครื่องบรรเทา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 168

ถีนมิทธะนั้น ก็ชื่อว่า เป็นอันถือเอาไว้ดีแล้วโดยแท้. แม้ในอิทธิบาทมีวิริยะ

เป็นต้น ก็ทำนองนี้แล. ในสูตรนี้ ทรงแสดงฤทธิ์สำหรับเป็นบาทอภิญญาทั้ง

๖ ประการ.

จบอรรถกถาวิภังคสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาปาสาทกัมปนวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปุพพสูตร ๒. มหัปผลสูตร ๓. ฉันทสูตร ๔. โมคคัลลานสูตร

๕. พราหมณสูตร ๖. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๗. ทุติยสมณพราหมณสูตร

๘. อภิญญาสูตร ๙. เทสนาสูตร ๑๐. วิภังคสูตร พร้อมทั้งอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 169

อโยคุฬวรรคที่ ๓

๑. มรรคสูตร*

ว่าด้วยปฏิปทาแห่งการเจริญอิทธิบาท

[๑๒๐๕] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้ง

เราเป็นพระโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า อะไรหนอ

เป็นบรรดา เป็นปฏิปทาแห่งการเจริญอิทธิบาท เรานั้น ได้มีความคิดอย่างนี้ว่า

ภิกษุนั้นย่อมเจริญอิทธิบาทอัน ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขารดังนี้ว่า

ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน

ไม่ฟุ้งซ่านไปภายนอก และเธอมีความสำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า

เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น

เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวัน

ฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย

ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วยประการฉะนี้ ภิกษุย่อมเจริญ

อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ . . . จิตตสมาธิ . . . วิมังสาสมาธิและ

ปธานสังขาร ดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคอง

เกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอมีความสำคัญ

ในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลัง

ฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด

เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลางวัน

* มรรคสูตรที่ ๑ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 170

ก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ด้วย

ประการฉะนี้.

[๑๒๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว

อย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คน

เดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไป

ตลอดพรหมโลกก็ได้.

[๑๒๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเมื่อเจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว

อย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญา

วิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง

ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่

(แม้อภิญญาทั้งหกก็พึงขยายความออกไป)

จบมรรคสูตรที่ ๑

๒. อโยคุฬสูตร

ว่าด้วยการแสดงฤทธิ์

[๑๒๐๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอยู่หรือว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วย

พระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันสำเร็จแต่ใจ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 171

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึง

พรหมโลกด้วยฤทธิ์ พร้อมทั้งกายอันสำเร็จแต่ใจ.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบอยู่หรือว่า

พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วย

มหาภูตรูป ๔ นี้.

พ. เราทราบอยู่ อานนท์ ว่าเราเข้าถึงพรหมโลกด้วยฤทธิ์ พร้อม

ทั้งกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้.

[๑๒๐๙] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์ พร้อมทั้งพระกายอัน

สำเร็จด้วยใจ และทรงทราบว่า พระองค์ทรงเข้าถึงพรหมโลกด้วยพระฤทธิ์

พร้อมทั้งพระกายอันประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ นี้ เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์ ทั้งไม่

เคยมีมาแล้ว.

พ. ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตทั้งหลายเป็นผู้อัศจรรย์ และประกอบ

ด้วยธรรมอันน่าอัศจรรย์ เป็นผู้ไม่เคยมีมา และประกอบด้วยธรรมอันไม่เคย

มีมา

[๑๒๑๐] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายไว้ในจิต หรือตั้งจิต

ลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของ

ตถาคตย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และ

ผุดผ่องกว่าปกติ.

[๑๒๑๑] ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนก้อนเหล็กที่เผาไฟอยู่วันยังค่ำ

ย่อมเบากว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่อง

กว่าปกติ ฉันใด สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย

ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมเบา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 172

กว่าปกติ อ่อนกว่าปกติ ควรแก่การงานกว่าปกติ และผุดผ่องกว่าปกติ

ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๒๑๒] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือ

ตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญาและลหุสัญญาในกายอยู่ สมัยนั้น กายของ

ตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดง

ฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียว

ก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

[๑๒๑๓] ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ซึ่งเป็น

เชื้อธาตุที่เบา ย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ฉันใด

สมัยใด ตถาคตตั้งกายลงไว้ในจิต หรือตั้งจิตลงไว้ที่กาย ก้าวลงสู่สุขสัญญา

และลหุสัญญาอยู่ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจากแผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้

โดยไม่ยากเลย ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ

[๑๒๑๔] ดูก่อนอานนท์ สมัยนั้น กายของตถาคตย่อมลอยจาก

แผ่นดินขึ้นสู่อากาศได้โดยไม่ยากเลย ตถาคตนั้นย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง

คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจ

ทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้.

จบอโยคุฬสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 173

อโยคุฬวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาอโยคุฬสูตร

อโยคุฬวรรคที่ ๓ สูตรที่ ๒. คำว่า อันประกอบด้วยมหาภูต

รูป ๔ นี้ คือ สำเร็จมาจากมหาภูตทั้ง ๔ นี้ แม้เป็นภาระ เป็นของหนักอย่างนี้.

คำว่า โอมาติ ได้แก่ ย่อมเพียงพอ คือ ย่อมสามารถ. บทนี้เป็นบทที่ไม่

แตกต่างในพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฏก. คำว่า ย่อมตั้งแม้กายไว้ในจิต

ได้แก่ ถือเอากายมาไว้ในจิต คือทำให้อาศัยจิต ส่งไปในคติของจิต. ที่ชื่อว่า

จิต หมายเอามหัคคตจิต. การไปของคติแห่งจิต ย่อมเป็นของเบาเร็ว. คำว่า

ย่อมตั้งแม้จิตไว้ในกาย ได้แก่ ยกเอาจิตมาไว้ในกาย คือ ทำให้อาศัยกาย

ส่งไปในคติของกาย. กรัชกายชื่อว่ากาย. การไปของคติแห่งกายเป็นของช้า.

คำว่า สุขสัญญา และลหุสัญญา หมายถึงสัญญาที่เกิดพร้อมกับอภิญญา

จิต. จรึงอยู่ สัญญานั้น เพราะประกอบด้วยสุขสงบ จึงชื่อว่าสุขสัญญา และ

เพราะไม่มีความประพฤติชักช้าเพราะกิเลส จึงชื่อว่า ลหุสัญญา.

คำว่า ก้อนเหล็กที่เผาไฟ อยู่วันยังค่ำย่อมเบากว่าปกติ

ความว่า ก็แล ก้อนเหล็กนั้นแม้ถูกคนสองสามคนช่วยกันยกใส่ในเตาช่างเหล็ก

ถูกเผาอยู่ตลอดวัน เป็นสิ่งที่ไปด้วยกันกับลม เพราะไฟที่ใส่เข้าไปตามช่อง

และเพราะลม เป็นของที่ไปด้วยกันกับไอ และเป็นของที่ไปด้วยกันกับไฟ

อย่างนี้จึงกลายเป็นของเบา. ช่างเหล็ก เอาคีมใหญ่มาคีบจับมันด้านหนึ่งพลิก

ไปมา ยกขึ้นเอาออกมาข้างนอกฉันใด กายของพระตถาคตก็ฉันนั้น ย่อมอ่อน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 174

และเหมาะแก่การงาน. ช่างเหล็กจะตัดมันเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่ จะเอาค้อน

มาทุบทำต่างด้วยรูปสี่เหลี่ยมยาวเป็นต้นได้ฉันใด ในพระสูตรนี้ทรงแสดงการ

แผลงฤทธิ์ฉันนั้น.

จบอรรถกถาอโยคุฬสูตรที่ ๒

๓. ภิกขุสุทธกสูตร

ว่าด้วยการเจริญอิทธิบาท

[๑๒๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔

เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน ประกอบด้วยฉันทสมาธิ

และปธานสังขาร. . .วิริยสมาธิ . . . จิตตสมาธิ ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๘ เหล่านี้แล.

[๑๒๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล ภิกษุจึงกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหา

อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน

เข้าถึงอยู่.

จบภิกขุสุทธกสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 175

อรรถกถาภิกขุสุทธกสูตรที่ ๓

ในภิกขุสุทธกสูตรที่ ๓ ทรงตรัสฤทธิ์ที่มีวิวัฏฏะเป็นบาท.

จบอรรถกถาภิกขุสุทธกสูตรที่ ๓

๔. ปฐมผลสูตร

เจริญอิทธิบาทหวังผลได้ ๒ อย่าง

[๑๒๑๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔

เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ

และปธานสังขาร... วิริยสมาธิ . . . จิตตสมาธิ . . . วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

[๑๒๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล ภิกษุพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี.

จบปฐมผลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 176

อรรถกถาปฐมผลสูตรที่ ๔ เป็นต้น

ในปฐมผลสูตรที่ ๔ ก็อย่างนั้น อีกอย่างหนึ่ง ตั้งแต่ผลสอง

เป็นต้นไป ทรงแสดงเครื่องรองรับฤทธิ์ที่เจือปนกันไว้ในหนหลัง. ทรงแสดง

บุพภาคในผลทั้ง ๗ อีก ๔ สูตรมีสูตรที่ ๗ เป็นต้น ก็มีทำนองอย่างที่กล่าวไว้

ในหนหลังแล้วแล.

จบอรรถกถาปฐมผลสูตรที่ ๔ เป็นต้น

๕. ทุติยผลสูตร

ว่าด้วยผลานิสงส์ ๗

[๑๒๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ อิทธิบาท ๔

เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ

และปธานสังขาร . . . วิริยสมาธิ . . . จิตตสมาธิ . . .วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

[๑๒๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์ ๗

ประการเป็นไฉน คือ จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้ชมอรหัต-

ผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมเวลาใกล้ตาย ๑ ถ้าในปัจจุบันไม่ได้ชม ในเวลา

ใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จะได้

เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑ ผู้อสังขาร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 177

ปรินิพพายี ๑ ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ๑ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล

ภิกษุพึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.

จบทุติยผลสูตรที่ ๕

๖. ปฐมอานันทสูตร

ว่าด้วยปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาท

[๑๒๒๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาทเป็นไฉน อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทา

ทำจะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน.

[๑๒๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้

หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้

นี้เรียกว่า อิทธิ.

[๑๒๒๓] ก็อิทธิบาทเป็นไฉน บรรดาอัน ใด ปฏิปทาอันใด ย่อม

เป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท.

[๑๒๒๔] ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญอิทธิบาท อันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร. .. ย่อมเจริญ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 178

อิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ. . . จิตตสมาธิ . . . วิมังสาสมาธิและ

ปธานสังขาร นี้เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.

[๑๒๒๕] ปฏิปทาที่จะถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน อริยมรรคประกอบ

ด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า ปฏิปทา

ที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.

จบปฐมอานันทสูตรที่ ๖

๗. ทุติยอานันทสูตร

ว่าด้วยอิทธิฤทธิ์

[๑๒๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ผู้นั่งอยู่ ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนอานนท์ อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาทเป็นไฉน

อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ท่าน

พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย

มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ

[๑๒๒๗] พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์

ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ

ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ นี้เรียกว่า อิทธิ.

[๑๒๒๘] ก็อิทธิบาทเป็นไฉน บรรดาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อม

เป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท

[๑๒๒๙] ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 179

อันประกอบด้วยวิริยสมาธิ . .. จิตสมาธิ . .. วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้

เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.

[๑๒๓๐] ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน อริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า

ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.

จบทุติยอานันทสูตรที่ ๗

๘. ปฐมภิกขุสูตร

ว่าด้วยอิทธิฤทธิ์

[๑๒๓๑] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเข้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์เจริญ อิทธิเป็นไฉน

อิทธิบาทเป็นไฉน อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา

เป็นไฉน.

[๑๒๓๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคน

ก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวดีได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้

นี้เรียกว่า อิทธิ.

[๑๒๓๓] ก็อิทธิบาทเป็นไฉน มรรคาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อม

เป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 180

[๑๒๓๔] ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท

อันประกอบด้วยวิริยสมาธิ.. . จิตตสมาธิ .. . วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้

เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.

[๑๒๓๕] ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน อริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า

ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.

จบปฐมภิกขุสูตรที่ ๘

๙. ทุติยภิกขุสูตร

ว่าด้วยอิทธิฤทธิ์

[๑๒๓๖] ครั้งนั้น ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อิทธิเป็นไฉน อิทธิบาทเป็นไฉน อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ปฏิปทาที่จะให้

ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระมีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ

[๑๒๓๗] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อิทธิเป็นไฉน ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลาย

คนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดถึงพรหมโลกก็ได้ นี้เรียก

ว่า อิทธิ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 181

[๑๒๓๘] ก็อิทธิบาทเป็นไฉน บรรดาอันใด ปฏิปทาอันใด ย่อม

เป็นไปเพื่อได้ฤทธิ์ เพื่อได้เฉพาะซึ่งฤทธิ์ นี้เรียกว่า อิทธิบาท.

[๑๒๓๙] ก็อิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาท

อันประกอบด้วยวิริยสมาธิ... จิตตสมาธิ... วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร นี้

เรียกว่า อิทธิบาทภาวนา.

[๑๒๔๐] ก็ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนาเป็นไฉน อริยมรรค

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า

ปฏิปทาที่จะให้ถึงอิทธิบาทภาวนา.

จบทุติยภิกขุสูตรที่ ๙

๑๐. โมคคัลลานสูตร

สรรเสริญพระโมคคัลลานะว่ามีฤทธิ์มาก

[๑๒๔๑] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา

แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน

ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ

ได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นราก

ฐาน ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 182

[๑๒๔๒] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะมีฤทธิ์มาก

อย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔

อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ภิกษุโมคคลัลานะย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย

ฉันทสมาธิและปธานสังขารดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้อง

ประคองเกินไป ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และเธอนีความ

สำคัญในเบื้องหลังและเบื้องหน้าอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น

เบื้องหลังฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบน

ฉันใด เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด

ย่อมกลางวันก็ฉันนั้น เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ . . . จิตสมาธิ . . . วิมังสาสมาฐิและ

ปธานสังขารดังนี้ว่า วิมังสาของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกิน

ไป ฯลฯ เธอมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ภิกษุโมคคัลลานะ มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ

ได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

[๑๒๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะแสดงฤทธิ์

ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ

ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ เหล่านี้.

[๑๒๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุโมคคัลลานะ ย่อมกระทำ

ให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 183

สิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะได้เจริญ ได้กระทำ

ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้.

จบโมคคัลลานสูตรที่ ๑๐

๑๑. ตถาคตสูตร

พระตถาคตมีฤทธิ์มาก

[๑๒๔๕] ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

ตถาคตมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำ

ให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ธรรมทั้งหลายของข้าพระองค์ทั้งหลายมีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ

[๑๒๔๖] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมีฤทธิ์มากอย่างนี้ มี

อานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้การทำให้มากซึ่งอิทธิบาท อิทธิบาท

๔ เป็นไฉน ตถาคตย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธาน

สังขารดังนี้ว่า ฉันทะของเราจักไม่ย่อหย่อนเกินไป. ไม่ต้องประคองเกินไป

ไม่หดหู่ในภายใน ไม่ฟุ้งซ่านไปในภายนอก และตถาคตมีความสำคัญในเบื้อง

หน้าและเบื้องหลังอยู่ว่า เบื้องหน้าฉันใด เบื้องหลังก็ฉันนั้น เบื้องหลัง

ฉันใด เบื้องหน้าก็ฉันนั้น เบื้องล่างฉันใด เบื้องบนก็ฉันนั้น เบื้องบนฉันใด

เบื้องล่างก็ฉันนั้น กลางวันฉันใด กลางคืนก็ฉันนั้น กลางคืนฉันใด กลาง

วันก็ฉันนั้น ตถาคตมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ย่อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 184

เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ. . . จิตตสมาธิ. .. วิมังสาสมาธิและ

ปธานสังขารดังนี้ว่า วิมังสาของเราจัก ไม่ย่อหย่อนเกินไป ไม่ต้องประคองเกิน

ไป ฯลฯ ตถาคตมีใจเปิดเผย ไม่มีอะไรหุ้มห่อ อบรมจิตให้สว่างอยู่ ตถาคต

มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ เหล่านี้แล.

[๑๒๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ตถาคตย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลาย

อย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ฯลฯ ใช้

อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ เพราะได้เจริญได้กระทำให้มากซึ่ง

อิทธิบาท ๔ เหล่านี้.

[๑๒๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ตถาคตย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาก

ซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้.

จบตถาคตสูตร ๑๑

จบอโยคุฬวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มรรคสูตร ๒. อโยคุฬสูตร ๓. ภิกขุสุทธกสูตร ๔. ปฐมผลสูตร

๕. ทุติยผลสูตร ๖. ปฐมอานันทสูตร ๗. ทุติยอานันทสูตร ๘ ปฐมภิกขุ

สูตร ๙. ทุติยภิกขุสูตร ๑๐. โมคคัลลานสูตร ๑๑. ตถาคตสูตรและอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 185

อรรถกถาโมคคัลลานสูตรเป็นต้น

ในสูตรที่ ๑๑ และ ๑๒ ทรงแสดงอภิญญา ๖ ไว้. คำที่เหลือในที่

ทุกแห่ง มีใจความที่ตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาโมคคัลลานสูตรเป็นต้น

จบอรรถกถาอโยคุฬวรรคที่ ๓

จบอรรถกถาอิทธิปาทสังยุต

คังคาทิเปยยาลแห่งอิทธิบาทสังยุต*

ว่าด้วยผลแห่งอิทธิบาท ๔

[๑๒๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่ง

ไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน แม้ฉันใด ภิกษุเจริญอิทธิบาท ๔ กระทำ

ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน

ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๒๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญอิทธิบาท ๔ กระทำให้

มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างไรเล่า จึงเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน

โอนไปสู่นิพพาน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย

ฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ. . .

จิตตสมาธิ. . . วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ภิกษุเจริญอิทธิบาท ๔ การทำ

ให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่

นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน.

(พึงขยายความบาลีในอิทธิบาท จนกระทั่งถึงความแสวงหา)

* ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 186

[๑๒๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่า

นี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ

อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

[๑๒๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเจริญอิทธิบาท ๔ เพื่อรู้ยิ่ง

เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่า

นี้แล อิทธิบาท ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญอิทธิบาทอัน

ประกอบด้วยฉันทสมาธิและปธานสังขาร ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วย

วิริยสมาธิ. . . จิตตสมาธิ . . . วิมังสาสมาธิและปธานสังขาร ภิกษุพึงเจริญ

อิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์

อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

(คังคาเปยยาลเหมือนกับมรรคสังยุต ที่ข้าพเจ้าให้พิสดารแล้ว พึง

ขยายความบาลีในอิทธิบาท จนกระทั่งถึงความแสวงหา)

จบอิทธิบาทสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 187

อนุรุทธสังยุต

รโหคตวรรคที่ ๑

๑. ปฐมรโหคตสูตร

ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

[๑๒๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้;-

สมัยหนึ่ง. ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของ

ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะ

หลีกเร้นอยู่ในที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฏฐาน ๔

อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้น ชื่อว่าเบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึง

ความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อัน ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว

ชนเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

[๑๒๕๔] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะรู้ความปริวิตกในใจ

ของท่านพระอนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านอนุรุทธะ

เหมือนบุรุษมีกำลัง เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้น

ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ

ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า ปรารภสติปัฏฐาน ๔.

[๑๒๕๕] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายในภายในอยู่ พิจารณา

เห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ

ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในกายในภายในอยู่ มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 188

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความ

เกิดขึ้นในกายในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกาย

ในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน

กายในภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในกายทั้ง

ภายในและภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในกายภายใน

และภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปใน

กายทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๕๖] ภิกษุนั้น ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า

ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล

นั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูล

อยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า

ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฎิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฎิกูลอยู่เถิด ก็ย่อม

เป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวังอยู่ว่า

ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฎิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฎิกูลอยู่เถิด ก็

ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าไม่ปฏิกูลในสิ่งปฏิกูลและสิ่งไม่ปฎิกูลนั้นอยู่ ถ้าหวัง

อยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูลทั้งสองนั้น แล้วมี

อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะใน

สิ่งทั้งสองนั้นอยู่.

[๑๒๕๗] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนา

ในภายในอยู่ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายในอยู่

พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาในภายในอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 189

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณา

เห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาในภายนอกอยู่ พิจารณาเห็นธรรม

คือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปในเวทนาในภายนอกอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ย่อมพิจารณา

เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณา

เห็นธรรม คือ ความเสื่อมไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ พิจารณา

เห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในเวทนาทั้งภายในและภายนอก

อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก

เสียได้.

[๑๒๕๘] ภิกษุนั้นถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า

ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีความสำคัญว่าปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูล

นั้นอยู่ ฯลฯ ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้เว้นขาดสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่งปฏิกูล

ทั้งสองนั้น แล้วมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา

มีสติสัมปชัญญะในสิ่งทั้งสองนั้นอยู่.

[๑๒๕๙] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในจิตใน

ภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปในจิต

ทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๐] ภิกษุนั้น ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า

ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะใน

สิ่งทั้งสองนั้นอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 190

[๑๒๖๑] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรม

ทั้งหลายในภายใน ฯลฯ พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นและความเสื่อม

ไปในธรรมทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๒] ภิกษุนั้น ถ้าหวังอยู่ว่า ขอเราพึงเป็นผู้มีความสำคัญว่า

ปฏิกูลในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่เถิด ฯลฯ ก็ย่อมเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะใน

สิ่งทั้งสองนั้นอยู่ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะชื่อว่า

ปรารภสติปัฏฐาน ๔. . . . .. 4 .

จบปฐมรโหคตสูตรที่ ๑

อนุรุทธสังยุตตวรรณนา

รโหคตวรรคที่ ๑

อรรถกถาปฐมรโหคตสูตร

อนุรุทธสังยุต ปฐมรโหคตสูตรที่ ๑. คำว่า อันปรารภแล้ว

คือ เต็มที่แล้ว. ก็แลในสูตรนี้ ว่าโดยย่อ ก็คือได้ทรงแสดงวิปัสสนาที่ให้ถึง

ความเป็นพระอรหันต์ใน ๓๖ ฐานะ.

จบอรรถกถาปฐมรโหคตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 191

๒. ทุติยรโหคตสูตร

ว่าด้วยสติปัฏฐาน ๔

[๑๒๖๓] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกเร้นอยู่ใน

ที่ลับ ได้เกิดความปริวิตกขึ้นในใจอย่างนี้ว่า สติปัฎฐาน ๔ อันชนเหล่าใด

เหล่าหนึ่งเบื่อแล้ว ชนเหล่านั้นชื่อว่าเบื่ออริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์

โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภเเล้ว ชนเหล่านั้น

ชื่อว่าปรารภอริยมรรคที่จะให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ.

[๑๒๖๔] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะรู้ความปริวิตกในใจ

ของท่านพระอนุรุทธะด้วยใจ จึงไปปรากฏในที่เฉพาะหน้าท่านพระอนุรุทธะ

เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น.

[๑๒๖๕] ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ถามท่านพระ

อนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอ ภิกษุจึงจะชื่อว่า

ปรารภสติปัฏฐาน ๔.

[๑๒๖๖] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายในภายในอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นกายในกายใน

ภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความ

เพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๗] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาในภายในอยู่ มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสโนโลกเสียได้

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาในภายนอกอยู่ ฯลฯ พิจารณาเห็นเวทนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 192

ในเวทนาทั้งภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๘] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตในภายในอยู่. . . พิจารณา

เห็นจิตในจิตในภายนอกอยู่ . . . พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในและภายนอก

อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๒๖๙] ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมในภายในอยู่ . . .

พิจารณาเห็นธรรมในธรรมในภายนอกอยู่ ... พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้ง

ภายในและภายนอกอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล ภิกษุจึงจะ

ชื่อว่าปรารภสติปัฏฐาน ๔.

จบทุตติยรโหคตสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยรโหคตสูตร

ในรโหคตสูตรที่ ๒ ทรงแสดงวิปัสสนาที่ให้ถึงพระอรหัต ใน

๑๒ ฐานะ.

จบอรรถกถาทุติยรโหคตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 193

๓. สุตนุสูตร

การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา

[๑๒๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำสุตนุ ใกล้กรุง

สาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัย

กับท่านพระอนุรุทธะ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงไป

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ท่านอนุรุทธะบรรลุภาวะแห่ง

มหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน.

[๑๒๗๑] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เรา

บรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เราพิจารณาเห็น

เวทนาในเวทนาอยู่ . . . เราพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ . . . เราพิจารณาเห็น

ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา

เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อนึ่ง เพราะได้

เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ เราจึงได้รู้ธรรมอันเลว

โดยความเป็นธรรมอันเลว รู้ธรรมปานกลาง โดยความเป็นธรรมปานกลาง

รู้ธรรมอันประณีต โดยความเป็นธรรมอันประณีต.

จบสุตนุสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 194

อรรถกถาสุตนุสูตร

สุตนุสูตรที่ ๓. คำว่า ความเป็นแห่งมหาอภิญญา คือความเป็น

อภิญญา. ในคำว่า ธรรมอันเลว เป็นต้น พึงทราบใจความตามบาลีนี้ว่า

ชื่อว่า ธรรมอันเลวเป็นไฉน ความเกิดขึ้นแห่งจิตที่เป็นอกุศล

๑๒ ดวง เหล่านี้เป็นธรรมอันเลว. ธรรมปานกลาง เป็นไฉน กุศลใน ๓

ภูมิ วิบากในภูมิทั้ง ๓ และรูปทั้งหมดทั้งเป็นกิริยาอัพยากฤตในภูมิทั้ง ๓ เหล่านี้

เป็นธรรมปานกลาง. ธรรมอันประณีตเป็นไฉน มรรคทั้ง ๔ ที่เป็นสิ่งไม่

เกี่ยวเนื่อง สามัญญผล ๔ และนิพพาน ๑ เหล่านี้ เป็นธรรมอันประณีต

จบอรรถกถาสุตนุสูตรที่ ๓

๔. ปฐมกัณฏกีสูตร

ธรรมที่พระเสขะพึงเข้าถึง

[๑๒๗๒] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะ ท่านพระสารีบุตร และ

ท่านพระมหาโมคคัลลานะอยู่ ณ กัณฏกีวัน ใกล้เมืองสาเกต ครั้งนั้น

เป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรและท่านพระมหาโมคคัลลานะออกจากที่

พักผ่อน เข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ

ครั้น ผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง

* สูตรที่ ๔ ถึงสูตรที่ ๗ แก้รวมไว้ท้ายสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 195

ครั้นแล้วท่านพระสารีบุตรได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ

ธรรมเหล่าไหนอันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่.

[๑๒๗๓] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ข้าแต่ท่านพระสารีบุตร สติ-

ปัฏฐาน ๔ อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่ สติปัฎฐาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุใน

ธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาใน

เวทนา.. . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตะ. . .ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

ดูก่อนท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุผู้เป็นเสขะพึงเข้าถึงอยู่.

จบปฐมกัณฏกีสูตรที่ ๔

๕. ทุติยกัณฏกีสูตร

ธรรมที่พระอเสขะพึงเข้าถึง

[๑๒๗๔] สาเกตนิทาน. . . ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่าน

พระอนุรุทธะว่า ดูก่อนท่านอนุรุทธะ ธรรมเหล่าไหน อันภิกษุผู้เป็นอเสขะ

พึงเข้าถึงอยู่.

[๑๒๗๕] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนท่านพระสารีบุตร สติ-

ปัฏฐาน ๔ อันภิกษุผู้เป็นอเสขะพึงเข้าถึงอยู่ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุ

ในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนา

ในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรม

ในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 196

โลกเสียได้ ดูก่อนท่านพระสารีบุตร สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันภิกษุผู้เป็น

อเสขะพึงเข้าถึงอยู่.

จบทุติยกัณฏกีสูตรที่ ๕

๖. ตติยกัณฏกีสูตร

การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา

[๑๒๗๖] สาเกตนิทาน. ครั้นแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ถามท่าน

พระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ

ได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน.

[๑๒๗๗] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมบรรลุ

ภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔

สติปัฎฐาน ๔ เป็นไฉน ผมย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ย่อมพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณา

เห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ

โทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ผมบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา

เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อนึ่ง เพราะ

ได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฎฐาน ๔ เหล่านี้ ผมจึงรู้โลกพันหนึ่ง.

จบตติยกัณฏกีสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 197

๗. ตัณหักขยสูตร

เจริญสติปัฏฐานเพื่อความสิ้นตัณหา

[๑๒๗๘] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้น แล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุ

ทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อัน

บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหา สติ

ปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่...

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ . . . ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่. . .

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔

เหล่านี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้น

ตัณหา.

จบตัณหักขยสูตรที่ ๗

อรรถกถาปฐมกัณฏกีสูตรที่ ๔ เป็นต้น

ปฐมกัณฏกีสูตรที่ ๔. คำว่า ณ กัณฏกีวัน คือในป่าขนุนใหญ่.

ตติยกัณฏกีสูตรที่ ๖. ท่านแสดงธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นนิตย์ ของ

พระเถระด้วยคำว่า โลกพันหนึ่ง นี้. จริงอยู่ พระเถระล้างหน้าแต่เช้าตรู่แล้ว

ก็มาระลึกถึงพันกัปในอดีตและอนาคต. แต่ในปัจจุบัน มาสู่คลองแห่งการคำนึง

หนึ่งมีจำนวนหนึ่งหมื่นจักรวาล. ตัณหักขยสูตรที่ ๗ เนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปฐมกัณฏกีสูตรที่ ๔ เป็นต้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 198

๘. สลฬาคารสูตร

ภิกษุผู้เจริญสติปัฏฐานไม่ลาสิกขา

[๑๒๗๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ สลฬาคาร ใกล้กรุง

สาวัตถี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอนุรุทธะเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วได้กล่าวว่า

ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไป

สู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน เมื่อเป็นเช่นนั้น หมู่มหาชนถือเอาจอบและ

ตะกร้ามาด้วยประสงค์ว่า จักทดแม่น้ำคงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ

ดังนี้ ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน หมู่มหาชนนั้นจะพึงทดน้ำ

คงคาให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ ได้บ้างหรือ.

ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า ไม่ได้ ขอรับ.

อ. เพราะเหตุไร.

ภิ. เพราะการที่จะทดแม่น้ำคงคาอันไหลไปสู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่

ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ให้ไหลกลับ หลั่งกลับ บ่ากลับ มิใช่กระทำ

ได้ง่าย หมู่มหาชนนั้นจะพึงเป็นผู้มีส่วนแห่งความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า

แน่นอน.

อ. ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้มีอายุทั้งหลาย พระราชา มหาอำมาตย์

ของพระราชา มิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต จะพึงเชื้อเชิญภิกษุผู้เจริญ

กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ ให้ยินดีด้วยโภคะว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ จง

มาเถิด ท่านจะครองผ้ากาสาวะเหล่านี้อยู่ทำไม ท่านจะเป็นผู้มีศีรษะโล้นมือ

ถือกระเบื้องเที่ยวบิณฑบาตอยู่ทำไม นิมนต์ท่านสึกมาบริโภคสมบัติและ

บำเพ็ญบุญเถิด ข้อที่ภิกษุผู้เจริญ ผู้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ จักลา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 199

สิกขาออกมานั้น มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะจิตที่น้อม

ไปในวิเวก โน้มไปในวิเวก โอนไปในวิเวก ตลอดกาลนาน จักหวนสึก

มิใช่ฐานะที่จะมีได้.

[๑๒๘๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ภิกษุย่อมเจริญ กระทำให้มาก

ซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่...

ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ...

ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด

อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุย่อมเจริญ

กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ อย่างนี้แล.

จบสลฬาคารสูตรที่ ๘

อรรถกถาสลฬาคารสูตรที่ ๘

สลฬาคารสูตรที่ ๘. คำว่า ณ สลฬาคาร คือในศาลามุงใบไม้ เอาต้น

สนสร้าง หรือในอาคารที่มีชื่อเช่นนั้น เพราะอยู่ใกล้ประตูต้นสน. ในสูตรนี้

ทรงแสดงวิปัสสกบุคคลพร้อมกับวิปัสสนา.

จบสลฬาคารสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 200

๙. อัมพปาลิสูตร

ว่าด้วยวิหารธรรม

๑๒๘๑] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะและท่านพระสารีบุตร อยู่ใน

อัมพปาลีวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออก

จากที่พักเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะ ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า

ดูก่อนท่านอนุรุทธะ อินทรีย์ของท่านผ่องใส ผิวหน้าของท่านบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว

ในเวลานี้ ท่านอนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก.

[๑๒๘๒] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เวลานี้ผม

มีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฎฐาน ๔ มาก สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน ผมย่อมพิจารณา

เห็นกายในกายอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณา

เห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มี

สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

เวลานี้ผมมีจิตตั้งมั่นอยู่ในวิหารธรรมเหล่านี้เป็นอันมากอยู่ ภิกษุใดเป็น

อรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว

บรรลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว สิ้นสังโยชน์ที่จะนำไปสู่ภพแล้ว เพราะรู้โดยชอบ

ภิกษุนั้นมีจิตตั้งมั่นในสติปัฎฐาน ๔ เหล่านี้อยู่มาก.

ส. เป็นลาภของเราแล้ว เราได้ดีแล้ว ที่ได้ฟังอาสภิวาจาในที่เฉพาะ

หน้าท่านพระอนุรุทธะผู้กล่าว.

จบอัมพปาลิสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 201

อรรถกถาอัมพปาลิสูตร

อัมพปาลิสูตรที่ ๙. คำว่า อาสภิวาจา หมายถึงวาจาสูงสุดที่ส่อง

ถึงความเป็นพระอรหันต์ของตน. คำที่เหลือในที่ทุกแห่งมีใจความตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาอัมพปาลิสูตรที่ ๙

จบรโหคตวรรควรรณนาที่ ๑

๑๐. คิลานสูตร*

จิตตั้งมั่นในสติปัฏฐานทุกขเวทนาไม่ครอบงำ

[๑๒๘๓] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ในป่าอันธวัน ใกล้พระ-

นครสาวัตถี อาพาธ ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไป

หาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่าน

อนุรุทธะอยู่ด้วยวิหารธรรมข้อไหน ทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึง

ไม่ครอบงำจิต.

[๑๒๘๔] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เรามี

จิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฏฐาน ๔ ทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ...ย่อมพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็น

ธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

* คิลานสูตรที่ ๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 202

ในโลกเสียได้ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรามีจิตตั้งมั่นอยู่ในสติปัฎฐาน ๔

เหล่านี้แล ทุกขเวทนาในสรีรกายที่บังเกิดขึ้น จึงไม่ครอบงำจิต.

จบคิลานสูตรที่ ๑๐

จบรโหคตวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมรโหคตสูตร ๒. ทุติยรโหคตสูตร ๓. สุตนุสูตร ๔. ปฐม

กัณฏกีสูตร ๕. ทุติยกัณฏกีสูตร ๖. ตติยกัณฏกีสูตร ๗. ตัณหักขยสูตร

๘. สลฬาคารสูตร ๙. อัมพปาลิสูตร ๑๐. คิลานสูตร และอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 203

ทุติยวรรคที่ ๒*

๑. สหัสสูตร

การบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา

[๑๒๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระอนุรุทธะอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน

อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศษรฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุมาก

รูปเข้าไปหาท่านพระอนุรุทธะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอนุรุทธะ ฯลฯ

ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา

เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งธรรมเหล่าไหน.

[๑๒๘๖] ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุ

ภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ สติ-

ปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน เราย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่... ย่อมพิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณา

เห็นธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส

ในโลกเสียได้ ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย เราบรรลุภาวะแห่งมหาอภิญญา เพราะ

ได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฎฐาน ๔ เหล่านี้แล อนึ่ง เราย่อมระลึก

ได้ตลอดพันกัป เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบสหัสสสูตรที่ ๑

* ทุติยวรรคที่ ๒ อรรถกถาแก้รวม ๆ กันไว้ท้ายสูตรวรรคนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 204

๒. อิทธิสูตร

เจริญสติปัฏฐานแสดงฤทธิ์ได้

[๑๒๘๗] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลาย

อย่างคือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลก

ก็ได้ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบอิทธิสูตรที่ ๒

๓ . ทิพโสตสูตร

ว่าด้วยเสียง ๒ ชนิด

[๑๒๘๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมได้ยินเสียง ๒ ชนิด

คือ เสียงทิพย์และมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตอันบริสุทธิ์ล่วง

โสตของมนุษย์ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบทิพโสตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 205

๔. เจโตปริจจสูตร

ว่าด้วยการกำหนดรู้ใจผู้อื่น

[๑๒๘๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์

อื่น ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะก็รู้ว่า จิตมีราคะ ฯลฯ จิตหลุดพ้น

ก็รู้ว่า จิตหลุดพ้น เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบเจโตปริจจสูตรที่ ๔

๕. ฐานาฐานสูตร

ว่าด้วยการรู้ฐานะและอฐานะ

[๑๒๙๐] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ฐานะโดยความเป็น

ฐานะและอฐานะโดยความเป็นอฐานะ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้

การทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบฐานาฐานสูตรที่ ๕

๖.วิปากสูตร

ว่าด้วยการรู้วิบากของกรรม

[๑๒๙๑] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้วิบากของการกระ

ทำกรรมทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความ

เป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบวิปากสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 206

๗. สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร

ปฏิปทาอันให้ถึงประโยชน์ทั้งปวง

[๑๒๙๒] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้จักปฏิปทาอันให้ถึง

ประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติ

ปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบสัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตรที่ ๗

๘. นานาธาตุสูตร

ว่าด้วยการรู้ธาตุต่าง ๆ

[๑๒๙๓] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ธาตุเป็นอเนกและ

โลกธาตุต่าง ๆ ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติ-

ปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบนานาธาตุสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 207

๙. อธิมุตติสูตร

ว่าด้วยการรู้อธิมุตติต่าง ๆ

[๑๒๙๔] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้อธิมุตติอันเป็นต่างๆ

กันของสัตว์ทั้งหลาย ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง

สติปัฎฐาน ๔ เหล่านี้.

จบอธิมุตติสูตรที่ ๙

๑๐. อินทริยสูตร

ว่าด้วยการรู้ความยิ่งหย่อนแห่งอินทรีย์

[๑๒๙๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ความยิ่งและหย่อน

แห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ตามความเป็นจริง เพราะได้เจริญ

ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบอินทริยสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 208

๑๑. สังกิเลสสูตร

ว่าด้วยรู้ความเศร้าหมองความผ่องแผ้ว

[๑๒๙๖] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมรู้ความเศร้าหมอง

ความผ่องแผ้ว ความออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ และสมาบัติ ตามความ

เป็นจริง เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบสังกิเลสสูตรที่ ๑๑

๑๒. ปฐมวิชชาสูตร

ว่าด้วยการระลึกชาติได้

[๑๒๙๗] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้

เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เราย่อมระลึกถึง

ชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้

เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มาซึ่งสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบปฐมวิชชาสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 209

๑๓. ทุติยวิชชาสูตร

ว่าด้วยการเห็นจุติและอุบัติ

[๑๒๙๘] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลัง

จุติ กำลังอุบัติ ฯลฯ ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่ง

หมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่งสติปัฏฐาน

๔ เหล่านี้.

จบทุติยวิชชาสูตรที่ ๑๓

๑๔. ตติยวิชชาสูตร

ว่าด้วยการทำอาสวะให้สิ้นไป

[๑๒๙๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย อนึ่ง เราย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไปด้วย

ปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะได้เจริญ ได้กระทำให้มากซึ่ง

สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้.

จบตติยวิชชาสูตรที่ ๑๔

จบทุติยวรรคที่ ๒

จบอนุรุทธสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 210

อรรถกถาทุติยวรรคที่ ๒

ทุติยวรรคที่ ๒. พระเถระปฏิญาณทศพลญาณด้วยคำเป็นต้น ว่า

ฐานะ โดยความเป็นฐานะ. ก็ทศพลญาณนี้ พวกสาวกมีหรือไม่ มีเป็น

บางส่วน. แต่สำหรับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ทศพลญาณนี้ มีครบ

บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่างแล.

จบอรรถกถาอนุรุทธสังยุต

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สหัสสสูตร ๒. อิทธิสูตร ๓. ทิพโสตสูตร ๔. เจโตปริจจสูตร

๕. ฐานาฐานสูตร ๖. วิปากสูตร ๗. สัพพัตถคามินีปฏิปทาสูตร ๘. นานา

ธาตุสูตร ๙. อธิมุตติสูตร ๑๐. อินทริยสูตร ๑๑. สังกิเลสสูตร ๑๒. ปฐม

วิชชาสูตร ๑๓. ทุติยวิชชาสูตร ๑๔. ตติยวิชชาสูตร.

ฌานสังยุต

ว่าด้วยฌาน ๔

[๑๓๐๐] สาวัตถีนิทาน. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน เหล่านี้ ฌาน ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้

สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌานมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข

เกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 211

ธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุข

เกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติ

สิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็น

ผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ

ละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์

อยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ เหล่านี้แล.

[๑๓๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา ไหลไป

สู่ทิศปราจีน หลั่งไปสู่ทิศปราจีน บ่าไปสู่ทิศปราจีน ฉันใด ภิกษุเจริญ

กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอน

ไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๓๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน

๔ อย่างไร ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน

มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน... ตติยฌาน...

จตุตถฌาน... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเจริญ กระทำให้มากซึ่งฌาน ๔

อย่างนี้แล ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่นิพพาน

(พึงขยายความบาลีออกไปอย่างนี้ จนถึงความแสวงหา)

[๑๓๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕

เหล่านี้ สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เป็นไฉน คือ รูปราคะ อรูปราคะ

มานะ อุทธัจจะ อวิชชา สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

[๑๓๐๔า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔ อัน ภิกษุพึงเจริญเพื่อความ

รู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน

๕ เหล่านี้ ฌาน ๕ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 212

อกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุ

ทุติยฌาน ... ตติยฌาน... จตุตถฌาน... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฌาน ๔

อันภิกษุพึงเจริญ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละ

สังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องบน ๕ เหล่านี้แล.

(คังคาเปยยาล พึงขยายเนื้อความฌานสังยุต ตลอดถึงบาลี ไปจนถึง

ความแสวงหา เหมือนมรรคสังยุต)

จบฌาณสังยุต

ฌาณสังยุต มีใจความตื้น ๆ ทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 213

อานาปานสังยุต

เอกธรรมวรรคที่ ๑

๑. เอกธรรมสูตร

ว่าด้วยอานาปานสติ

[๑๓๐๕] กรุงสาวัตถี ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรมอันหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก

มีอานิสงส์มาก ธรรมอันหนึ่งเป็นไฉน คือ อานาปานสติ.

[๑๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง

ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว

ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อ

หายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจ

เข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจออก ย่อม

สำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งกายทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็น

ผู้ระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับกายสังขาร

หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า

เราจักรู้แจ้งปีติหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจออก ย่อม

สำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งสุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิต-

สังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งจิตสังขารหายใจเข้า ย่อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 214

สำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก

ระงับจิตสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้รู้แจ้งจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำ

จิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่น

หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า

เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ

เป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ

เป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ

คลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความคลาย

กำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจ

ออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจเข้า ย่อม

สำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า

เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานา-

ปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก

มีอานิสงส์มาก.

จบเอกธรรมสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 215

อานาปานสังยุตตวรรณนา

เอกธรรมวรรคที่ ๑

อรรถกถาเอกธรรมสูตร

อานาปานสังยุต เอกธรรมสูตรที่ ๑. ธรรมอย่างเอก ชื่อว่า

เอกธรรม. คำใดที่เหลืออันจะพึงกล่าวในที่นี้ คำนั้นทั้งหมด ได้กล่าวไว้

เสร็จแล้วในนิเทศที่ว่าด้วยอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน ในวิสุทธิมรรค.

จบอรรถกถาเอกธรรมสูตร

๒. โพชฌงคสูตร*

ว่าด้วยโพชฌงค์

[๑๓๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๐๘] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเจริญสติ

สัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์ ...

ปีติสัมโพชฌงค์.. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขา

สัมโพชฌงค์ อันสหรคตด้วยอานาปานสติ อาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัย

* สูตรที่ ๒ ถึง ๔ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 216

นิโรธ น้อมไปในการสละ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุ

ผู้เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

จบโพชฌงคสูตรที่ ๒

๓. สุทธิกสูตร

วิธีเจริญอานาปานสติ

[๑๓๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๑๐] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้

เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้

พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน

หายใจเข้า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

จบสุทธิกสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 217

๕. ปฐมผลสูตร

ผลานิสงส์เจริญอานาปานสติ ๒ ประการ

[๑๓๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๑๒] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้

เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้

พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืน

หายใจเข้า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังได้ผล ๒ ประการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีความถือมั่นอยู่ เป็นพระอนาคามี.

จบปฐมผลสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 218

๕. ทุติยผลสูตร

ผลานิสงส์การเจริญอานาปานสติ ๗ ประการ

[๑๓๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๑๕] ก็อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้

เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความให้พิสดาร

ตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจ

ออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการ ผลานิสงส์

๗ ประการ เป็นไฉน คือ จะได้ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน ๑ ถ้าไม่ได้

ชมอรหัตผลในปัจจุบันก่อน จะได้ชมในเวลาใกล้ตาย ถ้าในปัจจุบันก็ไม่

ได้ชม ในเวลาใกล้ตายก็ไม่ได้ชมไซร้ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ

สิ้นไป จะได้เป็นพระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี ๑ ผู้อุปหัจจปรินิพพายี ๑

ผู้อสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้สสังขารปรินิพพายี ๑ ผู้อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

อย่างนี้แล พึงหวังได้ผลานิสงส์ ๗ ประการเหล่านี้.

จบทุติยผลสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 219

๖. อริฏฐสูตร

การเจริญอานาปานสติ

[๑๓๑๗] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ฯลฯ ได้

ตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายย่อมเจริญอานาปานสติหรือหนอ.

[๑๓๑๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามอย่างนี้แล้ว ท่านพระ

อริฏฐะได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

เจริญอานาปานสติอยู่.

พ. ดูก่อนอริฏฐะ ก็เธอเจริญอานาปานสติอย่างไรเล่า.

[๑๓๑๙] อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กามฉันท์ในกามที่ล่วงไป ข้า-

พระองค์ละได้แล้ว กามฉันท์ในกามที่ยังไม่มาถึงของข้าพระองค์ไปปราศแล้ว

ปฏิฆสัญญาในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นภายในและภายนอก ข้าพระองค์กำจัด

เสียแล้ว ข้าพระองค์มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ข้าพระองค์เจริญอานาปานสติอย่างนี้แล.

[๑๓๒๐] พ. ดูก่อนอริฏฐะ อานาปานสตินั้นมีอยู่ เราไม่ได้กล่าว

ว่าไม่มี ก็แต่ว่า อานาปานสติย่อมบริบูรณ์โดยกว้างขวางด้วยวิธีใด เธอจงฟัง

วิธีนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอริฏฐะทูลรับพระดำรัส พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนอริฏฐะ ก็อานาปานสติย่อม

บริบูรณ์โดยกว้างขวางอย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่

โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะ

หน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก

พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 220

เห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ดูก่อนอริฏฐะ อานาปานสติย่อมบริบูรณ์โดย

กว้างขวางอย่างนี้แล.

จบอริฏฐสูตรที่ ๖

อรรถกถาอริฏฐสูตร

อริฏฐสูตรที่ ๖. คำว่า ภาเวถ โน คือ ภาเวถ นุ (แปลว่า

พวกท่านย่อมเจริญหรือ). คำว่า กามฉันท์ ได้แก่ ความรักใคร่ที่เป็นไปใน

กามคุณ ๕. คำว่า ในธรรมทั้งหลาย ทั้งที่เป็นภายในและภายนอก

ได้แก่ ปฏิฆสัญญา ในธรรม คืออายตนะ ๑๒ ทั้งภายในและภายนอก อัน

ข้าพระองค์กำจัดเสียแล้ว ได้แก่ ความสำคัญที่ประกอบด้วยความรู้สึก

กระทบกระทั่ง ได้ถูกนำออกไปได้โดยเฉพาะโดยดี หมายความว่า ถูกตัดขาด

แล้ว. ด้วยบทนี้ ท่านย่อมแสดงถึงอนาคามิมรรคของตน. คราวนี้ เมื่อจะชี้ถึง

วิปัสสนาแห่งอรหัตมรรค ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้น ว่า ข้าพระองค์มีสติหายใจ

ออก ดังนี้.

จบอรรถกถาอริฏฐสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 221

๗. กัปปินสูตร

ว่าด้วยอานาปานสติสมาธิ

[๑๓๒๑] กรุงสาวัตถี. ก็สมัยนั้น ท่านพระมหากัปปินะ นั่งคู้บัลลังก์

ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ในที่ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๑๓๒๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นท่านพระมหากัป-

ปินะนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า ครั้นแล้วได้ตรัสถาม

ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายเห็นความไหวหรือความ

เอนเอียงแห่งกายของภิกษุนั้นหรือหนอ.

[๑๓๒๓] ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด

ข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นท่านผู้มีอายุนั้นนั่งอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ หรือนั่งในที่ลับ

รูปเดียว ในเวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมิได้เห็นความไหวหรือความเอนเอียง

แห่งกายของท่านผู้มีอายุนั้นเลย.

[๑๓๒๔] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความไหวหรือความเอนเอียง

แห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะ

ได้เจริญได้กระทำให้มากซึ่งสมาธิใด ภิกษุนั้นได้สมาธินั้นตามความปรารถนา

ได้โดยไม่ยากไม่ลำบาก.

[๑๓๒๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความไหวหรือความเอนเอียงแห่ง

กายก็ดี ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี เพราะได้เจริญ

กระทำให้มากซึ่งสมาธิ เป็นไฉน เพราะได้เจริญ ได้การทำให้มากซึ่งอานาปาน

สติสมาธิ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 222

[๑๓๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี

ความหวั่นไหวหรือความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี ภิกษุในธรรมวินัยนี้

อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง

ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึงขยายเนื้อความ

ให้พิสดารตลอดถึงย่อมสำเหนียกว่า เราเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหาย

ใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ กระทำให้มาก

แล้วอย่างนี้แล ความไหวหรือความเอนเอียงแห่งกายก็ดี ความหวั่นไหวหรือ

ความกวัดแกว่งแห่งจิตก็ดี ย่อมไม่มี.

จบกัปปินสูตรที่ ๗

อรรถกถากัปปินสูตร

กัปปินสูตรที่ ๗. ท่านแสดงถึงความหวั่นไหวนั่นเอง แม้ด้วย

สองคำว่า ความไหวหรือความเอนเอียง.

จบอรรถกถากัปปินสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 223

๘. ทีปสูตร

อานิสงส์แห่งการเจริญอานาปานสติสมาธิ

[๑๓๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๒๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรณม

วินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย

ตรง ดำรงสติมั่นไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า (พึง

ขยายเนื้อความให้พิสดารตลอดถึง ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาโดย

ความเห็นสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดย

ความสละคืนหายใจเข้า) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติสมาธิ อันภิกษุ

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๒๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อก่อนแต่ตรัสรู้ ครั้ง

เราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้ตรัสรู้ ก็ย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก เมื่อเราอยู่

ด้วยวิหารธรรมนี้โดยมาก กายไม่ลำบาก จักษุไม่ลำบาก และจิตของเราย่อม

หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น.

[๑๓๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล ถ้าแม้ภิกษุพึงหวัง

ว่า แม้กายของเราไม่พึงลำบาก จักษุของเราไม่พึงลำบาก และจิตของเราพึง

หลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้

แหละให้ดี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 224

[๑๓๓๑] ...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ ถ้าแม้ภิกษุพึง

หวังว่า เราพึงสละความระลึกและความดำริของเราที่อาศัยเรือนนั้นเสีย ก็พึง

มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๒] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่ง

ไม่ปฏิกูลว่าปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๓] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญในสิ่ง

ปฏิกูลว่าไม่ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๔] ... ถ้าแม้ภิกษุหวังว่า เราพึงเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่ง

ไม่ปฏิกูลและในสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๕] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราเป็นผู้มีความสำคัญทั้งในสิ่ง

ปฏิกูลและในสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๖] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งไม่ปฏิกูลและสิ่ง

ปฏิกูลทั้งสองนั้นเสีย เเล้ววางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปาน

สติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๗] ...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงสงัดจากกาม สงัดจาก

กุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ก็พึง

มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๘] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุทุติยฌาน มีความ

ผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะ

วิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแก่สมาธิอยู่ ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธิ

นี้แหละให้ดี.

[๑๓๓๙] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงมีอุเบกขา มีสติ มีสัมป-

ชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 225

ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ก็พึง

มนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๐] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์

ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา

เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้ แหละให้ดี.

[๑๓๔๑] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากาสานัญจายตน

ฌานด้วยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง

เพราะดับปฎิฆสัญญา เพราะไม่มนสิการถึงมานัตตสัญญา ก็พึงมนสิการอานา-

ปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๒] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุวิญญาณัญจายตน-

ฌาน ด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ เพราะล่วงอากาสานัญจายตนฌาน

โดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๓] ... ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน

ด้วยมนสิการว่า ไม่มีอะไรน้อยหนึ่ง เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดย

ประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๔] ...ถ้าแม้ภิกษุพึงหวังว่า เราพึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌาน เพราะล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการ-

อานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนี้แหละ ถ้าแม้ภิกษุ

พึงหวังว่า เราพึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญาย-

ตนฌานโดยประการทั้งปวง ก็พึงมนสิการอานาปานสติสมาธินี้แหละให้ดี.

[๑๓๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่ออานาปานสติสมาธิ อันภิกษุ

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็ย่อมจะรู้ชัดว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 226

สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา

ก็ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้นไม่เที่ยง ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน

ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็ย่อมรู้ชัดว่า อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง

ไม่น่ายินดี ไม่น่าเพลิดเพลิน ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยสุข-

เวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยทุกขเวทนานั้น ถ้าเธอ

เสวยอทุกขมสุขเวทนา เธอก็ไม่พัวพันเสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น เมื่อเธอ

เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนา

มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เวทนา

ทั้งหมดในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้นชีวิต

เบื้องหน้าแต่กายแตก.

[๑๓๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันจะพึง

ลุกโพลงได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมันและไส้ เพราะหมดน้ำมันและไส้ ประทีป

น้ำมันไม่มีเชื้อพึงดับไป ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อเสวยเวทนา

มีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิต

เป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า เสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า เวทนาทั้งหมด

ในโลกนี้แหละ อันไม่น่าเพลิดเพลิน จักเป็นของเย็น เพราะสิ้นชีวิตเบื้องหน้า

แต่กายแตก.

จบทีปสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 227

อรรถกถาทีปสูตร

ทีปสูตรที่ ๘. คำว่า เนว เม กาโยปิ กิลมติ น จกฺขูนิ

ความว่า โดยทั่วไป เมื่อกำลังทำงานในกัมมัฏฐานอย่างอื่น กายย่อมเหน็ด

เหนื่อยบ้าง จักษุก็ย่อมลำบากบ้าง จริงอยู่ เมื่อกำลังทำงานในธาตุกัมมัฏฐาน

กายย่อมลำบาก เป็นเหมือนถึงอาการจับใส่ในเครื่องยนต์แล้วเบียดเบียน. เมื่อ

กำลังทำงานในกสิณกัมมัฏฐานอยู่ จักษุก็กลอกไปมา ย่อมเหนื่อย เป็นเหมือน

ถึงอาการทะลักตกลงไป. แต่เมื่อกำลังทำงานในกัมมัฏฐานนี้ กายก็ไม่เหนื่อยเลย

จักษุทั้งสองข้างก็ไม่ลำบากด้วย ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนั้น.

ถามว่า ทำไม ท่านจึงกล่าวคำเป็นต้นว่า รูปสัญญาทั้งหมด เราจะ

เพิกกสิณในอานาปานะ (ลมหายใจออกเข้า) ได้หรือ. ตอบว่า ได้. สำหรับ

พระจูฬาภยเถระผู้ชำนาญไตรปิฎก กล่าวว่า เพราะเหตุที่นิมิตของอานาปานะ

ย่อมปรากฏเป็นเหมือนแถวแก้วมุกดาในรูปดาว ฉะนั้น ในอานาปานะนั้น เรา

จึงเพิกเอากสิณออกได้. พระจูฬนาคเถระผู้ทรงไตรปิฎก กล่าวค้านว่า ไม่ได้เลย.

อย่าเลย ขอรับ แล้วทำไม เราจึงจะถือเอาชนิดอันมีฤทธิ์ของพระอริยะเป็นต้น

นี้ได้เล่า. เพื่อชี้ถึงอานิสงส์ คือว่า ภิกษุผู้ต้องการ ฤทธิ์ที่เป็นอริยะก็ดี

รูปาวจรฌานสี่ก็ดี อรูปสมาบัติสี่ก็ดี นิโรธสมาบัติก็ดี ต้องทำความสนใจสมาธิ

ที่เกี่ยวกับความระลึกอานาปานนี้ให้ดี. เหมือนเมื่อได้กรุงแล้ว ของสิ่งใดที่

ต้องใช้ความขยันจึงจะได้มาในทิศทั้งสี่ ของสิ่งนั้น ก็ย่อมเข้าสู่กรุงโดยประตู

ทั้งสี่นั่นแหละ เพราะฉะนั้น ก็เป็นอันว่าได้ทั้งชนบทด้วย นี้แลเป็นอานิสงส์

ของกรุงนั่นเทียว ฉันใด ชนิดมีอริยฤทธิ์เป็นต้นนี้ ก็ฉันนั้น เป็นอานิสงส์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 228

ของอานาปานัสสติสมาธิภาวนา เมื่อได้เจริญอานาปานัสสติสมาธิโดยอาการ

ทั้งหมดแล้ว สิ่งทั้งหมดนี้ ก็ย่อมสำเร็จแก่พระโยคี ฉะนั้น ท่านจึงได้กล่าวไว้

เพื่อชี้ถึงอานิสงส์. ทำไมในคำว่า สุขญฺเจ นี้ (ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา) ท่านจึง

กล่าวว่า โส (แปลว่า เขาผู้นั้น . . .) เพราะในวาระนี้ คำว่า ภิกษุ มิได้มา.

จบทีปสูตรที่ ๘

๙. เวสาลีสูตร

ว่าด้วยการเจริญอสุภกรรมฐาน

[๑๓๔๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน

ใกล้กรุงเวสาลี ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญ

คุณแห่งอสุภะแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยอเนกปริยาย ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้น

อยู่สักกึ่งเดือน ใคร ๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว

ภิกษุเหล่านั้นรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ใคร ๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้า เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว.

[๑๓๔๙] ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสอสุภกถา ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภะ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภะ

โดยอเนกปริยาย จึงขวนขวายประกอบการเจริญอสุภะ อันเกลื่อนกล่นด้วย

อาการเป็นอเนกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นอึดอัดระอาเกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาสตรา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 229

สำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาสตรามา

โดยวันเดียวกัน.

[๑๓๕๐] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นโดยล่วง

กึ่งเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์

เพราะเหตุไรหนอ ภิกษุสงฆ์จึงดูเหมือนเบาบางไป ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเช่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอสุภกถา ตรัส

สรรเสริญคุณแห่งอสุภะ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภะ แก่ภิกษุทั้งหลาย

โดยอเนกปริยาย ภิกษุเหล่านั้นคิดกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอสุภกถา

ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภะ ตรัสสรรเสริญคุณแห่งการเจริญอสุภะ โดยอเนก

ปริยาย จึงขวนขวายประกอบการเจริญอสุภะอันเกลื่อนnล่นด้วยอาการเป็นอเนก

อยู่ อึดอัดระอา เกลียดกายนี้ ย่อมแสวงหาศาสตราสำหรับปลงชีวิต สิบรูปบ้าง

ยี่สิบรูปบ้าง สามสิบรูปบ้าง ย่อมนำศาสตรามาโดยวันเดียวกัน ขอประทาน

พระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสบอกปริยาย โดยวิธีที่ภิกษุสงฆ์

จะพึงดำรงอยู่ในอรหัตผลเถิด.

[๑๓๕๑] พ. ดูก่อนอานนท์ ถ้าอย่างนั้น ภิกษุมีประมาณเท่าใด

ที่อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ เธอจงให้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดประชุมกัน ในอุปัฏฐานศาลา.

ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยังภิกษุทั้งหมดที่

อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ ให้มาประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุม

กันแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.

[๑๓๕๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปยังอุปัฏฐานศาลา

แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสตินี้แล อันภิกษุ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 230

เจริญแล้ว การทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีต ชื่นใจ เป็นธรรม

เครื่องอยู่เป็นสุขและยังอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อันตรธาน

สงบไปโดยพลัน.

[๑๓๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนธุลีและละอองที่ฟุ้งขึ้น

ในเดือนท้ายฤดูร้อน ฝนใหญ่ในสมัยมิใช่กาล ย่อมยังธุลีและละอองนั้นให้

อันตรธานสงบไปโดยพลัน ฉันใด สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน

ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว เป็นสภาพสงบ ประณีต ชื่นใจ เป็น

ธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขและยังอกุศลธรรมอันลามกที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๆ ให้อัน-

ตรธานสงบไปโดยพลัน ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๓๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ

อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร เป็นสภาพสงบ..

ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้

ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณา

เห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดย

ความสละคืนหายใจเข้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ

อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มาแล้วอย่างนี้ เป็นสภาพสงบ..

ให้อันตรธานสงบไปโดยพลัน.

จบเวสาลีสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 231

อรรถกถาเวสาลีสูตร

เวสาลีสูตรที่ ๙. คำว่า ใกล้กรุงเวสาลี คือ ใกล้กรุงที่มีโวหาร

อันเป็นไปด้วยอำนาจเพศหญิง ซึ่งมีชื่ออย่างนั้น. จริงอย่างนั้น กรุงนั้น

เรียกว่า เวสาลี เพราะเป็นนครที่กว้างขวาง ด้วยการขยายกำแพงล้อมรอบ

ถึง ๓ ครั้ง. และกรุงแม้นี้ เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงบรรลุความเป็น

พระสัพพัญญูนั่นเอง ก็พึงทราบว่า ได้บรรลุความไพบูลย์ด้วยอาการทั้งปวง

เมื่อท่านพระอานนท์ได้ระบุโคจรคามอย่างนี้เสร็จแล้ว ก็ได้กล่าวถึงที่สำหรับ

อยู่ว่า ณ กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน. ในคำเหล่านั้น ป่าอย่างใหญ่มีเขต

กำหนด ไม่มีใครปลูกไว้ เกิดขึ้นเอง ชื่อ มหาวัน (ป่าใหญ่). ส่วนป่าใหญ่

ซึ่งอยู่ใกล้กับกรุงกบิลพัสดุ์ เป็นป่าที่มีเขตกำหนดติดเป็นพืดเดียวกันกับ

ป่าหิมพานต์ ไปจนติดทะเลหลวง. ป่าใหญ่นี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ เป็นป่าใหญ่

ที่ยังมีขอบเขต ฉะนั้นจึงเรียกว่า มหาวัน. ส่วนศาลาเรือนยอด คือศาลาที่ได้

สร้างเป็นเรือนมียอดไว้ภายในสวนที่อาศัยป่าใหญ่สร้างไว้ ด้วยหลังคากลม

ดุจหงส์. สมบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง พึงทราบว่าเป็นพระคันธุฏีของพระ-

ผู้มีพระภาคพุทธเจ้า.

คำว่า ทรงแสดงอสุภกถาโดยอเนกปริยาย คือ ทรงแสดงถ้อยคำ

ที่ทำให้หมดความพอใจในกาย* เป็นไปเพื่อชี้ให้เห็นชัดถึงอาการที่ไม่งาม ด้วย

เหตุมิใช่น้อย เช่น มีในร่างกายนี้ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน ฯลฯ น้ำมูตร ดังนี้.

คำนี้ทรงอธิบายไว้อย่างไร. (ทรงอธิบายไว้ว่า) ภิกษุทั้งหลาย ในซากศพขนาด

วาหนึ่งนี้ ใครๆเมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้ว ย่อมไม่เห็นของสะอาดอะไรๆ แม้แต่

* กัมพุช ที่เป็นเหตุให้ติดกายได้เด็ดขาด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 232

น้อยหนึ่ง ที่จะเป็นมุกดา มณี ไพฑูรย์ กฤษณา จันทน์ หญ้าฝรั่น การบูร

หรือผงเครื่องอบเป็นต้นเลย ที่แท้จะเห็นแต่ของที่สกปรก มีประการต่างๆ

เช่น ผม ขน เล็บ เป็นต้น ซึ่งแสนจะเหม็น มองดูน่าเกลียด และเสียศักดิ์ศรี

ทั้งนั้น ฉะนั้น อย่าไปทำความพอใจ หรือความรักใคร่ในร่างกายนี้เลย ชื่อว่า

ผมทั้งหลาย ที่เกิดบนศีรษะ ซึ่งเป็นส่วนที่สูงสุดแล้ว ก็ยังไม่งามเป็นของ

สกปรก และน่าสะอิดสะเอียนอยู่นั่นเอง. และความไม่สวยไม่สะอาดน่าสะอิด

สะเอียนของผมทั้งหลายนั้น พึงทราบโดยอาการ ๕ อย่าง คือ โดยสี โดย

สัณฐาน โดยกลิ่น โดยที่อาศัย และโดยโอกาส. แม้ขนเป็นต้น ก็เป็น

อย่างนี้. นี้เป็นความสังเขปในสูตรนี้ ส่วนความพิสดาร พึงทราบตามนัยที่

กล่าวไว้แล้วในวิสุทธิมรรค. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอสุภกถาโดยอเนก

ปริยาย จำแนกเป็นส่วนละ ๕ อย่าง.

คำว่า ตรัสสรรเสริญคุณแห่งอสุภะ คือ เมื่อทรงวางแม่บทแห่งอสุภะ

ด้วยอำนาจศพที่ขึ้นอืดเป็นต้นแล้ว ก็ทรงจำแนกแจกขยายศพนั้น ด้วยรายละเอียด

(บทภาชนีย์) ตรัสถึงคุณของอสุภะ. คำว่า ตรัสสรรเสริญคุณของการเจริญ

อสุภะ คือ การอบรม การเจริญจิต ที่ถือเอาอาการอันไม่งามในผมเป็นต้น

หรือในวัตถุทั้งภายในและภายนอกมีศพที่ขึ้นอืดเป็นต้น แล้วเป็นไปนี้.

เมื่อจะทรงชี้ถึงอานิสงส์แห่งการเจริญอสุภะนั้น จึงตรัสถึงคุณ คือระบุถึงคุณ.

คือ ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ประกอบอย่างยิ่งในการเจริญอสุภะ ในผม

เป็นต้น หรือในวัตถุมีศพที่ขึ้นอืดเป็นต้น ย่อมได้เฉพาะซึ่งปฐมฌานที่ละ

องค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ มีความงาม ๓ อย่าง สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๑๐

อย่าง เธออาศัยหีบคือจิต กล่าวคือปฐมฌานนั้น เจริญวิปัสสนาแล้ว ย่อม

สำเร็จความเป็นอรหันต์อันเป็นประโยชน์ที่สูงสุด ดังนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 233

คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักกึ่ง

เดือน ความว่า ภิกษุทั้งหลาย เราต้องการพักผ่อน คือหลีกเร้น ได้แก่ อยู่

เพียงคนเดียวตลอดกึ่งเดือนหนึ่ง. คำว่า ใคร ๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้น

แต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว คือ ภิกษุใด ไม่กระทำคำพูดที่ควรแก่ตน

นำบิณฑบาตที่เขาจัดไว้ในตระกูลที่มีศรัทธามาเพื่อประโยชน์แก่เราแล้วน้อม

เข้าไปให้ นอกจากภิกษุผู้นำเอาบิณฑบาตมาให้รูปเดียวแล้ว ใครอื่น ไม่ว่าจะ

เป็นภิกษุ หรือคฤหัสถ์ไม่พึงเข้าไปหาเรา.

ทำไมจึงตรัสอย่างนั้นเล่า. มีเรื่องเล่าว่า ในอดีตกาล พวกพราน

เนื้อ ๕๐๐ คน เอาท่อนไม้และบ่วง เป็นต้น ขนาดใหญ่ ๆ มาล้อมป่า ต่าง

ดีอกดีใจ เลี้ยงชีวิตด้วยการทำการฆ่าเนื้อและนกตลอดชีวิตมาด้วยกันทีเดียว

(ตายแล้ว ). ก็เกิดในนรก. พวกเขาไหม้ในนรกนั้นแล้ว ด้วยกุศลกรรม

บางอย่างที่ทำไว้เมื่อก่อนนั่นแหละ ก็มาเกิดในหมู่มนุษย์ ด้วยอำนาจอุปนิสัย

อันงาม ทุกคนก็ได้บรรพชาและอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะ

อกุศลกรรมเดิมนั้น ของท่านเหล่านั้น อปราปรเจตนาที่ให้ผลยังไม่เสร็จ ก็

ได้ทำโอกาสเพื่อเข้าไปตัดชีวิต ด้วยความพยายามของตัวเอง และด้วยความ

พยายามของคนอื่น ในภายในกึ่งเดือนนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเห็น

เหตุการณ์นั้น. อนึ่ง ขึ้นชื่อว่า วิบากของกรรมแล้ว ไม่มีใครจะสามารถป้องกัน

ได้ ก็ในภิกษุเหล่านั้น ปุถุชนก็มี พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระ-

อนาคามี พระขีณาสพก็มี. ในท่านเหล่านั้น ที่เป็นพระขีณาสพ ไม่มีการ

สืบต่อภพชาติ อริยสาวกนอกนี้ มีคติที่แน่นอนเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. คติ

ของพวกปุถุชนไม่แน่นอน. อย่างไร.

๑ กัมพุช. ก้อนดิน. . . เป็นต้น. ๒ พม่า มีคติที่แน่นอน มีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 234

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า ภิกษุเหล่านี้ เพราะความพอใจ

รักใคร่ในอัตภาพ กลัวมรณภัยแล้ว จะไม่ศึกษาเพื่อชำระคติ เอาเถิดเรา

จะแสดงอสุภกถาเพื่อให้ภิกษุเหล่านั้นละความพอใจรักใคร่ พวกเธอ เมื่อได้ฟัง

อสุภกถานั้นแล้ว. เพราะความที่ปราศจากความพอใจรักใคร่ในอัตภาพแล้ว

จะทำการชำระคติแล้วจะถือเอาปฏิสนธิในสวรรค์ เมื่อเป็นอย่างนี้ การบวช

ในสำนักเราของพวกเธอก็จะมีประโยชน์ เพราะเหตุนั้น เพื่ออนุเคราะห์

พวกเธอ จึงทรงแสดงอสุภกถา ด้วยทรงนุ่งกัมมัฏฐานเป็นสำคัญ มิใช่ทรง

มุ่งจะพรรณนาคุณแห่งความตาย. ครั้นทรงแสดงแล้ว พระองค์ก็ทรง

พระดำริอย่างนี้ว่า หากกึ่งเดือนนี้ พวกภิกษุจะเห็นเรา ก็จะพากันมาบอกว่า

วันนี้มีภิกษุ ๑ รูป มรณภาพแล้ว วันนี้ ๒ รูป ฯลฯ วันนี้ ๑๐ รูป มรณภาพแล้ว

ก็ผลของกรรมนี้ จะเป็นเราหรือคนอื่นก็ตาม ไม่สามารถจะห้ามได้ เรานั้นถึง

ได้ยินกรรมวิบากนั้น ก็จะทำอะไรได้. ประโยชน์อะไรของเราด้วยการฟังเรื่อง

ฉิบหายเรื่องพินาศด้วยเล่า เอาล่ะ เราจะหลบไม่ให้ภิกษุทั้งหลายเห็น เพราะ

ฉะนั้น จึงได้ตรัสอย่างนั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้น

อยู่สักกึ่งเดือน ใครๆไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตไปให้เพียง

รูปเดียว.

แต่ท่านเหล่าอื่นอีก กล่าวว่า หลีกเร้น (พักผ่อน) อย่างนั้น ก็เพื่อ

เว้นจากการติเตียนของคนอื่น. เขาว่า คนเหล่าอื่นจะพากันติเตียนพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ผู้นี้ปฏิญาณอยู่ว่า เราเป็นสัพพัญญู เป็นผู้ยังพระธรรมจักร

อันประเสริฐ คือ พระสัทธรรมให้เป็นไป ไม่สามารถแม้แต่ห้ามปรามพวกสาวก

ของตนที่กำลังฆ่าตัวเองได้ จะสามารถห้ามปรามคนอื่นได้หรือ. ในกลุ่มนั้น

ที่เป็นบัณฑิตจะกล่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จตามประกอบการหลีกเร้น

(พักผ่อน) ย่อมไม่ทรงทราบความเป็นไปนี้ แม้ใคร ๆ ที่เป็นผู้กราบทูลให้ทรง

ทราบก็ไม่มี หากทรงทราบจะพึงทรงห้ามปรามเป็นแน่ แต่นี้ เเค่เป็นความต้อง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 235

การเท่านั้น เป็นเหตุการณ์ครั้งแรกเท่านั้นในเรื่องนี้. คำว่า อสฺสุธา ในบทว่า

นาสฺสุธา นี้ เป็นคำลงแทรกเข้ามาในอรรถเพียงทำให้เต็มบท หรือในอรรถ

ห้ามข้อความอย่างอื่น ความก็คือ ไม่มีใครๆ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าเลย.

ที่ชื่อว่า เกลื่อนกล่นด้วยอาการเป็นอเนก ก็เพราะการขวนขวาย

ประกอบการเจริญอสุภะนั้นเกลื่อนกล่นด้วยเหตุเป็นอเนก มีสีและสัณฐานเป็น

ต้น. มีคำอธิบายว่า ระคนปนเปไปด้วยอาการเป็นอเนก คือ เจือคละไปด้วย

การณ์เป็นอเนก. นั้นคืออะไร คือ การขวนขวายประกอบการเจริญอสุภะ.

คำว่า ขวนขวายประกอบการเจริญอสุภะอันเกลื่อนกล่นด้วยอาการเป็น

อเนกนั้นอยู่ คือ เป็นผู้ประกอบแล้วประกอบเล่าอยู่. คำว่า อึดอัด คือ เป็น

ทุกข์ เพราะกายนั้น. คำว่า ระอา คือ รู้สึกละอายอยู่. คำว่า เกลียด คือ

ยังความเกลียดชังให้เกิดขึ้นอยู่. คำว่า แสวงหาศาสตราสำหรับปลงชีวิต

คือแสวงหาศัสตราเครื่องนำเอาชีวิตไป ภิกษุเหล่านั้น ไม่ใช่แต่แสวงหาศัสตรา

มาอย่างเดียวเท่านั้น แต่ปลงตนจากชีวิตด้วย ก็แลพวกภิกษุได้เข้าไปหา

แม้นายมิคลัณฑิกผู้แต่งตัวคล้ายสมณะแล้ว พูดว่า คุณ ! ดีละขอคุณช่วย

ปลงชีวิตพวกอาตมาทีเถิด. ก็ในที่นี้ พวกอริยะไม่ได้ทำปาณาติบาตเลย ไม่ได้

ชักชวน ไม่ได้เห็นดีเห็นงามไปตามด้วย. แต่ปุถุชนได้ทำทุกอย่าง.

คำว่า เสด็จออกจากการหลีกเร้น (พักผ่อน) คือเมื่อได้ทรงทราบ

ความที่พวกภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ถึงความสิ้นชีวิตแล้ว ก็ทรงออกจาก

ความอยู่ผู้เดียวนั้น แม้ทรงทราบอยู่ ก็เหมือนไม่ทรงทราบ เพื่อให้ถ้อยคำ

ตั้งขึ้นพร้อม จึงตรัสเรียกท่านพระอานนท์ ว่า ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุไร

หนอ ภิกษุสงฆ์ จึงดูเหมือนเบาบางไป. ความว่า อานนท์ ก่อนแต่นี้

พวกภิกษุเป็นอันมากพากันมาสู่ที่บำรุงด้วยกัน ถือเอาอุเทศ และการสอบถาม

อาราม ดูคล้ายกะว่าโชติช่วงเป็นอันเดียวกัน แต่บัดนี้ โดยล่วงไปแห่งเวลา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 236

แค่ครึ่งเดือน. ภิกษุสงฆ์ คล้ายกับมีน้อยลง คือเกิดเป็นเหมือนเบาบาง อ่อน

น้อย ประปรายไป เหตุอะไรหรือหนอแล หรือว่าพวกภิกษุต่างพากัน

หลีกไปในทิศทั้งหลาย.

ที่นั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่เข้าใจถึงความสิ้นชีวิตของภิกษุ

เหล่านั้น เพราะผลกรรม แต่เข้าใจว่าเพราะการตามประกอบในอสุภกัมมัฏฐาน

เป็นปัจจัย จึงกราบทูลคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นเช่นนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าเป็นต้น เมื่อจะทูลขอกัมมัฏฐานอย่างอื่น เพื่อให้ภิกษุทั้งหลาย

ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ จึงกราบทูลคำเป็นต้นว่า ขอประทานพระวโรกาส

พระผู้มีพระภาคเจ้า ใจความของคำกราบทูลข้อนั้น (พึงทราบดังต่อไปนี้)

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังข้าพระองค์ขอพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า

จงโปรดตรัสบอกการณ์อย่างอื่น ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์พึงดำรงอยู่ใน

พระอรหัตเถิด มีอธิบายว่า กัมมัฏฐานที่ลงสู่พระนิพพานได้ยังมีมาก ได้แก่

ประเภทอนุสสติ ๑๐ กสิณ ๑๐ จตุธาตุววัตถานะ พรหมวิหารและอานาปานสติ

แม้เหล่าอื่น เหมือนท่าสำหรับลงสู่ทะเลหลวง. ในบรรดากัมมัฏฐานเหล่านั้น

ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปลอบโยนพวกภิกษุแล้ว โปรดตรัสบอก

กัมมัฏฐานข้อใดข้อหนึ่งเถิด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระประสงค์จะทรงทำอย่างนั้น

เมื่อจะทรงส่งพระเถระไป จึงตรัสคำเป็นต้น ว่า ถ้าอย่างนั้น อานนท์. ในคำ

เหล่านั้น คำว่า อาศัยกรุงเวสาลี ความว่า พวกภิกษุมีประมาณเท่าใดที่

เข้าไปอาศัย กรุงเวสาลี อยู่ห่างออกไปหนึ่งคาวุตบ้าง กึ่งโยชน์บ้าง โดยรอบ

เธอจงให้พวกภิกษุทั้งหมดนั้นประชุมกัน. คำว่า ให้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด

ประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา คือที่ซึ่งพอจะไปด้วยตนเองก็ไปเอง ส่งภิกษุ

* สี. นิสฺสาย อาศัย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 237

หนุ่ม ๆ ไปในที่อื่น ครู่เดียวเท่านั้น ก็ทำพวกภิกษุมาไม่เหลือ ให้ประชุมกันที่

อุปัฏฐานศาลา ต่อไปนี้ เป็นคำอธิบายในคำว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้า จงทราบกาลอันสมควรในบัดนี้เถิด นี้ ข้าแต่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว นี้เป็นในเวลาแห่งเทศนา* เพื่อ

ทรงกระทำธรรมกถา บัดนี้ ขอพระองค์ทรงทราบเวลาเพื่อสิ่งใด พึงทรง

กระทำสิ่งนั้นเถิด.

ครั้งนั้นเเล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสตินี้เเล ครั้นตรัส

เรียกมาแล้ว เมื่อจะทรงบอกปริยายอื่น จากอสุภกัมมัฏฐานที่ได้ทรงบอกมาแล้ว

เมื่อก่อน เพื่อการบรรลุพระอรหัตของพวกภิกษุ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า อานา-

ปานสติสมาธิ. ในคำเหล่านั้น คำว่า อานาปานสฺสติสมาธิ ได้แก่

การตั้งใจมั่นที่ประกอบพร้อมกับความระลึกที่กำหนดถือเอาลมหายใจออกและ

หายใจเข้า หรือความตั้งใจมั่นในการระลึกถึงลมหายใจออกและหายใจเข้า เป็น

สมาธิที่มีการระลึกถึงลมหายใจออกและหายใจเข้าเป็นอารมณ์. คำว่า เจริญแล้ว

ได้แก่ อันให้เกิดขึ้นแล้ว หรืออันให้เจริญแล้ว. คำว่า กระทำให้มากเเล้ว

ได้แก่ อันกระทำแล้วบ่อย ๆ. คำว่า สนฺโต เจว ปณีโต จ แปลว่า สงบ

และประณีตนั่นเทียว. พึงทราบความแน่นอนด้วยเอวศัพท์ทั้งสองแห่ง. ท่าน

อธิบายไว้อย่างไร. อธิบายว่า ก็แลอสุภกัมมัฏฐาน สงบและประณีต ด้วย

อำนาจการแทงตลอดอย่างเดียว แต่เพราะมีอารมณ์หยาบ และเพราะเป็น

อารมณ์ในขณะเกิดขึ้น ด้วยอำนาจแห่งอารมณ์ จึงไม่สงบ ไม่ประณีต ฉันใด

อานาปานสติสมาธินี้ หาเป็นฉันนั้นไม่ บางปริยายอาจไม่สงบ หรือไม่ประณีต

* พม่า ไม่มีแห่งเทศนา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 238

ก็ได้ แต่ว่า ชื่อว่าสงบ ระงับดับแล้วเพราะความที่อารมณ์สงบบ้าง ชื่อว่า

ประณีต ทำให้ไม่รู้สึกอิ่ม เพราะความที่องค์สงบกล่าวคือความแทงตลอดบ้าง

เพราะความที่อารมณ์ประณีตบ้าง เพราะความที่ธรรมประณีตบ้าง. เหตุนั้นพระ

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สนฺโต เจว ปณีโต จ ดังนี้.

ก็ในคำว่า ชื่นใจ (ละเมียดละไม) เป็นธรรมเครื่องอยู่เป็นสุข นี้

ชื่อว่า ชื่นใจ เพราะอานาปานสติสมาธินั้นไม่หยาบ ไม่เปรอะ ไม่ปน แยกเป็น

หนึ่งได้จำเพาะตัว หมายความว่าในอานาปานสติสมาธินี้ บริกรรม หรือความ

สงบด้วยอุปจารไม่มี อานาปานสติสมาธินั้น สงบและประณีต ตาม

ธรรมชาติของตัวเอง เริ่มแต่การรวบรวมจิตใน เบื้องต้นมาทีเดียว. บางท่านว่า

คำว่า ชื่นใจ คือไม่ต้องใส่โอชะลงไป ก็มีรสเอร็ดอร่อยได้ หวานตามธรรมชาติ

โดยแท้. พึงทราบว่า อานาปานสติสมาธินี้ ชื่อว่า ชื่นใจ และชื่อว่าเป็นธรรม

เครื่องอยู่เป็นสุข เพราะเป็นไปเพื่อได้รับความสุขทั้งทางกายและทางใจในขณะ

ที่จิตใจแนบแน่นแล้ว ด้วยประการฉะนี้.

คำว่า ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ๆ คือ ที่ยังไม่ได้ข่มไว้แล้ว. คำว่า

ปาปเก คือ ลามก. คำว่า อกุศลธรรม คือ ธรรมที่เกิดพร้อมเพราะความ

ไม่ฉลาด. คำว่า ให้อันตรธานสงบโดยพลัน คือ ให้หายไปได้แก่ข่มไว้ได้

โดยทันทีทันใดทีเดียว. คำว่า วูปสเมติ คือทำให้สงบได้โดยดี มีคำที่ท่าน

อธิบายไว้ว่า อานาปานสติสมาธิที่ถึงความเจริญแห่งอริยมรรคแล้ว ชื่อว่าย่อม

ตัดขาด คือทำให้สงบระงับได้โดยลำดับ เพราะเป็นไปในฝ่ายแทงตลอด. คำว่า

ในเดือนท้ายฤดูร้อน คือ ในเดือนอาสาฬหะ. คำว่า ธุลีและละอองที่

ฟุ้งขึ้น คือ ในกึ่งเดือน* ฝุ่นและละอองบนแผ่นดินที่แห้งเพราะลมและแดด

* พม่า เพราะความที่อารมณ์เป็นของปฏิกูล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 239

แตกแยกเพราะเท้าวัวและควายเป็นต้นเหยียบย่างไป ก็ฟุ้งไปเบื้องบน กลบขึ้น

คือตั้งขึ้นพร้อมในอากาศ. คำว่า ฝนใหญ่มิใช่กาล คือฝนที่ตั้งขึ้นปกคลุม

ทั่วทั้งท้องฟ้าแล้วก็ตกลงมาหมดทั้งกึ่งเดือนในข้างขึ้นเดือนอาสาฬหะ ก็ฝนนั้น

ท่านประสงค์เอาในที่นี้ว่า ฝนมิใช่กาล เพราะเกิดขึ้นเมื่อยังไม่ถึงเวลาฝน. คำ

ว่า ให้อันตรธานสงบไป โดยพลัน คือ นำไปสู่ความไม่เห็น ได้แก่

ให้ชำแรกแทรกจมไปในแผ่นดินโดยทันทีทันใดทีเดียว. คำว่า ฉันนั้น

เหมือนกัน นี้เป็นคำแสดงข้อเปรียบเทียบ. คำต่อจากนั้นไปก็มีนัยอย่างที่กล่าว

แล้วแล.

จบอรรถกถาเวสาลีสูตรที่ ๙

๑๐. กิมิลสูตร

การเจริญอานาปานสติสมาธิ

[๑๓๕๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน ใกล้

เมืองกิมิลา ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามท่านพระกิมิละว่า ดูก่อน

กิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำ

ให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

อย่างนี้แล้ว ท่านพระกิมิละนิ่งอยู่.

[๑๓๕๖] แม้ครั้งที่สอง แม้ครั้งที่สาม พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัส

ถามท่านกิมิละว่า ดูก่อนกิมิละ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุ

เจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก

ท่านกิมิละก็นิ่งอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 240

[๑๓๕๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์

ได้กราบทูลพระผู้มีภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นกาลสมควรที่

พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ ข้าแต่พระสุคต เป็น

กาลสมควรที่พระองค์จะพึงตรัสสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ ภิกษุทั้งหลาย

ได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วจักทรงจำไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดู

ก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ท่านพระอานนท์

ทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนอานนท์

สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มาก

แล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี

อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้

เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า เรา

จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออกเราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน

หายใจเข้า ดูก่อนอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญ

แล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก.

[๑๓๕๘] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัด

ว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อ

หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า

หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวง

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมหายใจทั้งปวง

หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า

เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวกายอันหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 241

ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๕๙] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็น

ผู้กำหนดรู้ปีติหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า

เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุขหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้

จิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับจิตสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับ

จิตสังขารหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย

ซึ่งได้แก่การกระทำไว้ในใจให้ดีซึ่งสมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้น

แหละอานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๖๐] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจัก

กำหนดรู้จิตหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักกำหนดรู้จิตหายใจเข้า ย่อม

สำเหนียกว่า เราจักทำจิตให้บันเทิงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำจิต

ให้บันเทิงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจออก ย่อม

สำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตมั่นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิต

หายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเปลื้องจิตหายใจเข้า สมัยนั้น ภิกษุย่อม

พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา

และโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวซึ่งการเจริญ

สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ สำหรับผู้มีสติหลง ไม่มีสัมปชัญญะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 242

เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มี

ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๖๑] ดูก่อนอานนท์ สมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจัก

พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก

พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก

พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจัก

พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณา

เห็นโดยความดับหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความ

ดับหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า สมัยนั้น

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ

พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส

นั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์

สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๖๒] ดูก่อนอานนท์ เปรียบเหมือนมีกองดินใหญ่อยู่ที่หนทาง

ใหญ่ ๔ แพร่ง ถ้าเกวียนหรือรถผ่านมาในทิศบูรพา ก็ย่อมกระทบกองดินนั้น

ถ้าผ่านนาในทิศปัจฉิม ทิศอุดร ทิศทักษิณ ก็ย่อมกระทบกองดินนั้นเหมือนกัน

ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ พิจารณา

เห็นเวทนาในเวทนาอยู่ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ พิจารณาเห็นธรรมใน

ธรรมอยู่ ย่อมจะกำจัดอกุศลธรรมอันลามกนั้นเสียได้

จบกิมิลสูตรที่ ๑๐

จบเอกธรรมวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 243

อรรถกถากิมิลสูตร

กิมิลสูตรที่ ๑๐. คำว่า ใกล้เมืองกิมิลา* คือในนครมีชื่ออย่างนั้น .

คำว่า เอตทโวจ ความว่า ได้ยินว่า พระเถระคิดว่า เทศนานี้มิได้ทำอย่างมี

อนุสนธิ เราจะให้ถึงอย่างมีอนุสนธิ (ยถานุสนธิ) เมื่อจะสืบต่ออนุสนธิแห่ง

เทศนา จึงได้กล่าวคำนี้. คำว่า กายอันหนึ่งในบรรดากายทั้งหลาย คือ

เรากล่าวกายอย่างใดอย่างหนึ่งในกายทั้งหลายมีกายคือ ดินเป็นต้น หมายความว่า

เรากล่าวถึงกายคือ ลม. อีกอย่างหนึ่ง ส่วนแห่งรูป ๒๕ ชนิด คือ อายตนะ

คือ ตา ฯลฯ อาหารที่ทำเป็นคำ ๆ ชื่อว่ารูปกาย. ในส่วนแห่งรูปเหล่านั้น

ลมหายใจออกและหายใจเข้าย่อมเป็นกายอย่างหนึ่ง เพราะรวมเข้าในอายตนะ

คือ สิ่งที่จะพึงถูกต้อง. แม้เพราะเหตุนั้น พระเถระจึงได้กล่าวอย่างนั้น. คำว่า

ตสฺมา ติห ความว่า เพราะย่อมพิจารณาเห็นกายคือ ลม ซึ่งเป็นกายอย่าง

หนึ่งในกายทั้ง ๔ หรือย่อมพิจารณาเห็นลมหายใจออกและหายใจเข้า ซึ่งเป็น

กายอย่างหนึ่งในรูปกาย ในส่วนแห่งรูป ๒๕ ฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้พิจารณา

เห็นกายในกาย. พึงทราบใจความในทุกบทอย่างนี้. คำว่า เวทนาอันหนึ่งใน

บรรดาเวทนาทั้งหลาย คือ เวทนาอย่างหนึ่งในเวทนาทั้ง ๓ อย่าง คำนี้

ท่านกล่าวหมายเอาสุขเวทนา.

คำว่า การทำไว้ในใจให้ดี คือ ความเอาใจใส่อย่างดี ที่เกิดขึ้นแล้ว

ด้วยอำนาจการเสวยปีติเป็นต้น. ถามว่า ก็ความเอาใจใส่เป็นสุขเวทนา หรือ.

ตอบว่า ไม่เป็น นี้เป็นหัวข้อเทศนา เหมือนอย่างว่า สัญญาท่านเรียกโดย

ชื่อว่าสัญญา ในคำนี้ว่า เป็นผู้ประกอบตามการอบรมอนิจจสัญญา (ความ

สำคัญว่าไม่เที่ยง) ฉันใด แม้ในที่นี้ก็ฉันนั้น พึงทราบว่า ท่านเรียก

* สี. ในเมืองกิมพิลา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 244

เวทนาในฌาน โดยชื่อว่าความเอาใจใส่ (มนสิการ). จริงอยู่ ในหมวด ๔ นี้

ท่านเรียกเวทนาโดยหัวข้อแห่งปีติในบทแรก. ในบทที่ ๒ เรียกโดยสรุปว่า

สุข เท่านั้น ในจิตตสังขาร ๒ บท เพราะพระบาลีว่า ธรรมเหล่านี้ คือ สัญญา

และเวทนานี้เป็นเจตสิก เกี่ยวกับจิต เป็นเครื่องปรุงจิต ท่านจงกล่าวเวทนา

โดยชื่อว่าจิตตสังขาร (เครื่องปรุงจิต) เพราะพระบาลีว่า ยกเว้น ความตรึก

และความตรองแล้ว ธรรมที่ประกอบกับจิตแม้ทั้งหมด รวมลงในจิตตสังขาร.

พระเถระรวมธรรมทั้งหมดนั้น โดยชื่อว่า มนสิการ (คือ ความเอาใจใส่) แล้ว

กล่าวว่า การกระทำไว้ในใจให้ดี ในที่นี้.

ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น ก็เลยมีผู้ค้านว่า เพราะเหตุที่เวทนานี้เป็นอารมณ์

ไม่ได้ ฉะนั้น การพิจารณาเห็นเวทนาก็ไม่ถูกนะซิ เพราะแม้ในมหาสติ

ปัฏฐานสูตรเป็นต้น บุคคลทำวัตถุมีสุขเป็นต้นนั้น ๆ ให้เป็นอารมณ์แล้วย่อม

เสวยเวทนา แต่วัตถุมีสุขเป็นต้นนั้น เพราะอาศัยความเป็นไปแห่งเวทนาจึง

เป็นเพียงโวหารว่า เราเสวยอยู่ ท่านหมายเอาวัตถุมีสุขเป็นต้นนั้น จึงกล่าวว่า

เมื่อเสวยสุขเวทนา (ก็รู้ชัดว่า) เราเสวยสุขเวทนาอยู่ ดังนี้เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง

ท่านยังได้กล่าวคำตอบของปัญหานี้ไว้ในการพรรณนาเนื้อความของ คำว่า

ปีติปฏิสเวที เป็นต้น ไว้เหมือนกัน. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิ

มรรค ว่า

ปีติย่อมเป็นอันรู้แจ้งแล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือโดยอารมณ์ ๑

โดยความไม่หลงใหล ๑. ปีติย่อมเป็นอันรู้แจ้งแล้ว โดยอารมณ์เป็นอย่างไร

ภิกษุ ย่อมเข้าฌานที่มีปีติ ๒ ฌาน ในขณะเข้าฌานนั้น ปีติย่อมเป็นอันผู้ได้

ฌานรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์ เพราะความที่อารมณ์อันตนรู้แจ้งแล้ว. ปีติย่อมเป็น

อันรู้แจ้งแล้ว โดยความไม่หลงใหลอย่างไร ภิกษุเข้าฌานที่มีปีติ ๒ ฌานออก

แล้ว ย่อมพิจารณาปีติที่ประกอบกับฌานโดยความเป็นของสิ้นไป โดยความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 245

เป็นของเสื่อมไป ในขณะการเห็นแจ่มแจ้งของภิกษุนั้น ปีติย่อมเป็นอันรู้แจ้ง

แล้ว เพราะความไม่หลงใหลด้วยการแทงตลอดลักษณะ. ดังที่พระสารีบุตร

ได้กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทามรรคว่า เมื่อภิกษุรู้ชัดความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง

คือ ความไม่ซัดส่ายของจิตด้วยอำนาจการหายใจออกยาว สติย่อมเป็นอันเข้าไป

ตั้งไว้แล้ว ปีตินั้นย่อมเป็นอันรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น บัณฑิต

พึงทราบใจความ แม้บทที่เหลือ โดยทำนองนี้แหละ.

เครื่องปรุงจิตคือปีติและสุข โดยอารมณ์ ย่อมเป็นอันผู้ได้บรรลุฌาน

ได้รู้แจ้งแล้ว ดังที่ว่ามานี้ ฉันใดนั่นแหละ เวทนาโดยอารมณ์ก็ย่อมเป็นอันได้

รู้แจ้งแล้ว ด้วยการได้เฉพาะซึ่งมนสิการกล่าวคือเวทนาที่ประกอบด้วยฌาน

แม้นี้ ฉันนั้น. เพราะเหตุนั้น คำว่า ภิกษุ เป็นผู้ตามพิจารณาเห็นเวทนา

ในเวทนาทั้งหลาย อยู่ในสมัยนั้น จึงเป็นคำที่กล่าวไว้ดีแล้วทีเดียว.

ในคำว่า นาห อานนฺท มุฏฺสฺสติสฺส อสมฺปชานสฺส นี้

มีอธิบายดังต่อไปนี้ เพราะเหตุที่ ภิกษุผู้เป็นไปแล้วโดยนัยเป็นต้นว่า เรา

จักกำหนดรู้จิต หายใจออก ย่อมเอาลมหายใจออกและหายใจเข้ามาเป็น

อารมณ์ แม้โดยแท้ ถึงอย่างนั้น เมื่อเข้าไปตั้งสติ และสัมปชัญญะในอารมณ์

ของจิตนั้นแล้ว ย่อมชื่อว่า ภิกษุนี้เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต เพราะความ

เป็นไปโดยแท้. อานาปานสติภาวนา (การเจริญสติในการหายใจออกและ

หายใจเข้า) ของผู้ลืมสติ ผู้ไม่มีความรู้สึกตัว ย่อมมีไม่ได้เลย ฉะนั้น

โดยอารมณ์แล้ว ในสมัยนั้น ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ด้วย

สามารถรู้แจ้งจิต ดังนี้.

อภิชฌา ทรงแสดงไว้ในคำว่า เธอเห็นการละอภิชฌาและ

โทมนัสนั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้ด้วยปัญญาเป็นอย่างดี นี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 246

ได้แก่กามฉันทนีวรณ์นั่นเอง. ทรงแสดงพยาบาทนีวรณ์ด้วยอำนาจแห่งโทมนัส

ก็แล หมวดสี่นี้ ตรัสด้วยอำนาจวิปัสสนาเท่านั้น ส่วนธัมมานุปัสสนามี ๖ อย่าง*

ด้วยอำนาจนีวณบรรพเป็นต้น นีวรณบรรพ เป็นข้อต้นของธัมมานุปัสสนานั้น

แม้ของนีวรณบรรพนั้น มี หมวดสองแห่งนีวรณ์นี้ขึ้นต้น. เพื่อจะทรงชี้ถึงคำขึ้น

ต้นแห่งธัมมานุปัสสนา ดังที่ว่ามานี้ จึงตรัสว่า อภิชฌาและโทมนัส

ดังนี้. คำว่า การละ หมายเอา ความรู้สำหรับละอย่างนี้ว่า ภิกษุย่อมละ

ความสำคัญว่าเที่ยง ด้วยการตามพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง. คำว่า ต ปญฺาย

ทิสฺวา คือ ญาณเครื่องละอันได้แก่อนิจจญาณ วิราคญาณ นิโรธญานและ

ปฏินิสสัคคญาณนั้น ย่อมมีด้วยวิปัสสนาปัญญา อีกอย่างหนึ่ง ทรงแสดงถึงความ

สืบต่อถัด ๆ กันแห่งวิปัสสนา แม้นั้นอย่างนี้ว่า อย่างอื่นอีก. คำว่า จึง

วางเฉยเสียได้ คือ ชื่อว่า ย่อมวางเฉยอย่างยิ่งโดยสองทางคือ ย่อมวางเฉย

อย่างยิ่งกะผู้ดำเนินไปในความสงบ ๑ ย่อมวางเฉยอย่างยิ่งกะการบำรุง

พร้อมกัน ๑. ในกรณีนั้น ความวางเฉยอย่างยิ่ง ย่อมมีแม้ต่อธรรม

ที่เกิดร่วมกันบ้าง ความวางเฉยอย่างยิ่ง ย่อมมีต่ออารมณ์บ้าง ในที่นี้ประสงค์

เอาความวางเฉยอย่างยิ่งต่ออารมณ์. คำว่า เพราะฉะนั้นแหละอานนท์ คือ

เพราะเหตุที่อานาปานสติสมาธิเป็นไปแล้วโดยทำนองเป็นต้นว่า เราจักตาม

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงหายใจออก ไม่ใช่เป็นไปแต่ในธรรมมีนิวรณ์

เป็นต้นเท่านั้น แต่ภิกษุได้เห็นญาณเครื่องละธรรมที่กล่าวไว้แล้วในหัวข้อ

คือ อภิชฌาและโทมนัส ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่างยิ่ง ฉะนั้น

พึงทราบว่า ภิกษุเป็นผู้ตามพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย ในสมัยนั้นอยู่.

* พม่า - ๕ อย่าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 247

ในคำว่า ฉันนั้นเหมือนกัน นี้ พึงเห็นอายตนะทั้ง ๖ อย่าง

เหมือนทางใหญ่ ๔ แพร่ง กิเลสในอายตนะทั้ง ๖ อย่างเหมือนกอง ฝุ่น (ขยะ)

สติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นไปในอารมณ์ทั้ง ๔ เหมือนเกวียนและรถที่กำลังมาจากทิศ

ทั้ง ๔ พึงทราบการเข้าไปฆ่าธรรมที่เป็นบาปอกุศลด้วยกายานุปัสนาเป็นต้น

เหมือนการกำจัดกองฝุ่น ด้วยเกวียนหรือรถนั้น ด้วยประการฉะนี้.

จบกิมิลสูตรที่ ๑๐

จบเอกธรรมวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. เอกธรรมสูตร ๒. โพชฌงคสูตร ๓. สุทธิกสูตร ๔.. ปฐม-

ผลสูตร ๕. ทุติยผลสูตร ๖. อริฏฐสูตร ๗. กัปปินสูตร ๘. ทีปสูตร

๙. เวสาลีสูตร ๑๐. กิมิลสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 248

ทุติยวรรคที่ ๒

๑. อิจฉานังคลสูตร

ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะ

[๑๓๖๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ไพรสณฑ์ชื่อ

อิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลนคร ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียก

ภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่

สักสามเดือน ใคร ๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว

ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ใคร ๆ ไม่เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้า เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว.

[๑๓๖๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นโดยล่วง

สามเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ

ทั้งหลาย พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก เธอทั้งหลาย

ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน

ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่จำพรรษาด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วย

อานาปานสติมาก.

[๑๓๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า

หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อหายใจ

เข้าสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมรู้ชัดว่า เราจักกำหนดรู้กองลมหายใจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 249

ทั้งปวงหายใจออก . . . ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืน

หายใจออก ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า.

[๑๓๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ

พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่อง

อยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึง

สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง

ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง

ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะ

อันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ.

[๑๓๖๗] ดูท่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันต

ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุ

ประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว

เพราะรู้โดยชอบ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้นเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน และเพื่อ

สติสัมปชัญญะ.

[๑๓๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ

พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่อง

อยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึง

สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง

ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง.

จบอิจฉานังคลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 250

ทุติยวรรควรรณนาที่ ๒

อรรถกถาอิจฉานังคลสูตร

ทุติยวรรคที่ ๒ อิจฉานังคลสูตรที่ ๑. ถามว่า ทำไมพระผู้มีพระ

ภาคเจ้า จึงตรัสบอกวิหารสมาบัติ (การเข้าถึงธรรมเครื่องอยู่) ของพระองค์ว่า

พวกเธอพึงตอบอย่างนี้เล่า. ตอบว่า เพื่อเปลื้องความติเตียน. จริงอยู่ ถ้าหาก

พวกภิกษุเหล่านั้นพึงกล่าวว่า พวกเราไม่ทราบ ทีนั้น พวกเดียรถีย์ก็จะพึงยกข้อ

ตำหนิขึ้นแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า พวกท่านย่อมไม่ทราบว่า ศาสดาของพวกเรา

อยู่แล้วตลอดสามเดือน ด้วยสมาบัติชื่อโน้น แล้วก็ทำไม พวกท่านจึงยอม

รับใช้ท่านอยู่เล่า เพราะเหตุนั้น จึงตรัสอย่างนั้น เพื่อปลดเปลื้อง.

ถามว่า เมื่อเป็นอย่างนั้น ทำไมในที่นี้จึงไม่ตรัสเหมือนที่ตรัส

วาอักษร ในที่อื่นว่า มีสติเทียว ย่อมหายใจออก หรือ เมื่อกำลังหายใจออกยาว

ด้วยเล่า. ตอบว่า เพราะความเป็นธรรมสงบอย่างยิ่ง. จริงอยู่ ลมหายใจออก

หรือลมหายใจเข้าเป็นสิ่งที่ปรากฏแก่คนเหล่าอื่น สิ่งทั้งสองอย่างนี้ เป็นสิ่งที่

ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. เพราะความที่ทรงมีพระสติที่ทรงเข้าไปตั้งไว้

เป็นนิจ เหตุนี้จึงไม่ตรัสไว้ เพราะความเป็นธรรมสงบอย่างยิ่ง. และเมื่อเป็น

อย่างนั้น ทำไมจึงไม่ตรัสว่า สกฺขามิ (เราย่อมศึกษา) ตรัสแต่เพียงว่า

อสฺสสามิ (เราย่อมหายใจออก) เท่านี้เล่า. เพราะไม่มีสิ่งที่จะต้องศึกษา.

จริงอยู่ พระเสกขะ ๗ จำพวก ชื่อว่า เป็นผู้ศึกษา เพราะยังมีสิ่งที่จะต้อง

ศึกษา พระขีณาสพ ชื่อว่า อเสกขะ (ผู้ไม่ต้องศึกษา) เพราะไม่มีสิ่งที่จะ

ต้องศึกษา. พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ไม่ต้องศึกษา จึงชื่อว่า อเสกขะ

กิจที่จะต้องศึกษาของพระอเสกขะเหล่านั้นไม่มี เหตุนี้ จึงไม่ตรัสไว้ เพราะไม่

มีกิจที่จะต้องศึกษา.

จบอรรถกถาอิจฉานังคลสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 251

๒. โลมสกังภิยสูตร*

วิหารธรรมของพระเสขะ ต่างกับของพระพุทธองค์

[๑๓๖๙] สมัยหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะอยู่ ณ นิโครธาราม ใกล้

เมืองกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานาม เสด็จ

เข้าไปหาท่านพระโลมสกังภิยะถึงที่อยู่ ถวายนมัสการแล้ว ประทับนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ สมาธิอัน

สัมปยุตด้วยอานาปานสตินั้น เป็นวิหารธรรมของพระเสขะ เป็นวิหารธรรม

ของพระตถาคต หรือว่าวิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคต

อย่างหนึ่ง ท่านพระโลมสกังภิยะถวายพระพรว่า ดูก่อนมหาบพิตร สมาธิอัน

สัมปยุตด้วยอานาปานสตินั้นแล เป็นวิหารธรรมของพระเสขะ เป็นวิหารธรรม

ของพระตถาคต หามิได้ วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคต

อย่างหนึ่ง.

[๑๓๗๐] ดูก่อนมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุ

อรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้น

ย่อมละนิวรณ์ ๕ นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาท

นิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ภิกษุเหล่าใด

เป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจากโยคะอัน

ยอดเยี่ยมอยู่ ภิกษุเหล่านั้นย่อมละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้.

[๑๓๗๑] ดูก่อนมหาบพิตร ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ

อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว บรรลุ

ประโยชน์ตนแล้ว สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้

โดยชอบ นิวรณ์ ๕ อันภิกษุเหล่านั้นละได้แล้ว ถอนรากเสียแล้ว กระทำไม่

* อรรถกถา กล่าวว่า มีเนื้อความง่ายทั้งนั้น I

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 252

ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา

นิวรณ์ ๕ เป็นไฉน คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์

อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์ ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันตขีณาสพ.

หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ นิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันภิกษุเหล่านั้นละได้แล้ว

ถอนรากเสียแล้ว กระทำไม่ให้มีที่ตั้งดุจตาลยอดด้วน กระทำไม่ให้มี มีอัน

ไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา.

[๑๓๗๒] ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์พึงทราบข้อนี้ โดยปริยายที่

วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง.

[๑๓๗๓] ดูก่อนมหาบพิตร สมัยหนึ่ง พระผู้พระภาคเจ้าประทับ

อยู่ ณ ไพรสณฑ์ ชื่ออิจฉานังคละ ใกล้อิจฉานังคลนคร ณ ที่นั้นแล พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรา

ปรารถนาจะหลีกเร้นอยู่สักสามเดือน ใคร ๆ ไม่พึงเข้ามาหาเรา เว้นแต่ภิกษุ

ผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ใคร ๆ ไม่เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า เว้นแต่ภิกษุผู้นำบิณฑบาตรูปเดียว

[๑๓๗๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากที่เร้นโดยล่วง

สามเดือนนั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกจะพึงถามเธอทั้งหลายอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุ

ทั้งหลาย พระสมณโคดมอยู่จำพรรษาด้วยวิหารธรรมข้อไหนมาก เธอทั้งหลาย

ถูกถามอย่างนี้แล้ว พึงตอบพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อน

ผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าจำพรรษาอยู่ด้วยสมาธิอันสัมปยุตด้วย

อานาปานสติมาก.

[๑๓๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรามีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 253

หายใจเข้ายาว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจ

ออก ย่อมรู้ชัดว่า เราจักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า.

[๑๓๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ

พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่อง

อยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึง

สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง

ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง

ภิกษุเหล่าใดเป็นเสขะ ยังไม่บรรลุอรหัตผล ย่อมปรารถนาความเกษมจาก

โยคะอันยอดเยี่ยมอยู่ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้น

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อควานสิ้นอาสวะ.

[๑๓๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันต

ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ มีกิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงแล้ว

บรรลุประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นสังโยชน์เครื่องนำไปสู่ภพแล้ว หลุดพ้น

แล้ว เพราะรู้โดยชอบ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเหล่านั้น

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน

และเพื่อสติสัมปชัญญะ.

[๑๓๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเมื่อจะกล่าวถึงสิ่งใดโดยชอบ

พึงกล่าวถึงสิ่งนั้นว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง ธรรมเป็นเครื่อง

อยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง ดังนี้ พึงกล่าวถึง

สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะบ้าง

ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหมบ้าง ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระตถาคตบ้าง.

[๑๓๗๙] ดูก่อนมหาบพิตร พระองค์พึงทราบข้อนี้ โดยปริยายที่

วิหารธรรมของพระเสขะอย่างหนึ่ง ของพระตถาคตอย่างหนึ่ง.

จบโลมสกังภิยสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 254

๓. ปฐมอานันทสูตร

ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์

[๑๓๘๐] กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้

มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอย่างหนึ่ง

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔

ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๗ ข้อให้บริบูรณ์

ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้

บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มีอยู่ อานนท์.

[๑๓๘๑] อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้อ ...

ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้

บริบูรณ์ เป็นไฉน.

พ. ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา

ปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้

บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗

ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยัง

วิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.

[๑๓๘๒] ดูก่อนอานนท์ ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน

ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้

บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ที่เรือนว่างก็ดี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 255

นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติ

หายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า

ยาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละ

คืนหายใจออก ย่อมรู้ชัดว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจเข้า ใน

สมัยใด ภิกษุเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่าหายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้า

ยาวก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือ

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกาย

สังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ในสมัยนั้น

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึง

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเรากล่าว

กายอันหนึ่ง ในบรรดากายทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ลมหายใจออกและลมหายใจเข้า

เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่

มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๘๓] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุสำเหนียกว่า จักเป็นผู้

กำหนดรู้ปีติหายใจออก หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้สุข

หายใจออก . . . หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขารหายใจ

ออก . . . หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักระงับจิตสังขารหายใจออก . . . หายใจ

เข้า ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมป-

ชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร

เพราะเรากล่าวเวทนาอันหนึ่งในบรรดาเวทนาทั้งหลาย ซึ่งได้แก่การกระทำไว้

ในใจให้ดีซึ่งลมหายใจออกและลมหายใจเข้า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ใน

สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 256

[๑๓๘๔] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จักเป็น

ผู้กำหนดจิตหายใจออก. . . หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักทำจิตให้บันเทิง

หายใจออก .. . หายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักตั้งจิตมั่นหายใจออก . . หาย

ใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า จักเปลื้องจิตหายใจออก . . หายใจเข้า ในสมัยนั้น

ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัด

อภิชฌา เละโทมนัสในโลกเสียได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเราไม่กล่าวซึ่ง

การเจริญสมาธิอันสัมปยุตด้วยอานปานสติ สำหรับผู้มีสติหลงลืม ไม่มีสัมป-

ชัญญะ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตใน

จิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก

เสียได้.

[๑๓๘๕] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า จัก

พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจออก... หายใจเข้าย่อมสำเหนียก

ว่าจักพิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัดหายใจออก . . . หายใจเข้า ย่อม

สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความดับหายใจออก . . . หายใจเข้า ย่อม

สำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก . . . หายใจเข้า ใน

สมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ

มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ เธอเห็นการละอภิชฌาและ

โทมนัสนั้นด้วยปัญญา จึงวางเฉยเสียได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นแหละ

อานนท์ ในสมัยนั้น ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร

มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้.

[๑๓๘๖] ดูก่อนอานนท์ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุ

เจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 257

[๑๓๘๗] ดูก่อนอานนท์ ก็สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร

กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ ในสมัยใด ภิกษุ

ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ในสมัยนั้น สติของเธอย่อมตั้งมั่น ไม่หลงลืม

ในสมัยใด สติของภิกษุตั้งมั่น ไม่หลงลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่า

เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ ในสมัยนั้น สติสัม-

โพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ ในสมัยนั้น เธอมีสติอยู่อย่างนั้น

ย่อมค้นคว้า พิจารณา สอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา.

[๑๓๘๘] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุมีสติอยู่อย่างนั้น ย่อมค้น

คว้าพิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา ในสมัยนั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์

ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ในสมัย

นั้น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ เมื่อเธอค้นคว้า

พิจารณาสอดส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา เป็นอันชื่อว่าปรารภความเพียรไม่ย่อ

หย่อน.

[๑๓๘๙] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด เมื่อภิกษุค้นคว้าพิจารณาสอด

ส่องธรรมนั้นด้วยปัญญา เป็นอันชื่อว่าปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ในสมัย

นั้น วิริยสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญวิริยสัมโพช-

ฌงค์ วิริยสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ ปีติอันหาอามิสมิได้

ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร.

[๑๓๙๐] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ปีติอันหาอามิสมิได้ ย่อมเกิด

แก่ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ในสมัยนั้น ปีติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุ

ปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญปีติสัมโพชฌงค์ ปีติสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความ

เจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่มด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิต

ก็ย่อมสงบ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 258

[๑๓๙๑] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด แม้กายของภิกษุผู้มีใจเอิบอิ่ม

ด้วยปีติก็ย่อมสงบ แม้จิตก็ย่อมสงบ ในสมัยนั้น ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่า

เป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัม-

โพชฌงค์ ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มีความ-

สุข ย่อมตั้งมั่น.

[๑๓๙๒] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด จิตของภิกษุผู้มีกายสงบ มี

ความสุขย่อมตั้งมั่น ในสมัยนั้น สมาธิสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภ

แล้ว ภิกษุย่อมเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญ

บริบูรณ์แก่ภิกษุ เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่างนั้นอยู่ด้วยดี.

[๑๓๙๓] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่น

อย่างนั้นอยู่ด้วยดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภ

แล้ว ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความ

เจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.

[๑๓๙๔] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา

ในเวทนา... เห็นจิตในจิต ... เห็นธรรมในธรรม ในสมัยนั้น สติของเธอ

ย่อมตั้งมั่นไม่หลงลืม.

[๑๓๙๕] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด สติของภิกษุย่อมตั้งมั่น ไม่หลง

ลืม ในสมัยนั้น สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภแล้ว ภิกษุย่อมเจริญ

สติสัมโพชฌงค์ สติสัมโพชฌงค์ย่อมถึงความเจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ (พึงขยาย

เนื้อความให้พิสดารเหมือนสติปัฏฐานข้อต้น) เธอย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่นอย่าง

นั้นอยู่ด้วยดี.

[๑๓๙๖] ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ภิกษุย่อมเพ่งดูจิตซึ่งตั้งมั่น

อย่างนั้นอยู่ด้วยดี ในสมัยนั้น อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเป็นอันภิกษุปรารภ

แล้ว ภิกษุย่อมเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมถึงความ

เจริญบริบูรณ์แก่ภิกษุ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 259

[๑๓๙๗] ดูก่อนอานนท์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้

กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์.

[๑๓๙๘] ดูก่อนอานนท์ ก็โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร

การทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ภิกษุในธรรม

วินัยนี้ ย่อมเจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ

น้อมไปในการสละ ย่อมเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์... วิริยสัมโพชฌงค์...

ปีติสัมโพชฌงค์... ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์... สมาธิสัมโพชฌงค์... อุเบกขา-

สัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละ

ดูก่อนอานนท์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้ว

อย่างนี้ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.

จบปฐมอานันทสูตรที่ ๓

อรรถกถาปฐมอานันทสูตร

ปฐมอานันทสูตรที่ ๓. คำว่า ย่อมค้นคว้า คือ ย่อมเลือกเฟ้น

ด้วยอำนาจแห่งความไม่เที่ยงเป็นต้น. อีก ๒ บทนอกนี้ เป็นคำใช้แทน

คำว่า ย่อมค้นคว้า นี้เอง. คำว่า อันหาอามิสมิได้ คือไม่มีกิเลส ได้แก่

ทั้งกายทั้งจิต ย่อมสงบระงับ. ด้วยความสงบระงับความกระวนกระวายทางกาย

และทางใจ. คำว่า ย่อมตั้งมั่น ได้แก่ ถูกตั้งไว้โดยชอบ คือ เป็นเหมือน

อัปปนาจิต. คำว่า ย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่างยิ่ง คือย่อมเป็นผู้วางเฉยอย่าง

ยิ่ง ด้วยความวางเฉยอย่างยิ่งคือธรรมที่เกิดร่วมด้วย.

สติในกายนั้น ของภิกษุผู้กำหนดกายด้วยวิธี ๑๔ อย่าง ดังที่ว่ามานี้

ชื่อว่า สติสัมโพชฌงค์ ณาณที่ประกอบกับสตินั้น เป็นธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 260

ความเพียรที่เป็นไปในทางกาย และทางจิตที่ประกอบกับธัมมวิจยสัมโพชฌงค์

นั่นแหละ เป็นวิริยสัมโพชฌงค์ ปีติ ปัสสัทธิ และจิตเตกัคคตา เป็นปีติ

สัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ และสมาธิสัมโพชฌงค์ อาการที่เป็นกลางๆ

คือไม่หย่อนไม่ตึงเกินไปของโพชฌงค์ทั้ง ๖ นี้ เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์.

เหมือนอย่างว่า เมื่อพวกม้า วิ่งไปสม่ำเสมอ การทิ่มแทงว่า ตัวนี้ชักช้า

หรือการรั้งว่า ตัวนี้วิ่งเร็วเกินไป ย่อมไม่มีแก่สารถี มีเพียงอาการตั้งอยู่ของม้า

ที่วิ่งอยู่อย่างนั้นอย่างเดียว ฉันใดเทียว อาการที่เป็นกลาง ๆ คือไม่หย่อนไม่

ตึงเกินไป ของโพชฌงค์ทั้ง ๖ นี้ ก็ชื่อว่าเป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ฉันนั้นแล.

ด้วยถ้อยคำเท่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสอะไรไว้ ได้ตรัสชื่อว่า วิปัสสนา

โพชฌงค์พร้อมทั้งลักษณะ ที่ประกอบด้วยขณะจิตเดียวไว้แล้ว.

คำเป็นต้น ว่า อันอาศัยวิเวก มีใจความที่กล่าวไว้เสร็จแล้ว. ถามว่า

ก็ในสูตรนี้ ทรงแสดงสติกำหนดลมหายใจออกและหายใจเข้า สิบหกครั้ง เป็น

แบบเจือกันไปอย่างไร. ตอบว่า การตั้งสติ (สติปัฏฐาน) ที่มีลมหายใจออกและ

หายใจเข้าเป็นมูล เป็นส่วนเบื้องต้น ความระลึกถึงลมหายใจออกและหายใจเข้า

ซึ่งเป็นมูล เป็นส่วนเบื้องต้นของการตั้งสติเหล่านั้น การตั้งสติที่ยังโพชฌงค์

ให้บริบูรณ์ ก็เป็นส่วนเบื้องต้น แม้โพชฌงค์เหล่านั้น ก็เป็นส่วนเบื้องต้น แต่

โพชฌงค์ที่ทำให้ความรู้แจ้ง และความหลุดพ้นบริบูรณ์ เป็นโลกุตระที่ให้เกิด

ขึ้นแล้ว ความรู้แจ้งและความหลุดพ้น เป็นสิ่งที่ประกอบกับอริยผล หรือความ

รู้แจ้ง เป็นสิ่งที่ประกอบกับมรรคที่ ๔ ความหลุดพ้นเป็นสิ่งที่ประกอบกับผล

ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาปฐมอานันทสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 261

๕. ทุติยอานันทสูตร

ว่าด้วยปัญหาของพระอานนท์

[๑๓๙๙] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึง

ที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์

ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้

บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม

๗ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อม

ยังธรรม ๒ ข้อให้สมบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ. ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นรากฐาน ฯลฯ

พ. ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง . อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้

มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ... ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่..

[๑๔๐๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ ธรรม ๔ ข้อ . . . ธรรม

๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์

เป็นไฉน ดูก่อนอานนท์ ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา-

ปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้

บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยัง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 262

โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.

[๑๔๐๑] ดูก่อนอานนท์ ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อัน

ภิกษุเจริญแล้วอย่างไร การทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้

บริบูรณ์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี ฯลฯ ดูก่อนอานนท์ โพชฌงค์ ๗

อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมยังวิชชาและวิมุตติ

ให้บริบูรณ์.

จบทุติยอานันทสูตรที่ ๔

สูตรที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ มีข้อกำหนดเท่ากับสูตรที่ ๓ นี้เอง. คำ

ที่เหลือทุกแห่ง ตื้นทั้งนั้นแล.

จบอานาปานสังยุตตวรรณนาที่ ๑๐

๕. ปฐมภิกขุสูตร

ว่าด้วยปัญหาของภิกษุหลายรูป

[๑๔๐๒] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 263

อย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้

บริบูรณ์... ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม

๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า มีอยู่

ภิกษุทั้งหลาย.

[๑๔๐๓] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุ

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์... ธรรม ๗

ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์

เป็นไฉน.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วย

อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฎฐาน ๔

ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยัง

โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.

(พึงขยายเนื้อความให้พิสดารเหมือนไวยากรณภาษิตข้างต้น)

จบปฐมภิกขุสูตรที่ ๕

๖. ทุติยภิกขุสูตร

ว่าด้วยปัญหาของภิกษุหลายรูป

[๑๔๐๔] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามภิกษุเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 264

อย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้

บริบูรณ์... ธรรม ๗ ข้ออันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม

๒ ข้อให้บริบูรณ์ มีอยู่หรือหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นรากฐาน ฯลฯ

ภิกษุทั้งหลายได้สดับแล้ว จักทรงจำไว้.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์ . . . ธรรม ๗ ข้อ อันภิกษุ

เจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อ ให้บริบูรณ์ มีอยู่.

[๑๔๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมอย่างหนึ่ง อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๔ ข้อให้บริบูรณ์... ธรรม ๗ ข้อ อัน

ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังธรรม ๒ ข้อให้บริบูรณ์ เป็นไฉน.

ธรรมอย่างหนึ่ง คือ สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ข้อให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ อัน

ภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์

๗ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ ฯลฯ

จบทุติยภิกขุสูตรที่ ๖

๗. สังโยชนสูตร

เจริญอานาปานสติเพื่อสมาธิเพื่อละสังโยชน์

[๑๔๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อละสังโยชน์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 265

[๑๔๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ

อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร กระทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมเป็นไปเพื่อละ

สังโยชน์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี ฯลฯ ย่อมสำเหนียกว่า จัก

พิจารณาเห็นโดยความสละคืนหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า จักพิจารณาเห็น

โดยความสละคืนหายใจเข้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานา-

ปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไป

เพื่อละสังโยชน์ ฯลฯ

จบสังโยชนสูตรที่ ๗

๘. อนุสยสูตร

เจริญอานาปาสติสมาธิเพื่อถอนอนุสัย

[๑๔๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อนเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย ฯลฯ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยปานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อถอนอนุสัย

จบอนุสยสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 266

๙. อัทธานสูตร

เจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อรู้อัทธานะ

[๑๔๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ ฯลฯ

สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ กระทำให้มาก

แล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อกำหนดรู้อัทธานะ.

จบอัทธานสูตรที่ ๙

๑๐. อาสวักขยสูตร

เจริญอานาปานสติสมาธิเพื่อสิ้นอาสวะ

[๑๔๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ

อันภิกษุเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมาธิอันสัมปยุตด้วยอานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

อย่างนี้ การทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ.

จบอาสวักขยสูตรที่ ๑๐

จบวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 267

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อิจฉานังคลสูตร ๒. โลมสกังภิยสูตร ๓. ปฐมอานันทสูตร

๔. ทุติยอานันทสูตร ๕. ปฐมภิกขุสูตร ๖. ทุติยภิกขุสูตร ๗. สังโยชนสูตร

๘. อนุสยสูตร ๙. อัทธานสูตร ๑๐. อาสวักขยสูตร และอรรถกถา

จบอานาปานสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 268

โสตาปัตติสังยุต

เวฬุทวารวรรคที่ ๑

๑. ราชสูตร

คุณธรรมของพระอริยสาวก

[๑๔๑๑] กรุงสาวัตถี. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระ-

พุทธพจน์นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิเสวยราชสมบัติเป็น

อิสราธิบดีในทวีปทั้ง ๔ สวรรคตแล้ว ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ คือ ได้เป็น

สหายของพวกเทพชั้นดาวดึงส์ ท้าวเธอแวดล้อมไปด้วยหมู่นางอัปสร เอิบอิ่ม

พรั่งพร้อมบำเรออยู่ด้วยกามคุณ ๕ อันเป็นทิพย์ ณ สวนนันทวัน ในดาวดึงส์

พิภพนั้น ท้าวเธอประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ก็จริง ถึงอย่างนั้น ท้าวเธอ

ก็ยังไม่พ้นจากนรก จากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน จากปิตติวิสัย และจากอบาย

ทุคติ วินิบาต.

[๑๔๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกเยียวยาอัตภาพอยู่ด้วยคำ

ข้าวที่แสวงหามาด้วยปลีแข้ง นุ่งห่มแม้ผ้าที่เศร้าหมอง เธอประกอบด้วยธรรม

๔ ประการ ก็จริง ถึงอย่างนั้น เธอก็พ้นจากนรก จากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน

จากปิตติวิสัย และจากอบาย ทุคติ วินิบาต ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ

พุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก

เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 269

ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรน ประกอบด้วยความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว อัน

ผู้ใดบรรลุจะพึงเห็นเอง ไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามา

อันวิญญูซนพึงรู้เฉพาะตน ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์

ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าปฏิบัติดีแล้ว ปฏิบัติตรง ปฏิบัติเป็น

ธรรม ปฏิบัติสมควร คือ คู่แห่งบุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ นี่พระสงฆ์สาวกของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ควรของคำนับ ควรของต้อนรับ ควรของทำบุญ ควร

ทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ประกอบด้วยศีลที่พระ

อริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย วิญญูชน

สรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกย่อม

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๔๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การได้ทวีปทั้ง ๔ กับการได้ธรรม ๔

ประการ การได้ทวีปทั้ง ๔ ย่อมไม่ถึงเสี้ยวที่ ๑๖ ซึ่งจำแนกออกไปแล้ว ๑๖

หน ของการได้ธรรม ๔ ประการ.

จบราชสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 270

โสตาปัตติสังยุตวรรณนา

อรรถกถาราชสูตร

พึงทราบอธิบายในราชสูตรที่ ๑.

คำว่า กิญฺจาปิ เป็นนิบาตลงในอรรถว่าอนุเคราะห์และติเตียน.

จริงอยู่ พระศาสดาเมื่อจะทรงอนุเคราะห์ (เมื่อถือเอา) ราชสมบัติ คือความเป็น

อิสฺราธิบดีแห่งมหาทวีปทั้ง ๔ และเมื่อจะทรงติเตียนความเป็น คือการละบาย

ทั้ง ๔ ยังไม่ได้ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิ...

แม้ก็จริง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า แห่งทวีปทั้ง ๔ ได้แก่ ทวีปใหญ่ ๔

มีทวีปพันหนึ่งเป็นบริวาร.

บทว่า อิสฺสริยาธิปจฺจ ความว่า ความเป็นอิสระ ความเป็นอธิบดี

ชื่อว่า ความเป็นใหญ่ ความเป็นอิสระ ความเป็นใหญ่ ชื่อว่า ความเป็น

อิสราธิบดี เพราะอรรถว่า ไม่มีความแตกต่างกันในราชสมบัติ. บทว่า

กาเรตฺวา ได้แก่ ให้ราชสมบัติเห็นปานนี้เป็นไป. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้

ตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวก ... แม้ก็จริง.

ผ้ามีชายหามิได้ ชื่อว่า นนฺตกานิ (ผ้าที่เศร้าหมอง) ในบทนั้น. ก็ผ้า

สาฎกแม้ ๑๓ ศอก ตั้งแต่ตัดชายผ้าออก ถึงการนับว่า ผ้าไม่มีชายเหมือนกัน. บทว่า

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ได้แก่ ความเลื่อมใสอันไม่คลอนแคลน.

บทว่า ก็ความเลื่อมใสนี้นั้น ความว่า ความเลื่อมใสอย่างหนึ่งมี

หลายอย่างเทียว ก็ความเลื่อมใสที่มาถึงแล้วโดยมรรคนั้น ย่อมเกิดขึ้นไม่ก่อน

ไม่หลังในวัตถุเหล่าใด ด้วยอำนาจวัตถุเหล่านั้น ความเลื่อมใสนั้น ท่านจึง

กล่าวไว้ ๓ อย่าง โดยนัยเป็นต้นว่า ด้วยความเลื่อมในอันไม่หวั่นไหวในพระ-

* ไม่มีการช่วงชิงหรือโค่นล้มราชสมบัติหนึ่ง.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 271

พุทธเจ้า. เพราะความเลื่อมใสอย่างเดียว เหตุนั้น ความเลื่อมใสนั้น ย่อมเป็น

เหตุให้น้อมไปต่างๆกัน. จริงอยู่ อริยสาวก ย่อมมีความเลื่อมใส ความรักและ

ความเคารพในพระพุทธเจ้าเท่านั้นมาก ในพระธรรมหรือในพระสงฆ์ไม่มาก

หรือย่อมมีความเลื่อมใสในพระธรรมเท่านั้นมาก ในพระพุทธเจ้า หรือใน

พระสงฆ์ไม่มาก หรือย่อมมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์เท่านั้นมาก ในพระพุทธเจ้า

หรือพระธรรมไม่มาก เพราะเหตุนั้น อริยสาวกมีความเลื่อมใส ความรักและ

ความเคารพ (ในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์) เพียงอย่างเดียวก็หาไม่.

คำเป็นต้นว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น

ดังนี้ ท่านให้พิสดารแล้ว ในปกรณ์วิเสส ชื่อว่า วิสุทธิมรรคนั่นแล. บทว่า

ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ความว่า ที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ใคร่เเล้ว คือ เป็นที่

ชอบใจเทียว เพราะว่า พระอริยบุคคลทั้งหลาย ไปแล้วระหว่างภพก็ไม่ทำให้

ศีลห้ากำเริบ ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ หมายเอาศีลห้าเหล่านั้น แม้ของพระอริย-

บุคคลเหล่านั้น. คำว่า ไม่ขาด เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เช่น

เดียวกันเทียว. ส่วนหนึ่งขาดที่ริม ท่านเรียกว่า ขาดตามลำดับ. บทว่า

ขาดทะลุในท่ามกลาง ความว่า ส่วนเหล่านั้นมีชนิดต่างกันในที่หนึ่ง.

บทว่า ด่าง ได้แก่ มีลวดลายต่าง ๆ. บทว่า พร้อย ความว่า

ศีลที่แตกในข้อต้น หรือที่สุดไปตามลำดับอย่างนี้ ชื่อว่า ขาด ที่แตกใน

ท่ามกลาง ชื่อว่า ทะลุ ชื่อว่า ด่าง เพราะขาดไปตามลำดับ ๒-๓ สิกขาบท

ในที่ใดที่หนึ่ง ที่ทำลายระหว่างสิกขาบทหนึ่ง ชื่อว่า พร้อย พึงทราบความ

ที่ศีลไม่ขาดเป็นต้น เพราะไม่มีโทษเหล่านั้น. บทว่า เป็นไทย ได้แก่โดย

กระทำความเป็นไท. บทว่า วิญญูชนสรรเสริญ ความว่า อันวิญญูชนทั้ง

หลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 272

บทว่า อันตัณหาและทิฏฐิไม่ลูบคลำแล้ว ความว่า อันตัณหา

และทิฏฐิไม่อาจลูบคลำอย่างนี้ว่า ความตรึกชื่ออันท่านทำแล้ว ความตรึกนี้ท่าน

ทำแล้ว. บทว่า เป็นไปเพื่อสมาธิ ความว่า สามารถเพื่อให้อัปปนาสมาธิ

หรืออุปจารสมาธิเป็นไป.

จบอรรถกถาราชสูตรที่ ๑

๒. โอคธสูตร

องค์คุณของพระโสดาบัน

[๑๔๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ

ตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม

ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ อริยสาวกผู้

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ

เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้

สุคตศาสดา ได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อ

ไปอีกว่า

[๑๔๑๕] ศรัทธา ศีล ความเลื่อมใสและการ

เห็นธรรมมีอยู่แก่ผู้ใด ผู้นั้นแล ย่อมบรรลุ

ความสุข อันหยั่งลงในพรหมจรรย์ตาม

กาล.

จบโอคธสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 273

อรรถกถาโอคธสูตร

พึงทราบอธิบายในโอคธสูตรที่ ๒.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาความเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ด้วยบทว่า

เยส สทฺธา. ทรงถือเอาศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ด้วยบทว่า ศีล.

ทรงถือเอาความเลื่อมใสในพระสงฆ์ ด้วยบทว่า ความเลื่อมใส. ทรงถือ

เอาความเลื่ยมใสในธรรม ด้วยบทว่า การเห็นธรรม เป็นอันว่า ตรัส

องค์แห่งการบรรลุโสดา ๔ ด้วยประการฉะนี้. บทว่า กาเล ปจฺเจนฺติ ได้แก่

บรรลุ (ผล) ตามกาล. บทว่า ความสุขอันหยั่งลงในพรหมจรรย์ ได้แก่

สุขที่สัมปยุตด้วยมรรค ๓ เบื้องสูงที่รวมเอาพรหมจรรย์แล้วดำรงอยู่. ก็ความ

เลื่อมใสที่มาแล้วในคาถา จัดว่าเป็นความเลื่อมใสอันเป็นโลกุตระ พระติ-

ปิฏกจูฬาภยเถระ กล่าวว่า ความเลื่อมใสก่อน. พระติปิฏกจูฬนาคเถระ

กล่าวว่า ความเลื่อมใสคือ การพิจารณามรรคที่มาแล้ว. พระเถระ แม้ทั้งสอง

เป็นบัณฑิต มีสุตะมาก สุภาษิตของพระเถระทั้งสองว่า นี้เป็นความเลื่อมใส

ที่เจือกัน.

จบอรรถกถาโอคธสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 274

๓. ทีฆาวุสูตร

องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา

[๑๔๑๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เวฬุวัน กลันทกนิวาปนสถาน กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้น ทีฆาวุอุบาสกป่วย ได้

รับทุกข์ เป็นไข้หนัก. ได้เชิญคฤหบดีชื่อโชติยะ ผู้เป็นบิดามาสั่งว่า ข้าแต่

คฤหบดี ขอท่านจงไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายบังคมพระบาททั้งสอง

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า แล้วกราบทูลตามคำของผมว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวายบังคม

พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และจงกราบทูลอย่างนี้

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาเสด็จไปยัง

นิเวศน์ของทีฆาวุอุบาสก โชติยคฤหบดีรับคำทีฆาวุอุบาสกแล้ว เข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

[๑๔๑๗ ] ครั้นแล้ว โชติยคฤหบดีได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสกป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขาถวาย

บังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า และเขากราบทูล

มาอย่างนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าจงทรงพระกรุณาเสด็จไปยังนิเวศน์ของทีฆาวุอุบาสก พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงรับด้วยดุษณีภาพ.

[๑๔๑๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและ

จีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของทีฆาวุอุบาสก ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้

แล้วได้ตรัสถามทีฆาวุอุบาสกว่า ดูก่อนทีฆาวุอุบาสก ท่านพอจะอดทนได้หรือ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 275

พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้ละหรือ ทุกขเวทนาทุเลาลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ

ความทุเลาย่อมปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฎแลหรือ ทีฆาวุอุบาสกกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์อดทนไม่ได้ เยียวยาอัตภาพให้เป็น

ไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของข้าพระองค์กำเริบหนักไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบ

ย่อมปราฎ ความทุเลาย่อมไม่ปรากฏ.

[๑๔๑๙] พ. ดูก่อนทีฆาวุ เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่าง

นี้ว่า เราจักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าฯลฯ

ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ จักเป็นผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า

ใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนทีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

[๑๔๒๐] ที. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุ

โสดา ๔ เหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้น มีอยู่ใน

ข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์ประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ

ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อ

สมาธิ.

พ. ดูก่อนทีฆาวุ เพราะฉะนั้นแหล่ะ ท่านตั้งอยู่ในองค์แห่งธรรม

เป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ เหล่านี้แล้ว พึงเจริญธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่ง

วิชชา ๖ ประการ ให้ยิ่งขึ้นไป.

[๑๔๒๑] ดูก่อนทีฆาวุ ท่านจงพิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็น

ของไม่เที่ยง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ มีความสำคัญในสิ่งที่

เป็นทุกข์ว่าเป็นอนัตตา มีความสำคัญในการละ มีความสำคัญในความคลาย-

กำหนัด มีความสำคัญในการดับ ดูก่อนทีฆาวุ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 276

[๑๘๒๒] ที. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมอันเป็นไปในส่วนแห่ง

วิชชา ๖ ประการเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้น

มีอยู่ในข้าพระองค์ และข้าพระองค์ก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น ข้าพระองค์

พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าเป็นของไม่เที่ยง มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่เที่ยง

ว่าเป็นทุกข์ . . . มีความสำคัญในความดับ อีกอย่างหนึ่ง ข้าพระองค์มีความ

คิดอย่างนี้ว่า โชติยคฤหบดีนี้ อย่าได้ถึงความทุกข์โดยล่วงไปแห่งข้าพระองค์

เลย โชติยคฤหบดีได้กล่าวว่า พ่อทีฆาวุ พ่ออย่าได้ใส่ใจถึงเรื่องนี้เลย พ่อ

ทีฆาวุ จงใส่ใจพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่ท่านให้ดีเถิด.

[๑๔๒๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนทีฆาวุอุบาสกด้วย

พระโอวาทนี้แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะแล้วหลีกไป เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า

เสด็จไปแล้วไม่นาน ทีฆาวุอุบาสกกระทำกาละแล้ว.

[๑๔๒๔] ครั้งนั้น ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทีฆาวุอุบาสก

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วยพระโอวาทโดยย่อ กระทำกาละแล้ว คติ

ของเขาเป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสตอบว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทีฆาวุอุบาสกเป็นบัณฑิต มีปกติพูดจริง

ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และไม่ยังตนให้ลำบาก เพราะมีธรรมเป็นเหตุ

ทีฆาวุอุบาสกเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับมา

จากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป.

จบทีฆาวุสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 277

อรรถกาทีฆาวุสูตร

พึงทราบอธิบายในทีฆาวุสูตรที่ ๓.

บทว่า เพราะเหตุนั้น ความว่า เพราะท่านปรากฎในองค์แห่ง

ธรรมเครื่องบรรลุโสดา ๔ บทว่า วิชฺชาภาคิเย ความว่า ในส่วนแห่งวิชชา.

บทว่า ในสังขารทั้งปวง ความว่า ในสังขารที่เป็นไปในภูมิ ๓ ทั้งหมด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสวิปัสสนาแห่งมรรคทั้ง ๓ เบื้องสูง แก่ทีฆาวุอุบาสก

อย่างนี้. บทว่า วิฆาต ได้แก่ ความทุกข์.

จบอรรถกถาทีฆาวุสูตรที่ ๓

๔. ปฐมสาริปุตตสูตร

เป็นพระโสดาบันเพราะมีธรรม ๔ ประการ

[๑๔๒๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรกับท่านพระอานนท์อยู่

พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น

เวลาเย็น ท่านพระอานนท์ออกจากที่เร้นเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่แล้ว

นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนท่าน

สารีบุตร เพราะเหตุที่ประกอบด้วยธรรมเท่าไร หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคเจ้า

จึงจะทรงพยากรณ์ว่าเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง

ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 278

[๑๔๒๖] ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนผู้มีอายุ เพราะเหตุที่

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ หมู่สัตว์นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงจะทรงพยากรณ์

ว่าเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน

เบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ

ในพระสงฆ์ ฯลฯ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อ

สมาธิ เพราะเหตุที่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล หมู่สัตว์นี้พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าจึงจะทรงพยากรณ์ว่าเป็นพระโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็น

ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบปฐมสาริปุตตสูตรที่ ๔

ปฐมสาริปุตตสูตรที่ ๔ มีอรรถง่ายทั้งนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 279

๕. ทุติยสาริปุตตสูตร

ว่าด้วยองค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา

[๑๔๒๗] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อนสารีบุตร

ที่เรียกว่า โสตาปัตติยังคะ* ๆ ดังนี้ โสตาปัตติยังคะเป็นไฉน.

[๑๔๒๘] ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ

ฟังคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการ กระทำไว้ในใจโดยอุบายที่ชอบ ๑

ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑.

[๑๔๒๙] พ. ถูกละ ๆ สารีบุตร โสตาปัตติยังคะ คือ สัปปุริส-

สังเสวะ ๑ สัทธรรมสวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ๑.

[๑๔๓๐] ดูก่อนสารีบุตร ก็ที่เรียกว่า ธรรมเพียงดังกระแส ๆ ดังนี้

ก็ธรรมเพียงดังกระแสเป็นไฉน ท่านพระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ

ชื่อว่า ธรรมเพียงดังกระแส.

[๑๔๓๑] พ. ถูกละ ๆ สารีบุตร อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘

นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ชื่อว่าธรรมเพียงดังกระแส.

[๑๔๓๒] ดูก่อนสารีบุตร ที่เรียกว่า โสดาบัน ๆ ดังนี้ โสดาบัน

เป็นไฉน.

* องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 280

สา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้ใดประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้

ผู้นี้เรียกว่าพระโสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้

[๑๔๓๓] พ. ถูกละ ๆ สารีบุตร ผู้ซึ่งประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์

๘ นี้ เรียกว่าโสดาบัน ท่านผู้นี้นั้น มีนามอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้.

จบทุติยสาริปุตตสูตรที่ ๕

อรรถกถาทุติยสาริปุตตสูตร

พึงทราบอธิบายในทุติยสาริปุตตสูตรที่ ๕.

บทว่า โสตาปตฺติยงฺค ความว่า องค์คุณที่ได้เฉพาะส่วนเบื้องต้น

แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา. ก็คุณที่ได้เฉพาะ มีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว

ในพระพุทธเจ้า ชื่อว่า องค์แห่งโสดาบัน ก็องค์แม้เหล่านั้นมาแล้วว่า องค์

แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา. ในองค์เหล่านั้น องค์แม้ทั้งสองก็มีอธิบาย

คำนี้ ว่า บุคคล เสพสัตบุรุษ คบ นั่งใกล้ ฟังธรรม ใส่ใจโดยแยบคาย

ปฏิบัติข้อปฏิบัติที่เป็นส่วนเบื้องต้น อันเป็นธรรมสมควรแก่ธรรม ย่อมได้

เฉพาะธรรมเครื่องบรรลุโสดา.

ธรรมมีการคบสัตบุรุษเป็นต้น ชื่อว่า องค์แห่งธรรมเครื่องบรรลุ

โสดา เพราะอรรถว่า เป็นองค์เพื่อประโยชน์แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา.

ธรรมนอกนี้ ชื่อว่า โสตาปัตติยังคะ (องค์แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา) เพราะ

อรรถว่า เป็นองค์แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา กล่าวคือปฐมมรรค. โสดา-

ปัตติมรรค เป็นองค์แห่งโสดาปัตติมรรคที่แทงตลอดแล้ว เพราะเหตุนั้น

จึงชื่อว่า องค์แห่งธรรมเครื่องบรรลุโสดา.

จบอรรถกถาทุติยสาริปุตตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 281

๖. ถปติลูตร

ว่าด้วยช่างไม้นามว่าอิสิทัตตะ

[๑๔๓๔] สาวัตถีนิทาน ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรม

ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จัก

เสด็จจาริกไปโดยล่วงสามเดือน

[๑๔๓๕] ก็สมัยนั้น พวกช่างไม้ผู้เป็นพระสกทาคามีมาก่อนนามว่า

อิสิทัตตะ อยู่อาศัยในหมู่บ้านส่วยด้วยกรณียกิจบางอย่าง พวกเขาได้ฟังข่าว

ว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคิดว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้ามีจีวรสำเร็จแล้ว จะเสด็จจาริกไปโดยล่วงสามเดือน จึงวางบุรุษ

ไว้ในหนทางโดยสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านเห็นพระผู้มีพระภาค

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จมาในเวลาใด พึงบอกพวกเราในเวลานั้น บุรุษ

นั้นอยู่มาได้ ๒- ๓ วัน ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาแต่ไกล จึงเข้าไป

หาพวกช่างไม้แล้วได้บอกว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้ากำลังเสด็จมา ขอท่านทั้งหลายจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.

[๑๔๓๖] ครั้งนั้น พวกช่างไม้ผู้เป็นพระสกทาคามีมาก่อนนามว่า อิสิ-

ทัตตะเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เดิน

ตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างพระปฤษฎางค์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแวะจาก

หนทางเสด็จเข้าไปยังโคนไม้แห่งหนึ่ง แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาด

ถวาย พวกช่างไม้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 282

[๑๔๓๗] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้

ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากกรุงสาวัตถีไปในโกศลชนบท

เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

จัก เสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จ

จาริกจากกรุงสาวัตถีไปในโกศลชนบทแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมี

ความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จห่างจากเรา ไปแล้ว.

[๑๔๓๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟัง

ข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากโกศลชนบทไปยังแคว้นมัลละ

เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

จักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จ

จาริกจากโกศลชนบทไปแคว้นมัลละแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ

เสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว.

[๑๔๓๙] ข้าแด่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้

ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นมัลละไปยังแคว้นวัชชี

เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

จักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จ

จาริกจากแคว้นมัลละไปยังแคว้นวัชชีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมี

ความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว.

[๑๔๔๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้

ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีไปยังแคว้นกาสี

เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

จักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 283

จาริกจากแคว้นวัชชีไปยังแคว้นกาสีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ

เสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว.

[๑๔๔๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้

ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นกาสีไปในแคว้นมคธ

เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความเสียใจ น้อยใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

จักเสด็จห่างเราทั้งหลายไป เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จ

จาริกจากแคว้นกาสีไปในแคว้นมคธแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ

เสียใจ น้อยใจเป็นอันมากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จห่างเราทั้งหลายไปแล้ว.

[๑๔๔๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้

ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นมคธมายังแคว้นกาสี

เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจัก

ใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจาก

แคว้นมคธมายังแคว้นกาสีแล้ว เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้ม

ใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว.

[๑๔๔๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟัง

ข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจากแคว้นกาสีมายังแคว้นวัชชี เวลานั้น

ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักใกล้เราทั้ง

หลายเข้ามา เวลาใด ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจากแคว้นกาสี

มายังแคว้นวัชชีแล้ว เวลานั้นข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระ

ผู้มีพระภาคเจ้าใกล้เราทั้งหลายเข้ามาแล้ว.

[๑๔๔๔] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้

ฟังข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีมายังแคว้นมัลละ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 284

เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจัก

ใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจากแคว้นวัชชีมายังแคว้นมัลละแล้ว เวลานั้น ข้า

พระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้เราทั้งหลาย

เข้ามาแล้ว.

[๑๔๔๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลาย

ได้ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นมัลละมายังแคว้นโกศล

เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจัก

ใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าว่า เสด็จจาริกจากแคว้นมัลละมายังแคว้นโกศลแล้ว เวลานั้น ข้า

พระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้เราทั้งหลาย

เข้ามาแล้ว.

[๑๔๔๖] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้

ฟังข่าวพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จักเสด็จจาริกจากแคว้นโกศลมายังกรุงสาวัตถี

เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจัก

ใกล้เราทั้งหลายเข้ามา เวลาใด ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ฟังข่าวพระผู้มีพระ

ภาคเจ้าว่า ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก-

เศรษฐี กรุงสาวัตถี เวลานั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความดีใจ ปลื้มใจเป็น

อันมากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าใกล้เราทั้งหลายแล้ว.

[๑๔๔๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนช่างไม้ทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้นแหละ ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ท่าน

ทั้งหลายควรไม่ประมาท.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 285

[๑๔๔๘] ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความคับแคบอย่างอื่นที่เป็น

ความคับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบนี้มีอยู่หรือ

หนอ.

พ. ดูก่อนช่างไม้ทั้งหลาย ก็ความคับแคบอย่างอื่นที่เป็นความคับแคบ

กว่าและที่นับว่าเป็นความคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบนี้เป็นไฉน.

[๑๔๔๙] ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อ

ใด พระเจ้าปเสนทิโกศลมีพระราชประสงค์จะเสด็จออกไปยังพระราชอุทยาน

เมื่อนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายต้องกำหนดช้างที่ขึ้นทรงของพระเจ้าปเสนทิโกศล

แล้วให้พระชายาซึ่งเป็นที่โปรดปราน เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระเจ้า-

ปเสนทิโกศลประทับข้างหน้าพระองค์หนึ่ง ข้างหลังพระองค์หนึ่ง กลิ่นของ

พระชายาเหล่านั้นเป็นอย่างนี้ คือ เหมือนกลิ่นของนางราชกัญญาผู้ประพรม

ด้วยของหอมดังขวดน้ำหอมที่เขาเปิดในขณะนั้น กายสัมผัสของพระชายาเหล่า

นั้นเป็นอย่างนี้ คือ เหมือนกายสัมผัสของนางราชกัญญาผู้ดำรงอยู่ด้วยความ

สุข ดังปุยนุ่นหรือปุยฝ้าย ก็ในสมัยนั้น แม้ช้างข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง

แม้พระชายาทั้งหลายข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง แม้พระเจ้าปเสนทิโกศล

เล่า ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง.

[๑๔๕๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่รู้สึกว่า จิต

อันลามกบังเกิดขึ้นในพระชายาเหล่านั้นเลย ข้อนี้แล คือความคับแคบอย่าง

อื่นที่เป็นความคับแคบกว่า และที่นับว่าเป็นความคับแคบยิ่งกว่าความคับแคบ

นี้.

[๑๔๕๑] พ. ดูก่อนช่างไม้ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ ฆราวาสจึง

คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาปลอดโปร่ง ก็ท่านทั้งหลายควรไม่

ประมาท.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 286

[๑๔๕๒] ดูก่อนช่างไม้ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะตรัส

รู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้

มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีใจปราศ

จากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันปล่อยแล้ว มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีใน

การสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครองเรือน ดูก่อนช่างไม้

ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นพระ-

โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๕๓] ดูก่อนช่างไม้ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายประกอบด้วยความ

เลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ ในพระธรรม ฯลฯ ในพระสงฆ์

ฯลฯ ก็ไทยธรรมสิ่งหนึ่งสิ่งใดมีอยู่ในตระกูล ท่านทั้งหลายเฉลี่ยไทยธรรมนั้น

ทั้งหมด กับผู้มีศีลมีกัลยาณธรรม ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน

เหมือนว่าพวกมนุษย์ในแคว้นโกศลมีเท่าไร ท่านทั้งหลายก็เฉลี่ยแบ่งปันให้

เท่า ๆ กัน.

ถ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของข้าพระองค์ทั้งหลาย ข้าพระองค์

ทั้งหลายได้ดีแล้ว ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบพฤติการณ์อย่างนี้ของข้า

พระองค์ทั้งหลาย.

จบถปติสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 287

อรรถกถาปติสูตร

พึงทราบอธิบายในถปติสูตรที่ ๖.

บทว่า อยู่อาศัยในหมู่บ้านส่วย ความว่า อยู่ในบ้านส่วยของตน.

บรรดาช่างไม้เหล่านั้น ช่างไม้ชื่อ อิสิทัตตะ เป็นพระโสดาบันพระสกทาคามี

มาก่อน เป็นผู้สันโดษในกาลทุกเมื่อ. บทว่า วางบุรุษไว้ในหนทาง

ความว่า ทราบว่า ทางเป็นที่เสด็จไปของพระผู้มีพระภาคเจ้า โดยประตูบ้าน

ของพวกช่างไม้เหล่านั้น เพราะฉะนั้น พวกช่างไม้นั้น จึงวางบุรุษไว้กลางหน

ทาง ด้วยคิดว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อพวกเราหลับแล้ว หรือประมาทแล้ว

ในเวลา พึงเสด็จไป ครั้งนั้นพวกเราพึงได้เฝ้า. บทว่า เดินตามแล้ว

ความว่า ติดตามไปข้างพระปฤษฎางค์ ๆ แต่ไม่ไกล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จโดยทางพระบาทในท่ามกลางทางเกวียน.

พวกช่างไม้นอกนี้ ได้ติดตามไปทั้งสองข้าง บทว่า ทรงแวะจากหนทาง

ความว่า การทำปฏิสันถารแก่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ผู้เสด็จไปกับใคร ๆ ก็ควร

การทำปฏิสันถารของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้ประทับยืนกับใคร ๆ ผู้ประทับนั่ง

ตลอดวันกับใคร ๆ ก็ควร เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริแล้ว

ว่า การทำปฏิสันถารของพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปกับคนพวกนี้ไม่ควรแล้ว การ

ทำปฏิสันถารของพระพุทธเจ้าผู้เสด็จไปกับคนผู้ยืนอยู่ไม่ควรแล้ว เพราะว่าชน

เหล่านี้ เป็นเจ้าของศาสนาของเรามีผลอันถึงแล้ว (เป็นพระสกทาคามี) เราจัก

นั่งทำปฏิสันถารตลอดทั้งวันกับคนพวกนี้ ดังนี้แล้ว จึงทรงแวะลงจากหนทาง

เสด็จเข้าไปหาทางทิศที่มีโคนไม้อยู่. บทว่า ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาด

ถวาย ความว่า ถามว่าพวกช่างไม้ได้ให้ถือเอาร่ม รองเท้า ไม้เท้า น้ำมันทาเท้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 288

น้ำปานะ ๘ อย่าง และบัลลังก์มีขาเหมือนเท้าสัตว์ไปแล้วหรือหนอ. ตอบว่า

ให้ปูบัลลังก์ที่เขานำมาถวายแล้ว. พระศาสดาประทับนั่งบนบัลลังก์นั้น.

บท ว่า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ความว่า พวกช่างไม้

กล่าวแล้วว่า พวกท่านจงถวายของที่เหลือมีร่มและรองเท้าเป็นต้น แก่ภิกษุ

สงฆ์. แม้ตนเองก็ได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง คำทั้งหมดเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักเสด็จจาริก

จากกรุงสาวัตถีไปในโกศลชนบท พวกช่างไม้มีอิสิทัตตะเป็นต้น

กราบทูลแล้ว ด้วยอำนาจมัชฌิมประเทศนั่นเอง. เพราะเหตุไร จึงกำหนด

เพราะว่า การเที่ยวจาริกไปก็ดี การยังอรุณให้ตั้งขึ้นก็ดี ของพระผู้มีพระภาคเจ้า

พวกช่างไม้กล่าวแล้วด้วยอำนาจมัชฌิมประเทศ เพราะคำนั้นกำหนดแน่นอน ว่า

พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมเสด็จจาริกไปในมัชฌิมประเทศนั่นเทียว พระองค์

ย่อมให้อรุณตั้งขึ้นในมัชฌิมประเทศ.

ในบทว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักใกล้เราทั้งหลาย ความว่า พวก

ช่างไม้นั้นมีความยินดี เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่ใกล้นั่นเทียว อย่างเดียว

หามิได้ ที่แท้แล พวกเขามีความดีใจว่า บัดนี้ เราจักได้ถวายทาน ทำการ

บูชาด้วยของหอมและระเบียบเป็นต้น (และ) ถามปัญหา. บทว่า คฤหบดี

ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นนั่นแหละ ฆราวาสคับแคบ ความว่า คฤหบดี

ทั้งหลาย เมื่อเราอยู่ไกล พวกท่านย่อมมีความเสียใจไม่น้อย เมื่อเราอยู่ใกล้

ก็ย่อมมีความดีใจไม่น้อย เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น พึงทราบคำนี้ว่า

ฆราวาสคับแคบ. ก็เพราะโทษของฆราวาส พวกท่านจึงมีความคิดอย่างนี้ว่า

ก็ถ้าเราละฆราวาสแล้วบวช. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดง

เนื้อความนี้ แก่ช่างไม้ชื่อว่าอิสิทัตตะนั้น จึงตรัสอย่างนี้ว่า เมื่อพวกท่านไปและ

มากับเราอย่างนี้ เหตุนั้นจึงไม่มี. พึงทราบความที่การอยู่ครองเรือนนั้นคับแคบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 289

เพราะอรรถว่า มีกิเลสเครื่องกังวล และ มีความห่วงใยในคำนั้น.

ก็ฆราวาสของผู้ที่อยู่ในที่อยู่อาศัยใหญ่ ชื่อว่าคับแคบ เพราะอรรถว่า มีกิเลสชาติ

เครื่องให้กังวล และมีความห่วงใย.

บทว่า เป็นทางมาแห่งธุลี ความว่า เป็นทางมาแห่งธุลี คือ ราคะ

โทสะ และโมหะ อธิบายว่า เพื่อประโยชน์แก่การมา. บทว่า บรรพชา

ปลอดโปร่ง ความว่า บรรพชา ชื่อว่า ปลอดโปร่ง เพราะอรรถว่า ไม่มี

กิเลสชาติเครื่องกังวล และไม่มีความห่วงใย ก็บรรพชาของภิกษุสองรูปผู้นั่งคู้

บัลลังก์ในห้องแม้ ๔ ศอก ชื่อว่า ปลอดโปร่ง เพราะอรรถว่า ไม่มีกิเลสชาติ

เครื่องกังวล และไม่มีความห่วงใย. บทว่า คฤหบดีทั้งหลาย ก็ท่านทั้งหลาย

ควรไม่ประมาท ความว่า การที่พวกท่านอยู่เป็นฆราวาสที่คับแคบแล้ว

อย่างนี้ ควรทำความไม่ประมาทเทียว.

บทว่า พวกข้าพระองค์ จะให้พระชายาซึ่งเป็นที่โปรดปราน

นั่งข้างหน้าพระองค์หนึ่ง ข้างหลังพระองค์หนึ่ง ความว่าได้ยินว่าชนแม้

ทั้งสองเหล่านั้น ให้หญิงเหล่านั้นที่ประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง ประทับ

นั่งบนช้างสองเชือกเหล่านั้นอย่างนี้ ยืนช้างของพระราชาไว้ตรงกลาง แล้วไป

ในข้างทั้งสอง เพราะฉะนั้น พวกช่างไม้นั้นจึงกล่าวแล้วอย่างนี้. บทว่า แม้ช้าง

ข้าพระองค์ทั้งหลายก็ต้องระวัง ความว่า ช้างย่อมไม่ทำอะไร ๆ ให้เป็นอัน

เสพผิดแล้วฉันใด เป็นอันพึงรักษาไว้ฉันนั้น. บทว่า พระชายา แม้เหล่านั้น

ความว่า พระชายาเหล่านั้น ย่อมไม่ถึงความประมาทโดยประการใด ย่อมเป็น

อันพึงรักษาโดยประการนั้น. บทว่า แม้ตน. ความว่า แม้ตนอันบุคคลผู้ไม่ทำ

กิริยามีการแย้ม การร่าเริง การกล่าว และการชำเลืองเป็นต้น ชื่อว่า เป็นอัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 290

พึงรักษา ตนแม้บุคคลกระทำอยู่อย่างนั้น เป็นอันพึงข่มว่า นาย เจ้านี่

ประทุษร้าย. คฤหบดีทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นนั่นแล พระราชาย่อมมอบให้

พวกท่านรับของหลวงเป็นนิจ เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ฆราวาสคับแคบ

ชื่อว่า เป็นทางมาแห่งธุลี. ก็ภิกษุถือผ้าบังสุกุล เมื่อให้รับอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี

เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น บรรพชา ชื่อว่า ปลอดโปร่ง. พระผ้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงแสดงว่า แม้บรรพชาก็เป็นอย่างนี้ คฤหบดีทั้งหลาย ก็ท่านทั้งหลาย

ควรไม่ประมาท คือทำความไม่ประมาทนั่นแล.

บทว่า มีจาคะอันปล่อยแล้ว ความว่า มีจาคะอันสละแล้ว. บทว่า

มีฝ่ามืออันชุ่ม ความว่า มีมืออันล้างแล้ว เพื่อประโยชน์แก่การให้แก่ผู้ที่

มาแล้วทั้งหลาย. บทว่า ยินดีในการสละ ความว่า ผู้ยินดีแล้วในการสละ

กล่าวคือการสละลง. บทว่า ควรแก่การขอ คือ ผู้ควรที่บุคคลพึงขอ.

บทว่า ยินดีในการจำแนกทาน ความว่า ผู้ยินดีแล้วในการจำแนกวัตถุ

ไร ๆ แม้มีประมาณน้อย ในทานนั่นเทียวที่ได้แล้วนั้น. บทว่า เฉลี่ยแบ่ง

ปันให้เท่า ๆ กัน ความว่า ของทั้งปวงที่ไม่ทำการแบ่งอย่างนี้ว่า นี้จักเป็น

ของพวกเรา นี้จักเป็นของพวกภิกษุ เป็นของอันพวกเธอพึงให้ตั้งอยู่แล้ว.

จบอรรถกถาถปติสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 291

๙. เวฬุทวารสูตร

ว่าด้วยธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตน

[๑๔๕๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จเที่ยวจาริกไปในโกศลชนบท

พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงพราหมณคามของชาวโกศลชื่อ

เวฬุทวาระ.

[๑๔๕๕] พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวาระได้สดับข่าวว่า พระ-

สมณโคดมผู้เป็นโอรสของเจ้าศากยะ. เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล เสด็จ

เที่ยวจาริกไปโนโกศลชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึง

เวฬุทวารคามแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามของท่านพระโคดมพระองค์นั้นขจรไป

อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์

ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก

เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์

ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรม พระสมณโคดมพระองค์นั้น

ทรงกระทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วย

พระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ

พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม พระองค์ทรงแสดงธรรมอันงามใน

เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ

ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การได้เห็นพระอรหันต์เห็นปานนั้น

เป็นความดี.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 292

[๑๔๕๖] ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีชาวเวฬุทวารคามได้เข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า บางพวกประนมอัญชลีไปทาง

พระผู้มีพระภาคเจ้า บางพวกประกาศชื่อและโคตรในสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า

[๑๔๕๗] ข้าแต่พระโคดม ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความปรารถนา มี

ความพอใจ มีความประสงค์อย่างนี้ ๆ ว่า. ขอเราทั้งหลายพึงแออัดไปด้วยบุตร

อยู่ครองเรือน พึงลูบไล้จันทน์ที่เขานำมาแต่แคว้นกาสี พึงทัดทรงมาลา

ของหอม และเครื่องลูบไล้ พึงยินดีทองและเงิน เมื่อแตกกายตายไป พึง

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ข้าพระองค์ทั้งหลายจะพึงแออัดไปด้วยบุตรอยู่ครอง

เรือน. . . เมื่อแตกกายตายไป พึงเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ด้วยประการใด

ขอท่านพระโคดมโปรดทรงแสดงธรรม ด้วยประการนั้น แก่ข้าพระองค์

ทั้งหลาย ผู้มีความปรารถนา ผู้มีความพอใจ ผู้มีความประสงค์อย่างนั้น ๆ

เถิด.

[๑๔๕๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดี

ทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันควรน้อมเข้ามาในตนแก่ท่านทั้งหลาย

ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว พราหมณ์และ

คฤหบดีชาวเวฬุทวารคามทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มี

พระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

[๑๔๕๙] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย ธรรมปริยายที่ควร

น้อมเข้ามาในตนเป็นไฉน อริยสาวกในธรรนวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า

เราอยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ ผู้ใดจะปลงเราผู้อยากเป็นอยู่

ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เสียจากชีวิต ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 293

ของเรา อนึ่ง เราพึงปลงคนอื่นผู้อยากเป็นอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์

เสียจากชีวิต ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใดไม่เป็น

ที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรม

ข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้น

อย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากปาณา-

ติบาตด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่องดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กล่าวสรรเสริญคุณ

แห่งการงดเว้นจากปาณาติบาตด้วย กายสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์

โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๐] ดูก่อน พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย. อีกประการหนึ่ง

อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงถือเอาสิ่งของที่เรามิได้ให้ด้วยอาการ

ขโมย ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงถือเอาสิ่งของที่ผู้อื่น

มิได้ให้ด้วยอาการขโมย ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใด

ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น

ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรม

ข้อนั้นอย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจาก

อทินนาทานด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากอทินนาทานด้วย กล่าว

สรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากอทินนาทานด้วย. กายสมาจารของอริยสาวกนั้น

ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๑] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า. ผู้ใดพึงถึงความประพฤติ (ผิด) ในภริยา

ของเรา ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงถึงความประพฤติ

(ผิด) ในภริยาของคนอื่น. ขึ้นนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรม

ข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 294

ผู้อื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วย

ธรรมข้อนั้นอย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้น

จากกาเมสุมิจฉาจารด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย

กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจารด้วย กายสมาจารของ

อริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๒] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงทำลายประโยชน์ของเราด้วยการ

กล่าวเท็จ ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงทำลายประโยชน์

ของคนอื่นด้วยการกล่าวเท็จ ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น

ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ

แม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่น

ไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อม

งดเว้นจากมุสาวาทด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากมุสาวาทด้วย กล่าว

สรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากมุสาวาทด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น

ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๓] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงยุยงเราให้แตกจากมิตรด้วยคำ

ส่อเสียด ข้อนั้นไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงยุยงคนอื่นให้แตก

จากมิตรด้วยคำส่อเสียด ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของคนอื่น ธรรมข้อใด

ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น

ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรม

ข้อนั้นอย่างไร อริยสาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้เเล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 295

ปิสุณาวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อให้เว้นจากปิสุณาวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญ

คุณแห่งการงดเว้นจากปิสุณาวาจาด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อม

บริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๔] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยคำหยาบ ข้อนั้นไม่

เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยคำหยาบ ข้อนั้นก็ไม่

เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของเรา

ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบ

ใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร อริยสาวกนั้น

พิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย ชักชวนผู้อื่นเพื่อ

ให้งดเว้นจากผรุสวาจาด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้นจากผรุสวาจาด้วย

วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสามอย่างนี้.

[๑๔๖๕] ดูก่อน พราหมณ์เเละคฤหบดีทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง

อริยสาวกย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ผู้ใดพึงพูดกะเราด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ ข้อ

นั้นไม่เป็นที่รักที่พอใจของเรา อนึ่ง เราพึงพูดกะคนอื่นด้วยถ้อยคำเพ้อเจ้อ

ข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของคนอื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่รักที่ชอบใจ

ของเรา ธรรมข้อนั้นก็ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจแม้ของผู้อื่น ธรรมข้อใดไม่เป็นที่

รักที่ชอบใจของเรา เราจะพึงประกอบผู้อื่นไว้ด้วยธรรมข้อนั้นอย่างไร อริย-

สาวกนั้นพิจารณาเห็นดังนี้แล้ว ตนเองย่อมเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย ชัก

ชวนผู้อื่นเพื่อให้งดเว้นจากสัมผัปปลาปะด้วย กล่าวสรรเสริญคุณแห่งการงดเว้น

จากสัมผัปปลาปะด้วย วจีสมาจารของอริยสาวกนั้น ย่อมบริสุทธิ์โดยส่วนสาม

อย่างนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 296

[๑๔๖๖] อริยสาวกนั้นประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระพุทธเจ้า. . . ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระ-

อริยเจ้าใคร่แล้ว . . . เป็นไปเพื่อสมาธิ.

[๑๔๖๗] ดูก่อนพราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย เมื่อใด อริยสาวก.

ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการนี้ เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ด้วยฐานะ

เป็นที่ตั้งแห่งความหวัง ๔ ประการนี้ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามี

นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาตสิ้นแล้ว เราเป็น

พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๖๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์และ

คฤหบดีชาวเวฬุทวารคานได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้

เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของ

พระองค์แจ่มแจ้งยิ่งนัก ฯลฯ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์เหล่านี้ ขอ

ถึงท่านพระโคดมกับทั้งพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอท่าน

พระโคดมโปรดทรงจำข้าพระองค์ทั้งหลายว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะจนตลอด

ชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.

จบเวฬุทวารสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 297

อรรถกถาเวฬุทวารสูตร

พึงทราบอธิบายในเวฬุทวารสูตรที่ ๗.

บทว่า เวฬุทฺวาร ความว่า ที่ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะมีกอไม้ไผ่ที่ลาม

มาแต่ต้นเดิมที่ประตูหมู่บ้าน. บทว่า น้อมเข้าไปในตน ความว่า พึงน้อม

นำเข้าไปในตน. บทว่า จากการกล่าวเพ้อเจ้อ ความว่า จากการพูดเพ้อเจ้อ

อธิบายว่า จากการกล่าวโดยความไม่รู้ซึ่งไม่มีประโยชน์.

จบอรรถกถาเวฬุทวารสูตรที่ ๗

๘. ปฐมคิญชกาวสถสูตร

ว่าด้วยธรรมปริยาย ชื่อ ธรรมทาส

[๑๔๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐ ใน

หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีภาคเจ้าถึงที่

ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้วได้ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อสาฬหะมรณภาพแล้ว คติ

ของเธอเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเธอเป็นอย่างไร ภิกษุณีชื่อนันทามรณ-

ภาพแล้ว ... อุบาสกชื่อสุทัตตะกระทำกาละแล้ว ... อุบาสิกาชื่อสุชาดากระทำ

กาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 298

[๑๔๗๐] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุชื่อสาฬหะ

มรณภาพแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

ภิกษุณีชื่อนันทามรณภาพแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น มีอัน

ไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป

อุบาสกชื่อว่าสุทัตตะกระทำกาละแล้ว เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓

สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวหนึ่งแล้ว จัก

กระทำที่สุดทุกข์ได้ อุบาสิกาชื่อว่าสุชาดากระทำกาละแล้ว เป็นพระโสดาบัน

เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน

เบื้องหน้า.

[๑๔๗๑] ดูก่อนอานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดมาเป็นมนุษย์แล้วพึงการทำ

กาละมิใช่เป็นของน่าอัศจรรย์ ถ้าเมื่อผู้นั้น ๆ กระทำกาละแล้ว เธอทั้งหลายพึง

เข้ามาหาเราแล้วสอบถามเนื้อความนั้น ข้อนี้เป็นความลำบากของตถาคต

เพราะฉะนั้นแหละ เราจักแสดงธรรมปริยาย ชื่อ ธรรมาทาส (แว่นส่องธรรม)

ที่อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามี

นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เรา

เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้อง

หน้า.

[๑๔๗๒] ดูก่อนอานนท์ ก็ธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวก

ประกอบแล้ว... จะตรัสรู้ในเบื้องหน้านั้น เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัย

นี้ เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ใน

พระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว... เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 299

ไปเพื่อสมาธิ นี้แล คือ ธรรมปริยาย ชื่อว่า ธรรมาทาส ที่อริยสาวกประกอบ

แล้ว... จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบปฐมคิญชกาวสถสูตรที่ ๘

อรรถกถาปฐมคิญชกาวสถสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมคิญชกาวสถสูตรที่ ๘.

บทว่า าติเก ความว่า หมู่บ้าน ๒ ตำบล ของบุตรของจุลลปิติ

และมหาปิติทั้งสองมีอยู่เพราะอาศัยบึงหนึ่ง. บทว่า ญาติเก ได้แก่ ในบ้าน

หนึ่ง บทว่า ที่พักซึ่งก่อด้วยอิฐ ความว่า ที่อยู่ทำด้วยอิฐ. บทว่า ส่วนเบื้อง

ต่ำ ได้แก่ ส่วนเบื้องต่ำที่ให้ถือปฏิสนธิในกามภพนั้นเอง. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อ

ว่า ส่วนเบื้องต่ำ เพราะอรรถว่าพึงละได้ ด้วยมรรค ๓ ที่ได้ชื่อว่า อุระ

ดังนี้ บรรดาสังโยชน์เหล่านั้น สังโยชน์สองเหล่านี้คือ กามฉันทะ

พยาบาท ไม่ข่มแล้วด้วยสมาบัติหรือไม่ถอนขึ้นแล้วด้วยมรรค หรือว่าไม่ให้

เพื่อจะถึงรูปภพที่เป็นส่วนเบื้องบน ด้วยอำนาจแห่งการเกิด. สังโยชน์ ๓ มี

สักกายทิฏฐิเป็นต้น นำสัตว์ที่เกิดแล้วในรูปภพนั้นมาให้เกิดแม้ในที่นี้อีก

เพราะเหตุนั้น สังโยชน์แม้ทั้งหมด จึงชื่อว่า เป็นส่วนเบื้องต่ำ. บทว่า

มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา ความว่า มีการไม่มาเป็นสภาพ ด้วยอำนาจ

ปฏิสนธิ บทว่า เพราะราคะโทสะและโมหะเบาบาง ความว่า พึงทราบ

ความที่ราคะโทสะและโมหะเบาบาง โดยสองอย่างคือ ด้วยการเกิดขึ้นในโลกนี้

คราวเดียว ๑ ด้วยการที่ปริยุฏฐานกิเลสเบาบาง๑. ก็ราคะเป็นต้น ย่อมไม่เกิดขึ้น

เนือง ๆ แก่พระสกทาคามี เหมือนแก่พวกปุถุชน บางครั้งบางคราวก็เกิดขึ้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 300

เมื่อจะเกิดขึ้นก็ไม่เกิดขึ้นมาก เหมือนพวกปุถุชน เกิดขึ้นเบาบาง เหมือน

ปีกแมลงวัน.* ก็พระทีฆภาณกเตปิฎกมหาสิวเถระ กล่าวแล้วว่า พระสกทาคามี

ย่อมมีบุตรและธิดา (และ) หมู่สนม เพราะเหตุนั้น กิเลสทั้งหลายจึงมีมาก

แต่ว่า คำนี้ท่านกล่าวแล้วด้วยอำนาจภพ. ก็คำนั้น เป็นอันถูกคัดค้านแล้ว

เพราะท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาว่า เว้น ๗ ภพ ในภพที่ ๘ พระโสดาบัน ย่อม

ไม่มีสังโยชน์ที่เบาบางในภพ เว้น ๒ ภพ ใน ๕ ภพ พระสกทาคามี ย่อมไม่

มีสังโยชน์ที่เบาบางในภพ เว้นรูปภพ อรูปภพ ในกามภพ พระอนาคามี

ย่อมไม่มีสังโยชน์ที่เบาบางในภพ ในภพไร ๆ พระขีณาสพ ย่อมไม่มีสังโยชน์

ที่เบาบางในภพ. คำว่า โลกนี้ ท่านกล่าว หมายเอากามาวาจรโลกนี้.

ก็ในคำนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ว่า ก็ถ้าว่า ภิกษุชื่อว่า สาฬหะ บรรลุ

สกทาคามิผลในมนุษยโลกแล้วเกิดในเทวโลก ทำให้แจ้งพระอรหัต นั่นเป็น

การดีแล. แต่ว่า เมื่อไม่อาจมามนุษยโลกแล้ว ก็จะทำให้แจ้งพระอรหัตแน่แท้.

แม้บรรลุพระสกทาคามิผลในเทวโลกแล้ว ถ้ามาเกิดในมนุษยโลกก็จะทำพระ-

อรหัตให้แจ้ง นั่นเป็นการดีแล. แต่ว่า เมื่อไม่สามารถ ครั้นไปเทวโลก

แล้ว ก็จะทำให้แจ้งแน่แท้. ความตกต่ำ ชื่อว่า วินิบาต ความตกต่ำเป็น

ธรรมของพระโสดาบันหามิได้ เหตุนั้น ชื่อว่า มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

อธิบายว่า มีความไม่ตกต่ำเป็นสภาวะในอบายทั้ง ๔. บทว่า เที่ยง ได้แก่

เที่ยงโดยทำนองแห่งธรรม.

บทว่า มีการตรัสรู้ในเบื้องหน้า ความว่า การตรัสรู้กล่าวคือ

มรรค ๓ เบื้องสูง เป็นที่ไปในเบื้องหน้า เป็นคติ เป็นที่พึ่ง อันเขาพึง

บรรลุแน่แท้ เหตุนั้น ชื่อว่าผู้มีการตรัสรู้พร้อมเป็นไปในเบื้องหน้า. บทว่า

ข้อนี้เป็นความลำบาก ความว่า อานนท์ ความลำบากกายนั่นเทียว ย่อม

* ปาฐะเป็น มจฺฉิกปตฺตา พม่าเป็น มกฺขิกปตฺต แปลตามพม่า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 301

ปรากฏแม้แก่ตถาคคผู้ตรวจดู คติ การอุบัติ และ ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้ใน

เบื้องหน้าของคนเหล่านั้น ๆ ด้วยพระญาณ แต่ว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีความ

ลำบากทางจิต. บทว่า ธมฺมาทาส ได้แก่แว่นที่สำเร็จด้วยธรรม. บทว่า เยน

ความว่า ประกอบแล้วด้วยแว่นที่สำเร็จด้วยธรรมใด. คำว่า มีอบาย ทุคติ

และวินิบาตสิ้นแล้ว นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสแล้วด้วยคำที่เป็นไวพจน์ของ

นรกเป็นต้นนั่นเอง. ก็นรกเป็นต้น ชื่อว่า อบาย เพราะไปปราศจากความ

ก้าวหน้ากล่าวคือความเจริญ. คติ คือที่แล่นไปของทุกข์ เหตุนั้น ชื่อว่า ทุคติ.

ผู้ที่มีปกติทำชั่ว ไร้อำนาจตกไปในนรกเป็นต้นนั้น เหตุนั้น นรกเป็นต้นนั้น

จึงชื่อว่า วินิบาต.

จบอรรถกถาคิญชกาวสถสูตรที่ ๘

๙. ทุติยคิญชกาวสถสูตร

ว่าด้วยธรรมปริยาย ชื่อ ธรรมทาส

[๑๔๗๓] (ข้อความเบื้องต้นเหมือนคิญชกาวสถสูตรที่ ๑) ครั้นแล้ว

ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุ

ชื่อว่าอโสกะมรณภาพแล้ว คติของเธอเป็นอย่างไร สัมปรายภพของเธอเป็น

อย่างไร ภิกษุณีชื่ออโสกามรณภาพแล้ว ฯลฯ อุบาสกชื่ออโสกะกระทำกาละ

แล้ว ฯ ล ฯ อุบาสิกาชื่ออโสกากระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร

สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร.

[๑๔๗๔] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุชื่ออโสกะ

มรณภาพแล้ว กระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้

เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 302

ภิกษุณีชื่ออโสกา... อุบาสกชื่ออโสกะ ... อุบาสิกาชื่ออโสกา กระทำกาละ

แล้ว เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยง ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๗๕] ดูก่อนอานนท์ นี้แล คือธรรมปริยาย ชื่อ ธรรมาทาส ที่

อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามี

นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็น

พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

จบทุติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๙

ทุติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๙ มีอรรถตื้นทั้งนั้น

๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร

ว่าด้วยธรรมปริยาย ชื่อ ธรรมาทาส

[๑๔๗๖] (ข้อความเบื้องต้นเหมือนคิญชกาวสถสูตรที่ ๑) ครั้นแล้ว

ท่านพระอานนท์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

อุบาสกชื่อกกุฏะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร

สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร... อุบาสกชื่อกฬิภะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง...

อุบาสกชื่อทนิกัทธะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อกฏิสสหะในหมู่บ้าน

แห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อตุฏฐะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบสกชื่อสันตุฏฐะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 303

ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อภัททะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง... อุบาสกชื่อ

สุภัททะในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง กระทำกาละแล้ว คติของเขาเป็นอย่างไร

สัมปรายภพของเขาเป็นอย่างไร.

[๑๔๗๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ อุบาสกชื่อ

กกุฏะ กระทำกาละแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้นมีอันไม่กลับ

จากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป อุบาสก

ชื่อกฬิภะ... ชื่อทนิกัทธะ... ชื่อกฏิสสหะ... ชื่อตุฏฐะ.. ชื่อสันตุฏฐะ...

ชื่อภัททะ... ชื่อสุภัททะ กระทำกาละแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพาน

ในภพนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วน

เบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป.

[๑๔๗๘] ดูก่อนอานนท์ อุบาสกทั้งหลายในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เกิน

กว่า ๕๐ คน กระทำกาละแล้ว เป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพนั้น

มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕

สิ้นไป อุบาสกทั้งหลายในหมู่บ้านแห่งหนึ่งเกินกว่า ๙๐ คน กระทำกาละแล้ว

เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ

เบาบาง มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียว แล้วจักทำที่สุดทุกข์ได้ อุบาสกทั้งหลายใน

หมู่บ้านแห่งหนึ่งจำนวน ๕๐๖ คน กระทำกาละแล้ว เป็นพระโสดาบัน เพราะ

สังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน

เบื้องหน้า.

[๑๔๗๙] ดูก่อนอานนท์ ข้อที่บุคคลเกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว พึง

กระทำกาละ มิใช่เป็นของน่าอัศจรรย์ ถ้าเมื่อผู้นั้น ๆ กระทำกาละแล้ว เธอ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 304

ทั้งหลายพึงเข้ามาหาเราแล้วสอบถามเนื้อความนั้น ข้อนี้เป็นความลำบากของ

ตถาคต เพราะฉะนั้นแหละ เราจักแสดงธรรมปริยายชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวก

ประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิด

สัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน

มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๘๐] ดูก่อนอานนท์ ก็ธรรมปริยาย ชื่อธรรมาทาส ที่อริยสาวก

ประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิด

สัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน

มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เป็นไฉน

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ-

พุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า

ใคร่แล้ว... เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้แล คือ ธรรมปริยาย ชื่อ ธรรมาทาส ที่

อริยสาวกประกอบแล้ว เมื่อหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก

กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็น

พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบตติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๑๐

จบเวฬุทวารวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 305

อรรถกถาตติยคิญชกาวสถสูตร

พึงทราบอธิบายในตติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๑๐

บทว่า เกินกว่า ๕๐ ได้แก่ มากกว่า ๕๐ คน. บทว่า เกินกว่า

๙๐ คน ได้แก่ มากกว่า ๙๐ คน. บทว่า ฉาติเรกานิ ได้แก่ จำนวน ๖ คน

ทราบมาว่า หมู่บ้านั้น ไม่ได้ใหญ่ยิ่งก็จริง ถึงกระนั้น ในหมู่บ้านนั้นก็ยังมี

อริยสาวกมาก ในหมู่บ้านนั้น สัตว์ ๒,๔๐๐,๐๐๐ ตายคราวเดียวกัน ด้วย

อหิวาตกโรค. ในคนเหล่านั้น อริยสาวกได้มีประมาณเท่านี้. คำที่เหลือในที่

ทุกแห่งตื้นนั่นเทียวแล.

จบอรรถกถาตติยคิญชกาวสถสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาเวฬุทวารวรรคที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในรรรคนี้ คือ

๑. ราชสูตร ๒. โอคธสูตร ๓. ทีฆาวุสูตร ๔. ปฐมสาริปุตตสูตร

๕. ทุติยสาริปุตตสูตร ๖. ถปติสูตร ๗. เวฬุทวารสูตร ๘. ปฐมคิญชกาวสถ

สูตร ๙. ทุติยคิญชกาวสถสูตร ๑๐. ตติยคิญชกาวสถสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 306

ราชากามวรรคที่ ๒

๑. สหัสสสูตร

องค์คุณของพระโสดาบัน

[๑๔๘๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ราชการาม กรุงสาวัตถี

ครั้งนั้น ภิกษุณีสงฆ์ ๑,๐๐๐ รูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ

ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะภิกษุณีเหล่านั้นว่า ดูก่อนภิกษุณีทั้งหลาย อริย-

สาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ

เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระ-

อริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา

เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบสหัสสสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 307

ราชการามวรรควรรณนา

อรรถกถาสหัสสสูตร

พึงทราบอธิบายในสหัสสสูตรที่ ๑ แห่งราชการามวรรคที่ ๒.

คำว่า ราชการาม ได้แก่ อารามที่ได้ชื่ออย่างนี้ เพราะพระราชา

ทรงให้สร้าง. ถามว่า พระราชาองค์ไหน. ตอบว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล.

ทราบมาว่า ในปฐมโพธิกาล พวกเดียรถีย์เห็นพระศาสดา ที่ทรง

ถึงความเลิศด้วยยศและลาภ พากันคิดแล้วว่า พระสมณโคดมถึงความเลิศ

ด้วยลาภและยศ ก็ศีลหรือสมาธิอย่างอื่นไร ๆ ของพระสมณโคดมนั้นไม่มี

พระสมณโคดมนั้นถึงความเลิศด้วยลาภและยศอย่างนี้ เป็นเหมือนถือเอาพื้น

แผ่นดินที่สมบูรณ์เป็นเลิศ ถ้าแม้พวกเราอาจให้สร้างวัดใกล้พระเชตวันได้

ก็จะพึงเป็นผู้ถึงความเลิศด้วยลาภและยศ. เดียรถีย์เหล่านั้น จึงชักชวนอุปัฏฐาก

ของตนได้ประมาณแสนคน ได้กหาปณะ แล้วได้พาอุปัฏฐากเหล่านั้นไปราช

สำนัก. พระราชาตรัสถามว่า นี่อะไรกัน. ทูลว่า พวกข้าพระองค์จะสร้างวัด

ของเดียรถีย์ใกล้เชตวัน ถ้าว่าพระสมณโคดม หรือพวกสาวกของพระสมณโคดม

จักมาห้ามไซร้ ขอพระองค์อย่าให้เพื่อจะห้ามเลย แล้วได้ถวายสินบน.

พระราชารับสินบนแล้วตรัสว่า พวกท่านจงไปสร้างเถิด พวกเดียรถีย์นั้น

จึงให้พวกอุปัฏฐากของตนขนทัพพสัมภาระมา เเล้วทำการยกเสาเป็นต้น

เปล่งเสียงอึกทึกลือลั่น ทำโกลาหลเป็นอย่างเดียวกัน. พระศาสดาเสด็จออกจาก

พระคันธกุฎีประทับที่หน้ามุข ตรัสถามแล้วว่า อานนท์ ก็คนพวกนั้น

เหล่าไหน เห็นจะเป็นพวกชาวประมง เปล่งเสียงอึกทึกลือลั่น แย่งปลากันอยู่.

อา. พวกเดียรถีย์ สร้างวัดของเดียรถีย์ใกล้พระเชตวัน พระเจ้าข้า.

ศ. อานนท์ พวกนี้เป็นศัตรูต่อศาสนา จะทำให้อยู่ไม่เป็นสุขแก่หมู่

ภิกษุ เธอจงทูลพระราชา และให้รื้อออกไป.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 308

พระเถระพร้อมด้วยหมู่ภิกษุ ได้ไปยืนที่พระทวารหลวง. ราชบุรุษ

ทั้งหลายกราบทูลแก่พระราชาว่า ข้าแต่สมมติเทพ พวกพระเถระมาเฝ้า.

พระราชามิได้เสด็จออกไป เพราะได้รับสินบนไว้แล้ว พระเถระทั้งหลายจึง

ไปกราบทูลพระศาสดา. พระศาสดาทรงส่งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะ

ไป. พระราชาไม่ได้พระราชทาน แม้การเฝ้าแก่พระเถระทั้งสองนั้น พระเถระ

เหล่านั้น จึงมากราบทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาไม่ได้

เสด็จออกเลย.

พระศาสดาทรงพยากรณ์ในขณะนั้นทีเทียวว่า พระราชาดำรงอยู่ใน

ราชสมบัติของตนจักไม่ได้เพื่อจะทำกาละ. วันที่สอง พระองค์นั่นเทียว มีหมู่

ภิกษุเป็นบริวาร ได้เสด็จไปประทับยืนที่ประตูหลวง พระราชาทรงสดับว่า

พระศาสดาเสด็จมาแล้ว จึงเสด็จออกไปกราบทูลให้เสด็จเข้านิเวศน์ ให้ประทับ

นั่งบนสารบัลลังก์ ได้ทรงถวายข้าวต้มและของเคี้ยว พระศาสดาเสวยข้าวต้ม

และของเคี้ยวแล้ว ไม่ตรัสว่า มหาบพิตร พระองค์ทำเหตุนี้แล้ว กะพระราชา

ผู้เสด็จมาประทับนั่ง ด้วยพระราชดำริว่า เราจักนั่งในสำนักของพระศาสดา

จนกว่าพระกระยาหารจะเสร็จ จึงทรงดำริว่า เราจะให้พระราชานั้นยินยอม

ด้วยเหตุทีเดียว จึงทรงนำเหตุในอดีตนี้มาว่า มหาบพิตร ขึ้นชื่อว่า การให้

พวกบรรพชิตรบกันและกันไม่สมควร พระราชาทรงให้พวกฤาษีเหล่านั้น

รบกันและกันแล้ว ได้จมมหาสมุทรไปพร้อมกับแว่นแคว้น. พระราชาตรัส

ถามว่า เมื่อไร ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

มหาบพิตร ในอดีต พระราชาพระนามว่า ภุรุ ในแว่นแคว้นภุรุ

ครองราชสมบัติอยู่. คณะฤาษี ๒ คณะ ๆ ละ ๕๐๐ ไปจากเชิงภูเขาสู่ภุรุนคร

เพื่อจะเสพรสเค็มและเปรี้ยว ที่ไม่ไกลพระนครมีต้นไม้อยู่สองต้น. คณะฤาษี

ที่มาก่อนนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง. แม้คณะฤาษีที่มาภายหลังก็ได้นั่งที่โคน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 309

ต้นไม้อีกต้นหนึ่ง. พวกฤาษีได้อยู่ตามความพอใจแล้วไปที่เชิงเขาเทียว. พวก

ฤาษีนั้นแม้มาอีกก็ได้นั่งในที่หนึ่งแห่งโคนต้นไม้ของตน. พวกฤาษีนั้นที่มา

ภายหลังก็ได้นั่งที่โคนต้นไม้ของตนเหมือนกัน. เมื่อเวลาผ่านไปนาน ต้นไม้

ต้นหนึ่งแห้ง ( ตาย). พวกดาบสมาที่ต้นไม้แห้งนั้น คิดว่า ต้นไม้ต้นนี้ ( ต้นที่

ไม่แห้ง) ใหญ่ จักเพียงพอ แม้แก่พวกเรา แม้แก่ดาบสเหล่านั้น จึงนั่งในที่

แห่งหนึ่งของต้นไม้ของพวกดาบสนอกนี้. ดาบสเหล่านั้นมาแล้วภายหลังไม่เข้า

ไปที่โคนไม้นั้น ยืนอยู่ภายนอกเทียว กล่าวแล้วว่า ท่านทั้งหลายนั่งอยู่ในที่นี้

เพราะเหตุไร. ดาบสเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านอาจารย์ ต้นไม้ของพวกกระผม

แห้งตาย ต้นไม้นี้ต้นใหญ่ แม้พวกท่านก็จงเข้าไปเถิด จักพอแม้แก่พวกท่าน.

พวกดาบสกล่าวว่า พวกเราจะไม่เข้าไป พวกท่านจงออกไป แล้ว

ขยายถ้อยคำกล่าวว่า พวกท่านจักไม่เต็มใจออกไปหรือ จึงจับที่มือเป็นต้น

ดึงออกไป.

ดาบสเหล่านั้นจึงคิดว่า ช่างเถิด เราจักให้พวกฤาษีนั้นสำเหนียก แล้ว

นิรมิตล้อ ๒ ล้อสำเร็จด้วยทอง และเพลาสำเร็จด้วยเงินด้วยฤทธิ์ได้ให้หมุนไป

พระทวารหลวง. พวกราชบุรุษ กราบทูลคำเห็นปานนี้ให้พระราชาทรงทราบ

ว่า พระเจ้าข้า พวกดาบสถือเครื่องบรรณาการยืนอยู่แล้ว. พระราชาทรงยินดี

แล้วตรัสว่า พวกท่านจงเรียกมา ให้เรียกมาแล้วตรัสว่า พวกท่านทำกรรม

ใหญ่แล้ว เรื่องไร ๆ ที่ข้าพเจ้าจะพึงทำแก่พวกท่านมีอยู่หรือ.

ดา. ขอถวายพระพร หาบพิตร มีโคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งเป็นที่นั่ง

ของพวกข้าพระองค์ โคนไม้นั้น ถูกพวกฤาษีอื่นยึดแล้ว ขอพระองค์จงให้

พวกฤาษีนั้นให้โคนไม้นั้นแก่พวกข้าพระองค์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 310

พระราชาจึงส่งพวกบุรุษไปให้คร่าพวกดาบสออกไป พวกฤาษีที่ยืน

ภายนอก แลดูอยู่ว่า พวกดาบสนี้ให้อะไรหนอแลจึงได้แล้ว เห็นว่า ชื่อนี้

จึงคิดว่า ถึงแม้พวกเราให้สินบนแล้วก็จะถือเอาอีก จึงนิรมิตหน้าต่างรถแล้ว

ด้วยทอง ด้วยฤทธิ์ ถือไปแล้ว. พระราชาทรงเห็นแล้วยินดี ตรัสว่า เจ้าข้า

ข้าพเจ้าพึงทำอย่างไร.

พวกดาบส ทูลว่า มหาบพิตร คณะฤาษีอื่นนั่งที่โคนไม้ของพวก

ข้าพระองค์ ขอพระองค์จงประทานโคนไม้นั้นเถิด.

พระราชาทรงส่งพวกบุรุษไปให้คร่าดาบสเหล่านั้นออกไป. พวกดาบส

ทำการทะเลาะกันและกันแล้ว เป็นผู้เดือดร้อนว่า พวกเราทำกรรมไม่สมควร

แล้ว จึงได้ไปเชิงเขาแล้วแล. ลำดับนั้น เทวดาโกรธแล้วว่า พระราชานี้

รับสินบนจากมือของคณะดาบสแม้ทั้งสอง ให้ทำการทะเลาะกันและกัน จึงทด

มหาสมุทรทำที่แห่งหนทางประมาณพันโยชน์แห่งแว่นแคว้นของพระราชานั้น

ให้เป็นสมุทรทีเดียว.

ข้าพเจ้าได้ฟังมาว่า ภุรุราชา ทำให้

ดาบสทั้งหลายมีระหว่างใน (แตกกัน )

พระราชานั้น พร้อมกับแว่นแคว้นจึงถูก

ทำลายแล้วถึงความเสื่อมแล้ว.

ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอดีตนี้อย่างนี้แล้ว เพราะขึ้นชื่อว่า

ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย บุคคลควรเชื่อเหตุนั้น พระราชาทรงกำหนด

ใคร่ครวญกิริยาของพระองค์แล้ว ทรงดำริว่า กรรมที่ไม่ควรทำเราได้ทำแล้ว

จึงตรัสว่า พนาย พวกท่านจงไปคร่าเอาพวกเดียรถีย์ออกไป ครั้นให้คร่า

ออกไปแล้วทรงดำริว่า วิหารที่เราให้สร้างยังไม่มี เราจักให้สร้างวิหารในที่นั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 311

นั่นแหละ แล้วไม่พระราชทานทัพสัมภาระแก่เดียรถีย์เหล่านั้น ทรงให้สร้าง

วิหารแล้ว. คำนั้น (ราชการาม) พระสังคีติกาจารย์กล่าวแล้วหมายเอาวิหารนั้น.

จบอรรถกถาสหัสสสูตรที่ ๑.

๒. พราหมณสูตร

ว่าด้วยอุทยคามินีปฏิปทา

[๑๔๘๒] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติปฏิปทา ชื่ออุทยคามินี พวกเขาย่อม

ชักชวนสาวกอย่างนี้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ มาเถิดท่าน ท่านจงลุกขึ้นแต่เช้าตรู่

แล้วเดินบ่ายหน้าไปทางทิศปราจีน ท่านอย่าเว้น บ่อ เหว ตอ ที่มีหนาม

หลุมเต็มด้วยคูถ บ่อโสโครกใกล้บ้าน ท่านพึงตกไปในที่ใด พึงรอความตาย

ในที่นั้น ด้วยวิธีอย่างนี้ เมื่อแตกกายตายไป ท่านจักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

[๑๔๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อบัญญัติของพราหมณ์ทั้งหลายนั้น

เป็นความดำเนินของคนพาล เป็นความดำเนินของคนหลง ย่อมไม่เป็นไป

เพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความเข้าไปสงบ

เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ส่วนในอริยวินัย เราก็บัญญัติ

ปฏิปทาชื่ออุทยคามินีที่เป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อความคลาย-

กำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้

เพื่อนิพพาน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 312

[๑๔๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อุทยคามินีปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อ

ความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อนิพพาน เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม ...

ในพระสงฆ์. .. ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป

เพื่อสมาธิ นี้แล คือ อุทยคามินีปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว

เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง

เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

จบพราหมณสูตรที่ ๒

อรรถกถาพราหมณสูตร

พึงทราบอธิบายใน พราหมณสูตรที่ ๒.

คำว่า ปฏิปทา ชื่อว่า อุทยคามินี ความว่า ปฏิปทาเครื่องให้ถึง

ความเจริญในลัทธิของตน.

บทว่า พึงรอความตาย ได้แก่ พึงปรารถนาความตาย.

จบอรรถกถาพราหมณสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 313

๓. อานันทสูตร

ละธรรม ๔ ประกอบธรรม ๔ เป็นพระโสดาบัน

[๑๔๘๕] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านพระอานนท์อยู่ ณ

พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น

เวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่เร้นแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึง

ที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน

ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระอานนท์ว่า

ดูก่อนอานนท์ เพราะละธรรมเท่าไร เพราะเหตุประกอบธรรมเท่าไร หมู่สัตว์นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ

เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๔๘๖] ท่านพระอานนท์กล่าวตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เพราะ

ละธรรม ๔ ประการ เพราะเหตุประกอบธรรม ๔ ประการ หมู่สัตว์นี้

พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์ว่า เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ

เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า

เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ปุถุชนนั้น

ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ-

พุทธเจ้าเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้นว่า

แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 314

[๑๔๘๗] ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ปุถุชนนั้น ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมเห็นปานใด เมื่อแตก

กายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใสอัน ไม่หวั่นไหวใน-

พระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้นว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน.

[๑๔๘๘] ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป

ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระสงฆ์เห็นปานนั้น. ย่อมไม่มีแก่ปุถุชนนั้น ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับ

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์เห็นปานใด เมื่อแตก-

กายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้นว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มี-

พระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.

[๑๔๘๙] ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วย

ความทุศีลเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก ความทุศีลเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ปุถุชนนั้น ส่วนอริยสาวกผู้

ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อม

เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว เป็นศีลไม่ขาด... เป็นไป

เพื่อสมาธิ เห็นปานนั้น ย่อมมีแก่อริยสาวกนั้น.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 315

[๑๔๙๐] ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เพราะละธรรม ๔ ประการนี้ เพราะเหตุ

ประกอบธรรม ๔ ประการนี้ หมู่สัตว์นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงพยากรณ์ว่า

เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน

เบื้องหน้า.

จบอานันทสูตรที่ ๓

อานันทสูตรที่ ๓ มีเนื้อความตื้นทั้งนั้น.

๔. ปฐมทุคติยสูตร

มีธรรม ๕ ประการย่อมพ้นทุคติ

[๑๔๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ ย่อมล่วงภัยคือทุคติทั้งหมดได้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวก

ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ...

ในพระธรรมะ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่

ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ย่อมล่วงภัย คือ ทุคติทั้งหมดได้.

จบปฐมทุคติสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 316

อรรถกถาปฐมทุคติสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมทุคติสูตรที่ ๕.

บทว่า ย่อมล่วงภัยคือทุคติทั้งหมดได้ ความว่า ทรงคัดค้านความ

เป็นผู้มีสองส่วนของมนุษย์.

จบอรรถกถาปฐมทุคติยสูตรที่ ๔

๕ .ทุติยทุคติสูตร

มีธรรม ๔ ประการ พ้นทุคติและวินิบาต

[๑๔๙๒ ] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ ย่อมล่วงภัยคือทุคติและวินิบาตทั้งหมดได้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ-

พุทธเจ้า... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า

ใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ เหล่านี้ ย่อมล่วงภัยคือทุคติและวินิบาตทั้ง

หมดได้.

จบทุติยทุคติสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 317

อรรถกถาทุติยทุคติสูตร

พึงทราบอธิบายในทุติยทุคติสูตรที่ ๕.

บทว่า ย่อมล่วงภัยคือทุคติและวินิบาตทั้งหมดได้ ความว่า ทรง

คัดค้านอบาย ๔ กับความเป็นผู้มีสองส่วนของมนุษย์.

จบอรรถกถาทุติยทุคติสูตรที่ ๕

๖. ปฐมมิตตามัจจสูตร

องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ

[๑๔๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์เหล่าชนผู้

เป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต ผู้ที่สำคัญโอวาทว่าเป็นสิ่งที่ตนควรฟัง

พึงยังเขาเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในองค์แห่งธรรมเป็น

เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ พึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ในความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ในศีลที่พระ-

อริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายพึงอนุเคราะห์เหล่าชนผู้เป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต ผู้ที่

สำคัญโอวาทว่าเป็นสิ่งที่ตนควรฟัง พึงยังเขาเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้

ดำรงอยู่ ในองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการเหล่านี้.

จบปฐมมิตตามัจจสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 318

อรรถกถาปฐมมิตตามัจจสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมมิตตามัจจสูตรที่ ๖.

คำว่า มิตร ได้แก่ มิตรตามโวหาร ด้วยอำนาจการบริโภคอามิสใน

เรือนของกันและกัน. คำว่า อมาตย์ ได้แก่ ผู้ที่ให้การงานที่ควรทำเป็น

ไปร่วมกันในการเชื้อเชิญการปรึกษา และอิริยาบถเป็นต้น. คำว่า ญาติ

ได้แก่ เป็นฝ่ายพ่อตาแม่ยาย. คำว่า สายโลหิต ได้แก่ พี่ชายน้องชาย พี่

สาวน้องสาวและลุงเป็นต้นที่มีโลหิตเสมอกัน.

จบอรรถกถาปฐมมิตตามัจจสูตรที่ ๖

๖. ทุติยมิตตามัจจสูตร

องค์ธรรมเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ

[๑๔๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์เหล่าชนผู้

เป็นมิตร. . . ให้ดำรงอยู่ ในองค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการ

องค์แห่งธรรมเป็นเครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการเป็นไฉน คือ พึงให้สมาทาน

ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้

เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม.

[๑๔๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ

ธาตุไฟ ธาตุลม พึงมีความแปรเป็นอื่นไปได้ ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีความแปรเป็นอื่นไปได้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 319

เลย ความแปรเป็นอย่างอื่นในข้อนั้นดังนี้ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยความเลื่อม

ใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... จักเข้า

ถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานหรือปิตติวิสัย ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เธอ

ทั้งหลายพึงยังเขาเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ในศีลที่

พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.

[๑๔๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาภูตรูป ๔ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ

ธาตุไฟ ธาตุลม พึงมีความแปรเป็นอย่างอื่นไปได้ ส่วนอริยสาวกผู้ประกอบ

ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่พึงมีความแปรเป็นอย่างอื่นไปได้เลย ความ

แปรเป็นอย่างอื่นในข้อนั้น ดังนี้ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่

แล้ว จักเข้าถึงนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน หรือปิตติวิสัย ข้อนี้ไม่เป็นฐานะ

ที่จะมีได้.

[๑๔๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงอนุเคราะห์เหล่าชนผู้

เป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสาโลหิต ผู้ที่สำคัญโอวาทว่าเป็นสิ่งที่ตนควรฟัง

พึงยังเขาเหล่านั้นให้สมาทาน ให้ตั้งมั่น ให้ดำรงอยู่ ในองค์แห่งธรรมเป็น

เครื่องบรรลุโสดา ๔ ประการเหล่านี้.

จบทุติยมิตตามัจจสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 320

อรรถกถาทุติยมิตตามัจจสูตร

พึงทราบอธิบายในทุติยมัตตามัจจสูตรที่ ๗.

ชื่อว่า ความแปรเป็นอย่างอื่น มีหลายอย่าง คือ ความแปรเป็นอย่าง

อื่นโดยความเลื่อมใส ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยภาวะ ความแปรเป็นอย่างอื่น

โดยคติ ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยลักษณะ ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยการ

เปลี่ยนแปลง" ในความแปรเป็นโดยอย่างอื่นนั้น ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยภาวะ

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในมหาภูตทั้งหลาย ก็เมื่อปฐวีธาตุที่เชื่อมกัน

โดยความเป็นแท่งทึบ โดยภาวะเป็นทองเป็นต้น ย่อยยับแล้วถึงความเป็นน้ำอยู่

ภาวะในครั้งก่อนก็จะหายไป ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยภาวะก็จะปรากฏอยู่.

ส่วนลักษณะไม่หายไป คือปฐวีธาตุมีความแข็งกระด้างเป็นลักษณะแล และเมื่อ

อาโปธาตุที่สืบต่อโดยอาการที่เปลี่ยนแปลงไป โดยความเป็นรสอ้อยเป็นต้น

ขาดไป ถึงความเป็นแผ่นดินแท่งทึบ ภาวะในครั้งก่อนก็จะหายไป ความแปร

เป็นอย่างอื่นโดยภาวะก็จะยังปรากฏอยู่ แต่ลักษณะจะไม่หายไป อาโปธาตุ

นั้นมีการประสานให้ติดกันเป็นลักษณะ. ก็ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยคตินี้ ใน

ความเป็นแปรเป็นอย่างอื่นนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาในบทนี้ว่า

ความแปรเป็นอย่างอื่น. ก็ความแปรเป็นอย่างอื่นนั้น ย่อมไม่มีแก่อริยสาวก.

ถึงแม้ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยความเลื่อมใส ก็ไม่มีนั่นเอง. เพื่อประกาศ

ผลของความเลื่อมใส พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงความแปรเป็นอย่างอื่น

โดยคติไว้ในบทนี้นั่นเอง. คำที่เหลือในทุก ๆ บทตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาทุติยมิตตามัจจสูตรที่ ๗

จบราชการามวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 321

๘. ปฐมเทวจาริกสูตร*

ข้อปฏิบัติเข้าถึงสุคติ

[๑๔๙๘] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หาย

จากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลัง

เหยียดแขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ลำดับนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์

มากด้วยกันเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ อภิวาทแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวกะเทวดาเหล่านั้นว่า

[๑๔๙๙] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน

ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกาย

ตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่น

ไหวในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... ในพระสงฆ์... สัตว์บาง

พวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบ

ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแล

เพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อ

แตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

[๑๕๐๐] เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้

นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ใน

* สูตรที่ ๘-๙-๑๐. ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 322

พระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... เป็นความดีแล การประกอบด้วยศีลที่พระอริย-

เจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแล ข้าแต่ท่าน

พระโมคคัลลานะผู้นิรทุกข์ เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่น

ไหวในพระพุทธเจ้า. . . ในพระธรรม. . . ในพระสงฆ์... การประกอบด้วยศีล

ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้า

ถึงสุคติโลกสวรรค์.

จบปฐมเทวจาริกสูตรที่ ๘

๙. ทุติยเทวจาริกสูตร

ข้อปฏิบัติเข้าถึงสุคติ

[๑๕๐๑] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้หาย

จากพระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียด

แขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้น เทวดาชั้นดาวดึงส์มากด้วย

กันเข้าไปหาท่านพระมหาโมคคัลลานะ อภิวาทท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว

ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าว

กะเทวดาเหล่านั้นว่า

[๑๕๐๒] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน

ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... เป็นความดี

แล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ...

ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์... สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป

ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 323

ขาด . . . เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีลที่พระ

อริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึสุคติโลก

สวรรค์.

[๑๕๐๓] เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านพระโมคคัลลานะผู้

นิรทุกข์ การประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ใน

พระธรรม... ในพระสงฆ์ ... เป็นความดีแล ... การประกอบด้วยศีลที่พระ-

อริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ เป็นความดีแล เพราะเหตุที่

ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เมื่อแตกกายตาย

ไป เข้าถึงแล้วซึ่งสุคติโลกสวรรค์.

จบทุติยเทวจาริกสูตรที่ ๙

๑๐. ตติยเทวจาริกสูตร

องค์คุณของพระโสดาบัน

[๑๕๐๔] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจาก

พระวิหารเชตวัน ไปปรากฏในเทวโลกชั้นดาวดึงส์ เหมือนบุรุษมีกำลังเหยียด

แขนที่คู้ หรือคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ครั้งนั้น. เทวดาชั้นดาวดึงส์มากด้วยกัน

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่

ควรข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเทวดาเหล่านั้นว่า

[๑๕๐๕] ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย การประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน

ไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์... เป็นความดี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 324

แล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า...

ในพระธรรมะ... ในพระสงฆ์... สัตว์บางพวกในโลกนี้ เป็นพระโสดาบัน

มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า การประกอบ

ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบ

ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว สัตว์บางพวกในโลกนี้ เป็นพระโสดาบัน มี

ความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๐๖] เทวดาทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ การ

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม ...

ในพระสงฆ์... เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์... หมู่สัตว์นี้

เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน

เบื้องหน้า การประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป

เพื่อสมาธิ เป็นความดีแล เพราะเหตุที่ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว

หมู่สัตว์นี้เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้

ในเบื้องหน้า.

จบตติยเทวจาริกสูตรที่ ๑๐.

จบราชการามวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สหัสสสูตร ๒. พราหมณสูตร ๓. อานันทสูตร ๔. ปฐม-

ทุคติสูตร ๕. ทุติยทุคติสูตร ๖. ปฐมมิตตามัจจสูตร ๗. ทุติยมิตตามัจจสูตร

๘. ปฐมเทวจาริกสูตร ๙. ทุติยเทวจาริกสูตร ๑๐. ตติยเทวจาริกสูตร

และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

สรกานิวรรคที่ ๓

๑. ปฐมมหานามสูตร

ว่าด้วยกาลกิริยาอันไม่เลวทราม

[๑๕๐๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุง

กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราชเสด็จเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทรงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระนครกบิลพัสดุ์นี้ เป็นพระนครมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรือง มีผู้คนมาก

แออัดไปด้วยมนุษย์ มีถนนคับแคบ หม่อนฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า

หรือนั่งใกล้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจแล้ว เมื่อเข้าไปยังพระนครกบิลพัสดุ์

ในเวลาเย็น *ย่อมไม่ไปพร้อมกับช้าง ม้า รถ เกวียน และแม้กับบุรุษ

สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

หม่อมฉันมีความดำริว่า ถ้าในเวลานี้ เรากระทำกาละลงไป คติของเราจะ

เป็นอย่างไร อภิสัมปรายภพของเราจะเป็นอย่างไร.

[๑๕๐๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร

อย่ากลัวเลย ๆ การสวรรคตอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอันไม่

เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร ดูก่อนมหาบพิตร จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่อบรมแล้ว

* คำว่า ย่อมไม่ไป ปาฐะว่า ภนฺเต น แปลว่า . . . ย่อมไม่ไป

อรรถกถาแก้เป็น วิพฺภนฺเตน แปลว่าหมุนไปรอบ ๆ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 326

ด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ตลอดกาลนาน กายนี้ของผู้นั้น มีรูป

ประกอบด้วยมหาภูตรูป ๔ มีมารดาบิดาเป็นแดงเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและ

ขนมสด มีความไม่เที่ยง ต้องขัดสี นวดพื้น และมีอันแตกกระจัดกระจาย

ไปเป็นธรรมดา พวกกา แร้ง นกตะกรุม สุนัข สุนัขจิ้งจอก หรือสัตว์

ต่างชนิด ย่อมกัดกินกายนี้แหละ ส่วนจิตของผู้นั้นอันศรัทธา ศีล สุตะ

จาคะ ปัญญาอบรมแล้วตลอดกาลนาน ย่อมเป็นคุณชาติไปในเบื้องบน ถึง

คุณวิเศษ.

[๑๕๐๙] ขอถวายพระพร เปรียบเหมือนบุรุษลงไปยังห้วงน้ำลึกแล้ว

พึงทุบหม้อเนยใสหรือหม้อน้ำมัน สิ่งใดที่มีอยู่ในหม้อนั้นจะเป็นก้อนกรวด

หรือกระเบื้องก็ตาม สิ่งนั้นจะจมลง สิ่งใดเป็นเนยใสหรือน้ำมัน สิ่งนั้นจะ

ลอยขึ้นถึงความวิเศษ ฉันใด จิตของผู้ใดผู้หนึ่งที่อบรมแล้วด้วยศรัทธา

ศีล สุตะ จาคะ ปัญญาตลอดกาลนาน กายนี้ของผู้นั้น มีรูป ประกอบด้วย

มหาภูตรูป ๔... ส่วนจิตของผู้นั้นซึ่งอบรมแล้วด้วยศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ

ปัญญาตลอดกาลนาน ย่อมเป็นคุณชาติไปในเบื้องบน ถึงคุณวิเศษ ฉันนั้น

เหมือนกัน ขอถวายพระพร มหาบพิตรอย่ากลัวเลย ๆ การสวรรคตอันไม่

ลามกจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอันไม่ลามกจักมีแก่มหาบพิตร.

จบปฐมมหานามสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 327

สรกานิวรรควรรณนาที่ ๓

อรรถกถาปฐมมหานามสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมมหานามสูตรที่ ๑ แห่งสรกานิวรรคที่ ๓.

คำว่า มั่งคั่ง คือ สำเร็จแล้วด้วยน้ำมัน น้ำผึ้ง และน้ำอ้อยเป็นต้น.

คำว่า เจริญรุ่งเรือง คือเบิกบานแล้ว ด้วยอำนาจเครื่องประดับ มีเครื่องสวมมือ

และสวนศีรษะเป็นต้น. คำว่า แออัดไปด้วยมนุษย์ คือมีมนุษย์หาระหว่างมิได้.

ถนนที่เดินไม่ได้ตลอด ท่านเรียกว่า พยูหะ ในบทว่า มีถนนคับแคบ

คนทั้งหลายเข้าถึงทางที่เข้าโดยทางที่เข้าไปในถนนเหล่าใดแล ถนนเหล่านั้น

คับแคบมีมากในนครนี้ เหตุนั้น พระนครนี้ชื่อว่า มีถนนคับแคบ. พระผู้มี

พระภาคเจ้า ย่อมทรงแสดงการอยู่กัน อย่างหนาแน่นของชาวพระนคร แม้ด้วย

บทนี้. บทว่า วิพฺภนฺเตน ได้แก่ หมุนไปรอบ ๆ ข้างโน้นข้างนี้ เพราะ

ความฟุ้ง.

จบอรรถกถาปฐมมหานามสูตรที่ ๑

๒. ทุติยมหานามสูตร

ว่าด้วยกาลกิริยาอันไม่เลวทราม

[๑๕๑๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม กรุง

กบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราชเสด็จเข้าไปเฝ้า

พระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 328

ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทรงกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ พระนครกบิลพัสดุ์นี้ เป็นพระนครมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรือง มีผู้คนมาก

แออัดไปด้วยมนุษย์ มีถนนคับแคบ หม่อมฉันนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า

หรือนั่งใกล้ภิกษุทั้งหลายผู้เป็นที่เจริญใจแล้ว เมื่อเข้าไปยังพระนครกบิลพัสดุ์

ในเวลาเย็น ย่อมไม่ไปพร้อมกับช้าง ม้า รถ เกวียน และแม้กับบุรุษ

สมัยนั้น หม่อมฉันลืมสติที่ปรารภถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม พระสงฆ์

หม่อมฉันมีความดำริว่า ถ้าในเวลานี้ เรากระทำกาละลงไป คติของเราจะเป็น

อย่างไร อภิสัมปรายภพของเราจะเป็นอย่างไร.

[๑๕๑๑] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร

อย่ากลัวเลย ๆ การสวรรคตอันไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร กาลกิริยาอัน

ไม่เลวทรามจักมีแก่มหาบพิตร ดูก่อนมหาบพิตร อริยสาวกผู้ประกอบด้วย

ธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นผู้น้อมไปสู่นิพพาน โน้มไปสู่นิพพาน โอนไปสู่

นิพพาน ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ใน

พระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ.

[๑๕๑๒] ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนต้นไม้ที่น้อมโน้มโอนไป

ทางทิศปราจีน เมื่อรากขาดแล้ว จะพึงล้มไปทางไหน.

ม. ก็พึงล้มไปทางที่ต้นไม้น้อมโน้มโอนไป พระเจ้าข้า.

พ. ฉันใด อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้ ก็ย่อม

เป็นผู้น้อมโน้มโอนไปสู่นิพพาน ฉันนั้นเหมือนกันแล.

จบทุติยมหานามสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 329

ทุติยมหานามสูตรมีอรรถตื้นทั้งนั้น.

๓. โคธาสูตร

ปัญหาเกี่ยวกับการเป็นพระโสดาบัน

[๑๕๑๓] กบิลพัสดุ์นิทาน. ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช

เสด็จเข้าไปหาเจ้าศากยะพระนามว่าโคธา ครั้นแล้วได้ตรัสถามว่า

[๑๕๑๔] ดูก่อนโคธา พระองค์ย่อมทรงทราบบุคคลผู้ประกอบด้วย.

ธรรมกี่ประการ ว่าเป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่

จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า. เจ้าศากยะพระนามว่าโคธาตรัสตอบว่า ดูก่อนมหานาม

หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ว่าเป็นพระ-

โสดาบัน... ธรรม ๓ ประการเป็นไฉน. อริยสาวกในธรรนวินัยนี้ เป็นผู้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม...

ในพระสงฆ์... หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ประการนี้เเล

ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน

เบื้องหน้า.

[๑๕๑๕] ดูก่อนมหานาม ก็พระองค์เล่าย่อมทรงทราบบุคคลผู้

ประกอบด้วยธรรมกี่ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน.

ม. ดูก่อนโคธา หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน ... ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน. อริยสาวกใน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 330

พระธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า...

ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว

ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนโคธา หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ว่าเป็นพระโสดาบัน...

[๑๕๑๖] โค. จงรอก่อน มหานาม จงรอก่อน มหานาม พระผู้มี

พระภาคเจ้าเท่านั้นจะพึงทรงทราบเรื่องนี้ ว่าบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้

หรือมิใช่ที่เป็นพระโสดาบัน.

ม. ดูก่อนโคธา เรามาไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ากันเถิด แล้วจัก

กราบทูลเนื้อความนี้แก่พระองค์.

[๑๕๑๗] ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามและเจ้าศากยะ

พระนามว่าโคธา เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวาย

บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว

เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน

พระวโรกาส หม่อมฉันเข้าไปหาเจ้าศากยะพระนามว่าโคธา ได้กล่าวถามว่า

ดูก่อนโคธา พระองค์ย่อมทรงทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมกี่ประการว่าเป็น

พระโสดาบัน ...

[๑๕๑๘] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อหม่อมฉันกล่าวถามอย่างนี้แล้ว

เจ้าโคธาศากยะได้ตรัสตอบหม่อมฉันว่า ดูก่อนมหานาม หม่อมฉันย่อมทราบ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการว่าเป็นพระโสดาบัน... ธรรม ๓ ประการ

เป็นไฉน. อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์... หม่อมฉัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 331

ย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้แล ว่าเป็นพระโสดาบัน ...

ก็พระองค์เล่า ย่อมทรงทราบบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมกี่ประการ ว่าเป็น

พระโสดาบัน.

[๑๕๑๙] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อเจ้าโคธาศากยะตรัสถามอย่างนี้

แล้ว หม่อมฉันตอบว่า ดูก่อนโคธา หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๔ ประการ ว่าเป็นพระโสดาบัน ... ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ-

พุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ . . . ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า

ใคร่แล้ว ไม่ขาด ... เป็นไปเพื่อสมาธิ หม่อมฉันย่อมทราบบุคคลผู้ประกอบ

ด้วยธรรม ๔ ประการเหล่านี้แล ว่าเป็นพระโสดาบัน...

[๑๕๒๐] เมื่อหม่อมฉันกล่าวตอบอย่างนี้แล้ว เจ้าโคธาศากยะได้ตรัส

กะหม่อนฉันว่า จงรอก่อน มหานาม จงรอก่อน มหานาม พระผู้มีพระภาคเจ้า

เท่านั้นจะพึงทรงทราบเรื่องนี้ว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้หรือมิใช่

ที่เป็นพระโสดาบัน.

[๑๕๒๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบาง

ประการพึงบังเกิดขึ้นได้ในธรรมวินัยนี้ คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

(ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หม่อมฉันพึงเป็นฝ่ายนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำหม่อมฉันว่าเป็น

ผู้เลื่อมใสอย่างนี้.

[๑๕๒๒] ...ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า (ตรัส) และฝ่ายหนึ่ง

เป็นภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หม่อม

ฉันเป็นฝ่ายนั้น...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 332

[๑๕๒๓] ... ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า (ตรัส) และฝ่ายหนึ่ง

เป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ และอุบาสกทั้งหลาย (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัส หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น ...

[๑๕๒๔] ... ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า (ตรัส) และฝ่ายหนึ่ง

เป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกาทั้งหลาย (กล่าว)

ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น ...

[๑๕๒๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบาง

ประการ พึงบังเกิดขึ้นได้ในธรรมวินัยนี้ คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า

(ตรัส) และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกา

ทั้งหลาย โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส

หม่อมฉันพึงเป็นฝ่ายนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำหม่อมฉันว่าเป็น

ผู้เลื่อมใสอย่างนี้.

[๑๕๒๖] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ขอถวายพระพร มหาบพิตร

ผู้มีวาทะอย่างนี้ ย่อมตรัสอะไรกะพระเจ้ามหานามศากยราช เจ้าโคธาศากยะ

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันผู้มีวาทะอย่างนี้ มิได้พูดอะไร

กะพระเจ้ามหานามศากยราช นอกจากกัลยาณธรรม นอกจากกุศล.

จบโคธาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 333

อรรถกถาโคธาสูตร

พึงทราบอธิบายในโคธาสูตรที่ ๓.

เจ้าศากยะนั้น ตรัสคำนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น จะพึง

ทรงทราบเรื่องนี้ว่า บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรมเหล่านี้ หรือมิใช่

ด้วยประสงค์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเท่านั้น ทรงทราบความที่บุคคลประกอบ

ด้วยธรรม ๓ ประการ เป็นพระโสดาบัน หรือความที่บุคคลประกอบด้วยธรรม

๔ ประการ เป็นพระโสดาบัน. บทว่า ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบาง

ประการพึงบังเกิดขึ้น ความว่า พึงเกิดเหตุไรนั่นแหละ บทว่า ฝ่ายหนึ่ง

เป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ความว่า เมื่อเหตุใด

เกิดขึ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีลัทธิต่างจากภิกษุสงฆ์ ตรัสวาทะ

อย่างหนึ่ง แม้ฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ กล่าววาทะอย่างหนึ่ง ฝ่ายหนึ่ง. บทว่า

เตเนวาห ความว่า ท่านนั่นแหละให้วาทะใด ข้าพเจ้าจะพึงถือเอาวาทะ

นั้นนั่นแหละ. ก็ความแปรเป็นอย่างอื่นโดยความเลื่อมใสในพระรัตนตรัย ย่อม

ไม่มีแก่พระอริยสาวกมิใช่หรือ เพราะเหตุไร เจ้าศากยะนั้นจึงตรัสอย่างนี้.

เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเป็นพระสัพพัญญู. ก็เจ้าศากยะนั้น ย่อมมีความ

คิดอย่างนี้ว่า ภิกษุสงฆ์ แม้ไม่รู้พึงกล่าว เพราะตนมิใช่สัพพัญญู ส่วน

พระศาสดาขึ้นชื่อว่าไม่ทรงทราบไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงกล่าวไว้อย่างนี้แล.

บทว่า นอกจากกัลยาณธรรม นอกจากกุศล ความว่า เราย่อมกล่าว

กัลยาณธรรมและกุศลนั้นแล. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ พ้นแล้วจากกัลยาณ-

ธรรมและกุศลหามิได้ เพราะเหตุนั้น เจ้ามหานามจึงมีธรรมที่หาโทษมิได้.

จบอรรถกถาโคธาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 334

๔. ปฐมสรกานิสูตร

ผู้ถึงสรณคมน์ไม่ไปสู่วินิบาต

[๑๕๒๗] กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่าสรกานิ

สิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่านว่า เป็นพระโสดาบัน มี

ความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา

พวกเจ้าศากยะมากด้วยกันมาร่วมประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียน

บ่นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ

บัดนี้ ในที่นี้ ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้น

พระชนม์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่านว่าเป็นพระโสดาบัน...

เจ้าสรกานิศากยะถึงความเป็นผู้ทุรพลด้วยสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์.

[๑๕๒๘] ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มี

พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง ณ

ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ

ประทานพระวโรกาส เจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

พยากรณ์ท่านว่าเป็นพระโสดาบัน ... ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกัน

มาประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่าอัศจรรย์หนอ ท่าน

ผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ในที่นี้ ใครเล่าจักไม่เป็น

พระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพยากรณ์ท่านว่าเป็นพระโสดาบัน ... เจ้าสรกานิศากยะถึงความเป็นผู้

ทุรพลด้วยสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 335

[๑๕๒๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึง

พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน อย่างไรจะ

พึงไปสู่วินิบาต ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวอุบาสกนั้นว่า อุบาสกผู้

ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน บุคคล

เมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะเป็นอุบาสก

ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดกาลนาน อย่างไร

จะพึงไปสู่วินิบาต.

[๑๕๓๐] ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า...ในพระธรรม...ในพระสงฆ์...

มีปัญญา ร่าเริง เฉียบแหลม และประกอบด้วยวิมุตติ เขาย่อมกระทำให้แจ้ง

ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป

ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิด

สัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๑] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า...ในพระธรรม...ในพระสงฆ์...

มีปัญญา ร่าเริง เฉียบแหลม แต่ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์อัน

เป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป เขาเกิดเป็นอุปปาติกะ จักปรินิพพานในภพที่เกิด

นั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิด

สัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๒] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม...ในพระสงฆ์...

ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์

๓ สิ้นไป (และ) เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาได้เป็นพระ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 336

สกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้น จะกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคล

แม้นี้ก็พ้นจากนรก... อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๓] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์...

ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์

๓ สิ้นไป เขาได้เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง

ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๔] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ใน

พระสงฆ์. . . ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ

แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์

ปัญญินทรีย์ ธรรมทั้งหลายที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมทนซึ่งการเพ่งด้วย

ปัญญาของเขา (ยิ่ง) กว่าประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์

ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๕] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ใน

พระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญาร่าเริง ไม่เฉียบแหลม และไม่ประกอบด้วยวิมุตติ

แต่ว่าเขามีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธา

มีความรักในพระตถาคตพอประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก... อบาย

ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๓๖] ดูก่อนมหาบพิตร ถ้าแม้ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้พึงรู้ทั่วถึง

สุภาษิต ทุพภาษิตไซร้ อาตมภาพก็พึงพยากรณ์ต้นไม้ใหญ่เหล่านี้ว่า เป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 337

พระโสดาบัน ... จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า จะป่วยกล่าวไปไยถึงเจ้าสรกานิศากยะ

เจ้าสรกานิศากยะสมาทานสิกขาในเวลาสิ้นพระชนม์ ขอถวายพระพร.

จบปฐมสรการนิสูตร ๔

อรรถกถาปฐมสรกานิสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมสรกานิสูตรที่ ๔.

คำว่า อิธ มหานาม เอกจฺโจ ปุคฺคโล ความว่า พระผู้มี

พระภาคเจ้าทรงปรารภเพื่อจะทรงแสดงว่า เจ้าศากยะชื่อว่า สรกานิ

นั่นแหละ พ้นจากอบายอย่างเดียวหามิได้ แม้คนเหล่านี้ก็พ้นแล้ว.

บทว่า ย่อมทนซึ่งการเพ่งด้วยปัญญา (ยิ่ง) กว่าประมาณ

ความว่า ย่อมทนซึ่งการตรวจดูโดยประมาณ. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

บุคคลผู้ดำรงอยู่ในมรรค ชื่อว่า ธัมมานุสารี ด้วยบทนี้. บทว่า ไม่ไปสู่นรก

ความว่า ก็การกล่าวว่า บุคคลผู้ดำรงอยู่ในมรรคเป็นผู้พ้นแล้ว หรือว่าจัก

พ้นจากอบาย ดังนี้ ก็ควร. ก็บุคคลย่อมพ้นโดยรอบ เพราะเหตุใด เพราะ

เหตุนั้น ขึ้นชื่อว่าบุคคลไปแล้ว ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ไม่ไปแล้ว อธิบาย ย่อมไม่ไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงบุคคลผู้ดำรง

อยู่ในมรรค ชื่อว่า สัทธานุสารี ผู้มีศรัทธาพอประมาณ มีความรักพอประมาณ

ด้วยบทนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงต้นไม้มีแก่นใหญ่ ๔ ต้น ซึ่งตั้ง

อยู่ใกล้กัน จึงตรัสในบทว่า มหาสาลา ดังนี้. ในคำว่า เจ้าสรกานิ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 338

ศากยะสมาทานสิกขาในเวลาจะสินพระชนม์ นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงว่า ได้เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสิกขาสามในเวลาจะสิ้นพระชนม์.

จบอรรถกถาปฐมสรกานิสูตรที่ ๔

๕. ทุติยสรกานิสูตร

ผู้ถึงสรณคมน์ไม่ไปสู่วินิบาต

[๑๕๓๗] กบิลพัสดุ์นิทาน. ก็สมัยนั้น เจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ

เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะ

มากด้วยกัน มาร่วมประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า น่า-

อัศจรรย์หนอ ท่านผู้เจริญ ไม่เคยมีมาแล้วหนอ ท่านผู้เจริญ บัดนี้ ในที่นี้

ใครเล่าจักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์แล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ท่าน ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ

เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า เจ้าสรกานิศากยะมิได้กระทำ

ให้บริบูรณ์ในสิกขา.

[๑๕๓๘] ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วประทับนั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอประทานพระวโรกาส เจ้าสรกานิศากยะสิ้นพระชนม์ พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงพยากรณ์ว่าเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง

ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ดังได้ยินมา พวกเจ้าศากยะมากด้วยกัน มาร่วม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 339

ประชุมพร้อมกันแล้ว ย่อมยกโทษติเตียนบ่นว่า... เจ้าสรกานิศากยะมิได้

กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขา.

[๑๕๓๙] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้ถึง

พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน จะพึงไปสู่

วินิบาตอย่างไรเล่า ก็บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูก พึงกล่าวอุบาสกนั้นว่า อุบาสก

ผู้ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน เมื่อจะ

กล่าวให้ถูก พึงกล่าวเจ้าสรกานิศากยะว่า เจ้าสรกานิศากยะเป็นอุบาสกผู้ถึง

พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะตลอดกาลนาน เจ้าสรกานิ

ศากยะนั้นจะพึงไป สู่วินิบาตอย่างไร.

[๑๕๔๐] ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่ง

แน่วแน่ในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม... ในพระสงฆ์ ... มีปัญญาร่าเริง

เฉียบแหลม และประกอบด้วยวิมุตติ เขาย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ

ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอัน

ยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน

ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๔๑] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่ง

แน่วแน่ ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีปัญญาร่าเริง

เฉียบแหลม แต่ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕

สิ้นไป เขาเป็นพระอนาคามี ผู้อันตราปรินิพพายี อุปหัจจปรินิพพายี อสังขาร

ปรินิพพายี สสังขารปรินิพพายี อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี บุคคลแม้นี้ก็พ้น

จากนรก... อบาย ทุคติ วินิบาต.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 340

[๑๕๔๒] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่ง

แน่วแน่ ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญา

ร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป

เพราะราคะ โทสะ และโมหะเบาบาง เขาได้เป็นพระสกทาคามี จักมาสู่โลก

นี้อีกคราวเดียวเท่านั้น แล้วกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลแม้นี้ก็พ้นจาก

นรก ... อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๔๓] ดูก่อนมหาบพิต ร บุคคลบางคนในโลกนี้ เลื่อมใสยิ่ง

แน่วแน่ ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญา

ร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบด้วยวิมุตติ เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป

เขาได้เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้

ในเบื้องหน้า บุคคลแม้นี้ก็พ้นจากนรก .... อบาย ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๔๔] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เลื่อมใส

ยิ่งแน่วแน่ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญา

ร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ

สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ ธรรมทั้งหลาย

ที่พระตถาคตประกาศแล้ว ย่อมทนซึ่งการเพ่งด้วยปัญญาของเขา (ยิ่ง) กว่า

ประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย

ทุคติ วินิบาต.

[๑๕๔๕] ดูก่อนมหาบพิตร ก็บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่เลื่อมใสยิ่ง

แน่วแน่ ในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ไม่มีปัญญา

ร่าเริง ไม่เฉียบแหลม ทั้งไม่ประกอบด้วยวิมุตติ แต่เขามีธรรมเหล่านี้ คือ

สตินทรีย์... ปัญญินทรีย์ และเขามีศรัทธา มีความรักในพระตถาคตพอ

ประมาณ บุคคลแม้นี้ก็ไม่ไปสู่นรก.. อบาย ทุคติ วินิบาต.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 341

[๑๕๔๖] ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนนาที่ไม่ราบเรียบ มีพื้น

ไม่ดี ยังมิได้ก่นหลักตอออก และพืชเล่าก็แตกร้าว เสีย ถูกลมและแดดกระทบ

แล้วไม่แข็ง (ลีบ) เก็บไว้ไม่ดี ถึงฝนจะหลั่งสายน้ำลงมาเป็นอย่างดี พืชเหล่า

นั้นจะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์บ้างไหม พระเจ้ามหานามศากยราชกราบ

ทูลว่าหามิได้พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนี้ฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร ในข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ธรรม

ที่กล่าวไม่ดี ประกาศไม่ดี ไม่เป็นนิยยานิกธรรม ไม่เป็นไปเพื่อความสงบ

มิใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศ อาตมภาพกล่าวเรื่องนี้ในเพราะนาที่ไม่ราบ

เรียบและสาวกเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตาม

ธรรมในธรรมนั้น อาตมภาพกล่าวเรื่องนี้ในเพราะพืชที่ไม่ดี.

[๑๕๔๗] ดูก่อนมหาบพิตร เปรียบเหมือนนาที่ราบเรียบ มีพื้นดี

ก่นหลักตอออกหมดแล้ว และพืชเล่าก็ไม่แตกร้าว ไม่เสีย ลมและแดดมิได้

กระทบ แข็งแกร่ง เก็บไว้ดีแล้ว ฝนพึงหลั่งสายน้ำลงมาเป็นอย่างดี พืชเหล่า

นั้นจะพึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์บ้างไหม.

ม. ได้ พระเจ้าข้า.

พ. ข้อนั้นฉันใด ดูก่อนมหาบพิตร ในข้อนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน

ธรรมที่กล่าวดีแล้ว ประกาศดีแล้ว เป็นนิยยานิกธรรม เป็นไปเพื่อความสงบ

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประกาศไว้ อาตมภาพกล่าวเรื่องนี้ในเพราะนาที่ราบเรียบ

และสาวกเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม

ในธรรมนั้น อาตมาภาพกล่าวเรื่องนี้ในเพราะพืชที่ไม่ดี จะป่วยกล่าวไปไยถึง

เจ้าสรกานิศากยะ เจ้าสรกานิศากยะได้กระทำให้บริบูรณ์ในสิกขาในเวลาจะสิ้น

พระชนม์.

จบทุติยสรกานิสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 342

อรรถกถาทุติยสรกานิสูตร

พึงทราบอธิบายในทุติยสรกานิสูตรที่ ๕.

บทว่า นาที่ไม่ราบเรียบ ได้แก่นาที่ไม่เสมอกัน. บทว่า มีพื้นไม่ดี

ได้แก่ มีพื้นกระด้าง ประกอบด้วยความเค็ม. บทว่า แตกร้าว ได้แก่ แตก

ทั่วไป. บทว่า เสีย ได้แก่ ชุ่มน้ำแล้วก็เปื่อยเน่า. บทว่า ถูกลมและแดด

กระทบแล้ว ความว่า ถึงความไม่มีรส เพราะลมและแดดกระทบแล้ว บทว่า

ไม่แข็ง ได้แก่ ไม่ถือเอาแก่น คือยังไม่เกิดแก่น. บทว่า เก็บไว้ไม่ดี

ความว่า ใส่ไว้ในฉางเป็นต้นเก็บไว้ดีหามิได้. บทว่า เก็บไว้ดีแล้ว

ความว่า ไม่งอกตลอด ๔ เดือนจากที่ ที่เก็บไว้.

จบอรรถกถาทุติยสรกานิสูตรที่ ๕

๒. ปฐมทุสีลยสูตร

จำแนกโสดาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐

[๑๕๔๘] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี

ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้นท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคน

หนึ่งมาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร

ครั้นแล้วจงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก เขา

ขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่าง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 343

นี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความ

อนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำ

ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ อภิวาท

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ท่าน

อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้าทั้งสอง

ของท่านพระสารีบุตรด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ได้โปรดเถิด ขอท่านพระสารีบุตรจงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์

ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระสารีบุตรรับนิมนต์ด้วยดุษณีภาพ.

[๑๕๔๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตรและ

จีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิก-

คฤหบดีแล้วนั่งบนอาสนะที่เขาปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ถามท่านอนาถบิณฑิก

คฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้เป็นไปได้

หรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อมปรากฎ ความ

กำเริบไม่ปรากฏแลหรือ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

กระผมอดทนไม่ได้ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนาของกระผมกำเริบ

หนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลาไม่ปรากฎ.

[๑๕๕๐] สา. ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วย

ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึง

อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น

ย่อมไม่มีแก่ท่านส่วนท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้

เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็

เมื่อท่านเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน เวทนา

จะพึงสงบระงับโดยพลัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 344

[๑๕๕๑] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่

เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระธรรมเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน

ส่วนท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า ธรรมอันพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อท่านเห็นความเลื่อม

ใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๒] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่

เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ

วินิบาต นรก ความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์เห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน

ส่วนท่านมีความเลื่อมใสในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า

เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อท่าน

เห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบ

ระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๓] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็น

ผู้ทุศีลเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

ความเป็นผู้ทุศีลเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีศีลที่พระอริยเจ้า

ใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อท่านเห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่

แล้วอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๔] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจ-

ฉาทิฏฐิเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก มิจฉาทิฏฐิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาทิฏฐิ ก็เมื่อ

ท่านเห็นสัมมาทิฏฐินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 345

[๑๕๕๕] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา.

สังกัปปะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก มิจฉาสังกัปปะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสังกัปปะ

ก็เมื่อท่านเห็นสัมมาสังกัปปะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๖] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาวาจา

เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

มิจฉาวาจาเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวาจา ก็เมื่อท่าน

เห็นสัมมาวาจานั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๗] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา.

กัมมันตะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก มิจฉากัมมันตะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมากัมมันตะ

ก็เมื่อท่านเห็นสัมมากัมมันตะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๘] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา-

อาชีวะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

มิจฉาอาชีวะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาอาชีวะ ก็เมื่อ

ท่านเห็นสัมมาอาชีวะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๕๙] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา-

วายามะเห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

มิจฉาวายามะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวายามะ ก็เมื่อ

ท่านเห็นสัมมาวายามะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงระงับโดยพลัน.

[๑๕๖๐] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉาสติ

เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 346

มิจฉาสติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสันมาสติ ก็เมื่อท่านเห็น

สัมมาสตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๖๑] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา

สมาธิ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก มิจฉาสมาธิเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาสมาธิ ก็

เมื่อท่านเห็นสัมมาสมาธินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๖๒] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา.

ญาณะ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก มิจฉาญาณะเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาญาณะ ก็

เมื่อท่านเห็นสัมมาญาณะนั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๖๓] ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยมิจฉา

วิมุตติ เห็นปานใด เมื่อแตกกายตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต

นรก มิจฉาวิมุตติเห็นปานนั้น ย่อมไม่มีแก่ท่าน ส่วนท่านมีสัมมาวิมุตติ ก็

เมื่อท่านเห็นสัมมาวิมุตตินั้นอยู่ในตน เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน.

[๑๕๖๔] ครั้งนั้น เวทนาของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีสงบระงับ

แล้วโดยพลัน ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีอังคาสท่านพระสารีบุตรและท่านพระ-

อานนท์ด้วยอาหารที่เขาจัดมาเฉพาะตน ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี

เมื่อท่านพระสารีบุตรฉันเสร็จนำมือออกจากบาตรแล้ว จึงถือเอาอาสนะต่ำอัน

หนึ่ง นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ท่านพระสารีบุตรอนุโมทนาด้วยคาถา

เหล่านี้

[๑๕๖๕] ผู้ใดมีศรัทธา ตั้งมั่นไม่หวั่นไหว

ในพระตถาคต มีศีลอันงามที่พระอริยเจ้า

ใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อมใส

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 347

ในพระสงฆ์ และมีความเห็นอันตรง บัณ-

ฑิตทั้งทลายเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน

ชีวิตของผู้นั้น ไม่เปล่าประโยชน์.

เพราะฉะนั้น บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อ

ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย

พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา ศีล ความ

เลื่อมใสและความเห็นธรรม.

[๑๕๖๖] ครั้งนั้น ท่านพระสารีบุตรครั้นอนุโมทนาด้วยคาถาเหล่านี้

แล้วจึงลุกจากอาสนะหลีกไป.

[๑๕๖๗] ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน

ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อน

อานนท์ เธอมาจากไหนแต่ยังวัน ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ ท่านพระสารีบุตรกล่าวสอนอนาถบิณฑิกคฤหบดีด้วยโอวาทข้อนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ สารีบุตรเป็นบัณฑิต สารีบุตรมี

ปัญญามาก ได้จำแนกโสดาปัตติยังคะ ๔ ด้วยอาการ ๑๐ อย่าง.

จบปฐมทุสีลยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 348

อรรถกถาปฐมสีลยสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมทุสีลยสูตรที่ ๖.

คำว่า เวทนาจะพึงสงบระงับโดยพลัน ได้แก่ เวทนาพึงระงับ

ในขณะ. คำว่า ด้วยมิจฉาญาณะ ได้แก่ ด้วยการพิจารณาที่ผิด. คำว่า

ด้วยมิจฉาวิมุตติ ได้แก่ ด้วยการหลุดพ้นที่ไม่นำออกจากทุกข์. คำว่า

ตสฺมา สทฺธญฺจ สีลญฺจ ท่านได้กล่าวไว้ในคาถาแล้วทีเดียว. คำว่า

ยตฺร หิ นาม เท่ากับ โย นาม.

จบอรรถกถาปฐมสีลยสูตรที่ ๖

๗. ทุติยทุสีลยสูตร

กลัวความตายเพราะไม่มีธรรม ๔ ประการ

[๑๕๖๘] สาวัตถีนิทาน. ก็สมัยนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย

ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเรียกบุรุษคนหนึ่ง

มาสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านจงไปเถิด จงเข้าไปหาท่านพระอานนท์

ครั้นแล้วจงไหว้เท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้าตามคำของเราว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก

ขอกราบเท้าทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านจงเรียนอย่าง-

นี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุ-

เคราะห์เข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด บุรุษนั้นรับคำของ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 349

ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ อภิวาท

แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้เรียนว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ

ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ท่านขอกราบเท้า

ทั้งสองของท่านพระอานนท์ด้วยเศียรเกล้า และท่านสั่งมาอย่างนี้ว่า ข้าแต่

ท่านผู้เจริญ ได้โปรดเถิด ขอท่านพระอานนท์จงอาศัยความอนุเคราะห์เข้าไปยัง

นิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีเถิด ท่านพระอานนท์รับนิมนต์ด้วย

ดุษณีภาพ.

[๑๕๖๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตรเเละ

จีวรเข้าไปยังนิเวศน์ของท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี แล้วนั่งบนอาสนะที่เขา

ปูลาดไว้ ครั้นแล้วได้ถามท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีว่า

[๑๕๗๐] ดูก่อนคฤหบดี ท่านพออดทนได้หรือ พอยังอัตภาพให้

เป็นไปได้แลหรือ ทุกขเวทนาคลายลง ไม่กำเริบขึ้นแลหรือ ความทุเลาย่อม

ปรากฏ ความกำเริบไม่ปรากฏแลหรือ ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดีตอบว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมอดทนไม่ได้ ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ทุกขเวทนา

ของกระผมกำเริบหนัก ไม่ทุเลาลงเลย ความกำเริบย่อมปรากฏ ความทุเลา

ไม่ปรากฏ.

[๑๕๗๑] อ. ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วย

ธรรม ๔ ประการ ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงใน

ภายหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับในโลกนี้ ประกอบ

ด้วยความไม่เลื่อมใสในพระพุทธเจ้า ก็เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระ-

พุทธเจ้านั้น อยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงใน

ภายหน้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 350

อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส

ในพระธรรม ก็เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อม

มีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.

อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความไม่เลื่อมใส

ในพระสงฆ์ ก็เมื่อเขาเห็นความไม่เลื่อมใสในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมมี

ความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.

อีกประการหนึ่ง ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยความเป็นผู้ทุศีล

ก็เมื่อเขาเห็นความเป็นผู้ทุศีลนั้นอยู่ในตน ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียวกลัว

ความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.

ดูก่อนคฤหบดี ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

นี้แล ย่อมมีความสะดุ้งหวาดเสียว กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า

[๑๕๗๒] ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม

๔ ประการ ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงใน

ภายหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกผู้ได้สดับในธรรมวินัยนี้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ก็เมื่อเขาเห็นความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้ง

หวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่าพระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ

อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ก็เมื่อเขาเห็นความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ใน

พระธรรมนั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะ

มาถึงในภายหน้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 351

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้

ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ก็เมื่อเขาเห็นความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์นั้นอยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว

ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้า

ใคร่แล้ว ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ก็เมื่อเขาเห็นศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วนั้น

อยู่ในตน ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกผู้ได้สดับ ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

นี้แล ย่อมไม่มีความสะดุ้งหวาดเสียว ไม่กลัวความตายที่จะมาถึงในภายหน้า.

[๑๕๗๓] ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี กล่าวว่า ข้าแต่ท่านอานนท์ผู้-

เจริญ กระผมไม่กลัว กระผมจักพูดแก่ท่านได้ ด้วยว่ากระผมประกอบด้วย

ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม... ในพระ-

สงฆ์ ... อนึ่ง สิกขาบทเหล่าใดซึ่งสมควรแก่คฤหัสถ์ อันพระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงแสดงแล้ว กระผมยังไม่แลเห็นความขาดอะไร ๆของสิกขาบทเหล่านั้น

ในตนเลย.

อ. ดูก่อนคฤหบดี เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดาปัตติผล

ท่านพยากรณ์แล้ว.

จบทุติยทุสีลยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 352

อรรถกถาทุติยทุสีลยสูตร

พึงทราบอธิบายใน ทุติยทุสีลยสูตรที่ ๗

บทว่า สมฺปรายิก มรณภย ได้แก่ ไม่กลัวความตายที่จะมาถึง

ในภายหน้าเป็นเหตุ. บทว่า สมควรแก่คฤหัสถ์ ได้แก่ เหมาะแก่คฤหัสถ์

คำที่เหลือในที่ทั้งปวง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

จบทุติยทุสีลยสูตรที่ ๗

จบสรกานิวรรควรรณนาที่ ๓

๘. ปฐมเวรภยสูตร

ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ

[๑๕๗๔] สาวัตถีนิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านอนาถ-

บิณฑิกคฤหบดี ผู้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนคฤหบดี ภัยเวร

๕ ประการของอริยสาวกสงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสดาปัตติ-

ยังคะ ๔ ประการ และญายธรรมอันประเสริฐ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว

แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเอง

ได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต

สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ

ตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 353

[๑๕๗๕] ภัยเวร ๕ ประการอันสงบระงับไปเป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดี

บุคคลผู้มีปกติฆ่าสัตว์ ย่อมประสบภัยเวรอันใด ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็น

ไปในสัมปรายภพก็มี ได้เสวยทุกขโทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี ก็เพราะการฆ่าสัตว์

เป็นปัจจัย เมื่ออริยสาวกเว้นจากการฆ่าสัตว์แล้ว ภัยเวรอันนั้นเป็นอันสงบ

ระงับ ไปด้วยประการฉะนี้บุคคลผู้ลักทรัพย์... บุคคลผู้ประพฤติผิดในกาม ...

บุคคลผู้พูดเท็จ บุคคลผู้ดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความ

ประมาท ย่อมประสบภัยเวรอันใด ที่เป็นไปในปัจจุบันก็มี ที่เป็นไปใน

สัมปรายภพก็มี ได้เสวยทุกข์โทมนัสที่เป็นไปทางใจก็มี ก็เพราะดื่มน้ำเมาคือ

สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาทเป็นปัจจัย เมื่ออริยสาวกงดเว้น

จากการดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ภัยเวรอันนั้น

เป็นอันสงบระงับไปด้วยประการฉะนี้ ภัยเวร ๕ ประการเหล่านี้ สงบระงับแล้ว.

[๑๕๗๖] อริยสาวกประกอบด้วยโสดาปัตติยังคะ ๔ ประการเป็นไฉน

ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์... ประกอบ

ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวก

ประกอบด้วยโสดาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้.

[๑๕๗๗] ก็ญายธรรมอันประเสริฐ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว

แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เป็นไฉน ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ย่อมกระทำไว้ในใจซึ่งปฏิจจสมุปบาทอย่างเดียว โดยอุบายอันแยบคายเป็น

อย่างดีว่า เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้ย่อมมี เพราะสิ่งนี้เกิด สิ่งนี้ย่อมเกิด ด้วยประการ

ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ย่อมไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ย่อมดับ ด้วยประการ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 354

ดังนี้ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัยจึงมี

วิญญาณ ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วยประการฉะนี้

ก็เพราะอวิชชาดับ ด้วยการสำรอกโดยหาส่วนเหลือมิได้ สังขารจึงดับ เพราะ

สังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมี ด้วย

ประการฉะนี้ ญายธรรมอันประเสริฐนี้ อริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอด

ดีแล้วด้วยปัญญา.

[๑๕๗๘] ดูก่อนคฤหบดี เมื่อใด ภัยเวร ๕ ประการนี้ของอริยสาวก

สงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสดาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้

และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้นเห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้ว

ด้วยปัญญา เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า

เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว

เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ใน

เบื้องหน้า.

จบปฐมเวรภยสูตรที่ ๘

๙. ทุติยเวรภยสูตร

ระงับภัยเวร ๕ พยากรณ์ตนเองได้

[๑๕๗๙] สาวัตถีนิทาน ฯลฯ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภัยเวร

๕ ประการนี้ของอริยสาวกสงบระงับแล้ว อริยสาวกประกอบแล้วด้วยโสดา-

ปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่านี้ และญายธรรมอันประเสริฐนี้ อันอริยสาวกนั้น

เห็นดีแล้ว แทงตลอดดีแล้วด้วยปัญญา เมื่อนั้น อริยสาวกนั้นหวังอยู่ พึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 355

พยากรณ์ตนด้วยตนเองได้ว่า เรามีนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ปิตติวิสัย

อบาย ทุคติ วินิบาต สิ้นแล้ว เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น

ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบทุติยเวรภยสูตรที่ ๙

๑๐. ลิจฉวีสูตร

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน

[๑๕๘๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลา

ในป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้น มหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวี ชื่อ นันทกะเข้าไป

เฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง

ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะมหาอำมาตย์

ของเจ้าลิจฉวีชื่อ นันทกะ ว่า

[๑๕๘๑] ดูก่อนนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่ตรัสรู้ใน

เบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบ

ด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ใน

พระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด... เป็นไปเพื่อ

สมาธิ ดูก่อนนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็น

พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๘๒]ดูก่อนนันทกะ อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการนี้ เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยอายุทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นมนุษย์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 356

เป็นผู้ประกอบด้วยวรรณะทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบ

ด้วยสุขทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยยศทั้งที่เป็นทิพย์

ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เป็นผู้ประกอบด้วยความเป็นใหญ่ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่

เป็นของมนุษย์ ดูก่อนนันทกะ ก็เราได้ฟังแต่สมณะหรือพราหมณ์อื่น จึงกล่าว

เรื่องนั้น หามิได้ ความจริง เรารู้เอง เห็นเอง ทราบเอง จึงกล่าวเรื่องนั้น.

[๑๕๘๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว บุรุษคนหนึ่งได้

กล่าวกะมหาอำมาตย์ของเจ้าลิจฉวีชื่อนันทกะว่า ถึงเวลาอาบน้ำแล้ว ท่าน

ผู้เจริญ นันทกะมหาอำมาตย์กล่าวว่า ดูก่อนพนาย บัดนี้ยังไม่ต้องการอาบน้ำ

ภายนอก ต้องการจักอาบน้ำภายใน คือ ความเลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า.

จบลิจฉวีสูตรที่ ๑๐

จบสรกานิวรรคที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมมหานามสูตร ๒. ทุติยมหานามสูตร ๓. โคธาสูตร ๔. ปฐม

สรกานิสูตร ๕. ทุติยสรกานิสูตร ๖. ปฐมทุสีลยสูตร ๗. ทุติยทุสีลยสูตร

๘. ปฐมเวรภยสูตร ๙. ทุติยเวรภยสูตร ๑๐. ลิจฉวีสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 357

ปุญญาภิสันทวรรคที่ ๔

๑. ปฐมอภิสันทสูตร

ว่าด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการ

[๑๕๘๔] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล

อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวก

ในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า

แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม

นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑ อีก

ประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า

พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒ อีก

ประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญ

ของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมา

ซึ่งความสุขประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระ-

อริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล

อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ

ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล.

จบปฐมอภิสันทสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 358

อรรถกถาปฐมอภิสันทสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมอภิสันทสูตรที่ ๑

บทว่า ห้วงบุญ ห้วงกุศล ได้เเก่ แม่น้ำคือบุญ แม่น้ำคือกุศล.

บทว่า นำมาซึ่งความสุข ได้แก่ เป็นปัจจัยแห่งความสุข.

จบอรรถกถาปฐมอภิสันทสูตรที่ ๑

๒. ทุติยอภิสันทสูตร*

ว่าด้วยห้วงบุญกุศล ๔ ประการ

[๑๕๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัย

นำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรม

วินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะ

เหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็น

ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑ อีกประการหนึ่ง

อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรม

อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน นี้เป็น

ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง

อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์

สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มี

* สูตรที่ ๒-๓ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 359

นาบุญอื่นยิ่งกว่า นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข

ประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกมีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็น

มลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ

ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อัน

เป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วง

กุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล.

จบทุติยอภิสันทสูตรที่ ๒

๓. ตติยอภิสันทสูตร

ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ

[๑๕๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัย

นำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรม

วินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้

เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม

นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑ อีก

ประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม

ว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะ

ตน นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกปรกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ฯลฯ

เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า นี้เป็นห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 360

ปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกมีปัญญา คือ

ประกอบด้วยปัญญาอันเป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิด เละความดับ เป็น

อริยะ เป็นไปเพื่อความชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็น

ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ห้วงบุญ ห้วงกุศล อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล

จบตติยอภิสันทสูตรที่ ๓

๔. ปฐมเทวปทสูตร

ว่าด้วยเทวบท ๔ ประการ

[๑๕๘๗] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวบท ( ข้อปฏิบัติ

ของเทวดา) ของพวกเทพ ๔ ประการนี้ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย

ผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว เทวบท

๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส

อันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม เป็นเทวบทของพวกเทพ เพื่อความ

บริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลาย

ผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว ประการที่ ๑ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม... นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ... ประการ

ที่ ๒ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระสงฆ์... นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ... ประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง

อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 361

สมาธิ นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่

บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ผ่องแผ้วประการที่ ๔

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวบทของพวกเทพ ๔ ประการนี้แล เพื่อความบริสุทธิ์

ของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่

ผ่องแผ้ว.

จบปฐมเทวปทสูตรที่ ๔

อรรถกถาปฐมเทวปทสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมเทวปทสูตรที่ ๔.

คำว่า ข้อปฏิบัติของเทวดา ได้แก่ ข้อปฏิบัติที่ทำโดยเคารพด้วย

ความรู้ของเทวดาทั้งหลาย คือด้วยญาณของเทพ. คำว่า เพื่อความบริสุทธิ์

คือ เพื่อความหมดจด. คำว่า เพื่อความผ่องแผ้ว คือเพื่อประโยชน์แก่ความ

ผ่องใส คือ เพื่อประโยชน์โชติช่วง. บุคคลผู้ดำรงอยู่ในผล แม้ทั้ง ๔ ชื่อว่า

เทพ เพราะอรรถว่า หมดจด ในสูตรนี้.

จบอรรถกถาปฐมเทวปทสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 362

๕. ทุติยเทวปทสูตร*

ว่าด้วยเทวบท ๔ ประการ

[๑๕๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวบทของพวกเทพ ๔ ประการนี้

เพื่อความบริสุทธิ์ ของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์

ทั้งหลายผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว เทวบท ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัย

นี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุ

นี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้น

ย่อมรำพึงในใจว่า อะไรหนอเป็นเทวบทของพวกเทพ อริยสาวกนั้นย่อมรู้ชัด

อย่างนี้ว่า เราได้ฟังในบัดนี้แล้วว่า เทวดาทั้งหลายมีความไม่เบียดเบียนเป็น

อย่างยิ่ง อนึ่ง เรามิได้เบียดเบียนใคร ๆ ซึ่งเป็นผู้สะดุ้งหรือมั่นคง เราประกอบ

ด้วยธรรมคือเทวบทอยู่เป็นแน่ นี้เป็นเทวบทของเทพ เพื่อความบริสุทธิ์ของ

สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ผ่อง

แผ้วประการที่ ๑ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระธรรม ... นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ... ประการที่ ๒ อีก

ประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์

นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ... ประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง อริยสาวก

ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วไม่ขาด... เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวก

นั้นย่อมรำพึงในใจว่า อะไรหนอเป็นเทวบทของพวกเทพ อริยสาวกนั้นย่อม

รู้ชัดอย่างนี้ว่า เราได้ฟังในบัดนี้แลว่า เทวดาทั้งหลายมีความไม่เบียดเบียน

เป็นอย่างยิ่ง อนึ่ง เรามิได้เบียดเบียนใคร ๆ ซึ่งเป็นผู้สะดุ้งหรือมั่นคง เรา

* สูตรที่ ๕-๗ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 363

ประกอบด้วยธรรมคือเทวบทอยู่เป็นแน่ นี้เป็นเทวบทของพวกเทพ... ประ

การที่ ๔ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวบทของพวกเทพ ๔ ประการนี้แล เพื่อ

ความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่บริสุทธิ์ เพื่อความผ่องแผ้วของสัตว์ทั้ง

หลายผู้ยังไม่ผ่องแผ้ว.

จบทุติยเทวปทสูตรที่ ๕

๖. สภาคตสูตร

เทวดาสรรเสริญผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

[๑๕๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายปลื้มใจไปสู่ที่ประชุม

แล้ว กล่าวถึงบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ธรรม ๔ ประการเป็น

ไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็น

ผู้จำแนกธรรม เทวดาเหล่าใดประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระพุทธเจ้า จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว ไปบังเกิดในภพนั้นเทวดาเหล่านั้น ย่อมมี

ความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระ

พุทธเจ้าเห็นปานใด จุติจากอัตภาพนั้นแล้ว มาบังเกิดในที่นี้ แม้อริยสาวกผู้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าเห็นปานนั้น ก็ย่อม

เกิดในสำนักพวกเทวดาดังจะร้องเชิญว่า มาเถิด ดังนี้ อีกประการหนึ่ง อริย-

สาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... ในพระสงฆ์...

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 364

เป็นไปเพื่อสมาธิ เทวดาเหล่าใดประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว จุติ

จากอัตภาพนั้น แล้ว ไปบังเกิดในภพนั้น เทวดาเหล่านั้นย่อมมีความคิดอย่างนี้

ว่า พวกเราประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้วเห็นปานใด จุติจากอัตภาพ

นั้นแล้ว มาบังเกิดในที่นี้ แม้อริยสาวกผู้ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่

แล้ว เห็นปานนั้น ก็ย่อมเกิดในสำนักพวกเทวดาดังจะร้องเชิญว่า มาเถิด ดัง

นี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลายปลื้มใจไปสู่ที่ประชุมแล้ว กล่าวถึงผู้

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล.

จบสภาคสูตรที่ ๖

๗. มหานามสูตร

ว่าด้วยสมบัติของอุบาสก

[๑๕๙๐] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม

ใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าอุบาสก พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า

ดูก่อนมหาบพิตร บุคคลผู้ถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ

ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล บุคคลจึงจะชื่อว่า เป็นอุบาสก

[๑๕๙๑] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสก

จึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 365

พ. ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกเป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาต เป็นผู้งด

เว้น จากอทินนาทาน เป็นผู้งดเว้น จากกาเมสุมิจฉาจาร เป็นผู้งดเว้นจากมุสา

วาท เป็นผู้งดเว้น จากสุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสก

จึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล.

[๑๕๙๒] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสก

จึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา คือ

เชื่อพระปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคตว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล อุบาสกจึงจะ

ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศรัทธา.

[๑๕๙๓] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสก

จึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากความ

ตระหนี่ อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการ

สละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนก อยู่ครอบครองเรือน ด้วยเหตุเพียง

เท่านี้ อุบาสกจึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะ.

[๑๕๙๔] ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ด้วยเหตุเพียงเท่าไร อุบาสก

จึงจะชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.

พ. ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปัญญา คือ

ประกอบด้วยปัญญาเป็นเหตุให้ถึง (เห็น) ความเกิดความดับ เป็นอริยะ

เป็นไปเพื่อชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ ด้วยเหตุเพียงเท่านี้แล

อุบาสก จึงชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา.

จบมหานามสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 366

๘. วัสสสูตร

ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ

[๑๕๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเมื่อฝนเม็ดใหญ่ตกลง

บนภูเขา น้ำนั้นไหลไปตามที่ลุ่ม ย่อมยังซอกเขา ลำธาร ลำห้วย ให้เต็ม

ซอกเขา ลำธาร ลำห้วย เต็มแล้ว ย่อมยังหนองให้เต็ม หนองเต็มแล้ว ย่อม

ยังบึงให้เต็มแล บึงเต็มแล้วย่อมยังแม่น้ำน้อยให้เต็ม แม่น้ำน้อยเต็มแล้ว ย่อม

ยังแม่น้ำใหญ่ให้เต็ม แม่น้ำใหญ่เต็มแล้ว ย่อมยังมหาสมุทรสาครให้เต็ม ฉัน

ใด ความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ในพระธรรม ในพระสงฆ์

อันใด และศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว เหล่าใด ของอริยสาวก ธรรมเหล่านี้

เมื่อไหลไปถึงฝั่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบวัสสสูตรที่ ๘

อรรถกถาวัสสสูตร

พึงทราบอธิบายในวัสสสูตรที่ ๘.

คำว่า ถึงฝั่ง คือ นิพพาน ท่านเรียกว่า ฝั่ง อธิบายว่าถึงฝั่งนั้น

ก็ในคำว่า เป็นไปเพื่อความสิ้นอาสวะ ท่านทำเทศนาไว้อย่างนี้ว่า ถึงพระ

นิพพานก่อนแล้ว เป็นไปในภายหลังหามิได้ เมื่อจะไปก็เป็นไปพร้อมกัน.

จบอรรถกถาวัสสสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 367

๙. กาฬิโคธาสูตร

องค์คุณของพระโสดาบัน

[๑๕๙๖] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโคราราม

กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้นแล เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรเสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของ

เจ้าสากิยานีนามว่า กาฬิโคธา ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาปูถวายพระนางกาฬิ-

โคธาสากิยานีเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า

ได้ตรัสกะพระนางกาฬิโคธาสากิยานีว่า

[๑๕๙๗] ดูก่อนพระนางโคธา อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง

ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวิกาในธรรมวินัยนี้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ...

ในพระสงฆ์ ... มีใจปราศจากความตระหนี่อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด

มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ ยินดีในการจำแนกทาน

อยู่ครอบครองเรือน ดูก่อนพระนางโคธา อริยสาวิกาผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง

ที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

[๑๕๙๘] พระนางกาฬิโคธา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่พระองค์ทรงแสดงไว้ ธรรมเหล่านั้น

* สูตรที่ ๙ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 368

มีอยู่ในหม่อมฉัน และหม่อมฉันก็เห็นชัดในธรรมเหล่านั้น เพราะว่าหม่อมฉัน

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ...

ในพระสงฆ์... อนึ่ง ไทยธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีอยู่ในสกุล หม่อมฉัน

เฉลี่ยไทยธรรมนั้นทั้งหมดกับท่านที่มีศีล มีกัลยาณธรรม.

พ. ดูก่อนพระนางโคธา เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว โสดา-

ปัตติผลท่านพยากรณ์แล้ว.

จบกาฬิโคธาสูตรที่ ๙

๑๐. นันทิยสูตร

อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท

[๑๕๙๙] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม

กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่า นันทิยะ เสด็จ

เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า

แล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มี-

พระภาคเจ้าว่า

[๑๖๐๐] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริยสาวกใด ไม่มีโสตาปัตติยังค-

ธรรม ๔ ประการโดยประการทั้งปวง ในกาลทุกเมื่อ อริยสาวกนั้นหรือหนอ

ที่พระองค์ตรัสเรียกว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

ดูก่อนนันทิยะ อริยสาวกใดไม่มีโสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ เราเรียกอริยสาวก

นั้นว่า เป็นคนภายนอก ตั้งอยู่ในฝ่ายปุถุชน อนึ่ง อริยสาวnเป็นผู้อยู่ด้วย

ความประมาท และอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยวิธีใด ท่านจงพึงวิธีนั้น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 369

จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว นันทิยศากยะทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า

[๑๖๐๑] ดูก่อนนันทิยะ ก็อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาท

อย่างไร อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใส อันไม่หวั่นไหว

ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น...

เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้นพอใจแล้วด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว

ในพระพุทธเจ้านั้น ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อ

หลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มี

ปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มี

ปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข์ย่อมไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็น

สมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้น

ย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบ

ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกนั้น

พอใจแล้ว ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความ

สงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ประมาท

อยู่อย่างนี้ ย่อมไม่มีปราโมทย์ เมื่อไม่มีปราโมทย์ ก็ไม่มีปีติ เมื่อไม่มีปีติ

ก็ไม่มีปัสสัทธิ เมื่อไม่มีปัสสัทธิ ย่อมอยู่เป็นทุกข์ จิตของผู้มีความทุกข์ย่อม

ไม่มีสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมไม่ปรากฏ เพราะธรรม

ทั้งหลายไม่ปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความประมาท

ดูก่อนนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความประมาทอย่างนี้แล.

[๑๖๐๒] ดูก่อนนันทิยะ ก็อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาท

อย่างไร อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 370

ในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ

เป็นผู้จำแนกธรรม อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระพุทธเจ้านั้น พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้น

ในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์

เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มี

กายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ

ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ อริยสาวกนั้นย่อมถึง

ความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบ

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... ประกอบ

ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ อริยสาวกนั้น

ยังไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัด

ในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาท

อยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ

กอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข จิตของผู้มีความสุข

ย่อมเป็นสมาธิ เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฎ อริยสาวกนั้นย่อม

ถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท ดูก่อนนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่

ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้แล.

จบนันทิยสูตรที่ ๑๐

จบปุญญาภิสันทวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 371

อรรถกถาอานันทิยสูตร

พึงทราบอธิบายในนันทิยสูตรที่ ๑๐.

คำว่า เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน

ความว่า กลางวันสงัด กลางคืนหลีกเร้น. คำว่า ธรรมทั้งหลาย ย่อมไม่

ปรากฏ ได้แก่ธรรมคือสมถะและวิปัสสนา ย่อมไม่เกิดขึ้น. คำที่เหลือในบท

ทั้งปวงมีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถานันทิยสูตรที่ ๑๐

จบปุญญาภิสันทวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอภิสันทสูตร ๒. ทุติยอภิสันทสูตร ๓. ตติยอภิสันทสูตร

๔. ปฐมเทวปทสูตร ๕. ทุติยเทวปทสูตร ๖. สภาคตสูตร ๗. มหานาม-

สูตร ๘. วัสสสูตร ๙. กาฬิโคธาสูตร ๑๐. นันทิยสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 372

สคาถกปุญญาภิสันทวรรคที่ ๕

๑. ปฐมอภิสันทสูตร

ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ

[๑๖๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล อันเป็นปัจจัย

นำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม

นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑ อีกประการหนึ่ง

อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... นี้เป็น

ห้วงบุญห้วงกุศลอันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง อริยสาวก

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ... นี้เป็นห้วงบุญห้วง-

กุศลอันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบ

ด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ นี้เป็นห้วงบุญ

ห้วงกุศลอันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วง

กุศลอันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล.

[๑๖๐๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ จะนับจะประมาณบุญของอริย

สาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญห้วงกุศลอันเป็น

ปัจจัยนำมาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้

ห้วงบุญห้วงกุศลย่อมถึงความนับว่า เป็นกองบุญใหญ่ จะนับประมาณมิได้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 373

[๑๖๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ จะนับจะประมาณน้ำในมหา-

สมุทรว่า ประมาณเท่านี้ อาฬหกะ* หรือว่าร้อยอาฬหกะ พันอาฬหกะ

แสนอาฬหกะ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ น้ำย่อมถึงความนับว่าเป็นกอง

น้ำใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้ แม้ฉันใด ใคร ๆ จะนับจะประมาณบุญของ

อริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญห้วงกุศล

อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้

ห้วงบุญห้วงกุศล ย่อมถึงความนับว่าเป็นกองบุญใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้

ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

[๑๖๐๖] แม่น้ำเป็นอันมาก ที่หมู่ คือคณะ

นรชนอาศัยแล้ว ไหลไปยังสาครทะเล-

หลวง ซึ่งจะประมาณมิได้ เป็นที่ขังน้ำ

อย่างใหญ่ มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นที่อยู่ของ

หมู่รัตนะ ฉันใด สายธารแห่งบุญย่อม

ให้ไปสู่นรชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าวน้ำ

ผ้า ที่นอน ที่นั่งและเครื่องปูลาดเหมือน

แม่น้ำไหลไปสู่สาคร ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบปฐมอภิสันทสูตรที่ ๑

* อาฬหกะ เท่ากับ ๔ ทะนาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 374

สคาถกปุญญาภิสันทวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาปฐมอภิสันทสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมอภิสันทสูตรที่ ๑ แห่ง สคาถกปุญญา-

ภิสันทวรรคที่ ๕.

คำว่า อสเขยฺโย คือ ไม่สิ้นไปด้วยการนับตามสลาก. ก็การนับ

กองบุญนี้ ย่อมไม่มีด้วยอำนาจการประกอบ. คำว่า มีสิ่งที่น่ากลัวมาก คือ

มีสิ่งที่น่ากลัวมาก ด้วยอำนาจอารมณ์ที่น่ากลัว ทั้งที่มีวิญญาณและไม่มี

วิญญาณ. คำว่า ปุถู คือมาก. คำว่า ไหลไป คือหลั่งอยู่. คำว่า อุปยนฺติ

ได้แก่ เข้าไปอยู่.

จบปฐมอภิสันทสูตรที่ ๑

๒. ทุติยอภิสันทสูตร

ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ

[๑๖๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศลอันเป็นปัจจัยนำมา

ซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นห้วงบุญห้วง

กุศลอันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 375

ด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลอัน

นำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ... นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลอันนำมาซึ่ง

ความสุขประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกมีใจปราศจากความตระหนี่

อันเป็นมลทิน มีจาคะอันไม่ติดขัด มีฝ่ามืออันชุ่ม ยินดีในการสละ ควรแก่

การขอ ยินดีในการจำแนกทาน อยู่ครอบครองเรือน นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศล

อันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศลอัน

เป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล.

[๑๖๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ จะนับจะประมาณบุญของ

อริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญห้วงกุศล

อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้

ห้วงบุญห้วงกุศลย่อมถึงความนับว่า เป็นกองบุญใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้.

[๑๖๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหานทีเหล่านี้ คือ แม่น้ำคงคา

ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ย่อมไหลเรื่อยไปที่ปากน้ำใด จะนับจะประมาณ

น้ำที่ปากน้ำนั้นว่า ประมาณเท่านี้อาฬหกะ หรือร้อยอาฬหกะ พันอาฬหกะ

แสนอาฬหกะ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้ แม่น้ำย่อมถึงความนับว่าเป็น

กองน้ำใหญ่จะนับจะประมาณมิได้ แม้ฉันใด ใคร ๆ จะนับจะประมาณบุญ

ของอริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญห้วงกุศล ประการนี้ว่า ห้วงบุญห้วงกุศล

อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้

ห้วงบุญห้วงกุศลย่อมถึงความนับว่า เป็นกองบุญใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้

ฉันนั้นเหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 376

[๑๖๑๐] แม่น้ำเป็นอันมากที่หมู่คือคณะนรชน

อาศัยแล้ว ย่อมไหลไปสู่สาครทะเลหลวง

ซึ่งจะประมาณมิได้ เป็นที่ขังน้ำอย่างใหญ่

มีสิ่งที่น่ากลัวมาก เป็นที่อยู่ของรัตนะ

ฉันใด สายธารแห่งบุญย่อมไหลไปสู่

นรชนผู้เป็นบัณฑิต ผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า

ที่นอน ที่นั่งและเครื่องปูลาด เหมือน

แม่น้ำไหลไปสู่สาคร ฉันนั้นเหมือนกัน.

จบทุติยอภิสันทสูตรที่ ๒

อรรถกถาทุติยอภิสันทสูตร

พึงทราบอธิบายในทุติยอภิสันทสูตรที่ ๒.

คำว่า มหานที ย่อมไหลเรื่อยไปที่ปากน้ำใด ความว่า ที่ปาก

น้ำใด แม่น้ำใหญ่เหล่านี้ รวมเป็นอันเดียวกัน ไม่มีระหว่าง.

จบอรรถกถาทุติยอภิสันทสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 377

๓. ตติยอภิสันทสูตร

ห้วงบุญกุศล ๔ ประการ

[๑๖๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศลอันเป็นปัจจัยนำมา

ซึ่งความสุข ๔ ประการนี้ ๔ ประการนี้ไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม นี้เป็นห้วงบุญห้วง

กุศลอันนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๑ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบ

ด้วยความเลื่อมในอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม... นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลอัน

นำมาซึ่งความสุขประการที่ ๒ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์... นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลอันนำมาซึ่ง

ความสุขประการที่ ๓ อีกประการหนึ่ง อริยสาวกเป็นผู้มีปัญญา คือ ประกอบ

ด้วยปัญญา อันเป็นเหตุให้ถึงความเกิดและความดับเป็นอริยะ เป็นไปเพื่อ

ชำแรกกิเลส ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ นี้เป็นห้วงบุญห้วงกุศลอันเป็น

ปัจจัยนำมาซึ่งความสุขประการที่ ๔ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ห้วงบุญห้วงกุศล

อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข ๔ ประการนี้แล.

[๑๖๑๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ใคร ๆ จะนับจะประมาณบุญของ

อริยสาวกผู้ประกอบด้วยห้วงบุญห้วงกุศล ๔ ประการนี้ว่า ห้วงบุญห้วงกุศล

อันเป็นปัจจัยนำมาซึ่งความสุข มีประมาณเท่านี้ มิใช่กระทำได้โดยง่าย ที่แท้

ห้วงบุญห้วงกุศลย่อมถึงความนับว่า เป็นกองบุญใหญ่ จะนับจะประมาณมิได้

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 378

[๑๖๑๓] ผู้ใดต้องการบุญ ตั้งมั่นในกุศล

เจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตธรรม ผู้นั้น

บรรลุธรรมที่เป็นสาระ ยินดีในธรรมเป็น

ที่สิ้นไป (แห่งอาสวะ) ย่อมไม่หวั่นไหว

ในเมื่อมัจจุราชมาถึง.

จบตติยอภิสันทสูตรที่ ๓

อรรถกถาตติยอภิสันทสูตร

พึงทราบอธิบายในตติยอภิสันทสูตรที่ ๓.

คำว่า ปุญฺญกาโม คือ ผู้ต้องการบุญ. คำว่า ผู้ตั้งมั่นในกุศล คือ

ผู้ตั้งอยู่ในมรรคกุศล. คำว่า เจริญมรรคเพื่อบรรลุอมตธรรม คือ เจริญ

อรหัตมรรค เพื่อบรรลุนิพพาน. ในบทว่า ผู้บรรลุธรรมที่เป็นสาระ มี

วิเคราะห์ว่า ธรรมที่เป็นสาระคือ อริยผล ท่านเรียกว่า ธรรมที่เป็นสาระ การ

บรรลุธรรมที่เป็นสาระของบุคคลนั้น มีอยู่ เหตุนั้น บุคคลนั้น ชื่อว่า ผู้บรรลุ

ธรรมที่เป็นสาระ อธิบายว่า ผู้บรรลุผล. คำว่า ยินดีในธรรมเป็นที่สิ้นไป

คือ ยินดีในความสิ้นกิเลส.

จบอรรถกถาตติยอภิสันทสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 379

๔. ปฐมมหัทธนสูตร

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นผู้มั่งคั่ง

[๑๖๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่ ธรรม ๔ ประการ

เป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่

หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระธรรม... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด

ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกประกอบด้วยธรรม

๔ ประการนี้แล เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่.

จบปฐมมหัทธนสูตรที่ ๔

อรรถกถาปฐมมหัทธนสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมมหัทธนสูตรที่ ๔.

คำว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก คือ ผู้มั่งคั่ง และมีทรัพย์มาก

ด้วยอริยทรัพย์เจ็ดอย่าง. ผู้มีโภคะมากด้วยโภคะนั้นนั่นแหละ คำที่เหลือใน

ที่ทั้งปวงตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาปฐมมหัทธนสูตรที่ ๔

จบสคาถกปุญญาภิสันทวรรควรรณนาที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 380

๕. ทุติยมหัทธนสูตร*

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นผู้มั่งคั่ง

[๑๖๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่

ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความ

เลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม ประกอบด้วยความเลื่อมใสอัน

ไม่หวั่นไหวในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... เป็นผู้มีปัญญา ฯลฯ ให้ถึงความ

สิ้นทุกข์โดยชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการนี้แล เราเรียกว่า เป็นผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มียศใหญ่.

จบทุติยมหัทธนสูตรที่ ๕

๒. ภิกขุสูตร

องค์คุณของพระโสดาบัน

[๑๖๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่

จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ...ในพระธรรม ...

ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป

* สูตรที่ ๕-๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 381

เพื่อสมาธิ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ

นี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ

ตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบภิกขุสูตรที่ ๖

๗. นันทิยสูตร

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน

[๑๖๑๗] กบิลพัสดุ์นิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเจ้าศากยะ

นันทิยะ ผู้ประทับนั่ง ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนนันทิยะ อริยสาวกผู้

ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น

ธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน

อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระพุทธเจ้า... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระ-

อริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนนันทิยะ อริยสาวก

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำ

เป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบนันทิยสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 382

๘. ภัททิยสูตร

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน

[๑๖๑๘] กบิลพัสดุ์นิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะเจ้าศากยะ

ภัททิยะ ผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนภัททิยะ อริยสาวก

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็น

ธรรมดา ... อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นพระ

โสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบภัททิยสูตรที่ ๘

๙. มหานามสูตร

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน

[๑๖๑๙] กบิลพัสดุ์นิทาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะพระเจ้ามหา-

นามศากยราชผู้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า ดูก่อนมหาบพิตร อริย

สาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตก

ต่ำเป็นธรรมดา... อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็น

พระโสดาบันมีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า.

จบมหานามสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 383

๑๐. โสดาปัตติยังคสูตร

โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ

[๑๖๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ๔

ประการเป็นไฉน คือ การคบสัตบุรุษ ๑ การฟังธรรมของสัตบุรุษ ๑ การทำ

ไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

โสตปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล.

จบโสตาปัตติยังคสูตรที่ ๑๐

จบสคถกปุญญภิสันทวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมอภิสันทสูตร ๒. ทุติยอภิสันทสูตร ๓. ตติยอภิสันทสูตร

๔. ปรมมหัทธนสูตร ๕. ทุติยมหัทธนสูตร ๖. ภิกขุสูตร ๗. นันทิยสูตร

๘. ภัททิยสูตร ๙. มหานามสูตร ๑๐. โสตาปัตติยังคสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 384

สัปปัญญวรรคที่ ๖

ผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการเป็นพระโสดาบัน

[๑๖๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรม ๔

ประการ ย่อมเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะ

ตรัสรู้ในเบื้องหน้า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน อริยสาวกในธรรมวินัยนี้

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า... ในพระธรรม ...

ในพระสงฆ์... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว .. . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

อริยสาวกประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล เป็นพระโสดาบัน มีความไม่

ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้ในเบื้องหน้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้

ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า

[๑๖๒๒] ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว

ในพระตถาคต มีศีลอันงาม ที่พระอริย-

เจ้าใคร่แล้ว สรรเสริญแล้ว มีความเลื่อม

ใสในพระสงฆ์ และมีความเห็นตรง บัณ-

ฑิตเรียกผู้นั้นว่า เป็นคนไม่ขัดสน ชีวิต

ของเขาไม่เปล่าประโยชน์ เพราะฉะนั้น

บุคคลผู้มีปัญญา เมื่อระลึกถึงคำสอนของ

พระพุทธเจ้า พึงประกอบตามซึ่งศรัทธา

ศีล ความเลื่อมใส และความเห็นธรรม.

จบสคาถกสูตรที่ ๑

* สูตรที่ ๑ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 385

๒. วัสสวุตถสูตร

ว่าด้วยพระอริยบุคคลมีน้อยกว่ากันโดยลำดับ

[๑๖๒๓] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหาร

เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ก็สมัยนั้น ภิกษุรูป

หนึ่งอยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถีแล้ว ไปโดยลำดับ ถึงกรุงกบิลพัสดุ์ ด้วย

กรณีย์บางอย่าง พวกเจ้าศากยะชาวกรุงกบิลพัสดุ์ได้ทราบข่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่ง

อยู่จำพรรษาในกรุงสาวัตถี มาถึงกรุงกบิลพัสดุ์แล้ว จึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุรูป

นั้นถึงที่อยู่ ทรงอภิวาทภิกษุนั้นแล้วประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น

แล้ว ได้ตรัสถามภิกษุนั้นว่า

[๑๖๒๔] ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ประชวร และยัง

มีพระกำลังหรือ.

ภิกษุนั้นทูลว่า พระผู้มีภาคเจ้าไม่ประชวรและยังมีพระกำลัง ขอถวาย

พระพร.

ศ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะไม่ป่วยไข้

และยังมีกำลังหรือ.

ภิ. แม้พระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลัง

ขอถวายพระพร.

ศ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ไม่ป่วยไข้ และยังมีกำลังหรือ.

ภิ. แม้ภิกษุสงฆ์ก็ไม่ป่วยไข้และยังมีกำลัง ขอถวายพระพร.

ศ. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ระหว่างพรรษานี้ อะไร ๆ ที่ท่านได้ฟังมา

ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่หรือ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 386

ภิ. ขอถวายพระพร เรื่องนี้อาตมภาพได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระ

พักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้กระทำให้แจ้งซึ่ง

เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสาวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วย

ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ มีน้อย ที่แท้ ภิกษุผู้เป็นอุปปาติกะ

เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จักนิพพานในภพที่เกิดนั้น มี

อันไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีมากกว่า อีกประการหนึ่ง อาตมภาพ

ได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

ภิกษุผู้เป็นอุปปาติกะ เพราะสังโยชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ สิ้นไป จักนิพพาน

ในภพที่เกิดนั้น มีอันไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา มีน้อย ที่แท้ ภิกษุผู้

เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ

เบาบาง กลับมาสู่โลกนี้อีกคราวเดียวเท่านั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

มีมากกว่า อีกประการหนึ่ง อาตมภาพได้ฟังมารับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นสกทาคามี เพราะสังโยชน์ ๓

สิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบางกลับมาสู่โลกนี้อีกคราวเดียว

เท่านั้นแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ มีน้อย ที่แท้ ภิกษุผู้เป็นพระโสดาบัน

เพราะสังโยชน์ ๓ สิ้นไป มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้

ในเบื้องหน้า มีมากกว่า.

จบวัสสวุตถสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 387

สัปปัญญวรรควรรณนาที่ ๖

อรรถกถาวัสสวุตถสูตร

พึงทราบอธิบายในวัสสวุตถสูตรที่ ๒ แห่ง สัปปัญญวรรคที่ ๖.

มีอธิบายดังต่อไปนี้ ภิกษุผู้เป็นพระโสดาบัน ไม่ถึงการปลงลงด้วย

เหตุเท่านี้ ตั้งประชุมองค์แห่งการตรัสรู้คืออินทรีย์และพละ เจริญวิปัสสนา ก็

จักบรรลุพระสกทาคามิมรรค. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหมายเอาเนื้อความนี้

ว่า สกทาคามิมรรค อนาคานิมรรค อรหัตมรรค แล้วตรัสเชื้อสายประเพณีใน

ศาสนาในพระสูตรนี้.

จบอรรถกถาวัสสสูตรที่ ๒

๓. ธรรมทินนสูตร

ธรรมทินนะอุบาสกพยากรณ์โสดาปัตติผล

[๑๖๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตน-

มฤคทายวัน กรุงพาราณสี ครั้งนั้น อุบาสกชื่อว่าธรรมทินนะ พร้อมด้วย

อุบาสก ๕๐๐ คน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้า

แต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อใดจะพึงมีประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข แก่ข้า

พระองค์ทั้งหลาย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดตรัสสอน โปรดทรงพร่ำสอน

ข้อนั้นแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายเถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนธรรม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 388

ทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า พระสูตรเหล่าใด

ที่พระตถาคตตรัสแล้ว อันลึกซึ้งมีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตระ ประกอบ

ด้วยความว่าง เราจักเข้าถึงพระสูตรเหล่านั้นตลอดกาลเป็นนิตย์อยู่ ดูก่อน

ธรรมทินนะ ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

[๑๖๒๖] ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายยังครอง

เรือนนอนกกลูกอยู่ ยังทาจันทน์แคว้นกาสี ยังใช้มาลาของหอมและเครื่องลูบ

ไล้ ยังยินดีทองและเงินอยู่ จะเข้าถึงพระสูตรที่พระตถาคตตรัสแล้ว อันลึกซึ้ง

มีเนื้อความอันลึก เป็นโลกุตระ ประกอบด้วยความว่าง ตลอดนิตยกาลอยู่

มิใช่กระทำได้โดยง่าย ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงแสดงธรรมอันยิ่ง แก่

ข้าพระองค์ทั้งหลายผู้ตั้งอยู่แล้วในสิกขาบท ๕ เถิด.

พ. ดูก่อนธรรมทินนะ เพราะฉะนั้นแหละ ท่านทั้งหลายพึงศึกษา

อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายจักเป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... จักเป็นผู้ประกอบด้วยศีล

ที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ ดูก่อนธรรมทินนะ

ท่านทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ.

ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการเหล่าใด ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ธรรมเหล่านั้นมีอยู่ในข้าพระองค์ทั้งหลาย

และข้าพระองค์ทั้งหลายเห็นชัดในธรรมเหล่านั้น เพราะว่าข้าพระองค์ทั้งหลาย

ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ...

ในพระสงฆ์ ... ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไป

เพื่อสมาธิ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 389

พ. ดูก่อนธรรมทินนะ เป็นลาภของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายได้

ดีแล้ว โสดาปัตติผลอันท่านทั้งหลายพยากรณ์แล้ว.

จบธรรมทินนสูตรที่ ๓

อรรถกถาธรรมทินนสูตร

พึงทราบอธิบายในธรรมทินนสูตรที่ ๓.

คำว่า ธรรมทินนะ ความว่า เป็นอุบาสกคนหนึ่งในบรรดาเจ็ดคน.

ความพิสดารว่า ในครั้งพุทธกาล คนเจ็ดคนเหล่านี้ คือ ธรรมทินนอุบาสก ๑

วิสาขอุบาสก ๑ อุคคคฤหบดี ๑ จิตตคฤหบดี ๑ หัตถกะ ๑ อาฬวกะ ๑ จุลล-

อนาถปิณฑิกะ ๑ เป็นผู้มีอุบาสกห้าร้อยเป็นบริวาร. ธรรมทินนะอุบาสกเป็นคน

ใดคนหนึ่งบรรดาคนเจ็ดคนเหล่านั้น. บทว่า ลึกซึ้ง ได้เเก่ คัมภีรธรรมมี

สัลลสูตรเป็นต้น. บทว่า มีเนื้อความอันลึก ได้แก่ มีอรรถอันลึกซึ้งมีเปตวา-

สูตรเป็นต้น. บทว่า เป็นโลกุตระ ความว่า อันแสดงอรรถที่เป็นโลกุตระ

มีอสังขตสังยุตเป็นต้น. บทว่า ประกอบด้วยความว่าง ความว่า อัน

แสดงความว่างเปล่าแห่งสูตร มีขัชชนิกสูตรเป็นต้น. บทว่า จักเข้าถึงอยู่

ความว่าจักได้เฉพาะอยู่. บทว่า ดูก่อนธรรมทินนะท่าน ทั้งหลายพึงศึกษา

อย่างนี้ ความว่า เธอทั้งหลายพึงบำเพ็ญ จันโทปมปฏิปทา รถวินีตปฏิปทา

โมเนยยปฏิปทา มหาอริยวังสปฏิปทา ศึกษาอยู่ อย่างนี้.

พระศาสดา ทรงบอกภาระที่ไม่สามารถทนได้แก่อุบาสกเหล่านี้. ด้วย

ประการฉะนี้. ได้ยินว่า อุบาสกเหล่านั้น ดำรงอยู่ในภูมิของตนแล้ว ทูลขอ

โอวาท. ก็อุบาสกเหล่านั้น เป็นเหมือนสามารถยกภาระทั้งปวงขึ้นโดยไม่แปลกกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 390

อ้อนวอนว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงโอวาทพวก

ข้าพระองค์เถิด ดังนี้บ้าง เพราะเหตุนั้น พระศาสดาเมื่อจะตรัสบอกภาระที่ทน

ไม่ได้แก่พวกอุบาสกเหล่านั้น จึงตรัสแล้วอย่างนี้. คำว่า น โข ปเนต

ตัดบทเป็น น โข เอต แปลว่า นั่นหามิได้แล. ก็ น อักษรในคำว่า นโข

ปเนต นั้น พึงทราบว่าเป็นเพียงพยัญชนะสนธิเท่านั้น. คำว่า ตสฺมา

ความว่า เพราะฉะนั้น บัดนี้ ท่านทั้งหลาย พึงขอโอวาทในภูมิของตนเถิด.

จบอรรถกถาธรรมทินนสูตรที่ ๓

๔. คิลายนสูตร

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ๔ ประการ

[๑๖๒๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ นิโครธาราม

กรุงกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ ก็สมัยนั้น ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของ

พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยหวังว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จัก

เสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง ๓ เดือน พระเจ้ามหานามศากยราช ได้ทรง

สดับข่าวว่า ภิกษุมากรูปการทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยหวังว่า

พระมีพระภาคเจ้าทรงทำจีวรเสร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง

๓ เดือน ครั้งนั้น พระเจ้ามหานามศากยราช เสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ทรงถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ประทับนั่ง ณ ที่ควร

ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันได้ยิน

มาว่า ภิกษุมากรูปกระทำจีวรกรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยหวังว่า พระผู้มี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 391

พระภาคเจ้าทรงทำจีวรสำเร็จแล้ว จักเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริกโดยล่วง ๓ เดือน

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เรื่องนี้หม่อมฉันยังไม่ได้ฟัง ยังไม่ได้รับมา เฉพาะ

พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อุบาสกผู้มีปัญญาพึงกล่าวสอนอุบาสก ผู้มี

ปัญญาผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก.

[๑๖๒๘] พ. ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญาพึงปลอบอุบาสก

ผู้มีปัญญาผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ

๔ ประการว่า ท่านจงเบาใจเถิด ท่านมีความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวใน

พระพุทธเจ้า ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ... มีศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว

ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ.

[๑๖๒๙] ดูก่อนมหาบพิตร อุบาสกผู้มีปัญญา ครั้นปลอบอุบาสก

ผู้มีปัญญา ผู้ป่วย ได้รับทุกข์ เป็นไข้หนัก ด้วยธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ

๔ ประการนี้แล้ว พึงถามอย่างนี้ว่า ท่านมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่

หรือถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในมารดาและบิดาอยู่ อุบาสก

นั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความตายเป็นธรรมดา

ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใยในมารดาและบิดา ก็จักตายไป ถ้าแม้ท่าน

จักไม่กระทำควานห่วงใยในมารดาและบิดา ก็จักตายไปเหมือนกัน ขอท่าน

จงละความห่วงใยในมารดาและบิดาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า

เราละความห่วงใยในมารดาและบิดาของเราแล้ว.

[๑๖๓๐] อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ก็ท่านยังมีความห่วงใยใน

บุตรและภริยาอยู่หรือ ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความห่วงใยในบุตรและ

ภริยาอยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขา อย่างนี้ว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ซึ่งมีความ

ตายเป็นธรรมดา ถ้าแม้ท่านจักกระทำความห่วงใยในบุตรและภริยา ก็จักตายไป

ถ้าแม้ท่านจักไม่กระทำความห่วงใยในบุตรและภริยา ก็จักตายไปเหมือนกัน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 392

ขอท่านจงละความห่วงใย ในบุตรและภริยาของท่านเสียเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้

ว่า เราละความห่วงใยในบุตรและภริยาของเราแล้ว.

[๑๖๓๑] อุบาสกนั้นพึงถามเขาอย่างนี้ว่า ท่านยังมีความห่วงใยใน

กามคุณ ๕ อันเป็นของมนุษย์อยู่หรือ ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า เรายังมีความ

ห่วงใยในกามคุณ ๕ อัน เป็นของมนุษย์อยู่ อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า

กามอันเป็นทิพย์ดีกว่าประณีตกว่ากามอันเป็นของมนุษย์ ขอท่านจงพรากจิต

ให้ออกจากกามอันเป็นของมนุษย์ แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นจาตุมหาราช

เถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากกามอันเป็นของมนุษย์แล้ว

จิตของเราน้อมไปในพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้ว.

[๑๖๓๒] อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวกเทพชั้นดาวดึงส์

ดีกว่าประณีตกว่าพวกเทพชั้นจาตุมหาราช ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจาก

พวกเทพชั้นจาตุมหาราช แล้วน้อมจิตไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์เถิด ถ้าเขา

กล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทพชั้นจตุมหาราชแล้ว จิตของเรา

น้อมไปในพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า พวก

เทพชั้นยามาดีกว่าประณีตกว่าพวกเทพชั้นดาวดึงส์... พวกเทพชั้นดุสิต

ดีกว่าประณีตกว่าพวกเทพชั้นยามา... พวกเทพชั้นนิมมานรดีดีกว่าประณีต

กว่าพวกเทพชั้นดุสิต... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีดีกว่าประณีตกว่า

พวกเทพชั้นนิมมานรดี... พรหมโลกดีกว่าประณีตกว่าพวกเทพชั้นปรนิม

มิตวสวัตตี ขอท่านจงพรากจิตให้ออกจากพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตี แล้ว

น้อมจิตไปในพรหมโลกเถิด ถ้าเขากล่าวอย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพวกเทพ

ชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว จิตของเราน้อมไปในพรหมโลกแล้ว.

[๑๖๓๓] อุบาสกนั้นพึงกล่าวกะเขาอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ

แม้พรหมโลกก็ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ยังนับเนื่องในสักกายะ ขอท่านจงพรากจิต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 393

ให้ออกจากพรหมโลก แล้วนำจิตเข้าไปในความดับสักกายะเถิด ถ้าเขากล่าว

อย่างนี้ว่า จิตของเราออกจากพรหมโลกแล้ว เรานำจิตเข้าไปในความดับ

สักกายะแล้ว ดูก่อนมหาบพิตร อาตมภาพไม่กล่าวถึงความต่างอะไรกันของ

อุบาสก ผู้มีจิตพ้นแล้วอย่างนี้ กับภิกษุผู้พ้นแล้วตั้งร้อยปี คือ พ้นด้วย

วิมุตติเหมือนกัน.

จบคิลายนสูตรที่ ๔

อรรถกถาคิลายนสูตร

พึงทราบอธิบายในคิลายนสูตรที่ ๔.

คำว่า น โข ปเนต ความว่า เหตุนั้น อันข้าพระองค์ทั้งหลาย

หามิได้แล. พระโสดาบัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาว่า อุบาสก

ผู้มีปัญญา. คำว่า ด้วยธรรม เป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจ ความว่า ด้วยธรรม

ทั้งหลายที่ทำความเบาใจ. คำว่า อสฺสาสตายสฺมา แปลว่า ท่านจงเบาใจ.

คำว่า ท่านผู้เช่นกับเรา ได้แก่ ผู้เนื่องเฉพาะความตาย. คำว่า มีความตาย

เป็นธรรมดา ได้แก่ มีความตายเป็นสภาพ. คำว่า ขอท่านจงละ ได้แก่

จงเว้น คำว่า ละแล้ว ได้แก่ หยุดแล้ว

คำว่า ผู้มีจิตพ้นแล้วอย่างนี้ ความว่า ผู้มีจิตอันพ้นแล้ว ด้วย

การพ้นคืออรหัตผลอย่างนี้. คำว่า พ้นด้วยวิมุตติเหมือนกัน ความว่า

ความต่างกันแห่งวิมุตติ เพราะปรารภจิตที่พ้นแล้วนี้ใด อันจะพึงกล่าว เราไม่

กล่าวความต่างกันนั้น. ขึ้นชื่อว่า ประมาณในคุณเป็นที่มา คือ ในวัตรที่ลาน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 394

พระเจดีย์ และลานโพธิ์ และในวัตร ๘๐ ขันธกะ ของภิกษุสงฆ์

ย่อมไม่มี. ก็เมื่อแทงตลอดมรรคหรือผล อุบาสกและภิกษุทั้งหลาย ย่อม

ไม่มีเหตุทำให้ต่างกัน.

จบอรรถกถาคิลานยนสูตรที่ ๔

๕. ปฐมผลสูตร*

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล

[๑๖๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ธรรม

๔ ประการเป็นไฉน คือ การคบสัตบุรุษ ๑ การฟังสัทธรรม ๑ การกระทำ

ไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว

ย่อมเป็นไป เพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.

จบปฐมผลสูตรที่ ๕

* สูตรที่ ๕-๗ ไม่มีอรรถกถาแก้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 395

๖. ทุติยผลสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล

[๑๖๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล...

จบทุติยผลสูตรที่ ๖

๗. ตติยผลสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล

[๑๖๓๖] ...ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล...

จบตติยผลสูตรที่ ๗

๘. จตุตถผลสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อทำให้แจ้งอรหัตผล

[๑๖๓๗] ...ย่อมเป็นไปเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ...

จบจตุตถผลสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 396

๙. ปฏิลาภสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อได้ปัญญา

[๑๖๓๘] ... ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา...

จบปฏิลาภสูตรที่ ๙

อรรถกถาปฏิลาภสูตร

พึงทราบอธิบายในปฏิลาภสูตรที่ ๙.

ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา นี้ พระเสขบุคคล

๗ จำพวก พึงทราบว่า ชื่อว่า ผู้ได้เฉพาะซึ่งปัญญา พระขีณาสพพึงทราบว่า

ชื่อว่า ผู้ได้ปัญญาแล้ว. แม้ในคำเป็นต้นว่า เพื่อความเจริญแห่งปัญญา

ข้างหน้า ก็นัยนี้นั่นแหละ. คำที่เหลือในบททั้งปวง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล

จบอรรถกถาปฏิลาภสูตรที่ ๙

๑๐. วุฒิสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อปัญญาเจริญ

[๑๖๓๙] ...ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา.. .

จบวุฒิสูตรที่ ๑๐

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 397

๑๑. เวปุลลสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อปัญญาไพบูลย์

[๑๖๔๐] ...ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา...

จบเวปุลลสูตรที่ ๑๑

จบสัปปัญญวรรคที่ ๖

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สคาถกสูตร ๒. วัสสวุตถสูตร ๓. ธรรมทินนสูตร

๔. คิลายนสูตร ๕. ปฐมผลสูตร ๖. ทุติยผลสูตร ๗. ตติยผลสูตร

๘. จตุตถผลสูตร ๙. ปฏิลาภสูตร ๑๐. วุฒิสูตร ๑๑. เวปุลลสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 398

มหาปัญญวรรคที่* ๗

๑. มหาปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญามาก

[๑๖๔๑] ...ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก...

จบมหาปัญญสูตรที่ ๑

๒. ปุถุปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาแน่นหนา

[๑๖๔๒] ...ย่อมเป็นเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา ...

๓. วิปุลลปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาไพบูลย์

[๑๖๔๓] ..ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไพบูลย์...

จบวิปุลลปัญญสูตรที่ ๓

* อรรถกถาวรรคที่ ๗ แก้ไว้ท้ายวรรคนี้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 399

๔. คัมภีรปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาลึกซึ้ง

[๑๖๔๔] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ...

จบคัมภีรปัญญสูตรที่ ๔

๕. อัปปมัตตปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาหาประมาณมิได้

[๑๖๔๕] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาประมาณมิได้ ...

จบอัปปมัตตปัญญสูตรที่ ๕

๖. ภูริปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาดังแผ่นดิน

[๑๖๔๖] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเพียงดังแผ่นดิน ...

จบภูริปัญญสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 400

๗. พาหุลปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญามาก

[๑๖๔๗] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ...

จบพาหุลปัญญสูตรที่ ๗

๘. สีฆปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาเร็ว

[๑๖๔๘] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว...

จบสีฆปัญญสูตรที่ ๘

๙. ลหุปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาเบา

[๑๖๔๙] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเบา ...

จบลหุปัญญสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 401

๑๐. หาสปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาร่าเริง

[๑๖๕๐] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ...

จบหาสปัญญสูตรที่ ๑๐

๑๑. ชวนปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาไว

[๑๖๕๑] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาไว ...

จบชวนปัญญสูตรที่ ๑๑

๑๒. ติกขปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญากล้า

[๑๖๕๒] ... ย่อมเป็นไปเพื่อความมีปัญญาคมกล้า ...

จบติกขปัญญสูตรที่ ๑๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 402

๑๓. นิพเพธิกปัญญสูตร

เจริญธรรม ๔ ประการเพื่อมีปัญญาชำแรกกิเลส

[๑๖๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ อันบุคคลเจริญ

แล้ว วาระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา เป็นเครื่อง

ชำแรกกิเลส ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ การคบสัตบุรุษ ๑. การฟังสัท-

ธรรม ๑ การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑ การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๑ ประการนี้แล อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำ

ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเป็นเครื่องชำแรกกิเลส.

จบนิพเพธิกปัญญสูตรที่ ๑๓

จบมหาปัญญวรรคที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 403

มหาปัญญวรรควรรณนาที่ ๗

พึงทราบอธิบายในมหาปัญญวรรคที่ ๗.

พึงทราบเนื้อความในทุกบท ตามนัยที่กล่าวในปฏิสัมภิทาโดยนัยเป็น

ต้นว่า ชื่อว่าผู้มีปัญญามาก เพราะอรรถว่า กำหนดเอาในเนื้อความมาก ใน

บทเป็นต้นว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ดังนี้นั่นเทียว.

คำที่เหลือในทุก ๆ บทตื้นทั้งนั้นแล.

จบมหาปัญญวรรควรรณนาที่ ๗

จบโสตาปัตติสังยุตที่ ๑๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. มหาปัญญสูตร ๒. ปุถุปัญญสูตร ๓. วิปุลลปัญญสูตร ๔. คัมภีร-

ปัญญสูตร ๕. อัปปมัตตปัญญสูตร ๖. ภูริปัญญสูตร ๗. พาหุลปัญญสูตร

๘. สีฆปัญญสูตร ๙. ลหุปัญญสูตร ๑๐. หาสปัญญสูตร ๑๑.ชวนปัญญสูตร

๑๒. ติกขปัญญสูตร ๑๓. นิพเพธิกปัญญสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

สัจจสังยุต

สมาธิวรรคที่ ๑

๑. สมาธิสูตร

ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง

[๑๖๕๔] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญ

สมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความ

เป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว

ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย

พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกข

นิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบสมาธิสูตรที่ ๑

สัจจสังยุตตาวรรณนา

สมาธิสูตร

พึงทราบอธิบายในสมาธิสูตรที่ ๑ แห่งอรรถกถาสัจจสังยุต.

คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย... สมาธิ ความว่า ได้ยินว่า ภิกษุ

เหล่านั้น ย่อมเสื่อม จากเอกัคคตาจิต (สมาธิ) ลำดับนั้น พระศาสดาทรง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 405

ปรารภเทศนานี้ แก่ภิกษุเหล่านั้นว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้ความที่จิตมีอารมณ์

เลิศเป็นหนึ่งอย่างนี้ เจริญกรรมฐานแล้ว ก็จักบรรลุคุณวิเศษได้. พึงทราบ

การตัดเหตุ ด้วยอำนาจเหตุตามที่เป็นจริง เป็นต้น ในบทนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลายเพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงทำความเพียรว่า นี้ทุกข์.

ก็มีคำอธิบายที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้แล้วนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุ

มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้ทั่วสัจจะ ๔ ตามความเป็นจริง เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น

เธอทั้งหลายมีจิตตั้งมั่น พึงทำความเพียรว่า นี้ทุกข์ ดังนี้ เพื่อต้องการรู้

สัจจะ ๔ ตามความเป็นจริง. สัจจะ ๔ ย่อมเป็นธรรมชาติปรากฏแจ่มแจ้งแก่

พระตถาคตเจ้านั่นเทียว พระตถาคตเจ้าทรงจำแนกไว้ดีแล้ว ในสัจจะ ๔

เหล่านั้น การกล่าวสรรเสริญไม่มีประมาณ บทและพยัญชนะไม่มีประมาณ

และวัฏฏะย่อมเจริญ เพราะสัจจะ ๔ เหล่านั้น อันเธอทั้งหลายมิได้แทงตลอด

จำเดิมแต่กาลแทงตลอดสัจจะ ๔ เหล่านั้น วัฏฏะก็ไม่เจริญ เหตุใด เพราะ

เหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงทำความเพียรว่า นี้ทุกข์ ดังนี้ ด้วยความหวังว่า

วัฏฏะจักไม่เจริญอย่างนี้.

จบอรรถกถาสมาธิสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 406

๒. ปฏิสัลลานสูตร

ผู้หลีกเร้นอยู่ย่อมรู้ตามความเป็นจริง

[๑๖๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงถึงความประกอบใน

การหลีกออกเร้นอยู่ ภิกษุผู้หลีกออกเร้นอยู่ ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้

อะไรตามความเป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย

นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงถึงความประกอบใน

การหลีกออกเร้นอยู่ ภิกษุผู้หลีกออกเร้นอยู่ ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปฏิสัลลานสูตรที่ ๒

อรรถกถาปฏิสัลลานสูตร

ปฏิสัลลานสูตรที่ ๒ ท่านกล่าวไว้แล้ว เพื่อประโยชน์แก่การได้

เฉพาะความสงัดกาย แห่งภิกษุผู้มีความไม่ปกติทางกายวิเวก.

จบอรรถกถาปฏิสัลลานสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 407

๓. ปฐมกุลปุตตสูตร

ผู้ออกบวชโดยชอบเพื่อรู้อริยสัจ ๔

[๑๖๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล

ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด ออกบวชแล้วเพื่อรู้

อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จัก

ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมด จักออกบวชเพื่อรู้

อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ออก

บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบกุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดออกบวชอยู่ เพื่อรู้อริยสัจ ๔

ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทัย

อริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็กุลบุตรเหล่าใด

เหล่าหนึ่งในอดีตกาล... ในอนาคตกาล... ในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็น

บรรพชิตโดยชอบ กุลบุตรเกล่านั้นทั้งหมดออnบวชเพื่อรู้อริยสัจ ๔ นี้แล

ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง

กระทำความเพียรเพื่อรู้ความความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา.

จบปฐมกุลปุตตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 408

อรรถกถาปฐมกุลปุตตสูตร

พึงทราบอธิบายในกุลปุตตสูตรที่ ๓.

คำว่า เพื่อรู้ยิ่ง คือ เพื่อประโยชน์แก่การรู้ยิ่ง. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงประสงค์เอา ผู้ประพฤติลงในศาสนา ในบทนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์.

จบอรรถกถากุลปุตตสูตรที่ ๓

๔. ทุติยกุลปุตตสูตร

ผู้ออกบวชโดยชอบรู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง

[๑๖๕๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล

ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ รู้แล้วตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้น

ทั้งหมดรู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่งใน

อนาคตกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ จักรู้ตามความเป็นจริง กุลบุตร

เหล่านั้นทั้งหมดจักรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ในปัจจุบันกาล ออกบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ย่อมรู้ตามความเป็นจริง

กุลบุตรเหล่านั้นทั้งหมดย่อมรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔

เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิบทาอริยสัจ ก็กุลบุตร

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล . . . ในอนาคตกาล . . . ในปัจจุบันกาล ออกบวช

เป็นบรรพชิตโดยชอบ รู้ตามความเป็นจริง กุลบุตรเหล่านั้น ทั้งหมดรู้ซึ่ง

อริยสัจ ๔ เหล่านี้ ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 409

เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบทุติยกุลปุตตสูตรที่ ๔

อธิบายความในทุติยกุลปุตตสูตรที่ ๔ ก็เหมือนกัน.

๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร

สมณพราหมณ์รู้อริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง

[ ๑๖๕๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สรณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งในอดีตกาล รู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น

ทั้งหมด รู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักรู้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น

ทั้งหมด จักรู้ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ย่อมรู้ตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั่นทั้งหมด ย่อมรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน

คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล...ในอนาคตกาล ... ในปัจจุบันกาล รู้ตาม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 410

ความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด รู้ซึ่งอริยสัจ ๔ เหล่านั้น

ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง

กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา.

จบปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๕

อรรถกถาปฐมสมณพราหมณสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๕.

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสสัจจะ ๔ เหล่านั้น ตามอธัยาศัยของผู้จะ

ตรัสรู้ ด้วยพระสูตร ด้วยการตรัสแก่ภิกษุเหล่านั้น.

จบอรรถกถาปฐมสมณพราหมณสูตรที่ ๕

๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร

สมณพราหมณ์ประกาศอริยสัจ ๔ ที่ตนรู้

[๑๖๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งในอดีตกาล ประกาศแล้วซึ่งสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศแล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตาม

ความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักประกาศ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 411

สิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด จัก

ประกาศอริยสัจ ๔ ว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบันกาล ประกาศอยู่ซึ่งสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความ

เป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศอยู่ซึ่งอริยสัจ ๔ ว่า

เป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งใน

อดีตกาล... ในอนาคตกาล ... ในปัจจุบันกาล ประกาศสิ่งที่ตนรู้แล้วตาม

ความเป็นจริง สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ประกาศอริยสัจ ๔

เหล่านี้ ว่าเป็นสิ่งที่ตนรู้แล้วตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบทุติยสมณพราหมณสูตรที่ ๖

อรรถกถาทุติยสมณพราหมณสูตร

พึงทราบอธิบายในทุติยสมณพราหมสูตรที่ ๖.

คำว่า ประกาศแล้วซึ่งสิ่งที่ตนรู้แล้ว ความว่า ประกาศสิ่งที่ตนรู้

เฉพาะแล้วอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะแล้ว. ก็ในพระสูตรนี้ พระผู้มี

พระภาคเจ้า ทรงถือเอาพระสัพพัญญูพุทธเจ้าทั้งหลาย ด้วยสมณศัพท์.

จบอรรถกถาทุติยสมณพราหมณ์สูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 412

๗. วิตักกสูตร*

ว่าด้วยการตรึกในอริยสัจ ๔

[๑๖๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าตรึกถึงอกุศลวิตก

อันลามก คือ กามวิตก พยาบาทวิตก วิหิงสาวิตก ข้อนั้น เพราะเหตุไร

เพราะวิตกเหล่านี้ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อม

ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง

ความตรัสรู้ นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะตรึก พึงตรึกว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะความตรึกเหล่านั้น

ประกอบด้วยประโยชน์เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย

ความคลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร

เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบวิตักกสูตรที่ ๗

* สูตรที่ ๗-๘-๙ ไม่มีอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 413

๘. จินตสูตร

ว่าด้วยการคิดในอริยสัจ ๔

[๑๖๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าคิดถึงอกุศลจิตอัน

สามกว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพอันนั้น สรีระก็

อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก

สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็น

อีกก็มี ย่อมไม่เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็หามิได้

ย่อมไม่เป็นอีกก็หามิได้ ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะความคิดนี้ไม่ประกอบ

ด้วยประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย...

นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะความคิดนี้ประกอบ

ด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย...

นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความ

เพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบจินตสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 414

๙. วิคคาหิกกถาสูตร

ว่าด้วยการพูดที่ไม่เป็นประโยชน์

[๑๖๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าพูดถ้อยคำแก่งแย่ง

กันว่า ท่านไม่รู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ เรารู้ทั่วถึงธรรมวินัยนี้ ท่านจักรู้ทั่วถึงธรรม

วินัยนี้ได้อย่างไร ท่านปฏิบัติผิด เราปฏิบัติถูก สิ่งที่ควรพูดก่อน ท่านพูด

เสียทีหลัง สิ่งที่ควรพูดทีหลัง ท่านพูดเสียก่อน เป็นประโยชน์แก่เรา ไม่

เป็นประโยชน์แก่ท่าน ความเป็นไปอย่างอื่นที่คลาดเคลื่อน ท่านประพฤติแล้ว

ท่านยกวาทะขึ้นแล้วเพื่อเปลื้องวาทะของผู้อื่น ท่านถูกข่มขี่แล้ว ท่านจงชำแรก

ออก ถ้าท่านอาจ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะถ้อยคำนี้ไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย...

นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะพูด พึงพูดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะถ้อยคำนี้ประกอบด้วยประโยชน์ เป็น

พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย ... นิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ

เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบวิคคหิกกถาสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 415

๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร

ว่าด้วยการพูดติรัจฉานกถา

[๑๖๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงอย่าพูดติรัจฉานกถา

ซึ่งมีหลายอย่าง คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอมาตย์ เรื่องกอง

ทัพ เรื่องภัย เรื่องรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องดอก

ไม้ เรื่องของหอม เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องนคร

เรื่องชนบท เรื่องสตรี เรื่องบุรุษ เรื่องคนกล้าหาญ เรื่องตรอก เรื่องท่าน้ำ

เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว เรื่องเบ็ดเตล็ด เรื่องโลก เรื่องทะเล เรื่องความ

เจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะถ้อยคำที่ไม่

ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความ

หน่าย... นิพพาน ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะพูด พึงพูดว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะถ้อยคำนี้ประกอบด้วยประโยชน์

เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย... นิพพาน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบติรัจฉานกถาสูตรที่ ๑๐

จบสมาธิวรรคที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 416

อรรถกถาติรัจฉานกถาสูตร

พึงทราบอธิบายในติรัจฉานกถาสูตรที่ ๑๐.

บทว่า อเนกวิหิต ได้แก่ มีหลายอย่าง. คำว่า ติรัจฉานกถา

คือ ถ้อยคำที่เป็นเดรัจฉาน นอกทางสวรรค์และนิพพาน เพราะไม่เป็นการนำ

ออกจากทุกข์.ในคำว่า เรื่องพระราชา ดังนี้เป็นต้น ถ้อยคำที่ปรารภพระราชา

แล้ว เป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า พระเจ้ามหาสมมต พระเจ้ามันธาตา พระเจ้า

ธรรมาโศก มีอานุภาพมากอย่างนี้ ชื่อว่า เรื่องพระราชา. แม้ในเรื่องโจร

เป็นต้นก็นัยนี้. ก็เรื่องความรักอาศัยเรือนโดยนัยเป็นต้นว่า บรรดาพระราชา

เหล่านั้น พระราชาพระองค์นั้น มีรูปงาม น่าดู ชื่อว่า ติรัจฉานกถา. ก็ถ้อย

คำที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้ผู้มีชื่อนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ ได้ถึงความสิ้น

ไป เสื่อมไปแล้ว ตั้งอยู่ในความเป็นกรรมฐาน แม้ในหมู่โจร การกล่าวคำ

แสดงความรักอาศัยเรือนว่า คำเหล่านั้น ได้มีแล้ว เพราะอาศัยกรรมของพวก

โจรนั้นว่า มูลเทพเป็นผู้มีอานุภาพมากอย่างนี้ ชื่อว่า ติรัจฉานกถา. ในการ

รบ ถ้อยคำด้วยอำนาจความใคร่และความยินดีว่า คนโน้น ถูกคนโน้น แทง

ในการรบเป็นต้นอย่างนี้ว่า ถูกฆ่าแล้วอย่างนี้นั่นเทียว ชื่อว่า ติรัจฉานกถา.

ก็ถ้อยคำที่เป็นไปแล้วอย่างนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า แม้พวกนั้นก็ถึงความสิ้นไปจัดเป็น

กรรมฐานในที่ทุกแห่งนั่นเทียว. อีกอย่างหนึ่ง แม้ในเรื่องข้าวเป็นต้น การ

กล่าวด้วยอำนาจความใคร่และความยินดีว่า พวกเราจะเคี้ยว บริโภค ดื่มข้าว

เป็นต้นที่มีสีมีกลิ่น ถึงพร้อมด้วยรสและผัสสะ ย่อมไม่ควร. ส่วนการกล่าว

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 417

เรื่องที่มีประโยชน์ก่อนว่า พวกเราได้ถวายข้าว น้ำดื่ม ผ้า ยาน ที่นอน

ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ที่ถึงพร้อมด้วยสีเป็นต้น แก่ผู้มีศีลทั้งหลาย

พวกเราได้ทำการบูชาที่เจดีย์ ดังนี้ ก็ควร. แม้ในพวกญาติเป็นต้น การ

กล่าวด้วยอำนาจความยินดีว่า ญาติทั้งหลายของพวกเรา เป็นผู้แกล้วกล้า

สามารถ หรือว่า พวกเราเที่ยวด้วยยานอันงดงามอย่างนี้ในกาลก่อน ดังนี้

ย่อมไม่ควร.

ก็ควรกล่าวถ้อยคำว่า ญาติทั้งหลายของพวกเราแม้เหล่านั้น ทำสิ่งมี

ประโยชน์แล้วถึงความสิ้นไป หรือว่า ครั้งก่อนพวกเราได้ถวายยานเห็นปาน

นี้แก่พระสงฆ์. แม้ในเรื่องบ้านเป็นต้น การกล่าวด้วยอำนาจบ้านที่อยู่แล้วดี

อยู่ไม่ดีและหาอาหารง่ายยากเป็นต้น หรือด้วยความยินดีอย่างนี้ว่า ผู้ที่อยู่บ้าน

โน้นแกล้วกล้าสามารถ ดังนี้ ไม่ควร. ก็การกล่าวถึงเรื่องบ้านนั้นว่า คนทั้ง

หลาย ทำสิ่งให้ประโยชน์ มีศรัทธา เลื่อมใสแล้ว หรือว่า คนเหล่านั้นถึง

ความสิ้นไปเสื่อมไป ดังนี้ ไม่ควร. แม้ในการกล่าวเรื่องอำเภอ นครและชน-

บท ก็นัยนี้ แม้การกล่าวเรื่องผู้หญิงอาศัยผิวและทรวดทรงเป็นต้นแล้ว ไม่

ควรเพื่อจะกล่าวด้วยอำนาจความยินดีเป็นต้น. การกล่าวอย่างนี้ว่า คนพวกนี้

มีศรัทธาเลื่อมใสแล้วถึงความสิ้นไป ดังนี้เทียว ก็ควร. แม้การกล่าวเรื่องคน

กล้า ไม่ควรเพื่อจะกล่าว ด้วยอำนาจความยินดีว่า นักรบชื่อว่า นันทมิต

เป็นผู้แกล้วกล้า. การกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้นี้เป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใสแล้วถึงความ

สิ้นไป ดังนี้เทียว ก็ควร. ปาฐะว่าสูรกถา ดังนี้บ้าง การกล่าวถึงผู้กล้าหาญแม้

นั้น ย่อมไม่ควรด้วยอำนาจความยินดีว่า ขึ้นชื่อว่า หญิงเห็นปานนี้ เป็นผู้มี

บิดา ชื่อว่า สูระ มีมารดาชื่อว่า ฤดี ดังนี้นั่นเทียว. ส่วนการกล่าวด้วย

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 418

อำนาจโทษนั่นแหละ ย่อมควรโดยนัย เป็นต้นว่า ผู้ประพฤติวัตรของผู้เป็นบ้า.

แม้การกล่าวเรื่องตรอก ย่อมไม่ควรเพื่อจะกล่าว ด้วยอำนาจความยินดีว่า

ตรอกโน้น สร้างไว้ดีแล้ว หรือว่า พวกตนที่อยู่ตรอกโน้นแกล้วกล้า มีความ

สามารถดังนี้. การกล่าวอย่างนี้ว่า พวกเขาเป็นผู้มีศรัทธา เลื่อมใสแล้วถึงความ

สิ้นไป ดังนี้ ก็ควร. ถ้อยคำว่าด้วยเรื่องที่ตั้งหม้อ ถ้อยคำว่าด้วยเรื่องท่าน้ำ

ท่านเรียกว่า เรื่องท่าน้ำ. หรือว่าด้วยเรื่องนางทาสีตักน้ำด้วยหม้อ . การกล่าว

ด้วยอำนาจความยินดีว่า แม้นางเป็นผู้น่าเลื่อมใส ฉลาดที่จะฟ้อนขับ ดังนี้

ไม่ควร. การกล่าวโดยนัยเป็นต้นว่า มีศรัทธา เลื่อมใสแล้ว ดังนี้เทียว ก็ควร.

คำว่า เรื่องคนที่ล่วงลับไปแล้ว ได้แก่ เรื่องญาติที่ล่วงลับไปแล้ว.

การวินิจฉัยในเรื่องญาติที่ล่วงลับไปแล้วนั้น ก็เหมือนกับเรื่องญาติที่ยังมีชีวิต

อยู่นั่นแหละ.

คำว่า เรื่องเบ็ดเตล็ด ได้แก่ เรื่องที่หาประโยชน์มิได้ พ้นจาก

เรื่องเกิดก่อนและหลัง ที่เหลือมีสภาพต่าง ๆ.

คำว่า กล่าวเรื่องโลก คือการกล่าวเล่น ๆ ว่าด้วยเรื่องโลกเป็นต้น

อย่างนี้ว่า โลกนี้ใครสร้าง คนชื่อโน้นสร้าง กาขาว เพราะมีกระดูกขาว นก

ตะกรุมแดง เพราะมีโลหิตแดง. การกล่าวเรื่องทะเลอัน ไม่มีประโยชน์เป็นต้น

อย่างนี้ว่า เพราะเหตุไร ทะเลจึงชื่อว่า สาคร ชื่อว่า สมุทร เพราะรู้ได้ด้วยปลายมือ

ว่า ชื่อว่าสาครที่เคาขุดแล้ว เพราะสาครเทพขุดแล้ว ชื่อว่า กล่าวเรื่องทะเล.

การกล่าวเรื่องที่ไม่มีประโยชน์ทั่ว ๆ ไปว่า เจริญ เสื่อม แล้วกล่าวเรื่องที่เป็นไป

ชื่อว่า กล่าวเรื่องความเจริญและความเสื่อม. ก็ในเรื่องกล่าวความเจริญและ

ความเสื่อมนี้ ความเที่ยงชื่อว่า ความเจริญ ความขาดสูญชื่อว่า ความเสื่อม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 419

ความก้าวหน้าชื่อว่า ความเจริญ ความหายนะชื่อว่า ความเสื่อม กามสุข

ชื่อว่า ความเจริญ การทำตนให้ลำบาก ชื่อว่า ความเสื่อม รวมกับความ

เจริญและความเสื่อมด้วยประการนั้น ๆ ๖ อย่างเหล่านี้ จึงเป็นการกล่าวเรื่อง

เดรัจฉาน ๓๒ ด้วยประการฉะนี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง ตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาติรัจฉานกถาสูตรที่ ๑๐

จบสมาธิวรรควรรณนาที่ ๑

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. สมาธิสูตร ๒. ปฎิสัลลานสูตร ๓. ปฐมกุลปุตตสูตร ๔. ทุติย-

กุลปุตตสูตร ๕. ปฐมสมณพราหมณสูตร ๖. ทุติยสมณพราหมณสูตร ๗.

วิตักกสูตร ๘. จินตสูตร ๙. วิคคหิกกถาสูตร ๑๐. ติรัจฉานกถาสูตร และ

อรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 420

ธรรมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒

๑. ปฐมตถาคตสูตร

ทรงแสดงพระธรรมจักร

[๑๖๖๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน

กรุงพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุปัญจวัคคีย์มาแล้ว

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุดสองอย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ

ส่วนสุดสองอย่างนั้นเป็นไฉน คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขใน

กามทั้งหลาย เป็นของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ประเสริฐ

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความลำบากแก่ตน เป็นทุกข์ ไม่

ประเสริฐ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ข้อปฏิบัติอัน เป็นสายกลาง ไม่เข้าไป

ใกล้ส่วนสุด ๒ อย่างเหล่านั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ

ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน

ก็ข้อปฏิบัติอันเป็นสายกลางนั้น... เป็นไฉน คือ อริยมรรคอันประกอบด้วย

องค์ ๘ นี้แหละ. ซึ่งได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ

การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจชอบ ข้อปฏิบัติ

อันเป็นสายกลางนี้แล อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว กระทำจักษุ กระทำญาณ

ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๑๖๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ ความเกิด

ก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 421

ความประจวบด้วยสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็น

ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้แม้สิ่งนี้ ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทาน-

ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้แล คือ ตัณหา ตัณหาให้มีภพใหม่

ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ ความเพลิดเพลินยิ่งนักใน

อารมณ์นั้น ๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภววัตหา ก็ทุกขนิโรธอริยสัจ

นี้แล คือ ความดับด้วยการสำรอกโดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ

ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล

คือ อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ซึ่งได้แก่สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ.

[๑๖๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ

ทุกขอริยสัจนั้นควรกำหนดรู้ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้นเรากำหนดรู้แล้ว .

[๑๖๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เรา ไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ฯลฯ

ทุกขสมุทัยอริยสัจนั้นควรละ ฯลฯ ทุกขสมุทัยอริยสัจนั้นเราละแล้ว.

[๑๖๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ

ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นควรกระทำให้แจ้ง ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นเรากระทำให้

แจ้งแล้ว.

[๑๖๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทาอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นควรเจริญ จักษุ ญาณ

ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟัง

มาก่อนว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นเราเจริญแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 422

[๑๖๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ญาณทัสสนะ (ความรู้ความเห็น)

ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒ ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้

ของเรา ยังไม่บริสุทธิ์เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้อนุตตร-

สัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์

พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ก็เมื่อใด ญาณทัสสนะ

(ความรู้ความเห็น) ตามความเป็นจริง มีวนรอบ ๓ อย่างนี้ มีอาการ ๑๒

ในอริยสัจ เหล่านี้ของเรา บริสุทธิ์ดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณตนว่า

เป็นผู้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหม

โลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็ญาณทัสสนะ

ได้บังเกิดขึ้นแก่เราว่า วิมุตติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติที่สุด บัดนี้

ภพใหม่ไม่มี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์

ปลื้มใจ ชื่นชมภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า.

[๑๖๗๑] ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ ดวงตา

เห็นธรรมอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแก่ท่านโกณฑัญญะว่า

สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ

เป็นธรรมดา ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรแล้ว พวกภุมม

เทวดาได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

ประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสีอันสมณะพราหมณ์เทวดา

มารพรหมหรือใครๆ ในโลกประกาศไม่ได้ พวกเทพชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียง

ของพวกภุมมเทวดาแล้ว... พวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้น

จาตุมหาราชแล้ว.. พวกเทพชั้นยามาได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้ว...

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 423

พวกเทพชั้นดุสิตได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นยามาแล้ว ... พวกเทพชั้นนิมมานร

ดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดุสิตแล้ว ... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีได้ฟัง

เสียงของพวกเทพชั้นนิมมานรดีแล้ว... พวกเทพที่นับเนื่องในหมู่พรหมได้ฟัง

เสียงของพวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ได้ประกาศว่า นั่นธรรมจักร

อันยอดเยี่ยม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤทายวัน

กรุงพาราณสี อันสมณะพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใคร ๆ โนโลก

ประกาศไม่ได้.

[๑๖๗๒] โดยขณะนั้น โดยครู่นั้น เสียงได้ระบือขึ้นไปจนถึงพรหม

โลกด้วยประการฉะนี้ ก็หมื่นโลกธาตุนี้สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ทั้งแสงสว่าง

อันยิ่ง หาประมาณมิได้ ได้ปรากฎแล้วในโลกล่วงเทวานุภาพของพวกเทพดา

ทั้งหลาย.

[๑๖๗๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า โกณ-

ฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้น คำว่า

อัญญาโกณฑัญญะ จึงได้เป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบตถาคตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 424

อรรถกถาธรรมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒

อรรถกถาปฐมตถาคตสูตร

คำว่า กรุงพาราณสี ได้แก่ พระนคร ที่มีชื่อ อย่างนี้.

คำว่า อิสิปตนมิทายวัน ได้แก่ ในป่าที่ได้ชื่ออย่างนี้ ด้วยอำนาจการตก

ไปแห่งฤๅษีทั้งหลาย. ในอารามกล่าวคือป่าที่ชื่อว่ามิคทาย เพราะให้อภัยแก่

เนื้อทั้งหลาย ด้วยอำนาจการให้อภัย. อธิบายว่า ก็ฤๅษีทั้งหลายที่เป็นสัพพัญญู

เกิดขึ้นแล้ว ๆ ย่อมตกไป คือ นั่งในป่านั้น เพื่อให้ธรรมจักรเป็นไป. แม้ฤๅษีผู้

เป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย ล่วงไป ๗ วันออกจากสมาบัติ ทำกิจมีการ

ล้างหน้าเป็นต้น ที่สระอโนดาต มาทางอากาศจากเงื้อมเขาชื่อว่านันทมูลกะ

แล้วตกลงไปด้วยอำนาจการหยั่งลงทีป่านั้น ย่อมประชุมกันทำอุโบสถ และอนุ-

อุโบสถ มุ่งไปภูเขาคันธมาทน์บ้าง และเหาะมาจากเขาคันธมาทน์นั้นบ้าง ด้วย

คำตามที่กล่าวมาแล้วนี้แล ป่านั้นท่านจึงเรียกว่า อิสิปตนะ ด้วยการตกและการ

เหาะขึ้นแห่งฤาษีทั้งหลาย.

คำว่า อามนฺเตสิ ความว่า บำเพ็ญบารมี ตั้งแต่ทำอภินิหารที่ใกล้

พระบาทของพระทีปังกรพุทธเจ้า และเสด็จออกผนวชในพระชาติสุดท้ายโดย

ลำดับ ประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์ที่ป่านั้น ทรงทำลายมารและกำลังมาร

ปฐมยามทรงระลึกถึงบุพเพนิวาสานุสติญาณได้ มัชฌิมยามทรงชำระทิพยจักษุ

ให้บริสุทธิ์ มัชฉิมยามสุดท้าย ทรงยังหมุนโลกธาตุให้กึกก้องหวั่นไหวอยู่ ทรง

บรรลุพระสัพพัญญุตญาณ แล้วทรงให้ล่วงไปเจ็ดวันที่ควงไม้โพธิ์ มีการแสดง

ธรรมที่ท้าวมหาพรหมอ้อนวอนแล้ว ทรงตรวจดูโลกด้วยทิพยจักษุ แล้วเสด็จ

ไปเมืองพาราณสี ด้วยการสงเคราะห์สัตวโลก ทรงให้พระปัญจวัคคีย์ยินยอม

แล้ว ทรงประสงค์จะประกาศธรรมจักร จึงตรัสเรียกมาแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 425

คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุดทั้งสองอย่างนี้ ความว่า

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนลามกสองเหล่านั้น ก็พร้อมกับการตรัสถึงบทนี้ เสียง

กึกก้องแห่งการตรัส เบื้องล่างต่อเวจี เบื้องบนจดถึงภวัคคพรหม แผ่ไปทั่ว

หมื่นโลกธาตุตั้งอยู่. สมัยนั้นเอง พรหมนับได้ ๑๘ โกฏิ มาประชุมกันแล้ว.

ดวงอาทิตย์ตกลงทางทิศตะวันตก ดวงจันทร์เต็มดวงประกอบด้วยหมู่ดาว

นักษัตรแห่งเดือนอาฬหะลอยขึ้นไปอยู่ทางทิศตะวันออก. สมัยนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้า เมื่อทรงเริ่มธรรมจักกัปปวัตตนสูตรนี้ จึงตรัสคำเป็นต้นว่า ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุดทั้งสองอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อันบรรพชิต ความว่า ผู้ตัดสังโยชน์

แห่งคฤหัสถ์แล้วเข้าถึงการบวช.

คำว่า ไม่ควรเสพ คือไม่พึงใช้สอย. คำว่า การประกอบตนให้

พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย ความว่า การตามประกอบกามสุข

ในวัตถุกาม กิเลสกาม. คำว่า เป็นของเลว ได้แก่ลามก. คำว่า เป็นของ

ชาวบ้าน. คือเป็นของมีอยู่แห่งชาวบ้านทั้งหลาย. คำว่า เป็นของปุถุชน

ได้แก่ ที่คนอันธพาลประพฤติเนือง ๆ แล้ว. คำว่า ไม่ประเสริฐ ได้แก่

ไม่บริสุทธิ์ คือไม่ใช่ของสูงสุด อีกอย่างหนึ่ง มิใช่ของพระอริยะทั้งหลาย. คำว่า

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ คือประกอบด้วยประโยชน์หามิได้ อธิบายว่า

ไม่อาศัย เหตุที่นำประโยชน์เกื้อกูลแสะความสุขมาให้.

คำว่า การประกอบความลำบากแก่ตน คือการตามประกอบความ

ลำบากให้ตน อธิบายว่า ทำทุกข์แก่ตน. คำว่า เป็นทุกข์ ได้แก่ นำทุกข์มา

ให้ด้วยการฆ่าตน มีการนอนหงายบนหนามเป็นต้น . พระองค์ทรง ทำจักษุคือ

ปัญญา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า กระทำจักษุ. บทที่ ๒ เป็นไวพจน์บทนั้นนั่นเอง

คำว่า เพื่อความสงบ คือเพื่อประโยชน์แก่การสงบกิเลส. คำว่า เพื่อความ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 426

รู้ยิ่ง คือเพื่อประโยชน์แก่การรู้ยิ่งซึ่งสัจจะทั้ง ๔. คำว่า เพื่อความจรัสรู้

ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การตรัสรู้สัจจะ ๔ เหล่านั้นนั่นเอง. คำว่า เพื่อ

นิพพาน ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน. ในบทนี้

คำใดที่เหลือเป็นของพึงกล่าวไว้ คำนั้น ท่านกล่าวไว้ในบทนั้น ๆ ในหนหลัง

แม้สัจจกถาท่านก็ให้พิสดารแล้วในปกรณ์วิเศษวิสุทธิมรรค โดยประการ

ทั้งปวงนั้นแล.

คำว่า มีวนรอบ ๓ คือวน ๓ รอบ ด้วยอำนาจวนรอบ ๓ กล่าว

คือ สัจญาณ กิจญาณ และกตญาณ. ก็ในวนรอบ ๓ นี้ ญาณตามความ

เป็นจริงในสัจจะ ๔ อย่างนี้ คือ นี้ทุกขอริยสัจจะ นี้ทุกขสมุทัย ชื่อว่า

สัจญาณ ญาณที่เป็นเครื่องรู้กิจที่ควรทำอย่างนี้ว่า ควรกำหนดรู้ ควรละ

ในสัจจะเหล่านั้นเที่ยว ชื่อว่า กิจญาณ. ญาณเป็นเครื่องรู้ภาวะเเห่งกิจนั้น

ที่ทำแล้วอย่างนี้ว่า กำหนดรู้แล้ว ละได้แล้ว ดังนี้ ชื่อว่า กตญาณ. คำว่า

มีอาการ ๑๒ ความว่ามีอาการ ๑๒ ด้วยอำนาจอาการสัจจะละ ๓ นั้น

คำว่า ญาณทัสสนะ คือ การเห็น กล่าวคือญาณที่เกิดขึ้นแล้วด้วยอำนาจ

วนรอบ ๓ อย่าง อาการ ๑๒ อย่างเหล่านี้. คำว่า ดวงตาเห็นธรรม ได้แก่

มรรค ๓ และผล ๓ ในที่อื่น ชื่อว่า เป็นธรรมจักษุ. ในบทนี้ ได้แก่ ปฐม

มรรคทีเดียว. คำว่า ธรรมจักร ได้แก่ ญาณ เป็นเครื่องแทงตลอด และ

ญาณเป็นเครื่องแสดง. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนโพธิบัลลังก์

ปฏิเวธญาณ มีอาการ ๑๒ เกิดขึ้นแล้วในสัจจะ ๔ ก็ดี ประทับนั่งแม้ในป่า

อิสิปตนะ เทศนาญาณ ที่เป็นไปแล้ว เพื่อแสดงสัจจะมีอาการ ๑๒ ก็ดี ชื่อว่า

ธรรมจักร. ก็ญาณแม้ทั้งสองนั้น ชื่อว่า ญาณที่ที่เป็นไปแล้วในพระอุระของ

พระทศพลนั่นเที่ยว ธรรมจักรนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงประกาศ

ด้วยเทศนาน ชื่อว่า ทรงให้เป็นไปแล้ว. ก็ธรรมจักรนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 427

ทรงให้เป็นไป ตราบจนถึงพระอัญญาโกณฑัญญเถระ กับพรหม ๑๘ โกฏิ

ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล และเมื่อให้ธรรมจักรเป็นไปแล้ว จึงชื่อว่าให้เป็นไป

แล้ว. ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้ธรรมจักรเป็นไปแล้ว ท่านหมายเอา

คำนั้น จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ภุมมเทวดาทั้งหลาย ประกาศให้ได้ยินเสียง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุมฺมา ได้แก่ เทวดาผู้ดำรงอยู่บน

พื้นดิน. คำว่า ประกาศให้ได้ยินเสียง ความว่า เทวดาทั้งหลายให้สาธุการ

พร้อมกันทีเดียว กล่าวคำเป็นต้นว่า นั่นธรรมจักรอันยอดเยี่ยม อันพระผู้มี

พระภาคเจ้า . . . ดังนี้ ประกาศให้ได้ยินแล้ว. คำว่า แสงสว่าง ได้แก่ แสง

สว่างคือ พระสัพพัญญุตญาณ. จริงอยู่ แสงสว่าง คือพระสัพพัญญุตญาณนั้น

ไพโรจน์ล่วงเทวานุภาพของพวกเทพ. คำว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ

ความว่า เสียงกึกก้องอย่างโอฬารแห่งพระอุทานนี้ แผ่ไปตลอดหมื่นโลกธาตุ

แล้วตั้งอยู่.

จบอรรถกถาปฐมตถาคตสูตรที่ ๑

๒. ทุติยตถาคตสูตร

จักษุญาณปัญญาวิชชาแสงสว่างเกิดแก่พระตถาคต

[๑๖๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสง

สว่างได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้

ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้นควรกำหนดรู้ ฯลฯ ทุกขอริยสัจนั้น พระ-

ตถาคตทั้งหลายกำหนดรู้แล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 428

[๑๖๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกข-

สมุทยอริยสัจ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจ นั้นควรละ ฯลฯ ทุกขสมุทยอริยสัจนั้น

พระตถาคตทั้งหลายละได้แล้ว.

[๑๖๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง

ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกข-

นิโรธอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธอริยสัจนั้นควรกระทำให้แจ้ง ฯลฯ ทุกขนิโรธ

อริยสัจนั้น พระตถาคตทั้งหลายกระทำให้แจ้งแล้ว.

[๑๖๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสง

สว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคตทั้งหลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้นควร

เจริญ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระตถาคตทั้ง

หลาย ในธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น

พระตถาคตทั้งหลายเจริญแล้ว.

จบทุติยตถาคตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 429

๓. ขันธสูตร

ว่าด้วยอริยสัจ ๔

[๑๖๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔ เป็น

ไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ควรจะกล่าว

ได้ว่าอุปาทานขันธ์ ๕ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน ได้แก่อุปาทานขันธ์คือรูป

อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปา-

ทานขันธ์คือวิญญาณ นี้เรียกว่าทุกขอริยสัจ.

[๑๖๘๐] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่

ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์

นั้น ๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้ เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

[๑๖๘๑] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความดับด้วยการสำรอกโดย

ไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ ความวาง ความปล่อย ความไม่อาลัย

ตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

[๑๖๘๒] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุนั้น

แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบขันธสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 430

๔. อายตนสูตร

ว่าด้วยอริยสัจ ๔

[๑๖๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้ อริยสัจ ๔

เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทยอริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน ควรจะกล่าวว่า

อายตนะภายใน ๖. อายตนะภายใน ๖ เป็นไฉน คือ อายตนะคือตา ฯลฯ

อายตนะคือใจ นี้เรียกว่า ทุกขอริยสัจ.

[๑๖๘๖] ก็ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นไฉน ตัณหาอันทำให้มีภพใหม่

ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความพอใจ เพลิดเพลินยิ่งนักในอารมณ์

นั้น ๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทยอริยสัจ.

[๑๖๘๗] ก็ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นไฉน ความดับด้วยการสำรอกโดย

ไม่เหลือแห่งตัณหานั้นแหละ ความสละ. ความวาง ความปล่อย ความไม่

อาลัยตัณหานั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธอริยสัจ.

[๑๖๘๘] ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นไฉน อริยมรรคอัน

ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แหละ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ.

[๑๖๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล เพราะเหตุ

นั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์

ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบอายตนสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 431

๕. ปฐมธารณสูตร

ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔

[๑๖๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เรา

แสดงแล้วไว้เถิด.

เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำซึ่งอริยสัจที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง

แสดงแล้ว.

พ. ดูก่อนภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑

ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นข้อที่ ๒ ทุกขนิโรธอริยสัจเป็นข้อที่ ๓ ทุกขนิโรธ-

คามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำอริยสัจ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง

แล้ว อย่างนี้แล.

[๑๖๙๑] พ. ดูก่อนภิกษุ ดีละ ๆ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดง

แล้วได้ถูกต้อง เราแสดงทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ เธอทรงจำได้ เราแสดง

ทุกขสมุทยอริยสัจเป็นข้อที่ ๒ เธอก็ทรงจำได้ เราแสดงทุกขนิโรธอริยสัจเป็น

ข้อที่ ๓ เธอก็ทรงจำได้ เราแสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔

เธอก็ทรงจำได้ เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ

เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงการทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปฐมธารณสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 432

๖. ทุติยธารณสูตร

ว่าด้วยการทรงจำอริยสัจ ๔ อย่างถูกต้อง

[๑๖๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เรา

แสดงไว้แล้วเถิด เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำได้ ซึ่งอริยสัจ ๔ ที่

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว.

พ. ดูก่อนภิกษุ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดงแล้วได้อย่างไร.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑

ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ก็สมณะหรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึง

กล่าวอย่างนี้ว่า นี้ไม่ใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้

เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่ ๑

อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ ข้าพระองค์ทรงจำทุกขนิโรธ-

คามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้ว ก็สมณะ

หรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อริยสัจข้อที่ ๔ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจที่ ๔

อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์

ทรงจำอริยสัจ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วอย่างนี้แล.

[๑๖๙๓] พ. ดูก่อนภิกษุ ดีละ ๆ เธอทรงจำอริยสัจ ๔ ที่เราแสดง

แล้วได้ถูกต้อง เราแสดงทุกขอริยสัจเป็นข้อที่ ๑ เธอก็ทรงจำได้ ก็สมณะ

หรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ ที่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 433

พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ นั้นเสีย แล้ว

บัญญัติทุกขอริยสัจข้อที่ ๑ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฯลฯ เรา

แสดงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจเป็นข้อที่ ๔ เธอก็ทรงจำได้ ก็สมณะ

หรือพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่งจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า นี้มิใช่ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อริยสัจข้อที่ ๔ ที่พระสมณโคดมทรงแสดงไว้ เราจักบอกเลิกทุกขนิโรธ-

คามินีปฏิปทาอริยสัจข้อที่ ๔ นั้นเสีย แล้วบัญญัติทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อริยสัจข้อที่ ๔ อย่างอื่นใหม่ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เธอจงทรงจำอริยสัจ ๔

ที่เราแสดงแล้วอย่างนี้แล ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำ

ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบทุติยธารณสูตรที่ ๖

๗. อวิชชาสูตร

ว่าด้วยอวิชชา

[๑๖๙๔] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า อวิชชา ๆ ดังนี้ อวิชชา

เป็นไฉน และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าตกอยู่ในอวิชชา พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ความไม่รู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ใน

ความดับทุกข์ ในทางที่จะให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่าอวิชชา และด้วยเหตุ

เพียงเท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่า ตกอยู่ในอวิชชา ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ

เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ

คามินีปฏิปทา.

จบอวิชชาสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 434

๘. วิชชาสูตร

ว่าด้วยวิชชา

[๑๖๙๕] ภิกษุนั้นนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มี

พระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่เรียกว่า วิชชา ๆ ดังนี้ วิชชา

เป็นไฉน และด้วยเหตุเพียงเท่าไร บุคคลจึงจะชื่อว่าถึงวิชชา พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ความรู้ในทุกข์ ในเหตุให้เกิดทุกข์ ในความ

ดับทุกข์ ในทางที่ให้ถึงความดับทุกข์ นี้เรียกว่า วิชชา และด้วยเหตุเพียง

เท่านี้ บุคคลย่อมชื่อว่าถึงวิชชา ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึง

กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา.

จบวิชชาสูตรที่ ๘

๙. สังกาสนสูตร

ว่าด้วยบัญญัติแห่งอริยสัจ ๔

[๑๖๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจ

อักขระ พยัญชนะ การจำแนกในทุกขอริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้

เพราะเหตุนี้ ๆ นี้เป็นทุกขอริยสัจ ฯลฯ เราบัญญัติว่า นี้เป็นทุกขนิโรธ

คามินีปฏิปทาอริยสัจ อักขระ พยัญชนะ การจำแนกทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อริยสัจนั้น หาประมาณมิได้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ นี้เป็นทุกขนิโรธคามินี-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 435

ปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง

กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา.

จบสังกาสนสูตรที่ ๙

อรรถกถาสังกาสนสูตร

พึงทราบอธิบายในสังกาสนสูตรที่ ๙.

คำว่า อปริมาณา วณฺณา ได้แก่ อักขระ ไม่มีประมาณ. คำว่า

พยัญชนะ ดังนี้ เป็นไวพจน์ของคำว่า อักขระหาปริมาณมิได้เหล่านั้น.

อีกอย่างหนึ่ง เอกเทศหนึ่ง. เเห่งอักขระ ก็คือชื่อว่า พยัญชนะ คำว่า

การจำแนก คือ การแยก. จริงอยู่ เมื่อสัจจะหนึ่ง ๆ ท่านแสดงให้

พิสดารอยู่ โดยอาการทั้งปวง อักขระเป็นต้น ก็ชื่อว่า ไม่มีที่สุด เพราะ

ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสแล้วอย่างนี้.

จบอรรถกถาสังกาสนสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 436

๑๐. ตถสูตร

ว่าด้วยของจริงแท้ ๔ อย่าง

[๑๖๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของจริงแท้ ไม่

แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น สิ่ง ๔ อย่างเป็นไฉน สิ่งนี้ว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้

เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์ นี้ทางให้ถึงความดับทุกข์ เป็นของจริงแท้ ไม่

แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น สิ่ง ๔ อย่างนี้ เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่

เป็นอย่างอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ

ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบตถสูตรที่ ๑๐

จบธรรมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 437

อรรถกถาสูตร

พึงทราบอธิบายในตถสูตรที่ ๑๐

ก็ทุกข์ ชื่อว่า เป็นของจริงแท้ เพราะอรรถว่าไม่มีอยู่โดยภาวะของตน

ท่านเรียกว่า ทุกข์นั่นแล ชื่อว่า ไม่แปรผัน เพราะสภาวะไม่ว่างเปล่า.

เพราะว่าทุกข์ ชื่อว่า มิใช่ทุกข์หามิได้. ชื่อว่า ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะไม่เข้า

ถึงสภาวะอื่น. ก็ทุกข์เข้าถึงการกล่าวในทุกขสมุทัยเป็นต้นหามิได้. แม้ในสมุทัย

เป็นต้น ก็นัยนี้แล

จบอรรถกถาสูตรที่ ๑๐

จบอรรถกถาธรรมจักกัปปวัตตนวรรคที่ ๒

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมตถาคตสูตร ๒. ทุติยตถาคตสูตร ๓. ขันธสูตร ๔. อายตน-

สูตร ๕. ปฐมธารณสูตร ๖. ทุติยธารณสูตร ๗. อวิชชาสูตร ๘. วิชชา

สูตร ๙. สังกาสนสูตร ๑๐. ตถสูตรและอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 438

โกฏิคามวรรคที่ ๓

๑. ปฐมวัชชีสูตร

ว่าด้วยการตรัสรู้และไม่ตรัสรู้อริยสัจ ๔

[๑๖๙๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โกฏิคาม ใน

แคว้นวัชชี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัส

ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดอริยสัจ ๔ เรา

ด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฎนี้ตลอดกาลนาน

อย่างนี้ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ไม่ได้แทงตลอดทุกข-

อริยสัจ ๑ ทุกขสมุทยอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธอริยสัจ ๑ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อริยสัจ ๑ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย จึงแล่นไป ท่องเที่ยวไปยังสังสารวัฏนี้

ตลอดกาลนานอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกขอริยสัจ เราด้วย เธอทั้ง

หลายด้วย ตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ทุกขสมุทยอริยสัจ. . . ทุกขนิโรธ-

อริยสัจ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ เราด้วย เธอทั้งหลายด้วย ตรัสรู้

แล้ว แทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพขาดสูญแล้ว ตัณหาที่จะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว

บัดนี้ ภพใหม่ไม่มี พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ

ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๑๖๙๙ ] เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ตามเป็นจริง

เราและเธอทั้งหลายได้ท่องเที่ยวไปในชาติ

นั้น ๆ ตลอดกาลนาน อริยสัจ ๔ เหล่านี้

เราและเธอทั้งหลายเห็นแล้ว ตัณหาที่จะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 439

นำไปสู่ภพถอนขึ้นได้แล้ว มูลแห่งทุกข์

ตัดขาดแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี.

จบปฐมวัชชีสูตรที่ ๑

อรรถกถาโกฏิคามรรคที่ ๓

อรรถกถาวัชชีสูตร

พึงทราบอธิบายในวัชชีสูตรที่ ๑ แห่ง โกฏิคามวรรคที่ ๓.

คำว่า เพราะไม่ได้ตรัสรู้ ได้เเก่ เพราะไม่รู้ตาม. คำว่า ไม่ได้

แทงตลอด คือ เพราะไม่มีการแทงตลอด.

จบอรรถกถาวัชชีสูตรที่ ๑

๒. ทุติยวัชชีสูตร

ว่าด้วยการรู้ชัดและไม่รู้ชัดอริยสัจ ๔

[๑๗๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเล่า

หนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์.... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นไม่นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ หรือว่าเป็น

พราหมณ์ในพวกพราหมณ์ และท่านเหล่านั้นยังไม่กระทำให้แจ้งซึ่งประโยชน์

แห่งความเป็นสมณะหรือประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่ง

เอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 440

[๑๗๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่งย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะ

หรือพราหมณ์พวกนั้น นับว่าเป็นสมณะในพวกสมณะ และนับว่าเป็นพราหมณ์

ในพวกพราหมณ์ และท่านเหล่านั้นกระทำให้แจ้งแล้วซึ่งประโยชน์แห่งความ

เป็นสมณะ และประโยชน์แห่งความเป็นพราหมณ์ ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ใน

ปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณ-

ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า

[๑๗๐๒] ชนเหล่าใดย่อมไม่รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุ

เกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ โดยประการ

ทั้งปวงไม่มีเหลือ และไม่รู้ชัดซึ่งทางให้

ถึงความสงบทุกข์ ชนเหล่านั้นเสื่อมแล้ว

จากเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ ไม่ควร

เพื่อกระทำที่สุดทุกข์ เข้าถึงชาติและชรา

โดยแท้.

ส่วนชนเหล่าใด ย่อมรู้ชัดซึ่งทุกข์

เหตุเกิดแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ โดย

ประการทั้งปวงไม่มีเหลือ และรู้ชัดซึ่งทาง

ให้ถึงความสงบทุกข์ เหล่านั้นถึงพร้อม

แล้วด้วยเจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ

ควรเพื่อกระทำที่สุดทุกข์ ไม่เข้าถึงชาติ

และชรา.

จบทุติยวัชชีสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 441

อรรถกถาวัชชีสูตร

พึงทราบอธิบายใน วัชชีสูตรที่ ๒.

คำว่า เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติ เป็นชื่อแห่งผลสมาบัติและ

ผลปัญญา.

จบอรรถกถาวัชชีสูตรที่ ๒

๓. สัมมาสัมพุทธสูตร

ว่าด้วยความเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๑๗๐๓] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔

ประการเป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริย-

สัจ ๔ ประการนี้แล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการ

นี้แล ตามความเป็นจริง ตถาคต เขาจึงกล่าวว่า เป็นพระอรหันตสัมมา-

สัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายกระทำ

ความเพียร เพื่อรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทา.

จบสัมมาสัมพุทธสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 442

๔. อรหันตสูตร

ว่าด้วยพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

[๑๗๐๔] สาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็พระอรหันตสัมมาสัม-

พุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอดีตกาล ตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง พระอรหันต

สัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้แล้วซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ถึง

พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งในอนาคตกาล จักตรัสรู้ตาม

ความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น จักตรัสรู้อริยสัจ ๔

ตามความเป็นจริง ถึงพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าใดเหล่าหนึ่งในปัจจุบัน

ตรัสรู้อยู่ตามความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้

อยู่ซึ่งอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ...

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดเหล่า

หนึ่งในอดีตกาล ตรัสรู้แล้วตามความเป็นจริง... จักตรัสรู้.. . ตรัสรู้อยู่ตาม

ความเป็นจริง พระอรหันตสัมมาสัมมาพุทธเจ้าทั้งหมดนั้น ตรัสรู้อยู่ซึ่งอริยสัจ

๔ ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย

พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุnข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา.

จบอรหันตสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 443

๕. อาสวักขยสูตร

ว่าด้วยความสิ้นอาสวะ

[๑๗๐๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของผู้รู้ ผู้

เห็น ไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของผู้ไม่รู้ไม่เห็น ก็ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อะไร ผู้

เห็นอะไร ความสิ้นอาสวะของผู้รู้เห็นว่า นี้ทุกข์. . . นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะของผู้รู้อย่างนี้ ผู้เห็นอย่างนี้แล ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบอาสวักขยสูตรที่ ๕

๖. มิตตสูตร

ว่าด้วยการอนุเคราะห์มิตร

[๑๗๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชน

เหล่าใดเหล่าหนึ่งและชนเหล่าใดจะเป็นมิตร อมาตย์ ญาติหรือสายโลหิตก็ตาม

จะพึงสำคัญถ้อยคำว่าเป็นสิ่งที่ตนควรเชื่อฟังชนเหล่านั้น เธอทั้งหลายพึงให้

สมาทาน ให้ตั้งมั่นให้ประดิษฐานอยู่ในการตรัสรู้อริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง

อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ. . . ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ก็

เธอทั้งหลายจะพึงอนุเคราะห์ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง.. . ชนเหล่านั้น เธอทั้งหลาย

พึงให้สมาทาน ให้ตั้งมั่นให้ประดิษฐานอยู่ในการตรัสรู้อริยสัจ ๔ เหล่านี้แล

ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 444

กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทา.

จบมิตตสูตรที่ ๖

๗. ตถสูตร

ว่าด้วยอริยสัจ ๔ เป็นของจริงแท้

[๑๗๐๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็น

ไฉน คือ ทุกขอริยสัจ .. . ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔ ประการ

นี้แล เป็นของจริงแท้ ไม่แปรผัน ไม่เป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้น จึงเรียก

ว่า อริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ

ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบตถสูตรที่ ๗

อรรถกถาตถสูตร

พึงทราบอธิบายในตถสูตรที่ ๗.

คำว่า ตสฺมา อริยาน สจฺจานิ ความว่า สัจจะทั้งหลาย เหล่านั้น

เป็นของแท้ ไม่เป็นโดยประการอื่น เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น ท่านจึง

เรียกว่า สัจจะของพระอริยะทั้งหลาย. ก็พระอริยะทั้งหลายย่อมไม่แทงตลอด

สัจจะทั้งหลายที่แปรผันเป็นอย่างอื่น โดยความจริงของพระอริยะ.

จบอรรถกถาตถสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 445

๘. โลกสูตร

พระตถาคตเป็นอริยะในโลกทั้งปวง

[๑๗๐๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็น

ไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตถาคตเป็นอริยะ

ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะ

พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ

เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบโลกสูตรที่ ๘

อรรถกถาโลกสูตร

พึงทราบอธิบายในโลกสูตรที่ ๘.

คำว่า ตถาคโต อริโย ตสฺมา อริยสจฺจานิ ความว่า อริยสัจ

ทั้งหลายนั้น ชื่อว่า เป็นของพระอริยะ. เพราะพระตถาคตผู้พระอริยะ ทรง

แทงตลอดและแสดงแล้ว เพราะเหตุใด เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อริยสัจ

เพราะเป็นความจริงของพระอริยะ.

จบอรรถกถาโลกสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 446

๙. ปริญเญยยสูตร *

ว่าด้วยหน้าที่ในอริยสัจ ๔

[๑๗๐๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการนี้ ๔ ประการ

เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ...ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ อริยสัจ ๔

ประการนี้แล บรรดาอริยสัจ ๔ ประการนี้ อริยสัจที่ควรกำหนดรู้ ที่ควรละ

ที่ควรกระทำให้แจ้ง ที่ควรให้เกิดมี มีอยู่ ก็อริยสัจที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน

ทุกขอริยสัจ ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยอริยสัจ ควรละ ทุกขนิโรธอริยสัจ

ควรกระทำให้แจ้ง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ควรให้เกิดมี ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ

เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปริญเญยยสูตรที่ ๙

๑๐. ควัมปติสูตร

ผู้เห็นทุกข์ ชื่อว่า เห็นในสมุทัย นิโรธมรรค

[๑๗๑๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระมากรูปอยู่ ณ เมืองสหชนิยะ

แคว้นเจดีย์ ก็สมัยนั้น เมื่อภิกษุผู้เถระมากรูปกลับจากบิณฑบาตในเวลา

ปัจฉาภัต นั่งประชุมกันในโรงกลม เกิดสนทนากันขึ้นในระหว่างประชุมว่า

ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ผู้ใดหนอแลย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข-

สมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

* สูตรที่ ๙ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 447

[๑๗๑๑] เมื่อภิกษุผู้เถระทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระวัมปติ-

เถระ ได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ผมได้ฟังมา ได้รับ

มาในที่เฉพาะพระพักตร์ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ผู้ใดย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่า

ย่อมเห็นแม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใด

ย่อมเห็นทุกขสมุทัย ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขนิโรธ แม้

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็นทุกขนิโรธ ผู้นั้นชื่อว่าย่อมเห็นแม้ทุกข์

แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ผู้ใดย่อมเห็นทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้ทุกข์ แม้ทุกขสมุทัย แม้ทุกขนิโรธ.

จบควัมปติสูตรที่ ๑๐

จบโกฏิคามวรรคที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 448

อรรถกถาควัมปดีสูตร

พึงทราบอธิบายในควัมปติสูตรที่ ๑๐

คำว่า สหชนิยะ ได้แก่ ในพระนครที่มีชื่อว่า สหชนิยะ. คำ

เป็นต้นว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดย่อมเห็นทุกข์ ผู้นั้นชื่อว่า ย่อมเห็นแม้

ทุกขสมุทัย ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ด้วยอำนาจการแทงตลอด

อย่างเดียว. ก็ในพระสูตรนี้ ได้ตรัสการแทงตลอดอย่างเดียวเท่านั้นแล.

จบอรรถกถาควัมปติสูตรที่ ๑๐

จบโกฏิคามวรรควรรณนาที่ ๓

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปฐมวัชชีสูตร ๒. ทุติยวัชชีสูตร ๓. สัมมาสัมพุทธสูตร

๔. อรหันตสูตร ๕. อาสวักขยสูตร ๖. มิตตสูตร ๗. ตถสูตร ๘.

โลกสูตร ๙. ปริญเญยยสูตร ๑๐. ควัมปติสูตร และอรรถกถา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 449

สีสปาปัณณวรรคที่ ๔

๑. สีสปาสสูตร

เปรียบสิ่งที่ตรัสรู้มีมากเหมือนใบไม้บนต้น

[๑๗๑๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สีสปาวัน

กรุงโกสัมพี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบด้วย

ฝ่าพระหัตถ์ แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย มาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบ

ที่เราถือด้วยผ่ามือกับใบที่บนต้น ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ใบประดู่ลาย ๒-๓ ใบที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือด้วย

ฝ่าพระหัตถ์มีประมาณน้อย ที่บนต้นมากกว่า พระเจ้าข้า.

พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เรารู้แล้วมิได้บอกเธอ

ทั้งหลายมีมาก ก็เพราะเหตุ ไร เราจึงไม่บอก. เพราะสิ่งนั้นไม่ประกอบด้วย

ประโยชน์ มิใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความ

คลายกำหนัด ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ นิพพาน

เพราะเหตุนั้น เราจึงไม่บอก

[๑๗๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเราได้บอกแล้ว เราได้บอก

แล้วว่า นี้ทุกข์... นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็เพราะเหตุไร เราจึงบอก

เพราะสิ่งนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไป

เพื่อความหน่าย... นิพพาน เพราะฉะนั้น เราจึงบอก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงการทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบสีสปาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 450

สีสปาปัณณวรรควรรณนาที่ ๔

อรรถกถาสีสปาสูตร

พึงทราบอธิบายในสีสปาสูตรที่ ๑ แห่งสีสปาปัณณวรรคที่ ๔.

คำว่า ยทิท อุปริ คือ ใบประดู่เหล่านี้ เหล่าใด. . . ในเบื้องบน.

คำว่า สีสปาวเน ได้แก่ บนต้นไม้ประดู่ลาย.

จบอรรถกถาสีสปาสูตรที่ ๑

๒. ขทิรสูตร

ว่าด้วยการทำที่สุดแห่งทุกข์เพราะตรัสรู้อริยสัจ ๔

[๑๗๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้

ตรัสรู้ ทุกขอริยสัจ...ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริงแล้ว

จัก กระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่จะมีได เปรียบเหมือน

ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเอาใบตะเคียน ใบทองหลาง หรือใบมะขามป้อม

ห่อน้ำหรือตาลปัตรนำไป ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าว

อย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ มิใช่ฐานะที่

จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 451

[๑๗๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนผู้ใดแลพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้

ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ ...ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ตามความเป็นจริงแล้ว จัก

กระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ใด

พึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเอาใบบัว ใบทองกวาว หรือใบย่านทราย ห่อน้ำ

หรือตาลปัตรนำไป ข้อนั้นเป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า

เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจ. ..ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ตามความเป็นจริง

แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น

เหมือนกัน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำ

ความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบขทิรสูตรที่ ๒

อรรถกถาขทิรสูตร

พึงทราบอธิบายในขทิรสูตรที่ ๒.

คำว่า ไม่ได้ตรัสรู้แล้ว คือไม่บรรลุแล้ว และไม่แทงตลอดแล้ว

ด้วยญา

จบอรรถกถาขทิรสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 452

๓. ทัณฑสูตร

ผู้ท่องเที่ยวไปในโลกเพราะไม่เห็นอริยสัจ

[๑๗๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนท่อนไม้ที่บุคคลขว้าง

ขึ้นไปบนอากาศแล้ว บางคราวเอาโคนตกลงมาก็มี บางคราวเอาตอนกลาง

ตกลงมาก็มี บางคราวเอาปลายตกลงมาก็มี ฉันใด สัตว์ทั้งหลาย ผู้มีนิวรณ์

คืออวิชชา มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบ ได้แล่นไปอยู่ ท่องเที่ยวไปอยู่

บางคราวจากโลกนี้ไปสู่ปรโลกก็มี บางคราวจากปรโลกมาสู่โลกนี้ก็มี ฉันนั้น

เหมือนกัน ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน

คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงการทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบทัณฑสูตรที่ ๓

อรรถกถาทัณฑสูตร

พึงทราบอธิบายในทัณฑสูตรที่ ๓.

คำว่า จากโลกนี้ไป สู่ปรโลก ความว่า จากโลกนี้ไปโลกอื่น คือ

นรกบ้าง กำเนิดสัตว์เดรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง มนุษยโลกบ้าง เทวโลก

บ้าง. อธิบายว่า เกิดในวัฏฏะนั่นแหล่ะบ่อย ๆ.

จบอรรถกถาทัณฑสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 453

๔. เจลสูตร *

ให้รีบเพียรเพื่อตรัสรู้ เหมือนรับดับไฟบนศีรษะ

[๑๗๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว จะควรกระทำอย่างไร ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว

ควรจะกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ

ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงวางเฉย ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะ

ที่ถูกไฟไหม้ เเล้วพึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ

ไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔

ที่ยังไม่ตรัสรู้ ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ

ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ

เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบเจลสูตรที่ ๔

* สูตรที่ ๔ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 454

๕. สัตติสตสูตร

ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ ๔

[๑๗๑๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี

พึงกล่าวอย่างนี้กะผู้มีชีวิตอยู่ร้อยปีว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ ชนทั้งหลายจัก

เอาหอกร้อยเล่มทิ่มแทงท่าน ในเวลาเช้า . .. ในเวลาเที่ยง ... ในเวลาเย็น

ท่านนั้นถูกเขาเอาหอกสามร้อยเล่มทิ่มแทงอยู่ทุกวัน ๆ มีอายุร้อยปี มีชีวิตอยู่

ร้อยปี จักตรัสรู้อริยสัจ ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้โดยล่วงร้อยปีไป กุลบุตรผู้เป็น

ไปในอำนาจแห่งประโยชน์ควรจะรับเอา ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะว่าสงสาร

นี้มีเบื้องต้นที่สุดอันบุคคลไปตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดแห่งการประหาร

ด้วยหอก ดาบ หลาว และขวานย่อมไม่ปรากฏ ฉันใด ก็ข้อนี้พึงมีได้

ฉันนั้นว่า ก็เราไม่กล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยทุกข์ โทมนัส แต่เรา

กล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยสุข โสมนัส อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ

ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบสัตติสตสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 455

อรรถกถาสัตติสตสูตร

พึงทราบอธิบายในสัตติสตสูตรที่ ๕.

คำว่า เอวญฺเจต ภิกฺขเว อสฺส ความว่า ภิกษุทั้งหลาย ถ้า

เหตุนี้พึงมีอย่างนี้ไซร้ เมื่อทุกขโทมนัสนั่นเทียวกระทบอยู่ไม่ขาดระยะ ก็จะพึง

บรรลุสัจจะนั้นพร้อมกันทีเดียว.

จบอรรถกถาสัตติสตสูตรที่ ๕

๖. ปาณสูตร

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพ้นจากอบายใหญ่

[๑๗๑๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงตัดหญ้า ไม้

กิ่งไม้และใบไม้ ในชมพูทวีปนี้ แล้วรวบรวมเข้าด้วยกัน ครั้นแล้วกระทำให้

เป็นหลาว ครั้นกระทำให้เป็นหลาวแล้ว พึงร้อยสัตว์ขนาดใหญ่ในมหาสมุทร

ในหลาวขนาดใหญ่ สัตว์ขนาดกลางในหลาวขนาดกลาง สัตว์ขนาดเล็กในหลาว

ขนาดเล็ก ก็สัตว์ขนาดเขื่องในมหาสมุทรยังไม่ทันหมด หญ้า ไม้ กิ่งไม้ และ

ใบไม้ในชมพูทวีปพึงถึงความสิ้นไปหมดไปโดยแท้ การที่จะเอาหลาวร้อยสัตว์

ขนาดเล็กในมหาสมุทรซึ่งมีมากกว่าสัตว์ขนาดเขื่องนั้น มิใช่กระทำได้ง่าย ข้อ

นั้นเพราะเหตุไร เพราะตัวมันเล็ก ฉันใด อบายก็โตใหญ่ ฉันนั้น บุคคล

ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ พ้นจากอบายที่ใหญ่โตอย่างนี้แล้ว ย่อมรู้ตามความเป็น

จริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 456

ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้

ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปาณสูตรที่ ๖

๗. ปฐมสุริยูปมสูตร

ว่าด้วยสิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อนการตรัสรู้อริยสัจ

[๑๗๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อพระอาทิตย์จะขึ้น สิ่งที่จะขึ้น

ก่อน สิ่งที่เป็นนิมิตมาก่อน คือ แสงเงินแสงทอง ฉันใด สิ่งที่เป็นเบื้องต้น

เป็นนิมิตมาก่อนแห่งการตรัสรู้อริยสัจ ตามความเป็นจริง คือ สัมมาทิฏฐิ

ฉะนั้นเหมือนกัน อันภิกษุผู้มีความเห็นชอบ พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักรู้ตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริง

ว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปฐมสุริยูปมสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 457

๘. ทุติยสุริยูปมสูตร

พระตถาคตอุบัติความสว่างย่อมปรากฏ

[๑๗๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจันทร์และพระอาทิตย์ยังไม่เกิด

ขึ้นในโลกเพียงใด ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มจ้าอย่างมากก็ยังไม่มีเพียงนั้น

เวลานั้นมีแต่ความมืดมิด มีแต่ความมัวเป็นหมอก กลางคืนกลางวันไม่ปรากฏ

เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ไม่ปรากฏ เมื่อใด พระจันทร์

และพระอาทิตย์เกิดขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มจ้าอย่าง

มากก็ย่อมมี เวลานั้น ไม่มีความมืดมิด ไม่มีความมัวเป็นหมอก กลางคืน

กลางวันปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ปรากฏ ฤดูและปีก็ปรากฏ ฉันใด

ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่

อุบัติขึ้นในโลกเพียงใด ความปรากฏแห่งแสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมากก็ยังไม่มี

เพียงนั้น เวลานั้น มีแต่ความมืดมิด มีแต่ความมัวเป็นหมอก การบอก

การแสดง การบัญญัติ การแต่งตั้ง การเปิดเผย การจำแนก การกระทำให้

ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ก็ยังไม่มี เมื่อใด พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติ

ขึ้นในโลก เมื่อนั้น ความปรากฎแห่งแสงสว่างแจ่มแจ้งอย่างมากก็ย่อมมี เวลา

นั้นไม่มีความมือมิด ไม่มีความมัวเป็นหมอก การบอก การแสดง.. . การกระ

ทำให้ง่าย ซึ่งอริยสัจ ๔ ก็ย่อมมี อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ

ทุขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอ

ทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบทุติยสุริยูปมสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 458

๙. อินทขีลสูตร

ผู้รู้ตามเป็นจริง ย่อมรู้ผู้อื่นว่ารู้หรือไม่รู้

[๑๗๒๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่น

ว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนปุยนุ่นหรือ

ปุยฝ้าย เป็นของเบา คอยจะลอยไปตามลม บุคคลวางไว้ที่ภาคพื้นอันราบเรียบ

แล้ว ลมทิศบูรพา พึงพัดปุยนุ่นหรือปุยฝ้ายนั้น ไปทางทิศประจิมได้ ลมทิศ

ประจิมพึงพัดเอาไปทางทิศบูรพาได้ ลมทิศอุดรพึงพัดเอาไปทางทิศทักษิณได้

ลมทิศทักษิณพึงพัดเอาไปทางทิศอุดรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะปุยนุ่น

หรือปุยฝ้ายนั้นเป็นของเบาฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์

เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคา-

มินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมต้องมองดูหน้าของสมณะหรือ

พราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๑๗๒๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมไม่ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์

อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่ เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ เปรียบเหมือนเสา

เหล็กหรือเสาหินมีรากลึก เขาฝังไว้ดีแล้ว ไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ถึงแม้

ลมฝนอย่างแรงจะพัดมาแต่ทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 459

ก็ไม่สะเทือนสะท้านหวั่นไหว ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะรากลึก เพราะเสาหิน

เขาฝังไว้ดีแล้ว ฉันใด สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตามความ

เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่า

นั้น ไม่ต้องมองดูหน้าของสมณะหรือพราหมณ์อื่นว่า ท่านผู้นี้ เมื่อรู้ ย่อมรู้แน่

เมื่อเห็น ย่อมเห็นแน่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉัน

นั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอทั้งหลายพึง

กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทา.

จบอินทขีลสูตรที่ ๙

อรรถกถาอินทขีลสูตร

พึงทราบอธิบายในอินทขีลสูตรที่ ๙.

คำว่า ย่อมต้องมองดูหน้า ได้แก่ ตรวจดูอัธยาศัย. อัธยาศัย

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงประสงค์เอาในคำว่า หน้า ในบทนี้.

จบอรรถกถาอินทขีลสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 460

๑๐. วาทีสูตร

ผู้รู้ชัดตามเป็นจริง ไม่หวั่นไหวต่อผู้ยกวาทะ

[๑๗๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือ

พราหมณ์ผู้มีความต้องการวาทะ ผู้แสวงหาวาทะ พึงมาจากทิศบูรพา... ทิศ

ประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์ว่า. จักยกวาทะของภิกษุนั้น

ภิกษุนั้นจักสะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะหรือพราหมณ์โดยสห-

ธรรม ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนเสาหิน ๑๖ ศอก เสาหินนั้นมี

รากลึกไปข้างล่าง ๘ ศอก ข้างบน ๘ ศอก ถึงแม้ลมฝนอย่างแรงจะพัดมา

แต่ทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร...ทิศทักษิณ ก็ไม่สะเทือนสะท้าน

หวั่นไหว ข้อนั้น เพราะเหตุไร เพราะรากลึก เพราะเสาหินเขาฝังไว้ดีแล้ว

ฉันใด ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิ-

โรธคามินีปฏิปทา ถึงแม้สมณะหรือพราหมณ์ต้องการวาทะ ผู้แสวงหาวาทะ

พึงมาจากทิศบูรพา... ทิศประจิม... ทิศอุดร... ทิศทักษิณ ด้วยประสงค์

ว่า จักยกวาทะของภิกษุนั้น ภิกษุนั้นจักสะเทือนสะท้านหรือหวั่นไหวต่อสมณะ

หรือพราหมณ์นั้นโดยสหธรรม ข้อนั้นมิใช่ฐานะที่จะมีได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะเห็นอริยสัจ ๔ ดีแล้ว ฉันนั้นเหมือนกัน อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ

ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้

ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบวาทีสูตรที่ ๑๐

จบสีสปาปัณณวรรคที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 461

อรรถกถาวาทีสูตร

พึงทราบอธิบายในวาทีสูตรที่ ๑๐.

คำว่า สิลายูโป ได้แก่ เสาหิน. คำว่า โสฬสกุกฺกุโก แปลว่า

๑๖ ศอก. บาลีว่า โสฬสุกุกฺกุ แปลว่า ๑๖ ศอก ก็มี. คำว่า มีรากลึกไป

ข้างล่าง ความว่า เข้าไปสู่หลุมข้างล่าง. คำว่า ข้างบน ๘ ศอก คือ

พึงสูงพ้นหลุมมา ๘ ศอก. คำว่า อย่างแรง ได้แก่ มีกำลัง. คำที่เหลือใน

บททั้งปวง ตื้นทั้งนั้นแล.

จบอรรรถกถาวาทีสูตรที่ ๑๐

จบสีสปาปัณณวรรควรรณนาที่ ๔

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้คือ

๑. สีสปาสูตร ๒. ขทิรสูตร ๓. ทัณฑสูตร ๔. เจลสูตร ๕. สัตติ

สตสูตร ๖. ปาณสูตร ๗. ปฐมสุริยูปมสูตร ๘. ทุติยสุริยูปมสูตร ๙.

อินทขีลสูตร ๑๐ วาทีสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 462

ปปาตวรรคที่ ๕

๑. จินตสูตร

การคิดเรื่องตายแล้วเกิดขึ้นหรือไม่ ไม่มีประโยชน์

[๑๗๒๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระ

วิหารเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน กรุงราชคฤห์ ณ ที่นั้น แล พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมา

แล้ว บุรุษคนหนึ่งออกจากกรุงราชคฤห์ เข้าไปยังสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา

ด้วยประสงค์ว่า จักคิดเรื่องโลก ครั้นแล้ว นั่งคิดเรื่องโลกอยู่ ชอบสระโบก-

ขรณี ชื่อ สุมาคธา เขาได้เห็นกองทัพประกอบด้วยองค์ เข้าไปสู่ก้านบัว

ที่ขอบสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา ครั้นแล้ว ได้มีความคิดว่า เราชื่อว่าเป็นคน

บ้า ชื่อว่าเป็นคนมีจิตฟุ้งซ่านเสียแล้ว เราเห็นสิ่งที่ไม่มีในโลก ครั้งนั้น บุรุษ

นั้นเข้าไปยังนครบอกแกหมู่มหาชนว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เราชื่อว่าเป็นคน

ถามว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านเป็นบ้าได้อย่างไร ท่านมีจิตฟุ้งซ่านอย่างไร

สิ่งอะไรที่ไม่มีในโลกซึ่งท่านเห็นแล้ว.

บุ. ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย จะบอกให้ทราบ เราออกจากกรุง-

ราชคฤห์เข้าไปยังสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา ด้วยประสงค์ว่า จักคิดเรื่องโลก

ครั้น แล้วนั่งคิดเรื่องโลกอยู่ ณ ขอบสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา เราได้เห็นกอง

ทัพประกอบด้วยองค์ ๔ เข้าไปสู่ก้านบัวที่ขอบสระโบกขรณีชื่อสุมาคธา เรา

เป็นบ้าได้อย่างนี้ เรามีจิตฟุ้งซ่านอย่างนี้ ก็สิ่งนี้ ไม่มีในโลก เราเห็นแล้ว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 463

มหา. ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ท่านเป็นบ้าแน่ ท่านมีจิตฟุ้งซ่านแน่ ก็

สิ่งที่ท่านเห็นแล้วไม่มีในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นได้เห็นสิ่งที่เป็น

จริง ไม่ใช่ได้เห็นสิ่งที่ไม่เป็นจริง.

[๑๗๒๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงครามเทวดากับ

อสูรประชิดกัน ก็ในสงครามนั้น พวกเทวดาชนะ พวกอสูรแพ้ ก็พวกอสูร

ที่แพ้กลัวแล้ว ยังจิตของพวกเทวดาให้งวยงงอยู่ เข้าไปสู่บุรีอสูรโดยทาง

ก้านบัว เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงอย่าคิดเรื่องโลกว่า โลกเที่ยง

โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพ

เป็นอื่น สรีระก็เป็นอื่น สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีก สัตว์เบื้องหน้า

แต่ตายแล้วย่อมไม่เป็นอีก สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเป็นอีกก็มี ย่อมไม่

เป็นอีกก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้วย่อมเป็นอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เป็นอีก

ก็หามิได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความคิดนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ไม่ใช่พรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด

ความดับ ความสงบ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน.

[๑๗๒๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อเธอทั้งหลายจะคิด พึงคิดว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะความคิด

นั้นประกอบด้วยประโยชน์ เป็นพรหมจรรย์เบื้องต้น ย่อมเป็นไปเพื่อความ

หน่าย... เพื่อนิพพาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย

พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธ

คามินีปฏิปทา.

จบจินตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 464

ปปาตวรรควรรณนาที่ ๕

อรรถกถาจินตสูตร

พึงทราบอธิบายในจินตสูตรที่ ๑ แห่งปปาตวรรคที่ ๕.

คำว่า สระโบกขรณี ชื่อว่า สุมาคธา ได้แก่ สระโบกขรณีที่มี

ชื่ออย่างนี้. คำว่า คิดเรื่องโลก ความว่า นั่งคิดเรื่องโลกอย่างนี้ว่า ใคร

หนอแล สร้างดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ใครสร้างแผ่นดินใหญ่ ใครสร้างมหาสมุทร

ใครสร้างสัตว์ผู้อุปปาติกะ ใครสร้างภูเขา ใครสร้างมะม่วง ตาล และมะพร้าว

เป็นต้น. คำว่า วิเจโต ได้แก่ เป็นผู้มีจิตฟุ้งไปหรือว่า มีจิตซ่านไป. คำว่า

ภูตเยว อทฺทส ความว่า ได้ยินว่า พวกอสูรนั้นยังสัมพริมายา (มายาของ

จอมอสูร)ให้เป็นไปแล้วอธิษฐาน โดยประการที่บุรุษนั้นเห็นเขาเหล่านั้น ผู้ขึ้น

บนช้างและม้าเป็นต้น แล้วยกขึ้นเข้าไปทางช่องก้านบัว พระศาสดาทรงหมาย

เอาอสูรนั้น จึงตรัสว่า ได้เห็นสิ่งที่เป็นจริงแล้วเทียว. คำว่า ยังจิตของ

พวกเทวดาให้งวยงง คือ ยังจิตของพวกเทวดาให้หลงอยู่. คำว่า เพราะ

ฉะนั้น ความว่า เพราะเมื่อคิดเรื่องโลก ก็เป็นคนบ้า.

จบอรรถกถาจินตสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 465

๒. ปปาตสูตร

ว่าด้วยเหว คือ ความเกิด

[๑๗๒๘] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ

กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มาเถิด เราจักเข้าไปยังยอดเขากั้นเขตแดนเพื่อพักกลางวัน

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ครั้งนั้น พระผู้มี

พระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุเป็นอันมาก เสด็จเข้าไปยังยอดเขากั้นเขตแดน

ภิกษุรูปหนึ่งได้เห็นเหวใหญ่บนยอดเขากั้นเขตแดน ครั้นแล้วได้ทูลถามพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เหวนี้ใหญ่ เหวนี้ใหญ่เเท้ ๆ เหว

อื่นที่ใหญ่กว่าและน่ากลัวกว่าเหวนี้ มีอยู่หรือ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสตอบว่า เหวอื่นที่ใหญ่กว่าและน่ากลัวกว่าเหวนี้มีอยู่.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เหวอื่นที่ใหญ่กว่าและน่ากลัวกว่าเหวนี้

เป็นไฉน.

[๑๗๒๙] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ... นี้ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไป

เพื่อความเกิด. . . เพื่อความแก่.. . เพื่อความตาย .. . เพื่อความโศก ความ

ร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัสและความคับแค้นใจ ยินดีแล้ว ย่อมปรุงแต่ง

สังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิดบ้าง. .. และความคับแค้นใจบ้าง

ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมตกลงสู่เหวคือความเกิดบ้าง... และความคับแค้น

ใจบ้าง เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นไม่พ้นไปจากความเกิด

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 466

ความแก่ ความตาย ความเศร้าโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส

ความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์

[๑๗๓๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อ

ความเกิด... และความคับแค้นใจ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่งสังขาร

ทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด... และความคับแค้นใจ ครั้นไม่ปรุงแต่ง

แล้ว ย่อมไม่ตกลงสู่เหวคือความเกิดบ้าง... และความคับแค้นใจบ้าง เรา

กล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นจากความเกิด และความ

คันแค้นใจ ย่อมพ้นจากทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอ

ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปปาตสูตรที่ ๒

อรรถกถาปปาตสูตร

พึงทราบอธิบายในปาปตสูตรที่ ๒.

คำว่า ยอดเขากั้นเขตแดน ความว่า เขากั้นเขตแดน เช่นกับ

ภูเขาใหญ่ลูกหนึ่ง.

จบอรรถกถาปปาตสูตรที่ ๒

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 467

๓. ปริฬาหสูตร

ว่าด้วยความเร่าร้อน

[๑๗๓๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นรกชื่อว่ามีความเร่าร้อนมาก มีอยู่

ในนรกนั้น บุคคลยังเห็นรูปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยนัยน์ตาได้ (แต่) เห็นรูป

ที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าปรารถนา เห็นรูปที่ไม่น่าใคร่

อย่างเดียว ไม่เห็นรูปที่น่าใคร่ เห็นรูปที่ไม่น่าชอบใจอย่างเดียว ไม่เห็นรูป

ที่น่าชอบใจ ได้ฟังเสียงอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยหูได้. . . ได้สูดกลิ่นอย่างใด

อย่างหนึ่งด้วยจมูกได้ ... ได้ลิ้มรสอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยลิ้นได้. . . ได้ถูกต้อง

โผฏฐัพพะอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยกายได้. . . ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์อย่างใดอย่าง

หนึ่งด้วยใจได้ (แต่) รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่า

ปรารถนา รู้แจ้งรูปที่ไม่น่าใคร่อย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าใคร่ รู้แจ้งรูปที่

ไม่น่าพอใจอย่างเดียว ไม่รู้แจ้งรูปที่น่าพอใจ.

[๑๗๓๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนมาก ความ

เร่าร้อนมากแท้ ๆ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนนี้

มีอยู่หรือ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความ

เร่าร้อนนี้มีอยู่.

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่าและน่ากลัว

กว่าความเร่าร้อนนี้ เป็นไฉน.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 468

[๑๗๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่า

หนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อ

ความเกิด ฯลฯ ยินดีแล้ว ย่อมปรุงแต่ง ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมเร่าร้อน

ด้วยความเร่าร้อนเพราะความเกิดบ้าง ความแก่บ้าง ความตายบ้าง ความ

เศร้าโศก ความร่ำไร ความทุกข์ ความโทมนัส และความคับแค้นใจบ้าง

เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด...ความ

คับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์.

[๑๗๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี-

ปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็น

ไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง ครั้งไม่ปรุงแต่งแล้ว

ย่อมไม่เร่าร้อน ด้วยความเร่าร้อนเพราะความเกิด . . . และความคับแค้นใจ

เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นจากความเกิด ... ความ

คับแค้นใจ ย่อมพ้นจากทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แหละ เธอ

ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯ ล ฯ นี้

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปริฬาหสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 469

อรรถกถาปริฬาหสูตร

พึงทราบอธิบายในปริฬาหสูตรที่ ๓.

คำว่า รูปที่ไม่น่าปรารถนา ได้แก่ สภาวะที่ไม่น่าปรารถนา.

จบอรรถกถาปริฬาหสูตรที่ ๓

๔. กูฏสูตร

ว่าด้วยฐานะที่มีได้และมีไม่ได้

[๑๗๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ตรัสรู้

ทุกขอริยสัจตามความเป็นจริงแล้ว ฯลฯ ไม่ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อริยสัจตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้

มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือนผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้กระทำ

เรือนชั้นล่าง แล้วจักยกเรือนชั้นบนแห่งเรือนยอด ดังนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะ

มีได้ ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราไม่ได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจตามความ

เป็นจริงแล้ว ฯลฯ ไม่ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริง

แล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น

เหมือนกัน.

[๑๗๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้

ทุกขอริยสัจตามความเป็นจริงแล้ว ฯลฯ ได้ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

อริยสัจตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ ข้อนี้

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 470

เป็นฐานะที่จะมีได้ เปรียบเหมือน ผู้ใดพึงกล่าว อย่างนี้ว่า เรากระทำเรือน

ชั้นล่างแล้ว จักยกเรือนชั้นบนแห่งเรือนยอด ดังนี้ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้

ฉันใด ผู้ใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราได้ตรัสรู้ทุกขอริยสัจตามความเป็นจริงแล้ว

ฯลฯ. ได้ตรัสรู้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจตามความเป็นจริงแล้ว จักกระทำ

ที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบ ดังนี้ อัน เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้นเหมือนกัน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียร

เพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบกูฏสูตรที่ ๔

อรรถกถากูฏสูตร

พึงทราบอธิบายในกูฏสูตรที่ ๔.

คำว่า ไม่ได้ทำเรือนชั้นล่าง ความว่า ไม่ทำส่วนชั้นล่างของเรือน

ด้วยใบไม้เป็นต้น แห่งเสาและเชิงฝา.

จบอรรถกถากูฏสูตรที่ ๔

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 471

๕. วาลสูตร

ว่าด้วยการแทงตลอดตามความเป็นจริงยาก

[๑๗๓๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ กูฏาคารศาลา

ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี ครั้งนั้น เวลาเช้า ท่านพระอานนท์นุ่งแล้ว ถือบาตร

และจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงเวสาลี ท่านพระอานนท์ได้เห็นลิจฉวีกุมารมาก

ด้วยกัน กำลังทำการยิงศรอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ ยิงลูกศรให้เข้าไป

ติด ๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด ครั้นแล้วได้มีความคิด

ว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ ที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติด ๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก

แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด เป็นผู้ศึกษาแล้ว ศึกษาดีแล้ว.

[๑๗๓๘] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ ครั้นเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุง

เวสาลีแล้ว เวลาปัจฉาภัต กลับจากบิณฑบาต เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า

ถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง

ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส เมื่อ

เวลาเช้า ข้าพระองค์นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปบิณฑบาตในกรุงเวสาลี

ได้เห็นลิจฉวีกุมารมากด้วยกัน กำลังทำการยิงอยู่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ

ยิงลูกศรให้เข้าไปติด ๆ กัน โดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด

ครั้นแล้ว ข้าพระองค์ได้มีความคิดว่า พวกลิจฉวีกุมารเหล่านี้ที่ยิงลูกศรให้

เข้าไปติด ๆ กันโดยช่องดาลอันเล็ก แต่ที่ไกลได้ไม่ผิดพลาด เป็นผู้ศึกษาแล้ว

ศึกษาดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน อย่างไหนจะทำได้ยากกว่ากัน หรือจะให้เกิดขึ้นได้ยากกว่า

กัน คือ การที่ยิงลูกศรให้เข้าไปติด ๆ กันโดยช่องดาลอันเล็กแต่ที่ไกลได้ไม่

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 472

ผิดพลาด กับการแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้วเป็น

๗ ส่วน.

อา. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ การแทงปลายขนทรายด้วยปลายขนทราย

ที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน กระทำได้ยากกว่า และให้เกิดขึ้นได้ยากกว่า

พระเจ้าข้า.

พ. ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดย่อมแทงตลอดตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ชนเหล่านั้นย่อมแทงตลอดได้ยากกว่า

โดยแท้ เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความ

เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบวาลสูตรที่ ๕

อรรถกถาวาลสูตร

พึงทราบอธิบายในวาลสูตรที่ ๕.

คำว่า สณฺ ฐาคาเร ได้แก่ในศาลาสำหรับเรียนศิลปะ. คำว่า อุปาสน

กโรนฺเต ได้แก่ฝึกศิลป์ คือ การยิงลูกธนู. คำว่า ไม่ผิดพลาด ได้แก่

ไม่ยิงลูกศรให้เลยไป. คำว่า โปขานุโปข ความว่า พระเถระได้เห็น กุมาร

เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย ผู้ยิงลูกศรลูกหนึ่งให้เข้าไปติดๆ อย่างนี้ คือ ลูกศรอื่นย่อม

แทงลูกศรที่ติดปลายขนนกของลูกศรนั้นฉันใด ขึ้นชื่อว่า ลูกศรที่ติดขนนกที่

ปลายลูกศรอื่น ย่อมแทงลูกศรที่มีขนนกติดปลายลูกศรของลูกศรที่ ๒ อีก ลูกศร

ที่ติดปลายขนนกตามมาอื่นอีก ก็ย่อมแทงลูกศรที่ขนนกติดปลายลูกศรอื่นของ

ลูกศรนั้นอีกมาก ฉันนั้น. คำว่า ยตฺร หิ นาม ตัดบทเป็น เย หิ นาม

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 473

แปลว่า ก็ชื่อว่าเหล่าใด. คำว่า ให้เกิดขึ้นได้ยากกว่ากัน คือ ทำได้ยากกว่า.

คำว่า แทงปลายขนทราย ด้วยปลายขนทรายที่แบ่งออกแล้วเป็น ๗ ส่วน

ความว่า พึงแบ่งขนทรายเส้นหนึ่งเป็น ๗ ส่วน แล้วถือเอาส่วนที่แบ่งหนึ่งส่วน

แห่งขนทรายที่แบ่งนั้น แล้วผูกกลางผลมะเขือ ผูกขนทรายที่แบ่งแล้วเส้นอื่น

อีกเข้าที่ปลายสุดแห่งลูกธนู แล้วจึงยืนที่ทางประมาณอุสภะหนึ่ง แทงจำเพาะ

ปลายขนทรายที่ผูกผลมะเขือนั้น ด้วยปลายที่ผูกไว้ที่ลูกธนู. คำว่า เพราะเหตุ

นั้น ความว่า เพราะสัจจะ ๔ แทงตลอดได้ยากอย่างนี้.

จบอรรถกถาวาลสูตรที่ ๕

๖. อันธการีสูตร

ผู้รู้ตามความเป็นจริงไม่ตกไปสู่ที่มืด

[๑๗๓๙] ... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลกันตนรกมีแต่ความทุกข์

มืดคลุ้มมัวเป็นหมอก สัตว์ในโลกันตนรกนั้น ไม่ได้รับรัศมีพระจันทร์และ

พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้.

[๑๗๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้

ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดนั้นมาก

ความมืดนั้นมากแท้ ๆ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้

มีอยู่หรือ.

พ. ดูก่อนภิกษุ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้

มีอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 474

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่า

ความมืดนี้ เป็นไฉน.

[๑๗๔๑] พ. ดูก่อนภิกษุ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความ

เกิด ฯลฯ ยินดีแล้วย่อมปรุงแต่ง ครั้นปรุงแต่งแล้ว ย่อมตกไปสู่ความมืด

คือความเกิด... และความคับแค้นใจ เรากล่าวว่า สมณะหรือพราหมณ์

เหล่านั้นย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด... และความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไป

จากทุกข์.

[๑๗๔๒] ดูก่อนภิกษุ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง

ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะ

หรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดีในสังขารทั้งหลายซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด

ฯลฯ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง ครั้นไม่ปรุงแต่งแล้ว ย่อมไม่ตกไปสู่

ความมืดคือความเกิดบ้าง ... และความคับแค้นบ้าง เรากล่าวว่า สมณะหรือ

พราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นไปจากความเกิด... และความคับแค้นใจ ย่อมพ้น

ไปจากทุกข์ ดูก่อนภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้

ตามความจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบอันธการีสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 475

๗. ปฐมฉิคคฬสูตร

ว่าด้วยความเป็นมนุษย์แสนยาก

[๑๗๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษโยนแอกซึ่งมีช่อง

เดียวลงไปในมหาสมุทร เต่าตาบอดมีอยู่ในมหาสมุทรนั้น ต่อล่วงร้อยปี ๆ

มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่ง ๆ เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนนั้นเป็นไฉน เต่า

ตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปี ๆ มัน จะโผล่ขึ้นคราวหนึ่ง ๆ จะสอดคอให้เข้าไป

ในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น ได้บ้างหรือหนอ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ถ้าล่วงกาลนานไปบางครั้งบางคราว เต่าจะสอดคอให้เข้าไป

ในแอกนั้นได้บ้าง.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เต่าตาบอด ต่อล่วงร้อยปี ๆ มันจะโผล่ขึ้น

คราวหนึ่ง ๆ สอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น ยังจะเร็วกว่า เรา

ย่อมกล่าวความเป็นมนุษย์เพราะคนพาลผู้ไปสู่วินิบาตแล้วคราวเดียวก็หามิได้

ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าในวินิบาตนี้ ไม่มีการประพฤติธรรม การ

ประพฤติชอบ การกระทำกุศล การกระทำบุญ มีแต่การเคี้ยวกินกันและกัน

การเคี้ยวกินผู้มีกำลังน้อยกว่า ย่อมเป็นไปในวินิบาตนี้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร

เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุก-

นิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอ

ทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปฐมฉิคคฬสูตรที่ ๗

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 476

อรรถกถาปฐมฉิคคฬสูตร

พึงทราบอธิบายในปฐมฉิคคฬสูตรที่ ๗.

คำว่า มีแต่การเคี้ยวกินกันและกัน ได้แก่ การเคี้ยวกินซึ่งกัน

และกัน. คำว่า การเคี้ยวกินผู้มีกำลังน้อย ได้แก่ ปลาเป็นต้นที่มีกำลัง

เคี้ยวกินปลาเป็นต้น ตัวที่น้อยกำลังกว่า.

จบอรรถกถาปฐมฉิคคฬสูตรที่ ๗

๘. ทุติยฉิคคฬสูตร

ว่าด้วยการได้ความเป็นมนุษย์แสนยาก

[๑๗๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาปฐพีนี้มีน้ำเป็น

อันเดียวกัน บุรุษโยนแอกซึ่งมีช่องเดียวลงไปในมหาปฐพีนั้น ลมทิศบูรพา

พัดเอาแอกนั้นไปทางทิศประจิม ลมทิศประจิมพัดเอาไปทางทิศบูรพา ลมทิศ

อุดรพัดเอาไปทางทิศทักษิณ ลมทิศทักษิณพัดเอาไปทางทิศอุดร เต่าตาบอด

มีอยู่ในมหาปฐพีนั้น ต่อล่วงร้อยปี ๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่ง ๆ เธอทั้งหลาย

จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เต่าตาบอดนั้น ต่อล่วงร้อยปี ๆ มันจะโผล่ขึ้น

คราวหนึ่ง ๆ จะสอดคอให้เข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น ได้บ้างหรือหนอ

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อที่เต่าตาบอด ต่อล่วง

ร้อยปี ๆ มันจะโผล่ขึ้นคราวหนึ่ง ๆ จะสอดคอเข้าไปในแอกซึ่งมีช่องเดียวโน้น

เป็นของยาก.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 477

พ. ฉันนั้น ภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์ เป็นของยาก

พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะอุบัติในโลกเป็นของยาก ธรรมวินัยที่

พระตถาคตประกาศแล้วจะรุ่งเรืองใน โลก ก็เป็นของยาก ความเป็นมนุษย์นี้

เขาได้แล้ว พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าอุบัติแล้วในโลก และธรรม

วินัยที่ตถาคตประะกาศแล้ว ก็รุ่งเรืองอยู่ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ

ฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบทุติยฉิคคฬสูตรที่ ๘

อรรถกถาทุติยฉิคคฬสูตร

พึงทราบอธิบายในทุติยฉิคคฬสูตรที่ ๘.

คำว่า มหาปฐพี ได้แก่ แผ่นดินใหญ่ระหว่างจักรวาล.

คำว่า อธิจฺจมิท ความว่า ถ้าว่าแอกนั้นไม่พึงเน่า น้ำในทะเลจะ

ไม่แห้ง และเต่านั้นยังไม่ตาย เหตุนั้นก็จะพึงมีด้วยอำนาจตามความปรารถนา

ได้บ้าง. ในคำว่า ภิกษุทั้งหลาย การได้ความเป็นมนุษย์เป็นของยาก

อย่างนี้ นี้พระมหาสีวเถระได้แสดงยุตทั้ง ๔ คือการได้ความเป็นมนุษย์ ชื่อว่า

ได้ยากอย่างยิ่ง เหมือนการทำเต่าตาบอดนั้น สอดคอเข้าไปทางช่องแอก ที่บุรุษ

ยืนอยู่ที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศตะวันออกโยนใส่เข้าไป.

ก็การเกิดขึ้นแห่งพระตถาคตเจ้า ชื่อว่าเป็นเหตุให้ถึงฝั่งก็ยากอย่างยิ่ง

เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศใต้ โยนใส่

เข้าไปแล้วหมุนไปรอบๆ อยู่ ถึงเเอกอันแรกแล้ว ขึ้นไปสู่ช่องข้างบนโดยทาง

ช่องสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 478

ก็การแสดงธรรมและวินัย ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้วชื่อว่าเป็น

เหตุเกิดที่ยากยิ่งกว่า เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาล

ด้านทิศตะวันตกโยนใส่เข้าไปแล้ว หมุนไปรอบ ๆ แล้วถึงแอก ๒ อันข้างบน

แล้วขึ้นสู่ช่องข้างบนโดยทางช่อง แล้วสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่.

ก็การแทงตลอดสัจจะ ๔ พึงทราบว่า เป็นเหตุเกิดที่ยากยิ่งกว่าอย่างยิ่ง

เหมือนการที่เต่าตาบอดตัวที่บุรุษผู้ยืนที่ขอบปากจักรวาลด้านทิศเหนือ โยนใส่

เข้าไปแล้วหมุนไปรอบ ๆ อยู่ ถึงแอก ๓ อันข้างบนแล้ว ขึ้นไปสู่ช่องข้างบน

โดยทางช่องแล้วสอดคอเข้าไปทางช่องอยู่. สูตรที่ ๘ เป็นต้น มีนัยตามที่กล่าว

แล้วในอภิสมยสังยุตนั่นเทียวแล.

จบอรรถกถาทุติยฉิคคฬสูตรที่ ๘

จบปปาตวรรควรรณนาที่ ๕

๙. ปฐมสิเนรุสูตร*

ทุกข์ของพระอริยบุคคลหมดไปมากกว่าที่เหลือ

[๑๗๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนหิน

ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนแห่งขุนเขาสิเนรุราช เธอจะสำคัญความข้อ

นั้นเป็นไฉน ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษเก็บแล้วกับขุน

เขาสิเนรุราช อย่างไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-

องค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุราชมากกว่า ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗

ก้อนที่บุรุษเก็บแล้ว น้อยกว่า เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุราชแล้ว ก้อนหิน

ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่บุรุษนั้นเก็บไว้แล้ว ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ

การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

* สูตรที่ ๙ - ๑๐ ไม่มีอรรถกถาแก้.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 479

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก สมบูรณ์

ด้วยทิฏฐิตรัสรู้แล้ว ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทาที่สิ้นไป หมดไปแล้ว มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่

ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมี

ในก่อนที่สิ้นไปหมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปฐมสิเนรุสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยสิเนรุสูตร

ทุกข์ของพระอริยบุคคลหมดไปมากกว่าที่เหลือ

[๑๗๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาสิเนรุราชพึงถึง

ความสิ้นไป หมดไป เว้นก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อน เธอทั้ง

หลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ขุนเขาสิเนรุราชที่สิ้นไป หมดไป กับ

ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนทั้งเหลืออยู่ อย่างไหนจะมากกว่า

กัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาสิเนรุราชที่สิ้นไป

หมดไป นี้แหละมากกว่า ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่ยังเหลือ

อยู่ น้อยกว่า เมื่อเทียบกับขุนเขาสิเนรุราชที่สิ้นไป หมดไป ก้อนหินประมาณ

เท่าเมล็ดถั่วเขียว ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ

หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 480

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก ผู้สมบูรณ์

ด้วยทิฏฐิตรัสรู้แล้ว ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี

ปฏิปทาที่สิ้นไป หมดไปแล้ว มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย ย่อมไม่ถึง

ซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์อันมีใน

ก่อนที่สิ้นไปหมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ฉันนั้นเหมือนกัน ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขน โรธคามินีปฏิปทา.

จบทุติยสิเนรุสูตรที่ ๑๐

จบปปาตวรรคที่ ๕

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. จินตสูตร ๒. ปปาตสูตร ๓. ปริฬาหสูตร ๔. กูฎสูตร ๕.

วาลสูตร ๖. อันธการีสูตร ๗. ปฐมฉิคคฬสูตร ๘. ทุติยฉิคคฬสูตร ๙.

ปฐมสิเนรุสูตร ๑๐. ทุติยสิเนรุสูตร และอรรถกถา.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 481

อภิสมยวรรคที่ ๖

๑. นขสิขาสูตร

ว่าด้วยทุกข์ของพระอริยะเท่ากับฝ่ายที่ปลายเล็บ

[๑๗๔๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อย ไว้

ที่ปลายพระนขาแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายเล็บที่

เราช้อนขึ้นนี้กับมหปฐพีนี้ อย่างไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มหาปฐพีมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายพระนขาอันพระ-

ผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนขึ้นนี้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับมหาปฐพีแล้ว

ฝุ่นเล็กน้อยที่ปลายพระนขาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าช้อนขึ้นแล้ว ย่อมไม่ถึงซึ่งการ

นับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. อย่างนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็น

อริยสาวกผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้ตรัส รู้ ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ที่สิ้นไป หมดไป มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณ

น้อย ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบ

กับกองทุกข์อันมีในก่อนที่สิ้นไป หมดไปแล้ว อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ดูก่อน

ภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบนขสิขาสูตรที่ ๑

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 482

๒. โปกขรณีสูตร

ว่าด้วยทุกข์ของพระอริยะเท่ากับน้ำปลายหญ้าคา

[๑๗๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนสระโบกขรณี โดยยาว

๕๐ โยชน์ โดยกว้าง ๕๐ โยชน์ สูง ๕๐ โยชน์ เต็มด้วยน้ำเปี่ยมฝั่ง กาดื่ม

กินได้ บุรุษเอาปลายหญ้าคาจุ่มน้ำขึ้นจากสระนั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน น้ำที่เขาเลาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้น กับน้ำในสระโบกขรณี ไหน

จะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำในสระ-

โบกขรณีมากกว่า น้ำที่เขาเอาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำ

ในสระโบกขรณีแล้ว น้ำที่เขาเอาปลายหญ้าคาจุ่มขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การ

เปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก

ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบโปกขรณีสูตรที่ ๒

๓. ปฐมสัมเภชชสูตร

เปรียบทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับหยดน้ำ

[๑๗๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ

แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ย่อมไหลไปไม่ขาดสายในที่ใด บุรุษตัก

น้ำ ๒-๓ หยดขึ้นจากที่นั้น เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น เป็นไฉน น้ำ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 483

๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้น กับน้ำที่ไหลไปประจบกัน ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุ

ทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลไปประจบกันมากกว่า

น้ำ ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้นมีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลไปประจบกัน.

น้ำ ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้น ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วน

เสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริย-

สาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์

ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปฐมสัมเภชชสูตรที่ ๓

๔. ทุติยสัมเภชชสูตร

เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับน้ำในแม่น้ำ

[๑๗๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่น้ำใหญ่เหล่านี้ คือ

แม่น้ำคงคา ยมุนา อจิรวดี สรภู มหี ย่อมไหลไปไม่ขาดสายในที่ใด

น้ำนั้นพึงถึงความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือน้ำ ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะ

สำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเทียบน้ำที่ไหลไปประจบกันซึ่งสิ้นไป หมดไป

กับน้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลือ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำที่ไหลไปประจบกันซึ่งสิ้นไป หมดไป มากกว่า

น้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลืออยู่ น้อยกว่า เมื่อเทียบกับน้ำที่ไหลไปประจบกัน

ซึ่งสิ้นไปหมดไปแล้ว น้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การ

เปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 484

พ. ฉันนั้นเหมือนกันภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก

ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบทุติยสัมเภชชสูตรที่ ๔

๕. ปฐมปฐวีสูตร

เปรียบทุกข์ที่ยังเหลือเท่ากับก้อนดิน

[๑๗๕๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนดิน

ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนจากเเผ่นดินใหญ่ เธอทั้งหลายจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน ที่เขาเก็บไว้

กับแผ่นดินใหญ่ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่มากกว่า ก้อนดินเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่เขาเก็บไว้

มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา

๗ ก้อนที่เขาเก็บไว้ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริย-

สาวก ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปฐมปฐวีสูตรที่ ๕

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 485

๖. ทุติยปฐวีสูตร

เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับแผ่นดิน

[๑๗๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แผ่นดินใหญ่พึงถึงความสิ้นไปหมดไป

ยังเหลือก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อน เธอทั้งหลายจะสำคัญความ

ข้อนั้นเป็นไฉน ความหมดไป สิ้นไป ของแผ่นดินใหญ่ กับก้อนดินประมาณ

เท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลือ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูล

ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่ที่หมดไป สิ้นไป มากกว่า ก้อนดิน

ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับ

แผ่นดินใหญ่ที่หมดไป สิ้นไป ก้อนดินประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ๗ ก้อนที่ยัง

เหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก

ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ

ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบทุติปฐวีสูตรที่ ๖

๗. ปฐมสมุททสูตร

เปรียบทุกข์ที่เหลือเท่ากับหยดน้ำ

[๑๗๕๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษตักน้ำมหาสมุทร

๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน น้ำ ๒-๓ หยดที่เขา

ตักขึ้นกับน้ำในมหาสมุทร ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ น้ำในมหาสมุทรมากกว่า น้ำ ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้นมี

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 486

ประมาณน้อย เมื่อเทียบกับน้ำในมหาสมุทร น้ำ ๒-๓ หยดที่เขาตักขึ้น ย่อม

ไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก

ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปฐมสมุททสูตรที่ ๗

๘. ทุติยสมุททสูตร

เปรียบทุกข์ที่หมดเท่ากับมหาสมุทร

[๑๗๕๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนมหาสมุทรพึงถึงความ

สิ้นไป หมดไป ยังเหลือน้ำ ๒-๓ หยด เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้น

เป็นไฉน น้ำในมหาสมุทรที่สิ้นไป หมดไป กับน้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลือ

ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น้ำใน

มหาสมุทรที่สิ้นไปหมดไปมากกว่า น้ำ ๒-๓ หยดที่ยังเหลือมีประมาณน้อย

เมื่อเทียบกับน้ำในมหาสมุทรที่สิ้นไป หมดไป น้ำ ๒ - ๓ หยดที่ยังเหลือ ย่อม

ไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก

ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบทุติยสมุททสูตรที่ ๘

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 487

๙. ปฐมปัพพตูปมสูตร

เปรียบทุกข์ที่เหลือเท่ากับก้อนหิน

[๑๗๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษเก็บก้อนหิน

ประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อนแห่งขุนเขาหิมวันต์ เธอทั้งหลายจะสำคัญ

ความข้อนั้นเป็นไฉน ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อนที่เขาเก็บไว้

กับขุนเขาหิมวันต์ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์มากกว่า ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด

๗ ก้อนที่เขาเก็บไว้ มีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมวันต์ ก้อนหิน

ประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อนที่เขาเก็บไว้ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบ

เทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก

ฯลฯ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบปฐมปัพพตูปมสูตรที่ ๙

๑๐. ทุติยปัพพตูปมสูตร

เปรียบทุกข์ที่หมดไปเท่ากับขุนเขา

[๑๗๕๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนขุนเขาหิมวันต์พึงถึง

ความสิ้นไป หมดไป ยังเหลือกอันหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อน เธอ

ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป หมดไป กับ

ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ ไหนจะมากกว่ากัน

ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 488

หมดไป มากกว่า ก้อนหินประมาณเท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ มี

ประมาณน้อย เมื่อเทียบกับขุนเขาหิมวันต์ที่สิ้นไป หมดไป ก้อนหินประมาณ

เท่าเมล็ดผักกาด ๗ ก้อนที่ยังเหลืออยู่ ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ

หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย ทุกข์ของบุคคลผู้เป็นอริยสาวก

ผู้สมบูรณ์ด้วยทิฏฐิ ผู้ตรัสรู้ ผู้รู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกข-

นิโรธคามินีปฏิปทา ที่สิ้นไป หมดไป มากกว่า ที่ยังเหลือมีประมาณน้อย

ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว เมื่อเทียบกับกองทุกข์

อันมีในก่อนที่สิ้นไปหมดไป อย่างสูงเพียง ๗ ชาติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า

นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบทุติยปัพพตูปมสูตรที่ ๑๐

จบอภิสมยวรรคที่ ๖

อรรถกถาอภิสมยวรรคที่ ๖

อภิสมยวรรค ท่านให้พิสดารแล้ว ในอภิสมยสังยุต ในนิทาน

วรรคแล.

จบอรรถกถาอภิสมยวรรคที่ ๖

รวมพระสูตรที่มีในวรรคที่ คือ

๑. นขสิขาสูตร ๒. โปกขรณีสูตร ๓ . ปฐมสัมเภชชสูตร ๔

ทุติยสัมเภชชสูตร ๕. ปฐมปฐมวิสูตร ๖. ทุติยปฐวีสูตร ๗. ปฐมสมุททสูตร

๘. ทุติยสมุททสูตร ๙. ปฐมปัพพตูปมสูตร ๑๐. ทุติยปัพพตูปมสูตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 489

อามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรค* ที่ ๗

๑. อัญญตรสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เกิดในมนุษย์มีน้อย

[๑๗๕๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ใน

ปลายพระนขา แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้

ในปลายเล็บกันแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระ

ภาคเจ้าทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่

ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงข้อนั้นไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการ

นับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์กลับมาเกิดในหมู่

มนุษย์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ลับมาเกิดนอกจากมนุษย์มีมากกว่า ข้อนั้น

เพราะเหตุไร เพราะไม่ได้เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ

ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ

เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ

นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.

จบอัญญตรสูตรที่ ๑.

* อามกธัญญเปยยาล วรรคที่ ๗-๘-๙-๑๐ มีอรรถกถาแก้รวมกันไว้ตอนจบมหาวรรคสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 490

๒. ปัจจันตสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้มาเกิดในปัจจันตชนบทมาก

[๑๗๕๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนฝุ่นเล็กน้อยไว้ใน

ปลายพระนขา แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง

หลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนขึ้นไว้

ในปลายเล็บกับแผ่นดินใหญ่นี้ ไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระ-

ภาคเจ้าทรงช้อนไว้ในปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่

ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนไว้ในปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการ

นับ การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว.

พ. ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่กลับมาเกิดในมัชฌิม

ชนบทมีประมาณน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่กลับมาเกิดในปัจจันตชนบทมีมากกว่า

ที่กลับมาเกิดในพวกมิลักขะ ซึ่งเป็นพวกที่ไม่รู้แจ้ง ฯลฯ

จบปัจจันตสูตรที่ ๒

๓. ปัญญาสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้มีปัญญาจักษุน้อย

[๑๗๕๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้ประกอบ

ด้วยปัญญาจักษุ อันเป็นอริยะ มีประมาณน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ตกไปใน

อวิชชาเป็นผู้งมงาย มีมากกว่า ฯลฯ

จบปัญญาสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 491

๔. สุราเมรัยสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้งดเว้นการดื่มน้ำเมามีน้อย

[๑๗๖๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอัน เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทมีน้อย โดยที่

แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่ง

ความประมาท มีมากกว่า ฯลฯ

จบสุราเมรัยสูตรที่ ๔

๕. อุทกสูตร

ว่าด้วยสัตว์ที่เกิดในน้ำมีมาก

[๑๗๖๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกิดบนบก

มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้เกิดในน้ำ มีมากกว่า ฯลฯ

จบอุทกสูตรที่ ๕

๖. มัตเตยยสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลมารดามีน้อย

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่มารดา มี

น้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่มารดา มีมากกว่า ฯลฯ

จบมัตเตยยสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 492

๗. เปตเตยยสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลบิดามีน้อย

[๑๗๖๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่บิดา

มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่บิดา มีมากกว่า ฯลฯ

จบเปตเตยยสูตรที่ ๗

๘. สามัญญสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลสมณะมีน้อย

[๑๗๖๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่

สมณะมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่สมณะ มีมากกว่า ฯลฯ

จบสามัญญสูตรที่ ๘

๙. พราหมัญญสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เกื้อกูลพราหมณ์มีน้อย

[๑๗๖๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เกื้อกูลแก่

พราหมณ์มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เกื้อกูลแก่พราหมณ์ มีมากกว่า ฯลฯ

จบพราหมัญญสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 493

๑๐. อปจายิกสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้นอบน้อมต่อผู้เจริญมีน้อย

[๑๗๖๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้นอบน้อม

ต่อบุคคลผู้เจริญในสกุล มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่นอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญ

ในสกุล มีมากกว่า ฯลฯ

จบอปจายิกสูตรที่ ๑๐

จบอามกธัญญเปยยาล ปฐมวรรคที่ ๗

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. อัญญตรสูตร ๒. ปัจจันตสูตร ๓. ปัญญาสูตร ๔. สุราเมรัยสูตร

๕. อุทกสูตร ๖. มัตเตยยสูตร ๗. เปตเตยยสูตร ๘. สามัญญสูตร

๙. พราหมัญญสูตร ๑๐. อปจายิกสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 494

อามกธัญญเปยยาล ทุติยวรรคที่ ๘

๑. ปาณาติปาตสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นปาณาติบาตมีน้อย

[๑๗๖๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้เว้นจาก

ปาณาติบาตมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่เว้น จากปาณาติบาต มีมากกว่าข้อนั้น

เพราะเหตุไร ฯลฯ

จบปาณาติปาตสูตรที่ ๑

๒. อทินนาทานสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นอทินนาทานมีน้อย

[๑๗๖๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

อทินนาทาน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากอทินนาทาน มีมากกว่า ฯลฯ

จบอทินนาทานสูตรที่ ๒

๓. กาเมสุมิจฉาจารสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นกาเมสุมิจฉาจารมีน้อย

[๑๗๖๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจากกาเม-

สุมิจฉาจาร มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร มีมากกว่า ฯลฯ

จบกาเมสุมิจฉาจารสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 495

๔. มุสาวาทสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากมุสาวาทมีน้อย

[๑๗๖๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

มุสาวาท มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากมุสาวาท มีมากกว่า ฯลฯ

จบมุสาวาทสูตรที่ ๔

๕. เปสุญญสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นคำส่อเสียดมีน้อย

[๑๗๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

คำส่อเสียด มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำส่อเสียด มีมากกว่า ฯลฯ

จบเปสุญญสูตรที่ ๕

๖. ผรุสสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากคำหยาบมีน้อย

[๑๗๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

คำหยาบมีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำหยาบมีมากกว่า ฯลฯ

จบผรุสสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 496

๗. สัมผัปปลาปสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการเพ้อเจ้อมีน้อย

[๑๗๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

คำเพ้อเจ้อ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากคำเพ้อเจ้อมีมากกว่า ฯลฯ

จบสัมผัปปลาปสูตรที่ ๗

๘. พีชสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการพรากพืชคามมีน้อย

[๑๗๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การพรากพืชคามและภูตคาม มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการ

พรากพืชคามและภูตคาม มีมากกว่า ฯลฯ

จบพีชสูตรที่ ๘

๙. วิกาลโภชนสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นบริโภคในเวลาวิกาลมีน้อย

[๑๗๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การบริโภคอาหารในเวลาวิกาล มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการ

บริโภคอาหารในเวลาวิกาล มีมากกว่า ฯลฯ

จบวิกาลโภชนสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 497

๑๐. คันธวิเลปนสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นเครื่องลูบไล้มีน้อย

[๑๗๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การทัดทรง ประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอมและเครื่อง

ประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้น

จากการทัดทรง ประดับ และตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ ของหอม และ

เครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว มีมากกว่า ฯลฯ

จบคันธวิเลปนสูตรที่ ๑๐

จบอามกธัญญเปยยาล ทุติยวรรคที่ ๘

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. ปาณาติปาตสูตร ๒. อทินนาทานสูตร ๓. กาเมสุมิจฉาจารสูตร

๔. มุสาวาทสูตร ๕. เปสุญญสูตร ๖. ผรุสสูตร ๗. สัมผัปปลาปสูตร

๘. พีชสูตร ๙ . กาลโภชนสูตร ๑๐. คันธวิเลปนสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 498

อามกธัญยเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙

๑. นัจจสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากการฟ้อนรำมีน้อย

[๑๗๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉั้นนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึก มีน้อย

โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้น จากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดู

การเล่นอันเป็นข้าศึก มีมากกว่า ข้อนั้น เพราะเหตุ ไร ฯลฯ

จบนัจจสูตรที่ ๑

๒. สยนสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการนั่งนอนในที่นั่งนอนสูงใหญ่มีน้อย

[๑๗๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจาก

การนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่ มีมากกว่า ฯลฯ

จบสยนสูตรที่ ๒

๓. รชตสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเงินทองมีน้อย

[๑๗๗๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การรับทองและเงิน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับทองและเงิน

มีมากกว่า ฯลฯ

จบรชตสูตรที่ ๓

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 499

๔. ธัญญสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นจากการรับธัญญชาติดิบมีน้อย

[ ๗๗๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การรับธัญญชาติดิบ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับธัญญชาติดิบ

มีมากกว่า ฯลฯ

จบธัญญสูตรที่ ๔

๕. มังสสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเนื้อดิบมีน้อย

[๑๗๘๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การรับเนื้อดิบ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับเนื้อดิบ มี

มากกว่า ฯลฯ

จบมังสสูตรที่ ๕

๖. กุมาริกาสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับเด็กหญิงมีน้อย

[๑๗๘๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การรับสตรีและกุมารี มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับสตรีและ

กุมารีมีมากกว่า ฯลฯ

จบกุมาริกาสูตรที่ ๖

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 500

๗. ทีสีสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับทาสีและทาสมีน้อย

[๑๗๘๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การรับทาสีและทาส มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับทาสีและทาส

มีมากกว่า ฯลฯ

จบทาสีสูตรที่ ๗

๘. อเชฬกสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับแพะแกะมีน้อย

[๑๗๘๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การรับแพะและแกะ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับแพะและแกะ

มีมากกว่า ฯลฯ

จบอเชฬกสูตรที่ ๘

๙. กุกกุฏสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับไก่และสุกรมีน้อย

[๑๗๘๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การรับไก่และสุกร มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับไก่และสุกร

มีมากกว่า ฯลฯ

จบกุกกุฏสูตรที่ ๙

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 501

๑๐. หัตถีสูตร

ว่าด้วยสัตว์ผู้เว้นการรับช้างมีน้อย

[๑๗๘๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การรับช้าง โค ม้า และลา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับ

ช้าง โค ม้า และลา มีมากกว่า ฯลฯ

จบหัตถีสูตรที่ ๑๐

จบอามกธัญญเปยยาล ตติยวรรคที่ ๙

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ

๑. นัจจสูตร ๒. สยนสูตร ๓. รชตสูตร ๔. ธัญญสูตร ๕.

มังสสูตร ๖. กุมาริกาสูตร ๗. ทาสีสูตร ๘. อเชฬกสูตร ๙. กุกกุฏสูตร

๑๐. หัตถีสูตร.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 502

อามกธัญญเปยยาล จตุตถวรรคที่ ๑๐

ว่าด้วยสัตว์ผู้มีการกระทำต่าง ๆ กัน

[๑๗๘๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การรับไร่นาและที่ดิน มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการรับไร่นา

และที่ดิน มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การซื้อและการขาย มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการซื้อและขาย

มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๘๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การประกอบทูตกรรมและการรับใช้ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจาก

การประกอบทูตกรรมและการรับใช้ มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๘๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด

มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้นจากการโกงด้วยตราชั่ง การโกงด้วยของ

ปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๙๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การรับสินบน การล่อลวง และการทำของปลอม มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ผู้

ไม่งดเว้นจากการรับสินบน การล่อลวง และการทำของปลอม มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๙๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ผู้งดเว้นจาก

การตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และกรรโชก มีน้อย

โดยที่แท้ สัตว์ผู้ไม่งดเว้น จากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น

และกรรโชก มีมากกว่า ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 503

[๑๗๙๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนฝุ่นไว้ในปลายพระ-

นขา แล้วตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอ

ทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ฝุ่นเล็กน้อยที่เราช้อนไว้ในปลายเล็บ

กับแผ่นดินใหญ่นี้อย่างไหนจะมากกว่ากัน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้เจริญ แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงช้อนไว้ที่ปลายพระนขามีประมาณน้อย เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ ฝุ่น

เล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงช้อนไว้ที่ปลายพระนขา ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ

การเปรียบเทียบ หรือแม้ส่วนเสี้ยว ดูก่อภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน

สัตว์ที่จุติในพวกมนุษย์แล้วกลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์

ที่จุติจากมนุษย์ได้แล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจาก

มนุษย์ไปแล้ว จะกลับมาเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก

มนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว

จะกลับมาเกิดในพวกเทวดามีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับ

ไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๙๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจาก

เทวดาแล้ว จะกลับมาเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก

เทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย

มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๙๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจาก

เทวดาแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 504

เทวดาไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย

มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๙๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรก

ไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรก

ไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๙๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากนรก

ไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจากนรกไป

แล้วกลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๙๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจาก

กำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์

ที่จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน

ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๗๙๙] ดูก่อนทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากกำเนิด

สัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่

จุติจากกำเนิดสัตว์ดิรัจฉานไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน

ในปิตติวิสัย มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๘๐๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจาก

ปิตติวิสัยไปแล้ว จะกลับ ไปเกิดในพวกมนุษย์ มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติ

จากปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก ในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ในปิตติวิสัย

มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๘๐๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติ

วิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก

ปีติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในนรก มีมากกว่า ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 505

[๑๘๐๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติ-

วิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก

ปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน มีมากกว่า ฯลฯ

[๑๘๐๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน สัตว์ที่จุติจากปิตติ

วิสัยไปแล้ว จะกลับไปเกิดในพวกเทวดา มีน้อย โดยที่แท้ สัตว์ที่จุติจาก

ปิตติวิสัยไปแล้ว กลับไปเกิดในปิตติวิสัย มีมากกว่า ข้อนั้น เพราะเหตุไร

เพราะไม่เห็นอริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ เป็นไฉน คือ ทุกขอริยสัจ ทุกขสมุทย

อริยสัจ ทุกขนิโรธอริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลาย พึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตาม

ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม

ยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ฉะนี้แล.

จบอามกธัญญเปยยาลจตุตถวรรคที่ ๑๐

จบจักกเปยยาล

จบสัจจสังยุต

จบมหาวารวรรคสังยุต

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 506

อามกธัญญเปยยาลวรรควรรณนา

พึงทราบอธิบายในอามกธัญญเปยยาลวรรค.

คำว่า สัตว์ผู้ประกอบด้วยปัญญาจักษุอันเป็นอริยะ ความว่า ผู้มี

ปัญญาจักษุเป็นโลกิยะและโลกุตระ ตั้งต้นแต่วิปัสสนา. ในคำว่า ผู้งดเว้น

จากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

มีอธิบายว่า ขึ้นชื่อว่า สุรามี ๕ อย่างคือ สุราทำด้วยแป้ง ๑ สุราทำด้วยข้าว

สุก ๑ สุราทำด้วยขนม ๑ สุราที่ใส่ด้วยส่าเหล้า ๑ สุราประกอบจากเครื่อง

ปรุง ๑ น้ำดองอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวไว้อย่างนี้ว่า น้ำดองดอกไม้ น้ำ

ดองผลไม้ ชื่อว่าเมรัย. คำว่า น้ำเมา ได้แก่ ทั้งสอง. อธิบายว่า ก็อีกอย่าง

หนึ่ง น้ำเมาชนิดใดแม้อื่นที่พันแล้วจากสุราและน้ำหมักดอง อันบุคคล

พึงเมา. คนทั้งหลาย ย่อมดื่มสุราและเมรัยนั้น ด้วยเจตนาใด เจตนานั้น

ชื่อว่า เป็นฐานะแห่งความประมาท เพราะเป็นเหตุแห่งความประมาท เป็น

ผู้เว้น แล้วจากการดื่มสุราและเมรัยนั้น.

คำว่า ผู้เกื้อกูลแก่มารดา คือ ผู้มีประโยชน์เกื้อกูลแก่มารดา อธิบาย

ว่า ผู้ปฏิบัติชอบในมารดา.

พึงทราบอธิบายในคำเป็นต้นว่า ผู้เกื้อกูลแก่บิดา. ผู้มีประโยชน์เกื้อ

กูลต่อบิดา ชื่อว่า ผู้เกื้อกูลแก่บิดา. ผู้มีประโยชน์เกื้อกูลต่อสมณะทั้งหลาย

ชื่อว่า ผู้เกื้อกูลแก่สมณะ. ผู้มีประโยชน์เกื้อกูลต่อพราหมณ์ทั้งหลาย ชื่อว่า

ผู้เกื้อกูลแก่พรหม. คำว่า เปตเตยยะเป็นต้นนี้เป็นของผู้ปฏิบัติชอบในบิดา

เป็นต้น เหล่านั้น ๆ นั่นเทียว.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 507

คำว่า ผู้ประพฤตินอบน้อมต่อบุคคลผู้เจริญในสกุล ความว่า

ผู้ประพฤตินอบน้อม คือ ผู้มีปกติประพฤติถ่อมตน ต่อบุคคลผู้เจริญที่สุดใน

สกุล.

คำว่า จากการพรากพืชคามและภูตคาม ความว่า เป็นผู้เว้นแล้ว

จากการพรากพืชคาม ๕ อย่าง คือ พืชเกิดจากราก พืชเกิดจากลำต้น พืช

เกิดจากข้อ พืชเกิดจากยอด พืชเกิดจากเมล็ด และภูตคาม อย่างใดอยู่

หนึ่งมีหญ้าสีเขียวและต้นไม้เป็นต้น จากการวิกัปโดยภาวะมีการตัดและต้มเป็น

ต้น.

คำว่า ผู้งดเว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือ จากการ

บริโภคเกินเวลา. อธิบายว่า จากการบริโภคได้ชั่วคราว ตั้งแต่เลยเวลาเที่ยงไป.

พึงทราบอธิบาในดอกไม้เป็นต้น. คำว่า ดอกไม้ ได้แก่ ดอกไม้

อย่างใดอย่างหนึ่ง. คำว่า ของหอม ได้แก่ คันธชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง. คำว่า

เครื่องประเทืองผิว ได้แก่ เครื่องย้อมผิวเป็นต้น ในคำเหล่านั้น ชื่อว่า

ทัดทรงอยู่ เพราะอรรถว่าประดับอยู่. ผู้ยังฐานะที่พร่องให้เต็มอยู่ ชื่อว่า

ประดับอยู่. ผู้ยินดีด้วยอำนาจของหอม และเครื่องย้อมผิว ชื่อว่า ตบแต่งอยู่

อธิบายว่า เหตุท่านเรียกว่าฐานะ เพราะฉะนั้น มหาชนทำการทัดทรง

ดอกไม้เป็นต้นเหล่านั้นด้วยเจตนาแห่งความเป็นผู้ทุศีลใด เว้นจากเจตนานั้น.

การเห็นสิ่งที่ชื่อว่าเป็นข้าศึก คือ เป็นศัตรู เพราะไม่อนุโลมตาม

คำสอน เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า เห็นสิ่งที่เป็นข้าศึก การฟ้อน การขับ

การประโคมด้วยอำนาจการฟ้อนและการให้ผู้อื่นฟ้อนเป็นต้น และการดูซึ่งการ

ฟ้อนเป็นต้นที่เป็นไปแล้ว แม้โดยที่สุดด้วยอำนาจการฟ้อนของนกยูงเป็นต้น

อันเป็นข้าศึก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า การดูฟ้อนรำ ขับร้อง และประโคม

ดนตรีที่เป็นข้าศึก. ก็การประกอบการฟ้อนเป็นต้นด้วยตนก็ดี การให้ผู้อื่น

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 508

ประกอบการฟ้อนเป็นต้นก็ดี การดูการฟ้อนที่เขาประกอบแล้วก็ดี ย่อมไม่

ควรแก่ทั้งภิกษุ และภิกษุณี.

ที่นอนที่เลยกำหนด ท่านเรียกว่า ที่นอนสูง. เครื่องลาดที่ไม่สมควร

ชื่อว่า ที่นอนใหญ่. อธิบายว่า ผู้งดเว้นจากที่นอนสูงและที่นอนใหญ่.

คำว่า ชาตรูป คือทอง. คำว่า เงิน ได้กหาปณะ คนเหล่าใด

ถึงการกล่าวว่า มาสกโลหะ มาสกยาง คนเหล่านั้นเป็นผู้งดเว้นจากการรับ

ทองและเงินแม้ทั้งสองนั้น ย่อมไม่ถือเอาทองและเงินนั้น ไม่ให้คนอื่นถือเอา

อธิบายว่า ย่อมไม่ถือทองและเงินที่เก็บไว้แล้ว .

คำว่า จากการรับธัญญชาติดิบ ความว่า จากการรับธัญญชาติ

ดิบแม้ ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง

ลูกเดือย และหญ้ากับแก้. ก็การรับธัญญชาติดิบเหล่านั้น ไม่ควรอย่างเดียว

เท้านั้นหามิได้ แม้การถูกต้องก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหลายนั่นแหละ.

ในคำว่า จากการรับเนื้อดิบ ความว่า เว้นจากการรับเนื้อที่ทรง

อนุญาตไว้โดยเจาะจง การรับเนื้อและปลาดิบก็ไม่ควรแก่ภิกษุทั้งนั้น ถึงการ

ถูกต้องก็ไม่ควร.

ในคำว่า จากการรับสตรีและกุมารี นั้น หญิงที่ไปในระหว่างชาย

ชื่อว่า สตรี หญิงนอกนี้ ชื่อว่า กุมารี. การรับสตรีและกุมารีเหล่านั้นก็ดี

การถูกต้องก็ดี ไม่ควรทั้งนั้น.

ในคำว่าจากการรับทาสีและทาสนี้ การรับหญิงและชายเหล่านั้น ด้วย

ความเป็นทาสีและทาสก็ไม่ควรทั้งนั้น. ก็เนื้อเขากล่าวว่า ข้าพเจ้าถวายกัปปิย

การก ข้าพเจ้าถวายคนวัด การรับนั้นย่อมควร.

นัยที่สมควร และไม่สมควร ในสิ่งของมีแพะและแกะเป็นเบื้องต้น

มีนาและสวนเป็นที่สุด ก็พึงใคร่ครวญด้วยอำนาจวินัย. ปุพพัณณะ คือ ธัญญ-

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 509

ชาติ ย่อมงอกในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า นา อปรัณณชาติ คือ ถั่วและงา ย่อม

งอกในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า สวน. อีกอย่างหนึ่ง ปุพพัณณะและอปรัณณชาติ

ทั้งสองนั้นงอกในที่ใด ที่นั้น ชื่อว่า นา ชื่อว่า สวน เพราะเป็นภูมิภาคที่ไม่ได้

ทำไว้แล้ว เพื่อต้องการปุพพัณณะและอปรัณณชาตินั้น. ก็ในคำนี้ แม้สระและ

บึงเป็นต้น ท่านก็สงเคราะห์เอาด้วยหัวข้อว่านาและสวนนั่นเอง. คำว่า การ

ซื้อและการขาย ได้แก่ ซื้อด้วย ขายด้วย.

ทูตกรรม ท่านเรียกว่า ความเป็นทูต การรับหนังสือ หรือข่าว

ของพวกคฤหัสถ์แล้วไปที่นั้น ๆ ท่านเรียกว่า การรับใช้. ขึ้นชื่อว่าการไป

เล็กน้อยของภิกษุที่เขาส่งไปเรือนเล็กเรือนใหญ่. การทำทั้งสองอย่างนั้น ชื่อว่า

การประกอบ เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในบทนี้ว่า การประกอบ

ทูตกรรมและการรับใช้. การหลอกลวง ชื่อว่า การโกง ในคำเป็นต้นว่าโกง

ด้วยตาชั่ง. ในคำว่าโกงนั้น การโกงด้วยตาชั่งมี ๔ อย่าง คือ การโกงโดยรูป

การโกงโดยภาชนะ การโกงโดยการรับ การโกงโดยปกปิด. บรรดาการโกง

เหล่านั้น บุคคลทำตาชั่งสองอันให้เหมือนกัน เมื่อถือเอา ย่อมถือเอาด้วยตาชั่ง

ใหญ่ เมื่อจะให้ก็ให้ด้วยตาชั่งเล็กนี้ ชื่อว่า โกงโดยรูป เมื่อจะรับเอา ก็เอามือกด

ตาชั่งข้างหลังไว้ เมื่อจะให้ก็เอามือกดข้างหน้าไว้ นี้ ชื่อว่า โกงโดยภาชนะ. เมื่อ

จะรับก็ยึดเชือกที่โคน เมื่อจะให้ก็ยึดเชือกข้างปลาย นี้ ชื่อว่า โกงโดยการรับ.

ทำตาชั่งให้กลวงแล้วใส่ผงเหล็กข้างใน เมื่อจะรับ ก็ทำตาชั่งนั้นไว้ข้างหลัง

เมื่อจะให้ ก็เอาไว้ข้างหน้า นี้ ชื่อว่าโกง โดยการปกปิด.

ถาดทอง ท่านเรียกว่า ภาชนะ การหลอกลวงด้วยถาดทองใด

นั้นชื่อว่า การโกงโดยภาชนะ. อย่างไร คือทำถาดทองใบหนึ่ง แล้วทำถาด

โลหะอย่างอื่น ๒-๓ ใบให้มีสีเหมือนทอง แต่นั้นจึงไปชนบท แล้วเข้าไปหา

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 510

ตระกูลที่มั่งคั่งไร ๆ นั่นเทียว กล่าวว่า พวกท่านจงถือเอาถาดทองเถิด

เมื่อพวกเขาสอบถามถึงราคา ก็ทำทีเป็นเหมือนจะให้ถาดใบที่มีค่ามากกว่า

ลำดับนั้น เมื่อพวกเขากล่าวว่า จะรู้ว่าถาดเหล่านี้เป็นทองได้อย่างไร จึงกล่าวว่า

จงเลือกถือเอาเถิด แล้วก็สีถาดทองลงที่หินให้ถาดทั้งหมดแล้วไป.

การโกงด้วยเครื่องนับมี ๓ บ่ระเภท ด้วยอำนาจประเภทแห่งหทยะ

ประเภทแห่งยอด และประเภทแห่งเชือก. การโกงเหล่านั้น ประเภทแห่ง

หทยะ ย่อมได้ในเวลานับเนยใส และน้ำมันเป็นต้น ก็เมื่อจะถือวัตถุเหล่านั้นก็

กล่าวว่า จงค่อยๆ หยอด เพราะเครื่องนับเป็นรูข้างล่าง แล้วจึงให้ใหลเข้าไป

ในภาชนะเป็นอันมากถือเอา เมื่อจะให้ก็ปิดรูแล้วให้เต็มอย่างเร็วให้. ประเภท

แห่งยอด ย่อมได้ในเวลาตวงงาและข้าวสารเป็นต้น ก็เธอจะถือเอางาและ

ข้าวสารเป็นต้นเหล่านั้น จึงค่อย ๆ พูนให้สูงเป็นยอดถือเอา เมื่อจะให้ก็รีบ

ทำลายยอดเสียจึงให้. ประเภทแห่งเชือก ย่อมได้ในเวลาวัดนาและสวน

ก็เมื่อไม่ได้อะไร ๆ อยู่นาที่ไม่ใหญ่ก็วัดให้ใหญ่.

การทำเจ้าของมิให้เป็นเจ้าของแล้วรับสินบน ชื่อว่า การรับสินบน

ให้เหตุมีการรับสินบนเป็นต้น การหลอกลวงคนพวกอื่นด้วยอุบายเหล่านั้น

ชื่อว่า การหลอกลวง. ในข้อนั้นมีเรื่องหนึ่งนี้เป็นอุทาหรณ์.

ได้ยินว่า นายพรานคนหนึ่ง จับเนื้อและลูกเนื้อได้มาอยู่. นักเลงคน

หนึ่งจึงกล่าวกับเขาว่า ผู้เจริญ เนื้อราคาเท่าไร. ลูกเนื้อราคาเท่าไร และ

เมื่อนายพรานกล่าวว่า เนื้อสองกหาปณะ ลูกเนื้อหนึ่งกหาปณะ จึงให้เงิน

หนึ่งกหาปณะ ถือเอาลูกเนื้อแล้วกลับมากล่าวว่า ผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่ต้องการ

ลูกเนื้อ ท่านจงให้เนื้อแก่ข้าพเจ้า.

พราน. ถ้าอย่างนั้น แกจงให้สองกหาปณะ.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 511

นักเลง. พ่อ ครั้งก่อน ข้าพเจ้าให้หนึ่งกหาปณะแล้วมิใช่หรือ.

พราน. เออ. ให้แล้ว.

นักเลง. เจ้าจงรับลูกเนื้อแม้นี้ นั้นเป็นกหาปณะหนึ่งอย่างนี้ และ

ลูกเนื้อนี้มีค่าหนึ่งกหาปณะ รวมแล้วเป็นสองกหาปณะ.

นายพรานนั้น กำหนดแล้วว่า เขากล่าวมีเหตุ จึงได้รับเอาลูกเนื้อ

แล้ว ให้เนื้อไปแล.

การทำของที่มิใช่สังวาลว่าเป็นสังวาล มิใช่แก้วมณี ว่าเป็นแก้วมณี

มิใช่ทอง ว่าเป็นทอง แล้วหลอกลวงด้วยของเทียม ด้วยอำนาจการประกอบ

หรือด้วยอำนาจมายา ชื่อว่า การโกง. การประกอบการโกง ชื่อว่าทำปลอม

คำว่า ทำปลอมนี้ เป็นชื่อแห่งการรับสินบนเป็นต้น เหล่านั้นนั่นเอง.

เพราะฉะนั้น พึงทราบเนื้อความในบทนี้ว่า จากการรับสินบน จากการล่อลวง

จากการทำของปลอม นั่นแล. อาจารย์บางพวก แสดงเหตุอื่นแล้วย่อมกล่าวว่า

การเปลี่ยนแก่ผู้อื่น ชื่อว่า การทำปลอม. ก็คำนั้น ท่านสงเคราะห์เอาการล่อลวง

นั่นเอง.

การตัดมือเป็นต้น ชื่อว่า การตัด ในเหตุมีการตัดเป็นต้น. การให้ตาย

ชื่อว่า การฆ่า. การผูกด้วยเครื่องผูกคือเชือกเป็นต้น ชื่อว่า การผูก.

ชื่อว่า การตีชิงมี ๒ อย่าง คือ การตีชิงในเวลาหิมะตก ๑ การตีชิงด้วยการ

ปกปิดด้วยกอไม้ ๑. เวลาหิมะตก โจรทั้งหลายปกปิดด้วยหิมะ แล้วตีชิงคน

ที่หลงทาง นี้ ชื่อว่า การตีชิงในเวลาหิมะตก. โจรทั้งหลายปกปิดด้วยกอไม้

เป็นต้น แล้วตีชิง นี้ ชื่อว่า การตีชิงด้วยการปกปิดด้วยกอไม้. กระทำ

การปล้นหมู่บ้านและนิคมเป็นต้น ท่านเรียก การปล้น. การทำอย่างหยาบช้า

คือการเข้าไปในบ้านแล้ว ปักมีดที่อกของคนทั้งหลาย แล้วถือเอาสิ่งของที่ตน

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 512

ปรารถนา ชื่อว่า กรรโชก. เว้นจากการตัดและการกรรโชกนั้นอย่างนี้แล.

คำที่เหลือ ในบททั้งปวง มีเนื้อความตื้นทั้งนั้นแล.

ขยายความอามกธัญญเปยยาลวรรค ในอรรถกถาสังยุตตนิกาย ชื่อ

สารัตถปกาสินี จบแล้ว.

และจบการขยายความอรรถกถามหาวรรคแล.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 513

นิคมกถา

ก็ด้วยคำมีประมาณเท่านี้ อรรถกถา ชื่อว่า สารัตถปกาสินี ใด

อันละเอียดอ่อน ที่ข้าพเจ้าผู้ปรารถนาความตั้งมั่น แห่งพระสัทธรรม ปรารภ

เพื่อทำการพรรณนาเนื้อความ แห่งสังยุตตวรนิกาย ที่มีอุปการะมากแก่นักบวช

ทั้งหลาย ผู้มีความรู้ที่ละเอียดอ่อนอันนำวิปัสสนามาให้. ก็อรรถกถาสารัตถปกา-

สินีนั้น ถือเอาสาระจากมหาอรรถกถาจบแล้ว อรรถกถาสารัตถปกาสินีนั้น

ข้าพเจ้ารจนาโดยภาณวาร โดยบาลีประมาณ ๗๘ คาถา แม้ปกรณ์วิเศษชื่อ

วิสุทธิมรรค มีประมาณ ๕๙ ภาณวาร ข้าพเจ้ารจนาให้เป็นที่มาแห่งพระสูตร

(อาคมาน) เพื่อต้องการประกาศเนื้อความโดยภาณวารทั้งหลาย เพราะฉะนั้น

อรรถกถานี้ กับปกรณ์วิเศษวิสุทธิมรรคนั้น โดยนับตามภาณวารเป็น ๑๓๗

หย่อนนิดหน่อย. ด้วยบุญที่ข้าพเจ้าผู้ถือเอาสาระแห่งมูลัตถกถา ของพระเถระ

ทั้งหลายผู้อยู่ในมหาวิหาร รจนาอรรถกถานี้ มีประมาณ ๑๓๗ โดยภาณวาร

ที่ประกาศลัทธิอยู่อย่างนี้ สั่งสมแล้วนั้น ขอสัตว์โลกทั้งปวง จงมีสุขเถิด. ด้วย

บุญแม้นั้นที่พระเถระ ชื่อว่า ภทันตโชติปาละ ผู้มีศีลหมดจด ผู้มีความรู้

อันเอิบอิ่มในบาทแห่งสุภาสิตวาร ผู้ใคร่เพื่อความแจ่มแจ้งในศาสนา เป็น

ผู้งดงามอ้อนวอนข้าพเจ้าอยู่ บรรลุแล้วเพื่อรจนาอรรถถกานี้ ขอประชาชนจง

มีความสุขเถิด.

อรรถกถาสังยุตตนิกาย ที่ชื่อว่า สารัตถปกาสินีนี้ พระเถระผู้มีชื่อ

ที่ครูทั้งหลายขนานว่า พุทธโฆสะ ผู้ประดับด้วยความบริสุทธิ์ความเชื่อ ความ

รู้และความเพียรอย่างยิ่ง ผู้มีคุณสมุทัยมีศีลมารยาท ความซื่อตรง และความ

อ่อนโยนให้เกิดขึ้นแล้ว ผู้สามารถที่จะหยั่งลงสู่ชัฏคือลัทธิของตนและของผู้อื่นได้

ผู้ประกอบด้วยปัญญาและความฉลาด เป็นนักไวยากรณ์ใหญ่ โดยความเป็นผู้

มีความรู้ไม่ติดขัด ในศาสนาของพระศาสดา ต่างด้วยปริยัติคือพระไตร

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 514

ปิฎก พร้อมทั้งอรรถกถา ผู้ประกอบด้วยความสละสลวยแห่งถ้อยคำที่กล่าว

ไพเราะเปล่งออกได้สบายให้เกิดกรณสมบัติ ผู้เป็นนักพูดที่พ้นจากผู้คู่ควร

เป็นนักพูดผู้ประเสริฐ ผู้เป็นมหากวี เป็นผู้ประดับวงศ์ แห่งพระเถระทั้งหลาย

ผู้อยู่ในมหาวิหาร ผู้มีความรู้อันตั้งมั่นดีแล้ว ในอุตริมนุสสธรรมอันประดับ

ด้วยคุณต่างด้วยอภิญญาหกเป็นต้น มีปฏิสัมภิทาญาณที่แตกฉานแล้ว เป็น

บริวาร ผู้เป็นประทีปแห่งวงศ์พระเถระ ผู้มีความรู้อันไพบูลย์และบริสุทธิ์

รจนาแล้ว.

แม้พระนามว่า พุทธะ ดังนี้ ของ

พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีพระทัยหมดจด ผู้

คงที่ ผู้เจริญที่สุดในโลก ผู้แสวงหา

ประโยชน์อันใหญ่ ยังเป็นไปในโลกตราบ

ใด ขออรรถกถาชื่อว่าสารัตถปกาสินีนี้

อันแสดงนัยอยู่ เพื่อความหมดจดแห่งศีล

แก่กุลบุตรทั้งหลาย ผู้แสวงหาคุณเป็น

เครื่องสลัดออกจากโลก จงดำรงอยู่ใน

โลกตราบนั้น เทอญ.

จบ อรรถกถามหาวารสังยุต

รวมสังยุตที่มีในมหาวรรคนี้ คือ

๑. มรรคสังยุต ๒. โพชฌงคสังยุต ๓. สติปัฏฐานสังยุต ๔.

อินทรียสังยุต ๕. สัมมัปปธานสังยุต ๖. พลสังยุต ๗. อิทธิบาทสังยุต ๘.

อนุรุทธสังยุต ๙. ฌานสังยุต ๑๐. อานาปานสังยุต ๑๑. โสดาปัตติสังยุต

๑๒. สัจจสังยุต.